Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 22

โครงงานฟาร์มอัจฉริยะ

เสนอต่อ

มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ

สยามบรมราชกุมารี

ได้รับสนับสนุนทุนทำโครงงาน

ในโครงการสนับสนุนทุนทำโครงงานของนักเรียนในชนบท

ประจำปีการศึกษา ๒๕๖๒

จัดทำโดย

ชื่อผู้ทำโครงงาน นางสาวฟาติน หะยีวานิ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕

นางสาวรูซัยนี วาเลง ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕

นางสาวดารีลลาร์ กาซอ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕

อาจารย์ที่ปรึกษา นางสาวอามีนา มะตาเห

โรงเรียนต้นตันหยง ตำบลรือเสาะ อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส


สารบัญ
เรื่อง หน้า
กิตติกรรมประกาศ ง
บทคัดย่อ จ
บทที่ ๑ บทนำ 1
๑.๑ ที่มาและความสำคัญของโครงงาน 1
๑.๒ วัตถุประสงค์ 1
๑.๓ ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า 1
๑.๔ ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 2
บทที่ ๒ เอกสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 3
๒.๑ kidbright 3
๒.๒ สาย USB 3
๒.๓ สาย จัมเปอร์ 4
๒.๔ รีเลย์ General Relay 4
๒.๕ ปั้มน้ำ 5
๒.๖ Adapter 5
๒.๗ หัวพ่นหมอก 6
๒.๘ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 6
บทที่ ๓ วิธีการจัดทำโครงงาน 8
๓.๑ วัสดุและอุปกรณ์ 8
๓.๒ วิธีการจัดทำโครงงาน 8
บทที่ ๔ ผลการศึกษา 11
บทที่ ๕ สรุปผล และข้อเสนอแนะ 12
๕.๑ สรุปผลการทดลอง 12
๕.๒ ปัญหา และอุปสรรค 12
๕.๓ ข้อเสนอแนะ 12
บรรณานุกรม 13
ภาคผนวก 14

สารบัญรูปภาพ
เรื่อง หน้า
ภาพที่ ๒.๑ Kidbright 3

ภาพที่ ๒.๒ สาย USB 3

ภาพที่ ๒.๓ สายจัมเปอร์ (ผู้ - เมีย) 4

ภาพที่ ๒.๔ รีเลย์ General Relay 4

ภาพที่ ๒.๕ ปั้มน้ำ 5

ภาพที่ ๒.๖ Adapter 5

ภาพที่ ๒.๗ Adapter 6

ภาพที่ ๓.๑ ดำเนินการสร้างโรงเรือน 8


ภาพที่ ๓.๒ ขั้นตอนการเขียนโปรแกรม 9
ภาพที่ ๓.๓ ติดตั้งโปรแกรมการทำงาน 9
ภาพที่ ๓.๔ ทดสอบระบบ 10

กิตติกรรมประกาศ

การจัดทำโครงงานครั้งนี้ สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี เนื่องจากได้รับความร่วมมือ และความช่วยเหลือจาก


หลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องเป็นอย่างดี คณะผู้จัดทำขอขอบคุณต่อท่านที่มีนามต่อไปนี้ มูลนิธิเทคโนโลยีสารสนเทศ
ตามพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และสถาบันกวดวิชา วี บาย เดอะเบรนที่
ได้ให้ความอนุเคราะห์ คอยให้คำปรึกษาให้ความสะดวกต่อการทำโครงงานและข้อเสนอเกี่ยวกับแนวทางใน
การทำโครงงานฟาร์มอัจฉริยะ ผู้บริหารสถานศึกษาทุกท่านที่ให้การสนับสนุนในการทำโครงงานฟาร์มอัจฉริยะ
และอาจารย์อามีนา มะตาเห ที่ให้คำชี้แนะแนวทางการดำเนินงาน ตลอดจนให้คำปรึกษาด้านการออกแบบ
และสร้างอุปกรณ์ จนทำให้โครงงานฟาร์มอัจฉริยะสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี คณะผู้จัดทำโครงงานฟาร์มอัจฉริยะ
ขอขอบคุณต่อท่านทั้งหลายที่ได้กล่าวนามมาข้างต้นเป็นอย่างสูง ณ ที่นี่ด้วย

