วิจัย - ปิยะนุช พหุนาม

You might also like

Download as docx, pdf, or txt
Download as docx, pdf, or txt
You are on page 1of 71

รายงานการวิจัย

เรื่อง
การศึกษาและแก้ ไขข้ อบกพร่ องทางการเรียน เรื่อง การแยกตัวประกอบของพหุนาม
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 4 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา

โดย

นางสาวปิ ยะนุช กุลบุตร

รายงานวิจยั นี้ เป็ นส่ วนหนึ่งของการศึกษา


รายวิชา ศษ 561 การฝึ กประสบการณ์วิชาชีพครู
ตามหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรี นคริ นทรวิโรฒ
ภาคเรี ยนที่ 1 ปี การศึกษา 2555
เรื่อง
การศึกษาและแก้ไขข้ อบกพร่ องทางการเรียน เรื่อง การแยกตัวประกอบของพหุนาม
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 4

โดย

นางสาวปิ ยะนุช กุลบุตร

รายงานวิจยั นี้ เป็ นส่ วนหนึ่งของการศึกษา


รายวิชา ศษ 561 การฝึ กประสบการณ์วิชาชีพครู
ตามหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรี นคริ นทรวิโรฒ
ภาคเรี ยนที่ 1 ปี การศึกษา 2555

ณ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา

.................................................. ..................................................
(รองศาสตราจารย์ ประพันธ์ศิริ สุ เสารัจ) (นายเลิศศิลป์ รัตนมุสิก)
คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ ผูอ้ ำนวยการโรงเรี ยน

............................................. ............................................. .............................................


(อ.สุ วพร เซ็มเฮง) (อ.ขวัญ เพียซ้าย) (อ.จิราภรณ์ วราชุน)
อาจารย์นิเทศก์การศึกษา อาจารย์นิเทศก์วิชาเฉพาะ อาจารย์นิเทศก์ประจำโรงเรี ยน
ปิ ยะนุช กุลบุตร. (2555). การศึกษาและแก้ไขข้อบกพร่ องทางการเรี ยน เรื่ อง การแยกตัวประกอบของ
พหุนามของนักเรี ยนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 4 โรงเรี ยนเตรี ยมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา. การศึกษา
บัณฑิต สาขาคณิ ตศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรี นคริ นทรวิโรฒ. คณะกรรมการควบคุม : อาจารย์สุวพร
เซ็มเฮง, อาจารย์ขวัญ เพียซ้าย, อาจารย์จิราภรณ์ วราชุน.

การวิจยั ครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาข้อบกพร่ องทางการเรี ยน เรื่ องการแยกตัวประกอบของ


พหุนามของนักเรี ยนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 4 และเพื่อสร้างชุดแบบฝึ กเสริ มทักษะสำหรับแก้ไขข้อบกพร่ อง
ทางการเรี ยนเรื่ องการแยกตัวประกอบของพหุนาม ของนักเรี ยนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 4 ประชากรที่ใช้ในการ
วิจยั เป็ นนักเรี ยนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 4 โรงเรี ยนเตรี ยมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการ
วิจยั เป็ นนักเรี ยนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 4 โรงเรี ยนเตรี ยมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา ภาคเรี ยนที่ 1 ปี การศึกษา
2555 ที่มีขอ้ บกพร่ องทางการเรี ยนเรื่ อง การแยกตัวประกอบของพหุนาม โดยได้มาจากการสุ ่ มแบบเจาะจง
จำนวน 30 คน แล้วใช้ขอ้ สอบสำรวจข้อบกพร่ องเพื่อค้นหาข้อบกพร่ องและสาเหตุของความบกพร่ อง
ทางการเรี ยน เรื่ องการแยกตัวประกอบของพหุนาม ซึ่ งใช้ภายหลังจากเสร็ จสิ ้ นการเรี ยนการสอนในหน่วย
ย่อยเรื่ องการแยกตัวประกอบของพหุนาม โดยสำรวจข้อบกพร่ องในแต่ละจุดประสงค์การเรี ยนรู ้เพื่อ
พิจารณาว่านักเรี ยนมีขอ้ บกพร่ องในลักษณะใดในหน่วยนั้น จากนั้นใช้ชุดแบบฝึ กเสริ มทักษะเพื่อแก้ไขข้อ
บกพร่ องทางการเรี ยน เรื่ องการแยกตัวประกอบของพหุนาม เป็ นชุดแบบฝึ กเสริ มทักษะสำหรับนักเรี ยนที่มี
ข้อบกพร่ องทางการเรี ยนในหน่วยการเรี ยนเรื่ อง การแยกตัวประกอบของพหุนาม แล้วจึงใช้ขอ้ สอบที่สร้าง
ขึ้นให้สอดคล้องและครอบคลุมเนื้ อหาและลักษณะข้อบกพร่ องของนักเรี ยน แล้วนำไปใช้ทดสอบกับ
นักเรี ยนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 4 ห้องแผนการเรี ยนภาษาอังกฤษ– ภาษาจีน โรงเรี ยนเตรี ยมอุดมศึกษา
พัฒนาการ รัชดา จำนวน 30 คน ในการวิจยั ผูว้ จิ ยั ดำเนินการวิเคราะห์ขอ้ มูลโดยใช้ค่าสถิติพ้ืนฐาน ได้แก่
ค่าเฉลี่ยเลขคณิ ต เพื่อตรวจสอบสมมติฐานที่วา่ คะแนนของนักเรี ยนที่ได้จากแบบทดสอบหลังการซ่อม
เสริ ม สู งกว่าคะแนนที่ได้จากการทดสอบก่อนการซ่อมเสริ มโดยใช้การเปรี ยบค่าเฉลี่ยเลขคณิ ตของคะแนนที่
ได้จากการทดสอบ และสถิติที่ใช้ในการตรวจสอบสมมติฐานทดสอบความแตกต่างของคะแนนผลสัมฤทธิ์
ทางการเรี ยนจากการใช้ชุดกิจกรรมคณิ ตศาสตร์ของกลุ่มเป้ าหมาย โดยให้คะแนนสอบก่อนเรี ยนกับคะแนน
สอบหลังเรี ยน คำนวณจากสูตร t – test Dependent

ผลการวิจยั พบว่า
1. การศึกษาข้อบกพร่ องทางการเรี ยนเรื่ องการแยกตัวประกอบของพหุนามของนักเรี ยนชั้น
มัธยมศึกษาปี ที่ 4 จากแบบทดสอบวินิจฉัย สามารถจำแนกตามลักษณะข้อบกพร่ องในด้านต่างๆได้ดงั นี้
1.1 ด้านการใช้บทนิยาม ทฤษฎีบท สมบัติ กฎ หรื อสู ตร จะพบว่าด้านนี้เป็ นสิ่ งที่นกั เรี ยนมี
ความบกพร่ องเป็ นอย่างมาก การเข้าใจบทนิยาม สมบัติ ทฤษฏี หรื อสู ตรต่างๆจึงเป็ นสิ่ งที่จ ำเป็ นอย่างยิง่ กับ
การเรี ยนเรื่ องจำนวนจริ งหรื อในเรื่ องอื่นๆก็ตาม นักเรี ยนส่ วนมากขาดความรู ้ความเข้าใจในด้านนี้ และยัง
ขาดทักษะในการนำความรู้ดา้ นนี้ ไปใช้ จึงทำให้ไม่สามารถทำข้อสอบหรื อแบบฝึ กอื่นๆได้เพราะบกพร่ อง
ด้านการใช้บทนิยาม ดังนั้นนักเรี ยนจึงมีขอ้ บกพร่ องในด้านนี้เป็ นจำนวนมาก
1.2 ด้านกระบวนการวิธีท ำ จะพบว่าด้านนี้เป็ นอีกด้านที่นกั เรี ยนมีความบกพร่ องเป็ นอย่าง
มากอาจจะเนื่องมาจากแบบทดสอบที่ใช้เป็ นแบบทดสอบอัตนัย ซึ่ งนักเรี ยนจะต้องเขียนแสดงวิธีท ำโดย
ละเอียด ซึ่ งนักเรี ยนยังขาดทักษะในการทำข้อสอบอยูม่ ากพอสมควร จึงทำให้เกิดข้อผิดพลาด หรื อบางครั้ง
นักเรี ยนก็ไม่แสดงขั้นตอนที่มา ทำให้ไม่สามารถรู ้ได้วา่ ที่มาของคำตอบของพหุนามคืออะไร หามาได้
อย่างไร จึงทำให้เกิดข้อบกพร่ องทางด้านนี้เป็ นจำนวนมาก
1.3 ด้านการคิดคำนวณ จะพบว่าด้านการคิดคำนวณจะเป็ นด้านที่นกั เรี ยนมีความบกพร่ อง
เป็ นอันดับหนึ่ง เพราะการแยกตัวประกอบของพหุนามนั้นจะต้องมีการใช้ความรู ้พ้ืนฐานเรื่ องการบวก และ
การคูณในการแยกตัวประกอบของพหุนาม เช่น นักเรี ยนจะต้องหาจำนวนที่คูณกันได้พจน์สุดท้าย บวกกัน
แล้วได้สมั ประสิ ทธิ์ ของพจน์กลาง ซึ่ งก็มีหลายจำนวนที่คูณกันแล้วพจน์สุดท้าย แต่จะมีไม่กี่จ ำนวนเท่านั้น
ที่สามารถบวกกันแล้วได้พจน์กลาง นักเรี ยนที่ไม่มีความชำนาญในการคิดคำนวณก็อาจจะเกิดความผิด
พลาดได้ หรื อบางกรณี จะต้องมีการตรวจคำตอบ นักเรี ยนที่ไม่มีพ้ืนฐานด้านการคูณจะไม่สามารถตรวจคำ
ตอบของพหุนามที่เราแยกออกมาได้ จึงทำให้เกิดข้อบกพร่ องทางด้านนี้เป็ นอันดับหนึ่ง
1.4 ด้านการแปลความโจทย์ปัญหาจะพบว่าด้านนี้ไม่มีขอ้ บกพร่ องเลย เป็ นเพราะข้อสอบ
นั้นเป็ นข้อสอบอัตนัย และไม่ใช่ขอ้ สอบที่เป็ นโจทย์ปัญหา จึงไม่จ ำเป็ นต้องอาศัยการแปลความโจทย์ปัญหา
ทำให้ดา้ นการแปลความโจทย์ปัญหานั้นไม่มีนกั เรี ยนคนใดบกพร่ อง
2. ค่าเฉลี่ยของคะแนนหลังการใช้แบบฝึ กเสริ มทักษะเพื่อแก้ไขข้อบกพร่ องทางการเรี ยนเรื่ อง
การแยกตัวประกอบของพหุนาม สูงกว่าค่าเฉลี่ยของคะแนนที่ได้ก่อนการใช้แบบฝึ ก
3. ผลการเปรี ยบเทียบผลสัมฤทธิ์ ทางการเรี ยนจากการใช้แบบฝึ กเสริ มทักษะเพื่อแก้ไขข้อ
บกพร่ อง เรื่ องการแยกตัวประกอบของพหุนามก่อนและหลังการใช้แบบฝึ กเสริ มทักษะพบว่า ผลสัมฤทธิ์
ทางการเรี ยนจากการใช้แบบฝึ กเสริ มทักษะเพื่อแก้ไขข้อบกพร่ องเรื่ องการแยกตัวประกอบของพหุนาม สู ง
กว่าก่อนใช้แบบฝึ กเสริ มทักษะอย่างมีนยั สำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่ งเป็ นไปตามสมมติฐาน
กิตติกรรมประกาศ

รายงานการวิจยั ในชั้นเรี ยนฉบับนี้ สำเร็ จสมบูรณ์ได้ เพราะได้รับการอนุเคราะห์อย่างดียงิ่ จาก


อาจารย์สุวพร เซ็มเฮง อาจารย์นิเทศการศึกษา อาจารย์ขวัญ เพียซ้าย อาจารย์นิเทศวิชาเฉพาะ และอาจารย์
จิราภรณ์ วราชุน อาจารย์นิเทศประจำโรงเรี ยน ที่ได้กรุ ณาให้ค ำปรึ กษา พร้อมทั้งคำแนะนำและข้อเสนอแนะ
ต่างๆที่เป็ นประโยชน์ต่อการวิจยั ตลอดจนเสี ยสละเวลาในการตรวจแก้ไขอย่างละเอียดจนรายงานการวิจยั ใน
ชั้นเรี ยนฉบับนี้ สำเร็จลุล่วงได้ดว้ ยดี ผูว้ ิจยั รู้สึกซาบซึ้ ง จึงขอกราบขอบพระคุณเป็ นอย่างสู งไว้ ณ โอกาสนี้
ขอกราบขอบพระคุณ ผูอ้ ำนวยการ และคณะครู โรงเรี ยนเตรี ยมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา และ
ขอบใจนักเรี ยนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 4/8 ปี การศึกษา 2555 ที่ให้ความร่ วมมือในการทำวิจยั เป็ นอย่างดี
ขอกราบขอบพระคุณ คุณพ่อ คุณแม่อย่างสุ ดซึ้ ง ที่ให้มาซึ่ งความรัก กำลังใจ กำลังทรัพย์ และ
สนับสนุนการศึกษาของผูว้ ิจยั มาโดยตลอด
ขอขอบคุณ พี่ๆ เพื่อนๆ นิสิตกศ.บ. สาขาวิชาคณิ ตศาสตร์ทุกคนที่ให้ความช่วยเหลือ ให้ค ำ
แนะนำ และเป็ นกำลังใจที่ดีเสมอมา
ผูว้ จิ ยั หวังเป็ นอย่างยิง่ ว่า รายงานการวิจยั ในชั้นเรี ยนนี้จะเป็ นประโยชน์ต่อการเรี ยนการสอน
คณิ ตศาสตร์ ซึ่ งคุณค่าและประโยชน์ที่เกิดจากรายงานการวิจยั ในชั้นเรี ยนฉบับนี้ ผูว้ ิจยั ขอมอบเป็ นเครื่ อง
บูชาพระคุณบิดา มารดา ครู อาจารย์ และผูม้ ีพระคุณทุกท่านที่ได้ให้ความรู ้ ความช่วยเหลือแก่ผวู ้ ิจยั ตลอดมา

ปิ ยะนุช กุลบุตร
สารบัญ
บทที่ หน้ า
1 บทนำ
ภูมิหลัง 1
ความมุ่งหมายของการวิจยั 2
ความสำคัญของการวิจยั 2
ขอบเขตของการวิจยั 2
นิยามศัพท์เฉพาะ 3
กรอบแนวคิดในการวิจยั 4
สมมติฐานของการวิจยั 4

2 เอกสารและงานวิจัยที่เกีย่ วข้ อง
เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาข้อบกพร่ องทางการเรี ยนคณิ ตศาสตร์
ความหมายของข้อบกพร่ องทางการเรี ยนคณิ ตศาสตร์ 6
ประโยชน์ของการศึกษาข้อบกพร่ องทางการเรี ยน 6
ลักษณะข้อบกพร่ องทางการเรี ยนคณิ ตศาสตร์ 7
วิธีการศึกษาข้อบกพร่ องทางการเรี ยน 8
เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวินิจฉัยข้อบกพร่ องทางการเรี ยน
การศึกษาข้อบกพร่ องทางการเรี ยนโดยการวินิจฉัย 9
ความหมายของแบบทดสอบวินิจฉัยเพื่อศึกษาข้อบกพร่ องทางการเรี ยน 11
ลักษณะของแบบทดสอบวินิจฉัยเพื่อศึกษาข้อบกพร่ องทางการเรี ยน 11
เทคนิควิธีการสร้างแบบทดสอบวินิจฉัยเพื่อศึกษาข้อบกพร่ องทางการเรี ยน 13
เอกสารที่เกี่ยวข้องกับแบบฝึ ก
ความหมายของแบบฝึ ก 14
ประโยชน์ของแบบฝึ ก 14
ลักษณะของแบบฝึ กที่ดี 16
หลักในการสร้างแบบฝึ ก 17
หลักจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการสร้างแบบฝึ ก 19
งานวิจยั ที่เกี่ยวข้อง
งานวิจยั ในประเทศ 20
สารบัญ (ต่ อ)
บทที่ หน้ า
3 วิธีดำเนินการวิจัย
การกำหนดประชากรและเลือกกลุ่มตัวอย่าง 22
การสร้างเครื่ องมือที่ใช้ในการวิจยั 22
การเก็บรวบรวมข้อมูล 24
การวิเคราะห์ขอ้ มูล 24
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ขอ้ มูล 25
4 ผลการวิเคราะห์ ข้อมูล
การวิเคราะห์ขอ้ มูล 26
ผลการวิเคราะห์ขอ้ มูล 27
5 สรุ ป อภิปราย และข้ อเสนอแนะ
ความมุ่งหมายของการวิจยั 32
สมมติฐานของการวิจยั 32
กลุ่มตัวอย่าง 32
วิธีด ำเนินการวิจยั 32
สรุ ปผลการวิจยั 33
อภิปรายผล 34
ข้อเสนอแนะ 35
บรรณานุกรม 37
ภาคผนวก
ภาคผนวก ก รายชื่อผูเ้ ชี่ยวชาญตรวจสอบเครื่ องมือวิจยั 41
ภาคผนวก ข ตารางแสดงค่าความเที่ยงตรง และค่าความยาก (p) 43
ภาคผนวก ค คะแนนแบบทดสอบก่อนและหลังใช้แบบฝึ กทักษะ และ 47
คะแนนผลสัมฤทธิ์ ทางการเรี ยนก่อนใช้ชุดกิจกรรมคณิ ตศาสตร์
ภาคผนวก ง แบบฝึ กเสริ มทักษะสำหรับแก้ไขข้อบกพร่ อง 52
ภาคผนวก จ แบบทดสอบสำรวจข้อบกพร่ องและแบบทดสอบคู่ขนาน 59
ประวัติย่อผู้วจิ ัย 68

บัญชีตาราง
ตาราง หน้ า
1 ผลการศึกษาข้อบกพร่ องทางการเรี ยน 27
2 ผลการแก้ไขข้อบกพร่ องทางการเรี ยน 29

3 3 ผลการวิเคราะห์การเปรี ยบเทียบผลสัมฤทธิ์ ทางการเรี ยนก่อนและหลังใช้แบบฝึ ก


เสริ มทักษะ
4 ค่าความเที่ยงตรง 42
5 ค่าความยาก (p) 44
6 คะแนนแบบทดสอบก่อนและหลังใช้แบบฝึ กทักษะ 46
7 คะแนนผลสัมฤทธิ์ ทางการเรี ยนก่อนใช้ชุดกิจกรรมคณิ ตศาสตร์ 48
1

บทที่ 1
บทนำ
ภูมิหลัง
คณิ ตศาสตร์เป็ นวิชาที่มีความสำคัญยิง่ ต่อชีวิตประจำวันของมนุษย์ ทำให้มนุษย์มีความคิด
สร้างสรรค์ คิดอย่างมีเหตุผล เป็ นระบบ ระเบียบ มีแบบแผน สามารถวิเคราะห์ปัญหาและสถานการณ์ได้
อย่างถี่ถว้ นรอบคอบ ทำให้สามารถคาดการณ์ วางแผน ตัดสิ นใจ และแก้ไขปั ญหาได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
และยังเป็ นเครื่ องมือที่น ำความเจริ ญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เศรษฐกิจและสังคม ตลอดจน
เป็ นพื้นฐานการค้นคว้า และการวิจยั ทุกประเภท และเป็ นที่ยอมรับกันว่า คณิ ตศาสตร์เป็ นปั จจัยที่สำคัญที่สุด
ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์ (กรมวิชาการ. 2542: 1)
การจัดการเรี ยนการสอนคณิ ตศาสตร์ต้ งั แต่อดีต จนถึงปั จจุบนั ไม่ประสบความสำเร็ จเท่าที่ควร
เนื่องจากธรรมชาติของวิชาคณิ ตศาสตร์เป็ นทักษะการคิดคำนวณสรุ ปความคิดรวบยอด มีกฎเกณฑ์ที่
แน่นอน และทักษะโครงสร้างที่มีเหตุผล สื่ อความหมายโดยใช้สญ ั ลักษณ์ มีลกั ษณะเป็ นนามธรรมจึงยากต่อ
การเรี ยนรู ้และทำความเข้าใจ (ยุพิน พิพิธกุล. 2530: 1 – 3 ) หรื อเนื่องมาจากวิธีการสอนของครู ที่ใช้วิธีสอน
โดยเน้นความจำ เน้นการบรรยายและเร่ งรัดการสอนให้ครบตามเนื้ อหาที่มีมาก จัดการเรี ยนการสอนเน้น
เนื้อหามากกว่ากระบวนการ ( สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. 2541: 2 ) ทำให้นกั เรี ยน
ไม่ประสบความสำเร็จในการเรี ยนวิชาคณิ ตศาสตร์ ครู จึงควรคำนึงถึงความแตกต่างของนักเรี ยน ทั้งความรู ้
พื้นฐานด้านความสามารถ คุณสมบัติส่วนตัว ภูมิหลังและสภาพแวดล้อม ที่ท ำให้เกิดการเรี ยนรู ้ได้ไม่เท่ากัน
ถ้าครู พยายามศึกษาสภาพแวดล้อมของผูเ้ รี ยนแต่ละบุคคล พยายามจัดการเรี ยนการสอนที่หลากหลายให้เอื้อ
ต่อการเรี ยนรู ้ของผูเ้ รี ยนแต่ละบุคคลให้โอกาสฝึ กมากน้อยตามสถานะภาพของแต่ละบุคคล ติดตามด้วยการ
ประเมินบ่อยๆ เพื่อให้คน้ พบข้อบกพร่ องของผูเ้ รี ยนได้เหมาะสม ทันเวลา ก็จะช่วยลดปั ญหาที่สะสมคัง่ ค้าง
จนทำให้เกิดด้อยผลสัมฤทธิ์ ในบั้นปลาย (กรมวิชาการ. 2539: 61) ดังนั้นครู ผสู ้ อนจึงต้องหาวิธีการที่จะช่วย
ป้ องกันและแก้ไขให้นกั เรี ยนเกิดการเรี ยนรู้อย่างทัว่ ถึง โดยจะต้องช่วยเหลือนักเรี ยนอ่อนให้สามารถเรี ยนรู ้
อย่างเพียงพอแก่ความสามารถที่จะเรี ยน พร้อมที่ได้รับการช่วยเหลือในการแก้ไขข้อบกพร่ องในการเรี ยน (นิ
ภาพร นาอ่อน. 2545: 27; อ้างอิงจาก Bloom. 1971: 4)
เครื่ องมือวัดและประเมินผลที่ใช้ในการค้นหาสาเหตุและจุดบกพร่ องที่ดีที่สุดก็คือ “ แบบทดสอบ
วินิจฉัย” (Diagnostic Test) เพราะแบบทดสอบวินิจฉัยสามารถวิเคราะห์ขอ้ บกพร่ องของนักเรี ยนได้มากกว่า
แบบทดสอบอื่นๆ ซึ่ งจะช่วยให้ครู ทราบถึงองค์ประกอบที่สำคัญของความบกพร่ อง สามารถบอกได้วา่
นักเรี ยนมีความบกพร่ องในเรื่ องใด ทำไมจึงบกพร่ อง (สุ กลั ยา ฉายสุ วรรณ. 2539: 3) และทำให้ทราบว่ามี
นักเรี ยนคนใดมีความรู้ชดั เจน พร้อมที่จะเรี ยนในหน่วยถัดไป สำหรับผูท้ ี่ไม่ผา่ นเกณฑ์ที่ก ำหนดไว้ และมีขอ้
บกพร่ องต้องได้รับการสอนซ่อมเสริ มก่อนที่จะเรี ยนในหน่วยการเรี ยนใหม่ถดั ไป (สุ กนั เทียนทอง. 2527 :
18)
จากหลักสูตรในรายวิชาคณิ ตศาสตร์ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปี ที่
4 มีการบรรจุเนื้ อหาเรื่ องจำนวนจริ งและมีหน่วยย่อยคือเรื่ องการแยกตัวประกอบของพหุนาม ซึ่ งเป็ นเนื้ อหา
ที่ตอ้ งใช้การคำนวณในกระบวนการคิด เนื่องจากมีรูปแบบที่เป็ นรู ปธรรม การเรี ยนการสอนเรื่ องการแยก
ตัวประกอบของพหุนามจึงต้องอาศัยการคำนวณมากกว่าการให้เหตุผลเป็ นนามธรรม นักเรี ยนส่ วนใหญ่มกั
ประสบปั ญหาเป็ นเพราะการแยกตัวประกอบของพหุนามซึ่ งในระดับชั้นนี้มีความซับซ้อนมากยิง่ ขึ้น
2

