Proceedings CIOD2022

You might also like

Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 537

วันที่ 20 พฤษภาคม 2565

คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

การประชุมวิชาการด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรมแห่งชาติ
ครั้งที่ 13 ประจำปี 2565
The 13th Conference on Industrial Operations Development 2022
(CIOD 2022)

วันที่ 20 พฤษภาคม 2565


ณ คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร

จัดโดย
สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรม
คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
โทร 02-988-3666 ต่อ 2120-2125
การประชุมวิชาการด้านการพัฒนาการดาเนินงานทางอุตสาหกรรมแห่ งชาติครั้งที่ 13 ประจาปี 2565
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
วันที่ 20 พฤษภาคม 2565

สาส์นจากประธานจัดงานประชุมวิชาการด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม
แห่งชาติ ประจำปี 2565

การประชุมวิชาการด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรมแห่งชาติ (CIOD) นับจากครั้งแรกที่


เริ่มต้นโดยภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้ดำเนินการสืบเนื่องและมีผู้เข้าร่วมนำเสนอ
ผลงานอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน โดยในปี พ.ศ. 2565 ซึ่งเป็นครั้งที่ 13 ที่สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรม
คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร ได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพในการจัดประชุมวิชาการในครั้ง
นี้ ซึ่งเป็นโอกาสอันดีที่เปิดให้แก่ทั้งคณาจารย์ นิสิต นักศึกษา นักวิจัย ทั้งที่อยู่ในเครือข่ายและสถาบันอื่นๆ ใน
การที่จะนำผลงานวิจัยมานำเสนอเผยแพร่ แลกเปลี่ยนเพื่อนำไปสู่การใช้งานจริงในภาคอุตสาหกรรม ซึ่งจะเกิด
ประโยชน์ในการพัฒนาประเทศสืบต่อไป
สำหรับการประชุมวิชาการในปีนี้ ก็ยังอยู่ภายใต้วิกฤตที่รุนแรงจากการระบาดของการติดเชื้อ ไวรัส
โคโรน่า หรือ COVID19 ซึ่งส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิต เศรษฐกิจ การเรียนการสอน และสังคมในวงกว้าง
รวมถึงกิจกรรมงานประชุมวิชาการในครั้งนี้ อย่างไรก็ตาม ทางคณะผู้ดำเนินการจัดการประชุมวิชาการ ได้
ปรับเปลี่ยนวิธีการเพื่อให้มีความเหมาะสมต่อสถานการณ์ปัจจุบัน และยังคงรักษามาตรฐานด้านวิชาการไว้ โดย
ภาคการนำเสนอผลงาน คณะกรรมการดำเนินงานได้ใช้รูปแบบการนำเสนอผลงานแบบ Online Conference
ผ่าน Google Meet ซึ่งถือว่าเป็นวิธีการที่ได้รับความนิยมเนื่องจากเป็นช่องทางที่เหมาะสมที่สุดกับสถานการณ์
ปัจจุบัน สำหรับในปีนี้ มีบทความส่งเข้าร่วมการประชุมวิชาการ และผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ รวม
60 บทความ และมีบทความที่ได้รับการคัดเลือกให้เป็นบทความดีเยี่ยมจำนวน 3 บทความ และบทความใน
ระดับดีมาก จำนวน 4 บทความ
สุดท้ายนี้ ขอขอบคุณสมาชิกเครือข่ายของการประชุมวิชาการฯ ดิฉันหวังว่าเครือข่ายของเราจะมี
โอกาสขยายเครือข่า ยให้กว้างขวาง เพื่องานวิจัยที่ดีๆ ในการพัฒนาประเทศชาติสืบต่อไป และขอขอบคุณ
ผู้บริหาร คณาจารย์ และเจ้าหน้าที่ของสาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมและของคณะบริหารธุรกิจ รวมถึง
ทีมงานประชาสัมพันธ์ ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความตลอดจนผู้สนับสนุนทุกฝ่าย ที่ทำให้การจัดงานประชุม
วิชาการครั้งนี้ประสบความสำเร็จลุล่วงเป็นอย่างดี

อาจารย์ชิดชนก อินทอง
หัวหน้าสาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรม คณะบริหารธุรกิจ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

คณะกรรมการจั ดประชุ ม วิ ชาการด้ า นการพั ฒ นาการดำเนิ น งานทางอุ ตสาหกรรมแห่ ง ชาติ


ประจำปี 2565
ที่ปรึกษา
1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภานวีย์ โภไคยอุดม อธิการบดี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
2. ดร. ชฎารัตน์ อนันตกูล รองอธิการบดี ฝ่ายกิจการพิเศษ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร

คณะกรรมการดำเนินการจัดงานประชุมวิชาการ
1. อาจารย์ชิดชนก อินทอง ประธาน
2. อาจารย์สิริรักษ์ ภู่ริยะพันธ์ กรรมการ
3. อาจารย์กนกกาญจน์ ขวัญนวล กรรมการ
4. อาจารย์ทิพย์สุดา ไตรยราช กรรมการ
5. อาจารย์กีรติ วงศ์ทองศรี กรรมการ
6. อาจารย์ธีรธัช สวัสดิวิชัย กรรมการ
7. อาจารย์กิตติคุณ นิมิตแสงเทียน กรรมการ
8. อาจารย์พิชญา ตันติอำไพวงศ์ ผู้ช่วยเลขานุการ

คณะกรรมการฝ่ายวิชาการ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร
1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สิริภักตร์ ศิริโท กรรมการ
2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชื่นสุมล บุนนาค กรรมการ
3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อุไรรัตน์ มณีรัตนาศักดิ์ กรรมการ
4. รองศาสตราจารย์ ดร.ธนพร ศรียากูล กรรมการ
5. ดร.เผด็จ อมรศักดิ์ กรรมการ
6. ดร.ชยงการ ภมรมาศ กรรมการ
7. ดร.รุ่งศักดิ์ ศิวาชัญ กรรมการ
8. ดร.สุรีรักษ์ วงษ์ทิพย์ กรรมการ
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
1. ศาสตราจารย์ ดร.พงศ์ชนัน เหลืองไพบูลย์ กรรมการ
2. ศาสตราจารย์ ดร.ตรีทศ เหล่าศิริหงส์ทอง กรรมการ
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

3. รองศาสตราจารย์ ดร.มณฑลี ศาสนนันทน์ กรรมการ


4. รองศาสตราจารย์ ดร.เสมอจิตร หอมรสสุคนธ์ กรรมการ
5. รองศาสตราจารย์ ดร.บุษบา พฤกษาพันธุ์รัตน์ กรรมการ
6. รองศาสตราจารย์ ดร.จิรรัตน์ ธีระวราพฤกษ์ กรรมการ
7. รองศาสตราจารย์ ดร.อภิวัฒน์ มุตตามระ กรรมการ
8. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จิรวรรณ คล้อยภยันต์ กรรมการ
9. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สวัสดิ์ ภาระราช กรรมการ
10. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรารัตน์ กังสัมฤทธิ์ กรรมการ
11. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุภมาศ สุชาตานนท์ กรรมการ
12. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ปาริชาต ชื่นวัฒนกุล กรรมการ
13. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นริศ เจริญพร กรรมการ
14. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อนินทยา คำกันยา กรรมการ
15. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. วุฒินันท์ นุ่นแก้ว กรรมการ
มหาวิทยาลัยสยาม
1. รองศาสตราจารย์ ดร.ยุทธชัย บันเทิงจิตร กรรมการ
2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อาทิตย์ โสตรโยม กรรมการ
3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พงศ์พัฒน์ เพ็ชรรุ่งเรือง กรรมการ
4. ดร.วีระกาจ ดอกจันทร์ กรรมการ
5. อาจารย์ณัฐพล พุฒยางกูร กรรมการ
6. อาจารย์ธนารักษ์ หีบแก้ว กรรมการ
7. อาจารย์ภาณุพงศ์ ทองประสิทธิ์ กรรมการ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
1. รองศาสตราจารย์ ดร.ธีรเดช วุฒิพรพันธ์ กรรมการ
2. รองศาสตราจารย์ ดร.นันทกฤษณ์ ยอดพิจิตร กรรมการ
3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรพจน์ มีถม กรรมการ
4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สิรวิชญ์ สว่างนพ กรรมการ
5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์.ดร.ชยธัช เผือกสามัญ กรรมการ
6. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธนสาร อินทรกำธรชัย กรรมการ
7. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พิพัฒน์ ไพศาลภาณุมาศ กรรมการ
8. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อมรรัตน์ ชุมภู กรรมการ
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

9. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธราธร พชรฐิติกุล กรรมการ


10. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กนกพร ศรีปฐมสวัสดิ์ กรรมการ
11. ดร.ภัทรศยา ตันติวัฒนกูล กรรมการ
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
1. รองศาสตราจารย์ ดร.ทศพล เกียรติเจริญผล กรรมการ
2. รองศาสตราจารย์ ดร.สกนธ์ คล่องบุญจิต กรรมการ
3. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กิตติวัฒน์ สิริเกษมสุข กรรมการ
4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.รณน เจียรตระกูล กรรมการ
5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พชรพล ตัณฑวิรุฬห์ กรรมการ
6. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เชาวลิต หามนตรี กรรมการ
7. ดร.ยลพัชร อารีรบ กรรมการ
8. ดร.สุวารี ชาญกิจมั่นคง กรรมการ
9. ดร.พลชัย โชติปรายนกุล กรรมการ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
1. รองศาสตราจารย์ ดร.บวรโชค ผู้พัฒน์ กรรมการ
2. รองศาสตราจารย์ ดร.เจริญชัย โขมพัตราถรณ์ กรรมการ
3. รองศาสตราจารย์ ดร.วิบุญ ตั้งวโรดมนุกูล กรรมการ
4. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ช่อแก้ว จตุรานนท์ กรรมการ
5. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อภินันทนา อุดมศักดิกุล กรรมการ
6. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อุษณีษ์ คำพูล กรรมการ
7. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สมบุญ เจริญวิไลศิริ กรรมการ
8. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ มงคล สีนะวัฒน์ กรรมการ
9. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ พจมาน เตียวัฒนรัฐติกาล กรรมการ
10. ดร.พร้อมพงษ์ ปานดี กรรมการ
11. ดร.ไพบูลย์ ช่วงทอง กรรมการ
12. ดร.ก้องเกียรติ ปุภรัตนพงษ์ กรรมการ
13. ดร.ศุภฤกษ์ บุญเทียร กรรมการ
14. ดร.เชษฐพงษ์ จรรยาอนุรักษ์ กรรมการ
15. ดร.ฐิตินันท์ มีทอง กรรมการ
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

16. อาจารย์เจษฎา จันทวงษ์โส กรรมการ


17. อาจารย์สมพร เพียรสุขมณี กรรมการ
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

ห้องประชุม A
เวลา รหัส ชื่อเรื่อง หน้า
09.40 – 09.55 A1 การจัดการความรู้เพื่อปรับปรุงความถูกต้องในการเลือกผลิตภัณฑ์ให้กับลูกค้า กรณีศึกษาองค์กรผู้จัด 1-8
จำหน่ายผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
ผู้ประพันธ์ : พรพัฒน์ ถาบัว และ ดนุพันธ์ วิสุวรรณ
09.55 – 10.10 A2 การจัดการความรู้ภายในคลังสินค้า กรณีศึกษา บริษัทค้าปลีกวัสดุก่อสร้างและตกแต่งบ้าน 9 - 15
ผู้ประพันธ์ : พิชชาภรณ์ ศิลป์สวัสดิ์ และ ดนุพันธ์ วิสุวรรณ
10.10 – 10.25 A3 แนวทางการลดการขาดแคลนวัตถุดิบ : กรณีศึกษาโรงงานผลิตอินเวอร์เตอร์ 16 - 23
ผู้ประพันธ์ : รวิภา ตันสหวัฒน์ และ จิรรัตน์ ธีระวราพฤกษ์
10.25 – 10.40 A4 การจัดการความรู้การใช้งานเครื่องมือทดสอบสมบัติของวัสดุ กรณีศึกษาศูนย์บริการวิเคราะห์ทดสอบ 24 - 32
ของรัฐ
ผู้ประพันธ์ : วิลาสินี พรมโสภา และ ดนุพันธ์ วิสุวรรณ
10.40 – 10.55 A5 การจัดการความรู้ในการแก้ไขปัญหาด้านคุณภาพ กรณีศึกษาองค์กรผู้ผลิต ล้อแม็คอลูมิเนียมอัล 33 - 41
ลอยด์
ผู้ประพันธ์ : ณัฐพงศ์ เจริญทอง และ ดนุพันธ์ วิสุวรรณ
10.55 – 11.10 A6 การพยากรณ์ปริมาณความต้องการและวางแผนการสั่งซื้อท่อทองแดง: กรณีศ ึกษาโรงงานผลิต 42 - 48
อุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อนตามคำสั่งซื้อ
ผู้ประพันธ์ : ภัทรศยา ตันติวัฒนกูล ศุภกร แสนสุวรรณ วศินี สิทธิสุพร และ ทองทิพย์ รัตนเลิศ
ไพบูลย์
11.10 – 11.25 A7 การจัดตารางการผลิตสำหรับสินค้ากลุ่มบรรจุภัณฑ์อุตสาหกรรมเพื่อลดเวลาในการตั้งค่าเครื่องจักร 49 - 58
ผู้ประพันธ์ : ครองภพ ธรรมวุฒิ และ อภินันทนา อุดมศักดิกุล
11.25 – 11.40 A8 การปรับปรุงกระบวนการผลิตแขนจับหัวอ่านฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ โดยประยุกต์ใช้แนวทาง ซิกซ์ ซิกมา 59 - 66
ผู้ประพันธ์ : ฤชา วงษ์ชาลี และ เสมอจิต หอมรสสุคนธ์
11.40 – 11.55 A9 Analytical Hierarchy Process Application and Criteria Evaluation for Supplier Selection 67 - 73
in Made-To-Order Furniture Industry: A Case Study
ผู้ประพันธ์ : Thanatpon Lerdpong และ Wuttinan Wuttinan Nunkaew
11.55 – 12.10 A10 การศึกษาระดับค่าปัจจัยที่เหมาะสมเพื่อลดปริมาณของเสียจากกระบวนการอบเลนส์ด้วยตู้อบแห้ง 74 - 81
แบบสุญญากาศ
ผู้ประพันธ์ : ปณิธาน พรศิริเสวี และ มณฑลี ศาสนนันทน์
12.10 – 12.25 A11 การลดความสูญเปล่าในกระบวนการผลิตด้วยแนวคิดแบบลีน กรณีศึกษา ธุรกิจเหล็กดัด มุ้งลวด เขต 82 - 88
หนองจอก กรุงเทพมหานคร
ผู้ประพันธ์ : ชิดชนก อินทอง สุธิมา ทาฤทธิ์ และ กชกร รัตนปัญญา
12.25 – 12.40 A12 แนวทางการปรับปรุงแผนผังคลังสินค้า เพื่อลดระยะเวลาในการเคลื่อนย้ายกระจก กรณีศึกษา บริษัท 89 - 95
แปรรูปกระจก จังหวัดฉะเชิงเทรา
ผู้ประพันธ์ : ชิดชนก อินทอง อนันต์ มีชัยภูมิ และ ณัฐธิดา สมัญญา
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

ห้องประชุม B
เวลา รหัส ชื่อเรื่อง หน้า
09.40 – 09.55 B1 การลดเวลาการเปลี่ยนรุ่นการผลิตในกระบวนการผลิตเม็ดพลาสติก 96 - 104
ผู้ประพันธ์ : ทวีชัย หลวงยศ และ ช่อแก้ว จตุรานนท์
09.55 – 10.10 B2 การจัดการคลังสินค้าและการออกแบบคลังสินค้าอัจฉริยะเพื่อการรายงานผลอย่างทันทีโดยใช้ 105 - 113
แชทบอท กรณีศึกษา : ร้านน้ำแข็ง เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร
ผู้ประพันธ์ : สิริรักษ์ ภู่ริยะพันธ์ ต่อศักดิ์ หาญคุณะเศรษฐ์ วรยา บุญชู จิรัชญา สมบัติ และ
ปวริศา พงษ์โสภา
10.10 – 10.25 B3 การจัดสรรทรัพยากรสำหรับสายการผลิตไฟเบอร์ออพติกที่มีหลายผลิตภัณฑ์ 114 - 121
ผู้ประพันธ์ : จุฑามาศ กอผจญ และ บุษบา พฤกษาพันธุ์รัตน์
10.25 – 10.40 B4 การกำหนดจำนวนงานระหว่างกระบวนการที่เหมาะสม เพื่อปรับปรุง ประสิทธิภาพการผลิต 122 - 130
กรณีศึกษาโรงงานประกอบรถยนต์
ผู้ประพันธ์ : อรรถชัย สิริวรามาศ จุฑา พิชิตลำเค็ญ และ วรวุฒิ หวังวัชรกุล
10.40 – 10.55 B5 การปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตทุเรียนอบกรอบ 131 - 138
ผู้ประพันธ์ : ธภัทร วงศ์อาจ ดวงกมล สาหา และ ปาริชาต ชื่นวัฒนกุล
10.55 – 11.10 B6 การลดของเสียในกระบวนการผลิตเสาเข็มสปัน 139 - 145
ผู้ประพันธ์ : อภิชญา แก่นทอง ชญานิษฐ์ ฉัตรธนะพานิช และ ปาริชาต ชื่นวัฒนกุล
11.10 – 11.25 B7 การปรับปรุงประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร กรณีศึกษากระบวนการขัดชิ้นส่วนตลับลูกปืน 146 - 152
ผู้ประพันธ์ : ชัยรัตน์ นัยกุล และ อภิวัฒน์ มุตตามระ
11.25 – 11.40 B8 การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของหุ่นยนต์เชื่อมแขนกลในกระบวนการผลิตชิ้นส่วนรถขุดตัก 153 - 161
ผู้ประพันธ์ : ณัฏฐชัย ถิ่นถาวร และ เชษฐพงษ์ จรรยาอนุรักษ์
11.40 – 11.55 B9 การปรับปรุงกระบวนการด้วยการจัดสมดุลสายการผลิตกรณีศึกษากระบวนการประกอบไฟหน้า 162 - 169
รถจักรยานยนต์
ผู้ประพันธ์ : ฐิติกุล กาจธัญกิจ กนกพร ศรีปฐมสวัสดิ์ ชัชวาล ชินวิกัย และ วันชัย แหลมหลักสกุล
11.55 – 12.10 B10 การจัดเส้นทางการเดินรถเพื่อลดต้นทุนการขนส่ง กรณีศึกษาโรงงานจำหน่ายวัตถุดิบสำหรับ 170 - 175
อุตสาหกรรมโรงหล่อ
ผู้ประพันธ์ : วรยุทธ อุบลจง จันทร์ศิริ สิงห์เถื่อน และ รุ่งรัตน์ ภิสัชเพ็ญ
12.10 – 12.25 B11 การวางแผนการผลิตด้วยตัวแบบโปรแกรมเชิงเส้นจำนวนเต็มสำหรับการผลิตชุดสายไฟในรถยนต์ : 176 - 184
สายการประกอบกรณีศึกษา
ผู้ประพันธ์ : มาริษา กิมาพร ชฎาพร สิงห์กุม และ วุฒินันท์ นุ่นแก้ว
12.25 – 12.40 B12 ศึกษาปัญหาการปรับปรุงพื้นที่คลังสินค้าเพื่อการจัดเก็บสินค้าคงคลัง กรณีศึกษา บริษัทประกอบ 185 - 191
ธุรกิจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์โลหะและอโลหะ
ผู้ประพันธ์ : ชิดชนก อินทอง ฉัตรทิพย์ สำเร็จสิน และ ธัญญรัตน์ รอเซ็น
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

ห้องประชุม C
เวลา รหัส ชื่อเรื่อง หน้า
09.40 – 09.55 C1 การจัดผังคลังสินค้าเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการคลังสินค้า กรณีศึกษาส่วนอุตสาหกรรมไม้วังน้อย 192 - 200
ผู้ประพันธ์ : ธีรศักดิ์ โคทนา รุ่งรัตน์ ภิสัชเพ็ญ และ จันทร์ศิริ สิงห์เถื่อน
09.55 – 10.10 C2 การจัดกลุ่มสายการขนส่งอะไหล่รถยนต์ไปยังร้านค้าและศูนย์บริการรถยนต์ในเขตกรุงเทพฯและ 201 - 211
ปริมณฑล
ผู้ประพันธ์ : ศิวัช ศิริวัฒน์ธนารัตน์ และ อภินันทนา อุดมศักดิกุล
10.10 – 10.25 C3 การกำหนดนโยบายเติมเต็มวัสดุคงคลังอะไหล่ทดแทนร่วมกันตามรอบเวลา กรณีศ ึกษา: ผู้ผลิต 212 – 222
รถยนต์
ผู้ประพันธ์ : กิตติพงษ์ เม้ยชม และ คุณวิสุทธิ์ สุพิทักษ์
10.25 – 10.40 C4 การจัดเส้นทางการขนส่งสินค้า กรณีศึกษา บริษัทจัดจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง 223 - 230
ผู้ประพันธ์ : พงศธร ยอดเพชร และ วรวุฒิ หวังวัชรกุล
10.40 – 10.55 C5 การจัด เส้น ทางที่เ หมาะสมสำหรับรถรับ -ส่งพนักงาน กรณีศ ึกษาบริษ ัทผลิต ชิ้น ส่ว นยานยนต์ 231 - 239
ผู้ประพันธ์ : เรืองยศ ฤกษ์เนาวรัตน์ และ วรวุฒิ หวังวัชรกุล
10.55 – 11.10 C6 การลดปริมาณของเสียในกระบวนการทดสอบการทำงานของชิ้นงาน สำหรับ ชิ้นส่วนของตัวรับส่ง 240 - 249
สัญญาณข้อมูลทางแสง โดยใช้แนวทางของ ซิกซ์ ซิกม่า
ผู้ประพันธ์ : จักรภัทร บุญสู่ และ เสมอจิตร หอมรสสุคนธ์
11.10 – 11.25 C7 การตั้งพารามิเตอร์สำหรับกระบวนการปิดผนึกเพื่อลดของเสีย กรณีศึกษาการปิดผนึกด้วยความร้อน 250 – 257
กับถุงพลาสติก
ผู้ประพันธ์ : กฤษญา ชวดจันทึก และ พัชรี โตแก้ว ทองรัตนะ
11.25 – 11.40 C8 การหาคำตอบที่ดีที่สุดของการมอบหมายงานให้กับเครื่องจักรในกระบวนการแปรสภาพและจ่ายก๊าซ 258 - 267
ธรรมชาติ
ผู้ประพันธ์ : ปภาวิชญ์ ประตาทะยัง และ อภินันทนา อุดมศักดิกุล
11.40 – 11.55 C9 การศึกษาความสูงตัวอักษรของผลิตภัณฑ์ในร้านสะดวกซื้อจากข้อมูลพฤติกรรมการซื้อของกลุ่ ม 268 - 277
ผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล
ผู้ประพันธ์ : ณัฐพล พุฒยางกูร ภาณุพงศ์ ทองประสิทธิ์ ณัฐพร ผ่องแผ้ว และ จุฬ าลักษณ์ จารุ
จุฑารัตน์
11.55 – 12.10 C10 ปัจจัยสู่ความสำเร็จสำหรับธุรกิจวิสาหกิจเริ่มต้นทางด้านเทคโนโลยีด้วยกระบวนการลำดับชั้นเชิง 278 - 285
วิเคราะห์
ผู้ประพันธ์ : ชนกนาฏ เป้าสกุล และ บุษบา พฤกษาพันธุ์รัตน์
12.10 – 12.25 C11 การศึกษาขั้นตอนการทำงานเพื่อลดต้นทุน กรณีศึกษา ไร่มะขาม อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ 286 - 292
ผู้ประพันธ์ : กนกกาญจน์ ขวัญนวล ภัทรวดี สอนจันทร์ ปนัดดา คำเวิน และ ชลธิชา ศิริบูรณ์
12.25 – 12.40 C12 การศึกษาขั้นตอนการทำงานเพื่อลดต้นทุน กรณีศึกษา การปลูกต้นกัญชง อำเภอลับแล จังหวัด 293 - 301
อุตรดิตถ์
ผู้ประพันธ์ : กนกกาญจน์ ขวัญนวล ฐิตารีย์ ขำทับทิม ณรงค์เดช รุ่งนภาศิริ และ ชาลิสา สุขเกิด
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

ห้องประชุม D
เวลา รหัส ชื่อเรื่อง หน้า
09.40 – 09.55 D1 การออกแบบเครื่องประกอบแรงอัดกรอบฝาอุปกรณ์ไฟฟ้า 302 – 307
ผู้ประพันธ์ : ปิยาพัชร เติมชัยกุล ธนพัทย์ แสงทิพย์ ดิษยปรัชญ์ ฉัตรจิรานนท์ และ
พลชัย โชติปรายนกุล
09.55 – 10.10 D2 การสร้างมูลค่าเพิ่มทุนทางพหุวัฒนธรรม เพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานรากและความยั่งยืนของชุมชน 308 - 316
ผู้ประพันธ์ : สุรีรักษ์ วงษ์ทิพย์ และ ชื่นสุมล บุนนาค
10.10 – 10.25 D3 แนวทางของเทคโนโลยีฟาร์มอัจฉริยะ เพื่อรองรับการขับเคลื่อนแผนพัฒนาดิจิทัลสู่ยุคเกษตร 4.0 317 - 326
กรณีศึกษา : สวนผัก Salad Station เขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร
ผู้ประพันธ์ : สิริรักษ์ ภู่ริยะพันธ์ น้ำทิพย์ แสงโพธิ์แก้ว พิชญา ตันติอำไพวงศ์ พิชย์กาญจน์ เจน วาริ
นทร์ จารึก สงวนวงษ์ และ สุภัทศรา สุพร
10.25 – 10.40 D4 ความขัดแย้งในองค์กรที่ส่งผลต่อความไม่พึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่ายผลิต กรณีศึกษา 327 - 336
: บริษัทผลิตอาหารในโรงงาน อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ
ผู้ประพันธ์ : หยาดพิรุณ มินฮายีนุด และ เผด็จ อมรศักดิ์
10.40 – 10.55 D5 พฤติ ก รรมการสื ่ อ สารที ่ ม ี ผ ลต่ อ กระบวนการสื ่ อ สารภายในองค์ ก ร กรณี ศ ึ ก ษา บริ ษ ั ท ผลิ ต 337 - 346
เครื่องใช้ไฟฟ้าและสินค้าอุตสาหกรรม
ผู้ประพันธ์ : ณัฐณิชา ปลื้มกมล และ เผด็จ อมรศักดิ์
10.55 – 11.10 D6 การศึกษาความถูกต้องของขนาดชิ้นงานและความหยาบผิวของพอลิแลคติกแอซิด ผสมเทอร์โม 347 - 355
พลาสติกสตาร์ชจากแป้งข้าวโพด โดยการขึ้นรูปด้วยเครื่องพิมพ์สามมิติ
ผู้ประพันธ์ : พิไลวรรณ ภัสสรศิริกุล ปาณิศา อุชชิน วรารัตน์ กังสัมฤทธิ์ และ จิรวรรณ คล้อยภยันต์
11.10 – 11.25 D7 สมบัติเชิงกลของพอลิแลคติกแอซิดผสมเทอร์โมพลาสติกสตาร์ชจากแป้งมันสำปะหลังที่ขึ้นรูปด้วย 356 – 362
เครื่องพิมพ์สามมิติ
ผู้ประพันธ์ : กีรณา ฮานาฟี สมศิริ พลโคกก่อง จิรวรรณ คล้อยภยันต์ และ วรารัตน์ กังสัมฤทธิ์
11.25 – 11.40 D8 การลดรอบเวลาการผลิตในกระบวนการประกอบชิ้นงานกรณีศึกษา : อุตสาหกรรมประกอบรถยนต์ 363 – 371
ผู้ประพันธ์ : ชีวา ชูวัง กิตติบดี แสงสนิท และ จิรรัตน์ ธีระวราพฤกษ์
11.40 – 11.55 D9 การปรับปรุงแผนบำรุงรักษาอุปกรณ์ ในงานวิศวกรรมประกอบอาคาร โครงการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ 372 – 377
ผู้ประพันธ์ : เพ็ญจันทร์ สุขตลอด และ วรวุฒิ หวังวัชรกุล
11.55 – 12.10 D10 ผลกระทบจากตัว แปรของกระบวนการเชื่อมเสียดทานจุดชนิดไม่มีพินต่อความแข็งแรงของรอย 378 – 386
เชื่อมต่อเกยของอะลูมิเนียม A5052-H32 และ A6061-T6
ผู้ประพันธ์ : อภิเดช เกิดถิ่น บวรโชค ผู้พัฒน์ และ สมพร เพียรสุขมณี
12.10 – 12.25 D11 แบบจำลองทางคณิตศาสตร์สำหรับปัญหาการจัดตารางสอบ ที่มีการจัดสมดุลภาระงานของผู้คุมสอบ 387 - 395
ผู้ประพันธ์ : อัจฉราพร ไวยสัจจา และ ช่อแก้ว จตุรานนท์
12.25 – 12.40 D12 แนวทางการลดสภาพอันตรายและการป้องกันอุบัติเหตุในอู่ซ่อมรถยนต์ กรณีศึกษา : อู่ซ่อมรถยนต์ 396 - 404
เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร
ผู้ประพันธ์ : สิริรักษ์ ภู่ริยะพันธ์ ธีรธัช สวัสดิวิชัย โสฬส คำสิงห์ และ วรเชฏฐ์ บัวบาน
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

ห้องประชุม E
เวลา รหัส ชื่อเรื่อง หน้า
09.40 – 09.55 E1 การพยากรณ์การใช้พลังงานด้วยแบบจำลองการเรียนรู้ของเครื่องและการวิเคราะห์ประสิทธิภาพ 405 – 413
ของเครื่องฉีดพลาสติก
ผู้ประพันธ์ : ชนสรณ์ ทับทิมทอง จักรพันธ์ อร่ามพงษ์พันธ์ และ กฤษ วงษ์เกษม
09.55 – 10.10 E2 การพัฒนาแชทบอทในแอพพลิ เคชั่ น Line Official Account เพื่อให้ข้อมูล ทางเทคนิ ค ของ 414 – 424
คอมเพรสเซอร์
ผู้ประพันธ์ : ภูชิชช์ คุ้มแว่น ชัชวาล ชินวิกัย วันชัย แหลมหลักสกุล และ ธราธร พชรฐิติกุล
10.10 – 10.25 E3 การพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อลดเวลาการจัดทำรายงานกำลังการผลิตของเครื่องทดสอบ 425 – 442
วงจรไฟฟ้า กรณีศึกษา โรงงานผลิตและประกอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์
ผู้ประพันธ์ : ไพรัตน์ จำปาโพธิ์ และ วรพจน์ มีถม
10.25 – 10.40 E4 การสร้างหลุมกักเก็บน้ำมันขนาดเล็กบนพื้นผิวเหล็กกล้าความเร็วรอบสูง เคลือบไทเทเนียมไน 443 – 450
ไตรด์ด้วยเลเซอร์
ผู้ประพันธ์ : ดุสนีย์ พลอนันต์ วิทยา ดาวดอน และ วิบุญ แซ่ตั้ง
10.40 – 10.55 E5 การปรับปรุงสถานีงานในกระบวนการประกอบเครื่องซักสลัดผ้าอุตสาหกรรม 451 – 460
ผู้ประพันธ์ : วัฒนา ทองคำ และ อุษณีษ์ คำพูล
10.55 – 11.10 E6 การพัฒนาคอนกรีตคอมโพสิตผสมเพอร์ไลท์ 461 – 468
ผู้ประพันธ์ : เอกรินทร์ กะสายแก้ว ปริชญา โชติรัตน์ อัญชลีพร สินธุสุข พชรพล ตัณฑวิรุฬห์ และ
เมตยา กิติวรรณ
11.10 – 11.25 E7 การออกแบบเทคโนโลยีระบบสารสนเทศสำหรับติดตามอาการผู้ป่วยในห้องวิกฤต กรณีศึกษา 469 – 476
โรงพยาบาลเอกชน
ผู้ประพันธ์ : ศุภลักษณ์ เกาะใต้ ธราธร พชรฐิติกุล และ ชัชวาล ชินวิกัย
11.25 – 11.40 E8 การศึกษาการออกแบบวัสดุเสริมแรงของซังข้าวโพดร่วมกับท่อนาโนคาร์บอน 477 – 485
ผู้ประพันธ์ : ธวัชชัย ตั้งสุขสันต์ นิจ ชลบุญญาเดช และ ยลพัชร์ อารีรบ
11.40 – 11.55 E9 การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชิ้นงานเหล็กหล่อเทาจากแบบหล่อทรายชื้น 486 – 494
ผู้ประพันธ์ : ชวินทร์ อินทะนา ศุภฤกษ์ บุญเทียร และ ก้องเกียรติ ปุภรัตนพงษ์
11.55 – 12.10 E10 การพัฒนาโลหะอลูมิเนียมผสมเหล็กด้วยกระบวนการ อัลตราโซนิค 495 – 502
ผู้ประพันธ์ : พิชญาภา เลิศฤทธิ์ ภูรีจันทร์ วิวัฒน์ หัทยา วัฒนาน้อย และ สุวารี ชาญกิจมั่นคง
12.10 – 12.25 E11 การประยุกต์ใช้แบบจำลองอ้างอิงการดำเนินงานโซ่อุปทานเพื่อการวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานใน 503 – 512
กิจกรรมหลักด้านโลจิสติกส์ขาเข้า กรณีศึกษา อุตสาหกรรมขนมขบเคี้ยว
ผู้ประพันธ์ : ทิพย์สุดา ไตรยราช เก็จมณี ครุฑศรี และ สุนิตา วงษ์ศา
12.25 – 12.40 E12 ศึกษาต้นทุนการขนส่งสินค้า เพื่อเพิ่มประสิทธิภ าพการทำงานในธุรกิจผู้ให้บริการโลจิส ติ กส์ 513 - 520
ผู้ประพันธ์ : ทิพย์สุดา ไตรยราช ฮัซนีซา กาหม๊ะ จัสมิน นิกาจิ๊ และ ณัฐชา แก้วขุนทอง
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

การจัดการความรู้เพื่อปรับปรุงความถูกต้องในการเลือกผลิตภัณฑ์ให้กับลูกค้า
กรณีศึกษาองค์กรผูจ้ ัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
Knowledge Management to Improve the Accuracy of Products Selection for the
Customers: A Case Study of the Supplements Distributor

พรพัฒน์ ถาบัว1* และ ดนุพนั ธ์ วิสุวรรณ2*


1,2
ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ปทุมธานี 12120
E-mail: pornpat.tha@dome.tu.ac.th1*, vdanupun@engr.tu.ac.th2*

บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นการนำการจัดการความรู้มาประยุกต์ใช้ในการเพิ่มความสามารถความในการเลือกผลิตภัณฑ์ให้กับลูกค้า ให้
ถูกต้อง กรณีศึกษาองค์กรผู้จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ซึ่งพบว่าองค์กรยังไม่มีการจัดการความรู้ที่เป็นระบบ และไม่มกี าร
แบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ ผู้วิจัยจึงได้ออกแบบ ปรับปรุงการจัดการความรู้ผ่านเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมทั้งนำเสนอให้มีการจัด
เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ผลจากการปรับปรุงการจัดการความรู้มาประยุกต์ใช้ในองค์กร พบว่า ผู้เลือกผลิตภัณฑ์ให้กับลูกค้าสามารถ
เลือกผลิตภัณฑ์ถูกต้องเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ และระดับความพึงพอใจของผู้เลือกผลิตภัณฑ์ให้กับลูกค้าเพิ่มขึ้น เป็น ร้อยละ 80
ขึ้นไป ทุกกลุ่มผลิตภัณฑ์

คำสำคัญ : การจัดการความรู้ กระบวนการจัดการความรู้ เครื่องมือการจัดการความรู้

Abstract
This research applies the knowledge management to improve the accuracy of product selection for
the customers. In the process of product selection for the customers, it was found that the organization did
not have a systematic knowledge management, and the knowledge sharing was ineffective. This study Improved
knowledge management system. The information technology, and a forum to share the knowledge were also
implemented. The results after improving show that the accuracy of the product selection for the customers
increases and The satisfaction level of the users after the improvement is more than 80% for all products.

Keywords : knowledge management, knowledge management process, knowledge management tools


1
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

1. บทนำ คะแนนค่าเฉลี่ยต่ำกว่า ร้อยละ 90 จึงทำการปรับปรุงเพิ่มเติม


งานวิจ ัยนี ้ไ ด้ศ ึกษาองค์กรจั ดจำหน่ ายผลิ ตภั ณ ฑ์ เ สริ ม เนื้อหาการเลือกผลิตภัณฑ์ให้กับลูกค้าต่อไป
อาหาร ซึ่งประกอบไปด้ายผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร 3 กลุ่ม คือ เนื่องจากองค์กรยังไม่มีการจัดการความรู้ที่เป็นระบบผ่าน
กลุ่มผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อการชะลอวัย กลุ่มผลิตภัณฑ์ เทคโนโลยี ส ารสนเทศ และยั ง ไม่ มี การแลกเปลี่ ย นความรู้
เสริมอาหารเพื่อควบคุมน้ำหนัก และกลุ่มผลิตภัณฑ์เ สริ ม ระหว่างบุคลากร ผู้วิจ ัยจึงได้ สัมภาษณ์ความพึงพอใจของผู้
อาหารเพื่อความงาม โดยฝ่ายขายมีห น้ าที ่ต ้องเลือ ก และ เลือกผลิตภัณฑ์ให้กับลูกค้า โดยองค์กรกำหนดให้ต้องมีคะแนน
พิจารณาผลิตภัณฑ์ให้ลูกค้าให้ตรงกับความต้องการของลูกค้า ค่าเฉลี่ย ร้อยละ 80 ขึ้นไป
เพื่อลูกค้าจะได้ร ับประโยชน์ส ูงสุดจากการใช้ผลิตภัณฑ์ แต่ ตารางที่ 2 ค่าดัช นีค วามพึง พอใจ (ร้อยละ) ก่อนปรับปรุง
เนื่องด้วยผลิตภัณฑ์มคี วามหลากหลาย มีคุณสมบัติแตกต่างกัน กระบวนการจัดการเรียนรู้
ทำให้ ก ารแนะนำผลิ ต ภั ณ ฑ์ ใ ห้ ล ู ก ค้ า ของฝ่ า ยขายนั้ น
กระบวนการ ผลิตภัณฑ์เสริม ผลิตภัณฑ์เสริม ผลิตภัณฑ์
จำเป็นต้องอาศัยประสบการณ์และความชำนาญเฉพาะบุคคล
จัดการความรู้ อาหารเพื่อ อาหาร เสริมอาหาร
ประกอบกับทางองค์กรได้ร ั บพนักงานฝ่า ยขายเข้า มาเป็ น การชะลอวัย ควบคุมน้ำหนัก เพื่อ
จำนวนมาก ซึ่งยังไม่มีประสบการณ์การทำงานเท่าที่ควร จึง ความงาม
1. การระบุประเด็น 69.60 66.20 64.60
ส่ง ผลให้องค์กรสูญเสียโอกาสในการแนะนำผลิตภัณฑ์ หรือ ความรู้
แนะนำผลิตภัณฑ์ได้ไม่ตอบสนองความต้องการของลูกค้า 2. การแสวงหาและ 65.80 69.60 68.40
ผู้วิจัยได้ทำการทดสอบความถูกต้องในการเลือกผลิตภัณฑ์ การสร้างความรู้
3. ประมวลและ 52.60 46.60 56.40
ให้ ก ั บ ลู ก ค้า กับ ผู้ เ ลื อกผลิ ต ภั ณฑ์ ให้ก ับ ลู กค้ า โดยองค์กร กลั่นกรองความรู้
กำหนดให้ต้องมีคะแนนค่าเฉลี่ย ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 90 4. การจัดการความรู้ 35.40 37.60 44.00
ให้เป็นระบบผ่านระบ
ตารางที่ 1 สรุปผลค่าเฉลี่ยคะแนนการทดสอบความถูกต้องใน สารสนเทศ
การเลือกผลิตภัณฑ์ให้กับลูกค้าทั้ง 3 กลุ่มผลิตภัณฑ์ 5. การเข้าถึงความรู้ 51.60 65.40 65.60
6. การแลกเปลี่ยน 31.40 24.00 56.60
ค่าเฉลี่ยของผล ร้อยละค่าเฉลี่ยของผล และแบ่งปันความรู้
กลุ่มผลิตภัณฑ์ คะแนน คะแนน 7. การเรียนรู้ 82.40 73.80 62.60
(15 คะแนน)
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร 7.31 คะแนน 48.73 จากตารางที่ 2 พบว่าดัชนีความพึงพอใจ ก่อนการปรับปรุง
เพื่อการชะลอวัย
กระบวนการจัดการความรู้ ในกระบวนการจัดการความรู้ให้
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร 8.22 คะแนน 54.80 เป็นระบบผ่านระบบสารสนเทศ และการแลกเปลี่ ย นและ
เพื่อควบคุมน้ำหนัก
แบ่งปันความรู้ มีค่าดัชนีค วามพึงพอใจ (ร้อยละ) ทั้ง 3 กลุ่ม
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร 10.16 คะแนน 67.73
ผลิตภัณฑ์น้อยที่สุด และ ไม่ถึงมาตรฐานองค์กรคือ ร้อยละ 80
เพื่อความงาม
งานวิจัยนี้จึงนำหลักการการจัดการความรู้ มาช่วยปรับปรุง
กระบวนการจัดการความรู้ ความถูกต้องในการเลือกผลิตภัณฑ์
จากตารางที่ 1 ค่าเฉลี่ยคะแนนการทดสอบความถูกต้องใน ให้กับลูกค้า และความพึง พอใจของผู้เลือกผลิตภัณฑ์ให้กับ
การเลือกผลิตภัณฑ์ให้กับลูกค้า พบว่า ทั้ง 3 กลุ่มผลิตภัณฑ์มี ลูกค้า ทั้ง 3 กลุ่มผลิตภัณฑ์ต่อไป

2
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

2. วรรณกรรมปริทัศน์ 3.1 ตัวชี้วัดในการประยุกต์การจัดการความรู้ในองค์กร


ความรู้ เป็นการใช้ข้อมูลนำมาขัดเกลา เลือกใช้ ประยุกด์ กำหนดตัวชี้วัดในการประยุกต์ใช้การจัดการความรู้ความ
ให้เกิดเป็นความรู้ใหม่ เกิดประสบการณ์ เป็นความรู้ที่อยู่ในตัว ถูกต้องในการเลือกผลิตภัณฑ์ให้กับลูกค้า ทั้งหมด 2 ตัวชี้วัด
บุ ค คลนั ้น ซึ ่ ง เป็น ความรู ้ท ี ่ไ ม่ ช ัด แจ้ ง หากนำความรู ้น ี้มา ได้แก่
ถ่ายทอดเป็นลายลักษณ์อักษร จะกลายเป็นความรู้ที่ชัดแจ้ง 1. ความถูกต้องในการเลือกผลิตภัณฑ์ให้กับลูกค้า
[1] โดยทำการทดสอบผู้ที่เลือกผลิตภัณฑ์ให้กับลูกค้า ก่อนและ
การจัดการความรู้ เป็นกิจกรรมที่มีความเกี่ยวข้องกับการ หลังการจัดการความรู้ ผ่านการทำแบบทดสอบความถูกต้องใน
สร้างความรู้ การจัดเก็บ การถ่ายทอดความรู้ การกำหนดเป้า การเลือกผลิตภัณฑ์ให้ลูกค้า โดยต้องมีค่าเฉลี่ยของผลคะแนน
หมายความต้องการในการแก้ไขปรับปรุงการจัดการความรู้ให้ดี ไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 90
เพื่อบรรลุความต้องการได้ [1] 2. ความพึงพอใจของผู้เลือกผลิตภัณฑ์ให้กับลูกค้า
2.1 เครื่องมือในการจัดการความรู้ โดยทำการสัมภาษณ์ความพึงพอใจ ก่อนและหลังการจัดการ
เครื ่ อ งมื อ ในการจั ด การความรู ้ ม ี ห ลากหลายประเภท ความรู้ โดยต้องมีค่าดัชนีวัดผลความพึงพอใจ ร้อยละ 80 ขึ้น
สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ ๆ คือ ไป
1. เครื่องมือในการ “เข้าถึง” ความรู้ เหมาะสำหรับความรู้ 3.2 ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้
ที่เป็นความรู้ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge) ได้แก่ เอกสาร ผู้เลือกผลิตภัณฑ์ให้กับลูกค้ามีทั้งหมด 32 คน ซึ่งทั้งหมดมี
งานวิจัย หรือเก็บข้อมูลไว้ในระบบของฐานข้อมูล ผ่านระบบ ลั ก ษณะการใช้ ค วามรู ้ ในแบบเดีย วกั น กลุ ่ ม ตั ว อย่ างกลุ่ม
เทคโนโลยี ส ารสนเทศ ซึ ่ ง สามารถทำให้ เ ข้ า ถึ ง ข้ อ มู ล ได้ เดี ย วกั น ดั ง นั ้ น ประชากรกลุ ่ ม ตั ว อย่ า งที ่ ใ ช้ คื อ ผู ้ เ ลื อ ก
ตลอดเวลาผ่านระบบอินเตอร์เน็ต อินทราเน็ต หรือระบบอื่น ๆ ผลิตภัณฑ์ให้กับลูกค้าทั้งหมด จำนวน 32 คน คิดเป็น 100 %
โดยความรู ้ น ั ้ น เป็ น ประสบการณ์ ข้ อ เสนอแนะ หรื อ เป็ น จากประชากรกลุ่มตัวอย่างที่ใช้
บทเรียนได้ 3.3 การวัดผลก่อนการดำเนินการ
2. เครื่องมือในการ “ถ่ายทอด” ความรู้ เหมาะสำหรับ 3.3.1 ความถูกต้องในการเลือกผลิตภัณฑ์ที่ให้กับลูกค้า
ความรู ้ ท ี ่ เ ป็ น ความรู ้ โ ดยนั ย (Tacit Knowledge) ซึ ่ ง เป็ น ผู ้ ว ิ จ ั ย จั ด ทำแบบทดสอบความถู ก ต้ อ งในการเลื อ ก
ความรู ้ ท ี ่ ม าจากประสบการณ์ ต รงของบุ ค คล ซึ ่ ง เน้ น การ ผลิตภัณฑ์ให้กับลูกค้า โดยแบบทดสอบมีทั้งหมด 3 ชุด แบ่ง
ปฏิสัมพันธ์กับบุคคลเป็นหลัก [2] ตามกลุ่มผลิตภัณฑ์ กลุ่มผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อการชะลอ
วั ย กลุ ่ ม ผลิ ต ภั ณ ฑ์เ สริ มอาหารเพื่ อ ควบคุ ม น้ ำ หนั ก กลุ่ ม
3. วิธีการวิจัย ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อความงาม เพื่อทำการทดสอบผู้เลือก
ผลิตภัณฑ์ให้กับลูกค้า พิจ ารณาความสามารถในการเลือก
จ า ก ก า ร ศ ึ กษ า ท ฤ ษ ฎ ี กา ร จ ั ด ก าร ค ว า ม ร ู ้ แ ล ะ
ผลิตภัณฑ์ให้กับลูกค้า โดยในแต่ละชุดข้อสอบ จะแบ่งออกเป็น
สภาพแวดล้อมองค์กร งานวิจัยนี้ได้ ใช้แบบทดสอบเรื่องการ
3 ตอน คือ คุณสมบัติผลิตภัณฑ์ ส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์
เลือกผลิตภัณฑ์ให้กับลูกค้า และสัมภาษณ์ความพึงพอใจต่อ
ปัญหาสุขภาพของลูกค้า
การจัดการความรู้ขององค์กร ข้อมูลที่ได้นำมาวิเคราะห์ เพื่อ
3.3.2 ระดับความพึง พอใจของผู้ เลือ กผลิตภัณ ฑ์ใ ห้ กั บ
ปรับปรุงกระบวนการจัดการความรู้ต่อไป
ลูกค้าในการจัดการความรู้ขององค์กร

3
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

ผู้วิจ ัยทำการสัมภาษณ์ร ะดับความพึง พอใจของผู้เลือก 7. เรื่องการเรียนรู้ องค์กรผลักดันให้บุคลากรเรียนรู้อย่าง


ผลิตภัณฑ์ให้กับลูกค้า ในการจัดการความรู้ขององค์กร ทั้ง 3 ต่อเนื่อง สม่ำเสมอ เพื่อให้สามารถเลือกผลิตภัณฑ์ให้ลูกค้าได้
กลุ ่ ม ผลิ ต ภั ณ ฑ์ โดยแบ่ ง ระดั บ ของความพึ ง พอใจของ แต่ไม่ได้มีการจัดการความรู้ขององค์กรที่ดีพอ
กระบวนการมากที่ส ุด (5) มาก (4) ปานกลาง (3) น้อย (2) 3.4 การออกแบบระบบสารสนเทศ Intranet/ Webpage
น้อยที่สุด (1) นำคะแนนทั้งหมดมาหาค่าดัชนีค วามพึง พอใจ งานวิจัยได้ออกแบบระบบสารสนเทศ ระบบ Intranet /
(ร้อยละ) ดังแสดงในตารางที่ 1 Webpage องค์กรให้ความสำคัญกับการเข้าถึงข้อมูลความรู้ที่
จากผลการสั ม ภาษณ์ ร ะดั บ ความพึ ง พอใจผู ้ ท ี ่ เ ลื อ ก ง่าย สะดวก ในการนำไปใช้เลือกผลิตภัณฑ์ให้กับลูกค้าโดยจัด
ผลิตภัณฑ์ให้กับลูกค้า ทั้งสองกลุ่มผลิตภัณฑ์ พบว่าประเด็น ตามหมวดหมู่ผลิตภัณฑ์ โดยมีขั้นตอนดังนี้
ความรู้ที่จะต้องนำมาพัฒนา มีดังนี้
1. เรื ่ อ งการระบุ ป ระเด็ น ความรู ้ องค์ ก รไม่ ม ี ก ารจั ด
หมวดหมู่ของความรู้ที่จ ำเป็นต้องใช้ในการเลือกผลิตภัณฑ์
ให้กับลูกค้า อย่างชัดเจน
2. เรื ่ อ งการแสวงหาและสร้ า งความรู ้ องค์ ก รไม่ มีการ
ประมวลความรู้อย่างต่อเนื่อง ความรู้ที่มีจึงไม่มีความทันสมัย
3. เรื่องการประมวลและกลั่นกรองความรู้ เนื่องจากองค์กร
มีการพัฒนาข้อมูลเนื้อหาในการเลือกผลิตภัณฑ์ให้ค วามลูกค้า
แต่ไม่ต่อเนื่อง และเนื้อหาไม่ครบถ้วน รูปที่ 1 แผนภาพขั้นตอนการทำระบบ Intranet / Webpage
4. เรื่องจัดความรู้ให้เป็นระบบโดยการสร้างฐานความรู้
ผ่ า นระบบสารสนเทศ เนื ่ อ งจากองค์ กรมี ข ้ อ มู ล การเลือก ขั้นตอนการสร้างระบบสารสนเทศ มีดังนี้
ผลิตภัณฑ์ให้กับลูกค้า ไม่เป็นระบบ และไม่ได้มีการเพิ่มเติม 1. กำหนดความต้องการด้านซอฟต์แวร์ ทีมผู้เชี่ยวชาญใน
ข้อมูลในฐานความรู้อย่างต่อเนื่อง ระบบเข้าถึงยาก ไม่สะดวก การแนะนำผลิตภัณฑ์ได้ ร วบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล จาก
ต่อการใช้งาน การทำแบบทดสอบของผู้เลือกผลิตภัณฑ์ เพื่อระบุประเด็น
5. เรื่องการเข้าถึงความรู้ องค์กรมีระบบการจัดการความรู้ ความรู้และออกแบบระบบโดยฝ่าย IT เช่น เอกสารแหล่งข้อมูล
แต่ไม่ได้มีการแจ้งเป็นประกาศให้ชัดเจน ให้ผู้เลือกผลิตภัณฑ์ (Source Documents) ผังงานโครงสร้าง รูปแบบการแสดงผล
ให้กับลูกค้าทราบ เป็นต้น ให้เหมาะสมและง่ายต่อการใช้งาน
6. เรื ่ อ งการแลกเปลี ่ย นและแบ่ ง ปั น ความรู ้ เนื ่ อ งจาก 2. การทดสอบระบบ ฝ่าย IT ทำการตรวจสอบการทำงาน
องค์กรไม่ได้มีการแลกเปลี่ยนแบ่งปันความรู้ ประสบการณ์จาก ของระบบ ตรวจสอบความถูกต้อง ว่าสามารถใช้งานจริงได้
ผู้เชี่ยวชาญเลย มีเพียงการซักถามรายบุคคลเท่านั้น และไม่ หรือไม่
เคยมีเวที ถาม-ตอบ เกี่ยวกับประสบการณ์การเลือกผลิตภัณฑ์ 3. การทดสอบการใช้งานจริง โดยทีมผู้ เชี่ยวชาญในการ
ให้ ก ั บ ลู กค้ า ทำให้ ผ ู ้ ท ี ่ไ ม่ม ีป ระสบการณ์ ไม่ ส ามารถเลือก แนะนำผลิตภัณฑ์ ในส่ว นของข้อมูล ข้อ มูล มีค วามครบถ้ ว น
ผลิตภัณฑ์ให้กับลูกค้าได้อย่างมั่นใจ สมบู ร ณ์ ถู ก ต้ อ งหรื อ ไม่ และที ม ผู ้ เ ชี ่ ย วชาญในการเลือก
ผลิตภัณฑ์ให้กับลูกค้า ตรวจสอบการใช้งานจริงว่า ง่ายต่อการ
เรียนรู้ สอดคล้องกับการจัดการความรู้ เหมาะสมที่จะนำไปใช้
4
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

และทำการอนุมัติการใช้งานต่อไป โดยมี Admin ผู้ดูแลระบบ


เป็นผู้ดูแล
4. ผู้ใช้งานสามารถ Login โดยใช้ User และ Password
สามารถสื บ ค้ น ข้ อ มู ล ตามที ่ ต ้ อ งการ ซึ ่ ง ผู ้ ใ ช้ ง านสามารถ
Download ข้อมูล และสามารถ Comment ถามข้อสงสัยได้
โดยจะมีผู้เชี่ยวชาญการแนะนำผลิตภัณฑ์เป็นผู้ตอบข้อสงสัย รูปที่ 3 ภาพการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันผ่าน
ในระบบ Intranet สามารถแบ่งโครงสร้างการใช้งาน ดังนี้ โปรแกรม Zoom Meeting
1. ชุดหัวข้อความรู้ 2.ฟังก์ชันการแก้ไขเอกสาร/เพิ่มเติม 3.
ฟังชันการค้นหาข้อมูล 4.ฟังก์ชันการอภิปราย ถาม - ตอบ
4. ผลการดำเนินการวิจัย
หลังจากมีการดำเนินการปรับปรุงจัดการความรู้ โดยการ
ประยุกต์ใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการใช้เวทีประชุม
แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เป็นระยะเวลา 3 เดือน ตั้งแต่เดือนธันวาคม
2564 ถึง เดือนกุมภาพันธ์ 2565 ซึ่งผู้วิจัยได้ทำการวัดผลหลัง
ดำเนินการปรับปรุงการจัดการความรู้ ตามตัวชี้วัด
4.1 ความถูกต้องในการเลือกผลิตภัณฑ์ที่ให้กับลูกค้า
ผู้วิจัยได้ทำการทดสอบความถูกต้องในการเลือกผลิตภัณฑ์
รูปที่ 2 จำนวนผู้เข้าใช้งานระบบ Intranet ให้กับลูกค้า โดยแบบทดสอบมีทั้ง หมด 3 ชุด แบ่ง ตามกลุ่ม
ผลิตภัณฑ์ ซึ่งผลการทดสอบหลังการดำเนินการปรับปรุงการ
ทั้ง นี้ร ะบบได้ม ีก ารนั บจำนวนผู ้ใช้ง าน โดยผ่านระบบ
จัดการความรู้ เมื่อเปรียบเทียบกับการการทดสอบก่อนการ
Visitor Counter ซึ่ง เก็บข้อมูล หลังจากทำการปรับปรุงการ
ดำเนินการปรับปรุงจัดการความรู้ ดังนี้
จัดการเรียนรู้ พบว่ามีผู้เข้าใช้งานจริงสูงขึ้นในทุกเดือน
ตารางที่ 3 ค่าเฉลี่ยผลคะแนนการทดสอบ ความถูกต้องในการ
3.5 การใช้เวทีสำหรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
เลือกผลิตภัณฑ์ให้กับลูกค้า ก่อน – หลัง การดำเนินการ
องค์ ก รจั ด ให้ ม ี ก ารประชุ ม แลกเปลี ่ ย นเรี ย นรู ้ ข้ อ มู ล
ผลิตภัณฑ์ ข้อมูลการเลือกผลิตภัณฑ์ให้กับลูกค้า โดยจัดให้มี กิจกรรมการ ค่าเฉลี่ยของผล ร้อยละค่าเฉลี่ย
การอบรมความรู้ และเวทีถาม-ตอบ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เดือน จัดการ กลุ่มผลิตภัณฑ์ คะแนน ของผลคะแนน
ความรู้ (15 คะแนน)
ละ 2 ครั้ง ผ่านระบบออนไลน์ โดยจะเชิญผู้เชี่ยวชาญจาก ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร 7.31 คะแนน 48.73
ภายนอกมาให้ ค วามรู ้ และบุ ค ลากรทุ ก คนจะมี โ อกาสได้ เพื่อการชะลอวัย
ก่อนการ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร 8.22 คะแนน 54.80
แบ่งปันประสบการณ์ของตนเอง หลังจากได้นำข้อมูลในระบบ ดำเนินการ เพื่อควบคุมน้ำหนัก
Intranet / Webpage ที่จัดทำขึ้นไปใช้ในการปฏิบัติงานจริง ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร 10.16 คะแนน 67.73
เพื่อความงาม
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร 11.72 คะแนน 78.13
เพื่อการชะลอวัย
หลังการ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร 12.53 คะแนน 83.53
ดำเนินการ เพื่อควบคุมน้ำหนัก
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร 12.69 คะแนน 84.60
เพื่อความงาม

5
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

จากตารางที่ 3 พบว่า ทั้ง 3 กลุ่มผลิตภัณฑ์ ร้อยละค่าเฉลี่ย ดัชนีวัดผล ดัชนีวัดผล


กระบวนการ ความพึงพอใจ ความพึงพอใจ
ของผลคะแนนการเลือกผลิตภัณฑ์ให้กับลูกค้าเพิ่มขึ้น แต่ยังไม่ จัดการความรู้ ก่อนดำเนินกิจกรรม หลังดำเนินกิจกรรม
(ร้อยละ) (ร้อยละ)
ถึงร้อยละ 90 ตามตัวชี้วัดที่กำหนดไว้ เนื่องจากระยะเวลาใน 1. การระบุประเด็น 69.60 85.63
การเก็บข้อมูลมีระยะเวลาที่จำกัด ซึ่งผู้วิจัยเห็นว่าการเลื อก ความรู้
2. การแสวงหาและสร้าง 65.80 83.75
ผลิตภัณฑ์ให้กับลูกค้าจำเป็น ต้ องอาศัย ประสบการณ์ แ ละ ความรู้
ระยะเวลา ทางผู้วิจัยจะนำข้อมูลนี้นำไปต่อยอด ปรับปรุงการ 3. ประมวลและ 52.60 81.88
กลั่นกรองความรู้
การจัดการความรู้ให้ดียิ่งขึ้นต่อไป 4. จัดความรู้ให้เป็นระบบ 35.40 81.88
เมื่อนำข้อมูลที่ได้จากตารางที่ 3 นำมาวิเคราะห์ทางสถิติ โดยการสร้างฐานความรู้
ผ่านระบบสารสนเทศ
Paired T-Test โดยกำหนดให้ 𝜇1 แทนจำนวน ร้อยละค่าเฉลี่ย 5. การเข้าถึงความรู้ 51.60 86.25
ของผลคะแนนก่อนการปรับปรุง และ 𝜇 2 แทนจำนวน ร้อยละ 6. การแลกเปลี่ยนและ 31.40 80.00
แบ่งปันความรู้
ค่าเฉลี่ยของผลคะแนนหลังการปรับปรุง 7. การเรียนรู้ 82.40 82.50
ทดสอบสมมติฐาน H0 คือ จำนวนร้อยละค่าเฉลี่ยของผล
คะแนนก่อนและหลังปรับปรุงมีค่าเท่ากัน : 𝜇1 = 𝜇2 ตารางที่ 5 เปรียบเทียบค่าดัชนีวัดผลความพึงพอใจ ผลิตภัณฑ์
ทดสอบสมมติฐานรอง H1 คือ จำนวนร้อยละค่าเฉลี่ยของ เสริมอาหารเพื่อการควบคุมน้ำหนัก
ผลคะแนนก่อนการปรับปรุง มีค่าน้อยกว่าหลังการปรับปรุง
ดัชนีวัดผล ดัชนีวัดผล
: 𝜇1 < 𝜇2 กระบวนการ ความพึงพอใจ ความพึงพอใจ
ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ค่า P-Value = 0.013 ซึ่ง จัดการความรู้ ก่อนดำเนินกิจกรรม หลังดำเนินกิจกรรม
(ร้อยละ) (ร้อยละ)
มีค่าน้อยกว่าค่า 𝛼 ( กำหนดค่า 𝛼 มีค่าระดับนัยสำคั ญ กับ
1. การระบุประเด็นความรู้ 66.20 84.38
0.05 ) จึงปฏิเสธสมมติฐาน H0 สรุปได้ว่า ร้อยละค่าเฉลี่ยของ
ผลคะแนนก่อนการปรับปรุงมีค่าน้อยกว่าร้อยละค่าเฉลี่ยของ 2. การแสวงหาและสร้าง 69.60 90.00
ความรู้
ผลคะแนนหลังการปรับปรุงอย่างมีนัยสำคัญ 3. ประมวลและกลั่นกรอง 46.60 87.50
4.2 ระดับความพึงพอใจของผู้เลือกผลิตภัณฑ์ให้กับลูกค้า ความรู้

ผู้วิจ ัยทำการสัมภาษณ์ร ะดับความพึง พอใจของผู้เลือก 4. จัดความรู้ให้เป็นระบบ 37.60 85.00


โดยการสร้างฐานความรู้
ผลิตภัณฑ์ให้กับลูกค้า หลัง จากมีการปรับ ปรุง การจัด การ ผ่านระบบสารสนเทศ
ความรู้ขององค์กร ดังนี้ 5. การเข้าถึงความรู้ 65.40 83.13
6. การแลกเปลี่ยนและ 24.00 86.88
ตารางที่ 4 เปรียบเทียบค่าดัชนีวัดผลความพึงพอใจ ผลิตภัณฑ์ แบ่งปันความรู้
เสริมอาหารเพื่อการชะลอวัย 7. การเรียนรู้ 73.80 85.63

6
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

ตารางที่ 6 เปรียบเทียบค่าดัชนีวัดผลความพึงพอใจ กลุ่มผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อการควบคุมน้ำหนัก มีค่า


ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อความงาม P-Value = 0.002
ดัชนีวัดผล ดัชนีวัดผล กลุ่มผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อความงาม มีค่า P-Value
กระบวนการ ความพึงพอใจ ความพึงพอใจ
จัดการความรู้ ก่อนดำเนินกิจกรรม หลังดำเนินกิจกรรม = 0.000
(ร้อยละ) (ร้อยละ) ค่า P-Value ของทั้ง 3 กลุ่มผลิตภัณฑ์ มีค่าน้อยกว่าค่า 𝛼
1. การระบุประเด็น 64.60 86.25
( กำหนดค่ า 𝛼 มี ค ่ า ระดั บนัย สำคั ญกับ 0.05 ) จึ ง ปฏิเสธ
ความรู้
2. การแสวงหาและ 68.40 85.63 สมมติฐาน H0
สร้างความรู้ สรุปได้ว่า ร้อยละค่า ดัช นี วั ดผลความพึง พอใจก่ อ นการ
3. ประมวลและ 56.40 89.38 ปรับปรุงมีค่าน้อยกว่า ร้อยละค่าดัชนีวัดผลหลังการปรับปรุง
กลั่นกรองความรู้
4. จัดความรู้ให้เป็น 44.00 88.13
อย่างมีนัยสำคัญ ทั้ง 3 กลุ่มผลิตภัณฑ์
ระบบโดยการสร้าง
ฐานความรู้ผ่านระบบ
สารสนเทศ
5. สรุปผลการวิจัย
5. การเข้าถึงความรู้ 65.60 90.63 หลัง จากดำเนินการประยุกต์ใช้ระบบการจัดการความรู้
6. การแลกเปลี่ยนและ 56.60 87.50 ผ่ า นระบบเทคโนโลยี ส ารสนเทศ Intranet กั บ องค์ ก ร
แบ่งปันความรู้
7. การเรียนรู้ 62.60 86.88
กรณีศึกษาผู้จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร โดยมีทั้งหมด 3
กลุ่มผลิตภัณฑ์ ได้แก่ กลุ่มผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อการชะลอ
วัย กลุ่มผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อควบคุมน้ำหนัก และกลุ่ม
ค่าดัช นีวัดผลความพึงพอใจของผู้เลือกผลิตภัณฑ์ให้กับ ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อความงาม โดยมีผู้เลือกผลิตภัณฑ์
ลูกค้า หลังการปรับปรุงกระบวนการ มีค่าร้อยละ 80 ขึ้นไปทั้ง ให้กับลูกค้าทั้งสิ้น 32 คน พบว่าผู้เลือกผลิตภัณฑ์ให้กบั ลูกค้า
7 กระบวนการจัดการเรียนรู้ และทั้ง 3 กลุ่มผลิตภัณฑ์ สามารถเลือกผลิตภัณฑ์ให้กับลูกค้าได้ถูกต้องเพิ่มขึ้นจาก ร้อย
เมื่อนำข้อมูลที่ได้ นำมาวิเคราะห์ทางสถิติ Paired T-Test ละ 48.73 เป็น ร้อยละ 78.13 ในกลุ่มผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร
โดยกำหนดให้ 𝜇1 แทนจำนวน ร้อยละค่าดัชนีวัดผลความพึง เพื่อการชะลอวัย จากร้อยละ 54.80 เป็น ร้อยละ 83.53 ใน
พอใจก่อนการปรับปรุง และ 𝜇 2 แทนจำนวน ร้อยละค่าดัชนี กลุ่มผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อการควบคุมน้ำหนัก และจาก
วัดผลความพึงพอใจหลังการปรับปรุง ร้ อ ยละ 67.73 เป็ น ร้ อ ยละ 84.60 ในกลุ ่ ม ผลิ ต ภัณ ฑ์ เสริม
ทดสอบสมมติฐาน H0 คือ จำนวนร้อยละค่าดัช นีวัดผล อาหารเพื่อความงาม และระดับความพึง พอใจของผู้เ ลื อ ก
ความพึงพอใจก่อนและหลังปรับปรุงมีค่าเท่ากัน : 𝜇1 = 𝜇2 ผลิตภัณฑ์ให้กับลูกค้าเพิ่มขึ้น ร้อยละ 80 ขึ้นไป ทั้ง 3 กลุ่ม
ทดสอบสมมติฐานรอง H1 คือ จำนวนร้อยละค่าดัชนีวีดผล ผลิตภัณฑ์
ความพึงพอใจก่อนการปรับปรุงมีค่าน้อยกว่าหลังการปรับปรุง
: 𝜇1 < 𝜇2 เอกสารอ้างอิง
ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า 1. พรธิดา วิเชียรปัญญา, 2547, การจัดการความรู้พื ้น ฐาน
กลุ่มผลิตภัณฑ์เสริมอาหารเพื่อการชะลอวัย มีค่า P-Value และการประยุกต์ใช้, บริษัทเอ็กซเปอเน็ท จำกัด.
= 0.003

7
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

2. วันเพ็ญ ดีพรม, 2553, “ การจัดการความรู้ กรณีศ ึกษา


บริ ษ ั ท ผลิ ต แผงวงจรไฟฟ้ า ”, คณะวิ ศ วกรรมศาสตร์ ,
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
3. พรรณี สวนเพลง, 2552, “ เทคโนโลยี ส ารสนเทศและ
นวัตกรรมสำหรับการจัดการความรู้”, ซีเอ็ด ยูเคชั่น
4. ดนุ พ ั น ธ์ วิ ส ุ ว ร รณ , 2550, “ การ พั ฒ นาองค์ ก าร
อุตสาหกรรม”, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
5. เพิ่มพุฒ ภัทรกาญจนานนท์ , 2561, “ การจัดการความรู้
งานซ่อมเครื่องจักรกล กรณีศ ึกษาองค์กรผลิตไฟฟ้า ”,
คณะวิศวกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

8
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

การจัดการความรู้ภายในคลังสินค้า
กรณีศึกษา บริษัทค้าปลีกวัสดุก่อสร้างและตกแต่งบ้าน
The Knowledge Management in Warehouse Management:
A Case Study of the Building Materials Retail Company

พิชชาภรณ์ ศิลป์สวัสดิ์1* และ ดนุพันธ์ วิสุวรรณ2*


1,2
สาขาวิชาการจัดการวิศวกรรม ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต คลองหลวง ปทุมธานี 12120
E-mail : pitchaporn.sil@dome.tu.ac.th1*, vdanupun@engr.tu.ac.th2*

บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นการนำการจัดการความรู้มาพัฒนาและปรับปรุงกระบวนการทำงานในส่วนคลังสินค้า สาขาของบริษัทค้า
ปลีกวัสดุก่อสร้างและตกแต่งบ้าน เนื่องมาจากผู้ปฎิบัติงานพบปัญหาในกระบวนการทำงานในระบบ SAP และไม่สามารถแก้ไขเอง
ได้ เพราะความไม่รู้หรือไม่ชำนาญวิธีการแก้ไข และการเข้าถึงความรู้ก็ไม่ได้เป็นไปอย่างทั่วถึง ทำให้ ทีมงานใช้เวลาแก้ไขปัญหาให้
สาขามากขึ้น ผู้วิจัยจึงนำระบบการจัดการความรู้เข้ามาประยุกต์ใช้ เพื่อให้ผู้ปฎิบัติงานของคลังสาขามีคลังความรู้ที่เข้าถึงง่าย และ
สะดวกต่อการใช้งาน โดยจัดทำออกมาในรูปแบบของ Webpage ซึ่งอยู่ใน Intranet ของบริษัท อีกทั้งยังมีการจัดเวทีแลกเปลี่ยน
ความรู้กับผู้ปฎิบัติงานของสาขา ซึ่งหลังจากการปรับปรุงกระบวนการทำงาน พบว่ าใช้เวลาในการแก้ไขปัญหาลดลงจาก 60.50
นาทีต่อครั้ง เป็น 18.54 นาทีต่อครั้ง และระดับความพึงพอใจของผู้ใช้งานระบบเพิ่มขึ้น จากร้อยละ 55.32 เป็น ร้อยละ 87.29
ส่งผลให้กระบวนการทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

คำสำคัญ : การจัดการความรู้ คลังสินค้า ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ

Abstract
This research is an application of knowledge management to improve the operation processes in the
warehouse of the building materials retail company. The data shows that each branch of the shop cannot
solve the operation problems from SAP efficiently due to the lack of knowledge and skill. The knowledge
management system was implemented. The internet webpages were developed for knowledge sharing and
accessing. The forums for knowledge sharing between the operators in each branch were employed. The results
show that the average time to solve each problem in each branch reduces from 60.50 minutes to 18.54 minutes

9
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

after the implementation. The operation processes efficiency increases from 55.32% to 87.29%

Keywords : Knowledge Management, Warehouse, Information Technology

10
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

1. บทนำ ความรู้โดยทั่วไปสามารถแบ่งได้เป็น 2 ประภท ได้แก่ 1.


กรณีศ ึกษานี้ได้ทำการศึกษากระบวนการทำงานภายใน ความรู ้ โ ดยนั ย หรื อ ความรู ้ ท ี ่ ม องเห็ น ไม่ ช ั ด เจน ( Tacit-
คลังสินค้าสาขาและศูนย์กระจายสินค้าของบริษัทแฟรนไชน์ค้า Knowledge) จัดเป็นความรู้อย่างไม่เป็นทางการ ซึ่งเป็นทักษะ
ปลีกวัสดุก่อสร้างและตกแต่งบ้าน ที่พบปัญหาในกระบวนการ หรือความรู้เฉพาะตัวของแต่ละบุคคลที่มาจากประสบการณ์
ทำงานต่างๆ ได้แก่ ปัญหาในกระบวนการรับเข้า , ตัดจ่า ย ความเชื่อหรือคสามคิดสร้างสรรค์ในการปฎิบัติงาน 2. ความรู้ที่
สินค้า, ตรวจเช็คและปรับปรุงสต็อก และการรับสินค้าคืนจาก ชัดแจ้งหรือความรู้ที่เป็นทางการ (Explicit Knowledge) เป็น
ลูกค้า ซึ่งเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นซ้ำ หลายครั้งแต่ผู้ปฎิบัติงานยัง ความรู้ที่มีการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร และใช้ร่วมกันใน
ขาดทักษะ และความรู้ในการแก้ไข ผู้จัดทำจึง นำการจัดการ รูปแบบต่างๆ [2,3]
ความรู้เข้ามาช่วยการทำงาน โดยการรวบรวมกระบวนการ การถ่ายทอดความรู้เฉพาะบุคคลให้กับคนอื่นในองค์กร
ทำงานส่วนคลังสินค้าและจัดส่ง รวมไปถึงปัญหาที่มักพบบ่อย นั้นเป็นกิจกรรมสำคัญขององค์กรแห่งการสร้างความรู้ โดยเป็น
และวิ ธ ี แ ก้ ไ ข รวบรวมให้ อ ยู่ ใ นรู ป แบบของเว็ บ เพจที่ กิจกรรมที่ดำเนินไปอย่างต่อเนื่องในทุกระดับขององค์กร ซึ่ง
ประกอบด้ ว ย Infographic, คู ่ ม ื อ การดำเนิ น งาน, VDO ความรู้เฉพาะตัวมีส่วนหนึ่งที่เป็นทักษะในการทำงาน โดยเป็น
เกร็ดความรู้เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ และมี Search Engine เพื่อ ทักษะที่ยากที่จะระบุชี้ช ัด และไม่ส ามารถอธิ บายออกมาได้
เพิ่มความสะดวกในการค้นหาข้อมูล เผยแพร่ลงบน Intranet อย่างเป็นทางการ ซึ่งมีคำที่ใช้เรียกความรู้แบบนี้ว่า “know-
ของบริษัทที่บุคลากรทุกคนสามารถเข้าไปดูได้ และนำความรู้ how” [2]
มาใช้กับงานได้อย่างรวดเร็ว โดยกระบวนการจั ด การความรู ้ ประกอบด้ ว ย 1. การ
กำหนดความรู้ 2. การแสวงหาความรู้จ ากภายนอก 3. การ
พั ฒ นา/สร้ าง/บู ร ณาการความรู้ 4. การถ่ า ยทอด/แบ่ง ปัน/
กระจาย/เผยแพร่/แลกเปลี่ยนความรู้ 5. การประยุกต์ใช้ความรู้
และนำความรู้กลับมาใช้ใหม่ 6. การจัดเก็บ รักษา ปรับปรุงและ
ตรวจสอบความรู้ [3]

3. วิธีการวิจัย
รูปที่ 1 แสดงปริมาณปัญหาระหว่างช่วงเดือนเม.ย. - มิ.ย. 64 งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาหลักการและทฤษฎีที่เกี่ยวกับ
หารจัดการความรู้ และสภาพแวดล้อมขององค์กร โดยการใช้
2. วรรณกรรมปริทัศน์ แบบสอบถามผ่าน google form ในการรวบรวมข้อมูล เพื่อ
นำมาวิ เ คราะห์ และเลื อ กใช้เ ครื ่ องมื อ ที ่ เ หมาะสม โดยมี
KM (Knowledge Management) เป็นการบริการจัดการ
ขั้นตอน ดังนี้
เพื่อให้คนเข้าถึงความรู้ในเวลาที่ต้องการใช้งาน เพื่อการพัฒนา
1. ระบุประเด็นปัญหา และผลกระทบที่เกิดขึ้น
คน, งาน และองค์กร [1]
2. ศึกษาการทำงานในปัจจุบัน เพื่อรวบรวมข้อมูลมาใช้ในการ
จัดการความรู้
3. กำหนดตัวชี้วัด (KPIs) ในการดำเนินการจัดการความรู้
4. วัดผลก่อนการดำเนินการตามตัวชี้วัดที่กำหนด

รูปที่ 2 แสดงความหมายของการจัดการความรู้ 11
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

5. กำหนดรูปแบบของการจัดการความรู้ 2. ทีมงานส่วนกลางใช้ระยะเวลาในการแก้ไขปัญหา
6. ระบุประเด็นความรู้ที่จะใช้ นาน เนื่องมาจากการขึ้นระบบของสาขาใหม่มีความถี่เพิ่มขึ้น
7. ประมวลความรู ้ ท ี ่ ไ ด้ จ ากการรวบรวมให้ เ หมาะสมกั บ จากเดิม โดยจากเดิมขึ้นสาขาใหม่ไตรมาสละ 1-2 สาขา ถูก
ผู้ใช้งาน ปรับแผนการทำงานเป็นขึ้นระบบใหม่ 1-2 สาขาต่อเดือน จึง
8. จัดการความรู้ให้เป็นระบบ โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ส่ง ผลให้พนักงานฝ่ายคลังสินค้าสาขา ยัง ไม่มีความชำนาญ
9. ประชาสัมพันธ์แก่ผู้ปฎิบัติงานคลังสินค้าสาขาและศูนย์การ และทีมงานส่วนกลางที่ Support มีจำนวนเท่าเดิม จึงส่งผล
จายสินค้า ต่อระยะเวลาในการแก้ไขปัญหาที่ใช้มากขึ้นกว่าเดิม
10. ผู้ปฎิบัติงานคลังสินค้าสาขาและศูนย์กระจายสินค้าเข้าถึง
ระบบการจัดการความรู้ 3.3 การกำหนดตัวชี้วัดในการดำเนินงาน
11. ผู้ปฎิบัติงานคลังสินค้าสาขาและศูนย์กระจายสินค้านำ 1. การวัดระดับความพึง พอใจในระบบการจั ด การ
ความรู้ไปใช้ ความรู้ เพิ่มมากขึ้นหลังจากการนำระบบการจัดการความรู้มา
12. วัดผลหลังการดำเนินการตามตัวชี้วัดที่กำหนด ประยุกต์ใช้
2. ทีมงานส่วนกลางใช้เวลาเฉลี่ยลดลงในการแก้ไข
3.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ปัญหาให้คลังสินค้าสาขาและศูนย์กระจายสินค้า หลังจากการ
ทางผู้วิจ ัยใช้ วิ ธี การคำนวณหากลุ ่ม ตั วอย่ า งของ นำการจัดการความรู้มาใช้
Taro Yamane [4] โดยกำหนดค่าคาดเคลื่อนเท่ากับ 5% ได้
ดังนี้ 3.4 การวัดผลก่อนการดำเนินงาน
n=
129
= 98 คน 1. การวัดระดับความพึง พอใจของผู้ปฏิบัติงานที่ มี
1+[129×(0.05)2 ]
ต่อกระบวนการจัดการความรู้ที่มีอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งไม่ได้มีการ
จัดทำเป็นระบบให้เข้าถึงง่าย และเมื่อมีการปรับปรุงขั้นตอน
ในการวิจัยครั้งนี้ใช้กลุ่มตัวอย่างอย่างน้อย 98 คน (76% ของ
วิธีการทำงานหรือมีวิธีการดำเนินงานใหม่ๆ ทางผู้ปฎิบัติงาน
ผู้เกี่ยวข้อง) และถือว่ากลุ่มตัวอย่าง 98 คนนี้ เป็นตัวแทน
ไม่ได้รับข้อมูลอย่างทั่วถึง ดังนั้น ทางผู้วิจัยได้ให้กลุ่มตัวอย่าง
ผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด
จำนวน 98 คน ทำแบบสอบถามเพื่อสำรวจความพึงพอใจที่มี
การการจัดการความรู้ใ นองค์กร ซึ่ง ผลการทำแบบสำรวจ
3.2 ระบุประเด็นปัญหาและผลกระทบที่เกิด
พบว่าความพึงพอใจค่อนข้างต่ำ แสดงดังตาราง
1. พนักงานคลังไม่สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้
ตารางที ่ 1 แสดงผลการสำรวจความพึ ง พอใจก่ อ นการ
ด้วยตัวเอง ผู้วิจ ัยจึง วิเคราะห์หาสาเหตุ ของปั ญหาโดยใช้
ปรับปรุง
หลักการของ Fish-bone Diagram ซึ่งพบสาเหตุที่น่าสนใจใน
กลุ่มปัจ จัย Man คือ ผู้ปฎิบัติง านขาดความชำนาญและไม่
ทราบวิธีการแก้ไขปัญหาในระบบ กลุ่มปัจ จัย Material คือ
การที่ผู้ปฎิบัติงานไม่สามารถเข้าถึงคู่มือการทำงานได้ อย่าง
สะดวกทั่วถึงทุกคน และคู่มือการทำงานในปัจจุบันไม่น่าดึง ดูด
ให้ศ ึกษา รวมไปถึง กลุ่มปัจ จัย Method คือ กระบวนการ
บางอย่างก็ซับซ้อนเกินกว่าการศึกษาด้วยตนเอง

12
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

2. ระยะเวลาที่ใช้ในการแก้ไ ขปั ญหาของที ม งาน 2. การใช้เวทีแลกเปลี่ยนความรู้ ในรูปแบบ Online


ส่วนกลาง ในขั้นตอนนี้ผู้วิจัยได้ทำการเก็บข้อมูลระยะเวลาที่ ผ่าน ZOOM ซึ่งดำเนินการในรูปแบบของระบบพี่เลี้ยง โดย
ใช้ในการแก้ปัญหาให้แก่ศูนย์กระจายสินค้าและคลังสาขา จึง การ Training กระบวนการทำงานภายในคลังสินค้า พบปะ
พบว่ามีแนวโน้มที่สูงขึ้น อ้างอิงจากภาพด้านล่าง แลกเปลี่ยนปัญหาและความรู้ที่พบในการปฎิบัติงาน

รูปที่ 3 แสดงกราฟของระยะเวลาเฉลี่ยที่ทีมส่วนกลางใช้ใน รูปที่ 5 แสดงกิจกรรมแลกเปลี่ยนความรู้ในรูปแบบ Online


การแก้ไขปัญหาให้คลังสินค้าช่วงเดือนเม.ย. - มิ.ย. 64
3.6 การดำเนินการจัดการความรู้
3.5 รูปแบบการจัดการความรู้ การดำเนินการจัดการความรู้ภายในคลังสินค้าสาขา
ผู้วิจัยได้พิจารณาเครื่องมือที่ใช้ในการจัดการความรู้ และศู น ย์ ก ระจายสิ น ค้ า ขององค์ ก รกรณี ศ ึ ก ษา มี ว ิ ธ ี ก าร
ของกระบวนการทำงานภายในคลังสินค้า ดังนี้ ดำเนินงาน ดังนี้
1. เทคโนโลยีสารสนเทศ ได้แก่ Webpage ที่มีฟังก์ 1. การกำหนดความรู ้ แ ละแสวงหาความรู ้ จ าก
ชั้น Search Engine เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถค้นหาข้อมูลได้ ภายนอก ทางทีมงานที่ดำเนินโครงการการจัดการความรู้ ซึ่ง
ง่าย โดยจะติดตั้งอยู่ในระบบ Intranet ที่เป็นโปรแกรมของ ประกอบด้วยผู้ช่วยผู้จัดการฝ่าย Supply Chain (KM SC/KM
องค์กรที่ผู้ปฎิบัติงานทุกคนสามารถเข้าไปใช้งานได้ EX) และ พนั ก งานฝ่ า ย Supply Chain (KM AD) ได้ ม ี ก าร
ประชุ ม หารื อ เพื ่ อ หาข้ อ สรุ ป ว่ า จะบรรจุ ค วามรู ้ ข อง
กระบวนการทำงานในคลังสินค้าในเรื่องใดบ้าง และกำหนด
สิทธิการเข้าถึง นอกจากนี้เพื่อเป็นการประเมินว่าความรู้ของ
กระบวนการทำงานที่มีอยู่ในปัจจุบัน ต้องมีการแก้ไข ปรับปรุง
หรือเพิ่มเติมในส่วนใดบ้าง
2. การพัฒนา/สร้าง/บูรณาการความรู้ ได้มีการนำ
หลักการการสร้างความรู้ผ ่านกระบวนการ SEIC ดัง นี้ S =
Socialization กระบวนการสร้างความรู้จากการแลกเปลี่ยน
ผ่านกระบวนการทางสังคม โดยการประชุมทีม เพื่อทบทวน
ความรู ้ และแลกเปลี่ ย น-ถ่า ยทอดความรู ้ร ะหว่า งที มงาน
ส่วนกลาง E = Externalization การสกัดความรู้ออกจากตัว
รูปที่ 4 แสดงการใช้งานระบบ Intranet บุคคล ได้มีการไปทำ Focus Group กับพนักงานคลังสิ นค้า
13
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

สาขาและศูนย์กระจายสินค้าผ่านระบบ Video- Conference สิทธิไว้เท่านั้น รวมถึงสามารถตั้งกระทู้ถามตอบและเข้าดูเมนู


เพื่อต้องการทราบปัญหาที่ทางหน้างานพบเจอบ่อยครั้ง และ แจ้งข่าวสารได้, Superuser คือ ทีมงานฝ่าย Supply Chain
แนวทางแก้ ไ ขที่ ทางหน้ างานใช้อ ยู่ เพื่อนำไปประมวลผล จะสามารถเข้าดูและดาวน์โ หลดชุ ด ข้อ มูล ได้ท ุกหั ว ข้ อ ซึ่ง
ตรวจสอบและสรุปเป็นแนวทางปฎิบัติที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน สามารถตั้งกระทู้ถามตอบและเข้าดูเมนูแจ้งข่าวสารได้ เช่นกัน
C = Combination การบูรณาการความรู้ชัดแจ้งเข้าด้ วยกั น และ Administration คือ Admin ดูแลระบบและทีมงานฝ่าย
โดยได้ นำขั้นตอนกระบวนการต่างๆภายในคลังสินค้า และ IT สามารถเข้าถึงชุดข้อมูลได้ทุกหัวข้อ และมีสิทธิในการแก้ไข
ความรู้ที่เกิดจากผลสรุปของการทำ Focus-Group เรียบเรียง หรือลบชุดข้อมูลในระบบ ,การอนุมัติการมองเห็นของกระทู้
เป็ น หั ว ข้ อ ต่ า งๆ และจั ด ลำดั บ ขั ้ น ตอนการทำงานใน ถามตอบที่ไม่ก่อให้เกิดความสับสนแก่ผู้ใช้งาน และการเพิ่ม
กระบวนการ ทำให้เห็นภาพรวมการทำงานทั้ง หมดภายใน ข้อมูล ข่า วสารลงระบบ รวมไปถึง การปรั บปรุง ระบบให้ มี
คลังสินค้า I = Internalization การประยุกต์ความรู้แบบชัด ประสิทธิภ าพมากยิ่งขึ้น โดยภายใน Webpage มีการสร้าง
แจ้งให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ กระบวนการ หรือปรับปรุงให้เกิด เมนู Search Engine, กระดานถาม-ตอบ ,เมนูแจ้ง ข่า วสาร
คุณค่า โดยได้นำขั้นตอนกระบวนการต่างๆภายในคลังสินค้า สำหรับคลังสินค้า รวมไปถึงหัวข้อความรู้ต่างๆในกระบวนการ
และความรู้ที่เกิดจากผลสรุปของการทำ Focus-Group มา ทำงาน ที่ผู้ใช้งานสามารถดาวน์โหลดและพิมพ์ออกมาได้ ซึ่ง
ประมวลผล, ตรวจสอบความถูกต้อง และสรุปเป็นแนวทางการ หัวข้อความรู้ต่างๆในระบบจะถูกรวบรวม ตรวจสอบความถูก
ปฎิบัติในแต่ล ะกระบวนการมาทำการสร้างมาตรฐานการ ต้องและความเหมาะสมโดยทีมงานฝ่าย Supply Chain ก่อน
ทำงานในคลั ง สิ น ค้ า สาขาและศู น ย์ กระจายสิ น ค้ า พร้ อ ม ถูกอนุมัติ และนำขึ้ นระบบโดย Admin ดูแลระบบ เมื่อชุ ด
เผยแพร่บน Intranet ของบริษัท ที่ให้พนักงานทุกคนสามารถ ความรู้ถูกอัพโหลดแล้ว ผู้ใช้งานก็จะสามารถเห็นชุดความรู้ใน
เข้าถึงได้ง่าย ระบบได้ ซึ่ง ถ้าหากผู้ใช้งานมีข้อเสนอแนะ หรือข้อแนะนำ
3. การถ่ายทอด/แบ่ง ปัน/กระจาย/เผยแพร่ และ สามารถแจ้งผ่านกระทู้ถาม-ตอบได้ ทางทีมงานฝ่าย Supply
แลกเปลี่ยนความรู้ ผ่านระบบ Intranet โดยมีโครงสร้างการ Chain จะเป็นผู้รวบรวมและประเมินความเหมาะสมอีกครั้ง
ดำเนินงาน ดังนี้ ก่อนจะแจ้งให้ Admin ผู้ดูแลระบบหรือฝ่าย IT ทำการแก้ไข
ปรับปรุงให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

4. ผลการดำเนินการวิจัย
จากการเก็บข้อมูลระยะเวลาที่ใช้ในการแก้ไขปัญหา
ของทีมงาน พบว่าก่อนการปรับปรุง ใช้ระยะเวลาเฉลี่ย 60.50
นาทีต่อครั้ง และหลังการปรับปรุง โดยการนำระบบการจัดการ
ความรู้เข้ามาใช้ พบว่าให้ระยะเวลาเฉลี่ย 18.54 นาทีต่อครั้ง
รูปที่ 6 แสดงระบบการจัดการสารสนเทศในองค์กร
ซึ่งใช้ระยะเวลาน้อยกว่าเดิม ส่งผลให้ มีประสิทธิภาพในการ
โดยระบบการจัดการความรู ้ จะจัดทำออกมาใน ทำงานที่ดียิ่ง ขึ้น เข้าถึง ความรู้หรือกระบวนการทำงานได้
รูปแบบของ Webpage โดยใช้โปรแกรม WordPress ในการ รวดเร็วและสะดวกกว่าเดิม ดังแสดงในตารางที่ 2
จัดทำ ซึ่ง แบ่ง ระดับผู้ใช้ง านเป็น 3 ระดับ ได้แก่ User คือ ตารางที่ 2 แสดงข้อมูลระยะเวลาเปรียบเทียบก่อนและหลัง
ผู้ใช้ง านทั่วไป ในที่นี้ค ือผู้ปฎิบัติง านภายในคลัง สินค้า จะ ปรับปรุงกระบวนการ
สามารถเข้าดูชุดความรู้และดาวน์โหลดได้ตามหัวข้อที่กำหนด
14
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

5. สรุปผลการวิจัย
จากการที่ผู้วิจัยได้นำระบบการจัดการความรู้เข้ามา
จากข้อมูลเวลาเฉลี่ยที่ใช้ทั้งก่อนและหลังปรับปรุง ใช้ ภ ายในองค์ ก ร เพื ่ อ ปรั บ ปรุ ง กระบวนการทำงานให้ มี
ได้มีการนำมาวิเคราะห์ทางสถิติ โดยใช้วิธี Paired T-Test [5] ประสิทธิภ าพมากยิ่ง ขึ้น โดยการรวบรวม กลั่ นกรอง และ
เพื่อทำการทดสอบสมมติฐานเรื่องระยะเวลาก่อนและหลังการ ตรวจสอบ เพื ่ อ จั ด เก็ บ เป็ น ชุ ด ข้ อ มู ล ความรู ้ และหมวด
ปรับปรุงมีการลดลงอย่างมีนัยสำคัญ โดยกำหนดให้ 𝜇1 แทน กระบวนการทำงานบน Intranet ของบริษ ั ท ซึ ่ ง ทุ ก ฝ่ายที่
ระยะเวลาที่ใช้ในการแก้ไขปัญหาของทีมงานก่อนการปรับปรุง เกี่ยวข้องสามารถเข้าถึงความรู้ กระบวนการทำงานได้ส ะดวก
และ 𝜇2 แทนระยะเวลาที่ใช้ในการแก้ไขปัญหาของทีมงาน และรวดเร็วกว่าเดิม ส่ง ผลให้ระยะเวลาในการแก้ไขปัญ หา
หลังการปรับปรุง ของทีมงาน มีการลดลง จากเวลาเฉลี่ย 60.50 นาทีต่อครั้งเป็น
โดยมีสมมติฐานหลัก H0 คือ ระยะเวลาที่ใช้ในการ 18.54 นาทีต่อครั้ง และความพึงพอใจของผู้ใช้งานเพิ่มขึ้น จาก
แก้ไขปัญหาของทีมงานก่ อนและหลัง การปรั บปรุง มีค ่ า ไม่ ร้อยละ 55.32 เป็นร้อยละ 87.29
ต่างกัน ; 𝜇1 = 𝜇2
และสมมติฐานรอง H1 คือ ระยะเวลาที่ใช้ในการ 6. เอกสารอ้างอิง
แก้ ไ ขปั ญ หาของที ม งานหลั ง การปรั บ ปรุ ง มี ค ่ า น้ อ ยกว่ า 1. ศุภวิทย์ ภาษิตนิรันดร์ และ พญ. ชญาณี โชคสมงาม, 2564,
ระยะเวลาที่ใช้ก่อนการปรับปรุง ; 𝜇1 > 𝜇2 Knowledge Management, สำนั ก พิ ม พ์ วิ ช กรุ ๊ ป (ไทย
จากการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ค่าทางสถิติมีค่า แลนด์).
0.003 ซึ่งน้อยกว่าค่า 𝛼 (กำหนดค่า 𝛼 มีค่าระดับนัยสำคัญ 2. พรธิดา วิเชียรปัญญา, 2547, การจัดการความรู้: พื้นฐาน
0.05) จึงปฎิเสธสมมติฐานหลัก H0 และยอมรับสมมติฐานรอง และการประยุกต์ใช้, บริษัท เอ็กซเปอร์เน็ท จำกัด.
H1 และสรุปได้ว่าระยะเวลาที่ใช้ในการแก้ไขปัญหาก่อนการ 3. รศ.ดร. สมชาย นำประเสริฐชัย , 2558, การจัดการความรู้,
ปรับปรุงมีค่ามากกว่าระยะเวลาที่ใช้หลังการปรับปรุง หรืออีก บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด.
นัยนึงคือ ระยะเวลาที่ใช้ในการแก้ไขปัญหาหลังการปรับปรุง 4. Yamane Taro, 1973, Statistics: An Introductory
กระบวนการทำงานลดลงอย่างมีนัยสำคัญ Analysis Third edition, Harper and Row
หลั ง จากการนำเอาระบบการจั ด การความรู ้ ใ น Publication.
รูปแบบเทคโนโลยีเข้ามาใช้ในองค์กรกรณีศ ึกษา ได้มีการ 5. เพิ่มพุฒิ ภัทรกาญจนานนท์, 2561, “การจัดการความรู้งาน
สำรวจความพึงพอใจก่อนและหลังการปรับปรุงกระบวนการ ซ่อมเครื่องจักรกล กรณีศ ึกษาองค์กรผลิตไฟฟ้ า”, คณะ
โดยระดับความพึงพอใจของผู้ใช้งานระบบเพิ่มขึ้นจากร้อยละ วิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, หน้า 70-72.
53.32 เป็น ร้อยละ 87.29
ตารางที่ 3 การเปรียบเทียบระดับความพึงพอใจของผู้ใช้งาน
ก่อนและหลังการปรับปรุง

15
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

แนวทางการลดการขาดแคลนวัตถุดิบ : กรณีศึกษาโรงงานผลิตอินเวอร์เตอร์
A MEANS TO REDUCE MATERIAL SHORTAGES: A CASE STUDY OF INVTERTER
MANUFACTURER

รวิภา ตันสหวัฒน์1* และ จิรรัตน์ ธีระวราพฤกษ์2*


1,2
สาขาวิชาการจัดการวิศวกรรม ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต คลองหลวง ปทุมธานี 12120
E-mail: rawipa.tan@dome.tu.ac.th1, tjirarat@tu.ac.th2

บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาแนวทางในการลดจำนวนครั้งในการขาดแคลนวัตถุดิบ ของกรณีศึกษาโรงงาน
อินเวอร์เตอร์ งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาข้อมูลซื้อวัตถุดิบย้อนหลัง 2 ปี (เมษายน 2561 - มีนาคม 2563) จากการวิเคราะห์ พบว่า
โรงงานกรณีศึกษาส่งมอบผลิตภัณฑ์ให้ลูกค้าล่าช้า อันเนื่องมาจากการขาดแคลนวัตถุดิบ ซึ่งผู้ผลิตได้รับคำสั่งซื้อที่ล่าช้า อีกทั้งวัน
ส่งมอบของคำสั่งซื้อเดิมมีการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากวัตถุดิบของโรงงานกรณีศึกษามีจำนวนมาก งานวิจัยนี้จึงเริ่มการศึกษาโดยการ
จัดกลุ่มวัตถุดิบโดยใช้เทคนิค ABC หลังจากนั้นจึงได้เน้นการศึกษากับวัตถุดิบกลุ่ม A โดยได้ทำการประยุกต์ใช้การบริหารสินค้าคง
คลังโดยผู้ขาย (VMI) ผลที่ได้จากการดำเนินการพบว่า จำนวนครั้งที่เกิดการขาดแคลนวัตถุดิบลดลงจากร้อยละ 54 เป็นร้อยละ 41

คำสำคัญ : ABC วัสดุคงคลังสำรอง การบริหารสินค้าคงคลังโดยผู้ขาย

Abstract
This research aims to find a means to reduce material shortages of the case study is an inverter
manufacturer. The 2 year-purchase record (April 2018 – March 2019) had been collected. Based on analyses, it
was found that the company had faced with deliver delay. The causes of that were short ordering lead time
and uncertain customer delivery date. Meanwhile current purchase orders have changed the delivery date Due
to the large number of raw materials of the case study factory This research began by grouping the raw materials
using the ABC technique. After that, the study focused on group A raw materials by applying the vendor
inventory management (VMI). The results obtained revealed that the number of raw material shortages was
decreased from 54% to 41%.

16
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

Keywords : ABC analysis , Safety stock , Vendor management inventory

17
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

1. บทนำ ของลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหัน ช่วยให้กระบวนการ


ในโลกของอุตสาหกรรมอิ เล็ก ทรอนิกส์ ในปัจ จุบ ัน ผู้ที่ ผลิตสามารถดำเนินไปได้อย่างต่อเนื่อง วัตถุดิบคงคลังสำรอง
สามารถผลิตผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดได้เร็วที่ส ุดมักจะประสบ มีส่วนสำคัญที่จะช่วยให้ไม่ให้เกิดปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบ
ความสำเร็จเหนือผู้ผลิตรายอื่นๆ และมักเป็นผู้ที่มีส่ว นแบ่ง ในการเก็บ วัตถุ ดิบ คงคลัง สำรองควรมี ปริมาณที่ เหมาะสม
ทางการตลาดมากกว่าคู่แข่งอีกด้วย ดังนั้นหลายๆ บริษัทจึง ไม่มากเกินไปหรือน้อยเกินไป การกำหนดวัสดุคงคลังสำรอง
พยายามมองหาวิถีทางเพื่อทำให้กระบวนการ เพื่อที่จะนำมา คำนวณได้จากสมการที่ (1)
ซึ่งการผลิตที่ต่อเนื่องและยั่งยืน เพื่อตอบสนองความต้องการ
ของตลาดได้อย่างรวดเร็ว SS = Z σ t (1)
ในปีที่ผ่านมาโรงงานกรณีศึกษา พบว่าส่งมอบผลิตภัณฑ์ให้
ลูกค้าล่าช้า อันเนื่องมาจากการขาดแคลนวัตถุดิบ ซึ่งผู้ผลิต โดยที่ SS = วัสดุคงคลังสำรอง
ได้ร ับคำสั่ง ซื้อที่ล ่าช้า อีกทั้ง วัน ส่ง มอบของคำสั่ง ซื้อเดิมมี Z = ระดับการบริการ = 100% - โอกาสที่จะเกิด
การเปลี ่ ย นแปลง ทำให้ ส ายการผลิ ต เกิ ด การหยุ ด ชะงั ก การขาดแคลนวัตถุดิบ
ไม่สามารถส่งผลิตภัณฑ์ให้ลูกค้าได้ตามจำนวนที่ลูกค้าต้องการ σ = ส่ ว นเบี ่ ย งเบนมาตรฐานของปริ ม าณความ
และทำให้ลูกค้าต้องรอคอยสินค้ายาวนานขึ้น จากข้อมูลเดือน ต้องการต่อช่วงเวลา
เมษายน 2561 ถึงเดือนมีนาคม 2563 พบว่าโรงงานกรณีศึกษา t = ระยะเวลารอคอยสินค้า
เกิดการขาดแคลนวัตถุดิบ คิดเป็นร้อยละ 54
ดัง นั้นผู้ วิจ ัย จึง เห็น ว่ า กระบวนการจัดซื้อและการวาง 2.2 ขนาดสั่งซื้อที่ประหยัด
แผนการจัดซื้อวัตถุดิบเป็นกระบวนการที่สำคัญที่ส่งผลให้เกิด พิภ พ ลลิตาภรณ์ [1] กล่าวว่า การกำหนดการสั่ง ซื ้ อ ที่
กระบวนการผลิตอย่างต่อเนื่อง ในงานวิจัยนี้จึงสนใจศึกษาและ เหมาะสมด้ ว ยขนาดสั ่ ง ซื ้ อ ที ่ ป ระหยั ด (EOQ) เป็ น การหา
หาแนวทางในการลดการขาดแคลนวั ต ถุ ด ิ บ อย่ า งมี ปริมาณการสั่งซื้อที่ทำให้ต้นทุนรวมของคงคลัง ต่ำสุด โดยมี
ประสิทธิภ าพสำหรับโรงงานผลิตอินเวอร์เตอร์ เพื่อรองรับ สมมติฐานดังต่อไปนี้
ความต้องการของลูกค้า 1. ปริมาณความต้องการของลูกค้าต่อปีมีความแน่นอน
และมีลักษณะคงที่และสม่ำเสมออยู่ตลอดเวลา
2. วรรณกรรมปริทัศน์ 2. ระยะเวลารอคอยสินค้ามีค่าเป็นศูนย์
งานวิจ ัยนี้มีทฤษฎีที่เกี่ยวข้องทั้ง หมด 3 ทฤษฎี ได้แ ก่ ขนาดสั่งซื้อที่ประหยัด คำนวณได้จากสมการที่ (2)
ระบบการจำแนกวัตถุดิบคงคลังเป็นหมวด ABC วัสดุคงคลัง
สำรอง และการบริหารสินค้าคงคลังร่วมกันโดยผู้ขาย 2CoD
EOQ =
Cc (2)
2.1 วัตถุดิบคงคลังสำรอง
พิ ภ พ ลลิ ต าภรณ์ [1] กล่ า วว่ า วั ต ถุ ด ิ บ คงคลั ง สำรอง
โดยที่ EOQ = ขนาดการสั่งซื้อต่อครั้งที่ประหยัด (Q*)
(Safety stock) เป็นวัตถุดิบคงคลังส่วนเกินที่มีการจัดเตรียมไว้
D = ปริมาณความต้องการสินค้ารวมต่อปี (หน่วย)
ใช้ระดับหนึ่ง เพื่อความรวดเร็วในการรับมือกับความต้องการ
Co = ต้นทุนการสั่งซื้อต่อครั้ง (บาท)
18
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

Cc = ต้นทุนการเก็บรักษาต่อหน่วยต่อปี (บาท) ควบคุมทุกรายการอย่างเท่ากัน จะเสียเวลาและค่าใช้จ่ายมาก


เกินความจำเป็น หลักเกณฑ์ในการแบ่ง ประเภทของวัต ถุ ดิบ
2.3 การบริหารวัตถุดิบสินค้าร่วมกันโดยผู้ขาย คงคลัง มักแบ่งตามเกณฑ์ดังตารางที่ 1
ธนิต โสรัตน์ [2] กล่าวว่าการบริหารสินค้าคงคลังร่วมกัน ตารางที่ 1 การจำแนกวัตถุดิบคงคลังเป็นหมวด ABC
โดยผู ้ ข าย หรื อ Vendor Managed Inventory (VMI) เป็ น
การบริหารจัดการระยะเวลานำของสินค้า เพื่อลดระยะเวลา กลุ่ม มูลค่าของวัตถุดิบ ปริมาณของวัตถุดิบ
ส่งมอบสินค้าให้สั้นที่สุด โดยให้ผู้ขายเป็นผู้รับผิดชอบสินค้า A ร้อยละ 80 ร้อยละ 15
คงคลังที่ต้องจัดเก็บ และต้องมีกระบวนการส่งมอบข้อ มูล ที่ B ร้อยละ 15 ร้อยละ 30
ทันสมัย นอกเหนือจากเป็นการลดปริมาณวัส ดุค งคลังแล้ว C ร้อยละ 5 ร้อยละ 55
ยัง ทำให้การเติมเต็มสินค้าให้กับลูกค้าเป็นไปอย่างต่อเนื่อง
ดังรูปที่ 1 บุ ษ บา พฤกษาพั น ธุ ์ ร ั ต น์ แ ละปิ ย ะนั น ท์ คำภิ โ ร [3]
ได้ประยุกต์ใช้แนวทางการจัดกลุ่มของ ABC ดำ โดยหาน้ำหนัก
ความสำคั ญ ของปั จ จั ย ด้ ว ยหลั ก การ Analytic Hierarchy
Process (AHP) และนำวิ ธ ี ก ารสั ่ ง ซื ้ อ แบบประหยั ด (EOQ)
การกำหนดปริมาณการสั่งตามช่วงเวลาการสั่ง (POQ) และ
การสั ่ ง พอดี ก ั บ ความต้ อ งการ (L4L) ในอุ ต สาหกรรมผลิ ต
เวชภัณฑ์ส ำหรับฉีดเข้าหลอดเลือด ส่ง ผลให้ต้นทุนรวมของ
การสั่งซื้อแบบเดิมของสินค้ากลุ่ม A ลดลงจาก 1,466,121.15
บาท เป็น 399,357.42 บาท หรือลดลงคิดเป็นร้อยละ 72.76
รูปที่ 1 โครงสร้างของระบบ VMI
3. วิธีการวิจัย
ศิโ รวัล ลิ์ ยินดี [5] ได้ประยุกต์ นำวิธีการบริหารจั ด การ งานวิจัยนี้นำหลักการจัดการวัตถุดิบคงคลังมาใช้ ซึ่งได้ทำ
คงคลัง และแนวความคิดการบริหารสินค้าคงคลังโดยผู้ส่งมอบ การเก็บรวบรวมข้อมูลจากประวัติการซื้อวัตถุดิบย้อนหลัง 2 ปี
(VMI) ในอุตสาหกรรมผลิตกล้อง DSLR ส่งผลให้ต้นทุนสินค้า ผ่านระบบข้อมูลกลางของโรงงานกรณีศึกษา เพื่อลดจำนวน
คงคลังรวมลดลงจาก 342,263,203 บาท เป็น 266,523,368 ครั้งในการขาดแคลนวัตถุดิบ โดยมีขั้นตอนการทำวิจัย ดังนี้
บาท หรือลดลงคิดเป็นร้อยละ 22.13 1. เก็บรวบรวมข้อมูล ของวั ต ถุด ิบที ่เกิ ดการขาดแคลน
รวมถึง จำนวนครั้งที่เกิดการขาดแคลนต่อปี และระยะเวลา
2.4 ระบบการจำแนกวัตถุดิบคงคลังเป็นหมวด ABC รอคอยต่อการสั่งซื้อวัตถุดิบต่อครั้ง
คำนาย อภิปรัชญาสกุล [4] กล่าวว่า การจำแนกวัตถุดิบ 2. เก็ บ รวบรวมด้ า นแผนการผลิ ต ของผลิ ต ภั ณ ฑ์ และ
คงคลังเป็นหมวด ABC โดยพิจ ารณาปริมาณและมูลค่าของ วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต
วัตถุดิบคงคลังแต่ละรายการเป็นเกณฑ์เพื่อลดภาระในการดูแล 3. วิเคราะห์หาความต้องการวัตถุดิบเป้าหมาย และจำแนก
ตรวจนับ และควบคุม วัตถุดิบ คงคลังที่มีอยู่มากมาย ซึ่ง ถ้า กลุ่มวัตถุดิบโดยใช้ทฤษฎี ABC Classification

19
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

4. กำหนดปริมาณวัสดุคงคลังสำรอง จากข้อมูล ข้างต้น ผู้วิจ ัยได้จ ั ด ทำแผนผัง ก้ างปลาหรื อ


5. วางแผนและจัดทำระบบ VMI Fishbone diagram เพื่อวิเคราะห์หาสาเหตุที่ทำให้โรงงาน
6. ประยุกต์ใช้ระบบ VMI ส่งมอบผลิตภัณฑ์ให้ลูกค้าล่าช้า ดังรูปที่ 2
7. วิเคราะห์และเปรียบเทียบผลการจัดทำระบบ
8. สรุปผลการประยุกต์ใช้ระบบ VMI

3.1 การศึกษาและวิเคราะห์สภาพปัญหาปัจจุบัน
ภาพรวมของการสั่งซื้อวัตถุดิบทั้งหมดของปีงบประมาณ
2018 – ปีงบประมาณ 2019 สามารถสรุปได้ดังแสดงตารางที่
3.4 จะเห็นได้ว่า คำสั่งซื้อที่สามารถครอบคลุมระยะเวลาของ
ผู้ผลิตมีเพียง 3.48% แต่คำสั่งซื้อที่ออกสั้นกว่าระยะเวลาของ
ผู ้ ผ ลิ ต สู ง ถึง 96.52% นอกจากนี ้ ย ั ง มี การเปลี่ ย นวัน เรียก รูปที่ 2 สาเหตุของการส่งมอบล่าช้า
วัตถุดิบคงคลัง อีกด้วย สามารถจำแนกการเปลี่ยนแปลงวัน
เรียกวัตถุดิบได้ 2 ประเภท คือ การเปลี่ยนแปลงวันเรี ย ก ผู้วิจัยได้รวบรวมข้อมูล ประวัติการสั่งซื้อวัตถุดิบย้อนหลัง
วัตถุดิบที่มีการเปลี่ยนเพียง 1 ครั้ง จะพบว่าการเปลี่ยนแปลง 2 ปี ตั้งแต่ เมษายน 2561 - มีนาคม 2563 มีจำนวนการสั่งซื้อ
วันเรียกวัตถุดิบที่เกิดขึ้นบ่อย คือ คำสั่งของวัตถุดิบประเภท ทั้งหมด 81,980 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 100 พบว่ามีคำสั่งซื้อที่มี
อิเล็กทรอนิกส์ที่มีการออกคำสั่งซื้อที่สั้นกว่าระยะเวลาของ ระยะเวลาสั ้น กว่า ระยะเวลาการผลิต ของวั ต ถุด ิ บทั้ง หมด
ผู้ผลิต 61,766 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 75.34 แบ่งเป็นวัตถุดิบประเภท
จากการเก็บข้อมูลการวัตถุดิบปีงบประมาณ 2018 – 2019 อิเล็กทรอนิกส์ คิดเป็นร้อยละ 60.45 รองลงมาคือวัตถุดิบ
อ้างอิงจากข้อมูลของแผนกวางแผนพบว่าสัดส่วนวัตถุดิบที่เกิด ประเภทสั่งทำเฉพาะคิดเป็นร้อยละ 14.89 จากปัญหาข้างต้น
การขาดแคลนเกิดขึ้นกับวัตถุดิบประเภทอิเล็กทรอนิกส์ 42% ทำให้บริษัทกรณีศึกษาประสบปัญหาการขาดแคลนวัตถุ ดิบ
และวัตถุดิบประเภทที่สั่งทำเฉพาะ 24% ดังแสดงตารางที่ 2 ทำให้ ว ั ต ถุ ด ิ บ ไม่ เ พี ย งพอต่ อ แผนการผลิ ต แผนกจั ด ซื้ อ
ตารางที ่ 2 ข้ อ มู ล วั ต ถุ ด ิ บ ที ่ เ กิ ด การขาดแคลนเฉลี ่ ย ใน ไม่สามารถนำส่งวัตถุดิบให้ฝ ่ายผลิตได้ อีกทั้งแผนกวางแผน
ปีงบประมาณ 2018 - 2019 ไม่สามารถวางแผนการผลิตได้เช่นกัน
ผู้วิจัยและทีมงานได้ร่วมกันสรุปปัจจัยที่ทำให้เกิด การส่ง
มอบล่ า ช้ า มี 4 ปั จ จั ย ได้ แ ก่ 1. การออกคำสั ่ ง ซื ้ อ ล่าช้า
เนื่องจากลูกค้ามีการเพิ่มออเดอร์ อย่างกะทันหัน 2. แผนการ
ผลิตมีการเปลี่ยนแปลง 3. สต๊อกในระบบกับสต๊อกที่มีอยู่จริง
ไม่ตรงกัน 4. วัตถุดิบบางประเภทมีอายุ การใช้งานจำกัด เมื่อ
ต้องนำมาใช้วัตถุดิบนั้นหมดอายุไปแล้ว โดยเครื่องมือที่ใช้ใน
การดำเนินการศึกษา ได้แก่ การจำแนกวัตถุดิบ คงคลัง เป็น
หมวด ABC การกำหนดนโยบายการกำหนดวัตถุดิบคงคลัง
ปลอดภัยที่เหมาะสม และจัดทำระบบ VMI ร่วมกับผู ้ ข าย
20
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

เพื ่ อ ให้ ต ้ น ทุ น ของวัต ถุ ด ิ บ คงคลัง ต่ำ สุ ด และลดปั ญหาการ 3.3 การกำหนดตัวชี้วัด


ขาดแคลนวัตถุดิบ การประเมินผลการดำเนินการ จะประเมินผลผ่านดัชนีชี้วัด
3.2 กระบวนการออกคำสั่งซื้อวัตถุดิบ 2 ตัว ได้แก่
กระบวนการออกคำสั่ง ซื้อวัตถุดิบของโรงงานกรณีศ ึกษา 1. การลดจำนวนครั ้ ง การขาดแคลนวั ต ถุ ด ิ บ โดย
เริ่มจากแผนกวางแผนได้รับคำสั่งซื้อและการพยากรณ์คำสั่งซื้อ เปรียบเทียบจำนวนครั้ง ของการขาดแคลนวัตถุดิบก่อ นและ
จากลูกค้า หลังจากได้รับแล้วทำการตรวจสอบเงื่อนไขการซื้อ หลังการประยุกต์ใช้การจัดการวัตถุดิบคงคลัง
ขาย จากนั้นส่ง ให้ผู้จัดการแผนกอนุมัติ หลัง จากได้รับการ 2. มูลค่าวัตถุดิบคงคลัง โดยการเปรียบเทียบมูลค่าวัตถุดิบ
อนุมัติ ถ้าได้รับคำสั่งซื้อ (PO) จะจัดทำเอกสารใบสั่งขายและ คงคลังก่อนและหลังการประยุกต์ใช้ระบบการบริหารสินค้าคง
สร้าง Seiban เพื่อแจ้งให้ฝ่ายผลิตได้ทราบแผนการผลิต แต่ถ้า คลังร่วมกันโดยผู้ขาย
ได้รับการพยากรณ์คำสั่งซื้อฝ่ายวางแผนจัดทำแผนการต้องการ 3.4 พิจารณาเลือกเครื่องมือที่ใช้
วัส ดุล ่วงหน้า เพื่อวางแผนการเรียกวัตถุดิบจากผู้ผลิต เมื่อ 1. การเรี ย งวั ต ถุ ด ิ บ คงคลั ง แบบ ABC Analysis โดย
จัดทำข้อมูลทั้งหมดและใส่ในระบบเสร็จแล้ว จากนั้นทำการ แบ่งกลุ่มการพิจารณาด้วยมูลค่าการใช้รวมต่อปี เพื่อจัดลำดับ
คำนวณแผนความต้องการวัส ดุ เพื่อจัดการและวางแผนการ ความสำคัญและเลือกกลุ่มวัตถุดิบเป้าหมาย
บริหารจัดการความต้องการวัส ดุ เมื่อทราบความต้ อ งการ 2. การจัดทำระบบการบริหารสินค้าคงคลังร่วมกันโดย
วัตถุดิบแล้วจะส่ง เอกสารใบขอซื้อให้แผนกจัดซื้ อ จากนั้น ผู้ขาย (VMI) ที่อยู่ในประเทศ เพื่อลดการขาดแคลนวัตถุดิบ
แผนกจัดซื้อทำการออกคำสั่งซื้อและส่งให้ผู้ผลิต และทำการส่ง และต้นทุนของวัตถุดิบคงคลัง
PO Balance ปัจจุบัน เพื่อแจ้งให้ผู้ผลิตทราบวันเรียกงานที่ 3.5 การจัดทำระบบการบริห ารสินค้า คงคลังร่ว มกันโดย
อาจเกิดการเปลี่ยนแปลง โดยมีขั้นตอนดังรูปที่ 3 ผู้ขาย
การนำระบบการบริหารสินค้าคงคลังร่วมกันโดยผู้ขายที่อยู่
ในประเทศ จะต้องทำการกำหนดขั้นต่ำของการเติมเต็มวัตถุดิบ
รวมไปถึงการแลกเปลี่ยนข้อมูลปริมาณการใช้วัตถุดิบระหว่าง
ผู้ซื้อและผู้ขาย ขั้นตอนการจัดทำระบบ VMI ดังรูปที่ 4

รูปที่ 3 แผนผังกระบวนการวางแผนและออกคำสั่งซื้อวัตถุดิบ
รูปที่ 4 ระบบการบริหารสินค้าคงคลังร่วมกันโดยผู้ขาย
21
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

4. ผลการดำเนินงานวิจัย โครงสร้างของระบบการบริหารสินค้าคงคลังร่วมกั นโดย


จากผลการดำเนินงานวิจัย ประกอบไปด้วย การแบ่งกลุ่ม ผู้ขาย แบ่งออกเป็น 4 ส่วนหลัก ได้แก่
วัตถุดิบคงคลังแบบ ABC Analysis และโครงสร้างของระบบ 1. พื้นที่จัดเก็บวัตถุดิบ ใช้โกดังของบริษัทผู้ซื้อ ตั้งอยู่ใน
การบริหารสินค้าคงคลังร่วมกันโดยผู้ขาย นิ ค มอุ ต สาหกรรมนวนคร ซึ ่ ง ห่ า งจากบริ ษ ั ท ผู ้ ซ ื ้ อ เพี ย ง
4.1 การแบ่งกลุ่มวัตถุดิบคงคลังแบบ ABC Analysis 10 กิโลเมตร ซึ่งใช้เวลาในการขนส่งวัตถุดิบประมาณ 20 นาที
จากการแบ่งกลุ่มวัตถุดิบคงคลังแบบ ABC Analysis โดย 2. ผู้ขาย (Supplier) ทำหน้าที่ผลิต เพื่อเติมเต็มวัตถุดิบ
ใช้เกณฑ์การแบ่งกลุ่มด้วยมูลค่าการใช้งานรวมต่อปี สามารถ ให้เพียงพออย่างต่อเนื่อง
แบ่งกลุ่ม ABC ดังตารางที่ 3 จะเห็นได้ว่า วัตถุดิบประเภท A 3. ชุดข้อมูล ที่ใช้ส ื่อสารระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ได้แก่
มี ท ั ้ ง หมด 206 รายการ เป็ น วั ต ถุ ด ิ บ ที ่ ม ี ม ู ล ค่ า สู ง และมี ข้อมูลแผนการผลิตในแต่ละสัปดาห์จากแผนกวางแผน ข้อมูล
ความสำคัญต่อต้นทุนการบริหารสินค้าคงคลัง สต๊อกที่ออกมาจากระบบอัตโนมัติ โดยมีแผนก IT เป็นผู้ดูแล
ตารางที่ 3 ผลการแบ่งกลุ่ม ABC ด้วยมูลค่าวัตถุดิบรวมต่อปี และแผนกจัดซื้อมีหน้าที่รวบรวมข้อมูล และตรวจสอบความ
ถูกต้อง เพื่อส่งให้กับผู้ขาย
4. เมื่อผู้ซื้อมีการนำวัตถุดิบไปใช้ ทางผู้ขายจะต้องออก
invoice ให้กับผู้ซื้อและทำการแจ้ง ปริม าณวั ต ถุ ด ิบในการ
เติมเต็มวัตถุดิบครั้งถัดไป

4.3 การประเมินผล
เมื่อทำการจำแนกตามผู้ขาย (Supplier) พบว่ามีจ ำนวน การประเมินผลหลัง การบริหารสินค้าคงคลังร่วมกัน
ทั ้ ง หมด 29 ราย โดยการศึ ก ษาครั้ ง นี ้ ผ ู ้ว ิ จ ัย จะใช้ ร ายการ โดยผู้ขาย (VMI) ประเมินผลผ่านดัชนีชี้วัด 2 ตัวได้แก่
วัตถุดิบ 206 รายการจาก 1,489 รายการ ซึ่งได้สั่งซื้อวัตถุดิบ 1. ปริมาณจำนวนครั้ง การขาดแคลนวัตถุดิบ หลัง การ
หลักมาจากผู้ขายในประเทศจำนวน 3 ราย ที่จ ะนำการทำ ดำเนินการพบว่า จำนวนครั้งที่เกิดการขาดแคลนของวัตถุดิบ
ระบบ VMI มาประยุกต์ใช้ดังตารางที่ 4 ลดลงจากร้อยละ 54 เป็นร้อยละ 41
ตารางที่ 4 ผลการจำแนกผู้ขายวัตถุดิบหลัก 2. มูล ค่าวัตถุดิบคงคลัง หลัง การนำการบริหารสิน ค้ า
คงคลังมาใช้พบว่า มูลค่าวัตถุดิบคงคลังที่ถือครองไว้มีจำนวน
ลดลงของโรงงานกรณีศึกษาลดลงคิดเป็นอัตราส่วนร้อยละ 51

5. สรุป
ผู้วิจัยได้ดำเนินการประยุกต์ใช้การบริหารสินค้าคงคลังโดย
ผู้ขายตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2565 เป็น
เวลาทั้งสิ้น 5 เดือน หลังการดำเนินการพบว่าจำนวนครั้งของ
4.2 โครงสร้างของระบบการบริหารสินค้าคงคลังร่วมกันโดย
การขาดแคลนของวัตถุดิบมีจำนวนลดลง วัตถุดิบมีการเติมเต็ม
ผู้ขาย
อย่างต่อเนื่อง สามารถลดระยะเวลาการรอคอยวัตถุดิบ และ
สามารถลดมูล ค่าของวัตถุดิบคงคลัง ได้ รวมถึง เป็นการลด
22
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

ค่าใช้จ ่ายในการจัดเก็บวัตถุดิบอีกด้ วย นอกจากนี้โ รงงาน 2. ธนิ ต โสรั ต น์ . (2552). คู ่ ม ื อ การจั ด การคลั ง สิ น ค้ าและ
กรณีศึกษาสามารถส่งมอบสินค้าให้กับลูกค้าได้ตามเป้าหมายที่ การกระจายสินค้า . บริษ ัท วี -เซิร ์ฟ โลจิส ติกส์ จำกั ด .
วางไว้ กรุงเทพฯ.
การนำระบบการบริ ห ารสิ น ค้ า คงคลั ง โดยผู ้ ข ายมา 3. บุษบา พฤกษาพันธุ์รัตน์ , และปิยะนันท์ คำภิโร. (2555).
ประยุ ก ต์ ใ ช้ ในการแก้ ไขปั ญ หาการขาดแคลนของวั ต ถุดิบ “กระบวนลำดับขั้นเชิงวิเคราะห์สำหรับการแยกประเภท
ประเภทอิเล็กทรอนิกส์และสามารถใช้ได้ดี ส่งผลให้โรงงาน วัส ดุค งคลัง และการกำหนดนโยบายสั่ง ซื้ อสำหรับ วั ส ดุ
กรณีศึกษาสามารถแก้ไขปัญหาการขาดแคลนวัตถุดิบลดลง กลุ่ม A.” วารสารวิศวกรรมสาร มข.. ปีที่ 40. ฉบับที่ 2.
จากร้อยละ 54 เป็นร้อยละ 41 นอกจากนี้มูลค่าวัตถุดิบคงคลัง หน้า 163-171.
ของโรงงานกรณีศึกษาลดลงคิดเป็นอัตราส่วนร้อยละ 51 แสดง 4. คำนาย อภิปรัช ญาสกุล . (2556). การจัดการคลัง สินค้า
ให้เห็นว่าการนำระบบการบริหารสินค้า คงคลังโดยผู้ขายมา และการกระจายสินค้า. บริษัท โฟกัสมีเดีย แอนด์ พับลิช
ประยุกต์ใช้กับองค์กรได้บรรลุตามเป้าหมาย ชิ่ง จำกัด. กรุงเทพฯ.
5. ศิโ รวัลลิ์ ยินดี . (2557). “การประยุกต์แนวความคิดการ
6. ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม บริหารสินค้าคงคลัง ระบบ VMI เพื่อเพิ่มประสิทธิ ภ าพ
งานวิจัยนี้ได้นำการประยุกต์ในการบริหารสินค้าคงคลังโดย คลัง สินค้าโรงงานตัวอย่าง”. การค้นคว้าอิส ระปริญญา
ผู้ขายมาใช้ เพื่อปรับปรุงการขาดแคลนวัตถุดิบและลดมูลค่า วิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาห-
คงคลังวัตถุดิบ พบประเด็นที่น่าสนใจ มีดังนี้ การ. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
1. ควรต่อยอดการทำ VMI กับผู้ขายรายอื่นๆ เพื่อให้ครอบคลุม
วัตถุดิบทุกประเภทที่มีการสั่งซื้อ
2. ควรมี ร ะบบส่ ง ข้ อ มู ล แบบอั ต โนมั ต ิ ใ ห้ ผ ู ้ ข าย เพื ่ อ ลด
ระยะเวลาในการดึง ข้อมูล ออกจากระบบและการส่ง ข้อมูล
ให้กับผู้ขาย อีกทั้งยังเพิ่มความสะดวกและความรวดเร็วในการ
ใช้งาน
3. ควรมีระบบในการแจ้งเตือนเมื่อถึงระดับที่จำนวนวัตถุดิบ
คงคลังลดลงน้อยกว่าปริมาณที่ได้ทำการตกลงร่วมกันไว้
4. ควรมีตรวจนับสต๊อกรายเดือน เพื่อป้องกันการสูญหายของ
วัตถุดิบและป้องกันความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้ นจากการเบิก
วัตถุดิบไปใช้และการส่งวัตถุดิบจากผู้ขาย

เอกสารอ้างอิง
1. พิภ พ ลลิตาภรณ์ . (2543). การบริหารของคงคลังระบบ
MRP และ ROP. สำนักพิมพ์ ส.ส.ท.. กรุงเทพฯ.

23
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

การจัดการความรู้การใช้งานเครื่องมือทดสอบสมบัติของวัสดุ
กรณีศึกษาศูนย์บริการวิเคราะห์ทดสอบของรัฐ
The Knowledge Management for the Material properties testing equipments:
A case study of the Government materials Testing Laboratory

วิลาสินี พรมโสภา1* และ ดนุพันธ์ วิสุวรรณ2*


1,2
สาขาวิชาการจัดการวิศวกรรม ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต คลองหลวง ปทุมธานี 12120
E-mail : wilasinee.prom@dome.tu.ac.th*, vdanupun@engr.tu.ac.th 2*

บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้นำการจัดการความรู้มาใช้ภายในองค์กร โดยศึกษากับศูนย์บริการวิเคราะห์ทดสอบของวัสดุ ในส่วนของ
ห้องปฏิบัติการ ซึ่งประสบปัญหาการทดสอบชิ้นงานเกิดความเสียหายเฉลี่ยร้อยละ 54.09 จากการวิเคราะห์สาเหตุ พบว่าเกิดจาก
เจ้าหน้าห้องปฏิบัติการขาดความรู้เรื่องการใช้งานเครื่องมือทดสอบและองค์กรยังขาดการจัดการความรู้ที่เป็นระบบ ผู้วิจัยจึงนำ
กระบวนการจัดการความรู้อย่างเป็นระบบมาพัฒนาและปรับปรุงระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ อีกทั้งมีการจัดประชุมการถ่ายทอด
ความรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพของเจ้าหน้าที่ โดยหลังการปรับปรุงพบว่าร้อยละความเสียหายของชิ้นงานทดสอบน้อยลงจากร้อยละ
54.09 เป็น 5.42 รวมทั้งผลความพึงพอใจในระบบการจัดการความรู้จากเจ้าหน้าที่เข้าใช้งานเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 34.93 เป็นร้อยละ
91.71 ส่งผลให้การทดสอบมีประสิทธิภาพดีขึ้น

คำสำคัญ : การจัดการความรู้ การใช้งานเครื่องมือทดสอบ เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ

Abstract
This research studies the implementation of the knowledge management to the case study
organization which is the government material testing laboratory. The research problem is the high percentage
of the specimens damaged between testing which is 54.09 %. The lack of knowledge for using the testing
equipment’s and the unsystematic knowledge management are the causes of problem. The knowledge
management and the information technology were improved systemically. The forums for knowledge sharing
between the operators were also employed. The result after improvement shows that the specimens were
damaged between testing reduces from 54.09 % to 5.42 %. The satisfaction of the operators after improving
24
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

the knowledge management system also increases from 34.93 % to 91.71 %.

Keywords: Knowledge Management, Instrument Operations, Laboratory officers, Information Technology


Systems

25
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

1. บทนำ 2. วรรณกรรมปริทัศน์
ปัจ จุบันการทดสอบคุณสมบัติของวัสดุมีความสำคัญต่อ การจัดการความรู้ คือกระบวนการเกี่ ย วกั บระบบการ
ภาคอุตสาหกรรมเป็นอย่างยิ่ง ภาครัฐจึงจัดตั้งศูนย์เครื่องมือ ประมวลข้อมูล สารสนเทศ ความคิด การกระทำ ตลอดจน
ทดสอบเพื่อสนับสนุนงานวิจ ัย อันจะเป็นการเพิ่มขีดจำกัด ประสบการณ์ของบุคคลเพื่อสร้างความรู้หรือนวัตกรรม พร้อม
ความสามารถในการรองรั บ บริ ก ารวิ เ คราะห์ ท ดสอบแก่ จัดเก็บในลักษณะของแหล่งข้อมูลที่สามารถเข้าถึงได้ จากการ
หน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน ใช้ช ่องทางที่หลากหลาย ที่ทางองค์กรจัดเตรียมไว้ เพื่อให้
ในการให้บริการวิเคราะห์ทดสอบแก่หน่วยงานภาครัฐและ บุคคลในองค์กร นำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน ซึ่ง
ภาคเอกชน ทางองค์ ก รจะต้ อ งมี ก ารพั ฒ นาและส่ ง เสริ ม ก่อให้เกิดการแบ่งปัน การถ่ายทอดความรู้ รวมถึงสามารถนำ
ทรัพยากรบุค ลากรให้ม ีค วามรู ้ ความสามารถ และทัก ษะ ความรู้ ไปเผยแพร่และไหลเวียนได้ทั่วทั้งองค์กรอย่างสมดุล
ทางด้านเทคนิค การทดสอบ เพื่อเพิ่มประสิ ทธิ ภ าพในการ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาศักยภาพของบุคลาใน
วิเคราะห์ทดสอบมากยิ่งขึ้น อีกทั้ง ตัวบุคลากรต้องสามารถ องค์กร [1]
ถ่ายทอดความรู้แก่เพื่อนร่วมทีมในองค์กรเดียวกันได้ ประเภทของความรู้เปรียบเสมือนภูเขาน้ำแข็งที่จมอยู่ใต้น้ำ
กรณีศ ึกษานี้ได้เลือกศึกษาองค์กรที่ ให้บริการเครื่องมือ คือ ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit knowledge) เป็นความรู้ที่ไม่
วิเคราะห์ทดสอบโดยเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการทดสอบสมบัติ เป็นทางการ เป็นความรู้จากทักษะหรือความรู้เฉพาะตัวของแต่
ของวัส ดุ ทั้ง นี้ ปัจ จุบั นยัง ประสบปั ญหาในการทดสอบที ่ มี ละบุ ค คลจากประสบการณ์ท ี ่ ได้ จ ากการทำงาน เช่ น การ
ชิ้นงานเสียหายจำนวนมาก ทำให้หน่วยงานของผู้ขอรับบริการ ฝึกอบรม การคิด การสังเกตรวมทั้งการสนทนา ดังนั้นจึง ไม่
เสียค่าใช้จ ่า ยและเสี ยเวลาในการเตรีย มชิ ้ นงาน ส่ง ผลให้ สามารถจัดความรู้ประเภทนี้ให้เป็นระบบได้ และด้านที่ที่โผล่
กระทบต่อแผนการดำเนินการทดสอบทำให้เกิดความล่าช้า พ้นน้ำคือ ความรู้ทชี่ ัดแจ้ง (Explicit Knowledge) เป็นความรู้
สาเหตุของปั ญหาดัง กล่ า ว เกิดจากเจ้า หน้า ที่ ท ดสอบขาด ที่มีการบันทึกลายลักษณ์อักษร ความรู้ประเภทนี้จัดเป็นความรู้
ความรู้ ค วามสามารถและทั ก ษะในการประยุ ก ต์ ใ ช้ ง าน ที่แสดงออกโดยใช้ร ะบบสัญลักษณ์ จึง สามารถสื่อสารและ
เครื่องมือ ผู้วิจัยจึงได้ทำการเก็บข้อมูลของปัญหาดังตารางที่ 1 เผยแพร่ได้ อ ย่ างแพร่หลาย โดยความรู้ที ่ฝ ัง อยู ่ใ นคนจะมี
ซึ่ง ทางองค์กรยัง ไม่ได้ให้ ค วามสำคัญของระบบการจัดการ มากกว่ า ประมาณ 80 เปอร์ เ ซ็ น ต์ อ ี ก 20 เปอร์ เ ซ็ น ต์ เป็ น
ความรู้ ที่มีประสิทธิภ าพ รวมถึง การแลกเปลี่ยนความรู้ กั น ความรู้ที่ชัดแจ้ง ซึ่งโดยปกติความรู้ทั้ง 2 ประเภทจะสามารถ
ภายในองค์กร สลับสับเปลี่ยนสถานะตลอดเวลา [2]
กระบวนการจั ด การความรู ้ เป็ น รู ป แบบกระบวนการ
ตารางที่ 1 ข้อมูลปัญหาร้อยละรายงานทดสอบชิ้นงานตั้งแต่ปี จัดการความรู้ เพื่อให้สัมพันธ์กับการนำกระบวนการจั ดการ
2562 ถึง 2564 ความรู ้ ม าประยุ ก ต์ ใ ช้ ก ั บองค์ ก รในปั จ จุ บั น สามารถแบ่ ง
รายงานทดสอบ รายงาน กระบวนการเหล่านั้นได้เป็น 7 ประการดังนี้ 1. การบ่งชี้ความรู้
จำนวนเจ้าหน้าที่ ชิ้นงาน ชิ้นงาน
ปี เป็นการค้นหาปัญหาขององค์กรว่ามีความรู้อะไรบ้างทียั งไม่ได้
ห้องปฏิบัติการ ไม่ เสียหาย
เสียหาย
เสียหาย (ร้อยละ) ถูกเติมเต็มให้ส มบูร ณ์ 2. การสร้างและการแสวงหาความรู้
2562 11 1203 900 57.20 การรวบรวมความรู้จ ากหลายแหล่ง ให้เป็นคลัง ความรู้ที่มี
2563 24 1201 1011 54.29 ความเหมาะสมและผู้ใช้คนอื่นสามารถเข้าถึงการใช้งานได้ง่าย
2564 31 1343 1013 57.00 3. การจัดความรู้ให้ระบบ เป็นการอำนวยความสะดวกให้การ
26
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

สืบค้นและการเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายมากขึ้ น 4. การประมวลและ ห้องปฏิบัติการ พบรายงานทดสอบที่มีชิ้นงานเสียหายทำให้


กลั ่ น กรองความรู ้ ปรั บ ปรุ ง รู ป แบบของเอกสารให้ เ ป็ น หน่วยงานของผู้ขอรับบริการเสียค่าใช้จ่ายและเสียเวลาในการ
มาตรฐานและภาษาให้ มี ค วามเข้ า ใจได้ง ่ า ย 5. การเข้ า ถึง เตรียมชิ้นงาน ซึ่ง อาจส่ง ผลกระทบต่อแผนการดำเนิ น งาน
ความรู้ การที่องค์กรต้องมีวิธีการเข้าถึงความรู้ได้ง่าย 6. การ ทดสอบของห้องปฏิบั ต ิการเกิดความล่ าช้า ไม่เป็นไปตาม
แลกเปลี่ยนความรู้ การนำความรู้มาทำการแลกเปลี่ยนกัน 7. กำหนด โดยผู ้ ว ิ จ ั ย ใช้ ข ้ อ มูล ของปี ง บประมาณ 2564 ตาม
การเรียนรู้ เป็นการนำความรู้ไปใช้ในการแก้ไขปัญหาและทำ แผนการดำเนิ น งานตั ้ ง แต่ เ ดื อ นกรกฎาคม 2564 ถึ ง เดื อ น
ให้ความรู้เป็นส่วนหนึ่งของการทำงาน [3] กันยายน 2564 ดังตาราง 2

3. วิธีการวิจัย ตารางที่ 2 ร้อยละรายงานทดสอบที่มีชิ้นงานเสียหาย


งานวิจัยนี้ศึกษาการจัดการความรู้ความสามารถในการใช้ รายการทดสอบชิ้นงาน ชิ้นงาน
จำนวน
ระยะเวลา เสียหาย
งานเครื่องมือทดสอบของห้องปฏิบัติการทดสอบสมบัต ิ ของ เจ้าหน้าที่ เสียหาย ไม่เสียหาย
(ร้อยละ)
วั ส ดุ (Material Property laboratory) โดยแก้ ไ ขปั ญ ห า ก.ค. 64 98 27
รายงานทดสอบที ่ ม ี ช ิ ้ น งานเสี ย หายของเจ้ า หน้ า ที่ ห ้ อ ง ส.ค. 64 31 105 135 54.09
ปฏิบัติง าน จึง ได้นำกระบวนการจัดการความรู้ซึ่งได้ทำการ ก.ย. 64 200 180
รวบรวมข้อมูลผ่านการทำแบบสอบถาม นำข้อมูลมาวิเคราะห์
และดำเนินตามหลักการจัดการความรู้ เพื่อให้ความสามารถใน ทางผู้วิจัยและทีมงานจัดการความรู้ต้องการทราบสาเหตุที่
ใช้งานเครื่องมือทดสอบของเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการเพิ่มมาก แท้จริงที่มีผลกระทบต่อความสามารถในการวิเคราะห์ทดสอบ
ขึ้น โดยมีขั้นตอน ดังนี้ ของเจ้ า หน้ า ที ่ ห ้ อ งปฏิ บ ั ต ิ ก าร จึ ง ดำเนิ น การเก็ บ ข้ อ มู ล
ประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก ได้แก่ 1. ข้อมูล ทั่วไปของผู้ตอบ
1. ศึกษาทฤษฎีและศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้อง แบบสอบถาม 2. ข้อมูลของปัญหาที่มีผลกระทบกับการใช้ง าน
2. ศึกษาปัญหาปัจจุบันขององค์กร เครื่องมือวิเคราะห์ท ดสอบและมาตรฐานการทดสอบของ
3. กำหนดตัวชี้วัด (KPI) และประเมินผลก่อน เครื่องมือ โดยแยกตามอายุง าน 3. ข้อมูลความพึงพอใจของ
ดำเนินการ กระบวนการจัดการความรู้ และสุ่มแบบสอบถามตามขนาด
4. สร้างองค์ความรู้ผ่านคู่มือและระบบสารสนเทศ ของกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้การคำนวณขนาดของกลุ่มตัว อย่าง
5. สร้างความรู้จัดเวทีแลกเปลี่ยนความรู้และนำเอาไป ของ Taro Yamane ดังนี้
ใช้ภายในองค์กร
6. ประมวลและวัดผลหลังดำเนินการ n = N / 1 + N (e) 2
7. สรุปผลการจัดการความรู้อย่างเป็นระบบ โดยที่ n = จำนวนตัวอย่าง , N = จำนวนประชากร
e = ค่าความคลาดเคลื่อนที่ 5 %
3.1 การวิเคราะห์สาเหตุปัญหา
สำรวจสภาพแวดล้อมขององค์กรกรณีศึกษา ในส่วนของ โดยเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการมีจำนวน 31 คน จะต้องการ
กลุ่มห้องปฏิบัติการทดสอบสมบัติของวัส ดุ โดยเก็บข้อมู ล เก็บข้อมูลแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดจำนวน 29
รายงานทดสอบชิ้นงานจากการใช้งานเครื่องมือ ของเจ้า น้า ที่
27
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

คน ซึ่งทางผู้วิจัยได้ประชุมลงความเห็นร่วมกันกับทีมงานการ 3.3 พิจารณาเครื่องมือที่ใช้ในการจัดการความรู้


จัดการความรู้ให้ดำเนินการเก็บข้อมูลแบบสอบถามเพิ่มขึ้นเป็น 1. ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ได้แก่ ระบบอินทราเน็ตเป็น
จำนวน 31 คน โดยคิดเป็นร้อยละ 100 ของจำนวนเจ้าหน้าที่ ระบบเข้ามาช่วยในระบบการจัดการความรู้ เน้นการเข้าถึง
ห้ อ งปฏิบ ัต ิ ก ารที ่เ กี่ ย วข้อ งทั้ ง หมด เพื ่ อ เป็ น การลดความ แหล่งข้อมูลที่ง่ายและมีระบบรักษาความปลอดภัยของข้อมูล
ผิดพลาดให้น้อยลง [4] 2. การใช้ เ วที ส ำหรั บ การแลกเปลี ่ ย นความรู้ เป็ น
ผลจากการสำรวจปัญหาที่ทำให้เกิด รายงานทดสอบที่มี เครื่องมือที่ช่วยจัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนความรู้กันของเจ้าหน้าที่
ชิ้นงานเสียหายจากการใช้งานเครื่องมือทดสอบของเจ้าหน้าที่ ห้องปฏิบัติการทดสอบสมบัติการวัสดุ เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้
ห้องปฏิบัติการ สามารถสรุปผลการวิเคราะห์ได้ดังตารางที่ 3 รวมทั้งมีการบันทึกเพื่อนำข้อมูลไปรวบรวมเป็นข้อมูลความรู้
และกระตุ้นให้เกิดการกระจายความรู้ทั่วทั้งองค์กร
ตารางที่ 3 การวิเคราะห์ปัญหาเพื่อหาการจัดการความรู้ที่ 3.4 กระบวนการสร้างความรู้และนำความรู้เข้าสู่ระบบ
ต้องการให้มีในกระบวนการจัดการความรู้ กระบวนการสร้างความรู้ มีขั้นตอนดังต่อไปนี้ 1. ทีมงาน
จัดการความรู้และผู้เชี่ยวชาญร่วมสร้างและรวบรวมความรู้การ
ปัญหา ความรู้ที่ต้องให้มี
1. ขาดประสบการณ์ แ ละไม่ มี เจ้าหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงคอยถ่ายทอด
ใช้ง านของเครื่องมือทดสอบสมบัติของวัสดุ 2. ความรู้ที่ถูก
ทักษะการใช้งานเครื่องมือ ที่ม าก ความรู้และทักษะการใช้งาน สร้างขึ้นถูกตรวจสอบความถูกต้องของความรู้ จ ากหั ว หน้ า
พอ เครื่องมือ ห้องปฏิบัติการ หากกรณีความรู้หมวดนั้นไม่ถูกต้อง หัวหน้า
2. ขาดความรู ้ เ รื ่ อ งมาตรฐาน มีเอกสารเกี่ยวกับรายละเอียดของ ห้องปฏิบัติการจะส่งกลับมาที่ทีมงานจัดการความรู้ เพื่อนำมา
ภายใต้ ก ารใช้ ง านเครื ่ อ งมื อ มาตรฐานของเครื่องมือทดสอบ
ทดสอบ
ปรั บ ปรุ ง และแก้ ไ ขให้ ส มบู ร ณ์ แ ละส่ง ให้ ผ ู ้ จ ั ด การวิ ช าการ
3. ข า ด ค วา ม รู ้ ค วา ม เ ข ้ า ใจ จัดทำเช็คลิสต์ หัวข้อของหลั ก การ ตรวจสอบอีกครั้ง 4. เมื่อหมวดความรู้ถูกต้องครบถ้วน หัวหน้า
หลั ก การทำงานของเครื ่ อ งมื อ ความรู้ของเครื่องมือทดสอบ ห้ อ งปฏิ บ ั ต ิ ก ารจะส่ ง เอกสารให้ ผู้ บ ริ ห ารสู ง สุ ด อนุ ม ั ต ิ 5.
ทดสอบชิ้นงาน หลัง จากนั้นทีมงานจัดการความรู้ จ ะนำความรู้ขึ้นระบบ ซึ่ง
4. ขาดการถ่ายทอดแลกเปลี่ยน จัดประชุมแลกเปลี่ยนความรู้ของ
ความรู้กันภายให้องปฏิบัติการ เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ จะต้องอาศัยผู้ดูแลระบบ (Admin) และฝ่ายสารสนเทศ (IT)
5. ขาดความรู ้ ด ้ านอื ่ น เกี ่ ย วกั บ มีเอกสารสำหรับบันทึกการใช้งาน นำความรู้ เข้าสู่ระบบอินทราเน็ต เพื่อให้เจ้าหน้าที่ สามารถ
การใช้งานเครื่องมือทดสอบ เครื่องมือและเช็คสภาพก่อนใช้งาน เข้าถึงความรู้ได้สะดวก ดังรูปที่ 1

3.2 กำหนดตัวชี้วัดการประยุกต์ใช้ระบบการจัดการความรู้
ดัชนีชี้วัดที่นำมาพิจารณาการประยุกต์ใช้การจัดการความรู้
เพื่อวัดผลก่อนและหลัง มีด้วยกัน 2 ตัวชี้วัดคือ
1. ร้อยละรายงานทดสอบที่มีช ิ้นงานเสียหายจากการใช้
งานเครื่องมือทดสอบของเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติงานลดลงไม่เกิน
ร้อยละ 10
2. ระดั บ ความพึ ง พอใจของเจ้ า หน้ า ที่ ห ้ อ งปฏิ บ ั ต ิ ก าร
ทดสอบ ด้วยการทำแบบประเมินก่อนและหลัง การจัด การ รูปที่ 1 กระบวนการสร้างความรูส้ ู่ระบบอินทราเน็ต
ความรู้ โดยต้องมีค่าดัชนีวัดผลความพึงพอใจร้อยละ 80 ขึ้นไป
28
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

3.5 โครงสร้างเทคโนโลยีสารสนเทศการจัดการความรู้ ระบบอินทราเน็ตต้องสามารถใช้งานได้ตามฟัง ก์ชันของ


การออกแบบโครงสร้างของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศใน การเข้าถึงองค์ความรู้การใช้งานเครื่องมือทดสอบสมบัติของ
รูปแบบอินทราเน็ต เพื่อให้ เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการสามารถ วัสดุ ยกตัวอย่างเช่น องค์ความรู้ของการเข้าใช้งานเครื่องวัด
เข้าถึงความรู้การใช้งานเครื่องมือ ทดสอบได้อย่างสะดวกและ อัตราการไหลของพลาสติก มีขั้นตอนการเข้าใช้งานดังต่อไปนี้
รวดเร็ว มีขั้นตอนดังนี้ 1. ทีมงานและผู้เชี่ยวชาญร่วมกันสร้าง 1. เจ้าหน้าที่ Log in เข้าไปเรียนรู้ในระบบสารสนเทศของทาง
ความรู้เรื่องของเครื่องมือทดสอบ พร้อมจัดให้เป็นองค์ความรู้ องค์ ก รสร้า งขึ ้น โดยพิ ม พ์ User Number และ Password
ให้มีความเป็นระบบ 2. ความรู้ที่ผ่านการคัดกรองแล้วจะถูก เพื่อเข้าถึงความรู้ของเครื่องมือทดสอบ ดังรูปที่ 3
ตรวจสอบความถูกต้องจากหัวหน้าห้องปฏิบัติการตรวจสอบ
และถูกเสนออนุมัติจากผู้บริหารสูงสุด 3. ฝ่าย IT ออกแบบการ
ทำงานของระบบอินทราเน็ตให้มีค วามสะดวกต่อการเข้า ถึง
ข้อมูล พร้อมกำหนดสิทธิ์การเข้าใช้ (Login) 4. Admin ดูแล
ระบบสารสนเทศ นำองค์ความรู้จัดเก็บเป็นคลังความรู้ (Data
base) และทดสอบการใช้งานของระบบว่าสามารถใช้ง านได้
จริงและสามารถเข้าถึงได้สะดวก 5. เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ
สามารถ Login โดยใช้ร หัส พนักงาน (User Number) และ
รหัสผ่าน (Password) ถึงสามารถเข้าไปสืบค้น ข้อมูล ดูคลิป
วิ ด ี โ อและสามารถถามตอบเมื ่ อ กรณี ม ี ข ้ อ สงสั ย เกี ่ ย วกั บ
เครื่อ งมือทดสอบ โดยจะมีผ ู้เชี่ยวชาญให้คำแนะนำความรู้ รูปที่ 3 หน้าหลักเข้าใช้งานฐานข้อมูล
ให้ ก ั บ ข้ อ สงสั ย เพื ่ อ อำนวยความสะดวกให้ เ จ้ า หน้ า ที่
ห้องปฏิบัติการสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้กับการทำงาน 2. ระบบเข้าสู่หน้าจอแสดงหมวดหมู่ของเครื่องมือทดสอบ โดย
ต่อไป ดังรูปที่ 2 เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการสามารถใช้ฟังก์ชั่นการสืบค้นความรู้
เพื่อสามารถเข้าถึงความรู้ที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว ดังรูปที่ 4

รูปที่ 2 ระบบโครงสร้างจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศในองค์กร รูปที่ 4 หน้าจอโปรแกรมหมวดหมู่ความรู้เครื่องมือทดสอบ

29
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

3. เลื อ กเข้ า เมนู บ ริ ก ารความรู ้ (Knowledge Service)


หน้าต่างจะปรากฏหมวดองค์ค วามรู้ของเครื่องมือทดสอบ
สมบัติของวัสดุ ในการเรียนรู้นี้ เลือกการใช้งานเครื่องวัดอัตรา
การไหลของพลาสติ ก โดยหมวดเครื ่ อ งมื อ ทดสอบนี้
ประกอบด้วย 1. เอกสารอธิบายหลักการทำงาน ทฤษฎีการ
ไหลของพลาสติก 2. คู่มือเปิด – ปิดเครื่องมือทดสอบ 4.คู่มือ
การใช้งานเครื่องมือทดสอบ 3. คู่มือแนะนำอุปกรณ์ใช่ร่วมกับ
เครื่องมือทดสอบ 4. คู่มือการตรวจสภาพบำรุงรักษาและสอบ
เทียบเครื่องมือทดสอบ 5. คลิปวิดีโอสอนการใช้งานเครื่องมือ รูปที่ 6 จำนวนเจ้าหน้าที่เข้าใช้งานระบบอินทราเน็ต
ทดสอบ ดังรูปที่ 5
3.6 การจัดการเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ (Knowledge
Forum)
ที ม งานจั ด การความรู ้ ด ำเนิ น ให้ ม ี ก ารจั ด กิ จ กรรม
แลกเปลี่ยนความรู้กันของเจ้าหน้าที่ห้ องปฏิบัติการทดสอบ
สมบัติการวัสดุระหว่างผู้จัดการวิชาการ เจ้าหน้าที่ที่มีความรู้ มี
ประสบการณ์ที่มากและเจ้าหน้าที่ที่มีประสบการณ์น้อยหรือยัง
ไม่มีความรู้เกี่ยวกับเครื่องมือทดสอบ โดยกิจกรรมจะจัดขึ้ น
เดือนละ 2 ครั้ง ของทุกเดือนเพื่อ เป็นการกระตุ้น การเรียนรู้
การถ่ายทอดความรู้ซึ่งกันและกัน อีกทั้งเป็นการเพิ่ม ศักยภาพ
ของเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการให้มากขึ้น หลังจากการปฏิบัติงาน
รูปที่ 5 องค์ความรู้ของเครื่องวัดอัตราการไหลของพลาสติก โดยทีมงานจัดการความรู้จะดำเนินการบันทึกความรู้ที่ได้จาก
การแลกเปลี่ยนความรู้กัน ซึ่งกันและกันพร้อมนำความรู้ไป
หลังการนำการจัดการความรู้เข้าสู่ระบบอิน ทราเน็ตและ รวบรวมเป็นข้อมูลต่อไป ดังรูปที่ 7
ปรับปรุง ได้มีการเปิดให้เจ้าหน้าที่ ห้องปฏิบัติการเข้าใช้ง าน
ระบบสารสนเทศ และติดตามผลจากการนับจำนวนผู้ใช้ง าน
ทำให้ทราบจำนวนของเจ้าหน้าที่เข้ามาใช้ง านมากขึ้น ตั้ง แต่
เดือนธันวาคม 2564 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2565 ดังรูปที่ 6

รูปที่ 7 กิจกรรมแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกันระหว่าง
30
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

4. ผลการดำเนินงานวิจัย ทดสอบสมมติฐานรอง Η1 คือ รายงานทดสอบที่มีชิ้นงาน


หลังการนำหลักการจัดการความรู้เข้ามาช่วยในระบบการ เสียหายก่อนปรับปรุงมีมากกว่าหลังปรับปรุง; 𝜇1 > 𝜇2
ใช้งานเครื่องมือวิเคราะห์ทดสอบของเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ ผลจากการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ค่า P-Value เท่ากับ
จากก่อนปรับปรุงมีรายงานทดสอบที่มีชิ้นงานเสียหายคือร้อย 0.027 น้อยกว่าค่า α โดยกำหนดให้ค่า α มีระดับนัยสำคัญ
ละ 54.09 และหลั ง ปรั บ ปรุง มี ร ายงานทดสอบที ่ มี ช ิ ้ น งาน 0.05 จึ ง ปฏิ เ สธสมมติ ฐ านหลั ก Η0 และยอมรั บ Η1 คื อ
เสียหายลดลงมาอยู่ทรี่ ้อยละ 5.42 แสดงได้ถึงความสำเร็จจาก รายงานทดสอบที่มีชิ้นงานเสียหายก่อนปรับปรุงมีมากกว่าหลัง
การนำการจัดการเรียนรู้เข้ามาใช้ เจ้าหน้าที่ ห้องปฏิบัติ การ ปรับปรุง สรุปว่าการนำกระบวนการจัดการความรู้เข้ามาช่วย
สามารถเข้ า ถึ ง ความรู ้ ไ ด้ ง ่ า ยและรวดเร็ ว อี ก ทั ้ ง มี ก าร ระบบจัดการความรู้ภายในองค์กร ส่งผลให้รายงานทดสอบที่มี
แลกเปลี่ยนความรู้กันระหว่างเจ้าหน้าที่ มีประสบการณ์ใช้งาน ชิ้นงานเสียหายก่อนปรับปรุงมีมากกว่าหลังปรับปรุงการจัดการ
เครื ่ อ งมื อ ที่ ม ากกว่ า ถ่ า ยทอดความรู ้ ไ ปสู ่ เ จ้ า หน้ า ที ่ มี ความรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
ประสบการณ์น้อย ทำให้ลดความเสียหายของชิ้นงานจากการ หลังการนำกระบวนการจัดการความรู้ทั้ง 7 ประการเข้า
ใช้เครื่องมือทดสอบ ดังตารางที่ 4 มาประยุกต์ใช้ พร้อมทั้ง พัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
ภายในองค์กร แสดงให้เห็นถึง ผลลัพธ์ของการเปรียบเทียบ
ตารางที่ 4 เปรียบเทียบร้อยละรายงานทดสอบชิ้นงานก่อ น กระบวนการก่อนและหลัง โดยมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจจาก
และหลังปรับปรุง เจ้ า หน้ า ที ่ เ ข้ า ใช้ ง านระบบสารสนเทศจากร้ อ ยละ 34.93
ร้อยละ จำนวน เพิ ่ ม ขึ ้ น เป็ น ร้ อ ยละ 91.71 ซึ ่ ง การนำระบบเทคโนโลยี
กิจกรร ช่วง ไม่ ชิ้นงาน ผู้ใช้งาน สารสนเทศการจัดการความรู้เข้ามาใช้ ส่ง ผลให้เจ้าหน้าที่
เสียหา
มการ ระยะเวล เสียหา เสียหา ระบบ
จัดการ า

ย ย Intrane
ห้องปฏิบัติการสามารถนำความรู้ออกมาประยุกต์ใช้คู่กับการ
t ทำงาน และสามรถเข้ า ถึง ความรู ้ผ ่ านระบบสื ่อ เทคโนโลยี
ก่อน
ก.ค. 64 98 27 สารสนเทศได้ด้วยตนเอง ทำเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการใช้ง าน
ส.ค. 64 105 135 54.09 - เครื่องมือทดสอบชิ้นงานได้อย่างมีประสิทธิ ภาพเพิ่มขึ้น ดัง
ปรับปรุง
ก.ย. 64 200 180
ม.ค. 65 20 281
ตารางที่ 5
หลัง
ก.พ.. 65 15 235 5.42 75
ปรับปรุง
มี.ค. 65 10 270 ตารางที่ 5 ระดับความพึงพอใจกระบวนการจัดการความรู้
ก่อนและหลังปรับปรุง
นำรายงานทดสอบที ่ ม ี ช ิ ้ น งานเสี ย หายก่ อ นและหลั ง ระดับความพึงพอใจ
ปรับปรุงระบบ มาวิเคราะห์ทดสอบข้อมูลทางสถิติ Paired T- กระบวนการจัดการความรู้
ก่อน หลัง
Test [5] กำหนดให้ μ1แทนรายงานทดสอบที ่ ม ี ช ิ ้ น งาน 1.การบ่งชี้ความรู้ 34.84 90.97
เสียหายก่อนปรับปรุงและ μ2 แทนรายงานทดสอบที่มีชิ้นงาน 2.การสร้างและแสวงหาความรู้ 39.35 90.32
3.การจัดการความรู้ให้เป็นระบบ 37.42 90.97
เสียหายหลังปรับปรุง ทดสอบสมมติฐานหลัก Η0 คือ รายงาน 4.การประมวลผลและกลั่นกรองความรู้ 40.00 87.74
ทดสอบที่มีชิ้นงานเสียหายก่อนปรับปรุงและหลังปรับปรุงไม่ 5.การเข้าถึงความรู้ 33.55 93.55
ต่างกัน; 𝜇1 = 𝜇2 6.การแบ่งปันความรู้ 30.32 95.48
7.การเรียนรู้ 29.03 92.90
ผลการประเมินเฉลี่ย 34.93 91.71
31
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

5. สรุปผลวิจัย อ ง ค ์ ก ร ว ิ จ ั ย ข อ ง ร ั ฐ ”, ค ณ ะ ว ิ ศ ว ก ร ร ม ศ า ส ต ร์ ,
จากกรณีศึกษาที่ผู้วิจัยนำหลักการจัดการความรู้ เข้ามา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ประยุกต์และปรับปรุงภายในองค์กร วิเคราะห์และรวบรวม 5. นิลวรรณ ชุ่มฤทธิ์, 2556, สถิติวิศวกรรม: Engineering
ความรู ้ จ ากแหล่ง ให้ ค วามรู้ ท ี ่ หลากหลาย จากนั ้ น ทำการ Statistics. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด
กลั่นกรองและตกผลึกความรู้ จัดเก็บให้เป็นชุดข้อมูลความรู้
ผ่ า นระบบสื ่ อ เทคโนโลยี ส ารสนเทศอิ น ทราเน็ ต เพื ่ อ ให้
เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการสามารถนำชุดความรู้ไปใช้ พบได้ว่า
หลั ก การจั ด การความรู ้ ส ามารถช่ ว ยพั ฒ นาศั ก ยภาพและ
ความสามารถของเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการได้เป็นอย่างมาก
และช่วยจัดการฐานข้อมูลในระบบให้มีความเป็นระบบมากขึ้น
เข้าถึงง่ายและรวดเร็ว อีกทั้งจำนวนเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติงาน
เข้าใช้งานในระบบสารสนเทศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นผลให้
รายงานทดสอบที่มีช ิ้นงานเสียหายจากการใช้ง านเครื ่องมือ
ทดสอบของเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการลดลงจากร้อยละ 54.09
เป็ น ร้ อ ยละ 5.42 และระดั บ ความพึ ง พอใจของเจ้า หน้าที่
ห้องปฏิบัติการเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 34.93 เป็นร้อยละ 91.71
ทำให้เห็นว่าการนำความรู้เข้าระบบสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ
การจัดการความรู้และการนำไปใช้กับองค์กรปะสบความสำเร็จ
และสามารถพัฒนาเทคนิคและการใช้งานเครื่องมือวิเคราะห์
ทดสอบชิ้นงานของเจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการได้มีประสิทธิภ าพ
มากยิ่งขึ้น

เอกสารอ้างอิง
1. วิจารณ์ พานิช , 2548, การจัดการความรู้: ฉบับนักปฏิบตั ิ.
กรุงเทพฯ สำนักพิมพ์สุขภาพใจ บริษัท ตถาตา พับลิเคชั่น
จำกัด
2. พูนลาภ อุทัยเลิศอรุณ , 2545, การจัดการความรู้สายพันธุ์
ใหม่. กรุงเทพฯ: บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้ง แอนด์พับลิชชิ่ง
จำกัด
3. ดนุพันธ์ วิสุวรร, 2550, “การพัฒนาองค์การอุตสาหกรรม”,
สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
4. จุฑารัตน์ ช้อนทอง, 2563, “การจัดการความรู้ระบบบริหาร
คุณภาพ กิจกรรมตรวจประเมินภายในองค์กร กรณีศึกษา
32
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

การจัดการความรู้ในการแก้ไขปัญหาด้านคุณภาพ
กรณีศึกษาองค์กรผู้ผลิต ล้อแม็คอลูมิเนียมอัลลอยด์
The KNOWLEDGE MANAGEMENT FOR QUALITY PROBLEM SOLVING:
A Case Study of Alloy Wheel Manufacturer

ณัฐพงศ์ เจริญทอง1* และ ดนุพันธ์ วิสุวรรณ2*


1,2
สาขาวิชาการจัดการวิศวกรรม ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต คลองหลวง ปทุมธานี 12120
E-mail : nathapong.cha@dome.tu.ac.th1*, vdanupun@engr.tu.ac.th2*

บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นการนำการจัดการความรู้มาประยุกต์ใช้ภายในองค์กร กรณีศึกษาองค์กรผู้ผลิตล้อแม็คอลูมิเนียมอัลลอยด์ โดย
มีปัญหาด้านคุณภาพที่สัดส่วนของเสียในกระบวนการผลิตสูงเกินกว่าระดับที่ยอมรับได้โดยอยู่ที่ รูพรุน(1.50%), ทดลองหล่อ(1.34%), รู
พรุนใต้ไรเซอร์(1.11%), หดตัว(0.70%), รีดเสียรูป(0.60%) จากการวิเคราะห์ พบว่าองค์กรยังขาดระบบการจัดการความรู้ งานวิจัยจึง
ได้พัฒนาการจัดเก็บข้อมูลความรู้ในระบบสารสนเทศผ่านทางอินทราเน็ตและฐานข้อมูลที่เข้าถึงและแบ่งปันได้ง่าย หลังจากการนำการ
จัดการความรู้มาใช้ในองค์กรกรณีศึกษาพบว่า ปัญหาด้านคุณภาพลดลงเหลือ รูพรุน(0.43%), ทดลองหล่อ(0.40%), รูพรุนใต้ไรเซอร์
(0.38%), หดตัว(0.35%), รีดเสียรูป(0.41%) และระดับความพึงพอใจของผู้ใช้งานที่เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 45.80 เป็นร้อยละ 90.76

คำสำคัญ: การจัดการความรู้ ล้อแม็คอลูมิเนียมอัลลอยด์ ปัญหาด้านคุณภาพ

Abstract
This research studies the implementation of the knowledge management to the case study company
which is an aluminum alloy wheel manufacturer. The research problem is the unacceptable percentage of
defects which are Pin hole (1.50%), Casting trial (1.34%), Pin hole under riser (1.11%), Shrinkage (0.24%), Flow
Forming error (0.17%). It is found that the unsystematic of knowledge management is a cause of problem.
Therefore, the relevant knowledge collection and sharing was improved via the intranet and data base. The
result after improvement shows that the percentage of quality problems reduces to Pin hole (0.43%), Casting
trial (0.40%), Pin hole under riser (0.38%), Shrinkage (0.35%), Flow Forming error (0.41%) The satisfaction of the
operators increases from 45.80% to 90.76%.
33
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

Keywords: Knowledge Management, Aluminum Alloy, Quality Problems

34
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

1. บทนำ ถ่ายทอดในรูปแบบอินทราเน็ต ขององค์กร เพื่อที่จะเผยแพร่


งานวิ จ ั ยนี ้ ได้ ทำการศึ กษาเกี ่ ยวกั บการแก้ ไขปั ญหาด้ าน สื่อสารกันภายในองค์กรให้เข้าถึงแหล่งข้อมูลได้ง ่าย นำข้อมูล
คุณภาพ ซึ่งองค์กรกรณีศึกษาเป็นผู้ผลิตล้อแม็คอลูมิเนียมอัล ความรู้ไปใช้ในการแก้ไขปัญหา และปัญหาด้านคุณภาพได้ตาม
ลอยด์ในอุตสาหกรรมยานยนต์ โดยงานวิจัยนี้ได้ศึกษาในส่วนงาน เป้าหมายขององค์กรที่กำหนดไว้
ของฝ่ายผลิต ซึ่งประสบปัญหาด้านคุณภาพในการผลิต โดยเมื่อเกิด
ปัญหาด้านคุณภาพขึ้นแล้ว ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ และปัญหา 2. วรรณกรรมปริทัศน์
ด้ านคุ ณภาพไม่ ได้ ตามเป้ าหมายขององค์ กรที ่ กำหนดไว้ ดั ง การจัดการความรู้ (Knowledge Management: KM) คือ การ
รายละเอียด รูปที่ 1 บริหารจัดการความรู้ที่ต้องการใช้ ให้แก่คนที่ต้องการ ในเวลาที่
ต้องใช้ เพื่อให้คนทำงานได้อย่างมีประสิทธิผล และส่งผลให้องค์กร
ประสบความสำเร็ จตามเป้ าหมายที ่ ต ั ้ งไว้ ดั ง นิ ยาม “Right
Knowledge Right People Right Time”[1]
ความรู้ คือ การผสมผสานของประสบการณ์ สารสนเทศ ความ
เข้าใจ ทักษะ และความเชี่ยวชาญ รวมถึงสิ่งที่ได้รับการสั่งสมมา
จากการศึกษาเล่าเรียน ค้นคว้า และถ่ายทอด ที่นำมาสู่การกำหนด
กรอบความคิ ดสำหรั บการประเมิ น ความเข้ าใจ และการนำ
สารสนเทศและประสบการณ์ใหม่มาผสมรวมกัน [2]

รูปที่ 1 ข้อมูลปัญหาคุณภาพก่อนการปรับปรุง 4 เดือน 2.1 นิยามการจัดการความรู้


(ส.ค - พ.ย. 2564) ความรู้ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ 1). “คน (People)” เป็น
องค์ประกอบที่สำคัญที่สุด เพราะเป็นแหล่งความรู้ และเป็นผู้นำ
ปัญหาในระหว่างการผลิต บางปัญหาเป็นปัญหาที่เคยเกิดขึ้น ความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ 2). “เทคโนโลยี (Technology)” เป็น
ซ้ำในรุ่นที่ผ่านมา เช่น การหดตัวและเย็นตัวของงานหล่อล้อแม็ค, เครื่องมือที่ช่วยค้นหา จัดเก็บ แลกเปลี่ยน และนำความรู้ไปใช้ได้
กลไกลการเพิ่มความแข็งของอลูมิเนียม และส่วนผสมทางเคมีในน้ำ ง่ ายและ รวดเร็ วขึ ้ น 3). “กระบวนการความรู ้ (Knowledge
อลูมิเนียม เป็นต้น โดนส่วนใหญ่กระบวนการการเรียนรู้ในการ Process)” เป็นการบริหารจัดการ เพื่อนำความรู้จากแหล่งความรู้
แก้ไขปัญหาด้านคุณภาพ ยังเป็นการเรียนรู้แบบเกิดขึ้นในองค์กร ไปให้ผู้ใช้ เพื่อให้เกิดการปรับปรุง และนวัตกรรม [3] ดังรูปที่2
เองตามธรรมชาติ และความรู้ยังถูกจำกัดผู้เกี่ยวข้องในวงแคบ ทำ
ให้ผู้มีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาต้องเสียเวลาในการค้นหาข้อมูล
เพื่อนำไปใช้
งานวิจ ัยนี้จึงได้นำหลักการ การจัดการความรู้เพื่อมาแก้ไข
ปัญหาด้านคุณภาพ โดยนำเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นตัวช่วยในการ
จัดการความรู้ ภูมิปัญญา ทักษะเฉพาะ หรือจากประสบการณ์การ
ทำงานที่อยู่ภายในตัวบุคลากร มาจัดเก็บเป็นระบบฐานข้อมูล แล้ว

35
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

รูปที่ 2 องค์ประกอบการจัดการความรู้ จัดการความรู้ของผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยมากกว่าร้อยละ 92 พึงพอใจมาก


และเวลาในการเข้าถึงข้อมูลลดลงร้อยละ 82
2.2 ลำดับขั้นความรู้
Hideo Yamazaki นักวิชาการชาวญี่ปุ่น ได้อธิบายลำดับขั้นของ 3. วิธีการวิจัย
ความรู้ ที่อยู่ในรูปแบบของปิรามิด ว่าความรู้จะมีอยู่ 4 ขั้น [4] ดัง งานวิจ ัยนี้ นำหลักการการจั ดการความรู้ เข้ามาใช้ เริ่มจาก
รูปที่ 3 รวบรวมข้ อมู ลของผู ้ ท ี ่ เกี ่ ยวข้ องด้ วยแบบสอบถาม แล้ วนำมา
วิเคราะห์ หลังจากนั้นดำเนินการ การจัดการความรู้ผ่านเครื่องมือ
สารสนเทศ และการใช้เวทีส ําหรับการแลกเปลี่ยนความรู้ โดยมี
ขั้นตอนการทำวิจัยดังนี้
1). ศึกษาสภาพแวดล้อมปัจจุบัน
2). กําหนดตัวชี้วัด (KPI) ในการดําเนินการ
3). วัดผลก่อนดําเนินการตามตัวชี้วัดที่กําหนด
4). ระบุประเด็นความรู้
5). แสวงหาและสร้างความรู้
รูปที่ 3 ปี ระมิดแสดงลำดับขัน้ ของควำมรู้
6). การสร้างคลังความรู้ ผ่านระบบสารสนเทศ
7). แลกเปลี่ยนและแบ่งปันความรู้
2.3 ประเภทของความรู้
8). การนําเอาความรู้ไปใช้
ความรู้ สามารถแบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ 1). ความรู้ช ัดแจ้ง
9). วัดผลหลังการดําเนินการ
(Explicit Knowledge) ความรู้ประเภทนี้เป็นความรู้เชิงทฤษฎี หรือ
10). สรุปผล
ความรู้ที่เป็นเหตุและผล ที่สามารถเขียนบรรยาย หรืออธิบายออกมา
เป็นตัวอักษร และ 2). ความรู้ที่ฝังลึก (Tacit Knowledge) ความรู้
3.1 การวิเคราะห์ปัญหาเพื่อนำความรู้เข้าสู่กระบวนการจัดการ
ประเภทนี้จัดเป็นความรู้ที่ไม่เป็น ทางการ หากแต่เป็นความรู้ที่อยู่
ความรู้
ในตัวของแต่ละบุคคล แฝงอยู่ในความคิด ความเชื่อ และค่านิยมของ
งานวิจัยได้ทำการศึกษาสภาพแวดล้อมขององค์กรกรณีศ ึกษา
บุ คคล [4] โดยงานวิ จ ั ยที่ นำการจั ดการความรู ้ เพื ่ อ มาเพิ่ ม
พบว่า การแก้ไขปัญหาด้านคุณภาพในการผลิต เมื่อเกิดปัญหาด้าน
ประสิทธิภาพการดำเนินงานมีทำอย่างแพร่หลาย ดังเช่น [5] ได้นำ
คุณภาพขึ้น ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ หรือพนักงานขาดความรู้
การจัดการความรู้มาประยุกต์ใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการแก้ ไข
ทักษะในการแก้ไขปัญหา ส่งผลทำให้เกิดปัญหาคุณภาพขึ้น ดัง
ปัญหางานซ่ อมเครื ่ องจั กรกล พบว่าเวลาเฉลี่ ยที่ ใช้ ในการซ่ อม
รายละเอียด รูปที่ 1
เครื่องจักรกลแต่ละครั้งลดลงจาก 150.9 นาที เป็น 136.5 นาที และ
ซึ่งทางผู้วิจัยต้องการทราบสาเหตุที่แท้จริง ที่ส่งผลต่อการแก้ไข
ผู้ใช้งานมีความพึงพอใจในระบบการจัดการความรู้ เพิ่มขึ้นจากร้ อย
ปัญหาด้านคุณภาพ จึงออกแบบสอบถาม โดยประกอบด้วย 3 หัวข้อ
ละ 43 เป็นร้อยละ 70 และ [6] อีกงานวิจัยที่ได้นําความรู้เกี่ยวกับ
หลัก ได้แก่
การจัดการความรู้มาประยุกต์ใช้ในองค์กร ซึ่งประสบปัญหาด้ าน
1). ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม
คุณภาพ ในผลิตภัณฑ์ร ุ่นใหม่ ระดับความพึงพอใจเกี่ยวกับการ
2). สํารวจความคิ ดเห็ นของพนั กงาน เรื่องการแก้ ไขปั ญหา
คุณภาพ
36
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

3). ความพึงพอใจของการจัดการความรู้ภายในองค์กร ลำดับ ปัญหา ความรู้ที่ต้องการให้มี


จึงได้มกี ารสุ่มให้ทำแบบสอบถามตามขนาดกลุ่มตัวอย่าง โดยใช้ 3 ขาดความรู้เรื่องการแก้ไข ความรู ้ ใ นการแก้ ไ ข
การคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่าง Taro Yamano [7] ดังนี้ ปัญหาคุณภาพอย่างถูกวิธี ปัญหาคุณภาพอย่างถูก
𝑁 วิธี
𝑛 = 1+𝑁𝑒 2 (1)
4 ขาดความรู ้ ค วามเข้ าใจ ความเข้าใจขั้นตอนการ
โดย 𝑛 = จำนวนตัวอย่าง ขั้นตอนการปฏิบัติงาน ปฏิบัติงาน
𝑁 = จำนวนประชากร 5 ขาดความรู้ความเข้ าใจใน ความรู ้ ความเข้ าใจใน
ขั้นตอนการผลิต ขั้นตอนการผลิต
𝑒 = ค่าความคลาดเคลื่อน ในที่นี้คิดที่ 5%
6 ขาดความรู้การทำงานของ ความรู ้ การทำงานของ
คำนวณหาขนาดของกลุ่มตัวอย่างได้ดังนี้ เครื่องจักรที่ใช้ในการผลิต เครื ่ องจั กรที่ ใช้ ในการ
ผลิต
82
𝑛=
1 + 82(0.05)2 3.2 กำหนดตัวชี้วัดการประยุกต์ใช้ระบบการจัดการความรู้
เกณฑ์ที่ใช้วัดเพื่อเปรียบเทียบผลก่อนและหลัง มีด้วยกัน 2
𝑛 = 68
ตัวชี้วัด ได้แก่
จากการคำนวณพบว่าขนาดกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการเก็บข้อมูล 1). ปัญหาด้านคุณภาพได้ตามเป้าหมาย (น้อยกว่า 0.50%)
ของงานวิจัยนี้ จะเก็บตัวอย่างจํานวน 68คน (คิดเป็นร้อยละ 82.93 2). ประเมินระดับความพึงพอใจในกระบวนการจัดการความรู้
ของจํานวนผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด) โดยเป็นการทำแบบสอบถามโดย ของผู้ใช้งาน โดยอาศัยแบบสอบถามวัดระดับความพึงพอใจก่อนและ
กระจายไปยังทุกส่วนงานของฝ่ายผลิต ทั้งหัวหน้างาน วิศวกร และ หลังการนําระบบจัดการความรู้มาใช้
พนักงาน อย่างทั่วถึงเพื่อให้ได้ข้อมูลอย่างครบถ้วน 3.3 พิจารณาเครื่องมือที่ใช้ในการวัดความรู้
ผลจำกกำรสำรวจเมื่อวิเครำะห์ถึงปั จจัยที่ทำให้เกิดปั ญหำ 1). การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ได้แก่ระบบอินทราเน็ต เพื่อ
และอุปสรรค สำมำรถสรุปผลกำรวิเครำะห์ได้ดงั ตำรำงที่ 1 สะดวกต่อการใช้งาน เข้าถึงได้ง่าย และมีความปลอดภัยกับข้อมูล
ตารางที่ 1 กำรวิเครำะห์หำควำมรู้ที่ต้องกำรเพื่อกำรจัดกำร 2). การใช้เวทีสำหรับการแลกเปลี่ยนความรู้ เพื่อเพิ่มเติมข้อมูล
ควำมรู้ ความรู้เดิมที่มีอยู่ในปัจจุบัน
3.4 กระบวนการสร้างความรู้และนำความรู้เข้าสู่ระบบ
ลำดับ ปัญหา ความรู้ที่ต้องการให้มี งานวิจัยได้มีการจัดตั้งทีมงานจัดการความรู้ เพื่อแสวงหาสร้าง
1 ขาดความรู ้ เรื ่ องการหา สาเหตุ และวิธีการแก้ไข ความรู้ ตรวจสอบความรู้ ตลอดจนนำความรู้เข้าสู่ระบบเทคโนโลยี
สาเหตุที่แท้จริงของปัญหา ของปัญหาคุณภาพ สารสนเทศ และจัดเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ โดยผู้จัดการฝ่ายผลิ ต,
2 ขาดประสบการณ์ ในการ การแก ้ ไขป ั ญ หา วิศวกรฝ่ายผลิต, วิศวกรอาวุโส ผู้เชี่ยวชาญ, พนักงานฝ่ายสารสนเทศ
แก้ไขปัญหาคุณภาพ คุณภาพจากผู้เชี่ยวชาญ , หัวหน้างานฝ่ ายผลิ ต และพนักงานฝ่ ายผลิ ต ร่ วมทำกิจกรรม
แลกเปลี่ยนความรู้ ซึ่งจะก่อให้เกิดการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้น โดยความรู้
จะตรวจสอบจากวิศวกรอาวุโส และผู้เชี่ยวชาญจะคัดกรองข้อมูลให้
มีความถูกต้องแล้วนำส่ งความรู้นี้ไปยัง ผู้จัดการฝ่ายผลิตที่เป็น
37
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

คณะกรรมการจั ดการความรู้ พ ิ จารณาต่ อไป ถ้ าคณะกรรมการ อินทราเน็ต เพื่อช่วยให้การจัดการความรู้ขององค์กรมีค วาม


พิจารณาแล้วยังเห็นว่าความรู้นี้ยังมีจุดบกพร่องก็จะส่งเรื่องกลับไป ทันสมัย เข้าถึงข้อมูล ง่าย จึงได้นำข้อมูลเข้าสู่ระบบและการ
วิศวกรอาวุโส และผู้เชี่ยวชาญ ทำการแก้ไข ตรวจสอบอีกครั้ง เมื่อ เข้ า ถึ ง ข้ อ มู ล ของผู ้ ใ ช้ ง าน หรื อ เรี ย กว่ า ระบบการจั ด การ
ผู้จัดการฝ่ายผลิตหรือคณะกรรมการเห็นชอบในความสมบูรณ์ของ สารสนเทศ (MIS : Management Information System) นั้น
ความรู้ และอนุมัติองค์ความรู้นั้น ผู้ดูแลระบบสารสนเทศก็สามารถ ระบบจะเป็ น ตั ว ช่ ว ยให้ ก ารจั ด การข้ อ มู ล ความรู้ ให้ มี
นําความรู้นั้นเข้าสู่ระบบสารสนเทศเพื่อเป็นแหล่งข้อมูลสำหรับการ ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ดังรูปที่ 6, 7
เรียนรู้ต่อไป ดังรูปที่ 4, 5

รูปที่ 4 โครงสร้างบุคลากรในการจัดการความรู้ภายในองค์
กรณีศึกษา

รูปที่ 6 แผนภำพขัน้ ตอนกำรใช้ระบบสำรสนเทศกำร


จัดกำรควำมรู้

รูปที่ 5 กระบวนการสร้างความรู้

3.5 โครงสร้างระบบเทคโนโลยีสารสนเทศการจัดการความรู้
ในงานวิจัยนี้ได้มีการประยุกต์ โดยได้นําเครื่องมือมาเป็นตัว
ช่ ว ยในการจั ด การความรู้ โดยใช้ เ ทคโนโลยี ส ารสนเทศ รูปที่ 7 ตัวอย่างระบบสารสนเทศการจัดการความรู้
38
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

หลังจากที่มีการเปิดให้ใช้งานระบบสารสนเทศการจัดการ
ความรู้ 4 เดือน โดยมีผลติดตามโดยการนับจำนวนผู้ใช้งาน ซึ่ง
มีจำนวนที่เพิ่มมากขั้น ตั้งแต่เดือน ธ.ค. 2564 - มี.ค. 2565 ดัง
รูปที่ 8

รูปที่ 10 สาเหตุ และวิธีการแก้ไขปัญหารูพรุน

ทั้งนี้ยังมีการสื่อสาร ประชาสัมพันธ์ระบบสารสนเทศการจัดการ
ความรู้ และส่งเสริมกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อช่วยสร้าง
บรรยากาศแห่งการเรียนรู้ ขับเคลื่อนพัฒนาองค์กรต่อไป
รูปที่ 8 การติดตามจำนวนผู้เข้าใช้งานในระบบ
4. ผลการดำเนินการวิจัย
3.6 การจัดเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ ปัญหาด้านคุณภาพก่อนการปรับปรุง รูพรูน (1.50%), ทดลอง
เพื่อเพิ่มเติมข้อมูลความรู้เดิมที่มีอยู่ในปัจจุบัน จึงมีการจัดให้ หล่อ (1.34%), รูพรุนใต้ไรเซอร์ (1.11%), หดตัว (0.70%), รีดเสียรูป
ประชุมกันในทุกเดือน เดือนละ1ครั้ง โดยทีมงานการจัดการความรู้ (0.60%) หลังจากปรับปรุงมีการนำการจัดการความรู้และระบบ
เป็ นผู ้ น ั ดทำการประชุ ม เพื ่ อแลกเปลี ่ ยนความรู ้ และแบ่ งปั น เทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้พบว่า รูพรูน (0.43%), ทดลอง
ประสบการณ์ รวมถึงทักษะต่างๆในการทำงาน แล้วนำข้อมูลความรู้ หล่อ (0.40%), รูพรุนใต้ไรเซอร์ (0.38%), หดตัว (0.35%), รีดเสียรูป
ไปกระจายและถ่ายทอดให้กับบุคลากรทั่วทั้งองค์กร ดังรูปที่ 9 (0.41%) โดยพบว่ าปั ญหาด้ านคุ ณภาพลดลง ทำให้ การผลิ ตมี
คุณภาพมากขึ้น ดังรูปที่ 11

รูปที่ 9 กิจกรรมแลกเปลี่ยนความรู้ รูปที่ 11 ข้อมูลปัญหาคุณภาพหลังการปรับปรุง 4 เดือน


ความรู้ที่ได้จากเวทีแลกเปลี่ยนความรู้ เช่น สาเหตุ และวิธีการ (ธ.ค. 2564 - มี.ค. 2565)
แก้ไขปัญหารูพรุน ได้นำข้อมูลความรู้เข้าสู่ระบบสารสนเทศการ ข้อมูล จากการบันทึกผลก่อนและหลังปรับปรุงได้นำมา
จัดการความรู้ ดังรูปที่ 10 วิเคราะห์ทดสอบทางสถิติ Paired T-Test [8] โดยใช้จ ำนวน
ปัญหาด้านคุณภาพก่อนและหลังปรับปรุง กำหนดให้ µ1 แทน
39
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

จำนวนปัญหาด้ านคุ ณภาพก่ อนการปรั บปรุง และ µ2 แทน เกี่ยวข้องมาทำการวิเคราะห์ แล้วจัดการความรู้ รวมทั้งยังมีเวที
จำนวนปัญหาด้านคุณภาพหลังการปรับปรุง แลกเปลี่ยนความรู้กันภายในองค์กร แล้วประมวลผลและกลั่นกรอง
ทดสอบสมมติฐานหลัก H0 คือจำนวนปัญหาด้านคุณภาพ ความรู้ที่ได้มา จัดเก็บข้อมูลในระบบสารสนเทศอินทราเน็ต ที่เข้าถึง
ก่อนและหลังปรับปรุงมีค่าไม่ต่างกัน ; µ1 = µ2 ได้ง ่าย พบว่าการจัดการความรู้ ที่นำมาใช้ มีส ่วนช่วยในการเพิ่ ม
ทดสอบสมมติฐานรอง H1 คือ จำนวนปัญหาด้านคุณภาพ ทั กษะของพนั กงานในการแก้ ป ั ญหาด้ านคุ ณภาพที ่ เกิ ดขึ ้ นใน
ก่อนปรับปรุงมีค่ามากกว่าหลังปรับปรุง ; µ1 > µ2 กระบวนการผลิตได้ และพนักงานสามารถเข้าถึงข้อมูลความรู้ได้ง่าย
ผลจากการทดสอบสมมติฐาน พบว่า ค่าทางสถิติมีค่าน้อย โดยมีจำนวนผู้เข้าใช้งานระบบสารสนเทศการจัดการความรู้เพิ่มขึ้น
กว่า 0.009 ซึ่งมีค่าน้อยกว่าค่า a (กำหนดค่า a ให้มีค่าระดับ อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลทำให้ปัญหาด้านคุณภาพลดลงจาก รูพรุน
นัยสำคัญเท่ากับ 0.05) จึงปฏิเสธสมมติฐานหลัก H0 จึงสรุปได้ (1.50%), ทดลองหล่อ (1.34%), รูพรุนใต้ไรเซอร์ (1.11%), หดตั ว
ว่าจำนวนปัญหาคุณภาพก่อนปรับปรุง มากกว่าหลังปรับปรุง (0.70%), รี ดเสี ยรู ป (0.60%) เป็ น รู พรุ น (0.43%), ทดลองหล่ อ
อย่างมีนัยสำคัญ นั้นคือ หลังการปรับปรุงมีปัญหาด้านคุณภาพ (0.40%), รู พรุ นใต้ ไรเซอร์ (0.38%), หดตั ว (0.35%), รี ดเสี ยรู ป
ที่น้อยลง ส่งผลให้การผลิตมีคุณภาพมากขึ้น (0.41%) และระดับความพึงพอใจของผู้ใช้งานที่เพิ่มขึ้นจากร้อยละ
หลั ง จากนำการจั ด การความรู้ และระบบเทคโนโลยี 45.80 เป็นร้อยละ 90.76 แสดงให้เห็นว่าการนำการจัดการความรู้
สารสนเทศ เข้ามาประยุกต์ใช้ภายในองค์กร เมื่อเปรียบเทียบผล เข้ามาประยุกต์ใช้ภายในองค์กรบรรลุตามเป้าหมาย จึงถือได้ว่าการ
ก่อน-หลังปรับปรุง พบว่าระดับความพึงพอใจเพิ่มขึ้นทุกหัวข้อ จัดการความรู้เป็นส่วนช่วยในการพัฒนาความรู้ความสามารถของ
โดยมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจจากผู้ใช้งานอยู่ที่ ร้อยละ 45.80 พนักงาน และตัวขับเคลื่อนองค์กรให้มีประสิทธิภาพได้เป็นอย่างดี
เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 90.76 ดังตารางที่ 2 5.1. ข้อเสนอแนะ
1). ควรมีการจัดการความรู้ในเรื่องอื่นๆ นอกเหนือจากคลัง
ตารางที่ 2 การเปรียบเทียบระดับความพึงพอใจของผู้ใช้งาน ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาด้านคุณภาพอย่างเดียว เช่น การซ่อม
ก่อนและหลังปรับปรุง 4 เดือน (ธ.ค. 2564 - มี.ค.2565) บำรุงเครื่องจักรของแผนกซ่อมบำรุง เป็นต้น ซึ่งสามารถนําระบบ
ระดับความพึงพอใจ ทีผ่ ู้วิจัยได้จัดทำขึ้น นําไปประยุกต์ใช้
หัวข้อกระบวนการจัดการความรู้
ก่อน หลัง 2). ต้องกระตุ้นการมีส่ วนร่วมของพนักงานให้ทั่วถึงทุ กกลุ่ ม
1. การบ่งชีความรู
้ ้ 75.00 91.18 งาน โดยผู้บริหารต้ องตระหนักและให้ ความสำคัญของกิจกรรมนี้
2. การสร้างและแสวงหาความรู้ 30.88 86.76
รวมถึงการอํานวยความสะดวกด้านเทคโนโลยีสารสนเทศให้ พนักงาน
3. การจัดการความรูใ้ ห้เป็นระบบ 19.12 97.06
สามารถค้นหาความรู้ ตามจุดปฏิบัติงานต่างๆ ที่ต้องการได้ทันที
4. การประมวลและกลันกรองความรู
่ ้ 80.88 94.12
5. การเข้าถึงความรู้ 16.18 88.24
6. การแบ่งปันแลกเปลียนความรู
่ ้ 25.00 85.29 6. เอกสารอ้างอิ ง
7. การเรียนรู้ 73.53 92.65 1. สุ ประภาดา โชติ มณี , (2551), จั ดการความรู้ อย่ างไรให้
ผลการประเมินเฉลีย่ 45.80 90.76 ใช้ ไ ด้ ผ ลกั บ ทุ ก ระบบ, กรุ ง เทพฯ: สถาบั น เพิ่ ม ผลผลิ ต
แห่งชาติ.
5. สรุปผลการวิจัย
2. ศรี ไ พร ศั ก ดิ ์ ร ุ ่ ง พงศากุ ล , เจษฎาพร ยุ ท ธนวิ บ ู ล ย์ ช ั ย .
จากกรณีศ ึกษางานวิจ ัยได้นำการจัดการความรู้ เข้ามาแก้ไข
(2549) ระบบสารสนเทศและเทคโนโลยี ก ารจั ด การ
ปัญหาด้านคุณภาพภายในองค์กร โดยได้รวบรวมข้อมูลความรู้ ที่
ความรู้. ซีเอ็ดยูเคชั่น:กรุงเทพฯ.
40
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

3. พูนลาภ อุทัยเลิศอรุณ. (2545). การจัดการความรู้สาย


พันธุ์ ใหม่ . กรุงเทพฯ: บริษ ัท อมรินทร์ พริ้นติ้ง แอนด์
พับลิชชิ่ง จํากัด
4. บู ร ชั ย ศิ ร ิ มหาสาคร. (2550). “จั ดการความรู ้ ส ู่ ความ
เป ็ น เล ิ ศ Knowledge Management to Excellence
Organization”. กรุงเทพฯ: แสงดาว
5. เพิ ่ ม พุ ฒ ิ ภั ท รกาญจนานนท์ , (2562), การจั ด การ
ความรู้งานซ่อมเครื่องจักรกล กรณีศ ึกษาองค์กรผลิต
ไฟฟ้า, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะ
วิศวกรรมศาสตร์.
6. อังคนา สิงห์สุ, (2559), การจัดการความรู้ในการแก้ไข
ปัญหาด้านคุณภาพ กรณีศ ึกษาองค์กรผู้ผลิตชิ้นส่วน
ย า น ย น ต์ , ม ห า ว ิ ท ย า ล ั ย ธ ร ร มศ า ส ต ร ์ ค ณ ะ
วิศวกรรมศาสตร์.
7. Yamane, Taro., (1973), Statistics: An Introductory Analysis,
Third edition, New York: Harper and Row Publication.
8. ประไพศรี สุ ท ั ศน์ ณ อยุ ธยา, พงศ์ ชนั น เหลื องไพบู ลย์ .
สถิ ต ิ ว ิ ศวกรรม : Engineering Statistics. สำนั กพิ มพ์ ท้ อป,
กรุงเทพ, 2559.

41
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

การพยากรณ์ปริมาณความต้องการและวางแผนการสั่งซื้อท่อทองแดง: กรณีศึกษาโรงงานผลิต
อุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อนตามคำสั่งซื้อ
Demand Forecasting and Order Quantity Planning of Copper Tube: A Case Study
of Make-to-Order Heat Exchanger Manufacturer

ภัทรศยา ตันติวัฒนกูล1* ศุภกร แสนสุวรรณ2 วศินี สิทธิสุพร3 และ ทองทิพย์ รัตนเลิศไพบูลย์4


1,2,3,4
ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เขตบางซื่อ กรุงเทพฯ 10800
E-mail: phattarasaya.t@eng.kmutnb.ac.th1*

บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ หาตัวแบบพยากรณ์ปริมาณความต้องการวัตถุดิบที่เหมาะสม สำหรับใช้เป็นข้อมูลในการ
กำหนดนโยบายสั่งซื้อวัตถุดิบ โดยใช้เทคนิคพยากรณ์วิธีค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ วิธีปรับเรียบเอกซ์โปเนนเชียล และวิธีพยากรณ์แบบแยกส่วน
วัดความแม่นยำของการพยากรณ์ด้วยค่าคลาดเคลื่อนสมบูรณ์เฉลี่ย ค่าเฉลี่ยกำลังสองของความคลาดเคลื่อน และค่าเฉลี่ยร้อยละความ
คลาดเคลื่อนสมบูรณ์ จากนั้นนำค่าพยากรณ์ความต้องการวัตถุดิบไปจำลองสถานการณ์สั่งซื้อวัตถุ ดิบ 4 นโยบาย คือ ระบบปริมาณ
สั่งซื้อคงที่ ระบบรอบเวลาสั่งซื้อคงที่ ระบบผสมแบบ min-max system และ ระบบผสมแบบ periodic review with reorder level
เปรียบเทียบกับนโยบายสั่งซื้อในปัจจุบันของบริษัทกรณีศึกษา ผลการวิจัยพบว่านโยบายระบบผสมแบบ min-max system เหมาะสม
ที่สุด โดยมีค่าใช้จ่ายรวมน้อยกว่านโยบายปัจจุบัน 116,055 บาทต่อปี หรือร้อยละ 39.44

คำสำคัญ : การพยากรณ์ปริมาณความต้องการ การวางแผนคำสั่งซื้อวัตถุดิบ การผลิตตามคำสั่งซื้อ

Abstract
This research aims to find the appropriate forecasting model used for setting the order policy. The
forecasting techniques used in this study are moving average, exponential smoothing, and classical decomposition
method. The forecasting accuracy was measured by using mean absolute error (MAE), mean square error (MSE), and
mean absolute percentage error (MAPE). Then the demand forecasting values were used to simulate 4 order
policies: fixed-order quantity system, fixed-time period system, min-max system, and periodic review with reorder
level compare with the current order policy. The results showed the min-max system is the most suitable policy
which cost is lower than the current policy of 116,055 baht per year or 39.44%.
Keywords : demand forecasting, order quantity planning, make-to-order
42
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

1. บทนำ ที ่ เ หมาะสม เพื ่ อ ลดปั ญ หาการกำหนดปริม าณสั่ ง ซื ้ อที่ไม่


ปัจจุบันอุตสาหกรรมระบบปรับอากาศ มีแนวโน้มขยายตัว สอดคล้องกับความต้องการใช้วัตถุดิบ
มากขึ้น ส่งผลให้ ความต้องการอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อน
สูงขึ้น ผู้ผลิตจึงต้องปรับตัวเพื่อตอบสนองความต้องการของ 2. ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ลูกค้าให้เกิดความพึงพอใจสูงสุด รวมไปถึงการส่งมอบสินค้า 2.1 ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
ให้กับลูกค้าได้อย่างทันเวลา แต่เนื่องจากความผันผวนของ 2.1.1 เทคนิคการพยากรณ์
ความต้องการของลูกค้า ทำให้ยากต่อการคาดการณ์ค วาม งานวิจัยนี้เลือกใช้เทคนิคพยากรณ์ 3 เทคนิค ได้แก่
ต้องการสินค้า หากกำหนดปริมาณสินค้าคงคลังมากเกินไปจะ 1) วิธีค ่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ (moving average) เป็นการหา
ทำให้มีต้น ทุ น ในการบริ หารจั ดการสิ นค้าคงคลัง ที่ส ู ง และ ค่าเฉลี่ยของข้อมูลในช่วงใกล้เวลาปัจจุบันจำนวน N ช่วงเวลา
สูญเสียพื้นที่สำหรับการจัดเก็บ หรือในกรณีที่มีวัตถุดิบหลักใน 2) วิ ธี ป รั บ เรี ย บเอกซ์ โ ปเนนเชี ย ล (exponential
การผลิตไม่เพียงพอ จะส่งผลกระทบต่อการส่งมอบสินค้า และ smoothing) ใช้ ค ่ า เฉลี่ ย เคลื ่ อนที ่ ถ ่ว งน้ ำหนั ก โดยค่ า ถ่ วง
สูญเสียความน่าเชื่อถือทางธุรกิจ น้ำหนักจะลดลงแบบเอกซ์โปเนนเชียล ซึ่งข้อมูลล่าสุดจะมีค่า
บริษัทกรณีศึกษาเป็นผู้ผลิตอุปกรณ์แลกเปลี่ยนความร้อน ถ่วงน้ำหนักมากที่ส ุด และลดลงไปตามเวลาของข้อมูล โดย
ตามคำสั่ง ซื้ อ (make-to-order) โดยมีวัต ถุ ด ิบหลัก ที ่ใ ช้ ใ น ค่าคงที่ของการปรับให้เรียบ (α) มีค่าตั้งแต่ 0 ถึง 1 [1]
กระบวนการผลิต ได้แก่ โลหะแผ่น อลูมิเนียมฟิน ท่อทองแดง 3) วิธพี ยากรณ์แบบแยกส่วน (classical decomposition
เป็นต้น ท่อทองแดงถือเป็นวัตถุดิบหลักที่มีมูลค่าและปริมาณ method) แยกอนุ ก รมเวลาออกเป็ น ส่ ว นประกอบ ได้ แ ก่
การใช้งานสูง โดยเฉลี่ย 119 ตันต่อปี คิดเป็นมูลค่าประมาณ แนวโน้ม ฤดูกาล วัฏ จักร และเหตุการณ์ผิดปกติ ทำให้เห็น
30 ล้านบาทต่อปี ปัญหาที่พบคือการกำหนดปริมาณสั่ง ซื้อ ลักษณะการเคลื่อนไหวของอนุกรมเวลาแต่ละส่วนและนำไป
วั ต ถุ ด ิ บ ท่ อ ทองแดงไม่ ส อดคล้ อ งกั บ ความต้ อ งการใช้ ง าน สร้างสมการพยากรณ์ วิธีแยกส่วนประกอบแบ่งออกเป็นแบบ
วัตถุดิบไม่เพียงพอต่อการผลิต หรือในบางครั้งสั่ง วัตถุดิบมาก บวก (additive) และแบบคูณ (multiplicative) [2]
เกินความต้องการทำให้ต้องจัดเก็บในคลังสินค้าเป็นเวลานาน การเลือกเทคนิคพยากรณ์ที่เหมาะสม จะพิจารณาจากค่า
และเนื่องจากเป็ น การผลิ ตสิ นค้ าตามคำสั่ง ซื้ อ จึง ไม่ ท ราบ คลาดเคลื่อน (error) ซึ่งมีการคำนวณหลายวิธี เช่น ค่าคลาด
ปริมาณความต้องการสินค้าล่วงหน้าทำให้ไม่สามารถกำหนด เคลื่อนสมบูรณ์เฉลี่ย (mean absolute error; MAE) ค่าเฉลี่ย
ปริมาณความต้องการวัตถุดิบที่แน่นอนได้ การสั่งซื้อในปัจจุบัน ของกำลังสองของความคลาดเคลื่อน (mean square error;
จึงเป็นการประเมินจำนวนสั่งซื้อ ด้วยประสบการณ์ของผู้ ทำ MSE) ค่ า เฉลี ่ ย ร้ อ ยละความคลาดเคลื ่ อ นสมบู ร ณ์ (mean
หน้าที่ส ั่ง ซื้อ โดยพิจ ารณาจากข้อมูล การสั่ง ซื้อวัตถุดิบ ท่ อ absolute percentage error; MAPE) ซึ่งเทคนิคพยากรณ์ ที่
ทองแดงย้อนหลังมาประกอบการตัดสินใจ ดังนั้นหากสามารถ มีค่าคลาดเคลื่อนของการพยากรณ์ที่ต่ำที่สุด จะเป็นเทคนิคที่
พยากรณ์ปริมาณความต้องการวัตถุดิบล่วงหน้าได้อย่างแม่นยำ เหมาะสมในการนำไปใช้พยากรณ์
จะช่วยลดปัญหาการกำหนดปริมาณสั่งซื้อที่ไม่เหมาะสม และ 2.1.2 ระบบการสั่งซื้อวัตถุดิบ
ช่วยให้การบริหารจัดการคลังสินค้ามีประสิทธิภาพมากขึ้น การบริ ห ารจั ด การสิ น ค้ า คงคลั ง อย่ า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ
งานวิจ ัยนี้ นำเสนอการพยากรณ์ปริ มาณความต้อ งการ นอกจากจะช่วยลดต้นทุนการดำเนินการแล้ว ยังช่วยลดปัญหา
วัตถุดิบท่อทองแดง และวางแผนการสั่งซื้อวัตถุดิบท่อทองแดง ที่จะเกิดกับฝ่ายผลิต เช่น วัตถุดิบไม่เพียงพอต่อการผลิต การ
รักษาระดับสินค้าคงคลังที่เหมาะสม รวมถึงการสั่งซื้อในเวลาที่
43
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

เหมาะสมจะช่วยให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างราบรื่น และมี วิธีปรับเรียบเอกซ์โปเนนเชียล จากนั้นนำผลที่ได้มาคำนวณหา


ต้ น ทุ น ดำเนิ น งานรวมที่ ต ่ ำ ระบบการสั ่ ง ซื ้ อ วั ต ถุ ด ิ บ แบ่ ง ปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัด จุดสั่งซื้อใหม่ และสินค้าคงคลัง
ออกเป็ น 2 ระบบหลัก ได้ แ ก่ 1) ระบบปริ มาณสั่ง ซื้อคงที่ สำรอง ทำให้ต้นทุนรวมลดลงร้อยละ 31.96 [6] ปรับปรุงการ
(fixed-order quantity) จะทำการสั่งซื้อในปริมาณเท่ากันทุก วางแผนสั่งซื้อของบริษัทจัดหาวัตถุดิบร้านอาหารเพื่อแก้ปัญหา
ครั้ง หรือเท่ากับปริมาณการสั่ง ซื้อที่ประหยัด (economic สินค้าขาดส่ง พยากรณ์ความต้องการสินค้า ด้วยวิธีค ่า เฉลี่ ย
order quantity; EOQ) โดยจะทำการสั่งซื้อเมื่อระดับสิ นค้า เคลื ่ อ นที่ วิ ธ ี ป รั บ เรี ย บเอกซ์ โ ปเนนเชี ย ล และวิ ธ ี ว ิ น เตอร์
คงคลังลดต่ำมาถึงระดับจุดสั่งซื้อใหม่ (re-order point; ROP) จากนั้นนำค่า พยากรณ์ ไปคำนวณปริม าณสั ่ง ซื ้อ พิจ ารณา
2) ระบบรอบเวลาสั่ง ซื้อคงที่ (fixed-time period) กำหนด ร่วมกับค่าความสูญเสียจากการผลิต สินค้าคงเหลือ และสินค้า
ระยะเวลาการสั่ง ซื้อที่แน่นอนสม่ำเสมอ เช่น ทุกสัปดาห์ ทุก คงคลังสำรอง ทำให้วัตถุดิบขาดมือลดลงร้อยละ 73.43 และ
เดือน เป็นต้น โดยปริมาณการสั่งซื้อแต่ละครั้งจะไม่เท่ากัน ค่าใช้จ่ายการสั่งซื้อวัตถุดิบเฉลี่ยต่อวันลดลงร้อยละ 63.47 [7]
ขึ้นอยู่กับปริมาณสินค้าคงคลังที่เหลืออยู่ในขณะนั้น การกำหนดนโยบายการจัดการสินค้าคงคลังที่เหมาะสมจะ
นอกจาก 2 ระบบหลัก ดังที่กล่าวมาแล้ว ยังมีระบบการ ช่ ว ยเพิ ่ ม ประสิ ทธิ ภ าพการสั ่ง ซื้ อ และบริห ารสินค้าคงคลัง
สั่งซื้อแบบผสม (hybrid) ได้แก่ 1) ระบบผสมแบบสั่งซื้อเมื่อ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การศึกษาเปรียบเทียบระบบปริมาณ
ปริมาณสินค้าคงคลัง ลดลงถึง ระดับ สั่ง ซื้อ (reorder level) สั่งซื้อคงที่ และระบบรอบเวลาสั่งคงที่ โดยจำลองสถานการณ์
โดยปริมาณสั่งซื้อเท่ากับผลต่างของจำนวนสินค้าคงคลังที่มีอยู่ รูปแบบต่าง ๆ สำหรับผลิตภัณฑ์น้ำยาตรวจวิเคราะห์และ
เทียบกับจำนวนสินค้าคงคลังสูงสุด (target stock level) หรือ เวชภัณฑ์ของห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ [8] พยากรณ์ความ
เรียกระบบนี้ว่า min-max system และ 2) ระบบผสมแบบ ต้องการวัสดุสิ้นเปลืองของโรงงานแปรรูปกระจก โดยใช้วิธี
พิจารณารอบเวลาสั่งซื้อคงที่ร่วมกับระดับสินค้าคงคลังที่ล ดลง ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ วิธีค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ถ่วงน้ำหนัก วิธีปรับเรียบ
ถึงระดับสั่งซื้อ (periodic review with reorder level) หาก เอกซ์โปเนนเชียล วิธีแยกองค์ประกอบ จากนั้นวิเคราะห์ความ
ถึงรอบพิจารณาการสั่งซื้อแต่ส ินค้าคงคลัง ณ เวลานั้น ยังมี แปรปรวนของข้อมูลจากค่าสัมประสิทธ์ความแปรปรวน (V.C.)
ปริมาณมากกว่าสินค้าคงคลังที่ระดับสั่งซื้อ จะไม่ดำเนินการ หากค่า V.C. น้อยกว่า 0.2 จะใช้นโยบายปริมาณสั่ง ซื ้อคงที่
สั่งซื้อ โดยจะพิจารณาสั่งซื้ออีกครั้งในรอบเวลาถัดไป [3] (EOQ) ส่วนค่าพยากรณ์ที่มีค่า V.C. มากกว่า 0.2 จะใช้เทคนิค
2.2 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การจำลองสถานการณ์แบบมอนติคาร์โล ผลการวิจัยสามารถ
การนำเทคนิค พยากรณ์ ไปใช้ ในการแก้ ปั ญหาความไม่ ลดต้นทุนวัสดุคงคลังลงคิดเป็นร้อยละ 49.86 [9]
แน่นอนของอุปสงค์ เช่น การพยากรณ์ความต้องการสินค้าด้วย
วิธีปรับเรียบเอกซ์โปเนนเชียล ช่วยให้ค่าปรับในการส่ง มอบ 3. วิธีดำเนินการวิจัย
ล่าช้าลดลงเหลือร้อยละ 0.05 ต่อปี [4] การพยากรณ์ปริมาณ 3.1 ศึกษาข้อมูลวัตถุดิบท่อทองแดง
น้ำฝนรายเดือนในจังหวัดนครสวรรค์ ด้วยวิธีแยกส่วนประกอบ จากรายงานการสั ่ ง ซื้ อ วั ต ถุ ด ิ บ ท่ อ ทองแดงของบริษัท
วิธีปรับเรียบเอกซ์โปเนนเชียลแบบวินเตอร์แบบคูณ และ วิธี กรณีศ ึกษา ตั้ง แต่ มกราคม 2560 ถึง ตุล าคม 2564 พบว่า
ของบอกซ์-เจนกินส์ ช่วยในการวางแผนปลูกพืชของเกษตรกร บริษัทกรณีศึกษามีท่อทองแดงที่ใช้ในการผลิตสินค้าทั้ง หมด
และทำให้ทราบปัญหาอุทกภัยที่จะเกิดขึ้นในอนาคต [5] 27 ขนาด ซึ่งมีปริมาณการเบิกใช้ที่แตกต่างกัน ผู้วิจัยจึงทำการ
งานวิจัยที่ประยุกต์ใช้เทคนิคพยากรณ์ร่วมกับการวางแผน จั ด กลุ ่ ม สิ น ค้ า ตามความสำคั ญ ของมู ล ค่ า การใช้ (ABC
สั่งซื้อวัตถุดิบ ได้แก่ การพยากรณ์ความต้องการเครื่องดื่มด้วย analysis) โดยกลุ่ม A B และ C มีสินค้า 5 4 และ 18 รายการ
44
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

ตามลำดับ แสดงดังตารางที่ 1 งานวิจัยนี้เลือกสินค้ากลุ่ม A ซึ่ง 3) ระบบผสมแบบ min-max system (H1)


มีมูลค่ารวม 85.52% ของมูลค่าการใช้ทั้งหมด ประกอบด้วย 4) ระบบผสมแบบ periodic review with reorder
ท่อทองแดง 5 ขนาด มาทำการศึกษา level (H2)
3.5 สรุปผลการวิจัย
ตารางที่ 1 ผลการจัดกลุ่มตามความสำคัญของมูลค่าการใช้ เปรียบเทียบผลการจำลองสถานการณ์การสั่งซื้อวัตถุดิบ 4
กลุ่ม จำนวนท่อ มูลค่าการใช้ มูลค่าการใช้ นโยบายที่นำเสนอ และนโยบายปัจจุบันของบริษัทกรณีศึกษา
(รายการ) (ล้านบาท) (%) โดยพิจารณาค่าใช้จ่ายรวม และปริมาณสินค้าขาดมือ นโยบาย
A 5 83.54 85.52 ที่เหมาะสมควรมีค่าใช้จ่ายต่ำและปริมาณสินค้าขาดมือน้อย
B 4 10.43 10.67
C 18 3.72 3.81 4. ผลการวิจัย
รวม 27 97.69 100 4.1 ผลการพยากรณ์ปริมาณความต้องการวัตถุดิบ
4.1.1 ผลพยากรณ์ด้วยวิธีค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่
3.2 พยากรณ์ปริมาณความต้องการวัตถุดิบท่อทองแดง นำข้อมูลชุดที่ 1 มาสร้างตัวแบบพยากรณ์โดยกำหนดให้
งานวิจัยนี้ใช้ข้อมูลปริมาณการเบิกใช้วัตถุดิบท่อทองแดง จำนวนของค่าสังเกต (N) ที่นำมาหาค่าเฉลี่ย มีค่าตั้งแต่ 1 ถึง 6
รายเดือน โดยแบ่ง ข้อมูลออกเป็น 2 ชุด คือ ชุดที่ 1 ข้อมูล พบว่าตัวแบบพยากรณ์ที่ให้ค่าความคลาดเคลื่อนต่ำที่สุดของ
เดือนมกราคม 2561 ถึง ธันวาคม 2563 จำนวน 36 ข้อมูล ท่ อ ทองแดงขนาด 1/2" x 0.35 mm, 3/8" x 0.3 mm,
สำหรับสร้างตัวแบบพยากรณ์ด้วยวิธีค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ วิธีปรับ 3/8" x 0.35 mm, 3/8" x 0.5 mm แ ล ะ 5/8" x 0.41 mm
เรียบเอกซ์โปเนนเชียล และวิธีพยากรณ์แบบแยกส่วน ข้อมูล ใช้จำนวนของค่าสังเกตเท่ากับ 3, 5, 3, 5 และ 6 ตามลำดับ
ชุดที่ 2 เป็นข้อมูล เดือนมกราคม 2564 ถึง ธันวาคม 2564 4.1.2 ผลพยากรณ์ด้วยวิธีปรับเรียบเอกซ์โปเนนเชียล
จำนวน 12 ข้อมูล ใช้สำหรับเปรียบเทียบความแม่นยำของตัว นำข้อมูลชุดที่ 1 มาสร้างตัวแบบพยากรณ์โดยกำหนดให้ α
แบบพยากรณ์ มีค่าเท่ากับ 0.1, 0.3, 0.5 และ 0.7 พบว่าตัวแบบพยากรณ์ที่
3.3 เปรียบเทียบเทคนิคการพยากรณ์ ให้ ค ่ า ความคลาดเคลื ่ อ นต่ ำ ที ่ ส ุ ด ของท่ อ ทองแดงขนาด
ตัวแบบพยากรณ์ที่เหมาะสมพิจารณาจาก ค่าคลาดเคลื่อน 1 / 2 " x 0 . 3 5 mm, 3/8" x 0.3 mm, 3/8" x 0.35 mm,
สมบูรณ์เฉลี่ย (MAE) ค่าเฉลี่ยกำลังสองของความคลาดเคลื่อน 3/8" x 0.5 mm และ 5/8" x 0.41 mm ใช้ค่า α = 0.1, 0.5,
(MSE) และ ค่ า เฉลี ่ ย ร้ อ ยละความคลาดเคลื ่ อ นสมบู ร ณ์ 0.3, 0.3 และ 0.1 ตามลำดับ
(MAPE) โดยตัวแบบพยากรณ์ที่มีค่าคลาดเคลื่อนต่ำที่สุดจะถูก 4.1.3 ผลพยากรณ์ด้วยวิธีพยากรณ์แบบแยกส่วน
เลือกไปใช้ในการพยากรณ์ นำข้อมูลชุดที่ 1 มาสร้างตัวแบบพยากรณ์แบบแยกส่ว น
3.4 จำลองสถานการณ์การสั่งซื้อวัตถุดิบ แบบบวก และแบบคูณ พบว่าตัวแบบพยากรณ์แบบบวกให้ค่า
เมื่อทราบปริมาณความต้องการวัตถุดิบจากการพยากรณ์ ความคลาดเคลื ่ อ นต่ ำ ที ่ ส ุ ด สำหรั บ ท่ อ ทองแดงขนาด
แล้ว นำปริมาณความต้องการวัตถุดิบไปใช้ในการจำลองสถาน- 1/2" x 0.35 mm, 3/8" x 0.35 mm, 3/8" x 0.5 mm และ
การณ์การสั่งซื้อวัตถุดิบ โดยกำหนดนโยบายสั่งซื้อ 4 แบบ คือ 5/8" x 0.41 mm ตั ว แบบพยากรณ์ แ บบคู ณ ให้ ค ่ า ความ
1) ระบบปริมาณสั่งซื้อคงที่ (Q) คลาดเคลื่อนต่ำที่สุดสำหรับท่อทองแดงขนาด 3/8" x 0.3 mm
2) ระบบรอบเวลาสั่งซื้อคงที่ (P) 4.2 ผลการเปรียบเทียบเทคนิคการพยากรณ์
45
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

ตัวแบบพยากรณ์ที่ได้จากหัวข้อ 4.1 จะถูกนำไปใช้ในการ คลาดเคลื่อนทั้ง 3 ค่า ได้แก่ MAE MSE และ MAPE ที่มีค่า
พยากรณ์ปริมาณความต้องการวัตถุดิบท่อทองแดง โดยใช้ ต่ำสุด ไม่สอดคล้องกันในท่อทองแดงบางขนาด ตัวอย่างเช่น
ข้อมูลชุดที่ 2 เพื่อทดสอบความแม่นยำของการพยากรณ์ ผล ท่อทองแดงขนาด 1/2" x 0.35 mm ตัวแบบพยากรณ์ ES
การเปรียบเทียบวิธีการพยากรณ์ทั้ง 3 วิธี แสดงดังตารางที่ 2 (α=0.1) มีค่า MAE และ MSE ต่ำที่สุด ในขณะที่ตัวแบบ DC
(บวก) มีค่า MAPE ต่ำที่สุด โดยในงานวิจัยนี้จะทำการเลือกตัว
ตารางที่ 2 เปรียบเทียบความแม่นยำของการพยากรณ์ 3 วิธี แบบพยากรณ์ที่เหมาะสมโดยพิจารณาจากค่า MAE เนื่องจาก
ค่าความคาดเคลื่อน MAE เป็นการวัดความคลาดเคลื่อนที่ มีความอ่อนไหวน้อยต่อ
วิธีการพยากรณ์
MAE MSE MAPE ข้อมูลค่าผิดปกติ (outlier) หรือข้อมูลความต้องการวัตถุดิบที่มี
ท่อทองแดงขนาด 1/2" x 0.35 mm ค่าสูงหรือต่ำกว่าข้อมูลส่วนใหญ่ ในชุดข้อมูลหนึ่ง ๆ อย่างมาก
MA (N=3) 599.81 423,330.98 63.19 ดังนั้นตัวแบบพยากรณ์ที่เหมาะสมสำหรับ พยากรณ์ปริม าณ
ES (α=0.1) 422.35 269,606.37 49.29 ความต้องการท่อทองแดงทั้ง 5 ขนาด แสดงดังตารางที่ 3
DC (บวก) 483.64 315,112.09 35.97 ตารางที่ 3 ตัวแบบพยากรณ์ที่เหมาะสมสำหรับพยากรณ
ท่อทองแดงขนาด 3/8" x 0.3 mm ปริมาณความต้องการท่อทองแดง
MA (N=5) 711.43 673,143.14 16.79 ขนาดท่อทองแดง ตัวแบบพยากรณ์
ES (α=0.5) 581.55 556,076.17 15.14 1/2" x 0.35 mm ES (α=0.1)
DC (คูณ) 1,581.92 3,724,582.36 37.99 3/8" x 0.3 mm ES (α=0.5)
3/8" x 0.35 mm DC (บวก)
ท่อทองแดงขนาด 3/8" x 0.35 mm
3/8" x 0.5 mm MA (N=5)
MA (N=3) 360.80 176,570.80 136.41 5/8" x 0.41 mm ES (α=0.1)
ES (α=0.3) 341.19 153,475.27 231.70 4.3 ผลการจำลองสถานการณ์การสั่งซื้อวัตถุดิบ
DC (บวก) 339.15 188,653.42 128.27 ข้อมูลพยากรณ์ปริมาณความต้องการวัตถุดิบของปี 2564
ท่อทองแดงขนาด 3/8" x 0.5 mm จะถูกนำไปใช้ในการจำลองสถานการณ์การสั่งซื้อวัตถุดิบ ผล
MA (N=5) 217.49 74,750.00 30.57 การจำลองสถานการณ์ทั้ง 4 นโยบาย และผลการสั่งซื้อด้วย
ES (α=0.3) 254.61 97,557.69 55.97 นโยบายปัจจุบัน แสดงดังตารางที่ 4
DC (บวก) 295.91 144,248.19 51.68 ตารางที่ 4 เปรียบเทียบผลการจำลองสถานการณ์การสั่งซื้อ 4
ท่อทองแดงขนาด 5/8" x 0.41 mm นโยบาย และ นโยบายปัจจุบัน
MA (N=6) 1,630.10 4,508,392.92 26.91
1,547.12 3,915,225.59 41.38 นโยบาย ค่าใช้จ่ายรวม (บาท) สินค้าขาดมือ (kg)
ES (α=0.1)
Q 157,965.61 13,306.25
DC (บวก) 1,631.21 4,654,267.21 42.18
P 183,242.96 16,156.21
โดยที่ MA แทน วิธีค ่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ ES แทน วิธีปรับเรียบ H1 178,179.45 4,186.50
เอกซ์โ ปเนนเชียล และ DC แทน วิธีพยากรณ์แบบแยกส่วน H2 166,174.18 19,099.24
เมื่อพิจารณาค่าความคลาดเคลื่อนในตารางที่ 2 พบว่าค่าความ ปัจจุบัน 294,234.72 0

46
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

ค่ า ใช้ จ ่ ายรวม ประกอบด้ว ย ค่ า ใช้ จ ่า ยในการสั ่ง ซื้ อ และ แต่การมีสินค้าขาดมือน้อยที่สุดจะช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือและ


ค่าใช้จ่ายในการเก็บรักษา พบว่านโยบาย Q หรือระบบปริมาณ โอกาสในการรับงานของบริษัทกรณีศึกษาได้ ดังนั้นนโยบาย
สั่งซื้อคงที่ มีค่าใช้จ่ายรวมน้อยที่สุด ซึ่งหากพิจารณาปริมาณ ระบบผสมแบบ min-max system จึ ง เหมาะสมที ่ ส ุ ด ซึ่ ง
สินค้าขาดมือ พบว่านโยบาย H1 หรือระบบผสมแบบ min- สามารถลดค่าใช้จ่ายรวมเมื่อเทียบกับนโยบายปัจจุบัน เป็นเงิน
max system มีปริมาณสินค้าขาดมือน้อยเป็นอันดับที่ 2 รอง 116,055 บาทต่อปี หรือคิดเป็นร้อยละ 39.44
จากนโยบายปัจจุบัน ในขณะทีน่ โยบายปัจจุบันมีค่าใช้จ่ายรวม 5.2 ข้อเสนอแนะ
สูงสุด และไม่มี สินค้าขาดมือเนื่องจากข้อมูลที่นำมาใช้ในการ เพื่อให้การพยากรณ์ความต้องการและการวางแผนการ
จำลองสถานการณ์เป็น ข้ อมูล จำนวนเบิกใช้จ ริง ซึ่ง บริษัท สั่งซื้อวัตถุดิบมีความแม่นยำและมีประสิทธิภาพมากขึ้น จึงควร
กรณีศึกษาไม่มีเก็บข้อมูลปริมาณความต้องการจริง จึงทำให้ มีการบันทึกข้อมูลการเบิกใช้วัตถุดิบที่ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน
นโยบายปัจจุบันไม่มีสินค้าขาดมือ อยู่เสมอ เพื่อประโยชน์ในการติดตามสถานะวัตถุดิบ รวมถึง
การนำข้อมูลไปสร้างตัวแบบพยากรณ์ที่แม่นยำ ซึ่งควรกำหนด
5. สรุปผลและข้อเสนอแนะ ระยะเวลาในการทบทวนตัวแบบพยากรณ์ เนื่องจากข้อมูล
5.1 สรุปผลการวิจัย ความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละช่วงเวลาอาจมีผลทำให้
จากการจัดกลุ่มวัตถุดิบท่อทองแดงตามความสำคั ญ ของ ตั ว แบบพยากรณ์ เ ดิ ม ไม่ แ ม่ น ยำได้ นอกจากนี ้ แ นวทางที่
มูลค่าการใช้ พบว่ามีท่อทองแดงจำนวน 5 ขนาด ที่มีมูลค่าการ นำเสนอสามารถประยุกต์ใช้ได้กับวัตถุดิบชนิดอื่นที่มีปริมาณ
ใช้รวมคิดเป็นร้อยละ 85.52 จึงทำการพยากรณ์ปริมาณความ ความต้องการไม่คงที่
ต้องการท่อทองแดงทั้ง 5 ขนาด ด้วยวิธีค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ วิธี
ปรับเรียบเอกซ์โ ปเนนเชียล และวิธีพยากรณ์แบบแยกส่วน เอกสารอ้างอิง
โดยเปรี ย บเที ย บความแม่ น ยำของการพยากรณ์ ด ้ ว ย วิ ธี 1. ชุมพล ศฤงคารศิริ, 2560, การวางแผนและควบคุมการ
ค่าเฉลี่ยคลาดเคลื่อนสมบูรณ์ วิธีค่าเฉลี่ยกำลังสองของความ ผลิต, สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).
ผิดพลาด และวิธีค่าเฉลี่ยร้อยละความคลาดเคลื่อนสมบูร ณ์ 2. ทรงศิ ริ แต้ ส มบั ติ , 2549, การพยากรณ์ เ ชิ ง ปริ ม าณ,
โดยตัวแบบพยากรณ์ที่เลือกใช้ในการพยากรณ์แสดงดังตาราง สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ที่ 3 จากนั้นนำผลพยากรณ์ปริมาณความต้องการไปใช้ในการ 3. Waters, D., 2003, Inventory Control and
จำลองสถานการณ์การสั่งซื้อวัตถุดิบ พบว่า นโยบายระบบ Management, John Wiley & Sons Ltd., pp. 65-296.
ปริมาณสั่ง ซื้อคงที่ มีค ่ าใช้จ ่ ายรวมน้ อ ยที ่ส ุ ด รองลงมาคือ 4. ธัญยธรณ์ อันมี , 2560, “การพยากรณ์และการวางแผน
นโยบายระบบผสมแบบ min-max system ซึ่ง มีค ่าใช้จ ่ า ย สร้างสต็อกสินค้าเพื่อลดปัญหาการส่งมอบสินค้าล่าช้า
น้อยกว่านโยบายปัจจุบันคิดเป็นร้อยละ 46.31 และ 39.44 กรณีศึกษาโรงงานผลิตเลนส์แว่นตา”, การค้นคว้าอสิร ะ
ตามลำดับ และจากการพิจารณาปริมาณสินค้าขาดมือร่วมด้วย วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พบว่ า นโยบายระบบผสมแบบ min-max system มี ค วาม 5. ชม ปานตา และ ยุ ภ าวดี สำราญฤทธิ์ , 2560, “การ
เหมาะสมมากกว่ า ระบบปริ ม าณสั ่ ง ซื ้ อ คงที่ เนื ่ อ งจากมี พยากรณ์ปริมาณน้ำฝนรายเดือนในจังหวัดนครสวรรค์โ ดย
ค่าใช้จ่ายรวมไม่ต่างกันมากและมีปริมาณสินค้าขาดมือ น้อ ย ใช้เทคนิค การพยากรณ์ทางสถิติ ”, วารสารวิช าการและ
ที่สุดเมื่อเทียบกับนโยบายอื่น และเนื่องจากบริษัทกรณีศึกษา วิจัยมหาวิทยาลัยราชภัฏ นครสวรรค์, ปีที่ 9, ฉบับที่ 10,
ไม่มีค่าปรับกรณีสินค้าขาดมือจึงไม่สามารถคิดเป็นต้นทุนได้ หน้า 128-141.
47
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

6. นิพนธ์ โตอินทร์, 2556, “การพยากรณ์ความต้องการและ


การวางแผนสิ น ค้ า คงคลั ง สำหรั บ สิ น ค้ า เครื ่ อ งดื ่ ม :
กรณี ศ ึ ก ษาแผนกควบคุ ม เครื ่ อ ’ดื ่ ม ในโรงแรม”,
วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต , มหาวิทยาลัยธุรกิจ
บัณฑิตย์.
7. จักรพรรณ เนื่องไชยยศ และ ธิติภัทร พุแพง, 2562, “การ
ประยุกต์ใช้เทคนิคการพยากรณ์ส ำหรับการวางแผนการ
สั่งซื้อวัตถุดิบและการจัดการวัตถุดิบคงคลัง : กรณีศึกษา
บริษ ัทจัดหาวัตถุดิบและอุปกรณ์ใ นการประกอบธุ ร กิ จ
ร้านอาหาร”, ปริญญานิพ นธ์ ว ิศ วกรรมศาสตรบัณ ฑิ ต ,
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
8. เธียรภัทร เลิศวัฒนวิมล, 2554, “การพัฒนาระบบบริหาร
สินค้าคงคลังสำหรับธุรกิจห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์
ทางการแพทย์ ใ นโรงพยาบาล”, โครงงานพิ เ ศษวิ ท ยา
ศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
9. จีรวัฒน์ นภาสุขวีระมงคล, 2558, “การบริหารวัสดุคงคลัง
ประเภทวั ส ดุ ส นั บ สนุ น การผลิ ต โดยใช้ ก ารจำลอง
สถานการณ์ : กรณี ศ ึ ก ษาโรงงานแปรรู ป กระจก ”,
วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต , มหาวิทยาลัย
ศิลปากร.

48
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

การจัดตารางการผลิตสำหรับสินค้ากลุ่มบรรจุภัณฑ์อุตสาหกรรมเพื่อลดเวลาในการตั้งค่าเครื่องจักร
Production scheduling for industrial packaging products
to reduce machine set-up time

ครองภพ ธรรมวุฒิ1* และ อภินันทนา อุดมศักดิกุล2


1,2
ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เขตทุ่งครุ กรุงเทพฯ 10140
E-mail: krongpob.tammmawut@mail.kmutt.ac.th1*, apinanthana.udo@kmutt.ac.th2

บทคัดย่อ
บทความนี้นำเสนอวิธีฮิวริสติกแบบผสมผสานของการจัดตารางการผลิตสินค้ากลุ่มบรรจุภัณฑ์อุตสาหกรรม เพื่อลดเวลาในการตั้ง
ค่าเครื่องจักร การผลิตงานทำบนเครื่องฉีดขึ้นรูปแม่พิมพ์แบบอินโมลด์ลาเบลลิ่ง (In Mold Labeling: IML) ที่เป็นเครื่องจักรแบบขนาน
จำนวน 2 เครื่อง โดยในการปรับตั้งค่าเครื่องจักรแตกต่างกันขึน้ อยูก่ ับการเรียงลำดับของงานและชนิดฟิล์มที่ใช้ วิธีการฮิวริสติกที่นำเสนอเป็น
วิธีผสมผสานระหว่างวิธีพิจารณาเครื่องจักรที่มีเวลาแล้วเสร็จของงานก่อนหน้าน้อยกว่ามาผลิตก่อน (List Scheduling : LS), การจัดตาราง
การผลิตแบบกำหนดการส่งงานใกล้ที่สุดก่อน (Earliest Due Date : EDD) และพิจารณางานที่มีเวลาผลิตสั้นที่สุดมาผลิตก่อน (Shortest
Processing Time : SPT) จากการทดลองด้วยวิธีฮิวริสติกนี้กับ 5 ชุดข้อมูลของการจัดตารางการผลิต พบว่าสามารถช่วยลดเวลาปิดงานได้
2.2 ชั่วโมงโดยเฉลี่ยและลดเวลาตั้งค่าเครื่องจักรได้ 1.55 ชั่วโมงโดยเฉลี่ยหรือ 30.19% ของเวลาตั้งค่าเครื่องจักรเดิม

คำสำคัญ : การจัดตารางการผลิต การตั้งค่าเครื่องจักร บรรจุภัณฑ์อุตสาหกรรม ฮิวริสติกแบบผสมผสาน เครื่องจักรขนาน

Abstract
This research presents a hybrid heuristic algorithm for solving a production scheduling of industrial
packaging products to reduce the machine set up time. In the manufacturing, jobs are processed on 2 identical
parallel injection molding machines called In Mold Labeling (IML). The machine set up time depends on the
sequence of jobs to process and the type of films used. A proposed hybrid heuristic algorithm includes List
Scheduling (LS) , Earliest Due Date (EDD) and Shortest Processing Time (SPT). The results from testing proposed
method on 5 problems show that the makespans decrease by 2.2 hours on average and the machine set-up time
reduces by 1.55 hours on average, or 30.19% from current machine set-up time.

Keywords : Production scheduling, Machine set-up, Industrial packaging, Hybrid heuristic algorithm, Parallel machine

49
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

1. บทนำ ผลิตที่เหมาะสมเพื่อลดเวลาในการตั้งค่าเครื่องฉีดขึ้นรูปที่ใช้
บริษ ัทกรณีศ ึกษาผลิตสินค้าในกลุ่ม ของบรรจุ ภ ั ณ ฑ์ ในการผลิต
ประเภทรูปทรงแข็งตัว เช่น บรรจุภัณฑ์ถังสี พาเลท ลัง ถัง
ขยะ เป็นต้น ปัจจุบันทางบริษัทได้มีกรรมวิธีผลิตเป็นแบบ 2. ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
การฉีดขึ้นรูปพลาสติกด้วยแม่พิมพ์ ซึ่งเป็นกรรมวิธีที่มีความ 2.1 ทฤษฎี
แม่นยำสูง รวดเร็ว เหมาะสำหรับผลิตชิ้นส่วนที่มีค วาม 2.1.1การจัดตารางการผลิต (Production Scheduling)
แข็งแรงสูง และสามารถประยุกต์ได้อย่างหลากหลาย เป็น คือการจัดสรรงานหรือทรัพ ยากรต่างๆไม่ ว่ าจะเป็ น
ต้น นอกจากนี้ทางบริษัทได้มีแนวทางการพัฒนางานบรรจุ แรงงาน เครื ่ อ งจั ก ร หรื อ สิ ่ ง อำนวยความสะดวก ให้
ภัณฑ์ให้มีสีสันและลวดลายหรือข้อความโดยสามารถแบ่งได้ ดำเนินการผลิตตามที่ได้รับมอบหมาย ภายใต้ความต้องการ
เป็น 2 วิธี คือ ทำแผ่นฟิล์มแล้วนำไปวางในแม่พิมพ์ก่อนทำ หรือเงื่อนไขต่างๆ
การขึ้นรูปด้ วยแม่ พิ มพ์ (In Mold Labelling, IML) และ 2.1.2 การจั ด ตารางการผลิ ต สำหรั บ เครื ่ อ งจั ก รขนาน
การพิมพ์ที่ ใช้หลัก การทำงานแบบแม่ พิ มพ์พ ื้ น ฉลุ (Silk (Parallel machine)
screen) ทั้งสองวิธีการข้างต้นเป็นวิธีการที่เปิดกว้างในการ เป็นระบบการผลิตแบบขั้นตอนเดียวที่มีเครื่องจั กรที่
ออกแบบและพัฒนาฟิล์มเพื่อดึงดูดความสนใจของลูกค้าซึ่ง สามารถทำงานทดแทนกันได้มากกว่า 1 เครื่อง โดยแบ่ง
ทำให้เกิดการแข่งขันภายในตลาดค่อนข้างสูง ทำให้ลูกค้า ออกได้ 3 แบบ
จำนวนมากได้ออกแบบลวดลายโดยใช้แผ่นฟิล์มชนิดต่างๆ - เครื ่ อ งจั กรขนานที่ เหมื อ นกั น (Identical parallel
เช่น แผ่นฟิล์มแบบด้าน, แผ่นฟิล์มแบบเงาและแผ่น ฟิ ล์ม machine) คือเครื่องจักรทั้ง หมดมีค วามเร็ วในการผลิ ต
แบบอลูมิเนียม เป็นต้น ทำให้ในการผลิตต้ องมีการหยุด เท่ากัน
เครื่องจักรบ่อยครั้งเปลี่ยนชนิดของแผ่นฟิล์ม ทำให้เวลาใน - เครื ่ อ งจั ก รขนานที ่ ม ี ค วามเร็ ว ในการผลิ ต ต่ า งกั น
การผลิตงานมีเวลาแล้วเสร็จรวมที่สูง เนื่องจากการตั้ง ค่า (Difference speed or Uniform parallel machine)
เครื่องจักรจากฟิล์มชนิดหนึ่ง ไปเป็นอีกชนิดหนึ่งมีการใช้ - เครื ่ อ งจั ก รขนานที ่ ไ ม่ ส ั ม พั น ธ์ ก ั น (Unrelated
เวลาในการตั้งค่าเครื่องจักรที่แตกต่างกัน เช่นการเปลี่ยน parallel machine)
ฟิล์มจากฟิล์มอลูมิเนียมไปเป็นฟิล์มแบบเงาจะใช้เวลาใน 2.1.3 ตัวชี้วัดในการจัดตารางการผลิต
การเปลี่ยนมากกว่าการเปลี่ยนฟิล์มจากฟิล์ มอลูมิเนียมไป - เวลาปิดงาน (Makespan) เวลาที่ทำงานทั้งหมดแล้ว
เป็นฟิล์มด้าน เสร็จ หรือเวลาปิดงาน
ทางบริษัทได้ทำการผลิตสินค้าด้วยเครื่องจักร 2 เครื่อง 2.1.4 ฮิวริสติกสำหรับการจัดตารางการผลิตที่ใช้ในงานวิจัย
ซึ่งจัดตารางการผลิตด้วยวิธีการ LS ควบคู่กับการจัดตาราง นี้
การผลิตแบบ EDD โดยไม่มีการพิจารณาชนิดของแผ่นฟิล์ม 2.1.4.1 เครื่องจักรเดี่ยว
ทำให้เกิดการเปลี่ยนชนิดของแผ่นฟิล์มบ่อยครั้งและสูญเสีย - EDD พิจารณาเวลาส่งมอบงานที่เร็วกว่ามาผลิตก่อน
เวลาไปกับการตั้ง ค่า เครื ่ องจั กรจำนวนมาก ดัง นั้ น เพื่ อ ทำให้ได้เวลาล่าช้าสูงสุดหรือ Tardiness มีค่าต่ำที่สุด
แก้ปัญหาดังกล่าว งานวิจัยนี้จึงได้หาวิธีก ารจัดตารางการ

50
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

- SPT พิจารณางานที่มีเวลาผลิตสั้นที่สุดมาผลิตก่อนทำ ใช้ฮิวริสติกแบบผสมผสานโดยใช้การจัดตารางการผลิตแบบ


ให้ค่าเฉลี่ยของงานที่อยู่ในระบบหรือ Flow time มีค่าต่ำ EDD ควบคู่กับการจัดตารางการผลิตแบบ LPT เพื่อลดเวลา
ที่สุด เวลาแล้วเสร็จของงานล่าช้าทั้งหมด, ลดเวลาเสร็จรวมของ
2.1.4.2 เครื่องจักรขนาน งานที่เสร็จก่อนกำหนด และลดต้นทุนรวมของระบบการ
- LS พิจารณาเครื่องจักรที่มีเวลาแล้วเสร็จของงานก่อน ผลิตแบบเครื่องจักรขนาน นอกจากนี้ อรรถพล คำจ้อย[5]
หน้าน้อยกว่ามาผลิตก่อน จัดตารางการผลิตของสายการผลิตแบบไหลเลื่อนบนหลาย
เครื ่ อ งจั ก รที ่ ว างแบบอนุ ก รม โดยหาขนาดการผลิ ต ที่
2.2 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง เหมาะสมจากสมการทางคณิตศาสตร์และใช้วิธีการ EDD
ปัจจุบันฮิวริสติกต่างๆถูกนำมาจัดตารางการผลิตอย่าง และ วิธีการ SPT เพื่อให้เวลาปิดงานและจำนวนงานล่าช้า
กว้างขวาง เช่น มนิดา ศรีผล[1] จัดลำดับการผลิตเพื่อลด นั้นลดลง ตามด้วย ศาตนาถ วิชิตนาค[6] นำเสนอวิธีฮิวริ
จำนวนงานล่าช้า โดยใช้วิธี EDD เพื่อลดความล่าช้า จากนั้น สติกในการจัดตารางการผลิตสำหรับการผลิตเฟอร์นิเจอร์
นำงานที ่ ถ ู ก จั ด ลำดั บ การผลิ ต ให้ อ ยู ่ ใ นวั น เดี ย วกั น มา เหล็กตัด ประกอบด้วยฮิวริสติกดังนี้ งานที่มีค่าสัดส่วนของ
จัดลำดับการผลิตโดยพิจารณา งานที่มีเวลาผลิตสูงที่สุดมา เวลาในการผลิ ต ต่ อ ค่ า น้ ำ หนั ก ที ่ ม ี ค ่ า น้ อ ยมาทำก่ อ น
ผลิตก่อน (Longest Processing Time : LPT) เพื่อลดเวลา ( Weighted Shortest Processing Time : WSPT), ง า น
การผลิตรวมของงานในระบบ จากนั้น สุวัฑฒิพงศ์ พรหม ที ่ ม าก่ อ นจะถู ก ผลิ ต ก่ อ น (First Come First Serve :
จันทร์[2] ได้จัดตารางการผลิตของกระบวนการบรรจุยาสี FCFS), งานที ่ ม ี ค วามยื ด หยุ ่ น น้ อ ยจะถู ก ผลิ ต ก่ อ น
ฟันด้วยวิธีการฮิวริสติก โดยการผลิตมีข้อจำกัดจำนวนมาก ( Minimum Slack Time : MST), ว ิ ธ ี ก า ร Wilkerson-
เช่น ความสามารถเครื่องจักร สูตร และขนาดของยาสีฟัน Irwin, EDD, SPT และ WSPT ซึ่งจากการศึกษาพบว่า SPT
เป็นต้น วิธีการ EDD ถูกนำมาใช้จัดตารางการผลิตเบื้องต้น นั้นให้ค่าเวลางานอยู่ในระบบการทำงานที่น้อยที่สุด สุดท้าย
จากนั ้ น ปรั บ ปรุ ง คำตอบอี ก ครั ้ง ด้ ว ยแนวคิ ด การค้น หา ญาณิศา กล้าหาญ[7] ศึกษาการจัดตารางการทำงานภายใน
ค ำ ต อ บ ใ น ย ่ า น ใ ก ล ้ เ ค ี ย ง แ บ บ แ ป ร ผ ั น ( Variable ห้ อ งปฏิ บ ั ต ิ ก ารเพื่ อ ลดเวลางานที ่ อยู ่ ใ นระบบและเพิ่ม
Neighborhood Search) ต่อมา บุษ บงกช คชธรรมรัต น์ จำนวนงานที่เสร็จก่อนกำหนด โดยเปรียบเทียบวิธีฮิวริสติก
[3] เสนอวิธีฮิริส ติกในการจัดตารางการผลิตของชิ้นส่วน แบบต่ า งๆ ได้ แ ก่ FCFS, EDD, SPT, WSPT, EDD+SPT
เฟรมไดร์ฟ โดยศึกษาการแบ่ง ผลิตชิ้นงานเป็นล็อตและ และ EDD+WSPT พบว่าการผลิตแบบ SPT นั้นมีค่าเวลาที่
เปรียบเทียบฮิวริสติกแบบประยุกต์ระหว่าง 1.การจัดตาราง งานอยู ่ ใ นระบบการทำงานน้ อ ยที ่ส ุด จะเห็ น ว่ า การนำ
การผลิ ต แบบ EDD ผสมกั บ การจั ด ลำดั บ งานที ่ ใ ช้ เ วลา ฮิวริสติกแบบผสมผสานมาใช้ในการจัดตารางการผลิตให้กับ
ปรับตั้งค่าเครื่องจักรน้อยที่สุดมาผลิตก่อน (Shortest Set- เครื่องจักรสามารถบรรลุประสงค์ด้านต่างๆของการผลิต
up Time : SST) และการจัดตารางการผลิตแบบ SPT 2. ตามที่ต้องการได้ โดยในงานวิจัยนี้นำเสนอวิธีการฮิวริสติก
การจัดตารางการผลิตแบบ EDD ผสมกับการจัดลำดับงาน แบบผสมผสานในการจัดตารางการผลิตให้กับเครื่องจักรที่
แบบ SST และการจัดตารางการผลิต แบบ LPT จากนั้ น วางขนานกันเพื่อให้มีเวลาปิดงานที่ลดลง
ธนวัฒน์ วงศ์เครือ และ วรวุฒิ หวังวัชรกุล[4] นำเสนอการ

51
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

3. ขั้นตอนการดำเนินงาน เงา
15 10 30 10
งานวิจัยนี้ทำการศึกษาสภาพการทำงานปัจจุบั นและ (นาที)
เงื่อนไขต่างๆของโรงงานกรณีตัวอย่าง จากนั้นพัฒนาวิธีการ อลูมิเนียม
20 30 10 10
จั ด ตารางการผลิ ต ด้ ว ยฮิ ว ริ ส ติ ก เพื ่ อ ลดเวลาการหยุ ด (นาที)
เครื่องจักรที่ผลิตสินค้ากลุ่มบรรจุภัณฑ์อุตสาหกรรม ไม่มีฟิล์ม
15 20 30 0
3.1 ข้อมูลสภาพปัจจุบันและเงื่อนไข (นาที)
3.1.1 ข้อมูลสภาพปัจจุบัน
ปัจจุบันฝ่ายวางแผนได้รับข้อมูลของงานบรรจุภัณฑ์ถัง จากตารางที่ 2 สามารถอธิบายตัวอย่างเวลาที่ใช้ตั้งค่า
ขนาด 10 ลิ ต รที ่ ต ้ อ งผลิ ต จากทางฝ่ า ยขายที ่ ไ ด้ ต กลง เครื ่ อ งจั ก รได้ ค ื อ จากแผ่ น ฟิ ล ์ ม แบบด้ า น เปลี ่ ย นเป็ น
กำหนดการส่งสินค้ากับทางลูกค้าไว้แล้วโดยทางฝ่ายขายนั้น แผ่นฟิล์มแบบด้าน ใช้เวลาตั้งค่าเครื่องจักรเท่ากับ 10 นาที
คำนวนตามความสามารถในการผลิตของทางโรงงาน และจากแผ่นฟิล์มแบบอลูมิเนียม เปลี่ยนเป็นแผ่นฟิล์มแบบ
จากนั้นฝ่ายวางแผนทำการจัดตารางการผลิตโดยการใช้ เงาใช้เวลาตั้งค่าเครื่องจักรเท่ากับ 30 นาที
การจัดตารางการผลิตแบบ EDD จากนั้นจัดเรียงงานบน
เครื่องจักรขนานที่เหมือนกัน 2 เครื่องด้วยวิธีการ LS ซึ่ง 3.2 การพัฒนาแบบฮิวริสติก
ปัจจุบันโรงงานใช้เวลา 25 วินาทีต่อการผลิตถัง 1 ใบ การพัฒนาฮิวริสติกเพื่อแก้ปัญหาการจัดตารางการผลิต
3.1.2 เวลาที่ใช้ตงั้ ค่าเครื่องจักร ของเครื ่ อ งจั ก รขนานที ่ เ หมื อ นกั น ที ่ ม ี เ วลาการตั ้ ง ค่ า
การตั้งค่าเครื่องจักรที่ผลิต สำหรับฟิล์มชนิดเดียวกันนั้น เครื ่ อ งจั ก รขึ ้ น อยู ่ ก ั บ ชนิ ด ของแผ่ น ฟิ ล ์ ม ที ่ ต ้ อ งผลิ ต มี
ต้องจอดเครื่องจักร 10 นาทีเพื่อทำความสะอาดแม่พิมพ์ทุก วัตถุประสงค์เพื่อลดเวลาการปิดงาน โดยฮิวริสติกที่นำเสนอ
ครั้ง ในส่วนของการเปลี่ยนงานที่ฟิล์มต่างชนิดกัน แผ่นฟิล์ม นั้นประกอบด้วยวิธีการ LS ที่เข้ามาช่วยจัดโดยพิจ ารณา
แต่ละชนิดมีความต้องการวิธีการผลิตที่แตกต่างกันส่งผลให้ เครื่องจักรที่มีความสามารถเริ่มทำงานได้เร็วกว่า, EDD เพื่อ
การเปลี่ยนแผ่ นฟิล ์ม ที่ ต่ างชนิ ดกั น ต้ องจอดเครื ่องจั ก ร ช่วยลดเวลาล่าช้าและ SPT เพื่อลดเวลาของงานที่อยู่ ใน
มากกว่าดังแสดงในตารางที่ 1 ระบบ [1,5] ซึ่งมีรายละเดียดและขั้นตอนดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 : พิจารณาเครื่องจักร โดยเลือกเครื่องจักรที่มี


เวลาแล้วเสร็จของงานก่อนหน้าเร็วที่สุด
ตารางที่ 1 เวลาที่ใช้ตั้งค่าเครื่องจักรตามชนิดของฟิล์ม - กรณีที่มีเครื่องจักรที่มีเวลาแล้วเสร็จของงานก่อนหน้า
ไปเป็น ไม่มี เท่ากันให้เลือกเครื่องจักรใดมาพิจารณาก่อนก็ได้
ด้าน เงา อลูมิเนียม ขั้นตอนที่ 2 : เลือกพิจารณางานที่มีกำหนดส่งมอบใกล้
ฟิล์ม
(นาที) (นาที) (นาที) ที่สุด
เปลี่ยนจาก (นาที)
ขั้นตอนที่ 3 : เลือกงานที่ใช้เวลาตั้งค่าเครื่องจักรน้อยที่สุด
ด้าน
10 15 20 10 โดยอ้างอิงเวลาที่ใช้ตั้งค่าเครื่องจักรจากตารางที่ 2
(นาที)
52
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

- กรณีมีงานที่ใช้เวลาตั้งค่าเครื่องจักรเท่ากันมากกว่า 1
งานให้เลือกงานที่ใช้เวลาผลิตน้อยที่สุด
- กรณีมีงานที่ใช้เวลาตั้งค่าเครื่องจักรและใช้เวลาผลิ ต
น้อยที่สุดมากกว่า 1 งาน ให้เลือกงานใดก็ได้
ขั้นตอนที่ 4 : ตรวจสอบงานที่จ ะทำการผลิตว่าถูกจัด
ตารางครบหรือไม่
- กรณีจัดตารางยังไม่ครบทุกงาน ให้กลับไปทำขั้นตอนที่
1 อีกครั้ง
- กรณีจัดตารางงานครบทุกงานแล้วให้ไปขั้นตอนต่อไป
ขั้นตอนที่ 5 : ตรวจสอบเวลาแล้วเสร็จของงานทั้งหมด ว่า
มากกว่าเวลาส่งมอบงานที่เร็วที่สุดหรือไม่
- กรณีที่มากกว่า ให้ให้พิจารณาทีละเครื่องจักร จากนั้น
แบ่งงานออกเป็นสองกลุ่มดังนี้ กลุ่มที่ เวลาส่งมอบน้อยกว่า
เวลาแล้ ว เสร็ จ ของงานสุ ด ท้ า ยและกลุ ่ มที ่ เ วลาส่ ง มอบ
มากกว่าเวลาแล้วเสร็จของงานสุดท้าย
กลุ่ ม ที่ เ วลาส่ ง มอบน้อ ยกว่ า เวลาแล้ ว เสร็ จ ของงาน
สุดท้ายจะจัดตารางการผลิตตามลำดับขนิดของแผ่ นฟิล์ม
ดังนี้ อลูมิเนียม, ไม่มีฟิล์ม, ด้าน และ เงา ตามลำดับ
กลุ ่ ม ที ่ เ วลาส่ ง มอบมากกว่า เวลาแล้ ว เสร็จ ของงาน
สุดท้ายจะจัดตารางการผลิตตามลำดับขนิดของแผ่ นฟิล์ม
ดังนี้ เงา, ด้าน, ไม่มีฟิล์ม และ อลูมิเนียม ตามลำดับ
จากนั้นทำการผลิตจากกลุ่มที่เวลาส่งมอบน้อยกว่าเวลา
แล้วเสร็จของงานสุดท้ายและตามด้วยกลุ่มที่เวลาส่ง มอบ
มากกว่าเวลาแล้วเสร็จของงานสุดท้ายและจบการทำงาน
- กรณีที่น้อยกว่ า ให้พิจ ารณาเครื่องจักรทีล ะเครื ่ อ ง
จากนั้นจัดกลุ่มของงานตามชนิ ด ของแผ่ นฟิล ์ม และจั ด
ตารางการผลิตตามลำดับขนิดของแผ่นฟิล์มดังนี้ อลูมิเนียม,
ไม่มีฟิล์ม, ด้าน และ เงา ตามลำดับและจบการทำงาน

จากขั้นตอนนี้สามารถเขียนแผนผังการทำงานของฮิวริสติก
แสดงในรูปที่ 1

53
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

รูปที่ 1 การจัดตารางการผลิตด้วยฮิวริสติก

54
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

4. ผลการดำเนินงาน ตารางที่ 2 ชุดตัวอย่างข้อมูล ก. (ต่อ)


ตัวอย่างข้อ มูล ที ่น ำมาทดลองจั ด ตารางการผลิ ต คื อ กำหนด เวลาที่ใช้
จำนวน ชนิดของ
ข้อมูลคำสั่งซื้อของลูกค้าในช่วงระยะเวลา 1 สัปดาห์ โดย งาน ส่ง ผลิต
(ชิ้น) ฟิล์ม
ข้อมูลประกอบด้วย จำนวนสินค้าที่ต้องการ กำหนดส่งเวลา (ชั่วโมง) (ชั่วโมง)
ที่ใช้ผลิต และชนิดของแผ่นฟิล์ม ตัวอย่างข้อมูลสำหรับการ T 576 96 4.00 ด้าน
จัดตารางการผลิตให้กับงานชุด ก แสดงดังตารางที่ 2 U 960 144 6.67 ด้าน
ตารางที่ 2 ชุดตัวอย่างข้อมูล ก. V 200 72 1.39 ไม่มีฟิล์ม
กำหนด เวลาที่ใช้
จำนวน ชนิดของ
งาน ส่ง ผลิต เมื่อนำข้อมูลงานที่ต้องผลิตอ้างอิง ข้อมูลตามตารางที่ 2
(ชิ้น) ฟิล์ม
(ชั่วโมง) (ชั่วโมง) มาทดลองจัดตารางการผลิตด้วยวิธีเดิมของโรงงานนั้นจะมี
A 192 72 1.33 อลูมิเนียม ค่ า เวลาปิ ด งานอยู ่ ท ี ่ 92.11 ชั่ ว โมงและมี เ วลาตั ้ ง ค่ า
B 3,072 72 21.33 เงา เครื่องจักรรวมอยู่ที่ 6.25 ชั่วโมง เมื่อนำข้อมูลชุดเดียวกันนี้
C 1,920 72 13.33 อลูมิเนียม มาทดลองจัดตารางการผลิตด้วยฮิวริสติกที่พัฒนาขึ้น จะได้
ข้อมูลดังนี้
D 1,920 144 13.33 เงา
E 1,500 72 10.42 เงา ตารางที่ 3 ตารางการผลิตที่จัดตารางการผลิตด้วยฮิวริสติก
F 1,500 120 10.42 เงา ของเครื่องจักรที่ 1
G 1,440 144 10.00 ด้าน เวลาที่ใช้ เวลาตั้งค่า
H 1,152 72 8.00 อลูมิเนียม ลำดับ งาน ผลิต เครื่องจักร
I 1,152 96 8.00 อลูมิเนียม (ชั่วโมง) (นาที) (ชั่วโมง)
J 192 120 1.33 อลูมิเนียม 1 A 1.33 0 0.00
K 1,152 144 8.00 อลูมิเนียม 2 H 8.00 10 0.17
L 1,000 120 6.94 ด้าน 3 C 13.33 10 0.17
M 960 96 6.67 ด้าน 4 N 6.67 30 0.50
N 960 96 6.67 เงา 5 F 10.42 10 0.17
O 960 120 6.67 เงา 6 T 4.00 15 0.25
7 M 6.67 10 0.17
P 960 144 6.67 เงา
8 G 10.00 10 0.17
Q 768 72 5.33 ด้าน
9 I 8.00 20 0.33
R 768 120 5.33 ด้าน
10 J 1.33 10 0.17
S 576 72 4.00 ด้าน 11 K 8.00 10 0.17
55
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

เวลาที่ใช้ เวลาตั้งค่า ด้วยฮิวริสติกที่พัฒนาขึ้นมานั้นพบว่าเวลาปิดงานที่ได้นั้นอยู่


ลำดับ งาน ผลิต เครื่องจักร ที่ 90 ชั่วโมง ซึ่งมีเวลาปิดงานเร็วกว่าเดิม 2.11 ชั่วโมงและ
(ชั่วโมง) (นาที) (ชั่วโมง) มีเวลาตั้งค่าเครื่องจักรรวมอยู่ที่ 4.17 ชั่วโมง ซึ่งลดลงมา
รวม 77.75 135 2.25 จากเดิม 2.08 ชั่วโมง
เวลาสุทธิ 80.00 จากนั้นทำการทดลองจัดตารางการผลิตด้วยวิธีฮิวริสติก
ที่พัฒนาขึ้นมานี้กับชุดข้อมูล ข., ค., ง. และ จ. ซึ่งสามารถ
ตารางที่ 4 ตารางการผลิตที่จัดตารางการผลิตด้วยฮิวริส ติก ลดเวลาปิดงานได้ 3.05, 1.68, 0.55 และ 3.44 ตามลำดับ
ของเครื่องจักรที่ 2 และลดเวลาตั้งค่าเครื่องจักรรวมได้ 1.67, 0.75, 1.75 และ
1.50 ตามลำดับ จึงสามารถสรุปข้อมูลได้ดังตารางที่ 5 และ
เวลาที่ใช้ เวลาตั้งค่า 6
ลำดับ งาน ผลิต เครื่องจักร
(ชั่วโมง) (นาที) (ชั่วโมง) ตารางที่ 5 ผลเวลาปิดงานเมื่อ ทดลองจัดตารางการผลิ ต
1 S 4.00 0 0.00 ด้วยฮิวริสติกกับชุดข้อมูลอื่นๆ
2 Q 5.33 10 0.17
3 V 1.39 10 0.17 เวลาปิดงาน
4 E 10.42 20 0.33 (ชั่วโมง) จำนวน เปอร์เซ็นต์
5 B 21.33 10 0.17 ชุด การจัด ชั่วโมงที่ ชั่วโมงที่
การจัด
6 O 6.67 10 0.17 ข้อมูล ตาราง ลดลง ลดลง
ตาราง
7 P 6.67 10 0.17 ด้วย (ชัว่ โมง) (%)
แบบเดิม
8 D 13.33 10 0.17 ฮิวริสติก
9 R 5.33 15 0.25 ก. 92.11 90 2.11 2.29
10 L 6.94 10 0.17 ข. 78.69 75.64 3.05 3.88
11 U 6.67 10 0.17 ค. 67.19 65.33 1.86 2.77
รวม 88.08 115 1.92 ง. 72.11 71.56 0.55 0.76
เวลาสุทธิ 90.00 จ. 95.22 91.78 3.44 3.61
เฉลี่ย 81.06 78.86 2.20 2.72
จากตารางที่ 3 และ 4 นั้นเวลาการตั้งค่าเครื่องจักรนั้น
อ้างอิง จากตารางที่ 1 และเวลาตั้ง ค่าเครื่องจักรคำนวณ
หน่วยเป็นชั่วโมง และในส่วนของเวลาสุทธินั้นเกิดจากการ
นำเวลาที่ใช้ในการผลิตรวมมารวมกับเวลาที่ใช้ตั้งค่ารวมที่มี
หน่วยเป็นชั่วโมง และสำหรับการทดลองจัดตารางการผลิต

56
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

ตารางที่ 6 ผลเวลาการตั้ง ค่าเครื่องจักรเมื่อทดลองจั ด 6. กิตติกรรมประกาศ


ตารางการผลิตด้วยฮิวริสติกกับชุดข้อมูลอื่นๆ งานวิจัยนี้ได้รับการสนับสนุนจากบริษัทกรณีศึกษาและ
ภาควิ ช าวิ ศ วกรรมอุ ต สาหการ คณะวิ ศ วกรรมศาสตร์
เวลาตั้งค่าเครื่องจักร
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
(ชั่วโมง) จำนวน เปอร์เซ็นต์
ชุด การจัด ชั่วโมงที่ ชั่วโมงที่
การจัด เอกสารอ้างอิง
ข้อมูล ตาราง ลดลง ลดลง
ตาราง 1. มนิ ด า ศรี ผ ล, 2560, “การจั ด ตารางการผลิ ต เพื่ อ
ด้วย (ชั่วโมง) (%)
แบบเดิม ปรับปรุงปริมาณงานล่าช้า : กรณีศ ึกษา”, วิศ วกรรม
ฮิวริสติก
ก. 6.25 4.17 2.08 33.28 ศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ข. 4.92 3.25 1.67 33.94 2. สุ วัฑฒิพงศ์ พรหมจันทร์ , 2561, “การจัดตารางการ
ค. 3.75 3 0.75 20.00 ผลิตโดยวิธีการฮิวริสติกส์ สำหรับกระบวนการบรรจุยา
ง. 4.92 3.17 1.75 35.57 สี ฟ ั น ”, วิ ศ วกรรมศาสตรมหาบั ณ ฑิ ต จุ ฬ าลงกรณ์
จ. 5.33 3.83 1.5 28.14
มหาวิทยาลัย.
รวม 5.03 3.48 1.55 30.79
3. บุ ษ บงกช คชธรรมรั ต น์ , 2561, “การจั ด ลำดั บ และ
ตารางการผลิตชิ้นส่วนเฟรมไดร์ฟ ”, วิศวกรรมศาสตร
5. สรุป
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการลดเวลาปิดงานด้วยการ มหาบั ณ ฑิ ต หมาวิ ท ยาลัย เทคโนโลยี พระจอมเกล้า
พัฒนาฮิวริสติกขึ้นมา จากผลการดำเนินงานพบว่าฮิวริส ติก ธนบุรี.
ที่พัฒนาขึ้นมานั้น เป็นการผสมผสานวิธีการทางฮิวริสติก 4. ธนวัฒน์ วงศ์เครือ และ วรวุฒิ หวังวัชรกุล, 2564,“การ
ต่างๆให้เหมาะสมกับเงื่อนไขของการผลิตซึ่งฮิวริ สติกที่ถูก จั ด ตารางการผลิ ต เครื่ อ งจั ก รขนานในกระบวนการ
นำมาผสมผสานในงานวิจัยนี้ประกอบด้วยวิธี LS ที่เข้ามา ทดสอบวงจรรวม”, การประชุมวิชาการด้านการวิจัย
ช่วยจัดโดยพิจารณาเครื่องจักรที่มีความสามารถเริ่มทำงาน
ดำเนินงานแห่งชาติ ประจำปี 2564, หน้า 153-162.
ได้เร็วกว่า , EDD เพื่อช่วยลดเวลาล่าช้าและ SPT เป็นตัว
5. อรรถพล คำจ้ อ ย, 2559, “การจั ด ตารางการผลิ ต
ช่วยเลือกงานเข้าสู่เครื่องจักร และจากการทดสอบวิธีการ
ฮิวริสติกแบบผสมผสานที่นำเสนอกับข้อมูลงาน 5 ชุดข้อมูล สำหรั บ สายการผลิ ต ชิ ้ น ส่ ว นปั ๊ ม ขึ ้ น รู ป โลหะแบบ
พบว่าสามารถลดเวลาปิดงานได้ 2.20 ชั่วโมงโดยเฉลี่ยหรือ หลากหลายผลิตภัณฑ์ ”, วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
สามารถลดได้ 2.72% ของเวลาปิดงานเดิมและสามารถลด หมาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
เวลาตั้งค่าเครื่องจักรได้ 1.55 ชั่วโมงโดยเฉลี่ยหรือสามารถ 6. ศาตนาถ วิช ิตนาค, 2561, “การจัดตารางการผลิ ต
ลดได้ 30.79% ของเวลาตั้งค่าเครื่องจักรเดิม สำหรับการผลิตเฟอร์นิเจอร์เหล็กโดยวิธีฮิวริสติกส์แบบ

57
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

ผสม”, วิ ศ วกรรมศาสตรมหาบั ณ ฑิต หมาวิ ท ยาลั ย


เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
7. ญาณิศา กล้าหาญ และเจริญชัย โขมพัตราภรณ์, 2564,
“การจัดตารางการทำงานเพื่อลดปัญหาการล่าช้าในการ
ส่ง งาน กรณีศ ึกษาห้องปฏิบัติการบริษัทผลิตชิ้นส่วย
ฮาร์ดอิส ก์ ”, การประชุมวิช าการด้านการพัฒนาการ
ดำเนิ น งานทางอุ ต สาหกรรมแห่ ง ชาติ ครั ้ ง ที ่ 12
ประจำปี 2564, หน้า324-332.

