Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 11

หน่วยที่ 4 เพศวิถี พหุวัฒนธรรม ความเชื่อและค่านิยม

ค่านิยมทางเพศของวัยรุ่นในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมมาก เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากต่างประเทศเข้า
มา หรือการใช้เทคโนโลยีสื่อสารที่รวดเร็ว ทันสมัย ทาให้รับรู้ข่าวสารได้อย่างรวดเร็ว โดยอาจไม่ได้คัดกรอง
ข้อมูลข่าวสารนั้นๆ จึงมีผลต่อพฤติกรรมที่แสดงออกมาอย่างเปิดเผยโดยเฉพาะเรื่องเพศของวัยรุ่น หากวัยรุ่นมี
ค่านิยมทางเพศที่ไม่ถูกต้อง ก็ย่อมส่งผลให้เกิดปัญหาต่างๆตามมา

ค่านิยมทางเพศ (Sexual Value) หมายถึง หลักการพื้นฐานที่บุคคลยึดเป็นหลักในการปฏิบัติเพื่อดาเนิน


ชีวิตซึ่งเกี่ยวข้องกับเรื่องเพศ โดยค่านิยมทางเพศของบุคคลเกิดจากการอบรมสั่งสอนจากพ่อแม่ในสถาบัน
ครอบครัว ระบบการศึกษา ประสบการณ์ กระบวนการขัดเกลาและถ่ายทอดทางสังคม ขนบธรรมเนียม
ประเพณีและวัฒนธรรมของสังคมนั้นๆ
ถึงแม้ปัจจุบันในโรงเรียนจะมีการสอนเรื่องเพศศึกษาแล้วก็ตาม แต่ดูเหมือนว่าปัญหาเรื่องเพศในวัยรุ่นก็ยัง
มีให้เห็นและนับวันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศก็มีแนวโน้มมากขึ้นเรื่อยๆ โดยค่านิยมดังกล่าวนี้อาจจะส่งผลต่อการ
มีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของวัยรุ่นที่แตกต่างกันไป ซึ่งควรมีการส่งเสริมให้วัยรุ่นทั้งชายและหญิงเกิดความรู้
ความเข้าใจในเรื่องเพศ มีทัศนคติที่ดีและปฏิบัติตนต่อการแสดงออกทางเพศอย่างถูกต้องเหมาะสม เพื่อ
ป้องกันการมีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ
ตารางแสดงค่านิยมและทัศนคติทางเพศที่ถูกต้องเหมาะสม
ค่านิยมและทัศนคติที่ถูกต้องเหมาะสมแก่วัยรุ่นชาย ค่านิยมและทัศนคติที่ถูกต้องเหมาะสมแก่วัยรุ่นหญิง
1.ค่านิยมความเป็นสุภาพบุรุษ ซึ่งแสดงออกถึงการให้เกียรติผู้หญิง 1. ค่านิยมรักนวลสงวนตัว
2. ค่านิยมในเรื่องความรับผิดชอบ 2. ค่านิยมในการไม่พูดเรื่องเพศอย่างเปิดเผย
3. ค่านิยมในเรื่องของการจัดการอารมณ์ทางเพศในแนวทางที่ 3. ค่านิยมที่ไม่แสดงออกทางเพศแบบยั่วยวน
ถูกต้อง สร้างสรรค์ และไม่สร้างความเดือดร้อนให้กับบุคคลอื่น
4. ค่านิยมการมีคู่รักเพียงคนเดียว
4. ค่านิยมไม่ชิงสุกก่อนห่ามค่านิยมไม่สาส่อนทางเพศ 5. ค่านิยมการมีเพศสัมพันธ์และการอยู่ร่วมกันหลังแต่งงาน
ความสาคัญของค่านิยมทางเพศที่มีต่อการดาเนินชีวิต
ถ้าพูดถึงค่านิยมทางเพศอาจจะมองไม่ออกว่าคืออะไร และการกระทาอย่างไรบ้างที่เกิดจากค่านิยมทางเพศ
ก่อนอื่นคงต้องเปรียบเทียบเรื่องค่านิยมทางเพศกับค่านิยมโดยทั่วไป เพื่อจะได้ทาความเข้าใจค่านิยมทางเพศ
ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ยกตัวอย่างค่านิยมที่ควรปลูกฝัง ได้แก่ การมีระเบียบวินัย การเป็นคนดีที่มีคุณธรรมและ
จริยธรรม ความอ่อนน้อม ถ่อมตน การตรงต่อเวลา ค่านิยมไทย และความภาคภูมิใจในความเป็นไทย