นักเรี ยนจะต้องเข้าใจในเหตุผลและนิยามของจำนวนจริ ง หากผูเ้ รี ยนขาดพื้นฐานความเข้าใจตั้งแต่ระดับพื้น


ฐานนี้กจ็ ะไม่เข้าใจเนื้ อหาที่ต่อเนื่องและสัมพันธ์กบั เนื้อหาที่เกี่ยวข้องในระดับที่สูงไปด้วย
จากเหตุผลดังกล่าว ทำให้ผวู้ ิจยั สนใจที่จะศึกษาและแก้ไขข้อบกพร่ องทางการเรี ยน เรื่ องการแยก
ตัวประกอบของพหุนาม ของนักเรี ยนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 4 เพื่อส่ งผลให้นกั เรี ยนมีผลสัมฤทธิ์ ทางการเรี ยน
ในระดับที่สูงขึ้น

ความมุ่งหมายของการวิจัย
1. เพื่อศึกษาข้อบกพร่ องทางการเรี ยน เรื่ องการแยกตัวประกอบของพหุนามของนักเรี ยน
ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 4 แผนการเรี ยนภาษาอังกฤษ - ภาษาจีน
2. เพื่อสร้างชุดแบบฝึ กเสริ มทักษะสำหรับแก้ไขข้อบกพร่ องทางการเรี ยนเรื่ องการแยก
ตัวประกอบของพหุนาม ของนักเรี ยนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 4

ความสำคัญของการวิจัย
1. ทราบข้อบกพร่ องทางการเรี ยนเรื่ องการแยกตัวประกอบของพหุนาม ของนักเรี ยนชั้น
มัธยมศึกษาปี ที่ 4
2. ได้ชุดแบบฝึ กเสริ มทักษะสำหรับแก้ไขข้อบกพร่ องทางการเรี ยนเรื่ องการแยกตัวประกอบของ
พหุนาม ของนักเรี ยนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 4 ที่สามารถนำไปใช้ในการแก้ไขข้อบกพร่ องของ
นักเรี ยนได้
3. เพื่อเป็ นแนวทางสำหรับผูส้ นใจในการศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับการศึกษาข้อบกพร่ องทางการเรี ยน
ในเนื้อหาอื่นๆ

ขอบเขตของการวิจัย
1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ในการวิจัย
1.1 ประชากรที่ใช้ในการวิจยั
ประชากรที่ใช้ในการวิจยั เป็ นนักเรี ยนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 4 โรงเรี ยนเตรี ยมอุดมศึกษาพัฒนาการ
รัชดา จำนวน 164 คน ที่มีขอ้ บกพร่ องทางการเรี ยน เรื่ อง การแยกตัวประกอบของพหุนาม
1.2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจยั
นักเรี ยนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 4 โรงเรี ยนเตรี ยมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา ภาคเรี ยนที่ 1 ปี การศึกษา
2555 ที่มีขอ้ บกพร่ องทางการเรี ยนเรื่ อง การแยกตัวประกอบของพหุนาม โดยได้มาจากการเลือกแบบ
เจาะจง จำนวน 30 คน

ขอบเขตของเนือ้ หา
เนื้อหาที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้า เป็ นเนื้ อหากลุ่มสาระคณิ ตศาสตร์ ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 4
อิงตามหลักสู ตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 เรื่ อง จำนวนจริ ง โดยผูว้ ิจยั ได้เลือกหัวข้อ
เรื่ อง การแยกตัวประกอบของพหุนาม มาใช้ในการศึกษา
3

ระยะเวลาที่ใช้ ในการวิจัย
ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจยั ครั้งนี้ ดำเนินการทดลองในภาคเรี ยนที่ 1 ปี การศึกษา 2555

ตัวแปรที่ใช้ ในการวิจัย
1. ตัวแปรอิสระ ได้แก่ ชุดแบบฝึ กเสริ มทักษะเพื่อแก้ไขข้อบกพร่ องทางการเรี ยนเรื่ องการแยก
ตัวประกอบของพหุนาม
2. ตัวแปรตาม ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ ทางการเรี ยนเรื่ องการแยกตัวประกอบของพหุนาม

นิยามศัพท์ เฉพาะ
การศึกษาและแก้ไขข้ อบกพร่ อง หมายถึง การค้นหาข้อผิดพลาดหรื อสาเหตุที่เป็ นปัญหาหรื อ
อุปสรรคที่ท ำให้นกั เรี ยนไม่ประสบความสำเร็ จในการเรี ยน และเมื่อพบข้อบกพร่ องแล้วจึงจัดกิจกรรม
การเรี ยนการสอนซ่อมเสริ มเพื่อแก้ไขข้อบกพร่ องทางการเรี ยนในแต่ละด้าน
แบบฝึ กเสริมทักษะ หมายถึง แบบฝึ กที่ผวู ้ ิจยั สร้างขึ้นสำหรับฝึ กผูเ้ รี ยนให้มีความชำนาญในการ
แยกตัวประกอบของพหุนาม
แบบทดสอบสำรวจข้ อบกพร่ อง หมายถึง แบบทดสอบที่ผวู ้ ิจยั สร้างขึ้นเพื่อค้นหาข้อบกพร่ อง
ทางการเรี ยน เรื่ องการแยกตัวประกอบของพหุนาม ประกอบด้วยคำถามแบบอัตนัยแสดงวิธีท ำ
ผลสั มฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการแยกตัวประกอบของพหุนาม หมายถึง คะแนนจากการทดสอบ
ของนักเรี ยนโดยพิจารณาตามจุดประสงค์ที่ตอ้ งการสำรวจข้อบกพร่ อง และคะแนนที่ได้จากแบบทดสอบ
หลังการใช้ชุดแบบฝึ กเสริ มทักษะ

แบบทดสอบคู่ขนาน หมายถึง แบบทดสอบคู่ขนานที่ผวู ้ ิจยั สร้างขึ้น เพื่อศึกษาผลการใช้แบบฝึ ก


เสริ มทักษะเพื่อแก้ไขข้อบกพร่ องทางการเรี ยนเรื่ อง การแยกตัวประกอบของพหุนาม ประกอบด้วยคำถาม
แบบอัตนัยแสดงวิธีท ำ โดยข้อคำถามจะคู่ขนานกับข้อคำถามในแบบทดสอบสำรวจข้อบกพร่ อง

กรอบแนวคิดในการวิจัย

ตัวแปรอิสระ ตัวแปรตาม
ชุดแบบฝึ กเสริ มทักษะเพื่อแก้ไขข้อ ผลสัมฤทธิ์ ทางการเรี ยนเรื่ องการแยก
บกพร่ องทางการเรี ยนเรื่ องการแยก ตัวประกอบของพหุนาม
ตัวประกอบของพหุนาม

สมมติฐานของการวิจัย
ผลสัมฤทธิ์ ทางการเรี ยนเรื่ องการแยกตัวประกอบของพหุนามหลังจากการทำแบบฝึ กเสริ มทักษะสู ง
กว่าก่อนการทำแบบฝึ กเสริ มทักษะ
4

บทที่ 2
เอกสารและงานวิจัยทีเ่ กีย่ วข้ อง

ในการศึกษาและแก้ไขข้อบกพร่ อง เรื่ องการแยกตัวประกอบของพหุนามของนักเรี ยนชั้น


มัธยมศึกษาปี ที่ 4 ครั้งนี้ ผูว้ ิจยั ได้ศึกษาเอกสารและงานวิจยั ที่เกี่ยวข้องดังต่อไปนี้
1. การศึกษาข้อบกพร่ องทางการเรี ยนคณิ ตศาสตร์
1.1 ความหมายของข้อบกพร่ องทางการเรี ยนคณิ ตศาสตร์
1.2 ประโยชน์ของการศึกษาข้อบกพร่ องทางการเรี ยน
1.3 ลักษณะข้อบกพร่ องทางการเรี ยนคณิ ตศาสตร์
1.4 วิธีการศึกษาข้อบกพร่ องทางการเรี ยน
2. การวินิจฉัยข้อบกพร่ องทางการเรี ยน
2.1 การศึกษาข้อบกพร่ องทางการเรี ยนโดยการวินิจฉัย
2.2 ความหมายของแบบทดสอบวินิจฉัยเพื่อศึกษาข้อบกพร่ องทางการเรี ยน
2.3 ลักษณะของแบบทดสอบวินิจฉัยเพื่อศึกษาข้อบกพร่ องทางการเรี ยน
2.4 เทคนิควิธีการสร้างแบบทดสอบวินิจฉัยเพื่อศึกษาข้อบกพร่ องทางการเรี ยน
3. เอกสารที่เกี่ยวข้องกับแบบฝึ ก
3.1 ความหมายของแบบฝึ ก
3.2 ประโยชน์ของแบบฝึ ก
3.3 ลักษณะของแบบฝึ กที่ดี
3.4 หลักในการสร้างแบบฝึ ก
3.5 หลักจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการสร้างแบบฝึ ก
5

4. งานวิจยั ที่เกี่ยวข้อง
4.1 งานวิจยั ในประเทศ
6

1. เอกสารที่เกีย่ วข้ องกับการศึกษาข้ อบกพร่ องทางการเรียนคณิตศาสตร์


1.1 ความหมายของข้ อบกพร่ องทางการเรียนคณิตศาสตร์
ดารณี คำแหง. (2533: 13) ได้กล่าวว่า ข้อบกพร่ องทางการเรี ยนคณิ ตศาสตร์หมาย
ถึง ข้อผิดพลาดหรื อสาเหตุที่เป็ นปัญหาหรื ออุปสรรคที่ท ำให้นกั เรี ยนไม่ประสบผลสำเร็ จในการเรี ยน
คณิ ตศาสตร์หรื อไม่สามารถเรี ยนคณิ ตศาสตร์ได้อย่างมีประสิ ทธิ ภาพ
สุ พรรณี ภิรมย์ภกั ดี. (2541: 4) ข้อบกพร่ องทางการเรี ยนคณิ ตศาสตร์หมายถึง
ความผิดพลาดที่เกิดจากความไม่เข้าใจในเนื้ อหาวิชาคณิ ตศาสตร์
สุ นิสา พงษ์ประยูร. (2543: 5) กล่าวว่าข้อบกพร่ องทางการเรี ยนคณิ ตศาสตร์หมาย
ถึง ข้อผิดพลาดหรื อสาเหตุที่เป็ นปัญหาหรื อลักษณะของการขาดความสมบูรณ์ในส่ วนสำคัญบางประการที่
ทำให้นกั เรี ยนไม่ประสบผลสำเร็จในการเรี ยนวิชาคณิ ตศาสตร์
ทศพร ทักษิมา. (2545: 24) ข้อบกพร่ องทางการเรี ยนคณิ ตศาสตร์หมายถึง จุดด้อยที่เป็ น
ปั ญหาหรื ออุปสรรคที่ท ำให้นกั เรี ยนไม่สามารถบรรลุจุดประสงค์ในการเรี ยนคณิ ตศาสตร์
นิภาพร นาอ่อน. (2545: 7) ได้ให้ความหมายของข้อบกพร่ องทางคณิ ตศาสตร์ไว้วา่ “ ข้อ
บกพร่ องทางการเรี ยนคณิ ตศาสตร์ หมายถึง ความผิดพลาดที่เกิดจากการไม่เข้าใจในเนื้ อหาหรื อความไม่
รอบคอบหลังการเรี ยน ”
ธัญสิ นี ฐานา. (2546: 24) ข้อบกพร่ องทางการเรี ยนคณิ ตศาสตร์หมายถึง ข้อผิดพลาดหรื อ
สาเหตุที่เป็ นปัญหาอันมาจากการทำผิด การเลือกผิด และการคิดที่แตกต่างซึ่ งส่ งผล ทำให้นกั เรี ยนไม่ประสบ
ความ สำเร็ จในการเรี ยนคณิ ตศาสตร์หรื อไม่สามารถเรี ยนคณิ ตศาสตร์ได้อย่างมีประสิ ทธิ ภาพ
สำหรับงานวิจยั นี้ จะให้ความหมายของข้อบกพร่ องทางการเรี ยนคณิ ตศาสตร์ คือข้อผิด
พลาดทางการเรี ยนคณิ ตศาสตร์ที่เป็ นปัญหาและอุปสรรคในการเรี ยนคณิ ตศาสตร์ ที่ท ำให้นกั เรี ยนไม่
ประสบความสำเร็ จในการเรี ยนคณิ ตศาสตร์

1.2 ประโยชน์ ของการศึกษาข้ อบกพร่ องทางการเรียน


ชวาล แพรัตกุล. (2516: 27) ได้กล่าวถึงประโยชน์ของการศึกษาข้อบกพร่ องทางการเรี ยน
ไว้ ดังนี้
1. ชี้ให้ครู เด็ก ผูป้ กครองและผูท้ ี่เกี่ยวข้องรู ้ถึงจุดเด่น – จุดด้อยของนักเรี ยน จะได้ร่วมแก้ไขหรื อส่ ง
เสริ มให้ตรงจุด
2. เตือนให้ครู ได้สงั วรในการสอนว่าแต่ละวิชามีความยากและมีความสำคัญอยูท่ ี่เนื้อหาและ
พฤติกรรมใดที่จะต้องเล็งเป็ นพิเศษและควรสอนเรื่ องนั้นวิธีใดจึงจะประสบความสำเร็ จมากที่สุด
3. ทำให้การสอบมีความหมาย คุม้ ค่าเหนื่อยและครู กร็ ู ้เทคนิคในการสอบวัดผลมากขึ้น
เอนก เพียรอนุกลู บุตร. (2524: 38) กล่าวถึงประโยชน์ของการวัดผลเพื่อใช้ในการศึกษา
ข้อบกพร่ องทางการเรี ยนไว้วา่ ทำเพื่อจุดมุ่งหมายสำคัญ 2 ประการเป็ นอย่างน้อย สรุ ปได้ดงั นี้
1. เพื่อใช้ปรับปรุ งการเรี ยน ข้อมูลจากการสอบจะบ่งว่านักเรี ยน อ่อน เก่ง ขาดพื้นฐาน ไม่เข้าใจ
ส่ วนใด ซึ่ งจะช่วยให้ครู สอนซ่อมเสริ มและแก้ไขจุดอ่อนได้ทนั ท่วงที
2. เพื่อใช้ปรับปรุ งการสอน ข้อมูลจากการสอบจะทำให้เห็นจุดอ่อน จุดบกพร่ องของกระบวนการ
เรี ยนการสอน และมีผลต่อการพัฒนาหลักสูตรด้วย เพราะข้อมูลจากการสอบจะช่วยชี้แนะถึงบทเรี ยนที่
เหมาะสมต่อการเรี ยนการสอนทั้งเนื้อหาวิชา วัสดุอุปกรณ์ประกอบหลักสู ตร
7

จากที่กล่าวมาสรุ ปได้วา่ ประโยชน์ของการศึกษาข้อบกพร่ องทางการเรี ยน ทำให้ครู ผสู ้ อน


ได้เห็น
จุดเด่น – จุดด้อยของนักเรี ยน และนำมาแก้ไขจุดอ่อนได้ทนั ท่วงที

1.3 ลักษณะข้ อบกพร่ องทางการเรียนคณิตศาสตร์


ดวงเดือน อ่อนน่วม. (2533: 112) กล่าวว่า ข้อบกพร่ องของเด็กมีมากมายในที่น้ ี กล่าวถึง
เฉพาะ
ข้อบกพร่ องบางเรื่ องที่เป็ นปัญหาของเด็กส่ วนใหญ่
1. ข้อบกพร่ องเกี่ยวกับการคิดคำนวณเบื้องต้น
2. ข้อบกพร่ องเกี่ยวกับค่าประจำหลัก
3. ข้อบกพร่ องเกี่ยวกับ การลบ การคูณและการหาร
4. ข้อบกพร่ องเกี่ยวกับการแก้โจทย์ปัญหา
คาเซย์ (นิภาพร นาอ่อน. 2545: 17; อ้างอิงจาก Casay. 1987: 92) สรุ ปลักษณะข้อ
บกพร่ องทางการเรี ยนคณิ ตศาสตร์ โดยทำการวิจยั
เกี่ยวกับการวิเคราะห์ความคลาดเคลื่อนและเทคนิคการสอนเพื่อการแก้ไขความคลาดเคลื่อนและแบ่งระดับ
ความผิดพลาดที่นกั เรี ยนจะบกพร่ องไว้ 9 ด้าน คือ
1. รู ปแบบของคำถาม
2. การอ่านคำถาม
3. ความเข้าใจในคำถาม
4. กลยุทธ์ในการเลือกใช้ค ำถาม
5. ทักษะการเลือกใช้ความรู้
6. ทักษะการประยุกต์ใช้ความรู้
7. การนำเสนอคำตอบ
8. ความผิดพลาดที่ไม่สามารถระบุสาเหตุที่แน่นอนได้เนื่องจากขาดความระมัดระวัง
9. ความผิดพลาดซึ่ งครู จะทราบได้จากการสังเกตพฤติกรรมของนักเรี ยน
เบลนโด และคนอื่นๆ (นิภาพร นาอ่อน. 2545: 25; อ้างอิงจาก Blando and others. 1989: 301 – 308)
ได้ท ำการวิจยั เรื่ องการวิเคราะห์และหารู ปแบบความคลาดเคลื่อนทางเลขคณิ ต พบว่าลักษณะข้อบกพร่ อง
ทางเลขคณิ ตมี 4 ด้าน คือ
1. ความคลาดเคลื่อนในการใช้เครื่ องหมายบวก ลบ คูณ หาร โดยทำผิดขั้นตอน เช่น บวก
ก่อนคูณ ลบก่อนหาร ละเลยความสำคัญของวงเล็บ เป็ นต้น
2. ความคลาดเคลื่อนในการใช้เครื่ องหมายผิด เช่น ใช้การหารแทนการบวก ใช้การลบ
แทนการบวก ใช้การคูณแทนการหาร เป็ นต้น
3. ความคลาดเคลื่อนอื่นๆ เช่น การไม่ตอบ หรื อการปฏิเสธที่จะแก้ปัญหา
4. ความคลาดเคลื่อนที่ไม่มีรูปแบบแน่นอน เนื่องจากขาดความระวังในการบวก เป็ นต้น
จากที่กล่าวมาสรุ ปได้วา่ ลักษณะข้อบกพร่ องทางการเรี ยนคณิ ตศาสตร์ สามารถแบ่งได้ 3 ด้าน
ใหญ่ๆดังนี้ ด้านการใช้นิยาม กฎและทฤษฎี ด้านการคิดคำนวณ และด้านการแก้ปัญหา
8

1.4 วิธีการศึกษาข้ อบกพร่ องทางการเรียน


รุ จิร์ ภู่สาระ. (2520: 18) กล่าวถึงวิธีการศึกษาข้อบกพร่ องทางการเรี ยนว่ามีหลายวิธี เช่น
การ
ใช้แบบทดสอบวินิจฉัย ใช้แบบทดสอบวัดเชาว์ปัญญา หรื อแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ แต่เครื่ องมือที่ใช้
ตรวจสอบหารายละเอียดของข้อบกพร่ องที่ดีที่สุดคือแบบทดสอบวินิจฉัย แบบทดสอบนี้ มีคุณสมบัติที่ศึกษา
รายละเอียดเป็ นเรื่ องๆไป การวิเคราะห์ขอ้ บกพร่ องนั้นอาจทำได้กบั ทุกวิชาโดยเฉพาะกับวิชาคณิ ตศาสตร์
อนึ่งในการวิเคราะห์น้ ีควรทำอย่างน้อยสองครั้งในการศึกษาแต่ละเนื้อหา ทั้งนี้เพื่อจะได้มนั่ ใจมากยิง่ ขึ้น
เพราะว่าการทำผิดบางครั้งอาจจะผิดเพราะตัวเลือกก็ได้ ดังนั้นจึงต้องมีการค้นหาสาเหตุขอ้ บกพร่ องทางการ
เรี ยน การที่เราได้รู้วา่ เด็กบกพร่ องตรงไหนเพียงอย่างเดียวไม่พอ จะต้องรู ้ดว้ ยว่าทำไมจึงเกิดข้อบกพร่ องเช่น
นั้น การศึกษาข้อบกพร่ องนั้นมีสิ่งที่ตอ้ งสังเกตพิจารณาอยู่ 5 ประการคือ สมองของผูเ้ รี ยน บุคลิกภาพ
สุ ขภาพร่ างกาย สิ่ งแวดล้อมทางบ้านและสิ งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลทางโรงเรี ยน
สมศักดิ์ สิ นธุระเวชญ์. (2523: 24) เสนอวิธีการศึกษาข้อบกพร่ องทางการเรี ยนไว้ ดังนี้
1. ใช้แบบทดสอบสำรวจทัว่ ๆไปแบบทดสอบชนิดนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อสำรวจว่านักเรี ยนมีความรู ้
เพียงใด
2. ใช้แบบทดสอบวินิจฉัยเพื่อค้นพบว่าเรื่ องใด หรื อองค์ประกอบของเรื่ องใดที่นกั เรี ยนยังไม่
ประสบความสำเร็ จ
3. ใช้การสังเกตนักเรี ยน ขณะนักเรี ยนทำงานในระหว่างที่ผสู ้ อนมอบหมายงานให้นกั เรี ยน
4. ใช้การประชุมร่ วมกับนักเรี ยน
5. ใช้การวินิจฉัยโดยนักเรี ยนเอง เพราะนักเรี ยนจะรู ้ดีว า่ ตนเองไม่มีความรู ้ในเรื่ องใด
พันทิพา อุทยั สุ ข. (2524: 32) ได้เสนอแนวทางวิธีการศึกษาข้อบกพร่ องของนักเรี ยนไว้
ดังนี้
1. สังเกตการเรี ยน ซึ่ งจะเป็ นการพิจารณาดูวา่ ผูเ้ รี ยนมีความสนใจในการเรี ยนหรื อไม่ มีสมาธิ
เพียงใดและมีปฏิกิริยาอย่างไร
2. การทดสอบในชั้นเรี ยน เป็ นการศึกษาจากการเรี ยนปกติในชั้นเรี ยนโดยดูจากผลการเรี ยนและ
ความก้าวหน้าในการเรี ยนของนักเรี ยน
3. การทดสอบอย่างละเอียดเป็ นการหาข้อบกพร่ องในการเรี ยนของนักเรี ยนให้ตรงประเด็นจริ งๆ
ว่าส่ วนใดต้องแก้ไขบ้าง
4. การสัมภาษณ์ผปู้ กครองเป็ นการปรึ กษาหารื อเกี่ยวกับปั ญหาต่างๆของนักเรี ยนในด้านการเรี ยน
และด้านอื่นๆ
จากแนวคิดต่างๆในวิธีการศึกษาข้อบกพร่ องทางการเรี ยน ผูว้ จิ ยั เห็นว่าควรมีการศึกษาข้อ
บกพร่ อง
ทางการเรี ยนของนักเรี ยนเป็ นรายบุคคลโดยใช้แบบทดสอบวินิจฉัยเป็ นเครื่ องมือในการตรวจสอบ ทำให้
ทราบถึงข้อบกพร่ องทางการเรี ยนของนักเรี ยนได้ถูกต้อง