58
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

การปรับปรุงกระบวนการผลิตแขนจับหัวอ่านฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ โดยประยุกต์ใช้แนวทาง ซิกซ์ ซิกมา


Process Improvement in Suspension Assembly for Hard Disk Drive by Six Sigma

ฤชา วงษ์ชาลี1* และ เสมอจิต หอมรสสุคนธ์2*


สาขาวิชาการจัดการทางวิศวกรรม ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ปทุมธานี 12120
E-mail : ruecha9717@gmail.com

บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดความแปรปรวน และปรับปรุงกระบวนการในสถานีงานการหยอดกาวประเภทไม่นำไฟฟ้า
ของกระบวนการติดแผ่นพีซีที ในสายการผลิตแขนจับหัวอ่านเขียนฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ โดยประยุกต์ใช้แนวทางซิกซ์ ซิกมา เนื่องจาก
ปัจ จุบันผลิตภัณฑ์ที่ศึกษามีความต้องการซื้อของลูกค้าเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เมื่อศึกษาพบว่ามีความแปรปรวนเกิดขึ้นใน
กระบวนการหยอดกาวประเภทไม่นำไฟฟ้า ความสามารถของกระบวนการอยู่ที่ 1.01 และ 1.12 ที่ตำแหน่งด้านซ้าย และด้านขวา
ดังนั้นจึงนำวัฏจักร DMAIC ตามแนวทางซิกซ์ ซิกมา มาประยุกต์ใช้เพื่อลดความแปรปรวนที่เกิ ดขึ้นในกระบวนการ ซึ่งหลังการ
ปรับปรุงพบว่าสามารถลดความแปรปรวนของประบวนการซึ่งทำให้ความสามารถของกระบวนการเพิ่มขึ้นเป็น 1.96 และ 1.83 ที่
ตำแหน่งซ้าย และขวา บรรลุตามเป้าหมายที่ลูกค้ากำหนด นอกจากนี้จากการปรับปรุงพบว่าค่าเฉลี่ยความสูงของกาวประเภทไม่นำ
ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นจากเดิมคิดเป็น 50.36% และ 56.62% ที่ตำแหน่งซ้าย และขวา ตามลำดับ สามารถเข้าใกล้ค่าเป้าหมายที่กำหนดไว้

คำสำคัญ: ซิกซ์ ซิกมา แขนจับหัวอ่านเขียนฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ ความสามารถของกระบวนการ กาวประเภทไม่นำไฟฟ้า

Abstract
The objective of this research focuses on the reduction of the variance and the improvement at Non-
Conductive Adhesive dispensing station of PZT attachment process in Suspension assembly process by using
Six Sigma. Currently, the product of interests is constantly increased in the demand but there has been a lot
of variances found in the process of the Non-Conductive adhesive dispensing process. The process capability is
at 1.01 and 1.12 for left and right positions, respectively. To reduce the variance that occur in the process, the
DMAIC cycle of Six Sigma method is applied in this research. After improvement, it was found the process
capability was increased to 1.96 and 1.83 for left and right positions which achieves the customer goals. In
addition, it found the average of Non-Conductive Adhesive height was also increased to 50.36% and 56.62% for
left and right positions, respectively. The result is closer to the target value defined.
59
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

Keywords: Six Sigma, Suspension, Process Capability, Non-Conductive Adhesive

60
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

1. บทนำ ปรับปรุงกระบวนการประกอบสปินเดิลมอเตอร์เพื่อลดปริมาณ
ท่ามกลางสภาวะโรคระบาดโควิด -19 ซึ่งกำลังแพร่ระบาด ของเสีย [2], นำไปปรับปรุงกระบวนการวางเลเซอร์ เพื่อลด
ในขณะนี้ ทำให้ผู้บริโภคมีความต้องการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอ อัตราของเสียในกระบวนการ [3] หลักการซิกซ์ ซิกมา เป็น
นิกส์เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลกมี กระบวนการทางสถิ ติ อย่างเป็ นระบบ ดัง นั้นงานวิจ ั ยนี ้ จึ ง
การขยายตัวสูงมาก เพื่อพัฒนาอุปกรณ์มารองรับเทคโนโลยี ประยุกต์ใช้หลักการดังกล่าว เพื่อปรังปรุงกระบวนการหยอด
ใหม่ๆ ซึ่งอุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ เป็นอุตสาหกรรมต้นๆที่ กาวประเภทไม่นำไฟฟ้า โดยจะมุ่ง เน้น ส่ง ผลให้สามารถลด
ได้รับอิทธิพล และมีแนวโน้มการขยายตัวเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่อง ความแปรปรวนที่เกิดขึ้นในกระบวนการทีศ่ ึกษานี้ได้
ดังนั้นผู้ผลิตจึงมีต้องมีการปรับปรุงและพัฒนาผลิตภั ณฑ์ เพื่อ
ตอบสนองความต้องการของลูกค้าเพื่อความพึงพอใจสูงสุด
งานวิจ ัย นี้ได้ศ ึกษาบริษ ัทผู้ผ ลิตชิ้นส่วนแขนจับหัวอ่าน
เขียนฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ (Suspension) ซึ่งเป็นส่วนประกอบหนึ่ง
ในฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ โดยปัจจุบันลูกค้ามีความต้องการซื้อสินค้า
ชนิดมิลลิดีเอสเอเพิ่มสูงขึ้น ตั้งแต่เดือนเมษายน ถึงกันยายน
พ.ศ.2564 ดังรูปที่ 1 และผู้วิจัยพบว่ากระบวนการหยอดกาว รูปที่ 2: ความสามารถของกระบวนการหยอดกาวประเภทไม่
ประเภทไม่นำไฟฟ้ ามี หลายปัจ จัยที่ส ่ง ผลกระทบต่ อ ความ นำไฟฟ้าตำแหน่งด้านซ้าย และด้านขวา ช่วงเดือนเมษายน ถึง
แปรปรวนที่เกิดขึ้นภายในกระบวนการ ดังรูปที่ 2 จะเห็นว่า เดือนสิงหาคม พ.ศ.2564
ดัชนีชี้วัดความสามารถของกระบวนการของตำแหน่งซ้าย และ
2. ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
ขวาอยู่ที่ 1.01 และ 1.12 ซึ่งอาจส่งผลต่อคุณภาพของชิ้นงาน
2.1 ซิกซ์ ซิกมา: Six Sigma
โดยปัจจุบันปัจจัยเหล่านี้ยังไม่มีการควบคุมขั้นตอนการทำงาน
ซิกซ์ ซิกมา คือ แนวคิดการพัฒนาและการปรับปรุง กระ
ที่ดีพอ หากไม่ทำการปรับปรุง อาจเสี่ยงก่อให้เกิดของเสียได้
กระบวนการทำงานได้จริง และเป็นที่ยอมรับ มีการนำเครื่อง
มื อ ทางสถิ ต ิ ต ่ า งๆ มาใช้ อ ย่ า งเหมาะสมและเพื ่ อ ให้ เ กิ ด
ประสิทธิภาพสูงสุด โดยตามแนวทางซิกซ์ ซิกมา มีวัฏจักรการ
แก้ปัญหาที่ชื่อว่า “DMAIC” ซึ่งประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ดังนี้
2.1.1 ขั้นตอนการกำหนดปัญหา (Define: D-Phase)
ขั้นตอนแรกนี้เป็นเก็ บรวบรวมข้อมูล เพื่ อระบุปั ญ หาที่
เกิดขึ้นในสายกระบวนการ และนำมาวิเคราะห์ความสามารถ
ของกระบวนการ จากนั้นพิจารณาเลือกดัชนีชี้วัดความสามารถ
รูปที่ 1: ความต้องการซื้อของลูกค้าสำหรับผลิตภัณฑ์ประเภท
ของกระบวนการที่ต่ำกว่าข้อกำหนดมาเป็นจุดวิกฤตต่อคุณ
มิลลิดีเอสเอ ช่วงเดือนเมษายน ถึงกันยายน พ.ศ.2564
ภาพ (CTQ) เพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขต่อไป
วิธีการทางซิกซ์ ซิกมา มีการประยุกต์ใช้ในการปรับปรุง 2.1.2 ขั้นตอนการวัด (Mesure: M-Phase)
กระบวนการในงานวิจัยอย่างหลากหลาย ได้แก่ นำปัจจัยไป ขั้นตอนนี้เป็นการวิเคราะห์ความสามารถของระบบการวัด
ศึกษาเพื่อปรับ กระบวนการผลิตฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ [1], นำไป ที่ใช้ในกระบวนการ เพื่อตรวจสอบความน่าเชื่อถือของเครื่อง
61
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

มือวัด ก่อนนำค่าที่วัดได้ไปใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อความ จากกการศึกษาและรวบรวมข้อมูลในสถานีงานหยอดกาว


ถูกต้องแม่นยำของข้อมูลมากที่สุด NCA ของกระบวนการติดแผ่นพีซีที พบว่ามีความแปรปรวน
2.1.3 ขั้นตอนการวิเคราะห์ (Analyse: A-Phase) เกิดขึ้นในกระบวนการ โดยพบว่าดัช นีชี้วัดความสามารถใน
ขั้นตอนนี้เป็นการวิเคราะห์ปัญหา เพื่อหาสาเหตุว่าปัจจัย กระบวนการหยอดกาวด้านซ้าย และด้ายขวาในปัจจุบันอยู่ที่
ใดที่ส ่ง ผลต่อการเกิดปัญหา โดยนำเครื่องมือ การวิเคราะห์ 1.01 และ 1.12 ซึ่งต่ำกว่าค่ามาตราฐานที่ลูกค้ากำหนด (1.33)
ความล้มเหลวและผลกระทบ (FMEA) มาใช้วิเคราะห์ลักษณะ นอกจากนี้ค่าเฉลี่ยความสูงของกาว NCA ด้านซ้าย และด้าน
ของความล้มเหลวที่เกิดจากปัจจัยต่างๆ และผลกระทบที่เกิด ขวาอยู่ที่ -0.0176 และ -0.0158 mm มีแนวโน้มไปทางขอบ
ขึ้น จากนั้นจัดลำดับของความสำคัญของปัญหาจากค่า RPN ล่าง โดยข้อกำหนดของลูกค้ายอมรับความคลาดเคลื่อนทั้ง 2
(Risk Priority Number) จากสูงไปต่ำ พิจารณาเลือกปัจจัยที่ ตำแหน่งได้ ±0.03 mm ดังนั้นจึงกำหนดให้ความสูงของกาว
ส่งผลต่อผลตอบสนอง (KPIV) ไปทำการปรับปรุง [4] NCA เป็นจุดวิกฤตต่อคุณภาพ โดยกระบวนการหยอดกาว
2.1.4 ขั้นตอนการปรับปรุง (Improve: I-Phase) NCA มี 4 ขั้นตอน คือ เครื่องจักรวัดตำแหน่ง ของแคริเออร์ ,
ขั้นตอนนี้เป็น การออกแบบ และทำการทดลอง เพื่ อหา เครื่องจักรตรวจสอบตำแหน่งชิ้นงานด้วยกล้อง, หยอดกาว
ความสัมพันธ์ที่แท้จริงระหว่างตัวแปรตอบสนองของกระบวน NCA ลงบนชิ้นงาน, ตรวจชิ้นงานด้วยกล้องหลังหยอดกาว
การ กับปัจจัยที่มีผลอย่างมีนัยสําคัญต่อตัวแปรตอบสนองของ 3.2 ขั้นตอนการวัด (Measure)
กระบวนการนั้นๆ รวมทั้งศึกษาประสิทธิภาพในการทำงานของ ขั้นตอนนี้เป็นการวิเคราะห์ความสามารถของระบบการวัด
กระบวนการ และการวิ เ คราะห์ ด ้ ว ยพื ้ น ผิ ว ที ่ เ หมาะสม (GR&R) เครื่องมือที่ใช้วัดความสูงของกาว NCA เป็นระบบวัด
(Response Optimize) [5] แบบอัตโนมัติ โดยตำแหน่งความสูง กาว NCA ดังรูปที่ 3 และ
2.1.5 ขั้นตอนการควบคุม (Control: C-Phase) ตำแหน่งวัด ดังรูปที่ 4 สำหรับขั้นตอนการวิเคราะห์ เริ่มจาก
ขั้นตอนนี้เป็นการควบคุมปัจจัยต่างๆ และติดตามผลหลัง เลือกชิ้นงานตัวอย่างในกระบวนการ 12 ชิ้น โดยชิ้นงานตั ว
การปรับปรุง เพื่อให้กระบวนการมีเสถียรภาพมากที่สุด อย่างนั้นจะต้องเป็นชิ้นงานที่มีค วามสูง ของกาว NCA ทั้งสูง
และต่ำในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน แล้ววัดชิ้นงานตัวอย่างโดย
3. การดำเนินงานวิจัย หัวหน้า QA และวิศวกรเครื่องมือวัด แล้วเลือกพนักงานตรวจ
3.1 ขั้นตอนการกำหนดปัญหา (Define) วัด 3 คน ให้พนักงานแต่ละคนตรวจวัดชิ้นงาน 3 ครั้ง พร้อม
ลักษณะโครงสร้างของชิ้นงานแขนจับหัวอ่านเขียนฮาร์ด- ทั้งบันทึกค่าผลลัพธ์ที่ได้จากการวัด สุดท้ายนำผลลัพธ์ที่ได้ไป
ดิสก์ไดร์ฟชนิดมิลลิดีเสเอ ดังรูปที่ 3 วิเคราะห์ พบว่าค่าความแปรปรวนของเครื่องมือวัด, พนักงาน
และค่า GR&R มีค่าผ่านเกณฑ์อยู่ในช่วงการยอมรับได้ สรุปได้
ว่าเครื่องมือวัดผ่านการสอบเทียบและเชื่อถือได้

รูปที่ 3: โครงสร้างของแขนจับหัวอ่านเขียนฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ
และระยะความสูงของกาว NCA

62
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

ละปัจจัย และทำการทดลองเพียงครั้งเดียวก็สามารถวิเคราะห์
ได้ โดยอาศัยหลักการวิเคราะห์ความแปรปรวน ทำให้สามารถ
ลดระยะเวลาในการทดลองได้ในขั้นต้น ดัง นั้นในขั้นตอนนี้
ประยุกต์ใช้ CRD เพื่อดูว่าระดับปัจจัยที่แตกต่างกันของแต่ละ
ปัจจัยนั้นๆ มีผลกระทบต่อตัวแปรตอบสนองอย่างมีนัยสำคัญ
รูปที่ 4: ตำแหน่งของกาว NCA ทั้งด้านซ้าย และขวา หรือไม่อย่างไร [6] โดยปัจจัยนำเข้าทั้ง 4 ได้แก่ ปัจจัย A คือ
Pressure, B คือ Pre-disable time, C คือ Leadtime และD
3.3 ขั้นตอนการวิเคราะห์ปัญหา (Analyse)
คือ Dispense Height แต่ละปัจจัยกำหนดระดับปัจจัยเท่ากับ
3.3.1 การวิเคราะห์ความล้มเหลวและผลกระทบ (FMEA)
ขั้นตอนนี้ทำการระดมความคิดร่วมกับทีมงานที่เกี่ยวข้อง 3 คือ ระดับต่ำ (-1), กลาง (0) และสูง (+1) จากข้อมูลระดับ
ปั จ จุ บ ั น ที ่ ใ ช้ ข้ อ กำหนดระดั บ แต่ ล ะปั จ จัย ดั ง ตารางที่ 1
อย่างเป็นระบบ เพื่อวิเคราะห์หาสาเหตุ และคำนึงถึงปัจจัยที่
ขั ้ น ตอนแรกผลที ่ไ ด้ จ ากการทดลองนำมาตรวจสอบความ
เกี่ยวข้องในกระบวนการที่ทำให้เกิดข้อบกพร่อง ผลจากการ
เหมาะสมและความถูกต้องของข้อมูลก่อน โดยพบว่าข้อมูล มี
วิเคราะห์ FMEA สามารถจัดลำดับความเสี่ยงของปัจจัยต่างๆ
ได้จากค่า RPN ดังรูปที่ 5 จะเห็นได้ว่าสาเหตุของปัญหามี 4 การกระจายตัวแบบปกติ, เป็นอิสระต่อกัน, และมีความเสถียร
ปัจจัย ได้แก่ แรงดันในการหยอดกาว (Pressure), เวลาที่หยุด ของความแปรปรวน ซึ่งงานวิจัยนี้กำหนดระดับนัยสำคัญที่ α
ปล่อยแรงดันก่อนถึง ตำแหน่ง สุดท้าย (Pre-disable time), เท่ากับ 0.05 หากปัจจัยใดมีค่า P-value น้อยกว่า 0.05 นั่น
เวลานำในการปล่อยแรงดันก่อนเริ่มหยอดกาว (Lead time) คือปัจจัยนั้นมีผลต่อตัวแปรตอบสนองอย่างมีนัยสำคัญ
และความสูงของเข็มหยอดกาว (Dispense Height)
ตารางที่ 1 ระดับปัจจัยในการออกแบบการทดลอง CRD
ปัจจัย ระดับ ระดับปัจจัย หน่วย
นำเข้ำ ปัจจุบนั (-1) (0) (+1)
A 15-35 15 25 35 kPa
B 20-30 20 25 30 ms.
C 30-50 30 40 50 ms.
D 0.06-0.10 0.06 0.08 0.10 mm.

จากผลการวิเคราะห์ด้วย ANOVA พบว่ามี 3 ปัจจัยที่ส่งผล


รูปที่ 5 แผนภูมิเรียงลำดับความสำคัญของปัจจัยต่างๆ ต่อตัวแปรตอบสนอง ได้แก่ แรงดันในการหยอดกาว (A), เวลา
นำในการปล่อยแรงดันก่อนเริ่มหยอดกาว (B) และความสูงของ
3.3.2 การออกแบบการทดลองแบบสุ่มสมบูรณ์ (CRD)
เข็มหยอดกาว (D)
ขั้นตอนนี้เป็นการออกแบบทดลอง เพื่อวิเคราะห์และคัด
3.4 ผลการปรับปรุงกระบวนการ (Improve)
กรองปัจจัยทั้งหมดที่สนใจให้เหลือเฉพาะปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อ
ในขั้นตอนนี้เป็นการนำ 3 สาเหตุปัจจัยมาศึกษาต่อ โดย
ตัวแปรตอบสนอง ซึ่งตัวแปรตอบสนอง กำหนดตามจุดวิกฤต
การออกแบบการทดลองเชิงแฟคทอเรียลแบบสองระดับ (2k)
ต่อคุณภาพ คือ ค่าความสูงของกาวไม่นำไฟฟ้าที่ตำแหน่ง ด้าน
ซึ่งเป็นวิธีทที่ ำให้ประมาณผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากแต่ละปัจจัยใกล้
ซ้าย และขวา สำหรับการทดลองแบบCRD นั้นทำการศึกษาที
63
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

เคียงกับเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังวิเคราะห์หา จากผลการวิเคราะห์หาความความสัมพันธ์สำหรับตัวแปร


ความมีอิทธิพลหลัก และความมีอิทธิพลร่วมได้อีกด้วย [7] โดย ตอบสนองของทั้ง 3 ปัจ จัยสำหรับค่าความสูงของกาว NCA
ปัจจัยนำเข้าทั้ง 3 ได้แก่ ปัจจัย A คือ Pressure, B คือ Lead ด้านซ้าย และขวา ดังตารางที่ 3 ซึ่งวิเคราะห์ได้ว่าความสูงของ
time และ C คื อ Dispense Height ซึ ่ ง ผลการทดลองแบบ กาว NCA ทั้ง 2 ตำแหน่งพบปัจจัยที่มีผล คือ แรงดันในการ
CRD จะเห็นว่าในช่วงระดับปัจจัยกลางไปสูง ให้ค ่าเฉลี่ยตัว หยอดกาว (A) และความสูงเข็มในการหยอดกาว (C) โดยที่ทั้ง
แปรตอบสนองที่มีแนวโน้มเข้าใกล้ค่าเป้าหมาย ดังนั้นในการ 2 ตำแหน่งมีปัจจัยที่มีอิทธิพลร่วม ได้แก่ AB, BC และ ABC ดัง
ทดลองนี้จ ึงขยับระดับปัจจัย ที่ศึกษา และเลือกตั้งแต่ระดับ นั้นสรุปได้ว่าปัจ จัยทั้ง 3 มีผลต่อการเกิดความแปรปรวนใน
กลางและสูงมาศึกษาต่อ โดยนำมากำหนดเป็นระดับต่ำ (-1) กระบวนการหยอดกาวอย่างมีนัยสำคัญ
และสูง (+1) สำหรับการทดลองนี้ ดังตารางที่ 2 และกำหนด จากนั้นหาระดับของปัจจัยทั้ง 3 ที่เหมาะสม เพื่อประสิทธิ
การทำซ้ำเท่ากับ 3 ทุกๆ ปัจจัยจะถูกพิจารณาไปพร้อมกัน ภาพในการปรับปรุงกระบวนการสูงสุด โดยใช้วิธกี ารวิเคราะห์
ด้วยพื้นผิวที่เหมาะสม ดังภาพที่ 6 ผลการวิเคราะห์พบว่าค่าที่
ตารางที่ 2 ระดับของปัจจัยในการออกแบบการทดลอง 2k
เหมาะสมสำหรับปัจจัย Pressure คือ 29.97 kPa, Leadtime
ปัจจัย ระดับ ระดับปัจจัย หน่วย
คือ 45 ms และ Dispense height คือ 0.099 mm.
นำเข้ำ ปัจจุบนั (-1) (+1)
A 15-30 25 30 kPa
B 30-50 45 50 ms
C 0.60-0.10 0.085 0.10 mm

ตารางที่ 3 ผลการวิเคราะห์ (Analysis of Variance)


Source P-value
ตำแหน่งด้ำนซ้ำย ตำแหน่งด้ำนขวำ
A 0.000 0.000
B 0.941 0.755 รูปที่ 6 ผลการวิเคราะห์ระดับปัจจัยที่เหมาะสม
C 0.000 0.000
A*B 0.170 0.510 3.5 การควบคุมกระบวนการ
A*C 0.023 0.002 จัดทำโปรแกรมของเครื่องจักร โดยจำกัดช่วงของระดับที่
B*C 0.039 0.025 ปรับค่าได้ และเอกสารควบคุมการปรับค่าการหยอดกาวใน
A*B*C 0.019 0.027 กระบวนการ เพื่อควบคุมระดับปัจจัยให้อยู่ในช่วงที่กำหนดโดย
S 0.0016045 0.0016955 ให้ผู้ปฏิบัติงานลงบันทึกค่าระดับของปัจจัยก่อนการเริ่ มงานใน
R-Square 95.91% 95.88% แต่ล ะกะ และทุกครั้ง ที่มีการปรับระหว่างการทำงาน ซึ่ง มี
R-Square 94.12% 94.08% หัวหน้างานเป็นผู้ตรวจสอบการลงบันทึกทุกครั้ง และติดตาม
(Adj) ผลหลังการปรับปรุงกระบวนอย่างต่อเนื่องด้วยแผนภูมิควบคุม
เพื่อให้ผลการปรับปรุงอยู่ในช่วงที่ควบคุมกระบวนการ

64
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

4. สรุปผลงานวิจัย รูปที่ 7 ดัชนีชี้วัดความสามารถความสามารถกระบวนการ


ภายหลังการปรับปรุงกระบวนการเป็นระยะเวลา 2 เดือน หลังการปรับปรุง ข้อมูลเดือนมกราคม ถึงมีนาคม พ.ศ.2565
พบว่าค่าความสูงของกาว NCA ทั้งด้านซ้าย และขวาอยู่ในช่วง
ควบคุมของแผนภู มิ และพบว่าดัช นีช ี้ วั ดความสามารถใน
กระบวนการ (Cpk) เพิ่มขึ้น ดังรูปที่ 7, 8 และตารางที่ 5 ซึ่ง
บรรลุเป้าหมายที่ล ูกค้ากำหนด (1.33) การวิเคราะห์ค วาม
ล้มเหลวและผลกระทบ (FMEA) พบว่าไม่มีปัจจัยที่มีค่าความ
เสี่ยงเกิน 100 นอกจากนี้ ยัง พบว่าค่าเฉลี่ยความสูง ของกาว
NCA ทั้งซ้าย และขวา เพิ่มขึ้นจากเดิมคิดเป็น 50.36% และ
56.62% สามารถเข้าใกล้ค่าเป้าหมายที่กำหนดได้ในระดับหนึ่ง
ซึ่ง ส่วนนี ้เ ป็ นผลจากข้ อจำกั ด ของกระบวนการ เนื่องจาก
หลังจากการหยอดกาว NCA ต้องเข้าสู่กระบวนการหยอดกาว
Conductive และอบ (Cure) ที่อุณหภูมิ 150◦C เป็นเวลา 45
นาที จุดนี้จึงเป็นจุดที่ทำให้ความชื้นของกาวลดลง กาวเซตตัว
และยุบตัวลงในระดับหนึ่ง รวมทั้งข้อจำกัดด้านข้อกำหนดทาง
รูปที่ 8 ความสามารถกระบวนการก่อน หลังการปรับปรุง
กายภาพ (Customer Specification) ในเรื่องปริมาณกาวที่
ข้อมูลเดือนตุลาคม พ.ศ 2563 ถึงมีนาคม พ.ศ.2564
มากเกินไป อาจทำให้กาวกระเด็น หรือส่งผลชิ้นงานอาจเกิด
ตารางที่ 4 เปรียบเทียบความแปรปรวนก่อนและหลังปรับปรุง
ปัญหาทางไฟฟ้าได้ ดังนั้นในงานวิจัยนี้จึงไม่สามารถเพิ่มระดับ
ความแปรปรวน ด้านซ้าย ด้านขวา
ของปัจจัยที่ระดับสูงได้มาก ค่าเฉลี่ยที่ได้จึงยังคงเอียงไปทาง
ก่อนการปรับปรุง 0.0060 0.0064
ขอบล่าง และผลการศึกษาจากงานวิจัยนี้ทำให้บริษัทวางแผน
หลังการปรับปรุง 0.0043 0.0040
การปรับปรุงระยะยาวในการเพิ่มพิจารณากระบวนการอบหลัง
การหยอดกาว NCA (Snap cure) แต่ อ าจต้ อ งใช้เ วลานาน ตารางที่ 5 เปรียบเทียบ Cpk ก่อน และหลังการปรับปรุง
ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงช่วยในการปรับปรุงกระบวนการในปัจจุบัน ความสามารถกระบวนการ(Cpk) ด้านซ้าย ด้านขวา
ควบคู่ไปกับการปรับปรุงในระยะยาว นอกจากนี้การประยุกต์
ก่อนการปรับปรุง 1.01 1.12
ใช้ซิก ซิกมาในครั้งนี้ทำให้บริษัทกรณีศึกษามีกระบวนการทำ
หลังการปรับปรุง 1.96 1.83
งานในการแก้ปัญหาในกระบวนการผลิตที่เป็นระบบมากขึ้น
เอกสารอ้างอิง
1. กฤตมาส มีเสาเพชร, 2557, “การศึกษาปัจจัยกระบวนการ
ดัดหัวอ่านเขียนที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงค่ามุมของหั ว
อ่านเขียนฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ”, สารนิพนธ์มหาบัณฑิต, คณะ
วิศวกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

65
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

2. วิภาภรณ์ แสงพิสิทธิ์ , 2562, “การลดปริมาณของเสี ยใน


กระบวนการประกอบสปินเดิลมอเตอร์สำหรับฮาร์ ดดิส ก์
ไดร์ฟโดยใช้แนวทางซิกซ์ ซิกม่า”, สารนิพนธ์มหาบัณฑิต,
คณะวิศวกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
3. เกตน์สิรีย์ สุริยา, 2563, “การปรับปรุงกระบวนการวาง
เลเซอร์ด้วยวิธีการทางซิก ซิกมา”, สารนิพนธ์มหาบัณฑิต ,
คณะวิศวกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
4. ชญาน์นันท์ จุติภัควรพงศ์, 2562, “การลดของเสียในกระ
บวนการผลิตแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์” , สารนิพนธ์ม หา
บัณฑิต, คณะวิศวกรรมศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
5. วัชราภรณ์ รัตนานันท์, 2560, “การลดปริมาณของเสียใน
กระบวนการผลิตแขนจับหัวอ่านฮาร์ดดิสก์ โดยใช้แนวคิด
ซิ ก ซ์ ซิ ก ม่ า ”, สารนิ พ นธ์ ม หาบั ณ ฑิ ต , คณะวิ ศ วกรรม
ศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
6. รศ.ดร.ประไพศรี สุ ท ั ศ น์ ณ อยุ ธ ยา, รศ.ดร.พงศ์ ช นัน
เหลืองไพบูล ย์ , 2551, การออกแบบและวิเคราะห์ ก าร
ทดลอง, สำนักพิมพ์ท้อป จำกัด, หน้า 63-65.
7. รศ.ศุภชัย นาทะพันธ์, 2559, การออกแบบและวิเคราะห์
การทดลองขั้นพื้นฐาน, สำนักพิมพ์ซีเอ็ด จำกัด, หน้า 19

66
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

Analytical Hierarchy Process Application and Criteria Evaluation for


Supplier Selection in Made-To-Order Furniture Industry: A Case Study

Thanatpon Lerdpong1 and Wuttinan Nunkaew2*


1,
Thammasat English Program of Engineering, Faculty of Engineering,
Thammasat School of Engineering, Thammasat University, Pathum Thani, 12121
2
Department of Industrial Engineering, Faculty of Engineering,
Thammasat School of Engineering, Thammasat University, Pathum Thani, 12121
E-mail : thanatpon.ler@dome.tu.ac.th1, nwuttinan@engr.tu.ac.th 2*

Abstract
This research paper is concerned with the development of a multi-criteria decision-making process for
selecting suppliers for a firm that specializes in the design and manufacture of made-to-order furniture. One
supplier may provide more than one material to the case study company, the importance of each criteria
shifting depending on the circumstances, according to the case study. Another thing that was absent inside the
business was a systematic approach to supplier selection. The framework models are created using the Analytic
Hierarchical Process Method (AHP), a powerful but fundamental multi-criteria decision-making technique, to
account for these varied contents and to determine the ideal response for a variety of circumstances.

Keywords: furniture industry, multi-objective model, analytical hierarchy process, supply chain management

67
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

1. Introduction inability of the department employees to manage


Suppliers are critical in the furniture business, just the huge volume of requests immediately impacts
as they are in other sectors. Choosing the most the company's raw material availability. Despite the
optimal supplier is a vital strategic management challenges, the firm has occasionally delayed or
decision that has ramifications for all element of a supplied products on time, but not of the highest
company's operations [1] since raw materials directly quality, resulting in a bad image of the company's
impact the quality of each piece of furniture. Unlike reputation. This is primarily due to the lack of a
mass furniture manufacturers, where teams of coherent supplier selection framework. While the
engineers manage storage inventory and assist the firm makes beds, sofas, chairs, tables, and storage
procurement department in developing the logical units, it exclusively produces white oak wood or
framework for selecting the appropriate supplier white oak veneered MDF furniture. This means that
(which varies by company), most made-to-order products like chairs and tables may be made here
furniture manufacturers are not large corporations since they only need two resources. Because the firm
and lack a team to develop the framework for only makes the wooden component, the stainless-
selecting the appropriate supplier. steel frame and fabric upholstery work will be
The procurement department claims the outsourced and then returned to the maker for
company's issues are significant. Orders from both reassembling. The selection of white oak and MDF
local and foreign customers have increased suppliers will be the emphasis.
significantly in recent years. The company's absence
of a rational framework for choosing suppliers is 3. Methods
directly affecting raw material supply. Despite the From the study of various academic articles [3],
challenges, the manufacturing processes are delayed, the application of Analytical Hierarchy Process, a
resulting in a bad image of the company's reputation. powerful but simple multi-criteria decision-making
This is due to the lack of a coherent supplier techniques, is applied to determine the selection
selection framework. criteria from potential candidates. [2]
To identify suppliers for the case study company,
2. Problem Statement a combination of criteria from a literature review on
The firm is a wood furniture maker in Thailand supplier selection criteria for each industry sector [4]
that serves both local and international clientele. was used. The criteria were chosen based on a
Orders from both local and foreign markets have literature review and included those that apply to
increased significantly in recent years. The absence of more than half of the industries listed, including
a rational framework for choosing suppliers and the “Price, Quality, and Lead Time.” Further discussion
with the case-study company led to the
68
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

development of additional supplier selection criteria,


including price fluctuations over 12 months and 3.1.2 Fluctuation Index
warranty terms. The extra criteria of plank width Fluctuation Index is derived based on the ratio of
preference (width of 6 or 7 inches) per ordered standard deviation to the average price over 12
bundle for solid oak was also developed. (Table 1) months from the suppliers. The value is calculated
Table 1 Criteria for Supplier Selection just like calculating normal ratio, which is dividing the
price standard deviation by the average price over 12.
Source Criteria After the ratio is obtained, they will be converted to
Literature Price the score index regarding the condition (Table 3)
Review Quality
Lead Time SD
Case Study Fluctuation
𝐹𝑙𝑢𝑐𝑡𝑢𝑎𝑡𝑖𝑜𝑛 =
Price
(2)
Company’s Stock Readiness
Procurement Warranty Term
Table 3 Fluctuation Index Scoring Criteria
Department Width Preference
Ratio Score
0.00 11
3.1 Qualitative Criteria Evaluation
0.01-0.10 10
Since qualitative data cannot be directly used for 0.11-0.20 9
the analytical hierarchy process model of supplier 0.21-0.30 8
selection [2], a procedure for converting each 0.31-0.40 7
qualitative criterion is conducted in collaboration 0.41-0.50 6
with the case-study company. This procedure 0.51-0.60 5
converts qualitative data into a form amenable to 0.61-0.70 4
0.71-0.80 3
statistical assimilation for each criterion.
0.81-0.90 2
3.1.1 Quality Index
0.91-1.00 1
The quality index is evaluated by the average ratio
of non-defective plank to total received plank per
3.1.3 Stock Readiness Index
order, according to the case-study company’s
The Stock Readiness Index is calculated based on
regulation and standard (Table 2)
the total number of times asked, subtract by the
𝑃𝑡𝑜𝑡𝑎𝑙 −𝑃𝑑𝑒𝑓𝑒𝑐𝑡
number of times the case-study company had
1
𝑄𝐼 = 𝑛 ∑𝑛𝑖=1 𝑄𝐼𝑛 ; 𝑄𝐼𝑛 = 𝑃𝑡𝑜𝑡𝑎𝑙
(1) received a response stating that the supplier
company asked did not have a requested product

69
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

item and divided by the total number of times asked Claimable Portion Discount Score
then converted into percentage. (90-99% of Defects) No 21
Partial Defects Claiming Yes 20
𝑇𝑇𝑜𝑡𝑎𝑙 −𝑇𝑛𝑜𝑡 𝑎𝑣𝑎𝑖𝑙𝑎𝑏𝑙𝑒 (80-89% of Defects) No 19
𝑆𝑅𝐼 = (3)
𝑇𝑡𝑜𝑡𝑎𝑙 Partial Defects Claiming Yes 18
(70-79% of Defects) No 17
Table 4 Stock Readiness and Width Preference
Partial Defects Claiming Yes 16
Index Scoring Criteria (60-69% of Defects) No 15
Partial Defects Claiming Yes 14
Ratio Score (50-59% of Defects) No 13
0.10 12 Partial Defects Claiming Yes 12
0.90-0.99 11 (40-49% of Defects) No 11
0.80-0.89 10 Partial Defects Claiming Yes 10
0.70-0.79 9 (30-39% of Defects) No 9
0.60-0.69 8 Partial Defects Claiming Yes 8
0.50-0.59 7 (20-29% of Defects) No 7
0.40-0.49 6 Partial Defects Claiming Yes 6
0.30-0.39 5 (10-19% of Defects) No 5
0.20-0.29 4 Partial Defects Claiming Yes 4
0.10-0.19 3 (1-9% of Defects) No 3
0.01-0.09 2 No Defects Claiming Yes 2
0.00 1 No 1

3.1.4 Warranty Term Index 3.1.5 Width Preference Index (For Solid Oak Wood)
In cooperation with the case-study company's Six- and seven-inch wood are more useful in the
procurement department, a grading system for wooden furniture industry since they may be used to
indications of raw material claiming conditions was create larger pieces of furniture and can be split into
developed. The scoring system is determined by smaller pieces. The index is calculated similarly to
many elements, including the claiming condition and how the Stock Readiness Index is calculated.
the discount offered on future purchases. (Table 5)
Table 5 Claims Condition Index Scoring Criteria 3.2 Pair-wise Comparison Matrix
Claimable Portion Discount Score The PCM is a matrix table that shows the relative
Full Defects Claiming Yes 24 importance of criteria or alternatives, regarding to
(100% of Defects) No 23 Thomas Saaty's Relative Importance Scale. [2]
Partial Defects Claiming Yes 22 Table 6 Thomas Saaty's Relative Importance Scale
70
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

Importance Scale Definition of Importance A B C D E F G


1 Equally Preferred E 1/4 1/4 1/3 3 1 1/3 1/6
3 Moderately Preferred F 1/2 1/3 1/2 5 3 1 1/2
5 Strongly Preferred G 1/3 1/3 1/3 7 6 2 1
7 Very Preferred
9 Extremely Preferred 3.3 Pair-wise Comparison Matrix Normalization
2, 4, 6, 8 Intermediate Values Normalizing allows the aggregate of criteria using
Since there are three possible scenarios that can numerical and comparable data to compute and get
happened; therefore, it is required to construct the the weights associated with each criterion. [5]
weight of each criterion for three different scenarios 3.4 Results Consistency Check
that will prioritize each criterion differently. A consistency check is performed to ensure that
3.2.1 Normal Scenario the system is error-free. According to Thomas Saaty,
In normal circumstances, it is critical to prioritize if this ratio exceeds 0.1, it is too inconsistent. [2]
quality above other considerations to guarantee that Consistency Ratio is calculated by dividing the
customers get the finest quality service. Consistency Index (CI) for the collection of judgments
3.2.2 Unstable Financial Scenario by the corresponding random matrix. [1]
In this case, the key is to consider the best pricing
and the smallest price fluctuation while retaining a 𝐶𝐼 𝜆𝑚𝑎𝑥 −𝑛
𝐶𝑅 = 𝑅𝐼 ; 𝐶𝐼 = (4)
focus on quality. 𝑛−1

3.2.3 Time-oriented Scenario


Table 8 Saaty’s Random Consistency Index Table
In a time-sensitive situation, such as when a firm
needs to produce a big amount of furniture's for a
1 2 3 4 5 6 7 8 9 10
Size

project but does not have sufficient wood, a supplier


may be required. The supplier must be able to 0 0 0. 0. 1. 1. 1. 1. 1. 1.
RI

deliver the items swiftly while maintaining product 58 90 12 24 32 41 45 49


quality at some certain level.
Table 7 Pairwise Comparison Matrix Example (Normal 4. Result and Conclusion
Scenario) (Solid Oak Wood) Following the previous steps’ calculation, the
results for the criteria for each scenario of two main
A B C D E F G raw material groups are obtained. The abbreviations
A 1 3 2 6 4 2 3 NS, UFS, and TOS in the table refer to the Normal
B 1/3 1 2 4 4 3 3 Scenario, the Unstable Financial Scenario, and the
C 1/2 1/2 1 5 3 2 3
Time-oriented Scenario, respectively
D 1/6 1/4 1/5 1 1/3 1/5 1/7

71
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

Table 9 Pairwise Comparison Matrix Example (Normal 5. Discussion


Scenario) (Solid Oak Wood) The research demonstrated the usefulness and
utility of assessing criteria and applying the AHP to a
Criteria Weight NS Weight UFS Weight TOS framework for supplier selection utilized by a
A 0.2871 0.1214 0.1718 company of made-to-order furniture, as proven by
B 0.1980 0.2728 0.0767
the results of our study. Since selecting the most
C 0.1819 0.2267 0.0673
D 0.0299 0.0298 0.2994 efficient supplier is dependent on not only one's way
E 0.0526 0.0513 0.1697 of thinking, but also on the critical criteria considered
F 0.1064 0.1456 0.0936 in the evaluation being appropriate for the work at
G 0.1441 0.1523 0.1215 hand, which may include a variety of aspects and
The same steps are repeated with the pools of scenarios, selecting the most efficient supplier is a
choices supplied by each supplier for each criterion: delicate balance. Additionally, this not only supports
pairwise comparisons, normalization, and consistency the company in picking the most suitable supplier for
check. [2] The following sections detail the final each specific situation, but it also aids the
solution for the most optimal raw material supplier organization in creating a more fluid workflow inside
in various scenarios. the organization, which ultimately results in the
Table 10 Final Solutions of Selected Supplier on overall growth of the organization. [1]
Each Material and Scenario
References
Group Raw Scenario 1. Merve Ikinci and T. Tipi, 2021, Food Supplier
Material NS UFS TOS
Selection in the Catering Industry using the
1FAS BNP BNP APP
Analytic Hierarchy Process, Food Science and
1COM BNP BNP ETH
1.5FAS APP SDP FCY Technology International.
Solid 1.5COM - - - 2. Saaty, T. L., 1980, The Analytic Hierarchy Process,
Oak 2FAS SDP SDP SDP New York, NY., McGraw Hill, reprinted by RWS
2COM - - - Publications, Pittsburgh, 1996.
3FAS CNT CNT OFL 3. Saghafinia Ali, Amindoust Atefeh and Mohammed
3COM - - - Shahadat Shamsuddin Ahmed, 2013 Supplier
V9mm QLT QLT PCF
Selection and Order Allocation Scenarios in
V12mm QLT QLT QLT
Veneer V19mm QLT QLT QLT
Supply Chain: A Review, Engineering Management
Oak EC0.5*22 QLT QLT QLT Reviews. 2.
EC0.5*30 PCF QLT QLT

72
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

4. Hassanzadeh, S., & Cheng, K., 2016, Suppliers


Selection in Manufacturing Industries And
Associated Multi-Objective Decision Making
Methods: Past, Present And The Future. European
Scientific Journal
5. Chulpan, Suthiwartnarueput and Sriyap, 2019, AHP
Application for Method Selection of Royal Thai
Navy Maritime Patrols, NKRAFA Journal of Science
and Technology, 15, 30–41

73
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

การศึกษาระดับค่าปัจจัยที่เหมาะสมเพื่อลดปริมาณของเสีย
จากกระบวนการอบเลนส์ด้วยตู้อบแห้งแบบสุญญากาศ
Study of Optimal Factor Level for Reducing Defects
in Optical Lens Curing Process Using Vacuum Drying Oven

ปณิธาน พรศิริเสวี1* และ มณฑลี ศาสนนันทน์2*


1,2
สาขาวิชาการจัดการวิศวกรรม ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต คลองหลวง ปทุมธานี 12120
E-mail: panitan.por@dome.tu.ac.th1*, nmontale@engr.tu.ac.th2*

บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดปริมาณของเสียจากกระบวนการอบเลนส์ด้วยตู้อบแห้งแบบสุญญากาศ โดยกำหนดตัว
แปรตอบสนองคือ อัตราการเกิดของเสียที่กาว Epoxy ซึ่งติด Invar Tab และ Invar Post หลุดออกจาก Lens จากการศึกษา
เบื้องต้นพบว่ามี 5 ปัจจัย ที่ส่งผลกระทบต่อตัวแปรตอบสนอง ขั้นแรกใช้การกรองปัจจัยที่มีนัยสำคัญในการทดลองขั้นต้น พบว่ามี
3 ปัจจัยที่เกี่ยวข้องอย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ ระยะเวลาของการอบ, อุณหภูมิของการอบ และ ระยะเวลาการเย็นตัว จากนั้นใช้การ
ออกแบบการทดลองด้วยวิธีการทดลองแฟกทอเรียลแบบสองระดั บ และคำนวณผลกระทบต่อตัวแปรตอบสนองโดยใช้โปรแกรม
Minitab ผลการทดลองสรุปได้ว่า ระดับของปัจจัยที่พบของเสียน้อยที่สุด ได้แก่ ระยะเวลาการอบ 8 ชั่วโมง, อุณหภูมิการอบ 170
องศาเซลเซียส และ ระยะเวลาการเย็นตัว 3 ชั่วโมง เมื่อนำระดับดังกล่าวไปใช้ในการผลิต พบอัตราการเกิดของเสียลดลง 33.67 %

คำสำคัญ : การออกแบบการทดลอง กระบวนการอบเลนส์ ตู้อบแห้งแบบสุญญากาศ

Abstract
This research aims to reduce wastes in lens curing process that uses vacuum drying oven. The
response variable was the amount of epoxy glue waste falling out of the lens, where epoxy glue being used as
adhesive for invar tab and invar post. Based on the preliminary study, five factors may be affecting the response
variable. The screening experiment revealed three significant factors: curing time, curing temperature and
cooling time. Design of Experiment was applied with two-level factorial design method. The results showed
that the level of factors leading to the lowest amount of wastes were curing time of 8 hours, curing temperature
of 170 °C, and cooling time of 3 hours. After applying the results in practical operation, it was found that
defective rate decreased significantly by 33.67 %

74
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

Keywords : design of experiment, lens curing process, vacuum drying oven

75
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

1. บทนำ วิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการบางชนิดให้คงที่ หรือใช้ในการอบ


ในวงการเทคโนโลยีปัจจุบัน มีการนำเลเซอร์ตระกูล Solid กาวบางชนิดในอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับอิเล็กทรอนิกส์ [1]
State Laser มาใช้ ง านอย่ า งแพร่ ห ลาย และมี ก ารพั ฒ นา 2.1.1 หลักการทำงานของตู้อบลมร้อน
เทคโนโลยี ข องตั ว เลเซอร์ อ ย่ า งต่ อ เนื ่ อ ง เนื ่ อ งจากเป็ น หลักการทำงานของตู้อบลมร้อนก็คือ จะมีการนำความ
เทคโนโลยี หลั ก ที ่ไ ด้ ร ับ การยอมรับ และมี การใช้ง านอย่าง ร้อนจากแหล่ง กำเนิดความร้อ นไปถ่ ายเทให้ วั ต ถุ โดยผ่า น
กว้างขวาง ทำให้บริษัทผู้ผลิตจำเป็นต้องพัฒนากระบวนการ กระบวนการนำความร้อน (Conduction) การพาความร้อน
ผลิ ต ให้ ก ้ า วทั น เทคโนโลยี ในปั จ จุ บั น และนำพาให้อ งค์กร (Convection) และการแผ่ร ัง สี (Radiation) ความร้อนที่ถูก
ประสบความสำเร็จ ควบคุมอย่างเหมาะสมด้วยตัวไวความร้อนและระบบควบคุม
บริษัทกรณีศึกษามีกระบวนการผลิตเลเซอร์ตระกูล Solid อุณหภูมิ ทำให้วัตถุเกิดการเปลี่ยนแปลงสถานะจากของแข็ง
state Laser ดั ง รู ป ที ่ 1 ซึ ่ ง พบปั ญ หาของเสี ย ที ่ เ กิ ด จาก เป็นของเหลว, จากของเหลวเป็นไอ หรือจากของแข็งเป็นไอ
กระบวนการผลิตหลายประเภทด้วยกัน ปัญหาหลักอันดับแรก 2.1.2 ชนิดของตู้อบลมร้อน
คือ การเกิดของเสียชนิดที่กาว Epoxy ซึ่งติด Invar Tab และ ตู้อบลมร้อนมีหลายชนิดด้วยกัน โดยมีชื่อเรียกแตกต่างกัน
Invar Post นั้นหลุดออกจากเลนส์ การกำจัดเลนส์ในแต่ละชิ้น ตามอุณหภูมิการใช้งาน แต่ส ำหรับ ตู้อบที่ให้อุณหภูมิสูงสุด
นั้น ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายสูงถึง 2,000 บาท ต่อชิ้น ประมาณ 300 °C เรียกว่า “ตู้อบแห้ง” (Drying Oven)
การวิจ ัยนี้จ ึง นำหลักการออกแบบการทดลองมาแก้ ไ ข 2.2 ทฤษฎีการออกแบบการทดลอง
ปัญหาและลดปริมาณของเสียที่เกิดจากกาว Epoxy หลุดออก การออกแบบการทดลอง (Design of Experiment) คือ
จากเลนส์ โดยเป็นการปรับปรุงระดับของพารามิเตอร์ของตู้อบ การนำปัจจัยที่สนใจเข้าสู่กระบวนการทดลองที่มีการกำหนด
แห้งแบบสุญญากาศให้เหมาะสมต่อการอบกาว Epoxy และควบคุมไว้อย่างเป็นระบบ ปัจจัยที่สนใจเรียกว่า ตัวแปร
นำเข้า (Input Variable) เมื่อนำตัวแปรนำเข้า เข้าสู่ระบบที่มี
การกำหนดและถูกควบคุมไว้ อย่างเป็นระบบแล้ว ระบบจะมี
การแสดงผลลัพธ์ที่ได้ออกมา (Output or Response) แต่เมื่อ
มีการเปลี่ยนแปลงตัวแปรนำเข้าไปในอีกรูปแบบหนึ่ง ระบบก็
จะแสดงผลลัพธ์ออกมาในอีกรูปแบบหนึ่ง ตัวแปรนำเข้า สู่
รูปที่ 1 เลเซอร์ตระกูลเลเซอร์ของแข็ง (Solid state Laser) กระบวนการทดลองมักจะถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม [2] ดังนี้
กลุ่มที่ 1 : กลุ่มที่ควบคุมได้ เรียกว่า ตัวแปรที่ควบคุมได้
2. วรรณกรรมปริทัศน์ (Controllable Variables or Factors) เช่ น เวลา (Time),
งานวิจัยนี้มที ฤษฎีที่เกี่ยวข้องทั้งหมด 2 ส่วน ได้แก่ ทฤษฎี ความดัน (Pressure) และ ระยะห่าง (Distance) เป็นต้น
เกี่ยวกับการอบแห้งโดยใช้ตู้อบลมร้อนแบบสุญญากาศ และ กลุ่มที่ 2 : กลุ่มที่ไม่สามารถควบคุมได้ เรียกว่า ตัวแปรที่
ทฤษฎีการออกแบบการทดลองโดยใช้ วิธีการทดลองแฟกทอ ควบคุมไม่ได้ (Uncontrollable or Noise Variables Factor)
เรียลแบบสองระดับ (2K Full Factorial) แต่ไม่สามารถกำหนดค่าของตัวแปรในการทดลองนั้นได้ ตัว
2.1 ทฤษฎีการอบลมร้อนแบบสุญญากาศ แปรกลุ่มนี้จะมีผลรบกวนต่อกระบวนการผลิต
ตู้อบลมร้อนเป็นเครื่องมือพื้นฐานชนิดหนึ่ง ที่มีไว้ใช้งานใน อนุสรณ์ ฉ่ำรักษ์สินธุ์ (2557) ได้ศึกษาการลดปริมาณฝุ่นใน
การอบวัสดุให้แห้ง ใช้รักษาอุณหภูมิของปฏิกิริยาในการตรวจ กระบวนการผลิตก๊าซเลเซอร์ โดยการออกแบบการทดลองฟู

76
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

ลแฟกทอเรียลชนิดสองระดับ ผลลัพธ์พบว่า ค่าปริมาณฝุ่ น 3. วิธีการวิจัย


ลดลงเมื่อเทียบกับของเดิมได้ถึง 32.83% [3] งานวิจ ัยนี้ทำการศึกษาขั้นตอนการผลิต ปัญหาที่พบใน
อดิ ศ ร สุ ข เจริ ญ สมบั ต ิ (2561) ได้ ศ ึ ก ษาการปรั บ ตั้ ง ระหว่างการผลิต ตลอดถึงการนำทฤษฎีทางวิศวกรรมมาแก้ไข
ค่าพารามิเตอร์ในระดับที่เหมาะสมของกระบวนการผลิ ตใน ปัญหาที่เกิดขึ้นโดยการออกแบบการทดลองเพื่อหาระดับของ
ขั้นตอนการติดเลนส์รวมแสงในการผลิตสายเคเบิลใยแก้วนำ ปัจจัยที่เหมาะสมในการผลิต ผ่านการใช้โปรแกรม Minitab®
แสง โดยการออกแบบการทดลองฟูลแฟกทอเรียลชนิดสอง 3.1 กระบวนการประกอบ Optical Lens
ระดับ ผลลัพ ธ์พบว่า ของเสียลดลงจาก 80.0 % เหลือเพียง กระบวนการนี้เป็นการนำ Invar Tab และ Invar Post ติด
12.5 % คิดเป็นอัตราส่วนที่ลดลงถึง 67.5 % [4] เข้ากับเลนส์ โดยใช้กาว Epoxy หลังจากนั้นจะนำเข้า ไปอบ
ภาณุ ศิริศรีวรนันท์ (2561) ได้ศึกษากระบวนการวัดความ ด้วยตู้อบ เพื่อให้ยึดติดและแข็งตัว ซึ่งมีทั้งหมด 8 ขั้นตอน ดังนี้
สูงของเครื่องวัดความสูงที่ใช้ในการตรวจสอบความผิดปกติใน ขั้นตอนที่ 1 นำกาว Epoxy ออกจากตู้เย็นและวางทิ้ง ไว้
การประกอบชิ้นส่วนภายในโทรศัพท์ โดยออกแบบการทดลอง บนโต๊ะประมาณ 10 นาที จากนั้นค่อยนำมาใช้เพื่อให้กาวเซ็ต
ฟูลแฟกทอเรียลชนิดสองระดับ ผลลัพธ์พบว่าค่าความสามารถ ตัว หลังจากทิ้งไว้ครบแล้วรีดกาวส่วนที่ต้องการใช้ใส่ไว้ในถาด
กระบวนการโดยรวมเพิ่มขึ้นจากเดิมถึง 36.4 % [5] ขั้นตอนที่ 2 ใส่ Soda Lime ประมาณ 1 % ลงในถาดที่มี
กิตติมา เถื่อนวรรณา (2561) ได้ศ ึก ษาการออกแบบค่า กาว Epoxy แล้วผสมให้เข้ากัน
ปรับตั้ง ของพารามิเ ตอร์ใ นการเคลือบแบบหนาพิ เศษของ ขั้นตอนที่ 3 นำ Epoxy ทีผ่ สม Soda Lime แล้ว ทาลงบน
แผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ โดยการออกแบบการทดลองฟูลแฟก Invar Tab และ Invar Post
ทอเรียลชนิดสองระดับ ผลลัพธ์พบว่า ไม่พบของเสียที่เกิดจาก ขั้นตอนที่ 4 นำ Invar Tab และ Invar Post ที่ทา Epoxy
การเคลือบเลย [6] ทีผ่ สม Soda Lime แล้ว ติดเข้ากับเลนส์ โดยใช้ฟิกซ์เจอร์เป็น
อรอุมา แสนส่อง (2562) ได้ศึกษาการปรับปรุงสัดส่วนของ ตัวช่วยในการประกอบ
เสียของยางรถยนต์ที่เกิดขึ้นจากการใช้แบลดเดอร์เสื่อมสภาพ ขั้นตอนที่ 5 นำ ฟิกซ์เจอร์ เข้าไปใส่ที่ในตู้อบแล้วปิดฝาตู้
โดยใช้การทดลองแบบเศษส่วนเชิงแฟกทอเรียล ผลลัพธ์พบว่า ขั ้ น ตอนที ่ 6 เริ ่ ม อบชิ้ น งานฟิ กซ์เ จอร์ ต ามระยะเวลา,
อัตราส่วนของเสียของยางรถยนต์เสียเนื่องจากแบลดเดอร์ อุณหภูมิ, ระยะเวลาของการเย็นตัว และอัตราการปล่อยลม
เสื่อมสภาพลดลงจากเดิม 1.39 % เหลือเพียง 0.63 % [7] สะอาด ตามที่ได้กำหนดไว้ดังตารางที่ 1
งานวิจัยที่ได้ศึกษามีการใช้เทคนิคการออกแบบการทดลอง
ชนิดสุ่มสมบูรณ์ เพื่อคัดกรองปัจจัยที่ไม่มีนัยสำคัญออกจาก ตารางที่ 1 ค่าพารามิเตอร์ที่ใช้ในการตั้ง ค่าตู้อบแห้ง แบบ
การออกแบบการทดลอง จากนั้นจึง ใช้เทคนิคการออกแบบ สุญญากาศปัจจุบัน
การทดลองฟูล แฟกทอเรียลชนิดสอง เพื่อหาระดับปัจ จัยที่ รายละเอียดของพารามิเตอร์ ค่าที่ใช้ในปัจจุบัน
เหมาะสมต่อการผลิต สุดท้ายจึงนำระดับปัจจัยที่ได้จากการ ระยะเวลาของการอบเลนส์ 10 Hours
ออกแบบทดลองไปใช้ในการผลิตจริง สรุปความแตกต่างของ อุณหภูมิของการอบเลนส์ 150 °C
อัตราของเสียที่ได้ระหว่างก่อนปรับปรุงและหลังปรับปรุง ระยะเวลาของการเย็นตัว 2 Hours
อัตราการปล่อยลมสะอาด 10 Liter/min

77
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

ขั้นตอนที่ 7 เมื่อครบระยะเวลาการอบและระยะเวลาของ ตารางที่ 2 สรุประดับของปัจจัยที่เกี่ยวข้องที่จะนำมาออกแบบ


การเย็นตัวลงตามที่กำหนดแล้ว ให้นำฟิกซ์เจอร์ ออกมาจาก การทดลอง
ตู้อบ ตรวจสอบว่าเลนส์มีปริมาณของ Epoxy ที่เชื่อมติด Invar ปัจจัย ระดับต่ำ ระดับกลาง ระดับสูง
Tab และ Invar Post อย่างสมบูรณ์ ระยะเวลาของ
8 Hours 10 Hours 12 Hours
ขั้นตอนที่ 8 ถอดเลนส์ที่ได้มีการติด Invar Tab และ Invar การอบเลนส์
Post ออกจากฟิกซ์เจอร์ และทำความสะอาดผิวหน้าของเลนส์ อุณหภูมิของการ
130 °C 150 °C 170 °C
และบรรจุใส่ถุงใสแล้วซีลปิดผนึกไม่ให้ฝุ่นเข้าไปสัมผัสกับเลนส์ อบเลนส์
3.2 การศึกษาสภาพปัญหาทีเ่ กิดในปัจจุบัน ระยะเวลาของ
1 Hours 2 Hours 3 Hours
ในระหว่างการผลิตเลเซอร์พบว่าปัญหาการเกิดของเสีย การเย็นตัว
กาว Epoxy ซึ่งติด Invar Tab และ Invar Post หลุดออกจาก อัตราการปล่ อ ย 5 10 15
เลนส์ เป็นปัญหาที่ทำให้เกิดของเสีย เป็นลำดับ ต้ น ๆ ของ ลมสะอาด Liter/min Liter/min Liter/min
กระบวนการผลิต แสดงดังรูปที่ 2 ระยะเวลารอกาว 5 10 15
เซ็ตตัว Minutes Minutes Minutes

3.5 การเลือกตัวแปรตอบสนองที่จะนำมาวิเคราะห์
การเลือกตัวแปรตอบสนองนั้นจะกำหนดตามวัตถุประสงค์
ของงานวิจ ัยที่ระบุไว้ ได้แก่ อัตราปริมาณของเสีย (Defect
Rate) ของการนำเลนส์ออกจากตู้อบในแต่ละรอบ โดยขั้นตอน
การกรองปัจจัยจะใช้จำนวนเลนส์ทั้งหมด 20 ตัวต่อหนึ่งรอบ
และในขั้นตอนการทดลองแฟกทอเรียลแบบสองระดับ จะใช้
รูปที่ 2 กาว Epoxy ทีต่ ิด Invar Tab และ Invar Post หลุด จำนวนเลนส์ทั้งหมด 30 ตัวต่อหนึ่ งรอบ สำหรับอัตราปริมาณ
ของเสียในปัจจุบันเมื่อระดับปัจจัยอยู่ที่ระดับกลางทั้งหมดนั้นมี
3.3 การคัดเลือกปัจจัยที่จะนำมาวิเคราะห์ ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 28.33 % (นำเลนส์เข้าตู้อบ 60 ตัว พบของเสีย
ในการคัดเลือกปัจ จัยที่จะนำมาวิเคราะห์หาสาเหตุของ ทั้งหมด 17 ตัว)
ปัญหานั้น ใช้การระดมสมองจากประสบการณ์ของผู้เชี่ยวชาญ 3.6 การออกแบบการทดลอง
ในกระบวนการผลิต และความรู้ทางด้านสถิติวิศวกรรมเข้ามา สำหรับขั้นตอนการออกแบบการทดลองของงานวิจัยชิ้นนี้
ผสมกัน สุดท้ายจึงนำปัจจัยที่เกี่ยวข้องไปออกแบบการทดลอง จะแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอนด้วยกัน ได้แก่ ขั้นตอนการกรอง
3.4 การกำหนดระดับปัจจัยที่จะนำมาวิเคราะห์ ปัจจัยที่มีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญในการทดลองขั้นต้น และ
เมื่อเลือกปัจจัยที่เหมาะสมได้เรียบร้อยแล้ว ต้องทำการ ขั้นตอนการหาระดับของปัจจัยที่ให้ผลตอบสนองที่ ระดับ สูง
กำหนดระดับของปัจ จัยที่จ ะใช้ในการออกแบบการทดลอง และ ระดับต่ำ ซึ่งจะอธิบายรายละเอียดของทั้ง 2 ขั้นตอนดังนี้
ทั้งหมด 3 ระดับ ได้แก่ ระดับสูง , ระดับกลาง และ ระดับต่ำ 3.6.1 ขั้นตอนการกรองปัจจัยที่มีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญใน
ซึ่งจะอธิบายในแต่ละปัจจัยดังนี้ การทดลองขั้นต้น

78
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

ในการกรองปัจจัยที่มีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญในการ เซ็ตตัวพร้อมใช้งาน มีค่าเท่ากับ 0.373 ซึ่งทั้งสองปัจจัยมีค่า P-


ทดลองขั ้ น ต้ น ใช้ ก ารออกแบบการทดลองสุ ่ ม สมบู ร ณ์ Value มากกว่า 0.05
(Completely Randomized Design) เพื่อศึกษาเพียงปัจ จัย ดัง นั้นสามารถสรุปได้ ว่าอัตราการปล่อยลมสะอาดเข้าสู่
เดียว โดยดูระดับที่แตกต่างกันของปัจจัยนั้นว่ามีผลกระทบต่อ ตู้อบ และ ระยะเวลารอกาวเซ็ตตัวพร้อมใช้งาน ไม่มีผ ลต่อ
ค่าเฉลี่ยของตัวแปรตอบสนองอย่างมีนัยสำคัญหรือไม่ เพื่อ อัตราปริมาณของเสียของการนำเลนส์ออกจากตู้อบในแต่ล ะ
กรองปัจจัยที่ไม่มีนัยสำคัญออกไปและนำปัจจัยที่มีนัยสำคัญมา รอบ ดังนั้นจึงสามารถกรองปัจจัยที่มีผลต่อ ปริมาณของเสี ย
ทำการศึกษาเพื่อค้นหาระดับปัจจัยที่เหมาะสม โดยกำหนด อย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ ระยะเวลาของการอบเลนส์ , อุณหภูมิ
สมมติฐานดังนี้ ของการอบเลนส์ และระยะเวลาของการเย็นตัว
H0 : α1 = α2 = α3 = 0 (ปั จ จั ย หลั ก ไม่ ม ี ผ ลต่ อ ค่ า เมื่อนำทั้ง 3 ปัจจัยมาหาระดับที่เหมาะสมที่สุดด้วยวิธีการ
ตอบสนอง) ทดลองแฟกทอเรียลแบบสองระดับ ผลการทดลองของค่ า
H1 : α1 ≠ 0 อย่ า งน้ อ ย 1 ค่ า (ปั จ จั ย หลั ก มี ผ ลต่อค่า อัตราปริมาณของเสียของการนำเลนส์ออกจากตู้อบแห้งสรุปได้
ตอบสนอง) แสดงดังตารางที่ 3
โดยตัวแปรมีทั้งหมด 5 ปัจจัยควบคุม แต่ละปัจจัยควบคุม
กำหนดทีส่ ามระดับ (ระดับสูง, ระดับกลาง และ ระดับต่ำ) การ ตารางที่ 3 สรุปผลการทดลองของระดับของปัจจัยที่เกี่ยวข้อง
ทดลองนี้ดำเนินการทดลองแบบทำซ้ำไว้ทั้งหมด 3 ครั้ง เพื่อ
เพิ่มความแม่นยำในการประเมินตัวแปรตอบสนองมากขึ้น
3.6.2 ขั้นตอนการออกแบบการทดลองด้วยวิธีการทดลองแฟก
ทอเรียลแบบสองระดับ
เมื ่ อ ได้ ท ำการกรองปั จ จั ย แล้ ว ขั ้ น ตอนสุ ด ท้ า ยใช้ ว ิ ธี
ออกแบบการทดลองแฟกทอเรียลแบบสองระดับ (ระดับสูง
และ ระดับต่ำ) ทำให้เกิดการทดลองจำนวนน้อยซึ่งสามารถ
ศึกษาผลของปัจจัยทั้ง K ชนิดได้อย่ างสมบูรณ์ โดยกำหนด
สมมติฐานดังนี้
H0 : α1 = α2 = α3 = 0 (ปั จ จั ย หลั ก ไม่ ม ี ผ ลต่ อ ค่ า
ตอบสนอง)
H1 : α1 ≠ 0 อย่ า งน้ อ ย 1 ค่ า (ปั จ จั ย หลั ก มี ผ ลต่อค่า
ตอบสนอง)
โดยในการทดลองนี้จะกำหนดการทำซ้ำไว้ทั้งหมด 2 ครั้ง

4 ผลการดำเนินการวิจัย
จากผลการทดลองพบว่าค่า P-Value ของ อัตราการปล่อย
ลมสะอาดเข้าสู่ตู้อบ มีค่าเท่ากับ 0.072 และ ระยะเวลารอกาว ผลสรุปของการทดลองพบว่าระดับของปัจจัยของการอบ
เลนส์ที่เหมาะสมที่สุดแสดงดังตารางที่ 4

79
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

สาเหตุที่ระดับปัจจัยที่ได้จากการวิเคราะห์ผลการทดลอง
ตารางที่ 4 สรุประดับของปัจจัยที่เหมาะสมที่สุด เป็ น ค่ า ที ่ เ หมาะสมและทำให้ ข องเสีย เกิ ด น้ อ ยลงกว่ าเดิม
ปัจจัย ระดับที่เหมาะสมที่สุด เนื่องจากการลดระยะเวลาในการอบ, เพิ่มอุณหภูมิในการอบ
ระยะเวลาของการอบเลนส์ 8 Hours และเพิ่มระยะเวลาของการเย็นตัว เป็นการลดปริมาณน้ำใน
อุณหภูมิของการอบเลนส์ 170 °C วัสดุ (ความชื้นลดลง) เมื่อทำให้ของเหลวในวัสดุระเหยเป็นไอ
ระยะเวลาของการเย็นตัว 3 Hours จะทำให้วัสดุมีการแข็งตัวเพิ่มมากยิ่งขึ้น
หลังจากปรับระดับของปัจจัยให้อยู่ในค่าที่เหมาะสมที่สุด
พบว่าเมื่อนำเลนส์เข้าตู้อบ 60 ตัว พบของเสียทั้งหมด 4 ตัว 6 ข้อเสนอแนะ
คิ ด เป็ น 6.67 % ซึ ่ ง ลดลงจากอั ต ราการเกิ ด ของเสี ย ก่อน อย่างไรก็ตามยังมีปัจจัยชนิดของกาว Epoxy ในแบบต่าง
ปรับปรุงถึง 76.46 % ๆ และ อัตราส่วนในการผสม Soda Lime กับกาวที่ยังสามารถ
5 สรุป เป็นสาเหตุของการเกิดของเสียที่ยังมีอยู่ ลำดับต่อไปอาจมีการ
งานวิจ ัยนี้ม ี วั ต ถุประสงค์ เพื่อ ลดปริม าณของเสี ย จาก เพิ่มการศึกษาปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น การเปลี่ยนชนิด
กระบวนการอบเลนส์ด้วยตู้อบแห้งแบบสุญญากาศ ขั้นแรกเริ่ม ของกาว Epoxy เพื่อหาชนิดของกาวที่มีประสิทธิภาพที่สุด
จากการศึกษากระบวนการผลิตโดยรวมและสภาพปัญหาที่ โดยสามารถนำขั ้ น ตอนการดำเนิ น งานของการวิ จ ั ย นี ้ ไ ป
เกิดขึ้นในปัจ จุบัน เพื่อคัดเลือกหัวข้อของปัญหาที่ต้องการ ประยุกต์ใช้ให้ได้การปรับค่าที่เหมาะสมและไม่มีของเสียเกิดขึ้น
ปรับปรุง เมื่อได้หัวข้อของปัญหาที่จะปรับปรุงมาแล้ว จึงค่อย
ทำการคัดเลือกปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อตัวแปรตอบสนอง โดย เอกสารอ้างอิง
ใช้การระดมสมองจากผู้เชี่ยวชาญ พบว่ ามี 5 ปัจจัย ที่ส่งผล 1. รศ.ชูชาติ อารีจิตรานุสรณ์ , 2544, เครื่องมือวิทยาศาสตร์,
กระทบต่อตัวแปรตอบสนอง จากนั้นใช้การกรองปัจจัยที่มี พิมพ์ครั้งที่ 3, ขอนแก่น: โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา.
ผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญในขั้นต้น พบว่าปัจจัยที่มีผลต่อค่า 2. ประไพศรี สุทัศน์ ณ อยุธยา และ พงศ์ชนัน เหลืองไพบูลย์,
อัตราปริมาณของเสียอย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ ระยะเวลาของ 2551, การออกแบบและวิเคราะห์การทดลอง, พิมพ์ครั้งที่
การอบเลนส์, อุณหภูมิของการอบเลนส์ และระยะเวลาของ 1, กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ท้อปจำกัด.
การคูลดาวน์ จากนั้นจึงใช้การออกแบบการทดลองด้วยวิธีการ 3. อนุส รณ์ ฉ่ ำรักษ์ส ินธุ์ , 2557, การศึกษาปัจ จัยและค่าที่
ทดลองแฟกทอเรียลแบบสองระดับของทั้ง 3 ปัจจัย เหมาะสมเพื่อลดปริมาณฝุ่นกรณีศึกษาของกระบวนการ
ผลสรุปการกำหนดระดั บของปัจ จั ยที ่เ หมาะสมได้ แ ก่ ล้ า งลำตั ว เลเซอร์ เ ฮดด้ ว ยเครื ่ อ งล้ า งอั ล ตร้ า โซนิ ค ,
ระยะเวลาของการอบเลนส์ คือ 8 Hours อุณหภูมิของการอบ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, วิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาการ
เลนส์ คือ 170 °C และ ระยะเวลาของการเย็นตัว คือ 3 Hours พัฒนางานอุตสาหกรรม.
เมื่อนำระดับของปัจจัยที่เหมาะสมมาทดลองจริงเพื่อยืนยันผล 4. อดิศร สุขเจริญสมบัติ, 2561, การออกแบบค่าพารามิเตอร์
สรุปได้ว่าก่อนการปรับปรุงมีอัตราการเกิดของเสียเฉลี่ย อยู่ที่ ที่เหมาะสมของกระบวนการติดเลนส์รวมแสงในการผลิต
28.33 % หลัง จากนำระดับของปัจ จัยที่เหมาะสมจากการ สายเคเบิ ล ใยแก้ ว นำแสง, มหาวิ ท ยาลั ย ธรรมศาสตร์ ,
ออกแบบการทดลองมาปรับใช้ พบว่าอัตราการเกิดของเสีย วิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาการจัดการทางวิศวกรรม.
เฉลี่ยเป็น 6.67 % ซึ่งสามารถลดอัตราการเกิดของเสียได้ถึง 5. ภาณุ ศิริศรีวรนันท์ , 2561, การออกแบบการทดลองเพื่อ
76.46 % เมื่อเทียบจากอัตราการเกิดของเสียก่อนการปรับปรุง วิ เ คราะห์ ป ั จ จั ย ที ่ ส ่ ง ผลต่ อ การวั ด ความสู ง ของ

80
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

ชิ ้ น ส่ ว นประกอบโทรศั พ ท์ ด ้ ว ยเครื ่ อ งวั ด ความสู ง,


มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, วิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาการ
จัดการทางวิศวกรรม.
6. กิตติมา เถื่อนวรรณา, 2561, การออกแบบปัจจัยการผลิต
ที ่ เ หมาะสมสำหรั บการเคลื อบแบบหนาพิเ ศษบนแผ่น
วงจรอิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ , มหาวิ ท ยาลั ย ธรรมศาส ตร์ ,
วิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาการจัดการทางวิศวกรรม.
7. อรอุมา แสนส่อง, 2562, การปรับปรุง กระบวนการอบ
แบลดเดอร์ ใ นกระบวนการผลิ ต ยางรถยนต์ โ ดยใช้
ห ล ั ก การออกแบ บค ่ า พาร ามิ เ ตอร์ ท ี ่ เ ห มาะสม ,
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, วิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิชาการ
จัดการทางวิศวกรรม.

81
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

การลดความสูญเปล่าในกระบวนการผลิตด้วยแนวคิดแบบลีน
กรณีศึกษา ธุรกิจเหล็กดัด มุ้งลวด เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร
Waste Reduction in Production Process using LEAN Techniques
Case Study of Wrought Iron in Nong Chok District, Bangkok

ชิดชนก อินทอง1* สุธิมา ทาฤทธิ์2 และกชกร รัตนปัญญา2


1
ภาควิชาการจัดการอุตสาหกรรม คณะบริหารธุรกิจ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร เขตหนองจอก กรุงเทพฯ 10530
2
ภาควิชาการจัดการโลจิสติกส์ คณะบริหารธุรกิจ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร เขตหนองจอก กรุงเทพฯ 10530
E-mail: chidchanok@mut.ac.th

บทคัดย่อ
งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำแนวคิดแบบลีนมาประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคที่เกิดขึ้ นใน
กระบวนการทำงานเพื่อศึกษาแนวทางในการปรับปรุงกระบวนการผลิต การดำเนินงานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพซึ่งเกี่ยวข้อง
กับการวิเคราะห์กระบวนการทำงาน เริ่มต้นจากการเก็บรวบรวมข้อมูลของกระบวนการทำงานและจัดทำแผนผังกระบวนการไหล
รวมทั้งวิเคราะห์หาความสูญเปล่าที่เกิดขึ้นเพื่อนำไปปรับปรุงกระบวนการผลิตใหม่โดยใช้การประยุกต์จากแนวคิดแบบลีน และนำ
หลักการ ECRS มาประยุกต์ใช้ในการปรับปรุงขั้นตอนกระบวนการผลิต เมื่อนำกระบวนการจัดซื้อใหม่มาประยุกต์ใช้ในการปรับปรุง
กระบวนการ ผลที่ได้จากการวิจัยพบว่าสามารถลดความสูญเปล่าในกระบวนการลงจากเดิม 48 ขั้นตอนเหลือเพียง 38 ขั้นตอน
หรือคิดเป็นร้อยละ 20.83 รวมทั้งสามารถลดระยะเวลาในการทำงานลงจาก 195,093 วินาที เหลือ 185,754 วินาที หรือคิดเป็น
ร้อยละ 4.48 แสดงให้เห็นว่าการประยุกต์ใช้หลักการ ECRS ในการทำงานสามารถลดเวลาและลดขั้นตอนในกระบวนการผลิต
เหล็กดัดได้

คำสำคัญ : หลักการ ECRS แนวคิดแบบลีน ความสูญเปล่าในกระบวนการ

Abstract
The objective of this research was to apply lean thinking in the analysis of problems and obstacles
found in manufacturing process. The methodology was based on qualitative approach that involved the analysis

82
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

of work processes, starting from collecting operational data, flow charting, analyzing wastes and apply ECRS
principles to improve the production process. When the manufacturing process was improved by lean thinking,
it was found that process wastes were reduced from 48 steps to 38 steps (20.83%). Operation time was
decreased from 195,093 seconds to 185,754 seconds (4.78%). The result shows that the applied of the ECRS
principle can reduce time and reduce the steps in the wrought iron production process.

Keywords: The ECRS principle, Lean Thinking, Waste Reduction in process

83
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

1. บทนำ 2.2.1.3) สะอาด Seiso (เซโซ) ทำความสะอาด คือการปัด


บทความนี้เป็นการนำเสนอการนำแนวคิดลีนมาใช้เพื่อลด กวาดเช็ดถูสถานที่ สิ่งของ อุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องจักร ให้
ความสูญเปล่าในกระบวนการผลิต และเพิ่มประสิทธิภ าพใน สะอาดอยู่เสมอ
การใช้ทรัพยากร โดยมีรายละเอียดต่างๆ ตามหัวข้อดังต่อไปนี้ 2.2.1.4) สุขลักษณะ Seiketsu (เซเคทซึ) รักษาความ
สะอาด คือ การรักษาและปฏิบัติ 3ส ได้แก่ สะสาง สะดวก
2. หลักการและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง และสะอาดให้ดีตลอดไป
เนื่องจากวัตถุประสงค์ของงานวิจัยนี้คือการลดต้นทุนและ 2.2.1.5) สร้างนิสัย Shitsuke (ซึทซึเคะ) ฝึกให้เป็นนิสัย
ลดความสูญเปล่าในกระบวนการผลิตและการขนส่ง ดัง นั้น คือ การรักษาและปฏิบัติ4ส หรือสิ่ง ที่กำหนดไว้แล้วอย่ า ง
การศึกษาครั้งนี้ทางผู้วิจัยได้รวบรวมเอกสารและงานวิจ ัย ที่ ถูกต้องจนติดเป็นนิสัยนี้
เกี่ยวข้อง เพื่อใช้ประกอบการศึกษาและใช้ในการวิเคราะห์ 2.2.2 แผนภูมิเหตุและผล (Cause and Effect Diagram)
ข้อมูล ซึ่งประกอบด้วยการผลิตแบบลีน โดยจะมุ่งเน้ น เรื่อง แผนภูมิเหตุและผล มีการเรียกชื่อกัน ว่าผังก้างปลาหรือ
หลักการลดความสูญเปล่า ทั้ง 7 ประการ (7 Wastes) และ ผังแสดงเหตุและผล ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วน คือ ส่วน
หลักการ ECRS ซึ่ง ประกอบไปด้วยการกำจัด (Eliminate) , โครงกระดูกที่เป็นตัวปลา ซึ่งได้รวบรวมปัจจัยอันเป็นสาเหตุ
การรวมกัน (Combine), การจัดใหม่(Rearrange) และการทำ ของปั ญ หา และส่ ว นหั ว ปลาที ่ เ ป็ น ข้ อ สรุ ป ของสาเหตุ ที่
ให้ง่าย(Simplify) โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้ กลายเป็นตัวปัญหา โดยตามความนิยมจะเขียนหัวปลาอยู่ทาง
2.1 ระบบการผลิตแบบลีน ขวามือและตัวปลา (หางปลา) อยู่ทางซ้ายมือเสมอ
ระบบการผลิ ต แบบลี น เป็ น เครื ่ อ งมื อ ในการจั ด การ 2.2.3 แผนภูมิกระบวนการไหลของกระบวนการผลิต
กระบวนการที่ช่วยเพิ่มขีดความสามารถ ให้แก่องค์การหรือ แผนภูมิการไหลของกระบวนการผลิต (Flow Process
บริ ษ ั ท โดยการพิ จ ารณาคุ ณ ค่ า ในการดํ า เนิ น งานเพื ่ อ มุ่ ง chart) เป็นแผนภูมิที่เขียนขึ้นเพื่อบันทึกขั้นตอนการทำงาน
ตอบสนองความต้องการของลูกค้ามุ่งสร้างคุณค่าในตัวสินค้า แปรรูปวัตถุดิบจนเป็นผลิตภัณฑ์โดยการใช้สัญลักษณ์ทั้ง 5 ตัว
และบริ ก าร และกํ า จั ด ความสู ญ เสี ย ที ่ เ กิ ด ขึ ้ น ตลอดทั้ ง ที ่ ม ี อ ยู ่ บ ั น ทึ ก รายละเอี ย ดของงานแผนภู มิ ก ารไหลของ
กระบวนการอย่างต่อเนื่อ ง ทําให้สามารถลดต้นทุนการผลิต กระบวนการผลิตแบ่งออกเป็น 2 แบบคือ แบบขั้นตอนการ
เพิ่มผลกําไรและผลลัพธ์ที่ดีทางธุรกิจในที่สุดในขณะเดียวกันก็ ทำงานของคน (Man Type) และการแปรรู ป ของวั ต ถุ ดิ บ
ให้ความสําคัญกับการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพควบคู่ไปด้วย (Material Type)
2.2 เครื่องมือและปัจจัยที่สนับสนุนแนวคิดลีน 2.2.4 หลักการ ECRS เป็นหลักการที่ประกอบด้วย
2.2.1 กิจกรรม 5ส (5S) ประกอบด้วย 2.2.4.1) การกำจัด คือการพิจารณาการทำงานปัจ จุบั น
2.2.1.1) สะสาง Seiri (เซริ) ทำให้เป็นระเบียบ คือ การ และพยายามกำจัดความสูญเปล่าทั้ง 7 ประการที่พบออกไป
แยกระหว่างของที่จำเป็นต้องใช้กับของที่ไม่จำเป็นต้องใช้ และ 2.2.4.2) การรวมกั น คื อ การพิ จ ารณาว่ า สามารถรวม
ขจัดของที่ไม่จำเป็นต้องใช้ทิ้งไป ขั้นตอนการทำงานให้ล ดลงได้หรือไม่ เช่น จากเดิมเคยทำ 5
2.2.1.2) สะดวก Seiton (เซตง) วางของในที่ที่ควรอยู่ คือ ขั้นตอนก็รวมบางขั้นตอนเข้าด้วยกัน ทำให้ขั้นตอนที่ต้องทำ
การจัดวางของที่จำเป็นต้องใช้ให้เป็นระเบียบสามารถหยิบใช้ ลดลงจากเดิม
งานได้ทันที 2.2.4.3) การจัดใหม่ คือ การจัดขั้นตอนการผลิต และ
บริการใหม่เพื่อให้ลดการเคลื่อนที่ที่ไม่จำเป็น หรือ การรอคอย
84
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

เช่นในกระบวนการผลิต หากทำการสลับขั้นตอนที่ 2 กับ 3 3.2.2 กระบวนการผลิตโดยรวม


โดยทำขั้นตอนที่ 3 ก่อน 2 จะทำให้ร ะยะทางการเคลื่อนที่
ลดลง เป็นต้น
2.2.4.4) การทำให้ง่าย คือ การจัดรูปแบบของเอกสาร
ให้เข้าใจง่ายและสะดวกเหมาะสมกับการใช้งาน หรือเป็นการ
ปรับปรุงการทำงานให้ง่ายและสะดวกขึ้น

3. วิธีการดำเนินงานวิจัย
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อนำแนวคิดลีนมาใช้ในการ
ลดต้นทุนในการดำเนินงานกรณีศึกษาธุรกิจจัดทำเหล็กดัดมุ้ง รูปที่ 1 ภาพกระบวนการผลิตโดยรวม
ลวดผ้าม่าน โดยงานวิจัยนี้แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือการศึกษา
ปัญหาและแนวทางในการลดต้นทุนในกระบวนการผลิต ของ 3.3 การประยุกต์ใช้เครื่องมือแนวคิดแบบลีน
บริษัทกรณีศึกษา และการศึกษาและปรับปรุงกระบวนการเพิ่ม 3.3.2 จัดทำแผนภูมิการไหล
ประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรเพื่อให้ลดความสูญเปล่าลง การสร้างแผนภูมิการไหล จะทำให้เห็นภาพการไหลของ
โดยมีรายละเอียดดังนี้ งานได้ ช ั ด เจนมากยิ ่ ง ขึ ้ น ง่ า ยต่ อ การนำไปวิ เ คราะห์ แ บ่ ง
3.1 กำหนดขอบเขตการศึกษา ออกเป็น 6 แผนภูมิตามสถานีงาน ดัง นี้ คือสถานีตัดเหล็ ก,
งานวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาปัญหาและแนวทางในการลด สถานีดัดเหล็ก, สถานีเชื่อมเหล็ก , สถานีทาสีกันสนิม, สถานี
ต้ น ทุ น ในกระบวนการผลิ ต ของบริ ษ ั ท กรณี ศ ึ ก ษา ในช่ ว ง พ่นสีเหล็กและสถานีอบเหล็ก
ระยะเวลาตั้งแต่ เดือนพฤศจิกายน-เดือนธันวาคม พ.ศ. 2564 3.3.2 วิเคราะห์สาเหตุของปัญหาโดยใช้ผังแสดงเหตุแ ละผล
จากนั้นได้ทำการปรับปรุงกระบวนการเพิ่มประสิทธิภาพในการ หรือผังก้างปลา
ใช้ทรัพยากร โดยทำการเก็บรวบรวมข้อมูล การจัดทำเหล็กดัด
มุ ้ ง ลวดผ้ า ม่ า นระยะเวลาตั ้ ง แต่ เดื อ นพฤศจิ ก ายน-เดื อ น
ธันวาคม พ.ศ. 2564 และดำเนินการปรับปรุงในช่วงระยะเวลา
ตั้งแต่ เดือนธันวาคม พ.ศ. 2564-เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565
3.2 การศึกษาและรวบรวมข้อมูล
3.2.1 การสำรวจสถานะปัจจุบันของธุรกิจ
ธุร กิจ ของกรณีศึกษาเป็นธุรกิจ จัดทำเหล็กดัดมุ้งลวด
ผ้าม่าน เพื่อจัดทำเชื่อมและดัดเหล็กมุ้งลวดผ้าม่าน ตั้งแต่การ
สั่งซื้อเหล็ก การเชื่อม พ่นสี ไปจนถึงจัดส่งและติดตั้งให้ลูกค้า
บริษัทมีลักษณะการผลิตเป็นแบบผลิตตามคำสั่งซื้อ ซึ่ง รูปที่ 2 วิเคราะห์สาเหตุของปัญหาโดยใช้ผังก้างปลา
แผนการผลิตจะกำหนดจากปริมาณความต้องการของลู กค้า
เมื่อมีคำสั่งซื้อเข้ามาจึงเริ่มวางแผนการผลิต

85
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

4. ผลของการวิจัย เรี ย บร้ อ ยอี ก รอบก่ อ นนำเข้ า ห้ อ งอบและตรวจเช็ ค ความ


ในการดำเนินการศึกษาผู้วิจ ัยได้นำผลการศึกษาตาม เรียบร้อยของสี
ขั้นตอนต่างๆ ที่ได้กำหนดไว้ในบทที่ 3 ซึ่งได้ผลการศึกษา ดังนี้ 4.3.2) การรวมกัน คือ ได้ทำการรวมเอาขั้นตอนนำเหล็กที่
4.1 สรุ ป ขั ้ น ตอนการทำงานที ่ ไ ม่ ก ่ อ ให้ เ กิ ด มู ล ค่ า ใ น จะตัดมาวัดขนาดก่อนตัดตามแบบรวมกับเปิดเครื่องตัดเหล็ก
สายการผลิต และนำเหล็กมาวางเรียงรวมกับเช็ดเหล็กให้แห้งก่อนทา
พบว่าจากขั้นตอนการผลิตทั้งหมด 48 ขั้นตอน สามารถ 4.3.3) การจัดใหม่ คือ ทำการสลับขั้นตอนวัดขนาดที่ต้องดัด
จำแนกเป็นกิจกรรมที่ก่อให้เกิดมูลค่า (Value Added : VA) 9 และเปิดเครื่องดัดเหล็กใหม่, ขั้นตอนการนำเหล็กที่จะเชื่อมมา
ขั้นตอน รวมเป็นเวลาเฉลี่ย 52,800 วินาที คิดเป็น 18.75 วางตามแบบและเปิดเครื่องเชื่อมใหม่ , ขั้นตอนการเปิดเครื่อง
เปอร์ เ ซ็น ต์ กิ จ กรรมที่ ไม่ ก่ อให้ เ กิ ด มู ล ค่ า (Non-Value พ่นสีและขั้นตอนนำเหล็กมาวางแยกกันใหม่ เพื่อลดเวลาการ
Added : NVA) 20 ขั ้ น ตอน รวมเป็ น เวลาเฉลี ่ ย 125,642 รอคอยลง
วินาที คิดเป็น 41.67 เปอร์เซ็นต์และกิจกรรมที่จำเป็นแต่ไม่ 4.5 แผนภูมิกระบวนการไหลหลังปรับปรุง
ก่ อ ให้ เ กิ ด มู ล ค่ า (Necessary Non-Value Added : NVAN) โดยทำการจัดทำแผนภูมิการไหลหลังมีการปรับปรุงด้วย
19 ขั้นตอน รวมเป็นเวลาเฉลี่ย 12,754 วินาที คิดเป็น 39.58 หลักการ ECRS ทำให้เห็นภาพการไหลของงานหลังปรับปรุงได้
เปอร์เซ็นต์ ชัดเจนมากยิ่งขึ้น แบ่งออกเป็น 6 แผนภูมิเช่นเดิม ตามสถานี
4.2 วิเคราะห์สาเหตุของกระบวนการที่ไ ม่ทำให้เ กิดมู ลค่า งาน ดังนี้ คือสถานีตัดเหล็ก, สถานีดัดเหล็ก, สถานีเชื่อมเหล็ก,
ด้วยเครื่องมือของการผลิตแบบลีน สถานีทาสีกันสนิม, สถานีพ่นสีเหล็กและสถานีอบเหล็ก โดย
เนื่องจากกิจกรรมที่ไม่ก่อให้เกิดมูลค่าของกระบวนการ ได้ผลการดำเนินงานดังหัวข้อต่อไปนี้
ผลิตมีลักษณะการทำงานแตกต่างกัน ผู้วิจัยจึงได้ทำการแบ่ง 4.6 ตารางเปรียบเทียบเวลาการทำงานก่อ นและหลังการ
ประเภทของกิจกรรมออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ การรอคอย ดำเนินงาน
การเคลื่อนที่ การตรวจสอบ และการทำงานที่สูญเปล่า ตารางที่ 1 เปรียบเทียบเวลาการทำงานก่อนและหลังการดำเนินงาน
โดยลักษณะการทำงานของกิจกรรมที่ไม่ก่อให้เกิดมูลค่า
พบว่า การรอคอย มีการใช้เวลามากกว่ากิจกรรมส่วนอื่นนั้น
ผู้จัดทำได้วิเคราะห์ว่าสาเหตุนั้นมาจากกระบวนการผลิตส่วน
ใหญ่จำเป็นต้องมีการรอคอย เช่น รอให้สีแห้ง โดยขั้นตอนนี้
ใช้ เ วลาไปทั้ ง หมดประมาณ 1 วั น แต่ ก ็ ม ี ก ารรอคอย การ
เคลื่อนที่ การตรวจสอบและการทำงานบางขั้นตอนที่สามารถ
ใช้หลักการ ECRS เพื่อลดความสูญเปล่าของการกระบวนการ
ผลิตออกไปได้ตามหัวข้อต่อไป จากตารางที่ 1 พบว่าหลังการดำเนินงานปรับปรุงตาม
4.3 ปรับปรุงขั้นตอนกระบวนการผลิตด้วยหลักการ ECRS หลักการกำจัดความสูญเปล่าของเทคนิคลีน โดยใช้เครื่องมือ
4.3.1) การกำจัด คือ ได้มีการกำจัดขั้นตอนเดินไปหยิบถัง จากเทคนิคลีน ทำให้เวลาการทำงานรวมเฉลี่ยของการผลิ ต
สีจ ากห้องเก็บอุปกรณ์ , เดินไปหยิบเครื ่องพ่ นสีท ี่ห ้อ งเก็ บ ลดลงจากเดิม 4.78 เปอร์เซ็นต์
อุ ป กรณ์ , ตรวจสอบขนาดที ่ ต ั ด อี ก รอบ, ตรวจเช็ ค ความ
5. สรุปผลการดำเนินงาน และข้อเสนอแนะ
86
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

งานวิจ ัยนี้ ไ ด้ศ ึกษาเกี่ ย วกับ กระบวนการผลิ ต เพื่ อ ทางการแก้ไขปัญหาตามหลักการอีซีอาร์เอส (ECRS) แล้วทำ
วิเคราะห์สภาพของความสูญเปล่าที่เกิดในกระบวนการผลิต ให้สามารถลดเวลาการทำงานของกระบวนการผลิตลงได้ 4.78
และเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาความสูญเปล่าในกระบวนการ % โดยลดลงจาก 195093.00 วินาที เหลือ 185754.00 วินาที
ผลิ ตโดยทำการศึกษาในส่วนของกระบวนการผลิตของของ ทำให้ปริมาณงานที่ได้ในแต่ละวันมากขึ้นเมื่อเทียบกับเวลาการ
ธุรกิจเหล็กดัด จังหวัดกรุงเทพมหานคร ผู้วิจัยได้ผลสรุปและ ทำงานเดิม หรือมีผลิตภาพมากขึ้นจากเดิมตามวัตถุประสงค์ที่
ข้อเสนอแนะ ดังนี้ ได้ตั้งไว้
5.1 สรุปผลการวิจัย 5.2 ข้อเสนอแนะ
จากการดำเนิ น การศึ ก ษากระบวนการผลิ ต เพื่ อ จากการดำเนิ น การทำงานวิ จ ั ย ลดความสู ญ เปล่ าใน
วิเคราะห์ความสูญเปล่าที่เกิดขึ้นในกระบวนการโดยใช้เทคนิค กระบวนการ เพื่อหาแนวทางในการปรับปรุงกระบวนการผลิต
แบบลีน ผลของการแก้ไขปรับปรุงเป็นไปตามผลที่คาดว่าจะ ทางผู้จ ัดทำมีข้อเสนอแนะเพื่อให้ผ ู้ประกอบการนำไปเป็ น
ได้ ร ั บ จากการศึ ก ษา คื อ สามารถลดเวลาการทำงานที่ไม่ แนวทางในการปรับปรุง กระบวนการทำงานให้ดียิ่ง ขึ้น ดัง นี้
ก่อให้เกิดมูลค่า และเพิ่มผลิตภาพในกระบวนการทำงาน ซึ่ง 5.2.1 จากการสังเกตของผู้จัดทำ ได้มีความคิดเห็นว่าทางธุรกิจ
การแก้ไขปรับปรุงแบ่งออกเป็นสองส่วนหลัก ได้แก่ แผนภูมิ เหล็ กดัดควรมีก ารใช้หลักการ 5ส อย่างสม่ำเสมอมากขึ้ น
กระบวนการไหล (Flow Process Chart) และการใช้หลักการ เพื่อให้โรงงานมีความเป็นระเบียบ และส่งผลให้การทำงานลื่น
อีซีอาร์เอส (ECRS) ในการจัดการกระบวนการที่ไม่ก่อให้เกิด ไหลมากยิ่งขึ้น โดยทางผู้จัดทำเสนอให้ทางผู้ประกอบการนำ
มูลค่าในกระบวนการผลิต โดยกำจัดขั้นตอนที่ไม่จำเป็นออกไป 5ส มาใช้อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง
ซึ่ง ผลจากการดำเนินงานตามหลักการดัง กล่าวทำให้ 5.2.2 ผู้จ ัดทำได้มีค วามคิดเห็นว่าทางธุรกิจ เหล็กดัดนี้ขาด
สามารถลดเวลาของกระบวนการผลิตลงได้ดังนี้ แคลนแรงงาน จึงจำเป็นต้องรับสมัครคนงานเพิ่มเพื่อให้การ
ทำงานเร็วขึ้น ผลิตได้มากขึ้นและคุณภาพชิ้นงานที่ดี
5.2.3 เครื่องมือและอุปกรณ์การทำงาน เนื่องจากเครื่องมือ
และอุปกรณ์ไม่เพียงพอต่อการใช้งานแต่ละครั้ง จึงทำให้งาน
ล่าช้า ผู้จ ัดทำมีค วามเห็นว่า ควรทำการซื้อเครื่องมือและ
อุปกรณ์การทำงานเพิ่ม เพื่อลดเวลาในกระบวนการผลิต

เอกสารอ้างอิง
1. ผัง ก้างปลากับแผนภูมิความคิด Fish Bone Diagram &
Mind Map, 2562 (ออนไลน์) สืบค้นเมื่อ 11 ธันวาคม
2564 จาก : http://designtechnology.ipst.ac.th/ใบ
รูปที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของเวลาการทำงานก่อน ความรู้-ผังก้างปลา.pdf
และหลังการดำเนินงาน 2. เทคนิค การเพิ่มผลผลิต โดยการลดความสูญเสีย , 2557
(ออนไลน์ ) สื บ ค้ น เมื ่ อ 11 ธั น วาคม 2564 จาก :
จากรูปที่ 3 การเปลี่ยนแปลงของเวลาการทำงานของ http://www.thailandindustry.com/onlinemag/vie
พนักงานในกระบวนการผลิต โดยหลังจากปรับปรุงตามแนว w2
87
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

3. ความสูญเสีย 8 ประการ (8 Wastes), 2561 (ออนไลน์)


สืบค้นเมื่อ 20 ธันวาคม 2564 จาก :
https://www.iok2 u.com/index.php/article/industr
y/-wastes-downtime
4. การลดความสูญเปล่าในกระบวนการผลิตด้วยแนวคิดแบบ
ลีน, 2562 (ออนไลน์) สืบค้นเมื่อ 26 ธันวาคม 2564 จาก :
http://ie.eng.cmu.ac.th/IE2014/downloads/2020_
04/37-report

88
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

แนวทางการปรับปรุงแผนผังคลังสินค้า เพื่อลดระยะเวลาในการเคลื่อนย้ายกระจก
กรณีศึกษา บริษัทแปรรูปกระจก จังหวัดฉะเชิงเทรา
Guidelines for Improving Warehouse Layouts to Reduce the Time it Takes to
Move Glass
A Case Study of a Glass Processing Company in Chachoengsao Province

ชิดชนก อินทอง1* ชฎารัตน์ อนันตกูล2 อนันต์ มีชัยภูมิ3 และณัฐธิดา สมัญญา3


1
ภาควิชาการจัดการอุตสาหกรรม คณะบริหารธุรกิจ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร เขตหนองจอก กรุงเทพฯ 10530
2
ภาควิชาการจัดการอุตสาหกรรม คณะบริหารธุรกิจ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร เขตหนองจอก กรุงเทพฯ 10530
3
ภาควิชาการจัดการโลจิสติกส์ คณะบริหารธุรกิจ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร เขตหนองจอก กรุงเทพฯ 10530
E-mail: chidchanok@mut.ac.th

บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงการจัดวางผังคลังสินค้าให้มีประสิทธิภาพ เพื่อลดระยะเวลาในการเคลื่อนย้าย
สินค้าไปยังรถขนส่ง ของกรณีศึกษาบริษัทแปรรูปกระจก จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยการเก็บข้อมูลนั้นเก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์
หัวหน้าแผนกคลัง สินค้า และสอบถามกลุ่มตัวอย่างพนักงานคลังสินค้าและพนักงานขับรถขนส่ง พบว่าคลังสินค้าของบริ ษัท
กรณีศึกษามีการจัดวางสินค้าปะปนกันทั้งในส่วนของกระจกเก่า กระจกที่เสียหาย และกระจกใหม่เป็นจำนวนมาก อีกทั้งบริษัทไม่มี
นโยบายในการทิ้งกระจกเก่า หรือกระจกที่เสียหาย และไม่มีการแยกประเภทในการจัดเก็บกระจกทำให้ยากต่อการค้นหาและหยิบ
จับ เป็นผลให้ใช้เวลาในการเคลื่อนย้ายสินค้าไปยั งรถขนส่งค่อนข้างมาก โดยผู้วิจัยได้นำแนวคิดทฤษฎีในการออกแบบแผนผัง
คลังสินค้า มาแก้ไขปัญหาควบคู่กับการประยุกต์ใช้แนวคิดทฤษฎีระบบการจัดเก็บสินค้าตามประเภทของสินค้า ( Commodity
System) และทฤษฎี ก ารควบคุ ม ด้ว ยสายตา (Visual Control) หลั ง จากการปรั บปรุ ง ผัง คลั ง สิน ค้า ของบริษ ัท กรณีศ ึกษา
ผังคลังสินค้ามีความเป็นระเบียบเรียบร้อยมากยิ่งขึ้น ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ลดเวลาที่ใช้ในการเคลื่อนย้ายกระจกจาก
แร็ค (Rack) ที่วางกระจกไปยังรถขนส่งสินค้า โดยผู้วิจัยได้ทำการจับเวลากลุ่มตัวอย่างของกระจกนิรภั ยเทมเปอร์ และกระจกลามิ
เนต ประเภทละ 10 ครั้ง โดยกระจกนิรภัยเทมเปอร์ ก่อนการปรับปรุงใช้เวลา 23.20 นาที หลังการปรับปรุงใช้เวลา 14.41 นาที ใช้
เวลาลดลง 8.39 นาที หรือคิดเป็น 37.07% และกระจกลามิเนต ก่อนการปรับปรุงใช้เวลา 20.05 นาที หลังการปรับปรุงใช้เวลา
14.10 ใช้เวลาลดลง 5.55 นาที หรือคิดเป็น 29.46%
89
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

คำสำคัญ : คลังสินค้า แร็ค กระจก เวลา

Abstract
This research aims to improve the efficient placement of warehouse planning to reduce the time it
takes to move goods to the transporter in the case study of the glass processing company in Chachoengsao
Province. The data was collected by interviewing the head of the warehouse department and asking a sample
of warehouse employees and transport drivers. It was found that the company's warehouse of case studies was
mixed with both old glass sections. Because the company does not have a policy of discarding old or damaged
glass, and there is no declassification in glass storage, it is difficult to find and grab. As a result, it takes quite a
lot of time to move goods to the transporter. The researchers used the theory of designing a warehouse plan
to solve the problem, along with the application of commodity system theory and visual control theory. After
the renovation of the case study company's warehouse chart, the warehouse chart is tidier. Improves
productivity. Reduce the time it takes to move the glass from the glass rack to the cargo vehicle. The researchers
timed a sample of tempered glass. Tempered glass and laminated glass were 10 times each. Tempered glass
before renovation lasted 23.20 minutes after renovation 8.39 minutes reduced time 37.07%, and laminated
glass before renovation took 20.05 minutes after renovation 5.55 minutes decreased 29.46%

Keywords: Warehouse, Rack, Glass, Time

90
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

1. บทนำ สำหรั บ การเก็บ รั ก ษาเป็ น ปลี ก ย่อ ยต้ อ งเป็ น ไปตามลำดับ


การผลิตกระจกแผ่นเรียบในประเทศไทย แบ่งออกเป็น 2 ความสำคัญ ความจำเป็นที่จะต้องอยู่ใกล้ชิดกับเครื่องมือยกขน
ประเภท 1. การผลิต กระจกขั ้น พื้ น ฐาน ได้ แ ก่ กระจกชีท ที่ติดตั้งในที่และสิ่งอำนวยความสะดวกอื่นของคลังสินค้า และ
(Sheet Glass) ที่ใช้ทั่วไปตามอาคารบ้านเรือน และกระจก ร่างภาพลงไปในแผนผังของพื้นที่คลังสินค้า แล้วจึง กำหนด
โฟลต (Float Glass) ใช้ในงานก่อสร้างอาคาร ที่อยู่อาศัยที่ ตำแหน่งของล๊อตและตำแหน่งชั้นวางสินค้าลงไปให้เป็ นการ
ต้องการและอุตสาหกรรมรถยนต์ เป็นต้น 2. อุตสาหกรรมที่ แน่นอน
ต่อเนื่องจากกระจก ได้แก่ กระจกลวดลาย (Figured Glass) 2.2 ระบบการจั ด เก็ บ สิ น ค้ า ตามประเภทของสิ น ค้ า
กระจกเงา (Mirror) กระจกสะท้อ นแสง (Heat Reflective (Commodity System)
Glass) กระจกฉนวนความร้อ น (Insulating Glass) กระจก เป็นรูปแบบการจัดเก็บสินค้าตามประเภทของสินค้าหรือ
เสริมลวด (Wire Glass) กระจกนิรภัยเทมเปอร์ (Tempered ประเภทสินค้า มีการจัดวางสินค้าในกลุ่มเดียวกันหรือประเภท
Safety Glass) กระจกกึ่งนิรภัย (Heat Strengthened Glass) เดียวกันไว้ตำแหน่งที่ใกล้กัน
และกระจกนิรภัยหลายชั้น (Laminated Safety Glass) ได้มี ข้อดี สินค้าถูกแบ่งตามประเภททำให้พนักงานผู้ปฏิบัติงาน
การพั ฒ นาผลิ ต ภั ณ ฑ์ ก ระจกให้ ม ี ค วามหลากหลายยิ ่ ง ขึ้น เข้าใจได้ง่าย การหยิบสินค้าทำได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความ
เพื่อให้สอดคล้องกับ Life style ของคนในยุคปัจจุบัน ยืดหยุ่นสูง
การบริหารและการจัดการคลังสินค้า ถือเป็นกิจกรรมที่มี ข้อเสีย ในกรณีที่สินค้าประเภทเดียวกันมีหลายรุ่น/ยี่ห้อ อาจ
ความสำคั ญ อย่ า งมาก เพราะเป็ น กิ จ กรรมที ่ ม ี ต ้ น ทุ น สู ง ทำให้หยิบสินค้าผิดรุ่น/ยี่ห้อได้ จำเป็นต้องมีความรู้ในเรื่องของ
โดยหน้าที่ของการบริหารและการจัดการคลังสินค้า ประกอบ สินค้าแต่ล ะชนิดหรือแต่ละยี่ห้อที่จ ะหยิบ การใช้สอยพื้นที่
ไปด้วยกิจกรรมหลัก ๆ คือ การรับ การเคลื่อนย้าย การจัดเก็บ จัดเก็บดีขึ้นแต่ยังไม่ดีที่สุด สินค้าบางอย่างอาจยุ่งยากในการ
การวางแผนผังคลังสินค้า การเลือกอุปกรณ์ขนถ่ายสำหรับการ จัดประเภทสินค้า
ใช้ภายในคลังสินค้ารวมไปถึงการจ่ายสินค้า ซึ่งถ้าหากบริษัทมี 2.3 การควบคุมด้วยการมองเห็น (Visual Control)
การบริหารจัดการคลังสินค้าให้มีประสิทธิภาพ จะเป็นการเพิ่ม เป็ น ระบบควบคุ ม การทำงานที ่ ท ำให้ พ นั ก งานทุ ก คน
ศั ก ยภาพภายในของบริ ษ ั ท และสามารถลดต้ น ทุ น สามารถเข้ า ใจขั ้น ตอนการทำงาน เป้ า หมาย ผลลั พ ธ์การ
จากการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทำงานได้ง่าย และชัดเจน รวมถึงเห็นความผิดปกติต่าง ๆ และ
แก้ไขได้อย่างรวดเร็ว โดยใช้บอร์ด ป้าย สัญลักษณ์ กราฟ สี
2. การทบทวนทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และอื่น ๆ เพื่อสื่อสารให้พนักงานและบุคลากรที่เกี่ยวข้องทุ ก
ทฤษฎีที่นำมาปฏิบัติจริง มีทั้งหมด 3 ทฤษฎี คนทราบถึ ง ข้อ มูล ข่า วสารที่ ส ำคัญ ของสถานที่ ท ำงาน ซึ่ ง
2.1 การออกแบบแผนผังคลังสินค้า จำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจหลักการของ Visual Control
การจัดทำแผนผัง พื้นที่เก็บรักษาของแต่ละพื้นที่ เป็นสิ่ง ในทิศทางเดียวกันเพื่อให้เกิดประโยชน์ในการประยุกต์ใช้อย่าง
สำคัญที่จะต้องจัดทำขึ้นสิ่งที่จ ะต้องแสดงไว้ในแผนผัง ในขั้ น มีประสิทธิภาพในองค์กร
แรก ได้แก่ อุปสรรคที่เป็นข้อจำกัดในการเก็บรักษา ซึ่งได้แก่
ตำแหน่งของเสา ช่องบันได ทางเลื่อนของลิฟท์ พื้นที่สำนักงาน
และห้องน้ำ การกำหนดตำแหน่งพื้นที่รับ พื้นที่จ่าย และพื้นที่

91
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

3. วิธีการดำเนินงาน ตารางที่ 1 ระยะเวลาก่อนการปรับปรุงในการเคลื่อนย้าย


3.1 การจัดเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ (Interview) หรือ กระจกของกระจกนิรภัยเทมเปอร์ (Tempered Glass)
การสอบถาม โดยได้ทำการสัมภาษณ์หรือสอบถามผู้จัดการ/
หัวหน้าคลังสินค้า พนักงานคลังสินค้า และพนักงานขนส่ง ครั้งที่ เวลาหนีบ เวลาวาง เวลารวม ระยะทาง
3.2 ศึกษาข้อมูลบริษัทกรณีศึกษา กระจกขึ้น กระจกลง (นาที) เคลื่อนย้าย
(วินาที) (วินาที) (เมตร)
1 37.57 13.96 1.58.33 16.8
2 32.00 17.53 1.56.33 16.8
3 44.17 15.72 2.06.69 16.8
4 33.38 21.57 2.01.75 16.8
5 26.82 17.80 1.51.42 16.8
6 43.78 44.32 3.10.95 23
7 24.55 13.27 2.20.67 23
8 29.90 13.45 2.26.20 23
9 35.35 15.10 2.33.30 23
10 53.87 17.74 2.54.46 23
รูปที่ 1 ผังคลังสินค้าก่อนการปรับปรุงของบริษัทกรณีศึกษา รวม 23.20

โดยกำหนดสัญลักษณ์เพื่อแสดงในผังคลังสินค้า ดังนี้ ตารางที่ 2 ระยะเวลาก่อนการปรับปรุงในการเคลื่อนย้าย


- แร็ค (Rack) ตัว A ขนาดใหญ่ กำหนดให้ใช้สัญลักษณ์ A1 กระจกของกระจกลามิเนต (Laminated Glass)
- แร็ค (Rack) ตัว A ขนาดเล็ก กำหนดให้ใช้สัญลักษณ์ A2
- แร็ค (Rack) ตัว A มีล้อ กำหนดให้สัญลักษณ์ AHC ครั้งที่ เวลาหนีบ เวลาวาง เวลารวม ระยะทาง
- แร็ค (Rack) ตัว L กำหนดให้ใช้สัญลักษณ์ L กระจกขึ้น กระจกลง (นาที) เคลื่อนย้าย
- แร็ค (Rack) ตัว L มีล้อ กำหนดให้ใช้สัญลักษณ์ LHC (วินาที) (วินาที) (เมตร)
1 29.87 16.47 1.58.79 17.5
3.3 ระยะเวลาในการเคลื่อนย้ายสินค้าประเภทกระจก
ระยะเวลาในการเคลื่อนย้ายสินค้าประเภทกระจก จาก 2 29.57 17.85 1.59.87 17.5
การที่ผู้วิจัยได้เข้าไปศึกษาภายในพื้นที่คลังสินค้าของบริษัท 3 36.13 16.13 2.04.71 17.5
กรณีศ ึกษา ผู้วิจ ัยได้ท ำการจับเวลา ของกระจกเทมเปอร์ 4 40.79 17.77 1.52.79 14.53
(Tempered Glass) และกระจกลามิเนต (Laminated Glass) 5 39.09 22.44 1.55.76 14.53
โดยจับเวลากลุ่มตัวอย่างของกระจกทั้ง 2 ประเภท ประเภทละ 6 45.34 21.02 2.00.59 14.53
10 ครั ้ ง พบว่ า ระยะเวลาในการเคลื ่ อนย้ า ยสิ น ค้ า ภายใน 7 31.61 14.29 1.58.35 17.5
คลังสินค้าไปยังรถขนส่งสินค้าใช้ระยะเวลาดังนี้ 8 37.30 19.05 2.08.80 17.5

92
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

ครั้งที่ เวลาหนีบ เวลาวาง เวลารวม ระยะทาง - สี ส ้ ม คื อ พื ้ น ที ่ ใ ช้ ส ำหรั บเก็ บ กระจกเก่ า กระจกที ่ ไ ม่ได้
กระจกขึ้น กระจกลง (นาที) เคลื่อนย้าย มาตรฐานจากกระบวนการผลิต หรือกระจกที่เสียหายระหว่ าง
(วินาที) (วินาที) (เมตร) การขนส่งและเคลื่อนย้าย
9 41.97 21.63 1.57.83 14.53 - สี น ้ ำ เงิ น คื อ พื ้ น ที ่ ใ ช้ ส ำหรั บ จั ด เก็ บ กระจกอิ น ซู เ ลต
10 27.03 28.27 2.07.75 17.5 (Insulated Glass)
รวม 20.05 - สีเขียวเข้ม คือพื้นที่ใช้สำหรับจัดเก็บกระจกเทมเปอร์ฮีทโซค
(Tempered Heat Soaked Glass)
4. ผลการดำเนินงาน - สีดำ คือพื้นที่ใช้สำหรับจัดเก็บกระจกฮีทสเตรงค์เท่น (Heat-
ผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์แก้ไขปรับปรุงแผนผังคลังสินค้าใน strengthend Glass)
บริเวณพื้นที่จ ัดเก็บสินค้าให้มีค วามสามารถในการจัด เก็ บ - สีขาว คือแร็ค (Rack) ที่แผนกคลังสินค้า และแผนกหลังเตา
สินค้าได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น อบใช้ร่วมกัน
- สีชมพู คือแร็ค (Rack) มีล้อที่สามารถเคลื่อนที่ได้ ซึ่งแร็ค
(Rack) เหล่านี้ไม่ได้ประจำอยู่ที่คลังสินค้า แต่จะอยู่ตามแผนก
ต่าง ๆ และเมื่อกระจกผลิตเสร็จจึงจะขนย้ายด้วยแร็ค (Rack)
มีล้อ
- พื้นที่สีเทา คือพื้นสำหรับทางเดิน ที่คนสามารถเข้าถึงได้
- สีฟ้า คือพื้นที่ใช้ส ำหรับเก็บกระจกเทมเปอร์ (Tempered
Glass)
- สีม่วง ใช้สำหรับเก็บกระจกลามิเนต (Laminated Glass)
- พื้นที่สีเขียวอ่อน คือพื้นที่สำหรับทางเดินรถ
หลังจากได้มีการปรับปรุงแผนผังคลังสินค้า ทำให้เวลาที่ใช้
ในการเคลื่อนย้ายกระจกไปยังลดขนส่งลดลง ดังนี้
รูปที่ 2 ผังคลังสินค้าหลังการปรับปรุงของบริษัทกรณีศึกษา

ตารางที่ 3 ระยะเวลาหลังการปรับปรุงในการเคลื่อนย้าย
โดยได้นำแนวคิดทฤษฎีการออกแบบแผนผัง คลัง สินค้า
กระจกของกระจกนิรภัยเทมเปอร์ (Tempered Glass)
และทฤษฎีร ะบบการจั ด เก็ บสิ นค้า ตามประเภทของสิ น ค้ า
(Commodity System) เข้ามาช่วยในการจัดทำผังคลังสินค้า
ครั้งที่ เวลาหนีบ เวลาวาง เวลารวม ระยะทาง
และได้กำหนดพื้นที่ในการจัดเก็บให้แยกกันเป็นโซน ๆ โดยใช้
กระจกขึ้น กระจกลง (นาที) เคลื่อนย้าย
ทฤษฎีการควบคุมด้วยสายตา (Visual Control) โดยจะแบ่ง
(วินาที) (วินาที) (เมตร)
โซนด้ ว ยการใช้ เ ทปสี ใ นการกำหนดพื ้ น ที ่ น ั ้ น ๆ และติ ด
1 37.57 13.96 1.24.58 6.50
สติ๊กเกอร์เพื่อบอกประเภทของโซนนั้นว่าใช้สำหรับทำอะไร
เพื่อให้ง่ายต่อการสังเกตและการจัดเก็บสินค้า 2 32.00 17.53 1.22.45 6.50
3 44.17 15.72 1.34.35 6.50
4 33.38 21.57 1.26.26 6.50
93
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

ครั้งที่ เวลาหนีบ เวลาวาง เวลารวม ระยะทาง ตารางที่ 5 ตารางสรุประยะเวลาในการเคลื่อนย้ายกระจก


กระจกขึ้น กระจกลง (นาที) เคลื่อนย้าย ไปยังรถขนส่ง
(วินาที) (วินาที) (เมตร)
5 26.82 17.80 1.61.91 6.50 ประเภท ก่อน หลัง ระยะเวลา คิดเป็น
6 43.78 44.32 2.02.25 6.50 กระจก ปรับปรุง ปรับปรุง ที่ลดลง %
7 24.55 13.27 1.10.74 6.50 (นาที) (นาที) (นาที)
8 29.90 13.45 1.16.47 6.50 กระจก 23.20 14.41 8.39 37.07%
9 35.35 15.10 1.24.66 6.50 นิรภัย
10 53.87 17.74 1.42.72 6.50 เทมเปอร์
รวม 14.41 กระจก 20.05 14.10 5.55 29.46%
ลามิเนต
ตารางที่ 4 ระยะเวลาหลังการปรับปรุงในการเคลื่อนย้าย
กระจก ของกระจกลามิเนต (Laminated Glass) 5.2 ข้อเสนอแนะ
1. ผู ้ ว ิ จ ั ย เสนอให้ ทิ ้ ง หรื อ ขายกระจกเก่ า หรื อ กระจกที่
ครั้งที่ เวลาหนีบ เวลาวาง เวลารวม ระยะทาง เสียหาย หากไม่สามารถทิ้งหรือขายได้ควรมีพื้นที่ส ำหรับใน
กระจกขึ้น กระจกลง (นาที) เคลื่อนย้าย การจัดเก็บกระจกเก่าหรือกระจกที่เสียหาย ไม่ควรนำมาปะปน
(วินาที) (วินาที) (เมตร) ภายในคลังสินค้า เพื่อเพิ่มพื้นที่ในการจัดเก็บภายในคลังสินค้า
1 29.87 16.47 1.14.39 5.20 2. ผู้วิจ ัยเสนอให้มีการสร้างเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์
2 29.57 17.85 1.16.18 5.20 แสดงตำแหน่งของพื้นที่จัดเก็บกระจกแต่ละประเภท เพื่อให้
3 36.13 16.13 1.21.28 5.20 เกิดความเข้าใจและปฏิบัติง านได้อย่างถูกต้องทั้ง พนักงาน
4 40.79 17.77 1.27.19 5.20 ภายในบริษัท และรถลูกค้าที่มารับกระจกเอง
5 39.09 22.44 1.30.97 5.20
6 45.34 21.02 1.36.24 5.20 6. เอกสารอ้างอิง
7 31.61 14.29 1.16.01 5.20 1. ธนบดี บำรุงราชหิรัณย์ และธนวิชญ์ ทาจวง. (2562). การ
8 37.30 19.05 1.26.92 5.80 ปรับปรุงผังคลังวัตถุดิบของโรงงานไม้แปรรูป. กรณีศึกษา
9 41.97 21.63 1.34.82 5.80 บริษัท เชียงใหม่สุขสวัสดิ์อุตสาหกรรม จำกัด.
10 27.03 28.27 1.26.13 5.80 2. วรรณวิ ภ า ชื ่ น เพ็ ช ร. (2560). การวางผั ง คลั ง สิ น ค้ า
สำเร็จรูปด้วยเทคนิค ABC ANALYSIS : กรณีศึกษา บริษัท
รวม 14.10
AAA จำกัด.
3. ธัญกมล ทองก้อน และลภนภัทร ตุลยลักษณ์. (2562). การ
5. สรุปผลการวิจัยและข้อเสนอแนะ
เพิ ่ ม ประสิ ท ธิ ภ าพการจั ด การคลั ง สิ น ค้ า . กรณี ศ ึ ก ษา
5.1 สรุปผลระยะเวลาในการเคลือ่ นย้ายกระจก
โรงงานผลิตและจัดจำหน่ายแท็งก์น้ำ.

94
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

4. วิทยา คาระคำ. (2559). แนวทางการออกแบบผั ง การ


จัดเก็บสินค้าสำหรังคลังสินค้า. บริษัท ABC จำกัด.
5. พิชญาภรณ์ เอกศิริ และรัฐยา พรหมหิตาทร. (2562). การ
ออกแบบและวางผัง คลัง สินค้า ด้ วยระบบ Systematic
Layout Planning.

95
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

การลดเวลาการเปลี่ยนรุ่นการผลิตในกระบวนการผลิตเม็ดพลาสติก
Time Reduction of Production Model Changeover in PVC Plastic Compound
Manufacturing Process

ทวีชัย หลวงยศ1* และ ช่อแก้ว จตุรานนท์2*


1,2
ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์
1,2
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เขตทุ่งครุ กรุงเทพฯ 10140
E-mail: taweechai.luangyos@mail.kmutt.ac.th1*, chorkaew.jat@kmutt.ac.th2*

บทคัดย่อ
บทความฉบับนี้นำเสนอวิธีการลดเวลาสูญเปล่าในกระบวนการผลิตเม็ดพลาสติกพีวีซีคอมปาวด์ ซึ่งเวลาสูญเปล่าที่มาก
ที่สุดในกระบวนการผลิตเกิดจากการปรับเปลี่ยนรุ่นการผลิต คิดเป็นสัดส่วน 10.7% งานวิจัยนี้ได้ทำการวิเคราะห์แต่ละกิจกรรมใน
การปรับเปลี่ยนรุ่นการผลิตด้วยหลักการ 6W1H เพื่อหาแนวทางการปรับปรุง จากนั้นใช้เทคนิคการปรับตั้งเครื่องจักรโดยใช้เวลา
เป็นจำนวนนาทีที่เป็น ตัว เลขหลักเดีย ว (Single Minute Exchange of Dies: SMED) โดยเป็นการแยกกิจ กรรมภายในและ
กิจกรรมภายนอก จากนั้นทำให้กิจกรรมภายในให้เป็นกิจกรรมภายนอก และปรับปรุงงานทั้งสองกิจกรรมให้มีประสิทธิภาพมาก
ที่สุด ซึ่งผลที่ได้หลังการปรับปรุงสามารถลดเวลาการปรับเปลี่ยนรุ่นการผลิตจากเดิม 255 นาทีต่อครั้ง ลดลงเหลือ 82.5 นาทีต่อ
ครั้ง หรือคิดเป็น 67.6% ยอดการผลิตเพิ่มขึ้นเป็น 8,632 กิโลกรัมต่อเดือน สามารถลดต้นทุนการผลิตได้ 103,584 บาทต่อเดือน
ประสิทธิภาพของกระบวนการผลิตเม็ดพลาสติกเพิ่มขึ้นจาก 79% เป็น 84% และสามารถคืนทุนได้ในระยะเวลา 1.44 วัน

คำสำคัญ : การลดเวลาการเปลี่ยนรุ่น การผลิตเม็ดพลาสติกพีวีซีคอมปาวด์ SMED เทคนิค

Abstract
This paper presents a method for reducing loss time in the PVC plastic compound manufacturing
process. This is mainly due to the model changeover of the product accounting for 10.7%. The questioning
principle 6W1H is used in this research to analyze each activity in the model changeover in order to find the
improvement method. The Single Minutes Exchange of Dies (SMED) technique is selected for improvement by
separating the internal activities and outside activities then make the internal activities into external activities.
And the last step is to optimize the efficiency for both activities. The results after improvement show that the
model changeover time can be reduced from 255 to 82.5 minutes per time (67.6% reduction), the production
increases to 8,632 kg per month, the production cost reduction is 103,584 baht per month, the efficiency of
the PVC plastic compound manufacturing process increases from 79% to 84%, and the payback period is only
1.44 days.

96
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

Keywords : Reduction of Production Model Changeover, PVC Plastic Compound Manufacturing Process, SMED
Technique

97
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

1. บทนำ ก่อนทำการปรับปรุง ขั้นที่ 1 ขั้นที่ 2 ขั้นที่ 3


SMED กิจกรรม แยกกิจกรรม เปลี่ยน เปลี่ยนทุก
อุตสาหกรรมผลิตเม็ดพลาสติกพีวีซีคอมปาวด์ ในประเทศ ภายใน และกิจกรรม ภายในและ กิจกรรม กิจกรรมให้
ไทยนั้นต้องเผชิญกับภาวการณ์แข่งขันที่สูงขึ้น ในด้านของ ภายนอกปะปนกัน ภายนอก ภายในให้เป็น ง่ายต่อการ
ต้นทุนวัตถุดิบ ซึ่งแปรผันตามสถานการณ์ในด้านเศรษฐกิจของ อยู่ กิจกรรม ปรับตั้ง
ภายนอก เครื่องจักร
โลก และต้องแข่งขันภายในประเทศจากบริษัทคู่แข่งที่เป็นราย
2.2 ทฤษฎีการวิเคราะห์และหาสาเหตุจากวิธีการทำงานโดย
ใหญ่ ในด้านธุรกิจนี้ซึ่งจะมีความได้เปรียบด้านต้นทุนที่อยู่ใน
ใช้เทคนิค 6W1H
ระดับต่ำกว่า ดังนั้นทางผู้บริหารได้มีนโยบายในการปรับปรุง
เทคนิค 6W1H ใช้ในการหาแนวทางในการปรับปรุง
กระบวนการผลิต เพื่อที่จะสามารถลดต้นทุนการผลิตได้ จึง
กระบวนการ และพิจ ารณาอย่างรอบคอบ ซึ่ง จะใช้การตั้ง
เป็นปัจจัยสำคัญที่ทางผู้วิจ ัยได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับปัญ หา
คำถาม 2 กลุ่ม คือ
เวลาสูญเปล่าในกระบวนการผลิตเม็ดพลาสติกพลาสติกพีวีซี
1) กลุ่ม What, Who, When, Where, How สำหรับตรวจสอบ
คอมปาวด์ เพื่อที่จะปรับปรุง กระบวนการให้ดียิ่ง ขึ้น ซึ่งพบ
- เป้าหมายและขอบข่ายของแต่ละกิจกรรม
สาเหตุว่าเวลาสูญเปล่าในกระบวนการมากที่สุด เกิดจากการ
- บุคลากรที่ทำงานในแต่ละกิจกรรม
ปรับเปลี่ยนรุ่นการผลิต จึงได้ทำการศึกษาวิจัย และปรับปรุง
- สถานที่ทำงาน
เพื่อลดเวลาสูญเปล่า และเพิ่มประสิทธิภาพของสายการผลิต
- ลำดับขั้นตอนการทำงานในแต่ละกิจกรรม
เม็ดพลาสติกพลาสติกพีวีซีคอมปาวด์ เพื่อให้กระบวนการผลิต
- วิธีการทำงาน
นั้นเกิดความสูญเปล่าน้อยที่สุด และสามารถลดต้นทุนการผลิต
2) กลุ่ม Why, Which เพื่อพัฒนาแนวทางการปรับปรุง วิธีการ
เพื่อให้องค์กรเจริญเติบโต มีผลกำไรที่สูงขึ้นในอนาคตได้
ทำงานโดยจะตรวจสอบ เหตุ ผ ล และความเหมาะสมของ
วิธีการทำงาน และเสนอทางเลือกอื่นในการระดมความคิด
2. ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
เกี่ยวกับแนวทางในการปรับปรุง และช่วยให้สามารถกำหนด
2.1 ทฤษฎีการปรับตั้งเครื่องจักรโดยใช้เวลาเป็นจำนวน แนวทางการปรับปรุงวิธีการทำงาน
นาทีท ี่เ ป็นตัว เลขหลักเดียว (Single Minute Exchange
of Die) SMED 2.3 ทฤษฎีแผนภูมิการไหลของกระบวนการ
การปรับตั้งเครื่องจักรแบบรวดเร็ว คือเทคนิคการลดเวลา ในกระบวนการแก้ไขปัญหานั้นเมื่อทำการจำแนก
ในการปรับตั้งเครื่องจักรในหน่วยของนาทีหลักการพื้นฐานของ ประเภทข้อมูลแล้วจะทำให้ทราบประเด็นในการแก้ปัญหา จึง
SMED ประกอบไปด้วย 2 ส่วนหลักๆ คือ 1.งานภายใน 2.งาน ควรมีการทำความเข้าใจถึงกิจกรรมต่างๆ ที่มีความเกี่ยวข้อง
ภายนอก โดยงานภายในหมายถึงกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นขณะ กั บ ประเด็ น ดั ง กล่ า วโดยจะเรี ย ก แผนภู ม ิ ท ี ่ แ สดงถึ ง
เครื่องจักรหยุด งานภายนอกเป็นกิจกรรมที่สามารถทำงานได้ ความสัมพันธ์ของกิจกรรมต่าง ๆ
แม้ว่าเครื่องจักรกำลังทำงาน
ตารางที่ 1 ขั้นตอนในการทำ SMED เพื่อปรับปรุงการติดตั้ง
เครื่องจักร

98
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

ตารางที่ 2 สั ญ ลั ก ษณ์ ก ารเขี ย นแผนภู ม ิ ก ารไหลของ สาเหตุและผล (Cause and Effect) จึง ทำการแยกประเภท
กระบวนการผลิต (Flow Process Chart) งานและหาแนวทางปรับปรุงแก้ไขด้วยหลักการ ECRS

สัญลักษณ์ ชื่อเรียก คำจำกัดความโดยย่อ 3. วิธีการดำเนินงานวิจัย


1.การเตรียมวัสดุเพื่อชิ้นงานชิ้นต่อไป
Operation
2.การประกอบชิ้นส่วนหรือการถอดส่วน
3.1 สภาพปัญหาปัจจุบัน
1.การตรวจสอบคุณลักษณะของวัสดุ การศึ ก ษาสภาพปั ญ หาการทำงานปั จ จุ บ ั น ของ
Inspection
2.การตรวจสอบคุณภาพหรือปริมาณ กระบวนการผลิตเม็ดพลาสติกพีวีซีคอมปาวด์ พบว่าปัญหาใน
1.การเคลื่อนที่ของวัสดุ กระบวนการผลิตมีเวลาที่ส ูญเปล่าจากสาเหตุปัญหาต่า งๆ
Transportation
2.พนักงานกำลังเดิน
1.การเก็บวัสดุชั่วคราว
โดยรวมเฉลี ่ ย 21% ของเวลาทำงานทั ้ ง หมดตั ้ ง แต่ เ ดื อ น
Delay มกราคม – กรกฎาคม พ.ศ. 2564 จะเห็นได้ว่าเวลาที่สูญเปล่า
2.การคอยขั้นต่อไปเริ่มต้นทำงาน

Storage
1.การเก็บในที่ถาวร ซึ่งต้องอาศัยการ ในกระบวนการผลิต นั้นส่ง ผลกระทบในหลายปัญหา ได้แก่
เคลื่อนย้าย ปัญหาการทำงานล่วงเวลาที่สูงขึ้น และทำให้ต้นทุนการผลิตที่
2.4 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สูงขึ้น และถ้าศึกษาลึกลงไปในกระบวนการผลิตเม็ดพลาสติก
จากการศึกษาและรวบรวมผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง พบว่า พี ว ี ซ ี ค อมปาวด์ จะพบว่ า ปั ญ หาย่ อ ยสู ง ที ่ ส ุ ด ก็ ค ื อ การ
พัฒสุภา ศรีคันธะรักษ์, 2553, [1] ได้ทำการการศึกษาเพื่อลด ปรับเปลี่ยนรุ่นการผลิต มีเวลาสูญเปล่าโดยรวมเฉลี่ย 10.7%
เวลาการสูญเปล่าจากการเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ของเครื่องวาง จึ ง ได้ ท ำการเลื อ กปั ญ หาการเปลี ่ ย นรุ ่ น การผลิ ต เพื ่ อ มา
อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ลงบนชิ้นงาน ซึ่งใช้หลักการ (SMED) ทำการศึกษา และทำการปรับปรุงเพื่อลดเวลาสูญเปล่า และ
และ ECRS ซึ่ง เป็นหลักการในการลดเวลาสู ญ เสีย ของการ เพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการ เพื่อลดต้นทุนในการผลิต
ปรับตั้งชิ้นงานสายการผลิต ว่าที่ร้อยโทสมชัย , 2555, [2] ได้
นำหลั ก การของ SMED มาประยุ ก ต์ ใช้เ พื ่อ ลดเวลาในการ
เปลี่ยนแม่พิมพ์ และทำการปรับปรุง วิธีการทำงานของงาน
ภายในลงโดยใช้หลักการวิเคราะห์ (Why-Why Analysais)
ปรัช ญา นิล อยู่ , 2557, [3] ได้นำเทคนิค SMED และเทคนิค
ECRS ได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้เพื่อ แยกกิจกรรมภายใน และ
กิจกรรมภายนอก ณัฐดนัย สุ ขลำภู, 2559, [4] การนำเทคนิค
แผนผังสายธารแห่งมูลค่า (VSM) มาใช้ในการค้นหาสิ่ง ที่ทำให้ รูปที่ 1 เรียงลำดับเวลาสูญเปล่าทั้งหมดในการผลิตตั้งแต่
เกิดความสูญเปล่า และได้ใช้เทคนิคการตั้งคำถามด้วย 6W1H ม.ค. - ก.ค. พ.ศ. 2564
เพื่อหารากสาเหตุพร้อมกับแนวทางที่สามารถทดแทนกิจกรรม
ดังกล่าววิธีการปรับปรุงความสูญเปล่าที่เกิดขึ้นในสายการผลิต
ด้วยเทคนิคการลดเวลาในการปรับตั้งเครื่องจักรอย่างรวดเร็ว
(SMED) (พรลภัส เลิศศักดิ์วานิช ,2562) [5] ได้ปรับปรุงการ
ปรับตั้งแม่พิมพ์ในกระบวนการอัดขึ้นรูปร้อนของโรงงานผู้ผลิต
ชิ้นส่วนยานยนต์ วิเคราะห์โ ดยใช้แผนภูมิกระบวนการไหล
ร่วมกับเทคนิค SMED และหาสาเหตุของปัญหาจากแผนภาพ

99
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

3.2 ขั้นตอนการดำเนินงาน 150 132.5


110
ศึกษาข้อมูลทั่วไปและกระบวนการเปลี่ยนรุ่นในสภาพปัจจุบัน 100

นาที
50
12.5
ศึกษาขั้นตอนและเวลาการเปลี่ยนรุ่นการผลิตก่อนการปรับปรุง 0 0
0
ปฏิบตั ิงาน เคลื่อนย้าย ล่าช้า ตรวจสอบ จัดเก็บ
เวลา (นาที) 132.5 0 110 12.5 0
วิเคราะห์ปัญหาและกำหนดประเด็นปัญหาที่จะปรับปรุงแก้ไข
รูปที่ 3 เวลาในกระบวนการเปลี่ยนรุ่นการผลิต
แนวทางในการปรับปรุงแก้ไขกระบวนการโดยใช้เทคนิคดังนี้
1. Process flow chart การศึกษากระบวนการทำงาน จากรูปที่ 3 การวิเคราะห์แผนภูมิกระบวนการไหล
2. 6W1H การตั้งคำถามสาเหตุปัญหาและทำการวิเคราะห์หาสาเหตุที่ ของกระบวนการเปลี่ยนรุ่นการผลิต เกี่ยวกับวิธีการของแต่ละ
เกิดขึ้นของแต่ละกิจกรรม ขั้นตอนในการปรับตั้งเครื่องจักร จะเห็นได้ว่ามีขั้นตอนการ
3. SMED การปรับปรุงกิจกรรมภายในให้เป็นกิจกรรมภายนอก
ทำงานที่จ ะสามารถปรับปรุงกระบวนการได้ เนื่องจากเป็น
กระบวนการที่ส ู ญ เปล่ า และไม่เกิดการทำงาน ซึ่ง จะเป็ น
ดำเนินการปรับปรุงเวลาการเปลี่ยนรุ่นการผลิต แนวทางสามารถนำมาทำการวิเคราะห์ และวางแผนในการ
ดำเนิ น งานในการปรั บปรุ ง กระบวนการได้ ในขั ้ น ตอนการ
ประเมินผลหลังปรับปรุงเปรียบเทียบกับก่อนปรับปรุง
ดำเนินงานในการใช้เทคนิค การตั้ง คำถามด้วย 6W1H และ
เทคนิค SMED ในการแยกกิจกรรมภายใน และภายนอกออก
จากกัน
สรุปผลการดำเนินงานวิจัย

4.2 การปรับปรุงด้วยเทคนิค SMED ร่วมกับเทคนิค 6W1H


รูปที่ 2 ขั้นตอนการดำเนินงานวิจัย การตั้งคำถามสาเหตุปัญหา และทำการวิเคราะห์หาสาเหตุที่
เกิดขึ้นของแต่ละกิจกรรม
4. ผลการวิจัย ขั้นตอนที่ 1 ในการแยกกิจกรรมย่อยออกจากกัน ให้
จากแนวทางในการดำเนินการปรับปรุงแก้ไขขั้นตอน เป็นกิจกรรมภายในและภายนอก นั้นจะพบว่า สามารถแยก
การทำงาน และแนวทางการแก้ไขปัญหาการปรับปรุง เวลา กิ จ กรรมภายนอกได้ อ อกเป็ น 2 กิ จ กรรมย่ อ ย และส่ ว น
การปรับตั้งเครื่องจักรของการผลิตเม็ดพลาสติกพีวีซีคอมปาวด์ กิจกรรมที่เหลือจัดว่าเป็นกิจกรรมย่อยภายในคือ 24 กิจกรรม
สามารถสรุปผลการดำเนินงานวิจัย และการแก้ไขปัญหาได้ ย่อย และจะแสดงสัดส่วนในตารางที่ 3
ดังนี้ ตารางที่ 3 ตารางการแยกกิ จ กรรมภายในและกิ จ กรรม
4.1 การดำเนิ น การวิ เ คราะห์ โ ดยใช้ เ ทคนิ ค แผนภู ม ิ การ ภายนอก
วิเคราะห์กระบวนการทำงาน (Flow process chart)
กิจกรรม กิจกรรม เวลา (นาที) สัดส่วน (%)
กิจกรรมภายใน 24 226.5 89%
กิจกรรมภายนอก 2 28.5 11%
รวม 26 255 100%

100
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

ขั ้ น ตอนที ่ 2 การดำเนิ น งานโดยการนำกิ จ กรรม ผลิตจบ เพื่อลดเวลาในการรอคอยการทำงาน และทำการ


ภายในที่แบ่ง แยกออกมา การเปลี่ยนกิจ กรรมงานภายในให้ ปรับปรุงกิจกรรมย่อยที่ 5 ขั้นตอนที่ 12,13,14,15
เป็นกิจกรรมงานภายนอก เพื่อการลดเวลาการปรับเปลี่ยนรุ่น
การผลิต โดยขั้นตอนต่อไปหลังจากที่ทำการแยกงานภายใน หลังจากที่ได้ดำเนินการปรับปรุงด้วยเทคนิค SMED
และงานภายนอกได้แล้ว หลังจากนั้นจะต้องทำการหาสาเหตุ ในขั้นตอนที่ 2 ซึ่ง วิธีการที่ดำเนินการปรับปรุงนั้นสามารถ
ว่า เหตุใดกิจกรรมงานภายในที่เกิดขึ้นจึงต้องทำ ทำไมถึงทำ มี เปลี่ยนแปลงกิจ กรรมภายในให้เป็นกิจ กรรมภายนอกได้ซึ่ง
วิธีการอื่นหรือไม่ คนอื่นทำได้หรือไม่ และจะทำอย่างไร โดย สามารถเปรียบเทียบ ดังแสดงในตารางที่ 4
การใช้เทคนิคการตั้ งคำถามพร้อมกับหาวิธีการว่าสามารถทำ
เป็นกิจกรรมงานภายนอกได้หรือไม่ ในส่วนของขั้นตอนถัดไปนี้ ตารางที่ 4 การเปรี ย บเที ย บการปรับ ปรุ ง กระบวนการใน
จะทำการวิเคราะห์หาสาเหตุด้วยเทคนิค 6W1H เป็นการใช้ ขั้นตอนที่ 2 ของเทคนิค SMED
หลักการในการตั้งคำถาม ซึ่งเทคนิคดังกล่าวนี้จะเป็น การใช้
คำถามเชิงประเด็นที่จะทำให้สามารถระบุขอบเขตของปัญหา ก่อน หลัง ก่อน หลัง
กิจกรรม ปรับปรุง ปรับปรุง ปรับปรุง ปรับปรุง
ได้ว่าเพราะเกิดจากสาเหตุอะไร วิธีการ และบุคลากรที่เกิดขึ้น
กิจกรรม กิจกรรม (นาที) (นาที)
ในสถานที่ของขั้นตอนการปรับตั้งเครื่องจักรเกิดขึ้นด้วยสาเหตุ กิจกรรมภายใน 24 11 226.5 91.5
ใด จึง ได้วิธีการเพื่อลดเวลาการปรับเปลี่ยนรุ่นการผลิตเม็ด กิจกรรมภายนอก 2 15 28.5 163.5
พลาสติกพีวีซีคอมปาวด์มีวิธีการในการปรับปรุงดังนี้ รวม 26 26 255 255
วิ ธ ี ก ารที ่ 1 การใช้ บ ล็ อ กสกรู แ รงดั น ลมขั น ยึ ด และถอด
ประกอบอุปกรณ์ แทนการใช้ประแจขันด้วยมือ เพื่อเพิ่มความ ขั ้ น ตอนที ่ 3 หลั ง จากแยกกิ จ กรรมภายใน และ
รวดเร็ ว ในการถอดประกอบชุด อุป กรณ์ ต่ า งๆ และทำการ ภายนอก จะทำให้การปรับเปลี่ยนรุ่นการผลิตในทุกกิจกรรมมี
ปรับปรุงกิจกรรมย่อยที่ 1 ขั้นตอนที่ 1,2,5,24 ประสิทธิภ าพมากยิ่ง ขึ้ น โดยการจัดทำเป็ น มาตรฐานการ
วิธีการที่ 2 การใช้ลมเป่าเศษฝุ่นผงพีวีซีที่ตกค้างออก แล้วค่อย ปรับเปลี่ยนรุ่นการผลิต หลัง จากที่ได้ดำเนินการปรั บ ปรุ ง
ใช้ผ้าเช็ดทำความสะอาดเพื่อเพิ่มความรวดเร็วในการทำความ วิธีการทำงาน ในการปรับเปลี่ยนรุ่นการผลิตตามขั้นตอนที่ 2
สะอาดชุดอุปกรณ์ต่างๆ และทำการปรับปรุงกิจกรรมย่อยที่ 2 และแสดงผลการปรับปรุงกระบวนการ ดังแสดงในตารางที่ 5
ขั้นตอนที่ 3,4,6,7,10,18,19,23
วิธีการที่ 3 การทำชุดแคมป์ล็อคแบบเปิด - ปิดง่ายไม่ต้องขั้น ตารางที่ 5 เปรียบเทียบการปรับปรุงในขั้นตอนที่ 2,3 โดยการ
สกรูยึดอุปกรณ์ ท่อ ชุดวาล์ว เพื่อเพิ่มความรวดเร็วในการถอด จัดทำเวลามาตรฐานการปรับเปลี่ยนรุ่นการผลิตในการทำงาน
ประกอบ ทำความสะอาดชุ ด อุ ป กรณ์ ต ่ า งๆ และทำการ
ปรับปรุงกิจกรรมย่อยที่ 3 ขั้นตอนที่ 8,9,16,17 ก่อน หลัง ผลต่าง ผลต่าง
กิจกรรม ปรับปรุง ปรับปรุง ลดลง ลดลง
วิธีการที่ 4 การจัดกำลังคนตรวจเช็ค และจัดเตรียมวัตถุดิบ
(นาที) (นาที) (นาที) เวลา (%)
ล่วงหน้าก่อนการผลิต เพื่อให้พนักงาน Mixer สามารถทำการ กิจกรรมขั้นตอนที่ 2 255 91.5 163.5 64.1
ผลิตรุ่นถัดไปได้รวดเร็วขึ้น และทำการปรับปรุงกิจกรรมย่อยที่ กิจกรรมขั้นตอนที่ 3 255 82.5 172.5 67.6
4 ขั้นตอนที่ 11,22
วิธีการที่ 5 การสร้างถัง พักผงพีวีซี เพื่อสามารถทำความ
สะอาดถัง Hot mix และ Cooling ได้เร็วขึ้น และสามารถทำ
การผสมวัตถุดิบรุ่นถัดไปได้เลย โดยไม่ต้องรอให้รุ่นก่อนหน้า
101
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

300.0 จากผลการทดสอบดัง ตารางที่ 6 สามารถสรุปผล


255.0
250.0 ทางสถิติได้ว่า หลังการปรับปรุงกระบวนการมีค่า P-value <
200.0 172.5
0.05 ปฏิเสธ 𝐻0 ยอมรับ 𝐻1 เวลาเฉลี่ยรวมในการปรับเปลี่ยน
นาที

150.0

100.0 82.5 รุ่นการผลิตเม็ดพีวีซีคอมปาวด์ก่อนและหลังปรับปรุงแตกต่าง


50.0
67.6%
กันอย่างมีนัยสำคัญ และเวลาเฉลี่ยในการปรับเปลี่ยนรุ่นการ
0.0
ก่อนปร ับปรุง หล ังปร ับปรุง ผลต่าง เปอร์เซ็ นลดลง ผลิตหลังปรับปรุงน้อยกว่าก่อนปรับปรุง

รูปที่ 4 เปรียบเทียบเวลาเฉลี่ยการปรับเปลี่ยนรุ่นการผลิตก่อน 2.การทดสอบความแตกต่างระหว่างเวลาเฉลี่ยในแต่


และหลังปรับปรุงกระบวนการ ละกิจกรรมของการปรับเปลี่ยนรุ่นการผลิตก่อนปรับปรุง และ
หลังปรับปรุงด้วยการทดสอบทางสถิติแบบ Two-Sample T -
4.3 การวิเคราะห์ผลวิจัยทางสถิติ Test ซึ่งเป็นการทดสอบข้อมูล 2 กลุ่ม ที่เป็นอิสระต่อกัน ที่
การทดสอบสมมติฐานทางสถิติ ทางผู้วิจัยได้ทำการ ระดับนัยสำคัญเท่ากับ 0.05 โดย เปรียบเทียบค่า P-value <
วิเคราะห์โดยใช้เครื่องมือทางสถิติ คือ การทดสอบสมมติฐาน 0.05 จึงปฏิเสธ 𝐻0 ยอมรับ 𝐻1 โดยกำหนดสมมติฐาน ดังนี้
(Hypothesis Test) โดยมีวิธีการ วิเคราะห์ดังนี้ 𝐻0 : เวลาเฉลี ่ ย ในแต่ล ะกิจ กรรมของการปรั บเปลี่ ย นรุ ่นการ

1.การทดสอบความแตกต่างระหว่างเวลาเฉลี่ย รวม ผลิตก่อนและหลังปรับปรุงไม่แตกต่างกัน


ในการปรับเปลี่ยนรุ่นการผลิตก่อนปรับปรุง และหลังปรับปรุง 𝐻1 : เวลาเฉลี่ยในแต่ละกิจกรรมของการปรับ เปลี่ ย นรุ่ น การ

ด้วยการทดสอบทางสถิติแบบ Two-Sample T -Test ซึ่งเป็น ผลิตหลังปรับปรุงน้อยกว่าก่อนปรับปรุง


การทดสอบข้อมูล 2 กลุ่ม ที่เป็นอิสระต่อกัน ที่ระดับนัยสำคัญ
เท่ากับ 0.05 โดย เปรียบเทียบค่า P-value < 0.05 จึงปฏิเสธ ตารางที่ 7 เปรียบเทียบเวลาเฉลี่ยในแต่ละกิจกรรมของการ
𝐻0 ยอมรับ 𝐻1 โดยกำหนดสมมติฐาน ดังนี้ ปรับเปลี่ยนรุ่นการผลิตก่อนปรับปรุง และหลังปรับปรุงที่ระดับ
𝐻0 : เวลาเฉลี่ยรวมในการปรับเปลี่ยนรุ่นการผลิตก่อนและหลัง นัยสำคัญเท่ากับ 0.05
ปรับปรุงไม่แตกต่างกัน
เวลาการปรับเปลีย่ น
𝐻1 : เวลาเฉลี ่ ย ในการปรั บเปลี ่ย นรุ่ น การผลิต หลั งปรับปรุง N Mean Variance P-value
รุ่นการผลิต
น้อยกว่าก่อนปรับปรุง ก่อนปรับปรุง 26 9.808 104.442
0.011
หลังปรับปรุง 26 3.171 58.186

ตารางที่ 6 เปรียบเทียบเวลาเฉลี่ยรวมในการปรับเปลี่ย นรุ่น


การผลิต ก่อนปรับปรุง และหลัง ปรับปรุง ที่ร ะดับนัยสำคัญ จากผลการทดสอบดัง ตารางที่ 7 สามารถสรุปผล
เท่ากับ 0.05 ทางสถิติได้ว่า หลังการปรับปรุงกระบวนการมีค่า P-value <
0.05 ปฏิเสธ 𝐻0 ยอมรับ 𝐻1 เวลาเฉลี่ยในแต่ละกิจกรรมของ
เวลาการปรับเปลีย่ น การปรับเปลี่ยนรุ่นการผลิตเม็ดพีวีซีคอมปาวด์ก่อนและหลัง
N Mean Variance P-value
รุ่นการผลิต
ปรับปรุงแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ และเวลาเฉลี่ยในการ
ก่อนปรับปรุง 10 254.7 24.01
0.000 ปรับเปลี่ยนรุ่นการผลิตในแต่ละกิจกรรมหลังปรับปรุงน้อยกว่า
หลังปรับปรุง 10 82.6 0.71
ก่อนปรับปรุง

102
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

= 718 กิโลกรัมต่อวัน
4.4 การหาประสิทธิภาพของกระบวนการผลิตเม็ดพลาสติก - เม็ดพีวีซีคอมปาวด์ราคาเฉลี่ย 62.63 บาทต่อกิโลกรัม
พีวีซีคอมปาวด์ - งบประมาณลงทุน 65,000 บาท
ตารางที่ 8 ประสิ ท ธิ ภ าพการผลิ ต หลั ง การปรั บ ปรุ ง - มูลค่าการผลิตเพิ่มขึ้นต่อวัน 718 กิโลกรัม x 62.63 บาท
กระบวนการปรับเปลี่ยนรุ่นการผลิตเม็ดพีวีซีคอมปาวด์ = 44,968 บาทต่อวัน

ก่อนปรับปรุง หลังปรับปรุง ผลต่าง 65,000 บาท


กระบวนการ = 1.44 วัน หรือ 1 วัน 10.56 ชั่วโมง
(%) (%) (%) 44,968 บาทต่อวัน

ผลิตเม็ดพีวีซีคอมปาวด์ 79 84 +5
สรุ ป การลงทุ น ในการปรั บ ปรุ ง กระบวนการ
เวลาสูญเปล่า 21 16 -5
ปรับเปลี่ยนรุ่นการผลิต ใช้เวลาในการคืนทุน 1.44 วัน
จากตารางที ่ 8 สรุ ป ได้ ว ่ า ประสิ ท ธิ ภ าพขอ
4.7 การติดตามผลการปรับปรุงกระบวนการปรับเปลี่ยนรุ่น
กระบวนการผลิตเม็ดพลาสติกพีวีซีคอมปาวด์เพิ่มขึ้น 5% ต่อ
การผลิต
เดือน

4.5 การลดต้นทุนการผลิตของการปรับเปลี่ยนรุ่น การผลิต


เม็ดพลาสติกพีวีซีคอมปาวด์
ตารางที่ 9 ต้ น ทุ น การผลิ ต หลั ง การปรั บปรุง กระบวนการ
ปรับเปลี่ยนรุ่นผลิตเม็ดพีวีซีคอมปาวด์

ก่อนปรับปรุง หลังปรับปรุง ลดต้นทุน


กระบวนการ รูปที่ 5 ผลการปรับปรุงกระบวนการปรับเปลี่ยนรุ่นการผลิต
(บาท/เดือน) (บาท/เดือน) (บาท/เดือน)
ผลิตเม็ดพีวีซีคอมปาวด์ 153,122 49,539 103,584 ตั้งแต่ ม.ค.-ธ.ค. พ.ศ.2564

จากตารางที่ 9 สรุ ป ได้ ว ่ า หลั ง การปรั บ ปรุ ง จากรู ป ที ่ 5 สรุ ป ผลการติ ด ตามการดำเนิ น การ
กระบวนการปรับเปลี่ยนรุ่นการผลิต สามารถลดต้นทุน ได้ ปรับปรุง กระบวนการปรับเปลี่ยนรุ่นการผลิต ตั้ง แต่เดื อ น
103,584 บาทต่อเดือน ตุลาคม พ.ศ.2564 - ธันวาคม พ.ศ.2564 พบว่าเวลาสูญเปล่า
ในการปรับเปลี่ยนรุ่นการผลิตลดลงตามลำดับ
4.6 การหาระยะเวลาคืนทุนทางด้านเศรษฐศาสตร์
การลงทุนสำหรับการปรับเปลี่ยนรุ่นการผลิตในครั้ง 5. สรุปผลการวิจัย
นี้ เมื่อได้ทำการลงทุนในการปรับปรุงเพิ่มเติม โดยการเพิ่ม งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ในการลดเวลาสูญเปล่าใน
อุปกรณ์ต่าง ๆ ให้สะดวกรวดเร็วในการทำงาน และสามารถ กระบวนการผลิตเม็ดพลาสติกพีวีซีค อมปาวด์ เพื่อปรับปรุง
เพิ ่ ม กำลั ง การผลิ ต จากเดิ ม ได้ และจะสามารถคื น ทุ น ใน และลดต้นทุนในการผลิต จากผลการดำเนินการปรับเปลี่ยนรุ่น
ระยะเวลาเป็นจำนวนวันซึ่งจะคุ้มทุนในเวลา ดังนี้ การผลิต โดยใช้เทคนิค 6W1H และเทคนิค SMED ซึ่งผลที่ได้
- ผลิตงานเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 5,656 - 4,938 หลังการปรับปรุงสามารถลดเวลาการปรับเปลี่ยนรุ่นการผลิต
103
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

จากเดิมเท่ากับ 255 นาทีต่อครั้ง ลดลงเหลือ 82.5 นาทีต่อครั้ง วิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนคร


ซึ่งผลต่างของเวลาที่ลดลงเท่ากับ 172.5 นาทีต่อครั้ง คิดเป็น เหนือ.
67.6 % ซึ่งในหนึ่งเดือนจะมีการปรับเปลี่ยนรุ่นประมาณ 12 3. ปรัชญา นิลอยู่, 2557, “การลดเวลาในการเปลี่ยนรุ่นของ
ครั้งต่อเดือน เวลาจะลดลงเท่ากับ 2,070 นาทีต่อเดือน คิดเป็น โรงงานผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ กรณี ศ ีกษา: ชนิดส่วนหน้ า
ยอดผลิตเพิ่มขึ้นเท่ากับ 8,632 กิโลกรัมต่อเดือน ซึ่งสามารถ แปลนเพลากลางรถยนต์ ”, สารนิ พ นธ์ บั ณ ฑิ ต วิ ท ยาลั ย
ลดต้ น ทุ น การผลิ ต เท่ า กั บ 103,584 บาทต่ อ เดื อ น และ มหาวทิยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
ประสิทธิภาพของกระบวนการผลิตเม็ดพลาสติกยังเพิ่มขึ้นจาก 4. ณัฐดนัย สุขลำภู, 2559, “การลดเวลาปรับตั้งเครื่องจักรใน
เดิม 79% เป็น 84% และหลัง จากการดำเนินการปรับปรุง การผลิตชิ้นงานอะลูมิเนียมสำหรับอุตสาหกรรมอากาศ
จะต้องคำนวณต้นทุนที่ได้ทำการปรับปรุงแล้วเทียบกับมูลค่าที่ ย า น ”, ว ิ ศ ว ก ร ร ม อ ุ ต ส า ห ก า ร บ ั ณ ฑ ิ ต ว ิ ท ยาลั ย
เพิ่มขึ้นของการผลิตที่ได้สามารถคืนทุนได้ในระยะเวลา 1.44 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วัน หรือ 1 วัน 10.56 ชั่วโมง ซึ่งเป็นที่ยอมรับสำหรับผู้บริหาร 5. พรลภัส เลิศศักดิ์วานิช, 2562, “การลดเวลาในการปรับตั้ง
ในการปรับปรุงกระบวนการให้ดีขึ้น แม่พิมพ์ในกระบวนการอัดขึ้ น”, ภาควิชาวิศวกรรมอุตสา
ตารางที่ 10 สรุปผลการดำเนินงานวิจัย หการและการจั ด การ บั ณ ฑิ ต วิ ท ยาลั ย มหาวิ ท ยาลั ย
ศิลปากร ปีการศึกษา 2562.
ก่อน หลัง
หัวข้อ ผลต่าง หน่วย
ปรับปรุง ปรับปรุง
ด้านเวลาเปลี่ยนรุ่น 255 82.5 172.5 นาที/ครั้ง
ด้านประสิทธิภาพ 79 84 5 %
ด้านต้นทุนการผลิต 153,122 49,539 103,584 บาท
ระยะเวลาคืนทุน 0 1.44 1.44 วัน

6. กิตติกรรมประกาศ
งานวิจ ัยฉบับนี้ส ำเร็จได้ตามเป้าหมายลุล่วงไปด้วยดี
ข้าพเจ้าขอขอบคุณผู้บริหาร บริษ ัท อุตสาหกรรม วินิลเทค
จำกัด พนักงานทุกคนที่ให้ความร่วมมือ และอาจารย์ที่ปรึกษา
คณะอาจารย์ กรรมการ ทุกท่านที่ได้ให้ค วามช่วยเหลือให้
คำปรึกษา คำแนะนำ แนวทางการดำเนินงาน และตลอดจน
ผู้เกี่ยวข้องทุกคน
เอกสารอ้างอิง
1. พั ฒ สุ ภ า ศรี ค ั น ธะรั ก ษ์ , 2553, “การลดเวลาปรั บ ตั้ ง
เครื่องจักรของเครื่องวางอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ส์ลงบน
ชิ้นงาน Mounting machine”, อุตสาหกรรมศาสตรมหา
บัณฑิต ภาควิช าการจัดการอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัย
เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
2. ว่าที่ร ้อยโทสมชัย , 2555, “การปรับลดเวลาการเปลี่ยน
แม่ พ ิ ม พ์ ฉ ี ด พลาสติ กของโรงงานกรณี ศ ึ ก ษา”, บั ณ ฑิ ต
104
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

การจัดการคลังสินค้าและการออกแบบคลังสินค้าอัจฉริยะ
เพื่อการรายงานผลอย่างทันทีโดยใช้แชทบอท
กรณีศึกษา : ร้านน้ำแข็ง เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร
Smart Warehouse Design for Immediate Reporting by Using Chatbot
Case study: Ice Shop, Nong Chok District, Bangkok

สิริรักษ์ ภู่ริยะพันธ์1* ต่อศักดิ์ หาญคุณะเศรษฐ์2 วรยา บุญชู3 จิรัชญา สมบัติ4และ ปวริศา พงษ์โสภา5
1,3,4,5
ภาควิชาการจัดการอุตสาหกรรม คณะบริหารธุรกิจ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร เขตหนองจอก กรุงเทพฯ 10530
2
ภาควิชาการตลาด คณะบริหารธุรกิจ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร เขตหนองจอก กรุงเทพฯ 10530
E-mail: sirirak@mut.ac.th1*

บทคัดย่อ
การศึกษาเรื่องการจัดการคลังสินค้าและการออกแบบคลังสินค้าอัจฉริยะเพื่อการรายงานผลอย่างทันที โดยใช้ Chatbot
วัตถุประสงค์คือ 1.เพื่อออกแบบการวางผังคลังสินค้าของธุรกิจร้านน้ำแข็งกรณีศึกษา ในการลดเวลาค้นหาสินค้าและสะดวกในการ
หยิบสินค้าได้มากขึ้น 2.การออกแบบแอปพลิเคชั่นสำหรับคลังสินค้าเพื่อทราบสถานะปริมาณสินค้าคงคลังโดยมีการรายงานผลได้
อย่างทันทีและตลอดเวลา (Real-time) ทำการศึกษาข้อมูลและรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary Data) และข้อมูลปฐมภูมิ
(Primary Data) โดยเป็นการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา (Descriptive Analysis) และการวิเคราะห์เชิงปริมาณ (Quantitative
Analysis) ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาปัญหาภายในคลังสินค้าและทำการวิเคราะห์ปัญหา และหาวิธีการแก้ไขปัญหาดังนี้ คือ 1.การ
แก้ไขปัญหาภายในคลังสินค้า ปัญหาที่พบ คือ การจัดวางสินค้าที่ไม่เป็นระเบียบ แนวทางและเครื่องมือที่ใช้ในการแก้ไขปัญหา คือ
ใช้หลักการการจัดการคลังสินค้าโดยมีการออกแบบการจัดวางผังคลังสินค้าแบ่งประเภทและหมวดหมู่ชื่อสินค้าอย่างชัดเจน 2.
ภายในคลังสินค้ายังมีสิ่งของที่ไม่จำเป็นและมีสินค้ามียัง วางทับซ้อนกันอยู่ที่พื้น ทำให้พนักงานหาสินค้าไม่เจอและทำงานไม่สะดวก
แนวทางและเครื่องมือที่ใช้ในการแก้ไขปัญหา คือ 2.1 ใช้หลักการ 5ส เข้ามาทำให้พนักงานสะดวกสบายในการขนย้ายสินค้าหรือ
หยิบสินค้า 2.2 จัดทำระบบโต้ตอบ Chatbot เข้ามาช่วยให้เจ้าของสถานประกอบทราบสถานะปริมาณสินค้าได้อย่างทันที (Real
Time)

คำสำคัญ : แชทบอท หลักการ 5ส การจัดการคลังสินค้า

105
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

Abstract
A study of warehouse management and smart warehouse design for immediate reporting using the
Chatbot. 1. To design the warehouse layout, a case study of the ice casting business, to reduce product search
times and make picking up more convenient. 2. Design an application for warehouse inventory status with
immediate and real-time reporting, data study methods, and secondary data collection methods. Primary
(Primary Data) is a descriptive analysis, quantitative analysis. (Quantitative Analysis) from the researcher has
studied the problems in the warehouse and analyzed the problems. Therefore, the researcher has a method
for solving the problem of the case study of the Ice Shop as follows: 1. Solving the problem in the warehouse,
the problem found is the product placement disorder. The approach and tools used to solve the problem are
therefore using warehouse management principles with clearly designed warehouse layout, classification and
product name categories. They overlap on the floor, the problem is that the staff cannot find the product and
do not work easily. The approach and tools used to solve the problem are: 2.1 Use the 5S principle to make
employees more comfortable when moving goods or picking up products.2.2 Create an interactive Chatbot
system to help the facility owner immediately know the status of the product quantity (Real Time).

Keywords : Chatbot , 5S principles , Warehouse Management , Cause and Effect Diagram

106
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

1. บทนำ (Problem) กับสาเหตุทั้งหมดที่อาจก่อให้เกิดปัญหานั้น (AI


ในอดีตกระบวนการจัดการสินค้าภายในคลังสินค้าและการ Causes) สำนักมาตรฐานอุตสาหกรรมแห่งญี่ปุ่น (Japanese
จัดส่งสินค้าให้กับลูกค้ามีปัญหาความล่าช้าโดยพบปัญหาหลัก Industrial Standard: JIS) ได้ นิ ย ามความหมายของผั ง
ส่ ว นใหญ่ ค ื อ ปัญ หาด้า นการจั ด ตำแหน่ ง เก็ บ สิ น ค้ า ไม่ เป็น ก้างปลา คือ แผนผังที่ใช้แสดงความสัมพันธ์อย่างเป็นระบบ
ระเบียบและไม่มีเครื่องมือในการช่วยสืบค้นหาสินค้าภายใน ระหว่าง สาเหตุหลายๆ สาเหตุที่เป็นไปได้ที่ส่งผลกระทบให้
คลัง สินค้า ปัญหาด้านกระบวนการจัดส่ง สิ นค้า ที่ ข าดการ เกิดปัญหาหนึ่งปัญหา แผนผังแสดงเหตุและผล เป็นแผนภาพที่
ควบคุม ส่งผลข้อผิดพลาดในการจัดส่ง ดังนั้นการนำระบบการ
มีประโยชน์อย่างมากในการนําเสนอ ความสัมพันธ์ระหว่าง
จัดการคลังสินค้ามาใช้ในการจัดการคลังสินค้าก็เพื่อให้เกิดการ
ทำงานอย่างเป็นระบบจะสามารถช่วยให้การทำงานสะดวก สาเหตุและผล สำหรับปัญหาที่พิจารณา ได้รับการพัฒนาครั้ง
รวดเร็ ว และมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพมากยิ ่ ง ขึ ้ น กรณี ศ ึ ก ษาเป็ น แรกเมื่อปี ค.ศ.1943 โดย ศาสตราจารย์ คาโอรุ อิช ิกาว่ า
คลังสินค้าร้านน้ำแข็ง หล่อซีเฮงที่รับน้ำแข็งเพื่อจำหน่ายลูกค้า (Kaoru Ishikawa) แห่งมหาวิทยาลัยโตเกียว แผนผังก้า งปลา
ทั่วไปต้องมีการบริหารของสินค้าและระบบควบคุมสินค้าคง จะประกอบด้วยส่วนต่างๆ ดังต่อไปนี้
คลังที่ดี เพื่อให้ตอบสนองความต้องการของลูกค้าคลังสินค้า - ส่วนปัญหา หรือผลลัพธ์ (Problem or Effect) ซึ่งจะแสดง
ของร้านน้ำแข็ง หล่อซีเฮง มีค ลัง สินค้า 2 ประเภท ได้ แ ก่ อยู่ที่หัวปลา
คลังสินค้าจัดเก็บน้ำแข็งและคลังสินค้าตู้น้ำแข็งจากการศึกษา
- ส่วนสาเหตุ (Causes) จะสามารถแบ่งย่อยออกได้อีกเป็น
พบปัญหาที่เกิดขึ้นดังนี้ ปัญหาการจัดเก็บสินค้าภายในคลังมี
ขั้นตอนการทำงานที่ซับซ้อน ประสบปัญหาระบบการจัดเก็บ - ปัจจัย (Factors) หรือสาเหตุหลักที่ส่งผลกระทบต่อ ปัญ หา
สินค้าภายในคลังสินค้า การค้นหาสินค้า ดังนั้นจากการศึกษา (หัวปลา)
ผู้วิจัยจึงทำการออกแบบการวางคลังสินค้า เพื่อลดเวลาค้นหา - สาเหตุรอง
สิ น ค้ า และสะดวกในการหยิบ สิ น ค้า ได้ม ากขึ ้ น และทำการ - สาเหตุย่อย
ออกแบบแอปพลิเคชั่นสำหรับคลัง สินค้าเพื่อทราบสถานะ
ปริมาณสินค้าคงคลังโดยมีการรายงานผลได้อย่างทันทีและ
ตลอดเวลา (Real-time)

2. ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
2.1 ความหมาย ทฤษฎีการจัดการคลังสินค้า และการ
ออกแบบแผนผังคลังสินค้า
1. ความหมายของการจัดการคลังสินค้า (Introduction to
Warehouse Management)2. ก า ร จ ั ด ก า ร ค ล ั ง ส ิ น ค้ า
(Warehouse Management )
รูปที่ 1 : ตัวอย่างแผนผังแสดงเหตุและผล
3. แนวทางการจัดเก็บ
2.3 แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับกิจกรรม 5ส
4. การออกแบบแผนผังคลังสินค้า
เป็นกิจกรรมพื้นฐานในการเพิ่มประสิทธิภาพด้านคุณภาพ
2.2 แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับผังแสดงเหตุและผล
การผลิต ต้นทุนการผลิตการส่ง มอบ ความปลอดภัย และ
(Cause & Effect Diagram)
สภาพแวดล้ อ มในการทำงาน โดยเป็ น กิ จ กรรมยกระดั บ
แผนผัง สาเหตุและผล หรือ แผนผัง อิช ิกาว่า (Ishikawa
จิตสํานึกในการมีส่วนร่วม ของพนักงานที่ช่วยจัดการในเรื่อง
Diagram) เป็นแผนผังที่แสดง ถึงความสัมพันธ์ระหว่างปัญหา
107
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

ความเป็นระเบียบเรียบร้อยและในการดูแลในสถานที่ทำงาน ธัญกมล ทองก้อน และลภนภัทร ตุลยลักษณ. (2562)การ


โดย กระทำอย่างต่อเนื่องจนเกิดเป็นนิสัย กิจกรรม 5 ส ได้แก่ เพิ่มประสิทธิภาพการจัดการคลังสินค้ากรณีศึกษา:โรงงานผลิต
สะสาง คือการแยกยิ่งของที่ไม่ต้องการใช้ทิ้งไป สะดวก คือการ
จัดวางสิ่งของให้เป็นระเบียบ สะอาด คือการตรวจสอบการทำ และจัดจำหน่ายแท็งก์น้ำ การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึ กษา
ความสะอาด และดูแล อุปกรณ์การผลิตและสถานที่อย่า ง ระบบและวิธีการจัดวางและจัดส่งสินค้าสำเร็จรูปและวัตถุดิบ
สม่ำเสมอ สุขลักษณะ คือการรักษาสภาพการปฏิบัติง านอย่าง เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพในการจัดวางวัตถุดิบ
ถูกต้อง และปฏิบัติตามกฎระเบียบจนเป็นนิสัย (ธนาคารไทยพาณิชย์,2018)การนำเทคโนโลยีChatbotมา
2.4 แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี Chatbot ใช้ของธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารไทยพาณิชย์ได้พัฒนาSCB
Chatbot คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ชนิดหนึ่ง ถูกพัฒนาขึ้น connect ร่วมกับบริษัท Line ประเทศ ไทย ผ่านโซลูชั่น Line
มาให้มีบทบาทในการตอบกลับการสนทนาด้วยตัวอักษรแบบ Business Connect (BC) ซึ ่ ง เป็ น Platformที ่ จ ะช่ ว ยให้ แ บ
อั ต โนมั ต ิ ผ ่ าน Messaging Application เสมื อ นการโต้ตอบ รนด์มีช่องทางการ สื่อสารกับลูกค้ามากขึ้น และยังเป็นการต่อ
ของคนจริง ๆ หรืออาจเรียกง่าย ๆ ว่า โปรแกรมตอบกลั บ ยอดข้อมูลที่ทางแบรนด์มีอยู่เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับลูกค้า ได้
อัตโนมัติ ซึ่งเวลานี้กลายเป็นสุดยอดผู้ช่ว ยอัจฉริยะที่ต้องการ มากขึ้น ผ่านการออกแบบวิธีการสื่อสาร การออกแบบกิจกรรม
นำมาใช้กับธุรกิจ ในการสื่อสารกับกลุ่มลูกค้าแบบเรียลไทม์ ต่างๆ ที่สอดคล้องและตอบโจทย์ ธุรกิจของตัวเองอีกด้วย โดย
2.5 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ทางธนาคารไทยพาณิชย์ได้นำ Platform นี้มาพัฒนาต่อยอด
(Business insider, 2016) บทความได้กล่าวว่าในปัจจุบัน ให้กลายเป็นช่องทางสื่อสารกับลูกค้าของธนาคาร
ภาคธุรกิจเห็นประโยชน์ของเทคโนโลยี Chatbot มากขึ้น โดย
ทางด้านของ ภาคธุรกิจในการนำมาใช้สำหรับให้บริการลูกค้า
ด้านการให้ข้ อมูล หรือ เป็นช่องทางติ ด ต่อสื่ อสาร จากการ
สํารวจของบริษัท Oracle
สรณ์ศิริ เรื่องโลก (2560) งานวิจัยนี้มุ่งเน้นในเรื่องของการ
ปรับปรุงประสิทธิภาพในกระบวนการผลิต โดยศึกษาเกี่ยวกับ
การจั ด สมดุ ล ในแต่ ล ะสถานี ก ารและการลดของเสี ย ใน
กระบวนการผลิตให้กับบริษัท กรณีศึกษาที่ผลิตสมอลล์เอิร์ท
ลีคเบรกเกอร์โดยเริ่มจากการหาเวลามาตรฐานของแต่ละสถานี รูปที่ 2 : เทคโนโลยี Chatbot ของธนาคารไทยพาณิชย์
การทำงานแล้วทำการวิ เคราะห์การทำงานของคนร่ ว มกั บ (ธนาคารไทยพาณิชย์, 2018)
เครื่องจักร โดยใช้แผนภูมิค น เครื่องจักร ก่อนการปรับปรุง
พบว่าเกิดความไม่สมดุลที่ สายการผลิตที่ทำให้ประสิทธิภาพ 3. วิธีการดำเนินงาน
ของสายการผลิ ต มี ค ่ า ต่ ำ จากนั ้ น ได้ ท ำการปรั บ ปรุ ง 3.1 ประวัติความเป็นมาของร้านกรณีศึกษา
สายการผลิตโดยใช้หลักการ ECRSแล้วทำการจัดสมดุลการ ร้ า นน้ ำ แข็ ง กรณี ศ ึ ก ษา ตั ้ ง อยู ่ ท ี ่ เขตหนองจอก
ผลิ ต ใหม่ ภายหลั ง การปรั บ ปรุ ง พบว่ า สามารถลดจำนวน กรุงเทพมหานคร 10530 ซึ่งประกอบธุรกิจจำหน่ายน้ำ แข็ง
พนักงาน น้ำอัดลมทุกชนิด ฯลฯ ทั้งราคาปลีกและราคาส่ง และมีการ
บริการขนส่งน้ำแข็งไปตามร้านค้าต่างๆ ในพื้นที่เขตหนองจอก
108
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

3.2 วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาแหล่งข้อมูลที่รวบรวมการศึกษามี
ดังต่อไปนี้ 1.) ข้อมูลปฐมภูมิ
ทางผู ้ ว ิ จ ั ย ได้ ม ี ก ารติ ด ต่ อ ขออนุ ญ าตกั บ เจ้ า ของสถาน
ประกอบการเพื่อเข้าไปเก็บข้อมูลภายในร้าน ซึ่งผู้สำรวจได้ทำ
การเก็บข้อมูล ดังนี้
1.1รายละเอียดเกี่ยวกับร้านน้ำแข็งกรณีศึกษา
1.2รายละเอียดของสินค้าและบริการ
2.) ข้อมูล ทุติยภู มิ เป็นข้อมูล ที่ ได้จ ากการศึ ก ษา
ค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลเอกสารต่างๆที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย
ทั้งนี้ได้มีการตรวจสอบคุณภาพข้อมูลโดยพิจ ารณาถึงผู้ ที่ ทำ รูปที่ 4 : แผนผังแสดงเหตุและผลของปัญหาการ
การเก็บรวบรวมข้อมูล วิธีในการรวบรวมและความถูกต้อง เสียเวลาในการค้นหาสินค้าและหยิบสินค้าไม่สะดวก
ตลอดจนข้อดีและข้อเสียของข้อมูลที่รวบรวมมาได้ เพื่ออ้างอิง
ถึงที่มาข้อมูลได้อย่างมั่นใจ 3.4 วิธีการดาเนิ นการแก้ไข
3.3 วิ ธ ี ก ารวิ เ คราะห์ ป ั ญ หาและเครื ่ อ งมื อ ที ่ ใ ช้ ใ นการ 3.4.1.การแก้ไขปัญหาภายในคลังสินค้า
วิเคราะห์ปัญหา แนวทางและเครื ่ อ งมื อ ที่ ใ ช้ ใ นการแก้ ไ ขปั ญ หา คื อ จึ ง ใช้
จากการวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นภายในคลังสินค้า หลักการการจัดการคลังสินค้าโดยมีการออกแบบการจัดวางผัง
โดยใช้แผนผังแสดงเหตุและผล สามารถหาสาเหตุหลักและ คลังสินค้าแบ่งประเภทและหมวดหมู่ชื่อสินค้าอย่างชัดเจน
สาเหตุย่อยของ 2 ปัญหาดังนี้ 3.4.2. ภายในคลัง สินค้ายัง มีส ิ่ง ของที่ไม่จ ำเป็นและมี
1. ปัญหาสินค้าจัดวางไม่เป็นระเบียบ สินค้ามียังวางทับซ้อนกันอยู่ที่พื้น แนวทางและเครื่องมือที่ใช้
2. ปัญหาการเสียเวลาในการค้นหาสินค้าและหยิบ ในการแก้ไขปัญหา คือ
สินค้าไม่สะดวก 2.1 ใช้หลักการ 5ส เข้ามาทำให้พนักงานสะดวกสบายในการ
ขนย้ายสินค้าหรือหยิบสินค้า
2.2 จัดทำระบบโต้ตอบ Chatbot เข้ามาช่วยให้เจ้าของสถาน
ประกอบทราบสถานะปริ ม าณสิ น ค้ า ได้ อ ย่ า งทั น ที (Real
Time)
4.ผลการดำเนินการ
4.1 การเก็บข้อมูลของปัญหาที่เกิดขึ้นภายในคลังสินค้
ผู้วิจ ัยได้ทำการเก็บข้อมูล สำรวจพื้นที่และสังเกตการณ์
ภายในคลัง สินค้าของร้ านน้ำ แข็ง กรณีศ ึ กษา ในช่วงเดื อ น
พฤศจิกายน-ธันวาคม 2563 จึงพบสาเหตุของปัญหาภายใน
รูปที่ 3 : แผนผังแสดงเหตุและผลของปัญหาสินค้า คลังสินค้า 2 สาเหตุ ดังนี้
จัดวางไม่เป็นระเบียบ 4.1.1 ปัญหาการจัดวางสินค้าไม่เป็นระเบียบ
109
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

4.1.2 ปัญหาการเสียเวลาในการค้นหาสินค้าและ แนวทางการแก้ไข คือ โดยการจัดคลังสินค้าใหม่และ


หยิบสินค้าไม่สะดวก ออกแบบวางผัง คลัง สินค้าเพื่ อให้ มีค วามเป็ นระเบี ย บและ
4.2 ผลการวิเคราะห์หาสาเหตุ สะดวกยิ่งขึ้น โดยใช้หลักการจัดการคลังสินค้า แนวทางการ
จากการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาสินค้าจัดวางไม่ แก้ไขปัญหาโดยใช้หลักการจัดการคลัง สินค้า ขั้นตอนการ
เป็นระเบียบ สรุปสาเหตุทำให้เกิดปัญหาภายในคลังสินค้ามี 3 ออกแบบวางผังคลังสินค้า ได้แก่
สาเหตุดังนี้ 1. ลงพื้นที่สำรวจ ร้านน้ำแข็ง กรณีศึกษา ในส่วน
1) พนักงาน : บทบาทการทำงาน พนักงานไม่มีความ พื้นที่ของคลังสินค้า ซึ่งอยู่บริเวณภายในร้าน
กระตือรือร้นในการจัดเก็บสินค้า เพราะสินค้ามีจำนวนมาก 2. เก็ บ ข้ อ มู ล โดยการสอบถามทางเจ้ า ของร้ า น
และเป็นสินค้าที่มีน้ำหนักมาก เกี่ยวกับการจัดวางสินค้าตามตำแหน่งต่างๆ เพื่อนำมาวาดเป็น
2) วิธีการ : วิธีการดูแลพื้นที่ ไม่มีการทำความสะอาด Layout คลังสินค้า
ภายในคลังสินค้า จำนวนชั้นวางสินค้ามีพื้นที่อย่างจำกัด และ 3. วิ เ คราะห์ข ้ อ มู ล ที่ ได้ จ ากการสำรวจพื้ น ที ่และ
การจัดวางสินค้ามีการจัดวางสินค้าที่ไม่เป็นระเบียบ เสียเวลา สอบถามทางเจ้าของร้าน
ในการค้นหาสินค้าและหยิบสินค้าไม่สะดวก 4. ออกแบบผังการจัดวางคลังสินค้าและ
3) สินค้าเกิดความเสียหายได้เพราะมีการจัดวางไม่ จัดทำแผ่นป้ายสีแสดงหมวดหมู่และประเภทสินค้า, ชื่อสินค้า
เป็นระเบียบและมีการวางสินค้าทับซ้อนกันหลายๆชั้น อาจทำ ภายในร้านน้ำแข็งกรณีศึกษา
ให้สินค้าหล่นและกระแทกทำให้สินค้าเสียหายได้
จากการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาการเสียเวลาใน
การค้นหาสินค้าและหยิบสินค้าไม่สะดวก สรุปสาเหตุทำให้เกิด
ปัญหาภายในคลังสินค้ามี 4 สาเหตุดังนี้
1) สินค้าบางประเภทมีความคล้ายคลึงกันและไม่มี
การติดป้ายแสดงชื่อสินค้าตรงพื้นที่ไว้ให้พนักงานได้เห็นอย่าง
ชัดจน
2) พื้นที่จัดเก็บของคลังสินค้ามีการวางสินค้าไม่เป็น
ระเบียบและบางพื้นที่มีไม่เพียงพอต่อการจัดเก็บสินค้าเพราะ
ไม่มีการจัดวางที่ถูกต้อง ซึ่งทำให้พนักงานหาสินค้าไม่เจอและ รูปที่ 5 : Layout คลังสินค้าหลังปรับปรุง
ไม่มีป้ายบ่งบอกประเภทสินค้าที่ชัดเจน 5. นำเสนอแบบผังแก่เจ้าของร้านน้ำแข็ง หล่อซีเฮง
3) พนักงานไม่มีการปฏิบัติงานตามขั้นตอนเมื่อสินค้า ผ่าน – ทำการดำเนินงานลงพื้นที่จัดตามแบบผังที่
มาถึง คลัง ควรมีการจัดเก็บสินค้าให้เป็นระเบียบเพื่อความ ออกแบบ
สะดวกในการค้นหา ไม่ผ่าน – นำแบบผังไปแก้ไข แล้วนำมาเสนอใหม่อีก
4) วิธีการในการทำงานอาจทำให้ลูกค้ามีการรอคอย ครั้ง
สินค้านานซึ่งปัญหาตรงนี้อาจทำให้เกิดการเสียลูกค้าไปได้ 6. จัดทำแผ่นป้ายสีแสดงหมวดหมู่และประเภทสินค้า,
4.3 การดำเนินการแก้ไข ชื่อสินค้า
4.3.1 ปัญหาที่ 1 : การจัดวางสินค้าไม่เป็นระเบียบ
110
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

5. สร้างนิสัย : คือการปลูกฝังให้พนักงานมีการดูแล
คลังสินค้า โดยมีกฎระเบียบข้อบังคับให้กับพนักงานได้ปฏิบัติ
ตามอย่างเคร่งครัด หรือมีการจัดตารางเวรทำความสะอาดให้
แต่ละคนมีหน้าที่รับผิดชอบในการทำความสะอาดแต่ละพื้นที่
รูปที่ 6 : แผ่นป้ายสีแสดงหมวดหมู่และประเภทสินค้า, ชื่อ ภายในคลังสินค้า
4.4 การเปรียบเทียบของคลังสินค้า และการใช้
4.3.2 ปัญหาที่ 2 : การเสียเวลาในการค้นหาสินค้าและหยิบ Chatbot ก่อนปรับปรุง-หลังปรับปรุง
สินค้าไม่สะดวก ตารางที ่ 1 : การเปรี ย บเที ย บคลั ง สิ น ค้ า ก่ อ น
แนวทางการแก้ไข คือ โดยจัดคลังสินค้าให้มีค วาม ปรับปรุง-หลังปรับปรุง
สะอาดและสะดวกต่อพนักงานมากยิ่งขึ้น โดยใช้หลักการ 5 ส
และการออกแบบระบบโต้ตอบ Chatbot เพื่อให้ทราบปริมาณ
สถานะสินค้าได้อย่างทันที โดยผู้สนทนาจะมีการโต้ตอบกับ
Chatbot เพื ่ อ ได้ ท ราบข้ อ มู ล เกี ่ ย วกั บ ปริ ม าณสิ น ค้ า และ
ตำแหน่งสินค้าที่อยู่ในคลังได้อย่างทันที
แนวทางการแก้ไขปัญหาโดยใช้ Chatbot ขั้นตอนการ
ดำเนินงาน 5 ส มีดังนี้
1. สะสาง : เริ่มแรกต้องทำการสะสางสิ่งของที่ไม่
จำเป็นออกไปเพราะสิ้นเปลืองพื้นที่ในการจัดวางสินค้า และ
แยกสินค้าประเภทน้ำ น้ำอัดลม นม แบ่งออกเป็นประเภทให้
ชัดเจน
2. สะดวก : ทำการจัดวางสินค้าโดยแบ่ง ประเภท
สินค้าตามแผ่นป้ายสีที่แสดงถึงหมวดหมู่และประเภทสินค้าไว้
อย่างชัดเจน เพื่อความสะดวกในการค้นหาสินค้าและพนักงาน
เดินได้สะดวกมากยิ่งขึ้น
3. สะอาด : เริ่มทำความสะอาดพื้นที่จัดเก็บสิ นค้า
ชั้นวางสินค้าและทุกๆพื้นที่ในคลังสินค้าให้อยู่ในสภาพที่พร้อม
ใช้งานอย่างสม่ำเสมอและมีสภาพแวดล้อมที่น่าอยู่ยิ่งขึ้น
4. สุขลักษณะ : คือการจัดวางสินค้าเพื่อให้ส ินค้า
เป็นระเบียบไม่มีการวางกระจัดกระจายอยู่บริเวณพื้น เพื่อ
ป้องกันการเกิดอุบัติเหตุที่จะเกิดขึ้นภายในคลังสินค้า

111
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

จากการแก้ไขปัญหาทั้ง 2 ปัญหา และปรับปรุงการจัดการ


คลังสินค้าและการออกแบบคลังสินค้าอัจฉริยะเพื่อการรายงาน
ตารางที่ 2 การเปรียบเทียบการใช้ Chatbot ก่อนใช้-หลังใช้ ผลอย่ า งทั น ที โ ดยใช้ ร ะบบโต้ ต อบ Chatbot เพื ่ อ ลดความ
เสียหายต่อสินค้าหรือวัตถุดิบที่เก็บอยู่ภายในคลังสินค้าลด
ความสูญเสียจากกลุ่มลูกค้า และเพื่อให้ทราบปริมาณสถานะ
สินค้าได้อย่างทันที
6.กิตติกรรมประกาศ
ขอขอบคุณ คุณชลัฐศร สติธโรปกรณ์ เจ้าของสถาน
ประกอบร้านน้ำแข็งกรณีศ ึกษา ที่ให้ข้อมูล คำแนะนำ และ
ความช่วยเหลือในทุกๆด้านเป็นอย่างดี ในการทำวิจัยในครั้งนี้
ผู้วิจ ัยหวัง เป็นอย่างยิ่งว่าผลการวิจัยนี้จ ะเป็นประโยชน์แก่
บุคลากรทางการศึกษาและผู้ที่สนใจต่อไป
สุดท้ายนี้ ผู้วิจัยขอขอบพระคุณ บิดา มารดา และ
ครอบครัว ซึ่งเปิดโอกาสให้ได้รับการศึกษาเล่าเรียน ตลอดจน
คอยสนับสนุน คอยช่วยเหลือและให้กำลังใจแก่ผู้วิจัยเสมอมา
จนสำเร็จการศึกษา
เอกสารอ้างอิง
5.สรุปผล อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ 1. การจัดการคลังสินค้า Warehouse management พิมพ์
5.1 สรุปผลการวิจัย ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ : โฟกัส มีเดียแอนด์พับลิซซิ่ง, 2550
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบการวางผัง (ออนไลน์) สืบค้นเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2563 จาก :
คลังสินค้าและการออกแบบแอปพลิเคชั่นสำหรับคลังสิ นค้า https://so06.tcithaijo.org/index.php/jra/article/view/2
โดยใช้ระบบโต้ตอบ Chatbot ในการสั่งการอุปกรณ์ผ่านเว็บ 41023
หาแนวทางเพื่อปรับปรุงแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นภายในคลังสินค้า 2. แผนภูมิแสดงกิจกรรมหลักในกระบวนการคลังสินค้า, 2555
มีการจัดวางสินค้าที่ไม่เป็นระเบียบในกระบวนการผลิต และ (ออนไลน์) สืบค้นเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2563 จาก :
ปั ญ หาไม่ ท ราบสถานะปริ ม าณสิ น ค้า ได้ อ ย่ า งทั น ที (Real http://www.dms.eng.su.ac.th/filebox/FileData/POME
Time) กรณี ศ ึ ก ษา ร้ า นน้ ำ แข็ ง หล่ อ ซี เ ฮง เขตหนองจอก 032.pdf
กรุง เทพมหานคร จากการศึกษาพบว่ามี 2 ปัญหา ดัง นี้ 1. 3. การเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการคลังสินค้ากรณีศึกษา:
สินค้าจัดวางไม่เป็นระเบียบเสียเวลาในการค้นหาสินค้า และ โรงงานผลิตและจัดจำหน่ายแท็งก์น้ำ, 2562 (ออนไลน์)
หยิบสินค้าไม่สะดวก และ 2.ปัญหาการเสียเวลาในการค้นหา สืบค้นเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2563 จาก :
สินค้าและหยิบสินค้าไม่สะดวกพนักงานมีความแม่นยำถูกต้อง http://mhle.eng.kmutnb.ac.th/upload/student-
ในการหยิบใช้ในแต่ละครั้ง มีความสะดวกและรวดเร็วในการ abstract/bf0752f00d1d11e32c48464d2d5d6e32.pdf
ค้นหามากขึ้น

112
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

4. การนำเทคโนโลยี Chatbot มาใช้ของธนาคารไทยพาณิชย์, 11. ความหมายของ Chatbot, 2563 (ออนไลน์) สืบค้นเมื่อ


2018 (ออนไลน์) สืบค้นเมื่อ 11 พฤศจิกายน 2563 จาก : 17 พฤศจิกายน 2563 จาก :
https://techsauce.co/pr-news/scb-abacus-chatbot https://tips.thaiware.com/1323.html
5. การแสดงโครงสร้างของแผนผังแสดงเหตุและผล, 2549 12. แนวคิดการสนทนาที่มีความต่อเนื่องกัน, 1983
(ออนไลน์) สืบค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2563 จาก : (ออนไลน์) สืบค้นเมื่อ 17 พฤศจิกายน 2563 จาก :
http://eresearch.library.ssru.ac.th/bitstream/1234567
89/36/6/ird_054_53%20%285%29.pdf
http://digital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/569202 13. งานวิจัยที่มนุษย์มีแนวโน้มที่จะระบุ คุณธรรมจริยธรรม
68.pdf รวมไปถึงเพศให้กับคอมพิวเตอร์ รวมไปถึงประยุกต์
6. การสร้างภาพลักษณ์และความประทับใจต่อลูกค้าและ พฤติกรรมทางสังคม, 2000 (ออนไลน์) สืบค้นเมื่อ 18
องค์กร, 2550 (ออนไลน์) สืบค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน พฤศจิกายน 2563
2563 จาก จาก:http://www.ssruir.ssru.ac.th/bitstream/ssruir/765/
http://www.itcinnotraining.com/detail_new.php?key 1/183-55.pdf
=private&news_id=728 14. การกำหนดคุณลักษณะความเป็นมนุษย์ให้กับสิ่งที่ไม่ใช่
7. การปรับปรุงประสิทธิภาพในกระบวนการผลิต, 2560 มนุษย์, 2018 (ออนไลน์) สืบค้นเมื่อ 18 พฤศจิกายน
(ออนไลน์) สืบค้นเมื่อ 14 พฤศจิกายน 2563 จาก : 2563 จาก
http://digital_collect.lib.buu.ac.th/dcms/files/579200 https://sites.google.com/site/bththi4thekhnikhkarkhr
12.pdf xngcikhn/home/phvtikrrm-mnusy
8. งานวิจัย Chatbot, 2017 (ออนไลน์) สืบค้นเมื่อ 14 15. การนํามาประยุกต์ใช้กับเทคโนโลยี Chatbot, 1987
พฤศจิกายน 2563 จาก : https://e- (ออนไลน์)สืบค้นเมื่อ 18 พฤศจิกายน 2563 จาก :
research.siam.edu/kb/a-case-study-chatbot- https://www.scimath.org/article-
function-in-line-application-used-for-shangri-la- technology/item/10452-chatbot
hotel-bangkok/
9. บทความเกี่ยวกับประโยชน์ของเทคโนโลยี Chatbot, 2016
(ออนไลน์) สืบค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2563 จาก :
https://www.ops.go.th/main/index.php/knowledge-
base/article-pr/793-chatbot-future
10. แนวคิดการแก้ไขข้อผิดพลาดที่เกิดจากการสนทนา, 2016
(ออนไลน์) สืบค้นเมื่อ 15 พฤศจิกายน 2563 จาก :
https://searchlib.utcc.ac.th/library/onlinethesis/3000
55.pdf

113
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

การจัดสรรทรัพยากรสำหรับสายการผลิตไฟเบอร์ออพติกที่มีหลายผลิตภัณฑ์
Resource Allocation for Multi-Product Fiber Optic Production Line

จุฑามาศ กอผจญ* และ บุษบา พฤกษาพันธุ์รัตน์


หน่วยวิจัยทางด้านการวิจัยดำเนินงานและสถิติอุตสากรรม ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ปทุมธานี 12120
E-mail: Juthamas.kor@dome.tu.ac.th*

บทคัดย่อ
งานวิจ ัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาและวิเคราะห์การจัดสรรทรัพยากรของสายการผลิตไฟเบอร์ออพติก ที่มีหลาย
ผลิตภัณฑ์ สายการผลิตดังกล่าวมีแนวโน้มปริมาณความต้องการสินค้าที่มากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทรัพยากรที่มีอยู่ไม่สามารถรองรับ
กับการเพิ่มขึ้นของความต้องการได้ ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องนำการจำลองสถานการณ์ด้วยคอมพิวเตอร์ โดยใช้โปรแกรมโปร
โมเดลมาประยุกต์ เพื่อช่วยวิเคราะห์ผลในกระบวนการ ตามระดับความต้องการที่เพิ่มขึ้นในระดับต่างๆ เพื่อจัดเตรียมทรัพยากรที่
เหมาะสมและสร้างสมดุลของสายการผลิต จากการวิจัยพบว่าหากความต้องการเพิ่มขึ้น 20% จะต้องเพิ่มการทำงานล่วงเวลา 5.5
ชั่วโมงต่อวัน อัตราผลผลิตเพิ่มขึ้น 0.92% ค่าอรรถประโยน์เพิ่มขึ้น 0.92% มีผลประโยชน์ของกำไรหลังจากหักเงินลงทุน ต่างๆ
เพิ่มขึ้น 15.27% และหากความต้องการเพิ่มกำลังการผลิตอีก 50% ต้องมีการเพิ่มเครื่องทดสอบ 1 เครื่องและการปรับตำแหน่ง
การทำงานพนักงาน ซึ่งจะทำให้มอี ัตราผลผลิตเพิ่มขึ้น 14.18% ค่าอรรถประโยน์เพิ่มขึ้น 12.63% มีอรรถประโยชน์ของพนักงาน
เพิ่มขึ้น 13.61% มีผลประโยชน์ของกำไรหลังจากหักเงินลงทุนต่างๆ เพิ่มขึ้น 34.30%

คำสำคัญ : การจำลองสถานการณ์ด้วยคอมพิวเตอร์ การจัดสรรทรัพยากร สมดุลของสายการผลิต

Abstract
The objective of this research is to study and analyze resource allocation in a multi-product fiber optic
production line. The demand for this production line tends to increase continuously. Existing resources are
insufficient to support the increasing demand. Therefore, it is imperative to apply computer simulation with pro
model to analyze the results at different levels of increasing demand to provide appropriate resources and
production line balancing. If demand increases by 20%, overtime should be prepared for 5.5 hours per day.
The productivity and utilization and profit will increase by 0 . 9 2 % , 0 . 9 2 % , 1 5 . 2 7 % respectively. If demand
increases by 50%, one tester should be added and the operator's location should be rearranged. The
productivity utilization and the profit will increase by 14.18%, 12.63%, and 34.30%, respectively.
114
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

Keywords : computer simulation, resource allocation, line balancing

115
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

1. บทนำ 2. ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
ในปัจจุบันธุรกิจการสื่อสารไร้สายมีการพัฒนาและเติบโต 2.1 การศึกษางานและการศึกษาเวลา
ขึ้นอย่างต่อเนื่อง โครงข่ายการเชื่อมต่อสื่อสารมีความสำคัญต่อ การศึ ก ษางาน (Work Study) เป็ น การศึ ก ษ า การ
ธุรกิจต่างๆ และคนทั่วไป สำหรับผลิตภัณฑ์ที่ทำการศึกษาเป็น เคลื ่ อ นไหว ของพนั ก งานรอบบริ เ วณที ่ ป ฏิ บ ั ต ิ ง าน และ
ของโรงงานกรณีศ ึกษาเป็น กลุ่มผลิตภัณฑ์ออพติกประเภท ความสัมพันธ์ระหว่างพนักงานกับเครื่องมือเครื่องใช้ เพื่อให้
อุปกรณ์สายส่งสัญญาณทางแสงความเร็วสูง ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 กระบวนการผลิ ต ให้ ม ี ป ระสิ ท ธิ ภ าพการทำงานที ่ ส ู ง ขึ้ น
กลุ่มผลิตภัณฑ์ ได้แก่ A, B, C และ D ที่มีปริมาณการสั่งซื้อ วิเคราะห์และปรับปรุงงานและการวัดงานรวมถึงสภาพการ
ของลูกค้าไม่เท่ากัน ทำงาน เครื่องมือต่างๆ และการฝึกพนักงานให้ทำงานด้วยวิธีที่
สายการผลิตในปัจจุบันเป็นการผลิตแบบตามคำสั่งซื้อ โดย ถูกต้อง การศึกษาเวลา (Time Study) เป็นกระบวนการเพื่อ
ขั้นตอนกระบวนการผลิตไปจนถึง เครื่องจักรต่างๆ จะเป็นของ กำหนดหาเวลาในการทำงาน โดยมีผ ลลัพธ์ของการวัดงาน
ลูกค้า ทางโรงงานจะจัดสรรทรัพยากรเพิ่มเติมในการผลิต เช่น เรียกว่า “เวลามาตรฐาน” ใช้ส ำหรับการวิเคราะห์กำหนด
พนักงาน สถานที่ วัสดุ รวมทั้งการควบคุมคุณภาพในการผลิต ขอบเขตการทำงานและการวางแผนการผลิต ประสิทธิภ าพ
จากปริมาณความต้องการในการสั่งซื้อสินค้าและการพยากรณ์ การทำงานของคน เครื่องจักร และสมดุลสายการผลิต [4]
ล่วงหน้า แนวโน้มความต้องการของลูกค้าสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง 2.2 การจัดสมดุลสายการผลิต (Line Balancing)
รวมทุกผลิตภัณฑ์สูงขึ้นเฉลี่ ยถึง 50% ซึ่ง ในอนาคตอันใกล้ เกี่ยวข้องกับพนักงานและเครื่องจักรให้สอดคล้องกับอัตรา
ความสามารถในการผลิตจะไม่สามารถรองรับการผลิตที่มาก การผลิ ต กั บ ความสามารถของกระบวนการทำงาน เมื่ อ
ขึ้นได้ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการส่งมอบสินค้าให้กับลูกค้าล่าช้า สายการผลิ ต มี เ วลาในการผลิ ต มากกว่ า ความเร็ ว ใน
จากงานวิ จ ั ย ที ่ ผ ่ า นมามี ก ารปรั บ ปรุ ง และการจั ด สรร สายการผลิต ควรมีการวิเคราะห์ก ารจั ด การผลิ ตใหม่ เ พื่ อ
ทรัพยากรโดยใช้โปรแกรมจำลองสถานการณ์ด้วยคอมพิวเตอร์ แก้ปัญหากระบวนการคอขวด ลดความสูญเสียจากการรอคอย
เข้ามาช่วยในการวิเคราะห์ หรืออาจนำเทคนิคแบบลีน เทคนิค ลดความแปรปรวนในสายการผลิตและปัญหาสินค้าคงคลัง
ECRS มาใช้เพื่อลดความสูญเปล่าของสายการผลิต การจัด 2.3 อัตราผลการผลิต, อรรถประโยชน์ และประสิทธิภาพ
สมดุลสายการผลิต และเทคนิคการเพิ่มผลผลิตอื่นๆ เข้ามา 2.3.1 อัตราผลการผลิต (Productivity)
ช่วยในการปรับปรุงกระบวนการ ดังตัวอย่างของสายการผลิต เป็นดัชนีซึ่งชี้ถึงความมีประสิทธิภาพในการใช้ทรัพ ยากร
แบตเตอรี่ชนิดยืดหยุ่น [1] สายการผลิตฮาร์ดดิสก์ไดรฟ์ [2] ต่าง ๆเช่น เวลา, พนักงาน และ เครื่องจักร เพื่อให้ได้ผลผลิต
สายการผลิตแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ FPC [3] ตามที่ตอบโจทย์ทั้งในเชิงคุณภาพและปริมาณ โดยยังเป็นการ
ในงานวิจัยนี้จะใช้การจำลองสถานการณ์ด้วยคอมพิวเตอร์ วัดมูลค่าของกระบวนการผลิต ให้เป็นผลิตภัณฑ์หรือบริการที่มี
โดยใช้โปรแกรมโปรโมเดล และการจัดสมดุลสายการผลิตเข้า มูลค่าเพิ่มขึ้น [4]
มาช่วยวิเคราะห์เพื่อ จัดทำการวางแผนการใช้ทรัพยากร ที่ Productivity = ชิ้นงานที่ผลิตได้/ทรัพยากรที่ใช้ (1)
ระดับกำลังการผลิตต่างๆ ที่สูงขึ้น เพื่อให้สามารถตอบสนอง 2.3.2 อรรถประโยชน์ (Utilization)
ต่อความต้องการของลูกค้าที่มีสูงขึ้นได้ ร้อยละของจำนวนเวลาที่พนักงาน หรือเครื่องจักรสามารถ
ทำงานได้ จ ริ ง เป็ น ดั ช นี ท ี ่ บ อกถึ ง ความสามารถในการใช้
ประโยชน์จากทรัพยากรการผลิตที่มีอยู่
%Utilization = (เวลาที่ใช้จริง/เวลาที่ใช้ทั้งหมด) x100 (2)
116
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

2.3.3 ประสิทธิภาพ (Efficiency)


การปฏิบัติงานที่ต้องใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด มีความ
สูญเสียน้อยที่สุด เกิดอัตราผลการผลิตที่คุ้มค่าต่อการลงทุน
และเกิดประโยชน์สูงสุด
Efficiency= (ผลรวมเวลางาน/(จำนวนสถานีxรอบงาน) (3)
2.4 การจำลองสถานการณ์ด้วยคอมพิวเตอร์
เป็นการศึกษาระบบงานด้ วยแบบจําลองซึ่งอยู่ ในรูป ของ
โปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยการจําลองสถานการณ์ นั้น เป็ น
กระบวนการจําลองของระบบการทำงานจริงแล้วดำเนินการใช้
แบบจําลอง เพื่อการเรียนรู้พฤติกรรมของระบบ [5] มีการเก็บ รูปที่ 1 แผนผังกระบวนการผลิตของผลิตภัณฑ์ A, B, C, D
ข้อมูลต่างๆ มาวิเคราะห์สถานการณ์ หารูปแบบที่ถูกต้องหรือ
ทดสอบการเปลี่ยนแปลง ลดเวลาการหยุดงานเพื่อทำการ กรณีศึกษา มีเวลาการทำงาน 18.5 ชั่วโมงต่อวัน ทั้งหมด 2 กะ
ทดสอบระบบจริง สามารถสร้างตัวแบบจำลองของระบบการ ต่อ 1วัน โดยทำงาน 26 วันต่อเดือน จากปริมาณความต้องการ
ทำงานที่มีความซับซ้อนได้ดี [6] ในงานวิจัยนี้ใช้โปรแกรมโปร ของลูกค้าทั้ง 4 ผลิตภัณฑ์จะแบ่งสัดส่วนของการผลิต แต่ล ะ
โมเดล (Pro Model) ในการจำลองสถานการณ์ ผลิตภัณฑ์ต่อเดือนเป็น 36.23%, 30.98%, 14.91%, 17.88%
ตามลำดับ
3. วิธีดำเนินการวิจัยและผลการวิจัย จากข้ อ มู ล ดั ง ตารางที่ 1 จะเห็ น ได้ ว ่ า Takt Time มี
3.1 ข้อมูลเบื้องต้นของผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิต มากกว่า Cycle Time ทางโรงงานยังสามารถรองรับกับความ
ผลิตภัณฑ์เป็นอุปกรณ์รับส่งสัญญาณทางแสง หรือเรียกว่า ต้องการในปัจจุบันได้ แต่ในอนาคตความต้องการของลูกค้าได้
สายแอคทีฟออพติคอลเคเบิล (Active Optical Cable: AOC) เพิ่ม สูง มากขึ้น จะต้องมีการวางแผน จัดเตรียมแผนในการ
มีหลากหลายชนิดของผลิ ตภั ณฑ์ แบ่ง ออกเป็น เครื่องส่ ง , จัดสรรทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดให้ความหมาะสมกับ การ
เครื่องรับ และรวมระหว่างตัวรับตัวส่งไว้ในเครื่องเดียวกัน ผลิ ต ในแต่ ล ะระดั บ ความต้ อ งการที่ เ พิ ่ ม ขึ ้ น ซึ ่ ง จะทำการ
งานวิจัยนี้จะมุ่งเน้นเฉพาะการประกอบไฟเบอร์ออพติก ซึ่งเป็น วิเคราะห์ใน 2 ระดับคือ ความต้องการเพิ่มขึ้น 20% และ 50%
กระบวนการช่วงท้ายที่จะออกมาเป็นชิ้นผลิตภัณฑ์ ตารางที่ 1 เปรียบเทียบ Takt Time และ Cycle Time ที่
กระบวนการผลิตของโรงงานสำหรับผลิตภัณฑ์นี้ตั้ง แต่ ระดับความต้องการปัจจุบัน
ขั้นตอนการผลิตไปจนถึง เครื่องจักรหรืออุปกรณ์ที่ใช้จะเป็น ความ Cycle เวลาทีใ่ ช้ ความ Takt
ของลูกค้า และรวมทั้งวิธีการขั้นตอนการผลิตต้องทำตามแบบ ผลิต ต้องการ Time ผลิต ต้องกา time
ที่ลูกค้ากำหนด มีผลิตภัณฑ์ในสายการผลิตนี้ 4 กลุ่ม ได้แก่ A, ภัณฑ์ เฉลี่ยต่อ (วินาที/ (วินาที/ ร(ชิน้ / (วินาที/
B, C และ D ซึ่งประกอบไปด้วยสายการผลิตทั้งหมด 13 สถานี เดือน ชิ้น) วัน) วัน) ชิ้น)
ดังรูปที่ 1 กระบวนการผลิตมีการใช้ทรัพยากรคน เครื่องจักร A 9,000 66.59 24,128.62 346 69.70
และกระบวนการผลิตเดียวกัน มีการใช้เครื่องจักรทั้งหมด 24 B 8,000 64.06 20,632.79 308 67.06
เครื่อง มีจ ำนวนพนักงานทั้งหมด 32 คนต่อ 1 กะซึ่งในการ C 2,000 123.3 9,928.28 77 129.07
ปฏิบัติงาน 1 วันมีทั้งหมด 2 กะ การทำงานของโรงงาน D 1,500 197.22 11,910.31 58 206.45
117
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

งานค้างสะสมในสายการผลิต จำเป็นต้องมีการเพิ่มทรัพยากร
ตารางที่ 2 ความต้องการลูกค้าเพิ่มขึ้น 20% ดังนี้
ความต้องการ Cycle Time Takt time 1.) เพิ่มเครื่องทดสอบ 1 เครื่องที่สถานีหลัก 10 TEST3
ผลิตภัณฑ์
เฉลี่ยต่อเดือน (วินาที/ชิ้น) (วินาที/ชิ้น) เพื่อทำให้รอบเวลาการผลิตลดลง
A 10,800 66.59 56.89 2.) พนักงานที่ประจำสถานีหลักที่ 10 TEST3 จำนวน 1
B 9,600 64.06 54.73 คน มาประจำที่สถานีหลักที่ 12 FVI INSPECTION ทำให้
C 2,400 123.3 105.35 รอบเวลาการผลิ ต ลดลงเป็ น 62.81, 63.04, 116.74,
D 1,800 197.22 168.5 139.41 ตามลำดับของผลิ ตภั ณฑ์ ทรัพยากรคนของทั้ ง
สถานีที่ 10, 12 ยัง คงเพียงพอ และอรรถประโยชน์ ของ
ตารางที่ 3 ความต้องการลูกค้าเพิ่มขึ้น 50% พนักงานเพิ่มขึ้น 13.61%
ความต้องการ Cycle Time Takt time อย่างไรก็ตามการคำนวณนี้เป็นการคำนวณเบื้องต้นโดยใช้
ผลิตภัณฑ์ ข้อมูลค่าเฉลี่ยของกระบวนการซึ่งในกระบวนการจริงมีความ
เฉลี่ยต่อเดือน (วินาที/ชิ้น) (วินาที/ชิ้น)
A 13,500 66.59 66.05 แปรปรวนของเวลาการทำงานเกิ ด ขึ ้ น จำเป็ น ต้ อ งมี ก าร
B 12,000 64.06 56.91 วิเคราะห์ด้วยการจำลองสถานการณ์ด้วยคอมพิวเตอร์ต่อไป
C 3,000 123.3 118.46
D 2,250 197.22 174.24 4. การจำลองสถานการณ์
ผู้วิจัยจึงได้สร้างแบบจำลองสถานการณ์ด้วยโปรแกรมโปร
3.2 แนวทางการแก้ปัญหาการจัดสรรทรัพยากร โมเดล (Pro Model) เพื่อหาแนวทางในการจัดสรรทรัพยากร
3.2.1 ความต้องการของลูกค้าเพิ่มขึ้น 20%
เมื่อความต้องการของลูกค้าเพิ่มขึ้น ที่ร ะดับ 20% โดย
ความต้องการเฉลี่ยต่อเดือนและ Takt Time ของ 4 ผลิตภัณฑ์
แสดงได้ดังตารางที่ 2 จาก Cycle Time มีค่ามากกว่า Takt
Time แสดงว่าไม่สามารถผลิตได้ทัน เมื่อต้องการให้ผลิตให้ทัน
ตามความต้องการจะต้องมีการปรับให้พนักงานทำโอที หรือ
ทำงานล่วงเวลามากขึ้น เพิ่ม 5.5 ชั่วโมง เป็นเวลา 26 วัน/
เดือน หรือเวลาการทำงาน 21.5 ชั่วโมง/วัน โดยจะทำให้ Takt
Time มีค ่าเป็น 69.08, 66.45, 127.90, 204.59 ตามลำดั บ
ของผลิตภัณฑ์ การผลิตดังรูปที่ 2
3.2.2 ความต้องการของลูกค้าเพิ่มขึ้น 50%
Takt Time ของ 4 ผลิตภัณฑ์แสดงได้ดังตารางที่ 3 จาก รูปที่ 2 ตัวอย่างแผนผังของแบบจำลองสถานการณ์
ตารางจะเห็นได้ว่า Cycle Time เดิมไม่สามารถตอบสนองต่อ
ความต้องการได้ และยังไม่สามารถผลิตได้ทันอาจส่งผลให้เกิด กำหนดให้ พ นั ก งานและเครื ่ อ งจั ก รชนิ ด เดี ย วกั น , มี
ความสามารถในการผลิตเหมือนกัน , ไม่พบงานเสียระหว่าง
118
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

ตารางที่ 4 ตัวอย่างผลการวิเคราะห์ข้อมูลแบบจำลอง

Independence

Goodness test
Homogeneity

Stationarity
เวลามาตรฐาน

Test of

Test of

Test of
สถานีหลัก ผลิตภัณ์ฑ A สถานี์อย
ย Parameter
(วินาที/ชิ้น)

1 FIBER CUTTING 1 นำสำยไฟเบอร


์มำตัดตำมขนำดและเรียงสี เช็คสี 31.24 ์ำน
ผ ์ำน
ผ ์ำน
ผ ์ำน
ผ 55+W(2.28, 8.42)
2 FIBER PREPARATION 2 ปอกฉนวนที์มไฟเบอร
่หุ ์ ตัดปลำยไฟเบอร
์ และทำควำมสะอำด 25.70 ์ำน
ผ ์ำน
ผ ์ำน
ผ ์ำน
ผ B(1.97, 0.987, 93, 107)
3 โหลดงำนเข
์ำที่เครือ่ ง หำตำแหน
์งวำงที่เหมำะสม และยอดกำว 27.50 ์ำน
ผ ์ำน
ผ ์ำน
ผ ์ำน
ผ 127+W(2.78, 11.6)
3 FIBER ATTACH
4 เครือ่ งทำกำรทดสอบค
์ำทำงแสง 25.08 - - - - n(125.4,50)
5 ตรวจสอบชิ้นงำนโดยใช
์กล์องไมโครสโคป 17.39 ์ำน
ผ ์ำน
ผ ์ำน
ผ ์ำน
ผ 79+W(2.29, 8.79)
4 INSPECTION & TEST
6 เครือ่ งทำกำรทดสอบชิ้นงำนเบื้องต
์น 18.18 - - - - n(90.9,50)
5 HEAT SINK CRIMP 7 หยอดกำวตัวระบำยควำมร ์อนและประกบกับชิ้นงำน 37.20 - - - - n(37.20,50)
6 HS CLEANING EPOXY 8 ทำควำมสะอำดตัวระบำยควำมร ์อน 57.04 ์ำน
ผ ์ำน
ผ ์ำน
ผ ์ำน
ผ T(109, 115, 119)
7 THERMAL CURE 9 อบชิ้นงำน 37.50 - - - - Constant

กระบวนการผลิต, การเพิ่มเครื่องจักรบางกระบวนการไม่มีผล ทั้ง 4 ผลิต ได้อยู่ในช่วงของของความเชื่อมั่น แสดงว่าสามารถ


ต่อค่าใช้จ่ายเนื่องจากเป็นเครื่องจักรของลูกค้า การเก็บข้อมูล ใช้ผลของการจำลองสถานการณ์แทนผลของสายการผลิตจริง
ได้มาจากการจับเวลาในแต่ละงาน นำข้อมูลมาคำนวณหาเวลา จากการจำลองสถานการณ์ตามแผนที่ได้ทำการวิเคราะห์
มาตรฐานโดยมีการใส่ค่าอัตราความเร็วและค่าเผื่อต่างๆ นำไป ผลประโยชน์ที่เพิ่ มขึ้นระดับ 20% ปริมาณสินค้าเฉลี่ย ทั้ง 4
ทดสอบข้อมูลทางสถิติด้วยฟังก์ชัน Stat::Fit เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ ผ ล ิ ต ภ ั ณ ฑ์ จ ำนวน 10,800, 9,600, 2,400 แล ะ 1,800
มีความน่าเชื่อถือ ดังตารางที่ 4 ตามลำดับ ประมาณกำไรเฉลี่ยต่อเดือนหลังหักค่าใช้จ่ายต่างๆ
การตรวจสอบความถูกต้องของโปรแกรม ผู้วิจ ัยได้ การ ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายพนักงาน คือ 21,859,200 บาท เพื่อให้ทัน
เปรียบเทียบผลลัพธ์ที่ได้จ ากการทดลองรันแบบจำลองก่อ น ต่อความต้องการ จึงจำเป็นต้องเพิ่มเวลาทำงาน 5.5 ชั่วโมงต่อ
การจัดสรรทรัพยากรและเทียบกับค่าที่คำนวณ โดยค่าความ เดือน ค่าใช้จ่ายส่วนจ้างพนักงาน คือ 2,998,528 บาท หลังหัก
คาดเคลื่อนไม่เกินกว่าค่าความเชื่อมั่นที่ 95% มีความถูกต้อง ค่าใช้จ่ายจะมีกำไร 18,860,672 บาทต่อเดือน และที่ระดับ
ของข้อมูลและระบบไม่มีข้อผิดพลาด เพิ่มขึ้น 50% สินค้าเฉลี่ย แต่ล ะผลิตภัณฑ์จ ำนวน 13,500,
การตรวจสอบความถูกต้องของแบบจำลอง ตรวจสอบจาก 12,000, 3,000, 2,250 ตามลำดับ กำไรเฉลี่ยต่อเดือนหลังหัก
สมมติฐานของค่าเฉลี่ยเวลาที่ใช้ในการจำลอง 30 รอบ โดย 1 ค่าใช้จ่ายต่างๆ ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายพนักงาน คือ 27,324,000
รอบของการจำลองสถานการณ์การทดลองกำหนดชิ้นงานทั้ง บาท เพื่อให้ทันต่อความต้องการได้พิจารณาเพิ่มเครื่องจักร
4 ผลิ ต ภั ณ ฑ์ จ ำนวน 9,000, 8,000, 2,000 และ 1,500 ชิ้ น และย้ายตำแหน่ง ของพนักงาน โดยเครื่องจักรที่เพิ่มขึ ้น เป็ น
ตามลำดั บ ผลของโปรแกรมได้ เ วลาเฉลี ่ ย การผลิ ต อยู ่ ที่ เครื่องที่ลูกค้าจัดหาให้ จึงไม่มีค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ ดังนั้นจะมี
27,613.87 นาที ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 28.35 นาทีและเมื่อ ค่าจ้างพนักงาน 2,998,528 บาท หลังหักค่าใช้จ่ายจะมีกำไร
เลือกการทดสอบค่าทางสถิติที่ช่วงความเชื่อมั่น (confidence 24,325,472 บาทต่อเดือน และพบว่าการจัดสรรทรัพยากร มี
interval) 95% ควรใช้เวลาในการผลิตอยู่ในช่วง 27,556.99 – อัตราผลผลิต อรรถประโยชน์ และประสิทธิภ าพ ที่เพิ่มขึ้น
27,578.16 นาที เมื่อเทียบกับเวลาในการผลิต จริงของชิ้นงาน แสดงได้ดังตารางที่ 5

119
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

ตารางที่ 5 ผลการจำลองสถานการณ์ที่ระดับความต้องการปัจจุบันและหลังปรับทรัพยากรตามความต้องการต่างๆ

5. สรุป 12.63% ประสิทธิภ าพใกล้เคียงกับก่อนการปรับทรัพยากร


จากการศึกษาและวิ เคราะห์ การจั ดสรรทรัพ ยากรของ การวิเคราะห์ผลประโยชน์ของกำไรหลังจากหักเงินลงทุนต่าง
ความต้องการ ความ เวลาที่ใช้ เวลาที่ใช้ อัตราผลการผลิต
ระดับความ ผลิต อรรถประโยชน์ ประสิทธิภาพ
เฉลีย่ ต้องการ ผลิต ผลิต (ชม./ Productivity
ต้องการ ภัณฑ์ Utilization Efficiency
(ชิ้น/เดือน) (ชิ้น/วัน) (นาที/วัน) วัน) (ชิ้น/ชม./คน)
A 9,000 346
ระดับความ
B 8,000 308
ต้องการ 1,123.31 18.72 70.23% 64.32% 72.70%
C 2,000 77
ปัจจุบัน
D 1,500 58
หลังปรับ A 10,800 415
ทรัพยากรที่ B 9,600 369 70.88% 64.92% 72.40%
1,334.74 22.25
ความต้องการ C 2,400 92 (+0.92%) (+0.92%) (-0.04%)
เพิ่มขึ้น 20% D 1,800 69
หลังปรับ A 13,500 450
ทรัพยากรที่ B 12,000 400 81.93% 73.62% 71.95%
1,251.00 20.85
ความต้องการ C 3,000 100 (+14.28%) (+12.63%) (-0.10%)
เพิ่มขึ้น 50% D 2,250 75
สายการผลิ ต อุ ป กรณ์ ส ายส่ ง สั ญ ญาณทางแสงทั ้ ง 4 กลุ่ ม เพิ่มขึ้น 34.30% หรือ 8,344,224 บาท ตัวชี้วัดทั้งหมดแสดง
ผลิตภัณฑ์ มีปริมาณการสั่งซื้อของลูกค้าที่ไม่เท่ากัน ซึ่งกำลังมี ให้ เ ห็ น ผลลั พ ธ์ ท ี ่ ด ี ข ึ ้ น และสามารถจั ด สรรทรั พ ยากรให้
แนวโน้มความต้องการของลูกค้าสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้ต้อง ตอบสนองกับความต้องการของลูกค้าในอนาคตได้
มีการวิเคราะห์หาแนวทางเพื่อรองรับกับความต้องการที่สูง ขึ้น
การจำลองสถานการณ์ โ ดยใช้ โ ปรแกรมโปรโมเดล ได้ ถู ก เอกสารอ้างอิง
นำมาใช้วิเคราะห์ ห าแนวทางปรับเปลี่ยนทรัพยากรที่ ระดับ 1. ณัฐพร ทองเจริญบัวงาม, 2562, “การลดความสูญเปล่ า
ความต้องการต่างๆของลูกค้า โดยตัวชี้วัดของกระบวนการภาย และการจัดสรรทรัพยากรการผลิตโดยใช้แบบจำลอง
หลังจากการปรับทรัพยากรมีค่าที่ดีขึ้นที่ ระดับ เพิ่มขึ้น 20% สถานการณ์ ด ้ ว ยคอมพิ ว เตอร์ สำหรั บ สายการผลิ ต
อัตราผลผลิตเพิ่มขึ้น 0.92% ค่าอรรถประโยน์เพิ่มขึ้น 0.92% แบตเตอรี่ชนิดยืดหยุ่น”, สารนิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต,
ประสิ ท ธิ ภ าพใกล้ เ คี ย งกั บ ก่ อ นการปรั บ ทรั พ ยากร การ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วิเคราะห์ผ ลประโยชน์ ของกำไรหลัง จากหั กเงิ นลงทุ น ต่ า ง 2. ณัฐพิชญ์ กุศลธรรมรัตน์, 2563, “การปรับปรุงกระบวนการ
เพิ่มขึ้น 15.27% หรือ 2,879,424 บาท ที่ระดับเพิ่มขึ้น 50% ผลิตและจัดสรรทรัพยากรสายการผลิตขดลวดในหัวอ่าน
อั ต ราผลผลิ ต เพิ ่ ม ขึ ้ น 14.18% ค่ า อรรถประโยน์ เ พิ ่ ม ขึ้ น ฮาร์ ด ดิ ส ก์ ไ ดรฟ์ โดยการจำลองสถานการณ์ ด ้ ว ย
120
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

คอมพิ ว เตอร์ ”, สารนิ พ นธ์ ปริ ญ ญามหาบั ณ ฑิ ต ,


มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
3. นางสาวกชวรรณ กาจู, 2562, “การออกแบบสายการผลิต
หลายผลิ ต ภั ณ ฑ์ แ ละการวางแผนทรั พ ยากร ด้ ว ยการ
จำลองสถานการณ์ด้วยคอมพิวเตอร์”, สารนิพนธ์ ปริญญา
มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
4. รั ช ต์ ว รรณ กาญจนปั ญ ญาคม, 2550, การศึ ก ษางาน
อุตสาหกรรม, กรุงเทพฯ, สำนักพิมพ์ท้อป.
5. วิ ช ั ย สุ ร เกี ย รติ , 2544, การจํ า ลองเชิ ง คอมพิ ว เตอร์ ,
กรุงเทพฯ, สำนักพิมพ์สกายบุ๊กส์.
6. บุษบา พฤกษาพันธุ์ร ัตน์ , 2562, การจำลองสถานการณ์
ด้วยโปรโมเดล, สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

121
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

การกำหนดจำนวนงานระหว่างกระบวนการที่เหมาะสม
เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต กรณีศึกษาโรงงานประกอบรถยนต์
Determining Optimal Work-in-Process Buffer Size for Production Efficiency
Improvement: A Case Study of Automotive Assembly Plant

อรรถชัย สิริวรามาศ1* จุฑา พิชิตลำเค็ญ2 และ วรวุฒิ หวังวัชรกุล3


1
สาขาการจัดการวิศวกรรม ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เขตบางเขน กรุงเทพฯ 10900
2
ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เขตบางเขน กรุงเทพฯ 10900
E-mail: auttachai.s@ku.th1*, juta.p@ku.th2, fengwww@ku.ac.th3

บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดจำนวนงานระหว่างกระบวนการและแฮงค์เกอร์ระหว่างสายการผลิตที่เหมาะสมเพื่อ
เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต โดยศึกษารูปแบบการผลิตปัจจุบันรวมถึงปัญหาทางอ้อมที่ทำให้สายการผลิตหยุด ทั้งปัญหาการขาด
แคลนงานระหว่างกระบวนการ (Starving) และปัญหาการบล็อก (Blocking) โดยสร้างแบบจำลองสถานการณ์ด้วยโปรแกรม
Arena ในปัจจุบันมีจำนวนงานระหว่างกระบวนการ 4 คัน และแฮงค์เกอร์ระหว่างสายการผลิต 4 ตัว ซึ่งเป็นตัวแปรควบคุม
(Control) ตัวแปรตาม (Response) คือจำนวนรถที่ผ ลิตเฉลี่ยต่อวันรวมถึงประสิทธิภาพการผลิต พบว่าจำนวนงานระหว่าง
กระบวนการและแฮงค์เกอร์ระหว่างสายการผลิตที่มากขึ้นส่งผลโดยตรงทำให้ประสิทธิภาพในการผลิตเพิ่มขึ้นสูงสุดจาก 78.2 ±1
เปอร์เซ็นต์ เป็น 86.2±1 เปอร์เซ็นต์ โดยเพิ่มจำนวนงานระหว่างกระบวนการจาก 4 คัน เป็น 17 คัน โดยไม่คำนึงถึงค่าใช้จ่ายที่
เกิดขึ้น แต่ถ้าคำนึงถึงค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการที่สายการผลิตหยุดและค่าใช้จ่ายในการลงทุนเพิ่มจำนวนแฮงค์เกอร์ ประสิทธิภาพ
ในการผลิตเพิ่มขึ้นเป็น 85.6±1 เปอร์เซ็นต์ โดยเพิ่มจำนวนงานระหว่างกระบวนการจาก 4 คัน เป็น 13 คัน

คำสำคัญ : แบบจำลองระบบปัญหา การจัดการการผลิต การปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต

Abstract
The purpose of this paper is to determine the optimal number of work-in-process buffer and hangers
between the car assembly lines for efficiency improvement. The current production faces production line
stoppage caused by starving and blocking. We simulate the current production line with Arena program. There
122
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

are currently have 4 units of WIP buffer as a control, and the average number of vehicles produced as a
response. The simulation results indicate that the production efficiency will be increased from 78.2±1percent
to 86.2±1 percent if the number of work-in-process buffers and hangers between consecutive production lines
is increased from 4 units to 17 units regardless of costs. However, if costs are considered, the production
efficiency can be increased to 85.6±1 percent by increasing the number of work-in-process buffers and hangers
between consecutive production lines from 4 units to 13 units.

Keywords : simulation modeling, production management, production efficiency improvement

123
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

1. บทนำ
1.1 ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
ในระบบสายการผลิ ต รถยนต์ การหยุ ด การผลิ ต โดย
วางแผน (Unplanned Downtime) ก่ อ ให้ เ กิ ด ผลเสี ย ต่ อ
บริษัท ในแง่ของการตอบสนองความต้องการของลูกค้า และ
การทำกำไรของบริษัท แต่ละสายการผลิตมีปัจจัยที่ทำให้ตอ้ ง
รูปที่ 2 แฮงค์เกอร์
หยุดการผลิตที่ แ ตกต่ างกั น และส่ง ผลกระทบทางอ้ อ มต่ อ
ที่มา: บริษัท ออโตเมชั่น โปร จำกัด (2560)
สายการผลิ ต อื ่ น ๆ เช่ น ปั ญ หาการขาดแคลนงานระหว่ า ง
กระบวนการ (Starving) ทำให้สายการผลิตต้องหยุดรอ และ
ปัญหาการบล็อก (Blocking) เป็นปัญหาที่สายการผลิตต้อง
หยุดเนื่องจากขาดแคลนแฮงค์เกอร์ที่ใช้ในการเคลื่อนย้ายงาน
ระหว่างกระบวนการ โดยที่จำนวนงานระหว่างกระบวนการ
และแฮงค์เกอร์ระหว่างสายการผลิตปัจจุบันมี 4 ตัว ดังรูปที่ 1
โดยแฮงค์เกอร์เป็นอุปกรณ์ขนถ่ายที่ใช้ ในการเคลื่อนย้ายงาน
ระหว่างการผลิตระหว่างสายการผลิต ดังรูปที่ 2 และสามารถ
ใช้กับรถยนต์โมเดลต่างๆ ได้หมด ซึ่งสัดส่วนปัญหาที่เกิดขึ้ น รูปที่ 3 สัดส่วนปัญหาทางตรงและทางอ้อมของแต่ละ
ทางตรง และทางอ้อมถูกแสดงดังรูปที่ 3 สายการผลิต

รูปที่ 4 ประสิทธิภาพการผลิตในเดือนกันยายน 2564

ปัญหาทางอ้อมที่เกิดขึ้นทั้งปัญหาคลาดแคลนงานระหว่าง
รูปที่ 1 สายการผลิตของโรงงานกรณีศึกษา กระบวนการ และปัญหาการบล็อกล้วนเป็นปัญหาที่เกิดจาก
การที ่ ม ี ง านระหว่ า งกระบวนการ และจำนวนแฮงค์ เ กอร์
ระหว่างสายการผลิตไม่เพียงพอทำหยุ ดถึง แม้ ว่าจะไม่ เ กิ ด
ปัญหาก็ตามในระบบสายการผลิตจึงถือให้สายการผลิตอื่ นๆ
ต้องว่าเป็นความสูญเสีย จากสัดส่วนปัญหาทางอ้อมดังรูปที่ 2
124
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

ทำให้สันนิษฐานได้เบื้องต้นว่าจำนวนงานระหว่างกระบวนการ
และแฮงค์เกอร์ยังไม่เหมาะสมต่อระบบสายการผลิต ส่งผลทำ
ให้ประสิทธิภาพในการผลิตต่ำกว่าเป้าหมายและไม่สม่ำเสมอ
ดังรูปที่ 4 จากความสำคัญดังกล่าวผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะ
ลดปัญหาทางอ้อมที่เกิดขึ้นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตใน
ระบบสายการประกอบของโรงงานกรณีศึกษา
1.2 วัตถุประสงค์ของงานวิจัย
รูปที่ 5 รูปแบบการแจกแจงของข้อมูลนำเข้าจากการทำ
เพื ่ อ กำหนดจำนวนงานระหว่ า งกระบวนการ (Buffer
Goodness of Fit Test
Work-in-Process Size) ระหว่ า งสายการประกอบ และ
จำนวนแฮงค์เกอร์ในระบบให้เหมาะสม
หลังจากทำ Goodness of Fit Test ใน Input Analyzer
1.3 วัตถุประสงค์ของงานวิจัย
แล้ว P-value มีค ่าน้อยกว่า 0.05 จึง ปฏิเสธสมมติฐานหลัก
เพื ่ อ เพื ่ อทราบจำนวนงานระหว่า งกระบวนการสำรอง
และสามารถสรุปได้ว่าข้อมูลมีการแจกแจงไม่ตรงตามการแจก
(Work-in-Process-Buffer) ระหว่างสายการผลิตที่เหมาะสม
แจงที่คาดหวัง ดังนั้นผู้วิจัยจึงได้ตัดสินใจศึกษารูปแบบการแจก
และเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
แจงความน่าจะเป็นแบบไม่ต่อเนื่อง (Discrete Probability
Distributions) โดยใช้ข้อมูลที่ได้เก็บบันทึกและรวบรวมมาใช้
2. วิธีการดำเนินงาน ในการทำ ฟังก์ชั่นความน่าจะเป็นสะสมโดยที่ Expression คือ
2.1 เก็บรวบรวมข้อมูล DISC(P1,V1,P2,V2…)
เก็บรวบรวมข้อ มูล ที ่ใช้ ใ นการผลิ ตรถยนต์ ข องโรงงาน 2.4 สร้างแบบจำลองสถานการณ์ด้วยโปรแกรม Arena
ประกอบรถยนต์ในเดือนกันยายน – ธันวาคม พ.ศ. 2564 จาก ผู ้ ว ิ จ ั ย ได้ ส ร้ า งแบบจำลองสถานการณ์ ข องโรงงาน
ระบบ MES (Manufacturing Execution System) โดยข้อมูล กรณีศึกษาโดยแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ดังรูปที่ 6
เป็นเวลาที่สแกนหลังจากผลิตเสร็จของแต่ละสายการผลิต ส่ ว นที ่ 1 คื อ ส่ ว นที ่ ใ ช้ ใ นการสร้ า งแบบจำลองของ
2.2 แปลงข้อมูลเป็นข้อมูลนำเข้า สายการผลิตตกแต่งภายใน
แปลงข้อมูลจากระบบ MES มาเป็นข้อมูลนำเข้าที่สามารถ ส่วนที่ 2 คือ ส่วนที่ใช้ในการสร้างแบบจำลองของแฮงค์
ใช้ ใ นการวิ เ คราะห์ โ ดยจะได้ เ ป็ น Uptime หรื อ Time เกอร์ ต ั ้ ง แต่ ก ารเคลื ่ อ นย้ า ยงานระหว่ า งกระบวนการจาก
Between Failure และ Downtime หรือ Time to Repair สายการผลิตตกแต่งภายใน จนถึงการเคลื่อนย้ายงานระหว่าง
2.3 กำหนดการแจกแจงที่เหมาะสมด้วย Input analyzer กระบวนการไปยังสายการผลิตสุดท้าย รวมถึงการหมุนเวียน
ข้อมูลนำเข้าที่ถูกแปลงดังกล่าวจะถูกนำมาทำ Goodness แฮงค์เกอร์กลับไปที่สายการผลิตตกแต่งภายใน
of Fit Test ใน Input Analyzer เพื่อระบุว่าข้อมูล ที่น ำเข้ า ส่ ว นที ่ 3 คื อ ส่ ว นที ่ ใ ช้ ใ นการสร้ า งแบบจำลองของ
เหมาะสมกับการแจกแจงในรูปแบบใด ดังรูปที่ 5 สายการผลิตสุดท้าย

125
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

จำนวนรอบการทำซ้ำ ของค่าความผิดพลาดที่สามารถยอมรับ
โดยกำหนดให้เท่ากับ 1% ของจำนวนรถยนต์ที่ผลิตเฉลี่ยต่อวัน
จากระบบจำลองด้วยดังนั้นค่าความคลาดเคลื่อนของระบบ (e)
ถูกคำนวณดังสมการที่ 1 และ จำนวนรอบการทำซ้ำดังสมการ
ที่ 2

รูปที่ 6 แบบจำลองสถานการณ์การทำงานของโรงงาน 𝑒 = (0.01)(74.77) = 0.747 (1)

กรณีศึกษา (1.96)(3.29)
2
N= [ ] = 74.379 ≈ 75 (2)
0.747
2.5 ตรวจสอบความถูกต้องของแบบจำลองสถานการณ์
งานวิจัยนี้ผู้วิจัยได้ทดสอบค่าเฉลี่ยจำนวนรถยนต์ที่ถูกผลิต จากการคำนวณจำนวนรอบการทำซ้ำของการประมวลผล
เฉลี่ยต่อวันระหว่างสองกลุ่มตัวอย่างที่เป็นอิสระจากกัน ค่าจริง ในโปรแกรม Arena ต้องการอย่างน้อย 75 รอบ แต่การวิจัย
77 ชุด และค่าที่ได้จากแบบจำลองสถานการณ์ โดยกำหนดค่า ครั้งนี้กำหนดจำนวนการทำซ้ำเท่ากับ 100 ครั้ง จึงเหมาะสม
Run Setup ที ่ ร ะยะเวลาทำงาน 480 นาที ต ่ อ วั น และ และเพียงพอต่อระดับความเชื่อมั่น 95 เปอร์เซ็นต์
ประมวลผลที่ 100 รอบ โดยใช้ส ถิติการทดสอบแบบ Two 2.7 ประมวลผลแบบจำลองและวิเคราะห์
Sample t-test โดยมีสมมติฐานที่ใช้ในการทดสอบดังนี้ การประมวลผลข้อมูลที่ได้จากการจำลองสถานการณ์ด้วย
ทรัพยากรของระบบปัจจุบัน เพื่อมาวิเคราะห์ ปัญหาที่เกิดขึ้น
H0 : μSimulation = μActual ตามวัตถุประสงค์ ซึ่งจากแบบจำลองสถานการณ์สามารถสรุป
H1 : μSimulation ≠ μActual
ได้ ว ่ า ถึ ง แม้ ว ่ า ไม่ ไ ด้ เ กิ ด ปั ญ หาในสายการผลิ ต ใดๆ แต่
สายการผลิตอาจจะต้องหยุดผลิตเนื่องจากปัญหาทางอ้อม เช่น
จากผลการทดสอบ Two Sample t-test พบว่ามีค่าเฉลี่ย
Starving และ Blocking เป็นผลมาจากจำนวนงานระหว่ า ง
จำนวนการผลิตต่างกัน 0.147 คันต่อวัน โดยค่า P-Value มีค่า
กระบวนการ และแฮงค์เกอร์ระหว่างสายการผลิตไม่เหมาะสม
เท่ า กั บ 0.748 ซึ ่ ง มี ค ่ า มากกว่ า 0.05 แสดงว่ า แบบจำลอง
กับโรงงานกรณีศึกษา จึงทำการวิเคราะห์ความไว (Sensitivity
สถานการณ์ที่ออกแบบด้วยโปรแกรม Arena สามารถให้ผลไม่
Analysis) เพื่อหาจำนวนที่เหมาะสมกับโรงงานกรณีศ ึกษา
แตกต่างกันกับระบบการทำงานจริงในโรงงานประกอบรถยนต์
โดยมีจำนวนแฮงค์เกอร์เป็นตัวแปรควบคุม (Controls) และ
ดัง นั้นจึง สามารถนำแบบจำลองสถานการณ์นี ้ไปใช้ใ นการ
จำนวนรถยนต์ เ ฉลี ่ ย ที ่ ผ ลิ ต ต่ อ วั น เป็ น ตั ว แปรตอบสนอง
วิเคราะห์ต่อได้ เนื่องจากค่าเฉลี่ยจำนวนรถยนต์ที่ผลิตได้ต่อวัน
(Response)
ของแบบจำลองสถานการณ์ แ ละระบบการทำงานจริ ง ใน
โรงงานประกอบรถยนต์กรณีศึกษาไม่แตกต่างกันในช่วงความ
เชื่อมั่น 95 เปอร์เซ็นต์ 3. ผลการดำเนินงานวิจัย
2.6 การหาจำนวนรอบการทำซ้ำ (Replications) ทำการวิ เ คราะห์ ผ ลจากการทำการวิ เ คราะห์ ค วามไว
จำนวนรอบการทำซ้ำ ได้กำหนดไว้ที่ 100 รอบโดยผลจาก เปรียบเทียบผลการจำลองสถานการณ์ ด ้ว ยทรัพ ยากรของ
โปรแกรม Arena ของการทำงานในโรงงานกรณีศึกษา พบว่า ระบบปัจจุบัน เปรียบเทียบกับระดับทรัพยากรอื่นๆ

126
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

3.1 การวิเคราะห์การกำหนดจำนวนแฮงค์เกอร์โดยไม่
คำนึงถึงค่าใช้จ่าย
ผู้วิจัยวิเคราะห์ความไวโดยไม่คำนึง ถึงค่าใช้จ ่าย โดยที่มี
จำนวนงานระหว่ างกระบวนการ และแฮงค์ เ กอร์ร ะหว่าง
สายการผลิตเป็นตัวแปรควบคุม และจำนวนรถที่ผลิตได้เฉลี่ย
ต่อวันเป็นตัวแปรตอบสนอง โดยกำหนดค่า Run Setup ที่
ระยะเวลาทำงาน 480 นาทีต่อวัน และประมวลผลที่ 100 รอบ
ดังตารางที่ 1 และรูปที่ 7
รูปที่ 7 กราฟแสดงจำนวนรถที่ผลิตเฉลี่ยต่อวันกับจำนวน
ตารางที่ 1 ผลการวิเคราะห์ความไวโดยไม่คำนึงถึงค่าใช้จ่าย แฮงค์เกอร์ระหว่างสายการผลิต

3.2 การวิเคราะห์การกำหนดจำนวนแฮงค์เกอร์โดยคำนึงถึง
ตัวแปร ตัวแปร ตัวแปร
ค่าใช้จ่าย
ควบคุม ตอบสนอง ตอบสนอง เปอร์เซ็นต์
ผู้วิจัยวิเคราะห์ต้นทุนที่เกิดขึ้นถ้าลงทุนเพิ่มจำนวนแฮงค์
จำนวน รถที่ผลิตเฉลี่ย ประสิทธิภาพ เพิ่มขึ้น
เกอร์และต้นทุนจากสายการผลิตต้องหยุดดังตารางที่ 2 และ 3
แฮงค์เกอร์ ต่อวัน การผลิต
4 74.8±0.66 78.2±1% -
ตารางที่ 2 ต้นทุนค่าแรงพนักงานทางตรงต่อนาที
5 76.4±0.64 79.9±1% 2.1%
6 77.4±0.61 81.0±1% 1.3%
# # Total
7 78.3±0.61 81.9±1% 1.2%
Type Line Worker Supervisor Cost
8 79.1±0.62 82.7±1% 1.1%
Trim 27 2 22.75
9 80.0±0.58 83.6±1% 1.1%
Man Chassis 33 2 27.25
10 80.6±0.57 84.3±1% 0.8%
power Final 41 2 33.25
11 81.0±0.56 84.7±1% 0.5%
Free man 3 - 2.5
12 81.5±0.54 85.2±1% 0.6%
Total Amount (THB Per Minute) 85.75
13 81.8±0.55 85.6±1% 0.4%
14 82.0±0.58 85.8±1% 0.3%
ตารางที่ 3 ต้นทุนในการลงทุนแฮงค์เกอร์โดยรวมต่อ 1 ตัว
15 82.2±0.59 86.0±1% 0.2%
16 82.3±0.60 86.1±1% 0.1%
No. Items Unit Price (THB)
17 82.4±0.61 86.2±1% 0.1%
1 Design 1 13,000
18 82.4±0.61 86.2±1% 0.0%
2 Material 1 66,050
3 Inspection 1 15,000
4 Pack & Delivery 1 3,500
127
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

No. Items Unit Price (THB)


5 Paint 1 15,500 ตารางที่ 4 ผลการวิเคราะห์ความไวโดยคำนึงถึงค่าใช้จ่าย
6 Unload & Assembly
1 125,000
7 Installation # กำไรสุทธิ กำไรสุทธิ
กำไร
Total Amount (THB) 1 238,050 แฮงค์ เงินลงทุน (10 Year) (10 Year)
ต่อปี
เกอร์ i = 0.5% i = 3%
ตารางที่ 1 แสดงผลการวิเคราะห์ความไวในกรณีที่จำนวน 4 - - - -
งานระหว่างกระบวนการ และแฮงค์เกอร์ที่แตกต่างกันสามารถ 5 238,050 167,020 1,405,517 1,238,631
นำมาคำนวณหาต้นทุนรวมในการลงทุน และกำไรต่อปีได้ เช่น 6 476,100 274,164 2,194,697 1,923,507
ถ้าลงทุนเพิ่มจำนวนแฮงค์เกอร์ระหว่างสายการผลิตเป็น 17 7 714,150 368,704 2,881,153 2,516,090
ตัว รถยนต์ที่ผลิตต่อวันเฉลี่ยเพิ่มจาก 74.8 คัน เป็น 82.4 คัน 8 952,200 455,890 3,464,887 3,016,381
เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 7.6 คัน ซึ่งเวลาในการผลิตเท่ากับ 38 นาที ตาม 9 1,190,250 544,127 4,151,344 3,608,964
Takt Time ที่ 5 นาที ดังนั้นผลกำไรเฉลี่ยต่อวันที่เพิ่มขึ้น คือ 10 1,428,300 607,153 4,529,631 3,924,670
85.75 × 38 = 3,258.5 บาทต่อวัน 11 1,666,350 652,322 4,702,473 4,055,790
โดยเฉลี่ยบริษัทผลิต 245 วันต่อปี ดังนั้นในระยะเวลาหนึ่งปี 12 1,904,400 701,692 4,978,038 4,279,203
บริษัทสามารถทำไรกำไรได้ 13 2,142,450 735,306 5,048,157 4,318,031
3,258.5 × 245 = 798,332.5 บาทต่อปี 14 2,380,500 759,466 5,015,553 4,264,566
โดยที่เงินลงทุนในการเพิ่มจำนวนแฮงค์เกอร์จากเดิม 4 ตัว 15 2,618,550 779,425 4,982,949 4,211,101
เป็น 17 ตัว คือ 16 2,856,600 788,879 4,847,622 4,065,344
238,050 × 13 = 3,094,650 บาท 17 3,094,650 798,333 4,712,295 3,919,586
โดยที่แฮงค์เกอร์ต่อตัว ถูกประเมินอายุการใช้งานอยู่ที่ 10 ปี
จากความคาดหวังของโรงงานกรณีศึกษาโดยจากการประเมิน
จากฝ่ายซ่อมบำรุงดังนั้นจึงคิดกำไรสุทธิที่ 10 ปี โดยที่สามารถ
เลือกประเมินที่จำนวนปีอื่นๆ ได้ขึ้นอยู่กับแนวทางของบริษัท
และคำนึงถึงอัตราดอกเบี้ย (Interest Rate) อ้างอิงจากข้อมูล
ย้อนหลังถึงปี 2021 จากธนาคารแห่งประเทศไทยโดยที่อัตรา
ดอกเบี้ยที่ต่ำที่สุด 0.5 เปอร์เซ็นต์ และสูงที่สุด 3 เปอร์เซ็นต์
จึงนำดอกเบี้ยที่ต่ำและสูงที่สุดมาคำนวณ ดังตารางที่ 4
รูปที่ 8 กราฟแสดงผลกำไรสุทธิใน 10 ปี ต่อจำนวนแฮงค์เกอร์
ตารางที่ 4 แสดงให้เห็นถึงว่าถ้าคำนึงถึงค่าใช่จ่ายจำนวน
งานระหว่างกระบวนการระหว่างสายการผลิตที่เหมาะสม คือ
13 คัน โดยที่มีแฮงค์เกอร์ทั้งหมด 13 ตัว

128
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

4. สรุป จำนวนรถที่ถูกผลิตเฉลี่ยต่อวันก็จะคงที่ หรือไม่สามารถเพิ่มขึ้น


4.1 การวิเคราะห์การกำหนดจำนวนแฮงค์เกอร์โดยไม่ อีกได้ ดังนั้นการลดปัญหาที่เกิดขึ้นในสายการผลิตดังตารางที่
คำนึงถึงค่าใช้จ่าย 6 เป็นวิธีที่จะสามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตได้มากกว่า
จากผลการวิเคราะห์ความไวดังตารางที่ 1 สามารถสรุปได้ เช่น ปรับปรุง Cycle Time แต่ละสถานีการทำงาน หรือ ลด
ว่าจำนวนระหว่างกระบวนการและแฮงค์เกอร์ที่เพิ่มขึ้น ส่งผล ความไม่แน่นอนของในการจัดส่งชิ้นส่วนเข้าสายการประกอบ
ให้ประสิทธิภ าพการผลิต และจำนวนรถผลิตต่อวันเพิ่มขึ้น เป็นต้น
อย่างต่อเนื่องจนถึงจุดที่จำนวนงานระหว่างกระบวนการและ การวิเคราะห์ต้นทุนค่าเสียโอกาสสามารถวิเคราะห์เพิ่มใน
แฮงค์ เ กอร์ ม ี ค ่ า 17 คื อ จุ ด ที ่ เ มื ่ อ เพิ ่ มจำนวนงานระหว่าง ส่ ว นของค่ า ใช้ จ่ า ยสาธารณู ป โภค และค่ า เสื ่ อ มราคาของ
กระบวนการและแฮงค์เกอร์ ก็ไม่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการ เครื ่ อ งจั ก รในแต่ ล ะสายการผลิ ต เพื ่ อ ให้ ก ารคำนวณ
ผลิตและจำนวนรถที่ผ ลิตต่อวัน ดัง นั้นจำนวนงานระหว่าง ผลตอบแทนในการลงทุนเพิ่มจำนวนแฮงค์เกอร์มีความแม่นยำ
กระบวนการและแฮงค์เกอร์ที่เหมาะสมที่สุดในระบบการผลิต ขึ้น
ของโรงงานกรณีศึกษา คือ 17 ตัว โดยที่ประสิทธิภาพการผลิต การสร้างแบบจำลองสถานการณ์ของโรงงานกรณีศ ึ กษา
เฉลี่ยเพิ่มขึ้นจาก 78.2 เปอร์เซ็นต์ เป็น 86.2 เปอร์เซ็นต์ ไม่ได้คำนึงถึง FTQ (First Time Quality) และ DPU (Defects
4.2 การวิเคราะห์การกำหนดจำนวนแฮงค์เกอร์โดยคำนึงถึง Per Unit) ซึ่งเป็นอีกปัจจัยที่เป็นความไม่แน่นอนในการผลิตใน
ค่าใช้จ่าย แง่ของคุณภาพ
จากการวิเคราะห์โดยไม่คำนึงถึงค่าใช้จ่ายสามารถสรุปได้
เบื้องต้น ว่าจำนวนงานระหว่างกระบวนและ แฮงค์เกอร์ที่ 6. กิตติกรรมประกาศ
เหมาะสมที่ส ุดคือ 17 ตัว แต่การสรุปผลดัง กล่าวยัง ไม่ ไ ด้ ขอขอบคุ ณ บริ ษ ั ท กรณี ศ ึ ก ษาที ่ อ นุ เ คราะห์ ข ้ อ มู ล เพื่อ
คำนึงถึงค่าใช้จ่ายในการลงทุนแฮงค์เกอร์ที่เกิดขึ้น และผลตอบ นำมาใช้ในการทำงานวิจัยในครั้งนี้
แทบที่ได้รับ จึงได้วิเคราะห์ความไวโดยกำหนดระยะเวลา 10
ปีหลังจากการลงทุนเพิ่มจำนวนแฮงค์เกอร์ ดังตารางที่ 4 สรุป เอกสารอ้างอิง
ได้ ว ่ า จำนวนงานระหว่ า งกระบวนการและแฮงค์ เ กอร์ ที่ 1. รุ่งรัตน์ ภิสัช เพ็ญ. 2553. คู่มือการสร้างแบบจำลองด้วย
เหมาะสมที่สุดในแง่ของค่า ใช่จ่ายของโรงงานกรณีศึกษา คือ โปรแกรม Arena (ฉบับปรับปรุง ). พิมพ์ค รั้งที่ 1. ซีเอ็ด
13 ตัว โดยที่ผ ลตอบแทนสุทธิที่ได้ในระยะเวลา 10 ปี คือ ยูเคชั่น, กรุงเทพฯ
5.048 ล้านบาท ที่อัตราดอกเบี้ย 0.5% และ 4.318 ล้านบาท 2. นุชิดา อาจวิชัย. 2542. การประยุกต์ใช้โปรแกรม Arena
ที่อัตราดอกเบี้ย 3 เปอร์เซ็นต์ ในการจําลองรูปแบบปัญหาด้วย คอมพิวเตอร์: กรณีศึกษา
ระบบแถวคอยของสายการประกอบปื น อี เ ล็ ก ตรอน.
5. ข้อเสนอแนะ โครงงานทางวิศวกรรมปริญญาวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต ,
การกำหนดจำนวนงานระหว่างกระบวนการ และแฮงค์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
เกอร์ ร ะหว่ า งสายการผลิ ต ที ่ เ หมาะสมนั ้ น สามารถเพิ่ ม 3. Altiok, T., Melamed, B. 2007. Simulation Modeling
ประสิทธิภาพการผลิต ได้แค่ในระดับหนึ่ง ซึ่งสังเกตได้ว่าการ and Analysis with Arena. Academic Press Inc.3.
เพิ่มจำนวนงานระหว่างกระบวนการ และแฮงค์เกอร์ถึงจุดหนึ่ง

129
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

Arnberg, L. and Mo, A., 2008, Castability-Fluidity


and Hot Tearing, Metals Handbook, ASM, pp. 375.
4. Chakravorty, S., and B., Atwater. 2006. Bottleneck
management: theory and practice. Production
Planning & Control 17(5): 441-447.
5. Goldratt, E. M. 1990. Theory of constraints. North
River Press Inc.

