Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 22

ระบบกระดูก&ระบบกล้ามเนื้อ

กล้ามเนื้อต่างๆ การดูเเลรักษาระบบกระดูกเเละกล้ามเนื้อ
ระบบกระดูก
เป็นโครงสร้างของร่างกาย ช่วยป้องกันอวัยวะบอบบาง
BRUNO MARS
ต่างๆ ที่อยู่ภายใน ที่เกาะเกี่ยวอยู่ภายในกระดูกแต่ละส่วน
ของร่างกาย

มนุษย์มีกระดูกทั้งหมด 206 ชิ้น แบ่งออกเป็น 2 ประเภท


คือ กระดูกแกนกลางของร่างกาย (Axial skeletal)
มีทั้งหมด 80 ชิ้น กระดูกระยางค์ (Appendicular
skeletal) ประกอบด้วย กระดูก 126
ระบบโครงกระดูกประกอบไปด้วยองค์ประกอบที่สำคัญ ดังนี้

กระดูกอ่อน (Cartilage)
ทำหน้าที่รองรับส่วนที่อ่อนนุ่มของร่างกาย เพื่อที่จะทำให้การ
เคลื่อนไหวได้สะดวก ป้องกันการเสียดสี เนื่องจากผิวของ
กระดูกอ่อนเรียบ จึงพบว่ากระดูกอ่อนจะอยู่ที่ปลายหรือหัว
กระดูกที่ประกอบเป็นข้อต่อต่าง ๆ และยังเป็นต้นกำเนิดของ
กระดูกแข็งทั่วร่างกาย

ข้อต่อ (Joints)
คือส่วนต่อระหว่างกระดูกตั้งแต่สองชิ้นขึ้นไป
มาต่อกัน เพื่อการเคลื่อนไหวของร่างกาย
เอ็น (Tendon)
มีทั้งที่เป็นเอ็นกล้ามเนื้อและเอ็นยึดข้อ เป็นเนื้อเยื่อที่มี
ความแข็งแรงมาก มีลักษณะเป็นเส้นใยเหนียว ช่วยยึด
กระดูกกับกล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ไว้ด้วยกัน

กระดูก (Bone)
เป็นส่วนที่แข็งที่สุด โครงกระดูกในผู้ใหญ่ ประกอบ
ด้วยกระดูกจำนวน 206 ชิ้น ส่วนในทารกแรกเกิด
จะมีกระดูกถึง 300 ชิ้นเพราะกระดูกอ่อนยังไม่ติดกัน
และยังมีองค์ประกอบสำคัญภายในกระดูก คือ
ไขกระดูก
ขณะเดียวกันกระดูกยังเป็นแหล่งเก็บสะสมเกลือแร่ชนิดต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
แคลเซียมและฟอสฟอรัส
บริเวณรอบกระดูกจะมีเนื้อเยื่อหนาห่อหุ้มอยู่เรียกว่า เยื่อหุ้มกระดูก (Periosteum)
ซึ่งเยื่อหุ้มกระดูกนี้ ประกอบด้วยเซลล์กระดูกและหลอดเลือด ซึ่งจะนำเลือดมาเลี้ยง
ในส่วนของกระดูกชั้นนอกหรือเรียกว่า กระดูกทึบ
การดูแลระบบกระดูก
1.รับประทานอาหารที่มีแคลเซียมและวิตามินดี แคลเซียมจะช่วยสร้างความแข็ง
แรงของกระดูก วิตามินดีจะช่วยเพิ่มการดูดซึมแคลเซียมเข้าสู่ร่างกาย อาหารที่มี
แคลเซียมสูง เช่น นม ผักใบเขียว ปลาตัวเล็ก ถั่วต่างๆ

2.ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เลือกการออกกำลังกายแบบลงน้ำหนัก เช่น วิ่ง


เหยาะๆ เต้นรำ เทนนิส หรือ การเดินขึ้นลงบันได ทั้งหมดนี้จะช่วยป้องกันการ
หกล้ม และลดความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหัก

3.หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจากมีผลเพิ่มความ
เสี่ยงต่อภาวะกระดูกหัก
he got diamond
SHEESHHHH
ระบบกล้ามเนื้อ
กล้ามเนื้อ (Muscle) เป็นเนื้อเยื่อที่หดตัวได้
ในร่างกาย เปลี่ยนแปลงมาจากเมโซเดิร์ม
(mesoderm) ของชั้นเนื้อเยื่อในตัวอ่อน
และเป็นระบบหนึ่งของร่างกายที่สำคัญต่อ
การเคลื่อนไหวทั้งหมดของร่างกาย
แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่

