Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 38

วิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

1. ข้อใดไม่เหมาะสมในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการสำรวจ
1) ความน่าจะเป็นที่ได้นักเรียนที่สอบผ่านวิชาภาษาอังกฤษมากกว่า 1/2
2) ความน่าจะเป็นที่ได้นักเรียนที่ตกทั้ง 2 วิชาน้อยกว่าความน่าจะเป็นที่ได้นักเรียนที่ผ่านทั้งสองวิชา
3) ความน่าจะเป็นที่ได้นักเรียนที่สอบผ่านวิชาคณิตศาสตร์เท่ากับความน่าจะเป็นที่ได้นักเรียนที่สอบผ่าน
วิชาภาษาอังกฤษ
4) ความน่าจะเป็นที่ได้นักเรียนสอบผ่านวิชาคณิตศาสตร์อย่างเดียวน้อยกว่าความน่าจะเป็นที่ได้นักเรียน
ที่สอบผ่านทั้งสองวิชา
5) ความน่าจะเป็นที่ได้นักเรียนสอบผ่านวิชาคณิตศาสตร์อย่างเดียวเท่ากับความน่าจะเป็นที่ได้นักเรียน
สอบผ่านวิชาภาษาอังกฤษอย่างเดียว
2. ข้อใดไม่ใช่ผลหรือความสำคัญของเทคโนโลยีชีวภาพต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม
1) การปรับปรุงพันธ์พืชให้ทนแล้ง
2) การผลิตอาหารที่มีความทนสามารถเก็บไว้ได้นานขึ้น
3) การปรับปรุงพันธุ์สัตว์ให้ทนต่อโรค
4) การปรับปรุงสีของกล่องบรรจุอาหารเพื่อดึงดูดผู้บริโภค
5) การผลิตอาหารไขมันต่ำ
3. ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับสภาวะโลกร้อน
1) เป็นสภาวะที่เป็นผลจากปรากฏการณ์เรือนกระจก
2) มีความสัมพันธ์กับการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สู่บรรยากาศ
3) สภาวะโลกร้อนอาจทำให้เกิดน้ำท่วนในหลายบริเวณของโลกได้
4) การช่วยกันประหยัดพลังงานจะช่วยชะลอสภาวะโลกร้อนได้
5) สภาวะนี้ยังอยู่ในขั้นที่ถกเถียงกันว่า “โลกร้อนขี้จริงหรือ”
4. ข้อใดไม่ใช่น้ำตาล
1) กาแลตโตส
2) ซูโครส
3) มอลโตส
4) ไตรกรีเซอไรด์
5) ไกลโคเจน
5. ข้อใดถูกต้องเกี่ยวกับผลกระทบที่เกิดจากการใช้ผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม
1) ทำให้เกิดมลพิษทั้งทางอากาศ น้ำ และพื้นดิน
2) ทำให้เกิดมลพิษทางอากาศเท่านั้น
3) ทำให้เกิดมลพิษทางน้ำเท่านั้น
4) ทำให้เกิดมลพิษทางพื้นดิน และน้ำ
5) ไกลโคเจน
6. ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการใช้สารเคมี
1) การใช้กรดน้ำส้มมาเจือจางเป็นน้ำส้มสายชู
2) การใช้ผงซักฟอกมามาล้างเนื้อสัตว์กก่อนการทำอาหาร
3) การใช้โมโนโซเดียมกลูทาเมตในการปรุงแต่งรสอาหาร
4) การใช้น้ำเกลือในการล้างผัก
5) การใช้ผงฟูในการทำขนมปัง
7. อนุภาคที่มีประจุบวก เมื่อเคลื่อนที่เข้าไปในสนามแม่เหล็ก โดยที่ความเร็วมีทิศเดียวกันกับทิศของ
สนามแม่เหล็ก อนุภาคจะมีเส้นทางการเคลื่อนทีเ่ ป็นอย่างไร
1) เคลื่อนที่ต่อไปตามแนวเดิม ด้วยอัตราเร็วเท่าเดิม
2) เคลื่อนที่ต่อไปตามแนวเดิม ด้วยอัตราเร็วที่ลดลง
3) เคลื่อนที่ต่อไปตามแนวเดิม ด้วยอัตราเร็วที่มากขึ้น
4) เคลื่อนที่เป็นวงกลมด้วยอัตราเร็วคงจตัว
5) เคลื่อนที่เป็นวงกลมด้วยอัตราเร็วที่มากขึ้น
8. ข้อใดไม่ใช่การใช้ข้อมูลจากดาวเทียมสำรวจทรัพยากร
1) การทำแผนที่ธรณีวิทยา
2) การกำหนดพื้นที่ป่าต้นน้ำ
3) การจัดทำพื้นที่สำหรับปลูกพืชเศรษฐกิจ
4) การตรวจสอบองค์ประกอบของก้อนเมฆและการเคลื่อนที่ของก้อนเมฆ
5) การศึกษาการแพร่กระจายของตะกอนแขวนลอยที่เกิดจากการทำเหมืองแร่
9. ข้อใดไม่ใช่สมมุติฐานในการทดลองจับเวลาการกลิ้งลงพื้นเอียงของทรงกระบอก
1) ทรงกระบอกกลิ้งลงโดยไข้เวลามากกว่า ถ้าพื้นเอียงชันน้อยกว่า
2) ทรงกระบอกทุกแบบที่ใช้ทดลองต้องมีขนาดเท่ากัน
3) ทรงกระบอกตันขนาดต่าง ๆ กัน ใช้เวลาในการกลิ้งไม่เท่ากัน
4) ทรงกระบอกกลวงและทรงกระบอกตันที่มีน้ำหนักเท่ากัน กลิ้งลงพื้นเอียงโดยใช้เวลาเท่ากัน
5) ทรงกระบอกกลวงและทรงกระบอกดันที่มีขนาดเท่ากัน กลิ้งลงพื้นเอียงโดยใช้เวลาเท่ากัน
10. ข้อใดไม่เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวกับเทกโนโถยีชีวภาพด้านการหมัก
1) การทำซีอิ๊ว
2) การทำเหล้า
3) การทำปลาร้า
4) การทำผลไม้ดอง
5) การทำกุ้งแห้ง
11.ข้อใดเป็นเหตุการณ์ที่สอดกล้องกับสภาวะโลกร้อน
1) การลดลงของอุณหภูมิของโลก
2) การเพิ่มปริมาณของน้ำแข็งขั้วโลก
3) การเพิ่มขึ้นของระดับน้ำทะเลบริเวณขั้วโลก
4) การเพิ่มขึ้นของปริมาณออกชิเจนในชั้นบรรยากาศ
5) การลดลงของก๊าซการ์บอนไดออกไซดีในชั้นบรรยากาศ
12. สารในข้อใดคือส่วนประกอบสำคัญของโปรตีน
1) คาร์บอน ออกซิเจน ไนโตรเจน
2) คาร์บอน กำมะถัน ไฮโดรเจน
3) คาร์บอน ออกซิเจน ไฮโดรเจน
4) ออกชิเจน ในโตรเจน ไฮโดรเจน
5) คาร์บอน ออกซิเจน กำมะถัน ไฮโดรเจน
13.ข้อใดไม่ใช่ผลิตภัณฑ์จากพอลิเมอร์
1) ขดลวดสปริง
2) ถุงพลาสติก
3) เชือกไนลอน
4) ผ้าขนแกะ
5) ที่นอนยางพาราง
14. เราควรสามจุงมือยางเพื่อป้องกันชันตรายต่อผิวหนัง ขณะที่ใช้สารข้อใด
1) สบู่
2) น้ำเกลือ
3) ผงชูรส
4) น้ำส้มสายชู
5) น้ำยาล้างห้องน้ำ
15. ข้อใดไม่ไช่ประโยชน์โดยตรงของดาวเทียมในปัจจุบัน
1) การสื่อสาร
2) การนำทาง
3) การพยากรณ์อากาศ
4) การสำรวจทรัพยากรนอกโลก
5) การสำรวจทรัพยากรบนพื้นผิวโลก
จบบทเรความหมายของวิทยาศาตร์และเทคโนโลยี
วิทยาศาสตร์ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถานได้ให้ความหมายของวิทยาศาสตร์ (Science) ว่า
คือ ความรู้ที่ได้จากการสังเกตและค้นคว้าจากการประจักษ์ทางธรรมชาติ และจัดเข้าเป็นระเบียบ หรือวิชาที่
ค้นคว้าได้เป็นหลักฐานและได้เหตุผลแล้วจัดเข้าเป็นระเบียบ
ประเภทของวิทยาศาสตร์
วิทยาศาสตตร์แบ่งออกเป็น 2 แขนงใหญ่ๆ คือ
1.วิทยาศาสตร์บริสุทธิ์(Pure Science) ได้แก่ ชีววิทยา เคมี ฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ ซึ่งเป็นวิทยาศาสตร์พื้นฐาน
ของวิทยาศาสตร์ทุกสาขา
2. วิทยาศาสตร์ประยุกต์ (Applied Science) ได้แก่ วิทยาศาสตร์ทางด้านการแพทย์ ด้านเกษตร ด้าน
วิศวกรรม ฯลฯ ซึ่งนำมาประยุกต์ใช้เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์กับสังคมโดยมีวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์เป็นพื้นฐาน
วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientic Method)
วิธีการทางวิทยาศาสตร์ หรือวิธีแสวงหาความรู้ เป็นวิธีการแก้ปัญหาตามระเบียบวิธีการทางวิทยาศาสตร์
เป็นระบบและขั้นตอนที่แน่นอน ดังนี้

1. ตั้งปัญหา
2. การสร้างสมมติฐาน
3. ตรวจสอบสมมติฐานหรือขั้นทดลอง(ขั้นเก็บรวบรวมข้อมูล)
4. วิเคราะห์ข้อมูล
5. ลงข้อสรุป
1.การสังเกตและการตั้งปัญหา (Observation and problem)
การสังเกต (Observation) วิธีการทางวิทยาศาสตร์มักเริ่มจากการสังเกตปรากฏการณ์ต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเรา
เมื่อได้ข้อสังเกตบางอย่างที่เราสนใจจะทำให้ได้สิ่งที่ตามมา คือ ปัญหา (Problem)
2.การตั้งสมมติฐาน (Formulation of Hypothesis)
คือการคาดเดาคะเนคำตอบที่อาจเป็นไปได้หรือคิดหาคำตอบล่วงหน้าบนฐานข้อมูลที่ได้จากการสังเกต
ปรากฏการณ์และศึกษาเอกสารต่างๆ โดยคำตอบของปัญหาซึ่งคิดไว้นี้อาจถูกต้อง แต่ยังไม่เป็นที่ยอมรับ
จนกว่าจะมีการทดลองเพื่อตรวจสอบอย่างรอบครอบเสียก่อนจึงจะทราบว่าสมมติฐานที่ตั้งไว้นั้นถูกต้องหรือไม่
ดังนั้นควรตั้งสมมติฐานไว้หลายๆ ข้อและทดลองเพื่อตรวจสอบสมมติฐาน ไปพร้อมๆ กัน
การตั้งสมมติฐานที่ดีควรมีลักษณะดังต่อไปนี้

1. เป็นสมมติฐานที่ดีมีลักษณะดังต่อไปนี้
2. เป็นสมมติฐานที่แนะลู่ทางที่จะตรวจสอบได้
3. เป็นสมมติฐานที่ตรวจได้โดยการทดลอง
4. เป็นสมมติฐานที่สอดคล้องและอยู่ในขอบเขตข้อเท็จจริงที่ได้จากการสังเกตและสัมพันธ์กับ
ปัญหา
3.การตรวจสอบสมมติฐานหรือขั้นรวบรวมข้อมูล(Gather Evidence)
การตรวจสอบสมมติฐาน จะต้องยึดข้อกำหนดสมมติฐานไว้เป็นหลักเสมอ (เนื่องจากสมมติฐานที่ดีได้
แนะลู่ทางการตรวจสอบ และออกแบบการตรวจสอบไว้แล้ว) ซึ่งการตรวจสอบสมมติฐานนี้ได้
การสังเกตและการรวบรวมข้อเท็จจริงต่างๆ ที่เกิดจากประสบการณ์ธรรมชาติ
การทดลอง เป็นกระบวนการปฏิบัติหรือหาคำตอบหรือตรวจสอบสมมติฐานที่ตั้งไว้โดยการทดลอง เพื่อ
ทำการค้นคว้าหาข้อมูล และตรวจสอบว่าสมมติฐานข้อใดเป็นคำตอบที่ถูกต้องที่สุด ประกอบด้วยกิจกรรม 3
กระบวนการคือ
การออกแบบการทดลอง คือ การวางแผนการทดลองก่อนที่จะลงมือปฏิบัติจริงโดยให้สอดคล้องกับ
สมมติฐานที่ตั้งไว้เสมอ และควบคุมปัจจัยหรือตัวแปร ต่างๆ ที่มีผลต่อการทดลอง แบ่งเป็น 3 ชนิดคือ

1. ตัวแปรอิสระหรือตัวแปร (Independent Variable) คือปัจจัยที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดผล


การทดลองหรือตัวแปรที่ต้องศึกษาทำการตรวจสอบดูว่าเป็นสาเหตุที่ก่อให้ผลเช่นกัน
2. ตัวแปรตาม (Dependent Variable) คือ ผลที่เกิดจากการทดลอง ซึ่งต้องใช้วิธีการสังเกต
หรือวัดผลด้วยวิธีการต่างๆ เพื่อเก็บข้อมูลไว้และจะเปลี่ยนแปลงไปตามตัวแปรอิสระ
3. ตัวแปรที่ต้องควบคุม (Control Variable) คือ ปัจจัยอื่นๆ ที่นอกเหนือจากตัวแปรต้นที่มี
ผลต่อการทดลอง และต้องควบคุมให้เหมือนกันทุกชุดการทดลองเพื่อป้องกันไม่ให้ผลการ
ทดลองเกิดความคลาดเคลื่อน
3.1การปฏิบัติการทดลอง ในกิจกรรมนี้ลงมือปฏิบัติการทดลองจริงโดยจะดำเนินการไปตาม
ขัน้ ตอนที่ได้ออกแบบไว้ และควรจะทำการทดลองซ้ำ ๆ หลายๆ ครั้งเพื่อให้แน่ใจว่าได้ผลเช่นนั้นจริง
3.2 การบันทึกผลการทดลอง หมายถึง การจดบันทึกที่ได้จากการทดลองซึ่งข้อมูลที่ได้การ
รวบรวมไว้ใช้สำหรับยืนยันว่าสมมติฐานที่ตั้งไว้ถูกต้องหรือไม่
4.การวิเคราะห์ข้อมูล (Analysis of Data)
เป็นขั้นที่นำข้อมูลที่ได้รับจากการสังเกต การค้นคว้า การทดลองหรือการรวบรวมหรือข้อเท็จจริงมาทำ
การวิเคราะห์ผล แล้วนำไปเปรียบเทียบกับสมมติฐาน ที่ตั้งไว้ว่าสอดคล้องกับสมมติฐานข้อมูลข้อใด เช่น การ
หาค่าเฉลี่ยของความสูงของต้นหญ้า จาก 2 สัปดาห์
5.ขั้นสรุปผล (Conclusion of Result)
การสรุปผล เป็นขั้นตอนที่นำเอาข้อมูลที่ได้จากขั้นตอนของการรวบรวมข้อมูล แล้วมาสรุป พิจารณาว่า
ผลสรุปนั้นเหมือนกับสมมติฐานที่ตั้งไว้หรือไม่ ถ้าเหมือนกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ สมมติฐานจะกลายเป็นทฤษฎี
(Theory) และทฤษฎีนั้นก็สามารถนำไปอธิบายข้อเท็จจริงหรือเหตุการณ์ต่างๆ ได้อย่างกว้างขวาง
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Process Skill)
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นส่วนที่สำคัญในการส่งเสริมและเทคโนโลยี(สสวท.)ได้รวบรวม
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ได้ 13 ทักษะดังนี้

1. ทักษะสังเกต (Observation) การสังเกตุ หมายถึง การใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่ง