130
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

การปรับปรุงประสิ ทธิ ภาพการผลิ ตทุเรียนอบกรอบ


The efficiency improvement of the crispy durian production

ธภัทร วงศ์อาจ1* ดวงกมล สาหา2* ปาริชาต ชื่นวัฒนกุล3*


1,2,3ภาควิชาอุตสาหการคณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รงั สิต อาเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12121
E-mail: thapat.won@dome.tu.ac.th1*, duangkamol.sah@dome.tu.ac.th2* ,

บทคัดย่อ
งานวิจยั นี้มวี ตั ถุประสงค์ในการปรับปรุงประสิทธิภาพของสายการผลิตทุเรียนอบกรอบ ซึ่งใช้แรงงานคนเป็ นหลักใน
การแปรรูปทุเรียน ทาให้ผลผลิตไม่สม่าเสมอ และต่ากว่าเป้ าหมายของบริษทั โดยนาแผนภาพสายธารคุณค่า (Value Stream
Mapping: VSM) มาใช้ในการวิเคราะห์ความสูญเปล่าของสายการผลิต และปรับสมดุลสายการผลิต โดยลดความสูญเปล่าด้วย
การประยุกต์ใช้หลักการ ECRS ผลจากการปรับปรุงพบว่าผลิตภาพเพิม่ ขึน้ โดยสายการผลิตทุเรียนแช่แข็งผลิตภาพเพิม่ ขึน้ จาก
12.1 เป็ น 13.4 กิโลกรัม/คน/ชัวโมง ่ สายการผลิตทุเรียนอบกรอบผลิตภาพเพิม่ ขึน้ จาก 3.4 เป็ น 4.4 กิโลกรัม/คน/ชัวโมง
่ สาย
การบรรจุทุเรียนอบกรอบผลิตภาพเพิม่ ขึน้ จาก 2.1 เป็ น 2.6 กิโลกรัม/คน/ชัวโมง
่ เวลารวมในการผลิตลดลงจาก 177.82 เหลือ
156.54 วินาที และพนักงานลดลง 2 คน

คาสาคัญ : การผลิตทุเรียนอบกรอบ ระบบการผลิตแบบลีน การจัดสมดุลสายการผลิต การเพิม่ ผลิตภาพ สายธารคุณค่า

Abstract
The objective of this research is to improve crispy durian production performance. Using workers in durian
processing those make products are unstable and lower than target. Value Stream Mapping (VSM) was also used to
analyze the wastes of the production line and improve line balancing. These wastes were decreased by apply ECRS
method. The result showed that frozen durian production productivity improvement increased from 12.1 to 13.4
kg/person/hour, crispy durian production productivity improvement increased from 3.4 to 4.4 kg/person/hour, crispy
durian containing productivity improvement increased from 2.1 to 2.6 kg/person/hour, total time in production decreased
from 177.82 to 156.54 seconds and one employee was reduced.

Keywords : crispy durian production, Lean production, Line balancing, Productivity improvement, Value stream
mapping (VSM)
131
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

1. บทนา VSM คือ แผนภาพการใช้แสดงกิจกรรมทัง้ ทีเ่ พิม่ คุณค่า


การแปรรู ป ผลไม้ถือเป็ นอุตสาหกรรมที่มคี วามส าคัญ และไม่เพิม่ คุณค่าที่จาเป็ นสาหรับการผลิตสินค้า โดยแสดง
เนื่องจากผลผลิตทางการเกษตรมีอ ายุการเก็บรักษาที่ส นั ้ การไหลทัง้ ข้อมูลและวัตถุดบิ ตลอดโซ่อุปทาน เป้ าหมายเพื่อ
โดยเฉพาะผลไม้ตามฤดูกาลอย่างทุเรียน ซึ่งเป็ นทีน่ ิยมและ แสดงให้เห็นความสูญเสียทัง้ หมดในสายธารคุณค่า [2]
มีร าคาสูง ผู้ผลิต ในอุต สาหกรรมแปรรูป ทุเ รีย นอบกรอบ หลักการ ECRS เป็ นหลักการที่ประกอบด้วยการกาจัด
จาเป็ นต้อ งวางแผนแปรรูปทุเรียนในเบื้องต้นเพื่อยืดอายุ (Eliminate) ก า ร ร ว ม กั น (Combine) ก า ร จั ด ใ ห ม่
การเก็บรักษา โดยทาการแกะเปลือกเพื่อนาเนื้อที่ได้ไปแช่ (Rearrange) และการทาให้ง่าย (Simplify) ซึ่งเป็ นหลักการ
แข็ง และนาออกมาแปรรูปโดยการหันเพื ่ ่อเข้าอบ หลังจาก ที่สามารถใช้ในการเริ่มต้นลดความสูญเปล่าได้เป็ น อย่า งดี
นัน้ นามาบรรจุใส่ถุงภายหลังตามคาสังซื
่ ้อของลูกค้า [3]
จากการศึกษาสภาพปั จจุบนั ของกระบวนการแปรรูป 2.4 อัตราความต้องการของลูกค้า (Takt Time)
ทุเรียนอบกรอบของโรงงานกรณีศึกษาพบว่าผลผลิตที่ทา การกาหนดจังหวะการผลิตสินค้าต่อกิโลกรัมให้เป็ นไปตาม
ได้ในแต่ละวันไม่สม่าเสมอ และได้ต่ากว่าเป้ าหมายที่ทาง จังหวะทีล่ ูกค้าต้องการ สามารถคานวณได้ดงั สมการที่ (1)
โรงงานต้องการ โดยมีการสูญเปล่าเกิดขึ้น ในขัน้ ตอนการ
ผลิต และกระบวนการผลิตไม่ต่อเนื่อง ในงานวิจยั นี้จงึ ได้นา Takt Time = เวลาในการผลิต (วินาที) (1)
ระบบการผลิตแบบลีนมาประยุกต์ใช้เพื่อลดความสูญเปล่า เป้ าหมายในการผลิตต่อวัน
และนาหลักการ ECRS มาปรับปรุงกระบวนการผลิต และ
วิธีทางานของพนักงานให้มีประสิทธิภาพเพิม่ ขึ้น รวมทัง้ 2.3 อัตราผลผลิต (Productivity)
ปรั บ ปรุ ง เวลางานในแต่ ล ะขัน้ ตอนให้ มี ค วามสมดุ ล อัตราผลผลิตหรือผลิตภาพเป็ นการวัดค่าประสิทธิภาพ
สม่าเสมอ ของกระบวนการผลิต โดยหน่วยเป็ นกิโลกรัม/คน/ชัวโมง

สามารถคานวณได้ดงั สมการที่ (1)
2. ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
2.1 ระบบการผลิตแบบลีนและลดความสูญเปล่า Productivity = จานวนเนื้อทุเรียนทีแ่ กะได้ต่อวัน (2)
ระบบการผลิตแบบลีน เป็ นระบบการผลิตที่สามารถลด (เวลาในการผลิต)(จานวนพนักงาน)
ต้ น ทุ น ลดความสู ญ เปล่ า และลดความสู ญ เสีย โอกาส
ทางการผลิตได้ ระบบการผลิตแบบลีนเป็ นการเริม่ พิจารณา 2.4 ประสิ ทธิ ภาพสายการผลิต (Efficiency)
การ ก าจั ด คว ามสู ญ เ ปล่ า ทั ้ง หมดในกร ะบวนการที่ เป็ นการเปรียบเทียบระหว่างความสามารถทีเ่ ครื่องจักร
โรงงานผลิต [1] โดยมีหลักการกาจัดความสูญเปล่าที่ทาให้ หรือพนักงานทางาน กับระดับผลลัพธ์มาตรฐาน หน่วยที่ใช้
การรอคอยเป็ นศูนย์ (Zero waiting time) สินค้าคงคลังเป็ น จะออกมาเป็ น (%) สามารถคานวณได้ดงั สมการที่ (2)
ศูนย์ (Zero inventory)
การผลิต แบบลีน เป็ น การติด ตามความสูญ เปล่าเพื่อ Efficiency = เวลามาตรฐาน x 100 (3)
กาจัดให้หมดไปจากระบบอย่างไม่มที ี่ส้นิ สุด โดยความสูญ (รอบเวลาการผลิตสูงสุด)(จานวนสถานีงาน)
เปล่านัน้ คือทุกๆสิง่ ทีไ่ ม่เกิดคุณค่าแก่ผลิตภัณฑ์

132
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

2.4 งานวิจยั ที่เกี่ยวข้อง 1) สายการผลิตทุเรียนแช่แข็ง ประกอบด้วย 4 สถานี


สิรกิ ร อุดทอตรัตน์ เตือนใจ สมบูรณ์ววิ ฒ ั น์ และเจริญ งาน มี พ นั ก งานทั ง้ หมด 53 คน อั ต ราผลผลิ ต 12.1
ชัย โขมพัต ราภรณ์ (2564) เป็ นการประยุกต์ใช้หลักการ กิโลกรัม/คน/ชัวโมง
่ และประสิทธิภาพสายการผลิต 43 %
ผลิตแบบลีน โดยแผนภาพสายธารคุณค่าในการปรับ ปรุ ง มีเป้ าหมายในการแปรรูปทุเรียนแช่แข็งในช่วงฤดูกาล วัน
ประสิ ท ธิ ภ าพสายการผลิ ต และลดความสู ญ เปล่ า ใน ละ 4,560 กิโลกรัม เพื่อสต็อกไว้รองรับความต้องการของ
กระบวนการ [4] ลูกค้าตลอดทัง้ ปี โดยสายการผลิตทุเรียนแช่แข็งปัจจุบนั มี
สุ ร ีย์ ร ัต น์ พงศ์ กิ ต ติ ทัต วัน ชัย แหลมหลัก สกุ ล และ อัต ราความต้ อ งการเนื้ อ ทุ เ รีย นแช่ แ ข็ง ของลู ก ค้า (Takt
นราธิป แสงซ้าย (2555) ได้วเิ คราะห์กระบวนการผลิต ด้วย Time) เท่ากับ 5.39 วินาทีต่อกิโลกรัม ดังแสดงในรูปที่ 1
แผนผังสายธารคุณค่าและปรับปรุง ด้วยวิธไี คเซน (Kaizen)
บนพืน้ ฐานของระบบลีนเพื่อลดความสูญเปล่าและลดต้นทุน
[5]
บุ ษ บา พฤกษาพัน ธุ์รัต น์ แ ละ พชร อุ ไ รพงษ์ (2556)
ได้ ท าการศึ ก ษาหลัก การของลี น และน ามาใช้ ใ นการ
วิเ คราะห์ค วามสูญ เปล่า ของสายการผลิต และปรับ ปรุ ง รูปที่ 1 เวลาทางานของพนักงานสายการผลิตทุเรียนแช่
สายการผลิ ต ด้ ว ยวิธี ECRS เพื่อ พิจ ารณาปรับ สมดุ ล แข็งเทียบกับอัตราความต้องการของลูกค้า
สายการผลิต ใช้การจาลองสถานการณ์ ส ายการผลิต ด้ว ย
โปรแกรมคอมพิวเตอร์ [6] เ พื่ อ แส ดง ผ ลปร ะ สิ ท ธิ ภ าพ 3.2 สายการผลิตทุเรียนอบกรอบ
สายการผลิตทัง้ ก่อนและหลังการปรับปรุง ประกอบด้วย 3 สถานีงาน มีพนักงาน 24 คน มีอตั รา
ผลผลิต 3.4 กิโลกรัม/คน/ชัว่ โมง และประสิทธิภาพของ
3. สภาพปัจจุบนั สายการผลิต เท่ากับ 66.3% มีเป้ าหมายแปรรูปทุเรียนอบ
ในการวิ เ คราะห์ ส ภาพการด าเนิ น งานปั จจุ บ ั น กรอบวันละ 630 กิโลกรัม เพื่อ สต๊อ กไว้ร อจาหน่ ายตาม
ด าเนิ น การเก็บ รวบรวมข้อ มู ล และเวลาการท างานของ คาสังซื
่ ้อของลูกค้า ซึ่งอัตราความต้องการทุเรียนอบกรอบ
พนั ก งานแต่ ล ะคนที่ใ ช้ใ นการปฏิบ ัติง านเทีย บกับ อัต รา ของลูกค้า (Takt Time) เท่ากับ 40 วินาที/กิโลกรัม ดังรูปที่
ความต้องการของลูกค้า แต่เ นื่อ งจากกระบวนการผลิต ไม่ 2
ต่อ เนื่อ ง มีการแปรรูปในขัน้ ต้นเพื่อ ยืดอายุการเก็บรักษา
โดยการแกะเปลือกและนาเนื้อทุเรียนไปแช่แข็ง จากนัน้ จะ
เบิกเนื้อทุเรียนมาแปรรูปอบกรอบเก็บใส่ถุงสต็อกไว้ และจะ
ทาการบรรจุเมื่อลูกค้าสังซื
่ ้อสินค้าดังนัน้ การวิเคราะห์กาลัง
การผลิต จะแบ่ง เป็ น 3 ช่ว งการผลิต เพื่อให้ส อดคล้องกับ
การทางานของบริษทั
3.1 สายการผลิตทุเรียนแช่แข็ง
รูปที่ 2 เวลาทางานของพนักงานสายการผลิตทุเรียนอบ
กรอบเทียบกับอัตราความต้องการของลูกค้า
133
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

3.3 สายการบรรจุทุเรียนอบกรอบ งาน จึง นาหลักการของระบบการผลิต แบบลีน ที่มุ่ง เน้น


สายการบรรจุ อ บกรอบ ใช้พ นั ก งานทัง้ หมด 22 คน ปรับ สายการผลิต ให้มีก ารไหลของงานที่ส มดุ ลในแต่ละ
หลังจากถ่ายถาด ทุเรียนอบกรอบจะถูกสต็อกเก็บรักษาไว้ ขัน้ ตอน และลดความสูญเปล่าในขัน้ ตอนทีเ่ ป็ นคอขวด โดย
ในคลังเพื่อรอบรรจุตามคาสังซื ่ ้อของลูกค้า โดยจะบรรจุลง ใช้หลักการECRS โดยมีการปรับปรุงสายการผลิตทุเรียน
ถุงเล็กถุงละ 50 กรัม หลังจากนัน้ จะแพ็คใส่ถุงถุงใหญ่แพ็ แช่แข็ง ดังนี้
คละ 15 ถุ ง และบรรจุลงกล่อ ง กล่อ งละ 2 แพ็ค ปั จจุบ ัน 4.1.1 สถานีแกะเปลือกทุเรียน ปรับปรุงโดยการใช้หลักการ
บรรจุได้ว ันละ 323 กิโลกรัม มีเ ป้ าหมายการบรรจุว ันละ
(Eliminate) กาจัดขัน้ ตอนเบิกทุเรียนมายังจุดวางพักออก
385 กิโลกรัม มีอตั ราการบรรจุทุเรียนอบกรอบตามความ
และใช้หลักการการจัดใหม่ (Rearrange)และการทาให้ง่าย
ต้องการลูกค้า(Takt Time) 64.99 วินาที/กิโลกรัม รอบเวลา
(Simplify) โดยให้พนักงานเบิกทุเรียนมาไว้ที่จุด วางพักใน
ที่ใ ช้ใ นการผลิต ปั จ จุ บ ัน เท่ า กับ 78.56 วิน าที/ กิโ ลกรัม
อัตราผลผลิต 2.1กิโลกรัม/คน/ชัวโมงและประสิ
่ ทธิภาพของ ห้อ งแกะเปลือ กก่อ นเลิกงาน เพื่อ วันรุ่ ง ขึ้นจะได้ข นย้า ย
สายการผลิ ต เท่ า กั บ 50.8% จึ ง ต้ อ งท าการปรั บ ปรุ ง ทุ เ รีย นเข้ า จุ ด ท างานและเริ่ม แกะเปลื อ กได้ ทัน ที และ
กระบวนการผลิต พนักงานไม่ต้องรอเบิกทุเรียนและยังสามารถลดพนักงาน
เบิกทุเรียนได้ 1 คน
4.1.2 ปรับสมดุลสายการผลิตเพื่อลดคอขวด โดยปรับปรุง
4.แนวทางการปรับปรุง
วิธี ก ารท างานและผัง สถานี แ กะเปลื อ กทุ เ รีย นใหม่ ใ น
ใ ช้ VSM วิ เ ค ร า ะ ห์ ค ว า ม สู ญ เ ป ล่ า ที่ เ กิ ด ขึ้ น ใน
ขัน้ ตอนการจัดเรียง ดัง รู ป ที่ 3 โดยใช้หลักการการทาให้
กระบวนการ เพื่อ ระบุ ว่ า กิจ กรรมใด คือ กิจ กรรมที่เ พิ่ม
คุณค่าให้แก่ผลิตภัณฑ์ ง่ า ย (Simplify) และการจั ด ใหม่ ( Rearrange)เพื่ อ ให้
(Value Added Activity : VA) กิจกรรมที่ไม่ได้เ พิ่ม คุ ณ ค่ า พนั ก งานท างานได้ง่ า ยขึ้น เนื่ อ งจากจากเดิม เมื่อ ถาด
แก่ ผ ลิ ต ภัณ ฑ์ (Non Value Added Activity : NVA) หรือ ลาเลีย งมาบนสายพานพร้อ มกัน พนักงานจะไม่ส ามารถ
กิ จ กรรมที่ จ าเป็ น แต่ ไ ม่ ไ ด้ เ พิ่ม คุ ณ ค่ า ให้กับ ผลิ ต ภัณ ฑ์ จัดเรีย งได้ทัน และยัง ต้อ งใช้มือดันถาดไว้ไม่ ให้ถาดหล่น
(Necessary Non Value Added : NNVA) ดังรูปที่ 5 (ท้าย ระหว่ า งท างาน ท าให้ ท างานไม่ ถ นั ด เกิ ด ความล่ า ช้ า
บทความ) เพื่อหาแนวทางการปรับปรุงในการลดงานที่ไม่ ปรับปรุงโดยเพิม่ โต๊ะ 1 ตัว สาหรับวางถาด ทาให้ทางานได้
ก่อให้เกิดคุณค่าทิ้งไป สะดวกและการไหลของสายการผลิ ต ดี ข้ึ น และเพิ่ ม
4.1 การปรับปรุงสายการผลิตทุเรียนแช่เข็ง พนักงานจัดเรีย งทุเ รีย น 1 คนโดยย้ายจากขัน้ ตอนเบิก
จากการวิเคราะห์ลกั ษณะกิจกรรมของสายการผลิตดัง ทุเรียน
ตารางที่ 1
พบว่ามีการว่างงานของพนักงาน มีการรอคอยวัตถุดบิ และ
ความไม่สมดุลของสายการผลิต โดยมีจุดคอขวดในสถานี

134
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

ตารางที่ 1 เวลาทีใ่ ช้โดยจาแนกตามลักษณะกิจกรรมของสายการผลิตก่อนปรับปรุง


กิจกรรม สายการผลิตทุเรียนแช่แข็ง สายการผลิตทุเรียนอบกรอบ สายการบรรจุทุเรียนอบกรอบ
เวลา (วินาที) เปอร์เซ็นต์ (%) เวลา (วินาที) เปอร์เซ็นต์ (%) เวลา (วินาที) เปอร์เซ็นต์ (%)
VA 6.18 46.54 58.25 67.67 52.28 53.24
NNVA 3.44 25.90 25.08 29.14 12.78 13.01
NVA 3.66 27.56 2.75 3.19 33.14 33.75
รวม 13.28 100 86.08 100 98.2 100

รูปที่ 4 เครื่องหันทุ
่ เรียน
ก่อนปรับปรุง หลังปรับปรุง ซึ่ง ใช้เ งินลงทุนสร้างเครื่องหัน่ ทุเรียน 3,800 บาท/เครื่อง
รูปที่ 3 ปรับปรุงสายการผลิตของขัน้ ตอนจัดเรียงทุเรียน เครื่อ งจัก ร 1 เครื่อ งหัน่ ได้เ ฉลี่ย 158.6 kg/วัน ต้ อ งใช้
เครื่องจักรจานวน 4 เครื่อง ถึงจะได้ผลผลิตตามเป้ าหมาย
4.1.3 ขัน้ ตอนยกทุ เ รีย นจากจุด ชัง่ น้ า หนั ก ขึ้น ใส่โพลเล่ และยังสามารถ ลดต้นทุนแรงงานได้วนั ละ 325 บาท ดังนัน้
เนื่ อ งจากขนาดความกว้า งโพลเล่ ไ ม่ เ ท่ า กัน ท าให้ถ าด จะได้
ทุเ รีย นร่ ว งตกง่าย ทาการปรับ ปรุง โดยเปลี่ย นให้มีความ เงินลงทุนทัง้ หมด 3,800 x 4 = 15,200 บาท
กว้างเท่ากันตามมาตรฐานทีก่ าหนด อัตราคิดลด = 6.87 % ต่อปี
4.2 การปรับปรุงสายการผลิตทุเรียนอบกรอบ ใน 1 ปี จะลดค่าใช้จ่ายไปได้ 297 x 325 =96,525 บาท
มีข นั ้ ตอนที่ไม่ก่อ ให้เ กิดคุณ ค่า และ มีการรอคอยงาน NPV = -15,200 + 96525
เนื่องจากความไม่สมดุลของสายการผลิตและมีจุดคอขวด (1+6.87)1
ในสถานีหนทุ ั ่ เรียน ทาให้ผลผลิตไม่เป็ นไปตามเป้ าหมายที่ = 75,120 บาท
ต้องการตามมาตรฐานทีก่ าหนด กล่าวคือ ในระยะเวลา 1 ปี ก็สามารถสร้างผลกาไรได้
4.2.1 สถานีหนทุ ั ่ เรียน เป็ นสถานีคอขวด ทาให้เกิดการรอ ซึ่ง ระยะเวลาคืนทุน (DPB) = 0 + 15,200
คอยงานในขัน้ ตอนการชังน ่ ้ าหนัก จึง ทาการปรับ ปรุ ง ได้ 90,320 = 0.17 ปี
สร้างเครื่องหันทุ ่ เรียน ดังรูปที่ 4 ทาให้อตั ราการผลิตเร็วขึน้ ดังนัน้ ในระยะเวลา 2 เดือน ก็สามารถคืนทุนได้
4.2.2 สถานี ถ่ า ยถาด ใช้ห ลัก การ (Eliminate)และการ
รวมกัน (Combine) ในการตัดขัน้ ตอนการขนย้ายโพลเล่

135
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

จากหน้าเครื่องอบไปวางรอหน้าห้องถ่ายถาดเพื่อส่งต่อให้ สาย เวลาการผลิต ปริมาณการผลิต ผลิตภาพ ประสิ ทธิ ภาพ


คนในห้องออก และรวมขัน้ ตอนคือให้พนักงานขนย้ายที่อยู่ การ (วินาที/kg) (kg/วัน) (kg/คน/ชัวโมง)
่ (%)
ผลิต ก่อน หลัง ก่อน หลัง ก่อน หลัง ก่อน หลัง
ภายในห้องมาขนย้ายจากหน้าเครื่องอบเข้าไปจุดทางานได้
แช่ 13.18 11.51 4380 4835 12.1 13.4 43 53.4
เลย ทาให้ลดพนักงานได้ 1 คน แข็ง
4.3 การปรับปรุงสายการบรรจุทุเรียนอบกรอบ อบ 86.11 81.67 565 716 3.4 4.4 66 68.3
กรอบ
มีข นั ้ ตอนที่ไม่ก่อ ให้เ กิดคุณ ค่าขึ้นและมีจุดคอขวดใน บรรจุ 98.2 63.4 323 418.6 2.1 2.6 50.8 53.6
ขัน้ ตอนการใส่เบาท์เนื่องจากเป็ นขัน้ ตอนที่ต้องประณีตใน
การใส่ ส่ง ผลให้พนักงานทางานช้าและผลผลิต ไม่ ได้ตาม ซึ่ง ในการวิจัย นี้มีข้อ จากัด ที่ทางบริษัทต้อ งการปรับปรุง
เป้ าหมาย สายการผลิ ต โดยมี เ ป้ าหมายแยกเป็ น 3 ส่ ว น คื อ
4.3.1 ขัน้ ตอนคัดแยกชิน้ เสีย พนักงานต้องเททุเรียนจากถุง สายการผลิตทุเรียนแช่แข็ง สายการผลิตทุเรียนอบกรอบ
ใส่ถ าด เพื่อ คัดแยกชิ้นเสียออก จากนัน้ ใช้จานและมือ ใน และสายการบรรจุทุเรียนอบกรอบ ซึ่งหากทาการวิจยั เพื่อ
การตักทุเรียนใส่ถุงเพื่อรอบรรจุ จึงทาการปรับปรุงวิธีการ ปรับปรุงกระบวนผลิตทัง้ โรงงานให้มคี วามต่อเนื่อง คาดว่า
ตัก ทุ เ รีย นใส่ ถุ ง งานให้ง่ า ย (Simplify) และรวดเร็ว โดย จะสามารถลดความสูญเปล่าและลดความซ้าซ้อ นในการ
เปลีย่ นจากใช้จานมาใช้เป็ นทีต่ กั น้าแข็ง ทางานได้เพิม่ ขึน้ กว่านี้
4.3.2 ขัน้ ตอนการตรวจสอบความช ารุ ด ของถุ ง เป็ น
กิจกรรมที่จาเป็ นแต่พบว่าการตรวจสอบไม่มปี ระสิท ธิภาพ 6. กิ ตติ กรรมประกาศ
เนื่องจากต้องเร่งตรวจสอบเพื่อป้ อนเข้าสายการผลิต จึงทา
ขอขอบคุณบริษทั กรณีศกึ ษา ทีอ่ นุเคราะห์ขอ้ มูลในการ
การปรับปรุงโดยย้ายการตรวจสอบความชารุดของถุง ไปทา
ทาวิจยั ผู้เชี่ยวชาญและพนักงานของทางโรงงานทุ กท่ าน
ในขณะใส่เบาท์แทน ซึ่งมีเวลาเพียงพอในการตรวจสอบ
อาจารย์ทปี่ รึกษาทีใ่ ห้ความช่วยเหลือและคาแนะนา รวมไป
ความชารุดของถุงได้
ถึง ภาควิช าวิศวกรรมอุต สาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์ ทีส่ นับสนุนการวิจยั นี้
5. สรุปผลและข้อเสนอแนะ
งานวิจัย นี้ ได้นาหลักการ VSM มาวิเ คราะห์หาความ 7. เอกสารอ้างอิ ง
สูญเปล่าที่เกิดขึ้นในกระบวนการ และทาการปรับปรุงเพื่อ
1. Desintum G, 2004, How to go beyond lean. 1st ed.
ลดความสู ญ เปล่ า โดยใช้ ห ลัก การ ECRS ผลจากการ
Bangkok: SE-ED.
ปรับปรุงดังรูปที่ 6 ทาให้กระบวนการผลิตทุเรียนอบกรอบ
2. Abdulmalek FA and Rajgopal J., 2007, “Analyzing
มีป ระสิท ธิภ าพมากขึ้น เวลารวมในการผลิต ลดลงจาก
the benefit of lean manufacturing and value stream
289.96 วินาที เหลือ 264.11 วินาที และลดจานวนพนักงาน
mapping via simulation: A process sector case
ได้ 2 คนโดยผลลัพธ์ตวั ชีว้ ดั ต่างๆ แสดงดังตารางที่ 2
study”, Int.J. Prod. Econ.,Vol.107: pp.223-236.
ตารางที่ 2 เปรียบเทียบภาพรวมของกระบวนการผลิต
3. Jirapattarasin K, 1996, Industrial work study. 1st ed.
Bankok: Chulalongkorn Publisher (In Thai).

136
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

4. สิรกิ ร อุดทอตรัตน์ เตือนใจ สมบูรณ์ววิ ฒ ั น์ และเจริญ


ชัย โขมพัตราภรณ์, 2564,“การผลิตแบบลีนของชิน้ ส่วน
ตู้นวดในการประกอบรถเกี่ย วนวดข้าว.”,การประชุ ม
วิ ช าการพั ฒ นาการด าเนิ น งานทางอุ ต สาหกรรม
แห่งชาติ ครัง้ ที่ 12,หน้า 1-8.
5. สุ ร ีย์ ร ัต น์ พงศ์ กิ ต ติ ทัต วัน ชัย แหลมหลัก สกุ ล และ
นราธิป แสงซ้าย, 2555,“การปรับปรุงประสิทธิภาพของ
ส าย กร ะ บ ว นการ ผ ลิ ต ชิ้ น ส่ ว น อุ ป กร ณ์ ส า ห รั บ
เครื่องปรับอากาศภายในรถยนต์.”, การประชุมวิชาการ
ข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ, หน้า 1-8.
6. บุ ษ บา พฤกษาพัน ธุ์ รัต น์ แ ละ พชร อุ ไ รพงษ์ , 2556,
“การวิเคราะห์ปรับปรุงสายการผลิตตามการผลิต แบบ
ลี น โดยอาศัย การจ าลองสถานการณ์ : กรณี ศึ ก ษา
โร ง ง านอุ ต ส าหกร ร มอิ เ ล็ ก ทร อ นิ กส์ ”,ว า ร ส า ร
ธรรมศาสตร์, ปี ที่ 1, ฉบับที่ 1, หน้า 1-9.

137
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

รับซื้อ ชุบน้ายา คัดแยก แกะเปลือก หันทุ


่ เรียน เข้าตู้อบ ถ่ายถาด บรรจุ

พนักงาน พนักงาน พนักงาน พนักงาน พนักงาน พนักงาน พนักงาน 12


พนักงาน 22 คน
8 คน 1 คน 6 คน 38 คน 12 คน 0 คน คน
C/T = 1.56 sec C/T = 1.63 sec C/T = 2.34 sec C/T = 7.65 sec C/T = 43.32 sec C/T = 22.8 sec C/T = 19.96 sec C/T = 78.56 sec

V/A = 0.78 sec V/A = 0.8 sec V/A = 2.1 sec V/A = 2.5 sec V/A = 22.4 sec V/A = 22.8 sec V/A = 13.05 sec V/A = 52.28 sec
NNVA = 0.78 NNVA = 0.83 NNVA = 0.34 NNVA = 1.49 NNVA = 20.92 NNVA = 4.16
NNVA = 12.78sec
sec sec sec sec sec sec
NVA = 3.66 sec NVA = 2.75 sec NVA = 33.14 sec

1.56 sec 1.63 sec 2.34 sec 7.65 sec 43.32 sec 22.8 sec 19.96 sec 78.56 sec Total Lead Time = 177.82sec
0.78 sec 0.8 sec 2.1 sec 2.5 sec 22.4 sec 22.8 sec 13.05 sec 64.5 sec Total VA Time = 128.93 sec
0.78 sec 0.83 sec 0.24 sec 1.49 sec 20.92 sec 4.16 sec 12.78 sec Total NNVA Time = 41.2sec
3.66 sec 2.75 sec 7.22 sec Total NVA Time = 13.63 sec

Activity Ratio = 72.5%

รูปที่ 5 แผนภูมสิ ายธารคุณค่าสถานะก่อนปรับปรุง

รับซื้อ ชุบน้ายา คัดแยก แกะเปลือก หันทุ


่ เรียน เข้าตู้อบ ถ่ายถาด บรรจุ

พนักงาน พนักงาน พนักงาน พนักงาน พนักงาน พนักงาน พนักงาน 11


พนักงาน 22 คน
6 คน 1 คน 6 คน 40 คน 11 คน 0 คน คน
C/T = 2.56 sec C/T = 1.54 sec C/T = 2.34 sec C/T = 5.07 sec C/T = 33.44 sec C/T = 22.8 sec C/T = 25.4 sec C/T = 63.39 sec
V/A = 1.61 sec V/A = 0.9 sec V/A = 2.2 sec V/A = 2.03 sec V/A = 19.5 sec V/A = 22.8 sec V/A = 22.72 sec V/A = 49.32 sec
NNVA = 0.95 NNVA = 0.64 NNVA = 0.14 NNVA = 1.26 NNVA = 13.94 NNVA = 2.68
NNVA =14.1 sec
sec sec sec sec sec sec

2.56 sec 1.54 sec 2.34 sec 5.07 sec 33.44 sec 22.8 sec 25.4 sec 63.39 sec Total Lead Time = 156.54sec
0.92 sec 0.9 sec 2.2 sec 2.03 sec 19.5 sec 22.8 sec 22.27 sec 49.32 sec Total VA Time = 119.94sec
0.95 sec 0.64 sec 0.14 sec 1.26 sec 13.94 sec 2.68 sec 14.1 sec Total NNVA Time =36.6 sec

Activity Ratio = 76.6%

รูปที่ 6 แผนภูมสิ ายธารคุณค่าสถานะหลังปรับปรุง

138
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

การลดของเสียทีใ่ นกระบวนการผลิตเสาเข็มสปัน
Defect reduction in spun pile production process

อภิชญา แก่นทอง1* ชญานิษฐ์ ฉัตรธนะพานิช2* และ ปาริชาต ชืน่ วัฒนกุล3


1,2,3ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ปทุมธานี 12120
E-mail : apichaya26@icloud.com1*, pun_plp2012@hotmail.com2*

บทคัดย่อ
งานวิจยั นี้มจี ุดประสงค์เพื่อลดข้อบกพร่ องและของเสียที่เ กิดขึ้นภายในกระบวนการผลิต เสาเข็มสปั น โดยใช้
เครื่องมือคุณภาพ 7 อย่าง ได้แก่ ผังพาเรโต้และผังแสดงเหตุและผล และการวิเคราะห์ความล้มเหลวและผลกระทบ (Failure
Modes and Effects Analysis : FMEA) ในการคัดเลือกปั ญหา ทาการจัดลาดับ ความส าคัญของปั ญหาโดยใช้ผงั พาเรโต
พบมีข้อบกพร่องหลัก 3 ประเภท ที่ทาให้เกิดของสียในกระบวนการผลิตเสาเข็มสปัน คือ รอยร้าว หินลอย และผิวติดแบบ
จากการระดมสมองและใช้แผนผังก้างปลาในการวิเคราะห์สาเหตุรากเหง้าของปัญหา รวมทัง้ ใช้ FMEA เพื่อกาหนดแนวทาง
ในการแก้ไขปัญหา ผลการปรับปรุงพบว่าคุณภาพของเสาเข็มสูงขึน้ โดยของเสียลดลง จากเดิม 5.37 % ลดลงเหลือ 0.77 %
ลดลง 85.66 %

คำสำคัญ : การลดปริมาณของเสีย การควบคุมคุณภาพเชิงสถิติ รอยร้าว หินลอย ผิวติดแบบ

Abstract
This paper aimed to propose a solution to reduce waste released from the Spun pile manufacturing
process, which was derived from 2 of the seven quality control tools: the Pareto Diagram and Cause and Effect
Diagram, and the Failure Modes and Effects Analysis (FMEA). Using the Pareto diagram to identify the problems,
there were three respectively important issues that cause waste production: crack, honeycomb, and scaling. To
further analyze the root cause of these problems and create a solution, the Fishbone Diagram and the FMEA were
carefully utilized. After implementing these solutions, defect was decreased from 5.37 % to 0.77 %. Defect
decreased 85.66 %.

Keywords: Waste Reduction, Statistical Process Control, Crack, Honeycomb, Scaling

139
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

1. บทนำ
แม้ในปั จจุบ ันโรงงานผลิตเสาเข็มสปั น (Spun Pile) มี 2.3 FMEA
เพียงไม่กแี่ ห่งในประเทศไทย และการแข่งขันในธุรกิจนี้จะ การวิเ คราะห์ความล้มเหลวและผลกระทบ (Failure
ไม่สูงมากนัก แต่ในการตัดสินใจของผูซ้ ้อื จะให้ความส าคัญ Mode and Effects Analysis) เป็ นเทคนิ ค ที่ น ามาใช้ ใ น
เรื่อ งคุณ ภาพเป็ น อันดับ แรก รองมาค่อ ยพิจารณา ราคา วิเ คราะห์และจัดลาดับ ปั จจัยที่มีผลกระทบต่อ ปั ญหามาก
ต้นทุน และการบริการ เนื่องจากมีผลต่อความปลอดภัยใน ที่สุด เพื่อ หาแนวทางในการแก้ไขปั ญหา [3],[4] โดยการ
การใช้งานและชื่อเสียงของลูกค้าในระยะยาว ผู้ซ้อื จึงใส่ ใจ คานวณตัวเลขแสดงลาดับความสาคัญของความเสีย่ ง
และมีการตรวจสอบคุณภาพอย่างละเอียดถี่ถ้วน ตัวเลขแสดงลาดับ ความส าคัญของความเสี่ย ง (RPN)
งานวิจยั นี้จงึ ได้นาเอาเครื่องมือคุณภาพ 7 อย่าง (QC 7 คือ ผลลัพ ธ์ข องความรุ นแรง โอกาสในการเกิด และการ
Tools) และการวิเคราะห์ลกั ษณะข้อบกพร่องและผลกระทบ ตรวจจับ เพื่อ ใช้ในการจัดลาดับความส าคัญในการแก้ไข
(Failure Mode and Effects Analysis) มาใช้การวิเ คราะห์ ปัญหา [5] ซึ่งคานวณจากสมการที่ (1)
หาปั จจั ย ที่ เ ป็ นสาเหตุ ห ลั ก ที่ ท าให้ เ กิ ด ของเ สี ย ใน RPN = S x O x D (1)
กระบวนการผลิ ต เสาเข็ม สปั น และจัด ล าดับ ปั จ จัย ที่มี 2.6 งำนวิจยั ที่เกี่ยวข้อง
ผลกระทบต่ อ ปั ญ หามากที่ สุ ด เพื่อ หาแนวทางในการ อานนท์ จิต กร (2554) ได้ทาการศึกษาและวิเ คราะห์
ปรับปรุงคุณภาพของเสาเข็มสปันให้สูงขึ้น เพื่อสร้างความ ของเสีย ที่ เ กิ ด ขึ้น ในกระบวนการผลิ ต ภายในโรงงาน
เชื่อมัน่ และความพึงพอใจแก่ลูกค้า รวมทัง้ ลดการสูญเสีย ประกอบอิเล็กทรอนิกส์ โดยใช้เครื่องมือคุณภาพ 7 อย่าง
และต้นทุนการผลิต เพื่อให้สามารถแข่งขันได้ในธุรกิจ ได้แก่ การวิเ คราะห์โดยใช้กฎ 80/20 หรือ พาเรโต เพื่อ
จัดลาดับ และคัดเลือ กลักษณะของเสีย ที่เ กิดขึ้น จากนั ้น
2. ทฤษฎีและงำนวิ จยั ที่เกี่ยวข้อง นาไปวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาโดยใช้แผนผังแสดงเหตุ
2.1 ควำมหมำยของเสำเข็มสปัน และผล และทาการปรับปรุงและลดของเสียในกระบวนการ
เสาเข็มสปั นเป็ นเสาเข็มคอนกรีตอัดแรงชนิดพิเศษที่ ผลิต [6]
อาศัย เทคนิคการดึง ลวดรับ แรงดึง แล้ว เทคอนกรีต ลงใน ธีรนันท์ สุธาธรรมรัตน์ (2562) ได้ทาการศึกษาการลด
แม่แบบ เมื่อ คอนกรีต แข็ง ตัว จึง ทาการตัดลวดรับ แรงดึง ของเสีย ในกระบวนการผลิต แผงหน้าต่างอลูมิเ นีย มและ
ออกทาให้เกิดแรงอัดในเสาเข็ม เสาเข็มชนิดนี้ใช้กรรมวิธี ระบบผนั ง กระจกส าเร็จ รู ป โดยใช้เ ทคนิ ค การวิเ คราะห์
การปัน่ คอนกรีตในแบบหล่อซึ่งหมุนด้วยความเร็วสูง ซึ่งทา ลักษณะข้อบกพร่องและผลกระทบ (FMEA) เพื่อวิเคราะห์
ให้ ค อนกรี ต นั ้น อั ด แน่ น และมี ค วามหนาแน่ น สู ง กว่ า หาค่าความเสี่ยงและดาเนินการหาแนวทางปรับปรุงแก้ไข
คอนกรีตทีห่ ล่อ โดยเรี ย งตามล าดั บ คะแนน RPN จากมากไปน้ อ ย
2.2 เครื่องมือคุณภำพ 7 อย่ำง (7 QC Tool) ตามลาดับ [7]
งานวิจยั นี้ได้เลือกนาแผนผังพาเรโตมาใช้ในการลาดับ
ความสาคัญและคัดเลือกปั ญหา และนาแผนผัง แสดงเหตุ 3. สภำพปัจจุบนั
และผลมาใช้ ใ นการวิเ คราะห์ แ ละแสดงความสัม พั น ธ์ 3.1 ประเภทของผลิตภัณฑ์
ระหว่างปั ญหาที่ต้องการแก้ไขกับสาเหตุที่ทาให้เกิดปัญหา เสาเข็มสปั นของบริษัทมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 400
ซึ่ง เป็ น เครื่อ งมือ ที่ ช่ ว ยให้ม องภาพรวมของปั ญ หาและ 500 600 และ 800 มิลลิเ มตร และมีความยาวไม่เกิน 18
สาเหตุทงั ้ หมดได้ง่ายขึน้ [2] เมตร เหมาะกับงานฐานรากของอาคาร ทีพ่ กั อาศัย โรงงาน
140
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

ที่ต้องการความแข็งแรงของฐานรากสูง และยังช่วยลดการ
สันสะเทื
่ อนเวลาตอก
3.2 กระบวนกำรผลิตเสำเข็มสปัน
ผิวติ ดแบบ รอยร้ำว หิ น
ลอย
ตัด พันโครง ตัดและดัดCollar ผสมซีเมนต์
PC Wire ลวด ให้เป็ นวงกลม ตามอัตราส่วน
ลวดเหล็กกล้ำ ลวดรีดเย็น
ประกอบเข้า ซีเมนต์ลง โผล่ โผล่
กับแม่พมิ พ์ แม่พมิ พ์

ทดสอบ รูปที่ 2 ลักษณะของเสียในกระบวนการผลิตเสาเข็มสปัน


เปิ ด บ่ม เหวี่ยง ดึง PC
แม่พมิ พ์ เสาเข็ เสาเข็ม wire แรง
4. แนวทางการปรับปรุง
รูปที่ 1 กระบวนการผลิตเสาเข็มสปัน ทำการวิเคราะห์และจัดลำดับความสำคัญของปัญหาที่ทำ
ให้เสาเข็มสปันเสียหาย โดยใช้แผนผังพาเรโต ดังรูปที่ 3
3.3 ลักษณะข้อบกพร่องในกำรผลิตเสำเข็มสปัน
จากข้อมูลผลการตรวจสอบคุณภาพเสาเข็มสปั นทีผ่ ลิต
ในเดือ นมิถุ นายน 2564 ก่อ นการปรับ ปรุง พบมีเ สาเข็ม
สปันเสียทัง้ หมด 37 ท่อน คิดเป็ นร้อยละ 5.37 โดยจานวน
ของเสียแยกตามประเภทข้อบกพร่อง แสดงดังตารางที่ 1
และลักษณะข้อบกพร่องที่ทาให้เกิดของเสีย แสดงดังรูปที่
2
ตำรำงที่ 1 เสาเข็มสปันทีเ่ สียแยกตามประเภทข้อบกพร่อง
ประเภท เสำเข็มสปันที่เสีย
ข้อบกพร่อง จำนวน (ท่อน) ร้อยละ
ผิวติดแบบ 12 32.43
รอยร้าว 10 27.03 รูปที่ 3 ผังพาเรโตข้อบกพร่องในการผลิตเสาเข็มสปัน
หินลอย 9 24.32
ลวดเหล็กกล้าโผล่ 4 10.81
ลวดรีดเย็นโผล่ 2 5.41 พบปั ญหาหลักที่สาคัญ 3 ปั ญหา คือ ผิวติดแบบ รอย
รวม 37 100 ร้าว และหินลอย จากการระดมสมองร่วมกับพนักงานของ
บริษทั โดยใช้แผนผังแสดงเหตุและผล พบสาเหตุของปัญหา
หลัก แสดงดังรูปที่ 4 ถึงรูปที่ 6

141
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

ในการแก้ไขปัญหา โดยมีรายละเอียดแนวทางแก้ไขปั ญหา


ดังนี้
4.1 กำรวิเครำะห์และแก้ไขปัญหำผิวติ ดแบบ
พบสาเหตุที่ทาให้ผวิ ติดแบบเรียงตามลาดับ สาคัญ คือ
อัต ราส่ ว นของน้ า ยาเคลือ บแม่ พ ิม พ์ เ ข้ม ข้น น้ อ ยเกินไป
พนักงานทาความสะอาด ฝาบน-ฝาล่างของแม่พ ิม พ์ ไ ม่
สะอาด และ ลืมทาน้ ายาเคลือบแม่พมิ พ์ โดยแนวทางการ
รูปที่ 4 วิเคราะห์สาเหตุของผิวติดแบบ ปรับปรุงแก้ไขปัญหาผิดติดแบบ ดังตารางที่ 2
ตำรำงที่ 2 แนวทางการปรับปรุงแก้ไขปัญหาผิวติดแบบ

สำเหตุ แนวทำงกำรแก้ไข
อัตราส่วนของ ปรับเปลีย่ นอัตราส่วนการผสม
น้ายาเคลือบ น้ายาเคลือบ แม่พมิ พ์จากเดิมผสม
แม่พมิ พ์เข้มข้น น้ายาเคลือบแม่พมิ พ์ต่อน้า ใน
น้อยเกินไป อัตราส่วน 1:20 เปลีย่ นเป็ น 1:15
ท าความสะอาด 1) อบรมวิธีก ารท าความสะอาด
ฝาบนและ-ฝา และวิธีการตรวจสอบแม่พมิ พ์ทงั ้ ฝา
ล่ า งของแม่พ ิมพ์บนและฝาล่าง
รูปที่ 5 วิเคราะห์สาเหตุของปัญหารอยร้าว ไม่สะอาด 2) กาหนดให้มกี ารตรวจสอบความ
ส ะ อ า ด ฝ า บ น แ ล ะ ฝ า ล่ า ง ข อ ง
แม่ พ ิม พ์ ทุ ก ครัง้ ก่ อ นเคลื่ อ นย้ า ย
แม่พมิ พ์
ลื ม ท า น้ า ย า ตรวจสอบการทาน้ ายาเคลื อ บ
เคลือบแม่พมิ พ์ แม่พมิ พ์ทุกครัง้ ก่อนเคลื่อนย้าย

รูปที่ 6 วิเคราะห์สาเหตุของปัญหาหินลอย

หลัง จากทราบสาเหตุข องแต่ละปั ญหาแล้ว ได้นาเอา


FMEA มาวิเ คราะห์ผ ลกระทบของแต่ ล ะสาเหตุ ที่ ท าให้
เสาเข็มเสียหาย แสดงดังตารางที่ 3 เพื่อลาดับความส าคัญ
142
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

ตำรำงที่ 3 การวิเคราะห์ลกั ษณะข้อบกพร่องและผลกระทบ หิน/ทรายไม่สะอาด แรงดึงลวดไม่ถงึ เกณฑ์ที่กาหนด และ


ในกระบวนการผลิตเสาเข็มสปัน ก าลัง อัด คอนกรีต ไม่ เ ป็ น ไปตามมาตรฐาน โดยมี แ นว
ทางการปรับปรุงแก้ไขปัญหารอยร้าว ดังตารางที่ 4
ตำรำงที่ 4 แนวทางการปรับปรุงแก้ไขปัญหารอยร้าว
Failure Potential Cause RPN
รอยร้าว ปริมาณน้ามากเกินไป เนื่องจาก 720
สำเหตุ แนวทำงกำรแก้ไข
ไม่ได้วดั ความชื้นของทรายก่อนเติม
น้า ปริมาณน้ามากเกินไป ตรวจสอบความชืน้ ของทราย
ไม้รองชิน้ งานผุพงั /ชารุด 112 เนื่องจากไม่ได้วดั ก่อนเริม่ การผลิตทุกวัน
ขาดความระมัดระวังในการขนย้าย 108 ความชืน้ ของทราย
ปล่อยชิน้ งานสูงจากพืน้ มากเกินไป ก่อนเติมน้า
ทาให้กระแทกเกิดรอยร้าว ไม้รองชิน้ งานผุพงั / ตรวจสอบการชารุดของไม้รอง
หิน ทราย ไม่สะอาด 48 ชารุด ชิน้ งานวันละ 2 ครัง้ และทา
แรงดึงลวดไม่ถงึ เกณฑ์ทกี่ าหนดไว้ 6 การเปลีย่ นหากชารุด/พัง
ในแต่ละขนาด
กาลังอัดคอนกรีตไม่เป็ นไปตาม 3 ขาดความระมัดระวังใน อบรมพนักงานขับเครน และ
มาตรฐานทีก่ าหนด การขนย้าย ปล่อยวาง กาหนดให้ต้องวางเสาเข็มแนบ
หินลอย ปริมาณวัตถุดบิ ทีป่ ล่อยออกมาไม่ 800 ชิน้ งานสูงจากพืน้ ขณะ สนิทกับพืน้ ขณะปล่อยชิน้ งาน
ถูกต้อง เนื่องจากตาชังวั่ ตถุดบิ ไม่ วาง ทาให้กระแทกเกิด เพื่อลดการกระแทกของ
เทีย่ งตรง รอยร้าว ชิน้ งานกับพืน้ หรือชิน้ งานอื่น
ปริมาณน้าน้อยเกินไป เนื่องจาก 648 หิน ทราย ไม่สะอาด ตรวจสอบวัตถุดิบทุกครัง้ ก่อน
ไม่ได้วดั ความชื้นของทรายก่อนเติม
น้า รับ
ขาดความรูเ้ กีย่ วกับวิธกี ารผสม 168 แรงดึงลวดไม่ถงึ เกณฑ์ ตรวจเช็คแรงดึงลวดให้เป็ นไป
คอนกรีตและตรวจสอบคอนกรีตที่ ที่ ก าหนดไว้ ใ นแต่ ล ะ ตามเกณฑ์ ข องแต่ ล ะขนาด
ถูกต้อง ขนาด ก่อนดึงลวดทุกครัง้
ใบกวนสึกหรอ เกิดช่องว่างระหว่าง 54 ก าลั ง อั ด คอนกรีต ไม่ ทดสอบลูกปูนก่อนการตัดลวด
ใบกวนในการผสมคอนกรีต เป็ นไปตามมาตรฐาน อย่างน้อ ย 3 ชัว่ โมงและก่ อ น
ผิวติด อัตราส่วนของน้ายาเคลือบแม่พมิ พ์ 720
เข้มข้นน้อยเกินไป ส่งมอบผลิตภัณฑ์อย่างน้อย 5
แบบ
ทาความสะอาด ฝาบน-ฝาล่างของ 384 วัน
แม่พมิ พ์ไม่สะอาด
พนักงานลืมทาน้ายาเคลือบแม่พมิ พ์ 384 4.3 การวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาหินลอย
สาเหตุที่ทาให้เสาเข็มสปันเกิดหินลอย เรียงตามลาดับ
4.2 การวิเคราะห์และแก้ไขปัญหารอยร้าว ความสาคัญ ได้แก่ ตาชังวั่ ตถุดิบไม่เ ที่ยงตรง ปริมาณน้ า
ซึ่ง จากการวิเ คราะห์ปัญหารอยร้าว มีส าเหตุเรียง น้อยเกินไป ขาดความรู้เกี่ยวกับวิธีการผสมคอนกรีต และ
ตามลาดับสาคัญ คือ ปริมาณน้ ามากเกินไป ไม้รองชิ้นงาน ตรวจสอบคอนกรีตทีถ่ ูกต้อง และใบกวนสึกหรอ โดยมีแนว
ผุพ ัง /ชารุ ด ปล่อ ยวางชิ้นงานสูงจากพื้น เกิดการกระแทก ทางการปรับปรุงแก้ไขปัญหาหินลอย ดังตารางที่ 5
143
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

ตำรำงที่ 5 แนวทางการปรับปรุงแก้ไขปัญหาหินลอย ตำรำงที่ 6 เปรียบเทียบปริมาณของเสียก่อนและหลัง


ปรับปรุง
สำเหตุ แนวทำงกำรแก้ไข
ปริมาณวัตถุดบิ ที่ สอบเทียบตาชังวั่ ตถุดบิ ปริมาณของเสีย (ท่อน)
ลักษณะของ
ปล่อยออกมาไม่ เพื่อให้ มีความถูกต้องและ หลัง
ข้อบกพร่อง ก่อนปรับปรุง
ถูกต้องตามทีก่ าหนด แม่นยาตามเกณฑ์ที่กาหนด ปรับปรุง
เนื่องจากตาชังวั่ ตถุดบิ ผิวติดแบบ 12 0
ไม่เทีย่ งตรง รอยร้าว 10 0
ปริมาณน้าน้อยเกินไป ตรวจสอบความชืน้ ของทราย หินลอย 9 1
เนื่องจากไม่ได้วดั ก่อนเริม่ การผลิตทุกวัน ลวดเหล็กกล้าโผล่ 4 2
ความชืน้ ของทราย ลวดรีดเย็นโผล่ 2 0
ก่อนเติมน้า รวม 37 3
ขาดความรูเ้ กีย่ วกับอบรมพนักงานเกีย่ วกับ
พบว่าภายหลังจากดาเนินการปรับปรุงแก้ไขปัญหาตาม
วิธกี ารผสมคอนกรีต วิธกี ารผสมและวิธตี รวจสอบ
แนวทางข้างต้น มีเ สาเข็มสปั นเสีย เพีย ง 3 ท่อ น คิดเป็ น
และตรวจสอบคอนกรีต คอนกรีตทีถ่ ูกต้อง โดยวัดการ
ร้อยละ 0.77 ลดลงจากเดิมร้อ ยละ 85.66 (เดิมมีของเสีย
ทีถ่ ูกต้อง ยุบตัวของคอนกรีตเทียบกับ
ร้อ ยละ 5.37) โดยเกิด จากปั ญ หาหิน ลอย 1 ท่ อ น ลวด
ความสูงของกรวยมาตรฐาน
เหล็กกล้าโผล่ 2 ท่อน ซึ่งไม่พบของเสียจากปั ญหาผิดติด
ใบกวนสึกหรอ เกิด ตรวจสอบสภาพการสึกหรอ
แบบ และรอยร้าวเลย
ช่องว่างระหว่างใบกวน ของใบกวนทุกๆ 3 เดือน
ในการผสมคอนกรีต
5. สรุปผลและข้อเสนอแนะ
4.4 ผลกำรวิจยั งานวิจยั นี้ได้นาเครื่องมือคุณภาพ 7 อย่าง และ FMEA
จากการตรวจสอบคุณภาพเสาเข็มทีผ่ ลิตทัง้ หมด 387 มาใช้ ใ นการวิเ คราะห์เ พื่อ หาปั จ จัย ที่ เ ป็ น สาเหตุ ท าให้
ท่อน ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถงึ เดือนมีนาคม 2565 ดัง เสาเข็มสปั นเสียหายในกระบวนการผลิต รวมทัง้ จัดลาดับ
ตารางที่ 6 ความส าคัญของปั ญหาและสาเหตุ ผลจากวิเ คราะห์และ
ดาเนินการแก้ไขปั ญหาผิดติดแบบ หินลอย และรอยร้าว
สามารถแก้ปัญหาผิวติดแบบและร้อยร้าวได้ทงั ้ หมด ปัญหา
หินลอยลดลง โดยของเสียลดลง จากเดิมร้อยละ 5.37 เหลือ
ร้อยละ 0.77 ลดลงร้อยละ 85.66
ทั ง้ นี้ ห ากทางบริ ษั ท สามารถควบคุ ม ให้ พ นั ก งาน
ดาเนินการปรับปรุงตามแนวทางที่กาหนดได้อย่างต่อ เนื่อง
จะส่งผลให้คุณภาพสูงขึน้ และต้นทุนในการผลิตลดลง สร้าง
ความพึงพอใจให้แก่ลูกค้าของบริษทั

144
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

6. เอกสำรอ้ำงอิ ง
1. บริษั ท ไชยเจริญ เทค จ ากัด . (ม.ป.ป.). เรื่อ งน่ า รู้
เกี่ยวกับการควบคุมคุณภาพ, สืบค้น 15 ตุลาคม 2564
จาก.https://www.chi.co.th/article/article-1138/
2. Besterlife. (2562). 7 QC เ ค รื่ อ ง มื อ คุ ณ ภ าพ เ พื่ อ
ควบคุมกระบวนการผลิตโดยใช้กลวิธีทางสถิติ, สืบค้น
15 ตุ ล าคม 2564. จาก. https://besterlife.com/7-qc-
tool/
3. กิตศิ กั ดิ ์ พลอยพานิชเจริญ, 2547, การวิเคราะห์อ าการ
ขัดข้อ งและผลกระทบ FMEA. กรุง เทพมหานคร: ส.
เอเซียเพรส.
4. Automotive Industry Action Group (AIAG), 2022,
Potential Failure Mode and Effects Analysis
(FMEA). 3rd edition.
5. สุพฒ ั น์ วงศ์จิรฐั ิติกาล, สุทศั น์ รัตนเกื้อกังวาน, 2557,
การปรับ ปรุ ง ระบบการบ ารุ ง รัก ษาเชิง ป้ อ งกัน ของ
โรงงานผลิต เพลารถยนต์ ด้ว ยเทคนิ ค การวิเ คราะห์
สาเหตุ ข องลั ก ษณะข้ อ บกพร่ อ งและผลกระทบ ,
วิท ยานิ พ นธ์ ว ิศ วกรรมศาสตร์ม หาบัณ ฑิต ภาควิช า
วิศวกรรมอุตสาหการ, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
6. อานนท์ จิต กร, 2554, การปรับ ปรุง กระบวนการผลิต
เพื่อ ลดของเสีย กรณีศึกษา โรงงานประกอบอุปกรณ์
อิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ , วิ ท ยานิ พ นธ์ ป ริญ ญามหาบัณ ฑิต
ภาควิชา อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
7. ธี ร นั น ท์ สุ ธ า ธ ร ร ม , 2562, ก า ร ล ด ข อ ง เ สี ย ใ น
กระบวนการผลิต แผงหน้ า ต่ า งอลู มิเ นี ย มระบบผนัง
กระจกส าเร็จ รู ป , วิท ยานิ พ นธ์ ป ริญ ญามหาบัณ ฑิต
ส า ข า วิ ช า ก า ร จั ด ก า ร ท า ง วิ ศ ว ก ร ร ม ค ณ ะ
วิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาธุรกิจบัณฑิตย์.

145
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

การปรับปรุงประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร กรณีศึกษากระบวนการขัดชิ้นส่วนตลับลูกปืน
OVERALL EPUIPMENT EFFECTIVENESS IMPROVEMENT A CASE STUDY FINISHING PROCESS OF
BEARING

ชัยรัตน์ นัยกุล1* และ อภิวัฒน์ มุตตามระ2


ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คลองหลวง ปทุมธานี 12120
E-mail: 6310037152@student.tu.ac.th1*, mapiwat@engr.tu.ac.th 2

บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยที่ดำเนินการหาค่าประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร กรณีศึกษากระบวนการขัดชิ้นส่วนตลับ
ลูกปืน โดยมีเครื่องจักรรวมทั้งหมด 3 เครื่อง จากการหาค่าประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักรในโรงงานกระบวนการขัดชิ้นงาน
ก่อนการปรับปรุงจะได้ค่า OEE เท่ากับ 91.71 % เมื่อดำเนินการหาสาเหตุของสูญเสียที่เกิดขึ้นทั้งหมดจากการใช้แผนผังพาเรโต
เพื่อแสดงสาเหตุ ข้อบกพร่องและปริมาณความสูญเสียที่เกิดขึ้น แล้วดำเนินการใช้แผนผังก้างปลาเพื่อวิเคราะห์หาสาเหตุและแนว
ทางการแก้ไขปัญหา โดยการตกแต่งหินขัดชิ้นงานมีส่วนสำคัญที่สุดที่กระทบต่อการคำนวณค่า OEE ซึ่งการดำเนินการปรับปรุงได้
ทำการจัดอบรมให้พนักงานเกี่ยวกับเครื่องจักร,ขั้นตอนการปฏิบัติงาน และการแยกชิ้นงานเวลาติดขัด และการตกแต่งหินขัดมีการ
ทดสอบหินขัดที่มีความแข็งมากขึ้น แต่การทดลองมีผลต่อคุณภาพชิ้นงานเลยไม่ได้เปลี่ยนแปลง หลักจากนั้นหาค่าประสิทธิผล
โดยรวมหลังการปรับปรุงจะได้ค่า OEE เท่ากับ 94.99 % ซึ่งสามารถเพิ่มค่าประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักรได้ 3.28 %

คำสำคัญ : ค่าประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักรตลับลูกปืน, การตกแต่งหินขัด

Abstract
This research was done to determine overall equipment effectiveness (OEE). Case study of the polishing
process of bearing parts, overall equipment effectiveness in the polishing process is analyzed with caused and
effect diagram. By finishing dressing of grinding wheel is the most important factor affecting the calculation of
the OEE value. The results show that operators have provided training about operating procedures and basic
maintenance. The dressing foe grinding wheel was tested, however the effect on the quality of the workpiece
cannot be accepted. After improvement, the overall efficacy value was obtained with an OEE of 94.99 %, which
could increase by 3.28%.

Keywords: OEE, overall equipment effectiveness, Bearings, Dressing, Grinding wheel


146
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

1. บทนำ 2 .ทฤษฏีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ในปัจจุบันอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนเครื่องจักรกลมี 2.1 นิยามประสิทธิผลโดยรวมเครื่องจักร
ความสำคัญต่อเครื่องจักรที่มีการหมุน โดยเฉพาะชิ้นส่วนตลับ ประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร หมายถึง เครื่องจักร
ลูก ปืน หรื อแบริ่ ง ส์ (Bearing) คือ ชิ้ นส่ วนที่ ใช้ ร องรับ การ สามารถทำงานได้เป็นอย่างดี มีกำลังเดินการผลิตอย่างเต็มที่
เคลื่อนที่ของเพลาให้ทำงานเที่ยงตรงในแนวรัศมี และแนวแกน [1] ประสิทธิภาพและสร้างผลผลิตได้อย่างเต็มกำลัง
ทำหน้าที่รับน้ำหนัก และถ่ายเทแรงที่เกิดขึ้นจากแกนหมุนหรือ ความสามารถ แต่ถ้าเครื่องจักรใช้งานได้ตลอดเวลาและ
อุปกรณ์ที่มีการหมุนไปสู่ลูกเหล็กที่บรรจุอยู่ภายใน อีกทั้งทำ เดินเครื่องได้เต็มกำลัง รูปที่ 1 แสดงเวลาประสิทธิผลโดยรวม
หน้าที่ลดแรงเสียดทานระหว่างผิวสัมผัส ส่งผลให้เพลาหมุนได้ เครื่องจักร
อย่างมีย์ ตลับลูกปืนมีความสำคัญเป็นชิ้นส่วนย่อยของอุปกรณ์
ต่างๆ ซึ่งกระบวนการขัดชื้นงานมีความสำคัญในด้านของอายุ
การใช้งาน ความเรียบผิวด้านนอกของชิ้นงานจะส่งผลต่อการ
ใช้ ง าน ดั ง นั ้ น การปรั บ ปรุ ง ประสิ ท ธิ ภ าพผลโดยรวมของ
เครื ่ อ งจัก ร เพื ่ อ ให้ เ กิ ด ประสิ ท ธิผ ลที่ ด ี น ั้ น ต้ องมี ว ิ ธ ีการที่ รูปที่ 1 เวลาประสิทธิผลโดยรวมเครื่องจักร
เหมาะสมเพื่อให้เครื่องจักรสามารถทำงานได้อย่างต่อเนื่องไม่
เกิ ด การหยุ ด ชะงั ก หรื อ มี ผ ลกระทบต่ อ การผลิ ต โดย วิธีการหาค่าประสิ ทธิผ ลโดยรวมของเครื่ องจักร (Overall
ประสิทธิภาพโดยรวมก่อนหน้าประมาณ 33 % จากค่าเฉลี่ย 3 Equipment Effectiveness, OEE) เป็นการคำนวณเพื่อใช้วัด
เดือน หลังสุดซึ่งยังไม่ถึงเป้าหมายของส่วนงานที่ตั้งไว้ จึงนำ ประสิทธิผลในภาพรวมของผลกระทบจากความสูญเสียคำนวน
การวัดประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักรมาวัดประสิทธิผลใน ด ั ง นี้ % OEE = Availability x Performance Efficiency x
เชิงองค์รวมหรือนำไปใช้ปรับปรุงการเพิ่มผลผลิตแล้วยังรู้ถึง Rate of Quality Efficiency
สาเหตุของความสูญเสียที่เกิดขึ้นในภาพใหญ่ 2.2 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
การปรับปรุงค่าประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร OEE บรรจุ
แป้ง [2] โดยทำการศึกษาถึงเหตุที่มีผลทำให้ค่าประสิทธิผ ล
โดยรวมของเครื่องจักรต่ำ ได้วิเคราะห์ข้อมูลก่อนการปรับปรุง
ด้วยผังก้างปลาและกราฟพาเรโต พบว่าตัวแปรที่มีค่าต่ำ คือ
ความพร้ อ มของเครื ่อ งจัก รเพื ่อ ปรั บปรุ ง ค่ าประสิ ท ธิภ าพ
โดยรวมของเครื่องจักรให้สูงขึ้นตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ 10 % ค่า
ประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องบรรจุแป้งเพิ่มขึ้น ความสูญเสีย
ที่เกิดขึ้นภายในโรงงาน เช่น การเปลี่ยน Format Part นาน
เกินไป การปรับตั้งเครื่องจักร ได้แก่ การปรับตั้งสกรู ระยะของ
ตรวจจับกระป๋อง และความเร็วของสายพาน
ชานนท์ [3] ได้ เ สนอถึ ง ผลการดำเนิ น การ OEE
กรณี ศ ึ ก ษาโรงงานผลิ ต พลาสติ ก ชนิ ด ปรุ ง แต่ ง ที่ น ้ อ ยลง
ประมาณ -1.40% นั้นถือว่าเป็นความสูญเสีย (Loss) ที่เกิดขึ้น
ในกระบวนผลิต ต้องถูกวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหา กำหนด

147
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

แนวทางแก้ไข และป้องให้เกิดซ้ำ โดยพิจารณาค่า Availability


rate เป็นลำดับแรก เนื่องจากมีค่าน้อยจากเป้าหมายมากที่สุด =
10.5 ชม. −0.83 ชม.
= 92.00 %
10.5 ชม.
คือ 1.29 % เมื่อนำข้อมูลความสูญเสียในกระบวนการผลิตมา
แยกประเภทตามหลัก 16 Major Losses ความสูญเสียส่วน สมรรถนะการเดินเครื่อง (Performance Efficiency)
ใหญ่เกิดจากการปรับตั้งปรับแต่งเครื่องจักรบ่อยครั้ง เนื่องจาก คำนวณจาก
สินค้าเป็นสินค้าประเภทสั่งผลิตตามความต้องการของลูกค้าจึง
จำเป็นลูกค้าที่มีความหลากหลาย และเกิดจากการขัดข้อง = (รอบการผลิตมาตรฐาน 𝑥 ปริมาณการผลิต )
𝑥 100 % (2)
เครื่องจักร ส่งผลกระทบต่อความพร้อมในการเดินเครื่องจักร เวลาเดินเครื่อง
0.11 วินาที - ชิ้นงานที่ได้ 316,000 ชิ้น
= = 99.85 %
𝟏𝟎.𝟓 ชม.
3. วิธีดำเนินงาน
กระบวนการผลิ ต ตลั บ ลู ก ปื น ได้ แ สดงในรู ป ที ่ 1 อัตราของผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ (Rate of Quality
กระบวนที่ทำการศึกษากระบวนขัด ซึ่ง ประสิทธิผลโดยรวม Efficiency) คำนวณจาก
ของเครื่องจักรจากค่าเฉลี่ย 3 เดือนหลังสุดซึ่งยังไม่เป้าหมายที่
ส่วนงานตั้งไว้ 40 % = (ปริมาณการผลิต −จำนวนงานที่เสีย )
ปริมาณการผลิต
𝑥 100 % (3)

𝟑𝟏𝟔,𝟎𝟎𝟎 ชิ้น− 𝟓𝟎𝟎 ชิ้น


= = 99.84 %
𝟑𝟏𝟔,𝟎𝟎𝟎 ชิ้น

จากสูตร %OEE = A x P x Q ได้เท่ากับ 91.71%

อัตราการเดินเครื่องจักร (Availability) แสดงให้


เห็น 12 ชั่วโมง เท่ากับเวลาพักลบเวลาตั้งเครื่อง เท่ากับ 10.5
ชั่วโมง รับภาระงานได้ 10.5 ชั่วโมง หรือ และเวลาที่สูญเสีย
จากเครื่องจักรหยุด 0.83 ชั่วโมง ได้อัตราการเดินเครื่องจักร
92.00 เปอร์เซ็นต์ เท่ากั บเวลามาตรฐานคูณจำนวนที่ผลิตได้
ห าร เวล าเดิ น เคร ื ่ อ งประสิ ท ธิ ภ าพการเดิ น เครื ่ อ ง
(Performance Efficiency) เวลามาตรฐาน 0.11 วิ น าที
รูปa.ที่ 1การตกแต่
กระบวนการผลิ
งหินขัตดตลับลูกปืน จำนวนชิ้นงานที่ผ ลิตได้ 316,000 ชิ้น และเวลาเดินเครื่อง
10.5 ชั่วโมง ได้ประสิทธิภาพ 92.00 เปอร์เซ็นต์ เท่ากับจำนวน
การคำนวณ OEE ของโรงงานกรณีศึกษาเฉลี่ย 3 เดือน ชิ้นงานที่ผลิตได้ลบจำนวนชิ้นงานเสียหารกับจำนวนชิ้นงานที่
(ม.ค.-มี.ค.64) คำนวณได้จาก ผลิตได้
อัตราการเดินเครื่อง (Availability) คำนวณจาก อัตราคุณภาพ (Quality Rate) ช่วงที่ชิ้นงานออกมาเสียจน
ไม่ส ามารถแก้ไขได้กำหนดค่ามาตรฐานไว้ที่ 500 ชิ้น และ
= (เวลารับภาะงาน−เวลาเดินเครื่องจักร ) สามารถผลิตชิ้นงานได้งานประมาณ 316,000 ชิ้น ได้อัตรา
𝑥 100 % (1)
เวลารับภาระงาน คุณภาพ 99.84 เปอร์เซ็นต์ จากการคำนวณการสมรรถนะที่ใช้
148
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

เครื ่ อ งจั ก รเป็ น หลั ก ในกระบวนการผลิ ต ได้ ป ระสิ ท ธิ ภ าพ พนักงานแต่ละคนทีร่ ะะดับความเชื่อมั่นที่ 95% พบว่า ค่า P มี
โดยรวมของเครื่องจักร 91.71 เปอร์เซ็นต์ ค่าน้อยกว่า 0.05 จึงแสดงว่าพนักงานแต่ละคนมีความสามารถ
จากส่วนประกอบ 3 ส่วนในการคำนวณ OEE พบว่าค่า A ในการทำงานที่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ
ยังมีแนวทางปรับปรุงได้อีก จึงทำการเก็บรวบรวมข้อมูลการ ตารางที่ 1 เวลาควบคุมเครื่องจักร
ผลิต และนำมาวิเคราะห์โดยใช้แผนผังพาเรโต้ เพื่อดู
ความสำคัญและลำดับในการแก้ไขปัญหา และใช้แผนผัง
ก้างปลา ช่วยในการวิเคราะห์
3.1 ปัญหาจากกระบวนการผลิต
กระบวนการผลิต สามารถแบ่งการวิเคราะห์ได้ 2 ส่วน
คือ ปัญหาการขัดชิ้นงาน และปัญหาเครื่องจักร ดังแสดงในรูป
2 และ 3 ตามลำดับ

รูปที่ 4 ผลการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว

รูปที่ 2 ปัญหาการขัดชิ้นงาน สมมติฐานเชิงสถิติ


H0 : เวลาการควบคุมเครื่องจักรทั้ง 3 คนไม่แตกต่างกัน
H1 : เวลาการควบคุมเครื่องจักรทั้ง 3 คนแตกต่างกัน
ตัวสถิติทดสอบ ANOVA ตัวสถิติทดสอบ F = 7.32
ค่าวิกฤต f1-α,k-1,n-k = f 0.95,2,24 = 3.4
เนื่องจากค่าสถิติท ดสอบ F=7.32 อยู่ในบริเวณปฏิเสธ H0
หมายความว่าเวลาการควบคุมเครื่องจักรทั้ง 3 คนแตกต่างกัน
ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05
จากรูปที่ 3 ได้ทำการเรียงลำดับปัญหาด้วยแผนภูมิพาเร
รูปที่ 3 ปัญหาจากเครื่องจักร โต้ ดังแสดงในรูปที่ 5 พบว่า ความสูญเสียลำดับแรกคื อ การ
ตกแต่งหินขัด เสียเวลา 1,665,000 นาที ซึ่งคิดเป็น 37.45%
จากปัญหาการขัดชิ้นงาน พบว่าพนักงานมีการทำงานที่ ของปัญหาทั้งหมด
ได้ยอดการผลิตไม่เท่ากัน จึงได้ทำการเก็บข้อมูลเพื่อหาความ
แตกต่างระหว่างบุคคลมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญหรือไม่
จึง ได้ทำการเก็ บข้อมูล เวลาควบคุมเครื่องจักร ดัง แสดงใน
ตารางที่ 1 และรู ป ที ่ 4 แสดงการวิ เ คราะห์ ANOVA ของ
149
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

ปัญหาจากการหินตกแต่ง ที่ส ่ง ผลให้เกิดการสูญเสียใน


กระบวนการผลิตชิ้นส่วนตลับลูกปืน จึงมีแนวคิดที่จะขยาย
จำนวนการผลิ ต เพื ่ อ ลดจำนวนการแต่ ง หิ น และเป็ น การ
ประหยัดทรัพยากรในการผลิต การทำลองได้ทดลองเก็บข้อมูล
จำนวนการผลิต กับการตรวจสอบคุณภาพของชิ้นงาน รูปที่ 7
แสดงค่าความกลมกับจำนวนชิ้นงาน และรูปที่ 8 แสดงค่า
ความหยาบกับจำนวนชิ้นงาน พบว่าถ้าทำการผลิตที่ 20000
รูปที่ 5 พาเรโตเวลาที่เสียหายของกระบวนการขัด
ชิ้นงานแสดงลำดับปัญหาจากมากไปน้อย ชิ้น ค่าความกลมยังอยู่ในค่าที่ยอมรับได้คือ 0.68 ไมครอน ซึ่ง
น้อยกว่า 0.8 ไมครอนตามค่ามาตรฐาน แต่ค่าความหยาบผิว
ปั ญ หากระบวนการตกแต่ ง หิ น (G/W Dressing) จะเป็ น
ในรูปที 8 มีค่าเกิน 2.8 ไมครอน ที่จำนวน 16000 ชิ้น ดังนั้น
เครื่องจักร 3 เครื่องโดยเป็นการเชื่อมต่อกันแบบสายพาน
จึงไม่สามารถเปลี่ยนจำนวนการผลิตสำหรับการตกแต่งหินได้
ลำเลียง เครื่องที่ 1 ตกแต่งหินขัดทุกๆ 15,000 ชิ้น,เครื่องที่
4.3 การปรับเปลี่ยนแผนการผลิต
เครื่องที่ 2 ตกแต่ง หินขัดทุกๆ 15,000 ชิ้น และเครื่องที่ 3
จากปัญหาการปรับตั้งเครื่องจักรแนวทางเวลาที่เครื่องจักร
ตกแต่งหินขัดทุก 30,000 ตามรูปที่ 6
หยุดสำหรับการปรับตั้ง และปรับแต่ง ประมาณ 50 นาที หรือ
0.83 ชั่วโมง ในการผลิตชิ้นงานจะมีการเปลี่ยนแปลงซึ่ง การ
ผลิตชิ้นงานอาจจะลดลงหรือเพิ่มขึ้นก็เป็นได้

รูปที่ 6 ขั้นตอนกระบวนตกแต่งหินขัด

ปัญหาเกิดจากปรับตั้งของเครื่องจักร สาเหตุย่อยเกิดมาจาก
การเปลี่ยนแผนในการผลิตบ่อยทำให้ต้องเปลี่ยนรุ่นในการผลิต
ไปด้วยเป็นเหตุให้ต้องปรับตั้งเครื่องจักรใหม่ตามรุ่นที่ผลิต ทำ
ให้ใช้เวลาในการผลิตนานขึ้น รูปที่ 7 ค่าความกลมกับจำนวนชิ้นงาน

4. ผลการวิจัย
4.1 การอบรมพนักงาน
จากการที่พนักงานมีทักษะในการทำงานอย่างมีนัยสำคัญ
จึงมีแนวทางอบรมพนักงานใหม่เดินเครื่องเพื่อลดการสูญเสีย
ให้ความรู้ในการใช้งานเครื่องจักรและบำรุงรักษาเครื่องจักร
เบื ้ อ งต้ น ที ่ ม ี ค วามจำเป็ น และมี ก ารทวนสอบการทำงาน
พนักงานอีกครั้ง รูปที่ 8 ค่าความหยาบกับจำนวนชิ้นงาน
4.2 การเพิ่มจำนวนชิ้นงานของการแต่งหิน

150
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

จาการปรับปรุง อัตราการเดินเครื่อง เมื่อดำเนินการตาม ความรู้ในการใช้ง านเครื่องจักรและบำรุง รักษาเครื่องจั ก ร


มาตรการปรับปรุงทำการเก็บข้อมูลหลังปรับปรุง 3 เดือนตั้ง เบื้องต้นที่มีความจำเป็น ส่วนการ การเพิ่มจำนวนชิ้นงานของ
เดือนมิถุนายน - เดือนสิงหาคม 2564 สามารถแสดงในรูปที่ 9 การแต่งหิน ที่จะขยายจำนวนการผลิต เพื่อลดจำนวนการแต่ง
ผลประสิทธิผลโดยรวมเครื่องจักรหลังการปรับปรุงได้ 94.99% หินไม่สามารถทำได้เนื่องจากส่งผลต่อคุณภาพการผลิต
โดยปั จ จั ย ที ่ ม ี ผ ลกระทบมากที ่ ส ุ ด ของส่ ว นคื อ ค่ า A;
Availability ซึ่งเมื่อมีการปรับปรุงค่า A แล้วตามข้อเสนอแนะ 6. กิตติกรรมประกาศ
ทำให้ผลรวมของ OEE สูงขึ้นกว่าเดิม ขอขอบคุณคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรม
ศาสตร์ (TSE) ที่สนับสนุนงานวิจัย

เอกสารอ้างอิง
1. อภิ ช าติ นาควิ ม ล, การพั ฒ นาการจั ด การบำรุ ง รั ก ษา
เครื ่ อ งจั กรเพื่ อลดการสูญ เสี ย และเพื ่ อ ประสิท ธิผ ลใน
ส า ย ก า ร ผ ล ิ ต ( ค ณ ะ ว ิ ศ ว ก ร ร ม ศ า ส ต ร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2560), หน้า 19
2. ประจวบ นำนาผล, การปรับปรุงค่าประสิทธิผลโดยรวมของ
รูปที่ 9 ค่าประสิทธิผลโดยรวมก่อนและหลัง เครื่อง OEE บรรจุแป้ง (คณะวิศวกรรมสาสตร์ มหาวิทยาลัย
ธุรกิจบัณทิตย์, 2555). หน้า 37
จากการปรับปรุงอัตราของผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพโดยมีการ 3. ชานนท์ , การเพิ ่ ม ประสิ ท ธิ ผ ลโดยรวมของเครื ่ อ งจั ก ร
อบรมพนักงานเกี่ยวกับขั้นตอนการปฏิบัติงานจำนวนงานที่เสีย (Overall Equipment Effectiveness : OEE) กรณีศึกษา
ลดลงเหลือ 300 ชิ้น ทำให้ค่า Q: Quality ดีขึ้น อัตราของ โรงงานผลิ ต พลาสติ ก ชนิ ด ปรุ ง แต่ ง (Compounding
ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ (Rate of Quality Efficiency) หลัง Plant) (คณะบริหารธุร กิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย),
การปรับปรุง 99.90 % คำนวณจาก 2556), หน้า 25-26
4. ธิชารัตน์ วราสิทธิ์, การปรับปรุงกระบวนการผลิตเพื่อการ
ลดของเสีย : กรณีศึกษาแผนกผลิตแบริ่งส์ (คณะ
ชิ้น− 𝟑𝟎𝟎 ชิน้
=𝟑𝟏𝟔,𝟎𝟎𝟎
𝟑𝟏𝟔,𝟎𝟎𝟎 ชิ้น
= 99.90 % วิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2558), หน้า
11
5. สรุป 5. มหาวิทยาลัยสยาม. 2559 “ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง.”
เมื ่ อ ดำเนิ น การเก็ บ ข้ อ มู ล ของค่ า A,P,Q เพื ่ อ นำมา http://www.researchsystem.siam.edu/images/coop/p
คำนวณหาค่า OEE ของเครื่องจักร ค่าเปรียบเทียบผลที่แสดง rinting_engineer/3_2557/RESTORATION_PROJECTS_G
ประสิทธิผลโดยรวมของเครื่องจักร เมื่อทำการปรับปรุงเชิง LUING_CORRUGATED_CARDBOARD_MACHINE/07_ch2
คำนวณให้เป็นมาตาฐานจะได้ค่าประสิทธิผลโดยรวมเฉลี่ยสูง .pdf]
ขึ ้ น มา 4.05% มี ผ ลมาจากค่ า A เพิ ่ ม ขึ ้ น 3.23 %, ค่ า P 6. Hashimoto, F., et al. (2012). "Advances in
เพิ่มขึ้น 0.00 %, และ Q เพิ่มขึ้น 0.90% โดยทำการปรับปรุง centerless grinding technology." CIRP Annals 61(2):
คือ การอบรมพนักงานใหม่เดินเครื่องเพื่อลดการสูญเสีย ให้ 747-770.
151
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

7. Otaghvar, M. H., et al. (2018). "A novel approach


to roundness generation analysis in centerless
through-feed grinding in consider of decisive
parameters of grinding gap by use of 3D kinematic
simulation.
8. ชลิตา, การวิเคราะห์ความแปรปรวน
http://pws.npru.ac.th. แหล่งที่มา :
http://pws.npru.ac.th/chalida/data/files ค้นเมื่อ 15
กุมภาพันธ์, 2565

152
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

การเพิ่ มประสิ ทธิ ภาพการทางานของหุ่นยนต์เชื่อมแขนกล


ในกระบวนการผลิ ตชิ้ นส่วนรถขุดตัก
Improving the Efficiency of robotic welding in the manufacturing process
of excavator parts.

ณัฏฐชัย ถิ่นถาวร1* และ เชษฐพงษ์ จรรยาอนุรักษ์2*


ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการและระบบการผลิต คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เขตทุ่งครุ กรุงเทพฯ 10140
E-mail: Natthachai.t@mail.kmutt.ac.th1*, Chettapong.jan@kmutt.ac.th2*

บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานของหุ่นยนต์เชื่อมแขนกล โดยใช้แผนภูมิพาเรโตและ
กราฟแสดงผลต่างๆ ในการลำดับความสำคัญของปัญหา โดยใช้แผนภูมิก้างปลา (Cause and effect diagram) และ 5W1H มา
ช่วยในการวิเคราะห์หาสาเหตุปัญหา ในกระบวนการทำงานของหุ่นยนต์เชื่อมแขนกลตัวที่ 1 และ 2 มีประสิทธิในการทำงานที่
แตกต่างกัน จึงส่งผลกระทบต่อการสูญเสียโอกาศ ในด้านการเพิ่มกำลังกการผลิต โดยใช้เทคนิคการศึกษางาน (Work Study) เพื่อ
เพิ่มประสิทธิภาพ ซึ่งได้ดำเนินการออกแบบระบบการทำงานและอุปกรณ์จิ๊กฟิกเจอร์ (Jig Fixture) รูปแบบใหม่ ขั้นตอนนี้เป็นส่วน
หนึ่งในเครื่องมือ (ECRS) ผลการดำเนินงานหลังจากปรับปรุงพบว่าค่าประสิทธิภาพ เพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 58.3 เป็นร้อยละ 78.5

คำสำคัญ : การเพิ่มประสิทธิภาพ, การศึกษางาน, การปรับปรุงหุ่นยนต์เชื่อมแขนกล, การลดความสูญเปล่าในกระบวนการผลิต

Abstract
The purpose of this study is to improve the performance of robotic welding robots. Using Pareto charts
and graphs to rank problems in order of importance, using a fishbone chart (cause and effect diagram) and
5W1H to determining the root cause of the problem. The working efficiency of welding robots 1 and 2 differs.
As a result, there is a loss of opportunity in terms of increasing production capacity by using work study
techniques to increase efficiency, which has resulted in the design of a working system and a new type of jig
fixture; this step is part of the tooling process (ECRS). grew from 58.3 percent to 78.5 percent

Keywords : Efficiency enhancement, Work Study, Improving the robotic, Reduce of waste in the production
153
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

1. บทนำ ประสิทธิผล (Effectiveness) และผลิตภาพ (Productivity)


ในกระบวนการผลิตในปัจจุบนั มีการใช้หุ่นยนต์กนั แยกแยะความหมายของตัว วัดเพื่อ เป็ นหน่ ว ยวัดผลการ
อย่ า งแพร่ ห ลาย หุ่ น ยนต์ ที่ ใ ช้ ใ นงานอุ ต สาหกรรมที่ ดาเนินงานอย่างได้ผลตามเป้ าหมายในการดาเนินการ
เกี่ยวข้องกับกระบวนการเชื่อมนัน้ หุ่นยนต์จะได้รบั การตัง้ 2.1.1 ประสิทธิภาพ (Efficiency)
โปรแกรมมาให้ทาหน้าทีข่ องตนเอง ให้ทางานโดยอัตโนมัติ โดยให้ความสูญเสียของทรัพยากรที่เข้าไปในระบบมี
และเต็มรูปแบบ ความสูญเสียน้อยทีส่ ุด โดยความหมาย Output จะอยู่ในรูป
ของงานที่ได้ส่วน Input จะอยู่ในรูปของงานที่ป้ อนเข้าไป
% Efficiency Robot Welding ความต้อ งการคือ Input ต้อ งใกล้เ คีย งกับ Output ให้มาก
81 %
ที่สุด คือ ให้เกิดความสูญเสีย (Loss) น้อยที่สุดค่าที่ใช้ว ัด
58 %
ประสิทธิภาพจะมีค่าต่ากว่า 100% เสมอ ดังสมการที่ (1)

Efficiency (%) = (Output X100%) (1)


Input
รูปที่ 1 แสดงประสิทธิภาพการทำงานของหุ่นยนต์เชื่อมแขนกล
ตัวที่ 1 และ 2 ที่ต่างกัน
รูปที่ 2 แสดงสูตรการคำนวณหาประสิทธิภาพ
ในด้านปั ญหาการทางานของ หุ่นยนต์เชื่อมแขน
กล (Efficiency Robot) ผู้ว ิจัย ได้ทาการศึกษางาน (Work
2.1.2 ประสิทธิผล (Effectiveness)
Study) [1] พบว่า ในกระบวนการทางานของหุ่นยนต์เชื่อม
องศาแห่งความสาเร็จในการบรรลุเป้ าหมาย (Degree
แขนกล ตัวที่ 1 และ 2 ที่ใช้ในการเชื่อมงาน กระบวนการ
of Accomplishment of Objective) ในทางบัญชีมักจะมอง
ผลิตบุ้งกี๋ (Bucket) ชิ้นส่วนของรถขุดตัก มีประสิทธิในการ
ถึงต้นทุน ในทางวิศวกรรมมักจะเข้าใจในเชิงประสิทธิภาพ
ทางานทีแ่ ตกต่างกัน จึงส่งผลกระทบต่อการสูญเสียโอกาศ
ท าให้ เ กิด การความขัด แย้ง ในแนวความคิด เสมอความ
ในด้านการเพิ่มกาลัง การผลิต ผู้ว ิจัย จึง ต้อ งการปรับปรุง
เข้าใจด้านประสิทธิผลเพื่อมุ่งเน้นให้เกิดผลประโยชน์สูงสุด
การใช้งาน ของหุ่นยนต์เชื่อมแขนกล เพื่อให้มปี ระสิทธิภาพ
ในการบรรลุเ ป้ าหมายเป็ นที่ย อมรับ กันทัง้ สองฝ่ าย การ
การทางานสูงสุด
ดาเนินงานเพื่อให้เกิดประสิทธิผล จึงเป็ นความสาเร็จของ
องค์การในการเพิม่ ผลผลิต
2. ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2.1.3 ผลิตภาพ (Productivity)
2.1 ประสิ ทธิ ภาพ ประสิ ทธิ ผล และผลิตภาพ เป็ นดัชนีแสดงความสัมพันธ์ระหว่างผลผลิตต่อ
การบริหารงานอุตสาหกรรมจาเป็ นต้องมีเครื่องมือใน ทรัพยากรทีใ่ ช้ในการก่อเกิดผลผลิตนัน้ หรือในเทอม (2)
การวัดผลการดาเนินงาน หน่วยวัดผลการดาเนินงานทีด่ จี งึ เดียวกัน ดังสมการที่
น่าจะใช้ค่าดัชนีภาพ ซึ่งมีความหมายเดียวกับอัตราภาพ
ซึ่งจะมีหน่วยวัด ทีซ่ ้าๆกัน 3 หน่วย คือ Productivity = Output (2)
ประสิทธิภาพ (Efficiency) Input

รูปที่ 3 แสดงสูตรการคำนวณหาผลิตภาพ
154
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

2.2 การศึกษาการทางาน (Work Study) การทำงาน ของเครื่องเชื่อมแขนกลในสายพาน การผลิตคาน


การศึก ษาการท างาน คือ เทคนิ ค ในการการศึ ก ษา กันกระแทกในประตูรถ ศึกษาการปรับปรุงและพัฒนาเครื่อง
วิธีการ และการวัดผลงาน เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ขนั ้ ตอน เชื ่ อ มแขนกล ประเภทเครื ่ อ งเชื ่ อ ม Co 2 ผู ้ ว ิ จ ั ย ได้
การทางานต่างๆ เพื่อปรับปรุงการทางานให้ดขี น้ึ และใช้ใน ทำการศึกษาการปรับปรุงและพัฒนาเครื่องเชื่อมแขนกล ที่
การจัดตัง้ และพัฒนามาตรฐานการทางาน และเวลาทางาน สามารถ ลดเวลาในสายพานการผลิต คานกันกระแทกจาก
รวมไปถึง การใช้เ ป็ นเครื่อ งมือ ในการบริห ารแผนการให้ เวลาที่ใช้ในการผลิตจากเดิมคือ 72 วินาที /ชิ้น ให้ สามารถ
ร าง วั ล ร ะ บ บต่ า ง ๆ เ พื่ อ น าไป สู่ ก าร เ กิ ด ผ ลิ ต ภาพ ผลิตคานกันกระแทกได้ในเวลา 43 วินาที /ชิ้น ซึ่งจะสามารถ
(Productivity) ทีด่ ขี น้ึ ลดเวลาและต้ น ทุ น ในกระบวนการ ผลิ ต คานกั น กระแทก
ขั้นตอนการดำเนินงานการศึกษาการปรับปรุงเครื่องเชื่อมแขน
2.3 การพัฒนาวิธีการทางานที่ดีกว่า โดยอาศัย 4 กลแบบหัวเชื่อมเดียวประกอบ ด้วยการเพิ่มอุปกรณ์การทำงาน
หลักการ ECRS ของเครื่องเชื่อมแขนกล คือ ปรับปรุงเครื่องเชื่อมแขนกล แบบ
การหาวิธีการปรับปรุงการทางานให้ดีขน้ึ ไม่ควรจะยึด หัวเดียว ให้เป็นระบบหัวเชื่อมคู่โดยการเพิ่มหัวเชื่อมสองชุด ตู้
ติดกับแนวทางปฎิบตั ิแบบเดิมที่เป็ นอยู่ มีแนวทางในการ control 2 ชุ ด ท่ อ ลำเลี ย งลวดเชื ่ อ ม 2 ชุ ด และได้ ท ำการ
ทางานทีค่ วรจะพิจารณามี ดังนี้ ตรวจจับเวลาการทำงานของเครื่องเชื่อมแขนกล ที่ได้ทำงาน
1. ตัดทอนงานทีไ่ ม่จาเป็ นออก (Eliminate) พัฒนา เพื่อประเมิน ประสิทธิภาพของเครื่องเชื่อมแขนกล ให้
2. รวมการทางานทีค่ ล้ายคลึงเข้าด้วยกัน (Combine) ได้ตรงตามวัตถุประสงค์ และเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
3. เปลีย่ นลาดับขัน้ ตอนการทางานใหม่ (Rearrange) ดั ง เช่ น ในงานวิ จ ั ย ของ นาถลดา อาดำ [3] ได้ ท ำการ
4. การทาให้การทางานทีจ่ าเป็ นง่ายขึน้ (Simplify) ปรับปรุงกระบวนการผลิต เพื่อเพิ่มประสิ ทธิภาพและลดของ
เสียในกระบวนการผลิตถาดพลาสติก โดยใช้ การวิเคราะห์
2.4 งานวิจยั ที่เกี่ยวข้อง แผนผังคนและเครื่องจักรและหลักการลดความสูญเปล่า ใน
แนวคิดการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องจักรใน การวิเคราะห์และปรับปรุง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน
สายการผลิต อ้างอิงจากงานวิจัยของ เกรียงศักดิ์ อินทร [1] ได้ ของคนและเครื่องจักร ใช้การวิเคราะห์สาเหตุและผลพร้ อมทั้ง
ศึกษาการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องจักร ใน ระดมสมอง เพื่อแก้ไขปปัญหาและลดปริมาณของเสีย โดยหลัง
สายการผลิตในโรงงาน โดยใช้แผนภูมิพาเรโตในการลำดับและ การปรับปรุงพบว่ากระบวนการปั๊มขึ้นรูป มีประสิทธิภาพการ
ความสำคัญของปัญหา และใช้แผนภูมิก้างปลา (Cause and ทำงานของคนเพิ่มขึ้น จากเดิมร้อยละ 75 เป็นร้อยละ 87.4
effect diagram) มาช่วยในการวิเคราะห์หาสาเหตุเครื่องจักร ประสิทธิภาพการทำงานของเครื่องจักรเพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ
หยุดเนื่องจากการขัดข้อง มาทำการปรับปรุง ก่อนการเกิ ด 79.9 เป็ น ร้ อ ยละ 91.6 และนอกจากนี ้ ใ นงานวิ จ ั ย ของ
ปั ญ หาซ้ ำ ผลการดำเนิ น งานหลั ง จากปรั บ ปรุ ง พบว่ า ค่ า Gheorghe Ilie , Carmen Nadia [5] ไ ด้ ท า ก า ร ศึ ก ษ า
ประสิทธิผลโดยรวมของสายการผลิตเบียร์ 1 เพิ่มขึ้นจากเดิม แผนภูมกิ ้างปลา ถูกสร้างขึ้นโดยมีเป้ าหมายเพื่อระบุ และ
ร้อยละ 63.00 เป็นร้อยละ 75.30 นอกจากนี้การใช้ง านของ จัดกลุ่มสาเหตุที่สร้างปัญหาด้านคุณภาพ ค่อยๆ ใช้วธิ ีการ
เครื่องจักรเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพได้อย่างเต็มที่ตามเป้าหมาย นี้เพื่อจัดกลุ่มสาเหตุอ่นื ๆ ด้วยประเภทของปั ญหาที่องค์กร
ที่วางไว้แล้ว ซึ่งในงานวิจัยของ สมชาติ พรมมินทร์ และ สุริยัน ต้ อ งเผชิญ แผนภู มิก้า งปลานี้ จึง กลายเป็ น เครื่อ งมือ ที่มี
อาจหาญ [2] ได้ศึกษา การปรับปรุงระบบกระบวนการผลิ ต ประโยชน์มาก ในขัน้ ตอนการระบุความเสีย่ ง ให้ขยายความ
155
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

รวมไปถึงวิธีการโดยรวม ในการวิเคราะห์ความน่ าจะเป็ น


และผลกระทบ
3. ขัน้ ตอนในการดาเนิ นงานวิ จยั
การศึกษาและเก็บข้อมูลพบว่า ในกระบวนการทางาน
ของหุ่นยนต์เชื่อมแขนกล ตัวที่ 1 และ 2 ที่ใช้ในการเชื่อ ม
งาน กระบวนการผลิตบุง้ กี๋ (Bucket) ชิ้นส่วนของรถขุดตัก
ในด้านประสิทธิภาพในการทางานของ หุ่นยนต์เชื่อมแขน
กลทัง้ 2 ตัว นี้ มีประสิทธิในการทางานที่แตกต่างกัน จึง เดือน
ส่ง ผลกระทบต่อการสูญเสียโอกาศ ในด้านการเพิ่มกาลัง
กระบวนการผลิต และในด้านการใช้งานหุ่นยนต์เชื่อมแขน
กลอย่างเต็มประสิทธิภาพ รูปที่ 5 กราฟแสดงการเปรียบเทียบประสิทธิภาพ การ
3.1 การศึกษาปัญหา ทางานของหุ่นยนต์เชื่อมแขนกลของตัวที่ 1 และ ตัวที่ 2
Robot Auto Welding Panasonic ที่ใ ช้เ ชื่อ มงานบุ้ง กี๋
(Bucket) ชิ้นส่วนของรถขุดตัก มีการทางานที่แตกต่างกัน จ า ก ต า ร า ง แ ส ด ง ค่ า Efficiency ข อ ง Robot Auto
ของระหว่าง หุ่นยนต์เชื่อมแขนกลตัวที่ 1 และ 2 ซึ่งจะทา Welding พบว่าเมื่อ หุ่นยนต์เชื่อมแขนกลตัวที่ 1 มีระสิทธิ
ให้ลดโอกาศในด้าน การเพิ่มประสิทธิภาพกาลังการผลิต ภาพในการทางานเท่ากับ 81.3% เปอร์เซ็นต์ ใช้เชื่อมงาน
และจานวนของชิน้ งาน แนวโครงสร้างทัง้ หมดของ Bucket ทัง้ ภายในและภายนอก
ผลกระทบของปัญหา : เสร็จ จากนัน้ ก็จะส่งต่อไปที่กระบวนการถัดไป ซึ่งในส่วน
1. เกิดการรอคอยชิน้ งาน ในกระบวนการผลิต ของหุ่ น ยนต์เ ชื่อ มแขนกลตัว ที่ 2 มีป ระสิท ธิภ าพในการ
2. เสียโอกาสและเวลาในการเพิม่ ประสิทธิภาพ ทางานเท่ากับ 58.3% ใช้เชื่อมงาน ของ Plate cover ทีห่ ลัง
ในกระบวนการผลิต ชิ้นงาน และเล็บ ดังนัน้ จึงพบปั ญหาว่า เมื่อ หุ่นยนต์เชื่อ ม
3. ไม่สามารถใช้งานหุ่นยนต์เชื่อมแขนกล แขนกลตัวที่ 2 เกิดการรองานที่มากกว่า เนื่องจากใช้เวลา
Robot Auto Welding ให้เกิดความคุม้ ค่าที่ ในการทางานทีน่ ้อยกว่า ดังนัน้ จึงควรปรับปรุงกระบวนการ
สูงสุด การเชื่อมงาน และการทางานของหุ่นยนต์เชื่อมแขนกล ใน
ขัน้ ตอนทีพ่ บปัญหานี้ เพื่อต้องการเพิม่ ประสิทธิภาพในการ
ทางานของหุ่นยนต์เชื่อมแขนกลให้สูงขึน้

3.2 การวิเคราะห์ปัญหา
จากข้อมูลทีไ่ ด้จากขัน้ ตอนการผลิตชิน้ งานเราพบว่าเกิด
การรอคอยชิ้นงานในกระบวนการผลิต ของหุ่นยนต์เชื่อม
แขนกล 1 เทียบกับ หุ่นยนต์เชื่อมแขนกล 2 ซึ่งเกิดการรอ
งาน ที่ 190 นาที ต่อวัน หรือต่อเดือน 4,560 นาที เนื่องจาก
ประสิท ธิ ภ าพของ Robot Auto Welding ท างานไม่ เ ต็ ม
ประสิทธิภาพ และมีความเสียหาย ทีจ่ ะเกิดขึน้ ดังนี้
156
รูปที่ 4 แสดงขัน้ ตอนในกระบวนการผลิตบุง้ กี๋
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

1. ต้นทุนทีส่ ูญเปล่าของแรงงาน เครื่องจักร และค่าโสหุย้ ที่ 2. ปัญหาการใช้งานหุ่นยนต์เชื่อมแขนกล จากการรอคอย


ไม่ ก่อให้เกิดมูลค่าเพิม่ ในกระบวนการทางานและกระบวนการผลิต ปริมาณงานที่
2. เกิดต้นทุนค่าเสียโอกาส ไม่เหมาะสม เนื่องจาก หุ่นยนต์เชื่อมแขนกลที่ใช้ในสถานี
3. ประสิทธิภาพของเครื่องจักรต่า การทางานนี้ ใช้ทงั ้ หมด 2 ตัว ซึ่งหุ่นยนต์เชื่อมแขนกล ตัว
4. ทาให้เกิดความล่าช้าในการผลิตและส่งผลต่อการส่งมอบ ที่ 1 ทางานและใช้เวลาในการผลิตที่มากกว่า หุ่นยนต์เชื่อม
5. เสียเวลา ในการรอคอยงาน แขนกลตัวที่ 2 จึงเป็ นปัญหาดังกล่าว
6. วิธกี ารทางานของแต่ละกระบวนการทีไ่ ม่สอดคล้อง
3.3 แนวทางในการแก้ไขปัญหา
3.2.1 การศึกษาการทางาน (Work Study) 3.3.1 ศึกษาและวิเคราะห์หาข้อมูลในกระบวนการผลิต เพื่อ
การศึกษาการทางานคือเทคนิคในการการศึกษาวิธีการ เพิ่ม ประสิท ธิ ภ าพและเพิ่ม ผลผลิ ต ในการท างานของ
และการวัด ผลงาน เพื่อ ใช้ใ นการวิเ คราะห์ข นั ้ ตอนการ หุ่ น ยนต์ เ ชื่อ มแขนกล และตัว อุ ป กรณ์ จิ๊ก ฟิ ก เจอร์ (Jig
ทางานต่างๆ เพื่อปรับปรุงการทางานให้ดขี น้ึ และใช้ในการ Fixture) โดยดาเนินการปรับปรุง และพัฒนา โปรแกรมใน
จัดตัง้ และพัฒนามาตรฐานการทางาน และเวลาทางาน รวม การทางานของหุ่นยนต์เชื่อแขนกล โดยใช้หลักการ ECRS
ไปถึงการใช้เป็ นเครื่องมือในการบริหารแผนการให้รางวัล มาประยุกต์ใช้แนวคิด ECRS ว่าเป็ นหลักในการปรับ ปรุง
ระบบต่างๆ เพื่อนาไปสู่การเกิดผลิตภาพ (Productivity) ที่ งาน ซึ่งเป็ นหลักการทีป่ ระกอบด้วย การกาจัด (Eliminate)
ดีข้นึ จึงทาการวิเคราะห์ปั ญหาด้วยแผนภูมิก้ างปลา และ การรวมกัน(Combine) การจัดใหม่ (Rearrange) และการ
เทคนิค 5W1H ทาให้ง่าย (Simplify) ซึ่งเป็ นหลักการง่าย ๆ ที่สามารถใช้
ในการเริ่ม ต้ น ลดความสู ญ เปล่ า หรือ MUDA ลงได้เ ป็ น
อย่างดีโดยมีรายละเอียดดังนี้
ขัน้ ตอนการปรับปรุงการทางานหุ่นยนต์เชื่อมแขนกลตัว
ที่ 1
1. ท าการแก้ไ ขและปรับ ปรุ ง Step Setting Program ใน
ส่วน Teaching Program Robot ด้วยการลดโปรแกรมการ
ค้นหาและกาหนดจุดเริม่ ต้นในการเชื่อมของหุ่นยนต์เชื่อม
แขนกลตัวที่ 1
2. ท าการยกเลิ ก โปรแกรมตั ด ลวดเชื่ อ ม Teaching
Program Robot ของหุ่นยนต์เชื่อมแขนกลออก เพื่อช่วย
ลดเวลาในกระบวนการทางาน
รูปที่ 6 แสดงการวิเคราะห์ แผนผังก้างปลาเหตุและผล
3. ทาการการแก้ไขปรับปรุงโปรแกรม Teaching Program
Robot ของหุ่ น ยนต์ เ ชื่อ มแขนกล ด้ว ยการเพิ่ม Speed
จากการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาข้างต้นมีปัจจัยอยู่ 2 ความเร็วในการเชื่อมงานในกระบวนการทางานให้เร็วขึน้
ประการหลัก คือ 4. ทาการแก้ไขปรับปรุงจิก๊ ฟิ กเจอร์ (Jig Fixture)
1. ปั ญหาการติดตัง้ Jig จิ๊กไม่ต รงตามตาแหน่ งเดิม ไม่มี ขัน้ ตอนการปรับปรุงการทางานหุ่นยนต์เชื่อมแขนกลตัว
Pin stopper ช่ ว ยก าหนดต าแหน่ ง อ้า งอิง ที่ ถู ก ต้ อ งของ ที่ 2
Plate base jig
157
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

1. ทาการศึกษายอดการสังซื ่ ้อของลูกค้าจากการพยากรณ์ 4. ตรวจสอบคุณภาพของชิน้ งาน ให้เป็ นไปตามมาตรฐาน


ล่ว งหน้าในแต่ละเดือ น ของชิ้นงานในผลิต ภัณ ฑ์รุ่ นอื่นๆ
และทาการพิจารณาคัดเลือ กผลิตภัณ ฑ์ ชิ้นงานใหม่ ที่จะ 4. ผลการดาเนิ นงาน
นามาเพิม่ ในกระบวนการทางานของหุ่นยนต์เชื่อมแขนกล 4.1 การปรับ ปรุ ง เพื่ อ เพิ่ ม ประสิ ท ธิ การท างานของ
เพื่ อ เพิ่ ม ประสิ ท ธิ ภ าพในกระบวนการท างาน และ
หุ่นยนต์เชื่อมแขนกล ตัวที่ 1
กระบวนการผลิต
ตารางที่ 1 แสดงขัน้ ตอนในการคัดเลือกผลิตภัณฑ์ชน้ิ งาน ตารางที่ 2 แสดงรายการและผลลัพธ์ในการปรับปรุง
ใหม่ รำยละเอียดกำร แก้ไข แก้ไข
ลำดับ รูปภำพประกอบ ผลลัพธ์ทีได้

ทดลองและแก้ไข ได้ ไม่ได้
ชินงานมาไม่ได้ตาม

การลดโปรแกรมการ
มาตรฐาน/แนวเชือม ่
1 ค้นหาและกาหนด
ออกนอกแนว/เชือม ่
จุดเริมต้น

งานไม่ได้
แนวเชือมออกนอก

ทาการยกเลิก
2 แนว/ลวดเชือมงอจาก

โปรแกรมตัดลวดเชือม

การกระแทรก
ทาการเพิม่ Speed
ความเร็วในการเชือม
่ แนวเชือมเล็ก
่ ไม่ได้
3
งานการยกเลิก ตามมาตรฐาน
โปรแกรมตัดลวดเชือม ่
300 278
ทาการแก้ไขปรับปรุง ลดเวลาการเซ็ตงาน
250 223 223 208 4
JigFixture และเพิมประสิทธิภาพ

200
150 4.1.1 ท าการปรับ ปรุ ง Setting Jig พบว่ า ไม่ มีจุ ด อ้ า งอิ ง
100 หรือ จุ ด Reference ของ Jig Robot welding ดัง นั ้น เมื่อ มี
45
50 การ Setting Jig และ Setting Program Robot Welding
0
0 จะไม่สามารถควบคุมหรือกาหนดจุดอ้างอิงได้อย่างแม่นย า
Bucket Kubota 1 Bucket Kubota 2 Bucket Link
และส่ง ผลในการตรวจสอบและตรวจเช็ค ค่าพารามิเตอร์
Qty/Month (Avg) Working Time/ Month(Hours)
กับระยะให้ได้ตามมาตรฐานทีก่ าหนดไว้ทุกครัง้
รูปที่ 7 แสดงจานวนยอดในการผลิตชิน้ งานใหม่ ทีส่ ามารถ ตารางที่ 3 แสดงเวลาก่
ตารางเก็บอข้นและหลั
อมูลการ งSetการปรั
Jig บปรุ่งจิก๊ ฟิ กเจอร์
เพิม่ เข้าไปในการทางาน ของหุ่นยนต์เชื่อมแขนกลตัวที่ 2
Before After %
2. ท าการ อ อ กแบ บ และ ทดลอ ง Jig fixture ส าหรั บ Jig robot 15 min 5 min 66 %
ผลิตภัณฑ์ ชิ้นงานใหม่ที่จะนามาเพิม่ ในกระบวนการผลิต
ในหุ่นยนต์เชื่อมแขนกลตัวที่ 2
3. จัดทาและออกแบบ Program teaching robot หรือสร้าง
หลังปรับปรุงเกิดการเสียเวลาในกระบวนการ ในการ Set
โปรแกรมสาหรับการทางานของหุ่นยนต์เชื่อมแขนกล และ
jig ในช่วงก่อนการปรับปรุงและหลังการปรับปรุง จากเดิม
ทดลองเชื่อมชิน้ งาน
คือ 15
158
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

นาที ในหลัง การปรับ ปรุ ง ลดลงเหลื อ 5 นาที คิด เป็ น ตารางที่ 5 ขัน้ ตอนในกระบวนการปรับ ปรุ ง และการ
เปอร์เซ็นต์ เท่ากับร้อยละ 66 % ทดลองเพิม่ ผลิตภัณฑ์ ชิน้ งานใหม่ ในหุ่นยนต์เชื่อมแขนกล
4.2 การปรับ ปรุ ง เพื่ อ เพิ่ ม ประสิ ท ธิ ก ารท างานของ ตัวที่ 2
หุ่นยนต์เชื่อมแขนกล ตัวที่ 2 ลำดับ รำยละเอียดและขัน้ ตอนในกำรทดลอง รูปภำพประกอบ
ตารางที่ 4 แสดงเวลามาตราฐานในการผลิตของหุ่นยนต์
เชื่อมแขนกล ต่อ 1 ชิน้ งาน 1
ทาการออกแบบJigFixture สาหรับใช้ทดลอง
และผลิตชินงานใหม่

ทาการออกแบบTeachingProgramRobot
2
สาหรับกระบวนการทางานการเชือมงาน

3 ทาการทดลองเชือมชิ
่ นงาน
้ ผลิตภัณฑ์ใหม่
โดยทาแก้ไข ด้ว ยการจับ เวลาของกระบวนการผลิต
และการทางานของ หุ่นยนต์เชื่อมแขนกลทัง้ 2 ตัว เพื่อให้
ทราบจุ ด ที่ ต้ อ งการปรับ ปรุ ง แก้ ไ ข ได้ ท าการจับ เวลา 4 ทาการตรวจสอบคุณภาพของแนวเชือม

เปรีย บเทีย บด้ว ย ว่า หุ่นยนต์เ ชื่อ มแขนกล ทัง้ 2 ตัว ใช้
เวลาในการทางานแตกต่ างกันเท่าไหร่ ดังตาราง ดังนัน้ จึง 5
ทาการส่งให้แผนกควบคุมคุณภาพตรวจสอบ
จะได้นาไปปรับ ปรุงด้ว ยวิธีเพิ่มชิ้นงานผลิตภัณฑ์ Model ชินงานให้เป็นไปตามมาตรฐาน

ใหม่ ที่ มีเ วลาในกระบวนการผลิ ต ที่ ส ามารถจะน ามา


สอดแทรกงาน ในกระบวนการผลิตของ หุ่นยนต์เชื่อมแขน ตารางที่ 6 แสดงเวลาการทางานหลังการปรับปรุง
กลตัว ที่ 2 ได้ เพื่อ เป็ น การเพิ่ม ก าลัง การผลิต และเพิ่ม
ประสิทธิภาพในการทางานของ หุ่นยนต์เชื่อมแขนกลตัวที่
2 โดยการตัง้ เป้ าหมาย ให้ประสิทธิภาพของ หุ่นยนต์เชื่อม
แขนกลตัวที่ 2 เพิม่ ขึน้ อีก 20%

ชั ่วโมง/เดือน Working Time Robot


300 260.5
250 208 52.5 ชังโมง

200
150
100
50
0
ก่อนปรับปรุง หลังปรับปรุง
รูปที่ 8 การเปรียบเทียบเวลาหลังการปรับปรุง

159
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

ตารางที่ 7 แสดงประสิท ธิ ภ าพและผลิ ต ภาพหลัง การ


ปรับปรุง 300
278 278
260.5
250
223

200

เปอร์เซ็นต์
100
Robot performance 150
78.5 %
80 58.3 %
60
20.2 %
100 81.3 81.3
40 80 78.5

20
0 50
ก่อนปรับปรุง หลังปรับปรุง
รูปที่ 9 การเปรียบเทียบประสิทธิภาพหลังการปรับปรุง 0
Robot 1 Robot 2
Qty/Month (Avg) 223 278
ผลการศึกษาข้อมูล Capacity ในกระบวนการผลิต และ Working
จากการทดลอง ผลิตภัณฑ์ชิ้นงานใหม่ใช้เวลาผลิตต่อ1 ชิ้นงาน Time/Month(Ho
urs)
278 260.5

ใช้เวลาผลิต 70 นาทีต่อชิ้น ซึ่งสามารถผลิตได้ สูงสุดที่ 45 ตัว/ Target% 81.3 80


เดือน หรือ 52.5 ชม./เดือน และเพิ่มเติมในส่วนของปริมาณ Efficiency% 81.3 78.5

งาน ให้เหมาะสมกับความสามารถของ หุ่นยนต์เชื่อมแขนกล รูปที่ 10 แสดงผลค่าประสิทธิภาพของหุ่นยนต์เชื่อมแขนกล


5. สรุปผล ตัวที่ 2 หลังการปรับปรุง
ผลหลังการปรับปรุงงาน จะสามารถเพิ่มกำลังการผลิตและ เอกสารอ้างอิง
ประสิทธิภาพพในการทำงานของ หุ่นยนต์เชื่อมแขนกลตัวที่ 2 1. ความรูเ้ บื้องต้นของการศึกษาการทางาน สืบค้นเมื่อวันที่
ที่ได้คือ 22 สิ ง ห า ค ม 2 5 6 4 จ า ก https://ieprosoft.com ›
1. เพิ่มกำลังการผลิตเท่ากับ 52.5 ชั่วโมงต่อเดือน การศึกษาการทางาน
2. เพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของ หุ่นยนต์เชื่อมแขนกลตัว 2. นาถลดา อาดำ , 2564 “การปรับปรุงกระบวนการผลิตเพื่อ
ที่ 2 เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.2 % หรือรวมทั้งหมดร้อยละ 78.5 % เพิ่มประสิทธิภาพ และลดของเสียที่เกิดในกระบวนการผลิต
จากผลการทดลอง พบว่า เวลารอคอยงานของ หุ่นยนต์ ถาดพลาสติ ก ” ภาควิ ช าวิ ศ วกรรมอุ ต สาหการ คณะ
เชื่อมแขนกลตัวที่ 2 ที่เกิดการสูญเปล่าในกระบวนการผลิตนั้น วิศ วกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ การประชุม
เป็นสาเหตุที่แท้จริงที่ทำให้ ประสิทธิภาพในกระบวนการผลิต วิช าการด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม
และประสิทธิภาพของเครื่องจักร หุ่นยนต์เชื่อมแขนกลตัวที่ 2 แห่งชาติ ครั้งที่ 12 ประจำปี 2564, หน้า 310-316.
ไม่ถูกใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพของการทำงาน 3. เกรี ย งศั ก ดิ์ อิ น ทร, 2564, “การเพิ ่ ม ประสิ ท ธิ ภ าพการ
ทำงานของเครื ่ อ งจั ก รในสายการผลิ ต โดยใช้ ห ลั ก การ
160
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

บำรุงรักษาด้วยตัวเอง: กรณีศึกษาในโรงงานผลิตเครื่องดืม่ ”
ภาควิ ช าวิ ศ วกรรมอุ ต สาหการ คณะวิ ศ วกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ การประชุมวิช าการด้านการ
พัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรมแห่งชาติ ครั้งที่ 12
ประจำปี 2564, หน้า 500-505.
4. สมชาติ พรมมิ น ทร์ และ สุ ร ิ ย ั น อาจหาญ , 2554
“การศึกษาการปรับปรุงระบบกระบวนการผลิตการทำงาน
ของเครื ่ อ งเชื ่ อ มแขนกลในสายพาน การผลิ ต คานกั น
กระแทกในประตูร ถ” ภาควิ ช าเทคโนโลยีก ารจัด การ
อุตสาหกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
5. Gheorghe Ilie, Carmen Nadia CIOCOIU, 2010,
" Application of fishbone diagram to determine the
risk of an event with multiple causes ",
Management research and practice Vol. 2, Issue 1,
pp: 1-20

161
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

การปรับปรุงกระบวนการด้วยการจัดสมดุลสายการผลิต
กรณีศึกษากระบวนการประกอบไฟหน้ารถจักรยานยนต์
Process Improvement Using Line Balancing
Case Study Motorcycle Headlamp Assembly Process

ฐิติกุล กาจธัญกิจ1* กนกพร ศรีปฐมสวัสดิ์2 ชัชวาล ชินวิกัย3 วันชัย แหลมหลักสกุล4


1,2,3,4
ภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมอุตสาหการ วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เขตบางซื่อ กรุงเทพฯ 10800
E-mail: Thitikul_k@hotmail.com

บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ แก้ไขปัญหาการส่งงานล่าช้า โดยใช้วิธีการเพิ่มผลผลิตด้วยการจัดสมดุลกระบวนการ
ประกอบไฟหน้ารถจักรยานยนต์ของบริษัทกรณีศึกษาแห่งหนึ่ง เริ่มจากการวิเคราะห์งานย่อยของกระบวนการประกอบดังกล่าว
และทำการจับเวลา พบว่าการจัดสมดุลงานย่อยของพนักงานแต่ละคนไม่มีความสมดุลกันโดยมีค่าประสิทธิภาพสมดุลการผลิตอยู่ที่
70 เปอร์เซนต์ส่งผลให้รอบเวลาการผลิตชิ้นงานหนึ่งชิ้น (Cycle Time) เกินเป้าหมายที่กำหนดไว้ จึงทำการวิเคราะห์และปรับปรุง
งานย่อยให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นโดยใช้หลักการวิเคราะห์ ECRS และทำการจัดสมดุลกระบวนการผลิตใหม่เพื่อลดเวลาการ
ทำงานของกระบวนการที่เป็นคอขวด โดยผลหลังการปรับปรุงพบว่าค่าประสิทธิภาพสมดุลการผลิตเพิ่มขึ้นเป็น 92 เปอร์เซนต์ รอบ
เวลาการทำงานคอขวดลดลงจาก 74.3 วินาทีต่อชิ้น เป็น 59.2 วินาทีต่อชิ้น

คำสำคัญ : การจัดสมดุลกระบวนการผลิต, ประสิทธิภาพสมดุลการผลิต, การทำงานคอขวด

Abstract
This research focuses to balance the motorcycle headlamp assembly process of a case study company.
To be able to deliver the work on time as specified by the customer by balancing the production process. The
Study was started by studying work element of assembly process and time measurement, the study was found
that the sub-task balancing of each employee was unbalanced, with balancing efficiency is 70 percent. That
their cycle time were higher than target. Therefore, work elements are analyzed and improved more efficiently
by using ECRS analysis principle. And balancing process for decreasing cycle time bottle neck. As a result of
improvements, the productivity balance efficiency was increased to 92 percent. The bottleneck cycle time was
162
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

reduced from 74.3 seconds per piece to 59.2 seconds per piece.

Keywords : ECRS, Line Balancing, Productivity

163
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

1. บทนำ ตารางดั ง กล่ า วเป็ น ตารางที ่ แ สดงผลการคำนวณ


ในปัจจุบันอุตสาหกรรมยานยนต์มีการแข่งขันในตลาดสูง ประสิทธิภาพสมดุลการผลิต จากตารางดังกล่าวจะเห็นได้ว่า
มาก ทั้งการแข่งขันในด้านของกำลังการผลิตและต้นทุนในการ ประสิ ท ธิ ภ าพสมดุ ล การผลิ ต ของไลน์ ป ระกอบไฟหน้ า
ผลิต จึงให้ความสำคัญกับการปรับปรุงกระบวนการผลิตเพื่อ รถจักรยานยนต์มีค่าต่ำที่สุดคือ 70% จึงทำให้เป็นจุดตัดสินใจ
เพิ่มศักยภาพในการแข่ง ขั น โดยมุ่ง เน้ นไปที่ การปรั บ ปรุ ง ที่ทางผู้วิจัยได้ทำการเลือกไลน์ประกอบไฟหน้ารถจักรยานยนต์
กระบวนการผลิตเพื่อให้ทันตามความต้องการของลูกค้าดัง นั้ น มาเป็นกรณีศึกษาในการปรับปรุงจัดสมดุลการผลิต หลังจากที่
วิธีการที่นิยมใช้ในการปรับปรุงกระบวนการผลิต คือ ปรับปรุง ผู้วิจัยเข้าไปศึก ษาปัญหาในกระบวนการประกอบไฟหน้ารถ
กระบวนการให้สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ มอเตอร์ ไ ซค์ พ บว่ า มี ก ารจั ด สมดุ ล กระบวนการผลิต ที ่ไม่
โดยใช้การจัดสมดุลกระบวนการผลิต (Line Balancing) และ เหมาะสมทำให้ ทำให้เกิดกระบวนการที่มีลักษณะเป็นคอขวด
เพื่อลดความสูญเปล่าที่เกิดขึ้นในกระบวนการเพื่อลดรอบเวลา ส่งผลให้กระบวนการผลิตใช้เวลานาน จากการคำนวณความ
การผลิต (Cycle Time) ให้ทันตามความต้องการชิ้ นงานของ ต้องการชิ้นงานของลูกค้าหนึ่งชิ้น (Takt Time) คำนวนได้จาก
ลูกค้า (Takt Time) เวลาในการทำงานต่อวัน
Takt Time =
จำนวนสินค้าที่ลูกค้าต้องการต่อวัน
2. ที่มาและความสำคัญของปัญหา จากข้อมูลเวลาการทำงานของพนักงงานหนึ่งวันเท่ากับ 1180
นาทีต่อวันและยอดการสั่งผลิตต่อวันเท่ากับ 1210 ชิ้นต่อวัน
บริษ ัทกรณีศ ึกษานี้เป็นบริษ ัทที่ผ ลิตสินค้าเป็นไฟหน้ า
เมื่อคำนวณออกมาจะได้ค่า Takt Time เท่ากับ 58.51 วินาที
รถยนต์และรถจักยานยนต์ซึ่งกระบวนการผลิตหลักๆจะเป็ น
ต่อชิ้น แต่รอบเวลาการทำงานของพนักงานคนที่เป็นคอขวด
กระบวนการประกอบไฟหน้ารถนต์และรถจักรยานยนต์ โดย
เท่ า กั บ 73 วิ น าที ต ่ อ ชิ ้ น ส่ ง ผลให้ ไ ลน์ ป ระกอบไฟหน้ า
มีไลน์การประกอบหลักๆด้วยกันทั้งหมด 3 ไลน์ โดยมีข้อมูล
รถจักรยานยนต์ไม่สามารถผลิตได้ทันตอบความต้องการของ
รายระเอียดดังนี้
ลูกค้า (Takt time) จากปัญหาดังกล่าวผู้วิจัยจึงสนใจนำปัญหา
ตารางที่ 1 ตารางแสดงข้อมูลการผลิตของไลนประกอบไฟ
ที่เกิดขึ้นในกระบวนการประกอบไฟหน้ารถจักรยานยนต์ ของ
หน้ารถจักรยานยนต์และรถยนต์
ไลน์ประกอบไฟ ไลน์ ไลน์ บริษัทผลิตไฟหน้ารถยนต์กรณีศึกษาแห่ง นี้มาปรับปรุง แก้ไ ข
หน้า ประกอบไฟ ประกอบ ด้วยแนวทางในการจัดสมดุลกระบวนการผลิตและลดความสูญ
รถจักรยานยน หน้ารถยนต์ ไฟหน้า เปล่าที่เกิดขึ้นในกระบวนการ เพื่อทำให้กระบวนการประกอบ
ต์ (กระบะ) รถยนต์ ไฟหน้ารถจักรยานยนต์สามารถผลิตสินค้าตอบสนองต่อความ
(เก๋ง) ต้องการของลูกค้าได้
จำนวนพนักงาน 5 4 2
เวลาการทำงานรวม 257 252 216
(วินาที)
3. ทฤษฎีและงานวิจยั ที่เกี่ยวข้อง
รอบเวลาการทำงาน 73 79 109 ในหัวข้อนี้จะกล่าวถึงทฤษฎีและเครื่องมือต่างๆที่ผู้วิจัยได้
ที่สูงที่สุด(วินาที) นำมาใช้ในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการประกอบไฟ
ประสิทธิภาพสมดุล 70% 80% 99% หน้ารถจักรยานยนต์เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามวัตถุประสงค์ ของ
การผลิต(เปอร์เซนต์) งานวิจัย

164
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

3.1 ทฤษฎีการจัดสมดุลการผลิต ปรับปรุง พบว่าสามารถเพิ่มประสิทธิภ าพของสายการผลิต


การจั ด สมดุ ล สายงานการผลิ ต ( Production Line เพิ่มขึ้นเป็น 91.67% ได้
Balancing) หมายถึง การจัดให้สถานีงานต่างๆ มีอัตราการ ธัช ณนท์ แดนเขต และ คณะ (2561) ใช้หลักจัดสมดุล
ทำงานหรือเวลาที่ใช้ในการผลิตแต่ละชิ้นโดยการจัดสมดุลการ สายการผลิต (Line Balancing) แก้ไขปัญหาของจำนวนสินค้า
ผลิตจะมุ่งเน้นไปที่การลดเวลาการทำงานที่เป็นคอขวด(Bottle ที่ผลิตไม่ทันตาม เวลาความต้องการของลูกค้า (Takt Time)
Neck) ลงและกระจายงานย่อยไปยังสถานีงานอื่นๆเพื่อทำให้ ผลการดำเนินการพบว่า สามารถลดเวลาในการผลิตต่อรอบ
กระบวนการผลิตมีความสมดุลมากยิ่งขึ้น ลดลง 0.55 นาที
3.1.1 เครื่องมือและแนวคิดที่ใช้ในการจัดสมดุลการผลิต ธนัฐสินี ตันดี(2562) เพิ่มประสิทธิภาพสายผลิตแผนกการ
การศึกษาเวลา (Time Study) การศึกษาเวลาเป็น การ ประกอบ ด้วยวิธีการจัดสมดุล สายการผลิตด้วยการปรับลด
วัดผลการทำงาน หรือเป็นการหาเวลามาตรฐาน จำนวนสถานีงาน และจัดสรรงานให้มีรอบเวลาการผลิตต่ำสุด
รอบจัง หวะการผลิตสินค้าต่อชิ้น (Takt Time) คือ รอบ ภายใต้ข้อจำกัดด้านรอบเวลาการ ผลการวิจัยพบว่า สามารถ
จังหวะการผลิตสินค้าต่อชิ้น มีสูตรดังนี้ ลดรอบเวลาการผลิตลงเป็น 73.95 ประสิทธิภาพสมดุล สาย
เวลาในการทำงานต่อวัน การประกอบเป็น 95.36 เปอร์เซ็นต์
Takt Time = (1)
จำนวนสินค้าที่ลูกค้าต้องการต่อวัน
วงรอบเวลาในการผลิต (Cycle Time) คือ วงรอบของ 4. ขั้นตอนการดำเนินงาน
เวลาในการผลิตผลิตภัณฑ์หนึ่ง หน่วยโดยทำการจับเวลาที่ ในหัวข้อนี้ จ ะกล่าวถึง ขั้นตอนการดำเนินงานวิจ ัย และ
กระบวนการผลิตจริง ข้อมูลของสภาพปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน และการวิเคราะห์
เวลามาตรฐานในการผลิต (Standard Time) คือ เวลา ข้อมูลเบื้องต้น เพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหา กรณีศึกษา
มาตรฐานที่ใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์หนึ่งหน่วย โดยมีขั้นตอนในการวิจัดังนี้
3.2 ความสูญเปล่า 7 ประการ 4.1 ศึกษาข้อมูลเบื้องต้นของบริษัทกรณีศึกษา
คือทฤษฎีที่พูดถึงความสูญเปล่าทั้ง 7 ประการที่ เกิดขึ้นใน บริษัทกรณีศึกษาเป็นบริษัทที่เน้นการผลิตชิ้นส่วนไฟหน้า
กระบวนการผลิ ต เป็ น สิ ่ ง ที ่ ไ ม่ ก ่ อ ให้ เ กิ ด ประโยชน์ แ ละไม่ และไฟท้ า ยรวมไปถึ ง ระบบไฟต่ า งๆ ของรถยนต์ แ ละ
ก่อให้เกิดกำไร แต่มีต้นทุนอยู่ตลอดเวลา รถจักรยานยนต์ โดยจะส่งให้ลูกค้าทั้งในประเทศและลู กค้า
3.3 ทฤษฎีหลักการ ECRS ต่ า งประเทศ โดยสายการผลิ ต หลั ก จะเป็ น กระบวนการ
ECRSคือแนวคิดในการลดความสูญเปล่าในการดำเนินงาน ซึ่ง ประกอบ กรณีศึกษานี้ทางผู้วิจัยได้ทำการเลือกสายการผลิต
เป็นต้นทุนที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ โดยหลักการ ECRS จะ ของผลิ ต ภั ณ ฑ์ ไ ฟหน้ า รถจั ก รยานยนต์ เป็ น กรณี ศ ึ ก ษา
ประกอบไปด้วยแนวคิด 4 อย่างด้วยกันคือแนวคิดในการกำจัด เนื ่ อ งจากตั ว ผลิ ต ภั ณ ฑ์ น ี ้ ม ี ช ิ ้ น ส่ ว นหลากหลายและมี
(Eliminate) ,แนวคิดในการรวม(Combine) ,แนวคิดในการ กระบวนการผลิตที่มีความซับซ้อน โดยในสายการผลิตไฟหน้า
จัดเรียงใหม่(Rearrange) ,แนวคิดในการทำให้ง่าย(Simplify) รถจักรยานยนต์ จะทำการประกอบไฟหน้ารถยนต์ทั้งหมดสาม
3.4 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
สมปราถนา สายสงวนทรัพย์ (2560) ปรับปรุงกระบวนการ
การประกอบชิ้นงานกรณีศึกษาในกระบวนการผลิตกล้องวงจร
ปิด ด้วยหลักการแนวคิดการจัดสมดุล สายการผลิต จากการ
165
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

รุ่นด้วยกัน ได้แก่รุ่น Base Grade รุ่น Middle Grade และ รุ่น จำนวนงาน C.T. AVG
High Gradeโดยมีภาพตัวอย่างดังนี้ ย่อย
พนักงานคนที่ 1 14 งาน 39.8 วินาที/ชิ้น
พนักงานคนที่ 2 10 งาน 65.7 วินาที/ชิ้น
พนักงานคนที่ 3 13 งาน 41.2 วินาที/ชิ้น
พนักงานคนที่ 4 14 งาน 74.3 วินาที/ชิ้น
พนักงานคนที่ 5 11 งาน 45.6 วินาที/ชิ้น

รูปที่ 1 รูปตัวอย่างไฟหน้ารถจักรยานยนต์รุ่น Base Grade จากข้อมูลการจับเวลาดังกล่าวพบว่ากระบวนการผลิตไม่


5.1.1. ศึกษากระบวนการประกอบไฟหน้ารถจักรยานยนต์ มีความสมดุลกันเมื่อนำมาคำนวณประสิทธิภาพสมดุลการผลิต
ในสายการประกอบไฟหน้ ารถจัก รยานยนต์ จ ะทำการ ตามสมการดังนี้
ประกอบไฟหน้ารถจักรยานยนต์ทั้งหมด 3 รุ่นโดยในแต่ละรุ่น เวลาการทางานรวม
มียอดการสั่งผลิตที่ไม่เท่ากันและมีรอบเวลาการผลิตที่แตกต่าง ประสิทธิภาพสมดุลการผลิต = × 100 (2)
รอบเวลาการทางานทที่สูงที่สุด × จานวนพนักงานทั้งหมด
กันโดยมีข้อมูลดังนี้
ตารางที่ 2 ตารางแสดงข้อมูลการผลิตสินค้าแต่ละรุ่น จากสมการดังกล่าวเมื่อคำนวณประสิทธิภาพสมดุลการ
Model CT (Bottle Order/day % CT ผลิตของไลน์นี้เท่ากับ 71.82 เปอร์เซนต์
Neck) AVG Ratio 4.3 การนำเสนอแนวทางในการปรับปรุง
Low Grade 74.3 750 50% 37.48 4.3.1 การลดความสูญเปล่าโดยหลักการ ECRS
Midle Grade 79.7 590 42% 33.72 การปรับปรุงกระบวนการโดยการกำจัด (Eliminate) เป็น
High Grade 108.2 130 7% 7.85 การปรับปรุงที่มุ่งเน้นไปที่การกำจัดความสูญเปล่าที่เกิดขึ้นใน
1470 100% 79.04
กระบวนการความสูญเปล่าที่เกิดขึ้นอยู่ใน คือขั้นตอนในการ
จากข้อมูลดังกล่าวเมื่อนำมาวิเคราะห์ รอบเวลาการผลิต หยิบชิ้นงาน Reflector จากโต๊ะพักงานพร้อมตรวจสอบ เป็น
โดยเฉลี่ยของสายการผลิตเท่ากับ 79.04 วินาทีต่อชิ้นซึ่งเกินค่า ขั้นตอนที่ไม่ก่อให้เกิดมูลค่า (Non-Value Added) เนื่องจากมี
Takt Time ที่ 58.51 วินาทีต่องชิ้น จากยอดการสั่งผลิตรุ่น การทำงานที่ซ้ำซ้อนกันของพนักงาน
Low Grade มียอดสั่งผลิตต่อวันมากที่สุดจึงทำการเลือกมาทำ การปรั บ ปรุ ง การะบวนการโดยหลั ก การทำให้ ง ่ า ย
การวิเคราะห์และหาแนวทางการแก้ไข (Simplify) เป็นการปรับปรุงที่มุ่งเน้นไปที่การปรับปรุงขั้นตอน
4.2 การวิเคราะห์ข้อมูลและปัญหาของกระบวนการ การทำงานที่ยากลำบากหรือขั้นตอนการทำงานที่ซับซ้อน จน
หลั ก จากที ่ ท ราบถึ ง ข้ อ ปั ญ หาที ่ เ กิ ด ขึ ้ น ผู ้ ว ิ จ ั ย ได้ ส่งผลให้เกิดความสูญเสียในกระบวนการ โดยการนำอุปกรณ์
ทำการศึกษาขั้นตอนงานย่อยของการบวนการและทำการจับ หรือเครื่องมือเข้ามาใช้เพื่อปรับปรุงเวลาการทำงานหรือกำจัด
เวลาการประกอบไฟหน้ารถจักรยานยนต์รุ่น Low Grade โดย ความสูญเปล่าไป โดยงานย่อยของหนักงานที่ผู้วิจัยได้เลือกมา
จับเวลาทั้งหมด 10ครั้ง ได้ข้อมูลดังนี้ตารางที่ จะประกอบไปด้ วย 2 ขั้นตอนได้ แก่ข ั้ น ตอนใส่ช ิ้ นงานเข้ า
ตารางที่ 3 ตารางแสดงข้อมูลรอบเวลาการทำงานเฉลี่ยของ เครื ่ อ งจั ก ร Push On Fix พร้ อ มกระกอบ Adjusting สกรู
พนักงาน

166
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

ขั้นตอนขั นสกรู ยึ ดชิ ้นงานInner Len เข้ากับชิ้นงาน Lens และความสัมพัน ธ์ ของงานย่อ ยแต่ล ะงานจะได้ ข้ อมู ล ดั ง นี
เนื่องจากเป็นขั้นตอนที่มีความสูญเปล่าจากการหยิบชิ้นงาน ตารางที่ 4 ตารางแสดงงานย่อยของพนักงานแต่ละคนหลัง
แบ่งงานย่อยใหม่
We Tsi Takt Time
พนักงานคนที่ 8 งาน 56.6 วินาที/ชิ้น 58.51 วินาที/ชิ้น
1
พนักงานคนที่ 15 งาน 56.5 วินาที/ชิ้น 58.51 วินาที/ชิ้น
2
พนักงานคนที่ 15 งาน 51.6 วินาทีต่อ 58.51 วินาที/ชิ้น
3 ชิ้น
รูปที่ 2 รูปตัวอย่างขั้นตอนการหยิบ Adjusting สกรู(ซ้าย)และ พนักงานคนที่ 14 งาน 54.2 วินาที/ชิ้น 58.51 วินาที/ชิ้น
การประกอบ Inner Lens เข้ากับ Lens (ขวา) 4

การปรั บ ปรุ ง กระบวนการโดยหลั ก การจั ด เรี ย งใหม่ จากตารางข้อมูล ดัง กล่าวเป็นตารางการสรุปผลการแบ่ง


(Rearrange) นั้นเกิดจากปัญหาในการจัดขั้นตอนการทำงาน งานย่อยของพนักงานใหม่โดย เลือกงานย่อยที่ใช้เวลามากที่สุด
ของพนักแต่ละคนไม่เหมาะสม สงผลให้ภาระงานของพนักงาน ก่อน (Largest Candidate Rule) หลังจากที่ทำการแบ่ง งาน
แต่ละคนนั้นต่างกันมาก รอบเวลาการผลิต (Cycle Time) เมื่อ ย่อยใหม่ผู้วิจัยได้ทำการจับเวลาการทำงานของพนักงานใหม่
นำมาวิเคราะห์ร่วมกับรอบเวลาความต้องการของลูกค้า (Takt เพื่อสรุปผลในหัวข้อถัดไป
Time) โดยข้อมูลจะแสดงในแผนภาพดังต่อไปนี้ 5. ผลการดำเนินงานวิจัย
จากการนำเสนอแนวทางในการปรับปปรุงกระบวนการ
โดยแนวทางในการปรับปรุงกระบวนการผลการดำเนินงานจะ
สรุปได้ดังนี้
5.1 แนวทางการแก้ไขโดยการกำจัด (Eliminate)
จากการเสนอแนวทางการขจั ด ความสู ญ เปล ่ า ใน
กระบวนการผู ้ ว ิ จ ั ย ได้ ท ำการเลื อ ก ขั ้ น ตอนงานย่ อ ย คื อ
ขั้นตอนการตรวจสอบชิ้นงาน Reflector เมื่อขั้นตอนนี ้ ถู ก
กำจัดออกไปส่งผลให้เวลาการทำงานลดลง

รูปที่ 3 รูปแสดงการวิเคราะห์ Cycle Time เทียบกับ Takt


Time
จากข้อมูลดังกล่าวผู้วิจัยได้ทำการเสนอแนวทางในการ
จัดเรียงกระบวนการใหม่โดยใช้หลักการ จัดสมดุลกระบวรการ
ผลิต (Line Balancing) โดยใช้ตารางลำดับงานย่อยก่อนหลัง
(Precedence)เพื่อหาเวลาการทำงานของงานย่อยที่มากที่สุด
167
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

5.2 แนวทางการแห้ไขโดยการทำให้ง่าย (Simplify) Cycle Time Bottle 74.3 วินาที 59.2 วินาที ลดลงไป 15.1
Neck ต่อชิ้น ต่อชิ้น วินาที (20%)
การปรับปรุงการจัดวางชิ้นงาน Adjusting สกรู ในขั้นตอน
จำนวนพนักงาน 5 คน 4 คน ลดลง 1 คน
นี้ได้ทำการจัดทำรางสำหรับใส่ชิ้นงานให้พนักงานงานสามารถ line Balancing 71.82% 92.35% เพิ่มขึ้น
หยิบได้สะดวกขึ้น และการจัดทำเครื่องขันสกรูอัตโนมัติเพื่อลด Efficiency 20.53%
ขั้นตอนการทำงานของพนักงาน
6. สรุปผลและข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
6.1 สรุปผลงานวิจัย
ผู้วิจ ัยจัง ได้ทำการเสนอแนวทางในการปรับปรุงโดยใช้
หลั ก การ ECRS และการจัด สมดุ ล กระบวนการผลิ ต (Line
Balancing) จากการปรับปรุงพบว่าสามารถลดเวลาการทำงาน
คอขวดลงได้จาก 74.3 วินาทีต่อชิ้นเหลือ 59.2 วินาทีต่อชิ้น
โดยมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพสมดุ ล การผลิ ต เพิ ่ ม ขึ ้ น จาก 71.82
รูปที่ 4 รูปแสดงผลหลังการปรับปรุงการจัดวางของชิ้นงาน เปอร์เซนต์เป็น92.35 เปอร์เซนต์
Adjusting สกรู(ซ้าย)และการจัดทำเครื่องขันสกรู 6.2 ข้อเสนอแนะ
อัตโนมัติ(ชวา) ขั้นตอนในการทำงานของพนักงาน เป็นขั้นตอนที่มีความ
จากการปรับปรุงการจัดเรียงชิ้นงานดังกล่าวส่งผลให้เวลา ซั บ ซ้ อ นและอาศั ย ความชำนาญส่ ว นบุ ค คล หากเกิ ด การ
ในการทำงานลดลง 0.6 วินาทีเนื่องจากพนักงานหยิบชิ้นงาน เปลี่ยนแปลงพนักงานอาจเกิดผลกระทบต่อมาตรฐานในการ
ได้ง่ายขึ้น และการใช้เครื่องขันสกรูอัตโนมัติส่งผลให้เวลาการ ทำงานที่ปรับปรุงใหม่ได้ ดังนั้นทางบริษัทกรณีศึกษาจึง ต้องให้
ทำงานลดลง 24.77 วินาที ความสำคั ญ ในการอบรบพนั ก งานและให้ ค วามรู ้ เ กี ่ ย วกับ
5.3 แนวทางการแก้ไขโดยการจัดเรียงใหม่ (Rearrange) มาตรฐานการผลิต เพื่อคงไว้ซึ่งประสิทธิภาพและคุณภาพของ
จากการแบ่งงานย่อยของพนักงานใหม่โดยโดยใช้หลักการ จัด กระบวนการผลิต
สมดุล การผลิตโดย เลือกงานย่ อยที ่ใช้เ วลามากที ่ส ุ ด ก่ อ น
(Largest Candidate Rule) หลัง จากที่ทำการแบ่ง งานย่ อ ย เอกสารอ้างอิง
ใหม่ผู้วิจัยได้ทำการสรุปข้อมูลได้ดังนี้ 1. สมปราถนา สายสงวนทรั พ ย์ (2560), “การปรั บ ปรุ ง
ตารางที่ 5 ตารางสรุปข้อมูล หลัง กการจัดเรียงขั้นตอนการ กระบวนการด้วยการจัดสมดุล สายการผลิตกรณีศ ึกษา
ทำงานใหม่ กระบวนการประกอบผลิ ต ภั ณ ฑ์ ก ล้ อ งวงจรปิ ด ”
รายระเอียด ก่อนการ หลังการ สรุปผล
วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
กระบวนการผลิต ปรับปรุง ปรับปรุง
เวลาการทำงาน 590 นาที 590 นาที 2. ธั ช ณนท์ แดนเขต และ คณะ (2561), “การจั ด สมดุ ล
ทั้งหมด สายการผลิตเพื่อลดความสูญเปล่าในกระบวนการผลิต
เวลามาตรฐานในการ 266.8 วินาที 218.69 ลดลงไป 48.11 กรณีศึกษาโรงงานผลิตปลาแซลมอนแช่แข็ง” รายงานการ
ประกอบชิ้นงานหนึ่ง ต่อชิ้น วินาทีต่อชิ้น วินาที (18%)
ประชุม การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ
ชิ้น

168
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

ประจำปี พ.ศ. 2561 (หน้า 1092-1096). อุบลราชธานี:


มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
3. ธนัฐสินี ตันดี (2562), “การปรับปรุงประสิทธิภาพสายการ
ประกอบผลิตภัณฑ์ผสม โดยการจัดสมดุลสายการผลิต”
วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิศวกรรม
ภาควิ ช าวิ ศ กรรมอุ ต สาหการ คณะวิ ศ วกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
4. ธรรมศั ก ดิ ์ ค่ ว ยเทศ (2564), “การค านวณหาค่ า เวลา
มาตรฐานการท างานของพนั ก งาน” วารสารวิ ช าการ
วิทยาลัยโลจิส ติ กส์ และซั พ พลายเชน ปีที่ 7 ฉบับที่ 1
มกราคม - มิถุนายน พ.ศ. 2564 (หน้าที่ 5 – 18)
5. ธัญชนก เอมทิม (2565), “ECRS คืออะไรทำไมถึงช่วยลด
ต้นทุนที่ไม่จำเป็นในการทำงานได้” สืบค้นเมื่อ 5
พฤษภาคม 2565 จาก
https://th.hrnote.asia/orgdevelopment/220207-
what-is-ecrs/
6. รื่นฤดี โยธาคุณ, วรรณกร นามนู, และ สุพรรณี อึ้งปัญสัต
วงศ์ “การลดความสู ญ เสี ย 7 ลั ก ษณะ ในโรงงาน
อุ ต สาหกรรม” สื บ ค้ น เมื ่ อ 5 พฤษภาคม 2565 จาก
http://sc2.kku.ac.th/stat/statweb/images/Eventpic
/60/Seminar/01_15_7waste.pdf

169
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

การจัดเส้นทางการเดินรถเพื่อลดต้นทุนการขนส่ง
กรณีศึกษาโรงงานจำหน่ายวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมโรงหล่อ
Vehicle Routing to Reduce Transportation Cost
A Case Study of Foundry Raw Material Supplier

วรยุทธ อุบลจง1* จันทร์ศิริ สิงห์เถื่อน2 และ รุ่งรัตน์ ภิสัชเพ็ญ3


1
สาขาการจัดการวิศวกรรม ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เขตบางเขน กรุงเทพฯ 10900
2,3
ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เขตบางเขน กรุงเทพฯ 10900
E-mail: worayut.u@ku.th1*, chansiri.s@ku.ac.th 2, fengros@ku.ac.th3

บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดต้นทุนการขนส่งสินค้า โดยทำการศึกษาข้อมูลการขนส่ง วัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมโรง
หล่อ สำหรับกลุ่มลูกค้าโซน บางนาตราด และภาคตะวันออก ของบริษัทกรณีศึกษาซึ่งประกอบด้วยลูกค้าจำนวน 88 ราย ใช้รถ
ขนส่ง 3 ประเภท ได้แก่ รถบรรทุก 10 ล้อ จำนวน 6 คัน รถบรรทุก 6 ล้อ จำนวน 3 คัน และรถ 4 ล้อ จำนวน 6 คัน จากนั้นสร้าง
แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ สำหรับปัญหาการจัดเส้นทางการขนส่ง และทำการแก้ปัญหาด้วยวิธีการแตกกิ่งและการตัด โดยใช้
โอเพ่นโซลเวอร์ เป็นเครื่องมือในการหาคำตอบการเลือกรถขนส่ง และการจัดเส้นทางการเดินรถเพื่อให้ต้นทุนการขนส่งต่ำที่สุด โดย
ผลลัพธ์ที่ได้คื อโดยเฉลี่ยแต่ละคำสั่งซื้อหรือแต่ละวัน วีธีการที่นำเสนอสามารถลดต้นทุ นคงที่จ ากเดิม 11,366.22 บาท เหลือ
9,540.09 บาท ลดลง 1,826.13 บาท คิดเป็น 16.07 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากสามารถลดจำนวนการใช้งานรถขนส่งจากเดิม 8 คัน
เหลือ 6 คัน ลดลง 2 คัน คิดเป็น 25 เปอร์เซ็นต์ และสามารถลดระยะทางการขนส่งจากเดิมคือ 926.30 กิโลเมตร เหลือ 643.50
กิโลเมตร ลดลง 282.30 กิโลเมตร คิดเป็น 30.53 เปอร์เซ็นต์ ทำให้สามารถลดต้นทุนผันแปรจากเดิม 5,740.27 บาท เหลือ
4,677.92 บาท ลดลง 1,062.35 บาท คิดเป็น 18.51 เปอร์เซ็นต์

คำสำคัญ : ปัญหาการจัดเส้นทางการขนส่ง การลดต้นทุนการขนส่ง โอเพ่นโซลเวอร์

Abstract
The aim of this study is to reduce Transportation Cost in Bangna-Trad and Eastern region zone of a

170
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

case study company. There are 88 customers in this zone. There are 3 types of vehicles, which are 6 ten-wheel
trucks, 3 six-wheel trucks, and 6 four-wheel trucks. After studying the present transportation system, the
corresponding mathematical model of Capacitated Vehicle Routing Problem (CVRP) is developed. Branch and
cut Algorithm in OpenSolver is implemented to find the optimal types and number of vehicles and vehicles
routes. The numerical results show that the average of transportation cost in term of fixed cost reduces from
11,366.22 bath to 9,540.09 bath or reduces by 16.07 %. It is due to the average required number of vehicles
decreases from 8 to 6 or 25 %. The average variable cost reduces from 5 ,7 4 0 . 2 7 bath to 4,677.92 bath or
reduces by 18.51 % because the transportation distance decreases from 926.30 km. to 643.50 km. or decreases
by 30.53 %.

Keywords : Capacitated Vehicle Routing Problem, Transportation Cost Reduction, OpenSolver

171
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

1. บทนำ จำนวนลูกค้า ต้นทุนในการ


กลุ่มลูกค้า
ในปั จ จุ บ ั น อุ ต สาหกรรมโรงหล่ อ ในประเทศมี จ ำนวน (ราย) ขนส่ง
ตัวแทนจำหน่ายวัตถุดิบเพิ่มมากขึ้น จึง ทำให้มีการแข่ง ขัน กลุ่มที่ 5 5 0.62 %
ทางด้านราคาอย่างรุนแรง บริษัทกรณีศึกษาเป็นบริษัทนำเข้า
และจัดส่งวัตถุดิบสำหรับอุตสาหกรรมโรงหล่อให้กับโรงงาน ในการลดต้นทุนการขนส่ง จะต้องพิจารณา วิธีในการจัด
ต่าง ๆ ภายในประเทศ และบริษัทมีการให้บริการโลจิส ติกส์ รถขนส่งและเส้นทางการขนส่ง ซึ่งปัญหาดังกล่าวทางทฤษฏี
จัดส่งสินค้าตามความต้องการของลูกค้าไปยังสถานที่ ต่าง ๆ เรี ย กว่ า ปั ญ หาการจั ด เส้ น ทางการเดิ น รถขนส่ ง (Vehicle
บริษัทกรณีศึกษาจึงมีความต้องการที่จะลดต้นทุนโลจิส ติกส์ Routing Problem ; VRP) สามารถแบ่งได้ดังนี้ [2]
เพื่อสามารถแข่งขันราคากับคู่แข่งได้ จึงทำการวิเคราะห์ข้อมูล 1. Capacitated Vehicle Routing Problem (CVRP) คือ การ
ในส่วนของต้นทุนโลจิสติกส์ พบว่า ต้นทุนการขนส่งเป็นต้นทุน จัดเส้นทางที่มีการเพิ่มเงื่อนไขข้อจำกัดด้านปริมาณสิ นค้า ที่
ส่วนที่มากที่สุดซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัย [1] โดยคิดเป็น 48.9 ขนส่งสำหรับรถแต่ละประเภท
เปอร์เซ็นต์ ของต้นทุ นโลจิส ติกส์ทั้ง หมดจึง นำมาพิจ ารณา 2. Vehicle Routing Problem with Time Windows
แก้ปัญหา รองลงมาคือต้นทุนการเก็บรักษาสินค้าคงคลัง 39.3 (VRPTW) คือ การจัดเส้นทางที่มีการเพิ่มเงื่อนไขข้อจํากัดด้าน
เปอร์เซ็นต์ และต้นทุนการบริห ารจัด การโลจิส ติ กส์ 11.8 ระยะเวลาที่ใช้ในการส่งสินค้าแต่ละรอบ
เปอร์เซ็นต์ 3. Vehicle Routing Problem with Backhauls (VRPB) คือ
ในการขนส่ ง สิ น ค้ า บริ ษ ั ท แบ่ง ลู ก ค้ าจำนวน 205 ราย การจัดเส้นทางที่มีการเพิ่มเงื่อนไขสำหรับการขนส่งเที่ยวกลับ
ออกเป็น 5 กลุ่ม ตามภูมิภาคและสถานที่ตั้งของลูกค้า แต่ละ ด้วย
กลุ่มจะมีจ ำนวนลูกค้าที่แตกต่างกัน และจากการรวบรวม 4. Vehicle Routing Problem with Pick-Up and
ข้อมูล ต้นทุนการขนส่ง ตั้ง แต่วันที่ 1 เดือน มกราคม พ.ศ. Delivering (VRPPD) คือ การจัดเส้นทางที่มีการเพิ่มเงื่อ นไข
2562 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2562 พบว่าต้นทุนการขนส่ง โดยมีจุดรับสินค้าและจุดส่งสินค้าหลายแห่งในเส้นทางเดียวกัน
ของแต่ละกลุ่มเป็นดังตารางที่ 1 ซึ่งจากตารางพบว่าลูกค้ากลุ่ม 5. Open Vehicle Routing Problem (OVRP) คื อ การจั ด
ที่ 1 โซน บางนาตราด และภาคตะวันออก จากทั้งหมด 5 กลุ่ม เส้นทางโดยมีการเพิ่มเงื่อนไขโดยรถขนส่งไม่จำเป็นที่จะต้อง
มีการใช้ต้นทุนในการขนส่งสูงที่สุด จึงถูกเลือกมาพิจารณาใน กลับมายังจุดเริ่มต้น
งานวิจัยนี้ 6 . Stochastic Demand Vehicle Routing Problem
(SDVRP) คื อ การจั ด เส้ น ทางที ่ ม ีเ งื่ อ นไขคือ ปริ ม าณความ
ตารางที่ 1 ข้อมูลการใช้ระยะทางและต้นทุนในการขนส่งของ ต้องการสินค้าของลูกค้านั้นไม่แน่นอน
ลูกค้ากลุ่มต่างๆ 7 . Multi-Depot Vehicle Routing Problem (MDVRP) คื อ
จำนวนลูกค้า ต้นทุนในการ การจัดเส้นทางที่มีศูนย์กระจายสินค้ามากกว่า 1 แห่ง
กลุ่มลูกค้า
(ราย) ขนส่ง โดยปัญหาการจัดเส้นทางการขนส่ง ในงานวิจัยนี้จัดเป็น
กลุ่มที่ 1 88 31.59 % ปัญหา CVRP ซึ่งปัญหานี้พัฒนาขึ้นโดย Dantzig and Ramser
กลุ่มที่ 2 72 21.69 % [3] เพื่อใช้ในกรณีที่รถขนส่งสินค้าแต่ละรอบ ต้องพิจารณาถึง
กลุ่มที่ 3 32 31.28 % ความจุของรถขนส่ง หากเกินความจุจะต้องเพิ่มจำนวนรอบใน
กลุ่มที่ 4 8 14.82 % การขนส่ง หรือทำการเพิ่มจำนวนรถในการขนส่ง แบบจำลอง
172
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

ทางคณิตศาสตร์ของปัญหา CVRP จัดเป็นปัญหากำหนดการ ข. ประเภทรถขนส่งสินค้า


เชิงจำนวนเต็ม โดยในงานวิจัยนี้ได้พัฒนาขึ้นจากการดัดแปลง ค. รายชื่อลูกค้าโดยแสดงข้อมูลเป็นเลขที่ของลูกค้า
แบบจำลองทางคณิ ต ศาสตร์ข อง [4] โดยการเพิ ่ ม ฟั ง ก์ขัน ง. น้ำหนักของสินค้าที่ขนส่งโดยแยกตามเลขที่ของลูกค้า
ต้นทุนคงที่ ในฟังก์ชันวัตถุประสงค์ และปรับเปลี่ยนตัวแปรบ่ง จ. ระยะทางในการขนส่งสินค้าแต่ละรอบ
บอกสถานะการใช้รถจากตัวแปรกำหนดเส้นทางการเดินรถ ฉ. กลุ่มลูกค้า
ทำให้จำนวนตัวแปรในปัญหาลดลง ช. เก็บข้อมูล ตำแหน่ง ที่ ตั้ง ลูกค้าเพื่อนำมาสร้างเมตริก
วิธีแม่นตรง (Exact Algorithm) ที่นิยมใช้แก้ปัญหานี้คือ ระยะทาง
วิธีการแตกกิ่งและจำกัดขอบเขต, วิธีการแจกกิ่ง และการตั ด 2.2. การสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์
และโปรแกรมที ่ ใ ช้ ม ี ห ลากหลาย เช่ น Minitab, Gurobi, สำหรั บ แบบจำลองทางคณิ ต ศาสตร์ ใ นการจั ด รถและ
Premium Solver, OpenSolver ฯลฯ ในงานวิจัยนี้เลือกใช้ เส้ น ทางการขนส่ ง เพื ่ อ ให้ ไ ด้ ต ้ น ทุ น ขนส่ ง ที ่ ต ่ ำ สุ ด และ
OpenSolver เนื่องจากไม่มีค่าใช้จ่าย และง่ายต่อการใช้งาน สอดคล้องกับเงื่อนไขในการใช้รถขนส่งสินค้า มีดังนี้
ของผู้ปฏิบัติงาน ฟังก์ชันวัตถุประสงค์ (Objective Function)
Minimize Z = ∑𝐾 𝑁
𝑘=1 𝑓𝑘 ∑𝑗=1 𝑥0𝑗𝑘 + (1.1)
2. ขั้นตอนการทำงาน ∑𝐾 𝑁 𝑁
𝑘=1 𝑡𝑘 ∑𝑗=1 ∑𝑖=1 𝑑𝑖𝑗 𝑥𝑖𝑗𝑘 (1.2)
2.1 การเก็บข้อมูล ข้อจำกัดหรือเงื่อนไข (Constrains)
ทำการเก็บรวบรวมข้อมูล 2 ส่วนคือ ∑N N
i=1 qi ∑j=0 xijk ≤ Q k ∀k ∈ 𝑀 (2)
2.1.1 ต้นทุนในการขนส่งสินค้า โดยต้นทุนในการขนส่งสินค้าที่ i≠j
∑Kk=1 ∑N
i=0 xijk = 1 ∀j ∈ V (3)
นำมาพิจารณามี 2 ส่วน คือ i≠j

ต้ น ทุ น คงที ่ (Fixed Cost) เป็ น ต้ น ทุ น ที ่ ไ ม่ ม ี การ ∑Kk=1 ∑Nj=0 xijk = 1 ∀i ∈ V (4)


j≠i

เปลี่ยนแปลงตามระยะทางในการขนส่ง และปริมาณสินค้าใน ∑N N
i=0 ipk − ∑j≠0 xpjk
x =0 ∀p ∈ V , ∀k ∈ M (5)
i≠p j≠p
การขนส่ง แต่จะแตกต่างกันตามประเภทของรถ โดยต้นทุน uik − ujk + Nxijk ≤ N − 1 ∀(i, j) ∈ V ′ , i ≠ j
คงที่ ที่นำมาวิเคราะห์ได้แก่ , ∀k ∈ M (6)
ก. เงินเดือนพนักงานขับรถ ∑N N
j=1 x0jk − ∑j=0 xijk ≥ 0 ∀i ∈ V ′ , ∀k ∈ M (7)
ข. ค่าประกันภัยรถยนต์ ∑N
j=1 x0jk ≤ 1 ∀k ∈ M (8)
ค. ภาษีรถยนต์ xijk is binary (9)
ง. ระบบจีพีเอส
จ. การเสื่อมราคา โดยกำหนดให้
ต้นทุนผันแปร (Variable Cost) คือต้นทุนที่ แปรผัน ตาม พารามิเตอร์
fk คือ ต้นทุนคงที่ของรถคันที่ k เมื่อ k ∈ M
ระยะทางในการขนส่งสินค้าได้แก่ ราคาน้ำมัน
t k คือ ต้นทุนผันแปรของรถคันที่ k เมื่อ k ∈ M
2.1.2 ข้อมูลในการขนส่งสินค้าแต่ละวัน โดยการเก็บข้อมูลใน
Q k คือ ความจุของรถคันที่ k เมื่อ k ∈ M
การขนส่งแต่ละวันได้จากการบันทึกในระบบภายในของบริษัท
นำมารวบรวมใส่ในโปรแกรม Excel โดยมีข้อมูลดังนี้ M คือ เซตของรถขนส่ง เมื่อ M = {1,2,…,K}
ก. วันที่ทำการส่งสินค้า V คือ เซตของจุดขนส่ง เมื่อ V = {0,1,…,N}

173
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

V ′ คือ เซตของลูกค้า เมื่อ V′ = {1,2,…,N} 2.3 พัฒนาวิธีการแก้ปัญหา


𝑑𝑖𝑗 คือ ระยะทางจากจุด i ไปยังจุด j จากแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ พ บว่า ปั ญหาจัด อยู ่ ใ น
qi คือ ปริมาณความต้องการสินค้าของลูกค้า ณ จุด i ประเภทปัญ หากำหนดการเชิ ง จำนวนเต็ มแบบไบนารี จึ ง
ตัวแปรตัดสินใจ เลื อ กใช้ว ิ ธ ีก ารแตกกิ่ ง และการตั ด ในการแก้ ปั ญ หาโดยใช้
xijk คือ 1 เมื่อมีการเดินทางจากจุด i ไปยังจุด j ด้วยรถคันที่ k โปรแกรม OpenSolver ซึ่งสามารถสรุปขั้นตอนการวิเคราะห์
และ 0 เมื่อไม่มีการเดินทางจากจุด i ไปยังจุด j ด้วยรถคันที่ k ปัญหาได้ดังรูปที่ 1
จากสมการคณิตศาสตร์ข้างต้น สามารถอธิบายได้ดังนี้
สมการที่ (1) อธิบายวัตถุประสงค์เพื่อให้ได้ต้นทุนขนส่งที่
ต่ำที่ส ุดซึ่ง คำนวณจากผลรวมของต้นทุนคงที่จ ากสมการที่
(1.1) ใช้รถแต่ละคันและต้นทุนผันแปรจากระยะทางการขนส่ง
ของรถแต่ละคัน จากสมการที่ (1.2) โดยในรอบการจัดส่งที่มี
จำนวนลูกค้า 1 ราย (N = 1) ฟังก์ชันวัตถุประสงค์จะใช้เพียง
สมการ (1.1) และจัดเส้นทางรถทุกคันแบบไป-กลับ (Point-to
Point) ในกรณีที่ลูกค้ามากกว่า 1 ราย (N>1) จะใช้สมการที่
(1) เป็นฟังก์ชันวัตถุประสงค์เพื่อคำนวณรถแต่ละประเภทและ
จัดเส้นทางการขนส่ง
สมการเงื่อนไข
สมการที่ (2) อธิบายข้อจำกัดในการใช้รถแต่ละคันโดย
น้ำหนักรวมของสินค้าที่ไปส่งยังลูกค้าในรถแต่ละคันจะต้องไม่
เกินความจุของรถที่ใช้บรรทุกสินค้า
รูปที่ 1 ขั้นตอนการจัดรถขนส่งและเส้นทางการขนส่ง
สมการที่ (3) และสมการที่ (4) อธิบายข้อจำกัดในส่วน
สินค้าของลูกค้า i และ j สามารถขนส่งโดยรถขนส่งเพียง 1 คัน
2.4 การพัฒนาโปรแกรม
เท่านั้น
สร้ า งสเปรดชี ท (Spread Sheet) ที ่ ใ ส่ ส ู ต รเซลล์ ต าม
สมการที่ (5) อธิบายข้อจำกัดเมื่อมีการเข้าไปส่งสินค้าที่จุด
ฟังก์ชันเป้าหมาย และสมการที่ (1) ถึงสมการที่ (9) และใส่ค่า
ใดจุดนึง รถขนส่งจะต้องออกมาจากจุดนั้นเสมอ
ในโปรแกรม OpenSolver
สมการที ่ (6) อธิ บ ายข้ อ จำกั ด ในการกำจั ด ทั ว ร์ ย ่ อ ย
2.5 ทำการทดลองแก้ปัญหา วิเคราะห์และสรุปผล
(Subtour)
นำโปรแกรมไปจัดรถและเส้นทางการขนส่ง โดยใช้ข้อมูล
สมการที่ (7) อธิบายข้อจำกัดเมื่อรถได้ถูกใช้ส่งสินค้า ไปยัง
การสั่ง ซื้อจำนวน 30 คำสั่ง ซื้อ จากนั้นทำการเก็ บผลการ
จุด j ใด ๆ รถคันนั้นจะต้องออกจากจุดคลังสินค้าเสมอ
ทดลอง และนำต้นทุนการขนส่งมาวิเคราะห์ เพื่อเปรียบเทียบ
สมการที่ (8) อธิบายข้อจำกัดเมื่อรถออกจากคลังสินค้า รถ
กับต้นทุนการขนส่งเดิมของบริษัท และนำไปสรุปผล
คันนั้นจะสามารถออกไปส่งสินค้าให้ลูกค้าจุดแรกได้ไม่เกิน 1
จุดเท่านั้น

174
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

3. ผลการดำเนินงาน 30.53 เปอร์เซ็นต์ ทำให้ส ามารถลดต้นทุนผันแปรจากเดิม


ผลจากการใช้โ ปรแกรม OpenSolver ในการแก้ปัญหา 5,740.27 บาท เหลือ 4,677.92 บาท ลดลง 1,062.35 บาท
พบว่า ต้นทุนการขนส่งลดลง และในกรณีคำสั่งซื้อมี 1 คำสั่ง คิดเป็น 18.51 เปอร์เซ็นต์
ซื้อ ที่มีล ูกค้า 1 ราย จะมีต้นทุนการขนส่ง เท่าเดิม ในส่วน
ผลลัพธ์โดยรวมสามารถทำให้ต้นทุนเฉลี่ย แสดงดังตารางที่ 2 5. ข้อเสนอแนะ
มีค่าลดลง 2,888.48 บาท/วัน ซึ่งคิดเป็น 16.89 เปอร์เซ็นต์ ในการพัฒนาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ และใช้โปรแกรม
เมื่อพิจารณาแต่ละส่วนของต้นทุนขนส่งพบว่า ต้นทุนคงที่ OpenSolver เป็นเครื่องมือในการหาคำตอบ จะมีข้อจำกัดใน
ลดลงเฉลี่ย 1,826.13 บาท/วัน คิดเป็น 16.07 เปอร์เซ็นต์ ส่วนของข้อมูลที่มีจำนวนมาก อาจใช้เวลาในการแก้ปัญหานาน
เนื่องจากมีการใช้ง านรถขนส่ง จากเดิม 8 คัน เหลือ 6 คัน ดังนั้นอาจมีการนำวิธีฮิวริสติก มาพิจารณาเป็นแนวทางหนึ่งใน
ลดลง 2 คัน คิดเป็น 25 เปอร์เซ็นต์ และต้นทุนผันแปรลดลง การแก้ปัญหา
เฉลี่ย 1,062.35 บาท/วัน คิดเป็น 18.51 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจาก 6. กิตติกรรมประกาศ
การจัดเส้นทางการขนส่งใหม่ทำให้ระยะทางการขนส่งลดลง ขอขอบคุ ณ บริ ษ ั ท กรณี ศ ึ ก ษาที่ อ นุ เ คราะห์ ข ้ อ มู ล เพื่ อ
ดัง นั้นจะเห็นได้ว่าการแก้ปัญหาโดยใช้แบบจำลองทาง นำมาใช้ในการทำงานวิจัยในครั้งนี้
คณิตศาสตร์ที่น ำเสนอ สามารถลดต้น ทุ น การจนส่ง ให้ กั บ
บริษัทได้ เอกสารอ้างอิง
1. รวมพล จั น ทศาสตร์ และ อั ส รี ย าภรณ์ สง่ า อารีย ์กุล .
ตารางที่ 2 การเปรียบเทียบผลการทดลองระหว่างวิธีการเดิม 2557. ปั จ จั ย ที ่ ส ่ ง ผลต่ อ ต้ น ทุ น โลจิ ส ติ ก ส์ ข องไทย
และวิธีการที่นำเสนอ กรณีศึกษาผู้ประกอบการด้านโลจิสติกส์ที่จดทะเบียนกับ
สมาคมผู้รับจัดการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ. วารสาร
ข้อมูลเฉลี่ย วิธีการเดิม วิธีการที่นำเสนอ
วิจัยและพัฒนา. มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์ ปีที่ 9 ฉบับที่
ระยะทาง (กิโลเมตร) 926.30 643.50
1 มกราคม- มิถุนายน 2557. ม.ป.ท.
ต้นทุนคงที่ (บาท) 11,366.22 9,540.09
2. Eksioglu B, Vural AV and Reisman A. (2009). The
ต้นทุนผันแปร (บาท) 5,740.27 4,677.92
vehicle routing problem: A taxonomic review.
ต้นทุนรวม (บาท) 17,106.49 14,218.01
Computers and Industrail Engineering 57
3. G.B. Dantzig and J. H. Ramser. (1959). The truck
4. สรุปผลการทดลอง
dispatching problem. Management Science. Vol.
วิธีการแก้ปัญหาที่นำเสนอสามารถลดต้นทุนคงที่จากเดิม
6, No. 1 , pp. 80-91
11,366.22 บาท เหลือ 9,540.09 บาท ลดลง 1,826.13 บาท
4. Singhtaun C., and Tapradub S., Modeling and
คิดเป็น 16.07 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากสามารถลดจำนวนการใช้
Solving Heterogeneous Fleet Vehicle Routing
งานรถขนส่งจากเดิม 8 คัน เหลือ 6 คัน ลดลง 2 คัน คิดเป็น
Problems in Draft Beer Delivery, International
25 เปอร์เซ็นต์ โดยเฉลี่ยแต่ล ะคำสั่ง ซื้อหรือแต่ล ะวัน และ
Journal of Engineering and Advanced Technology,
สามารถลดระยะทางการขนส่งจากเดิมคือ 926.30 กิโลเมตร
Vol. 8, Issue 3S, 2019, pp. 353-356
เหลือ 643.50 กิโ ลเมตร ลดลง 282.30 กิโ ลเมตร คิดเป็น
175
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

การวางแผนการผลิตด้วยตัวแบบโปรแกรมเชิงเส้นจำนวนเต็ม
สำหรับการผลิตชุดสายไฟในรถยนต์: สายการประกอบกรณีศึกษา
A Production Planning by Integer Linear Programming Model
for an Automobile Cable Production: A Case Study Assembly Line

มาริษา กิมาพร1 ชฎาพร สิงห์กุม2 และ วุฒินันท์ นุ่นแก้ว3*


1,2,3
ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (ศูนย์รังสิต)
ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง ปทุมธานี 12120
E-mail: marrisa4292@gmail.com1, chadaporn.singkum@gmail.com 2, nwuttinan@engr.tu.ac.th3*

บทคัดย่อ
งานวิจัยฉบับนี้นำเสนอการแก้ปัญหาการวางแผนการผลิตในสายการผลิตชุดสายไฟในรถยนต์กรณีศึกษา จากการศึกษา
พบว่าการวางแผนการผลิตของโรงงานกรณีศึกษานั้นยังไม่ มีประสิทธิภาพเนื่องมาจากการวางแผนแบบด้วยตนเองของพนักงาน
ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงทำการพัฒนาตัวแบบทางคณิตศาสตร์สำหรับ การวางแผนการผลิตให้สอดคล้องกับ ความต้องการของลูกค้า
จำนวนพนักงาน อัตราการผลิต และช่วงเวลาในการผลิต โดยมีต้นทุนในการผลิตที่ต่ำที่สุด ผลจากการวางแผนการผลิตด้วยตัวแบบ
ที่นำเสนอในช่วง 12 สัปดาห์แสดงให้เห็นว่าตัวแบบที่นำเสนอสามารถลดต้นทุนในการผลิตให้กับทางโรงงานกรณีศึกษาได้จาก
550,040 บาท ลดลงเหลือ 473,280 บาท หรือลดลงร้อยละ 13.96 ของต้นทุนเดิม และนอกจากนั้นยังสามารถลดจำนวนชั่วโมง
การผลิตแบบล่วงเวลา โดยไม่กระทบต่อกำหนดการจัดส่งสินค้า

คำสำคัญ : การวางแผนการผลิต โปรแกรมเชิงเส้นจำนวนเต็ม การผลิตสายไฟในรถยนต์ สายการประกอบ

Abstract
This research presents a solution to production planning in a case study automobile cable production
line. A study found that the production planning of the case study was not efficient due to hand-operated
planning by workers. Therefore, this research has developed a mathematical model for production planning
corresponding to customer demand, the number of workers, available production rate, and production shift to
minimize production cost. The results of production planning by the proposed model for 12 weeks have
176
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

demonstrated that the proposed model can reduce the production cost of the case study factory from 550,040
baht to 473,280 baht or 13.96% of the conventional cost decreased. Moreover, the number of overtime-working
hours has also been reduced without any effect on the delivery due date.

Keywords : production planning, integer linear programming, automobile cable production, assembly line

177
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

1. บทนำ โดยจากเดิมทางโรงงานกรณีศึกษาจะทำการวางแผนการ
การวางแผนการผลิต (Production planning) เป็นขั้นตอน ผลิตโดยผลิตตามกำหนดส่ง (Due date) ทำให้เกิดการผลิต
สำคัญที่บุคลากรฝ่ายผลิตจะต้องกำหนดแผนการผลิต รวมถึง สินค้าไม่ทันตามกำหนด เนื่องจากในบางกรณีค ำสั่ง ซื้อที ่ มี
จัดการปัจจัยการผลิตให้เหมาะสมก่อนเริ่มการผลิตจริง เพื่อทำ กำหนดส่งเร็ว แต่จะมีปริมาณการสั่งซื้อน้อย ในขณะทีค่ ำสั่งซื้อ
ให้การผลิตบรรลุเป้าหมายและตอบสนองต่อความต้องการของ ที่มีกำหนดส่งช้า แต่มีปริมาณการสั่งซื้อ มาก ทำให้มีกำลังการ
ลูกค้า (Customer demand) [1] ซึ่งปัจจัยการผลิตประกอบ ผลิตไม่เพียงพอสำหรับการผลิตผลิตภัณฑ์ที่มีคำสั่งซื้อกำหนดส่ง
ไปด้ ว ย พนั ก งาน (Man) เครื ่ อ งจั ก ร (Machine) วั ต ถุ ดิ บ ช้า (แต่มีจ ำนวนมาก) เพื่อให้ทันตามกำหนดการส่งมอบ จึง
(Material) และวิธีการทำงาน (Method) หรือ 4Ms หากการ จำเป็นที่จ ะต้องทำการผลิตในช่วงล่วงเวลา ซึ่ง เป็นการเพิ่ม
วางแผนการผลิตไม่มีประสิทธิภาพ อาจทำให้เกิดปัญหาตามมา ต้นทุนให้กับทางโรงงาน นอกจากนั้นผลิตภัณฑ์บางโมเดลยังมี
ได้ และหากไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ทัน อาจทำให้เกิดต้นทุน การผลิตที่เกินความต้องการของลูกค้า (Over production) จึง
และความสูญเปล่า ไม่ว่าจะเป็นต้นทุนในการผลิต ต้นทุนในการ ส่งผลให้มีต้นทุนในการผลิตและต้นทุนจมสูงขึ้นตามไปด้วย
เปิดรับพนักงานเพิ่ม ต้นทุน ในการจัดเก็บ ความสูญเปล่าด้าน ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงทำการศึกษาและกำหนดแนวทางในการ
เวลาในการแก้ ไขแผนการผลิต รวมไปถึง อาจทำให้เกิด การ วางแผนการผลิตชุดสายไฟของโรงงานกรณีศึกษา ด้วยการใช้
สูญเสียความไว้วางใจของลูกค้าได้ ตั ว แบบโปรแกรมเชิ ง เส้ น จำนวนเต็ ม เพื ่ อ ช่ ว ยให้ โ รงงาน
โรงงานกรณีศึกษาเป็นโรงงานผลิตชุดสายไฟซึ่งเป็นชิ้นส่วน กรณีศึกษาสามารถวางแผนการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ประกอบที่สำคัญในรถยนต์ ปัจจุบันโรงงานกรณีศึกษามีการวาง
แผนการผลิต ตามปริม าณที ่ผ ัน แปรไปตามอุ ปสงค์ (Chase 2. วิธีการดำเนินงานวิจัย
demand) หรื อ ตามปริ ม าณคำสั ่ ง ซื ้ อ ของลู ก ค้ า [1-2] จาก 2.1 การศึกษาข้อมูลของสายการผลิตกรณีศึกษา
การศึกษาเบื้องต้นและการวิเคราะห์ด้วย Why-Why Analysis ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ การวางแผนการ
(ดังรูปที่ 1) พบว่าปัญหาในการวางแผนการผลิตมีสาเหตุมาจาก ผลิ ต ของสายการผลิ ต ชุ ด สายไฟในรถยนต์ ก รณี ศ ึ ก ษา ซึ่ ง
การที่โรงงานไม่มีการกำหนดขั้นตอนในการวางแผนการผลิตที่ ประกอบไปด้วย ประเภทสินค้าและความต้องการของลูกค้า
ชัดเจน พนักงานใช้ประสบการณ์ในการวางแผนการผลิต โดย ต้นทุนในการผลิต จำนวนพนักงานอัตราการผลิต ต่อพนักงาน
ไม่มีการใช้โปรแกรมช่วยในการคำนวณและการวางแผน ทำให้ ปริมาณสินค้าคงคลัง รวมถึงขั้นตอนในวางแผนและการส่งมอบ
มีข้อมูลตกหล่นและไม่เป็นไปตามความต้องการสินค้าที่แท้จริง ของโรงงานกรณีศึกษา โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

178
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

รูปที่ 1 การวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาด้วย Why-Why Analysis

2.1.1 กลุ่มผลิตภัณฑ์และโมเดล โมเดล ตุลาคม พฤศจิกายน ธันวาคม รวม


งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาผลิตภัณฑ์สายไฟหลักกลุ่ม K ซึ่ง K8 1,968 2,332 2,344 6,644
K3, K6, K9 0 0 0 0
ประกอบไปด้วย 9 โมเดล ได้แก่ K1 - K9 ซึ่งเป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์
รวม 26,340 37,812 35,568 99,720
ที่มีปริมาณคำสั่งซื้อจากลูกค้าเป็นจำนวนมากและต่อเนื่อง โดย
มีคำสั่งสั่งซื้อรวมทุกโมเดลในกลุ่มผลิตภัณฑ์ประมาณ 26,000 2.1.3 จำนวนพนักงาน
– 38,000 ชิ้นต่อเดือน หรือเฉลี่ย 3,000 – 4,200 ชิ้นต่อโมเดล พนักงานแต่ล ะคนในโรงงานกรณีศ ึกษานั้นถูกจัดสรรให้
ต่อเดือน ผลั ด เปลี ่ ย นกั น ทำงานในแต่ ล ะสายการผลิ ต โดยในแต่ ล ะ
2.1.2 ปริมาณความต้องการสินค้า สายการผลิตจะมี วิธีการประกอบสินค้ากำกับไว้ ซึ่ง จำนวน
ปริมาณในการผลิตสินค้าจะเป็นไปตามยอดคำสั่งซื ้อ ของ พนักงานของแต่ละสายการผลิตจะขึ้นอยู่กับ การจัดสรรตาม
ลูกค้า (Make to order) โดยเมื่อทางโรงงานได้รับคำสั่งซื้อของ ประสบการณ์การของพนักงานและปริมาณการผลิตสินค้าของ
ลูกค้าก็จะทำการวางแผนการผลิต จากการเก็บรวบรวมข้อมูล แต่ละโมเดล โดยจำนวนพนักงานของกลุ่มผลิตภัณฑ์กรณีศึกษา
ปริมาณการผลิต ชุดสายไฟกลุ่ม K ในไตรมาสที่ 4 ปี 2564 แสดงดังตารางที่ 2
แสดงได้ดังตารางที่ 1 ตารางที่ 2 จำนวนพนักงานในเดือน ในไตรมาสที่ 4 ปี 2564
ตารางที่ 1 ข้อมูลปริมาณการผลิตชุดสายไฟกลุ่ม K ในไตรมาส สำหรับสายการผลิตผลิตภัณฑ์กลุ่ม K
ที่ 4 ปี 2564 เดือน ตุลาคม พฤศจิกายน ธันวาคม
โมเดล ตุลาคม พฤศจิกายน ธันวาคม รวม จำนวนพนักงาน (คน) 20 20 20
K1 572 300 180 1,052
K2 7,032 6,096 6,980 20,108 2.1.4 อัตราการผลิตเฉลี่ยของแต่ละสินค้า
K4 1,756 1,956 1,400 5,112
ผลิตภัณฑ์แต่ละโมเดลจะมีขั้นตอนการประกอบที่แตกต่าง
K5 14,208 26,484 24,052 64,744
กันไปขึ้นอยู่กับจำนวนชิ้นส่วนที่ใช้ในการประกอบ ทำให้ในการ
K7 804 644 612 2,060
ผลิ ต สิ น ค้ า ที ่ ม ี จ ำนวนชิ ้ น ส่ ว นมากนั ้ น จะมี ข ั ้ น ตอนในการ
179
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

ประกอบมากทำให้ ใช้เวลาในการผลิตมากขึ้นตามไปด้วย ซึ่ง ตารางที่ 4 เวลาทำงานและค่าแรงในการผลิตของพนักงาน


ส่งผลให้มีอัตราการผลิต (หน่วยต่อชั่วโมง) น้อย ดังนั้นอัตรา เวลาทำงาน ค่าแรง
ช่วงเวลาในการผลิต
การผลิตเฉลี่ยของแต่ละสินค้าจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับจำนวน (ชม.) (บาท/ชม.)
RPd: ปกติ-วันธรรมดา 8 40
ชิ้นส่วนที่ใช้ประกอบ นอกจากนั้นยังขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของ
OTd: ล่วงเวลา-วันธรรมดา 2 60
พนักงาน ซึ่งอัตราการผลิตโดยเฉลี่ยของแต่ละโมเดลแสดงดัง
RPh: ปกติ-วันหยุด 8 80
ตารางที่ 3 OTh: ล่วงเวลา-วันหยุด 2 100
ตารางที่ 3 อัตราการผลิตเฉลี่ยของแต่ละโมเดลในกลุ่ม K
โมเดล อัตราการผลิต โมเดล อัตราการผลิต 2.2 การสร้ า งตั ว แบบทางคณิ ต ศาสตร์ ส ำหรั บ การวาง
(หน่วย/ชม.) (หน่วย/ชม.) แผนการผลิต
K1 2 K6 2
งานวิจัยนี้ได้ทำการสร้างตัวแบบโปรแกรมเชิงเส้นจำนวน
K2 22 K7 2
เต็ม (Integer Linear Programming) [3] ที่มีวัตถุ ประสงค์ใน
K3 2 K8 2
K4 6 K9 2
การทำให้ มี ต ้ น ทุ น ค่ า แรงรวมต่ ำ ที ่ ส ุ ด โดยมี ก ารกำหนด
K5 16 ค่ า พารามิ เ ตอร์ ท ี ่ เ กี ่ ย วข้ อ ง ตั ว แปรตั ด สิ น ใจ (Decision
Variables) ฟังก์ชันวัตถุประสงค์ (Objective Function) และ
2.1.5 เวลาและค่าแรงของพนักงาน เงื่อนไขบังคับ (Constrains) ดังนี้
โรงงานมีเวลาทำงานปกติ (Regular Production: RP) เริ่ม กำหนดให้ k = สินค้าชนิดที่ 1,2, ..., K
ตั้ง แต่ 08.00-12.00 น. และ 13.00-17.00 น. ทั้ง วันธรรมดา d = วันทำงานปกติ 1,2, …, D
และวันหยุด ส่วนเวลาในการทำงานล่วงเวลา (Over Time: h = วันทำงานในวันหยุด 1,2, …, H
OT) เริ่มตั้ง แต่ 18.00-20.00 น. ทั้ง วันธรรมดาและวั น หยุ ด w= สัปดาห์ที่ 1,2, …, W
เช่ น เดี ย วกั น ซึ ่ ง การทำงานในวั น หยุ ด จะทำในกรณีท ี ่ทาง m = เดือนที่ 1,2, ..., M
โรงงานผลิตสินค้าไม่ทันตามยอดคำสั่งซื้อของลูกค้า โดยจำนวน 2.2.1 พารามิเตอร์ที่เกี่ยวข้อง
ชั่วโมงในการทำงานและค่าแรงของพนักงานในแต่ละช่วงเวลามี Dkwm = ปริมาณความต้องการผลิตภัณฑ์โมเดล k ในสัปดาห์
รายละเอียดดังที่แสดงในตาราง 4 ที่ w เดือนที่ m (หน่วย)
WdwmR = จำนวนพนักงานเวลาปกติของวั น ธรรมดา d ใน

สัปดาห์ที่ w เดือนที่ m (คน)


WdwmOT = จำนวนพนักงานล่วงเวลาของวันธรรมดา d ใน
สัปดาห์ที่ w ของเดือนที่ m (คน)

180
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

WhwmR = จำนวนพนักงานเวลาปกติของวันหยุด h สัปดาห์ 2.2.3 ฟังก์ชันวัตถุประสงค์ (Objective function) และ


ที่ w ของเดือนที่ m (คน) เงื่อนไขบังคับ (Contraints)
WhwmOT = จำนวนพนักงานล่วงเวลาของวันหยุด h สัปดาห์ ฟังก์ชันวัตถุประสงค์และเงื่อนไขบังคับที่เกี่ยวข้องของตัว
ที่ w ของเดือนที่ m (คน) แบบโปรแกรมเชิงเส้นจำนวนเต็ม สำหรับการวางแผนการผลิต
Rdwm = จำนวนชั่วโมงแรงงานปกติ ของวันธรรมดา d ใน สามารถแสดงได้ดังนี้
สัปดาห์ที่ w เดือนที่ m (ชั่วโมง) K M W D  X C + Ykdwm CotR 
Min Z =      kdwm R 
k =1 m =1 w =1 d =1  Pk 
OTdwm = จำนวนชั่วโมงแรงงานล่วงเวลาของวันธรรมดา d (1)
K M W H  
C + Ykhwm CotH 
+      khwm H
X
ในสัปดาห์ที่ w เดือนที่ m (ชั่วโมง) k =1 m =1 w=1 h =1 

Pk 
Rhwm = จำนวนชั่วโมงแรงงานปกติของวันหยุด h สัปดาห์ที่ ภายใต้เงื่อนไข
w ของเดือนที่ m (ชั่วโมง) D H
 X kdwm +  X khwm
OThwm = จำนวนชั่วโมงแรงงานล่วงเวลาของวั นหยุ ด h
d =1
D
h =1
H  Dkwm สำหรับทุกๆ ค่า k, w, m (2)
+  Ykdwm +  Ykhwm
d =1 h =1
สัปดาห์ที่ w ของเดือนที่ m (ชั่วโมง) K X kdwm
  RdwmWdwmR สำหรับทุกๆ ค่า d, w, m (3)
Pk = อัตราการผลิตสินค้าแต่ละโมเดล k (หน่วย/ชั่วโมง) k Pk

CR = ค่าแรงเวลาปกติวันธรรมดา (บาท/ชั่วโมง) K

Ykdwm
 OTdwmWdwmOT สำหรับทุกๆ ค่า d, w, m (4)
k Pk
CotR = ค่าแรงล่วงเวลาวันธรรมดา (บาท/ชั่วโมง)
K X khwm
  RhwmWhwmR สำหรับทุกๆ ค่า h, w, m (5)
CH = ค่าแรงเวลาปกติวันหยุด (บาท/ชั่วโมง) k Pk

CotH = ค่าแรงล่วงเวลาวันหยุด (บาท/ชั่วโมง) K



Ykhwm
 OThwmWhwmOT สำหรับทุกๆ ค่า h, w, m (6)
k Pk
2.2.2 ตัวแปรตัดสินใจ (Decision variables)  D H 
  X kdwm +  X khwm 
 d =1 
Xkdwm = ปริมาณการผลิตสินค้า โมเดล k ของวันธรรมดา d I kwm = I k(w−1 )m +  D h =1  − Dkwm (7)
 H 
 +  Ykdwm +  Ykhwm 
สัปดาห์ที่ w ของเดือนที่ m ในช่วงเวลาปกติ (หน่วย)  d =1 h =1 

Ykdwm = ปริมาณการผลิตสินค้าโมเดล k ของวันธรรมดา d สำหรับทุกๆ ค่า k, d, h, w, m


สัปดาห์ที่ w ของเดือนที่ m ในช่วงล่วงเวลา (หน่วย) X kdwm , X khwm , Ykdwm , Ykhwm  0 and Integer (8)
Xkhwm = ปริมาณการผลิตสินค้า โมเดล k ของวันหยุด h สำหรับทุกๆ ค่า k, d, h, w, m
สัปดาห์ที่ w ของเดือนที่ m ในช่วงเวลาปกติ (หน่วย) สมการที่ (1) เป็นฟังก์ชันวัตถุประสงค์เพื่อหาต้นทุนค่าแรง
Ykhwm = ปริมาณการผลิตสิ นค้ า โมเดล k ของวันหยุ ด h รวมที่ต่ำที่สุด โดยคำนวณจากปริมาณการผลิตในวันธรรมดา
สัปดาห์ที่ w ของเดือนที่ m ในช่วงล่วงเวลา (หน่วย) และวันหยุด ทั้งในช่วงเวลาปกติและช่วงล่วงเวลา สมการที่ (2)
เป็นเงื่อนไขในการกำหนดปริมาณการผลิตตามปริมาณคำสั่งซื้อ
สมการที่ (3) – (6) เป็นเงื่อนไขในการกำหนดจำนวนชั่วโมง
181
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

แรงงานไม่ให้เกินจำนวนชั่วโมงแรงงานสูงสุด สมการที่ (7) เป็น 3.3 การวางแผนการผลิตด้วยตัวแบบที่นำเสนอ


เงื่อนไขเกี่ยวกับปริมาณสินค้าคงคลัง และสมการที่ (8) เป็น ข้อมูลความต้องการสินค้าและข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการผลิต
เงื่อนไขจำนวนการผลิตต้องไม่ติดลบและต้องเป็นจำนวนเต็ม ในช่วง 12 สัปดาห์ ระหว่างเดือนตุลาคมถึง เดือนธันวาคม ปี
2564 (ดังแสดงในหัวข้อที่ 2.1) ถูกนำมาใช้ในการวางแผนการ
3. ผลการดำเนินงานวิจัย ผลิ ต ด้ ว ยตั ว แบบที ่ น ำเสนอในสมการที ่ (1) – (8) และ
3.1 ข้อสมมติในการวางแผนการผลิตรวมสำหรับโรงงาน เปรี ย บเที ย บผลลัพ ธ์ กั บการวางแผนการผลิต แบบเดิมของ
กรณีศึกษา โรงงานกรณี ศ ึ ก ษา โดยผลลั พ ธ์ ก ารวางแผนการผลิต การ
ในการแก้ ป ั ญ หาการวางแผนการผลิ ต รวมของโรงงาน เปรียบเทียบจำนวนชั่วโมงการผลิตในแต่ละช่วงเวลา รวมไปถึง
กรณีศึกษานั้น กำหนดให้มีข้อสมมติดังนี้ ต้นทุนรวม สามารถแสดงได้ดังตารางที่ 5 และ 6
1) พนักงานทุกคนสามารถผลิตสินค้าได้ทุกโมเดล
2) พนักงานมาทำงานครบตามปกติและทำงานเต็มเวลา 4. สรุปผลการวิจัย
3) ปริมาณการเก็บสินค้าคงคลังเริ่มต้นเท่ากับศูนย์ จากการวางแผนการผลิตชุดสายไฟของโรงงานกรณีศึกษา
4) ไม่คิดต้นทุนในการเก็บสินค้าคงคลัง ด้วยตัวแบบโปรแกรมเชิงเส้นจำนวนเต็มที่นำเสนอ สามารถลด
3.2 การหาคำตอบของตัวแบบที่นำเสนอ ต้นทุนค่าแรงได้มากถึง 76,760 บาทต่อไตรมาส หรือคิดเป็น
สำหรับการหาคำตอบของตัวแบบที่นำเสนอในงานวิจัยนี้นั้น ร้อยละ 13.96 ของการวางแผนการผลิตแบบเดิมของโรงงาน
ใช้เครื่องมือ Solver ในโปรแกรม MS Excel [3-4] ซึ่งสามารถ ซึ่งตัวแบบที่นำเสนอนั้นสามารถลดจำนวนชั่วโมงการผลิตแบบ
กำหนดค่าพารามิเตอร์ที่ใช้ในการหาคำตอบได้ดังรูปที่ 2 ล่วงเวลา โดยไม่กระทบต่อกำหนดการจัดส่งสินค้า นอกจากนั้น
ตัวแบบที่นำเสนอสามารถหาคำตอบของการวางแผนการผลิตที่
สัมพันธ์กับค่าแรงของพนักงานในแต่ละช่วงเวลา โดยตัวแบบที่
นำเสนอจะกำหนดแผนการผลิตในช่วงวันธรรมดาก่อนการผลิต
ในช่วงวันหยุด และกำหนดแผนการผลิตในช่วงเวลาปกติก่อน
การผลิตในช่วงล่วงเวลา ซึ่งจะเห็นได้ว่าตัวแบบที่นำเสนอไม่มี
การผลิตในวันหยุดเลยและผลิตในช่วงล่วงเวลาเพียง 4,436
หน่วย หรือร้อยละ 4.44 ของปริมาณการผลิตทั้งหมด
รูปที่ 2 การกำหนดค่า Solver Parameters

182
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

ตารางที่ 5 การวางแผนการผลิตในไตรมาสที่ 4 ปี 2564 ด้วยตัวแบบที่นำเสนอ


ปริมาณการผลิตเวลาปกติ X kdwm และ X khwm (หน่วย) ปริมาณการผลิตล่วงเวลา Ykdwm และ Ykdwm (หน่วย)

ผลิตรวม
แผนการ

ต้องการ
โมเดล

ความ

รวม
พฤ.

พฤ.
อา.

อา.
พ.

พ.
อ.

ศ.

อ.

ศ.
ส.

ส.
จ.

จ.
K1 0 0 0 148 424 0 0 0 0 188 292 0 0 0 1,052 1,052
5,74 7,33 20,10 20,10
K2 0 7,032 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0
4 2 8 8
K3 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0
1,92 2,76 5,112 5,112
K4 0 432 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0
0 0
28,50 24,42 9,30 2,33 64,74 64,74
K5 4 0 0 0 0 0 176 0 0 0
8 0 0 6 4 4
K6 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0
K7 264 0 4 0 804 0 0 320 28 320 204 116 0 0 2,060 2,060
1,50 2,10 2,56 6,644 6,644
K8 12 4 0 0 4 320 132 0 0 0 0
8 4 0
K9 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0 0
95,284 0 4,436 0 99,72 99,72
รวม
0 0

ตารางที่ 6 การเปรียบเทียบการวางแผนการผลิตในไตรมาสที่ 4 ปี 2564 ของโรงงานและตัวแบบที่นำเสนอ


จำนวนชั่วโมงในแต่ละช่วงเวลาในการผลิต ปริมาณการผลิตล่วงเวลารวม ต้นทุนค่าแรงรวม
RPd OTd RPh OTh (หน่วย) (บาท)
เดือน

! π ! π ! π ! π ! π ! π
ตุลาคม 3,200 3,172 800 0 320 0 0 0 1,400 0 157,400 131,840
พฤศจิกายน 3,200 3,200 800 696.5 160 0 0 0 1,400 1,400 190,400 177,600
ธันวาคม 3,200 3,200 800 422.5 0 0 0 0 3,420 3,036 202,240 163,840
รวม 9,600 9,572 2,400 1,119 480 0 0 0 6,220 4,436 550,040 473,280
! การวางแผนการผลิตของโรงงาน, π การวางแผนการผลิตด้วยตัวแบบที่นำเสนอ

183
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

เอกสารอ้างอิง
1. Russell, R. S., and Taylor, B. W. III., 2014, Operations
and supply chain management, John Wiley & Sons.
2. Kumar, S., and Suresh, N., 2009, Operations
Management, New Age International (P) Ltd.
3. Taha, H. A., 2011, Operations research, an
introduction, Pearson.
4. Srisawat, T., Ngiampaisal, C., and Nunkaew, W.,
2020, A Lexicographic Optimization Model for
Multi- Source Raw Material Purchasing of Steel
Manufacturing with Several Objective Functions,
The 9th International Congress on Natural Sciences
and Engineering, Nagoya, Japan.

184
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

ศึกษาปัญหาการปรับปรุงพื้นที่คลังสินค้าเพื่อการจัดเก็บสินค้าคงคลัง
กรณีศึกษา บริษัทประกอบธุรกิจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์โลหะและอโลหะ
Study the problem of improving warehouse space for inventory storage
A Case study the company is engaged in metal and non-metal products
business

ชิดชนก อินทอง1* ฉัตรทิพย์ สำเร็จสิน 2 และธัญญรัตน์ รอเซ็น2


1
ภาควิชาการจัดการอุตสาหกรรม คณะบริหารธุรกิจ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร เขตหนองจอก กรุงเทพฯ 10530
2
ภาควิชาการจัดการโลจิสติกส์ คณะบริหารธุรกิจ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร เขตหนองจอก กรุงเทพฯ 10530
E-mail: chidchanok@mut.ac.th

บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ทำการศึกษาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารคลังสินค้าเพื่อการจัดเก็บของผู้ประกอบธุรกิจนำเข้า จัดหา
และจัดจำหน่าย ผลิตภัณฑ์โลหะและอโลหะ ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาสำรวจและเก็บรวบรวมข้อมูล ที่เกี่ยวข้องพบว่าสาเหตุที่ทำให้
การดำเนินงานของผู้ประกอบการขาดประสิทธิภาพ คือ การวางผังคลังสินค้าและการวางรูปแบบการจัดเก็บสินค้า มีวิธีการไม่
เหมาะสม ดังนั้นวัตถุประสงค์ของงานวิจัย คือ ศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาเพื่อการปรับปรุงพื้นที่การวางผังคลังสินค้าศึกษาแนว
ทางการปรับปรุงรูปแบบการจัดเก็บสินค้าคงคลัง ให้สอดคล้องกับการบริหารพื้นที่ภายในคลังสินค้า ของกรณีศึกษาผู้ประกอบการ
ขั้นตอนเริ่มจากการปรับปรุงวางผังคลังสินค้าใหม่ โดยใช้ทฤษฎีจุดสั่งซื้อใหม่ ดำเนินงานการรับสินค้า การเบิกจ่าย การปรับปรุง
จำนวนรายการสินค้า การปรับปรุงการจัดเก็บแบบไร้รูปแบบ จัดความสำคัญของสินค้า และการตั้งรหั สการจัดเก็บในคลังสินค้า
ด้วยการประยุกต์ใช้หลักการ visual control และกลยุทธ์การจัดเก็บสินค้าจากการศึกษาพบว่าการปรับปรุงนั้นทำให้ส ามารถวาง
ผังคลังสินค้าได้เหมาะสมแต่มีข้อจำกัดในการจัดเก็บสินค้า แบบเดิมคลังสินค้าไม่มีการแบ่งพื้นที่ จุดรับ – จุดส่งสินค้า แต่การวางผัง
คลังแบบใหม่มีการกำหนดพื้นที่ชัดเจน ในส่วนของการจัดเก็บสินค้า แบบเดิมเป็นการจัดเก็บแบบไร้รูปแบบ การจัดเก็บสินค้าแบบ
ใหม่เป็นการจัดเรียงตามรหัสสินค้า ทำให้มีความเป็นระเบียบ ลดข้อผิดพลาดในการหยิบสินค้าและลดระยะเวลาในการหาสินค้า ซึ่ง
แบบเดิมใช้เวลาในการหาสินค้า 22.36 นาที แบบใหม่ใช้เวลาในการหาสินค้าเพียง 16.23 นาที คิดเป็นร้อยละ 27.41

คำสำคัญ : จุดสั่งซื้อใหม่, กลยุทธ์การจัดเก็บสินค้า, หลักการควบคุมด้วยสายตา, การวางผังคลังสินค้า

185
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

Abstract
This study is to increase the efficiency of warehouse management for storage of the business of
importing, procuring and distributing metal and non-metal products. The researcher conducted a survey
study and collected relevant data and found the reasons for the inefficiency of operators' operations, that
is warehouse planning and product storage layout, as well as inappropriate methods. Therefore, the
objective of the research is to study and analyze problems for improvement of warehouse planning space.
Moreover, studying the guidelines for improving the form of inventory storage in accordance with the
management of the warehouse area of the entrepreneur case study. The process starts from the renovation
of the new warehouse layout by using the theory of Re-Order Point (ROP) to carry out the works that are
receiving the goods, disbursement, item number improvement, format less storage improvement, prioritizing
of the product and coding for warehouse storage by applying visual control principles and storage strategies.
The study has shown that improvements have made it possible to properly plan the warehouse, but there
are restrictions on the storage of products. The original warehouse layout does not have a separate area for
pickup - delivery points, but the new warehouse layout has clearly defined areas. In terms of storing
products, the old form is formless storage, but the new storage is sorted by product code. This makes it
organized, reduce picking errors and shortens the time to find products faster than before. The old form
takes 22.36 minutes to find the product, but the new form can take only 16.23 minutes to find items and
reduce picking errors, which can reduce 27.41%.

Keywords: Re-Oder Point, Warehouse Storage Strategies, Visual control, Warehouse Layout

186
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

1. บทนำ หน้าที่ในแต่ละงาน ช่วยให้กระบวนการทำงานเป็นไปอย่าง


คลัง สินค้า หรือ Warehouse ถือเป็นส่วนสำคัญส่วน ราบรื่น ปลอดภัย และรวดเร็ว โดยให้ระยะทางลดระยะเวลา
หนึ่งในระบบโลจิสติกส์ ซึ่งผู้บริหารจำเป็นต้องให้ความสำคัญ ในการ เคลื่อนย้ายสั้นที่สุดจะสามารถลดต้นทุนในกระบวนการ
เพราะคลังสินค้า คือ สถานที่ที่ได้วางแผนไว้แล้วเพื่อให้ เกิ ด ทำงานได้
ประสิ ท ธิ ภ าพสำหรั บการใช้ ส อยในการจั ด เก็ บ สิ น ค้ าหรือ โดยจะใช้วิธี การวางผัง คลัง สินค้าให้จุดรับละจัดส่งใช้
วัตถุดิบ รวมถึงการเคลื่อนย้าย และสามารถเป็นได้ทั้งจุดพัก พื้นที่ บริเวณเดียวกัน และจัดส่งใช้พื้นที่บริเวณเดียวกันซึ่งมี
จัดเก็บ จนกว่าจะมีการเคลื่อนย้ายส่ง มอบไปสู่ผ ู้ที่มีค วาม ข้อดีในการลดอัตราค่าบริการของพาหนะที่รอบริเวณท่ารับ -ส่ง
ต้องการรับสินค้า วัตถุดิบ ปัจจุบันประเทศไทยได้เปิดให้มีการ สินค้า และการขาดสินค้าหรือส่งสินค้าให้ลูกค้าช้ากว่ากำหนด
แข่ง ขันทางการค้าเสรีมากยิ่งขึ้น ผู้ประกอบการต้องจึงต้อง มีปริมาณน้อยกว่า และที่สำคัญคือ สามารถจัดส่งสินค้าออกไป
ตระหนักและพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันให้สูงขึ้น ไม่ ได้ในทันทีที่รับสินค้าหรือพัสดุเข้ามาโดยไม่ผ่านการจัดเก็บก่อน
ว่าจะเป็นการพัฒนาระบบคุณภาพของตนเอง, ระบบการผลิต,
ระบบการจัดการโซ่อุปทาน, ระบบคลังสินค้า, รวมไปถึงการมี
ความพร้ อ มด้ า นสิ น ค้ า และบริ ก าร เพื ่ อ ตอบสนองความ
ต้องการของลูกค้าได้ถูกต้อง ทันเวลา และเกิดความพึงพอใจ
สูงสุด

2. ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ทฤษฎีที่นำมาปฎิบัติจริง มีทั้งหมด 4 ทฤษฎี
รูปที่ 1 การวางผังคลังสินค้าให้จุดรับละจัดส่งใช้พื้นที่ บริเวณ
จุดสั่งซื้อใหม่ (Re-Order Point: ROP)
เดียวกัน
จุดสั่ง ซื้อใหม่ (Reorder-Point) จุดสั่ง ซื้อใหม่ในอัตราความ
ต้องการสินค้าคงคลังคงที่ และรอบเวลาคงที่ เป็นสภาวะที่ไม่ 2.2 กลยุทธ์การจัดเก็บสินค้าในคลังสินค้า
เสี่ยงที่จ ะเกิดสินค้าขาดมือโดยต้ องเริ่มสั่ง ซื ้อเมื่อปริ ม าณ กลยุทธ์คลังสินค้าแบบเดิม คือ ระบบจัดเก็บแบบไร้
วั ต ถุ ด ิ บ หรื อสิ น ค้า เหลื อเท่า กั บจำนวนที่ เก็บ ไว้ เ พื่อความ รูปแบบ (Informal System)
ปลอดภัยรวมกับจำนวนที่ต้องมีไว้ใช้ในช่วงที่รอรับวัตถุดิบหรือ ข้อดี ไม่มีการบำรุงรักษาอุปกรณ์และเครื่องมือต่างๆ มีความ
สินค้าที่สั่งใหม่ มีสูตรการคำนวณดังนี้ ยืดหยุ่นสูง
𝑅𝑂𝑃= d × LT ข้อเสีย ความยากในการค้นหาสินค้า การปฏิบัติงานขึ้นอยู่กับ
𝑑 = Daily Demand ทักษะของพนักงานคลังสินค้า การบริหารจัดการคลังสินค้าไม่มี
LT = ช่วงเวลานำ หรือระยะการเวลารอคอยสินค้าตั้งแต่ ประสิทธิภาพ
วันที่เริ่มสั่งสินค้าจนถึงวันที่รับสินค้า
2.1 การวางผังคลังสินค้า
การวางผังคลังสินค้า หรือ การจัดพื้นที่คลังสินค้าโดย
วางแผนให้อุปกรณ์หรือเครื่องมือมีความเหมาะสมกับ

187
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

ข้อมูลที่มีอยู่มานำเสนอให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นด้วยการแปลงข้อมูล
ให้ อ ยู ่ ใ นรู ป แบบของตาราง, ป้ า ย, สติ ก เกอร์ , กระดาน,
สัญลักษณ์,ภาพ เป็นต้น แต่การนำเสนอต้องมีความหมายและ
สาระดึงดูดให้เกิดความน่าสนใจ เพื่อนำข้อมูลมาใช้ติดตามงาน
หรือเป็นเครื่องมือช่วยย้ำเตือนเป้าหมาย

รูปที่ 2 ภาพการจัดเก็บสินค้าแบบเดิม

กลยุทธ์คลังสินค้าแบบใหม่ คือ ระบบจัดเก็บโดยจัดเรียง


ตามรหั ส สิ น ค้ า (Part Number System) รู ป แบบจั ด เก็ บ
สินค้าโดยใช้ รหัสสินค้า (Part Number)
ข้อดี สะดวกต่อการค้นหาสินค้า ง่ายต่อการหยิบสินค้า ลด
รูปที่ 4 การใช้สีเป็นสัญลักษณ์ ในการจัดเก็บสินค้าแต่ละ
ระยะเวลาหาสินค้า ลดข้อผิดพลาดในการหยิบสินค้าผิด
ประเภท
ข้อเสีย ไม่มีความยืดหยุ่น และการใช้พื้นที่จัดเก็บไม่เต็มที่

รูปที่ 5 การใช้สีเป็นสัญลักษณ์ ในการจัดเก็บสินค้าแต่ละ


ประเภท
ภาพ 3 มิติ เมื่อนำ สี มาใช้สัญลักษณ์ระบุตำแหน่ง
รูปที่ 3 ภาพการจัดเก็บสินค้าแบบใหม่ จัดเก็บสินค้าตามรหัสสินค้า
3. วิธีการดำเนินงานวิจัย
ผู้วิจัยได้นำหลักการ visual control เพิ่มประสิทธิภาพ
การทำงานภายในคลังสินค้า
Visual Control หรือการควบคุมด้วยการมองเห็น
เป็ น วิ ธ ี ค วบคุ มบริ หารเพื ่อ ใช้เ ป็ น แนวทางปฏิบ ัต ิ ง านและ
ควบคุมให้การทำงานเป็นไปอย่างถูกต้อง เป็นการนำเสนอ
188
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

รูปที่ 6 ภาพ 3 มิติ เมื่อนำ สี มาใช้สัญลักษณ์ระบุตำแหน่ง รูปที่ 8 ผังคลังสินค้าก่อนทำการปรับปรุง


จัดเก็บสินค้าตามรหัสสินค้า

4. ผลของการวิจัย
ตารางการสั่งซื้อใหม่ (Re-Order Point : ROP)

รูปที่ 9 ผังคลังสินค้าแบบใหม่ (Warehouse Layout)

รูปที่ 7 ตารางการสั่งซื้อใหม่ (Re-Order Point : ROP) 5. สรุปผลการศึกษา


5.1.1 สรุปผลการศึกษาในส่วนของการวางผังคลังสินค้า
ผั ง คลั ง สิ น ค้า แบบเดิม ไม่ มี การกำหนดพื ้ น ที ่ส ำหรับ
จัดเก็บสินค้า พื้นที่ว่างเว้นระยะห่างทางเดิน พื้นที่นำเข้าสินค้า
– นำสินค้าออก ทำให้สามารถใช้ประโยชน์จากพื้นที่คลังสินค้า
ได้อย่างเต็มที่ แต่ส่งผลเสียด้านความเป็นระเบียบของการเก็บ
สินค้า เมื่อเปรียบเทียบกับการวัง ผัง คลัง สินค้าแบบใหม่ ที่
สามารถใช้พื้นที่คลังสินค้าได้อย่างเหมาะสม เนื่องจากมีการ
ปรับ Scale พื้นสำหรับจัดเก็บสินค้ า และมีพื้นที่ส ำหรับนำ

189
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

สิ น ค้ า เข้ า - สิ น ค้ า ออก มี พ ื ้ น ที ่ ร ะหว่ า งทางเดิ น สำหรั บ ในการหาสินค้า 16.23 นาที และลดข้อผิดพลาดในการหยิบ


ตรวจเช็คสินค้า สินค้า
5.1.2 สรุปผลการศึกษาในส่วนของการบริหารคลังสินค้า 5.2 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
พบว่ามีการใช้กลยุทธ์ในการจัดเก็บสินค้าในคลัง สินค้า 1. ทราบถึง การศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาเพื่อการปรับปรุง
(Warehouse Layout) แบบไร้รูปแบบจัดเก็บ มีความยืดหยุ่น พื้นที่การจัดเก็บสินค้าคงคลัง ประเภทคอยล์ของกรณีศึกษา
เพื่อให้เกิดความสะดวกต่อการนำสินค้าเข้าจัดเก็บ เป็นการ ธุรกิจเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์โลหะและอโลหะ
จัดเก็บแบบไม่ได้กำหนดตำแหน่งตายตัวทำให้สินค้าแต่ละชนิด 2. ทราบถึงแนวทางการปรับปรุงพื้นที่การจัดเก็บสินค้าคงคลัง
สามารถจัดเก็บไว้ในตำแหน่งใดก็ได้ในคลัง สินค้า มีการเก็บ ประเภทคอยล์ของกรณีศ ึกษาธุร กิจ นำเข้า จัดหา และจัด
สินค้าปะปนกั นทุก ประเภท สินค้าหลายรหั ส ถู กรวมอยู ่ ที่ จำหน่าย ผลิตภัณฑ์โลหะและอโลหะ ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
เดียวกัน ซึ่ง รูปแบบการจัดเก็บแบบนี ้จ ำเป็ น ต้องมี ร ะบบ 3. ทราบถึงแนวทางการปรับปรุง กระบวนการคำสั่งซื้อเพื่อให้
สารสนเทศในการจั ด เก็ บ และติ ด ตามข้ อ มู ล ของสิ น ค้ า ว่ า สอดคล้องกับการบริหารพื้นที่การจัดเก็บสินค้าคงคลัง
จั ด เก็ บ อยู ่ ใ นตำแหน่ ง ใดโดยต้ อ งมี ก ารปรับ ปรุ ง ข้ อมูล อยู่ 5.3 ข้อเสนอแนะ
ตลอดเวลาด้วย และหากพนักงานมีการจดบันทึกผิดพลาดหรือ จากการศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นในการบริหารปรับปรุง
ลืมบันทึกตำแหน่ง ส่ง ผลให้เสียเวลาในการหาสิ นค้ า เกิ ด พื้นที่การจัดเก็บสินค้าคงคลัง เนื่องจากว่าคลังสินค้าแบบเดิม
ข้อผิดพลาดด้านการหยิบสินค้า ไม่ได้มีการวางผังคลังสินค้าที่ชัดเจน ทำให้เวลามีสินค้าเข้ามาที่
ผู้วิจัยได้มีการนำกลยุทธ์จัดเก็บสินค้าตามรหัส มาใช้ คลั ง ก็ จ ะนำไปจั ด วางเลยไม่ ไ ด้ ก ำหนดตำแหน่ ง ตายตั ว
ควบคู่กับหลักการ visual control เป็นการควบคุมด้วยสายตา สินค้าเข้ามาแต่ละครั้งก็จะนำไปวางตรงไหนก็ได้ที่เป็นพื้นที่ว่าง
โดยนำ สี มาใช้เป็นสัญลักษณ์ ระบุตำแหน่งจัดวางสินค้าตาม หากพื้นที่ไม่พอก็จะวางซ้อนกันแทน เพื่อรอการระบายออก ไม่
รหัส ส่งผลให้การจัดเก็บสินค้ามีการจัดเรียงเป็นระเบียบ ทำให้ ทำการระบุว่าสินค้าตัวไหนต้องนำออกก่อนหรือหลัง เมื่อมี
ความปลอดภัยสูงขึ้น มีความสะดวก ลดระยะเวลาหาสิ นค้า ลูกค้าสั่งสินค้าเข้ามาจะเลือกหยิบสินค้าที่หยิบได้สะดวกที่สุ ด
จากเดิมใช้เวลาในการหาสินค้า 22.36 นาที แบบใหม่ใช้เวลา ส่งผลให้บางครั้งสินค้าที่สั่งมานานแล้วยังค้างอยู่ในสต็อกแต่
สินค้าที่สั่งมาใหม่ถูกปล่อยขายแล้ว
5.3.1 ข้อเสนอแนะแนวทางแก้ปัญหา
1. ควรมีการบริหารจัดการพื้นที่ให้เหมาะสม
1.1 ควรมีการเก็บสินค้าให้มีความเป็นระเบียบเรียงตาม
รหัสสินค้า และ แยกประเภทตามเกรดของสินค้า
1.2 ควรมีการจดบันทึกสินค้าเข้า – ออก
1.3 ควรมีการใช้พื้นที่ในการจัดเก็บสินค้าได้อย่างเหมาะสม

2. นำเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารคำสั่งซื้อและการจัดการ
คลังสินค้า
2.1 นำ เ ท คโ นโลยี โ ปรแกรม Microsoft Access มา
ประยุกต์ใช้ในการบริหารคำสั่งซื้อของทางธุรกิจ โดยโปรแกรม
190
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

Microsoft Access มีประโยชน์ ที่สามารถจัดเก็บข้อมูลจำนวน utilization after merger of two warehouses


มาก และะยัง สามารถพัฒนาแบบฟอร์ม (Form) และสร้าง (Master's thesis).
รายงาน (Report) ได้ Microsoft Access ถูกนำไปใช้งานใน 2. Bentz, K. (2017). Warehouse Layout Optimization:
ระบบฐานข้อมูล ได้ในหลากหลายธุร กิจ รองรับการทำงาน A Commissioned Thesis for Fiskars Garden Tools
พร้อมๆ กัน (Concurrent Usage) รองรับการพัฒนาปรับแต่ง Oy.
และนำไปใช้กับระบบอื่นๆ ได้ สามารถ Import/Export Data 3. Ananchaisap, S., & Monthatipkul, C. (2021). ก า ร
ไปยังระบบต่างๆ เช่น Excel, SQL Server, Text File เป็นต้น ปรับปรุง การ จัด วาง ตำแหน่ง สินค้า ภายใน คลังสินค้า
2.2 นำเทคโนโลยี โ ปรแกรม SAP (System Application กรณี ศึกษา บริษัท ศรี ไทย ซุปเปอร์ แว ร์ โคราช จำกัด.
products) มาประยุกต์ใช้ในการบริหารการจัดการคลังสินค้า Journal of Engineering and Digital Technology
เนื ่ อ งจากโปรแกรม SAP เป็ น โปรแกรมที ่ ส ามารถทำงาน (JEDT), 9(2), 11-24.
ร่วมกับ Software อี่นได้ เช่น Excel PDF Barcode เป็นต้น 4. ปรัชภรณ์ เศรษฐเสถียร และกฤติยา เกิดผล. (2562). การ
เป็นโปรแกรมที่ส ามารถรวบรวมระบบและเก็บบั นทึ ก การ เพิ่มประสิทธิภ าพในการจัดการคลังสินค้า. วารสารวิจัย
กระทำของข้ อ มู ล ที ่ เ วลาจริ ง ( Real Time system) มี รำไพพรรณี, 13(2), 65-72.
ระบบงานที่รองรับในหลายส่วนงาน ซี่งในทุกส่วนงานสามารถ 5. วรรณวิ ภ า ชื ่ น เพ็ ช ร. (2560). การวางผั ง คลั ง สิ น ค้ า
จัดทำเอกสารของส่วนงานนั้นได้และสามารถเชื่อมข้อมูล ถึงกัน สำเร็จรูปด้วยเทคนิค ABC ANALYSIS กรณีศึกษา บริษัท
ได้ ทั้งยังมีการการทำ การกกการติดตามและประเมินผลการ AAA จำกั ด (การค้ น คว้ า อิ ส ระปริ ญ ญาวิ ท ยาศาสตร
ดำเนินการ Strategic Management, Balance Score Card มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีปทุม, กรุงเทพฯ.
ดำเนิ น งานตามตั ว ชี ้ ว ั ด (KPI) การวิ เ คราะห์แ นวโน้ ม การ
วิเคราะห์สถานภาพปัจจุบัน อดีตและอนาคตขององค์กรด้วย
2.3 นำเทคโนโลยี บาร์โค้ด (Barcode) มาประยุกต์ใช้ในการ
บริหารการจัดการคลังสินค้าเนื่องจากเทคโนโลยีบาร์โค้ดนั้น
ง่ายต่อระบบสินค้าคงคลัง คอมพิวเตอร์ซึ่ง เชื่อมกับเครื่อง
สแกนเนอร์จะตัดยอดสินค้าโดยอัตโนมัติ จึงสามารถให้ข้อมูล
เกี่ยวกับการหมุนเวียนสินค้า สินค้ารายการใดจำหน่ายได้ดี มี
สินค้าเหลือเท่าใด ทั้ง ยัง ลดขั้นตอนและประหยัดเวลาการ
ทำงาน การซื้อ-ขาย สินค้าจะมีความสะดวกรวดเร็วมากขึ้ น
โดยเฉพาะการรับชำระเงิน การออกใบเสร็จ การตัดสินค้าคง
คลัง และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ร่วมกับโปรแกรม SAP ได้

เอกสารอ้างอิง
1. Rosinska, M., & Chillara, N. (2017). Layout design
planning of a logistics center. A study on space

191
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

การจัดผังคลังสินค้าเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการคลังสินค้า
กรณีศึกษาส่วนอุตสาหกรรมไม้วังน้อย
Warehouse Layout Optimization to Increase Warehouse Management Efficiency
: A Case Study of Wang Noi Forestry Industry Division

ธีรศักดิ์ โคทนา1* รุ่งรัตน์ ภิสัชเพ็ญ2 และ จันทร์ศิริ สิงห์เถื่อน3


1
โครงการปริญญาโท สาขาการจัดการวิศวกรรม ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน กรุงเทพฯ 10900
2,3
ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน กรุงเทพฯ 10900
E-mail: Teerasak.ko@ku.th1*, fengros@ku.ac.th 2, chansiri.s@ku.ac.th 3

บทคัดย่อ
งานวิจัยฉบับนี้เป็นการปรับปรุงประสิทธิภาพตำแหน่งการจัดวางสินค้าในคลังสินค้าของส่วนอุตสาหกรรมไม้วังน้อย องค์การ
อุตสาหกรรมป่าไม้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของพื้นที่การจัดวางไม้แปรรูปภายในคลังสินค้า จากการศึกษาพบว่า สภาพ
ปัจจุบันคลังสินค้าของส่ วนอุ ตสาหกรรมไม้ วั งน้ อย มีตำแหน่งการจั ดวางไม้ แปรรู ปภายในคลั งสิ นค้ าไม่ เหมาะสม ทำให้การใช้
อรรถประโยชน์ของพื้นที่ไม่เต็มประสิทธิภาพ ผู้วิจัยจึงได้ทำการศึกษารูปแบบตำแหน่งการจัดวางสินค้าที่ส่งผลให้ การใช้อรรถประโยชน์
ของพื้นที่ภายในคลังมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยได้วิเคราะห์จัดกลุ่มไม้แปรรูปขนาดต่างๆ ออกเป็น 8 กลุ่มใหม่ โดยใช้หลักการแบ่งกลุ่ม
K-means Clustering เพื่อกำหนดผัง (Layout) การวางไม้แปรรูปใหม่ และกำหนดตำแหน่ง (Location) ในการวางจัดวางสินค้าโดยใช้
หลักการตัวแบบโปรแกรมเชิงเส้น (Linear Programming Method) ตามทฤษฎีส ินค้าเคลื่อนไหวเร็ววางไว้ใกล้ประตู (Fast Mover
Closest to the Door) และทฤษฎี-สินค้าน้ำหนักมากวางไว้ใกล้ประตู ร่วมกับเครื่องมือ Solver ในโปรแกรม Microsoft Excel จากการ
จัดวางตำแหน่งสินค้าใหม่ตามทฤษฎีสินค้าเคลื่อนไหวเร็ววางไว้ใกล้ประตู ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการบริหารจัดการคลังสินค้าเพิ่มขึ้น
มีการใช้ประโยชน์พื้นที่คลังสินค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.71 ระยะทางเฉลี่ยในการหยิบสินค้าลดลง 38.94 %

คำสำคัญ : การจัดการคลังสินค้า, การจัดผังคลังสินค้า, การเพิ่มประสิทธิภาพคลังสินค้า

Abstract
The objective of this research is to Warehouse Layout Optimization of Wang Noi Forestry Industry Division.
The purpose is to increase the efficiency of the lumber Layout area within the warehouse. The study found that
The current improper layout of the product in this warehouse leads to the problem of inefficient use of space utility.
192
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

The researcher therefore studied the product placement patterns that resulted in more efficient utilization of space
within the warehouse, which analyzed grouped lumber of different sizes into 8 new groups, using the principle of K-
means Clustering to determine the layout of the new lumber and determine the location in the product placement by
using the linear programming method according to Fast Mover Closest to the Door theory and the theory of High Weight
Closest To The Door with the Solver tool in Microsoft Excel. The new warehouse Layout according to Fast Mover Closest
to the Door theory results in increased efficiency in warehouse management. Warehouse space utilization increased by
22.71%. Average distance in picking goods decreased by 38.94%.
Keywords : Warehouse Management, Warehouse Layout, Warehouse Optimization

193
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

1. บทนำ การวางผังคลังสินค้า คือ กิจกรรมที่สำคัญในการบริหารจัดการ


ปัจจุบันส่วนอุตสาหกรรมป่าไม้วังน้อย องค์การอุตสาหกรรมป่า คลังสินค้า การวางผังที่ดีจะส่งผลให้ประสิทธิภาพการดำเนินงานดี
ไม้มีภาระกิจในการดูและรักษาไม้มีค่าต่างๆที่ รับมอบจากหน่วยงาน ขึ้นลดขั้นตอนการดำเนินงานลง ระยะเวลาและระยะทางเคลื่อนย้าย
รัฐ เพื่อทำการแปรรูป และเก็บรักษา เพื่อรอการขอใช้ประโยชน์จาก สิ นค้ าในคลั งสั ้ นลง โดยการวางผั งคลั งสิ นค้ าควรคำนึ ง ถึ ง
หน่ วยงานภาครั ฐ ดำเนิ นการรั บไม้ ท ่ อน (Log) ชนิ ดต่ าง ๆ องค์ประกอบ ด้านประสิทธิภาพการใช้พื้นที่ กระบวนการในการ
ประกอบด้วย ไม้แดง ไม้ชิงชัน ไม้ประดู่ ไม้มะค่าโมง ไม้พะยูง และ เคลื่อนย้าย ความยืดหยุ่นในการเก็บและกระจายสินค้า บรรยากาศ
ไม้สัก มาจัดเก็บไว้ที่ลานไม้ จากนั้นนำไปแปรรูป และเก็บรักษาใน การทำงานและระดับการให้บริการ [2]
คลังสินค้า การแบ่งกลุ่มสินค้าตามขนาดที่ใกล้เคียงกัน ด้วยเทคนิคการจัด
คลั งเก็ บไม้ แปรรู ป ของส่ วนอุ ตสาหกรรมป่ าไม้ ว ั ง น้ อ ย กลุ่มข้อมูลแบบเคมีน (K-mean clustering Algorithm) เป็นวิธีจัด
ประกอบด้วย คลังเก็บไม้แปรรูปรวม (ขนาดกว้าง 40 เมตร x ยาว กลุ่มตามคุณสมบัติที่คล้ายคลึงกัน โดยจะกำหนดจุดกึ่งกลางแต่ละ
40 เมตร) คลังเก็บไม้เหลี่ยม (ขนาดกว้าง 20 เมตร x ยาว 30 กลุ่ม ข้อมูลจุดกึ่งกลางคือค่าเฉลี่ยของข้อมูลทั้งหมด และจัดเป็น
เมตร) คลังเก็บไม้แปรรูป 3 (ขนาดกว้าง 20 เมตร x ยาว 40 เมตร) ค่าเฉลี่ยเลขคณิตสำหรับแต่ละมิติจะแตกต่างกันไปตามข้อมูล
คลังเก็บไม้แปรรูป 4 (ขนาดกว้าง 20 เมตร x ยาว 40 เมตร) และ ทั้งหมดในกลุ่ม โดยมุ่งเน้นที่จะให้ข้อมูลในกลุ่มเดียวกันมีความ
คลั งเก็ บไม้ แปรรู ป 5 (ขนาดกว้ าง 20 เมตร x ยาว 40 เมตร) คล้ายคลึงกันมากที่สุด [3]
ปัจจุบันส่วนอุตสาหกรรมไม้วังน้อยมีการจัดเก็บไม้เป็นจำนวน การวิเคราะห์แบบ ABC (ABC Analysis) หรือ กฎของพาเรโต
มากเนื่องจากการส่งมอบไม้ไปใช้ประโยชน์ทางภาครัฐมีปริมาณ ในงานบริหารคลังสินค้า เป็นแนวคิดที่ไห้ความสำคัญกับสินค้าตาม
การเบิกน้ อยแต่ยั งคงมี การรั บมอบไม้ มาทำการแปรรูปอย่ าง กลุ่มสินค้าโดยการจัดลำดับสินค้าตามยอดขายหรือส่วนแบ่งกำไร
ต่อเนื่องทำให้ประสบปัญหาการใช้ประโยชน์พื้นที่ในคลังสินค้าไม่ ของสินค้ านั้น ซึ่งสินค้ าที่วัดอยู่ในกลุ่ม A จะมีส ินค้าเพียงไม่กี่
เพียงพอต่อการจัดเก็บ และการจัดเก็บขาดประสิทธิภาพ ด้วยเหตุ ประเภทแต่เป็นสินค้าที่มียอดขายหรือส่วนแบ่งกำไรมากที่สุด ส่วน
นี้ผู้วิจัยจึงมีความสนใจในการศึกษาถึงปัญหาและอุปสรรคในการ สินคำที่มียอดขายหรือส่วนแบ่งกำไรรองลงไปจะได้รับความสำคัญ
วางผังคลังสินค้า การจัดพื้นที่ตำแหน่งการจั ดวางสินค้าภายใน น้อยลงเป็น B และ C ตามลำดับ [4]
คลังสินค้า เพื่อนำข้อมูลทั้งหมดที่ได้จากศึกษามาใช้เป็ นแนวทาง โปรแกรมเชิงเส้น (Linear Programming) เป็นการใช้ตัวแบบ
ในการพั ฒนาปรั บปรุ ง การบริ ห ารจั ด การคลั ง สิ น ค้ า ให้ มี ทางคณิตศาสตร์ที่ช่วยในการวางแผนและการจัดสรรพื้นที่ภายใน
ประสิทธิภาพที่เหมาะสม โดยใช้ข้อมูลของส่วนอุตสาหกรรม คลังสินค้าที่ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยสามารถทำให้พื้นที่
ป่าไม้วังน้อย องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ เป็นกรณีศึกษา ภายในคลั งสินค้ ามี การใช้ ประโยชน์ อย่ างเต็ มพื ้ นที่ และเกิ ด
2. การปรับปรุงประสิทธิภาพคลังสินค้าด้วยการจัด ประโยชน์ในการดำเนินงานสูงสุด การใช้โปรแกรมเชิงเส้นร่วมกับ
วิธีการจัดวางสินค้าเคลื่อนไหวเร็ววางไว้ใกล้ประตู (Fast Mover
ผังคลังสินค้า
Closest To The Door Method) และสินค้ าน้ำหนักมากวางไว้
2.1 ข้อมูลทั่วไป
ใกล้ ป ระตู (High Weight Closest To The Door) คื อ การหา
คลังสินค้า หมายถึง พื้นที่เก็บรักษาภายในอาคารที่สร้างขึ้นเพื่อ
ตำแหน่งการจัดวางสินค้าอย่างเหมาะสมสำหรับสินค้า โดยคำนึงถึง
ความมุ่งหมายในการเก็บรักษาสินค้าหรือพัสดุ ไม่ว่าอาคารหรื อ
ระยะทางที่ใช้ในการวัดการนำสินค้าเข้าและการนำสินค้าออก
สิ่งอำนวยความสะดวกในการเก็บรักษานั้นจะเป็นแบบใดก็ตาม [1]
ความถี่ หรือน้ำหนัก ในการจัดเก็บสินค้ามาใช้ในการปรับเปลี่ยน
ตำแหน่งผังการจัดเก็บสินค้าให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น [5]
194
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

การใช้ โซลเวอร์ (Solver) ซึ ่ งเป็ นโปรแกรมแอด-อิ น ของ 1.00 เมตร ความยาวของไม้ ตั้งแต่ 1.20 เมตร (ระยะพาเลท) ถึง
ไมโครชอฟท์ เอ็กเซล (Microsoft Excel) เป็นใช้เครื่องมือที ่ มี ไม้ที่มีขนาดยาวที่สุด 7.00 เมตร มีระยะความสูงจากพื้น 10-15
ความรวดเร็วและมีความถูกต้องแม่นยำและเกิดความสะดวกใน เซนติเมตร ขนาดไม้แปรรูปมีทั้งหมด 1,864 ขนาด (Size) มีหน้า
การปฏิบัติงานซึ่งการใช้โซลเวอร์ เป็นเครื่องมือที่ช่วยในการจั ด กว้างตั้งแต่ 1 เซนติเมตร ถึง 45 เซนติเมตร มีความหนาตั้งแต่
สินค้าได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 0.5 เซนติเมตร ถึง 12.5 เซนติเมตร และมีความยาวตั้งแต่ 20
2.2 การวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อเพิ่มประสิทธิภ าพการจัดการ เซนติเมตร ถึง 700 เซนติเมตร การรวมกองพิจารณาจากน้ำหนัก
คลังสินค้า ที่รถยกสามารถยกได้และประสบการณ์ของผู้ปฏิบัติงาน การจัด
งานวิจัยนี้เพื่อปรับปรุงพื้นที่ตำแหน่งการจัดวางสินค้าของ วางไม้แปรรูปในพื้นที่คลังสินค้า แบ่งออกเป็น 13 แถว จัดกลุ่ม
บริษัทกรณีศึกษา เพื่อให้เกิดการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพและ ตามความยาวของไม้แปรรูปที่ใกล้เคียงกัน ในแต่ละแถวสามารถ
การจัดวางพื้นที่ที่เหมาะสมมากยิ่งขึ้น และการจัดวางสินค้าใน วางเรียงกันได้ 7 ถึง 12 กอง วาง ซ้อนกัน (Double Stacking)
ตำแหน่งที่เหมาะสม เพื่อลดระยะเวลาในการเคลื่อนย้ายสินค้าเข้า วางซ้อนกันได้ 3 ถึง 4 ชั้น ในแต่ละขนาดจะเป็นการวางตำแหน่ง
และการเคลื่อนย้ายสินค้าออก การจัดวางสินค้าภายในคลังสินค้า แบบสุ่ม (Random) พื้นที่ใช้ในการจัดเก็บสินค้ าคิดจากพื้นที่
ของบริษัทกรณีศึกษามีขั้นตอนและกระบวนการดังนี้ ทั้งหมด 350 ตารางเมตร ความสามารถในการจัดเก็บ 1,750 ลบ.
ผู้วิจัยศึกษาข้อมูลคลังสินค้าและรูปแบบการจัดเก็บสินค้า โดย ม. และปัจจุบันจัดเก็บไม้แปรรูปได้ 323.85 ลบ.ม. คิดเป็นร้อย
ทำการศึกษาคลังสินค้าเก็บไม้สักแปรรูป (อาคาร 5) ตัวอาคาร กว้าง ละ 18.51
20 เมตร x ยาว 40 เมตร X สูง 8 เมตร (ถึงชายหลังคา 5 เมตร) การแบ่งกลุ่มสินค้าตามขนาดที่ใกล้เคียงกัน ด้วยเทคนิค การ
ภายในประกอบไปด้วยพื้นที่สำนักงานพื้นที่ 180 ตร.ม. พื้นที่ห้อง จัดกลุ่มข้อมูลแบบเคมีน (K-mean clustering Algorithm)
ประชุม พื้นที่ 100 ตร.ม มีพื้นที่จัดเก็บสินค้าสำเร็จรูปพื้นที่ 350 สามารถประยุกต์ใช้ในการจัดกลุ่มสินค้าที่มีลักษณะคล้ายกันอยู่
ตร.ม. ช่องทางเดินพื้นที่ 120 ตร.ม จุดรับส่งสินค้าพื้นที่ 50 ตร.ม. ในกลุ่มเดียวกันได้ดงั สมการที่ (1)

𝑑(𝑝, 𝑞) = √(𝑝1 − 𝑞1 )2 + (𝑝2 − 𝑞2 )2 + ⋯ + (𝑝𝑛 − 𝑞𝑛 )2


= √∑𝑛𝑖=1(𝑝𝑖 − 𝑞𝑖 )2 (1)

กำหนดให้ 𝑝𝑖 = ความยาวของส่วนของเส้นตรงจากด้านตามยาว
𝑞𝑖 = ความยาวของส่วนของเส้นตรงจากด้านตามสูง
n = ขนาดไม้แปรรูป n ขนาด
K = จำนวนกลุ่ม
รูปที่ 1 คลังสินค้าเก็บไม้สักแปรรูป (อาคาร 5)
พิจารณาเลือกจำนวนกลุ่มเหมาะสม (K กลุ่ม) พิจารณาจากค่า
ผลบวกกำลั งสองภายในกลุ ่ ม (Within Cluster Sum of Square,
ผู้วิจ ัยได้ทำการศึกษาคลังสินค้าในการจัดเก็บปัจจุบันมี
WCSS) และช่วงระยะห่างของความยาวไม้เฉลี่ยภายในกลุ่ม ตาม
รูปแบบการจัดเก็บแบบไม่เป็นทางการ (Informal System) มี
สมการที่ (2)
การบันทึกตำแหน่งการจัดเก็บเข้าไว้ในฐานข้อมูล Microsoft
Excel และไม้ แปรรู ปสามารถจั ดเก็ บ ไว้ ตำแหน่ ง ใดก็ ไ ด้ ใ น 𝑊𝐶𝑆𝑆 (∆) = ∑𝑘𝑖=1 𝑑(𝑜, 𝑚𝑐 ) (2)
คลังสินค้า โดยมีขนาดกอง ไม้แปรรูปในแต่ละกองมีความกว้าง
195
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

กำหนดให้ 𝑚𝑐 = ค่ากึ่งกลางของกลุ่ม จากการศึกษาและเก็บข้อมูลคลังสินค้าของส่วนอุตสาหกรรมไม้


𝑑(𝑜, 𝑚𝑐 ) = ระยะห่างแบบยุคลิดของข้อมูลกับค่ากึ่งกลาง วังน้อย การปรับปรุงประสิทธิภาพในการจัดตำแหน่งพื้นที่จั ดวาง
การใช้หลักการของ Linear Programming ในการจัดตำแหน่ง คลังสินค้า สามารถวิเคราะห์ผลการศึกษาได้ดังนี้
ไม้แปรรูป คือ สมการที่ใช้หาตำแหน่งการจัดวางสิ นค้าอย่ าง จัดกลุ่มข้อมูลไม้แปรรูป ด้วยวิธี K-means Clustering ผู้วิจัยได้
เหมาะสมสำหรับสินค้าแต่ละประเภท โดยคำนึงถึงระยะทางที่ใช้ใน สร้ างตารางการวิ เคราะห์ ด ้ วย Microsoft Excel และเพิ ่ มการ
การวัดการนำสินค้าเข้าและการนำสินค้าออก รวมถึงข้อมูล การ วิเคราะห์ผลด้วย Macro 2 ตัวแปร นำข้อมูลขนาดกองไม้แต่ ละ
จัดเก็บสินค้ามาใช้ในการพิจารณาสามารถประยุกต์ ใช้ร่วมกับ ขนาดมาทำการวิเคราะห์ โดยตัวแปรที่ใช้ในการจัดกลุ่ม คือความ
หลั กการของการวางตำแหน่ งหลายวิ ธี เช่ น สิ นดำที ่ ม ี ความ ยาวของไม้แปรรูป และความสูงของกอง โดยคำนวณไม้ทุกขนาด
เคลื่อนไหวบ่อยว่างใกล้ประตูหรือ Fast Mover Closest To The จำนวน 1,864 ขนาด สามารถคำนวณได้ ตามสมการที่ (1) และ
Door Method ได้โดยสามารถคำนวณดังสมการที่ (3),(4),(5),(6) พิจารณาเลือกจำนวนกลุ่มเหมาะสม (K กลุ่ม) พิจารณาจากค่ า
ผลบวกกำลั งสองภายในกลุ ่ ม (Within Cluster Sum of Square,
𝑚𝑖𝑛 ∑𝑀 𝑁
𝑖=1 ∑𝑗=1 𝑒𝑖𝑗 𝑥𝑖𝑗 (3) WCSS) และช่วงระยะห่างของความยาวไม้เฉลี่ยภายในกลุ่ม ตาม
S.T. ∑𝑀
𝑖=1 𝑥𝑖𝑗 = 𝑟𝑖 ;∀𝑖 = 1,2,…,m (4) สมการที่ (2) สามารถแสดงผลการวิเคราะห์ได้ดังรูปที่ 2 และสามารถ
∑𝑛𝑗=1 ℎ𝑖 𝑥𝑖𝑗 ≤ 𝐻𝑗 ;∀𝑗 = 1,2,…,n (5) จัดกลุ่มสินค้า ทั้งหมด 8 กลุ่ม ดังตารางที่ 1
𝑥𝑖𝑗 ≥0 ; ∀𝑖𝑗 (6)

กำหนดให้ = ระยะทางการจัดเก็บผลิตภัณฑ์ i จากประตู


𝑒𝑖𝑗
ไปยังตำแหน่งจัดเก็บ j เมื่อ i=1ถึง m ; j=1 ถึง n
𝑥𝑖𝑗 = จำนวนกองไม้แปรรูปกองที่ i ไปวางในตำแหน่ง j
เมื่อ i=1ถึง m ; j=1ถึง n
โดย 𝑟𝑖 = จำนวนกองไม้ที่มีอยู่ในชนิดที่ i รูปที่ 2 กราฟ WCSS และ ช่วงระยะห่างของความยาวไม้เฉลี่ย
𝐻𝑖 = ความสูงที่สามารถรองรับได้ในตำแหน่งที่ j ภายในกลุ่ม
ℎ𝑖 = ความสูงของกองไม้กองที่ i
n = ตำแหน่งในการจัดเก็บในคลังสินค้า j ตำแหน่ง ตารางที่ 1 การแบ่งกลุ่มไม้แปรรูปด้วยวิธี K-mean
m = กองไม้แปรรูป i กอง
พื้นที่ใช้ต่อ กอง พื้นที่ใช้ต่อกลุ่ม ความสูง การใช้ประโยชน์
การคำนวณหาระยะทาง สามารถคำนวณได้จากสมการที่ (7) กลุ่ม ความจุ
(ตร.ม) (ตร.ม) (เมตร) พื้นที่
กลุ่มที่ 1 81 1.76 142.56 4.6 655.776
กลุ่มที่ 2 36 2.31 83.16 4.6 382.536
9 2.86 25.74 4.6 118.404
𝐸𝑖 = 2 ∗ 𝑒𝑖𝑗 ∗ 𝑟𝑖 (7) กลุ่มที่ 3
กลุ่มที่ 4 6 3.41 20.46 4.6 94.116
กลุ่มที่ 5 3 3.96 11.88 4.6 54.648
กลุ่มที่ 6 1 4.51 4.51 4.6 20.746
กำหนดให้ 𝐸𝑖 = ระยะทางในการจัดเก็บสินค้า i กลุ่มที่ 7 1 5.06 5.06 4.6 23.276
กลุ่มที่ 8 1 5.61 5.61 4.6 25.806
2.3 ผลการจัดผังคลังสินค้าเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการ รวม 298.98 1,375.308

คลังสินค้า

196
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

จากนั้นคำนวณความจุในแต่ละกลุ่มจัดตำแหน่งในการวาง การใช้วิธีแบบสินค้าที่เข้าออกบ่อยวางไว้ใกล้ประตู การหา


ใหม่เพื่อให้สามารถใช้พื้นที่ให้ได้มากที่สุด แสดงการจัดตำแหน่ง ตำแหน่งการจัดวางไม้แปรรูป โดยคำนึงถึงระยะทางที่ใช้ในการนำ
การวางสินค้าในแต่ละกลุ่มในผังคลังสินค้าใหม่ได้ทั้งหมด 5 โซน สินค้าเข้า-ออก รวมถึงข้อมูลความถี่ในการจัดเก็บสินค้ามาใช้ใน
ประกอบด้วยโซน A B C D และ E และกำหนดรหัสตำแหน่งการ การพิ จารณาการปรั บเปลี่ ยนตำแหน่ งการจั ดเก็ บสิ นค้ าให้มี
จัดวางสินค้าใหม่ มีช่องในการจัดเก็บไม้แปรรูปทั้งสิน 138 ช่อง ประสิทธิภาพมากขึ้นสูตรที่ใช้คำนวณดังสมการที่ (8),(9),(10),(11)

𝑚𝑖𝑛 ∑𝑀 𝑁
𝑖=1 ∑𝑗=1 𝐹𝑖 𝑒𝑖𝑗 𝑥𝑖𝑗 (8)
S.T. ∑𝑀𝑖=1 𝑥𝑖𝑗 = 𝑟𝑖 ;∀𝑖 = 1,2,…,m (9)
𝑛
∑𝑗=1 ℎ𝑖 𝑥𝑖𝑗 ≤ 𝐻𝑗 ;∀𝑗 = 1,2,…,n (10)
𝑥𝑖𝑗 ≥0 ;∀𝑖𝑗 (11)
รูปที่ 3 ตำแหน่งการจัดเก็บไม้แปรรูปใหม่
กำหนดให้ 𝐹𝑖 = จำนวนการเบิกสินค้า i
นำวิ ธ ี ก ารจั ด ตำแหน่ ง สิ น ค้ า ด้ ว ยหลั ก การของ Linear เมื่อวางตำแหน่งสินค้าแบบปกติการใช้ประโยชน์ของพื ้ นที่
Programming มาใช้หาตำแหน่ง การจัดวางไม้แปรรูปอย่าง ได้มากที่สุด สามารถจัดเก็บไม้สักแปรรูปคิดเป็นปริมาตร 616.28
เหมาะสมสำหรับไม้แปรรูปแต่ละกอง โดยคำนึงถึงระยะทางที่ ลบ.ม. มีการใช้พื้นทีจ่ ัดเก็บสินค้า 126 ช่อง คิดเป็นร้อยละ 91.30
ใช้ในการวัดการนำสินค้าเข้าและการนำสินค้าออก และการใช้ คงเหลือพื้นที่จัดเก็บ 12 ช่อง คิดเป็นร้อยละ 8.70 มีระยะทางใน
ประโยชน์ของพื้นที่ให้มีประสิทธิภาพตามสมการที่ใช้คำนวณที่ การจัดเก็บสินค้าทั้งหมด 41,107.4 เมตร และมีระยะทางในการ
(3),(4),(5) และ (6) และคำนวณหาระยะทางรวมใหม่ จ าก หยิบสินค้าที่มีการเคลื่อนไหว 1,679.8 เมตร
สมการที่ (7)
เมื่อวางตำแหน่งสินค้าแบบปกติโดยคำนึงถึงการใช้ประโยชน์
ของพื้นที่ได้มากที่สุด สามารถจัดเก็บไม้สักแปรรูปได้จำนวน 588
กอง คิดเป็นปริมาตร 616.28 ลบ.ม. มีการใช้พื้นจัดเก็บสินค้า
124 ช่อง คิดเป็นร้อยละ 89.85 คงเหลือพื้นที่จัดเก็บ 14 ช่อง
คิดเป็นร้อยละ 10.14 มีระยะทางในการจัดเก็บสินค้าทั ้งหมด รูปที่ 5 การจัดเก็บไม้แปรรูปแบบสินค้าที่เข้าออกบ่อยวางไว้ใกล้ประตู
40,956.8 เมตร และมี ร ะยะทางในการหยิ บสิ นค้ าที ่ ม ี การ
เคลื่อนไหว 1,935.4 เมตร การใช้ ว ิ ธี สิ น ค้ า น้ ำ หนั ก มาก วางไว้ ใ กล้ ป ระตู (High
Weight Closest To The Door) หาตำแหน่ ง การจั ด วางไม้
แปรรูป โดยคำนึงถึงระยะทางที่ใช้ในการนำสินค้าเข้า -ออก
และน้ ำ หนั ก ในการจั ด เก็ บ มาใช้ ใ นการพิ จ ารณาในการ
ปรับเปลี่ยนตำแหน่งการจัดเก็บสินค้า มีสมการที่ใช้คำนวณดัง
สมการที่ (12),(13),(14),(15)
รูปที่ 4 การจัดเก็บไม้แปรรูปลงในผังคลังสินค้าใหม่
𝑚𝑖𝑛 ∑𝑀 𝑁
𝑖=1 ∑𝑗 =1 𝑤𝑖 𝑒𝑖𝑗 𝑥𝑖𝑗 (12)

197
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

S.T. ∑𝑀
𝑖=1 𝑥𝑖𝑗 = 𝑟𝑖 ;∀𝑖 = 1,2,…,m (13) มีสัดส่วนการใช้ประโยชน์ของพื้นที่ทั้งหมด (Space Utilization)
∑𝑛𝑗=1 ℎ𝑖 𝑥𝑖𝑗 ≤ 𝐻𝑗 ;∀𝑗 = 1,2,…,n (14) เพิ่มขึ้น 22.71 % และเมื่อทำการเปรียบเทียบ การจัดวางสินค้า
𝑥𝑖𝑗 ≥0 ; ∀𝑖𝑗 (15)
ภายในคลังสินค้าใน 3 รูปแบบ สามารถสรุปได้ดังตารางที่ 3

กำหนดให้ 𝑊 = น้ำหนักของไม้แปรรูปกองที่ i
𝑖
ตารางที่ 3 การเปรียบเทียบประสิทธิภาพคลังสินค้าทั้ง 4 รูปแบบ
เมื่อวางตำแหน่งสินค้าแบบสินค้าน้ำหนักมากวางไว้ใกล้ประตู แบบเดิม จัดผังใหม่
สินค้าเคลื่อนไหวเร็ว
วางไว้ใกล้ประตู
สินค้าน้ำหนักมาก
วางไว้ใกล้ประตู

สามารถจัดเก็บไม้สักแปรรูปคิดเป็นปริมาตร 616.28 ลบ.ม. มีการ ปริมาตรพื้นที่คลังสินค้า


1,750 1,625 1,625 1,625
(ลบ.ม.)
ใช้พื้นที่จ ัดเก็บสินค้า 129 ช่อง คิดเป็นร้อยละ 93.48 คงเหลือ ปริมาตรที่จัดเก็บได้
323.85 616.28 616.28 616.28
(ลบ.ม.)
พื้นที่จัดเก็บ 9 ช่อง คิดเป็นร้อยละ 6.52 มีระยะทางในการจัดเก็บ ช่องที่ใช้ในการจัดเก็บ
109 127 127 125
(Slot)
สินค้าทั้งหมด 41,590.4 เมตร และมีระยะทางในการหยิบสินค้าที่มี ช่อง (Slot) ใช้จัดเก็บ
100.00 92.03 92.03 90.58
การเคลื่อนไหว 1,812.0 เมตร สินค้า (%)
คงเหลือช่อง (Slot)
- 7.97 7.97 9.42
ในการจัดเก็บ (%)
ระยะทางในการจัดเก็บ
53,046.7 29,108.4 28,645.6 29,038.4
(เมตร)
ระยะทางในการหยิบสิ้น
ค้าที่มีการเคลื่อนไหว 2,216.2 2,103.8 1,353.0 1,705.8
(เมตร)

รูปที่ 6 การจัดเก็บไม้แปรรูปแบบสินค้าน้ำหนักมากวางไว้ใกล้ประตู จากการเปรียบเทียบประสิทธิภาพคลังสินค้าทั้ง 4 รูปแบบ


พบว่า การวางผังการจั ดเก็บสิ นค้าแบบใหม่สามารถจั ดเก็ บได้
2.6 การวิเคราะห์ประสิทธิภาพคลังสินค้า มากกว่าแบบเดิม มีจำนวนช่องจัดเก็บ 138 ช่อง เพิ่มขึ้นจากเดิม 29
คำนวณหาการใช้ประโยชน์ของพื้นที่คลังสินค้าของไม้สักแปร ช่อง และเมื่อจัดตำแหน่งไม้แปรรูปลงในผังคลังสินค้า สามารถ
รูปได้ โดยสามารถสรุปผลการใช้ประโยชน์ของพื้นที่จัดเก็บสินค้า จัดเก็บไม้สักแปรรูปที่มีทั้งหมดในปัจจุบันได้ 616.28 ลบ.ม. ทั้งสาม
เปรียบเทียบกันระหว่างแบบเดิมและแบบใหม่ดังตารางที่ 2 รูปแบบ และมีรูปแบบการจัดเก็บรูปแบบสินค้าน้ำหนักมากวางไว้
ใกล้ประตูใช้พื้นที่ในการจัดเก็บน้อยที่สุด 125 ช่อง การจัดเก็บแบบ
ตารางที่ 2 เปรียบเทียบการใช้ประโยชน์ของพื้นที่จัดเก็บสินค้า สินค้าเคลื่อนไหวเร็ววางไว้ใกล้ประตู และการจัดเก็บแบบปกติ
ระว่างแบบเดิมและแบบใหม่ จำนวน 127 ช่อง
พื้นที่การใช้
ปริมาณในการ ปริมาณ ร้อยละของการ ปริมาณการ ร้อยละของการ
ประโยชน์
จัดเก็บ (ลบ.ม) ใช้ประโยชน์ จัดเก็บ (ลบ.ม) ใช้ประโยชน์
(ลบ.ม.)
138 127 138 127 138 125
ปัจจุบัน 323.85 1,750 18.50 - - 109 109.00
่องในการจัดเก็บ ่อง)
(ช

292.43 22.71
ใหม่ 616.28 1,495 41.22 - 11.00 11.00 13.00
(เพิ่มขึ้น) (เพิ่มขึ้น)
แบบเดิม แบบจัดผังใหม
่ สิน่าเคลื
ค ่อนไหวเร็ว วางไว
่ใกล
่ประตู สิน่าน้
ค ้าหนักมาก วางไว
่ใกล
่ประตู
จ้านวนช

่องที
ช ่ในการจั
่ใช ดเก็บ (Slot) ่อง
ช (Slot) ่จั
ใช ดเก็บสิน่า
ค คงเหลือ่อง
ช (Slot) ในการจัดเก็บ
จากการปรับปรุงตำแหน่งการจัดวางสินค้าภายในคลังสินค้า
ในรู ปแบบใหม่ สามารถสรุ ปได้ ด ั ง ตารางที ่ 2 พบว่ าการใช้ รูปที่ 7 การเปรียบเทียบประสิทธิภาพคลังสินค้าทั้ง 4 รูปแบบ
ประโยชน์ของพื้นที่จัดเก็บไม้แปรรูปเพิ่มขึ้น 292.43 ลบ.ม. และ

198
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

ในด้านระยะทางในการจัดเก็บ พบว่าการจัดตำแหน่งสิ นค้ า ที่สุด สามารถจัดเก็บไม้แปรรูปได้ 616.28 ลบ.ม. มีระยะทางในการ


รูปแบบการจัดผังใหม่แบบสินค้าเคลื่อนไหวเร็ววางไว้ใกล้ประตู มี หยิบสินค้าที่มีการเคลื่อนไหวน้อยที่สุ ด 1,353.0 เมตร สามารถลด
ระยะทางในการจั ดเก็ บน้ อยที ่ ส ุ ด โดยมี ระยะทางการจั ดเก็ บ ระยะทางในการจัดเก็บไม้แปรรูปลงเมื่อเปรียบเทียบกับแบบเดิม
28,645.6 เมตร และแบบสิ นค้ าน้ ำหนั กมากวางไว้ ใกล้ ประตู 863.2 เมตร คิดเป็นร้อยละ 38.94
29,038.4 เมตร และแบบสินค้าจัดผังใหม่ 29,108.4 เมตร 4. ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
การเพิ่มประสิทธิภาพคลังสินค้าในคลังสินค้าไม้แปรรูปด้วยการ
53,046.7
29,108.4 28,645.6 29,038.4 จัดเก็บแบบตามประเภทสินค้า (Commodity System) สามารถใช้
ระยะทางในการจัดเก็บ

ประโยชน์พื้นที่ได้มากขึ้น การจัดเรียงตำแหน่งการวางสินค้า แบบ


(เมตร)

แบบเดิม แบบจัดผังใหม
่ สิน่าเคลื
ค ่อนไหวเร็ว วางไว
่ใกล
่ สิน่าน้
ค ้าหนักมาก วางไว
่ใกล
่ประตู
ประตู สินค้าที่เข้าออกบ่อย วางไว้ใกล้ โดยใช้โปรแกรม Opensolver ใน
รูปที่ 8 เมื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพคลังสินค้าทั้ง 4 รูปแบบ Microsoft Excel สามารถจัดเรียงไม้แปรรูปลงตำแหน่งผังคลังสินค้า
ในด้านระยะทางในการจัดเก็บ ได้มีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตามการเพิ่มประสิทธิภาพคลังสินค้าใน
คลังสินค้าไม้แปรรูปมีข้อในการพิจารณาหลายเงื่อนไข เช่น ขนาด
ในด้านระยะทางในหยิบไม้แปรรูปที่มีการเคลื่อไหว พบว่า การ คลังสินค้า พื้นที่การจัดเก็บ ประตูเข้าออกคลังสินค้า อุปกรณ์ที่ใช้
จัดตำแหน่งสิ นค้ าแบบสิ นค้ าเคลื่ อนไหวเร็ ววางไว้ ใกล้ ประตู มี ในการรองยกสิ นค้า เป็นต้น แต่ละองค์กรจึ งไม่สามารถใช้ แนว
ระยะทางน้อยที่สุด โดยมีระยะทางการจัดเก็บน้อยที่สุด 1,353.0 ทางการเพิ ่ มประสิ ทธิ ภ าพเดี ยวกั น ในการพั ฒนาและเพิ่ ม
เมตร และแบบสินค้าน้ำหนักมากวางไว้ใกล้ประตู 1,705.8 เมตร ประสิทธิภาพคลังสินค้าแต่ละแห่งได้
และรูปแบบการจัดผังใหม่แบบปกติ 2,103.8 เมตร 5. กิตติกรรมประกาศ
ขอขอบพระคุ ณ ส่ วนอุ ตสาหกรรมไม้ ว ั งน้ อย องค์ การ
2,216.2 2,103.8
1,353.0 1,705.8 อุตสาหกรรมป่ าไม้ ที่ให้ความอนุ เคราะห์ และสนั บสนุ นข้ อมู ล
ไม ป
ระยะทางหยิบ่แปรรู

สำหรับงานวิจ ั ย รวมถึงผู้ที ่ เกี ่ ยวข้ องกั บงานวิจ ั ยนี้ ที่ ให้ ความ
(เมตร)

แบบเดิม แบบจัดผังใหม
่ สิน่าเคลื
ค ่อนไหวเร็ว วางไว
ประตู
่ใกล
่ สิน่าน้
ค ้าหนักมาก วางไว
่ใกล
่ประตู ช่วยเหลือและเป็นกำลังใจให้ตลอดมา
รูปที่ 9 เมื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพคลังสินค้าทั้ง 4 รูปแบบ เอกสารอ้างอิง
ในด้านระยะทางในหยิบไม้แปรรูปที่มีการเคลื่อนไหว 1. คำนาย อภิปรัชญาสกุล. 2547. การจัดการคลังสินค้า (Warehouse
management). สำนักพิมพ์ โฟกัสมีเดีย แอนด์พับลิชชิ่ง
3. สรุป 2. วิญญู ปรอยกระโทก. 2563. การจัดการคลังสินค้า (Warehouse
การจัดผังคลังสินค้าเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการคลังสินค้า Management). หลักสูตรจัดการโลจิสติกส์ และซัพพลายเชน
กรณีศึกษาส่วนอุตสาหกรรมไม้วังน้อย พบว่า การจัดกลุ่มแบบ K- คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ,
means ใช้ในการจัดผังการจัดเก็บสินค้า สามารถจัดเก็บไม้แปรรูป ปทุมธานี.
เพิ่มขึ้น 292.43 ลบ.ม. และมีสัดส่วนการใช้ประโยชน์ของพื ้ นที่ 3. สุชาวดี ปลั่งศรี. 2562. การจัดกลุ่มขนาดผลิตภัณฑ์โดยการใช้
ทั้งหมด (Space Utilization) เพิ่มขึ้น 22.71 % การจัดเรียงตำแหน่ง k-means Custering เพื่อลดต้นทุนบรรจุภัณฑ์. วิทยานิพนธ์
การวางสินค้า แบบสินค้าที่เข้ าออกบ่อยวางไว้ใกล้ประตู (Fast ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยศิลปากร
Mover Closest to the Door Method) มีประสิทธิภาพที่เหมาะสม

199
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

4. Ravinder, H. V., & Misra, R. B. 2016. ABC analysis for


inventory management: Bridging the gap between
research and classroom. American Journal of Business
Education (AJBE), 9(1), 39-48.
5. วิทวัส เจียรวัชะมงคลกุล, สรวิชญ์ เยาวสุวรรณไชย. 2558. การ
วางแผนล่วงหน้าในการกำหนดตำแหน่งที่เหมาะสมให้กับสินค้า
ในคลังสิ นค้ า กรณีศ ึกษาผู้ ให้ บริ การโลจิ สติ กส์ครบวงจร.
วารสารวิศวกรรมสาร มก. 2558(94): 78-86.

