Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 9

ห้องเรียนเสมือนจริงกับการเรียนการสอน วารสารพยาบาลทหารบก

120 สำ�หรับนักศึกษาพยาบาลในยุคดิจิตอล Journal of The Royal Thai Army Nurses

ห้องเรียนเสมือนจริงกับการเรียนการสอน
สำ�หรับนักศึกษาพยาบาลในยุคดิจิตอล
Virtual Classroom in Teaching and Learning
for Nursing Students in Digital Age

สิวาภรณ์ เจริญวงศ์* ทิพย์ฆัมพร เกษโกมล อภิสิทธิ์ ตามสัตย์


Ziwapon Charoenwong* Thipkhumporn Keskomon Aphisit Tamsat
กลุ่มงานอาจารย์ วิทยาลัยพยาบาลต�ำรวจ กรุงเทพฯ ประเทศไทย 10330
Division of Nursing Instructor, Police Nursing College, Bangkok, Thailand, 10330

บทคัดย่อ
ห้องเรียนเสมือนจริงเป็นนวัตกรรมทางการศึกษาที่เป็นการจัดการเรียนการสอนผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์หรือ
ระบบออนไลน์ ซึ่งเป็นความท้าทายส�ำหรับอาจารย์พยาบาลที่จะน�ำห้องเรียนเสมือนจริงมาประยุกต์ใช้ในโลกยุคดิจิตอล ด้วยความ
ก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีท�ำให้สามารถเข้าถึงแหล่งการเรียนรู้ได้อย่างหลากหลาย สามารถทบทวนและเรียนรู้ได้ตลอดเวลา น�ำ
ไปสูก่ ารพัฒนาความรู้ ความตระหนักรู้ และทักษะทางวิชาชีพได้อย่างต่อเนือ่ ง สิง่ ส�ำคัญทีอ่ าจารย์พยาบาลควรพิจารณาในการสร้าง
ห้องเรียนเสมือนจริง คือ การเลือกหัวข้อสอนหรือเนือ้ หารายวิชาทีเ่ หมาะสมกับการเรียนรูโ้ ดยต้องมีระบบอินเตอร์เน็ตทีไ่ ด้มาตรฐาน
ออกแบบส่วนต่อประสานได้อย่างกลมกลืนโดยออกแบบการใช้งานให้เป็นมิตรกับผูเ้ รียน (user-friendly) ใช้สญ ั ลักษณ์ทงี่ า่ ยต่อการ
จดจ�ำมีการใช้สื่อมัลติมีเดียที่หลากหลาย สนุกและดึงดูดความสนใจของนักศึกษาพยาบาลได้อย่างต่อเนื่อง ตลอดจนมีสะดวกสบาย
ในการเข้าใช้ พื้นที่ใช้งานและรูปแบบของห้องเรียนมีความเหมาะสมกับการมองเห็นและมีการจัดล�ำดับเนื้อหา กิจกรรมการเรียน
การสอนทีเ่ หมาะสมกับช่วงเวลาในการมีปฏิสมั พันธ์ มีชอ่ งทางในการสืบค้นหรือมีขอ้ เสนอแนะ รวมทัง้ ควรมีการประเมินผลการเรียน
รู้ที่ครอบคลุมตามวัตถุประสงค์รายวิชา และผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร การส่งเสริมให้นักศึกษาพยาบาลได้เรียนรู้ในห้องเรียน
เสมือนจริงร่วมกับเพื่อนโดยท�ำเป็นคู่ หรือเป็นทีม จะช่วยให้นักศึกษาพยาบาลสามารถท�ำงานร่วมกับผู้อื่นได้ อย่างไรก็ดี ห้องเรียน
เสมือนจริงเป็นเพียงเครื่องมือหรือทางเลือกหนึ่งในการส่งเสริมการเรียนรู้ ยังไม่สามารถทดแทนการเรียนการสอนทางการพยาบาล
ที่แท้จริงได้ เพราะพยาบาลเป็นศาสตร์ต้องอาศัยความรู้ ทัศนคติ ทักษะ ประสบการณ์ จิตวิญญาณ และประสาทสัมผัสทั้ง 5 ในการ
ดูแลสุขภาพของผู้รับบริการ ดังนั้นห้องเรียนเสมือนจริงจึงไม่สามารถทดแทนได้ทั้งหมด

ค�ำส�ำคัญ : ห้องเรียนเสมือนจริง, การเรียนการสอนส�ำหรับนักศึกษาพยาบาล

Abstract
The virtual classroom is an educational innovation in teaching and learning through a computer
network or online system. This is a challenge for nursing instructors to apply the virtual classroom to the
digital world. With the advancement of technology, students can access a wide range of learning resources,
review and learn them all the time. That can lead them to develop their knowledge, awareness and
professional skills. The important things that the instructors should consider the creation of the virtual

Corresponding Author: *e-mail: mscs.rsu46x@nursepolice.go.th


ปีที่ 19 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2561
Volume 19 No. 2 May - August 2018
Virtual Classroom in Teaching and Learning วารสารพยาบาลทหารบก
for Nursing Students in Digital Age Journal of The Royal Thai Army Nurses 121

classroom include selecting a topic or appropriate course content, meeting standards of the computer system,
interfacing harmonious and user-friendly design, using easy-to-remember symbols, and uploading various, fun,
and attractive multimedia. Moreover, it is comfortable to use. The space and style of the classroom are well
suited to visibility and content classification is ordered respectively. Teaching and learning activities are
appropriate for interaction. There are channels for searching or suggestions. A comprehensive assessment of
learning outcomes should be measured with course objectives and learning outcomes. Encouraging students
to learn in the virtual classroom with friends in pairs or in teams can help them to collaborate with others.
However, the virtual classroom is just a tool or option to promote learning. It cannot substitute for actual
nursing education because the nursing profession requires knowledge, attitude, skills, experience, spirit, and
senses. Therefore, the virtual classroom cannot replace all.