คณะผู้จัดทำ

โครงงานฟาร์มอัจฉริยะ

โครงงานเรื่อง : ฟาร์มอัจฉรียะ
ผู้จัดทำโครงงาน : นางสาวฟาติน หะยีวานิ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕
นางสาวรูซัยนี วาเลง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕
นางสาวดารีลลาร์ กาซอ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕
อาจารย์ที่ปรึกษา : นางสาวอามีนา มะตาเห
สถานศึกษา : โรงเรียนต้นตันหยง

บทคัดย่อ

การจัดทำโครงงานครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ออกแบบและสร้างระบบควบคุมสภาพอากาศภายใน
โรงเรือน ศึกษาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้สร้างโครงงานฟาร์มอัจฉริ ยะ เพื่อลดปัญ หาต่างๆที่เกิดขึ้น โดยมี
หลักการทำงานดังนี้ เซนเซอร์วัดอุณหภูมิมากกว่า 35 องศาเซลเซียส kidbright จะสั่งการให้เปิดเครื่องพ่น
หมอก จนอุณหภูมิน้อยกว่า 35 องศาเซลเซียส ระบบจะสั่งปิดเครื่องพ่นหมอกอัตโนมัติ
จากการทดลองพบว่า ฟาร์มอัจฉริยะเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ประหยัดเวลาในการทำงาน ลดกำลัง
แรงงานจากคน และสามารถควบคุมปัจจัย สภาพแวดล้อมให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของงผักได้
1

บทที่ ๑

บทนำ

๑.๑ ทีม่ าและความสำคัญของโครงงาน

ปัจจุบันผักไฮโดรโปนิกส์เป็นที่นิยมสำหรับผู้บริโภคอาหารสุขภาพ เพราะเป็นผักที่ปลอดสารพิษ แต่


การรปลูกผักไฮโดรโปนิกส์มีปัจจัยในด้านสภาพแวดล้อมและการดูแลเอาใจใส่ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ส่งผลต่อการ
เจริญเติบโตของผัก โดยผักไฮโดรโปนิกส์จะเติบโตได้ดีที่อุณหภูมิ 25-35 องศาเซลเซียส อุณหภูมิของน้ำ
สารละลายไม่เกิน 29 องศาเซลเซียส และมีค่าความเป็นกรด อยู่ระหว่าง 5.6-6.5 ซึ่งทำให้ธาตุอาหารที่อยู่ใน
สารละลาย อยู่ในรูปที่พืชนำไปใช้ประโยชน์ได้ดีที่สุด สำหรับผู้ปลูกรายใหม่ที่ไม่มีความชำนาญอาจเป็นเรื่อง
ยุ่งยากและอาจทำให้ผลผลิตเสียหายได้ ดังนั้นถ้ามีระบบที่สามารถช่วยให้สามารถควบคุมโรงเรือนได้ง่ายแบบ
อัตโนมัติ ก็จะช่วยให้ลดต้นทุนการผลิต ลดการใช้กาลังคนได้

จากปัญหาข้างต้นคณะผู้จัดทำจึงได้ออกแบบพัฒนาระบบควบคุมโรงเรือนอัตโนมัติเพื่ออำนวยความ
สะดวก โดยนำเทคโนโลยีมาควบคุมการให้น้ำ ควบคุมสภาพอากาศภายในโรงเรือน โดยมีชุดควบคุม
Kidbright เพื่อสั่งการทำงาน ควบคุมอุปกรณ์และอ่านค่าเซนเซอร์ต่างๆ

๑.๒ วัตถุประสงค์

๑) ออกแบบและสร้างระบบควบคุมสภาพอากาศภายในโรงเรือน
๒) เพื่อเรียนรู้และศึกษาเกี่ยวกับการปลูกพืชไร้ที่ดิน
๓) เพื่อลดปัญหาข้อจำกัดของพื้นที่ เช่น การไม่มีพื้นที่ปลูกผัก ความแห้งของสภาพดิน