2. เอกสารที่เกีย่ วข้ องกับการวินิจฉัยข้ อบกพร่ องทางการเรียน


2.1 การศึกษาข้ อบกพร่ องทางการเรียนโดยการวินิจฉัย
9

ดวงเดือน อ่อนน่วม. (2533: 33) เนื่องจากลักษณะสำคัญประการหนึ่งของ คณิ ตศาสตร์ คือ เป็ นวิชา
ที่มีความต่อเนื่องกันเป็ นลำดับขั้น การเรี ยนรู ้เนื้ อหาบางเรื่ องทำไม่ได้เลย ถ้าไม่เรี ยนรู ้เรื่ องที่เป็ นพื้นฐานมาก
ก่อน ดังนั้น สาเหตุประการหนึ่งที่ท ำให้เด็กไม่ประสบความสำเร็ จในการเรี ยนคณิ ตศาสตร์กค็ ือ การที่จะต้อง
เรี ยนเรื่ องใหม่โดยยังขาดความรู้ความเข้าใจในเรื่ องเดิมที่เป็ นพื้นฐานของเรื่ องใหม่ ทำให้ไม่สามารถเกิดการ
เรี ยนรู ้เรื่ องใหม่ที่ก ำลังเรี ยนได้ การวินิจฉัยการเรี ยนจึงเข้ามามีบทบาทเพื่อให้ทราบว่า สมรรถภาพทาง
คณิ ตศาสตร์ของเด็กอยูต่ รงจุดไหน ดังนั้นการวินิจฉัยข้อบกพร่ องทางการเรี ยน จึงถือเป็ นการศึกษาข้อ
บกพร่ องทางการเรี ยนอีกวิธีหนึ่ง
โดยความหมายของการวินิจฉัย ได้มีนกั การศึกษากล่าวไว้ได้แก่ ในพจนานุกรมการศึกษาของ
กูด(นิภาพร นาอ่อน. 2545: 10; อ้างอิงจาก Good. 1945: 170) ได้ให้ความหมายของการวินิจฉัย (Diagnosis)
ไว้วา่ การวินิจฉัยหมายถึง การค้นหาอุปสรรค หรื อข้อบกพร่ องในการเรี ยนรู ้ และดวงเดือน อ่อนน่วม. (2533:
33)ได้ให้ความหมายของการวินิจฉัยการเรี ยนคณิ ตศาสตร์ โดยกล่าวว่า เมื่อนำความหมายของการวินิจฉัยมา
ใช้กบั การเรี ยนคณิ ตศาสตร์มกั หมายถึง การวิเคราะห์หรื อรวบรวมข้อมูลเพื่อให้ทราบรายละเอียดของจุด
เด่น(สิ่ งที่ดีอยูแ่ ล้ว) หรื อจุดด้อย (ข้อบกพร่ องหรื อสิ่ งที่เป็ นอุปสรรค) ในการเรี ยนคณิ ตศาสตร์ และสำหรับ
วิธีการศึกษาข้อบกพร่ องทางการเรี ยนนั้น รุ จิร์ ภู่สาระ. (2520: 18) ได้กล่าวว่า วิธีการศึกษาข้อบกพร่ อง
ทางการเรี ยนมีหลายวิธี เช่น ใช้แบบทดสอบวินิจฉัย ( Diagnostic Test) ใช้แบบทดสอบวัดเชาวน์ปัญญา
(Intelligence Test) หรื อแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ (Achievement Test) แต่เครื่ องมือที่ใช้ตรวจสอบหาราย
ละเอียดที่ดีที่สุดคือ แบบทดสอบวินิจฉัย ซึ่ งแบบทดสอบนี้ มีคุณสมบัติที่ศึกษารายละเอียดเป็ นเรื่ องๆไป การ
วิเคราะห์หาข้อบกพร่ องนั้นอาจทำได้กบั ทุกวิชา โดยเฉพาะวิชาคณิ ตศาสตร์
กรอนลันด์. (วลี เฉลยสมัย. 2538 : 28; อ้างอิงมาจาก Gronlund. 1981 : 493 – 497) เสนอขั้นตอน
การวินิจฉัยและแก้ไขข้อบกพร่ องไว้ 4 ขั้นตอน ดังนี้
1. การระบุตวั นักเรี ยนที่มีขอ้ บกพร่ องสามารถทำได้หลายวิธี สำหรับในประเทศที่มีการใช้แบบ
ทดสอบมาตรฐานกันอย่างแพร่ หลายก็สามารถใช้แบบทดสอบมาตรฐานเป็ นเครื่ องมือสำหรับระบุวา่ ใครมี
ปั ญหาในการเรี ยน นอกจากนี้ ครู ยงั อาจใช้การวินิจฉัยอย่างไม่เป็ นทางการ โดยการศึกษาเอกสารต่างๆของ
ทางโรงเรี ยน เช่น ระเบียนสะสม หรื อใช้การสังเกตของครู เพราะครู มีประสบการณ์ในชั้นเรี ยนอยูแ่ ล้วย่อม
ทำให้มองเห็นว่าใครมีปัญหาในการเรี ยนบ้าง ในการมองปั ญหาของนักเรี ยน ครู ไม่ควรมองแต่ปัญหาด้าน
เนื้อหาวิชาเท่านั้น ครู ควรมองปัญหาอื่นๆด้วยเช่น ด้านการปรับตัว ด้านอารมณ์ เพราะปั ญหาเหล่านี้อาจมี
ผลกระทบต่อปัญหาด้านการเรี ยนของนักเรี ยน
2. การระบุขอ้ บกพร่ องหรื อปัญหาของนักเรี ยนมีหลายระดับ ในบางครั้ งการวินิจฉัยระดับทัว่ ไป
อาจให้ขอ้ มูลเพียงพอสำหรับการแก้ไข ในบางกรณี ตอ้ งการวินิจฉัยถึงระดับวิเคราะห์ และในบางกรณี อาจ
ต้องการวินิจฉัยระดับละเอียดจึงสามารถหาข้อแก้ไขได้
3. การระบุองค์ประกอบที่เป็ นสาเหตุของการมีขอ้ บกพร่ อง ในบางครั้งปั ญหาในการเรี ยนของ
นักเรี ยนอาจจะเกิดจากการสอนของครู ซึ่ งครู ทราบได้ง่ายจากการพบว่าเด็กส่ วนใหญ่มีปัญหาเดียวกัน
ปั ญหาในลักษณะนี้ แก้ไขได้ง่ายโดยครู ปรับวิธีการสอนใหม่ แต่ถา้ หากนักเรี ยนมีปัญหาเฉพาะตัว แสดงว่า
ปั ญหาไม่น่าจะเกิดจากวิธีการสอนที่ไม่เหมาะสมของครู ครู ตอ้ งศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับนักเรี ยนและสิ่ ง
แวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับนักเรี ยน
องค์ประกอบที่ควรพิจารณา เช่น สติปัญญา ทักษะการเรี ยน สุ ขภาพ การปรับตัวด้านอารมณ์ สิ่ ง
แวดล้อมทางบ้าน เพราสิ่ งเหล่านี้อาจเป็ นสาเหตุของปั ญหาในการเรี ยน ถ้าครู ได้ใช้วิธีการต่างๆหลายวิธีที่
10

กล่าวมาแล้ว เช่น การสังเกต การใช้แบบสอบถาม การพูดคุยกับนักเรี ยน การศึกษาเอกสารที่มีขอ้ มูลเกี่ยวกับ


ตัวนักเรี ยน หรื อการพูดคุยกับผูป้ กครอง แล้วปรากฏว่ายังไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ก็อาจจะต้องอาศัยนัก
จิตวิทยาในหน่วยแนะแนวในโรงเรี ยนหรื อหน่วยงานอื่น
4. การแก้ไขข้อบกพร่ องไม่มีรูปแบบตายตัว ทั้งนี้ข้ ึนอยูก่ บั ธรรมชาติของข้อบกพร่ องแต่ละอย่าง
ในบางกรณี อาจแก้ไขด้วยการทบทวนหรื อสอนใหม่ แต่ในบางกรณี อาจต้องใช้ความพยายามในการสร้าง
แรงจูงใจแก้ปัญหาด้านอารมณ์หรื อแก้ไขทักษะการทำงาน ในระหว่างการแก้ไขข้อบกพร่ อง การวัดและการ
ประเมินผลสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้หลายแง่ ดังนี้
4.1 ช่วยให้ทราบคำตอบของนักเรี ยนในสิ่ งที่ครู อยากทราบ
4.2 ช่วยให้ขอ้ มูลสำหรับการวินิจฉัยต่อไปอีก
4.3 ช่วยให้นกั เรี ยนเกิดความรู ้สึกว่าประสบความสำเร็ จ จากวิธีการให้คะแนนอย่าง
เหมาะสม
4.4 นักเรี ยนทราบความก้าวหน้าของตนเอง
4.5 ให้ขอ้ มูลเกี่ยวกับประสิ ทธิ ภาพในการแก้ไขข้อบกพร่ อง
จากแนวคิดต่างๆที่กล่าวมาเกี่ยวกับการศึกษาข้อบกพร่ องทางการเรี ยนโดยการวินิจฉัย
นั้น ผูว้ ิจยั
เห็นว่าการศึกษาข้อบกพร่ องทางการเรี ยนของนักเรี ยนนั้น สามารถทำได้หลากหลายวิธี แต่วิธีที่ได้ผลดีที่สุด
คือ การทำแบบทดสอบวินิจฉัย ซึ่ งแบบทดสอบนี้ มีคุณสมบัติที่ศึกษารายละเอียดเป็ นเรื่ องๆไป ทำให้ได้
ทราบรายละเอียดที่มากขึ้น

2.2 ความหมายของแบบทดสอบวินิจฉัยเพือ่ ศึกษาข้ อบกพร่ องทางการเรียน


อดัมส์ และทอร์เกอสัน (นิภาพร นาอ่อน. 2545: 10; อ้างอิงจาก Adams; & Torgerson. 1964 : 39 –
40) กล่าวว่า แบบทดสอบวินิจฉัย คือแบบทดสอบที่ใช้เพื่อชี้ ให้เห็นถึงข้อบกพร่ องและบอกถึงสาเหตุความ
บกพร่ องนั้น ส่ วนอีเบล (นิภาพร นาอ่อน. 2545: 12; อ้างอิงจาก Ebel. 1965 : 449) ให้ความหมายของแบบ
ทดสอบวินิจฉัยว่าเป็ นแบบทดสอบที่ใช้สำหรับค้นหาจุดอ่อนหรื อจุดบกพร่ องในการเรี ยนวิชาต่างๆ เช่น
การอ่าน หรื อเลขคณิ ต และแบบทดสอบชนิดนี้ จะสนใจเฉพาะคะแนนในแต่ละข้อหรื อคะแนนของนักเรี ยน
กลุ่มเล็กๆที่ทดสอบในแบบทดสอบอย่างเดียวกัน นอกจากนี้เพนน์ (วิยดา ซ่อนขํา. 2551: 9 อ้างอิงมาจาก
Payne. 1968: 167) อาห์แมน และกล็อค (วิยดา ซ่อนขํา. 2551: 9 อ้างอิงมาจาก Ahman; &Glock. 1975: 20)
ได้ให้ความหมายของแบบทดสอบวินิจฉัยไว้วา่ เป็ นแบบทดสอบที่ใช้ทดสอบหลังจากการสอนสิ้ นสุ ดลง
โดยจะทำการทดสอบเป็ นรายบุคคลหรื อเป็ นรายกลุ่มก็ได้ จุดมุ่งหมายของแบบทดสอบวินิจฉัยก็คือ ช่วยให้
ทราบถึงข้อบกพร่ องเฉพาะที่เป็ นพื้นฐานที่อยูเ่ บื้องหลังของผูเ้ รี ยน หรื อเพื่อชี้ ให้เห็นถึงข้อบกพร่ องทางการ
เรี ยนในรายละเอียดแต่ละตอน อันเป็ นประโยชน์ต่อการเรี ยนการสอน
วิเชียร เกตุสิงห์. (2530: 15) ให้ความหมายแบบทดสอบวินิจฉัยว่า เป็ นแบบทดสอบที่สร้างขึ้นมา
ทดสอบเพื่อหาข้อบกพร่ องหรื อจุดอ่อนในการเรี ยนแต่ละวิชาของนักเรี ยนเป็ นเรื่ องๆไปโดยแต่ละเรื่ องจะมี
ข้อสอบมากข้อ นอกจากนั้น สุ เทพ สันติวรานนท์(2533: 69); สมใจ ฤทธิ สนธิ (2537: 9) และสมนึก ภัททิ
ยานี (2544: 58) มีความเห็นคล้ายคลึงกันพอสรุ ปได้วา่ แบบทดสอบวินิจฉัยเป็ นแบบทดสอบที่สร้างขึ้น เพื่อ
ชี้เห็นจุดบกพร่ องของนักเรี ยนที่เกิดขึ้นในการเรี ยนเนื้ อหาวิชานั้นๆอีกทั้งช่วยให้ทราบสาเหตุของความ
บกพร่ องอันจะเป็ นประโยชน์ในการเรี ยนให้เกิดการเรี ยนรู ้เพิม่ ขึ้น ปรับปรุ งการสอนของครู ให้มี
11

ประสิ ทธิ ภาพมากขึ้น แบบทดสอบประเภทนี้ จะใช้สอบนักเรี ยนหลังจากทำการสอนจบทั้งรายบุคคลหรื อ


กลุ่ม นับว่ามีประโยชน์มากในการเรี ยนการสอน
จากแนวคิดต่างๆที่กล่าวมาเกี่ยวกับความหมายของแบบทดสอบวินิจฉัยเพื่อศึกษาข้อบกพร่ อง
ทางการเรี ยนนั้น ผูว้ ิจยั เห็นว่าแบบทดสอบวินิจฉัยเพื่อศึกษาข้อบกพร่ องทางการเรี ยน หมายถึงแบบทดสอบ
ที่ท ำการทดสอบหลังจากการเรี ยนการสอนจบไปแล้ว ซึ่ งจะทำเป็ นรายบุคคลหรื อกลุ่มก็ได้ แบบทดสอบนี้
จะชี้ให้เห็นจุดบกพร่ องหรื อจุดอ่อนของนักเรี ยน นับว่าเป็ นประโยชน์มากในการเรี ยนการสอน

2.3 ลักษณะของแบบทดสอบวินิจฉัยเพือ่ ศึกษาข้ อบกพร่ องทางการเรียน


สิ งห์ (นิภาพร นาอ่อน. 2545: 14; อ้างอิงจาก Singha. 1974: 200 – 205) กล่าวถึงลักษณะของแบบ
ทดสอบวินิจฉัยว่า
1. ข้อคำถามจะต้องมีจ ำนวนมากๆข้อ ครอบคลุมจุดประสงค์ของการเรี ยน
2. ต้องมีการวิเคราะห์เนื้ อหาก่อนการสร้างแบบทดสอบ
3. ข้อคำถามควรเป็ นคำถามง่ายๆ
4. ในแบบทดสอบแต่ละทักษะย่อยนั้นจะประกอบด้วยข้อสอบที่วดั ในลักษณะเดียวกัน
5. ไม่จ ำกัดเวลาในการสอบ
6. ไม่มีเกณฑ์ปกติ (Norm) เพราะเป็ นแบบทดสอบเพื่อค้นหาจุดอ่อนของนักเรี ยนมากกว่าที่จะ
เปรี ยบเทียบผลการเรี ยน
7. เป็ นแบบทดสอบที่มีท้ งั แบบทดสอบที่เป็ นมาตรฐาน(Standardized Test) และแบบทดสอบที่ครู
สร้างขึ้นเอง (Teacher – mad Test)
8. แบบทดสอบวินิจฉัยจะตั้งอยูบ่ นนิยามของการเรี ยนเพื่อรอบรู ้เกี่ยวกับจุดอ่อนด้านความคิด
รวบยอด (Concepts) และทักษะต่างๆ(Skills)
ดวงเดือน อ่อนน่วม. (2533: 54 – 55) ได้สรุ ปประเด็น อภิปราย และข้อสรุ ปเกี่ยวกับ
ลักษณะของ
แบบทดสอบวินิจฉัยการเรี ยนคณิ ตศาสตร์ไว้ ดังนี้
1. วัดได้แบบอิงเกณฑ์ (Criterion – Referenced) และแบบอิงกลุ่ม (Norm – Referenced) และ
เกณฑ์ปกติ (Norm) ไม่น่าเป็ นสิ่ งจำเป็ นสำหรับแบบทดสอบวินิจฉัย เพราะจุดประสงค์ของแบบทดสอบ
เพียงเพื่อระบุหรื อชี้ให้เห็นจุดที่เป็ นอุปสรรค ไม่ใช่เปรี ยบเทียบความสามารถกับคนอื่น
2. จุดประสงค์ของแบบทดสอบจำกัดเฉพาะจุดประสงค์ที่มีประโยชน์ต่อการวินิจฉัยเท่านั้น
3. ขอบเขตของเนื้อหามี 2 ลักษณะ คือแบบทดสอบวินิจฉัยที่ยดึ ระดับชั้นเป็ นหลัก เช่น แบบ
ทดสอบวินิจฉัยเรื่ องการบวก ชั้นประถมศึกษาปี ที่ 3 และแบบทดสอบวินิจฉัยที่ยดึ เนื้ อหาเป็ นหลัก เช่น แบบ
ทดสอบวินิจฉัยทักษะการคิดคำนวณเบื้องต้นเรื่ องการบวก
4. ควรเป็ นแบบทดสอบที่ไม่จ ำกัดเวลา คือ เป็ นแบบทดสอบที่เปิ ดโอกาสให้ผสู ้ อบได้แสดงความ
สามารถอย่างเต็มที่โดยไม่จ ำกัดเวลา เรี ยกว่าเป็ นแบบทดสอบที่มีอ ำนาจ (Power Test) ยกเว้นในกรณี ที่มีจุด
ประสงค์ชดั เจนว่าเป็ นแบบทดสอบที่เน้นความรวดเร็ วในการคิด (Speed Test)จึงอาจกำหนดเวลาได้
5. เนื้อหาของแบบทดสอบครอบคลุมทุกแง่มุมของคณิ ตศาสตร์ เช่น ทักษะการคิดคำนวณ ความ
หมาย กระบวนการคิดคำนวณ การคิดในใจ
12

6. ไม่ควรวัดเฉพาะการรู้ระดับนามธรรมเท่านั้น ควรวัดการรู ้ 3 ระดับ คือระดับรู ปธรรมกึ่งรู ป


ธรรมและนามธรรม หรื ออาจวัดการรู้ 4 ระดับ ได้แก่ รู ปธรรม กึ่งรู ปธรรม กึ่งนามธรรม และนามธรรม
7. เน้นการให้คะแนนเป็ นส่ วนๆ (Part Scores) และการให้คะแนนของข้อสอบในแต่ละส่ วนไม่
เน้นคะแนนรวม
8. ข้อสอบได้มาจากการวิเคราะห์พฤติกรรมการเรี ยนรู ้อย่างละเอียด และการศึกษาที่เด็กมักทำผิด
(Common Errors)
9. ข้อสอบควรจะง่ายเพื่อให้สามารถจำแนกระหว่างเด็กที่มีปัญหาได้ ข้อสอบแต่ละข้อควรมีระดับ
ความยากต่ำ
10. เกณฑ์แสดงการรอบรู้ในเรื่ องใดเรื่ องหนึ่ง นิยมใช้เกณฑ์อย่างต่ำ 2 ใน 3 (67%) หรื อ 3 ใน 4
(75%)เพื่อแสดงความมัน่ ใจว่าเด็กมีความรอบรู ้ในเรื่ องนั้นจริ งมิใช่ท ำผิดเพราะความเลินเล่อ