Keywords: Virtual Classroom, Teaching and Learning for Nursing Students

บทนำ� จัดการเรียนการสอนส�ำหรับนักศึกษาพยาบาลในยุคดิจิตอล
การจัดการเรียนการสอนในโลกยุคดิจิตอล (digital โดยกล่าวถึงความหมาย กระบวนการ ประโยชน์ ประเภท
age) ที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทส�ำคัญ และเป็นตัวเชื่อมหรือ ลักษณะ การออกแบบห้องเรียนเสมือนจริง เพื่อน�ำไปวางแผน
เป็นสิง่ อ�ำนวยความสะดวก (facilitator) ให้กบั การจัดการเรียน ในการออกแบบการเรียนการสอนส�ำหรับนักศึกษาพยาบาล
การสอนท�ำให้สถานศึกษาหลายแห่ง เกิดการปรับตัวและเตรียม ต่อไป
ความพร้อมทางด้านเทคโนโลยีมากยิ่งขึ้น สังคมปัจจุบันเป็น
สังคมแห่งการเรียนรู้ (knowledge based society) ทีไ่ ม่จำ� กัด ห้องเรียนเสมือนจริง (Virtual Classroom)
มีการแลกเปลีย่ นเรียนรูต้ ลอดเวลาจึงท�ำให้การเรียนรูไ้ ม่ได้จำ� กัด ห้องเรียนเสมือนจริง เป็นนวัตกรรมทางการศึกษาที่
อยู่เพียงบุคคลและสถานที่ เป็นการจัดการเรียนการสอนผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
การใช้ห้องเรียนเสมือนจริง (virtual classroom) หรือระบบออนไลน์ที่เชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ของผู้เรียนเข้ากับ
จึงเริ่มเข้ามามีบทบาทและมีความส�ำคัญมากยิ่งขึ้น ในหลักสูตร เครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ให้บริการเครือข่าย (file server) และ
พยาบาลศาสตร์ที่ต้องจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับ เครื่องคอมพิวเตอร์ผู้ให้บริการเว็บ (web server) ซึ่งอาจ
นักศึกษาพยาบาลที่มีรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลาย โดยมีทั้ง เป็ น การเชื่ อ มโยงระยะใกล้ ห รื อ ระยะไกลผ่ า นทางระบบ
แบบร่วมมือ แบบพึ่งพา แบบอิสระ แบบมีส่วนร่วม แบบหลีก อินเทอร์เน็ตที่ผู้สอนออกแบบระบบการเรียนการสอนให้มี
เลี่ยง และแบบแข่งขัน1 ประกอบกับปัญหาข้อร้องเรียนและ กิจกรรมและสื่อต่าง ๆ ผ่านเว็บไซต์ และให้ผู้เรียนเข้าสู่เว็บไซต์
สิทธิของผู้ป่วยที่ต้องการได้รับการพยาบาลที่ได้มาตรฐานตาม เพื่ อ เรี ย นรู ้ แ ละสร้ า งปฏิ สั ม พั น ธ์ ต ามสถานการณ์ ที่ เ กิ ด ขึ้ น
หลักสากลโดยเท่าเทียมกัน ท�ำให้การจัดการเรียนการสอน ซึ่งเรียกว่า การเรียนรู้เสมือนจริง (virtual learning) ภายใน
ทางการพยาบาลทีต่ อ้ งฝึกปฏิบตั กิ บั ผูป้ ว่ ยจริงอาจจะกระทบต่อ สถานที่ที่เรียกว่า ห้องเรียนเสมือนจริง (virtual classroom)
สิทธิของผู้รับบริการ การจัดการเรียนการสอนจึงต้องมีการ ที่ผู้สอนได้ออกแบบและจ�ำลองสภาพแวดล้อมภายในระบบ
เปลีย่ นแปลงเพือ่ เตรียมความพร้อมให้กบั นักศึกษาพยาบาลก่อน หรือเว็บไซต์ให้มีลักษณะคล้ายกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริง
ปฏิบตั กิ ารพยาบาลจริงโดยการเรียนรูผ้ า่ นห้องเรียนเสมือนจริง ในการเรียนการสอนในชัน้ เรียนโดยอาศัยสือ่ อิเล็กทรอนิกส์ การ
จะท�ำให้นกั ศึกษาพยาบาลลดความวิตกกังวล เกิดความมัน่ ใจใน สือ่ สารโทรคมนาคมและระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วย
การปฏิบัติการพยาบาล และผู้รับบริการได้รับความปลอดภัย เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา (anywhere anytime)
ขณะใช้บริการในโรงพยาบาล โดยไม่ต้องไปนั่งเรียนในห้องเรียนจริง ห้องเรียนเสมือนจริง
บทความนี้ มี วั ต ถุ ป ระสงค์ เ พื่ อ ให้ อ าจารย์ แ ละ จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการจัดการเรียนการสอนในโลก
นักศึกษาพยาบาลมีความรู้ ความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับการ ยุคดิจิตอล

ปีที่ 19 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2561


Volume 19 No. 2 May - August 2018
ห้องเรียนเสมือนจริงกับการเรียนการสอน วารสารพยาบาลทหารบก
122 สำ�หรับนักศึกษาพยาบาลในยุคดิจิตอล Journal of The Royal Thai Army Nurses

กระบวนการท� ำ งานของห้ อ งเรี ย นเสมื อ นจริ ง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ส่งไปยังผู้เรียนที่อยู่ภายนอกห้องเรียน