หรือหลายอย่างรวมกัน ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวกายเข้าไปสัมผัสวัตถุหรือเหตุการณ์
โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะหาข้อมูลซึ่งเป็นรายละเอียดสิ่งนั้นนั้น โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะหา
ข้อมูล ซึ่งเป็นรายละเอียดของสิ่งนั้นๆ โดยไม่ได้ใส่ความคิดเห็นของผู้สังเกตลงไป
2. ทักษะการวัด (Measurement) การวัด หมายถึง การเลือกและการใช้เครื่องมือทำการวัด
หาปริมาณของสิ่งต่างๆ ออกมาเป็นตัวเลขที่แน่นอน ได้อย่างเหมาะสมและถูกต้องโดยมี
หน่วยกำกับเสมอ
3. ทักษะการจำแนกประเภท (Classification) การจำแนกประเภท หมายถึง การแบ่งพวก
หรือเรียงลำดับวัตถุหรือสิ่งที่อยู่ในปรากฏการณ์โดยมรเกณฑ์ เกณฑ์ดังกล่าวอาจใช้ความ
เหมือน ความแตกต่าง หรือความสัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้
4. ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปส และสเปสกับเวลา (Space/Space
Relationship and Space/Time Relationship) สเปสของวัตถุ หมายถึง ที่ว่างที่วัตถุ
นั้นครองที่ ซึ่งจะมีรูปร่างลักษณะเช่นเดียวกับวัตถุนั้น โดยทั่วไปแล้วสเปสของวัตถุมี 3 มิติ
คือ ความกว้าง ความยาว และความสูง
5. ทักษะการคำนวณ (Using Number) การคำนวน หมายถึง การนับจำนวนของวัตถุและ
การนับตัวเลขของจำนวนที่นับได้มาคิดคำนวณโดยการบวก ลบ คูณ หาร และ หาค่าเฉลี่ย
6. ทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมายของข้อมูล (Organizing Data and
Communication) การจัดกระทำ และสื่อความหมายข้อมูล หมายถึง การนำข้อมูลที่ได้
จาก การสังเกต การวัด การทดลอง และจากแหล่งอื่นๆ มาจัดเสียใหม่โดยการหาความถี่
เรียงลำดับ จัดเเยกประเภท หรือคำนวณหาค่าใหม่ เพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจความหมายของข้อมูล
นั้นดีขึ้น โดยอาจเสนอในรูปของตาราง แผนภูมิ แผนภาพ ไดอะแกรม วงจร กราฟ สมการ
เขียนบรรยาย เป็นต้น
7. ทักษะการลงความคิดเห็นจากข้อมูล (Inferring) การลงความคิดเห็นการลงข้อมูล หมายถึง
การเพิ่มความคิดเห็นให้กับข้อมูลที่ได้รับจากการสังเกตอย่างมีเหตุผล โดยอาศัยความรู้
หรือประสบการณ์เดิมมาช่วย
8. ทักษะการพยากรณ์ (Prediction) การพยากรณ์ หมายถึง การสรุปคำตอบล่วงหน้าก่อนที่
จะทดลอง โดยอาศัยปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นซ้ำๆ หลักการ กฏหรือทฤษฏีที่มีอยู่เเล้วในเรื่อง
นั้นๆ มาช่วยสรุป
9. ทักษะการตั้งสมมติฐาน (Formulation Hypothesis) การตั้งสมมติฐาน หมายถึงการคิด
หาคำตอบล่วงหน้าก่อนทำการทดลอง โดยอาศัยการสังเกต ความรู้ประสบการณ์เดิม เป็น
พื้นฐาน
10. ทักษะการกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ (Defining Operationally) การกำหนดนิยามเชิง
ปฏิบัติการ หมายถึง การกำหนดความหมายและขอบเขตของคำต่างๆ
11. ทักษะการกำหนดและควบคุมตัวแปร (Identifying and Controlling Variables) การ
กำหนดตัวแแปร หมายถึง การชี้บ่งตัวแปรต้น ตัวแปรตาม และตัวแปรที่ต้องการควบคุม
มนสมมติฐานหนึ่ง
ตัวแแปรตต้น คือ สิ่งที่เป็นเหตุผลที่ทำให้เกิดผลต่างๆ หรือสิ่งที่ต้องการทดลองว่าเป็นสาเหตุที่
ก่อให้เกิดผล
ตัวแปรตาม คือ สิ่งที่เป็นผลต่อเนื่องจากตัวแปรต้น เมื่อตัวแปรต้นหรือสิ่งที่เป็นสาเหตุ
เปลี่ยนไป
ตัวแปรควบคุม คือ สิ่งอื่นๆ นอกเหนือจากตัวแปรต้น ที่ทำให้ผลการทดลองคลาดเคลื่อน
12.ทักษะการทดลอง(Experimenting) การทดลอง หมายถึง กระบวนการปฏิบัติการเพื่อหาคำตอบ หรือ
ทดสอบสมมติฐาน ที่ตั้งไว้ในการทดลอง จะประกอบด้วยกิจกรรม 3 ขั้นตอน
12.1 การออกแบบทดลอง หมายถึง การวางแผนการทดลองก่อนลงมือทดลองจริงเพื่อกำหนด
– วิธีการทดลอง
– อุปกรณ์และหรือสารเคมีที่จะต้องใช้ในการทดลอง
12.2 การปฏิบติการทดลอง หมายถึง การลงมือปฏิบัติการทดลองจริงๆ
12.3 การบันทึกผลการทดลอง หมายถึง การจดบันทึกข้อมูลที่ได้จากการทดลองซึ่งอาจเป็นผล
จากการสังเกต
13.ทักษะการตีความหมายข้อมูล และลงข้อสรุป (Interpreting Data and Conclusion) การตีความหมาย
ข้อมูล หมายถึง การแปลความหมายหรือ การแปลความหมายหรือการบรรยายลักษณะและสมบัติของข้อมูล
การตีความหลายข้อมูลในบ้านครั้งอาจต้องใช้ทักษะอื่นๆ ด้วย เช่น ทักษะ การสังเกต ทักษะการ
คำนวณ เป็นต้น
เจตคติทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Attitude)
เจตคติ หมายถึง สภาพทางจิตใจบุคคลแต่ละบุคคลที่เกิดจากประสบการณ์หรือ การเรียนรู้ และความพร้อม
เพื่อจะแสดงพฤติกรรมตอบสนองต่อสิ่งต่างๆ หรือสถานการณ์ต่างๆ ในทางใด ทางหนึ่ง เช่น ชอบ ไม่ชอบ
สนับสนุน หรือต่อต้าน เป็นต้น
เจตคติทางวิทยาศาสตร์นั้นแตกต่างจากเจตคติทั่วไป กล่าวคือ เจตคติทางวิทยาศาสตร์นั้น จะมีลักษณะ
สำคัญ ซึ่งสรุปได้ ดังนี้

1. มีความละเอียด ถี่ถ้วน อุตสาหะ


2. มีความอดทน
3. มีเหตุผลไม่เชื่อสิ่งใดง่ายๆ โดยปราศจากข้อเท็จมาสนับสนุนอย่างเพียงพอ
4. มีใจกว้าง ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ไม่ยึดมั่นในความคิดเห็นของตนเพียงฝ่ายเดียว
5. มีความกระตือรือร้นที่ค้นหาความรู้
6. มีความซื่อสัตย์สุจริต
7. สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
8. ยอมรับการเปลี่ยนแปลง และความก้าวหน้าใหม่ๆ
จิตวิทยาศาสตร์ (Scientific mind)
จิตวิทยาศาสตร์ หมายถึง ลักษณะนิสัยของบุคคลที่เกิดขึ้นจากการศึกษาหาความรู้โดยใช้กระบวนการ
ทางวิทยาศาสตร์
จิตวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วยลักษณะต่างๆ ได้แก่ ความสนใจใฝ่รู้ ความมุ่งมั้น อดทน รอบคอบ ความ
รับผิดชอบ ความซื่อสัตย์ ประหยัด และการร่วมแสดงความคิดเห็นและยอมรับฟังความคิดเห็นของผูู้อื่น ความ
มีเหตุหล การทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างสร้างสรรค์
เทคโนโลยี
เทคโนโลยี คือ การประยุกต์นำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ และก่อให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติแก่มวล
มนุษย์
คำว่า เทคโนโลยีทางเศษฐศาสตร์ มองเทคโนโลยีว่าเป็นความรู้ของมนุษย์ ณ ปัจจุบัน ในการนำเอา
ทรัพยากรมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ที่ต้องการ
ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับวิทยาศาสตร์
ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับวิทยาศาสตร์มีความสัมพันธ์กันมากเทคโนโลยีเกิดจากพื้นฐาน
ทางวิทยาศาสตร์รองรับ ทำให้การพัฒนาเทคโนโลยีเจริญก้าวหน้า
ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นความรู้ที่เกิดจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติโดยหลักสำคัญ คือความรู้
ทางวิทยาศาสตร์ คือ การพยายามอธิบายว่าทำไมจึงเกิดอย่างนั้น
เทคโนโลยีสมัยใหม่เกิดขั้น โดยมีความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นหลักฐานรองรับ บทบาทของเทคโนโลยี
ประโยชน์ของเทคโนโลยีที่มีผลต่อการพัฒนาประเทศ

1. เทคโนโลยีกับการพัฒนาอุตสาหกรรม การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการผลิตทำให้
ประสิทธิภาพในการผลิตเพิ่มมากขึ้น ประหยัดแรงงาน ลดต้นทุนและรักษาสภาพ
สิ่งแวดล้อมเทคโนโลยีที่มีบทบาทในการพัฒนาอุตสาหกรรมในประเทศไทย เช่น
คอมพิวเตอร์ และอิเล็กทรอนิกส์ การสื่อสาร เทคโนโลยีชีวภาพและพันธุกรรม วิศวกรรม
เทคโนโลยีเลเซอร์ การสื่อสาร การแพทย์ เทคโนโลยีพลังงาน เช่น พลาสติก แก้ว วัสดุ
ก่อสร้าง โลหะ
2. เทคโนโลยีกับการพัฒนาด้านเกษตร ใช้เทคโนโลยีในการเพิ่มผลผลิตปรับปรุงพันธุ์ เป็นต้น
การใช้เทคโนโลยี
การใช้เทคโนโลยีกระบวนการทางเทคโนโลยีสามารถใช้เป็นแนวทางในการสร้างเครื่องมือเครื่องใช้
สำหรับดำรงชีวิตและแก้ปัญหาของมนุษย์อย่างเป็นระบบโดยอาศัยทรัพยากรและความรู้ต่าง ๆ การทดสอบ
และประเมินผลชิ้นงานหรือวิธีการสร้างทำให้เกิดการปรับปรุงและพัฒนาผลิตภัณฑ์ธรรมชาติตรงตามความ
ต้องการมากขึ้นนอกจากนี้ยังก่อให้เกิดการวิวัฒนาการทางเทคโนโลยีและสามารถสร้างผลิตภัณฑ์หรือ
เทคโนโลยีใหม่ ๆ ได้ดังนั้นเทคโนโลยีจึงเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมของมนุษย์การเลือกใช้
เทคโนโลยีควรเหมาะสมกับปริมาณการผลิตคุณภาพของผลิตภัณฑ์ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจและผลกระทบ
สิ่งแวดล้อมน้อยที่สุดซึ่งการใช้เทคโนโลยีอาจจัดเป็นการใช้เทคโนโลยีที่สร้างขึ้นเองหรือเทคโนโลยีที่มีอยู่แล้ว
โดยจะเน้นไปที่คุณธรรมจริยธรรมของการใช้เทคโนโลยี
การเลือกใช้เทคโนโลยี
พื้นฐานของเทคโนโลยีแต่ละท้องถิ่นหรือประเทศ สร้างและพัฒนาขึ้นด้วยความและทักษะของตน เพื่อ
การดำรงชีวิต ซึ่งมีทั้งสร้างสรรค์ และขัดแย้ง ดังนั้นการเลือกใช้เทคโนโลยีจึงต้องคำนึงถึงการตอบสนอง
ความต้องการ ความปลอดภัย ความเหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และประเมิน
อย่างมีวิจารณญาณ โดยใช้เกณฑ์ทางสังคมประกอบด้วย
การบริโภคผลิตภัณฑ์ จากเทคโนโลยีเพิ่มขึ้น ตามจำนวนประชากร การผลิตสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ
ด้วยเทคโนโลยีของท้องถิ่นไม่อาจตอบสนองความต้องการได้อย่างเพียงพอ จำเป็นต้องแสวงหาจากแหล่งอื่น
หรือต่างประเทศ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว อย่างไรก็ดีเทคโนโลยีแห่งหนึ่งอาจไม่เหมาะสมกับอีกแห่ง
ก็ได้ จึงต้องเลือกใช้อย่างระมัดระวัง
เทคโนโลยีมีผลกระทบโดยตรงต่อการพัฒนาชีวิตและความเป็นอยู่ของมนุษย์ เช่น เทคโนโลยี
การแพทย์ทำให้มนุษย์สามารถสร้างเด็กในหลอดแก้ว หรือการโคลนนิ่ง (Cloning) ซึ่งส่งผลกระทบต่อศีลธรรม
และสังคมของมนุษย์เป็นต้น
ดังนั้น จึงควรพิจารณาเลือกใช้เทคโนโลยีให้เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่นและประเมินเทคโนโลยีอย่างมี
วิจารณญาณโดยใช้เกณฑ์ทางสังคมมาประกอบด้วย
ความหมายของวิทยาศาตร์และเทคโนโลยี
วิทยาศาสตร์ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถานได้ให้ความหมายของวิทยาศาสตร์ (Science) ว่า
คือ ความรู้ที่ได้จากการสังเกตและค้นคว้าจากการประจักษ์ทางธรรมชาติ และจัดเข้าเป็นระเบียบ หรือวิชาที่
ค้นคว้าได้เป็นหลักฐานและได้เหตุผลแล้วจัดเข้าเป็นระเบียบ
ประเภทของวิทยาศาสตร์
วิทยาศาสตตร์แบ่งออกเป็น 2 แขนงใหญ่ๆ คือ
1.วิทยาศาสตร์บริสุทธิ์(Pure Science) ได้แก่ ชีววิทยา เคมี ฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ ซึ่งเป็นวิทยาศาสตร์พื้นฐาน
ของวิทยาศาสตร์ทุกสาขา
2. วิทยาศาสตร์ประยุกต์ (Applied Science) ได้แก่ วิทยาศาสตร์ทางด้านการแพทย์ ด้านเกษตร ด้าน
วิศวกรรม ฯลฯ ซึ่งนำมาประยุกต์ใช้เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์กับสังคมโดยมีวิทยาศาสตร์บริสุทธิ์เป็นพื้นฐาน
วิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientic Method)
วิธีการทางวิทยาศาสตร์ หรือวิธีแสวงหาความรู้ เป็นวิธีการแก้ปัญหาตามระเบียบวิธีการทางวิทยาศาสตร์
เป็นระบบและขั้นตอนที่แน่นอน ดังนี้

1. ตั้งปัญหา
2. การสร้างสมมติฐาน
3. ตรวจสอบสมมติฐานหรือขั้นทดลอง(ขั้นเก็บรวบรวมข้อมูล)
4. วิเคราะห์ข้อมูล
5. ลงข้อสรุป
1.การสังเกตและการตั้งปัญหา (Observation and problem)
การสังเกต (Observation) วิธีการทางวิทยาศาสตร์มักเริ่มจากการสังเกตปรากฏการณ์ต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเรา
เมื่อได้ข้อสังเกตบางอย่างที่เราสนใจจะทำให้ได้สิ่งที่ตามมา คือ ปัญหา (Problem)
2.การตั้งสมมติฐาน (Formulation of Hypothesis)
คือการคาดเดาคะเนคำตอบที่อาจเป็นไปได้หรือคิดหาคำตอบล่วงหน้าบนฐานข้อมูลที่ได้จากการสังเกต
ปรากฏการณ์และศึกษาเอกสารต่างๆ โดยคำตอบของปัญหาซึ่งคิดไว้นี้อาจถูกต้อง แต่ยังไม่เป็นที่ยอมรับ
จนกว่าจะมีการทดลองเพื่อตรวจสอบอย่างรอบครอบเสียก่อนจึงจะทราบว่าสมมติฐานที่ตั้งไว้นั้นถูกต้องหรือไม่
ดังนั้นควรตั้งสมมติฐานไว้หลายๆ ข้อและทดลองเพื่อตรวจสอบสมมติฐาน ไปพร้อมๆ กัน
การตั้งสมมติฐานที่ดีควรมีลักษณะดังต่อไปนี้

1.
เป็นสมมติฐานที่ดีมีลักษณะดังต่อไปนี้
2.
เป็นสมมติฐานที่แนะลู่ทางที่จะตรวจสอบได้
3.
เป็นสมมติฐานที่ตรวจได้โดยการทดลอง
4.
เป็นสมมติฐานที่สอดคล้องและอยู่ในขอบเขตข้อเท็จจริงที่ได้จากการสังเกตและสัมพันธ์กับ
ปัญหา
3.การตรวจสอบสมมติฐานหรือขั้นรวบรวมข้อมูล(Gather Evidence)
การตรวจสอบสมมติฐาน จะต้องยึดข้อกำหนดสมมติฐานไว้เป็นหลักเสมอ (เนื่องจากสมมติฐานที่ดีได้
แนะลู่ทางการตรวจสอบ และออกแบบการตรวจสอบไว้แล้ว) ซึ่งการตรวจสอบสมมติฐานนี้ได้
การสังเกตและการรวบรวมข้อเท็จจริงต่างๆ ที่เกิดจากประสบการณ์ธรรมชาติ
การทดลอง เป็นกระบวนการปฏิบัติหรือหาคำตอบหรือตรวจสอบสมมติฐานที่ตั้งไว้โดยการทดลอง เพื่อ
ทำการค้นคว้าหาข้อมูล และตรวจสอบว่าสมมติฐานข้อใดเป็นคำตอบที่ถูกต้องที่สุด ประกอบด้วยกิจกรรม 3
กระบวนการคือ
การออกแบบการทดลอง คือ การวางแผนการทดลองก่อนที่จะลงมือปฏิบัติจริงโดยให้สอดคล้องกับ
สมมติฐานที่ตั้งไว้เสมอ และควบคุมปัจจัยหรือตัวแปร ต่างๆ ที่มีผลต่อการทดลอง แบ่งเป็น 3 ชนิดคือ

1. ตัวแปรอิสระหรือตัวแปร (Independent Variable) คือปัจจัยที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดผล


การทดลองหรือตัวแปรที่ต้องศึกษาทำการตรวจสอบดูว่าเป็นสาเหตุที่ก่อให้ผลเช่นกัน
2. ตัวแปรตาม (Dependent Variable) คือ ผลที่เกิดจากการทดลอง ซึ่งต้องใช้วิธีการสังเกต
หรือวัดผลด้วยวิธีการต่างๆ เพื่อเก็บข้อมูลไว้และจะเปลี่ยนแปลงไปตามตัวแปรอิสระ
3. ตัวแปรที่ต้องควบคุม (Control Variable) คือ ปัจจัยอื่นๆ ที่นอกเหนือจากตัวแปรต้นที่มี
ผลต่อการทดลอง และต้องควบคุมให้เหมือนกันทุกชุดการทดลองเพื่อป้องกันไม่ให้ผลการ
ทดลองเกิดความคลาดเคลื่อน
3.1การปฏิบัติการทดลอง ในกิจกรรมนี้ลงมือปฏิบัติการทดลองจริงโดยจะดำเนินการไปตาม
ขั้นตอนที่ได้ออกแบบไว้ และควรจะทำการทดลองซ้ำ ๆ หลายๆ ครั้งเพื่อให้แน่ใจว่าได้ผลเช่นนั้นจริง
3.2 การบันทึกผลการทดลอง หมายถึง การจดบันทึกที่ได้จากการทดลองซึ่งข้อมูลที่ได้การ
รวบรวมไว้ใช้สำหรับยืนยันว่าสมมติฐานที่ตั้งไว้ถูกต้องหรือไม่
4.การวิเคราะห์ข้อมูล (Analysis of Data)
เป็นขั้นที่นำข้อมูลที่ได้รับจากการสังเกต การค้นคว้า การทดลองหรือการรวบรวมหรือข้อเท็จจริงมาทำ
การวิเคราะห์ผล แล้วนำไปเปรียบเทียบกับสมมติฐาน ที่ตั้งไว้ว่าสอดคล้องกับสมมติฐานข้อมูลข้อใด เช่น การ
หาค่าเฉลี่ยของความสูงของต้นหญ้า จาก 2 สัปดาห์
5.ขั้นสรุปผล (Conclusion of Result)
การสรุปผล เป็นขั้นตอนที่นำเอาข้อมูลที่ได้จากขั้นตอนของการรวบรวมข้อมูล แล้วมาสรุป พิจารณาว่า
ผลสรุปนั้นเหมือนกับสมมติฐานที่ตั้งไว้หรือไม่ ถ้าเหมือนกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ สมมติฐานจะกลายเป็นทฤษฎี
(Theory) และทฤษฎีนั้นก็สามารถนำไปอธิบายข้อเท็จจริงหรือเหตุการณ์ต่างๆ ได้อย่างกว้างขวาง
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Process Skill)
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เป็นส่วนที่สำคัญในการส่งเสริมและเทคโนโลยี(สสวท.)ได้รวบรวม
ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ได้ 13 ทักษะดังนี้

1. ทักษะสังเกต (Observation) การสังเกตุ หมายถึง การใช้ประสาทสัมผัสอย่างใดอย่างหนึ่ง


หรือหลายอย่างรวมกัน ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวกายเข้าไปสัมผัสวัตถุหรือเหตุการณ์
โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะหาข้อมูลซึ่งเป็นรายละเอียดสิ่งนั้นนั้น โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะหา
ข้อมูล ซึ่งเป็นรายละเอียดของสิ่งนั้นๆ โดยไม่ได้ใส่ความคิดเห็นของผู้สังเกตลงไป
2. ทักษะการวัด (Measurement) การวัด หมายถึง การเลือกและการใช้เครื่องมือทำการวัด
หาปริมาณของสิ่งต่างๆ ออกมาเป็นตัวเลขที่แน่นอน ได้อย่างเหมาะสมและถูกต้องโดยมี
หน่วยกำกับเสมอ
3. ทักษะการจำแนกประเภท (Classification) การจำแนกประเภท หมายถึง การแบ่งพวก
หรือเรียงลำดับวัตถุหรือสิ่งที่อยู่ในปรากฏการณ์โดยมรเกณฑ์ เกณฑ์ดังกล่าวอาจใช้ความ
เหมือน ความแตกต่าง หรือความสัมพันธ์อย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้
4. ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปส และสเปสกับเวลา (Space/Space
Relationship and Space/Time Relationship) สเปสของวัตถุ หมายถึง ที่ว่างที่วัตถุ
นั้นครองที่ ซึ่งจะมีรูปร่างลักษณะเช่นเดียวกับวัตถุนั้น โดยทั่วไปแล้วสเปสของวัตถุมี 3 มิติ
คือ ความกว้าง ความยาว และความสูง
5. ทักษะการคำนวณ (Using Number) การคำนวน หมายถึง การนับจำนวนของวัตถุและ
การนับตัวเลขของจำนวนที่นับได้มาคิดคำนวณโดยการบวก ลบ คูณ หาร และ หาค่าเฉลี่ย
6. ทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมายของข้อมูล (Organizing Data and
Communication) การจัดกระทำ และสื่อความหมายข้อมูล หมายถึง การนำข้อมูลที่ได้
จาก การสังเกต การวัด การทดลอง และจากแหล่งอื่นๆ มาจัดเสียใหม่โดยการหาความถี่
เรียงลำดับ จัดเเยกประเภท หรือคำนวณหาค่าใหม่ เพื่อให้ผู้อื่นเข้าใจความหมายของข้อมูล
นั้นดีขึ้น โดยอาจเสนอในรูปของตาราง แผนภูมิ แผนภาพ ไดอะแกรม วงจร กราฟ สมการ
เขียนบรรยาย เป็นต้น
7. ทักษะการลงความคิดเห็นจากข้อมูล (Inferring) การลงความคิดเห็นการลงข้อมูล หมายถึง
การเพิ่มความคิดเห็นให้กับข้อมูลที่ได้รับจากการสังเกตอย่างมีเหตุผล โดยอาศัยความรู้
หรือประสบการณ์เดิมมาช่วย
8. ทักษะการพยากรณ์ (Prediction) การพยากรณ์ หมายถึง การสรุปคำตอบล่วงหน้าก่อนที่
จะทดลอง โดยอาศัยปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นซ้ำๆ หลักการ กฏหรือทฤษฏีที่มีอยู่เเล้วในเรื่อง
นั้นๆ มาช่วยสรุป
9. ทักษะการตั้งสมมติฐาน (Formulation Hypothesis) การตั้งสมมติฐาน หมายถึงการคิด
หาคำตอบล่วงหน้าก่อนทำการทดลอง โดยอาศัยการสังเกต ความรู้ประสบการณ์เดิม เป็น
พื้นฐาน
10. ทักษะการกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ (Defining Operationally) การกำหนดนิยามเชิง
ปฏิบัติการ หมายถึง การกำหนดความหมายและขอบเขตของคำต่างๆ
11. ทักษะการกำหนดและควบคุมตัวแปร (Identifying and Controlling Variables) การ
กำหนดตัวแแปร หมายถึง การชี้บ่งตัวแปรต้น ตัวแปรตาม และตัวแปรที่ต้องการควบคุม
มนสมมติฐานหนึ่ง
ตัวแแปรตต้น คือ สิ่งที่เป็นเหตุผลที่ทำให้เกิดผลต่างๆ หรือสิ่งที่ต้องการทดลองว่าเป็นสาเหตุที่
ก่อให้เกิดผล
ตัวแปรตาม คือ สิ่งที่เป็นผลต่อเนื่องจากตัวแปรต้น เมื่อตัวแปรต้นหรือสิ่งที่เป็นสาเหตุ
เปลี่ยนไป
ตัวแปรควบคุม คือ สิ่งอื่นๆ นอกเหนือจากตัวแปรต้น ที่ทำให้ผลการทดลองคลาดเคลื่อน
12.ทักษะการทดลอง(Experimenting) การทดลอง หมายถึง กระบวนการปฏิบัติการเพื่อหาคำตอบ หรือ
ทดสอบสมมติฐาน ที่ตั้งไว้ในการทดลอง จะประกอบด้วยกิจกรรม 3 ขั้นตอน
12.1 การออกแบบทดลอง หมายถึง การวางแผนการทดลองก่อนลงมือทดลองจริงเพื่อกำหนด
– วิธีการทดลอง
– อุปกรณ์และหรือสารเคมีที่จะต้องใช้ในการทดลอง
12.2 การปฏิบติการทดลอง หมายถึง การลงมือปฏิบัติการทดลองจริงๆ
12.3 การบันทึกผลการทดลอง หมายถึง การจดบันทึกข้อมูลที่ได้จากการทดลองซึ่งอาจเป็นผล
จากการสังเกต
13.ทักษะการตีความหมายข้อมูล และลงข้อสรุป (Interpreting Data and Conclusion) การตีความหมาย
ข้อมูล หมายถึง การแปลความหมายหรือ การแปลความหมายหรือการบรรยายลักษณะและสมบัติของข้อมูล
การตีความหลายข้อมูลในบ้านครั้งอาจต้องใช้ทักษะอื่นๆ ด้วย เช่น ทักษะ การสังเกต ทักษะการ
คำนวณ เป็นต้น
เจตคติทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Attitude)
เจตคติ หมายถึง สภาพทางจิตใจบุคคลแต่ละบุคคลที่เกิดจากประสบการณ์หรือ การเรียนรู้ และความพร้อม
เพื่อจะแสดงพฤติกรรมตอบสนองต่อสิ่งต่างๆ หรือสถานการณ์ต่างๆ ในทางใด ทางหนึ่ง เช่น ชอบ ไม่ชอบ
สนับสนุน หรือต่อต้าน เป็นต้น
เจตคติทางวิทยาศาสตร์นั้นแตกต่างจากเจตคติทั่วไป กล่าวคือ เจตคติทางวิทยาศาสตร์นั้น จะมีลักษณะ
สำคัญ ซึ่งสรุปได้ ดังนี้

1. มีความละเอียด ถี่ถ้วน อุตสาหะ


2. มีความอดทน
3. มีเหตุผลไม่เชื่อสิ่งใดง่ายๆ โดยปราศจากข้อเท็จมาสนับสนุนอย่างเพียงพอ
4. มีใจกว้าง ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น ไม่ยึดมั่นในความคิดเห็นของตนเพียงฝ่ายเดียว
5. มีความกระตือรือร้นที่ค้นหาความรู้
6. มีความซื่อสัตย์สุจริต
7. สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้
8. ยอมรับการเปลี่ยนแปลง และความก้าวหน้าใหม่ๆ
จิตวิทยาศาสตร์ (Scientific mind)
จิตวิทยาศาสตร์ หมายถึง ลักษณะนิสัยของบุคคลที่เกิดขึ้นจากการศึกษาหาความรู้โดยใช้กระบวนการ
ทางวิทยาศาสตร์
จิตวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วยลักษณะต่างๆ ได้แก่ ความสนใจใฝ่รู้ ความมุ่งมั้น อดทน รอบคอบ ความ
รับผิดชอบ ความซื่อสัตย์ ประหยัด และการร่วมแสดงความคิดเห็นและยอมรับฟังความคิดเห็นของผูู้อื่น ความ
มีเหตุหล การทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างสร้างสรรค์
เทคโนโลยี
เทคโนโลยี คือ การประยุกต์นำความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาใช้ และก่อให้เกิดประโยชน์ในทางปฏิบัติแก่มวล
มนุษย์
คำว่า เทคโนโลยีทางเศษฐศาสตร์ มองเทคโนโลยีว่าเป็นความรู้ของมนุษย์ ณ ปัจจุบัน ในการนำเอา
ทรัพยากรมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ที่ต้องการ
ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับวิทยาศาสตร์
ความสัมพันธ์ระหว่างเทคโนโลยีกับวิทยาศาสตร์มีความสัมพันธ์กันมากเทคโนโลยีเกิดจากพื้นฐาน
ทางวิทยาศาสตร์รองรับ ทำให้การพัฒนาเทคโนโลยีเจริญก้าวหน้า
ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นความรู้ที่เกิดจากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติโดยหลักสำคัญ คือความรู้
ทางวิทยาศาสตร์ คือ การพยายามอธิบายว่าทำไมจึงเกิดอย่างนั้น
เทคโนโลยีสมัยใหม่เกิดขั้น โดยมีความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นหลักฐานรองรับ บทบาทของเทคโนโลยี
ประโยชน์ของเทคโนโลยีที่มีผลต่อการพัฒนาประเทศ

1. เทคโนโลยีกับการพัฒนาอุตสาหกรรม การนำเทคโนโลยีมาใช้ในการผลิตทำให้
ประสิทธิภาพในการผลิตเพิ่มมากขึ้น ประหยัดแรงงาน ลดต้นทุนและรักษาสภาพ
สิ่งแวดล้อมเทคโนโลยีที่มีบทบาทในการพัฒนาอุตสาหกรรมในประเทศไทย เช่น
คอมพิวเตอร์ และอิเล็กทรอนิกส์ การสื่อสาร เทคโนโลยีชีวภาพและพันธุกรรม วิศวกรรม
เทคโนโลยีเลเซอร์ การสื่อสาร การแพทย์ เทคโนโลยีพลังงาน เช่น พลาสติก แก้ว วัสดุ
ก่อสร้าง โลหะ
2. เทคโนโลยีกับการพัฒนาด้านเกษตร ใช้เทคโนโลยีในการเพิ่มผลผลิตปรับปรุงพันธุ์ เป็นต้น
การใช้เทคโนโลยี
การใช้เทคโนโลยีกระบวนการทางเทคโนโลยีสามารถใช้เป็นแนวทางในการสร้างเครื่องมือเครื่องใช้
สำหรับดำรงชีวิตและแก้ปัญหาของมนุษย์อย่างเป็นระบบโดยอาศัยทรัพยากรและความรู้ต่าง ๆ การทดสอบ
และประเมินผลชิ้นงานหรือวิธีการสร้างทำให้เกิดการปรับปรุงและพัฒนาผลิตภัณฑ์ธรรมชาติตรงตามความ
ต้องการมากขึ้นนอกจากนี้ยังก่อให้เกิดการวิวัฒนาการทางเทคโนโลยีและสามารถสร้างผลิตภัณฑ์หรือ
เทคโนโลยีใหม่ ๆ ได้ดังนั้นเทคโนโลยีจึงเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมของมนุษย์การเลือกใช้
เทคโนโลยีควรเหมาะสมกับปริมาณการผลิตคุณภาพของผลิตภัณฑ์ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจและผลกระทบ
สิ่งแวดล้อมน้อยที่สุดซึ่งการใช้เทคโนโลยีอาจจัดเป็นการใช้เทคโนโลยีที่สร้างขึ้นเองหรือเทคโนโลยีที่มีอยู่แล้ว
โดยจะเน้นไปที่คุณธรรมจริยธรรมของการใช้เทคโนโลยี
การเลือกใช้เทคโนโลยี
พื้นฐานของเทคโนโลยีแต่ละท้องถิ่นหรือประเทศ สร้างและพัฒนาขึ้นด้วยความและทักษะของตน เพื่อ
การดำรงชีวิต ซึ่งมีทั้งสร้างสรรค์ และขัดแย้ง ดังนั้นการเลือกใช้เทคโนโลยีจึงต้องคำนึงถึงการตอบสนอง
ความต้องการ ความปลอดภัย ความเหมาะสมกับสภาพท้องถิ่น ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และประเมิน
อย่างมีวิจารณญาณ โดยใช้เกณฑ์ทางสังคมประกอบด้วย
การบริโภคผลิตภัณฑ์ จากเทคโนโลยีเพิ่มขึ้น ตามจำนวนประชากร การผลิตสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ
ด้วยเทคโนโลยีของท้องถิ่นไม่อาจตอบสนองความต้องการได้อย่างเพียงพอ จำเป็นต้องแสวงหาจากแหล่งอื่น
หรือต่างประเทศ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว อย่างไรก็ดีเทคโนโลยีแห่งหนึ่งอาจไม่เหมาะสมกับอีกแห่ง
ก็ได้ จึงต้องเลือกใช้อย่างระมัดระวัง
เทคโนโลยีมีผลกระทบโดยตรงต่อการพัฒนาชีวิตและความเป็นอยู่ของมนุษย์ เช่น เทคโนโลยี
การแพทย์ทำให้มนุษย์สามารถสร้างเด็กในหลอดแก้ว หรือการโคลนนิ่ง (Cloning) ซึ่งส่งผลกระทบต่อศีลธรรม
และสังคมของมนุษย์เป็นต้น
ดังนั้น จึงควรพิจารณาเลือกใช้เทคโนโลยีให้เหมาะสมกับสภาพท้องถิ่นและประเมินเทคโนโลยีอย่างมี
วิจารณญาณโดยใช้เกณฑ์ทางสังคมมาประกอบด้วย
ความหมายโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานวิทยาศาสตร์ (Science Project) หมายถึงการศึกษาเรื่องใดเรื่องหนึ่งเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ด้วย
ตนเอง โดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ และทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ การหาคำตอบภายใต้
คำแนะนำหรือข้อเสนอแนะของครู อาจารย์ หรือ ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งกิจกรรมนี้อาจทำเป็นรายบุคคลหรือทำเป็น
รายบุคคลหรือทำเป็นกลุ่ม และจะทำในเวลาเรียนหรือนอกเวลาเรียนก็ได้ โดยไม่ต้องจำกัดสถานที่
หลักการของโครงงานวิทยาศาสตร์
การจัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์มีหลักการสำคัญ ดังนี้

1. เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
2. เป็นกิจกรรมที่เน้นการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ตั้งแต่การระบุปัญหาการตั้งสมมติฐาน
การดำเนินการศึกษา ค้นคว้า ทดลอง เพื่อหาคำตอบในปัญหานั้นๆ จากแหล่งความรู้ ผู้
ชำนาญหรืออื่นๆ โดยมีครู – อาจารย์ เป็นผู้แนะนำให้คำปรึกษา
3. เป็นกิจกรรมที่เน้นแสวงหาความรู้โดยใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ เริ่มจากการ ระบุปัญหา
เลือกหัวข้อที่ตนสนใจจะศึกษา ตั้งสมมติฐาน ขั้นสังเกต และการทดลองเพื่อรวบรวมข้อมูล
และสรุปผลการศึกษาค้นคว้า
4. เป็นบกิจกรรมที่เน้นให้ผู้เรียน คิดเป็น ทำเป็นและแก้ปัญหาเป็นซึ่งเป็นแนวทางที่นำไปใช้
ในการดำเนินชีวิตประจำวัน
จุดมุ่งหมายของโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานวิทยาศาสตร์โดยทั่วไป มีจุดมุ่งหมาย