**เมโซเดิร์ม เป็นหนึ่งในชั้นของเนื้อเยื่อที่ปกคลุมพื้นผิวของร่างกาย
ประเภทของกล้ามเนื้อ
กล้ามเนื้อเรียบ (Smooth Muscle)
พบได้ที่อวัยวะภายในของร่างกาย และเป็นกล้ามเนื้อที่ทำงานอยู่ตลอด
กล้ามเนื้อแบบนี้มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า กล้ามเนื้อนอกอำนาจจิตใจ สมอง
และร่างกายจะสั่งให้กล้ามเนื้อเรียบทำงานด้วยตัวของมันเอง เช่น
ในกระเพาะ และระบบการย่อยอาหาร

กล้ามเนื้อหัวใจ (Cardiac Muscle)


เป็นกล้ามเนื้อนอกอำนาจจิตใจเหมือนกับกล้ามเนื้อเรียบ ทำให้เกิด
การเต้นของหัวใจ อยู่ตลอดเวลา กล้ามเนื้อหัวใจจะบีบตัว
(Contract) เพื่อดันเลือดส่งออกไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย และ
คลายตัว (Relax) เพื่อให้เลือดไหลกลับเข้ามาสู่หัวใจ
กล้ามเนื้อลาย (Skeletal Muscle)

กล้ามเนื้อลายเป็นกล้ามเนื้อภายใต้อำนาจจิตใจ ชนิดเดียวในร่างกาย
กล้ามเนื้อลายจะห่อหุ้มโครงกระดูกของเราไว้ และทั้งสองอย่างจะ
ทำงานร่วมกัน ทำให้ร่างกายสามารถทำงานได้

กล้ามเนื้อลายมีรูปร่างและขนาดที่หลากหลาย จึงทำงานได้หลากหลาย
รูปแบบ
หน้าที่สำคัญของกล้ามเนื้อ
1. คงรูปร่างท่าทางของร่างกาย (Maintain Body Posture)
2. ยึดข้อต่อไว้ด้วยกัน (Stabilize Joints)
3. ทำให้ร่างกายเคลื่อนไหว (Provide Movement)
โดยการเปลี่ยนพลังงานที่ได้จากสารอาหารมาเป็นพลังงาน
กล(Mechanical Energy) หรือพลังงานที่เกี่ยวข้องกับการ
เคลื่อนไหว
4.รักษาระดับอุณหภูมิของร่างกาย(Maintain Body
Temperature) โดยผลิตความร้อนออกมาตามที่ร่างกาย
ต้องการ
การดูแลระบบกล้ามเนื้อ
1.ออกกำลังกาย (Exercise)
การออกกำลังกายแบบแอโรบิค (Aerobics Exercise) จะช่วยทำให้หัวใจ
และปอดแข็งแรงขึ้น ส่วนการออกกำลังกายที่ทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงและมี

ขนาดใหญ่ขึ้นนั้นเรียกว่า การออกกำลังกายแบบ แอนแอโรบิค (Anaerobics


Exercise)

2.โภชนาการที่เหมาะสม (Proper Nutrition)


การรับประทานผัก ธัญพืช และผลไม้ รวมถึงการดื่มน้ำมากๆ ลดความเครียด
จะช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อได้
แก้
0 ราชัย
ขาโก่ง (GENU VARUM)
อาการ
-มีลักษณะหัวเข่าห่างออกจากกัน
ไม่แนบชิดติดกัน แม้ในขณะอยู่ใน
ท่ายืนที่เท้าและข้อเท้าชิดติดกัน
การรักษา
ปรับท่าร่าง
หากมีนิสัยชอบนั่งแบะขา ยืนโก่งขา หรือยืนเท้าชี้ออกด้านนอก ก็ควรปรับท่า
ของตัวเอง โดยเวลานั่งควรบังคับให้ขา เข่า และปลายเท้า ชี้ไปด้านหน้า และ
พยายามบิดขาเข้าด้านใน ให้สะบักหัวเข่ามาอยู่ในเส้นตรงระหว่างสะโพกและข้อ
เท้า รวมทั้งพยายามอย่าปล่อยตัวยืนโก่งขาบ่อย ๆ ด้วย