มี3 กระบวนการ2 ดังนี้ ผู้เรียนสามารถรับฟังและติดตามการสอนของผู้สอนได้จาก
1. กระบวนการท� ำ งานตามหน้ า ที่ แ ละจั ด แบ่ ง เครือ่ งคอมพิวเตอร์ของตนเองอีกทัง้ ยังสามารถโต้ตอบกับผูส้ อน
ประเภทตามข้อก�ำหนดหรือโปรโตคอลทีก่ ำ� หนดไว้ (functions หรือเพื่อนในชั้นเรียนได้ แต่ห้องเรียนแบบนี้ยังอาศัยสภาพ
and protocol classification process) เช่น การแบ่งปัน แวดล้อมทางกายภาพทีเ่ ป็นจริงทีเ่ รียกว่า Physical Education
เนื้อหาตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้ โดยน�ำข้อมูลในรูปแบบ Environment
ของภาพและเสียงส่งผ่านระบบอินเตอร์เน็ตเพื่อให้สามารถเข้า 2. ห้ อ งเรี ย นจากโปรแกรมคอมพิ ว เตอร์ ส ร้ า ง
ถึงได้จากทั่วโลก เป็นต้น ภาพเสมือนจริง เรียกว่า Virtual Reality โดยใช้สื่อที่เป็นตัว
2. กระบวนการท�ำงานอย่างเป็นวงจรตามล�ำดับชัน้ หนังสือ (text-based) หรือภาพกราฟิก (graphical-based)
ของผู้ใช้หรือระบบ (client/server sequential process) ส่งบทเรียนไปยังผูเ้ รียนโดยผ่านระบบโทรคมนาคมและเครือข่าย
3. กระบวนการท�ำงานร่วมกันระหว่างผู้สอนและ คอมพิวเตอร์ ห้องเรียนลักษณะนี้เรียกว่า Virtual Education
ผูเ้ รียน (collaborative functions for lecturer and student Environment ซึ่งถือเป็นห้องเรียนเสมือนจริงหรือ Virtual
process) Classroom ที่แท้จริง
การะบวนการทั้ง 3 กระบวนการ แสดงให้เห็นว่า การจัดการเรียนการสอนในลักษณะของห้องเรียน
การจัดการเรียนการสอนแบบห้องเรียนเสมือนจริงต้องอาศัย เสมื อ นจริ ง มั ก ใช้ กั บ การเรี ย นการสอนทางไกล ซึ่ ง ในบาง
องค์ประกอบที่ส�ำคัญคือ ผู้สอน ผู้เรียน ระบบ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยมีการประยุกต์ใช้รว่ มกันทัง้ แบบทีเ่ ป็นห้องธรรมดา
ที่ จ ะน� ำ มาสนั บ สนุ น การท� ำ งานของห้ อ งเรี ย นเสมื อ นจริ ง2 และห้องเรียนจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์สร้างภาพเสมือนจริง
ได้แก่ flash media (text, graphics, VDO), web page; และใช้ ก ารเรี ย นการสอนผ่ า นทางเครื อ ข่ า ยคอมพิ ว เตอร์ ท ี่
server architecture, protocol, client-server connection เชื่ อ มโยงอยู ่ ทั่ ว โลก และในปั จ จุ บั น ได้ มี ผู ้ พ ยายามจั ด ตั้ ง
flow, shared objects, blackboard, Moodle, the learning มหาวิทยาลัยเสมือนจริงขึ้น โดยเชื่อมโยงแหล่งข้อมูล (site)
activity management system (LAMS), chat, skype ต่าง ๆ ที่ให้บริการด้านการเรียนการสอนทางไกลแบบ Virtual
และ macromediaเป็นต้น Classroom เข้ า ไว้ ด ้ ว ยกั น และจั ด บริ เ วณอาคารสถานที่
ห้องเรียน ห้องสมุด ภาควิชา ตลอดจนศูนย์บริการต่าง ๆ แล้ว
ประโยชน์ของห้องเรียนเสมือนจริงมีดังนี้ ให้ ผู ้ ส อนและผู ้ เ รี ย น มี กิ จ กรรมร่ ว มกั น เสมื อ นเป็ น แหล่ ง
1. ลดค่าใช้จ่ายในการจัดสถานที่ ชุมชนวิชาการจริง แต่ข้อมูล เหล่านี้จะถูกบรรจุ อ ยู ่ ใ นศู น ย์
2. ประหยัดเวลา คอมพิวเตอร์ของแต่ละแห่ง ผู้ที่ประสงค์จะเข้าร่วมบริการ
3. ประหยัดค่าเดินทาง ดังกล่าวต้องมีการจองพื้นที่และเขียนโปรแกรมใส่ข้อมูลไว้
4. ประหยัดค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เมื่อผู้เรียนติดต่อเข้ามาโปรแกรมคอมพิวเตอร์จะแสดงภาพ
5. ปลอดภั ย กั บ ผู ้ เ รี ย นและผู ้ รั บ ริ ก ารเพราะใช้ เสียง ภาพเคลื่อนไหว และท�ำการโต้ตอบได้เสมือนหนึ่งเป็น
สถานการณ์ จ� ำ ลองในโลกเสมื อ นจริ ง ที่ อ ยู ่ ใ นคอมพิ ว เตอร์ มหาวิทยาลัยจริง และการติดต่อดังกล่าวสามารถท�ำได้ด้วยวิธี
หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ต่าง ๆ ดังนี้
6. สามารถเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา 1. บทเรียนและแบบฝึกหัดที่ผู้สอนส่งให้ผู้เรียน
7. เกิดการเรียนรู้ตลอดชีวิต (lifelong learning) ในรู ป วี ดิ ทั ศ น์ ห รื อ วี ดิ ทั ศ น์ ผ สมกั บ Virtual Reality หรื อ
8. เพิ่ ม พู น ความรู ้ ทั ก ษะ ความมั่ น ใจ และ CD-ROM ที่มีสื่อผสมทั้งภาพ เสียง การเคลื่อนไหว โดยผ่าน
ประสบการณ์ ระบบสัญญาณเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ดาวเทียม โทรทัศน์
ประเภทของห้องเรียนเสมือนจริง จ�ำแนกออกได้ หรือทางอีเมล์ ตามความต้องการของผู้เรียน
เป็น 2 ประเภท คือ 2. ผูเ้ รียนสามารถติดต่อสือ่ สารกับผูส้ อนได้โดยตรง
1. ห้ อ งเรี ย นธรรมดา ที่ มี ก ารถ่ า ยทอดสดภาพ ในขณะสอน และหากเป็นการเรียนที่ออนไลน์ (online) 100%
และเสียง ที่เกี่ยวกับบทเรียน โดยอาศัยระบบโทรคมนาคมและ จะเป็นการสื่อสารแบบสองทาง (two-way communication)

ปีที่ 19 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2561


Volume 19 No. 2 May - August 2018
Virtual Classroom in Teaching and Learning วารสารพยาบาลทหารบก
for Nursing Students in Digital Age Journal of The Royal Thai Army Nurses 123