1. เพื่อนำมาจัดระบบ ระเบียบ และสื่อความหมายแล้วนำเสนอในรูปต่างๆ เช่นตาราง


แผนภูมิ
2. เพื่อให้ผู้เรียนเรียนใช้ความรู้และประสบการณ์เลือกทำโครงงานวิทยาศาสตร์ตามที่ตนใจ
3. เพื่อให้ผู้เรียนแสดงความคิดเห็นริเริ่มสร้างสรรค์
4. เพื่อให้ผู้เรียนมีเจตคติทางวิทยาศาสตร์และเห็นคุณค่าของการใช้กระบวนการทาง
วิทยาศาสตร์ในการแก้ปัญหา
5. เพื่อให้ผู้เรียนมองเห็นแนวทางในการประยุกต์ใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีใน
แต่ละท้องถิ่น
ประเภทของโครงงานวิทยาศาสตร์
โครงงานวิทยาศาสตร์โดยทั่วไป แบ่งเป็น 4 ประเภท คือ
1. โครงงานประเภทสำรวจเป็นการศึกษารวบรวมข้อมูลจากธรรมชาติประเภทของโครงงาน
วิทยาศาสตร์โครงงานวิทยาศาสตร์โดยทั่วไปแบ่งเป็น 4 ประเภทคือและสิ่งแวดล้อมเพื่อนำมาจัดระบบระเบียบ
และสื่อความหมายและนำเสนอในรูปแบบอน ๆ เช่นตารางแผนภูมิกราฟคำอธิบายประกอบการทำโครงงาน
ประเภทนี้ไม่มีการจัดหรือกำหนดตัวแปรต้นและตัวแปรตามซึ่งทำได้ในลักษณะใดลักษณะหนึ่งดังนี้
1.1 การเก็บรวบรวมข้อมูลในธรรมชาติโดยไม่ต้องนำมาวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการเช่นการสำรวจ
ประชากรของพืชสัตว์ดินในบริเวณที่ต้องการศึกษาการสำรวจลักษณะระบบนิเวศในท้องถิ่นการสำรวจชนิดพืช
ใบเลี้ยงคู่ใบเลี้ยงเดี่ยวในบริเวณโรงเรียน
1.2 การเก็บรวบรวมข้อมูลตัวอย่างมาวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการเช่นการสำรวจพยาธิในปูเค็มที่
วางขายในตลาดที่ต้องการศึกษาการสำรวจค่าของความเป็นกรดเป็นเบสของดินหรือน้ำจากแหล่งที่ต้องการ
ศึกษาต่างประการสำรวจหาปริมาณน้ำตาลจากอ้อยในพื้นที่ต่าง ๆ ของท้องถิ่น
1.3 การจำลองธรรมชาติขึ้นในห้องปฏิบัติการแล้วสังเกตศึกษาเพื่อรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ซึ่งบางครั้ง
การออกไปสำรวจเพื่อรวบรวมข้อมูลในธรรมชาติไม่สะดวกเสียเวลาสิ้นเปลืองงบประมาณมากบางครั้งก็อาจ
จำลองธรรมชาติจำลองนั้นเช่นการศึกษาพฤติกรรมของสัตว์ที่นำมาเลี้ยงในห้องปฏิบัติการการศึกษาวงจรชีวิต
ของแมลงที่เลี้ยงในห้องปฏิบัติการการศึกษาพฤติกรรมของมดแดงที่นำมาเลี้ยง 1 อาณานิคมในห้องปฏิบัติการ
2. โครงงานประเภทการทดลองเป็นการศึกษาหาคำตอบของปัญหาโดยการออกแบบการเพื่อ
ศึกษา ผลของตัวแปรต้นตัวแปรตามและควบคุมตัวแปรอื่น ๆ ที่อาจมีผลต่อตัวแปรที่ต้องการศึกษา
โดยทั่วไปขั้นตอนการดำเนินงานของโครงงานประเภทนี้ประกอบด้วย
2.1 การระบุปัญหา (ได้จากการสังเกต)
2.2 การตั้งสมมติฐานเป็นการคาดคะเนคำตอบของปัญหา
2.3 การออกแบบการทดลองโดยการกำหนดตัวแปรที่เกี่ยวข้องกับปัญหาคือตัวแปรต้น (อิสระ) หมายถึงสิ่ง
ที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดผลต่าง ๆ ที่ต้องการศึกษาตัวแปรตามหมายถึงสิ่งที่เป็นผลมาจากตัวแปรต้นตัวแปรคุม
หมายถึงสิ่งอื่น ๆ ที่มีผลต่อตัวแปรตามจึงต้องควบคุมเพื่อมิให้มีข้อโต้แย้งในการสรุปผลการทดลอง
2.5 การดำเนินการทดลองเพื่อรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้จากการทดลอง
2.6 การแปลผลและสรุปผลการทดลอง
3. โครงงานประเภทสิ่งประดิษฐ์
โครงงานประเภทนี้เป็นโครงงานที่เกี่ยวกับการประยุกต์ทฤษฎีหรือหลักการทางวิทยาศาสตร์มาประดิษฐ์
เครื่องมือเครื่องใช้หรืออุปกรณ์เพื่อประโยชน์ในการใช้สอยต่าง ๆ อาจเป็นสิ่งประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่หรืออาจ
ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงของเดิมที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นหรือให้มีคุณภาพดีคงเดิม แต่ลดต้นทุนในการผลิต
โครงงานประเภทนี้อาจรวมไปถึงการสร้างแบบจำลองเพื่ออธิบายแนวคิดต่าง ๆ ตัวอย่างของโครงงานประเภท
นี้เช่น
– เครื่องปอกไข่
– หุ่นยนต์ช่วยงานบ้าน
– เครื่องบินเล็กขจัดพ่นยาฆ่าแมลง
4. โครงงานประเภททฤษฎี
เป็นโครงงานที่ได้เสนอทฤษฎีหลักการหรือแนวคิดใหม่ ๆ ซึ่งอาจอยู่ในรูปของสูตรสมการคำอธิบาย
โดยผู้เสนอได้ตั้งกฎกติกาหรือข้อตกลงขึ้นมาแล้วเสนอทฤษฎีอื่นมาสนับสนุนอ้างอิงโครงงานประเภทนี้ต้องมี
ทักษะและประสบการณ์การเรียนรู้ขั้นสูง
ขั้นตอนการทำโครงงานวิทยาศาสตร์
การทำโครงงานวิทยาศาสตร์เป็นกิจกรรมที่ต่อเนื่องและมีการดำเนินตามขั้นตอนต่าง ๆ ดังนี้
1. คิดและเลือกหัวข้อเรื่องที่จะทำโครงงานผู้เรียนจะต้องคิดและเลือกด้วยตนเองซึ่งมักได้จากการ
สังเกตแล้วเกิดปัญหาคำถามหรือความอยากรู้อยากเห็นเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ เช่นจากการอ่านหนังสือวารสาร
สิ่งพิมพ์จากการไปเยี่ยมชมสถานที่ต่าง ๆ เช่นพิพิธภัณฑ์โรงงานอุตสาหกรรมนิทรรศการหน่วยงานวิจัยการฟัง
บรรยายทางวิชาการการเรียนการสอนสนทนากับผู้มีความรู้และประสบการณ์การศึกษาโครงงานที่ผู้ทำไว้แล้ว
หรือการสังเกตปรากฏการณ์ต่าง ๆ รอบตัวเป็นต้นการเลือกที่จะทำโครงงานเป็นขั้นตอนที่สำคัญมากถ้าเลือก
เรื่องเหมาะสมในการทำโครงงานได้ก็เหมือนกับได้ทำโครงงานเสร็จไปแล้วครึ่งหนึ่งการเลือกทำโครงงานใด ๆ มี
ข้อควรพิจารณาดังนี้

• ผู้ที่มีความรู้และทักษะในการใช้อุปกรณ์พื้นฐานในเรื่องที่ศึกษา
• มีแหล่งความรู้เพียงพอที่จะค้นคว้าหรือขอคำปรึกษา

• วัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็นสามารถจัดหาหรือจัดทำขึ้นมาเองได้

• มีเวลาเพียงพอในการทำโครงงานเรื่องนัน ้ ๆ ได้
• มีผู้เชี่ยวชาญรับเป็นที่ปรึกษามีความปลอดภัยในการทำโครงงานนั้น

• มีงบประมาณ

2. การศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องรวมถึงการขอคำปรึกษาจากผู้ทรงคุณวุฒิและการ
สำรวจวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องด้วยหลังจากที่ผู้เรียนได้หัวข้อเรื่องที่กว้างที่สนใจจะศึกษาค้นคว้าแล้วขั้น
ต่อไปที่อาจารย์ที่ปรึกษาควรแนะนำคือแหล่งที่ผู้เรียนจะสามารถหาความรู้เพิ่มเติมหรือผู้ทรงคุณวุฒิที่ผู้เรียน
สามารถขอคำปรึกษาเพื่อศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมในเรื่องที่เขาสนใจนั้นการศึกษาเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
หรือขอคำปรึกษาจากผู้ทรงคุณวุฒินี้อาจารย์ที่ปรึกษาต้องแนะนำให้ผู้เรียนรู้จักจดบันทึกไว้ในสมุดให้เป็น
หลักฐานเรียบร้อยผู้ทำโครงงานทุกคนจำเป็นต้องมีสมุดบันทึกประจำวันซึ่งควรนำแสดงในการแสดงโครงงาน
ด้วยการศึกษาที่เกี่ยวข้องนี้จะช่วยให้ผู้เรียนได้แนวความคิดที่จะกำหนดขอบข่ายของเรื่องที่จะศึกษาค้นคว้าให้
เฉพาะเจาะจงมากขึ้นและได้ความรู้ในเรื่องที่จะทำการศึกษาเพิ่มเติมมากขึ้นจนสามารถออกแบบและวางแผน
ดำเนินการทำโครงงานนั้นได้อย่างเหมาะสมอาจารย์ที่ปรึกษาไม่ควรอนุญาตให้ผู้เรียนลงมือทำโครงงานโดย
ไม่ได้ศึกษาหาความรู้ในเรื่องเหล่านั้นจากเอกสารที่เกี่ยวข้องอย่างเพียงพอเสียก่อนการศึกษาเอกสารที่
เกี่ยวข้องนี้ผู้เรียนจำเป็นต้องมีความรู้ความชำนาญในการใช้ห้องสมุดและแหล่งวิทยาการต่าง ๆ จึงเป็นหน้าที่
ของอาจารย์ที่ปรึกษาที่จะต้องแนะนำเทคนิคและวิธีการต่าง ๆ ในการค้นเอกสารจากห้องสมุดซึ่งอาจแนะนำให้
ผู้เรียนไปปรึกษากับบรรณารักษ์ห้องสมุดก็ได้นอกจากนั้นอาจารย์ที่ปรึกษาอาจต้องให้ความช่วยเหลือในการ
ติดต่อห้องสมุดอื่น ๆ ในท้องถิ่นให้ผู้เรียนสามารถเข้าไปใช้บริการได้ด้วย
3. การจัดทำเค้าโครงงานย่อของโครงงานหลังจากที่ผู้เรียนได้หัวข้อเรื่องทำโครงงานที่เฉพาะเจาะจงและได้
ศึกษาเอกสารอ้างอิงต่าง ๆ อย่างเพียงพอแล้วขั้นต่อไปคือการเขียนเค้าโครงโครงงานเสนอต่ออาจารย์ที่ปรึกษา
เพื่อขอความเห็นชอบก่อนดำเนินการขั้นต่อไปเค้าโครงย่อโครงงานโดยทั่วไปจะเขียนขึ้นเพื่อแสดงแนวความคิด
แผนงานและขั้นตอนของการทำโครงงานนัน้ ซึง่ ประกอบด้วยหัวข้อต่อไปนี้