ฝึกกล้ามเนื้อ
การออกกำลังกายที่ดีที่สุดในการแก้ขาโก่งคือโยคะและเต้นรำ รวมไปถึงการ
ออกกำลังกายแบบเจาะจงฝึกกล้ามเนื้อบางมัด ซึ่งควรฝึกติดต่อกันทุกวัน

โรคกระดูกอ่อนในเด็ก(RICKETS)
อาการ

เด็กที่ป่วยเป็นโรค Rickets จะเจริญเติบโตช้า ตัวเตี้ย


เคลื่อนไหวช้า มีอาการเจ็บบริเวณกระดูกสันหลัง
กระดูกเชิงกรานและขา มีภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรง
เหน็บชาบริเวณกล้ามเนื้อ รวมถึงมีปัญหาเกี่ยวกับฟัน

การรักษา

-การรักษาจะเน้นไปที่การเสริมวิตามินหรือแร่ธาตุชนิดที่ร่างกายผู้ป่วยขาดไป

-ในกรณีที่เด็กไม่สามารถรับประทานได้เองทางปากหรือมีปัญหาในการทำงาน
ของระบบลำไส้และตับ แพทย์อาจแนะนำให้ฉีดวิตามินดี ปีละ 1 ครั้ง โดย
ปริมาณของวิตามินดีและแคลเซียมจะขึ้นอยู่กับอายุและสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการ
กระดูกสันหลังคด
โรคกระดูกสันหลังคด (Scoliosis) เป็นภาวะ
การผิดรูปของแนวกระดูกสันหลังจากปกติที่โค้ง
งอไปด้านหน้าและหลังเล็กน้อย กลายเป็นโค้งงอ
คดงอ บิดเบี้ยวไปทางด้านข้าง โดยจะคดไปทาง
ด้านซ้ายหรือด้านขวาก็ได้ ส่งผลให้ไหล่ เอว
สะโพกไม่เท่ากัน ทำให้ผู้ป่วยมีอาการปวดหลัง
เรื้อรังและอาจทำให้ไหล่กับสะโพกไม่เท่ากัน
อาการ

มีแนวกระดูกสันหลังไม่ตรง ระดับหัวไหล่ 2 ข้างไม่เท่ากัน ระดับเอวไม่


เท่ากัน ด้านหลังนูนทำให้คิดว่าหลังโก่ง สะโพกสองข้างสูงต่ำไม่เท่ากัน
หากผู้ป่วยมีอาการรุนแรงมากขึ้น กระดูกสันหลังนอกจากจะโค้งไปทาง
ด้านใดด้านหนึ่งแล้ว ยังอาจหมุนหรือบิดตัว ทำให้ซี่โครงด้านหนึ่งยื่นออก
มามากกว่าอีกด้านหนึ่ง เห็นเป็นก้อนนูนทางด้านหลังได้
แนวทางการรักษา

1. การรักษาโรคกระดูกสันหลังคดโดยไม่ต้องผ่าตัด
-ผู้ป่วยที่มีกระดูกสันหลังคดอยู่ระหว่าง 20 – 25 องศา แพทย์จะแนะนำการออกกำลังกายที่
เหมาะสม และทำกายภาพบำบัด
-ผู้ป่วยกระดูกสันหลังคดอยู่ระหว่าง 20 - 45 องศา แพทย์จะแนะนำการใส่เสื้อเกราะดัดหลัง
(Brace)
อย่างน้อย 20 ชั่วโมงต่อวัน ไปจนกว่าร่างกายจะหยุดการเจริญเติบโต เพื่อชะลอหรือป้องกัน
ไม่ให้แนวกระดูกคดมากกว่าเดิม

2. การรักษาโรคกระดูกสันหลังคดโดยการผ่าตัด แพทย์จะพิจารณาการผ่าตัด
หากการรักษาด้วยวิธีการข้างต้นไม่ได้
รายชื่อสมาชิก
นายชวิศา จินานันท์ เลขที่ 3 ม.6/2

นายภัทรวรรธ เอี่ยมดี เลขที่13 ม.6/2 ราชั ย


แก้0
ลื ม
นางสาวธฤษวรรณ คำวงศ์ เลขที่ 26 ม.6/2 เค้า

นางสาวนัทธมน จินตรัตนวงศ์ เลขที่ 27 ม.6/2

นางสาวปาณิสรา จันทร์แก้ว เลขที่ 29 ม.6/2

นางสาวปาณิสรา ชุ้นสามพราน เลขที่ 30 ม.6/2


THANK
YOU

You might also like