200
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

การจัดกลุ่มสายการขนส่งอะไหล่รถยนต์ไปยังร้านค้าและศูนย์บริการรถยนต์
ในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล
Clustering transportation area of auto parts to shops and automotive service centers in
bangkok and metropolitan provinces

ศิวัช ศิริวัฒน์ธนารัตน์1*อภินันทนา อุดมศักดิกุล2*


1,2
ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เขตทุ่งครุ กรุงเทพฯ 10140
E-mail: Siwach.siri@mail.kmutt.ac.th1*, apinanthana.udo@kmutt.ac.th2*

บทคัดย่อ
บทความนี้นำเสนอวิธีการปัญหาสำหรับการจัดกลุ่มสายการขนส่งสินค้าเพื่อได้เส้นทางการส่งสินค้าที่มีประสิทธิภ าพและลดต้นทุน
ของการจัดส่งสินค้า เนื่องจากปัจจุบันยังจัดกลุ่มสายการขนส่งไม่เหมาะสม ตัวแปรสำหรับงานวิจัยนี้ได้แก่ จำนวนลูกค้าในแต่ละวัน
การกระจายของลูกค้าในพื้นที่ และจำนวนสินค้าในแต่สายการขนส่ง การจัดกลุ่มสายการขนส่งสินค้า ได้ประยุกต์ใช้วิธีเคมีน (K-
Mean Clustering) จากโปรแกรมเรพิด ไมเนอร์ (Rapid Miner Studio) และจัดลำดับเส้นทางที่ส ั้นที่สุดด้วยเอ็กเซลโซลเวอร์
(Excel Solver) ผลการจัดกลุ่มโดยวิธีเคมีน ทำให้ได้สายการขนส่งจำนวน 5 กลุ่ม จากการทดลองจัดลำดับ 5 เส้นทางจำนวน 246
วันพบว่า ระยะทางขนส่งสินค้าเฉลี่ยต่อเที่ยวลดลงจาก 121 กิโลเมตร เป็น 116 กิโลเมตร หรือลดลง 4.13% การจัดส่งสินค้าได้ทัน
ภายใน 1 วันเพิ่มขึ้นจาก 1,395 เที่ยว/ปี เป็น 1,423 เที่ยว/ปี หรือเพิ่ มขึ้น 1.7 % ต้นทุนสำหรับการจ้างรถสำหรับขนส่ง สินค้า
ลดลง 33,000 บาท

คำสำคัญ : จัดกลุ่มร้านค้า เส้นทางการขนส่งสินค้า ระยะทางการขนส่งสินค้า การจัดกลุ่มโดยวิธีเคมีน

Abstract
This paper aims to group the freight lines to achieve an efficient delivery route and reduce cost. The
problem in this research is an inefficient of customer clustering. The variables in the study include the number
of customers each, distribution of customers in different areas and number of truck load. The problem is solved
by applying K-Mean Clustering method to define the customer groups by using Rapid Miner Studio. The result
shows that there are 5 groups of customers. Then shortest route for 5 customer groups of 246 delivery days
are optimized by Excel Solver. The result illustrates that the average distance per one trip resulting from excel
solver reduces from 121 kilometers to 116 kilometers or 4.13%. The one day on time delivery increases from
201
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

1,395 trips/year to 1,423 trips/year or 1.7% and transportation cost reduces 33,000 baht.

Keywords : Customer grouping, Transportation routing, Freight distance, K-Mean clustering

202
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

1. บทนำ Clustering มีหลักการแบ่งกลุ่มโดยจัดให้ชุดข้อมูลที่อยู่ใกล้กับ


ปัจจุบันการขนส่งสินค้าที่ใช้กันมากในทุกภาคอุตสาหกรรม จุดกึ่ง กลางไหนมากที่สุด จะถูกจัดให้อยู่กลุ่มเดียวกันกับ จุด
คือทางรถยนต์หรือรถบรรทุกอันเนื่องมาจากความคล่องตัวใน กึ่งกลางนั้นดังแสดงในรูปที่ 1 ตัวอย่างการใช้งานเช่น การแบ่ง
การเข้าส่งสินค้าในแต่ละพื้นที่ได้ง่าย การจัดกลุ่มหรือเส้นทาง คุณลักษณะของลูกค้าในประเภทธุร กิจ ต่างๆ, การแนะนำ
การเดินรถที่เหมาะสมจะช่วยให้ต้นทุนในการขนส่งลดลงและ สินค้าที่ลูกค้ามีโอกาสจะซื้อ เป็นต้น
ส่งสินค้าตรงตามเวลาที่ลูกค้าต้องการโดย บริษัทกรณีศึกษา
เป็นตัวแทนจำหน่ ายชิ้ นส่ว นอะไหล่ ของรถยนต์ ค ือโช้ ค อั พ
สำหรับรถยนต์ ในแต่ละวันจะมีการขนส่งสินค้าไปให้ลูกค้าใน
เขตกรุง เทพฯ และปริมณฑลโดยรถยนต์ จำนวนทั้ง สิ้น 70
ร้านค้า โดยในแต่ละวันร้านที่ไปขนส่งที่ไม่เหมือนกัน กระจาย
ไปตามสายการขนส่งและส่วนมากสินค้า จัดส่งไม่เต็มความจุ
ของรถ
ดั ง นั ้ น เพื ่ อ เป็ น การวางแผนการขนส่ ง สิ น ค้ า ให้ มี รูปที่ 1 การจัดกลุ่ม cluster แบบ centroid-based
ประสิทธิภาพมากขึ้น งานวิจัยนี้จึงได้หาวิธีการจัดกลุ่ม พื้น ที่
ของร้านค้าใหม่เพื่อหากลุ่มร้านค้าที่อยู่ในพื้นที่ใกล้เคียงกันหรือ 2.2.2 Density-based Clustering เป็นการจัดกลุ่มของข้อมูล
มีจ ำนวนรอบการขนส่ง ที่มี ประสิทธิภ าพและลดต้นทุนการ ที่เกิดจากการกระจุกตัวของข้อมูลเกาะกันอย่างหนาแน่นและ
ขนส่งสินค้าให้ลดลง ไม่เป็นรูปลักษณ์ที่ตายตัว วิธีที่นิยมคือ DBSCAN (Density-
Based Spatial Clustering of Applications with Noise) ใช้
2. ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การกำหนดรัศมีจากจุดศูนย์กลางและจับกลุ่มกับชุดข้อมูลที่อยู่
2.1 การขนส่งโดยศูนย์กระจายสินค้ากลาง โดยรอบภายในวงรัศมี และรวมจุดที่เป็นเพื่อนของเพื่อนของ
ศูนย์กระจายสินค้ากลางถูกนำมาใช้เป็นกลยุทธ์ในการ เพือ่ นไปเรื่อยๆ จนไม่มีเพื่อนให้จับกลุ่มก็จะถือว่าสิ้นสุดการจับ
ตอบสนองความต้ อ งการลู ก ค้ า อย่ า งรวดเร็ ว ทั น ต่ อ ความ กลุ่ม ดังรูปที่ 2 ตัวอย่างเช่น การตรวจจับจุดที่เกิดอุบัติเหตุบน
ต้องการโดยศูนย์กระจายสินค้าจะมีการจัดเก็บ สต็อคสินค้าใน ท้องถนน
ปริมาณมากพอที่พร้อมจัดส่งให้ลูกค้า อย่างไรก็ตามการบริหาร
จัดการขนส่ง ในศูนย์กระจายสินค้าที่ดีจะช่วยให้ต้นทุนการ
ขนส่งลดลงได้
2.2 การจัดกลุ่มลูกค้า
การจัดกลุ่มลูกค้าหรือการจัดสายการขนส่ง สินค้า ที่นิยมใช้
มีดังต่อไปนี้
2.2.1 Centroid-based Clustering คื อ การแบ่ ง กลุ ่ ม ของ
ข้ อ มู ล จากจุ ด ข้ อ มู ล (Data Point) ที ่ ก ระจุ ก ตั ว ใกล้ กั บจุด รูปที่ 2 การจัดกลุ่ม cluster แบบ density-based
กึ่ง กลางกลุ่ม (Centroid) มากที่ส ุดวิ ธีที่นิยมใช้คือ K-Mean

203
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

2.2.3 Distribution-based Clustering เป็นการจัดกลุ่ม ที่มี 2.3.2 ปั ญ หาการจัด เส้น ทางสํา หรับ ยานพาหนะ (Vehicle
ข้อมูลรูปแบบการแจกแจงแบบใดแบบหนึ่งเช่น การแจกแจง Routing Problem: VRP) เป็นปัญหาด้ า นโลจิส ติ กส์ ใ นการ
ปกติ (Normal Distributions) โดยระยะห่ า งระหว่ า งจุ ด ตัดสินใจเลือกเส้นทางที่ดีที่สุดสําหรับการเคลื่อนย้ายวัตถุ คน
ศูนย์กลางของการแจกแจงกับชุดข้อมูลเพิ่มมากขึ้นความน่าจะ สัตว์ หรือสินค้า โดยวางแผนเพื่อหาวิธีในการจัดเส้นทางจาก
เป็นที่ชุดข้อมูลเป็นส่วนหนึ่งของการแจกแจงนั้นจะลดลง ดัง การพิจารณาเงื่อนไขและข้อจํากัดต่างๆเช่น เวลา ระยะทาง
รูป ที่ 3 ตัวอย่างการใช้งานเช่น การตรวจสอบหาการทุจริ ต จํานวนของยานพาหนะ และความจุของยานพาหนะโดยแสดง
(Fraud Detection) ตัวอย่างส้นทางดังรูปที่ 5

รูปที่ 3 การจัดกลุ่ม cluster แบบ distribution-based

2.3 การจัดการเส้นทางการขนส่งสินค้า รูปที่ 5 รูปแบบการเดินเส้นทางการขนส่งสินค้า


การจัดการเส้นทางการขนส่งสินค้านั้นมีด้วยกัน หลายวิธี
ดังต่อไปนี้ 2.3 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
2.3.1 ปั ญ หาการเดิ น ทางของพนั ก งานขาย (Traveling Diah Puspitasari แ ล ะ ค ณ ะ (2563) ใ ช้ K-means
Salesman Problem: TSP) เป็นปัญหาของในรูปแบบเดินทาง Clustering หาตำแหน่งที่จะเกิดอุบัติบนทางด่วนโดยคำนวณ
ของพนักงานขาย 1 คน มีเงื่อนไขคือพนักงานขายเดินทางผ่าน จากปัจ จัยที่มี ค ือ วันที่เกิดเหตุ เหตุผ ล สถานที่ตั้ง อาการ
ให้ครบทุกเมืองซึ่งในแต่ละเมืองได้เพียงครั้งเดียวและกลับมา บาดเจ็บ ถึงแก่ชีวิตหรือไม่ และมีชุดข้อมูลทั้งหมด 198 ข้อมูล
ยังจุดเริ่มต้นโดยให้มีระยะทางรวมสั้นที่สุดดังรูปที่ 4 แบ่งออก ผลที่ได้คือได้จุดที่จะเกิดอุบัติเหตุทั้งหมด 3 จุดบนทางด่วน ทำ
ได้ เ ป็ น 2 ประเภทคื อ 1 ระยะทางไปกลั บเท่ า กั น และ 2 ให้ทราบถึงพื้นที่เฝ้าระวังการเกิดอุบัติเหตุได้ โดยวิจัยดังกล่าว
เส้นทางไปกลับไม่เท่ากัน ยังขาดการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของการเกิดอุบัติเหตุเช่น สะ
ภาพภูมิศาสตร์ส่งผลต่อการเกิดอุบัติเหตุหรือไม่ เป็นต้น
ส ุ ช าวดี ปล ั ่ ง ศ รี แล ะ ตณะ (2563) ใช ้ K-means
Clustering จัดกลุ่มขนาดกล่องบรรจุ ผ ้าเบรกเพื่อลดการใช้
กล่องหลายขนาด และประหยัดเนื้อที่การจัดเก็บในคลังสินค้า
โดยการทำการวิจัยมีแบบกล่องทั้งสินค้า 77 แบบและขนาด
ของสินค้า (กว้าง, ยาว, สูง) จำนวน 1,311 เบอร์สินค้า ผลที่ได้
รูปที่ 4 รูปแบบการเดินทางของพนักงานขาย คือสามารถจัดกลุ่มขนาดกล่องที่ใช้ในการบรรจุสินค้าได้ 15
204
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

แบบ ทำให้สามารถลดต้นทุนกล่องสินค้าได้ 13.43% (2.9 ล้าน


บาท) พื้นที่การจัดเก็บสินค้าเพิ่มขึ้น 48.65%
นวรรณ สืบสายลา และคณะ (2560) ทำการจัดเส้นทาง
การขนส่ง ปุ๋ยเคมีช ีวภาพ โดยใช้ วิธีปัญหาการเดินทางของ
พนักงานขาย ทำให้ได้ร ะยะทางขนส่ง สินค้า ลดลง 17,589
กิโลเมตรต่อปี และลดต้นทุนมาอยู่ในเกณฑ์ที่บริษัทฯตั้งเป้าไว้
ที ่ 12,000 บาทต่ อ เดื อ น ค่ า ขนส่ ง ได้ แ ต่ ย ั ง ขาดการหา
ระยะเวลาในการขนส่งสินค้าและความเร็วที่รถขนส่งสินค้ามา
ใช้ในการคำนวน
ธเรศ ศุภ ดล และคณะ (2560) ได้หาความสัมพันธ์ จ าก รูปที่ 6 สายการขนส่งในปัจจุบัน
คุณลักษณะของครูผู้ส อนและทำนายระดับคะแนน O-NET โดยเมื่อเปรียบเทียบจำนวนสินค้าที่ ต้องทำการส่งรวมทั้ง ปี
ของนักเรียนชั้นป.6 โดยใช้ข้อมูลความถนัด, เรียนจบตรงสาย, 2565 ในแต่ละเขตจะพบว่าเขตชั้นใน (วรจักร) จะมียอดการส่ง
ประสบการณ์ ก ารสอน, ขนาดของโรงเรี ย น, คะแนนของ สินค้ามากที่สุดคือ จำนวน 725 รอบ และเขตที่มีการส่งสินค้า
นักเรียน ผลที่ได้ค ือครูที่จ บตรงสายวิช าที่ส อน และขนาด น้อยที่สุดคือ ตอนบน และปทุมธานี จำนวน 209 รอบ ตาม
โรงเรียน ส่งผลต่อคะแนน O-NET มากถึง 80% ทุกวิชาที่สอบ ตารางที่ 1

3. ขั้นตอนการดำเนินงานวิจัย ตารางที่ 1 จำนวนสินค้าทั้งหมดและจำนวนรอบการขนส่ง


จำนวนรวม
3.1 การศึกษาปัญหา จำนวนรถ จำนวนร้านค้า จำนวนรอบการ
เขตการขนส่ง สินค้า
ข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์เป็นข้อมูลการขนส่งสินค้าของปี ขนส่ง (คัน) (ร้าน) ส่ง (รอบ/ปี)
(ชิ้น/ปี)
พ.ศ.2564 ระหว่าง 1 มกราคม – 31 ธันวาคม พ.ศ. 2564 โดย ชั้นใน และนนทบุรี 1 19 13,500 233
ข้อมูลนั้นประกอบไปด้วย ตอนบน และ
1 10 7,979 209
ปทุมธานี
- รายชื่อร้านค้าแบ่งตามเขตการขนส่งในปัจจุบันจำนวน 5 เขต ตะวันออก และ
- สถานที่ตั้งตามละติจูดและลองจิจูดของแต่ละร้านค้า 1 17 37,632 263
สมุทรปราการ
- จำนวนสินค้าที่ต้องขนส่งในแต่วันของแต่ละร้านค้า ฝั่งธน และ
1 10 40,131 255
- จำนวนรถที่ต้องใช้ในการขนส่งในแต่ละวันรายร้านค้า สมุทรสาคร
ชั้นใน (วรจักร) 3 14 273,774 725
- จำนวนชุดข้อมูล 4,981 ข้อมูล รวมทั้งปี 2564 7 70 373,016 1,685
สายการขนส่งทั้ง 5 เขตมีรายละเอียดดัง รูปที่ 6
3.2 การวิเคราะห์ปัญหา
จากการเก็บข้อมูลการขนส่งสินค้ารายวันในปี 2564 พบ
สาเหตุของการจัดสายการขนส่งที่ไม่มีประสิทธิภาพดังนี้
3.2.1 พื้นที่ตั้งของร้านค้าในแต่ละเขตการขนส่ง พบว่าร้านค้า
ส่วนใหญ่จะอยู่ในเขตบริเวณใกล้เคียงกันตามรูปที่ 7 แต่จะพบ

205
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

บางร้านค้าที่ข้ามเขตไปอยู่ต่างพื้นที่เช่นเขตชั้นใน (วรจักร) 3.2.3 ในแต่ล ะวันมีจ ำนวนร้านค้าที่ ต้องส่ง สินค้ารายวัน ไม่


ปะปนอยู่ในเขตฝั่งธน และสมุทรสาคร เท่ากันโดยเฉลี่ยอยู่ทวี่ ันละ 21 ร้านค้าดังรูปที่ 9

จานวนร้านค้าเฉลี่ยที่ตอ้ งส่งสินค้าทุกเขตใน 1 เดือน


ร้าน 36 32 35 32
40
30 21 23 25 23 23 21 18 19 17
23 22
20
15 16 15 18 13
10 1
0
Day Day Day Day Day Day Day Day Day Day Day Day Day Day Day Day Day Day Day Day Day
ตัวอย่างจุดที่อยู่ 1 2 4 7 8 9 10 11 14 15 16 17 18 21 22 23 24 25 28 29 30
นอกพื้นที่กัน

รูปที่ 9 จำนวนร้านค้าเฉลี่ยที่ต้องเข้าไปส่งสินค้าใน 1 เดือน


รูปที่ 7 สถานที่ตั้งของร้านค้าแบ่งตามเขตขนส่งในปัจจุบัน
3.2.2 มีจำนวน 4 เขตที่มียอดการใช้รถขนส่งส่งสินค้าไม่เต็ม
และยัง พบว่าส่วนใหญ่ในแต่ล ะวัน มีจำนวนร้านค้า ที่ต้องส่ง
คันคือปริมาณสินค้าในรถต่ำว่า 100% ของความจุของรถยนต์
สินค้าเฉลี่ยอยู่ที่ 15 – 25 ร้านต่อวันรวมทุกเขต และพบบ่อย
ได้แก่ เขตชั้นใน และนนทบุรี และตอนบน และปทุมธานี ใช้รถ
สุดคือจำนวน 21 และ 18 ร้านค้าดังรูปที่ 10
ขนส่ ง สิ น ค้ า แค่ 13.6% และ 8.0% ต่ อ คั น /วั น ส่ ว นเขต
ตะวันออก และสมุทรปราการ และฝั่งธน และสมุทรสาคร ใช้ ความถี่ใน 1 ปี
จานวนร้านค้าทีต่ อ้ งส่งสินค้ารายวัน / เฉลีย่
รถขนส่งสินค้าด้วยความจุ 37.3% และ 37.4% ต่อคัน/วัน แต่ 20
(ครั้ง)

ต้องใช้รถขนส่งส่งสินค้าเขตละ 1 คัน สำหรับเขตชั้นใน (วร 15


จำนวนร้านค้าที่พบได้มาก
จักร) และพบว่าต้องใช้รถเพื่อส่งสินค้าสูงถึง 2.5 คัน/วัน ตาม 10

รูปที่ 8 5
จำนวน
ร้านค้า
0
0 3 6 9 12 15 18 21 24 27 30 33 36 39
ปริมาณสินค้าบนรถขนส่งขนส่ง
เปอร์เซ็นต์
เฉลีย่ ในแต่ละวัน
ความจุ
250.7%
รูปที่ 10 จำนวนร้านค้าเฉลี่ยที่ต้องเข้าไปส่งสินค้าใน 1 เดือน
300.0% ความจุ 100% = รถ 1 คัน
ความจุ 200% = รถ 2 คัน
200.0% ความจุ 300% = รถ 3 คัน
100.0% 37.3% 37.4% 3.2.4 ค่าขนส่งรวมในแต่รอบการขนส่งสินค้า 1 ครั้งมีค่าใช้จ่าย
13.6% 8.0%
0.0% ในการขนส่ง ที่ 1,500 บาท/ครั้ง โดยจำนวนรอบส่ง สิ น ค้ า
ทั้งหมดคือ 1,685 สามารถจัดส่งทันภายใน 1 วัน (1 Day On
Time Delivery) 1,395 รอบ ความสามารถในการจัดส่ง เป็น
82.8% ของรอบส่ ง สิ น ค้ า ทั ้ ง หมด รวมทั ้ ง ปี พ บค่ า ขนส่ ง
2,527,500 บาท ซึ่งเขตชั้นใน (วรจักร) มีจำนวนยอดรวมค่า
รูปที่ 8 ปริมาณสินค้ารถเฉลี่ยรายวันของแต่ละเขต
ขนส่งที่มากที่สุดถึง 1,087,500 บาท แต่ในเขตอื่นๆ มีค่ายอด

206
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

รวมการขนส่งสินค้าเฉลี่ยที่ 300,000 – 400,000 บาท แสดง - จำนวนสินค้าหน่วยคือ ชิ้น


ดังตารางที่ 2 - ความจุของรถขนส่งหน่วยคือ เปอร์เซ็นต์
- สถานที่ตั้งร้านค้าหน่วยคือ ตำแหน่งละติจูด ลองติจูด
ตารางที่ 2 ประสิทธิภาพการจัดส่งและค่าขนส่งสินค้า - วัน เดือนหน่วยคือ วันที่
รอบส่ง ส่งได้ จึงใช้วิธีการปรับปรับปรุงฐานข้อมูล (Normalization) ให้อยู่
ที่ต้อง ภายใน % ค่าขนส่ง
เป็นบรรทัดฐานเดียวกันโดยใช้ Z Score หาความเบี่ยงเบน
เขตการขนส่ง ส่งรวม วัน ส่งภายในวัน ตามจริง
(รอบ/ (รอบ/ (เปอร์เซ็นต์) (บาท/ปี) ของคะแนนจากค่าเฉลี่ยโดยใส่พารามิเตอร์ ตามรูปที่ 12
ปี) ปี)
ชั้นใน (วรจักร) 725 487 67.2% 1,087,500
ชั้นใน และนนทบุรี 233 232 99.6% 349,500
ตอนบน และปทุมธานี 209 209 100.0% 313,500
ตะวันออก และสมุทรปราการ 263 236 89.7% 394,500
ฝั่งธน และสมุทรสาคร 255 231 90.6% 382,500
รวม 1,685 1,395 82.8% 2,527,500
3.3 วิธีการปรับปรุงสายการขนส่งสินค้า รูปที่ 12 การใส่พารามิเตอร์เพื่อปรับปรุงฐานข้อมูล
วิธีการปรับปรุงสายการขนส่งสินค้าจะใช้โปรแกรม Rapid 3.3.3 จัดกลุ่มสายการขนส่งสินค้าจากข้อมูลรายวัน จำนวน
Miner Studio สำหรับ 1.จัดกลุ่มเขตการขนส่งของร้านค้า 2. ทั้งหมด 4,981 ข้อมูล โดยใช้วิธี K-Mean Clustering ซึ่งปัจจัย
หาความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล 3.ปรับปรุง โครงสร้างข้อมูล ในการจัดกลุ่มคือ
และ ใช้ Excel Solver สำหรับหาเส้นที่สั้นที่สุดในการส่งสินค้า - จำนวนสินค้าที่ต้องส่งรายวันของแต่ละร้านค้า
โดยมีขั้นตอนการดำเนินงานดังต่อไปนี้ - จำนวนรถขนส่งที่ต้องใช้แต่ละร้าน
3.3.1 ความสัมพันธ์กันระหว่างข้อมูล (Correlation Matrix) - พื้นที่ตั้งของร้านค้าแต่ละร้าน กำหนดให้เป็นปัจจัยในการหา
เพื่อให้ทราบตัวแปรที่จะส่งผลต่อกัน โดยใช้วิธีการถ่วงน้ำหนัก ระยะทางระหว่างร้านค้ากับร้านค้า
บรรทัดฐาน (Normalize Weights) ดังรูปที่ 11 - ความถี่ในการส่งสินค้าร้านวัน และเดือน
- เขตการขนส่งเดิม 5 เขต
จากนั ้ น ทำการกำหนด K=5 (ใช้ ต ามกลุ ่ ม รถขนส่ ง เดิ ม ),
คำนวณหาจุด Centroid = 5,000 รอบ (จากจำนวนของข้อมูล
ที่มีถึง 4,981 ข้อมูล) และเลือกหน่วยเมตริกในการคำนวนแบบ
ผสม (Mix Measure) ตามรูปที่ 13

รูปที่ 11 วิธีการหาความสัมพันธ์กันระหว่างข้อมูล

3.3.2 ปรับปรุงโครงสร้างข้อมูล เพื่อลดความซ้ำซ้อนและหน่วย


ของข้อมูลที่แต่กต่างกันคือ
207
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

รูปที่ 13 ขั้นตอนการดำเนินการหา K-Mean Cluster

3.3.4 ทำการปรับปรุงหาเส้นทางที่สั้นที่สุดที่ไปยังร้านค้าและ
กลั บ มายัง ศูน ย์ก ระจายสิน ค้ า (ไป-กลั บ ) โดยใช้ โ ปรแกรม
Microsoft Excel Solve ช่วยในการหาเส้นทางที่สั้นที่สุดดังนี้
1. หาระยะทางระหว่างกัน จาก Google Map ศูนย์กระจาย
รูปที่ 15 ค่าพารามิเตอร์ใน Excel Solve
สินค้าไปยังร้านค้า , ร้านค้าไปยังร้านค้า และร้านค้ากลับ มา
ศูนย์กระจายสินค้า
4. ผลการดำเนินงาน
2. กำหนดเงื ่ อ นไขเส้ น ทาง (Routing) จุ ด เริ ่ ม ต้ น เป็ น 1
4.1 การจัดกลุ่มโดยวิธี K-Mean Clustering พบว่าจำนวน
จุดสิ้นสุดการขนส่งเป็น -1 และร้านที่ต้องส่งสินค้า (Delivery
ขนาดของสินค้า และความจุของรถขนส่ง ส่งผลต่อจำนวนรถ
Y/N) กำหนดเป็น 1 เฉพาะร้านค้าที่ต้องไปส่งสินค้าดังรูปที่ 14
ขนส่งในเชิงบวก 0.984 ถึง 0.999 สำหรับพื้นตั้งของร้านค้า
ส่ ง ผลผกผั น กั บ เขตการขนส่ ง สิ น ค้ า ในปั จ จุ บ ั น โดยได้ ค่ า
ความสัมพันธ์คือ -0.442 และ 0.512 ดังรูปที่ 16

รูปที่ 14 เงื่อนของเส้นทางส่งสินค้าบน Excel Solve


รูปที่ 16 ตารางค่าความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร
3. ทำการ Solver โดยกำหนดค่าพารามิเตอร์โดยกำหนด
เงื่อนไข Flow In – Flow Out มีค่าเท่ากับ Supply ที่ได้
จากการจั ด กลุ่ มด้ ว ย K-Mean Clustering ทำให้ ม ี ก าร
กำหนดไว้ข้างต้นและเลือกค่าน้อยที่สุด (Min) ดังรูปที่ 15 เพื่อ
เปลี่ยนแปลงให้ร ้านค้าที่อยู่บริเวณใกล้กันและมีคล้ายคลึง
หาเส้นทางที่ใช้ในการขนส่งสินค้าที่สั้นที่สุด
เดียวกันจะเข้ามาอยู่ในกลุ่มเดียวกัน คือ ชั้นใน และนนทบุรี
(cluster_1), ตอนบนและปทุมธานี (cluster_2), ตะวันออก
208
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

และสมุทรปราการ (cluster_3) จำนวนร้านค้าลดลง ส่วนฝั่ง 400.0% ปริมาณสินค้าบนรถขนส่งขนส่ง


ธน และสมุ ท รสาคร (cluster_4) และชั้ น ใน (วรจั ก ร) 350.0% เฉลีย่ ในแต่ละวัน 333.4%

(cluster_5) มีจำนวนร้านค้าที่เพิ่มขึ้น ตารางที่ 3 300.0% 250.7%


250.0%
200.0%
ตารางที่ 3 จำนวนร้านค้าหลังจากทำการจัดกลุ่มร้านค้าใหม่ 150.0%
38.9% 37.7%
จำนวนร้านค้า เปลี่ยนแปลง จำนวนร้านค้าใหม่ 100.0% 16.3% 8.3%
เขตการขนส่งสินค้า 37.3% 37.4%
(ร้าน) (ร้าน) (ร้าน) 50.0% 13.6% 8.0%
ชั้นใน และนนทบุรี 0.0%
19 -7 12
(cluster_1)
ตอนบน และปทุมธานี
10 -1 9
(cluster_2)
ตะวันออก และ
กลุม่ ร้านค้าเดิม กลุม่ ร้านค้าใหม่
สมุทรปราการ 17 -2 15
(cluster_3)
ฝั่งธน และสมุทรสาคร
10 +2 12 รูปที่ 17 ปริมาณสินค้ารถเฉลี่ยรายวันของแต่ละเขตขนส่ง
(cluster_4)
ชั้นใน (วรจักร)
14 +8 22 เปรี ย บเที ย บเส้ น ทางการขนส่ง สิน ค้า โดยการปรั บ ปรุง หา
(cluster_5)
รวม 70 0 70 เส้ น ทางที ่ ท ี ่ ส ั ้ น ที ่ ส ุ ด ในการขนส่ ง สิ น ค้ า (ไป-กลั บ ) ทำให้
ระยะทางของแต่ละสายการขนส่งสินค้ามีระยะทางที่สั้นลงโดย
ปริมาณสินค้าในรถขนส่งหลังจากจัดกลุ่มใหม่เพิ่มขึ้นทุกสาย ทดสอบร้านค้าที่ต้องส่งสินค้า บ่อยที่สุดและได้เส้นทางที่ลดลง
การขนส่งต่ำสุด +0.3% จำนวน 2 สาย คือสายตอนบน และ เฉลี่ยรวม 5 กิโลเมตร หรือลดลง 4.13% ตามตารางที่ 4
ปทุมธานี(cluster_2) และฝั่งธน และสมุทรสาคร (cluster_4)
สูงสุด +82.7% สายชั้นใน (วรจักร) (cluster_5) ดังรูปที่ 17 ตารางที่ 4 ระยะทางรวมแต่ละสายการขนส่ง (ไป-กลับ)
ระยะทางขนส่งเดิม ระยะทางขนส่งใหม่ ลดลง/เพิ่ม
สายการขนส่งเดิม
(กิโลเมตร) (กิโลเมตร) (กิโลเมตร)
109 99 -10
ชั้นใน และนนทบุรี
112 105 -7
(cluster_1)
165 125 -39
ตอนบน และ 68 68 0
ปทุมธานี 115 115 0
(cluster_2) 93 93 0
ตะวันออก และ 110 105 -5
สมุทรปราการ 96 96 0
(cluster_3) 123 123 0
99 99 0
165 178 13

209
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

ระยะทางขนส่งเดิม ระยะทางขนส่งใหม่ ลดลง/เพิ่ม

1,087,500
1,069,500
สายการขนส่งเดิม ต้ น ทุ น ก า ร ข น ส่ ง สิ น ค้ า ( บ า ท )
(กิโลเมตร) (กิโลเมตร) (กิโลเมตร)
ฝั่งธน และ
สมุทรสาคร 117 130 13

399,000
394,500
387,000

382,500
(cluster_4)

349,500
330,000

313,500
309,000
138 125 -13
ชั้นใน (วรจักร)
155 138 -17
(cluster_5)
154 137 -17
รวมเฉลี่ย 121 116 -5

ขนส่งสินค้าได้ทันเวลาใน 1 วัน เพิ่มดีขึ้นเป็น 84.5% รอบที่ส่ง


ได้เพิ่มขึ้น 28 รอบ/ปี หรือ 1,423 รอบ/ปี จากเดิม 1,395
รอบ/ปี ดังตารางที่ 5 และต้นทุนรวมการขนส่งสินค้า นั้นพบว่า ต้นทุนปั จจุบนั ต้นทุนหลังจากจัดกลุ่ม
สามารถลดลง 33,000 บาท หลังจากใช้สายการขนส่งสิ นค้า
ใหม่โดยดังรูปที่ 18
รูปที่ 18 เทียบต้นทุนการขนส่งก่อนและหลังจัดกลุ่ม
ตารางที่ 5 ประสิทธิภาพการขนส่งทันเวลาภายใน 1 วัน
5. สรุป
ก่อนจัดกลุ่ม หลังจัดกลุ่ม
% จากการจัดกลุ่มสายการขนส่งอะไหล่รถยนต์ไปยังร้านค้า
เขตการขนส่ง ส่ ง ภาย % ส่ ง ภาย ส่ ง ภาย % ส่ ง ภาย เปลี่ยนแปลง และศู น ย์ บ ริ ก ารรถยนต์ ใ นกรุ ง เทพฯและปริ ม ณฑล
ในวัน ในวัน ในวัน ในวัน (เปอร์เซ็นต์)
(รอบ/ปี) (เปอร์เซ็นต์) (รอบ/ปี) (เปอร์เซ็นต์) วัตถุประสงค์คือการจัดกลุ่มร้านค้าที่อยู่ตำแหน่งใกล้เคียงกัน
ระยะทางการส่งสินค้าที่สั้นลง ความจุของรถขนส่งดีขึ้น และ
ชั้นใน และ
232 99.6% 232 99.6% 0.0% ต้นทุนการขนส่งสินค้าที่ต่ำลง โดยนำปัจจัยต่างๆ เช่นจำนวน
นนทบุรี
สินค้าที่จัดส่งไปยังร้านค้า สถานที่ตั้งของร้านค้า เส้นทางการ
ตอนบน และ
ปทุมธานี
209 100.0% 209 100.0% 0.0% ขนส่งสินค้า เป็นต้น มาใช้ในการปรับปรุงโดยใช้ทฤษฎีการหา
ความสัมพันธ์กันระหว่างตัวแปร ปรับโครงสร้างข้อมูล จัดกลุ่ม
ตะวันออก
และ 236 89.7% 236 89.7% 0.0% แบบเคมีน และหาเส้นทางที่สั้นที่สุด ซึ่งผลที่ได้สามารถตอบ
สมุทรปราการ วัตถุประสงค์ในการทำวิจัยในครั้งนี้ได้เป็นอย่างดีโดย
ฝั่งธน และ - สามารถจัดกลุ่มร้านค้าให้อยู่ ในสายการขนส่งที่เหมาะสมมาก
231 90.6% 221 86.7% -3.9% ขึ้น
สมุทรสาคร
- ระยะทางขนส่งสินค้าเฉลี่ยต่อเที่ยวลดลงจาก 121 กิโลเมตร
ชั้นใน (วรจักร) 487 67.2% 525 72.4% 5.2% เป็น 116 กิโลเมตร หรือลดลง 4.13%
รวม 1,395 82.8% 1,423 84.5% 1.7% - การจัดส่งสินค้าทันภายใน 1 วันเพิ่มขึ้นจาก 1,395 เที่ยว/ปี
เป็น 1,423 เที่ยว/ปี หรือเพิ่มขึ้น 1.7 %
- ต้นทุนการขนส่งสินค้าลดลง 33,000 บาท
210
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

4. Diah Puspitasari and Mochamad Wahyudi, 2020, “K-


6. ข้อเสนอแนะ Means Algorithm for Clustering The Location Of
สำหรับการจัดกลุ่มของร้านค้านั้นควรมีการปรับปรุงอย่าง Accident-Prone On The Highway”, International
ต่อเนื่อง เนื่องจากพฤติกรรมการสั่งซื้อสินค้าของแต่ล ะร้านค้า journal of Physics: Conference Series 2020
อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ในแต่ล ะปีที่ ไม่ เหมื อนกั น หากมี 5. นวรรณ สื บ สายลา, 2561, “การจั ด เส้ น ทางการขนส่ ง
ร้านค้าใหม่ เพิ่มเข้ามาหรือร้านค้าที่ปิดกิจการจะทำให้การ ปุ ๋ ย เคมี ช ี ว ภาพ โดยใช้ ต ั ว แบบปั ญ หาการเดิ น ทางของ
ขนส่งสินค้าลดประสิทธิภาพลงได้ บางกรณีสามารถใช้การพ่วง พนั ก งานขายและปั ญ หาการจั ด เส้ น ทางการ ขนส่ ง
รถขนส่งสินค้าข้ามสายขนส่งในกรณีที่จำนวนสินค้าที่ต้องจัดส่ง กรณี ศ ึ ก ษาบริ ษ ั ท ABC”, การบู ร ณาการภู ม ิ ป ั ญ ญาสู่
มีจำนวนน้อยหรือใช้การกำหนดวันจัดส่งสินค้ากับร้านค้า แทน นวัตกรรมและการพัฒนาอย่างยั่งยืนราชภัฏเลยวิชาการ
และกำหนด KPI เรื่องการจัดส่งสินค้าเพื่อเพิ่มประสิท ธิภ าพ ประจำปี 2561
การขนส่งสินค้าให้ทันเวลาใน 1 วัน 6. ชวันลักษณ์ สุวรรณรั ศมี, 2560, “การจัดเส้นทางสำหรับ
การให้ บ ริ ก ารลู ก ค้ า ของตั ว แทนจำหน่ า ยอุ ป กรณ์ ท าง
7. กิตติกรรมประกาศ วิ ศ วกรรมในภาคใต้ ข องประเทศไทย”, สารนิ พ นธมหา
งานวิจัยนี้ได้รับการสนับสนุนจากบริษัทฯกรณีศึกษาและ วิทยาลัยสงขลานครินทร์
ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ 7. Big Data Thailand. 2563. ประเภทของการแบ่ ง กลุ่ ม
มหาวิทยาลัยเทคโนโลนีพระจอมเกล้าธนบุรี ข้อมูล (Clustering). : https://bigdata.go.th/big-data-
101/4-types-of-clustering/
เอกสารอ้างอิง 8. กรมส่งเสริมอุตสาหกรรรม กองโลจิสติกส์. 2564. S-DIFOT
1. ธ เ ร ศ ศ ุ ภ ด ล แ ล ะ โ ษ ฑ ศ์ ร ั ต ต ธ ร ร ม บุ ษ ด , 2560, (Supplier - Delivery In Full On Time). :
“แบบจำลองในการหาค่าสหสั ม พั น ธ์ แ ละทำนายระดั บ https://dol.dip.go.th/th/category/2019-02-08-08-
คะแนน O-NET สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษา ปีที่ 6 57-30/2021-03-03-14-37-24
บนพื้นฐานจากคุณลักษณะของครูผู้ส อนและโรงเรี ย น”, 9. MrBholmstrom, 2563, “Shortest route Solver in
วารสารอิเล็กทรอนิกส์โดยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี Excel.”:https://www.youtube.com/watch?v=JkZkGxV
มหาวิทยาลัยศิลปากร. Z8ao
2. ปิยวรรณ นิลถนอม, ธนพร มาลัย และสายชล สินสมบูรณ์
ทอง, 2564 ,“การเปรียบเทียบประสิทธิภาพการทำนายผล
การแปลงข้อมูล ในการจำแนกด้วยเทคนิคการทำเหมือง
ข้อมูล”, วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประเทศไทย
3. สุช าวดี ปลั่ง ศรี และคเณศ พันธ์ส วาสดิ์ , 2563, “การจัด
กลุ ่ ม ขนาดผลิ ต ภั ณ ฑ์ โ ดยการประยุ ก ต์ ใ ช้ K-means
Clustering เพื่อลดต้นทุนบรรจุภั ณฑ์ ”, วารสารวิช าการ
เทคโนโลยีอุตสาหกรรม เล่มที่ 16 ฉบับที่ 2

211
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

การกำหนดนโยบายเติมเต็มวัสดุคงคลังอะไหล่ทดแทนร่วมกันตามรอบเวลา
กรณีศึกษา: ผู้ผลิตรถยนต์
Determination of Spare Part Inventory Replenishment Policy
Case Study: Automotive Manufacturer
กิตติพงษ์ เม้ยชม1* และ วิสุทธิ์ สุพิทักษ์2
1
สาขาวิชาการจัดการวิศวกรรม ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เขตบางเขน กรุงเทพฯ 10900
2
ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เขตบางเขน กรุงเทพฯ 10900
E-mail : kittiphong.mo@ku.th1*, fengwsst@ku.ac.th2

บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ทำการศึกษาการกำหนดนโยบายเติมเต็มวัสดุคงคลังชิ้นส่วนรถยนต์ประเภทอะไหล่ทดแทนซึ่งมีรูปการเติมเต็ม
ร่วมกันของวัสดุคงคลังหลายประเภท ต้นทุนในการสั่งเติมเต็มมีค่าขึ้นอยู่กับประเภทของยานพาหนะที่ใช้ในการขนส่งซึ่งมีกำลังการ
ขนส่งแตกต่างกัน นโยบายเติมเต็มวัสดุคงคลังร่วมกัน ตามรอบเวลาโดยมีการพิจารณากำลังการขนส่งของยานพาหนะได้ถูกนำมา
ประยุกต์ใช้ ตัวแบบจำลองสถานการณ์มอนติคาร์โลซึ่งถูกพัฒนาขึ้นเพื่อทำการวิเคราะห์ระดับวัสดุคงคลังเผื่อ และกำหนดค่ารอบ
เวลาเติมเต็มร่วมกันที่เหมาะสม และสอดคล้องกับกำลังขนส่งของยานพาหนะที่ใช้ขนส่ง จากการวิเคราะห์ข้อมูลบริษัทกรณีศึกษา
ซึ่งมีการเติมเต็มวัสดุคงคลังสิบห้าประเภทร่วมกันพบว่า ที่ระดับบริการลูกค้าต่อรอบ 85 เปอร์เซ็นต์ นโยบายเติมเต็มวัส ดุคงคลัง ที่
นำเสนอ สามารถให้ต้นทุนแปรผันรวมต่ำกว่านโยบายเติมเต็มวัสดุคงคลังเดิมของบริษัทกรณีศึกษา 322,506 บาทต่อปี คิดเป็น 25
เปอร์เซ็นต์โดยประมาณ

คำสำคัญ : วัสดุคงคลัง การเติมเต็มวัสดุคงคลัง อะไหล่ การสั่งซื้อร่วมกัน การจำลองสถานการณ์มอนติคาร์โล

Abstract
The research aims to study the joint inventory replenishment policy for the company of case study,
an automotive manufacturer. In the system, there are fifteen different types of spare part inventory. Each spare
part has its own demand rate. They must be replenished together every specific time interval. There are three
types of transportation vehicle: four-wheel truck, six-wheel truck, and ten-wheel truck. Different types of
transportation vehicle have different delivery capacity. The objective is to determine the proper joint
212
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

replenishment interval and amount of safety stock for each product such that the total variable cost is
minimized. The concept of economic order interval with joint ordering policy for the system having multiple
products being replenished at the same time is deployed and adjusted to handle the situation of variable
ordering cost occurred in the case study. For the performance evaluation of the proposed method, a Monte
Carlo simulation model has been constructed. The solution obtained from the proposed replenishment
method is compared with the solution yielded from the traditional company inventory replenishment policy.
From the simulation result, the proposed inventory replenishment method can reduce the total variable cost
by 23 percent, approximately.

Keywords: Inventory, Replenishment Policy, Spare Part, Joint Ordering, Monte Carlo Simulation

213
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

1. บทนำ เติมเต็มวัส ดุค งคลัง ตามรอบเวลาในกรณี สินค้ ามีกำหนดวัน


ในสภาวะที่มีการแข่งขันทางธุรกิจสูง การดำเนินกิจกรรม หมดอายุ และพฤติ กรรมของผู้ บริโ ภคเป็นแบบเข้ าหลังออก
ทางธุรกิจควรถูกวางแผนอย่างระมัดระวัง เพื่อทำให้ธุร กิจ มี ก่อน หรือสามารถนำตัวแบบมาประยุกต์ใช้สำหรับงานซ่ อม
ศักยภาพในการแข่งขัน การวางแผนบริหารวัสดุคงคลังที่มีใน บำรุง ที่ร ะบบมีเครื่องจักรหลายเครื่อง และมีอัตราเกิดการ
ระบบเป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญ ทั้งนี้หากระบบมีวัสดุคงคลัง ชำรุดในแต่ละเครื่องแตกต่างกันดัง ที่ง านวิจัย [14] นำเสนอ
มากเกินไป จะส่ง ผลให้ร ะบบมีต้นทุนการจัดเก็บ ต้นทุน ที่ โดยทั่วไปตัวแบบเติมเต็มด้วยจุดสั่งซื้อ และตัวแบบเติ มเต็ม
เกิดขึ้นจากการเสื่ อมสภาพของวัส ดุค งคลัง รวมถึง ค่าเสี ย ตามรอบเวลา มีสุมติฐานที่เกี่ยวข้องกับต้นทุนในการเติมเต็ม
โอกาสจากต้นทุนจมทีส่ ูงขึ้น ในทางกลับกันหากระบบมีวัสดุคง คงที่ ซึ่งขึ้นอยู่ กับปริมาณในการสั่งเติมเต็ม ทั้งนี้ในบางกรณี
คลัง น้อยเกิ นไปผลกระทบที่ ต ามมา คือ ระบบไม่ส ามารถ ต้นทุนในการเติมเต็มชิ้นส่วนอาจไม่คงที่ เนื่องจากยานพาหนะ
ตอบสนองต่ออุปสงค์ที่มี ซึ่งก่อให้เกิดสูญเสียโอกาสในการทำ ที่ใช้ขนส่งมีหลายประเภท ซึ่งแต่ละประเภทมีความสามารถใน
กำไร การผลิตขาดความต่อเนื่อง รวมถึงขาดความน่าเชื่อถือ การขนส่ง และต้นทุนทีแ่ ตกต่างกัน
จากลูกค้า ปริมาณวัส ดุค งคลัง ที่เหมาะสมกับ อุปสงค์ แ ละ งานวิจ ัยนี้ท ำการศึกษาการเติมเต็ม วัสดุคงคลัง ตามรอบ
สอดคล้องกับคุณลักษณะของระบบ สามารถช่วยทำให้ระบบ เวลาที่เหมาะสมสำหรับชิ้นส่วนรถยนต์ปะเภทอะไหล่ทดแทน
ดำเนินไปได้อย่างราบรื่นโดยมีต้นทุนต่ำ ของสถานประกอบการกรณีศึกษา ซึ่ง มีการสั่งเติมเต็มชิ้นส่วน
การควบคุมวัสดุคงคลังที่ดีเป็นผลมาจากกำหนดนโยบาย หลายประเภทจากผู้ผลิตรายเดียว วัสดุคงคลังแต่ละประเภทมี
การเติมเต็มวัสดุคงคลังที่เหมาะสม ตัวแบบพื้นฐานที่ใช้ในการ อุปสงค์แตกต่างกันและไม่คงที่ วัสดุคงคลังทุกประเภทถูกสั่ง
คำนวณปริมาณสั่งเติมเต็มวัสดุคงคลังที่เหมาะสมกรณีร ะบบมี เติมเต็มพร้อมกัน ต้นทุนในการสั่งเติมเต็มขึ้นอยู่กับประเภท
วัสดุคงคลังประเภทเดียว คือ ตัวแบบการสั่งซื้ออย่างประหยัด ของยานพาหนะเลือกใช้ โดยยานพาหนะแต่ละประเภทมี กำลัง
(Economic Order Quantity Model; EOQ) ซึ่ง ได้ ถูกศึกษา การขนส่งชิ้นส่วนและต้นทุนการขนส่งที่แตกต่างกัน กรณีที่อุป
โดย [1] ตัวแบบดังกล่าวได้ถูกนำมาประยุกต์ใช้กับระบบที่มี สงค์ในระบบไม่สามารถถูกตอบสนองได้ถูกพิจารณาเป็นการสั่ง
สถานการณ์หรือเงื่อนไขที่แตกต่างกัน [2] [3] และ [4] ได้ เติมเต็มด่วนซึ่งก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการเพิ่มขึ้น
นำเสนอตัวแบบการสั่งซื้อแบบประหยัดกรณีระบบมีช่วงเวลา
นำไม่ค งที่ [5] [6] และ [7] นำเสนอตัวแบบการสั่ง ซื ้ อ แบบ 2. คำอธิบายและสัญลักษณ์ย่อ
ประหยัดกรณีที่ได้รับส่วนลดเมื่อสั่งซื้อในปริมาณที่สูง การ 𝑗
𝑇𝑗𝑜𝑖𝑛𝑡 รอบเวลาในการสั ่ง เติ มเต็ ม วั ส ดุ ค งคลั ง ร่ว มกัน ที่
ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับตัวแบบการเติมเต็ม อย่าง เหมาะสมสำหรับยานพาหนะขนส่งประเภท 𝑗 (วัน)
ประหยัดถูกนำเสนอโดย [8] [9] และ [10] โดยทั่วไปตัวแบบ 𝐾𝑗 กำลังการขนส่งของยานพาหนะประเภท 𝑗
การเติมเต็มวัส ดุค งคลัง อย่างประหยัด มีค วามเหมาะสมกับ 𝑆𝑗 ต้นทุนในการเติมเต็มวัสดุคงคลัง โดยใช้ยนพาหนะ
ระบบที่มีวัสดุคงคลังประเภทเดียว สำหรับกรณีที่ระบบมีวัสดุ ประเภท 𝑗 (บาทต่อครั้ง)
คงคลังหลายประเภท ตัวแบบที่เหมาะสมกับการบริหารวัสดุคง 𝑄𝑖 ปริมาณชิ้นส่วนสำหรับการสั่งเติมเต็ม (ชิ้น)
คลังคือ นโยบายการเติมเต็มตามรอบเวลา (Economic Order 𝐻𝑖 ต้นทุนถือครองวัสดุคงคลัง 𝑖 (บาทต่อชิ้นต่อปี)
Interval: EOI) ซึ่ง สามารถศึกษาได้จาก [11] และ [12] โดย ℎ𝑖 ต้นทุนถือครองวัสดุคงคลัง 𝑖 (บาทต่อชิ้นต่อวัน)
เป็ น การเติ มเต็ ม วั ส ดุ ค งคลั ง หลายประเภทได้ พ ร้ อมกั น ใน 𝑤𝑖 ปริมาตรต่อชิ้นของวัสดุคงคลัง 𝑖 (ลบ.ม.)
สถานการณ์หรือเงื่อนไขที่แตกต่างกัน [13] ได้นำเสนอตัวแบบ 𝑉𝑖 ปริมาตรรวมที่ใช้ขนส่งชิ้นส่วน (ลบ.ม.)
214
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

𝑓𝑖 ค่าสัดส่วนถือครองวัสดุคงคลัง 𝑖 ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน


ราคา ปริมาตร
𝑗 ประเภทของยานพาหนะ (คัน) ประเภท อุปสงค์ มาตรฐานอุป
(บาท/ ชิ้นส่วน
𝐶𝑖 ต้นทุนต่อหน่วยวัสดุคงคลัง 𝑖 (บาทต่อชิ้น) ชิ้นส่วน ต่อวัน สงค์ต่อวัน
ชิ้น) (ลบ.ม.)
𝐷𝑖 อุปสงค์ต่อปีสำหรับวัสดุคงคลัง 𝑖 (ชิ้น) (ชิน้ ) (ชิน้ )
𝑑𝑖 อุปสงต่อวัน ค์สำหรับวัสดุคงคลัง 𝑖 (ชิ้น) E 546 0.0011 8.29 3.28
𝐸𝑚𝑎𝑥𝑖 ระดับวัสดุคงคลังสูงสุดสำหรับวัสดุคงคลัง 𝑖 (ชิ้น) F 546 0.0011 14.85 4.11
𝐿 ช่วงเวลานำ (วัน) G 1110 0.0028 10.49 6.23
𝑠𝑠𝑖 ระดับสินค้าเผื่อสำหรับวัสดุคงคลัง 𝑖 (ชิ้น) H 926 0.0047 7.48 4.01
𝑍𝛼 ค่าแจกแจงปกติของระดับการให้บริการผู้บริโภค I 700 0.0165 6.86 2.87
𝜎𝑑𝑖 ส่วนเบี่ยนเบนมาตรฐานของอุปสงค์อุปสงค์ต่อวัน J 1050 0.0085 3.45 2.45
สำหรับวัสดุคงคลัง 𝑖 (ชิ้น) K 78 0.0001 10.19 5.21
𝐿+𝑇
𝜎𝑑𝑖 ส่วนเบี่ยนเบนมาตรฐานของอุปสงค์ในช่วง L 308 0.0019 16.26 9.12
𝐿 + 𝑇 สำหรับวัสดุคงคลัง 𝑖 เวลาการเติมเต็ม (ชิ้น) M 471 0.0582 14.69 6.18
𝑛 จำนวนประเภทสินค้าที่มีในระบบ N 51 0.0299 8.51 4.07
𝑇𝑉𝐶(𝑇𝑗𝑜𝑖𝑛𝑡 ) ต้นทุนแปรผันรวมต่อปี (บาท)
𝑗
O 536 0.0379 4.45 3.91
นโยบายเติมเต็มวัส ดุค งคลัง เดิมของสถานประกอบการ
3. ระบบวัสดุคงคลังของสถานประกอบการ เป็ น รู ป แบบ MAX-MIN โดยวั ส ดุ ค งคลั ง แต่ ล ะประเภทถูก
กรณีศึกษา กำหนดปริมาณสูงสุด และปริมาณต่ำสุดไว้ ในแต่ละวันระบบ
ระบบเดิ ม ในการบริ ห ารจั ด การวั ส ดุ ค งคลั ง ของสถาน ทำการพิจ ารณาว่าวัสดุค งคลังประเภทใดมีปริมาณคงเหลือ
ประกอบการสามารถอธิ บ ายได้ ด ั ง นี ้ สถานประกอบการ น้อยกว่าหรือเท่ากับปริมาณต่ำสุดที่ถูกกำหนดไว้ วัสดุคงคลัง
กรณีศึกษามีวัสดุคงคลังอะไหล่ ที่ถูกสั่งซื้อจากผู้ผลิตชิ้นส่ วน เหล่ า นั ้ น จะถู ก สั ่ ง เติ มเต็ ม ด้ว ยปริ ม าณเท่ า กั บ ผลต่า งของ
อะไหล่รถยนต์รายเดียวกันทั้งหมด แสดงดังตารางที่ 1 ปริมาณสูงสุดที่กำหนดไว้ และปริมาณวัสดุคงเหลือปลายวัน
หลังจากทราบปริมาณเติมเต็มของชิ้นส่วน สถานประกอบการ
ตารางที่ 1 ลักษณะอุปสงค์ของวัสดุคงคลัง จะทำการเลือกประเภทของยานพาหนะที่ใช้ในการขนส่ง ให้
ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน เหมาะสมกั บปริม าณในการเติม เต็ม จากยานพาหนะสาม
ราคา ปริมาตร
ประเภท อุปสงค์ มาตรฐานอุประเภทคืป อ รถกระบะ 4 ล้อ ซึ่งมีค่าใช้จ่ายในการขนส่ง 1,800
(บาท/ ชิ้นส่วน
ชิ้นส่วน ต่อวัน สงค์ต่อวันบาทต่อรอบ รถบรรทุก 6 ล้อ ซึ่ง มีค ่าใช้จ ่า ยในการขนส่ ง
ชิ้น) (ลบ.ม.)
(ชิน้ ) (ชิน้ ) 3,100 บาทต่อรอบ และรถบรรทุก 10 ล้อ ซึ่ง มีค ่าใช้จ ่า ย
A 2291 0.0157 6.74 2.44 3,900 บาทต่ อ รอบ ทั ้ ง นี ้ นโยบายเติ ม เต็ ม เดิ ม ของสถาน
B 26 0.0004 14.90 5.90 ประกอบที่กล่าวมา ก่อให้เกิดการสั่งเติมเต็มด้วยยานพาหนะ
C 1164 0.0007 6.64 3.61 ขนาดเล็กบ่อยครั้ง ส่งผลให้ระบบมีค่าใช้จ่ายในการเติมเต็ม ต่อ
D 530 0.0803 9.94 4.01 ปีสูง งานวิจัยนี้เป็นการนำเสนอนโยบายเติมเต็มวั ส ดุคงคลัง
215
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

ร่วมกันตามรอบเวลา โดยตัวแบบเติมเต็มวัสดุคงคลังร่วมกัน ขั้นตอนที่ 2: คำนวณปริมาณสั่งเติมเต็ม (𝑄𝑖 ) และปริมาตร (𝑉𝑖 )


ตามรอบเวลาได้ถูกนำมาประยุกต์ให้สามารถใช้ได้กับระบบที่มี วัสดุคงคลังแต่ละประเภทจากสมการที่ (2) และสมการที่ (3)
ค่าใช้จ่ายในการเติมเต็มไม่คงที่ ขึ้นอยู่กับยานพาหนะที่ใช้ ตัว ตามลำดับ
แบบจำลองสถานการณ์ ม อนติ ค าร์ โ ลได้ ถ ู ก พัฒ นาขึ ้ น เพื่อ
กำหนดปริม าณวั ส ดุค งคลั ง เผื่ อ ที่ เ หมาะสม และใช้ ในการ 𝑄𝑖 = 𝐷𝑖 𝑇𝑗𝑜𝑖𝑛𝑡
𝑗
(2)
เปรียบเทียบต้นทุนแปรผัน รวมที่เกิดขึ้นระหว่างการกำหนด
นโยบายเติ ม เต็ มวั ส ดุ ค งคลั ง รู ป แบบเดิ ม และการกำหนด 𝑉𝑖 = 𝑤𝑖 𝑄𝑖 (3)
นโยบายเติมเต็มวัสดุคงคลังรูปแบบที่นำเสนอในงานวิจัย
ขั้นตอนที่ 3: วิเคราะห์กำลัง การขนส่งของยานพาหนะโดย
4. นโยบายเติมเต็มวัสดุคงคลังร่วมกันกรณีค่าใช้จ่าย พิจารณาว่าอสมการที่ 4 เป็นจริงหรือไม่
ในการสั่งเติมเต็มไม่คงที่ขึ้นอยู่กับยานพาหนะที่ใช้ใน
การขนส่ง 𝐾𝑗 ≥ ∑𝑛𝑖=1 𝑉𝑖 (4)
กำหนดให้ ร ะบบมี ว ั ส ดุ ค งคลั ง ที ่ แ ตกต่า งกั น จำนวน 𝑛
ประเภท วั ส ดุ ค งคลั ง แต่ ล ะประเภทมี อุ ปสงค์ ต่ อ ปี ( 𝐷𝑖 ) ที่ • หากอสมการที่ (4) เป็นจริง (ปริมาตรรวมไม่เกินกำลังการ
แตกต่างกัน และถูกเติมเต็มพร้อมกัน โดยระบบมียานพาหนะ ขนส่งของยานพาหนะที่พิจารณา) ข้ามไปขั้นตอนที่ 6
ที่ใช้ในการขนส่ง 𝑚 ประเภท ยานพาหนะแต่ล ะประเภทมี • หากอสมการที่ (4) ไม่เป็นจริง (ปริมาตรรวมเกินกำลัง
กำลังการขนส่ง (𝐾𝑗 ) ที่แตกต่างกัน และมีค่าใช้จ่ายในการขนส่ง ขนส่งของยานพาหนะที่พิจารณา) ข้ามไปขั้นตอนที่ 4
(𝑆𝑗 ) ที่แตกต่างกัน โดยยานพาหนะที่ใช้ในการขนส่ง 𝑣1 ≤ ขั้นตอนที่ 4: ปรับลดค่า 𝑇𝑗𝑜𝑖𝑛𝑡 𝑗
จนอสมการที่ (4) เป็นจริง
𝑣2 ≤ 𝑣3 ≤ ⋯ ≤ 𝑣𝑚 มี ค ่ า 𝑠1 ≤ 𝑠2 ≤ 𝑠3 ≤ ⋯ ≤ 𝑠𝑚 (การ (สามารถใช้ ฟ ั ง ก์ ช ั ่ น Goal Seek ในโปรแกรม Microsoft
เลือกประเภทของพาหนะควรพิจ ารณากำลัง การขนส่ ง ให้ Excel เพื่อหาค่า 𝑇𝑗𝑜𝑖𝑛𝑡
𝑗
ดังกล่าว) แล้วข้ามไปขั้นตอนที่ 5
เหมาะสมกับค่าใช้จ่ายในการขนส่ง ) ตัวแบบเติมเต็มวัส ดุค ง ขั้นตอนที่ 5:
คลังร่วมกันตามรอบเวลา (Economic Order Interval With 5.1 คำนวณต้นทุนแปรผันรวมต่อปี 𝑇𝑉𝐶(𝑇𝑗𝑜𝑖𝑛𝑡 𝑗
) ที ่ 𝑇𝑗𝑜𝑖𝑛𝑡
𝑗

Joint Ordering Policy) ถู ก นำมาประยุ ก ต์ใ ช้ ก ับ ระบบที่มี แต่ละค่า (𝑗 = 1, … , 𝑥) โดยสมการที่ 5


ค่าใช้จ่ายในการสั่งเติมเต็มขึ้นอยู่กับประเภทของยานพาหนะที่
𝑗
∑𝑛
ใช้ในการขนส่ง โดยอธิบายได้ดังนี้ 𝑗
𝑇𝑉𝐶(𝑇𝑗𝑜𝑖𝑛𝑡 ) = 𝐶𝑖 𝐷𝑖 +
𝑆𝑗
𝑗 +
𝑖=1 𝐻𝑖 𝐷𝑖 𝑇𝑗𝑜𝑖𝑛𝑡
(5)
𝑇𝑗𝑜𝑖𝑛𝑡 2
กำหนด 𝑗=1
ขั้นตอนที่ 1: คำนวณรอบเวลาเติมเต็มวัส ดุคงคลังร่ว มกัน ที่ 5.2 กำหนด 𝑗 = 𝑗 + 1 แล้วย้อนไปทำขั้นตอนที่ 1
เหมาะสม 𝑇𝑗𝑜𝑖𝑛𝑡
𝑗
จากสมการที่ (1) 5.3 กรณีที่ 𝑗 > 𝑚 ข้ามไปทำขั้นตอนที่ 7
ขั้นตอนที่ 6: คำนวณต้นทุนแปรผันรวมต่อปี 𝑇𝑉𝐶(𝑇𝑗𝑜𝑖𝑛𝑡 𝑗
) ที่
𝑗
𝑇𝑗𝑜𝑖𝑛𝑡 = √∑𝑛
2S
(1) 𝑇𝑗𝑜𝑖𝑛𝑡 แต่ละค่า ในกรณีอสมการที่ (4) เป็นจริง ดังสมการที่ 5
𝑗
𝑖=1 (𝐻𝑖𝐷𝑖 )

ขั้นตอนที่ 7: เลือกประเภทยานพาหนะ 𝑗 ที่สอดคล้องกับค่า


𝑇𝑗𝑜𝑖𝑛𝑡 ทีส
่ ่งผลให้ต้นทุนแปรผันรวมต่อปีต่ำที่สุด
𝑗

216
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

การคำนวณนโยบายเติมเต็มที่นำเสนอโดยใช้ข้อมูลของ 5.1 นำ 𝑇𝑗𝑜𝑖𝑛𝑡


1
มาคำนวณต้นทุนแปรผันรวมต่อปี โดยสมการที่
บริษัทกรณีศึกษา แสดงดังตัวอย่างที่ 1 5 จากผลการคำนวณหากใช้ยานพาหนะ 4 ล้อในการขนส่งจะ
ตัวอย่างที่ 1 เสียต้นทุนแปรผันรวม 39,774,304 บาทต่อปี
ระบบมีวัสดุคงคลังจำนวน 15 ประเภท โดยมียานพาหนะ 1
𝑇𝑉𝐶(𝑇𝑗𝑜𝑖𝑛𝑡 ) = 39,774,304
ขนส่ง 6 ประเภท รายละเอียดดัง แสดงในตารางที่ 2
5.2 กำหนด 𝑗 = 𝑗 + 1 แล้วย้อนไปทำขั้นตอนที่ 1
ตารางที่ 2 ต้นทุนที่ใช้ในการขนส่งชิ้นส่วน
การคำนวณจะถูกทำเป็นรอบ (Iteration) วนซ้ำจนกระทั่ง
ประเภทรถ ปริมาตรเป็น ค่าใช้จ่ายเป็น พบค่า 𝑇𝑗𝑜𝑖𝑛𝑡
𝑗
ที่ส่งผลให้อสมการที่ (4) เป็นจริง (เงื่อนไขที่ 5.2)
(𝒋) ลูกบาศก์เมตร บาท หรือ 𝑗 > 𝑚 (เงื่อนไขที่ 5.3) ผลลัพธ์แสดงดัง ตารางที่ 3
1 (4 ล้อ) 0-2.66 1,800
2 (6 ล้อ) 2.67-36.50 3,100 ตารางที่ 3 ปริมาตรที่เหมาะสมกับกำลังการขนส่ง
3 (10 ล้อ) 36.51-73.49 3,900 ก่อนปรับ หลังปรับ
4 (10 ล้อ,4 ล้อ) 73.50-76.15 5,700 ประเภทรถ 𝒋
𝑻𝒋𝒐𝒊𝒏𝒕 ปริมาตร 𝑻𝒋𝒐𝒊𝒏𝒕 ปริมาตร
𝒋

5 (10 ล้อ,6 ล้อ) 76.15-109.98 7,000 (𝒋) วัน ลบ.ม. วัน ลบ.ม.
6 (10 ล้อ 2 คัน) 109.99-146.97 7,800 1 (4 ล้อ) 26 63.48 1.08 2.66
2 (6 ล้อ) 33 80.57 14.84 36.50
ขั้นตอนที่ 1: คำนวณรอบเวลาเติมเต็มวัส ดุคงคลังร่ว มกัน ที่
3 (10 ล้อ) 37 90.33 29.88 73.49
เหมาะสม 𝑇𝑗𝑜𝑖𝑛𝑡 𝑗
จากสมการที่ (1) โดยเริ่มต้นจากยานพาหนะ
4 (10 ล้อ,4 ล้อ) 45 109.86 30.97 76.15
ที่มีค่าใช้จ่ายในการขนส่งต่ำที่สุด หรือที่ 𝑗=1
5 (10 ล้อ,6 ล้อ) 50 122.07 44.73 109.99
1
𝑇𝑗𝑜𝑖𝑛𝑡
2×1,800
= √(0.88×6.74)+⋯+(0.21×4.45) = 26 วัน
6 (10 ล้อ 2 คัน) 52 126.95 52 126.95
ขั้นตอนที่ 2: คำนวณปริมาณสั่งเติมเต็ม (𝑄𝑖 ) และปริมาตร (𝑉𝑖 ) ขั้นตอนที่ 6: นำ 𝑇𝑗𝑜𝑖𝑛𝑡
6
มาคำนวณหาต้นทุนแปรผันรวมต่อปี
สำหรับ วัส ดุค งคลัง ทั้ง 15 ประเภทจากสมการที่ (2) และ โดยสมการที่ 5 จากผลลัพธ์หากใช้ยานพาหนะ 10 ล้อ สองคัน
สมการที่ (3) ตามลำดับ ในการขนส่งจะเสียต้นทุนแปรผันรวม 31,782,087 บาทต่อปี
𝑄1 = 6.74 × 26 = 175 6
𝑇𝑉𝐶(𝑇𝑗𝑜𝑖𝑛𝑡 ) = 31,782,087
𝑉1 = 0.0157 × 175 = 2.749
ขั้นตอนที่ 7: เลือกยานพาหนะ 10 ล้อ (𝑇𝑗𝑜𝑖𝑛𝑡
3
) ในการขนส่ง
ขั้นตอนที่ 3: วิเคราะห์กำลัง การขนส่งของยานพาหนะโดย ซึ่งมีต้นทุนการขนส่ง 3 ,900 บาทต่อรอบ เนื่องจากมีต้น ทุน
พิจารณาว่าอสมการที่ 4 เป็นจริงหรือไม่ ซึ่งพบว่าไม่เป็นจริง แปรผันรวมต่ำที่สุดอยู่ที่ 31,549,411 บาทต่อปี
(𝐾1 = 2.66) ≥ 63.993

ขั้นตอนที่ 4: ปรับลดค่า 𝑇𝑗𝑜𝑖𝑛𝑡


1
จนกระทั่งอสมการที่ (4) เป็น 5. แบบจำลองสถานการณ์
จริง โดยหลังจากทำการปรับ 𝑇𝑗𝑜𝑖𝑛𝑡1
ที่เหมาะสมสำหรับกำลัง เทคนิค การจำลองสถานการณ์ มีค วามเหมาะสมสำหรับ
ขนส่งของยานพาหนะประเภท 4 ล้อ คือ 1.08 วัน ระบบที่มีความซับซ้อน หรือความไม่แน่นอนสูง ซึ่งสอดคล้อง
ขั้นตอนที่ 5: กับลักษณะปัญหาของสถานประกอบการกรณีศ ึกษาที่มีอุป

217
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

สงค์ไม่คงที่ ดังนั้นแบบจำลองสถานการณ์จึงถูกพัฒนาขึ้น เพื่อ เก็บข้อมูลอุปสงค์จำนวน 86 วัน ได้ค่าอุป สงค์และความถี่ซึ่ง


กำหนดนโยบายการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง ซึ่งเป็นการ สามารถนำมาคำนวณค่าความน่าจะเป็นของอุปสงค์ได้ ในแต่
พิจารณาหารอบเวลาการเติมเต็มร่วมกัน และระดับวัสดุคงคลัง ละวันหากปริมาณสินค้าคงคลังเริ่มต้นวัน (สดมภ์ B) มีค่า
เผื่อที่เหมาะสมสำหรับระบบจัดการคลังสินค้าประเภทอะไหล่ มากกว่าค่าอุปสงค์ในวันนั้นปริมาณชิ้นส่วนที่ขายได้จ ะมีค่า
ทดแทนของสถานประกอบการกรณีศึกษาที่มีชิ้นส่วนหลาย เท่ากับค่าอุปสงค์ของวันนั้น และปริมาณสินค้าคงคลังคงเหลือ
ประเภท และมีการเติมเต็มชิ้นส่วนทุกประเภทร่วมกัน โดยมี ปลายวัน (สดมภ์ G) สามารถคำนวณได้จ ากผลต่างระหว่าง
วัตถุประสงค์เพื่อลดต้นทุนแปรผันรวมของระบบ ลักษณะของ สินค้าคงคลังต้นวัน กับอุปสงค์ในวันนั้นสำหรับกรณีสินค้าคง
แบบจำลองแสดงดัง รูปที่ 1 แบบจำลองสถานการณ์ ไ ด้ ถู ก คลัง ต้นวันมีปริมาณน้อยกว่าค่าอุปสงค์ของวันนั้นปริมาณ
พั ฒ นาขึ ้ น บนโปรแกรม Microsoft Excel โดยในแต่ ล ะ สินค้าที่ขาด (สดมภ์ J) สามารถถูกเติมได้จ ากการเติ ม เต็ ม
Spreadsheet แสดงข้ อ มู ล รายละเอี ย ดของชิ ้ น ส่ ว นแต่ล ะ ชิ้นส่วนเข้ามาด่วนซึ่งส่งผลให้สูญเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม โดยที่
ประเภท ซึ่งมีตัวแปรตัดสินใจคือรอบเวลาการ ค่าใช้จ่ายขึ้นอยู่กับประเภทของพาหนะที่เลือกใช้ และสัมพันธ์
กับปริมาณชิ้นส่วนที่ขาด (สดมภ์ O) สำหรับปริมาณในการเติม
เติมเต็มสินค้าร่วมกัน และระดับบริการผู้บริโภค โดยมีข้อมูล เต็มชิ้นส่วน (สดมภ์ I) คำนวณจากระดับสินค้าคงคลังสูงสุดลบ
นำเข้าของชิ้นส่วน คือ ค่าพารามิเตอร์ของอุปสงค์ชิ้นส่วนแต่ ด้วยปริมาณสินค้าคงคลังคงเหลือปลายวันเมื่อถึงรอบเวลาเติม
ละชนิด รวมถึงต้นทุนการสั่งซื้อ ต้นทุนการจัดเก็บ และต้นทุน เต็มชิ้นส่วน โดยมีรายละเอียด ความหมายฟังก์ชั่นการคำนวณ
การขาดสินค้า โดยเป็นการสั่ง ซื้ อชิ้ นส่ วนเข้ ามาด่ ว นซึ ่ ง มี ของแต่ละเซลล์ในการจำลองสถานการณ์ แสดงดังตารางที่ 4
ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการเพิ่มเติม แสดงในตารางที่ 5 และ
ตารางที่ 6 จากรูปที่ 1 ค่าอุปสงค์สินค้า (สดมภ์ E) ถูกสุ่มขึ้น
จากการแจกแจงเชิงประจักษ์ (Empirical Distribution) โดย

รูปที่ 1 แบบจำลองการหมุนเวียนสินค้าคงคลังของชิ้นส่วน

218
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

ตารางที่ 4 ค่าของเซลล์ในส่วนการหมุนเวียนวัสดุคงคลัง
เซลล์ ค่าแสดง ฟังก์ชัน คำอธิบาย
M17 Holding cost = ((B17+G17)/2)*$C$8 ต้นทุนการถือครองวัสดุคงคลัง
I17 Order Quantity =ROUND(IF(H17=1,$C$10-G17,0),0) ปริมาณในการสั่งซื้อชิ้นส่วน
L3 T =simParameter({27,28,29,30,31},"TBO",1) รอบเวลาการเติมเต็มชิ้นส่วน
L4 CSL =simParameter({0.85,0.9,0.95,0.99},"CSL",2) ระดับบริการลูกค้า
O8 TVC =simOutput(P14,"Variable Cost") ต้นทุนแปรผันรวม
O9 SS =simOutput(L5,"SS") ระดับสินค้าคงคลังปลอดภัย
=IF(AND(I17>0,$L$3>29),$I$7,IF(AND(I17>0
L17 Order Cost ต้นทุนการสั่งซื้อ
,$L$3<30),$C$11,0))
B17 Beginning Inventory =ROUNDUP((C3*L3)+L5,0) ปริมาณสินค้าคงคลังเริ่มต้น
ปริมาณสินค้าคงคลังสิ้นสุดของ
G17 Ending Inventory =B17+C17-F17
วันหลังหักอุปสงค์วันนั้น
J17 Shortage =E17-F17 ปริมาณของชิ้นส่วนที่ขาด
Total Shortage
O17 =sum(EOI A '!N17: EOI O '!N17) ปริมาตรรวมของชิ้นส่วนที่ขาด
Volume
P17 Shortage Cost = IF(O17>0,VLOOKUP(O17,$S$13:$V$18,4,1),0) ต้นทุนการขาดสินค้า

219
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

ตารางที่ 5 การกำหนดค่าของเซลล์ในส่วนข้อมูลนำเข้า Excel ซึ่งมีหน้าต่างปรากฎขึ้นดังแสดงในรูปที่ 2 โดยผลลัพธ์


ตัวแปร ตำแหน่ง รายละเอียด จากการจำลองสถานการณ์แสดง ดังรูปที่ 3
เซลล์
Mean C3 ค่าเฉลี่ยทางสถิติอุปสงค์
S.D C4 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
C C5 ราคาต้นทุนสินค้าต่อหน่วย
Holding Cost C8 ค่าสัดส่วนการถือครอง
Order Cost C11 ต้นทุนในการสั่งซื้อต่อครั้ง
L C6 ช่วงเวลาในการนำส่งสินค้า
รูปที่ 2 การกำหนดจำนวนรอบทำซ้ำ
Volume C9 ปริมาตรของชิ้นส่วน
Emax C10 ปริมาณสินค้าคงคลังสูงสุด
จากผลลัพธ์ของการจำลองสถานการณ์ พบว่าสำหรับกรณี
นโยบายการสั่งซื้อร่วมกัน สถานการณ์ที่ส่งผลให้ต้นทุนแปรผัน
ตารางที่ 6 ค่าใช้จ่ายในการขาดสินค้า
รวมของระบบต่ำที่ส ุดคือสถานการณ์ที่ 3 จากทั้ง หมด 20
ประเภทรถเป็น ปริมาตรเป็น ค่าใช้จ่ายเป็น สถานการณ์ทั้งหมด โดยมีระดับบริการลูกค้าและรอบเวลาการ
คัน ลูกบาศก์เมตร บาท จัดส่งร่วมกันที่ดีที่สุดคือ 85 เปอร์เซ็นต์ และ 29 วันตามลำดับ
4 ล้อ 0-2.66 2,000 ซึ่งมีค่า 95% ช่วงความเชื่อมั่นต้นทุนแปรผันรวมที่ (989,748,
6 ล้อ 2.67-36.50 3,300 989,749) บาทต่อปี (ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของ
10 ล้อ 36.51-73.49 4,100 ต้นทุนรวมเท่ากับ (989,748 และ 300 บาทตามลำดับ) และ
ปริมาณสินค้าเผื่อที่เหมาะสมเท่ากับ 367 ชิ้น เมื่อนำผลลัพธ์
6. ผลวิเคราะห์เปรียบเทียบการเคลื่อนไหวของสินค้า ด้ว ย ไปเปรียบเทียบกับ แบบจำลองนโยบายการสั่ง ชิ้นส่วนแบบ
แบบจำลองสถานการณ์ ดั้งเดิมของบริษัท ที่มีค่า 95% ช่วงความเชื่อมั่นต้นทุนแปรผัน
แบบจำลองสถานการณ์ที่ถูกพัฒนาขึ้นได้ถูกนำมาใช้ในการ รวมที่ (1,312,243, 1,312,264) บาทต่อปี (ค่าเฉลี่ยและค่ า
เปรียบเทียบนโยบายการเติมเต็มสินค้าที่เหมาะสมในสองกรณี เบี่ยงเบนมาตรฐานของต้นทุนรวมเท่ากับ (1,312,254 และ
คือ (1) นโยบายการสั่งซื้อร่วมกัน และ (2) นโยบายการสั่งซื้อ 5,419 บาทตามลำดับ) ดังนั้นบริษัทจึงสามารถลดต้นทุนแปร
ดั้งเดิมของสถานประกอบการกรณีศึกษา ทั ้ ง นี ้ ก า ร ผันรวมได้เฉลี่ยประมาณ 322,506 บาทต่อปี
เปรียบเทียบทำบนระบบที่มีสินค้าคงคลังจำนวนสิบห้าชนิด ใน
การวิเคราะห์ทำการประมวลผลการจำลองสถานการณ์ โดย
เปลี่ยนค่าระดับบริการลูกค้าทั้งหมด 4 ค่าคือ 85 90 95 และ
99 เปอร์เซ็นต์ และเปลี่ยนค่ารอบเวลาสั่งซื้อร่วมกัน (Time
Between Order: T) ทั้งหมด 5 ค่าคือ 27 28 29 30 และ 31
วั น จากการประมวลผลการจำลองสถานการณ์ 360 วั น
จำนวน 1,000 รอบโดยใช้ฟังก์ชัน Yasai [15] ใน Microsoft

220
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

เอกสารอ้างอิง
1 F. W. Harris, "How many parts to make at
once, 1913, " Factory: The Magazine
Management, vol. 10, no. 2, pp. 135–136.
2 Soon-Kyo Lee, Seung Ho Yoo and Taesu Cheong,
2017, "Sustainable EOQ under Lead-Time
Uncertainty and Multi-Modal Transport"
Sustainability 9, pp. 1-22.
3 Salvatore Digies, Giorgio Mossa and Giovanni
Mummolo, 2013, "SUPPLY LEAD TIME
UNCERTAINTY IN A SUSTAINABLE ORDER
รูปที่ 3 หน้าต่างแสดงผลลัพธ์จากการจำลองสถานการณ์ QUANTITY INVENTORY MODEL" Management and
Production Engineering Review, pp. 15-27.
7. สรุปและวิจารณ์ 4 Oussama Ben Ammar, Alexandre Dolgui, Faicel
งานวิจ ัยนี้ทำการศึกษานโยบายการเติมเต็ม วัสดุคงคลังที่ Hnaien and Mohamed Aly Louly, 2013, "Supply
เหมาะสม สำหรับการสั่ง ซื้อชิ้นส่วนรถยนต์ หลายชนิดจาก planning and inventory control under lead time
ผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์แห่งเดียวกันโดยกำหนดให้ ต้นทุนในการ uncertainty: A review" International Federation of
สั่งซื้อชิ้นส่วนขึ้นอยู่กับประเภทของพาหนะที่ใช้ในการขนส่ง Automatic Cont, pp. 359-370.
และกรณีชิ้นส่วนไม่พอขายถูกพิจารณาเป็นค่าใช้จ ่ายในการ 5 Makoena Sebatjane and Olufemi Adetunji, 2019,
เติมเต็มด่วนซึ่งมีค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานเพิ่มขึ้น ในส่วนของ "Economic order quantity model for growing items
ตัวแบบจำลองสถานการณ์ได้ถูกพัฒนาขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ with incremental quantity discounts" Journal of
เพื่อกำหนดรอบเวลาการเติมเต็มสินค้าร่วมกัน ระดับสินค้าคง Industrial Engineering International. pp. 112-120.
คลั ง สู ง สุ ด ระดั บ บริ ก ารลู ก ค้ า และปริ ม าณสิ น ค้ า เผื ่ อ ที่ 6 Marvin L. Carlson, G. John Miltenburg and John J.
เหมาะสมเพื่อลดต้นทุนแปรผันรวมในการบริหารวัสดุคงคลัง Rousseau, 1996, "Economic Order Quantity and
จากการเปรียบเทียบผลระหว่ างกรณีที่ ใช้ นโยบายเติ ม เต็ ม Quantity Discounts under Date-Terms Supplier
ร่วมกันตามรอบเวลา และนโยบายการเติมเต็มชิ้นส่วนดั้งเดิม Credit: A Discounted Cash Flow Approach" The
พบว่า ต้นทุนแปรผันในการบริหารวัส ดุค งคลัง โดยรวมของ Journal of the Operational Research Society, pp.
นโยบายรอบเวลาการเติม เต็ ม ชิ้นส่ว นร่ วมกั น มีค ่าต่ำกว่ า 384-394.
นโยบายดั้งเดิมของสถานประกอบการกรณีศึกษา เนื่องจาก 7 David Pentico and Irena Stojkovska, 2015,
นโยบายดั้งเดิมของบริษัทไม่ได้ทำการเติมเต็มชิ้นส่วนร่วมกัน "An economic order quantity model with partial
ทุกชนิด ส่งผลให้ต้นทุนในการเติมเต็มต่อปีสูง backordering and incremental discount"
Computers & Industrial Engineering, pp.21-32.
221
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

8 R.J. Tersine, 4thed., Principles of Inventory and


Material Management. New Jersey: Prentice
Hall, 1994.
9 Water D., Inventory Control and Management
(2ed ed.). England , John Wiley & Sons, 2007.
10 Zipkin,P.H., 2000, Foundations of
InventoryManagement. Boston: McGraw-Hill.
11 Chopra S., & Meindl P., Supply Chain
Management: Strategy Planning, and
Operations( 3rd ed.). New Jersey, Pearson
Prearson Prentice Hall, 2007.
12 วิสุทธิ์ สุพิทักษ์ , 2565, การวางแผนวัสดุคงคลัง (ทฤษฎี
และการจำลองสถานการณ์) , สำนักพิมพ์จ ุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ
13 วิสุทธิ์ สุพิทักษ์ และ สุธีรา ปุลิเวคินทร์ , 2560, “การ
วางแผนบริห ารจั ดการสิ น ค้า คงคลัง โดยใช้ หลักการ
จำลองสถานการณ์กรณีเติมเต็มสินค้าร่วมกันภายใต้
สถานการณ์ ส ิ น ค้ า มี ก ำหนดวั น หมดอายุ แ ละการ
หมุนเวียนสินค้าแบบเข้าหลังออกก่อน”, วารสารไทย
การวิจัยดำเนินงาน ปีที่ 5ฉบับที่ 2, หน้า 22-32
14 วิ ส ุ ท ธิ ์ สุ พ ิ ท ั ก ษ์ และ มนตรี ฉั ต รจิ น ดากุ ล , 2564,
“นโยบายเติมเต็มวัสดุุคงคลังอะไหล่ สําาหรับการซ่อม
บํารุงเชิงแก้ไขในหลายเครื่องจักรที่มีอัตราการเกิดชำรุด
แตกต่างกัน ”, วารสารวิชาการพระจอมเกล้าพระนคร
เหนือ, หน้า 1-14
15 Eckstein J. (2019,June). Version 3.0 User Guide.
YASAI Yet Another Simulation Add-In. Retrieved
November 05. 2021. [Online]. Available:
http://www.yasai.rutgers.edu/yasai-guide-
30.html

222
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

การจัดเส้นทางการขนส่งสินค้า กรณีศึกษา บริษัทจัดจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง


Travelling Salesman Problem Case Studies of Construction Materials Company

พงศธร ยอดเพชร1* และ วรวุฒิ หวังวัชรกุล2*


1
สาขาวิชาการจัดการวิศวกรรม ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพมหานคร 10900
2
ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพมหานคร 10900
E-mail: phongsaton.y@ku.th1*, fengwww@ku.ac.th2*

บทคัดย่อ
งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำเครื่องมือแก้ไขปัญหาการจัดเส้นทางเดินรถของบริษัทจัดจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง
โดยจัดเส้นทางการเดินรถขนส่งสินค้าไปยังลูกค้าให้ได้ระยะทางที่น้อยที่สุด เนื่องจากปัจจุบันบริษัทไม่มีเครื่องมือในการจัดเส้นทาง
เดินรถ ทำให้การขนส่งสินค้าเป็นการไปส่งลูกค้าที่ใกล้ที่สุดก่อนคล้ายกับหลักการ Nearest Neighbor Algorithm ดังนั้นผู้วิจัยจึง
ได้สร้างแบบจำลองสเปรดชีตและประยุกต์ใช้ฟังก์ชันวิธีการเชิงวิวัฒนาการ (Evolutionary method) ในโปรแกรมไมโครซอฟท์
เอ็กเซล โซลเวอร์ (Microsoft Excel Solver) เป็นเครื่องมือช่วยในการวิเคราะห์หาระยะทางและค่าใช้จ่ายที่น้อยที่สุด สำหรับรถ
กระบะบรรทุก มีจ ุดส่ง สินค้า ระหว่าง 12 ถึง 22 จุด ในแต่ล ะวัน ผลการวิจัยในรอบหนึ่งเดือน พบว่าระยะทางลดลงไปรวม
1,384.60 กิโลเมตร คิดเป็นเฉลี่ยอยู่ที่ 11.54% เมื่อพิจารณาจำนวนรถและจำนวนเที่ยวขนส่งทั้งหมดของบริษัทในรอบ 1 ปี จะ
ประหยัดค่าใช้จ่ายได้เฉลี่ย 1,461,722 บาท

คำสำคัญ : ปัญหาเส้นทางขนส่งของพนักงาน วิธีการเชิงวิวัฒนาการ ขั้นตอนวิธีเชิงพันธุกรรม

Abstract
This research presents a tool for arranging transportation routes for construction materials. The case
study company has to deliver products to 12-22 customers daily and needs tools to help with routing. Currently,
the company starts the delivery of goods from the warehouse and repeatedly visits the nearest delivery point
until all have been visited and return back to the warehouse as in the Nearest Neighbor Algorithm. Therefore,
we use a spreadsheet model with evolutionary method in Microsoft Excel Solver to find the delivery routes to
minimize total distance and cost. The results from twenty two instances show that the distance was reduced
by 1,384.60 kilometers or an average of 11.54%. Considering the number of vehicles and the total number of
transport trips of the company in one year, the average cost savings of 1,461,722.22 baht per year can be

223
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

achieved.
Keywords : Traveling Salesman Problem Evolutionary Method Genetic Algorithm

224
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

1. บทนำ
ในการศึกษาครั้งนี้ได้ทำการศึกษาบริษัทกรณีศ ึกษาแห่ง
หนึ่งประกอบธุรกิจด้านการจัดจำหน่ายวัสดุก่อสร้างประเภท 1 ่าจ
ค่างขนส
่ง
9% 22%
กลุ่มธุร กิจ อุป กรณ์ร ะบบท่ อ (Pipe System) โดยเป็ น กลุ่ ม ่าน้
ค ้ามัน
ธุรกิจที่มีความครอบคลุมความต้องการที่หลากหลายในระดับ
่าเบี
ค ้ยประกันภัย
อุตสาหกรรมและระดับธุรกิจขนาดย่อย หน่วยธุรกิจด้านการ
68%
ขนส่ง ได้เข้ามามีบทบาทกับการดำเนินธุรกิจของบริษ ัทเพื่อ ่าใช
ค ่จ
่ายยานพาหนะ
เข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่มีความหลากหลายและการวางแผนในการ
ดำเนินงานเป็นสำคัญ โครงสร้างด้านการดำเนินงานสำหรับ รูปที่ 2 โครงสร้างข้อมูลค่าใช้จ่ายต้นทุนเกี่ยวกับการขนส่งของ
ธุรกิจของบริษัทกรณีศึกษาทำให้ในการขนส่งของบริษัทมีความ บริษัทกรณีศึกษาในปี พ.ศ. 2563
หลากหลายของกลุ่มลูกค้าที่ต้องดำเนินธุรกิจร่วม โดยพบว่าใน
ปัจจุบันบริษัทกำลังประสบปัญหาในส่วนของค่าใช้จ่ายจากการ จากรูปที่ 2 โครงสร้างข้อมูลค่าใช้จ่ายต้นทุนเกี่ยวกับการ
ประเมิ น ที ่ ผ ่ า นมาพบว่ า บริ ษ ั ท กรณี ศ ึ ก ษามี ท ิ ศ ทางของ ขนส่งของบริษัทกรณีศึกษาในปี พ.ศ. 2563 แสดงให้เห็นว่า
ค่าใช้จ่ายสูงขึ้นและมีอัตราส่วนกำไรที่ลดน้อยลงจนนำมาสู่การ ค่ า ใช้ จ ่ า ยส่ ว นค่ า น้ ำ มั น มี อ ั ต ราส่ ว นสู ง เกิ ด ครึ ่ ง หนึ ่ ง ของ
ประเมินโครงสร้างต้นทุนของทางบริษัทดังแสดงในรูปที่ 1 อัตราส่วนค่าใช้เกี่ยวกับการขนส่งทั้งหมด
เมื่อทำการศึกษาโดยมีประเด็นเรื่องพฤติกรรมการขับขี่
และการวางแผนการเดินทางพบว่า แนวทางการจัดเส้ น ทาง
การเดินรถของบริษ ั ทประสบปั ญหาจากการดำเนิ นการ 2
ประเด็น โดยประเด็นแรกเกิดขึ้นจากการจัดเส้นทางการเดินรถ
โดยอาศัยการจัดจุดส่งสินค้าเรียงตามใบส่งสินค้า (Shipment)
โดยเอกสารดังกล่าวทำการเรียงตามรายการสั่งสินค้าที่เข้ามา
ในแต่ละวันทำให้เส้นทางเดินรถไม่ได้ถูกคำนวณจากระยะทาง
รูปที่ 1 ข้อมูลค่าใช้จ่ายต้นทุนของบริษัทกรณีศึกษาในปี พ.ศ. สั้นที่สุด และประเด็นที่สองในกลุ่มผู้ขับรถที่มีประสบการณ์ใน
2563 การขับส่ง สินค้าในพื้นที่จ ะอาศัยประสบการณ์ร ่วมกับการ
ประเมินเส้นทางด้วยตัวเอง หรือการประเมินเส้นทางส่งสินค้า
จากรูปที่ 1 ข้อมูลค่าใช้จ่ายต้นทุนของบริษัทกรณีศึกษาใน แต่ละจุดโดยมาจากความชำนาญและประสบการณ์ของตัวเอง
ปี พ.ศ. 2563 พบว่าค่าใช้จ่ายที่มีอัตราส่วนสูงที่สุดคือค่าใช้จ่าย จากคลังสินค้าโดยเริ่มส่งสินค้าจากจุดที่ใกล้ที่สุดก่อนเมื่อส่ง
เกี่ยวกับการขนส่ง โดยเป็นส่วนที่ส ะท้ อ นถึง กิจ กรรมการ เสร็จจึงไปส่งยังบริษัทที่ใกล้ที่สุด โดยการส่งสินค้าแบบนี้คล้าย
ดำเนินงานหลักของบริษัทกรณีศึกษาคือการจัดจำหน่ายวัสดุ กั บ หลั ก การ Nearest Neighbor Algorithm ผลจากการ
ชิ ้ น ส่ ว นก่อ สร้ างไปยัง กลุ ่ม เป้ าหมายที ่ หลากหลาย และมี ดำเนินงานดัง กล่า วนำมาสู ่ก ารใช้ เส้ นทางขนส่ง ต่อ วั น ที ่ มี
จำนวนมากในแต่ล ะวัน โดยเมื่อพิจ ารณาองค์ประกอบของ ระยะทางยาวกว่าที่ควรจะเป็นสิ้นเปลืองทรัพยากรทั้งด้านค่า
ค่าใช้จ่ายดังกล่าวในเชิงลึกดังรูปที่ 2 น้ำมัน ค่าเสียเวลาในการเดินทาง และระยะเวลารอคอยสินค้า
225
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

ของลูกค้าปลายทางที่นานกว่าที่ควรจะเป็น ด้วยเหตุนี้ผู้วิจัยได้ การจัดเส้นทางของพนักงานได้ มีการประเมินแนวทางใน


ดำเนินการศึกษาการบริหารจัดการขนส่งสินค้า กรณีศึกษา การแก้ไขปัญหาโดยขึ้นอยู่กับจุดมุ่งหมายของการแก้ไขอย่าง
บริษัทจัดจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง โดยมุ่งเน้นไปที่แนวทางการ การลดต้นทุนด้านค่าใช้จ่าย หรือการลดระยะเวลาในการขนส่ง
แก้ปัญหาการจัดเส้นทางการขนส่งโดยอิงจากการเดินทางของ เป็นต้น [2]
พนักงานขายของบริษ ัทที่ดำเนินการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าที่อยู่ โดยปัญหาการจัดเส้นทางของพนักงานถูกนำมาประยุกต์ใช้
หลากหลายจุด (Traveling Salesman Problem: TSP) เพื่อการสร้างสมการในการแก้ไขปัญหาการจัดเส้นทางขนส่ง
สำหรับบริษัทกรณีศึกษาครั้งนี้ต่อไป
2. ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2.2 ขั้นตอนวิธีเชิงพันธุกรรม (Genetic Algorithm)
2.1 ปั ญ หาการจั ด เส้ น ทางของพนั ก งาน ( Traveling เป็ น การนำเอาขั ้ น ตอนในขบวนการวิ ว ั ฒ นาการ
Salesman Problem: TSP) (Evolution Process) ประยุกต์การพัฒนาแก้ไ ขปั ญหาไปสู่
การจั ด เส้ น ทางของพนัก งานเป็น รูป แบบของปั ญหาที่ ผลลัพธ์ที่ดีที่ส ุดเท่าที่จ ะเป็นไปได้ (Optimum Solutions)
บริษัทที่มีหน่วยธุรกิจสำหรับการขนส่งผลิตภัณฑ์หรือบริการไป โดยมีหลักการในการประยุกต์ใช้ในการวิเคราะห์คือการเขียน
ยังลูกค้าไปยังจุดหมายที่แตกต่างกัน โดยมีการกำหนดข้อจำกัด โปรแกรมเพื ่ อ จำลองสถานการณ์ ต ่ า ง ๆ ขึ ้ น มา โดยได้ มี
ในการขนส่งต่าง ๆ เช่นศูนย์กระจายสินค้า เวลา ความจุของ นักวิเคราะห์และนักวิชาการได้พยายามหลักการคำนวณต่าง ๆ
ยานพาหนะ และการพิจารณาต้นทุนทั้งค่าใช้จ่ายและเวลาใน ขึ ้ น มา เช ่ น การ แทนค ำตอบด้ ว ยปั ญ ห าโ ครโมโซม
การขนส่ง ที่แตกต่างกันออกไปส่ง ผลให้เกิดแนวทางในการ (Chromosome Representations) คื อ การเขีย นโปรแกรม
พิจารณาโมเดลเพื่อนำเสนอการจัดเส้นทางของพนักงานให้มี คอมพิวเตอร์โดยแทนคำตอบของปัญหาด้วยการนำเอาตัวเลข
ความเหมาะสมตามข้อจำกัดที่แตกต่างกันออกไป [1] ที่มีร ูปแบบ เช่น แบบไบนารี แบบเลขจำนวนเต็ม แบบจุด
ทศนิยม มาต่อวางเรียงกันในรูปแบบต่าง ๆ เช่น String, Tree,
Array หรือ List โดยขึ้นอยู่กับความเหมาะสมของปัญหาที่ต้อง
ใช้ในการแก้ [3,4]
ขั้นตอนวิธี เชิง พั น ธุกรรมเป็ นอัล กอริ ธึมรูป แบบหนึ ่ ง ที่
สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการแก้ไขปัญหาการจัดเส้ น ทาง
ของพนักงานในการศึกษาครั้งนี้ [5]

รูปที่ 3 ตัวอย่างปัญหาเส้นทางของพนักงาน [1] 3. ผลการศึกษา


3.1 การเก็บรวบรวมข้อมูล
จากรูปที่ 3 ตัวอย่างปัญหาเส้นทางของพนักงานแสดงให้ 3.1.1 บริ ษ ั ท กรณี ศ ึ ก ษามี ค ลั ง สิ น ค้ า หลั ก อยู ่ จ ั ง หวั ด
เห็นว่าในการดำเนินการจัดเส้นทางขนส่งหรือการเดินทางแต่ นครปฐม และมีสายรถกระบะเสริมแหนบในการจัดส่งสินค้า
ละครั้งมีรูปแบบและความเป็นไปได้ที่แตกต่างกันออกไปตาม ทั้งหมด 25 คันและแบ่งสายรถเป็น 25 สายเดินรถ ผู้วิจัยเลือก
เงื่อนไขและสถานการณ์ต่าง ๆ ที่ผู้จัดเส้นทางต้องพิจ ารณา สาย ชลบุ ร ี เป็ น กรณี ศ ึ กษาในงานวิ จ ั ย นี ้ โดยการบรรทุก
เพื่อให้เกิดความเหมาะสมมากที่สุด น้ำหนักไม่เกิน 2.5 ตัน ใช้ระยะเวลาไม่เกิน 8 ชั่วโมง ต้องมีการ
226
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

ขนส่งสินค้าให้กับลูกค้าทุกคนตามรายการสั่งซื้อสินค้า และ 3.1.3 สร้าง Distance Matrix ขนาด 72 คูณ 72 โดยเรียง


การส่งสินค้าให้ลูกค้า 1 คน ใช้รถเพียงคันเดียวดังรูปที่ 4 ตามชื่อลูกค้าจาก ก-ฮ เพื่อให้ง ่ายต่อการหาชื่อ เสร็จ แล้ว
จากนั้นทำการสร้าง Distance Matrix ตามใบสั่งซื้อจริง

น้ ำหนัก
ลำดับ ่ ลูกค ้ำ
ชือ เลขทีใ่ บสัง่ ขำย เลขทีใ่ บส่งมอบ คลัง สถำนทีจ
่ ด
ั ส่ง
KG
1 Customer4 4040974804 5201225479 1200 โกดัง ต.หนองกะขะ จ.ชลบุร ี 16.05
2 Customer11 4040975916 5201226024 1200 TOTL นิคมอมตะนคร 512.70
3 Customer18 4040976571 5201226172 1200 อ.พำนทอง ชลบุร ี 46.41
4 Customer26 4040977034 5201225567 1200 ออฟฟิ ต แมทเทคแปซิฟิ ค 69.96
5 Customer30 4040977236 5201227174 1200 MMTH แหลมฉบัง 324.60
6 Customer34 4040977404 5201225995 1200 ออฟฟิ ตลูกค ้ำ ศรีรำชำ จ.ชลบุร ี 93.71
7 Customer36 4040977918 5201225963 1200 นัดรับปั๊ ม PTT NGV ศรีรำชำ ชลบุร ี 220.00

รูปที่ 4 ตัวอย่างรถกระบะเสริมแหนบ 8
9
Customer42
Customer44
4040978022
4040978586
5201230045
5201226081
1200
1200
UTL3นิคมเวลโกร์ว
TOYODA นิคมอมตะนคร
224.50
30.30
10 Customer46 4040978600 5201225962 1200 บ.กฤษดำกำร ถ.ศุขประยูร อ.เมือง ชลบุร 0.80
11 Customer53 4040978616 5201226450 1200 เซเลสติกำโรง1 ติดต่อ บ.โกโต 29.52

จากรูปที่ 4 ตัวอย่างรถกระบะเสริมแหนบเป็นลักษณะของ 12
13
Customer58
Customer59
4040979094
4040979206
5201226248
5201226087
1200
1200
โรงงำนชลบุร ี
ศูนย์กำรค ้ำฮำร์เบอร์มอลล์ แหลมฉบัง
202.60
53.00
ไซต์งำน เจ ดับบลิว.เอส ศรีรำชำ
ยานพาหนะสำหรับใช้ในการกรณีศึกษาครั้งนี้
14 Customer60 4040979250 5201226085 1200 43.20
15 Customer67 4040979344 5201226414 1200 ออฟฟิ ตลูกค ้ำ ถนนบำงนำ-ตรำดจ.ชลบุร ี 0.51
16 Customer68 4040979393 5201225535 1200 ออฟฟิ ต ถ.กิง่ แก ้ว-ลำดกระบัง 142.80
3.1.2 ตำแหน่งจุดส่งสินค้าและละติจูดลองจิจูด โดยสายรถ
ชลบุรีมีจำนวนจุดส่งสินค้า ทั้งหมด 71 จุด (71 customers) รูปที่ 6 ตัวอย่างใบจัดส่งสินค้าบริษัทกรณีศึกษา
ผู้วิจัยได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลระยะทางการเดินทางแต่ละ จากรูปที่ 6 ตัวอย่างใบจัดส่งสินค้าบริษัทกรณีศึกษาแสดง
เส้นทาง หาข้อมูลละติจูดลองจิจูดของแต่ละตำแหน่ง และใช้ ถึง ช่วงเวลาการสั่งและน้ำหนักพร้อมตำแหน่งเพื่อใช้ในการ
Google Map ในการหาระยะทางทั ้ ง หมด 5,184 จุ ด และ ประเมินการจัดเส้นทางขนส่งตามเงื่อนไขต่าง ๆ
นำมาสร้ า ง Distance Matrix ขนาด 72 คู ณ 72 (รวม 3.1.4 สร้าง Distance Matrix ตามใบสั่ง ซื้อจริง โดยใช้
คลังสินค้าของบริษัทกรณีศึกษา) ดังรูปที่ 5 สู ต ร VLOOKUP และ INDEX เพื ่ อ ดึ ง ระยะทางมาจาก
Distance Matrix 72 คูณ 72 และผูกสูตรกับรายชื่อลูกค้า
C0 C1 C2 C3 C4 C5 C6 C7 C8
Dist
0 1 2 3 4 5 6 7 8
เมื่อเปลี่ยนชื่อลูกค้าระยะทางใน Distance Matrix จะเปลี่ยน
คลังสิน้า

Customer1
0
1
0
149
149
0
156
9
115
60
122
33
131
34
154
15
108
61
155
7 ตาม
Customer2 2 156 9 0 69 41 43 24 69 5
Customer3 3 115 60 69 0 33 34 67 26 68
Customer4 4 122 33 41 33 0 8 39 35 40
Customer5 5 131 34 43 34 8 0 43 30 44
Customer6 6 154 15 24 67 39 43 0 66 20
Customer7 7 108 61 69 26 35 30 66 0 61
Customer8 8 155 7 5 68 40 44 20 61 0

รูปที่ 5 ตัวอย่าง Distance Matrix 72 คูณ 72

จากรูปที่ 5 ตัวอย่าง Distance Matrix 72 คูณ 72 มีการ


แบ่งคอลัมน์และแถวออกเป็นตำแหน่งของลูกค้าเป้าหมายทั้ง
71 จุดเพื่อเชื่อมโยงระหว่างกันและแสดงระยะของแต่ล ะจุ ด
เพื่อใช้แสดงผลเบื้องต้นระหว่างกัน รูปที่ 7 ตัวอย่าง Distance Matrix ใบสั่งซื้อจริง
227
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

จากรูปที่ 7 ตัวอย่าง Distance Matrix ใบสั่งซื้อจริง เป็น สมการที่ (1) เป็นการหาระยะทางรวมสำหรับการเดินทาง


การนำระยะทางของจุดส่งทั้ง 71 จุดมาใช้ร่วมกับรายชื่อข้อมูล ไปยังจุดมุ่งหมายที่มีลูกค้าในแต่ละจุด ในระยะทางที่สั้นที่สุด
ลูกค้าเพื่อใช้ในการประเมินระยะทาง สมการข้อจำกัด
3.1.5 หาระยะทางการเดินทางของพนักงานขนส่งสินค้า ∑𝑛𝑖=1 𝑋𝑖𝑗 = 1 , ∀𝑗 (2)
โดยการเดินทางขนส่งสินค้าในปัจจุบันส่งสินค้าไปยังลูกค้าที่อยู่ สมการที่ (2) มีข้อจำกัดเป็นผลรวมของตัวแปรตัดสินใจที่
ใกล้ ท ี ่ ส ุ ด ก่ อ นและไปที ่ ใ กล้ ต ่ อ ไปอี ก คล้ า ยกั บ หลั ก การ เดินทางจากจุดลูกค้า i ใดๆ ไปยัง จุ ดลูกค้า j มีค ่าเท่ากับ 1
Nearest Neighbor Algorithm ดั ง นั ้ น ผู ้ ว ิ จ ั ย ใช้ โ ปรแกรม หมายถึงที่จุด j ใดๆ จะมีเพียงเส้นทางเดียวที่ไปยังจุด j นั้นๆ
Wolfram Mathematica 12.1 เพื่อช่วยหาระยะทางเขี ย น ∑𝑛𝑗=1 𝑋𝑖𝑗 = 1 , ∀𝑖 (3)
โค้ ด สร้ า งโปรแกรมหาระยะทางตามหลั ก การ Nearest สมการที่ (3) การเดินทางจุดลูกค้า i ไปยังจุดลูกค้า j ใดๆ
Neighbor มีค่าเท่ากับ 1 หมายถึงที่จุด i ใดๆ จะมีเพียงเส้นทางเดียวที่
ออกจากจุด i นั้นๆ
Nearest Neighbor Solution
Path 36 30 60 68
Dist. 108 17.8 1.3 3.5
34
9.3
18
2.9
11
4.5
4 58 53
4.5 14.8 9.4
67
15
59 46 26 42 44 0 Total
4.3 34.4 32.3 21.2 45.9 181 510
𝑋𝑖𝑗 = {0, 1}, ∀𝑖, 𝑗 (4)
สมการที่ (4) กำหนดตัวแปรตัดสินใจมีค่าเท่ากับ 1 เมื่อมี
รูปที่ 8 ตัวอย่างผล Nearest Neighbor การเดินทางจากจุดลูกค้า i ไปยังจุดลูกค้า j และมีค่าเท่ากับ 0
เมื่อไม่เป็นไปตามเงื่อนไข
จากรูปที่ 8 ตัวอย่างผล Nearest Neighbor เป็นการ ∑ (𝑖,𝑗)∈𝐸(𝑈) 𝑋𝑖𝑗 ≤ |𝑈| − 1, ∀𝑈 ⊂ 𝑉 (5)
จำลองผลจากการใช้โปรแกรมเพื่อประเมินเส้นทางที่สั้นที่สุด สมการที่ (5) เป็นสมการกำจัด Subtour ย่อย โดยที่
V={ 1,2,3,…n }
3.2 การสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์
สร้างแบบจำลองคณิตศาสตร์ส ำหรับปัญหาการเดิ น ทาง 3.3 การจัดเส้นทางด้วยวิธีการเชิงวิวฒ ั นาการ
ของพนักงานจัดส่งสินค้าอิงจากหลักการของ TSP [6] การหาคำตอบโดยใช้ฟังก์ชัน Evolutionary method ที่
กำหนดให้ อยู่ในโปรแกรมไมโครซอฟท์ เอ็กเซล โซลเวอร์ (Microsoft
i,j = สถานที่ส่งสินค้าในแต่ละจุด Excel Solver) เป็นเครื่องมือช่วยในการวิเคราะห์หาระยะทาง
n = จำนวนลูกค้า; (i=1,2,3,…n และ j=1,2,3…n) โดยเลื อ ก Set Objective ที ่ เ ซล $CQ$42 ,เลื อ กที ่ Min
Xij = ตัวแปรตัดสินใจเลือกเดินทางจากจุดลูกค้า i ใดๆ เนื ่ อ งจากต้ อ งการหาระยะทางที ่ ส ั ้ น ที ่ ส ุ ด , By Changing
ไปจุดลูกค้า j ใดๆ เท่ากับ 1 เมื่อเลือกเดินทางและจะ Variable Cells เลื อ ก $CC$36:$CC$51, Subject to the
เท่ากับ 0 เมื่อไม่เลือกเดินทาง Constraints ใช้ $CC$36:$CC$51=AllDifferent , เลื อ กที่
Dij = ระยะทางจากลูกค้า i ใดๆ ถึงลูกค้า j ใดๆ Make Unconstrained Variables Non-Negative , จากนั้ น
โดยกำหนดสมการการเดินทางของพนักงานขนส่งดังนี้ Select a Solving Method เลือกเป็น Evolutionary
สมการเป้าหมาย (Objective function)
สมการการหาค่าต่ำสุด (Minimize) ระยะทาง
𝑀𝑖𝑛 𝑧 = ∑𝑛𝑖=1 ∑𝑛𝑗=1 𝐷𝑖𝑗 𝑋𝑖𝑗 (1)
228
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

4. สรุปผล
จากการศึกษาการจัดเส้นทางการขนส่งสินค้า กรณีศึกษา
บริษัทจัดจำหน่ายวัสดุก่อสร้าง ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูล
เพื่อนำมาวิเคราะห์ผ ลการดำเนิ นงาน รูปแบบการดำเนิ น
งานวิจัยเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ เพื่อลดระยะทางการขนส่ง
สินค้า ทำการศึกษาข้อมูลโดยตรงของบริษัทจากเส้นทางขนส่ง
จริง ตลอดระยะเวลา 1 เดือน โดยใช้เส้นทางขนส่งชลบุรี ของ
บริษัทกรณีศึกษาในครั้งนี้ โดยในช่วงเวลาดำเนินการดังกล่าวมี
รูปที่ 9 ตัวอย่าง Excel Solver Evolutionary
ลูกค้าจุดหมายทั้งหมด 71 จุด (71 customers) โดยภายหลัง
จากได้ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลระยะทางการเดินทางแต่ล ะ
จากรูปที่ 9 ตัวอย่าง Excel Solver Evolutionary เป็น
เส้ น แล้ ว นำมาทำการจำลองผ่ า นฟั ง ก์ ช ั น Evolutionary
การแสดงการนำเสนอการประมวลผลผ่านโปรแกรม
method ที่อยู่ในโปรแกรมไมโครซอฟท์ เอ็กเซล โซลเวอร์
(Microsoft Excel Solver) ผลจาก Evolutionary ระยะทาง
เฉลี่ย 460.58 กิโลเมตร และระยะทางสูงสุด 524.10 กิโลเมตร
สามารถทำการขนส่งได้ภายใน 8 ชั่วโมงตามที่บริษัทกำหนด

รูปที่ 11 สรุปผลการดำเนินการ

จากรูปที่ 11 และผลการศึกษา 1 เดือน (22วันทำงาน)


รูปที่ 10 ค่าพารามิเตอร์ของฟังก์ชั่น Evolutionary เมื ่ อ เที ย บ Nearest Neighbor กั บ Evolutionary ผลรวม
พบว่าระยะทางลดลงรวม 1,384.60 กม. คิดเป็นค่าเฉลี่ยที่
จากรูปที่ 10 ค่าพารามิเตอร์ของฟังก์ชั่น Evolutionary 11.54% เมื่อประเมินอัตราสิ้นเปลืองน้ำมันที่ 10 กม.ต่อลิตร
ในการกำหนดค่าเพื่อใช้การประเมินผลสำหรับหาเส้นทางระยะ แปลว่าประหยัดน้ำมันได้ 138.46 ลิตรและเมื่อประเมินที่ราคา
ที่สั้นที่สุดสำหรับการศึกษาครั้งนี้ น้ำมันลิตรละ 35.19 บาทจะพบว่าประหยัดเงินได้ 4,872 .41
บาทต่อเดือนต่อคันเมื่อพิจารณาจำนวนรถและจำนวนเที่ย ว

229
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

ขนส่งทั้งหมดของบริษัทใน 1 ปี จะประหยัดได้ 1,461,722.22 6. นวรรณ สื บ สายลา. 2561. การจั ด เส้ น ทางการขนส่ ง


บาท ปุ ๋ ย เคมี ช ี ว ภาพ โดยใช้ ต ั ว แบบปัญ หาการเดิ น ทางของ
พนั ก งานขายและปั ญ หาการจั ด เส้ น ทางการขนส่ ง
5. ข้อเสนอแนะ กรณีศึกษาบริษัท ABC. การประชุมวิชาการระดับการชาติ
การหาคำตอบด้วยวิธี Evolutionary เป็นการหาคำตอบ ราชภัฏเลยวิชาการ ประจำปี 2561.
ซึ่งไม่การันตีค่าที่ดีที่สุด แต่จะได้ผลลัพธ์ที่ใกล้เคียง Optimal
Solution เรายั ง สามารถพั ฒ นาต่ อ ยอดแบบจำลองทาง
คณิตศาสตร์เพื่อหาค่าเป้าหมายที่ดีกว่านี้ต่อไปได้

เอกสารอ้างอิง
1. กฤต จันทรสมัย. 2554. “การปรับปรุงเส้นทางการขนส่ง
ด้วยวิธีค้นหาคำตอบแบบวนรอบซ้ำ กรณีศึกษา ร้านโต้ง
น้ ำ แข็ ง อำเภอวาริ น ชำราบ จั ง หวั ด อุ บ ลราชธานี ” .
วิทยานิพนธ์ วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัย
อุบลราชธานี.
2. คลอเคลีย วจนะวิช ากร และ กนกกาญจน์ ศรีส ุร ินทร์.
มปป. วิธีการหาคำตอบสำหรับปัญ หาการจัดเส้นทางรถ
เก็บขยะมูลฝอย กรณีศึกษา เทศบาลตำบลอุบล จังหวัด
อุบลราชธานี. วารสารวิชาการ วิศวกรรมศาสตร์ ม.อบ.,
11(2), 41 - 52.
3. A. Baykasoglu, and M. Göçken. 2009. Gene
Expression Programming Based Due Date
Assignment in a Simulated Job Shop. Expert
Systems with Applications, Vol. 36: 12143 – 12150.
4. K. Ferentinos, and L. Albright. 2005. Optimal
Design of Plant Lighting System by Genetic
Algorithms. Engineering Applications of Artificial
Intelligence, Vol. 18: 473 – 484.
5. ชวลิต โควีระวงศ์.2562. การปรับปรุงระบบการเดิน ทาง
พนั ก งานขายแบบเพื ่ อ นบ้ า นใกล้ ส ุ ด ด้ ว ยเทคนิ ค การ
เคลื่อนย้ายแบบ 2-opt. การประชุมวิช าการระดับชาติ
วิทยาลัยนครราชสีมา ครั้งที่ 6.
230
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

การจัดเส้นทางที่เหมาะสมสำหรับรถรับ-ส่งพนักงาน กรณีศึกษาบริษัทผลิตชิ้นส่วนยานยนต์
Vehicle Routing Problem for Employee Shuttle Bus Service: A Case Study of
Automotive Part Company

เรืองยศ ฤกษ์เนาวรัตน์1* และ วรวุฒิ หวังวัชรกุล2*


1
สาขาการจัดการวิศวกรรม ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพมหานครฯ 10900
2
ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพมหานครฯ 10900
E-mail: rueangyos.l@ku.th1*, fengwww@ku.ac.th2*

บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้นำเสนอวิธีการจัดเส้นทางเดินรถ และเลือกขนาดรถที่เหมาะสมให้กับสายรถรับ-ส่งพนักงาน โดยใช้อาศัยข้อมูล
สายรถรับ-ส่ง 12 สาย และจุดรับ-ส่ง 103 จุดของโรงงานกรณีศึกษา เพื่อลดต้นทุนในเช่ารถจากผู้ให้บริการ ภายใต้เงื่อนไขที่ไม่
เปลี่ยนแปลงจุดรับ-ส่งพนักงาน และบริษัทผู้ให้บริการเช่ารถ มีข้อจำกัดได้แก่ เส้นทางของรถแต่ละคัน ขนาด และจำนวนของรถที่
เหมาะสมของแต่ละสาย การศึกษาและพัฒนาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ใช้วิธีการของฮิวริสติกผสมผสานกับการใช้ฟังก์ชันวิธีการ
เชิงวิวัฒนาการ (Evolutionary Method) ในโปรแกรม Microsoft Excel Solver เพื่อแก้ไขปัญหา โดยปัจจุบันค่าใช้จ่ายสำหรับ
ว่าจ้างผู้ให้บริการเช่ารถในหนึ่งกะทำงานอยู่ที่ 562,731.9 บาทต่อเดือน สามารถลดค่าใช้จ่ายได้ จำนวน 68,451.4 บาทต่อเดือน
หรือร้อยละ 12.16

คำสำคัญ: ปัญหาการจัดเส้นทางขนส่ง ฮิวริสติก วิธีการเชิงวิวัฒนาการ เอ็กเซล โซลเวอร์

Abstract
This research presents a planning method to re-route and determine the appropriate size for each
shuttle bus line in a case study for the factory's employees, with 12 routes and 103 pick-up points. The objective
is to minimize the cost of shuttle leasing from the same car service provider using the existing pick-up points
for employees. The specified requirements are 1) the route of each shuttle, 2) the size of the shuttle for each
route, and 3) the total number of shuttles available for picking up the employees. The study employs
spreadsheet models in Microsoft Excel and Solver, as well as an evolutionary method, to identify a solution for

231
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

minimizing the monthly cost of outsource-shuttle service from 562,731.9 Baht. The result shows a reduction in
employee shuttle service costs of 68,451.4 baht per month or 12.16 percent.

Keywords: Vehicle Routing Problem, Heuristic, Evolutionary Method, Excel Solver

232
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

1. บทนำ 2. ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
สวัส ดิการสำหรับพนักงาน ถือเป็นส่วนหนึ่ง ขององค์กร 2.1 ปัญหาการจัดเส้นทางยานพาหนะ (Vehicle Routing
คุณภาพ การจัดสวัสดิการรถรับ -ส่งพนักงาน เป็นสวัสดิการที่ Problem: VRP)
นอกเหนือจากที่กฎหมายกำหนดที่นายจ้างจัดให้แก่ลูกจ้าง VRP เป็นปัญหาที่มีการศึกษาวิจัย และมีความความนิยม
และเป็นหนึ่งในรูปแบบของสวัสดิการสำหรับ พนักงานที่ได้รับ มาอย่างยาวนาน ในการประยุกต์ใช้ในแก้ปัญ หา ด้านการ
ความนิยมโดยสวัสดิการรถรับ -ส่ง นั้น โรงงานจะจัดหารถที่ เดินทาง มีเงื่อนไข และรวมถึงข้อจำกัดด้านต่าง ๆ เกี่ยวข้องกับ
เหมาะสม ทั้งรถบัส มินิบัส หรือรถตู้ เพื่อใช้รับส่งพนักงานจาก สถานการณ์ ทำให้ปัญหา VRP มีความหลากหลาย [1] วิธีฮิวริ
ที่พักมายังโรงงาน นิยมแบ่งสายการเดินรถตามเส้นทางต่าง ๆ สติกส์ (Heuristics) คือ วิธีการหาคำตอบที่มีประสิทธิภาพและ
ทั้งนี้ เพื่อให้บุคลากรเกิดความสะดวก ปลอดภัย ประหยัดเวลา ได้ ร ั บ ความนิ ย มอย่ า งสู ง สามารถใช้ แ ก้ ป ั ญ หาได้
ในการเดินทาง ซึ่งถือว่าคุ้มค่าสำหรับพนักงานที่จำเป็นต้องเดิน หลากหลายภายในระยะเวลาอันสั้นและใช้วิธีการที่ไม่ซับซ้อน
ทางไกลเพื่อมาทำงาน มีข้อจำกัดว่าคำตอบที่ได้จากวิธีการนี้ให้ผลที่ดีแต่ไม่ได้ การันตี
กรณีศึกษาเป็นบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ สนับสนุนการ ว่าเป็นคำตอบที่ดีที่สุด
ผลิตให้กับค่ายผู้ผลิตรถยนต์ชั้นนำในประเทศเพื่อการตลาดใน ภายใต้วิธีเมตาฮิวริสติก (Metaheuristics) ถูกนำมาใช้ใน
ประเทศ และการส่ ง ออก ลั ก ษณะการผลิ ต ในรู ป แบบ การหาคำตอบเป็นวิธีแบบฮิวริสติกส์แบบนึงที่มีจุดประสงค์เพื่อ
(Original Equipment Manufacturer, OEM) โ ดยร ั บ จ ้ า ง หาคำตอบที่ดีที่สุดวิธีการเมต้าฮิวริสติกส์ มีการคิดค้นขึ้นมา
ผลิตตามรูปร่าง และคุณลักษณะตามแบบที่ลูกค้ากำหนด ซึ่งมี หลากหลายวิธีด้วยกัน เช่น ขั้นตอนวิธีเชิงพันธุกรรม (Genetic
ผลิตภัณฑ์หลักคือ ตัวถังรถยนต์ และชุดท่อไอเสีย แบ่งโรงงาน algorithm) เป็นต้น
ออกเป็น 2 โรงงาน คือ สำนักงานใหญ่ (โรงงานที่ 1) อำเภอ 2.2 วิธีเชิงวิวัฒนาการ (Evolutionary Algorithm)
บางปะกง และสาขาบ้านโพธิ์ (โรงงานที่ 2) อำเภอบ้านโพธิ์ [1,2] เป็นวิธีที่ใช้กลุ ่ม ของประชากรเป็ นฐานในการหา
จังหวัดฉะเชิงเทรา คำตอบที่เหมาะสมที่สุด วิธีการนี้จะใช้กลไกการคำนวณที่ได้รับ
การกำหนดจัดเส้นทางของรถรับ -ส่งพนักงานเกิดขึ้น โดย แนวคิดมาจากการวิวัฒนาการทางชีววิทยา ได้แก่ การสืบพันธุ์
อาศัยภายใต้ประสบการณ์ของเจ้าหน้าที่ผู้ดูแล ทำให้เกิดความ กลายพั น ธุ ์ และการคั ด เลื อ กโดยคำตอบที ่ ไ ด้ ร ั บ ในการ
สูญเปล่าด้านระยะทางในการเดินรถรับ-ส่งพนักงาน ด้วยเหตุนี้ แก้ปัญหาการเพื่อหาคำตอบที่เหมาะที่สุด การศึกษาและให้
ผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษาการจัดการเส้นทางของรถรับ - คำตอบที่ค้นหาได้จากวิธีการเชิงวิวัฒนาการ อาจไม่ใช่คำตอบ
ส่งพนักงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้ระบบรถรับ -ส่งพนักงาน ที่ดีที่สุดของปัญหา แต่คำตอบเหล่านี้เป็นคำตอบที่ใกล้เคียงกับ
การศึ ก ษาระบบการจั ด เส้ น ทางในพื ้ น ที ่ กรุ ง เทพฯ และ คำตอบที่ดีที่สุดและสามารถนำไปใช้ได้ และวิธีดังกล่าวนิยมใช้
สมุทรปราการ ที่มีสายรถรับ -ส่ง และจุดรับพนักงานมากที่สุด อย่ า งแพร่ ห ลายในปั จ จุ บ ั น ได้ แ ก่ วิ ธ ี ก ารเชิ ง พั น ธุ ก รรม
อีกทั้ง ยังมีความใกล้เคียงกันในระดับพื้นที่จังหวัด เพื่อให้มี (Genetic Algorithm: GA)
ระยะทางที่ส ั้น และมี ประสิ ท ธิภ าพยิ่ง ขึ ้น และสามารถลด [2] และวิธีการเชิง วิวัฒนาการได้นำมาใส่ไว้ในโปรแกรม
ภาพรวมของงบประมาณสวัส ดิก ารรถรับ -ส่ง ของพนั ก งาน ไมโครซอฟท์ เอ็ ก เซล (Microsoft Excel) สำหรั บ ในการ
บริษัทได้อีกด้วย แก้ ป ั ญ หาดั ง กล่ า วเพื ่ อ สะดวกในการสร้ า งโมเดลทาง

233
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

คณิตศาสตร์ และการหาค่าที่เหมาะที่สุด (Optimization) ใน โรงงานมีการใช้รถวิ่งคันละ 1 สาย รวมทั้งหมด 12 สาย


เครื่องมือ โซลเวอร์ (Solver) โดยผ่านฟังก์ชัน Evolutionary จำนวนจุดรั บส่ง ทั ้ง หมด 103 จุด ในพื้นที่ กรุง เทพฯ และ
2.3 การประยุกต์ใช้ว ิ ธี ใ นการปรับ ปรุ งเส้ นทางเดิ น รถที่ สมุทรปราการ เพื่อไปรับพนักงานตามตำแหน่ง จุดรับส่ง ตาม
เหมาะสม กำหนด ปั จ จุ บ ั น โรงงานได้ มี ก ารใช้ ร ถในการรั บ -ส่ ง ของ
งานวิจัยจากหลากหลายสถาบันนำวิธีการนี้ไปประยุกต์ใช้ พนักงานกะกลางวัน ทั้งหมด 12 คัน ประกอบไปด้วยรถบัส
ในการปรับปรุงเส้นทางเดินรถขนส่งหลากหลายกรณีศึกษา ขนาด 40 ที่นั่ง จำนวน 5 คัน รถบัส 1 ชั้น ขนาด 30 ที่นั่ง
ปี พ.ศ. 2559 [3] ศึกษาการจัดเส้นทางรถเก็บขยะภายใน จำนวน 2 คัน และ รถตู้ ขนาด 13 ที่นั่ง จำนวน 5 คัน และกะ
มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ เพื่อหา กลางคืน รถบัส 1 ชั้น ขนาด 30 ที่นั่ง จำนวน 2 คัน และ รถตู้
ผลลัพธ์ของเส้นทางเดินรถให้ระยะทางรวมที่น้อยที่สุด ด้วย ขนาด 13 ที่นั่ง จำนวน 10 คัน
วิธีการแบบประหยัด (Saving Algorithm) และ ฟังก์ชันวิธีการ
เชิ ง วิ ว ั ฒ นาการ (Evolutionary Method) ในโปรแกรม
ไมโครซอฟท์ เอ็กเซล โซลเวอร์ (Microsoft Excel Solver)
โดยทดสอบหาหาผลลัพธ์ 2 รูปแบบ คือ เส้นทางเดินรถ 1
เส้นทาง ผลลัพธ์คือ วิธีการของเชิงวิวัฒนาการ มีระยะทางรวม
สั ้ น ที ่ ส ุ ด สามารถลดระยะทางจากเส้ น ทางเดิ ม ลง 12.4
กิโ ลเมตรต่อวัน หรือร้อยละ 36.7 สำหรับกรณีการเดินรถ
รูปที่ 1 ตัวอย่างรถแต่ละขนาดของรถรับส่งพนักงาน
2 เส้นทาง ผลลัพธ์คือ วิธีการเชิงวิวัฒนาการ มีเส้นทาง
ระยะทางรวมที่น้อยมากที่สุด มี ระยะ ทางรวมลดลง 5.9
3.1.2 แผนที่และตำแหน่งของจุดรับส่งพนักงาน
กิ โ ลเมตรต่ อ วั น หรื อ ร้ อ ยละ 30.3 และเส้ น ทางใหม่ จ าก
จุดรับ-ส่งพนักงานแต่ละสายจะเริ่มวิ่งตั้งแต่ปลายสายและ
การศึกษาจะมีสัดส่วนภาระของงานจะมีความสมดุลที ่ด ีก ว่า
สิ้นสุดที่จุด 0 และในตอนเย็นตำแหน่งของจุดรับ-ส่งพนักงาน
เส้นทางเดินรถที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน
จะวิ่งออกจากจุด 0 ไปยังปลายสายในเส้นทางเดิม ดังรูปที่ 2
การหาผลลัพท์ ด้วยฟังก์ชัน Evolutionary สำหรับปัญหา
ที่มีขนาดใหญ่ จะให้ผลลัพท์ที่ ด้อยกว่าผลลัพท์ที่ได้จากการใช้
ตั ว แบบทางคณิ ต ศาสตร์ แต่ ก ารหาคำตอบด้ ว ยฟั ง ก์ ชั น
Evolutionary ประมวลหาผลลัพท์ที่ใช้ระยะเวลาที่น้อ ยกว่า
เมื่อ [4] ได้ศึกษากรณีการปรับสมดุลของงาน เพื่อแก้ปัญหา
การเดินทางของพนักงานขาย กรณีที่มีพนักงานหลายคน ด้วย
หลักการค่าที่น้อยที่สุดของค่ามากที่สุด

3. การดำเนินการวิจัยและผลการวิจัย
3.1 การเก็บรวบรวมข้อมูล
3.1.1 จำนวนสายรถและสถานที่วิ่งในปัจจุบัน รูปที่ 2 ตำแหน่งของจุดรับ-ส่งพนักงานบนแผนที่
234
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

3.1.3 ตำแหน่งละติจูดและลองจิจูด เงื่อนไขการจ


่ายต่อวัน (บาท)
เก็บข้อมูลมาในรูปแบบของละติจูดลองจิจูดจากตำแหน่ง ประเภทรถ ขนาด 1 ชั้น ขนาด 2 ชั้น
ระยะทาง (km)
30 ที่ นั่ง 40 ที่ นั่ง
จริงบนพื้นที่ผ่าน Google Map ทั้ง 103 จุดตัวอย่างดังรูปที่ 3
ตากว
่า 50 1,250.0 1,750.0
1. รถบัส 50 - 100 1,333.3 1,833.3
จุ ดที่ ชื่อ จุ ดรั บ่ง
-ส ละติ จู ด ลองติ จู ด 100 ขึน้ ไป 1,416.7 1,916.7
0 โรงงาน (สานักงานใหญ ่) 13.5861734 100.9389015 อัตราสิน้ เปลือง 4.0 3.0
1 บีทีเอส พระโขนง 13.7126906 100.5976744 ตากว
่า 50 541.7
2. รถตู

2 บีทีเอส่อนนุ
อ ช 13.7057315 100.6008999 50 - 100 583.3
ขนาด 13 ทีนัง
3 บีทีเอส บางจาก 13.6967823 100.6043881 100 ขึน้ ไป 625.0
อัตราสิน้ เปลือง 9.0
4 บีทีเอส ปุณณวิถี 13.6881884 100.6088904
5 บีทีเอส อุดมสุข 13.6789303 100.6069635
รูปที่ 5 ค่าใช้จ่ายในเช่ารถ และอัตราการสิ้นเปลืองน้ำมัน
รูปที่ 3 ตัวอย่างข้อมูลละติจูดลองจิจูดของแต่ละตำแหน่ง
ค่าใช้จ่ายจะมีด้วยกัน 2 ส่วนคือ ค่าใช้จ่ายที่เป็นค่าเช่ารถ
3.1.4 การหาระยะทางจากละติจูดลองจิจูดของแต่ละจุด และค่าใช้จ่ายที่เป็นค่าน้ำมัน ค่าเช่ารถจะแบ่งตามระยะทาง
ของการวิ่งรถรับ-ส่งตามเส้นทาง และส่วนค่าน้ำมันจะคิดจาก
อัตราการสิ้นเปลืองน้ำมันแสดง ดังรูปที่ 5
3.1.6 ค่าใช้จ่ายในปัจจุบัน
รถรับ-ส่งพนักงานกะกลางวันและกะกลางคืน จะแบ่งเป็น
12 เส้นทางวิ่ง เท่ากับจำนวนคันรถ แต่จ ะมีค วามแตกต่ า ง
เกี่ยวกับขนาดรถตามจำนวนพนักงาน ตามรายละเอีย ดตาม
หัวข้อที่ 3.1.1 และกำหนดวันทำงานเป็น 24 วันต่อเดือน โดย
ค่าใช้จ ่ายทั้ง หมดในการรับ -ส่งพนักงานกะกลางวันจะอยู่ที่
23,447.16 บาทต่อวัน และค่าใช้จ ่ายทั้ง หมดในการรับ -ส่ง
รูปที่ 4 ตัวอย่าง Distance Matrix 103 คูณ 103 พนักงานกะกลางคืนจะอยู่ที่ 14,195.40 บาทต่อวัน
จากรูปที่ 3 นำข้อมูลละติจูดลองจิจูดของแต่ละตำแหน่ง 3.2 การสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์
ไปใส่ในตัวโค้ดของ VRP Spread Sheet Solver เพื่อดึงข้อมูล 3.2.1 สมมติฐาน
ระยะทางจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งจาก Google Maps รูป 1) ราคาน้ำมันดีเซลเฉลี่ย 30 บาทต่อลิตร
ที่ 4 และสร้าง Distance Matrix ขนาด 103 คูณ 103 2) อัตราเฉลี่ยสิ้นเปลืองน้ำมันตลอดเส้นทางคงที่เท่ากัน
3) ไม่พิจารณาระยะเวลาในการเดินทางเข้ามาเกี่ยวข้อง
3.1.5 ค่าใช้จ่ายในการเช่ารถรับ-ส่งแต่ละประเภทและ
อัตราสิ้นเปลืองน้ำมัน

235
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

3.2.2 ดัชนี (Indices)


i และ j ใช้แทนตำแหน่งของหรือจุดที่รถไปรับส่งพนักงาน ∑v∈V ∑j∈N 𝑋𝑖𝑗𝑣 = 1 (2)
โดยกำหนดให้ ม ี i และ j เท่ า กั บ 0 จะมี i และ j เท่ า กั บ
1,2,3,…,N โดยใช้รถคันที่ v ซึ่ง v เท่ากับ 1,2,3,…,V และให้ทุก สมการที่ (3) ข้อจากัดจานวนพนักงานทีข่ น้ึ รถ v ต้องมี
เส้นทางจะต้องสิ้นสุดการเดินทางที่โรงงาน 0 และ k เป็นชนิด ผลรวมไม่เกินทีน่ งั ่ ทัง้ หมดของรถ v
ของรถ โดยที่ k เท่ากับ 1 คือ รถขนาด 13 ที่นั่ง k เท่ากับ 2
คือรถขนาด 30 ที่นั่ง k เท่ากับ 3 คือรถขนาด 40 ที่นั่ง ∑v∈V di ∑j∈N Xij ≤ K vk (3)
3.2.3 พารามิเตอร์ (Parameters) สมการที่ (4) สมการข้อจากัดรถออกจากแต่ละตาแหน่ง
𝑣
𝑐𝑖𝑗 คือ ต้นทุนต่อกิโลเมตรในการเดินทางจากตำแหน่ง i ได้เพียงครัง้ เดียว
ไป j โดยใช้รถ v
𝑑𝑖 คือ จำนวนพนักงาน ณ ตำแหน่ง i 𝑣
∑𝑗𝜖𝐶 𝑋0𝑗 =1 (4)
𝐾𝑘𝑣 คือ จำนวนที่นั่งของรถคันที่ v โดยใช้รถขนาด k
𝑛 คือ จำนวนพนักงาน สมการที่ (5) สมการข้อจากัดรถทีเ่ ข้าและออกใน
𝐷𝑖𝑗 คือ ระยะทางจากตำแหน่ง i ไปยัง j ตาแหน่งนัน้ ๆ ต้องมีค่าเท่ากัน
𝑅 𝑣 คือ ค่าเช่ารถคันที่ v
3.2.4 ตัวแปรตัดสินใจ (Decision variables) ∑𝑖∈𝑁 𝑋𝑖𝑗𝑣 − ∑𝑗𝜖𝑁 𝑋𝑘𝑗
𝑣
=0 (5)
𝑣
𝑋𝑖,𝑗 เท่ากับ 1 เมื่อรถ v มีการเดินทางจากตำแหน่ง i ไป
ยัง j และเท่ากับ 0 เมื่อรถ v ไม่มีการเดินทางจากตำแหน่ง i ไป 3.3 การจัดเส้นทางด้วยวิธีการเชิงวิวฒ
ั นาการ
ยังตำแหน่ง v 3.3.1 วิธีการฮิวริสติกส์ในการสร้างแบบจำลองทาง
3.2.5 สมการเป้าหมาย (Objective Function) คณิตศาสตร์
งานวิจัยโดยทั่วไปทีเ่ กี่ยวข้องกับปัญหา VRP สามารถแสดง
ด้วยแบบจำลองทางคณิตศาสตร์มาตรฐานได้ [5] ซึ่งงานวิจัยนี้
มีสมการเป้าหมายด้วยกันสองส่วนคือ ค่าใช้จ่ายที่เป็นผลรวม
ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น ตามระยะทาง และค่าใช้จ่ายที่เป็นผลรวม
จากค่าเช่ารถขนาด k คันที่ v ดังสมการที่ 1

𝑀𝑖𝑛𝑖𝑚𝑖𝑧𝑒 𝑍 =
∑v∈V ∑(i,j)ϵA cijv Dij Xijv + ∑vϵV Rv (1)

3.2.6 สมการข้อจำกัด (Constraints)


สมการที่ (2) สมการข้อจากัดว่าตาแหน่งนัน้ ๆ จะได้มี รูปที่ 6 ตัวอย่างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ที่ใช้คำนวณโดย
รถเดินทางผ่านจากอย่างน้อย 1 คัน วิธีการแบบฮิวริสติกส์
236
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

แบบจำลองทางคณิตศาสตร์ ถูกสร้างออกมาเป็นสเปรตชีท
การจัดเส้นทางรับ-ส่งพนักงานที่เหมาะสมได้ ตามตัวอย่าง ดัง
รูปที่ 6 จะประกอบด้วยชีทงานออกเป็น 4 ชีทงานด้วยกัน คือ
1) ส่วนเมทริกซ์ระยะทางขนาด 103 คูณ 103 2) ส่วนที่ใช้การ
คำนวณค่าเช่ารถและค่าน้ำมัน 3) ส่วนจำนวนพนักงานแต่ละ
จุดรับ-ส่ง และ 4) ผลลัพธ์ที่แสดงค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการรัน
หาค่า โดยการจัดเส้นทาง จะต้องมีจ ำนวนพนักงานไม่เกิน
ขนาดของรถ และระยะทางการเดินรถที่ ต่ำที่สุดที่เป็นไปได้
เพื่อวัตถุประสงค์ค่าใช้จ่ายที่น้อยที่สุด
3.3.2 การหาคำตอบโดยใช้ฟังก์ชัน “Evolutionary” ใน รูปที่ 7 การตั้งค่าในเครื่องมือโซลเวอร์
เครื่องมือโซลเวอร์ (Solver)
จะดำเนิ น การใช้ โ ปรแกรม Excel Solver โดยวิ ธ ี ก าร
“Evolutionary” ซึ่งเป็นวิธีการฮิวริสติกส์แบบหนึ่ง ที่ใช้วิธีการ
เชิงพันธุกรรมในการหาคำตอบในช่องของ “Set Objective”
ให้เลือกเป็นค่า Min เพื่อให้ค่าใช้จ่ายออกมาน้อยที่สุด ในช่อง
ค่าใช้จ ่ายรวม จากนั้นใส่ช ่อง “Changing Variable Cells”
เพื่อหาเส้นทางที่จะไปและใส่ข้อจำกัดเพิ่ม เติม โดยข้อจำกัด
ของ “Changing Variable Cells” เป็น All Different เพื่อนำ
คำตอบของตำแหน่งที่จะเดินทางไป ออกมาเป็นค่าที่แตกต่าง รูปที่ 8 ค่าพารามิเตอร์ของฟังก์ชั่น “Evolutionary” ที่ใช้
กันเพื่อป้องกันไม่ให้กันทัวร์ย่อยเกิดขึ้นดังรูปที่ 7 และข้อจำกัด
ด้านจำนวนที่นั่ง ของรถสอดคล้องกับเงื่อนไขจำนวนพนักงาน 3.3.3 ผลการหาคำตอบด้วยวิธีการเชิงวิวัฒนาการ
ต่ อ ที ่ น ั ่ ง ของรถรั บ -ส่ ง หลั ง จากตั ้ ง ค่ า ต่ า งๆและเลื อ ก คำตอบของโมเดลสามารถอธิบายผลลัพธ์ทปี่ ระกอบไปด้วย
“Option”กำหนดค่าพารามิเตอร์ที่เป็นค่ามาตรฐาน (Default) 1) การเลือกขนาดรถ 2) จำนวนของรถที่ใช้ และ 3) ระยะทาง
ของฟัง ก์ช ั่น “Evolutionary” เพิ่มความหลากหลายในการ ของเส้นทางรวมที่ต่ำที่สุดที่เป็นไปได้ โดยทั้งสามส่วนจะแปร
สร้างคำตอบเริ่มต้นและการกลายพันธ์ของวิธีเชิงพันธุกรรม ผันกับค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้น ตามเงื่อนไขของค่าใช้จ่ายในข้อ
และจำนวนครั้งของการทำซ้ำ ดังรูปที่ 8 แล้วจึงกด “Solve” 3.1.5 คำตอบที่ได้จะสามารถช่วยในการตัดสินใจเลือกแนว
จนกระทั่งได้ค่าเป้าหมาย ทางการจัดเส้นทางทีม่ คี ่าใช้จ่ายที่น้อยที่สุดให้กับกรณีศึกษา
การจั ด เส้ น ทางแบบดั ่ ง เดิ ม ในพื ้ น ที่ ก รณี ศ ึ ก ษา ของ
พนักงานกะกลางวัน 234 คน ใน 103 จุด มี ทั้งหมด 12 คัน
ประกอบด้วยรถบัสขนาด 40 ที่นั่ง จำนวน 5 คัน รถบัสขนาด
30 ที่นั่ง จำนวน 2 คัน และ รถตู้ ขนาด 13 ที่นั่ง จำนวน 5 คัน

237
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

ผลหลังปรับปรุงของค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 20,595 บาทต่อวัน ลดลง


จากเดิม 2,852.14 บาทต่อวัน จะเลือกใช้รถทั้งหมดเพิ่มขึ้ น
จากเดิม 12 คันเป็น 18 คัน แบ่ง เป็นรถตู้ข นาด 13 ที่นั่ ง
จำนวน 16 คัน และรถบัสขนาด 30 ที่นั่ง จำนวน 2 คัน
และพนักงานกะกลางคืน 118 คน ใช้รถบัส 1 ชั้น ขนาด
30 ที่นั่ง จำนวน 2 คัน และ รถตู้ ขนาด 13 ที่นั่ง จำนวน 10
คัน ผลหลัง ปรับปรุง มีค ่าใช้จ่ายอยู่ที่ 11,680.3 บาทต่อวัน
ลดลงจากเดิม 2,500.11 บาทต่อวัน จะเลือกใช้ร ถทั้ง หมด
เหลือ 10 คัน เป็นรถประเภท รถตู้ขนาด 13 ที่นั่ง ทั้ง หมด
รูปที่ 9 เปรียบเทียบค่าใช้จ่ายก่อนและหลังปรับปรุง
จำนวน 10 คัน

5 ข้อเสนอแนะ
4. สรุปผล
การหาคำตอบด้วยวิธีการฮิวริสติกส์ เป็นการหาคำตอบซึ่ง
การแก้ปัญหาและหาค่าที่เหมาะสมสำหรับการจัดการ สาย
ไม่รับประกันค่าที่ดีที่สุด ยังสามารถพัฒนาต่อยอดแบบจำลอง
รถรั บ -ส่ ง พนั ก งาน ไม่ ส ามารถหาคำตอบเพี ย งอาศั ย
ทางคณิตศาสตร์เพื่อหาค่าเป้าหมายที่ดีกว่านี้ต่อไปได้
ประสบการณ์ของพนักงานแก้ไขและปรับปรุง ได้เพียงอย่าง
เดียว ผู้วิจัยได้นำเสนอการวิธีแก้ไขปัญหาการสร้างแบบจำลอง
เอกสารอ้างอิง
ทางคณิตศาสตร์ขึ้นมาเพื่อหาคำตอบดังกล่าว โดยแบบจำลอง
1. ระพีพันธ์ ปิตาคะโส. 2559. “วิธีการวิวัฒนาการโดยใช้
ทางคณิตศาสตร์ใช้วิธีการฮิ วริส ติกส์ และใช้ Excel Solver
ผลต่ า งสำหรั บ แก้ ป ั ญ หาการขนส่ ง โลจิ ส ติ ก ส์ . ”
Evolutionary โดยคำตอบที่ออกมาสามารถอธิบายได้ว่า
อุบลราชธานี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี,
โรงงานจำเป็ น ต้ อ งใช้ จ ำนวนและขนาดรถเท่ า ใดจึ ง
2. C. T. Ragsdale. 2015. “Spreadsheet Modeling and
เหมาะสม จุดหมายปลายทาง และการเลือกเส้นทางใดที่มี
Decision Analysis: A Practical Introduction to
ประสิทธิภาพมากสูงที่สุด ซึ่งคำตอบที่ได้จ ากวิธีดังกล่ า วคือ
Business Analytics.” 7 th edition. Connecticut:
สำหรับกะกลางวันมีการใช้รถเดิมจาก 12 คัน เพิ่มขึ้นเป็น 18
Cengage Learning, pp. 402-411.
คัน แบ่งเป็นรถบัสขนาด 30 ที่นั่งจำนวน 2 คัน และรถตู้ขนาด
3. ณัฐณิชา รุ่งโรจน์ชัชวาล และคณะ. 2559. “ประยุกต์ใช้
13 ที่นั่งจำนวน 16 คัน ลดค่าใช้จ่าย 2,852.1 บาทต่อวัน ร้อย
ปัญหาการจัดเส้นทางการเดินรถสำหรับเก็บขยะมูล ฝอย
ละ 12.16 และกะกลางคืนอยู่ที่ มีการใช้รถเดิมจาก 12 คัน
กรณี ศ ึ ก ษมหาวิ ท ยาลั ย สงขลานคริ น ทร์ วิ ท ยาเขต
ลดลงเป็น 10 คัน เป็นรถตู้ขนาด 13 ที่นั่ง ทั้งหมด จำนวน 10
หาดใหญ่,” วารสารไทยการวิจัยดำเนินงาน. ปีที่ 4 (ฉบับที่
คัน ลดค่าใช้จ่าย 2,500.1 บาทต่อวัน ร้อยละ 17.63 ตามลำดับ
2), หน้า 18–31.
เมื่อเปรียบเทียบกับค่าใช้จ่ายเดิมสามารถแสดงผลดังรูปที่ 9
4. อภิศ ักดิ์ วิทยาประภากร และ พีร ยุทธ์ ชาญเศรษฐิกุล .
2558. “ตัวแบบทางคณิตศาสตร์ส ำหรับปรับสมดุลงานใน
ปั ญ หาการเดิ น ทางพนั ก งานขาย กรณี ห ลายคนด้ ว ย
238
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

หลักการค่าน้อยสุดของค่ามากสุด ,” วารสารไทยการวิจัย
ดำเนินงาน. ปีที่ 3 (ฉบับที่ 1), หน้า 13-30,
5. ปัญญวัฒน์ จันทร์ชัยภักดิ์ . 2561. “การแก้ปัญหาการจั ด
เส้นทางเดินรถรับส่งนักเรียน: กรณีศึกษาโรงเรียนประสิทธิ์
ศึกษาสงเคราะห์ .” วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัย
อุบลราชธานี.

239
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

การลดปริมาณของเสียในกระบวนการทดสอบการทำงานของชิ้นงาน สำหรับ ชิ้นส่วนของตัว


รับส่งสัญญาณข้อมูลทางแสง โดยใช้แนวทางของ ซิกซ์ ซิกม่า
Reduction of reject in Functional Test process for Optical Communication part
by Six Sigma way

จักรภัทร บุญสู1่ * เสมอจิตร หอมรสสุคนธ์2*


1
ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อ.คลองหลวง ปทุมธานี 12120
2
ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อ.คลองหลวง ปทุมธานี 12120
E-mail: chakkapat_b@hotmail.com1*, tsamerji@engr.tu.ac.th2*

บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นการปรับปรุงกระบวนการผลิตของบริษัทผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ติดต่อสื่อสารทางแสง โดยได้ทำการวิเคราะห์ และ
ปรับปรุงกระบวนการโดยการประยุกต์ตามหลักแนวคิดซิกซ์ ซิกม่า ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน เริ่มจากขั้นตอนคัดเลือกปัญหา ซึ่ง
พบว่า คุณภาพวิกฤติคือ ค่าอุณหภูมิภายในตัวงานที่อุณหภูมิแวดล้อมที่ 0°C ในกระบวนการทดสอบการทำงานของชิ้นงาน และมี
สัดส่วนของเสียโดยเฉลี่ย 11.79% จึงตั้งเป้าหมายในการลดอัตรางานเสียของ Unit Temperature@0°C โดยเฉลี่ยลงอย่างน้อย
10% สำหรับขั้นตอนการวัด ได้ทำการวิเคราะห์ระบบการวัดโดยใช้ GR&R และทำการปรับปรุงให้ระบบการวัดมีความน่าเชื่อถือ
หลังจากนั้นในขั้นตอนการวิเคราะห์ ใช้การวิเคราะห์ลักษณะข้อบกพร่องและผลกระทบ (FMEA) การวิเคราะห์ความเสียหาย และ
การทดลองเพื่อหาความสัมพันธ์ด้วย Regression Analysis ซึ่งพบว่า ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับค่า Unit Temperature@0°C คือ ความ
หนาของกาวที่กระบวนการติดส่วนประกอบต่างๆในรูปแบบ Chip ลงในตัวงาน และการติดฝางาน สำหรับขั้นตอนการปรับปรุง ได้
ทำประยุกต์ใช้การออกแบบการทดลองเพื่อปรับปรุงกระบวนการ และได้รับค่าเป้าหมายของปัจจัยที่เหมาะสม สุดท้ายในขั้นตอน
การควบคุม ได้ทำการเพิ่มการควบคุมกระบวนการ ด้วยแผนภูมิการควบคุม ประเภท Xbar-R Chart เพื่อควบคุมกระบวนการติด
ส่วนประกอบต่างๆในรูปแบบ Chip ลงในตัวงาน และการติดฝางาน ให้เป็นไปตามความคาดหมายเสมอ ผลที่ได้หลังจากการ
ปรับปรุงกระบวนการ พบว่าอัตราของเสียโดยเฉลี่ยของค่า Unit Temperature@0°C ลดลงเหลือประมาณ 1.57% ซึ่งเป็นไปตาม
เป้าหมายที่ตั้งไว้ที่ 10%

คำสำคัญ : การลดงานเสีย, ซิกซ์ ซิกม่า, การวิเคราะห์ลักษณะข้อบกพร่องและผลกระทบ, การออกแบบการทดลอง

240
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

Abstract
This research aims to improve the manufacturing process of the optical communication manufacturing
company by analyzing and improving its processes using 5 steps of Six Sigma technique. The first step is the
define phase. It was found that the critical quality is Unit Temperature@0°C in functional test process having
the reject rate of 11.79%. Therefore, the target of this work was to reduce the average reject rate of Unit
Temperature@0°C at least 10%. In the measure phase, measurement system was analyzed using GR&R
technique. The improvement of measurement was performed to achieve reliable measurement system. Next
is the analyses phase. FMEA, Failure Analysis and Regression Analysis, was applied and found that the factors
affecting the Unit Temperature@0°C were the epoxy bond line thickness of die bond and the lid attach
processes. Later in the improve phase, the design of experiment was applied to improve the processes and to
determine the optimum machine setting parameters of process of interest. At the last phase, control chart with
Xbar-R chart type was implemented to continuously control the die bond and the lid attach processes. The
result after processes improvement shows that the average reject rate of Unit Temperature@0°C was reduced
to 1.57% achieving the research target which is 10% reject rate reduction.

Keywords : Defect reduction, Six sigma Failure mode and effects analysis, Design of experiment

241
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

1. บทนำ จากการวิเคราะห์กรณีศ ึกษาในช่วงเวลาตั้ง แต่ ตุล าคม


ในปัจจุบัน สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส 2563 - มิถุนายน 2564 พบว่ากระบวนการที่มีง านเสียมาก
โคโรนา(COVID19) ทำให้ผู้คนจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงการพบปะ ที ่ ส ุ ด คื อ กระบวนการทดสอบการทำงานของขิ ้ น งาน
และอยู่ร ่วมกันในสถานที่ต่างๆ บริษ ัทต่างๆจึง จำเป็นต้อ ง (Functional Test) ข้อมูลดังแสดงในรูปที่ 2 โดยกระบวนการ
ปรับตัวด้วยการให้พนักงานทำงานจากที่บ้าน ประกอบกับ นี้เป็นการทดสอบการทำงานทั ้ง เชิง ไฟฟ้ าและเชิง แสงของ
อินเทอร์เน็ตมีบทบาทและมีความสำคัญต่อชีวิตประจำวันของ ชิ้นงานครั้งสุดท้ายก่อนจะส่งไปยังลูกค้า และอัตรางานเสียโดย
คนเราเป็นอย่างมาก เพราะทำให้วิถีชีวิตเราทันสมัยและทัน เฉลี่ยอยู่ที่ 23% (ตุลาคม 2563 - มิถุนายน 2564) ดังรูปที่ 3
เหตุการณ์อยู่เสมอ ดัง นั้นปริมาณการใช้ง าน Internet จึง
เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ตลาดอุปกรณ์ที่เกี่ยวกับการสื่อสารจึง
เติบโตเป็นหลายเท่าตัว
เทคโนโลยีการรับส่งสัญญาณข้อมูลทางแสงผ่านสาย Fiber
Optic เป็นเทคโนโลยีการติดต่อสื่อสาร Internet ที่ได้รับความ
นิยมมากที่สุดในปัจจุบั น เนื่องจากเทคโนโลยีที่มีการสูญเสีย
ของสัญญาณน้อยที่สุดและมีความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่สูง
ที่สุดในปัจจุบัน
กรณีศึกษาเป็นบริษัทผลิตตัวรับส่งสัญญาณข้อมูลทางแสง
ผ่านสาย Fiber Optic ที่แผนกการผลิตชิ้นส่วนประกอบของ รูปที่ 2 อัตรางานเสียของแต่ละกระบวนการ
ตั ว รั บ ส่ ง สั ญ ญาณข้ อ มู ล ทางแสงผ่ า นสาย Fiber Optic ที่
เรียกว่า Silicon Photonic Integrated Circuits(PIC) ซึ่งเป็น
ส่วนประกอบหลักในการเข้ารหัสข้อมูลเป็นสัญญาณทางแสง
เพื่อที่จะส่งออกไปสู่เครือข่าย Internet และถอดรหัสข้อมูล
จากสั ญ ญาณแสงที ่ ร ั บ มาจากเครื อ ข่ า ย Internet โดยตั ว
ผลิตภัณฑ์มีรูปร่างดังรูปที่ 1

รูปที่ 3 อัตรางานเสียที่เกิดขึ้นที่กระบวนการทดสอบการ
ทำงานของชิ้นงาน ต่อเดือน
รูปที่ 1 ภาพ 3 มิติของผลิตภัณฑ์

242
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

จากการแจกแจงอัตรางานเสียตามอาการเสียของชิ้นงาน ในอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนประกอบฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ[1-2],
พบว่า อาการเสีย Unit Temperature@0°C มีอัตรางานเสีย การลดปริมาณของเสี ยในอุ ตสาหกรรมการผลิ ต แผ่น วงจร
มากที่สุด ดังตารางที่ 1 อิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ [ 3-5] และการลดปริ ม าณของเสี ย ใน
อุตสาหกรรมการผลิตอุปกรณ์รับส่งสัญญาณทางแสง[6] ดังนั้น
ตารางที่ 1 ตารางแจกแจงอัตรางานเสียตามอาการเสีย งานวิ จ ั ย นี ้จ ึ ง จะประยุ กต์ ใช้ เ ทคนิ ค ซิ ก ซิ กมาด้ ว ยแนวทาง
อาการเสียของชิ้นงาน อัตรางานเสียเฉลี่ย DMAIC เ พ ื ่ อ ล ด อ ั ต ร า ง า น เ ส ี ย อ า ก า ร Unit
Unit Temperature@0°C 11.79% Temperature@0°C ในกระบวนการทดสอบการทำงานของ
Measure TX Power 3.11% ชิ้นส่วนของตัวรับส่งสัญญาณข้อมูลทางแสงลง 10%
Error 2.45%
Bring TX UP Center 2.27%
Xtalk_Total 1.70%
2. ทฤษฏีที่เกี่ยวข้อง
BER 0.94% Six Sigma เป็นระบบการบริหารจัดการคุณภาพภายใน
Other 0.71% องค์กรที่มีคุณภาพมากและแพร่หลายมาก ที่ยอมให้มีของเสีย
ในระบบได้เพียง 3.4 ชิ้น จากจำนวนสินค้าที่ผลิตล้านชิ้น หรือ
เมื่อทำการวิเคราะห์ข้อมูลในช่วงเวลาตั้งแต่ ตุลาคม 2563 ที่เรียกว่า 3.4 ppm (Part Per Million) เป็นระบบที่เน้นความ
- ม ิ ถ ุ น า ย น 2564 พ บ ว ่ า อ ั ต ร า ง า น เ ส ี ย ข อ ง Unit ร่วมมือของทุกคนในองค์กรโดยไล่มาตั้งแต่ผู้บริหารไปจนถึ ง
Temperature@0°C ต่ อ เดื อ น โดยเฉลี ่ ย อยู ่ ที่ ป ระมาณ บุคลากรในองค์กรทุกๆคน เน้นการลดความผิดพลาด ลดความ
11.79% ดังรูปที่ 4 สูญเปล่าต่าง ๆ มีเป้าหมายสูงสุดเพื่อลดค่าใช้จ่ายของบริษัท
และสร้างความพึงพอใจให้แก่ลูกค้า [7]
Sigma(σ) เป็ น อั ก ษรกรี ก โบราณที ่ใ ช้ใ นทางสถิ ต ิ แ ทน
ความหมายของส่ ว นเบี ่ ย งเบนมาตรฐาน ( Standard
Deviation) ซึ ่ ง ความหมายเชิ ง ทฤษฎี Six Sigma คื อ ความ
พยายามลดความผันแปรของกระบวนการโดยบีบให้ความผัน
แปรทั้ง หมดอยู่ภ ายใต้ขีดจำกัดของข้อกำหนดด้านคุณภาพ
โดยสมมุติให้ปรากฏการณ์ที่เกิดในระบบนั้นมีการแจกแจงแบบ
ปกติ (Normal Distribution) หรือการกระจายเป็นรูประฆัง
คว่ำทั้งหมด โดยค่าเฉลี่ยที่จุดกึ่งกลางของการกระจายตัวนั้น
คือ ค่าที่ต้องการ ส่วน ซิกมา คือ หนึ่งช่วงของความเบี่ยงเบน
มาตรฐาน ที่วัดจากจุดกึ่งกลางดังกล่าว ซึ่งถ้าตัว Six sigma มี
รูปที่ 4 อัตรางานเสียของ Unit Temperature@0°C ต่อเดือน ค่าสูงหรือมีความผันแปรมากขึ้นเท่าไรก็เปรียบเสมือนมีการทำ
ข้อผิดพลาดน้อยลงเท่านั้น ซึ่งโอกาสที่จะเกิดข้อผิดพลาดตัวนี้
จากงานวิจัยที่ผ่าน ๆ มา พบว่า มีการประยุกต์ใช้เทคนิค เรียกว่า DPMO (Defects Per Million Opportunities)
ซิ ก ซิ ก ม่ า ด้ ว ยแนวทาง DMAIC เพื ่ อ ลดปริ ม าณของเสี ยใน
กระบวนการ อย่างหลากหลาย ได้แก่ การลดปริมาณของเสีย
243
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

2.1 การแก้ไขปัญหา DMAIC 2.2 เครื่องมือที่ใช้ในวิธีการ Six Sigma


วิธีการทางซิกซ์ ซิกมา ประกอบด้วยการวิเคราะห์ปัญหา 5 2.2.1 การศึกษา Gage R&R
ขั้นตอน [7] ดังต่อไปนี้ การศึกษา Gage R&R ประยุกต์ใช้ในการประเมินการวั ด
2.1.1 ขั้นตอนคัดเลือกปัญหา (Define Phase) โดยทั่วไป [7] โดยปกติทำจะพิจ ารณาจากทั้ง สองส่ ว น คือ
กำหนดกรอบความคิ ด ในเรื ่ อ งต่า งๆทำให้ช ัด เจน เช่ น ความผันแปรจากเครื่องมือวัด (EV)และคนวัด(AV) โดยมุ่งเน้น
ระบบ กระบวนการ กลยุทธ์ที่จะนำมาพิจารณา ความเห็นและ การแก้ไขให้ถูกจุดในการซ่อมหรือปรับปรุงเครื่องมือวัดให้ดีขึ้น
ความต้องการของลูกค้า และเป้าหมายของสิ่งที่จะปรับปรุง หรือจะอ้างอิงตำราก็ได้
2.1.2 ขั้นตอนการวัด (Measure Phase) 2.2.2 การวิเคราะห์ข้อบกพร่องและผลกระทบ(Failure
เป็นขั้นตอนการประเมินความสามารถของกระบวนการวัด Mode and Effects Analysis: FMEA)
ที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน กำหนดเครื่องมือและตัวชี้วัดที่จะใช้ในการ การวิเคราะห์ข้อบกพร่องของกระบวนการและผลกระทบที่
ติ ด ตามความก้ า วหน้ า และความสำเร็ จ ของโครงการ และ เกิดขึ้นเป็นวิธีการที่จะต้องอาศัยทีมในการแสดงความคิดเห็น
ตรวจสอบความสมบูรณ์ถูกต้องของเครื่องมือวัดวัด เครื่องจักร และลงคะแนน เพื่อประเมินความเสี่ยงของผลกระทบที่เกิดขึ้น
และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการให้อยู่ในมาตรฐาน เนื่องจากคะแนนจะเป็นตัวบ่งชี้ว่าความเสี่ยงใดที่มีคะแนนสูง
2.1.3 ขั้นตอนการวิเคราะห์ (Analyze Phase) ที่สุด คือ ความเสี่ยงนั้น คือ ปัญหาที่ควรได้รับการแก้ไขเป็น
ทำการวิเคราะห์ข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้ตามขั้นตอนการวัด ลำดับแรก ซึ่งคะแนนที่บอกระดับความเสี่ยงนั้นเรียกกันว่าค่า
เพื่อให้ทราบความสัมพันธ์ร ะหว่างสาเหตุ และผลที่เกิ ด ขึ้ น RPN [7] ซึ่งมาจากคาว่า Risk Priority Number การคำนวณ
รวมถึงรากเหง้าสาเหตุของงานที่บกพร่อง ทบทวนกลยุทธ์และ ค่า RPN ได้มาจากผลคูณของ 3 พารามิเตอร์ คือ S × O × D
ความเหมาะสมของวิธีการที่จะนำมาใช้ และคัดเลือกกระบวน เมื่อ
วิธีการทางสถิติ ที่จ ะใช้ เป็ น เครื่องมือในการวิเคราะห์ แ ละ Severity(S) คือ ระดับความรุนแรงของผลกระทบจากเกิด
ติดตามผล ปัญหา
2.1.4 ขั้นตอนการปรับปรุง (Improve Phase) Occurrence(O) คื อ ระดั บ ความถี ่ ข องปั ญ หา ความ
นำผลการวิเคราะห์ข้อมูลตามขั้นตอนการวิเคราะห์ มา ล้มเหลว หรือ ความผิดพลาดที่เกิดขึ้น
ปรับปรุงกระบวนการในปัจจุบันโดยใช้เทคนิคต่างๆ Detection(D) คื อ ระดั บ ความสามารถในการตรวจจับ
2.1.5 ขั้นตอนการควบคุม (Control Phase) ปัญหานั้นก่อนที่จะส่งมอบผลิตภัณฑ์ไปยังกระบวนการถัดไป
ปรับปรุงระบบงานอื่นๆ ให้สอดคล้องสัมพันธ์และส่งเสริม หรือก่อนส่งให้ลูกค้า
กระบวนการที่ปรับปรุง ใหม่ตามขั้นตอนการปรับปรุง ให้มี 2.2.3 การออกแบบการทดลอง (Design of
ประสิทธิภ าพสูง สุด นำระบบควบคุมต่ างๆ มาใช้ เช่น การ Experiment)
ควบคุมกระบวนการทางสถิติ (Statistical Process Control การออกแบบการทดลอง เป็นการวางแผนการทดลองเชิง
– SPC), ผังการผลิต (Production Board), การใช้สัญลักษณ์ วิทยาศาสตร์ที่ใช้เทคนิคทางสถิติชั้นสูง ในการปรับสภาวะของ
ภาพในพื้นที่ทำงาน (Visual Workplace) ติดตามตรวจสอบ กระบวนการให้เป็นไปตามสภาพที่ต้องการ และข้อดีของการ
ความถูกต้องของกระบวนการเป็นระยะ และปรับปรุง แก้ไ ข ออกแบบการทดลอง คือ ให้ผ ลของความแม่นยำและความ
เพิ่มเติมจนกว่ากระบวนการจะมีระดับคุณภาพที่ต้องการ ถูกต้องในการวิเคราะห์ข้อมูลได้มาก สามารถระบุ ออกมาเป็น
ค่าตัวเลขทางสถิติที่แสดงถึงค่าระดับนัยสาคัญของตัว แปรที่
244
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

ส่ ง ผลต่ อ กระบวนการได้ อี ก ทั ้ ง ยั ง มี ค วามรวดเร็ ว ในการ 3.2.1 ศึกษาวิธีการวัดของ “Unit Temperature@0°C”


ตรวจสอบสาเหตุของปัญหา [8] แนวคิดของการวัดของค่า Unit Temperature@0°C คือ
การวัดค่าอุณหภูมิภ ายในตัวงาน(ภายในตัวงานได้มีการรวม
3. วิธีการวิจัย วงจรการวัดอุณหภูมิอยู่ภายในตัวงานผ่านทางขาของตัวงาน
งานวิจัยนี้ได้นำแนวทางของกระบวนการซิกซ์ ซิกมา และ ซึ่งเครื่องทดสอบทำการอ่านจากวงจรนี้)ในขณะที่อยู่ภ ายใต้
เครื่องมือทางสถิติต่างๆเข้ามาช่วยให้การวิเคราะห์เพื่อหา อุณหภูมิแวดล้อมที่ 0°C ดังรูปที่ 5
ปัจจัยที่ก่อให้เกิดของเสียจากกระบวนการผลิต และหาแนว
ทางการแก้ปัญหาเพื่อลดปริมาณของเสีย Chiller Head
( 0°C
3.1 ขั้นตอนคัดเลือกปัญหา (Define Phase) )

จากการใช้วิธีการแจกแจงปัญหา [7] พบว่าอัตรางานเสีย


ของแต่ล ะกระบวนการจากการเก็บข้อมูลเป็นระยะเวลา 9 ( Chip )

เดือน (ตุลาคม 2563 - มิถุนายน 2564) เกิดขึ้นทีก่ ระบวนการ Socket


( Chip )
ทดสอบการทำงานของชิ้นงานซึ่งมีอัตรางานเสียมากที่ส ุดใน
รูปที่ 5 หลักการในการวัด “Unit Temperature@0°C”
กระบวนทั ้ ง หมด (ดั ง ภาพที ่ 2) และ อาการเสี ย “Unit
Temperature@0°C” สูง ที่ส ุดของกระบวนการนี้ซึ่งมีอัตรา
ทั้งนี้ การควบคุมอุณหภูมิแวดล้อมเป็นปัจจัยสำคัญในการ
งานเสียเฉลี่ยอยู่ที่ 11.79% (ดังตารางที่ 1) โดยฟังก์ชั่น การ
วัดค่านี้ งานวิจ ัยจึง ได้ทำการศึกษาวิธีการควบคุมอุณหภูมิ
ทำงานนี้มีผลต่อการทำงานของผลิตภัณฑ์หลังจากลูกค้านำไป
แวดล้อม โดยมีอุปกรณ์ที่ใช้ในการควบคุมอุณหภูมิแวดล้ อม
ประกอบแล้ว จะทำให้ผลิตภัณฑ์ของลูกค้าอ่านค่าอุณหภูมิ
คือ Chiller Head ซึ่ง ภายใน Chiller Head จะมีอุปกรณ์ที่
แวดล้อมผิดพลาดและทำให้การทำงานผิดพลาดไปด้วย รวมไป
ชื่อว่า TEC(Thermoelectric Cooler) เพื่อทำหน้าที่ค วบคุม
ถึงอัตรางานเสียที่สูงทำให้มีการส่งมอบของผลิตภัณฑ์ไม่เป็นไป
อุณหภูมิที่หน้าสัมผัสฝั่งที่จะสัมผัสชิ้นงานให้ ร้อนหรือเย็นตาม
ตามที่ลูกค้ากำหนด ดังนั้น จากข้อมูลที่ศึกษา สามารถสรุปได้
ความต้องการ โดยที่หน้าสัมผั สตรงข้ามจะมีอุณหภูมิตรงข้าม
ว่า คุณภาพวิกฤติ (Critical to quality) ของกระบวนการผลิต
เช่น ถ้าทำอุณหภูมิฝั่งสัมผัสชิ้นงานให้เย็น หน้าสัมผัสฝั่งตรง
ที่ส นใจ คือ “Unit Temperature@0°C” โดยตั้ง เป้า หมาย
ข้ามจะร้อน ดังนั้น Chiller Head ได้ถูกออกแบบให้มีระบบน้ำ
ของ ง านวิ จ ั ย นี ้ ว ่ า ล ดอั ต ร าง านเส ี ย อาการ “ Unit
หล่อเย็นฝั่งตรงข้ามนี้เพื่อไม่ให้อุณภูมิร้อนเกินไป ดังรูปที่ 6
Temperature@0°C” ของกระบวนการทดสอบการทำงาน
ของชิ้นงานลงอย่างน้อย 10%
3.2 ขั้นตอนการวัด (Measure Phase)
จ า ก ก า ร ข ั ้ น ต อ น ก่ อน ห น ้ า ท ี ่ กำ ห น ดใ ห ้ “ Unit
Temperature@0°C” เป็นคุณภาพวิกฤติ ของกระบวนการ
ผลิตที่สนใจ ในขั้นตอนนี้จะทำการประเมินและปรับปรุง ให้
ระบบวั ด มี ค วามถู ก ต้ อ ง น่ า เชื ่ อ ถื อ และเป็ น การประกั น
ความถู ก ต้ อ งของข้ อ มู ล ที ่ ไ ด้ จ ากการวั ด และทำการวั ด
ความสามารถของผลิตของกระบวนการที่สนใจ
245
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

รูปที่ 6 โครงสร้างของ Chiller Head


รูปที่ 7 ผลการคำนวน GR&R
3.2.2 การวิเคราะห์ความสามารถของระบบการวัด
เมื่อทำการประมวลผล GR&R ด้วยโปรแกรม Minitab โดย 3.2.3 การปรับปรุงระบบการวัด
ใช้วิธีการวิเคราะห์แบบ (Method of Analysis) ANOVA ซึ่ง จากการวิเคราะห์ปัญหาของระบบการวัด พบว่า ปัญหา
ผลการวิเคราะห์ %Tolerance (SV/Toler) เท่ากับ 36.84% ของระบบการวัดเกิดจาก แรงยึดติดระหว่างแผ่นโลหะกั บ
(Acceptable Criteria: < 10%) และ Number of Distinct แม่เหล็ก และแรงสปริงไม่เพียงพอ จึงทำการปรับปรุงโดยการ
Categories เท่า กับ 1% (Acceptable Criteria: ≥ 5) อยู่ใน เปลี่ยนแผ่นโลหะ แม่เหล็กและสปริงให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ดังรูปที่
เกณฑ์ที่ไม่สามารถยอมรับได้ [9] ดังรูปที่ 7 เมื่อวิเคราะห์ค่า 8 และรูปที่ 9
Repeatability และค่า Reproducibility พบว่า ความผันแปร
ทั้ง หมดเกิดที่ Repeatability ซึ่ง เกิดจากเครื่องมือวัด (EV)
เพราะว่าระบบการวัดเป็นระบบกึ่งอัตโนมัติ ความผันแปรที่
เกิ ด จากตั ว พนั ก งาน (AV) จึ ง น้ อ ยมากๆ กล่ า วคื อ ไม่ ว่ า
พนั ก งานคนไหนเป็ น คนปฏิบ ั ต ิง านก็จ ะได้ค วามผัน แปรที่
ใกล้เคียงกัน ดังนั้น จึงต้องทำการปรับปรุงทีเ่ ครื่องมือวัด (EV)

รูปที่ 8 Chiller Head หลังจากการปรับปรุง

246
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

3.2.4 การวิเคราะห์ความสามารถของกระบวนการ
จากการนำข้ อ มู ล มาวิ เ คราะห์ ค วามสามารถของ
กระบวนการด้วยโปรแกรม Minitab [9] ดังรูปที่ 11 ซึ่งผลของ
การวิเคราะห์คือ ค่า Cp ค่อนข้างสูง แต่มีค่าการวัดหลุดออก
นอกช่วงขอบเขตด้านบน

รูปที่ 9 ฝาของ Socket หลังจากการปรับปรุง

3.2.3 การวิเคราะห์ความสามารถของระบบการวัดหลังการ
ปรับปรุง
หลั ง การปรั บ ปรุ ง ผลการวิ เ คราะห์ %Tolerance
(SV/Toler) เท่ากับ 9.34% (Acceptable Criteria: < 10%)
% ) แ ล ะ Number of Distinct Categories เ ท ่ า ก ั บ 7
(Acceptable Criteria: ≥ 5) อยู่ในเกณฑ์ที่สามารถยอมรับได้
ดังรูปที่ 10 ดังนั้น ระบบการวัดนี้มีความน่าเชื่อถือเพียงพอ
รูปที่ 11 ผลการวิเคราะห์ความสามารถของกระบวนการ
สำหรับการวิเคราะห์ต่อไป จากการวิเคราะห์เพิ่มเติมพบว่า
Tolerance ของการอ่านค่าอุณหภูมิของ Chip ภายในตัวงาน
3.3 ขั้นตอนการวิเคราะห์ (Analyze Phase)
อยู่ ประมาณ 0.2°C จึงเป็นข้อกำจัดในการปรับปรุงระบบการ
งานวิจัยนี้ได้นำเอาเทคนิคการวิเคราะห์ข้อบกพร่องและ
วัด
ผลกระทบ (Failure Mode and Effects Analysis: FMEA)
เพื่อคัดเลือกปัจจัยที่ก่อให้เกิดปัญหา พบว่า ความหนาของกาว
มากเกินไปของการ Die Bond และ Lid Attach ที่มีค่า RPN
อยู่ที่ 378 เท่ากัน โดยสาเหตุของปัจจัยเหล่านี้ คือ ยัง ไม่มี
ข้อกำหนดปัจ จัย เหล่านี้ และยัง ไม่มีการหาพารามิเตอร์ของ
เครื่องจักรที่เหมาะสม
จากการหาความสั ม พั น ธ์ ด ้ ว ย Regression Analysis
ร ะ ห ว ่ า ง ค ว า ม ห น า ข อ ง ก า ว ที ่ Die Bond ก ั บ Unit
Temperature@0°C และ ความหนาของกาวที่ Lid Attach
กั บ Unit Temperature@0°C แล ะ ได้ ส ร ุ ป ข้ อ กำห นด
(Specification) ของความหนาของกาวที่กระบวนการ Die
Bond และ Lid Attach และค่ า เป้ า หมายเพื ่ อ ทำการหา
รูปที่ 10 ผลการคำนวน GR&R หลังจากการปรับปรุง

247
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

พารามิเตอร์ที่ใช้ในการติด Die และ ฝางาน(Lid) เหมาะสม ใน ผลที่ได้หลังจากการปรับปรุงกระบวนการ พบว่า อัตรางาน


ขั้นตอนการปรับปรุง (Improve Phase) ตามตารางที่ 2 เสียของอาการเสีย Unit Temperature@0°C ลดลงประมาณ
10% ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ที่ 10% ตามรูปที่ 12
ตารางที ่ 2 ตารางสรุ ปข้ อ กำหนด(Specification) และค่ า
เป้าหมาย ของความหนาของกาวที่กระบวนการ Die Bond
และ Lid Attach
ข้อกำหนด ค่า
ปัจจัย (Specification) เป้าหมาย
ความหนาของกาวที่กระบวนการ 20.6 ถึง 25 22.78
Die Bond um um
ความหนาของกาวที่กระบวนการ 37.3 ถึง 51.8 44.55
Lid Attach um um
รูปที่ 12 อัตรางานเสียของอาการเสีย Unit
3.4 ขั้นตอนการปรับปรุง (Improve Phase) Temperature@0°C หลังการปรับปรุง
จากการวิเคราะห์ด้ ว ยการทำการออกแบบการทดลอง
(Design of Experiment: DOE) แบบแฟคทอเรียล 2K [8] ทำ 4. สรุป
การหาค่าเป้าหมายที่เหมาะสมของของเครื่องจักร เพื่อให้ได้ค่า งานวิจัยนี้ได้นำแนวทางซิกซ์ ซิกมา ตามขั้นตอน DMAIC
เป้าหมายของความหนาของกาวที่กระบวนการ Die Bond มาประยุ ก ต์ ใ ช้ แ ละสามารถลดอั ต รางานเสี ย ของ Unit
และ Lid Attach ตามที ่ ไ ด้ จ ากขั ้ น ตอนการวิ เ คราะห์ ตาม Temperature@0°C ลงจากประมาณ 11% เหลือประมาณ
ตารางที่ 3 1% แสดงว่า อัตรางานเสียลดลงประมาณ 10% ซึ่งเป็นไปตาม
เป้าหมายที่ตั้งไว้ที่ 10%
ตารางที่ 3 ตารางสรุปค่าเป้าหมายของปัจจัย
ค่าเป้าหมาย 5. กิตติกรรมประกาศ
Die Lid
ขอกราบขอบพระคุณภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะ
ปัจจัย Bond Attach หน่วย
ระยะเวลาในการติด 4,215 4,000 มิลลิวินาที
วิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ได้ให้ความ
แรงในการติด 120 550 กรัม ช่วยเหลือ และให้การสนับสนุนการทำงานวิจัยนี้ให้สำเร็จลุล่วง
ความเร็วในการติด 0.7 7 มิลลิเมตรต่อวินาที ไปได้ด้วยดี

3.5 ขั้นตอนการควบคุม (Control Phase) เอกสารอ้างอิง


หลังจากที่เพิ่มการควบคุมกระบวนการ ด้วยแผนภูมิการ 1. วิภาภรณ์ แสงพิสิทธิ์ (2562). การลดปริมาณของเสี ยใน
ควบคุ ม (Control Chart) ประเภท Xbar-R Chart พบว่ า กระบวนการประกอบสปินเดิลมอเตอร์สาหรับ ฮาร์ดดิสก์
ข้อมูลมีแนวโน้มอยู่ภายในเส้นควบคุม ไดร์ฟ โดยใช้แนวทางของ ซิกซ์ ซิกม่า.
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
248
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

2. อรุณรัตน์ แสงอรุณ (2561). การลดของเสียในกระบวนการ


ผลิ ต ไพวอตด้ ว ยกระบวนการทาง ซิ ก ซ์ ซิ ก มา.
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
3. เมทิ ก า วงศ์ ม ุ ก ดาพร ( 2562). การลดของเสี ย ใน
กระบวนการตัดแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ โดยการใช้เทคนิค
ซิกซ์ ซิกมา. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
4. ชญาน์ น ั น ท์ จุ ต ิ ภ ั ค วรพงศ์ (2562). การลดของเสี ย ใน
กระบวนการประกอบแผ่ น วงจรอิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ .
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
5. ชุติมา บุญโยธา (2560). การประยุกต์ใช้แนวทางซิกซ์ ซิก
มาในการปรับปรุงคุณภาพผลิตภัณฑ์ของแผงวงจรไฟฟ้า
แบบยืดหยุ่น. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
6. อภิ ช า ปะโนรั ม ย์ (2560). การลดจำนวนของเสี ย ใน
กระบวนการผลิตอุปกรณ์ร ั บส่ง สั ญญาณทางแสง ด้ว ย
วิธีการ DMAIC. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
7. ณัฐชา ทวีแสงสกุลไทย. (2562). วิศวกรรมคุณภาพ และ
การจัดการ : เข็มทิศ การปรับปรุง และสร้างนวัตกรรม
อย่างต่อเนื่อง. สานักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
8. ผศ. ศุภชัย นาทะพันธ์. (2558). การออกแบบและวิเคราะห์
การทดลองขั้นพื้นฐาน. ซีเอ็ดยูเคชั่น
9. ปรัช ญา พละพันธุ์. (2560). คู่มือวิ เคราะห์ และจัดการ
ข้อมูลสถิติด้วย Minitab ฉบับมืออาชีพ. ไอดีซี พรีเมียร์

249
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

การตั้งพารามิเตอร์สำหรับกระบวนการปิดผนึกเพื่อลดของเสีย
กรณีศึกษาการปิดผนึกด้วยความร้อนกับถุงพลาสติก
Parameter Setting for Sealing Process to Reduce Defects :
a Case Study of Heat Sealing to Plastic Bag

กฤษญา ชวดจันทึก1* และ พัชรี โตแก้ว ทองรัตนะ2*


1
สาขาการจัดการวิศวกรรม ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เขตบางเขน กรุงเทพฯ 10900
2
สาขาการจัดการวิศวกรรม ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เขตบางเขน กรุงเทพฯ 10900
E-mail: kridsaya.c@ku.th1*, fengprt@ku.ac.th2*

บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดของเสียจากปัญหาค่าความแข็งแรงของรอยปิดผนึกต่ำกว่าค่าที่กำหนดในกระบวนการปิด
ผนึกด้วยความร้อนกับถุงพลาสติก โดยทำการทดลองแฟกทอเรียลเต็มรูป วิเคราะห์ความแปรปรวน ( ANOVA) และหาระดับ
พารามิเตอร์ที่เหมาะสมของแต่ละปัจจัย ซึ่งทำการทดลอง 3 ปัจจัย ปัจจัยละ 3 ระดับ และในแต่ละการทดลองมีการทดลองซ้ำ 2
ครั้ง จากผลการทดลองพบว่าการเปลี่ยนระดับของอุณภูมิและเวลา มีผลต่อค่าความแข็งแรงของรอยปิดผนึก โดยค่า P-Value
เท่ากับ 0.000 ทั้งสองปัจจัย แต่การเปลี่ยนระดับของแรงดันไม่มีผลต่อค่าความแข็งแรงของรอยปิด ผนึก โดยค่า P-value เท่ากับ
0.146 และพบว่าไม่มีปัจจัยที่มีอันตรกิริยาร่วมกันระหว่าง 2 ปัจจัย และ 3 ปัจจัย โดยมีค่า P-Value มากกว่า 0.05 ซึ่งระดับของ
ปัจ จัยที่เหมาะสมที่ส ุดคืออุณหภูมิ และเวลาที ่ค ่าสูง คือ อุณหภูมิ 280 ฟาเรนไฮต์ เวลา 3.5 วินที และแรงดัน 80 PSI นำ
พารามิเตอร์ที่เหมาะสมของทั้ง 3 ปัจจัยมาตั้งค่าพารามิเตอร์ของเครื่องปิดผนึก ทำการปิดผนึกและเก็บค่าความแข็งแรงของรอยปิด
ผนึกเพื่อทำการวิเคราะห์เปอร์เซ็นต์ของเสียจากตัวอย่าง พบว่าเปอร์เซ็นต์ของเสียจากปัญหาค่าความแข็งแรงของรอยปิดผนึกต่ำ
กว่าค่าที่กำหนดลดลง 26.67 เปอร์เซ็นต์

คำสำคัญ : ความแข็งแรงของรอยปิดผนึก การปิดผนึก แฟกทอเรียลเต็มรูป วิเคราะห์ความแปรปรวน เปอร์เซ็นต์ของเสีย

250
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

Abstract
The objective of this research was aimed to reduce defects from the problem of Sealing Strength
below the specified value in Heat Sealing to Plastic Bag process. The experiment was performed by the Full
Factorial, Analysis of Variance (ANOVA), and Optimize Parameters. Three-factor experiments were performed at
3 levels each, with 2 replicates in each level. The results showed that changing in temperature and time level
had an affect on the strength of the sealing value with P-value of 0.000 for both factors. However, the change
in pressure level had no affect on the strength of the sealing value with P-value of 0.146. It was also found that
there were no interaction factors between 2 and 3 factors with P-value greater than 0.05. The optimum level
of factor was temperature and time at high values : 280 Fahrenheit, 3.5 seconds, and the pressure was at 80
PSI. After the appropriate parameters of all three factors were taken, the sealing machine parameters were set,
the sealing was performed, the strength of the sealing value was then collected for the percentage of defect
analysis of the samples. It was found that the percentage of defects from the problem of the strength of the
sealing value was below the specified value by decreasing about 26.67 percent.

Keywords : Sealing strength, Sealing, Full factorial, Analysis of Variance, Percentage of defects

251
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

1. บทนำ
ในอุตสาหกรรมการผลิตเครื่องมือแพทย์ “คุณภาพ” เป็น
เรื่องที่ต้องให้ความสำคัญเพราะมีผลต่อชีวิตมนุษย์หรือสั ต ว์
ดังนั้นจึงมีข้อกำหนดหลายอย่างที่ต้องปฏิบัติตามเช่นกฎหมาย
ของประเทศผู้ออกแบบ ผู้ผลิต และประเทศที่นำไปจำหน่อย
หรือใช้งาน ผลิตภัณฑ์ต้องมีความถูกต้อง แม่นยำและปลอดภัย
และในฐานะองค์กรที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับเครื่องมือแพทย์ จึงมี
แนวคิดในการผลิตที่ถูกต้อง ปลอดภัย และเกิดของเสียน้อย
ที่สุด เพื่อความปลอดภัยในชีวิตของป่วยและแพทย์ผู้ใช้งาน
ในส่ ว นของการผลิ ต เครื ่ อ งมื อ แพทย์ น ั ้ น มี อ ยู ่ ห ลาย
สายการผลิต หลายผลิตภัณฑ์ ซึ่งในที่นี้เป็นสายการผลิตกล้อง
ที่ช่วยในการผ่าตัดข้อกระดูก ซึ่งแบ่งเป็น 2 กระบวนการผลิต
คื อ TLA หรื อ Top Level Assembly และการบรรจุภ ัณฑ์
รูปที่ 1 การปิดผนึกถุงบรรจุ TLA
(Packaging)
TLA เป็นผลิตภัณฑ์ที่ทำการประกอบและทดสอบแล้วว่า
สามารถใช้งานได้ แต่ยังไม่พร้อมจำหน่าย ดังภาพที่ 1 ซึ่งแสดง
ส่ ว นประกอบของ TLA ที ่ ป ระกอบด้ ว ยเลนส์ แผงวงจร
อิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ แบตเตอรี ่ โครงพลาสติ ก ส่ ว นหน้ า โครง
พลาสติกส่วนหลัง และสวิตช์ประกอบเข้าด้วยกัน
การบรรจุภ ัณฑ์ คือการบรรจุ TLA ลงในถุง และนำเข้ า
เครื่องซีลที่ใช้ความร้อนที่ตำแหน่งปากถุง เพื่อทำการปิด ถุง
(Heat Sealing Machine) ซึ่งข้อกำหนดที่สำคัญข้อหนึ่ง ของ
ลูกค้าคือค่าความแข็งแรงรอยปิดผนึก (Seal Strength) เพื่อ รูปที่ 2 Digital Force Gauge
ป้องกันการขาดในระหว่างกระบวนการหรือขาดก่อนการเปิด
ใช้เครื่องมือของแพทย์ เพื่อไม่ให้มีสิ่งสกปรกลงไปบนผลิตภัณฑ์ 2. ที่มาและการดำเนินการ
ซึ่งการปิดผนึกถุงในที่นี้เรียกกว่า การซีล (Sealing) หรือการ 2.1 ที่มาของปัญหา
ปิดผนึก ดังรูปที่ 1 และทำการทดสอบค่าความแข็งแรงรอยปิด เนื่องจากกระบวนการปิดผนึกที่มีข้อกำหนดเกี่ยวกั บค่า
ผนึกด้วยเครื่อง Digital Force Gauge ดังรูปภาพที่ 2 ความแข็งแรงถือเป็นสายการผลิตใหม่ของทางองค์กรและยังไม่
มีพารามิเตอร์ที่เหมาะสมสำหรับตั้ง ค่าเครื่องซีล เพื่อให้ได้
คุณภาพตามที่ลูกค้ากำหนด ดังนั้นจึงมีการทดลองผลิตโดยใช้
พารามิเตอร์ที่ลูกค้าและผู้ผลิตถุงแนะนำ ดังตารางที่ 1

252
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

ตารางที่ 1 พารามิเตอร์ที่ลูกค้าและผู้ผลิตถุงแนะนำ มาตรฐาน ASTM F 88 ในการพิจารณา โดยอันดับแรกผู้วิจัย


ได้ทำการเก็บข้อมูลและเปรียบเทียบค่าความแข็งแรงของการ
พารามิเตอร์ ค่า Setting ปิดผนึกของตัวอย่างทางด้านซ้าย กลาง ขวา ซึ่ง จากข้อมูล
แรงดัน (PSI) 80 พบว่า ค่าความแข็งแรงของการปิดผนึกไม่แตกต่างกัน [2]
เวลา (วินาที) 3.5 อธิบายถึงการพิจารณาลักษณะของกาวบนพื้นที่ที่ถูกดึง ไป
อุณหภูมิ (ฟาเรนไฮต์) 260 แล้ว เพื่อใช้ประกอบการลักษณะของข้อบกพร่องที่อาจจะ
เกิดขึ้น เพิ่มเติมจากการวัดค่าความแข็งแรงของการปิดผนึก
ผลการทดลองผลิ ต พบว่ า ค่ า Cpk เท่ า กั บ 0.2 และ หรือเพื่อการปรับปรุงค่าความแข็งแรงของการปิดผนึก [3]
เปอร์เซ็นต์ของเสียที่เกิดขึ้นจากลุ่มตัวอย่างนี้คิดเป็น 26.67
เปอร์เซ็นต์ ดังรูปที่ 3 2.3 การวิเคราะห์ระบบการวัดด้วยวิธีสุ่มซ้อน (Nested
ANOVA)
การวิเคราะห์ระบบการวัดว่าเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งที่ต้อง
ทำการวิเคราะห์ก่อนทำการปรับปรุงกระบวนการเพื่อลดของ
เสีย ซึ่งตัวอย่างที่ใช้ทดสอบในกรณีนี้ไม่สามารถดำเนิ น การ
ทำซ้ำบนชิ้นงานเดียวกันได้ ดังนั้นจึงดำเนินการวิเคราะห์โดย
อาศัยการวิเคราะห์แบบสุ่มซ้อน (Nested) โดยมีตัวแบบการ
ทดสอบดังรูปที่ 4

1 2 3 1 2 3 1 2 3
Y111 Y121 Y131 Y211 Y221 Y231 Y311 Y321 Y331
Y112 Y122 Y132 Y212 Y222 Y232 Y312 Y322 Y332
Y113 Y123 Y133 Y213 Y223 Y233 Y313 Y323 Y333
รูปที่ 3 ผลการทดลองผลิต

2.2 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง รูปที่ 4 ตัวแบบการทดสอบแบบสุ่มซ้อน [4]


ศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลต่อการกระบวนการปิดผนึกขวด
ด้วยฟอยล์ โดยการใช้ความร้อนเหนี่ยวนำในการปิดผนึกขวด ผลการทดสอบพบว่าสามารถยอมรับได้ค ือ NDC = 15
ด้วยฟอยล์ พบว่าความเร็ว ของการปิ ดผนึก ที่ ถื อได้ ว่ า เป็ น และ %Total GR&R = 8.98 ดังรูปที่ 5
ข้อจำกัดสำคัญอย่างหนึ่งนี้ ส่งผลต่อปัญหาเรื่องคุณภาพของ
การปิดผนึก [1]
ศึ ก ษาเกี ่ ย วกั บ Capability Analysis และ Attribute
Gage Repeatability and Reproducibility (gage R&R) เพื่อ
ตรวจสอบรอยรั่วและรอยปิดผนึกที่ไม่แข็งแรงของถุงบรรจุ
ภั ณ ฑ์ เ ครื ่ อ งมื อ แพทย์ ข องบริ ษ ั ท XYZ โดยมี ก ารอ้ า งอิ ง
253
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

2.5 ออกแบบและทำการทดลอง
จากการศึกษากระบวนการปิดผนึกด้วยเครื่องปิดผนึกด้วย
การให้ความร้อนของโรงงานผลิตเครื่องมือแพทย์ กรณีศึกษา
เพื่อวิเคราะห์หาปัจจัยและระดับปัจจัยที่เหมาะสมเพื่อลดของ
เสียจากปัญหาค่าความแข็งแรงของรอยปิดผนึกน้อยกว่า 4.00
เซนติเมตรกรัมแรง จากแผนการทดลองปัจ จัยนำเข้าทั้ง 3
ปัจจัยคืออุณหภูมิ แรงดัน และเวลา แต่ละปัจจัยมี 3 ระดับ
กำหนดการทำการทดลอง 2 ครั้ง รวมทั้งหมด 54 การทดลอง
ได้ผลการทดลองตามแผนการทดลองแบบแฟกทอเรียลเต็มรูป
ดังตารางที่ 2
ตารางที่ 2 ลำดับการทดลองและผลการทดลอง

Run อุณหภูมิ แรงดัน เวลา Seal


Order Strength
1 270 90 3.5 7.144
รูปที่ 5 ผลการวิเคราะห์ระบบการวัด 2 280 90 2.5 7.056
3 260 80 3.0 4.276
2.4 การทดลองแฟกทอเรียลเต็มรูป (Full Factorial 4 260 70 3.5 5.630
Experiment) 5 260 70 3.0 4.338
การทดลองแฟกทอเรียล (Factorial Experiment) เป็น 6 280 70 3.5 7.123
การทดลองที่สามารถศึกษาปัจจัยหลายปัจจัยพร้อมกัน โดยมี 7 260 90 2.5 3.502
จุ ด ประสงค์ ห ลั ก คื อ ดู ผ ลกระทบร่ ว มระหว่ า งปั จ จั ย 8 270 90 3.5 6.780
(Interaction) หรื อ เรี ย กว่ า อั น ตรกิ ร ิ ย า ซึ ่ ง สามารถแยก 9 280 70 2.5 7.282
ผลกระทบที่เกิดขึ้ นได้ เป็น 3 ประเภทคือ ผลกระทบหลั ก 10 260 90 3.0 3.666
(Main Effect) ผลกระทบร่วมระหว่าง 2 ปัจจัย (Two-factors 11 280 80 2.5 6.066
Interactions) และผลกระทบร่วมระหว่าง 3 ปัจจัย (Three- 12 270 90 3.0 6.850
factors Interactions) 13 270 70 2.5 5.854
การทดลองแฟกทอเรียลเต็มรูป จะทำการวิเคราะห์ผลด้วย
14 280 90 3.5 8.618
ตาราง ANOVA เมื่อมีการทำการทดลองซ้ำ (Replicate (n) >
15 260 80 2.5 3.634
1) โดยค่าผิดพลาด (Error) อยู่บนเงื่อนไขสมมติฐานของการ
16 280 80 3.0 7.520
แจกแจงแบบปกติและเป็นอิสระต่อกันด้วยค่าเฉลี่ยเท่ากับศูนย์
17 270 70 3.5 6.744
และความแปรปรวนคงที่คือ 𝜀~𝑁𝐼𝐷(0, 𝜎 2) [5]
18 260 90 3.5 5.414

254
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

Run อุณหภูมิ แรงดัน เวลา Seal Run อุณหภูมิ แรงดัน เวลา Seal
Order Strength Order Strength
19 270 70 3.0 6.856 49 280 90 3.0 8.060
20 280 80 3.0 7.244 50 280 70 3.5 5.076
21 260 90 3.5 4.830 51 260 80 3.0 7.234
22 280 70 2.5 7.444 52 270 70 3.5 3.572
23 260 90 2.5 3.660 53 260 70 2.5 4.460
24 280 90 3.0 7.148 54 260 80 2.5 5.866
25 270 70 2.5 6.160
26 280 80 3.5 7.824 2.6 ผลกระทบต่อความแข็งแรงรอยปิดผนึก
27 280 90 2.5 7.102 ผลการวิเคราะห์ค วามแปรปรวน (ANOVA) โดยการใช้
28 270 90 2.5 5.866 โปรแกรมสำเร็จรูป Minitab 18
เริ่มจากทำการตรวจสอบกราฟพล็อตค่าความคลาดเคลื่อน
29 260 70 3.5 6.940
สำหรับค่าความแข็งแรงของรอยปิดผนึก เพื่อพิจารณาความ
30 280 70 3.0 4.574
เหมาะสมของตัวแบบจำลองดังรูปที่ 6 โดยมีรายละเอียดดังนี้
31 260 70 3.0 7.246
กร าฟพล ็ อ ตค วามน่ า จะเป็ น แบบปกติ ( Normal
32 280 90 3.5 7.906
Probability Plot) ของค่าความคลาดเคลื่อน (Residuals) มี
33 280 80 3.5 4.280
ลักษณะการกระจายตัวเป็นเส้นตรง และค่า P-Value เท่ากับ
34 260 90 3.0 4.188
0.422 ซึ่งมากกว่าระดับนัยสำคัญ 0.05 (P-Value > 0.05) จึง
35 260 70 2.5 4.906
สรุปได้ว่าคลาดเคลื่อนมีการแจกแจงปกติ
36 260 80 3.5 6.500
แผนภูมิฮีสโตแกรม คล้ายระฆังคว่ำ จึงสรุปได้ว่าค่าความ
37 270 90 3.0 7.488
คลาดเคลื่อนมีการแจกแจงปกติ
38 270 80 3.5 5.980 กราฟ Versus Fits เพื่อตรวจสอบความเสถียรของความ
39 280 80 2.5 7.020 แปรปรวน พบว่าความกว้างของข้อมูลค่อนข้างคงที่ แสดงให้
40 270 80 3.5 6.190 เห็นถึงความแปรปรวนคงที่
41 270 80 3.0 6.020 กราฟ Versus Order เพื่อตรวจสอบความเป็นอิสระของ
42 270 80 2.5 7.618 ค่าความคลาดเคลื่อน พบว่ากราฟมีการกระจายตัวแบบสุ่ม ไม่
43 280 70 3.0 7.026 มีแนวโน้ม หรือวัฏจักร สรุปได้ว่าค่าความคลาดเคลื่อนมีค วาม
44 270 70 3.0 5.112 เป็นอิสระ
45 270 80 2.5 6.046
46 270 80 3.0 4.812
47 260 80 3.5 6.370
48 270 90 2.5 7.500
255
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

2.7 ระดับปัจจัยที่เหมาะสม (Response Optimizer)


ทำการศึ ก ษาระดั บ ปั จ จั ย ที ่ เ หมาะสม ( Response
Optimizer) ของทั้ง 3 ปัจจัย เพื่อให้ได้ค่าความแข็ง แรงของ
รอยปิดผนึกมากที่สุด ดังรูปที่ 8 และสามารถสรุปได้ว่าระดับที่
เหมาะสมของอุณหภูมิ คือ 280 ฟาเรนไฮต์ แรงดัน 80 PSI
และเวลาในการปิดผนึกคือ 3.5 วินที ซึ่งคาดการณ์ว่าจะได้ค่า
ความแข็งแรงของรอยปิดผนึกสูงสุดที่ 7.9340 เซนติเมตรกรัม
แรง

รูปที่ 6 ผลการวิเคราะห์ระบบการวัด
ผลการพิจารณากราฟพล็อตค่าความคลาดเคลื่อนสำหรับ
ค่าความแข็งแรงข้างต้น สามารถสรุปได้ว่าตัวแบบจำลองมี
ความเหมาะสม ดังนั้นจึงพิจารณาความแปรปรวนด้วยตาราง
วิเคราะห์ความแปรปรวน ดังรูปที่ 7 พบว่าไม่มีปัจจัยที่มีอันตร
กิร ิยาร่วมกันระหว่าง 2 ปัจ จัย และ 3 ปัจ จัย โดยมีค ่า P-
Value มากกว่าระดับนัยสำคัญ 0.05 (P-Value > 0.05) ดังนั้น
จึงพิจารณาปัจจัยหลักต่อและพบว่ามีปัจจัยหลักที่มีผลต่อค่า
ความแข็งแรงของรอยปิดผนึกคือ อุณหภูมิ และเวลา โดยค่า
P-Value ของผลกระทบหลักทั้ง 2 ปัจจัยมีค่าเท่ากับ 0.000 รูปที่ 8 แผนภาพระดับปัจจัยที่เหมาะสม (Response
ซึ่งน้อยกว่าระดับนัยสำคัญ 0.05 (P-Value < 0.05) Optimizer)

3. สรุป
หลังจากทำการวิเคราะห์และได้ค่าพารามิเตอร์สำหรับการ
ตั้งค่าของทั้ง 3 ปัจจัยและได้ค่าพารามิเตอร์ที่เหมาะสมแล้วดัง
ตารางที่ 3 จึง ทำการตั้ง ค่า พารามิ เ ตอร์เ พื ่อ ยื น ยั นผลการ
ทดลอง

ตารางที่ 3 ปัจจัยและระดับในการทดลองเพื่อยืนยันผล

พารามิเตอร์ ค่า Setting


แรงดัน (PSI) 80
รูปที่ 7 ตารางวิเคราะห์ความแปรปรวนผลการทดลอง เวลา (วินาที) 3.5
อุณหภูมิ (ฟาเรนไฮต์) 280

256
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

2. Matthew, D.K. 2008, Qualification of inspection


ผลการทดลองผลิ ต พบว่ า ค่ า Cpk เท่ า กั บ 1.61 และ techniques for detecting leaks in pouched
เปอร์เซ็นต์ของเสียที่ เกิ ดขึ้ นจากลุ่ มตั วอย่างนี้ค ิดเป็ น 0.00 medical devices at Company XYZ, The Graduate
เปอร์เซ็นต์ ซึ่งสามารถลดของเสียจากปัญหาค่าความแข็ง แรง School University of Wisconsin-Stout, University of
รอยปิดผนึกน้อยกว่ากำหนดได้ถึง 26.67% Wisconsin.
3. Zhanga, W., M.X. Chenga, Y.M. Liua and H. Sun .,
2019, The experiment and modeling for sealing
strength degradation evaluation of lithium-ion
pouch cell, Procedia Structural Integrity 22 : 251-
258.
4. กิติศ ักดิ์ พลอยพานิชเจริ ญ, 2553, การวิเคราะห์ระบบการวั ด
(MSA) ประมวลผลด้วย Minitab 15. พิมพ์ครั้งที่ 7. สำนักพิ มพ์
สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น), กรุงเทพฯ.
5. ประไพศรี สุทัศน์ ณ อยุธยา และ พงศ์ชนัน เหลืองไพบูลย์.
2551, การออกแบบและวิเคราะห์การทดลอง. สำนักพิมพ์
ท้อป จำกัด, กรุงเทพฯ.
รูปที่ 9 ค่าความแข็งแรงของรอยปิดผนึกจากการตั้ง
ค่าพารามิเตอร์ที่เหมาะสม

4. กิตติกรรมประกาศ
ขอขอบพระคุณ โรงงานผลิตเครื่องมือแพทย์ ลูกค้าและ
ผู้ผลิตถุงที่ใช้ในการทดลองที่ให้ความอนุเคราะห์และสนับสนุน
ข้อมูลสำหรับงานวิจัยนี้ รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้องและให้ความ
ช่วยเหลือในงานวิจัยนี้

เอกสารอ้างอิง
1. Paul, A.K. and S. Chinoy. 2 0 1 4 . Pareto optimal
solution of constrained open loop under actuated
process in induction cap sealing, IEEE International
Conference on Power Electronics, Drives and
Energy Systems (PEDES), pp1-4.

257
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

การหาคำตอบที่ดีที่สุดของการมอบหมายงานให้กับเครื่องจักร
ในกระบวนการแปรสภาพและจ่ายก๊าซธรรมชาติ
Optimization of machine assignment in the regasification
and send out process of LNG

ปภาวิชญ์ ประตาทะยัง1* อภินันทนา อุดมศักดิกุล2


1, 2สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการและระบบการผลิต ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เขตทุ่งครุ กรุงเทพฯ 10140


E-mail : papawich.p@mail.kmutt.ac.th1*, apinanthana.udo@kmutt.ac.th2

บทคัดย่อ
บทความนี้นำเสนอตัวแบบทางคณิตศาสตร์ของการโปรแกรมไม่ เชิง เส้นจำนวนเต็มผสม (Mixed-Integer Nonlinear
Programming: MINLP) ของการหาคำตอบที่ดีที่สุดสำหรับการมอบหมายงานให้กับเครื่องจักรในกระบวนการแปรสภาพและจ่าย
ก๊าซธรรมชาติ เพื่อให้มีต้นทุนด้านพลังงานไฟฟ้าต่ำที่สุดที่เพียงพอต่อการส่งออกก๊าซธรรมชาติตามอัตราที่ลูกค้า กำหนดภายใต้
เงื่อนไขของกระบวนการผลิตด้วยโปรแกรม Excel Solver จากการเปรียบเทียบต้นทุนด้านพลังงานไฟฟ้าระหว่างการมอบงาน
หมายโดยวิธีปัจจุบันกับมอบหมายงานด้วยตัวแบบที่นำเสนอ งานพบว่าการมอบหมายงานด้วยวิธีที่นำเสนอสามารถลดต้นทุนด้าน
พลังงานไฟฟ้าได้ดีกว่าการมอบหมายงานในปัจจุบันคิดเป็น 3.05 ล้านบาท หรือ 9.68%

คำสำคัญ : การโปรแกรมไม่เชิงเส้นจำนวนเต็มผสม การมอบหมายงานเครื่องจักร การประหยัดพลังงาน การหาคำตอบที่ดีที่สุด

Abstract
In this research, we formulate the optimization model of machine assignment in the regasification
and send out process of LNG by using Mixed-Integer Nonlinear Programming (MINLP). The objective of the model
is to minimize the energy cost subject to the send out rate as customer specified under the process condition
by using Excel solver. The results of the comparison between the current machine assignment method and the
propose method (MINLP) show the MINLP can reduce energy cost more than the current method with an
amount of 3.05 Million baht or 9.68%

Keywords : Mixed-Integer Nonlinear Programming (MINLP), Machine assignment, Energy saving, Optimization

258
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

1. บทนำ ไฟฟ้ า และเปรี ย บเที ย บการมอบหมายงานเครื ่ อ งจั ก รใน


ในปัจจุบันกรณีศึกษาเป็นโรงงานอุตสาหกรรมที่ดำเนินการ กระบวนการการแปรสภาพและส่งออกก๊าซธรรมชาติ ก่อน-
รั บ เก็ บ แปรสภาพ และจ่ า ยก๊ า ซธรรมชาติ โดยรั บ ก๊ า ซ หลัง ปรับปรุง โดยศึกษาการมอบหมายงานในเครื่องจักรกล
ธรรมชาติเหลวจากเรือเข้าสู่ถังจัดเก็บ สูบถ่ายออกไปยังสถานี ไฟฟ้ า 4 ประเภท ได้ แ ก่ 1.High pressure pump (HPP)
แปรสภาพให้เป็นก๊าซด้วยการแลกเปลี่ยนพลังงานความร้อน 2.Sea water pump (SWP) 3.Low pressure pump (LPP)
จากน้ำทะเล และเพิ่มแรงดันของก๊าซส่งไปทางท่อส่งจ่ายก๊าซ แ ล ะ 4.Boil of gas compressor (BOG) โ ด ย อ ้ า ง อิ ง
ธรรมชาติ ในการดำเนินงานมีส ัดส่วนการใช้พลัง งานไฟฟ้า ประสิทธิภาพในการปรับปรุงจากพลังงานที่ใช้ในหน่วย MWh
ประเภทเครื่องจักรกลไฟฟ้า (Electrical Machine) ประเภท (Mega Watt-hour) และต้นทุนด้านพลังงานไฟฟ้า THB (Thai
เครื่องปั๊มมากที่สุด แสดงดังรูปที่ 1 Baht)

2. ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
2.1 ทฤษฎี
2.1.1 การคำนวณต้นทุนด้านพลังงานไฟฟ้า
ต้นทุนด้านพลัง งานไฟฟ้าหรือค่าไฟฟ้า คือการคำนวณ
พลังงานไฟฟ้าที่อุปกรณ์หรือเครื่องจักรใช้งานในหนึ่งชั่วโมงมี
หน่ ว ยเป็ น ยู น ิ ต หรื อ KW-hour (KWh, อ่ า นว่ า kilo watt
hour) คู ณ ด้ ว ยอั ต ราค่ า ไฟฟ้ า มี ห น่ ว ยเป็ น บาทต่ อ ยู นิ ต
(THB/KWh) ดังสมการที่ (1)

ค่าไฟฟ้า = พลังงานไฟฟ้า x อัตราค่าไฟฟ้า (1)


รูปที่ 1 สัดส่วนการใช้พลังงานไฟฟ้าของเครื่องจักรแต่ละชนิด
โดยอั ต ราค่ า ไฟฟ้ า ขึ ้ น อยู ่ ก ั บ โครงสร้ า งค่ า ไฟฟ้ า อั น
การใช้งานเครื่องจักรจะพิจารณาการใช้งานตามข้อกำหนด ประกอบด้วยผลรวมของ ค่าไฟฟ้าฐาน, ค่าไฟฟ้าผันแปร (ft)
การออกแบบกระบวนการผลิ ต (Process Design) และ และภาษีมูลค่าเพิ่ม (vat) หรือในโรงงานที่มีเครื่องจักรผลิ ต
กำหนดให้เครื่องจักรทำงานโดยวิธีการเฉลี่ยโหลดให้เท่ ากั น กระแสไฟฟ้า สามารถใช้ต้นทุนการผลิตกระแสไฟฟ้าเป็นอัตรา
ตามจำนวนเครื่องจักรขั้นต่ำที่ต้องใช้ เมื่อพิจารณาจากกราฟ ค่าไฟฟ้าได้ตามที่ได้รับการอนุมัติจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
ประสิ ท ธิ ภ าพของเครื ่ อ งจั ก ร (Pump Curve) แล้ ว การ 2.1.2 ปัญหาการกำหนดงาน
มอบหมายงานให้เครื่องจักรโดยวิธีการนี้ยังมีความไม่เหมาะสม การกำหนดงานหรือการมอบหมายงาน หมายถึง การ
เนื่องจากขาดการพิจารณาถึงประสิทธิภาพของเครื่องจักรกับ จัดสรรงานให้แก่เครื่องจักรหรือบุคคลอย่างมีความเหมาะสม
การใช้พลังงานไฟฟ้า เป็นเหตุผลให้ ต้นทุนด้านพลังงานไฟฟ้า กับเป้าหมาย และคำนึงตัวแปรข้อจำกัด เช่น ความสามารถ
สูง ดังนั้นผู้วิจัยจึงต้องการที่จะทำการปรับปรุงการวางแผนการ ประสิทธิภาพ ค่าใช้จ่าย และ เวลา โดยตัวแปรข้อจำกัดและ
ใช้งานเครื่องจักรโดยวิธีการหาคำตอบที่ดีที่สุด (Optimization การมอบหมายงานสามารถแสดงในรูปแบบของกำหนดการ
Method) เพื่อลดต้นทุนด้านพลังงานไฟฟ้าในเครื่องจักรกล ทางคณิตศาสตร์ ดังนี้ สมมติให้ aij หมายถึงค่าใช้จ่ายอันเกิด
จากการกำหนดให้คนที่ i ไปทำงานชนิดที่ j และสมมติให้ xij
259
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

แสดงค่าการกำหนดให้คนงาน คนที่ i ไปทำงานชนิดที่ j [1] สมการที่ (2) เป็นพลังงานที่ใช้ในการเดินปั๊มที่ i โดยใช้


โดยกำหนดให้มีค่าเท่ากับ 1 เมื่อกำหนดให้คนงานคนที่ i ไป พลังงาน P ในช่วงเวลา t จะเห็นได้ว่าตัวแปร P อาจมีความไม่
ทำงานชนิดที่ j หรือในทางตรงกันข้ามกำหนดให้มีค่าเท่ากับ 0 เป็นเชิง เส้นในช่วงเวลาที่ t ใดๆ ประกอบกับการใช้ตัวแปร
เมื่อกำหนดให้ค นงานคนที่ i ไม่ได้ไปทำงานชนิดที่ j ดัง นั้น ตัดสินใจภายใต้ข้อจำกัดดังสมการที่ (3)
ค่าใช้จ่ายรวมทั้งสิ้นจากการมอบหมายงานจึง เท่ากับผลรวม
ของผลคูณของ aij กับ xij ในทุกคนงานที่ i ที่ถูกมอบหมาย ∑𝑐𝑖=𝑐
24
𝑥 =1 (3)
1 𝑖,𝑡
หรือไม่มอบหมายให้ไปทำงานที่ j
2.1.3 ตัวแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ สมการที่ (3) เป็นข้อจำกัดในการเดินปั๊มได้ในช่วงเวลา t
การสร้างตัวแบบจำลองทางคณิตศาสตร์มีวัตถุประสงค์เพื่อ เท่ากับหนึ่งตัวเท่านั้น
เป็นตัวแทนของปัญหาซึ่งต้องมีการกำหนดวัตถุประสงค์และ ตัวแบบตั ว แบบการจั ดตารางการเดิ น เครื ่องสูบ น้ ำ ที่
ข้อจำกัดต่างๆของปัญหา โปรแกรมไม่เชิงเส้นจำนวนเต็มผสม เหมาะสมและประหยัดพลังงานที่สุด สามารถประยุกต์ใช้งาน
(MINLP) เป็นหนึ่งในวิธีการแก้ปัญหา การมอบหมายงานที่มี ได้กับการหาคำตอบที่ ดีท ี่ส ุ ดของการมอบหมายงานให้ กั บ
ข้อจำกัดอยู่ในรูปแบบของฟังก์ชั นไม่เชิงเส้น องค์ป ระกอบ เครื่องจักรในกระบวนการแปรสภาพและจ่ายก๊าซธรรมชาติ
สำคัญของการโปรแกรมไม่เชิงเส้น ได้แก่ เนื่องจากมีรูปแบบของตัวแปรตัดสิน ใจและความซับซ้อนของ
- ตัวแปรตัดสินใจ (Decision Variables) คือค่าที่ต้องการทราบ สมการเงื่อนไขแบบไม่เป็นเชิงเส้นเหมือนกัน
หรือสิ่งที่ต้องการหาผลลัพธ์ในการมอบหมายงาน กำหนดเป็น
ตัวอักษร เช่น x1,x2,…,xn 2.2 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
- ฟังก์ชันวัตถุประสงค์ (Objective Function) คือฟังก์ชันทาง Zijun และคณะ [2] ได้ น ำวิ ธี MINLP มาใช้ ใ นการ
คณิตศาสตร์ที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรตัดสินใจ และ แก้ปัญหาการจัดตารางการเดินเครื่องสูบน้ ำที่เหมาะสมและ
วัตถุประสงค์ เพื่อหาผลลัพธ์ที่เหมาะสม ประหยัดพลังงานโดยศึกษาถึงลักษณะทางกายภาพของเครื่อง
- ข้อจำกัด (Constrains) คืออสมการหรือเซตของสมการที่จำ สูบน้ำ กราฟประสิทธิภาพของเครื่องสูบน้ำ อัตราค่าใช้ไฟฟ้า
กัดทรัพยากรหรือเงื่อนไขต่างๆของปัญหา จำนวนของข้อจำกัด ค่าพลังงานไฟฟ้าสูงสุด ผลจากงานวิจัยเมื่อเปรียบเที ยบกับ
ขึ้นอยู่กับความซับซ้อนของสภาพปัญหาและเงื่อนไข วิธีการเดิมพบว่าการจัดตารางการเดินเครื่องสูบน้ำ ที่ไ ด้จ าก
ในงานวิจัยของ Zijun, Taohui และ Andrew ได้กำหนด สมการทางคณิตศาสตร์ สามารถลดค่าใช้จ ่ายทางพลัง งาน
ตัวแบบการจัดตารางการเดินเครื่องสูบน้ ำที่เหมาะสมและ ไฟฟ้าได้ส ูง สุดถึง 24.25% นอกจากนี้ การเดินเครื่องจักร
ประหยัดพลังงานที่สุด โดยมีวัตถุประสงค์ดังสมการที่ (2) เพื่อให้ได้โหลดตามกราฟประสิทธิภาพของเครื่องจักร (Pump
Curve) มีลักษณะเป็นฟังก์ชันไม่ต่อเนื่อง ซึ่งในงานวิจ ัย ของ
24
𝑚𝑖𝑛 ∑𝑖=𝑐
𝑐
𝑥 𝑃 (2) อัมราพร [3] ได้ศึกษาการแก้ปัญหาการหาค่าเหมาะสมที่สุ ด
1 𝑖,𝑡 𝑖,𝑡
ของระบบควบคุมทางพลศาสตร์ ด้วยวิธีของโปรแกรมที่ไม่เป็น
เมื่อ 𝑥 = ตัวแปรตัดสินใจ เชิงเส้น ได้ผลลัพธ์คือวิธีของโปรแกรมที่ไม่เป็นเชิงเส้น สามารถ
𝑃 = การใช้พลังงานตามการตั้งค่าปั๊ม แก้ปัญหาที่มีลักษณะเป็นแบบเงื่อนไขไม่ต่อเนื่องได้
𝑖 = รูปแบบการตั้งค่าปั๊มแบบที่ 𝑐1, 𝑐2 , … , 𝑐24 เครื ่ อ งจั ก รกลไฟฟ้ าประเภท High pressure pump,
𝑡 = ช่วงเวลาในการเดินปั๊ม Sea water pump, Boil of gas compressor แล ะ Low
pressure pump เป็นเครื่องจักรที่มีต้นทุนด้านพลังงานที่สุด
260
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

ในกระบวนการแปรสภาพและจ่ายก๊าซธรรมชาติ ซึ่งในงานวิจัย 3.1.2 จำนวนขั้นต่ำในการเดินเครื่องจักร


ของ Zhencheng และคณะ [4] ได้ศึกษาการมอบหมายงาน จำนวนขั้นต่ำในการเดินเครื่องจักรสำหรับกระบวนแปร
ให้เครื่องจักร BOG และ Low Pressure Pump (LPP) ด้วยวิธี สภาพและส่งก๊าซธรรมชาติ ตามอัตราการส่งก๊าซ หน่วยล้าน
MINLP ผลลัพธ์จากงานวิจัยพบว่าสามารถลดการใช้พลังงาน ลูกบาศก์ฟุตต่อวัน (million standard cubic feet per day
ของเครื่องจักรได้ถึงร้อยละ 33.83 หรือMMSCFD) แสดงในตารางที่ 2
นอกจากนี ้ งานวิ จ ั ย ของ Fengqi และ Sven [5] ได้
ศึกษาตัวแบบการคำนวณต้นทุนที่เหมาะสมในการวางแผน ตารางที ่ 2 จำนวนขั ้ น ต่ ำ ในการเดิ น เครื ่ อ งจั ก รสำหรั บ
ตอบสนองการกำจัดคราบน้ำมันรั่วไหลในมหาสมุทรด้ว ยวิ ธี กระบวนการแปรสภาพและส่งก๊าซธรรมชาติ แต่ละประเภท
MINLP พบว่ า สามารถวางแผนตอบสนองการกำจั ด คราบ ตามอัตราการส่งก๊าซ (MMSCFD)
น้ำมันได้ดีที ่ส ุด ในระยะเวลา 42 วัน และค่าใช้จ ่ายในการ
วางแผนต่ำที่สุด และงานวิจัยของ อกนิษฐ์ และ ศิรวดี [6] ได้ อัตราการ จำนวนขั้นต่ำในการเดินเครื่องจักร
ศึกษาการจัดเส้นทางการขนส่งแบบแบ่งส่งสินค้าและรถหลาย ส่งก๊าซ แต่ละประเภท (ตัว)
ขนาด โดยใช้วิธีของโปรแกรมที่ไม่เป็นเชิงเส้น ผลที่ได้สามารถ (MMSCFD) HPP SWP BOG LPP
ลดต้นทุนการขนส่งได้ถึงร้อยละ 11 แต่เมื่อเปรียบเทียบกับวิธี ≤400 3 1 1 1
วิ ว ั ฒ นาการโดยใช้ ผ ลต่ างแล้ว จะใช้ เวลานานกว่ าร้อยละ ≤800 5 2 1 2
75.46 ผลลัพธ์ของงานวิจัยแสดงให้เห็นว่าคำตอบจาก MINLP ≤1200 8 3 2 3
สามารถลดต้นทุนด้านพลังงานได้ ≤1600 11 4 2 4

3. วิธีการดำเนินงาน 3.1.3 อัตราการสูบถ่ายของเครื่องจักรตามอัตราการส่งก๊าซ


3.1 ศึกษาข้อกำหนดการออกแบบกระบวนการผลิต อัตราการสูบถ่ายเพื่อให้ได้ปริมาณก๊าซส่งออกที่เพียงพอต่อ
3.1.1 จำนวนเครื่องจักรทั้งหมด คำสั่งของลูกค้า เป็นความสัมพันธ์ระหว่างค่าคงที่การสูบถ่าย
จำนวนเครื่องจักรที่มีอยู่ในปัจจุบันสำหรับกระบวนการ ของเครื่องจักรแต่ละประเภท จำนวนเครื่องจักรขั้นต่ำที่ใช้งาน
แปรสภาพและจ่ายก๊าซธรรมชาติ แสดงในตารางที่ 1 และอัตราการส่งก๊าซ แสดงในตารางที่ 3

ตารางที ่ 1 จำนวนเครื ่ อ งจั ก รที ่ ม ี อ ยู ่ ใ นปั จ จุ บ ั น สำหรั บ ตารางที ่ 3 อั ต ราการสู บ ถ่ า ยตามอั ต ราการส่ ง ก๊ า ซของ
กระบวนการแปรสภาพและจ่ายก๊าซธรรมชาติ เครื่องจักรแต่ละประเภท

ประเภทของเครื่องจักร จำนวนเครื่องจักร (ตัว) ประเภทของ อัตราการสูบถ่ายที่ต้องการ


HPP 11 เครื่องจักร หน่วยลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง (m3/h)
SWP 5 HPP 280 x จำนวนขั้นต่ำ x อัตราการส่งก๊าซ
BOG 4 SWP 4000 x จำนวนขั้นต่ำ x อัตราการส่งก๊าซ
LPP 4 BOG 0.00125 x อัตราการส่งก๊าซ
LPP 600 x จำนวนขั้นต่ำ x อัตราการส่งก๊าซ

261
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

3.2 ประสิทธิภาพของเครื่องจักร ตารางที ่ 6 ประสิ ท ธิ ภ าพและการใช้ พ ลั ง งาน (KWh) ของ


เครื่องจักรที่ใช้งานประกอบด้วย HP pump รุ่น 1 (HPP1), เครื่องจักรประเภท HP pump รุ่นที่ 2 (HPP2)
HP pump รุ่น 2 (HPP2), Sea water pump (SWP), BOG
compressor (BOG) และ Low Pressure Pump (LPP) HPP2 Range of HP pump unit F – K
ข้อจำกัดด้านประสิทธิภาพของเครื่องจักร มีดังนี้ Rate (m3/h) ≤182 ≤280 ≤378 ≤420
3.2.1 ขอบเขตการสูบถ่ายสูงสุดและต่ำสุดของเครื่องจักร Energy 900 1150 1250 1300
เครื่องจักรแต่ล ะประเภทมีอัตราการสูบถ่ายต่ำ สุดและ Slope 4.95 4.11 3.31 3.30
อัตราการสูบถ่ายสูงสุดที่สามารถทำได้ แสดงในตารางที่ 4
ตารางที ่ 7 ประสิ ท ธิ ภ าพและการใช้ พ ลั ง งาน (KWh) ของ
ตารางที่ 4 อัตราการสูบถ่ายต่ำสุดและสูงสุดของเครื่องจักร เครื่องจักรประเภท Sea water pump (SWP)

ประเภทของ อัตราการสูบถ่าย อัตราการสูบถ่าย SWP Range of SWP unit A-E


เครื่องจักร ต่ำสุด (m3/h) สูดสุด (m3/h) Rate ≤ ≤ ≤ ≤ ≤
HPP1 105 410 (m3/h) 2000 4000 6000 8000 9732
HPP2 182 420 Energy 880 900 950 1000 953
SWP 2000 9732 Slope 0.44 0.23 0.16 0.13 0.10
BOG 0.25 1.00
LPP 200 1000
ตารางที ่ 8 ประสิ ท ธิ ภ าพและการใช้ พ ลั ง งาน (KWh) ของ
เครื่องจักรประเภท BOG compressor (BOG)
3.2.2 ประสิทธิภาพและการใช้พลังงานของเครื่องจักร
เครื่องจักรแต่ละประเภทมีประสิทธิภาพแตกต่างกันตาม
BOG Range of BOG unit A – D
รุ่นและชนิดของตัวกลาง และความสัมพันธ์ของอัตราสูบถ่าย
และพลังงานที่ใช้ แสดงอยู่ในรูปของ Slope ในสมการที่ (4) Load (%) ≤0.25 ≤0.50 ≤0.75 ≤1

และแสดงในตารางที่ 5 ถึงตารางที่ 9 Energy 291.59 381.66 491.63 611.39


Slope 1166.35 763.33 655.51 611.39
Slope = Energy / Rate (4)
ตารางที ่ 9 ประสิ ท ธิ ภ าพและการใช้ พ ลั ง งาน (KWh) ของ
ตารางที ่ 5 ประสิ ท ธิ ภ าพและการใช้ พ ลั ง งาน (KWh) ของ เครื่องจักรประเภท Low Pressure Pump (LPP)
เครื่องจักรประเภท HP pump รุ่นที่ 1 (HPP1)
LPP Range of Low-Pressure Pump unit A – D
HPP1 Range of HP pump unit A – E Rate
≤200 ≤400 ≤600 ≤800 ≤1000
Rate ≤105 ≤200 ≤275 ≤350 ≤410 (m3/h)
(m3/h) Energy 880 900 950 1000 953
Energy 780 900 1000 1050 1250
Slope 4.40 2.25 1.58 1.25 0.95
Slope 7.43 4.50 3.64 3.00 3.05
262
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

3.3 ศึกษาขั้นตอนการเดินเครื่องจักร 3.4.2 พารามิเตอร์


ขั้นตอนการเดินเครื่องจักรเมื่อมีการเปลี่ยนคำสั่งอัตราการ 𝐸𝑖 = พลังงานเครื่องจักรที่ i หน่วย MWh
ส่งก๊าซมีขั้นตอนแสดงดังรูปที่ 2 𝑃𝑖 = อัตราการสูบถ่ายเครื่องจักรที่ i หน่วย m3/h
𝑆𝑖 = ความชันพลังงานต่ออัตราการสูบถ่ายเครื่องจักรที่ i
หน่วย kWh/(m3/h)
C = ค่ า ไฟฟ้ า จากเครื ่ อ งกำเนิ ดไฟฟ้า ในโรงงาน หน่ วย
THB (Thai baht)
v = เซต slope ของอุปกรณ์ HPP1 หน่วย kWh/(m3/h)
w = เซต slope ของอุปกรณ์ HPP2 หน่วย kWh/(m3/h)
x = เซต slope ของอุปกรณ์ SWP หน่วย kWh/(m3/h)
y = เซต slope ของอุปกรณ์ BOG หน่วย kWh/%
𝑧 = เซต slope ของอุปกรณ์ LPP หน่วย kWh/(m3/h)
𝑆𝑂 = อั ต ราการส่ ง ก๊ า ซตามคำสั ่ ง ของลู ก ค้ า หน่ ว ย
รูปที่ 2 ขั้นตอนการเดินเครื่องจักร
MMSCFD (Million Standard Cubic Feet per
Day of gas)
จากขั้นตอนการเดินเครื่องจักรขั้นตอนที่ 3 กำหนดให้มี
𝑛𝐻𝑃𝑃 = จำนวนเดินเครื่องขั้นต่ำของอุปกรณ์ HPP1
การกำหนดงานให้เครื่องจักรโดยมีจำนวนขั้นต่ำตามอัตราการ
𝑛𝑆𝑊𝑃 = จำนวนเดินเครื่องขั้นต่ำของอุปกรณ์ SWP
ส่ ง ก๊ า ซ แสดงในตารางที่ 2 และขั ้ น ตอนที่ 4 สั ่ ง การเดิ น
𝑛𝐵𝑂𝐺 = จำนวนเดินเครื่องขั้นต่ำของอุปกรณ์ BOG
เครื่องจักร โดยวิธีการเฉลี่ยโหลดของเครื่องจักรให้เท่ากันตาม
𝑛𝐿𝑃𝑃 = จำนวนเดินเครื่องขั้นต่ำของอุปกรณ์ LPP
จำนวนเครื่องจักรขั้นต่ำที่ต้องการใช้งาน เมื่อพิจ ารณาจาก
ประสิทธิภาพของเครื่องจักรแล้วการมอบหมายงานเครื่องจักร
3.4.3 ตัวแปรตัดสินใจ
โดยวิธีการเฉลี่ยโหลดอาจจะไม่เหมาะสม การใช้ MINLP เป็น
แนวทางหนึ่ง ที่จ ะช่วยให้ก ารมอบหมายงานเป็น ไปอย่ า งมี
1 ถ้าเครื่องจักรที่ 𝑖 ถูกมอบหมายงาน
ประสิทธิภาพมากขึ้น M𝑖 = {
0 ถ้าเครื่องจักรที่ 𝑖 ไม่ถูกมอบหมายงาน
3.4 การสร้างตัวแบบจำลองทางคณิตศาสตร์
รายละเอี ย ดตั ว แบบจำลองทางคณิ ต ศาสตร์ ข องการ 3.4.4 สมการเป้าหมาย แสดงในสมการที่ (5)
มอบหมายงานให้กับเครื่องจักรของกรณีศึกษา มีดังนี้
3.4.1 ดัชนี 𝑚𝑖𝑛 ∑24
𝑖=1 𝑀𝑖 𝐸𝑖 𝐶 (5)
𝑖 = เครื ่ อ งจั ก รที่ 1, 2,…,24 ได้ แ ก่ HPP1 A, HPP1 B,
HPP1 C, HPP1 D, HPP1 E, HPP2 F, HPP2 G, 3.4.5 สมการขอบข่าย แสดงในสมการที่ (6) – (28)
HPP2 H, HPP2 I, HPP2 J, HPP2 K, SWP A, SWP
B, SWP C, SWP D, SWP E, BOG A, ∑24 24
𝑖=1 𝐸𝑖 = ∑𝑖=1 𝑃𝑖 𝑆𝑖 (6)
BOG B, BOG C, BOG D, LPP A, LPP B, LPP C
และ LPP D ตามลำดับ

263
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

[105,410] ; 𝑖 = [1,5] 0.44 ; 0 ≤ 𝑃𝑖 ≤ 2000


[182,420] ; 𝑖 = [6,11] 0.23 ; 2000 < 𝑃𝑖 ≤ 4000
𝑃𝑖 = [2000,9732] ; 𝑖 = [12,16] ; 𝑃𝑖 ∈ 𝑅 (7) 𝑥 = 0.16 ; 4000 < 𝑃𝑖 ≤ 6000 (23)
[0.25,1.00] ; 𝑖 = [17,20] 0.13 ; 6000 < 𝑃𝑖 ≤ 8000
{ [200,1000] ; 𝑖 = [21,24] { 0.10 ; 8000 < 𝑃𝑖 ≤ 9732
∑11 (8) 1166.35 ; 0 ≤ 𝑃𝑖 ≤ 0.25
𝑖=1 𝑀𝑖 𝑃𝑖 = 280 × 𝑛𝐻𝑃𝑃 × 𝑆𝑂
763.33 ; 0.25 < 𝑃𝑖 ≤ 0.50
∑16
𝑖=12 𝑀𝑖 𝑃𝑖 = 4000 × 𝑛𝑆𝑊𝑃 × 𝑆𝑂 (9) 𝑤={
655.51 ; 0.50 < 𝑃𝑖 ≤ 0.75
(24)
∑20
𝑖=17 𝑀𝑖 𝑃𝑖 = 0.00125 × 𝑆𝑂 (10) 611.39 ; 0.75 < 𝑃𝑖 ≤ 1.00
4.40 ; 0 ≤ 𝑃𝑖 ≤ 200
∑24
𝑖=21 𝑀𝑖 𝑃𝑖 = 600 × 𝑛𝐿𝑃𝑃 × 𝑆𝑂 (11) 2.25 ; 200 < 𝑃𝑖 ≤ 400
𝑛𝐻𝑃𝑃 ≤ ∑11
𝑖=1 𝑀𝑖 𝐸𝑖 ≤ 11 (12) 𝑧 = 1.58 ; 400 < 𝑃𝑖 ≤ 600 (25)
𝑛𝑆𝑊𝑃 ≤ ∑16 (13) 1.25 ; 600 < 𝑃𝑖 ≤ 800
𝑖=12 𝑀𝑖 𝐸𝑖 ≤ 5
{0.95 ; 800 < 𝑃𝑖 ≤ 1000
𝑛𝐵𝑂𝐺 ≤ ∑20
𝑖=17 𝑀𝑖 𝐸𝑖 ≤ 4 (14) 𝑀𝑖 ∈ {0,1} ∀𝑖 (26)
𝑛𝐿𝑃𝑃 ≤ ∑24 𝑖=21 𝑀𝑖 𝐸𝑖 ≤ 4 (15) 𝐸𝑖 ∈ 𝑅+ ∀𝑖 (27)
3 ; 0 ≤ 𝑆𝑂 ≤ 400
5 ; 400 < 𝑆𝑂 ≤ 800 𝐶 ∈ 𝑅+ (28)
𝑛𝐻𝑃𝑃 = {
8 ; 800 < 𝑆𝑂 ≤ 1200
(16)
11 ; 1200 < 𝑆𝑂 ≤ 1600
1 ; 0 ≤ 𝑆𝑂 ≤ 400 สมการที่ (5) แสดงถึงสมการเป้าหมายเพื่อหาต้นทุนต่ำที่สุดใน
𝑛𝑆𝑊𝑃 = {
2 ; 400 < 𝑆𝑂 ≤ 800
(17) การมอบหมายงานเครื่องจักรโดยแปรผันตาม สมการที่ (6)
3 ; 800 < 𝑆𝑂 ≤ 1200
4 ; 1200 < 𝑆𝑂 ≤ 1600
แสดงถึงพลังงานอันเกิดจากอัตราการสูบถ่ายคูณกับความชัน
1 ; 0 ≤ 𝑆𝑂 ≤ 400 สมการที่ (7) กำหนดขอบล่างและขอบบนอัตราการสูบถ่าย
1 ; 400 < 𝑆𝑂 ≤ 800
𝑛𝐵𝑂𝐺 = {
2 ; 800 < 𝑆𝑂 ≤ 1200
(18) ของเครื่องจักรที่ 𝑖 สมการที่ (8) ถึง สมการที่ (11) กำหนด
2 ; 1200 < 𝑆𝑂 ≤ 1600 อัตราการสูบถ่ายตัวกลางรวมของเครื่องจักรแต่ละประเภทให้
1 ; 0 ≤ 𝑆𝑂 ≤ 400
2 ; 400 < 𝑆𝑂 ≤ 800 ได้ตามข้อกำหนดการออกแบบการผลิตโดยคิดจากผลรวมของ
𝑛𝐿𝑃𝑃 = {
3 ; 800 < 𝑆𝑂 ≤ 1200
(19) เครื ่ อ งจั ก รที ่ ถ ู ก มอบหมายงานเท่ า นั ้ น สมการที่ (12) ถึ ง
4 ; 1200 < 𝑆𝑂 ≤ 1600
𝑣 ; 𝑖 = [1,5] สมการที่ (15) กำหนดจำนวนเครื่องจักรที่ต้องการใช้งานขั้นต่ำ
𝑤 ; 𝑖 = [6,11] และจำนวนเครื่องจักรสูงสุดที่มีอยู่ โดยจำนวนเครื่องจักรขั้นต่ำ
𝑆𝑖 = 𝑥 ; 𝑖 = [12,16] (20) ถูกกำหนดตาม สมการที่ (16) ถึง สมการที่ (19) ซึ่ง จำนวน
𝑦 ; 𝑖 = [17,20]
{ 𝑧 ; 𝑖 = [21,24] เครื่องจักรขั้นต่ำของเครื่องจักรแต่ละประเภทจะแตกต่างกัน
7.43 ; 0 ≤ 𝑃𝑖 ≤ 105 ออกไปตามอัตราการส่ง ก๊าซที่ล ู กค้าร้องขอ สมการที่ (20)
4.50 ; 105 < 𝑃𝑖 ≤ 200
กำหนดสับเซตความชันพลังงานของเครื่องจักรแต่ละประเภท
𝑣 = 3.64 ; 200 < 𝑃𝑖 ≤ 275 (21)
3.00 ; 275 < 𝑃𝑖 ≤ 350 ประกอบด้ ว ย 𝑣, 𝑤, 𝑥, 𝑦 และ 𝑧 หมายถึ ง เซตความชั น
{ 3.05 ; 350 < 𝑃𝑖 ≤ 410 พลัง งานของเครื่องจักรประเภท HPP1, HPP2, SWP, BOG
4.95 ; 0 ≤ 𝑃𝑖 ≤ 182
4.11 ; 182 < 𝑃𝑖 ≤ 280 และ LPP ตามลำดับ โดยความชันพลังงานของเครื่องจักรแต่
𝑤={ (22)
3.31 ; 280 < 𝑃𝑖 ≤ 378 ละประเภทแตกต่างกันออกไปตามสมการที่ (21) ถึง สมการที่
4.11 ; 378 < 𝑃𝑖 ≤ 420
(25) ซึ่งเปลี่ยนไปตามช่วงของอัตราการสูบถ่ายในเครื่องจักร
ประเภทนั้นๆ สมการที่ (26) กำหนดตัวแปรตัดสินใจ 𝑀𝑖 เป็น
264
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

แบบ Binary และ สมการที่ (27) ถึง สมการที่ (28) กำหนดให้ ตารางที่ 10 เปรียบเทียบพลังงานระหว่างการเดินเครื่องจักร
พลังงานและค่าไฟฟ้าเป็นจำนวนจริงบวก ด้วยวิธีปัจจุบันกับวิธีหาค่าที่เหมาะสมโดยวิธี MINLP ในเดือน
จากนั้นหาคำตอบของตัวแบบทางคณิตศาสตร์ด้วยวิธีการ ธันวาคม 2564 (หน่วย KWh) (ต่อ)
Generalized Reduced Gradient (GRG) nonlinear ใ น
Excel Solver ได้ผลลัพธ์ดังแสดงในหัวข้อถัดไป วันที่ อัตราการส่ง วิธีปัจจุบัน วิธีหา
ก๊าซ (kWh) คำตอบที่ดี
4. ผลการดำเนินงาน (MMSCFD) ที่สุด(kWh)
ผลลัพธ์ที่ได้จากการมอบหมายงานด้วยตัวแบบจำลองทาง 12 ธ.ค. 21 600 214,479 184,717
คณิตศาสตร์พบว่าการมอบหมายงานโดยการหาคำตอบที่ดี 13 ธ.ค. 21 790 250,089 221,355
ที ่ ส ุ ด ของตั ว แบบ MINLP สามารถลดการใช้ พ ลั ง งานของ 14 ธ.ค. 21 850 299,036 295,472
เครื่องจักรในแต่ละวันเปรียบเทียบระหว่างการเดินเครื่องจักร 15 ธ.ค. 21 970 339,539 295,701
แบบเฉลี่ยโหลดซึ่งเป็นวิธีที่ใช้ปัจจุบัน แสดงดัง ตารางที่ 10 16 ธ.ค. 21 1,150 400,965 357,575
โดยสามารถลดต้นทุนด้านพลังงานหรือค่าไฟฟ้าได้ 3.05 ล้าน 17 ธ.ค. 21 1,250 432,802 422,819
บาท หรือคิดเป็น 9.68% แสดงในตารางที่ 11 18 ธ.ค. 21 1,300 450,114 417,184
19 ธ.ค. 21 1,400 483,478 447,303
ตารางที่ 10 เปรียบเทียบพลังงานระหว่างการเดินเครื่องจักร 20 ธ.ค. 21 1,280 443,189 413,953
ด้วยวิธปี ัจจุบันกับวิธีหาค่าที่เหมาะสมโดยวิธี MINLP ในเดือน 21 ธ.ค. 21 1,190 386,135 346,642
ธันวาคม 2564 (หน่วย KWh) 22 ธ.ค. 21 1,060 342,205 321,203
23 ธ.ค. 21 940 329,037 310,565
วันที่ อัตราการส่ง วิธีปัจจุบัน วิธีหา 24 ธ.ค. 21 780 275,216 217,785
ก๊าซ (kWh) คำตอบที่ดี 25 ธ.ค. 21 630 224,369 189,490
(MMSCFD) ที่สุด(kWh) 26 ธ.ค. 21 550 196,605 184,780
1 ธ.ค. 21 890 313,109 297,917 27 ธ.ค. 21 650 231,492 187,426
2 ธ.ค. 21 920 295,059 292,125 28 ธ.ค. 21 720 254,046 204,218
3 ธ.ค. 21 950 332,538 298,461 29 ธ.ค. 21 800 253,255 215,693
4 ธ.ค. 21 1,030 360,541 315,933 30 ธ.ค. 21 890 313,109 297,917
5 ธ.ค. 21 1,050 338,977 318,867 31 ธ.ค. 21 1,190 386,135 346,642
6 ธ.ค. 21 1,120 390,505 319,944 Total 9,998,411 9,030,395
7 ธ.ค. 21 1,100 383,531 317,977
8 ธ.ค. 21 920 295,059 292,125 การมอบหมายงานเครื่องจักรด้วยวิธี MINLP สามารถลด
9 ธ.ค. 21 850 299,036 295,472 การใช้ พ ลั ง งานได้ 968,016 KWh หรื อ 968 MWh ภายใต้
10 ธ.ค. 21 800 253,255 215,693 โครงสร้างค่าไฟฟ้าของโรงงานที่มีเครื่องกำเนิดไฟฟ้าภายใน
11 ธ.ค. 21 650 231,492 187,426 โรงงาน ค่าไฟฟ้าเท่ากับ 3.16 THB/KWh
265
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

ตารางที่ 11 เปรียบเทียบต้นทุนพลังงานและค่าไฟฟ้าระหว่าง ซึ่งคำตอบที่ดีที่สุดตามสมการเป้าหมายเท่ากันในทุกครั้งที่หา


การเดินเครื่องจักรด้วยวิธี ปัจจุบันกับวิธีหาค่าที่เหมาะสมด้วย คำตอบ
วิธี MINLP ในเดือน ธันวาคม 2564 5.2 ข้อเสนอแนะ
การพิจารณากราฟประสิทธิภาพของเครื่องจักร ดังตารางที่
ต้นทุน วิธีปัจจุบัน วิธีหาคำตอบที่ดีที่สุด 5 ถึง 9 เป็นการแบ่ง ช่วงความสัมพันธ์ร ะหว่างพลังงานที่ ใช้
พลังงาน (MWh) 9,998.41 9,030.40 (kWh) กับอัตราการไหล (m3/h) หรือ Slope ออกเป็นช่วงๆ
ค่าไฟฟ้า (MTHB) 31.59 28.54 ส่งผลให้สมการขอบข่ายมีความละเอียดน้อยกว่าการใช้สมการ
ผลลัพธ์ ลดลง 3.05 ล้านบาท หรือ 9.68% ต่อเนื่องไม่เป็นเชิงเส้นจากกราฟประสิทธิภาพของเครื่องจักร
เป็นสมการขอบข่า ยสำหรับ การหาคำตอบที่ ด ีที ่ส ุ ดในการ
5. สรุปผลงานวิจัยและข้อเสนอแนะ มอบหมายงานเพื่อให้ได้ต้นทุนด้านพลังงานต่ำที่สุดตามอุดม
5.1 สรุปผลงานวิจัย คติ ซึ่งการใช้สมการต่อเนื่องไม่เป็นเชิงเส้นจากจะส่งผลให้การ
จากผลลัพธ์ข้างต้นจะเห็นได้ว่าการหาคำตอบที่ดีที่สุดของ มอบหมายงานเครื่องจักรในเดือน ธันวาคม 2564 สามารถลด
การมอบหมายงานให้กับเครื่องจักรในกระบวนการแปรสภาพ ต้นทุนด้านพลังงานได้มากกว่า 3.05 ล้านบาท หรือมากกว่า
และจ่ายก๊าซธรรมชาติ ด้วยต้นแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ที่มี 9.68% เมื่อเทียบกับต้นทุนด้านพลังงานที่เกิดขึ้นจริง
รู ป แบบของปั ญ หาเป็ น แบบ MINLP โดยการใช้ Excel
Solver และพิจ ารณาถึง กราฟประสิทธิภ าพของเครื่องจักร เอกสารอ้างอิง
สามารถให้ต้นทุนด้านพลังงานต่ำที่สุด ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 1. พรรณรัช ต์ พรหมเพ็ญ , 2556, การมอบหมายง่ายอย่าง
โดยในเดือนธันวาคม สามารถลดค่าพลังงานลง 3.05 ล้านบาท เหมาะสมในกระบวนการตรวจสอบการปนเปื้อนทางจุล
หรื อ 9.68% ซึ ่ ง ได้ ผ ลลั พ ธ์ เ ป็ น การลดค่ า พลั ง งานในการ ชีววิทยาสำหรับวัตถุดิ บที่ใช้ ในการผลิต ยาและยาที ่ ไ ม่
มอบหมายงานเครื่องจักรด้ ว ยการใช้ MINLP เช่นเดี ย วกั บ ปราศจากเชื้อ, วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิ ต
งานวิจัยของ Zijun และคณะ และงานวิจัยของ Zhencheng คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอม
และคณะ ถึงแม้จะใช้เวลานานในการหาคำตอบแต่ละครั้งแต่ก็ เกล้าธนบุรี.
เป็นเวลาที่ยอมรับได้สำหรับการจัดตารางการมอบหมายงานที่ 2. Zijun Z., Taohui Z. and Andrew K., 2012,
มีข้อกำหนดจำนวนมากหรือสมการขอบข่ายมีความซับซ้อน “Minimizing pump energy in 36 a wastewater
ผลของการมอบหมายงานเครื ่ อ งจั ก รที ่ ไ ด้ จ ากตั ว processing plant”, Energy, Vol. 47, pp. 505-514.
แบบจำลองทางคณิตศาสตร์แบบ MINLP พบว่าไม่มีร ูปแบบ 3. อัมราพร บุญประทะทอง, 2547, การแก้ปัญหาด้วยวิธีตรง
ของการมอบหมายงานเครื่ องจักรที่แน่นอน หมายความว่า ของระบบควบคุมทางพลศาสตร์ที่เหมาะสมด้วยวิธีการ
เครื่องจักรประเภทเดียวกัน สามารถถูกมอบหมายงานได้ใ น แก้ปัญหาของโปรแกรมที่ไม่เป็นเชิงเส้น ร่วมกับวิธีของรุงเง
การหาคำตอบครั้งแรกแต่ในการหาคำตอบครั้งถัดไปอาจไม่ถูก - กุตตา, วิทยานิพนธ์วิศวกรรมศาสตร์มหาบัณฑิต คณะ
มอบหมายงาน เป็นผลมาจากมีเครื่องจักรที่ไม่ได้มอบหมาย วิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรต.
งานว่างอยู่ ซึ่ง รูปแบบการหาคำตอบของตั ว แปรตั ดสิ น ใจ 4. Zhencheng Y., Xiaoyan M. and Liang Z., 2021,
ดังกล่าวไม่ส่งผลกระทบต่อการหาค่าที่ดีที่สุด เนื่องจากยังคงไว้ “MINLP Model for Operational Optimization of
LNG Terminals”, Process 2021, Vol. 9, No. 599.