4. การลงมือทำโครงการเมื่อเค้าโครงย่อของโครงงานได้รับความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษาแล้วต่อไปก็เป็น
ขั้นลงมือปฏิบัติตามขั้นตอนที่ระบุไว้ในโครงงานย่อที่เสนออาจารย์ที่ปรึกษาซึ่งควรคำนึงถึงเรื่องต่อไปนี้
1) เตรียมวัสดุอุปกรณ์และสถานที่ให้พร้อมก่อนลงมือทดลองหรือศึกษาค้นคว้า
2) มีสมุดสำหรับบันทึกกิจกรรมประจำวันว่าได้ทำอะไรไปได้ผลอย่างไรมีปัญหาและข้อคิดเห็นอย่างไร
3) ปฏิบัติการทดลองด้วยความละเอียดรอบคอบและบันทึกข้อมูลไว้เป็นระเบียบและครบถ้วน
4) คำนึงถึงความประหยัดและความปลอดภัยในการทำงาน
5) พยายามทำตามแผนงานที่วางไว้ตอนแรก แต่อาจเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมบ้างหลังจากได้เริ่มต้น
ทำงานไปแล้วถ้าคิดว่าจะทำให้ได้ผลงานดีขึ้น
6) ควรปฏิบัติการทดลองซ้ำหลาย ๆ ครั้งเพื่อให้ได้ข้อมูลที่เชื่อถือได้มากขึ้น
7) ควรแบ่งงานเป็นส่วนย่อย ๆ และทำแต่ละส่วนให้สำเร็จก่อนทำส่วนอื่น ๆ ต่อไป
8) ควรทำงานเป็นส่วนที่เป็นหลักสำคัญ ๆ ให้เสร็จก่อนแล้วจึงทำส่วนที่เป็นส่วนประกอบหรือส่วนเสริม
เพื่อตกแต่งโครงงาน
9) อย่าทำงานต่อเนื่องจนเมื่อยล้าจะทำให้ขาดความระมัดระวัง
10) ถ้าเป็นโครงงานประเภทสิ่งประดิษฐ์ควรคำนึงถึงความคงทนแข็งแรงและขนาดที่เหมาะสมของ
สิ่งประดิษฐ์
ความสำคัญของโครงงานมิได้ขึ้นอยู่กบั ผลการทดลองที่ได้ตรงกับความคาดหวังหรือไม่แม้ผลการ
ทดลองที่ได้จะไม่เป็นไปตามความคาดหวังก็ถือว่ามีความสำเร็จในการทำโครงงานนัน้ เหมือนกันเช่นถ้าพบว่าซัง
ข้าวโพดยังไม่สามารถใช้เพาะเห็ดนางรมได้ดีตามคาดหวังก็สามารถแนะนำให้ใช้ซังข้าวโพดเหมาะหรือไม่เหมาะ
ต่อการนำมาเป็นวัสดุเพาะเห็ดอย่างไรก็จะทำให้งานสมบูรณ์ยิ่งขึ้นจะเห็นได้จากการทำโครงงานไม่วา่ จะเป็นไป
ตามที่คาดหวังหรือไม่ก็มีคุณค่าทั้งนั้นข้อสำคัญคือผู้เรียนจะต้องทำโครงงานจนเสร็จครบขั้นตอนตามที่ได้
วางแผนไว้อย่าท้อถอยหรือเลิกกลางคัน
5. การเขียนรายงาน
เมื่อดำเนินการทำโครงงานจนครบขั้นตอน ได้ข้อมูล ทำการวิเคราะห์ข้อมูลพร้อมทั้งแปลผลและ
สรุปผลแล้วงานขั้นต่อไปคือการเขียนรายงาน
การเขียนรายงานที่เกี่ยวกับโครงงานเป็นวิธสี ื่อความหมายที่มีประสิทธิภาพวิธีหนึ่งเพื่อให้คนอื่น ๆ ได้
เข้าใจถึงแนวความคิดวิธีการดำเนินการศึกษาค้นคว้าข้อมูลผลที่ได้ตลอดจนข้อสรุปและข้อเสนอแนะต่าง ๆ
เกี่ยวกับโครงงานนัน้
รูปแบบการเขียนรายงานโครงงานวิทยาศาสตร์จึงมีลำดับดังนี้
1. ปกนอกมีชื่อเรื่องชื่อคณะที่ทำงานชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาชื่อโรงเรียน
2. ปกรองจะคล้ายหรือเหมือนปกนอก
3. คำขอบคุณเป็นการเขียนขอบคุณผู้ที่เกี่ยวข้องหรือผู้ให้การสนับสนุนที่ทำให้เราได้รับความสำเร็จจาก
การทำ
4. บทคัดย่อเป็นการสรุปย่อ ๆ ของสิ่งที่ทำได้โดยมีข้อความประมาณ 300-500 คำที่เป็นเนื้อความและ
ควรมีส่วนสำคัญคือความมุ่งหมายวิธีทดลองผลการทดลองและสรุปผลการทดลองอย่างย่อ ๆ (ควรฝึกเขียนให้
ถูกต้องเพราะส่วนนี้สำคัญมาก)
5. สารบัญเรื่อง
6. สารบัญตารางผลการทดลอง
7. สารบัญกราฟหรือรูปภาพ (ถ้ามีในผลการทดลอง)
8. บทที่ 1 ซึ่งมี 2 ส่วนที่สำคัญคือส่วนที่ 1 ประกอบด้วยแนวคิดที่มาและความสำคัญของเรื่องและส่วนที่
2 ซึ่งกล่าวถึงความมุ่งหมายของการทดลอง (ดำเนินการเหมือนในเค้าโครงของโครงงานวิทยาศาสตร์ที่เคย
เสนอ)
9. บทที่ 2 บทเอกสารที่เกี่ยวข้องเป็นส่วนที่ผู้ทดลองจะต้องไปศึกษาจากเอกสารโดยเป็นส่วนที่อาจจะเป็น
หลักการทฤษฎีหรือรายงานการทดลองในส่วนที่ผู้อื่นได้ทดลองคล้าย ๆ กับเรื่องที่เราศึกษา (เป็นการบอกว่าเรา
ทำไม่ซ้ำกับของเขา) หากไปศึกษาและคัดลอกข้อความจากหนังสืออะไรจะต้องระบุชื่อหนังสือไว้ในส่วนท้าย
เล่มโครงงานที่เรียกว่าหนังสืออ้างอิงบรรณานุกรมเพื่อเป็นการให้เกียรติแก่ผู้ที่นำมาอ้างอิง
10. บทที่ 3 วัสดุอุปกรณ์และวิธีการทดลอง (ระบุรายละเอียดเหมือนเค้าโครงของโครงงานวิทยาศาสตร์)
11. บทที่ 4 ผลการทดลองโดยจะต้องกำหนดตารางบันทึกผลการทดลองหรืออาจทำเป็นกราฟหรือวาด
ภาพไว้แต่ละส่วนจะมีการวิเคราะห์ผลการทดลองไว้ด้วย
12. บทที่ 5 สรุปผลการทดลอง (ย่อ ๆ )
13. ประโยชน์ที่ได้รับจากการทำโครงงานนี้
14. ข้อเสนอแนะ (ถ้ามี) เป็นการบอกให้รู้ว่าหากมีผู้ไปทดลองต่อจะทำอย่างไรจะแก้ไขปรับปรุงส่วนใดบ้าง
15. บรรณานุกรม (หนังสืออ้างอิง) ต้องเขียนให้ถูกหลักการใช้ห้องสมุด (สัมพันธ์กับข้อ 9 หรือบทที่ 2)
6. การแสดงผลงาน
การแสดงผลงานนั้นจัดได้ว่าเป็นขั้นตอนสำคัญอีกประการหนึ่งของการทำโครงงานเรียกได้ว่าเป็น
งานขั้นสุดท้ายของการทำโครงงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นการแสดงผลิตผลของงานความคิดและความ
พยายามทั้งหมดที่ผู้ทำโครงงานได้ทุ่มเทลงไปและเป็นวิธีการที่จะทำให้ผู้อื่นได้รับรู้และเข้าใจถึงผลงานนั้นมีผู้
กล่าวว่าการวางแผนออกแบบเพื่อจัดแสดงผลงานนั้นมีความสำคัญเท่า ๆ กับการทำโครงงานนั่นเองผลงานที่
ทำขึ้นจะดีและยอดเยี่ยมเพียงใด แต่ถ้าการจัดแสดงผลงานทำได้ไม่ดีก็เท่ากับไม่ได้แสดงความดียอดเยี่ยมของ
ผลงานนั้นออกมาให้ผู้อื่นได้เห็น
การแสดงผลงานนั้นอาจทำได้ในรูปแบบต่าง ๆ กันเช่นการแสดงในรูปนิทรรศการซึ่งมีทั้งการจัด
แสดงและอธิบายด้วยคำพูดหรือในรูปแบบของการจัดแสดงโดยไม่มีการอธิบายประกอบหรือในรูปของรายงาน
ปากเปล่าไม่ว่าการแสดงผลงานจะอยู่ในรูปแบบใดก็ตามควรจะจัดให้ครอบคลุมประเด็นสำคัญดังต่อไปนี้
1. ชื่อโครงงานชื่อผู้ทำโครงงานชื่อที่ปรึกษา
2. คำอธิบายย่อ ๆ ถึงเหตุจูงใจในการทำโครงงานและความสำคัญของโครงงาน
3. วิธีดำเนินการโดยเลือกเฉพาะขั้นตอนที่เด่นและสำคัญ
4. การสาธิตหรือแสดงผลงานที่ได้จากการทดลอง
5. ผลการสังเกตและข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้จากการทำโครงงาน
ในการแสดงผลงานถ้าผู้นำผลงานมาแสดงจะต้องอธิบายหรือรายงานปากเปล่าหรือตอบคำถาม
ต่าง ๆ ต่อผู้ชมหรือต่อกรรมการตัดสินโครงงานการอธิบายตอบคำถามหรือรายงานปากเปล่านั้นควรได้คำนึงถึง
สิ่งต่าง ๆ ต่อไปนี้
1. ต้องทำความเข้าใจกับเรื่องที่อธิบายเป็นอย่างดี
2. คำนึงถึงความเหมาะสมของภาษาที่ใช้กับระดับผู้ฟังควรให้ชัดเจนและเข้าใจง่าย
3. ควรรายงานอย่างตรงไปตรงมาไม่อ้อมค้อม
4. พยายามหลีกเลี่ยงการอ่านรายงาน แต่อาจจดหัวข้อสำคัญ ๆ ไว้เพื่อช่วยให้การรายงานเป็นไปตาม
ขั้นตอน
5. อย่าท่องจำรายงานเพราะทำให้ดูไม่เป็นธรรมชาติ
6. ขณะที่รายงานควรมองตรงไปยังผู้ฟัง
7. เตรียมตัวตอบคำถามเกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ
8. ตอบคำถามอย่างตรงไปตรงมาไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงสิ่งที่ไม่ได้ถาม
9. หากติดขัดในการอธิบายควรยอมรับได้โดยดีอย่ากลบเกลื่อนหรือหาทางเลี่ยงเป็นอย่างอื่น
10. ควรรายงานให้เสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนด
11. หากเป็นไปได้ควรใช้สื่อประเภทโสตทัศนูปกรณ์ประกอบการรายงานด้วยเช่นแผ่นโปร่งใสหรือสไลด์
เป็นต้นการทำแผงสำหรับแสดงโครงงานแผงสำหรับแสดงผลงานโครงงานวิทยาศาสตร์ควรทำด้วยไม้อัดติด
บานพับมีห่วงรับและขอสับทำฉากกับแผ่นตัวกลางในการเขียนรายละเอียดบนแผงโครงงานควรคำนึงถึงสิ่ง
ต่อไปนี้
1. ต้องประกอบด้วยชื่อโครงงานชื่อผู้ทำโครงงานชื่อที่ปรึกษาคำอธิบายย่อ ๆ ถึงเหตุจูงใจในการทำ
โครงงานความสำคัญของโครงงานวิธีดำเนินการเลือกเฉพาะขั้นตอนที่สำคัญผลที่ได้จากการทดลองอาจแสดง
เป็นตารางกราฟหรือรูปภาพก็ได้ประโยชน์ของโครงงานสรุปผลเอกสารอ้างอิง
2. จัดเนื้อที่ให้เหมาะสมไม่แน่นจนเกินไปหรือน้อยจนเกินไป
3. คำอธิบายความกะทัดรัดชัดเจนเข้าใจง่าย
4. ใช้สีสดใสเน้นจุดสำคัญเป็นการดึงดูดความสนใจ
5. อุปกรณ์ประเภทสิ่งประดิษฐ์ควรอยู่ในสภาพที่ทำงานได้อย่างสมบูรณ์
การประเมินผลโครงงานวิทยาศาสตร์
การประเมินผลโครงงานวิทยาศาสตร์เป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญอีกกิจกรรมหนึ่งในกระบวนการจัด
แสดงโครงงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของผู้เรียนตามปกติครูผู้สอนจะเป็นผู้ประเมินโครงงานเพือ่ เก็บ
คะแนนเป็นส่วนหนึ่งของการประเมินผลการเรียนวิทยาศาสตร์ตามปกติถ้าได้กำหนดให้การทำโครงงานเป็น
ส่วนหนึ่งของกิจกรรมการเรียนการสอนตามปกติหรือประเมินโดยคณะกรรมการของโรงเรียนเพื่อคัดเลือก
โครงงานไปแสดงในโอกาสอื่น ๆ ต่อไปส่วนการประเมินโครงงานเพื่อตัดสินให้รางวัลในวันแสดงโครงงานส่วน
ใหญ่ประเมินโดยกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากบุคคลภายนอกที่ได้รับเชิญการประเมินผลไม่ว่าจะเพื่อวัตถุประสงค์
ใดจะมีหลักเกณฑ์ใหญ่ ๆ ที่คล้ายกันจะแตกต่างกันบ้างในรายละเอียดสำหรับเกณฑ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการพิจารณา
ประเมินโครงงานในแบบประเมินดังกล่าวอาจอธิบายรายละเอียดได้ดังนี้
1. ความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่ทำการพิจารณาตัดสินให้คะแนนต้องคำนึงถึงระดับชั้นและอายุของ
ผู้เรียนด้วยซึ่งอาจพิจารณาในด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
1.1 ใช้ศัพท์เทคนิคได้ถูกต้องและความเข้าใจในศัพท์เทคนิคที่ใช้เพียงใด
1.2 ได้ค้นหาเอกสารอ้างอิงได้เหมาะสมและมีความเข้าใจในเรื่องที่อ้างอิงมากน้อย
เพียงใด 1.3 มีความเข้าใจในหลักการสำคัญของเรื่องที่ทำมากน้อยเพียงใด
1.4 ได้รับความรู้เพิ่มเติมจากการทำโครงงานนีน้ อกเหนือจากที่เรียนตามหลักสูตรปกติมากน้อย
เพียงใด
2. การใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการทำโครงงานหรือเทคนิคที่ใช้ในการประดิษฐ์คิดค้นถ้าเป็น
โครงงานประเภททดลองหรือสำรวจรวบรวมข้อมูลการประเมินในข้อนี้ควรพิจารณาในด้านต่าง ๆ ดังนี้
1.1 ปัญหาหรือสมมติฐานได้แถลงไว้ชัดเจนเพียงใด
1.2 การออกแบบการทดลองหรือการวางแผนการเก็บรวบรวมข้อมูลทำได้รัดกุมเพียงใด
1.3 การวัดและการควบคุมตัวแปรต่าง ๆ ทำได้ดีเพียงใด
1.4 การจัดกระทำและการนำเสนอข้อมูลทำได้เหมาะสมเพียงใด
1.5 การแปลผลเหมาะสมและตั้งบนรากฐานของข้อมูลที่รวบรวมได้เพียงใด
1.6 การบันทึกประจำวันเกี่ยวกับการทำโครงงานทำไว้เรียบร้อยและเหมาะสมใจเพียงใด
ถ้าเป็นโครงงานประเภทสิ่งประดิษฐ์การประเมินโครงงานในหัวข้อนี้พิจารณาดังนี้
ก. วัสดุที่ใช้มีความเหมาะสมเพียงใด
ข. การออกแบบมีความเหมาะสมกับงานที่จะใช้เพียงใดเช่นขนาดรูปร่างตำแหน่งของปุ่มควบคุม
ต่าง ๆ ฯลฯ
ค. มีความคงทนถาวรเพียงใด
ง. ได้คำนึงถึงความปลอดภัยในการใช้งานเพียงใดการออกแบบได้คำนึงถึงการซ่อมบำรุงรักษามาก
น้อยเพียงใดเช่นส่วนจำเป็นต้องถอดออกเปลี่ยนบ่อย ๆ หรือต้องซ่อมบำรุงบ่อย ๆ อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม
เพียงใด
ฉ. ความประณีตเรียบร้อยสวยงามจูงใจผู้ใช้เพียงใด
ช. เทคนิควิธีการที่ใช้มีความเหมาะสมกับเทคโนโลยีปัจจุบันเพียงใดถ้าเป็นโครงงานเชิงทฤษฎีการ
ประเมินโครงการในหัวข้อนี้อาจพิจารณาดังนี้
ซ. แนวความคิดมีความต่อเนื่องเพียงใด
ฌ. แนวความคิดมีเหตุผลและมีความเป็นไปได้มากน้อยเพียงใดๆ
ญ. กติกาหรือข้อตกลงเบื้องต้นที่ใช้มีความเหมาะสมเพียงใด
ฎ. การอธิบายหรือการสรุปแนวความคิดตั้งบนกติกาหรือข้อตกลงเบื้องต้นที่ตั้งไว้หรือไม่เพียงไร
3. การเขียนรายงานการจัดแสดงโครงงานและการอธิบายปากเปล่าการประเมินโครงงานในหัวข้อนี้เป็น
การประเมินในด้านต่าง ๆ ดังนี้
3.1 รายงานที่ผู้เรียนได้เขียนขึ้นได้เหมาะสมเพียงใด
3.2 การจัดแสดงโครงงานทำได้เหมาะสมเพียงใด
3.3 การอธิบายปากเปล่าอธิบายได้ชัดเจนรัดกุมเพียงใด
4. ความคิดสร้างสรรค์การประเมินในข้อนี้ต้องคำนึงถึงระดับผู้ทำโครงงานคือเป็นความคิดริเริ่มสร้างสรรค์หรือ
ความแปลกใหม่ในระดับผู้ทำโครงงานไม่ใช่ในระดับของผู้ประเมินโครงงานซึง่ อาจพิจารณาในหัวข้อต่าง ๆ
ดังต่อไปนี้
4.1 ปัญหาหรือเรื่องที่ทำมีความสำคัญและมีความแปลกใหม่เพียงใด
4.2 ได้มีการดัดแปลงเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมแนวความคิดที่แปลกใหม่ไปในโครงงานที่ทำมากน้อย
เพียงใด
4.3 มีการคิดและใช้วิธีการที่แปลกใหม่ในการควบคุมหรือวัดตัวแปรหรือเก็บรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ
มากน้อยเพียงใด
4.4 มีการประดิษฐ์คิดค้นเครื่องมือที่แปลกใหม่ในการทำโครงงานมากน้อยเพียงใด
4.5 มีการออกแบบประดิษฐ์ดัดแปลงหรือใช้วัสดุอุปกรณ์ที่แปลกใหม่ในการทำโครงงานมากน้อย
เพียงใด
ในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีผู้เรียนควรจะได้มีโอกาสประเมินผลงานด้วยตนเอง
การประเมินผลด้วยตนเองนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผู้เรียนได้พิจารณาประเมินโครงงานของตนเองว่ามีคณ ุ ภาพใน
ด้านต่าง ๆ มากน้อยเพียงใดเพื่อปรับปรุงแก้ไขโครงงานให้ดียิ่งขึ้นก่อนนำโครงงานออกแสดงนอกจากนั้นถ้า
ผู้เรียนได้มีโอกาสศึกษาแบบประเมินนี้ก่อนวางแผนทำโครงงานก็จะช่วยให้ผู้เรียนวางแผนทำโครงงานได้
ครอบคลุมเรื่องต่าง ๆ ที่ได้รับการพิจารณาได้รัดกุมและสมบูรณ์ยิ่งขึ้นประโยชน์ของโครงงานเพื่อการพัฒนา
คุณภาพชีวิต
ธีระชัยปรณโชติ (2531: 3-4) ได้กล่าวถึงความสำคัญและประโยชน์ของโครงงานวิทยาศาสตร์ไว้
ดังต่อไปนี้
1. ช่วยส่งเสริมจุดมุ่งหมายของหลักสูตรและการเรียนวิทยาศาสตร์ให้สัมฤทธิ์ผลสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
2. ช่วยให้ผู้เรียนมีโอกาสเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงในกระบวนการแสวงหาความรู้ด้วยตนเองโดย
อาศัยวิธีการทางวิทยาศาสตร์
3. ช่วยพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ได้ครบถ้วนสมบูรณ์ยิ่งขึ้นกว่าการเรียนในกิจกรรม
การเรียนการสอนตามปกติผู้เรียนมีโอกาสได้ฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์บางทักษะซึ่งไม่ใคร่มี
โอกาสในกิจกรรมการเรียนการสอนตามปกติเช่นทักษะการตั้งสมมติฐานทักษะการออกแบบการทดลองและ
ควบคุมตัวแปรเป็นต้น
4. ช่วยพัฒนาเจตคติทางวิทยาศาสตร์เจตคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์และความสนใจในวิชาวิทยาศาสตร์
5. ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจลักษณะและธรรมชาติของวิทยาศาสตร์ดียิ่งขึ้นเช่นเข้าใจว่าวิทยาศาสตร์ไม่ได้
หมายถึง แต่ตัวความรู้ในเนื้อหาสาระที่เกี่ยวกับธรรมชาติเท่านั้น แต่ยังหมายถึงกระบวนการแสวงหาความรู้
เหล่านั้นและมีเจตคติหรือค่านิยมทางวิทยาศาสตร์อีกด้วยการได้มาซึ่งความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติจะต้องใช้
กระบวนการแสวงหาความรู้ที่ได้จากการรวบรวมข้อมูลอย่างมีระบบโดยอาศัยการสังเกตเป็นพื้นฐาน แต่
ประสาทสัมผัสของมนุษย์ซึ่งใช้ในการสังเกตมีขีดความสามารถ จำกัด ในการรับรู้ดังนั้นวิทยาศาสตร์จึงมี
ขอบเขต จำกัด ด้วย
6. ช่วยพัฒนาความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และความเป็นผู้มีวิจารณญาณ
7. ช่วยพัฒนาผู้เรียนให้เกิดความเชื่อมั่นในตนเอง
8. ช่วยพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนที่คิดเป็นทำเป็นและมีความสามารถในการแก้ปัญหา
9. ช่วยพัฒนาความรับผิดชอบและสร้างวินัยในตนเองให้เกิดขึ้นกับผู้เรียน
10. ช่วยให้ผู้เรียนได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์และมีคุณค่า
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (2531: 56) ได้กล่าวถึงคุณประโยชน์ของโครงงาน
วิทยาศาสตร์ไว้ดังนี้
1. สร้างจิตสำนึกและความรับผิดชอบในการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ต่าง ๆ ด้วยตนเอง
2. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้พัฒนาและแสวงหาความสามารถตามศักยภาพของตนเอง
3. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าและเรียนรู้ในเรื่องที่ตนเองสนใจได้ลึกซึ้งไปกว่าการเรียนใน
หลักสูตรปกติ
4. ทำให้ผู้เรียนมีความสามารถพิเศษโดยมีโอกาสแสดงความสามารถของตน
5. ช่วยกระตุ้นให้ผู้เรียนมีความสนใจในการเรียนวิทยาศาสตร์และมีความสนใจที่จะประกอบอาชีพทาง
วิทยาศาสตร์
6. ช่วยให้ผู้เรียนได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ในการสร้างสรรค์
7. ช่วยสร้างความสัมพันธ์ระหว่างครูกับผู้เรียนและระหว่างผู้เรียนด้วยกันให้มีโอกาสทำงานใกล้ชิดกัน
มากขึ้น
8. ช่วยสร้างความสัมพันธ์ระหว่างชุมชนกับโรงเรียนให้ดีขึ้นโรงเรียนได้มีโอกาสเผยแพร่ความรู้ทาง
วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแก่ชุมชนซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้ชุมชนได้สนใจวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมากขึ้น