ตารางแสดงวัฒนธรรม ศีลธรรมจรรยา และค่านิยมทางเพศ


วัฒนธรรมทางเพศและศีลธรรมจรรยาทางเพศ ค่านิยมทางเพศ
(Sexual Culture & Ethics) (Sexual Value)
วัฒนธรรมทางเพศ ศีลธรรมจรรยาทางเพศ ค่านิยมทางเพศ
เป็นวิถีชีวิตของคนในสังคมที่ปฏิบตั ิ เป็นลักษณะที่แสดงออกถึงการปฏิบัติ เป็นตัวกาหนดพฤติกรรมทางเพศโดย
เรื่องเพศ เช่น ตนในเรื่องพฤติกรรมทางเพศที่ดีงาม ยึดหลักการปฏิบตั ิจากวัฒนธรรมทาง
- การมีเพศสัมพันธ์ที่ปลอดภัย โดยการ ของไทย เช่น เพศ และศีลธรรม ซึ่งค่านิยมทางเพศมี
ใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้ง - การปฏิบัติที่ดตี ่อกันระหว่าง เพศชาย ทั้งแง่บวกและลบ เช่น
- การสร้างครบครัวที่อบอุ่น – หญิง โดยไม่เอาเปรียบเพศตรงข้าม - สังคมไทยยกย่องเพศชายให้ใหญ่
ฝ่ายชายควรยกย่องและให้เกียรติฝ่าย มากกว่าเพศหญิง
หญิง - เพศชายสามารถมึความสัมพันธ์ทาง
เพศก่อนสมรสได้และมีความสัมพันธ์
ทางเพศนอกเหนือการสมรสได้

เหตุผลสาคัญที่ต้องเรียนรู้เกี่ยวกับเพศสภาพและความหลากหลายทางเพศนั้น เพื่อจะได้เข้าใจ ยอมรับและ


เปิดกว้างในสังคมพหุวัฒนธรรม โดยทาความเข้าใจว่า เพศและชีวิตทางเพศของมนุษย์เป็นสิ่งที่ถูกกาหนดขึ้น
โดยธรรมชาติและเป็นผลผลิตทางสังคม การแสดงพฤติกรรมทางเพศของบุคคลสามารถปรับเปลี่ยนได้ตาม
สังคมในแต่ละวัฒนธรรม
พ.ร.บ. ความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ.2558

พ.ร.บ.ความเท่าเทียมระหว่างเพศ พ.ศ.2558 มีใจความสาคัญว่า “การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นระหว่างเพศ


คือ การกระทา หรือไม่กระทาการใดอันเป็นการ แบ่งแยก กีดกัน หรือ จากัดสิทธิประโยชน์ใดๆ ไม่ว่าทางตรง
หรือทางอ้อม โดยปราศจากความชอบธรรม เพราะเหตุซึ่งบุคคลนั้นเป็นเพศชายหรือเพศหญิง หรือมีการ
แสดงออกที่แตกต่างจากเพศโดยกาเนิด” ถือเป็นกฎหมายฉบับแรกของไทยที่ให้การคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิ
ของกลุ่มผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศอย่างชัดเจน
ค่านิยมทางเพศมีความสาคัญต่อการดาเนินชีวิต ดังตัวอย่างต่อไปนี้
• สังคมไทยมีเกณฑ์หรือมาตรฐานที่ใช้ในการตัดสินการกระทาหรือกาหนดพฤติกรรมทางเพศ เช่น หญิงไทย
ต้องรักนวลสงวนตัว การยึดถือวัฒนธรรมรักเดียวใจเดียว ถ้าทาได้ตามนี้ เรียกว่า ทาได้ตามเกณฑ์ค่านิยมทาง
เพศของสังคมไทยซึ่งจะได้รับการยกย่อง ชมเชย