๑.๓ ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า

- ศึกษาวิธีการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์

- ศึกษาระบบควบคุมอุณหภูมิ

๑.๔ ประโยชน์ทคี่ าดว่าจะได้รบั

๑. ช่วยให้ประหยัดเวลาในการทำงาน ลดกำลังแรงงานจากคน

๒. สามารถควบคุมปัจจัย สภาพแวดล้อมให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของงผัก
2

๓. สามารถนำระบบฟาร์มอัจฉริยะ ไปประยุกต์ใช้กับการปลูกพืชชนิดอื่นได้ โดยการปรับตั้งค่าสภาพ


ปัจจัยต่างๆใหม่ได้
3

บทที่ ๒

เอกสารและโครงงานทีเ่ กีย่ วข้อง

โคงงานฟาร์มอัจฉริยะ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา ออกแบบ และสร้างระบบควบคุมการปลูกผักไฮโดร


โปนิกส์ในโรงเรือนแบบอัตโนมัติ ผู้จัดทำได้ทำการค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

๒.๑ kidbright

ภาพที่ ๒.๑ Kidbright

KidBright เป็นบอร์ดที่พัฒนาขึ้นเพื่อกระตุ้นศักยภาพการคิดเชิงระบบและการคิดเชิงสร้างสรรค์ใน
เด็กวัยเรียนผ่านการเรียนรู้แบบ Learn and Play บอร์ดถูกออกแบบให้มีการแสดงผลและเซนเซอร์แบบง่าย
ซึ่งจะทำงานสอดคล้องกับชุดคำสั่งควบคุมการทำงาน โดยผู้เรียนสามารถออกแบบและสร้างชุดคำสั่งแบบ
Block-structured Programming ผ่านแอปพลิเคชันได้

๒.๒ สาย USB

ภาพที่ ๒.๒ สาย USB

เป็นสายเชื่อมต่อ ระหว่างบอร์ดกับคอมพิวเตอร์ จะเป็นทั้งสายส่งรับข้อมูล และเป็นแหล่งจ่ายไฟฟ้า


5 Vdc. ให้กับบอร์ด Kidbright ด้วย
4

๒.๓ สายจัมเปอร์ (ผู้ - เมีย)

ภาพที่ ๒.๓ สายจัมเปอร์ (ผู้ - เมีย)

สายไฟจัมเปอร์แบบ เมีย-เมีย เหมาะสำหรับใช้งานในวงจรทั่วๆไป หรือใช้กับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่


มี PIN ตัวผู้ เช่น บอร์ด Arduino Nano ที่ตัว Pin ของบอร์ดเป็นตัวผู้ และนอกจากนี้ยังสามารถใช้ร่วมกับ
สายจัมป์ แบบ ผู้-ผู้ เพื่อต่อเพิ่มความยาวของสายไฟ

๒.๔ รีเลย์ General Relay

ภาพที่ ๒.๔ รีเลย์ General Relay

รีเลย์ (relay) คือ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทำหน้าที่เป็นสวิตซ์ตัด-ต่อวงจร โดยใช้แม่เหล็กไฟฟ้า และ


การที่จะให้มันทำงานก็ต้องจ่ายไฟให้มันตามที่กำหนด เพราะเมื่อจ่ายไฟให้กับตัวรีเลย์ มันจะทำให้หน้าสัมผัส
ติดกัน กลายเป็นวงจรปิด และตรงข้ามทันทีที่ไม่ได้จ่ายไฟให้มัน มันก็จะกลายเป็นวงจรเปิด ไฟที่เราใช้ป้อน
ให้กับตัวรีเลย์ก็จะเป็นไฟที่มาจาก เพาเวอร์ฯ ของเครื่องเรา ดังนั้นทันทีที่เปิดเครื่อง ก็จะทำให้รีเลย์ทำงาน
5

๒.๕ ปั้มน้ำ

ภาพที่ ๒.๕ ปั้มน้ำ

ปั๊มน้ำดีซีเป็นอุปกรณ์หรือเครื่องสูบน้ำที่แบ่งประเภทตามเกณฑ์การใช้พลังงานในการขับเคลื่อน
มอเตอร์ โดยปั๊มน้ำแบบนี้จะใช้ไฟฟ้ากระแสตรง ซึง่ เป็นกระแสคนละแบบกับไฟฟ้าที่เราใช้กันตามบ้านเรือน
หรือที่มาจากสายส่งของการไฟฟ้า

