CEA Film Report

You might also like

Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 202

รายงานการศึกษาการพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์

สาขาภาพยนตร์และวีดิทัศน์
ปี 2564

สานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน)

1
สานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน)
ขอสงวนข้อมูลส่วนบุคคลในรายงานการศึกษาฉบับนี้
ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562
(Personal Data Protection Act: PDPA)

2
รายงานงานฉบับสมบูรณ์
(ฉบับแก้ไขปรับปรุง)

โครงการจ้างที่ปรึกษาจัดทาฐานข้อมูลและแผนพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์
สาขาภาพยนตร์แ ละวีดิทัศน์
ปี 2564

เสนอต่อ

สานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน)

โดย

ศูนย์บริการวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิ ทยาลัย

31 สิงหาคม พ.ศ. 2564

3
สารบัญ

(Personal Data Protection Act: PDPA)..................................................................................................................2


1. บทนา ...............................................................................................................................................................................7
2. แนวคิดทฤษฎี ที่เกี่ยวข้ อง .............................................................................................................................................9
2.1 ภาพยนตร์ในฐานะศิลปะ...................................................................................................................................................9
2.2 อุตสาหกรรมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ สาขาภาพยนตร์และวีดิทั ศน์ .......................................................................9
2.2.1 อุตสาหกรรมและธุรกิจภาพยนตร์และวี ดิทัศน์ ..................................................................................................10
2.2.2 อุตสาหกรรมสร้างสรรค์สาขาภาพยนตร์แ ละวี ดิทัศน์ ...................................................................................... 12
2.3 สานักวิพากษ์กับอุ ตสาหกรรมภาพยนตร์ .................................................................................................................... 13
2.4 การบริหารอุตสาหกรรมภาพยนตร์ที่ผสมแนวทางศิ ลปะกับเศรษฐกิจ .................................................................14
3. แนวทางและขอบเขตการศึ กษา............................................................................................................................... 17
3.1. แนวทางการศึกษา .......................................................................................................................................................... 17
3.2. การกาหนดขอบเขตการศึกษาอุ ตสาหกรรมสร้างสรรค์ สาขาภาพยนตร์และวีดิทั ศน์ .......................................18
4. สถานการณ์ของอุตสาหกรรมภาพยนตร์................................................................................................................ 23
4.1 มูลค่าทางเศรษฐกิจของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ .......................................................................................................23
4.2 ผลประกอบการของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ .............................................................................................................24
4.3 ห่วงโซ่คุณค่าภาพยนตร์ไทยและธุรกิจที่ เกี่ยวข้อ ง.....................................................................................................36
4.3.1 การพัฒนาภาพยนตร์ (Film Development) .................................................................................................38
4.3.2 การผลิต (Film Production)............................................................................................................................... 42
4.3.3 การเผยแพร่/จัดจาหน่าย (Film Distribution)................................................................................................ 53
4.3.4 การฉายภาพยนตร์ (Film Exhibition)............................................................................................................... 57
4.3.5 การบริโภค (Film Consumption)..................................................................................................................... 63

4
4.4 ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ............................................................................................................................................................ 66
4.4.1 ประเภทของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ............................................................................................................................ 66
4.4.2 การวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่ วนเสีย (Stakeholder Analysis) ในอุตสาหกรรม .............................................72
4.5 จุดเด่น สภาพปัญหา และโอกาสของอุ ตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย ........................................................................73
4.5.1 จุดเด่นและสภาพปัญหาอุต สาหกรรมภาพยนตร์ไทย ...................................................................................... 77
4.5.2 โอกาสของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย ..............................................................................................................82
5. กรณีตัวอย่างอุตสาหกรรมภาพยนตร์ในต่างประเทศ .......................................................................................... 85
5.1 กรณีศึกษาจากประเทศสหรัฐอเมริกา ......................................................................................................................... 87
5.2 กรณีศึกษาประเทศอินเดีย .............................................................................................................................................95
5.3 กรณีศึกษาจากประเทศอังกฤษ .................................................................................................................................. 100
5.4 กรณีศึกษาจากประเทศเกาหลีใต้ ............................................................................................................................... 105
5.5 กรณีศึกษาจากประเทศฝรั่ งเศส ................................................................................................................................. 111
5.6 ปัจจัยความสาเร็จของอุตสาหกรรมภาพยนตร์จากประเทศต้นแบบทั้ ง 5 ประเทศ........................................ 118
5.6.1 ภาพรวมของอุ ตสาหกรรมภาพยนตร์ ............................................................................................................... 118
5.6.2 หน่วยงานที่รับผิดชอบ......................................................................................................................................... 118
5.6.3 ความคิดสร้างสรรค์ .............................................................................................................................................. 119
5.6.4 แนวทางการสนับสนุน ......................................................................................................................................... 119
6. ข้อเสนอแผนยุทธศาสตร์อุต สาหกรรมภาพยนตร์ไทย...................................................................................... 125
6.1 แผนยุทธศาสตร์อุตสาหกรรมภาพยนตร์ไ ทยที่ผ่านมา .......................................................................................... 125
6.2 แผนยุทธศาสตร์อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ กลุ่ม Creative Content.................................................................. 129
6.3 แผนพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ กลุ่ม Creative Content........................................................................... 131
7. ฐานข้อมูล .................................................................................................................................................................. 171
7.1 ความรู้พื้น ฐานเกี่ยวกับ การจัดทาฐานข้อมูล .......................................................................................................... 171

5
7.1.1 นิยามของฐานข้อมู ล (Database)..................................................................................................................... 171
7.1.2 วัตถุประสงค์ของการจัดทาฐานข้อมูล อุตสาหกรรมภาพยนตร์ ................................................................... 172
7.2 กรอบแนวคิดการจัดทาฐานข้อ มูล (Database) สร้างสรรค์ สาขาภาพยนตร์ ................................................. 172
7.2.1 แนวคิดการจัดทาฐานข้อมู ลอุตสาหกรรมภาพยนตร์ .................................................................................... 172
7.2.2 กรอบแนวคิดการออกแบบฐานข้อ มูลอุ ตสาหกรรมภาพยนตร์ ................................................................... 174
7.3 หน่วยงานที่มีการจัดเก็บข้ อมูล เกี่ยวข้อ งกับภาพยนตร์ไทย ................................................................................. 174
7.4 กรณีศึกษาด้านฐานข้อ มูลจากต่างประเทศ ............................................................................................................. 178
7.4.1 กรณีศึกษาฐานข้อ มูลประเทศเกาหลีใ ต้ ........................................................................................................... 179
7.4.2 กรณีศึกษาฐานข้อ มูลประเทศฝรั่งเศส.............................................................................................................. 186
7.5 แนวทางการจัดฐานข้อมูลที่ ควรมีเ พิ่มเติ มสาหรับอุตสาหกรรมภาพยนตร์ ไทย ............................................... 190
7.5.1 ข้อเสนอแนะการพัฒนาฐานข้อ มูลอุต สาหกรรมภาพยนตร์ของไทย .......................................................... 190
7.5.2 การประยุกต์ใช้ฐานข้อ มูลอุ ตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย................................................................................. 196
7.5.3 แนวทางการดาเนินงานการจัดทาฐานข้อมูลของอุต สาหกรรมภาพยนตร์ ................................................ 197
บรรณานุกรม ................................................................................................................................................................. 199

6
1. บทนา

อุตสาหกรรมภาพยนตร์และวีดิทัศน์เป็นหนึ่งในสาขาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ที่รั ฐบาลไทยเล็งเห็น ศัก ยภาพ


พร้อมมีเป้า หมายผลั ก ดันให้ เกิ ด การขับ เคลื่ อนในฐานะ Soft Power เพื่อสร้างรายได้ ในฐานะสิน ค้า บริโ ภคและ
สินค้าส่งออก ขณะเดียวกันภาพยนตร์มีมิติด้านศิล ปะที่ เกี่ยวข้อ งกับ ความคิ ดสร้างสรรค์ การยกระดับสติปัญญาของ
ประชาชน รวมทั้ง เป็นเสมือนเครื่องสะท้อนวัฒนธรรมและมรดกของชาติ ที่วางฐานรากและหล่ อเลี้ย งอุต สาหกรรม
มายาวนาน ดังนั้น การบริหารจัดการอุตสาหกรรมภาพยนตร์แ ละวี ดิทั ศน์ข องประเทศไทย จาเป็นต้องพิจาร ณา
อุ ต สาหกรรมภาพยนตร์ ใ นมิ ติ อุ ต สาหกรรมสร้ า งสรรค์ แ ละศิ ล ปะควบคู่ กั น อย่ า งไรก็ ต าม ด้ ว ยภู มิทั ศ น์ สื่ อ
ที่เปลี่ยนแปลงไป ส่งผลให้ธุรกิจและความนิย มในอุต สาหกรรมวี ดิ ทัศ น์ลดบทบาทลงตามลาดับ ดังนั้น การศึกษา
จึงมุ่งเน้นที่อุตสาหกรรมภาพยนตร์และธุรกิจและบริการ

ช่วงเวลาที่ผ่านมา ตั้งแต่ พ.ศ. 2473 - 2564 ไทยมีความพยายามที่จ ะหาแนวทางพั ฒนาอุ ตสาหกรรม


ภาพยนตร์ไทย ตั้งแต่การควบคุ มภาพยนตร์ ตาม พ.ร.บ.ภาพยนตร์ ปี พ.ศ. 2473 โดยเฉพาะการตรวจพิจา ร ณา
ภาพยนตร์ ในเวลาต่อ มา ภาพยนตร์ไ ทยมี การเติ บโตทางเศรษฐกิ จ โดยผู้มีอานาจทั้ งภาครั ฐและภาคธุร กิ จ ให้
ความสนใจ ดังหลักฐานปรากฏจากการเป็นเจ้าของภาพยนตร์ ระบบสายหนัง 1 การเป็นเจ้าของโรงฉายภาพยนตร์ ที่
มั ก พบว่ า อยู่ ภ ายใต้ ก ารด าเนิ น งานของบริ ษั ท เพี ย งไม่ กี่ บ ริ ษั ท ต่ อ มาปี พ.ศ. 2507 ภาครั ฐ ให้ ก ารยอมรั บ
อุตสาหกรรมภาพยนตร์ ไ ทยในฐานะอุ ต สาหกรรม แต่ยังไม่ไ ด้ มีการพิ จารณาให้ ความช่ วยเหลื อ หรือสนับ สนุ น
ด้านเงินทุนเนื่องจากข้ อจากัด และความเป็น มาตรฐานต่างๆ โดยช่วงเวลาดั งกล่าว ภาพยนตร์ ผลิตด้วยฟิล์ม 16
มิลลิเมตร หลังจากนั้น มีการรวมตัวของผู้ผลิ ตภาพยนตร์ในนาม “สมาคมผู้อานวยการสร้างภาพยนตร์ไ ทย” เพื่อ
เรี ย กร้ อ งการสนับ สนุน จากภาครั ฐ กระทั่ ง ปี พ.ศ. 2512 ภาครั ฐ เริ่ มให้ ก ารสนั บ สนุ นอุ ต สาหกรรมภาพยนตร์
ในประเทศไทยเป็น ครั้ง แรก โดยมีเงื่อนไขว่า ต้อ งเป็น ภาพยนตร์ที่ผ ลิต ด้ว ยฟิล์ ม 35 มิลลิเมตรและใช้เ งิน ลงทุ น 5
ล้านบาท ต่อมาปรับเป็น 1 ล้านบาท (อุณาโลม จันทร์รุ่งมณีกุล, 2563) กล่าวคือ ต้นทุนการผลิตเป็นตัวแปรสาคั ญ
ทีภ่ าครัฐให้ความสาคัญ

พ.ร.บ.ภาพยนตร์แ ละวี ดิทั ศน์ พ.ศ. 2551 นับเป็นจุดเปลี่ยนสาคัญต่ อการพัฒ นาอุต สาหกรรมภาพยนตร์
และวี ดิ ทั ศ น์ ที่ เ ริ่ มขยั บ สู่ มิติ ศิ ล ปะมากขึ้ น โดยให้ ค วามสนใจต่ อ การควบคุ มและการสนั บ สนุ น ภาพยนตร์
ในหลากหลายด้าน ทั้งด้านเงินทุน บุคลากรเครือข่าย และมีความพยายามวางยุ ทธศาสตร์ การพัฒ นาภาพยน ตร์
เริ่ มตั้ ง แต่ พ.ศ. 2551 โดยส านั ก งานพั ฒ นาเศรษฐกิจ และสั ง คมแห่ ง ชาติ ตามด้ ว ยแผนยุ ท ธศาสตร์ก ารพัฒนา

1ระบบสายหนัง เป็นรูปแบบการจัดจาหน่ายภาพยนตร์ประเภทหนึ่ง ที่ผู้จัดจาหน่ายในแต่ละภูมิภาคจะเป็นตัวกลางในการนาภาพยนตร์จากผู้ผลิต


และผู้จัดจาหน่ายส่วนกลางไปเผยแพร่ในพื้นที่ที่ตนเองดูแล

7
ภาพยนตร์ แ ละวี ดิ ทั ศ น์ อี ก 3 ฉบั บ ซึ่ ง ไม่ นั บ รวมแผนพั ฒ นาของหน่ ว ยงานอื่ นๆ อย่ า งไรก็ ตาม แม้ จ ะมี ค วาม
พยายามดาเนินงานแก้ไขอุปสรรคและปัญหา และนาเสนอแนวทางพั ฒนาอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไ ทย แต่ปัญหา
ที่พบในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ ไทยยัง คงอยู่ อาทิ ปัญหาเชิงโครงสร้างที่จากัด การพั ฒนาอุต สาหกรรม การขาด
ความต่อเนื่องของการให้ความสนับสนุน ของภาครัฐและภาคเอกชน ข้อจากัดด้านทักษะความสามารถของบุค ลากร
และแรงงาน ประเภทและเนื้อหาทีไ่ ม่หลากหลาย รสนิยมของผู้บริโภคและตลาดที่แปรเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว รวมทั้ง
คู่แข่งทั้งในและต่างประเทศ

สานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจ สร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ สศส. ตระหนักถึงความสาคัญและเร่ ง ด่ ว น


ของการยกระดั บและส่ ง เสริ มอุ ตสาหกรรมสร้า งสรรค์ สาขาภาพยนตร์แ ละวี ดิ ทั ศน์ ซึ่งอยู่ในกลุ่ ม Content &
Media จึงดาเนินโครงการจั ดทาฐานข้อ มูล และแผนพัฒ นาอุ ตสาหกรรมสร้า งสรรค์ สาขาภาพยนตร์และวี ดิ ทั ศ น์
โดยมีวัตถุประสงค์ห ลัก เพื่อศึกษาแนวทางการจั ดทาแผนยุ ทธศาสตร์ การพั ฒนาอุ ตสาหกรรมสร้า งสรรค์ ในการ
ส่งเสริมและสนับสนุนให้เ กิ ดการขับ เคลื่ อนเศรษฐกิจ สร้า งสรรค์ข องประเทศได้ อย่า งมี ประสิ ทธิ ภาพ ทั้งนี้ หัวข้อ
การดาเนินงานศึกษาข้อมูลประกอบด้วย
1) นิเวศของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย ได้แก่ ผู้เล่นหลัก (Key Players) ในระบบโซ่คุณค่า ผู้มี
ส่ ว นได้ ส่ ว นเสี ย สถานการณ์ และประเด็ น ข้ อจ ากั ด ส าคั ญ ที่เ ป็ นอุ ป สรรคต่ อ การด าเนิน ธุ รกิ จของอุต สาหกรรม
ในภาพรวม
2) กรณีศึกษาตั วอย่า งของประเทศที่ ประสบความสาเร็จ ในการบริห ารจั ด การด้า น การพั ฒ นา
อุตสาหกรรมภาพยนตร์
3) กรอบแนวทางการวางแผนยุทธศาสตร์การดาเนินงาน เพื่อแก้ไขปัญหา อุปสรรค์ และข้อจากัด
ของการดาเนินธุรกิจในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ของไทย
4) การแสวงหาแนวทางความร่วมมือในการพัฒนาอุ ตสาหกรรมภาพยนตร์ โดยสานักงานส่งเสริ ม
เศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หรือ สศส. กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และเครือข่ายภาคธุรกิจ เพื่อส่งเสริ ม
สนับสนุนอุตสาหกรรม ตามข้อเสนอแนะเชิ งนโยบายแผนพั ฒนาอุ ตสาหกรรมสร้า งสรรค์ ที่ได้ดาเนินการศึ ก ษา
ด้ ว ยแนวคิ ด ทฤษฎี พื้น ฐาน 4 ด้ า น ได้ แ ก่ ศิ ล ปะภาพยนตร์ เศรษฐกิ จ สร้ า งสรรค์ ส านั ก วิ พากษ์ การจั ด การ
ภาพยนตร์ของต่างประเทศ ประกอบกับข้อมูลจากการวิจัย เชิง คุ ณภาพ ที่เน้นการวิเคราะห์ข้อ มูลเอกสารวิชา การ
การสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่มย่อย (Focus Group) ซึ่งจัดขึ้นระหว่างเดือนเมษายน - กรกฎาคม 2564

8
2. แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง

งานวิจัยนี้กาหนดกรอบแนวคิดทฤษฎีพื้นฐานการศึกษาข้อมูลใน 4 ด้าน ได้แก่ ศิลปะภาพยนตร์ เศรษฐกิจ


สร้างสรรค์ สานักวิพากษ์ และกรณีศึกษาจากการบริหารจั ดการอุ ตสาหกรรมภาพยนตร์ข องประเทศฝรั่ง เศส และ
ประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งพิจารณาแนวทางการบริหารอุตสาหกรรมภาพยนตร์ที่ผสมผสานแนวทางศิลปะและเศรษฐกิ จ
ร่วมกันแบบคู่ขนาน รายละเอียดดังนี้

2.1 ภาพยนตร์ในฐานะศิลปะ
การถื อ ก าเนิด ของภาพยนตร์ใ นช่ ว งแรก แม้ จ ะยั ง ไม่ ไ ด้ รับ การยอมรับ ว่า เป็น ศิ ลปะ แต่ ก ารวิ วัฒ น์ของ
ภาพยนตร์ในแง่ มุมศิ ลปะ ทั้งการเล่าเรื่ องด้ว ยภาพ เสียง และการตัดต่ อ กลายเป็นศิลปะแขนงที่ เจ็ ด (บุญรั ก ษ์
บุญญะเขตมาลา, 2533) มุมมองต่อภาพยนตร์ ตามแนวคิด ดั งกล่า วนี้ มีความน่าสนใจใน 2 มิติ คือ 1) ภาพยนตร์
เป็นสื่อที่เน้นความคิดสร้างสรรค์ และ 2) การสื่อสารความคิดความสร้างสรรค์ของมนุษย์ สัมพันธ์กับมิติของสั ง คม
โดยเฉพาะการที่ผู้บริโภคชมภาพยนตร์ เพื่อเป็นกลไกการยกระดับจิตใจ สติปัญญา และช่วยจรรโลงสังคม ด้วยเหตุ
นี้ ภาพยนตร์จึงเป็นสื่อทีส่ ามารถแสดงทัศนะความรู้สึกของผู้สร้างหรือ ศิลปินต่ อผู้บริโภคได้อย่างอิสระไม่มีขี ดจากัด
ทั้งนี้ การมองภาพยนตร์ในฐานะศิลปะ มีต้นกาเนิดจากประเทศแถบยุโ รป ประวัติศาสตร์ของภาพยนตร์
ยุโรปยืนยันได้ถึงความพยายามในการทดลองและสร้างสรรค์ภาพยนตร์ อีกทั้ง การถือกาเนิดของศิล ปะใน สั ง คม
ยุโรปของสกุลต่างๆ แสดงให้เห็นถึงความคิดสร้า งสรรค์ ใหม่ๆ ต่อศิลปะรวมถึงภาพยนตร์ แนวคิดนี้ทรงอิทธิ พลต่ อ
อุตสาหกรรมภาพยนตร์ใ นยุโรป โดยเฉพาะประเทศฝรั่ งเศส (ธนา วงศ์ยานนาเวศ, 2560ก) รวมถึงโรงเรีย นหรื อ
สถาบันการสอนภาพยนตร์ทั่วโลก ซึ่งเน้นการสอนและการให้ผู้ เรียนแสดงออกทางความคิ ดสร้า งสรรค์ในรู ป แบบ
ผลงานอันเป็นศิล ปะ ดังกรณีของภาพยนตร์ ท ดลอง (Experimental Film) หรือภาพยนตร์อิน ดี้ ภาพยนตร์น อก
กระแส ภาพยนตร์ทางเลือก ซึ่งแตกต่างจากภาพยนตร์กระแสหลัก
แนวทางดังกล่าวมักจะถูกวิพากษ์ว่า ศิลปะเป็นเรื่องที่เข้าใจได้ยาก เมื่อกระทบกับรสนิยมของมวลชน และ
กระทบกับผู้มีอานาจของสั งคมซึ่ งมี นิยามของศิล ปะที่แตกต่า งไป เช่น ศิลปะควรสนับสนุนผู้มีอานาจในสัง คมหรื อ
รับใช้ผู้มีอานาจ หรือศิลปะควรจะเน้ นการเผยแพร่ อุด มการณ์ บางอย่าง เช่น ความเป็นชาติ สถาบันหลักในสั ง คม
คุณธรรม มิเช่นนั้นอาจนาไปสู่การระงับการเผยแพร่ภาพยนตร์ได้

2.2 อุตสาหกรรมและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ สาขาภาพยนตร์และวีดิทัศน์