266
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

5. Fengqi Y. and Sven L., 2011, Oil spill response


planning with MINLP. [ออนไล น์ ]. เข้ า ถึ ง ได้ จ าก :
https://www.researchgate.net/publication/25581
4240 (วันที่ค้นข้อมูล : 17 พฤศจิกายน 2564).
6. อกนิษฐ์ สันธินาค และ ศิรวดี อรัญนารถ, 2562, “การจัด
เส้นทางการขนส่งแบบแบ่งส่งสินค้าและรถหลายขนาดด้วย
วิธีวิวัฒนาการ โดยใช้ผ ลต่าง: กรณีศ ึกษาบริษ ัทขนส่ ง
เครื่องดื่ม” วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ., ปีที่ 42, ฉบับที่
2, หน้า 145-159.

267
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

การศึกษาความสูงตัวอักษรของผลิตภัณฑ์ในร้านสะดวกซื้อ
จากข้อมูลพฤติกรรมการซื้อของกลุ่มผู้สูงอายุในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล
A character height’s study of products in convenience store
from purchasing behavior of the elderly in Bangkok and surrounding provinces

ณัฐพล พุฒยางกูร1* ภาณุพงศ์ ทองประสิทธิ์2 ณัฐพร ผ่องแผ้ว3 และจุฬาลักษณ์ จารุจุฑารัตน์4


1,2
ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม เขตภาษีเจริญ กรุงเทพฯ 10160
3
ฝ่ายวิจัยและเทคนิค บริษัท จาร์ม เทค คอนซัลแทนท์ จำกัด
4
ภาควิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
1061 ซอยอิสรภาพ15 แขวงหิรัญรูจี เขตธนบุรี กทม. 10600
E-mail: nathapon.put@siam.edu1*

บทคัดย่อ
ผู้วิจ ัยได้ ศึกษาพฤติกรรมการซื้อสินค้า ในร้านสะดวกซื้อ จากผู้ส ูง อายุ ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป จำนวน 30 คน ในเขต
กรุงเทพฯและปริมณฑล ผลสำรวจพบว่าผลิตภัณฑ์กลุ่มอาหารมีการซื้อเป็นประจำที่สุด และประเภทของอาหารมีการซื้อมากที่สุด
คือ อาหารแช่แข็ง โดยข้อมูลที่กลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญ 5 ลำดับแรกคือ ราคา วันแนะนำบริโภคหรือวันหมดอายุ ปริมาณ หรือ
ปริมาตรสินค้า รายการส่วนประกอบ และข้อมูลโภชนาการ การเปรียบเทียบความสูงตัวอักษรในผลิตภัณฑ์ตัวอย่างเทียบกับ ขนาด
การออกแบบที่เหมาะสมจากการคำนวณตามทฤษฎี ซึ่งพบว่าตัวอักษรวันแนะนำบริโภค หรือวันหมดอายุ และข้อมูลปริมาณหรือ
ปริมาตรสินค้า มีความสูงตัวอักษรมากกว่าขนาดการออกแบบที่เหมาะสมในทุกตัวอย่าง ส่วนตัวอักษรรายการส่วนประกอบ และ
ข้อมูลโภชนาการ มีขนาดความสูงของตัวอักษรน้อยกว่ามาตรฐานจากการคำนวณในทุกตัวอย่าง

คำสำคัญ : ผู้สงู อายุ, มุมการมอง, ความสูงตัวอักษร

Abstract
The researcher studied the shopping behavior in convenience stores among 30 elderly people aged
50 years and over in Bangkok and its vicinities. The survey found that food products were the most frequently
purchased and the type of food most purchased was frozen food. The data that the sample group gave priority
to the top 5 were price, best before or expire date, quantity or product volume, ingredient list and nutrition
information. when comparing the font height in the sample product with the appropriate design size based on
268
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

theoretical calculations. Comparison of character height in the sample product against the optimal design size
based on theoretical calculations which found that the character height of best before or expire date and
information on the quantity or volume of the product are greater than the proper design size in every example.
The character height of component list and nutrition information are less than in all samples.

Keywords : Elderly, Visual Angle, Character Height

269
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

1. บทนำ ผลิตภัณฑ์วัตถุอันตราย ควรให้เหมาะสมกับขนาดผลิตภัณฑ์


ในทฤษฎี ข องการบริ ห ารการตลาดได้ อ ธิ บ ายถึ ง ข้อความชัดเจน อ่านได้ง ่าย รูปลักษณ์ฉลากสีส ันสะดุดตา
กระบวนการตัดสินใจซื้อสินค้าของผู้บริโภคออกเป็น 5 ขั้นตอน ดูง่ายและชัดเจน สีบ่งบอกถึงระดับความอันตราย และควรมี
ได้แก่ ความต้องการได้รับการกระตุ้นหรือการรับรู้ถึงความ สัญลักษณ์ที่เข้าใจได้แทนตัวอักษรจำนวนมาก การศึกษาของ
ต้ อ งการ การแสวงหาข้ อ มู ล การประเมิ น ทางเลื อ ก การ กุลชลี พวงเพ็ชร์ และคณะ (2564)[4] ที่พบว่าตราสินค้า บรรจุ
ตั ด สิ น ใจซื ้อ และพฤติ ก รรมหลัง การซื ้อ ซึ ่ ง ขั ้ นตอนความ ภัณฑ์ และป้ายฉลาก ผลิตภัณฑ์ซอสกระท้อนมีขนาดตัวอักษร
ต้องการได้รับการกระตุ้นหรือการรับรู้ถึงความต้องการเป็น ที่เล็ก และข้อมูลไม่ครบถ้วน โดยแก้ไขปัญหาโดยขยายขนาด
จุดเริ่มต้นของกระบวนการซื้อ เพราะผู้บริโภคได้ตระหนักถึง ตัวอักษร และเพิ่มข้อมูล ส่วนประกอบ ข้อแนะนำการใช้ วันที่
ปัญหาหรือถูกกระตุ้นให้เกิดความต้องการ ผลิต และวันหมดอายุตามที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
ปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อการกระตุ้นก็คือรูปลักษณ์ของตัวสินค้า จะเห็นได้ว่าการศึกษาเพื่อกำหนดขนาดของตัวอักษรที่
เอง ซึ่งสามารถสื่อสารกับผู้บริโภคผ่านช่องทางหลัก 3 ประการ เหมาะสมต่อระยะการมองเห็นจึงเข้ามามีบทบาทสำคัญ แต่
คือ รูปทรง สีสัน และข้อมูล โดยเฉพาะข้อมูลที่ผู้บริโภคใช้ใน ปัญหาของการศึกษาวิจัย เพื่อการออกแบบมาตรฐานในการใช้
การแปลผลและเชื่อมโยงกับความต้องการของตนเพื่อเข้าสู่ งาน โดยเฉพาะมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับคุณสมบัติของร่างกาย
กระบวนการพิจารณาตัดสินใจเลือกต่อไป ดังเช่นการศึกษา มนุษย์นั้นยังคงพบอุปสรรคทางด้านความแม่นยำเมื่อเทียบกับ
ของจิรวุฒิ และคณะ (2562)[1] ที่ทำการออกแบบป้ายฉลาก กลุ่มประชากรและความทันสมัยของข้อมูล อันเนื่องมาจากการ
บรรจุภัณฑ์น้ำตาลทรายผ่านปัจจัย 3 ด้าน ได้แก่ การออกแบบ เก็บข้อมูลจำนวนมากเพื่อให้สามารถเทียบเท่าประชากรได้
ด้านรูปภาพ ด้านสี และด้านตัวอักษร สามารถทำให้เกิดความ อย่างแม่นยำ ยังคงมีภาระต้นทุนที่สูง รวมถึงสภาพร่างกายของ
พึง พอใจและจดจำ นำไปสู่การเลือกซื้อสินค้าได้ อีกทั้งการ มนุษ ย์มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอจากปัจจัยต่างๆ อาทิเช่น
ออกแบบอัตลักษณ์บนบรรจุภัณฑ์ดูแลเส้นผมสมุนไพรไทยของ พันธุกรรม ช่วงอายุ พฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน อาหาร
เจนยุทธ (2560)[2] ที่ประเมินความพึง พอใจของผู้บริโภค สุขภาพและการออกกำลังกาย หรืออาชีพเป็นต้น
เกี่ยวกับฟอนต์ของตราสินค้าข้อความบนฉลากกับสี สันของพื้น ซึ่งจากประเด็นดังกล่าว ทำให้การศึกษาวิจัยคุณสมบัติของ
หลัง พบว่าปัจ จัยองค์ ประกอบของการออกแบบกราฟฟิ ก ร่างกายมนุษย์เพื่อกำหนดเป็นมาตรฐานใช้งานโดยส่วนใหญ่จะ
ตัวอักษร ภาพประกอบ และสีบนบรรจุภัณฑ์เป็นปัจจัยหนึ่งที่มี เลือกกลุ่มตัวอย่างที่อยู่ในวัยรุ่ นถึง วัยกลางคนเนื่องจากเป็ น
ผลต่ อ การรั บ รู ้ ภ าพลั ก ษณ์ ต ราสิ น ค้ า และง่ า ยต่ อ การสื่ อ กลุ่มประชากรที่มีสัดส่วนสูงที่สุด รวมถึงยังมีอัตราการเปลี่ยน
ความหมายให้ผู้บริโภครับรู้ถึงผลิตภัณฑ์แต่ละชนิด ของสภาพร่างกายน้อยเมื่อเทียบกับการเปลี่ยนแปลงในช่วงวัย
ดังนั้นการออกแบบข้อมูลให้ครบถ้วน และตอบสนองต่อ อื ่ น โดยเฉพาะวั ย กลางคนไปสู ่ว ั ย สูง อายุ เนื ่ อ งภาวะของ
ผู้บริโภคได้อย่างถูกต้องเป็นสิ่งสำคัญอย่างมาก แต่ทั้งนี้การ ร่างกายที่มีการถดถอยอย่างมีนัยสำคัญ
ออกแบบข้อมูลในตัวสินค้านั้นจะพบข้อจำกัดที่สำคัญประการ แต่ ณ วั น นี ้ ส ถานการณ์ โ ลกในหลายประเทศรวมถึ ง
หนึ่ง คือ ขนาดพื้นที่ซึ่ง มีอยู่อย่างจำกัด ทำให้นักออกแบบ ประเทศไทยได้ก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ โดยนิยาม
ผลิตภัณฑ์จ ะต้องจัดวางระหว่างข้อมูล ที่ต้องปรากฎบนตัว คำว่า “ผู้สูงอายุ” (Older person) ขององค์การสหประชาชาติ
ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ต ามข้ อ กฎหมายหรื อ ข้ อ บั ง คั บ กั บ ข้ อ มู ล ทาง หมายถึง ประชากรทั้งเพศชายและหญิงที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป ซึ่ง
การตลาดให้มีค วามสมดุลมากที่ส ุด อาทิเช่น ข้อเสนอแนะ ก็ตรงกับนิยามผู้สูงอายุของประเทศไทย ตามพระราชบัญญัติ
ของศริศักดิ์ (2558)[3] ที่แนะนำว่าขนาดของฉลากสำหรับ ผู้สูงอายุ พ.ศ.2546 (ฉบับแก้ไข พ.ศ. 2553)[5] โดยองค์การ
270
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

สหประชาชาติ แบ่ง การเข้าสู่ส ัง คมผู้ส ูง อายุ เป็น 3 ระดับ และคณะ (2558)[6] ทำการออกแบบฉลากวันหมดอายุ ของ
ได้แก่ อาหารสำหรับผู้สูงอายุ โดยผู้สูงอายุร้อยละ 52.75 มีความพึง
ระดั บ การก้ า วเข้ า สู ่ ส ั ง คมผู ้ ส ู ง อายุ (Aging society) พอใจรูปแบบตัวอักษรสีดำบนพื้นหลังสีเหลือง จากนั้นทำการ
หมายถึง มีคนอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่า 10% หรือมีคนอายุ 65 ออกแบบฉลากวันหมดอายุต้นแบบ พบว่าผู้ส ูง อายุร ้อยละ
ปีขึ้นไปมากกว่า 7% ของประชากรทั้งประเทศ 61.8 มี ค วามพึ ง พอใจในฉลากที ่ อ อกแบบใหม่ เนื ่ อ งจาก
ระดับสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged society) หมายถึง สามารถค้นหาและสังเกตวันหมดอายุของฉลากอาหารได้ง่าย
มีอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่า 20% หรือมีคนอายุ 65 ปีขึ้นไป กว่าและชัดเจนกว่า การพัฒนาแอพลิ เคชั น เพื่อช่ว ยและ
มากกว่า 14% ของประชากรทั้งประเทศ ส่ง เสริมการอ่านภาษาไทยสำหรับผู้ส ูงอายุของสุมิตรา และ
ระดับสังคมผู้ส ูง อายุอย่างเต็มที่ (Super-aged society) คณะ (2560)[7] โดยให้ผ ู้ส ูง อายุส ามารถอ่านข้อความการ
หมายถึง มีคนอายุ 65 ปีขึ้นไปมากกว่า 20% ของประชากรทั้ง รับประทานยาจากฉลากยาภาษาไทยโดยใช้ แ อปพลิ เ คชั น
ประเทศ สมาร์ตโฟนได้ โดยทดสอบ 7 ชุด ตัวอักษรที่ต่างกัน พบว่า
สรุปจากที่กล่าวมาได้ว่ากลุ่มประชากรผู้สูงอายุ (อายุตั้งแต่ ตัวอักษร TH SarabunPSK มีค่าความถูกต้องมากกว่า 70%
60 ปี) รวมถึงกลุ่มวัยกลางคนตอนปลาย (อายุตั้งแต่ 50 ปี) จะ และค่าความถูกต้องสูงสุดถึง 92%
มีสัดส่วนเพิ่มมากขึ้นในประเทศไทย รวมถึงความต้องการให้ จากที ่ ก ล่ า วมาจะเห็ น ได้ ว ่ า การออกแบบข้ อ มู ล บน
ผู้สูงอายุกลับมาทำงาน ผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าวไม่ ผลิตภัณฑ์ให้มีความเหมาะสมต่อกลุ่มประชากรที่หลากหลาย
เพี ย งกระทบต่ อ ความต้ อ งการมาตรฐานการทำงานของ ถือเป็นหนทางที่เหมาะสมและสอดคล้องกับหลักการออกแบบ
ผู้สูงอายุ แต่ยังกระทบมาตรฐานต่อการดำรงชีวิตประจำวันอีก อย่างเท่าเทียม รวมถึงสร้างความยั่งยืนได้อีกด้วย จึงเป็นที่มา
ด้วยที่มีค วามจำเป็นที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น เนื่องจากผู้สูงอายุ ของการศึกษาข้อมูลพฤติกรรมการซื้อสินค้าในร้า นสะดวกซื้อ
อาจจะต้องมีการดำรงชีวิตนอกพื้นที่พักอาศัยในสัดส่วนที่เพิ่ม ของผู้สูงอายุ เพื่อทดสอบสมมติฐานเรื่องความไม่สอดคล้อง
มากขึ้น มาตรฐานข้อมูลที่ใช้สื่อสารกับบุคคลทั่วไปส่วนใหญ่ ใน ของขนาดตั ว หนั ง สื อบนผลิ ต ภั ณ ฑ์ก ับ มาตรฐานที่ มี อ ยู่ใน
สังคมอาจไม่เพียงพออีกต่อไป เนื่องจากภาพรวมของลักษณะ ปัจจุบัน ซึ่งจะนำไปสู่การศึกษาและวิจัยเพื่อให้ได้ฐานข้อมูลที่
กลุ่มประชากรที่มีการเปลี่ยนแปลงไป เหมาะสมในการออกแบบอย่างเท่าเทียมสำหรับกลุ่มประชากร
ร้านค้าสะดวกซื้อถือเป็นพื้นที่หนึ่งที่มีแนวโน้มของระดับ ที่หลากหลายต่อไป
การปฏิส ัมพันธ์ที่เพิ่มขึ้นตาม และปัจ จุบันได้ร ับความนิยม
แพร่หลายสำหรับการเป็นช่องทางในการเลือกซื้อสินค้าในการ 2. วัตถุประสงค์และขอบเขตการศึกษา
ดำรงชีวิต แต่ทั้งนี้ผู้วิจัยได้ตั้งสมมติฐานถึงตัวผลิตภัณฑ์ที่วาง 2.1 วัตถุประสงค์
จำหน่ายในร้านค้าว่าอาจมีค วามแตกต่างกันระหว่างขนาด 1) ศึกษาพฤติกรรมการซื้อสินค้าจากร้านสะดวกซื้อ เพื่อ
ตัวอักษรของข้อมูล ที่ปรากฎอยู่บนผลิตภัณฑ์ซึ่ง มาจากค่ า วิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นจากพฤติกรรมการซื้อของผู้สูงอายุ
มาตรฐานการออกแบบกับขนาดจริงที่ผู้บริโภคในกลุ่มผู้สูงอายุ 2) เปรี ย บเที ย บความแตกต่ า งความสู ง ตั ว อั ก ษรของ
มองเห็นได้อันมาจากสภาวะสายตาที่ถดถอยตามช่ วงอายุ ทำ ผลิตภัณฑ์ตัวอย่างเทียบกับมาตรฐานการออกแบบที่เหมาะสม
ให้อาจเกิดปัญหาในการดำรงชีวิต 2.2) ขอบเขตการศึกษา
ในประเทศไทยพบงานวิจัยที่มีวัตถุประสงค์ในการส่งเสริม 1) กลุ่มตัวอย่างเพศชายและหญิงคนไทยที่มีอายุตั้ง แต่ 50
คุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ ดังเช่นการศึกษาของพรศิริ จงกล ปีขึ้นไป จำนวน 30 คน
271
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

2) พักอาศัยและใช้ช ีวิตอยู่ในเขตกรุง เทพมหานครและ ตัวอักษรที่ระยะทางเท่ากัน ดังแสดงในรูปที่ 2 และสมการที่ 1


ปริมณฑล เพื่อคำนวณหาค่าร้อยละของความแตกต่าง
3) สามารถเดินทางไปร้านค้าและเลือกซื้อสินค้ าได้ด้วย 6) สรุปผลการศึกษาและข้อเสนอแนะ
ตนเอง
4) ไม่มีความพิการหรือบกพร่องด้านการมองเห็น ภายใต้
กรอบของพิจ ารณาการเลือกซื้อสินค้าโดยการมองเห็นด้วย
สายตา
5) กำหนดขอบเขตกลุ่มของผลิตภัณฑ์ที่สนใจในการศึกษา
จำนวน 5 กลุ่มคืออาหาร เครื่องดื่ม ขนม ของใช้ภายในบ้าน
และยา และเวชภัณฑ์ต่างๆ

3. ขั้นตอนการศึกษา
1) ศึกษาข้อมูลและทบทวนวรรณกรรม
2) กำหนดสมมติฐานของการศึกษา วัตถุประสงค์ และ
ขอบเขตการศึกษา
3) จั ด ทำแบบสอบถาม โดยแบ่ ง ข้ อ มู ล การสอบถาม
ออกเป็นกลุ่มประเด็นหลักคือ ข้อมูลทางกายภาพหรือปัญหา
ทางสายตา ข้อมูลที่พักอาศัยและร้านสะดวกซื้อ และข้อมูล
เกี่ยวพฤติกรรมการซื้อ โดยเก็บข้อมูลผ่านช่องทาง Google รูปที่ 1 เทคนิคการหาขนาดของวัตถุโดยใช้ภาพถ่ายดิจิทัล,
Forms ณัฐพล (2552)
4) วิเคราะห์ผลข้อมูล และคัดเลือกประเภทกลุ่มผลิตภัณฑ์
ทีม่ ีการซื้อมากที่สุดจากทั้ง 5 กลุ่ม เพื่อสุ่มตัวอย่างมาจำนวน 3
ชิ้นจากผู้ผลิตที่แตกต่างกัน
5) ทดสอบผลิตภัณฑ์ตัวอย่าง โดยการหาค่าความสูงของ
ตัวอักษรในข้อมูลจากผลิตภัณฑ์ตัวอย่าง โดยใช้เทคนิคการวัด
ขนาดความสูงโดยใช้ภาพถ่ายดิจิทัล ซึ่งหาจำนวนพิกเซลของ
วัตถุและเทียบกับจุดอ้างอิง เพื่อคำนวณหาขนาดจริงวัตถุ ดัง
แสดงในรูปที่ 1 และกำหนดที่ระยะจากกล้องถ่ายภาพดิจิทัล
จนถึง ตัวอักษรที่ 30 เซนติเมตร เพื่อหาขนาดความสูง ของ
ตัวอักษรในข้อมูล ที่ส นใจ โดยพิจ ารณาแค่ตัวอักษรไม่ร วม
วรรณยุ ก ต์แ ละทำการเปรีย บเที ยบกั บ ขนาดตามหลักการ
คำนวณของ Sanders (1993)[8] ที่ความห่างจากสายตาจนถึง
รูปที่ 2 หลักการ Visual Angel

272
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

▪ ราคา
▪ วันแนะนำบริโภค หรือวันหมดอายุ
(1) ▪ ปริมาณ หรือปริมาตรสินค้า
▪ รายการส่วนประกอบ
4. ผลการศึกษา ▪ ข้อมูลโภชนาการ
ผลการเก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่างจากแบบสอบถามพบว่า ประเภทสินค้าที่ซื้อเป็นประจำมากที่สุด
ข้อมูลกายภาพเบื้องต้น พบว่าคือกลุ่มผลิตภัณฑ์อาหาร โดยประเภทของอาหาร 3
▪ กลุ่มตัวอย่างเป็นเพศหญิงจำนวน 20 คน และเพศชาย ลำดับแรกคือ
จำนวน 10 คน ▪ อาหารแช่แข็ง (ต้องผ่านความร้อน เช่น ไมโครเวฟ)
▪ เกือบทั้งหมดถนัดมือข้างขวา ▪ อาหารสำเร็จ รูป ประเภทไม่ต้องผ่านการปรุง เช่น
▪ อายุเฉลี่ย 62 ปี มีอายุน้อยสุดคือ 55 ปี และอายุมาก อาหารกระป๋อง
สุดคือ 74 ปี ▪ วัตถุดิบสำหรับปรุงอาหาร (เช่น ของสด เครื่องปรุง)
▪ น้ำหนักเฉลี่ย 63 กิโ ลกรัม มีน้ำหนักน้อยสุดคือ 45 จากข้อมูลที่ได้จึงทำการเลือกสุ่มตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่มีการ
กิโลกรัม และน้ำหนักมากสุด 99 กิโลกรัม เลือกซื้อในร้านสะดวกซื้อมากเป็นลำดับแรก คือ อาหารแช่แข็ง
▪ ส่วนสูงเฉลี่ย 162 เซนติเมตร มีส่วนสูงน้อยสุดคือ 145 มาจำนวน 3 ชิ้น แต่เนื่องจากเข้าของผลิตภัณฑ์อาหารแช่แข็ง
เซนติเมตร และส่วนสูงมากสุดคือ 176 เซนติเมตร ในร้านสะดวกซื้อที่เป็นเป้าหมายของการศึกษาในการสุ่มมี
ข้อมูลสุขภาพเบื้องต้น ความหลากหลายค่อนข้างน้อย จึง ทำการพิจ ารณาที่ผ ู้ผลิต
เพียงเจ้าเดียวแต่ทดลองในกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มีความแตกต่าง
▪ ส่วนใหญ่สายตายาว
ของบรรจุ ภ ั ณฑ์แ ทน โดยแบ่ ง อออกเป็น บรรจุ ภ ั ณฑ์แบบ
▪ บางส่วนมีปัญหาตาพร่ามัว และตาสู้แสงไม่ได้
เหลี่ยม บรรจุภัณฑ์แบบกลม และบรรจุภัณฑ์แบบผสมดังแสดง
ข้อมูลที่พักอาศัยและการเดินทางไปร้านสะดวกซื้อ
ในรูปที่ 3
▪ ส่วนใหญ่พักอาศัยบ้านเดี่ยว ส่วนน้อยคือ ทาวน์เฮ้าส์
และอาคารพาณิชย์
▪ ระยะห่างระหว่างที่พักถึงร้านสะดวกซื้อที่ใกล้ท่สี ุดคือ
100-300 เมตร
▪ ร้านสะดวกซื้อที่เข้าบ่อยที่สุดคือ 7-11
▪ เดินทางไปร้านสะดวกซื้อโดยใช้วิธีเดิน และรถยนต์
▪ ส่วนใหญ่ใช้บริการจากร้านสะดวกซื้อความถี่ไม่เกิน
สัปดาห์ละ 2 ครั้ง รองลงมาน้อยกว่า 1 ครั้งต่อสัปดาห์
▪ ส่วนใหญ่ค่าใช้จ่ายเฉลี่ย 100-300 บาทต่อครั้ง รองลง
ในจำนวนที่ใกล้เคียงกันคือ 301-500 บาท และไม่เกิน
100 บาท
ข้อมูลสินค้าที่ให้ความสำคัญมากที่สุด 3 ลำดับแรก
273
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

ความสูง ตัวอักษรในผลตภัณฑ์ตัวอย่างกับค่ามาตรฐาน
เพื่อสรุปร้อยละของความแตกต่างดังตารางที่ 1-4

ตารางที่ 1 การเปรียบเทียบความสูงตัวอักษรแสดงข้อมูลวัน
แนะนำบริโภค หรือวันหมดอายุ (หน่วย : เซนติเมตร)

ความสูง ค่ามาตรฐาน ร้อยละ


ตัวอย่าง ความแตกต่าง
No.1 0.31 cm. > 56.25
No.2 0.29 cm. 0.2 cm. > 45.45
No.3 0.22 cm. > 11.52

ตารางที่ 2 การเปรียบเทียบความสูง ตัวอักษรแสดงข้ อ มู ล


ปริมาณ หรือปริมาตรสินค้า (หน่วย : เซนติเมตร)
รูปที่ 3 ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่นำมาเปรียบเทียบ
ทำการวัดขนาดความสูง ของตั วอักษรที่ แสดงข้ อมูล 5 ความสูง ค่ามาตรฐาน ร้อยละ
ลำดั บ แรก แต่ ใ นส่ ว นข้ อ มู ล ราคาผู ้ ผ ลิ ต บางรายไม่ แ จ้ ง ตัวอย่าง ความแตกต่าง
รายละเอียดดังกล่าวไว้ ที่ตัวบรรจุภัณฑ์ จึงเลือกใช้ข้อมูล วัน No.1 0.35 cm. > 75.78
แนะนำบริโภค หรือวันหมดอายุ ปริมาณ หรือปริมาตรสินค้า No.2 0.405 cm. 0.2 cm. > 102.70
รายการส่ ว นประกอบ และโภชนาการของผลิ ต ภั ณ ฑ์ ที่ No.3 0.409 cm. > 104.46
ระยะห่าง 30 เซนติเมตร ซึ่งจากการคำนวณตามสมการของ
หลักการ Visual Angle พบว่าขนาดความสูง ของตัวอักษรที่ ตารางที่ 3 การเปรียบเทียบความสูง ตัวอักษรแสดงข้ อ มู ล
เหมาะสมกับระยะห่างที่กำหนดคือ 2 มิลลิเมตร จึงกำหนดให้ รายการส่วนประกอบ (หน่วย : เซนติเมตร)
เป็นมาตรฐานเพื่อใช้ในการเปรียบเทียบต่อไป โดยมีผลการวัด
ความสูง ค่ามาตรฐาน ร้อยละ
ตัวอย่าง ความแตกต่าง
No.1 0.12 cm. < 41.41
No.2 0.14 cm. 0.2 cm. < 31.97
No.3 0.11 cm. < 44.24

274
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

ตารางที่ 4 การเปรียบเทียบความสูง ตัว อักษรแสดงข้ อ มู ล คำนวณในทุกตัว อย่าง โดยมีขนาดมากกว่าร้ อยละ 11.52


โภชนาการ (หน่วย : เซนติเมตร) จนถึงร้อยละ 56.25
ข้อมูล ปริมาณหรือปริมาตรสินค้า มีขนาดความสูง ของ
ความสูง ค่ามาตรฐาน ร้อยละ ตัวอักษรที่ใหญ่กว่ามาตรฐานจากการคำนวณในทุกตัวอย่าง
ตัวอย่าง ความแตกต่าง โดยมีขนาดมากกว่าร้อยละ 75.78 จนถึงร้อยละ 104.46
No.1 0.16 cm. < 21.88 ข้อมูลรายการส่วนประกอบ มีขนาดความสูงของตัวอักษร
No.2 0.1 cm. 0.2 cm. < 49.32 ที่เล็กกว่ามาตรฐานจากการคำนวณในทุกตัวอย่าง โดยมีขนาด
No.3 0.15 cm. < 25.65 เล็กกว่าร้อยละ 31.97 จนถึงร้อยละ 44.24
ข้อมูลโภชนาการ มีขนาดความสูงของตัวอักษรที่เล็กกว่า
จากผลการเปรียบเทียบตัวอย่างผลิตภัณฑ์ทั้ง 3 แบบดัง มาตรฐานจากการคำนวณในทุกตัวอย่าง โดยมีขนาดเล็กกว่า
แสดงในรูปที่ 4 ร้อยละ 21.88 จนถึงร้อยละ 49.32

5. สรุปผลการศึกษา
จากการศึกษานี้ทำให้สามารถสรุปได้ว่า
1) ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ต ั ว อย่ า งทั ้ ง 3 รู ป แบบ มี ข นาดความสู ง
ตั ว อั ก ษรใกล้ เ คีย งกัน ในข้ อ มู ล หมวดเดี ย วกั น แต่ ม ี ค วาม
แตกต่างกันในแต่ละหมวด
2) วั น แนะนำบริ โ ภค หรื อ วั น หมดอายุ ปริ ม าณ หรื อ
ปริมาตรสินค้ามีขนาดความสูงของตัวอักษรมากกว่ามาตรฐาน
ที่ได้จากการคำนวณคือ 0.2 เซนติเมตรในทุกตัวอย่าง โดยมี
ตัวอย่างที่ 2 และ 3 ที่ มีข้อมูล ปริมาตรสินค้าใหญ่มากกว่า
เท่าตัว ส่วนข้อมูล รายการส่วนประกอบ และโภชนาการ มี
ขนาดความสูง ของตัวอักษรน้อยกว่ามาตรฐานที่ได้จากการ
คำนวณในทุกตัวอย่าง
3) หากพิจารณาจากค่ามาตรฐานที่ได้จากการคำนวณ ทำ
ให้ส รุปได้ว่า ขนาดความสูง ตัวอักษรของข้ อมูล วั นแนะนำ
บริโภค หรือวันหมดอายุ ปริมาณ หรือปริมาตรสินค้า มีความ
รูปที่ 4 กราฟผลการเปรียบเทียบของตัวอย่างผลิตภัณฑ์ สอดคล้องในการใช้งานจริง แต่ขนาดความสูง ตัวอักษรของ
ทั้ง 3 ชิ้นกับค่าที่ได้จากการสมการ ข้ อ มู ล รายการส่ ว นประกอบ และโภชนาการไม่ ม ี ค วาม
สอดคล้องต่อการใช้งานจริง
จากรูปพบว่าข้อมูลวันแนะนำบริโภค หรือวันหมดอายุ มี อย่ า งไรก็ ต ามความสอดคล้ องที ่ม ีอ ยู่ ในปัจ จุบ ัน ที ่เป็น
ขนาดความสู ง ของตั ว อั ก ษรที ่ ใ หญ่ ก ว่ า มาตรฐานจากการ มาตรฐานของคนทั ่ ว ไปที ่ ม ี ล ั ก ษณะร่ า งกายปกติ อาจไม่
สอดคล้องกับสภาพร่างกายของกลุ่มผู้สูงอายุ ซึ่งมีปัญหาการ
275
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

ถดถอยของการมองเห็นที่มีประสิทธิภาพลดลง รวมถึงความไม่ มกราคม - มิถุนายน 2562 หน้าที่ 15-32. มหาวิทยาลัย


สอดคล้องที่พบในกลุ่มคนทั่วไปที่อาจจะส่งผลกระทบที่ม าก บูรพา.
ยิ่ง ขึ้นในกลุ่ มผุ้ส ูง อายุ เป็นผลทำให้ไม่ไ ด้ร ั บความสะดวก 2. เจนยุทธ ศรีหิรัญ. 2560. การออกแบบอัตลักษณ์บนบรรจุ
หรือไม่สามารถรับรู้ข้อมูลดังกล่าวได้ ภัณฑ์สำหรับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน: กรณีศึกษา ผลิตภัณฑ์
ดูแลเส้นผมสมุนไพรไทย บ้านนาขุม จัง หวัดพิษ ณุโ ลก.
6. ข้อจำกัดและข้อเสนอแนะ วารสารวิชาการ ศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย
ข้อจำกัดที่พบในการศึกษาวิจัยนี้คือ นเรศวร ปี ท ี ่ 8 ฉบั บ ที ่ 1 มกราคม – มิ ถ ุ น ายน 2560,
▪ กลุ่มผู้สูงอายุบางส่วนไม่สะดวก และไม่สามารถเข้าถึง หน้าที่ 155-168. มหาวิทยาลัยนเรศวร.
การทำแบบสอบถามรูปแบบออนไลน์ รวมถึงในบาง 3. ศริศ ักดิ์ สุนทรไชย. 2558. ฉลากสำหรับผลิตภัณฑ์วัตถุ
กลุ่มที่สามารถดำเนินการได้พบว่ามีบุคคลในครอบครัว อั น ตรายที ่ ใ ช้ ใ นบ้ า นเรื อ นตามระบบสากล. วารสาร
ช่วยเหลือ อิเล็กทรอนิกส์การเรียนรู้ทางไกลเชิงนวัตกรรม, ปีที่ 5
▪ ผลิตภัณฑ์ตัวอย่างมีความหลากหลายของผู้ผลิตที่น้อย ฉบั บ ที ่ 1 มกราคม - มิ ถ ุ น ายน 2558,หน้ า 1-11.
จากผลการศึกษาผู้ศึกษาวิจัยมีข้อเสนอแนะเห็นควรให้ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ทำการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อให้เกิดการศึกษาวิจัยอย่างต่อเนื่องใน 4. กุลชลี พวงเพ็ชร์, สมพร พวงเพ็ชร์, นันทนา แจ้งสว่าง และ
อนาคตในประเด็นดังต่อไปนี้ นุช จรา บุญถนอม. 2564. การพัฒนาตราสิ นค้ า บรรจุ
▪ ขยายจำนวนกลุ่มตัวอย่างผู้สุงอายุให้มากขึ้น รวมถึง ภัณฑ์ และป้ายฉลาก ผลิตภัณฑ์ซอสกระท้อนแบบมีส่วน
สอดคล้องกับการกระจายตัวของประชากรในภูมิภาค ร่วมของวิสาหกิจชุมชนเกษตรอินทรีย์บ้านงิ้วราย อำเภอ
ต่างๆ ของประเทศ เมืองลพบุรี จังหวัดลพบุรี. วารสารวิจัยราชภัฏเชียงใหม่ ปี
▪ ทดสอบผลิตภัณฑ์ท ี่ หลากหลายมากยิ่ง ขึ ้ น รวมถึ ง ที่ 22 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม –สิง หาคม 2564 หน้า 211-
ประเภทร้านค้าอื่นๆ 228. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
▪ ศึกษาปัจจัยอื่นๆ ที่น่าจะเกี่ยวข้องรูปแบบของบรรจุ 5. กรมกิจการผู้สูงอายุ. 2553. พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ.
ภัณฑ์ สีของตัวอักษรและพื้นหลัง รวมถึงรูปแบบของ 2546 (ฉบับแก้ไข พ.ศ. 2553).
ตัวอักษรประกอบ 6. พรศิริ จงกล. (2558). การออกแบบฉลากวันหมดอายุของ
▪ ศึกษาตัวอักษรขนาดมาตรฐานที่มีความเหมาะสมกับ อาหารสำหรับผู้สูงอายุ โดยใช้หลักวิศวกรรมปัจจัยมนุษ ย์.
คุณสมบัติทางกายภาพของผู้สูงอายุ หรือเหมาะสมกับ การวิจัยปีงบประมาณ 2557. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุร
การออกแบบอย่างเท่าเทียมต่อไป นารี.
7. สุมิตรา นวลมีศ รี , ปรีดาวรรณ เกษเมธีการุณ , ลาภ พุ่ม
หิรัญ และคเณศ พันธุ์สวาสดิ์. 2560. การพัฒนาแอปพลิเค
เอกสารอ้างอิง
ชันเพื่อช่วยและส่งเสริมการอ่านภาษาไทยสำหรับผู้สูง อายุ
1. จิ ร วุ ฒ ิ และคณะ. 2562. อิ ท ธิ พ ลของปั จ จั ย ด้ า นการ
บนอุปกรณ์ชนิดพกพา. วารสารวิชาการ โรงเรียนนายร้อย
ออกแบบป้ายฉลากบรรจุภัณฑ์ต่อพฤติกรรมการซื้ อ ของ
พระจุลจอมเกล้า, ปีที่ 15 ฉบับที่ 1, หน้าที่ 171-194.
ผู้บริโภค: การศึกษาคลื่นไฟฟ้าสมองสัมพันธ์กับเหตุก ารณ์.
วิทยาการวิจ ัยและวิท ยาการปัญ ญา ปีที่ 17 ฉบับที่ 1,

276
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

8. Sanders, M. S., & McCormick, E. J. 1993. Human


factors in engineering and design (Vol. 1): McGraw-
Hill New York.

277
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

ปัจจัยสู่ความสำเร็จสำหรับธุรกิจวิสาหกิจเริ่มต้นทางด้านเทคโนโลยีด้วย
กระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์
Key Success Factor of Technology Startup Business
by Analytic Hierarchy Process (AHP)

ชนกนาฏ เป้าสกุล1* และ บุษบา พฤกษาพันธุ์รตั น์2


1,2
หน่วยวิจัยทางด้านการวิจัยดำเนินงานและสถิติอุตสาหกรรม ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อ.คลองหลวง ปทุมธานี 12120
E-mail: chanoknat.pao@dome.tu.ac.th1*

บทคัดย่อ
งานวิจัยฉบับนี้เป็นการคัดเลือกปัจจัยสู่ความสำเร็จสำหรับธุรกิจวิสาหกิจเริ่มต้นทางด้านเทคโนโลยี เพื่อเป็นแนวทาง
สำหรับผู้ประกอบการธุรกิจวิสาหกิจเริ่มต้น โดยเก็บข้อมูลจากธุรกิจวิสาหกิจเริ่มต้นทางด้านเทคโนโลยีสองกลุ่ม คือ กลุ่มสาขา
เทคโนโลยีเชิงลึกและสาขาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมที่ได้รับทุนจากสำนักงานนวัตกรรม ปัจจัยหลักใช้แบบจำลองธุรกิจ แคนวาสเป็น
พื้นฐานและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมีปัจจัย 8 คือ ตลาดและลูกค้า, คุณค่า, บุคคลหลัก, พันธมิตรหลัก, ทรัพยากรหลัก, กิจกรรมหลัก,
โครงสร้างต้นทุน และรายได้ เมื่อวิเคราะห์จ ัดลำดับความสำคัญด้วยกระบวนการลำดับชั้นเชิง วิเคราะห์แล้วพบว่า ปัจ จัยสู่
ความสำเร็จสำหรับธุรกิจวิสาหกิจเริ่มต้นทางด้านเทคโนโลยีทั้งสองกลุ่มคือ ตลาดและลูกค้า, บุคคลหลัก และคุณค่า ตามลำดับ

คำสำคัญ : ปัจจัยสูค่ วามสำเร็จ ธุรกิจวิสากิจเริ่มต้น กระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์

Abstract
This research aims to select the key success factor of a technology startup business for giving the
direction to a technology startup business. Data collection was gathered from the startup companies funded
by National Innovation Agency (NIA). There were two groups of business: deep technology and industrial tech
companies. Key factors were constructed based on the Canvas business model and related literature. There
are 8 main factors including market and customer, value propositions, key person, key partner, key resources,
key activities, cost structure, and revenue Streams. After analyzing by Analytic Hierarchy Process (AHP), it was
found that market and customer, key person, and value propositions are key success factors.

278
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

Keywords: Key success factor, startup, analytic hierarchy process

279
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

1. บทนำ ในการจั ด ลำดั บ ความสำคัญ ของปัจ จั ย เป็น ปั ญ หาการ


เทคโนโลยีสามารถสร้างนวัตกรรมใหม่ๆให้เข้ามามีส่วนใน ตั ด สิ น ใจภายใต้ ห ลายหลั ก เกณฑ์ (Multicriteria decision
การดำเนินชีวิตประจำวันมากขึ้นกว่า ในอดีต ทำให้เกิดการ making) โดยวิธีการที่ได้รับความนิยมมากที่สุดวิธีหนึ่งคือวิ ธี
เปลี่ยนแปลงมากมาย ทั้ง ในด้านกิจ วัตรประจำวันที่ต้องใช้ กระบวนการวิ เ คราะห์ เ ชิ ง ลำดั บ ชั ้ น (Analytic Hierarchy
เทคโนโลยีและอินเทอร์เน็ตเข้ามาช่วย รวมไปถึงการประกอบ Process) โดยวิธีดังกล่าวได้มีการนำไปใช้แก้ปัญหา อาทิเช่น
อาชีพ การดำเนินธุรกิจ ผู้ประกอบการจะต้องปรับตัวให้ทันกับ การเลือกทำเลที่ตั้งของโรงงาน [2] การจัดการห่วงโซ่อุปทานสี
การเปลี่ยนแปลงที่ เ กิ ด ขึ ้น อย่ างรวดเร็ ว และเกิดธุร กิ จ ใน เขียว [3] เป็นต้น
รูปแบบใหม่ๆ ที่มีการนำนวัตกรรมมาต่อยอดที่เรียกว่า ธุรกิจ ดังนั้นในงานวิจัยนี้จึง ได้นำวิธีกระบวนการวิเคราะห์ เชิง
วิสาหกิจเริ่มต้น (STARTUP) [1] ลำดับชั้นมาใช้เพื่อวิเคราะห์จัดลำดับปัจจัยที่มีความสำคัญเพื่อ
ธุรกิจวิสาหกิจเริ่มต้น มีด้วยกันหลากหลายด้า น ไม่ว่าจะ เป็นแนวทางให้ผู้ประกอบการธุรกิจวิสาหกิจเริ่มต้นที่จะเริ่มต้น
เป็นทางด้ านเทคโนโลยี ทางด้านอาหาร ทางด้านสุ ข ภาพ ธุรกิจสามารถนำไปใช้ในการกำหนดแนวทางปฏิบัติต่อไป
ทางด้ า นการศึ ก ษา ทางด้ า นการลงทุ น และทางด้ า นการ
ท่องเที่ยว ซึ่งธุรกิจ วิสาหกิจเริ่มต้น ส่วนใหญ่จะนำเทคโนโลยี 2. ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
เข้ามาใช้ควบคู่ไปกับธุรกิจ และที่เติบโตเป็นอย่างมากก็จะเป็น 2.1 Startup
ธุร กิจ วิส าหกิจ เริ่ม ต้ น ทางด้า นเทคโนโลยี ปัจ จุบันมีธุ ร กิ จ Steve Blank ได้ให้คำนิยามว่า ธุรกิจวิสาหกิจเริ่มต้น คือ
วิส าหกิจ เริ่มต้น เกิดขึ้นมากมาย แต่ก็มีทั้ง บริษ ัทที่ประสบ องค์กรที่จัดตั้งขึ้นเพื่อค้นหาโมเดลธุรกิจที่ทำซ้ำได้และเติบโต
ความสำเร็จและล้มเหลวในการทำธุรกิจ สิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้คือ แบบก้าวกระโดด [4] สำหรับธุรกิจวิสาหกิจเริ่มต้นในประเทศ
การทราบถึ ง ปั จ จั ย สู ่ ค วามสำเร็ จ และการเข้ า ใจถึ ง การ ไทยเริ ่ ม ต้น ปี พ.ศ.2559 และมี ท ั ้ง หมด 11 สาขา สำหรับ
ดำเนินการเพื่อทำธุรกิจวิสาหกิจเริ่มต้นให้ประสบความสำเร็จ งานวิ จ ั ย นี ้ เ ลื อ กศึ ก ษาสาขาเทคโนโลยี เ ชิ ง ลึ ก และสาขา
ดั้งนั้นการทราบถึงลำดับความสำคัญของปัจจัยสู่ความสำเร็จ เทคโนโลยีอุตสาหกรรม จากกราฟในรูปที่ 1 จะเห็นว่าธุรกิจ
จะช่วยเป็นแนวทางให้ธุรกิจ วิส าหกิจเริ่มต้น นำไปใช้ในการ ทางด้ า นเทคโนโลยี และอุ ต สาหกรรม มี ก ารเติ บ โตสู ง กว่า
กำหนดแนวทางปฏิบัติเพื่อไปสู่ความสำเร็จได้ ประเภทอื่นๆ

รูปที่ 1 กราฟการเติบโตโดยแบ่งตามประเภทของธุรกิจ [5]


280
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

2.1.1 สาขาเทคโนโลยีเชิงลึก (Deep Technology) 2.3 กระบวนการลําดับชั้นเชิงวิเคราะห์ (Analytic


เป็ น ธุ ร กิ จ ที ่ ใ ช้ เ ทคโนโลยี ใ หม่ ที่ ใ ช้ ค วามก้ า วหน้ า ทาง Hierarchy Process : AHP)
เทคโนโลยี และวิทยาศาสตร์ มีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น และ เป็ น กระบวนการการตั ด สิ น ใจสำหรั บ กรณี ที่ ม ี ห ลาย
เป็นทรัพย์สินทางปัญญาที่มีสิทธิบัตรคุ้มครอง ซึ่งเป็นจุดแข็ง ทางเลือก ใช้วิธีการเปรียบเทียบเชิงคู่ซึ่ งจะทำให้ได้ผลการ
ลอกเลียนแบบได้ยากทำให้มีความได้เปรียบทางธุรกิจ ในระยะ ตัดสินใจในเรื่องต่างๆ มีประสิทธิภ าพ และถูกต้องแม่นยำ
ยาว ตัวอย่างเช่น ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence : ขั้นตอนของกระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์มีดังนี้
AI), การเชื่อมโยงทุกอย่างสู่โ ลกอินเทอร์เ น็ ต (Internet of ขั้นตอนที่ 1 การลำดับชั้น โดยสร้างระดับชั้นในโครงสร้าง
Things : IoT) หรื อ สาขาอื่ น ที่ น ำเทคโนโลยี เ ชิง ลึก (Deep ชั้นที่ 1 คือ วัตถุประสงค์โดยรวมหรือเป้าหมาย (Goal) ชั้นที่ 2
Technology) ไปใช้เรียกว่า Cross-Sector [5] คือ ปัจ จัยหรือเกณฑ์ที่มี ผลต่อการตัดสินใจเรียก (Criteria)
2.1.2 สาขาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (Industry Tech) ส่วนเกณฑ์ย่อยลงมา (Sub-Criteria) จะอยู่ในชั้นถัดลงมา
เป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการผลิต และห่วงโซ่อุปทาน ขั้นตอนที่ 2 การเปรียบเทียบคู่ (Pairwise Comparisons)
โดยอาจมองเรื่องของการผลิตในเชิงโรงงานหรือมีกำลัง ผลิต เพื่อหาความสำคัญเชิงเปรียบเทียบของส่วนย่อยต่างๆ โดยการ
ขนาดใหญ่เป็นหลัก มีเป้าหมายสำคัญคือการลดขั้นตอนที่ ประเมินจะใช้มาตราส่วนการวัดมาตรฐาน และสร้างเมตริก [7]
ซับซ้อน ลดค่าใช้จ่าย ลดเวลาในการผลิต และเพิ่มกำลังในการ
ผลิตในเวลาที่จำกัดให้ได้มาก เพื่อให้ห่วงโซ่อุปทานไม่ขาดช่วง ตารางที่ 1 มาตราส่วนการวัดมาตรฐาน
และมีประสิทธิภาพสูงสุด [5] คะแนน การประเมินด้วยคำพูด
2.2 Business Model Canvas 1 มีความสำคัญเท่าเทียมกัน
โมเดลสำหรับการวิเคราะห์ธุรกิจเพื่อการสร้างธุรกิจหรือ 3 มีความสำคัญมากกว่าปานกลาง
การปรับปรุงกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจ [6] ซึ่งมีองค์ประกอบ 5 มีความสำคัญมากกว่าอย่างเด่นชัด
9 ส่วนที่สำคัญในการทำธุรกิจดังแสดงในรูปที่ 2 7 มีความสำคัญมากกว่าอย่างเด่นชัดมาก
9 มีความสำคัญมากกว่าอย่างมากที่สุด
2, 4, 6, 8 ค่าที่ก้ำกึ่งหรืออยู่ระหว่างกลางคะแนนข้างต้น

ขั้นตอนที่ 3 จากเมตริกการตัดสินใจค่า i, j คือสมาชิกของ


เมตริกในแถวที่ i หลักที่ j หาผลรวมคะแนนที่ประเมิน (aij) ใน
แนวตั้ง (Sj) ได้ดัง สมการ (1) Normalized Pairwise Matrix
(Xij) หาจากการนำคะแนนที่ประเมินหารด้วยผลรวมคะแนน
รูปที่ 2 Business Model Canvas [6] ประเมินในแนวตั้งดังสมการ (2) ค่าน้ำหนักความสำคัญของแต่
ละเกณฑ์ (Wi) คำนวณจากค่าเฉลี่ยของค่า Xij ดังสมการ (3)

Sj = ∑ni=1 aij โดย i, j = 1, …, n (1)


aij
Xij =
Si
โดย i, j = 1, …, n (2)

281
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

Canvas Business Model


No. Drivers. ลูกค้า ช่องทาง คุณค่า ความสัมพันธ์ พันธมิตร กิจกรรม ทรัพยากร โครงสร้าง รายได้ บุคคล
กับลูกค้า หลัก หลัก หลัก ต้นทุน หลัก
1 Santisteban J., et al.
(2021)
2 Mauricio D., et al. (2021)
3 Skawińska E., et al.
(2020)
4 Kim H., et al. (2020)
5 Cho Y., et al. (2020)
6 Petrů N., et al. (2019)
7 Kim B., et al. (2018)
8 กฤษยา มะแอ et al. (2018)
9 Khong-khai S., et al.
(2018)
10 Picken J. (2017)
11 Dalmarco G., et al. (2017)
12 Agha N. (2014)
13 Oe A., (2013)
14 Techapairat T. (2013)
15 Groenewegen J., et al.
(2012)
∑n
j=1 Xij ∑n n
i=1[∑j=1 aij Wi ]
Wi = n
โดย i, j = 1, …, n (3) λ max = โดย i, j = 1, …, n (5)
n
λmax −n
C. I. = n−1 (6)
การวิเคราะห์ค่าน้ำหนักของทางเลือกจะแยกพิจารณาเป็น C.I.
C. R. = R.I. (7)
รายบุคคลของการตัดสินใจ [8] ในกรณีที่มีหลายคนตัดสินใจ R.I. = ดัชนีจการสุ่มตัวอย่าง (Random Index) [9]
จะใช้ การหาค่
ตารางที ่ 2 สรุาปเฉลี ่ยแบบเรขาคณิต ตามสมการที่ (4)
ทบทวนวรรณกรรมจำแนกตามกลุ ่ม
Aij = N√aij1 ∗ aij2 ∗ … ∗ aijN (4) จากตารางที่ 2 ปัจ จัยที่มีการพิจ ารณาประกอบไปด้วย
Aij = ค่าเฉลี่ยของคะแนนทุกคนที่ประเมิน ลูกค้า, ช่องทาง, คุณค่า, ความสัมพันธ์กับลูกค้า, พันธมิตรหลัก
aijn = คะแนนประเมินของคนที่ n โดย n = 1, …, N , กิจกรรมหลัก, ทรัพยากรหลัก, โครงสร้างต้นทุน รายได้ และ
จากนั้นทำการคำนวณตามสมการ (1) – (3) เพื่อหาค่าน้ำหนัก บุคคลหลัก ซึ่งจะเห็นได้ว่าในงานวิจัยที่ผ่านมาปัจ จัยบุค คล
(Wi) หลัก, กิจกรรมหลัก, คุณค่า และพันธมิตรหลัก มีการพิจารณา
ขั ้ น ตอนที ่ 4 หาค่ า อั ต ราส่ ว นของความสอดคล้ อ ง ในหลายๆบทความ แต่ ก ็ ย ั ง มี ป ั จ จั ย อื ่ น ที ่ ค วรพิ จ ารณา
( Consistency Ratio: C.R.) ค ำ น ว ณ จ า ก (5) ห า ค่ า ประกอบด้วยซึ่ง ยัง ไม่มีง านวิจ ัยใดพิจ ารณาอย่างครบถ้ ว น
maximums eigenvalue : λmax (6) หาดัชนีความสอดคล้อง สำหรับธุรกิจวิสาหกิจเริ่มต้นทางด้านเทคโนโลยี
(Consistency Index : C.I.) (7) ค่ า สั ด ส่ ว นความสอดคล้อง
(Consistency Ratio : C.R.) โดยเมตริ ก ที ่ ม ากกว่ า 5x5 ค่ า 3. วิธีดำเนินการวิจัยและผลการวิจัย
C.R. < 0.1 จึงจะมีความสอดคล้อง. การดำเนินงานสามารถแบ่งได้ตามขั้นตอนดังนี้
282
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

ขั้นตอนที่ 1 ศึกษางานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยความสำเร็จ ค่าสัดส่วนความสอดคล้องของทั้งสองสาขา < 0.1 แสดงว่า


ของธุรกิจวิสาหกิจเริ่มต้นและใช้ Canvas Business Model คะแนนที่ประเมินมีค วามสอดคล้อง จากผลการคำนวณค่า
เป็นฐานในการจัดกลุ่มและศึกษาเพิ่มเติมจากงานวิจัยอื่นๆ ดัง น้ำหนักด้วยกระบวนการลําดับชั้ นเชิงวิเคราะห์ โดยได้สรุป
ในตารางที่ 2 สามารถรวมและสรุปได้ 8 ปัจจัยดังรูปที่ 3 เรียงตามค่าน้ำหนักดังตารางที่ 6

ตารางที่ 4 ค่าน้ำหนักแต่ละปัจจัยของสาขาเทคโนโลยีเชิงลึก
ตลาด บุคคล พันธมิตร ทรั พยากร กิจกรรม โครงสร้ าง
ปัจจัย คุณค่ า รายได้ นา้ หนัก
และลูกค้ า หลัก หลัก หลัก หลัก ต้ นทุน

ตลาด
0.262 0.261 0.256 0.304 0.267 0.257 0.261 0.232 0.263
และลูกค้ า
คุณค่ า 0.201 0.201 0.211 0.159 0.210 0.209 0.229 0.192 0.201
บุคคลหลัก 0.215 0.201 0.211 0.201 0.211 0.205 0.208 0.232 0.211
พันธมิตรหลัก 0.073 0.108 0.090 0.085 0.086 0.096 0.081 0.072 0.086
ทรั พยากรหลัก 0.050 0.049 0.051 0.051 0.051 0.066 0.053 0.051 0.053
กิจกรรมหลัก 0.044 0.042 0.044 0.038 0.034 0.043 0.048 0.052 0.043
โครงสร้ าง
0.064 0.056 0.065 0.068 0.062 0.058 0.064 0.091 0.066
ต้ นทุน
รายได้ 0.089 0.083 0.072 0.094 0.079 0.066 0.056 0.079 0.077
รูปที่ 3 startup canvas ปัจจัยสู่ความสำเร็จ
ตารางที่ 5 ค่าน้ำหนักแต่ละปัจจัยของของสาขาเทคโนโลยี
ขั้นตอนที่ 2 ทำการออกแบบแบบประเมินตามปัจจัย โดย อุตสาหกรรม
เปรี ย บเที ย บเชิ ง คู่ จากนั ้ น หาค่ า ความเที ่ ย งตรงของ ปัจจัย
ตลาด
คุณค่ า
บุคคล พันธมิตร ทรั พยากร กิจกรรม โครงสร้ าง
รายได้ นา้ หนัก
และลูกค้ า หลัก หลัก หลัก หลัก ต้ นทุน
แบบสอบถาม (Index of item objective congruence : ตลาด
0.230 0.209 0.234 0.211 0.221 0.201 0.285 0.242 0.229
และลูกค้ า
IOC) เพื่อประเมินว่าคำถามของเราสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ คุณค่ า 0.169 0.153 0.145 0.167 0.132 0.191 0.136 0.147 0.155
ที ่ ต ้ อ งการวั ด โดยประเมิ น จากผู ้ เ ชี ่ ย วชาญ AHP และ บุคคลหลัก 0.197 0.212 0.200 0.182 0.197 0.215 0.195 0.199 0.200
พันธมิตรหลัก 0.084 0.071 0.085 0.077 0.075 0.071 0.068 0.073 0.076
STARTUP รวมเป็ น จำนวน 5 ท่ า น ผลการประเมิ น พบว่ า ทรั พยากรหลัก 0.087 0.097 0.084 0.086 0.083 0.087 0.063 0.076 0.083
คำถามของเราสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ต้องการวัด กิจกรรมหลัก 0.061 0.043 0.050 0.058 0.051 0.053 0.058 0.058 0.054
โครงสร้ าง
ขั้นตอนที่ 3 นําแบบประเมินให้ผู้ประกอบธุรกิจวิสาหกิจ ต้ นทุน
0.083 0.116 0.106 0.117 0.137 0.095 0.103 0.109 0.108

เริ่มต้น ทีไ่ ด้รับทุนจากสำนักงานนวัตกรรมทำการประเมินโดย รายได้ 0.090 0.099 0.096 0.101 0.104 0.087 0.090 0.095 0.095

แบ่งเป็นสาขาเทคโนโลยีเชิงลึก 5 ราย และสาขาเทคโนโลยี


อุตสาหกรรม 5 ราย จากนั้นนำผลจากการประเมินมาคำนวณ ตารางที่ 6 ลำดับค่าน้ำหนักจากมากไปน้อย และทำการ
ด้วยกระบวนการลําดับชั้นเชิงวิเคราะห์ (Analytic Hierarchy เปรียบเทียบผลของทั้ง 2 สาขา
Process : AHP) เพื่อให้ได้ค ่าน้ำหนัก (Wi) และค่า C.R. โดย
ค่าน้ำหนักของสาขาเทคโนโลยีเชิงลึกแสดงในตารางที่ 4 และ
สาขาสาขาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม แสดงในตารางที่ 5 จากนั้น
เรียงค่าน้ำหนักจากมากไปน้อยของทั้ง 2 สาขาแสดงในตาราง
ที่ 6 โดยปัจ จัยที่มีค ่าน้ำหนักที่มากที่ส ุด จะเป็นปัจ จัยที่มี
ความสำคัญที่สุดสำหรับธุรกิจวิสาหกิจเริ่มต้นนั้น ตามลำดับ
283
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

จากผลการวิจ ัยพบว่า ปัจ จัย หลัก ที่ส ำคัญ สำหรับธุรกิจ สำหรั บ งานวิ จ ั ย ในอนาคตสามารถต่ อ ยอดไปสู่ ธ ุ ร กิ จ
วิสาหกิจเริ่มต้นทางด้านเทคโนโลยีทั้ง 2 สาขา 3 ลำดับแรก ประเภทอื่นๆ และการกำหนดแนวทางปฏิบัติตามปัจจัยสำคัญ
คือ ตลาดและลูกค้า, บุคคลหลัก และคุณค่า ของทั้งสองสาขา
ให้ผลที่เหมือนกัน โดยผู้ประกอบการทางด้านสาขาเทคโนโลยี เอกสารอ้างอิง
เชิงลึก สาขาเทคโนโลยีอุตสาหกกรม และสาขาเทคโนโลยีอื่นๆ 1. พรชั ย องค์ ว งศ์ส กุล , 2019, “คู ่ ม ื อ ของผู ้ ประกอบการ
ที่กำลังเริ่มต้นดำเนินธุรกิจเพื่อให้ธุรกิจไปสู่ความสำเร็จได้ ควร สตาร์ ท อั พ (The Startup Owner’s Manual :: Steve
คำนึงปัจจัยทั้ง 3 ดังนี้ ตลาดและลูกค้า คือ ที่ขายสินค้าหรือ Blank and Bob Dorf )” วารสาร Engineering Today
บริการ และลูกค้า ที่ซื้อสินค้า รวมถึง วิธีการที่จะสื่อสารกับ วารสารรายสองเดือนเพื่อความก้าวหน้าทางด้านวิศวกรรม
ลูกค้าและให้ลูกค้าเข้าถึงสินค้าหรือบริการ เพื่อให้ลูกค้ามีความ 2. รศ.ดร.สกนธ์ คล่ องบุญจิต , 2561, “การเลือกทําเลที่ตั้ง
พึงพอใจมากที่สุด, บุคคลหลัก คือ ผู้ประกอบการ เป็นบุคคล ของโรงงานด้ ว ยกระบวนการลํ า ดั บ ชั้ น เชิ ง วิ เ คราะห์ ”
กลุ่มคนหรือบริษัทที่มคี วามเชี่ยวชาญเฉพาะ, คุณค่าคือสิ่งที่ส่ง วารสารรัชต์ภาคย์, ปีที่ 12, ฉบับที่ 25, หน้า 234-245
มอบให้ลูกค้า จุดขายของสินค้าหรือบริการนั้ น เช่น ข้อเสนอ, 3. ศรัญธร มงคลชัยชนะ, 2557, การเลือกการจัดการห่วงโซ่
ความน่าเชื่อถือ, คุณภาพ หรือความแตกต่างของสินค้า อุ ป ทานสี เ ขี ย วด้ ว ยกระบวนการ AHP-TOPSIS ภายใต้
ความไม่แน่นอน: กรณีศึกษาโรงงานยาง,
4. สรุป มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เทคโนโลยีเข้ามามีส่วนในการดำเนินชีวิตประจำวันมากขึ้น 4. PIYAPONG, T., 2018, สตาร์ทอัพคืออะไร? ต่างจาก SME
กว่าในอดีตทำให้เกิดธุรกิจในรูปแบบใหม่ๆ คือ ธุรกิจวิสาหกิจ หรือเปล่า? และสำคัญต่อชีวิตเราอย่างไร?, สำนักพิมพ์บิง
เริ ่ ม ต้ น ทางด้ า นเทคโนโลยี ท ี ่ ส ามารถตอบสนองต่ อ การ โก
เปลี่ยนแปลงในโลกปัจจุบันนี้ได้เป็นอย่างดี แต่การที่ธุรกิจจะ 5. สำนักงานนวัตกรรม, 2020, “PAC.what is aritech” and
ประสบความสำเร็จได้นั้น จะต้องคำนึงถึงปัจจั ยสู่ความสำเร็จ startup, สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ
ซึ่งในงานวิจัยนี้ได้นำเสนอโมเดลซึ่งประกอบไปด้วย ตลาดและ 6. PAIR, K., 2019, Business Model Canvas คืออะไร? วิธี
ลูกค้า , คุณค่า , บุค คลหลัก , พันธมิตรหลัก , ทรัพยากรหลัก, วางแผนธุรกิจด้วย BMC, GreedisGoods
กิจกรรมหลัก, โครงสร้างต้นทุน และรายได้ โดยนำโมเดลธุรกิจ 7. Saaty, T., 1990, An exposition of the AHP in reply
Canvas มาเป็ น พื ้ น ฐาน และเมื ่ อ ทำการประเมิ น ด้ ว ย to the paper 'Remarks on the Analytic Hierarchy
ผู้ประกอบการธุรกิจวิสาหกิจเริ่มต้นทางด้านเทคโนโลยีเชิงลึก Process'., Management Science, Vol. 36, No. 3, pp.
และเทคโนโลโลยีอุตสาหกรรมตามกระบวนการลำดับชั้นเชิง 259–268.
วิเคราะห์แล้วพบว่า ปัจ จัยที่สำคัญสู่ความสำเร็จสำเร็จ คือ 8. สุมนา อรุณอุดมชัย และ อัครนันท์ พงศธรวิวัฒน์ , 2564,
ตลาดและลูกค้า, บุคคลหลัก และ คุณค่า ปัจจัยหลักทั้ง 3 นี้ การประยุกต์ใช้ตัวแบบการคัดเลือกแบบหลายเงื่อนไข
สามารถเป็นทิศทางสำหรับธุรกิจวิสาหกิจเริ่มต้นทางเทคโนโลยี สำหรั บ ปั ญ หาการคั ด เลื อ กผู ้ ใ ห้ บ ริ ก ารแพ็ ค สิ น ค้ า
ที่กำลังเริ่มต้นดำเนินธุรกิจที่จะมุ่งเน้นในปัจจัยเหล่านี้โ ดยการ กรณีศึกษา บริษัท ผู้จัดจำหน่ายสินค้าอปุโภคบริโภคแห่ง
กำหนดแนวทางและทรั พ ยากรที ่ ส ำคั ญ เพื ่ อ ให้ ธ ุ ร กิ จ ไปสู่ หนึ่ง, วารสารข่ายงานวิศ วกรรมอตุ สาหการไทย, ปีที่ 7
ความสำเร็จได้ ฉบับที่ 1, หน้า 42-57

284
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

9. Kim, H., Kim, T. and Sohn, S., 2020, Entrepreneurship and Sustainability Issues 8(4),
Recommendation of startups as technology pp. 446-466
cooperation candidates from the perspectives of 16. Petrů, N., Pavlák, M. and Polák, J., 2019, Factors
similarity and potential: A deep learning approach, impacting startup sustainability in the Czech
Elsevier B.V, journal of Decision Support Systems, Republic., Innovative Marketing, Issue 15(3), pp. 1-
Vol 130, pp. 1-12 15.
10. Picken, J., 2017, From startup to scalable 17. Santisteban, J. and Mauricio, D., 2021, Critical
enterprise: Laying the foundation, Naveen Jindal success factors for technology-based startups, Int.
School of Management, Kelley School of Business, J. Entrepreneurship and Small Business, Vol. 42,
Indiana University, Elsevier Inc, journal of Business No. 4, pp. 391-427
Horizons, Vol 60, Issue 5, pp. 587-595 18. Khong-khai, S. and Wu, H., 2018, Analysis of Critical
11. Dalmarco, G., Maehler, A., Trevisan, M. and Success Factors of Startups in Thailand, Indian
Schiavini, J., 2017, The use of knowledge Journal of Public Health Research &
management practices by Brazilian startup Development, Vol.9, No. 1, pp. 1263-1267
companies, RAI Revista de Administração e 19. กฤษยา มะแอ และ กฤษณา ฝั ง ใจ, 2561, ปั จ จั ย สู่
Inovação, Vol 14, Issue 3, pp. 226-234 ความสำเร็จของวิสาหกิจเริ่มต้น (สตาร์ทอัพ) ในประเทศ
12. Skawińska, E. and Zalewski, R., 2020, Success ไทย, วารสารมหาวิทยาลัยพายัพ, ปีที่ 28, ฉบับที่ 2, หน้า
Factors of Startups in the EU-A Comparative 144-158
Study, Economic and Business Aspects of 20. Agha, N., 2014, Success Factors of Startup
Sustainability Companies. An Empirical Analysis of E-Business
13. Kim, B., Kim, H. and Jeon, Y., 2018, Critical Success Startups in North America, Munich, GRIN Verlag
Factors of a Design Startup Business, Sustainability 21. Oe, A. and Mitsuhashi, H., 2013, Founders'
of Economy, Society, and Environment in the 4th experiences for startups' fast break-even, Journal
Industrial Revolution of Business Research, Vol.66, pp 2193-2201
14. Cho, Y., Han, S. and Park, J., 2020, Business 22. Techapairat, T., KEY SUCCESS FACTORS AND KEY
Startups and Development of South Korean CONSTRAINTS OF STARTUP SMALL BUSINESSES IN
Women Entrepreneurs in the IT Industry, THAILAND, THAMMASAT UNIVERSITY
Advances in Developing Human Resources, Vol. 23. Groenewegen, G. and Langen, F., Critical Success
22(2), pp 176–188 Factors of the Survival of Start-Ups with a Radical
15. Santisteban, J., Inche, J. and Mauricio, D., 2021, Innovation, Journal of Applied Economics and
Critical success factors throughout the life cycle of Business Research, Vol.2(3), pp 155-171
information technology start-ups,

285
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

การศึกษาขั้นตอนการทำงานเพื่อลดต้นทุน
กรณีศึกษา ไร่มะขาม อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์
Studied in Process to Reduce Costs
Case Study : Gros Tamarind Plantation in Lom Kao District, Phetchabun
กนกกาญจน์ ขวัญนวล1* ภัทรวดี สอนจันทร์2* ปนัดดา คำเวิน3* และ ชลธิชา ศิริบูรณ์4*
1-4
ภาควิชาการจัดการโลจิสติกส์ คณะบริหารธุรกิจ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร 10530
E-mail: kanogkarn@mutacth.com1*, 6113140034@mutacth.com2*

บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาขั้นตอนการทำงานเพื่อลดต้นทุนของการปลูกมะขามหวาน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาขั้นตอน
การปลูกมะขามหวาน โดยใช้หลักการ ECRS มาประยุกต์ใช้ในการปรับปรุง ขั้นตอนและลดต้นทุนในการปลูกมะขามหวาน
การศึกษาครั้งนี้ คณะผู้จัดทำได้ใช้ สวนมะขามหวาน อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์เป็นกรณีศึกษา และเมื่อได้มีการศึกษาและ
ปรับปรุงขั้นตอนการปลูกพบว่ามะขามหวานสามารถลดต้นทุนรวมจาก 13,100 บาท เป็น 9,900 บาทหรือลดลงร้อยละ 24.42
แสดงให้เห็นว่าการประยุกต์ใช้หลักการ ECRS ในการทำงานสามารถลดเวลา และลดต้นทุนในการปลูกมะขามหวานได้

คำสำคัญ : หลักการ ECRS ลดต้นทุน การปลูกมะขามหวาน ปรับปรุงขั้นตอน

Abstract
This project was studied in process to reduce the cost of planting a sweet tamarind. The purpose of
this study the process of planting a sweet tamarind by the ECRS principle applied to improve the process and
reduce the cost of planting a sweet tamarind. In this study and improvement, the process of planting a sweet
tamarind, the project owner can use Tamarind Farm Case Study of Lom kao District, Phetchabun when we
studied and improved the process of planting the process of planting Sweet Tamarind. We can reduce the total
cost of 13,100 bath to 9,900 bath or decrease 24.42 percent. The result shows that the applied of the ECRS
principle can reduce time and cost in planning a Sweet Tamarind.

Keywords : The ECRS principle, Reduce costs, Gros Michel banana, Improve the process

286
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

1. บทนำ ความสัมพันธ์เชิงเหตุผล ระหว่างองค์ประกอบต่างๆ เหล่านั้น


มะขามเป็ น ไม้ ย ื น ต้ น ขนาดกลางจนถึ ง ขนาดใหญ่ แ ตก เพื่อค้นหาคำตอบที่เป็นความเป็นจริง หรือที่เป็นสิ่งที่สำคัญ
กิ่ง ก้านสาขามากไม่ม ีห นาม เปลือกต้น ขรุ ขระและหนา สี จากนั้นจึงรวบรวมข้อมูลทั้งหมดมาจัดระบบ เรียบเรียง
น้ำตาลอ่อน ใบ เป็นใบประกอบ ใบเล็กออกตามกิ่งก้านใบเป็น ใหม่ให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจ [3]
คู่ ใบย่อยเป็นรูปขอบขนาน ปลายใบและโคนใบมน มะขาม 2.3 การปรับปรุงงานโดยใช้หลักการ ECRS
สามารถปลู ก ได้ ใ นประเทศแถบร้ อ นชื ้ น ประเทศในแถบ 1. การกำจัดขั้นตอนงานที่ไม่จำเป็นออก (Eliminate) โดย
อเมริกากลาง เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และอาฟริกา มะขาม พิจารณาขั้นตอนการทำงานเพื่อกำจัดขั้นตอนใดออกนั้น เริ่ม
เป็นไม้ผลที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจในหลายภูมิภาคโดยเฉพาะ จากการศึกษาผลกระทบที่เกิดขึ้นและพิจารณาขั้นตอนการ
ประเทศไทยและอินเดียที่เป็นแหล่งปลูกมะขามขนาดใหญ่ซึ่งมี ทำงานที่สามารถจะกระทำเพื่อลดขั้นตอนการผลิต
อุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับมะขามเป็นจำนวนมาก [1] 2. การรวมขั้นตอนในการดำเนินงานหลายส่วนเข้าด้วยกัน
ปัญหาต้นทุนในการปลูกมะขามหวานจึงมีค วามสำคัญ ที่ (Combine) คือ ในกระบวนการผลิตนั้นถ้ามีขั้นตอนการผลิต
จะต้องได้รับการแก้ไข เนื่องจากต้นทุนของการปลูกมะขาม มากเกินไป อาจจะทำให้การทำงานเกิดความล่าช้า เสียเวลา
หวานที่เพิ่มขึ้นมีอยู่หลายปัจ จัย เช่น ราคาปุ๋ยเคมี ค่าจ้าง ดังนั้น เราจึงต้องหาวิธีลดขั้นตอนหรือรวบรวมของขั้นตอนใน
แรงงานโดยใช้ผังแสดงเหตุและผลหรือผังก้างปลา เทคนิคการ การทำงาน เพื่อก่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
ตั้ง คำถาม 5W1H และหลักการ ECRS มาใช้ในการปรับปรุง 3. การจัดลำดับขั้นตอนการทำงานใหม่ (Rearrange) คือ
แก้ ไ ขในขั ้ น ตอนต่ า งๆ ในการปลู ก มะขามหวาน เพื ่ อ หา เมื่อมีการขยายกำลั งการผลิตเพิ่มมากขึ้น และมีปริมาณการ
แนวทางในการลดต้นทุนของการปลูกมะขามหวาน ผลิตเพิ่มขึ้น แต่ถ้าหากมีขั้นตอนการผลิตและการปฏิบัติง าน
วัตถุประสงค์ของการศึกษา ยังคงเหมือนเดิม ด้วยเหตุนี้อาจจะเป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาของ
เพื่อศึกษาปรับปรุงขั้นตอนการปลูกและ ลดต้นทุนการปลูก การผลิต การเคลื่อนย้ายวัส ดุและการทำงานที่ไม่สะดวก จึง
มะขามหวานกรณีศึกษา จำเป็นต้องจัดลำดับขั้นตอนของการทำงานใหม่
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 4. การปรับปรุงขั้ นตอนการทำงานให้ง่ายขึ้น (Simplify)
เพื ่ อ ปรั บ ปรุ ง และกำจั ด ขั ้ น ตอนที ่ ไ ม่ ก ่ อ ให้ เ กิ ด คุ ณ ค่า เป็นการปรับปรุงขั้นตอนการทำงานที่ก่อให้เกิดประสิทธิภาพ
ทางการผลิต เพื่อลดต้นทุนในการปลูกมะขามหวาน สูงสุด เช่น การทำงานที่มีขั้นตอนยุ่งยากซับซ้อน จำเป็นต้อง
หาวิธีการทำงานหรือเครื่องมือในการทำงานให้สะดวกขึ้นและ
2. ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2.1 ผังแสดงเหตุและผลหรือผังก้างปลา 2.4 แผนภูมิกระบวนการไหล (Flow Process Chart) [4]
เป็นแผนผังที่ใช้ในการวิเคราะห์ค้นหาสาเหตุต่างๆ ว่ามี ใช้วิเคราะห์ขั้นตอนการไหลของวัตถุดิบ ชิ้นส่วน พนักงาน
อะไรบ้างที่มาเกี่ยวข้องกันสัมพันธ์ต่อเนื่อ งกันอย่างไร จึงทำ และอุปกรณ์ ที่ เคลื่อนไปในกระบวนการพร้อมกับกิจ กรรม
ให้ผลปรากฏตามมาในขั้นสุดท้าย [2] ต่างๆ โดยใช้สัญลักษณ์มาตรฐาน 5 ตัว ดังนี้
2.2 เทคนิคการตั้งคำถาม 5W1H
เป็นการคิดวิเคราะห์ที่ใช้ในการจำแนกองค์ประกอบต่างๆ ตารางที่ 1 แสดงสัญลักษณ์ที่ใช้ในแผนภูมิการไหล
สัญลักษณ์ ชื่อเรียก คำจำกัดความโดยย่อ
ซึ่งอาจจะเป็นวัตถุ สิ่งของ เรื่องราว หรือเหตุการณ์ นำมาหา
Operation การเปลี่ยนคุณสมบัติทางเคมี
การปฏิบัติงาน หรือฟิสิกส์ของวัตถุ

287
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

สัญลักษณ์ ชื่อเรียก คำจำกัดความโดยย่อ ชิดชนก อินทอง และคณะ (2564) [6] ทำการศึก ษา


- การประกอบชิ้นส่วน หรือการ ขั้นตอนการทำงานเพื่อลดต้นทุนการปลูกกล้วยหอมทอง มี
ถอดส่วนประกอบออก
วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาขั้นตอนการปลูกกล้วยหอมทอง โดยใช้
- การเตรียมวัตถุเพื่องานขั้นต่อไป
หลักการ ECRS มาประยุกต์ใช้ในการปรับปรุงขั้นตอนและลด
Inspection - ตรวจสอบคุณลักษณะของวัตถุ
การตรวจอบ - ตรวจสอบคุณภาพหรือ ปริมาณ ต้นทุนในการปลูกกล้วยหอมทองการศึกษาครั้งนี้ ผู้จัดทำได้ใช้
Transportation - การเคลื่อนวัตถุจากจุดหนึ่งไป สวนกล้วยหอมทอง อำเภอหนองเสือ จัง หวัดปทุมธานีเป็น
การเคลื่อน ยังอีกจุดหนึ่ง กรณีศ ึกษา ผลการศึกษาพบว่า สามารถลดการทำงานรวม
- พนักงานกำลังเดิน ขั้นตอนจาก 82 ขั้นตอน เป็น 81 ขั้นตอน หรือลดลง 1.22
- การเก็บวัสดุชั่วคราวระหว่าง เปอร์เซ็นต์ และเมื่อได้มีการศึกษาและปรับปรุงขั้นตอนการ
Delay การปฏิบัติงาน
ปลูก พบว่ากล้วยหอมทอง สามารถลดต้นทุนรวมจาก 38,240
การคอย - การคอยเพื่อให้งานขั้นต่อไป
เริ่มต้น บาท เป็น 30,460 บาท หรือลดลงร้อยละ 20.35 แสดงให้เห็น
- การเก็บวัสดุไว้ในสถานที่ถาวร ว่าการประยุกต์ใช้หลักการ ECRS ในการทำงานสามารถลด
ซึ่งต้องอาศัยคำสัง่ ใน การ เวลาและลดต้นทุนในการปลูกกล้วยหอมทองได้
Storage
เคลื่อนย้าย
การเก็บ
- การเก็บชิ้นส่วนที่รอเป็น 3. วิธีการดำเนินงาน
เวลานาน
3.1 ศึกษาขั้นตอนการปลูกมะขามหวาน
1. ขุดหลุม: ขุดหลุมให้กว้างและลึกพอสมควร
2.5 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2. รองก้นหลุม: รองก้นหลุมด้วยปุ๋ยหมักครึ่ง หนึ่งของหลุม
สุภาภรณ์ สุวรรณรังสี และคณะ (2555) [5] ศึกษาการ ส่วนบนใช้ดินร่วนผสมปุ๋ยคอก อัตราส่วน 4 ต่อ 1
ปรับปรุงกระบวนการผลิตข้าวกล้องงอกในกลุ่มเกษตรกรบ้าน 3. วางต้นพันธุ์: ยกถุงต้นพันธุ์วางในหลุม โดยให้ระดับของ
จำปา จังหวัดสกลนคร เพื่อลดความสูญเปล่าในกระบวนการ ดินในถุงสูงกว่าระดับดินปากหลุมเล็กน้อยใช้มีดที่คมกรีด ถุง
ผลิตและแสวงหาวิธีการปรับปรุงที่เหมาะสมการศึกษางาน จากก้ น ถุ ง ขึ ้ น มาถึ ง ปากถุ ง ทั ้ ง 2 ด้ า น (ซ้ า ยและขวา) ดึ ง
พบว่ากระบวนการผลิตข้าวกล้องงอกมีส ถานีงานอยู่ห่ างกั น ถุงพลาสติกออก โดยระวังอย่าให้ดินแตก
มาก งานวิ จ ั ย นี ้ เ สนอการปรั บ ปรุ ง กระบวนการผลิ ต โดย 4. กลบดิน: กลบดินที่เหลือลงในหลุม อย่ากลบดินให้สูงถึง
หลักการ ECRS เพื่อขจัดกระบวนการที่ไม่จ ำเป็น หลัง การ
รอยทาบ กดดินบริเวณโคนต้นให้แน่น ปักไม้หลักและผูกเชือก
แก้ไข พบว่า สามารถลดขั้นตอนในกระบวนการผลิตข้าวกล้อง ยึด เพื่อป้องกันลมโยก หาวัสดุคลุมดินบริเวณโคนต้น เช่น ฟาง
งอกจากเดิม 41 ขั้นตอน เหลือเพียง 34 ขั้นตอน ส่งผลให้เวลา ข้าว หญ้าแห้ง รดน้ำให้ชุ่ม
ในการผลิตจากเดิม 3,715 นาทีต่อ 30 กิโลกรัม ลดลงเหลือ 5. การดูแลช่วงแรก: คอยรดน้ำอยู่เสมอในช่วงแรกของการ
3,677 นาทีต่อ 30 กิโ ลกรัม นั่นคือความสูญเปล่าเชิง เวลา ปลูก ทำร่มเงา เพื่อช่วยพรางแสงแดดในช่วงแรก แกะพลาสติก
สามารถลดลงได้คิดเป็นร้อยละ 17.07 นอกจากนี้ยังส่งผลให้ ที่พันรอยทาบ เมื่อปลูกไปแล้วประมาณ 1-2 เดือน ควรปลูก
ระยะทางในการเคลื่อนย้ายรวมในกระบวนการผลิตจากเดิม ต้นหรือกลางฤดูฝน ระหว่างเดือนพฤษภาคม-สิงหาคม มะขาม
99 เมตร ลดลงเหลื อ 52 เมตร นั ่ น คื อ ความสู ญ เปล่ า เชิ ง ที่ปลูกจากต้นทาบกิ่งจะให้ผลผลิตในปีที่ 3-4 หลังการปลูกแต่
ระยะทาง สามารถลดลงได้คิดเป็นร้อยละ 47.00
จะให้ผลเต็มที่ ต้องมีอายุ 6 ปีขึ้นไป

288
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

6. การรดน้ ำ : หากฝนไม่ ต กควรให้ น ้ ำ อย่ า งสม่ ำ เสมอ แขนง 4 กิ่ง และบังคับกิ่งแขนงแตกเป็นแขนงย่อยไปเรื่อ ยๆ


จนกว่าจะตั้งตัวและรากแข็งแรง จนได้ทรงพุ่มเตี้ย
7. การกำจัดวัชพืช : กำจัดวัชพืชอย่าให้ขึ้นรกโคนต้น การ 19. การตัดกิ่งแห้ง : เมื่อมะขามหวานให้ผลแล้วจะตัดแต่ง
กำจัดอาจใช้แรงคนหรือสารเคมีกำจัดวัชพืชฉีดพ่นเมื่อมะขาม กิ่งที่แห้งตาย กิ่งที่ถูกโรคแมลงทำลาย กิ่งฉีกหัก กิ่งที่แตกออก
ตั้งตัวได้แล้ว ไขว้กันจนแน่นทึบ การตัดแต่งกิ่ง ให้ทรงพุ่มโปร่ง จะช่วยให้
8. เริ่มแต่ง กิ ่ง : เริ่มตัดแต่ง กิ่ง แห้ง กิ่ง แก่ และกิ่ง ที ่ ไ ม่ ออกดอกติดฝักกระจายทั่ วถึง ช่วยให้มีค ุณภาพดี และลด
ต้องการออก ปัญหาเรื่องการหักของกิ่งเมื่อฝักโตมากขึ้น
9. ใส่ปุ๋ย: ควรดายหญ้าโคนต้นแล้วพรวนดินรอบทรงพุ่ม 20. ทำความสะอาดสวน: ควรทำความสะอาดบริเวณสวน
ใส่ปุ๋ย 15-15-15 ต้นละประมาณ 100 กรัม อย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันโรคและแมลงศัตรู
10. ใส่ปุ๋ยหมัก: ใช้ปุ๋ยหมักโรยทับ ประมาณ 1-2 กิโลกรัม 21. การดูแลระยะแตกใบอ่อน: ระยะแตกใบอ่อน ให้เน้น
11. ตัดหญ้าพรวนดิน: ดายหญ้าพรวนดินและใส่ปุ๋ยทุก 2- การฉีดป้องกันโรคราแป้ง โดยฉีดพ่นสารกลุ่มเบนโนมิล (ชื่อ
3 เดือน จนกว่าต้นมะขามจะให้ผลผลิต การค้าโกลโนมิล ) และป้องกันแมลงกินใบ เช่น ด้วงปีกแข็ง
12. การเพิ่มปุ๋ ย : เมื่อต้นมะขามมี อายุม ากขึ ้ นควรเพิ่ ม หนอนบุ้ง หนอนกระทู้ หนอนมังกร โดยฉีดพ่นสารกลุ่มคาร์บา
ปริมาณปุ๋ยตามความเหมาะสม ริล (ชื่อการค้า เซฟวิน หรือ เอส-85)
13. ปริมาณการใส่ปุ๋ย: ปริมาณการใส่ปุ๋ย ประมาณ 2-3
กิโลกรัม/ต้น/ครั้ง สำหรับต้นอายุ 8-10 ปี และเพิ่มปริมาณปุ๋ย 3.2 ผังแสดงเหตุและผลหรือผังก้ำงปลำ
มากขึ้นตามการเปลี่ยนแปลงของอายุ
14. การให้ น ้ ำ : ปกติ แ ล้ ว มะขามหวานเป็ น พื ช ที่ ท นต่ อ
สภาพความแห้งแล้งได้ดี แต่ขณะเดียวกันในช่วงที่ให้ผ ลผลิตก็
จะขาดน้ำไม่ได้เช่นกัน เพราะจะทำให้ฝ ักมีคุณภาพไม่ดี ใน
ระยะปลูกใหม่ควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอ
15. ระยะเวลาในการให้น้ำ : เมื่อมีอายุมากขึ้น การให้น้ำ
อาจมีช่วงห่างมากขึ้น ต้นมะขามหวานที่ให้ผลผลิตแล้วในระยะ
ก่อนออกดอกจะต้องมีการให้น้ำเพื่อให้มีการออกดอกเร็วขึ้น
หลังจากติดฝักแล้ว หากฝนทิ้งช่วงจะต้องมีการให้น้ำอย่าง
สม่ำเสมอ ฝักจะเจริญเติบโตอย่างเต็มที่และมีคุณภาพดี รูปที่ 1 ผังแสดงเหตุและผล
16. งดให้น้ำ: หลังจากหมดฤดูฝนแล้วจะงดการให้น้ำ ฝัก
มะขามหวานจะเริ่มแก่และสุกในช่วงปลายปีพอดี จากการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาที่ทำให้ต้นทุนการปลูก
17. ตัดแต่งกิ่งและโคน: การตัดแต่งกิ่งต้นมะขามหวานมีไม่ มะขามหวาน สาเหตุ คือการใส่ปุ๋ยในปริมาณที่มากเกินไป การ
มากนัก ถ้าต้นยังเล็กอยู่จะปล่อยให้เจริญเติบโตอย่างเต็มที่ จะ รดน้ำที่ใช้ระยะเวลาในการปฏิบัติที่มากเกินไป และการจ้าง
ตัดแต่งกิ่งที่โคนต้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น แรงงานที่ทำให้ต้นทุนเพิ่มมากขึ้น
18. ความสูงของโคนต้น: ตัดให้มีลำต้นโคนเดียว โดยทั่วไป 3.3 การใช้หลักการ ECRS
จะนิยมไว้โคนต้นสูงประมาณ 50 เซนติเมตร แล้วให้แตกกิ่ง ตารางที่ 2 แสดงการปรับปรุงขั้นตอนการปลูกมะขามหวาน
ด้วยหลักการ ECRS
289
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

ECRS ขั้นตอนการปลูกมะขามหวาน ตารางที่ 4 แสดงการสรุปต้นทุนการปลูกมะขามหวานก่อน –


Combine การนำขั้นตอนหลายส่วนเข้าด้วยกัน และได้ทำการลด หลังปรับปรุง
เวลาในการรดน้ำ ลดการใส่ปุ๋ยเคมี ลดแรงงงาน เพื่อให้ ต้นทุน ต้นทุน ต้นทุน
ช่วยให้ความสะดวกรวดเร็ว และช่วยลดต้นทุนในการ ก่อน หลัง ที่
ทำสวนมะขามหวาน วิธีการ
ลำดับ ขั้นตอน ปรับปรุง ปรับปรุง ลดลง
Simplify ใช้เวลาในการลดน้ำน้อยลง จาก 3 ชั่วโมง ลดลงเป็น 2 ปรับปรุง
(บาท/ (บาท/ (บาท/
ชั่วโมง เพื่อลดค่าน้ำ-ไฟ ในการทำสวนมะขามหวาน ไร่) ไร่) ไร่)
3.4 ตารางสรุปต้นทุนการปลูกมะขามหวาน ปรับ - 500 500 -
1
ตารางที่ 3 ตารางสรุปต้นทุนการปลูกมะขามหวาน พื้นดิน
ลำดับ ขั้นตอน ต้นทุน (บาท) ลดระยะ 1,200 700 500
1 ปรับพื้นดิน 500 เตรียม เวลาในการ
2
2 เตรียมดิน 1,200 ดิน เตรียมดินให้
3 เตรียมหลุม 1,500 เหลือ 4 วัน
4 ลงพันธุ์มะขามหวาน 500 เตรียม - 1,500 1,500 -
3
5 รดน้ำ 900 หลุม
6 ใส่ปุ๋ยบำรุง 1,800 ลงพันธุ์ - 500 500 -
4
7 การกำจัดวัชพืช 2,000 ต้นกล้า
8 การตัดหญ้าสวนมะขามหวาน 500 ลดระยะเวลา 900 600 300
9 การตัดแต่งกิ่งมะขาม - ในการลดน้ำ
5 รดน้ำ
10 การเก็บเกี่ยวผลผลิต 3,000 จาก 3 ชั่วโมง
11 ตัดแต่งฝักมะขาม 600 เป็น 2 ชั่วโมง
12 คัดแยกมะขามรอจำหน่าย 600 6 ใส่ปุ๋ย ใส่ปุ๋ยเคมี 1,800 900 900
รวมทั้งหมด 13,100 บำรุง น้อยลง
เล็กน้อย (ใส่
พอประมาณ)
4. ผลการวิจัย การ - 2,000 2,000 -
4.1 แสดงการสรุปต้นทุนการปลูกมะขามหวานก่อน - หลัง 7 กำจัด
ปรับปรุง วัชพืช
หลัง จากที่ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาและปรับปรุงขั้ นตอนใน การตัด ลดน้ำมันค่า 500 500 -
หญ้า เครื่องตัดหญ้า
การปลูกมะขามหวาน จะได้ต้นทุนหลังปรับปรุง ดังนี้
8 สวน โดยอาจจะใช้
มะขาม อุปกรณ์มีคม
หวาน ชนิดอื่น
การตัด - - - -
9 แต่งกิ่ง
มะขาม
การเก็บ ลดจำนวน 3,000 1,500 1,500
10 เกี่ยว แรงงาน เพื่อ
ผลผลิต
290
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

ต้นทุน ต้นทุน ต้นทุน ก่อน หลัง เพิ่มขึ้น


รายการ ร้อยละ
ก่อน หลัง ที่ ปรับปรุง ปรับปรุง /ลดลง
วิธีการ
ลำดับ ขั้นตอน ปรับปรุง ปรับปรุง ลดลง การตรวจสอบ 3 3 0 -
ปรับปรุง
(บาท/ (บาท/ (บาท/ (ขั้นตอน)
ไร่) ไร่) ไร่) การเก็บพัก 5 5 0 -
ลดค่าจ้าง (ขั้นตอน)
แรงงาน ปริมาณผลผลิต 10,500 ปริมาณ - -
ตัดแต่ง - 600 600 - (กิโลกรัม) ผลผลิต
11 ฝัก เป็นไป
มะขาม ตามที่
คัดแยก - 600 600 - คาดหวังไว้
มะขาม
12
รอ
จากตารางที่ 5 การปรับปรุงขั้นตอนทำให้พบว่า ต้นทุน
จำหน่าย
รวมก่อนปรับปรุง 13,100 บาท หลัง ปรับปรุง 9,900 บาท
รวมทั้งหมด - 13,100 9,900 3,200
ลดลง 3,200 บาท หรือคิดเป็นร้อยละ 24.42 และเวลารวม
ตารางผลการเปรียบเทียบก่อน – หลังปรับปรุง
ก่อนปรับปรุง 246,190 วินาที หลัง ปรับปรุง 64,800 วินาที
จากผลการศึกษาและปรับปรุงขั้นตอนการปลูก มะขาม
ลดลง 181,390 วินาที หรือคิดเป็นร้อยละ 73.67 เวลารวม
หวานสรุปได้ดังตารางที่ 5
ก่อนปรับปรุง 411 วัน หลังปรับปรุง 415 วัน เพิ่มขึ้น 4 วัน
หรือคิดเป็นร้อยละ 0.97 ขั้นตอนรวมก่อนและหลังปรับปรุง
ตารางที่ 5 แสดงผลการเปรียบเทียบก่อน – หลังปรับปรุง
เท่ากันคือ 65 ขั้นตอน ระยะทางรวมก่อนและหลัง ปรั บปรุง
ก่อน หลัง เพิ่มขึ้น
รายการ
ปรับปรุง ปรับปรุง
ร้อยละ เท่ากันคือ 3,200 เมตร การปฏิบัติงานก่อนและหลังปรับปรุง
/ลดลง
ต้นทุนรวม 13,100 9,900 3,200  24.42 เท่ากันคือ 63 การเคลื่อนย้ายก่อนและหลังปรับปรุงเท่ากันคือ
(บาท) ลดลง 6 ขั้นตอน จะพบได้ว่ามีหลายรายการที่มีจำนวนก่อนและหลัง
เวลารวม 246,190 64,800 181,390 73.67 เท่ากัน แต่ในการปรับปรุงครั้ง นี้สามารถทำให้ต้นทุนในการ
(วินาที) ลดลง  ปลูกมะขามหวานลดลง อีกทั้งยังไม่ส่งผลต่อปริมาณผลผลิต
เวลารวม (วัน) 411 415 4 0.97
ขั้นตอนรวม 65 65 0 - 5. สรุปผลการวิจัย
(ขั้นตอน)
การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อปรับปรุงขั้นตอนการปลูก
ระยะทางรวม 3,200 3,200 0 -
(เมตร) มะขามหวานในการลดต้นทุนจากการศึกษาขั้นตอนการทำงาน
การปฏิบัติงาน 63 63 0 - เพื่อลดต้นทุ นการปลูก มะขามหวานของสวนมะขามหวาน
(ขั้นตอน) กรณีศึกษา อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน 10 ไร่
การเคลื่อนย้าย 6 6 0 - คณะผู้วิจัยได้ทำการปรับปรุงขั้นตอนการปลูกมะขามหวาน
(ขั้นตอน) ใหม่ โดยใช้ผังแสดงเหตุและผลหรือผังก้างปลาและเทคนิคการ
การรอคอย 22 22 0 - ตั้ง คำถาม 5W1H เพื่อหาสาเหตุของปัญหาต้นทุนการปลู ก
(ขั้นตอน)
มะขามหวาน และใช้หลักการ ECRS และแผนภูมิกระบวนการ
291
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

ไหล (Flow Process Chart) มาประยุ ก ต์ ใ ช้ เ พื ่ อ ปรั บ ปรุ ง 6. ชิดชนก อินทอง และคณะ (2564) “การศึกษาขั้นตอนการ
ขั้นตอนการปลูกมะขามหวาน เพราะบางขั้นตอนอาจจะไม่ ทำงานเพื ่ อ ลดต้ น ทุ น กรณี ศ ึ ก ษา สวนกล้ ว ยหอมทอง
จำเป็นจะทำให้ ขั ้ น ตอนการทำงานลดลงได้ หากลดลงหนึ่ ง อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี ” การประชุมวิชาการ
ขั้นตอน และยังมีการเสนอแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการลด ระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม
ต้นทุนทางด้านปุ๋ยเคมี เพื่อแก้ปัญหาทางด้านต้นทุนการปลูก ครั้งที่ 12 (CIOD 2021), เล่มที่ 1, 2564, หน้า 313--319.
และรักษา
จากการปรับปรุง ขั้นตอนทำให้พบว่าต้นทุนรวม (บาท)
ลดลงร้อยละ 24.42 เวลารวม (วินาที) ลดลงร้อยละ 73.67
และเวลารวม (วัน) เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.97 ในการปรับปรุงครั้งนี้
สามารถทำให้ต้นทุนการปลูกและดูแลรักษาลดลง อีกทั้งยังไม่
ส่งผลต่อปริมาณผลผลิต

เอกสารอ้างอิง
1. มะขาม งานวิจัยและสรรพคุณ, 2565 (ออนไลน์) สืบค้นเมื่อ
วั น ที ่ 6 มี น าคม 2565 จาก : https://www.disthai.
com/16941345/%E0%B8%A1%E0%B8%B0%E0%B
8%82%E0%B8%B2%E0%B8%A1
2. ผัง ก้างปลากับแผนภูม ิค วามคิด Fish Bone Diagram &
Mind Map, 2559 (ออนไลน์) สืบค้นเมื่อ 6 มีนาคม 2565
จ า ก : http: / / www. prachasan. com/ mind map
knowledge/fishbonemm.htm
3. การใช้ เ ทคนิ ค 5W1H ในการวิ เ คราะห์ ป ั ญ หา, 2565
(ออนไล น์ ) ส ื บ ค ้ น เมื ่ อ 6 มี น าค ม 2565 จ าก :
https://sites.google.com/site/siriprapha205/5w1h
4. การวิ เ คราะห์ ก ระบวนการ Process Analysis, 2565
(ออนไล น์ ) ส ื บ ค ้ น เมื ่ อ 6 มี น าค ม 2565 จ าก :
http://pirun.ku.ac.th/~fengcsr/courses/2008_01.p
df
5. สุภ าภรณ์ สุวรรณรัง สี และ เดชา พวงดาวเรือง (2555)
“การลดความสูญเปล่าของกระบวนการผลิตข้าวกล้องงอก
กรณีศ ึกษา กลุ่มเกษตรกรบ้านจำปา จัง หวัดสกลนคร”
การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรม อุตสาหการ
ประจำปี พ.ศ. 2555, เล่มที่ 1, 2555, หน้า 253-260.

292
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

การศึกษาขั้นตอนการทำงานเพื่อลดต้นทุน
กรณีศึกษา การปลูกต้นกัญชง อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์
Studied in Process to Reduce Costs Case Study: Hemp Cultivation,
in Laplae District, Uttaradit
กนกกาญจน์ ขวัญนวล1* ฐิตารีย์ ขำทับทิม2* ณรงค์เดช รุ่งนภาศิริ3* และ ชาลิสา สุขเกิด4*
1,3,4
ภาควิชาการจัดการโลจิสติกส์ คณะบริหารธุรกิจ
2
ภาควิชาการจัดการ คณะบริหารธุรกิจ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร เขตหนองจอก กรุงเทพฯ 10530
E-mail: kanogkarn@mutacth.com1*, 6113140063@mutacth.com3*

บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ได้ทำการศึกษาขั้นตอนการทำงานเพื่อลดต้นทุนการปลูกต้นกัญชง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาขั้นตอนการปลูก
ต้นกัญชง โดยใช้หลักการ ECRS มาประยุกต์ใช้ในการปรับปรุงขั้นตอนและลดต้นทุนในการปลูกต้นกัญชง การศึกษาครั้งนี้ ผู้จัดทำ
ได้ใช้ ไร่กัญชง อำเภอลับแล จังหวัดอุ ตรดิตถ์ เป็นกรณีศึกษา ผลการศึกษาพบว่า สามารถลดการทำงานรวมถึงลดขั้นตอนในการ
ปลูกต้นกัญชง และเมื่อได้มีการศึกษาและปรับปรุงขั้นตอนการปลูก พบว่า กัญชง สามารถลดต้นทุนรวมจาก 195,560 บาท เป็น
185,060 บาท หรือลดลงร้อยละ 5.37 แสดงให้เห็นว่าการประยุกต์ใช้หลักการ ECRS ในการทำงานสามารถลดต้นทุนในการปลูก
ต้นกัญชงได้

คำสำคัญ : หลักการ ECRS ลดต้นทุน การปลูกต้นกัญชง ปรับปรุงขั้นตอน

Abstract
This research has studied the working process to reduce the cost of hemp cultivation. The objective
of this study was to study the process of hemp cultivation. The purpose of this study the process of hemp
cultivation by the ECRS principle applied to improve the process and reduce the cost of hemp cultivation. The
organizers used hemp plantation, Laplae district, Uttaradit province. The results of the study found that can
reduce work as well as reduce the process of planting hemp plants. When there has been a study and
improvement of the planting process found that hemp cultivation can reduce the total cost from 195,560 baht
to 185,060 baht or 5. 37 percent reduction It shows that applying the ECRS principle to work can reduce the
cost of hemp cultivation.

293
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

Keywords : The ECRS principle, Reduce costs, Hemp cultivation, Improve the process

294
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

1. บทนำ 2.2 เทคนิคการตั้งคำถาม 5W1H


กัญชง (Hemp) เป็นพืชอยู่ในวงศ์เดียวกันกับกั ญชา เป็นการคิดวิเคราะห์ที่ใช้ในการจำแนกองค์ประกอบต่างๆ
โดยทั่วไปจะมีลำต้นสูงเรียว ตั้งตรง แตกกิ่งก้านไม่มาก เปลือก ซึ่งอาจจะเป็นวัตถุ สิ่งของ เรื่องราว หรือเหตุการณ์ นำมาหา
ลำต้นให้เส้นใยคุณภาพสูง กฎกระทรวงสาธารณสุขที่เกี่ยวข้อง ความสัมพันธ์เชิงเหตุผล ระหว่างองค์ประกอบต่างๆ เหล่านั้น
กับกัญชง เริ่มบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2564 เปิด เพื่อค้นหาคำตอบที่เป็นความเป็นจริง หรือที่เป็นสิ่งที่ส ำคัญ
กว้างให้ทุกภาคส่วนทั้งเกษตรกร ภาครัฐและเอกชประชาชน จากนั้นจึงรวบรวมข้อมูลทั้งหมดมาจัดระบบ เรียบเรียงใหม่ให้
ทั่วไป สามารถขออนุญาต นำกัญชงไปใช้ทุกวัตถุประสงค์ตั้งแต่ ง่ายต่อการทำความเข้าใจ [3]
การแพทย์ การศึกษา การวิจัย การใช้ตามวิธีชีวิต เป็นเมล็ด
พันธุ์ และการค้า เพื่อนำส่วนต่างๆ ของกัญชงไปแปรรูปและ 2.3 การปรับปรุงงานโดยใช้หลักการ ECRS
สร้ า งมู ล ค่ า เพิ ่ ม เป็ น ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ส ุ ข ภาพทั้ ง ยา อาหาร 1. การกำจัดขั้นตอนงานที่ไม่จำเป็นออก (Eliminate) โดย
เครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์สมุนไพร เป็นต้น ทั้งนี้ การผลิต พิจารณาขั้นตอนการทำงานเพื่อกำจัดขั้นตอนใดออกนั้น เริ่ม
ผลิตภัณฑ์สุขภาพเพื่อจำหน่ายจะต้องขออนุญาตตามกฎหมาย จากการศึกษาผลกระทบที่เกิดขึ้นและพิจารณาขั้นตอนการ
ของผลิตภัณฑ์นั้นๆ ด้วย [1] ทำงานที่สามารถจะกระทำเพื่อลดขั้นตอนการผลิต
ปัญหาต้นทุนในการปลูกต้นกัญชงจึงมีความสำคัญที่จะต้อง 2. การรวมขั้นตอนในการดำเนินงานหลายส่วนเข้าด้วยกัน
ได้รับการแก้ไข เนื่องจากต้นทุนของการปลูกต้นกัญชงที่เพิ่มขึ้น (Combine) คือ ในกระบวนการผลิตนั้นถ้ามีขั้นตอนการผลิต
มีอยู่หลายปัจจัย เช่น ราคาปุ๋ยเคมี ค่าจ้างแรงงาน ค่าวัสดุ มากเกินไป อาจจะทำให้การทำงานเกิดความล่าช้า เสียเวลา
อุปกรณ์ เป็นต้น คณะผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษาเพื่อหา ดังนั้น เราจึงต้องหาวิธีลดขั้นตอนหรือรวบรวมของขั้นตอนใน
แนวทางในการแก้ไขปัญหา โดยใช้ผังแสดงเหตุและผลหรือผัง การทำงาน เพื่อก่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
ก้างปลา เทคนิคการตั้งคำถาม 5W1H และหลักการ ECRS มา 3. การจัดลำดับขั้นตอนการทำงานใหม่ (Rearrange) คือ
ใช้ในการปรับปรุงแก้ไขในขั้นตอนต่างๆ ในการปลูกกล้วยหอม เมื่อมีการขยายกำลังการผลิตเพิ่มมากขึ้น และมีปริมาณการ
ทอง เพื่อหาแนวทางในการลดต้นทุนของการปลูกต้นกัญชง ผลิตเพิ่มขึ้น แต่ถ้าหากมีขั้นตอนการผลิตและการปฏิบัติง าน
วัตถุประสงค์ของการศึกษา ยังคงเหมือนเดิม ด้วยเหตุนี้อาจจะเป็นสาเหตุให้เกิดปัญหาของ
เพื่อศึกษาปรับปรุงขั้นตอนและลดต้นทุนการปลูกต้นกัญชง การผลิต การเคลื่อนย้ายวัส ดุและการทำงานที่ไม่สะดวก จึง
ของไร่กัญชงกรณีศึกษา จำเป็นต้องจัดลำดับขั้นตอนของการทำงานใหม่
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 4. การปรับปรุงขั้นตอนการทำงานให้ง่ายขึ้น (Simplify)
เพื ่ อ ปรั บ ปรุ ง และกำจั ด ขั ้ น ตอนที ่ ไ ม่ ก ่ อ ให้ เ กิ ด คุ ณ ค่า เป็นการปรับปรุงขั้นตอนการทำงานที่ก่อให้เกิดประสิทธิภาพ
ทางการผลิต เพื่อลดต้นทุนในการปลูกต้นกัญชง สูงสุด เช่น การทำงานที่มีขั้นตอนยุ่งยากซับซ้อน จำเป็นต้อง
หาวิธีการทำงานหรือเครื่องมือในการทำงานให้ สะดวกขึ้นและ
2. ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2.1 ผังแสดงเหตุและผลหรือผังก้างปลา
เป็นแผนผังที่ใช้ในการวิเคราะห์ค้นหาสาเหตุต่างๆ ว่ามี 2.4 แผนภูมิกระบวนการไหล (Flow Process Chart) [4]
อะไรบ้างที่มาเกี่ยวข้องกันสัมพันธ์ต่อเนื่องกันอย่างไร จึงทำ
ให้ผลปรากฏตามมาในขั้นสุดท้าย [2]
295
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

ใช้วิเคราะห์ขั้นตอนการไหลของวัตถุดิบ ชิ้นส่วน พนักงาน พบว่ากระบวนการผลิตข้าวกล้องงอกมีส ถานีงานอยู่ห่ างกั น


และอุปกรณ์ ที่เคลื่อนไปในกระบวนการพร้อมกับกิจกรรม มาก งานวิ จ ั ย นี ้ เ สนอการปรั บ ปรุ ง กระบวนการผลิ ต โดย
ต่างๆ โดยใช้สัญลักษณ์มาตรฐาน 5 ตัว ดังนี้ หลักการ ECRS เพื่อขจัดกระบวนการที่ไม่จ ำเป็น หลัง การ
ตารางที่ 1 สัญลักษณ์ที่ใช้ในแผนภูมิการไหล แก้ไข พบว่า สามารถลดขั้นตอนในกระบวนการผลิตข้าวกล้อง
สัญลักษณ์ ชื่อเรียก คำจำกัดความโดยย่อ งอกจากเดิม 41 ขั้นตอน เหลือเพียง 34 ขั้นตอน ส่งผลให้เวลา
Operation การเปลี่ยนคุณสมบัติทาง ในการผลิตจากเดิม 3,715 นาทีต่อ 30 กิโลกรัม ลดลงเหลือ
การปฏิบัติงาน เคมีหรือฟิสิกส์ของวัตถุ 3,677 นาทีต่อ 30 กิโ ลกรัม นั่นคือความสูญเปล่าเชิง เวลา
- การประกอบชิ้นส่วน หรือ สามารถลดลงได้คิดเป็นร้อยละ 17.07 นอกจากนี้ยังส่งผลให้
การถอดส่วนประกอบออก ระยะทางในการเคลื่อนย้ายรวมในกระบวนการผลิตจากเดิม
- การเตรียมวัตถุเพื่องานขั้น
99 เมตร ลดลงเหลื อ 52 เมตร นั ่ น คื อ ความสู ญ เปล่ า เชิ ง
ต่อไป
ระยะทาง สามารถลดลงได้คิดเป็นร้อยละ 47.00
- การวางแผน การคำนวณ
ชิดชนก อินทอง และคณะ (2564) [6] ทำการศึก ษา
การให้คำสั่งหรือการรับคำสั่ง
ขั้นตอนการทำงานเพื่อลดต้นทุนการปลูกกล้วยหอมทอง มี
Inspection - ตรวจสอบคุณลักษณะของ
การตรวจอบ วัตถุ วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาขั้นตอนการปลูกกล้วยหอมทอง โดยใช้
- ตรวจสอบคุณภาพ หลักการ ECRS มาประยุกต์ใช้ในการปรับปรุงขั้นตอนและลด
หรือปริมาณ ต้นทุนในการปลูกกล้วยหอมทองการศึกษาครั้งนี้ ผู้จัดทำได้ใช้
Transportation - การเคลื่อนวัตถุจากจุดหนึ่ง สวนกล้วยหอมทอง อำเภอหนองเสือ จัง หวัดปทุมธานีเป็น
การเคลื่อน ไปยังอีกจุดหนึ่ง กรณีศ ึกษา ผลการศึกษาพบว่า สามารถลดการทำงานรวม
- พนักงานกำลังเดิน ขั้นตอนจาก 82 ขั้นตอน เป็น 81 ขั้นตอน หรือลดลง 1.22
Delay - การเก็บวัสดุชั่วคราว เปอร์เซ็นต์ และเมื่อได้มีการศึกษาและปรับปรุงขั้นตอนการ
การคอย ระหว่างการปฏิบัติงาน ปลูก พบว่ากล้วยหอมทอง สามารถลดต้นทุนรวมจาก 38,240
- การคอยเพื่อให้งาน บาท เป็น 30,460 บาท หรือลดลงร้อยละ 20.35 แสดงให้เห็น
ขั้นต่อไปเริ่มต้น ว่าการประยุกต์ใช้หลักการ ECRS ในการทำงานสามารถลด
Storage - การเก็บวัสดุไว้ในสถานที่ เวลาและลดต้นทุนในการปลูกกล้วยหอมทองได้
การเก็บ ถาวรซึ่งต้องอาศัยคำสั่งใน
การเคลื่อนย้าย
3. วิธีการดำเนินงาน
- การเก็บชิ้นส่วนที่รอเป็น
3.1 ขั้นตอนการปลูกกัญชง มีดังนี้
เวลานาน
1. ปรับพื้นดิน : นำรถไถ ไถเกลี่ยให้เรียบก่อนสร้างคลีนเฮาส์
(โดม) 1 เดือน เพื่อปรับสภาพหน้าดิน
2.5 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
2. เตรียมคลีนเฮ้าส์ (โดม) : สร้างไว้ กันฝน หรือ แมลง และ
สุภาภรณ์ สุวรรณรังสี และคณะ (2555) [5] ศึกษาการ
เพื ่ อ ถ่ า ยเทเอาอากาศเย็ น จากภายนอกเข้ า มาภายใน ซึ่ ง
ปรับปรุงกระบวนการผลิตข้าวกล้องงอกในกลุ่มเกษตรกรบ้าน
สามารถลดความร้อ นภายในคลี นเฮ้ าส์ (โดม) ทำให้ค วาม
จำปา จังหวัดสกลนคร เพื่อลดความสูญเปล่าในกระบวนการ
แตกต่างระหว่างอุณหภูมิภายใน (ที่มีค่าสูง) และภายนอกคลีน
ผลิตและแสวงหาวิธีการปรับปรุงที่เหมาะสมการศึกษางาน
296
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

เฮ้าส์ (โดม) (ที่มค่าต่ำกว่า) ลดเหลือเพียง 8-14 องศาเซลเซียส และเพื่อต้นกัญชงสร้างกิ่งสาขาได้มากขึ้น โดยสามารถเริ่มทำ


เท่านั้น การ Topping ได้ตั้งแต่ต้นที่มีจำนวนข้อปล้อง 4-5 ข้อปล้อง
3. เตรียมตะกร้า : เอาไว้ใส่ดินและปุ๋ย รอเอาต้นกล้าลงปลูก โดยทั่วไปนิยมที่ 4 ข้อปล้อง แต่ข้อเสียของวิธีนี้คือจะทำให้ต้น
4. เตรียมดินและปุ๋ย ชะงักการเจริญเติบโต
4.1 ปุ๋ยขี้วัวหมัก หรือ ปุ๋ยมูลไส้เดือน : ใส่ 2 ถัง (เป็นอาหาร 9.2 การ Fiming คือ การตัดส่วนยอดของลำต้นกัญชงแต่
หลัก) ไม่ได้เป็นการตัดของทั้งหมดโดยจะเหลือไว้ประมาณ 30% วิธี
4.2 ทราย : ใส่ 2 บุ้งกี๋ (ช่วยเรื่องการระบายน้ำ) จะทำให้ต้นกัญชงบาดเจ็บน้อยกว่าวิธีการ Topping แต่ลำต้น
4.3 แกลบดำ : ใส่ 1 บุ้งกี๋ และอีก ครึ่งบุ้งกี๋ (ช่วยเรื่องเก็บ ของกัญชงจะสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยเทคนิคการตัดแต่งยอดทั้ง 2 วิธี
ความชื่นและเพิ่มแร่ธาตุ) นี้ทำเพื่อเพิ่มผลผลิตของต้นกัญชงโดยที่ต้นกัญชง 1 ต้นอาจจะ
4.4 ขุยมะพร้าว : ใส่ 1 ถัง (ช่วยเรื่องความชื่นและไม่ให้ดิน ใช้ทั้ง 2 วิธีร่วมกันได้
เน้น) 10. ตัดแต่งกิ่ง : การตัดแต่งใบของต้นกัญชง ถ้าส่วนล่างของลำ
4.5 เพอร์ไลท์ : ใส่ 2 ถ้วย (ช่วยเพิ่มอากาศในดิน) ต้นมีจำใบที่มากเกินความจำเป็นให้เลือกเด็ดใบที่เริ่มจะเหลือง
4.6 เวอร์มิคูไลท์ : ใส่ 2 ถ้วย (ช่วยเรื่องการกักเก็บอาหาร ออกเพื่อให้ลำต้นโล่ง แต่ถ้าเอาออกเยอะไปจะมีผลกระทบต่อ
และค่อยๆ ปลดปล่อยธาตุอาหารออกมา) ต้น
4.7 พีชมอส : ใส่ 2 ถ้วย (เป็นอาหารหลัก) 11. ออกช่อดอก : การตัดแต่งกิ่งจะเริ่มทำเมื่อลำต้นของกัญชง
4.8 ยิ ป ซั ม หรื อ เปลื อ กไข่ : ใส่ 1 กิ โ ลกรั ม (ช่ ว ยเพิ่ ม แข็งแรงและมีกิ่งสาขามากเกินไปทำให้ลำต้นของกัญชงไม่ได้
แคลเซียม) รับแสงแดดอย่างทั่วถึงและอาจก่อให้เกิดปัญหาเชื้อราตามมา
5. การเตรียมระบบน้ำ : จะมีการติดอุปกรณ์รดน้ำอัตโนมัติ ภายหลัง
6. รดน้ำ : จะใช้อุปกรณ์รดน้ำอัตโนมัติ รดน้ำต้นกัญชง วันละ 12. ออกยอดช่อดอก : กัญชงจะเริ่มออกช่อดอกเมื่อต้นมีอายุ
1 ครั้ง ใช้น้ำในการรด 2-3 ลิตร ต่อวัน (รดน้ำก่อน 10 โมงเช้า ได้ 12-13 สั ป ดาห์ และใช้ เ วลาผลิต ช่อ ดอกประมาณ 4-6
หรือ ช่วงหลังพระอาทิตย์ตกเดิน) สัปดาห์
7. การใส่ปุ๋ย : ใส่ปุ๋ยขี้วัวหมัก , ทราย, แกลบดำ, ขุยมะพร้าว, 13. เก็บผลผลิต : การเก็บเกี่ยวช่อดอกกัญชงให้สัง เกตที ่ข น
เพอรไลท์, เวอร์มิคูไลท์, พีชมอส และ ยิปซัม ผสมให้เข้ากัน ตรงช่อดอกถ้าช่อดอกที่พร้อมเก็บเกี่ยวขนจะเปลี่ยนเป็นสีส้ม
พอผสมเข้ากันเสร็จเอาลงใส่ตะกร้ารอเอาต้นกล้ากัญชงลงปลูก หรื อ สี น ้ ำ ตาลเข็ ม เมื ่ อ มื อ สั ม ผั ส ขนจะหลุ ด ออกดดยง่ า ย
ข้อดีไม่ต้องใส่ปุ๋ยหลายครั้ง ใส่แค่ครั้งเดียวจบ 1 ตะกร้า ต่อ 1 หลังจากตัดช่อดอกแล้วให้นำไปตากในที่ร่มอากาศถ่ายเทได้ดี
ต้น จนเก็บผลผลิตในเดือนที่ 4 ถึง จะเอาส่วนที่ผ สมอยู่ใ น ใช้เวลาตากประมาณ 7-10 วัน
ตะกร้าออก
8. การกำจัดวัชพืช : ต้องเดินดูและค่อยจับออก ควรทำแบบนี้
อย่างน้อยอาทิตย์ละ 1 ครั้ง
9. ตัดแต่งยอด : การแต่งยอดของกัญชงจะแบ่งของเป็น 2 วิธี
คือ
9.1 การ Topping คื อ การตั ด ส่ ว นยอดของลำต้ น ของ
กัญชงออกทั้งหมดวิธีนี้เป็นวิธีที่ใช้ควบคุมควบสูงของต้นกัญชง
297
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

3.2 ผังแสดงเหตุและผลหรือผังก้างปลา ตารางที่ 2 แสดงการปรับปรุงขั้นตอน


ECRS ขั้นตอนการปลูกกัญชง
Eliminate การกำจัดขั้นตอนการเดินเช็คต้นกัญชงทุกวัน เพราะ
เป็นขั้นตอนที่ไม่จำเป็น ต้นกัญชงไม่ได้เกิดความ
เสียหาย แล้วค่อนข้างทนแดดทำให้ตายยาก จึงไม่
จำเป็นต้องเดินตรวจเช็คประจำทุกวัน
Combine การรวมขั้นตอนหลายส่วนระหว่างการตัดแต่งยอด
และการตัดแต่งใบ เพราะ สามารถนำ 2 ขั้นตอนนี้มา
ทำในวันและเวลาเดียวกันได้ ทำให้ประหยัดเวลามาก
ขึ้น ไม่เสียเวลาในการทำงาน
Simplify เปลี่ยนขั้นตอนการทคสอบระบบน้ำให้มีระยะเวลาที่
รูปที่ 1 ผังแสดงเหตุและผล สั้นลง เพื่อให้เริ่มปลูกกัญชงได้เร็วขึ้น
จากการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาที่ทำให้เกิดต้นทุนการ
ปลูกกัญชงสูง สรุปสาเหตุที่ส่งผลต่อต้นทุน มีดังนี้ ตารางที่ 3 แสดงต้นทุนการปลูกกัญชงก่อน – หลังปรับปรุง
Method : วิธีการใส่ปุ๋ย เพราะจังหวะการหยอดปุ้ยมีการ ต้นทุน
ลำดับ ขั้นตอน ปัญหาที่พบ
(บาท/ไร่)
เคลื่อนไหวที่ส ูญเปล่า ซึ่ง เป็นขั้นตอนที่ไม่จ ำเป็น จึง ทำให้
1 ปรับพื้นดิน สภาพอากาศมีผลต่อ 1,500
ต้นทุนการปลูกกัญชงสูง และมีขั้นตอนที่ไม่จำเป็นคือ การเดิน การปรับหน้าดิน ถ้า
ตรวจต้นกัญชงทุกๆ ต้นในทุกวัน ทำให้มีการเคลื่อนไหวที่ไม่ มีฝนตกอาจทำให้
จำเป็น การปรับพื้นดินล่าช้า
Man : เพิ่มค่าตอบแทน เนื่องจากขาดแคลนแรงงาน จึง รอให้พื้นดินแน่น - -
จำเป็นต้องเพิ่มค่าเรง เพื่อเป็นการจูงใจให้แรงงานมาทำงานใน 2. เตรียมคลีนเฮ้าส์ (โดม) - 10,000
ภาคการเกษตร จึงส่งผลให้ ต้นทุนการปลูกกัญชงสูงขึ้น พื้นที่สำหรับปลูก
ต้นกัญชง
Material : ปุ๋ยเคมีราคาสูง และการจัดระบบน้ำเพื่อใช้รด
3 เตรียมตะกร้า - 12,000
ต้นกัญชง มีต้นทุนค่าอุปกรณ์ที่สูง เช่น ค่าเครื่องปั๊มน้ำ (สูบน้ำ) 4 เตรียมดินและปุ๋ย - 12,500
ค่าน้ำมันเรือ เป็นต้น จึงทำให้ต้นทุนการปลูกกัญชงสูง ปุ๋ยขี้วัวหมัก ใช้ 2 ถุง
Environment : สภาพแวดล้อมมีความร้อนมากเกินไป ต่อ 1 ต้น
ทำให้ไม่ส ามารถปลูกกัญชงได้ ถ้าปลูกได้ กัญชงก็จ ะมีการ 5 แกรบดำ - 5,000
เติบโตที่ช ้าลงและออกช่อดอกช้าลง ทำให้ต้องมีการรดน้ำ 6 ทราย - 3,000
เพื่อให้หน้าดินมีความชุ่มขึ้น ซึ่งส่งผลให้ต้นทุนการปลูกกัญชง 7 ขุยมะพร้าว - 1,000
8 เพอร์ไลท์ - 1,260
สูง
9 เวอร์มิคูไลท์ - 1,350
3.3 การใช้หลักการ ECRS
10 พีชมอส - 3,800
ตารางการปรั บปรุ ง ขั้ น ตอนการปลู ก ต้ น กั ญ ชงด้ว ย
หลักการ ECRS 11 ยิปซัม หรือ เปลือกไข่ - 150

298
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

ลำดับ ขั้นตอน ปัญหาที่พบ


ต้นทุน ตารางที่ 4 แสดงการสรุปต้นทุนการปลูกมะขามหวานก่อน –
(บาท/ไร่) หลังปรับปรุง
12 เตรียมระบบน้ำ ต้องมีการทดลอง 15,000 ต้นทุน ต้นทุน ต้นทุน
(อุปกรณ์รดน้ำอัตโนมัติ) ระบบก่อนใช้จริง, ก่อน หลัง ที่
ใช้เวลานาน วิธีการ
ลำดับ ขั้นตอน ปรับปรุง ปรับปรุง ลดลง
ปรับปรุง
13 เมล็ดพันธ์ต้นกัญชง - 19,000 (บาท/ (บาท/ (บาท/
14 รดน้ำ - 10,000 ไร่) ไร่) ไร่)
ระยะเวลารอคอย ต้องเว้นระยะเวลา - ปรับ
1 - 1,500 1,500 -
การรดน้ำต้นกัญชง พื้นดิน
24 ชั่วโมง รดน้ำเร็ว เตรียม
ไปอาจทำให้รากเน่า 2 คลีนเฮ้าส์ - 100,000 100,000 -
ได้ (โดม)
15 ต้นกัญชงโตพร้อม - - เตรียม
3 - 12,000 12,000 -
การเก็บเกี่ยวผลผลิต ตะกร้า
( 3 เดือน ) เตรียมดิน ใส่ปุ๋ย
4 12,500 4,500 8,000
16 การตัดแต่งยอด - - และปุ๋ย ขี้วัวหมัก
17 การตัดแต่งใบ - - 5 แกรบดำ - 5,000 5,000 -
18 การตัดแต่งกิ่ง - - 6 ทราย - 3,000 3,000 -
19 การออกช่อ - - ขุย
7 - 1,000 1,000 -
20 กำจัดวัชพืช (พ่นตอน - 10,000 มะพร้าว
ทำใบกับทำช่อ) 8 เพอร์ไลท์ - 1,260 1,260 -
21 การเก็บเกี่ยวผลผลิต - - เวอร์มิ
9 - 1,350 1,350 -
รวมทั้งหมด - 195,560 คูไลท์
หมายเหตุ การปลูกต้นกัญชง 100 ต้น กรณีศึกษา 10 พีชมอส - 3,800 3,800 -
ยิปซัม /
11 - 150 150 -
เปลือกไข่
4. ผลการวิจัย เตรียม
4.1 แสดงการสรุปต้นทุนการปลูกมะขามหวานก่อน - หลัง 12 - 15,000 15,000 -
ระบบน้ำ
ปรับปรุง เมล็ดพันธุ์
13 - 19,000 19,000 -
หลัง จากที่ผู้วิจัยได้ทำการศึกษาและปรับปรุงขั้ นตอนใน ต้นกัญชง
การปลูกมะขามหวาน จะได้ต้นทุนหลังปรับปรุง ดังนี้ ลดจำนวน 10,000 7,500 2,500
14 รดน้ำ ชั่วโมงใน
การรดน้ำ
เก็บเกี่ยว
15
ผลผลิต
ตัดแต่ง
16 - - - -
ยอด

299
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

ต้นทุน ต้นทุน ต้นทุน ตารางที่ 5 แสดงผลการเปรียบเทียบก่อน – หลังปรับปรุง


ก่อน หลัง ที่ ก่อน หลัง เพิ่มขึ้น/
วิธีการ รายการ ร้อยละ
ลำดับ ขั้นตอน ปรับปรุง ปรับปรุง ลดลง ปรับปรุง ปรับปรุง ลดลง
ปรับปรุง
(บาท/ (บาท/ (บาท/ ต้นทุนรวม 195,560 185,060 10,500 5.37
ไร่) ไร่) ไร่) (บาท) ลดลง
17 ตัดแต่งใบ - - - - เวลารวม 106,400 176,090 69,690 65.50
18 ตัดแต่งกิ่ง - - - - (วินาที) เพิ่มขึ้น
19 ออกช่อ - - - - เวลารวม (วัน) 226 226 0 -
กำจัด ขั้นตอนรวม 203 203 0 -
20 - 10,000 10,000 -
วัชพืช (ขั้นตอน)
เก็บเกี่ยว ระยะทางรวม 0 0 0 -
21 - - - -
ผลผลิต (เมตร)
รวมทัง้ หมด 195,560 185,060 10,500 การปฏิบัติงาน 110 110 0 -
(ขั้นตอน)
จากตารางที่ 4 เมื่อมีการปรับปรุงขั้นตอนการปลูกต้น การเคลื่อนย้าย 13 13 0 -
(ขั้นตอน)
กัญชง พบว่า ขั้นตอนการปรับพื้นดินรอให้พื้นดินแน่น เตรียม
การรอคอย 81 81 0 -
คลีนเฮ้าส์ (โดม) เตรียมตะกร้า เตรียมระบบน้ำ เมล็ดพันธ์ต้น
(ขั้นตอน)
กัญชง การตัดแต่งยอด การตัดแต่งใบ การตัดแต่งกิ่ง การออก การตรวจสอบ 2 2 0 -
ช่อ กำจัดวัชพืช การเก็บเกี่ยวผลผลิต ไม่ส่งผลให้ต้นทุนลดลง (ขั้นตอน)
ส่ ว นในขั ้ น ตอนการรดน้ ำมี ว ิธ ี ก ารปรับ ปรุง โดยลดจำนวน การเก็บพัก 0 0 0 -
1 ชั่วโมง ในการรดน้ำให้ เหลื อ 40 นาที/วัน ลดต้นทุ น ลง (ขั้นตอน)
2,500 บาท จากต้นทุนก่อนปรับ 10,000 บาท หลังปรับปรุง เก็บผลผลิต - ปริมาณ - -
(ต้น) ผลผลิต
7,500 บาท ขั้นตอนการเตรียมดินและปุ๋ย โดยเลือกใช้เป็นปุ๋ย
เป็นไป
ขี้วัวหมัก , แกรบดำ, ทราย, ขุยมะพร้าว, เพอร์ไลท์ , เวอร์มิ ตามที่
คูไลท์, พีชมอส, ยิปซัม และเปลือกไข่ โดยไม่ต้องใช้ปุ๋ยใส้เดือน คาดหวังไว้
เพราะจากการทดลองพบว่ า ประสิ ท ธิ ภ าพในการปลู ก มี
คุ ณ ภาพที ่ ไ ม่แ ตกต่ า งกั น มากนั ก จึ ง เลื อ กใช้ ปุ ๋ ย ขี ้ว ั ว หมัก 5. สรุปผลการวิจัย
เนื่องจากมีต้นทุน ที่ถูกกว่า เพื่อลดต้นทุนในการปลูก กัญชง การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงขั้นตอนการปลูก
ทำให้ต้นทุนลดลง จากก่อนปรับปรุง 8,000 บาท หลังปรับปรุง ต้นกัญชงในการลดต้นลง การการศึกษาขั้นตอนการทำงานเพื่อ
4,500 บาท จึง ทำให้ต้ นทุนรวมทั้ง หมดลดลง 10,500 บาท ลดต้นทุนการปลูกต้นกัญชงของไร่กัญชง กรณีศึกษา อำเภอ
จากต้นทุนรวมก่อนปรับปรุง 195,560 บาท และต้นทุนรวม ลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ 1 ไร่ จำนวน 100 ต้น ผู้วิจัยได้ทำการ
ทั้งหมดหลังปรับปรุง 185,060 บาท ดังนั้น จากการปรังปรุง ปรับปรุงขั้นตอนการปลูกต้นกัญชงใหม่ โดยใช้ผังแสดงเหตุและ
ขั้นตอนการรดน้ำและขั้นตอนการเตรียมดินและปุ๋ย สามารถ ผลหรือผังก้างปลาและเทคนิค การตั้งคำถาม 5W1H เพื่อหา
ทำให้ต้นทุนการปลูกต้นกัญชงต้นทุนลดลงได้ สาเหตุของปัญหาต้นทุนการปลูกต้นกัญชง และใช้หลักการ

300
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

ECRS และแผนภูมิกระบวนการไหล (Flow Process Chart) 6. ชิดชนก อินทอง และคณะ (2564) “การศึกษาขั้นตอนการ
มาประยุกต์ใช้เพื่อปรับปรุงขั้นตอนการปลูกต้นกัญชง โดย ทำงานเพื ่ อ ลดต้ น ทุ น กรณี ศ ึ ก ษา สวนกล้ ว ยหอมทอง
กำจัดขั้นตอนการเช็คต้นกัญชงของแต่ละต้ นเพื่อจัดจำหน่า ย อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี ” การประชุมวิชาการ
เพราะเป็นขั้นตอนที่ไม่จำเป็นทำให้การปฏิบัติงานลดลงหนึ่ง ระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม
ขั้นตอน และยังมีการเสนอแนวคิดและทฤษฎีแรงจูงใจในการ ครั้งที่ 12 (CIOD 2021), เล่มที่ 1, 2564, หน้า 313--319.
ทำงาน เพื่อแก้ปัญหาด้านแรงงาน
จากการปรับปรุงขั้นตอนทำให้พบว่า ต้นทุนรวมลดลงร้อย
ละ 5.37 เวลารวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 65.50 แต่การปรับปรุงครั้ง
นี้สามารถทำให้ต้นทุนและแรงงานลดลง อีกทั้งยังไม่ส่งผลต่อ
ปริมาณผลผลิต

เอกสารอ้างอิง
1. กระทรวงสาธารณสุข, สำนักคณะกรรมการอาหารและยา,
2564, เรื่องน่ารู้กัญชาทางการแพทย์ กัญชงพืชเศรษฐกิจ ,
บริษ ัท ทีเอส อินเตอร์พริ้ นท์ จำกัด, หน้า 2, (ออนไลน์)
สืบค้นเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2565 จาก : https://mnfda.
fda.moph.go.th/narcotic/?p=10195
2. ผัง ก้างปลากับแผนภูม ิค วามคิด Fish Bone Diagram &
Mind Map, 2559 (ออนไลน์) สืบค้นเมื่อ 6 มีนาคม 2565
จ า ก : http: / / www. prachasan. com/ mindmap
knowledge/fishbonemm.htm
3. การใช้ เ ทคนิ ค 5W1H ในการวิ เ คราะห์ ป ั ญ หา, 2565
(ออนไล น์ ) ส ื บ ค ้ น เมื ่ อ 6 มี น าค ม 2565 จ าก :
https://sites.google.com/site/siriprapha205/5w1h
4. การวิ เ คราะห์ ก ระบวนการ Process Analysis, 2565
(ออนไล น์ ) ส ื บ ค ้ น เมื ่ อ 6 มี น าค ม 2565 จ าก :
http:/ / pirun.ku.ac.th/ ~fengcsr/ courses/ 2008_01
.pdf
5. สุภ าภรณ์ สุวรรณรัง สี และ เดชา พวงดาวเรือง (2555)
“การลดความสูญเปล่าของกระบวนการผลิตข้าวกล้องงอก
กรณีศ ึกษา กลุ่มเกษตรกรบ้านจำปา จัง หวัดสกลนคร”
การประชุมวิชาการข่ายงานวิศวกรรมอุตสาหการ ประจำปี
พ.ศ. 2555, เล่มที่ 1, 2555, หน้า 253-260.
301
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

การออกแบบเครื่องประกอบแรงอัดกรอบฝาอุปกรณ์ไฟฟ้า
A Design of Electronic Device Case’s Press Assembly Machine

ปิยาพัชร เติมชัยกุล ธนพัทย์ แสงทิพย์ ดิษยปรัชญ์ ฉัตรจิรานนท์ และ พลชัย โชติปรายนกุล


ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ 10520
E-mail:pholchai.ch@kmitl.ac.th

บทคัดย่อ
กระบวนการประกอบอุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ใส่ลงในกล่องพลาสติกและปิดฝาแบบสแนปล็อค (Snap Lock) การกด
อัดด้วยเครื่องอัดประกอบฝาโดยระบบลมนิวเมติกส์ จะเป็นตัวช่วยในการลดงานและเวลาในการผลิตลง จากกรณีศึกษาโรงงาน
ตัวอย่างที่ทำการประกอบตัวปล่อยสัญญาณ WIFI (Wireless Internet Router) ที่ใข้คนประกอบด้วยรอบเวลา 13 วินาที ถูกนำมา
เป็นกรณีศึกษาในโครงงานวิจัยนี้ โดยกระบวนการเริ่มจากการหาแรงกดสูงสุดในการประกบเขี้ยวสแนปล็อคของฝาลงบนฐาน การ
ออกแบบโครงสร้างที่แข็งแรงพอเพียงในงานประกอบ การออกแบบวงจรควบคุมและระบบลม การประกอบและทดสอบ การ
ออกแบบการเชื่อมโยงกับระบบหุ่นยนต์ โดยผลลัพธ์ที่ได้เครื่องประกอบแรงอัดกรอบฝาอุปกรณ์ไฟฟ้าสามารถทำเวลาได้ 8 วินาที
ลดเวลาไป 5 วินาทีคิดเป็นผลิตภาพที่มากขึ้น 38% และสามารถต่อพ่วงกับหุ่นยนต์แบบ SCARA และ ระบบกล้องถ่ายภาพสำหรับ
ตรวจสอบจุดบกพร่องของงานได้

คำสำคัญ : กระบวนการประกอบอุปกรณ์ไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ ระบบลมนิวเมติกส์ หุ่นยนต์แบบ SCARA การเพิ่มผลิตภาพ

Abstract
Many electronics devices need to assembly into plastic case which has perimeter snap locks. Automatic
air pressed machine which is driven by pneumatic cylinders and solenoids is required for reducing cycle time
and increasing productivity. In this research project, a case study of WIFI Router (Wireless Internet Router) is
selected to improve the assembly process productivity. From continuous observation, the manual router box
assembly process takes 13 seconds to snap its top cover on its base. This case study will present from pressing
force determination, strength of machine structure, pneumatic and control circuit, testing and result, and robot
interfacing design. Testing result of pressing assembly process can finish in 8 seconds faster than manual
operation. It increases the productivity for 38% and we also design a channel to interface this automatic air
pressed machine with a SCARA robot and an inspection camera.

302
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

Keywords : Press Assembly Process for Electronic Device, Pneumatics, SCARA Robot, Productivity

303
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

1. บทนำ 3. การออกแบบโครงสร้าง
ในการบวนการผลิตกล่องกระจายสัญญาณ WIFI ที่ยกมา การออกแบบโครงสร้างเครื่องประกอบแรงอัดกรอบฝา
เป็นกรณีศึกษาในโครงงานวิจัยนี้ มีความต้องการแก้ปัญหาสาย อุปกรณ์ไฟฟ้า โดยผู้จ ัดทำเลือกใช้โครงอลูมิเนียมโปรไฟล์วี
การประกอบผลิตภัณฑ์ Snap-fit ที่มีเวลาการทํางานสูง กว่ า สล็ อ ดขนาดหน้ า ตั ด 20X20 มิ ล ลิ เ มตร แผ่ น รองและผนั ง
รอบเวลาเป้ า หมายและการมี จ ำนวนพนั ก งานมากกว่ า โครงสร้างเลือกใช้เป็นแผ่นอคลีลิคสีขาวหนา 5 มิลลิเมตร ปิด
มาตรฐานที่กำหนดไว้ ซึ่งเป็นปัญหาที่พบมากในสายการผลิต โดยรอบ โดยโครงสร้างจะต้องให้แรงกดสูงสุดที่กดลงมาแล้ว
และสายการประกอบทั ่ ว ไป ผู้ จ ั ด ทํ า จึ ง เกิ ด แนวคิ ด การ เกิดการโกงงอได้ไม่เกิน 0.05 มิลลิเมตร ซึ่งเป็นค่าพิกัดความ
ประยุกต์ใช้ระบบอัตโนมัติในสายการประกอบเพื่อเป็นต้นแบบ เผื่อจากแบบของกล่องอุปกรณ์ที่จะนำมากดประกอบ
ในการศึกษาการเพิ่มผลิตภาพการผลิต โดยในการสร้างเครื่อง
ประกอบแรงอัดกรอบฝาอุปกรณ์ไฟฟ้าชิ้นงานอัตโนมัติสามารถ
ทำงานร่ วมกับ พนักงานและจะออกแบบให้ส ามารถทำงาน
ร่วมกับกล่องตรวจสอบชิ้นงานและหุ่นยนต์ในสายการประกอบ
ได้เพื่อต่อยอดให้เกิดประสิทธิภาพในการผลิตสูงสุด
โดยผู้จัดทําจะนำเสนอขั้นตอนดำเนินการออกแบบ และ
จัดสร้างเครื่องประกอบชิ้นงานอัตโนมัติ ทําการต่อวงจรลมนิว
แมติกส์ไฟฟ้า จะทําการทดสอบหาคาบเวลาในการทำงานและ
ประยุกต์ พัฒนาให้ เครื่องประกอบชิ้นงานอัตโนมัติ ส ามารถ
ทำงานร่ ว มกั บ กล่ อ งตรวจสอบชิ ้ น งานและหุ่ น ยนต์ แ บบ
SCADA

2. การหาค่าแรงการกดอัด
การหาแรงกดอัดของชิ้นงานเป็นขั้นตอนแรกที่จะเป็ นตั ว รูปที่ 2 การทดลอบการโก่งตัวของโครงสร้างด้วยแบบจำลอง
กำหนดการออกแบบเครื่อง จาการทดลองด้วยเครื่องกดวัด
แรงอัดจากทางบริษัทเดลต้า ได้ค่าแรงกดสูงสุด 4.5 kg.f ใน จากการทดลองกั บ แบบจำลองโดยการใช้ แ รงกดที่
ระยะของเขี้ยวสแน็ปล็อค 2.4 มิลลิเมตร โครงสร้างรวม 10 kgf ที่มาจาก ค่าแรงกดประกอบสูงสุดบวก
ค่าตัวคูณความปลอดภัยที่ 100% ทำให้ผลออกมาได้เกิดการ
โกงตัวสูง สุดเพียง 0.027 มิล ลิเมตร ซึ่ง ยัง น้อยกว่าค่าพิกัด
ความเผื่อที่ 0.05 มิลลิเมตร ทำให้คาดการณ์ได้ว่าในจัง หวะ
การกดประกอบจะไม่มีการไถลหรือหัวกดจะไม่หลุดออกจาก
ตำแหน่งที่กำหนดไว้ ทำให้ตำแหน่งการกดมีความแม่นยำและ
ลดปัญหาเขี้ยวล็อกหักหรือบิดหลุดออกจากตำแหน่ง

รูปที่ 1 ทดสอบแรงกดอัดเพื่อประกอบฝาอุปกรณ์
304
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

4. การออกแบบจัดวางอุปกรณ์
การจัดวางอุปกรณ์ต่าง ๆ แบ่งออกเป็น 3 ระบบคือระบบ
จ่ายลม ระบบกระบอกลม ระบบควบคุมและความปลอดภัย
4.1 ระบบจ่ายลม
ภายในโรงงานมี จ ุ ด จ่ า ยลมลงมาที ่ ต ั ว เครื ่ อ งตลอด
สายการผลิต การนำเอาชุดสายลมไปรับลงมายังชุดจ่ายลมที่
ประกอบด้วยชุดดักฝุ่นดักน้ำ ตัวปรับแรงดันลม และ ชุดเติม รูปที่ 4 กระบอกลม รุ่น MRGH10x100
น้ำมันนิวเมติกส์ ทั้งหมดจะติดตั้งภายในเครื่องเพื่อ ปรับระดับ
แรงดันลมให้คงที่ 4.3 ระบบควบคุมและความปลอดภัย
ระบบควบคุมเป็นการต่อวงจรไฟฟ้าโดยใช้ สวิทช์กด รีเลย์
ไทม์เมอร์ เซนเซอร์แบบพร็อกซิมิตี้สวิทช์ (Proximity Switch)
และ เซนเซอร์แบบม่านแสง โดยระบบควบคุมจะใช้ระบบกด
ปุ่มสองมือเพื่อสั่งการทำงาน โดยมีพร็อกซิมิตี้สวิทช์ตรวจจับ
ชิ้นงานเมื่อวางลงในจิ๊กของเครื่องแล้ว ส่วนการสั่งหยุดจะเป็น
ปุ่มสวิทช์ฉุกเฉินและสวิทช์ม่านแสงเพื่อความปลอดภัย ไม่ให้
มือเข้าไปขวางเมื่อกระบอกกดลงมา

รูปที่ 3 ชุดจ่ายลม

4.2 ระบบกระบอกลม
การออกแบบเครื่องเป็นการกดอัดด้วยกระบอกลมโดยทาง
โรงงานมีระบบลมที่ส ามารถจ่ายได้ 6-8 Bar (0.6-0.8 MPa)
เพื่อให้ได้แรงกดที่ 4.5 kg.f กระบอกลมที่ ใช้จะต้องมีขนาด
กระบอกเท่ากับ

4𝐹
∅ = √Pπ (1)
รูปที่ 5 ภาพวงจรควบคุมและระบบความปลอดภัย
เมื่อคำนวนด้วยแรง 45N และ แรงดันลมที่ 0.6 MPa จะ
ได้ขนาดเส้นผ่านกระบอกลมที่ 9.76 มิล ลิเมตร จึง เลือกใช้
กระบอกลมขนาด 10 มิล ลิเมตร ของ Koganei Humphrey
Rodless Air Cylinder รุ่น MRGH10x100
305
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

6. การเชื่อมโยงกับหุ่นยนต์
ในหัวข้อนี ้จ ะเป็ นการนำเสนอขั้ น ตอนการประยุก ต์ ใ ช้
เครื่องกับระบบหุ่นยนต์ SCARA โดยให้หุ่นยนต์มิตซูบิชิรุ่น RH-
3CH4018-D เป็นการต่อเอาท์พุทของการ์ดอินพุทเอาท์พุทไป
ส่งงานรีเลย์ที่ต่อสวิทช์คล่อมสวิทช์แบบสองมือ เมื่อสั่ง งาน
เอาท์พุทในตำแหน่งที่ต่อไว้เท่ากับเป็นการไปกดปุ่มสั่งงานแทน
คน จึงสามารถต่อหุ่นยนต์และโปรแกรมการทำงานแทนคนได้
ทันที

รูปที่ 6 ภาพแสดงแบบประกอบจัดวางอุปกรณ์ของเครื่อง
ประกอบแรงอัดกรอบฝาอุปกรณ์ไฟฟ้า
รูปที่ 7 แบบจำลองสำหรับโปรแกรมการทำงานของหุ่นยนต์

5. การทดสอบการทำงาน
การทดลองประกอบเป็นการจับเวลาการทำงานเพื่อหา
รอบการทำงาน โดยเริ่มจับเวลาเมื่อหยิบกล่องประกบกับฝาไป
วางในจิ๊กกลางเครื่องแล้วกดปุ่มด้วยสองมือ เครื่องจะกดหัวอัด
ลงมาค้างไว้ 1.5 วินาที แล้วถอยกลับพนักงานจะหยิบชิ้นงาน
ออกจากจิ๊กวางบนสายพานแล้วเริ่มรอบถดไป การจับเวลาที่
ทำไป 10 รอบการทำงานได้รอบเวลาทำงานที่ 8 วินาทีต่อรอบ

ตารางที่ 1 ตารางการจับเวลาแบบต่อเนื่อง

รูปที่ 8 การปรับตั้งโปรแกรมการทำงานของหุ่นยนต์

การต่อกล้องเข้ากับหุ่นยนต์ โดยวางกล้องบนขาตั้งกล้องที่
ยึดบนโครงของระบบสายพานสามารถปรับสูงตำได้เพื่อ จัด
กรอบการมองของกล้องให้เหมาะสม ตัวกล้องมิตซูบิชิ โมเดล
VS20-13F410 เป็ น ระบบการตรวจสอบข้ อ บกพร่ อ งของ
ชิ้นงานที่สอนให้กับระบบกล้องทำให้หุ่นยนต์รู้ว่าชิ้นงานนั้ น
306
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

ผ่านหรือไม่ผ่านการตรวจสอบ ชิ้นที่ผ่านเท่านั้นจะถูกนำเข้าไป 8. กิตติกรรมประกาศ


ประกอบ ส่วนชิ้นที่ไม่ผ่านจะถูกส่งคืนเพื่อทำการปรับแก้ ขอขอบคุณภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการที่ให้กาสนับสนุน
โครงงานของกลุ่ม ขอขอบคุณบริษัทเดลต้าอิเลคทรอนิกส์ผู้ให้
การสนับสนุนการเก็บข้อมูลโครงงานนี้
เอกสารอ้างอิง
1. บุล วัช ร์ เจริญยืนนาน. “ระบบนิวเมติกส์ (Pneumatic
System) ค ื อ อ ะ ไ ร ” 2 0 2 1 . Available Online:
https://misumitechnical.com/technical/pneumati
c/what-is-pneumatic-system/ [Accessed 2 8 - Jan-
2022].
2. คณะวิศวกรรมเครื่องกล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
นิ ว แมติ ก ส์ ไ ฟฟ้ า เบื ้ อ งต้ น , การควบคุ ม ให้ ก ระบอกสูบ
ทํางานต่อเนื่อง. [Accessed 27-Jan-2022]
3. Listijorini, Erny, Haryadi, Satria, Dhimas, Sunardi,
Sunardi, and Rahman, Yusuf, 2020, “Design of
รูปที่ 9 การตรวจสอบชิ้นงานด้วยกล้อง
pneumatic press machine for 250 page bundle
book based on microcontroller arduino uno” IOP
7. สรุป Conference Series: Materials Science and
จากการออกแบบและจัดสร้างเครื่องประกอบแรงอัดกรอบ Engineering. 909. 10.1088/1757-
ฝาอุปกรณ์ไฟฟ้าเป็นการเพิ่มผลิตผลของสายการผลิตประกอบ 899X/909/1/012035.
เราท์เตอร์ขนาดเล็กที่ใช้ระบบสแน็ปล็อคในการประกอบ โดย
ให้มีรอบการผลิตต่ำกว่าเป้าหมาย takt-time ที่ 13 วินาที โดย
เครื่องที่ออกแบบใหม่สามารถทำได้ที่ 8 วินาทีทำให้ผลิตภาพ
การผลิ ต เพิ ่ ม ขึ ้ น 38% บรรลุ เ ป้ า หมายที ่ต ั ้ ง ไว้ และยั ง ได้
นำเสนอกระบวนการนำเอาหุ่ น ยนต์ เข้า มาทำงานทดแทน
แรงงานคนในระบบการอัดประกอบฝาเราท์เตอร์ โดยเพิ่ม
ฟัง ก์ช ั่นการตรวจสอบและประกอบไปพร้อมกัน โดยให้ ผ ล
ออกมาเป็ น ที ่ น ่ า พอใจและพร้ อ มพั ฒ นาการทำงานต่ อ ใน
อนาคต

307
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

การสร้างมูลค่าเพิ่มทุนทางพหุวัฒนธรรม
เพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานรากและความยั่งยืนของชุมชนเขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร
The Creating Value Added for Multicultural Capital to Leverage
the Local Economy and Sustainability of Nongchok Community, Bangkok

สุรีรักษ์ วงษ์ทิพย์1* และ ชื่นสุมล บุนนาค2*


1,2
ภาควิชาการตลาดดิจิทัล คณะบริหารธุรกิจ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร เขตหนองจอก กรุงเทพฯ 10530
E-mail: sureerak@mutacth.com1*, chuensumon@mutacth.com 2*

บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอกรอบแนวคิดทฤษฎีทางด้านทุนทางพหุวัฒนธรรม แนวคิดเศรษฐกิจ ฐานราก
แนวคิดห่วงโซ่คุณค่า แนวคิดการตลาดดิจิทัล และแนวคิดเทคโนโลยีโลกเสมือนผสานโลกแห่งความจริง ซึ่งช่วยสร้างความสามารถ
ในการแข่งขันทางธุรกิจและสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าในชุมชน นอกจากนี้ยังได้ทำการวิเคราะห์บริบททางพหุวัฒนธรรมของชุมชน
เขตหนองจอก จังหวัดกรุงเทพมหานคร ทีม่ ีความหลากหลายในด้านชาติพันธุ์ ซึ่งมีสินค้าและการบริการที่เป็นทุนทางวัฒนธรรมของ
ชุมชนที่มีอัตลักษณ์ เพื่อนำเสนอแนวทางในการพัฒนาทุนทางพหุวัฒนธรรมและยกระดับเศรษฐกิจฐานรากของชุมชนเขตหนอง
จอก เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการในชุมชนมีศักยภาพในการแข่งขัน เกิดการสร้างนวัตกรรมในการเพิ่มมูลค่า เพิ่มยอดขายและรายได้
เพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานรากและชุมชนท้องถิ่นต่อไปอย่างยั่งยืน

คำสำคัญ : ทุนทางพหุวัฒนธรรม เศรษฐกิจฐานราก ห่วงโซ่การสร้างมูลค่าเพิ่ม การตลาดดิจิทัล เทคโนโลยีโลกเสมือนผสานโลกแห่ง


ความจริง

Abstract
This article aims to present the concept and theoretical framework of multicultural capital, the grassroots
economy, the value chain, the digital marketing concept and the augmented reality for creating the business
competitiveness and adding value to community products. In addition, the multicultural capital context of
Nong Chok community in Bangkok which is diverse in ethnicity has to be analyzed. This is included products
and services identity in the community as to be the cultural capital for presenting guidelines of multicultural
capital development and enhancing the grass root economy of Nong Chok community. This is to help
entrepreneurs in the community have the potential to compete, create innovation to add value, increase sales
and income to sustainably upgrade the grassroot economy and local communities.

308
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

Keywords : multicultural capital, grassroot economy, value chain, digital marketing, augmented reality

309
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

1. บทนำ ผ่านกระบวนการสร้างสรรค์และหล่อมหลอมเรื่องราวทาง
จากสถานการณ์ การแพร่ร ะบาดของไวรัส โควิ ด ประวัติศาสตร์ ความเชื่อ และวิถีชีวิตของสังคมไทยที่ มีการสืบ
2019 ที่ยัง ส่ง ผลกระทบสืบเนื่องมาถึง ปัจ จุบัน เป็นเหตุให้ ทอดและเปลี่ยนแปลงจากรุ่นสู่รุ่นอย่างยาวนาน ผลผลิตทาง
ประเทศไทยจำเป็นต้องเร่ง ฟื ้น ฟู เศรษฐกิจ เพื่ อให้ ประเทศ วัฒนธรรมที่เกิดจากสร้างสรรค์และหล่อมหลอมทางสังคมใน
ขับเคลื่อนไปข้างหน้ าในวิถ ีใหม่ (New Normal) ตลอดจน วิถีชีวิต สามารถจำแนกได้ในลักษณะที่เป็นทุนทางวัฒนธรรมที่
ความตระหนักของรัฐบาลในการก้าวสู่สังคมวัฒนธรรมอาเซียน จั บ ต้ อ งได้ (Tangible Culture) ได้ แ ก่ งานหั ต ถกรรม
(ASEAN Socio-Cultural Community (ASCC) ตามวิสัยทัศน์ ภาพเขียน รูปปั้น โบราณสถาน โบราณวัตถุ อาคารพื้นถิ่น
ในปี 2568 โดยมีเป้าหมายที่จ ะสร้างประชาคมอาเซียนให้ มี ฯลฯ และทุ น ทางวั ฒ นธรรมที ่ จ ั บ ต้ อ งไม่ ไ ด้ (Intangible
ความเป็นอยู่ที่ดีและพัฒนาทุนทุกด้านเพื่อยกระดับคุณภาพ Culture) ได้ แ ก่ ขนบธรรมเนี ย ม ประเพณี จารี ต วิ ถ ี ช ี วิต
ชีวิตของประชาชน ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ อย่าง พิธีกรรม ศิลปะการแสดงพื้นบ้าน ดนตรีพื้นถิ่น ตำนาน เรื่อง
ยั่งยืน รวมทั้งส่งเสริมอัตลักษณ์ของอาเซียนเพื่อสร้างความ เล่า คตินิยม ความเชื่อ และแนวทางปฏิบัติ เป็นต้น [2] สิ่ง
ภาคภู ม ิ ใ จและสำนึ ก ในมรดกทางวั ฒ นธรรมที ่ ม ี ค วาม เหล่ า นี ้ ถ ื อ เป็ น สิ ่ ง ที ่ ส ื บ ทอดมาเป็ น มรดกภู ม ิ ป ั ญ ญาทาง
หลากหลายของตน อีกทั้ง เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของ วัฒนธรรม ทั้งนี้กระทรวงวัฒนธรรม [3] ได้จำแนกมรดกภูมิ
ประเทศให้มีมูลค่าทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น [1] ทั้งนี้ชุมชนในเขต ปั ญ ญาทางวั ฒ นธรรมเป็ น 6 สาขา ประกอบด้ ว ย 1 )
หนองจอก จังหวัดกรุงเทพมหานคร นับเป็นชุมชนที่ม ีค วาม วรรณกรรมพื้นบ้านและภาษา ซึ่งเป็นวรรณคดีหรือศิลปะที่เกิด
หลากหลายทางพหุ ว ั ฒ นธรรมและมี อ ั ต ลั ก ษณ์ เ ฉพาะทั้ ง จากการคิดและจินตนาการแล้วนำมาเรียบเรียง บอกเล่า หรือ
ทางด้านวิถีช ีวิต ศาสนา ประเพณี โบราณสถาน การละเล่น สื่อออกมาด้วยกลวิธีต่างๆ ส่วนภาษา เป็นเครื่องมือที่มนุษย์ใช้
พื้นบ้าน รวมทั้งมีมัสยิดที่มีความสวยงามหลายแห่ง ดังนั้น การ สื่อสารในการปฏิสัมพันธ์กับกลุ่มชน ซึ่งสะท้อนถึงโลกทัศน์ ภูมิ
กำหนดกรอบแนวคิดด้านการจัดการพัฒนาทุนพหุวัฒนธรรม ปัญญา และวัฒนธรรมของแต่ละกลุ่มชน 2) ศิลปะการแสดง
ที่มุ่งเน้นการสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจน เป็ น การแสดงละคร เต้ น รำ และดนตรี ท ี ่ เ ป็ น เรื ่ อ งราว มี
ผลผลิตทางวัฒนธรรม ด้วยการส่งเสริมและสนับสนุนเศรษฐกิจ จุดมุ่ง หมายเพื่อความงาม ความบันเทิง และเพื่อก่อให้เกิด
สร้ า งสรรค์ จ ากภู ม ิ ป ั ญ ญาท้ อ งถิ ่ น นอกจากจะก่ อ ให้ เ กิ ด ความคิดวิพากษ์ จนนำไปสู่การพัฒนาและเปลี่ยนแปลงสังคม
มูลค่าเพิ่มทางผลิตภัณฑ์และบริการของชุมชนหนองจอกแล้ว 3) แนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรม ประเพณีและเทศกาล เป็น
นั ้ น ยั ง สามารถเป็น แนวทางให้ ก ั บ ชุ มชนอื่ น ๆ ที ่ ม ี ค วาม การประพฤติปฏิบัติในแนวทางเดียวกัน ของคนในชุมชนที่สืบ
หลากหลายทางวัฒนธรรมเพื่อ เพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจ และ ทอดต่อกันมาบนหนทางมงคลวิถีจนนำไปสู่สังคมแห่งสันติสุข
การพัฒนาสินค้าท้องถิ่นเชิงพาณิชย์ของชุมชนเพื่อความยั่ง ยืน แสดงให้ เ ห็ น ถึ ง อั ต ลั ก ษณ์ ข องชุ ม ชนและชาติ พ ั น ธุ ์ น ั ้ น ๆ
ต่อไป 4) ความรู้และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล เป็น
องค์ ค วามรู ้ วิ ธ ี ก าร ทั ก ษะ ความเชื ่อ แนวปฏิบ ั ต ิแ ละการ
2. แนวคิ ด ทุ น วั ฒ นธรรมและทุ น พหุ ว ั ฒ นธรรม
แสดงออกที ่ พ ั ฒ นาจากการมี ป ฏิ ส ั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งคนกั บ
(Cultural Capital)
สภาพแวดล้อมตามธรรมชาติและเหนือธรรมชาติ ได้แก่ อาหาร
ทุนทางวัฒนธรรม คือ ฐานทุนที่แสดงถึงรากเหง้า
และโภชนาการ การแพทย์แผนไทยและการแพทย์
ทางประวัติศาสตร์ ชาติพันธุ์ ที่มาที่ไปของคนไทยที่

310
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

พื ้ น บ้ า น โหราศาสตร์ แ ละดาราศาสตร์ การจั ด การ ร่วมมือเป็นหุ้นส่วนสร้างความสัมพันธ์ทั้งในชุมชนท้องถิ่นและ


ทรัพยากรธรรมชาติ ชัยภูมิการตั้ง ถิ่นฐาน เป็นต้น 5) งาน ในระดับที่กว้างขวางอื่น ๆ และภายนอก ทั้งนี้องค์ประกอบ
ช่างฝีมือดั้งเดิม เป็นภูมิปัญญา ทักษะฝีมือช่าง และกลวิธีการ สำคัญของเศรษฐกิจฐานรากที่เข้มแข็ง ประกอบด้วย 1) มีการ
สร้างสรรค์ที่แสดงถึงอัตลักษณ์ท้องถิ่น โดยใช้วัสดุที่หาได้ใน รวมกลุ่ม 2) มีการจัดการระบบการเงินของชุมชน 3) มีระบบ
ท้องถิ่นผสมผสานกับองค์ความรู้ที่ได้รับการถ่ายทอดมาจากรุ่น การจัดการทุนชุมชนที่ครอบคลุมทุนทางสังคม ทุนคน ฟื้นฟู
สู่รุ่น แล้วพัฒนาเป็นความชำนาญเฉพาะในแต่ละท้องถิ่น 6) ทรัพยากร 4) มีระบบข้อมูลที่ทันสมัยรอบด้านทั้งภายในและ
การเล่นพื้นบ้าน กีฬาพื้นบ้านและศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว ที่ ภายนอก 5) มีร ะบบการผลิตของชุมชนทั้ง ขั้นพื้นฐานและ
มีการปฏิบัติกันอยู่ในประเทศไทยและมีเอกลักษณ์สะท้อนวิถี ก้าวหน้า 6) สร้างความร่วมมือในทุกระดับและทุกมิติ เพื่อให้
ไทย เกิดความร่วมมือให้บรรลุเป้าหมายและ สัมพันธภาพที่ดี 7) มี
ระบบการอยู่ร่วมกัน 8) มีคุณธรรม จริยธรรม 9) มีความเป็น
3 . แ น ว ค ิ ด เ ศ ร ษ ฐ ก ิ จ ฐ า น ร า ก ( Grassroots เจ้าของร่วมกัน 10) คน ในพื้นที่ของชุมชนสามารถมีส่วนร่วม
Economy)
4. แนวคิดห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain)
เศรษฐกิ จ ฐานราก คื อ ฐานของประเทศถ้ า ฐาน
แนวความคิดห่วงโซ่คุณค่า ของ Porter (2008) [6]
แข็งแรงจะรองรับประเทศทั้งหมดให้มั่นคง ถ้าเศรษฐกิจฐาน
รากกับเศรษฐกิจมหภาคเชื่อมโยงอย่างเกื้อกูลกัน จะเกิดการ ระบุว่า ห่วงโซ่ค ุณค่า คือ กลุ่มของกิจกรรมต่างๆ ที่องค์กร
พั ฒ นาอย่ า งบู ร ณาการ สมดุ ล ยั ่ ง ยื น และก้ า วหน้ า ความ ดำเนินการเพื่อให้ส ามารถสร้างสินค้าบริการที่มีคุณค่าอย่าง
เข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากอยู่ที่การมีสัมมาชีพเต็มพื้นที่และ แท้ จ ริ ง ในสายตาของลู ก ค้ า ได้ การจั ด การห่ ว งโซ่ ค ุ ณค่า
ความเข้มแข็งของวิสาหกิจชุมชน โดยการมีสัมมาชีพเต็มพื้นที่ (Value Chain) จึงเป็นการจัดการกิจกรรมต่างๆ ขององค์กร
ทำให้เกิดความร่มเย็นเป็น สุข ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง โดยมีเป้าหมายในการ สร้างคุณค่าของสินค้า /บริการ ที่ลูกค้า
เป็นรูปธรรมของเศรษฐกิจพอเพียงและการพัฒนาที่ยั่งยืน [4]
ต้องการอย่างแท้จริง ทำให้เกิดคุณค่าที่สูงขึ้นในสายตาลูกค้า
สอดคล้ อ งกั บ สถาบั น พั ฒ นาองค์ ก รชุ ม ชน [5] ที ่ ร ะบุ ว่ า
ทั้งนี้ปรับกลยุทธ์เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน ต้องหา
เศรษฐกิจ ฐานราก คือ ระบบเศรษฐกิจ ของชุมชนท้องถิ่นที่
สามารถพึ่ง ตนเองภายใต้ปรัชญาเศรษฐกิจ พอเพียงที่มีการ จุดยืน (Positioning) ที่โดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ สามารถสร้าง
ช่วยเหลือเอื้อเฟื้อกัน มีคุณธรรม และเป็นระบบเศรษฐกิจที่เอื้อ ความได้เปรียบทางการแข่งขันทั้งทางด้านราคาและสร้างสรรค์
ให้เกิดการพัฒนาด้านอื่น ๆ ในพื้นที่ ทั้งเศรษฐกิจ สังคม ผู้คน คุณค่า (Value Creation) ของตัวสินค้า ทั้งนี้จากงานวิจัยของ
ชุ ม ชน วั ฒ นธรรม สิ ่ ง แวดล้ อ ม ทรั พ ยากรธรรมชาติอ ย่าง ศักดิ์นรินทร์ แก่นกล้า (2559) [7] เรื่อง ห่วงโซ่ค ุณค่าของ
เข้มแข็ง และยั่ง ยืน ระบบเศรษฐกิจ ฐานรากหรือ เศรษฐกิจ ผลิตภัณ ฑ์ข้าวอินทรีย์ อำเภอแม่แตง จัง หวัดเชียงใหม่ ได้
ชุ ม ชน เป็ น ระบบเศรษฐกิ จ แนวราบที ่ ส ่ ง ผลและสร้ า ง
ศึ ก ษาเกี ่ ย วกั บ ห่ ว งโซ่ ค ุ ณ ค่ า และปั ญ หาห่ ว งโซ่ ค ุ ณ ค่ า
ความสัมพันธ์ทั้งทางเศรษฐกิจและสังคมระหว่างผู้ค นในชุมชน
ท้องถิ่น มิใช่เป็นเฉพาะเศรษฐกิจแนวดิ่ง ในรูปแบบปัจเจก แต่ ผลการวิจัยพบว่า ปัญหาด้านการตลาดที่พบในห่วงโซ่ค ุณค่า
สามารถทำให้เกิดความร่วมมือ และความสัมพันธ์ที่ดีระหว่าง ของผลิตภัณฑ์ คือการมี ช่องทางการจัดจำหน่ายเพียงช่องทาง
เศรษฐกิจร่วมของชุมชนกับ เศรษฐกิจ ของปัจ เจก เป็นระบบ เดียว จึงอาจมี
เศรษฐกิจที่มีลักษณะความ
311
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

แนวทางในการแนะนำให้ เ กษตรกรเพิ ่ ม ช่ อ งทางการจั ด เทคโนโลยี AR ในการแสดงนิทรรศการ [10] ทั้งนี้จากงานวิจัย


จำหน่ายมากขึ้นและใช้เทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้องเพื่อเพิ่ม ของ จิ น ตนา ดาวใส (2561) [11] ได้ น ำเสนอการพั ฒ นา
ประสิทธิภาพ เช่น การจัดจำหน่ายทางสื่อสังคมออนไลน์ เป็น แบบจำลองสารสนเทศสามมิติเชิงแนะนำสำหรับผลิตภัณฑ์
ฟาร์มเกษตร ด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริงเสมือน ผู้วิจ ัยได้
ต้น จากงานวิจัยพบว่า การเพิ่มพูนความรู้และทักษะตั้ง แต่ต้น
พัฒนาในส่วนของการเยี่ยมชม ค้นหาข้อมูล ผลิตภัณฑ์และ
น้ำ กลางน้ำ และปลายน้ำมีความสำคัญทั้งสิ้น ในแนวคิดของ
เลือกซื้อสินค้าและบริการของฟาร์มเกษตรที่ต้องการได้ โดยใน
ห่ ว งโซ่ อุ ป ทาน โดยเริ ่ ม ตั้ ง แต่ แ นวคิด พั ฒ นาผลิ ต ภั ณฑ์ใน ส่วนของเทคโนโลยี AR นั้นจะใช้แนะนำผลิตภัณฑ์ผักไฮโดรโป
กิจกรรมตอนต้นให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย และเพิ่มมูลค่าให้กับ นิกส์ ซึ่งทางผู้วิจัยได้สรุปว่าการนำ AR มาใช้ประชาสัมพันธ์
ตัวสินค้า และบริการในช่วงกิจกรรมกลางทาง และต่อยอดมาสู่ ด้านสื่อการตลาดให้แก่ฟาร์มเกษตร จะช่วยทำให้เข้าถึงความ
กิ จ กรรมปลายน้ ำ ให้ ต ระหนั ก ถึ ง เรื ่ อ งความสำคั ญ ของ ต้องการของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายได้อย่างมีค ุณภาพมากขึ้น
เทคโนโลยีที่สามารถเข้ามาช่วยและนำมาปรับประยุกต์ใช้กับ ผู้ใช้งานได้เห็นภาพและมุมมองใหม่ที่ทันสมัยโดยเฉพาะอย่าง
ยิ่งรูปแบบสื่อในลักษณะสามมิติของ AR นอกจากนี้ยังสามารถ
ธุรกิจหรือกิจการได้ในปัจจุบัน
สอดแทรกข้อมูล ที่สำคัญเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร
5. แนวการตลาดดิจิทัล (Digital Marketing) และ เพิ่มเติมได้อีกด้วย
แนวคิดเทคโนโลยีโลกเสมือนผสานโลกแห่ง ความ 6. แนวทางการการสร้ า งมู ล ค่ า เพิ ่ ม ทุ น ทางพหุ
จริง (Augmented Reality : AR) วัฒนธรรมเพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานรากและความ
จากอิทธิพลของความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีท่มี ที ั้ง ยั่งยืนของชุมชนเขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร
อินเทอร์เน็ตความเร็วสูงและอุปกรณ์ที่เข้าถึงอินเทอร์เน็ตได้ทุก
เขตหนองจอก ตั ้ ง อยู ่ ท างฝั ่ ง ตะวั น ออกของ
ที่ทุกเวลา ส่งผลให้การตลาดแบบดิจิทัลมีความสำคัญ ต่อความ
กรุงเทพมหานคร มีรากฐานทางพหุวัฒนธรรมมาช้านานตั้ง แต่
อยู่รอดของธุรกิจ ทั้งนี้การตลาดแบบดิจิทัลมีวัตถุประสงค์ที่
ในสมัยรัชกาลที่ 3 โดยประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม
แตกต่างกัน 4 ประการ คือ การเสนอขายโดยการเพิ่มคุณค่า
สูง ถึง ร้อยละ 75 รองลงมาคือศาสนาพุทธ ร้อยละ 20 และ
ของสินค้าหรือบริการ การสนับสนุนการเสนอขายและการ
ศาสนาคริส ต์ ร้อยละ 5 ของประชากรทั้ง หมด นอกจากนี้
นำไปใช้ การขยายแพลตฟอร์มสร้างแบรนด์อื่นๆ โดยให้มีมิติ
ประชากรในเขตหนองจอก ยั ง ประกอบด้ ว ยชาติ พ ั น ธุ ์ ที่
และการมีส ่วนร่วมมากขึ้น สุดท้ายคือการมีศูนย์ กลางอยู่ที่
หลากหลายไม่ว่าจะเป็น ชาวไทยมุสลิม ชาวมอญ และชาวไทย
ลูกค้าจากความสนใจและกิจกรรมที่ลูกค้ามีส่วนร่วม [8]
ทั้งนี้ในด้านชาติพันธ์ไทยมุสลิมในเขตหนองจอก มีความสำนึก
เทคโนโลยี โ ลกเสมื อ นผสานโลกแห่ ง ความจริง
ว่าตนเป็นมุสลิมอย่างแท้จริง มีความศรัทธาในศาสนาอิสลาม
( Augmented Reality: AR) เ ป ็ น เ ท ค โ น โ ล ย ี ที่ ร ว ม
และรับอิสลามเป็นวิถีในการดำเนินชีวิต ผู้นำทางศาสนาเป็นผู้
สภาพแวดล้อมจริงกับวัตถุเสมือนเข้าด้วยกัน ผ่านซอฟต์แ วร์
ที่มีบทบาทในสังคม โดยครอบครัว โรงเรียนสอนศาสนา และ
และอุปกรณ์เชื่อมต่อต่าง ๆ โดยวัตถุเสมือนนั้ น อาจจะเป็น
มัส ยิดเป็น สถาบันที่ส ำคั ญในการปลูกฝัง ความศรัท ธาและ
รูป ภาพ วิดิโ อ เสียง ตลอดจนข้อความที่ซ้ อ นทั บลงไปบน
ส่ง เสริมเยาวชนให้มี จริยธรรมอิสลาม และค่านิยมตามแบบ
สภาพแวดล้ อ มจริ ง ตั ว อย่ า งของการใช้ AR เช่ น เกม
ฉบับของบรรพบุรุษในอดีต [12] ชาติพันธุ์มอญในเขตหนอง
Pokemon Go [9] และพิ พ ิ ธ ภั ณ ฑ์ แ ห่ ง ชาติ ส ิ ง คโปร์ ท ี ่ ใ ช้
จอก มีค วามเคร่ง ครัดในขนบธรรมเนียมประเพณี ศาสนา
312
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

พิธีกรรมนับถือผีบรรพบุรุษ ผีประจำชุมชน มีการทำบุญตัก และมีหนี้สินครัวเรือนเพิ่มขึ้น [14] ดังนั้นผู้ประกอบการทาง


บาตรเป็นประจำ มีการธำรงรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีใน วัฒนธรรมชุมชนในเขตหนองจอก ควรการปรับเปลี่ยนรูปแบบ
แต่ละเดือนอย่างเคร่งครัด มีภาษา เครื่องแต่งกาย อาหาร และ การให้บริการไปสู่ระบบซื้อขายและบริการผ่านการตลาดดิจิทัล
ขนมที่เป็นอัตลักษณ์ ส่วนชาติพันธุ์ชาวไทยในเขตหนองจอก และการนำเสนอสินค้าและบริการทางวัฒนธรรมในรูปแบบที่มี
นั้น พบว่าประชาชนนับถือศาสนาพุทธอยู่ประมาณร้อยละ 20 ความน่าสนใจผ่านเทคโนโลยีโลกเสมือนผสานโลกแห่ง ความ
ของประชากรทั้งหมดในเขตหนองจอก และมีวัดทั้งหมด 17 จริงที่สามารถเข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา โดยสามารถนำเสนอแนว
แห่ง ทั้งนี้สำนักงานเขตหนองจอกและสภาวัฒนธรรมหนอง ทางการสร้างมูล ค่าเพิ่มทุนทางพหุวัฒนธรรมเพื่อยกระดับ
จอกได้ร่วมกันขับเคลื่อนด้านประเพณีวัฒนธรรมของชาวพุทธ เศรษฐกิจ ฐานรากและความยั่งยืนของชุมชนเขตหนองจอก
เพื่อเป็นการสืบทอดวัฒนธรรมและประเพณีไทยที่ดีงามให้คง ดังนี้
อยู่ในเขตหนองจอก โดยมีการจัดกิจกรรมและงานประเพณี
ต่าง ๆ ต่อเนื่องทุกปี นอกจากนี้เขตหนองจอกยังมีอัตลักษณ์
เฉพาะทั้ง ทางด้านวิถ ีช ีว ิต ศาสนา ประเพณี โบราณสถาน
การละเล่นพื้นบ้าน เช่น การละเล่นไก่ชนพื้นบ้าน การละเล่น
นาเสป ระบำตารีกีปัส และการละเล่นสะบ้ามอญ ภูมิปัญญา
ท้องถิ่น ย่านการค้าตลาดเก่า เช่น ตลาดเก่าร้อยปีหนองจอก
รวมทั้งยังมีประเพณีโบราณที่น่าสืบทอด ไม่ว่าจะเป็นพิธีนิกะห์
งานเมาลิด ประเพณีสงกรานต์มอญ ประเพณีแห่หางหงส์ธง
ตะขาบ ประเพณีค้ำโพธิ์ ประเพณีตักบาตรเทโว ขนมข้าวต้ม
ลูกโยน เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการสืบทอดมรดกอาหารฮาลาล
อาทิ โรตีมะตะบะ ข้าวหมกไก่ ข้าวหมกแพะ และมีมัสยิดเป็น รูปที่ 1 แนวทางการสร้างมูลค่าเพิ่มทุนทางพหุวัฒนธรรมเพื่อ
จำนวนมากที่สุดถึง 47 แห่ง นับเป็นเขตที่มีจำนวนมัสยิดมาก ยกระดับเศรษฐกิจฐานรากและความยั่งยืนของชุมชนเขต
ที่ส ุดในกรุงเทพมหานคร โดยมี มัส ยิดที่สำคัญ ได้แก่ มัส ยิด หนองจอก กรุงเทพมหานคร
อัลฮุสนา (เจียรดับ) ซึ่งถือเป็นมัสยิดที่ใหญ่และสวยงามที่สุด
ในประเทศไทย ตลอดจนมัสยิดดารุลมุตตะกีน มัสยิดเก่าแก่ จากรู ป ที ่ 1 ในการสร้ า งมู ล ค่ า เพิ ่ ม ทุ น ทางพหุ
เกินกว่า 100 ปี ที่มีส ถาปัตยกรรมที่ง ดงามมาก อีกทั้ง เขต วัฒนธรรมเพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานรากและความยั่งยืนของ
หนองจอกยังเป็นที่ตั้งของสำนักจุฬาราชมนตรี และสำนักงาน ชุ ม ชนเขตหนองจอก จำเป็ น ต้ อ งมี ก ารประสานผ่ า นภาคี
คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยอีกด้วย [13] เครือข่ายเพื่อ สร้างกลไกประชาคมทางวัฒนธรรม ด้วยการ
แม้ว่าเขตหนองจอกจะมีความหลากหลายทางพหุ ประสานสร้างความร่วมมือระหว่าง 3 กลุ่มเป้าหมาย คือ คน
วัฒนธรรม แต่ด้วยการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ และสัง คม คื น ถิ ่ น /คนรุ ่น ใหม่ ช่ า งฝี มื อท้ องถิ ่น /ศิล ปิ น พื ้น บ้า น และ
รวมทั้งการผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมสมัยใหม่ ในวิถีสังคม ผู้ประกอบการวัฒนธรรม (Cultural Entrepreneurs) รวมถึง
ใหม่ อีกทั้งสถานการณ์ควบคุมการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด- หน่วยงานท้องถิ่นที่มีภารกิจเกี่ยวข้องเพื่อร่วมกันสกัดคุณค่า
19 ที่มีความรุนแรงขึ้นส่งผลให้มีจำนวนผู้ว่างงานและอั ตรา ของทุนทางวัฒนธรรม (Cultural Value Extractions) ที่ได้
การว่างงานสูงที่สุดในรอบปี ทำให้รายได้ของชุมชนลดน้อยลง ข้อมูลจากการสำรวจและจำแนกทุนทางวัฒนธรรมทั้งที่จับต้อง
313
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

ได้และจับต้องไม่ได้ จากการสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มตัวอย่ างที่ นอกกรุ ง เทพฯ” โดยแบ่ ง การทำงานของแอปพลิ เ คชั น


เป็นตัวแทนชุมชนจำนวน 30 คน และ จัดประชุมสนทนากลุ่ม ออกเป็น 4 ฟังก์ชันหลักในการทำงานดังต่อไปนี้ ประกอบด้วย
ย่อยกับผู้นำชุมชน ปราชญ์ช ุมชน และผู้มีส ่วนได้ส ่ว นเสี ย ระบบสมาชิก ระบบตะกร้าสินค้าสำหรับสินค้าโอทอป ระบบ
ผู้แทนสภาวัฒ นธรรม และผู้แทนสำนักงานเขตหนองจอก สนับสนุนกิจกรรมและการท่องเที่ยวของชุมชน และระบบการ
แขวงละ 10-12 คน ใน 8 แขวง ได้แก่ กระทุ่มราย หนองจอก ให้คะแนน ทั้งนี้เพื่อส่งเสริมและเพิ่มโอกาสการเข้าถึง ข้อมูล
คลองสิบ คลองสิบสอง โคกแฝด คู้ฝ ั่ง เหนือ ลำผักชีและลำ ด้านศิลปวัฒนธรรมของเขตหนองจอกในยุคปัจจุบัน รวมไปถึง
ต้อยติ่ง เพื่อระดมความคิดวิเคราะห์ประเมินศักยภาพทุนทาง การอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงเว็บไซต์ข้อมูลหรือ เพจ
พหุ ว ั ฒ นธรรม จากนั ้ น ผู ้ ว ิ จ ั ย ใช้ ก ารวิ จ ั ย แบบมี ส ่ว นร่วม ร้านค้าของชุมชนได้ง่ายขึ้น ดังนั้น AR Platform จึงนำฟังก์ชัน
(Participatory research) ในการสัง เกตและลงพื้นที่ส ำรวจ การเชื่อมโยงหลายมิติ หรือ ไฮเปอร์ลิงก์ (Hyperlink) เข้ามา
เพื่อจำแนกทุนทางวัฒนธรรม รวมอยู่ในระบบอีกด้วย โดยสามารถออกแบบให้มีลักษณะเป็น
ทั้งนี้จะนำองค์ความรู้ในพื้นที่ (Local Wisdom) ตลอดจน คำ ข้อความ และรูปภาพ เพื่อสร้างความโดนเด่นและดึง ดูดให้
มูลค่าเพิ่มในผลิตภัณฑ์และบริการทุนทางพหุวัฒนธรรมที่มีอยู่ ผู้ใช้งานคลิกเชื่อมต่อเข้าไปยัง เว็บไซต์หรือเพจของร้านค้า อัน
เดิ ม มาเป็ น ผลิ ต ภั ณ ฑ์ แ ละบริ ก ารรู ป แบบใหม่ (Cultural จะเป็นการส่งเสริมให้เกิดการเข้าถึงข้อมูลของสินค้า นำไปสู่
Reinvention) อาทิ เช่ น การละเล่ น นาเสป ประยุ ก ต์ การซื้อขาย การสร้างรายได้ให้กับร้านค้า และการยกระดับ
การละเล่นไก่ชนพื้นบ้าน ระบำตารีกีปัส หัตถกรรมกรงนก ใน เศรษฐกิจของชุมชน นอกจากนี้ เพื่อให้เกิดการส่งเสริมและ
รูปแบบของ AR ผ่านโมบายแอปพลิเคชันเพื่อเข้าถึงกลุ่มคนรุ่น ติดตั้งองค์ความรู้ที่จำเป็นต่อการพัฒนา นวัตกรทางวัฒนธรรม
ใหม่ ตลอดจนการสร้างแบรนด์เฉพาะของเขตหนองจอก ผ่าน และผู้ประกอบการวั ฒนธรรมที่ส ามารถผสานและนำองค์
แนวคิดการทำการตลาดดิจิทัลโดยพัฒนาทักษะผู้ประกอบการ ความรู้ไปสู่การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และบริการทางวัฒนธรรม
ทางวั ฒ นธรรม เช่ น การทำตลาดผ่ า นเนื ้ อ หา (Content ที่เป็นเอกลักษณ์ของพื้นที่ นำไปสู่การยกระดับรายได้และ
Marketing) เพื ่ อ สร้ า งเรื ่ อ งราวของแต่ ล ะชุ ม ชน (Story เศรษฐกิจฐานรากและเสริมสร้างพลัง (Empowerment) การ
Telling) สร้างประสบการณ์ร่วมกันผ่านเนื้อหาสาร (Message) เกาะเกี่ยวทางสังคมระหว่างคนรุ่นเก่าคนรุ่ นใหม่ และสำนึก
เพื่อส่งมอบคุณค่าหรือความรู้ ดึงดูดกลุ่มเป้าหมาย สร้างการ ท้องถิ่นบนฐานทุนพหุวัฒนธรรมในวิถีไทย มอญ และมุสลิม ได้
จดจำแบรนด์กระตุ้นการตัดสินใจ อีกทั้ง การสร้างมูลค่าให้กับ อย่างยั่งยืน
เส้นทางกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์ อันหมายถึง การ ทั้งนี้จากแนวทางการสร้างมูลค่าเพิ่มทุนทางพหุวัฒนธรรม
สร้างความรู้สึกที่ดีถ่ายทอดผ่านเรื่องราว (Story & Theme) เพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานรากและความยั่งยืนของชุมชนเขต
กิจกรรม (Activity) และทักษะในการสร้างจุดขายของแหล่ง หนองจอก กรุ ง เทพมหานคร สามารถใช้ เ ป็ น แนวทาง ใน
ท่องเที่ยวให้กับนักท่องเที่ยวเพื่อได้รับความประทับใจจากการ การศึกษาเกี่ยวกับวัฒนธรรมท้องถิ่น ที่สามารถเพิ่มมูลค่ าได้
ได้ท่องเที่ยวในด้านต่าง ๆ นำไปสู่ค ุณค่าและประสบการณ์ ของชุมชนอื่น ๆ ที่มีบริบทใกล้เคียงกับชุมชนหนองจอก หรือ
ใหม่ๆจนทำให้เกิดความรักและความผูกพันในการท่องเที่ยวใน เป็นแนวทางในการสร้างฐานข้ อมูล ด้า นเศรษฐกิจ ฐานราก
เส้นทางนั้น ๆ โดยจะพัฒนาห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain) ที่ ชุมชนของกลุ่มภาคีต่อไป
เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้เกิดขึ้นกับทั้งผลิตภัณฑ์และบริการ
ทางวั ฒ นธรรม รวมทั ้ ง การนำเสนอพิ พ ิ ธ ภั ณ ฑ์ท ี ่ม ี ช ี ว ิ ตใน
รูปแบบเสมือนจริง (AR) ภายใต้ช ื่อ “เสน่ห์หนองจอก บ้าน
314
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

7. สรุป 133. ส ื บ ค ้ น เ ม ื ่ อ 1 0 ม ี น า ค ม 2 5 6 5 . จ า ก
ผลผลิ ต ทางวั ฒนธรรมที ่ เ กิ ด จากสร้ า งสรรค์และ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/255
หล่อมหลอมทางสังคม ทั้งในรูปแบบทุนวัฒนธรรมทั้งจับต้อง 9/A/019/1.PDF
ได้ (Tangible Culture) และทุนทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ 4. ประเวศ วะสี .(2558). วิธีการและกลไกยุทธศาสตร์ประชา
(Intangible Culture) ล้ ว นมี ค วามสำคั ญ ต่ อ การพั ฒ นา รั ฐ สร้ า งความเข้ ม แข็ ง เศรษฐกิ จ ฐานรากบนหลั ก การ
ศักยภาพในการแข่งขันให้กับองค์กร นอกจากนี้ยังนำไปสู่การ เศรษฐกิจ พอเพียง. นนทบุรี.
สร้างเศรษฐกิจฐานราก ซึ่งเป็นเศรษฐกิจของชุมชนที่สร้างและ 5. สถาบั น พั ฒ นาองค์ ก รชุ ม ชน (องค์ ก ารมหาชน).
ส่งผลต่อความสัมพันธ์ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และ
(2559). คูม่ อื ส่งเสริมการพัฒนาระบบเศรษฐกิจฐาน
สิ่งแวดล้อมของคนในชุมชน ก่อให้เกิดความร่วมมือ เกิดโอกาส
ราก. สำนักงานกองทุนหมู่บ้าน. กรุงเทพมหานคร.
เกิด สัมพันธภาพที่ดีในชุมชน มีการรวมกลุ่ม มีร ะบบการ
6. Porter, M. E ( 2008) . Competitive Advantage:
บริ ห ารจั ด การ และความเอื ้ อ อาทรต่ อ กั น เพื ่ อ ให้ ช ุ ม ชน
เข้มแข็งและพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน creating and sustaining performance.
อย่างไรก็ตามจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี Amazon Digital Services, Incorporated.
ส่งผลให้การตลาดแบบดิจิทัล และเทคโนโลยีโลกเสมือนผสาน 7. ศักดิ์นรินทร์ แก่นกล้า. (2559). ห่วงโซ่คุณค่าของ
โลกแห่งความจริง ได้เข้ามามีบทบาทที่สำคัญต่อความอยู่รอด ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ข ้ า วอิ น ทรี ย ์ อำเภอแม่ แ ตง จั ง หวั ด
ของชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งชุนชมเขตหนองจอกที่มีค วาม เชียงใหม่,มหาวิทยาลัยแม่โจ้. การประชุมสวนสุนัน
หลากหลายทางชาติพันธุ์ ที่ประกอบด้วยชาวไทยมุส ลิม ชาว ทาวิชาการระดับชาติ ด้าน “การวิจัยเพื่อการพัฒนา
มอญ และชาวไทย รวมทั้ง มีส ินค้ า และบริก ารมีค วามเป็ น อย่างยั่งยืน” ครั้งที่ 5. โรงแรม เดอะรอยัล ริเวอร์.
อั ต ลั ก ษณ์ จึ ง จำเป็ น ต้ อ งมี ก ารกำหนดแนวทางการสร้าง กรุงเทพมหานคร.
มูลค่าเพิ่มทุนทางพหุวัฒนธรรม เพื่อการเพิ่มมูลค่า คุณค่า การ
8. Aaker, D. ( 2014) . Aaker on branding: 20
เพิ่มยอดขายและรายได้ รวมทั้งเพื่อยกระดับเศรษฐกิจฐานราก
principles that drive success. New York:
และชุมชนท้องถิ่นต่อไปอย่างยั่งยืน
Morgan James Publishing.
9. Amanda Silberling. (2021). Niantic’s new
เอกสารอ้างอิง Pokémon GO feature incentivizes users to
1. สำนักเลขาธิการอาเซียนแห่ง ชาติ. (2019). ประชาคม ‘AR scan’ nearby landmarks, Retrieved 11
สัง คมและวัฒนธรรมอาเซี ย น. สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม March 2022 from
2565. จาก https://asean2019.go.th/th/abouts/ https://techcrunch.com/2021/12/08/
ประชาคมสังคมและวัฒนธรรม/ niantics-new-pokemon-go-feature-
2. Throsby, D. ( 2001) . Economics and culture. incentivizes-users-to-ar-scan-nearby-
Cambridge university press. landmarks/
3. พระราชบัญญัติส ่ง เสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทาง 10. Nabilah Said. (2017). National Museum of
วัฒนธรรม พ.ศ. 2559. (2559). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม Singapore uses augmented reality to tell

315
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

building's history. Retrieved 11 March 2022


from
https://www.straitstimes.com/lifestyle/arts/
national-museum-of-singapore-uses-
augmented-reality-to-tell-buildings-history
11. จิ น ตนา ดาวใส. (2561). การพั ฒ นาแบบจำลอง
สารสนเทศสามมิติเชิงแนะนำสำหรับผลิตภัณฑ์
ฟาร์มเกษตร ด้วยเทคโนโลยีความเป็นจริง เสมื อน.
วิ ท ยานิ พ นธ์ ว ิ ท ยาศาสตรมหาบั ณ ฑิ ต . คณะ
เทคโนโลยีสารสนเทศ. มหาวิทยาลัยศรีปทุม.
12. รัชนี ไผ่แก้ว. (2544). วิถีชาวไทยมุสลิมชุมชนหนอง
จอก. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชา
ไทยศึกษา). บัณฑิตวิทยาลั ย. กรุง เทพมหานคร.
มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
13. สำนักงานเขตหนองจอก. (2565). ข้อมูลทั่วไปของ
เขตหนองจอก. สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2565
จาก
https://webportal.bangkok.go.th/upload/use
r/00000066/about/Data0162.pdf
14. มติชนออนไลน์. (2565). โควิด-19 กดทับภาวะ
สังคม ว่างงานยาว-หนี้ท่วมครัวเรือน. สืบค้นเมื่อ 12
มีนาคม 2565 จาก
https://www.matichon.co.th/politics/politics
-in-depth/news_3053763

316
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

แนวทางของเทคโนโลยีฟาร์มอัจฉริยะ เพื่อรองรับการขับเคลื่อนแผนพัฒนาดิจิทัล
สู่ยุคเกษตร 4.0
กรณีศึกษา : สวนผัก Salad Station เขตมีนบุรี กรุงเทพมหานคร
Guideline of Smart Farm Technology to Support Digital Development
for Farming 4.0
Case Study : Salad station Vegetable Garden , Min Buri District , Bangkok

สิริรักษ์ ภู่ริยะพันธ์1 น้ำทิพย์ แสงโพธิแ์ ก้ว2 พิชญา ตันติอำไพวงศ์3 พิชย์กาญจน์ เจนวารินทร์4


จารึก สงวนวงษ์5 และสุภัทศรา สุพร6
คณะบริหารธุรกิจ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร เขตหนองจอก กรุงเทพฯ 10530
E-mail: sirirak@mut.ac.th

บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเทคโนโลยีอุตสาหกรรมในยุค 4.0 มาประยุกต์ใช้กับการพัฒนาระบบบริหารจัดการ
ฟาร์มผักกรณีศึกษาขนาด SME เพื่อนำไปสู่การเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน และเพิ่มคุณภาพผลผลิตทางการเกษตร โดยใช้
แผนผัง แสดงเหตุและผล (Cause and Effect Diagram) และกราฟ (Graph) ในการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา หลัง จากนั้น
ดำเนินการปรับปรุงขั้นตอนการผลิตใช้หลักการเกษตรอัจฉริยะ (Smart Farm) โดยการศึกษาครั้งนี้ผู้วิจัยได้ศึกษาขั้นตอนการผลิต
และดำเนินการเก็บข้อมูลจากผู้ประกอบการสวนผัก Salad Station เขตมีนบุรี จังหวัดกรุงเทพมหานคร พบว่าก่อนปรับปรุงนั้นมี
ความล่าช้าในขั้นตอนการผลิตรวมไปถึงการจัดเก็บข้อมูลที่ไม่ได้คุณภาพและคนงานยังขาดทักษะในการทำงาน จึงดำเนินการแก้ไข
โดยการนำเอาเทคโนโลยีระบบ อัตโนมัติ ระบบ Sensor และระบบ Internet of things (IoT) เข้ามาพัฒนาและปรับปรุง ขั้นตอน
การผลิต หลังปรับปรุงสามารถช่วยลดระยะเวลาในการทำงานและเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ได้แนว
ทางการเป็นฟาร์มเกษตรอัจฉริยะ (Smart Farm) ให้กับกรณีศึกษา

คำสำคัญ : อุตสาหกรรม 4.0 หลักการฟาร์มเกษตรอัจฉริยะ แผนผังแสดงเหตุและผล กราฟ เทคโนโลยี ระบบ อัตโนมัติ ระบบ
Sensor ระบบ Internet of things (IoT)

317
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

Abstract
This research aims to apply industrial technology in the 4.0 era to the development of a vegetable
farm management system, a case study of SME size, in order to increase operational efficiency and the quality
of agricultural product . A cause and effect diagram and a graph are analysis the cause of the problem. After
that, Having the improvement the production process by using Smart Farm principles. In this study, the
researcher studied the production process. and collecting data from vegetable garden operators, Salad Station,
Minburi District, Bangkok Province. It was found that before the renovation, there were delays in the production
process, including poor quality storage and lack of skilled workers. Therefore, corrective actions were taken by
bringing in technology of Automation system, Sensor system and IoT system to develop and improve the
production process. After improvement, it can reduce working time and increase agricultural productivity to be
more quality. In this regard, the guidelines for becoming a Smart Farm were given to the case studies.

Keywords : Industry 4.0, Principles of smart farming, Cause-and-effect diagrams, graphs, Automation system
technology, Sensor system , IoT system

318
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

1. บทนำ การทำงานของคนได้ง่าย เนื่องจากคนงานในฟาร์มมีจ ำนวน


โลกหลังยุคการปฏิวัติอุตสาหกรรม ทำให้การพัฒนาการ น้อย จึงไม่สามารถดูแลผัก และดอกไม้ได้อย่างทั่วถึง
ผลิตอุตสาหกรรมก้าวหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง ความก้าวหน้าทาง ดังนั้นบทความนี้เป็นการนำเสนอการนำแนวทางการเป็น
เทคโนโลยี และโลกาภิวัตน์ ทำให้หลายประเทศได้ดำเนินการ Smart Farm มาใช้ เพื่อ เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและ
ปฏิรูปอย่างเป็นระบบ เพื่อรับมือกับโอกาส ความเสี่ยง และภัย เพิ่มความแม่นยำในกระบวนการผลิต โดยมีรายละเอียดต่างๆ
คุกคามใหม่ในการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบเศรษฐกิจสังคมดิจิตอลใน ตามหัวข้อดังต่อไปนี้
ศตวรรษที่ 21 สำหรับประเทศไทย มีการรื้อปรับโครงสร้าง
เศรษฐกิจสังคม โครงสร้างพื้นฐาน ปรับเปลี่ยนระบบคุ ณค่า 2. หลักการและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
และวัฒนธรรมการดำรงชีวิต การทำงานและการเรียนรู้ โดย 2.1. Industry 4.0
การยกระดับคุณภาพในทุกภาคส่วนและปรับเปลี่ยนให้เป็น Industry 4.0 เป็ น ยุ ค สมั ย ของการเปลี่ ย นแปลงแปลง
ประเทศในโลกที่หนึ่ง โดยใช้คำว่า “ประเทศไทย 4.0” มาเป็น อุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ซึ่งมีการปฏิวัติวงการอุตสาหกรรม โดย
โมเดลในการขั บ เคลื ่ อ นพั ฒ นาเศรษฐกิ จ อย่ า งไรก็ ต าม การเพิ่มเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่ อาทิ การเชื่อมต่อแบบไร้สาย
การเกษตรในประเทศไทยที่ผ่านมานั้น มีการแข่งขันที่สูงมาก ของเครื่องจักรต่างๆ ที่ใช้เทคโนโลยีอันทันสมัย
และให้ ผ ลตอบแทนต่ ำ เนื ่ อ งจากการลงทุน ส่ ว นใหญ่ เป็น 2.2 Smart Farm
ค่าใช้จ่ายได้ค่าจ้างของแรงงาน รวมถึงต้นทุนอื่นที่เกษตรกร Smart Farm
ต้องแบกรับ อีกทั้งไม่สามารถที่จะคาดเดาฤดูกาลหรือภัยพิบัติ เกษตรกรจำเป็นต้องหาวิธีในการบริหารจัดการการเกษตร
ต่างๆ ได้อย่างแน่นอน ซึ่งทางเกษตรกรจำเป็นต้องหาวิธีที่จะ ทำให้ Smart Farm เข้ า มามี บ ทบาทในการบริ ห ารจั ด
สามารถลดต้นทุน และเพิ่มผลผลิตให้ตรงตามความต้องการ การเกษตรในปัจจุบัน โดยการทำงานของ Smart Farm นั้น
ของผู้บริโ ภคซึ่ง หนึ่ง ในหลายวิธีค ือ การนำเอาเทคโนโลยี เริ่มจากการตรวจวั ดค่ าอุณหภูมิ และความชื้ น ของดิ น และ
Smart Farm เข้ามาใช้ อากาศเพื่อเก็บรวบรวมไปยังส่วนกลางของฐานข้อมูล ซึ่ง ตั ว
ทางผู้วิจัยลงพื้นที่เก็บข้อมูลฟาร์มผัก พบว่า ฟาร์มจัดอยู่ใน ฐานข้อมูลนี้จะทำการวิเคราะห์และรายงานผลไปยังผู้ใช้ง าน
พื้นที่เขตที่มีสภาพอากาศร้อนชื้นสลับแล้ง ทำให้มีอุณหภูมิของ โดยผ่านการสื่อสารแบบไร้สาย ซึ่งมีให้เลือกใช้หลายรูปแบบ
อากาศที่ไม่คงที่ เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดความร้อนสะสม ทำให้มี ไม่ว่าจะเป็นข้อความหรือทางแอปพลิเคชั่น
ผลผลิตเสียหายเป็นจำนวนมากในช่วงเวลาที่มีอากาศร้อน และ 2.3 เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง
อุณหภูมิที่ไม่คงที่ และทางฟาร์มนั้นมีการปลูกผัก และดอกไม้ 2.3.1 ระบบ Sensors
ที ่ ไ ม่ เ ป็ น สั ดส่ว นปะปนกัน ไปตามระยะเวลาการเก็ บเกี่ยว อุ ป กรณ์ เซนเซอร์ส ามารถแบ่ง ได้เ ป็ น 3 ประเภท ตาม
ผลผลิตของแต่ละรางปลูก ซึ่งเป็นการทำงานโดยใช้แรงงานคน คุณสมบัติในการตรวจวัด ประกอบด้วย
ทั้งหมด อาทิ เช่น การหยอดเมล็ดพันธ์ การรดน้ำ การให้ปุ๋ย 1. เซนเซอร์ด้านกายภาพ (Physical Sensor)
การเก็บเกี่ยวผลผลิต และการเคลื่อนย้ายต้นกล้าลงสู่รางปลูก 2. เซนเซอร์ด้านเคมี (Chemical Sensor)
ส่งผลให้เกิดความล่าช้าในการทำงานและความผิดพลาดจาก 3.เซนเซอร์ทางชีวภาพ (Biosensor)
2.3.2 ระบบ Automation
ระบบอัตโนมัติทางอุตสาหกรรม เป็นกระบวนการทำงาน
ของเครื ่ อ งจั ก รและอุ ป กรณ์ อ ุ ต สาหกรรมอื ่ น ๆด้ ว ยความ
319
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

ช่วยเหลือของการเขียนโปรแกรมเชิงตรรกะแบบดิจิทัล และลด ฟาร์มกรณีศึกษาตั้งอยู่ที่เขตมีนบุรี จังหวัดกรุงเทพมหานคร


การแทรกแซงของมนุษย์ในการตัดสินใจและกระบวนการสั่ง ซึ่งประกอบธุรกิจจำหน่ายและผลิตผักและดอกไม้ไฮโดรโปนิกส์
การด้วยตนเองด้วยความช่วยเหลือของอุปกรณ์เครื่องจักรกล 3.2 วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล
2.3.3 Internet of Things (IoT) 3.2.1 ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษา
Internet of Things กลายมาเป็นเทคโนโลยียอดนิยม และ 1. ข้อมูลปฐมภูมิ
ภายใน 5 ปี ท ี ่ ผ ่ า นมาตั ้ ง แต่ ม ีก ารพู ด ถึ ง และ Internet of ทางผู ้ ว ิ จ ั ย ได้ ม ี ก ารติ ด ต่ อ ขออนุ ญ าตกั บ เจ้ า ของฟาร์ ม
Things ก็ได้ส ร้างความสนใจให้กับผู้บริหารระดับสูงเช่นกัน กรณีศึกษาเพื่อเข้าไปก็บข้อมูลภายในฟาร์ม ซึ่งผู้สำรวจได้ทำ
เมื่ออสังหาริมทรัพย์ที่มาพร้อมกับอุปกรณ์เซ็นเซอร์ต่างๆ ที่ การเก็บข้อมูล ดังนี้
สามารถบันทึกรูปภาพ สื่อสารโดยอุปกรณ์ที่ทำการติ ด ตั้ ง 1).รายละเอียดขั้นตอนการปลูกของฟาร์มกรณีศึกษา
เซ็นเซอร์เข้าไปนั้นจะทำงานร่วมกัน ซึ่งทำให้เกิดการทำงาน
แบบใหม่เกิดขึ้น ส่งผลให้สามารถที่จะสร้างโอกาสใหม่ๆ ให้กับ
ทางธุรกิจได้
2.4 แผนผังแสดงเหตุและผล (Cause and Effect Diagram)
แผนแสดงเหตุและผลเป็นแผนภาพที่แสดงถึงความสัมพันธ์
ระหว่างปัญหา (Problem) กับสาเหตุทั้ ง หมดที่เป็นไปได้ ที่
ก่ อ ให้ เ กิ ด ปั ญ หานั ้ น (Possible Cause) ซึ ่ ง อาจคุ ้ น เคยกับ
แผนผังแสดงเหตุและผลในชื่อของ “ผังก้างปลา (Fish Bone
Diagram)”

รูปที่ 2 ขั้นตอนการปลูกของฟาร์มกรณีศึกษา

2. ข้อมูลทุติยภูมิ
เป็นข้อมูล ที่ได้จ ากการศึกษาค้นคว้าและรวบรวมข้อมูล
รูปที่ 1 โครงสร้างของแผนผังแสดงเหตุและผล
เอกสารต่า งๆที ่เ กี่ ยวกั บงานวิจ ั ย ทั ้ ง นี ้ ไ ด้ม ีก ารตรวจสอบ
(Cause and Effect Diagram)
คุณภาพข้อมูลโดยพิจารณาถึงผู้ที่ทำการเก็บรวบรวมข้อมูล วิธี
3. วิธีการดำเนินงานการวิจัย
ในการรวบรวมและความถูกต้องตลอดจนข้อดีและข้อเสียที่
3.1ประวัติความเป็นมาของฟาร์มกรณีศึกษา

320
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

รวบรวมมาได้ เพื่ออ้างอิงถึงที่มาข้อมูลได้อย่างมั่นใจ รวมทั้ง รูปที่ 5 วิเคราะห์แผนผังแสดงเหตุและผลของปัญหาการ


แนวคิดและทฤษฎีที่หาได้จากเว็บไซต์และหนังสือต่างๆ เคลื่อนย้ายผักลงสู่รางปลูก
3.3วิธีการวิเคราะห์ปญ
ั หาและเครือ่ งมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ 4. ปัญหาการรดน้ำด้วยสปริงเกอร์
ปัญหา
จากการวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นภายในฟาร์มกรณีศึกษา
โดยใช้แผนผังแสดงเหตุและผล สามารถหาสาเหตุหลักและ
สาเหตุย่อยของ 6 ปัญหาดังนี้
1. ปัญหาการหยอดเมล็ดพันธุ์
รูปที่ 6 วิเคราะห์แผนผังแสดงเหตุและผลของปัญหาการรดน้ำ
ด้วยสปริงเกอร์
5. ปัญหาอุณหภูมิน้ำและอุณหภูมิสภาพอากาศที่ไม่คงที่

รูปที่ 3 วิเคราะห์แผนผังแสดงเหตุและผลของปัญหาในการ
หยอดเมล็ดพันธุ์
2. ปัญหาการจดบันทึกการหยอดเมล็ดพันธุ์
รูปที่ 7 วิเคราะห์แผนผังแสดงเหตุและผลของปัญหาอุณหภูมิ
น้ำและอุณหภูมิสภาพอากาศที่ไม่คงที่
6. ปัญหาการเก็บเกี่ยวผลผลิต

รูปที่ 4วิเคราะห์แผนผังแสดงเหตุและผลของปัญหาการจด
บันทึกการหยอดเมล็ดพันธุ์
3. ปัญหาการเคลื่อนย้ายผักลงสู่รางปลูก
รูปที่ 8 วิเคราะห์แผนผังแสดงเหตุและผลของปัญหาการเก็บ
เกี่ยวผลผลิต
จากการวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้น ในขั้นตอนการผลิตทำให้
เกิดของเสียโดยใช้กราฟแสดงผลของปัญหาในแต่ล ะเดื อ น
ย้อนหลัง 4 เดือน

321
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

1) Man : ใช้คนในจดบันทึกการหยอดเมล็ดพันธุ์ โดยการใช้


ดินสอจดบันทึกวัน เวลาของการหยอดเมล็ดในแต่ละครั้งจึงทำ
ให้ข้อมูลจางหายได้ง่าย
2) Method : ใช้แผงปลูกในการจดบันทึก ซึ่งทำให้ข้อมูลสูญ
หายได้ง่าย
3 การวิเคราะห์ปัญหาการเคลื่อนย้ายผักลงสู่รางปลูก
รูปที่ 9 การวิเคราะห์ปัญหาโดยใช้กราฟ จากการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาการเคลื่อนย้ายผักลงสู่
p รางปลูก สรุปสาเหตุทำให้เกิดปัญหาภายในฟาร์มกรณีศึกษามี
3. ผลการดำเนินงาน 3 สาเหตุดังนี้
3.1 ผลการวิเคราะห์หาสาเหตุ 1) Man : ใช้คนในการเคลื่อย้ายผักลงสู่รางปลูก ซึ่งทำให้เกิด
4.1.1การวิเคราะห์ปัญหาโดยใช้ผังแสดงเหตุและผล ความล่าช้าในการเคลื่อย้ายผักแต่ละครั้ง
(Cause and Effect Diagram) 2) Method : ใช้วิธีการการย้ายผักทีละต้น เนื่องจากแปลง
1 การวิเคราะห์ปัญหาการหยอดเมล็ดพันธุ์ ปลูกนั้นเป็นลักษณะหลุมเดี่ยว
จากการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาการหยอดเมล็ดพันธุ์ 3) Material : เนื่องจากรากต้นกล้าอ่อนสามารถตายได้ง่าย จึง
สรุปสาเหตุทำให้เกิดปัญหาภายในฟาร์มกรณีศึกษามี 3 สาเหตุ ต้องใช้ความระมัดระวังในการเคลื่อนย้าย
ดังนี้ 4 การวิเคราะห์ปัญหาการรดน้ำด้วยสปริงเกอร์
1) Man : ใช้ค นในการหยอดเมล็ดพันธุ์ ซึ่ง ขาดทักษะและ จากการวิเคราะห์ส าเหตุของปัญหาการรดน้ำด้ว ยสปริง
ความชำนาญ จึงทำให้เกิดความล่าช้าในการหยอดเมล็ดพันธุ์ เกอร์ สรุปสาเหตุทำให้เกิดปัญหาภายในฟาร์มกรณีศึกษามี 1
ในแต่ละครั้ง สาเหตุดังนี้
2) Method : ใช้วิธีการหยอดเมล็ดพันธุ์ทีละหลุม จึงทำให้เกิด 1) Man : ใช้ค นในการเปิด -ปิดระบบน้ำ จึง ทำให้ไม่มีค วาม
ความล่าช้าในการหยอดเมล็ดพันธุ์ แม่นยำ และขาดประสบการณ์ในการเปิด-ปิดระบบน้ำ ซึ่งไม่มี
3) Material : เมล็ดพันธุ์นั้นต้องได้รับการแช่น้ำ เพื่อให้เมล็ด ความรู้ในเรื่องของอุณหภูมิที่เหมาะสม
งอกได้ง่ายขึ้น ซึ่งทำให้เสียเวลาในการรอให้เมล็ดพร้อมที่หยอด 5 การวิ เ คราะห์ ป ั ญ หาอุ ณ หภู ม ิ น ้ ำ และอุ ณ หภู ม ิ ส ภาพ
ลงหลุมปลูก อากาศที่ไม่คงที่
2 การวิเคราะห์ปัญหาการจดบันทึกการหยอดเมล็ดพันธุ์ จากการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาอุณหภูมิน้ำและอุณหภูมิ
จากการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาการจดบันทึกการหยอด สภาพอากาศที่ไม่คงที่ สรุปสาเหตุทำให้เกิดปัญหาภายในฟาร์ม
เมล็ดพันธุ์ สรุปสาเหตุทำให้เกิดปัญหาภายในฟาร์มกรณีศึกษา กรณีศึกษามี 2 สาเหตุดังนี้
มี 2 สาเหตุดังนี้ 1) Machine : แสลนไม่ครอบคลุมทุกพื้นที่ของแปลงผัก ซึ่งทำ
ให้แสงแดดส่องกระทบกับผักโดยตรง จึงทำให้ผักตาย
2) Material : พืช ผักและดอกไม้เป็นชนิดเมืองหนาว จึง ไม่
ทนทานต่อความร้อนแต่เนื่องด้วยน้ำมีอุณหภูมิที่สูงจากอากาศ
ที่ร้อน จึงส่งผลกระทบต่อผักและดอกไม้โดยตรง
6 การวิเคราะห์ปัญหาการเก็บเกี่ยวผลผลิต
322
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

จากการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาการเก็บเกี่ยวผลผลิ ต ปลอดภัยในการเก็บข้อมูลมากยิ่งขึ้น รวมถึงป้องการสูญหาย


สรุปสาเหตุทำให้เกิดปัญหาภายในฟาร์มกรณีศึกษามี 3 สาเหตุ ของข้อมูลขึ้น
ดังนี้
1) Man : ใช้คนในการเก็บผลผลิต เนื่องจากต้องเดินเก็บทีละ
ต้น จึงทำให้เกิดความล่าช้า
2) Method : พื้นที่ในการเก็บเกี่ยวไม่ส ะดวก อีกทั้ง ยัง ใช้
วิธีการเก็บผลผลิตทีละต้น ซึ่งการจัดวางผังพื้นที่ของผลผลิตไม่
เป็นหมวดหมู่ จึงทำให้เสียเวลาในการค้นหาผักและดอกไม้ที่จะ
เก็บเกี่ยวผลผลิต
3) Material : แยกผลผลิตไม่ได้ตามมาตรฐานเป็น การแยก รูปที่ 11 อัปโหลดไฟล์
ระหว่างผลผลิตที่ได้คุณภาพและผลผลิตที่ไ ม่ได้คุณภาพออก วิธีการใช้งาน ระบบ Cloud Computing นั้นจะทำการ
จากกัน ดาวน์โหลดข้อมูลต่างๆ ของผู้ใช้งานที่ได้ทำการตั้งค่าไว้นำมา
4.2การดำเนินการแก้ไข ประมวลผลและทำการดำเนินตามคำสั่งต่างๆ ตามที่ผ ู้ใช้ได้
ปัญหาที่ 1 : ปัญหาการหยอดเมล็ดพันธุ์ กำหนดในเบื้องต้น
แก้ไขโดยการใช้อุปกรณ์ช่วยหยอดเมล็ดพันธุ์แบบอัตโนมัติ ปัญหาที่ 3 : ปัญหาการเคลื่อนย้ายผักลงสู่รางปลูก
เพื่อให้มีความสะดวกและมีความแม่นยำในการหยอดเมล็ด แก้ไขโดยการใช้อุปกรณ์ช่วยเคลื่อนย้ายผักลงสู่รางปลูก
พันธุ์มากขึ้น และสามารถลดเวลาการหยอดเมล็ดพันธุ์ในแต่ละ เพื่อให้มีความสะดวก และประสิทธิภาพในการเคลื่อนย้ายผัก
ครั้งได้ 7-8 นาทีต่อครั้ง ลงสู่รางปลูกมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังสามารถลดเวลาการเคลื่อน้าย
ผักลงสู่รางปลูกในแต่ละครั้งได้ 8-10 นาทีต่อครั้ง

รูปที่ 10 อุปกรณ์หยอดเมล็ดพันธุ์
วิธีการใช้งาน ระบบหยอดเมล็ดพันธุ์ของโมเดลนั้น เริ่ม
จากการนำเอาเมล็ดพัน ธุ์ ที่ใช้ใ นการปลู กบรรจุล งไปในหั ว รูปที่ 12 อุปกรณ์เคลื่อนย้ายผัก
หยอดเมล็ด เมื่อโมเดลได้รับคำสั่งในการปลูก โมเดลจะทำการ วิธีการใช้งาน การเคลื่อนย้ายผักนั้นจะใช้ หัวอุปกรณ์อีก 1
เคลื่อนย้ายหัว หยอดเมล็ ด ไปยัง ตำแหน่ง ที ่ท างผู้ใช้ง านได้ ชุด ซึ่งแตกต่างไปจากการหยอดเมล็ดพันธุ์ โดยใช้อุปกรณ์ใน
กำหนดไว้แล้ว การจับที่มี Servo Moter คือมอเตอร์ที่สามารถควบคุมองศา
ปัญหาที่ 2 : ปัญหาการจดบันทึกการหยอดเมล็ดพันธุ์ ในการหมุนได้
แนวทางแก้ไข คือ โดยการใช้ระบบ Cloud Computing ปัญหาที่ 4 : ปัญหาการรดน้ำด้วยสปริงเกอร์
เพื่อช่วยในการจดบันทึกข้อมูลการหยอดเมล็ดพันธุ์ให้มีความ
323
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

แนวทางแก้ไขคือ โดยการใช้อุปกรณ์ช่วยในการรดน้ำเพื่อ มากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังสามารถลดเวลาการเก็บเกี่ยวผลผลิตในแต่


เพิ่มความแม่นยำในการเปิด -ปิดระบบน้ำในการรดน้ำด้ ว ย ละครั้งได้ 10-15 นาทีต่อครั้ง
สปริงเกอร์ขึ้น

รูปที่ 15 อุปกรณ์เก็บเกี่ยวผลผลิต

รูปที่ 13 อุปกรณ์เปิด-ปิดระบบน้ำอัตโนมัติ สรุปภาพรวมการปรับปรุงของทุกปัญหา และแนวทาง


วิ ธ ี ก ารใช้ ง าน หั ว รดน้ ำ จะทำการเปิด น้ ำ ออกมาแบบ การเป็น Smart Farm
อัตโนมัติและเมื่อมีสภาพอากาศที่ลดต่ำลงหัวจ่ายน้ำจะหยุ ด จากการปรับปรุง ของทุกปัญหาและได้แนวทางการเป็ น
ปล่อยน้ำโดยอัตโนมัติ Smart Farm ดังนี้ ส่งผลให้มีความแม่นยำ สามารถเก็บข้อมูล
ปัญหาที่ 5 : ปัญหาอุณหภูมิน้ำและอุณหภูมิสภาพอากาศที่ไม่ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ควบคุมอุณหภูมิได้ดีขึ้น มีความสะดวก
คงที่ รวดเร็วต่อคนงาน สามารถจัดการกับปัญหาได้อย่างรวดเร็ ว
แนวทางแก้ไข คือ โดยการติดตั้งอุปกรณ์ตรวจจับสภาพ และมี ป ระสิท ธิ ภ าพที ่ ด ี ข ึ ้น ในกระบวนการผลิต ของฟาร์ม
อากาศเข้ามาช่วยในการวัดสภาพอากาศและสามารถบอก กรณีศ ึกษา ฟาร์มกรณีศ ึกษามีการสอดคล้องกับ KPI ฟาร์ม
อุณหภูมิได้อย่างแม่นยำ กรณีศึกษาเป็นการเกษตรในระดับ 4.0 เป็นเกษตรกรที่ฉลาด
(Smart Farm) มี ก ารใช้ Precision Agriculture มี ก ารนำ
วิทยาศาสตร์เทคโนโลยีนวัตกรรมมาแก้ปัญหาในการผลิต มี
การเพิ่มประสิทธิภาพ ทำให้การผลิตมีผลผลิตที่สูงขึ้น เป็นการ
เพาะปลูกหรือการผลิต ที่มองทั้ง Supply Chain และใช้ตลาด
นำการผลิ ต สามารถทำให้ จ ำนวนผลผลิ ต ได้ต ามปริมาณที่
ต้องการ ทำให้ฟาร์มกรณีศ ึกษาได้แนวทางการเป็น Smart
Farm
รูปที่ 14อุปกรณ์ตรวจจับสภาพอากาศ 5 สรุปผล อภิปราย และข้อเสนอแนะ
วิธีการใช้งาน โดยจะนำอุปกรณ์วัดอุณหภูมิสภาพไปติดตั้ง 5.1 สรุปผลการศึกษา
บริเวณเสาปูนที่อยู่ตรงกลางของแปลงผักโดยที่ตัวอุปกรณ์จะ จากการวิจัยครั้งนี้ ปัญหาในภาพรวมของฟาร์มกรณีศึกษา
สามารถทำงานได้เองโดยอัตโนมัติ นั้น มีความล่าช้าในการหยอดเมล็ดพันธุ์ ข้อมูลสูญหายจากการ
ปัญหาที่ 6 : ปัญหาการเก็บเกี่ยวผลผลิต จดบันทึก ความล่าช้าในการเคลื่อนย้ายผักลงสู่รางปลูก ความ
แก้ไขโดยการใช้อุปกรณ์ช่วยเก็บเกี่ยวผลผลิตแบบอัตโนมัติ ไม่แม่นยำในการเปิด-ปิดระบบน้ำในการรดน้ำด้วยสปริงเกอร์
เพื่อให้มีความสะดวกและประสิทธิภาพในการเก็บเกี่ยวผลผลิต ผักตายจากอุณหภูมิที่ส ูง และความล่าช้า ในการเก็บเกี ่ ย ว
324
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

ผลผลิต จากการปรับปรุงของทุกปัญหาและได้แนวทางการเป็น เทคโนโลยี อ ิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ แ ละคอมพิ ว เตอร์ แ ห่ ง ชาติ


Smart Farm ดังนี้ ส่งผลให้มีความแม่นยำ สามารถเก็บข้อมูล สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ.
ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ควบคุมอุณหภูมิได้ดีขึ้น มีความสะดวก 6. สภาปฏิรูปแห่งชาติ, 2561, วิสัยทัศน์ ยุทธศาสตร์การปฏิรูป
รวดเร็วต่อคนงาน สามารถจัดการกับปัญหาได้อย่างรวดเร็ ว ป ร ะ เ ท ศ ไ ท ยแ ล ะก า ร ปั บเ ป ล ี ่ ย น กล ไก ภ าค ร ั ฐ .
และมีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น กรุงเทพมหานคร : กลุ่มงานพัฒนาทรัพยากรสารสนเทศ
กิตติกรรมประกาศ สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภา.
ทางผู้วิจัยขอขอบพระคุณสวนผัก Salad Station เขตมีน- 7. สำนักงานกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตร, 2561, การปฏิรูป
บุรี กรุงเทพมหานครฯ ที่ได้กรุณาให้ผ ู้วิจัยเข้าไปเก็บข้ อมูล ระบบเกษตรกรรม เพื่อความเป็นธรรมและความมั่นคงทาง
รายละเอียดต่างๆ และขอขอบพระคุณ คุณชนะวัฒน์ เทียมบุญ อาหาร.
ประเสริ ฐ เจ้ า ของกิ จ การที ่ ใ ห้ ค วามอนุ เ คราะห์ ใ นการให้ 8. สำนั ก งานส่ ง เสริ ม วสาหกิ จ ขนาดกลางและขนาดย่ อ ม
สั ม ภาษณ์ การให้ ข ้ อ มู ล และความช่ ว ยเหลื อ ต่า งๆ ที ่ เ ป็ น (สสว.), 2562, Farming 4.0 มิติใหม่การเกษตรไทย.
ประโยชน์ แ ก่โ ครงงานวิ จ ั ย สุ ด ท้ า ยนี ้ท างผู ้ว ิ จ ั ย ขอกราบ 9. สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย
ขอบพระคุณบิดา มารดา ครอบครัวของผู้วิจัย รวมถึงเพื่อน ๆ และนวั ต กรรม, 2563, เทคโนโลยี เ ซนเซอร์ (Sensor
ทุกคน ที่ให้การสนับสนุนการเรียน สนับสนุนเรื่องต่างๆ และ Technology).
ให้กำลังใจในช่วงเวลาที่สุขหรือทุกข์ จนการเรียนผ่านพ้นไปได้ 1 0 . Banda, 2016, Industry 4.0 and Internet of Things
เอกสารอ้างอิง tools help streamline factory automation.
1. กาญจนาพร เตียวเจริญกิจ, และนฤมล อ่อนเมืองดง, 2561, Control Engineering year 2015.
การพั ฒ นาระบบควบคุ ม เกษตรอั จ ฉริ ย ะ โดย ใช้ 11. Bughin, Chui, J., Manyika, M., & James, 2016, An
คอมพิวเตอร์แบบฝังตัว, พระนครศรีอยุธยา : มหาวิทยาลัย executive’s guide to the Internet of Things.
เทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ. McKinsey Quarterly 4, 10.
2. คณุตฆ์ แซ่ม้า, และสุรชัย แซ่จ๋าว ,2561, ระบบรดน้ำแปลง 12. Cho, Y., Cho, K., Shin, C., Park, J., & Lee, E.-S, 2017,
ผักอัตโนมัติ, กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราช An Agricultural Expert Cloud for a Smart Farm Vol.
มงคลกรุงเทพ. 164.
3. จักรกฤษณ์ หมั่นวิช า, 2559, เทคโนโลยีฟาร์มอัจฉริยะ, 13. Gutberlet, & Theresa, 2016, Mechanization and
วารสารหาดใหญ่วิชาการ, 2. the spatial distribution of industries in the
4. นราธิป ทองปาน, และธนาพัฒน์ เที่ยงภักดิ์, 2559, ระบบ German Empire. Economic History Review, Vol.
รดน้ำอัตโนมัติผ ่านเครือข่ายเซ็นเซอร์ไร้ส าย, The 2nd 67, No. 2, pp. 29.
National Conference on Technology and 14. Google Nest, 2021, เซ็นเซอร์ในอุปกรณ์ Google Nest.
Innovation Management. 1 5 . Ristuccia, Tooze, C., Tooze, A., & Adam, 2016,
5. พิ ส ุ ท ธิ ์ ไพบู ล ย์ร ัต น์ , 2560, แนวโน้ ม การใช้เ ทคโนโลยี Machine tools and mass Production in the
อิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ แ ละคอมพิ ว เตอร์ ก ั บ การเกษตร, ศู น ย์ armaments boom: Germany and the United

325
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

States 1929-44. Economic History Review, Vol.


66, No. 4, pp. 22.
16. Trends Magazine, 2016, Industry 4.0 and the U.S.
Manufacturing Renaissance. Trends Magazine, 7.
1 7 . Teerakiat Kerdcharoen (Producer), 2018, Smart
Farm.

326
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

ความขัดแย้งในองค์กรที่ส่งผลต่อความไม่พงึ พอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่ายผลิต
กรณีศึกษา : บริษัทผลิตอาหารในโรงงาน อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ
Organizational conflicts affecting job dissatisfaction in production department.
A case study: Food production company in factory Samut Prakan province

หยาดพิรุณ มินฮายีนุด1* เผด็จ อมรศักดิ์2*


1
นักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการคณะบริหารธุรกิจ
มหาวิทยาลยัเทคโนโลยมีหานครเขตหนองจอก กรุงเทพฯ 10530
2
อาจารย์ประจำ สาขาการจดัการคณะบริหารธุรกิจ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร เขตหนองจอก กรุงเทพฯ 10530
E-mail: Fonzzii85@gmail.com1*, padetamonsak@gmail.com 2*

บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ความขัดแย้ง ของพนักงานภายในองค์กร (2) ความไม่พึง พอใจในการ
ปฏิบัติงานของพนักงาน และ(3) ความขัดแย้งของพนักงานภายในองค์กรทีม่ ีความสัมพันธ์ต่อความไม่พึงพอใจในการปฏิบัติงานของ
พนักงาน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล กลุ่มตัวอย่างคือพนักงานฝ่ายผลิต บริษัทผลิตอาหารแห่งหนึ่ง
ในโรงงาน อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการจำนวน 200 คน วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรโดยใช้สถิติหา
ค่าสหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า 1) ความขัดแย้ง ของพนักงานภายในองค์กรในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อ
พิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับปานกลางทั้ง 5 ด้านได้แก่ ความขัดแย้งระหว่างกลุ่ม ความขัดแย้งในองค์กร ความขัดแย้ง
ระหว่างบุคคล ความขัดแย้ง ภายในตัวบุคคล และความขัดแย้ง ระหว่างบุค คลในกลุ่ม ตามลำดับ 2) ความไม่พึงพอใจในการ
ปฏิบัติงานของพนักงานในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าอยู่ในระดับปานกลางทั้ง 6 ด้านได้แก่
ด้านความสอดคล้องของบุคลิกภาพกับงาน ด้านผลตอบแทนที่ยุติธรรม ด้านการสนับสนุนการทำงาน ด้านลักษณะของบุคคล ด้าน
ความท้าทายและด้านการสนับสนุนจากเพื่อนร่วมงาน ตามลำดับ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างความขัดแย้งภายในองค์กรกับความไม่พึง
พอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานในภาพรวมมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันเป็นบวกในระดับปานกลาง โดยมีค่าสัมประสิทธิ์
สหสัมพันธ์ มีค่าเท่ากับ 0.601

คำสำคัญ : ความขัดแย้งภายในองค์กร ความพึงพอใจในการปฏิบัติงาน

327
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

Abstract
This study has a purpose to study (1) Conflict of employees within the organization, (2) Employee’s
job dissatisfaction in the organization, and (3) Organizational conflicts affecting job dissatisfaction in food
production company in factory Samut Prakan province. Research tools used were questionnaire 200
employees. Statistics of the relationship between variables using Pearson's Correlation statistic. The result
revealed that: 1) The overall employee's conflicts within the organization were median level of all sides
respectively in intergroup conflict, intra-organization conflict, interpersonal conflict, internal conflict and
intragroup conflict, respectively. 2) The overall employee's dissatisfaction from working in the organization
were median level of all sides respectively in personality-job fit, equitable rewards, supportive working
condition, personal characteristics, challenge and supportive colleagues, respectively. 3) The correlation
between the employee's conflicts and the employee's dissatisfaction was positive at moderate, with the
correlation coefficient 0.601.