• วัยรุ่นจะได้เห็นตัวอย่างหรือแบบแผนที่ดีในการควบคุมพฤติกรรมทางเพศของบุคคลในสังคมที่แสดงออกถึง
การปฏิบัติในเรื่องเพศอย่างเหมาะสมตามค่านิยมทางเพศของสังคมไทย ถือว่าเป็นการขัดเกลาทางสังคมด้วย
เช่น การวางตัวในการคบเพื่อนต่างเพศ การมีเพศสัมพันธ์ภายหลังการแต่งงาน

• ช่วยลดพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศที่อาจก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมาได้ เช่น การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่สวม


ถุงยางอนามัย การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร การตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ การติดโรคทางเพศสัมพันธ์ เป็นต้น

• มีความสาคัญต่อการดารงเผ่าพันธุ์ และทัศนคติในการสร้างครอบครัวในอนาคต ตลอดจนการดูแลอบรมเลี้ยง


ดูบุตรและสมาชิกในครอบครัวให้มีค่านิยมทางเพศที่ถูกต้องเหมาะสม

ความเชื่อทางเพศ เกิดขึ้นจากมุมมองหลายมิติจากสังคมไทยที่ได้เปิดกว้างสาหรับบุคคลที่มีความ
หลากหลายทางเพศ เช่น
1. เรื่องเพศเกี่ยวข้องกับชีวิตเราตั้งแต่เกิดจนตาย โดยเฉพาะอัตลักษณ์และวิถีทางเพศของบุคคล เป็นผลมา
จากระบบสังคมวัฒนธรรมตั้งแต่ ศาสนา การเมือง เศรษฐกิจ
2. ความหลากหลายทางเพศไม่ถือว่าเป็นความผิดปกติแต่อย่างใด
3. สิทธิความเท่าเทียมกันทางเพศมีการขับเคลื่อนทางสังคม ในการส่งเสริมสิทธิและความเท่าเทียมกันในความ
หลากหลายทางเพศ ที่ได้รับการคุ้มครองอย่างเท่าเทียมกัน
4. อัตลักษณ์ทางเพศและวิถีทางเพศมีความหลากหลายและมีการดารงอยู่ในสังคม ทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกันใน
ฐานะมนุษย์คนหนึ่ง
5. การแสดงออกทางเพศที่ต่างไปจากเพศสรีระไม่ถือว่าเป็นความผิดปกติแต่อย่างใด แต่เป็นส่งที่เกิดได้ตาม
ธรรมชาติ
บรรทัดฐานทางสังคม ในเรื่องขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม ระเบียบและกฎหมายต่างๆ เช่น ความ
ไม่เสมอภาคของเพศชายและเพศหญิง ในบางประเทศยังคงให้ความสาคัญต่อการให้กาดนิดบุตรที่เป็นเพศชาย
มากกว่าเพศหญิง เป็นต้น