สรุปได้ว่า
โครงงานวิทยาศาสตร์มีความสำคัญและก่อประโยชน์โดยตรงแก่ผู้เรียนโดยตรงเป็นการฝึกให้
ผู้เรียนรู้จักศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองสร้างความสัมพันธ์อันดีกับครูกับเพื่อนร่วมงานรู้จักทำงานอย่างเป็นระบบ
ใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการแก้ปัญหาและใช้เวลาว่างให้เป็น
ความหมายของเซลล์
ในทางชีววิทยาเซลล์ (Cell) เป็นโครงสร้างและหน่วยทำงานที่เล็กที่สุดของสิ่งมีชีวิตแทบทุกชนิดใน
บางครั้งอาจเรียกว่าหน่วยที่เป็นองค์ประกอบของชีวิต (building blocks of life) สิ่งมีชีวิตบางชนิดเช่น
แบคทีเรียประกอบด้วยเซลล์เพียง 3 เซลล์ (unicellular) แต่สัตว์หลายชนิดเช่นมนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์
(multicellular) (มนุษย์มีเซลล์อยู่ประมาณ 100 ล้านล้านหรือ 1014 เซลล์)
ทฤษฎีเซลล์ถูกพัฒนาขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2382 (ค.ศ. 1839) โดยแมตเทียสจาคอบชไลเดน (Mathias
Jakob Schleiden) และทีโอดอร์ชวานน์ (Theodor Schwann) ได้อธิบายว่าสิ่งมีชีวิตทั้งหมดประกอบด้วย
เซลล์หนึ่งเซลล์หรือมากกว่าเซลล์ทั้งหมดมีกำเนิดมาจากเซลล์ที่มีมาก่อน (preexisting cells) ระบบการ
ทำงานเพื่อความอยู่รอดของสิ่งที่มีชีวิตทั้งหมดเกิดขึ้นภายในเซลล์และภายในเซลล์ยังประกอบด้วยข้อมูลทาง
พันธุกรรม (hereditary information) ซึ่งจำเป็นสำหรับการควบคุมทำงานของเซลล์และการส่งต่อข้อมูลทาง
พันธุกรรมไปยังเซลล์รุ่นต่อไป
คำว่าเซลล์มาจากภาษาละตินที่ว่า cela ซึ่งมีความหมายว่าห้องเล็ก ๆ ผู้ตั้งชื่อนี้คือโรเบิร์ตฮุก (Robert
Hooke) เมื่อเขาเปรียบเทียบเซลล์ของไม้คอร์กเหมือนกับห้องเล็ก ๆ ซึ่งเป็นที่อยู่ของพระ
คุณสมบัติของเซลล์

เซลล์เหล่านี้กำลังขยายใหญ่ขึ้นแต่ละเซลล์มีขนาดประมาณ 10 ไมโครเมตรแต่ละเซลล์มี
องค์ประกอบและดำรงชีวิตได้ด้วยตัวของมันเองโดยการนำสารอาหารเข้าไปในเซลล์และเปลี่ยนสารอาหารให้
กลายเป็นพลังงานเพื่อการดำรงชีวิตและการสืบพันธุ์เซลล์มีความสามารถหลายอย่างดังนี้เพิ่มจำนวนโดยการ
แบ่งเซลล์
เมทาบอลิซึมของเซลล์ (cell metabolism) ประกอบด้วยการลำเลียงวัตถุดิบเข้าเซลล์การสร้าง
ส่วนประกอบของเซลล์การสร้างพลังงานและโมเลกุลและปล่อยผลิตภัณฑ์ออกมาการทำงานของเซลล์ขึ้นกับ
ความสามารถในการสกัดและใช้พลังงานเคมีที่สะสมในโมเลกุลของสารอินทรีย์พลังงานเหล่านี้จะได้จากวิถีเม
ทาบอลิซึม (metabolism pathway) การสังเคราะห์โปรตีนเพื่อใช้ในระบบการทำงานของเซลล์เช่นเอนไซม์
โดยเฉพาะเซลล์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจะมีโปรตีนต่าง ๆ ถึง 10,000 ชนิดตอบสนองต่อสิ่งกระตุ้นทั้ง
ภายนอกและภายในเช่นการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ pH หรือระดับอาหารการขนส่งของเวสิเคิล (vesicle)
ประเภทของเซลล์

รูปนี้แสดงเซลล์มนุษย์ (ยูแคริโอต) และเซลล์แบคทีเรีย (โพรแคริโอต) ด้านซ้ายแสดง


โครงสร้างภายในของเซลล์ยูแคริโอตซึ่งประกอบด้วยนิวเคลียสนิวคลีโอลัสไมโทคอนเดรียและไรโบโซม
รูปด้านขวาแสดงดีเอ็นเอของแบคทีเรียที่อยู่ในโครงสร้างที่เรียกว่านิวคลิออยด์และโครงสร้าง
อืน่ ๆ ที่พบในเซลล์โพรแคริโอตซึ่งประกอบด้วยเยื่อหุ้มเซลล์ผนังเซลล์แคปซูลไรโบโซมแฟลกเจลลัมเซลล์แบ่ง
ออกเป็น 2 รูปแบบ
1. โพรแคริโอต (Prokaryote) เป็นเซลล์ที่มีโครงสร้างอย่างง่าย ๆ อาจอยู่เป็นเซลล์เดี่ยว ๆ
หรือรวมกลุ่มเป็นโคโลนี (colony) ในการจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์แบบระบบสามโดเมน (three-domain
system) ได้จัดโพรแคริโอตอยู่ในโดเมนอาร์เคีย (Archaea) และแบคทีเรีย (bacteria)
2. ยูแคริโอต (eukaryote) เป็นเซลล์ที่มีออร์แกเนลล์ (organelle) และผนังของออร์แกเนลล์มี
ตั้งแต่เซลล์เดียวเช่นอะมีบา (amoeba) และเห็ดรา (fungi) หรือเป็นสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์เช่นพืชและสัตว์
รวมทั้งสาหร่ายสีน้ำตาล
ส่วนประกอบย่อยของเซลล์

ภาพเซลล์สัตว์ทั่วไปประกอบด้วยออร์แกเนลล์ต่าง ๆ ดังนี้ (1) นิวคลีโอลัส, (2) นิวเคลียส, (3) ไรโบโซม.


(4) เวซิเคิล, (5) เอนโดรพลาสมิกเรติคูลัมแบบผิวขรุขระ, (6) กอลจิแอปพาราตัส, (7) ระบบเส้นใยของเซลล์
(8เอนโดรพลาสมิกเรติคูลัมแบบผิวเรียบ, (9) ไมโทคอนเดรีย, (10) แวคิวโอล (11) ไซโทพลาสซึม, (12) ไลโซ
โซม. (13) เซนทริโอล
กระบวนการแบ่งเซลล์การแบ่งเซลล์เป็นการเพิ่มจำนวนเซลล์ผลของการแบ่งเซลล์ทำให้เซลล์มี
ขนาดเล็กลงทำให้สิ่งมีชีวิตชนิดนั้นเจริญเติบโตเซลล์โพรคาริโอตเช่นเซลล์แบคทีเรียมีการแบ่งเซลล์แบบไบนารี
ฟิชชัน (binary ission) คือเป็นการแบ่งแยกตัวจาก 1 เป็น 2 เซลล์พวกยูคาริโอตประกอบด้วย 2 ขั้นตอนคือ
การแบ่งนิวเคลียส (karyokinesis) และการแบ่งไซโทพลาสซึม (cytokinesis)
การแบ่งนิวเคลียสสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 แบบคือ
1. การแบ่งนิวเคลียสแบบไมโทซิส (mitosis) เป็นการแบ่งเซลล์เพื่อการสืบพันธุ์ในสิ่งมีชีวิต
เซลล์เดียวและสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์บางชนิดในสิ่งมีชีวิตทั่วไปการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิสจะเกิดขึ้นที่เซลล์ของ
ร่างกาย (somatic cel) ทำให้จำนวนเซลล์ของร่างกายมีจำนวนมากขึ้นสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ จึงเจริญเติบโตขึ้น