แนวทางนี้ให้ความสนใจกั บภาพยนตร์ในฐานะเศรษฐกิจ หรือการมองภาพยนตร์ เ ป็น เรื่อ งสิน ค้าที่ ส ร้ า ง
ผลกาไร และการบริหารจัด การเพื่ อ ให้ ได้ กาไรหรื อผลประโยชน์สู ง สุ ด เมื่อผนวกกับ แนวคิ ดใหม่ คือ เศรษฐกิ จ
สร้างสรรค์ (Creative Industry) ซึ่งให้ความสนใจภาพยนตร์ใ นฐานะที่ เป็น ส่ว นหนึ่ งของการลงทุน ด้านควา มคิ ด

9
ที่ เ พิ่ มมู ล ค่ า ให้ สู ง ขึ้ น ทั้ ง ในอุ ต สาหกรรมภาพยนตร์ โ ดยตรงและขยายไปสู่ อุ ต สาหกรรมอื่ น ๆ ดั ง นั้ น แนวทาง
ดังกล่าวแสดงให้เห็นกรอบแนวคิดหลักๆ 2 แนวคิดย่อย ได้แก่ เศรษฐศาสตร์ภาพยนตร์ และเศรษฐกิจสร้างสรรค์

2.2.1 อุตสาหกรรมและธุรกิจภาพยนตร์แ ละวี ดิทั ศน์


แนวคิดนี้ให้ความสนใจต่อภาพยนตร์ในฐานะที่ เป็นหนึ่ งในกระบวนการผลิต ทางเศรษฐกิจ มีเป้าหมายเพื่ อ
ผลกาไร ที่สาคัญ คือ มุ่งเน้นการบริหารจัดการเพื่อให้การดาเนินงานได้ผลกาไรที่ ตั้งเป้าหมายไว้ (สมสุข หินวิมาน,
2560ก) แนวคิดดังกล่าวเติบโตมาจากประเทศสหรัฐ อเมริกา เนื่องจากประวัติศาสตร์ของการกาเนิด ภาพยนตร์ ใ น
ประเทศสหรัฐอเมริกา มีเป้าหมายหลักเพื่อคนทั่วไปหรือ มวลชนได้ บริโภค ภาพยนตร์จึงเน้นด้านผลกาไร แตกต่าง
จากการชมภาพยนตร์ข องประเทศในยุโรป ที่เน้นการบริโภคงานภาพยนตร์ แบบศิ ลปะ สื่อสะท้อนวัฒนธรร มใน
กลุ่มคนชั้นสูง คนชั้นกลาง และผู้มีความรู้
ดังนั้น การตลาดภาพยนตร์แบบประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นกระบวนการผลิตเพื่อหวังผลกาไรต้อ งอาศั ย
การบริหารจัดการให้เกิดมูล ค่าเพิ่มตลอดระบบโซ่ มูล ค่า (Value Chain) ในขณะที่หลักเศรษฐศาสตร์ ทั่ว ไปจ ะเน้ น
กระบวนการ 3 ขั้นตอน คือ การผลิต (Production) การเผยแพร่แ ละการจั ดจาหน่า ย (Distribution) และการ
บริโภค (Consumption) แต่เนื่องจากอุตสาหกรรมภาพยนตร์ มีลั กษณะพิ เ ศษ ส่งผลให้โซ่คุณค่าของอุ ตสาหกรรม
ภาพยนตร์ประกอบด้วยองค์ประกอบ 5 ขั้นตอน (กาจร หลุยยะพงศ์, 2563) ดังนี้
1) ขั้นตอนการพัฒนา (Film Development) : การสรรหาแหล่งเงิน ทุน เพื่อนามาพั ฒนาบทและสร้ า ง
ภาพยนตร์
2) ขั้นตอนการผลิต แบ่งเป็น 3 ระยะ ได้แก่
(1) กระบวนการก่อ นการผลิต หรือการวางแผนการผลิต (Pre-production) เริ่มตั้งแต่การปร ะชุ ม
การคัดเลือกผู้แสดง การหาสถานที่การถ่ายทา
(2) กระบวนการผลิต (Production) หรือการถ่ายทา
(3) กระบวนการหลัง การผลิต (Post-production) ได้แก่ ขั้นตอนการตัดต่อ หรือแต่งภาพ แสดง สี
เสียง เพื่อให้ภาพยนตร์ทสี่ าเร็จพร้อมเผยแพร่
3) ขั้นตอนการเผยแพร่ หรือการจัดจาหน่าย (Distribution) คือ การนาภาพยนตร์ที่ผลิต เสร็จ สิ้ น ส่งต่อ
ให้กับผู้ฉายภาพยนตร์ ซึ่งอาจเป็นผู้จาหน่ายในประเทศหรือต่างประเทศ
4) ขั้นตอนการฉายภาพยนตร์ (Exhibition) ที่ผ่านมาเน้นการนาภาพยนตร์ เข้ า ฉายผ่ านโรงภาพยน ตร์
ปัจจุบันเริ่มขยายสู่ช่องทางอื่นๆ ทั้งดีวีดี โทรทัศน์ เทศกาลภาพยนตร์ และผ่านระบบออนไลน์ Streaming ต่างๆ
5) ขั้ น ตอนการบริ โภค (Consumption) คื อ ตลาดภาพยนตร์ ซึ่ ง เกี่ ย วข้อ งกั บการประชาสั มพั นธ์ เพื่อ
สนั บ สนุ น การขาย (Promote) สร้ า งความสนใจแก่ ผู้ บ ริ โภค และการพั ฒ นาการรั บรู้ ใ นสิน ค้ า ให้ กั บ ผู้ บ ริโภค
รับทราบ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการยกระดับความสนใจของผูบ้ ริโภคทางหนึ่ง

10
จากการพิ จารณาโซ่ คุ ณค่ าอุ ต สาหกรรมภาพยนตร์ ทั้ ง 5 ขั้ น ตอนข้ างต้ น สามารถประเมิ น มู ล ค่าทาง
เศรษฐกิจได้ โดยพิจารณาจากกิจ กรรมที่ เ กี่ย วข้ อ งซึ่ง กาหนดตามรหั ส มาตรฐานอุ ตสาหกรรมของประเทศไทย
(Thailand Standard Industrial Classification : TSIC) โดยกระทรวงอุ ต สาหกรร ม ซึ่ ง ปั จ จุ บั น กิ จ กร ร มที่
เกี่ ย วข้ อ งกั บ อุ ต สาหกรรมภาพยนตร์แ ละวี ดิ ทั ศ น์ ต ามรหั ส TSIC ของประเทศไทย ไม่ ค รอบคลุ ม ขั้ น ตอนและ
กิจกรรมทั้งหมดตลอดโซ่คุณค่าทั้ง 5 ขั้นตอนดังกล่าวข้างต้น นอกจากนี้ ที่ผ่านมาอุตสาหกรรมภาพยนตร์ เน้นการ
ผลิตภาพยนตร์และวี ดิทั ศน์ แต่ปัจจุบันพบว่า อุตสาหกรรมภาพยนตร์ ไ ด้ข ยายขอบเขตกิจ กรรมจากภาพยน ตร์ สู่
อุตสาหกรรมการผลิตภาพยนตร์และคอนเทนต์หรือ “สารัตถะ” ซึ่งรวมถึงซีรีส์ หรือละครที่ฉายในโทรทัศน์และสื่ อ
ออนไลน์ต่างๆ เช่น ระบบ Netflix รายละเอียดกิจกรรมตามรหัส TSIC แสดงดังตารางที่ 1

ตารางที่ 1 รหัสมาตรฐานอุตสาหกรรมของประเทศไทย (TSIC) (รวบรวมโดยคณะทางาน)


รหัสมาตรฐาน TSIC กิจกรรม
ขั้นตอนการผลิต
59110 กิจกรรมการผลิตภาพยนตร์วีดิทัศน์และรายการโทรทัศน์
59111 กิจกรรมการผลิตภาพยนตร์และวีดิทัศน์
78101 กิจกรรมการคัดเลือกนักแสดงภาพยนตร์ โทรทัศน์ และการแสดงอื่น ๆ
59121 การบริการตัดต่อภาพและเสียง
59122 การบริการทาคอมพิวเตอร์กราฟฟิกแอนิเมชัน และเทคนิคพิเศษ
59201 กิจกรรมการบันทึกเสียงลงบนสื่อ (Sound Lab)
59129 กิจกรรมภายหลังการผลิตภาพยนตร์และวีดิทัศน์และรายการโทรทัศน์อื่น ๆ
ซึ่งมิได้จัดไว้ในประเภทอื่น
77309 การให้เช่าและการให้เช่าแบบลีสซิ่งเครื่องจักรอุปกรณ์ และสินค้าที่จับต้องได้อื่นๆ
ซึ่งมิได้จัดประเภทไว้ในที่อื่น
ขั้นตอนการแพร่กระจายหรือการจัดจาหน่ าย
46432 การขายส่งสื่อบันทึกภาพและเสียงที่บันทึกข้อมูลแล้ว
47620 ร้านขายปลีกสื่อบันทึกเสียงและภาพ
59131 กิจกรรมการเผยแพร่ภาพยนตร์วีดิทัศน์และรายการโทรทัศน์
59132 กิจกรรมการดูแลสิทธิการผลิตซ้าภาพยนตร์วีดิทัศน์และรายการโทรทัศน์
เพื่อจาหน่ายหรือเผยแพร่
ขั้นตอนการฉายภาพยนตร์
59140 กิจกรรมด้านการจัดฉายภาพยนตร์

11
เพื่อส่งเสริมให้อุตสาหกรรมภาพยนตร์ประสบความสาเร็จ ต้องมีการบริหารจัดการ โดยให้ความสาคัญ ต่ อ
การบริหารจัดการโครงสร้า งภายในองค์ กร ดังแนวคิดของ (เฮนรี ฟาโย, 2560) ซึ่งให้ความสนใจต่อ การบริ ห าร
จัดการองค์กรทั้ งหมด โดยมีการวางแผน การดาเนินงาน และการควบคุ ม นอกจากนี้ ยังให้ความสาคั ญ ต่ อ ผู้ มี
ส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholder Analysis) ได้แก่ ผู้เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ที่สาคัญ และกระบวนการ
สนับสนุน ตลอดจนการบริหารจัด การที่ข ยายไปสู่แนวคิ ด Cybernetics ซึ่งให้ความสาคัญ ต่ อการบริ หารจั ด การ
ทั้งโครงสร้างภายในและภายนอกองค์ กร ได้แก่ การเมือง เศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม และการปรับเปลี่ยนบริ บ ท
ของธุรกิจสู่ยุคของเทคโนโลยีดิจิทัล ส่งผลให้การผลิตภาพยนตร์ และการเผยแพร่เป็นไปได้ง่าย และสะดวกมากขึ้ น
รวมทั้ ง สามารถเผยแพร่แ บบข้ ามประเภทสื่ อ ได้ เช่ น การน าภาพยนตร์ มาเผยแพร่ผ่ านช่ องทางสื่ อ หลัก อาทิ
โทรทัศน์ หรือเผยแพร่ผ่านช่อ งทางออนไลน์ หรือ Platform Streaming ต่างๆ ซึ่งผลจากการเปลี่ยนแปลงทาง
เทคโนโลยี นี้ กระทบโดยตรงต่ อแนวทางการก ากั บ ดู แลกิ จการภาพยนตร์ ทั้ ง ในแง่ ของวิ ธีก ารปฏิ บั ติ ระเบียบ
ขั้ น ตอนการด าเนิ นงาน กฏหมาย และข้ อก าหนดต่ างๆ จ าเป็น ต้ อง ปรับ เปลี่ ย นให้เ หมาะสมและสอดคล้ องกับ
เทคโนโลยีและภู มิทั ศน์สื่ อที่ เปลี่ ยนแปลงอย่างรวดเร็ ว นอกจากนี้ สถานการณ์โรคระบาด เช่น COVID-19 ส่งผล
กระทบต่ อ แนวทางการประกอบอาชี พของบุ คลากรสร้า งสรรค์ ที่เ กี่ ย วข้ อ งในอุ ต สาหกรรม ซึ่ ง ต้ อ งปรับ เปลี่ยน
การทางาน ตั้งแต่กระบวนการผลิต การถ่ายทา และช่องทางการฉายภาพยนตร์
การพิจารณาอุตสาหกรรมภาพยนตร์แ บบมหภาค หรือองค์รวม จะช่วยให้ผู้เกี่ยวข้ องมี ความเข้าใจ และ
เห็นภาพการเชื่อมโยงบทบาทของผู้ เกี่ ยวข้ องทั้ง หมดในอุ ตสาหกรรมภาพยนตร์ ความสัมพันธ์ของผู้ มีส่ว นได้ ส่ ว น
เสีย และความเกี่ยวเนื่องในมิติ ด้านเศรษฐกิจและสั งคมอื่น ๆ หรือ นิเวศของสื่อภาพยนตร์ ซึ่งจะทาให้ผู้เกี่ยวข้ อ งมี
ความเข้าใจปัญหาของอุ ตสาหกรรมภาพยนตร์แ ต่ล ะส่วนในระบบโซ่ คุ ณค่า ได้ ชั ดเจนมากขึ้ น โดยการศึกษานี้ ใช้
เครื่องมือการวิ เคราะห์แ ละประเมิ นศั กยภาพของอุ ตสาหกรรม (SWOT) ในการหาจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และ
อุปสรรค เพื่อวิเคราะห์แนวทางการพัฒนาอุตสาหกรรมที่เหมาะสม
จากแนวคิ ด การบริ ห ารจั ด การ โดยเฉพาะแนวคิ ด ของ McQuail, 2010a ท าให้ ก ารบริ ห ารจั ด การ
ภาพยนตร์ ไม่สามารถพิจารณาห่วงโซ่คุณค่า เป็นเส้ นตรง (Linear) หรือเริ่มต้นจากการพัฒนาสู่การบริโภค แต่ควร
มุ่งเน้นการบริหารจัดการตลอดโซ่ คุ ณค่าของอุตสาหกรรม ทั้งการวิเคราะห์จากต้นน้า หรือการวิเคราะห์ย้อ นกลั บ
จากการปลายน้า (ตลาดและผู้บ ริโ ภคสู่ การผลิ ต ) รวมทั้งให้ความสาคั ญกั บปั จจัย ภายนอกอื่น ๆ ที่ส่งผลต่ อ การ
บริหารจัดการภาพยนตร์เพื่อเป้าหมายของผลกาไร โดยสรุปแนวคิดเศรษฐศาสตร์ พิจารณาภาพยนตร์เป็นสิน ค้ า ที่
สร้างกาไร ด้วยการบริหารจัดการธุรกิจและกลไกทางการตลาดซึ่งเป็นอิทธิพลจากอุตสาหกรรม Hollywood

2.2.2 อุตสาหกรรมสร้างสรรค์สาขาภาพยนตร์แ ละวี ดิทั ศน์


โดยธรรมชาติของภาพยนตร์ คือ สื่อที่มีต้นทุนจากความคิ ดสร้า งสรรค์ โดยแรงงานสร้า งสรรค์ ผู้ที่ศึกษา
ภาพยนตร์ให้ความสนใจต่อ เนื้ อหา แนวคิด ความรู้ และมิติทางวัฒนธรรมต่างๆ ดังแนวคิดของ John Hawkins

12
(2013) ซึ่งมองว่าอุ ต สาหกรรมสร้ างสรรค์ ใ ช้ต้ นทุ น ทางความคิ ด ผลิตผลงาน และขยายผลไปสู่ ธุร กิจ อื่น ๆ เช่น
การที่ภาพยนตร์เ ป็น เสมื อนแรงบัน ดาลใจ ดึงดูดให้ ผู้ช มที่ ชื่น ชอบฉากและบรรยากาศของภาพยนตร์ ไ ด้เ ดิ น ทาง
ท่องเที่ยวเยี่ ย มชมสถานที่ถ่า ยทาภาพยนตร์ ต่อยอดมูล ค่า เพิ่ มสู่ธุ รกิ จท่ อ งเที่ ยว โรงแรม ร้านอาหาร และการ
จ าหน่ า ยสิ น ค้ า ที่ ร ะลึ ก หรื อ กรณี ข องภาพยนตร์ ก าร์ตู น ดิ ส นี ย์ ที่ ส ร้ า งมู ล ค่ า เพิ่ มจากการจ าหน่ ายตั ว การ์ตูน
คาแรคเตอร์ เชื่อมต่อสู่ธุรกิจสวนสนุก รวมทั้งดารานักแสดง ซึ่งนับเป็นผลผลิตจากอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ทโี่ ด่ ง ดั ง
จากงานภาพยนตร์ มีแฟนคลับติดตามให้การสนับสนุน และอุดหนุนสินค้าทีเ่ หล่านักแสดงเป็นพรีเซ็นเตอร์ เป็นต้น
ภาพยนตร์ในบริบทของเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เป็นปัจจัยสนับสนุนการริเริ่มใช้ความคิดสร้างสรรค์ และการ
นาต้นทุนทางวัฒนธรรมต่างๆ มาผลิตภาพยนตร์เพื่อสร้างรายได้ และต่อยอด เชื่อมโยงสู่ธุรกิจที่เกี่ยวข้อง
การใช้แนวคิดด้านเศรษฐกิจ สร้างสรรค์ มาสนั บสนุนการวิ เคราะห์ภาพรวมและทิศ ทางของอุ ตสาหกรรม
สร้างสรรค์ จึงเป็นปัจจัยที่สาคัญในการวางแผนพัฒนาอุตสาหกรรม ตัวอย่างเช่น ประเทศเกาหลีใต้ และประเทศ
สหรัฐอเมริกา ที่ส่งออกภาพยนตร์เป็นสินค้าหลัก และส่งเสริมให้ธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้รับความนิยมตามไปด้วย

2.3 สานักวิพากษ์กับอุตสาหกรรมภาพยนตร์
สานักวิพากษ์ (Critical Theory) จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ตั้งข้ อสังเกตเกี่ยวกับกระบวนการผลิ ต สื่ อ
หรืออุตสาหกรรมสื่ อ เนื่องจากสื่อเป็น ส่ วนหนึ่ งของมิ ติ อานาจ ซึ่งผู้มีอานาจมั ก ครอบครองสื่ อ เพื่ อการแสวงหา
ผลประโยชน์ต่างๆ
สานักวิพากษ์ให้ความสาคั ญกับ ประเด็น “ความเป็นเจ้าของสื่อ” เมื่อนามาใช้เป็นกรอบในการศึ กษาและ
วิ เ คราะห์ ง านด้ า นภาพยนตร์ จึ ง มั ก จะตั้ ง ค าถามว่ า “ใครคื อ เจ้ า ของ” ซึ่ ง จากการพิ จ ารณาสถานการณ์ ของ
อุตสาหกรรมภาพยนตร์ไ ทยพบว่า อุตสาหกรรมภาพยนตร์ ถูกผู กขาดจากผู้ มีอานาจไม่กี่ราย เช่น โรงภาพยนตร์
ขนาดใหญ่ หรือระบบการเผยแพร่ภาพยนตร์ผ่านช่ องทางออนไลน์ (Streaming Platform) มักผูกขาดโดยบริ ษั ท
ใหญ่เพียงไม่กี่บริษัท ส่งผลให้ธุรกิจภาพยนตร์มิได้เปิ ดกว้างให้กับ คนทั่ว ไปหรือ ศิลปิน ในการผลิ ตภาพยนตร์ ในทาง
ตรงกันข้าม เจ้าของโรงภาพยนตร์ หรือเจ้าของระบบเผยแพร่ภ าพยนตร์ทางออน ไลน์ มีอานาจในการก า หนด
ทิ ศ ทางของการเผยแพร่ ภาพยนตร์ ดั ง นั้ น บริ ษั ทผลิต ภาพยนตร์ที่ ต้ อ งการนาภาพยนตร์ เ ข้าฉาย (อาจ) ต้ อ งมี
ความสัมพันธ์อันดีกับเจ้าของโรงภาพยนตร์ หรือเป็นภาพยนตร์ที่มีแนวโน้มจะสามารถสร้า งผลกาไรได้จานวนมาก
สถานการณ์เช่นนี้ ส่งผลให้ภาพยนตร์อิสระ หรือภาพยนตร์นอกกระแสที่ มุ่ง เน้น มิติ ด้านศิ ลปะ ซึ่งอาจไม่ได้มุ่ง เน้ น
(หรือไม่สามารถคาดหวัง) การสร้างผลกาไร จึงมีอานาจต่อรองน้อย ทั้งในระบบโรงภาพยนตร์และระบบออนไลน์
โดยเฉพาะในกรณีหลังเริ่มเกิดข้อถกเถียงเรื่อ งความเป็นธรรมในการจาหน่ายลิขสิทธิ์ให้กับช่ องทางระบบออนไ ลน์
นอกจากนี้ ข้อสังเกตอีกหนึ่ง ประการ คือ หากอุตสาหกรรมสื่ อหรื อภาพยนตร์ มุ่ง เน้ นเพี ยงผลกาไรและ
ปริมาณ อาจทาให้การผลิตภาพยนตร์ขาดความหลากหลายของเนื้ อหา ขาดการนาเสนอภาพยนตร์แนวใหม่ หรือ
ภาพยนตร์ ท างเลื อกประเภทอื่ น ๆ และลดโอกาสในการเจาะกลุ่มตลาดอื่ น หรื อ การสร้างผู้ บริ โภคกลุ่มใหม่ๆ

13
รวมทั้ ง ส านั ก วิ พากษ์ ยั ง มี มุม มองถึ ง การเสริ มสร้ า งความเข้ มแข็ ง ของบุ ค ลากรและแรงงานสร้ า งสรร ค์ ใน
อุตสาหกรรม อาทิ การจัดตั้งสหภาพ (Union) ของกลุ่มวิชาชีพภาพยนตร์ การเรียกร้องสวัสดิการเพื่ อบุค ลากรใน
อุตสาหกรรม และการใช้งานศิลปะขับเคลื่อนเพื่อสะท้ อนภาพสัง คมและวัฒนธรรมด้วยเช่นกัน