ค่านิยมทางเพศตามสังคมและวัฒนธรรมไทย
1. บรรทัดฐานทางครอบครัวและสังคม
• ค่านิยมทางเพศตามสังคมและวัฒนธรรมไทยในอดีตมีความแตกต่างจากในปัจจุบันอย่างเห็นได้ชัด เนื่องจาก
ในอดีตบุตรหลานจะถูกปลูกฝังโดยการอบรมเลี้ยงดูให้เคารพเชื่อฟังคาสั่งสอนของบิดามารดาอย่างเคร่งครัด
วิถีชีวิตตลอดจนวิธีการดาเนินชีวิตจะต้องอยู่ในขอบเขตที่ทางครอบครัวได้วางเอาไว้ รวมทั้งปัจจัยทางสังคม
และสภาพแวดล้อมก็ยังไม่เอื้ออานวยอย่างเช่นในปัจจุบัน ค่านิยมทางเพศในอดีตมีลักษณะ ดังนี้
ค่านิยมทางเพศ
ค่านิยมทางเพศในอดีต
1. ผู้หญิงต้องอยู่กับเหย้ากับเรือนอย่างเดียว จึงทาให้ผู้หญิงต้องถูกกดขี่ข่มเหงด้วยความไม่เสมอภาคทาง
เพศ
2. ผู้ชายมักเป็นใหญ่ในบ้าน และมีอานาจในการตัดสินทุกอย่าง ส่วนผู้หญิงมีหน้าที่เพียงแค่ดูแลบ้านและ
บุตร
3. การนัดพบกัน ในอดีตสามารถพบกันโดยการแนะนาของผู้ใหญ่ หรือพบกันตามวัดในเทศกาลต่างๆ ไม่มี
โอกาสได้พบกันในสถานที่สาธารณะอย่างปัจจุบัน
4. ผู้หญิงต้องไม่แสดงกิริยายั่วยวน แสดงท่าทีเชื้อเชิญ หรือให้โอกาสผู้ชายได้เข้ามาใกล้ชิด
5. การถูกควบุมจากผู้ใหญ่ในเรื่องการเลือกคนรัก การแต่งงาน ที่เรียกว่า “คลุมถุงชน” โดยให้เหตุผลถึง
ความคู่ควร เหมาะสม เป็นสิ่งสาคัญกว่าจะนึกถึงความรักระหว่างคนสองคน
ค่านิยมทางเพศในปัจจุบัน
ปัจจุบันสภาพครอบครัวและสังคมได้เปลี่ยนไป ผู้หญิงต้องทางานเลี้ยงครอบครัวเช่นเดียวกับผู้ชาย ผู้หญิง
สามารถได้รับการศึกษาในระดับสูงๆ ได้เช่นเดียวกับผู้ชาย ผู้หญิงมีสิทธิที่จะสามารถแสดงความคิดเห็นและ
โต้แย้งในกรณีต่างได้ การมีส่วนร่วมต่อภาระหน้าที่การดูแลบ้านและเลี้ยงดูบุตร แตกต่างจากเดิมที่ผู้หญิง
ต้องรับภาระเพียงผู้เดียว เนื่องจากการได้รับสิทธิที่เท่าเทียมกัน มีโอกาสเกี่ยวกับเรื่องเพศมากขึ้น เช่น การ
เลือกฝ่ายชายที่จะมาเป็นคู่ครอง การขอหย่าร้างถ้าแต่งงานแล้วไม่มีความสุข การเป็นผู้นาครอบครัว เป็นต้น

2. สภาพแวดล้อม • สภาพแวดล้อมในอดีตกับปัจจุบันแตกต่างกันมาก ในปัจจุบันมีสิ่งยั่วยุ สถานบันเทิง


เริงรมย์ต่างๆ ศูนย์การค้า ปัญหาสารเสพติด และความรุนแรง ซึ่งส่งผลให้วัยรุ่นอาจใช้ชีวิตที่หลงผิด จนอาจ
ก่อให้เกิดเป็นปัญหาอาชญากรรมทางสังคมได้ ทาให้มีคุณภาพชีวิตที่ไม่ดี ยากจน ไม่มีโอกาสศึกษาต่อ ต้องหา
เลี้ยงชีพโดยไม่สุจริต เกิดความฟุ้งเฟ้เพื่อต้องการให้ตนเองทัดเทียมกับผู้อื่น และในที่สุดก็เกิดค่านิยมทางเพศที่
ผิดๆ เช่น การมีความคิดว่า การขายบริการทางเพศเป็นสิ่งที่หารายได้ให้แก่ตนเองได้ อย่างรวดเร็ว เป็นต้น
3 สื่อเทคโนโลยี • ความก้าวหน้าและรวดเร็วของสื่อเทคโนโลยีอาจเป็นสาเหตุของการทาให้เกิดค่านิยมทาง
เพศที่ไม่ถูกต้องเนื่องจากวัยรุ่นสามารถติดต่อหรือคบเพื่อนต่างเพศที่ไม่เคยรู้จักกันได้ง่าย เพียงแค่โทรศัพท์หรือ
ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นสื่อในการติดต่อกัน หากใช้ในทางที่ไม่เหมาะสมหรือพูดคุยกับบุคคลที่ไม่หวังดีด้วย อาจ
ก่อให้เกิดปัญหาการถูกล่อลวงหรือปัญหาในทางที่ไม่ดีอื่นๆ ตามมา

อิทธิพลที่มีผลต่อค่านิยมทางเพศ เนื่องจากรอบตัวเรามีกฎเกณฑ์ทางสังคมที่คนในสังคมนั้นๆ ถือปฏิบัติ