การแบ่งเซลล์เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นต่อเนื่องก่อนที่จะมีการแบ่งเซลล์เซลล์จะมีการเตรียมตัวให้
พร้อมก่อนระยะเวลาที่เซลล์เตรียมความพร้อมก่อนการแบ่งจนถึงการแบ่งนิวเคลียสและไซโทพลาสซึมจนเสร็จ
สิ้นเรียกว่าวัฏจักรของเซลล์ (Cell cycle) ซึ่งพบเฉพาะการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส วัฏจักรของ
เซลล์ประกอบด้วยขั้นตอน 2 ขั้นตอนคือ
1) ระยะอินเตอร์เฟส (interphase) เป็นระยะที่เซลล์เตรียมตัวให้พร้อมก่อนที่จะแบ่งนิวเคลียสและไซ
โทพลาสซึมเซลล์ในระยะนี้มีนิวเคลียสขนาดใหญ่และเห็นนิวคลีโอลัสชัดเจนเมื่อย้อมสีแบ่งเป็นระยะย่อยได้ 3
ระยะคือ
– ระยะก่อนสร้าง DNA หรือระยะจี 1
– ระยะสร้าง DNA หรือระยะเอส
– ระยะหลังสร้าง DNA หรือระยะจี 2
2) ระยะที่มีการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส (mitotic phase หรือ M phase) เป็นระยะที่มกี ารแบ่ง
นิวเคลียสเกิดขึ้นในช่วงสั้น ๆ แล้วตามด้วยการแบ่งของไซโทพลาสซึมการแบ่งนิวเคลียสแบบไมโทซิสอาจแบ่ง
ได้เป็น 4 ระยะคือ
– ระยะโพรเฟส (prophase) เป็นระยะที่นิวเคลียสยังมีเยื่อหุ้มอยู่
– ระยะเมทาเฟส (Metaphase) เป็นระยะที่เยื่อหุ้มนิวเคลียสสลายตัว
-ระยะแอนาเฟส (Anaphase) เป็นระยะที่โครโมโซมแยกกันเป็น
2 กลุ่มระยะเทโลเฟส (telophase) เกิดการแบ่งของไซโทพลาสซึมขึ้น 2. การแบ่งนิวเคลียสแบบไมโอซิส
(Meiosis) การแบ่งเซลล์แบบนี้นิวเคลียสมีการเปลี่ยนแปลงโดยลดจำนวนโครโมโซมลงครึ่งหนึ่งเป็นการแบ่ง
เพื่อสร้างเซลล์สืบพันธุ์เซลล์ร่างกายของคนมีโครโมโซมอยู่ 46 โครโมโซมหรือ 23 คู่แต่ละคู่มีรูปร่างลักษณะ
เหมือนกันเรียกโครโมโซมที่เป็นคู่กันว่าฮอมอโลกัส
ลักษณะทางพันธุกรรม
สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดมีลักษณะเฉพาะตัว ทำให้สิ่งมีชีวิตแตกต่างกัน เช่น ลักษณะสีผิว ลักษณะเส้นผม ลักษณะสี
ตา สีและกลิ่นของดอกไม้ รสชาติของผลไม้ เสียงของนกชนิดต่าง ๆ ลักษณะเหล่านี้จะถูกส่งผ่านจากพ่อ แม่
ไปยังลูกได้ หรือส่งผ่านจากคนรุ่นหนึ่งไปยังรุ่นต่อไป ลักษณะที่ถูกถ่ายทอดนี้เรียกว่า ลักษณะทางพันธุกรรม (
genetic character ) การที่จะพิจารณาว่าลักษณะใดลักษณะหนึ่งเป็นลักษณะทางพันธุกรรมนั้นต้องพิจารณา
หลาย ๆ รุ่น เพราะลักษณะบางอย่างไม่ปรากฏในรุ่นลูกแต่ปรากฏในรุ่นหลาน
ลักษณะต่าง ๆ ในสิ่งมีชีวิตที่เป็นลักษณะทางพันธุกรรม สามารถถ่ายทอดจากรุ่นหนึ่งไปยังรุ่นต่อ ๆ ไปโดยผ่าน
ทางเซลล์สืบพันธุ์ เป็นหน่วยกลางในการถ่ายทอดเมื่อเกิดการปฏิสนธิระหว่างเซลล์ไข่ของแม่และเซลล์อสุจิของ
พ่อ
สิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่ง มีลักษณะเฉพาะตัวที่แตกต่างจากลักษณะของสิ่งมีชีวิตชนิดอื่น ๆ เราจึงอาศัยคุณสมบัติ
เฉพาะตัวที่ไม่เหมือนกันในการระบุชนิดของสิ่งมีชวี ิต
แม้ว่าสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันยังมีลักษณะที่แตกต่างกัน เช่น คนจะมีรูปร่าง หน้าตา กิริยาท่าทาง เสียงพูด ไม่
เหมือนกัน เราจึงบอกได้ว่าเป็นใคร แม้ว่าจะเป็นฝาแฝดร่วมไข่คล้ายกันมาก เมื่อพิจารณาจริงแล้วจะไม่
เหมือนกัน ลักษณะของสิ่งมีชีวิต เช่น รูปร่าง สีผิว สีและกลิ่นของดอกไม้ รสชาติของผลไม้ ลักษณะเหล่านี้
สามารถมองเห็นและสังเกตได้ง่าย แต่ลักษณะของสิ่งมีชีวิตบางอย่างสังเกตได้ยาก ต้องใช้วิธีซับซ้อนในการ
สังเกต เช่น หมู่เลือด สติปัญญา เป็นต้น
ความแปรผันของลักษณะทางพันธุกรรม
ความแปรผันของลักษณะทางพันธุกรรม(genetic variation) หมายถึง ลักษณะที่แตกต่างกัน เนื่องจาก
พันธุกรรมทีไ่ ม่เหมือนกัน และสามารถถ่ายทอดไปสู่รุ่นลูกได้ โดยลูกจะได้รับการถ่ายทอดลักษณะทาง
พันธุกรรมมาจากพ่อครึ่งหนึง่ และได้รับจากแม่อีกครึ่งหนึ่ง เช่น ลักษณะเส้นผม สีของตา หมู่เลือด ซึ่งแบ่ง
ออกเป็น 2 แบบ คือ
1. ลักษณะที่มีความแปรผันแบบต่อเนื่อง ( continuous variation) เป็นลักษณะทางพันธุกรรมที่ไม่สามารถ
แยกความแตกต่างได้ชัดเจน ลักษณะพันธุกรรมเช่นนี้ มักเกี่ยวข้องกันทางด้านปริมาณ เช่น ความสูง น้ำหนัก
โครงร่าง สีผิว ลักษณะทีมีความแปรผันต่อเนื่องเป็นลักษณะที่ได้รับอิทธิพลจากพันธุกรรม และสิ่งแวดล้อม
ร่วมกัน
2. ลักษณะที่มีความแปรผันแบบไม่ต่อเนื่อง
(discontinuous variation) เป็นลักษณะทางพันธุกรรมที่สามารถแยกความแตกต่างได้อย่างชัดเจน ไม่แปร
ผันตามอิทธิพลของสิ่งแวดล้อม ลักษณะทางพันธุกรรมเช่นนี้เป็นลักษณะที่เรียกว่า ลักษณะทางคุณภาพ ซึ่งเกิด
จากอิทธิพลทางพันธุกรรมเพียงอย่างเดียว เช่น ลักษณะหมู่เลือด ลักษณะเส้นผม ความถนัดของมือ จำนวนชั้น
ตา เป็นต้น
การศึกษาการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุศาสตร์
เกรเกอร์ เมนเดล (Gregor Mendel) เป็นบาทหลวงชาวออสเตรีย ด้วยความเป็นคนรักธรรมชาติ รู้จักวิธีการ
ปรับปรุงพันธุ์พืช และสนใจด้านพันธุกรรม เมนเดลได้ผสมถั่วลันเตา เพื่อศึกษาการถ่ายทอดลักษณะทาง
พันธุกรรมลักษณะภายนอกของถั่วเตาที่เมนเดลศึกษามีหลายลักษณะ แต่เมนเดลได้เลือกศึกษาเพียง 7
ลักษณะ โดยแต่ละลักษณะนั้นมีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน เช่น ต้นสูงกับต้นเตี้ย ลักษณะเมล็ดกลมกับ
เมล็ดขรุขระถั่วที่เมนเดลนำมาใช้เป็นพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์นั้นเป็นพันธุ์แท้ทั้งคู่ โดยการนำต้นถั่วลันเตาแต่ละ
สายพันธุ์มาปลูกและผสมภายในดอกเดียวกัน เมื่อต้นถั่วลันเตาออกฝัก นำเมล็ดแก่ไปปลูก จากนั้นรอ
จนกระทั่งต้นถั่วลันเตาเจริญเติบโต จึงคัดเลือกต้นที่มีลักษณะเหมือนพ่อแม่ นำมาผสมพันธุ์ต่อไปด้วย วิธีการ
เช่นเดียวกับครั้งแรกทำเช่นนี้ต่อไปอีกหลาย ๆ รุ่น จนได้เป็นต้นถั่วลันเตาพันธุ์แท้มีลักษณะเหมือนพ่อแม่ทุก
ประการ
หน่วยพันธุกรรม
โครโมโซมของสิ่งมีชีวิต
หน่วยพื้นฐานที่สำคัญของสิ่งมีชีวิต คือ เซลล์มีส่วนประกอบที่สำคัญ 3 ส่วน ได้แก่ นิวเคลียส ไซโทพลาสซึม
และเยื่อหุ้มเซลล์ภายในนิวเคลียสมีโครงสร้างที่สามารถติดสีได้ เรียกว่า โครโมโซม และพบว่าโครโมโซมมีความ
เกี่ยวข้องกับการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
โดยทั่วไปสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดหรือสปีชีส์ ( species ) จะมีจำนวนโครโมโซมคงที่ดังแสดงในตาราง
ตารางจำนวนโครโมโซมของเซลล์ร่างกายและเซลล์สืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตบางชนิด
จำนวนโครโมโซม
ชนิดของสิ่งมีชีวิต
ในเซลล์ร่างกาย ( แท่ง ) ในเซลล์สืบพันธุ์ ( แท่ง )
แมลงหวี่ 8 4
ถั่วลันเตา 14 7
ข้าวโพด 20 10
ข้าว 24 12
อ้อย 80 40
ปลากัด 42 21
คน 46 23
ชิมแปนซี 48 24
ไก่ 78 39
แมว 38 19
โครโมโซมในเซลล์ร่างกายของคน 46 แท่ง นำมาจัดคู่ได้ 23 คู่ ซึ่งแบ่งได้เป็น 2 ชนิด คือ
1. ออโตโซม ( Autosome ) คือ โครโมโซม 22 คู่ ( คู่ที่ 1 – 22 ) ที่เหมือนกันทั้งเพศหญิงและเพศชาย
2. โครโมโซมเพศ ( Sex Chromosome ) คือ โครโมโซมอีก 1 คู่ ( คู่ที่ 23 ) ในเพศหญิงและเพศชายจะ
ต่างกัน เพศหญิงมีโครโมโซมเพศแบบ XX ส่วนเพศชายมีโครโมโซมเพศแบบ XY โดยโครโมโซม Y จะมีขนาด
เล็กกว่าโครโมโซม X
ยีน และ DNA
ยีน เป็นส่วนหนึ่งของโครโมโซม โครโมโซมหนึ่ง ๆ มียีนควบคุมลักษณะต่าง ๆ เป็นพัน ๆ ลักษณะ ยีน ( gene
) คือ หน่วยพันธุกรรมที่ควบคุมลักษณะต่าง ๆ จากพ่อแม่โดยผ่านทางเซลล์สืบพันธุ์ไปยังลูกหลาน ยีนจะอยู่
เป็นคู่บนโครโมโซม โดยยีนแต่ละคู่จะควบคุมลักษณะที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมเพียงลักษณะหนึ่งเท่านั้น เช่น
ยีนควบคุมลักษณะสีผิว ยีนควบคุมลักษณะลักยิ้ม ยีนควบคุมลักษณะจำนวนชั้นตา เป็นต้น
ภายในยีนพบว่ามีสารเคมีที่สำคัญชนิดหนึ่ง คือ DNA ซึ่งย่อมาจาก Deoxyribonucleic acid ซึ่งเป็นสาร
พันธุกรรม พบในสิ่งมีชีวิตทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นพืช สัตว์ หรือแบคทีเรียซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว เป็นต้น
DNA เกิดจากการต่อกันเป็นเส้นโมเลกุลย่อยเป็นสายคล้ายบันไดเวียน ปกติจะอยู่เป็นเกลียวคู่
ในสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดจะมีปริมาณ DNA ไม่เท่ากัน แต่ในสิ่งมีชีวิตเดียวกันแต่ละเซลล์มีปริมาณ DNA เท่ากัน
ไม่ว่าจะเป็นเซลล์กล้ามเนื้อ หัวใจ ตับ เป็นต้น
ความผิดปกติของโครโมโซมและยีน
สิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดมีลักษณะแตกต่างกัน อันเป็นผลจากการถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม แต่ในบางกรณีพบ
บุคคลที่มีลักษณะบางประการผิดไปจากปกติเนื่องจากความผิดปกติของโครโมโซมและยีน
ความผิดปกติทางพันธุกรรมที่เกิดในระดับโครโมโซม เช่น ผู้ป่วยกลุ่มอาการดาวน์ มีจำนวนโครโมโซมคู่ที่ 21
เกินกว่าปกติ คือมี 3 แท่ง ส่งผลให้มีความผิดปกติทางร่างกาย เช่น ตาชี้ขึ้น ลิ้นจุกปาก ดั้งจมูกแบน นิ้วมือสั้น
ป้อม และมีการพัฒนาทางสมองช้า
เรื่อง ความหลากหลายทางชีวภาพ
ความหลากหลายทางชีวภาพ คือ การที่มีสิ่งมีชีวิตมากมายหลากหลายสายพันธุ์และชนิดในบริเวณใดบริเวณ
หนึ่ง
ประเภทของความหลากหลายทางชีวภาพ
ความหลากหลายทางชีวภาพแบ่งออกเป็น 3 ประเภท ดังนี้
1. ความหลากหลายของชนิด (Species diversity) เป็นจุดเริ่มต้นของการศึกษาเกี่ยวกับความหลากหลายทาง
ชีวภาพเนื่องจากนักนิเวศวิทยาได้ศึกษาเกี่ยวกับกลุ่มสิ่งมีชีวิต ในพื้นที่ต่างๆ รวมถึงการศึกษาเกี่ยวกับการ
เปลี่ยนแปลงกลุ่มของสิ่งมีชีวิตในเขตพื้นที่นั้น เมื่อเวลาเปลี่ยนแปลงไป
2. ความหลากหลายทางพันธุกรรม (Genetic diversity) เป็นส่วนที่มีความเกี่ยวเนื่องมาจากความหลากหลาย
ของชนิดและมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อกลไกวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต การปรากฏลักษณะของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด
จะถูกควบคุมโดยหน่วยพันธุกรรมหรือยีน และการปรากฏของยีนจะเกี่ยวข้องกับการปรับตัวของสิ่งมีชีวิตที่ทำ
ให้สิ่งมีชีวิตนั้นดำรงชีวิตอยู่ได้ และมีโอกาสถ่ายทอดยีนนั้นต่อไปยังรุ่นหลัง เนื่องจากในสิ่งมีชีวิตแต่ละชนิดจะมี
ยีนจำนวนมาก และลักษณะหนึ่งลักษณะของสิ่งมีชีวิตนั้นจะมีหน่วยพันธุกรรมมากกว่าหนึง่ แบบ จึงทำให้
สิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันมีลักษณะบางอย่างต่างกัน
3. ความหลากหลายของระบบนิเวศ (Ecological diversity) หรือ ความหลากหลายของภูมิ
ประเทศ (Landscape diversity) ในบางถิ่นกำเนิดตามธรรมชาติที่เป็นลักษณะสภาพทางภูมิประเทศ
แตกต่างกันหลายแบบ
การจัดหมวดหมู่สิ่งมีชีวิต
อนุกรมวิธาน (Taxonomy) เป็นสาขาหนึ่งของวิชาชีววิทยาเกี่ยวกับการจัดหมวดหมู่สิ่งมีชีวิต
ประโยชน์ของอนุกรมวิธาน เนื่องจากสิ่งมีชีวิตมีจำนวนมาก แต่ละชนิดก็มีลักษณะแตกต่างกันออกไป จึงทำให้
เกิดความไม่สะดวกต่อการศึกษา จึงจำเป็นต้องจัดแบ่งสิ่งมีชีวิตออกเป็นหมวดหมู่ซึ่งจะทำให้เกิดประโยชน์ใน
ด้านต่าง ๆ คือ

1. เพื่อความสะดวกที่จะนำมาศึกษา
2. เพื่อสะดวกในการนำมาใช้ประโยชน์
3. เพื่อเป็นการฝึกทักษะในการจัดจำแนกสิ่งต่าง ๆ ออกเป็นหมวดหมู่
หลักเกณฑ์ในการจัดจำแนกหมวดหมู่
การจำแนกหมวดหมู่ของสิ่งมีชีวิต มีทั้งการรวบรวมสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะเหมือน ๆ กัน หรือคล้ายกันเข้าไว้ใน
หมวดหมู่เดียวกัน และจำแนกสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะต่างกันออกไว้ต่างหมวดหมู่
สำหรับการศึกษาในปัจจุบันได้อาศัยหลักฐานที่แสดงถึงความใกล้ชิดทางวิวัฒนาการด้านต่าง ๆ มาเป็นเกณฑ์
ในการจัดจำแนก ดังนี้
1. เปรียบเทียบโครงสร้างภายนอกและภายในว่ามีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่าโดยทั่วไปจะใช้โครงสร้างที่
เห็นเด่นชัดเป็นเกณฑ์ในการจัดจำแนกออกเป็นพวก ๆ เช่น การมีรยางค์ หรือขาเป็นข้อปล้อง มีขนเป็นเส้น
เดียว หรือเป็นแผงแบบขนนก มีเกล็ด เส้น หรือ หนวด มีกระดูกสันหลัง เป็นต้น
ถ้าโครงสร้างที่มีต้นกำเนิดเดียวกัน แม้จะทำหน้าที่ต่างกันก็จัดไว้เป็นพวกเดียวกัน เช่น กระดูกแขนของมนุษย์
กระดูกครีบของปลาวาฬ ปีกนก ขาคู่หน้าของสัตว์สี่เท้า ถ้าเป็นโครงสร้างที่มีต้นกำเนิดต่างกัน แม้จะทำหน้าที่
เหมือนกันก็จัดไว้คนละพวก เช่น ปีกนก และปีกแมลง

1. แบบแผนการเจริญเติบโตของเอ็มบริโอ สิ่งมีชีวิตทุกชนิดจะมีลำดับขั้นตอนการเจริญของเอ็มบริโอ
เหมือนกัน ต่างกันที่รายละเอียดในแต่ละขั้นตอนเท่านั้น และสิ่งมีชีวิตที่มีความคล้ายกันในระยะการ
เจริญของเอ็มบริโอมาก แสดงว่ามีวิวัฒนาการใกล้ชิดกันมาก
2. ซากดึกดำบรรพ์ การศึกษาซากดึกดำบรรพ์ของสิ่งมีชีวิตทำให้ทราบบรรพบุรุษของสิ่งมีชีวิตในปัจจุบัน
ได้ และสิ่งมีชีวิตที่มีบรรพบุรุษร่วมกันก็จัดอยู่พวกเดียวกัน เช่น การจัดเอานกและสัตว์เลื้อยคลานไว้
ในพวกเดียวกัน เพราะจากการศึกษาดึกดำบรรพ์ ของเทอราโนดอน (Pteranodon) ซึ่งเป็น
สัตว์เลื้อยคลานที่บินได้ และซากของอาร์คีออพเทอริกซ์ (Archaeopteryx) ซึ่งเป็นนกโบราณชนิด
หนึ่งมีขากรรไกรยาว มีฟัน มีปีก มีนิ้ว ซึ่งเป็นลักษณะของสัตว์เลื้อยคลาน จากการศึกษาซากดึกดำ
บรรพ์ดังกล่าวชี้ให้เห็นว่านกมีวิวัฒนาการมาจากบรรพบุรุษที่เป็นสัตว์เลื้อยคลาน
ชื่อของสิ่งมีชีวิต
ชื่อของสิ่งมีชีวิตมีการตั้งขึ้นเพื่อใช้เรียก หรือระบุสิ่งมีชีวิต การตั้งชื่อสิ่งมีชีวิตมี 2 แบบ คือ
ชื่อสามัญ (Common name) เป็นชื่อของสิ่งมีชีวิตตั้งขึ้นเพื่อใช้เรียกสิ่งมีชีวิตแตกต่างกันในแต่ละท้องที่ เช่น
ฝรั่ง ภาคเหนือ ลำปาง เรียก บ่ามั่น ลำพูน เรียก บ่าก้วย ภาคกลาง เรียก
ฝรั่ง ภาคใต้ เรียก ชมพู่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เรียก บักสีดา
ฉะนั้นการเรียกชื่อสามัญอาจทำให้เกิดความสับสนได้ง่าย การตั้งชื่อสามัญ มักมีหลักเกณฑ์ในการตั้งชื่อ
ได้แก่ ตั้งตามลักษณะรูปร่าง เช่น สาหร่ายหางกระรอก ว่านหางจระเข้ ตั้งตามถิ่น
กำเนิด เช่น ผักตบชวา ยางอินเดีย กกอียิปต์ ตั้งตามที่อยู่เช่น ดาวทะเล ทากบก ตั้งตามประโยชน์ที่
ได้รับ เช่น หอยมุก

1. ชื่อวิทยาศาสตร์ ( Scientific name )