2.4 การบริหารอุตสาหกรรมภาพยนตร์ที่ผสมแนวทางศิลปะกับเศรษฐกิ จ
เป็นแนวคิดที่ประยุกต์มุมมองต่ออุ ตสาหกรรมภาพยนตร์แ บบผสมผสานระหว่างศิ ลปะและเศรษฐกิจ โดย
หมายรวมถึงเศรษฐกิจทั่ว ไป เศรษฐกิจสร้างสรรค์ และสานักวิพากษ์เข้าด้วยกัน ส่งผลให้เกิดมุมมองในการบริ ห าร
อุตสาหกรรมภาพยนตร์แบบองค์รวม ในลักษณะ “พาณิชย์ศิลป์”
มุมมองการบริหารอุต สาหกรรมภาพยนตร์ใ นลัก ษณะของ “พาณิชย์ศิลป์” เริ่มต้นจากประเทศฝรั่ ง เศส
โดยศูนย์ภาพยนตร์ แห่ ง ชาติ (The National Cinematographic Centre, CNC) ซึ่งเป็นหน่วยงานอิ สระภายใต้
กระทรวงวัฒนธรรม และประเทศเกาหลีใต้ โดย KOFIC (Korean Film Council, KOFIC) ซึ่งเป็นหน่วยงานอิ ส ระ
ภายใต้กระทรวงวั ฒนธรรมและการท่ องเที่ย ว ทั้งสองประเทศมีจุ ดเชื่อ มโยงร่ วมกัน คือ มีองค์กรอิสระภายใต้ ก าร
ควบคุมของกระทรวงวัฒนธรรมในการบริหารกิจการภาพยนตร์ (สานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิ จ และ
สังคมแห่งชาติ, 2551) ส่งผลให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารงาน และมุมมองต่ออุตสาหกรรมภาพยนตร์แ ละวี ดิ
ทัศน์แบบองค์รวม
ประเทศฝรั่ ง เศสให้ ค วามส าคั ญต่ อ อุ ตสาหกรรมภาพยนตร์ ในแง่ ข องศิ ล ปะค่ อ นข้างสู ง โดยภาพยนตร์
เปรียบเสมือนวัฒนธรรมของชาติ อย่างไรก็ตาม การเติบโตของ Hollywood ส่งผลให้มุมมองต่อภาพยนตร์ใ น เชิ ง
ศิ ล ปะของยุ โ รป รวมถึ ง ประเทศฝรั่ง เศสต้ อ งหยุด นิ่ ง ด้ ว ยเหตุ นี้ จึ ง มี ก ารก าหนดนโยบายกี ด กั นอุ ต สาหกรรม
ภาพยนตร์จาก Hollywood และมุ่งเน้น สนั บ สนุ นภาพยนตร์ ฝรั่ ง เศสให้สามารถด ารงอยู่ ได้ โดยมีแนวทา งการ
ดาเนินงาน (อ้างถึงในสานักงานคณะกรรมการพั ฒนาการเศรษฐกิ จและสัง คมแห่ง ชาติ , 2551) เช่น การกาหนด
โควตา (Screen Quota) การจากัดการฉายภาพยนตร์ต่างประเทศ การกาหนดภาษีการนาเข้าภาพยนตร์ เป็นต้น
กรณีของภาพยนตร์ภายในประเทศ นอกจากการพัฒนาสถาบันการฝึ กอบรมภาพยนตร์ ยังมีการกาหนด
มาตรการต่างๆ ได้แก่ การยกเว้นภาษี การคืนภาษี และการสนับสนุนการผลิ ตภาพยนตร์ภายในประเทศฝรั่ ง เศส
จากการให้เงินทุน สนับ สนุน ภาพยนตร์จ าก Eurimage Fund ซึ่งเป็นโครงการในกองทุ นใหญ่ ที่ชื่ อว่า European
Fund เงินทุนสนับสนุนดังกล่าวมาจากการจัดเก็บจากค่าตั๋ว ค่าธรรมเนียมจากผู้จัดจาหน่าย เจ้าของโรงภาพยนตร์
ผู้ส่งออก และเงินทุนดังกล่าวสนับสนุนทั้งภาพยนตร์กระแสหลัก และภาพยนตร์ของนักผลิตรุ่นใหม่

ในขณะเดียวกัน ประเทศเกาหลี ใ ต้นาหลัก การบริ หารภาพยนตร์จากประเทศฝรั่ ง เศสมาใช้เ ป็น ต้ น แบบ


และพัฒนาให้ครอบคลุมอุตสาหกรรมภาพยนตร์ทั้งระบบ โดยมีหน่วยงานหลักในการรับผิดชอบคื อ Korean Film
Council (KOFIC) ซึ่งเป็นหน่วยงานอิสระภายใต้ก ระทรงวัฒ นธรรมและการท่ อ งเที่ย ว และพัฒนาอุต สาหกรรม

14
ภาพยนตร์ในลักษณะครบวงจร (อ้างถึงในสานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่ งชาติ , 2551)
ได้แก่
 การสนับสนุน KOFIC Studios เพื่อการผลิตภาพยนตร์
 การคุ้มครองลิขสิทธิ์
 การสนับสนุนโควตาภาพยนตร์ ฉายภาพยนตร์เกาหลี ใต้ไม่น้อยกว่า 56 วัน
 การสนับสนุนมาตรการทางการเงิน การจัดตั้งกองทุน การสนับ สนุน ทุนผู้ ผลิ ต รวมถึงผู้ผลิต ราย
ย่อย ทั้งนี้งบประมาณมาจากทั้ง เงิน สนับ สนุนและการระดมทุนจากธุ รกิจขนาดใหญ่แ ละสถาบั น
การเงิน และการสนับสนุนเงินทุนดอกเบี้ยต่าสาหรับการฉายภาพยนตร์
 มาตรการภาษี ลดหย่อนภาษีทั้งการผลิต การสร้างโรงฉายภาพยนตร์
 การพัฒนาบุคลากร โดยตั้งสถาบัน KAFA (Korean Academy of Film Arts) เพื่อสอนวิ ช าชี พ
ด้านภาพยนตร์ สี่ด้าน คือ การกากับ การถ่ายภาพ แอนิเมชัน และการอานวยการสร้าง
 การสร้างเครือข่ายภาพยนตร์ในเอเชีย และการให้ทุนผู้ผลิตภาพยนตร์รุ่นใหม่ในประเทศต่างๆ
 การจัดทานโยบายเพื่อ การพั ฒนาภาพยนตร์ เกาหลี ใ ต้ทั้ งในและต่า งประเทศ โดยหน่วยงานคื อ
Korean Film Research Center จะทาหน้าที่รวบรวมข้อมูลสถิติภาพยนตร์และที่ เกี่ยวข้อ งและ
เผยแพร่ทั่วไป เพื่อการวิเคราะห์แผนการตลาด แผนการลงทุนในการส่งออก
 การจั ด ท าแหล่ ง ข้อ มู ล ที่ เ กี่ย วกับ ภาพยนตร์ คื อ KOFA (Korean Film Achieve) ท าหน้ า ที่จัด
นิทรรศการ และแสดงข้อมูลเกี่ยวกับภาพยนตร์ เช่น ศิลปะ ประวัติศาสตร์ รวมภาพยนตร์เกาหลี
ใต้และต่างประเทศ
 การจัดทา Korean Media Rating Board (KMRB) เพื่อการกาหนดเรตติ้งภาพยนตร์
 การสนับสนุนการถ่ายทาภาพยนตร์ในเกาหลีใต้

แนวทางการด าเนิ น งานข้ า งต้ น ที่ ก ล่ า วนี้ ส่ ง ผลให้ อุ ต สาหกรรมภาพยนตร์ ข องประเทศเกาหลี ใ ต้ มี


พัฒนาการเติบโตก้าวหน้าอย่างรวดเร็วในระยะเวลา 2 ทศวรรษที่ผ่านมา (2000 - 2021)

จากข้อมูลข้างต้น จะเห็น ได้ว่ าประเทศฝรั่ง เศสและเกาหลี ใ ต้ มีมุมมองต่อ อุ ต สาหกรรมภาพยนตร์ แ บบ


องค์รวม โดยให้ความสาคัญกับภาพยนตร์ในฐานะที่ เป็นอุ ตสาหกรรม และในฐานะที่เป็นศิลปะบนพื้น ฐานความคิ ด
ที่ ว่ า ภาพยนตร์ จ ะไม่ ส ามารถพั ฒ นาและเติ บ โตต่ อ ไปได้ หากขาดมิ ติ ท างด้ านศิ ล ปะ ดั ง นั้ น การสนั บ สนุนให้
ภาพยนตร์ในประเทศสมารถเติบโตได้ จาเป็นต้องมีหน่วยงานกลางที่ดาเนินงานแบบบูรณาการ

15
ดังนั้น แนวทางการบริหารอุตสาหกรรมภาพยนตร์ของประเทศไทยควรมองอุตสาหกรรมแบบองค์รวมและ
ผสมผสานการมองระหว่างมุมมองเชิงศิ ลปะและอุ ตสาหกรรมเข้าด้ วยกัน อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาพบว่า ส่วน
ใหญ่แล้วอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยยัง มุ่งให้ความสาคัญกับ ภาพยนตร์ในฐานะอุตสาหกรรมที่สร้าง “มูลค่า” เน้น
หารายได้ ทากาไรทางเศรษฐกิจ แต่ยังขาดการให้ความสาคั ญและการสนั บสนุ นภาพยนตร์ในมิ ติด้านศิล ปะ หรือ
การพัฒนา “คุณค่า” ในอุตสาหกรรม โดยกรมการสนเทศ กระทรวงเศรษฐการ เผยแพร่รายงานคณะกรร มการ
ศึกษาเรื่องการสร้างภาพยนตร์ ไทยและการนาภาพยนต์ ต่างประเทศเข้า มาฉายใน ประเทศไทย พ.ศ. 2515 ซึ่งเน้น
ข้ อ มู ล ด้ า นผู้ ผ ลิ ต ภาพยนตร์ จ านวนรายได้ ข องโรงภาพยนตร์ ระบบการจั ด จาหน่า ย สาย ส่ ง หนั ง ภาษีอากร
การส่งเสริมอุตสาหกรรมภาพยนตร์ ปัญหาต่างๆ เช่น กระแสของภาพยนตร์ตะวันตก (อ้างถึงในอุณาโลม จันทร์รุ่ง
มณีกุล, 2561) แสดงให้เห็นถึ ง ความสนใจจากภาครั ฐที่ ให้ ค วามสนใจในอุ ตสาหกรรมภาพยนตร์แ ละวี ดิ ทั ศ น์ ใ น
ฐานะแหล่งรายได้ทางเศรษฐกิจเป็นสาคัญ

อย่ า งไรก็ ต าม ตั้ ง แต่ พ.ศ. 2520 เป็ น ต้ น มาเริ่ มมี ง านวิ จั ย ที่ ตั้ ง ข้ อ สั ง เกตถึ ง ปั ญ หาของอุ ต สาหกรรม
ภาพยนตร์และวีดิทัศ น์ของประเทศไทยเพิ่ มมากขึ้น ปัจจัยส่วนหนึ่งมาจากทั้งการเติบ โตของการศึก ษาภาพยนตร์
ไทยในระดั บ บั ณฑิต ศึ ก ษา เริ่ มมี ก ารผนวกแนวคิ ดด้ า นศิ ล ปะและสานัก วิพากษ์ มาปรั บใช้ ในการศึ ก ษา ทั้ งการ
วิเคราะห์ปัจจัยที่ ส่ง ผลต่อ อุ ตสาหกรรม ความขัดแย้งระหว่างเจ้า ของทุ นกั บผู้ ผลิ ตที่ มุ่งเน้นผลิต ภาพยนตร์ ใ น เชิ ง
ศิ ล ปะ การขาดแคลนบทภาพยนตร์ ไปจนถึ ง ปั จ จั ย ด้ า นภาครั ฐ กลุ่ มผู้ บ ริ โ ภค เทคโนโลยี การเข้ า มาของ
อุตสาหกรรมภาพยนตร์ Hollywood รวมถึงแนวคิดใหม่ๆ เช่น อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ในปี พ.ศ. 2550 และการ
ตั้งคาถามถึงการกระจุก ตั วของอุต สาหกรรมภาพยนตร์ ตั้งแต่ระบบการผลิต จนถึงการเผยแพร่ และการฉาย ซึ่ง
ส่งผลต่อการครอบงาธุรกิจภาพยนตร์และกลายเป็นปัจจัยสกัดกั้นการเติบโตของอุต สาหกรรมภาพยนตร์ (ดูเพิ่มเติ ม
อุณาโลม จันทร์รุ่งมณีกุล, 2561)

ปี พ.ศ. 2560 นิยามของภาพยนตร์มีการเปลี่ย นแปลงจากเดิ มที่ หมายถึงแผ่น ฟิล์ มเพีย งอย่า งเดียว ขยาย
ไปสู่สื่อใกล้เ คี ยง เนื่องจากการพัฒ นาของเทคโนโลยี ในระบบดิจิ ทั ล ส่งผลให้เกิด การเผยแพร่ ข้า มสื่อ หรื อ มี ก าร
เชื่อมโยงกัน มุมมองต่อภาพยนตร์จึงมีการเชื่อมโยงไปสู่ซีรีส์ คาแรคเตอร์ และอื่นๆ

สถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19 พ.ศ. 2563 ที่ผ่านมาส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมภาพยนตร์


ทั้งด้านข้อจากัดของกระบวนการผลิต การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้บริโภคไปสู่ร ะบบออนไลน์ นอกจากนี้ การ
ปรับตัวสู่ยุคดิจิ ทัล และการเปลี่ ยนแปลงการฉายภาพยนตร์ ใน ระบบออนไลน์ผ่ านแพลตฟอร์ มต่า งๆ โดยเฉพาะ
Platform จากต่างประเทศ เป็นการยกระดับมาตรฐานการผลิตภาพยนตร์สรู่ ะดับสากล ในขณะที่โอกาสดัง กล่ า ว
นามาซึ่งข้อเสียเปรียบของศิลปินไทยด้านทรัพย์สิทนทางปัญญา

16
3. แนวทางและขอบเขตการศึกษา

3.1. แนวทางการศึกษา
จาแนกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ การวิเคราะห์เอกสาร การสัมภาษณ์ และการสนทนากลุ่มย่อย (Focus Group)
ส่วนที่ 1 การวิเคราะห์ สารวจเอกสาร งานวิจัย ตาราที่เกี่ยวข้ อ งกับ อุ ตสาหกรรมภาพยนตร์ไ ทยและ
ต่ า งประเทศ เพื่ อ ส ารวจแนวคิ ด ปั ญ หา และต้ น แบบที่ ส ามารถน ามาประยุ ก ต์ ใ ช้ กั บ กรณี ข องประเทศไทย
โดยเฉพาะการสารวจกรณีตัวอย่างต้นแบบที่ดี (Best Practice) ของการบริหารจัดการภาพยนตร์ในต่างประเทศ
ส่ ว นที่ 2 การสั มภาษณ์ ผู้เ ชี่ ยวชาญด้ านอุ ต สาหกรรมภาพยนตร์ ไทย ตลอดโซ่ คุ ณค่ าของอุ ต สาหกรรม
ภาพยนตร์ ตั้งแต่ผู้เกี่ยวข้องด้านการผลิ ต การเผยแพร่ การฉาย และการบริโภค รวมถึงผู้เกี่ยวข้องทั้ งจากภา ครั ฐ
ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษา เพื่อทาความเข้าใจข้ อจากั ด และปัญหาของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย ก่อน
วิเคราะห์และนาเสนอแนวทางการแก้ไขข้อจากัดอย่างเหมาะสม
ส่วนที่ 3 การจัดสนทนากลุ่มย่อย ภายหลังจากการรวบรวม วิเคราะห์ และประมวลผลข้อมูลที่ ได้จากการ
สัมภาษณ์ เพื่อหาแนวทางแก้ ไขปัญหาที่ เกิ ดขึ้ น โดยเชิญผู้เชี่ย วชาญด้า นอุ ตสาหกรรมภาพยนตร์ไ ทย เพื่อ ระดม
ความคิดเห็น ข้อเสนอแนะในการวางแผนจัด ทายุ ท ธศาสตร์ก ารด าเนิน งาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ข้อ เสนอแน ะต่ อ
การบูรณาการให้การดาเนินงานของภาครัฐมีความสอดคล้อง และส่งเสริมอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ สาขาภาพยนตร์
ไทย

ทั้งนี้ เป้าหมายของการศึกษา ประกอบด้วย


(1) การทาความเข้าใจสถานการณ์ปัจจุบัน และสถานภาพของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย ประกอบด้ว ย
นิเวศอุตสาหกรรมภาพยนตร์ ธุรกิจและผู้เกี่ยวข้องในระบบนิเวศ รวมทั้งข้อจากัด และอุปสรรคหลักของการดาเนิ น
ธุรกิจในอุตสาหกรรมภาพยนตร์
(2) กรณีตัวอย่างของการบริหารจั ดการอุต สาหกรรมภาพยนตร์ ที่ประสบความสาเร็จ ของประเทศต่ า งๆ
ในระดับโลก
(3) การวิเคราะห์ และนาเสนอแนวทางวางแผนยุท ธศาสตร์ อุ ตสาหกรรมสร้า งสรรค์ ผ่านการวิเครา ะห์
ข้อมูลจากแหล่งปฐมภู มิ และทุติยภูมิ ทั้งเอกสาร และความเห็นของคณะผู้เชี่ ยวชาญที่ร่ว มความเห็น เพื่อสะท้ อ น
ประเด็นปัญหาและความต้ องการของอุ ตสาหกรรมที่เป็ นปัจจุบัน ประกอบด้วยการนาแผนยุทธศาสตร์ที่เ กี่ย วข้ อ ง
กับอุตสาหกรรมภาพยนตร์ ที่ มีอยู่ มาพิ จารณา และสังเคราะห์เ ป็ นแนวทางจั ดท าแผนยุท ธศาสตร์อุ ต สาหกร รม
ภาพยนตร์ต่อไป
(4) การวิ จั ย เพื่ อ ดาเนิน การ Mapping Data ส าหรั บ จั ด ท าฐานข้อ มู ล สนั บ สนุ นการด าเนิน งานและใช้
ประโยชน์ ข องอุ ต สาหกรรมภาพยนตร์ ไ ทย โดยเปรี ย บเที ย บกรณี ศึ ก ษากั บ ฐานข้ อ มู ล ที่ มี ใ นประเทศ และ

17
ต่างประเทศทีไ่ ด้มีการดาเนินงานในปัจจุ บัน เช่น หอภาพยนตร์ กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงการท่องเที่ย วและ
กีฬา และการสัมภาษณ์จากผู้เชี่ยวชาญ
(5) การกาหนดกรอบภารกิจ และบทบาทการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ สาขาภาพยนตร์ ในฐานะ
หน่วยงานส่งเสริ ม และสนับสนุน เศรษฐกิ จสร้ างสรรค์ ข องประเทศ โดยสานักงานส่ งเสริ มเศรษฐกิ จสร้ างสรร ค์
(องค์การมหาชน) หรือ สศส.