2.4 เทคนิควิธีการสร้ างแบบทดสอบวินิจฉัยเพือ่ ศึกษาข้ อบกพร่ องทางการเรียน


ลินด์ควิสต์ (สุ ขมุ มูลเมือง. 2523: 8; อ้างอิงจาก Lindquist. 1966: 37 – 38) ได้เสนอแนะเทคนิควิธี
การสร้างแบบทดสอบวินิจฉัยไว้ ดังนี้
1. ต้องสร้างให้ครอบคลุมเนื้ อหาและจุดประสงค์ที่ตอ้ งการทดสอบ
2. คำถามในแต่ละข้อต้องสามารถวัดได้ตรงจุดประสงค์ที่ตอ้ งการวัด
3. จะต้องมีการวิเคราะห์ขอ้ สอบอย่างละเอียด โดยอาจอาศัยการทดลองและความไม่เข้าใจในการ
เรี ยนเป็ นหลัก
4. แบบทดสอบจะต้องสามารถแสดงให้เห็นถึงกระบวนการคิดของผูเ้ รี ยนอย่างเพียงพอที่จะค้นหา
จุดบกพร่ องในการเรี ยนได้
5. ต้องมีการเสนอแนะวิธีการปรับปรุ งแก้ไขข้อบกพร่ องที่พบไว้ดว้ ย
6. แบบทดสอบจะต้องสร้างให้ครอบคลุมลำดับขั้นของการเรี ยนรู ้อย่างมีระบบ
7. แบบทดสอบจะต้องวัดจุดบกพร่ องทางการเรี ยนที่ผา่ นมาได้ และต้องสามารถค้นหาจุดบกพร่ อง
จากเนื้อหาแต่ละตอนที่ท ำการทดสอบได้
8. ผลของการทดสอบจะต้องบอกถึงความก้าวหน้าทางการเรี ยนของนักเรี ยนได้
สำนักงานทดสอบทางการศึกษา (กระทรวงศึกษาธิ การ. 2539: 11) ได้กล่าวถึงวิธีการสร้างและ
พัฒนาแบบทดสอบวินิจฉัย มีข้นั ตอนดังนี้ คือ
1. วิเคราะห์เนื้ อหา กำหนดขอบเขตเนื้ อหาและระดับพฤติกรรมอย่างละเอียด
2. สร้างตารางวิเคราะห์โครงสร้างของรายวิชา / รายวิชา
3. สร้างแบบทดสอบเพื่อสำรวจ (Survey Test)
4. เขียนจุดประสงค์การเรี ยนรู้ /สมรรถภาพ/ สมรรถภาพย่อย
5. หาแบบผิดหรื อข้อบกพร่ องที่คิดว่าน่าจะเกิดในขณะที่นกั เรี ยนทำกิจกรรมหรื อแบบฝึ กหัดใน
แต่ละจุดประสงค์การเรี ยนรู้
6. เขียนแบบร่ างๆ(Script) ของข้อสอบ หรื อเขียนลักษณะเฉพาะข้อสอบ (Item Specification)
7. เขียนข้อสอบตามแบบร่ าง (Script)
8. ตรวจสอบคุณภาพข้อสอบรายข้อ คือ ค่าความหมายรายข้อ (IOC) , ความลำเอียง (Bias)
9. ทดลองสอบ หาค่าสถิติ ปรับปรุ งคุณภาพข้อสอบ
13

10. จัดฉบับแบบทดสอบ ทดลองสอบ หาคุณภาพของแบบทดสอบ


11. เขียนคู่มือการสร้างและพัฒนาแบบทดสอบ คู่มือการใช้แบบทดสอบ การแปลความหมายของ
คะแนน และคู่มือในการวินิจฉัย

3. เอกสารที่เกีย่ วข้ องกับแบบฝึ ก


3.1 ความหมายของแบบฝึ ก
การเรี ยนการสอนในปัจจุบนั การฝึ กมีความจำเป็ นมาก เพราะช่วยเสริ มให้ผเู ้ รี ยนเกิดทักษะและ
เข้าใจในบทเรี ยนมากขึ้น ผูเ้ รี ยนยังสามารถแก้ไขข้อบกพร่ องทางการเรี ยนด้วยการฝึ กจากแบบฝึ กที่ครู สร้าง
ขึ้น แบบฝึ กมีผเู้ รี ยกแตกต่างกันไป เช่น แบบฝึ ก, ชุดฝึ ก, ชุดการสอน, ชุดการฝึ ก ซึ่ งในการศึกษาค้นคว้า
ครั้งนี้ผวู ้ ิจยั ใช้ชื่อ “แบบฝึ ก” ซึ่ งมีผกู้ ล่าวถึงความหมายของแบบฝึ กไว้ดงั นี้
แบบฝึ กหรื อแบบฝึ กหัดหรื อแบบฝึ กเสริ มทักษะ เป็ นสื่ อการเรี ยนประเภทหนึ่งสำหรับให้
นักเรี ยน
ฝึ กปฏิบตั ิเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจและทักษะเพิ่มขึ้น ส่ วนใหญ่หนังสื อเรี ยนจะมีแบบฝึ กหัดอยูท่ า้ ยบท
เรี ยน ในบางวิชาแบบฝึ กหัดจะมีลกั ษณะเป็ นแบบฝึ กปฏิบตั ิ (สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษา
แห่งชาติ. 2537: 147)
แบบฝึ ก หมายถึง แบบฝึ กหัดหรื อชุดการสอนที่เป็ นแบบฝึ กที่ใช้เป็ นตัวอย่างปั ญหาหรื อคำสัง่ ที่ต้ งั
ขึ้นเพื่อให้นกั เรี ยนฝึ กตอบ (ราชบัณฑิตยสถาน. 2525: 483)
ชัยยงค์ พรหมวงศ์ (2528: 123) ได้กล่าวถึงความหมายของแบบฝึ กไว้สรุ ปได้วา่ หมายถึง สิ่ งที่
นักเรี ยนต้องใช้ควบคู่กบั การเรี ยนเป็ นแบบฝึ กหัดครอบคลุมกิจกรรมที่นกั เรี ยนพึงกระทำ อาจกำหนดแยก
เป็ นแต่ละหน่วย หรื ออาจจะรวมเล่มก็ได้
เว็บสเตอร์ (เตือนใจ ตรี เนตร. 2544: 5; อ้างอิงจาก Webster. 1979: 640)ได้กล่าวถึง
ความหมายของแบบฝึ กว่าแบบฝึ กหมายถึงโจทย์ปัญหา หรื อตัวอย่างที่ยกมาจากหนังสื อเพื่อนนำมาใช้สอน
หรื อให้ผเู ้ รี ยนได้ฝึกฝนทักษะต่างๆให้ดีข้ ึนหลังจากที่เรี ยนบทเรี ยน
อังศุมาลิน เพิ่มผล (2542: 8) ได้สรุ ปไว้วา่ แบบฝึ ก หมายถึง งาน กิจกรรม หรื อประสบการณ์ที่
ครู จดั ให้นกั เรี ยนได้ฝึกหัดกระทำเพื่อทบทวนฝึ กฝนเนื้ อหาความรู ้ต่างๆ ที่ได้เรี ยนไปแล้วจนสามารถปฏิบตั ิ
ได้ดว้ ยความชำนาญและให้ผเู้ รี ยนสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้
เตือนใจ ตรี เนตร (2544: 5) ได้สรุ ปไว้วา่ แบบฝึ กเป็ นสื่ อประกอบการจัดกิจกรรมการเรี ยนการ
สอน ซึ่ งช่วยให้ผเู้ รี ยนเกิดการเรี ยนรู้จากการปฏิบตั ิดว้ ยตนเอง ได้ฝึกทักษะเพิ่มเติมจากเนื้อหา จนปฏิบตั ิได้
อย่างชำนาญและให้ผเู้ รี ยนสามารถนำไปใช้ชีวิตประจำวันได้
จากความหมายของแบบฝึ กดังกล่าวข้างต้นผูว้ ิจยั เห็นว่าแบบฝึ กเป็ นสื่ อการเรี ยนสำหรับให้นกั เรี ยน
ฝึ กปฏิบตั ิ เพื่อทบทวนเนื้ อหาและฝึ กฝนทักษะต่างๆ ให้ดีข้ ึน หลังจากที่ได้เรี ยนบทเรี ยนแล้วใช้ควบคู่กบั
การเรี ยน โดยยกตัวอย่างปัญหาที่ครอบคลุมเนื้ อหาความรู ้ต่างๆ ที่ได้เรี ยนไปแล้ว

3.2 ประโยชน์ ของแบบฝึ ก


14

แพตตี้ (เตือนใจ ตรี เนตร. 2544: 6-7 ; อ้างอิงจาก Patty. 1963: 469-472) ได้กล่าวถึงประโยชน์
ของแบบฝึ กต่อการเรี ยนรู้ไว้ 10 ประการคือ
1. เป็ นส่ วนเพิ่มเติมหรื อเสริ มสร้างในการเรี ยนทักษะเป็ นอุปกรณ์การสอนที่ช่วยลดภาระของครู
เพราะแบบฝึ กเป็ นสิ่ งที่จดั ทำขึ้นอย่างเป็ นระบบหรื อมีระบบ
2. ช่วยเสริ มทักษะการใช้ภาษาเป็ นเครื่ องมือที่ช่วยนักเรี ยนในการฝึ กทักษะทางการใช้ภาษาให้ดีข้ึน
แต่ท้ งั นี้จะต้องอาศัยการส่ งเสริ มและเอาใจใส่ จากครู ผสู ้ อนด้วย
3. ช่วยในเรื่ องความแตกต่างระหว่างบุคคล เนื่องจากนักเรี ยนมีความสามารถทางภาษาแตกต่างกัน
การให้นกั เรี ยนทำแบบฝึ กที่เหมาะสมกับความสามารถของเขาจะช่วยให้นกั เรี ยนประสบผลสำเร็ จมากขึ้น
4. แบบฝึ กช่วยเสริ มให้ทกั ษะทางภาษาคงทนลักษณะการฝึ กเพื่อช่วยให้เกิดผลดังกล่าวนั้นได้แก่
4.1 ฝึ กทันทีหลังจากที่นกั เรี ยนได้เรี ยนรู ้เรื่ องนั้นๆ
4.2 ฝึ กซ้ำหลายๆครั้ง
4.3 เน้นเฉพาะเรื่ องที่ตอ้ งการฝึ ก
5. แบบฝึ กที่ใช้จะเป็ นเครื่ องวัดผลการเรี ยนหลังจากจบบทเรี ยนในแต่ละครั้ง
6. แบบฝึ กที่จดั ทำขึ้นเป็ นรู ปเล่ม นักเรี ยนสามารถเก็บรักษาไว้ใช้เป็ นแนวทางเพื่อทบทวนด้วย
ตนเองได้ต่อไป
7. การให้นกั เรี ยนทำแบบฝึ กหัดช่วยให้ครู มองจุดเด่น หรื อปัญหาต่างๆ ของนักเรี ยนได้ชดั เจน
ซึ่ งจะช่วยให้ครู ด ำเนินการปรับปรุ งแก้ไขปัญหานั้นๆได้ทนั ท่วงที
8. แบบฝึ กที่จดั ขึ้นนอกเหนือจากที่มีอยูใ่ นหนังสื อเรี ยนจะช่วยให้นกั เรี ยนฝึ กฝนอย่างเต็มที่
9. แบบฝึ กที่จดั พิมพ์ไว้เรี ยบร้อยแล้วจะช่วยทำให้ครู ประหยัดทั้งแรงงานและเวลาในการที่จะ
ต้องเตรี ยมสร้างแบบฝึ กอยูเ่ สมอ ในด้านผูเ้ รี ยนก็ไม่ตอ้ งเสี ยเวลาในการลอกแบบฝึ กหัดจากตำราเรี ยนหรื อ
กระดานดำ ทำให้มีเวลาและโอกาสได้ฝึกทักษะต่างๆมากขึ้น
10. แบบฝึ กช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายและยังมีประโยชน์ในการที่ผเู ้ รี ยนสามารถบันทึกและมองเห็น
ความก้าวหน้าของตนเองได้อย่างมีระบบและเป็ นระเบียบ

ธนู แสวงศักดิ์ (จรี พร สามารถ. 2543: 11; อ้างอิงจาก ธนู แสวงศักดิ์ . 2514: 132) ได้กล่าวถึง
ประโยชน์ของแบบฝึ กไว้วา่ การให้แบบฝึ กหัดแก่นกั เรี ยนนับเป็ นสิ่ งหนึ่งที่จะช่วยให้การเรี ยนการสอนได้
ผลดียงิ่ ขึ้นด้วย ในการเรี ยนการสอนวิชาคณิ ตศาสตร์ ครู ผสู ้ อนใช้วิธีสอนโดยการอธิ บายตัวอย่างแล้วให้
นักเรี ยนทำแบบฝึ กหัดซึ่ งแสดงให้เห็นว่า การสอนคณิ ตศาสตร์จะขาดการทำแบบฝึ กหัดไม่ได้เลย

รัชนี ศรี ไพวรรณ (จรี พร สามารถ. 2543: 11; อ้างอิงจาก รัชนี ศรี ไพวร. 2517: 189)
ได้กล่าวประโยชน์ของแบบฝึ กทักษะไว้วา่
1. ทำให้นกั เรี ยนเข้าใจบทเรี ยนดีข้ึนเพราะแบบฝึ กทักษะจะเป็ นเครื่ องมือทบทวนความรู ้ที่
นักเรี ยนได้เรี ยน และทำให้เกิดความชำนาญ คล่องแคล่วในเนื้อหาวิชาเหล่านั้นยิง่ ขึ้น
2. ทำให้ครู ทราบความเข้าใจของนักเรี ยนที่มีต่อบทเรี ยนซึ่ งจะช่วยให้ครู สามารถปรับปรุ ง
เนื้อหาวิธีสอน และกิจกรรมในแต่ละบทเรี ยนตลอดจนสามารถช่วยนักเรี ยนให้เรี ยนได้ดีที่สุดตามความ
สามารถของเขาด้วย
3. ฝึ กให้นกั เรี ยนมีความเชื่อมัน่ และสามารถประเมินผลงานของตนเองได้
15

4. ฝึ กให้นกั เรี ยนทำงานตามลำพัง โดยมีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย


จากที่กล่าวมาข้างต้นผูว้ ิจยั สรุ ปได้วา่ แบบฝึ กมีประโยชน์สำหรับนักเรี ยนในการที่จะเสริ มสร้าง
ทักษะ ทบทวนความรู้ และทำให้เกิดความชำนาญในเนื้อหาวิชาเหล่านั้นยิง่ ขึ้น นอกจากนี้ยงั มีประโยชน์
สำหรับครู แบบฝึ กเป็ นอุปกรณ์การสอนที่ช่วยลดภาระของครู และยังช่วยให้ครู มองเห็นปั ญหาต่างๆ ของ
นักเรี ยนแต่ละคนได้ชดั เจนขึ้น สามารถนำไปพัฒนาการสอนของตนเอง

3.3 ลักษณะของแบบฝึ กทีด่ ี


บิลโลว์ (เตือนใจ ตรี เนตร. 2544: 7; อ้างอิงจาก Billow. 1962: 87) กล่าวถึงลักษณะของแบบฝึ กที่
ดีน้ นั จะต้องดึงดูดความสนใจและสมาธิของนักเรี ยน เรี ยงลำดับจากง่ายไปยากเปิ ดโอกาสให้นกั เรี ยนฝึ ก
เฉพาะอย่าง ใช้ภาษาเหมาะสมกับวัย วัฒนธรรมประเพณี ภูมิหลังทางภาษาของนักเรี ยน แบบฝึ กที่ดีควร
จะเป็ นแบบฝึ กสำหรับนักเรี ยนที่เรี ยนเก่ง และซ่อมเสริ มสำหรับนักเรี ยนที่เรี ยนอ่อนในขณะเดียวกัน
นอกจากนี้แล้วควรใช้หลายลักษณะและมีความหมายต่อผูฝ้ ึ กอีกด้วย
รี เวอร์ส (เตือนใจ ตรี เนตร. 2544: 7; อ้างอิงจาก Rivers. 1968; 97-105) กล่าวถึงลักษณะ
ของแบบฝึ กไว้ดงั นี้ คือ
1. บทเรี ยนทุกเรื่ องควรให้นกั เรี ยนได้มีโอกาสฝึ กมากพอก่อนจะเรี ยนเรื่ องต่อไป
2. แต่ละบทควรฝึ กโดยใช้เพียงแบบฝึ กเดียว
3. ฝึ กโครงสร้างใหม่กบั สิ่ งที่เรี ยนรู ้แล้ว
4. สิ่ งที่ฝึกแต่ละครั้งควรเป็ นบทฝึ กสั้นๆ
5. ประโยคและคำศัพท์ควรเป็ นแบบที่ใช้พดู กันในชีวิตประจำวัน
6. แบบฝึ กควรให้นกั เรี ยนได้ใช้ความคิดไปด้วย
7. แบบฝึ กควรมีหลายๆแบบเพื่อไม่ให้นกั เรี ยนเกิดความเบื่อหน่าย
8. การฝึ กควรฝึ กให้นกั เรี ยนนำสิ่ งที่เรี ยนแล้วสามารถใช้ในชีวิตประจำวันได้
บาร์เนท (อังศุมาลิน เพิ่มผล. 2542: 12; อ้างอิงจาก Barrnett. 1988: 12)
กล่าวถึงลักษณะของแบบฝึ กว่า แบบฝึ กที่ดีควรมีขอ้ แนะนำในการใช้ คำหรื อข้อความที่ให้ฝึกควรมีจ ำกัด
คำสัง่ หรื อตัวอย่างที่ยกมาควรชัดเจนและไม่ยากจนเกินไป ถ้าต้องการให้ผฝู ้ ึ กศึกษาด้วยตนเอง แบบฝึ กก็
ควรจะมีรูปแบบ และแต่ละรู ปแบบก็ควรจะให้มีความหมายแก่ผฝู ้ ึ กด้วย
ฮาร์เลส (ศุภมาส ด่านพานิช. 2541: 28; อ้างอิงจาก Harless. N.d.: 93-94) ได้กล่าวถึงลักษณะของ
แบบฝึ กไว้วา่ การเขียนแบบฝึ กต้องแน่ใจในภาษาที่ใช้ให้เหมาะสมกับนักเรี ยน และควรสร้างโดยใช้หลัก
จิตวิทยาดังนี้
1. ใช้แบบฝึ กหลายชนิด เพื่อเร้าให้นกั เรี ยนเกิดความสนใจ
2. แบบฝึ กที่จดั ทำขึ้นนั้นต้องให้นกั เรี ยนสามารถแยกออกมาพิจารณาได้วา่ แต่ละแบบ แต่ละ
ข้อต้องการอะไร
3. คำชี้แจงสั้นๆ ที่ท ำให้นกั เรี ยนเข้าใจวิธีได้ง่าย
4. ใช้เวลาเหมาะสม คือ ไม่ใช้เวลานานหรื อสั้นเกินไป
5. เป็ นสิ่ งที่น่าสนใจ และท้าทายให้แสดงความสามารถ
พรพรหม อัตตวัฒนา (สุ รภี ฤทธิวงศ์. 2549: 8 ; อ้างอิงจาก พรพรหม อัตตวัฒนา. 2547: 21 )ได้
กล่าวถึงลักษณะของแบบฝึ กที่ดีไว้วา่ ควรสร้างให้ตรงกับจุดประสงค์ เรี ยงลำดับจากง่ายไปหายาก มีหลาย
16

แบบหลายชนิดให้นกั เรี ยนได้เลือกทำ เพื่อไม่ให้เกิดความเบื่อหน่ายในการเรี ยน และนักเรี ยนสามารถนำสิ่ งที่


เรี ยนไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้
สุ จินดา พัชรภิญโญ (สุ รภี ฤทธิวงศ์. 2549: 8; อ้างอิงจาก สุ จินดา พัชรภิญโญ 2548: 57) ได้กล่าวถึง
ลักษณะของแบบฝึ กที่ดีไว้วา่ แบบฝึ กจะต้องเรี ยงลำดับจากง่ายไปหายาก มีค ำสัง่ และคำอธิ บายที่ชดั เจน มี
เนื้อหารู ปแบบที่น่าสนใจซึ่ งจะต้องอาศัยหลักจิตวิทยา เพื่อไม่ให้นกั เรี ยนเกิดความเบื่อหน่ายในการเรี ยนและ
นักเรี ยนสามารถนำสิ่ งที่เรี ยนไปใช้ประโยชน์ได้จริ งในชีวิตประจำวัน
จากที่กล่าวมาข้างต้น ลักษณะของแบบฝึ กที่ดีผวู ้ ิจยั สรุ ปได้วา่ แบบฝึ กจะต้องเกี่ยวข้องกับบทเรี ยน
ที่เรี ยนมาแล้ว เหมาะสมกับระดับความสามารถของผูเ้ รี ยน มีขอ้ แนะนำในการใช้ คำสัง่ และคำอธิ บายที่
ชัดเจน แบบฝึ กจะต้องเรี ยงจากง่ายไปหายาก มีรูปแบบที่หลากหลาย น่าสนใจ และท้าทายความสามารถ
ของนักเรี ยน และแบบฝึ กควรใช้ฝึกในสิ่ งที่มีความหมายต่อผูเ้ รี ยน เพื่อผูเ้ รี ยนจะได้น ำไปใช้ในชีวิตประจำ
วันได้

3.4 หลักในการสร้ างแบบฝึ ก


บัทท์ส (ชาญวิทย์ เทียมบุญประเสริ ฐ. 2539: 29-30; อ้างอิงมาจาก Butts. 1974: 85) เสนอ
หลักการสร้างแบบฝึ กไว้ดงั นี้
1. ก่อนที่จะสร้างแบบฝึ กจะต้องกำหนดโครงร่ างไว้คร่ าวๆ ก่อนว่าจะเขียนแบบฝึ กเกี่ยว
กับเรื่ องอะไร มีวตั ถุประสงค์อย่างไร
2. ศึกษางานและเอกสารที่เกี่ยวข้องกับเรื่ องที่จะฝึ ก
3. เขียนวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมและเนื้ อหาให้สอดคล้องกัน
4. แจงวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมออกเป็ นกิจกรรมย่อยโดยคำนึงถึงความเหมาะสมของผู ้
เรี ยน
5. กำหนดอุปกรณ์ที่จะใช้ในกิจกรรมแต่ละตอนให้เหมาะสมกับแบบฝึ ก
6. กำหนดเวลาที่ใช้ในแบบฝึ กแต่ละตอนให้เหมาะสม
7. กำหนดวิธีการประเมินผลว่าจะประเมินผลก่อนเรี ยนหรื อหลังเรี ยน
ฮาเรส (อังศุมาลิน เพิ่มผล. 2542: 14; อ้างอิงจาก Haress. ม.ป.ป.: 93-94) ได้กล่าวถึงหลัก
การสร้างแบบฝึ กว่าแบบฝึ กจะต้องใช้ภาษาให้เหมาะกับนักเรี ยนและควรสร้างโดยอาศัยหลักจิตวิทยาใน
การแก้ปัญหา และการตอบสนองไว้ดงั นี้
1. สร้างแบบฝึ กหลายๆชนิด เพื่อเร้าให้นกั เรี ยนเกิดความสนใจ
2. แบบฝึ กที่สร้างขึ้นนั้นจะต้องให้นกั เรี ยนสามารถพิจารณาได้วา่ ต้องการให้นกั เรี ยน
ทำอะไร
3. ให้นกั เรี ยนได้น ำสิ่ งที่เรี ยนรู ้จากการเรี ยนมาตอบในแบบฝึ กให้ตรงตามเป้ าหมาย
4. ให้นกั เรี ยนตอบสนองสิ่ งเร้าด้วยการแสดงความสามารถและความเข้าใจในการฝึ ก
5. กำหนดให้ชดั เจนว่าจะให้นกั เรี ยนตอบแบบฝึ กแต่ละชนิด แต่ละรู ปแบบด้วยวิธีการตอบ
อย่างไร
วรนาถ พ่วงสุ วรรณ (จรี พร สามารถ. 2543: 13; อ้างอิงจาก วรนาถ พ่วงสุ วรรณ. 2518: 34-
37) ได้กล่าวถึงหลักในการสร้างแบบฝึ กซึ่ งสรุ ปได้ดงั นี้
1. ตั้งวัตถุประสงค์
17