Keywords : Organizational conflicts, job satisfaction

328
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

1. บทนำ 2. เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
เมื่อกล่าวถึงความขัดแย้ง คนส่วนใหญ่มักมองความขัดแย้ง 2.1 แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับความขัดแย้งในองค์กร
ไปในด้านลบ ทั้งที่ความจริงแล้วความขัดแย้งนั้นถือเป็นเรื่อง ระดับของความขัดแย้ง ในองค์กรตามแนวคิดของ Don
ปกติที่เกิดขึ้นในสังคม เนื่องจากมนุษย์ยังคงต้องรวมตัวกันและ Hellriegel and John W. Slocum Jr. ทั้ง 5 ระดับ [4] คือ
พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันเพื่อความอยู่รอด การที่บุคคลจะมี 2.1.1 ความขัดแย้งภายในตัวบุคคล (Internal Conflict)
ความคิดเห็น ทัศนคติ ความเชื่อ หรือ ผลประโยชน์ที่ไม่ตรงกัน เป็นความขัดแย้งซึ่งเกิดจากความไม่แน่ใจว่าการตัดสินใจ
ย่อมเกิดขึ้นได้เป็นธรรมดาในสังคมใดสังคมหนึ่ง โดยความ ในการทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดลงไปแล้วผลจะเกิดขึ้นในทางใด หาก
ขัดแย้งนั้นจะมีตั้งแต่ความไม่พอใจเพื่อนร่วมงานด้วยกัน ความ บุคคลพบทางเลือกหลายทางแต่ต้องตัดสินใจเลือกเอาทางใด
ไม่พอใจในงานที่ได้ร ับมอบหมาย ไม่พอใจในเงินเดือนหรือ ทางหนึ่ง ซึ่งแต่ละทางเลือกมีความเป็นไปได้ที่จะให้ผลออกมา
ผลตอบแทนต่าง ๆ จนไปถึงความขัดแย้งระดับแผนก ระหว่าง ทั้ง ทางบวกและทางลบพอๆ กัน เช่น การขัดต่อสภาพการ
ผู้บริหาร หรือไปถึงขั้นองค์กรต่อองค์กรทีม่ ีความขัดแย้งกันใน ทำงาน การขาดงาน การไม่ให้ ความร่วมมือในการปฎิบัติงาน
เรื่องทีเ่ กี่ยวกับผลประโยชน์ [1] ความขัดแย้งภายในองค์กรทำ 2.1.2 ความขัดแย้งระหว่างบุคคล (Interpersonal Conflict)
ให้เกิดความยากลำบากในการร่วมมือกัน เกิดความแตกแยก เป็นความขัดแย้งที่เกิดจากการที่ บุคคลแต่ละคนมีความ
ไม่ประสานงานกัน นำไปสู่ปัญหาของความไม่เข้าใจกัน การ แตกต่างกัน เช่น ความเชื่อ ทัศนคติ ค่านิยม บุคลิกภาพ หรือ
แย่งชิงทรัพยากร จนเกิดเป็นการกระทบกระทั้ งกันกลายเป็น ประสบการณ์ ซึ่งล้วนส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมการแสดงออก
ความไม่ ช อบหน้ากัน ความไม่ ล งรอยกัน และเกิดเป็นความ ของแต่ละคน แต่ละบุคคลแสวงหาผลประโยชน์โดยไม่ยอมรับ
ขัดแย้งที่ทำให้การดำเนินงานขององค์กรไร้ซึ่งประสิทธิภ าพ ซึ่งกันและกันทำให้เกิดความขัดแย้งในบทบาทหน้าที่ได้ หรือ
และถ้าหากทุกคนในองค์ก ารไม่ มีก ารแก้ป ัญ หาร่ วมกั น จะ อาจเกิดจากการแข่งขันเพื่อแย่งชิงทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด
นําไปสู่ความตึงเครียดในการทํางานให้พนักงานเกิด ความเบื่อ ทำให้บุคคลที่ไม่ได้รับในสิ่งที่ตนต้องการ เกิดความไม่พอใจจน
หน่าย [2] และส่ง ผลต่อความไม่พึง พอใจในการปฎิบัติงาน เป็นความขัดแย้งระหว่างบุคคลได้
ตามมา ซึ่งบริษัทที่ได้ทำการศึกษาในครั้งนี้ ถือว่าเป็นผู้นำกลุ่ม 2.1.3 ความขัดแย้งระหว่างบุคคลในกลุ่ม (Intragroup Conflict)
อาหารพื้นเมืองของไทย ทีป่ ลูกฝังวัฒนธรรมองค์กรด้วยแนวคิด เมื่อบุคคลหลายคนรวมตัวกันเป็นกลุ่มคน ซึ่งแต่ละกลุ่มจะ
ที่มองว่า การจะเป็นแบรนด์ที่ดีได้ต้องเกิดมาจากบุคลากรที่ดี มีการกำหนดแนวทางและข้อตกลงที่เป็นบรรทัดฐานของกลุ่ม
(Strengthen good people) ซึ่ง จะเป็นผู้ที่ทำให้เกิด สินค้า เพื่อให้สมาชิกในกลุ่มปฏิบัติตาม เมื่อมีสมาชิกบางคนไม่ปฏิบัติ
และผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพตามมา [3] โดยเฉพาะที่โรงงาน อ. ตามหรือมีการกล่าวโทษ หรือพูดในสิ่งที่ไม่ดีไม่เหมาะไม่ควร
บางพลี จ.สมุ ท รปราการ จะมี พ นั ก งานในส่ ว นที ่ ม ี ค วาม ก่อให้เกิดการเข้าใจผิด หรือเกิดความไม่พอใจกัน ก็อาจถูก
รับผิดชอบงานในแผนกที่ครบทั้งโครงสร้างองค์กรตั้ง แต่บนสุด ลงโทษ เมื่อถูกลงโทษก็เกิดความไม่พอใจ เกิดความกดดันใน
ลงมาถึงล่างสุด ดังนั้นผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะทำการศึกษา การทำงานร่วมกัน ทำให้เกิดความขัดแย้ งภายในกลุ่มโดยอาจ
ในเรื่องของความขัดแย้งที่ส่งผลต่อความไม่พึงพอใจในการ ทำให้แตกความสามัคคี และหากความขัดแย้งมีความรุ นแรง
ปฏิบัติง าน เพื่อจะได้เป็นแนวทางในการแก้ไขปัญหาให้กับ มาก อาจมีการลาออกจากสมาชิกกลุ่มได้
ผู้บริหารขององค์กรนำไปใช้ในการปรับปรุงและป้องกั นหรือ 2.1.4 ความขัดแย้งระหว่างกลุ่ม (Intergroup Conflict)
นำไปใช้ในการลดความขัดแย้งที่เกิดขึ้นภายในองค์กรเพื่อให้ เมื่อบุคคลที่มีวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่คล้ายคลึงกันมา
องค์กรมีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้นต่อไป รวมตัวกันเป็นกลุ่มคน ซึ่งแต่ละกลุ่มก็จะมีเป้าหมายและแนว
329
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

ปฏิบัติที่แตกต่างไปจากกลุ่มอื่น ทำให้กลุ่มที่แตกต่างกันเมื่อ พิจารณาและประเมินผลการทำงานในการปรับเลื่อนตำแหน่ง


ต้องมาเกี่ยวข้องปฏิสัมพันธ์กันก็อาจเกิดความขัดแย้งกั นได้ เพื่อความก้าวหน้าในหน้าที่และอาชีพ
เนื่องจากแต่ละกลุ่มต่างต้อ งการปกป้องผลประโยชน์ของกลุ่ม 2.2.4 การสนั บ สนุ น จากเพื ่ อ นร่ ว มงาน (supportive
ตนและก็ไม่ยอมให้กลุ่ มอื่นมาแสวงหาผลประโยชน์จากกลุ่ม colleagues)
ของตนด้วย การได้ ร ั บ การยอมรั บ จาก ผู ้ บ ั ง คั บ บั ญ ชาและเพื ่ อ น
2.1.5 ความขัดแย้งในองค์กร (Intra-organization Conflict) ร่วมงาน ความสามัคคีกันภายในกลุ่มเพื่อนร่วมงานด้วยกัน รัก
เป็นความขัดแย้งทุกประเภทที่กล่าวมาข้างต้น มีสาเหตุมา ใคร่กัน มากกว่าการใส่ร้ายป้ายสีโยนความผิดใส่กัน
จากการที่บุคคลจำนวนมากต้องมาอยู่ร่วมกัน แต่ล ะคนก็มี 2.2.5 ด้ า นความสอดคล้ อ งของบุ ค ลิ ก ภาพกั บ งาน
ความคิดเห็นและเป้าหมายที่แตกต่างกันออกไป จึงทำให้เกิด (personality-job fit)
ความขัดแย้งขึ้นได้ แบ่งออกได้เป็น 3 ลักษณะ คือ 1) ความ เป็นความสามารถและทักษะใน การทำงานของบุคลากร
ขัดแย้งในแนวดิ่ง (Vertical Conflict) ซึ่งเกิดขึ้นกับคน ที่ต่าง ที่มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับงาน การทำงานตรงกับ
ระดับการบัง คับบัญชาระหว่ างบุค คลในองค์ก าร 2) ความ สายงานที่เรียนมา การทำงานในตำแหน่งหน้าที่ที่มีค วามรัก
ขัดแย้งในแนวนอน (Horizontal Conflict) เป็นความขัดแย้งที่ และชอบในงานนั้นๆ ตลอดจนการทำงานตรงตามบุคลิคภาพ
เกิดขึ้นจากบุคคลในระดับเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน และ 3) ของตนเอง เช่น ชอบการพบปะผู้คน เหมาะกับการเป็นผู้แทน
ความขัดแย้งในแนวทแยง (Diagonal Conflict) ซึ่งเป็นความ ขาย หรือพนักงานต้อนรับ เป็นต้น
ขัดแย้งของบุคคลข้ามสายงานและข้ามระดับ 2.2.6 ด้านลักษณะของบุคคล (personal characteristics)
2.2 แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับความพึงพอใจในงาน เป็นการอยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคม การทำงานร่วมกับผู้อื่น
Robbins (2001) ได้ ศ ึ ก ษาวิ เ คราะห์ อ งค์ ป ระกอบของ และการอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างดี เป็นสิ่งสำคัญในการทำงาน
ความพึงพอใจในงาน 6 ด้าน ประกอบด้วย [5] ตลอดจนการสื่อสารด้วยสี หน้า แววตา และปฎิกิริยาต่างๆ
2.2.1 ด้านความท้าทาย (challenge) ส่งผลต่อหน้าที่หรืออาชีพที่ทำอยู่ไปจนถึงการอยู่ร่วมกับคนใน
เป็ น งานที่ ท ำให้ บ ุ ค ลากรสามารถใช้ ท ั ก ษะแล ะ สังคมเป็นอย่างมาก
ความสามารถที ่ ห ลากหลาย มี อ ิ ส ระในการท ำงาน มี
ความสามารถเพียงพอกับงานที่ได้ร ับมอบหมาย และได้ใช้ 3. วัตถุประสงค์การวิจัย
ความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ ในการทำงานอยู่เสมอ 1) เพื่อศึกษาระดับ ความขัดแย้งของพนักงานฝ่ายผลิต
2.2.2 ด้านผลตอบแทนที่ยุติธรรม (equitable rewards) บริ ษ ั ท ผลิ ต อาหารในโรงงาน อำเภอบางพลี จั ง หวั ด
เป็นนโยบายการจ่ายค่าตอบแทนและการประเมินผลการ สมุทรปราการ
ปฏิบัติงานที่มีความยุติธรรม ทั้ง ด้าน เงินเดือน โบนัส และ 2) เพื่อศึกษาระดับความไม่พึงพอใจในการปฏิบัติงานของ
สวัสดิการต่าง ๆ พนักงานฝ่ายผลิต บริษัทผลิตอาหารในโรงงาน อำเภอบางพลี
2.2.3 ด้านการสนับสนุนการทำงาน (supportive working จังหวัดสมุทรปราการ
condition) 3) เพื่อศึกษาความขัดแย้ง ของพนักงานภายในองค์กรที่
เป็นสภาพแวดล้อมของการทำงานที่มีส ิ่ง อำนวยความ ส่งผลต่อความไม่พึงพอใจในการปฏิบัติงานของพนักงานฝ่าย
สะดวก มีสิ่งสนับสนุนและความปลอดภัยในการทำงาน มีการ ผลิ ต บริ ษ ั ท ผลิ ต อาหารในโรงงาน อำเภอบางพลี จั ง หวัด
สมุทรปราการ
330
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

4. กรอบแนวคิดในงานวิจัย ตอนที่ 1 : เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยส่วนบุคคลของ


การวิจัยในครั้งนี้ตัวแปรต้นคือ ระดับของความขัดแย้งใน ผู้ตอบแบบสอบถาม ได้แก่ เพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ที่
องค์ ก รตามแนวคิ ด ของ Don Hellriegel และ John W. ได้รับ ตำแหน่งงาน และอายุงาน
Slocum Jr. (1970) ซึ ่ ง มี ผ ลต่ อตั ว แปรตามคื อ ความไม่ พึง ตอนที่ 2 : เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับระดับความขัดแย้งใน
พอใจในงาน ตามแนวคิดของ Robbins (2001) ตามรูปที่ 1 องค์กรของพนักงาน เป็นลักษณะแบบสอบถามทีเป็นมาตรวัด
ป ร ะ ม า ณ ค ่ า ( Rating scale method : Likert scale
question) ตามแนวคิดของ Don Hellriegel และ John W.
Slocum Jr. 5 ด้ า น ได้ แ ก่ ความขั ด แย้ ง ภายในตั ว บุ ค คล
ระหว่างบุคคล ระหว่างบุคคลในกลุ่ม ระหว่างกลุ่ม และความ
ขัดแย้งในองค์กร
ตอนที่ 3 : เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับ ความไม่พึงพอใจใน
รูปที่ 1 กรอบแนวคิดในงานวิจัย งานของพนักงาน เป็นลักษณะแบบสอบถามที่เป็นมาตรวั ด
ป ร ะ ม า ณ ค ่ า ( Rating scale méthode : Likert scale
5. วิธีการวิจัย question) ตามแนวคิดของ Robbins 6 ด้าน ได้แก่ ด้านความ
5.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง ท้าทาย ผลตอบแทนที่ยุติธรรม การสนับสนุนการทำงาน การ
1) ประชากรที่ใชใ้นการศึกษาวิจยัครั้ งนี้ได้แก่ พนักงาน สนับสนุนจากเพื่อนร่วมงาน ความสอดคล้องของบุคลิกภาพกับ
ฝ่ายผลิต บริษัทผลิตอาหารในโรงงาน อำเภอบางพลี จังหวัด งาน และด้านลักษณะของบุคคล
สมุทรปราการ จำนวน 238 คน (ข้อมูลจากแผนกทรัพยากร 5.3 การเก็บข้อมูล
บุคคลเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2564) กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ผู้วิจัยได้นำแบบสอบถามไปใช้กับกลุ่มตั วอย่ างพนักงาน
ครั้งนี้มีจำนวน 200 คน ซึ่งมากกว่าการคำนวณโดยอิงจากสูตร ฝ่ายผลิต บริษัท ส.ขอนแก่นฟู้ดส์ จำกัด (มหาชน) โรงงานบาง
ของ Krejcie & Morgen ที่ระดับความเชื่อมั่น 95% โดยยอม พลี จังหวัดสมุทรปราการ จำนวน 200 คน
ให้มีค ่าความคลาดเคลื่อนที่ยอมรับได้ 5% คำนวณได้กลุ่ม 5.4 สถิติที่ใช้
ตัวอย่าง จำนวน 149 คน [6] แต่มีเก็บต้วอย่างที่ใช้ในการ 1) สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) ได้แก่การ
วิเคราะห์จริงจำนวน 200 คน วิเคราะห์ข้อมูลปัจจยัส่วนบุคคลของผู้ ตอบแบบสอบถาม โดย
5.2 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ใช้ ค ่ า ความถี ่ (Frequency) และค่ า ร้ อ ยละ (Percentage)
เครื่องมือที่ใชใ้นการเก็บรวบรวบข้อมูลได้แก่แบบสอบถาม วิเคราะห์ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับความขัดแย้งของพนักงาน
ที่ได้ให้ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมจำนวน 3 ในองค์กรและความไม่พึง พอใจในงานของพนักงาน โดยใช้
ท่านตรวจสอบความเที่ยงตรงของเนื้อหา โดยใช้ดัช นีความ ค่ า เฉลี ่ย (Mean) และส่ ว นเบี่ ย งเบนมาตรฐาน (Standard
ส อ ด ค ล ้ อง ( Item-Objective Congruence Index: IOC) deviation)
ระหว่างคำถามกับประเด็นหลักของเนื้อหา โดยแบบสอบถาม 2) สถิ ต ิ ท ี ่ ใ ช้ ท ดสอบสมติ ฐ าน โดยใช้ ส ถิ ต ิ เชิง อนุมาน
แบ่งออกเป็น 3 ตอน คือ (Inferential Statistics) ได้แก่ ส ถิติส ัมประสิทธิ์ของเพียร์สัน
( Pearson’ product moment correlation coefficient)
เพื่อหาค่าสหสัมพันธ์เพียร์สัน (Pearson’s Correlation) [7]
331
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

ในการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างความขัดแย้ง ในองค์กร ปานกลาง ( x = 2.99) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ใน


กับความไม่พึงพอใจในการปฎิบัติงาน และใช้สถิติวิเคราะห์การ ระดับปานกลางทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ ความขัดแย้งระหว่างกลุ่ม
ถดถอยพหุแบบมีขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression ความขัดแย้ง ในองค์กร ความขัดแย้ง ระหว่ างบุค คล ความ
Analysis) สำหรั บ วิ เ คราะห์ ค วามขั ด แย้ ง ในองค์ ก รของ ขัดแย้งภายในตัวบุคคล และความขัดแย้งระหว่างบุคคลในกลุ่ม
พนักงานซึ่งเป็นตัวแปรที่สามารถพยากรณ์การส่งผลต่อความ ตามลำดับ
ไม่พึงพอใจในการปฎิบัติงาน ส่วนที่ 3 ผลการวิเคราะห์ระดับความไม่พึงพอใจในงาน
ของพนักงานฝ่ายผลิต บริษัทผลิตอาหารในโรงงาน อำเภอบาง
6. ผลการวิจัย พลี จังหวัดสมุทรปราการ แสดงในตารางที่ 2
ส่วนที่ 1 ปัจจัยส่วนบุคคลของพนักงานฝ่ายผลิต บริษัท ตารางที่ 2 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของระดั บ
ผลิตอาหารในโรงงาน อำเภอบางพลี จัง หวัดสมุทรปราการ ความคิ ด เห็ น ของพนั ก งานฝ่า ยผลิ ต บริ ษ ั ท ผลิต อาหารใน
พบว่า พนักงานส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง คิดเป็นร้อยละ 63.5 มี โรงงาน อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ เกี่ยวกับความไม่
อายุ 36-45 ปี คิดเป็นร้อยละ 47.5 มีระดับการศึกษาส่วนมาก พึงพอใจในการปฏิบัติงาน
อยู่ในระดับอนุปริญญา คิดเป็นร้อยละ 74.5 มีรายได้เฉลี่ยต่อ
เดื อ นอยู ่ ท ี ่ 15,001-25,000 บาท คิ ด เป็ น ร้ อ ยละ 77.0 มี ความไม่พึงพอใจในการปฏิบตัิงาน x S.D. แปลผล
ตำแหน่งงานส่วนใหญ่เป็นพนักงานผลิตสินค้า คิดเป็นร้อยละ 1. ด้านความท้าทาย 3.05 0.85 ปานกลาง
2. ด้านผลตอบแทนที่ยุติธรรม 3.18 0.81 ปานกลาง
82.0 และมีระยะเวลาปฏิบัติงานส่วนใหญ่อยู่ที่ 4 -6 ปี คิดเป็น
3. ด้านการสนับสนุนการทำงาน 3.14 0.77 ปานกลาง
ร้อยละ 40.5 4. ด้านการสนับสนุนจากเพื่อนร่วมงาน 3.03 0.85 ปานกลาง
ส่วนที่2 ผลการวิเคราะห์ระดับความขัดแย้งในองค์กรของ 5. ด้านความสอดคล้องของบุคลิกภาพกับงาน 3.18 0.85 ปานกลาง
พนักงานฝ่ายผลิต บริษัทผลิตอาหารในโรงงาน อำเภอบางพลี 6. ด้านลักษณะของบุคคล 3.05 0.88 ปานกลาง
จังหวัดสมุทรปราการ แสดงในตารางที่ 1 รวม 3.11 0.84 ปานกลาง
ตารางที่ 1 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานความคิดเห็น
ของพนักงานฝ่ายผลิต บริษัทผลิตอาหารในโรงงาน อำเภอบาง จากตารางที่ 2 พบว่าระดับความคิดเห็นของพนักงานฝ่าย
พลี จังหวัดสมุทรปราการ เกี่ยวกับระดับความขัดแย้งในองค์กร ผลิ ต บริ ษ ั ท ผลิ ต อาหารในโรงงาน อำเภอบางพลี จั ง หวัด
สมุทรปราการ เกี่ยวกับความไม่พึงพอใจในการปฏิบั ติงานใน
ความขัดแย้งภายในองค์กร x S.D. แปลผล ภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง ( x = 3.11) เมื่อพิจารณาเป็น
1. ความขัดแย้งภายในตัวบุคคล 2.91 0.88 ปานกลาง รายด้านพบว่า อยู่ในระดับ ปานกลางทั้ง 6 ด้าน ได้แก่ ด้าน
2. ความขัดแย้งระหว่างบุคคล 2.99 0.85 ปานกลาง ผลตอบแทนที่ยุติธรรม ด้านความสอดคล้องของบุคลิกภาพกับ
3. ความขัดแย้งระหว่างบุคคลในกลุ่ม 2.61 0.82 ปานกลาง
งาน ด้านการสนับสนุนการทำงาน ด้านความท้าทาย ด้าน
4. ความขัดแย้งระหว่างกลุ่ม 3.25 0.82 ปานกลาง
ลักษณะของบุคคล และด้านการสนับสนุนจากเพื่อนร่วมงาน
5. ความขัดแย้งในองค์กร 3.19 0.75 ปานกลาง
รวม 2.99 0.82 ปานกลาง ตามลำดับ
จากตารางที่ 1 พบว่าระดับความคิดเห็นของพนักงาน ส่วนที่ 4 ผลการวิเคราะห์ ค วามสัมพันธ์ร ะหว่างความ
เกี่ยวกับระดับความขัดแย้งในองค์กร ในภาพรวมอยู่ในระดับ ขัดแย้งภายในองค์ กรสามารถที่ส่งผลต่อความไม่พึงพอใจใน

332
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

การปฏิบั ติง านของพนั กงานฝ่ ายผลิต บริษ ั ทผลิ ตอาหารใน ส่วนที่ 5 ผลการวิเคราะห์ความขัดแย้งที่ส่งผลต่อความไม่
โรงงานอำเภอบางพลีจังหวัดสมุทรปราการแสดงในตารางที่ 3 พึงพอใจในการปฎิบัติง านในภาพรวมของพนักงานฝ่า ยผลิ ต
บริ ษ ั ท ผลิ ต อาหารในโรงงาน อำเภอบางพลี จั ง หวั ด
ตารางที่ 3 ความสัมพันธ์ระหว่างความขัดแย้งภายในองค์กรที่ สมุทรปราการ แสดงในตารางที่ 4
ส่ง ผลต่อความไม่พึงพอใจในการปฎิบัติงานในภาพรวมของ ตารางที่ 4 การวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุค ูณ ของความ
พนักงานฝ่ายผลิต บริษัทผลิตอาหารในโรงงาน อำเภอบางพลี ขัดแย้งที่ส่งผลต่อความไม่พึงพอใจในการปฎิบัติงานทั้ง 6 ด้าน
จังหวัดสมุทรปราการ ในภาพรวม

ความขั ดแย้ ง ภายใน Pearson Sig. ระดับ ปั จ จั ย ความขั ด แย้ ง B Beta t Sig.
องค์กร Correlation (r) ความสัมพันธ์ ภายในองค์กร
1. ความขัดแย้งภายใน 0.406 0.050* ต่ำ (Constant) 0.171 0.628 0.000*
ตัวบุคคล 1.ความขั ด แย้ ง ภายใน 0.471 0.374 5.524 0.000*
2. ความขัดแย้ง 0.466 0.038* ต่ำ ตัวบุคคล (X1)
ระหว่างบุคคล 2. ความขัดแย้งระหว่าง -0.357 -0.227 -3.102 0.002*
3. ความขัดแย้งระหว่าง 0.518 0.049* ปานกลาง บุคคล (X2)
บุคคลในกลุ่ม 3. ความขัดแย้งระหว่าง 0.306 0.229 2.538 0.011*
4. ความขัดแย้ง 0.521 0.004* ปานกลาง บุคคลในกลุ่ม (X3)
ระหว่างกลุ่ม 4. ความขัดแย้งระหว่าง 0.316 0.226 3.103 0.012*
5. ความขัดแย้งใน 0.520 0.015* ปานกลาง กลุ่ม (X4)
องค์กร 5.ความขัดแย้งใน 0.410 0.275 3.675 0.000*
รวม 0.601 0.000* ปานกลาง องค์กร (X5)
*มีนัยสำคัญอยู่ที่ระดับ 0.05 R = 0.705, R2 = 0.497, Adjust R2 = 0.484, n = 200

จากตารางที่ 3 พบว่าความขัดแย้งมีความสัมพันธ์เชิงบวก จากตารางที่ 4 พบว่ า ความขั ด แย้ ง ภายในองค์ ก รมี


กับความไม่พึงพอใจในการปฎิบัติงานของพนักงานในภาพรวม ผลกระทบต่อความไม่พึงพอใจในการปฎิบัติงานของพนักงาน
อยู่ในระดับปานกลาง (r = 0.601) เมื่อพิจารณาความขัดแย้ง ในภาพรวม ที่สามารถร่วมกันพยากรณ์ความไม่พึงพอใจในการ
เป็นรายด้านพบว่า มีความสัมพันธ์กับความไม่พึงพอใจในการ ปฎิบัติงานของพนักงานในภาพรวมทั้ง 5 ด้าน คือ ความขัดแย้ง
ปฎิบัติง านในระดับ ปานกลาง 3 ด้าน ได้แก่ ความขั ด แย้ ง ภายในตัวบุคคล, ความขัดแย้งระหว่างบุคคล, ความขัดแย้ง
ระหว่างกลุ่ม (r = 0.521) ความขัดแย้งภายในองค์กร (0.520) ระหว่างบุคคลใน กลุ่ม , ความขัดแย้งระหว่างกลุ่ม และด้าน
และความขัดแย้งระหว่างบุคคลในกลุ่ม (r = 0.518) ตามลำดับ ความขัดแย้ง ในองค์กร ของพนั กงานฝ่ายผลิ ต บริษ ัทผลิ ต
มีความสัมพันธ์กับความไม่พึงพอใจในการปฎิบัติงานในระดับ อาหารในโรงงาน อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ ได้ร้อย
ต่ำ 2 ด้าน ได้แก่ ความขัดแย้งระหว่างบุคคล (r = 0.466) และ ละ 48.4 (Adjust R2= 0.484) อย่ า งมี นั ย สำคัญทางสถิติที่
ความขัดแย้งภายในตัวบุคคล(r = 0.406) ตามลำดับ อย่างมี ระดับ 0.05 ที่เหลืออีกร้อยละ 51.06 เป็นผลเนื่องมาจากตัว
นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 แปรอื่น โดยความขัดแย้งภายในตัวบุคคลส่งผลในด้านบวกมาก

333
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

ที่สุด (β = 0.374) รองลงมาได้แก่ ความขัดแย้งในองค์กร (β ภายในองค์กร ซึ่งเกิดจากเมื่อมีการประชุมพนักงานที่มีความ


= 0.275) ความขัดแย้งระหว่างบุคคลในกลุ่ม (β = 0.229) ขั ด แย้ ง กั น มั ก จะมี ป ากเสี ย งกั น ในห้ อ งประชุ ม ทำให้ ก าร
และความขัดแย้งระหว่างกลุ่ม (β = 0.226) ตามลำดับ ส่วน ประสานงานและการสื ่ อ สารในบริ ษ ั ท เป็ น ไปด้ ว ยความ
ความขัดแย้งระหว่างบุคคลส่งผลในด้านลบ (β = -0.227) ต่อ ยากลำบาก และบริษัทมีความคลุมเครือในเรื่องของขอบเขต
ความไม่พึง พอใจในการปฎิบัติงานของพนักงานในภาพรวม งานและหน้ า ที ่ ค วามรั บ ผิ ด ชอบของผู้ ที่ เ กี ่ ย วข้ อ งกั น ซึ่ ง
โดยปัจจัยความขัดแย้งภายในองค์กรมีผลกระทบต่อความไม่ สอดคล้องกับงานวิจัยของ นักรบ จุลเสวก [8] พบว่าองค์กรที่
พึง พอใจในการปฎิบัติง านของพนักงานในภาพรวมอย่ า งมี ทำการวิจัยมีความขัดแย้งระหว่างกลุ่มและความขัดแย้งภายใน
นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 องค์การโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ซึ่งเกิดจากมีการแบ่ง
สามารถเขียนสมการการถดถอยในรูปแบบดังนี้ พรรคแบ่งพวกระหว่างฝ่ายบริหาร กับฝ่ายปฏิบัติการ และ
สมการคะแนนดิบ คือ งานวิจ ัยของเบญจวรรณ จันทร์โต [9] ที่พบว่า สาเหตุความ
Yรวม = 0.171+0.471X1-3.075X2+0.306X3+0.316X4+0.275X5 ขัดแย้งเกิดจากการส่งข้อมูลข่าวไปในทางที่ผิด เกิดการเข้าใจ
สมการมาตรฐาน คือ ผิดระหว่างการส่งสาร ทำให้การสื่อสารนั้นมีการเปลี่ยนแปลง
Zรวม = 0.374X1 - 0.277X2 + 0.229X3 + 0.226X4 + 0275X5 ไปจากเดิม ไม่มีการกระจายข่าวสารให้ทั่ วถึง รู้เฉพาะบุคคล
โดย หนึ่ ง หรือเฉพาะแผนกหนึ่ ง โดยแต่ล ะหน่วยงานมักจะมีการ
Y คือ ค่าพยากรณ์ความไม่พึงพอใจในการปฎิบัติงานใน ปิดบังหรือบิดเบือนข้อมูลในการทำงานระหว่างกัน
ภาพรวม สำหรับความไม่พึงพอใจในการปฎิบัติงานของพนักงาน
X1 คือ ค่าคะแนนดิบของความขัดแย้งภายในตัวบุคคล โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้านจะพบว่า
X2 คือ ค่าคะแนนดิบของความขัดแย้งระหว่างบุคคล ด้านผลตอบแทนที่ยุติธรรมมีความสำคัญเป็นอันดับ 1 ซึ่งเกิด
X3 คือ ค่าคะแนนดิบของความขัดแย้งระหว่างบุคคลในกลุ่ม จากค่าตอบแทนที่พนักงานได้รับไม่เหมาะสมกับงานที ่ไ ด้รับ
X4 คือ ค่าคะแนนดิบของความขัดแย้งระหว่างกลุ่ม มอบหมาย และมองว่าเกณฑ์ในการพิจารณาผลปฏิบัติงานไม่
X5 คือ ค่าคะแนนดิบของความขัดแย้งในองค์กร ยุติธรรมนัก รองลงมาเป็นด้านความสอดคล้องของบุคลิกภาพ
กับงาน ซึ่งเกิดจากงานที่พนักงานได้รับไม่เหมาะสมกับความรู้
7. สรุปและอภิปรายผล ความสามารถของตนเอง โดยความเห็นว่าจะมี ก้าวหน้ากว่านี้
ถ้าได้ทำงานในตำแหน่ง ตามสายที่เรียนมา ซึ่งสอดคล้องกับ
พนักงานมีร ะดั บความรู้ส ึก ที่ มี ต่ อความขั ด แย้ง ภายใน
งานวิจัยของ รุ่งรวี ทรัพย์เกรียงไกร [10] ที่พบว่าองค์กรที่ทำ
องค์กรโดยรวมแล้วอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาราย
การวิจัยนั้นพนักงานมีระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับลักษณะงาน
ด้านจะพบว่าความขัดแย้งระหว่างกลุ่มมีความสำคัญเป็นอันดับ
และค่าตอบแทน เป็นองค์ประกอบของความพึงพอใจในการ
1 ซึ่ง เกิดจากกระบวนการในการทำงานของแต่ล ะแผนกไม่
ปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อความตั้งใจในการลาออกจากงานอยู่ใ น
เป็นไปตามแผนที่วางไว้ เนื่องจากผู้ปฎิบัติงานขาดการสื่อสารที่
ระดับสูงและปานกลางตามลำดับ และงานวิจัยของ กัญญาภัค
ดีต่อกัน กระบวนการทำงานของแต่ละแผนก ถูกปรับเปลี่ยน
พิพัฒน์เอี่ ยมทอง และวิโ รจน์ เจษฎาลักษณ [11] โดยผล
ทุกครั้งที่พบความผิดพลาดที่ไม่สามารถหาสาเหตุที่แท้จริงได้
การศึกษาพบว่าความไม่ชัดเจนในบทบาทหน้าที่ส่งผลทางบวก
และงานเกิดความเสียหายจากกระบวนการทำงานที่ขาดการ
ต่อความขัดแย้ง ในบทบาทหน้าที่และความพึง พอใจในการ
สื่อสารของพนักงานระหว่างแผนก รองลงมาเป็นความขัดแย้ง
ทำงาน
334
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

ทุ ก องค์ ป ระกอบของความขั ด แย้ ง ในงานวิ จ ั ย นี้ มี บริ ษ ั ท ส.ขอนแก่ น ฟ้ ู ด ส์ จำกั ด (มหาชน) โรงงานบางพลี
ความสัมพันธ์และส่งผลต่อความไม่พึงพอใจในการปฎิบัติงาน จังหวัดสมุทรปราการ ทุกท่านที่ได้เสียสละเวลาอันมีค่าที่กรุณา
ในภาพรวมทั้ง สิ้น โดยความขัดแย้ง ระหว่างกลุ่ม และความ ตอบแบบสอบถาม ผู้วิจัยจึงขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูง
ขัดแย้ง ในองค์กรมีความสัมพันธ์ ต่อความไม่พึงพอใจในการ ไว้ ณ โอกาสนี้ สุดท้ายผู้วิจัยขอกราบขอบพระคุณ บิดา มารดา
ปฎิบัติงานในภาพรวมเป็นหลัก ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของ และครอบครัวที่ได้ให้การสนับสนุนเสมอมาจนทำให้การศึกษา
ชั ช ากร คั ช มาตย์ [12] ที ่ พ บว่ า ตวามขั ด แย้ ง เกิ ด จากการ ครั้งนี้สำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี
ติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลในกลุ่มไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร
มักมีการติดต่อสื่อสารไม่ตรงกัน การสื่อสารตรงกันข้ามกับ เอกสารอ้างอิง
ความคิดและข้อมูลเกี่ ยวกับงานที่ได้รับถูกบิดเบือนจากความ 1. นักรบ จุลเสวก, 2562, ความขัดแย้งภายในองค์การทาง
เป็นจริงทำให้เกิดความเข้าใจผิด ก่อให้เกิดความรู้สึกไม่พอใจ พิเศษ A ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.), การ
ในการปฏิบัติงาน และยังสอดคล้องกับการศึกษาของ Awan ค้นคว้าอิสระปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, คณะสังคม
and Saeed [13] พบว่าความขัดแย้งด้านการสื่อสารในการ ศาสตร, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ทำงานที่ขาดประสิทธิภ าพถือว่าเป็นสาเหตุหลักของความ 2. รดา จิ ร เดชมีช ัย , 2555, ปั จ จั ย ที ่ม ี ผ ลต่ อการเกิ ด ความ
ขัดแย้งในองค์กรและส่งผลเชิงลบต่อประสิทธิผลที่ไม่พึงพอใจ ขัดแย้งในการทำงานของบุคลากรองค์ธุรกิจ กรณีศึกษา
ในการทำงานของพนักงานในองค์กร และหากเมื่อพิจารณา บริษัทประกันชีวิตกลุ่มบริษัท เอไอเอ จำกัด , การค้นคว้า
ความขัดแย้งในองค์กรที่มีอิทธิพลต่อความไม่พึงพอใจในการ อิสระบริหารธุรกิจมหาบัฒฑิต, มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
ปฎิบัติง านในภาพรวม พบว่าความความขั ด แย้ง ภายในตั ว 3. ส.ขอนแก่น, วัฒนธรรมองค์กร. สืบค้นเมื่อ 3 มกราคม
บุคคล เช่น การรู้สึกว่างานที่ได้รับมอบหมายนั้นหนักเกิ นไป 2564.จาก
และไม่อยากไปทำงานนั้นจะส่งผลต่อความไม่พึงพอใจในการ https://www.sorkon.co.th/th/Jobs/#job_Organisational
ปฎิบัติงานในภาพรวมเป็นหลัก ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาของ 4. Newstron J. and David K, 1997. Organizational
นักรบ จุลเสวก [8] ที่พบว่าปัจจัยด้านค่านิยมที่แตกต่างกันของ Behavior: Human Behavior at work, 10th ed., New
พนักงาน ได้แก่ วิธีการทํางานที่แตกต่างกันและบุคลิกภาพที่ York, McGraw-Hill.
แตกต่างกันเป็นปัจจัยที่ทําให้เกิดความขัดแย้งภายในองค์การ 5 . Robbins, S. P, 2001, Organizational Behavior (9th
และความพึงพอใจในการทำงาน ed.)”, Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall.
6. Krejcie, R. V. & Morgan, D. W., 1970, Determining
8. กิตติกรรมประกาศ Sample Size for Research Activities. Educational
การศึกษาค้นคว้าวิจ ัยฉบั บนี้ สำเร็จลุล่วงไปได้ ด้วยดีอัน and Psychological Measurement, 30(3), pp. 607-
เนื่องมาจากความอนุ เคราะห์จ ากผู้ ทรงคุณ วุ ฒิ อาจารย์ ที่ 610.
ปรึ ก ษา รวมทั้ ง ท่ า นคณาจารย์ คณะบริ ห ารธุ ร กิ จ มหา 7. Hinkle, D.E, William, W. and Stephen G. J. ,1998,
วิทยาลยัเทคโนโลยีมหานคร และผู้บังคับบัญชา ที่ ให้ความ Applied Statistics for the Behavior Sciences, 4th
ร่วมมือและความช่วยเหลือเป็นอย่ างดีในการให้ค ำแนะนำ ed., New York: Houghton Mifflin.
ความช่วยเหลือและข้ อแนะนำต่างๆ ตลอดจนแก้ไขปรับปรุง 8. นักรบ จุล เสวก, 2562, ความขัดแย้ง ภายในองค์การทาง
การศึกษาวิจัยฉบับนีจ้ นเสร็จสมบูรณ์ รวมทัง้ พนักงานฝ่ายผลิต พิเศษ A ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.), การ
335
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

ค้นคว้าอิสระปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต , คณะสังคม
ศาสตร, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
9. เบญจวรรณ จันทร์โต, 2559, ศึกษาสาเหตุความขัดแย้งใน
การทำงานของ พนักงานในโครงการก่อสร้าง กรณีศึกษา
บริ ษ ั ท เอกชนที ่ ป ระกอบธุ ร กิ จ ก่ อ สร้ า ง, วิ ท ยานิ พ นธ์
บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา.
10. รุ่งรวี ทรัพย์เกรียงไกร, 2564, ความขัดแย้งในการทำงาน
และความพึง พอใจในงานที่ส ่ง ผลต่ อความตั้ง ใจในการ
ลาออกจากงานของบุ ค ลากรในโรงไฟฟ้ า แห่ ง หนึ ่ ง ใน
จั ง หวั ด ราชบุ รี , วิ ท ยานิ พ นธ์ บ ริห ารธุ ร กิจ มหาบั ณฑิต ,
มหาวิทยาลัยศิลปากร.
11. กัญญาภัค พิพัฒน์เอี่ยมทอง, และวิโรจน์ เจษฎาลักษณ์ ,
2561, “ปัจ จัยที่ส ่ง ผลต่อความตั้ง ใจในการ ลาออกของ
พนักงานธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ในจังหวัด
นครปฐม”, วารสารมนุษย์ สังคมปริทัศน์, ปีที่ 20, ฉบับที่
2 (กรกฎาคม-ธันวาคม), หน้า 145-147.
12. ชัชากร คัชมาตย์ม, 2564, “ความขัดแย้งระหว่างบุค คล
และความขัดแย้งภายในองค์การที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการ
ปฏิบัติงานของสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ในเขตตำบลท่า
พล จั ง หวั ด เพชรบู ร ณ์ ” , วารสารวิ ช าการและวิ จั ย
มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ , ปีที่ 11 ฉบับที่ 1
มกราคม – เมษายน, หน้า 155-167.
13. Awan, A. G. & Saeed, S., 2015, “Conflict management
and organizational performance: A case study of Askari
Bank Ltd.”, Research Journal of Finance Accounting,
6(11), pp 88-102.

336
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

พฤติกรรมการสื่อสารที่มีผลต่อกระบวนการสื่อสารภายในองค์กร
กรณีศึกษา บริษัทผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและสินค้าอุตสาหกรรม
Organizational communication behavior affecting to communication process
A Case Study: manufactures electrical appliance and industrial products

ณัฐณิชา ปลื้มกมล1* เผด็จ อมรศักดิ์2*


1
นักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาการจัดการคณะบริหารธุรกิจ
มหาวิทยาลยัเทคโนโลยมีหานครเขตหนองจอก กรุงเทพฯ 10530
2
อาจารย์ประจำ สาขาการจดัการคณะบริหารธุรกิจ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร เขตหนองจอก กรุงเทพฯ 10530
E-mail: nc02251@gmail.com1*, padetamonsak@gmail.com 2*

บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวตั ถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) พฤติกรรมการสื่อสารภายในองค์กรของพนักงานบริษัทผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้า
และสินค้าอุตสาหกรรม (2) กระบวนการสื่อสารภายในองค์กรของพนักงานบริษัทผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและสินค้าอุตสาหกรรม และ
(3) พฤติกรรมการสื่อสารที่มีผลต่อกระบวนการสื่อสารในองค์กรของพนักงานบริษัทผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและสินค้าอุตสาหกรรม โดย
ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล กลุ่มตัวอย่างคือ บริษัทผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและสินค้าอุตสาหกรรมแห่งหนึ่ง
จำนวน 200 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติหาความสัมพั นธ์ระหว่างตัวแปรด้วยวิธีวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณแบบขั้ นตอน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความรู้สึกของพนักงานที่มีต่อพฤติกรรมการสื่อสารภายในองค์กร เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ใน
ระดับมาก 2 ด้าน ได้แก่ การสื่อสารแบบบนลงล่าง และ การสื่อสารแบบล่างขึ้นบนตามลำดับ และระดับปานกลาง 2 ด้าน ได้แก่
การสื่อสารแบบแนวนอน และการสื่อสารแบบแนวทแยง ตามลำดับ 2) ระดับความคิดเห็นของพนักงานเกี่ยวกับกระบวนการ
สื่อสารภายในองค์กร พบว่า ด้านช่องทางการสื่อสารอยู่ในระดับมาก และระดับปานกลาง 3 ด้านได้แก่ ด้านผู้ส่งสาร ด้านผู้รับสาร
และด้านเนื้อหาข่าวสาร ตามลำดับ 3) พฤติกรรมการสื่อสารภายในองค์กรแบบแนวทแยง และแบบบนลงล่างมีผลต่อกระบวนการ
สื่อสารภายในองค์กรโดยรวมตามลำดับ (β = 0.434 และ β = 0.216) โดยพฤติกรรมการสื่อสารภายในองค์กรแบบล่างขึ้นบนและ
แบบแนวนอน ไม่มีผ ลต่อ กระบวนการสื่อสารภายในองค์กรโดยรวมของพนั กงาน ข้อเสนอแนะจากผลการศึกษาในครั้ งนี้คือ
ผู้บริหารควรกำหนดนโยบายที่ให้การสนับสนุนกิจกรรมที่สร้างพฤติกรรมการสื่อสารภายในของพนักงานแบบแนวทแยง และแบบ
บนลงล่าง เพราะจะเป็นการพัฒนากระบวนการสื่อสารภายในองค์กรให้มีประสิทธิภาพต่อการปฎิบัติงานมากยิ่งขึ้น

คำสำคัญ : พฤติกรรมการสื่อสารภายในองค์กร, กระบวนการสื่อสารภายในองค์กร


337
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

Abstract
This study has a purpose to study (1) Communication behavior level in organization of employees (2)
Communication processes level in organization of employees (3) Communication behaviors affecting the
communication process in the organization of employees. Research tools used were questionnaire 200
employees with statistics of the relationship between variables using stepwise multiple regression analysis.
The result revealed that 1) The perceive of communication behavior were high level in downward
communication and upward communication, median level in lateral communication and diagonal
communication. 2) The perceive of communication processes was high level in channels of communication
and sender, receiver and message content were median level of all sides respectively. 3) Diagonal and
downward communication affect to overall communication process in organization positive side respectively
(β = 0.434 and β = 0.216) but upward and lateral communication did not affect to overall communication
process in organization. Recommendations from the results of this study are management should establish
policies that support activities that diagonal and downward communication Because it will develop the
communication process within the organization to be more effective for the operation.

Keywords : Communication behavior, communication process

338
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

1. บทนำ ได้เปรียบทางการแข่งขันเหนือคู่แข่งได้นั้น สิ่งสำคัญคือการที่


การสื่อสารภายในองค์กรที่ดีที่จะช่วยสร้างความเข้าใจใน องค์กรสามารถรู้เท่าทันปัญหาด้านการสื่อสารภายในองค์กรที่
นโยบายของผู้บริหาร และเป็นสิ่งเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่าง เกิดขึ้น โดยการนำผลการวิจ ัยที่ได้มาเป็นแนวทางปรั บ และ
บุคลากรในองค์กร เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อ พัฒนาเพื่อให้ได้มาซึ่งการสื่อสารที่ดีมีประสิทธิภาพ และช่วย
องค์กรในทางบวก เพราะนโยบายการบริหารงานการจัดการ สร้างความเข้าใจที่ตรงกันกับเป้าหมายและทิศทางขององค์กร
ขององค์กรเป็นส่วนสำคัญ และเพื่อให้การดำเนินงานบรรลุ เพื่อการแข่งขันในโลกธุร กิจและสร้างภาพลักษณ์ที่ดีในการ
เป้าหมายที่วางไว้ การสื่อสารภายในองค์กรจึงเป็นสิ่งจำเป็นยิ่ง ให้บริการแก่ลูกค้ารวมถึงบุคคลภายนอกต่อไป
สำหรับกิจ กรรมและการดำเนิ นงานต่าง ๆ ที่จ ะเกิดขึ ้ น ใน
องค์กร ทั้งนี้หากการสื่อสารภายในองค์กรดีชัดเจน ก็จะส่งผล 2. เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ให้ ก ารปฏิ บ ั ต ิ ง านตามนโยบายเป็ น ไปในทิ ศ ทางเดี ย วกั น 2.1 ทฤษฎีพฤติกรรมการสื่อสารในองคก์ร
บุค ลากรในองค์กรเกิดความพึงพอใจ และเข้าใจนโยบายได้ ประเภทของพฤติกรรมการสื่อสารแบ่งได้เป็น 4 ประเภท
อย่างชัดเจน และส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงาน ดังนั้น ตามแนวคิดของ Norman B Sigband [3]
เพื ่ อ ให้ อ งค์ ก รบรรลุ เ ป้ า หมาย จำเป็ น ต้ อ งทำให้ ก าร 2.1.1 การติดต่อสื่อสารจากผู้บริหารไปยังผู้ใต้บังคับบัญชา
ติดต่อสื่อสารระหว่างบุคลากรในฝ่ายต่าง ๆ ทั้งภายใน และ (Downward communication)
ภายนอกองค์กรเป็นไปอย่างคล่องตัว เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ เป็ น การติ ด ต่ อ สื่ อ สารจากผู ้ บ ริ ห ารระดั บ สู ง ไปยั ง
ตรงกั น เกิ ด ความร่ ว มมื อ และการประสานงานอย่ างมี ผู้ใต้บังคับบัญชาระดับตามสายการบังคับบัญชา ลักษณะของ
ประสิทธิภาพ [1] โดยในองค์การภาคเอกชนนั้น บริษัท ที่ได้ การติดต่อสื่อสารจะเป็นการออกคำสั่ง การให้นโยบาย การให้
ทำการศึกษาในครั้งนี้ ถือว่าเป็นผู้นำในธุรกิจ จัดจำหน่ายและ คำแนะนำในเรื ่ อ งต่ า ง ๆ รวมทั ้ ง ที ่ อ อกจดหมายและป้าย
ติดตั้งผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมและพาณิชยกรรม ซึ่งเกิดจากการ ประกาศเพื ่ อ แจ้ ง ให้ บ ุ ค ลากรในองค์ ก ารได้ ร ั บ ทราบ การ
ร่วมทุนระหว่างกลุ่มนักธุรกิจไทยกับบริษัท จากประเทศญี่ปุ่น ติดต่อสื่อสารจากบนลงล่างนี้จะเป็นทั้งแบบทางเดียว (One-
โดยมี ผ ลิ ต ภั ณ ฑ์ ห ลั ก คื อ กลุ ่ ม ผลิ ต ภั ณ ฑ์ เ ครื ่ อ งเย็ น และ way Communication)
เครื่องครัวที่ใช้งานในซุปเปอร์มาร์เก็ต ร้านสะดวกซื้อ และ 2.1.2 การติดต่อสื่อสารจากผู้ใต้บังคับบัญชาไปยังผู้บริหาร
ภัตตาคาร โรงแรม เช่น ตู้แ ช่แบบต่าง ๆ ตู้โชว์เคส ห้องเย็น (Upward communication)
เครื ่ อ งทำน้ ำ แข็ ง ฯลฯ บริ ก ารให้ กั บ ผู ้ ประกอบกิจ การใน การติ ด ต่ อ สื ่ อ สารจากข้ า งล่ า งขึ ้ น ไปข้ า งบนเป็ น การ
ประเทศไทย โดยในปี 2555 ได้มีการร่วมทุนกับ กลุ่มพานาโซ ติดต่อสื่อสารจากผู้ใต้บังคับบัญชาเสนอ หรือรายงานข่าวสาร
นิ ค ส่ ง ผลทำให้ ธ ุร กิ จ ของบริษ ัท ฯ แข็ ง แกร่ ง ขึ ้ น บริ ษ ัทฯ ข้อมูล ออกความคิดเห็นต่าง ๆ ไปยังผู้บังคับบัญชา ผู้บริหาร
สามารถขยายธุ ร กิ จ ไปยั ง สายผลิ ต ภั ณ ฑ์ อ ื ่ น ๆ เช่ น อาจจะใช้ข้อมูลหรือความคิดเห็นต่าง ๆ จากผู้ใต้บังคับบัญชา
เครื่องปรับอากาศ แผงโซล่าเซลล์ และกล้องวงจรปิด อีกทั้ง เพื่อนำกลับไปปรับปรุงการปฏิบัติงานขององค์การต่อไป
งานบริการหลัง การขายก็สามารถทำได้อย่างครบวงจรมาก 2.1.3 การติดต่อสื่อสารในระดับเดียวกัน
ยิ่งขึ้น [2] ผู้วิจัยเห็นว่าการที่องค์กรจะสามารถรักษาภาวะการ (Lateral Communication)
เป็นผู้นำในธุรกิจ พนักงานต้องมีความเข้าใจ ร่วมมือร่ วมใจ เป็นการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคล ระหว่างฝ่าย ระหว่าง
และเกิดความสามัค คีในองค์กร เพื่อให้ ได้มาซึ่ง ผลงานตาม แผนกต่าง ๆ ในระดับเดีย วกั น การติดต่อสื่อสารแบบนี ้ มี
เป้ า หมาย การปฏิ บ ั ต ิ ง านที ่ ม ี ป ระสิ ท ธิ ภ าพและสร้ า งข้ อ ความสำคัญต่อการประสานงานของฝ่ายต่าง ๆ ที่อยู่ในแผนก
339
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

เดียวกัน หรือต่างแผนกภายในองค์การ เช่น การติดต่อระหว่าง หมายถึง เรื่องราวสิ่งต่างๆ ที่ผู้ส่งต้องการจะถ่ายทอดหรือ


ผู้จัดการแต่ละแผนก หรือการติดต่อสื่อสารของพนักงาน ใน ส่ง ไปยังผู้รับสาร ซึ่ง เนื้อหาของสารนั้นอาจแบ่ง ออกได้เป็น
ระดับเดียวกัน หลายประเภทหลายลักษณะตามเนื้อหาของสารในรูปแบบ
2.1.4 การติดต่อสื่อสารในแนวทแยง ต่างๆ เช่น เนื้อหาโดยทั่วไป และเนื้อหาโดยเฉพาะเนื้อหาเชิง
(Diagonal Communication) วิชาการต่างๆ และเนื้อหาที่ไม่ใช่เนื้อหาเชิงวิชาการ หรืออาจ
เป็นการติดต่อสื่อสารเพื่อให้ข้อมูลข่าวสารระหว่างบุคคล เป็นเนื้อหาประเภทบอกเล่ากับเนื้อหาประเภทความคิ ดเห็ น
ระหว่างฝ่าย ระหว่างแผนก หรือ ต่างแผนก ต่างฝ่าย ทั้งใน เนื้อหาประเภทข่าว เนื้อหาประเภทบันเทิง รวมทั้ง เนื้อหา
ระดับเดียวกันหรื อต่างระดับ การติดต่อสื่อสารในลักษณะนี้ เกี่ยวกับการชักจูงใจ เป็นต้น
เป็นการให้ข่าวสารข้อมูลอย่างรวดเร็ว ไม่มีระเบียบแบบแผน 2.2.3 ช่องทางการสื่อสารหรือสื่อ (Channel or Media)
ไม่มีพิธีรีตอง ซึ่งจะเกิดขึ้นในทุกองค์การ การให้ข่าวสาร แบบ หมายถึง พาหนะที่นำหรือพาข่าวสารจากผู้ส่งสารไปยัง
นี้บางครั้งอาจเป็นเพียงเรื่องของข่าวลือหรือข่าวที่ถูกบิดเบือน ผู้รับสาร ดังนั้นช่องทางการสื่อสารจึง อาจหมายถึง ประสาท
ไม่เป็นจริง ก็ได้การติด ต่อสื่อสาร แบบไม่เป็ นทางการมาก สัมผัสทั้ง 5 ของมนุษย์ที่รับรู้ความหมายจากสิ่ง ต่างๆ ได้แก่
ถึงแม้ว่าจะไม่มีแหล่งที่มาของข่าวสารข้อมูลอย่างแท้จริงก็ตาม การมองเห็น การได้ยิน การดมกลิ่น การสัมผัส และการลิ้ มรส
2.2 ทฤษฎีกระบวนการสื่อสารในองค์กร เป็นต้น หรือนอกจากนี้ช ่องทางการสื่อสารหรือสื่อยัง อาจ
เดวิด เบอร์โล (David K. Berlo, 1960) ได้พัฒนาทฤษฎี หมายถึงคลื่นแสงคลื่นเสียงและอากาศที่อยู่รอบๆ ตัวคนเรา
กระบวนการสื่อสารในองค์กร หรือ SMCR ประกอบด้วย [4] ด้วย
2.2.1 ผู้ส่งสาร (Sender) 2.2.4 ผู้รับสาร (Receiver)
ผู้ส่งสารเป็นองค์ประกอบที่ส ำคัญในกระบวนการสื่อสาร มีค ำใช้เรียกผู้ร ับสารหลายคำ เช่น ผู้ร ับ (Receiver) ผู้
มีนักวิชาการได้ให้ค่านิยามของผู้ส่งสารไว้ว่า ผู้ส่งสาร หมายถึง ถอดรหัส (Decoder) ผู้ฟัง (Listener) ผู้ฟังผู้ชม (Audience)
บุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่มีความคิดมีความต้องการมีค วามตั้ง ใจ การสื่อสารจะมีค วามหมายอย่ างไรจะประสบความส ำเร็ จ
ที่จะส่งข้อมูลข่าวสาร อารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด ความคิดเห็น หรือไม่ขึ้นอยู่กับผู้รับสารว่าจะเลือกรับสาร หรือเลือกที่จะ
ทัศนคติ ความเชื่อ และอื่นๆไปยังผู้ร ับสารเพื่อก่อให้เกิ ดผล ตีความ และเข้าใจต่อข่าวสารที่ตนเองได้รับนั้นอย่างไร ดังนั้น
อย่ า งใดอย่ า งหนึ ่ ง ต่ อ ผู ้ ร ั บ สาร ดั ง นั ้ น ผู ้ ส ่ ง สารจึ ง เป็ น แม้การสื่อสารจะเริ่มต้นจากผู้ส่งสารแต่บุคคลที่จะแสดงว่าการ
องค์ประกอบที่มีความสัมพันธ์ต่อองค์ประกอบอื่นๆ ทั้งในแง่ สื่อสารประสบความส าเร็จหรือไม่นั้นก็คือผู้รับสาร เช่น ถ้า
ของการเป็นผู้เลือกข้อมูลข่าวสารที่จะถ่ายทอดไป การเลือก ผู้รับสารต้องการรับสารตามที่ผู้ส่งสารส่งในขณะนั้น หรือผู้รับ
วิธีการ และช่องทางที่จะทำให้สารไปถึงผู้รับสาร รวมทั้งการ สารมีความรู้ในการที่จะทำความเข้าใจต่อสาร ก็จะทำให้การ
เลือกและพยายามกำหนดตัวผู้ที่จะเป็นผู้รับข้อมูลข่าวสาร โดย สื่อสารสำเร็จโดยง่ายในทางตรงกันข้ามหากผู้รับสารขาดความ
มีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระดับใด สนใจ ปิดกั้นการรับข่าวสาร หรือผู้รับไม่สามารถทำความเข้าใจ
ระดับหนึ่ง หรือในด้านใดด้านหนึ่งกับบุคคลที่เป็นผู้รับสาร เช่น ในสารที่ผู้ส่งส่งให้ได้ก็จะทำให้การสื่อสารนั้นล้มเหลว ดังนั้น
ความต้องการในการเปลี่ยนแปลงการรับรู้หรือความรู้ การ ในการสื่อสารทุกครั้งสิ่งที่ผู้ส ่งจะต้องพิจารณาและคำนึงถึง
เปลี่ยนแปลงความเชื่อ ทัศนคติ และพฤติกรรมของบุคคล ของ อย่างมากคือผู้รับสาร
กลุ่มคน หรือของสังคม เป็นต้น ทฤษฏี S M C R นี ้ ม ี ป ั จ จั ย ที ่ ม ี ค วามส ำคั ญ ต่ อ ขี ด
2.2.2 เนื้อหาของสาร (Message Content) ความสามารถของผู้ส่งและรับที่จะทำการสื่อสารความหมาย
340
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

นั้นได้ผ ลสำเร็จ หรื อไม่ เพี ยงใด ได้แก่ทักษะในการสื่ อ สาร 4. กรอบแนวคิดในงานวิจัย


(communication skills) หมายถึง ทักษะซึ่งทั้งผู้ส่งและผู้รับ การวิจั ยในครั้ ง นี้ ตัวแปรต้ นคื อ พฤติกรรมการสื่อ สาร
ควรจะมีความชำนาญในการส่งและการรับการเพื่อให้เกิดความ ภายในองค์กร ตามแนวคิดของ Norman B. Sigband ซึ่งมีผล
เข้าใจกันได้อย่างถูกต้อง เช่น ผู้ส่งต้องมีความสามารถในการ ต่อตัวแปรตามคือกระบวนการสื่อสารในองค์กร โดยอ้างอิงจาก
เข้ารหัสสาร มีการพูดโดยการใช้ภาษาพูดที่ถูกต้อ ง ใช้คำพูดที่ แบบจำลอง SMCR ของ David K. Berlo ตามรูปที่ 2
ชัดเจนฟังง่าย มีการแสดงสีหน้าหรือท่าทางที่เข้ากับการพู ด
ท่วงทำนองลีลาในการพูดเป็นจังหวะ น่าฟัง หรือการเขียนด้วย
ถ้อยคำสำนวนที่ถูกต้องสละสลวยน่าอ่าน เหล่านี้เป็นต้น ส่วน
ผู ้ ร ั บ ต้ อ งมี ค วามสามารถในการถอดรหั ส และมี ท ั ก ษะที่
เหมือนกันกับผู้ส่ง
โดยมีทักษะการฟังที่ดี ฟังภาษาที่ผู้ส่งพูดมารู้เรื่อง หรือ
สามารถอ่านข้อความที่ส่งมานั้นได้ เป็นต้น รูปที่ 2 กรอบแนวคิดในงานวิจัย

5. วิธีการวิจัย
5.1 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
1) ประชากรที่ใชใ้นการศึกษาวิจยัครั้ งนี้ได้แก่ พนักงาน
บริษ ัทผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและสินค้าอุตสาหกรรมแห่งหนึ่ง
ตำแหน่ง งานตั้งแต่ร ะดับ ผู้จ ัดการลงมาถึงระดับปฏิบัติการ
จำนวน 200 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 1 ธันวาคม 2563)
2) กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้มีจำนวน 132 คน โดย
อิงจากสูตรของ Krejcie & Morgen ที่ระดับความเชื่อมั่น 95%
โดยยอมให้มีค่าความคลาดเคลื่อนที่ยอมรับได้ 5% [6]
รูปที่ 1 แบบจำลอง SMCR ของ David K. Berlo.1960 [5]
5.2 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใชใ้นการเก็บรวบรวบขอ้ มูลไดแ้ก่แบบสอบถาม
3. วัตถุประสงค์การวิจัย ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ตอน คือ
1) เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมการสื่อสารภายในองค์กร ตอนที่ 1 : เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยส่วนบุคคลของ
ของพนักงานบริษัทผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและสินค้าอุตสาหกรรม ผู้ ต อบแบบสอบถาม ได้ แ ก่ เพศ อายุ ระดั บ การศึ ก ษา
2) เพื่อศึกษาระดับกระบวนการสื่อสารภายในองค์กร ของ ระยะเวลาทำงาน ตำแหน่งงาน
พนักงานบริษัทผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและสินค้าอุตสาหกรรม ตอนที่ 2 : เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับพฤติกรรมการสื่อสาร
3) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการสื่อสารภายในองค์กรที่มีผ ล ภายในองค์กร ของพนักงานบริษ ัทผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและ
ต่อกระบวนการสื ่อสารในองค์ กรของพนักงานบริษ ั ท ผลิ ต สินค้าอุตสาหกรรม เป็นลักษณะแบบสอบถามทีเป็นมาตรวัด
เครื่องใช้ไฟฟ้าและสินค้าอุตสาหกรรม ป ร ะ ม า ณ ค ่ า ( Rating scale method: Likert scale
question) ตามแนวคิ ด ของ Norman B Sigband 4 ด้ า น
341
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

ได้แก่ การสื่อสารแบบบนลงล่าง การสื่อสารแบบล่างขึ้นบน ส่วนที่2 ผลการวิเคราะห์ ร ะดับ พฤติ กรรมการสื่ อ สาร


การสื่อสารแบบแนวนอน และการสื่อสารแบบแนวทแยง ภายในองค์กร ของพนักงานบริษ ัทผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและ
ตอนที่ 3 : เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับกระบวนการสื่อสาร สินค้าอุตสาหกรรม แสดงในตารางที่ 1
ในองค์กรของพนักงานบริษัทผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและสินค้า
อุ ต สาหกรรม เป็ น ลั ก ษณะแบบสอบถามที ่ เ ป็ น มาตรวั ด ตารางที่ 1 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของระดั บ
ประมาณค่า(Rating scale method: Likert scale question) ความคิดเห็นของพนักงานบริษัทผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและสินค้า
ตามแบบจำลอง SMCR ของ David K. Berlo 4 ด้าน ได้แก่ ผู้ อุตสาหกรรม เกี่ยวกับพฤติกรรมการสื่อสารภายในองค์กร
ส่งสาร เนื้อหาของสาร ช่องทางการสื่อสาร และผู้รับสาร
5.3 การเก็บข้อมูล พฤติกรรมการสื่อสารภายในองค์กร x S.D. แปลผล
ผู้วิจัยได้นำแบบสอบถามไปใช้กับกลุ่มตั วอย่ างพนั กงาน 1. การสื่อสารแบบบนลงล่าง 3.58 0.87 มาก
บริษ ัทผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและสินค้าอุตสาหกรรมแห่งหนึ่ง 2. การสื่อสารแบบล่างขึ้นบน 3.45 0.89 มาก
3. การสื่อสารแบบแนวนอน 3.39 0.88 ปานกลาง
ตำแหน่ง งานตั้งแต่ร ะดับ ผู้จ ัดการลงมาถึงระดับปฏิบัติการ
4. การสื่อสารแบบแนวทแยง 3.09 0.87 ปานกลาง
จำนวน 132 คน รวม 3.37 0.87 ปานกลาง
5.4 สถิติที่ใช้
1) สถิติเชิงพรรณนา (Descriptive Statistics) ได้แก่การ จากตารางที่ 1 พบว่าระดับความคิดเห็นของพนักงาน
วิเคราะห์ข้อมูลปัจจยัส่วนบุคคลของผู้ ตอบแบบสอบถาม โดย เกี่ยวกับพฤติกรรมการสื่อสารภายในองค์กรในภาพรวมอยู่ใน
ใช้ ค ่ า ความถี ่ (Frequency) และค่ า ร้ อ ยละ (Percentage) ระดับปานกลาง ( x = 3.37) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า
วิเคราะห์ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับพฤติกรรมการสื่อสารและ อยู่ในระดับมาก 2 ด้าน ได้แก่ การสื่อสารแบบบนลงล่าง ( x
กระบวนการสื่อสารในองค์กรของพนักงาน โดยใช้ค ่าเฉลี่ย = 3.58) และการสื่อสารแบบล่างขึ้ นบนตามลำดับ และอยู่ใ น
(Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) ระดับปานกลาง 2 ด้าน ได้แก่ การสื่อสารแบบแนวนอนและ
2) สถิ ต ิ ท ี ่ ใ ช้ ท ดสอบสมติ ฐ าน โดยใช้ ส ถิ ต ิ เชิง อนุมาน การสื่อสารแบบแนวทแยง ตามลำดับ
(Inferential Statistics) ได้แก่การวิเคราะห์โ ดยใช้ ส ถิต ิ ก าร ส่วนที่ 3 ผลการวิเคราะห์ ระดับ กระบวนการสื่อสารใน
ถดถอยแบบพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) องค์ ก รของพนั ก งานบริ ษ ั ท ผลิ ต เครื ่อ งใช้ ไฟฟ้ า และสินค้า
อุตสาหกรรมแสดงในตารางที่ 2
6. ผลการวิจัย ตารางที่ 2 ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานของระดับ
ส่วนที่ 1 ปัจ จยัส ่วนบุค คลของพนักงาน บริษ ัท ซันโย ความคิดเห็นของพนักงานบริษัทผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและสินค้า
เอส.เอ็ม.ไอ (ไทยแลนด์) จำกัด พบว่า พนักงานส่วนใหญ่เป็น อุตสาหกรรม เกี่ยวกับกระบวนการสื่อสารในองค์กร
เพศ หญิง คิดเป็นร้อยละ 50.8 มีอายุ 31-40 ปีคิดเป็นร้อยละ กระบวนการสื่อสารภายในองค์กร x S.D. แปลผล
36.4 มี ร ะดั บ การศึ ก ษาส่ ว นมากอยู ่ ใ นระดั บ ปริ ญ ญาตรี/ 1. ผู้ส่งสาร ( Source ) 3.27 0.83 ปานกลาง
เทียบเท่าคิดเป็นร้อยละ 66.7 มีระยะเวลาปฏิบตัิงานส่วนใหญ่ 2. เนื้อหาข่าวสาร ( Message ) 3.26 0.78 ปานกลาง
อยู่ที่ 1 -5 ปี คิดเป็นร้อยละ 37.9 และตำแหน่งงานส่วนใหญ่ 3. ช่องทางการสื่อสาร (Channel) 3.46 0.90 มาก

เป็นพนักงานระดับปฏิบัติงาน คิดเป็นร้อยละ 54.5 4. ผู้รับสาร ( Receiver) 3.31 0.82 ปานกลาง


รวม 3.32 0.92 ปานกลาง

342
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

จากตารางที่ 2 พบว่าระดับความคิดเห็นของพนักงาน ทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยพฤติกรรม


บริษ ัทผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและสินค้าอุตสาหกรรม เกี่ยวกั บ การสื่อสารแบบแนวทแยงส่งผลกระทบมากที่สุด (β = 0.418)
กระบวนการการสื่อสารภายในองค์กรในภาพรวมอยู่ในระดับ รองลงมาคื อ พฤติ ก รรมการสื่ อ สารแบบล่ า งขึ ้ น บน (β =
ปานกลาง ( x = 3.32) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ใน 0.246) ส่ ว นพฤติ ก รรมการสื ่ อ สารแบบบนลงล่ า งและ
ระดับมาก 1 ด้าน ได้แก่ ช่องทางการสื่อสาร ( x = 3.46) และ พฤติกรรมการสื่อสารแบบแนวนอนไม่ส่งผลต่อกระบวนการ
อยู่ในระดับปานกลาง 3 ด้าน ได้แก่ ผู้ร ับสาร ผู้ส ่งสารและ สื่อสารภายในองค์กรด้านเนื้อหาข่าวสารของพนักงาน โดย
เนื้อหาข่าวสาร ตามลำดับ ปัจจัยพฤติกรรมการสื่อสารภายในองค์กรสามารถอธิบายความ
ส่วนที่ 4 ผลการวิเคราะห์ พฤติกรรมการสื่อสารภายใน ผันแปรหรือการเปลี่ย นแปลงของกระบวนการการสื่ อ สาร
องค์ ก รสามารถร่ ว มกั น พยากรณ์ ก ระบวนการการสื ่อ สาร ภายในองค์กรด้านเนื้อหาข่าวสารของพนักงานได้ร้อยละ 35.8
ภายในองค์ ก ร ของพนั ก งานของพนั ก งานบริ ษ ั ท ผลิ ต ที่เหลืออีกร้อยละ 64.2 เป็นผลเนื่องมาจากตั ว แปรอื ่ น ซึ่ ง
เครื่องใช้ไฟฟ้าและสินค้าอุตสาหกรรม ตามสมมตติฐานที่ตั้ ง สอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้สมมติฐานข้อที่ 3 ความแตกต่าง
ไวค้ือ สมมติฐานข้อที่ 1 ความแตกต่างของพฤติ กรรมการ ของพฤติ ก รรมการสื ่ อ สารภายในองค์ ก รมี ผลกระทบต่ อ
สื่อสารภายในองค์กรมี ผลกระทบกับกระบวนการการสื่อสาร กระบวนการการสื่อสารภายในองค์กรด้านช่องทางสื่อสารของ
ภายในองค์กรด้านผู้ส่งสารของพนักงาน ที่แตกต่างกัน ซึ่งจาก พนักงานที่แตกต่างกัน ซึ่งจากผลการศึกษา พบว่าระดับความ
ผลการศึกษา พบว่า ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับพฤติกรรมการ คิดเห็นของพฤติกรรมการสื่อสารภายในองค์ กรที่ส ่ง ผลต่ อ
สื่อสารภายในองค์กรที่ส่งผลต่อระดับกระบวนการการสื่อสาร ระดับของกระบวนการการสื่อสารภายในองค์กรด้านช่องทาง
ภายในองค์กรด้านผู้ส่งสารของพนักงาน ในทิศทางบวก อย่างมี สื่อสารของพนักงานในทิศทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่
นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยพฤติกรรมการสื่อสารแบบ ระดับ 0.05 ได้แก่ พฤติกรรมการสื่อสารแบบแนวทแยง (β =
แนวทะแยงส่งผลกระทบมากที่สุด (β = 0.462) รองลงมาคือ 0.348) ส่วนพฤติกรรมการสื่อสารแบบบนลงล่าง พฤติกรรม
พฤติ ก รรมการสื ่ อ สารแบบล่ า งขึ ้ น บน (β = 0.192) ส่ ว น การสื่อสารแบบล่างขึ้นบน และพฤติกรรมการสื่อสารแบบ
พฤติกรรมการสื่อสารแบบบนลงล่างและพฤติกรรมการสื่อสาร แนวนอนไม่ส ่งผลต่อกระบวนการสื่อสารภายในองค์กรด้าน
แบบแนวนอนไม่ส่งผลต่อกระบวนการสื่อสารภายในองค์กร ช่องทางสื่อสารของพนักงาน โดยปัจจัยพฤติกรรมการสื่อสาร
ด้านผู้ส่งสารของพนักงาน โดย ปัจจัยพฤติกรรมการสื ่อ สาร ภายในองค์ ก รสามารถอธิ บ ายความผั น แปรหรื อ การ
ภายในองค์ ก รสามารถอธิ บ ายความผั น แปรหรื อ การ เปลี่ยนแปลงของกระบวนการการสื่อสารภายในองค์กรด้า น
เปลี่ยนแปลงของกระบวนการการสื่อสารภายในองค์กรด้านผู้ ช่องทางสื่อสารของพนักงานได้ร้อยละ 33.9 ที่เหลืออีกร้อยละ
ส่งสารของพนักงานได้ร ้อยละ 55.7 ที่เหลืออีกร้อยละ 44.3 66.1 เป็นผลเนื่องมาจากตัวแปรอื่นซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐาน
เป็นผลเนื่องมาจากตั วแปรอื่นซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้ง ที่ตั้ง ไว้ สมมติฐานข้อที่ 4 ความแตกต่างของพฤติกรรมการ
ไว้ สมมติฐานข้อที่ 2 ความแตกต่างของพฤติกรรมการสื่อสาร สื่อสารภายในองค์กรมีผลกระทบต่อกระบวนการการสื่อสาร
ภายในองค์กรมีผลกระทบต่อกระบวนการการสื่อสารภายใน ภายในองค์กรด้านผู้รับสารของพนักงาน ที่แตกต่างกัน ซึ่งจาก
องค์กรด้านเนื้อหาข่าวสารของพนั กงาน ที่แตกต่างกัน ซึ่งจาก ผลการศึกษา พบว่าระดับความคิ ดเห็ น ของพฤติ กรรมการ
ผลการศึกษา พบว่าระดับความคิ ดเห็ น ของพฤติ กรรมการ สื่อสารภายในองค์กรที่ส่งผลต่อระดับของกระบวนการการ
สื่อสารภายในองค์กรที่ส่งผลต่อระดับของกระบวนการการ สื่อสารภายในองค์กรด้านผู้รับสารของพนักงานในทิศ ทางบวก
สื่อสารภายในองค์กรด้านเนื้อหาข่าวสารของพนั กงานในทิศ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที ่ร ะดับ 0.05 โดยพฤติกรรมการ
343
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

สื่อสารแบบแนวทแยงส่ง ผลกระทบมากที่ส ุด (β = 0.369) (β = 0.434) รองลงมาคือ พฤติกรรมการสื่อสารแบบล่างขึ้น


รองลงมาคื อ พฤติ ก รรมการสื ่ อ สารแบบล่ า งขึ ้ น บน (β = บน (β = 0.216) ส่วนพฤติกรรมการสื่อสารแบบบนลงล่าง
0.278) ส่ ว นพฤติ ก รรมการสื ่ อ สารแบบบนลงล่ า งและ และพฤติ ก รรมการสื ่ อ สารแบบแนวนอนไม่ ส ่ ง ผล ต่ อ
พฤติกรรมการสื่อสารแบบแนวนอนไม่ส่งผลต่อกระบวนการ กระบวนการสื่อสารภายในองค์กรของพนักงาน โดยปัจ จัย
สื่อสารภายในองค์กรด้านผู้ร ับสารของพนักงาน โดยปัจ จัย พฤติ ก รรมการสื ่ อ สารภายในองค์ ก รนั ้ น ที่ ม ี ผ ลกระทบต่ อ
พฤติกรรมการสื่อสารภายในองค์กรสามารถอธิบายความผั น กระบวนการการสื ่อ สารภายในองค์ ก รในภาพรวมอย่างมี
แปรหรือการเปลี่ยนแปลงของกระบวนการการสื่อสารภายใน นั ย สำคั ญ ทางสถิ ต ิท ี ่ร ะดั บ 0.05 สามารถเขีย นสมการการ
องค์กรด้านผู้รับสารของพนักงานได้ร้อยละ 34.7 ที่เหลืออีก ถดถอยในรูปแบบดังนี้
ร้อยละ 65.3 เป็นผลเนื่องมาจากตั วแปรอื่นซึ่งสอดคล้องกับ สมการคะแนนดิบ คือ Yรวม = 15.880+0.701X2+1.476X4
สมมติฐานที่ตั้ ง ไว้ สมมติฐานข้อที่ 5 พฤติกรรมการสื่อสาร สมการมาตรฐาน คือ Zรวม = 0.216X2+0.434X4
ภายในองค์กรมีผลกระทบต่อกระบวนการการสื่อสารภายใน โดย
องค์กรโดยรวมของพนักงานที่แตกต่างกัน ดังตารางที่ 3 Y คือ ค่าพยากรณ์กระบวนการการสื่อสารภายในองค์กรใน
ตารางที่ 3 การวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุค ู ณ ของ ภาพรวม
ปั จ จั ย พฤติ กรรมการสื ่อ สารภายในองค์ กรมีผ ลกระทบต่อ X1 คือ ค่าคะแนนดิบของพฤติกรรมการสื่อสารแบบบนลงล่าง
กระบวนการการสื่อสารภายในองค์กรโดยรวมของพนักงาน X2 คือ ค่าคะแนนดิบของพฤติกรรมการสื่อสารแบบล่างขึน้ บน
บริษัทผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและสินค้าอุตสาหกรรม X3 คือ ค่าคะแนนดิบของพฤติกรรมการสื่อสารแบบแนวนอน
X4 คือ ค่าคะแนนดิบของพฤติกรรมการสื่อสารแบบแนวทแยง
ปั จ จั ย พฤติ ก รรมการ B Beta t Sig.
สื่อสารภายในองค์กร
7. สรุปและอภิปรายผล
(Constant) 15.88 4.910 0.000*
1.แบบล่างขึ้นบน (X2) 0.701 0.216 2.237 0.027* พฤติ ก รรมการสื ่ อ สารในรูป แบบต่ า ง ๆ ของพนั ก งาน
2.แบบแนวทแยง (X4) 1.476 0.434 4.630 0.000* โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้านจะพบว่า
R = 0.731, R2 = 0.535, Adjust R2 = 0.520, n = 132 พฤติกรรมการสื่อสารแบบบนลงล่างและแบบล่างขึ้นบนของ
พนักงานอยู่ในระดับในระดับมาก ซึ่งเกิดจากการติดต่อสื่อสาร
จากตารางที่ 3 พบว่าปัจจัยพฤติกรรมการสื่อสารภายในองค์กร จากผู้บังคับบัญชาไปยังผู้ปฏิบัติงานเพื่อแจ้งข้อมูลหรือนโยบาย
มีผลกระทบต่อกระบวนการการสื่อสารภายในองค์กรโดยรวม ที่ส ำคัญในการปฏิบัติง านให้ พนักงานรับทราบ และเพื่อ ให้
ของพนักงานบริษัทผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าและสินค้าอุตสาหกรรม พนักงานสามารถปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง รวดเร็วและตรง
ที่ส ามารถร่วมกั นพยากรณ์ กระบวนการการสื่อสารภายใน ตามวั ต ถุ ป ระสงค์ ม ี ล ั ก ษณะสั ่ ง การตามสายบั ง คั บ บั ญ ชา
องค์กรโดยรวมมี 2 ด้าน คือ กระบวนการสื่อสารแบบแนว นอกจากนั ้ น พนั ก งานยั ง สามารถขอความช่ ว ยเหลื อ จาก
ทะแยงและกระบวนการสื่อสารแบบบนลงล่างของพนักงาน ได้ ผู้บังคับบัญชาได้เมื่อมีปัญหาเกี่ยวกับตัวเองหรือปัญหาเกี่ยวกับ
ร้อยละ 52.0 (Adjust R2= 0.520) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ งาน โดยเปิดโอกาสในการแสดงความคิดเห็น และตัดสินใจร่วม
ระดับ 0.05 ที่เหลืออีกร้อยละ 48.0 เป็นผลเนื่องมาจากตัวแปร แก้ไขปัญ ซึ่งสามารถเข้าพบผู้บังคับบัญชาได้ทันทีโดยไม่ต้อง
อื่น โดย พฤติกรรมการสื่อสารแบบแนวทะแยงส่งผลมากที่สุด นัดหมายล่วงหน้าหาซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ กัลยิมา โต

344
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

กะคุณะ [7] และ ระวิทย์ บุญสินสุข [8] พบว่าองค์กรที่ทำการ สอดคล้องกับแนวคิดของ เสนาะ ติเยาว์ [10] ที่กล่าวไว้ว่า การ
วิจัยมีรูปแบบพฤติกรรมการสื่อสารแบบสองทางในองค์กรอยู่ จัดให้มีช่องทางการติดต่อสื่อสารที่มีประสิทธิภาพได้แก่ การจัด
ในระดับสูง ซึ่งเป็นการสื่อสารจากบนลงล่างควบคู่ไปกับการ ให้มีระบบและวิธีการในการแจงข้อมูลหรือเผยแพร่ข่า วสาร
สื่อสารจากล่างขึ้นบน ซึ่ง การสื่อสารเป็นแบบเปิดเผยจาก ภายในองค์กรให้พนักงานรับรู้โดยทั่วถึง การจัดระบบข่าวสาร
ผู้บังคับบัญชาไปยังผู้ปฏิบัติง านด้วยการให้ข้อมูล ข่าวสารที่ อาจกระทําได้ในหลายๆ รูปแบบ เช่น วารสาร หนังสือเวียน
ถูกต้องเพียงพอ ซึ่งเป็นข้อมูลเกี่ยวกับหน้าที่ในการปฏิบตั ิงาน บันทึกข้อความ ศูนย์เผยแพร่ข่าวสารหรื อสื่อสิ่งตีพิมพ์อ ื่นใด
หรือนโยบายที่จำเป็น เช่นข้อมูลเกี่ยวกับเป้าหมายและภารกิจ บุคคลในองค์กรจะเกิดความพอใจถ้าหากเขาสามารถหาข้อมูล
ขององค์ ก รที่ ส ามารถนำไปใช้ใ นการปฏิบ ั ต ิง านได้ อย่างมี หรือส่ง ข้อมู ล ไปยั งบุคคลหรือหน่วยงานต่างๆ ในองค์กรได้
ประสิทธิภาพ และยังส่งเสริมให้เกิดการสื่อสารจากล่างขึ้นบน อย่างทั่วถึงและตามที่ต้องการ
เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ใต้บังคับบัญชาได้พูด ได้แสดงความ พฤติกรรมการสื่อสารภายในองค์กรกระบวนการสื่อสาร
คิดเห็น ความรู้ส ึก และทัศ นะต่างๆ อย่างเปิดเผยเสรี ส่วน แบบแนวทะแยงและกระบวนการสื่อสารแบบบนลงล่างของ
สื่อสารด้านอื่นๆ ที่มีควบคู่กันไปรองลงมาเป็น การสื่อสารตาม พนั กงานนั้นมีผ ลกระทบต่อกระบวนการการสื่อสารภายใน
แนวนอนที่ เ กิ ด ขึ้ น ระหว่ างบุค คลที ่ด ํา รงตํ าแหน่ ง ในระดับ องค์กรโดยรวม ซึ่งสอดคล้องกับ งานวิจัยของ แพมาลา วัฒน
เดียวกัน เป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูล ข่าวสาร ความคิดเห็นเพื่อ เสถียรสินธุ์ [11] ทั้งนี้กระบวนการสื่อสารแบบแนวทะแยงและ
แก้ ป ั ญ หา เพื่ อ สร้ า งความเข้ า ใจร่ ว มกัน เมื่ อ มี ก ารเปลี่ ยน กระบวนการสื่อสารแบบบนลงล่าง ส่วนมากเกิดจากความรู้
แผนงาน ระหว่างพนักงานที่อยู่ในหน่วยงานเดียวกัน เพื่ อลด ความเข้าใจของพนักงานที่แตกต่างกันระหว่างแผนกงาน และ
ข้ อ ขั ด แย้ ง จากความคิ ด เห็ น ที่ แ ตกต่ า ง และเพื่ อ พั ฒ นา ตำแหน่งงานที่ต่างฝ่ายต่าง รับผิดชอบ บุคคลหนึ่งจะมีความ
ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เข้าใจเฉพาะในส่วนงานของตนเอง แต่ไม่มีความรู้ ความเข้าใจ
กระบวนการสื ่ อ สารในรู ป แบบต่ า ง ๆ ของพนั ก งาน ใน เนื้อหางานที่เป็นของส่วนงานอื่น ขาดองค์ความรู้ภาพรวม
โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้านจะพบว่า ในเรื ่ อ งของธุ ร กิ จ ของบริ ษ ั ท หากมี ก ารติ ด ต่ อ สื ่ อ สาร
พนักงานมีการใช้ช่องทางการสื่อสารในกระบวนการสื่อสารที่ ประสานงานกันจึง เกิดประเด็นของความไม่เข้า ใจกัน และ
สูง กว่ากระบวนการด้ านอื่ นๆ โดยพนักงานมีค วามรู้ส ึ ก ว่ า ส่งผลกระทบให้เกิดอาการไม่อยากสื่อสารกัน หรือเกิดปัญหา
องค์กรมี ช ่องทางการสื่อสารภายในให้ กับพนักงานครบทุ ก การนิ่งเฉย ไม่ใส่ใจหรือสนใจอยากรู้ ไม่สอบถามกระบวนการ
ช่ อ งทาง และมี อ ุ ป กรณ์ ท ี ่ ช ่ ว ยอำนวยความสะดวกในการ หรือ ขั้นตอนการดำเนินงานอื่นๆ อาจจะไม่มีการตอบกลับของ
ติดต่อสื่อสารอย่างเพียงพอ ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของ สมิต การสื่อสารที่ผู้ส่งสารได้ท ำการสื่อสารออกไป ซึ่งการไม่มีการ
สัชฌุกร [9] ที่กล่าวว่า ผู้ส่งสารควรมีเป็นผู้ที่มีเจตนาแน่ชัดที่ ตอบกลับของการสื่อสารนั้น เป็นเพราะผู้รับสารเข้าใจว่าสารที่
จะให้ผู้อื่นรับรู้จุดประสงค์ของตนในการส่งสาร อีกทั้ งยังเป็นผู้ ส่งออกไปไม่ได้เกี่ยวข้องกับตนจึงไม่ให้ความสำคัญและไม่ใส่ใจ
ที่มีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาของสารที่ต้องการจะสื่อออกไป ในการรับสาร และเลือกที่จะเงียบเฉยต่อสารที่ได้รับมา
เป็นอย่างดี และสามารถเข้าใจความพร้อมและความสามารถ
ในการรับสารของผู้รับสาร โดยจะเลือกใช้กลวิธีที่เหมาะสม ใน 8. กิตติกรรมประกาศ
การส่งสารหรือนําเสนอสารหรือวิจารณ์ นอกจากนี้ช่องทางที่ การศึกษาค้นคว้าวิจ ัยฉบั บนี้ สำเร็จลุล่วงไปได้ ด้วยดีอัน
จะส่งสารหรือสื่อเป็นองค์ประกอบที่สําคัญอีกประการหนึ่งใน เนื่องมาจากความอนุ เคราะห์จ ากผู้ ทรงคุณ วุ ฒิ อาจารย์ ที่
การสื ่ อ สาร ทํ า หน้ า ที ่ น ํ า สารจากผู ้ ส ่ ง สารไปยั ง ผู ้ ร ั บ สาร ปรึ ก ษา รวมทั้ ง ท่ า นคณาจารย์ คณะบริ ห ารธุ ร กิ จ มหา
345
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

วิทยาลยัเทคโนโลยีมหานคร และผู้บังคับบัญชา ที่ ให้ความ พึงพอใจในการทำงาน และความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การ


ร่วมมือและความช่วยเหลือเป็นอย่ างดีในการให้ค ำแนะนำ ของพนักงานไทยในบริษัทอังกฤษเยอรมัน และฝรั่งเศสใน
ความช่วยเหลือและข้ อแนะนำต่างๆ ตลอดจนแก้ไขปรับปรุง ประเทศไทย, กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
การศึกษาวิจ ัยฉบั บนี้ จ นเสร็จสมบูร ณ์ รวมทั้ ง พนักงานและ 8. ระวิทย์ บุญสินสุข, 2534, การศึกษาการสื่อสารเพื่อการ
ผู้บริหารบริษัท ซันโย เอส.เอ็ม.ไอ (ไทยแลนด์) จำกัด ทุกท่าน ดำเนินงานภายในของบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่ง
ที่ได้เสียสละเวลาอันมีค่าที่กรุณาตอบแบบสอบถาม ผู้วิจัยจึง ประเทศไทย, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ขอกราบขอบพระคุณเป็นอย่างสูงไว้ ณ โอกาสนี้ สุดท้ายผู้วิจัย 9. สมิต สัชฌุกร, 2546, การต้อนรับและการบริการที่เป็นเลิศ
ขอกราบขอบพระคุณ บิดา มารดาและครอบครัวที่ ได้ให้การ , กรุงเทพมหำนคร: สำนักพิมพ์สายธาร.
สนับสนุนเสมอมาจนทำให้การศึกษาครั้ง นี้สำเร็จลุล ่วงไปได้ 10. เสนาะ ติเยาว์, 2541, การสื่อสารในองค์การ. พิมพ์ครั้งที่
ด้วยดี 4, กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
11. แพมาลา วัฒนเสถียรสินธุ, 2559, ปัจจัยที่ส่งผลต่อปัญหา
เอกสารอ้างอิง การสื่อสารในองค์กร กรณีศึกษา บริษัท ยูไนเต็ด แสตน
1. แพมาลา วัฒนเสถียรสินธุ, 2559, ปัจจัยที่ส่งผลต่อปัญหา ดาร์ ด เทอร์ ม ิ น ั ล จำกั ด (มหาชน), การค้ น คว้ า อิ ส ระ
การสื่อสารในองค์กร กรณีศึกษา บริษัท ยูไนเต็ด แสตน บริหารธุรกิจมหาบัฒฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ดาร์ด เทอร์มินัล จำกัด (มหาชน), การค้นคว้าอิสระ
บริหารธุรกิจมหาบัฒฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
2. SANYO S.M.I. (2545). เกีย่ วกับเรา. สืบค้นเมื่อ 10 มกราคม
2564, จาก http://www.sanyosmi.co.th/about-us./
3. Norman Sigband, B., Communication for
Management and Business, 1982, Published by
Scott Foresman/Addison-Wesley.
4. David K. Berlo., 1960. The Process of
Communication. New York: Holt, Rinehart and
Winston, Inc.
5. กิดานันท์ มลิทอง, 2543, เทคโนโลยีการศึกษาและ
นวัตกรรม. (พิมพ์ครังที่ 2), กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
6. Krejcie, R. V. & Morgan, D. W., 1970, Determining
Sample Size for Research Activities. Educational
and Psychological Measurement, 30(3), pp. 607-
610.
7. กัลยิมา โตกะคุณะ, 2541, รูปแบบการสื่อสาร บรรยากาศ
การสื่อสารในองค์การ ความพึงพอใจในการสื่อสาร ความ
346
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

การศึกษาความถูกต้องของขนาดชิ้นงานและความหยาบผิวของพอลิแลคติกแอซิดผสม
เทอร์โมพลาสติกสตาร์ชจากแป้งข้าวโพด โดยการขึ้นรูปด้วยเครื่องพิมพ์สามมิติ
Evaluation of Dimensional Accuracy and Surface Roughness of Polylactic Acid
Blended with Thermoplastic Corn Starch and Forming by 3D Printing

พิไลวรรณ ภัสสรศิริกุล*, ปาณิศา อุชชิน, วรารัตน์ กังสัมฤทธิ์ และ จิรวรรณ คล้อยภยันต์


ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จังหวัดปทุมธานี 12120
Email: pilaiwan.pas@dome.tu.ac.th*

บทคัดย่อ
งานวิจ ัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาความถูกต้องของขนาดชิ้นงานและความหยาบผิว ของชิ้นงานจากการนำ
พอลิแลคติกแอซิดผสมกับเทอร์โมพลาสติกสตาร์ชจากแป้งข้าวโพดและนำไปขึ้นรูปชิ้นงานด้วยเครื่องพิมพ์ส ามมิติ ซึ่งขั้นตอนการ
วิจัยเริ่มจากการผสมแป้งข้าวโพดกับกลีเซอรอลในอัตราส่วน 70:30 โดยน้ำหนักด้วยเครื่องผสมความเร็วสูง จากนั้นทำการดึง เส้น
พลาสติกผสมระหว่างพอลิแลคติก แอซิดกับเทอร์โมพลาสติกสตาร์ชจากแป้ง ข้าวโพดในอัตราส่วน 100:0, 90:10, 80:20 และ
70:30 โดยน้ำหนัก ด้วยเครื่องอัดรีดสกรูคู่ แล้วนำเส้นพลาสติกที่ได้ไปทำการขึ้นรูปชิ้นงานด้วยเครื่องพิมพ์ส ามมิติที่อุณหภูมิ 170
ถึง 240 องศาเซลเซียส เพื่อนำชิ้นงานไปทำการตรวจสอบความถูกต้องของขนาดชิ้นงานและวัดความหยาบผิว ซึ่งผลจากการ
ตรวจสอบพบว่าอุณหภูมิที่ใช้ในการขึ้นรูปชิ้นงานไม่มีผลต่อค่าความถูกต้องของขนาดชิ้นงานในส่วนความยาว แต่มีผลต่อความ
ถูกต้องของขนาดชิ้นงานในส่วนความกว้าง โดยชิ้นงานมีค่าความคลาดเคลื่อนของความกว้างมากขึ้นเมื่ออุณหภูมิที่ใช้ในการขึ้นรูป
ชิ้นงานสูงขึ้น (อยู่ในช่วง -1.4 ถึง +1.6 เปอร์เซ็นต์) และเมื่ออุณหภูมิที่ใช้ในการขึ้นรูปชิ้นงานสูงขึ้นและปริมาณเทอร์โมพลาสติก
สตาร์ชจากแป้งข้าวโพดมากขึ้นจะส่งผลให้ค่าความหยาบผิวเพิ่มขึ้น
คำสำคัญ : พอลิแลคติกแอซิด แป้งข้าวโพด เครื่องพิมพ์สามมิติ ความถูกต้องของขนาด ความหยาบผิว

Abstract
This research aims to evaluate the dimensional accuracy and surface roughness of polymer blends
between polylactic acid (PLA) and thermoplastic corn starch (TPCS) forming by 3D printing. TPCS was prepared
by mixing corn starch with glycerol at the weight ratio of starch to glycerol at 70:30 using a high-speed mixer.
Polymer blends were prepared into a filament by compounding PLA and TPCS at the weight ratio of 1 0 0 : 0 ,
90:10, 80:20, and 70:30 using a twin-screw extruder. The specimens were then 3D printed by blended filament
at different extrusion temperatures from 170 to 240 °C. The dimensional accuracy and the surface roughness
347
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

of the blends printed at different temperatures were determined. The results indicated that the length error of
all specimens was not influenced by extrusion temperature, while the width error of the blends increased as
the extrusion temperature increased ( -1.4 to +1.6 percent) . The results also revealed that as the extrusion
temperature was increased, the increasing amount of TPCS increased the surface roughness of the blends.

Keywords : Polylactic Acid, Corn Starch, 3D Printer, Dimensional Accuracy, Surface Roughness

348
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

1. บทนำ แต่ค่อนข้างเปราะ และไม่ทนความร้อน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง


เนื่องจากการใช้งานพลาสติกกันอย่างแพร่หลายตั้ง แต่ ถ้าหากไม่ทำการอบไล่ความชื้นก่อนนำไปขึ้นรูปอาจทำให้
อดีตจนถึง ปัจ จุบัน ทำให้ตอนนี้โ ลกของเราต้องเผชิญกับ เกิดการเสื่อมสภาพในระหว่างกระบวนการผลิต [1]
ปัญหาขยะพลาสติกล้นโลก สาเหตุมาจากพลาสติกใช้เวลา 2.2 เทอร์ โ มพลาสติ ก สตาร์ ช จากแ ป้ ง ข้ า ว โ พ ด
ในการย่อยสลายนานหลายปี ดัง นั้นจึง มีการนำพลาสติก (Thermoplastic Corn Starch, TPCS)
ชีวภาพ (Bioplastic) ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และใช้เวลา แป้งข้าวโพดคือแป้งที่ผลิตจากเอนโดสเปิร์มของเมล็ด
ย่อยสลายน้อยกว่าพลาสติกทั่วไป เช่น พอลิแลคติกแอซิด ข้าวโพดด้วยกระบวนการโม่ข้าวโพดแบบเปียก [2] การนำ
(Polylactic Acid, PLA) มาใช้เพื่อตอบสนองความต้องการ แป้ ง ข้ า วโพดผสมกั บ พลาสติ ก ชี ว ภาพไม่ ส ามารถทำได้
ของมนุษย์ในด้านผลิตภัณฑ์พลาสติกต่าง ๆ ที่มีเพิ่มมากขึ้น โดยตรง เนื่องจากสมบัติที่ไม่ดีบางประการ เมื่อเปรียบเทียบ
รวมถึงการนำมาใช้กับเทคโนโลยีการพิมพ์สามมิติเช่นกัน ซึ่ง กั บ วั ส ดุ ท ี ่ ท ำจากพอลิ เ มอร์ ส ั ง เคราะห์ ( Synthetic
ถือเป็นหนึ่ง ในเทคโนโลยีการสร้างต้ น แบบอย่างรวดเร็ ว Polymers) ที่มีส มบัติดีกว่าแป้งข้าวโพด ดัง นั้นจึงต้องทำ
(Rapid Prototype) ประเภทการใช้พลาสติกที่หลอมเหลว การเปลี่ยนแป้งข้าวโพดให้กลายเป็นเทอร์โมพลาสติกสตาร์ช
เรี ย งชั ้ น เป็ น ชิ ้ น งาน (Material Extrusion) แต่ ก ารนำ จากแป้ง ข้าวโพดเพื่อปรับปรุงสมบัติของแป้ง โดยการนำ
พอลิ แ ลคติ ก แอซิด มาใช้ก ั บเครื ่อ งพิม พ์ส ามมิ ต ิ สำหรับ กระบวนการเพิ่มความยืด หยุ่นให้กับพอลิเมอร์หรือพลาสติ
ประเทศไทยค่อนข้างเป็นต้นทุนการผลิตที่ส ูง เนื่องจาก ไซเซชั่น (Plasticization) มาใช้ เพื่อปรับปรุง สมบัติ ท าง
พอลิแลคติกแอซิดมีราคาสูงกว่าพลาสติกทั่วไป กายภาพหรื อทางเคมีต่าง ๆ ของแป้ง [3] ดัง นั้นงานวิจัย
ดั ง นั ้ น เพื่ อ ลดปั ญหาขยะพลาสติ กและต้น ทุนการใช้ ฉบับนี้ได้มีการนำแป้ง ข้าวโพดมาผสมกับพลาสติไซเซอร์
พอลิแลคติกแอซิดลง รวมถึงพัฒนาการใช้เส้นพลาสติกกับ อย่างกลีเซอรอล เพื่อปรับปรุงสมบัติของแป้ง ข้าวโพดให้
เครื่องพิมพ์สามมิติให้มีค วามหลากหลายมากขึ้น งานวิจัย สามารถผสมเข้ากันได้ดีกับพอลิแลคติกแอซิด [4]
ฉบับนี้จึงนำพอลิแลคติกแอซิดมาผสมกับเทอร์โมพลาสติก 2.3 กระบวนการสร้ า งต้ น แบบอย่ า งรวดเร็ ว (Rapid
สตาร์ชจากแป้งข้าวโพดในอัตราส่วนต่าง ๆ โดยน้ำหนัก แล้ว Prototype, RP)
นำมาขึ้นรูปชิ้นงานด้วยเครื่องพิมพ์สามมิติ เพื่อทำการศึกษา กระบวนการสร้างต้นแบบอย่างรวดเร็ว คือ การสร้าง
ความถูกต้องของขนาดชิ้นงานและความหยาบผิวของชิ้นงาน ชิ้นงานต้นแบบขึ้นมาจากแบบจำลองทางคอมพิวเตอร์แบบ
สามมิ ต ิ (3D CAD Model) ที ่ ไ ด้ อ อกแบบจากโปรแกรม
2. ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง คอมพิวเตอร์ไว้ โดยมีหลักการ คือ นำแบบจำลองสามมิติ
2.1 พอลิแลคติกแอซิด (Polylactic Acid, PLA) จั ด เก็ บ ในรู ป แบบของเอสที แ อลไฟล์ (STL file) จากนั้ น
พอลิแลคติกแอซิดเป็นพลาสติกที่สามารถย่อยสลายได้ นำเข้าโปรแกรมสไลด์เซอร์เพื่อคำนวณและแบ่งชั้น ก่อนนำ
ทางชี ว ภาพ ผลิ ต จากวั ต ถุ ด ิ บ ที ่ ย ั ่ ง ยื น และเป็ น มิ ต รกั บ ไฟล์ที่ได้ไปทำการผลิตชิ้นงานต้นแบบ โดยชิ้นงานจะค่อย ๆ
สิ่ง แวดล้อม ซึ่ง วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตสามารถหาได้จาก ถู ก สร้ า งขึ ้ น มาที ล ะชั ้ น จนเสร็ จ ซึ ่ ง การใช้ พ ลาสติ ก ที่
ทรัพยากรที่เกิดขึ้นใหม่ได้ เช่น แป้งที่ได้จากพืช ยกตัวอย่าง หลอมเหลวเรี ย งชั ้ น เป็ น ชิ ้ น งานเป็ น วิ ธ ี ก ารหนึ ่ ง ของ
เช่น ข้าวโพด มันสำปะหลัง อ้อย เป็นต้น โดยพอลิแลคติก กระบวนการสร้างต้นแบบอย่างรวดเร็ว ซึ่ง หลักการของ
แอซิดมีลักษณะทางกายภาพคือสีขาวใสและเงา มีความแข็ง กระบวนการใช้พลาสติกที่หลอมเหลวเรียงชั้นเป็นชิ ้นงาน
คือ เส้นพลาสติกถูกอัดผ่ านหัว ฉี ดความร้อ นจนเส้ น ของ
349
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

พลาสติกเกิดการหลอมเหลว จากนั้นหัวฉีดเคลื่อนที่ไปมาที สามารถนำไปต่อยอดศึกษาสมบัติอื่น ๆ ต่อไป [7] เพื่อใช้ใน


ละชั้นเพื่อสร้างชิ้นงานตามรูปทรงที่ได้ออกแบบไว้ [5] การศึกษาความถูกต้องของขนาดชิ้นงานและความหยาบผิว
โดยลักษณะของชิ้นงาน เป็นดังแสดงในรูปที่ 1 และขนาด
3. วิธีการวิจัย ของชิ้นงาน เป็นดังแสดงในรูปที่ 2
การดำเนิ น งานวิ จ ั ย ฉบับ นี ้ส ามารถแบ่ ง ขั ้น ตอนการ
ดำเนินงานเป็น 2 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนการผสมและดึงเส้น
พลาสติกผสมระหว่างพอลิแลคติกแอซิดกับเทอร์โมพลาสติก
สตาร์ชจากแป้งข้าวโพด และขั้นตอนการขึ้นรูปชิ้นงานด้วย
เครื่องพิมพ์สามมิติ
3.1 การผสมและการดึงเส้นพลาสติก รูปที่ 1 ลักษณะของชิ้นงานรูปทรงดัมเบล (ภาพจาก
การผสมและการดึ ง เส้ น พลาสติ ก ผสมระหว่ า ง โปรแกรมออโต้เดส ฟิวชั่น 360)
พอลิ แ ลคติ ก แอซิ ด กับ เทอร์ โ มพลาสติ ก สตาร์ช จากแป้ง
ข้าวโพด เริ่มต้นด้วยการอบเม็ดพอลิแลคติกแอซิดและแป้ง
ข้าวโพด เพื่อไล่ความชื้นภายในวัสดุ และผสมแป้งข้าวโพด
กับกลีเซอรอลในอัตราส่ว น 70:30 โดยน้ำหนัก [6] ด้ว ย
เครื่องผสมความเร็วสูง ได้เป็นเทอร์โมพลาสติกสตาร์ชจาก รูปที่ 2 ลักษณะของชิ้นงานจากมุมมองด้านบน (Top View)
แป้งข้าวโพด จากนั้นทำการผสมพอลิแลคติกแอซิดกับเทอร์ พร้อมกับขนาดของชิ้นงาน (หน่วยมิลลิเมตร)
โมพลาสติกสตาร์ช จากแป้ง ข้าวโพดในอัตราส่วน 100:0,
90:10, 80:20 และ 70:30 โดยน้ำหนัก ด้วยเครื่องอัดรั ด 3.2.2 การกำหนดปัจจัยและระดับของปัจจัยในการขึ้นรูป
ชนิดสกรูคู่ และนำเส้นพลาสติกที่ได้จากการผสมไปตัดเป็ น มีการกำหนดค่าต่าง ๆ ภายในโปรแกรมอัลติเมกเกอร์
เม็ดพลาสติกด้วยเครื่องตั ดเม็ ดพลาสติก จากนั้นนำเม็ ด คูร่า เป็นปัจจัยคงที่ ดังแสดงในตารางที่ 1 และมีการกำหนด
พลาสติกที่ได้มาดึงเส้นพลาสติกด้วยเครื่องอัดรีดชนิดสกรูคู่ ปัจ จัยแปรผันทั้ง หมด 2 ปัจ จัย ได้แก่ อัตราส่วนระหว่าง
ระหว่างการดึง ให้ค วบคุมความเร็ว ของสายพานลำเลี ย ง พอลิ แ ลคติ ก แอซิ ด กับ เทอร์ โ มพลาสติ ก สตาร์ช จากแป้ง
เพื่อให้เส้นพลาสติกมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางอยู่ในช่วง ข้าวโพด และอุณหภูมิที่ใช้ในการขึ้นรูปชิ้นงาน ดังแสดงใน
1.70 ± 0.05 มิลลิเมตร เพื่อนำไปใช้ในการขึ้นรูปชิ้นงาน ตารางที่ 2 เพื่อนำไปขึ้นรูปชิ้นงานโดยใช้เครื่องพิมพ์ส ามมิติ
ประเภทคาร์ทีเซียน ยี่ห้อ Creality รุ่น Ender-3
3.2 การขึ้นรูปชิ้นงานด้วยเครื่องพิมพ์สามมิติ
3.2.1 การออกแบบชิ้นงาน ตารางที่ 1 ค่าที่กำหนดของปัจจัยคงที่
ใช้ โ ปรแกรมออโต้ เ ดส ฟิ ว ชั ่ น 360 ในการออกแบบ ปัจจัยคงที่ ค่าที่กำหนด
ชิ้นงานเป็นรูปทรงดัมเบลตามมาตรฐานของสมาคมการ ความสูงของชั้น 0.1 มิลลิเมตร
ทดสอบและวัสดุแห่งสหรัฐอเมริกา ชนิด ASTMD-638-IV จำนวนผนังของชิ้นงาน 3 ชั้น
ความหนา 4 มิล ลิเมตร เนื่องจากเป็นชิ้นงานมาตรฐานที่ จำนวนชั้นด้านบนของชิ้นงาน 6 ชั้น
350
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

ปัจจัยคงที่ ค่าที่กำหนด ข้าวโพด พบว่าเมื่อปริมาณของเทอร์โมพลาสติกสตาร์ชจาก


จำนวนชั้นด้านล่างของชิ้นงาน 6 ชั้น แป้งข้าวโพดเพิ่มมากขึ้น เส้นพลาสติกที่ได้มีความขุ่นและมีสี
อุณหภูมิของฐานพิมพ์ 60 องศาเซลเซียส เข้มขึ้น อีกทั้ง เมื่อผสมถึงอัตราส่วนที่ 70:30 ผิวของเส้น
ความเร็วสำหรับการพิมพ์ 80 มิลลิเมตรต่อวินาที พลาสติกมีความขรุขระ ทำให้ขนาดของเส้นผ่านศูนย์กลางมี
(โครงสร้างภายในของ ขนาดมากกว่า 1.75 มิล ลิเมตร และเส้นพลาสติกมีความ
ชิ้นงาน) เปราะ ทำให้ ไ ม่ ส ามารถนำไปใช้ ใ นขึ ้ น รู ป ชิ ้ น งานด้ ว ย
ความเร็วสำหรับการพิมพ์ 50 มิลลิเมตรต่อวินาที เครื่องพิมพ์สามมิติได้
(ผนั ง ชั ้ น ด้ า นบนและ
ด้านล่างของชิ้นงาน)
ความหนาแน่นของโครงสร้าง
100 เปอร์เซ็นต์
ภายในชิ้นงาน
รูปแบบการพิมพ์โครงสร้าง
ซิกแซก [8]
ภายในชิ้นงาน

ตารางที่ 2 ค่าที่กำหนดของปัจจัยแปรผัน
รูปที่ 3 ลักษณะของเส้นพลาสติกที่อัตราส่วน 100:0,
ปัจจัยแปรผัน ค่าที่กำหนด
90:10, 80:20 และ 70:30 (เรียงลำดับจากบนลงล่าง)
อัตราส่วน 100:0, 90:10, 80:20
อุณหภูมิที่ใช้ในการขึ้นรูป 170, 180, 190, 200,
ดัง นั้นจึงสามารถขึ้นรูปชิ้นงานได้ที่อัตราส่วน 100:0,
ชิ้นงาน (องศาเซลเซียส) 210, 220, 230, 240
90:10 และ 80:20 เพียงเท่านั้น โดยจากการขึ้นรูปชิ้นงาน
ด้วยพลาสติกผสมระหว่างพอลิแลคติกแอซิดกับเทอร์ โ ม
3.2.3 การขึ้นรูปชิ้นงาน
พลาสติกสตาร์ชจากแป้งข้าวโพด พบว่าที่อัตราส่วน 100:0
ขั้นตอนถัดไปคือการนำเส้นพลาสติกมาขึ้นรูปชิ้นงาน
สามารถทำการขึ้นรูปชิ้นงานได้ในช่วงอุณหภูมิ 180 ถึง 240
ด้วยเครื่องพิมพ์ส ามมิติประเภทคาร์ทีเซียน โดยมีเงื่อนไข
องศาเซลเซียส เนื่องจากที่อุณหภูมิ 170 องศาเซลเซียส เส้น
การทดสอบคือ 3x8 เท่ากับ 24 เงื่อนไขการทดสอบ และทำ
พลาสติกไม่เกิดการหลอมเหลว ในขณะที่อัตราส่วน 90:10
การขึ้นรูปชิ้นงาน 3 ชิ้นในแต่ละอัตราส่วนและอุณหภูมิ ร วม
และอัตราส่วน 80:20 สามารถทำการขึ้นรูปชิ้นงานได้ในช่วง
เป็น 24x3 เท่ากับ 72 ผลการทดลอง
อุณหภูมิ 170 ถึง 240 องศาเซลเซียส
4.1 ลักษณะชิ้นงานจากการตรวจสอบโดยการพินิจ
4. ผลการวิจัยและอภิปรายผล จากการตรวจสอบลักษณะชิ้นงานโดยการพินิจ ชิ้นงานที่
ผลจากการดึง เส้นพลาสติกผสมระหว่างพอลิแลคติ ก ได้จ ากการขึ้นรูปจากพลาสติกผสมระหว่างพอลิ แ ลคติ ก
แอซิ ด กั บ เทอร์ โ มพลาสติ ก สตาร์ ช จากแป้ ง ข้ า วโพดใน แอซิ ด กั บ เทอร์ โ มพลาสติ ก สตาร์ ช จากแป้ ง ข้ า วโพดใน
อัตราส่วนต่าง ๆ เป็นดัง แสดงในรูปที่ 3 ซึ่ง จากการผสม อัตราส่วนต่างๆ มีลักษณะดังแสดงในรูปที่ 4 พบว่าชิ้นงานที่
พอลิ แ ลคติ ก แอซิ ด กับ เทอร์ โ มพลาสติ ก สตาร์ช จากแป้ง อัตราส่วน 100:0 ชิ้นงานสีขาวใส ค่อนข้างโปร่งแสง และ
351
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

สามารถมองเห็นรูปแบบการพิมพ์ได้ค่อนข้างชัดเจน แต่เมื่อ เฉลี่ยมีแนวโน้มอยู่ในช่วงบวก ซึ่งหมายถึงชิ้นงานมี ข นาด


ทำการผสมพอลิแลคติกแอซิดกับเทอร์โ มพลาสติกสตาร์ช ความกว้างมากกว่าชิ้นงานที่ออกแบบไว้
จากแป้งข้าวโพด ส่งผลให้ชิ้นงานที่อัตราส่วน 90:10 ชิ้นงาน ส่วนค่าเปอร์เซ็นต์ความคลาดเคลื่อนเฉลี่ยของความยาว
มีสีเข้มขึ้นเล็กน้อย และชิ้นงานที่อัตราส่วน 80:20 ชิ้นงานมี ของชิ้นงานในทุกอัตราส่วน ที่อุ ณหภูมิต่าง ๆ มีค ่าความ
สีขาวอมเหลืองมากขึ้นเมื่ออุณหภูมิที่ใช้ในการขึ้นรูปชิ้นงาน คลาดเคลื่อนเฉลี่ยอยู่ในช่วง -0.5 ถึง +0.2 เปอร์เซ็นต์ และ
สูงขึ้น มีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ในช่วง 0.02 ถึง 0.25 โดย
อุณหภูมิที่ใช้ในการขึ้นรูปชิ้นงานไม่มีผลต่อความยาวของ
ชิ้นงาน เนื่องจากค่าเปอร์เซ็นต์ความคลาดเคลื่อนเฉลี่ยของ
อัตราส่วน 100:0
ความยาวของชิ้นงานในทุกอัตราส่วน ที่อุณหภูมิต่าง ๆ มีค่า
ใกล้เคียงกันทั้งหมด ดังแสดงในรูปที่ 7
อัตราส่วน 90:10 ดังนั้นสามารถสรุปได้ว่าอุณหภูมิที่ใช้ในการขึ้นรูปชิ้นงาน
มีผลต่อการหลอมของเส้นพลาสติก ซึ่งส่งผลต่อการไหลของ
อัตราส่วน 80:20 เส้นพลาสติก อีกทั้งยังส่งผลต่อขนาดความกว้างของชิ้นงาน
เนื่องจากการขึ้นรูปชิ้นงานที่อุณหภูมิ 170 ถึง 200 องศา
เซลเซียส เส้นพลาสติกที่เกิดการหลอมมีความหนืดสูง ส่งผล
รูปที่ 4 ลักษณะของชิ้นงานอ้างอิงที่อัตราส่วน 100:0, ให้เส้นพลาสติกที่ไหลออกมามีความคงรูปของเส้นมากกว่า
90:10 และ 80:20 (เรียงลำดับจากบนลงล่าง) ส่ง ผลให้ช ิ้นงานมีข นาดความกว้างใกล้เคียงกับชิ้นงานที่
ออกแบบไว้ ในขณะที่การขึ้นรูปชิ้นงานที่อุณหภูมิ 210 ถึง
4.2 ผลการวัดความถูกต้องของขนาดชิ้นงาน 240 องศาเซลเซียส เส้นพลาสติกที่เกิดการหลอมมีความ
ผลจากการวัดขนาดในช่วงความกว้างและความยาวของ หนืดต่ำกว่าและไหลได้ดีกว่า ส่ง ผลให้เส้นพลาสติกที่ไหล
ชิ้นงานด้วยเวอร์เนียคาลิปเปอร์ โดยแนวการวัดเป็นดังแสดง ออกมามีความคงรูปของเส้นน้อย ส่งผลให้ชิ้นงานมี ขนาด
ในรูปที่ 5 พบว่าค่าเปอร์เซ็นต์ความคลาดเคลื่อนเฉลี่ยของ ความกว้างมากกว่าชิ้นงานที่ออกแบบไว้ ซึ่งสอดคล้องกันกับ
ความกว้างของชิ้นงานในทุกอัตราส่วน ที่อุณหภูมิต่าง ๆ มี งานวิจัย [9] ซึ่งทำการขึ้นรูปชิ้นงานจากโพลีอไมด์ผสมเส้น
ค่ า ความคลาดเคลื่ อ นเฉลี ่ ย อยู ่ ใ นช่ ว ง -1.4 ถึ ง +1.6 ใยแก้ว (Glass Fiber) และเส้นใยเคฟลาร์ (Kevlar Fiber)
เปอร์เซ็นต์ และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานอยู่ในช่วง 0.02 ด้วยเครื่องพิมพ์สามมิติ โดยผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่าขนาด
ถึง 0.14 ดังแสดงในรูปที่ 6 โดยชิ้นงานในทุกอัตราส่วนที่ขึ้น ความกว้างของชิ้นงานมีค่าเพิ่มมากขึ้นเมื่ ออุณหภูมิที่ใช้ใน
รูปด้วยอุณหภูมิ 170 ถึง 200 องศาเซลเซียส ค่าเปอร์เซ็นต์ การขึ้นรูปสูงขึ้น แต่ไม่ส่งผลต่อขนาดความยาวของชิ้นงาน
ความคลาดเคลื่ อ นเฉลี ่ย มี แ นวโน้ ม อยู่ ใ นช่ ว งติ ด ลบ ซึ่ ง
หมายถึ ง ชิ ้ น งานมี ข นาดความกว้ า งน้ อ ยกว่ า ชิ ้ น งานที่
ออกแบบไว้ ในขณะที่ชิ้นงานที่ผสมเทอร์โมพลาสติกสตาร์ช
จากแป้งข้าวโพดทั้งสองอัตราส่วนที่ขึ้นรูปด้วยอุณหภูมิ 210
ถึง 240 องศาเซลเซียส ค่าเปอร์เซ็นต์ความคลาดเคลื่อน

352
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

มาตรฐานอยู่ในช่วง 0.3 ถึง 5.4 โดยเมื่อปริมาณของเทอร์โม


พลาสติกสตาร์ชจากแป้งข้าวโพดเพิ่มมากขึ้นและอุณหภูมิที่
ใช้ในการขึ้นรูปชิ้นงานสูงขึ้น ค่าความหยาบผิวเฉลี่ยของ
ชิ้นงานมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ดังแสดงในรูปที่ 9 และพบว่า
ชิ้นงานที่มีค ่าความหยาบผิวเฉลี่ยต่ ำที่ส ุ ดคือ ชิ้นงานใน
รูปที่ 5 แนวการวัดความกว้างและความหยาบผิวของชิ้นงาน อัตราส่วน 90:10 ที่อุณหภูมิ 190 องศาเซลเซียส โดยมีค่ า
(บน) และแนวการวัดความยาว (ล่าง) หน่วยมิลลิเมตร ความหยาบผิวเฉลี่ยในช่วงความกว้างของชิ้นงานเท่ากับ
3.39 ไมโครเมตร

1 2 3 4 5 6

รูปที่ 8 แนวการวัดความหยาบผิวของชิ
() ( ้นงาน )

(หน่วยมิลลิเมตร)
รูปที่ 6 ความสัมพันธ์ระหว่างค่าเปอร์เซ็นต์ความ
คลาดเคลื่อนของความกว้างกับอุณหภูมิที่อัตราส่วนต่างๆ

รูปที่ 9 ความสัมพันธ์ระหว่างค่าความหยาบผิวเฉลี่ยของ
รูปที่ 7 ความสัมพันธ์ระหว่างค่าเปอร์เซ็นต์ความ ชิ้นงานกับอุณหภูมิที่อัตราส่วนต่างๆ
คลาดเคลื่อนของความยาวกับอุณหภูมิที่อัตราส่วนต่างๆ
5. สรุปผลการวิจัยและข้อเสนอแนะ
4.3 ผลการวัดความหยาบผิวเฉลี่ยของชิ้นงาน 5.1 สรุปผลการวิจัย
ผลจากการวัดความหยาบผิวเฉลี่ยด้านบนของชิ้ นงาน ผลจากการดึง เส้นพลาสติกผสมระหว่างพอลิแลคติ ก
ในช่วงความกว้างของชิ้นงานด้วยเครื่องวัดความหยาบผิว แอซิดกับเทอร์โมพลาสติกสตาร์ชจากแป้งข้าวโพดสามารถ
โดยวัดตั้งฉากกับแนวการเดินเส้น ดังแสดงในรูปที่ 8 พบว่าที่ ทำได้ถึงอัตราส่วน 80:20 เนื่องจากที่อัตราส่วน 70:30 ผิว
อัตราส่วน 100:0, 90:10 และ 80:20 ความหยาบผิวของ เส้นพลาสติกที่ได้มีความขรุขระ จึงไม่สามารถนำไปขึ้นรูป
ชิ้นงานในทุกอุณหภูมิมีค่าความหยาบผิวเฉลี่ยอยู่ในช่วง 4.5 ชิ้นงานด้วยเครื่องพิมพ์สามมิติได้ และผลจากการตรวจสอบ
ถึง 6.5 ไมโครเมตร, 3.3 ถึง 7.0 ไมโครเมตร และ 4.0 ถึง ลักษณะชิ้นงานโดยการพินิจ สามารถสรุปได้ว่าเมื่อทำการ
15.0 ไมโครเมตร ตามลำดั บ และมี ค ่ า ส่ ว นเบี ่ ย งเบน ผสมพอลิแลคติกแอซิดกับเทอร์โมพลาสติกสตาร์ชจากแป้ง
353
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

ข้าวโพดในอัตราส่วนที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้ชิ้นงานมีส ีเ ข้ม ขึ้น มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่ให้การสนับสนุนในการทำงาน


และผิวขรุขระมากขึ้นเมื่ออุณหภูมิที่ใช้ในการขึ้นรูปชิ้นงาน วิจัยฉบับนี้
สูงขึ้น
เมื่อนำเส้นพลาสติกมาทำการขึ้นรูป ชิ้นงานตามปัจ จัย เอกสารอ้างอิง
คงที่ที่กล่าวถึงในตารางที่ 1 และปัจจัยแปรผัน ที่กล่าวถึงใน 1. Xuan, P., Xiuli, Z., Zhaohui, T., & Xuesi, C. (2010).
ตารางที ่ 2 พบว่ า ผลจากการวั ด ความถู กต้ องของขนาด Polylactic acid (PLA) : Research, development
ชิ้นงานสามารถสรุปได้ว่าอุณหภูมิที่ใช้ในการขึ้นรูปชิ้นงานไม่ and industrialization. Biotechnology, 5, 1125 -
มีผลต่อค่าความถูกต้องของขนาดชิ้นงานในส่วนความยาว 1126. DOI: 10.1002/biot.201000135
แต่มีผลต่อความถูกต้องของขนาดชิ้นงานในส่วนความกว้าง 2. S. Nilrampha, P. Anantanon, W.Kangsumrith and
เนื่องจากการหลอมของเส้นพลาสติกที่อุณหภูมิต่ำ ส่งผลให้ J. Kloypayan. “Fused Deposition Modelling of
เส้ น พลาสติ ก ไหลได้ น ้ อ ยกว่ า การหลอมเส้ น พลาสติ ก ที่ Polybutylene Succinate Blended with
อุณหภูมิสูง ดังนั้นเมื่ออุณหภูมิที่ใช้ในการขึ้นรูปชิ้นงานสูงขึ้น Thermoplastic Corn Starch.”, The 10th
ขนาดชิ้นงานในส่วนความกว้างก็จะมีค่าความคลาดเคลื่อน Conference on Industrial Operations
มากขึ้น th
Development, 17 May 2019 pp. 1-8. (In Thai).
ผลจากการวัดความหยาบผิวเฉลี่ยของชิ้นงาน สามารถ 3. Z. N. Diyana et al., 2021, “Physical Properties of
สรุปได้ว่าค่าความหยาบผิวเฉลี่ยของชิ้นงานในอัตราส่วน Thermoplastic Starch Derived from Natural
100:0 และ 90:10 ที่อุณหภูมิต่าง ๆ มีค่า ใกล้เคียงกัน แต่ที่ Resources and Its Blends”, MDPI, Vol. 13.
อั ต ราส่ ว น 80:20 ค่ า ความหยาบผิ ว เฉลี ่ ย ของชิ ้ น งานมี 4. A. Harynska, H. Janik, M. Sienkiewwicz, B.
แนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากปริมาณของเทอร์โมพลาสติก Mikolaszek and J. Lipka. “ PLA-Potato
สตาร์ชจากแป้งข้าวโพดเพิ่มมากขึ้นและเมื่ออุณหภูมิที่ใช้ใน Thermoplastic Starch Filament as a Sustainable
การขึ้นรูปชิ้นงานสูงขึ้น Alternative to the Conventional PLA Filament:
5.2 ข้อเสนอแนะ Processing, Characterization, and FFF 3D
ถ้าต้องการขึ้นรูปชิ้นงานที่มีค่าความถูกต้องของขนาด Printing.”, ACS Sustainable Chemistry &
ชิ้นงานมากที่สุด สามารถขึ้นรูปชิ้นงานที่อุณหภูมิ 200 องศา Engineering, Vol.9, 2021, pp. 6923-6938.
เซลเซียสได้ในทุกอัตราส่วน และถ้าต้องการขึ้นรูปชิ้นงานที่มี 5. D. Popescu, A. Zapciu, C. Amza, F. Baciu and R.
ค่าความหยาบผิวเฉลี่ยของชิ้นงานใกล้เคียงกับชิ้นงานที่ Marinescu. “FDM Process Parameters Influence
อัตราส่วน 100:0 สามารถขึ้นรูปชิ้นงานที่อัตราส่วน 90:10 over the Mechanical Properties of Ploymer
ได้ Specimens.”, Polymer Testing 69, 2018, pp. 157-
166.
6. กิตติกรรมประกาศ 6 . B. Palai, M. Biswal S. Mohanty and S. Nayak. “In
ขอขอบคุณเจ้าหน้าที่ประจำห้องปฏิบัติการภาควิช า situ reactive compatibilization of polylactic acid
วิศวกรรมอุตสาหการ และขอขอบคุณคณะวิศวกรรมศาสตร์ ( PLA) and thermoplastic starch ( TPS) blends;
synthesis and evaluation of extrusion blown
354
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

films thereof”, Industrial Crops & Products,


Vol.141, 2019 , pp. 1-15.
7. M. Hanon, L. Zsidai and Q.Ma. “ Accuracy
investigation of 3D printed PLA with various
process parameters and different colors. ” ,
Materials Today: Proceedings, Vol.42, 2 0 2 1
pp. 3089-3096.
8. P. Pongprasert, S. Limudomsak, W. Kangsumrith
and J. Kloypayan. “Influence of 3D printing FDM
Process Parameters on Mechanical Properties of
Polybutylene Succinate (PBS) Blended with
Corn Starch.”, The 11th Conference on Industrial
Operations Development, 1st May 2020 pp. 683-
689.
9. A. Ouballouch et al. “Evaluation accuracy and
mechanical behavior of 3D printed reinforced
polyamide parts”, Peocedia Structural Integrity,
Vol.19, 2019, pp.433-441

355
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

สมบัติเชิงกลของพอลิแลคติกแอซิดผสมเทอร์โมพลาสติกสตาร์ชจากแป้งมันสำปะหลัง
ที่ขึ้นรูปด้วยเครื่องพิมพ์สามมิติ
Mechanical Properties of Polylactic Acid Blended with Thermoplastic Cassava Starch
Forming by 3D Printer

กีรณา ฮานาฟี* สมศิริ พลโคกก่อง จิรวรรณ คล้อยภยันต์ และ วรารัตน์ กังสัมฤทธิ์


ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปทุมธานี 12120
E-mail: keerana.hnf@gmail.com*

บทคัดย่อ
งานวิจัยฉบับนี้ทำการศึกษาสมบัติเชิงกลของพอลิแลคติกแอซิดผสมเทอร์โมพลาสติกสตาร์ชจากแป้งมันสำปะหลังที่ขึ้นรูป
ด้วยเครื่องพิมพ์สามมิติ โดยการผสมแป้งมันสำปะหลังกับกลีเซอรอลในอัตราส่วน 70:30 โดยน้ำหนักด้วยเครื่องผสมความเร็วสูง
เพื่อให้ได้เป็นเทอร์โมพลาสติกสตาร์ชจากแป้งมันสำปะหลัง จากนั้นทำการผสมพอลิแลคติกแอซิดกับเทอร์โมพลาสติกสตาร์ช จาก
แป้งมันสำปะหลังที่อัตราส่วน 100:0, 90:10, 80:20 และ 70:30 ด้วยเครื่องอัดรีดสกรูคู่ และทำการขึ้นรูปชิ้นงานด้วยเครื่องพิมพ์
สามมิติที่ช่วงอุณหภูมิ 170-240 องศาเซลเซียส ทำการทดสอบสมบัติเชิงกลของชิ้นงานด้วยเครื่องทดสอบแรงดึง จากผลการ
ทดสอบพบว่า ปริมาณเทอร์โมพลาสติกสตาร์ชจากแป้งมันสำปะหลังที่เพิ่มขึ้นส่งผลให้ค่าความต้านทานแรงดึง สูงสุดลดลง ในขณะที่
อุณหภูมิหัวหลอมไม่มีผลกระทบต่อค่าความเหนียว

คำสำคัญ: พอลิแลคติกแอซิด, เทอร์โมพลาสติกสตาร์ชจากแป้งมันสำปะหลัง, เครื่องพิมพ์สามมิติ

Abstract
This research presented the study of mechanical properties of Polylactic Acid (PLA) blended with
thermoplastic cassava starch (TPCS) forming by using a 3D Printer. TPCS was prepared by mixing cassava starch
with glycerol at the weight ratio of starch to glycerol at 70:30 using a high speed mixer. Polymer blends were
compounded by blending PLA with TPCS at the weight ratio of 100:0, 90:10, 80:20 and 70:30 using a twin-screw
extruder. The blended specimens were formed by using 3D printing technique at different forming
temperatures from 170 to 240°C. Mechanical properties of the specimens were then examined under tensile

356
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

loading at room temperature. The results indicated that the increasing amount of TPCS decreased the tensile
strength whereas the forming temperature showed no effect on ductility.

Keywords: Polylactic Acid (PLA), Thermoplastic cassava starch, 3D Printer

357
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

1. บทนำ 2.2 เทอร์โมพลาสติกสตาร์ช


อุตสาหกรรมในปัจจุบันหันมาให้ความสนใจกับเทคโนโลยี โดยทั่วไปพืชที่มีแป้งเป็น องค์ประกอบ เช่น ข้าว ข้าวโพด
ที ่ ก ำลั ง ได้ ร ับ ความนิ ยมอย่ างกว้ างขวางนั ้น คื อเทคโนโลยี และมันสำปะหลัง เป็นต้น ไม่ส ามารถนำมาขึ้นรูปโดยผ่าน
เครื่องพิมพ์สามมิติ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีที่นำมาขึ้นรูปชิ้นงานเพื่อ ความร้อนได้ เพราะเกิดการไหม้และเสื่อมสลาย [4] ดังนั้นจึง
เป็นชิ้นงานจำลองต้นแบบ โดยเครื่องพิมพ์สามมิติสามารถใช้ ได้นำกลีเซอรอลมาผสมกับพืชที่มีแป้งเป็นองค์ประกอบ เพื่อให้
กับวัส ดุได้หลากหลายชนิด ซึ่ง พลาสติกเป็น อีกหนึ่ง วัส ดุ ที่ เกิดเป็นเทอร์โ มพลาสติกสตาร์ช ซึ่ง สามารถผสมให้เข้ากับ
สามารถใช้ได้กับเครื่องพิมพ์สามมิติเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะใน พลาสติกได้มากขึ้น โดยกลีเซอรอลที่นำมาใช้มีลักษณะ เหลว
ปัจจุบันนั้นการใช้พลาสติกมีความจำเป็นในชีวิตเป็นอย่างมาก หนืด ใส ไม่มีกลิ่น เมื่อเติมกลีเซอรอลเข้าไปทำให้เนื้อของแป้ง
แต่อย่างไรก็ตามโดยทั่วไปพลาสติกไม่สามารถย่อยสลายได้ จึง เข้ากันได้กับพลาสติกมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้มีความยืดหยุ่น และมี
มี ก ารคิ ด ค้ น พลาสติ ก ชี ว ภาพที ่ ส ามารถย่ อ ยสลายได้ ใ น ความลื่น รวมถึงสามารถดูดซับความชื้นได้ดีจากคุณสมบัติของ
ธรรมชาติ ม าใช้ โดยพอลิ แ ลคติ ก แอซิ ด (Polylactic Acid, กลีเซอรอล [5]
PLA) ก็เป็นหนึ่งในพลาสติกชีวภาพ ซึ่งมีราคาสูงเนื่องจากมี 2.3 เครื่องพิมพ์สามมิติ
การนำเข้ามาในประเทศ งานวิจัยนี้จึงได้พัฒนาคิดค้นนำพอลิ เครื่องพิมพ์สามมิติเป็นเทคโนโลยีที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย
แลคติกแอซิดมาผสมกับเทอร์โมพลาสติกสตาร์ชจากแป้ง มั น ในปั จ จุ บ ั น ซึ ่ ง มี ห ลั ก การทำงานคือ เริ ่ ม จากใช้โ ปรแกรม
สำปะหลั ง (Thermoplastic Cassava Starch, TPCS) เพื่ อ คอมพิวเตอร์ช่วยในการออกแบบเพื่อออกแบบชิ้นงาน จากนั้น
ช่วยในการลดต้นทุน และลดขยะที่ทำลายสิ่ง แวดล้อม และ ก็ส ่ง ต่อไปที่ โ ปรแกรมคอมพิว เตอร์ช ่ว ยในการผลิ ต โดยใน
นำมาดึงเป็นเส้นเพื่อนำไปขึ้นรูปด้วยเครื่องพิมพ์สามมิติ เพื่อ งานวิจัยนี้ใช้โปรแกรมคูร่าเพื่อแบ่งชิ้นงานออกเป็นชั้น [6] และ
ศึกษาสมบัติเชิงกล ออกแบบทางเดินหัวหลอม และส่งคำสั่งไปยังเครื่องพิมพ์สาม
มิติ ในงานวิจัยนี้ใช้เครื่องพิมพ์สามมิติประเภทคาร์ทีเซียน โดย
2. ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง มีการเคลื่อนที่ฐานพิมพ์ในแนวแกนวาย และการเคลื่อนที่ของ
2.1 พอลิแลคติกแอซิด หัวหลอมในแนวแกนเอ็กซ์ และแนวแกนแซด
พอลิ แ ลคติ ก แอซิ ด เป็ น พอลิ เ มอร์ ธ รรมชาติ ช นิ ด หนึ่ ง
สามารถย่อยสลายเองได้โดยการฝังกลบในดินซึ่งใช้ระยะเวลา 3. วิธีการวิจัย
สั้นในการย่อยสลายซึ่งถ้าหากนำมาขึ้นรูปชิ้นงานมีลักษณะใส โครงงานวิจ ัยฉบับนี้ได้แบ่ง ขั้นตอนการวิจ ัยออกเป็น 2
คล้ายแก้ว [1,2] โดยพอลิแลคติกแอซิดที่ใช้ในงานวิจ ัย นี้คือ ขั้นตอนหลัก คือ ขั้นตอนการผสมและดึงเส้นพลาสติก และ
พอลิ แ ลคติ ก แอซิ ด ชนิ ด 3D850 โดยมี ส มบั ต ิ ค ื อ อุ ณ หภูมิ ขั้นตอนการขึ้นรูปชิ้นงานด้วยเครื่องพิมพ์สามมิติ
หลอมเหลวอยู ่ใ นช่ว ง 165–180 องศาเซลเซีย ส, อุ ณ หภูมิ 3.1 การผสมและดึงเส้นพลาสติก
เปลี่ยนสภาพคล้ายแก้ว 55-60 องศาเซลเซียส, ค่าความเค้น เริ่มจากการอบพอลิ แลคติกแอซิดและแป้งมันสำปะหลัง
แรงดึง 50 MPa , ค่าเปอร์เซ็นต์การยืดตัว 3.31 เปอร์เซ็นต์ , เพื ่ อ ไล่ ค วามชื ้ น แล้ ว ทำการผสมแป้ ง มั น สำปะหลั ง กั บ
อุณหภูมิการอบ 80-130 องศาเซลเซียส [3] กลีเซอรอลในอัตราส่วน 70:30 โดยน้ำหนัก ด้วยเครื่องผสม
ความเร็วสูงเพื่อให้ได้เป็นเทอร์โมพลาสติกสตาร์ชจากแป้งมัน
สำปะหลัง จากนั้นทำการผสมพอลิ แลคติกแอซิดกับเทอร์โ ม
พลาสติกสตาร์ช จากแป้งมันสำปะหลัง ในอัตราส่วน 100:0,
358
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

90:10, 80:20 และ 70:30 โดยน้ ำหนัก พร้อมกับดึงเป็นเส้น ตารางที่ 1 ปัจจัยและค่าที่กำหนดของปัจจัยคงที่


พลาสติกด้วยเครื่องอัดรีดสกรูคู่โดยควบคุมให้เส้นมีขนาดอยู่
ในช่วง 1.65-1.75 มิลลิเมตร
3.2 การขึ้นรูปชิ้นงานด้วยเครื่องพิมพ์สามมิติ
ทำการขึ ้ น รูป ชิ้ น งานรูป ทรงดัม เบลตามมาตรฐานของ
สมาคมทดสอบและวัสดุแห่งอเมริกา (American Society of
Testing and Materials, ASTM) ด้ ว ยโปรแกรมออโต้ เ ดส
ฟิวชั่น 360 สำหรับทดสอบสมบัติ เชิง กล ดังแสดงในรูปที่ 1
โดยกำหนดปัจจัยคงที่จากโปรแกรมอัลติเมเกอร์คูร่าและปัจจัย
แปรผั น ดั ง แสดงในตารางที ่ 1 และตารางที่ 2 ตามลำดับ
ตารางที่ 2 ปัจจัยและค่าที่กำหนดของปัจจัยแปรผัน
จากนั้นทำการขึ้นรูปชิ้นงานด้วยเครื่องพิมพ์สามมิติช นิ ดหั ว
หลอมประเภทคาร์ทีเซียน

4. ผลการทดลอง
รูปที่ 1 ลักษณะและขนาดของชิ้นงานมาตรฐาน ASTM D638 4.1 ลักษณะเส้นพลาสติกจากการผสมและดึงเส้น
type IV [7] (หน่วยมิลลิเมตร) ผลการดึงเส้นพลาสติกผสมระหว่างพอลิแลคติกแอซิด
กั บ เทอร์ โ มพลาสติ ก สตาร์ ช จากแป้ ง มั น สำปะหลั ง ใน
อัตราส่วน 100:0, 90:10, 80:20 และ 70:30 พบว่ า เมื่ อ
ผสมเทอร์โ มพลาสติก สตาร์ช จากแป้ ง มั น สำปะหลัง ใน
ปริมาณมากขึ้น ส่งผลให้เส้นพลาสติกที่ได้มีความขุ่นและ
เริ่มเปลี่ยนเป็นสีที่เข้มขึ้น ดังแสดงในรูปที่ 2 อีกทั้งยัง มี
ความเปราะเพิ่มมากขึ้น โดยอัตราส่วนที่ 70:30 ไม่สามารถ

359
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

นำไปขึ้นรูปชิ้นงานด้วยเครื่องพิมพ์สามมิติได้เพราะเส้ น ชิ้นงานมีสีเข้มขึ้นเล็กน้อย และอัตราส่วนที่ 80:20 ชิ้นงาน


พลาสติกมีความเปราะมาก มีสีอมเหลือง ดังแสดงในรูปที่ 3

รูปที่ 2 ลักษณะของเส้นพลาสติกที่อัตราส่วน 100:0, 90:10, รูปที่ 3 ตัวอย่างชิ้นงานอัตราส่วน 100:0, 90:10 และ 80:20
80:20 และ 70:30 เรียงลำดับจากบนลงล่าง ที่อุณหภูมิ 200 องศาเซลเซียส เรียงลำดับจากบนลงล่าง

4.2 ลักษณะชิ้นงานจากการขึ้นรูปด้วยเครื่องพิมพ์สามมิติ 4.3 ผลการทดสอบสมบัติเชิงกล


จากการขึ้นรูปชิ้นงานด้วยเครื่องพิมพ์ส ามมิติ พบว่า จากผลการทดสอบสมบัติเชิงกลของชิ้นงานด้วยเครื่องวัด
ช่วงของอุณหภูมิที่สามารถขึ้นรูปชิ้นงานได้ของอัตราส่วน แรงดึง เนื่องจากชิ้นงานที่มีอัตราส่วน 100:0 และ 80:20 ไม่
100:0 คือ 180-240 องศาเซลเซียส อัตราส่วน 90:10 คือ สามารถขึ้นรูปได้ในช่วงอุณหภูมิ 170 และ 240 องศาเซลเซียส
170-240 องศาเซลเซียส และอัตราส่วน 80:20 คือ 170- ตามลำดับ จึงทำให้ไม่มีผลของสมบัติเชิงกล และจากผลการ
230 องศาเซลเซียส โดยที่อุณหภูมิต่ำกว่าช่วงของอุณหภูมิ ทดลองพบว่า ในช่วงทุกอุณหภู มิข องการขึ้ นรูปชิ้ นงานที ่ มี
ที่ขึ้นรูปได้ พบว่าเส้นพลาสติกไม่เกิดการหลอม และที่ อัตราส่วน 100:0 มีค ่าความเค้ นแรงดึง สูง สุ ด และชิ้ น งาน
อุณหภูมิสูงกว่าช่วงที่อุณหภูมิขึ้นรูปได้ พบว่าเส้นพลาสติก อัตราส่วน 80:20 มีค่าความเค้นแรงดึงต่ำสุด เนื่องจากมีการ
เกิดการไหม้บริเวณหัวหลอม ทำให้เกิดการอุดตัน จึงทำให้ ผสมเทอร์โมพลาสติกสตาร์ชจากแป้งมันสำปะหลังในปริมาณที่
ไม่สามารถขึ้นรูปชิ้นงานได้ มากขึ้น ส่ง ผลให้ค่าความเค้นแรงดึงลดลง ซึ่ง สอดคล้องกับ
จากการตรวจสอบโดยการพินิจพบว่าลักษณะชิ้นงานที่ งานวิจัยอื่น ที่มีการทดลองในทำนองเดียวกัน สาเหตุที่ทำให้ค่า
อัตราส่วน 100:0 ชิ้นงานมีสีขาวใส มองเห็นรูปแบบการ ความเค้ น แรงดึ ง มี ค ่ าต่ ำ ลงเนื่ อ งจากการผสมของเทอร์โ ม
พิ ม พ์ ไ ด้ อ ย่า งชั ด เจน ส่ ว นชิ ้ น งานที่ มี การผสมเทอร์โ ม พลาสติกสตาร์ชทำให้มีการแทรกตัวเข้าไปในเนื้อพลาสติก ทำ
พลาสติกสตาร์ช จากแป้งมันสำปะหลัง อัตราส่วนที่ 90:10 ให้การยึดติดกันระหว่างพลาสติกลดลง [8] นอกจากนี้ยังพบว่า
ค่ า ความเค้ น แรงดึ ง สู ง สุ ด ของแต่ ล ะอั ต ราส่ ว นอยู ่ ใ นช่ ว ง
อุณหภูมิหัวหลอม 190-200 องศาเซลเซียส เนื่องจากเป็นช่วง
ที่เส้นพลาสติกเกิดการหลอมเหลวและเกิดการไหลของเส้นที่
สม่ำเสมอ โดยอัตราส่วน 100:0, 90:10 และ 80:20 มีค่าความ

360
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

เค้ น แรงดึ ง สู ง สุ ด เท่ า กั บ 47.39, 41.70 และ 34.58 เมกะ เปราะ จึง ทำให้ การขึ้ นรู ปชิ ้ นงานด้ ว ยเครื่องพิม พ์ส ามมิ ติ
ปาสคาล ตามลำดับดังแสดงในรูปที่ 4 สามารถทำได้ในอัตราส่วนสูงสุด เพียง 80:20 แต่การขึ้นรูป
จากรูปที่ 5 แสดงผลความสัมพันธ์ระหว่างค่าความเหนียว ชิ ้ น งานที ่ ม ี ก ารผสมเทอร์ โ มพลาสติ ก สตาร์ ช จากแป้ ง มั น
กับอุณหภูมิหัวหลอมในอัตราส่วนต่าง ๆ พบว่าอุณหภูมิหัว สำปะหลังที่อุณหภูมิสูง เกิดการไหม้บริเวณหัวหลอมที่ ส่งผล
หลอมและการผสมเทอร์ โ มพลาสติ ก สตาร์ ช จากแป้ ง มั น ให้ไม่สามารถขึ้นรูปชิ้นงานได้ ทั้งนี้การผสมเทอร์โมพลาสติก
สำปะหลังในอัตราส่วน 90:10 และ 80:20 ไม่ส่งผลต่อค่าของ สตาร์ช จากแป้ง มันสำปะหลัง ลงไปใน พอลิ แลคติกแอซิด ที่
ความเหนียว และพบว่ามีค่าความเหนียวอยู่ในช่วงประมาณ 7- อัตราส่วน 90:10 และ 80:20 สามารถลดอุณหภูมิในการขึ้ น
11 เปอร์เซ็นต์ รูปด้วยเครื่องพิมพ์สามมิติจาก 180 องศาเซลเซียส เป็น 170
องศาเซลเซียส
สำหรับการทดสอบสมบัติเชิงกลเมื่อผสมเทอร์โมพลาสติก
สตาร์ ช จากแป้ ง มั น สำปะหลั ง ลงในพอลิ แ ลคติ ก แอซิ ด ใน
อั ต ราส่ ว นที ่ ม ากขึ ้ น พบว่ า ค่ า ความเค้ น แรงดึง มีค ่าลดลง
ในขณะที่ปริมาณเทอร์โ มพลาสติกสตาร์ชและอุณหภูมิที่ หัว
หลอมไม่มผี ลต่อค่าความเหนียวของชิ้นงาน ดังนั้นเพื่อเป็นการ
ลดต้นทุนในการผลิตสามารถเติมเทอร์โมพลาสติกสตาร์ช จาก
รูปที่ 4 ความสัมพันธ์ระหว่างค่าความเค้นแรงดึงกับอุณหภูมิ แป้ง มันสำปะหลัง ในอัตราส่วน 90:10 และ 80:20 และเมื่อ
หัวหลอมในอัตราส่วนต่าง ๆ คำนึง ถึง สมบัติทางกล สามารถทำการขึ้นรูปที่อุณหภูมิหั ว
หลอมในช่วง 190-200 องศาเซลเซียส

6. กิตติกรรมประกาศ
ขอขอบคุ ณ เจ้ า หน้ า ที ่ ป ระจำห้ อ งปฏิ บ ั ต ิ ก ารภาควิช า
วิศวกรรมอุตสาหการ และขอขอบคุณคณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

เอกสารอ้างอิง
1. อมร ร ั ต น์ เล ศ วร สิ ร ิ ก ุ ล , 2554, “Poly(lactic acid):
Polyester from Renewable Resources”, วิ ศ วกรรม-
รูปที่ 5 ความสัมพันธ์ระหว่างค่าความเหนียวกับอุณหภูมิ
สาร มก., ปีที่ 24, ฉบับที่ 77, หน้า1-5.
หัวหลอมในอัตราส่วนต่าง ๆ
2. Siawsathanakul, T., Teerawit, V., Kangsumrith, W.
5. สรุปผลการทดลองและข้อเสนอแนะ
and Kloypayan, J., 2019, “Mechanical properties
จากการผสมพอลิ แ ลคติ ก แอซิ ด และเทอร์ โ มพลาสติ ก
of polybutylene succinate blended with
สตาร์ชจากแป้งมันสำปะหลังสามารถทำการผสมและดึงเส้นได้
thermoplastic cassava starch forming by fused
ในอัตราส่วนสูงสุด คือ 70:30 แต่เส้นพลาสติกผสมที่ได้มีความ
361
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

deposition modeling”, Thammasat Engineering


Journal, Vol. 5(2), June2019, pp. 14-19.
3. NatureWorks, Ingeo Biopolymer 3D850 Technical
Data Sheet 3D Printing Monofilament, Vol 1, pp. 1-
2.
4. Susit, N. and Pasin, A., 2019, “Fused Deposition
Modelling of Polybutylene Succinate Blended
with Thermoplastic Corn Starch”, The 10th
Conference on Industrial Operations
Development 2019, pp. 1-8.
5. ฐิ ต ิ พ ร เซี ย สธนกุ ล และ วิ ร ั ล พี ช ร ธี ร ะวิ ท ย์ , 2561,
“การศึกษาสมบัติเชิง กลและสมบัติทางกายภาพของพอ
ลิบิวทีลีนซัคซิเนตกับเทอร์โมพลาสติกสตาร์ชจากแป้งมัน
ส ำป ะห ล ั ง ที ่ ข ึ ้ น ร ู ป ด้ ว ยเค ร ื ่ อ ง พิ ม พ์ ส ามมิ ติ ”,
วิศวกรรมศาสตร์สารธรรมศาสตร์ , ปีที่ 5, ฉบับที่ 2, หน้า
1-6.
6. P .AlenThomas , P . KavyaAahlada , N. SaiKiran and
Jayanth Ivvala. A Reziew On Tranaition In The
Manufacturing Of Mechanical Components From
Conventional Techniques To Rapid Castind Using
Rapid Prototyping. Materials today proceedings
2018;5:11990-2002.
7. Goutham, R. and Vamshi, K., “Tensile and Water
Absorption Properties of FRP Composite
Laminates without Voids and With Voids”, 11th
International Symposium onPlasticity and Impact
Mechanics, Implast 2016, pp. 1-8.
8. Pataraporn, P. and Supachai, L., 2020, “Influence
of 3D Printing FDM Process Parameters on
Mechanical Properties of Polybutylene Succinate
( PBS) Blended with Corn Starch”, The 11th
Conference on Industrial Operations
Development 2020, pp. 1-7.
362
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

การลดรอบเวลาการผลิตในกระบวนการประกอบชิ้นงาน
กรณีศึกษา : อุตสาหกรรมประกอบรถยนต์
Cycle Time Reduction in an Assembly Process:
The Case Study of Automobile Assembly Industry

ชีวา ชูวัง1* กิตติบดี แสงสนิท2* และ จิรรัตน์ ธีระวราพฤกษ์3


1,2,3
ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปทุมธานี
E-mail: cheeva.cho@dome.tu.ac.th1*, kittibodee.san@dome.tu.ac.th 2*

บทคัดย่อ
งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะลดรอบเวลาการผลิตในกระบวนการประกอบชิ้นงานของอุตสาหกรรมรถยนต์
กรณีศึกษาที่ได้ทำการพิจารณาคือ อุตสาหกรรมรถยนต์ แห่งหนึ่ง จากการศึกษาเบื้องต้นพบว่า สายการผลิตดังกล่าวมีจำนวน
ทั้งสิ้น 12 สถานีงาน สถานีงานที่ทำการศึกษาเป็นสถานีงานที่มีรอบเวลาการผลิตสูงที่สุด โดยงานวิจัยนี้ได้ประยุกต์ใช้หลักการ
ECRS เพื่อลดความสูญเปล่าในการทำงานและหลักการในการปรับเปลี่ยนท่าทางการทำงานเพื่อลดความเมื่อยล้าจากการทำงาน
ของพนักงาน หลังจากนั้นนำผลการวิจัยไปแก้ไขปรับปรุงสายการผลิต พบว่า รอบเวลาการผลิตโดยรวมลดลงจาก 183 วินาทีเป็น
176.62 วินาที คิดเป็นลดลงร้อยละ 3.49 นอกจากนั้นจากการปรับเปลี่ยนท่าทางการทำงาน ทำให้พนักงานเกิดความเมื่อยล้าที่
ลดลง

คำสำคัญ : รอบเวลาการผลิต หลักการ ECRS การปรับปรุงสายการผลิต

Abstract
This research aims to reduce the cycle time in the assembly process of the automobile industry. The
case study is an automobile industry. Based on the preliminary study, the process is composed of 12 working
stations and the studied station has the highest cycle time. This research then applies the concept of ECRS to
reduce wastes and the concept to improve the working postures of workers. After applying the results of this
research in the real process, it is found that totally of the cycle time is reduced from 183 seconds to 176.62
seconds which is 3.49 percent. Further, the improved posture has reduced operators’ fatigue.

363
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

Keyword : Cycle time, ECRS Principle, Improving the Production Efficiency

364
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

1. บทนำ 2. ทฤษฎีและวรรณกรรมปริทัศน์
ในปัจจุบัน อุตสาหกรรมรถยนต์ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่ มี หลักการ ECRS เป็นหลักการง่าย ๆ ที่ใช้ในการเริ่มต้นลด
การแข่งขันที่ค่อนข้างสูง กรณีศึกษาเป็นบริษัทผู้ผลิตรถยนต์ ความสูญเปล่า ซึ่งประกอบด้วย การกำจัด (Eliminate) การ
ยี่ห้อหนึ่ง ซึ่ง ณ ปัจจุบัน ได้มีการเปิดสายการผลิตใหม่ เพื่อ รวมกัน (Combine) การจัดใหม่ (Rearrange) และการทำให้
รองรับรถยนต์ร ุ ่ นใหม่ ท ี่ เ พิ ่ง จะเปิ ด ตั ว ในตลาดรถยนต์ ซึ่ง ง ่ า ย (Simplify) [1] โ ดยได้ ม ี ผ ู ้ ป ร ะยุ ก ต์ ใ ช้ ECRS กั บ
หลังจากที่บริษัทได้เปิดตัวรถยนต์รุ่นนี้ พบว่า รถยนต์รุ่นนี้เป็น กระบวนการที่หลากหลาย
ที่ต้องการของตลาด โดยมียอดจองและยอดขายจำนวนมาก [2] ได้ ป รั บ ปรุ ง และลดเวลากระบวนการทำงานของ
ทำให้พยายามที่จะผลิตรถยนต์ให้ได้จำนวนมากขึ้น กรณี ศ ึ ก ษา ผลการดำเนิ น งานทำให้ ล ดเวลาเฉลี ่ ย ที ่ใ ช้ใน
จากการสำรวจกระบวนการผลิ ต ที ่ ใ ช้ ใ นการผลิ ต ของ กระบวนการผลิ ต คิ ด เป็ น 56.28% [3] ได้ ท ำการปรับปรุง
รถยนต์รุ่นกรณีศึกษานี้ พบว่าประกอบด้วยสถานีงานทั้งหมด กระบวนการผลิตด้ว ยเทคนิค ECRS กับกรณีศ ึกษาซึ่ ง เป็ น
12 สถานีงาน และเวลาที่ใช้ในแต่ละสถานีงานในรูปที่ 1 โรงงานผลิตถุงมือยาง ซึ่งผลการประยุกต์ใช้ทำให้ระยะเวลากร
บวนการผลิ ต ลดลงคิ ด เป็ น ร้ อ ยละ 9.69 [4] ได้ ป รั บ ปรุ ง
ประสิทธิภาพสายการผลิตขดลวดแม่เหล็ก ด้วยหลักการ ECRS
ซึ่งผลการประยุกต์ใช้ พบว่า ประสิทธิภาพสายการผลิตเพิ่มขึ้น
75.7 เปอร์เซ็นต์ ต่อมา [5] ได้ป รับ ปรุ ง กำลัง กำรผลิตของ
สำยกำรผลิตชิน้ ส่วนเบำะที่นัง่ รถยนต์ ซึ่งจำกกำรปรับปรุง
ทำให้จำนวนพนักงำนที่ใช้ในกระบวนกำรผลิตลดลงจำก
26 คนเป็ น 20 คน และกำรใช้พ้นื ที่ในกระบวนกำรผลิต
ลดลงไป 22.85 เปอร์ เ ซ็ น ต์ [6] ได้ ศ ึ ก ษาการปรั บ ปรุ ง
รูปที่ 1 แผนภูมิค่า Cycle Time ในแต่ละสถานีงาน กระบวนการผลิตสวิทช์โอเวอร์ไดร์ ได้นําหลักการศึกษาการ
เคลื่อนไหวและเวลา เทคนิค ECRS เพื่อปรับปรุงขั้นตอนการ
จากรูปที่ 1 พบว่า สถานีงานที่มีเวลาที่ใช้ในการผลิ ตสูง ประกอบสวิทช์ โดยเปลี่ยนอุปกรณ์การทำงานและลดขั้นตอน
ที่สุดคือ สถานีงาน การประกอบชิ้นส่วนรถยนต์ 1 (Line trim โดยปรับเปลี่ยนวิธีการทำงาน ผลการปรับปรุงสามารถลดเวลา
1) มีเวลา Cycle time ที่ส ูง ที่ส ุดนั่นคือ 184 วินาที ดัง นั้น ประกอบจาก 50.49 วินาทีลดลงเหลือ 36.00 วินาที จากนั้น
สถานีงาน การประกอบชิ้นส่วนรถยนต์ 1 จึงถูกเลือกมาเป็น [7] ได้ศ ึกษาการลดระยะเวลาในขั้นตอนการเบิกจ่ายสินค้า
สถานีงานที่จะทำการศึกษา สำเร็จรูปภายในคลังสินค้า กรณีศึกษา บริษัท ฮอลแลนด์สตาร์
งานวิจัยนี้เริ่มจากการศึกษากระบวนการประกอบชิ้นงาน บรรจุภัณฑ์จำกัด ได้ทำการศึกษาจากแผนภูมิกระบวนการไหล
ของสถานีกรณีศึกษาในปัจจุบัน หลังจากนั้นจึงทำการวิเคราะห์ ของกิจกรรม (Activity Process Flow Chart) แล้วจึงนำการ
หาแนวทางในการลดรอบเวลาการผลิตตามหลักการของ ECRS ลดความสู ญ เปล่ า ด้ ว ยหลั ก การ ECRS ผลการวิ จ ั ย พบว่ า
และเพื่อลดความเมื่อยล้าในการทำงานของพนักงาน ผู้วิจัยจึง ระยะเวลาในขั้นตอนการเบิกจ่ายสินค้าสำเร็จรูปจากเดิมอยู่ที่
ได้หาแนวทางในการปรับปรุงท่าทางการทำงาน ซึ่งเมื่อทำการ 212 นาที 30 วินาที เมื่อปรับปรุงขั้นตอนการเบิกจ่ายสิ นค้า
ปรับปรุงสำเร็จ จะสามารถทำให้รอบเวลาการผลิตลดลงได้ สำเร็จรูปแล้วใช้ระยะเวลาเพียง 184 นาที 17 วินาที ลดลง
และพนักงานมีท่าทางการทำงานที่เหมาะสมมากขึ้น 13.25 % [8] ได้ศ ึกษาการลดความสูญเปล่าในกระบวนการ
365
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

บรรจุภัณฑ์ผงซักฟอกด้วยการใช้เทคนิค ECRS ผลการปรับปรุง โดยแผนผั ง ของสายการผลิ ต จะประกอบไปด้ ว ยพนั ก งาน


ปรากฏว่าสามารถลดคนทำงานลงจาก 12 คน เหลือ 9 คน จำนวน 2 คน ซึ่ง จะเเบ่ง เป็นคนซ้าย (TR-01L) และคนขวา
ระยะการไหลของเครื่องจักร A ลดลงจาก 31.36 เมตร เป็น (TR-01R) ดั ง รู ป ที ่ 3 และมี ส ั ด ส่ ว นพื ้ น ที ่ ก ารทำงานเป็ น
24.41 เมตร เครื่องจักร B ลดลงจาก 26.48 เมตร เป็น 24.41 340x600 (เซนติเมตร) ดังรูปที่ 4
เมตร รอบเวลาของเครื่อง A และ B ลดลงจาก 397 วินาที
เป็น 319 วินาที และ 354 วินาที เป็น 319 วินาทีตามลำดับ
เป็นผลให้สมดุลสายการผลิตเพิ่มขึ้นจาก 72% เป็น 92% ในปี
เดี ย วกั น [9] ได้ ศ ึ ก ษาการปรั บปรุ ง ประสิ ท ธิ ภ าพสายการ
ประกอบรถยนต์ โดยใช้แผนภูมิกระบวนการไหลในการค้นหา
จุดที่เป็นคอขวด และนำหลักการ ECRS ผลการปรับปรุงพบว่า
สายการประกอบรถยนต์รุ่น A มีรอบระยะเวลาในการประกอบ
จากเดิม 294.09 วินาที/คัน ลดลงเหลือ 187.99 วินาที/คัน
สามารถลดรอบระยะเวลาการประกอบได้ 36.07 เปอร์เซ็นต์
ผลผลิตที่ได้เพิ่มขึ้นจากเดิม 98 คัน/วัน เป็น 153 คัน/วัน และ
ประสิทธิภาพสมดุลของสายการประกอบรถยนต์รุ่น A เพิ่มขึ้น รูปที่ 3 แผนผังสายการผลิตกระบวนการประกอบชิ้นงาน
36.89 เปอร์เซ็นต์
นอกจากนั้น ECRS ยังสามารถประยุกต์ใช้กับกระบวนการ
ทำงานในด้านต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง เช่น [10] ได้ประยุกต์ใช้
เทคนิค ECRS กับกระบวนการทำงานระบบตู้รับคืนหนังสือ
อัตโนมัติ สำนักบรรณสารการพัฒนา สถาบันบัณฑิตพัฒนบริ
หารศาสตร์ ซึ่ง ผลการประยุกต์ใช้ ECRS ทำให้ขั้นตอนของ
กระบวนการทำงานลดลงคิดเป็นร้อยละ 58.82 และรอบเวลา
ทั้ง หมดของกระบวนการทำงานลดลงคิดเป็นร้อยละ 88.63
และ [11] ได้ประยุกต์ใช้ ECRS กับบริษ ัทขนส่ง ระบบ Milk
Run โดยผลจากการประยุ ก ต์ ใ ช้ ECRS ทำให้ ส ามารถ
ประหยัดเวลากระบวนการได้ร้อยละ 50 จากเดิมใช้ระยะเวลา
120 นาทีเหลือ 60 นาที รูปที่ 4 สัดส่วนพื้นที่การทำงานของสายพาน

3. การเก็บรวบรวมข้อมูลและการวิเคราะห์ 3.2 ขั้นตอนกระบวนการผลิต


3.1 ข้อมูลทั่วไปในสายการผลิต การศึกษาเริ่มจากการศึกษากระบวนการผลิตในปัจ จุบั น
บริษ ัทที่ทำการศึกษาเป็ น บริษ ัท ที ่ท ำการผลิ ตชิ้ น ส่ ว น โดยได้ทำการศึกษาอย่างละเอียดและจับเวลาในแต่ละงานย่อย
ประกอบต่าง ๆ ของรถยนต์ แต่การศึกษานี้จะมุ่งเน้นเพียงหนึ่ง ซึ่ง จะเริ่มจากการจับเวลาในแต่ล ะงานย่อยจำนวน 10 ครั้ง
สถานีงานเท่านั้น นั่นคือสถานีงานการประกอบชิ้นส่วนรถยนต์ แล้วการหาจำนวนครั้ง ที่เหมาะสมของการจับเวลา โดยใช้
366
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

ตาราง Maytag [12] และยัง มีการบันทึกเวลาโดยใช้ ข ้ อ มู ล ตั้งค้ำ Hood LH มาไว้หลังขั้นตอนการติดตั้ง Protectorที่


เ อ ก ส า ร ม า ต ร ฐ า น ก า ร ท ำ ง า น (Standardize Work Fender LH สามารถลดการเดินที่สูญเปล่าของพนักงานได้
Combination Table Sheet) มีการคำนวณหาเวลามาตรฐาน การปรับปรุงครั้งที่ 4 การย้ายขั้นตอน การประกอบสาย
(Standard time) โดยสิ่งที่คำนวณได้คือ มี อัตราการทำงาน เซ็นเซอร์ ABS หน้า RH & กด Clip Lock มาไว้หน้าขั้ น ตอน
(Rating Factor) เท่ า กั บ 1.01 และเวลาเผื ่ อ (Allowance) การประกอบ Shock หน้า RH สามารถปรับปรุง ท่าทางการ
เท่ากับ 5% จากนั้นจึงมีการวิเคราะห์แนวทางการแก้ ปัญ หา ทำงานที่ไม่ถูกต้องได้
แบบ 5W 1H เพื่อวิเคราะห์ปัญหา และการวิเคราะห์โดยใช้ การปรับปรุงครั้งที่ 5 การย้ายขั้นตอนการประกอบ Guide
หลักเกณฑ์ ECRS มาปรับปรุงขั้นตอนการปฏิบัติงาน รูปที่ 5 rail Bumper RH ไปไว้หลังขั้นตอนการ ติดตั้ง Protector ที่
แสดงแผนภูมกิ ำรไหลของพนักงงำนฝัง่ ซ้ำยและฝัง่ ขวำก่อน Locker sine panel ด้านหลัง RH สามารถลดระยะเวลาการ
กำรปรับปรุง ซึ่งจำกกำรวิเครำะห์พบว่ำ รอบเวลำกำรผลิต ทำงานได้ 7.51 วินาที
ก่ อ นปรับ ปรุ ง ของพนั ก งำนฝั ง่ ซ้ ำ ยมีค่ ำ เท่ ำ กับ 187.93 S (Simplify) การทำให้ง่ายขึ้น สามารถทำได้ ดังนี้
วินำที และรอบเวลาการผลิตก่อนปรับปรุงของพนักงานฝั่งขวา การปรับปรุงครั้งที่ 6 การใช้กระเป๋าใส่ Nut และ Bolt เข้า
มีค่าเท่ากับ 183.50 วินาที มาช่วย ในทุกขั้นตอนที่มีการหยิบ Nut และ Bolt สามารถลด
3.3 แนวทางการประยุกต์ใช้ ECRS ระยะเวลาการทำงานได้ 4.56 วินาที
จากการวิเคราะห์แผนภูมิกำรไหลของพนักงงำนฝั ง่ ซ้ำย การปรับปรุงครั้งที่ 7 การปรับปรุงในขั้นตอนของการหยิบ
และฝัง่ ขวำก่อนกำรปรับปรุง ผูว้ จิ ยั จึงได้หำแนวทำงในกำร Protector และติดตั้ง Protector ของพนักงานฝั่งขวา โดยทำ
ป ร ะ ยุ ก ต์ ใ ช้ ECRS เ พื่ อ ล ด ร อ บ เ ว ล ำ ก ำ ร ผ ลิ ต ใน การปรับปรุงการวาง Protector โดยมีการจัดให้อยู่ในลักษณะ
กระบวนกำรประกอบชิ้นงำน โดยมีรำยละเอีย ดของกำร ของการไขว้สลับกันแล้วหยิบเป็นคู่ เพื่อทำให้หยิบได้ง ่ายขึ้น
ประยุกต์ใช้ ECRS ดังรูปที่ 5 และไม่ต้องเสียเวลาดึง Protector ออก และการย้ายตำแหน่ง
ของ Dolly ให้ไกล้พื้นที่การทำงานมากขึ้น เพื่อลดความสูญ
4. ผลการดำเนินงานวิจัย เปล่าในเรื่องของการเดิน สามารถลดระยะเวลาการทำงานได้
E (Eliminate) การกำจัดขั้นตอนที่ไม่จำเป็น สามารถทำ 5.48 วินาที
ได้ดังนี้ จากที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ทำให้สามารถเขียนแผนภูมิ กำร
การปรับปรุงครั้งที่ 1 การยืนรอพนักงานฝั่งขวาทำงานให้ ไหลของพนักงงำนฝั ง่ ซ้ำยและฝั ง่ ขวำหลังกำรปรับปรุง ดัง
เสร็จก่อน ในขั้นตอนของการติดตั้ง JIG ขาตั้งค้ำ Hood LH ในรูปที่ 6
ทำให้สามารถลดเวลาการทำงานลงไปได้ 4.27 วินาที
R (Rearrange) การจัดลำดับขั้นตอนใหม่ สามารถทำได้ 5. สรุปผลการวิจัย
ดังนี้ งานวิจัยนี้ได้ใช้เทคนิคการศึกษางาน และการนำหลักการ
การปรับปรุงครั้งที่ 2 การย้ายขั้นตอนการหยิบคานหม้อน้ำ ECRS เข้ามาช่วยปรับปรุง โดยสามารถลดขั้นตอนการทำงาน
ตัวบนไปไว้ในช่อง dolly SPS มาทำก่อนขั้นตอนการย้ ายใบ ของพนักงานฝั่งซ้าย จากเดิม 46 ขั้นตอน เหลือ 44 ขั้นตอน
งานประกอบมาติดหน้ารถ สามารถลดระยะเวลาการทำงานได้ นอกจากนี้พนักงานฝั่งซ้าย สามารถลดเวลาปฏิบัติงาน เวลา
3.15 วินาที สูญเปล่า และเวลาครบรอบการปฏิบัติงาน ได้ 8.01, 3.30 และ
การปรับปรุงครั้งที่ 3 การย้ายขั้นตอนการติดตั้ง JIG ขา 11.31 วิ น าที ตามลำดั บ รวมถึ ง อั ต ราการใช้ ป ระโยชน์
367
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

(Utilization) เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.62% พนักงานฝั่งขวา สามารถ มือยาง จ. สงขลา, สารนิพนธ์, สาขาวิช าบริหารธุ ร กิ จ
ลดเวลาปฏิ บ ั ต ิ ง าน เวลาสู ญ เปล่ า และเวลาครบรอบการ มหาวิทยาลัยสงชลานครินทร์.
ปฏิบัติงาน ได้ 6.02, 2.61 และ 8.63 วินาที ตามลำดับ รวมถึง 4. ธนิดา สุนารักษ์, ตุลาคม 2555, การปรับปรุงประสิทธิภาพ
อัตราการใช้ประโยชน์ (Utilization) เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.86% สายการผลิต กรณีศ ึกษา: สายการผลิตขดลวดแม่เหล็ก
และ รอบเวลาการผลิต โดยรวมลดลงจาก 183 วินาที เ ป็ น (Stator) รุ่น D Frame. การประชุม ว ิ ช า ก า ร ข ่ า ย ง า น
176.62 วินาที คิดเป็นลดลงร้อยละ 3.49 เวลาที่ลดลงทำให้ วิศวกรรมอุตสาหการ ประจำปี พ.ศ. 2555, 17-19 ตุลาคม
กำลังการผลิตเพิ่มขึ้น โดยสามารถลดรอบเวลาการผลิตลงได้ 2555 ชะอำ เพชรบุรี, 649.
6.38 วินาที คิดเป็น 51.04 วินาทีต่อวัน และ 12,402 วินาที 5. สุจินดำ ศรัณ ย์ป ระชำ, 2556, กำรปรับ ปรุ ง กำลัง กำร
ต่อปี สามารถผลิตรถเพิ่มขึ้นประมาณ 70 คันต่อปี คิดเป็น ผลิต ของสำยกำรผลิต ชิ้นส่ว นเบำะที่นัง่ รถยนต์ ด้ว ย
รายได้ต่อปีได้ประมาณ 43,796,669 บาท แนวคิด ระบบกำรผลิต แบบโตโยต้ ำ . วำรสำร
วิศวกรรมศำสตร์ (ISSN: 1906-3636) ปี ที่ 5
6. กิตติกรรมประกาศ ฉบับที่ 1, 11.
ขอขอบคุณบริษัทกรณีศึกษาที่ให้เข้าไปทำการศึกษาวิจัย 6. อภิวฒ ั น์ มุตตำมระ และ ณิชำภำ บุญพิทกั ษ์ , มกรำคม
- มิถุนำยน 2557, กำรปรับปรุงกระบวนกำรผลิตสวิทช์
ขอขอบคุ ณ บทความทุ ก ท่ า นที ่ ใ ห้ ค วามร่ ว มมื อ และรั กษา
โอเวอร์ไ ดร.Thammasat Engineering Journal, Vol.
ระเบียบการเขียนบทความอย่างเคร่ง ครัด และขอขอบคุณ
2 No. 1, January-June 2014, 10.
คณะวิ ศ วกรรมศาสตร์ ภาควิ ช าวิ ศ วกรรมอุ ตสาหการ
7. ถิ ร นั น ท์ ทิ ว ำรำตรีว ิท ย์ และ วริศ รำ งำมบุ ญ ช่ ว ย,
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต ที่คอยสนับสนุนทุน ใน
กรกฎำคม 2561, กำรลดระยะเวลำในขัน้ ตอนกำร
การจัดทำโครงงาน เบิกจ่ำยสินค้ำส ำเร็จรูป ภำยในคลังสินค้ำ กรณีศึกษำ
บริษทั ฮอลแลนด์สตำร์บรรจุภณ ั ฑ์ จำกัด. กำร
เอกสารอ้างอิง ประชุม วิชำกำรระดับ ชำติ ด้ำนนวัต กรรมเพื่อ
1. วิทยา อินทร์สอน, 2565, เทคนิคการเพิ่มผลผลิต โดยการ กำรเรียนรูแ้ ละ สิ่ง ประดิ ษ ฐ์ ครัง้ ที่ 2 ประจ ำปี 2561,
ล ด ค ว า ม ส ู ญ เส ี ย . Industrial Technology Review, 467.
http://www.thailandindustry.com/onlinemag/vie 8. นพดล ศรีพุทธา, จิตตานันทิ์ โฆษิตวัฒน์ และ ดอน แก้วดก
w2.php?id=1421&section=4&issues=81. , พฤษภาคม 2563, การลดความสูญเปล่าในกระบวนการ
2. จิ ต ราภา รั ก ษา และ ศุ ภ รั ช ชั ย วรรั ต น์ , 2565, การ บรรจุ ภ ั ณ ฑ์ ผ งซั ก ฟอกด้ ว ยการใช้ เ ทคนิ ค ECRS. การ
ปรั บ ปรุ ง และลดเวลากระบวนการทำงาน กรณี ศ ึ กษา ประชุมราชมงคลด้านเทคโนโลยีการผลิตและการจัดการ
เฟอร์นิเจอร์นำเข้าจากต่างประเทศ, 3-4 กั น ยายน 2563 โรงแรมเคพี แ กรนด์ อ ำเภอเมื อ ง
https://grad.dpu.ac.th/upload/content/files/year9- จังหวัดจันทบุรี, 190.
1/9-26.pdf. 9. ไพฑูรย์ ศิริโอฬาร และคณะ, มิถุนายน 2563, การปรับปรุง
3. จุฑาภรณ์ แก้วสุด, 2562, การปรับปรุงกระบวนการผลิต ประสิทธิภาพสายการประกอบรถยนต์รุ่น A. Journal of
ด้วยการประยุกต์ใช้แนวคิดลีน กรณีศึกษา โรงงานผลิตถุง Thonburi University (Scince and Technology), 94.
10. อติกานต์ ม่วงเงิน, 2562, การประยุกต์ใช้เทคนิคแบบลีน
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของกระบวนการทำงานระบบตู้รับ
368
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

คืนหนังสืออัตโนมัติ สำนักบรรณสารการพัฒนา สถาบัน


บั ณ ฑิ ต พั ฒ นบริ ห ารศาสตร์ , รายงานวิ จ ั ย , สถาบั น
บัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
11. ลัดดาวัล ย์ นันทจินดา, 2559, การประยุกต์ ECRS กับ
บริ ษ ั ท ขนส่ ง ระบบ Milk run กรณี ศ ึ ก ษา: บริ ษ ั ท ABC
transport จำกัด, งานนิพนธ์, สาขาวิช าการจัดการโลจิ
สติกส์และโซ่อุปทาน, คณะโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
12. รั ช ต์ ว รรณ กาญจนปั ญ ญาคม, 2550, การศึ ก ษางาน
อุตสาหกรรม (Industrial Work Study), พิมพ์ค รั้ง ที่ 1,
สำนักพิมพ์ท๊อป จำกัด, กรุงเทพฯ, 21-159.

369
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

แผนภูมิการไหล (FlowProcessChart)
ก่อนปรับปรุง หลังปรับปรุง สิงที
่ ลด

สัญลักษณ์ ผลรวม
ซ้าย ขวา ซ้าย ขวา ซ้าย ขวา
การทางาน 27 20 แบบฟอร์มการบันทึกเวลา : สาหรับวัฏจักรการทางานทีสั่ น้
การเคลือนย้าย
่ 17 12 กรรมวิธีการประกอบ: TR1–01R
การพักคอย 1 0 แผนก: Assembly Process
การเก็บรักษา 0 0 กรรมวิธี: คน เครืองจักร

ตรวจสอบพืนที ้ การท
่ างาน 1 1 วิธีการปฏิบัติงาน: ปัจจุบัน ปรับปรุง
รวม 46 33 ผูบั้ นทึก: กิตติบดีแสงสนิท
คนฝังซ้
่ าย เวลา เวลา มือขวา
1.อ่านใบงานการประกอบ 5.00 5.00 5.00 1.อ่านใบงานการประกอบ
7.46 2.46 2.เดินไปทีD
่ olly
2.หยิบคานหม้อน้ าตัวบน 3.04
8.04
3.เดินไปทีD
่ olly SPS 3.02 11.06
4.นาคานหม้อน้ าตัวบนไปไว้ในช่อง Dolly SPS 2.49 13.55 11.95 3.หยิบProtector LH
5.เดินกลับมาทีท้่ ายรถ 3.08 16.62
19.42
6.หยิบใบแล้วเดินนาใบงานประกอบมาติดหน้ารถ 5.00
21.63
3.05 4.เดินกลับไปทีรถ

22.47
7.ติดใบประกอบทีหน้ารถ
่ 0.97
22.60
1.43 5.วาง Protector LH
23.90
8.เดินไปทีD
่ olly SPS 4.08
26.68 2.98 6.เดินไปทีD
่ olly
9.หยิบGuide rail Rear Bumper LH&RHและหยิบ 26.89
5.01
สายเซนเซอร์ ABSLH&RH 31.69
10.เดินไปทีเก็
่ บอุปกรณ์ 1.49 33.18 12.00 7.หยิบProtector RH
11.วาง Part ต่างๆแล้วหยิบGuide rail Rear
3.04 36.22
Bumper RHและ สายเซนเซอร์ ABSRH
38.89
12.เดินมาทีหลังรถ
่ 3.05
39.27
13.นาGuide rail Rear Bumper RHและ สาย
1.41 40.68 2.51 8.เดินกลับไปทีรถ

เซนเซอร์ ABSRHมาวางทีหลังรถ

41.40
14.เดินไปทีเก็
่ บอุปกรณ์ 3.07 43.47 2.07 9.ติดตัง้ Protector ทีด้่ านหลัง RH
43.75
15.หยิบGuide rail Rear Bumper LH, Bolt 3 ตัว 2.07 45.82 10.ติดตัง้ Protector ทีL
่ ocker sinepanel
6.96
16.เดินไปพืนที
้ ประกอบ
่ Guide rail Rear Bumper LH 1.47 47.30 ด้านหลัง RH
50.42
57.42 7.00 11.ติดตัง้ Protector ทีL
่ ocker sinepanel
17.ประกอบGuide rail Rear Bumper LHด้วย Bolt
19.92 64.48 7.06 12.ติดตัง้ Protector ทีF่ ender RH
3 ตัว
66.67 2.19 13.เดินไปทีเก็
่ บอุปกรณ์
67.22
14.หยิบGuide rail Rear Bumper RH, Bolt 3
18.เดินไปทีเก็
่ บอุปกรณ์ 1.48 68.69 2.11
68.78
ตัว และ Battery tool
19.เปลียน
่ Battery tool และหยิบNut 2ตัว 1.97 69.78 0.99 15.เดินไปพืนที
้ ประกอบ
่ Guide rail Rear
70.67
20.เดินไปพืนที
้ ประกอบ
่ Guide rail Rear Bumper LH 1.46 72.13
21.ประกอบGuide rail Rear Bumper LHด้วย Nut
8.45 80.58 16.ประกอบGuide rail Rear Bumper RHด้วย
2 ตัว 19.96
22.เดินไปทีเก็
่ บอุปกรณ์แล้ววาง Battery tool 1.51 82.09 Bolt 3 ตัว
23.เดินไปทีประกอบ
่ Protector ด้านหลัง LH 1.48 83.56
24.หยิบProtector ทีด้่ านหลัง LHแล้วประกอบ 5.03 88.59
89.74
25.ประกอบProtector ทีlock
่ er sinepanel 91.28 1.55 17.เดินไปทีเก็
่ บอุปกรณ์
7.06 93.32 2.04 18.เปลียน
่ Battery tool และหยิบNut 2ตัว
ด้านหลัง LH 94.83 1.51 19.เดินไปพืนที
้ ประกอบ
่ Guide rail Rear
95.65
20.ประกอบGuide rail Rear Bumper RHด้วย
26.ติดตัง้ Protector ทีlock
่ er sinepanel ด้านหน้า 7.04 102.69 9.03
Nut 2 ตัว
103.85
105.95 2.10 21.หยิบPart ต่างๆไปเก็บไว้ในทีเก็
่ บอุปกรณ์
22.หยิบท่อ Drain Sunroof และหยิบอุปกรณ์
27.ติดตัง้ Protector ทีF
่ ender LH 7.10
108.02 2.07 สาหรับประกอบPlugอุดรู NONSunroof
ด้านหน้า RH1ตัวแล้วเดินไปพืนที
้ ประกอบ
่ ท่อ
109.79
28.เดินไปทีเก็
่ บอุปกรณ์ 1.03 110.82
29.หยิบสายเซนเซอร์ ABSLHและหยิบอุปกรณ์
สาหรับประกอบPlugอุดรู NONSunroof ด้านหน้า 2.10 112.92 23.วางสายเซนเซอร์ ABSไว้ในพืนที
้ ประกอบ

6.00
LH1 ตัว และ ประกอบPlugท่อ DrainSunroof
30.เดินมาพืนที้ ประกอบ
่ Plugอุดรู NONSunroof
1.52 114.02
ด้านหน้า LH1ตัว
31.วางสายเซนเซอร์ ABSLHแล้วประกอบPlugอุดรู 114.45
7.95 24.ประกอบสายเซนเซอร์ ABSหน้า RH&กด
NONSunroof ด้านหน้า LH1 ตัว 122.40 12.95
32.ยืนรอพนักงานฝังขวาติ
่ ดตัง้ JIGขาตัง้ Hood RH 4.20 126.60 Clip Lock
126.97
33.ติดตัง้ JIGขาตังค
้ า้ Hood LH 5.11
131.71
9.40 25.ติดตัง้ Jigขาตัง้ Hood RH
136.37
137.41 1.04 26.เดินไปทีเก็
่ บอุปกรณ์
34.ประกอบสายเซ็นเซอร์ ABSหน้า LH&กดClip
9.98 139.54 2.14 27.หยิบGuide rail Front Bumper RH,
Lock
141.63 2.09 28.เดินไปทีประกอบ
่ Guide rail Front Bumper
141.68
35.เดินกลับมาทีเก็
่ บอุปกรณ์ 1.45 143.13
36.หยิบGuide rail Front Bumper LH, Battery 2.07 145.20
37.เดินไปพืนที
้ ประกอบ
่ Guide rail Front Bumper LH 2.03 147.22 29.ประกอบGuide rail Front Bumper RH
19.89
38.ประกอบGuide rail Front Bumper LHด้วย 8.02 155.24 ด้วยBolt 2ตัว
39.เดินไปทีเก็
่ บอุปกรณ์ 1.52 156.76
40.เก็บBattery tool แล้วเดินไปDolly SPS 2.12 158.89
161.53
162.99 1.46 30.เดินมาเก็บอุปกรณ์
41.ลากDolly SPSเข้า SPSConveyor 7.02
164.53 1.54 31.เดินมาพืนที
้ ประกอบ
่ Shockหน้า RH
165.90
42.หยิบShockLH&RH 3.10 169.00
43.เดินไปพืนที
้ ประกอบ
่ Shock 2.05 171.05 13.97 32.ประกอบShockหน้า RH
44.ส่ง ShockRHให้Operator ฝังขวา
่ 2.02 173.07
178.50
45.ประกอบShockหน้า LH 9.86
182.93
5.00 33.ตรวจสอบพืนที
้ การท
่ างาน5ส
183.50
46.ตรวจสอบพืนที
้ การท
่ างาน5ส 5.00
187.93 20 12 0 0 1
27 17 1 0 1

รูปที่ 5 แผนภูมกิ ำรไหลของพนักงำนฝัง่ ซ้ำยและฝัง่ ขวำก่อนกำรปรับปรุง


370
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

แผนภูมิการไหล (FlowProcessChart)
ก่อนปรับปรุง หลังปรับปรุง สิงที
่ ลด

สัญลักษณ์ ผลรวม
ซ้าย ขวา ซ้าย ขวา ซ้าย ขวา
การทางาน 27 20 26 20 1 0 แบบฟอร์มการบันทึกเวลา : สาหรับวัฏจักรการทางานทีสั่ น้
การเคลือนย้าย
่ 17 12 17 12 0 0 กรรมวิธีการประกอบ: TR1–01
การพักคอย 1 0 0 0 1 0 แผนก: Assembly Process
การเก็บรักษา 0 0 0 0 0 0 กรรมวิธี: คน เครืองจักร

ตรวจสอบพืนที ้ การท
่ างาน 1 1 1 1 0 0 วิธีการปฏิบัติงาน: ปัจจุบัน ปรับปรุง
รวม 46 33 44 33 2 0 ผูบั้ นทึก: กิตติบดีแสงสนิท
คนฝังซ้
่ าย เวลา เวลา คนฝังขวา

1.อ่านใบงานการประกอบ 5.00 5.00 5.00 1.อ่านใบงานการประกอบ
7.08 2.08 2.เดินไปทีD
่ olly
2.หยิบใบแล้วเดินนาใบงานประกอบมาติดหน้ารถ 5.044
10.04
3.ติดใบประกอบทีหน้ารถ
่ 0.979 11.02
4.เดินกลับมาทีด้่ านหลังของรถ 4.037 15.06 8.00 3.หยิบProtector LH
15.08
5.หยิบคานหม้อน้ าตัวบน 3.012 17.56 2.48 4.เดินกลับไปทีรถ

18.07
1.50 5.วาง Protector LH
19.06
6.เดินไปทีD
่ olly SPS 3.03
21.10
2.45 6.เดินไปทีD
่ olly
21.51
7.นาคานหม้อน้ าตัวบนไปไว้ในช่อง Dolly SPS 2.43
23.54
8.หยิบGuide rail Rear Bumper LH&RHและหยิบ
5.04 28.57
สายเซนเซอร์ ABSLH&RH
9.เดินไปทีเก็
่ บอุปกรณ์ 1.47 30.05
12.01 7.หยิบProtector RH
10.วาง Part ต่างๆแล้วหยิบGuide rail Rear
3.05 33.10
Bumper RHและ สายเซนเซอร์ ABSRH

33.53
11.เดินมาทีหลังรถ
่ 3.03
35.99 2.46 8.เดินกลับไปทีรถ

36.12
12.นาGuide rail Rear Bumper RHและ สาย
1.52 37.64 1.99 9.ติดตัง้ Protector ทีด้่ านหลัง RH
เซนเซอร์ ABSRHมาวางทีหลังรถ

37.98
13.เดินไปทีเก็
่ บอุปกรณ์ 3.08
40.72
14.หยิบGuide rail Rear Bumper LH, Bolt 3 ตัว 1.48 42.19 10.ติดตัง้ Protector ทีL
่ ocker sinepanel
7.05
15.เดินไปพืนที
้ ประกอบ
่ Guide rail Rear Bumper LH 1.47 43.66 ด้านหลัง RH
45.03
47.10 2.07 11.เดินไปทีเก็
่ บอุปกรณ์
12.หยิบGuide rail Rear Bumper RH, Bolt 3
16.ประกอบGuide rail Rear Bumper LHด้วย Bolt 48.55 1.46
19.06 ตัวและ Battery tool
3 ตัว
13.เดินไปพืนที
้ ประกอบ
่ Guide rail Rear
49.61 1.06
Bumper RH
62.72
17.เดินไปทีเก็
่ บอุปกรณ์ 1.50 64.22
14.ประกอบGuide rail Rear Bumper RHด้วย
18.เปลียน
่ Battery tool และหยิบNut 2ตัว 1.46 65.69 19.96
Bolt 3 ตัว
19.เดินไปพืนที
้ ประกอบ
่ Guide rail Rear Bumper LH 1.52 67.20
69.57
70.56 0.98 15.เดินไปทีเก็
่ บอุปกรณ์
20.ประกอบGuide rail Rear Bumper LHด้วย Nut 72.03 1.47 16.เปลียน
่ Battery tool และหยิบNut 2ตัว
7.76
2 ตัว 17.เดินไปพืนที
้ ประกอบ
่ Guide rail Rear
73.13 1.10
Bumper RH
74.96
21.เดินไปทีเก็
่ บอุปกรณ์แล้ววาง Battery tool 1.46 76.43 18.ประกอบGuide rail Rear Bumper RHด้วย
9.05
22.เดินไปทีประกอบ
่ Protector ด้านหลัง LH 1.45 77.88 Nut 2 ตัว
82.18
23.หยิบProtector ทีด้่ านหลัง LHแล้วประกอบ 5.03
82.91
2.05 19.หยิบPart ต่างๆไปเก็บไว้ในทีเก็
่ บอุปกรณ์
24.ประกอบProtector ทีlock
่ er sinepanel 84.23
7.04 86.30 2.07 20.หยิบท่อ Drain Sunroof และหยิบอุปกรณ์
ด้านหลัง LH 89.94 21.วางสายเซนเซอร์ ABSไว้ในพืนที
้ ประกอบ

6.02
25.ติดตัง้ Protector ทีlock
่ er sinepanel ด้านหน้า 92.32 และ ประกอบPlugท่อ DrainSunroof
7.06
LH 97.00 22.ติดตัง้ Protector ทีL
่ ocker sinepanel
7.11
99.43 ด้านหน้า RH
26.ติดตัง้ Protector ทีF
่ ender LHติดตัง้ JIGขาตัง้
7.00
คา้ Hood LH 104.00
7.09 23.ติดตัง้ Protector ทีF
่ ender RH
106.52
27.ติดตัง้ JIGขาตังค
้ า้ Hood LH 5.04
109.04
28.เดินไปทีเก็
่ บอุปกรณ์ 1.11 110.15
29.หยิบสายเซนเซอร์ ABSLHและหยิบอุปกรณ์
สาหรับประกอบPlugอุดรู NONSunroof ด้านหน้า 2.10 112.24
9.43 24.ติดตัง้ Jigขาตัง้ Hood RH
LH1 ตัว
30.เดินมาพืนที
้ ประกอบ
่ Plugอุดรู NONSunroof
1.48 113.72
ด้านหน้า LH1ตัว
115.96
117.05 1.09 25.เดินไปทีเก็
่ บอุปกรณ์
26.หยิบGuide rail Front Bumper RH,
31.วางสายเซนเซอร์ ABSLHแล้วประกอบPlugอุดรู 118.06 1.02
8.00 Battery tool และ Bolt 2 ตัว
NONSunroof ด้านหน้า LH1 ตัว
27.เดินไปทีประกอบ
่ Guide rail Front Bumper
120.12 2.05
RH
121.72
32.ประกอบสายเซ็นเซอร์ ABSหน้า LH&กดClip
10.01 131.73
Lock
33.เดินกลับมาทีเก็
่ บอุปกรณ์ 1.44 133.17
28.ประกอบGuide rail Front Bumper RH
34.หยิบGuide rail Front Bumper LH, Battery 19.90
tool และ Bolt 2 ตัว
0.95 134.12 ด้วยBolt 2ตัว

35.เดินไปพืนที
้ ประกอบ
่ Guide rail Front Bumper LH 2.06 136.18

140.02
36.ประกอบGuide rail Front Bumper LHด้วย 141.50 1.48 29.เดินมาทีเก็
่ บอุปกรณ์
7.97
Bolt 2 ตัว 142.96 1.46 30.เดินไปพืนที
้ ประกอบ
่ สายเซนเซอร์ ABS
144.14
37.เดินไปทีเก็
่ บอุปกรณ์ 1.42 145.56
38.เก็บBattery tool แล้วเดินไปDolly SPS 2.00 147.56
39.ลากDolly SPSเข้า SPSConveyor 7.02 154.58 31.ประกอบสายเซนเซอร์ ABSหน้า RH&กด
13.01
Clip Lock
155.97
40.หยิบShockLH&RH 3.02

157.60
41.เดินไปพืนที
้ ประกอบ
่ Shock 2.04 159.65
13.89 32.ประกอบShockหน้า RH
42.ส่ง ShockRHให้Operator ฝังขวา
่ 2.02 161.67
43.ประกอบShockหน้า LH 9.96 169.86
171.62
5.00 33.ตรวจสอบพืนที
้ การท
่ างาน5ส
174.86
44.ตรวจสอบพืนที
้ การท
่ างาน5ส 5.00
176.62 20 12 0 0 1
26 17 0 0 1

รูปที่ 6 แผนภูมิการไหลของพนักงานฝั่งซ้ายและฝั่งขวาหลังการปรับปรุง 371


การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

การปรับปรุงแผนบำรุงรักษาอุปกรณ์ ในงานวิศวกรรมประกอบอาคาร
โครงการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์
Improving Equipment Maintenance Plans in Building Engineering
of Airport Rail Link Project

เพ็ญจันทร์ สุขตลอด1* และ วรวุฒิ หวังวัชรกุล2*


1
*สาขาวิชาการจัดการวิศวกรรม ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพมหานคร 10900
2
*ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพมหานคร 10900
E-mail: penjun.so@ku.th1*, fengwww@ku.ac.th 2*

บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นการศึกษาข้อมูลงานซ่อมบำรุงรักษาเชิงแก้ไขเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนของโครงการรถไฟฟ้าแอร์
พอร์ต เรล ลิงก์ ทีท่ ำให้ดัชนีชี้วัดการทำงานเคยลดลงเหลือร้อยละ 70 ไม่เป็นไปตามเป้าหมายและเกิดค่าปรับจำนวน 1,648,000
บาท งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดลำดับความสำคัญของเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนโดยใช้ทฤษฎีความน่าเชื่อถือ และใช้
โปรแกรมทางสถิติวิเคราะห์ข้อมูลหาระยะเวลาการบำรุงรักษาและกำหนดแผนการบำรุงรักษาเชิงป้องกันของแต่ละอุปกรณ์ เพื่อลด
ความถี่ในการแจ้งซ่อมแก้ไข จากการวิจัยพบว่ามีแนวโน้มที่จะลดความถี่ในการแจ้งซ่อมแก้ไขที่ส่งผลให้ดัชนีชี้วัดการทำงานเพิ่มขึ้น

คำสำคัญ : การจัดลำดับความสำคัญของอุปกรณ์ การวางแผนงานบำรุงรักษา

Abstract
This research study is the analysis of data on corrective maintenance of split type air of the Airport Rail
Link Project, which caused the performance index to decline to 70 percent, not meeting the target. Incurred a
fine of 1,648,000 baht. This research aims to prioritize split type air using reliability theory and use a statistical
program to analyze the data to determine the maintenance period and improve the preventive maintenance
plan to reduce the frequency of repair notification. The result has shown that there is a tendency to the
reduction of remedial notification with higher system performance.

Keywords : Ranking of Equipment in a System, Maintenance Planning


372
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

1. บทนำ ด้วยเหตุนี้ผ ู้วิจ ัยจึง เลือกข้อมูล งานแจ้ง ซ่อมแก้ไ ขของ


กิจกรรมการบำรุงรักษามีบทบาทที่ส ำคัญในการปกป้อง เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนเพื่อใช้เป็นกรณีศึกษาสำหรับ
การเสื่อมสภาพและลดเวลาการสูญเสียจากความเสียหายของ การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อ ปรับปรุงแผนการบำรุงรักษาโดยใช้
อุปกรณ์ แต่ในการดำเนินการของกิจกรรมดังกล่าวมักจะอาศัย ทฤษฎีความน่าเชื่อถือและโปรแกรมทางสถิติใ ห้เหมาะสมกับ
ข้อมูลที่กำหนดไว้ในคู่มือการใช้งานอุปกรณ์มาเป็นพื้นฐานใน สภาพการใช้ ง านของเครื่ อ งปรั บ อากาศแบบแยกส่ ว นใน
การกำหนดแผนการบำรุ ง รั ก ษา ซึ ่ ง ในทางปฏิ บ ั ต ิ อ าจไม่ ปัจจุบัน
เหมาะสมที่จะนำไปใช้วางแผนกับ อุปกรณ์ที่มีอายุการใช้งาน
มาก ซึ ่ ง เป็ น สาเหตุ ท ำให้ อ ุ ป กรณ์ เ กิ ด ความเสี ย หายก่ อ น 2. ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
แผนการบำรุง รั ก ษาที ่ไ ด้ก ำหนดไว้ เช่ น เดี ย วกับโครงการ ในหัวข้อนี้ผู้วิจัยจะกล่าวถึงการศึกษาทฤษฎีและงานวิจัยที่
รถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ที่เป็นกรณีศึกษานี้ เป็นโครงการ เกี่ยวข้อง ที่นำมาประยุกต์ใช้ในงานวิจัยนี้ โดยมีรายละเอียด
ที่มีการดำเนินการบำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน ดังนี้
(Split Type Air) แต่ยัง มีเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนที่ 2.1 การคำนวนหาค่าความพร้อมใช้งาน
ชำรุดเสียหายค่อนข้างมากจนทำให้ดัชนีชี้วัดการทำงานในช่วง ความพร้ อ มใช้ ง าน (Availability) [1] เป็ น ตั ว กำหนด
เดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2564 ลดลงเหลือร้อยละ 70 ไม่เป็นไป ประสิทธิภาพของชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์ ณ เวลาใดก็ตาม ความ
ตามเป้าหมาย และในช่วงปี พ.ศ. 2562 ถึง พ.ศ. 2564 เกิด พร้อมใช้งานคำนวณ ดังสมการ (1)
ค่าปรับจำนวน 1,648,000 บาท ซึ่ง สาเหตุหลักเกิดมาจาก
เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนส่วนมากถูกใช้งานมานาน และ MTBF
Availability =
เกิดความเสียหายของเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนอย่าง MTBF+MTTF
(1)
กะทันหันระหว่างใช้ งาน โดยสามารถสังเกตได้จากข้อมูลการ
แจ้งซ่อมแก้ไขของระบบปรับอากาศและระบายอากาศ พบว่า
โดยที่ MTBF คือ ค่าเวลาเฉลี่ยของการชำรุด
เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนมีการแจ้งซ่อมมากที่สุดหรือคิด
MTTR คือ ค่าเวลาเฉลี่ยของการซ่อมแซม
เป็น 83% ของปริมาณการแจ้ง ซ่อมระบบปรับอากาศและ
ระบายอากาศทั้งหมด ดังรูปที่ 1
2.1.1 การคำนวนค่าเวลาเฉลี่ยของการชำรุด (Mean Time
Between Failure : MTBF)
เป็นการวัด ถึงความถี่การเกิดขัดข้อง (Failure) สามารถ
คำนวณได้ตามสมการ (2)

เวลารวมของการเดินเครื่องจักร (Total Running Time)


MTBF = จานวนครัง้ ของการขัดข้อง (Number of Failure)
(2)

รูปที่ 1 งานแจ้งซ่อมแก้ไขของระบบปรับอากาศและ
ระบบอากาศของอุปกรณ์แต่ละประเภท
373
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

2.1.2 การคำนวนเฉลี่ยของการซ่อมแซม (Mean Time to สำหรับช่วงเวลาการบำรุงรักษาเชิงป้องกันและการเปลี่ยน


Repair : MTTR) ทดแทน เกี่ยวกับทรัพย์สินทางวิศวกรรม โดยใช้ข้อมูลการซ่อม
เป็นค่าเวลาสำหรับการซ่อมแซม ที่คิดตั้งแต่การเริ่มหยุด บำรุ ง รั ก ษาเชิ ง ป้ อ งกั น (Preventive Maintenance) จาก
ทำงาน (Breakdown) จนกระทั ่ ง การซ่ อ มเสร็ จ สมบู ร ณ์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ CMMS มาวิเคราะห์เพื่อลดเวลาการ
คำนวณตามสมการ (3) หยุดทำงานของอุปกรณ์ในระบบบำบัดน้ำเสีย (Waste Water
MTTR =
เวลารวมในการหยุดเครื่องเพื่อซ่อมแซม
(3) Treatment) เนื่องจากมีประสิทธิภาพการทำงานที่ลดลง ซึ่ง
จำนวนความถี่ของการหยุดเครื่อง ส่งผลต่อค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน
(Ranking of Component in a System for Priori -
2.2 ความน่าเชือ่ ถือในงานวิศวกรรมบำรุงรักษา
tisation of Preventive Replacement) ได้ ศ ึ ก ษางานวิ จั ย
ความน่าเชื่อถือ R(t) ณ เวลา t คือ ความน่าจะเป็นที่การ
[4] เกี่ยวกับการจัดลำดับความสำคัญของการเปลี่ยนทดแทน
ดำเนินการฟังก์ชันที่ต้องการในช่วงเวลา (0-t) โดยพิจารณา
เชิง ป้องกัน โดยนำเสนอมาตรการการจัดลำดับการเปลี่ยน
จากการใช้งานและสภาพแวดล้อมในการทำงาน [2]
ทดแทนเชิงป้องกันส่วนประกอบของอุปกรณ์ โดยพิจารณาจาก
ความน่าเชื่อถือของส่วนประกอบ
(การปรับปรุงแผนการบำรุงรักษาเชิง ป้องกันบนพื ้น ฐาน
ความน่าเชื่อถือ กรณีศึกษาอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์คอนกรีต)
ได้ศึกษางานวิจัย [5] เกี่ยวกับการปรับปรุงแผนการบำรุงรักษา
เชิงป้องกันบนพื้นฐานความน่าเชื่อถือ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
ลดเวลาสู ญ เสี ย ที ่ เ กิ ด จากควาเสี ย หายของเครื ่ อ งจั ก รใน
รูปที่ 2 กราฟฟังก์ชันความน่าเชื่อถือ
กระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์คอนกรีตโดยใช้หลักการวิศวกรรม
ความน่าเชื่อถือ (Reliability Engineering) มาทำการวิเคราะห์
จากรูปที่ 2 กราฟด้านซ้ายแสดงฟังก์ชันการแจกแจงสะสม
รอบเวลาการบำรุ ง รั ก ษา เพื ่ อ นำไปปรั บ ปรุ ง แผนการ
โดยที่ค ่าความน่าจะเป็นของช่วงอายุ (Life time) ≤ t และ
บำรุงรักษาเชิงป้องกัน
กราฟด้านขวาแสดงฟังก์ชันความน่าเชื่อถือดังสมการ (4) และ
(5)
3. วิธีการดำเนินงานวิจัย
สำหรับวิธีการดำเนินงานวิจัยวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อปรับปรุง
F(t) = P(T ≤ t) (4)
แผนการบำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน สามารถ
แบ่งเป็นขั้นตอนในการดำเนินงานดังนี้
R(t) = P(T > t) = 1 – F(t) (5)
3.1 เก็บข้อมูลงานแจ้งซ่อมแก้ไขและวิเคราะห์ปัญหา
2.3 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง รวบรวมข้อมูลงานแจ้งซ่อมแก้ไขของเครื่องปรับอากาศ
(Decision Support Tools for Preventive Mainte - แบบแยกส่วน โดยใช้ข้อมูลจากบันทึกงานซ่อมบำรุงของบริษัท
nance Intervals and Replacement Decision of Engi - กรณีศึกษาในช่วงระหว่างเดือนมกราคม พ.ศ. 2559 ถึง เดือน
neering Assets) ได้ศึกษางานวิจัย [3] เกี่ยวกับการตัดสินใจ กันยายน พ.ศ. 2564
374
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

3.4 ประมาณระยะเวลาการบำรุงรักษาด้วยค่าความ
3.2 คำนวนหาค่าความพร้อมใช้งานและจัดลำดับ น่าเชื่อถือ (Reliability) และปรับปรุงแผนการ
ความสำคัญ บำรุงรักษา
คำนวณตัวชี้วัดที่สำคัญ เพื่ อคำนวณหาค่าความพร้อมใช้
งานของเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน โดยใช้สมการ (1) (2) กำหนดความน่ าเชื่อ ถื อ ที่ 90% สำหรับระยะเวลาการ
และ (3) และทำการจัดลำดับความสำคัญจากค่าความพร้อมใช้ บำร ุ ง รั ก ษา ของ วิ ธ ี ก ารแก้ ไ ข แต่ ะ ละประเภทของ
งาน โดยจัดอันดับจากเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนที่มีค่า เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน และกำหนดแผนบำรุงรักษา
ความพร้อมใช้งานจากน้อยไปมากตามลำดับ โดยแบ่งแยกการบำรุงรักษาสำหรับแต่ละสถานี

3.3 รวบรวมข้อมูลงานแจ้งซ่อมที่มีวิธีการแก้ไขแต่ละ 4. ผลการดำเนินงานวิจัย


ประเภท และวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมทางสถิติ ผ ล ก า ร ร ว บ ร ว ม ข ้ อ มู ล ง า น แ จ ้ ง ซ ่ อม แ ก ้ ไ ข ของ
เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน ทำการรวบรวมข้อมูลจำนวน
ทำการการรวบรวมข้ อ มู ล จากงานแจ้ ง ซ่ อ มแก้ ไ ขของ ครั้ง ในการชำรุด (n) เวลาการทำงานทั้ง หมด (Operation
เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน และใช้โปรแกรม Minitab19 Time) เวลาการซ่ อ มบำรุ ง (Time to Repair) และผลรวม
ในการหาการแจกแจงของข้อมูลและระยะเวลาการบำรุงรักษา ระยะเวลาก่ อ นการเสี ย หายแต่ ล ะครั ้ ง (Time Between
โดยใช้ข้อมูล ระยะเวลาก่ อนการเสี ยหายแต่ล ะครั้ง (Time Failure) ทำการคำนวณหาค่าเวลาเฉลี่ยของการชำรุด ชำรุ ด
Between Failure) ที่มีวิธีการแก้ไข ดังตารางที่ 1 โดยเลือกใช้ (MTBF) เวลาเฉลี่ยของการซ่อมแซม (MTTR) ซึ่งเป็นตัวชี้วัด
เครื่องมือ Stat>Reliability/Survival>Distribution Analysis ส ำห ร ั บ การ ค ำนวณห าค ่ า ค วามพร ้ อ มใช ้ ง าน ของ
(Right Censoring) เครื ่ อ งปรั บ อากาศแบบแยกส่ ว น และทำการจั ด ลำดั บ
ความสำคัญ ดังตารางที่ 2
ตารางที่ 1 วิธีการแก้ไขเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน
ตารางที่ 2 การจัดลำดับความสำคัญจากค่าความพร้อมใช้งาน
Action Code ความหมาย (Availability) ของเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน
CLE ทำความสะอาด/ทำให้สะอาด หน่วย : ชั่วโมง
ADJ ปรับแต่ง/ปรับตั้ง ให้อยู่ในค่าเดิม Equipment MTBF MTTR Availability
RPL เปลี่ยนอะไหล่(อะไหล่สำรอง) HUM-SPT11 1,235.81 88.06 0.9335
FAS ยึด/ปะ-ติด-ต่อ/เข้าสาย/ขัน/ไข/ทำให้ RKH-SPT08 1,279.88 88.12 0.9356
แน่นสนิท BTC-SPT04 962.23 63.77 0.9378
CHK การตรวจสอบ/สำรวจ/การทดสอบ HUM-SPT06 1,760.91 104.55 0.9440
ADD ทำการเติมน้ำยา, เพิ่มน้ำยา, อัดประจุ LKB-SPT10 922.74 54.40 0.9443
WEL การเชื่อม/การประสาน LKB-SPT08 924.35 52.80 0.9460
HUM-SPT05 1,348.58 66.59 0.9529
RKH-SPT04 912.41 42.00 0.9560
375
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

Equipment MTBF MTTR Availability


LKB-SPT09 1,511.17 67.30 0.9574
RPR-SPT08 2,331.04 83.08 0.9556
LKB-SPT03 1,106.91 33.09 0.9710
HUM-SPT07 7,990.52 217.48 0.9735
HUM-SPT08 1,379.29 35.89 0.9746
DPK-SPT205 2,105.55 54.45 0.9748
BTC-SPT09 2,230.14 49.86 0.9781
RKH-SPT06 20,087.75 432.26 0.9789
รูปที่ 3 การกระจายข้อมูลระยะเวลาก่อนการเสียหาย
PTH-SPT08 788.17 16.53 0.9795
ของเครื่องปรับอากาศ HUM-SPT11 วิธีการแก้ไขแบบ CLE
PTH-SPT09 681.86 13.73 0.9803
RKH-SPT07 1,387.48 27.69 0.9804
จากรูปที่ 3 แสดงผลการกระจายข้อมูลระยะเวลาก่อนการ
DPK-SPT206 1,550.05 28.41 0.9820
เสียหายแต่ละครั้ง ของเครื่องปรับอากาศ HUM-SPT11 ที่มี
วิธีการแก้ไขแบบ CLE หรือ การทำความสะอาด พบว่าข้อมูลมี
จากตารางที่ 2 แสดงผลการคำนวนค่าความพร้อมใช้งาน
การแจกแจงไวบู ล (Weibull Distribution) โดยเลื อ กจาก
และการจัดอันดับความสำคัญของเครื่องปรับอากาศแบบแยก
ฟังก์ชันการแจกแจงที่มีค่า Anderson Darling (adj) น้อยกว่า
ส่วน โดยเรียงจากค่าความพร้อมใช้งานที่มีค่าน้อยไปมาก โดย
ฟังก์ชันประเภทอื่น และจะได้ระยะเวลาการบำรุงรักษาสำหรับ
เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน ที่มีค่าความพร้อมใช้ง านน้อย
ความน่าเชื่อถือที่ 90% ของเครื่องปรับอากาศที่มีวิธีการแก้ไข
ที่สุด 10 อันดับแรก ได้แก่ HUM-SPT11, RKH-SPT08, BTC-
แบบ CLE หรือทำความสะอาด ทำการกำหนดรอบระยะเวลา
SPT0 4 , HUM-SPT0 6 , LKB-SPT1 0 , LKB-SPT0 8 , HUM-
การบำรุงรักษาก่อนเกิดการเสียหายครั้งถัดไปสำหรับการทำ
SPT0 5 , RKH-SPT0 4 , LKB-SPT0 9 แ ล ะ RPR-SPT0 8
ความสะอาดเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน ได้ดังตารางที่ 3
ตามลำดับ ต่อมาทำการวิเคราะห์ข้อมูล ระยะเวลาก่อนการ
เสียหายแต่ละครั้ง ของวิธีการแก้ไขเครื่องปรับอากาศ โดยใช้
ตารางที่ 3 ระยะเวลาการบำรุงรักษาที่ความน่าเชื่อถือ 90%
โปรแกรม Minitab19 เพื่อหาการแจกแจงและระยะเวลาใน
ของเครื่องปรับอากาศที่มีวิธีการแก้ไขแบบ CLE
การบำรุงรักษาที่เหมาะสมของเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน
หน่วย : ชั่วโมง
โดยใช้ระยะเวลาก่อนการเสียหายแต่ละครั้ง ของงานแจ้งซ่อม
Time to Maint.
แก้ไขที่มีวิธีการแก้ไข ดังตารางที่ 1 Equipment Distribution
failure Frq.
HUM-SPT11 Weibull 182.49 1W
RKH-SPT08 Lognormal 589.89 3W
BTC-SPT04 Exponential 246.37 1W
LKB-SPT10 Weibull 39.11 1W
LKB-SPT08 Lognormal 121.77 1W
376
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

Time to Maint. และจากงานวิจัยสามารถกำหนดแผนการบำรุงรักษาก่อนเกิด


Equipment Distribution
failure Frq. การเสียหายครั้งถัดไปให้เหมาะสมกับการใช้งานปัจจุบัน จึงทำ
HUM-SPT05 Weibull 115.87 1W ให้ มีแนวโน้มที่จะสามารถลดความถี่ในการแจ้งซ่อมแก้ไขที่
RKH-SPT04 Lognormal 709.90 1M ส่งผลให้ดัชนีชี้วัดการทำงานเพิ่มขึ้น
LKB-SPT09 Exponential 142.69 1W
RPR-SPT08 Lognormal 342.70 2W 6. กิตติกรรมประกาศ
ผู้วิจัยใคร่ขอขอบคุณ โครงการเปิดสอนหลักสูตรวิศวกรรม
5. สรุป มหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการวิศวกรรม ภาคพิเศษ คณะ
จากการศึกษาแสดงให้เห็นว่า จากความสัมพันธ์ระหว่าง วิศวกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่ให้คำปรึกษา
เวลาการบำรุง รักษากับความน่าเชื่อ ถือจะเห็ นได้ว ่า หากมี และแนะนำงานวิจัยนี้
ระยะเวลาบำรุงรักษาที่มากจะทำให้ความน่าเชื่อถือมีแนวโน้ม
ล ดล ง ห ร ื อ มี โ อกาส ที ่ จ ะเกิ ด การค วามเสี ย ห ายกั บ
เครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วนมากขึ้น ดังรูปที่ 4 เอกสารอ้างอิง
1. โกศล ดีศ ีล ธรรม, 2547, การจัดการบำรุงรักษา สำหรั บ
งานอุ ต สาหกรรม, พิ ม พ์ ค รั ้ ง ที่ 2, เอ็ ม แอนด์ อ ี จำกั ด ,
กรุงเทพฯ.
2. Risk Engineering, Reliability engineering Faults
failures availability and reliability, ข ้ อ ม ู ล จ า ก
https://risk-engineering.org/reliability-engineering/
(วันที่สืบค้นข้อมูล 18 เมษายน 2564)
3. M. Menon, G. Chattopadhyay and R. Beebe., 2018,
รูปที่ 4 กราฟแสดงเวลาการบำรุงรักษากับความน่าเชื่อถือของ Decision Support Tools for Preventive
วิธีการแก้ไขแบบ CLE Maintenance Intervals and Replacement Decision
of Engineering Assets, IEEE Explore, pp. 257-261.
งานวิ จ ั ย นี ้ ไ ด้ น ำหลั ก การวิ ศ วกรรมความน่ า เชื ่ อ ถื อ และ 4. Kecheng Shen, 2011ม Ranking of Component in a
โปรแกรมทางสถิติมาใช้ในจัดลำดับความสำคัญและกำหนด System for Prioritisation of Preventive
แผนการบำรุ ง รั ก ษา เพื ่ อ ลดความถี ่ใ นการแจ้ ง ซ่ อมแก้ไข Replacement, IEEE Explore, pp. 1365-1369.
เครื่องปรับอากาศที่ส่งผลให้ดัชนีชี้วัดการทำงานลดลง และเกิด 5. สมศักดิ์ สัมฤทธิ์ , 2552, การปรับปรุงแผนการบำรุงรักษา
ค่าปรับ โดยผลงานวิจัยพบว่าเครื่องปรับอากาศแบบแยกส่วน เชิ ง ป้ อ งกั น บนพื ้ น ฐานความน่ า เชื ่ อ ถื อ กรณี ศ ึ ก ษา
ที่ต้องได้รับการบำรุงรักษาอย่างเร่งด่วน ได้แก่ HUM-SPT11, อุตสาหกรรมผลิตภัณ ฑ์ค อนกรี ต , การประชุมวิช าการ
RKH-SPT08, BTC-SPT04, HUM-SPT06, LKB-SPT10 และ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ครั้งที่ 6,
LKB-SPT08 เนื่องจากมีค่าความพร้อมใช้งานน้อยกว่า 95% หน้า 714-723.

377
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

ผลกระทบจากตัวแปรของกระบวนการเชื่อมเสียดทานจุดชนิดไม่มีพิน
ต่อความแข็งแรงของรอยเชื่อมต่อเกยของอะลูมิเนียม A5052-H32 และ A6061-T6
Effects from pinless friction stir spot welding parameters
to lap joint welding strength of aluminum A5052-H32 and A6061-T6

อภิเดช เกิดถิ่น1 บวรโชค ผู้พัฒน์2 และ สมพร เพียรสุขมณี3*


1,2,3
ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เขตทุ่งครุ กรุงเทพฯ 10140
E-mail: g.aphidet@gmail.com1, bpoopat@yahoo.com2, somporn.pea@kmutt.ac.th3*

บทคัดย่อ
ปัจจุบันผู้ผลิตยานยนต์มีแนวโน้มการใช้วัสดุชิ้นส่วนของรถยนต์ด้วยวัสดุเบา เช่น อะลูมิเนียม เพิ่มขึ้น แต่เทคนิคการ
ประกอบเดิม เช่น การเชื่อมจุดด้วยความต้านทาน ยังคงมีปัญหาเนื่องจากฟิล์มออกไซด์บนผิวและรอยต่อ วิธีการเชื่อมเสียดทานจุด
ชนิดไม่มีพินจึงได้ถูกพัฒนาขึ้น เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว งานวิจัยนี้ได้ศึกษาผลกระทบของตัวแปรของกระบวนการเชื่อม ที่มีผลต่อ
ความแข็งแรงดึงเฉือนของรอยเชื่อมของวัสดุอะลูมิเนียมต่างชนิด บนรอยต่อเกยระหว่าง อะลูมิเนียม A5052-H32 กับ A6061-T6
ความหนา 1 มิลลิเมตร ตัวแปรทีศ่ ึกษาได้แก่ เวลาเชื่อม ระยะกดลึกของเครื่องมือกวน และขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของเครื่องมือ
กวน ผลการศึกษาพบว่า ค่าตัวแปรที่ดีที่สุดสำหรับการเชื่อมเสียดทานจุดชนิดไม่มีพิน กรณีใช้เครื่องมือกวนขนาด 7 มิลลิเมตร โดย
อะลูมิเนียม A5052-H23 อยู่ด้านบน ใช้เวลาเชื่อม 17 วินาที ได้ระยะกดลึก 0.59 มิลลิเมตร และกรณีใช้เครื่องมือกวนขนาด 10
มิลลิเมตร โดยอะลูมิเนียม A6061-T6 อยู่ด้านบน ใช้เวลาเชื่อม 20 วินาที ได้ระยะกดลึกผิวงาน 0.54 มิลลิเมตร ทั้งสองกรณี
สามารถสร้างรอยเชื่อมที่แข็งแรงจากแรงดึงเฉือนมากที่สุด ระยะกดลึกที่ทำให้แรงดึงเฉือนผ่านเกณฑ์การยอมรับ แรงดึง เฉือ น
สำหรับทุกสภาวะการเชื่อมอยู่ระหว่าง 0.4 - 0.6 มิลลิเมตร

คำสำคัญ : อะลูมิเนียม การเชื่อมเสียดทานจุดชนิดไม่มีพิน ระยะกดลึก ความแข็งแรงรอยต่อเกย

Abstract
Nowadays, automobile manufacturers tend to increase using of light material such as aluminum. But
conventional assembly technique like resistant spot welding still has problem about oxide film on surface and
weld joint. So, pinless friction stir spot welding was developed to solve the problem. This research studied
effectห of welding variables to lap shear force at welding joint on dissimilar aluminum A5052-H32 and A6061-
378
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

T6 with 1 mm thickness. The variables were welding time, tool penetration depth, and tool diameter. Result
was found that, the best variable set, for using of 7 mm tool, are A5052-H32 at top side, welding time 17 s, and
tool penetration depth 0.59 mm. For using of 10 mm tool, the variables are A6061-T6 at top side, welding time
20 s, and tool penetration depth 0.54 mm. Both cases provided highest lap shear force. The tool penetration
depth which is acceptable to all welding conditions was between 0.4 – 0.6 mm.

Keywords : aluminum, pinless friction stir spot welding, tool penetration depth, lap joint strength

379
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

1. บทนำ แตกหัก มีขีดจำกัดต่อความลึกของการกดเครื่องมือ งานวิจัย


วิกฤติด้านสิ่งแวดล้อมและราคาพลังงานเชื้อเพลิงที่สูงขึ้น ของ Bakavos et al. [3] พัฒนาการเชื่อมเสียดทานจุดชนิดไม่
เป็ น สาเหตุ ใ ห้ บ ริ ษ ั ท ผู ้ ผ ลิ ต รถยนต์ ค ำนึ ง ถึ ง การประหยั ด มีพินสำหรับเชื่อมชิ้นงานบาง เพื่อแก้ปัญหา key hole ซึ่งเป็น
พลังงานเชื้อเพลิงมากขึ้น ด้วยการแทนที่ส่วนประกอบชิ้นส่วน สาเหตุที่ทำให้ความแข็งแรงของรอยเชื่อมลดลง โดยออกแบบ
ของรถยนต์ด้วยวัสดุน้ำหนักเบาเช่นอะลูมิเนียม ขั้นตอนการ เครื่องมือกวนชนิดไม่มีพิน 5 รูปแบบที่แตกต่างกันเพื่อศึกษา
ผลิตในอุตสาหกรรมการผลิตรถยนต์ นิยมใช้กระบวนการเชื่อม รูปแบบการไหลของเนื้อวัสดุ เมื่อใช้ภาพถ่ายรัง สีเอ็กซ์เพื่อ
ความต้ า นทานแบบจุด (resistance spot welding : RSW) ตรวจสอบ การไหลของวัสดุ พบว่า การไหลตัวมีความซับซ้อน
เป็นกระบวนการเชื่อมหลัก อย่างไรก็ตามภาคอุตสาหกรรม และได้รับอิทธิพลอย่างมากจากรูปแบบพื้นผิวของเครื่องมือ
ยานยนต์ต้องพัฒนากระบวนการผลิตให้เหมาะสมกับวัส ดุใหม่ พลังงานที่เข้าสู่ชิ้นงานเชื่อม ได้รับจากพลังงานกลจากการหมุน
วิ ธ ี ก ารเชื ่ อ มเสี ย ดทานจุ ด จึ ง ได้ ถ ู ก พั ฒ นาขึ ้ น มาเพื ่ อ เป็ น ของเครื่องมือกวน ภายใต้ความเร็วและแรงกดที่สัมพันธ์กับแรง
ทางเลือกในการผลิต กลุ่มวิจ ัยหลายกลุ่ มยัง คงศึกษาวิ จั ย เสียดทาน และจากงานวิจัยของ Mijajlovic และ Milcic [4]
เกี่ยวกับเทคนิคการใช้การเชื่อมเสียดทานจุด เช่ น Tozaki et ได้เสนอสมการที่อธิบายถึงความร้อนที่เข้าสู่ช ิ้นงานจากการ
al. [1] ได้วิจัยการเชื่อมอะลูมิเนียม A6061-T4 ที่มีความหนา เชื่อมเสียดทานจุดชนิดไม่มีพินได้ ดังสมการที่ 1
2 มิลลิเมตร โดยใช้เครื่องมือการเชื่อมเสียดทานแบบกวนทำ
𝑑 3
จากเหล็กความเร็วสูง (SKD61) ที่มีพินความยาวแตกต่างกัน 2
𝑄𝑝𝑡 = 3 𝜋𝜔𝜏𝑐𝑜𝑛𝑡 ( 2 ) (1)
ใช้เครื่องมือกวน โดยกำหนดเส้นผ่านศูนย์กลางเครื่องมือกวน
10 มิลลิเมตร ความลึกของบ่ากวน 0.2 มิลลิเมตร และมีเกลียว โดยที่
ซ้ า ยมาตรฐาน ใช้ อ ั ต ราการเดิ น ของเครื ่ อ งมื อ คงที ่ ท ี ่ 20 𝑄𝑝𝑡 คือ ปริมาณพลังงานที่ส่งผ่านไปยังชิ้นงานเชื่อ ม
มิล ลิเมตรต่อนาที โดยปรับเปลี่ยนความเร็วในการหมุนของ (จูล)
เครื่องมือในช่วง 2,000 ถึง 3,000 รอบต่อนาที และเวลาใน 𝜔 คือ ความเร็ว เชิง มุ ม ของการหมุ น (เรเดีย นต่อ
การกดแช่ 0.2 ถึง 3 วินาที พบว่าโครงสร้างจุลภาคของรอย วินาที)
เชื ่ อ มมี ค วามแตกต่ า งกั น โดยขึ ้ น อยู ่ ก ั บ ความยาวของหัว 𝜏𝑐𝑜𝑛𝑡 คือ ความเค้นเฉื อ นในชิ้นงาน (นิ ว ตันต่ อ ตาราง
ความเร็ ว ในการหมุ น และเวลาในการกดแช่ งานวิ จ ั ย ของ เมตร)
Piccini และ Svaboda [2] ได้เชื่อมอะลูมิเนียม 5052-H32 𝑑 คือ เส้นผ่านศูนย์กลางเครื่องมือกวน (เมตร)
และ 6063-T6 ที่มีความหนา 3 และ 2 มิลลิเมตร เพื่อศึกษา
ผลของระยะกดลึกจากผิวงาน (tool penetration depth: เห็นได้ว่าตัวแปรต่างๆ ในการเชื่อมเสียดทานจุดชนิดไม่มีพิน
TPD) ที่ความลึกต่างกัน เพื่อวิเคราะห์ผลของความลึกของการ จึง มีผ ลกระทบต่อปริมาณพลังานที่เข้าสู่ชิ้นงานเชื่อม และ
กดเครื ่ อ งมื อ ระหว่ า ง 0.05 ถึ ง 1.25 มิ ล ลิ เ มตร ด้ ว ยการ บางส่ ว นสามารถตรวจวั ด ได้ ในรู ป พลัง งานความร้อ นหรือ
พิจารณาลักษณะโครงสร้างทางมหภาค และการเปลี่ยนแปลง อุณหภูมิ จากข้อมูลข้างต้น งานวิจัยนี้จึงกำหนดวัตถุประสงค์
ความแข็ง ระดั บไมโคร และการทดสอบการดึง ลอก (peel เพื่อค้นหาสภาวะที่เหมาะสมของตัวแปรการเชื่ อม บนวัส ดุ
test) พบว่า แรงแตกหักจากการดึงลอง เพิ่มขึ้นตามความลึก อะลู ม ิ เ นี ย มต่ า งชนิด ได้ แ ก่ เกรด A5052-H32 และเกรด
ของการกดเครื่องมือ และมีความแข็งแรงสูงขึ้นเมื่อเมื่อ วัส ดุ A6061-T6 ความหนา 1 มิลลิเมตร โดยใช้การเชื่อมเสียดทาน
6063-T6 อยู่ด้านบน อย่างไรก็ตามความสามารถในการรับแรง จุดชนิดไม่มีพิน (pinless friction stir spot welding) โดยได้
380
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

ศึกษาผลของการปรับเปลี ่ย นค่า ขนาดของเครื่ องมื อ กวน


ระยะเวลาการเชื ่ อ ม แรงกดในการเชื ่ อ ม (compression
force) ที่มีผลต่ออุณหภูมิระหว่างการเชื่อม ลักษณะของรอย
เชื่อมจากการตรวจพินิจ ระยะกดลึกจากผิวงาน และค่าความ
แข็งแรงของรอยเชื่อมที่ได้จากการทดสอบแรงดึงเฉือน หน่วย:มิลลิเมตร
รูปที่ 1 รูปร่างชิน้ งานทดสอบตามมาตรฐาน
2. วิธีการทดลอง JIS Z 3136-1999 [6]
2.1 การเตรียมชิ้นงานทดลอง
ชิ้นงานทดลองเป็นวัสดุอะลูมิเนียม เกรด A5052-H32 มี
ค่าความแข็งแรงดึงสูงสุด 230 นิวตันต่อตารางมิลลิเมตร และ
6061-T6 มีค่าความแข็งแรงดึงสูงสุด 310 นิวตันต่อตาราง
มิลลิเมตร มีส่วนผสมทางเคมีดัง แสดงในตารางที่ 1 ชิ้นงาน
ทดลอง มีความกว้าง 30 มิลลิเมตร ยาว 100 มิลลิเมตร ความ
หนา 1 มิลลิเมตร วางสองชิ้นซ้อนกันโดยมีร ะยะเกยทับ 30
มิลลิเมตร กำหนดให้รอยเชื่อมแบบจุดอยู่กึ่งกลางพื้นที่เกยทับ
รูปที่ 2 ลักษณะการจับยึดชิน้ งานทดสอบ [7]
ตามมาตรฐาน JIS Z 3136-1999 [6] แสดงในรู ป ที ่ 1
เครื่องมือกวนเพื่อสร้างรอยเชื่อมทำจากเหล็ก JIS SKD 61
2.2 วิธีการเชื่อมและตัวแปร
เส้นผ่านศูนย์กลาง 7 และ 10 มิลลิเมตร และลักษณะการจับ
เตรียมการเชื่อมโดยวางชิ้นงานเกยกันตามแนวยาว ระยะ
ยึดชิ้นงานเพื่อเชื่อม แสดงในรูปที่ 2 ชิ้นงานฝั่งที่สัมผัสการกวน
ต่อเกย 30 มิลลิเมตร ประกอบเครื่องมือกวนเข้ากับเครื่องกัด
จากเครื่องมือกวน ต่อไปนี้จะเรียกว่า ชิ้นงานด้านบน และเรียก
(milling machine) ใช้ความเร็วรอบในการหมุนเชื่อมที่ 4,500
ชิ้นงานอีกชิ้นหนึ่งว่า ชิ้นงานด้านล่าง
รอบต่ อ นาที ค่ า แรงกดของเครื่ องมื อกวนควบคุ ม โดยการ
กำหนดแรงบิดที่คันโยกป้อนแนวดิ่งด้วยประแจควบคุมแรงบิด
ตารางที่ 1 ส่วนผสมทางเคมีของวัสดุ [5]
จากการทดลองเบื้องต้น ได้กำหนดค่าแรงบิดที่ประแจอยู่ที่ 30,
ส่วนผสมทางเคมี (ร้อยละโดยน้าหนัก) 40 และ 50 นิวตันเมตร เวลาเชื่อม (Weld time) ควบคุม ที่
วัสดุ
Si Fe Cu Mn Mg 11, 14, 17 และ 20 วินาที สามารถแบ่ง ขั้นตอนการเชื่อม
A5052-H32 0.25 0.40 0.1 0.1 2.5 แบ่งเป็น 3 ขั้นตอน ตามรูปที่ 3 ได้แก่ 1) การกดเครื่องมือกวน
A6061-T6 0.5 0.7 0.2 0.15 1.0 เข้าสู่ชิ้นงาน (squeeze time) เริ่มจาก 0 จนถึงค่าแรงบิดที่
Cr Ni Zn Ti - กำหนด 2) การหมุนหัวเครื่องมือกวนเพื่อเสียดสีให้เกิดความ
A5052-H32 0.25 - 0.1 - -
ร้อนและเกิดการกวน และ 3) การหยุดการหมุนเมื่อครบเวลา
A6061-T6 0.25 - 0.25 0.15 -
ยังคงออกแรงกดเครื่องมือกวนเข้ากับชิ้นงานตามค่าแรงบิดใน
ขั้นตอนที่ 1 ค้างไว้ 3 วินาที หลัง จากนั้นปล่อยแรงเพื่อยก
เครื่องมือกวนออกจากรอยเชื่อม
381
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

Model 5569 ชิ้นงานและกระบวนการทดสอบเป็ นไปตาม


มาตรฐาน JIS Z 3136-1999 ควบคุมความเร็ ว ในการดึง 3
มิลลิเมตรต่อนาที อ่านและบันทึกค่าแรงดึงสูงสุด
2.6 การทดสอบโครงสร้างมหภาค
ตัดชิ้นงานเชื่อมในแนวผ่าครึ่งรอยเชื่อมวงกลม ผนึกเข้ากับ
ตัวเรือนพลาสติก เตรียมผิวหน้าชิ้นงานทดสอบโดยการขัดด้วย
กระดาษทรายจนถึ ง ความละเอีย ด 1,200 Grit จากนั ้ น ขั ด
ละเอียดด้วยผงอะลูมินาขนาด 0.3 ไมครอน บนผ้าสักหลาด
ด้วยเครื่องขัดจานหมุน กัดผิวหน้าชิ้นงานทดสอบด้วยกรด
สัดส่วนผสม 10 ml HNO3 + 20 ml HCl + 30 ml water [8]
เป็นเวลา 10 วินาที ล้างผิวหน้าชิ้นงานด้วยเอธิลแอลกอฮอล์
เป่ า ให้ แ ห้ ง นำไปถ่ า ยภาพด้ ว ยกล้ อ ง Dino-Lite รุ่ น
AM4113/AD4113 บันทึก ปรับเทียบ และวัดขนาดจากภาพ
รูปที่ 3 แผนภาพขัน้ ตอนในการเชื่อม
ด้วยซอฟท์แวร์ Dinocapture 2.0
2.3 การวัดอุณหภูมิชิ้นงานจากการเชื่อม
จุดวัดอุณหภูมิอยู่ ที่ชิ้นงานด้านบน ตำแหน่ง ห่างจากจุด
3. ผลการทดลอง
ศูนย์กลางของเครื่องมือกวน 10 มิลลิเมตร ใช้เครื่องมือวัดชนิด ผลกระทบจากตัวแปรในการเชื่อม ได้แก่ อุณหภูมิสูง สุด
type K thermocouple ประกอบกั บ เครื ่ อ งอ่ า น Fluke ระหว่างการเชื่อม ผลการตรวจสอบด้วยการพินิจหลังการเชื่อม
model 53B โดยอ่านค่าอุณหภูมิสูงสุด ที่เกิดขึ้นระหว่างการ ร่วมกับผลระยะกดลึก ผลการทดสอบโครงสร้างมหภาค และ
เชื่อม ผลการทดสอบความแข็งแรงดึงเฉือน
2.4 การตรวจสอบด้วยการพินิจ (visual inspection) 3.1 อุณหภูมิสูงสุดระหว่างการเชื่อม
ชิ้นงานได้ร ั บการตรวจสอบโดยกำหนดเกณฑ์ผ ่า นการ เมื ่ อ เปรี ย บเที ย บผลในรู ป ที ่ 4(ก,ข) กั บ 4(ค,ง) พบว่ า
ตรวจสอบไว้ว่า ชิ้นงาน 2 ชิ้นต้องเชื่อมติดไม่แยกออกจากกัน อุ ณ หภู ม ิ จ ากการใช้ เ ครื ่ อ งมื อกวนขนาด 10 มิ ล ลิ เ มตร มี
และไม่ พ บรอยหลอมทะลุ (burn through) ไปถึ ง ชิ ้ น งาน แนวโน้มจะเกิดอุณหภูมิในชิ้นงานสูงกว่า สอดคล้องกับปริมาณ
ด้านล่าง หรือเมื่อพิจารณาชิ้นงานด้านล่างต้องไม่มีล ักษณะ ความร้อนที่ประเมินได้จากสมการที่ (1) ในขณะที่การเพิ่มแรง
คล้ายชิ้นงานเกิดการหลอมละลาย และมีสภาพไม่เหมือนก่อน กดมีผลทำให้แรงเสียดทานและความเค้นเฉือนที่เกิดขึ้นในรอย
การเชื่อม วัดระยะกดลึกจากพื้นผิวงานด้วยผลต่างของความ เชื่อมเพิ่มมากขึ้น สามารถวัดได้จากอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นตามแรง
หนาชิ้นงานที่ซ้อนกันเดิมกับผลการวัดความหนาคงเหลือของ กด และอุณหภูมิมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามเวลาที่ใช้เชื่อม
บริเวณรอยเชื่อมด้วยไมโครมิเตอร์วัดนอก
2.5 การทดสอบความแข็งแรงดึงเฉือน
ชิ้นงานเชื่อมที่ผ่านเกณฑ์การตรวจพินิจ ถูกนำไปทดสอบช
ทดสอบแรงดึ ง เฉื อ น ด้ ว ยเครื ่ อ งทดสอบแรงดึ ง Instron

382
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

(ง) บ่ากวน 10 มิลลิเมตร A6061-T6 เป็ นชิ้นงานด้านบน


ดังปรากฏในรูป 4(ก-ง) อย่างไรก็ตาม มีข้อสังเกตในรูปที่ 4(ก)
และ 4(ข) ที่ใช้เครื่องมือกวนขนาด 7 มิลลิเมตร พบว่า ในช่วง
แรงบิดหัวกดที่ 40-50 นิวตันเมตร การเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิใน
ช่วงเวลา 14 วินาทีขึ้นไปมีแนวโน้มช้าลง เนื่องจากเครื่องมือ
กวนมีขนาดพื้นที่น้อย ทำให้มีความเข้มข้นของพลังงานกลมาก
(ก) เมื่อถึงจุดเปลี่ยนสถานะเนื้อเชื่อมอาจต้องใช้พลังงานไปกับค่า
ความร้อนแฝง สำหรับการใช้เครื่องมือกวนขนาด 10 มิลลิเมตร
ไม่พบแนวโน้มของอัตราการลดลงของการเพิ่มอุณหภูมิ มี
ข้อสังเกตถึงความแตกต่างของอุณหภูมิเนื่องจากวัสดุ เห็นได้
ชัดในการใช้เครื่องมือกวนขนาด 10 มิล ลิเมตร โดยที่วัส ดุ
A5052-H32 มี ค วามร้ อ นเกิ ด ขึ ้ น น้ อ ยกว่ า วั ส ดุ A6061-T6
ในขณะที ่ เ ครื ่ อ งมื อ กวนขนาด 7 มิ ล ลิ เ มตร ไม่ เ ห็ น ความ
(ข) แตกต่างเนื่องจากวัสดุมากนัก
3.2 ผลการตรวจพินิจรอยเชื่อม
จากผลการตรวจพินิจรอยเชื่อม พบว่า สภาวะของตัวแปร
ที่ให้พลังงงานเชื่อมต่ำและสูงเกินไป เป็นสาเหตุให้รอยเชื่อมไม่
สามารถผ่านการตรวจพินิจได้ ได้แก่
- ชิ้นงานเชื่อมที่ใช้เวลาน้อย (11 วินาที) จะไม่ติดกันโดย
สมบูรณ์ ไม่ว่าจะใช้วัส ดุใดอยู่ด้านบน หรือใช้เครื่องมือกวน
(ค) ขนาดใดก็ตาม
- เมื่อใช้เครื่องมือกวนขนาด 7 มิลลิเมตร การใช้เวลามาก (20
วินาที) ทำให้ชิ้นงานด้านล่างเกิดการหลอมที่สังเกตได้
ชิ้นงานเชื่อมในสภาวะอื่นๆ มีส ภาพสมบูร ณ์ส ามารถนำไป
ทดสอบต่อได้ในขั้นตอนถัดไป

(ง)
รูปที่ 4 อุณหภูมทิ เี่ กิดขึน้ ระหว่างการเชื่อม
จากแรงบิดของหัวกดและเวลาทีใ่ ช้เชื่อม
(ก) บ่ากวน 7 มิลลิเมตร A5052-H32 เป็ นชิ้นงานด้านบน
(ข) บ่ากวน 7 มิลลิเมตร A6061-T6 เป็ นชิ้นงานบน
(ค) บ่ากวน 10 มิลลิเมตร A5052-H32 เป็ นชิ้นงานด้านบน รูปที่ 5 ระยะกดลึกจากแรงบิดที่ใช้กดเครื่องมือกวน
383
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

ผลระยะกดลึก วัดจากผิวงานด้านบน แสดงในรูปที่ 5 เห็น ที่น่าสนใจคือ การใช้เครื่องมือกวนขนาด 7 มิลลิเมตร สามารถ


ได้ช ัดว่า ระยะกดลึกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามแรงบิดที่ใ ช้ ก ด ทำให้เกิดระยะกดลึกที่มากกว่า 0.6 มิลลิเมตร และทำให้แรง
เครื่องมือกวน เครื่องมือกวนขนาด 7 มิล ลิเมตร มีแนวโน้ม ดึงเฉือนที่สามารถรับได้มีค่าน้อยลง ลักษณะความเสียหายของ
สร้างระยะกดลึกได้มากกว่าเครื่องมือกวนขนาด 10 มิลลิเมตร รอยเชื่อมที่ขาดออกจากการดึงเฉือน ในกรณีที่วัสดุ A5052-
และในกรณีที่ช ิ้นงานด้านบนเป็นวัส ดุ A6061-T6 พบว่ามี H32 อยู่ด้านบนมักพบรอยเฉือนที่มีลักษณะราบเรียบ แสดงดึง
แนวโน้มเกิดระยะกดลึกได้มากกว่า การเชื่อมยึดติดกันของเนื้ออย่างสมบูรณ์ ในกรณีที่ A6061-T6
3.3 ผลการทดสอบโครงสร้างมหภาค อยู่ด้านบน พบว่าส่วนใหญ่ เกิดการเชื่อมยึดติดกันบางส่วน
รูปตัวอย่างของผลการทดสอบโครงสร้างมหภาคที่หน้าตัด เฉพาะบริเวณขอบรอยเชื่อม
ของกึ่งกลางรอยเชื่อม แสดงในรูปที่ 6 จากรูป ใช้เครื่องมือ
กวนขนาด 10 มิ ล ลิ เ มตร ชิ ้ น งานด้า นบนเป็น อะลูมิ เนียม
A5052-H32 ชิ้นงานด้านล่างเป็นอะลูมิเนียม A6061-T6 วัด
ค่าระยะกดลึกผิวงานได้เท่ากับ 0.379 มิลลิเมตร วัสดุด้านบน
และด้านล่างถูกกวนผสมกัน เกิดเป็นโซนผสม (mixed zone:
MZ) เห็นได้ว่าแนวการไหลผสมกันของเนื้อวัสดุยังคงอยู่บริเวณ
แนวเส้นรอยต่อเกยของชิ้นงานจากการทดสอบตัวอย่าง และมี
ลักษณะเช่นนี้ในผลการทดสอบทุกชิ้น

รูปที่ 7 ค่าแรงดึงเฉือนสูงสุดเปรียบเทียบกับระยะกดลึก

3.5 อภิปรายผลการทดลอง
เมื่อพิจารณาผลการทดสอบแรงดึงเฉือน พบว่า รอยเชื่อม
รูปที่ 6 ขนาดชิน้ งานทดสอบและหน้าตัดของรอยเชื่อม เสียดทานแบบจุดชนิดไร้พิน ที่มีความแข็งแรงสูงสุดในงานวิจัย
นี้คือ ชิ้นงานเชื่อมที่ใช้อะลูมิเนียม A5052-H32 อยู่ด้านบน ใช้
3.4 ผลการทดสอบแรงดึงเฉือน เครื่องมือกวนขนาด 10 มิลลิเมตร เป็นเวลา 20 วินาที ซึ่งทำ
ชิ้นงานที่มีส มบัติผ ่านเกณฑ์การตรวจพินิจ จะถูกนำไป ให้เกิดระยะกดลึกจากผิวงาน 0.43 มิ ลลิเมตร และสามารถ
ทดสอบเพื่อหาค่าแรงดึงเฉือน ผลการทดสอบพบว่า ค่าแรงดึง ต้านทานแรงดึง เฉือนได้ 2,501 นิวตัน เมื่อพิจ ารณาเกณฑ์
เฉือนที่ได้มีความสัมพันธ์กับระยะกดลึก แสดงในรูปที่ 7 พบว่า คุณภาพ ตามมาตรฐาน AWS D8.2M 2017 [9] ซึ่งกำหนดให้
ค่าแรงดึงเฉือนที่ยอมรับได้ตามมาตรฐาน AWS D2.8M, 2017 รอยเชื่อมจุดของแผ่นโลหะหนา 1 มม. ต้องมีค่าแรงดึงเฉือน
[9] สามารถเกิดขึ้นได้ที่ระยะกดลึก 0.4 มิลลิ เมตร เป็นต้นไป ต่ำสุดที่ยอมรับได้ต่อรอยเชื่อม 1 จุด เท่ากับ 1,380 นิวตัน
และที่ระยะกดลึกประมาณ 0.5-0.6 มิลลิเมตร รอยเชื่อมจะ พบว่า ค่าแรงดึงเฉือนเป็นผลที่เกิดจากระยะกดลึก และพบว่า
สามารถรับแรงดึงเฉือนได้สูงสุดในทุกกรณีทดลอง มีข้อสังเกต ระยะกดลึ ก ที ่ ม ากเกิ น กว่ า 0.6 มิ ล ลิ เ มตร จะทำให้
384
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

ความสามารถในการรับแรงของรอยเชื่อมต่ำลง เนื่องจากความ (ข) เครื่องมือกวนขนาด 10 มิลลิเมตร


หนาบริเวณขอบรอยเชื่อมน้อยลง และเป็นจุดรวมความเค้นที่
ทำให้เกิดการแตกหักเสียหายก่อน 4.สรุปผลการวิจัย
เมื่อรวบรวมผลการทดสอบทั้งหมดที่ศึกษา สามารถสรุป 1) รอยเชื ่ อ มงานอะลู ม ิ เ นี ย มหนา 1 มิ ล ลิ เ มตร เกรด
ช่วงการควบคุมกระบวนการเชื่อมที่สามารถใช้งานได้ดังรูปที่ 8 A5052-H32 อยู ่ ด ้ า นบน เมื ่ อ ใช้ ข นาดเครื ่ อ งมื อ กวน 7
โดยรูปที่ 8(ก) แสดงช่วงการควบคุมกระบวนการเชื่อมของ มิลลิเมตร ที่เวลา 14 วินาที แรงบิดที่ใช้กดเครื่องมือกวน 40
เครื ่ องมื อกวนขนาด 7 มิ ล ลิ เ มตร และรู ปที่ 8(ข) สำหรับ นิวตันเมตร ได้ความต้านทานแรงเฉือนสูงสุดที่ 1,952 นิวตัน
เครื่องมือกวนขนาด 10 มิลลิเมตร ช่วงควบคุมดังกล่าวสามารถ 2) รอยเชื่อมงานอะลูมิเนียมหนา 1 มิลลิเมตร เกรด
ใช้งานได้ไม่ว่าจะใช้วัสดุ A5052 หรือ A6061 อยู่ด้านบน A6061-T6 อยู่ด้านบน เมื่อใช้ขนาดเครื่องมือกวน 7 มิลลิเมตร
ที่ระยะกดลึก 0.30-0.37 มิลลิเมตร ไม่เกิดการยึดติดกัน ที่เวลา 14 วินาที แรงบิดที่ใช้กดเครื่องมือกวน 40 นิวตันเมตร
ของชิ้นงาน ในขณะที่ระยะกดลึก 0.65-0.90 มิลลิเมตร เกิด ได้ความต้านทานแรงเฉือนสูงสุดที่ 1,506 นิวตัน
การหลอมทะลุ ที่มีค วามเสียหายแบบแตกหักจากรู (plug 3) รอยเชื่อมงานอะลูมิเนียมหนา 1 มิล ลิเมตร A5052-
fracture mode) รับแรงดึง เฉือนไม่ ได้ ต ามมาตรฐาน AWS H32 อยู่ด้านบน เมื่อใช้ขนาดเครื่องมือกวน 10 มิ ลลิเมตร ที่
D8.2M 2017 เนื่องจากมีพิ้นที่ในการรับแรงน้อย ส่วนพื้นที่ที่ เวลา 20 วินาที แรงบิดที่ใช้กดเครื่องมือกวน 50 นิวตันเมตร
แรเงาในรูปที่ 8 เป็นค่าที่เหมาะสมกับการเชื่อมเสียดทานจุด ได้ความต้านทานแรงเฉือนสูงสุดที่ 2,501 นิวตัน
ชนิดไม่มีพินระหว่าง อะลูมิเนียม A5052 กับ อะลูมิเนียม 4) รอยเชื่อมงานอะลูมิเนียมหนา 1 มิลลิเมตร A6061-T6
A6061 ความหนา 1 มิลลิเมตร เนื่องจากเกิดความเสี ยหาย อยู่ด้านบน เมื่อใช้ขนาดเครื่องมือกวน 10 มิลลิเมตร ที่เวลา
จากแรงเฉือน (shear fracture mode) มีพิ้นที่รับแรงมาก ทำ 20 วินาที แรงบิดที่ใช้กดเครื่องมือ กวน 40 นิวตันเมตร ได้
ให้สามารถรับแรงได้สูงกว่าและผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ความต้านทานแรงเฉือนสูงสุดที่ 2,633 นิวตัน
5.) เวลาที่ใช้เชื่อมทำให้อุณหภูมิสูงขึ้นในช่วงแรก การเพิ่ม
ของอุณหภูมิช้าลงเมื่อใช้เวลานานขึ้น เนื่องจากการไหลตัวของ
เนื้อโลหะมีความสม่ำเสมอ
6) แรงบิดที่ใช้กดเครื่องมือกวนส่งผลโดยตรงต่อระยะกด
ลึก ที่มีผลต่อความแข็งแรงของรอยเชื่อมเสียดทานจุดชนิดไม่
(ก)
มีพิน
7) ระยะกดลึกที่ 0.4-0.6 มิลลิเมตร เหมาะสมที่สุดสำหรับ
การเชื่อมในทุกกรณี

5.กิติกรรมประกาศ
(ข) คณะผู้ วิจ ัยขอแสดงความขอบคุณ บริษ ัทดีเอ็นเตอร์ ไ ฟรส์
รูปที่ 9 แผนภาพแสดงช่วงการใช้งานที่เหมาะสม (แรเงา) จำกัด ผู้สนับสนุนทุนวิจัย
(ก) เครื่องมือกวนขนาด 7 มิลลิเมตร

385
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

เอกสารอ้างอิง 8. ASTM Committee, 2012, “ASTM E407-07 Standard


1. Tozaki, Y., Uematsu, Y. and Tokaji, K., 2007, “Effect Practice for Microetching Metals and Alloys”,
of Tool geometry on microstructure and static ASTM, pp. 1-22.
strength in friction stir spot welded aluminium 9. AWS Committee, 2017, “AWS D8.2M Specification
alloys”, International Journal of Machine Tools for Automotive Weld Quality Resistance Spot
&Manufacture, Vol. 47, pp. 2230–2236. Welding of Aluminum”, AWS, pp. 9-20.
2. Piccini, M.and Svoboda, G., 2013, “Effect of pin
length on Friction Stir Spot Welding (FSSW) of
dissimilar Aluminum-Steel joints”, International
Congress of Science and Technology of Metallurgy
and Materials, SAM CONAMET 2013, pp. 868-877.
3. Bakavos, D., Chen, Y., Babout, L. and Prangnell, P.,
2011, “Material Interactions in a Novel Pinless
Tool Approach to Friction Stir Spot Welding Thin
Aluminium Sheet”, Materials Mater Trans, Vol. 42,
pp. 1266-1282.
4. Mijajlovic, M. and Milcic, D., 2012, “Analytical
Model for Estimating the Amount of Heat
Generated During Friction Stir Welding: Application
on Plates Made of Aluminium Alloy 2024 T351”,
Welding Process, pp. 247-274.
5. ASM International eds., 1990, ASM Metals
Handbook Volume 2, 10th ed., ASM International,
U.S.A., pp. 192,195.
6. Japanese Industrial Standard, 1999, “Method of
Tension Shear Test for Spot Welded Joints”,
Japanese Standard Association, JIS Z 3136-1999,
pp. 786-791.
7. Reilly, A., Shercliff, H., Chen, Y. and Prangnell, P.,
2015, “Modelling and visualisation of material
flow in friction stir spot welding”, Journal of
Materials Processing Technology, Vol. 225, pp.
473-484.
386
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

แบบจำลองทางคณิตศาสตร์สำหรับปัญหาการจัดตารางสอบ
ที่มีการจัดสมดุลภาระงานของผู้คุมสอบ
A Mathematical Model for Examination Timetabling Problem
with Workload Balancing of Examiners

อัจฉราพร ไวยสัจจา1 ช่อแก้ว จตุรานนท์2


1,2
ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เขตทุ่งครุ กรุงเทพฯ 10140
E-mail: atcharaporn.090@mail.kmutt.ac.th1 , chorkaew.jat@kmutt.ac.th 2

บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้นำเสนอการจัดตารางสอบในแต่ละภาคการศึกษาของสถานศึกษากรณีศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ จัดทำ
ตารางสอบที่ทำให้ภาระงานของผู้คุมสอบมีจำนวนชั่วโมงใกล้เคียงกันมากที่สุด งานวิจัยนี้ใช้วิธีการโปรแกรมเชิงคณิตศาสตร์แบบไม่
เชิงเส้นในการแก้ปัญหาและใช้ What’s Best ในการหาคำตอบที่ดีที่สุดภายใต้ข้อจำกัด ที่ซับซ้อนที่ต้องพิจารณา ได้แก่ นักเรียน
หลายกลุ่มที่สอบในวิชาเดียวกันต้องสอบในวันเวลาเดียวกัน การสอบที่ต้องต่อเนื่อง 2 ชั่วโมง และพัก 1 ชั่วโมงก่อนสอบวิชาต่อไป
เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยสนับสนุนการตัดสินใจและเพิ่มความสะดวกรวดเร็วในการจัดตารางสอบ โดยการสร้าง
แผ่นงานในการป้อนข้อมูลเข้าและแผ่นงานในการแสดงคำตอบใน Microsoft Excel ผลการจัดตารางสอบโดยใช้วิธีการที่นำเสนอ
ในบทความฉบับนี้พบว่า ภาระงานคุมสอบของครูคุมสอบมีความสมดุลมากขึ้น 97% และสามารถลดเวลาในการจัดตารางสอบลง
ได้ถึง 88% เมื่อเปรียบเทียบกับการจัดตารางสอบแบบเดิม

คำสำคัญ : ปัญหาการจัดตารางสอบ โปรแกรมเชิงคณิตศาสตร์แบบไม่เชิงเส้น การจัดสมดุลของผู้คุมสอบ

Abstract
This research presents the examination timetabling for each semester in a case study collage. The
objective of the research is to set an examination timetable that balance the workloads of all examiners as
much as possible. This research uses a nonlinear mathematical programming method for problem-solving and
uses What's Best software to find the optimal answer under some complex constraints. The examples of these
constraints are such as many groups of the student must take an exam on the same subject on the same
examination period and day, each exam should be continued for 2 hours and rest 1 hour before the next exam.
387
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

The additional research objective is to simplify and quicken timetable decision making by using Microsoft Excel
worksheets to input the data and display the answer. The research results show that the balance of the
examiners' workloads is increased by 97% and planning time is reduced by 88% when compared to the existing
planning approach.

Keywords : Examination Timetabling Problem, Nonlinear Programming Model, Workload Balancing of Examiners

388
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

1. บทนำ การหาคำตอบด้วย Excel Solver สอดคล้องกับ พรชัย [2] ที่


ในปั จ จุ บ ั น สถานศึ ก ษากรณี ศ ึ ก ษาในสั ง กั ด สำนั ก งาน ทำการศึกษาการจัดตารางการเรียนการสอนที่ลดปัญหาสอน
คณะกรรมการอาชีว ศึ กษา มี ห น้ า ที่ แ ละรั บผิ ด ชอบในการ นอกเวลาและลดปัญ หาห้องเรี ย นทับซ้อ นกั น ประยุกต์ ใ ช้
ประเมิ น ผลการเรี ย นรายวิ ช าที ่ เ รี ย นสถานศึ ก ษาจึ ง ต้ อ ง แบบจำลองทางคณิตศาสตร์และใช้เครื่องมือ Excel Premium
ดำเนินการจัดสอบวัดผลความรู้ให้กับนักเรียนนักศึกษาซึ่ง เป็น Solver ในการหาคำตอบ อนิ ส รา [3] ศึ ก ษาปั ญ หาการจัด
การบริหารจัดการทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัด และเพื่อให้ ตารางสอบที่ห้องสอบไม่เพียงพอทำให้เกิดค่าใช้จ่ายในการไป
สอดคล้องกับนโยบายการเพิ่มปริมาณผู้เรียนที่ส่งผลให้จำนวน ใช้ ห้ อ งสอบที ่ อ ื ่ น จึ ง เสนอแบบจำลองทางคณิ ต ศาสตร์ ว ิธี
นักเรียนและรายวิชามีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในขณะที่ปริมาณ กำหนดการเชิงเส้นเพื่อให้ค่าใช้จ่ายต่ำที่สุดผลลัพธ์ที่ได้เป็นไป
ห้องเรียน วันเวลาสอบ สถานที่สอบและ ผู้คุมสอบ มีอยู่เท่า ตามวัตถุ ประสงค์ และยัง ช่ ว ยให้ก ารจัด ตารางสอบมี ค วาม
เดิมทำให้การจัดตารางสอบมีความยุ่งยากซับซ้อนมากยิ่ง ขึ้ น สะดวกรวดเร็ ว มากขึ ้ น สอดคล้ อ งกั บ สุ ว ั ล ภา [4] ที ่ น ำ
อี ก ทั ้ ง ดำเนิ น การจั ด ทำด้ ว ยมื อ โดยมิ ไ ด้ ม ี เ ครื ่ อ งมื อ หรื อ Optimization มาประยุกต์ใช้ในการหาค่าใช้จ่ายในการขนส่ง
โปรแกรมใด ๆ ช่วย จึงใช้ระยะเวลานานในการจัดตารางสอบ ไปรษณี ย ภั ณ ฑ์ เ พื ่ อ หาค่ า ใช้ จ ่ า ยที ่ เ หมาะสมที ่ ส ุ ด โดยใช้
และถูกจัดขึ้นโดยไม่ได้คำนึงถึงภาระงานของผู้คุมสอบแต่ล ะ โปรแกรม Solver ที ่ ท ำงานร่ ว มกั บ Microsoft Excel โดย
ท่านและไม่มีรูปแบบหรือวิธีการจัดที่แน่นอน เนื่องจากผู้จัดใช้ อาศัยการทำงานผ่านทาง Spreadsheet สามารถหาค่าใช้จ่าย
วิธีการจากประสบการณ์จึงเป็นผลให้ชั่วโมงคุมสอบแต่ละท่าน ที ่ เ หมาะสมที่ ส ุ ด ได้ นั น ท์ น ภั ส [5] ได้ ใ ช้ Excel Premium
ไม่เท่ากันและไม่สมดุลระหว่างภาระงานที่ได้รับ งานวิจัยนี้ได้ Solver เพื่อจัดสมดุล ภาระงานทำให้เ วลารวมทั ้ง หมดมี ค่ า
เสนอวิธีการจัดตารางสอบโดยนำรูปแบบทางคณิตศาสตร์มา ลดลงถึง 46.34% และสะดวกในการตัดสินใจ จิราวัฒน์ [6]
เป็นเครื่องมือช่วยในการจัดตารางสอบเพื่อให้จำนวนชั่วโมงคุม เสนอโปรแกรมเชิงคณิตศาสตร์แบบไม่เชิงเส้นในปัญหาการจัด
สอบมีค วามสมดุล กันหรือใกล้เคียงกันให้มากที่ส ุ ด โดยใช้ ตารางการเรียนการสอนในวิทยาลัยเทคนิค เพื่อทำให้ช ั่ วโมง
วิ ธ ี ก ารโปรแกรมทางคณิ ต ศาสตร์ แ บบไม่ เ ชิ ง เส้ น ในการ สอนมีค่าใกล้เคียงกันมากที่สุด รุ่งรัตน์และพรธิภา [7] ยังกล่าว
แก้ ป ั ญ หา และหาคำตอบโดยใช้ โ ปรแกรม What’s Best ว่าในกรณีที่วัตถุประสงค์ เป้าหมายของปัญหา หรือสมการ
ภายใต้ข้อจำกัดต่าง ๆ นอกจากนี้ยังช่วยสนับสนุนการตัดสินใจ ข้อจำกัดมีรูปแบบไม่เชิงเส้น ซึ่งในบางปั ญหาอาจมีแต่สมการ
และเพิ่มความสะดวกรวดเร็วในการจัดตารางสอบ วัตถุประสงค์ที่ไม่เชิง เส้น แต่ไม่มี ข้อจำกั ดก็ ได้ ซึ่ง เรียกว่ า
โปรแกรมไม่เชิงเส้นที่ไม่มีข้อจำกัด Kantaporn [8] ได้ศึกษา
2. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การหาค่าที่เหมาะสมที่สุดในการจัดตารางงานพยาบาลเพื่อ
จากการศึกษางานวิจ ัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดตารางสอบ แก้ปัญหาการจัดภาระงานที่ไม่สมดุล โดยสร้างแบบจำลองเชิง
และการจัดสมดุลภาระงาน ยกตัวอย่างงานวิจัยที่เกี่ยวข้องดังนี้ เส้นจำนวนเต็มผสมจากการทดลองสามารถลดความแตกต่าง
วิ ร ั ต น์ [1] ทำการศึ ก ษาการจั ด สมดุ ล ภาระงานการตรวจ คิดจากค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานลดลงจาก 0.790 เป็น 0.444
โรงงานอุตสาหกรรมกล่าวว่าปัญหาการจัดตารางการตรวจ จากงานวิจัยในอดีตต่าง ๆ ทำให้ทราบปัญหาและแนวคิด
ติดตามแบบเดิมไม่มีต้นแบบที่แน่นอนโดยใช้แบบจำลองทาง วิ ธ ี ก าร ดั ง นั ้ น งานวิ จ ั ย นี ้ จ ึ ง ประยุ ก ต์ ใ ช้ แ บบจำลองทาง
คณิตศาสตร์ในการแก้ปัญหาในลักษณะที่มีตัวแปรตัดสินใจเป็น คณิตศาสตร์ เพื่อหาวิธีการในการแก้ปัญหาและสร้างเครื่องมือ
Binary ในการแก้ปัญหาภายใต้เงื่อนไขข้อจำกัดที่สามารถทำ สนับสนุนการตัดสินใจการจัดตารางสอบที่สมดุล ภาระงาน
ชั่วโมงคุมสอบโดยใช้ What’s Best ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ Add-in
389
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

ลงในโปรแกรม Microsoft Excel สามารถใช้หาคำตอบที่มีตัว รายวิชาสอบ จำนวนกลุ่มนักเรียนที่ต้องจัดสอบ


แปรมาก ๆ จึงนำมาใช้เป็นเครื่องมือช่วยในการจัดตารางสอบ ผลิตชิ้นส่วนด้วย ชก.1(1-2) ชก.1(3-4)
4
3. ปัญหาการจัดตารางสอบ เครื่องมือกล 1 ชก.1(5-6) ชก.1(7-8)
สถานศึกษากรณีศึกษาดำเนินการจัดสอบให้กับนักเรียนใน งานไฟฟ้าและ ชก.1(1-2) ชก.1(3-4)
4
หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ เป็นการจัดสรรวิชาสอบ กลุ่ม อิเล็กทรอนิกส์ฯ ชก.1(5-6) ชก.1(7-8)
นักเรียน ห้องสอบ และผู้ค ุมสอบ ซึ่ง อยู่ภายใต้วัน สอบและ ชิ้นส่วนเครื่องจักรกล ชก.1(1-2) ชก.1(3-4)
4
ช่วงเวลาสอบที่สามารถจัดลงได้ ซึ่งในแต่ละภาคเรียนของการ ชิ้นส่วนเครื่องจักรกล ชก.1(5-6) ชก.1(7-8)
จั ด ตารางสอบต้ อ งเก็บ รวบรวมข้ อ มู ล ที ่ ใช้ ได้ แ ก่ จำนวน ภาษาจีนเพื่อการ ชก.1(1-2) ชก.1(3-4)
4
รายวิชาสอบและจำนวนกลุ่มนักเรียนที่ต้องสอบในแต่ละวิชา สื่อสารในประจำวันฯ ชก.1(5-6) ชก.1(7-8)
จำนวนห้องสอบ จำนวนครูคุมสอบและเงื่อนไขการกำหนด ประวัติศาสตร์ชาติไทย ชก.1(1-2) ชก.1(7-8) 2
ภาระชั่วโมงคุมสอบ งานเชื่อมโลหะแผ่น ชก.1(1-2) ชก.1(3-4) 2
ปัจจุบันการจัดตารางสอบสถานศึกษากรณีศึกษามีจำนวน คอมฯสารสนเทศ ชก.1(5-6) ชก.1(7-8) 2
รายวิชาสอบ 25 วิชา มีจำนวนกลุ่มนักเรียนที่ต้องสอบในแต่ ภาษาอังกฤษสำหรับ ชก.2(1-2) ชก.2(3-4)
4
ละวิชา 74 กลุ่ม มีห้องสอบทั้งหมด 4 ห้อง ที่สามารถจัดสอบ งานช่างอุตสาหกรรม ชก.2(5-6) ชก.2(7-8)
ในวันจันทร์ถึงวันศุกร์ 2 ช่วงคือ เช้าเวลา 09.00 - 12.00 น. คณิตศาสตร์ ชก.2(1-2) ชก.2(3-4)
และบ่ายเวลา 13.00 – 16.00 น. และมีผู้คุมสอบทั้งหมด 8 คู่ 4
อุตสาหกรรม ชก.2(5-6) ชก.2(7-8)
(1 ห้องสอบกำหนดให้มีผู้คุมสอบ 2 ท่านจึงกำหนดให้เป็นผู้คุม วัสดุงานช่าง ชก.2(1-2) ชก.2(3-4)
สอบ 1 คู่) โดยที่ทุกวิชาสอบและกลุ่มนักเรียนต้องถูกจั ดลง 4
อุตสาหกรรม ชก.2(5-6) ชก.2(7-8)
ตารางสอบโดยที่ห้องสอบต้องไม่ทับซ้อนกันในขณะที่ กลุ่ม ธุรกิจผู้ประกอบการ ชก.2(3-4) 1
นักเรียนที่ต้องสอบในวิชาเดียวกัน ต้องถูกจัดให้สอบในช่วงวัน กฎหมายแรงงาน ชก.2(5-6) ชก.2(7-8) 2
เวลาสอบเดียวกัน และในการจัดลงเวลาสอบสามารถจัดลง เขียนแบบเครื่องกล 2 ชก.2(1-2) ชก.2(3-4) 2
เวลาที่ใช้สอบได้ต่อเนื่องกัน 2 ชั่วโมง จากนั้นต้องจัดให้พัก 1 โปรแกรมเอ็นซีฯ ชก.2(5-6) ชก.2(7-8) 2
ชั่วโมงจึงสามารถสอบวิชาถัดไปได้โดยพิจารณาภาระงานของผู้ อบชุบโลหะ ชก.2(1-2) ชก.2(3-4) 2
คุมสอบให้มีชั่วโมงคุมสอบใกล้เคียงกัน เขียนแบบด้วยคอมฯ ชก.2(5-6) ชก.2(7-8) 2
3.1 ลักษณะรายวิชาสอบกับจำนวนกลุ่มนักเรียนสอบ แม่พิมพ์พลาสติก ชก.3(1-2) ชก.3(3-4)
ตารางที่ 1 จำนวนกลุ่มนักเรียนสอบกับรายวิชาสอบ 3
เบื้องต้น ชก.3(5-6)
รายวิชาสอบ จำนวนกลุ่มนักเรียนที่ต้องจัดสอบ ชก.3(1-2) ชก.3(3-4)
ชก.1(1-2) ชก.1(3-4) การเขียนภาพสเกตย์ 3
ภาษาอังกฤษฟัง-พูด 4 ชก.3(5-6)
ชก.1(5-6) ชก.1(7-8) ชก.3(1-2) ชก.3(3-4)
ชก.1(1-2) ชก.1(3-4) โลหะวิทยาเบื้องต้น 3
เขียนแบบเครื่องมือกล 4 ชก.3(5-6)
ชก.1(5-6) ชก.1(7-8) ชก.3(1-2) ชก.3(3-4)
ลับคมเครื่องมือตัด 3
ชก.3(5-6)

390
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

รายวิชาสอบ จำนวนกลุ่มนักเรียนที่ต้องจัดสอบ 𝐼 = เซตของวิชาคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ


นิวแมติกส์และ ชก.3(1-2) ชก.3(3-4) คือ 𝐼 = {𝑗|𝑗 = 29, 30, }
3
ไฮดรอริกส์ ชก.3(5-6) 𝐽 = เซตของวิชาภาษาอังกฤษสำหรับงานช่างอุตสาหกรรม
ชก.3(1-2) ชก.3(3-4) คือ 𝐽 = {𝑗|𝑗 = 31, 32, … , 34}
คณิตศาสตร์ฯมือกล 3
ชก.3(5-6) 𝐾 = เซตของวิชาคณิตศาสตร์อุตสาหกรรม
ชก.3(1-2) ชก.3(3-4) คือ 𝐾 = {𝑗|𝑗 = 35, 36, … , 38}
กฎหมายแรงงานปี 3 3
ชก.3(5-6) 𝐿 = เซตของวิชาวัสดุงานช่างอุตสาหกรรม
คือ 𝐿 = {𝑗|𝑗 = 39, 40, … , 42}

4. การพัฒนาแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ของปัญหา 𝑀 = เซตของวิชาธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการ
คือ 𝑀 = {𝑗|𝑗 = 43}
4.1 ดัชนี (Index)
𝑁 = เซตของวิชากฎหมายแรงงาน
𝑖 คือ ครูคุมสอบ โดยที่ 𝑖 = 1, 2, … , 8
คือ 𝑁 = {𝑗|𝑗 = 44, 45}
𝑟 คือ ห้องสอบ โดยที่ 𝑟 = 1, 2, … , 4
𝑂 = เซตของวิชาเขียนแบบเครื่องมือกล 2
𝑗 คือ รายวิชาสอบ โดยที่ 𝑗 = 1, 2, … , 74
คือ 𝑂 = {𝑗|𝑗 = 46, 47}
𝑙 คือ วันสอบ โดยที่ 𝑙 = 1, 2, … , 5
𝑃 = เซตของวิชาโปรแกรมเอ็นซีพื้นฐาน
𝑘 คือ คาบสอบ โดยที่ 𝑘 = 1, 2, … , 6
คือ 𝑃 = {𝑗|𝑗 = 48, 49}
4.2 เซต (Set)
𝑄 = เซตของวิชาอบชุบโลหะ
𝐴 = เซตของวิชาภาษาอังกฤษฟัง-พูด
คือ 𝑄 = {𝑗|𝑗 = 50, 51}
คือ 𝐴 = {𝑗|𝑗 = 1, 2, … , 4}
𝑅 = เซตของวิชาเขียนแบบด้วยคอมพิวเตอร์
𝐵 = เซตของวิชาเขียนแบบเครื่องมือกล 1
คือ 𝑅 = {𝑗|𝑗 = 52, 53}
คือ 𝐵 = {𝑗|𝑗 = 5, 6, … , 8}
𝑆 = เซตของวิชาแม่พิมพ์พลาสติกเบื้องต้น
𝐶 = เซตของวิชาผลิตชิ้นส่วนด้วยเครื่องมือกล 1
คือ 𝑆 = {𝑗|𝑗 = 54, 55, 56}
คือ 𝐶 = {𝑗|𝑗 = 9, 10, … , 12}
𝑇 = เซตของวิชาการเขียนภาพสเกตย์
𝐷 = เซตของวิชางานไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์เบื้องต้น
คือ 𝑇 = {𝑗|𝑗 = 57, 58, 59}
คือ 𝐷 = {𝑗|𝑗 = 13, 14, … , 16}
𝑈 = เซตของวิชาโลหะวิทยาเบื้องต้น
𝐸 = เซตของวิชาชิ้นส่วนเครื่องจักรกล
คือ 𝑈 = {𝑗|𝑗 = 60, 61, 62}
คือ 𝐸 = {𝑗|𝑗 = 17, 18, … , 20}
𝑉 = เซตของวิชาลับคมเครื่องมือตัด
𝐹 = เซตของวิชาภาษาจีนเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวัน
คือ 𝑉 = {𝑗|𝑗 = 63, 64, 65}
คือ 𝐹 = {𝑗|𝑗 = 21, 22, … , 24}
𝑊 = เซตของวิชานิวแมติกส์และไฮดรอริกส์
𝐺 = เซตของวิชาประวัติศาสตร์ชาติไทย
คือ 𝑊 = {𝑗|𝑗 = 66, 67, 68}
คือ 𝐺 = {𝑗|𝑗 = 25, 26}
𝑋 = เซตของวิชาคณิตศาสตร์เครื่องมือกล
𝐻 = เซตของวิชางานเชื่อมและโลหะแผ่นเบื้องต้น
คือ 𝑋 = {𝑗|𝑗 = 69, 70, 71}
คือ 𝐻 = {𝑗|𝑗 = 27, 28, }
𝑌 = เซตของวิชากฎหมายแรงงานปี 3
391
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

คือ 𝑌 = {𝑗|𝑗 = 72, 73, 74} ข้อจำกัดที่ 3 จากผลในการจัดวิชาสอบลงคาบสอบและวัน


4.3 พารามิเตอร์ (Parameter) สอบ ด้วยวิธีการแบบฮิวริสติก จึงทำให้ในแต่ละกลุ่มรายวิช า
𝑡𝑗 = เวลาสอบของรายวิชาสอบ 𝑗 (ชั่วโมง) สอบ (เซต) สามารถลงคาบสอบ วันสอบได้ตามเงื่อนไขดังนี้
4.4 ตัวแปรตัดสินใจ (Decision Variables) วิชาสอบเซต A ต้องจัดสอบในวันจันทร์ชั่วโมงสอบที่ 1
1 ครูคุมสอบที่ 𝑖 ห้องสอบที่ 𝑟 วิชาสอบที่ 𝑗 8 4

𝑥𝑖𝑟𝑗𝑙𝑘 = { วันสอบที่ 𝑙 ช่วงเวลาสอบที่ 𝑘 ∑ ∑ 𝑥𝑖𝑟𝑗,1,1 ≤ 4 ; ∀𝑗 ∈ 𝐴 (5)


𝑖=1 𝑟=1
0 อื่น ๆ
วิชาสอบเซต B ต้องจัดสอบในวันจันทร์ชั่วโมงสอบที่ 2
8 4

∑ ∑ 𝑥𝑖𝑟𝑗,1,2 ≤ 4 ; ∀𝑗 ∈ 𝐵 (6)
𝑖=1 𝑟=1

4.5 สมการเป้าหมาย (Objective function) วิชาสอบเซต C ต้องจัดสอบในวันจันทร์ชั่วโมงสอบที่ 4


8 4

2 ∑ ∑ 𝑥𝑖𝑟𝑗,1,4 ≤ 4 ; ∀𝑗 ∈ 𝐶 (7)
∑8𝑖=1[∑4𝑟=1 ∑74 5 6 ̅
Min Z =
𝑗=1 ∑𝑙=1 ∑𝑘=1 𝑡𝑗 𝑥𝑖𝑟𝑗𝑙𝑘 − 𝑇 ] (1) 𝑖=1 𝑟=1
8 วิชาสอบเซต D ต้องจัดสอบในวันจันทร์ชั่วโมงสอบที่ 5
8 4
∑8𝑖=1 ∑4𝑟=1 ∑74 5 6
𝑗=1 ∑𝑙=1 ∑𝑘=1 𝑡𝑗 𝑥𝑖𝑟𝑗𝑙𝑘
โดยที่ 𝑇̅ = (2) ∑ ∑ 𝑥𝑖𝑟𝑗,1,5 ≤ 4 ; ∀𝑗 ∈ 𝐷 (8)
8
𝑖=1 𝑟=1

วิชาสอบเซต E ต้องจัดสอบในวันอังคารชั่วโมงสอบที่ 1
สมการ (1) เพื่อหาสมดุลภาระงานของผู้คุมสอบแต่ล ะ 8 4

ท่านให้มีจ ำนวนชั่วโมงคุมสอบใกล้เคียงกันเพื่อลดความ ∑ ∑ 𝑥𝑖𝑟𝑗,2,1 ≤ 4 ; ∀𝑗 ∈ 𝐸 (9)


𝑖=1 𝑟=1
แตกต่างของภาระงาน วิชาสอบเซต F ต้องจัดสอบในวันอังคารชั่วโมงสอบที่ 2
สมการ (2) เวลาเฉลี่ยมาจากชั่วโมงคุมสอบรวมทั้งหมด 8 4

หารด้วยจำนวนผู้คุมสอบ ∑ ∑ 𝑥𝑖𝑟𝑗,2,2 ≤ 4 ; ∀𝑗 ∈ 𝐹 (10)


𝑖=1 𝑟=1
4.6 สมการข้อจำกัด (Constraints) วิชาสอบเซต G ต้องจัดสอบในวันอังคารชั่วโมงสอบที่ 4
ข้อจำกัดที่ 1 ครูค ุมสอบแต่ล ะท่านสามารถคุมสอบได้ 8 4

1 วิชาในแต่ละห้องสอบแต่ละชั่วโมงสอบของแต่ละวันสอบ ∑ ∑ 𝑥𝑖𝑟𝑗,2,4 ≤ 2 ; ∀𝑗 ∈ 𝐺 (11)


𝑖=1 𝑟=1
𝑥𝑖𝑟𝑗𝑙𝑘 ≤ 1 ; ∀𝑖,𝑟,𝑗,𝑙,𝑘 (3) วิชาสอบเซต H และ I จัดสอบในวันอังคารชั่วโมงสอบที่ 5
8 4
ข้อจำกัดที่ 2 ในแต่ละรายวิชาสอบต้องถูกจัดให้มีการสอบ ∑ ∑ 𝑥𝑖𝑟𝑗,2,5 ≤ 4 ; ∀𝑗 ∈ 𝐻, 𝐼 (12)
ให้กับครูคุมสอบ โดยวิชาสอบไม่ซ้ำกันในห้องสอบและคาบ 𝑖=1 𝑟=1

สอบเดียวกันของทุก ๆ วัน วิชาสอบเซต J ต้องจัดสอบในวันพุธชั่วโมงสอบที่ 1


8 4
8 4 5 6

∑ ∑ ∑ ∑ 𝑥𝑖𝑟𝑗𝑙𝑘 = 1 ; ∀𝑗 (4) ∑ ∑ 𝑥𝑖𝑟𝑗,3,1 ≤ 4 ; ∀𝑗 ∈ 𝐽 (13)


𝑖=1 𝑟=1
𝑖=1 𝑟=1 𝑙=1 𝑘=1
วิชาสอบเซต K ต้องจัดสอบในวันพุธชั่วโมงสอบที่ 2

392
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

8 4
วิชาสอบเซต Y ต้องจัดสอบในวันศุกร์ชั่วโมงสอบที่ 6
∑ ∑ 𝑥𝑖𝑟𝑗,3,2 ≤ 4 ; ∀𝑗 ∈ 𝐾 (14) 8 4
𝑖=1 𝑟=1
∑ ∑ 𝑥𝑖𝑟𝑗,5,6 ≤ 3 ; ∀𝑗 ∈ 𝑌 (25)
วิชาสอบเซต L ต้องจัดสอบในวันพุธชั่วโมงสอบที่ 4 𝑖=1 𝑟=1
8 4
ข้ อ จำกั ด ที ่ 4 ครู ค ุม สอบทั ้ง หมดต้ อ งมีช ั ่ ว โมงคุม สอบ
∑ ∑ 𝑥𝑖𝑟𝑗,3,4 ≤ 4 ; ∀𝑗 ∈ 𝐿 (15)
𝑖=1 𝑟=1 รวมกันไม่เกิน 74 ชั่วโมง
8 4 74 5 6
วิชาสอบเซต M, N ต้องจัดสอบในวันพุธชั่วโมงสอบที่ 5
8 4
∑ ∑ ∑ ∑ ∑ 𝑡𝑗 𝑥𝑖𝑟𝑗𝑙𝑘 = 74 (26)
𝑖=1 𝑟=1 𝑗=1 𝑙=1 𝑘=1
∑ ∑ 𝑥𝑖𝑟𝑗,3,5 ≤ 3 ; ∀𝑗 ∈ 𝑀, 𝑁 (16)
𝑖=1 𝑟=1 ข้อจำกัดที่ 5 ตัวแปรตัดสินใจต้องเป็น 0 กับ 1 เท่านั้น
วิชาสอบเซต O, P ต้องจัดสอบวันพฤหัสบดีชั่วโมงสอบที่ 1 𝑥𝑖𝑟𝑗𝑙𝑘 = 𝐵𝑖𝑛𝑎𝑟𝑦 ; ∀𝑖, 𝑟, 𝑗, 𝑙, 𝑘 (27)
8 4

∑ ∑ 𝑥𝑖𝑟𝑗,4,1 ≤ 4 ; ∀𝑗 ∈ 𝑂, 𝑃 (17) 4.7 การหาคำตอบของปัญหา


𝑖=1 𝑟=1 4.7.1 การจัดวิชาสอบลงคาบสอบ และวันสอบ
วิชาสอบเซต Q, R ต้องจัดสอบวันพฤหัสบดีชั่วโมงสอบที่ 2 ได้ผ ลจากการจัดวิช าสอบลงคาบสอบ และวันสอบด้วย
8 4

∑ ∑ 𝑥𝑖𝑟𝑗,4,2 ≤ 4 ; ∀𝑗 ∈ 𝑄, 𝑅 (18) วิธีการแบบฮิวริส ติก โดยนำวิชาสอบจัดลงเริ่มจากวันจั นทร์


𝑖=1 𝑟=1 คาบที ่ 1 เป็ น ต้ น ไปจนครบทั ้ ง 25 วิ ช าสอบโดยพิ จ ารณา
ข้อกำหนดนักเรียนสามารถสอบติดต่อกันได้ 2 ชั่วโมง และเว้น
วิชาสอบเซต S ต้องจัดสอบในวันพฤหัสบดีชั่วโมงสอบที่ 3
8 4 ให้พัก 1 ชั่วโมง อีกทั้ง พิจ ารณาถึง จำนวนนัก เรี ยนสอบที่
∑ ∑ 𝑥𝑖𝑟𝑗,4,3 ≤ 3 ; ∀𝑗 ∈ 𝑆 (19) สามารถจัดลงห้องสอบได้ตามจำนวนห้องสอบที่มี
𝑖=1 𝑟=1
ตารางที่ 2 ผลการจัดวิชาสอบลงคาบสอบและวันสอบ
วิชาสอบเซต T ต้องจัดสอบในวันพฤหัสบดีชั่วโมงสอบที่ 4
8 4 รายวิชาสอบ จัดลงคาบสอบที่
∑ ∑ 𝑥𝑖𝑟𝑗,4,4 ≤ 3 ; ∀𝑗 ∈ 𝑇 (20) ภาษาอังกฤษฟัง-พูด จ. 9.00-10.00 น.
𝑖=1 𝑟=1
เขียนแบบเครื่องมือกล 1 จ. 10.00-11.00 น.
วิชาสอบเซต U ต้องจัดสอบในวันพฤหัสบดีชั่วโมงสอบที่ 6
8 4 ผลิตชิ้นส่วนด้วยเครื่องมือกล 1 จ. 13.00-14.00 น.
∑ ∑ 𝑥𝑖𝑟𝑗,4,6 ≤ 3 ; ∀𝑗 ∈ 𝑈 (21) งานไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ฯ จ. 14.00-15.00 น.
𝑖=1 𝑟=1
ชิ้นส่วนเครื่องจักรกล อ. 9.00-10.00 น.
วิชาสอบเซต V ต้องจัดสอบในวันศุกร์ชั่วโมงสอบที่ 1
8 4 ภาษาจีนเพื่อการสื่อสาร อ. 10.00-11.00 น.
∑ ∑ 𝑥𝑖𝑟𝑗,5,1 ≤ 3 ; ∀𝑗 ∈ 𝑉 (22) ประวัติศาสตร์ชาติไทย อ. 13.00-14.00 น.
𝑖=1 𝑟=1

วิชาสอบเซต W ต้องจัดสอบในวันศุกร์ชั่วโมงสอบที่ 3 งานเชื่อมโลหะแผ่น อ. 14.00-15.00 น.