3.2. การกาหนดขอบเขตการศึกษาอุ ตสาหกรรมสร้างสรรค์สาขาภาพยนตร์ และวีดิทัศน์


ภาพยนตร์มีธรรมชาติ เป็ นทั้ ง ศิล ปะ ธุรกิจหรือพาณิ ชย์ และสื่อสารมวลชน โดยมุมมองภาพยนตร์ ต าม
แนวคิดเชิงศิลปะให้ค วามสาคัญ ต่อกระบวนการความคิดสร้า งสรรค์ ในขณะที่แนวคิดเชิง พาณิ ชย์ มุ่งประโยชน์ ข อง
งานด้ า นผลก าไร และสื่ อ มวลชนเป็ นอุ ต สาหกรรมและธุ รกิ จ สื่อ ซึ่ ง มี บ ทบาทด้ า นการถ่ ายทอดวั ฒ นธรรมและ
อุดมการณ์ อย่างไรก็ตาม การผลิตภาพยนตร์ในฐานะอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ต้องอาศัยทุนในการผลิต ดังนั้น การ
พิ จ ารณาภาพยนตร์ ใ นฐานะศิ ล ปะ พาณิ ช ย์ และธุ ร กิ จ สื่ อ แบบผสมผสาน กั น จึ ง เรี ย กว่ า พาณิ ช ย์ ศิ ล ป์
(Commercial Arts)

การพิจารณาภาพยนตร์ ในฐานะพาณิช ย์ศิ ลป์ ให้ความสนใจ ต่อ กระบวนการต่างๆ ตลอดโซ่คุ ณค่ า ของ
อุตสาหกรรม ใน 3 ขั้น ได้แก่ ด้านการผลิต การเผยแพร่ และการบริโภค ซึ่งมุ่งประโยชน์ด้านผลกาไร นอกจากนี้
สามารถพิจารณาละเอียดเฉพาะในโซ่อุ ตสาหกรรมภาพยนตร์ (The Film Value Chain) โดยขั้นตอนที่ 1 - 3 (ขั้น
การพั ฒ นาบท การหาแหล่ ง เงิ นทุ นหรื อการจัด การงบประมาณ และขั้ น การผลิ ต ) เป็ น ขั้ น ตอนที่ เ กี่ ยวข้ องกับ
ความคิดสร้างสรรค์และการผลิต ส่งผลให้ผู้กากับภาพยนตร์มีบทบาทสาคั ญในการกาหนดแนวทางศิล ปะควบคู่ กั บ
การเป็นผู้อานวยการสร้าง ในขณะที่ขั้นตอนที่ 4 - 6 (ขั้นตอนการจัดจาหน่าย ขั้นตอนการเผยแพร่ และขั้นตอน
การบริโภค) เป็นการบริหารจัดการหลัง กระบวนการผลิ ตภาพยนตร์ เ กี่ยวข้อ งกั บการตลาด การจัดจาหน่าย การ
ฉาย และการบริโภค ซึ่งเกี่ยวข้องกับเจ้าของภาพยนตร์ บริษัทสร้างภาพยนตร์หรือสตูดิโอ ยกเว้นภาพยนตร์กระแส
ทางเลื อ กหรื อ ภาพยนตร์ อิ ส ระที่ ผู้ ก ากับ ภาพยนตร์ และผู้ อ านวยการสร้า ง ที่ ต้ อ งทาหน้า ที่ บ ริห ารจัด การด้วย
นอกจากนี้ ในขั้นตอนการบริโภคสื่ อภาพยนตร์ยั งสั ม พัน ธ์กั บองค์ กรอื่ นๆ เช่น หอภาพยนตร์ และคณะกรร มการ
พิ จ ารณาภาพยนตร์ เนื่ อ งจากการเปลี่ย นแปลงของภู มิทัศ น์ สื่อ และเทคโนโลยี ดิ จิทั ล ส่ ง ผลให้รู ปแบบการจัด
จาหน่ายผ่านวีดิทัศน์ (เช่น วิดีโอเทป ซีดี ดีวีดี) ลดลงจากการจัดจาหน่ายในตลาดสื่ อภาพยนตร์ โดยปรับเปลี่ ย น
รูปแบบการเผยแพร่ผ่านโรงภาพยนตร์ และสื่อใหม่ (Streaming และ Over the Top หรือ OTT) เป็นหลัก
นอกจากการศึกษาความสร้า งสรรค์ ภายในอุ ตสาหกรรมภาพยนตร์ ข้ างต้น มีธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น
การรั บ จ้ า ง (Outsourcing) การบริ ก ารระหว่ า งการผลิ ต (Production) และการบริ ก ารหลั ง การผลิ ต (Post
production) รวมทั้ ง บริ ก ารถ่ า ยท าภาพยนตร์ต่ า งประเทศใน ประเทศไทยทั้ ง โดยภาคเอกชน และภาครัฐ มี

18
หน่วยงานส่งเสริมการถ่ายทาภาพยนตร์ใ นประเทศ การจัดเทศกาลภาพยนตร์และการประกาศรางวัล การแข่งขัน
การถ่ายทาภาพยนตร์สั้นในประเทศไทย การจัดฉายภาพยนตร์ต่างประเทศที่ถ่ายทาในประเทศไทย การสนับสนุน
เชื่อมโยงกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
เมื่อพิจารณาจากบทบาทหน้า ที่ข อง สศส. ในการสนับสนุนและพั ฒนาอุ ตสาหกรรมสร้างสรรค์ สาขา
ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ การศึกษาวิจัยครั้งนี้จึงกาหนดขอบเขตและตัวแปรของการศึ กษาไว้ดั งนี้

ภาพที่ 1 ขอบเขตการศึก ษา 3 ระดับ เพื่อเสนอแนวทางการการจัดทาแผนและฐานข้อมู ลพั ฒนา และ


ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาพยนตร์ และวีดิทัศน์ (วิเคราะห์โดยคณะทางาน)

ทั้งนี้ นิยามของคาศัพท์ที่เกี่ยวข้องในการศึกษานี้ ได้กาหนดขอบเขตไว้ รายละเอียดกล่าวคือ


1. ภาพยนตร์ หมายถึ ง ภาพฉายด้ ว ยเครื่ อ งท าให้ เ ห็ น เป็ น ภา พเคลื่ อ นไหวได้ หรื อ หนั ง ฉา ย
(พจนานุกรมไทย ราชบัณฑิตยสถาน ปี พ.ศ. 2555) ในฐานะผลผลิตของอุต สาหกรรมสร้างสรรค์ข องประเทศไทย
โดยศึ ก ษาภาพยนตร์ก ระแสหลั ก ภาพยนตร์นอกกระแส ภาพยนตร์แอนิ เ มชัน ที่ ผ ลิ ต โดยบริ ษั ทภาพยนตร์ใน
ประเทศไทย และ/หรือ ร่วมมือกับหน่วยงานต่า งประเทศ และผู้สร้างภาพยนตร์อิสระชาวไทย สาหรับฉายในโรง
ภาพยนตร์หรือช่องทางสื่อสาธารณะทั้งในและนอกประเทศ นอกจากนั้น ปัจจุบันความหมายของภาพยนตร์ ขยาย
ไปสู่อุตสาหกรรมคอนเทนต์ ซึ่งจะรวมถึง ซีรีส์ซึ่งฉายในช่องทางโทรทัศน์และออนไลน์
2. ห่วงโซ่อุตสาหกรรมภาพยนตร์ หมายถึง กระบวนการพัฒ นาบท ขั้นการหาแหล่ ง เงิ นทุ นหรื อ การ
จัดการงบประมาณ ขั้นการผลิต ขั้นการเผยแพร่/จัดจาหน่าย ขั้นการฉาย และขั้นการบริโภค และการเผยแพร่ผ่า น

19
โรงภาพยนตร์ ช่องทางสื่อสาธารณะ และสื่อใหม่ (เช่น Streaming และ Over the Top หรือ OTT) เป็นหลัก โดย
เน้นศึกษาผลิตเนื้อหาที่สร้างสรรค์ (Creative Contents) และแรงงานสร้างสรรค์ (Creative Labors)
3. ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกั บภาพยนตร์ หมายถึง ธุรกิจที่สร้างมูลค่าเพิ่มโดยใช้ ความคิ ดสร้า งสรรค์ เป็น ต้ น ทุ น
เพื่อผลิตเนื้อ หาที่ส ร้า งสรรค์ (Creative Contents) อันเกี่ยวเนื่ องกั บการพั ฒนาแรงงานสร้ างสรรค์ (Creative
Labors) อาทิ การจัดจ้างคนภายนอก (Outsourcing) การบริการระหว่างการผลิต (Production) และการบริการ
หลังการผลิต (Post Production) และการพัฒนาพื้นที่สร้างสรรค์ (Creative Space) เช่น กิจกรรมการให้บริการ
ถ่ายทาภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทยทั้งโดยภาคเอกชน และภาครัฐ และการพัฒนาเป็นพื้นที่ท่องเที่ยวทาง
วัฒนธรรม
4. ระบบนิเวศอุตสาหกรรมภาพยนตร์ หมายถึง ระบบสังคมและบรรยากาศที่ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
สาหรับการพัฒนาอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย เช่น การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ทรัพยากรมนุษย์และทรัพยากรใน
ท้องถิ่น การสร้างบรรยากาศที่กระตุ้นให้เ กิด ความคิ ดสร้างสรรค์ การสนับสนุนทางการเงิน กฎหมายและนโยบาย
การส่ ง เสริ มและก ากั บดู แ ลจากภาครัฐ บาล โดยเน้ นเฉพาะประเด็ น ปัญ หาอุ ป สรรคในการส่ งเสริมและพัฒนา
อุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยด้วยความคิดสร้างสรรค์ และข้อเสนอแนะด้านยุทธศาสตร์ ความเป็นไปได้และโอกาสที่
เกี่ยวกับการใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการส่งเสริมและพัฒนา

ภาพที่ 2 แสดงขอบเขตและตัว แปรในการศึ ก ษาเพื่อ เสนอแนวทางการการจั ดท าแผนและฐานข้ อมู ลพั ฒ นา


และส่งเสริมอุตสาหกรรมภาพยนตร์ และ (วิเคราะห์โดยคณะทางาน)

20
การศึกษาข้อมูลเพื่อวางแนวทางการจัดทาแผนพัฒนาอุ ตสาหกรรมสร้างสรรค์สาขาภาพยนตร์และวี ดิ ทั ศ น์
มี วั ต ถุ ป ระสงค์ เ พื่ อ รวบรวมข้ อ มู ล และศึ ก ษาวิ เ คราะห์ เ อกสารวิ ชาการต่ างๆ ที่ เ กี่ ย วข้อ ง รวมทั้ ง การประมวล
สถานการณ์ ข้อจากัด ปัญหา อุปสรรค และปัจจัยผลกระทบต่อการดาเนินธุรกิจของผู้ประกอบการในอุ ตสาหกรรม
ภาพยนตร์ และวีดิทัศน์ (Film and Video) อย่างเป็นระบบและสามารถนาไปปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม และเพื่ อ
จัดทาแนวทางการรวบรวมข้อมูลและสถิ ติที่ เกี่ยวข้อง ตลอดจนมุ่งพัฒนายุทธศาสตร์และข้ อเสนอแนะเชิ งนโยบาย
ในการส่งเสริมผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมสาหรับอุตสาหกรรมภาพยนตร์และวี ดิทัศน์ (Film and Video)

อย่างไรก็ตาม ภูมิทัศน์สื่อ และเทคโนโลยีดิจิทัลในปัจจุบันได้มีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงไปมาก ส่งผลให้


รูปแบบการจัดจาหน่ายสื่ อผ่า นวี ดิ ทั ศน์ (เช่น วิดีโอเทป ซีดี ดีวีดี) มีจานวนลดลง ในส่วนของภาพยนตร์ มีการ
ปรับเปลี่ยนรูป แบบเป็น การเผยแพร่ ผ่านช่ องทางโรงภาพยนตร์ และสื่อใหม่ (Streaming และ Over the Top
หรือ OTT) เป็นหลัก จากการศึกษาข้อมูลของประเทศสหรั ฐอเมริ กา ช่วงระยะเวลา 2 ไตรมาสแรก ของปี 2563
พบว่ า การจ าหน่า ยภาพยนตร์ รูป แบบดิ จิ ทั ลมี มูล ค่ า 1.6 พั น ล้ า นเหรี ยญดอลล่ าร์ส หรั ฐ ขณะที่ ย อดจ าหน่าย
ภาพยนตร์ในรูปแบบดีวีดีและบลูเรย์อยู่ที่ 1.275 พันล้านเหรียญดอลลาร์สหรั ฐ โดยข้อมูลระบุว่ามูล ค่าตลาดดี วี ดี
และบลูเรย์หดตัวลงอย่างต่อเนื่องทุกปี2

นอกจากนี้ สภาวะการถดถอยของตลาดวีดิทัศ น์ ยังสะท้อนผ่านการประกาศเลิกผลิต หรือเลิกจัดจาหน่าย


วี ดิ ทั ศ น์ อี ก ด้ ว ย ตั ว อย่ า งเช่ น Sony Digital Audio Disc Corporation (Sony DADC) ได้ ป ระกาศแถลงการณ์
ข้อเสนอปิดศูนย์ผลิตแผ่นออดิโอดิสก์ ซึ่งตั้งอยู่ทางลอนดอนเหนือ เมืองแอนฟิลด์ โดยมีสาเหตุมาจากความนิ ย มใน
การใช้บริการ Streaming เพลงและวิดีโอมีมากกว่า การรับ ชม/รับ ฟั งผ่านวี ดิทั ศน์ โดยก่อนหน้านั้น มีการปิดศู น ย์
ผลิตฯ แห่งแรก ซึ่งตั้งอยู่ ณ รัฐอินเดียนา ประเทศสหรัฐอเมริ กาแล้ว เช่ นกัน3 อีกตัวอย่างหนึ่ ง คือ Samsung มี
แนวโน้ มที่ จ ะประกาศเลิ ก จาหน่ ายเครื่อ งเล่ น Blu-ray เนื่ อ งจากความนิ ยมรั บ ชม/รั บ ฟั ง สื่อ บั น เทิ ง จากระบบ
Streaming เพิ่มสูงขึ้น4 รวมทั้งการที่หลายประเทศในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก ไม่ได้รับการต่อลิขสิทธิ์จากค่ายดิ ส นี ย์
ซึ่งเป็นผู้ถือลิขสิทธิ์ภาพยนตร์ค่าย 20th Century Fox ส่งผลให้ภาพยนตร์ในรูปแบบวีดิทัศน์จากสองค่ายดั ง กล่ า ว
ไม่มีการใส่เสียงพากษ์ไทย และตัวอักษรบรรยายไทยอีก เป็นต้น5

ขณะที่การเติบโตของธุร กิจให้บริการแพร่ ภาพกระจายเสียงผ่านโครงข่า ยอิน เทอร์เน็ ต หรือ “Over-the-


Top TV” (OTT TV) มีอัตราการเติ บโตอย่า งต่อ เนื่ อ ง สวนทางกับภาวะถดถอยของวีดิ ทั ศน์ จากข้อมูลของ We

2
https://www.flatpanelshd.com/news.php?subaction=showfull&id=1598597088
3
https://thestandard.co/sony-proposes-closure-of-cd-blu-ray-uk-distribution-plant/
4
https://www.brandage.com/article/10593/Samsung
5
https://voicetv.co.th/read/jMx01oPi0

21
Are Social ระบุว่า 2 ไตรมาสแรกของปี 2563 ทั่วโลกใช้งานระบบ Streaming เพื่อรับชมรายการต่างๆ เพิ่มขึ้ น
กว่าร้อยละ 54 และประเภท Digital Content ที่ได้รับความนิย มสูง ที่สุ ดจากผู้ บริโ ภค คือ การรับชมภาพยนตร์
และรายการโทรทัศน์ (ร้อยละ 28)6 ด้วยเหตุผลดังกล่าวนี้ การศึกษาข้อมูลของอุ ตสาหกรรมภาพยนตร์จึ งเน้ น ให้
ความสาคัญกับภาพยนตร์ที่เผยแพร่ผ่านระบบ Streaming

6
https://www.infoquest.co.th/thailand-media-landscape-2021/ott-tv

22
4. สถานการณ์ของอุตสาหกรรมภาพยนตร์

4.1 มูลค่าทางเศรษฐกิจของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์
รายงานประมวลผลมูลค่าทางเศรษฐกิจ ของอุตสาหกรรมสร้างสรรค์จาแนกตามสาขาการผลิ ต และข้อมู ล
จานวนแรงงานที่อยู่ ในกลุ่ มอุต สาหกรรมสร้า งสรรค์ โดย ศูนย์บริการวิชาการเศรษฐศาสตร์ คณะเศรษฐศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ระบุว่า ตัวเลขการจ้างงานของอุต สาหกรรมสร้า งสรรค์ของประเทศไทย ปี 2560 รวม
ทั้งสิ้น 826,026 คน โดยมีแรงงานสร้า งสรรค์ใ นอุ ตสาหกรรมสาขาภาพยนตร์ และวี ดิทั ศน์ และสาขาซอฟต์ แ วร์
จานวน 69,250 คน หรือคิดเป็นร้ อยละ 8.4 ของแรงงานสร้า งสรรค์ ทั้ งหมด ขณะทีร่ ายได้ เ ฉลี่ ยของแรงงา นใน
อุตสาหกรรมสาขาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ และสาขาซอฟต์แวร์มีรายได้เฉลี่ย 12,873 บาทต่อคนต่อเดือน เห็นได้ว่า
อุ ต สาหกรรมสาขาภาพยนตร์ แ ละวี ดิ ทั ศ น์ และสาขาซอฟต์ แ วร์ เป็ น อุ ต สาหกรรมที่ มีมูล ค่ า และอั ต ราการ
เจริญเติบโตที่ค่อ นข้างน้อย เมื่อเทียบกับอุ ตสาหกรรมสร้างสรรค์สาขาอื่น และในด้านการจ้างงาน อุตสาหกรรม
สร้างสรรค์สาขาภาพยนตร์ และซอฟต์แวร์ นับเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่ มีรายได้ เฉลี่ย ต่อ คนต่อ เดื อนน้ อยที่ สุ ด เป็ น
อันดับ 2 รองจากอุตสาหกรรมงานฝีมือและหัตถกรรม

นอกจากนี้ ข้อมูลรหัสอาชีพตามมาตรฐานสากล (ISCO – 08) ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO)


ทีใ่ ช้ในการจัดประเภทข้อ มู ลอาชีพในโครงการสามะโนและส ารวจต่างๆ โดยสานักงานสถิติแ ห่ง ชาติ ระบุว่าในปี
2561 ประเทศไทยมีบุ คลากรทีป่ ระกอบอาชี พในสาขา “ภาพยนตร์ โทรทัศน์ วีดิทัศน์ วิทยุ และการถ่ายภาพ”
จานวน 36,295 คน แบ่งเป็นคนที่อยู่ในระบบ 25,266 คน (ร้อยละ 69.61) และนอกระบบ 9,905 คน (ร้อยละ
27.29) และไม่ระบุ 1,124 คน (ร้อยละ 3.10) กลุ่มนี้ได้รับเงินเดือนเฉลี่ย 21,627 บาทต่อคนต่อเดือน ผู้กากับและ
ผู้ผลิตภาพยนตร์ ละคร และงานสาขาอื่นๆที่ เกี่ย วข้ อง (SIC2654) ช่างถ่ายภาพ (SIC3431) ช่างเทคนิคด้านการ
แพร่ ภ าพกระจายเสี ย งและโสตทั ศ นู ป กรณ์ (SIC3521) อย่ า งไรก็ ต าม ข้ อ มู ล ที่ ร วบรวมได้ ไ ม่ จ าแนกแรงงาน
สร้างสรรค์และรายได้ เ ฉพาะของบุ คลากรจากอุ ตสาหกรรมสาขานี้ ทาให้อาจไม่สามารถระบุข นาดของแร งงาน
สร้างสรรค์สาขานี้ไ ด้ อย่า งชั ดเจน สาหรับมาตรฐานอุ ต สาหกรรมประเทศไทย (Thailand Standard Industrial
Classification : TSIC) โดยกระทรวงอุตสาหกรรม ระบุว่า มูลค่ารวมอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ของไทย ปี 2561 มี
ค่าเท่ากับ 1,461,788 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 8.93 เทียบกับ GDP ของประเทศ แต่มูลค่าของอุ ตสาหกร รม
ภาพยนตร์และวีดิทัศน์มีมูลค่าเพียง 2,421 ล้านบาท ซึ่งนับว่าน้อยกว่าอุตสาหกรรมสร้างสรรค์สาขาอื่นๆ

การศึกษานี้ เพื่อทาความเข้าใจบริบทของอุ ตสาหกรรมสาขาภาพยนตร์ และนาเสนอแนวทางที่เหมาะสม


ส าหรั บ การก าหนดแนวทางการพั ฒ นาเพื่ อ เสริ มสร้า งความแข็ ง แกร่ ง ให้ กั บ อุ ต สาหกรรม และช่ ว ยยกระดับ
ความสามารถของแรงงานเพื่อการวางแผนพัฒนาศักยภาพของอุ ตสาหกรรมสาขาภาพยนตร์ ให้ยั่งยืนต่ อไป

23
4.2 ผลประกอบการของอุตสาหกรรมภาพยนตร์
ลักษณะทั่วไปของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย มักให้ความสนใจต่อมิติด้านเศรษฐศาสตร์ ซึ่งเน้นการสร้าง
รายได้ของภาพยนตร์ นอกจากนี้ จานวนการเข้ามาถ่ายทาภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย สะท้อนให้เห็นว่ า
อุตสาหกรรมภาพยนตร์สามารถสร้างรายได้ให้ประเทศไทยจานวนมาก รวมถึงตัวชี้วัดอื่นๆ อาทิ ผลงานภาพยนตร์
ที่ ไ ด้ รั บ ความนิ ย มในต่ างประเทศ หรื อ รางวั ล ที่ ได้ รั บ จากหน่ วยงาน หรื อ สถาบั นระดั บ สากล เช่ น ภาพยนตร์
ทางเลือกของอภิชาตพงศ์ วีระเศรษฐกุล

ปั จ จุ บั น ข้ อ มู ล เชิ ง ปริมาณเกี่ ย วกั บ อุต สาหกรรมภาพยนตร์ ได้ แ ก่ สถิ ติ ต่ างๆ ซึ่ ง รวบรวมโดยสมาพันธ์
สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติ ไม่สามารถจัดเก็บได้ต่อเนื่อง บางรายการไม่เ ป็นปัจจุบัน และยังไม่มีแนวทางมาตรฐาน
ของระเบียบวิธีการจัดเก็บ ข้อ มูลดั งกล่าว จึงพบว่าข้อมูลบางรายการอาจไม่สอดคล้อ งกัน เนื่องจากแหล่งที่มาของ
ข้อมูลมีความหลากหลาย

อย่างไรก็ตาม ข้อมูลที่สืบค้นได้ทางเว็บ ไซต์ ของสมาพัน ธ์ส มาคมภาพยนตร์แห่ งชาติ (2561) ข้อมูลสถิ ติ ที่
เกี่ยวข้องกับอุ ตสาหกรรมภาพยนตร์ป ระจาปี 2560 ประกอบด้วยข้อ มูล ที่น่าสนใจ ได้แก่ จานวนผู้ประกอบการ
มูลค่าและสัดส่วนรายได้ข องอุตสาหกรรมภาพยนตร์ รายได้จากการฉายภาพยนตร์ และผลประกอบการย้อ น หลั ง
ของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ แสดงรายละเอียดดังนี้

ตารางที่ 2 จานวนผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ ไทยประจ าปี พ.ศ. 2560


รวบรวมโดยสมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติ
หน่วยธุรกิจ : ราย
อุตสาหกรรมภาพยนตร์ พ.ศ. 2559 พ.ศ. 2560
ธุรกิจผู้สร้างภาพยนตร์ไทยและผู้รับสิทธิ์เผยแพร่จัดจาหน่ายภาพยนตร์ 59 59
ต่างประเทศในประเทศไทย
ธุรกิจสนับสนุนการผลิตภาพยนตร์ 463 481
ธุรกิจตัดต่อภาพยนตร์และเสียง 59 62
ธุรกิจโรงภาพยนตร์ 23 23
ธุรกิจผลิตและจัดจาหน่ายภาพยนตร์ประเภทแผ่นบันทึกวีดิทัศน์ 12,660 8,146
ธุรกิจวีดิโอออนดีมานด์ 12 23
รวมจานวนผู้ประกอบการในอุ ตสาหกรรมภาพยนตร์ 13,276 8,794

24
จานวนผู้ประกอบการ
ข้อมูลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าจานวนผู้ประกอบการในอุต สาหกรรมภาพยนตร์ลดลงจาก 13,276 ราย ในปี
2559 เหลือ 8,794 ราย ในปี 2560 โดยเฉพาะกลุ่ มธุร กิจผลิ ตและจัดจาหน่ายภาพยนตร์ ประเภทแผ่นบั น ทึ ก วี ดิ
ทัศน์ ซึ่งอาจเนื่องมาจากการเติบโตของระบบ Streaming นอกจากนี้ กลุ่มธุรกิจสนับสนุนการผลิตภาพยนตร์ แ ละ
ธุรกิจการตัดต่อภาพยนตร์และเสียง ผู้ประกอบการสามารถต่อยอดและขยายธุรกิจสู่ การสนับสนุน อุตสาหกรรมอื่ น
เช่น โทรทัศน์ สอดคล้องตามการประมวลผลทางสถิ ติข องรายงานการจัด เก็ บสถิติ ข้อ มูล มู ลค่า อุ ตสาหกรร มคอน
เทนต์และฐานข้อ มู ลผู้ ประกอบการกิจ การในอุต สาหกรรมคอนเทนต์ ประจาปี 2563 ซึ่งรวบรวมโดย บริษัท ฐิติ
ธนฤติ จากัด สมาคมไทยธุรกิจอิ เล็ คโทรนิค บันเทิง สมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แ ห่งชาติ และกระทรวงวัฒน ธรรม
(2564) ตารางที่ 3 ขยายขอบเขตจ านวนผู้ ป ระกอบการไปยั ง กลุ่ ม แอนิ เ มชั น รวมถึ ง สรุ ป ภาพรวมรายได้
อุตสาหกรรมภาพยนตร์และแอนิเมชันของประเทศไทย ดังนี้

ตารางที่ 3 จานวนบุคลากรและรายได้ใ นอุ ตสาหกรรมภาพยนตร์ แ ละแอนิ เมชันของประเทศไทย ในปี พ.ศ.