๒.๖ Adapter

ภาพที่ ๒.๖ Adapter

Adapter คืออุปกรณ์ในการแปลงไฟฟ้ากระแสสลับ เป็นไฟฟ้ากระแสตรง ตามแรงดันทีกำหนด


ตัวอย่างเช่น แปลงไฟฟ้ากระแสสลับ 220V ให้เป็นไฟฟ้ากระแสตรง 12V หรือ 15V หรือ 9V ก็ตาม ยังมีค่า
6

ตัวเลขอีกตัวที่สำคัญก็คือค่ากระแสที่จ่ายได้สูงสุด ตัวอย่างเช่น 1A 0.5A หรือ 500mA (มิลลิแอมป์) หรือ 5A


แล้วแต่ผู้ใช้จะออกแบบ DC Adapter นั้นๆให้เป็นแบบไหน

๒.๗ หัวพ่นหมอก

ภาพที่ ๒.๗ Adapter

หัวพ่นหมอก คืออุปกรณ์ที่ใช้น้ำจากก๊อกน้ำ หรือน้ำประปาที่ไหลเป็นสาย ให้เปลี่ยนเป็นละออง หรือ


หมอก ทำให้กระจายเป็นวงได้ดี และประหยัดน้ำ

งานวิจยั ทีเ่ กีย่ วข้อง

๑. รัฐศิลป์ รานอกภานุวัชร ได้พัฒนาระบบควบคุมโรงเรือนผักไฮโดรโปรนิกส์อัตโนมัติโดยใช้


เทคโนโลยี IoT และเครื่องมือการเรียนรู้เชิงลึก เพื่ออํานวยความสะดวกแก่เกษตรกร โดยนําเทคโนโลยี
Internet of Things มา ควบคุมการให้น้ำ ควบคุมสภาพอากาศภายในโรงเรือน ควบคุมความเข้มแสงภายใน
โรงเรือน ร่วมกับเทคนิค Deep Learning โดยใช้ Intel TensorFlow Deep Learning tool มาช่วยวิเคราะห์
การเจริญเติบโตของผัก ด้วยวิธีการถ่ายภาพผัก ไฮโดรโปนิกส์ภายในโรงเรือนอัตโนมัติตามช่วงเวลาที่กำหนด
ด้วยกล้องที่ติดตั้งภายในโรงเรือน แล้วนําภาพถ่ายที่ได้ส่งไปยัง AWS Cloud Storage ที่เรียกว่า AWS S3
จากนั้นระบบจะดึงภาพไปประมวลผลบนคอมพิวเตอร์เสมือน AWS EC2 ซึ่งติดตั้ง Intel TensorFlow Deep
Learning เพื่อทำการวิเคราะห์การเจริญเติบโตของผัก จากนั้นนำข้อมูลที่ได้ส่งกลับมาที่โรงเรือน เพื่อควบคุม
อัตโนมัติตามค่าโปรไฟล์พืชที่กำหนดการควบคุมระยะการเติบโตไว้ล่วงหน้า ทำให้ระบบควบคุมมีประสิทธิภาพ
มากขึ้น
7

๒. ศุภฤกษ์ เชาวลิตตระกูล ได้พัฒนาระบบปลูกผักสลัดไฮโดรโปนิกส์แบบอัตโนมัติ ที่สามารถปลูกผัก