รวมทั้งเรื่องเพศด้วย ซึ่งอิทธิพลที่มีผลต่อค่านิยมทางเพศ มีดังนี้
1. ศาสนา คาสอนของศาสนาต่างๆ จะมีคาสอนที่สอนให้บุคคลมีค่านิยมที่ดีในเรื่องเพศ ไม่ให้ประพฤติผิด
ศีลธรรม โดยสอนให้รู้จักการวางตัวในการคบเพื่อนต่างเพศ
2. เจตคติทางเพศของเพศหญิงและเพศชาย เกิดจากการศึกษาเล่าเรียน และการเรียนรู้จากประสบการณ์
ชีวิต หากมีความรู้ ความเข้าใจ และประสบการณ์ชีวิตที่ดี ย่อมจะส่งผลให้เกิดความเข้าใจและปฏิบัติตาม
ค่านิยมทางเพศได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
3. เจตคติทางเพศของพ่อแม่ที่ถ่ายทอดประสบการณ์สู่ลูก จากการสั่งสอนอบรมและปลูกฝังค่านิยมทางเพศ
ในวัยเด็ก เด็กผู้ชายมักจะลอกเลียนแบบพ่อ ส่วนเด็กผู้หญิงก็มักจะลอกเลียนแบบจากแม่ เช่น พ่อแม่ทะเลาะ
ทาร้ายร่างกายกัน

4. บุคลิกภาพ ลักษณะของบุคคลซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว และมีการแสดงออกให้เห็นได้ทั้งจากภายนอก