2560 รวบรวมโดยสมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติ
จานวนผู้ประกอบการ รายได้ จานวนบุคลากร
อุตสาหกรรม
(ราย) (ล้านบาท) (คน)
ภาพยนตร์ 8,794 26,039 22,000
แอนิเมชัน 125 รวมกับภาพยนตร์ 4,600

บุคลากรในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ ปี 2560 มีจานวน 22,000 คน ซึ่งมากกว่าบุคลากรในอุ ตสาหกรรม


แอนิ เ มชั น ประมาณ 5 เท่ า ประเด็ น ที่ น่ า สนใจ คื อ อุ ต สาหกรรมแอนิ เ มชั น เป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ของอุ ต สาหกรรม
ภาพยนตร์ โดยรับงานในลักษณะ Production House หรือรับจ้างการผลิตและรั บจ้างการตัด ต่อ หรื อทาเทคนิ ค
พิเศษ (ดูเพิ่มเติม รักสานต์ วิวัฒน์สินอุดม, 2554) และข้อมูลจากเอกสารรายงานการจัดเก็บสถิติมูลค่าอุตสาหกรรม
คอนเทนต์และฐานข้ อมู ลผู้ประกอบการกิจ การในอุต สาหกรรมคอนเทนต์ประจาปี 2563 (บริษัท ฐิติธนฤติ จากัด
สมาคมไทยธุร กิจอิ เ ล็ คโทรนิ ค บัน เทิ ง สมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แ ห่ง ชาติ และกระทรวงวั ฒ นธรรม, 2564) ได้
รวบรวมข้อมูลของอุต สาหกรรมภาพยนตร์ เ พิ่ มเติ มปี 2562 – 2563 แบ่งตามประเภทกิจกรรมของอุ ตสาหกรรม
สอดคล้องกับรหัส TSCI และพิจารณาภาพยนตร์ในฐานะอุ ตสาหกรรมที่ สามารถขยายไปสู่อุต สาหกรรมเกี่ยวเนื่ อ ง
อื่ น ๆ เช่ น โทรทั ศ น์ หรื อ ซี รี ส์ โดยจ าแนกข้ อ มู ล เป็น ธุร กิ จภาพยนตร์ โดยตรง และขยายสู่ ธุร กิ จที่ เ กี่ ยวข้ องทั้ง
ภาพยนตร์และโทรทัศ น์ การดูแลสิทธิ์หลังการผลิต การจัดฉาย ธุรกิจให้เช่าอุปกรณ์ การดูแลดารานักแสดง งาน
ประสานงานกองถ่าย รายละเอียดแสดงดังตารางที่ 4

25
ตารางที่ 4 จานวนผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ ไทยประจ าปี พ.ศ. 2561- พ.ศ. 2563 7
จานวนผู้ประกอบการ (ราย)
อุตสาหกรรมภาพยนตร์
2561 2562 2563
ธุรกิจการผลิตภาพยนตร์และวีดิทัศน์ N/A 1,006 1,031
ธุรกิจการเผยแพร่ภาพยนตร์และวีดิทัศน์และรายการโทรทัศน์ N/A 62 62
ธุรกิจการดูแลสิทธิในการผลิตซ้าภาพยนตร์วีดิทัศน์และ N/A 32 32
รายการโทรทัศน์เพื่อจาหน่ายหรือเผยแพร่
ธุรกิจภายหลังการผลิตภาพยนตร์วีดิทัศน์และรายการโทรทัศน์ N/A 47 48
(Post-Production)
ธุรกิจการบริการตัดต่อภาพและเสียง (Visual and Sound Effect) N/A 173 176
ธุรกิจการบันทึกเสียงลงบนสื่อ (Sound Lab) N/A 173 173
ธุรกิจด้านการจัดฉายภาพยนตร์ N/A 70 70
ธุรกิจให้บริการชมภาพยนตร์ผ่านทางออนไลน์ N/A 11 11
(Movie Streaming Services)
ธุรกิจการจัดฉายภาพยนตร์นอกสถานที่ (ฉายหนังกลางแปลง) N/A N/A N/A
ธุรกิจให้เช่าอุปกรณ์การถ่ายทาภาพยนตร์ N/A 59 59
ธุรกิจของบริษัทตัวแทนและสานักงานคัดเลือกนักแสดง N/A 416 422
ธุรกิจกลุ่มสนับสนุนการผลิตภาพยนตร์ หรือให้บริการกองถ่ายทา N/A N/A 414
ภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย
(ประสานงานกองถ่ายต่างประเทศ)
ธุรกิจการบริการทาคอมพิวเตอร์กราฟฟิกแอนิเมชั่น N/A 223 227
และเทคนิคพิเศษ
ธุรกิจการผลิตซ้าสื่อบันทึก N/A N/A 183
ธุรกิจการขายส่งสื่อบันทึกเสียงและวีดิทัศน์ที่บันทึกข้อมูลแล้ว N/A N/A 92

7วิเคราะห์จากเอกสารรายงานการจัดเก็บสถิติข้อมูลมูลค่าอุตสาหกรรมคอนเทนต์และฐานข้อมูลผู้ประกอบการกิจการใน
อุตสาหกรรมคอนเทนต์ประจาปีพ.ศ. 2563 (บริษัทฐิติธนฤติจากัด สมาคมไทยธุรกิจอิเล็คโทรนิคบันเทิง สมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์
แห่งชาติ และกระทรวงวัฒนธรรม, 2564)

26
จานวนผู้ประกอบการ (ราย)
อุตสาหกรรมภาพยนตร์
2561 2562 2563
ธุรกิจการขายปลีกสื่อบันทึกเสียงเพลงและสื่อบันทึกวีดิ ทัศน์ใน N/A N/A 65
ร้านค้าเฉพาะ (ร้านคาราโอเกะ)
รวมผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ N/A 2,272 3,065

ภาพที่ 3 แสดงจานวนรวมผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ในปี พ.ศ. 2562 และ พ.ศ. 2563

27
ภาพที่ 4 แสดงจานวนผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ ไทยประจาปี พ.ศ. 2562 และ พ.ศ. 2563 8

ดังนั้น ตัวเลขผู้ประกอบการอุต สาหกรรมภาพยนตร์ ปี พ.ศ. 2563 คือ 3,065 ราย แม้ว่า ข้อมูลดังกล่ า ว
จะแสดงให้เห็นถึงนิ เวศอุ ตสาหกรรมภาพยนตร์ที่ก ว้างขึ้ น แต่ จานวนกลับลดลงจากปี พ.ศ. 2560 คือ 8,794 ราย
หรือลดลงมากกว่าสองเท่า เหตุผลหลัก คือ การจัดจาหน่ายสื่อบันทึกเสียงและวีดิทัศน์ที่ลดลงไป

มูลค่าและสัดส่วนรายได้ของอุตสาหกรรมภาพยนตร์
ในที่นี้ได้วิเคราะห์ รายได้ โดยใช้เ อกสาร 2 ส่วนคือ สมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์ แห่ งชาติ ในปี พ.ศ. 2560
และเอกสารรายงานการจั ด เก็ บสถิติ ข้อ มู ล มูล ค่า อุต สาหกรรมคอนเทนต์แ ละฐานข้ อ มูล ผู้ป ระกอบการกิจ การใน
อุ ต สาหกรรมคอนเทนต์ ป ระจ าปี พ.ศ. 2563 (บริ ษั ท ฐิ ติ ธ นฤติ จ ากั ด สมาคมไทยธุ ร กิ จ อิ เ ล็ ค โทรนิ ค บันเทิง
สมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติ และกระทรวงวัฒนธรรม, 2564) เป็นหลัก

จากเอกสารของสมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แ ห่งชาติ ในช่วงปี พ.ศ. 2560 รายได้ทั้งหมดของอุตสาหกรรม


ภาพยนตร์ คิดเป็น 26,039.52 ล้านบาท ดังตารางที่ 5

8 เรื่องเดียวกัน

28
ตารางที่ 5 รายได้จากกิจกรรมต่างๆ ในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย ในปี พ.ศ. 2560
รวบรวมโดยสมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติ
อุตสาหกรรมภาพยนตร์ รายได้ (ล้านบาท)
การฉายภาพยนตร์ในโรงภาพยนตร์ (กรุงเทพฯ ปริมณฑล และเชียงใหม่) 3,974.52
จาหน่ายเครื่องดื่มและสแน็กในโรงภาพยนตร์ 2,384
โฆษณาในโรงภาพยนตร์ 6,807
ธุรกิจบริการกองถ่ายทาต่างประเทศในประเทศไทย 3,074
Post production, Sound lab, Visual effect, Animation 7,000
การให้สิทธิ์เผยแพร่ภาพยนตร์ไทยในต่างประเทศ 200
การจาหน่ายวีดิทัศน์ภาพยนตร์ไทยและต่างประเทศ 1,000
การให้สิทธิ์ในการจาหน่ายสินค้าคาแรคเตอร์และการสร้างสรรค์งาน 1,600
รวม 26,039.52

ข้อมูลจากรายงานการจัดเก็บสถิติข้อมูลมูลค่าอุ ตสาหกรรมคอนเทนต์และฐานข้อมูล ผู้ประกอบการกิจ การ


ในอุตสาหกรรมคอนเทนต์ป ระจาปี พ.ศ. 2563 (บริษัท ฐิติธนฤติ จากัด สมาคมไทยธุร กิจ อิ เ ล็ คโทรนิค บั น เทิ ง
สมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แ ห่ งชาติ และกระทรวงวัฒ นธรรม, 2564) พบว่า มูลค่าและรายได้ข องอุ ตสาหกรรม
ภาพยนตร์ มีการเปลี่ยนแปลงใน ปี พ.ศ. 2561-2563 รวมถึงมีความเปลี่ยนแปลงของรายละเอียดการจาแนกใหม่
ดังตารางดังนี้

ตารางที่ 6 จานวนรายได้อุตสาหกรรมภาพยนตร์ ไทยประจาปี พ.ศ. 2561-พ.ศ. 2563 9


รายได้ (ล้านบาท)
ธุรกิจในอุตสาหกรรมภาพยนตร์
2561 2562 2563
ธุรกิจการผลิตภาพยนตร์และวีดิทัศน์ N/A 9,543 N/A
ธุรกิจการเผยแพร่ภาพยนตร์และวีดิทัศน์และ
รายการโทรทัศน์ N/A 1,343 N/A

9ประยุ ก ต์ จ ากเอกสารรายงานการจั ดเก็ บ สถิติข้ อ มูล มูล ค่ าอุ ตสาหกรรมคอนเทนต์ แ ละฐานข้ อ มูล ผู้ ประกอบการกิ จการใน
อุตสาหกรรมคอนเทนต์ประจาปีพ.ศ. 2563 (บริษัทฐิติธนฤติจากัด สมาคมไทยธุรกิจอิเล็คโทรนิคบันเทิง สมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์
แห่งชาติ และกระทรวงวัฒนธรรม, 2564)

29
รายได้ (ล้านบาท)
ธุรกิจในอุตสาหกรรมภาพยนตร์
2561 2562 2563
ธุรกิจการดูแลสิทธิในการผลิตซ้าภาพยนตร์วีดิทัศน์
และรายการโทรทัศน์เพื่อจาหน่ายหรือเผยแพร่ N/A 563 N/A
ธุรกิจภายหลังการผลิตภาพยนตร์วีดิทัศน์และ
รายการโทรทัศน์ (Post-Production) N/A 486 N/A
ธุรกิจการบริการตัดต่อภาพและเสียง (Visual and
Sound Effect) N/A 1,474 N/A
ธุรกิจการบันทึกเสียงลงบนสื่อ (Sound Lab) N/A 1,013 N/A
ธุรกิจด้านการจัดฉายภาพยนตร์ N/A 16,373 N/A
ธุรกิจให้บริการชมภาพยนตร์ผ่านทางออนไลน์
(Movie Streaming Services) N/A N/A 38,604
ธุรกิจการจัดฉายภาพยนตร์นอกสถานที่ (ฉายหนัง
กลางแปลง) N/A N/A 180
ธุรกิจให้เช่าอุปกรณ์การถ่ายทาภาพยนตร์ N/A 1,211 N/A
ธุรกิจของบริษัทตัวแทนและสานักงานคัดเลือก
นักแสดง N/A 2,520 N/A
ธุรกิจกลุ่มสนับสนุนการผลิตภาพยนตร์ หรือ
ให้บริการกองถ่ายทาภาพยนตร์ต่างประเทศใน 3,139 4,864 1,748
ประเทศไทย (ประสานงานกองถ่ายต่างประเทศ)
ธุรกิจการบริการทาคอมพิวเตอร์กราฟฟิก แอนิ
N/A 1,801 N/A
เมชั่นและเทคนิคพิเศษ
อุตสาหกรรมแอนิเมชั่น 3,738 3,494 3,177
อุตสาหกรรมคาแรคเตอร์ 2,197 2,146 2,023
ธุรกิจการผลิตซ้าสื่อบันทึก N/A 1,539 N/A
ธุรกิจขายส่งสื่อบันทึกเสียงและวีดิทัศน์ที่บันทึก
N/A 2,695 N/A
ข้อมูลแล้ว

30
รายได้ (ล้านบาท)
ธุรกิจในอุตสาหกรรมภาพยนตร์
2561 2562 2563
ธุรกิจขายปลีกสื่อบันทึกเสียงเพลงและสื่อบันทึกวี ดิ N/A 1,578 N/A
ทัศน์ในร้านค้าเฉพาะ (ร้านคาราโอเกะ)
รวมรายได้ในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ 9,074 52,642 45,732

จากตารางที่ 6 พบว่า ข้อมูลของอุ ตสาหกรรมภาพยนตร์ไ ทย เฉพาะในปี พ.ศ. 2562 (ไม่นับรวมร ะบบ


สตรีมมิ่ง) มีมูลค่าอุตสาหกรรมรวม 52,642 ล้านบาท และเมื่อเปรียบเทียบกับข้อมูลของปี พ.ศ. 2560 คือ 26,040
ล้านบาท พบว่า มีปริมาณมากขึ้นกว่าสองเท่าตัว ซึ่งสามารถกล่าวได้ว่าอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยเติบโตอย่า งมาก
อย่ า งไรก็ ต าม ลั ก ษณะของข้ อมู ล ที่ นาเสนอข้ างต้ นมี ค วามผั นแปรอย่ างมาก เนื่ อ งจากเงื่ อ นไขการแจงนับของ
หน่วยงานทีศ่ ึ กษาวิ จัย ข้อ มู ลแต่ ล ะแห่ ง จึงจาเป็นต้องทวนสอบข้ อ มู ลและตรวจสอบความถู ก ต้อ งแม่นย าอย่ า ง
ละเอียดในอนาคต

ภาพที่ 5 แสดงจานวนรายได้รวมของธุรกิจในอุ ตสาหกรรมภาพยนตร์ระหว่างปี พ.ศ. 2561 และ พ.ศ. 2563

31
ภาพที่ 6 แสดงมูลค่าและรายได้ของธุรกิจในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ร ะหว่างปี พ.ศ. 2562-2563

อาจกล่าวได้ว่า มูลค่าของอุตสาหกรรมภาพยนตร์มีความสาคัญอย่า งมากต่ อการวางแผนกลยุ ทธ์และการ


กาหนดเป้าหมายการเติบโตของอุตสาหกรรม อย่างไรก็ตาม ข้อมูลที่รวบรวมได้ยังไม่สมบูรณ์ เนื่องจาก รายได้การ
ฉายภาพยนตร์เป็นข้อมูลที่มาจากโรงภาพยนตร์ในกรุงเทพฯ เท่านั้น

ข้อมูลรายได้จากการฉายภาพยนตร์
สาหรับข้อมูลรายได้จากการฉายภาพยนตร์ ใน ปี พ.ศ. 2560 ที่รวบรวมโดยสมาพัน ธ์ส มาคมภาพยนตร์
แห่งชาติ มีมูลค่าเท่ากับ 3,975 ล้านบาท ซึ่งเป็นรายได้ทสี่ ารวจจากโรงภาพยนตร์เฉพาะพื้ นที่กรุง เทพฯ ปริมณฑล
และจังหวัดใหญ่ๆ และรายได้จากการจาหน่ายให้แก่สายหนัง (ไม่ใช่รายได้ของทั้งประเทศ) จึงจาเป็นต้องพิจารณา
ข้อมูลดังกล่าวเพิ่ มเติ ม อาทิ การนับจานวนบัตรเข้าชมจริง ความถี่ในแต่ละรอบฉาย เพื่อประมวลผลข้ อมู ล ความ
นิยมของผู้บริโภคที่สอดคล้องตามความเป็นจริง

32
ตารางที่ 7 รายได้จากการฉายภาพยนตร์ ในปี พ.ศ. 2560 โดยสมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์ แห่งชาติ
รายได้หน่วย : ล้านบาท
ประเภท รายได้จากการฉายภาพยนตร์ ร้อยละ
ภาพยนตร์ต่างประเทศ 3,537 89
ภาพยนตร์ไทย 438 11

ปี พ.ศ. 2560 รายได้จากการฉายภาพยนตร์ มีจานวน 3,974.52 ล้านบาท แต่เมื่อจาแนกในรายละเอี ย ด


จะพบว่ า เป็ น รายได้ จากการฉายภาพยนตร์ไ ทยจ านวน 437.84 ล้ า นบาท (ร้ อ ยละ 11) ซึ่ ง น้ อ ยกว่า รายได้จาก
ภาพยนตร์ ต่ า งประเทศจ านวน 3,536.68 ล้ า นบาท (ร้ อ ยละ 89) จึ ง เป็ น ข้ อ สั ง เกตเกี่ ย วกั บ คุ ณภาพของงาน
ภาพยนตร์ไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่ งคุ ณภาพของบทภาพยนตร์ และความนิยมของผู้บริ โภค ซึ่งหากมีการรวบรวม
และจัดเก็บข้อมูลพฤติกรรมผู้บริโภค ตลอดจนความนิยมของผู้ช มภาพยนตร์ ที่สมบูรณ์และมีความเป็นปัจจุ บั น ทั น
ต่อเหตุการณ์ จะเป็นส่วนสาคั ญในการสนั บสนุ นการพั ฒนาภาพยนตร์ไ ทยให้ มี คุณภาพ และสามารถตอบสน อง
ความต้องการของตลาดเป้าหมายได้ถูกต้องแม่นยายิ่งขึ้น

จากรายงานการจัดเก็ บสถิ ติข้ อ มูล มู ลค่า อุ ตสาหกรรมคอนเทนต์แ ละฐานข้ อมู ลผู้ ประกอบการกิจ การใน
อุตสาหกรรมคอนเทนต์ป ระจาปี 2563 (บริษัทฐิติธนฤติจากั ด สมาคมไทยธุร กิจ อิ เล็ คโทรนิ คบั น เทิ ง สมาพั น ธ์
สมาคมภาพยนตร์ แห่ งชาติ และกระทรวงวั ฒนธรรม, 2564) พบว่า จานวนภาพยนตร์ที่จัดฉายในโรงภาพยนตร์
และรายได้จากการฉายภาพยนตร์มีแนวโน้ มลดลง เนื่องจากสถานการณ์ COVID-19 โดยปี 2562 มีภาพยนตร์เข้ า
ฉายในโรงภาพยนตร์ จานวน 306 เรื่อง และปี 2563 มีภาพยนตร์เข้าฉาย จานวนทั้งสิ้น 191 เรื่อง เป็นภาพยนตร์
ไทย 29 เรื่อง ลดลงจากเดิมซึ่งมีภาพยนตร์ไ ทยเข้าฉายปีล ะประมาณ 50 เรื่อง ทารายได้ประมาณ 299 ล้านบาท
คิดเป็นร้อยละ 26 สาหรับภาพยนตร์ต่างประเทศที่เ ข้าฉายในปี 2563 มีจานวน 162 เรื่อง คิดเป็นรายได้จานวน
868 ล้านบาท แบ่งเป็นภาพยตร์ จาก Hollywood ร้อยละ 48 ภาพยนตร์จากประเทศญี่ ปุ่นร้ อ ยละ 10 และ
ภาพยนตร์จากประเทศเกาหลีใต้ ร้อยละ 4 ทั้งนี้ ภาพยนตร์ไทยและภาพยนตร์จากต่างประเทศที่เข้าฉาย ปี 2563
มีรายได้รวมกัน 1,167 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม เมื่อเปรียบเที ยบข้ อ มูล ในปี 2560 และ 2563 ซึ่งรวบรวมโดยสมาพั นธ์ สมาคมภาพยนตร์
แห่งชาติ พบว่า คนไทยยังคงนิยมบริโภคภาพยนตร์ต่างประเทศ ข้อมูลรายได้จากการฉายภาพยนตร์แสดงดังตาราง
ที่ 8 ดังนี้