ที่เปิดโอกาสให้มีการโต้ตอบได้ทันทีทันใดระหว่างผู้เรียนกับ เสริมควบคู่กันเป็นระบบคู่ขนานและเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้
ผู้สอนหรือระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียนด้วยกัน (synchronous ซักถามปัญหาหรือข้อสงสัยจากผู้สอน การศึกษาแบบทางไกล
interaction) เช่น การสนทนาออนไลน์ (chat) หรือการโต้ตอบ จึงมีลักษณะเป็นทั้งรายบุคคล หรือตามรูปแบบที่มหาวิทยาลัย
แบบไม่ทันทีทันใด (asynchronous interaction) เช่น การใช้ ก�ำหนด
จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (electronic mail: E-mail) หรือ 2. การจั ด การเรี ย นการสอนผ่ า นเครื อ ข่ า ย
การใช้ Web- board เป็นต้น อิ น เทอร์ เ น็ ต ที่ เ ชื่ อ มโยงเครื อ ข่ า ยคอมพิ ว เตอร์ ทั่ ว โลก
3. การทดสอบสมรรถนะกระท�ำได้หลายวิธี เช่น ภายใต้กฎเกณฑ์การต่อเชื่อม (protocol) อย่างเดียวกันที่เรียก
ทดสอบแบบออนไลน์ ห รื อ ทดสอบโดยผ่ า น ทาง E-mail ว่า TCP/IP ท�ำให้สามารถติดต่อสื่อสารกันสะดวก โดยมีการ
ซึ่งบางแห่งจะมีการจัดสอบโดยผ่านตัวแทนของมหาวิทยาลัย บริการ World Wide Web (www) เป็นวิธีการให้บริการข้อมูล
ในแต่ละพื้นที่ที่ผู้เรียนอาศัยอยู่ แบบหนึ่งบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตที่เป็นวิธีการที่พัฒนาขึ้นมา
การเรี ย นในห้ อ งเรี ย นเสมื อ นจริ ง สามารถใช้ กั บ เพื่ อ ความสะดวกต่ อ ผู ้ ใ ช้ โดยอาศั ย สมรรถนะที่ สู ง ขึ้ น ของ
การเรี ย นทางไกลได้ เพราะเป็ น การเรี ย นผ่ า นเครื อ ข่ า ย คอมพิวเตอร์และใช้กฎเกณฑ์การรับส่งข้อมูลแบบ Hypertext
คอมพิวเตอร์ ห้องเรียนเสมือนจริงยังเปิดโอกาสให้ผู้เรียน Transfer Protocol (http) ซึ่งมีจุดเด่นที่ส�ำคัญอยู่ 2 ประการ
สามารถเลือกเรียนวิชาที่ตนเองสนใจได้ตลอดเวลา ในทุกแห่ง คือ
ที่มีการเปิดสอน โดยไม่ต้องเข้าชั้นเรียน การเรียนเสมือนจริง 2.1 สามารถท�ำการเชื่อมโยงและเรียกข้อมูลที่
ยังท�ำให้เกิดความยืดหยุ่นในด้านเวลาและประหยัดค่าใช้จ่าย เกี่ยวข้องให้เข้ามาปรากฏได้ โดยวิธีการที่เรียกว่า Hyperlink
นอกจากนีผ้ เู้ รียนยังสามารถติดต่อกับผูส้ อนได้โดยตรง สามารถ 2.2 สามารถจัดการข้อมูลได้หลายรูปแบบไม่วา่
แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้เรียนคนอื่น ๆ ที่อยู่ห่างไกลกันได้ จะเป็นข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวเสียง และวีดิทัศน์ที่
อีกทัง้ เป็นการเรียนแบบช่วยเหลือซึง่ กันและกันหรือท�ำงานร่วม ออนไลน์บนอินเทอร์เน็ตท�ำให้เกิดเป็นโลกไซเบอร์ (cyber
กัน (collaborative learning) ท�ำให้เกิดความสัมพันธ์แบบ space) ที่เสมือนโลกจริง
เผชิญหน้า (face-to-face) ซึ่งในปัจจุบันมีการใช้เทคโนโลยีเช้า ในปัจจุบันได้มีการน�ำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์และ
ช่วยในการสนทนา โดยท�ำให้เห็นกันจริงในขณะนัน้ (real-time) เทคโนโลยีโทรคมนาคมเข้ามารวมอยูด่ ว้ ยกันท�ำให้มโี ลกเสมือน
โดยอาศัยกล้องวีดิทัศน์ที่เชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ใน จริงในแบบต่าง ๆ เพิ่มขึ้นอีกมากและที่เราควรรู้ ได้แก่
ระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต 1. การศึกษาเสมือน (virtual education) เป็น
แต่ ทั้ ง นี้ ค วามส� ำ เร็ จ และคุ ณ ภาพของการเรี ย น การจั ด การศึ ก ษาเสมื อ นจริ ง ที่ ท� ำ ให้ ก ารศึ ก ษาไร้ พ รมแดน
ในห้องเรียนเสมือนจริงนี้ยังขึ้นอยู่กับผู้เรียนเป็นส�ำคัญ เพราะ สถานศึกษาไม่ต้องมีวิทยาเขต ไม่ต้องมีบุคลากรมาก ผู้เรียนจะ
ต้องอาศัยการมีความรับผิดชอบ การบริหารตนและเวลาเพื่อ อยู่ที่ไหนก็ได้โดยสามารถเลือกเรียนกับสถาบันเสมือนแห่งใด
ติดตามเนือ้ หาบทเรียน การท�ำกิจกรรมและการท�ำแบบทดสอบ ก็ได้ตามที่ตนเองต้องการท�ำให้ผู้เรียนไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง
ต่าง ๆ ให้ทันตามก�ำหนดเวลา ซึ่งจะท�ำให้ประสบผลส�ำเร็จ การศึ ก ษาเสมื อ นจึ ง เป็ น การศึ ก ษาที่ เ ปิ ด กว้ า งให้ ผู ้ เ รี ย นได้
ในการเรียน เลือกลงทะเบียนเรียนวิชาที่เปิดสอนในต่างสถาบันได้มากขึ้น
ลั ก ษณะการจั ด การเรี ย นการสอนด้ ว ยห้ อ งเรี ย น และสะดวกขึ้น เป็นผลดีทั้งต่อผู้เรียนและต่อสถาบันเพราะ
เสมือนจริง ที่พบในปัจจุบัน ได้แก่ นอกจากจะเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ศึกษาหาความรู้อย่างกว้าง
1. การศึกษาทางไกล (distance learning) ดังที่ ขวางมากขึ้นแล้ว ยังท�ำให้สถาบันต่าง ๆ สามารถแบ่งปัน
กล่าวมาเป็นการศึกษาที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนที่ใฝ่รู้และใฝ่เรียน ทรัพยากรบุคคลที่หายากและมีจ�ำกัด ให้สามารถใช้ประโยชน์
แต่ไม่มีเวลาไปรับการศึกษาจากระบบการศึกษาปกติเนื่องจาก ร่วมกันระหว่างสถาบันได้อันน�ำไปสู่การประหยัดค่าใช้จ่าย
ภาระหน้าที่ การงานหรือปัญหาทางครอบครัว ได้เพิ่มพูน แต่ ทั้ ง นี้ ก ารศึ ก ษาเสมื อ นยั ง คงใช้ ผู ้ ส อนที่ เ ป็ น มนุ ษ ย์ เ ป็ น
ความรู้ ทักษะ หรือปรับปรุงความรู้ที่มีอยู่ให้ทันสมัยอยู่เสมอ ผู้สร้างบทเรียนและเป็นผู้ดูแลจัดการเรียนการสอน ไม่ได้ใช้
ตามความต้องการของตนเอง เพื่อประโยชน์ในการท�ำงานและ คอมพิวเตอร์หรือหุน่ ยนต์อจั ฉริยะมาท�ำการสอนอย่างทีบ่ างคน
การใช้ชวี ติ โดยใช้สอื่ ในการเรียนรูด้ ว้ ยตนเอง และอาจมีการสอน เข้ า ใจ เพราะกระบวนการถ่ า ยทอดนั้ น ยั ง ต้ อ งอาศั ย ผู ้ ที่ มี

ปีที่ 19 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2561


Volume 19 No. 2 May - August 2018
ห้องเรียนเสมือนจริงกับการเรียนการสอน วารสารพยาบาลทหารบก
124 สำ�หรับนักศึกษาพยาบาลในยุคดิจิตอล Journal of The Royal Thai Army Nurses

ประสบการณ์ มีบางขั้นตอนที่กระบวนการอัตโนมัติไม่สามารถ อิเล็กทรอนิกส์ที่เสริมกับระบบเดิมที่เรียกว่า e-Learning ให้มี