และภายใน เช่น ความเชื่อมั่นในตนเอง ทาให้แสดงพฤติกรรมทางเพศ เช่น การพูดจา การแต่งกาย
5. ความรู้สึกผิดหรือความละอาย จะเป็นตัวยับยั้งหรือจากัดความอิสระทางเพศ เช่น การถูกอบรมสั่งสอนว่า
การเป็นหญิงต้องรู้จักรักนวลสงวนตัว อย่าให้ใครถูกเนื้อต้องตัวโดยง่าย ซึ่งผู้หญิงที่มีแนวคิดเช่นนี้จะรู้จักการ
วางตัวที่เหมาะสมเมื่อต้องพบปะพูดคุยกับเพื่อนต่างเพศ
ค่านิยมทางเพศตามสังคมและวัฒนธรรมไทย
สังคมและวัฒนธรรมท้องถิ่นจะค่อนข้างยึดถือขนบธรรมเนียมและประเพณีอย่างเคร่งครัด โดยการถ่ายทอด
ของคนแต่ละรุ่นสืบต่อ ๆ กันมา มีการกาหนดรูปแบบในเรื่องการแต่งงานมีครอบครัวว่าจะต้องดาเนินการให้
ถูกต้องตามขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี ถ้าหากใครละเมิด เช่น หนีตามกันไป ก็จะถูกประณามจากสังคม
หรือไม่มีใครคบหาสมาคมด้วย เป็นต้น
• วัฒนธรรมท้องถิ่นในชนบท เกิดจากระบบความเชื่อ ความศรัทธา ค่านิยมของบรรพบุรุษ แต่ละรุ่นที่สืบต่อ
กันมา ซึ่งมีความสาคัญต่อวิถีชีวิตของคนในชุมชนนั้นๆ ทั้งนี้เป็นระบบที่มีความสัมพันธ์กับโครงสร้างทางสังคม
ของคนในชุมชนให้ดารงอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขค่านิยมทางเพศตามสังคมและวัฒนธรรมตะวันตก
ค่านิยมทางเพศตามสังคมและวัฒนธรรมตะวันตก
• ปัจจุบันวัฒนธรรมตะวันตกได้เข้ามามีบทบาทและมีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมสังคมของไทยมากขึ้น ทั้งนี้
เนื่องมาจากเทคโนโลยีและการสื่อสารที่ก้าวหน้า รวดเร็ว ส่งผลทาให้วัยรุ่นมีพฤติกรรมลอกเลียนแบบ และ
ดาเนินชีวิตตามวัฒนธรรมตะวันตก ซึ่งวัฒนธรรมบางอย่างก่อให้เกิดปัญหาทางสังคมมากมาย โดยเฉพาะการมี
พฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสม
• การเลียนแบบวัฒนธรรมตะวันตก ไม่ว่าจากสื่อภาพยนตร์ หนังสือ หรืออินเทอร์เน็ตก็ตาม ทาให้
ขนบธรรมเนียม จารีตประเพณี วัฒนธรรมที่ดีงามของสังคมไทยเปลี่ยนไป วัฒนธรรมบางอย่างส่งผลดี เช่น
การกล้าแสดงความคิดเห็น ความขยันและทุ่มเทให้กับงานการมองโลกในด้านบวก การมีแนวคิดที่ดีต่างๆ เป็น
ต้น
• วัฒนธรรมบางอย่างกลายเป็นตัวอย่างที่ไม่ดี เช่น เสรีภาพในการคบเพื่อนต่างเพศ ซึ่งบางครั้งมีพฤติกรรม
เสี่ยงต่อการมีเพศสัมพันธ์ การถูกเนื้อต้องตัวระหว่างชายกับหญิงมีมากขึ้น พฤติกรรมการแสดงออกทางเพศใน
ที่สาธารณะ เช่น การโอบกอด การแต่งกายที่ล่อแหลม กิริยามารยาทที่ไม่เรียบร้อย การแสดงออกอย่าง
เปิดเผยในเรื่องเพศ หรือการที่วัยรุ่นหญิงบางคนตาม จีบฝ่ายชาย เป็นต้นอิทธิพลของวัฒนธรรมตะวันตกที่มีต่อ
พฤติกรรมทางเพศของวัยรุ่นในสังคมไทยพอจะสรุปได้ ดังนี้
ปัญหาเรื่องเพศ เช่น การคบเพื่อนต่างเพศอย่างไม่เหมาะสม การออกเที่ยวกลางคืนกับเพื่อนต่างเพศ การ
แต่งกายดึงดูดเพศตรงข้าม เปิดเผยให้เห็นของสงวนมากเกินไป การมีเพศสัมพันธ์ก่อนแต่งงาน เป็นต้น
ปัญหาสังคม เช่น การมั่วสุมกันในสถานเริงรมย์ การตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรการทาแท้ง การใช้สารเสพติด
เป็นต้น
• เมื่อไม่อาจสกัดกั้นวัฒนธรรมต่างๆ ที่แพร่กระจายเข้ามาได้ จึงควรเลือกและสร้างค่านิยมในเรื่องเพศที่
เหมาะสมกับสภาพสังคมไทย เช่น ลด ละ เลิก การเที่ยวสถานบริการทางเพศ ไม่สาส่อนทางเพศ ไม่คบเพื่อน
ต่างเพศโดยไม่เลือกหน้า ฝ่ายชายแสดงความเป็นสุภาพบุรุษให้เกียรติไม่ล่วงเกินสุภาพสตรี เป็นต้น