2. ศึกษาเกี่ยวกับเนื้อหา
3. ขั้นตอนในการสร้างแบบฝึ ก
3.1 ศึกษาปัญหาในการเรี ยนการสอน
3.2 ศึกษาจิตวิทยาเกี่ยวกับการเรี ยนการสอนและจิตวิทยาพัฒนาการ
3.3 ศึกษาเนื้อหาวิชา
3.4 ศึกษาลักษณะของแบบฝึ ก
3.5 วางโครงเรื่ องและกำหนดรู ปแบบของการฝึ กให้สมั พันธ์กบั โครงเรื่ อง
3.6 เลือกเนื้อหาต่างๆที่เหมาะสมมาบรรจุในแบบฝึ กให้ครบตามที่ก ำหนดไว้
รัชนี ศรี ไพวรรณ (จรี พร สามารถ. 2543: 13; อ้างอิงจาก รัชนี ศรี ไพวรรณ. 2517: 412-413) ได้
กล่าวถึงหลักในการสร้างแบบฝึ กดังนี้
1. ต้องสอดคล้องกับหลักจิตวิทยาและพัฒนาการของนักเรี ยนและลำดับขั้นของการเรี ยน
2. เมื่อมีจุดมุ่งหมายฝึ กด้านใดควรจัดเนื้ อหาให้ตรงกับความมุ่งหมายนั้น
3. คำนึงถึงความแตกต่างของผูเ้ รี ยน สามารถจัดทำแบบฝึ กที่แก้ไขข้อบกพร่ องที่ตรงจุดของ
ผูเ้ รี ยนได้เป็ นเรื่ องดี
4. ในแบบฝึ กต้องมีค ำชี้แจงง่ายๆ สั้นๆ เพื่อให้นกั เรี ยนเข้าใจถ้านักเรี ยนยังอ่านไม่ได้ครู ตอ้ ง
ชี้แจงด้วยคำพูดที่ใช้ภาษาง่ายๆ ให้นกั เรี ยนสามารถทำตามคำสัง่ ได้
5. แบบฝึ กต้องมีความถูกต้องไม่มีขอ้ ผิดพลาด
6. การให้ผเู้ รี ยนทำแบบฝึ กหัดแต่ละครั้ง ต้องให้เหมาะสมกับเวลาและความสนใจของผูเ้ รี ยน
7. ควรทำแบบฝึ กหลาย ๆ แบบเพื่อให้เรี ยนรู ้ได้กว้างขวางและส่ งเสริ มให้เกิดความคิด
8. กระดาษที่ใช้ท ำแบบฝึ กจะต้องเหนียวและทนทาน
วิชยั เพ็ชรเรื อง (นิตยา บุญสุ ข. 2541; อ้างอิงจาก วิชยั เพ็ชรเรื อง. 2531: 77) ได้สรุ ปหลักในการ
ทำแบบฝึ กว่า ควรมีลกั ษณะดังนี้
1. แบบฝึ กต้องมีเอกภาพและความสมบูรณ์ในตัวเอง
2. เกิดจากความต้องการของผูเ้ รี ยนและสังคม
3. ครอบคลุมหลายลักษณะวิชาโดยบูรณาการให้เข้ากับการอ่าน
4. ใช้แนวคิดใหม่ในการจัดกิจกรรม
5. สนองความสนใจใคร่ รู้และความสามารถของผูเ้ รี ยน ส่ งเสริ มให้ผเู ้ รี ยนมีส่วนร่ วมในการ
เรี ยนเต็มที่
6. คำนึงถึงพัฒนาการและวุฒิภาวะของผูเ้ รี ยน
7. เน้นการแก้ปัญหาครู และนักเรี ยนได้มีโอกาสวางแผนงานร่ วมกัน
8. แบบฝึ กควรเป็ นสิ่ งที่น่าสนใจ คือเป็ นสิ่ งที่มีความแปลกใหม่พอสมควรเป็ นสิ่ งซึ่ งสนอง
สามารถปรับเข้าสู่ โครงสร้างทางความคิดของผูเ้ รี ยนได้
จากที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้วา่ หลักในการสร้างแบบฝึ กที่สำคัญนั้นต้องยึดนักเรี ยนเป็ นหลัก
โดยมีจุดมุ่งหมายที่แน่นอนว่าจะฝึ กเรื่ องอะไร จัดเนื้ อหาให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมาย สร้างแบบฝึ กให้
เหมาะกับวัย และระดับความสามารถของนักเรี ยนมีรูปแบบหลากหลายน่าสนใจ กำหนดเวลาในการฝึ ก
อย่างเหมาะสม
18

3.5 หลักจิตวิทยาที่เกีย่ วข้ องกับการสร้ างแบบฝึ ก


สุ จริ ต เพียรชอบ และสายใจ อินทรัมพรรย์ (สำรวย หาญห้าว. 2550: 37 ;อ้างอิงจาก สุ จริ ต เพียร
ชอบ และสายใจ อินทรัมพรรย์. 2523: 52-62) กล่าวถึงหลักจิตวิทยาที่ใช้ในการสร้างแบบฝึ กมีดงั นี้
1. กฎการเรี ยนของธอร์นไดค์(Thorndike) เกี่ยวกับกฎการฝึ กหัดซึ่ งสอดคล้องกับการทดลอง
ของวัตสัน (Watson) นัน่ คือ สิ่ งใดก็ตามที่มีการฝึ กหัดหรื อกระทำบ่อย ๆ ย่อมทำให้ผฝู ้ ึ กคล่องแคล่ว
สามารถทำได้ดี ในทางตรงข้าม สิ่ งใดก็ตามที่ไม่ได้รับการฝึ กหัดทอดทิ้งไปนานแล้วย่อมทำได้ไม่ดีเหมือน
เดิม ต่อเมื่อมีการฝึ กฝนหรื อกระทำซ้ำ ๆ ก็จะช่วยให้เกิดทักษะเพิ่มขึ้น
2. ความแตกต่างระหว่างบุคคล เป็ นสิ่ งที่ครู ควรคำนึงด้วยว่านักเรี ยนแต่ละคนมีความรู ้ความ
ถนัด ความสามารถ และความสนใจที่แตกต่างกัน ฉะนั้นในการสร้างแบบฝึ กจึงควรพิจารณาถึงความ
เหมาะสม ไม่ยากหรื อง่ายจนเกินไป และควรมีหลายแบบ
3. การจูงใจผูเ้ รี ยนนั้นครู สามารถทำได้โดยการจัดแบบฝึ กจากง่ายไปหายาก เพื่อดึงดูด
ความสนใจของผูเ้ รี ยน เป็ นการกระตุน้ ให้ติดตามต่อไป และทำให้นกั เรี ยนประสบผลสำเร็ จในการทำแบบ
ฝึ ก นอกจากนั้นการใช้แบบฝึ กสั้น ๆ จะช่วยไม่ให้ผเู ้ รี ยนเกิดความเบื่อหน่าย
4. ใช้แบบฝึ กทักษะสั้นๆ เพื่อม่ให้เกิดความเบื่อหน่าย
พรรณี ช.เจนจิต (สำรวย หาญห้าว. 2550: 37-38 ; อ้างอิงจาก พรรณี ช.เจนจิต. 2528: 168-186) ได้
สรุ ปแนวคิดทางจิตวิทยาเกี่ยวกับการสร้างและการใช้แบบฝึ กว่า ควรประกอบด้วย
1. กฎแห่งผล คือการที่ผเู้ รี ยนได้ทราบผลการทำงานด้วยการเฉลยคำตอบจะช่วยให้
ผูเ้ รี ยนไดทราบข้อบกพร่ องเพื่อปรับปรุ งแก้ไข และเป็ นการสร้างความพอใจให้แก่ผเู ้ รี ยน
2. การฝึ กหัด การเรี ยนรู้เกิดจากการฝึ กหัด ดังนั้นจึงควรเน้นให้มีการกระทำซ้ำบ่อยๆ
จะทำให้นกั เรี ยนเกิดทักษะในการฝึ กหัดนั้น
3. การเสริ มแรง ควรให้ก ำลังใจแก่นกั เรี ยนเพื่อให้เกิดความภาคภูมิใจในตนเองและ
ประสบความสำเร็ จในงานที่ท ำ นักเรี ยนก็จะมีแนวโน้มในการที่จะกระทำงานนั้นๆแรงจูงใจ ครู ตอ้ งรู ้จกั
กระตุน้ ให้นกั เรี ยนเกิดการตื่นตัวอยากรู้อยากเห็น แบบฝึ กหัดที่น่าสนใจเป็ นแรงจูงใจให้นกั เรี ยนอยากฝึ ก จะ
ทำให้ผเู ้ รี ยนเรี ยนรู้ได้ดีข้ึน
จากหลักจิตวิทยาในการสร้างแบบฝึ กที่กล่าวมาข้างต้น พอสรุ ปได้วา่ การสร้างแบบฝึ กควร
สร้างให้เหมาะสมกับวัยและระดับความสามารถของนักเรี ยน และแบบฝึ กควรมีหลายรู ปแบบที่น่าสนใจ
และจูงใจนักเรี ยนให้อยากทำ และควรให้นกั เรี ยนได้รับการฝึ กฝนบ่อยๆ จนเกิดความชำนาญ

4. งานวิจัยที่เกีย่ วข้ อง
4.1 งานวิจัยในประเทศ
ในประเทศไทยได้มีการทำการวิจยั หลายเรื่ องที่เกี่ยวกับการศึกษาข้อบกพร่ องทางการเรี ยน
คณิ ตศาสตร์ของนักเรี ยนในเนื้ อหาต่างๆ ดังเช่น
ทศพร ทักษิมา (2545: 53 – 58) ได้ท ำการวิจยั เรื่ อง การศึกษาและแก้ไขข้อบกพร่ องทางการเรี ยน
เรื่ อง ระบบสมการ ของนักเรี ยนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 3 ในเขตจังหวัดฉะเชิงเทรา กลุ่มตัวอย่างเป็ นนักเรี ยนชั้น
มัธยมศึกษาปี ที่ 3 ที่มีขอ้ บกพร่ องทางการเรี ยน จำนวน 25 คน โดยใช้แบบทดสอบวินิจฉัยจำนวน 4 ฉบับ
ทำการทดสอบนักเรี ยน แล้วคัดเลือกนักเรี ยนที่มีขอ้ บกพร่ องในด้านต่างๆจากนั้นทำการซ่อมเสริ มนักเรี ยนที่
มีขอ้ บกพร่ อง ด้วยชุดการเรี ยนการสอนซ่อมเสริ มจำนวน 4 ชุด แยกตามเนื้อหาย่อย จุดประสงค์การเรี ยนรู ้
19

และลักษณะข้อบกพร่ อง หลังจากการทำการซ่อมเสริ มจนครบทุกลักษณะข้อบกพร่ องในทุกด้านที่นกั เรี ยนมี


ให้นกั เรี ยนทำแบบทดสอบคู่ขนานเพื่อศึกษาผลของการซ่อมเสริ มในแต่ละเนื้อหาย่อย พบว่า คะแนนของ
นักเรี ยนที่ได้จากแบบทดสอบคู่ขนานหลังการซ่อมเสริ มสู งกว่าคะแนนที่ได้จากแบบทดสอบวินิจฉัยก่อน
การซ่อมเสริ มที่ระดับนัยสำคัญ .01
นิภาพร นาอ่อน. (2545: 52 – 56) ได้ท ำการวิจยั เรื่ อง การศึกษาและแก้ไขข้อบกพร่ องทางการเรี ยน
เรื่ อง ฟังก์ชนั ของนักเรี ยนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 4 ในเขตจังหวัดร้อยเอ็ด กลุ่มตัวอย่างเป็ นนักเรี ยนชั้น
มัธยมศึกษาปี ที่ 4 ที่มีขอ้ บกพร่ องทางการเรี ยน
หน่วยที่ 1 เรื่ องความหมายของฟังก์ชนั จำนวน 30 คน
หน่วยที่ 2 เรื่ องตัวอย่างฟังก์ชนั ที่ควรรู ้จกั จำนวน 30 คน
หน่วยที่ 3 เรื่ องฟังก์ชนั คอมโพสิ ต จำนวน 30 คน
หน่วยที่ 4 เรื่ องฟังก์ชนั อินเวอร์ส จำนวน 30 คน
หน่วยที่ 5 เรื่ องพีชคณิ ตของฟังก์ชนั จำนวน 30 คน
โดยใช้แบบทดสอบวินิจฉัยจำนวน 5 หน่วย ทำการทดสอบนักเรี ยน แล้วคัดเลือกนักเรี ยนที่มีขอ้
บกพร่ องในด้านต่างๆ จากนั้นทำการซ่อมเสริ มนักเรี ยนที่มีขอ้ บกพร่ อง ด้วยชุดการเรี ยนการสอนซ่อมเสริ ม
แยกตามเนื้อหาย่อย จุดประสงค์การเรี ยนรู้ และลักษณะข้อบกพร่ อง กลังจากทำการซ่อมเสริ มจนครบทุก
ลักษณะข้อบกพร่ องในทุกด้านที่นกั เรี ยนมี ให้ท ำแบบทดสอบคู่ขนาน เพื่อศึกษาผลซ่อมเสริ มในแต่ละ
เนื้อหาย่อย พบว่า คะแนนของนักเรี ยนที่ได้จากแบบทดสอบคู่ขนานหลังการซ่อมเสริ ม สู งกว่าคะแนนที่ได้
จากแบบทดสอบวินิจฉัยก่อนการซ่อมเสริ มที่ระดับนัยสำคัญ .01

บทที่ 3
วิธีดำเนินการวิจัย
20

การวิจยั เกี่ยวกับการศึกษาและแก้ไขข้อบกพร่ องทางการเรี ยน เรื่ อง การแยกตัวประกอบของพหุนาม


ของนักเรี ยนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 4 ผูว้ จิ ยั ได้ด ำเนินการตามลำดับขั้นตอนต่อไปนี้
1. การกำหนดประชากรและเลือกกลุ่มตัวอย่าง
2. การสร้างเครื่ องมือที่ใช้ในการวิจยั
2.1) เครื่ องมือที่ใช้ในการวิจยั
2.2) การสร้างและหาคุณภาพของเครื่ องมือในการวิจยั
3. การเก็บรวบรวมข้อมูล
4. การวิเคราะห์ขอ้ มูล
5. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ขอ้ มูล
1. การกำหนดประชากรและเลือกกลุ่มตัวอย่ าง
1.1 ประชากรที่ใช้ในการวิจยั
ประชากรที่ใช้ในการวิจยั เป็ นนักเรี ยนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 4 โรงเรี ยนเตรี ยมอุดมศึกษาพัฒนาการ
รัชดา จำนวน 164 คน ที่มีขอ้ บกพร่ องทางการเรี ยน เรื่ อง การแยกตัวประกอบของพหุนาม
1.2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจยั
เป็ นนักเรี ยนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 4 โรงเรี ยนเตรี ยมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา ภาคเรี ยนที่ 1
ปี การศึกษา 2555 ที่มีขอ้ บกพร่ องทางการเรี ยนเรื่ อง การแยกตัวประกอบของพหุนาม โดยได้มาจากการสุ ่ ม
แบบเจาะจง จำนวน 30 คน

2.การสร้ างเครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัย


2.1 เครื่ องมือที่ใช้ในการวิจยั ประกอบด้วย
2.1.1 แบบทดสอบสำรวจข้อบกพร่ อง เป็ นแบบทดสอบที่ใช้เพื่อค้นหาข้อบกพร่ องและสาเหตุของ
ความบกพร่ องทางการเรี ยน เรื่ องการแยกตัวประกอบของพหุนาม ซึ่ งใช้ภายหลังจากเสร็ จสิ ้ นการเรี ยนการ
สอนในหน่วยย่อยเรื่ องการแยกตัวประกอบของพหุนาม โดยสำรวจข้อบกพร่ องในแต่ละจุดประสงค์การ
เรี ยนรู ้เพื่อพิจารณาว่านักเรี ยนมีขอ้ บกพร่ องในลักษณะใดในหน่วยนั้น
2.1.2 ชุดแบบฝึ กเสริ มทักษะเพื่อแก้ไขข้อบกพร่ องทางการเรี ยน เรื่ องการแยกตัวประกอบของ
พหุนาม เป็ นชุดแบบฝึ กเสริ มทักษะสำหรับนักเรี ยนที่มีขอ้ บกพร่ องทางการเรี ยนในหน่วยการเรี ยนเรื่ อง
การแยกตัวประกอบของพหุนาม
2.1.3 แบบทดสอบคู่ขนานเป็ นแบบทดสอบที่ผวู ้ ิจยั สร้างขึ้นโดยมีเนื้อหาและจุดประสงค์การเรี ยนรู ้
เช่นเดียวกับแบบทดสอบสำรวจข้อบกพร่ อง ซึ่ งแบบทดสอบจะใช้ภายหลังจากการทำแบบฝึ กหัดเสริ มทักษะ
เพื่อแก้ไขข้อบกพร่ องทางการเรี ยนของแต่ละจุดประสงค์การเรี ยนรู ้โดยมีความมุ่งหมายเพื่อทดสอบว่าการ
ซ่อมเสริ มแต่ละจุดประสงค์ที่นกั เรี ยนมีขอ้ บกพร่ อง นักเรี ยนสามารถผ่านเกณฑ์ 50% ของแต่ละจุดประสงค์
หรื อไม่
21

2.2 การสร้างและหาคุณภาพของเครื่ องมือในการวิจยั


2.2.1 การสร้างแบบทดสอบสำรวจข้อบกพร่ องและแบบทดสอบคู่ขนาน มีล ำดับขั้นตอนดังนี้
(1) ศึกษาหลักการและวิธีการสร้างแบบทดสอบวินิจฉัยและงานวิจยั ที่เกี่ยวข้องกับการวินิจฉัยข้อ
บกพร่ องทางการเรี ยนวิชาคณิ ตศาสตร์
(2) ศึกษาหลักสูตร คู่มือครู และหนังสื อกลุ่มสาระการเรี ยนรู ้วิชาคณิ ตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่
4 เรื่ องการแยกตัวประกอบของพหุนาม
(3) ศึกษาและวิเคราะห์ลกั ษณะข้อบกพร่ องทางการเรี ยนวิชาคณิ ตศาสตร์และข้อบกพร่ องเรื่ อง
การแยกตัวประกอบของพหุนามของนักเรี ยน โดยพิจารณาจากการเรี ยนและการทำแบบฝึ กหัดในชั้นเรี ยน
(4) สร้างแบบทดสอบสำรวจลักษณะข้อบกพร่ องทางการเรี ยนเรื่ องการแยกตัวประกอบของ
พหุนามซึ่ งเป็ นแบบทดสอบอัตนัยแสดงวิธีท ำโดยแบบทดสอบต้องสร้างให้สอดคล้องและครอบคลุมเนื้ อหา
และลักษณะข้อบกพร่ องของนักเรี ยน
(5) นำแบบทดสอบสำรวจลักษณะข้อบกพร่ องที่สร้างขึ้นเสนอต่ออาจารย์นิเทศก์ประจำโรงเรี ยน
เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของเนื้ อหาและความเหมาะสมของภาษาที่ใช้ แล้วนำไปปรับปรุ งแก้ไข
(6) นำแบบทดสอบสำรวจข้อบกพร่ องที่ได้รับการตรวจสอบความถูกต้องไปปรับปรุ งแก้ไข
(7) นำแบบทดสอบสำรวจข้อบกพร่ องที่ได้ปรับปรุ งแก้ไขแล้วนำไปทดสอบกับนักเรี ยนชั้น
มัธยมศึกษาปี ที่ 4 ห้อง แผนการเรี ยนภาษาอังกฤษ– ภาษาจีน โรงเรี ยนเตรี ยมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา
จำนวน 30 คน
2.2.2 ขั้นตอนการสร้างแบบฝึ กเสริ มทักษะ
(1) ศึกษาเนื้อหาเรื่ องการแยกตัวประกอบของพหุนาม จากหนังสื อเรี ยนและคู่มือครู กลุ่มสาระ
การเรี ยนรู ้วชิ าคณิ ตศาสตร์ช้ นั มัธยมศึกษาปี ที่ 4-6 เล่ม 1 ของสถาบันส่ งเสริ มการสอนวิทยาศาสตร์และ
เทคโนโลยี
(2) ศึกษาเอกสารและงานวิจยั ที่เกี่ยวข้องกับแบบฝึ กเสริ มทักษะ
(3) ศึกษาและวิเคราะห์ลกั ษณะข้อบกพร่ องทางการเรี ยนวิชาคณิ ตศาสตร์และข้อบกพร่ องเรื่ อง
การแยกตัวประกอบของพหุนาม โดยพิจารณาจากผลการทำแบบทดสอบวินิจฉัย
(4) สร้างแบบฝึ กเสริ มทักษะเพื่อแก้ไขข้อบกพร่ องของนักเรี ยนที่มีขอ้ บกพร่ องทางการเรี ยนเรื่ อง
การแยกตัวประกอบของพหุนามให้สอดคล้องกับลักษณะข้อบกพร่ องในด้านต่างๆ
(5) นำแบบฝึ กเสริ มทักษะที่สร้างขึ้นเสนอต่ออาจารย์นิเทศก์ประจำโรงเรี ยน เพื่อตรวจสอบความถูก
ต้องของเนื้อหาและความเหมาะสมของภาษาที่ใช้ แล้วนำไปปรับปรุ งแก้ไข
(6) นำแบบฝึ กเสริ มทักษะ เรื่ องการแก้อสมการ ที่ได้ปรับปรุ งแก้ไขแล้วไปใช้กบั นักเรี ยน
ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 4 แผนการเรี ยนภาษาอังกฤษ– ภาษาจีน ซึ่ งเป็ นนักเรี ยนที่มีขอ้ บกพร่ องที่ได้จากการทำ
แบบทดสอบสำรวจข้อบกพร่ อง

3. การเก็บรวบรวมข้ อมูล
ผูว้ ิจยั ดำเนินการเก็บข้อมูลตามขั้นตอนต่อไปนี้ คือ
22

1. ผูว้ ิจยั วางแผนในการเตรี ยมตัวทดสอบกลุ่มตัวอย่างด้วยข้อสอบสำรวจข้อบกพร่ อง เรื่ องการ


แยกตัวประกอบของพหุนาม
2. ทำการทดสอบกลุ่มตัวอย่างด้วยข้อสอบสำรวจข้อบกพร่ อง เรื่ องการแยกตัวประกอบของ
พหุนามเพื่อค้นหานักเรี ยนที่มีขอ้ บกพร่ องเรื่ องการแยกตัวประกอบของพหุนาม โดยทำการทดสอบนักเรี ยน
หลังจากเรี ยนจบในเนื้ อหานั้น แล้วคัดเลือกเฉพาะนักเรี ยนที่ได้คะแนนต่ำกว่าร้อยละ 50 ของคะแนนเต็มของ
แบบทดสอบสำรวจข้อบกพร่ อง
3. ทำการซ่อมเสริ มนักเรี ยนที่มีขอ้ บกพร่ องทางการเรี ยนเรื่ องการแยกตัวประกอบของพหุนาม
โดยใช้แบบฝึ กเสริ มทักษะ ซึ่ งจะแยกเนื้ อหาเป็ นหน่วยย่อยๆ โดยเรี ยงลำดับแบบฝึ กเสริ มทักษะจากง่ายไปหา
ยาก ซึ่ งการซ่อมเสริ มนั้นจะให้นกั เรี ยนได้ศึกษาและทำแบบฝึ กเสริ มทักษะด้วยตนเอง โดยผูว้ ิจยั ทำหน้าที่ใน
การให้ค ำแนะนำ เวลาที่ใช้ในการซ่อมเสริ มเป็ นนอกเวลาเรี ยนปกติ หลังจากทำการซ่อมเสริ มด้วยแบบฝึ ก
เสริ มทักษะแล้ว ให้นกั เรี ยนทำแบบทดสอบคู่ขนาน เพื่อศึกษาผลที่ได้จากการซ่อมเสริ ม
4. นำผลจากการทดสอบมาตรวจให้คะแนน แล้วนำคะแนนที่ได้มาวิเคราะห์โดยวิธีทางสถิติเพื่อ
ตรวจสอบสมมติฐาน