ท�ำได้เช่น การตัดสินใจเชิงจริยธรรม เป็นต้น ดังนั้นการจัดการ การใช้ไอทีเพื่อการศึกษาอย่างกว้างขวางเพื่อรองรับระบบการ
ศึกษาเสมือนจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งส�ำหรับผู้ที่สนใจเรียนแต่ เรียนรู้ที่มีข้อมูลข่าวสารจ�ำนวนมาก (big data) การเรียนรู้ที่มี
ไม่มีเวลาหรือไม่สะดวกในการเดินทางให้สามารถเรียนรู้ได้ด้วย ประสิทธิภาพประสิทธิผลสูง แต่เงินลงทุนต�่ำและได้ผลลัพธ์
ตนเอง (self-study) และเรียนรู้ได้จากระยะไกลอีกทั้งยัง ในเชิ ง บวกกั บ ผู ้ เ รี ย นส่ ว นใหญ่ จึ ง เป็ น สิ่ ง ที่ ม หาวิ ท ยาลั ย ให้
เอื้ออ�ำนวยต่อการเรียนรู้แบบต่อเนื่องตลอดชีวิต (lifelong ความส�ำคัญและพัฒนาระบบ e-University ต่อไป
learning) การออกแบบห้องเรียนเสมือน (virtual class-
2. มหาวิทยาลัยเสมือนจริง (virtual university) room designs) ที่ผ่านมามีดังนี้
เป็ น มหาวิ ท ยาลั ย ที่ ไ ม่ มี ข ้ อ จ� ำ กั ด ในด้ า นเวลาและสถานที ่ 1. Learning is fun โดยออกแบบให้ผู้เรียนมีความ
ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนเวลาใด หรือเรียนจากที่ไหนก็ได้ใน สนุกและไม่เครียดในการเข้าห้องเรียน ซึง่ อาจใช้เทคโนโลยีของ
มหาวิทยาลัยเสมือนจริงไม่วา่ จะเป็นห้องเรียน ห้องทดลอง ห้อง JAVA มาเสริมในการเรียนรู้ ท�ำให้ผู้เรียนได้เล่นเกมในขณะที่
สมุด หรือห้องประชุมกลุ่มย่อย มีการเปิดบริการตลอดทั้งวัน เรียนเนื้อหาในรายวิชา
ไม่มีวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ผู้เรียนของมหาวิทยาลัยเสมือนจริงไม่ 2. Multimedia มีการใช้สื่ออย่างหลากหลายใน
ต้องเดินทางไปมหาวิทยาลัย ไม่ต้องเสียเวลาหาที่จอดรถ หรือ การส่งเสริมการเรียนรู้ โดยในบทเรียนอาจประกอบด้วยข้อความ
ไม่ต้องแต่งเครื่องแบบไปเรียน เพราะสามารถเรียนอยู่หน้าจอ ภาพและเสียง ทีส่ ามารถใช้ปลายนิว้ สัมผัสกับสือ่ อิเล็กทรอนิกส์
คอมพิวเตอร์ซงึ่ ผูเ้ รียนสามารถอยูท่ ไี่ หนในบ้านหรืออยูท่ ที่ ำ� งาน ต่าง ๆ ได้
หรือใช้เวลาหลังเลิกงานก็สามารถเรียนได้ 3. Asynchronous learning เป็นการออกแบบ
3. สถาบันเสมือน โดยส�ำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ การเรียนรู้ที่ไม่จ�ำเป็นต้องมีผู้สอนอยู่กับผู้เรียนในเวลาและ
และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เป็นหน่วยงานของรัฐที่มี สถานทีเ่ ดียวกัน ผูส้ อนอาจจัดท�ำ/รวบรวม “บทเรียนออนไลน์”
บทบาทหน้าทีใ่ นการส่งเสริมการน�ำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มาให้ผู้เรียนได้ใช้เรียนที่ไหนก็ได้ เวลาใดก็ได้ ตามที่ผู้เรียน
มาใช้ พั ฒ นาประเทศ ได้ จั ด ตั้ ง สถาบั น เสมื อ นแห่ ง แรกของ สะดวก ซึ่งบทเรียนที่มีในระบบมีให้เลือกอย่างเหมาะสม และ
ประเทศไทยขึ้นมามีชื่อว่า สถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์และ สามารถเชื่อมโยงบทเรียนที่ศึกษาไปยังบทเรียนอื่นที่เกี่ยวข้อง
เทคโนโลยีไทย (สบวท.) (Thailand Graduate Institute for กันได้
Sciences and Technology:TGIST) ซึ่งได้สร้างเครือข่าย 4. Electronic library คือ ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์
ความร่ ว มมื อ (consortium) กั บ มหาวิ ท ยาลั ย และได้ จั ด ที่ผู้เรียนสามารถค้นหาสิ่งที่ต้องการจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ
ท�ำเว็ปไซต์ http://www.learn.in.thเพื่อจัดระบบการเรียน ทั่วโลก โดยใช้เครื่องมือหรือโปรแกรมส�ำหรับค้นหาข้อมูลบน
ผ่านอินเทอร์เน็ตในลักษณะของตลาดนัดส�ำหรับการศึกษา อินเทอร์เน็ต (search engine) หรืออาจค้นหาหนังสือจาก
ผ่านอินเทอร์เน็ตของประเทศไทย ซึง่ เปิดโอกาสให้มหาวิทยาลัย ห้ อ งสมุ ด ของมหาวิ ท ยาลั ย ต่ า ง ๆ และในห้ อ งสมุ ด อาจ
ต่าง ๆ ได้แลกเปลี่ยนรายวิชาซึ่งกันและกัน และเป็นศูนย์กลาง มีการบริการข้อมูลสารสนเทศตามความต้องการของผู้เรียน
การศึกษาต่อเนื่องส�ำหรับวิชาชีพต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน (information on demand) โดยที่ผู้เรียนสามารถเรียกดู
สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี3 ข้อมูลสารสนเทศได้ จากจอภาพ (monitor) ที่ติดตั้งอยู่ภายใน
4. มหาวิทยาลัยอิเล็กทรอนิกส์ (e-University) ห้องสมุด
เทคโนโลยีสารสนเทศโดยเฉพาะเครือข่ายคอมพิวเตอร์ท�ำให้ นอกจากนี้ หากผู้สอนต้องการออกแบบห้องเรียน
ระยะทางไม่มีความหมาย และระบบคอมพิวเตอร์ยังช่วยให้ เสมือนจริงยังต้องค�ำนึงถึงการสร้างสภาพแวดล้อมทางการเรียน
ประมวลผลข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว เก็บข้อมูลได้มากขึ้น ค้นหา (learning environment) เพราะมีผลต่อการเรียนรูข้ องผูเ้ รียน
ข้อมูลได้สะดวกและรวดเร็วขึน้ ตลอดจนแลกเปลีย่ นข่าวสารกัน ทั้งทางตรงและทางอ้อม สภาพแวดล้อมโดยทั่วไปจะมีได้ทั้งที่
อย่างทันทีทนั ใดในระบบออนไลน์ ท�ำให้ระบบการท�ำงานต่าง ๆ เป็ น รู ป ธรรมและนามธรรม สภาพแวดล้ อ มที่ เ ป็ น รู ป ธรรม
ขยายตั ว และให้ บ ริ ก ารได้ ก ว้ า งขวางครอบคลุ ม ทุ ก พื้ น ที่ (concrete environmental) หรือสภาพแวดล้อมทางกายภาพ
มหาวิทยาลัยจึงหันมาให้ความสนใจกับระบบการเรียนรู้แบบ (physical environment) ได้แก่สภาพต่าง ๆ ที่มนุษย์ท�ำขึ้น