8 4 คอมพิวเตอร์สารสนเทศ อ. 14.00-15.00 น.
∑ ∑ 𝑥𝑖𝑟𝑗,5,3 ≤ 3 ; ∀𝑗 ∈ 𝑊 (23) ภาษาอังกฤษสำหรับงานช่าง พ. 9.00-10.00 น.
𝑖=1 𝑟=1

วิชาสอบเซต X ต้องจัดสอบในวันศุกร์ชั่วโมงสอบที่ 4 คณิตศาสตร์อุตสาหกรรม พ. 10.00-11.00 น.


8 4 วัสดุงานช่างอุตสาหกรรม พ. 13.00-14.00 น.
∑ ∑ 𝑥𝑖𝑟𝑗,5,4 ≤ 3 ; ∀𝑗 ∈ 𝑋 (24) ธุรกิจผู้ประกอบการ พ. 14.00-15.00 น.
𝑖=1 𝑟=1

393
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

รายวิชาสอบ จัดลงคาบสอบที่ จากตารางที่ 4 เป็นการเปรียบเทียบการจัดตารางสอบของ


กฎหมายแรงงาน พ. 14.00-15.00 น. กรณีศึกษาแบบเก่าและแบบใหม่ พบว่าค่าความแปรปรวนมีค่า
เขียนแบบเครื่องกล 2 พฤ. 9.00-10.00 น. ลดลงทำให้ภาระชั่วโมงคุมสอบมีความสมดุลมากขึ้นถึง 97%
โปรแกรมเอ็นซีฯ พฤ. 9.00-10.00 น. และสามารถลดระยะเวลาในการจัดตารางสอบได้ถึง 88%
อบชุบโลหะ พฤ. 10.00-11.00 น.
เขียนแบบด้วยคอมพิวเตอร์ พฤ. 10.00-11.00 น. 5. สรุปผลการวิจัย
แม่พิมพ์พลาสติกเบื้องต้น พฤ. 11.00-12.00 น. จากปัญหาการจัดตารางสอบในสถานศึกษากรณีศึกษาไม่มี
การเขียนภาพสเกตย์ พฤ. 13.00-14.00 น. ต้นแบบที่แน่นอนอาศัยวิธีการจัดตามประสบการณ์อีกทั้งไม่มี
โลหะวิทยาเบื้องต้น พฤ. 15.00-16.00 น. เครื่องมือในการช่วยจัดตารางสอบ ดังนั้นงานวิจัย นี้จึงนำวิ ธี
ลับคมเครื่องมือตัด ศ. 9.00-10.00 น. แบบจำลองทางคณิตศาสตร์มาแก้ปัญหา ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อ
นิวแมติกส์และไฮดรอริกส์ ศ. 11.00-12.00 น. ลดความแตกต่างของจำนวนชั่วโมงของภาระงานคุมสอบ และ
คณิตศาสตร์ฯมือกล ศ. 13.00-14.00 น. สร้างเครื่องมือช่วยจัดตารางสอบให้กับสถานศึกษา ในลักษณะ
กฎหมายแรงงานปี 3 ศ. 15.00-16.00 น. ที่มีตัวแปรตัดสินใจเป็น Binary ภายใต้เงื่อนไขข้อจำกัดต่าง ๆ
4.7.2 การหาคำตอบโดยใช้ What’s Best โดยใช้เครื่องมือ What’s Best ในการหาคำตอบ
ได้ผลการจัดตารางสอบที่สามารถจัดสมดุลภาระงานของผู้ ผลที่ได้จากงานวิจัย นี้สรุปได้ว่า ภาระงานคุมสอบของครู
คุมสอบแต่ละท่าน โดยภายใต้เงื่อนไขข้อจำกัดของสถานศึกษา คุมสอบมีความสมดุลมากขึ้น 97% และสามารถลดระยะเวลา
ตารางที่ 3 ผลการจัดสมดุลภาระงานคุมสอบเดิมกับใหม่ ในการจัดตารางสอบลดลง 88% และสามารถแก้ปัญหาได้ตาม
ครูคู่ที่ ภาระคุมสอบเดิม ภาระคุมสอบใหม่ วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
1 8 10
2 7 9 เอกสารอ้างอิง
3 7 9 1. วิ ร ั ต น์ ชมชู ช ื่ น ,2561,การจัด สมดุ ล ภาระงานการตรวจ
4 8 10 โรงงานอุตสาหกรรม,ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
5 12 9 สาขาวิช าวิศ วกรรมอุต สาหการและระบบการผลิต คณะ
6 13 9 วิศ วกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า
7 6 9 ธนบุรี,หน้า 14-15.
8 13 9 2. พรชั ย ยิ น ดี ,2557,แบบจํ า ลองทางคณิ ต ศาสตร์ ส ำหรับ
ปัญหาการจัดตารางการเรียนการสอนที่มีการจัดสมดุ ล
ตารางที่ 4 เปรียบเทียบผลการจัดตารางสอบวิธีเดิมกับวิธีใหม่ ภาระงาน,ปริญญาวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา
วิ ศ วกร ร มอุ ต ส าห การ แล ะร ะบบการ ผ ล ิ ต ค ณะ
ข้อเปรียบเทียบ วิธีเดิม วิธีใหม่ ดีขึ้น (%)
วิศ วกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า
ค่าความแปรปรวน (ชม.2) 7.44 0.19 97%
ธนบุรี,หน้า 41-42.
ระยะเวลาในการจัด 8 ชม. 1 ชม. 88%

394
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

3. อนิสรา ไชยเรศ,2554,การสร้างแบบจำลองทางคณิตศาสตร์
เพื่อแก้ปัญหาการจัดตารางสอบ,ปริญญาวิศวกรรมศาสตร
มหาบั ณ ฑิ ต สาขาการจั ด การงานวิ ศ วกรรม ภาควิ ช า
วิศวกรรมอุตสาหการและการจัดการ มหาวิทยาลัยศิลปากร
,หน้า 32-33.
4. สุ ว ั ล ภา แสงประกาย,2542,การนำ Optimization มา
ประยุกต์ใช้ในการหาค่าใช้จ่ายในการขนส่งไปรษณียภัณฑ์ ,
ปริ ญ ญาวิ ท ยาศาสตรมหาบั ณ ฑิ ต สาขาเทคโนโลยี
สารสนเทศ มหาวิ ท ยาลั ย เทคโนโลยี พ ระจอมเกล้ า
ธนบุรี,หน้า 47-48.
5. นันท์นภัส ฐากุลวีรนันท์ ,2556,การจัดสมดุลภาระงานใน
กระบวนการพั ฒ นาวิ ธ ี ว ิ เ คราะห์ ย าสำเร็ จ รู ป ,ปริ ญ ญา
วิศ วกรรมศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิช าวิศ วกรรมอุตสา-
หการและระบบการผลิ ต คณะวิ ศ วกรรมศ าส ตร์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี,หน้า 90-94.
6. จิราวัฒน์ บุษราคัมมณี ,2559,แบบจำลองทางคณิตศาสตร์
เพื่อการจัดสมดุลภาระงานสำหรับปัญหาการจัดตารางการ
เรี ย นการสอนในวิ ท ยาลั ย ,ปริ ญ ญาวิ ศ วกรรมศาสตร
มหาบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการและระบบการ
ผลิต คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระ
จอมเกล้าธนบุรี,หน้า 46 -47.
7. รุ่งรัตน์ ภิสัชเพ็ญและพรธิภา องค์คุณารักษ์,2556,การวิจัย
ดำเนินงาน,ซีเอ็ดยูเคชั่น,กรุงเทพฯ,หน้า 13-16.
8. Kantaporn and Udom,2021,Optimization of
NurseScheduling Problem: A hospital case study,
Ladkrabang Engineering Journal,Vol.38,No.4,pp.
23-31

395
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

แนวทางการลดสภาพอันตรายและการป้องกันอุบัติเหตุในอู่ซ่อมรถยนต์
กรณีศึกษา : อู่ซ่อมรถยนต์ เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร

Guidelines for Reducing Hazard and Preventing Accidents in the Car Garage
Case Study: Car garage, Nong Chok District, Bangkok

สิริรักษ์ ภู่ริยะพันธ์1 ธีรธัช สวัสดิวิชัย2 โสฬส คำสิงห์3 และวรเชฏฐ์ บัวบาน4


1,3,4,
ภาควิชาการจัดการอุตสาหกรรม คณะบริหารธุรกิจ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร เขตหนองจอก กรุงเทพฯ 10530
2
คณะบริหารธุรกิจ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร เขตหนองจอก กรุงเทพฯ 10530
E-mail: sirirak@mut.ac.th1*

บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาเกี่ยวกับอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นภายในอู่ซ่อมรถยนต์ กรณีศึกษาซึ่งตั้ง อยู่ในเขตหนองจอก
กรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมข้อมูลรายละเอียดของการเกิดอุบัติเหตุ ลักษณะการเกิดอุบัติเหตุ แหล่งที่ก่อให้เกิด
อุบัติเหตุ เพื่อวิเคราะห์ความเสี่ยงที่จะขึ้นภายในอู่ซ่อมรถยนต์และนำเสนอแนวทางในการลดอุบัติเหตุ โดยทำการวิเคราะห์และเก็บ
รวบรวมข้ อ มู ล โดยใช้ เครื่ อ งมือ การใช้ แ ผนผั ง แสดงเหตุ (Cause and Effect Diagram) หรื อ แผนผั ง ก้า งปลา (Fish Bone
Diagram)โดยใช้วิเคราะห์ปัญหาที่เกิดจาก 1. ขั้นตอนการทำงาน 2. อุปกรณ์การทำงาน 3. พื้นที่การทำงานวิเคราะห์ และ แผนภูมิ
ต้นไม้ ( Fault Tree Analysis) ใช้วิเคราะห์สาเหตุที่จะเกิดอุบัติเหตุได้ สามารถเกิดขึ้นได้ โดยแบ่งออกเป็น 1.พื้นที่การทำงาน 2.
วัตถุดิบ 3. อุปกรณ์การทำงาน 4.สภาพแวดล้อม ทำการแก้ไข ด้วยหลักการ 5ส และแผ่นตรวจสอบ (Cheek Sheet) เพื่อสร้าง
สร้างความปลอดภัยให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จากที่กล่าวมาข้างต้น ทางคณะผู้ศึกษาได้ทำการวิเคราะห์ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นใน
อู่ซ่อมรถยนต์และได้ดำเนินการหาแนวทางให้ปลอดภัยกับสถานประกอบการได้นำไปใช้ในอนาคต ซึ่งสามารถช่วยลดอุบัติเหตุและ
ก่อให้เกิดสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ปลอดภัย

คำสำคัญ : อุบัติเหตุ แผนผังแสดงเหตุและผล การใช้การวิเคราะห์แบบแผนภูมิต้นไม้ กิจกรรม 5 ส แผ่นตรวจสอบ

396
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

Abstract
This research was conducted to study the accidents occurring in the Car Garage in Bangkok. The
purpose is to collect detailed information about the accident ,nature of the accident and source of accident
in order to analyze the risks that occur in the garage and propose guidelines to reduce accidents by analyzing
and collecting data using tools Using Cause and Effect Diagram or Fish Bone Diagram by analyzing problems
caused by 1. Working process 2. Working equipment 3. Analysis working area and Fault Tree Analysis is used to
analyze the causes of accidents that can occur. divided into 1. Working area 2. Raw material 3. Working
equipment 4. Environment, make corrections with 5S principles and check sheet to create a more efficient
safety from the foregoing The study team has analyzed the problems that occur in the auto repair shop and
has taken steps to find a safe way for the workplace to be used in the future. This can help reduce accidents
and create a safe working environment.

Keywords: Accident, Cause and Effect Diagram, Fault Tree Analysis, 5S activity, Check sheet

397
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

1.บทนำ หนดเป้าหมายอย่างชัดเจน มีมาตรฐาน และระบบประเมิน


ในปัจจุบันนี้รถยนต์ถือว่าเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการ วัดผลที่เชื่อถือได้ โดยมีคุณลักษณะ 4 ประการ คือ
ดำรงชี ว ิ ต ของมนุ ษ ย์ เป็ น อย่ า งมาก จึ ง ทำให้ ประชาชนใน 1. แนวคิดการจัดการ (Management concept) เป็นการนำ
กรุง เทพมหานครและต่างจัง หวัด ให้ค วามสำคัญในการใช้ แนวคิดและปรัชญาการบริหารงานความปลอดภัยสมัยใหม่มา
รถยนต์เป็นจำนวนมาก ทำให้เกิดการสึกหลอจึงต้องการการ ใช้ในการดำเนินงาน
ซ่อมบำรุง จึงพบว่ามีธุรกิจที่ให้บริการเกี่ยวกับการซ่อมบำรุง 2. การจั ด การระบบข้ อ มู ล (Management information
รถยนต์เป็นจำนวนมาก สถานประกอบการซ่อมรถยนต์เป็น system) จำเป็นอย่างยิ่งต่อการบริหารงานและผู้บริหารที่จะ
ธุ ร กิ จ ที ่ ใ ห้ บ ริ ก ารครอบคลุ ม ถึ ง การตรวจเช็ ค การซ่ อ ม ใช้ข้อมูลในการวางแผนงานกำหนดนโยบายและการตัดสินใจ
เครื่องยนต์และให้บริการบำรุงรักษารถยนต์เป็นต้น เนื่องจาก 3. มาตรฐานการปฏิบัติงาน (Performance standard) ระบบ
การซ่อมบำรุงรถยนต์ ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของการบริการ การบริหารงานความปลอดภัยสมัยใหม่ ให้ค วามสำคัญต่ อ
อู่ซ่อมรถยนต์สถานบริการอู่ซ่อมรถยนต์จะควบคลุมกิจกรรม มาตรฐานการปฏิบัติงาน กิจกรรมหรืองานที่ปฏิบัติจะต้องมี
ได้แก่การซ่อมตัวถัง การซ่อมเครื่องยนต์ การซ่อมช่วงล่าง การ ขั้นตอนการปฏิบัติ กำหนดมาตรฐาน และควบคุมให้เป็ น ไป
เปลี่ยนน้ำยา การเปลี่ยนถ่ายน้ำมันหล่อลื่น การเปลี่ยนอะไหล่ ตามมาตรฐาน
ซึ่งกิจกรรมต่างๆเหล่านี้อาจก่อให้เกิดปัญหามลพิษ 4. ระบบการประเมินวัดผล (Measurement and evaluation
ดังนั้นผู้วิจัยจึง ทำการวิเคราะห์สภาพความเสี่ยงในการ system) ระบบนี้มุ่งเน้นมาตรฐานที่สามารถวัดได้ ใช้เป็นดัชนี
ทำงานของอู่ซ่อมรถยนต์ เพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุและหาแนว ชี้วัดได้ ตรวจสอบและประเมินผลได้ว่า กิจกรรมหรือโปรแกรม
ทางการลดอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากคน เครื่องจักร พื้นที่ในการ ที่ปฏิบัติ ได้ผ ลตามมาตรฐานหรือต่ำกว่ามาตรฐาน และจะ
ทำงาน และสิ ่ ง แวดล้ อ ม รวมถึ ง หาแนวทางการป้ อ งกั น ปฏิบัติให้ได้มาตรฐานอย่างไร
อุบัติเหตุจากการทำงานที่ไม่ถูกวิธี ควรอย่างยิ่งที่ทางอู่ซ่ อม 2.3 ทฤษฎีแผนผังก้างปลา (Fishbone Diagram)
รถยนต์ต้องให้ความสำคัญต่อการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุด้วย ผั ง ก้ า งปลา (fishbone diagram) เป็ น ผั ง ที ่ แ สดงถึ ง
2. การทบทวนทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ความสัมพันธ์ระหว่างปัญหากับสาเหตุของปัญหาทั้งหมด ชื่อ
2.1 คำนิยามของอุบัติเหตุ และสภาพอันตราย เรียกผัง ก้างปลานี้เนื่องจากเป็นผัง ที่มีล ักษณะคล้ายปลาที่
อุบัติเหตุ (Accident) หมายถึง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้ นโดย ประกอบด้วย หัวปลา โครงร่างกระดูกแกนกลาง และก้างปลา
มิได้วางแผนไว้ล่วงหน้า ซึ่งก่อให้เกิดการบาดเจ็บ พิการหรือ โดยระบุปัญหาที่หัวปลา ระบุสาเหตุหลักของปัญหาเป็นลูกศร
ตาย หรือทำให้ทรัพย์สินได้รับความเสียหาย หรือความเสียหาย เข้าสู่กระดูกแกนกลางและระบุสาเหตุย่อยที่เป็นไปได้ที่สง่ ผล
ต่อสภาพแวดล้อมในการทำงานหรือต่อสาธารณชน กระทบให้เกิดปัญหานั้นเป็นลูกศรเข้าสู่สาเหตุหลัก นอกจากนี้
2.2 แนวคิดเกี่ยวกับความปลอดภัยในการทำงาน
รูปแบบของการจัดการความปลอดภัยสมัยใหม่ (Modern
safety management) ว่าเป็นการพัฒนารูปแบบการจัดการ
ความปลอดภัยและความสูญเสียอย่างเป็นระบบ ที่มีการกา

398
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

ผังก้างปลามีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า แผนผังอิชิกาว่า (Ishikawa เรื่องที่แก้ไขได้ยากกว่า เพราะเป็นสิ่งที่ปลูกฝังเป็นคุณสมบัติ


Diagram) ส่วนบุคคล ดังนั้น การรณรงค์ต่าง ๆ การสอบสวนอุบัติ เหตุ
ล้วนแต่จะมุ่งเน้นไม่ให้ตัวโดมิโนตัวที่สามทั้งสิ้น
2.5 การวิเคราะห์ Fault Tree
Fault Tree Analysis (FTA) ห ม า ย ถ ึ ง ก า ร แ จ กแจ ง
อันตรายต่าง ๆ ที่แอบแฝงอยู่ในกระบวนการผลิตทุกขั้นตอน
รวมถึงวิธีการปฏิบัติงานเครื่องจักรหรืออุปกรณ์ที่ใช้ในการผลิต
วิธีการชี้บ่งอันตรายที่ระบุไว้ในกฎหมายมีอีกหลายวิธีด้วยกัน
ดัง นั้น การเลือกใช้จ ะต้องพิจารณาจากความเหมาะสมของ
รูปที่ 1 โครงสร้างของแผนผังแสดงเหตุและผล กระบวนการผลิตและลักษณะความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น เทคนิค
(Cause and Effect Diagram) FTA คือ การใช้หลักการเขียนโครงร่างแสดงความสัมพันธ์เพื่อ
2.4 ทฤษฎีโดมิโน (Domino Theory) หาสาเหตุและผลที่เกิดขึ้น โดยกำหนดให้ส่วนบนสุดของโครง
ทฤษฎี โ ดมิ โ น(Domino Theory) ของการเกิ ด อุ บ ั ติเหตุ ร่ า งเป็ น ความผิ ด พลาดหรื อ อุบ ั ต ิ เ หตุ ท ี ่ ส นใจ และทำการ
สามารถเชื ่ อ มโยงได้ ก ั บ ปรั ช ญาความปลอดภั ย ของ H.W. วิเคราะห์หาสาเหตุที่จะทำให้เกิดเหตุการณ์นั้นไปเรื่อย ๆ จน
Heinrich เกี่ยวกับสาเหตุของอุบัติเหตุได้ สิ ้ น สุ ด เมื ่ อ พบว่ า เหตุ ก ารณ์ ท ี ่ ว ิ เ คราะห์ น ั ้ น เป็ น ผลต่ อ
ทฤษฎีโดมิโน กล่าวว่า การบาดเจ็บและความเสียหายต่างๆ เนื่องมาจากความบกพร่องของเครื่องจักรและอุปกรณ์หรือ
เป็นผลที่สืบเนื่องโดยตรงมาจากอุบัติเหตุและอุบัติเหตุเป็นผล ความผิดพลาดจากการปฏิบัติติงานสัญลักษณ์ที่นิยมใช้ในการ
มาจากการกระทำที่ไม่ปลอดภัยหรือสภาพการณ์ที่ไม่ปลอดภัย วิเคราะห์ด้วยเทคนิค FTA
ซึ่งเปรียบได้เหมือนตัวโดมิโนที่เรียงกันอยู่ 5 ตัวใกล้กัน

รูปที่ 2 ทฤษฎีโดมิโน (Domino Theory)

การป้องกันอุบัติเหตุตามทฤษฎีโดมิโน คือ การตัด


ลูกโซ่อุบัติเหตุ โดยการกำจัดการกระทำหรือสภาพการณ์ที่ไม่
ปลอดภัยออกไป อุบัติเหตุจ ะไม่เกิดขึ้น การแก้ไขป้องกันที่
โดมิโน ตัวที่หนึ่ง (สภาพแวดล้อมของสังคมหรือภูมิหลัง ของ
บุคคล) หรือตัวที่สอง (ความบกพร่องผิดปกติ ของบุคคล) เป็น

399
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

2. สะดวก (Seiton) คือการจัดวางสิ่งของต่างๆในที่ทำงานให้


เป็นระเบียบเพื่อความสะดวกและความปลอดภัย
3. สะอาด (Seiso) คือ การทําความสะอาดเครื่องมือ อุปกรณ์
และสถานที่ทำงาน
4. สุ ข ลั ก ษณะ (Seiketsu) คื อ สภาพหมดจด สะอาด ถู ก
สุขลักษณะและรักษาไว้ตลอดไป
5. สร้ า งนิ ส ั ย (Shitsuke) คื อ การอบรม สร้ า งนิ ส ั ย ในการ
ปฏิบัติงานตามระเบียบวินัยและ ข้อบังคับอยางเคร่งครัด
ประโยชน์ของ 5ส.

3. วิธีการดำเนินงาน
3.1 ข้อมูลเกี่ยวกับสถานประกอบการอู่ซ่อมรถยนต์
กรณีศึกษา
อู ่ ซ ่ อ มรถยนต์ ก รณี ศ ึ ก ษาตั ้ ง อยู ่ ท ี ่ เ ขต หนองจอก
กรุงเทพมหานคร ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการการซ่อมช่ วง
ล่าง การเปลี่ยนน้ำยา การเปลี่ยนถ่ายน้ำมันหล่ อลื่น การ
เปลี ่ ย นอะไหล่ ต ่ า งๆ ซ่ อ มเกี ย ร์ AT/MT และรั บ โมนิ ฟ าย
รูปที่ 3 สัญลักษณ์ที่ใช้ในการวิเคราะห์เทคนิค FTA เครื่องยนต์ใหม่ในรูปแบบการแข่ง ขันรถยนต์ทางตรง (Drag
Racing)
2.6 ทฤษฎีหลักการ 5ส. 3.2 การวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา
กิจ กรรม 5ส. หมายถึง การดูแลรักษาความเป็นระเบียบ การวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาของอุบัติเหตุภายในอู่ซ่อม
เรียบร้อยของสถานที่ทำงานหรือ สถานประกอบการ ซึ่งนั้น รถยนต์และทำการวิเคราะห์ข้อมูลจากที่ลงสำรวจพื้นที่ โดย
เป็นการอธิบายในขั้นต้น แต่ที่จริงแล้ว 5ส ยังเป็นกิจกรรมที่ คณะผู้ศ ึกษาจะใช้เครื่องมือ แผนผัง แสดงเหตุและผล หรือ
เกี่ยวข้องกับ การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ หลักการของ 5ส แผนผังก้างปลา และแผนภูมิต้นไม้
เป็นรากฐานสำคัญของ การเป็นการพัฒนาทรัพยากรบุค คล 3.2.1 การใช้แผนผังแสดงเหตุและผล (Cause and Effect
กิจกรรม 5ส จะมุ่งการพัฒนาคนในองค์กร Diagram) หรื อ แผนผัง ก้ างปลา (Fish Bone Diagram) คือ
เป็นแนวคิดการจัดระบบระเบียบในที่ทำงานก่อให้เ กิ ด แผนผั ง ที ่ แ สดงถึ ง ความสั มพั น ธ์ ร ะหว่ า งปั ญ หากั บ สาเหตุ
สภาพการทำงานที่ดี ปลอดภัย นําไปสู่การเพิ่มผลผลิต ระบบ ทั้งหมดที่อาจจะก่อให้เกิดอุบัติเหตุ โดยจะแบ่งเป็น 3 ปัญหา
5ส. แบ่งได้ดังต่อไปนี้ 1.) ขั้นตอนการทำงาน
1. สะสาง (Seiri) คือการแยกสิ่งที่ต้องการ ออกจากสิ่งของที่ 2.) อุปกรณ์การทำงาน
เราไม่ต้องการออกไป 3.) พื้นที่การทำงาน
3.2.2 การวิเคราะห์แบบแผนภูมิต้นไม้ Fault Tree Analysis
( FTA) คือการวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อให้ทราบว่าอุบัติเหตุใดมีการ
400
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

เกิดขึ้นอุบัติเหตุที่มีความถี่ส ูงและสาเหตุอะไรที่เกิดขึ้ นบ่อ ย อันตรายต่างๆ เช่น การจัดทำป้ายพื้นต่างระดับ ไฟฟ้าแรงสูง


ที่สุด และทำการวิเคราะห์ข้อมูลการเกิดอุบัติเหตุตามที่ประสบ และป้ายอันตรายตามเครื่องจักรที่ใช้ประจำภายในอู่ ซ ่ อ ม
อันตรายบ่อยที่สุด ซึ่งจากคณะผู้ศึกษาได้ลงสำรวจพื้นที่ภายใน รถยนต์
อู่ซ่อมรถยนต์ พบว่าสิ่ง ที่ก่อให้เกิดอุบัติเหตุจาก พื้นที่การ
ทำงาน วัตถุดิบ อุปกรณ์การทำงาน สภาพแวดล้อม เป็นสาเหตุ 4. ผลการศึกษา
ของการเกิดอุบัติเหตุภายในอู่ซ่อมรถยนต์ 4.1 ผลการวิเคราะห์สาเหตุและผลกระทบของปัญหา ใช้
แผนผังแสดงเหตุและผล หรือแผนผังก้างปลา
จากการเก็บข้อมูลจะทำการวิเคราะห์สาเหตุของปัญหาใน
ด้าน การทำงานที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ การใช้อุปกรณ์ที่
เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ และ ด้านพื้นที่การทำงานที่เสี่ยงต่อ
การเกิดอุบัติเหตุ โดยมีรายละเอียดดังนี้
4.1.1 การใช้ แ ผนผั ง แสดงเหตุ แ ละผล (Cause and Effect
Diagram) หรือแผนผังก้างปลา (Fish Bone Diagram) วิเคราะห์
รูปที่ 4 แผนผังการวิเคราะห์แบบแผนภูมิต้นไม้ Fault Tree ปัญหาปัจจัยขั้นตอนการทำงานที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ
Analysis
3.3 แนวทางการแก้ไขปัญหา
3.3.1 กิจกรรม 5 ส
เป็นกระบวนการหนึ่งที่มีแนวทางการปฏิบัติที่เหมาะสม
สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ภายในอู่ซ่อมรถยนต์เพื่อปรับปรุง รูปที่ 5 วิเคราะห์ปัญหาปัจจัยขั้นตอนการทำงานที่เสี่ยงต่อการเกิด
แก้ไขในด้านรักษาความสะอาดพื้นที่การทำงาน การจัดเก็บ อุบัติเหตุ
อุปกรณ์ที่ใช้ปฏิบัติงานให้ดียิ่งขึ้นกว่าเดิม 4.1.2 การใช้แผนผังแสดงเหตุและผล (Cause and Effect
3.3.2 จัดทำคู่มือและแนวทางการปฏิบัติงานอย่างถูกวิธี Diagram) หรือแผนผังก้างปลา (Fish Bone Diagram)
การทำคู่มือ คือ การทำสมุดหรือหนังสือที่ให้ความรู้เกี่ยวกับ วิเคราะห์ปัญหาปัจจัยการใช้อุปกรณ์ที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ
เรื่องใดเรื่องหนึ่งที่ต้องการรู้เพื่อใช้ประกอบตำรา เพื่ออำนวย
ความสะดวกเกี่ยวกับการศึกษาหรือการปฏิบัติเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
หรือเพื่อแนะนำวิธีใช้อุปกรณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง ที่ร วบรวม
ข้อมูล ข้อเท็จจริง เฉพาะเรื่อง เพื่อใช้เป็นคู่มือตอบคำถามใน
เรื่องใดเรื่องหนึ ่ง ได้ อย่างรวดเร็ ว หรือเพื่อใช้เ ป็ นคู ่ม ื อ ใน
การศึกษาและปฏิ บั ติ ง าน โดยคณะผู้ศ ึกษาจะจัด ทำแนว รูปที่ 6 วิเคราะห์ปัญหาปัจจัยการใช้อุปกรณ์ที่เสี่ยงต่อการเกิด
ทางการปฏิบัติงานอย่างถูกวิธีให้กับช่างภายในอู่ซ่อมรถยนต์ อุบัติเหตุ
โดยจัดทำขั้นตอนที่ถูกวิธี และขั้นตอนที่ผิดวิธีให้แก่ช่างภายใน
อู่ซ่อมรถยนต์ได้ดูว่าผลเสียของการปฏิบัติงานที่ผิดขั้นตอนส่ง
ผลเสี ย ได้ ด ้ า นร่ า งกายและสุ ข ภาพ และจั ด ทำป้ า ยเตื อ น
401
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

4.1.3 การใช้แผนผัง แสดงเหตุและผล (Cause and Effect จากการสำรวจ ผู้จัดทำเลือกใช้ ส.สะดวก ในการจัด แยก
Diagram) ห ร ื อ แผ นผ ั ง ก้ า ง ป ล า ( Fish Bone Diagram) เครื่องจักรและอุปกรณ์ที่อาจก่อให้เกิดอันตรายให้เป็นระเบียบ
วิเคราะห์ปั ญหาปัจ จั ยพื้ น ที ่ก ารทำงานที่ เสี่ ยงต่ อ การเกิ ด สะดวกต่ อ การใช้ง าน และแก้ ไ ขปั ญหาโดยทำการติด ป้าย
อุบัติเหตุ สัญลักษณ์ ระวังอันตรายจากเครื่องจักร เพื่อเป็นการบ่งชี้ให้มี
ความระมัดระวังอย่างชัดเจน
จากการสำรวจ ผู้จ ัดทำเลือกใช้ ส.สะดวก ในการแก้ ไ ข
ปัญหา โดยที่พนักงานควรใช้กระดานเลื่อนในการซ่อมบำรุง
ช่วงล่างของรถยนต์ เพื่อความสะดวกและปลอดภัยระหว่าง
การดำเนินงาน โดยคำนึงถึงความปลอดภัยเป็นหลัก
4.3.1.2 การปรับปรุงปัญหาอุบตั เิ หตุจากอุปกรณ์การทำงาน
รูปที่ 7 วิเคราะห์ปัญหาปัจจัยพื้นที่การทำงานที่เสี่ยงต่อ
จากการสำรวจ ผู้จัดทำเลือกใช้ ส.สะสาง ในการจัด แยก
การเกิดอุบัติเหตุ
สิ่งของที่จำเป็นต้องใช้ และไม่จำเป็นต้องใช้ออกจากกัน และ
4.2 ผลการวิเคราะห์ปญ ั หาโดยใช้แบบแผนภูมิต้นไม้
เลือกใช้ ส.สะดวก ในการจัดวางสิ่งของ วัสดุอุปกรณ์ ให้เป็น
Fault Tree Analysis
ระเบียบเรียบร้อย หยิบจับเพื่อใช้งานได้ง่าย และเข้าใจตรงกัน
การใช้การวิเคราะห์แบบแผนภูมิต้นไม้ (Fault Tree
จากการสำรวจ ผู้จ ัดทำเลือกใช้ ส.สะดวก ในการแก้ไ ข
Analysis)
ปัญหาโดยทำการติดป้ายสัญลักษณ์ ระวังไฟฟ้าแรงสูงจากการ
ใช้ ง านเบรกเกอร์ เพื ่ อ เป็ น การบ่ ง ชี้ ใ ห้ ม ีค วามระมั ด ระวัง
อันตรายอย่างชัดเจน
จากการสำรวจ ผู้จัดทำเลือกใช้ ส.สะสาง โดยมีการสำรวจ
สิ่ง ของเพื่อแยกประเภท แยกของที่ต้องการและไม่ต้องการ
ออกจากกัน และขจัดสิ่งของที่ชำรุด ออกจากสิ่งของที่ใช้งานได้
4.3.1.3 การปรับปรุงปัญหาอุบัติเหตุจากพื้นที่การทำงาน
จากการสำรวจ ผู้จ ัดทำเลือ กใช้ ส.สะอาด ในการดู แ ล
รูปที่ 8 การใช้การวิเคราะห์แบบแผนภูมิต้นไม้ (Fault Tree
สถานที่ดำเนินงาน โดยการคลุมผ้าขยะปนเปื้อนที่อยู่ระหว่าง
Analysis)
รอกำจัด เพื่อป้องกันสารเคมีฟุ้งกระจาย อันเป็นสาเหตุที่ทำให้
4.3 ผลการปรับปรุงพื้นที่อู่ซ่อมรถยนต์ และ กิจกรรมต่างๆ
เกิดความสกปรกและสิ่งแปลกปลอม
ที่นำมาปรับปรุงแก้ไข
จากการสำรวจ ผู้จ ัดทำเลือกใช้ ส.สะดวก ในการแก้ไ ข
4.3.1 ผลการปรับปรุงพื้นที่อู่ซ่อมรถยนต์ โดยใช้กิจกรรม 5 ส
ปัญหาโดยทำการติดป้ายสัญลักษณ์ ระวังพื้นที่ต่างระดับ เพื่อ
ทางผู้วิจัยได้ลงสำรวจพื้นที่เพื่อการแก้ปัญหาหลักดังกล่าว
เป็นการบ่งชี้ให้มีความระมัดระวังอันตรายจากการสะดุด หก
ด้วยกิจกรรม 5ส. โดยเลือกใช้วิธีแก้ให้ถูกส่วน ส.สะสาง ส.
ล้ม ได้อย่างชัดเจน
สะดวก ส.สะอาด ส.สุขลักษณะ ส.สร้างนิสัย เพื่อให้ทางอู่ซ่อม
จากการสำรวจ ผู้จัดทำเลือกใช้ ส.สะสาง และ ส.สะดวก
รถยนต์นั้นมีความปลอดภัยลดความเสี่ยงจากอุบัติเหตุ
ในการจัด แยก สิ่งของที่จำเป็นต้องใช้ขึ้นไว้บนชั้นวางของให้
4.3.1.1 ผลการปรับปรุงปัญหาอุบัติเหตุจากขั้นตอนการทำงาน
เป็นระเบียบ เพื่อให้หยิบใช้ง านได้ส ะดวก ปลอดภัย และ
402
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

เลือกใช้ ส.สะอาด ในการเคลียพื้นที่โดยรอบชั้นวางอุ ปกรณ์


เป็นประจำ ตารางที่ 3 แนวทางการป้องกันอุบัติเหตุจากการทำงานด้วย
4.3.2 การแก้ไขปัญหาตรวจเช็ดอุปกรณ์ในการทำงานด้วย ชุดป้องกันส่วนบุคคล
ระบบ CHECK SHEET เป็ น การตรวจเช็ ด ความพร้ อ มของ
อุปกรณ์ก่อนเริ่มปฏิบัติงาน เป็นการป้องกันไม่ให้ เกิดอุบัติเหตุ
จากการทำงาน
ตารางที่ 1 การแก้ไขปัญหาตรวจเช็ดอุปกรณ์ในการทำงาน
ด้วยระบบ CHECK SHEET

4.4 แนวทางการป้องกันอุบัติเหตุและสภาพอันตรายภายใน
อู่ซ่อมรถยนต์กรณีศึกษา
ทางคณะผู้ศึกษามีความต้องการที่จ ะหาแนวทางแก้ไ ข
ผลการปรับปรุงแก้ไขด้วยระบบ CHECK SHEET ในเดือน
ป้องกันอุบัติเหตุที่ก่อให้เกิดความอันตรายให้แก่อู่ซ่อมรถยนต์
กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2565 ได้มีปรับปรุง แก้ไ ขบางรายการใน
โดยจัดทำแนวทางการแก้ไข ดังนี้
CHECK SHEET มี ก ารแก้ ไ ขได้ ท ั น ที และ บางรายการใน
1. อุปกรณ์ในการทำงาน แนวทางการแก้ไขปัญหาไม่ให้ เกิ ด
CHECK SHEET ต้องใช้ระยะเวลาในการปรับปรุง
อุบัติเหตุขณะปฏิบัติงาน โดยการจัดการแยกอุปกรณ์ที่ไม่การ
4.3.3 แนวทางการป้องกันอุบัติเหตุจ ากการทำงานด้วยชุด
ชำรุดออกจากอุปกรณ์ที่อยู่ในสภาพพร้อมใช้งาน ซึ่งการแยก
ป้องกันส่วนบุคคล (Personal Protective Equipment) หรือ
อุปกรณ์ที่ชำรุดจะเป็นการป้องกันไม่เกิดอุบัติเหตุได้ เนื่องจาก
ชุด PPE
อุปกรณ์ที่ชำรุดเป็นสิ่งที่อันตรายในขณะปฏิบัติงานและอาจจะ
ตารางที่ 2 แนวทางการป้องกันอุบัติเหตุจากการทำงานด้วย
ส่งผลให้เกิดอันตรายแก่ช่างหรืออาจจะทำให้เสียชีวิต และมี
ชุดป้องกันส่วนบุคคล
การตรวจสอบอุปกรณ์ก่อนนำมาใช้ปฏิบัติงานทุกครั้ งจะเป็น
การช่วยป้องกันอันตรายจากอุปกรณ์การทำงานได้
2. ขั้นตอนการในการทำงาน แนวทางการแก้ไขปัญหาไม่ให้เกิด
อุบัติเหตุขณะปฏิบัติงาน โดยการจัดอบรมการปฏิบัติงานอย่าง
ถูกต้องให้แก่ช่างภายในอู่ซ่อมรถยนต์ และควรตระหนักถึง
อันตรายที่จะเกิดจากการทำงานว่าส่งผลเสียอย่างไร
3. พื้นที่ในการทำงาน แนวทางการแก้ไขปัญหาไม่ให้ เ กิ ด
อุบัติเหตุขณะปฏิบัติงาน โดยการเก็บของที่ไม่จำเป็นออกจาก
พื้นที่การทำงานตามหลักการ 5 ส สะสาง สะดวก สะอาด
403
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

สุขลักษณะ สร้างนิสัย จะช่วยให้มีพื้นที่ทำงานมากยิ่งขึ้นแล้ว 3. จารุภรณ์ ทองเคร็ง. 2562. พฤติกรรมการเลือกใช้


ไม่เกิดอันตรายขณะยกของหนัก บริการอู่ซ่อมรถยนต์ในจังหวัดกระบี่. การค้นคว้า
5. สรุปผลการดำเนินงาน อิสระปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต.
5.1 สรุปผลการศึกษา 4. ทรงศักดิ์มณฑา. 2560. พฤติกรรมความปลอดภัยใน
ผู้วิจัยสนใจในการศึกษาเกี่ยวกับระบบความปลอดภัยและ การทำงานของพนักงานสายการผลิตในบริษัทบูรณา
กรณีศึกษาจากอู่ซ่อมรถยนต์ ซึ่งสถานที่ตั้งอยู่ในเขตหนองจอก พากรุ๊ป จำกัด. (รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต),
กรุงเทพมหานคร จากนั้นได้เริ่มด้วยการตั้งวัตถุประสงค์ของ มหาวิทยาลัยบูรพา,
การวิจัยนี้คือ เพื่อทราบถึงอุบัติเหตุ ประเภทและความรุนแรง
5. ปริญญา สุดอารมณ์ , & วสุธิดา นุร ิตมนต์. 2561.
เพื่อศึกษาหาสาเหตุและแนวทางป้องกันในการเกิดอุบั ติเหตุ
ความตระหนักถึงความปลอดภัยในการทำงานส่งผล
จากนั้นจึงใช้แนวทางการป้องกันอุบัติเหตุโดยการทำกิจกรรม
ต่ อ พฤติ ก รรมความปลอดภั ย ในการทำงานของ
5 ส. ผลการดำเนินงานนั้นผู้วิจัยได้วิเคราะห์ปัญหาออกมา
หลังจากนั้นทางผู้วิจัยจึงแก้ปัญหาต่างๆด้วยกิจกรรม 5 ส. เช่น พนักงานระดับปฏิบัติการ บริษ ัทในเครือโปลิโฟม
การจัดการพื้นที่การทำงาน การตรวจเช็คอุปกรณ์การทำงาน จำกัด. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ วไล
ภายในอู่ซ่อมรถยนต์ มีการตรวจสอบคุณภาพก่อนนำมาใช้ ยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 8(3).
และการจัดการแนวทางการปฏิบัติง านอย่างถูกวิธี โดยจาก 6. เพรียวพรรณ สุขประเสริฐ, พรสวัสดิ์ ศรีสวัสดิ์,สราวุธ
การศึกษา ผพบว่า วิธีการดำเนินงานที่เลือกใช้ น ั้นมี ค วาม สุ ธ รรมาสา. 2561. ผลของแนวทางการลดและ
สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ป้องกัน อุบัติเหตุจากการทำงานในโรงงานผลิตบ้าน
เพราะทำให้ทราบถึงอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น รู้ถึงแนวทางการปฏิบัติ สำเร็ จ รู ป . วารสารความปลอดภั ย และสุ ข ภาพ,
เพื่อช่วยลดอุบัติเหตุ ทั้งนี้ยังทำให้ทราบถึงลักษณะขั้นตอนการ 11(3), 47-62.
ทำงานที่ถูกต้อง โดยเลือกใช้อุปกรณ์เครื่องมือความปลอดภัย 7. พสชนัน ศรีโ พธิ์ทอง. 2563. ปัจ จัยการรับรู้เรื่ อ ง
เพื่อเป็นแนวทางสำหรับอู่รถยนต์เพื่อใช้ในการแก้ไขปรับปรุง ความปลอดภัยและพฤติกรรมความปลอดภัยในการ
และป้องกันการเกิดอุบัติเหตุต่อไป
ปฏิบัติงานของพนักงานระดับปฏิบัติการ การไฟฟ้า
เอกสารอ้างอิง ส่วนภูมิภาค จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิทยาศาสตร์
1. กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. 2562. ธุรกิจซ่อมบำรุงยาน
และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยปทุมธานี, 1(2), 21-33.
ยนต์. สืบค้นจาก https://dbd.go.th/
8. สำนั ก งานประกั น สั ง คม. 2563. สถานการณ์ การ
download/document_file/Statisic/2562/T26/T2
ประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่ องจากการทำงาน
6_201906.pdf
ประเภทกิจการ ที่มีการประสบอันตรายสูง ปี 2560-
2. กมลทิพย์ นามมา. 2560. ส่วนประสมทางการตลาดที่
2562. Retrieved from
ส่งผลต่อความภักดีในการเลือกใช้แบรนด์ รถยนต์เดิม
https://www.sso.go.th/wpr/assets/upload/fil
ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์
es_storage/sso_th/b3f6c678a16da5
ปริญญามหาบัณฑิต, สถาบัน เทคโนโลยีพระจอมเกล้า
66be1db10d7e84af46.pdf
เจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
404
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

การพยากรณ์การใช้พลังงานด้วยแบบจำลองการเรียนรู้ของเครื่อง
และการวิเคราะห์ประสิทธิภาพของเครื่องฉีดพลาสติก
Energy Consumption Prediction with Machine Learning Models
and Efficiency Analysis of Plastic Injection Molding Machines

ชนสรณ์ ทับทิมทอง1* จักรพันธ์ อร่ามพงษ์พันธ์2 และ กฤษ วงษ์เกษม3


1
โครงการปริญญาโท สาขาการจัดการวิศวกรรม ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน กรุงเทพฯ 10900
2,3
ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน กรุงเทพฯ 10900
E-mail: chanasorn.tu@ku.th1*, chuckaphun.a@ku.th2, fengkrw@ku.ac.th3

บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเก็ บรวบรวมข้อมูลจากเครื่องฉีดพลาสติก ที่บันทึกผ่านระบบอินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่ง
และนำมาสร้างแบบจำลองการเรียนรู้ของเครื่อง เพื่อพยากรณ์การใช้พลังงานของเครื่องฉีดด้วยวิธีการพยากรณ์ 3 วิธี ได้แก่
การถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ ซัพพอร์ตเวกเตอร์รีเกรสชัน และโครงข่ายประสาทเทียม จากผลการวิเคราะห์พบว่า การพยากรณ์การ
ใช้พลังงานของเครื่องฉีด A และ B ด้วยวิธกี ารถดถอยเชิงเส้นพหุคูณมีความเหมาะสมมากที่สุด และการพยากรณ์การใช้พลังงานของ
เครื่องฉีด C ด้วยวิธีการถดถอยเชิงเส้นพหุคูณและวิธีซัพพอร์ตเวกเตอร์รีเกรสชันมีความเหมาะสมมากที่สุด โดยมีค่าร้อยละความ
คลาดเคลื่อนสัมบูรณ์เฉลี่ยน้อยกว่าร้อยละ 1 สำหรับทั้ง 3 เครื่อง นอกจากนี้ เมื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์ประสิทธิภาพของเครื่องฉีด
A, B และ C พบว่า อัตราการเดินเครื่อง มีค่าเท่ากับ ร้อยละ 91.9, 91.5 และ 84.7 ตามลำดับ และประสิทธิภาพการเดินเครื่อง มีค่า
เท่ากับ ร้อยละ 96.3, 94.9 และ 92.4 ตามลำดับ

คำสำคัญ : การพยากรณ์การใช้พลังงาน การเรียนรู้ของเครื่อง ประสิทธิภาพของเครื่องจักร เครื่องฉีดพลาสติก อินเตอร์เน็ตของสรรพสิ่ง

Abstract
The objective of this research is to collect data from plastic injection molding machines recorded by
the Internet of Things (IoT) system and build machine learning models for predicting the energy consumption
using three methods including: multiple linear regression, support vector regression, and artificial neural
network. The results of analysis found that the energy consumption of machines A and B were most suitably

405
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

predicted by multiple linear regression and the energy consumption of machine C was most suitably predicted
by multiple linear regression and support vector regression where the values of mean absolute percentage
error are less than 1% for all three machines. In addition, the data was also used to analyze efficiency of
machines A, B, and C. It was found that the availability was 91.9%, 91.5%, and 84.7%, respectively, and the
performance efficiency was 96.3%, 94.9%, and 92.4%, respectively.

Keywords: energy consumption prediction, machine learning, machine efficiency, plastic injection molding machine,
internet of things

406
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

1. บทนำ
วิส าหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่อม หรือ SMEs ถือเป็น
หัวใจสำคัญในการขั บเคลื่ อ นระบบเศรษฐกิจ ของประเทศ
รวมทั ้ ง ยั ง มี บ ทบาทสำคั ญ ที ่ ท ำให้ เ กิ ด การสร้ า งงานและ
การกระจายรายได้ ส ู ่ ป ระชาชนในประเทศเป็ น อย่ า งมาก
โดยหนึ่ง ในประเภทอุตสาหกรรมที่สำคัญต่อการขับเคลื่อน
ระบบเศรษฐกิจของไทย คือ อุตสาหกรรมพลาสติก เนื่องจาก
เป็นอุตสาหกรรมที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ประเทศปีละหลาย รูปที่ 1 ข้อมูลการทำงานของเครื่องจักรบน Dashboard
หมื่นล้านบาท อีกทั้งยังเกี่ยวข้องกับผู้ประกอบการจำนวนมาก
ในการยกระดั บ อุ ต สาหกรรมพลาสติ ก ในประเทศ 2. การวิเคราะห์ข้อมูลการทำงานของเครื่องจักร
ให้มีส มรรถนะสามารถแข่ง ขันสู่ร ะดับสากลได้ และเพื่อให้ ที่ได้จากการเก็บข้อมูลด้วยระบบ IoT
สอดคล้ อ งกั บ ยุ ท ธศาสตร์ ข องประเทศที ่ ต ้ อ งการ พั ฒ นา 2.1 วัตถุประสงค์ของงานวิจัยและข้อมูลทั่วไปของเครื่องจักร
อุ ต สาหกรรม SMEs ให้ เ ข้ า สู ่ ย ุ ค อุ ต สาหกรรม 4.0 ดั ง นั้ น งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำข้อมูลจากการบันทึกด้ วย
จึ ง มี ก ารนำเทคโนโลยี Internet of Things (IoT) เข้ า ไป ระบบ IoT ของเครื่องฉีดพลาสติกจำนวน 3 เครื่อง จาก 3 โรงงาน
ประยุกต์ใช้กับเครื่องจักรที่เป็นเครื่องฉีดพลาสติก ผ่านการใช้ มาทำการวิเคราะห์ โดยแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ (1) สร้างแบบจำลอง
อุปกรณ์เซนเซอร์ และซอฟต์แวร์ในการเก็บข้อมูลพารามิเตอร์ เพื่อประมาณค่าและวิเคราะห์การใช้พลังงานของเครื่องจักรด้วย
ต่าง ๆ ของเครื่องจักร โดยพารามิเตอร์ที่ถูกเก็บข้อมูลด้วย IoT ปัจจัยที่เป็นอุณหภูมิ โดยใช้การเรียนรู้ของเครื่อง ซึ่งเป็นวิธีที่
ประกอบด้วย อุณหภูมิหัวฉีด อุณหภูมิกระบอกฉีด อุณหภูมิ สามารถเรียนรู้จากชุดข้อมูล และให้ผลลัพธ์ที่มีความแม่นยำใน
น้ำหล่อเย็น ปริมาณการใช้พลังงานของเครื่องจักร และจำนวน การพยากรณ์ และหาวิ ธ ี ก ารพยากรณ์ ท ี ่ เ หมาะสม และ
ชิ้นงานที่ผลิต หลัง จากนั้นข้อมูลการผลิตที่ถูกบันทึก จะถูก (2) วิเคราะห์อัตราการเดินเครื่องและประสิทธิภาพการเดินเครื่อง
ส่ง ไปยัง IoT Gateway ซึ่ง ทำหน้าที่ อ่ า นข้ อมู ล ผ่านตั ว ส่ ง เพื่อหาแนวทางในการปรับปรุงประสิทธิภาพเครื่องจักรต่อไป
สัญญาณอินเตอร์ เน็ต (Wi-Fi) แล้วก็จ ะทำการส่ ง ต่อ ข้ อ มู ล ข้อมูลทั่วไปของเครื่องจักร แสดงดังตารางที่ 1
ไปเก็บไว้บนระบบคลาวด์ เซิฟเวอร์ เพื่อให้สามารถรับรู้ข้อมูล
การผลิ ต และตรวจสอบข้ อ มู ล การทำงานของเครื ่ อ งจัก ร ตารางที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของเครื่องจักร
ได้แบบเรียลไทม์ [1] โดยข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้ทำการเก็บบันทึกไว้
สามารถนำมาแสดงผลผ่านอุปกรณ์ เช่น คอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน เครื่องจักร เครื่องจักร เครื่องจักร
ข้อมูลทั่วไป
เป็นต้น ในรูปแบบ Dashboard แสดงดังรูปที่ 1 ซึ่งสามารถ A B C
นำข้ อ มู ล การผลิต มาวิ เคราะห์ เพื ่อ ปรั บปรุ ง ประสิท ธิภ าพ โรงงาน 1 2 3
การทำงานของเครื่องจักรต่อไป ขนาดเครื่องจักร (ตัน) 110 200 320
ผลิตภัณฑ์ ขวดนม ถังพลาสติก ไม้แขวนเสือ้
เวลาการผลิต/ชิ้น (วินาที) 22 28 20

407
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

2.2 การสร้า งแบบจำลองการเรี ยนรู้ ของเครื่ อ งสำหรับ โดยที่ 𝑤 คือค่าน้ำหนัก (Weight) 𝑏 คือค่าเอนเอียง (Bias)
พยากรณ์การใช้พลังงานของเครื่องจักร และ 〈∙,∙〉 คือการคูณแบบดอท
การพยากรณ์การใช้พลังงานของเครื่องจักร เริ่มต้นจากการ การพยากรณ์ โ ดยวิ ธ ี ซ ั พ พอร์ ต เวกเตอร์ ร ี เ กรสชั น
สร้างตัวแบบพยากรณ์ในโปรแกรม RapidMiner จากข้อมูล ในโปรแกรม RapidMiner มีการกำหนดค่าพารามิเตอร์เริ่มต้น
ฝึกสอนที่เป็นข้อมูลรายชั่วโมงจำนวน 180 ข้อมูล ซึ่งข้อมูล ฟั ง ก์ ช ั น เคอร์ เ นลแบบ rbf ค่ า คงที่ C เท่ า กั บ 1 และ
ปัจจัยนำเข้าประกอบด้วย อุณหภูมิหัวฉีด อุณหภูมิกระบอกฉีด
ค่าความคลาดเคลื่อนที่ยอมรับได้ 𝜀 เท่ากับ 0.001
และอุณหภูมิน้ำหล่อเย็น เพื่อพยากรณ์การใช้พลังงานของ
2.2.3 การพยากรณ์ ด ้ ว ยวิ ธ ี โ ครงข่ า ยประสาทเที ย ม
เครื่องจักรด้วยวิธีการพยากรณ์ทั้ง 3 วิธี ได้แก่ วิธีการถดถอย
(Artificial Neural Network: ANN)
เชิงเส้นพหุคูณ วิธีซัพพอร์ตเวกเตอร์รีเกรสชัน และวิธีโครงข่าย
เป็ น ตั ว แบบทางคณิ ต ศาสตร์ ท ี ่ เ ลี ย นแบบการทำงาน
ประสาทเทียม และนำแบบจำลองมาพยากรณ์ข้อมูลทดสอบ
จำนวน 30 ข้อมูล ของเซลล์ ป ระสาทในสมองมนุ ษ ย์ เพื ่ อ เรี ย นรู ้ แ ละจดจำ
2.2.1 การพยากรณ์ ด ้ ว ยวิ ธี ก ารถดถอยเชิ ง เส้ น พหุ คู ณ ด้ ว ยการทำงานแบบเชื ่ อ มต่ อ โดยการนำข้ อ มู ล ต่ า ง ๆ
(Multiple Linear Regression: MLR) มาประมวลผล วิเคราะห์ ตีค วาม และผลลัพธ์ที่ได้เรียกว่า
เป็นวิธีที่ใช้เทคนิคทางสถิติในการวิเคราะห์ ความสัมพันธ์ ความรู้ อันเกิดจากกระบวนการเรียนรู้ [4] โดยที่เซลล์ประสาท
ระหว่ างตั วแปรอิ สระ ตั ้ งแต่ 2 ตั วขึ ้ นไป ซึ ่ งเป็ นตั วแปรที่มี ของโครงข่ายประสาทเทียมถูกจำลองขึ้นเมื่อมีข้อมูลนำเข้า
การกำหนดค่ าที ่ แน่ นอนไว้ ล ่ วงหน้ า และตั วแปรตาม 1 ตั ว (Input) ส่ ง เข้ า มาคู ณ กั บ ค่า น้ ำ หนั ก (Weight) และผลรวม
ซึ่งเป็นตัวแปรที่เปลี่ยนแปลงไปตามตัวแปรอิสระ [2] ดังสมการที่ 1 ของค่าถ่วงน้ำหนักที่ได้จ ะผ่านเข้าสู่กระบวนการวิเคราะห์
ตีค วามโดยฟังก์ชันกระตุ้น (Activation Function) เกิดเป็น
𝑦 = 𝛽0 + 𝛽1 𝑥1 + 𝛽2 𝑥2 + … + 𝛽𝑛 𝑥𝑛 (1) ข้อมูลส่งออกหรือผลลัพธ์ (Output) แสดงดังรูปที่ 2
โดยที ่ 𝑦 คื อ ตั ว แปรตาม 𝑥 คื อ ตั ว แปรอิ ส ระ และ
𝛽 สัมประสิทธิ์ของสมการถดถอย
การพยากรณ์ โ ดยใช้ ว ิ ธี ก ารถดถอยเชิ ง เส้ น พหุ คู ณ
ในโปรแกรม RapidMiner มีการกำหนดค่าพารามิเตอร์เริ่มต้น
Min Tolerance เท่ า กั บ 0.05 ซึ ่ ง เป็ น การกำหนดค่ า
ความคลาดเคลื่อนที่ยอมรับได้
2.2.2 การพยากรณ์ ด ้ว ยวิ ธ ีซ ัพ พอร์ ต เวกเตอร์ร ีเกรสชัน รูปที่ 2 แบบจำลองเซลล์ประสาท
(Support Vector Regression: SVR) แบบจำลองการพยากรณ์โดยใช้โ ครงข่ายประสาทเทียม
เป็นวิธีที่ใช้หลักการของซัพพอร์ตเวกเตอร์แมชชีน ซึ่งเป็น ในโปรแกรม RapidMiner เป็ น แบบหลายชั้ น ที ่ใ ช้ ล ักษณะ
ตัวแบบการเรี ย นรู ้ข องเครื ่องอาศัย หลั กการทางสถิต ิ แ ละ การเรียนรู้แบบแพร่กระจายย้อนกลับ (Back Propagation)
การลดความเสี่ ย งเชิ ง โครงสร้า งที ่น ้ อ ยที ่ ส ุ ด มาวิ เ คราะห์ และมีฟังก์ชันกระตุ้น แบบ Sigmoid โดยกำหนดพารามิเตอร์
ความถดถอย [3] โดยสมการถดถอยของซัพพอร์ตเวกเตอร์ เริ่มต้นให้อั ตราการเรีย นรู ้เ ท่ ากั บ 0.01 จำนวนรอบทำซ้ ำ
รีเกรสชัน ดังสมการที่ 2 เท่ากับ 200 รอบ และค่าโมเมนตัมเท่ากับ 0.9
2.3 ผลการพยากรณ์การใช้พลังงานของเครื่องจักร
𝑓(𝑥 ) = 〈𝑤, 𝑥 〉 + 𝑏 (2) 2.3.1 ผลการพยากรณ์การใช้พลังงานของเครื่องจักร A

408
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

จากการสร้างตัวแบบพยากรณ์ในโปรแกรม RapidMiner ตารางที่ 2 ค่าความคลาดเคลื่อนการพยากรณ์การใช้พลังงาน


ซึ่งมีข้อมูลปัจจัยนำเข้าประกอบด้วย อุณหภูมิหัวฉีด อุณหภูมิ ของเครื่องจักร A
กระบอกฉีด และอุณหภูมิน้ำหล่อเย็น เพื่อพยากรณ์การใช้
วิธีการพยากรณ์ MAPE RMSE
พลัง งานของเครื่องจักร โดยผลการพยากรณ์การใช้พลังงาน
การถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ 0.762% 0.036
ของเครื่องจักร A จำนวน 30 ชั่วโมง (4 วัน) เทียบกับค่าพลังงาน
ซัพพอร์ตเวกเตอร์รีเกรสชัน 0.834% 0.039
ที่ใช้จริง (หน่วย: kWh) แสดงดังรูปที่ 3
โครงข่ายประสาทเทียม 1.073% 0.048

2.3.2 ผลการพยากรณ์การใช้พลังงานของเครื่องจักร B
จากการสร้างตัวแบบพยากรณ์ในโปรแกรม RapidMiner
ซึ่งมีข้อมูลปัจจัยนำเข้าประกอบด้วย อุณหภูมิหัวฉีด อุณหภูมิ
กระบอกฉีด และอุณหภูมิน้ำหล่อเย็น เพื่อพยากรณ์การใช้
พลัง งานของเครื่องจักร โดยผลการพยากรณ์การใช้พลังงาน
วันที่ 1 วันที่ 2 วันที่ 3 วันที่ 4
ของเครื่องจักร B จำนวน 30 ชั่วโมง (4 วัน) เทียบกับค่าพลังงาน

รูปที่ 3 ผลการพยากรณ์การใช้พลังงานของเครื่องจักร A

จากผลการพยากรณ์ ก ารใช้พ ลัง งานของเครื่ อ งจั ก ร A


โดยเมื่อดู จ ากสมการถดถอยเชิง เส้นพหุค ูณ ดัง สมการที่ 3 วันที่ 1 วันที่ 2 วันที่ 3 วันที่ 4
พบว่าปัจ จัย ที่มีผลต่อการใช้พลังงาน ได้แก่ อุณหภูมิหัวฉีด
(Temp Nozzle) และอุณหภูมิน้ำหล่อเย็น (Temp Cool)
ที่ใช้จริง (หน่วย: kWh) แสดงดังรูปที่ 4
Y = -12.818 + 0.072Temp Nozzle + 0.024Temp Cool (3) รูปที่ 4 ผลการพยากรณ์การใช้พลังงานของเครื่องจักร B
และผลค่ า ความคลาดเคลื ่ อ นของการพยากรณ์ ก ารใช้ จากผลการพยากรณ์ก ารใช้พ ลัง งานของเครื่ อ งจั กร B
พลัง งานของเครื่องจักร A ซึ่งเป็นผลการเปรียบเทียบข้อมูล โดยเมื่อดูจ ากสมการถดถอยเชิง เส้นพหุค ูณ ดัง สมการที่ 4
ระหว่างค่าพยากรณ์และค่าจริงที่ได้ โดยใช้ ค ่าความผิดพลาด พบว่าปัจ จัยที่มีผลต่อการใช้พลังงาน ได้แก่ อุณหภูมิหัวฉีด
เฉลี ่ ย กำลั ง สอง (Root Mean Square Error : RMSE) และ (Temp Nozzle) และอุณหภูมิน้ำหล่อเย็น (Temp Cool)
ค่าร้อยละความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์เฉลี่ย (Mean Absolute Y = -9.407 + 0.055Temp Nozzle + 0.041Temp Cool (4)
Percentage Error : MAPE) แสดงดังตารางที่ 2
และผลค่ าความคลาดเคลื ่ อ นของการพยากรณ์ ก ารใช้
พลังงานของเครื่องจักร B โดยใช้ค่าความผิดพลาดเฉลี่ยกำลังสอง
และค่าร้อยละความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์เฉลี่ย แสดงดังตารางที่ 3

409
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

ตารางที่ 3 ค่าความคลาดเคลื่อนการพยากรณ์การใช้พลังงาน Y = -17.409 + 0.138Temp Nozzle + 0.001Temp Barrel


ของเครื่องจักร B +0.015Temp Cool (5)

วิธีการพยากรณ์ MAPE RMSE และผลค่ า ความคลาดเคลื ่ อ นของการพยากรณ์ การใช้


การถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ 0.582% 0.039 พลังงานของเครื่องจักร C โดยใช้ค่าความผิดพลาดเฉลี่ยกำลังสอง
ซัพพอร์ตเวกเตอร์รีเกรสชัน 0.733% 0.047 และค่าร้อยละความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์เฉลี่ย แสดงดังตารางที่ 4
โครงข่ายประสาทเทียม 0.777% 0.052 ตารางที่ 4 ค่าความคลาดเคลื่อนการพยากรณ์การใช้พลังงาน
2.3.3 ผลการพยากรณ์การใช้พลังงานของเครื่องจักร C ของเครื่องจักร C
จากการสร้างตัวแบบพยากรณ์ในโปรแกรม RapidMiner วิธีการพยากรณ์ MAPE RMSE
ซึ่งมีข้อมูลปัจจัยนำเข้าประกอบด้วย อุณหภูมิหัวฉีด อุณหภูมิ การถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ 0.456% 0.093
กระบอกฉีด และอุณหภูมิน้ำหล่อเย็น เพื่อพยากรณ์การใช้ ซัพพอร์ตเวกเตอร์รีเกรสชัน 0.456% 0.093
พลัง งานของเครื่องจักร โดยผลการพยากรณ์การใช้พลังงาน โครงข่ายประสาทเทียม 0.472% 0.093
ของเครื่องจักร C จำนวน 30 ชั่วโมง (4 วัน) เทียบกับค่าพลังงาน 2.4 การประเมินประสิทธิภาพแบบจำลองการพยากรณ์
ที่ใช้จริง (หน่วย: kWh) แสดงดังรูปที่ 5 การประเมินแบบจำลองการพยากรณ์ จะใช้ ค ่าร้อยละ
ความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์เฉลี่ย (Mean Absolute Percentage
Error : MAPE) ดังสมการที่ (6) เนื่องจากเป็นค่าสถิติที่ แสดง
ความคลาดเคลื่อนระหว่างค่าพยากรณ์เปรียบเทียบกับค่าจริง
ในรู ป ร้ อ ยละ ซึ ่ ง ทำให้ เ ข้ า ใจได้ ว ่ า ค่ า พยากรณ์ ม ี ค วาม
คลาดเคลื่อนจากค่าจริงอยู่มากน้อยเพียงใด [5] โดยค่า MAPE
วันที่ 1 วันที่ 2 วันที่ 3 วันที่ 4
ของแบบจำลองการพยากรณ์แต่ละวิธี แสดงดังตารางที่ 5
1 |At − Ft |
MAPE = n
∑ni=1
At
× 100 (6)

รูปที่ 5 ผลการพยากรณ์การใช้พลังงานของเครื่องจักร C โดยที่ At คือ ค่าจริงของข้อมูล Ft คือ ค่าพยากรณ์ และ


n คือ จำนวนข้อมูลทั้งหมด
จากผลการพยากรณ์ การใช้พ ลัง งานของเครื ่อ งจั ก ร C
โดยเมื่อดูจ ากสมการถดถอยเชิง เส้นพหุค ูณ ดัง สมการที่ 5 ตารางที่ 5 ค่า MAPE แบบจำลองการพยากรณ์แต่ละวิธี
พบว่าปัจ จัยที่มีผลต่อการใช้พลังงาน ได้แก่ อุณหภูมิหัวฉีด
วิธกี ารพยากรณ์ เครื่องจักร A เครื่องจักร B เครื่องจักร C
(Temp Nozzle) และอุ ณ หภู ม ิ น ้ ำ หล่ อ เย็ น (Temp Cool)
การถดถอยเชิ ง เส้ น 0.762% 0.582% 0.456%
ซึ่งเมื่อดูปัจจัยการใช้พลังงานของเครื่องจักรทั้ง 3 เครื่อง พบว่า
พหุคูณ
อุ ณ หภู ม ิ ก ระบอกฉี ด (Temp Barrel) ไม่ มี ผ ลต่ อ การใช้
ซัพพอร์ตเวกเตอร์ 0.834% 0.733% 0.456%
พลั ง งานของเครื ่ อ งจั ก ร เนื ่ อ งจากอุ ณ หภู มิ ท ี ่ เ กิ ด ขึ้ น
รีเกรสชัน
มีการเปลี่ยนแปลงน้อยมาก
โครงข่ายประสาทเทียม 1.073% 0.777% 0.472%

410
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

2.5 การวิเคราะห์ค่าอัตราการเดินเครื่อง
อัตราการเดินเครื่อง (Availability Rate: A) เกี่ยวข้องกับ
การแสดงความพร้ อ มของเครื ่ อ งจั ก รในการทำงาน
โดยเปรียบเทียบระหว่างเวลาเดินเครื่องกับเวลารับภาระงาน [6]
ซึ่งสามารถคำนวณได้ตามสมการที่ (7)

A = เวลารับภาระงาน – เวลาที่เครื่องจักรหยุด (7) รูปที่ 7 ตัวอย่างการคำนวณเวลาการหยุดของเครื่องจักร


เวลารับภาระงาน 2.6 การวิเคราะห์ค่าประสิทธิภาพการเดินเครื่อง
จากการศึกษาข้อมูลบน Dashboard สามารถคำนวณเวลา ประสิทธิภาพการเดินเครื่อง (Performance Efficiency: P)
รับภาระงาน (Loading Time) โดยดูจ ากกราฟอุณหภูมิของ เกี่ยวข้องกับสมรรถนะการทำงานของเครื่องจักร โดยการ
กระบอกฉีด ซึ่งเวลารับภาระงานคำนวณได้จากการนำเวลาที่ เปรียบเทียบระหว่างเวลาเดินเครื่องสุทธิกับเวลาเดินเครื่อง [6]
เครื่องจักรปิดลบกับเวลาที่เครื่องจักรเปิด จากตัวอย่างดัง ซึ่งสามารถคำนวณได้ตามสมการที่ (8)
รูปที่ 6 จะสามารถคำนวณเวลารับภาระงานได้ 712 นาที
P = เวลามาตรฐาน x จำนวนชิ้นงานที่ผลิตได้ (8)
เวลาเดินเครื่อง

สามารถคำนวณโดยได้นำเวลามาตรฐานการผลิต คูณ กับ


จำนวนชิ้นงานที่ผลิตออกมาจากเครื่องทุกชิ้นซึ่งสามารถดูได้
จากข้ อ มู ล ที ่ แ สดงบน Dashboard และนำไปหารกั บ เวลา
เดินเครื่องที่สามารถคำนวณได้จากการนำเวลารับภาระงานมา
รูปที่ 6 ตัวอย่างการคำนวณเวลารับภาระงาน
ลบกับเวลาที่เครื่องจักรหยุด หลังจากที่ได้วิธีการคำนวณค่า
และจากรูป ที ่ 7 สามารถทำการคำนวณเวลาการหยุด
อัตราการเดินเครื่อง และประสิทธิภาพการเดินเครื่องจักรแล้ว
ของเครื่องจักร (Down Time) โดยดูจ ากกราฟของชิ้ น งาน
นั ้ น ผู ้ ว ิ จ ัย ก็ไ ด้ ทำการคำนวณค่า อั ต ราการเดิน เครื ่อ งและ
ที ่ ผ ลิ ต ออกมา ซึ ่ ง สาเหตุ ก ารหยุ ด ของเครื ่ อ งจั ก รมาจาก ประสิทธิภาพการเดินเครื่องจักรเป็นรายวัน จำนวน 150 วัน
การปรับตั้ง และอุ่นเครื่องจักรก่อนเริ่ม การผลิต (Setup & โดยค่าเฉลี่ย ของอัตราการเดินเครื่อง และประสิทธิภาพการ
Startup Loss) ซึ่ง แสดงในวงกลมที่ 1 สำหรับ การหยุดของ เดินเครื่องของเครื่องจักรทั้ง 3 เครื่อง แสดงดังรูปที่ 8
เครื่องจักรที่เกิดจากการปรับตั้ง และอุ่น เครื่องจักรสามารถ
คำนวณได้โดยการนำเวลาที่ชิ้นงานผลิตออกชิ้นแรกลบกับเวลา
ที ่ เ ปิ ด เครื ่ อ ง จากตั ว อย่ า งดั ง รู ป สามารถคำนวณเวลา
การปรับตั้งและอุ่นเครื่องจักรได้ 40 นาที และอีกหนึ่งสาเหตุ
เกิดจากเครื่องจักรขัดข้อง (Breakdown) จากตัวอย่างดัง รูป
สามารถคำนวณเวลาที่เครื่องจักรขัดข้อง ซึ่งแสดงในวงกลมที่ 2
และ 3 ได้ 100 นาที โดยเมื่อนำเวลาการหยุดของเครื่องจักร
ทั้งหมดมารวมกันจะเท่ากับ 140 นาที รูปที่ 8 อัตราการเดินเครื่อง และประสิทธิภาพการเดินเครื่อง
ของเครื่องจักรทั้ง 3 เครื่อง
411
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

เครื่องจักร C ด้วยวิธกี ารถดถอยเชิงเส้นพหุคูณและวิธีซัพพอร์ต


จากการวิเคราะห์ค่าอัตราการเดินเครื่อง และประสิทธิภาพ เวกเตอร์รีเกรสชันมีค่าร้อยละความคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์เฉลี่ย
การเดินเครื่องของเครื ่องจักรทั้ง 3 เครื่อง โดยนำข้อมู ล มา น้อยที่ส ุด เท่ากับ ร้อยละ 0.456 โดยปัจ จัยที่มีผ ลต่อการใช้
เปรียบเทียบกับค่ามาตรฐานระดับสากล (World Class) พบว่า พลัง งานของเครื่องฉีด ได้แก่ อุณหภูมิหัวฉีด และอุณหภูมิ
เครื่องจักร C มีค ่าอัตราการเดินเครื่องต่ ำกว่าค่ามาตรฐานที่ น้ำหล่อเย็น ทั้งนี้ เนื่องจากอุณหภูมิทั้ง 2 ค่า ไม่คงที่และมีการ
ร้อยละ 90 ซึ่งหากต้องการเพิ่มค่าอัตราการเดินเครื่องให้สูงขึ้น เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ผลการวิเคราะห์ค่าอัตราการเดินเครื่อง
ทางโรงงานควรลดเวลาในการปรับตั้งเครื่องจักรลง และในส่วน และประสิทธิภ าพการเดิ นเครื่ อง พบว่าค่า เฉลี่ยอัตราการ
ค่าประสิทธิภาพการเดินเครื่อง พบว่า เครื่องจักร B และ C มีค่า เดินเครื่องทั้ง 3 เครื่อง มีค่าเท่ากับ ร้อยละ 91.9, 91.5 และ
ประสิทธิภาพการเดินเครื่องต่ำกว่าค่ามาตรฐานที่ ร้อยละ 95 84.7 ตามลำดับ และค่าเฉลี่ยประสิทธิภาพการเดินเครื่อง มีค่า
ซึ่งหากต้องการเพิ่มค่าประสิทธิภาพการเดินเครื่องให้สูงขึ้นทาง เท่ากับ ร้อยละ 96.3, 94.9 และ 92.4 ตามลำดับ
โรงงานควรมีการบำรุงรักษาเครื่องจักรอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้
เครื่องจักรมีรอบการผลิตเป็นไปตามเวลามาตรฐานที่ตั้งไว้ 5. กิตติกรรมประกาศ
ขอขอบพระคุณ สถาบันพลาสติกที่ ให้ค วามอนุเคราะห์
3. ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม และสนับสนุนข้อมูลสำหรับงานวิจัย รวมถึงผู้ที่เกี่ยวข้ องกับ
ในการพยากรณ์ ต ั ว แปรอิ ส ระที ่ ใ ช้ ใ นงานวิ จ ั ย เป็ น งานวิจัยนี้ที่ให้ความช่วยเหลือและเป็นกำลังใจให้ตลอดมา
ค่าอุณหภูมิที่ได้มาจากการบันทึกข้อมูลด้วยระบบ IoT ซึ่งควร
มี ก ารพิ จ ารณาปั จ จั ย อื่ น ๆ ที ่ ม ี ผ ลต่ อ การใช้ พลัง งานของ เอกสารอ้างอิง
เครื่องจักรประกอบด้วย เช่น ความดัน ความชื้นสัมพัทธ์ หรือ 1. Kusic, D. and Slapsak, M., 2018. Wireless IoT Measurement
เวลาในการฉีด และในการพัฒนาแบบจำลองการพยากรณ์ of Temperature Dependant Devices in Plastics Processing
ด้วยวิธีซัพพอร์ ตเวกเตอร์ร ีเ กรสชัน ผู้วิจ ัยกำหนดฟัง ก์ ชั น Industry, 2 5 th International Conference on Systems
เคอร์เนล ค่าคงที่ และค่า ความคลาดเคลื่อนที่ยอมรับได้ และ Signals and Image Processing, pp. 1-4.
วิธีโครงข่ายประสาทเทียม ผู้วิจัยกำหนดค่าอัตราการเรีย นรู้ 2. Weisent, J., Seaver, W., Odol, A. And Rohrbach, B.,
จำนวนรอบทำซ้ำ และโมเมนตัม ซึ่ง อาจจะไม่ใช่ค่าที่ทำให้ 2010, Comparison of three time-series models for
predicting ampylo-bacteriosis Risk, Epidemiol.
แบบจำลองมีค่ าสัมประสิทธิ์การตัดสินใจสูง สุด ดัง นั้น อาจ
Infect 138, pp. 898-906.
มีการประยุกต์ใช้วิธีเชิงพันธุกรรมมาใช้ในการหาค่าที่เหมาะสม
3. ธีร์ธวัช แก้ววิจิตร, 2559, การเพิ่มประสิทธิภาพซัพพอร์ต
เพื่อให้ได้ค่าพยากรณ์ที่มีความแม่นยำมากขึ้น
เวกเตอร์ ร ี เ กรสชั น ในการพยากรณ์ อ นุ ก รมเวลา ,
วิทยานิพนธ์ปริญญาโท, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.
4. สรุป 4. Kotu, V. and Deshpande, B., 2015. Predictive Analytics
ผลการสร้างแบบจำลองเพื่อพยากรณ์การใช้พลังงานของ and Data Mining, Morgan Kaufmann, United States.
เครื่องจักร พบว่า การพยากรณ์การใช้พลังงานของเครื่องจักร 5. Bowerman, B.L., O’Connell, R.T., and Koehler, A.B.,
A และ B ด้วยวิธีการถดถอยเชิงเส้นพหุคูณ มีค่าร้อยละความ 2 0 04, Forecasting, Time Series, and Regression
คลาดเคลื่อนสัมบูรณ์เฉลี่ยน้อยที่สุด เท่ากับร้อยละ 0.762 และ (4thed), South-Western College Pub, United States.
0.582 ตามลำดั บ และการพยากรณ์ ก ารใช้ พ ลั ง งานของ
412
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

6. Nahmias, S. 2005, Production and Operations Analysis


(5thed), McGraw-Hill, Singapore.

413
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20พฤษภาคม 2565คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานครกรุงเทพฯ

การพัฒนาแชทบอทในแอพพลิเคชั่น Line Official Account เพื่อให้ข้อมูลทางเทคนิคของ


คอมเพรสเซอร์
Chatbot Development using Line Official Account for Providing Compressor
Technical Information

ภูชิชช์ คุ้มแว่น1 ชัชวาล ชินวิกัย2 วันชัย แหลมหลักสกุล3 และ ธราธร พชรฐิตกิ ุล4
1,2,3,4
สาขาวิชาการจัดการวิศวกรรม ภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมอุตสาหการ วิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ จังหวัดกรุงเทพ 10800

บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบที่สามารถให้ข้อมูลทางเทคนิคของคอมเพรสเซอร์แก่เจ้าหน้าที่ของบริษัทลูกค้า
ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ผู้วิจัยได้ทำการเก็บรวบรวมความต้องการของลูกค้าผู้ใช้งานที่เกี่ยวข้องจำนวน 10 ท่านโดยแบ่งเป็นผู้บริหาร
ของบริษ ัท 3 ท่าน ผู้ร ับเหมา 3 ท่านและช่างโรงงาน 4 ท่าน จากนั้นผู้วิจ ัยได้ใช้โปรแกรม Line Bot Designer ในการเขียน
JavaScript (Json) และส่งโค็ดมายังโปรแกรม Aiya AI เพื่อพัฒนาระบบ ซึ่งโปรแกรมทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการรับและส่ง ข้อมูล
ระหว่างแอพพลิเคชั่น Line Official Account กับฐานข้อมูลให้สามารถตอบโต้กับผู้ใช้ระบบได้อัตโนมัติ หลังจากพัฒนาแล้วเสร็จ
ได้มีการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานที่เป็นกลุ่มตัวอย่างจำนวน 50 ท่าน ผลการประเมินพบว่าความพึง พอใจในการใช้
แอพพลิเคชั่นทางกายภาพของระบบปฏิบัติการ Chatbot มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.3 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.537 จากสเกล 5
ซึ่งหมายถึงมีความพึงพอใจในระบบมาก และความพึงพอใจด้านการให้ข้อมูลคอมเพรสเซอร์ในทางเทคนิค มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.35
และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.748 ซึ่งมีความพึงพอใจในระดับมากเช่นกัน

คำสำคัญ: การพัฒนาระบบ แชทบอท แอพพลิเคชั่น Line Official Account Line Bot Designer JavaScript (Json)

Abstract
This research aims to develop a system that can provide technical information of the compressor to
the staff of the customer company 24 hours a day. The researcher has collected the needs of 10 related users:
3 company executives, 3 contractors, and 4 factory technicians. The researcher then uses the Line Bot Designer
program to write JavaScript (Json) and send the code to the Aiya AI program to develop the system. The
program acts as an intermediary to receive and send data between the Line Official Account application and
the database to be able to interact with the system users automatically. After the development was completed,
414
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20พฤษภาคม 2565คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานครกรุงเทพฯ

the satisfaction of users was assessed in a sample of 50 people. The results showed that the satisfaction mean
and standard deviation of Chatbot operating system physical application were 4.3 and 0.537 on scale 5, meaning
high satisfaction. The mean and standard deviation of technical compressor data satisfaction were 4.35 and
0.748 on scale 5, which was very satisfied.

Keywords: System development, Chatbot, Line Official Account, Line Bot Designer, JavaScript (Json)

415
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20พฤษภาคม 2565คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานครกรุงเทพฯ

1. บทนำ ชี ว ิ ต ประจำวั น ปกติ แ ละการทำงาน รวมถึ ง เกิ ด มาตรการ


ในปัจจุบันการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้ในการทำงานถือ ระยะห่างทางสัง คม (Social Distancing) และการทำงานที่
เป็นเรื่องปกติทั่วไปเช่นเดียวกับแผนกบริการของบริษัท เคอร์ บ้าน (Work From Home) ส่งผลให้บริษัทต้องงดการจัดการ
โลสการ์ เซาท์ อีส เอเชีย ที่มีการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาเป็ น ฝึกอบรมตามที่ภาครัฐได้ออกกฎหมายควบคุมการแพร่ร ะบาด
ส่วนหนึ่งในการจัดการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพเกี่ยวกับ ของโรคโควิด-19 จากที่กล่าวมาข้างต้น ผู้วิจัยได้เห็นถึง ปัญหา
ข้อมูลคอมเพรสเซอร์ดังรูปที่ 1 ในทางเทคนิคให้กับเจ้าหน้าที่ การหยุดชะงักด้านการจัดการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพ
เกี่ยวกับข้อมูลคอมเพรสเซอร์ในทางเทคนิคให้กับเจ้าหน้า ที่
ส่งผลกระทบโดยตรงกับการทำงานของคอมเพรสเซอร์ รวมถึง
ความสัมพันธ์กับเจ้าหน้าที่ ผู้วิจัยจึงได้พัฒนาระบบปฎิบัติการ
แชทบอทขึ ้ น มาเพื ่ อ ให้ เ จ้ า หน้ า ที ่ ไ ด้ เ ข้ า ถึ ง แหล่ ง ข้ อ มู ล
คอมเพรสเซอร์ในทางเทคนิคโดยผู้วิจัยได้เลือกใช้แอพพลิเคชั่น
Line Official Account[1] เป็นฐานในการเข้าดู เนื่องจากเป็น
แอพพลิเคชั่ น การสื่ อ สารบนโทรศั พ ท์ ที ่เ ป็ น ที ่ นิ ยมมากใน
ประเทศไทยและเป็นแอพพลิเคชั่นที่รองรับกับระบบปฎิ บั ติ
การมือถือได้ท ั้ง IOS และ Android[12] ทำให้ส ามารถเข้ า
รูปที่ 1 คอมเพรสเซอร์ ศึกษาหาข้อมูลคอมเพรสเซอร์ในทางเทคนิคได้ทุกที่ทุกเวลา
สร้างความสะดวกสบายกว่าการสื่อสารทางอื่นๆ และได้เริ่ม
เพื่อให้สามารถนำความรู้ในการฝึกอบรมไปใช้ในการทำงานได้ ทดลองใช้ภายในแผนกบริการของบริษัทเป็นครั้งแรกเพื่อเพิ่ม
จากที่ผู้วิจัยได้ปฎิบัติงานในแผนกบริการ บริษัทมีนโยบายการ ศักยภาพให้กับเจ้าหน้าที่ในการทำงาน
จัดการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพแบบนี้ทุกปีแสดงดังรูปที่ 2
2. ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
2.1 วิวัฒนาการของงานด้านการบำรุงรักษา
ยุคแรก คือยุค Breakdown Maintenance
ยุคสอง ยุคเริ่ม Preventive Maintenance
ยุคสาม คือยุค Productive Maintenance
ยุคสี่ คือยุค Total Productive Maintenance เป็นการ
บำรุงรักษาทวีผลแบบทุกคนมีส่วนร่วม (TPM)[2] เป็นการเพิ่ม
ประสิทธิภาพของการบำรุงรักษาเชิ งป้องกัน โดยจะไม่เน้นที่
รูปที่ 2 การฝึกอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพ ฝ่ายบำรุงรักษาแต่เพียงอย่างเดียวแต่จะให้ทุกคนมีส่วนร่ วม
และร่วมมือกันอย่างจริงจังโดยทุกคนสามารถเข้าถึง ข้อมูลการ
พบว่าการเกิดวิกฤตการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เป็นเหตุ ซ่อมบำรุงและการดูแลรักษาเครื่องจักรประกอบกับเอกสารที่
ให้โลกเข้าสู่สภาวะถดถอย เกิดสิ่งใหม่ที่เรียกว่า ความปกติใหม่ เกี่ยวข้องได้ตลอด 24 ชั่วโมงโดยผ่านทางแพลทฟอร์ ม ใน
นั้ น คื อ การปรั บ เปลี ่ ย นพฤติ ก รรมของผู ้ ค นในการใช้
416
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20พฤษภาคม 2565คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานครกรุงเทพฯ

แอพพลิเคชั่น (Line Official Account Platform) แสดงใน ในการเรียกชำระเงินจากลูกค้าภายหลัง อย่างไรก็ดียังมีธุรกิจ


รูปที่ 3 อื่นๆ ที่นำแชทบอทมาใช้แล้วเช่น ธุร กิจ ประกันภัย ธุร กิจ
ธนาคาร สุขภาพ ร้านอาหาร เป็นต้น
2.3 Unifield Modeling Languages (UML)
UML[5] หมายถึ ง ภาษาที ่ ใ ช้ ส ำหรั บ อธิ บ าย แสดง
ความหมายและความสัมพันธ์ในรูปแบบแผนภาพเพื่อใช้ในการ
วิเคราะห์และออกแบบเชิง วัตถุโ ดยจะมี มุมมองของปัญ หาที่
แตกต่างกันออกไปในแต่ละโมเดลและเมื่อนำมาประกอบเข้า
ด้วยกันก็จะสามารถวิเคราะห์และออกแบบเพื่อนำไปพัฒ นา
ระบบได้ เช่น Use Case Diagram แสดงการใช้งานระบบจาก
มุ ม มองของ User และ Sequence Diagram แสดงลำดั บ
รูปที่ 3 KISLOSKAR (KSEA) Application
ขั้นตอนการทำงานภายในของ Use Case Diagram

2.2 การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีแชทบอทในธุรกิจ
2.4 Line API (Line Application Programming
เทคโนโลยี แ ชทบอท[3] ถู ก นำมาประยุ ก ต์ ใ ช้ ใ นธุ ร กิ จ
Interface)
หลากหลายรูป แบบ ทั ้ ง นี ้ เ พื ่ อวั ต ถุ ประสงค์ ใ นการสื่อสาร คือ Software ตัวกลางของ Line ที่ทำการเชื่อมต่อระหว่าง
ตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้รวดเร็วยิ่งขึ้นและการเพิ่ม ผู้ใช้งานกับ Line OA การใช้งานของ Line API[11] จะทำให้
ประสิทธิภาพในการบริการ ซึ่งในปัจจุบันเทคโนโลยี แชทบอท
เราสามารถส่งข้อมูลระหว่างระบบของเรา ไปยังผู้ใช้งานของ
ถูกนำมาประยุกต์ใช้ในการเป็นกลไกขับเคลื่อนการสื่อสาร Line ได้โดยตัวระบบของเราจะต้องทำการเชื่อมต่อกับ Line
ระหว่างบริษ ัท /องค์กร กับลูกค้าภายนอก โดยแบ่ง เป็ น 2
OA ที่เราต้องการและทำการเปิดใช้งานฟังก์ชั่น Webhook[6]
รูปแบบด้วยกันได้แก่ รูปแบบแรก เป็นส่วนหนึ่งของส่ว นต่อ จะถูกเรียกโดยข้อความจะวิ่งไปยังเว็บไซต์ HTTPS ที่เราทำ
ประสานงานกับผู้ใช้ในลักษณะสัญลักษณ์ในช่องทางนั้นๆ ให้
การตั้งค่าในระบบ จากนั้นระบบจะทำการประมวลผลข้อความ
ผู้ใช้สามารถกดเพื่อใช้บริการแชทบอทได้ ซึ่งมีการจำกัดคำสั่งที่ ตามโปรแกรมที่ทางผู้พัฒนาได้ออกแบบเอาไว้ จากนั้นระบบ
ถูกป้อนและผลลั พ ธ์ ที ่ไ ด้จ ะมีล ักษณะตายตั วเนื่ องจากถู ก จะทำการส่งข้อความตอบกลับไปยัง Line Platform จากนั้น
กำหนดไว้แล้ว รูปแบบที่สอง เป็นการสื่อสารโดยผ่านการแปลง
ระบบของ Line จะทำการประมวลรูปแบบข้อความที ่ร ะบบ
ภาษามนุษย์เป็นภาษาคอมพิวเตอร์เ พื่อค้นหาสิ่งที่ผู้ใช้บริการ
ของเราส่งมาและนำข้อความนั้นส่งกลับไปยังผู้ใช้งาน ทำให้
ต้องการโดยในรูปแบบนี้จะไม่จำกัดคำสั่งที่ถูกป้อน โดยผลลัพธ์ ผู้ใช้งานรู้สึกเหมือนได้คุยกับคนจริงๆ ดังรูปที่ 4
ที่ได้จะค่อนข้างยืดหยุ่นตามข้อมูลที่มีอยู่ เมื่อพิจารณาในแง่
ของประเภทธุรกิจที่นำเทคโนโลยี แชทบอทมาใช้ ส่วนใหญ่จะ
เป็นธุรกิจที่มีการซื้อสินค้า /บริการ ผ่านช่องทางออนไลน์โดย
แชทบอทจะทำหน้าที่ในการต้อนรับตอบข้อซักถามที่เกี่ยวกับ
สินค้าไม่ว่าจะเป็นราคา ขนาด วิธีการส่ง วิธีการชำระเงิน ไป
จนกระทั่งการปิดการขาย ซึ่งในบางกรณี แชทบอทยังทำหน้าที่

417
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20พฤษภาคม 2565คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานครกรุงเทพฯ

สินค้าได้อย่างง่ายดาย ซึ่งจากผลการใช้เทคโนโลยีแชทบอทสา
มารถทำงานได้ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ และมีประสิท ธิภ าพ
เพียงพอที่จะนำไปใช้งานจริง

3. ระเบียบวิธีวิจัย
3.1 กรอบแนวความคิดของงานวิจัย
จากการศึกษาทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง วัตถุประสงค์
รูปที่ 4 Line API ของการวิจัยนี้คือการพัฒนาระบบแชทบอทในแอพพลิ เคชั่น
2.5 Webhook[6] Line OA เพื่อให้ข้อมูลทางเทคนิคสำหรับคอมเพรสเซอร์และ
เป็น Message Notification ที่ทาง Line Server ส่ง ประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งาน โดยกรอบแนวความคิด
Https post มาให้กับระบบของเราเพื่อให้ทราบถือ Event ที่ ของงานวิจัยจะอ้างอิงตามทฤษฎี วิวัฒนาการของงานด้านการ
เกิดขึ้นแบบ Realtime ซึ่ง เราจะนำ Input ที่ได้ร ับ มาไป บำรุง รักษาตั้งแต่ยุคแรกจนถึงยุคปัจจุบันซึ่งพัฒนาเป็นการ
ประมวลผลใช้งานกับ Line Bot ได้ดังรูปที่ 5 บำรุงรักษาทวีผลแบบทุกคนมีส่วนร่วม (TPM) เพื่อเป็น การ
เพิ่มประสิทธิภาพการบำรุงรักษาเชิงป้องกันของเครื่องจักรโดย
สามารถเข้าถึง ข้อมูล เครื่องจักรและเอกสารที่เกี่ยวข้องได้
ตลอดเวลาโดยผ่านแพลทฟอร์มที่ถูกพัฒนาขึ้นในช่วงที่เกิด
วิกฤติการแพร่ระบาดเชื้อโควิด-19 ซึ่งพนักงานหรือบุคลากรที่
เกี่ยวข้องจำเป็นต้องรัก ษาระยะห่างในการสื่ อสารและการ
ทำงานโดยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีแชทบอทเพื่อมาใช้ใน
ธุร กิจ ทั้ง นี้เพื่อตอบสนองความต้องการสื่อสารระหว่างกัน
รูปที่ 5 Webhook อย่างรวดเร็ว ครอบคลุมและมีประสิทธิภาพโดยสามารถให้
ข้อมูลได้ถูกต้องรวมถึงสามารถประเมินความพึงพอใจของผู้เข้า
2.6 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง มาใช้งานในระบบเพื่อใช้ในการปรับปรุงระบบในอนาคตได้ ซึ่ง
งานวิจัยหลายงานได้นำเทคโนโลยีแชทบอทมาใช้ในธุรกิจ กรอบแนวคิด การวิ จ ั ยสามารถสรุ ป ตั ว แปรอิส ระมาเป็ น 2
ตัวอย่างเช่นมีการใช้แชทบอทในธุรกิจธนาคาร[4] ในประเทศ องค์ประกอบได้แก่ปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยในการออกแบบ
ไทยโดยมีจุดประสงค์เ พื่อศึกษาโอกาสและอุปสรรคในการนำ ระบบ ส่วนตัวแปรตามคือคุณภาพของระบบ ซึ่งมีรายละเอียด
แชทบอทมาใช้เกี่ยวกับธุร กรรมทางการเงินรวมถึงศึกษากล ดังรูปที่ 6
ยุทธ์ที่จะได้จากการนำแชทบอทและยังมีงานวิจัยที่มีการนำแช
ทบอทมาใช้เพื่อปรับปรุง ธุรกิจการค้า[7] โดยการส่งข้อความ
ออนไลน์ให้สามารถโต้ตอบการสนทนาอัตโนมัติกับลูกค้าตลอด
24 ชั่วโมง ทั้งนี้เป็นการช่วยอำนวยความสะดวกด้านการให้
ข้อมูลเบื้องต้นของทางร้านกับลูกค้าและให้เจ้าหน้าที่แนะนำ

418
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20พฤษภาคม 2565คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานครกรุงเทพฯ

3.1.1 การตรวจสอบการติดตั้งคอมเพรสเซอร์
ตัวแปรอิสระ 3.1.2 การตรวจสอบคอมเพรสเซอร์ก่อนเดินเครื่อง
ปัจจัยส่วนบุคคล 3.1.3 การตรวจสอบคอมเพรสเซอร์ในการเดินเครื่องครั้งแรก
• เพศ
• อายุ 3.1.4 การตรวจสอบคอมเพรสเซอร์ในกรณีหยุดเดินเครื ่อง
ตัวแปรตาม เกินหกเดือน
• ที่อยู่อาศัย
• วุฒิการศึกษา คุณภาพของระบบ 3.1.5 การตรวจสอบและการแก้ไขปัญหา
• ระยะเวลาใช้งาน • ง่ายต่อการใช้งาน
• ข้อมูล, ภาษาเข้าใจง่าย
3.1.6 วิดิโอการตรวจสอบภายในคอมเพรสเซอร์ขณะทำงาน
ปัจจัยในการออกแบบ • ออนไลน์ตลอดเวลา 3.1.7 ตารางบำรุงรักษาเชิงป้องกัน
ระบบ • สนทนาอัตโนมัติ โดยระบบจะเริ่มต้นทำงานเมื่อผู้ใช้งานทำการเพิ่ม
• ความยืดหยุ่น • เก็บข้อมูลผู้ใช้งาน เพื่อนกับระบบจากนั้นระบบจะทำการบันทึกข้อมูล เบื้ องต้ น
• ต้นทุน • ไม่เสียค่าใช้จ่าย
ของผู้ใช้งานลงในฐานข้อมูลหลังจากนั้นผู้ใช้งานสามารถที่จะ
• บริการรายคน, กลุ่ม
• ความคุ้นเคย ทำการสนทนาตอบโต้กับระบบเมื่อใดก็ได้โดยในส่วนระบบแช
• สะดวกสบาย ทบอทจะทำการประมวลผลข้อความของผู้ใช้งานและทำการ
• ปฎิสัมพันธ์ ตอบกลับไป จากนั้นจะคอยบันทึกค่าการใช้งานของผู้ใช้งานลง
ในฐานข้อมูลทุกครั้ง ซึ่งจากแนวความคิดที่กล่าวมาในข้างต้น
รูปที่ 6 กรอบแนวคิดของงานวิจัย นั้น สามารถออกแบบกระบวนการทำงานโดยรวมของระบบได้
และขั้นตอนการดำเนินงานวิจัยทั้งหมดสามารถแสดงดังรูปที่ 7 ดังรูปที่ 8

ศึกษาสภาพปัจจุบันและความสำคัญของ
ปัญหา เริ่มต้นใช้ บันทึกข้อมูลผู้ใช้งาน
ลงในฐานข้อมูล
งาน
ศึกษาทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง (เพิ่มเพื่อนกับ
ระบบ)
ประมวลผลและโต้ตอบ
พิมพ์ข้อความ ข้อความ/รูปภาพ
โต้ตอบ อัตโนมัติ
ศึกษาความต้องการของระบบ (สอบถามการบริการและ
สนับสนุน)
บันทึกความพึงพอใจ
พิมพ์ข้อความ ผู้ใช้งานลงในฐานข้อมูล
ศึกษาซอฟแวร์และออกแบบระบบ โต้ตอบ
(สอบถามความพึง
ไม่ผ่าน พอใจ)
รับส่งข้อมูลระหว่าง
ผู้ใช้งานและแอดมิน พิมพ์ข้อความโต้ตอบ
ทดสอบการใช้งาน กับผูใ้ ช้งานแบบปกติ
เข้าสู่ระบบ
ระบบผ่าน

ประเมินความพึงพอใจการใช้งานระบบ จบการ
ทำงาน

สรุปผลการดำเนินงานวิจัย
รูปที่ 8 กระบวนการทำงานโดยรวมของระบบ
รูปที่ 7 ขั้นตอนการดำเนินงานวิจัย
3.2 ศึกษาความต้องการของระบบ
โดยผู้วิจัยได้ออกแบบขอบเขตของงานวิจัยโดยมีรายละเอียด ผู้วิจัยได้ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมความต้องการ
ดังนี้ จากผู้ใช้งานที่เกี่ยวข้องกับระบบทั้งหมดทั้งในด้านองค์กรและ
419
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20พฤษภาคม 2565คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานครกรุงเทพฯ

ผู้ใช้งานที่เข้ามาสนทนากับระบบจำนวน 10 ท่านโดยแบ่งเป็น
ผู้บริหารบริษัท 3 ท่าน เจ้าหน้าที่ 3 ท่านและช่างโรงงาน 4
ท่านโดยผู้ใช้งานเป็นผู้บริหารของบริษัทและเป็นลูกค้าโดยตรง
ซึ่งประเด็นหลักๆที่ได้จากการสำรวจนั้นคือผู้ใช้ระบบต้องการ
แพลทฟอร์มที่ใช้งานง่าย ให้ข้อมูลทางเทคนิคสำหรับ
คอมเพรสเซอร์ได้ถูกต้องและเข้าใจง่าย สะดวกรวดเร็วและ
ออนไลน์ 24 ชั่วโมง ซึ่งทำให้ได้มาซึ่งข้อมูลในการนำมา
วิเคราะห์และออกแบบระบบ ผู้วิจัยจึงทำการพัฒนาระบบแช
รูปที่ 10 โปรแกรม Aiya AI
ทบอทให้อยู่ในลักษณะเว็บแอพพลิเคชั่น หมายถึง ระบบที่ถูก
พัฒนาขึ้นมาจะสามารถแสดงผลบนบราวน์เซอร์ได้ซึ่งทำให้
3.2 ออกแบบฐานข้อมูลของระบบ
ระบบสามารถสนองความต้องการในด้านมัลติยูสเซอร์ได้
จากการศึกษาและวิเคราะห์ความต้องการของระบบ ผู้วิจัย
กล่าวคือ ผู้ใช้งานหลายๆคนจะสามารถใช้งานฐานข้อมูล
ได้ทำการรวบรวมข้อมูล เพื่อออกแบบและพัฒนาระบบแชท
เดียวกันได้ เว็บแอพพลิเคชั่นมีข้อดีที่สามารถใช้งานได้ง่าย
บอทซึ ่ ง ใช้ Webhook ของ Line เป็ น ตั ว กลางในการช่ ว ย
สะดวกรวดเร็ว เนื่องจากมีความต้องการที่ต้องใช้งานผ่านบ
ติดต่อกับเว็บแอพพลิเคชั่น ซึ่งตัวเว็บแอพพลิเคชั่นนั้นสามารถ
ราวน์เซอร์เท่านั้นซึ่งในการวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้พัฒนาระบบแช
ที่จะเชื่อมต่อกับฐานข้อมูลเพื่อจัดเก็บข้อมูลเบื้องต้ นของผู้ใช้
ทบอทโดยภาษา Json ในโปรแกรม Line Bot Designer[9] ดัง
ระบบ ข้อความที่ผู้ใช้ระบบส่งมาและข้อมูลการแสดงความ
รูปที่ 9
คิดเห็นของลูกค้าซึ่งจากภาพรวมของระบบที่กล่าวไปข้างต้น
นั้น ผู้วิจัยได้ทำการออกแบบกรอบแนวความคิดของระบบด้วย
แผนภาพเป็ น User Case Diagram ดั ง ในรู ป ที่ 11 รวมถึ ง
แสดงทิศ ทางการไหลและความสัมพันธ์ของข้อมูล ด้ วย E.R
Diagram ดังในรูปที่ 12

รูปที่ 9 Line Bot Designer

และโปรแกรม Aiya AI[10] ในการพัฒนาระบบเพื่อทำหน้าที่


เป็นตัวกลางในการรับและส่งข้อมูลระหว่างแอพพลิเคชั่น Line
OA กั บ ฐานข้ อ มู ล เพื ่ อให้ส ามารถตอบโต้ ก ั บผู้ ใ ช้ ร ะบบได้
อัตโนมัติในรูปที่ 10

รูปที่ 11 User Diagram


420
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20พฤษภาคม 2565คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานครกรุงเทพฯ

3.4 สถิติที่ใช้ในการวิจัย
งานวิจัยนี้มีการเก็บรวบรวมผลประเมินความพึงพอใจจาก
การสอบถามของผู้ใช้งานต่อระบบจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 50
ท่านซึ่งเป็นการประเมินความพึงพอใจหลังจากกลุ่มตัวอย่างได้
ทดลองใช้งานระบบแล้วโดยผลประเมินความพึงพอใจนี้ ผู้วิจัย
ได้ใช้วิธีการหาค่าสถิติการวิจัยดังนี้
ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (Arithmetic Mean: 𝑥) หมายถึงค่าที่ได้
จากการรวบรวมกันของกลุ่มข้อมูลแล้วหารด้วยจำนวนข้อมูล
ดังสมการที่ (1)
รูปที่ 12 E.R Diagram
∑𝑥
𝑥= 𝑛 (1)
3.3 ทดสอบระบบและประเมินความพึงพอใจการใช้งาน เมื่อ 𝑥 หมายถึง ค่าเฉลี่ยเลขคณิต
ของระบบ หลังจากออกแบบระบบแล้ว เพื่อให้การวิจ ั ยนี้ มี ∑ 𝑥 หมายถึง ผลรวมของกลุ่มข้อมูลทั้งหมด
ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ผู้วิจัยได้ทำการทดสอบความถูกต้อง
𝑛 หมายถึง จำนวนข้อมูล
ของการใช้ ง านในระบบด้ ว ยตนเองและทำการ ออก
แบบสอบถามความพึงพอใจโดยทำการสุ่มกลุ่มตัวอย่างจำนวน
ค่าส่วนเบี่ ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation: SD)
50 ท่ า นจากประชากร 100 ท่ า นที ่ ม าจากบริษ ัท ลู กค้ า 5
เพื่อวัดการกระจายของข้อมูล เป็นรากที่สองของกำลังสอง
บริษัท บริษัทละ 10 ท่านโดยจำแนกย่อยได้ 3 จำพวกได้แก่
เฉลี่ยของส่ว นเบี ่ ยงเบนระหว่ างค่า ของข้อ มูล แต่ล ะตั ว กั บ
ผู้บริหาร 2 ท่าน ช่างโรงงาน 4 ท่านและเจ้าหน้าที่ 4 ท่าน ให้
ค่าเฉลี่ยเลขคณิตของข้อมูลชุดนั้นๆ ดังสมการที่ (2)
สามารถตอบแบบสอบถามความพึงพอใจได้ทันทีโดยการพิ มพ์
“แบบสอบถามความพึงพอใจ” เข้าไปในระบบโดยสามารถทำ
√∑(𝑥−𝑥) 2
การประเมินความพึงพอใจต่อระบบที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นว่าในแต่
SD = (2)
ละด้านนั้นควรได้รับคะแนนมากน้อยเพียงใดเพื่อให้ร ะบบที่ 𝑛−1

พัฒนาขึ้นมีความสมบูรณ์มากขึ้นดังรูปที่ 13
เมื่อ SD หมายถึง ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
𝑥 หมายถึง ค่าเฉลี่ยเลขคณิต
𝑥 หมายถึง ข้อมูลทั้งหมด (ตัวที่ 1, 2, 3 ...,n)
𝑛 หมายถึง จำนวนข้อมูลทั้งหมด
เพื่อเป็นการวัดความพึงพอใจของผู้ใช้งานระบบ ผู้วิจัยได้นำผล
การประเมินมาคิดแบบเชิงคุณภาพที่อยู่ในลักษณะ Rating
Scaleโดยนำเกณฑ์ของลิเคิร์ทมาใช้ในการพิจารณาว่าระบบที่
ถูกพัฒนาขึ้นนั้นมีประสิทธิภาพเพียงพอและสามารถนำไปใช้
รูปที่ 13 การสุ่มตัวอย่าง งานได้จ ริง นั้นหมายถึงว่าผลการประเมินความพึงพอใจของ
421
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20พฤษภาคม 2565คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานครกรุงเทพฯ

ผู้ใช้งานต่อระบบ เมื่อนำมาเทียบตารางของลิเคิร์ทแล้วต้องมี โดยสามารถแบ่ ง ผลการดำเนิ น งานวิ จ ั ย ออกเป็ น 2 ส่ ว น


ผลคะแนนความพึง พอใจอยู่ ในระดั บดี ข ึ้น ไปซึ ่ง เกณฑ์ ก าร ดังต่อไปนี้
ประเมินสามารถแบ่งออกเป็น 5 ระดับ ดังตารางที่ 1 4.1 ผลทดสอบความถูกต้องของระบบ
จากการให้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 50 ท่านจากประชากร
ตารางที่ 1 เกณฑ์ให้คะแนนคุณภาพแบบลิเคิร์ท 100 ท่านที่มาจากบริษัทลูกค้า 5 บริษัทบริษัทละ 10 ท่านนั้น
ระดับความพึงพอใจ ให้ทำการทดลองใช้ระบบแชทบอทในแอพพลิเคชั่น Line OA
เชิง ความหมาย เพื ่ อ ให้ ข ้ อ มู ล คอมเพรสเซอร์ ใ นทางเทคนิ ค และให้ ท ำการ
เชิงปริมาณ
คุณภาพ ประเมินความพึง พอใจในแบบสอบถาม จากนั้นผู้วิจ ัย จะทำ
ดีมาก 4.51 - 5.00 ผู้ใช้งานมีความพึงพอใจต่อระบบในระดับดีมาก การเก็บรวบรวมข้อมูลเพื่อนำมาวิเคราะห์สำหรับการนำไป
ดี 3.51 - 4.50 ผู้ใช้งานมีความพึงพอใจต่อระบบในระดับดี พัฒนาและปรับปรุงระบบโดยแยกผลการประเมินเป็น 2 ตอน
พอใช้ 2.51 - 3.50 ผู้ใช้งานมีความพึงพอใจต่อระบบในระดับพอใช้ ดังนี้
ผู้ใช้งานมีความพึงพอใจต่อระบบในระดับควร
ปรับปรุง 1.51 - 2.50 4.1.1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม
ปรับปรุง
ผู้ใช้งานมีความพึงพอใจต่อระบบในระดับไม่ 10%
ไม่เหมาะสม 1.00 - 1.50
เหมาะสม ชาย

4. ผลการดำเนินงานวิจัย หญิง
จากการศึกษาและดำเนินการพัฒนาระบบแชทบอทใน
90%
แอพพลิเคชั่น Line OA เพื่อให้ข้อมูลคอมเพรสเซอร์ในทาง
เทคนิค พบว่าระบบสามารถให้บริการลูกค้าที่เข้ามาใช้ระบบ
ผ่ า นแอพพลิ เ คชั ่ น ได้ ต ามแผนที ่ ผ ู ้ ว ิ จ ั ย ออกแบบไว้ แสดง แผนภูมิที่ 1 เปอร์เซนต์จำแนกตามเพศ
ตัวอย่างดังรูปที่ 14 10% ต่่ากว
่า 25่ป
10%
26-30่ป

20% 31-35่ป
60%

มากกว
่า 35่ป

แผนภูมิที่ 2 เปอร์เซนต์จำแนกตามอายุ

รูปที่ 14 ตัวอย่างงานวิจัย Line OA

422
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20พฤษภาคม 2565คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานครกรุงเทพฯ

ภาคเหนือ ตารางที่ 2 ค่าเฉลี่ยทางกายภาพของปฎิบัติการแชทบอท


20% 20% ระดับความ
ภาคใต
่ ความพึงพอใจ 𝑥 (S.D)
พึงพอใจ
ภาคกลาง 1. รูปแบบของแอพพลิเคชั่นมีความ
4.00 0.462 มาก
10% 10% ง่ายต่อการใช้งาน
ภาคตะวันออก 2. การเรียงลำดับ เนื้อหาและภาษา
4.00 0.462 มาก
10% ภาคตะวันตก ที่เข้าใจง่าย
30% 3. ความรวดเร็วต่อการตอบสนอง/
5.00 0.00 มากที่สุด
ภาคอีสาน โต้ตอบของระบบแชทบอท
4. ความถูกต้องของข้อมูล 4.00 0.462 มาก
แผนภูมิที่ 3 เปอร์เซนต์จำแนกตามภูมิภาค 5. ช่วยลดขั้นตอนการใช้งาน
4.50 0.101 มาก
ทางการสื่อสารอื่น ๆ
ค่าเฉลี่ยรวม 4.3 0.537 มาก
20%
ต่่ากว
่าปริญญาตรี
จากตารางที่ 3 แสดงค่าเฉลี่ย 𝑥 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
50% ปริญญาตรี
(S.D) ของความพึง พอใจด้ า นการให้ ข ้อ มูล คอมเพรสเซอร์
สูงกว
่าปริญญาตรี
30% ในทางเทคนิค

ตารางที่ 3 ค่าเฉลี่ยด้านการให้ข้อมูลของคอมฯในทางเทคนิค
แผนภูมิที่ 4 เปอร์เซนต์จำแนกตามวุฒิการศึกษา ระดับความ
ความพึงพอใจ 𝑥 (S.D)
พึงพอใจ
1. ได้รับข้อมูล บริการและสนับสนุน
4.00 0.462 มาก
ได้อย่างรวดเร็ว
30% 2. ช่วยให้ไม่พลาดข้อมูลอ้างอิงในการ
ต่่ากว
่า 3 ชั่วโมง 4.00 0.462 มาก
ปฏิบัติงานจริง
3. ช่วยประหยัดทรัพยากรด้าน
3.75 0.970 มาก
เครื่องมือ คนงาน เวลาและอะไหล่
มากกว
่า 3 ชั่วโมง
70% 4. ช่วยให้การทำงานในสถานที่จริง
5.00 0.00 มากที่สุด
เป็นระบบ ถูกต้องตามขั้นตอน
5. ช่วยให้สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง
5.00 0.00 มากที่สุด
และแบ่งปันข้อมูลข่าวสารได้
แผนภูมิที่ 5 เปอร์เซนต์จำแนกตามเวลาการใช้งาน ค่าเฉลี่ยรวม 4.35 0.748 มาก
4.1.2 ความพึงพอใจในการใช้งานในด้านกายภาพและข้อมูล
จากตารางที่ 2 แสดงค่าเฉลี่ย 𝑥 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
(S.D) ของความพึ ง พอใจด้ า นลั ก ษณะทางกายภาพของ 5. สรุปผลและข้อเสนอแนะ
ระบบปฏิบัติการแชทบอท 5.1 สรุปผลการวิจัย
จากการพัฒนาระบบแชทบอทในแอพพลิเคชั่น Line OA
เพื ่ อ ให้ ข ้ อ มู ล คอมเพรสเซอร์ ใ นทางเทคนิ ค เป็ น การนำ
เทคโนโลยี Line API เข้ า มาใช้ พ ัฒ นาระบบเพื ่อ ให้ร ะบบ

423
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20พฤษภาคม 2565คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานครกรุงเทพฯ

สามารถให้ข้อมูลคอมเพรสเซอร์ในทางเทคนิคและโต้ตอบการ 3 Chatbot คืออะไร? ดียังไง มารู้กันใน 10 นาที [ออนไลน์]


สนทนาได้อย่างอัตโนมัติตลอด 24 ชั่วโมง ช่วยให้ผ ู้บริหาร [20 พฤศจิกายน 2562] จาก http://bit.ly/31orxAa
เจ้าหน้าที่และช่างเทคนิคสามารถนำข้อมูลที่ถูกพัฒนาระบบ 4 สุนิสา ศรแก้ว “การยอมรับเทคโนโลยี Chatbot ในธุรกิจ
แล้วไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้และพบว่าระบบที่ถูกพัฒนาขึ้นนั้น ธนาคารในประเทศไทย. 2561.มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
สามารถทำงานได้ตรงตามวัตถุประสงค์ตามที่กำหนดไว้ ทั้งนี้ 5 UML คื อ อะไร [ออนไลน์ ] [25 กรกฎาคม 2562] จาก
ผู้วิจัยได้ทำการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งานต่อระบบแช https://bit.ly/3mqkwLk
ทบอทในแอพพลิเคชั่น Line OA เพื่อให้ข้อมูลทางเทคนิคจาก 6 Webhook คืออะไร [ออนไลน์] [11 สิงหาคม 2564] จาก
การสุ่มตัวอย่างผู้ใช้งานจำนวน 50 ท่านจากประชากร 100 https://bit.ly/3qfna7B
ท่านที่มาจากบริษ ัทลูกค้า 5 บริษ ัทบริษ ัทละ 10 ท่านโดย 7 นวภัทร ศุภศีลวัต “การพัฒนาระบบ Chatbot ในการค้า
จำแนกย่อยได้ 3 จำพวกได้แก่ ผู้บริหาร 2 ท่าน ช่างโรงงาน 4 เพื่อการส่ง ข้อความออนไลน์. ” (2560). มหาวิทยาลัย
ท่านและเจ้าหน้าที่ 4 ท่านนั้น ได้ผ ลรวมของค่าเฉลี่ ย การ เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
ประเมิ น ความพึ ง พอใจโดยรวมออกมาเป็ น 2 ส่ ว นได้ แ ก่ 8 JavaScript (Json) คื อ อะไร? [ออนไลน์ ] [21 เมษายน
ผลรวมของค่าเฉลี่ยการประเมินความพึง พอใจด้านกายภาพ 2562] จาก http://bit.ly/2WBKaSy
เท่ากับ 4.3 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.537 ซึ่งมีความพึง 9 การออกแบบ Line Bot Designer แบบไม่ต้องเขียนโค้ด
พอใจอยู่ในระดับมากและผลรวมของค่าเฉลี่ยการประเมิ น ด้วย Line Bot Designer [ออนไลน์] [15 มกราคม 2562]
ความพึงพอใจด้านข้อมูลเท่ากับ 4.35 ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน จาก https://bit.ly/3H4GCLb
เท่ากับ 0.748 ซึ่งมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก เมื่อเทียบกับ 10 Aiya แชทบอท เพื ่ อ ร้ า นค้ า ออนไลน์ [ออนไลน์ ] [30
เกณฑ์ที่ใช้ในการสรุปผลความพึงพอใจ ได้ผลของระดับความ มีนาคม 2561] จาก https://bit.ly/3JdheEM
พึง พอใจอยู่ในระดับ “ผู้ใช้ง านมีค วามพึง พอใจต่อระบบใน 11 Line API คืออะไร? [ออนไลน์] [ 8 เมษายน 2563] จาก
ระดับดี" ซึ่งสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ผู้วิจัยได้ตั้งไว้ https://shorturl.asia/uo9fh
5.2 ข้อเสนอแนะ 12 ปริญญ์ ศุภกิจพัฒนา “แอพพลิเคชั่นคาร์แคร์เซอร์วิส.”
5.2.1 ควรเพิ ่ ม ระบบสั่ ง ซื ้ อ อะไหล่ใ นระบบแชทบอทได้ 2561. มหาวิทยาลัยสยาม
อัตโนมัติ
5.2.2 ควรเพิ่มระบบปัญหาที่พบบ่อย (Tags) โดยเพิ่มระบบ
Tags ลงไปในระบบแชทบอท

6. เอกสารอ้างอิง
1 Line Official Account (Line OA) คืออะไร? [ออนไลน์]
[16 มกราคม 2563] จาก https://bit.ly/3priVa9
2 สมชัย อัค รทิวา และรัง สรรค์ เลิศ ในสัตย์. การดำเนิน
กิ จ กรรม TPM. เพื ่ อ การปฎิ ร ู ปการผลิ ต . กรุ ง เทพฯ :
สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี ไทย-ญี่ปุ่น, 2546

424
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

การพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อลดเวลาการจัดทำรายงานกำลังการผลิต
ของเครื่องทดสอบวงจรไฟฟ้า กรณีศึกษา โรงงานผลิตและประกอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์
Development of a Computer Program to Reduce the Time of Create Report on
Production Capacity of In-Circuit Testers: A Case Study of an Electronics
Manufacturing Service Factory

นายไพรัตน์ จำปาโพธิ์1 และ วรพจน์ มีถม2


1
นักศึกษา ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
2
อาจารย์ ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
E-mail: pairat.jamp@gmail.com1 , warapojm@kmutnb.ac.th2

บทคัดย่อ
ปัจจุบันในโรงงานกรณีศึกษา แผนกวิศวกรรมทดสอบต้องทำรายงานกำลังการผลิตของเครื่องทดสอบวงจรไฟฟ้า (In-
Circuit testing : ICT) เพื่อส่งให้ผู้บริหารทุก สัปดาห์ วิศวกรต้องใช้เวลาทำรายงานรวมเฉลี่ย 13.08 ชั่วโมงต่อครั้ง หรือเท่ากับ
2,043.23 บาทต่อครั้ง จำนวน 52 ครั้งต่อปี คิดเป็นมูลค่าเท่ากับ 106,247.92 บาทต่อปี งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดเวลา
การจัดทำรายงานของวิศวกร จากการศึกษาโดยใช้ผังก้างปลา และใช้ตารางเหตุและผลพบว่าการทำงานแบบเดิม ต้องทำทีละ
ขั้นตอนและข้อมูลจากฐานข้อมูลไม่ได้เป็นข้อมูลล่าสุด จึง นำระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ มาใช้เพื่อปรับปรุงการทำงาน
โดยการออกแบบโปรแกรมวิชวลเบสิกแอพพลิเคชั่น ของไมโครซอฟต์ เอ็กเซล เพื่อใช้ในลดเวลาการทำงานทีล ะขั้นตอน และ
ออกแบบฐานข้อมูลบนกูเกิลชีตเพื่อลดเวลาการจัดเตรียมและค้นหาข้อมูล หลังจากออกแบบ และ พัฒนาโปรแกรมแล้วได้ทดลอง
ใช้งานจริง ผลที่ได้สามารถลดเวลาการทำงานเฉลี่ยเหลือเพียง 2.47 ชั่วโมงต่อครั้ง ลดลง 10.61 ชั่วโมงต่อครั้ง หรือเท่ากับลดลง
81.16 เปอร์เซ็นต์ คิดเป็นมูลค่าลดลงเท่ากับ 86,232.36 บาทต่อปี ซึ่งเป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ว่าสามารถลดเวลาการจัด
ทำรายงานได้ไม่น้อยกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ ผลจากการประเมินพบว่า วิศวกรผู้ใช้ง านโปรแกรมมีค วามพึงพอใจอยู่ในระดั บที่ ดี
ทำให้ทราบว่าโปรแกรมที่พัฒนาขึ้นจัดอยู่ในเกณฑ์ที่ดี และช่วยให้ผู้บริหารใช้ข้อมูลจากรายงานในการ ตัดสินใจ และวางแผน
รองรับได้รวดเร็วขึ้น

425
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

คำสำคัญ : การพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ กำลังการผลิต เครื่องทดสอบวงจรไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ Excel VBA

Abstract
In the factory of this case study, the report of the In-Circuit Testing (ICT) machine capacity was weekly
published to the management by the Test Engineering department. The average time of collecting data by
engineers was 13.08 hour per week, estimate at 2,043.23 baht per week, hence 106,247.92 baht per year. This
research aimed to reduce the time and cost of the weekly report. Fishbone diagrams and Cause and Effect
tables were applied to identify root causes. The cause was conducted step by step collecting data by the paper
report and not database revise. Therefore, the information system management was utilized to improve the
database systems and reporting systems by using the Visual Basic for Applications (VBA) on Microsoft Office
Excel for computer program development. The benefits reduced the time for data preparation and searching
time by apply databases on Google Sheets. After that, it had been tested by engineer users and used this
program. The average working time was reduced to only 2.47 hours per week, a decrease of 10.61 hours,
equivalent to an 81.16 percent reduction. The cost was saved of 86,232.36 baht per year. The user's evaluation
showed the program demonstrated was a good satisfaction level. It showed not only the efficiency to save
time and cost in creating the report, but also provide up-to-date data for supporting the management in making
decisions.

Keywords : Computer Program Development, Production Capacity, In-Circuit testing, Electronics, Excel, VBA

426
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

1. บทนํา 2. ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
เนื ่ อ งจากส่ ว นของแผนกวิ ศ วกรรมทดสอบทางไฟฟ้า 2.1 ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (Management
(Test Engineering Department) ของโรงงานกรณีศ ึกษา Information System)
ต้องทำรายงานประมาณการกำลังการผลิตของเครื่องทดสอบ ระบบสารสนเทศเพื ่ อการจั ด การที่ ม ี ค ุ ณ ภาพจะช่วย
ทุกสัปดาห์ เพื่อให้ฝ่ายวางแผนการผลิต และผู้บริหารระดับสูง ส่ง เสริม และสนับสนุนการดำเนินการขององค์กรดัง นี้ เพิ่ม
ทราบถึงกำลังการผลิตของเครื่องทดสอบล่วงหน้าเพื่อนำมาใช้ ประสิ ท ธิ ภ าพในการทำงานขององค์ ก รเพิ ่ ม ผลผลิ ต หรื อ
ในการวางแผนการผลิต และวางแผนจัดการเครื่องทดสอบจาก การบริการสร้างความพึง พอใจให้กับลูกค้าผู้รับบริการ ช่วย
การทำรายงาน ต้องทำการคัดลอกข้อมูล และวางระหว่างไฟล์ สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ สร้างความได้เปรียบ
โดยทำทีละขั้นตอน จึงมีโอกาสผิดพลาดได้ทำให้ต้องใช้เวลาใน ต่อคู่แข่ง เพิ่มประสิทธิภาพในการตัดสินใจ
การทำรายงานมากขึ้นปัจจุบันการจัดทำรายงานกำลังการผลิต ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการจะใช้ในการจัดการข้อมูล
ของเครื่องทดสอบวงจรไฟฟ้าต้องให้วิศวกรที่ผ่านการฝึกจัดทำ ที่เกี่ยวข้องกับการ ดำเนินกิจกรรมในองค์กร โดยการจัดเก็บ
รายงานกำลัง การผลิ ต ของเครื ่องทดสอบวงจรไฟฟ้า ด้ว ย ข้อมูลเชิงรายการและนำสู่ระบบคอมพิวเตอร์มีโปรแกรมในกา
Microsoft Excel มาแล้วเท่ า นั้ น จึง สามารถทำงานนี ้ ไ ด้ รประมวลผล ผลลัพธ์ที่ได้เป็นรายงานที่ใช้ในการ จัดการโดย
และแต่ยังใช้เวลาจัดทำนาน ผู้บริหารองค์กรจะต้องจัดอำนวยประโยชน์ให้มีการนำระบบ
ดัง นั้นด้วยเหตุผลนี้จึงทำการศึกษาเวลาที่ใช้ในการทำ สารสนเทศไปใช้ในการบริหารจัดการให้เป็น ประโยชน์ตาม
รายงานโดยใช้วิธี การจับเวลา และแบ่ง การจับเวลาทีละขั้น ความเหมาะสม โปรแกรมประยุกต์ที่ใช้งาน ส่วนใหญ่ออกแบบ
ตอน ในการทำรายงานจำนวน 5 ครั้ง แล้วนำมาหา ค่าเฉลี่ย สำหรับงานนั้น ๆ โดยเฉพาะมีรูปแบบ เช่น การประมวลผล
มีค่าเท่ากับ 47,076 วินาทีต่อครั้ง หรือเท่ากับ 13.08 ชั่วโมง จั ด ทำรายงาน สถิ ติ กราฟ พั ส ดุ และงบประมาณ ต่ า ง ๆ
ต่อครั้งคือเวลาที่ใช้จากการจัดทำรายงานและสามารถคำนวณ ไว้ ล ่ ว งหน้ า หากเป็ น หน่ ว ยงานองค์ ก รขนาดใหญ่ ก ็ จ ะใช้
ให้ เ ป็ น มู ล ค่ า เงิ น โดยใช้ ฐ านเงิ น เดื อ น ของวิ ศ วกรที่ มี ทรัพยากรสารสนเทศร่วมกัน ผ่านระบบเครือข่าย เพื่อเพิ่ม
ประสบการณ์ ท ำงาน 3 ปี ประมาณ 30,000 บาท และ ประสิทธิภาพ ในการดำเนินงานการนำระบบสารสนเทศเพื่อ
คำนวณค่าแรงของวิศวกรที่ต้อง จัดทำรายงาน โดยคิดจาก การจัดการเข้ามาสนับสนุนการ ดำเนินการหรือทำธุรกิจที่ต้อง
ชั่วโมงทำงานปกติ (ไม่ค ิดช่วงทำงานล่วงเวลา) การจัดทำ ใช้ข้อมูล ข่าวสาร องค์ความรู้ อย่างถูกต้องและรวดเร็ว ย่อม
รายงานสัปดาห์ ละครั้ง ซึ่ง 1 ปี มี 52 สัปดาห์ เท่ากับ 52 ครัง้ ได้เปรียบในการ แข่งขัน และสามารถทำให้องค์กร สามารถ
จะได้ ค ่ า ใช้ จ ่ า ยในการจัด ทำรายงาน คิ ด เป็ น เงิ น เท่ า กั บ ดำเนิ น กิ จ การประสบความสำเร็ จ อยู ่ไ ด้ใ นสภาวะที่มีการ
106,247.92 บาท/ปี สามารถคิ ด เวลาทำรายงานเปลี่ยน เปลี่ยนแปลง ตลอดเวลา [1]
เป็นค่าใช้จ ่าย ได้เป็นเงินจำนวนมากจากปัญหาที่กล่าวมา 2.2 การออกแบบและการจัดการระบบสารสนเทศใน
ข้ า งต้ น งานวิ จ ั ย นี ้ ต ้ อ งการออกแบบระบบ สารสนเทศ องค์กร
และนำมาช่ว ยลดเวลาในการจั ด ทำรายงานกำลัง การผลิ ต วงจรการพัฒนาระบบ (System Development Life
ของเครื่องทดสอบ วงจรไฟฟ้า ของโรงงานกรณีศึกษา Cycle : SDLC) เป็นวงจรที่แสดงถึงกิจกรรมต่าง ๆ ในวิธีการ
พัฒนาและออกแบบระบบตั้ง แต่ริเริ่มจนกระทั่งสำเร็จ วงจร

427
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

การพัฒนาระบบสารสนเทศ โดยเริ่มต้นจากการกำหนดปัญหา 2.5 กระบวนการผลิตและประกอบแผงวงจร


เพื ่ อ วิ เ คราะห์ ถ ึง ปั ญ หาของระบบเดิ ม ถึ ง ความเป็ น ไปได้ อิเล็กทรอนิกส์ และเครื่องทดสอบวงจรไฟฟ้า (In-Circuit
จึ ง ทำการออกแบบ จนถึ ง กระบวนการ พั ฒ นาซอฟต์แวร์ Testing)
แล้ ว นำมาใช้ แ ทนระบบเดิ ม เมื ่ อ เวลา ผ่ า นไปเทคโนโลยี อุตสาหกรรมรับผลิตและประกอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์เ
เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลต่อระบบที่ใช้อยู่ ไม่สามารถตอบสนอง ป็นอุตสาหกรรมที่นำอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ เช่น ไอซี
ความต้องการของผู้ใช้งาน จึงต้องยกเลิกการใช้งาน แล้วต้อง ตัวต้านทาน ตัวเก็บประจุ ทรานซิส เตอร์ มอสเฟต ไดโอด
เริ ่ ม ต้ น วางแผนศึ ก ษาปั ญ หาใหม่ และพั ฒ นาระบบใหม่ที่ เป็นต้น มาประกอบเป็นแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ (Print circuit
ทันสมัยกว่ามาทดแทน ระบบเดิม [2] board assembly : PCBA) เพื ่ อ ประกอบเป็ น เครื ่ อ ง ใช้
2.3 การประยุกต์ โปรแกรมวิชวลเบสิก บน ไฟฟ้าต่าง ๆ เช่น โทรศัพท์มือถือ หรือ ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ตาม
ไมโครซอฟต์ออฟฟิศเอ็กเซล (Visual Basic for ข้อกำหนดของลูกค้า
Application on Microsoft Office Excel) เครื ่ อ งทดสอบวงจรไฟฟ้ า (In-Circuit Tester) คือ
Excel มี เ ครื ่อ งมือ Record Macro บั น ทึ ก ารกระทำ เครื่องมือสำหรับการ ทดสอบแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ โดยการ
ทั ้ ง หมด แล้ ว แปลงเป็ น ภาษา VBA (Visual Basic for ใช้หัววัดแบบเข็ม (Probe pin) เพื่อทดสอบอุปกรณ์ ในวงจร
Application) ให้ อ ั ต โนมั ต ิ โ ดยที ่ ไ ม่ ต ้ อ งเขี ย นโค้ ด VBA โดย Probe pin สามารถเข้ า ถึ ง จุ ด ทดสอบบน แผงวงจร
แต่การทำงานของ Macro ก็จ ะทำได้ บางส่วน นำมาพัฒนา และสามารถวัดประสิทธิภ าพ ของอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์
ต่อโดยการใส่โค้ดเพิ่ม เพื่อเพิ่ม การตรวจสอบเงื่อนไขก่อน โดยไม่คำนึงถึงส่วนประกอบอื่น ๆ ที่เชื่อมต่ออยู่ โดยสามารถ
ทำงาน หรือเพิ่มรอบการทำงานซ้ำ ๆ ได้ Macro นั้น จะทำงาน วั ด ค ่ า ต่ า ง ๆ เช ่ น ค ่ า ค วามต้ า นทาน ค ่ า ค วามจุ
ได้บางส่วนแต่ไม่ทั้ง หมด จึง จำเป็นต้องเสริม VBA เข้ามา ค่ า ความเหนี ่ ย วนำ และอื ่ น ๆ จะถู ก วั ด พร้ อ มกั บ
เพื ่ อ ให้ ส ามารถใช้ ง านได้ อ ย่ า งดี เ ยี ่ ย ม เข้ า ถึ ง เป้ า หมาย การทำงานของ อุปกรณ์ แบบแอนาล็อก เช่น วงจรขยาย
งานได้มากขึ้น สำหรับงานที่ง ่าย ๆ ก็ใช้ค ำสั่ง พื้นฐานของ แรงดันไฟฟ้า ที่ใช้งานได้ นอกจากนี้ ยังสามารถวัด ฟังก์ชัน
Excel แต่ง านไหน ใช้ง านยากขั้นตอนมาก ทำซ้ำ ๆ ทุกวัน การทำงานบางอย่างของวงจรดิจิตอลได้ การใช้ ICT ทดสอบ
ควรใช้ VBA ช่วยจัดการงานอะไรที่ Excel ทำได้ ควรใช้ Excel ให้ครอบคลุมอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ ที่ประกอบบนแผง วงจร
ทำ เช่น พวกสูตรคำนวณทั้ง หลาย ก็ใช้เครื่องมือ บนแท็บ ให้ ไ ด้ ม ากที ่ ส ุ ด เพื ่ อ ให้ แ น่ ใ จว่ า แผงวงจรได้ ร ั บ การผลิต
Ribbon ส่วนงานไหน ที่ทำไม่ได้ จึงจะใช้ VBA [3] อย่างถูกต้องและอุปกรณ์สามารถทำงานได้ตรงตามข้อกำหนด
2.4 การคำนวณอัตรากำลังการผลิตของเครื่องจักร ของ ลูกค้า [5]
กำลัง การผลิต (Capacity) คือ ขีดความสามารถของ 2.6 แผนผังสาเหตุและผล (Cause and Effect
คนงาน เครื่องจักร หน่วยผลิต แผน หรือองค์กรในการผลิต Diagram)
ผลผลิตต่อ หน่วยเวลา เป็นปริมาณของงานที่สามารถ ทำได้ แผนผั ง สาเหตุ แ ละผล เป็ น แผนผั ง ที ่ แ สดงถึ ง ความ
ในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งที่กำหนดไว้ กำลังการผลิตเป็นอัตรา สั ม พั น ธ์ ร ะหว่ า งปั ญ หา (Problem) กั บ สาเหตุ ท ั ้ ง หมด
การทำงานไม่ใช่ปริมาณของ งานที่ทำได้ [4] ที ่ เ ป็ น ไปได้ ที ่ อ าจก่ อ ให้ เ กิ ด ปัญ หานั ้น (Possible Cause)
หลักการเบื้องต้ น ของผัง ก้างปลา (Fishbone diagram)
คื อ การใส่ช ื ่ อของปัญ หาที ่ต ้ องการ วิ เ คราะห์ ลงทางด้าน
428
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

ขวาสุดหรือซ้ายสุดของผัง โดยมีเส้นหลักตามแนวยาวของ หน้ า ที ่ ร ั บ ผิ ด ชอบงานซ่ อม จั ด หาอะไหล่ งานบำรุ ง รักษา


กระดูก สันหลัง จากนั้นใส่ชื่อของ ปัญหาย่อย ซึ่งเป็นสาเหตุ และควบคุมดูแลกำลัง โดยเครื่องทดสอบวงจรไฟฟ้า ทั้งหมด
ของปัญหาหลัก โดยลากเป็นเส้น ก้างปลา ทำมุมเฉียงจาก จะเป็นสินทรัพย์ ของโรงงานกรณีศึกษา ซึ่งต้องจัดหาจัดซื้อ
เส้นหลัก เส้นก้างปลาแต่ละเส้นให้ใส่ชื่อของสิ่งที่ทำให้เกิด และลงทุ น เอง จึ ง ต้ อ งมี ก ารวางแผน และประเมิ น กำลั ง
ปัญหานั้นขึ้น มา ระดับของปัญหาสามารถ แบ่ง ย่อยลงไป การผลิ ต ของเรื ่ อ งจั ก รเพื ่ อ ให้ ส อดคล้ อ งและรองรั บ การ
ได้ อ ี ก ถ้ า ปั ญ หานั ้น ยั ง มี ส าเหตุ ที ่ เป็น องค์ป ระกอบ ย่ อย เปลี่ยนแปลงปริมาณการผลิตของฝ่ายผลิตในอนาคต
ลงไปอี ก โดยทั ่ ว ไปจะมี ก ารแบ่ ง ระดั บ ของสาเหตุ ย ่ อ ยลง 3.2 วิเคราะห์ปัญหาและกำหนดแนวทางในการแก้ไข
ไปมากที่สุด เมื่อมีข้อมู ลในผัง ที่ส มบูรณ์แล้วจะทำให้มอง ปัญหา
เห็นภาพของ องค์ประกอบทั้งหมดที่จะเป็นสาเหตุของปัญหา 3.2.1 ระบบการทำงานในปัจจุบันการจัดทำรายงาน ประมาณ
ที่เกิดขึ้น [6] การกำลังการผลิตส่วนของเครื่องทดสอบวงจรไฟฟ้า ใน
ปัจจุบัน แสดงแผนภาพกระแสข้อมูล (Data Flow Diagram :
3. วิธีการดำเนินการวิจัย DFD) ในการนำข้อมูลมาใช้จัดทำรายงาน
3.1 ขั้นตอนการดำเนินการวิจัย
1. ศึกษาสภาพการทำงานของโรงงานกรณีศึกษา
2. ศึกษาทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
3. วิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคและ กำหนดแนวทางใน
การแก้ไขปัญหา
4. ออกแบบขั้นตอนในการจัดทำรายงานกำลังการผลิต
ของ เครื่องทดสอบวงจรไฟฟ้า และเขียนโปรแกรม VBA บน
Excel รูปที่ 1 คอนเท็กซ์ไดอะแกรม (Context Diagram)
5. ทดสอบการทำงานโปรแกรมและปรับปรุงให้ ของการจัดทำรายงานแบบเดิม
เหมาะสม
6. วิเคราะห์และเปรียบเทียบประสิทธิภาพการทำงาน
ของแบบเดิม กับการใช้งาน โปรแกรมที่พัฒนาขึ้นมาใหม่
7. สรุปผลการดำเนินงานวิจัยและข้อเสนอแนะ
3.1 ศึกษาสภาพการทำงานของโรงงานกรณีศึกษา
แผนกวิศ วกรรมการทดสอบ (ทดสอบวงจรไฟฟ้า (In-
Circuit Test : ICT)) มีหน้าที่รับผิดชอบ จัดการดูแลในส่วน
ของเครื่องทดสอบวงจรไฟฟ้า ให้ได้ตามข้อกำหนดของลูกค้า
และตรวจจับอาการเสียของอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในวงจร
และชิ้นงานที่มี ข้อบกพร่องจากกระบวนการผลิต รวมถึงมี

429
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

รูปที่ 2 ไดอะแกรมศูนย์ (Diagram 0) ของการจัดทำ


รายงานแบบเดิม

รูปที่ 3 แผนผังขั้นตอนการจัดทำรายงานประมาณการ
กำลังการผลิตในส่วนของเครื่อง ทดสอบวงจรไฟฟ้า

เพื ่ อ วิ เ คราะห์ ป ั ญ หาและหาสาเหตุ ข องปั ญห า


จึ ง ใช้ ว ิ ธ ี ก ารประชุ ม ระดม ความคิ ด ร่ ว มทั ้ ง หมด 3 คน
ในการทำผั ง ก้ า งปลา (Fishbone Diagram) โดยกำหนด
หัวข้อของปัญหาหลัก ที่ หัวปลา คือ การทำรายงานใช้เวลา
มากกว่า 8 ชั่วโมงการทำงาน และกำหนดปัจจัยหลัก 4M และ
1E ซึ่งประกอบด้วย Man คือ พนักงาน Method คือ วิธีการ
และการจัดการ Material คือ เอกสารข้อมูล Machine คือ
เครื่องมือ และอุปกรณ์ Environment คือ สภาพแวดล้อม
จากนั้นทำการระดมความคิด เพื่อหา สาเหตุหลัก สาเหตุรอง
430
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

ส าเห ตุ ย ่ อ ย แล ะส าเห ตุ ย ่ อ ย ๆ ของ แต่ ล ะปั จ จั ย จากประสบการณ์ภ ายใน 1 ปีที่ผ ่านมา และนำสาเหตุหลัก
โดยใช้การตั้งคำถาม ทำไม ทำไม ทำไม เพื่อ หาสาเหตุย่อย ๆ มาใส่ใน Key Process input variable ของตาราง Cause
ในแต่ละปัจจัย ได้ดังนี้ and Effect Matrix
ตารางที่ 1 ระดับคะแนนความสำคัญทางด้าน Output

ด้ า นระยะเวลาการจั ด ส่ง รายงาน ตรงต่ อ เวลาตามที่


กำหนดระยะเวลาส่ ง ภายใน 1วั น ซึ ่ ง ทั ้ ง 3 คนไม่ เ คยมี
ใครทำได้ เ ลย ดั ง นั ้ น เท่ า กั บ 156 ครั ้ ง ต่ อ 156 ครั้ ง
โดยการคำนวณ (156/156) x 1000 เท่ากับ 1000 ต่อ 1000
เทียบกับตารางที่ 1 ที่ระดับสูงมาก คือ มากกว่า หรือเท่ากับ
100 ต่ อ 1,000 ดั ง นั ้ น ระดั บความเป็น ไปได้ ที ่ จ ะเกิด คือ
ระดับสูงมาก เท่ากับ 10 คะแนน
ด้ า นต้ น ทุ น ค่ า ใช้ จ ่ า ย จำนวนครั ้ ง ที ่ เ คยขอทำงาน
ล่ ว งเวลาทั ้ ง 3 คน รวมกั น เท่ า กั บ 3 ครั ้ ง ต่ อ 156 ครั้ง
โดยการคำนวณ (3/156) x 1000 เท่ากับ 19.23 ต่อ 1000
เทียบกับตารางที่ 3-1 อยู่ที่ระดับสูง ระหว่าง 7 คะแนน คือ
ค่าที่ได้อยู่ในช่วง 10 ต่อ 1,000 ถึง 19.999 ต่อ 1,000 ดังนั้น
ค่าที่ได้ 19.23 จึง อยู่ในระดับความเป็นไปได้ที่จ ะเกิด คือ
รูปที่ 4 ผังก้างปลาการหาสาเหตุของปัญหา ระดับสูง เท่ากับ 7 คะแนน
การทำรายงานใช้เวลามากกว่า 8 ชั่วโมง การทำงาน ด้านคุณภาพ ความถูกต้องของข้อมูลและรูปแบบ รายงาน
จำนวนครั้ง ที่เคยพบปัญหาของด้านนี้ทั้ง 3 คน รวมกันเท่ากับ
จากการประชุ มมี มติ เลื อ กพิ จ ารณาตั ว แปรทางด้าน 45 ครั้ง ต่อ 156 ครั้ง โดยการคำนวณ (45/156) x 1000
เอาต์ พ ุ ต ที ่ ม ี ค วามสำคั ญ ต่ อ ขั ้ น ตอนการทำรายงาน คื อ เท่ า กั บ 288.46 ต่ อ 1000 เที ย บกั บ ตารางที ่ 3 -1
ด้านระยะเวลา ด้านต้นทุน และด้านคุณภาพ โดยกำหนด ที่ร ะดับสูง มาก คือ ค่าที่ได้มากกว่า หรือเท่ากับ 100 ต่อ
ผลคะแนน ทางด้าน Output ได้ดังนี้ เพื่อใส่ด้านบน ใน ตาราง 1,000 ดังนั้นระดับความเป็นไปได้ ที่จะเกิด คือ ระดับสูงมาก
Cause and Effect Matrix โดยการประมาณการ เท่ากับ 10 คะแนน

431
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

ระดับคะแนนความสาคัญทางด้าน Output 10 7 10
Key Process Output Variables

ข้อมูลและรู ปแบบรายงานไม่
การส่งรายงานไม่ตรงต่อเวลา
ตารางที่ 2 ตารางคะแนนระดับความสัมพันธ์ทางด้าน Input

ตามทีก่ าหนดใน 1 วัน


ที่มีผลต่อ ทางด้าน Output

ค่าใช้จา่ ยเพิม่ ขึน้

คะแนนรวม
ถูกต้อง
ด้านการ ด้าน
หัวข้อ Key Process Input Variables จัดส่ง ต้นทุน ด้านคุณภาพ
คะแนนระดับความสัมพันธ์ทางด้าน Input ที่มีผลต่อ ทางด้าน Output 5 5 5
1 พนักงาน
1.1 - พนักงานใช้เวลาทาไม่เท่ากัน 5.00 1.00 2.00 77.00
1.2 - พนักงานถูกขัดจังหวะ 5.00 1.00 2.67 83.70
1.3 - เมื่อยล้า 5.00 1.00 2.33 80.30
2 เอกสาร, ข้อมูล
2.1 - ข้อมูล Demand Forecast เปลี่ยนรูปแบบ 5.00 2.67 3.00 98.69
2.2 - ข้อมูลของผลิตภัณฑ์ แบบTLA/PCBA ไม่ครบถ้วน 5.00 2.00 2.67 90.70

การให้คะแนนความสัมพันธ์ตัวแปร Input ที่มีผ ล 2.3


2.4
- ไม่มีขอ้ มูล UPH ของผลิตภัณฑ์ แต่ละเครือ่ งจักร
- ฐานข้อมูลผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เพิ่ มขึน้ ไม่ได้อัพเดท
5.00
5.00
4.67
4.33
5.00
5.00
132.69
130.31
3 วิธีการ, การจัดการ
ต่อตัวแปร Output ถ้ามีค วามสัมพันธ์ และมีผ ล มากที่สุด 3.1 - การเตรียมข้อมูล Forecast
- การจัดเรียงข้อมูล TLA/PCBA
5.00 1.67 3.67 98.39
3.2 5.00 1.67 3.67 98.39

ระดับคะแนนเท่ากับ 5 มีผ ลน้อยที่ส ุดหรือไม่มี เท่ากับ 0 3.3


3.4
- การเพิ่ มเวลาการจัดการสาหรับผลิตภัณฑ์ใหม่
- การเตรียมข้อมูล UPH และเพิ่ มข้อมูล เครือ่ งจักรผลิตภัณฑ์ใหม่
5.00
5.00
1.67
3.67
2.33
5.00
84.99
125.69
3.5 - การรวมข้อมูลและจัดเรียงข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบรายงาน 5.00 3.33 4.67 120.01
จากนั ้ น ทำการให้ ค ะแนนที ล ะความสั ม พั น ธ์ แ นวนอนกั บ 3.6 - การตรวจสอบ ความครบถ้วนและความถูกต้องของข้อมูล 5.00 3.00 4.67 117.70
4 เครื่องมือและอุปกรณ์
แนวตั้ง จนครบและ คิดคะแนนรวม จากคะแนนเฉลี่ยที่ได้ 4.1
4.2
- Personal Computer/Laptop
- Internet/WiFi
1.00
1.00
1.00
2.33
1.00
1.00
27.00
36.31

จากการให้คะแนนแต่ละหัวข้อคูณด้วย คะแนนความสำคัญ 4.3


4.4
- Keyboard/Mouse
- Monitor/Display
1.00
1.00
2.00
1.00
1.00
1.00
34.00
27.00
4.5 - Software / Operation System 1.00 3.33 1.00 43.31
ทาง Output ด้านบนของตาราง แล้วจึง นำแต่ล ะคอลั ม น์ 5
5.1
สภาพแวดล้อม
- อุณหภูมิ ไม่เหมาะสม 1.00 0.00 1.00 20.00

มาบวกกัน 5.2
5.3
- แสงสว่างไม่เพียงพอ
- มีเสียงรบกวน
1.00
1.00
0.00
0.00
1.00
1.00
20.00
20.00
5.4 - ห้องทางานสกปรก 1.00 0.00 1.00 20.00
ตารางที่ 3 ตาราง Cause and Effect Matrix การหาสาเหตุ Total 74.00 41.34 55.68 1586.18

ของปัญหาในการทำรายงาน จากนั้นนำคะแนนรวมมาวิเคราะห์เพื่อหาสาเหตุหลัก
โดยการจัดลำดับ หัวข้อที่มีคะแนนมากที่สุดก่อน ตามลำดับ
ไปถึงหัวข้อที่มีคะแนนน้อยที่สุด

รูปที่ 5 คะแนนความสัมพันธ์ของปัจจัยตัวแปรอินพุตที่มี
ผลต่อตัวแปรเอาต์พุต

432
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

สามารถสรุปสาเหตุส ำคัญของปัญหา จากเปอร์เซ็น ต์ 3.3 ออกแบบและจัดทำโปรแกรมการจัดทำรายงาน


คะแนนรวมสะสมที่ 80 เปอร์เซ็นต์ ของแกนแนวตั ้ง โดย โดยใช้โปรแกรม วิชวลเบสิก บน
ลากเส้นจุดตัดเส้นกับเส้น % Accumm ลงมาที่ตัดกับ แกน ไมโครซอฟต์ออฟฟิศเอ็กเซล (Visual Basic for
Application : VBA on Microsoft Office Excel)
นอนของสาเหตุจึงได้ปัจจัยตัวแปรอินพุตที่มีผลต่อตัวแปรเอาต์
จากปั ญ หาที ่ ต ้ อ งใช้ เ วลานานในการจั ด เตรี ย มข้อมูล
พุต จำนวน 12 สาเหตุ ซึ่งนำไปแก้ไขดังนี้
ในการทำรายงานจึง ออกแบบวิธีสร้างฐานข้อมูลไว้ที่ Google
สาเหตุที่ 2.3, 2.4 และ 3.4 ได้ออกแบบการจัดการเก็บ Sheet เพื่อลดเวลาการค้นหา และจัดเตรียม
ข้อมูล ของ ชื่อผลิตภัณฑ์ ข้อมูล ชิ้นที่ผ ลิ ตต่อชั่ วโมง และ ข้ อ มู ล ที ่ น ำมาใช้ ใ นการจั ด ทำรายงาน ซึ ่ ง สามารถ เขี ย น
เครื่องทดสอบที่ใช้ทดสอบ เก็บเป็นฐานข้อมูลไว้ที่ Google แผนภาพการกระแสข้อมูล (Data Flow Diagram : DFD)
Sheet โดยให้ผู้ใช้งานโปรแกรมทำการอัพเดตข้อมูลตอนเช้า ในการนำข้อมูลมาใช้จัดทำรายงานแบบใหม่ โดยใช้ โปรแกรม
ทุกวัน และเมื่อผู้ใช้ง าน โปรแกรมต้องใช้ข้อมูล ทำรายงาน VBA บน Excel ทำที ล ะขั ้ น ตอนแทนการทำงานด้ ว ยคน
ได้ ข ้ อ มู ล ด้ า นออกมาเป็ น ร ายง านกำล ั ง การ ผ ลิ ต
สามารถเชื ่ อ มต่ อ มายั ง ไฟล์ Excel โดยตรง และพั ฒ นา
ของเครื่องทดสอบ ประจำสัปดาห์ เพื่อส่งให้ผู้บริหาร
โปรแกรม วิ ช วลเบสิ ก บน ไมโครซอฟต์ อ อฟฟิ ศ เอ็ ก เซล
- ผูจ้ ดั การ ่ ายวิ วกรรมการทดสอบ

สำหรั บ จัด รูป แบบข้อ มู ล ให้ ต รงกั บ Google Sheet เพื่ อ


E
D5
ประจาสัปดาห์ - ผูจ้ ดั การ ่ ายผลิต

ความสะดวก และลดเวลาในการเตรียมข้อมูล
- ผูจ้ ดั การ รงงาน

สาเหตุที่ 3.5, 3.6, 2.1, 3.1, 3.2, 2.2, 1.2, 3.3 และ 1.3
-

-
-

ผลิตภัณฑ์ใหม่ ที่ยงั ไม่มีขอ้ มูล


เพิ่มข้อมูลเครือ่ งจักรและ

G
รายงาน

ได้ อ อกแบบ ลดขั ้ น ตอนออกให้ ม ากที ่ ส ุ ด โดยลดขั ้ น ตอน


4

D7
จัดเรียงข้อมูลให้อยูใ่ นรูปแบบ

ที่ซ้ำกัน และตัดขั้นตอนที่ไม่จ ำเป็น ออก การรวมขั้นตอน


3

่ ายผลิต

โดยใช้ VBA ทำให้เป็นการทำงานแบบอัตโนมัติ อย่าง ต่อเนื่อง


รายงาน

การจั ด เรี ย งลำดั บ ขั ้ น ตอนใหม่ ใ ห้ เ หมาะสม และ


D4
รายงานทัง้ หมดก่อน

B. ข้อมูลค่าประสิทธิของเครือ่ งทดสอบ เวลาที่ใช้ตงั้ ค่าเครือ่ งทดสอบ ตาแหน่งของไ ล์ ชื่อชีต

เครือ่ งทดสอบที่ใช้ทดสอบ ใน
รายละเอียดของ

จัดเรียงรูปแบบ

ชื่อ ชนิด จานวนของเครือ่ งทดสอบ ิ กเจอร์ท่ีใช้ทดสอบของแต่ละผลิตภัณฑ์


รายละเอียดการตัง้ ค่า ปรแกรม

การปรับปรุงวิธีการทำงานให้ง่ายขึ้น โดยใช้ Macro ใน Excel


F. ข้อมูลผลิตภัณฑ์เ พาะ PCBA Level และ Assembly Level ที่มีการทดสอบ
B
F

- รวบรวมข้อมูล และคานวณกาลังการผลิต

C.ข้อมูลผลิตภัณฑ์ทงั้ หมดของ PCBA Level และ Assembly Level


D2
- แปลงข้อมูล Forecast จาก Assembly

- เพิ่มเวลาในการใช้เครือ่ งสาหรับจัดการ

มาช่วยจัดการ เพื่อลดเวลาการทำรายงาน โดยวิธีใช้ Macro


D6

ตัง้ ค่าพารามิเตอร์

ใน Excel บั น ทึ ก ขั ้ น ตอนการทำงานที ่ ท ำ เหมื อ นเดิ ม


1
2

A
Level ให้เปน PCBA
E

ของเครือ่ งทดสอบ
New Product

D1

ในส่ ว นที ่ ต ้ อ งทำซ้ำ ๆ จะได้ เ ป็ น VBA code มาเพื ่ อรวม


D5

D.ข้อมูลคาสั่ง ือ้ ล่วงหน้าของลูกค้า

G. ข้อมูล ่ ายผลิต ชื่อผลิตภัณฑ์

และจั ด การทำงานตามขั้ น ตอนแบบอัต โนมั ติ ด้ ว ย Excel


รายการของข้อมูล
E

F
B
D

ด ั ง น ั ้ น จ ึ ง พ ั ฒ น า โ ป ร แ ก ร ม ท ี ่ ช ่ ว ย ล ด เ ว ล า ที่
C

อดีต
A.

E.
D2

D5

D6
D3

D4

ใช้ ใ นการจั ด ทำรายงานกำลั ง การผลิ ต ของเครื ่ อ งทดสอบ


แผนกวางแผนการผลิต

แผนกวิ วกรรมการ

วงจรไฟฟ้ า (ICT) เพื ่ อ ช่ ว ยในการวางแผนการผลิ ต และ


ทดสอบวงจรไ า้
แผนกProgram
Administrator

ใช้เป็นข้อมูล ช่วยในการตัดสินใจของผู้บริหาร ที่รวดเร็วขึ้น


เพิ่มโอกาสในการแข่งขันในตลาดมากขึ้น
รูปที่ 6 ไดอะแกรมศูนย์ของการจัดทำรายงานแบบใหม่
433
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

แผนภาพไดอะแกรมศูนย์ซึ่งประกอบด้วยกระบวนหลักใน
การทำรายงานกำลังการผลิตของเครื่องทดสอบ 4
กระบวนการหลัก คือ
1. กระบวนการตั้งค่าพารามิเตอร์ โดยการนำข้อมูล D1
(A) และ D2 (B) เพื่อใส่ในรายละเอียดการตั้งค่าโปรแกรม
2. กระบวนการผู้ใช้งานนำข้อมูล D3 (C), D4 (D), D5 (E)
และ D6 (F) โปรแกรมรวบรวมข้ อ มู ล ทั ้ ง หมด และ
คำนวณกำลั ง การผลิ ต ของเครื ่ อ งทดสอบเพื ่ อ ให้ ได้
รายละเอียดของรายงานทั้งหมดก่อนจัดเรียงรูปแบบ
3. กระบวนการจัดเรียงข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบรายงาน
และสร้างไฟล์รายงาน โดยการนำข้อมูล มาจัดเรียงใหม่ต าม
รู ป แบบรายงานแสดงผลเป็ น ตารางแบบรายเดื อ น และ
แบบรายสัปดาห์
4. กระบวนการเพิ่มข้อมูลเครื่องจักรและผลิตภัณฑ์ใหม่
ที่ยังไม่มีข้อมูล เพื่อเพิ่มในฐานข้อมูล D5 (E) รูปที่ 7 ขั้นตอนการทำงานของโปรแกรมออกแบบฐาน
การออกแบบและจัดทำโปรแกรมจากแผนภาพ ข้อมูลบน Google Sheet
ไดอะแกรมศูนย์ซึ่งประกอบด้วยกระบวนหลักในการทำรายงา
นซึ่งมีการออกแบบโครงสร้างขั้นตอนการ การเตรียมข้อมูล UPH สำหรับอัพเดต
ทำงานของโปรแกรม ดังนี้ ฐานข้อมูลตอนเช้าทุกวัน โดยดึงข้อมูล จาก ฐานข้อมูล
การผลิต ของ Shop floor data collector โดยจะมีข้อมูล
ชื่อเครื่องทดสอบ ที่ใช้ ชื่อผลิตภัณฑ์ และจำนวนชิ้นงาน
ในช่วงเวลารายชั่วโมง ที่สามารถผลิตได้ ออกแบบ
ฐานข้อมูล แปลงรูปแบบให้เพื่อเก็บเป็นฐานข้อมูล จำนวน
ชิ้นงานที่สามารถผลิตได้ต่อชั่วโมง

รูปที่ 8 ตัวอย่างของฐานข้อมูลที่ออกแบบขึ้นมาใหม่

434
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

เป ็ น การ แป ล ง รู ป แบ บข้ อ มู ล เป ็ น ร ู ป แบบใหม่ แบบสอบถามประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้โปรแกรมจัดทารายงานกาลังการผลิตเครื่องทดสอบทางไฟฟ้ า และระบบฐานข้อมูล


คาชี้แจง แบบสอบถาม
แบบสอบถามนีจ้ ดั ทาขึน้ เพื่อให้ผอู้ อกแบบและพัฒนา ปรแกรม ทราบผลการดาเนินงานของตนเอง
โดยกำหนดตามแนวคอลัมน์ เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลบน Google และนาไปปรับปรุง ปรแกรมให้ดขี นึ ้ ตอบสนองตามความต้องการของผูใ้ ช้งาน
ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม
Sheet สำหรั บ ผู ้ ใ ช้ ง านค้ น หาข้ อ มู ล จากชื ่ อ ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ปรดเติมเครือ่ งหมาย  ลงในช่องสี่เหลี่ยม  ในแต่ละข้อ ให้ครบถ้วน
1. เพ  ชาย  หญิง

โดยโปรแกรมจะแสดงผลออกมาในรูปแบบ กราฟและ ตาราง 2. ช่วงอายุ


3. วุฒิการ กึ ษา
 20 - 30 ปี
 ตา่ กว่าปริญญาตรี
 30 - 40 ปี
 ปริญญาตรี
 40 ปี ขนึ ้ ไป
 สูงกว่าปริญญาตรี

เช่ น จำนวนชิ ้ น งานที ่ เ คยผลิ ต ได้ ส ู ง สุ ด ต่ อ ชั ่ ว โมง 4. ตาแหน่งงาน  ธุรการ  วิ วกร  หัวหน้าวิ วกร  ผูจ้ ดั การ ่ าย

ส่วนที่ 2 คะแนนระดับความพึงพอใจ จากการใช้งานโปรแกรมของผู้ตอบแบบสอบถาม


จ ำ น ว น ช ิ ้ น ง า น ท ี ่ เ ค ย ผ ลิ ต ไ ด ้ เ ฉ ล ี ่ ย ต ่ อ ช ั ่ ว โ ม ง ปรดใส่เครือ่ งหมาย ในช่องที่ตรงกับระดับความพึงพอใจของท่าน แบ่งเปนระดับดังนี ้
ระดับ 5 = พึงพอใจมากที่สดุ 4 = พึงพอใจมาก 3 = พึงพอใจปานกลาง 2 = พึงพอใจน้อย 1 = พึงพอใจน้อยที่สดุ
ชื่อเครื่องทดสอบที่ใช้ ข้อมูล ของผลิตภัณฑ์การผลิตที่ทำได้ หัวข้อที่ คาอธิบาย
คะแนนระดับความพึงพอใจ
5 4 3 2 1

ทั้ง หมด กี่ช ิ้นต่อวั น จำนวนที่ผ ่า นการทดสอบ (Passed) 1


2
รูปแบบความสวยงามของ ปรแกรม
ความง่ายในการใช้งาน ปรแกรม

และไม่ผ่านการทดสอบ (Failed) คิดเป็นค่า Yield เปอร์เซ็นต์ 3


4
ความถูกต้องของข้อมูลที่ได้จาก ปรแกรม
ความสะดวกในการใช้งาน ปรแกรม
5 ความเหมาะสมของจานวนขัน้ ตอนในการใช้งาน ปรแกรม
3.4 การวัดผลการดำเนินงาน 6 ความสะดวกในการจัดเกบข้อมูลเข้าฐานข้อมูล
7 ความรวดเรวในการจัดเกบข้อมูลเข้าฐานข้อมูล
ก่ อ นทำการวัด ผล ได้ ฝ ึ ก อบรมให้ ผ ู้ ใช้ ง าน ได้ ท ดลอง 8
9
ความถูกต้องของข้อมูลในฐานข้อมูล
ความรวดเรวในค้นหาข้อมูลในฐานข้อมูล

ใช้งานจริงก่อน จนสามารถทำเองได้ไม่ต้องดูคู่มือการใช้งาน 10 การใช้งาน ปรแกรมเทียบกับการทางานแบบเดิม


ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม

โปรแกรม จึงทำการวัดผลโดยการจับเวลา .....................................................................................................................................................................................................


.....................................................................................................................................................................................................
.....................................................................................................................................................................................................
การวัดผลจากการจับเวลาการทำรายงานโดยใช้โปรแกรม
ช่วย จำนวน 5 ครั้ง และ จับเวลาที่ทำการอัพเดต ฐานข้อมูล รูปที่ 9 แบบสอบถามประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้งาน
จำนวน 5 ครั ้ ง คำนวณเป็ น ค่ า เฉลี่ ย แล้ ว จึ ง นำ เวลา โปรแกรม
ค่าเฉลี่ยการอัพเดตฐานข้อมูล รวมกับเวลาการทำ รายงาน
การวัดความพึงพอใจ หลั ง จากให้ว ิ ศ วกรที ่ ทำรายงานทำแบบสอบถามแล้ว
ของวิศวกรที่ใช้โปรแกรมทำรายงาน จำนวน 2 คน โดยใช้ จึ ง นำคะแนนไปวิ เ คราะห์ เพื ่ อ แปลค่ า จากคะแนนเฉลี่ ย
แบบสอบถามจากการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบมาตรฐาน เป็นระดับความพึงพอใจ
การวัดแบบให้คะแนน ดังนี้ 3.5 สรุปผลการดำเนินงาน
จากการศึกษาทฤษฎีและผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องศึกษาระ
บบการทำงานแบบ เดิม ศึกษาแนวทางแก้ไขปัญหาการใช้
เวลานานในการทำรายงาน ศึกษาการใช้โปรแกรม VBA บน
Excel และออกแบบสร้างฐานข้อมูล ไว้ที่ Google Sheet
เพื่อลดเวลาในการค้นหาข้อมูล และลดเวลาในการทำ รายงาน
จากผลดำเนิ น การดั ง กล่ า วทำให้ ม ี ก ารพั ฒ นา โปรแกรม
คอมพิ ว เตอร์ เพื ่ อ ให้ ก ารทำงานที ่ ม ี ป ระสิ ท ธิ ภ าพ
และบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้

435
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

4. ผลการวิจัย
4.1 ผลการศึกษาโปรแกรมที่พัฒนาขึ้น
การออกแบบระบบทำงานและการจัด การฐานข้อมูล
ด้วยโปรแกรม VBA บน Excel ออกแบบเพื่อช่วยให้การทำ
รายงาน มีค วามรวดเร็ว ข้อมูล ถูกต้อง และมีค วามสะดวก
สนั บ สนุ น ส่ ว นเตรี ย มข้ อมู ล ในฐานข้ อ มู ล โดยโปรแกรมที่
ออกแบบมีส่วนประกอบดังนี้
4.1.1 ส่วนหน้าต่างเมนูหลักของโปรแกรม รูปที่ 11 หน้าต่างเมนูหลักของโปรแกรม Sheet (Home)
เมื ่ อ ผู ้ ใช้ง านเปิ ด โปรแกรม ก่ อ นเข้ า ใช้ง านโปรแกรม
เพื่อตรวจสอบสิทธิ์ ในการใช้งาน และป้องกันไม่ให้ผู้ที่ไม่ได้ โดยแบ่งตามหมายเลข ทั้งหมด 7 ปุ่มการทำงาน ซึ่ง
รับอนุญาตเปิดใช้ง านป้องกันความผิดพลาด โดย ผู้ใช้งาน สามารถอธิบายตามลำดับดังนี้
จะต้ อ งใส่ รหั ส พนั ก งาน (Employee Number) และ ปุ่มหมายเลข 1 ทำหน้าที่ สำหรับการตั้งค่าพารามิเตอร์ ต่าง ๆ
รหัส ผ่าน (Password) เมื่อกดปุ่ม Login ระบบจะ ทำการ ปุ่มหมายเลข 2 ทำหน้าที่สำหรับเชื่อมต่อข้อมูลจากฐาน ข้อมูล
ตรวจสอบ รหัส พนักงานและรหัส ผ่านว่ามีส ิทธิ์การใช้ง าน ปุ ่ ม หมายเลข 3 ทำหน้ า ที ่ สำหรั บ คำนวณค่ า จากข้ อ มู ล
จึงจะเข้าสู่ หน้าต่างเมนูหลักของโปรแกรมต่อไป ค่ า พารามิ เ ตอร์ ต ่ า ง ๆ และนำค่ า ที่ คำนวณถู ก ต้ อ ง
และข้อมูลที่ครบถ้วน ใส่ในรูปแบบรายงาน
ปุ่มหมายเลข 4 ทำหน้าที่ สำหรับเปิดไฟล์ฐานข้อมูล ที่อยู่บน
Google Sheet เพื ่ อ ใช ้ ค ้ น หา ข้ อ มู ล ช ื ่ อ ผ ล ิ ต ภั ณ ฑ์
ที่ยังไม่มีข้อมูล
ปุ่มหมายเลข 5 ทำหน้าที่ สำหรับเปิดไฟล์ฐานข้อมูล ที่อยู่ บน
Google Sheet เพื่อเพิ่มเติม หรือแก้ไนข้อมูล ชื่อ ผลิตภัณฑ์
ชื่อเครื่องทดสอบที่ใช้ทดสอบ ข้อมูลค่าเฉลี่ย การผลิตชิ้น ต่อ
รูปที่ 10 หน้าต่างสำหรับใส่ รหัสพนักงาน (Employee ชั่วโมง และวันที่บันทึกข้อมูล
Number) และรหัสผ่าน (Password) ปุ ่ ม หมายเลข 6 ทำหน้ า ที ่ สำหรั บ แปลงข้ อ มู ล ที ่ ไ ด้ จ าก
ฐานข้อมูล Shop Floor Data Collector ในรูปแบบไฟล์
Excel ซึ่งต้องทำประจำทุกวันตอนเช้า เพื่ออัพเดตข้อมูลของ
ถ้าผู้ใช้งานใส่ รหัสพนักงาน (Employee Number)
ฐานข้อมูลบน Google Sheet ใหม่ ล่าสุดเสมอ
หรือ ใส่รหัสผ่าน (Password) ถูกต้อง จะปรากฏหน้าต่าง
หมายเลข 7 คู่มือการใช้ง านโปรแกรม หน้าที่ สำหรับกด
เมนูหลักของโปรแกรม (Home)
เพื่อดูคู่มือการใช้งานโปรแกรม ในกรณีที่ผู้ใช้งานมีข้อสงสัย
4.1.2 ฐานข้อมูล ที่อยู่บน Google Sheet

436
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

4.2.1 ชี ต เอกสารชื ่อ Monthly_Tester เป็ น การรายงาน


ผลแบบรายเดื อ นล่ ว งหน้ า 12 เดื อ น และชื ่ อ ของเครื ่ อ ง
ทดสอบ

รูปที่ 12 ฐานข้อมูล บน Google Sheet

รูปที่ 14 รายงานผลกำลังการผลิตของเครื่องทดสอบทาง
ไฟฟ้า แบบรายเดือน

รูปที่ 15 กราฟรายงานผลกำลังการผลิตของเครื่อง
ทดสอบทางไฟฟ้า แบบรายเดือน
รูปที่ 13 หน้าต่างสำหรับค้นหาชื่อผลิตภัณฑ์ในฐานข้อมูล บน
Google Sheet 4.2.2 ชีตเอกสารชื่อ Monthly_Tester_PN
4.2 รูปแบบการแสดงผลรายงาน เป็นการรายงานผลแบบรายเดือนล่วงหน้า 12 เดือน
เมื ่ อ การจั ด ทำร ายง านเสร็ จ จ ะบ ั น ทึ ก ช ื ่ อไ ฟล์ ชื่อของเครื่องทดสอบ และชื่อผลิตภัณฑ์
ICT_Capacity_Report_YYYY_ MM_DD_hh_ mm_ss.xlsx 4.2.3 ชีตเอกสารชื่อ Monthly_Tester_Fixture_PN
ตาม ปี เดือน วัน ชั่วโมง นาที วินาที ที่เสร็จ และแสดงตำแหน่ง เป็นการรายงานผลแบบรายเดือน ล่วงหน้า 12 เดือน
ที ่ เ ก็ บ ไฟล์ ตามที ่ ต ั ้ ง ค่ า ไว้ ซึ ่ ง ไฟล์ ที่ บั น ทึ ก แบ่ ง ตามชี ต ชื่อของเครื่องทดสอบ ชื่อผลิตภัณฑ์ และชื่อฟิกเจอร์
เอกสารทั้งหมด 6 ชีตเอกสาร ดังนี้

437
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

4.2.4 ชีตเอกสารชื่อ Weekly_Tester ตารางที่ 5 ข้อมูลเปรียบเทียบเวลาการทำรายงานแบบเดิม


เป็นการรายงานผลแบบรายสัปดาห์แบบระบุชื่อ ของเครือ่ ง และด้วยระบบใหม่
ทดสอบ
4.2.5 ชีตเอกสารชื่อ Weekly_Tester_PN
เป็นการรายงานผลแบบรายสัปดาห์แบบระบุชื่อ ของเครือ่ ง
ทดสอบ และชื่อผลิตภัณฑ์
4.2.6 ชีตเอกสารชื่อ Weekly_Tester_Fixture_PN
เป็นการรายงานผลแบบรายสัปดาห์ แบบระบุชื่อของ
เครื่องทดสอบ ชื่อผลิตภัณฑ์ และชื่อฟิกเจอร์ ข้อมูล จากตารางที่ 5 นำไปทดสอบสมมติฐานทางสถิติ
4.3 ผลการเปรียบเทียบทำรายงานของแบบเดิม เนื่องจากการทดลอง ใช้วิธีการจับเวลาการทำรายงานของ
กับการทำรายงานโดยใช้งานโปรแกรม ที่พฒ ั นาขึ้นมาใหม่ วิศวกร 2 คน ทั้งระบบเดิม และระบบใหม่ ใช้บุคคล เดียวกัน
จากการทดสอบการใช้งานจริง โดยให้วิศวกรทั้งหมด 2 ดังนั้น จึงเลือกใช้ วิธีทดสอบสมมติฐานทางสถิติ Paired T-
คน ที่เคยทำรายงาน แบบเดิม มาฝึกอบรมให้ใช้โ ปรแกรม test โดยกำหนดให้ สมมติฐานหลัก (H0)
ที ่ พ ั ฒ นาขึ ้ น แทนการที ล ะขั ้ น ตอน โดยหลั ง จากฝึ กอบรม ค่ า เฉลี ่ ย เวลาทำงานระบบเดิ ม – ค่ า เฉลี ่ ย เวลาทำงาน
และให้ ท ั ้ ง สองคนฝึ ก ทดลองทำรายงานโดยใช้ โ ปรแกรม ระบบใหม่ เท่ากับ 0 สมมติฐานรอง (H1)
จนกระทั่ง ไม่ต้ องดูค ู่ มื อการใช้ง าน จึง เริ่มทำการจับ เวลา ค่ า เฉลี ่ ย เวลาทำงานระบบเดิ ม – ค่ า เฉลี ่ ย เวลาทำงาน
การทำงาน โดยแบ่ ง การจั บ เวลาการทำรายงาน 5 ครั้ ง ระบบใหม่ มากกว่า 0 กำหนดค่าความเชื่อมั่นที่ 95 เปอร์เซ็นต์
และจั บ เวลา การเพิ ่ ม ข้ อ มูล ในฐานข้ อมู ล จำนวน 5 ครั้ง (ค่าอัลฟ่า = 0.05) และใช้โปรแกรม Minitab
แล้ ว จึ ง นำค่ า เฉลี ่ ย การทำรายงาน รวมกั บ เวลา การเพิ่ ม ในการประมวลผล และให้ผลดังนี้
ข้อมูลในฐานข้อมูลทั้ง 5 วันรวมกัน ผลการจับเวลาตามตาราง

ตารางที่ 4 จับเวลาการทำรายงานด้วยระบบใหม่

รูปที่ 16 ผลการทดสอบสมมติฐานทางสถิติ Paired T-test


ของทำงานระบบเดิม และระบบใหม่

สามารถวิ เ คราะห์ ได้ ว ่ า การเก็ บ ผลจากการทดลอง


จั บ เวลาการทำรายงาน จำนวน 5 ครั ้ ง ของการทำงาน
ระบบเดิม มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 47,076 วินาที มีค่าเบี่ยงเบน
38,207 วินาที
438
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

สามารถสรุปได้ดังนี้ การจัดทำรายงานแบบใหม่ใช้เวลา ดั ง นั ้ น จึ ง เลื อ กใช้ วิ ธ ี ท ดสอบสมมติ ฐ านทางสถิ ต ิ One-


การทำรายงานลดลง เท่ า กั บ 38,207 วิ น าที ต่ อ ครั้ ง Sample T-test โดยกำหนดให้ สมมติ ฐ านหลั ก (H0)
หรื อ ลดลงเท่ า กับ 10.61 ชั ่ ว โมงต่ อ ครั ้ ง สามารถคิ ด เป็น ค่าเฉลี่ยระดับความพึง พอใจ เท่ากับ 3 สมมติฐานรอง (H1)
ค่ า ใช้ จ ่ า ย ลดลง 1658.31 บาทต่ อ ครั ้ ง และ เท่ า กั บ ค่ า เฉลี ่ ย ระดั บ ความพึ ง พอใจ มากกว่ า 3 กำหนดค่ า
86,232.36 บาทต่อปี หรือคิดเป็น ค่าใช้จ่ายลดลง ร้อยละ ความเชื ่ อ มั ่ น ที ่ 95 เปอร์ เ ซ็ น ต์ (ค่ า อั ล ฟ่ า = 0.05)
81.16 ต่อปี และใช้โปรแกรม Minitab ในการประมวลผล และให้ผลดังนี้

4.4 ผลการประเมินความพึงพอใจของวิศวกรที่ใช้
โปรแกรมทำรายงาน
การประเมินแบบสอบถามความพึงพอใจในการใช้โ ปรแก
รมทำรายงานของ วิ ศ วกรจำนวน 2 คน โดยมี เ กณฑ์
การแปรผลระดั บ ความพึ ง พอใจจากคะแนนเฉลี ่ ย คื อ รูปที่ 17 ผลการทดสอบสมมติฐานทางสถิติ One Sample T-
คะแนนเฉลี ่ ย ช่ ว ง 1.00-1.99 หมายถึ ง ความพึ ง พอใจ test ผลการทำแบบสอบถาม ระดับความพึงพอใจ
ระดั บ น้ อ ยที ่ ส ุ ด คะแนนเฉลี ่ ย ช่ ว ง 2.00-2.99 หมายถึ ง
ความพึ ง พอใจระดั บ น้ อ ย คะแนนเฉลี ่ ย ช่ ว ง 3.00-3.99 สามารถวิ เ คราะห์ ไ ด้ว ่ า จากผลการทำแบบสอบถาม
หมายถึง ความพึง พอใจ ระดับปานกลาง คะแนนเฉลี่ยช่วง ระดับความพึงพอใจ ในการใช้งานโปรแกรมของวิศวกรคนที่ 1
4.00-4.49 หมายถึง ความพึง พอใจระดับที่ดี คะแนนเฉลี่ย มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.2 มีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 0.919
ช่วง 4.50-5.00 หมายถึง ความพึงพอใจระดับที่ดีมาก และจากผลการทำแบบสอบถามระดั บ ความพึ ง พอใจ
ตารางที่ 6 ผลการประเมินแบบสอบถามความพึงพอใจ ในการใช้งานโปรแกรม ของวิศวกรคนที่ 2 มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ
ของผู้ใช้งานโปรแกรม 4.2 มี ค ่ า เบี ่ ย งเบนมาตรฐาน เท่ า กั บ 0.919 ซึ ่ ง มี ค่ า
ความเชื่อมั่นที่ 95 เปอร์เซ็นต์ เท่ากับ 3.667 และค่า P-Value
เท่ากับ 0.001 ทั้งสองคน ซึ่งน้อยกว่า ค่าอัลฟ่า เท่ากับ 0.05
ดังนั้น สมมติฐานหลักไม่เป็นจริง จึงปฏิเสธ สมมติฐานหลัก
(H0) และยอมรับ สมมติฐานรอง (H1) สามารถสรุปได้ ว่ า
ระดั บ ความพึ ง พอใจ ในการใช้ ง าน โปรแกรมของวิศ วกร
มีค่ามากกว่า 3 อย่างมีนัยสำคัญที่ ระดับความเชื่อมั่น 0.05
และมีเวลาเฉลี่ยระดับ ความพึงพอใจ เท่ากับ 4.2
ผลการประเมินแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ใช้ง านโ
ปรแกรม ของวิศวกร แผนกทดสอบวงจรไฟฟ้าจำนวน 2 คน
ข้ อ มู ล จากตารางที ่ 6 เป็ น การทำแบบสอบถาม พบว่ามีคะแนนเฉลี่ยรวมเท่ากับ 42 จาก 50
ของวิ ศ วกร 2 คน นำไป ทดสอบสมมติ ฐ าน ทางสถิ ติ และคะแนนเฉลี ่ ย ที ่ 4.2 ผลการประเมิ น โดยรวม เกณฑ์
โดยตั้งค่าเฉลี่ยมาตรฐานของระดับความพึงพอใจ เท่ากับ 3 ความพึงพอใจอยู่ในระดับที่ดี
439
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

4.5 การบำรุงรักษาระบบ 5.1 สรุปผลการวิจัย


จากการทดลองให้ใช้งานจริง ผู้ใช้ง านพบข้อผิดพลาด การออกแบบและพัฒนาโปรแกรมขึ้นมาใหม่นั้น
เช่น สีตัวอักษร และสี พื้นหลัง ของข้อมูล ในรายงานแสดง แบ่งได้เป็น 2 ส่วนหลัก ดังนี้
ไม่ถูกต้องตามเงื่อนไข และทำการปรับปรุงแก้ไขให้ถูกต้อง ส่ ว นที ่ 1 โปรแกรมส่ ว นจั ด ทำรายงาน โดยผู ้ ใ ช้ ง าน
เป็ น ต้ น และหลั ง จากไม่ พ บข้ อ ผิ ด พลาดแล้ ว จึ ง นำระบบ กำหนดการตั้ง ค่าต่าง ๆ ก่อนใช้ง าน และนำเข้าไฟล์ข้อมูล
การทำรายงานแบบใหม่ มาใช้แทน ระบบเดิม แต่เนื่องด้ วย คำสั่ง ซื้อสำหรับใช้ในการคำนวณข้ อมูล ในการทำรายงาน
การเริ่มการใช้งานโปรแกรม ช่วงปีแรก อาจจะมีข้อผิดพลาด ซึ่ง เตรียมข้อมูล ครบถ้วนและผู้ใช้ง านสั่ ง เริ่มจัดทำรายงาน
หรือส่วน ที่ยัง ต้องปรับปรุง ให้ดีขึ้น ดัง นั้น จึง กำหนดให้มี โปรแกรมจะทำการประมวลผล และจั ด ทำรายงานทั น ที
ช่องทางติดต่อทางอีเมล์ และเบอร์โ ทรศัพท์ ของผู้พัฒ นา โดยเมื่อเสร็จจะแสดงผลเป็นตาราง และกราฟแบบรายเดือน
ระบบ สำหรับแจ้งข้อผิดพลาดในการใช้งานโปรแกรมที่พบ และแบบรายสั ป ดาห์ ล ่ ว งหน้ า 12 เดื อ นตามชื ่ อ เครื ่ อ ง
ในภายหลั ง รวมถึ ง กำหนดสิ ท ธิ ์ ใ นการเพิ ่ ม รายชื ่ อ ของ และชื ่ อ ผลิ ต ภั ณ ฑ์ โดยบั น ทึ ก ในรู ป แบบ ไฟล์ Excel
การเข้าถึงฐานข้อมูลที่อยู่บน Google sheet ให้แก่ วิศวกร ขึ้นมาใหม่และบันทึกชื่อไฟล์ตามวันเดือนปี ที่จัดทำ
ทั้ง 2 คน สามารถเพิ่มบุคคลอื่นได้ภายหลัง ส่ ว นที ่ 2 โปรแกรมส่ ว นเตรี ย มข้ อ มู ล และฐานข้อมูล
4.6 สรุปผลการวิจัย สำหรั บ ผู ้ ใ ช้ ง าน ใช้ ใ นการเตรี ย มข้ อ มู ล บนไฟล์ Excel
การทดลองใช้งานที่พัฒนาจากโปรแกรม VBA บน Excel ก่อนที่จ ะนำข้อมูลอัพเดตในฐานข้อมูล บน Google Sheet
ช ่ ว ย ใ น ก า ร ท ำ ร า ย ง า น แ ล ะ ร ะ บ บ ฐ า น ข ้ อ ม ู ล ที่ เป็ น ประจำทุ กวั น ซึ ่ ง ส่ ว นฐานข้ อ มู ล บน Google Sheet
ช่วยในการค้นหา บน Google Sheet สำหรับช่วยเตรีย ม ใช้ ค ้ น หาข้ อ มู ล จากชื ่อ ผลิ ต ภั ณ ฑ์ เพื ่ อ ค้ น หาข้ อ มู ล เช่ น
ข้อมูล ในการทำรายงาน ซึ่ง ทำให้สามารถลดเวลาในการทำ ผลิตภัณฑ์นี้ผลิตได้สูงสุดกี่ชิ้นต่อชั่วโมง ผลิตได้สูงสุด กี่ชิ้น
รายงานของวิศวกรแผนกทดสอบ วงจรไฟฟ้า คิดเป็นการลด ต่ อ วั น ผลิ ต ภั ณ ฑ์ น ี ้ ผ ลิ ต ที ่ ช ื ่ อ เครื ่ อ งทดสอบที ่ ใ ช้ ท ดสอบ
ค่าใช้จ่ายเท่ากับ 86,232.36 บาทต่อปี หรือ คิดเป็นร้อยละ สั ด ส่ ว นเป็ น เปอร์ เ ซ็ น ต์ ข อง จำนวนที ่ ผ ่ า น และไม่ ผ ่ า น
เท่ากับ 81.16 ต่อปี และผลการประเมินความพึง พอใจของ การทดสอบ
วิศ วกรที่ใช้ง านโปรแกรม และการเชื่อมต่อ กับฐานข้อมู ล การพัฒนาโปรแกรมช่วยในการทำรายงานและค้นหาข้อมู
พบว่าวิศวกรผู้ใช้งานมีความพึงพอใจอยู่ในระดับที่ดี ลเพื่อจัดทำรายงาน และจากการทดลองใช้งานจริง
สามารถตอบวัตถุประสงค์หลักของโครงการได้ดังนี้
5. สรุปผลการวิจัยและข้อเสนอแนะ 5.1.1 จากการทดลองปฏิ บ ั ต ิ ง านจริ ง สามารถลดเวลา
จากการศึกษาและแก้ไ ขปั ญหาของงานวิจ ัย เป็นการ การจัดทำรายงาน ลดลงเฉลี่ยสัปดาห์ล ะ เท่ากับ 38,207
ศึกษาเพื่อลดเวลา การทำรายงานกำลังการผลิตของเครื่อง วิ น าที ต ่ อ ครั ้ ง หรื อ ลดลงเท่ า กั บ 10.61 ชั ่ ว โมงต่ อ ครั้ ง
ทดสอบวงจรไฟฟ้า ด้วยการออกแบบ และพัฒนา โปรแกรม สามารถคิ ด เป็ น ค่ า ใช้ จ ่ า ยลดลง 1,658.31 บาทต่ อ ครั้ ง
ที่ช่วยให้ทำงานง่ายขึ้น ช่วยลดเวลาการทำงาน และช่วยลด หรื อ ลดลง 86,232.36 บาทต่ อ ปี และ คิ ด เป็ น ค่ า ใช้จ ่าย
เวลาในการค้ น หาข้ อ มู ล และการเตรี ม ข้ อ มู ล ในการทำ ลดลงร้อยละ 81.16
รายงานได้รวดเร็วขึ้น 5.1.2 จากการทดลองปฏิบัติง านจริง โปรแกรมที่ออกแบบ
และพัฒนาขึ้นมา สามารถช่วยในการค้นหาข้อมูล จัดเตรียม
440
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

ข้อมูล เพื่อใช้ทำรายงาน ทำให้ล ดเวลาการทำ รายงานได้ - ความเร็วในการเข้าถึง ฐานข้อมูล ขึ้น อยู่กับความเร็ ว


ตรงตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ในการประมวลผลของ เครื่องคอมพิวเตอร์ และความเร็ ว
5.1.3 จากการผลการประเมินแบบสอบถามความพึง พอใจ ของสัญญานอินเตอร์เน็ต
ของผู้ใช้งาน โปรแกรม ของวิศวกรแผนก ทดสอบวงจร ไฟฟ้า - ขนาดของฐานข้อมูล บน Google Sheet มีขีดจำกัด
มี ค ะแนนเฉลี ่ ย ที ่ 4.2 จาก 5 เกณฑ์ ค วาม พึ ง พอใจอยู่ รองรับสูง สุดที่ 5 ล้าน เซลล์ต่อไฟล์ เมื่อต้องการใช้พื ้ น ที่
ในระดับที่ดี มากขึ้น ต้องสร้างไฟล์เพิ่มขึ้น แล้วจึงทำการเชื่อมต่อระหว่าง
5.2 ข้อดีและข้อจำกัดของโปรแกรมที่พัฒนาขึ้น ไฟล์
5.2.1 ข้อดีของโปรแกรมที่พัฒนาขึ้น - โปรแกรมบน Microsoft Excel ควรใช้เวอร์ชั่น Office
- สามารถลดเวลาในการจัดทำรายงาน ของวิศวกร 365 ถ้าใช้เวอร์ชั่น เก่ากว่าอาจจะทำให้ บางฟังก์ชัน ไม่รองรับ
- สามารถเพิ่มประสิท ธิภ าพในการทำงานของวิ ศ วกร และไม่สามารถทำงานได้อย่างถูกต้อง
ในหน่วยงาน โดยสามารถ ทำรายงานด้วยโปรแกรม ขณะที่ 5.3 ข้อเสนอแนะและแนวทางการพัฒนาต่อในอนาคต
รอโปรแกรมทำงานอัตโนมัติอยู่นั้น ผู้ใช้งานสามารถไป ทำงาน ข้อเสนอแนะของการนำไปใช้งาน สามารถนำโปรแกรม
อื่นพร้อมกันได้ ที ่ พ ั ฒ นาขึ ้ น ไปใช้ โดยขยายระบบ และฐานข้ อ มู ล เพื่อให้
- ผู้บริหารและฝ่ายวางแผนการผลิต สามารถใช้ข้อมูล ครอบคลุมเครื่องจักรอื่น ๆ ทั้งโรงงาน ดังนี้
จากรายงาน เพื่อใช้ใน การตัดสินใจ และวางแผนรองรั บได้ ข้อเสนอแนะของการวิจัยและพัฒนาต่อในอนาคต
รวดเร็วขึ้น - สามารถนำข้อมูล จากฐานข้อมูล ไปพัฒ นาต่อเพื ่ อ ใช้
- มีฐานข้อมูลรายชื่อผลิตภัณฑ์ และจำนวนการผลิ ตได้ แสดงผล ในรูปแบบต่าง ๆ บนเว็บแอพพลิเคชั่น ในโรงงาน
ต่อชั่วโมงที่อัพเดต อยู่เสมอ และสามารถเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย เช่ น การแสดงผลปริ ม าณการใช้ ง านในการผลิ ต ของ
และรวดเร็ว เครื่องจักรเพื่อแสดงผลข้อมูลย้อนหลังในอดีต และนำข้อมูล
- ไม่ ม ี ค ่ า ใช้ จ ่ า ยในการพั ฒ นาโปรแกรม เนื ่ อ งจาก ไปประกอบการคำนวณหา ประสิทธิภาพของเครื่องจักรได้
เป็นโปรแกรมที่เขียนโค้ด ขึ้นมาเอง และสามารถตอบสนอง - สร้างระบบที่มีการเชื่อมต่อและบันทึกข้อมูลไปยังฐาน
ตรงกับความต้องการของผู้ใช้งาน รวมถึงการสร้างฐานข้อมูล ข้อมูลแบบอัตโนมัติ
บน Google Sheet ก็ไม่มีค่าใช้จ่ายเพียงสมัคร Gmail และ
ล็อกอิน ก็สามารถเข้าใช้งาน ได้ทันที เอกสารอ้างอิง
5.2.2 ข้อจำกัดของโปรแกรมที่พัฒนาขึ้น 1 อรรถกร เก่งพล. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
- การเตรี ย ม และ อั พ เดตข้ อ มู ล รายชื ่ อ ผลิ ต ภั ณ ฑ์ (Management Information Systems). พิมพ์ครั้งที่ 6.
และจำนวนการผลิตได้ ต่อชั่วโมงของฐานข้อมูล ยัง ต้องใช้ กรุงเทพมหานคร : ศูนย์ผลิตตำราเรียน
คนอัพเดตทุกวัน เนื่องเป็นการดึง ข้อมูล มาจากฐานข้ อ มู ล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, |
ของระบบ Shop Floor Data ก่อน ซึ่งยังไม่สามารถทำเป็น 2560.
ระบบอัพเดตอัตโนมัติได้ 2 โอภาส เอี่ยมศิริวงศ์. การวิเคราะห์และ ออกแบบระบบ
(System Analysis and Design). กรุงเทพมหานคร :
บริษัท ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด, 2554.
441
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

3 ดวงพร เกี๋ยงคำ. Excel Expert Skills. พิมพ์ครั้งที่ 1.


นนทบุรี : บริษัท ไอดีซี พรีเมียร์ จำกัด, 2562.
4 พิภพ ลลิตาภรณ์. การวางแผนและควบคุมกำลังการผลิต
: Capacity Planning and Control [ออนไลน์]. 2553.
[สืบค้นวันที่ 15 สิงหาคม 2563]. จาก
https://www.tpa.or.th/publisher/admin/newbook/P0
922%20intro.pdf
5 Ian Poole. ICT, In Circuit Test Tutorial. [Online].
[search date 20 August 2020]. From
https://www.electronics-notes.com/articles/test-
methods/automatic-automated-test-ate/ict-in-
circuit-test-what-is-primer.php
6 สิริชัย เพิ่มกาญจนา. แผนผังก้างปลา (Cause and
Effect Diagram) [ออนไลน์]. 2555. [สืบค้นวันที่ 5
กันยายน 2563]. จาก
https://perchai.wordpress.com/2012/06/07/25/

442
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

การสร้างหลุมกักเก็บน้ำมันขนาดเล็กบนพื้นผิวเหล็กกล้าความเร็วรอบสูง
เคลือบไทเทเนียมไนไตรด์ด้วยเลเซอร์
Fabrication of Micro-Lubricant Pockets on TiN-Coated High-Speed Steel Surface
by Using Laser

ดุสนีย์ พลอนันต์1* วิทยา ดาวดอน2 และ วิบุญ แซ่ตั้ง1


1
ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เขตทุ่งครุ กรุงเทพฯ 10140
2
สาขาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา 30000
E-mail: dussanee.ph@mail.kmutt.ac.th *

บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างหลุมกักเก็บน้ำมันขนาดเล็กบนพื้นผิวเหล็กกล้าความเร็วรอบสูง ที่ถูกเคลือบด้ วย
ไทเทเนียมไนไตรด์ด้วยเลเซอร์ และเพื่อศึกษาอิทธิพลของพื้นผิวที่มีหลุมกักเก็บน้ำมันขนาดเล็กต่อค่าสัมประสิทธิ์ค วามเสียดทานที่
ได้ เลเซอร์ที่ใช้ในการสร้างหลุมเป็นไฟเบอร์เลเซอร์ที่ให้ความยาวคลื่น 1064 นาโนเมตร ปัจจัยที่นำมาพิจารณาในงานวิจัยนี้คือ
กำลังเลเซอร์ และระยะเวลาในการฉายเลเซอร์ ชิ้นงานทดสอบเป็นเหล็กกล้าความเร็วรอบสูง เกรด JIS SKH51 ซึ่งเคลือบผิวด้วย
ไทเทเนียมไนไตรด์ ผลการทดลองที่ได้ พบว่า เมื่อใช้กำลังเลเซอร์หรือระยะเวลาในการฉายเลเซอร์มากขึ้น หลุมที่ได้มีขนาดที่ใหญ่
ขึ้นและพบรอยไหม้ตามขอบหลุมเพิ่มขึ้น ภายหลังการขัดผิวชิ้นงานเพื่อขจัดเศษวัสดุที่หลอมติดบนผิวงานและรอยไหม้ออก พบว่า
ขนาดหลุมหลังขัดที่มีขนาดใหญ่ที่สุด คือ 52 ไมโครเมตร ซึ่งได้จากการใช้กำลังเลเซอร์ 10 W และระยะเวลาในการฉายเลเซอร์ที่
0.10 วินาที จากผลการทดสอบค่าสัมประสิทธิ์ความเสียดทาน พบว่า ค่าสัมประสิทธิ์ความเสียดทานของทุกสภาวะพื้นผิวเพิ่มขึ้น
เมื่อแรงกดเพิ่มขึ้น สำหรับโหลดที่ 50 นิวตัน พื้นผิวที่มีหลุมกักเก็บน้ำมันที่มรี ะยะห่าง 150 และ 250 ไมโครเมตร สามารถช่วยลด
ความเสียดทานลงได้ แต่เมื่อโหลดเพิ่มขึ้น พื้นผิวเรียบกลับให้ค่าสัมประสิทธิ์ความเสียดทานที่ต่ำกว่าพื้นผิวที่มีหลุมเก็บน้ำมัน

คำสำคัญ : หลุมกักเก็บน้ำมันขนาดเล็ก เหล็กกล้าความเร็วรอบสูง ผิวเคลือบไทเทเนียมไนไตรด์ เลเซอร์

443
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

Abstract
The study aims at fabricating micro-lubricant pockets on TiN-coated high-speed steel surface by using
laser and investigating effects of the fabricated pockets on the coefficient of friction. A fiberlaser emitting a
wavelength of 1064 nm was applied in this study, where laser power and irradiation duration were the process
parameters to be examined. JIS SKH51 high-speed steel coated by titanium nitride (TiN) was selected as a
specimen. The experimental results revealed that using higher laser power or longer irradiation duration caused
a larger pocket and burned mark around it. After polishing the laser-textured surface to remove recast
deposition and burned mark, the largest pocket diameter was 52 µm which was a result of using 10-W laser
power together with 0.10-s irradiation duration. The coefficient of friction of all samples was found to increase
with the applied load. Under the load of 50 N, the laser-textured surface with the spacing distance between
adjacent pockets of 150 and 200 µm was of low friction, whereas the coefficient of friction of untextured surface
was found to be lower than the textured ones under a higher load.

Keywords : micro-lubricant pockets, high-speed steel, titanium nitride coating, laser

444
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

1. บทนำ งานของผิวชิ้นงานได้ Vilhena และคณะ [8] พบว่า หลุมที่มี


การสร้ า งหลุ ม ขนาดเล็ ก (Micro-pocket) บนผิ ว ของ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางอยู่ในช่วง 50-63 ไมโครเมตร และมี
แม่ พ ิ ม พ์ ส ามารถช่ว ยเพิ ่ ม การเกาะยึ ด ของสารหล่ อ ลื ่ นใน ระยะห่างระหว่างหลุม 200 ไมโครเมตร สามารถช่วยในการ
กระบวนการขึ้นรูปโลหะได้ การสร้างหลุมขนาดเล็กทำได้โดย หล่อลื่นได้ดี นอกจากนี้ยังพบอีกว่า ความเร็วของผิวสัมผัสมีผล
ใช้เลเซอร์ฉายลงบนผิว ของแม่พิมพ์ตัวผู้ (Punch) [1] Abe ต่อค่าสัมประสิทธิ์ความเสียดทานที่ได้ เมื่อความเร็วเพิ่มสูงขึ้น
และคณะ [2] ได้ปรับปรุงความสามารถในการต้านทานการเกิด ค่าสัมประสิทธิ์ความเสียดทานของผิวทีม่ ีหลุมกักเก็บน้ำมันมีค่า
รอยขูดขีดในกระบวนการรีดลดความหนาผนัง (Ironing) ของ ต่ำกว่าพื้นผิวเรียบ จากหลายงานวิจัยที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็น
เหล็ ก กล้ า ไร้ ส นิ ม โดยใช้ แ ม่ พ ิ ม พ์ ท ี ่ ท ำจาก TiCN-based ได้ว่า การสร้างหลุมขนาดเล็กบนผิวของโลหะ เช่น ผิวแม่พิมพ์
cermet โดยบนผิวของแม่พิมพ์มีหลุมขนาดเล็กสำหรับกักเก็บ สามารถช่วยกักเก็บน้ำมัน และเพิ่มความสามารถในการหล่อ
สารหล่อลื่นซึ่งถูกสร้างโดยวิธี Shot-peening วิทยา และคณะ ลื่นระหว่างกระบวนการขึ้นรูป ได้ ส่งผลโดยตรงต่ออายุการใช้
[3] ได้ปรับสภาพผิวแม่พิมพ์โดยการยิงอนุภาคแข็ง เพื่อสร้าง งานของแม่พิมพ์
หลุมขนาดเล็ก และพบว่า ความต้านทานการสึกหรอแบบยึด ดังนั้น งานวิจัยนี้จึงสนใจศึกษาการสร้างหลุมกักเก็บน้ำมัน
ติด (Adhesive wear) ลดลงเนื่องจากหลุมขนาดเล็กที่กระจาย ขนาดเล็กด้วยเลเซอร์ เพื่อช่วยเพิ่มความสามารถในการหล่อ
อยู่บนผิวช่วยกักเก็บและจ่ายน้ำมันหล่อลื่นไปยังผิวแม่ พิม พ์ ลื่นและลดค่า สัมประสิทธิ์ ความเสียดทานของพื้นผิววัสดุ ลง
และชิ้นงานระหว่างการขึ้นรูป วิทยา และคณะ [4] ยังได้ศึกษา โดยชิ้นทดสอบที่ใช้ในงานวิจัยนี้ คือ เหล็กกล้าความเร็วรอบสูง
การสร้างหลุมกัก เก็บ น้ ำมั น ขนาดเล็ กบนพื ้น ผิ ว เหล็ ก กล้ า เกรด JIS SKH51 ซึ่งเคลือบผิวด้วยไทเทเนียมไนไตรด์
ความเร็วรอบสูงด้วยไฟเบอร์เลเซอร์ ขนาดของหลุมกักเก็บ
น้ำมัน และขนาดของบริเวณที่ได้รับผลกระทบทางความร้อน 2. วัสดุและวิธีการวิจัย
หรือรอยไหม้ (Heat-affected zone) มีขนาดเพิ่มขึ้น เมื่อ ใช้ 2.1 ชิน้ งานทดสอบ
กำลังเลเซอร์ที่เพิ่มขึ้น โดยกำลังเลเซอร์เป็นตัวกำหนดอั ตรา ชิ้นงานที่ใช้ในงานวิจัยนี้คือ เหล็กกล้าความเร็วรอบสูง
การกำจัดเนื้อวัสดุ หรือขนาดของหลุมที่ได้ การใช้ระดับกำลัง (High-speed steel) เกรด JIS SKH51 ที่ผ่านการชุบแข็งให้มี
เลเซอร์ที่สูงส่งผลให้พลังงานความร้อนที่เกิดขึ้นบนผิวชิ้นงาน ค่าความแข็ง 63±2 HRC หลัง จากนั้น ผิวของชิ้น งานถูกขัด
สูงขึ้นและทำให้วัสดุเกิดการหลอมละลายและระเหยออกไปได้ เจียรนัย ขัดมัน และเคลือบด้วยไทเทเนียมไนไตร์ดโดยใช้การ
ในปริมาณที่มากขึ้น Shimizu และคณะ [5] ได้ศึกษาอิทธิพล เคลือบผิวด้วยวิธีไอกายภาพ (Physical Vapor Deposition:
ของขนาดหลุมกักเก็บน้ำมันที่ ส่งผลต่อแรงในการรีดลดความ PVD) ผิวเคลือบมีความแข็ง 2375 HV และมีค่าความหยาบผิว
หนาผนัง พบว่า หลุมกักเก็บน้ำมันที่มีขนาด 50 ไมโครเมตร มี เฉลี่ย Ra = 0.095±0.02 ไมโครเมตร ส่วนผสมทางเคมี และ
ความสามารถในการหล่อลื่นที่ดี การใช้กำลังเลเซอร์ที่ 8 วัตต์ สมบัติทางกลของเหล็กกล้าความเร็วรอบสูง เกรด JIS SKH51
สามารถสร้างหลุมที่มีขนาด 50 ไมโครเมตร ได้ โดยกำลัง แสดงในตารางที่ 1
เลเซอร์ที่ 8 วัตต์ นี้ ได้ถูกนำมาใช้ในการศึกษาของ ฐิติมา และ
คณะ [6] ผลที่ได้พบว่า ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของหลุมกัก
เก็บน้ำมันใหญ่ขึ้นเมื่อเวลาการยิงเลเซอร์เพิ่ มขึ้น จากงานวิจัย
ของ Wagner [7] พบว่ า หลุ ม กั ก เก็ บ น้ ำ มั น ที ่ ม ี ข นาด 50
ไมโครเมตร สามารถกักเก็บน้ำมันได้ดีและช่วยยืดอายุการใช้
445
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

ตารางที่ 1 ส่วนผสมทางเคมี (wt%) และสมบัติทางกลของ Laser


เหล็กกล้าความเร็วรอบสูงเกรด JIS SKH51
C Cr Mo V W
0.8 3.75 4.73 1.78 5.50 Air
TiN coating
Poisson Young’s modulus Hardness
ratio (GPa) (HRC) Workpiece
0.29 207 63 ± 2 Stand
รูปที่ 1 การสร้างหลุมขนาดเล็กด้วยเลเซอร์
2.2 การสร้างหลุมขนาดเล็กด้วยเลเซอร์
หลุมกักเก็บน้ำมันขนาดเล็กถูกสร้างบนผิวชิ้นงานด้ ว ย
ตารางที่ 2 สภาวะที่ใช้ในการสร้างหลุมขนาดเล็กด้วยเลเซอร์
เลเซอร์ โดยเลเซอร์ที่ใช้เป็นเลเซอร์ชนิดไฟเบอร์ มี ความยาว
Parameters Value
คลื่นเท่ากับ 1064 nm ความยาวคลื่นนี้สามารถถูกดูดกลืนได้ดี
Laser power (W) 5, 6, 7, 8, 9, และ 10
กับผิวงานโลหะ ผิวชิ้นงานถูกเช็ดทำความสะอาดด้วยเมทา
Laser radiation time (s) 0.02, 0.04, 0.06, 0.08
นอลก่อนนำไปติดตั้งในเครื่องเลเซอร์ เลเซอร์ถูกโฟกัสลงบน
และ 0.10
ผิวชิ้นงานดัง แสดงในรูปที่ 1 ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของ
ลำแสงเลเซอร์ที่จุดโฟกัสมีค่าเท่ากับ 37.66 ไมครอน
2.3 การหาค่าสัมประสิทธิ์ความเสียดทาน
สภาวะที่ใช้ในการสร้างหลุมขนาดเล็กด้วยเลเซอร์แสดงใน
ค่าสัมประสิทธิ์ความเสียดทานของผิวชิ้นงานหาได้โดยใช้วิธี
ตารางที่ 2 ปัจ จัยที่นำมาทดลองคื อ กำลัง เลเซอร์ (Laser
Block-on-ring ดังแสดงในรูปที่ 2 โดยเครื่องมือ Block-on-
power) และระยะเวลาในการฉายเลเซอร์ (Irradiation
ring มีอุปกรณ์ที่ช ่วยในการวัด แรงเสีย ดทานที ่เกิ ดขึ้ น และ
duration) โดยหลุมที่เกิดขึ้นบนผิวชิ้นงานถูกนำไปวัด ขนาด
เครื ่ อ งทดสอบประมวลผลและแสดงผลออกมาเป็ น ค่ า
เส้นผ่านศูนย์กลางด้วยกล้องจุลทรรศน์ แบบใช้แสง (Optical
สัมประสิทธิ์ความเสียดทาน ผิวของชิ้นงานที่ผ่านการสร้างหลุม
microscope) ชิ้นงานที่ได้หลังจากการยิงเลเซอร์ถูกทำความ
ขนาดเล็ ก ด้ ว ยเลเซอร์เ ป็น ชิ ้น งาน Block โดยกำหนดให้มี
สะอาดโดยใช้เครื่องล้างอัลตร้าโซนิค และเมทานอล รอยไหม้
ระยะห่างระหว่างหลุ ม 3 ระดับ คือ 150, 200 และ 250
และรอยนู น ที่ เ กิ ด ขึ ้ น บริ เ วณขอบหลุ ม ถู ก ขั ด ให้ เ รี ย บด้ วย
ไมโครเมตร ดัง แสดงในรูป ที่ 3 โดยระยะห่างระหว่างหลุม
กระดาษทรายเบอร์ 800, 1000 และ 1500 ตามลำดับ ตาม
แนวตั้ง และแนวนอนมีค ่าเท่ากัน วัส ดุ ช ิ้นงานทดสอบที่เป็น
ด้วยการขัดมันด้วยครีมขัดเพชร (Diamond paste) ขนาด 1
Ring คือ เหล็กกล้าแบริ่ง AISI52100 ซึ่ง มีค่าความหยาบผิว
ไมโครเมตร จากนั้นทำการถ่ายภาพหลุมและวัดขนาดเส้นผ่าน
เฉลี่ย Ra เท่ากับ 0.14 ไมโครเมตร ชิ้นงานที่เป็น Ring หมุน
ศูนย์กลางของหลุมภายหลังการขัดโดยใช้กล้องจุลทรรศน์
ด้วยความเร็วเชิงเส้น 100 มิลลิเมตรต่อวินาที เป็นระยะทาง
100 เมตร ทำการทดสอบภายใต้สภาวะหล่อลื่นด้วยน้ำมัน
Castrol iloform TDN81 โดยโหลดที่ใช้มี 3 ระดับ คือ 50,
100 และ 150 นิวตัน สภาวะเงื่อนไขของการทดลอง Block-
on-ring แสดงดังตารางที่ 3
446
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

Load นูนขึ้นมาโดยรอบหลุม ลักษณะของหลุมกักเก็บน้ำมันขนาด


TiN-coated hight-speed เล็กที่ได้ก่อนการขัด เมื่อใช้ระยะเวลาในการฉายเลเซอร์ 0.10
steel block วินาที และกำลังเลเซอร์ทตี่ ่างกัน แสดงดังรูปที่ 4 จากรูปแสดง
ให้เห็นว่า เมื่อกำลังเลเซอร์เพิ่มขึ้น รอยไหม้รอบๆ หลุมมีขนาด
AISI52100 Ring
ใหญ่ขึ้น และมีสะเก็ดโลหะกระจายตัวอยู่รอบๆ ขอบหลุมมาก
ขึ้น
Forming oil
รูปที่ 2 Block-on-ring ที่ใช้ในการทดสอบการหาค่า
สัมประสิทธิ์ความเสียดทาน
50 µm 50 µm
(a) Laser power = 5 W (b) Laser power = 6 W
w

50 µm 50 µm
รูปที่ 3 วิธีการวัดระยะห่างระหว่างหลุมแนวตั้งและแนวนอน (c) Laser power = 7 W (d) Laser power = 8 W
ตารางที่ 3 สภาวะเงื่อนไขของการทดลอง Block-on-ring
รายการ สภาวะเงื่อนไข
วัสดุของชิ้นทดสอบ SKH51 + TiN
วัสดุของ Ring AISI52100 50 µm 50 µm
ใช้น้ำมัน Castrol iloform (e) Laser power = 9 W (f) Laser power = 10 W
สภาวะการหล่อลื่น
TDN 81 รูปที่ 4 หลุมกักเก็บน้ำมันขนาดเล็กก่อนการขัด เมื่อใช้
Linear Speed (mm/s) 100 ระยะเวลาในการฉายเลเซอร์ 0.10 วินาที
Load (N) 50, 100 และ 150
Distance (m) 100 ขนาดของหลุมที่ได้เมื่อใช้กำลังเลเซอร์ต่างกัน แสดงดังรูป
Textured patterns (µm) 150, 200 และ 250 ที่ 5 ขนาดของหลุมมี แ นวโน้ม เพิ่ ม ขึ้ น ตามกำลัง เลเซอร์ ที่
3. ผลและการอภิปรายผลการทดลอง เพิ่มขึ้น เมื่อ ระยะเวลาในการฉายเลเซอร์เพิ่มขึ้นจาก 0.02
3.1 อิทธิพลของกำลังเลเซอร์และระยะเวลาในการฉาย วินาที เป็น 0.04 วินาที หลุมที่ได้มีขนาดใหญ่ขึ้นอย่างชัดเจน
เลเซอร์ต่อขนาดหลุมกักเก็บน้ำมัน แต่เมื่อใช้ระยะเวลาในการฉายเลเซอร์ที่นานขึ้น ขนาดหลุมที่
ในระหว่างการยิงเลเซอร์ เนื้อของโลหะถูกหลอมละลาย ได้ค่อนข้างคงที่ สำหรับขนาดของรอยไหม้ที่เกิดขึ้น แสดงใน
ระเหย และเกิดเป็นหลุมพร้อมกับมีรอยไหม้ อีกทั้งยังมีมีรอย รูปที่ 6 ขนาดของรอยไหม้มีค่าเพิ่มขึ้น เมื่อใช้กำลังเลเซอร์และ

447
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

ระยะเวลาในการฉายเลเซอร์ ที่ มากขึ ้น ลั ก ษณะหลุม ที่ได้


ภายหลังการขัดผิวเพื่อขจัดเอารอยไหม้และรอยนูนจากการ
หลอมติดของเศษวัสดุตามขอบหลุมออก แสดงดังรูปที่ 7 รอย
ไหม้และรอยนูนถูกขัดออกจนเหลือเฉพาะผิวเรียบที่มีหลุมลึก 50 µm 50 µm
ลงไป ผลที่ได้พบว่า ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของหลุมใหญ่ขึ้น
(a) Laser power = 5 W (b) Laser power = 6 W
ตามกำลังเลเซอร์ที่เพิ่มขึ้น โดยกำลังเลเซอร์มีผลโดยตรงต่อ
ระดับพลังงานความร้อนที่เกิดขึ้นบนผิวชิ้นงานและปริมาณการ
หลอมและระเหยของวัส ดุ ในระหว่ างการยิง เลเซอร์ ดัง นั้ น
กำลัง เลเซอร์เป็นตั วกำหนดอัตราการกำจั ด เนื้ อวัส ดุ หาก
กำหนดค่ากำลังเลเซอร์มาก พลังงานที่ใช้ในการกำจัดเนื้อวัส ดุ 50 µm 50 µm
ก็มากขึ้นตามไปด้วย ทำให้ได้ร่องหรือหลุมที่มีขนาดใหญ่ขึ้น (c) Laser power = 7 W (d) Laser power = 8 W

60
55
ขนาดของหลุมกักเก็บน้ามัน (µm)

50
45
0.10 s 50 µm 50 µm
40 0.08 s (e) Laser power = 9 W (f) Laser power = 10 W
35 0.06 s
30 รูปที่ 7 หลุมกักเก็บน้ำมันขนาดเล็กหลังการขัด เมื่อใช้
0.04 s
25 0.02 s
ระยะเวลาในการฉายเลเซอร์ 0.10 วินาที
20
5 6 7 8 9 10 ขนาดของหลุม ที่ได้ภ ายหลัง การขัด ผิว แสดงในรูปที่ 8
กาลังเลเซอร์ (W)
รูปที่ 5 ขนาดของหลุมที่ได้ก่อนการขัด ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของหลุมมีขนาดใหญ่ขึ้น เมื่อ ใช้กำลัง
เลเซอร์ เพิ ่ม สู ง ขึ้ น ขนาดเส้ น ผ่ านศู น ย์ก ลางของหลุมที่ ใช้
100 ระยะเวลาในการฉายเลเซอร์ 0.02 วินาที มีขนาดเล็กกว่า ที่
ค่าเฉลี่ยขนาดรอยไหม้ของหลุมกักเก็บน้ามัน (µm)

95 เวลาการยิงเลเซอร์อื่นๆ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของหลุม ที่


90 ระยะเวลาในการฉายเลเซอร์ 0.04, 0.06, 0.08, และ 0.10
85
วินาที มีขนาดที่ใกล้เคียงกัน เมื่อใช้กำลังเลเซอร์ 10 วัตต์ และ
80 0.10 s
75 0.08 s เมื่อใช้ระยะเวลาในการฉายเลเซอร์ 0.08 และ 0.10 วินาที ได้
70 0.06 s หลุมที่มีขนาดใหญ่ คือ 52 ไมโครเมตร
65 0.04 s
60 0.02 s
5 6 7 8 9 10
กาลังเลเซอร์ (W)
รูปที่ 6 ขนาดของรอยไหม้ที่ได้
448
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

ดังแสดงในตารางที่ 4 อย่างไรก็ตาม ผิวชิ้นงานที่มีหลุมกักเก็บ


60
น้ำมันระยะห่าง 200 ไมโครเมตร กลับมีค่าสัมประสิทธิ์ความ
ขนาดของหลุมกักเก็บน้ามัน (µm)

55
50 เสียดทานสูงกว่าชิ้นงานที่เป็นผิวเรียบเมื่อใช้โหลด 100 และ
45 150 N จากงานวิ จ ั ย ของ Vilhena และคณะ [8] พบว่ า
0.10 s
40 ความเร็วมีผลต่อค่าสัมประสิทธิ์ความเสียดทาน เมื่อความเร็ว
0.08 s
35 เพิ่มสูงขึ้น ทำให้พื้นผิวที่มีหลุมกักเก็บน้ำมัน มีค่าสัมประสิทธิ์
0.06 s
30 ความเสียดทานต่ำกว่าพื้นผิวเรียบ แต่ในการศึกษานี้ ได้ทำการ
0.04 s
25 ทดสอบที่ความเร็วเดียว ดังนั้น พื้นผิวที่มีหลุมกักเก็บน้ำมัน ยัง
0.02 s
20
ไม่สามารถลดความเสียดทานได้ เมื่อใช้ความเร็ว 100 mm/s
5 6 7 8 9 10
กาลังเลเซอร์ (W) โดยเฉพาะในกรณีที่ใช้โหลดสูงกว่า 50 N
รูปที่ 8 ขนาดของหลุมที่ได้หลังการขัด

อย่างไรก็ตาม Shimizu และคณะ [5] พบว่า หลุมกักเก็บ


น้ำมันที่มีขนาด 50 ไมโครเมตร มีความสามารถในการหล่อลื่น
ดี และช่วยลดความเสียดทานของพื้นผิวได้ จากรูปที่ 8 เมื่อใช้
กำลังเลเซอร์ 8 วัตต์ และระยะเวลาในการฉายเลเซอร์ 0.10
วินาที ได้หลุมที่มีขนาด 50.08 ไมโครเมตร ซึ่งมีขนาดใกล้เคียง
กับขนาด 50 ไมโครเมตร มากที่สุด ดังนั้น กำลังเลเซอร์ 8 วัตต์
และระยะเวลาในการฉายเลเซอร์ 0.10 วินาที จึงถูกนำไปใช้
สำหรับศึกษาเรื่องความเสียดทานในลำดับถัดไป รูปที่ 9 ค่าสัมประสิทธิ์ความเสียดทานของพื้นผิวทดสอบต่างๆ

3.2 อิทธิพลของพื้นผิวที่มีหลุมกักเก็บน้ำมันขนาดเล็กที่ 4. สรุปผลการวิจัย


ส่งผลต่อค่าสัมประสิทธิ์ความเสียดทาน กำลังของเลเซอร์และระยะเวลาในการฉายเลเซอร์มีผลต่อ
ผลการทดสอบที่มีระยะการเคลื่อนที่ 100 เมตร ระหว่าง ขนาดของหลุ ม กั ก เก็ บ น้ ำ มั น โดยเมื ่ อ กำลั ง เลเซอร์ แ ละ
ผิวสัมผัสของ SKH51+TiN ผิวเรียบ กับ Ring โดยใช้โหลด 50 ระยะเวลาในการฉายเลเซอร์ที่ เพิ่มขึ้นทำให้ได้ขนาดของหลุม
N ในสภาวะที ่ ใ ช้ ส ารหล่ อ ลื ่ น Castrol ILOFORM TDN 81 กักเก็บน้ำมันที่มีขนาดใหญ่ขึ้น การใช้กำลังเลเซอร์ 8 วัตต์ และ
สามารถอ่านค่าสัมประสิทธิ์ความเสียดทานได้ 0.0096 เมื่อใช้ ระยะเวลาในการฉายเลเซอร์ 0.10 วินาที ได้หลุมที่มีขนาด
โหลด 100 N ได้ค่าสัมประสิทธิ์ความเสียดทาน 0.0193 และ 50.08 ไมโครเมตร ซึ่งใกล้เคียงกับขนาดหลุมที่ต้องการ คือ 50
เมื่อใช้โหลด 150 N ได้ค่าสัมประสิทธิ์ความเสียดทาน 0.0196 ไมโครเมตร ผิวชิ้นงานที่ มีห ลุม กั กเก็บ น้ำมั นขนาด 50.08
ค่าสัมประสิทธิ์ความเสียดทานของพื้นผิวทดสอบต่างๆ แสดง ไมครอน และมี ร ะยะห่าง 150 และ 250 ไมโครเมตร มีค่า
ดังรูปที่ 9 จากรูปพบว่า เมื่อโหลด 50 N พื้นผิวที่มีหลุมกักเก็บ สัมประสิทธิ์ความเสียดทานต่ำกว่าผิวชิ้นงานที่เป็นผิวเรียบเมื่อ
น้ ำ มั น ที ่ มี ร ะยะห่ า งระหว่ า งหลุ ม เท่ า กั บ 150 และ 250 ใช้โหลด 50 นิวตัน แต่เมื่อใช้โหลดที่ส ูงขึ้นกลับพบว่า พื ้นผิ ว
ไมโครเมตร มีค่าสัมประสิทธิ์ความเสียดทานต่ำกว่าพื้นผิวเรียบ เรียบให้ค่าสัมประสิทธิ์ที่ต่ำกว่าพื้นผิวที่มีหลุมกักเก็บน้ำมัน
449
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

3. วิทยา ดาวดอน, สุรัตน์ วรรณศรี, สุรเชษฐ์ ซ้อนกลิ่น, รุ่งวสันต์


ตารางที่ 4 ค่าสัมประสิทธิ์ความเสียดทานของผิวเหล็กกล้า ไกรกลาง และนรารักษ์ บุตรชา, 2561, “การประยุกต์ใช้การ
ความเร็วรอบสูงสำหรับโหลด 50 N ปรั บ สภาพผิ ว โดยการยิ ง อนุ ภ าคแข็ ง เพื ่ อ ปรั บ ปรุ ง ความ
ค่าสัมประสิทธิ์ความเสียดทาน ต้านทานการสึกหรอแบบยึดติดในกระบวนการรีดลดความหนา
ผนังถ้วยอะลูมิเนียม.”วารสารวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย
สภาพพื้นผิว 1 2 3 เฉลี่ย
ศรีนครินทรวิโรฒ, ปีที่ 13, ฉบับที่ 3, หน้า 127-137.
ผิวขัดมัน 0.00884 0.00958 0.00895 0.009
4. วิท ยา ดาวดอน, วิบ ุญ ตั้งวโรดมนุกูล และสุร ินทร์ มณีศรี ,
150 2565, “การสร้ า งหลุ ม กั ก เก็ บ น้ ำ มั น ขนาดเล็ ก บนพื ้ น ผิ ว
0.00796 0.00751 0.00831 0.008
ผิวที่มี um เหล็ ก กล้ า ความเ ร็ ว รอ บสู ง ด้ ว ยไฟ เบ อ ร์ เล เซ อ ร์ .”
หลุม 200 วารสารวิชาการ วิศวกรรมศาสตร์ ม.อบ., ปีที่ 15, ฉบับที่ 1,
0.00898 0.00866 0.00985 0.009
กัก um หน้า 36-46.
น้ำมัน 250 5. Shimizu, T., Kobayashi, H., Vorholt, J. and Yang, M.,
0.00656 0.00830 0.00752 0.007
um 2019, Lubrication analysis of micro-dimple textured
die surface by direct observation of contact interface
5. กิตติกรรมประกาศ in sheet metal forming. Metals (MDPI). 9(9): 917.
6. ฐิติมา ตุ้ยพิมาย, เปรมอนันต์ ทองสหัสโชติ , และพุฒิเมธ โพธิ์
ผู้วิจัยขอขอบคุณ บริษัท เออร์ลิคอน บัลเซอร์ส โค้ทติ้ง
ภักดี , 2562, “การปรับ ปรุงสมบัต ิท างด้า นไตรบอโลยี ข อง
(ไทยแลนด์) จำกัด ที่สนับสนุนการเคลือบผิว ขอขอบคุณนาย
พื้นผิว เหล็กกล้าเครื่องมืองานเย็นโดยการสร้า งหลุมกักเก็บ
ศราวุธ นุช กระโทก นางสาวกมลลักษณ์ เหมะธุล ิน และ น้ำมันขนาดเล็กด้วยกระบวนการยิงเลเซอร์”.ปริญญาวิศวกรรม
นางสาวศิริขวัญ สีดาคำ นักศึกษามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราช ศาสตรบัณฑิต. สาขาวิช าวิศ กรรมเครื ่อ งมื อและแม่ พ ิ ม พ์ .
มงคลอีสานที่สนับสนุนการทดลอง ขอขอบคุณสาขาวิศ วกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.
อุตสาหการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน ที่เอื้อเฟื้อ 7 . Wagner, K., Völkl, R. and Engel, U., 2008, “Tool life
สถานที่เครื่องมือ และอุปกรณ์สำหรับการทำวิจัย enhancement in cold forging by locally optimized
surfaces”. Journal of Materials Processing Technology
เอกสารอ้างอิง Vol. 201, pp. 2-8..
1. Geiger, M., Popp, U. and Engel, U., 2002, “Excimer 8 . Vilhena, L.M., Podgornik, B., Vižintin, J. and Možina, J.,
laser micro texturing of cold forging tool surfaces - 2011, “Influence of texturing parameters and contact
influence on tool life”. CIRP Annals - Manufacturing conditionson tribological behaviour of laser textured
Technology, Vol. 51, pp. 231-234. surfaces”, Meccanica 46 (3), pp. 567–575
2. Abe, Y., Mori, K., Hatashita, F., Shiba, T., Daodon, W.
and Osakada, K., 2016, “Improvement of seizure
resistance in ironing of stainless steel cup with cermet
die having fine lubricant pockets”. Journal of Materials
Processing Technology, Vol.234, pp. 195-207.

450
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

การปรับปรุงสถานีงานในกระบวนการประกอบเครื่องซักสลัดผ้าอุตสาหกรรม
Workstation improvement in a washing machine assembly process.

วัฒนา ทองคำ1* และ อุษณีษ์ คำพูล2*


1,2
ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เขตทุ่งครุ กรุงเทพฯ 10140
E-mail: Wattana.519@mail.kmutt.ac.th1*, E-mail: ussaneei.pur@.kmutt.ac.th2*

บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดเวลาสูญเปล่าที่เกิดขึ้นในกระบวนการประกอบเครื่องซักสลัดผ้าของโรงกรณีศึกษา หลังจาก
การศึกษากระบวนการพบว่าการจัดสถานีงานในปัจจุบัน ที่มีความเร็วในการผลิตอยู่ที่ 95 นาทีต่อเครื่อง มีรอบเวลาการผลิตอยู่ที่ 39
นาที พบว่าเกิดเวลาสูญเปล่าขึ้นในกระบวนการอยู่ที่ 56 นาที คิดเป็น 58.94% ของเวลาการประกอบทั้งหมดในกระบวนการ จึงทำการ
ปรับปรุงกระบวนการโดยนำแผนผังกิจกรรมมาวิเคราะห์คุณค่าของกิจกรรมที่เกิดขึ้นในกระบวนการทั้งหมด และได้ประยุกต์ใช้เครื่องมือ
5W1H ร่วมกับเทคนิค ECRS หลังการปรับปรุงกระบวนการจำนวนสถานีงานลดลงจาก 9 สถานีงาน เหลือ 3 สถานีงาน เวลาสูญเปล่า
ในกระบวนการลดลงจากเดิม 56 นาที เหลือ 20.57 นาที คิดเป็น 21.65% ของเวลาการประกอบทั้งหมดในกระบวนการ และสามารถ
ลดจำนวนคนงานจากเดิม 13 คน เหลือ 8 คน

คำสำคัญ : สถานีงาน เวลาสูญเปล่า แผนผังกิจกรรม ECRS Takt time 5W1H

Abstract
This article is intended to reduce the Idle time occurred in a washing machine assemble process. The
process showed that the current workstation with a takt time of 95 minutes had a cycle time of 39 minutes. It was
found that the Idle time in the process was 56 minutes this or 58.94% reduction of the total assembly time in the
process. Therefore improve the process the activity mapping to analyze the value of the activities in the entire
process and have applied the 5W1H and ECRS technique were. After improvement, the solution into the process
the number of workstations decreased from 9 to 3 workstations and the Idle time reduced from 56 to 20.57 minutes,
representing 21.65 % of the total assembly time in the process, and number of workers was decreased from
13 operators to 8 operators.

