Take home exam: การปกครองส่วนท้องถิ่นในรัฐธรรมนูญ

You might also like

Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 2

TSS 304: ปรัชญาและการเมือง นางสาวพรชนัน ประภานิจ No.

76 Sec D

ความเรียงเชิงอภิปรายจากบทความเรื่อง “ท้องถิ่นในรัฐธรรมนูญ”
จุดเด่น
ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐ มีการระบุหน้าทีแ่ ละอํานาจขององค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่น โดยมาตรา ๒๕๐ ระบุไว้ว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่และจัดทําบริการสาธารณะและ
กิจกรรมสาธารณเพื่อประโยชน์ของประชาชนในท้องถิ่นตามหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน รวมทั้งส่งเสริมและ
สนับสนุนการจัดการศึกษาให้แก่ประชาชนในท้องถิ่น ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัต1ิ
มีการระบุถึงการเปิดเผยข้อมูลและรายงานผลการดําเนินงานและกลไกให้ประชาชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วม
กล่าวคือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สภาท้องถิ่น และผู้บริหารท้องถิ่นต้องเปิดเผยข้อมูลการดําเนินงานและ
รายงานผลการดําเนินงานให้ประชาชนทราบ รวมตลอดทั้งมีกลไกให้ประชาชนในท้องถิ่นมีส่วนร่วมด้วย ทั้งนี้
ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายบัญญัต2ิ เพื่อแสดงให้เห็นถึงเจตจํานงของรัฐธรรมนูญที่ต้องการจะมุ่งเน้น
ในเรื่องของการทํางานที่โปร่งใส ตรวจสอบได้และใกล้ชิดกับประชาชน
มีการกระจายอํานาจ ให้อํานาจแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการบริหรงาน โดยรับรองไว้ตามข้อ
กฎหมาย
จุดอ่อน
การปกครองส่วนท้องถิ่นในรัฐธรรมนูญปี 60 มีช่องโหว่อยู่เยอะมาก เพราะในรัฐธรรมนูญระบุหรือใช้คํา
อย่างคลุมเครือไม่ชัดเจน ทําให้สามารถตีความรัฐธรรมนูญไปได้หลายแบบ และหากตีความเป็นไปในทางที่ดีก็
จะส่งผลที่ดีและเป็นประโยชน์มาก แต่หากเป็นไปในทางที่ไม่ดีก็จะส่งผลเสียตามมามากด้วยเช่นกัน
รัฐธรรมนูญไม่ได้ให้อํานาจกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมากพอเท่าที่ควร ทําให้ข้อกฎหมายไม่สามารถ
เปิดช่องให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถใช้อํานาจได้อย่างเต็มที่ งบประมาณที่ได้รับก็ไม่เพียงพอต่อการ
จัดการ ส่งผลให้ระบบการคลังของท้องถิ่นไม่ก้าวหน้า ระบบป้องกันการทุจริตที่มีอยูก่ ไ็ ม่มีประสิทธิภาพ
เพียงพอและไม่สามารถใช้ได้จริง ทั้งหมดนีเ้ ป็นปัจัยที่สง่ ผลต่อปัญหาการพัฒนาของท้องถิ่น เมื่อหลายท้องถิ่น
มารวมกันก็ทําให้กลายเป็นปัญหาในระดับประเทศ กล่าวคือเมื่อการบริหารงานในการปกครองส่วนท้องถิ่น
ติดขัดจะส่งผลให้การพัฒนาในพื้นที่นั้น ๆ ล่าช้าและไม่ทันสมัย เมื่อมองในภาพใหญ่ขึ้นในระดับประเทศก็เลย
ทําให้ประเทศไม่พัฒนาและยํ่าอยู่กับที่

แนวทางการพัฒนา
ต้องทําให้อํานาจการบริหารงานของท้องถิ่นมีความเป็นอิสระได้จริงมากกว่านี้ เพื่อที่จะได้ใช้อํานาจตรงนี้
แก้ปัญหาและบริหารท้องถิ่นของแต่ละพืน้ ที่อย่างเหมาะสมและเฉพาะเจาะจง ตามปัจจัยหรือลักษณะของพื้นที่
นั้น ๆ รวมถึงให้งบประมาณสนับสนุนแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมากขึ้น โดยจะต้องพิจารณาจากความ
สมเหตุสมผลและค่าใช้จ่ายตามความเป็นจริง และเพื่อเป็นหลักประกันว่าอํานาจและงบประมาณที่ให้ไปถูก

1https://www.senate.go.th/assets/portals/93/fileups/253/files/Analysis/63/1_63.pdf

2 https://www.senate.go.th/assets/portals/93/fileups/253/files/Analysis/63/1_63.pdf
TSS 304: ปรัชญาและการเมือง นางสาวพรชนัน ประภานิจ No.76 Sec D

นําไปใช้อย่างเป็นธรรม โปร่งใส และเกิดประโยชน์สูงสุด ต้องสร้างระบบตรวจสอบการทุจริตอย่างชัดเจน และ


ต้องใช้งานได้จริง
ส่วนตัวแล้วคิดว่าถ้าลองเอาการปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบพิเศษหรือเขตการปกครองพิเศษมาปรับใช้
กับทุก ๆ ท้องถิ่นหรือทุก ๆ จังหวัด ให้แต่ละจังหวัดมีลักษณะเหมือนกรุงเทพฯกับพัทยา โดยให้ผู้บริหารสูงสุด
ของแต่ละจังหวัดมาจากการเลือกตั้งของผู้ที่มีสิทธิ์เลือกตั้งในจังหวัดหรือพื้นที่นั้น ๆ และมีสภาของแต่ละ
จังหวัดที่ทําหน้าทีเ่ ป็นฝ่ายนิติบัญญัติ แน่นอนว่าถ้าหากเปลี่ยนให้เป็นแบบนี้ทั้งหมดมันก็จะมีผลเสีย กล่าวคือ
จะง่ายต่อการคอรัปชัน แต่ถ้าหากมองในอีกแง่นึงจะเห็นว่าปัญหาการคอรัปชันจะสามารถแก้ไขได้ถ้าหากเรามี
ระบบตรวจสอบที่แน่นหนาและเคร่งครัดมากพอ นอกจากนี้การทําให้ทุกจังหวัดอยูใ่ นรูปแบบการปกครอง
พิเศษจะช่วยพัฒนาให้แต่ละจังหวัดมีความเจริญก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น เนื่องจากแต่ละพื้นที่จะแข่งขันกันพัฒนา
เพื่อให้พื้นที่ของตนเองดีขึ้น และจะมีวิธีการที่เฉพาะเจาะจงเพื่อให้สอดคล้องกับบริบทและลักษณะของพื้นที่
นั้น ๆ

You might also like