ปีที่ 19 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2561


Volume 19 No. 2 May - August 2018
Virtual Classroom in Teaching and Learning วารสารพยาบาลทหารบก
for Nursing Students in Digital Age Journal of The Royal Thai Army Nurses 125

เช่น อาคาร สถานที่ โต๊ะ เก้าอี้ วัสดุ อุปกรณ์ หรือสื่อต่าง ๆ design: HCIs) ทีป่ ระกอบด้วยการออกแบบสัญลักษณ์ทใี่ ช้แทน
รวมทัง้ สิง่ ต่าง ๆ ทีอ่ ยูต่ ามธรรมชาติ ได้แก่ ต้นไม้ พืช ภูมปิ ระเทศ ไอคอน (icon) การเข้าใช้งาน การออกแบบการใช้งานส่วนต่อ
ภูมิอากาศ ส่วนสภาพแวดล้อมที่เป็นนามธรรม (abstract ประสาน (interface usability) การออกแบบหน้าตาของพื้นที่
environmental) หรื อ สภาพแวดล้ อ มทางจิ ต วิ ท ยา ใช้งาน (interface style) รูปแบบ (model)ที่เป็นโครงสร้าง
(psychological environment) ได้แก่ ระบบคุณค่าที่เป็น ของการจัดการเรียนการสอนและการเรียนรู้ ซึง่ แบ่งออกได้เป็น
ส่วนส�ำคัญของวัฒนธรรม กลุ่มสังคมข่าวสาร ความรู้ ความคิด 2 รูปแบบ คือ รูปแบบการน�ำเสนอความรู้ (knowledge
ตลอดจนความรู ้ สึ ก นึ ก คิ ด และเจตคติ ต ่ า ง ๆ ไม่ ว ่ า จะเป็ น representation model) และรูปแบบการเรียนรูโ้ ดยใช้ปญ ั หา
ของตนเองหรือคนอื่นก็ตาม เป็นฐาน (problem-based learning model) ซึ่งผู้เรียน
จากการรวบรวมข้อมูลเกีย่ วกับรูปแบบของห้องเรียน จะมีล�ำดับขั้นในการใช้งานที่ต้องผ่านบทน�ำ (introduction)
เสมือนจริงพบว่า ยังมีการพูดถึงส่วนต่อประสาน (virtual การก�ำหนดกิจกรรม (routes) เนื้อหาการเรียนรู้ (learning
classroom interface designs) ที่อาศัยพื้นฐานการออกแบบ content) และการประเมินผล (assessment) อีกทั้งควรค�ำนึง
จากทฤษฎีการเรียนรู้ออนไลน์ (online learning theory) ถึ ง ส่ ว นต่ อ ประสานที่ เ ป็ น กรอบโครงสร้ า งหรื อ หน้ า ตาของ
โดยส่ ว นต่ อ ประสานส่ ว นหนึ่ ง ที่ เ รามั ก พบคื อ การสื่ อ สาร ห้องเรียนเสมือนจริง (interface layout) และสีที่ใช้ในการ
(communication) ระหว่างผูเ้ รียนกับสิง่ แวดล้อมทีถ่ กู สร้างขึน้ ออกแบบ (color solutions) เพราะการเลือกใช้สีมีส่วน
ให้เสมือนจริง (virtual environment) เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ ส�ำคัญในการกระตุ้นการมองเห็นซึ่งจะส่งผลต่ออารมณ์และ
หรื อ เกิ ด ปฏิ สั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งผู ้ เ รี ย นกั บ โลกเสมื อ นจริ ง ถ้ า ความสนใจของผูใ้ ช้ (users) ตัวอย่างเช่น ถ้าออกแบบตัวหนังสือ
ออกแบบมาดีจะท�ำให้ผใู้ ช้รสู้ กึ ได้ถงึ ความเป็นมิตรต่อการใช้งาน ในห้องเรียนเสมือนจริงเป็นสีเขียว สีน้�ำเงิน หรือ สีด�ำ ควรใช้
(user-friendly) เกิดความสนุก ความสะดวกสบายในการเข้าใช้ พืน้ สีขาว ซึง่ จะให้ผลลัพธ์จากการมองเห็นทีด่ มี าก (very good)
และอาจต้องอาศัยหลักการออกแบบส่วนต่อประสานปฏิสมั พันธ์ แต่ถ้าใช้ตัวหนังสือสีน�้ำเงิน พื้นสีแดง ผลลัพธ์ที่ได้จากการมอง
ระหว่างมนุษย์กบั คอมพิวเตอร์ (human computer interface เห็นจะออกมาแย่ (bad)(4) ดังตาราง 1

ตาราง 1 ผลลัพธ์ของการมองเห็นจากการออกแบบ(4)

สีตัวอักษร สีพื้น ผลลัพธ์การมองเห็น


เขียวน�้ำเงินหรือด�ำ ขาว ดีมาก

ด�ำ เหลือง ดี
ขาว แดง หรือ ส้ม ไม่ดี
แดง เหลือง ไม่ดี
เขียว แดง เกือบแย่
แดง เขียว เกือบแย่
ขาว เหลือง แย่
น�้ำเงิน แดง แย่

ปีที่ 19 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2561


Volume 19 No. 2 May - August 2018
ห้องเรียนเสมือนจริงกับการเรียนการสอน วารสารพยาบาลทหารบก
126 สำ�หรับนักศึกษาพยาบาลในยุคดิจิตอล Journal of The Royal Thai Army Nurses

ในอนาคตลักษณะของ Virtual Classroom จะผนวก สามารถประเมินอาการทางจิต (psychiatric symptoms)