สลัดในคอนโดหรือห้องเช่าได้ด้วยอุปกรณ์อาดุยโน่ โดยการใช้เซนเซอร์วัดแสงรับค่าจากแสงแดดส่งไปยังอาดุย
โน่แบบเรียลไทล์ เพื่อประมวลผลและสั่งรีเลย์เปิด-ปิดไฟ LED ทดแทนแสงแดด ใช้เซนเซอร์วัดระดับน้ำ รับค่า
จากปริมาณน้ำในระบบส่งไปยังอาดุยโน่แบบเรียลไทม์ เพื่อประมวลผลและสั่งรีเลย์เปิด-ปิดการปล่อยน้ำ ทั้งยัง
สามารถดูค่าของแสง( ค่าลักซ์ ) ค่าระดับน้ำ และสามารถสั่งเปิด-ปิดไฟ LED เปิด-ปิดการปล่อยน้ำเข้าสู่ระบบ
ผ่านทางแอปพลิเคชั่น Blynk ในสมาร์ทโฟนได้แบบเรียลไทม์ ในการทดลองจะเปรียบเทียบค่าแสงกับผักสลัดที่
ปลูกในระบบได้รับ และผักสลัดที่ใช้วิธีการปลูกแบบธรรมดา ผลการทดลองจริงพบว่าระบบปลูกผักไฮโดรโป
นิกส์สามารถรักษาช่วงของค่าแสงที่เหมะแก่การปลูกผักสลัดได้อย่างสม่ำเสมอกว่าวิธีการปลูกด้วยแบบธรรมดา
โดยค่าแสงเบี่ยงเบนมาตรฐานของผักสลัดที่ปลูกในระบบ คือ 8.83 % ในขณะที่ผักสลัดที่ปลูกด้วยวิธีธรรมดา
ได้รับแสงต่ำกว่าค่าแสงที่ผักสลัดต้องการ และไม่สม่ำเสมอ โดยค่าแสงเบี่ยงเบนมาตรฐานของผักสลัดที่ปลูก
ด้วยวิธีธรรมดา คือ 21.66% ทำให้ผักสลัดที่ปลูกในระบบสามารถเติบโตได้อย่างเต็มที่และเติบโตได้เร็วกว่าวิธี
ปลูกแบบธรรมดา 10 วัน และมีขนาดใบที่ใหญ่ผักสลัดที่ปลูกด้วยวิธีธรรมดา

๓. ธนากร น้ำหอมจันทร์ และ อติกร เสรีพัฒนานนท์ ได้พัฒนาระบบควบคุมอุณหภูมิและความชื้น


สัมพัทธ์ในโรงเรือนเพาะปลูกพืชไร้ดิน แบบทำความเย็นด้วยวิธีการระเหยของน้ำร่วมกับการสเปรย์ละอองน้ำ
แบบอัตโนมัติ โดยใช้ระบบควบคุมเชิงตรรกะแบบโปรแกรมได้ ซึ่งใช้ PLC เป็นอุปกรณ์ควบคุม โดยรับ
สัญญาณอะนาลอกจากเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ผ่านอุปกรณ์ รับสัญญาณอะนาลอกเพื่อให้
PLC ประมวลผล และใช้ดิจิทัลโวลท์มิเตอร์แสดงค่าอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ ภายในโรงเรือนที่หน้า
ตู้ควบคุม ระบบควบคุมที่ออกแบบสร้างสามารถทำงานได้ทั้งแบบการควบคุมด้วยมือ และ แบบอัตโนมัติ ผล
การทดสอบพบว่า ระบบควบคุมอัตโนมัติสามารถเริ่มและหยุดการทำงานได้ตามเวลาที่กำหนดไว้ และสามารถ
สั่งให้ระบบการทำความเย็นด้วยวิธีการระเหยของน้ำและระบบสเปรย์ละอองน้ำ ทำงานตามเงื่อนไข อุณหภูมิ
และเวลาที่กำหนดไว้ เพื่อรักษาให้อุณหภูมิภายในโรงเรือนไม่เกิน 30 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นอุณหภูมิที่ แนะนำ
สำหรับการปลูกพืชไร้ดินในโรงเรือน โดยอุณหภูมิภายในโรงเรือนเฉลี่ย 30.45 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์
ภายในโรงเรือนเฉลี่ย 80.54 เปอร์เซ็นต์ ระบบสเปรย์ละอองน้ำทำงานเฉลี่ย 10 นาทีต่อวัน ระบบการทำความ
เย็น ด้วยวิธีการระเหยของน้ำทำงานเฉลี่ย 6.37 ชั่วโมงต่อวัน ซึง่ จำนวนชั่วโมงการทำงานของระบบทำความ
เย็นด้วย วิธีการระเหยของน้ำขึ้นอยู่กับสภาพอากาศภายนอก เป็นการลดการใช้พลังงานไฟฟ้า น้ำ และคนงาน
ได้ สมารถ นำไปใช้ควบคุมการทำงานของโรงเรือนเพาะปลูกสำหรับบ้านพักอาศัยได้เป็นอย่างดี
8

