วัยสูงอายุ

You might also like

Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 1

ศึกษาวัยสูงอายุ

การเปลี่ยนแปลงในวัยสูงอายุ เกิดขึ้นจากระบบต่างๆ ของร่างกายที่ทำงานได้ลดลงไม่ดีเช่นเดิม ส่งผลให้ร่างกาย


เสื่อมถอยลง ดังนี้

ด้านร่างกาย
- ร่างกายภายนอก ผิวหนังเหี่ยวย่น มีกระ ผมบางเปลี่ยนเป็นสีเทาหรือสีขาว หลังโกง เคลื่อนไหวร่างกายได้ช้า
ลง กำลังน้อยลง
- อวัยวะในการรับความรู้สึก อวัยวะเกี่ยวกับการรับความรู้สึกจะเสื่อมเป็นอันดับแรกๆ เช่น ผนังเส้นเลือดแดงใน
หูแข็งตัว ทำให้ได้ยินเสียงไม่ชัดเจน โดยเฉพาะเสียงแหลมหรือเสียงที่มีความถี่สูง
- เสียง เนื่องจากกระดูกอ่อนบริเวณกล่องเสียงแข็งตัวและขาดความยืดหยุ่น ทำให้มีน้ำเสียงสูงแต่ไม่มีพลัง
- ฟัน มีอาการเหงือกร่น รากฟันโผล่พ้นขอบเหงือก ทำให้ฟันผุและเสียงฟันได้ง่าย
- ระบบต่างๆ เช่น ระบบประสาทเซลล์ ระบบทางเดินอาหาร ระบบการไหลเวียนโลหิต ทำงานได้ลดลง จึงเกิดโรค
ได้ง่าย
- กระดูกและกล้ามเนื้อ กระดูกผุกร่อนทำให้หักได้ง่าย กล้ามเนื้อก็ลีบเล็กลง มีไขมันแทรกในกล้ามเนื้อ

ด้านอารมณ์
โดยธรรมชาติ ผู้สูงอายุจะมีความสงบเยือกเย็น ไม่กระตือรือร้น ต้องการพักผ่อน แต่ด้วยสภาพสังคม สภาพ
ครอบครัวในปัจจุบัน ทำให้สภาพอารมณ์ในผู้สูงอายุเปลี่ยนไปในหลายลักษณะจากที่ควรจะเป็น ดังนี้
1. บุคลิกแบบต่อต้าน คือพยายามต่อสู้กับความเสื่อมถอยหวาดหวั่นของชีวิตแบบเป็นลักษณะต่างๆ
2.บุคลิกเฉยชาและพึ่งพาบุคคลอื่น คือ ต้องการได้รับการตอบสนองและการช่วยเหลือจากผู้อื่น
3.บุคลิกแบบการผสมผสาน คือมีความเสื่อมทั้งด้านร่างกายและจิตใจ ขาดการควบคุมอารมณ์ แสดงออกถึง
ความบกพร่องทางด้านความคิดอ่านและภาวะจิตใจอย่างเห็นได้ชัด จะยังคงอยู่ในสังคมได้ แต่จะมีพฤติกรรมและ
ความพึ่งพอใจต่อชีวิตอยู่ในระดับต่ำ

ด้านสังคม
ในด้านสังคม ผู้สูงอายุในวัยนี้จะมีเวลามากขึ้น ทั้งการทำกิจกรรมที่ชอบ การท่องเที่ยว และเข้าวัด แต่จะมีข้อ
จำกัดในการมีสัมพันธภาพกับผู้อื่น ไม่ค่อยสนใจผู้อื่นมากนัก แต่จะสนใจตนเองมากขึ้น

ด้านสติปัญญา
วัยสูงอายุ สมองจะฝ่อและมีน้ำหนักลดลง เนื่องจากมีเลือดมาเลี้ยงสมองน้อยลง เซลล์ประสาทตายเพิ่มขึ้นและ
เซลล์ลดจำนวนลงตามอายุ ทำให้สมองเสื่อม ความจำเสื่อม แต่ในส่วนความจำในอดีตจะไม่เสีย แต่ความคิด
อ่านจะเชื่องช้าลง

You might also like