เข้ากับวิถชี วี ติ ของผูเ้ รียนและเป็นส่วนหนึง่ ของสังคมไร้พรมแดน ได้ และนักศึกษาพยาบาลชั้นปีต้น ๆ จะสัมภาษณ์ผู้รับบริการ
หรือสังคมแห่งการเรียนรูต้ ลอดชีวติ ห้องเรียนเสมือนจริงจึงเป็น อวตาลได้ ด ้ ว ยเครื่ อ งมื อ ประเมิ น อาการทางจิ ต และจาก
อีกทางเลือกหนึง่ ของผูเ้ รียนในยุคดิจติ อลทีต่ อ้ งการเรียนรูอ้ ย่าง ประสบการณ์ของผู้เรียนจ�ำนวน 800 คนที่เข้าใช้โลกจ�ำลอง
ไม่จ�ำกัด เสมือนจริงดังกล่าว พบว่า การจ�ำลองเสมือนจริงมีประสิทธิภาพ
ดี อีกทั้งไม่มีอันตรายจากสิ่งแวดล้อม และน�ำไปสู่การพัฒนา
การจัดการเรียนการสอนห้องเรียนเสมือนจริงในหลักสูตร ทั ก ษะการสั ม ภาษณ์ ผู ้ รั บ บริ ก ารตามที่ ห ลั ก สู ต รก� ำ หนด
พยาบาลศาสตร์ จึงเหมาะสมที่อาจารย์พยาบาลจะน�ำไปใช้ในการเรียนการสอน
จากการทบทวนวรรณกรรมพบว่า ในประเทศไทย ในหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตต่อไป6
ยังไม่พบการจัดการเรียนการสอนด้วยห้องเรียนเสมือนจริง ประโยชน์ ข องการใช้ ห ้ อ งเรี ย นเสมื อ นจริ ง ที่ พ บ
ที่แท้จริง เป็นการใช้งานเพียงบางส่วนหรือบาง applications ในการเรียนการสอนทางการพยาบาล คือ สามารถช่วยอ�ำนวย
เท่านัน้ และในต่างประเทศพบว่า มีการใช้เกมจ�ำลองเสมือนจริง ความสะดวกในการศึ ก ษาทางไกล โดยใช้ สิ่ ง แวดล้ อ มใน
(virtual gaming simulation) ร่วมกับการใช้ห้องปฏิบัติการ การเรียนรู้แบบออนไลน์ (online learning environments)
จ�ำลอง (simulation laboratory) เปรียบเทียบกับการใช้ห้อง ได้แก่ Blackboard collaborate ที่เป็นเทคโนโลยีการเรียนรู้
ปฏิบัติการจ�ำลอง (simulation laboratory) เพียงอย่างเดียว แบบร่วมมือรวมพลังในระบบออนไลน์ (online collaborative
แล้ววัดผลลัพธ์คอื ความรู้ (knowledge) ความเชือ่ มัน่ ในตนเอง learning: OCL) ที่ออกแบบเป็นห้องเรียนเสมือนจริงท�ำให้
(self-efficacy) และความพึงพอใจ (satisfaction) ผลการศึกษา สะดวกในการค้นหาข้อมูลและรวบรวมความรู้อย่างเป็นระบบ
พบว่า กลุม่ ทดลองทีใ่ ช้เกมจ�ำลองเสมือนจริงร่วมกับการใช้หอ้ ง และยังเสริมสร้างก�ำลังใจในการท�ำงานร่วมกัน สามารถน�ำไป
ปฏิบัติการจ�ำลองและกลุ่มควบคุมที่ใช้เพียงห้องปฏิบัติจ�ำลอง ใช้ได้ทั้งในหลักสูตรระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษาเพราะ
มีความรู้เพิ่มขึ้นทั้ง 2 กลุ่ม โดยมีคะแนนความพึงพอใจอยู่ใน สามารถช่วยรวบรวมข้อมูลและส่งเสริมการเรียนรู้ทางไกล7
ระดับสูงทั้ง 2 กลุ่ม แต่กลุ่มทดลองมีคะแนนความเชื่อมั่นใจ จากการศึกษาประสิทธิผลของการฝึกในห้องเรียน
ตนเองเพิ่มสูงขึ้นมากกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยส�ำคัญทางสถิติ เสมือนจริงของนักศึกษาพยาบาลในประเทศอินเดีย พบว่า
ที่ระดับ .05 แสดงให้เห็นว่าการใช้เกมเสมือนจริงร่วมกับ การฝึกในห้องเรียนเสมือนจริงสามารถเพิ่มความรู้และทักษะที่
การลงมือปฏิบัติในห้องปฏิบัติการจ�ำลองมีความเหมาะสม ส�ำคัญในการดูแลมารดาและทารกของนักศึกษาพยาบาลชั้น
ในการน�ำไปใช้ในการส่งเสริมความมั่นใจในการเรียนการสอน ปีสุดท้ายได้ โดยคะแนนเฉลี่ยความสามารถในการประเมิน
ทางการพยาบาล 5 สอดคล้ อ งกั บ การออกแบบห้ อ งเรี ย น มารดาและทารกก่อนการทดลองเท่ากับ 21.3 แล้วเพิ่มขึ้นหลัง
เสมือนจริงที่ส่งเสริมให้เกิด Learning is Funจากการใช้เกม การทดลองเป็น 62.0 แสดงให้เห็นความแตกต่างของคะแนน
เข้ามามีส่วนกระตุ้นผู้เรียนให้เกิดความสนใจและได้ความรู ้ เฉลี่ ย จากการฝึ ก ในห้ อ งเรี ย นเสมื อ นจริ ง อย่ า งมี นั ย ส� ำ คั ญ
จากการเรียน นอกจากนี้ยังพบการใช้การจ�ำลองเสมือนจริง ทางสถิติที่ระดับ .058 สอดคล้องกับผลการศึกษาการใช้การ
(virtual simulations) ในหลั ก สู ต รพยาบาลศาสตร์ เ พื่ อ เรียนรู้เสมือนจริงในการส่งเสริมความตระหนักรู้ในวัฒนธรรม
เตรี ย มความพร้ อ มของนั ก ศึ ก ษาพยาบาลในการสั ม ภาษณ์ ของนักศึกษาพยาบาล โดยผลการศึกษาพบว่า การเรียนรูเ้ สมือน
ผู้รับบริการ โดยสามารถพัฒนาความสามารถในการสื่อสาร จริงช่วยให้นักศึกษาพยาบาลมีความตระหนักรู้ในวัฒนธรรม
และทักษะในการประเมินผู้ป่วย เพราะโครงสร้างของโลก เหมือนกันทุกคน และความตระหนักรู้อยู่ในระดับสูง9
เสมือนจริงทีจ่ ำ� ลองขึน้ นัน้ มีลกั ษณะคล้ายกับโลกทีม่ ชี วี ติ ใบที่ 2 การประเมิ น ผลการใช้ ห ้ อ งเรี ย นเสมื อ นจริ ง ใน
ที่ประกอบด้วยนักศึกษาพยาบาลและผู้รับบริการที่เป็นร่าง นักศึกษาพยาบาล พบว่า การจัดประสบการณ์ในห้องเรียน
อวตาล (avatar) โดยก�ำหนดให้นกั ศึกษาพยาบาลได้ฝกึ คลีค่ ลาย เสมือนจริง (virtual classroom experience) ของนักศึกษา
สถานการณ์ที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม ในช่วงวัยของ พยาบาลที่ เ รี ย นวิ ช าวิ ท ยาศาสตร์ ชี ว ภาพ (bioscience)
ผู้รับบริการที่หลากลายให้นักศึกษาพยาบาลฝึกท�ำกรณีศึกษา โดยใช้ห้องเรียนเสมือนจริงที่ใช้เว็บไซต์เป็นฐานในการเรียนรู้
โดยเลื อ กกรณี ศึ ก ษามาประเมิ น ภาวะสุ ข ภาพ อั น จะท� ำ ให้ (web-based virtual classroom) สามารถกระตุน้ ให้นกั ศึกษา