บทที่ ๓
วิธกี ารจัดทำโครงงาน

๓.๑ วัสดุและอุปกรณ์

๑ Kidbright
๒ รีเลย์4ช่อง
๓ แหล่งจ่ายไฟ
๔ ท่อน้ำ pvc
๕ พ่นหมอก
๖ ปั้มน้ำ
๗ ถังใส่น้ำ

๓.๒ วิธกี ารจัดทำโครงงาน

๓.๒.๑ ออกแบบโรงเรือน
๓.๒.๒ ดำเนินการสร้างโรงเรือน

ภาพที่ ๓.๑ ดำเนินการสร้างโรงเรือน


9

๓.๒.๓ ขั้นตอนการเขียนโปรแกรม

ภาพที่ ๓.๒ ขั้นตอนการเขียนโปรแกรม

๓.๒.๔ ติดตั้งโปรแกรมการทำงาน

ภาพที่ ๓.๓ ติดตั้งโปรแกรมการทำงาน


10

๓.๒.๕ ทดสอบระบบ

ภาพที่ ๓.๔ ทดสอบระบบ


11

บทที่ ๔
ผลการศึกษา

จากการศึกษาการสร้างโครงงานฟาร์มอัจฉริยะ สามารถควบคุมสภาพอากาศภายในโรงเรือน
ได้จริง โดยควบคุมการทำงานด้วยบอร์ด kidbright ที่สามารถสั่งการให้ระบบพ่นหมอกทำงานเมื่อ
อุณหภูมิมากกว่า 35 องศาเซลเซียส และจะสั่งปิดอัตโนมัติเมื่ออุณหภูมิน้อยกว่าค่าที่กำหนดไว้
12

บทที่ ๕
สรุปผล และข้อเสนอแนะ

๕.๑ สรุปผลการทดลอง

จากการทำโครงงานพบว่า สามารถควบคุมสภาพอากาศภายในโรงเรือนได้จริง โดยควบคุมการทำงาน


ด้วยบอร์ด kidbright ที่สามารถสั่งการให้ระบบพ่นหมอกทำงานเมื่ออุณหภูมิมากกว่า 35 องศาเซลเซียส และ
จะสั่งปิดอัตโนมัติเมื่ออุณหภูมิน้อยกว่าค่าที่กำหนดไว้

๕.๒ ปัญหา และอุปสรรค

- โครงสร้างโรงเรือนไม่แข็งแรง
- การต่อวงจรผิดพลาด

๕.๓ ข้อเสนอแนะ

- ศึกษาหลักการทำงานของบอร์ดkidbright และเซนเซอร์วัดสารละลายในน้ำเพิ่ม
- เพิ่มการแจ้งเตือนในแอพพลิเคชั่น Line
13

บรรณานุกรม

1. รัฐศิลป์ รานอกภานุวัชร ระบบควบคุมโรงเรือนผักไฮโดรโปรนิกส์อัตโนมัติโดยใช้เทคโนโลยี IoT


และเครื่องมือการเรียนรู้เชิงลึก file:///C:/Users/amina/Downloads/156097-
Article%20Text%20(PDF%20File)-451282-1-10-20181225.pdf

2. ศุภฤกษ์ เชาวลิตตระกูล ได้พัฒนาระบบปลูกผักสลัดไฮโดรโปนิกส์แบบอัตโนมัติ


http://dspace.bu.ac.th/bitstream/123456789/3065/1/supalak_chow.pdf

3. ธนากร น้ำหอมจันทร์ และ อติกร เสรีพัฒนานนท์ ได้พัฒนาระบบควบคุมอุณหภูมิและความชื้น


สัมพัทธ์ในโรงเรือนเพาะปลูกพืชไร้ดิน แบบทำความเย็นด้วยวิธีการระเหยของน้ำร่วมกับการสเปรย์ละอองน้ำ
แบบอัตโนมัติ file:///C:/Users/amina/Downloads/25523-Article%20Text-56270-1-10-
20141212%20(1).pdf
14

ภาคผนวก
15
16
17

You might also like