451
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

Keywords : workstation Idle time Takt time Process Activity Mapping ECRS 5W1H

452
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

1. บทนำ 5W1H เพื่อพัฒนาวิธีการทำงาน และการใช้เทคนิค ECRS


ธุร กิจ การรับผลิต “ เครื่องซักอบรีด ” เป็นธุร กิจ ที่มี (Eliminate) การขจัดสิ่งที่ไม่จำเป็นออกไป (Combination)
บทบาทสูง ในสภาพการณ์ปัจ จุบันที่จ ะตอบรับ ต่ อ ความ การรวมกัน (Rearrange) การสลับเปลี่ยน และ (Simplify)
ต้องการทางธุรกิจการท่องเที่ยว โรงพยาบาล รวมถึงร้าน การทำให้ง่ายขึ้น
สะดวกซัก 2.1.2 การศึกษาเวลา คือเทคนิคการวัดผลงานเพื่อกำหนด
โรงงานกรณีศึกษาดำเนินธุรกิจรับผลิตเครื่องซักอบรีด หาเวลาในการทำงาน สามารถคำนวณได้ดังสมการที่ 1
ซึ่ ง มีการส่ ง ออกทั้ งภายในประเทศและต่างประเทศ ตาม
คำสั่งซื้อจากลูกค้า จากสถานการณ์โควิด-19 ส่งผลกระทบ เวลามาตรฐาน = เวลาปกติ + (เวลาปกติ x %เวลาเผื่อ) (1)
กับเศรษฐกิจอย่างรุนแรงต่อเนื่อง เป็นผลให้คำสั่งซื้อสินค้า
ลดลง ทำให้เป้าหมายการผลิตถูกปรับลดลงจาก 125 เครื่อง 2.1.3 การกำหนดเวลาเผื่อ เป็นเวลาที่เพิ่มให้จากเวลาปกติ
ต่อเดือนจาก ปี 2563 เป็น 100 เครื่องต่อเดือนในปี 2564 5 % ของเวลาปกติ การทำงาน 8 ชั่วโมงต่อวัน
และจากคำสั่งซื้อที่ลดลงทำให้กระบวนการผลิตเดิมที่ถูกจัด 2.1.4 การกำหนดจำนวนครั้งการจับเวลา จะใช้การเก็บ
สถานีงานและพนักงาน เพื่อรองรับการผลิตตามคำสั่งซื้อที่ ข้อมูลจริงของงานย่อยตั้งแต่ต้นจนสิ้นสุดกระบวนการนั้นๆ
125 เครื่องต่อเดือน เฉลี่ย 5 เครื่องต่อวัน เกิดประเด็นใน 2.1.5 แผนภูมิการไหลของกระบวนการ (Flow Process
เรื่องของการเกิดความสูญเปล่าขึ้นในกระบวนการ ที่เกิด Chart) ใช้สำหรับวิเคราะห์การไหลของพนักงาน ชิ้นส่วน
จาก คำสั่งซื้อที่ลดลงเหลือ 100 เครื่องต่อเดือน เฉลี่ย 4 และอุปกรณ์พร้อมกับกิจกรรมต่างๆ ดังตารางที่ 1 [1]
เครื่องต่อวัน
ดัง นั้นจึง มีแ นวคิ ดที ่จ ะทำการปรับปรุง ขั้ นตอนของ ตารางที่ 1 สัญลักษณ์แผนภูมิการไหลของกระบวนการ
กระบวนการประกอบเพื่อลดความสูญเปล่าให้น้อยลง จึงทำ สัญญาลักษณ์ ชื่อ คำจำกัดความ
การวิเคราะห์กระบวนการและสถานีงานโดยนำเทคนิค ของ ปฏิบตั ิงาน จัดเตรียมวัสดุ
แผนผั ง กิ จ กรรมของกระบวนการ (Process activity ตรวจสอบ คุณภาพของวัสดุ
mapping) และได้ประยุกต์ใช้เครื ่องมือ 5W1H ร่วมกั บ เคลื่อนย้าย เคลื่อนย้ายวัสดุ
เทคนิค ECRS เข้ามาใช้ในการปรับปรุงกระบวนการ จากนั้น รอคอย จัดเก็บวัสดุชั่วคราว
ทำการจับเวลาใหม่และกำหนดเวลาให้เป็นมาตรฐาน จัดเก็บ เก็บวัสดุในพื้นที่ถาวร

2. ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2.1.6 การทำแผนกิ จ กรรมเป็ น วิ ธ ี ก ารทางเทคนิ ค ที่ใช้


2.1 การศึกษาการทำงาน สำหรับกิจ กรรมของกระบวนการผลิต ที่เกิดขึ้นจากการ
การศึกษาการทำงานเป็นการปรับปรุงงานพัฒนาวิธีการ ดำเนินงานการขนส่ง การตรวจสอบ ความล่าช้า และการ
ทำงานใหม่ที่ดีกว่าเดิม เพื่อให้ได้ผลผลิตที่เพิ่มสูงขึ้น จัดเก็บ จากนั้นกิจ กรรมจะถูกจัดกลุ่ม เป็น ประเภทของ
2.1.1 ขั้นตอนการศึกษาการทำงาน คือการพิจ ารณาถึง กิจกรรมที่มีอยู่ตั้งแต่กิจกรรมการเพิ่มคุณค่า และกิจกรรมที่
จุดประสงค์ของการทำงานของงานนั้น ๆ โดยใช้เทคนิค ไม่เพิ่มคุณค่า

453
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

2.2 เทคนิคการจัดสมดุลสายการประกอบ 2.3 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง


การจัดสมดุลสายการประกอบ คือการจัดสรรงานให้กับ การลดความสู ญ เปล่ า ในกระบวนการผลิ ต มี
แต่ละสถานีงานตามลำดับความสัมพันธ์ก่อน-หลัง และถูก วัตถุประสงค์ในการกำจัดสิ่งต่างๆ ที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์
เคลื่อนย้ายไปยังสถานีงานลำดับถัดไป ในกระบวนการ โดยทำการศึกษาการทำงานและเวลาการ
2.2.1 การประกอบ (Assembly) หมายถึ ง กระบวนการ ทำงานที่เกิดขึ้น จึง เลือกใช้ 2 วิธี ได้แก่ เทคนิค การตั้ง
ติดตั้งชิ้นงานเข้าด้วยกันเพื่อให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป คำถาม 5W1H ร่วมกับ เทคนิค ECRS [4] ซึ่งเป็นวิธีที่นิยม
2.2.2 การดำเนินงาน (Operation) หมายถึงส่วนหนึ่งของ นำมาใช้ในการปรับปรุงกระบวนการ ดังแสดงในงานวิจั ย
เนื ้ อ งานทั ้ ง หมดในกระบวนการประกอบหรื อ เวลา ต่างๆ ในธุรกิจการผลิตกล้องวงจรปิด ที่มีรอบจังหวะการ
ดำเนินงาน (Operation Time) ผลิ ต สิ น ค้ า ต่ อ หนึ ่ ง ชิ ้ น สู ง เกิ น กว่ า เป้ า หมาย จึ ง ทำการ
2.2.3 สถานี ง าน (Workstation หรื อ Station) หมายถึ ง ปรับปรุงด้วยเทคนิค ECRS พบว่าสามารถลดรอบเวลาการ
การทำเนื้องานประกอบที่กำหนดไว้ให้จำนวนหนึ่งที่เรีย ก ผลิตในการประกอบชิ้นงานหนึ่งชิ้นทั้งหมดจากเดิม 2,076
กันว่า ภาระของสถานีงาน (Workstation Load) วินาทีลงเหลือ 1,551 วินาที คิดเป็นร้อยละ 25.29% [5]
2.2.4 ร อบ เวล า ( Cycle Time) ร อบ เวล า ห มายถึ ง ยัง มี อุตสาหกรรมพลาสติกรีไซเคิล ที่ต้องการเพิ่มอัตรา
ระยะเวลาที่มากที่สุดที่ส ถานีงานจะใช้ในการทำภารกิจ ที่ ผลผลิตของกระบวนการผลิตพลาสติก โดยทำการศึกษาการ
กำหนดให้บนแต่ละชิ้นงาน (Workpiece) [2] ทำงานและการศึ ก ษาเวลา และได้ เ สนอแนวทางการ
2.2.5 การจั ด สมดุ ล สายการผลิ ต (Production Line ปรั บ ปรุ ง ได้ 2 แนวทาง คื อ แนวทางที่ 1 ปรั บ เปลี ่ ย น
Balancing) คือการพยายามที่จะจัดงานให้สถานีต่าง ๆ มี กระบวนการทำงานและอุปกรณ์ให้เหมาะสม พบว่าสามารถ
อั ต ราการทำงานหรื อ เวลาที ่ ใ ช้ เ ท่ า ๆ สามารถคำนวณ เพิ่มผลผลิตได้ 27.90 % แนวทางที่ 2 ปรับเปลี่ย นการ
ประสิทธิภาพได้ดังสมการที่ 2 และคำนวณสถานีงาน ได้ดัง ทำงานของเครื่องจักร พบว่าเพิ่มผลผลิตได้ 40.23% [6] ใน
สมการที่ 3 ธุร กิจ ผลิต เบรกเกอร์ที่ต้องการปรับปรุง ประสิทธิภ าพใน
ผลรวมเวลาของแต่ละสถานีงาน ×100 กระบวนการผลิต ได้ ทำการปรับปรุงสายการผลิตโดยใช้
ประสิทธิภาพรวม = (2)
สถานีงานทั้งหมด ×รอบเวลาสูงสุด หลั ก การ ECRS แล้ ว ทำการจั ด สมดุ ล การผลิ ต ใหม่ การ
ผลรวมเวลาของแต่ละสถานีงาน
สถานีงานต่ำที่สุด = (3) ปรับปรุง พบว่าสามารถลดจำนวนพนักงานจาก 13 คน
รอบเวลาสูงสุด
เหลือ 12 คน และประสิทธิภ าพของสายการผลิตเพิ ่ม ขึ้ น
2.2.6 รอบเวลาการผลิตต่อชิ้น (Takt time) คือ รอบจังหวะ จากร้อยละ 64.14 เป็นร้อยละ 87.80 [7]
การผลิตสินค้าต่อชิ้น เพื่อให้ได้จ ำนวนตามเป้าหมายตามที่
ได้ทำการวางแผนไว้ สามารถคำนวณได้ดังสมการที่ 4 [3] 3. ขั้นตอนการดำเนินงาน
งานวิจัยนี้ทำการศึกษาสภาพการทำงานปัจจุบั นและ
เงื่อนไขต่างๆ ของโรงงานกรณีตัวอย่าง จากนั้นทำการ
เวลาทำงาน
Takt time = (4) วิ เ คราะห์ก ระบวนการประกอบโดยนำแผนผั ง กิจ กรรม
จำนวนชิ้นงาน
มาวิเคราะห์ค ุณค่าของขั้นตอนและกิจ กรรมที่เกิดขึ้นใน

454
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

กระบวนการทั้งหมด และได้ประยุกต์ใช้เครื่องมือ 5W1H 3.3 ระบบการทำงานของแผนกประกอบเครื่องซักสลัดผ้า


ร่วมกับเทคนิค ECRS มาใช้ในการปรับปรุงในครั้งนี้ การศึกษาระบบการทำงานของโรงงานกรณีศึกษานี้ มี
ระบบการผลิตเป็นขั้นตอนดังนี้
3.1 ข้อมูลพื้นฐานของโรงงานกรณีศึกษา 1.ฝ่ายวางแผนรับคำสั่งซื้อจากฝ่ายขายและคำสั่งซื้อโดยตรง
โรงงานตัวอย่างที่ทำการศึกษาในครั้ง นี้เป็น โรงงาน จากลูกค้าภายในประเทศและต่างประเทศ
รั บ ผลิ ต จำหน่ า ยและส่ ง ออก เครื ่ อ งซั ก อบรี ด สำหรั บ 2.ฝ่ายวางแผนตรวจสอบรายละเอียดการสั่งซื้อต่างๆ เพื่อ
อุตสาหกรรมและเชิงพาณิชย์ ซึ่งเครื่องซักสลัดผ้าสามารถ ยืนยันคำสั่งซื้อและนำรายละเอียดเข้าสู่กระบวนการต่อไป
ควบคุมการทำงานได้ทั้งแบบอัตโนมัติและแบบกึ่งอัตโนมัติ 3.ฝ่ายวางแผนทำรายการวัตถุดิบ สำหรับการผลิต BOM
ทำงานด้วยกระแสไฟฟ้า 380-415 โวลต์ 50 เฮิรตซ์ 3 เฟส (Bill Of Materials) และส่วนประกอบเครื่องรุ่นนั้นๆ
เป็ น ผลิ ต ภั ณ ฑ์ ท ี ่ ไ ด้ ร ั บ การรั บ รองระบบมาตรฐาน ISO 4.ฝ่ายโรงงานผลิตรับข้อมูลจากการตรวจสอบรายละเอียด
9001:2015 จึงทำการผลิตชิ้นส่วนตามรูปแบบของเครื่องรุ่นนั้นๆ
5.ฝ่ายประกอบทำการประกอบเครื่องซักสลัดผ้า และผ่า น
3.2 สภาพการทำงานปัจจุบัน การตรวจสอบคุณภาพพื้นฐานและการลงโปรแกรมระบบ
การศึกษาสภาพการทำงานปัจจุบัน เริ่มจาก พิจารณา การทำงาน และจากข้อมูลข้างต้นสามารถสรุปออกมาเป็น
ข้อมูลการผลิตย้อนหลัง โดยมีข้อมูลของเป้าหมายการผลิต ภาพรวมระบบการผลิตได้ดังรูปที่ 2
ย้อนหลังจาก ปี 2560 ถึงปัจจุบัน ปี 2564 ดังรูปที่ 1 และ
ในสภาพปัจจุบันที่มี คำสั่ง ซื้อสินค้าลดลง ทำให้เป้าหมาย
การผลิตถูกปรับลดลงจาก 125 เครื่องต่อเดือนเฉลี่ ย 5
เครื่องต่อวัน จาก ปี 2563 เป็น 100 เครื่องต่อเดือน หรือ
เฉลี่ย 4 เครื่องต่อวัน ของปี 2564 ดังรูปที่ 1

เป้าหมายการผลิตย้อนหลัง 2560-2564
125 130 130 125
140
120
100
100
รูปที่ 2 ภาพรวมระบบการผลิตเครื่องซักสลัดผ้า
80
60
40
20 3.4 ขั้นตอนของกระบวนการประกอบเครื่องซักสลัดผ้า
0
2560 2561 2562 2563 2564 จากการศึกษากระบวนการประกอบเครื่องซักสลัดผ้ า
ประกอบด้วยกระบวนการทั้ง หมด 9 สถานีง าน และใช้
รูปที่ 1 ข้อมูลย้อนหลังของการผลิต ปี 2560 ถึง 2564 พนั ก งานทั ้ ง หมด 13 คน ซึ ่ ง มี ข ั ้ น ตอนการไหลของ
กระบวนการตามตารางที่ 2 ดังนี้

455
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

ตารางที่ 2 เวลาการประกอบของแต่ละสถานีงาน ความเร็วในการผลิต = 95 นาทีต่อเครื่อง

สถานีงาน จำนวนคน เวลา นาที


เมื่อทราบถึงความเร็วของการผลิตทำให้ทราบว่าต้องทำ
1.ถังน้ำกับเฟรม 2 30
การลดจำนวนสถานีงาน เพื่อทำให้เกิดความสมดุลภายใต้
2.ตะกร้าและฝาปิดถังน้ำ 1 28
เวลาจากจังหวะการผลิต ที่ 95 นาที ดังรูปที่ 3
3.มอเตอร์ ชุดพู่เลย์ 2 26
4.ฝาโครง ประตูปดิ ถังน้ำ 2 21
รอบเวลาการประกอบของแต่ละสถานีงาน
5.วาล์วน้ำกล่องน้ำยาแวคคั่ม 1 28 100 Takt time

6.ระบบไฟฟ้า 1 1 25 80

7.ระบบไฟฟ้า 2 1 25 60
30
39
34
40 28 26 28 25 25
8.เก็บงาน 2 39 20
21

9.ห่อบรรจุ 1 34 0
stn.1 stn.2 stn.3 stn.4 stn.5 stn.6 stn.7 stn.8 stn.9

รวม 13 256

รูปที่ 3 เวลาของแต่ละสถานีงานเทียบกับความเร็วการผลิต
3.5 สภาพปัญหาและดัชนีชี้วัด
จากคำสั่งซื้อสินค้าลดลงปรับลดลงจาก 125 เครื่องต่อ 3.5.2 วิเคราะห์สถานีงาน หลังจากการศึกษาเวลาเบื้องต้น
เดือนจาก ปี 2563 เป็น 100 เครื่องต่อเดือนของปี 2564 ของสายการประกอบเครื่องซักสลัดผ้าในแต่ละสถานีงานซึ่ง
ทำให้ส ถานีง านและพนั กงานที่ ถู กจัด ไว้ เพื่อรองรับ กั บ เป็นเวลามาตรฐาน จึงนำมาคำนวณหาประสิทธิภาพรวมได้
คำสั่ง ซื้อที่ 125 เครื่อง จึง เกิดเวลาความสูญเปล่าขึ้นใน ดังนี้
กระบวนการ จึงทำการศึกษาเวลาการทำงานในหัวข้อต่อไป ผลรวมเวลาของแต่ละสถานีงาน ×100
3.5.1.ศึ ก ษาเวลาการทำงานของแต่ ล ะสถานี ง านใน ประสิทธิภาพรวม =
สถานีงานทั้งหมด ×รอบเวลาสูงสุด
กระบวนการประกอบเครื่องซักสลัดผ้า จึง ทำการศึกษา
ความเร็วหรือจังหวะการผลิตในการผลิตดังนี้ 256×100
เวลาทำงาน 8 ชม. = 480 นาที ประชุมงาน = 20 นาที = = 72.93 %
9×39
พักระหว่างทำงาน = 20 นาที พักกลางวัน = 60 นาที
 เวลาสูญเปล่า = 95-39 = 56
เวลาการทำงาน = 480-(20+20+60) = 380 นาที 95
เวลาทำงาน = = 58.94 %
ความเร็วในการผลิต = 56
จำนวนชิ้นงาน
3.6 การวิเคราะห์ปัญหา
จำนวนชิ้นงาน = 100 เครื่อง ÷ 26 วัน
การนำแผนผัง กิจ กรรมของกระบวนการมาวิเคราะห์
= 3.8 หรือ 4 เครื่อง เพื่อแยกประเภทของกิจกรรมและคุณค่าของกิจกรรม โดย

456
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

การแยกประเภทกิ จ กรรมแบ่ ง ออกเป็ น การปฏิ บ ั ต ิง าน มายังบริเวรพื้นที่รับชิ้นงานด้านหน้าแผนกด้วยรถโฟร์คลิฟท์


การเคลื่อนย้าย การรอคอย การตรวจสอบ และการเก็บพัก พื้นที่ดัง กล่า วนั ้นจะมีช ั้ น วางชิ ้นงานสำหรั บเตรี ย มการ
ถาวร และการวิเคราะห์คุณค่ากระบวนการของกิจกกรม ที่ ประกอบ ทำให้รถโฟร์คลิฟท์ไม่สามารถจัดส่งชิ้นงานตาม
ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่ม (VA) กิจกรรมที่จำเป็นแต่ไม่เกิดคุณค่ า สถานีงานได้ จึงทำการจัดส่งชิ้นงานเพียงด้านหน้า แผนก
เพิ่ม (NNVA) และกิจกรรมที่ไม่ก่อให้เกิดคุณค่าเพิ่ม (NVA) เท่านั้น ทำให้พนักงานที่ต้องใช้ชิ้นงานเพื่อทำการประกอบ
จึงสามารถนำข้อมูลมาสรุปได้ตามตารางที่ 3 ดังนี้ ต้องทำการเคลื่อนย้ายชิ้นงานเข้าสู่พื้นที่ด้วยการใช้แฮนด์
ลิฟท์ จึงทำการปรับปรุงโดยจัดพื้นที่รับชิ้นงานใหม่โ ดยการ
ตารางที่ 3 สรุปผลการจำแนกคุณค่าของกิจกรรม นำชั้นวางชิ้นงานทั้งหมดมาพักไว้ที่แผนก Part control ซึ่ง
เป็นพื้นที่สำหรับการจัดเก็บสินค้าคงคลัง และภายหลังการ
กิจกรรม จำนวน เวลา นาที คิดเป็น %
VA 104 222.35 84.91 จัดพื้นที่ใหม่ทำให้รถโฟร์คลิฟท์สามารถจัดส่งชิ้นงานตาม
NVA 8 17.74 6.67 สถานีง านได้ จากการตัดกิจ กรรมเคลื่อนย้ายชิ้นงานเข้า
NNVA 24 21.55 8.23 พื้นที่สามารถลดเวลาลงได้เป็นเวลา 17.74 นาที
รวม 136 261.26 100 4.2 ปรับปรุงกิจกรรมด้านการรวมงาน
ปรับปรุงกิจกรรมด้านการรวมงานจากความเร็วของการ
จากการวิเคราะห์ค ุณค่าของกิจ กรรมทั้ง หมด ทำให้ ผลิตอยู่ที่ 95 นาทีต่อเครื่อง และการพิจารณารอบเวลา
ทราบถึงเวลาที่ใช้ไปกับกิจกรรมต่างๆ ที่เป็นกิจกรรมเพิ่ม สูงสุดที่ 39 นาที พบว่าเกิดเวลาสูญเปล่าขึ้นในกระบวนการ
คุ ณ ค่ า และกิ จ กรรมที ่ ไ ม่ เ พิ ่ ม คุ ณ ค่ า สมควรตั ด ออกไป
จึง ปรับปรุง ด้วยการรวมสถานีงานและลดจำนวนคนงาน
จากนั้นการวิเคราะห์ด้วยแนวคิด 5W1H เป็นเทคนิคการตั้ง
คำถามช่วยกำหนดแนวทางในการวิเคราะห์และหาแนว ซึ่งการรวมงานนั้นจะต้องอยู่ภายใต้ความเร็วของการผลิตที่
ทางแก้ไข ปรับปรุงข้อบกพร่องต่างๆ ในกระบวนการทำงาน ถูกกำหนดไว้ โดยที่การหาสถานีงานต่ำที่สุดสามารถคำนวณ
จากนั้นจะใช้แนวคิด ECRS นำมาใช้เพื่อพิจารณาขั้น ตอน ได้ดังนี้
ของกิจกรรมที่ต้องการปรับปรุงในครั้งนี้ ผลรวมเวลาของแต่ละสถานีงาน
สถานีงานต่ำที่สุด =
รอบเวลาสูงสุด
256
4. ผลการดำเนินงาน = = 2.69  3 สถานีงาน
95
การปรับปรุงกิจกรรมของขั้นตอนทั้งหมดใกระบวนการ
ประกอบเครื่องซักสลัดผ้า สามารถปรับปรุงได้ดังนี้ เมื่อได้จำนวนสถานีงานต่ำที่สุดจึงทำการรวมสถานีง าน
4.1 ปรับปรุงกิจกรรมด้านการตัดงานที่ไม่จำเป็นออกไป เข้าด้วยกันดังนี้
ปรับปรุงกิจกรรมที่ไม่เกิดมูลค่าเพิ่ม สมควรตัดออกไป 4.2.1 รวมสถานีงานที่ 1 สถานีงานที่ 2 สถานีงานที่ 3 และ
ด้ า นการตั ด งานที ่ ไ ม่ จ ำเป็ น ออกไปจากกระบวนการ สถานีงานที่ 4 เป็นสถานีงานที่ 1 ใหม่ โดยรวมขั้นตอนของ
ตัวอย่างเช่น การตัดกิจกรรมการเคลื่อนย้ายชิ้นงานเข้าพื้นที่ สถานีงานที่ 1 เดิม ซึ่งมีพนักงาน 2 คน ซึ่งพนักงานคนที่ 1
ซึ่งจากเดิมนั้น แผนก Part control จะทำการขนส่งชิ้นงาน ทำหน้ า ที ่ ป ระกอบลู ก ปื น พนั ก งานคนที ่ 2 ทำหน้ า ที่
457
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

ประกอบถังน้ำเข้ากับเฟรม และขั้นตอนของสถานีงานที่ 2 พนักงานประจำจุดงาน 2 คน และสถานีงานที่ 9 มีขั้นตอน


เดิม ซึ่งมีพนักงาน 1 คน ทำหน้าที่ประกอบตะกร้าและฝา การทำงานคือการห่อบรรจุเครื่อง และมีพนักงานประจำจุด
ปิดถังน้ำ และทำการลดคนงานของสถานีงานที่ 2 โดยทำ งาน 1 คน ซึ่งเป็นการห่อบรรจุเครื่องด้วยคนโดยใช้ฟิลม์ยืด
การมอบหมายงานให้กับพนักงานของสถานีงานที่ 1 กับคน ห่อรอบเครื่อง และปัจจุบันโรงงานกรณีศึกษาได้นำเครื่อง
ที่ 2 เนื่องจากพนักงานคนที่ 1 ทำการประกอบลูกปืนเพื่อ ห่อบรรจุแบบอัตโนมัติเข้ามาใช้ ดังนั้นจึงสามารถรวมงาน
เป็นการเตรี ยมงานสำหรั บการผลิ ตโดยเป็ นการทำงาน ให้กับสถานีงานที่ 8 ที่มีพนักงานประจำจุดงาน 2 คน และ
คู่ขนานกัน ส่วนสถานีงานที่ 3 และสถานีงานที่ 4 เดิม ที่มี สามารถลดจำนวนคนได้ 1 คน
พนักงานประจำจุ ดงานสถานีง านละ 2 คน สามารถลด 4.3 ปรับปรุงกิจกรรมด้านการทำให้ง่ายขึ้น
จำนวนคนงานได้สถานีงานละ 1 คน จากการพิจารณากิจกรรมที่เกิดขึ้นทั้งหมดของกระบวน
4.2.2 รวมสถานีงานที่ 5 สถานีงานที่ 6 และสถานีงานที่ 7 ประกอบเครื่องซักสลัดผ้า สามารถปรับปรุงด้านการทำให้
เข้าด้วย จากการสำรวจการทำงานพบว่าขั้นตอนการทำงาน ง่ายขึ้นได้ดังนี้
ของสถานีง านดัง กล่าวจะเป็นการทำงานเกี่ยวกับ ระบบ 4.3.1 ปรับปรุงกิจกรรมที่ไม่เกิดมูลค่าเพิ่มแต่จำเป็นต้องทำ
ไฟฟ้า โดยสถานีงานที่ 5 เป็นการทำงานเกี่ยวกับทางน้ำเข้า ด้านการทำให้ง่ายของขั้นตอนการติดตั้งเดรนวาล์วปล่อยน้ำ
เครื่องโดยการประกอบวาล์วน้ำและติดตั้งเข้ากับตัวเครื่อง ทิ้ง เนื่องจากเดรนวาล์วที่สั่งซื้อจากผู้ผลิตไม่มีรูเจาะสำหรับ
และติดตั้ง ชุดระบบไฟฟ้าสำหรับควบคุมการทำงานของ ติดตั้ง ซึ่ง จากเดิมการทำงานในขั้นตอนนี้จะต้องนำเดรน
เครื่องโดยมีพนักงานประจำจุดงานอยู่ 1 คน และเมื่อเสร็จ วาล์ ว มาวางเที ย บกับ เฟรมที่ ม ีร ูเ จาะสำหรั บ ติ ด ตั ้ง เพื่อ
สิ้นกระบวนการดังกล่าวพนักงานจะผลักเครื่องให้เคลื่อนที่ กำหนดระยะในการเจาะรูด้วยปากกาเคมี จากนั้นจึง นำ
ไหลมายังสถานีงานที่ 6 ต่อไป และในส่วนของสถานีงานที่ เดรนวาล์วมาเจาะรู ด้วยสว่านลมเพื่อทำการติดตั้ง เข้า กับ
6 และสถานีงานที่ 7 เป็นการทำงานเกี่ยวกับการต่อสายฟ้า เฟรมเครื่อง ซึ่งเป็นการทำงานที่หลายขั้นตอนจนเกินไป จึง
และการเดินสายฟ้าของระบบไฟฟ้าของเครื่องซักสลัดผ้ า ทำการปรับปรุงให้ง่ายขึ้น โดยออกแบบอุปกรณ์วัดรูเจาะ
และจากการสังเกตการทำงานของสถานีงานที่ 6 เป็นการ สำหรับติดตั้ง เดรนวาล์วปล่อยน้ำทิ้ง เข้ากับเฟรมเครื่ อ ง
ทำงานเกี่ยวกับระบบไฟฟ้าด้านหน้าของเครื่อง และสถานี หลังจากทดลองอุปกรณ์วัดรูเจาะ สามารถลดเวลาจากเดิม
งานที่ 7 เป็นการทำงานเกี่ยวกับระบบไฟฟ้าด้านหลัง ของ เวลา 2.11 นาที ลดลงเหลือ 0.31 นาที
เครื่องเท่านั้น จึงเห็นสมควรรวมขั้นตอนการทำงานทั้งหมด 4.3.2 ปรับปรุงกิจกรรมที่ไม่เกิดมูลค่าเพิ่มแต่จำเป็นต้องทำ
เข้าด้วยกันของสถานีงานที่ 5 สถานีงานที่ 6 และสถานีงาน ด้านการทำให้ง่ายขึ้นของขั้นตอนการเขียนเอกสารเพื่อเบิก
ที่ 7 และสามารถลดจำนวนคนจากสถานีงานที่ 7 ได้ 1 คน ชิ้นงาน เนื่องจากชิ้นงานต่างๆ จะมี ร หัส ระบุช ิ้นงานซึ่ง
โดยมอบหมายงานของสถานีงานที่ 7 มายังสถานีงานที่ 6 พนักงานที่เขียนใบเบิกชิ้นงานเกิดความสับสนในการเขียน
4.2.3 รวมสถานีงานที่ 8 และสถานีงานที่ 9 เป็นสถานีงาน ระบุร ุ่นของเครื่องนั้ นๆ ดัง นั้นจึง มีค วามคิ ดเห็ นว่ า การ
ที ่ 3 ใหม่ จากการสำรวจการทำงานพบว่ า ขั้ น ตอนการ ปรับปรุงขั้นตอนการทำงานให้ง่ายขึ้น โดยรวบรวมรหัสของ
ทำงานของสถานีงานที่ 8 เป็นการทำความสะอาดเครื่องซัก ชิ้นงานเข้าสู่ระบบ ERP (Enterprise Resource Planning)
สลัดผ้าหลังจากการทดสอบระบบการทำงานของเครื่องซึ่งมี ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์และระบบที่ใช้ในการวางแผนจัดการห่วง

458
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

โซ่อุปทานหลัก การผลิต และกระบวนการอื่นๆ ขององค์กร 4.4 การกำหนดเวลามาตรฐาน


เนื ่ อ งจากโรงงานกรณี ศ ึ ก ษาได้ ร ะบบดั ง กล่า วมาใช้กับ จากการปรับปรุงกระบวนการประกอบเครื่องซักสลัดผ้า
ชิ ้ น งานประกอบที่ ส ั ่ง ซื ้อ จาก Supplier ทั ้ ง นี ้ เ พื ่ อ ความ นั้น หลังการปรับปรุงพบว่าเวลาในกระบวนการประกอบ
สะดวกในค้นหาข้อมูล และการตัดยอดจำนวนของชิ้นงาน ลดลงอยู่ที่ 240 นาทีต่อเครื่อง จากนั้นจึงทำการกำหนดให้
ในการเบิกจ่าย โดยหัวหน้าแผนกเป็นผู้เบิกชิ้ นงานผ่ า น เป็นเวลาเวลามาตรฐาน ดังรูปที่ 4 และสามารถคำนวณหา
ระบบดังกล่าว และผลจากการปรับปรุงกิจกรรมนั้นสามารถ ประสิทธิภาพรวมได้ดังนี้
สรุปได้ตามตารางที่ 4 ดังนี้ เวลามาตรฐาน = เวลาปกติ+(เวลาปกติ x % เวลาเผื่อ)
= 240+(240x5%) = 252
ตารางที่ 4. เวลาการประกอบของแต่ล ะสถานีง านหลั ง
ปรับปรุง ผลรวมเวลาของแต่ละสถานีงาน ×100
ประสิทธิภาพรวม =
สถานีงานทั้งหมด ×รอบเวลาสูงสุด
สถานีงาน ขั้นตอน จำนวนคน เวลา นาที
252 × 100
ถังน้ำกับเฟรม = = 84.86 %
3 × 93.98
ตะกร้าและฝาปิดถัง 2
น้ำ
1 89.51  เวลาสูญเปล่า = 95-74.43 = 20.57
มอเตอร์ ชุดพู่เลย์ 1
ฝาโครง ประตูปิดถัง 95
1 = 20.57 = 21.65 %
น้ำ
วาล์วน้ำกล่องน้ำยา
1
2 แวคคั่ม 79.61
เวลามาตรฐานของสถานีงานใหม่
ระบบไฟฟ้า 1 100 Takt time

เ ก ็ บ ง า น แ ละห่ อ 80
3 2 70.89
บรรจุ 60
40
รวม 8 240.01 20
0
stn.1 stn.2 stn.3
Series1 93.98 83.59 74.43
ภายหลัง การวิเคราะห์กิจ กรรมและข้อจำกั ดทางการ
ทำงาน จึงทำการดำเนินการปรับปรุงโดยการรวมขั้นตอน
รูปที่ 4 เวลามาตรฐานหลังการปรับปรุง
การทำงานและการมอบหมายงานเพื่อลดเวลาสูญเปล่า ที่
เกิดขึ้น ในกระบวนการ ผลการปรับปรุง จากตารางที ่ 4
ผลจากการคำนวณเวลามาตรฐานใหม่ของแต่ละสถานี
สามารถลดจำนวนสถานีงานจากเดิม 9 สถานีงาน เหลือ 3
งานภายใต้ข้อจำกัดด้านความเร็วของการผลิตที่ 95 นาทีต่อ
สถานีง าน และลดจำนวนคนงานจากเดิม 13 คน ลดลง
เครื่อง พบว่าเวลามาตรฐานนั้นอยู่ภายใต้ความเร็วของการ
เหลือ 8 คน
ผลิตที่ 95 นาที โดยสถานีงานที่ 1 มีเวลามาตรฐานอยู่ ที่
459
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

93.89 นาที สถานีง านที่ 2 มีเวลามาตรฐานอยู่ที่ 83.59 เอกสารอ้างอิง


นาที และสถานีงานที่ 3 มีเวลามาตรฐานอยู่ที่ 74.43 นาที 1.ศุภ ฤกษ์ กลิ่นหม่น , 2559, การปรับปรุง ประสิทธิภ าพ
ซึ่งเวลามาตรฐานรวมของกระบวนการอยู่ที่ 252 นาทีต่อ สายการผลิ ต การกั ด เลนส์ ข ึ ้ น รู ป ค่ า สายตา , คณะ
เครื ่ อ ง และจากการหาประสิ ท ธิ ภ าพรวมพบว่ า ก่ อ น
วิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
ปรับปรุง มีประสิทธิภาพรวมอยู่ที่ 72.93 % ของเวลาใน
2.ปารเมศ ชุติมา, และคณะ, เทคนิคการจัดสมดุลสายการ
กระบวนการ ซึ่งภายหลังการปรับปรุงพบว่ามีประสิทธิภาพ
ประกอบ, สำนั ก พิ ม พ์ แ ห่ ง จุฬ าลงกรณ์ม หาวิ ท ยาลัย.
สูงขึ้นอยู่ที่ 84.86 % ของเวลาในกระบวนการ
2560.
3.อทิตยา มารศรี , 2561, การเพิ่มประสิทธิภ าพการผลิต
5. สรุป เครื ่ อ งมื อ แพทย์ ภายใต้ พ ื ้ น ที ่ ก ารผลิต ที ่ ล ดลง, คณะ
เพื่อการลดเวลาสูญเปล่าในกระบวนการประกอบเครื่อง วิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ซักสลัดผ้า จึงมีการกำหนดการทำงานใหม่ให้มีความสมดุล 4.จุฑาภรณ์ แก้วสุด, 2562, การปรับปรุงกระบวนการผลิต
ของแต่ละสถานีงาน งานวิจัยนี้ได้ทำการวิเคราะห์ค ุณค่ า
ด้วยแนวคิดลีน โรงงานผลิตถุงมือยาง จ.สงขลา, สาขาวิชา
ของกิจกรรม และปรับปรุงด้วยเทคนิคการตั้งคำถาม 5W1H
บริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ร่วมกับหลักการ ECRS จากสถานีงานที่ถูกจัดไว้เพื่อรองรับ
คำสั่งซื้อที่ 125 เครื่องต่อเดือน ที่มีเวลาสูญเปล่าเกิดขึ้นใน 5.สมปรารถนา สายสงวนทรั พ ย์ , 2560, การปรั บ ปรุ ง
กระบวนการอยู่ที่ 56 นาที คิดเป็น 58.94 % ของเวลาใน กระบวนการด้วยการจัดสมดุลสายการผลิต กรณีศึกษา :
กระบวนการประกอบ ผลจากการปรับปรุงกระบวนการครั้ง กระบวนการประกอบผลิต ภั ณฑ์ กล้อ งวงจรปิ ด , คณะ
นี้ ทำให้จำนวนสถานีงานลดลงจากเดิม 9 สถานีงาน เหลือ วิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
3 สถานีงาน และเวลาสูญเปล่าในกระบวนการลดลงจาก 6.สิ น ี น าฏ จาระนุ ่ น , 2560, การเพิ ่ ม อั ต ราผลผลิ ต
เดิม 56 นาที เหลือ 20.57 นาที คิดเป็น 21.65 % ของเวลา
กระบวนการรีไซเคิ ล พลาสติก , คณะวิศ วกรรมศาสตร์
ในกระบวนการประกอบ และสามารถลดจำนวนพนัก จาก
13 คน เหลือ 8 คน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
7.สรณ์ศ ิร ิ เรืองโลก, 2560, การปรับปรุง ประสิทธิ ภ าพ
6. กิตติกรรมประกาศ ของสายการผลิ ต สมอลล์ เ อิ ร ์ ท ลี ค เบรกเกอร์ , คณะ
งานวิจั ยนี้ได้ร ับการสนับสนุนจากโรงงานกรณีศึกษา วิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
และภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลนีพระจอมเกล้าธนบุรี

460
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

การพัฒนาคอนกรีตคอมโพสิตผสมเพอร์ไลท์
Development of Concrete Composite by Perlite Addition

เอกรินทร์ กะสายแก้ว1 ปริชญา โชติรัตน์1 อัญชลีพร สินธุสุข1 พชรพล ตัณฑวิรุฬห์1* และ เมตยา กิติวรรณ2
1
ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กรุงเทพฯ 10520
2
ภาควิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง กรุงเทพฯ 10520
*E-mail: phacharaphon.tu@kmitl.ac.th

บทคัดย่อ
ในงานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากระเบื้องมุงหลังคาคอนกรีต ไร้แร่ใยหิน โดยในงานวิจัยนี้จะมุ่ งเน้นถึงการ
ลดน้ำหนักของคอนกรีตโดยการเลือกใช้วัสดุเพอร์ไลท์สำหรับทดแทนแร่ใยหิน เพอร์ไลท์เป็นวัสดุธรรมชาติที่มีน้ำหนักเบา มีความ
เป็นฉนวน และปลอดภัยมากกว่าแร่ใยหิน นอกจากนั้นยังมีการเติม เส้นใยแก้วเพื่อช่วยเสริมความแข็งแรงของคอนกรีต โดยใน
การทดลองใช้วิธีทางสถิติเพื่อออกแบบการทดลองด้วยวิธีการทดลองแบบผสม (Mixture Design) โดยมีส่วนผสมของชิ้นงานแบ่ง
ออกเป็น 4 ปัจจัย คือ น้ำต่อปูนซีเมนต์ ทราย เพอร์ไลท์ และเส้นใยแก้ว คอนกรีตถูกอัดขึ้นรูปด้วยเครื่องไฮโดรลิก จากการทดลอง
พบว่าปัจ จัยที่ส ่ง ผลต่อความหนาแน่น อย่างมีนัยสำคัญประกอบด้วย ปัจ จัยต้นทั้ง 4 คือ น้ำต่อปูนซีเมนต์ ทราย เพอร์ไลท์
และเส้นใยแก้ว โดยจากการวิเคราะห์สมการการถดถอย ได้ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยที่ส่งผลต่อความหนาแน่นเป็นไปตามสมการ
Density = -163079A – 47541B + 108195C – 86661D + 407010AB + 378037AC + 418190AD – 329709BC + 26381BD

คำสำคัญ : แร่ใยหิน, การออกแบบการทดลอง, เพอร์ไลท์, คอนกรีต

Abstract
This research paper aims to develop the property of the asbestos-free concrete composite. The
reduction of density is mainly focused on this research. Perlite is used as the filler materials to replace the
asbestos. In addition to perlite, glass fiber is also added to concrete composite for strengthening. In the
experiment, mixture design method is used to determine the different formulation to be investigated. The
concrete composite bars were prepared by compression molding process. The density was determined in
accordance with ASTM standard. Results show that the amount of water/cement sand perlite and fiber glass is
significantly affected on the density of concrete composite. Based on the regression analysis among the
variables used, the regression equation was obtained as Density = -163079A – 47541B + 108195C – 86661D +
407010AB + 378037AC + 418190AD – 329709BC + 26381BD.

461
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

Keywords : Asbestos, Experimental Design, Perlite, Concrete

462
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

1. บทนำ คุณสมบัติแข็งแรงเหนียว และไม่เป็นพิษเข้ามาใช้แทนแร่ใย


หิน เพื่อลดความอันตรายต่อสุขภาพ แต่ปัญหาที่พบเจอ คือ
ปัจจุบันความหลากหลายของผลิตภัณฑ์เพื่อประโยชน์ใช้
ไฟเบอร์ซีเมนต์บอร์ดยังมีน้ำหนักอยู่มาก เมื่อนําไปใช้ง าน
สอยสำหรับงานก่อสร้า งหรืองานโครงสร้าง มีปรากฏให้
เป็นกระเบื้องหลังคา เพดานหรือผนัง อาจทำให้ตัวโครงสร้าง
ผู้บริโภคเลือกใช้อย่างหลากหลายในท้องตลาด ทั้งนี้เพื่อใช้
เสียหายได้ง่าย อีกทั้งคอนกรีตนั้นมีการสะสมความร้อนสูง
ประโยชน์สำหรับสร้างที่พักอาศัย อาคารขนาดเล็ก รวมถึง
เนื ่ อ งจากคอนกรี ต มี ค วามหนาแน่ น มาก [5] ดั ง นั้ น ใน
สิ ่ ง ก่ อ สร้ า งและอาคารขนาดใหญ่ เช่ น การสร้ า งสถานี
งานวิจัยนี้ จึงมีแนวคิดในการแก้ปัญหาและศึกษาเพื่อหาวิธี
รถไฟฟ้าที่สามารถพบได้ทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร เป็น
ลดน้ ำ หนั ก ของคอนกรีต ลง และทำให้ ค อนกรี ต สามารถ
ต้น ในวัส ดุ ก่อสร้างหลายชนิด มีการนำแร่ใยหิ นผสมเป็น
ระบายความร้อนได้ดียิ่งขึ้น โดยการเติมส่วนผสมที่มีความ
ส่วนประกอบ เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับผลิตภัณฑ์
พรุนตัวสูง โดยมีการคาดการณ์ว่า วัสดุที่มีความพรุนตัวสูง นี้
เช่น กระเบื้องมุง หลัง คา แผ่นยิป ซัม ผนัง ห้องสำเร็จ รู ป
จะช่ ว ยลดน้ ำ หนั ก และเป็ น ฉนวนกั น ความร้ อ นให้ กั บ
กระเบื้องปูพื้น เป็นต้น
คอนกรีตได้
แร่ ใ ยหิ น เป็ น แร่ช นิด หนึ่ ง ที ่ เกิ ดขึ ้ น ตามธรรมชาติ มี
เพอร์ไลท์เป็นวัสดุธรรมชาติ ที่เกิดจากการสลายตัวของ
ลักษณะเป็นเส้นใย ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของเส้นใยหินนี้
หินภูเขาไฟ เมื่อได้รับความร้อนประมาณ 900-1,200 องศา
อาจเล็กกว่า 3 ไมครอน [1] เมื่อร่างกายได้รับแร่ใยหินจาก
เซลเซียส จะเกิดการขยายตัวได้สูงถึง 5-20 เท่าของปริมาตร
การสูดดม กลืนกิน หรือสัมผัส ร่างกายจะไม่ส ามารถขั บ
เดิม [6] ทำให้หินเพอร์ไลท์นี้มีความพรุนสูง มีน้ำหนักเบา
ออกมาได้ จึง อาจทำให้เ กิ ด การสะสมของแร่ใ ยหิน เมื่อ
และเป็นฉนวน [7] ด้วยปัจจัยนี้ เพอร์ไลท์จึงถูกเลือกมาเพื่อ
ร่างกายได้รับการสะสมเป็นเวลานาน ส่งผลก่อให้เกิดโรคภัย
ผสมเข้ากับคอนกรีต เพื่อลดน้ำหนัก และในเวลาเดียวกัน
ต่ า ง ๆ ได้ โดยเฉพาะโรคที่ เ กี ่ ย วกั บ ระบบหายใจ เช่ น
ความพรุนในเพอร์ไลท์จะเพิ่มช่องว่างให้กับคอนกรีต เป็น
โรคมะเร็งปอด โรคมะเร็งเยื่อหุ้มปอด เป็นต้น [2]
การลดการนำความร้อนผ่านคอนกรีตด้วยอีกทาง
จากภัยที่เกิดจากแร่ใยหินดัง ทีก่ ล่าวมา WHO และ ILO
ได้ร่วมมือกันดำเนินการตามมติเกี่ยวกับแร่ใยหิน ซึ่งรับรอง 2. วัตถุประสงค์
โดยการประชุมแรงงานระหว่างประเทศครั้งที่ 95 จะกำจัด
เพื่อพัฒนาวัสดุคอนกรีตคอมโพสิตที่ปราศจากแร่ใยหิน
โรคที่เกี่ยวข้องกับ แร่ใยหิน ทั่ วโลก [3] ซึ่ง มีมากกว่า 50
โดนการนำเพอร์ไลท์เข้ามาทดแทน
ประเทศ ได้สั่งห้ามการใช้แร่ใยหินทุกรูปแบบ [4] และเริ่มมี
การพัฒนาวัส ดุ ก่อสร้างที่ปราศจากการใช้ แร่ใยหิน ซึ่ง ใน 3. ทฤษฎี กรอบแนวคิดการวิจัย และผลงานวิจัยที่
ปัจ จุบันผลิตภัณฑ์ ไฟเบอร์ซีเมนต์บอร์ด หรือ แผ่นสมาร์ท เกี่ยวข้อง
บอร์ดอเนกประสงค์ เป็นวัสดุคอมโพสิตที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อ
วิธี Mixture Design เป็นการออกแบบการทดลองเพื่อ
ใช้สำหรับทดแทนกระเบื้องมุงหลังคา ฝ้า เพดาน ผนังห้อง
หาสัดส่วนที่เหมาะสมของปัจจัยเชิงปริมาณตั้งแต่ 2 ปัจจัย
และกระเบื้องปูพื้น ที่มีส ่วนผสมของแร่ใ ยหิน ซึ่ง มีค วาม
ขึ้นไป เพื่อประมาณค่าพารามิเตอร์ของแต่ละส่วนประกอบที่
อันตรายดังที่กล่าวมาก่อนหน้า ในการพัฒนาสมาร์ทบอร์ด
จะให้ได้ผลตอบสนองทีด่ ีที่สุด โดยยึดหลักว่า ผลรวมปริมาณ
อเนกประสงค์เหล่านี้ ได้มีการนําเส้นใยจากธรรมชาติที่มี
463
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

ของปั จ จัย ทั้ ง หมดต้ องเท่ ากับ 1.0 หรื อ (100%) เสมอ นี้ในงานวิจัยจึงมุ่งที่จะศึกษาหาสัดส่วนที่เหมาะสมเพื่อศึกษา
กล่าวคือ เมื่อปัจจัยหนึ่ง มีปริมาณเพิ่มขึ้น ปัจ จัยอื่น ๆ ที่ เบื้องต้นและพัฒนาคอนกรีตให้มีน้ำหนักเบาดังที่กล่าวมา
เหลือจะมีสัดส่วนลดลง ซึ่งจะแตกต่างจากการทดลองทั่วไป
4. วิธีดำเนินการ
ที่ตัวแปรแต่ละตัวเป็นอิสระจากกัน โดยในการออกแบบการ
ทดลองแบบผสมนี้ ใ ช้ ว ิ ธี เ อ็ ก ซ์ ท รี ม เวอร์ ท ิ ส (Extreme 4.1 ออกแบบส่ ว นผสมโดยใช้ ว ิ ธี Mixture Design
Vertices) ซึ่งเป็นการออกแบบการทดลองในกรณีทสี่ ่วนผสม ประเภท Extreme Vertices Design
มีข้อจำกัดเรื่องสัดส่วน [8] เช่นการผสมคอนกรีตคอมโพสิต
ปัจจัยที่ศึกษาในงานวิจัยการพัฒนาคอนกรีตคอมโพสิตนี้
จากการศึกษาสมบัติของเพอร์ไลท์ดังที่กล่าวมาในหัวข้อ ประกอบด้วย น้ำต่อปูนซีเมนต์ ทรายละเอียด เพอร์ไลท์
ก่อนหน้า เพอร์ไลท์ที่ผ่านกระบวนการทางความร้อ นจะมี
และเส้นใยแก้วทนด่างอัลคาไลน์ ซึ่งปัจจัยที่กล่าวมานั้น เป็น
ความหนาแน่นค่อนข้างต่ำและมีรูพรุนสูง ด้วยปัจจัยนี้ เพอร์
ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อค่าความแข็งแรง การดูดซึมน้ำ และ
ไลท์จึงถูกเลือกมาเพื่อผสมเข้ากับคอนกรีต เพื่อลดน้ำหนัก
ความหนาแน่นของคอนกรีต [12][13][14] โดยในงานวิจัยนี้
และในเวลาเดียวกัน ความพรุนในเพอร์ไลท์ จะเพิ่มช่องว่าง
นำปัจจัยดังกล่าวมาทำการจำกัดสัดส่วน แสดงดังตารางที่ 1
ให้กับคอนกรีต เป็นการลดการนำความร้อนผ่านคอนกรีต
ด้วยอีกทาง และจากการศึกษางานวิจัยที่ผ่านมาเกี่ยวกับ ตารางที่ 1 ค่าต่ ำสุดและค่าสูง สุ ด ของปัจ จั ย ที่ ส ่ง ผลต่ อ
ส่ ว นผสมของคอนกรี ต และคอนกรี ต คอมโพสิ ต พบว่ า คุณสมบัติ
อั ต ราส่ ว นระหว่ า ง น้ ำ :ปู น ซี เ มนต์ :ทราย เป็ น ไปตาม ปัจจัยที่ส่งผลต่อ ค่าต่ำสุด ค่าสูงสุด
อัตราส่วนระหว่าง 1:2:4 ตามลำดับ [9] ซึ่งอัตราส่วนผสมนี้ คุณสมบัติ (เปอร์เซ็นต์) (เปอร์เซ็นต์)
จะถูกนำมาประยุกต์ใช้กับการออกแบบการทดลองส่วนผสม น้ำ : ซีเมนต์ 35.00 40.00
ทรายละเอียด 50.00 60.00
เพื่อศึกษาหาอัตราส่วนที่เหมาะสมในงานวิจัยนี้ นอกจากนั้น เพอร์ไลท์ 5.00 15.00
ในงานวิจัยของ Patthanavarit และคณะ [10] ได้มีการนำ เส้นใยแก้ว 0.00 3.00
เพอร์ไลท์เข้ามาเป็นส่วนผสมเพิ่มเติมในคอนกรีตคอมโพสิต
นำค่าที่ได้ไปออกแบบส่วนผสมแบบ Extreme Vertices
ซึ่งปริมาณของเพอร์ไลท์ที่นำมาเป็น ส่วนผสมอยู่ระหว่าง 0-
ในโปรแกรม Minitab แสดงอัตราส่วนผสมดังตารางที่ 2
15% โดยน้ำหนัก จากผลการทดลองพบว่าปริมาณของเพอร์
ไลท์ทเี่ ปลี่ยนแปลงส่งผลต่อทั้ง ความแข็งแรง ความหนาแน่น ตารางที่ 2 อัตราส่วนผสมระหว่าง น้ ำต่อปูนซีเมนต์, ทราย
และปริมาณการดูดซึมน้ำอย่างมีนัยสำคัญ โดยที่ปริมาณ ละเอียด, เพอร์ไลท์ และเส้นใยแก้ว
เพอร์ไลท์มากขึ ้นจะช่ ว ยลดน้ำ หนัก ของคอนกรีตลง แต่ สูตรที่ น้ำ : ทราย เพอร์ไลท์ เส้นใย
ในทางกลับกัน ความแข็ง แรงของคอนกรีตจะลดลงอย่าง ซีเมนต์ ละเอียด (กรัม) แก้ว
รวดเร็วเช่นกัน เช่นเดียวกับงานวิจ ัยของ Akyuncu และ (กรัม) (กรัม) (กรัม)
1 375.00 530.00 80.00 15.00
Sanliturk [11] ที่พบว่าการเติมวัสดุเพอร์ไลท์มากเกินความ 2 362.50 550.00 65.00 22.50
จำเป็น ส่งผลให้ความแข็งแรงของวัสดุลดลงอย่างชัดเจน แต่ 3 350.00 50.00 120.00 30.00
จะได้ความเป็นฉนวนความร้อนของคอนกรีตที่ดีขึ้น ด้วยเหตุ 4 387.50 540.00 65.00 7.50
5 387.50 515.00 90.00 7.50

464
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

สูตรที่ น้ำ : ทราย เพอร์ไลท์ เส้นใย by Boiling Water) โดยมาตรฐานของความหนาแน่น ควรมี


ซีเมนต์ ละเอียด (กรัม) แก้ว
(กรัม) (กรัม) (กรัม)
ค่าน้อยกว่า 1,500 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร [16]
6 387.50 525.00 65.00 22.50
7 387.50 515.00 75.00 22.50
5. ผลการศึกษา/การทดลอง
8 400.00 520.00 50.00 30.00
ผลการทดสอบหาค่าความหนาแน่น แสดงดังตารางที่ 3
9 350.00 570.00 50.00 30.00
10 362.50 515.00 100.00 22.50 และนำข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์ผลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป
11 400.00 550.00 50.00 0.00 Minitab
12 400.00 500.00 70.00 3.00
13 362.50 515.00 115.00 7.50 ตารางที่ 3 ผลการทดสอบคอนกรีตตามคุณสมบัติต่าง ๆ
14 350.00 600.00 50.00 0.00
15 350.00 500.00 150.00 0.00 สูตรที่ ค่าความหนาแน่น
16 400.00 500.00 100.00 0.00 (กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร)
17 362.50 565.00 65.00 7.50 1 1,806.05
2 1,914.49
3 1,706.96
4.2 การเตรียมชิ้นงาน 4 2,022.11
5 1,912.55
การเตรียมชิ้นงานคอนกรี ตคอมโพสิตผสมเพอร์ ไ ลท์ 6 2,008.27
เป็นไปตามมาตรฐาน ASTM C1185-03 [15] ซึ่งขนาดของ 7 1,808.61
8 1,998.17
ชิ้นงานมีขนาดเป็นไปดังรูปที่ 1 9 1,855.53
10 1,578.58
11 2,005.80
12 1,787.40
13 1,707.04
14 2,036.65
15 1,694.50
16 1,866.20
รูปที่ 1 ลักษณะทางกายภาพและขนาดของชิ้นงาน 17 1,733.96

จากผลการทดลองในตารางที่ 3 พบว่าคอนกรีตคอมโพ
4.3 ทดสอบความหนาแน่น
สิตผสมเพอร์ไลท์ แสดงค่าความหนาแน่นที่มีแนวโน้มสูงกว่า
การทดสอบความหนาแน่น กระทำตามมาตรฐาน ASTM ระดับมาตรฐานเล็กน้อย ซึ่งค่าน้อยที่สุดของความหนาแน่น
C20 (Standard Test Methods for Apparent Porosity, ที่ได้มีค่าเท่ากับ 1,578.58 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่ง สูง
Water Absorption, Apparent Specific Gravity and กว่าค่ามาตรฐานอยู่ 78.58 กิโลกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ทั้งนี้
Bulk Density of Burned Refractory Brick and Shapes อาจเนื่องจากระดับของแรงอัดที่ใช้ในกระบวนการขึ้นรูปมีค่า
สูง ซึ่งส่งผลให้ชิ้นงานมีความหนาแน่นสูงขึ้น
465
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

ตารางที่ 4 การวิเคราะห์การถดถอยสำหรับความหนาแน่น ระดับนัยสําคัญ 0.05 แต่มีอิทธิพลร่วมระหว่างทรายกับ


ในคอนกรีตคอมโพสิตผสมเพอร์ไลท์ Model Sum เพอร์ ไ ลท์ ที ่ ม ี ค ่ า P- value น้ อ ยที ่ ส ุ ด จากทั ้ ง หมด นั้ น
หมายความว่า ทรายและเพอร์ไลท์เป็นปัจ จัยที่ส ่ง ผลต่อ
ความหนาแน่นมากที่สุด
นำปัจจัยที่มีผลต่อความหนาแน่นจากการทดลองแบบ
ผสมมาทำการวิเคราะห์การถดถอยต่อ เพื่อสร้างสมการ
ถดถอยประมาณค่ า ความหนาแน่ น และวิ เ คร าะห์
ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่าง ๆ ดังแสดงในสมการที่ 1
Density = -163079A – 47541B + 108195C –
86661D + 407010AB + 378037AC + 418190AD –
329709BC + 26381BD (1)
เมื่อ A=Water/Cement, B=Sand, C=Perlite และ D=AR
Glass fiber
โดยสัมประสิทธิ์การตัดสินใจ (R2) เท่ากับ 76.69% ซึ่งมี
หมายความว่าในการผันแปรของค่าความหนาแน่นทั้งหมด
100% สมการถดถอยนี้สามารถพยากรณ์ความหนาแน่นได้
แม่นยำถึง 76.69%
เมื่อนำสมการที่ได้ไปทำการหาค่าที่เหมาะสม โดยใช้
กราฟพื้นที่ผิววิเคราะห์ค่าความหนาแน่นของคอนกรีตคอม
โพสิตผสมเพอร์ไลท์ที่เหมาะสม ดังแสดงในรูปที่ 3

รูปที่ 2 การตรวจสอบคุณภาพของข้อมูลการทดลอง
สำหรับความหนาแน่น
และจากรู ป ที่ 2 ข้ อ มู ล มี ก ารกระจายไร้ ร ู ป แบบ
ซึ ่ ง แสดงว่า มีค วามอิส ระของข้อ มูล นั่ น คื อ ข้อ มูล เก็บมา
อย่างสุ่ม นอกจากนั้นกราฟที่ได้มีลักษณะเป็นเส้นตรงแสดง
ให้เห็นถึงความเป็นปกติของข้อมูลที่ได้ดําเนินการทดลอง
จากการวิเคราะห์ ตารางที่ 4 พบว่า ปัจ จัยต้นทั้งหมด
มีผลต่อความหนาแน่นทั้งสิ้น แต่หากพิจารณาความสัมพันธ์
อิ ท ธิ พ ลร่ ว มระหว่ า งปั จ จั ย ค่ า P-value มี ค ่ า สู ง กว่ า รูปที่ 3 กราฟพื้นที่ผิวสำหรับความหนาแน่น

466
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

6. สรุปและการอภิปรายผล 2. “International Agency for Research on


Cancer. Asbestos (chrysotile, amosite,
จากผลการทดลองเพื่อพัฒนาวัสดุคอนกรีตคอมโพสิต
crocidolite, tremolite, actinolite, and
โดยมีการผสมเพอร์ไลท์ เมื่อนำผลการทดลองมาวิเคราะห์
anthophyllite). IARC Monogr Eval Carcinog
ทางสถิติ สามารถสรุปได้ว่า ปัจจัยที่มีผลต่อความหนาแน่น
Risks Hum”, 2012, pp. 219–309.
ของคอนกรีตคอมโพสิตผสมเพอร์ไลท์ คือ ทรายและเพอร์
3. “Resolution concerning asbestos. In:
ไลท์ และสามารถสร้างสมการถดถอยประมาณค่า ความ
Provisional Record 20 of the Ninety-fifth
หนาแน่นและวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่าง ๆ
Session of the International Labour
คื อ Density = -163079A – 47541B + 108195C –
Conference, 31 May – 16 June 2006,
86661D + 407010AB + 378037AC + 418190AD –
Geneva : Report of the Committee on
329709BC + 26381BD ซึ่งสามารถพยากรณ์ได้ถูกต้องถึง
Safety and Health International Labour
76.69%
Organization”, 2006.
7. ข้อเสนอแนะ 4. Virta, RL., “Worldwide asbestos supply and
consumption trends from 1900 through
คอนกรีต คอมโพสิตเป็ นวัส ดุที่แข็ง และเปราะ ในการ
2003. Circular 1298. Reston (VA) : United
ทดสอบสมบัติต่าง ๆ เช่นความแข็งแรง การดูดซึมน้ำ การ
States Department of the Interior, United
นำความร้อน และการตัดย่อยเพื่อให้ชิ้นทดสอบมีขนาดเล็ก
States Geological Survey”, 2006.
ลง ข้อมูลอาจมีความแปรปรวนมาก ดังนั้นในการทดสอบ
5. Payam, S., Iman A., and Norhayati B., 2018,
ต่าง ๆ จำนวนชิ้นทดสอบจึงควรมีจำนวนมากพอ เพื่อให้ได้
“Concrete as a thermal mass material for
ข้อมูลที่แม่นยำและคลาดเคลื่อนต่ำที่สุด
building applications”, pp. 15-25.
8. กิตติกรรมประกาศ 6. Bjørn B., 2009, “The Ecology of Building
Materials, Translated by Butters Chris and
ขอขอบคุณคณะวิทยาศาสตร์สำหรับการสนับสนุน Henley Filip, Elsevier”, pp. 1–421.
อุปกรณ์และสถานที่ ใ นการทำงานวิจ ัย ขอขอบคุณห้ อ ง
ปฏิบัติการทดสอบวัสดุ ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะ 7. Rashad, Alaa, M., 2016, “A synopsis about
วิศวกรรมศาสตร์ สำหรับทุนสนับสนุนการวิจัยในครั้งนี้ perlite as building material – A best
practice guide for Civil Engineer.
เอกสารอ้างอิง Construction and Building Materials”, 121(),
1. K.R. Spurny., 1986, On the filtration of pp. 338–353.
fibrous aerosols., 17(3), 0–455. 8. สราวุฒิ ทองเจิม, 2551, “การพัฒนาผลิตภัณฑ์

467
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

ลูกชิ้นหมูโดยใช้เทคนิคการออกแบบการทดลอง”, 15. ASTM C1185-03, “Standard Test Methods


วิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโท, for Sampling and Testing Non-Asbestos
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. Fiber-Cement Flat Sheet, Roofing and
9. ศักดิ์สิทธิ์ ศรีแสง, 2549, “การศึกษาอัตราส่วนที่ Siding Shingles, and Clapboard”, ASTM
เหมาะสมของวัส ดุผ สม สำหรับคอนกรีตบล็อก International.
ชนิดไม่ร ับ น้ ำหนัก ที ่ม ีส ่ ว นผสมของปูน ซี เ มนต์ 16. ASTM C20-00, “Standard Test Methods for
ปอร์ตแลนด์ ทราย และเส้นใยมะพร้าว”, ปริญญา Apparent Porosity, Water Absorption,
นิพนธ์, มหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒ, หน้า 8. Apparent Specific Gravity, and Bulk Density
10. Patthanavarit, J., Kitiwan, M. and Tuntha of Burned Refractory Brick and Shapes by
wiroon, P., 2021, “Effect of Expanded Boiling Water”, ASTM International.
Perlite on Physical and Mechanical
Properties of Cement Mortar”, pp. 1-3.
11. Akyuncu, V., and Sanliturk, F., 2021,
“Investigation of physical and mechanical
properties of mortars produced by
polymer coated perlite aggregate. Journal
of Building Engineering”, 38, 102182.
12. Ingham, Jeremy P., 2013, “Geomaterials
Under the Microscope || Concrete
products”, pp. 121–127.
13. Cheng, C., Hong, S., Zhang, Y. and He J.,
2020, “Effect of expanded polystyrene on
the flexural behavior of lightweight glass
fiber reinforced cement”, Construction and
Building Materials, 265(), 120328.
14. Chandrasekaran, R. G., and Ramakrishna, G.,
2021, “Experimental investigation on
mechanical properties of economical local
natural fibre reinforced cement mortar”,
Materials Today, Proceedings, 46, pp.
7633–7638.

468
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

การออกแบบเทคโนโลยีระบบสารสนเทศสำหรับติดตามอาการผู้ป่วยในห้องวิกฤต
กรณีศึกษาโรงพยาบาลเอกชน
Information system technology design for monitoring patient
symptoms in critical care room : A case study of private hospital

ศุภลักษณ์ เกาะใต้1* ธราธร พชรฐิตกิ ุล2*และ ชัชวาล ชินวิกัย3*


1,
ภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมอุตสหการ คณะวิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ เขตบางซื่อ กรุงเทพฯ 10800
E-mail: Kong_5mtt@ hotmail.com1*

บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบเทคโนโลยีระบบสารสนเทศที่เป็นข้อมูลในการเก็บและการติดตามการเฝ้าระวัง
ผู้ป่วยในห้องวิกฤต (Intensive Care Unit) ของโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง ผู้วิจัยได้นำระบบสารสนเทศมาช่วยในการวิเคราะห์
และประเมินอาการของผู้ป่วยที่ได้จากเครื่องมือทางการแพทย์โดยใช้หลักเกณฑ์สัญญาณเตือน (Modified Early Warning Score:
MEWS) มาใช้ในการสื่อสารข้อมูลซึ่ง แพทย์ผ ู้ร ับผิดชอบการรักษาผู้ป่วยสามารถอ่านผลอาการของผู้ป่วยจากแอพพลิเคชั่น
(Application) ผ่านทางอินเตอร์เน็ตได้อย่างรวดเร็วและยังสามารถลดเวลาขั้นตอนในการสื่อสารภายในหน่วยงานห้องผู้ป่วยวิกฤต
ในการส่งเวรและการเฝ้าระวังผู้ป่วยได้อย่างถูกต้องซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยโดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีการบาดเจ็บขั้นรุนแรงหรือมี
สภาวะล้มเหลวของระบบอวัยวะในส่วนต่างๆ ที่สำคัญของร่างกาย ความถูกต้องและรวดเร็วของการสื่อสารข้อมูลมีส่วนช่วยให้การ
รักษาผู้ป่วยมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น

คำสำคัญ : ระบบสารสนเทศ ห้องผู้ป่วยวิกฤต โรงพยาบาล

469
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

Abstract
. The purpose of this research was to design an information system technology for collecting and
monitoring patient surveillance in intensive care unit of a private hospital. The researchers used a data-assisted
system to analyze and assess patient symptoms obtained from a medical device using the Modified Early
Warning Score ( MEWS ) criteria. This system used as a communicate system to clinicians. The clinicians assessed
the patient symptoms from the application via Internet-based systems. The system made the time spent for
communicating in the ICU to deliver reduced. Moreover, the system could track patients accurately, which is
beneficial to the patient especially those with severe injuries or critical body organ system failures. The accuracy
and speed of information communication contributes to more effective treatment of patients.
.
Keywords: information system , intensive care unit , hospital

470
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

1. บทนำ ติดตามประเมินอาการของผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องเพื่อให้สามารถ
1.1 ความสำคัญและที่มาของปัญหาวิจัย ทำการช่วยเหลือได้ทันท่วงที
สำหรับโรงพยาบาลแล้วความปลอดภัยของผู้ป่วยถือเป็น สำหรับในโรงพยาบาลกรณีศึกษาค่าที่อ่านได้จากเครื่องมือ
เรื่องสำคัญที่ต้องคำนึงถึงเป็นลำดับแรก โรงพยาบาลต่างๆ จึง แพทย์จะถูกอ่านโดยพยาบาลและทำการจดบันทึกลงในแฟ้ม
ได้มีการนำระบบการประเมิ นคะแนนสัญ ญาณเตื อนภาวะ จากนั้ นจึง ส่ง ต่อให้แพทย์ทำการพิจ ารณา ซึ่ง กระบวนการ
วิกฤต (Modified Early Warning Scores System: MEWS) ดังกล่าวบางครั้งเสียเวลาและล่าช้าต่อการเข้ารักษาผู้ป่วยใน
มาใช้ในการประเมินสภาวะร่างกายและผลการรักษาของผู้ป่วย กรณีฉุกเฉินจากปัญหาดัง กล่าวเพื่ อให้กระบวนการทำงาน
เครื่องมือแพทย์จะอ่านค่าการเปลี่ยนแปลง โดยมีการประเมิน ภายในห้องผู้ป่วยวิกฤตของโรงพยาบาลกรณีรักกษาได้ร วดเร็ว
ผู้ป่วยจากการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาของผู้ป่วย ได้แก่ และมีประสิทธิภาพขึ้น ผู้วิจัยจึงมีแนวคิดในการพัฒนาระบบ
ระดับความรู้สึกตัว อุณหภูมิร่างกาย อัตราการเต้นของหัวใจ การสื่อสารค่าที่ได้จ ากเครื่องมือ แพทย์ส ่ง ต่ อให้ กับ แพทย์
อัตราการหายใจ ความดันโลหิต ปริมาณความเข้มข้นของก๊าซ โดยตรงผ่านอแอพพลิเคชั่น
ออกซิเจนในเลือด และปริมาณปัสสาวะ โดยแบ่งระดั บการให้ วัตถุประสงค์การวิจัย
คะแนนเป็ น 3 ระดั บ ดั ง ตารางที ่ 1 แสดงแผนภาพระบบ 1. เพื่อศึกษาและออกแบบเทคโนโลยีระบบสารสนเทศมา
สัญญาณเตือน ปรับตามบริบทของโรงพยาบาล ประยุ ก ต์ ใ ช้ ใ นการการประเมิ น การเฝ้ า ระวั ง ผู ้ ป่ ว ยวิ ก ฤต
ตารางที่ 1 แสดงแผนภาพระบบสัญญาณเตือน ( Modified หน่วยงานห้องผู้ป่วยวิกฤต ( Intensive Care Unit )
Early Warning Score : MEWS ) 2. การใช้เทคโนโลยีในการสื่อสารระหว่างหน่วยงานห้อง
ห้องผู้ป่วยวิกฤตกับแพทย์ที่ดูแลผู้ป่วย
3. ลดขั้นตอนกระบวนการทำงานและกิจกรรมที่สูญเปล่า
ในประเมินเฝ้าระวังในการปฏิบัติงานของหน่วยงานห้องผู้ป่วย
วิกฤต

2. แนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
2.1 ระบบสัญญาณเตือนอาการผู้ป่วย
กนกวรรณ สิ น ลั ก ษณทิ พ ย์ (คณะ,2553) [1] ระบบ
สัญญาณเตือนเป็นเครื่องมือที่ช่วยบ่งชี้สภาพร่างกายของผู้ป่วย
ว่ามีความเสี่ยงทางคลินิกหรือมีอาการทรุดลงหรือรุนแรงโดยใช้
ประเมินเพื่อการเฝ้าระวังและติดตามอาการของผู้ป่วยช่วยใน
การวินิจฉัยเพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการช่วยเหลือด้วยการตอบสนอง
ของบุคลากรสุขภาพต่ออาการผิดปกติอย่างถูกต้องรวดเร็วและ
จากตารางที่ 1 ค่าคะแนน 0 จะเป็นสภาวะปกติการ เหมาะสม องค์ประกอบของระบบสัญญาณเตือน Modified
เบี่ยงเบนทางซ้ายและขวาคือสภาวะร่างกายที่ผิดปกติ ซึ่งหาก
มีคะแนนสูงผู้ป่วยจะต้องได้รับการเฝ้าระวังและติดตามมากขึ้น
ผลคะแนนที่ได้จะถูกใช้เป็นข้อมูลสื่อสารไปยังแพทย์ในการใช้
471
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

Early Warning Score: MEWS ที ่ ใ ช้ ใ นการประเมิ น อาการ


ผู้ป่วยมี 7 องค์ประกอบดังนี้ รักษา วิเคราห์ และกระจายสารสนเทศเพื่อการสนับสนุนการ
1. ความดันโลหิต ( Systolic Blood Pressure ) ตัดสินใจและประสานงานเพื่อการควบคุมการทำงานในองค์กร
2. อัตราการเต้นของหัวใจ ( Heart Rate ) 2.4 การวิเคราะห์และออกแบบระบบ
3. อัตราการหายใจ ( Respiratory rate ) โอภาส เอี่ยมสิริ, (2548) [4] กล่าวไว้ว่าการพัฒนาระบบ
4. อุณหภูมิร่างกาย ( Temperature ) สารสนเทศคือกระบวนการในการสร้างระบบสารสนเทศเพื่อใช้
5. ค่าร้อยละของออกซิเจนในเลือด ( Oxygen ) สำหรับการแก้ไขปัญหาหรือเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจ
6. ระดับความรู้สึกตัว (Glasgow coma score: GCS) และกระบวนการสารสนเทศในยุคปัจจุบัน และเกิดประโยชน์
7. จำนวนปัสสาวะ ( 4 Hour urine output ) สูงสุดในการทำงาน
2.2 แผนภูมิกระบวนการไหล (Flow Process Chart)
การวิ เ คราะห์ ข ั ้ น ตอนการไหลของวั ต ถุ ด ิ บ ชิ ้ น ส่ ว น 3. วิธีการดำเนินงานวิจัย
พนักงานและอุปกรณ์ที่เคลื่อนไปในกระบวนการพร้อมกั บ ศึกษาระบบขั้นตอนการทำงานภายในหน่วยงานไอซียู
กิจกรรม ต่างๆ โดยใช้สัญลักษณ์มาตรฐาน 5 ตัวดังนี้ [2] ( Intensive Care Unit )
ตารางที่ 2 สัญลักษณ์ที่ใช้ในแผนภูมิการไหล

สัญลักษณ์ ชื่อเรียก คำจำกัดความโดยย่อ


Operation ผลิต ,เตรียม
การปฏิบัติงาน การทำให้เสร็จ
Inspection การตรวจ
การตรวจอบ มีเหตุผล
Transportation การเคลื่อนที่,
การเคลื่อน การย้ายที่
Delay การรอ,
การคอย การแทรกแซง
Storage การเก็บ,
การเก็บ รักษา
รูปที่ 1 Flow ขั้นตอนการประเมินผู้ป่วย
2.3 แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการจัดทำระบบฐานข้อมูล
( Database System )
วิธีการดำเนินงานผู้วิจัยได้ศึกษาขั้นตอนการปฏิบัติงานใน
อรรถกรเก่งผล, (2548 ) [3] ระบบจัดการฐานข้อมูล
ห้องผู้ป่วยวิกฤตของโรงพยาบาลกรณีศึกษาในแต่ขั้นตอนของ
(Database Management System) ระบบสารสนเทศที มี
การทำงานพยาบาลจะต้องทำการจดบันทึกข้อมูลผู้ป่วยลงบน
ความสัมพันธ์กันเพื่อการจัดการในด้านการประมวลผลเก็บ

472
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

แผ่นกระดาษและจัดเก็บข้อมูลลงแฟ้มผู้ป่วยเพื่อรายงานผล พยาบาลคนที่ 1 ดูแลผู้ป่วย จำนวน 2 ห้องจะดูแลผู้ป่วย


การเฝ้าระวังการรักษาของผู้ป่วยให้แพทย์ได้ทำการวิเคราะห์ ห้อง เบอร์ 1 และ ห้องผู้ป่วยห้องเบอร์ 2 ใช้ระยะทางใน
และสั่งการรักษาในบางขั้นตอนของการติดตามการเฝ้าระวัง การเดินทางจดบันทึกข้อมูลผู้ป่วยทั้งหมด 3.5 m โดยใช้เวลา
ผู้ป่วยนั้นมีการสื่อสารข้อมูลกันหลายขั้นตอนและบางขั้นตอนมี ในการจดบันทึกทั้ง 2 ห้อง ในเวลาทั้งหมด 5 นาที
ความซั บ ซ้ อ นทำให้ ใ นแต่ ล ะขั ้ น ตอนสู ญ เสี ย เวลาและ พยาบาลคนที่ 2 ดูแลผู้ป่วย จำนวน 2 ห้อง ประจำห้อง
กระบวนการทำงานไปเป็นอย่างมาก ผู้ป่วยเบอร์ 3 และ ห้องผู้ป่วยเบอร์ 4 ใช้ระยะทางในการ
เดินทางจดบันทึกข้อมูลผู้ป่วยทั้งหมด 4 m โดยใช้เวลาในการ
จดบันทึกทั้ง 2 ห้อง ในเวลาทั้งหมด 5 นาที
พยาบาลคนที่ 3 ดูแลผู้ป่วย จำนวน 2 ห้อง ประจำห้อง
ผู้ป่วย เบอร์ 5 และ ห้องผู้ป่วย เบอร์ 6 ใช้ระยะทางในการ
เดินทางจดบันทึกข้อมูลผู้ป่วยทั้งหมด 2.5 m โดยใช้เวลาใน
การจดบันทึกทั้ง 2 ห้อง ในเวลาทั้งหมด 5 นาที
พยาบาลคนที่ 4 ดูแลผู้ป่วย จำนวน 3 ห้อง ประจำห้อง
ผู้ป่วย เบอร์ 7 และ ห้องผู้ป่วย เบอร์ 8 และห้องเบอร์ 9 ใช้
ระยะทางในการเดินทางจดบันทึก ข้อมูลผู้ป่วยทั้งหมด 5 m
โดยใช้เวลาในการจดบันทึกทั้ง 3 ห้อง ในเวลาทั้งหมด 7 นาที

รูปที่ 2 แผนฝังหน่วยงานก่อนการปรับปรุงระบบ ตารางที่ 3 แผนภูมิการไหลของกระบวนการทำงาน


สารสนเทศห้องผู้ป่วยวิกฤต ( ก่อนปรับปรุง )
แผนภูมิการไหลของกระบวนการ ( ก่อนปรับปรุง )
ปัจุบันหน่วยงานมีการประเมินการเผ้าระวังผู้ป่วยโดยการ
ระยะทาง ( m )

จดข้อมูลผู้ป่วยใส่แฟ้มและบันทึกการอ่านผลลงแผ่นกระดาษ
กิจกรรม

ผู้ปฎิบัติงาน

คำอธิบาย
เวลา(นาที)

ซึ่งขั้นตอนในปัจจุบันของการทำงานในหน่วยงานผู้ป่วยวิกฤต
สัญลักษณ์

นั้น อัตราพยาบาลในการดูแลผู้ป่วย 2 ห้องต่ออัตราพยาบาล


จำนวน 1 คนในการเฝ้าระวังผู้ป่วยวิกฤต
ของหน่วยงาน จำนวนห้องของผู้ป่วยวิกฤตในโรงพยาบาลมี
พยาบาล
จำนวนทั้ง หมด 9 ห้อง ซึ่ง แบ่ง จำนวนการขึ้นเวรเป็น 2 กะ
หน่วยงานเข้า
เวลากะเช้า 08:00 น-17:00 น และกะดึก 17:00 น-08:00 น
1 ปฎิบัติงานตาม 4 - - -
อัตราการขึ้นเวรในหน่วยงาน 4 คนต่อ 1 กะ ดั้งนั้นผู้วิจัยได้
ตารางเวร
ศึ ก ษาขั ้ น ตอนการทำงานของหน่ ว ยงานโดยมี ก าร
ประจำวัน
ปฏิบัติงานดั้งนี้งานของพยาบาลที่ขึ้นเวรดังต่อไปนี้ ( รูปที่ 2 )

473
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

พยาบาลเดินไปจุด พยาบาลเก็บผล
เก็บแฟ้มประจำตัว 8 การประเมินเข้า 4 3 -
2 ผู้ป่วยเพื่อนำมาจด 4 2 3.5 แฟ้มผู้ป่วยและ
บันทึกผลผู้ป่วย ทวนสอบชื่อผู้ป่วย
พยาบาลจดการ
บันทึกผลการ การออกแบบโปรแกรมและฐานข้อมูล
3 ประเมิน Score 4 22 15 การออกแบบโปรแกรมและระบบงาน
ผู้ป่วยจำนวนห้อง ผู้วิจัยนำขั้นตอนการทำงานปัจจุบันของหน่วยงานมาใช้ในการ
ผู้ป่วย 9 ห้อง ออกแบบฐานข้อมูล โดยเลือ กใช้ MySQL มาช่วยในการจั ด
พยาบาลเดินไปจุด ฐานข้ อ มู ล โดยจำลองการทำงานของระบบในรูป แบบของ
4 รายงานผลการ 4 3 3.5 แผนภาพกระแสข้อมูลของระบบการทำงานใหม่
ประเมินผู้ป่วย
พยาบาลรายงาน
ผลการประเมิน
ผู้ป่วยให้หัวหน้า
5 เวรพยาบาล 5 30 -
รับทราบผลการ
ประเมินผู้ป่วย
พยาบาลรายงาน
ผลการประเมิน
ผู้ป่วยให้แพทย์
6 ทราบผลการ รอผล
ประเมิน ( ในกรณี Score - - -
ที่เกิด Score 3-4, รูปที่ 3 แผนภาพกระแสข้อมูลของระบบการทำงานแบบใหม่
Score ≤ 5 )
พยาบาลเดินไปจุด การทำงานของระบบจัดการฐานข้อมูล ของหน่ว ยงาน
จัดเก็บแฟ้ม ห้องผู้ป่วยวิกฤตแสดงขั้นตอนการทำงานของการออกแบบ
7 ประจำตัวผู้ป่วย 4 2 3.5 ระบบสารสนเทศเพื่ อ ใช้ ใ นการสื อ สารสำหรั บ แพทย์ แ ละ
เก็บเอกสาร พยาบาลในการเฝ้าระวังการรักษาผู้ป่วย

474
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

พยาบาลเดิน
2 ประเมินผล 2 15
MEWS ผู้ป่วย
พยาบาลประเมินผล
3 MEWS Score 2 20
ผ่าน ระบบสารสนเทศ
แสดงหน้า Home Application แสดงหน้ากรอกข้อมูลผู้ป่วย

รูปที่ 4 ตัวอย่างการใช้งานระบบ

Login Application ประเมิน Score ผู้ป่วย

แสดงหน้าการประเมินผล Score แสดงหน้ารายการอ่านผลแพทย์


รูปที่ 6 เจ้าหน้าที่ทำการทดสอบการบันทึกข้อมูลผู้ป่วยลง
รูปที่ 5 ตัวอย่างการประเมินผู้ป่วย ระบบสารสนเทศผ่าน Application

ตารางที่ 4 แผนภูมิการไหลของกระบวนการทำงาน 4. สรุปผลการวิจัย


( หลังการปรับปรุง ) หลังจากได้ศึกษาสภาพการทำงานปัจจุบันของหน่วยงาน
แผนภูมิการไหลของกระบวนการ ( หลังปรับปรุง ) ห้องผู้ป่วยวิกฤต ( Intensive Care Unit ) ผู้วิจัยได้นำระบบ
สารสนเทศมาช่วยในการปรับปรุงกระบวนการทำงานนั้ นจะ
ระยะทาง ( m )

เห็นได้ว่าขั้นตอนการทำงานลดลงเหลือ 3 ขั้นตอนจากเดิมมี
กิจกรรม

ผู้ปฎิบัติงาน

เวลา(นาที)

สัญลักษณ์

คำอธิบาย กระบวนการทำงานทั ้ ง หมด 8 ขั ้ น ตอนในส่ ว นของการ


ออกแบบโปรแกรมให้ ตอบสนองการใช้งานของระบบการใช้
งานจริงของหน่วยงานนั้น ผู้ปฎิบัติงานได้ทำการทดสอบระบบ
พยาบาลหน่วยงานเข้า ฐานข้ อ มู ล โดยการป้ อนข้ อ มู ล ผู ้ ป่ ว ยเข้ า ระบบโปรมแกรม
1 ปฎิบัติงานตาม 2 MEWS และได้จำลองเหตุการณ์ทั้ง 3 แบบ โดยการประเมิน
ตารางเวรประจำวัน ผู้ป่วยภาวะปกติ , ประเมินผู้ป่วยภาวะใกล้วิกฤต, และประเมิน
ผู้ป่วยภาวะวิกฤต เพื่อให้แพทย์ได้รองอ่านผลผู้ป่วยสามารถใช้
สื่อสารข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิภาพ

475
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

ตารางที่ 5 สรุปข้อมูลก่อนและหลังการปรับปรุงกระบวนการ
ก่อนปรับปรุง หลังปรับปรุง เพี ่ ย งแค่ก ารติด ตามการประเมิ น ผลผู ้ ป่ ว ยไม่ใ ห้ เ กิ ด ภาวะ
คน เวลา ระยะทาง คน เวลา ระยะทาง ล้มเหลวหรือเกิดความเสี่ยงต่อการรักษา
(นาที) ( cm ) (นาที) ( cm ) 2. เนื่องจากระบบฐานข้อมูลที่มีการพัฒนาขึ้นมานั้นยังต้อง
มีการใช้บุคลากรหรือผู้ปฏิบัติในการคีย์ข้อมูลป้อนเข้าในระบบ
4 60:02 25.5 2 20 15 ดั ง นั ้ น ในอนาคตอาจจะต้ อ งมี ก ารพั ฒ นาระบบ โดยการ
ออกแบบฐานข้ อ มู ล ผู ้ ป ่ ว ยให้ อ ยู ่ ใ นฟั ่ ง ชั ่ น การใช้ ง านของ
เครื่องมือแพทย์ โดยตรงเพื่อจะได้นำข้อมูลออกมาใช้ในการ
1. ก่อนปรับปรุงกระบวนการทำงานมีผู้ประฎิบัติงานอยู่ อ่านผลได้ทันทีและรวดเร็ว
ในเวรจำนวนจากเดิม 4 คน ใช้เวลาในการจดบันทึก 6. กิตติกรรมประกาศ
การเฝ้าระวังผู้ป่วยทั้ง 9 ห้องเป็นเวลา 1 ชั่วโมง 2 ขอขอบคุณโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานคร
นาที และใช้ระยะทางในการทำกิจกรรม 25.5 m และหน่วยงานผู้ป่วยวิกฤต กรณีศ ึกษาให้ค วามร่วมมือเป็น
2. หลั ง จากมี ก ารนำระบบสารสนเทศมาช่ ว ยในการ อย่างดีและอาจารย์ที่ปรึกษาที่คอยให้คำแนะนำในการแก้ไ ข
ทำงานจึง มีผ ู้ปฏิบัติง านอยู่ในเวร จำนวน 2 คน ใช้ ปัญหาที่เกิดขึ้นไปได้ด้วยดี
เวลาในการจดบันทึกการเฝ้าระวัง ผู้ป่วยทั้ง 9 ห้อง เอกสารอ้างอิง
เป็ น เวลา 20 นาที ใช้ ร ะยะทางในการทำกิจ กรรม 1. กนกวรรณ สินลักษณทิพย์ ,คณะ 2553, มาตรฐานการดูแล
ทั้งหมด 15 m ผู้ป่วยเพื่อป้องกันการเข้าสู่ภาวะวิกฤตหอผู้ป่วยอายุรกรรม
5. ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม หญิงโรงพยาบาลโพธาราม จังหวัดราชบุรี
1. การใช้เทคโนโลยีระบบสารสนเทศนั้นเป็นการช่วยใน 2. การวิเคราะห์กระบวนการ Process Analysis สืบค้นวันที่
กระบวนการทำงานของแพทย์และพยาบาลในการติดตามการ 15 ธันวาคม 2564 (ออนไลน์ )
รักษาผู้ป่วยเท่านั้นไม่ใช่เป็นการรักษาผู้ป่วยโดยตรงแต่เป็น https://goterrestrial.com/2020/11/12/flow-process-
chart/
3. อรรถกร เก่งผล , 2548, ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ
(Management Information System ) บริ ษ ั ท เจเนซิ ส
มีเดียคอม จำกัด
4. โอภาส เอี่ยมสิร ิวงศ์ ,2548, การวิเคราะห์และออกแบบ
ระบบ (System Analysis and Design ) ฐานข้อมูล, บริษัท
ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด

476
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

การศึกษาการออกแบบวัสดุเสริมแรงของซังข้าวโพดร่วมกับท่อนาโนคาร์บอน
Design of a Reinforcing Material Composed of Corncobs with
Multi Walled Carbon Nanotubes

ธวัชชัย ตั้งสุขสันต์1, นิจ ชลบุญญาเดช1 และ ยลพัชร์ อารีรบ1*


1
ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
เขตลาดกระบัง กรุงเทพฯ 10520
E-mail: yonrapach.ar@kmitl.ac.th1*

บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ได้มีการศึกษาลักษณะโครงสร้างทางจุลภาค มหภาค รวมไปถึงสมบัติเชิงกายภาพและสมบัติเชิง กลของวัส ดุ
เสริมแรงจากซังข้าวโพดร่วมกับท่อนาโนคาร์บอน นอกจากนั้นทางทีมวิจัยยัง ได้ ศ ึกษาถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อความแข็ง แรง และ
ส่วนผสมที่เหมาะสมของวัสดุเสริมแรงจากซังข้าวโพดร่วมกับท่อนาโนคาร์บอนสำหรับการผลิตและเพิ่มประสิทธิภาพของวัสดุ โดย
ผลการวิจัยพบว่า จากการปรับสภาพทางเคมีของซังข้าวโพดด้วยสารละลายโซเดียมไฮดรอกไซด์ ที่ใช้ความเข้มข้นต่ำจะทำให้การ
ปรับสภาพทางเคมีมีประสิทธิภ าพมากกว่าการใช้ความเข้มข้นของเบสสูง โดยพื้นผิวของซัง ข้าวโพดจะมีค วามขรุขระ และไม่
สม่ำเสมอของพื้นผิวเพิ่มมากขึ้น บางสภาวะมีรูพรุนเกิดขึ้น ซึ่งเป็นการเพิ่มพื้นที่ผิวสัมผัส เมื่อศึกษาตัวอย่างที่ผสมร่วมกับท่อนาโน
คาร์บอนแล้วแสดงให้เห็นถึงการยึดเกาะของท่อนาโนคาร์บอนกับเส้นใยซังข้าวโพดได้ดีในทุกสภาวะ และทุกอัตราส่วน และยังพบ
อีกว่าท่อนาโนคาร์บอนมีผลต่อ การเพิ่มประสิทธิภาพด้านความแข็งแรงให้กับ แผ่นอัดซัง ข้าวโพด แต่ในทางกลับกันอัตราส่ว น
ปริมาณท่อนาโนคาร์บอนที่เพิ่มมากขึ้นจะทำให้ความแข็งแรงของแผ่นไม้อัดลดลง โดยทุกเงื่อนไขผ่านเกณฑ์ค่าปริมาณความชื้นเมื่อ
เปรียบเทียบกับมาตรฐาน มอก. 867-2547 โดยพบว่าจากการวิจัยการพัฒนาแผ่นไม้อัดจากซังข้าวโพดที่เหมาะสมในงานวิจัยนี้มา
จากซังข้าวโพดที่ถูกปรับสภาพทางเคมีด้วยสารละลาย NaOH ความเข้มข้น 0.25 โมลาร์ ใช้ระยะเวลา 72 ชั่วโมง ผสมร่วมกับท่อ
นาโนคาร์บอนในอัตราส่วน 100:1 มีค่าต้านทานแรงดัดสูงสุดที่ 9.71758 MPa และค่าปริมาณความชื้นตามมาตรฐานอยู่ที่ร้อยละ
9.43

คำสำคัญ : ซังข้าวโพด ท่อนาโนคาร์บอน การปรับสภาพทางเคมี วัสดุเสริมแรง

Abstract
In this study, the microstructure, macrostructure, physical and mechanical properties of corncob
reinforced material with Multi-Walled Carbon Nanotubes (MWCNTs) were studied. In addition, the research team
also studied factors that affect the strength and a suitable combination of corncob reinforcing material with
MWCNTs for material production and optimization. The results showed that from the chemical pretreatment
477
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

of corn cobs with a low concentration of sodium hydroxide solution. This will make the chemical pretreatment
more effective than using a high base concentration. The surface of the corn cob is rough and the unevenness
of the surface increases in some conditions, porosity occurs, which increases the contact surface area samples
mixed with MWCNTs were studied, demonstrating good adhesion of carbon nanotubes to corncob fibers in all
conditions and ratios. MWCNTs were also found to have a performance-enhancing effect strength for corncob
compressed sheets. On the other hand, the increased volume ratio of carbon nanotubes will reduce the
strength of the plywood sheet. All conditions passed the moisture content criteria when compared to the TIS
867-2547 standard. It was found that from the research, the development of corncob veneer suitable for this
research came from corncobs that were chemically treated with NaOH solution. At a concentration of 0.25
molar, 72 h applied with 100:1 carbon nanotubes, the maximum flexural strength was 9.71758 MPa and the
standard moisture content was 9.43 percent.

Keywords : Corncob, Multi Walled Carbon Nanotubes, Pretreatment, Reinforcing Material

478
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

1. บทนำ รูปแบบสารประกอบ (Composites) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ


ประเทศไทยได้ขึ้นชื่อว่าเป็นประเทศเกษตรกรรมซึ่งมีการ ให้กับวัสดุนั้น [4]
เพาะปลูกพืช ผลทางการเกษตรหลายชนิ ด มีการนำพืช ผล จากที่กล่าวมาข้างต้นทางผู้วิจัยเห็นถึงปัญหาจากขยะเหลือ
เหล่ า นี ้ ไ ปแปรรู ป เป็ น เชื ้ อ เพลิ ง ชี ว ภาพ ปุ ๋ ย ชี ว ภาพ และ ใช้ทางการเกษตร และสมบัติที่น่าสนใจของซัง ข้า วโพดมา
ผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ต่าง ๆ ซึ่ง หากนำเศษวัส ดุเหลือทิ้ง ทาง ปรับปรุงสมบัติ และเพิ่มประสิทธิภาพด้วยท่อนาโนคาร์บอน
การเกษตรมาจัด การอย่ างถูก ต้ อ งและเหมาะสม โดยการ จะสามารถช่วยลดปริมาณขยะ และเพิ่มมูลค่าให้กับขยะมูล
ประยุกต์เข้ากับนวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่ จะทำให้เพิ่ม ฝอยทางการเกษตรได้ ในการศึ ก ษาครั ้ ง นี ้ ย ั ง มี ก ารนำซั ง
มูลค่าทางการเกษตรและช่วยลดปริมาณขยะจากวัส ดุเหลือทิ้ง ข้าวโพดมาบำบัดด้วยสารละลาย NaOH เพื่อกำจัดเชื้อราและ
ทางการเกษตรได้มากยิ่งขึ้น โดยในปัจจุบันคนไทยมากกว่า 69 ปรั บ ปรุ ง พื ้ น ผิ ว ของเส้ น ใยในซั ง ข้ า วโพดสำหรั บ การเพิ่ ม
ล้านคนสามารถสร้างขยะได้มากถึง 27 ล้านตันต่อปี ซึ่งพบว่า ประสิทธิภาพร่วมกับท่อนาโนคาร์บอน [5] นอกจากนั้นทางทีม
“ขยะเหลือใช้ทางการเกษตร” มีปริมาณมากเป็นอันดับ ต้น ๆ ผู้วิจัยยังได้ศึกษาลักษณะโครงสร้างทางจุลภาค และทางมห
ของปริมาณขยะจากทุกประเภท [1] ภาคของวัส ดุประกอบ (Composite Materials) ซึ่ง เป็ น ตั ว
ข้ า วโพดนั บ เป็ น พื ช เศรษฐกิ จ ของโลก และเป็ น พื ช ที่ แปรสำคัญในการหาประสิทธิภาพที่ดีที่สุดของวัสดุ เช่น ด้าน
เกษตรกรไทยนิ ยมปลู ก เนื่องจากได้ผ ลผลิต ที่ ดี ตรงความ ความแข็งแรง และความเหมาะสมต่อการใช้งานให้กับวัสดุอื่น
ต้องการของตลาด ใช้ระยะเวลาการปลูกสั้น ซึ่งส่งผลให้มีวัสดุ ๆ ในอุตสาหกรรมต่อไป
เหลือใช้ทางการเกษตรเป็นจำนวนมากและมีการนำมาแปรรูป
ใช้ในปริมาณน้อย ทำให้การกำจัดขยะเหลือทิ้งจากข้า วโพด 2. วิธีการดำเนินการวิจัย
ส่วนใหญ่ของเกษตรกรคือการฝัง กลบและการเผา ซึ่ง เป็ น 2.1 การเตรียมผงซังข้าวโพด
สาเหตุให้เกิดปัญหามลพิษทางสิ่งแวดล้อมตามมา แต่เมื่อไม่ นำซังข้าวโพดพันธุ์หวาน จากตำบลวังขนาย อำเภอท่าม่วง
นานมานี้พบว่า ซัง ข้าวโพด (ส่วนหนึ่ง ของข้าวโพดที่เ หลื อ จังหวัดกาญจนบุรี มาทำความสะอาดด้วยน้ำเปล่า และหั่นซัง
หลัง จากการสีเมล็ดออกไป) ถูกนำมาใช้แทนเพื่ อเสริมแรง ข้าวโพดให้เป็นชิ้นเล็ก ๆ ยาวประมาณ 20-30 มิลลิเมตร นำไป
คอนกรีตในงานก่อสร้าง เครื่องใช้ รวมไปถึงผลิตภัณฑ์ด้านต่าง แช่ในสารละลาย NaOH ปรับสภาพเพื่อกำจัดสารที่มีโครงสร้าง
ๆ ที่ต้องการความแข็งแรง ทำให้ซังข้าวโพดเป็นที่สนใจอย่าง แบบอสัณฐานจำพวกลิกนิน และเฮมิเซลลูโลสในการเพิ่มความ
มากในภาครัฐและภาคอุตสาหกรรมในการประยุกต์ใช้ เพื่อ เป็นผลึกให้กับซังข้าวโพด [5] โดยมีความเข้มข้น 3 ค่า ได้แก่
เป็นวัสดุทางเลือกสำหรับการเสริมแรงในงานด้านต่าง ๆ [2] 0.25, 0.50 และ 0.75 โมลาร์ และระยะเวลาในการแช่ ค วาม
นอกจากนั้นทางทีมวิจัยได้ศึกษาเกี่ยวกับท่อนาโนคาร์บอน เข้มข้นละ 3 เวลา ได้แก่ 24, 48 และ 72 ชั่วโมง จะได้ทั้งหมด
(Multi Walled Carbon Nanotubes) ซึ่งมีสมบัติที่โดดเด่น มี 9 เงื่อนไขในการปรับสภาพ เมื่อครบกำหนดการแช่ ให้ น ำซัง
ความแข็งแรงสูง ต้านทานแรงดึงสูง มีความยืดหยุ่นอย่างมาก ข้าวโพดไปล้ างน้ำเปล่า และแช่ด้วยเอทานอลความเข้มข้น
มีน้ำหนักเบา ทนต่อการกัดกร่อน ทนต่อความล้า [3] ทำให้ 95% เป็ น เวลาอี ก 24 ชั ่ ว โมง จากนั ้ น นำไปอบแห้ ง ด้ ว ย
ความต้องการท่อนาโนคาร์บอนเพิ่มขึ้นอย่างมาก เพราะท่อนา อุณหภูมิ 105 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 24 ชั่วโมง และนำมา
โนคาร์บอนมีผ ลโดยตรงกั บสมบัติเชิง กลของวัส ดุ ประกอบ บดด้วยเครื่องสับหยาบจากนั้นกรองด้วยตะแกรงกรองให้ได้ผง
โดยเฉพาะด้านความแข็งแรง ซึ่งมักจะใช้ร่วมกับวัสดุอื่น ๆ ใน ซังข้าวโพดขนาดเท่า ๆ กัน แล้วนำไปวิเคราะห์โครงสร้างทาง

479
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

จุลภาคด้วยเทคนิค SEM เพื่อศึกษาพื้นผิวของซังข้าวโพดหลัง นําซังข้าวโพดที่ผ่านการปรับสภาพทางเคมีด้วยสารละลาย


ถูกปรับสภาพก่อนนำไปผสมกับท่อนาโนคาร์บอน NaOH จากนั้นอบแห้ง และบดละเอียด แล้วนำไปผสมร่วมกับ
เมื่อศึกษาพื้นผิวเบื้องต้นแล้วทางผู้จัดทำจะเลือกเหลือ ท่อนาโนคาร์บอนโดยแบ่ง เงื่อนไขการผสมในอัตราส่ ว นซั ง
เพี ย ง 3 เงื ่ อ นไข แล้ ว นำไปผสมกั บ ท่ อ นาโนคาร์ บ อนใน ข้าวโพดกับท่อนาโนคาร์บอนเป็นดังนี้ คือ ไม่ผสมกับท่อนาโน
อั ต ราส่ ว น 50:1, 75;1 และ 100:1 แล้ ว นำไปวิ เ คราะห์ คาร์บอนเพื่อเป็นตัวควบคุม (Control Sample), 50:1, 75:1
โครงสร้างทางจุลภาคอีกครั้ง และสมบัติอื่น ๆ ด้วยเทคนิค และ 100:1 จะได้เงื่อนไขในการทดสอบสมบัติเชิงกลทั้งหมด 4
SEM, XRD และ EDS เงื่อนไขโดยจะผสมเข้ากับกาวพลาสติกเรซิ่นในอัตราส่วนกาวเร
2.2 การขึ้นรูปแผ่นไม้อัดซังข้าวโพด ซิ่นต่อซังข้าวโพดสับหยาบ 1:3 [6] และกาวต่อน้ำในอัตราส่วน
2:1 ในทุกเงื่อนไข ดังตารางที่ 1

ตารางที่ 1 อัตราส่วนส่วนผสมซังข้าวโพด:ท่อนาโนคาร์บอน:กาวพลาสติกเรซิ่น:น้ำ
เงื่อนไขที่ อัตราส่วนผสม ซังข้าวโพด ท่อนาโนคาร์บอน กาวพลาสติกเรซิ่น น้ำ
CC:MWCNT (g) (g) (g) (ml)
1 - 6 0 2 1
2 50:1 6 0.12 2 1
3 75:1 6 0.08 2 1
4 100:1 6 0.06 2 1

นำซัง ข้าวโพดที่ผ สมร่วมกับ ท่อ นาโนคาร์บ อนและกาว นาที ที่อุณหภูมิห้อง แล้วทดสอบหาค่าความต้านทานแรงดัด


พลาสติกเรซิ่นเรียบร้อยแล้ว ตามตารางที่ 1 มาทำการขึ้นรูป จากสมการที่ (1)
ชิ้นงานทดสอบ ใช้แม่พิมพ์ขนาด 20×150 มิลลิเมตร หนา 3
มิลลิเมตร โดยขึ้นรูปด้วยเครื่องอัดร้อนที่อุณหภูมิ 100 องศา- 𝑓𝑚 =
2𝐹𝑙1
(1)
2𝑏𝑡 2
เซลเซียส ความดัน 25 บาร์ เป็นเวลา 2 นาที [7] และหล่อเย็น
อีก 5 นาที หลังจากแกะชิ้นงานทดสอบออกจากแม่พิมพ์ให้บ่ม เมื่อ fmคือ ความต้านทานแรงดัด (N/mm2 หรือ MPa)
ทิ้งไว้ที่อุณหภูมิห้องเป็นเวลา 72 ชั่วโมง แล้วจึงนำมาทดสอบ F คือ แรงกดสูงสุดที่ชิ้นงานรับได้ (N)
สมบัติเชิงกลต่อไป l1 คือ ระยะห่างของแท่นรองรับ (mm)
2.3 การทดสอบความต้านทานแรงดัด b คือ ความกว้างของชิ้นงาน (mm)
ทำการทดสอบแรงดัดโค้งแบบจุดรองรับ 3 จุด (Three- t คือ ความหนาของชิ้นงาน (mm)
Point Bending) กำหนดระยะห่ า งแท่ น วางชิ ้ น ทดสอบ แล้วทำการหาค่าเฉลี่ยจากตัวอย่างทั้ง 3 ชิ้น และนำมา
(Support Span Length) เท่ากับ 48 มิลลิเมตร ความเร็วใน เปรียบเทียบค่าตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมแผ่นชิ้น
การกดชิ้นงาน (Crosshead Speed) เท่ากับ 1.3 มิลลิเมตรต่อ ไม้อัดชนิดราบ (มอก.876-2547) ซึ่งมีเกณฑ์ที่กำหนดของแผ่น

480
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

ไม้อัดที่มีความหนา 3.0-6.0 มิลลิเมตร ต้องมีความต้านทาน จากการระบุเอกลักษณ์ทางโครงสร้างด้วยกล้องจุลทรรศน์


แรงดัดไม่น้อยกว่า 15 เมกะปาสคาล [8] นี้ ทำให้คณะผู้วิจัยเลือกสภาวะการวิจัยออกมาเพียง 3 สภาวะ
2.4 การทดสอบปริมาณความชื้น นั้นคือ
ทำการทดสอบปริมาณความชื้นโดยชั่งน้ำหนักชิ้นทดสอบ 1) ปรับสภาพด้วย NaOH ความเข้มข้น 0.25 โมลาร์
ให้ได้มวลของชิ้นทดสอบก่อนอบ และทำการอบชิ้นทดสอบที่ เป็นเวลา 72 ชั่วโมง
อุณหภูมิ 105 องศาเซลเซียส เป็นระยะเวลา 4 ชั่วโมง โดยชั่ง 2) ปรับสภาพด้วย NaOH ความเข้มข้น 0.50 โมลาร์
ชิ้นทดสอบหลังอบแห้งจะได้ค่าปริมาณความชื้นเฉลี่ยร้อยละ เป็นเวลา 48 ชั่วโมง
ของชิ้นงานทั้ง 3 ครั้ง จากสมการที่ (2) 3) ปรับสภาพด้วย NaOH ความเข้มข้น 0.75 โมลาร์
เป็นเวลา 24 ชั่วโมง
𝑚1 −𝑚2 3.1.2 ผลการวิเคราะห์ซังข้าวโพดที่ผ่านการปรับสภาพทางเคมี
𝑤 = × 100 (2)
𝑚2
ด้วยสารละลาย NaOH ทั้ง 3 สภาวะ ร่วมกับท่อนาโนคาร์บอน
เมื่อ w คือ ปริมาณความชื้น (%) ในอัตราส่วน 50:1, 75:1 และ 100:1
m1 คือ มวลชิ้นงานก่อนอบ (g) ผลการวิเคราะห์พบว่า พื้นผิวของวัสดุหลังปรับสภาพทาง
m2 คือ มวลชิ้นงานหลังอบ (g) เคมีด้วย NaOH มีความขรุขระ และไม่สม่ำเสมอของพื้นผิวเพิ่ม
แล้วเปรียบเทียบค่าตามมาตรฐานผลิตภัณ ฑ์อุตสาหกรรม มากขึ ้ น บางสภาวะมี ร ู พ รุน เกิ ด ขึ้ น ซึ ่ ง เป็ น การเพิ ่ม พื้นที่
แผ่นชิ้นไม้อัดชนิดราบ (มอก.876-2547) ซึ่ง ต้องมีปริมาณ ผิวสัมผัส และความขรุขระของผิวที่ดีขึ้นให้กับเส้นใย เมื่อ
ความชื้นเฉลี่ยอยู่ในช่วงร้อยละ 4 ถึง 13 [8] ศึกษาตัวอย่างที่ผสมร่วมกับท่อนาโนคาร์บอนแล้วแสดงให้เห็น
ถึงการยึดเกาะของท่อนาโนคาร์บอนได้ดีกับเส้นใยซังข้าวโพด
ในทุกสภาวะ และทุกอัตราส่วนตามร่องของความขรุขระของ
3. ผลการทดสอบ
เส้นใยดังรูปที่ 2 (บน)
3.1 กล้ อ งจุ ล ทรรศน์ อ ิ เ ล็ ก ตรอนแบบส่ อ งกราด (Field
3.2 เครื่องมือ วิเคราะห์การเลี้ยวเบนของรังสีเอ็กซ์ (X-Ray
Emission Scanning Electron Microscope: FE-SEM)
Diffractometer: XRD)
3.1.1 ผลการวิเคราะห์ซังข้าวโพดทีผ่ ่านการปรับสภาพทางเคมี
จากผลการวิเคราะห์การเลี้ยวเบนของรัง สีเอ็กซ์ (XRD)
ด้วยสารละลาย NaOH ทั้ง 9 เงื่อนไข
ของซังข้าวโพดที่ถูกปรับสภาพด้วยสารเคมี NaOH ในรูปที่ 2
จากการวิ เ คราะห์ ภ าพ SEM แสดงให้ เ ห็ น ถึ ง การ
แสดงให้เห็นได้ว่ามีจุดสูงสุดของกราฟอยู่ที่ 2 θ เท่ากับ 16o,
เปลี่ยนแปลงของพื้นผิวของเส้นใยซังข้าวโพดที่ถูกปรับสภาพ
22.2o และ 35o สำหรับตัวอย่างทั้งสามสภาวะ โดยตำแหน่ง
ทางเคมีด้วยสารละลาย NaOH ในสภาวะต่าง ๆ พื้นผิวหลัง
2θ ที่ 16o และ 22.2o แสดงถึงคุณลักษณะของผลึกเซลลูโลส
ปรับสภาพมีความขรุขระ และไม่สม่ำเสมอของพื้นผิวเพิ่มมาก
และจุดสูงสุดที่ 35 o แสดงถึงคุณลักษณะของลิกโนเซลลูโ ลส
ขึ้น บางสภาวะมีรูพรุนเกิดขึ้น ทั้งนี้เกิดจากการปรับสภาพทำ
[9] จะเห็นได้ว่าทั้งสามตัวอย่างมีลักษณะของกราฟใกล้เคียง
ให้ไขมัน และส่วนประกอบอสัณฐาน เช่น เฮมิเซลลูโลส และ
กัน นอกจากนั้นยัง พบอีกว่าซัง ข้าวโพดที่ถูกปรับสภาพด้ว ย
ลิกนิน หลุดออกจากพื้นผิวเป็นการเพิ่มพื้นที่ผิวสัมผัส และ
สารเคมี NaOH ที ่ ร ะดั บ ความเข้ ม ข้ น 0.25 โมลาร์ เ ป็ น
ความขรุขระของผิว ที่ ดี ขึ้ นให้ก ับเส้น ใยเพื ่อ ไปใช้ เป็ น วั ส ดุ
ระยะเวลา 72 ชั่วโมง มีความเข้มแสง (Intensity) ของกราฟ
เสริมแรงที่ต้องการสร้างพันธะให้แข็งแรงขึ้น
สูง กว่าตัวอย่างที่ถูกปรับสภาวะด้วย NaOH ที่ค วามเข้มข้น
481
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

0.50 โมลาร์ และ 0.75 โมลาร์ เนื่องจากมีลักษณะอสัณฐาน


ของไขมันที่ถูกกำจัดออกไป และมีความเป็นผลึกเซลลูโลสที่
เพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะช่วยส่งเสริมและส่งผลให้ความแข็งแรงของ
วัสดุเพิ่มมากขึ้น

รูปที่ 1 ผลการวิเคราะห์การเลี้ยวเบนของรังสีเอ็กซ์ (XRD)


ของซังข้าวโพดที่ถูกปรับสภาพทางเคมีด้วย NaOH รูปที่ 2 รูปทางสัณฐานวิทยาจาก FE-SEM (บน) ของสาร
ซึ่งมีความเข้มข้น และระยะเวลาที่ต่างกัน ตัวอย่าง และผลเทคนิค EDS (ล่าง) แสดงชนิดและปริมาณธาตุ
ที่อยู่บนชิ้นงานตัวอย่าง
3.3 เครื ่ อ งมื อ วิ เ คราะห์ ธ าตุ เ ชิ ง พลั ง งาน ( Energy
Dispersive X-Ray Spectrometer: EDS)
จากผลการทดสอบพบว่า การทดลองของตัวอย่างทั้ง 9
ตัวอย่าง ที่เป็นสารประกอบระหว่างผงซังข้าวโพดที่ผ่านการ
ปรับสภาพมาแล้วร่วมกับท่อนาโนคาร์บอนในอัตราส่วนต่าง ๆ
มีผลออกมาใกล้เคียงกันอย่างไม่มีนัยสำคัญ แต่แตกต่างกันที่
ปริมาณของธาตุแต่ละชนิด พบว่าเป็นผลจากการปรับสภาพ
ทางเคมีที่ใช้ความเข้มข้นของ NaOH การใช้เวลาในการปรับ
สภาพ และอัตราส่วนการผสมซังข้าวโพดกับท่อนาโนคาร์บอน รูปที่ 3 แผนที่ (Mapping) ระบุว่าตำแหน่งสารแต่ละชนิดบน
ที่แตกต่างกัน ทางคณะผู้วิจัยจึงนำผลของตัวอย่างอัตราส่วน ชิ้นงานตัวอย่าง
ของท่อนาโนคาร์ บอนและผงซั ง ข้า วโพดที่ ปรั บสภาพด้ ว ย
สารละลาย NaOH ความเข้มข้น 0.25 โมลาร์ เป็นเวลา 72 จากรู ป ที ่ 2 (ล่ า ง) ผลเทคนิค EDS ของวั ส ดุ ต ั ว อย่างนี้
ชั่วโมง 50:1 มานำเสนอ เป็นตัวแทนของข้อมูลอีก 8 ตัวอย่าง พบว่ามีธาตุหรือสารในวัสดุตัวอย่างประกอบไปด้วย C 69.6
ทั้งหมด wt%, O 19.6, wt%, N 7.7 wt% แ ล ะ Na 3.1 wt% ใ น
ทำนองเดียวกั นกั บตัว อย่างอื่ น อีก ทั ้ง 8 ชนิด โดยธาตุ ท ี ่ มี
ปริมาณมากทีส่ ุด คือ คาร์บอน (C) สามารถสังเกตได้จ ากรูปที่
482
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

3 ซึ่งมาจากที่เป็นส่วนประกอบของเส้นใยเซลลูโลส และท่อนา 12

่านทานแรงดัด (MPa)
9.71758
10
โนคาร์บอนที่นำมาผสมเข้าร่วมกัน แต่จะแตกต่างในปริมาณ 8 5.87746
7.81872
6
ของธาตุที่เกิดจากความหลากหลายของความเข้มข้นของสาร 4 3.03292
2
ละลาย NaOH และความหลากหลายของอัตราส่วนการผสม 0

่าความต
สารประกอบ 1 2 3 4
เงื่อนไขชิ้นงานทดสอบ


3.4 การทดสอบความต้านทานแรงดัด
นำซัง ข้าวโพดที่ ผ่านการปรับสภาพทางเคมีด้วย NaOH รูปที่ 4 ค่าความต้านทานแรงดัดของแผ่นอัดซังข้าวโพด
ความเข้ ม ข้ น 0.25 โมลาร์ ระยะเวลา 72 ชั ่ ว โมง จากนั้ น
บดละเอียดแล้วผสมร่วมกับท่อนาโนคาร์บอน โดยแบ่งเงื่อนไข 10
9.78

ค มาณความชื้น (%)
9.75
การผสมในอัตราส่วนซังข้าวโพดกับท่อนาโนคาร์บอนเป็นดัง นี้ 9.47
9.5 9.41 9.43
คือ ไม่ผสมกับท่อนาโนคาร์บอนเพื่อเป็นตัวควบคุม (Control 9.25
Sample), 50:1, 75:1 และ 100:1 จะได้เงื่อนไขในการทดสอบ 9
่าปริ

ค่าความต้านทานแรงดัดทั้งหมด 4 เงื่อนไขตามลำดับ 1 2 3 4
เงื่อนไขชิ้นงานทดสอบ
จากรูปที่ 4 ผลการทดสอบค่าความต้านทานแรงดั ด ของ
แผ่นอัดซังข้าวโพด พบว่าแผ่นอัดซัง ข้าวโพดในเงื่อนไขที่ 4
(อัตราส่วนผสม 100:1) มีค ่าความต้านทานแรงดัดมากที่สุด รูปที่ 5 ค่าปริมาณความชื้นของแผ่นอัดซังข้าวโพด
รองลงมาคือ แผ่นอัดซังข้าวโพดในเงื่อนไขที่ 3 (อัตราส่วนผสม
75:1) ส่วนเงื่อนไขที่ 1 (ตัวควบคุม) มีค่าความต้านทานแรงดัด 3.5 การทดสอบปริมาณความชื้น
น้อยที่สุด แสดงให้เห็นว่าท่อนาโนคาร์บอนมีผลในการเป็นตัว จากการทดสอบพบว่าไม้จะมีการปรับความชื้นในตัวเองให้
ช่วยเสริมแรงให้กับแผ่นอัดซังข้าวโพดได้ แต่เมื่ออัตราส่วนผสม มีความสมดุลกับความชื้นในบรรยากาศอยู่เสมอ โดยความชื้น
ที่มีปริมาณท่อนาโนคาร์บอนเพิ่มขึ้น พบว่าความแข็งแรงของ สมดุ ล จะแปรผั น ตามความชื ้ น สั ม พั ท ธ์ แ ละอุ ณ หภู ม ิ ข อง
แผ่นอัดซังข้าวโพดลดลงและเปราะแตกหักง่าย นอกจากนั้นยัง บรรยากาศ ซึ่ง ความชื้นสัมพัทธ์ของบรรยากาศแต่ละที่ก็มี
พบอี ก ว่ า เมื ่ อ แผ่ น อั ด ที ่ ม ี อ ั ต ราส่ ว นผสมปริม าณท่ อ นาโน ความแตกต่างกัน หากมีปริมาณความชื้นมากจะส่งผลให้สมบัติ
คาร์บอนลดลง พบว่าแผ่นอัดมีความแข็งแรงเพิ่มและมีความ ของไม้มีการเปลี่ยนแปลง เช่น ความแข็ง แรงลดลง เปราะ
เหนียวแน่นขึ้น อย่างไรก็ตามชิ้นงานทดสอบทัง้ 4 เงื่อนไข ยัง แตกหักง่าย ค่าความเป็นฉนวนไฟฟ้าของไม้ลดลง และค่าการ
ไม่เป็นไปตามเกณฑ์ ของมาตรฐานผลิ ตภัณ ฑ์ อุตสาหกรรม นำความร้อนเพิ่มขึ้น เป็นต้น
(มอก. 876-2547) [8] จากรูปที่ 5 ผลการทดสอบค่าปริมาณความชื้นของแผ่นอัด
ซังข้าวโพด พบว่า แผ่นอัดซังข้าวโพดเงื่อนไขที่ 1 (ตัวควบคุม)
มีปริมาณความชื้นมากที่สุด แผ่นอัดซังข้าวโพดเงื่อนไขที่ 2, 3
และ 4 มีปริมาณความชื้นที่ใกล้เคียงกัน และน้อยกว่าเงื่อนไขที่
1 เพียงเล็กน้อย โดยแผ่นอัดซัง ข้าวโพดทั้ง 4 เงื่อนไขผ่าน
เกณฑ์มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก. 867-2547) [8]
ที่กำหนดทั้งหมด แสดงว่าในเรื่องปริมาณความชื้นที่เหมาะสม
483
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

ซังข้าวโพดสามารถนำมาขึ้นรูปได้ และเมื่อผสมกับท่อ นาโน 5. กิตติกรรมประกาศ


คาร์บอนช่วยให้ปริมาณความชื้นในไม้อัดลดลง แต่ปริมาณของ งานวิจัยนี้ได้รับการสนับสนุนจาก ภาควิชาวิศวกรรมอุต
ท่อนาโนคาร์บอนไม่ได้ส่งผลต่อการลดลงของปริมาณความชื้น สาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้า
คุณทหารลาดกระบัง
4. สรุปผลการวิจัย
ในการปรับสภาพทางเคมีของซังข้าวโพดด้วยสารละลาย เอกสารอ้างอิง
NaOH ในความเข้มข้น 0.25, 0.50 และ 0.75 โมลาร์ ซึ่งแต่ละ 1. Arphawan Sopontammarak, 2558, เ ป ล ี ่ ย น ข ย ะ
ความเข้มข้นปรับสภาพเป็นระยะเวลา 24, 48 และ 72 ชั่วโมง ข้าวโพด เป็นเห็ดฟางปลอดสารพิษ , สำนักงานกองทุน
ตามลำดับ จากการวิเคราะห์ผลด้วยเทคนิค SEM, XRD และ สนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.
EDS ทำให้เห็นถึง การสกัดสิ่งเจือปน และสารอสัณฐานได้ 2. ณคนัท รักษารักษ์ , ธเนศ รัตนวิไล, ชัยณรงค์ ศรีวะบุตร,
ด้วยความเข้มข้นของสารละลาย NaOH ที่น้อย เพื่อเป็นการ 2562, “ผลของเส้นใยเหลือใช้จากเศษวัสดุทางการเกษตร
ลดต้ น ทุ น และลดความรุ น แรงของการใช้ ส ารเคมี ด้ ว ย ต่อสมบัติเชิงกล สมบัติทางกายภาพ และสมบัติทางความ
ระยะเวลาการปรับสภาพที่เพิ่มมากขึ้น เมื่อทำการปรับสภาพ ร้อนของวัสดุไม้ผสมพลาสติกจากพอลิโพรพีลีน”, วารสาร
ทำให้เห็นถึง การหลุดออกของไขมัน ส่วนประกอบอสัณ ฐาน วิจัยและพัฒนา มจธ., ปีที่ 42.
เช่น เฮมิเซลลูโลส และลิกนิน จากพื้นผิวซึ่งเพิ่มความเป็นผลึก 3. Nanotechnology, ท่อนาโนคาร์บอน, สถาบันวัตกรรม
มากขึ้นเป็นการเพิ่มพื้นที่ผิวสัมผัส และความขรุขระของผิวที่ดี และพัฒนากระบวนการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล.
ขึ้นให้กับเส้นใย เพื่อไปใช้เป็นวัสดุเสริมแรงที่ต้องการสร้าง 4. บุ ญ ทวี เลิ ศ ปั ญ ญาพรชั ย , 2554, “ท่ อ นาโนคาร์ บ อน
พันธะให้แข็ง แรงขึ้น และช่วยเพิ่มประสิทธิภ าพการดูดซับ (Carbon Nanotube)”, ก้าวทันโลกวิทยาศาสตร์, ปีที่ 11
ปริมาณคาร์บอนได้มากขึ้น ในกรณีใช้เป็นสารเติมแต่ง จาก (1).
การศึกษาสมบัติเชิงกลของซังข้าวโพดร่วมกับท่อนาโนคาร์บอน 5. Chinh Van Nguyen, P.S. Mangat, 2020, “Properties
หลั ง การอั ด ขึ ้ น รู ป พบว่ า ท่ อ นาโนคาร์ บ อนมี ผ ลให้ ค วาม of rice straw reinforced alkali activated
ต้านทานแรงดัดหรือ ความแข็ง แรงของแผ่ นอั ดซัง ข้า วโพด cementitious composites”, Construction and
เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ แต่ทั้งนี้ เมื่อเพิ่มอัตราส่วนปริมาณท่อ Building Materials 261, 120536.
นาโนคาร์บอนสูงขึ้น ทำให้ความต้านทานแรงดัดลดลงอย่าง 6. อนิ น ท์ มี ม นต์ , 2552, “การผลิ ต ไม้ อ ั ด จากซัง ข้ า วโพด
เห็นได้ช ัด ทั้ง นี้อัตราส่วนผสมของซัง ข้า วโพดต่อท่ อ นาโน สำหรั บ เป็ น ผนั ง ฉนวนตวามร้ อ นในอาคาร ”, สาขา
คาร์บอนที่มีความต้านทานแรงดัดได้ สูงที่สุด คือ 100:1 ซึ่งได้ วิ ศ วกรรมศาสตร์ แ ละอุต สาหกรรมวิ จ ัย มหาวิ ท ยาลั ย
ค่าความต้านทานแรงดัดเท่ากับ 9.71758 MPa แต่ยังไม่ผ่าน เทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
เกณฑ์มาตรฐาน มอก. 867-2547 และท่อนาโนคาร์บอนยัง 7. สุ ภ ิ ญ ญา ธาราดล, 2559, “การพั ฒ นาผลิ ต ภั ณ ฑ์ ซั ง
ส่งผลให้ค่าปริมาณความชื้นของซังข้าวโพดลดลง แต่อัตราส่วน ข้าวโพดอัดขึ้นรุปเพื่องานประดิษฐ์”, สาขาวิชาเทคโนโลยีค
ปริ ม าณของท่ อ นาโนคาร์ บ อนไม่ ไ ด้ ส ่ ง ผลต่ อ ค่ า ปริ ม าณ หกรรมศาสตร์ คณะเทคโนโลยี ค หกรรมศาสตร์
ความชื้นของซังข้าวโพดอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งในงานวิจัยนี้แผ่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.
อัดซังข้าวโพดทุกเงื่อนไขผ่านเกณฑ์ค่าปริมาณความชื้ น ของ
มาตรฐาน มอก. 867-2547 ทัง้ หมด
484
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

8. มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม, แผ่นไม้อัดชนิดอัดราบ
ม อ ก . 876-2547, ส ำ น ั ก ง า น ม า ต ร ฐ า น
ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม.
9. Diego B. Menezes, Osiris A. V. Brazil, 2017,
“Prospecting fungal ligninases using corncob
lignocellulosic fractions”, Springer Science,
Cellulose, Vol. 24, pp. 4355-4365.

485
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชิ้นงานเหล็กหล่อเทาจากแบบหล่อทรายชื้น
Study of Factors Influence in Casting Defects of Green Sand Gray Cast Iron

ชวินทร์ อินทะนา, ศุภฤกษ์ บุญเทียร และ ก้องเกียรติ ปุภรัตนพงษ์1


ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เขตทุ่งครุ กรุงเทพฯ 10140
E-mail: kongkiat.pup@mail.kmutt.ac.th1

บทคัดย่อ
โครงงานวิจัยอุตสาหกรรมนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชิ้นงานเหล็กหล่อเทาจากแบบหล่อทราย
ชื้นของชิ้นงานบ้องผาน ซึ่งเป็นชิ้นส่วนอุปกรณ์ต่อพ่วงท้ายของรถแทร็คเตอร์ ผลิตด้วยเครื่องปั๊มแบบทรายอัตโนมัติ เพื่อหาแนว
ทางการผสมทรายชื้นที่เหมาะสม เพื่อลดจุดบกพร่องที่มีผลต่อผิวชิ้นงานเหล็กหล่อเทาและเพื่อประเมินหาค่าควบคุมคุณภาพในการ
ผสมทรายชื้นสำหรับทำแบบหล่อในการปฏิบัติงาน จากการศึกษาพบปัญหาของเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการผลิตชิ้นงานบ้องผานมี
มากถึงร้อยละ 19.73 ซึ่งพบสาเหตุการเกิดจุดบกพร่องในชิ้นงานบ้องผาน มีมาจาก 2 ปัจจัยคือ ปัจจัยที่เกิดจากทรายชื้นสำหรับทำ
แบบหล่อ พบของเสียร้อยละ 68 และปัจจัยที่เกิดจากการออกแบบแม่พิมพ์ พบของเสียร้อยละ 32 จากนั้นได้วิเคราะห์ปัจจัยอื่นที่
เกี่ยวข้องในกระบวนการผลิตเพิ่มเติม ซึ่งเป็นปัจจัยที่ยังไม่พบสาเหตุการเกิดจุดบกพร่องของชิ้นงานแต่อาจส่งผลในภายหลังได้ คือ
ปัจจัยที่เกิดจากทรายไส้แบบ จากนั้นทำการวิเคราะห์ปัญหาจุดบกพร่องทั้ง 3 ปัจจัยเหล่านี้ โดยมีเป้าหมายเพื่อทำให้จุดบกพร่อง
ของชิ้นงานหลังการปรับปรุงมีจำนวนลดลงอย่างชัดเจน และในระหว่างการปรับปรุงมีการตรวจสอบการควบคุมมาตรฐานของ
ส่วนผสมทางโลหะวิทยาควบคู่ไปด้วย ในงานวิจัยนี้มีการจัดลำดับความสำคัญของการตรวจหาสาเหตุ ทำการทดลองทั้ง 3 ปัจจัย
ดังกล่าว และวิเคราะห์ผลการปรับปรุงแบบต่อเนือ่ งทำให้การปรับปรุงโครงงานวิจัยอุตสาหกรรมครั้งนี้สามารถลดจำนวนของเสียลง
จากร้อยละ 19.73 เหลือเพียงร้อยละ 4.28 ซึ่งเป็นที่น่าพอใจมากและทำให้บริษัทสามารถลดต้นทุนได้อย่างมาก

คำสำคัญ : จุดบกพร่อง ทรายชื้น ทรายไส้แบบ เหล็กหล่อเทา

Abstract
This independence research, the objective is to study factors that affecting the surface quality of the
product from the green sand gray cast iron support disc formwork, which is a peripheral part of the tractor
produced by an automatic sand pump to find suitable methods for mixing green sand to reduce defects on
the surface of gray cast iron workpieces and to assess the quality control of the green sand blends for molding
in operation. The study found that 19.73% of the problem of waste occurred in support disc production
486
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

processes, which was found to cause defects in the support disc workpiece, there are 2 factors: Factors caused
by green sand for mold ingress found 68% waste. And a factor caused by mold design 32% waste was found.
Then further analysis of other factors involved in the production process, which is a factor that has not yet
been found to cause the defect, but may result later, including factors caused by the core sand. From the
examination, it was found that the results were not significantly different. Thus, improving this research can
reduce the amount of waste from 19.73% to 4.28%.

Keywords : Core Sand, Defects, Green Sand, Gray Cast Iron

487
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

1. บทนำ มาตรฐานที่ทางลูกค้ายอมรับได้ ดังนั้นทางบริษัทฯ จึงต้องการ


ในอุตสาหกรรมหล่อโลหะการผลิตชิ้นส่วนและอุปกรณ์ที่มี ลดของเสียที่เกิดขึ้น เนื่องจากของเสียดังกล่าวส่งผลกระทบต่อ
รูปทรงซับซ้อนที่ใช้ในหน้าที่เฉพาะอย่างนั้น มักที่จ ะเลือก ต้นทุนในการผลิต ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้นและยังส่งผลต่อ
เหล็กหล่อเทา (Cast Iron) เป็นวัส ดุในการผลิต ซึ่ง สามารถ คุ ณ ภาพของชิ้ น งานที่ ส ่ ง มอบให้ ล ู กค้า หน่ ว ยงานควบคุม
หล่อหลอมได้จากเตาคิวโปลา (Cupola) ซึ่งมีต้นทุนต่ำ ที่สุ ด คุณภาพจึง ทำการเก็บรวบรวมข้อมูล ของปริม าณงานที่พบ
แต่ควบคุมคุณภาพการผลิตได้ยาก หรือทำการหลอมด้วยเตา ปัญหา ตั้งแต่เดือนกันยายน พ.ศ.2562 ถึงเดือนธันวาคม พ.ศ.
ไฟฟ้าเหนี่ยวนำ (Induction Furnace) ซึ่งมีต้นทุนสูงกว่า แต่ 2562 พบว่า ปริมาณของชิ้นงานที่หล่อแล้วพบจุดบกพร่อง มี
สามารถปรับปรุงส่วนผสมได้ง่าย เพื่อให้ได้เหล็กหล่อเทาที่มี ปริมาณมากถึงร้อยละ 19.73 ของจำนวนชิ้นงานที่ผลิตได้ ซึ่ง
คุณภาพดี โดยสมบัติเด่นของเหล็กหล่อเทานั้นได้แก่ มีอุณหภูมิ ทำให้เ พิ่ม ต้ น ทุ น เป็ นจำนวนมาก โดยจุดบกพร่องทั ้ ง หมด
ในการหลอมเหลวต่ำ มีอัตราการขยายตัวน้อย มีค วามแข็ง สามารถจำแนกชนิดจุดบกพร่องได้ ดังแสดงในรูปที่ 2
(Hardness) ไม่มากนัก จึง สามารถนำมา กลึง ไส กัด เจาะ
ตกแต่งให้ได้ขนาดตามความต้องการได้ง่าย มีความต้านทาน
ต่อแรงอัด (Compressive Resistance) รับแรงสั่นสะเทือน
(Damping Capacity) และดู ด ซั บ เสี ย งได้ ด ี จึ ง ใช้ ท ำแท่ น
เครื่องจักร เครื่องมือกล และชิ้นส่วนต่าง ๆ ทนทานต่อการกัด
กร่อน (Corrosion Resistance) และสามารถปรับปรุงสมบัติ
ความต้านทางแรงดึงได้มาก ขึ้นอยู่กับการปรับปรุงส่วนผสม
และการอบชุบ ทำให้ใช้ชิ้นงานได้หลากหลาย [1-4]
ในการหล่อเหล็กหล่อเทานั้นกระบวนการหล่อด้ว ยแบบ
ทรายชื้น (Green Sand) มีค วามสำคัญและนิยมใช้กันอย่าง รูปที่ 1 ตัวอย่างชิ้นงานบ้องผาน (Support Disc)
แพร่หลาย ซึ่งคุณภาพของงานหล่อที่ได้นั้น ส่วนหนึ่งจะขึ้นอยู่
กับคุณภาพทรายชื้นสำหรับทำแบบ แต่คุณภาพของทรายชื้น
สำหรับทำแบบนั้น มักเป็นประเด็นที่โรงหล่อทั่วไปมองข้ามถึง
ความสำคัญและมักจะขาดการควบคุมที่ดี ซึ่งบริษัท ทองแดง
โลหะกิจ จำกัด ก็ประสบปัญหานี้เช่นกันซึ่ง ทำให้ส ่ง ผลต่อ
ต้นทุนในการผลิตสูงขึ้น เพื่อเป็นการแก้ไข ป้องกัน และลดการ
เกิดของเสีย ผู้วิจัยต้องการศึกษาถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพ
ชิ้นงานเหล็กหล่อเทาจากแบบหล่อทรายชื้น (Green Sand)
แล้วนำมาวิเคราะห์หาสาเหตุที่แท้จริง และหาแนวทางการ รูปที่ 2 ของเสียที่เกิดขึ้นกับชิ้นงานบ้องผาน
แก้ปัญหา เพื่อลดปริมาณของเสียที่เกิดขึ้นต่อไป [5-7]
ในกระบวนการผลิตชิ้นงานบ้องผาน (Support Disc) ดัง จากรูปที่ 2 พบว่าจุดบกพร่องนั้นสามารถจำแนกสาเหตุ
แสดงในรูปที่ 1 หน่วยงานควบคุมคุณภาพได้ตรวจพบว่า มี การเกิ ด หลั ก ได้ จ าก 2 สาเหตุ ใ หญ่ คื อ จุ ด บกพร่ อ งอั น
จุ ด บกพร่ องเกิ ด ขึ้ น ในชิ้ น งานส่ ง ผลให้ช ิ ้ น งานไม่ผ ่า นตาม
488
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

เนื่องมาจากทรายชื้นสำหรับ ทำแบบหล่อมากถึง 68% ของ 2. กลุ ่ ม ที ่ ย ั ง ไม่ พ บปั ญ หาจุ ด บกพร่ อ งแต่ อ าจส่ ง ผลใน
ชิ้นงานเสียทั้งหมด และจุดบกพร่องอันเนื่องมาจากแม่พิมพ์อีก ภายหลังได้ ได้แก่ ปัญหาที่เกิดจากทรายไส้แบบ
32% ของชิ้นงานเสียทั้งหมด ดังนั้นในงานวิจัยนี้จึง มุ่งเป้าไปที่
ซึ่งการเลือกแก้ไขปัญหาจะพิจารณาจากความรุนแรงของ
การปรับปรุง กระบวนการผลิตเพื่อลดปริมาณของเสียลงให้
ปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อชิ้นงานมากที่สุดเป็นอันดับแรกก่อน
เหลือน้อยกว่า 5% โดยให้ความสำคัญเรื่องการปรับปรุงทราย
เพื่อต้องการทำให้ปริมาณของเสียมีจำนวนลดลงอย่างชัดเจน
ชื้น (Green sand) และการปรับปรุงแม่พิมพ์เป็นหลัก
และในช่ ว งระหว่ า งที ่ ท ำการวิ จ ั ย จะมี ก ารตรวจสอบการ
ควบคุมมาตรฐานของส่วนผสมทางเคมีและสมบัติทางโลหะ
2. วิธีการวิจัย
วิทยาควบคู่ไปด้วย เพื่อให้ได้ช ิ้นงานที่มีส มบัติเป็นไปตาม
การวิเคราะห์หาสาเหตุของการเกิดจุดบกพร่องในชิ้นงาน
ข้อกำหนดของลูกค้า โดยทำการตรวจสอบดังนี้ คือ
บ้องผานนั้น ได้ทำแผนผัง โครงสร้างของการศึกษาปัจจัยที่
1. ตรวจสอบส่วนผสมทางเคมีและอุณหภูมิเทของน้ำโลหะ
ส่งผลต่อคุณภาพชิ้นงานเหล็กหล่อเทาจากแบบหล่อทรายชื้น
2. ตรวจสอบโครงสร้างจุลภาคของชิ้นงานบ้องผาน
เพื่อทำให้เห็นภาพรวมของการเกิดจุดบกพร่องของชิ้นงานและ
3. ทดสอบความแข็งของชิ้นงานบ้องผาน
ง่ายต่อการวิเคราะห์หาสาเหตุต่าง ๆ โดยการวิเคราะห์ห า
4. ทดสอบแรงดึงของชิ้นงานบ้องผาน
สาเหตุของการเกิดจุดบกพร่องในชิ้นงานบ้องผาน และแสดง
แผนผังการวิเคราะห์การแก้ไขปัญหาดังในรูปที่ 3
2.1 การปรับปรุงปัญหาที่เกิดจากสมบัติของทรายชื้น
2.1.1 การปรับปรุงระบบการชัง่ ทรายเก่า
ในการผสมทรายชื้นนั้นปริมาณของส่วนผสมทรายชื้นมี
ความสำคัญต่อสมบัติของทรายชื้นเป็นอย่างมาก ทรายเก่าก็
เป็นส่วนผสมหนึ่งในทรายชื้น การชั่งทรายเก่าแบบเดิมก่อนทำ
การปรับปรุง ใช้การเติมทรายเก่าให้เต็มถังเก็บทราย ซึ่งจะ
เทียบเท่ากับทรายเก่าที่มีปริมาณน้ำหนัก 500 กิโลกรัม ซึ่งใช้
วิธีการวัดโดยการคาดคะเนประเมินด้วยสายตา หากต้องการ
เปลี่ยนแปลงปริมาณทรายเก่าในการผสมนั้นเป็นไปได้ยาก
เพราะไม่มีอุปกรณ์ช ั่ง วัด จึงได้ทำการปรับปรุงระบบการชั่ง
รูปที่ 3 แผนผังงานวิจัย
ทรายเก่าโดยการติดตั้ง โหลดเซลล์ (Load Cell) เพื่อทำให้
สามารถทราบน้ำหนักของทรายเก่าที่อยู่ในถังเก็บทรายได้อย่าง
ในการวิ เ คราะห์ แ ก้ ไ ขปั ญ หาปรับ ปรุ ง จุ ด บกพร่ อ งของ
แม่นยำมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังสามารถปรับน้ำหนักของทรายเก่าที่
ชิ้นงานบ้องผาน มีการจัดเรียงลำดับความสำคัญขั้นตอนในการ
ต้องการใช้ในการผสมโดยการตั้งค่าให้โหลดเซลล์ทำการแจ้ง
แก้ไขปัญหาโดยแยกเป็น 2 กลุ่ม คือ
เตือนและหยุดระบบการทำงานของสายพานลำเลียงทรายเมื่อ
1. กลุ่มที่ตรวจพบปัญหาจุดบกพร่องแล้ว ได้แก่ ปัญหาที่
ทรายเก่ามีน้ำหนักตามที่ต้องการได้
เกิ ด จากสมบั ต ิ ข องทรายชื ้ น และปั ญ หาที ่ เ กิ ด จากการ
ออกแบบแม่พิมพ์

489
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

2.1.2 การปรับปรุงระบบการวัดปริมาณน้ำ
ปริมาณน้ำในทรายชื้นนั้นเป็นส่วนประกอบสำคัญที่สง่ ผล
ต่อสมบัติของทรายชื้นเพื่อ นำไปทำแบบหล่อ ดัง นั้นความ
แม่นยำของปริมาณน้ำที่ใช้ในการผสมทรายชื้นจึงเป็นสิ่งสำคัญ
โดยก่ อ นการปรับ ปรุ ง ระบบนั ้ น การวั ด ปริ มาณน้ ำ ที ่ ใช้ถูก a) ก่อนปรับปรุง b) หลังการปรับปรุง
กำหนดปริมาณน้ำโดยใช้เวลาการทำงานของปั๊มน้ำ ทำให้ไม่รู้ รูปที่ 5 การปรับปรุงแม่พิมพ์
ถึงปริมาณน้ำที่แท้จริงในการใช้ผสม จึงได้มีการเปลี่ยนแปลง
ระบบการวัดปริมาณน้ำโดยการติด Water flow sensor เพื่อ 2.3 การปรับปรุงทรายไส้แบบ
วัดปริมาณน้ำที่ผ่านเข้าสู่เ ครื่องผสมทรายมีความแม่นยำมาก จุดบกพร่องที่เกิดขึ้นกับชิ้นงานบ้องผานนั้น ส่วนหนึ่งมี
ยิ่งขึ้น ดังแสดงในรูปที่ 4 สาเหตุมาจากสมบัติของทรายที่ใช้สำหรับทำไส้แบบ ซึ่งทราย
ไส้แบบนั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการผลิตชิ้นงานบ้องผาน สมบัติ
ของทรายไส้แบบจึงมีความสำคัญในการผลิตชิ้นงานบ้องผาน
ด้วย ในงานวิจัยนี้จะทำการตรวจสอบผลของการปรับสมบัติ
ทรายไส้แบบโดยการเปรียบเทียบ ค่าขนาดของเม็ดทรายที่
นำมาทำไส้ แ บบ ปริ ม าณสั ด ส่ ว นของการผสมปริ ม าณตั ว
ประสานสารเรซิ่นที่ใช้ในการผลิตทรายไส้แบบและค่าความ
แข็ ง แรงของทรายไส้ แ บบที ่ ข ึ ้ น รู ป แล้ ว นำค่ า ที ่ ไ ด้ ม า
เปรียบเทียบกันทั้งก่อนการปรับปรุงและหลังการปรับปรุง
รูปที่ 4 ระบบการวัดปริมาณน้ำที่ผ่านเข้าสู่เครื่องผสมทราย
3. ผลการวิจัยและอภิปราย
2.2 การปรับปรุงแม่พิมพ์ (Pattern)
3.1 ผลการปรับปรุงสมบัติทรายชื้น
หลังจากที่มีการศึกษาการออกแบบระบบทางเดินน้ำโลหะ
หลัง จากทำการปรับปรุง ระบบในการผสมทรายชื้นตาม
ในแบบหล่อ ในการทดลองได้มีการแก้ไขแม่พิมพ์ (Pattern)
หัวข้อ 2.1.1 และ 2.1.2 แล้วนั้น เพื่อให้สามารถวัดผลได้ในเชิง
เพื่อลดจุดบกพร่องที่เกิดจากแม่พิมพ์ [8] ดังแสดงในรูปที่ 5
ประจักษ์ทางผู้วิจัย จึงต้องทำการทดสอบสมบัติของทรายชื้น
โดยมีการแก้ไขแม่พิมพ์อยู่ 3 ประเด็น คือ
ตามมาตรฐานสากล ประกอบด้วย การทดสอบความสามารถ
1. เพิ่มระบบ Gating System เพื่อแก้ปัญหาการเทแล้วน้ำ
ในการอัดตัวของทราย (Compactability), ค่าความแข็ง แรง
โลหะรั่ว
ทางการอั ด ตั ว ของทราย (Compressive Strength), การ
2. ทดลองแก้ไขทางเข้าน้ำโลหะ (Gate) เพื่อลดปัญหาการ
ทดสอบความโปร่ง อากาศ (Permeability), การทดสอบหา
กระแทกของน้ำโลหะจนทำให้เกิดทรายหลุดเข้าไป ทำให้
ปริ ม าณความชื ้ น (Moisture content) โดยอ้ า งอิ ง วิ ธ ี ก าร
เกิดปัญหาทรายตกในชิ้นงานหล่อ
ทดสอบของ American Foundry Society (AFS) โดยทำ
3. ทดลองเพิ่มช่องระบายแก๊สออกจากแบบทราย
การบันทึกผลการทดสอบลงในแผนภูมิการควบคุม (Control
Chart) เทียบกับค่ามาตรฐานที่โรงงานกำหนด แสดงในรูปที่ 6
และ 7
490
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

เนื่องจากปริมาณน้ำที่ใส่มีปริมาณเพิ่มมากขึ้นส่งผลให้ค่าความ
แข็ ง แรงอั ด มี แ นวโน้ ม ลดล ง ค่ า ความโปร่ ง อา กาศ
(Permeability) มีค่าสูงกว่าค่าควบคุม เป็ นผลมาจากการเติม
ทรายใหม่เพิ่มเข้ามาในขั้นตอนการผสมทราย ซึ่งทรายใหม่ที่
เติมเข้ามานั้นมีขนาดเม็ดทรายที่ใหญ่กว่าทรายที่ใช้ปั้ น แบบ
ส่ง ผลให้ค ่าความโปร่ง อากาศมีค่าสูงขึ้น เมื่อค่าความโปร่ง
อากาศเพิ่มสูงขึ้น จะส่งผลทำให้การระบายแก๊สของแบบทราย
หล่อทำได้ดีขึ้น ส่งผลทำให้ปัญหาที่มีสาเหตุมาจากการระบาย
แก๊ส ได้แก่ สะเก็ดที่ผิว ผิวขรุขระ ผิวเป็นรูพรุน มีจำนวนลดลง

รูปที่ 6 ผลการทดสอบสมบัติของทรายชื้นก่อนทำการปรับปรุง

ในการตรวจสอบสมบัติของทรายชื้นก่อนทำการปรับปรุง
ระบบในการผสมทรายชื ้ น ดั ง แสดงในรู ป ที ่ 6 พบว่ า ค่ า
ความสามารถในการอัดตัวของทราย (Compactability) อยู่ใน
ค่าควบคุมของโรงงาน ค่าความแข็ง แรงทางการอัดตัวของ
ทราย (Compressive Strength) มีค่าสูงกว่าค่าที่ควบคุมของ
โรงงานเพียงเล็กน้อย ค่าความโปร่งอากาศ (Permeability)
ของทรายชื้นอยู่ในเกณฑ์ที่ค ่อ นข้างต่ำกว่าค่ าควบคุ ม ของ
โรงงาน ซึ่ง ส่งผลทำให้ความสามารถในการระบายแก๊สของ รูปที่ 7 ผลการทดสอบสมบัติของทรายชื้นหลังทำการปรับปรุง
แบบทรายหล่อลดน้อยลงซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้พบปริมาณ ผลจากการปรับปรุง ระบบในการผสมทรายชื้นตามหัวข้อ
ของเสียในปริมาณมาก และค่าความชื้นของทราย (Moisture) 2.1.1 และ 2.1.2 ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ.
อยู่ในค่าควบคุมของโรงงาน แต่มีค่าใกล้เคียงกับค่าสูงสุดของ 2563 ทำให้สามารถลดปริมาณของเสียลงได้ในปริมาณมาก ซึ่ง
ค่าควบคุม ลดของเสียลงจากร้อยละ 19.73 เหลือของเสีย เพียงร้ อ ยละ
ในการตรวจสอบสมบัติของทรายชื้น หลังทำการปรับปรุง 8.08 ซึ่งได้ทำการจำแนกชนิดของเสียและปริมาณที่ลดลงได้
ระบบในการผสมทรายชื้น ดังแสดงในรูปที่ 7 พบว่า สมบัติของ ดังแสดงในรูปที่ 8
ค่าความสามารถในการอัดตัวของทราย (Compactability)
อยู่ในค่าควบคุม ค่าความแข็ง แรงทางการอัดตัวของทราย
(Compressive Strength) มี ค ่ า ใกล้ เ คี ย งกั บ ค่ า ควบคุ ม

491
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

(Open Riser) (หมายเลข 1) เพื่อทำให้น้ำโลหะที่ถูกป้อน


เติมไหลเข้าสู่ภายในโพรงแบบหล่อเต็มอย่างสมบูรณ์
2. มีการติดตั้งทางเข้าน้ำโลหะเพิ่มเติม (หมายเลข 2) เพื่อช่วย
ลดความเร็วในการไหลของน้ำโลหะที่วิ่งเข้าสู่โพรงภายใน
แบบหล่อ ทำให้สามารถลดโอกาสการแตกของแบบทราย
หล่อได้
3. มี ก ารติ ด ตั ้ ง ช่ อ งระบายไอที ่ ด ้ า นซ้ า ยและด้ า นขวา
(หมายเลข 3) ของแบบแม่พิมพ์ เพื่อช่วยในการระบายแก๊ส
รูปที่ 8 การจำแนกชนิดของเสียและปริมาณก่อนและหลัง ออกจากแบบหล่อได้เร็วที่สุดในช่วงขณะที่น้ำโลหะกำลัง
การทำการปรับปรุงระบบในการผสมทรายชื้น แข็งตัว

3.2 ผลการปรับปรุงแม่พิมพ์ (Pattern)


การวิเคราะห์ผลที่เกิดขึ้นจากการออกแบบแม่พิมพ์ของ
แบบหล่อซึ่งมีผลต่อการเกิดจุดบกพร่องในงานหล่อ โดยการ
วิเคราะห์ระบบทางเดินน้ำโลหะแบบแม่พิมพ์ของชิ้นงานบ้อง
ผาน จากรูปที่ 5 (a) พบว่า
1. เมื่อเทน้ำโลหะลงแบบหล่อ ที่ร ูเ ท (หมายเลข 2) มีการ
รั ่ ว ไหลของน้ ำ โลหะบริ เ วณด้ า นฝั ่ ง ตรงข้ า มกั บ รู เ ท
(หมายเลข 1) และระบบการไหลของน้ำโลหะที่ไม่มีร ูล้ น
(Open Riser) ทำให้ไม่สามารถทราบได้ว่าน้ำโลหะนั้นถูก
เติมจนเต็มโพรงช่องว่างภายในแบบหล่อได้อย่างสมบูรณ์ รูปที่ 9 การจำแนกชนิดของเสียและปริมาณก่อนและหลัง
เมื่อใด การทำการปรับปรุงแม่พิมพ์ (Pattern)
2. ทางเข้าน้ำโลหะที่น้อยเกินไปทำให้เมื่อเทน้ำโลหะ ความเร็ว ผลจากการปรับปรุงการออกแบบแม่พิมพ์ในเดือนเมษายน
ในการไหลของน้ำโลหะจึงสูงมาก ส่งผลทำให้ทรายชื้น ที่ พ.ศ. 2563 ทำให้ลดปริมาณจำนวนของเสียลงได้ ซึ่งสามารถ
เป็นแบบหล่อเกิดความเสียหายได้ ลดของเสียลงจากเดิมร้อยละ 8.08 เหลือของเสียร้อยละ 4.4
3. ช่องทางระบายแก๊ส ของชิ้ นงานมี น้ อยเกิน ไป ส่ง ผลให้ ดังแสดงในรูปที่ 9
ในช่วงระหว่างการแข็งตัวของน้ำโลหะ ชิ้นงานไม่สามารถ
ระบายแก๊สออกได้ทัน 3.3 ผลการปรับปรุงทรายไส้แบบ
การแก้ไขปรับปรุงระบบทางเดินน้ำโลหะ มีการปรับ ปรุง ไส้แบบที่ใช้ในโรงงานนั้ นผลิ ตด้ ว ยกรรมวิธ ีเชลล์ โ มลด์
แก้ไขแม่พิมพ์ ดังแสดงในรูปที่ 5 (b) ซึ่งการปรับปรุงแก้ไข ทำ (Shell Mold) ดังแสดงในรูปที่ 10 ซึ่งจากการวิเคราะห์ทราย
ดังต่อไปนี้ ไส้แบบ พบว่าขนาดเม็ดทรายที่ ใช้เล็กเกินไปจึงมีผลต่อการ
1. ทำการแก้ไขการเทรั่วของน้ำโลหะโดยการเพิ่มระบบไหล ระบายไอของทรายไส้แบบ อีกทั้งปริมาณสัดส่วนในการผสม
ของน้ำโลหะที่ด้านฝั่งตรงข้ามกับรูเท และทำการติดตั้งรูล้น ของเรซินที่มากเกินไป ซึ่งปัญหาทั้งสองสามารถส่งผลทำให้เกิด
492
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

ปัญหาสะเก็ดที่ผิวได้ ในการวิจ ัยนี้ได้ทำการทดลองเปลี่ยน 4. สรุป


ขนาดของทรายไส้แบบ และปรับปริมาณสัดส่วนในการผสม จากการศึกษาถึงปัจจัยที่มีผลต่อคุณภาพชิ้นงานเหล็กหล่อ
ของเรซินใหม่ ให้เหมาะสม เพื่อทำให้โ อกาสการเกิดปัญหา เทาจากแบบหล่อทรายชื้นแล้วนั้น มีการวิเคราะห์และปรับปรุง
จุดบกพร่องที่เกิดจากแก๊สลดลง แก้ ไ ขปั จ จั ยจุด บกพร่ องที ่เ กี ่ ยวข้ อ งทั ้ง หมดแล้ ว หลั ง การ
ปรับปรุง พบว่าปริมาณของชิ้นงานที่หล่อแล้วพบจุดบกพร่อง
มีจำนวนลดลงจากร้อยละ 19.73 เหลือเพียงแค่ร้อยละ 4.28
ทำให้ได้ชิ้นงานที่สามารถจำหน่ายให้ลูกค้ามีจำนวนที่เพิ่มขึ้น
โดยที่ไม่ทำให้ต้นทุนในการผลิตชิ้นงานเพิ่มขึ้น ซึ่งอยู่ภายใต้
เกณฑ์มาตรฐานที่ทางลูกค้ายอมรับ ทำให้สามารถลดต้นทุนใน
การผลิตชิ้นงานบ้องผานลงได้เป็นอย่างมาก

เอกสารอ้างอิง
1. ASM International Staff, 1988, ASM Handbook
รูปที่ 10 ทรายไส้แบบ (Shell mold) Volume 15 Casting, The ASM International
Handbook Committee, USA, pp. 1265-1404.
2. มนั ส สถิ ร จิ น ดา, 2543, เหล็ ก หล่ อ , พิ ม พ์ ค รั ้ ง ที่ 4,
วิศ วกรรมสถานแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ,
หน้า 17-18.
3. บัณฑิต ใจชื่น และสุทน พัฒนศิริ , 2524, หล่อโลหะ 1,
ประกอบเมไตร, กรุงเทพฯ, หน้า 21-35, 42-43.
4. ณรงค์ศักดิ์ ธรรมโชติ , 2562, วิศวกรรมการหล่อโลหะ, ซี
เอ็ดยูเคชั่น, กรุงเทพฯ, หน้า 22, 185-197.
5. หริส สูตะบุคร และเคนยิ จิยิอิวา, 2543, หล่อโลหะ, ดวง
รูปที่ 11 การจำแนกชนิดของเสียและปริมาณก่อนและหลัง กมล, กรุงเทพฯ, หน้า 100-105, 109-112.
การทำการปรับปรุงทรายไส้แบบ 6. ประเสริ ฐ ก๊ ว ยสมบู ร ณ์ , 2525, เทคนิ ค งานหล่ อ โลหะ,
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี , กรุง เทพฯ, หน้า
จากการทดลองปรับเปลี่ยนสมบัติทรายไส้แบบในเดือน 10-15, 22-26.
พฤษภาคม พ.ศ. 2563 ส่งผลทำให้ความโปร่งอากาศของทราย 7. Foseco International, The Foseco Foundryman’s
ชื้นมีแนวโน้มที่เพิ่มสูงขึ้น และส่งผลทำให้สามารถลดปริมาณ Handbook, Silica Sand, 10th ed., Foseco
ของเสียลงได้ ซึ่งลดของเสียลงจากเดิมร้อยละ 4.4 เหลือของ International Ltd., U.K., p. 31.
เสียร้อยละ 4.28 ดังแสดงในรูปที่ 11 8. Sun, Y., Luo, J., Mi, G.F. and Lin, X., 2011,
“Numerical Simulation and Defect Elimination in
the Casting of Truck Rear Axle Using a Nodular
493
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

Cast Iron”, Materials and Design, Vol. 32, pp. 1623-


1629.

494
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

การพัฒนาโลหะอลูมิเนียมผสมเหล็กด้วยกระบวนการอัลตราโซนิค
Development of Al-Fe aluminum alloy with Ultrasonic Treatment

พิชญาภา เลิศฤทธิ์1 ภูรีจันทร์ วิวัฒน์1 หัทยา วัฒนาน้อย1 และ สุวารี ชาญกิจมั่นคง1*


1
ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
Department of Industrial Engineering, School of Engineering, King Mongkut's Institute of Technology
Ladkrabang, Bangkok, Thailand 10520
*Email: suwaree.ch@kmitl.ac.th

บทคัดย่อ
อลูมิเนียมไฮเปอร์ยูเทคติคเหล็ก ผสมเป็นอลูมิเนียมที่มีความน่าสนใจในการศึกษาโครงสร้างจุลภาคและสมบัติทางกล
เนื่องจากพบว่า  โครงสร้างจุลภาคประกอบด้วยเกรนอลูมิเนียม (α-Al) และเฟสปฐมภูมิของเหล็ก  Al13Fe4 (Primary Al13Fe4
phase) ซึ่งเป็นโครงสร้างที่มีความแข็ง มีเสถียรภาพทางความร้อน และมีสมบัติการนำไฟฟ้าที่ดี อย่างไรก็ตามโครงสร้าง Al13Fe4 ที่
มีขนาดใหญ่ มีความแข็งเปราะ และกระจายตัวได้ไม่ดีในระหว่างการแข็งตัวของน้ำโลหะส่งผลให้สูญเสียสมบัติทางกลของอลูมิเนียม
ผสมเหล็ก ดังนั้น การปรับปรุงโครงสร้างจุลภาคให้มีความละเอียดสามารถทำได้โดยใช้กระบวนการอัลตราโซนิคร่วมในระหว่าง
กระบวนการหล่อ ผลการศึกษาวิจัยพบว่าโครงสร้างยูเทคติคเกรนและสารประกอบ Al13Fe4 มีขนาดเล็กลงและการกระจายตัวดีขึ้น
ส่งผลให้สมบัติความแข็งและการนำไฟฟ้าเพิ่มสูงขึ้น นอกจากนั้นความแข็งของอลูมิเนียมผสมเพิ่มขึ้นอย่างมีนับสำคัญภายหลังผ่าน
กระบวนการบ่มแข็งที่อุณหภูมิ 400 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 30 ชั่วโมง
คำสำคัญ : อลูมิเนียมผสมเหล็ก, กระบวนการอัลตราโซนิค, การปรับโครงสร้างจุลภาคละเอียด, การบ่มแข็ง

Abstract
Hypereutectic Al-Fe alloy has an increasing interest in the investigation of microstructure and
mechanical properties due to it found that the microstructure is composed of aluminum grain (𝛼-Al) and
primary Al13Fe4 which is a hardened structure, thermally stability, and good electrical conductivity. However,
the primary Al13Fe4 is large, brittle, and distributes non-uniformly in the microstructure during solidification

495
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

lead to decrease the mechanical properties of the alloy. Therefore, microstructure refinement can be
achieved by Ultrasonic Treatment during casting process. The results found that the refined primary Al13Fe4
and eutectic colonies resulted in increased hardness properties and electrical conductivity. Moreover, the
hardness value was considerably improved by aging process at 400 °C for 30 hr.

Keywords : Al-Fe aluminum alloy, Ultrasonic Treatment, Microstructure refinement, Aging

496
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

1. บทนำ
ปั จ จุ บ ั น โลหะอลู ม ิ เ นี ย มผสมมี ค วามสำคั ญ ในเชิง จำเป็ น ที ่ ต ้ อ งการศึ ก ษาวิ จ ั ย เพื ่ อ พั ฒ นาสมบั ต ิ ข อง
เศรษฐกิจและภาคอุตสาหกรรมเป็นอย่างมาก มีการใช้งาน โลหะอลูมิเนียมผสมเกรดนี้ให้มีโครงสร้างจุลภาคที่มีเกรน
อย่ า งแพร่ ห ลายในอุ ต สาหกรรมต่ า งๆ อาทิ เ ช่ น ละเอียดเพื่อช่วยสมบัติทางกลและสมบัติการนำไปใช้งาน
อุตสาหกรรมยานยนต์ อุตสาหกรรมอากาศยาน และการ ในด้ า นต่ า งๆ เช่ น ความแข็ ง แรง การนำไฟฟ้ า ความ
ใช้ง านภายในประเทศ เนื่องจากมีส มบัติที่น่าสนใจคื อ เหนียว เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่อไป
น้ำหนักเบา ความแข็ง แรงต่อหน่วยน้ำหนั กสูง การนำ
การปรับปรุงโครงสร้างจุลภาคด้วยเทคนิคคลื่นอัล ตรา
ความร้อนและไฟฟ้า และความต้านทานต่อการกัดกร่อนดี
โซนิค (Ultrasonic treatment) เป็นกระบวนการหลอม
[1] ซึ่งโลหะอลูมิเนียมผสม เป็นกลุ่มที่มีการศึกษาและใช้
ด้วยการสั่นของคลื่นความถี่สูงมากกว่า 17 kHz ซึ่งส่งผล
งานในภาคอุตสาหกรรมปัจจุบันอย่างแพร่หลาย เนื่องจาก
ให้ เ กิ ด ปฏิ ก ิ ร ิ ย าโพรงอากาศขนาดเล็ ก ในน้ ำ โลหะ
มีข้อดีคือ สมบัติการหล่อดีความต้านทานการกัดกร่อนที่ดี
หลอมเหลว (Cavitation Melt Reaction) ซึ่งโพรงอากาศ
มีค วามแข็ง ความแข็ง แรงสูง แต่ อย่างไรก็ตามปริมาณ
ขนาดเล็กจะแตกตัวทำให้เกิดความดันในน้ำโลหะซึ ่ง จะ
ซิลิกอนทีส่ ูงในโลหะอลูมิเนียมซิลิกอนผสม ส่งผลต่อสมบัติ
ส่งผลทำให้เกิดกระจายตัวและการแตกหักของเดนไดรท์
เชิงกล และอาจนำไปสู่การลดลงของการนำไฟฟ้า อย่างไร
และอนุ ภ าคแข็ ง การเกาะกลุ ่ ม ของอนุ ภ าคแข็ ง การ
ก็ตามอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่มีค วามต้องการใช้
กระจายตัวของอนุภาคสม่ำเสมอได้มากขึ้น เกรนมีความ
วัสดุที่มีน้ำหนักเบาและมีสมบัติการนำไฟฟ้าที่ดีเพื่อผลิต
ละเอี ย ดมากขึ ้น ช่ว ยลดข้ อบกพร่ อ งในชิ ้ นงานหล่อได้
เป็นชิ้นส่วนยานยนต์ไฟฟ้า ซึ่งงานวิจัยในปัจจุบันได้มกี าร
(ความแข็ ง , ความต้ า นทานแรงดึง , การยื ด ตั ว ) ที ่ ม ีค่า
ศึกษาวิจัยการพัฒนาอลูมิเนียมผสมไฮเปอร์ยูเทคติคเหล็ก
เพิ ่ ม ขึ ้ น ความเป็ น รู พ รุ น ลดลง [3] พบว่ า ช่ ว ยเพิ่ ม
(Hypereutectic Al-Fe alloy) ซึ่ง นับว่าเป็ นอลู มิ เ นี ย ม
ประสิทธิภาพการปรับสภาพเกรนละเอียดได้ดี
เกรดใหม่ที่มีความน่าสนใจเป็นอย่างมาก อลูมิเนียมเกรดนี้
ส่วนผสมของเหล็กมากกว่า 2 เปอร์เซ็น ต์โดยน้ำหนัก ซึ่ง ดังนั้นโครงงานวิจัยนี้จึงมุ่งเน้นที่พัฒนาโลหะอลูมิเนียม
โครงสร้างจุล ภาคประกอบด้วยเกรนอลูมิเนียม (α-Al) เหล็กผสม Al-Fe ร่วมกับกระบวนการคลื่นอัล ตราโซนิค
และเฟสปฐมภู ม ิ ข องเหล็ ก Al13Fe4 (Primary Al13Fe4 เพื ่ อ ศึ ก ษาอิ ท ธิ พ ลของกระบวนการอั ล ตราโซนิ ค ต่ อ
phase) [2] ซึ่งเป็นโครงสร้างที่มี ความแข็ง มีเสถียรภาพ ประสิทธิภาพการปรับสภาพเกรนละเอียดช่วยส่ง ผลต่อ
ทางความร้อน และช่วยเพิ่มสมบัติการนำไฟฟ้าที่ดี อย่างไร สมบัติทางกล การนำไฟฟ้า
ก็ตามสมบัติทางกลของอลูมิเนียมขึ้นกับโครงสร้างจุลภาค
กล่าวคือ อลูมิเนียมที่มีโครงสร้างเกรนอลูมิเนียมและเฟส 2. วิธีการดำเนินการวิจัย
ปฐมภูมิที่มีขนาดใหญ่จะส่งผลต่อการสูญเสียสมบัติทางกล โลหะอลูมิเนียมผสมเหล็ กร้อยละ 6 เปอร์เซ็น ต์โดย
การนำไฟฟ้า และความต้านทานการกัดกร่อน เนื่องจาก น้ำหนัก (Al-6 wt.% Fe) เตรียมจากอลูมิเนียมบริส ุทธิ์
โครงสร้าง Al13Fe4 มีความแข็งเปราะและกระจายตัวได้ไม่ (99.99 wt.% Al) ผสมกับ โลหะแม่ อลูมิเนียมผสมเหล็ก
ดีในระหว่างการแข็ง ตัว ของน้ำโลหะ ดัง นั้นจึง มีค วาม Al-20 wt.%Fe ด้วยกระบวนการหล่อจากเตาไฟฟ้าชนิด

497
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

เหนี่ยวนำ ทำการหลอมโลหะผสมที่ อุณหภูมิ 850 องศา (SEM/EDX) สำหรับการตรวจสอบโครงสร้างมหภาคเพื่อ


เซลเซี ย ส และตรวจสอบองค์ ป ระกอบทางเคมี ข อง ตรวจสอบโครงสร้างยูเทคติคจะนำชิ้นงานที่ผ ่านการขั ด
อลูมิเนียมผสมเหล็กด้วยเครื่องสเปกโตรมิเตอร์โดยผลการ ละเอียดมากัดผิวหน้ าด้ วยสารละลายกรด Barker 4%
ทดสอบแสดงในตารางที่ 1 ด้วยขนาดแรงดันไฟฟ้าที่ 15V ทำความสะอาดชิ้นงานด้วย
น้ ำ สะอาดแล้ ว เป่ า ให้ แ ห้ ง และตรวจสอบด้ ว ยกล้ อ ง
ตารางที่ 1 องค์ประกอบทางเคมีของอลูมิเนียมผสมเหล็ก จุลทรรศน์แบบใช้แสง
ที่ใช้ในการทดลอง (wt.%)
การทดสอบความแข็ง จะเตรียมชิ้นงานตัวอย่างตาม
Alloys Fe Al มาตรฐานการทดสอบความแข็งแบบไมโครวิกเกอร์ และ
Al-6Fe 6.0 Bal. ทำการทดสอบด้ ว ยเครื ่ อ ง Micro Vickers Hardness
Tester โดยใช้แรงกด 1 kgf. เป็นเวลา 10 วินาที ทำการ
หลั ง จากนั ้ น เติ ม ฟลั ก ซ์ (Flux) ลงในน้ ำ โลหะ ความแข็ง 10 ครั้งต่อชิ้นงานตัวอย่าง และทดสอบความ
หลอมเหลว ทำการไล่แก๊ส ด้วยแก๊ส ไฮโดรเจนด้วยแก๊ส แข็ ง ชิ ้ น งานที ่ ไ ม่ ผ ่ า นการบ่ ม และที ่ ผ ่ า นการบ่ ม แข็ง ที่
อาร์กอน และทำการกําจัด ขี้ตะกรันอลูมิเนียม (Dross) อุณหภูมิ 375 และ 400 องศาเซลเซียสเป็นระยะเวลา 30
ตามลำดับ หลังจากนั้นโลหะหลอมเหลวถูกบ่มด้วยอัล ตร้า ชั่วโมง
โซนิค ตั้งแต่อุณหภูมิ 820 ถึง 760 องศาเซลเซียส ด้วย การทดสอบการนำไฟฟ้า ด้วยเครื่องทดสอบการนำ
คลื่นอัลตราโซนิคความถี่ 20 กิโลเฮิรตซ์ 2 กิโลวัตต์ แล้ว ไ ฟ ฟ ้ า ก ร ะ แ ส ไ ฟฟ ้ า ว น (Electrical Eddy Current
จึ ง ทำการเทลงในแบบหล่ อ ในกรณี ช ิ ้ น งานที ่ ไ ม่ ผ ่ า น Testing Equipment HEC-102) ที่ความถี่ 60 กิโลเฮิร์ตซ์
กระบวนการอัลตราโซนิคน้ ำโลหะอลูมิเนียมหลอมเหลว ที่อุณหภูมิห้อง ทำการทดสอบการนำไฟฟ้า 10 ครั้งต่อ
จะถูกลดอุณหภูมิลงถึง 760 องศาเซลเซียส และเทลงใน ชิ้นงานตัวอย่าง
แบบหล่อ
การศึ ก ษาโครงสร้ า งทางโลหวิ ท ยาทำโดยการนำ
3. ผลการทดลองและอภิปรายผล
ชิ ้ น งานจากบริ เ วณจุ ด ศู น ย์ ก ลางแบบหล่อ มาขั ด ด้ ว ย 3.1 อิทธิพลของกระบวนการอัลตราโซนิคต่อโครงสร้าง
กระดาษทรายจนถึงความละเอียด 1200 และขัดละเอียด จุลภาคของอลูมิเนียมผสมเหล็ก 6 เปอร์เซ็นต์โดย
ด้ ว ยผงเพชรขนาด 3 ไมครอน และซิ ล ิ ก าคอลลอยด์ น้ำหนัก (Al-6 wt.%Fe)
(OPS) ขนาด 0.04 ไมครอน ตามลำดับ จากการศึกษาโครงสร้างจุลภาคโดยทั่วไปด้วยกล้อง
จากนั้นนำชิ้นงานตัวอย่างตรวจสอบโครงสร้างจุลภาค จุ ล ทรรศน์ แ บบส่ อ งกราดพบว่ า โครงสร้ า งจุ ล ภาค
และลักษณะของสารประกอบด้วยกล้องจุลทรรศน์แบบใช้ ประกอบด้วยโครงสร้างยูเ ทคติค และสารประกอบเชิ ง
แสง (OM) และกล้ อ งจุ ล ทรรศน์ แ บบส่ อ งกราดพร้ อม โลหะอลูมิเนียมเหล็กบนเนื้อพื้นอลูมิเนียมดังแสดงในรูปที่
วิ เ คราะห์ อ งค์ป ระกอบทางเคมี ข องสารประกอบด้วย 1 (ก) จากผลการวิเ คราะห์อ งค์ป ระกอบทางเคมีของ
เทคนิคด้วยสเปกโทรเมตรีรังสีเอกซ์แบบกระจายพลังงาน สารประกอบพบว่าคือ สารประกอบเชิ ง โลหะ Al13Fe4

498
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

(primary Al13Fe4 phase อ้างอิงจากเฟสไดอะแกรม,[9]) ตารางที่ 2 ขนาดยูเทคติคเกรนโดยเฉลี่ยของอลูมิเนียม


ดังแสดงในรูปที่ 1 (ข) ผสมเหล็ก Al-6 wt.% Fe ที่ไม่ผ่านและหลังผ่านการบ่ม
ด้วยกระบวนอัลตราโซนิค
ลักษณะ ชิ้นงาน ขนาด (ไมครอน)
ตัวอย่าง
โครงสร้าง No UST 898±0.5
ยูเทคติคเกรน UST 679±0.5

รูปที่ 1 โครงสร้างจุลภาคด้วยกล้องจุล ทรรศน์แบบส่อง


กราด (ก) สารประกอบ Al13Fe4 ในอลูมิเนียมผสมเหล็กที่
ผ่านการบ่มด้วยอัล-ตร้าโซนิค และ (ข) องค์ประกอบทาง
เคมีของสารประกอบ Al13Fe4 ด้วยเทคนิค SEM-EDS
จากการศึกษาโครงสร้างมหภาคอลูมิเนียมผสมเหล็ก
Al-6Fe ที่ไม่ ผ ่านการบ่มด้วยกระบวนการอัล ตราโซนิ ค
พบว่า โครงสร้างยูเทคติค เกรน (eutectic colony) มี
ขนาดใหญ่และไม่ส ม่ำเสมอ เมื่อโลหะที่ผ่านการบ่ม ด้ว ย
กระบวนการอัลตราโซนิคพบว่า โครงสร้างยูเทคติคเกรนมี
ขนาดเล็กลง มีการกระจายตัวและรูปร่างสม่ำเสมอกันดัง
แสดงรูปที่ 2 (ก) และ (ข) ตามลำดับ รูปที่ 2 โครงสร้างมหภาคของอลูมิเนียมผสมเหล็ก Al-6Fe
(ก) ที่ ไม่ ผ ่ า นการบ่ ม และ (ข) ที ่ ผ ่ า นการบ่ ม โดย
ตารางที่ 2 แสดงผลการวัดขนาดโครงสร้างยูเ ทคติค
กระบวนการอั ล ตราโซนิ ค และโครงสร้ า งจุ ล ภาคของ
เกรน (eutectic colony) เชิงปริมาณของโลหะที่ผ่านการ
อลูมิเนียมผสมเหล็ก Al-6Fe (ค) ที่ไม่ผ่านการบ่ม และ (ง)
บ่มและไม่ผ่านการบ่มด้วยคลื่นอัลตราโซนิค พบว่าขนาด
ที่ผ่านการบ่มโดยกระบวนการอัลตราโซนิค
ของเกรนลดลงอย่างมีนัยสำคัญ โดยขนาดเกรนเฉลี่ยของ
อลูมิเนียมผสมเหล็ก Al-6Fe ลดลงจาก 898±0.5 ไมครอน
จากผลการศึกษาโครงสร้างจุลภาคของอลูมิเนียมผสม
เป็ น 679±0.5 ไมครอน ภายหลั ง ผ่ า นการบ่ ม ด้ ว ย
เหล็ก Al-6Fe ยังพบว่ามีสารประกอบเชิงโลหะ Al13Fe4 ที่
กระบวนการอัลตราโซนิค
มีล ักษณะเป็นเส้นยาวขนาดโดยเฉลี่ย เท่ากับ 568±10
ไมครอน กระจายตัวอย่างไม่สม่ำเสมออยู่บนเนื้อพื้นของ
อลูมิเนียม (สีขาว) และเฟสยูเทคติค (สีเทา) ดังแสดงในรูป
ที่ 2(ค) อย่างไรก็ตามสารประกอบเชิงโลหะมีขนาดที่เล็ก
ลงโดยเฉลี่ยเท่ากับ 198±10 ไมครอน และกระจายตัว
สม่ำเสมอมากขึ้นดังแสดงในรูปที่ 2 (ง) ซึ่งผลจากการวัด
499
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

สัดส่วนพื้ น ที่ ข องสารประกอบเชิง โลหะบนพื ้นผิ ว ของ


อลูมิเนียมพบว่า อลูมิเนียมผสมเหล็ก Al-6Fe ที่ไม่ผ ่าน
การบ่มมีสัดส่วนพื้นที่ของสารประกอบเชิงโลหะ เท่ากับ
25.12 % และที่ผ่านการบ่มด้วยกระบวนการอัลตราโซนิค
มีสัดส่วนพื้นที่ของสารประกอบเชิงโลหะ เท่ากับ 28.86 %
ดังแสดงในตารางที่ 3
จากผลการศึ ก ษาวิ จ ั ย พบว่ า การลดลงของขนาด
โครงสร้างยูเทคติคเกรนและสารประกอบเชิงโลหะ และ
รูปที่ 3 ความแข็งของอลูมิเนียมผสมเหล็กชนิด Al-6Fe ที่
เพิ่มการกระจายตัวสม่ำเสมอนั้นเนื่องมาจากการบ่มด้วย
ไม่ผ่านการบ่มแข็ง (As-cast) และผ่านการบ่มแข็งที่
คลื่นอัลตราโซนิคในโลหะหลอมเหลวจะส่งผลให้เกิดการ
อุณหภูมิ 375 องศาเซลเซียสและ อุณหภูมิ 400 องศา
แตกหักและช่วยเพิ่มพื้นทีข่ องสารประกอบในระหว่างที่น้ำ
เซลเซียสของอลูมิเนียมที่ไม่ผ่านการบ่มและบ่มด้วยอัลตรา
โลหะเกิดการแข็งตัว [6]
โซนิค
ตารางที่ 3 ขนาดและพื้นที่โดยเฉลี่ยของสารประกอบเชิง
โลหะ Al13Fe4 ในอลูมิเนียมผสมเหล็ก Al-6 wt.% Fe ที่ไม่ ผลการทดสอบความแข็งของอลูมิเนียมผสมเหล็กชนิด
ผ่านและหลังผ่านการบ่มด้วยกระบวนอัลตราโซนิค Al-6Fe ที่ ผ ่ า นกระบวนการอั ล ตราโซนิ ค และไม่ ผ ่ า น
กระบวนการอั ล ตราโซนิ ค พบว่ า ความแข็ ง ของ
เปอร์เซ็นต์
โลหะอลู ม ิ เ นี ย มผสมเหล็ กเพิ ่ ม ขึ ้ น จาก 28±0.74 เป็ น
ชิ้นงาน ขนาด พื้นที่ของ
ลักษณะ ตัวอย่าง (ไมครอน) สารประกอบ 32±0.43 HV ภายหลังผ่านกระบวนการอัลตราโซนิค ซึ่ง
เชิงโลหะ เป็ น ผลมาจากกระบวนการ อั ล ตราโซนิ ค ส่ ง ผลให้
สารประกอบ No UST 568 ± 10 25.12 โครงสร้ า งจุ ล ภาคมี ค วามละเอี ย ดมากยิ ่ ง ขึ ้ น และ
Al13Fe4 UST 198 ± 10 28.86 สารประกอบเชิงโลหะ Al13Fe4 มีการกระจายตัวสม่ำเสมอ
อย่างไรก็ตามการเพิ่มสมบัติทางกลของอลูมิเนียมสามารถ
ปรับปรุงได้โดยผ่านกระบวนการอัลตราโซนิคเพิ่มขึ้นอย่าง
3.2 อิทธิพลของกระบวนการอัลตราโซนิคที่มีผลต่อ
มีนัยสำคัญ
ความแข็งของอลูมิเนียมผสมเหล็ก

3.3 สมบัติการนำไฟฟ้าของอลูมิเนียมผสมเหล็ก Al-


6Fe
รู ป ที ่ 4 แสดงผลการศึ ก ษาค่ า การนำไฟฟ้ า ของ
อลูมิเนียมผสมเหล็กก่อนและหลังการบ่มแข็ง ที่อุณหภูมิ
375 องศาเซลเซียส และ 400 องศาเซลเซียส ในชิ้นงาน
โลหะที่ผ่านการบ่มและไม่บ่มด้วยอัลตราโซนิค พบว่าค่า
500
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

การนำไฟฟ้าเพิ่มขึ้นจาก 25 %IACS เป็น 29 %IACS ใน องศาเซลเซียสและ อุณหภูมิ 400 องศาเซลเซียสของ


ชิ้นงานหล่อที่ผ่านการบ่มด้วยอัลตราโซนิคในสภาวะหล่อ อลูมิเนียมที่ไม่ผ่านการบ่มและบ่มด้วยอัลตราโซนิค
(as-cast stage) ซึ่ง อาจเป็นผลจากการกระจายตัวของ
สารประกอบเชิงโลหะ Al13Fe4 ดังแสดงในรูปที่ 2 อย่างไร 4. สรุปผล
ก็ตามค่าการนำไฟฟ้าเพิ่มสูง ขึ้นภายหลัง การบ่มแข็ง ที่
อุณหภูมิ 375 องศาเซลเซียส อยู่ในช่วง 34-37 %IACS การศึกษางานวิจัยอลูมิเนียมผสมเหล็ก 6 เปอร์เซ็นต์
จากผลการทดลองพบว่าชิ้นงานที่ไม่ผ่านการบ่มด้ ว ยอัล โดยน้ ำ หนั ก พบว่ า โครงสร้ า งจุ ล ภาคประกอบด้ ว ย
ตราโซนิค มีค่าการนำไฟฟ้าเพิ่มขึ้นสูงกว่าชิ้นงานที่ผ ่า น สารประกอบเชิงโลหะอลูมิเนียม-เหล็ก (primary Al13Fe4
การบ่มด้วยอัล ตราโซนิค ซึ่ง คาดว่าเป็นผลจากการบ่ม phase) และโครงสร้างยูเทคติคอลูมิเนียมเหล็ก จากผล
ด้วยอัลตราโซนิคส่งผลให้เกิดการแตกหักและการกระจาย การบ่มด้วยคลื่นอัลตราโซนิคในอลูมิเนียมหลอมเหลวก่อน
ตั ว ของสารประกอบเชิง โลหะ ซึ ่ ง จะส่ ง ผลให้ เ กิด การ การแข็งตัวของน้ำโลหะส่งผลให้โครงสร้างยูเทคติคเกรน
ขัดขวางการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนในการนำไฟฟ้าใน (eutectic colony) และสารประกอบเชิง โลหะ Al13Fe4
โลหะอะลูมิเนียมผสมเหล็ก [7] อย่างไรก็ตามการบ่มแข็งที่ เหล็ก (primary Al13Fe4 phase) มีขนาดเล็กลงและมีการ
400 องศาเซลเซี ยส พบว่ า การนำไฟฟ้า เพิ ่ม สู ง ขึ ้ นใน กระจายตัวดีขึ้น ส่งผลให้สมบัติทางกลและการนำไฟฟ้า
อะลูมิเนียมที่ผ่านการบ่มด้วยอัลตราโซนิค เนื่องจากเป็น เพิ่มสูงขึ้น
ผลจากการเกิดการตกผลึกระดับนาโนในเนื้อพื้นอลูมิเนียม นอกจากนั้นผลจากการบ่มแข็งอลูมิเนียมผสมเหล็กที่
ในปริมาณมาก [8] ซึ่งพบว่าผลการนำไฟฟ้าสอดคล้องกับ อุ ณ หภู มิ 375 และ 400 องศาเซลเซี ย สเป็ น เวลา 20
ค่าความแข็งที่เพิ่มสูงขึ้นในชิ้นงานที่ผ่านการบ่มด้วยอัล - ชั ่ ว โมง พบว่ า ความแข็ ง เพิ ่ ม สู ง และการบ่ ม ด้ ว ย
ตราโซนิคและบ่มแข็งที่อุณหภูมิ 400 องศาเซลเซียส ซึ่ง กระบวนการอัลตราโซนิค มีผลต่อค่าขึ้นโดยความแข็ง HV
จะช่วยให้เกิดการนำอิเล็กตรอนได้ดี ทำให้ค่าการนำไฟฟ้า ที่เพิ่มขึ้น จากการบ่มด้วยกระบวนการเฉพาะอลูมิเนียมที่
ที่เพิ่มสูงขึ้น ผ่านการบ่มด้วยคลื่นอัลตราโซนิคและอบที่อุณหภูมิ 400
องศาเซลเซียสผ่านกระบวนการอัล ตราโซนิ คมีค ่าความ
แข็ง สูง ที่ส ุ ดเท่า กับ 153 HV และค่าการนำไฟฟ้ า เพิ่ ม
สูงขึ้นถึง 37 %IACS เมื่อทำการบ่มแข็ง ที่อุณหภูมิ 375
องศาเซลเซี ย ส ซึ ่ ง คาดว่ า น่ า จะเป็ น ผลมาจากการ
ตกตะกอนของเฟส Al13Fe4 ในโครงสร้างอลูมิเนียมผสม
เหล็ก

5. กิตติกรรมประกาศ
รูปที่ 4 ค่าการนำไฟฟ้า (Electrical conductivity, ขอขอบคุณอาจารย์ที่ปรึกษา ดร.สุวารี ชาญกิจมั่นคง
%IACS) ของอลูมิเนียมผสมเหล็กชนิด Al-6Fe ที่ไม่ผ่าน และขอขอบคุณคณะวิศ วกรรมศาตร์ สถาบันเทคโนโลยี
การบ่มแข็ง (As-cast) และผ่านการบ่มแข็งที่อุณหภูมิ 375 พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง โครงการทุนวิจัย

501
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

ภายใต้สัญญา KREF046409 ที่ได้ให้การสนับสนุนงานวิจัย 6. Eskin, D.G., 2015. Ultrasonic melt processing:


นี้ Achievements and challenges. In Materials
เอกสารอ้างอิง Science Forum (Vol. 828, pp. 112-118). Trans
1. Zaid, A. I. O., & Al-Qabalah, S. M. A. (2010). Effect Tech Publications Ltd.
of Zr Addition on the Mechanical Behavior, 7. Medvedev, A., Murashkin, M., Enikeev, N.,
Ductility and Wear Resistance of Aluminum Medvedev, E., & Sauvage, X. (2021). Influence
Grain Refined by Titanium. Key Engineering of Morphology of Intermetallic Particles on
Materials, 442, 15–25. the Microstructure and Properties Evolution in
2. Niu, X. P., Froyen, L., Delaey, L., & Peytour, C. Severely Deformed Al-Fe Alloys. Metals, 11(5),
(1994). Effect of Fe content on the mechanical 815.
alloying and mechanical properties of Al-Fe 7. Shuai, G.L., Li, Z., Zhang, D.T., Tong, Y.X. and Li,
alloys. Journal of Materials Science, 29(14), L., 2021.ห The mechanical property and
3724–3732. electrical conductivity evolution of Al–Fe
3. Zhang, L., Eskin, D. G., & Katgerman, L. (2011). alloy between room temperature and
Influence of ultrasonic melt treatment on the elevated temperature ECAP. Vacuum, 183,
formation of primary intermetallics and p.109813.
related grain refinement in aluminum alloys. 9. N.A. Belov, A.A. Aksenov, Dmitry G. Eskin.
Journal of Materials Science, 46(15), 5252– (2002). Iron Phase Diagrams of Iron-Containing
5259. Aluminum Alloys. Iron in Aluminium Alloys,
4. Cubero-Sesin, Jorge M.; Arita, Makoto; Horita, 4(1), 3-7.
Zenji (2015). High Strength and Electrical
Conductivity of Al-Fe Alloys Produced by
Synergistic Combination of High-Pressure
Torsion and Aging. Advanced Engineering
Materials, 17(12), 1792–1803.
5. S. Chankitmunkong, D.G.Eskin & C.
Limmaneevichitr (2021). Effects of Ultrasonic
Melt Processing on Microstructure, Mechanical
Properties, and Electrical Conductivity of
Hypereutectic Al–Si, Al–Fe, and Al–Ni Alloys
with Zr Additions. Light Metals 2021.

502
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

การประยุกต์ใช้แบบจำลองอ้างอิงการดำเนินงานโซ่อุปทาน
เพื่อการวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานในกิจกรรมหลักด้านโลจิสติกส์ขาเข้า
กรณีศึกษา อุตสาหกรรมขนมขบเคี้ยว
Application of the SCOR Model for Supply Chain analysis
In core Activities Inbound Logistics a Case Study the Snack Industry

ทิพย์สุดา ไตรยราช1* เก็จมณี ครุฑศรี2* และ สุนิตา วงษ์ศา3*


1
ภาควิชาโลจิสติกส์สากลและการจัดการอุตสาหกรรม ,ภาควิชาการจัดการโลจิสติกส์ คณะบริหารธุรกิจ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร เขตหนองจอก กรุงเทพฯ 10530
2,3
ภาควิชาการจัดการโลจิสติกส์ คณะบริหารธุรกิจ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร เขตหนองจอก กรุงเทพฯ 10530
*E-mail: thipsuda.kcenterone@gmail.com,thipsuda@mutacth.com1*, 6113140092@mutacth.com3*

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์หาสาเหตุของบริษัทกรณีศึกษาโดยใช้ SCOR Model และเพื่อศึกษาแนว


ทางการบริหารจัดการคำ สั่งซื้อวัตถุดิบให้เกิดประสิทธิภาพ จากงานวิจัยพบว่า การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานในส่วนกิจกรรมหลัก
ด้านโลจิสติกส์ขาเข้าของกรณีศึกษาโดยใช้แบบจำลองอ้างอิงการดำเนินงานโซ่อุปทาน SCOR Model มีผลการวิเคราะห์ดังนี้ 1. การ
วางแผน (Planning : P) พบปัญหาการส่งวัตถุดิบหลัก(สาหร่าย) ไม่สามารถส่งตามจำนวนที่ต้องการได้ จึงทำให้ไม่เพียงพอต่อการผลิต 2.
ด้านการจัดหา (Source : S) พบปัญหาผู้ผลิต (Supplier) จัดส่งวัตถุดิบไม่ตรงกับความต้องการที่ใช้ในการผลิต และการจัดส่งวัตถุดิบ
เกินระยะเวลาที่กำหนด 3. ด้านการผลิต ( Make : M ) พบปัญหาผู้ผลิต (Supplier) ส่งสินค้าไม่ตรงตามความต้องการ จึงส่งผลให้
ด้านการผลิตของกรณีศึกษาผลิตไม่ทันตามความต้องการของลูกค้า ทำให้เกิด Back Order 4. ด้านการจัดส่ง (Deliver: D) พบ
ปัญหาจัดส่งสินค้าให้กับลูกค้าเกินระยะเวลาที่กำหนดเนื่องจากสินค้าผลิตล่าช้ากว่ากำหนดการเดิม 5. ด้านการรับ/ส่งของคืน
(Return : R) พบปัญหาการส่งกลับวัตถุดิบ (Rejection) เนื่องจากสินค้าเสียหายหรือชำรุด ปัญหาด้านการจัดหา (Source : S) และ
ด้านการผลิต ( Make : M) ส่งผลกระทบต่อองค์กรของกรณีศึกษามากที่สุดผู้ผลิต Supplier ส่งวัตถุดิบไม่เพียงพอต่อการผลิตทำให้
การผลิตหยุดชะงัก มีความสูญเสียด้านต้นทุนการผลิตผู้ผลิต Supplier ส่วนใหญ่เป็นคู่ค้าทางธุรกิจจากต่างประเทศ ส่งผลให้
แผนการผลิตไม่สามารถผลิตสินค้าได้ตามแผนการผลิต ทำให้มียอด Back Order ยอดการผลิต มีผลต่อแผนการจัดส่งล่าช้าไม่ ตรง
ตามแผนที่กำหนด และพบปัญหาด้านการบริหารจัดการด้านการนำเข้า ส่งผลให้ได้รับสินค้าล่าช้า ไม่ตรงตามแผนที่กำหนด ดังนั้น
มีแนวทางการปรับปรุงแก้ไขปัญหาปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัดโดยใช้แนวคิด (Economic Order Quantity : EOQ) ขนาดของ

503
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

การผลิตสาหร่ายแต่ละครั้งที่ประหยัด คือ 4,151.32 ตัน โดยจะต้องทำการสั่งผลิตเท่ากับ 29 ครั้ง/ปี และมีต้นทุนรวมการควบคุม


ของคงคลัง 2,796.55 บาท/ปี ตัวชี้วัดประสิทธิภาพโลจิสติกส์ภาคอุตสาหกรรม ของกรณีศึกษาตามกิจกรรมโลจิสติก ส์ในด้าน
กิจกรรม การจัดซื้อจัดหามิติด้านความน่าเชื่อถือ มี อัตราความสามารถในการจัดส่งสินค้าของผู้ส่ง หลังการปรับปรุงเท่ากับ 80%
จากผลก่อนการปรับปรุงเท่ากับ 70% ส่งผลให้มีอัตราความสามารถในการจัดส่งสินค้าของผู้ส่งมอบเพิ่มขึ้นจากเดิม 10%

คำสำคัญ : แบบจำลอง SCOR Model, ปริมาณการสัง่ ซื้อที่ประหยัด, ซัพพลายเออร์, ดลจิสติกส์ขาเข้า, ตัวชี้วัดประสิทธิภาพโลจิ


สติกส์ภาคอุตสาหกรรม, อัตราความสามารถในการจัดส่งสินค้าของผู้ส่งมอบ

Abstract

The objective of research including application of the SCOR Model for supply chain Analysis in core
activities inbound logistics a case study the snack manufacturing industry: taokeanoi food& marketing Co., Ltd.
And study solution of order management for increase performance and efficiency. The results of application of
the SCOR Model for supply chain Analysis in core activities inbound logistics a case study the snack
manufacturing industry were 1. (Planning: P): That cannot delivery raw material on time, effect to production plan
and raw material shortage. 2. (Source: S): That cannot support purchase order plan and not right time on schedule,
effect to late delivery and over due date 3. ( Make : M ): That was effect to production plan. Organization a case
study cannot product on schedule and Delivery Order commitment to customer. That effect to over Back Order
in Process 4. ( Deliver: D): That was finding overdue date of delivery order to customer, that effect from back
order production process 5. ( Return : R): That was finding rejection raw material form QC process. A cause of
problem was Damage Cargo and not right quality. Key of cause problem in this research was (Source: S) and
( Make: M), that was most effect to organization case study. Supplier cannot delivery right time or on time on
delivery plan. Production has been interruption and waste of production cost. The most of supplier is partner
form international Business. That was finding problem in import process and effect to due date delivery plan
and receive plan. The back order was over lot size and effect to not right time or not on time due date delivery
plan. Also research team has application and solve problem with Economic Order Quantity: EOQ method. That
was finding lot size for purchasing estimate 4,151.32 Tons. Per time. The frequency for purchase order was 29
times per year. Total cost including control cost of warehousing was 2 ,7 9 6 . 5 5 THB. Per year. The Industrial
Logistics Performance Index: ILPI) of case study in Logistics activity - Purchase and Procurement and ability of
Supplier Delivered In-Full and On-Time Rate: SDIFOT) was finding score after improvement 80% from before
score 70%. That effect to Supplier Delivered In-Full and On-Time Rate: SDIFOT was higher 10% from before
score.

504
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

Keywords: SCOR Model, Economic Order Quantity: EOQ, Supplier, Inbound Logistics, Industrial Logistics
Performance Index: ILPI, Supplier Delivered In-Full and On-Time Rate: SDIFOT

505
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

1. บทนำ 2. ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
การผลิตและการแปรรูปผลิตภัณฑ์ จ ากส่วนประกอบที่ 2.1 ทฤษฎีแบบจำลองอ้างอิงการดำเนินงานโซ่อุปทาน
หลากหลายไม่ส ามารถที่จ ะผลิ ตชิ้ นส่ว นเพื่ อประกอบเป็ น SCOR Model
ผลิตภัณฑ์ได้หมดเนื่องจากเทคโนโลยีในการผลิตรวมถึง การ ถูกพัฒนาขึ้นมาเพื่ออธิบายลักษณะและการแสดงให้เห็ น
ควบคุมส่งผลให้ลิตสินค้าไม่ได้ตามความต้องการของลูกค้าและ กิจกรรมทางธุรกิจทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการตอบสนองความ
คุณภาพที่ไม่ตรงตามข้อกำหนด พึง พอใจของลูกค้า มีการกำหนดกระบวนการต่างๆให้เป็น
ซัพพลายเออร์เป็นองค์ประกอบสำคัญในการดำเนิน การ มาตรฐานเดียวกันและมีโครงสร้างแสดงความสัมพันธ์ระหว่าง
ทางธุรกิจที่มีผลกระทบอย่างมากในด้านต้นทุนการผลิตที่มีค่า กระบวนการ ประกอบด้วย 5 กระบวนการ คือ การวางแผน
สูงถึงร้อยละ 42-79 ของผลิตภัณฑ์ ด้านคุณภาพ ด้านเวลา (Plan) การจัดหาแหล่ง วัตถุดิบ (Source) การผลิต (Make)
การจัดส่งผลิตภัณฑ์ให้ลูกค้าและ ด้านการเปลี่ยนแปลงทาง การจัดส่ง (Deliver) และ การส่งคืน (Return)
การตลาด
ขนมขบเขี้ยวเป็นอาหารทานเล่นที่ได้รับความนิยม ทำให้
อุตสาหกรรมขนมขบเคี้ยวมีอัตราการเติบโตและสภาพการ
แข่งขันทางการตลาดสูง ผู้ประกอบการจึงคิดหากลยุทธ์พั ฒนา
ผลิตภัณฑ์ของตน มุ่งเน้นในการผลิตขนมขบเคี้ยวที่อุดมไปด้วย
สารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายและสุขภาพ
ปัญหาการดำเนินงานโซ่อุปทานและการขนส่ง ขาเข้า ใน
ห่วงโซ่อุปทานของวัตถุดิบ เนื่องจากขาดประสิทธิภ าพการ รูปที่ 1 แบบจำลองอ้างอิงการดำเนินงานโซ่อุปทาน
ดำเนินงาน เกิดการขาดแคลนวัตถุดิบทำให้ไม่เพียงพอต่อการ
ผลิต คณะผู้วิจัยจึงมีความสนใจที่จะศึกษาเพื่อหาแนวทางใน 2.2 ทฤษฎีหลักการเกี่ยวข้องกับปริมาณสั่งซื้ออย่าง
การแก้ปัญหาโดยใช้แบบจำลองกระบวนการโซ่อุปทาน SCOR ประหยัด EOQ
Model และปริ ม าณการสั ่ ง ซื ้ อ ที ่ ป ระหยั ด EOQ เพื ่ อ หา เป็นวิธีการทางคณิตศาสตร์ที่ช่วยหาปริมาณการสั่งซื้อที่ทำ
แนวทางในการจัดซื้อวัตถุดิบให้เกิดประสิทธิภาพ ให้ต้นทุนรวมเกี่ยวกับการจัดการสินค้าคงคลังที่เกิดขึ้นต่ำ ที่สุด
วัตถุประสงค์ของการศึกษา ซึ่งต้นทุนรวมประกอบไปด้วยต้นทุนในการสั่งสินค้าและต้นทุน
เพื่อศึกษาวิเคราะห์ หาสาเหตุของบริษัทกรณีศึกษาโดยใช้ ในการเก็บรักษาสินค้า [1]
SCOR Model และเพื่อศึกษาแนวทางการบริหารจัดการคำ
สั่งซื้อวัตถุดิบให้เกิดประสิทธิภาพ
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
เพื ่ อ ทราบสาเหตุ ที ่ แ ท้ ข องปั ญ หาที่ เ กิ ด ขึ ้น ของบริษัท
กรณีศึกษา เพื่อปรับปรุงการบริหารในการจัดซื้อวัตถุดิบให้เกิด
ประสิทธิภาพ และเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาในการชะงักการผลิต
จากการขาดแคลนวัตถุดิบ รูปที่ 2 จุด EOQ ที่ทำให้ต้นทุนรวมต่ำที่สุด

506
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

EOQ เหมาะสำหรับการประยุกต์ใช้กับสินค้าคงคลังที่สั่งซือ้ พบว่ า สามารถลดปริม าณขาดแคลนสต็อ กดี ท ี่ ส ุ ด คิ ด เป็น


เป็นครั้งๆ โดยไม่ได้ดำเนินงาน หรือจัดส่งอย่างต่อเนื่อง 7,331,082 บาท หรือ 17% และยังลดปริมาณสินค้าคงคลัง ได้
Heizer and Render แสดงการหาปริมาณการสั่งซื้อแบบ อีกคิดเป็นมูลค่า 176,405 บาท
ประหยัดได้ด้วยขั้นตอนตามลำดับ 3. วิธีการดำเนินงาน
2.3 ทฤษฎีวัสดุคงคลังเพื่อความปลอดภัย Safety Stock 3.1 ศึกษากระบวนการผลิตสาหร่ายสำเร็จรูป
สินค้าคงคลังสำรองเป็นสินค้าคงคลังที่เก็บไว้เกินจากความ กระบวนการผลิตสาหร่ายสำเร็จรูป เพื่อตอบสนองความ
ต้องการสินค้า (Demand) สินค้าคงคลังสำรองต้องมีสำรองอยู่ ต้องการของลูกค้า แบ่งออกเป็น 4 ประเภท ได้แก่ สาหร่าย
ในคลังตลอดเวลา เพื่อหลีกเลี่ยงหรือป้องกันการเกิดสินค้าคง ทอด (Crispy Seaweed), สาหร่ายย่าง (Grilled Seaweed),
คลังขาดแคลนที่อาจเกิดขึ้นได้จากความไม่แน่นอนต่างๆ ใน สาหร่ า ยอบ (Roasted Seaweed) และสาหร่ า ยเทมปุ ร ะ
การดำเนินธุรกิจการมีสินค้าคงคลังสำรองในปริมาณมากย่อม (Tempura Seaweed)
ลดความเสี่ยงต่อการขาดสินค้า แต่ทำให้ผู้ประกอบการต้อง การผลิตสาหร่ายทอดเริ่มจากผู้จัดจำหน่ายวัตถุดิบจัดส่ง
เสียค่าใช้จ่ายในการจัดเก็บสินค้าคงคลังเพิ่มขึ้น วัตถุดิบต่างๆ ในกระบวนการผลิตมายังอาคารคลังสินค้าของ
2.4 ทฤษฎีเกี่ยวข้องกับการพยากรณ์ Forecasting บริษัท เพื่อรอการตรวจสอบ โดยฝ่ายตรวจสอบคุณภาพจะทำ
เป็นการใช้วิธีการเชิงคุณภาพและเชิงปริมาณ เพื่อคาด การสุ่มตรวจวัตถุดิบที่ได้รับมีคุณสมบัติตรงตามข้อกำหนดที่
คะเนอุปกรณ์ของสินค้า และบริการในอนาคตของลูกค้าทั้งช่วง ระบุไว้ของทางบริษัท จากนั้นวัตถุดิบที่ผ่านการตรวจสอบจะ
ระยะสั้น ระยะปานกลาง และระยะยาว [2] ถูกจัดเก็บเข้าคลังสินค้า ฝ่ายวางแผนจะเป็นผู้เบิกใช้วัตถุดิบแต่
2.5 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ละประเภทจากฝ่ายคลังสินค้า เพื่อจัดส่ง วัตถุดิบเข้าโรงงาน
มยุรฉัตร ศรีดาธรรม (2551) [3] ทำการประยุก ต์ ใ ช้ โดยจะมีฝ่ายผลิตและฝ่ายตรวจสอบ คุณภาพดำเนิน การสุ่ม
ปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัด EOQ เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพ ตรวจคุณภาพและปริมาณของวัตถุดิบ อีกครั้งก่อนนำวัตถุ ดิบ
การบริหารสินค้าคงคลังของบริษัทจำหน่ายกระเบื้องสุขภัณฑ์ ดังกล่าวเข้าสู่กระบวนการผลิต สินค้าที่ผ่านการตรวจสอบจะ
ครัวเรือน อีกทั้งเป็นการหาจุดาสั่งซื้ อที่เหมาะสมสำหรับกลุ่ม ถูกนำไปบรรจุในถุงโหลแล้วจึงนำไปบรรจุรวมใส่กล่องและทำ
สินค้าตัวอย่างพบว่า กิจกรรมสามารถลดมูลค่าสินค้าคงคลังได้ การปิดกล่องด้วยเทปและจัดวางบนแท่นรองรับ บรรจุภัณฑ์
ถึง 49.25% เมื่อทำการวิเคราะห์ อัตราการหมุนเวียนสิ นค้า เพื่อจัดส่งไปยังคลังสินค้าสำเร็จรูป โดยฝ่ายตรวจสอบคุณภาพ
ก่อนและหลังทำการศึกษา พบว่าอัตราการหมุนเวียนสินค้าเร็ว สินค้าจะทำการสุ่มตรวจสอบสภาพสินค้าอีกครั้ง จากนั้นฝ่าย
ขึ ้ น 40 วั น ส่ ง ผลให้ ก ิ จ การมี ส ภาพคล่ อ งมากขึ ้ น และจาก คลัง สินค้า จะลำเลียงสินค้าเข้าไปยัง ตู้ค อนเทนเนอร์ บนรถ
การศึกษาครั้งนี้พบว่ากิจการมีพื้นที่ในการจัดเก็บ สินค้าลดลง ขนส่ง เพื่อจัดส่งสินค้าไปยังลูกค้า
ถึง 105.85 ตารางเมตร คิดเป็น 55.71% ของพื้นที่ในการ
จัดเก็บสินค้าคงคลังทั้งหมด ตารางที่ 1 การผลิตสาหร่ายแต่ละประเภท
รุ ่ ง นภา ศรี ป ระโค (2556) [4] ศึ ก ษาหารู ปแบบการ
พยากรณ์ความต้องการสินค้าที่เหมาะสมเพื่อนำผลที่ไ ด้จ าก
การพยากรณ์ไปเปรียบเทียบกับการวางแผนความต้องการ
สินค้า และนำไปใช้เป็ น แนวทางการวางแผนการสั ่ง ซื ้ อ ใน
อนาคต เลือกใช้เทคนิคการพยากรณ์ 6 เทคนิค ผลการศึกษา
พบว่ า วิ ธ ี ก ารพยากรณ์ Linear Regressions มี ค ่ า ที ่ ด ี ท ี ่สุด
507
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

3.1.1 การผลิตสาหร่ายทอด Crispy Seaweed 3.1.3 การผลิตสาหร่ายอบกรอบ Roasted Seaweed

รูปที่ 5 กระบวนการผลิตสาหร่ายอบกรอบ
ที่มา; กรณีศึกษา
รูปที่ 3 กระบวนการผลิตสาหร่ายทอด
ที่มา; กรณีศึกษา
3.1.4 การผลิตสาหร่ายย่าง Grilled Seaweed
ตารางที่ 2 กระบวนการผลิตสาหร่ายย่าง
3.1.2 การผลิตสาหร่ายเทมปุระ Tempura Seaweed

รูปที่ 4 กระบวนการผลิตสาหร่ายเทมปุระ
ที่มา; กรณีศึกษา
508
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

3.2 การจัดหาวัตถุดิบหลัก Supplier ส่งตัวอย่างให้ฝ่ายตรวจสอบคุณภาพ (Quality


3.2.1 สาหร่าย Assurance: QA) เมื ่ อ ผ่ า นเกณฑ์ ม าตรฐานทางบร ิ ษั ท
สาหร่ายเป็นวัตถุดิบหลักในกระบวนการผลิต ของบริษัท กรณี ศ ึ ก ษาให้ ค ู ่ ค ้ า ทางธุ ร กิ จ เสนอราคาเพื ่ อ ใช้ ใ นการ
กรณี ศ ึ ก ษา วั ต ถุ ด ิ บ นี ้ ไ ด้ ส รรหาและวิ ธ ี จ ั ด จำหน่ า ยจาก เปรียบเทียบจำนวน 2-3 รายขึ้นไป บริษัทกรณีศึกษามี การ
ต่างประเทศ ผู้จัดจำหน่ายวัตถุดิบ (Suppliers) หลักที่ประเทศ สั่งซื้อสินค้าบรรจุภัณฑ์ได้แก่ ซอง ม้วนฟิล์ม Box และลังจาก
เกาหลี และทางบริษัทกรณีศึกษามีการสรรหาผู้จ ัดจำหน่า ย ผู้ขายหลายราย เพื่อลดความเสี่ยงจากการส่งมอบบรรจุภณ ั ฑ์
วั ต ถุ ด ิ บ จาก Request of Quotation (RFQ) และมี ก าร ให้บริษัทไม่ทันตามกำหนด
ตั ด สิ น ใจเลื อ กคู ่ ค ้ า ทางธุ ร กิ จ จากเอกสารใบเสนอราคา 4. ผลการวิจัย
ประมาณ 2-3 ราย บริษัทกรณีศึกษามีขั้นตอนการนัดหมายคู่ 4.1 การวิเคราะห์สาเหตุตของปัญหา
ค้าเข้าทำสัญญาข้อตกลง เพื่อการสั่งซื้อสาหร่ายจากผู้ผลิตและ
จั ด จำหน่ า ยเป็ น รายปี เงื ่ อ นไขในสั ญ ญาจะกำหนดระดับ
คุณภาพสาหร่าย ราคา ปริมาณรวมทั้งปีที่บริษัทกรณีศึกษาจะ
สั ่ ง ซื้ อ ทั ้ ง นี ้ บริ ษ ั ท กรณีศ ึ ก ษาจะเปิด ใบสั ่ง ซื้ อ Purchase
Order (PO) ที่ระบุปริมาณที่จะให้ผู้ผลิต และจัดจำหน่ายจัดส่ง
ให้ในแต่ละครั้ง การจัดส่งแต่ละครั้งบริษัทกรณีศึกษาจะดำเนิน
ตรวจสอบคุณภาพ และนำไปผลิตต่อไป
3.2.2 น้ำมันปาล์ม
การจัดหาน้ำมันปาล์มทางผู้ขายดำเนินการส่งตัวอย่างมา
ให้ ฝ ่ า ยตรวจสอบคุ ณ ภาพ (Quality Assurance: QA) ของ
บริษัทกรณีศึกษาทำการตรวจสอบคุณภาพ เมื่อผลตรวจผ่าน
จะให้ทำการเสนอราคาเปรียบเทียบราคา 2-3 รายขึ้นไปเมื่อ รูปที่ 6 ภาพ SCOR Model บริษัทกรณีศึกษา
คัดเลือกได้แล้วจะทำสัญญา ระบุราคาและส่งมอบ ทำสัญญา ที่มา; กรณีศึกษา
จองการซื้อล่วงหน้าเป็นช่วงๆ ตามสถานการณ์ตลาด มีการซื้อ จากรูปที่ 6 แสดงให้เห็นถึงกระบวนการผลิต จากต้นน้ำ กลาง
น้ำมันปาล์มกับผู้ขายรายใหญ่ 3 ราย น้ำและ ปลายน้ำ โดยใช้แบบอ้างอิงการปฏิบัติงานโซ่อุปทาน
3.2.3 ผงปรุงรส SCOR Modelเพื่อช่วยให้การวิเคราะห์โซ่อุปทานเกิดความ
เริ่มจากกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ โดยทางฝ่าย เชื ่ อ มโยงในการปฏิ บ ั ต ิ ง านเชิ ง กระบวนการอย่ า งมี
วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์จะเป็นผู้ประสานงานกับผู้ขายในการ ประสิทธิภาพด้วย 5 กระบวนการหลักคือ การวางแผน (Plan)
พัฒนาผงปรุงรสให้เป็นไปตามข้อกำหนดและราคาที่ทางบริษัท การจั ด หาปัจ จั ยการผลิต (Source) การผลิ ต (Make) การ
กรณีศึกษาต้องการ มีการสั่งซื้อสินค้าประเภทผงปรุงรสหลาย ขนส่ง (Deliver) และการส่งคืน (Return)
แห่ง โดยพิจารณาคุณภาพเป็นหลักและราคาเป็นรอง สำหรับ
ผงปรุงรสที่มีประเด็นเรื่องสูตรลับนั้นจะสั่งผลิตจาก NCP เป็น
บริษัทในเครือ
3.2.4 บรรจุภัณฑ์ .

509
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

ตารางที่ 3 สรุปภาพรวมของการวิเคราะห์ SCOR Model เมื่อศึกษาเกี่ยวกับปริมาณการสั่งซื้อในระบบปริมาณการ


สั่งคงที่เลือกเป็นตัวเลือกปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัด ผลิตแล้ว
นำใช้ไปพร้อมกัน ตัวแบบของคงคลัง ดังกล่าวนี้มีการปรับตัว
ของคงคลังแบบไม่ยอมให้ของคงคลังขาดแคลนเพียงเล็กน้อย
คือการสั่งจะได้รับการตอบสนองด้วยอัตราสม่ำเสมอมากกว่าที่
จะตอบสนองทั้งหมดในครั้งเดียว
บริษัทกรณีศึกษาได้แบ่ง Product เป็น 3 ประเภท คือ สี
เขียว คือ สินค้าขายดี สีเหลือง คือ สินค้าขายไม่ค่อยดี สีแดง
คือสินค้าที่ไม่มีกำไรยกเลิกการขาย
การสร้างแบบทางคณิตศาสตร์สำหรับการคำนวณปริมาณ
การสั่งซื้ออย่างประหยัด Economic Order Quantity: EOQ
มีตัวแปร ดังนี้ [5]
D = อัตราความต้องการต่อปี (หน่วย/ปี)
ปัญหาที่เกิดขึ ้น ของบริษ ัทกรณีศ ึกษาส่ ว นใหญ่ แล้ ว พบ P = ต้นทุนในการสั่งซื้อต่อครั้ง (บาท/ครั้ง)
ผลกระทบมาจาก การที ่ ผู้ ผ ลิ ต (Supplier) ส่ ง วั ต ถุ ด ิ บ ไม่ H = ต้นทุนรวมในการถือครองของคงคลัง หนึ่งหน่วยเป็นเวลา
เพี ย งพอต่ อ การผลิต ต้ อ งหยุด การชะงั ก เนื ่ อ งจากต้องรอ 1 ปี (บาท/หน่วย/ปี)
วัตถุดิบใหม่จากผู้ผลิต (Supplier) โดยทางบริษัทกรณีศึกษามี 𝑄0 = ปริมาณการสั่งซื้อในแต่ละครั้ง
การจั ด หาแหล่ ง วั ต ถุ ด ิ บ จากภายนอกประเทศ การขนส่ ง 𝑄𝑚 = ระดับคงคลังสูงสุด
วัตถุดิบใช้ร ะยะเวลาค่อนข้างนานส่ง ผลให้แผนการผลิต ไม่ p = อัตราการผลิตต่อหน่วยเวลา
สามารถผลิตสินค้าตามแผนการผลิตได้ ทำให้การจัดส่งสินค้า d = อัตราการใช้ต่อหน่วยเวลา
ให้กับลูกค้าล่าช้าลูกค้าได้รับสินค้าไม่ตรงตามเวลาที่ต้องการ 2𝐷𝑃
4.2 คำนวณหาปริมาณการสั่งซื้ออย่างประหยัด EOQ 𝑄0 = √ 𝑑
𝐻(1−𝑝)

𝑝−𝑑
𝑄𝑚 = 𝑄0 ( )
𝑝

𝐷 𝑝−𝑑
𝑇𝐶 = + 𝑄0 ( )
𝑄 𝑝

𝐷
รูปที่ 7 ระดับของคงคลังของตัวแบบการผลิต จำนวนครั้งในการผลิตต่อปี = 𝑄0
กรณีผลิตและนำไปใช้พร้อมกัน จากการคำนวณปริมาณการสั่งซื้อที่ประหยัดโดยใช้แนวคิด
ที่มา; กรณีศึกษา (Economic Order Quantity : EOQ) ขนาดของการ ผ ลิ ต
สาหร่ายแต่ละครั้งที่ประหยัด คือ 4,151.32 ตัน โดยจะต้องทำ
510
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

การสั่งผลิตเท่ากับ 29 ครั้ง /ปี และมีต้นทุนรวมการควบคุม (สาหร่าย) ไม่ ส ามารถส่ง ตามจำนวนที่ต้องการได้ จึงทำให้ไม่


ของคงคลัง 2,796.55 บาท/ปี เพียงพอต่อการผลิต 2. ด้านการจัดหา (Source : S) พบปัญหา
ผู้ผลิต (Supplier) จัดส่งวัตถุดิบไม่ตรงกับความต้องการที่ใช้ใน
การคำนวณอัตราความสามารถในการจัดส่งสินค้าของผู้สง่ มอบ การผลิต และการจัดส่งวัตถุดิบเกินระยะเวลาที่กำหนด 3. ด้าน
( Supplier Delivered In-Fall and on time Rate : การผลิต ( Make : M ) พบปัญหาผู้ผลิต (Supplier) ส่งสินค้า
SDIFOT ) [6] ไม่ ต รงตามความต้ อ งการ จึ ง ส่ ง ผลให้ ด ้ า นการผลิ ต ของ
กรณีศึกษาผลิตไม่ทันตามความต้องการของลูกค้า ทำให้เกิด
ตารางที่ 4 สรุปภาพรวมของการวิเคราะห์ SCOR Model Back Order 4. ด้านการจัดส่ง (Deliver: D) พบปัญหาจัดส่ง
สินค้าให้กับลูกค้าเกินระยะเวลาที่กำหนดเนื่องจากสินค้ าผลิต
ล่าช้ากว่ากำหนดการเดิม 5. ด้านการรับ/ส่งของคืน (Return :
R) พบปัญหาการส่งกลับวัตถุดิบ (Rejection) เนื่องจากสินค้า
เสียหายหรือชำรุด ปัญหาด้านการจัดหา (Source : S) และ ด้าน
การผลิต ( Make : M) ส่งผลกระทบต่อองค์กรของกรณีศึกษา
มากที่สุดผู้ผลิต Supplier ส่งวัตถุดิบไม่เพียงพอต่อการผลิตทำ
ที่มา; คู่มือการประเมินประสิทธิภาพและศักยภาพด้านโลจิ ให้การผลิตหยุดชะงัก มีความสูญเสียด้านต้นทุนการผลิตผู้ผลิต
สติกส์และซัพพลายเชน, สำนักโลจิสติกส์ กรมอุตสาหกรรม Supplier ส่วนใหญ่เป็นคู่ค้าทางธุรกิจจากต่างประเทศ ส่งผล
พื้นฐานและการเหมืองแร่ กระทรวงอุตสาหกรรม,2560 ให้แผนการผลิตไม่สามารถผลิตสินค้าได้ตามแผนการผลิต ทำ
ให้มียอด Back Order ยอดการผลิตตกค้าง ส่งผลให้มีแผนการ
ตั ว ชี ้ ว ั ด ประสิ ท ธิ ภ าพโลจิ ส ติ ก ส์ ภ าคอุ ต สาหกรรม ( จัดส่งล่าช้าออกไป ไม่ตรงตามแผนที่กำหนด และพบปัญหา
Industrial Logistics Performance Index: ILPI) ข อ ง ด้านการบริหารจัดการด้านการนำเข้า ส่ง ผลให้ได้รับสินค้า
กรณีศึกษาตามกิจกรรมโลจิสติกส์ในด้านกิจกรรม การจัดซื้อ ล่าช้า ไม่ตรงตามแผนที่กำหนด ดังนั้น มีแนวทางการปรับปรุง
จั ด หา (Purchase and Procurement) ในมิ ต ิ ด ้ า นค วาม แก้ ไ ขปั ญ หาปริ ม าณการสั ่ ง ซื ้ อ ที ่ ป ระหยั ด โดยใช้ แ นวคิ ด
น่าเชื่อถือ โดยวัดอัตราความสามารถในการจัดส่งสินค้าของผู้ (Economic Order Quantity : EOQ) ขนาดของการ ผ ลิ ต
ส่ง มอบ (Supplier Delivered In-Full and On-Time Rate: สาหร่ายแต่ละครั้งที่ประหยัด คือ 4,151.32 ตัน โดยจะต้องทำ
SDIFOT) หลั ง การปรับ ปรุ ง เท่ ากั บ 80% จากผลก่ อ นการ การสั่งผลิตเท่ากับ 29 ครั้ง /ปี และมีต้นทุนรวมการควบคุม
ปรับปรุงเท่ากับ 70% ส่ง ผลให้มีอัตราความสามารถในการ ของคงคลัง 2,796.55 บาท/ปี ตัวชี้วัดประสิทธิภาพโลจิส ติกส์
จัดส่งสินค้าของผู้ส่งมอบ (Supplier Delivered In-Full and ภ าค อุ ต ส าห กร ร ม ( Industrial Logistics Performance
On-Time Rate: SDIFOT) เพิ่มขึ้นจากเดิม 10% Index: ILPI) ของกรณีศ ึกษาตามกิจ กรรมโลจิส ติกส์ในด้า น
กิจ กรรม การจัดซื้อจัดหา (Purchase and Procurement)
สรุปผลการวิจัย ในมิติด้านความน่าเชื่อถือ โดยวัดอัตราความสามารถในการ
การวิเคราะห์ห่วงโซ่อุปทานในส่วนกิจกรรมหลักด้านโลจิ จัดส่งสินค้าของผู้ส่งมอบ (Supplier Delivered In-Full and
สติ ก ส์ ข าเข้ าของกรณีศ ึก ษาโดยใช้ แ บบจำลองอ้า งอิง การ On-Time Rate: SDIFOT) หลั ง การปรั บ ปรุ ง เท่ า กั บ 80%
ดำเนินงานโซ่อุปทาน SCOR Model มีผลการวิเคราะห์ ดังนี้ 1. จากผลก่ อ นการปรั บ ปรุ ง เท่ า กั บ 70% ส่ ง ผลให้ ม ี อ ั ต รา
การวางแผน (Planning : P) พบปั ญหาการส่ ง วั ตถุ ด ิ บ หลั ก ความสามารถในการจั ด ส่ ง สิ น ค้ าของผู ้ ส ่ ง มอบ (Supplier
511
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

Delivered In-Full and On-Time Rate: SDIFOT) เพิ ่ ม ขึ้ น


จากเดิม 10%

เอกสารอ้างอิง
1. ธันยาภรณ์ จันทะเดช, 2558, แนวทางการกำหนดปริมาณ
สินค้าคงคลังสำรอง จังหวัดชลบุรี, งานนิพนธ์วิทยาศาสตร์
มหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิส ติกส์และโซ่อุปทาน
มหาวิทยาลัยบูรพา.
2. นิติพันธ์ โตอินทร์, 2556, การพยากรณ์ความต้องการและ
การวางแผนสิ น ค้ า คงคลั ง สำหรั บ สิ น ค้ า เครื ่ อ งดื่ ม
กรณีศึกษา: แผนควบคุมเครื่องดื่มในโรงงาน. (วิทยาศาสตร์
มหาบัณฑิต ) สาขาการจัดการโซ่อุท านแบบบูร ณาการ
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
3. มยุรฉัตร ศรีดาธรรม (2551), วีระ จรัสศิริรัตน์, การศึกษา
ปริ ม าณการสั ่ ง ซื ้ อ ที ่ เ หมาะสมในการสั ่ ง ซื ้ อ วั ต ถุ ดิ บ
กรณีศ ึกษา บริษ ัท : ผลิตเครื่องถ่ายเอกสารและอะไหร่ .
(วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต) สาขาการจัดการโลจิส ติกส์และ
โซ่อุปทาน คณะโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
4. รุ ่ ง นภา ศรี ป ระโค (2556), ธั น วา สิ ง หฬ, การเพิ่ ม
ประสิทธิภาพการพยากรณ์ปริมาณวัตถุดิบสำหรับ ธุร กิจ
ร้ า นอาหาร กรณี ศ ึ ก ษา ร้ า นครั ว คุ ณ กั น ต์ . (ธุ ร กิ จ
มหาบัณฑิ ต) สาขาการจัดการโลจิส ติกส์และโซ่อุปทาน
มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
5. พิภพ ลลิตาภรณ์, 2549, ระบบการวางแผนและควบคุม
การผลิต. สำนักพิมพ์ ส.ส.ท. สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี
(ไทย-ญี่ปุ่น), ครั้งที่ 4, หน้าที่ 135-140.
6. คู่มือการประเมินประสิทธิภาพและศักยภาพด้านโลจิสติกส์
และซัพพลายเชน, สำนักโลจิส ติกส์ กรมอุตสาหกรรม
พื้นฐานและการเหมืองแร่ กระทรวงอุตสาหกรรม, 2560

512
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

ศึกษาต้นทุนการขนส่งสินค้า เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน
ในธุรกิจผู้ให้บริการโลจิสติกส์
Study of Transportation Cost for increase Performance Efficiency in logistics
Services Providers Business

ทิพย์สุดา ไตรยราช1* ฮัซนีซา กาหม๊ะ2* จัสมิน นิกาจิ3๊ * และ ณัฐชา แก้วขุนทอง4


1
ภาควิชาโลจิสติกส์สากลและการจัดการอุตสาหกรรม ,ภาควิชาการจัดการโลจิสติกส์ คณะบริหารธุรกิจ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร เขตหนองจอก กรุงเทพฯ 10530
2-4
ภาควิชาการจัดการโลจิสติกส์ คณะบริหารธุรกิจ
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร เขตหนองจอก กรุงเทพฯ 10530
*E-mail: thipsuda.kcenterone@gmail.com,thipsuda@mut.ac.th1*, 6113140048@ mut.ac.th2*, 6113140087@
mut.ac.th3*

บทคัดย่อ

วิจ ัยครั้ง นี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ ศึกษาต้นทุนการขนส่ง สินค้า เพื่อเพิ่มประสิทธิภ าพการทำงานในธุร กิ จ ผู้


ให้บริการโลจิสติกส์ ดังนั้นทีมผู้วิจัยวิเคราะห์หาปัจจัยสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวนการดำเนินงานขององค์กรรวมถึง การ
ให้บริการแก่ล ูกค้า มีกลุ่มตัวอย่างจำนวน 4 องค์กร โดยการใช้แบบสอบถามเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล สถิติที่ใช้ในงานวิจัย
ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะประชากรกลุ่มตัวอย่างส่วน
ใหญ่เป็นเพศหญิงสังกัด เป็นผู้ประกอบการของธุรกิจกรณีศึกษา สำรวจสภาพธุรกิจในกิจกรรมต่างๆของกระบวนการขนส่งของผู้
ให้บริการด้านโลจิสติกส์ (LOGISTICS SERVICE PROVIDER) ทั้งหมด 10 ด้าน ด้านที่พบปัญหามากที่สุด คือ ด้านที่ 10 ด้านการ
ใช้เทคโนโลยี/นวัตกรรม พบว่า การใช้เทคโนโลยี/นวัตกรรมในด้านการประสานงานจำนวนร้อยละ 26.67 รองลงมาคือ ด้านที่ 1
ผลดำเนินงานธุรกิจ พบปัญหาด้านเอกสารและขั้นตอนการทำงานที่ซับซ้อนและด้านแรงงานคนที่ไม่เพียงพอจำนวนร้อยละ 33.33
และผลสำรวจ ด้านที่ 2 ด้านการชำระหนี้ของธุรกิจ พบว่า มีสภาพคล่องที่ดีในการชำระหนี้ของธุรกิจ มีร้อยละสูงที่สุด เท่ากับร้อย
ละ 96.67 การแก้ไขปัญหางานวิจัย ใช้แนวคิด Fleet Management และ แนวคิดการรวบรวมสินค้าการขนส่งต่อเที่ยวเพื่อลด
ต้นทุนดังนั้น การวิเคราะห์ข้อมูลการเปรียบเทียบต้นทุนค่าขนส่งก่อนและหลังการปรับปรุงของรถบรรทุก 4 ล้อ พบว่า ต้นทุนค่า
ขนส่งรวมทั้งหมดลดลงหลังการปรับปรุงถึงคิดเป็นร้อยละ 19 ต่อเดือน คิดเป็นมูลค่ากว่า 11,000 บาทต่อเดือน จากต้นทุนค่าขนส่ง
รวมทั้ง หมดก่อนการปรับปรุง จากร้อยละ 100 ต่อเดือน คิดเป็นมูล ค่ากว่า 57,328 บาทต่อเดือน การวิเคราะห์ข้อมูล การ
เปรียบเทียบต้นทุนค่าขนส่งก่อนและหลังการปรับปรุงของรถบรรทุก ตู้เย็น 4 ล้อพบว่า ต้นทุนรวมทั้งหมดลดลงหลังการปรับปรุงถึง
ร้อยละ 14 ต่อเดือน คิดเป็นมูลค่ากว่า 7,150 บาทต่อเดือน จากต้นทุนค่าขนส่งรวมทั้งหมดก่อนการปรับปรุงจากร้อยละ 100 ต่อ

513
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

เดือน คิดเป็นมูลค่ากว่า 50,474 บาทต่อเดือน แนวทางการลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพของการขนส่งสินค้าเพื่อให้ธุร กิจ มี


สมรรถนะการให้บริการที่มากขึ้นเป็นมาตรฐานในองค์กร โดยมีการออกแบบกระบวนการจัดเก็บข้อมูลพื้นฐานด้านการขนส่ งสินค้า
และสมรรถนะของรถขนส่ง เป็นแบบฟอร์ม ตารางเก็บข้อมูลการบันทึกสินค้าแต่ละน้ำหนัก เพื่อนำมาใช้เป็นแนวทางสำหรับการ
จัดเก็บข้อมูลเพื่อนำมาวิเคราะห์ต้นทุนค่าขนส่งสินค้าให้มีความแม่นยำมากยิ่งขึ้น

คำสำคัญ : ต้นทุนค่าขนส่ง, ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ , การประสิทธิภาพการทำงาน

Abstract
The objective of research is study of transportation cost for increase performance efficiency in logistics
services providers business. Research Team was issue for finding and analyze the causes of problems in the
organization's operating processes, including providing services to customer’s activity. This research was finding
and analyze the causes of problems with questionnaire and Google form. There were 4 sample groups of
organizations together. The statistics used in this research include consisted of mean, percentage, standard
deviation. This research was finding the most female employee in Logistics Service Provider Company. Research
Survey about background activity in Transportation of logistics service provider, which was 10 contents. That
was the most of problem in technology / innovation, which use technology / innovation for coordinate lowest
was 26.67%. Business performance was 33.33% of problems with documents and complex work processes and
insufficient manpower. And the survey results on the 2nd aspect of business debt repayment found that there
is good liquidity in the debt repayment of the business. That has the highest percentage equal to 96.67%.This
research objective was reduce the cost and increase performance efficiency of service in logistics Services
Providers Business for improvement performance to standard of process and compare results before and after.
Tools of Improvement performance were fleet management and Consolidation management on FTL (Full Truck
Load) for reduce cost. Compare ration and analysis after results of transportation cost for 4 wheels truck is
reduce 19% per month, 11,000 THB. Per month from 100 % per month, 57,328 THB. Per month. Compare ration
and analysis after results of transportation cost for frozen 4 wheels truck is reduce 14% per month, 7,150 THB.
Per month from 100 % per month, 50,474 THB. Per month. Approaches to reduce costs and increase the
efficiency of logistics service provider business to have more service performance as a standard in the
organization. This research were designed the basic storage process for freight transportation and truck
performance detail. That form was a table form to recode data for each weight recording. That to be used as
a guideline for data recode in order for analyze freight costs more accurately.

Keyword: Transportation Costs, Logistics Service Provider, Performance Efficiency Method

512
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

1. บทนำ ลดลงเป็ น ไปในทิ ศ ทางเดี ย วกั น กั บ ราคาน้ ำ มั น ตลาดโลก


การด าเนิ น ธุ ร กิ จ ท่ า มกลางสภาพเศรษฐกิ จใน ในขณะที่ก๊าซเอ็นจีวีมีราคาขายปลีกเฉลี่ยอยู่ ที่ 15.89 บาทต่อ
ปั จจุบ ันมีความยากในการบริหารจัดการมากขึ้น เนื่องจาก กิโลกรัมเพิ่มขึ้นจาก 14.41 บาทต่อกิโลกรัม เพิ่มขึ้นคิดเป็น
ผู้ป ระกอบการส่ ว นใหญ่ต ้อ งเผชิญ ปั ญ หาและอุป สรรค ร้อยละ 10.3 ทั้งนี้ มีสัดส่วนปริมาณการใช้น้ำมันดีเซลคิดเป็น
ต่างๆรอบด้านทัง้ จากปั จจัยภายนอกที่ยากต่อการควบคุม ร้อยละ 55.2 และมีการใช้ก๊าซเอ็นจีวีคิดเป็นร้อยละ 6.9 ของ
อาทิภ ยั ธรรมชาติ ปั ญ หาการแพร่ร ะบาดของโรคภัย สัดส่วนปริมาณการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงในภาคการขนส่งทางบก
ตัว อย่างเช่น ไวรัส โควิด -19 ที่ส่ง ผลกระทบอย่างรุนแรง 4
ทั ่วโลก และปั จ จัย ภายในอาทิก ารขาดการวางแผนการ ปัญหาที่พบในธุรกิจของกรณีศึกษาเกิดจากกระบวนการ
ทางานที่ม ปี ระสิท ธิภาพทาให้ค วามสามารถในการผลิต ทำงานที่ยังขาดประสิทธิภาพ เพราะวิธีที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูล
สิน ค้า ลดลง ต้น ทุน สิน ค้า สูง เกิน ความจ าเป็ น ผลก าไร ยังไม่มีสมรรถนะการให้บริการโลจิสติกส์มากเท่าที่ควร ส่งผล
ลดลง บางรายขาดทุน จนถึงกับต้องปิ ดกิจการ1 ให้เกิดการความผิดพลาดในการคำนวณต้นทุนค่าขนส่ง ซึ่ง
ต้ น ทุ น โลจิส ติก ส์ข องประเทศไทยคิด เป็ น สัดส่ว น ธุรกิจต้องอาศัยข้อมูลที่ได้จากเทคนิคการคำนวณต้นทุนเพื่ อ
เท่ากับ ร้อ ยละ 12 ของผลิต ภัณ ฑ์มวลรวมในประเทศ ณ เก็ง กำไรในธุร กิจ การคำนวณต้นทุนค่าขนส่ง ไม่แม่นยำนั้น
ราคาประจ าปี ในปี 2564 (สัด ส่ ว นต้ น ทุ น โลจิส ติ ก ส์ ต่ อ ส่ ง ผลให้ ธ ุ ร กิจ ไม่ ส ามารถควบคุ ม ต้ น ทุ น ด้ านต่ า งๆให้ เกิด
GDP)2 ประสิทธิภาพได้
ต้นทุนโลจิสติกส์ของไทยมีแนวโน้มลดลงจากร้อยละ
17.1 ต่ อ GDP ในปี 2550 เป็ น ร้อ ยละ 2550 เป็ น ร้อ ยละ
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
14.0 ต่อ GDP ในปี 2558 และในปี 2559 มีแนวโน้มลดลง
ศึกษาต้นทุนการขนส่งสินค้าของกรณีศึกษาก่ อ น
เหลือ ร้อ ยละ 13.9 ต่ อ GDP ซึ่ง ประกอบด้ว ย ต้ น ทุ น ค่ า
และหลัง การปรับ ปรุ ง และหาแนวทางการลดต้น ทุน
ขนส่งสินค้า 7.5% ต้นทุนการเก็บรักษาสินค้าคงคลัง 5.1%
การขนส่ง สินค้าของกรณีศึกษา
ต้นทุนการบริหารจัดการ 1.3% 2
สถานประกอบการในกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีต้นทุนโลจิ
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
สติ ก ส์ ส ู ง ได้ แ ก่ อุ ต สาหกรรมอาหาร เครื่ อ งใช้ ไ ฟฟ้ าและ ทราบปัจจัยสาเหตุของปัญหาที่เกิดขึ้นในกระบวน
อิ เ ล็ ก ทรอนิ ก ส์ ปิ โ ตรเคมี แ ละพลาสติ ก ยานยนต์ แ ละ การดำเนินงานขององค์กรรวมถึงการให้บริการแก่ลูกค้า ทราบ
ชิ้ น ส่ ว น ยางพาราและผลิ ต ภั ณ ฑ์ สิ่ ง ทอและเครื่ อ งนุ่ง ห่ม ต้ น ทุ น ก่ อ นและหลั ง การปรั บ ปรุ ง การขนส่ ง สิ น ค้ า ของ
รวมถึ ง สถานประกอบการตามนโยบายของรั ฐ บาล เช่ น กรณี ศ ึ ก ษาและ เพื ่ อ หาแนวทางการลดต้ น ทุ น และเพิ่ ม
เกษตรแปรรู ป และเครื่ อ งจั กรกล การบริ ห ารจัด การโลจิ
ประสิทธิภาพของการขนส่งสินค้า
สติ ก ส์ แ ละซั พ พลายเชน เป็ น เครื ่ อ งมื อ ที ่ ช ่ ว ยให้ ส ถาน
ประกอบการสามารถบริ ห าร “ต้ น ทุ น เวลา และความ
2. วรรณกรรม ทฤษฎี และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
น่าเชื่อถือ” ได้อย่างมีประสิทธิภาพ3
2.1 ทฤษฎีการวิเคราะห์ต้นทุนการขนส่ง
โดยราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิง ในปี 2562 น้ำมัน
ต้ น ทุ น (Cost) หมายถึ ง มู ล ค่ า ของทรั พ ยากรที่
ดีเซลมีราคาขายปลีกเฉลี่ยอยู่ที่ 26.91 บาทต่อลิตร ลดลงจาก
สูญเสียไปเพื่อให้ได้สินค้าหรือบริการ โดยมูลค่านั้นจะต้อง
28.35 บาทต่อลิตรในปี 2561 หรือลดลงคิดเป็นร้อยละ 6.7
สามารถวัดได้เป็นหน่วยเงินตรา ซึ่งเป็นลักษณะของการ
โดยราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงภายในประเทศมีการปรับตัว
ลดลงในสินทรัพย์หรือเพิ่มขึ้นในหนี้สิน ต้นทุนที่เกิดขึ้น
512
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

อาจจะให้ประโยชน์ในปัจจุบัน หรือในอนาคต โดยทั้งหมด บุคคลตอบออกมา นับว่าเป็นเครื่องมือที่นิยมใช้วัดทางด้าน


มี 4 ต้นทุนคือ ต้นทุนคงที่ (Fixed Cost) ต้นทุนแปรผัน จิตพิสัย (Affective Domain)
(Variable Cost) ต้นทุนค่าดำเนินงาน และ ต้นทุนเที ่ย ว 2.4 แนวคิดหลักการชี้วัดประสิทธิภาพด้านโลจิสติกส์
กลับ(Back Haul Cost) 5 ศึกษาสำรวจตัวชี ้ วั ด วั ดประสิท ธิภ าพด้ า นโลจิส ติ ก ส์ ที่
2.2 ทฤษฎีแบบจำลองอ้างอิงการดำเนินงานโซ่อุปทาน ดำเนินการจัดทำมี 9 กิจกรรม ได้แก่
SCOR model 1. การให้ บ ริ ก ารแก่ ล ู ก ค้ า และกิ จ กรรมสนั บ สนุ น
เป็ น เครื่ อ งมื อ ที ่ ช ่ ว ยในการพั ฒ นา ปรั บ ปรุ ง (Customer service and support)
กระบวนการการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพ (Variable 2. การจัดหา (Purchasing and procurement)
Cost) และอยู่ในมาตรฐานเดียวกัน จากแนวทางการแก้ไข 3. การสื ่ อ สารด้ า นโลจิ ส ติ ก ส์ แ ละกระบวนการสั ่ ง ซื้ อ
ปัญหาและปรับปรุง กระบวนการทำงานให้ เป็ นไปตาม (Logistics communication and order processing)
เป้าหมาย โครงสร้างของ SCOR model ประกอบด้วย 6 4. การขนส่ง(Transportation)
กระบวนการหลั ก คื อ การวางแผน (Plan), การจั ด หา 5. การเลือกสถาน ที่ตั้งของโรงงานและคลังสินค้า (Site
(Source), การผลิต (Make), การจัดส่ง (Delivery),การ selection, Warehousing and planning)
ส่งคืน (Return)และการทำให้เกิดขึ้น (Enable) 6 6. การวางแผนหรือการคาดการณ์ความต้องการของลูกค้า
2.3 ทฤษฎีการทำแบบสอบถามแบบสอบถาม (Demand forecasting and planning)
เป็นเครื่องมือชนิดหนึ่งที่สร้างขึ้นเพื่อวัดความคิดเห็น 7. การบริหารสินค้าคงคลัง (Inventory management)
ต่างๆ หรือวัดความจริง ที่ไม่ ทราบอันจะทำให้ไ ด้ ม าซึ่ ง 8. การ จัดการเครื่องมือเครื่องใช้ต่าง ๆ และการบรรจุหีบ
ข้อเท็จจริงทั้งในอดีต ปัจจุบัน และการคาดคะเนเหตุการณ์ ห่อ (Materials handling and packaging)
ในอนาคตส่วนใหญ่จะอยู่ในรูปของคำถามเป็นชุด ๆ เพื่อ 2.5 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
วัดสิ่งที่ต้องการวัด โดยมีคำถามเป็นตัวกระตุ้นเร่งเร้า ให้ ธีร วุฒิ เอกะกุล , 25437การคำควณขนาดกลุ่ ม
ตัวอย่างและสูตร Yamane (1967) ในการคำนวณขนาด
ตัวอย่าง โดยระดับความเชื่อมั่นร้อยละ 95 และละดับ
ความคลาดเคลื่อนร้อยละ 5 เพื่อให้ได้กลุ่มตัวอย่างที่มี
คุณภาพและสามารถเป็นตัวแทนของประชากรได้ ผู้วิจยั มี

513
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

วิธีการคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่าง การวิจัยครั้งนี้ใช้การสุ่ม 2) องค์กรในเครือของของกรณีศึกษาที่1 จำนวน 13 คน


ตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified Sampling) 3) องค์กรในเครือของของกรณีศึกษาที่2 จำนวน 8 คน
จากกรณีศึกษาโดยการสุ่มตัวอย่างจากการลงพื้นที่ 4) องค์กรในเครือของของกรณีศึกษาที่3 จำนวน 5 คน
เพื่อนำมาทำการวิจัยการใช้สูตรคำนวณของ ทาโร ยามาเน่ รวมจำนวนประชากรทั้งสิ้น 43 คน
(บุญธรรม กิจ ปรีดาบริสุทธ์ , 2535) 9 ตัวอย่างที่ใช้
ศึ ก ษาครั้ ง นี้ ไ ด้ ใช้ก ารคำควณขนาดกลุ่ มตัว อย่า งและสูตร
Yamane (1967) ในการคำนวณขนาดตั ว อย่ า ง โดยระดั บ
ความเชื่อมั่นร้อยละ 95 และละดับความคลาดเคลื่อนร้อยละ 5
(e=0.05) เพื่อให้ได้กลุ่มตัวอย่างที่มีคุณภาพและสามารถเป็น
ภาพที่ 2-1 สูตรคำนวณของ ทาโร ยามาเน่
ตัวแทนของประชากรได้ ผู้วิจัยจึงมี วิธีการคำนวณขนาดกลุ่ม
(ที่มา; ธีรวุฒิเอกะกุล, 2543) 7 ตัวอย่าง

n = ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง
สูตร n=N/(1+Ne^2 ) 10
N = จำนวนประชากร
e = ค่าความคาดเคลื่อน (นิยมใช้ 0.05)
แทนค่า n=( 47)/(1+〖 47(0.05)〗^2 )
(ชิ ต พงษ์ อั ย สำนนท์ , 2561) 8 ความสามารถของ n = 42.06 คน
องค์กรที่จะให้บรรลุเป้าหมายโดยการใช้ทรัพยากรอย่างมี ผลที ่ ไ ด้ จ ากการคำนวณสูต รจำนวน 42.06 คน หรื อ
ประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการจัดการโซ่อุปทานการ ประมาณ 43 คน
ขนส่งสินค้า ส่งผลตอบแทนทางด้านการเงินประกอบด้วย
ส่ ว นแบ่ ง ทางการตลาด การเติ บ โตของส่ ว นแบ่ ง ทาง 3.2 ออกแบบแบบสอบถาม
การตลาด ผลตอบแทนจากการลงทุ น การเติ บ โตของ ผู้วิจัยได้ทำการสร้างแบบสอบถามโดยเริ่มจากการทบทวน
ผลตอบแทนจากการลงทุนการเติบโตของยอดขาย ผล วัตถุประสงค์ของการศึกษา เพื่อพิจ ารณากำหนดตัวแปรที่
กำไรสุทธิต่อยอดขาย ความสามารถในการรักษาลูกค้า จะต้ อ งนำมาสร้ า งแบบสอบถามโดยมี เ กณฑ์ แ ละตั ว แปร
การเข้าถึงบริการการติดต่อสื่อสารและความน่าเชื่อถือ ประกอบด้วยตัวแปรอิสระ ได้แก่
• ผลดำเนินงานธุรกิจ
3. วิธีการดําเนินงาน • การชำระหนี้
ผู้วิจัยได้ใช้วิธีวิจัยเชิงสำรวจ และศึกษาวิเคราะห์ตัวแปร • จำนวนลูกค้า 1ปีที่ผ่านมา
ต่างๆที่เกี่ยวข้อง โดยดำเนินการวิจัย ดังนี้ • การเติบโตของยอดขาย
3.1 ประชากรและการสุ่มตัวอย่าง • การพัฒนาช่องทางการขาย/บริการ
ประชากรสำหรับการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้ประกอบการของ • สัดส่วนการคืนสินค้า
ธุ ร กิ จ กรณี ศ ึ ก ษา และองค์ ก รในเครื อ ของของกรณีศ ึกษา • แผนธุรกิจ
(Vender) รวมเป็นจำนวนทั้งสิ้น 4 องค์กร
• การบริหารจัดการสินค้าคงคลัง
1) ผู้ประกอบการของธุรกิจกรณีศึกษา จำนวน 17 คน
514
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

• ใบอนุญาตประกอบกิจการ ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


• การใช้เทคโนโลยี/นวัตกรรม
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบสอบถามความพึง 4. การวิเคราะห์ผลการศึกษา
พอใจผู ้ ใ ห้ บ ริ ก ารด้ า นโลจิ ส ติ ก ส์ ( LOGISTICS SERVICE ตารางที่ 4.1 แสดงต้นทุนค่าขนส่งก่อนและหลังการปรับปรุง
PROVIDER) ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ตอนดังนี้ ของกรณีศึกษาของรถบรรทุกประเภท รถบรรทุก4 ล้อ
ส่วนที่ 1 เป็นคำถามเกี่ยวกับข้อมูล ทางสถานภาพส่วน ตารางต้นทุนเฉลี่ยต่อรถบรรทุก 4 ล้อ 1 คัน
บุคคล ของผู้ตอบแบบสอบถาม ลักษณะคำถาม เป็นแบบให้ ก่อนการปรับปรุง
เลือกตอบ (Checklist) โดยสอบถามเกี่ยวกับ องค์กรที่สังกัด ระยะทางเฉลี่ยต่อเที่ยวต่อเดือน : 120 8,000 กิโลเมตร
ต้นทุนคงที่ % บาทต่อ ร้อยละ
เพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพผู้ตอบแบบสอบถาม
เดือน (%)
อาชีพ รายได้ จำนวน 4 ข้อ
เงินเดือนพนักงานขับรถ 8,000 13.95%
ส่วนที่ 2 เป็นคำถามเกี่ยวกับสภาพธุรกิจในกิจกรรมต่างๆ เงินเดือนพนักงานติดรถ - -
ของกระบวนการขนส่งหรือในธุรกิจการขนส่งของผู้ให้บริการ ภาษีรถยนต์ 1,500 2.62%
ด้ า นโลจิ ส ติ ก ส์ จำนวน 10 ข้ อ เป็ น แบบให้ เ ลื อ กตอบ ประกันภัย 1,916 3.34%
(Checklist) ค่า GPS - -
ส่วนที่ 3 เป็นคำถามเกี่ยวกับ ความพึงพอใจในการบริการ ค่าผ่อน - -
ของผู ้ ใ ห้ บ ริ ก ารด้ านโลจิ ส ติ ก ส์ (LOGISTICS SERVICE ค่าเสื่อม (คิด 5 ปี) - -
รวม 11,416 19.91%
PROVIDER) จำนวน 10 ข้อ เป็นแบบมาตรการวัดของ Likert
ต้นทุนผันแปร % บาทต่อ ร้อยละ
(Likert Scale) มีให้เลือกตอบ 5 ระดับ เป็นคำถามเชิง บวก เดือน (%)
คือ มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่สุด เบี้ยเลี้ยงพนักงานขับรถ 14,500 0.00%
3.3 การเก็บรวบรวมข้อมูล เบี้ยเลี้ยงเด็กติดรถ 0 0.00%
3.3.1ข้อมูลปฐมภูมิ ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง 16,000 27.91%
เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้การแจกแบบสอบถามผู้ ค่าซ่อมบำรุง 2,000 3.49%
ให้บริการด้านโลจิสติกส์ (LOGISTICS SERVICE PROVIDER) ยางรถยนต์ 8,000 13.95%
ค่าใช้จ่ายอื่นๆ 200 0.35%
โดยมีจ ำนวนกลุ่มตัวอย่าง 42.06 คน หรือประมาณ 43 คน
รวม 40,700 71.00%
จากประชากรกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 47 คน
รวมต้นทุนคงที่และผันแปร 52,116 90.91%
3.3.2 ข้อมูลทุติยภูมิ ค่าดำเนินงาน 10% 5,212 9.09%
เป็นข้อมูล ที่ ไ ด้จ ากการศึ กษาค้ นคว้ารวบรวมงานวิ จั ย รวมต้นทุนทั้งหมด 57,328 100.00%
บทความ วารสาร สถิติในรายงานต่างๆ ทั้ง ของภาครัฐและ (บาทต่อเดือน)
เอกชน เพื่อส่วนประกอบของเนื้อหา และนำไปใช้ในวิเคราะห์ รวมรายได้(บาท) 140,000
ข้อมูล รายได้-รายจ่าย(บาท) 82,672
3.4 การวิเคราะห์ข้อมูล ต้นทุนขนส่งเทียบยอดขาย(บาท) 41%
ต้นทุนค่าขนส่งต่อเที่ยว 5.09 บาทต่อ
หลังจากการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างแล้ว นำมา
กิโลเมตร
วิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติตามลำลับ สถิติที่ใช้ในงานวิจัย ต้นทุนค่าขนส่งต่อวัน 380.53 บาทต่อวัน

515
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

ต้นทุนค่าขนส่งต่อเที่ยวเทียบ 6,202.63 บาทต่อเที่ยว ต้นทุนค่าขนส่งต่อเที่ยวเทียบ 5,083.33 บาทต่อเที่ยว


ระยะทางวิ่งเฉลี่ยต่อเดือน ต่อเดือน ระยะทางวิ่งเฉลี่ยต่อเดือน ต่อเดือน
(บาทต่อเที่ยวต่อเดือน (บาทต่อเที่ยวต่อเดือน

ตารางต้นทุนเฉลี่ยต่อรถบรรทุก 4 ล้อ 1 คัน ตารางที่ 4.2 แสดงต้ น ทุ น ค่ า ขนส่ ง ก่ อ นและหลั ง การ


หลังการปรับปรุง ปรับปรุง ของกรณีศ ึกษาของรถบรรทุกประเภท รถบรรทุก
ระยะทางเฉลี่ยต่อเที่ยวต่อเดือน 160 10,000 กิโลเมตร ตู้เย็น 4 ล้อ
ต้นทุนคงที่ บาทต่อ ร้อยละ
เดือน (%) ตารางต้นทุนเฉลี่ยต่อประเภทรถบรรทุกตู้เย็น 4 ล้อ 1 คัน
เงินเดือนพนักงานขับรถ 8,000 13.95% ก่อนการปรับปรุง
เงินเดือนพนักงานติดรถ - - ระยะทางเฉลี่ยต่อเที่ยวต่อเดือน : 120
8,000 กิโลเมตร
ภาษีรถยนต์ 1,500 2.62% ต้นทุนคงที่ %
บาทต่อ ร้อยละ
ประกันภัย 1,916 3.34% เดือน (%)
ค่า GPS - - เงินเดือนพนักงานขับรถ 8,000 13.95%
ค่าผ่อน - - เงินเดือนพนักงานติดรถ - -
ค่าเสื่อม (คิด 5 ปี) - - ภาษีรถยนต์ 1,500 2.62%
รวม 11,416 19.91% ประกันภัย 1,385 2.42%
ต้นทุนผันแปร % บาทต่อ ร้อยละ ค่า GPS 1,600 -
เดือน (%) ค่าผ่อน - -
เบี้ยเลี้ยงพนักงานขับรถ 10,500 0.00% ค่าเสื่อม (คิด 5 ปี) - -
เบี้ยเลี้ยงเด็กติดรถ 0 0.00% รวม 12,485 21.78%
ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง 10,000 17.44% ต้นทุนผันแปร % บาทต่อ ร้อยละ
ค่าซ่อมบำรุง 2,000 3.49% เดือน (%)
ยางรถยนต์ 8,000 13.95% เบี้ยเลี้ยงพนักงานขับรถ 13,000 0.00%
ค่าใช้จ่ายอื่นๆ 200 0.35% เบี้ยเลี้ยงเด็กติดรถ 0 0.00%
รวม 30,700 53.55% ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง 16,000 27.91%
รวมต้นทุนคงที่และผันแปร 42,116 73.47% ค่าซ่อมบำรุง 4,000 6.98%
ค่าดำเนินงาน 10% 4,212 7.35% ยางรถยนต์ 0 0.00%
รวมต้นทุนทั้งหมด 46,328 80.81% ค่าใช้จ่ายอื่นๆ 400 0.70%
(บาทต่อเดือน) รวม 33,400 58.26%
รวมรายได้(บาท) 150,000 รวมต้นทุนคงที่และผันแปร 45,885 80.04%
รายได้-รายจ่าย(บาท) 103,672 ค่าดำเนินงาน 10% 4,589 8.00%
ต้นทุนขนส่งเทียบยอดขาย 31% รวมต้นทุนทั้งหมด (บาทต่อเดือน) 50,474 88.04%
(บาท) รวมรายได้ (บาท) 140,000
ต้นทุนค่าขนส่งต่อเที่ยว 3.07 บาทต่อ รายได้-รายจ่าย(บาท) 89,527
กิโลเมตร ต้นทุนขนส่งเทียบยอดขาย 36%
ต้นทุนค่าขนส่งต่อวัน 380.53 บาทต่อวัน (บาท)

516
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

ต้นทุนค่าขนส่งต่อเที่ยว 4.18 บาทต่อ ต้นทุนค่าขนส่งต่อเที่ยว 2.85 บาทต่อ


กิโลเมตร กิโลเมตร
ต้นทุนค่าขนส่งต่อวัน 416.17 บาทต่อวัน ต้นทุนค่าขนส่งต่อวัน 362.83 บาทต่อวัน
ต้นทุนค่าขนส่งต่อเที่ยวเทียบ 5,505.67 บาทต่อ ต้นทุนค่าขนส่งต่อเที่ยวเทียบ 4,842.83 บาทต่อ
ระยะทางวิ่งเฉลี่ยต่อเดือน เที่ยวต่อ ระยะทางวิ่งเฉลี่ยต่อเดือน เที่ยวต่อ
(บาทต่อเที่ยวต่อเดือน) เดือน (บาทต่อเที่ยวต่อเดือน) เดือน

ตารางต้นทุนเฉลี่ยต่อรถบรรทุกประเภทตู้เย็น 4 ล้อ 1 คัน ตารางที่ 4.3 แสดงการเปรียบเทียบต้นทุนค่าขนส่งก่อนและ


หลังการปรับปรุง หลังการปรับปรุงของรถบรรทุกประเภทรถบรรทุก4 ล้อ
ระยะทางเฉลี่ยต่อเที่ยวต่อเดือน : 190 10,000 กิโลเมตร
ต้นทุนคงที่ % บาทต่อ ร้อยละ
รายละเอียด ก่อนการ หลังการ ผลการ หน่วย
เดือน (%)
ปรับปรุง ปรับปรุง ปรับปรุง
เงินเดือนพนักงานขับรถ 8,000 13.95%
รวมต้นทุน 57,328 46,328 11,000 บาท/
เงินเดือนพนักงานติดรถ - - เดือน
ภาษีรถยนต์ 1,500 2.62% รวมรายได้ 140,000 150,000 10,000 บาท/
ประกันภัย 1,385 2.42% เดือน
ค่า GPS - - รายได้-รายจ่าย 82,672 103,672 21,000 บาท/
ค่าผ่อน - - เดือน
ค่าเสื่อม (คิด 5 ปี) - - ต้นทุนเทียบ 41% 31% 10% ร้อยละ
รวม 10,885 18.99% ยอดขาย
ต้นทุนผันแปร % บาทต่อ ร้อยละ ต้นทุนค่าขนส่ง 5.09 3.07 2.02 บาท/
เดือน (%) ต่อเที่ยว กิโลเมตร
เบี้ยเลี้ยงพนักงานขับรถ 10,000 17.44% ต้นทุนค่าขนส่ง 380.53 362.83 11.70 บาท/วัน
เบี้ยเลี้ยงเด็กติดรถ 0 0.00% ต่อวัน
ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง 15,000 26.17% ต้นทุนขนส่ง/ 6,202 5,083 1,119 บาท/
เที่ยวเทียบ เที่ยว/
ค่าซ่อมบำรุง 3,000 5.23%
ระยะทางวิ่ง เดือน
ยางรถยนต์ 0 0.00%
เฉลี่ย/เดือน
ค่าใช้จ่ายอื่นๆ 500 0.87%
รวม 28,500 49.71%
จากตารางที่ 4. 3การการวิเคราะห์ข้อมูลการเปรียบเทียบ
รวมต้นทุนคงที่และผันแปร 39,385 68.70%
ค่าดำเนินงาน 10% 3,939 6.87% ต้นทุนค่าขนส่งก่อนและหลังการปรับปรุงของรถบรรทุก 4 ล้อ
รวมต้นทุนทั้งหมด 43,324 75.57% พบว่า ต้นทุนรวมทั้งหมดลดลงหลังการปรับปรุงถึงร้อยละ 19
(บาทต่อเดือน) ต่อเดือน คิดเป็นมูลค่ากว่า 11,000 บาทต่อเดือน รายได้รวม
รวมรายได้(บาท) 190,000 เพิ่มมากขึ้นหลัง การปรับปรุงถึงร้อยละ 7 ต่อเดือน คิดเป็น
รายได้-รายจ่าย(บาท) 146,677 มูลค่า 10,000 บาทต่อเดือน รายได้หลังหักรายจ่ายมีค่าลดลง
ต้นทุนขนส่งเทียบยอดขาย 23% เท่ากับร้อยละ 25 ต่อเดือน คิดเป็นมูลค่ากว่า 21,000.00 บาท
(บาท) ต่อเดือน ต้นทุนเทียบยอดขายลดลงหลังการปรับปรุงร้อยละ
517
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

10 ต่อเดือน คิดเป็นร้อยละต่อปีเท่ากับ 120.00 ต้นทุนค่า ขนส่งต่อเที่ยวลดลงหลัง การปรับปรุงมีค่าเท่ากับร้อยละ 32


ขนส่งต่อเที่ยวลดลงหลัง การปรับปรุงมีค่าเท่ากับร้อยละ 40 ต่อเดือน คิดเป็น 1.33 บาทต่อกิโลเมตร ต้นทุนค่าขนส่งต่อวัน
ต่อเดือน คิดเป็น 2.02 บาทต่อกิโลเมตร ต้นทุนค่าขนส่งต่อวัน หลังการปรับปรุงมีค่าลดลงร้อยละ 13 มีค่าเท่ากับ 53.34 บาท
หลังการปรับปรุงคงที่เท่ากับร้อยละ 11.70 บาทต่อวัน ต้นทุน ต่อวัน ต้นทุนค่าขนส่งต่อเที่ยวเทียบระยะทางวิ่งเฉลี่ยต่อเดือน
ค่าขนส่งต่อเที่ยวเทียบระยะทางวิ่งเฉลี่ยต่อเดือนลดลงหลังการ ลดลงหลังการปรับปรุง ร้อยละ 12 เท่ากับ 662.84 บาท
ปรับปรุงร้อยละ 18 ต่อเดือน
5. สรุปผลการวิจัยข้อเสนอแนะ
ตารางที่ 4.4 แสดงการเปรียบเทียบต้นทุนค่าขนส่งก่อนและ ผลการวิ จ ั ย พบว่ า สภาพธุ ร กิ จ ในกิ จ กรรมต่ า งๆของ
หลังการปรับปรุงของรถบรรทุกประเภทรถบรรทุกตู้เย็น 4 ล้อ กระบวนการขนส่งของผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์ (LOGISTICS
SERVICE PROVIDER) โดยถูกแจกแจงออกเป็น 10 ด้าน
ก่อนการ หลังการ ผลการ ด้านที่ 1 ผลดำเนินงานธุร กิจ ส่วนใหญ่พบปัญหาด้ า น
รายละเอียด หน่วย
ปรับปรุง ปรับปรุง ปรับปรุง
เอกสารและขั้นตอนการทำงานที่ซับซ้อนและด้านแรงงานคนที่
รวมต้นทุน 50,474 43,324 7,150 บาท/
ไม่เพียงพอจำนวนร้อยละ 33.33
เดือน
รวมรายได้ 140,000 190,000 50,000 บาท/ ด้านที่ 2 ด้านการชำระหนี้ของธุรกิจ ส่วนใหญ่พบว่า มี
เดือน สภาพคล่องที่ดีในการชำระหนี้ของธุรกิจจำนวนร้อยละ 96.67
รายได้-รายจ่าย 89,527 146,677 57,150 บาท/ ด้านที่ 3 การประเมินจำนวนลูกค้าใน 1 ปี ที่ผ่านมา ส่วน
เดือน ใหญ่พบว่าจำนวนลูกค้ าใน 1 ปี ที่ผ ่านมามีแนวโน้ม ลดลง
ต้นทุนเทียบ 36% 23% 13% ร้อยละ จำนวนร้อยละ 53.33
ยอดขาย
ด้านที่ 4 ด้านการเติบโตของยอดขาย/ส่วนแบ่งตลาดของ
ต้นทุนค่าขนส่ง 4.18 2.85 1.33 บาท/
กิโลเมตร
องค์กร ส่วนใหญ่พบว่า การเติบโตของยอดขาย/ส่วนแบ่งตลาด
ต้นทุนค่าขนส่ง/ 5,505.67 4,842.83 662.84 บาท/ ขององค์กรอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นจำนวนร้อยละ 40
เที่ยวเทียบ เที่ยว/ ด้านที่ 5 ด้านการพัฒนาช่องทางการขาย/บริการ ส่วนใหญ่
ระยะทางวิ่ง เดือน พบว่า การพัฒนาช่องทางการขาย/บริการอยู่เสมอจำนวนร้อย
เฉลี่ย/เดือน ละ 86.67
ด้านที่ 6 ด้านสัดส่วนการคืนสินค้า ส่วนใหญ่พบว่า มีการ
จากตารางที่ 4.4 การวิเคราะห์ข้อมูล การเปรียบเทีย บ ส่งคืนสินค้าลดลงกว่า 1 ปีที่ผ่านมาจำนวนร้อยละ 36.77
ต้นทุนค่าขนส่งก่อนและหลังการปรับปรุงของรถบรรทุกตู้เย็น ด้านที่ 7 ด้านแผนธุรกิจ ส่วนใหญ่พบว่า แผนธุรกิจมีความ
4 ล้อพบว่า ต้นทุนรวมทั้งหมดลดลงหลังการปรับปรุงถึงร้อย ครอบคลุมจำนวนร้อยละ 43.33
ละ 14 ต่อเดือน คิดเป็นมูลค่ากว่า 7,150 บาทต่อเดือน รายได้ ด้านที่ 8 ด้านการบริหารจัดการสินค้าคงคลัง ส่วนใหญ่
รวมเพิ่มมากขึ้นหลังการปรับปรุงถึงร้อยละ 36 ต่อเดือน คิด พบว่า การบริหารจัดการสินค้าคงคลังมีประสิทธิภาพจำนวน
เป็นมูลค่า 50,000 บาทต่อเดือน รายได้หลังหักรายจ่ายมีค่า ร้อยละ 40
ลดลงเท่ากับร้อยละ 64 ต่อเดือน คิดเป็นมูลค่ากว่า 57,150.00 ด้านที่ 9 ด้านใบอนุญาตประกอบกิจการ ส่วนใหญ่พบว่า มี
บาทต่อเดือน ต้นทุนเทียบยอดขายลดลงหลังการปรับปรุงร้อ ย ใบอนุญาตประกอบกิจการจำนวนร้อยละ 93.33
ละ 13 ต่อเดือน คิดเป็นร้อยละต่อปีเท่ากับ 156.00 ต้นทุนค่า
518
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

ด้านที่ 10 ด้านการใช้เทคโนโลยี /นวั ตกรรม ส่วนใหญ่ ร่วมมือในการและประสานงานกับทุกฝ่ายและหน่วยงานที่


พบว่า การใช้เทคโนโลยี /นวัตกรรมในด้านการประสานงาน เกี่ยวข้องดำเนินงาน
จำนวนร้อยละ 26.67
โดยการใช้แนวคิด Fleet Management และ แนวคิดการ เอกสารอ้างอิง
รวบรวมสิ น ค้ า การขนส่ ง ต่ อ เที ่ ย วเพื ่ อ ลดต้ น ทุ น (
Consolidation For FTL (Full Truck Load)) ดั ง นั ้ น การ 1. กองโลจิ ส ติ ก ส์ กรมส่ ง เสริ ม อุ ต สาหกรรม.กรุ ง เทพ
วิเคราะห์ข้อมูลการเปรียบเทียบต้นทุนค่าขนส่งก่อนและหลัง ธุรกิจ.2564. สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2564
การปรับปรุงของรถบรรทุก 4 ล้อ พบว่า ต้นทุนค่าขนส่ง รวม 2. สำนักงานคณะกรรมการ พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม
ทั้งหมดลดลงหลังการปรับปรุงถึงคิดเป็นร้อยละ 19 ต่อเดือน แห่งชาติ.2560. แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์
คิดเป็นมูลค่ากว่า 11,000 บาทต่อเดือน จากต้นทุนค่าขนส่ง ของไทย ฉบับที่ 2 (2556-2560). สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม
รวมทั้งหมดก่อนการปรับปรุง จากร้อยละ 100 ต่อเดือน คิด 2564
เป็นมูลค่ากว่า 57,328 บาทต่อเดือน การวิเคราะห์ข้อมูล การ 3. กองโลจิส ติกส์ กรมส่ง เสริมอุตสาหกรรม.กรุงเทพธุร กิจ .
เปรียบเทียบต้นทุนค่าขนส่งก่อนและหลังการปรับปรุงของ กองโลจิ ส ติ ก ส์ เพิ่ ม ขี ด ความสามารถอุ ต สาหกรรมไทย
รถบรรทุกตู้เย็น 4 ล้อพบว่า ต้นทุนรวมทั้งหมดลดลงหลังการ เปลี ่ ย นค่ า ใช้ จ ่ า ยเป็ น เงิ น ทุ น เปลี ่ ย นต้ น ทุ น เป็ น
ปรับปรุงถึงร้อยละ 14 ต่อเดือน คิดเป็นมูลค่ากว่า 7,150 บาท กำไร.2564. สืบค้นเมื่อ 15 ธันวาคม 2564
ต่อเดือน จากต้นทุนค่าขนส่งรวมทั้งหมดก่อนการปรับปรุง จาก 4. กระทรวงพลังงาน ธนาคารแห่งประเทศไทย และ Federal
ร้อยละ 100 ต่อเดือน คิดเป็นมูลค่ากว่า 50,474 บาทต่อเดือน Reserve Economic Data.2562.ข้อมูลสถิติราคาขายปลีก
แนวทางการลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพของการขนส่ง น้ำมัน (บาทต่อลิตร) ระหว่างปี พ.ศ. 2558 ถึง พ.ศ. 2562.
สินค้าเพื่อให้ธุร กิจ มีส มรรถนะการให้บริการที่มากขึ้นเป็ น สืบค้นเมื่อ 3 มกราคม 2565
มาตรฐานในองค์กร โดยมีการออกแบบกระบวนการจัดเก็บ 5. อนุรักษ์ ทองสุโขวงศ์. 2552.การวิเคราะห์ธุรกิจและต้นทุน
ข้อมูลพื้นฐานด้านการขนส่งสินค้าและสมรรถนะของรถขนส่ง ผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่นในพื้นที่ภาค
เป็นแบบฟอร์มตารางเก็บข้อมูลการบันทึกสินค้าแต่ละน้ำหนัก ตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน: กรณีศึกษา ผลิตภัณฑ์ที่มิใช่
เพื่อนำมาใช้เป็นแนวทางสำหรับการจัดเก็บข้อมูล เพื่อ นำมา อาหารและยา, มหาวิ ท ยาลั ยขอนแก่น . สื บ ค้ น เมื่ อ 20
วิเคราะห์ต้นทุนค่าขนส่งสินค้าให้มีความแม่นยำมากยิ่งขึ้น ธันวาคม 2564
6. Supply Chain Council. 2002. แบบจำลองอ้างอิงการ
กิตติกรรมประกาศ ดำเนินงานโซ่อุปทานหรือ SCOR model. สืบค้นเมื่อ 5
มีนาคม 2565 จาก
การทำวิจัยสำเร็จลุ ล่วงไปด้วยดี โดยความกรุณาจากทุก
ฝ่ า ยที ่ ค อยช่ว ยเหลือ สนั บสนุ น ให้ ข ้อ มู ล และข้ อเสนอแนะ
ขอขอบคุณ คณะอาจารย์ คณะบริหารธุรกิจ ม.เทคโนโลยีมหา
นคร และคุ ณ สาโรช มู ฮ ั ม หมั ด เจ้ า ของธุ ร กิ จ Logistics
service provider กรณีศึกษาทุกท่านทุกองค์กร ที่ได้ให้ความ

519
การประชุมวิชาการระดับชาติด้านการพัฒนาการดำเนินงานทางอุตสาหกรรม ครัง้ ที่ 13 (CIOD 2022)
The 13th National Conference of Industrial Operations Development 2022
20 พฤษภาคม 2565 คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร กรุงเทพฯ

https://archive.lib.cmu.ac.th/full/T/2551/inma0851wr
_ch2.pdf
7. ธี ร วุ ฒิ เอกะกุ ล . 2543. ระเบี ย บวิ ธ ีว ิ จ ั ย ทางพฤติกรรม
ศาสตร์และสัง คมศาสตร์ . อุบลราชธานี : สถาบันราชภัฎ
อุบลราชธานี. สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2564
8. ชิตพงษ์ อัยสำนนท์. 2561.กลยุทธ์สำหรับการเพิ่มขีด
ความสามารถของธุรกิจส่งออกทางอากาศ.มหาวิทยาศรี
ปทุม.สืบค้นเมื่อ 25 ธันวาคม 2564
9. บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธ์, 2543.รวมบทความการวิจัยการ
วัดผลและประเมินผล. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ศรี
อนันต์.
10. ชื่นชนก วุฒิพงศ์ปรีชา.2557. การพัฒนาทักษะในการ
เตรียมความพร้อมเพื่อเข้าสู่ประชาคม เศรษฐกิจอาเซียน
ของพนักงานธนาคารกรุงไทย พื้นที่จังหวัดลำปาง.
มหาวิทยาลัยเนชั่น.

520

You might also like