33
ตารางที่ 8 รายได้จากการฉายภาพยนตร์ เปรียบเทียบปี 2560 และ ปี 2563
รายได้หน่วย : ล้านบาท
ปี 2560 ร้อยละ ปี 2563 ร้อยละ
ภาพยนตร์ต่างประเทศ 3,537 89 8,688 62
ภาพยนตร์ประเทศไทย 438 11 299 26

ผลประกอบการย้อนหลังของอุตสาหกรรมภาพยนตร์
ผลสารวจข้อมูลรายได้ และผลประกอบการของอุ ตสาหกรรมภาพยนตร์ โดยสมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์
แห่งชาติ ระหว่าง ปี 2554 - 2560 และข้อมูลจากรายงานการจัดเก็บสถิ ติข้อ มูล มูลค่า อุตสาหกรรมคอนเทนต์ แ ละ
ฐานข้อมูลผู้ประกอบการกิจการในอุตสาหกรรมคอนเทนต์ ประจาปี 2563 (บริษัทฐิติธนฤติจากัด สมาคมไทยธุรกิ จ
อิ เ ล็ ค โทรนิ ค บั น เทิ ง สมาพั น ธ์ ส มาคมภาพยนตร์ แ ห่ ง ชาติ และกระทรวงวั ฒ นธรรม , 2564) ในช่ ว งปี 2562
รายละเอียดแสดงดังนี้

ตารางที่ 9 ผลประกอบการย้อนหลัง 9 ปี ของรายได้ของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ 10


ปี พ.ศ. ภาพยนตร์ (ล้านบาท) แอนิเมชัน (ล้านบาท)
2554 26,992.95 5,623.00
2555 24,344.43 6,283.00
2556 24,920.85 5,795.63
2557 23,734.18 3,833.61
2558 24,794.00 3,851.10
2559 23,374.52 3,957.16
2560 26,039.52 รวมกับภาพยนตร์
2561 N/A N/A
2562 39,389,068,278+5,812,330,401 7,440,631,182
(ไม่รวมสตรีมมิ่ง) = 45,201,398,679

10 วิเคราะห์จากข้อมูลของสมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติ (2560) และเอกสารรายงานการจัดเก็บสถิติข้อมูลมูลค่าอุตสาหกรรม


คอนเทนต์และฐานข้อมูลผู้ประกอบการกิจการในอุตสาหกรรมคอนเทนต์ประจาปี พ.ศ. 2563 (บริษัทฐิติธนฤติจากัด สมาคมไทย
ธุรกิจอิเล็คโทรนิคบันเทิง สมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติ และกระทรวงวัฒนธรรม, 2564)

34
นอกเหนือจากตัว เลขจากสมาพัน ธ์ฯ และเอกสารรายงานการจัด เก็ บสถิติ ข้อ มูล มู ลค่า อุ ตสาหกรร มคอน
เทนต์และฐานข้อมูลผู้ประกอบการกิจการในอุตสาหกรรมคอนเทนต์ประจา ปี พ.ศ. 2563 (บริษัท ฐิติธนฤติ จากัด
สมาคมไทยธุรกิจอิเล็คโทรนิ คบัน เทิง สมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์ แห่งชาติ และกระทรวงวัฒนธรรม, 2564) สถิติที่
สะท้อนผลประกอบการจากนิ เวศอุ ต สาหกรรมภาพยนตร์คื อ ธุรกิจบริการกองถ่า ยทาภาพยนตร์ ต่างประเทศใน
ประเทศไทย ถือว่า เป็นตัวเลขที่ เติ บโตสู งขึ้ น และมีองค์ กรที่ เ กี่ยวข้อ งโดยตรง คือ กองกิจการภาพยนตร์ (Thai
Film Board) กรมการท่องเที่ยวของกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ทาให้มีตัวเลขรายได้เพิ่มเติม ดังนี้

ภาพที่ 7 แสดงสถิติการถ่ายทาภาพยนตร์ในประเทศไทยระหว่างปี พ.ศ.2559 - พ.ศ. 2564

35
4.3 ห่วงโซ่คุณค่าภาพยนตร์ไทยและธุรกิจที่เกี่ยวข้ อง
อุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย มีความเชื่อมโยงกันในห่วงโซ่คุ ณค่า (Value Chain) โดยสามารถจาแนกเป็ น
5 ส่วน ได้แก่ การพัฒนาภาพยนตร์ การผลิต การเผยแพร่ /จัดจาหน่าย การฉาย และการบริโภค ซึ่งการศึกษานี้
ได้ผนวกแนวคิดเรื่องศิลปะเข้าไว้ด้วย ส่งผลให้การวิเคราะห์ห่วงโซ่คุ ณค่า มีการแยกพิจารณาระหว่างอุตสาหกรรม
ภาพยนตร์ทั่วไปหรือ ภาพยนตร์ กระแสหลัก กับ ภาพยนตร์ ทางเลือ ก ซึ่งอาจไม่ได้ทารายได้ หรือทารายได้ต่ากว่ า
ภาพยนตร์ ก ระแสหลั ก แต่ ถื อ เป็น กลไกสาคัญ ของการพั ฒ นาหรือ สนับ สนุน อุต สาหกรรมภาพยนตร์ การสร้าง
ภาพลั ก ษณ์ แ ก่ ป ระเทศ และการก้ าวสู่ แนวคิ ด อุต สาหกรรมสร้า งสรรค์ รวมถึ ง การผนวกกระบวนการถ่ายทา
ภาพยนตร์ในประเทศไทย (Location Shooting) รวมเป็นส่วนหนึ่งของขั้นตอนการผลิต
จากแนวคิดของ McQuail (2010a) ซึ่งพิจารณาถึงปัจจัยที่ส่งผลต่ออุต สาหกรรม โดยเฉพาะปัจจัยภายใน
และภายนอก พบว่า ปัจจัยดังกล่าวจะมีผลต่อการดาเนินงานอุตสาหกรรมภาพยนตร์ รวมถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่ง
จาแนกเป็น ภาคเอกชน ภาครัฐ สถาบันการศึกษา (Film School) สมาคม หรือ Union และต่างประเทศ แสดง
เป็น Ecosystem ดังภาพต่อไปนี้

ภาพที่ 8 แสดงห่วงโซ่คุณค่า 5 ด้าน ของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ (วิเคราะห์โดยคณะทางาน)

36
จากข้อมูลองค์ป ระกอบของผู้ เกี่ ยวข้อ งในอุ ตสาหกรรมภาพยนตร์ ตามภาพที่ 8 นี้ สามารถนามาขยาย
เพิ่มเติมรายละเอียด รวมทั้งอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องได้ ดังแสดงในภาพที่ 9 รายละเอียดดังนี้

ภาพที่ 9 แสดงห่ ว งโซ่ คุณ ค่ า ของอุ ต สาหกรรมภาพยนตร์ ผนวกไปกั บผู้ ที่ เ กี่ ย วข้ อ ง กั บกิ จ กรรม ข อง
อุตสาหกรรมภาพยนตร์ (วิเคราะห์โดยคณะทางาน)

สาหรับกิจกรรมหลักในห่วงโซ่ คุ ณค่าของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ ซึ่งประกอบด้วย 5 กิจกรรม ได้แก่ การ


พัฒนาภาพยนตร์ การผลิตภาพยนตร์ การจัดจาหน่า ยภาพยนตร์ การฉายภาพยตร์ และการบริโภคภาพยน ตร์
สามารถอธิบายรายละเอียดองค์ประกอบของผู้เกี่ยวข้ อง (Players) ในอุตสาหกรรม ได้ดังนี้

37
4.3.1 การพัฒนาภาพยนตร์ (Film Development)
การพัฒนาภาพยนตร์ จาแนกตามธุรกิจที่เกี่ยวข้องแบ่ง ได้เ ป็น 2 รูปแบบ คือ แบบสตูดิโอ และแบบอิส ระ
ดังนี้
ตารางที่ 10 การพัฒนาภาพยนตร์ 2 รูปแบบ (วิเคราะห์โดยคณะทางาน)
การพัฒนา
การดาเนินงาน ตัวอย่างองค์กร หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ภาพยนตร์
1. แบบสตูดิโอ รับคาสั่ง หรือความ GDH, สหมงคลฟิล์ม,  กระทรวงวัฒนธรรม
หรือหน่วยงาน ต้องการจากนายทุน/ ไฟว์สตาร์, (ให้ทุน) (ในปัจจุบันปรับเป็น
สตูดิโอ จากนั้น M Pictures กองทุนสื่อฯ)
มอบหมาย Producer  กองทุนสื่อปลอดภัยและ
เป็นผู้ควบคุม และ สร้างสรรค์
คัดเลือกผู้กากับ  การวางผลิตภัณฑ์ประกอบ
ภาพยนตร์ดาเนินงาน ฉาก (Product
ผลิต Placement) (เอกชน)
 การจาหน่ายลิขสิทธิ์
นอกจากนี้ โดยทั่วไป ล่วงหน้าจากช่องทางอื่นๆ
(ส่วนใหญ่) สตูดิโอ เช่น ดีวีดี โทรทัศน์
มักดาเนินการ ออนไลน์ ในอดีตอาจมีกรณี
ทุกขั้นตอนเองทั้งหมด ของสายหนัง
ตั้งแต่ขั้นตอน  การร่วมลงทุนใน
การพัฒนา ลักษณะร่วมผลิต (Co-
การผลิต การเผยแพร่ Production)
การฉาย และ  การขอลิขสิทธิ์
การบริโภค เพื่อ
เป้าหมายด้านผลกาไร
2. แบบอิสระ ผู้กากับภาพยนตร์ มักเป็นผู้กากับหน้า  กระทรวงวัฒนธรรม
สร้างสรรค์ภาพยนตร์ ใหม่ หรือผู้กากับ (ให้ทุน) ปัจจุบันปรับเป็น
ตามความต้องการ ภาพยนตร์นอก กองทุนสื่อฯ
ของผู้กากับฯ กระแส  กองทุนสื่อปลอดภัยและ
สร้างสรรค์

38
การพัฒนา
การดาเนินงาน ตัวอย่างองค์กร หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ภาพยนตร์
ส่วนใหญ่ประสบปัญหา  ทุนจากต่างประเทศ
ด้านงบประมาณ และ  การระดมทุน
การต่อรองกับธุรกิจ (Crowdfunding) และ
ต่างๆ การร่วมสร้างสรรค์ของกลุ่ม
คน (Crowd Sourcing)
 การขอลิขสิทธิ์

ขั้นตอนแรกของการดาเนิน งานภาพยนตร์ เริ่ มจากการพั ฒนาบทภาพยนตร์ โดยทางทฤษฎี การเริ่ มต้ น


พัฒนาภาพยนตร์มักจะมาจากความต้ องการของศิ ลปิน แต่ในความเป็นจริง ธุรกิจของภาพยนตร์กระแสหลั ก การ
จะพั ฒ นาภาพยนตร์ เริ่ มมาจากความต้ อ งการของแหล่ ง เงิ น ทุน หรื อ นายทุ น หรื อ สตูดิ โ อ (Studio) เป็ น ผู้ เ ริ่ม
ดาเนินการ มีเป้าหมายเพื่ อผลกาไร โดยมอบหมายให้กั บ ผู้อ านวยการสร้ าง (Producer) เป็นผู้รับผิดชอบดู แ ล
งบประมาณ และควบคุมการถ่ายทาตั้งแต่ต้นจนเสร็จสิ้น ปัจจุบันสตูดิโอ (ในประเทศไทย) ที่มีแหล่งเงินทุนจานวน
มาก ได้แก่ จีดีเอช (GDH) สหมงคลฟิ ล์ ม ไฟว์สตาร์ (Five Stars) กลุ่มบริษัทเอ็ ม พิคเจอร์ส (M Pictures) เป็น
บริ ษั ท ในเครื อ โรงภาพยนตร์เ มเจอร์ ซี นีเ พล็ ก ซ์ ซึ่ ง จะมี บ ริ ษั ท ผู้ส ร้า งเอง ตั้ ง แต่ M Pictures, Transformation
Films, CJ Major ร่วมกับประเทศเกาหลีใต้, Film GURU, M39 และ ไท เมเจอร์ จากัด (อุนาโลม จันทร์รุ่งมณีกุล ,
2564) บริษัทขนาดใหญ่เหล่านี้ มีเงินทุนจานวนมาก ผลิตภาพยนตร์ และจาหน่ายเอง รวมถึงนาเข้าภาพยนตร์ เ อง
บางแห่งจัดฉายภาพยนตร์ เ อง และมีสถาบันฝึ กหั ด บุค ลากรของตนเอง ซึ่งบริษัทที่มีการรวบรวมข้ อมู ลผู้ บ ริ โ ภค
อย่ า งเป็ น ระบบ สามารถน าข้ อ มู ล มาใช้ ใ นการวิ เ คราะห์ “ตลาด” หรื อ ความต้ อ งการของผู้ ช ม ได้ อ ย่ า งมี
ประสิทธิภาพ เหตุผลดังกล่าวนี้ อาจกล่าวได้ว่า ขั้นตอนการพัฒนาภาพยนตร์ โดยเฉพาะการผลิ ตและพั ฒ นาบท
ภาพยนตร์จึงมาจากระดั บนโยบายของบริ ษัท และถ่ายทอดสู่ การผลิต ดังนั้น ภาพยนตร์ที่มีแนวโน้ มจะไม่ ไ ด้ รั บ
ความนิ ย มจากตลาดหรื อ ไม่ ส ร้า งรายได้ จึ ง ไม่ ไ ด้ รับ การส่ ง เสริ มจากนายทุ น ตั ว อย่ างเช่ น กรณี ข องภาพยนตร์
แอนิเมชัน (รักศานต์ วิวัฒน์สินอุดม, 2554) เนื่องจากผู้ชมภาพยนตร์ไ ม่สนใจภาพยนตร์แนวนี้ จึงไม่ค่อยเกิด การ
ผลิต

39
ในอดีต แหล่งทุนที่สาคัญ คือ “สายหนัง” ซึ่งมีส่วนสาคัญในการกาหนดเนื้อ หาและแม้กระทั่ งนั กแสดงที่
ร่วมแสดงในภาพยนตร์ แต่ในปัจจุบัน การจาหน่ายลิขสิทธิ์ล่วงหน้า มักจะจาหน่ายผ่านดีวีดี โทรทัศน์ โดยเฉพาะ
ในช่ ว งเวลาหนึ่ง ระบบดี วี ดีส ามารถสร้างรายได้ จานวนมาก อย่ า งไรก็ ต าม เมื่ อ เกิ ด การเปลี่ ยนแปลงทางด้าน
เทคโนโลยี รายได้จากการจาหน่ายลิ ขสิ ทธิ์ผ่ านระบบดีวี ดี มีจานวนลดลง และการเผยแพร่ภาพยนตร์ผ่า นร ะบบ
ออนไลน์กลายมาเป็นระบบหลักที่ได้รับความนิยมอย่างมากในปัจจุบัน

การจัดการด้านเงินทุน ได้เริ่มเกิดแนวคิดการสร้างภาพยนตร์ที่ มีลัก ษณะการร่ว มลงทุน (Co-Production)


กั บ ต่ า งประเทศ และก้ า วสู่ ก ารเป็ น ผู้ อุ ป ถั มภ์ (Sponsorship) ในลั ก ษณะการจั ด วางผลิ ต ภั ณฑ์ (Product
Placement) หรือการนาสินค้าเข้าไปอยู่ในภาพยนตร์

การดาเนินงานของสตู ดิโ อ จะมีเป้าหมายเพื่ อผลกาไร ใช้การจัดจ้างงานเหมือนระบบอุต สาหกรรม คือ


เป็นทั้งรายเดือน Freelance และแม้กระทั่งจัดจ้างบบริษัทต่างๆ รับผิดชอบงาน เช่น การจ้างบริษัทผลิตภาพยนตร์
(Production House) รวมถึงเป็นผู้เกี่ยวข้องในห่ว งโซ่ คุณค่าอุ ตสาหกรรมทั้ งระบบตั้ งแต่ การพั ฒนา การผลิต การ
เผยแพร่/จัดจาหน่าย ในบางกรณี สตูดิโอบางแห่ง ได้ขยายไปสู่ การเป็น ผู้จั ดฉายภาพยนตร์ เช่น เป็นเจ้าของโรง
ภาพยนตร์ และในขั้นบริโภค คือ การส่งเสริมและสนับสนุนการประชาสัมพันธ์ใ ห้ผู้ชมสนใจ และนิยมชมภาพยนตร์
มากยิ่งขึ้น
จากระบบการทางานข้างต้น ส่งผลให้ผู้กากับภาพยนตร์ และนักเขียนบทเป็นเพีย งลูกจ้า งในลักษณะการ
จ้างงานอิสระ (Freelance) หรืออาจรับค่าจ้างเป็นเงินเดือนจากสตูดิโอดังกล่าว

สาหรับในกรณีของภาพยนตร์ทางเลือ ก มักจะเป็นนักสร้างภาพยนตร์อิสระ หรือหากเป็นกลุ่มบริษัทก็เ ป็ น


บริษัทขนาดเล็ กที่ ผลิ ต ภาพยนตร์ ที่เ น้น ศิ ลปะภาพยนตร์ และมุ่งเน้น ความคิด สร้ างสรรค์ เ ป็น หลั ก ผู้กากับ หรื อ
ผู้ เ ขี ย นบทเป็ น ผู้ ร่ า งบท ตั ว อย่ า งเช่ น Kick the Machine, Pop Pictures, Extra Virgin, G village และ DE
Warrene (อุณาโลม จันทร์รุ่งมณีกุล, 2564)

40
อย่างไรก็ตาม การหาแหล่งเงินทุนสนับสนุน นับเป็นอุปสรรคสาคัญ เช่นกรณีต่างประเทศ อาทิ ประเทศ
ฝรั่งเศสและประเทศเกาหลีใต้ มีกองทุนที่ให้การสนับสนุนการดาเนินการผลิต ภาพยนตร์ทางเลือก สาหรับประเทศ
ไทย เมื่อย้อนกลับไปพิจารณา พ.ร.บ.ภาพยนตร์แ ละวีดิ ทั ศน์ ปี 2551 พบว่ามีความพยายามที่จ ะกาหนดทุน แต่
ในทางปฏิบัติ เงินทุนสาหรับการผลิตภาพยนตร์ทางเลื อกกลับ มี จานวนน้อย ทาให้ผู้กากับภาพยนตร์ที่ มุ่ง เน้ น งาน
ศิลปะ ค่อนข้างมีปัญหาในการหาแหล่งเงินทุน โดยผู้กากับบางท่าน แก้ปัญหาด้วยการใช้เงินทุนส่วนตัวในการผลิ ต
ภาพยนตร์ หรือการหาเงินทุ นจากการระดมทุน (Crowd Funding) ซึ่งมักจะมาจากเว็ บ ไซต์ ได้แก่ IndieGoGo
และ KickStarter ตลอดจนการหาแหล่งเงินทุน ในต่างประเทศ ซึ่งเป็นเพียงส่วนน้อ ย เมื่อเปรียบเทียบกั บปริ มาณ
หรือความสนใจของผู้กากับภาพยนตร์รุ่นใหม่ที่ศึกษาภาพยนตร์จากทั้งในประเทศและต่างประเทศ

นอกจากนี้ หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงวัฒนธรรม ซึ่งมีหน้าที่สนับสนุนงบประมาณการผลิ ต


ภาพยนตร์ แต่ด้วยงบประมาณที่จากัด และเงื่อนไขการสนับสนุนที่ กาหนดให้ เฉพาะผลงานตอบโจทย์วั ฒนธรรม
กระแสหลัก ตามนโยบายที่รัฐกาหนด รวมถึงกองทุนสื่อปลอดภัยและสร้า งสรรค์ ภายใต้กระทรวงวัฒนธรรม ซึ่ง
ประสบปัญหาในลักษณะเดียวกัน

ภารกิ จ ส าคั ญ อี กด้ า นของภาครัฐ คื อ การให้ ค วามคุ้ มครองด้ านลิ ข สิท ธิ์ กั บผลงาน ทั้ ง ในกรณี ข องการ
จาหน่ายลิขสิทธิ์ล่วงหน้า รวมถึงการตรวจสอบและการขอลิ ขสิท ธิ์ เช่น เนื้อเรื่อง ดนตรี เพลงประกอบ และอื่น ๆ
โดยหน่วยงานที่มีหน้าที่กากับดูแล คือ กรมทรัพย์สินทางปัญญา และสานักงานตารวจแห่งชาติ