เป็นชื่อเพื่อใช้เรียกสิ่งมีชีวิตที่กำเนิดขึ้นตามหลักสากล ซึ่งนักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกรู้จัก คาโรลัส ลินเนียส
นักธรรมชาติวิทยา ชาวสวีเดน เป็นผู้ริเริ่มในการตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ให้กับสิ่งมีชีวิต โดยกำหนดให้สิ่งมีชีวิต
ประกอบด้วยชื่อ 2 ชื่อ ชื่อแรกเป็นชื่อ “ จีนัส ” ชื่อหลังเป็นคำระบุชนิดของสิ่งมีชีวิต คือชื่อ “ สปีชีส์ ” การ
เรียกชื่อซึ่งประกอบด้วยชื่อ 2 ชื่อ เรียกว่า “ การตั้งชื่อ แบบทวินาม ”
ความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทยและท้องถิ่น
สิ่งมีชีวิตในโลกนี้มีประมาณ 5 ล้านชนิด ในจำนวนนี้มีอยู่ในประเทศไทย ประมาณร้อยละ เจ็ดประเทศไทยมี
ประชากรเพียงร้อยละหนึง่ ของประชากรโลก ดังนั้น เมื่อเทียบสัดส่วนกับจำนวนประชากร ประเทศไทยจึง
นับว่ามีความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตอย่างมาก
สิ่งมีชีวิตในประเทศไทยมีหลากหลายได้มาก เนื่องจากมีสภาพทางภูมิศาสตร์ที่หลากหลายและแต่ละแหล่งล้วน
มีปัจจัยที่เอื้อต่อการเจริญเติบโตของสิ่งมีชีวิต นับตั้งแต่ภูมิประเทศแถบชาย ฝั่งทะเล ที่ราบลุ่มแม่น้ำ ที่ราบ
ลอนคลื่น และภูเขาที่มีความสูงหลากหลายตั้งแต่เนินเขาจนถึงภูเขาที่สูงชันถึง 2,400 เมตรจากระดับน้ำทะเล
ประเทศไทยจึงเป็นแหล่งของป่าไม้นานาชนิด ได้แก่ ป่าชายเลน ป่าพรุ ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบ และป่าสนเขา
การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพของท้องถิ่น
การอนุรักษ์ความหลากหลายทางชีวภาพของท้องถิ่น ทำได้หลายวิธี ดังนี้
1. จัดระบบนิเวศให้ใกล้เคียงตามธรรมชาติ โดยฟื้นฟูหรือพัฒนาพื้นที่เสื่อมโทรมให้ความหลากหลายทาง
ชีวภาพไว้มากที่สุด
2. จัดให้มีศูนย์อนุรักษ์หรือพิทักษ์สิ่งมีชีวิตนอกถิ่นกำเนิด เพื่อเป็นที่พักพิงชั่วคราวที่ปลอดภัย ก่อนนำกลับ
ไปสู่ธรรมชาติ เช่น สวนพฤกษศาสตร์ ศูนย์เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเค็ม
3. ส่งเสริมการเกษตรแบบไร่นาสวนผสม และใช้ต้นไม้ล้อมรั้วบ้านหรือแปลงเกษตรเพื่อให้มีพืชและสัตว์
หลากหลายชนิดมาอาศัยอยู่ร่วมกัน ซึ่งเป็นการอนุรักษ์ความ หลากหลายทางชีวภาพได้
คําว่า “เทคโนโลยีชีวภาพ” หรือ Biotechnology อาจจะฟังดูแล้วเป็นศัพท์ทางวิชาการ แต่
แท้จริงเทคโนโลยีชีวภาพไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด หากแต่มนุษย์เราได้นําประโยชน์จากระบวนการทาง
เทคโนโลยีชีวภาพเข้ามาใช้เป็นส่วนหนึ่งในชีวิตเราเป็นเวลาหลายปีเพื่อการแปรรูปอาหารและถนอมอาหารใน
สมัยโบราณประมาณ 6,000 ปีก่อนคริสตกาล ชาวสุเมเรียนและบาบิโลเนียนเริ่มรู้จักการนํายีสต์มาหมักเบียร์
ต่อมาชาวอียิปต์ได้ค้นพบการทําขนมปังโดยใช้เชื้อยีสต์ลงไปในแป้งสาลีในเอเชียมีการค้นพบวิธีถนอมอาหารใน
รูปแบบง่าย ๆ ได้แก่การหมักดองอาหาร เช่น เต้าเจี้ยว แหนม ปลาร้า ผักดอง ซีอิ๊ว การทําข้าวหมาก สุรา
พื้นบ้านเป็นต้น
ความหมายของเทคโนโลยีชีวภาพ
การใช้เทคโนโลยีชีวภาพ หมายถึง การนําสิ่งมีชีวิต หรือผลิตภัณฑ์จากสิ่งมีชีวิต หรือสังเคราะห์
จากสิ่งมีชีวิต มาปรับปรุงพืช สัตว์ หรือผลิตภัณฑ์อาหาร เพื่อประโยชน์เฉพาะตามต้องการได้มีการนํา
เทคโนโลยีชีวภาพมาใช้ประโยชน์ทางด้านเกษตรกรรม เช่น เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อปรับปรุงพันธุ์พืช เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อพัฒนาและปรับปรุงพันธุ์สัตว์
ประเภทของเทคโนโลยีชีวภาพ
เทคโนโลยีชีวภาพแบ่งเป็น 2 ลักษณะ คือ
เทคโนโลยีชีวภาพแบบดั้งเดิม เป็นเทคโนโลยีชีวภาพที่มนุษย์รู้จักกันมานาน ไม่ต้องใช้เทคนิควิธีการ
ทางวิทยาศาสตร์และวิทยาการสูงมากนักเช่น การทําเหล้า อาหารหมักดอง การผลิตปุ๋ยหมัก การใช้สิ่งมีชีวิตใน
การควบคุมและกําจัดศัตรูพืช เป็นต้น
เทคโนโลยีชีวภาพสมัยใหม่ เป็นเทคโนโลยีชีวภาพที่ต้องใช้ความรู้และเทคนิควิธีการทาง
วิทยาศาสตร์ชั้นสูงที่เกี่ยวข้องกับสารพันธุกรรม เพื่อก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมใน
สิ่งมีชีวิตเช่น การโคลนนิ่ง พันธุวิศวกรรรม เป็นต้น
พันธุวิศวกรรม
พันธุวิศวกรรม หมายถึง กระบวนการตัดต่อยีนโดยวิธีการตัดเอายีนของสิ่งที่มีชีวิตหนึ่งใส่เข้าไป
ในยีนของสิ่งมีชีวิตหนึ่ง ทําให้ได้สิ่งมีชีวิตใหม่ที่มีคุณลักษณะตามต้องการสิ่งมีชีวิตดังกล่าวเรียกว่า
สิ่งมีชีวิตดัดแปลงพันธุกรรมหรือจีเอ็มโอนั่นเอง จีเอ็มโอหรือ GMOs ย่อมาจากคําว่า Genetically Modified
Organisms
Genetic เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับพันธุกรรมหรือกรรมพันธุ์
Modify คือการดัดแปลง ตบแต่งเสียใหม่
Organism คือสิ่งที่มีชีวิต
GMOs จึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการตบแต่งหรือดัดแปลงสารพันธุกรรมในสิ่งมีชีวิต ไม่ว่าจะเป็นพืช
หรือสัตว์
สารพันธุกรรม เป็นองค์ประกอบหนึง่ หรือส่วนหนึง่ ของสิ่งมีชีวิตทั้งหลาย มีหน้าที่ที่จะกําหนด
คุณลักษณะของสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ หรือจะกล่าวว่าเป็นตัวควบคุมกรรมพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตก็ได้ตัวอย่างเช่น
– กรณีที่เป็นคน บางคนมีสารพันธุกรรมทําให้ผมหยิก หรือผมสีดํา หรือผมสีทอง
– กรณีที่เป็นสัตว์เช่น หมาหลังอานก็จะมีสารพันธุกรรมที่ทําให้เขาเป็นพันธุ์หลังอาน หรือหมาบางแก้ว
ที่มีสารพันธุกรรมที่ทําให้เป็นหมาที่ดุเป็นพิเศษ
– กรณีที่เป็นพืช เช่น มะม่วงบางพันธุ์ที่เปรี้ยวมาก บางพันธุ์ค่อนข้างหวาน ซึ่งมะม่วงทั้งสองประเภทก็
จะมีสารพันธุกรรมเกี่ยวกับความเปรี้ยว-หวาน ที่แตกต่างกัน
ในธรรมชาติสิ่งมีชีวิต เช่น พืช ก็จะมีการผสมพันธุ์กันเองตามธรรมชาติเกสรตัวผู้ถูกลมหรือ
แมลงพาไปผสมกับเกสรตัวเมียเกิดเป็นดอกเป็นผล เกิดลูกเกิดหลานตามมา มีการคัดเลือกพันธุ์โดย
ธรรมชาติพันธุ์ไหนอ่อนแอต่อโรค-แมลง หรือสภาพดินฟ้าอากาศก็มักจะตายหรือสูญหายไป พันธุ์ที่
แข็งแรงก็จะยังคงออกลูกออกหลานต่อไป ส่วนพันธุ์ไหนที่มีคุณสมบัติดีตามที่มนุษย์ต้องการก็มีการ
นําเอาไปขยายพันธุ์ต่อให้แพร่หลาย
โคลนนิ่ง
โคลนนิ่ง (cloning) เป็นกระบวนการสืบพันธุ์โดยไม่อาศัยเพศชนิดหนึ่ง มนุษย์รู้จักโคลนนิ่งมา
แต่สมัยโบราณแล้ว แต่เป็นการ รู้จักโคลนนิ่งที่เกิดกับพืช นั่นคือ การขยายพันธุ์พืชโดยไม่อาศัย
กระบวนการที่เกี่ยวกับเพศของพืชเลย โคลนนิ่งที่เป็นการขยายพันธุ์พืชหรือสืบพันธุ์โดยไม่อาศัยเพศที่เป็นที่
รู้จักและเรียกกันในภาษาไทยของเราว่า“การเพาะชําพืช”เช่น การตัด ปักชํา ส่วนที่ตัดเป็นชิ้น
เล็กๆจากพืช เช่น กิ่ง ใบ ราก เมื่อนําไปปักชําจะสามารถเจริญเติบโตเป็นพืชใหม่ได้และมีองค์ประกอบ
ทางพันธุกรรมเหมือนต้นเดิมทุกประการ การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ โดยการใช้เซลล์อวัยวะ เนื้อเยื่อ และ
โพรโทพลาสต์ของพืชมาเลี้ยงในสารอาหารและจัดให้อยู่ในสภาวะที่เหมาะสม ส่วนต่างๆเหล่านั้นจะ
เจริญเติบโตเป็นพืชใหม่ที่มีลักษณะตรงตามพันธุ์เดิมทุกประการ สําหรับเรื่องการโคลนนิ่งของสัตว์และมนุษย์ก็
เป็นกระบวนการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ เช่นกัน คําว่าโคลน (clone) มาจากคําภาษากรีกว่า“Klone”
แปลว่า แขนง กิ่ง ก้าน ซึ่งใช้อธิบายการแบ่งตัวแบบไม่มีเพศ (asexual) ในพืชและสัตว์การ
โคลนนิ่งสัตว์ คือการผลิตสัตว์ให้มีลักษณะทาง กายภาพ (phenotype) และทางพันธุกรรม
(genotype) เหมือนกัน (identical twin) โดยไม่ใช้เซลล์สืบพันธุ์เพศผู้และเพศเมียมาผสมกัน ใน
ภาษาอังกฤษเรียกว่า “genetic duplication”
ดังนั้นการโคลนนิ่งจึงเป็นการทําสิ่งมีชีวิตให้เป็นแฝดเหมือนกัน คือ มีเพศเหมือนกัน สีผิว
เหมือนกัน หมู่เลือดเหมือนกัน ตําหนิเหมือนกัน เป็นต้นซึ่งในทางธรรมชาติโดยเฉพาะในสัตว์เกิ ด
ปรากฏการณ์การเกิดแฝดขึ้นได้น้อยมาก การโคลนนิ่งที่ทําได้ยากที่สุดคือการโคลนนิ่งสัตว์
นักวิทยาศาสตร์ได้พยายามโคลนนิ่งสัตว์มาเป็นเวลานานแล้ว ซึ่งการโคลนนิ่งสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังบางชนิด
ทําได้ง่ายมาก เช่น ถ้าเราตัดปลาดาวออกเป็นสองส่วน แต่ละส่วนจะสามารถงอกเป็นปลาดาวตัวใหม่ทั้งตัวได้
แต่การโคลนนิ่งสัตว์มีกระดูกสันหลังทําได้ยากกว่ามาก
การโคลนพืช
1. การตัด ปักชํา ส่วนที่ตัดเป็นชิ้นส่วนเล็กๆ จากพืช เช่น กิ่ง ใบ ราก เมื่อนําไปปักชํา จะสามารถ
เจริญเติบโตเป็นพืชใหม่ได้และมีองค์ประกอบทางพันธุกรรมเหมือนต้นเดิมทุกประการ ตัวอย่างส่วน
ของพืชที่ใช้ในการตัด ปักชํา ได้แก่
2. กิ่ง เช่น พู่ระหง ฤาษีผสม ชบา พลูด่าง โกสน มะลิ
ประโยชน์ของการโคลนนิ่ง
1. มีประโยชน์ในการอนุรักษ์พันธุ์พืชหรือสัตว์ที่หายากและใกล้สูญพันธุ์ให้แพร่ขยายจํานวน
ขึ้นได้อย่างรวดเร็วกว่าการผสมพันธุ์กันตามธรรมชาติ
2. สามารถช่วยลดจํานวนสัตว์ที่ใช้ในการทดลองให้น้อยลง เนื่องจากสัตว์มีลักษณะทาง
พันธุกรรม เหมือนกันทําให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการทดลองในทางการแพทย์
3. เป็นการผลิตสัตว์ที่เปลี่ยนแปลงพันธุกรรมเพื่อใช้เป็นรูปแบบการทดลองเพื่อรักษาโรคของ
มนุษย์การผลิตเภสัชภัณฑ์และสารต่างๆ
4. ช่วยให้คู่สมรสที่ไม่มีโอกาสให้กําเนิดบุตรด้วยวิธีอื่น อาจมีโอกาสมากขึ้นในการให้กําเนิด
บุตร
5. เป็นแนวทางในการพัฒนาการปลูกถ่ายเปลี่ยนอวัยวะ ร่างกายยอมรับอวัยวะใหม่สามารถ
ลดความเสี่ยงต่อการใช้ยากดภูมิคุ้มกัน
ข้อเสียของการโคลนนิ่ง
1. การทําโคลนนิ่งทําให้เกิดการคัดเลือกสายพันธุ์ที่ดีในการทําต้นแบบในทางกลับกัน
อาจจะทําให้เกิดสายพันธุ์ที่ไม่ดีเกิดขึ้นได้
2. การที่ได้สิ่งมีชีวิตที่มีความเหมือนกันทําให้เกิดการสูญเสียความมีเอกลักษณ์และความ
หลากหลายอันเป็นสิ่งที่ถือว่าเป็นต้นกําเนิดของวิวัฒนาการ ถ้าสิ่งมีชีวิตมีสิ่งที่ดี
เหมือนกันหมดก็จะไม่มีการพัฒนาสายพันธุ์ที่ดีขึ้น
3. มีความพยายามที่จะผลิตเนื้อเยื่อมนุษย์เพื่อใช้ในการรักษาโรคต่าง ๆ มีความพยายาม
ที่จะโคลนนิ่งมนุษย์ทั้งคน แต่อย่างไรก็ตามการกระทําดังกล่าวยังไม่เป็นที่ยอมรับ จัด
ว่าเป็นปัญหาทางด้านจริยธรรม
เซลล์ต้นกําเนิด
เป็นเซลล์ที่สามารถแบ่งตัวและเติบโตเป็นเซลล์ต่างๆ ได้หลายชนิด เซลล์ต้นกําเนิดหรือสเต็มเซลล์เริ่มเป็น
ที่สนใจและเป็นความหวังในการรักษาโรค เมื่อแพทย์ชาวอเมริกันจากมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน ประสบ
ความสําเร็จในการแยกสเต็มเซลล์ตัวอ่อนของมนุษย์ (HumanEmbryonic Stem Cell) มาเพาะเลี้ยงได้ในปี
ค.ศ.1998 จึงเกิดเป็นสมมติฐานว่าน่าจะนําเซลล์ต้นกําเนิดมาเลี้ยงในหลอดทดลอง โดยคาดหวังกันว่าเซลล์ต้น
กําเนิดนี้จะเปลี่ยนเป็นเซลล์ต่างๆ ทั่วร่างกายซึ่งจะนําไปซ่อมแซมอวัยวะที่ต้องการ เพื่อช่วยต่อชีวิตผู้ป่วยโรค
ต่างๆ หรือชะลอความชราได้ประเภทของเซลล์ต้นกําเนิดและความสําคัญเซลล์ต้นกําเนิดมีคุณลักษณะที่สําคัญ
อยู่สองประการซึ่งทําให้เซลล์ต้นกําเนิดมีความแตกต่างและสามารถจําแนกออกได้จากเซลล์ทั่วไปกล่าวคือ
เซลล์ต้นกําเนิดเป็นเซลล์ที่ไม่จําเพาะคุณลักษณะพื้นฐานที่สําคัญของเซลล์ต้นกําเนิดคือ เซลล์ต้นกําเนิดไม่ได้มี
โครงสร้างหรือลักษณะเป็นเนื้อเยื่อจําเพาะที่จะเอื้ออํานวยให้เซลล์ต้นกําเนิดทําหน้าที่เฉพาะเจาะจง เซลล์ต้น
กําเนิดไม่สามารถทํางานร่วมกับเซลล์ข้างเคียงเพื่อสูบฉีดเลือดไปเลี้ยงร่างกาย (เช่น เซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ)
เซลล์ต้นกําเนิดไม่สามารถลําเลียงออกซิเจนไปเลี้ยงร่างกายโดยผ่านกระแสโลหิตได้ (เช่น เซลล์เม็ดเลือดแดง)
เซลล์ต้นกําเนิดไม่สามารถส่งกระแสสัญญาณเคมีไฟฟ้าไปกระตุ้นเซลล์อื่นให้ควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย
(เช่น เซลล์ประสาท) อย่างไรก็ตามเซลล์ต้นกําเนิดที่ไม่จําเพาะนี้สามารถเปลี่ยนไปเป็นเซลล์จําเพาะเพื่อทํา
หน้าที่เฉพาะได้ดังเช่นเซลล์กล้ามเนื้อหัวใจ เซลล์เม็ดเลือดแดง และเซลล์ประสาท
เซลล์ต้นกำเนิดสามารถแบ่งตัวเพื่อสร้างทดแทนตัวเองขนมาใหม่ ได้เปนระยะเวลานาน เซลล์ต้นกําเนิดไม่
เหมือนเซลล์จําเพาะตรงที่มีความสามารถในการแบ่งตัวเพื่อสร้างตัวเองทดแทนขึ้นมาใหม่ได้หลายครั้ง ซึ่งเรียก
ความสามารถในการสร้างตัวเองขึ้นมาใหม่ของเซลล์ต้นกําเนิดนี้ว่า การแพร่ขยายหรือการเพิ่มจํานวนเซลล์
(Proliferation) เซลล์ต้นกําเนิดสามารถเพิ่มจํานวนจากเซลล์เริ่มต้นเพียงไม่กี่เซลล์ไปเป็นหลายล้านเซลล์ใน
ระยะเวลาเพียงไม่กี่เดือน ถ้าเซลล์ที่ถูกสร้างจากการเพิ่ม
จํานวนของเซลล์ต้นกําเนิดนี้ยังมีลักษณะเป็นเซลล์ที่ไม่จําเพาะ เซลล์ที่ถูกสร้างขึ้นมาใหม่นี้ก็สามารถ
สร้างทดแทนตัวเองขึ้นมาใหม่ได้เช่นกันเซลล์ต้นกําเนิดสามารถเปลี่ยนไปเป็นเซลล์จําเพาะชนิดอื่นได้
กระบวนการที่เซลล์ต้นกําเนิดเปลี่ยนไปเป็นเซลล์ชนิดจําเพาะนี้เรียกว่า การเปลี่ยนแปลงและพัฒนาเซลล์เพื่อ
ไปทําหน้าที่ต่างๆ หรือ ดิฟเฟอเรนทิเอชัน (Differentiation) นักวิทยาศาสตร์พยายามศึกษาถึงปัจจัยทั้งภายใน
และภายนอกในการทําให้เซลล์มีการเปลี่ยนแปลง ปัจจัยภายในที่ควบคุมให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเซลล์คือ
ยีนที่กระจายอยู่ตามสายดีเอ็นเอ ยีนนี้มีรหัสพันธุกรรมที่เป็นทําหน้าที่เป็นกลไกควบคุมการเปลี่ยนแปลง
โครงสร้างและการทําหน้าที่ของเซลล์ปัจจัยภายนอกได้แก่สารเคมีที่หลั่งมาจากเซลล์อื่นๆ เซลล์ที่อยู่ข้างเคียง
รวมทั้ง โมเลกุลของสารประกอบในของเหลวที่อยู่รอบล้อมเซลล์(เช่น โมเลกุลของธาตุอาหารในสารละลายที่ใช้
เพาะเลี้ยงเซลล์)

You might also like