ค่านิยมทางเพศที่ไม่เหมาะสมของวัยรุ่น
ค่านิยมทางเพศที่ไม่เหมาะสมของวัยรุ่นนั้นเกิดจากการได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมตะวันตก ซึ่งก่อให้เกิด
ผลกระทบต่อการดาเนินชีวิต โดยค่านิยมทางเพศที่ไม่เหมาะสมของวัยรุ่น มีดังนี้
1. การคบเพื่อนต่างเพศ อดีตผู้ชายมักจะเป็นฝ่ายแสดงออกด้วยท่าทาง กิริยา ต่อฝ่ายหญิงที่ตนเองหมายปอง
รักใคร่ แต่ปัจจุบันทั้งฝ่ายหญิงและชายมีบทบาทและความเสมอภาคที่ทัดเทียมกัน ทาให้วัยรุ่นหญิงบางคนจะ
เป็นผู้กล้าเริ่มความสัมพันธ์กับฝ่ายชายก่อน โดยคิดว่าเป็นเรื่องปกติ แต่จริงๆ นับเป็นค่านิยมทางเพศที่ไม่
เหมาะสม เพราะผู้หญิงควรรักนวลสงวนตัว ส่วนฝ่ายชายควรให้เกียรติฝ่ายหญิงเช่นกัน การเลือกคบเพื่อน ควร
พิจารณาหลายประการ รวมทั้งการขอคาแนะนาจาก บิดามารดา ครู ตลอดจนผู้ใหญ่ที่ใกล้ชิดนับถือ
2. การมีเพศสัมพันธ์ ปัจจุบันวัยรุ่นถือว่าการมีเพศสัมพันธ์เป็นเรื่องธรรมดาของบุคคล เป็นค่านิยมที่ผิดและ
ไม่เหมาะสมกับสังคมและวัฒนธรรมไทยอย่างมาก เพราะค่านิยมดังกล่าวอาจทาให้เกิดปัญหาความเสี่ยงต่อ
การเกิดโรคทางเพศสัมพันธ์ การตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ การทาแท้ง การสร้างครอบครัว ตลอดจนปัญหา
อาชญากรรม
3. การทาแท้ง ซึ่งมีความผิดทางกฎหมายและศีลธรรม ซึ่งขัดต่อขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรมไทย
ยกเว้นเหตุผลทางการแพทย์ ได้แก่ การตั้งครรภ์ที่เกิดจากการถูกข่มขืน การตั้งครรภ์ของสตรีที่เป็นโรคจิต หรือ
การตั้งครรภ์ที่อาจเป็นอันตรายต่อชีวิตและสุขภาพของมารดา
4. การแต่งงาน ในทัศนคติของวัยรุ่นมักเกิดจากความเพ้อฝันเรื่องความรัก ความภักดีต่อคนรัก สร้างความฝัน
เรื่องการแต่งงานด้วยจินตนาการ โดยไม่คานึงถึงความพร้อม บทบาทและหน้าที่ จะต้องรับผิดชอบร่วมกันใน
อนาคต หากสิ่งเหล่านี้ไม่เป็นไปตามที่คาดหวังไว้ อาจก่อให้เกิดปัญหาครอบครัว ตลอดจนปัญหาสังคม การ
หย่าร้าง การทาแท้ง สิ่งสาคัญที่วัยรุ่นควรตระหนักอย่างยิ่งในชีวิตและใส่ใจ ต้องมีการปรึกษาครอบครัว ไม่ควร
ตัดสินใจโดยพลการ

แนวปฏิบัติตามค่านิยมทางเพศที่เหมาะสม
ค่านิยมทางเพศของวัยรุ่นเป็นสิ่งสาคัญที่วัยรุ่นควรยึดถือปฏิบัติให้เหมาะสมต่อ ขนบธรรมเนียมประเพณี และ
วัฒนธรรมของไทย แนวทางการปฏิบัติตนตามค่านิยมทางเพศที่วัยรุ่นควรยึดถือปฏิบัติ มีดังนี้
1. การรักนวลสงวนตัว เป็นสิง่ ที่ทั้งชายและหญิงควรยึดถือปฏิบัติเป็นอย่างมาก คือไม่ปล่อยตัวและปล่อยใจไป
อย่างง่ายดาย
2. ฝ่ายหญิงและฝ่ายชายไม่ควรสาส่อนทางเพศ ควรมีความรับผิดชอบ และมีจิตสานึกที่ดีต่อสังคมในเรื่องเพศ
ตลอดจนการให้เกียรติซึ่งกันและกัน
3. การสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีของตนเอง เช่น การรักษาพรหมจารี การหลีกเลี่ยงต่อการเกิดโรคทางเพศสัมพันธ์
การเข้าร่วมกิจกรรมของทางโรงเรียนทางสังคม เพื่อการผ่อนคลายตนเอง
4. การสร้างบุคลิกภาพที่ดีต่อตนเอง เช่น การแต่งกายที่เหมาะสมกับช่วงวัยและกาลเทศะ การเห็นคุณค่าใน
ตนเองและผู้อื่น เป็นต้น
5. การสร้างค่านิยมทางเพศที่ถูกต้องต่อตนเองและผู้อื่น เช่น การปฏิบัติตามคาสอนของบิดามารดา ครูอาจารย์
การตระหนักถึงค่านิยมทางเพศที่เหมาะสมไม่ขัดต่อขนบธรรมเนียม ประเพณี และวัฒนธรรมที่ดีงามของไทย
เป็นต้น

You might also like