4. การวิเคราะห์ ข้อมูล
ในการวิจยั ผูว้ จิ ยั ดำเนินการวิเคราะห์ขอ้ มูล ดังนี้
1. หาค่าสถิติพ้ืนฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิ ต
2. ตรวจสอบสมมติฐานที่วา่ คะแนนของนักเรี ยนที่ได้จากแบบทดสอบหลังการซ่อมเสริ ม สู งกว่า
คะแนนที่ได้จากการทดสอบก่อนการซ่อมเสริ มโดยใช้การเปรี ยบค่าเฉลี่ยเลขคณิ ตของคะแนนที่ได้จากการ
ทดสอบ

5. สถิตทิ ี่ใช้ ในการวิเคราะห์ ข้อมูล


สถิติพ้ืนฐาน
1. ค่าเฉลี่ยเลขคณิ ต (Mean) โดยคำนวณจากสู ตร (พวงรัตน์ ทวีรัตน์. 2540: 137)

สูตร
เมื่อ แทน ค่าเฉลี่ยของคะแนน
แทน ผลรวมของคะแนนทั้งหมด
แทน จำนวนข้อมูลทั้งหมด

2. สถิติที่ใช้ในการตรวจสอบสมมติฐานทดสอบความแตกต่างของคะแนนผลสัมฤทธิ์ ทางการ
เรี ยนจากการใช้ชุดกิจกรรมคณิ ตศาสตร์ของกลุ่มเป้ าหมาย โดยให้คะแนนสอบก่อนเรี ยนกับคะแนน
สอบหลังเรี ยน คำนวณจากสูตร t – test Dependent (ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. 2538: 248)
23

∑D


2
N ∑ D2−( ∑ D )
t = N −1 ; df = N - 1
เมื่อ t แทน ค่าที่ใช้พิจารณา
∑D แทน ผลรวมของความแตกต่างรายคู่ระหว่างคะแนนการทดสอบ
หลังการใช้ชุดกิจกรรมคณิ ตศาสตร์กบั ก่อนการใช้ชุดกิจกรรม
∑ D2 แทน ผลรวมของกำลังสองของความแตกต่างรายคู่ระหว่างคะแนน

การทดสอบหลังการใช้ชุดกิจกรรมคณิ ตศาสตร์
กับก่อนการใช้ชุดกิจกรรม
N แทน จำนวนผูเ้ รี ยนทั้งหมด
บทที่ 4
ผลการวิเคราะห์ ข้อมูล

สั ญลักษณ์ ที่ใช้ ในการวิเคราะห์ ข้อมูล


ในการวิเคราะห์ขอ้ มูลและการแปลความหมายผลของการวิเคราะห์ขอ้ มูลเพื่อให้เกิดความเข้าใจตรง
กันผูว้ ิจยั ได้ก ำหนดสัญลักษณ์ต่างๆในการวิเคราะห์ขอ้ มูลดังนี้
N แทน จำนวนคนในกลุ่มตัวอย่าง
∑ x แทน คะแนนรวมจากการทำแบบฝึ กเรื่ องการแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรี สอง
แทน ค่าเฉลี่ย
S.D. แทน ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน
∑ D แทน ผลรวมของความแตกต่างรายคู่ระหว่างคะแนนการทดสอบหลังและก่อนใช้
แบบฝึ กเรื่ องการแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรี สอง
∑ D 2 แทน ผลรวมของกำลังสองของความแตกต่างรายคู่ระหว่างคะแนนการทดสอบหลังและ
ก่อนใช้แบบฝึ กเรื่ องการแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรี สอง
t แทน ค่าที่ใช้ในการพิจารณา (t-test Dependent)

การวิเคราะห์ ข้อมูล
การวิเคราะห์ขอ้ มูลเพื่อศึกษา และแก้ไขข้อบกพร่ องทางการเรี ยนเรื่ องการแยกตัวประกอบของ
พหุนามของนักเรี ยนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 4 โดยใช้แบบทดสอบสำรวจข้อบกพร่ องก่อนการใช้แบบฝึ กเสริ ม
24

ทักษะ และแบบทดสอบคู่ขนานหลังการใช้แบบฝึ กเสริ มทักษะสำหรับแก้ไขข้อบกพร่ อง ผูว้ ิจยั นำมา


วิเคราะห์และเสนอผลการวิเคราะห์ขอ้ มูลดังต่อไปนี้
ตอนที่ 1 ผลการศึกษาข้อบกพร่ องทางการเรี ยน เรื่ องการแยกตัวประกอบของพหุนาม ของ
นักเรี ยนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 4 แสดงจำนวนนักเรี ยนที่มีขอ้ บกพร่ องทางการเรี ยน และร้อยละของจำนวน
นักเรี ยนที่มีขอ้ บกพร่ องทางการเรี ยนเรื่ องการแยกตัวประกอบของพหุนาม ในแต่ละจุดประสงค์การเรี ยนรู ้
จำแนกตามลักษณะข้อบกพร่ องทางการเรี ยน
ตอนที่ 2 ผลการแก้ไขข้อบกพร่ องทางการเรี ยน เรื่ องการแยกตัวประกอบของพหุนาม ของ
นักเรี ยนกลุ่มตัวอย่างชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 4 ได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิ ตของคะแนนที่ได้จากแบบทดสอบสำรวจ
ข้อบกพร่ องก่อนการใช้แบบฝึ กเสริ มทักษะ และแบบทดสอบคู่ขนานหลังการใช้แบบฝึ กเสริ มทักษะ และผล
การวิเคราะห์การเปรี ยบเทียบผลสัมฤทธิ์ ทางการเรี ยนวิชาคณิ ตศาสตร์ ก่อนและหลังใช้แบบฝึ กเสริ มทักษะ
เรื่ องการแยกตัวประกอบของพหุนามมาเปรี ยบเทียบ โดยใช้ t-test Dependent

ผลการวิเคราะห์ ข้อมูล
ตอนที่ 1 ผลการศึกษาข้อบกพร่ องทางการเรี ยน เรื่ องการแยกตัวประกอบของพหุนาม ของนักเรี ยนชั้น
มัธยมศึกษาปี ที่ 4 แสดงจำนวนนักเรี ยนที่มีขอ้ บกพร่ องทางการเรี ยน และร้อยละของจำนวนนักเรี ยนที่มีขอ้
บกพร่ องทางการเรี ยนเรื่ องการแยกตัวประกอบของพหุนามในแต่ละจุดประสงค์การเรี ยนรู ้ จำแนกตาม
ลักษณะข้อบกพร่ องทางการเรี ยน
ข้อมูลที่น ำมาวิเคราะห์ ได้แก่ ผลจากการทำแบบทดสอบสำรวจข้อบกพร่ องทางการเรี ยนเรื่ องการ
แยกตัวประกอบของพหุนามของนักเรี ยนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 4 จำนวน 30 คน โดยเสนอในตาราง 1 แสดง
จำนวนนักเรี ยนที่มีขอ้ บกพร่ องทางการเรี ยน และร้อยละของนักเรี ยนที่มีขอ้ บกพร่ องทางการเรี ยนในแต่ละ
จุดประสงค์การเรี ยนรู้ จำแนกตามลักษณะข้อบกพร่ องทางการเรี ยน
25

ตาราง 1 จำนวนนักเรี ยนที่มีขอ้ บกพร่ องทางการเรี ยน และร้อยละของจำนวนนักเรี ยนที่มีขอ้ บกพร่ อง


ทางการเรี ยน จากการทำแบบทดสอบสำรวจข้อบกพร่ อง เรื่ องการแยกตัวประกอบของพหุนาม
ในแต่ละจุดประสงค์การเรี ยนรู้ จำแนกตามลักษณะข้อบกพร่ องทางการเรี ยน
จำนวนนักเรี ยน ร้อยละของ
จุดประสงค์ ลักษณะข้อบกพร่ องที่พบ ที่มีขอ้ บกพร่ อง จำนวนนักเรี ยน
(คน) ที่มีขอ้ บกพร่ อง
1. สามารถแยก 1.ลักษณะข้ อบกพร่ องในด้ านการใช้ บท
ตัวประกอบของ นิยาม ทฤษฎีบท สมบัติ กฎ หรือสู ตร
พหุนามดีกรี สอง - ไม่สามารถนำกฎในการแยกตัว 7 23.33
ตัวแปรเดียวที่มี ประกอบของพหุนามมาแยกพหุนามที่
สัมประสิ ทธิ์ ของ เขียนในรู ป ได้
แต่ละพจน์เป็ น 19 63.33
- ไม่สามารถนำกฎในการแยกตัวประกอบ
จำนวนเต็มได้ ของพหุนามมาแยกพหุนามที่เขียนในรู ป
ได้ 27 90
- ไม่สามารถนำกฎในการแยกตัว
ประกอบของพหุนามมาแยกพหุนามที่ 27
เขียนในรู ป เมื่อสัมประสิ ทธิ์ 90
หน้า ได้
30
- ไม่สามารถนำกฎในการแยกตัวประกอบ
ของพหุนามในรู ปผลต่างกำลังสองได้ 100

- ไม่สามารถนำกฎในการแยกตัวประกอบ
ของพหุนามในรู ปกำลังสองสมบูรณ์ได้
26

ตาราง 1 (ต่อ)

จำนวนนักเรี ยน ร้อยละของ
จุดประสงค์ ลักษณะข้อบกพร่ องที่พบ ที่มีขอ้ บกพร่ อง จำนวนนักเรี ยน
(คน) ที่มีขอ้ บกพร่ อง
2.ลักษณะข้ อบกพร่ องในด้ านกระบวนการ
แสดงวิธีทำ
- ไม่สามารถนำสมบัติของจำนวนจริ งที่ 11 36.67
เกี่ยวกับการแยกตัวประกอบของพหุนาม
ดีกรี ไม่เกินสองมาใช้ได้

3.ลักษณะข้ อบกพร่ องในด้ านการคิด


คำนวณ
- มีการผิดพลาดด้านการคิดคำนวณในการ 24 80
บวก ลบ คูณ

จากตาราง 1 จุดประสงค์ที่ 1 เรื่ องความสามารถในการนำสมบัติการไม่เท่ากันไปใช้ได้ถูกต้องพบว่า


นักเรี ยนที่มีลกั ษณะข้อบกพร่ องในด้านการใช้บทนิยาม ทฤษฎีบท สมบัติ กฎ หรื อสู ตร จำนวนนักเรี ยนที่
ไม่สามารถนำกฎในการแยกตัวประกอบของพหุนามมาแยกพหุนามที่เขียนในรู ป ได้ มีจ ำนวน
ร้อยละ 23.33 จำนวนนักเรี ยนที่ไม่สามารถนำกฎในการแยกตัวประกอบของพหุนามมาแยกพหุนามที่เขียน
ในรู ป ได้ มีจ ำนวนร้อยละ 63.33 จำนวนนักเรี ยนที่ไม่สามารถนำกฎใน
การแยกตัวประกอบของพหุนามมาแยกพหุนามที่เขียนในรู ป เมื่อสัมประสิ ทธิ์ หน้า ได้
มีจ ำนวนร้อยละ 90 จำนวนนักเรี ยนที่ไม่สามารถนำกฎในการแยกตัวประกอบของพหุนามในรู ปผลต่าง
กำลังสองได้ มีจ ำนวนร้อยละ 90 จำนวนนักเรี ยนที่ไม่สามารถนำกฎในการแยกตัวประกอบของพหุนามใน
รู ปกำลังสองสมบูรณ์ได้ มีจ ำนวนร้อยละ 100 จำนวนนักเรี ยนที่มีลกั ษณะข้อบกพร่ องในด้านกระบวนการ
แสดงวิธีท ำมีจ ำนวนร้อยละ 36.67 จำนวนนักเรี ยนที่มีลกั ษณะข้อบกพร่ องในด้านการคิดคำนวณ มีจ ำนวน
ร้อยละ 80
27

ตอนที่ 2 ผลการแก้ไขข้อบกพร่ องทางการเรี ยน เรื่ องการแยกตัวประกอบของพหุนามของนักเรี ยนกลุ่ม


ตัวอย่างชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 4
ข้อมูลที่น ำมาวิเคราะห์ ได้แก่ คะแนนที่ได้จากการทดสอบด้วยแบบทดสอบสำรวจข้อบกพร่ อง
ก่อนการการใช้แบบฝึ กเสริ มทักษะ และแบบทดสอบคู่ขนานหลังการใช้แบบฝึ กเสริ มทักษะเพื่อแก้ไขข้อ
บกพร่ องทางการเรี ยนเรื่ องการแยกตัวประกอบของพหุนาม ผลการวิเคราะห์ขอ้ มูล มีดงั นี้
1. ค่าเฉลี่ยเลขคณิ ต ของคะแนนที่ได้จากแบบทดสอบสำรวจข้อบกพร่ องก่อนการการใช้แบบฝึ ก
เสริ มทักษะและแบบทดสอบคู่ขนานหลังการใช้แบบฝึ กเสริ มทักษะ

ตาราง 2 ค่าเฉลี่ยเลขคณิ ต ของคะแนนที่ได้จากแบบทดสอบสำรวจข้อบกพร่ องก่อนการใช้แบบฝึ กเสริ ม


ทักษะและแบบทดสอบคู่ขนานหลังการใช้แบบฝึ กเสริ มทักษะเรื่ องการแยกตัวประกอบของ
พหุนาม

แบบทดสอบ จำนวนนักเรี ยน คะแนนเต็ม ค่าเฉลี่ยเลขคณิ ต ส่ วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


(คน) (คะแนน) (x) (S.D.)
แบบทดสอบวินิจฉัย 30 20 7.03 1.79
แบบทดสอบคู่ขนาน 30 20 15.80 2.72

จากตาราง 2 พบว่า ค่าเฉลี่ยของคะแนนที่ได้จากการทดสอบด้วยแบบทดสอบคู่ขนานหลังการใช้


แบบฝึ กเสริ มทักษะเพื่อแก้ไขข้อบกพร่ องทางการเรี ยนเรื่ องการแยกตัวประกอบของพหุนาม สู งกว่าค่าเฉลี่ย
ของคะแนนที่ได้จากการทดสอบด้วยแบบทดสอบสำรวจข้อบกพร่ องก่อนการใช้แบบฝึ กเสริ มทักษะ

2. ผลการวิเคราะห์การเปรี ยบเทียบผลสัมฤทธิ์ ทางการเรี ยนวิชาคณิ ตศาสตร์ ก่อนและหลังใช้แบบ


ฝึ กเสริ มทักษะ เรื่ องการแยกตัวประกอบของพหุนามมาเปรี ยบเทียบ โดยใช้ t-test Dependent
ปรากฏผลในตาราง 3 ดังนี้

ตาราง 3 ผลการวิเคราะห์การเปรี ยบเทียบผลสัมฤทธิ์ ทางการเรี ยนวิชาคณิ ตศาสตร์ก่อนและหลังใช้แบบฝึ ก


เสริ มทักษะเรื่ องการแยกตัวประกอบของพหุนาม

N S.D. ∑D ∑ D2 t
Pretest 30 7.03 1.79
Posttest 30 15.80 2.72 263 2575 *15.76

* มีนยั สำคัญทางสถิติระดับ .01


28

นำค่า t ที่ค ำนวณได้ (15.76) ไปเปรี ยบเทียบจากตารางที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .01 และค่า df ที่ 29


(df = N-1 = 30 - 1 = 29) ได้ค่า t = 1.3114 ซึ่ งมีค่าน้อยกว่าค่า t คำนวณ (15.76) แสดงว่าผลสัมฤทธิ์ หลังการ
ใช้แบบฝึ กเสริ มทักษะสูงกว่าก่อนการใช้แบบฝึ กเสริ มทักษะ อย่างมีนยั สำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 นัน่
หมายความว่า หลังใช้แบบฝึ กเสริ มทักษะเรื่ องการแยกตัวประกอบของพหุนาม จะทำให้นกั เรี ยนมีผล
สัมฤทธิ์ ทางการเรี ยนวิชาคณิ ตศาสตร์เรื่ องการแยกตัวประกอบของพหุนามสู งกว่าก่อนใช้แบบฝึ กเสริ ม
ทักษะเป็ นไปตามสมมติฐาน

บทที่ 5
สรุ ปผล อภิปราย และข้ อเสนอแนะ

สังเขปความมุ่งหมาย สมมติฐาน และวิธีด ำเนินการวิจยั


ความมุ่งหมายของการวิจัย
1. เพื่อศึกษาข้อบกพร่ องทางการเรี ยน เรื่ องการแยกตัวประกอบของพหุนามของนักเรี ยนชั้น
มัธยมศึกษาปี ที่ 4 แผนการเรี ยน ภาษาอังกฤษ – ภาษาจีน
2. เพื่อสร้างชุดแบบฝึ กเสริ มทักษะสำหรับแก้ไขข้อบกพร่ องทางการเรี ยนเรื่ องการแยกตัวประกอบ
ของพหุนาม ของนักเรี ยนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 4
สมมติฐานของการวิจัย
คะแนนของนักเรี ยนที่ได้จากการทดสอบด้วยแบบทดสอบคู่ขนานหลังจากการทำแบบฝึ กเสริ ม
ทักษะสู งกว่าคะแนนที่ได้จากแบบทดสอบสำรวจข้อบกพร่ องก่อนการทำแบบฝึ กเสริ มทักษะ
กลุ่มตัวอย่ าง
29

นักเรี ยนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 4 โรงเรี ยนเตรี ยมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา ภาคเรี ยนที่ 1 ปี การศึกษา
2555 ที่มีขอ้ บกพร่ องทางการเรี ยนเรื่ อง การแยกตัวประกอบของพหุนาม โดยได้มาจากการสุ ่ มแบบเจาะจง
จำนวน 30 คน
วิธีดำเนินการวิจัย
1. เครื่ องมือที่ใช้ในการวิจยั
1.1 แบบทดสอบสำรวจข้อบกพร่ อง เป็ นแบบทดสอบที่ใช้ในการค้นหาข้อบกพร่ องและสาเหตุ
ของความบกพร่ องทางการเรี ยน เรื่ องการแยกตัวประกอบของพหุนาม เพื่อพิจารณาว่า
นักเรี ยนมีขอ้ บกพร่ องในลักษณะใดในหน่วยนั้น
1.2 แบบฝึ กเสริ มทักษะ เป็ นแบบฝึ กที่ผวู ้ ิจยั สร้างขึ้น เพื่อแก้ไขข้อบกพร่ องทางการเรี ยนและฝึ ก
ผูเ้ รี ยนให้มีความชำนาญในการแยกตัวประกอบของพหุนาม
1.3 แบบทดสอบคู่ขนาน เป็ นแบบทดสอบที่ผวู ้ ิจยั สร้างขึ้น เพื่อศึกษาผลการใช้แบบฝึ กเสริ ม
ทักษะเพื่อแก้ไขข้อบกพร่ องทางการเรี ยน เรื่ องการแยกตัวประกอบของพหุนาม โดยข้อ
คำถามจะคู่ขนานกับข้อคำถามในแบบทดสอบสำรวจข้อบกพร่ อง
2. วิธีด ำเนินการทดลอง
ผูว้ จิ ยั ดำเนินการทดลองตามขั้นตอน ดังนี้
2.1 ผูว้ จิ ยั นำแบบทดสอบสำรวจข้อบกพร่ อง เรื่ องการแยกตัวประกอบของพหุนาม ไปทดสอบ
กับนักเรี ยนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 4 จำนวน 164 คน แล้วนำผลการทดสอบมาคัดเลือก
นักเรี ยนที่มีขอ้ บกพร่ องทางการเรี ยน เรื่ องการแยกตัวประกอบของพหุนาม เพื่อเป็ นกลุ่ม
ตัวอย่าง ดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น
2.2 ผูว้ ิจยั ทำการซ่อมเสริ มนักเรี ยนที่มีขอ้ บกพร่ องทางการเรี ยน เรื่ องการแยกตัวประกอบของ
พหุนาม โดยใช้แบบฝึ กเสริ มทักษะ หลังจากทำการซ่อมเสริ ม โดยใช้แบบฝึ กเสริ มทักษะ
แล้วให้นกั เรี ยนทำแบบทดสอบคู่ขนาน เพื่อศึกษาผลของการซ่อมเสริ ม

สรุ ปผลการวิจัย
ตอนที่ 1 การศึกษาข้อบกพร่ องทางการเรี ยน เรื่ องการแยกตัวประกอบของพหุนาม โดยใช้แบบทดสอบ
สำรวจข้อบกพร่ อง ผลปรากฏว่า
1. จากการนำแบบทดสอบสำรวจข้อบกพร่ อง ไปทดสอบกับนักเรี ยนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 4 ผล
ปรากฎว่านักเรี ยนมีลกั ษณะข้อบกพร่ องทางการเรี ยนเรื่ องการแยกตัวประกอบของพหุนาม ในแต่ละจุด
ประสงค์การเรี ยนรู้ ดังนี้
จุดประสงค์ที่ 1 เรื่ องความสามารถในการนำสมบัติการไม่เท่ากันไปใช้ได้ถูกต้องพบว่านักเรี ยนที่
มีลกั ษณะข้อบกพร่ องในด้านการใช้บทนิยาม ทฤษฎีบท สมบัติ กฎ หรื อสู ตร จำนวนนักเรี ยนที่ไม่สามารถ
นำกฎในการแยกตัวประกอบของพหุนามมาแยกพหุนามที่เขียนในรู ป ได้ มีจ ำนวนร้อยละ 23.33
จำนวนนักเรี ยนที่ไม่สามารถนำกฎในการแยกตัวประกอบของพหุนามมาแยกพหุนามที่เขียนในรู ป
ได้ มีจ ำนวนร้อยละ 63.33 จำนวนนักเรี ยนที่ไม่สามารถนำกฎในการแยก
ตัวประกอบของพหุนามมาแยกพหุนามที่เขียนในรู ป เมื่อสัมประสิ ทธิ์ หน้า ได้ มี
30

จำนวนร้อยละ 90 จำนวนนักเรี ยนที่ไม่สามารถนำกฎในการแยกตัวประกอบของพหุนามในรู ปผลต่างกำลัง