ส าหรั บ ส านั ก งานคณะกรรมการส่ง เสริมการลงทุ น (BOI) ซึ่ ง ช่ ว ยสนั บ สนุน การลงทุน ผลิ ต ภาพยนตร์
ภายใต้เงื่อนไขการสนับสนุนการลงทุ นบริ ษัทผู้ ผลิ ตภาพยนตร์ ซึ่งมีทุนจานวน 1 ล้านบาท (เงินหรือทุนสินทรั พย์ )
ซึ่งสาหรับผู้ผลิตรายย่อยหรือผู้ผลิตภาพยนตร์ทางเลือก คุณสมบัติไม่ตรงกับเงื่อนไขที่ กาหนด

41
4.3.2 การผลิต (Film Production)
การผลิตภาพยนตร์ มีขั้นตอนการดาเนิน งาน 3 ขั้นตอน ขั้นแรก ก่อนการผลิต คือ การวางแผน ซึ่งจะ
เกิดขึ้นหลังจากได้รับอนุมัติเงินทุนและบทภาพยนตร์ ต่อจากนั้นคือ การที่ผู้กากับร่วมกับผู้อานวยการสร้างวางแผน
จัดหาทีมงาน นักแสดง พื้นที่ การออกแบบการแต่ งกาย และการพัฒนาบทให้ส มบูร ณ์ พร้ อมสาหรับ การถ่ า ยท า
ขั้ น ตอนที่ 2 คื อ การถ่ า ยท า ทั้ ง นี้ ขั้ น ตอนแรกและขั้ น ตอนที่ 2 จะเกี่ ย วข้ อ งกั บ บริ ษั ท สนั บ สนุ น การถ่ายทา
ภาพยนตร์จากต่างประเทศ สาหรับขั้นตอนที่ 3 คือ การตัดต่อ ผสมภาพและเสียงให้ส มบูร ณ์ การดาเนินงานทั้ง 3
ส่วน ประกอบด้วยผู้เกี่ยวข้องหลัก 5 ส่วน แสดงดังตารางที่ 11 รายละเอียดดังนี้

ตารางที่ 11 ขั้นตอนผลิตภาพยนตร์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง (วิเคราะห์โดยคณะทางาน)


กิจกรรม/ขั้นตอน การดาเนินงาน บริษัทที่เกี่ยวข้อง หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
1. ก่อนการผลิต การวางแผนการผลิต ใน - บริษัทผู้ผลิตภาพยนตร์ - ผู้อุปถัมภ์
ด้านภาพยนตร์กระแส ได้แก่ จอกว้าง, บาแรมยู, - ผู้ร่วมลงทุน
หลักสตูดิโอ จัดจ้าง Transformation, ซีนีมา -กระทรวงแรงงาน และ
Production House โดย เซีย และยังอาจมีบริษัท สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ
มี Producer ควบคุมด้าน ของผู้กากับภาพยนตร์รับ
งบประมาณ ส่วนผู้กากับ งานด้วย
ดูแลด้านศิลปะ หากเป็น - บริษัทหรือเอเจนซี่
กรณีภาพยนตร์ทางเลือก (Agency) ด้านนักแสดง
มักจะไม่จัดจ้าง - บริษัทขนาดเล็กที่ดูแล
Production House ด้านเครื่องแต่งกาย และ
การแต่งหน้า การจัดแต่ง
ทรงผม
2. ระหว่างการ การถ่ายทา - ทีมผลิตภาพยนตร์ - กรมสรรพากร
ผลิต (Production House) - สานักงานคณะกรรมการ
ข้างต้น ส่งเสริมการลงทุน
- บริษัทให้เช่าอุปกรณ์ -กระทรวงแรงงาน และ
เช่น Gear Head, Light สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ
House, Cinerent, VS
Service

42
กิจกรรม/ขั้นตอน การดาเนินงาน บริษัทที่เกี่ยวข้อง หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
- บริษัทโรงถ่ายภาพยนตร์
เช่น กันตนา มูฟวี่ ทาวน์,
พร้อมมิตร ฟิล์ม สตูดิโอ
3. หลังการผลิต การตัดต่อ การผสมภาพ - Film Lab ได้แก่ สยาม - การตรวจพิจารณา
และเสียง พัฒนาฟิล์ม จากัด บริษัท ภาพยนตร์ กระทรวง
Technicolor (Thailand) วัฒนธรรม
- บริษัทด้านตัดต่อภาพ - บริษัทผู้ผลิตภาพยนตร์
และเสียง ได้แก่ กันตนา ต่างประเทศทีใ่ ห้ความ
โพสต์ โปรดักชั่น, สนใจต่อการจัดจ้างบริษัท
Oriental Post, The ของประเทศไทยในการ
Post Bangkok ดาเนินการหลังการผลิต
- บริษัทด้านแอนิเมชัน (การตัดต่อ เทคนิคพิเศษ
และเทคนิคพิเศษ ได้แก่ และแอนิเมชัน)
Digital Magic, The -กระทรวงแรงงาน และ
Monk Studio, วิธิตา สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ
แอนิเมชัน, กันตนา
แอนิเมชัน, Imagimax
- บริษัทด้านเพลง ดนตรี
- รวมถึงบริษัทที่อาจทา
หน้าที่เช่น การทา AD
หรือเสียงบรรยายภาพ
4. การสนับสนุน การประสานกับบริษัท บริษัทประสานงานถ่ายทา - กองกิจการภาพยนตร์
การถ่าย ผลิตภาพยนตร์ ภาพยนตร์ ได้แก่ กระทรวงการท่องเที่ยว
ภาพยนตร์ใน ต่างประเทศ และประสาน Indochina Productions, และกีฬา (Film Office)
ประเทศ กับรัฐบาลเพื่อขออนุญาต VS Service, Living ซึ่งมีบทบาทในการขอ
การถ่ายทา การประสาน Films อนุญาตการถ่ายทา
กับ ทีมผลิตภาพยนตร์ ภาพยนตร์ในประเทศไทย
(production house) และการให้การสนับสนุน
ตลอดจน โรงแรม การถ่ายทา

43
กิจกรรม/ขั้นตอน การดาเนินงาน บริษัทที่เกี่ยวข้อง หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
ร้านอาหาร การท่องเที่ยว - กรมสรรพากร (ภาษี)
เพื่อบริการกองถ่าย - กองตรวจคนเข้าเมือง
- อุทยานแห่งชาติ ป่าไม้
ฯลฯ
-กระทรวงแรงงาน และ
สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ
5. การพัฒนา หน่วยงานเอกชน เช่น M กระทรวงวัฒนธรรม Film
ผู้ผลิต Picture School และ และสมาคม
ต่างๆ ได้แก่ สมาคมผู้
กากับภาพยนตร์ไทย
สมาคมภาพยนตร์อิสระ
ไทย สมาคมวิชาชีพ
ภาพยนตร์และดิจิทัลมีเดีย

หลังจากการพัฒนาบทภาพยนตร์ และการวางงบประมาณดาเนิ นงานทั้ง หมด สาหรับภาพยนตร์ก ระแส


หลักของประเทศไทย ใช้งบประมาณ 10 - 15 ล้านบาท (ไม่รวมงบประมาณการโฆษณาประชาสัมพันธ์ ซึ่งมีมูลค่ า
ประมาณ 1 เท่าของงบประมาณการสร้าง) ถัดไป คือ การผลิต สามารถแบ่งได้เป็น 3 ขั้นตอน คือ ก่อนการผลิ ต
หรือการวางแผน ระหว่างการผลิตหรือการถ่า ยทา และหลังการผลิต ซึ่งเกี่ยวข้องกับตั ดต่ อ การผสมเสียง รวมถึง
การขออนุญาตฉายภาพยนตร์ ซึ่งไม่ต่างกันสาหรับภาพยนตร์ กระแสหลักและภาพยนตร์ ทางเลื อก เพียงแต่ขนาด
วัสดุอุปกรณ์ และการบริหารการจัดจ้างงานต่างกัน โดยหากเป็นภาพยนตร์ทางเลื อกมัก มีเ งินทุน น้อย บุคลากรไม่
มาก อาศัยความสัมพันธ์ส่วนตัวระหว่างผู้กากับฯ และทีมงานในการผลิตผลงาน และดาเนินกิจกรรมต่างๆ แตกต่าง
กับภาพยนตร์กระแสหลัก ซึ่งเป็นการจัดจ้างในลักษณะบริษัทผลิตภาพยนตร์ (Production House)

Production House ในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ หมายถึง บริษัทที่รับจ้างการผลิตภาพยนตร์ ส่วนใหญ่จะ


รับงานจากบริษัทสตูดิโอ ครอบคลุมการถ่ายทา การดูแลเรื่องเครื่องแต่งกายและการแต่งหน้า -ตกแต่ง ทรงผม แสง
ไฟ เสียง การตัดต่อ สาเหตุที่สตูดิโอถ่ายทาภาพยนตร์ ไม่มีผู้รับผิดชอบในเรื่องต่างๆ ข้างต้นเป็นของตนเอง เพื่อลด
ภาระความรับผิดชอบ และต้นทุนในการดูแลบุคลากร การจัดจ้างบริษัท Production House หรือการเปิดบริ ษั ท
Production House ในเครือจึงเป็นทางเลือกที่ ดีกว่า (ในกรณีนี้ บริษัท Production House ในเครือ ยังสามารถ

44
สร้างรายได้ และกาไรเพิ่มเติมจากการให้บริการงานอื่นๆ เช่น งานโฆษณา งานถ่ายทาละครโทรทัศน์ เป็นต้น ได้อีก
ด้วย) ตัวอย่างบริษัททีเ่ กี่ยวข้องกับขั้นตอนการผลิตภาพยนตร์ แสดงดังนี้

(1) ขั้นตอนก่อนการผลิต
บริษัทดาเนินการสร้างภาพยนตร์ หรือ Production Company หรือ Production Service Company
เป็นบริษัทที่เน้นรับจ้างผลิตภาพยนตร์ ได้แก่ บริษัท จอกว้าง ซึ่งมักจะรับงานของ GDH บริษัท บาแรมยู มักจะรับ
งานของ สหมงคลฟิล์ม เป็นต้น นอกจากนั้น ยังมีบริษัทรับจ้างอิสระอื่น ๆ ได้แก่ ซีเนมาเซีย เป็นต้น
เอกสารรายงานการจัดเก็บสถิติข้อมูลมูลค่าอุตสาหกรรมคอนเทนต์แ ละฐานข้อมูล ผู้ประกอบการกิจการใน
อุตสาหกรรมคอนเทนต์ ประจาปี 2563 (บริษัท ฐิติธนฤติ จากัด สมาคมไทยธุร กิจ อิเ ล็ คโทรนิ คบั นเทิง สมาพั น ธ์
สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติ และกระทรวงวัฒนธรรม, 2564) ระบุตัวอย่างผู้ประกอบการธุรกิจ การผลิ ตภาพยนตร์
และวีดิทัศน์ เพิ่มเติมรายชื่อ ผู้ประกอบการที่ ขยายช่ องทางสู่ภาคโทรทัศน์ และคอนเทนต์อื่ นๆ จานวนรวม 1,031
ราย รายละเอียดแสดงดังตารางที่ 12

45
ตารางที่ 12 ตัวอย่างรายชื่อผู้ประกอบการธุรกิจ การผลิ ตภาพยนตร์แ ละวีดิทัศน์ 11
ตัวอย่างรายชื่อนิติบุคคลผู้ประกอบการธุร กิจการผลิตภาพยนตร์ และวี ดิทั ศน์
1. บริษัท สหมงคลฟิล์ม อินเตอร์เนชั่นแนล จากัด 14. บริษัท ต้องตา ฟิล์ม จากัด
2. บริษัท จีดีเอช ห้าห้าเก้า จากัด 15. บริษัท วินไนน์ อินเตอร์แอคทีฟ จากัด
3. บริษัท ฟีโนมีนา จากัด 16. บริษัท เดอะฟิล์ม แฟคตอรี่ จากัด
4. บริษัท หับโห้หิ้น บางกอก จากัด 17. บริษัท เชลล์ฮัท เอ็นเทอร์เทนเม้นท์ จากัด
5. บริษัท เบนีโทน ฟิล์มส์ จากัด 18. บริษัท ดีแล่น ฟิล์ม จากัด
6. บริษัท ไฟว์สตาร์โปรดักชั่น จากัด 19. บริษัท ซุปเปอร์แมน จากัด
7. บริษัท เดอะ วัน เอ็นเตอร์ไพรส์ จากัด 20. บริษัท จอยลัคคลับ ฟิล์มเฮาส์ จากัด
8. บริษัท บูลเล็ท โปรดักชั่น จากัด 21. บริษัท จัมโบ้ เอ จากัด
9. บริษัท สองมือ โปรดักชั่น จากัด 22. บริษัท เอ็กแซ็กท์ ซีเนริโอ จากัด
10. บริษัท มาโช แมงโก้ จากัด 23. บริษัท บิงโก บิงโก จากัด
11. บริษัท อิมเมชั่น มีเดีย ครีเอชั่น จากัด 24. บริษัท ทรานส์ฟอร์เมชั่น ฟิล์ม จากัด
12. บริษัท มี เทเลวิชั่น จากัด 25. บริษัท เอ็ม เทอร์ตี้ ไนน์ จากัด
13. บริษัท บิ๊กบลู โปรดักชั่น จากัด

นอกจากบริษัทดังกล่าวข้างต้นแล้ว มีบริษัทอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องซึ่งเป็นผู้ป ระกอบการรายย่ อย ได้แก่ บริษัท


ด้านการออกแบบเครื่องแต่ งกาย และบริการการแต่งหน้าและตกแต่งทรงผม และบริษัทเกี่ยวกับนักแสดง หรือเอ
เจนซี ทาหน้าที่จัดหานัก แสดงให้เ หมาะกับ บทภาพยนตร์ โดยข้อมูลจากเอกสารรายงานการจัด เก็บ สถิ ติ ข้ อ มู ล
มูลค่าอุตสาหกรรมคอนเทนต์และฐานข้อมูลผู้ ประกอบการกิจการในอุตสาหกรรมคอนเทนต์ประจาปี 2563 (บริษัท
ฐิติธนฤติ จากัด สมาคมไทยธุรกิจอิเล็คโทรนิคบันเทิง สมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติ และกระทรวงวัฒนธรรม
, 2564) ระบุว่ามีบริษัทที่เกี่ยวข้องจานวน 422 ราย ตัวอย่างแสดงดังตารางที่ 13

11 รวบรวมจากเอกสารรายงานการจัดเก็บสถิติข้อมูลมูลค่าอุตสาหกรรมคอนเทนต์และฐานข้อมูลผู้ประกอบการกิจการในอุตสาหกรรมคอนเทนต์
ประจาปีพ.ศ. 2563 (บริษัทฐิติธนฤติจากัด สมาคมไทยธุรกิจอิเล็คโทรนิคบันเทิง สมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติ และกระทรวงวัฒนธรรม ,
2564)

46
ตารางที่ 13 ตัวอย่างรายชื่อผู้ประกอบการของธุรกิ จบริ ษัท ตัว แทนและสานั กงานคั ดเลื อกนัก แสดง 12
ตัวอย่างรายชื่อนิติบุคคลด้านผู้ ประกอบการของธุร กิจบริษัทตัว แทนและสานักงานคัดเลื อกนั กแสดง
1. บริษัท มิสแกรนด์ อินเตอร์เนชั่นแนลจากัด 6. บริษัท วันไนน์เจมส์ จากัด
2. บริษัท อุรัสยา แมเนจเมนท์ จากัด 7. บริษัท บริบูรณ์อุดม จากัด
3. บริษัท เฮโล โปรดักส์ชั่น จากัด 8. บริษัท วินเนอร์รอยัล โกลด์ จากัด
4. บริษัท เอสเอ็มพี มีเดีย จากัด 9. บริษัท ทีโออีวาย จากัด
5. บริษัท วันสตาร์ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จากัด

(2) ขั้นตอนการถ่ายทา
ขั้นตอนการถ่ายทา เป็นการดาเนินงานต่อเนื่องจากช่วงแรกแล้ ว บริษัทที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย โรงถ่าย
ทาภาพยนตร์ และบริษัทสนับสนุนอุปกรณ์
- โรงถ่ายทาภาพยนตร์ เป็นธุรกิจให้เช่าสถานที่ถ่ายทาภาพยนตร์ อาจมีทั้งบ้านโบราณ ท้องพระ
โรง ทุ่งนา ได้แก่ บริษัทกันตนา มูฟวี่ทาวน์ และบริษัทพร้อมมิตรสตูดิโอ เป็นต้น
- บริ ษั ท สนั บ สนุ น อุ ป กรณ์ หรื อ ให้ เ ช่ า อุ ป กร ณ์ หรื อ Rental House หรื อ Production
Equipment Rental House เช่น บริษัท Gear Head, Light Hose, และ Cinerent เป็นต้น บริษัทดังกล่าว ทา
หน้าที่ให้เช่าอุปกรณ์ทุกประเภท เช่น กล้อง ไฟ อุปกรณ์บันทึกเสียง รวมถึงจัดหาผู้เชี่ยวชาญในการควบคุมอุป กรณ์
ต่างๆ โดยบริษัทเหล่านี้อาจมีส่วนร่วมในกระบวนการผลิตภาพยนตร์ไทย ภาพยนตร์ต่างประเทศ และสื่ออื่นๆ ด้วย
เอกสารรายงานการจัดเก็บสถิติข้อมูลมูลค่าอุตสาหกรรมคอนเทนต์แ ละฐานข้อมูล ผู้ประกอบการกิจการใน
อุตสาหกรรมคอนเทนต์ ประจาปี 2563 (บริษัท ฐิติธนฤติ จากัด สมาคมไทยธุร กิจ อิ เล็ คโทรนิ คบั นเทิ ง สมาพัน ธ์
สมาคมภาพยนตร์แ ห่ง ชาติ และกระทรวงวั ฒ นธรรม, 2564) ระบุข้อมูลผู้ป ระกอบการของธุร กิจ ให้ เช่ าอุ ป กรณ์
การถ่ายทาภาพยนตร์ รวม 59 ราย ตัวอย่างดังตารางที่ 14

12 เรื่องเดียวกัน

47
ตารางที่ 14 ตัวอย่างรายชื่อผู้ประกอบการของธุรกิ จให้เช่า อุปกรณ์การถ่ายทาภาพยนตร์ 13
รายชื่อนิติบุคคลผู้ประกอบการของธุรกิ จให้เช่า อุปกรณ์การถ่ายท า
1. บริษัท มีเดีย วิชั่น (1994) จากัด 6. บริษัท เล็กไฮไลท์ 2008 จากัด
2. บริษัท ไลท์เฮ้าส์ ฟิล์ม เซอร์วิส จากัด 7. บริษัท เจเอสเอส โปรดักชั่น จากัด
3. บริษัท บ้าน ริก จากัด 8. บริษัท ไทยบันเทิง ไลท์ติ้ง ฟิล์ม เซอร์วิส จากัด
4. บริษัท มุมกล้อง จากัด 9. บริษัท คาเมร่าบี จากัด
5. บริษัท กันตนา โปรดักชั่น เซอร์วิส จากัด 10. บริษัท บี.เจ.เจ.โปรดักชั่น จากัด

(3) ขั้นตอนหลังการผลิต
บริ ษั ท ที่ เ กี่ ย วข้ อ งในกระบวนการหลั ง การถ่ า ยท าภาพยนตร์ หรื อ Post-Production House/ Post
Production Service ทาหน้าที่ปรับแต่งสี ภาพ เสียง การตัดต่อ เทคนิคพิเศษต่างๆ การทาบทบรรยาย และการ
พากย์ เ สี ย ง อย่ า งใดอย่ า งหนึ่ ง หรื อ ด าเนิ น การทั้ ง ระบบ ได้ แ ก่ บริ ษั ท สยามพั ฒ นาฟิ ล์ ม จ ากั ด และบริ ษั ท
Technicolor (Thailand) จากัด เป็นต้น
อีกกลุ่มหนึ่งจะเน้ นความเชี่ ยวชาญเฉพาะทาง ได้แก่ การตัดต่อภาพและเสีย ง เช่น บริษัท กันตนาโพสต์
โปรดักชัน (ไทยแลนด์) จากัด บริษัท Oriental Post จากัด และบริษัท The Post Bangkok จากัด เป็นต้น ทั้งนี้
บางบริษัท อาจเน้นด้านแอนิเมชันและเทคนิคพิเ ศษ เช่น บริษัท กันตนา แอนิเมชัน จากัด บริษัท วิธิตา แอนิเมชัน
จากัด บริษัท Digital Magic จากัด และบริษัท The Monk Studio จากัด เป็นต้น โดยจะเห็นได้ว่ า บริษัทผลิ ต
แอนิเมชันของประเทศไทย มีสถานะเป็น ปลายน้าของกระบวนการผลิต เป็นการรับงานมาผลิ ต หรือพัฒนาต่ อ
มากกว่าเป็นผู้ริเริ่มโครงการภาพยนตร์ตั้งแต่แรก
ประเด็นที่น่าสนใจ คือ บริษัทผู้ผลิตภาพยนตร์จากต่า งประเทศนิ ย มใช้ บริ การบริ ษัท ในประเทศไทยเพื่ อ
ดาเนินงานในส่วนขั้นตอนหลังการผลิตค่อนข้างมาก เนื่องจากความสามารถของคนไทย ประกอบกับปัจจัยค่าแรงที่
ไม่สูงเมื่อ เทีย บกั บ คุ ณภาพผลงาน เกิดเป็นนโยบายประสานความร่ว มมื อให้ เกิ ด การลงทุน ร่ว มกัน หรือจูงใจให้
ต่างประเทศใช้ บริ การ หรือจ้างงานบริษัทผลิ ตของไทย เช่น การภาพยนตร์การ์ตูน เป็นต้น (ดูเพิ่มเติม รักสานต์
วิวัฒน์สินอุดม)
บริษัทอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับ กระบวนการหลั ง การผลิ ต ได้แก่ บริษัทด้านเพลง ดนตรี และบริษัททาเสี ย ง
บรรยายภาพ หรือ AD (Audio Description) สาหรับผู้พิการทางสายตา
นอกจากนั้ น เอกสารรายงานการจั ด เก็ บ สถิ ติ ข้ อ มู ล มู ล ค่ า อุ ต สาหกรรมคอนเทนต์ แ ละฐาน ข้ อ มู ล
ผู้ ป ระกอบการกิ จ การในอุ ต สาหกรรมคอนเทนต์ ป ระจ าปี 2563 (บริ ษั ท ฐิ ติ ธ นฤติ จ ากั ด สมาคมไทยธุ ร กิ จ