ปีที่ 19 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2561


Volume 19 No. 2 May - August 2018
Virtual Classroom in Teaching and Learning วารสารพยาบาลทหารบก
for Nursing Students in Digital Age Journal of The Royal Thai Army Nurses 127

พยาบาลเกิดปฏิสัมพันธ์ร่วมกัน มีการอภิปรายแบบเห็นหน้า References


ซึ่งกันและกัน (synchronous face-to-face discussion) 1. Janepanish Visudtibhan P, & Disorntatiwat, P.
ระหว่างนักศึกษาพยาบาลกับติวเตอร์ (tutors) ซึ่งนักศึกษา Learning style preferences of nursing students
พยาบาลชั้นปีที่ 1 ได้รับมอบหมายให้เข้าไปในห้องเรียนเสมือน at Ramathibodi School of Nursing, Faculty of
จริ ง ทั้ ง ในและนอกวิ ท ยาเขตมี ก ารท� ำ กิ จ กรรมร่ ว มกั น ใน Medicine, Ramathibodi Hospital, Mahidol
ห้องเรียนเสมือนจริงที่ใช้เว็บไซต์เป็นฐานเป็นเวลา 13 สัปดาห์ University. Nursing Journal of the Ministry of
เมื่อครบก�ำหนดแล้วมีการประเมินผลพบว่า นักศึกษาพยาบาล Public Health. 2015;25(1):70-82.
ทัง้ ทีอ่ ยูน่ อกและในวิทยาเขตมีความพึงพอใจในการใช้หอ้ งเรียน 2. Seewungkum D, Ketmaneechairat, H., & Caspar,
เสมือนจริงและการทีน่ กั ศึกษาพยาบาลเกิดความใส่ใจการเรียน M. A framework of virtual classroom model
ในห้องเรียนเสมือนจริงจนท�ำให้สอบผ่านตามหลักสูตรแม้จะอยู่ on the Internet. The First International
ภายนอกวิทยาเขต คือ การมีเพื่อนคู่คิด (buddy) นอกจากนี้ Conference on Future Generation Communication
จากใช้หอ้ งเรียนเสมือนจริงยังมีผลลัพธ์ทดี่ ี โดยช่วยให้นกั ศึกษา Technologies. 2012:156-61.
พยาบาลลดความวิตกกังวล มีก�ำลังใจในการเรียน และท�ำให้ 3. Aroonpiboon B. Goal of Thai OER/MOOC 2014.
นักศึกษาพยาบาลนอกวิทยาเขตมีความรู้ที่ลึกซึ้งมากกว่าการ 4. Zhan z. A review of virtual classroom interface
เรี ย นในหลั ก สู ต รปกติ เ พราะมี โ อกาสได้ เ รี ย นรู ้ ด ้ ว ยตนเอง designs. 20IO International Conference on
ตามความเหมาะสม10 Educational and Information Technology
(ICEIT 2010). 2010:V2-264-7.
สรุป 5. Verkuyl M, Romaniuk, D., Atack, L., & Mastrilli,
การจัดการเรียนการสอนส�ำหรับนักศึกษาพยาบาล P. Virtual Gaming Simulation for Nursing
ในยุคดิจิตอลเป็นความท้าทายส�ำหรับอาจารย์พยาบาลที่ต้อง Education: An Experiment. Clinical Simulation
ออกแบบการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับลักษณะของผูเ้ รียน In Nursing. 2017;13(5):238-44.
และเปิดโอกาสให้ผเู้ รียนได้เรียนรูด้ ว้ ยตนเอง ท�ำให้เกิดการเรียน 6. Sweigart L, Burden, M., Carlton, K. H., & Fillwalk,
รู้เชิงรุก (active learning) ซึ่งนักศึกษาพยาบาลสามารถเรียน J. Virtual Simulations across Curriculum
รู้ล่วงหน้าหรือโต้ตอบกับอาจารย์พยาบาลได้ทั้งภายในหรือ Prepare Nursing Students for Patient
ภายนอกสถานศึกษา และสิง่ ส�ำคัญในการสร้างห้องเรียนเสมือน Interviews. Clinical Simulation in Nursing. 2014;
จริงคือการเลือกหัวข้อสอนหรือเนือ้ หาทีเ่ หมาะสมรวมถึงมีระบบ 10(3):e139-e45.
คอมพิวเตอร์ที่ได้มาตรฐานมาสนับสนุนมีการออกแบบตามขั้น 7. Pascoe E, & Karasmanis, S. Virtual classroom
ตอนการสร้างห้องเรียนเสมือนจริงมีการส่งเสริมการเรียนเป็นคู่ technology: facilitating distance education
หรือเป็นทีม และมีการประเมินผลการเรียนรู้ที่ครอบคลุมตาม nurses’ knowledge of systematic literature
วัตถุประสงค์รายวิชาและผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตรซึ่งจะ searching. In B. Hegarty, J. McDonald, & S.-K.
ช่วยเพิม่ ประสิทธิผลและประสิทธิภาพของการจัดการเรียนการ Loke (Eds.). Rhetoric and Reality: Critical
สอนส�ำหรับนักศึกษาพยาบาลในยุคดิจติ อลให้บรรลุตามผลลัพธ์ perspectives on educational technology
การเรียนรู้และมีทักษะวิชาชีพพยาบาลที่ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น Proceedings ascilite Dunedin. 2014:475-9.

ปีที่ 19 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2561


Volume 19 No. 2 May - August 2018
ห้องเรียนเสมือนจริงกับการเรียนการสอน วารสารพยาบาลทหารบก
128 สำ�หรับนักศึกษาพยาบาลในยุคดิจิตอล Journal of The Royal Thai Army Nurses

8. Agrawal N, Kumar, S., Balasubramaniam, S. M., 9. Waters N. The Effect of Virtual-Learning on the
Bhargava, S., Sinha, P., Bakshi, B., & Sood, B. Cultural Awareness of Nursing Students.
Effectiveness of virtual classroom training in Nursing Theses and Capstone Projects.
improving the knowledge and key maternal 2014(41).
neonatal health skills of general nurse 10. O’Flaherty JA, & Laws, T. A. Nursing student’s
midwifery students in Bihar, India: A pre- evaluation of a virtual classroom experience
and post-intervention study. Nurse education in support of their learning Bioscience. Nurse
today. 2016;36:293-7. education in practice. 2014;14(6):654-9.

ปีที่ 19 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2561


Volume 19 No. 2 May - August 2018

You might also like