สองได้ มีจ ำนวนร้อยละ 90 จำนวนนักเรี ยนที่ไม่สามารถนำกฎในการแยกตัวประกอบของพหุนามในรู ป
กำลังสองสมบูรณ์ได้ มีจ ำนวนร้อยละ 100 จำนวนนักเรี ยนที่มีลกั ษณะข้อบกพร่ องในด้านกระบวนการ
แสดงวิธีท ำมีจ ำนวนร้อยละ 36.67 จำนวนนักเรี ยนที่มีลกั ษณะข้อบกพร่ องในด้านการคิดคำนวณ มีจ ำนวน
ร้อยละ 80
ตอนที่ 2 การแก้ไขข้อบกพร่ องทางการเรี ยน โดยแบบฝึ กเสริ มทักษะเพื่อแก้ไขข้อบกพร่ องทางการเรี ยน
เรื่ องการแยกตัวประกอบของพหุนาม ผลปรากฏว่า
2. ค่าเฉลี่ยของคะแนนที่ได้จากการทดสอบด้วยแบบทดสอบคู่ขนานโดยใช้แบบฝึ ก
เสริ มทักษะเพื่อแก้ไขข้อบกพร่ องทางการเรี ยนเรื่ องการแยกตัวประกอบของพหุนาม สู งกว่าค่าเฉลี่ยของ
คะแนนที่ได้จากการทดสอบด้วยแบบทดสอบสำรวจข้อบกพร่ อง
สรุ ปได้วา่ ค่าเฉลี่ยของคะแนนที่ได้จากการทดสอบด้วยแบบทดสอบคู่ขนานหลังการซ่อมเสริ ม
สู งกว่าค่าเฉลี่ยของคะแนนที่ได้จากการทดสอบด้วยแบบทดสอบสำรวจข้อบกพร่ อง แสดงว่าแบบฝึ กเสริ ม
ทักษะซ่อมเสริ มสำหรับแก้ไขข้อบกพร่ องทางการเรี ยนเรื่ อง การแยกตัวประกอบของพหุนาม สามารถนำ
ไปใช้ในการจัดการเรี ยนการสอนได้ ซึ่ งจะช่วยแก้ไขข้อบกพร่ องของนักเรี ยนได้
3. ผลการเปรี ยบเทียบผลสัมฤทธิ์ ทางการเรี ยนจากการใช้แบบฝึ กเสริ มทักษะเพื่อแก้ไขข้อบกพร่ อง
เรื่ องการแยกตัวประกอบของพหุนามของนักเรี ยนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 4 โรงเรี ยนเตรี ยมอุดมศึกษาพัฒนาการ
รัชดา ก่อนและหลังการใช้แบบฝึ กเสริ มทักษะพบว่า ผลสัมฤทธิ์ ทางการเรี ยนจากการใช้แบบฝึ กเสริ มทักษะ
เพื่อแก้ไขข้อบกพร่ องเรื่ องการแยกตัวประกอบของพหุนาม สู งกว่าก่อนใช้แบบฝึ กเสริ มทักษะอย่างมีนยั
สำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่ งเป็ นไปตามสมมติฐาน

อภิปรายผล
1. จากการศึกษาข้อบกพร่ องทางการเรี ยนเรื่ องการแยกตัวประกอบของพหุนามของนักเรี ยนชั้น
มัธยมศึกษาปี ที่ 4 จากแบบทดสอบสำรวจข้อบกพร่ อง สามารถจำแนกตามลักษณะข้อบกพร่ องในด้าน
ต่างๆได้ดงั นี้
1.1 ด้านการใช้บทนิยาม ทฤษฎีบท สมบัติ กฎ หรื อสู ตร จะพบว่าด้านนี้เป็ นสิ่ งที่นกั เรี ยนมี
ความบกพร่ องเป็ นอย่างมาก การเข้าใจบทนิยาม สมบัติ ทฤษฏี หรื อสู ตรต่างๆจึงเป็ นสิ่ งที่จ ำเป็ นอย่างยิง่ กับ
การเรี ยนเรื่ องจำนวนจริ งหรื อในเรื่ องอื่นๆก็ตาม นักเรี ยนส่ วนมากขาดความรู ้ความเข้าใจในด้านนี้ และยัง
ขาดทักษะในการนำความรู้ดา้ นนี้ ไปใช้ จึงทำให้ไม่สามารถทำข้อสอบหรื อแบบฝึ กอื่นๆได้เพราะบกพร่ อง
ด้านการใช้บทนิยาม ดังนั้นนักเรี ยนจึงมีขอ้ บกพร่ องในด้านนี้เป็ นจำนวนมาก
1.2 ด้านกระบวนการวิธีท ำ จะพบว่าด้านนี้เป็ นอีกด้านที่นกั เรี ยนมีความบกพร่ องเป็ นอย่าง
มากอาจจะเนื่องมาจากแบบทดสอบที่ใช้เป็ นแบบทดสอบอัตนัย ซึ่ งนักเรี ยนจะต้องเขียนแสดงวิธีท ำโดย
ละเอียด ซึ่ งนักเรี ยนยังขาดทักษะในการทำข้อสอบอยูม่ ากพอสมควร จึงทำให้เกิดข้อผิดพลาด หรื อบางครั้ง
นักเรี ยนก็ไม่แสดงขั้นตอนที่มา ทำให้ไม่สามารถรู ้ได้วา่ ที่มาของคำตอบของพหุนามคืออะไร หามาได้
อย่างไร จึงทำให้เกิดข้อบกพร่ องทางด้านนี้เป็ นจำนวนมาก
1.3 ด้านการคิดคำนวณ จะพบว่าด้านการคิดคำนวณจะเป็ นด้านที่นกั เรี ยนมีความบกพร่ อง
เป็ นอันดับหนึ่ง เพราะการแยกตัวประกอบของพหุนามนั้นจะต้องมีการใช้ความรู ้พ้ืนฐานเรื่ องการบวก และ
31

การคูณในการแยกตัวประกอบของพหุนาม เช่น นักเรี ยนจะต้องหาจำนวนที่คูณกันได้พจน์สุดท้าย บวกกัน


แล้วได้สมั ประสิ ทธิ์ ของพจน์กลาง ซึ่ งก็มีหลายจำนวนที่คูณกันแล้วพจน์สุดท้าย แต่จะมีไม่กี่จ ำนวนเท่านั้น
ที่สามารถบวกกันแล้วได้พจน์กลาง นักเรี ยนที่ไม่มีความชำนาญในการคิดคำนวณก็อาจจะเกิดความผิด
พลาดได้ หรื อบางกรณี จะต้องมีการตรวจคำตอบ นักเรี ยนที่ไม่มีพ้ืนฐานด้านการคูณจะไม่สามารถตรวจคำ
ตอบของพหุนามที่เราแยกออกมาได้ จึงทำให้เกิดข้อบกพร่ องทางด้านนี้เป็ นอันดับหนึ่ง
1.4 ด้านการแปลความโจทย์ปัญหาจะพบว่าด้านนี้ไม่มีขอ้ บกพร่ องเลย เป็ นเพราะข้อสอบ
นั้นเป็ นข้อสอบอัตนัย และไม่ใช่ขอ้ สอบที่เป็ นโจทย์ปัญหา จึงไม่จ ำเป็ นต้องอาศัยการแปลความโจทย์ปัญหา
ทำให้ดา้ นการแปลความโจทย์ปัญหานั้นไม่มีนกั เรี ยนคนใดบกพร่ อง
2. จากการศึกษาข้อบกพร่ องทางการเรี ยนเรื่ องการแยกตัวประกอบของพหุนามของนักเรี ยนชั้น
มัธยมศึกษาปี ที่ 4 โดยใช้แบบทดสอบสำรวจข้อบกพร่ องก่อนการซ่อมเสริ มพบว่านักเรี ยนมีลกั ษณะข้อ
บกพร่ องที่แตกต่างกันออกไป และจากลักษณะข้อบกพร่ องทางการเรี ยนเรื่ องการแยกตัวประกอบของพหุ
นามที่พบสามารถสรุ ปข้อบกพร่ องให้เป็ นลักษณะเดียวกันคือในด้านบทนิยาม กฎ ด้านกระบวนการแสดง
วิธีท ำ ด้านการคิดคำนวณ และด้านการแปลความโจทย์ปัญหาตามลักษณะข้อบกพร่ องที่ผวู ้ ิจยั กำหนดไว้ ซึ่ ง
สอดคล้องกับงานวิจยั ของสุ พรรณี ภิรมย์ภกั ดี (2541: 75) ที่พบว่าเนื้อหาแต่ละตอนจะมีขอ้ บกพร่ องใน
ลักษณะที่แตกต่างกันออกไปตามเนื้อหาและจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม แต่กม็ ีลกั ษณะที่เหมือนกันในบาง
ตอนซึ่ งเป็ นข้อบกพร่ องเกี่ยวกับความสับสนในเรื่ องบทนิยาม ความผิดพลาดในการคำนวณ เป็ นต้น
3. จากการศึกษาข้อบกพร่ องทางการเรี ยนเรื่ องการแยกตัวประกอบของพหุนามของนักเรี ยนชั้น
มัธยมศึกษาปี ที่ 4 ผลการวิจยั ทำให้ทราบถึงข้อบกพร่ องทั้งหมดของนักเรี ยนในการเรี ยนเรื่ องการแยก
ตัวประกอบของพหุนามและนอกจากนี้ ยงั พบว่าการศึกษาข้อบกพร่ องทางการเรี ยนคณิ ตศาสตร์ในด้านต่างๆ
ช่วยให้ครู ผสู ้ อนและนักเรี ยนทราบถึงสาเหตุและปั ญหาการเรี ยนการสอนที่ถูกต้องซึ่ งจะทำให้ครู แก้ปัญหา
ของนักเรี ยนได้ตรงจุด และสำหรับนักเรี ยนเองก็จะสามารถพัฒนาตนเองให้สามารถเรี ยนรู ้วิชาคณิ ตศาสตร์
ได้อย่างมีประสิ ทธิภาพ ดังจะเห็นได้จากข้อสนับสนุนซึ่ งพบในงานวิจยั ของ ชวาล แพรัตกุล (2516 : 5-7 ) ที่
กล่าวว่า ประโยชน์ของแบบทดสอบข้อบกพร่ องทางการเรี ยนสามารถชี้ให้ครู เด็ก ผูป้ กครอง และผูท้ ี่
เกี่ยวข้องอื่นรู้ถึงจุดเด่น จุดด้อยของนักเรี ยน จะได้ร่วมกันแก้ไขและส่ งเสริ มให้ตรงจุด
4. การใช้แบบฝึ กเสริ มทักษะสอนเพื่อแก้ไขข้อบกพร่ องทางการเรี ยนเรื่ องการแยกตัวประกอบ
ของพหุนามของนักเรี ยนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 4 สามารถนำไปใช้ในการจัดการเรี ยนการสอนซ่อมเสริ มและ
ช่วยแก้ไขข้อบกพร่ องทางการเรี ยนของนักเรี ยนได้ ทั้งนี้เนื่องจากแบบฝึ กเสริ มทักษะนี้ ได้รวบรวมแบบ
ฝึ กหัดที่น่าสนใจ จากง่ายไปหายาก พร้อมทั้งมีเฉลยคำตอบประกอบ นักเรี ยนจึงสามารถที่จะฝึ กทำได้ดว้ ย
ตนเองเพื่อให้ตนเองมีความชำนาญในการการแยกตัวประกอบของพหุนาม

ข้ อเสนอแนะ
จากผลการวิจยั ครั้งนี้ มีขอ้ เสนอแนะดังต่อไปนี้
1. ข้ อเสนอแนะทัว่ ไป
1.1 ในการสำรวจเพื่อศึกษาข้อบกพร่ องทางการเรี ยนของนักเรี ยน ไม่ควรแบ่งเนื้อหาย่อยมาก
เกินไป เพราะการที่นกั เรี ยนต้องทำแบบทดสอบหลาย ๆ ฉบับ จะทำให้นกั เรี ยนเกิดความเบื่อหน่ายในการ
ทำข้อสอบ ซึ่ งอาจส่ งผลให้นกั เรี ยนไม่ท ำข้อสอบ และทำให้ไม่สามารถวินิจฉัยลักษณะข้อบกพร่ องได้ตรง
ตามความเป็ นจริ ง
32

1.2 การสร้างแบบฝึ กเสริ มทักษะควรมีรูปแบบที่น่าสนใจ และมีโจทย์ที่หลากหลาย และ


จำนวนไม่มากจนเกินไป เพราะถ้ามากจนเกินไปเด็กก็จะเกิดความเบื่อหน่ายในการทำแบบฝึ กเสริ มทักษะ
1.3 ในการจัดการเรี ยนการสอนซ่อมเสริ ม ไม่ควรจำกัดระยะเวลา ควรให้นกั เรี ยนศึกษาตาม
ความสามารถของนักเรี ยน ครู ควรให้ก ำลังใจ ให้ค ำแนะนำ เมื่อนักเรี ยนมีปัญหา และควรมีการเสริ มแรง
เมื่อนักเรี ยนทำแบบฝึ กหัด หรื อแบบทดสอบได้ถูกต้อง

2. ข้ อเสนอแนะในการวิจัย
2.1 ควรมีการศึกษา และแก้ไขข้อบกพร่ องทางการเรี ยนในลักษณะเดียวกันนี้กบั เนื้อหาอื่น ๆ
และระดับขั้นอื่น ๆ
2.2 ควรทำการศึกษาเพื่อหากลวิธีการสอนแบบอื่น ๆ ในการจัดการเรี ยนการสอนซ่อมเสริ ม
เพื่อช่วยเหลือนักเรี ยนที่เรี ยนช้า หรื อนักเรี ยนที่มีขอ้ บกพร่ องทางการเรี ยน ตลอดจนส่ งเสริ มนักเรี ยนที่เรี ยน
เก่งให้เรี ยนดีข้ ึนกว่าเดิม

บรรณานุกรม
กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ. (2537). คู่มือประเมินผลสั มฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน
ระดับ ประถมศึกษา. กรุ งเทพฯ: สำนักงานทดสอบทางการศึกษา กระทรวงศึกษาธิ การ.
. (2539). การประเมินจากสภาพจริง. กรุ งเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.
. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่ งชาติ พ.ศ. 2542. กรุ งเทพฯ: คุรุสภาลาดพร้าว.
33

จรี พร สามารถ. (2543). “การพัฒนาความสามารถในการแก้ โจทย์ ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่องร้ อยละโดยใช้


ชุ ดการฝึ กสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่5”. วิทยานิพนธ์ปริ ญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต
วิชาเอกการวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาศรี นคริ นทรวิโรฒ.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2539). เกณฑ์ มาตรฐานโรงเรียนมัธยมศึษา พ.ศ. 2539. กรุ งเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา
ลาดพร้าว.
ชวาล แพรัตกุล. (2516). เทคนิคการวัดผล. กรุ งเทพฯ: วัฒนาพานิช.
ชาญวิทย์ เทียมบุญประเสริ ฐ. (2539). การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้ แบบฝึ กที่สร้ าง
ตามทฤษฎีสมรรถภาพทางสมองของเทอร์ สโตน. กรุ งเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรี นคริ นทรวิโรฒ
ประสานมิตร.
ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2528). “ชุ ดการสอนระดับประถมศึกษา” ในเอกสารการสอนชุ ดสื่ อการสอนระดับ
ประถมศึกษา หน่ วยที่ 8 – 15. หน้ า 490 - 496. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุ งเทพฯ: โรงพิมพ์สหมิตร.
ดวงเดือน อ่อนน่วม. (2533). การสอนซ่ อมเสริมคณิตศาสตร์ . กรุ งเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ดารณี คำแหง. (2533). การศึกษาข้ อบกพร่ องทางการเรียนคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษา
ปี ที่ 5.
วิทยานิพนธ์ ค.ม. (การมัธยมศึกษา). กรุ งเทพฯ: บัณฑิตวิยาลัย จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.
ถ่ายเอกสาร.
เตือนใจ ตรี เนตร. (2544). ผลการใช้ แบบฝึ กการแก้ โจทย์ ปัญหาคณิตศาสตร์ เรื่องพืน้ ที่ สำหรับนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 2. สารนิพนธ์ กศ.ม. (การวัดผลการศึกษา). กรุ งเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรี นคริ นทร
วิโรฒ.
ทศพร ทักษิมา. (2545). การศึกษาและแก้ ไขข้ อบกพร่ องทางการเรียนเรื่องระบบสมการของนักเรียน
ชั้น มัธยมศึกษาปี ที่ 3. ปริ ญญานิพนธ์ กศ.ม. (คณิ ตศาสตร์). กรุ งเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย
ศรี นคริ นทรวิโรฒ. ถ่ายเอกสาร.
ธัญสิ นี ฐานา. (2546). การพัฒนาชุ ดกิจกรรมคณิตศาสตร์ เพือ่ แก้ ไขข้ อบกพร่ องทางด้ านทักษะ
กระบวน การิดคำนวณ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 1. สารนิพนธ์ กศ.ม. (การมัธยมศึกษา).
กรุ งเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรี นคริ นทรวิโรฒ. ถ่ายเอกสาร.
นิภาพร นาอ่อน. (2545). การศึกษาและการแก้ ไขข้ อบกพร่ องทางการเรียนเรื่องฟังก์ ชันของนักเรียน
ชั้น มัธยมศึกษาปี ที่ 4. ปริ ญญานิพนธ์ กศ.ม. (คณิ ตศาสตร์). กรุ งเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย
ศรี นคริ นทรวิโรฒ. ถ่ายเอกสาร.
นิตยา บุญสุ ข. (2541). แบบฝึ กเสริมทักษะวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องโจทย์ ปัญหาเศษส่ วน ชั้นปะถม
ศึกษาปี ที่ 6. รายงานการศึกษาค้นคว้าอิสระ กศ.ม. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม .
พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน. (2525). พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุ งเทพฯ: โรงพิมพ์อกั ษรเจริ ญทัศน์.
พวงรัตน์ ทวีรัตน์. 2540. วิธีการวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์ และสั งคมศาสตร์ . พิมพ์ครั้งที่ 7.
กรุ งเทพฯ: สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรี นคริ นทรวิโรฒ ประสานมิตร.
พันทิพา อุทยั สุ ข. (2524). พฤติกรรมการสอนมัธยมศึกษา. กรุ งเทพฯ: สำนักเทคโนโลยีการศึกษา
มหาวิทยาลัยสุ โขทัยธรรมาธิราช.
ยุพิน พิพิธกุล. (2530). การสอนคณิตศาสตร์ . กรุ งเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
34

รุ จิร์ ภู่สาระ. (2520). เอกสารประกอบคำบรรยายกระบวนการวิชาการวัดผลและประเมินผลการ


ศึกษา. กรุ งเทพฯ: ภาควิชาการทดสอบและวิจยั มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2538). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุ งเทพฯ:
สุ วีริยาสาส์น,
วลี เฉลยสมัย. (2538). “การพัฒนาวิธีการวินิจฉัยการแก้ โจทย์ ปัญหาคณิตศาสตร์ ที่ค ำนึงถึงสภาพที่เป็ นจริง
ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 6”. ปริ ญญานิพนธ์ มหาบัณฑิต. กรุ งเทพฯ. จุฬาลงกรณ
มหาวิทยาลัย. (สำเนา)
วิยดา ซ่อนขํา. (2551). การสร้ างแบบทดสอบวินิจฉัยจุดบกพร่ องในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องจํานวน
และการดำเนินการสํ าหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 3. ปริ ญญานิพนธ์ กศ.ม. (การวัดผลการ
ศึกษา). กรุ งเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรี นคริ นทรวิโรฒ.
วิเชียร เกตุสิงห์. (2530). หลักการสร้ างและวิเคราะห์ เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุ งเทพฯ: ไทย
วัฒนาพานิช.
ศุภมาส ด่านพานิช. (2541). การศึกษาการสร้ างแบบฝึ กการอ่ านสะกดคำที่มีตัวสะกดไม่ ตรงมาตราตัวสะกด
ชั้นประถมศึกษาปี ที่ 2. ปริ ญญานิพนธ์ กศ.ม. (การประถมศึกษา). กรุ งเทพมหานคร: มหาวิทยาลัย
ศรี นคริ นทรวิโรฒ.
สมนึก ภัททิยานี . (2544). การวัดผลการศึกษา. มหาสารคาม: ภาควิชาวิจยั และพัฒนาการศึกษา คณะ
ศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สมศักดิ์ สิ นธุระเวชญ์. (2523). การเลือกใช้ วธิ ีแก้ ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถม
ศึกษาปี ที่ 4 ที่เรียนหลักสู ตร สสวท. ปริ ญญานิพนธ์ (กศ.ม.). กรุ งเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัย
ศรี นคริ นทรวิโรฒ. ถ่ายเอกสาร.
สุ กนั เทียนทอง. (2527). การศึกษาเปรียบเทียบทางการเรียนซ่ อมเสริมคณิตศาสตร์ เรื่องทศนิยม
ของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 5 ที่สอนโดยครู กลุ่มเพือ่ น และศึกษาด้ วยตนเอง. ปริ ญญานิพนธ์
การศึกษามหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรี นคริ นทรวิโรฒ ประสานมิตร.
สุ กลั ยา ฉายสุ วรรณ. (2539). การสร้ างแบบทดสอบวินิจฉัยพืน้ ฐานทางพีชคณิต ของนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษา ปี ที่ 3 ในเขตกรุ งเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ .
สุ ขมุ มูลเมือง. (2523). การสร้ างแบบทดสอบวินิจฉัยข้ อบกพร่ องในการเรียนทศนิยมสำหรับ
นักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปี ที่ 1 ในเขตจังหวัดนครพนม. ปริ ญญานิพนธ์ (กศ.ม.). กรุ งเทพฯ: บัณฑิต
วิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรี นคริ นทรวิโรฒ. ถ่ายเอกสาร.
สุ นิสา พงษ์ประยูร. (2543). การศึกษาข้ อบกพร่ องในการแก้ โจทย์ ปัญหาคณิตศาสร์ เรื่องสมการของ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 2. สารนิพนธ์ กศ.ม. (การมัธยมศึกษา). กรุ งเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยศรี นคริ นทรวิโรฒ. ถ่ายเอกสาร.
สุ พรรณี ภิรมย์ภกั ดี. (2541). การสร้ างแบบทดสอบวินิจฉัยข้ อบกพร่ องทางการเรียนวิชา
คณิตศาสตร์ เรื่อง ฟังก์ชัน สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 4. ปริ ญญานิพนธ์ กศ.ม. (การวัดผล
การศึกษา). กรุ งเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรี นคริ นทรวิโรฒ. ถ่ายเอกสาร.
สุ รภี ฤทธิ วงศ์. (2549). แบบฝึ กซ่ อมเสริมวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องการแก้ โจทย์ ปัญหาร้ อยละระดับชั้น
มัธยมศึกษาปี ที่ 2. ปริ ญญานิพนธ์ กศ.ม. (การมัธยมศึกษา). กรุ งเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรี นคริ นทร
35

วิโรฒ.
สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ. (2541). คู่มือการอบรมเลีย้ งดูเด็กระดับก่ อนประถม
ศึกษา. กรุ งเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
สำรวย หาญห้าว. (2550). การสร้ างชุ ดการเรียนการสอนพีชคณิตช่ วงชั้นที่ 3 สำหรับนักเรียนทีม่ ีผลสั มฤทธิ์
ทางการเรียนคณิตศาสตร์ สูงด้ วยเทคนิคการสอนแบบ TAI. ปริ ญญานิพนธ์ กศ.ม. (การมัธยม
ศึกษา). กรุ งเทพฯ: มหาวิทยาลัยศรี นคริ นทรวิโรฒ.
เอนก เพียรอนุกลู บุตร. (2524). การวัดและประเมินทางการศึกษา. กรุ งเทพฯ: มหาวิทยาลัย
รามคำแหง.
อังศุมาลิน เพิม่ ผล. (2542). การสร้ างแบบฝึ กทักษะการคำนวณวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องวงกลม สำหรับ
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 3. สารนิพนธ์ กศ.ม. (การวัดผลการศึกษา). กรุ งเทพฯ: บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยศรี นคริ นทรวิโรฒ. ถ่ายเอกสาร.

ภาคผนวก
36

ภาคผนวก ก
รายชื่อผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบเครื่องมือวิจัย
37

รายชื่อผู้เชี่ยวชาญตรวจสอบเครื่องมือวิจัย
1. นางสาวอำไพ พาโคกทม ครู ประจำกลุ่มสาระการเรี ยนรู ้คณิ ตศาสตร์
โรงเรี ยนเตรี ยมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา
2. นางสาวศากุณ เทียนทอง ครู ผชู ้ ่วย กลุ่มสาระการเรี ยนรู ้คณิ ตศาสตร์
โรงเรี ยนเตรี ยมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา
3. นายเอกชัย ชาญกระโทก ครู ประจำกลุ่มสาระการเรี ยนรู ้คณิ ตศาสตร์
โรงเรี ยนเตรี ยมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา
38

ภาคผนวก ข
ตารางแสดงค่าความเที่ยงตรง และค่ าความยาก (p)

ตาราง : ตารางแสดงผลการพิจารณาความเที่ยงตรงตามเนื้ อหาของข้อสอบเรื่ อง การแยกตัวประกอบของ


พหุนาม
คะแนนการพิจารณาของผู้เชี่ยวชาญ
ข้ อที่ ผลรวมคะแนน IOC
คนที่ 1 คนที่ 2 คนที่ 3
1 1 1 1 3 1
39

2 1 1 1 3 1
3 1 1 1 3 1
4 1 1 1 3 1
5 1 0 1 2 0.67
6 1 1 1 3 1
7 1 1 1 3 1
8 1 1 1 3 1
9 1 1 1 3 1
10 1 1 1 3 1
11 1 1 1 3 1
12 1 1 1 3 1
13 1 1 1 3 1
14 1 1 1 3 1
15 1 1 1 3 1
16 1 1 1 3 1
17 1 1 1 3 1
18 1 1 1 3 1
19 1 1 1 3 1
20 1 1 1 3 1
40

ข้ อ จำนวนคนที่ตอบถูก จำนวนคนที่ตอบผิด ค่ า P สรุ ป


1 12 8 0.60 ค่อนข้างง่าย
2 10 10 0.50 ปานกลาง
3 13 7 0.65 ค่อนข้างง่าย
4 10 10 0.50 ปานกลาง
5 8 12 0.40 ปานกลาง
6 12 8 0.60 ค่อนข้างง่าย
7 9 11 0.45 ปานกลาง
8 16 4 0.80 ค่อนข้างง่าย
9 8 12 0.40 ปานกลาง
10 9 11 0.45 ปานกลาง
11 7 13 0.35 ค่อนข้างยาก
12 12 8 0.60 ค่อนข้างง่าย
13 7 13 0.35 ค่อนข้างยาก
14 8 12 0.40 ปานกลาง
15 11 9 0.55 ปานกลาง
16 10 10 0.50 ปานกลาง
17 13 7 0.65 ค่อนข้างง่าย
18 12 8 0.60 ค่อนข้างง่าย
19 11 9 0.55 ปานกลาง
20 5 15 0.25 ค่อนข้างยาก
ตาราง : ตารางแสดงค่าความยากของแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ ทางการเรี ยน เรื่ องการแยกตัวประกอบ
ของพหุนาม ชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 4 จากนักเรี ยน 20 คน
41

ภาคผนวก ค
คะแนนแบบทดสอบก่ อนและหลังใช้ แบบฝึ กทักษะ และ
คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่ อนใช้ ชุดกิจกรรมคณิตศาสตร์
42

ตาราง : ตารางค่าคะแนนผลสัมฤทธิ์ ทางการเรี ยนจากการใช้ชุดกิจกรรมคณิ ตศาสตร์ ก่อนเรี ยน (Pretest)


และหลังเรี ยน (Posttest) เรื่ องการแยกตัวประกอบของพหุนาม ของนักเรี ยนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 4
โรงเรี ยนเตรี ยมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา จำนวน 30 คน

คนที่ Pretest Posttest


1 3 17
2 8 15
3 6 10
4 9 19
5 9 16
6 6 17
7 8 16
8 5 16
9 5 17
10 9 20
11 8 18
12 8 15
13 7 20
14 9 20
15 5 15
16 8 14
17 7 17
43

18 8 18
19 7 17
20 8 10
21 5 13
22 5 11
23 8 18
24 6 18
25 9 15
26 6 16
27 9 14
28 9 14
29 3 16
30 8 12
รวม 211 474
7.03 15.80
44

ตาราง : คะแนนผลสัมฤทธิ์ ทางการเรี ยนก่อนใช้ชุดกิจกรรมคณิ ตศาสตร์ เรื่ องการแยกตัวประกอบของ


พหุนาม ของนักเรี ยนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 4 โรงเรี ยนเตรี ยมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา จำนวน
30 คน
1 1 1 1 1 1 1 1 1 1 2
เลขที่/ข้ อ 1 2 3 4 5 6 7 8 9 รวม
0 1 2 3 4 5 6 7 8 9 0
1 0 0 0 0 0 1 0 0 1 0 0 0 0 1 0 0 0 0 0 0 3
2 1 0 1 0 0 1 0 1 1 1 0 1 0 0 0 0 0 1 0 0 8
3 0 1 0 1 0 0 0 1 0 0 1 0 0 0 1 1 0 0 0 0 6
4 0 1 1 1 1 1 1 1 1 1 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 9
5 1 1 1 1 1 1 0 1 1 1 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 9
6 1 0 1 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 1 0 0 1 1 1 0 6
7 1 1 1 1 0 0 1 0 1 0 1 0 0 0 1 0 0 0 0 0 8
8 0 0 1 1 0 0 1 1 1 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 5
9 0 0 0 0 1 0 0 0 0 0 0 0 0 1 0 0 1 1 1 0 5
10 1 1 1 0 1 1 1 1 1 1 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 9
11 1 1 1 1 1 1 1 1 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 8
12 1 1 1 0 1 1 0 1 1 0 0 0 0 0 0 0 1 0 0 0 8
13 1 0 1 0 1 1 0 1 1 1 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 7
14 1 1 1 0 1 1 1 1 1 1 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 9
15 1 1 1 0 1 1 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 5
16 1 1 1 1 0 1 1 1 1 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 8
17 1 1 0 1 0 1 1 1 1 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 7
18 1 1 0 1 1 1 0 0 1 1 1 0 0 0 0 0 0 0 0 0 8
19 1 0 1 0 1 0 0 0 0 0 0 0 0 1 0 0 1 1 1 0 7
20 1 0 1 0 1 1 1 1 1 1 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 8
21 0 1 1 0 0 1 0 0 1 1 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 5
22 1 0 0 0 1 0 0 0 1 1 0 1 0 0 0 0 0 0 0 0 5
23 1 0 1 0 0 1 0 1 1 0 0 1 0 0 0 0 1 1 0 0 8
45

24 1 0 0 1 0 0 0 0 1 1 0 0 1 0 1 0 0 0 0 0 6
25 1 0 1 1 0 0 1 0 1 0 1 1 0 1 1 0 0 0 0 0 9
26 0 1 0 0 0 1 1 0 0 1 0 0 1 0 0 0 1 0 0 0 6
27 1 1 1 0 1 1 1 1 0 1 1 0 0 0 0 0 0 0 0 0 9
28 1 0 1 0 0 1 1 0 1 1 0 1 0 0 0 0 1 1 0 0 9
29 0 1 1 1 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 3
30 1 1 1 1 0 1 1 1 1 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 8
46

ภาคผนวก ง
แบบฝึ กเสริมทักษะสำหรับแก้ ไขข้ อบกพร่ อง
เรื่องการแยกตัวประกอบของพหุนาม

แบบฝึ กเสริมทักษะ เรื่องการแยกตัวประกอบของพหุนาม


1. จงแยกตัวประกอบของพหุนามในรู ปผลต่ างของกำลังสอง
1) x2 – 25 =..............................................................................................................................
2) x2 – 1 =..............................................................................................................................
47

3) x2 – 144 =..............................................................................................................................
4) x2 – 7 =..............................................................................................................................
5) x2 – 35 =..............................................................................................................................
6) x2 – 100 =..............................................................................................................................
7) x2 – 169 =..............................................................................................................................
8) x2 – 196 =..............................................................................................................................

2. จงแยกตัวประกอบของพหุนามต่ อไปนี้
1) x2 – 25x =…………………………………………………………………….
2) x3 – 4x2 =…………………………………………………………………….
3) x4 – 4x = …………………………………………………………………….
4) 15x2 – 25x = …………………………………………………………………….
5) 81x2 – x =…………………………………………………………………….
6) 7x2 + 49x = …………………………………………………………………….
7) 88x3 + 8x2 = …………………………………………………………………….
8) 13x4 + x2 = …………………………………………………………………….
9) 5x3 + 15x2 =…………………………………………………………………….
10) 100x4 + 10x3 = …………………………………………………………………….
11) x2+ 3x – 4 = …………………………………………………………………….
12) x2 + 10x + 25 = …………………………………………………………………….
13) x2 + 6x + 9 =…………………………………………………………………….
14) x2 + 4x + 4 = …………………………………………………………………….
15) x2 + 8x – 20 =…………………………………………………………………….
16) x2 – 10x + 25 =…………………………………………………………………….
48

17) x2 – 14x + 49 = …………………………………………………………………….


18) x2 + 6x – 16 = …………………………………………………………………….
19) x2 + 6x + 8 = …………………………………………………………………….
20) x2 + x – 30 =…………………………………………………………………….
21) =…………………………………………………………………….
=…………………………………………………………………….
22) =…………………………………………………………………….
=…………………………………………………………………….
23) =…………………………………………………………………….
=…………………………………………………………………….
24) =…………………………………………………………………….
=…………………………………………………………………….
25) =…………………………………………………………………….
=…………………………………………………………………….

3. จงแยกตัวประกอบของพหุนามต่ อไปนี้ โดยการทำให้ เป็ นกำลังสองสมบูรณ์


1) x2 – 2x – 3 = ………………………………………………………………………..
= ………………………………………………………………………..
= ………………………………………………………………………..
= ………………………………………………………………………..
2) x2 – 4x + 2 = ………………………………………………………………………..
= ………………………………………………………………………..
= ………………………………………………………………………..
49

= ………………………………………………………………………..
3) x2 + 8x – 5 = ………………………………………………………………………..
= ………………………………………………………………………..
= ………………………………………………………………………..
= ………………………………………………………………………..
4) x2 + 6x + 2 = ………………………………………………………………………..
= ………………………………………………………………………..
= ………………………………………………………………………..
= ………………………………………………………………………..
5) x2– 2x = ………………………………………………………………………..
= ………………………………………………………………………..
= ………………………………………………………………………..
= ………………………………………………………………………..

เฉลยแบบฝึ กเสริมทักษะเรื่องการแก้ อสมการ


1. จงแยกตัวประกอบของพหุนามในรู ปผลต่ างของกำลังสอง
1) x2 – 25 = (x - 5)(x + 5)
2) x2 – 1 = (x - 1)(x + 1)
3) x2 – 144 = (x + 12)(x - 12)
4) x2 – 7 = (x - √ 7)( x + √ 7)
5) x2 – 35 = (x - √ 35 ) (x + √ 35 )
6) x2 – 100 = (x - 10)(x + 10)
7) x2 – 169 = (x - 13)(x + 13)
8) x2 – 196 = (x - 14)(x + 14)
2. จงแยกตัวประกอบของพหุนามต่ อไปนี้
50

1) x2 – 25x = x(x – 25)


2) x3 – 4x2 = x2(x – 4)
3) x4 – 4x = x(x3 – 4)
4) 15x2 – 25x = 5x(3x – 5)
5) 81x2 – x = x(81x – 1)
6) 7x2 + 49x = 7x(x + 7)
7) 88x3 + 8x2 = 8x2(11x + 1)
8) 13x4 + x2 = x2(13x2 + 1)
9) 5x3 + 15x2 = 5x2(x + 3)
10) 100x4 + 10x3 = 10x3(10x + 1)
11) x2+ 3x – 4 = (x – 1)(x + 4)
12) x2 + 10x + 25 = (x + 5)(x + 5) = (x + 5)2
13) x2 + 6x + 9 = (x + 3)(x + 3) = (x + 3)2
14) x2 + 4x + 4 = (x + 2)(x + 2) = (x + 2)2
15) x2 + 8x – 20 = (x – 2)(x + 10)
16) x2 – 10x + 25 = (x – 5)(x – 5) = (x – 5)2
17) x2 – 14x + 49 = (x – 7)(x – 7) = (x – 7)2
18) x2 + 6x – 16 = (x – 2)(x + 8)
19) x2 + 6x + 8 = (x + 2)(x + 4)
20) x2 + x – 30 = (x – 5)(x + 6)
21) = (5x + 2)(5x + 1)
22) = (3x - 5)(x + 3)
51

23) = (2x + 3)(x + 1)


24) = (3x + 1)(x + 2)
25) = (-x - 5)(x - 10) หรื อ (x + 5)(-x + 10)
3. จงแยกตัวประกอบของพหุนามต่ อไปนี้ โดยการทำให้ เป็ นกำลังสองสมบูรณ์
1) x2 – 2x – 3 = (x2 – 2x + 1) – 3 – 1
= (x – 1) 2 – 4
= ((x – 1) – 2)((x – 1) + 2)
= (x – 3)(x + 1)
2) x2 – 4x + 2 = (x2 – 4x + 4) + 2 – 4
= (x – 2)2 – 2

= [(x – 2) – ][(x – 2) + ]

= [(x – 2 – )][(x – 2 + )]
3) x2 + 8x – 5 = (x2 + 8x + 16) – 5 – 16
= (x + 4)2 – 21

= [(x + 4) – ][(x + 4) + ]

= [(x + 4 – )][(x + 4 + )]
4) x2 + 6x + 2 = (x2 + 6x + 9) + 2 – 9
= (x + 3)2 – 7

= [(x + 3) – ][(x + 3) + ]

= [(x + 3 – )][(x + 3 + )]
5) x2 – 2x = (x2 – 2x + 1) – 1
= (x – 1)2 – 1
52

= [(x – 1) – 1][(x – 1) + 1]
= [x – (1 + 1)][(x – (1 – 1)]
= (x – 2)(x)

ภาคผนวก จ
แบบทดสอบสำรวจข้ อบกพร่ องและแบบทดสอบคู่ขนาน
53

โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา

ชื่อ………………………………………………………ชั้น…………….เลขที่.....................

แบบทดสอบสำรวจข้อบกพร่ องทางการเรี ยนเรื่ อง การแยกตัวประกอบของพหุนาม

จุดประสงค์ นักเรี ยนสามารถสามารถแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรี สองตัวแปรเดียวที่มีสมั ประสิ ทธิ์


ของแต่ละพจน์เป็ นจำนวนเต็มได้

คำชี้แจง
1. แบบทดสอบเป็ นแบบแสดงวิธีท ำจำนวน 20 ข้อ
2. จงแสดงวิธีท ำ
54
55

แบบทดสอบ
เรื่องการแยกตัวประกอบของพหุนาม

จงแยกตัวประกอบของพหุนามต่อไปนี้

1) 6)
วิธีท ำ…………………….....................................................……………...... วิธีท ำ…………………….....................................................……………......
………………………............................................................…………………… ………………………............................................................……………………

…………………………………………............................................................… …………………………………………............................................................…

2) 7)
วิธีท ำ…………………….....................................................……………...... วิธีท ำ…………………….....................................................……………......
………………………............................................................…………………… ………………………............................................................……………………

…………………………………………............................................................… …………………………………………............................................................…

3) 8)
วิธีท ำ…………………….....................................................……………...... วิธีท ำ…………………….....................................................……………......
………………………............................................................…………………… ………………………............................................................……………………

…………………………………………............................................................… …………………………………………............................................................…

4) 9)
วิธีท ำ…………………….....................................................……………...... วิธีท ำ…………………….....................................................……………......
………………………............................................................…………………… ………………………............................................................……………………

…………………………………………............................................................… …………………………………………............................................................…

5) 10)
วิธีท ำ…………………….....................................................……………...... วิธีท ำ…………………….....................................................……………......
………………………............................................................…………………… ………………………............................................................……………………

…………………………………………............................................................… …………………………………………............................................................…

11) 16)
56

วิธีท ำ…………………….....................................................……………...... วิธีท ำ…………………….....................................................……………......


………………………............................................................…………………… ………………………............................................................……………………

…………………………………………............................................................… …………………………………………............................................................…

12) 17)
วิธีท ำ…………………….....................................................……………...... วิธีท ำ…………………….....................................................……………......
………………………............................................................…………………… ………………………............................................................……………………

…………………………………………............................................................… …………………………………………............................................................…

13) 18)
วิธีท ำ…………………….....................................................……………...... วิธีท ำ…………………….....................................................……………......
………………………............................................................…………………… ………………………............................................................……………………

…………………………………………............................................................… …………………………………………............................................................…

14) 19)
วิธีท ำ…………………….....................................................……………...... วิธีท ำ…………………….....................................................……………......
………………………............................................................…………………… ………………………............................................................……………………

…………………………………………............................................................… …………………………………………............................................................…

15) 20)
วิธีท ำ…………………….....................................................……………...... วิธีท ำ…………………….....................................................……………......
………………………............................................................…………………… ………………………............................................................……………………

…………………………………………............................................................… …………………………………………............................................................…

เฉลยแบบทดสอบสำรวจข้ อบกพร่ อง
1) =
2) =
3) =
57

4) =
5) =
6) =
7) =
8) =
9) =
10) =
11) =
12) =
13) = หรื อ
14) =
15) =
16) =
17) =
18) =
19) =
20) =

โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ รัชดา

ชื่อ………………………………………………………ชั้น…………….เลขที่.....................

แบบทดสอบคู่ขนานเรื่ อง การแยกตัวประกอบของพหุนาม
58

จุดประสงค์ นักเรี ยนสามารถสามารถแยกตัวประกอบของพหุนามดีกรี สองตัวแปรเดียวที่มีสมั ประสิ ทธิ์


ของแต่ละพจน์เป็ นจำนวนเต็มได้

คำชี้แจง
1. แบบทดสอบเป็ นแบบแสดงวิธีท ำจำนวน 20 ข้อ
2. จงแสดงวิธีท ำอย่างละเอียด

แบบทดสอบ
เรื่องการแยกตัวประกอบของพหุนาม
จงแยกตัวประกอบของพหุนาม ต่อไปนี้
1) 6)
วิธีท ำ…………………….....................................................……………...... วิธีท ำ…………………….....................................................……………......
………………………............................................................…………………… ………………………............................................................……………………

…………………………………………............................................................… …………………………………………............................................................…

2) 7)
59

วิธีท ำ…………………….....................................................……………...... วิธีท ำ…………………….....................................................……………......


………………………............................................................…………………… ………………………............................................................……………………

…………………………………………............................................................… …………………………………………............................................................…

3) 8)
วิธีท ำ…………………….....................................................……………...... วิธีท ำ…………………….....................................................……………......
………………………............................................................…………………… ………………………............................................................……………………

…………………………………………............................................................… …………………………………………............................................................…

4) 9)
วิธีท ำ…………………….....................................................……………...... วิธีท ำ…………………….....................................................……………......
………………………............................................................…………………… ………………………............................................................……………………

…………………………………………............................................................… …………………………………………............................................................…

5) 10)
วิธีท ำ…………………….....................................................……………...... วิธีท ำ…………………….....................................................……………......
………………………............................................................…………………… ………………………............................................................……………………

…………………………………………............................................................… …………………………………………............................................................…

11) 16)
วิธีท ำ…………………….....................................................……………...... วิธีท ำ…………………….....................................................……………......
………………………............................................................…………………… ………………………............................................................……………………

…………………………………………............................................................… …………………………………………............................................................…

12) 17)
วิธีท ำ…………………….....................................................……………...... วิธีท ำ…………………….....................................................……………......
………………………............................................................…………………… ………………………............................................................……………………

…………………………………………............................................................… …………………………………………............................................................…

13) 18)
วิธีท ำ…………………….....................................................……………...... วิธีท ำ…………………….....................................................……………......
60

………………………............................................................…………………… ………………………............................................................……………………

…………………………………………............................................................… …………………………………………............................................................…

14) 19)
วิธีท ำ…………………….....................................................……………...... วิธีท ำ…………………….....................................................……………......
………………………............................................................…………………… ………………………............................................................……………………

…………………………………………............................................................… …………………………………………............................................................…

15) 20)
วิธีท ำ…………………….....................................................……………...... วิธีท ำ…………………….....................................................……………......
………………………............................................................…………………… ………………………............................................................……………………

…………………………………………............................................................… …………………………………………............................................................…

เฉลยแบบทดสอบคู่ขนาน
1. =
2. =
3. =
4. =
5. =
6. =
7. =
8. =
9. =
10. =
11. =
12. =
13. =
14. =
15. =
61

16. =
17. =
18. =
19. =
20. =

ประวัติย่อผู้วจิ ัย
62
63

ประวัติย่อผู้วจิ ัย

ชื่อ สกุล นางสาว ปิ ยะนุช กุลบุตร


วันเดือนปี เกิด 31 มกราคม 2532
สถานที่อยูป่ ั จจุบนั 581/28 ซ.รัชดาภิเษก 10 ถ.รัชดาภิเษก เขตห้วยขวาง
กรุ งเทพฯ 10310
สถานที่ศึกษาปัจจุบนั มหาวิทยาลัยศรี นคริ นทรวิโรฒ ประสานมิตร
การศึกษาปั จุบนั คณะวิทยาศาสตร์ (กศ.บ.) เอกคณิ ตศาสตร์ ชั้นปี ที่ 5
ประวัติการศึกษา
ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรี ยนจุฬาภรณราชวิทยาลัย มุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร
ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรี ยนจุฬาภรณราชวิทยาลัย มุกดาหาร จังหวัดมุกดาหาร

You might also like