13 เรื่องเดียวกัน

48
อิ เ ล็ ค โทรนิ ค บั น เทิ ง สมาพั น ธ์ ส มาคมภาพยนตร์ แ ห่ ง ชาติ และกระทรวงวั ฒ นธรรม , 2564) รวบรวมข้ อ มู ล
ผู้ประกอบการหลังการผลิต จาแนกเป็น 4 ส่วน ได้แก่

1. ผู้ประกอบการธุรกิจหลังการผลิตภาพยนตร์วีดิ ทัศน์แ ละรายการโทรทั ศน์ (Post-Production) จานวน


รวม 48 ราย ตัวอย่างแสดงดังตารางที่ 15

ตารางที่ 15 ตัวอย่างรายชื่อผู้ประกอบการของธุรกิจภายหลังการผลิตภาพยนตร์วีดิทัศน์และรายการโทรทัศน์ 14
รายชื่อนิติบุคคลผู้ประกอบการของธุรกิ จภายหลังการผลิตภาพยนตร์วี ดิทั ศน์แ ละรายการโทรทั ศน์
1. บริษัท เดอะมั้งค์ สตูดิโอ จากัด 6. บริษัท ซิกท์เซ้นซ์ เมจิคอล จากัด
2. บริษัท ไอ-ยูโนะ (ประเทศไทย) จากัด 7. บริษัท จิ๊งคซ์ ฟิล์ม เฮ้าส์
3. บริษัท เอสดีไอ มีเดีย (ประเทศไทย) จากัด 8. บริษัท ฮิวแมน ฟาร์ม วีเอฟเอ็กซ์ สตูดิโอ จากัด
4. บริษัท สไลเดอร์ โปรดักชั่น จากัด 9. บริษัท บิ๊ก โคลส - อัพ จากัด
5. บริษัท พี.ซี.เธียร์เทอร์ จากัด

2. ผู้ประกอบการธุ รกิจ การบริ การตัด ต่ อภาพและเสี ยง (Visual and Sound Effect) จานวน 176 ราย
ตัวอย่างแสดงดังตารางที่ 16

ตารางที่ 16 ตัวอย่างรายชื่อผู้ประกอบการของธุรกิ จการบริการตั ดต่ อภาพและเสี ยง 15


รายชื่อนิติบุคคลผู้ประกอบการของธุรกิ จการบริการตัดต่ อภาพและเสียง
1. บริษัท เดอะ โพสท์ บางกอก จากัด 7. บริษัท เก้ง กวาง แก๊ง จากัด
2. บริษัท วัน คูล โปรดักชั่น จากัด 8. บริษัท ดิจิตอล เมจิก เอ็ฟเฟ็ค เฮ้าส์ จากัด
3. บริษัท กันตนา โพสท์ โปรดักชั่น (ไทยแลนด์) จากัด 9. บริษัท โฟโต้ สตูดิโอ จากัด
4. บริษัท ชูโอ กิเคน ยูนิเทค (ไทยแลนด์) จากัด 10. บริษัท พิกเซล เวิร์คส จากัด
5. บริษัท เอ เพลย์ มิวสิก ดิจิตอล จากัด 11. บริษัท สถานีตัดต่อ จากัด
6. บริษัท คัมทรูมีดีกรุ๊ป จากัด

14 เรื่องเดียวกัน
15
เรื่องเดียวกัน

49
3. ผู้ประกอบการธุรกิจการบันทึกเสีย งลงบนสื่อ (Sound Lab) จานวน 173 ราย ตัวอย่างแสดงดังตาราง
ที่ 17

ตารางที่ 17 ตัวอย่างรายชื่อผู้ประกอบการของธุรกิ จการบันทึ กเสียงลงบนสื่ อ 16


รายชื่อนิติบุคคลผู้ประกอบการของธุรกิ จการบันทึ กเสียงลงบนสื่ อ (Sound Lab)
1. บริษัท กันตนา ซาวด์ สตูดิโอ จากัด 7. บริษัท ฟอร์เวิร์ด สตูดิโอ จากัด
2. บริษัท ออนป้า จากัด 8. บริษัท ซีเน ดิจิตอล ซาวด์ สตูดิโอ จากัด
3. บริษัท ห้องบันทึกเสียงรามอินทรา 9. บริษัท ซีเนซาวด์ จากัด
4. บริษัท เสียงดีทวีสุข จากัด 10. บริษัท วัน คูล ซาวด์ สตูดิโอ จากัด
5. บริษัท มีคุณอนันต์ จากัด 11. ผู้ประกอบธุรกิจรายอื่น จานวน 163 ราย
6. บริษัท เกคโค สตูดิโอ คอมเพล็กซ์ จากัด

4. ผู้ประกอบการของธุรกิจการบริการทาคอมพิวเตอร์ กราฟฟิ กแอนิเ มชั่นและเทคนิ คพิ เศษ จานวน 227


ราย ตัวอย่างแสดงดังตารางที่ 18

ตารางที่ 18 ตัวอย่างรายชื่อผู้ประกอบการของธุรกิ จการบริ การทาคอมพิว เตอร์กราฟฟิ กแอนิเมชั่น และเทคนิ ค


พิเศษ 17
รายชื่อนิติบุคคลผู้ประกอบการของธุรกิ จการบริการทาคอมพิวเตอร์กราฟฟิกแอนิเมชั่น และเทคนิ คพิ เศษ
1. บริษัท ยานนิกซ์ จากัด 7. บริษัท เทรนด์ส ดิจิตัล จากัด
2. บริษัท อิ๊กดราซิล กรุ๊ป จากัด (มหาชน) 8. บริษัท อาทิเฟ็ค ดีไซน์ แอนด์ เอ็ฟเฟ็ค จากัด
3. บริษัท เช็คเมท เอ็นเตอร์ไพรส์ โซลูชั่นส์ จากัด 9. บริษัท สตูดิโอ พอร์ต้า จากัด
4. บริษัท เอ เอส เอ พี คอร์ปอเรชั่น จากัด 10. บริษัท เดอะมั้งค์ ฟิล์ม จากัด
5. บริษัท แคท อิน เดอะ เฮ้าส์ จากัด 11. บริษัท 88 กราฟฟิค เฮ้าส์ จากัด
6. บริษัท ครีเอทีฟ ดิจิพลัส จากัด

16 เรื่องเดียวกัน
17 เรื่องเดียวกัน

50
(4) บริษัทผู้ให้บริการ Support การถ่ายทาภาพยนตร์ในประเทศหรือประสานงานกองถ่ายต่างประเทศ
ตามแนวคิดของอุต สาหกรรมสร้า งสรรค์ สามารถขยายขั้นตอนการผลิ ตสู่ก ารให้การบริการการถ่า ยท า
ภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทยหรือการประสานงานกองถ่ายต่างประเทศ ซึ่งเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมอื่ น ๆ
ทั้งด้านภาพยนตร์และด้านการท่องเที่ยวและบริการ สาหรับบริษัทที่ให้บริการด้านการถ่ายทามีหน้าที่ประสานการ
ท างานระหว่ างบริ ษั ทต่ างประเทศกั บหน่ วยงานรั ฐ บาล ได้ แ ก่ กองกิ จ การภาพยนตร์แ ละวี ดิ ทั ศ น์ต่ างประเทศ
(Thailand Film Office) กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ทั้งนี้ เนื่องจากการถ่ายทาภาพยนตร์
ในประเทศไทย ตาม พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทั ศน์ ปี 2551 จาเป็นต้องมีการขออนุญาตการถ่ายทา การพิจารณา
บทภาพยนตร์ก่อนการถ่ายทาภาพยนตร์

นอกจากนี้ ยังทาหน้าที่ประสานงานกับ บริษัท รับจ้างผลิ ต/สถานที่ถ่ายทา (Production House) ในส่วน


ต่างๆ เพื่อจัดหาและเตรี ยมอุป กรณ์ นักแสดง สถานที่ รวมถึงที่พัก อาหาร สาหรับทีมงานกองถ่า ยทาภาพยนตร์
โดยมักไม่เกี่ยวข้องกับ การดาเนิ นงานในส่วนกระบวนการหลัง การผลิ ต บริษัทดังกล่าวนี้ ได้แก่ บริษัท Indochina
Productions จ ากั ด บริ ษั ท VS Service จ ากั ด และ บริ ษั ท Living Films จ ากั ด โดยบริ ษั ท เหล่ านี้ อยู่ ใ นส่วน
ขั้นตอนก่อนการผลิต และระหว่างการผลิต

เอกสารรายงานการจัดเก็บสถิติข้อมูลมูลค่าอุตสาหกรรมคอนเทนต์แ ละฐานข้อมูล ผู้ประกอบการกิจการใน


อุตสาหกรรมคอนเทนต์ ประจาปี 2563 (บริษัท ฐิติธนฤติ จากัด สมาคมไทยธุร กิจ อิ เล็ คโทรนิ คบั นเทิ ง สมาพัน ธ์
สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติ และกระทรวงวัฒนธรรม, 2564) รวบรวมข้อมูลผู้ประกอบการของธุรกิจ กลุ่ มสนั บ สนุ น
การผลิตภาพยนตร์ในประเทศไทย (ประสานงานกองถ่ายต่างประเทศ) จานวน 414 ราย ตัวอย่างแสดงดังตารางที่
19

51
ตารางที่ 19 ตั ว อย่ า งรายชื่ อ ผู้ ประกอบการของธุ ร กิ จ กลุ่ ม สนั บสนุ น การผลิ ตภาพยนตร์ ใ นประเทศไทย
(ประสานงานกองถ่ายต่างประเทศ) 18
รายชื่อผู้ประสานงานในนามนิติบุคคล รายชื่อผู้ประสานงานในนามบุคคลธรรมดา
1. บริษัท กู๊ดดี้ ฟิล์ม (ไทยแลนด์) จากัด 1. นายปิยะ เปสตันยี
2. บริษัท เบนีโทน (ประเทศไทย) จากัด 2. นายภควัต สุพรรณขันธ์
3. บริษัท เดอ วอร์เรนท์ พิคเจอร์ จากัด 3. ม.ล.ทศวรรณ เทวกุล
4. บริษัท เดอะ ซิกซ์ เอลลิเม้นท์ จากัด 4. นางสาวกานต์พิชชา พงศ์กุลพัฒน์
5. บริษัท ที-เกต จากัด 5. นายเจษฎา เนตร์รุ่ง
6. บริษัท สปิเนล จากัด 6. นางสาวนนทกร มุตตามระ
7. บริษัท ไทย ออกซิเดนทัล โพรดักชั่นส์ จากัด 7. นางสาวผ่องพรรณ จอมศักดิ์
8. บริษัท นากายา โชว์แต่ง จากัด 8. นายเศกศิลป์ จิตตกิจ
9. บริษัท บิ๊กด็อก โปรดักชั่น จากัด 9. นางสาวภคกนก คนหลัก
10. บริษัท โซก้า เอเซีย จากัด 10. นายเทวัญ ฉัตรดารง

(5) การพัฒนาผู้ผลิต หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งทาหน้าที่ผลิตบุคลากรด้านภาพยนตร์ ประกอบด้วยภาครั ฐ


ได้ แ ก่ กระทรวงวั ฒ นธรรม ภาคเอกชน M Picture และสถาบั น การศึ ก ษาที่ มีก ารจั ด การเรี ยนการสอนด้าน
ภาพยนตร์ และสมาคมต่า งๆ ได้แก่ ได้แก่ สมาคมผู้กากับ ภาพยนตร์ ไทย สมาคมภาพยนตร์ อิสระไทย สมาคม
วิชาชีพภาพยนตร์และดิจิทัลมีเดีย ตั้งแต่ผู้เขียนบท ผู้กากับภาพยนตร์ กล้อง และผู้อานวยการสร้าง เป็นต้น

กล่าวโดยสรุป
อุตสาหกรรมภาพยนตร์ ไทยโดยเฉพาะภาพยนตร์กระแสหลั ก มีลักษณะการดาเนิน ธุรกิจ ที่ เน้น ผลก าไร
บริษัทที่ลงทุนเป็นบริษัทใหญ่ และจ้างงาน (ต่อ) บริษัทรายย่อย หรือ Production House ส่งผลให้ลิขสิทธิ์ทั้งหมด
เป็นของบริษัทใหญ่ โดยลิขสิทธิ์ของบทภาพยนตร์ส่วนใหญ่มัก เป็นของบริษั ทเจ้าของทุน มีผู้เขียนบทบางคนอาจได้
ลิขสิทธิ์ในบางส่วน โดยเฉพาะหากเป็นผู้ริ เริ่ ม สร้างสรรค์ และคิดเนื้อหาเองทั้ งหมด อย่างไรก็ตามปัจจุบัน เริ่มมี
บริษัทสตูดิโอบางแห่ งจ่ายค่าตอบแทนผู้ เขียนบทเป็ นรายเดื อน เริ่มต้นที่ประมาณ 15,000 บาท/เดือน และหาก
การเขียนบทดังกล่าว มีการทางานร่วมกันเป็นทีม (ใช้นักเขียนจานวนมาก) รายได้โดยเฉลี่ยที่นักเขียนบทในที มแต่
ละคนได้รับจะมีสัดส่วนลดลง (ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ 25 พ.ค. 64)

18 เรื่องเดียวกัน

52
ส าหรั บ กรณี ข องภาพยนตร์ท างเลือ ก ซึ่ ง มุ่ ง เน้ น คุ ณค่ า ทางศิ ล ปะ หรื อ การสื่ อ สารประเด็ น ทางสังคม
มากกว่าภาพยนตร์กระแสหลัก รายได้จากภาพยนตร์ อาจไม่มากเท่าภาพยนตร์กระแสหลัก ซึ่งกลุ่มผู้ผลิตภาพยนตร์
ทางเลือก ต้องเผชิญกั บ การต่ อสู้ กั บระบบธุร กิจ ที่ มุ่ง เน้ นผลกาไร หากไม่ได้รั บเงิ นทุ นสนับ สนุ น อาจส่ งผลให้ ไม่
สามารถผลิตภาพยนตร์ทางเลือกต่อได้ ทาให้ศิลปะภาพยนตร์อาจลดลง และหายไปจากตลาด

4.3.3 การเผยแพร่/จัดจาหน่า ย (Film Distribution)


หากเทียบภาพยนตร์ เป็ นสิ นค้ าการจะน าสิ นค้า ไปส่ งให้ กับ ผู้บ ริโ ภค ซึ่งอยู่กระจั ดกระจายจาเป็ น ต้ อ งมี
หน่วยงานที่นาสินค้านั้น ไปส่ง โดยปกติมักจะจาแนกเป็ น 4 ส่วนคือ การจัดจาหน่ายภาพยนตร์จากต่างปร ะเทศ
ภาพยนตร์ในประเทศ ในกรณีของภาพยนตร์ ไทย อาจมีลักษณะพิ เ ศษนั่ นก็ คื อ การมี “สายหนัง” และการจั ด
จาหน่ายต่างประเทศ ทั้งหมด เผยแพร่นี้จ ะเป็น การ “จาหน่ายสิทธิ์” ซึ่งหมายถึงการให้ สิท ธิ์ใ นบางช่ว งเวลาที่
กาหนดเท่านั้น และหลังจากนั้นก็ไม่สามารถนาไปฉายได้ รายละเอียด ดังตารางด้านที่ 20 นี้

ตารางที่ 20 กิจกรรมการเผยแพร่/จัดจาหน่าย (วิเคราะห์โดยคณะทางาน)


หน่วยงานที่
อุตสาหกรรม ลักษณะการดาเนินงาน องค์กรธุรกิจ
เกี่ยวข้อง
การจัดจาหน่ายจาก นาภาพยนตร์จากต่างประเทศ บริษัทที่เป็นตัวแทนจัด - กรมสรรพากร
ต่างประเทศ เข้ามาในประเทศ ทั้งนี้ หาก จาหน่ายจากต่างประเทศ - บริษัทสตูดิโอ
ฉายในโรงจะจาหน่ายสิทธิ์แบบ โดยตัวแทนนี้เรียกว่า จาก
แบ่งสัดส่วนร้อยละ “กลุ่มเมเจอร์” และ ต่างประเทศ
ตัวแทนอิสระ
การจัดจาหน่าย นาภาพยนตร์ไปฉายในประเทศ สตูดิโอในประเทศ มักจะ - กรมสรรพากร
ภายในประเทศ ทั้งนี้ หากฉายในโรงจะจาหน่าย เป็นผู้ผลิตและจัดจาหน่าย - บริษัทสตูดิโอใน
สิทธิ์แบบแบ่งสัดส่วนร้อยละ ประเทศ
ระบบสายหนัง นาภาพยนตร์ทั้งของประเทศ สายหนังหลัก 4 สาย (สาย - กรมสรรพากร
ไทยและต่างประเทศไปส่งโรง เหนือและแปดจังหวัดรอบ
ภาพยนตร์ในต่างจังหวัด กรุงเทพฯ/ สายใต้/ สาย
มีลักษณะจาหน่ายสิทธิ์แบบ อีสาน/ สายตะวันออก)
จาหน่ายขาด และยังมีสายหนังเร่ ที่เน้น
การฉายหนังกลางแปลง

53
หน่วยงานที่
อุตสาหกรรม ลักษณะการดาเนินงาน องค์กรธุรกิจ
เกี่ยวข้อง
การจัดจาหน่าย นาภาพยนตร์จากประเทศไทย - สตูดิโอ
ไปยังตลาด ไปจาหน่ายในตลาด - Extra Virgin
ต่างประเทศ ต่างประเทศ

ในส่วนของการเผยแพร่หรือ การจัดจาหน่า ย มักจะเป็นธุรกิจที่ดาเนิน งานโดยเอกชนที่มีลัก ษณะควบร วม


กิจการสูงมาก (ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ) และที่สาคัญเป็นธุร กิจที่ผู กขาดจากไม่กี่ เจ้าเท่านั้น ลักษณะการ
ดาเนินงานจะเริ่มจากผู้ผลิตภาพยนตร์ (ทั้งในและต่างประเทศ) ตัวแทนจั ดจาหน่าย สู่ “การฉาย” และสู่ผู้บริโ ภค
ดังภาพที่ 10

ภาพที่ 10 ตัวแทนจัดจาหน่ายและการฉาย (วิเคราะห์โดยคณะทางาน)

จากข้อมูลการวิเคราะห์แสดงดังภาพที่ 10 องค์ประกอบสาคัญของตัวแทนจัดจาหน่ายภาพยนตร์ ได้แก่


1. การจั ด จ าหน่ ายภาพยนตร์ จากต่ างประเทศ ซึ่ ง นั บ เป็น ตลาดหลัก เนื่ อ งมาจากตลาดภาพยนตร์ ใน
ประเทศไทยให้ความสาคัญต่อภาพยนตร์ต่างประเทศ (กรณีนี้อาจแตกต่างจากอุตสาหกรรมภาพยนตร์ของประเทศ
ฝรั่งเศสและเกาหลี ใต้ ซึ่งผู้ชมให้ความสนใจต่ อภาพยนตร์ ในประเทศมากกว่า ) การจัดจาหน่ายนี้มักจะมี ลั ก ษณะ
ควบรวมกิจการจากต่างประเทศในลั กษณะแนวตั้ง (Vertical Integration) ทีเ่ อื้อประโยชน์ต่อผลกาไรที่ได้ ทั้ ง หมด
ตั้งแต่ต้นน้าสู่ปลายน้า ในกรณีนี้คือ เป็นผู้ผลิตและจัดจาหน่ายไปในตัว แต่อาจปรับบทบาทเป็นตัวแทนจัดจาหน่า ย
ในประเทศ เรียกว่า “กลุ่มเมเจอร์” ได้แก่บริษัท Sony Pictures Releasing Walt Disney Studios (Thailand),
United International Pictures (Fareast), Warner Brothers (FE), 20 th Century Fox (Thailand) ทั้งหมดจะ

54
มีสัดส่วนประมาณร้อ ยละ 65 (อนงค์นาฏ รัศมีเวียงชัย กุล , 2558) สัดส่วนที่เหลื อร้ อยละ 35 คือ บริษัทนาเข้ า
ภาพยนตร์อิสระ เช่น บริษัทในเครือสหมงคลฟิ ล์ม เช่น มงคลเมเจอร์ มงคลภาพยนตร์ หรือบริษัท เอ็ม พิคเจอร์ ส
(M Picture) โมโนฟิล์ม (Mono Film) ซึ่งต้องอาศัยการต่อรองกั บเจ้าของลิขสิ ทธิ์รายอื่น ๆ เพื่อให้ได้ภาพยนตร์ ที่
ต้องการ (หรืออาจไม่ต้องการ) หรือเป็นการซื้อภาพยนตร์แบบเหมารวม (Package) ทั้งนี้ ภาพยนตร์ที่นาเข้ามาแล้ว
จะนาไปจัดจาหน่ายในโรงภาพยนตร์ห ลัก ๆ ในกรุงเทพฯ และหัวเมืองหลั ก แต่ในพื้นที่ต่างจังหวั ดจะจั ดจาหน่ า ย
ผ่าน “สายหนัง” และสายหนังเร่ (รายละเอียดจะกล่าวถึงในหัวข้อสายหนัง)

เอกสารรายงานการจัดเก็บสถิติข้อมูลมูลค่าอุตสาหกรรมคอนเทนต์แ ละฐานข้อมูล ผู้ประกอบการกิจการใน


อุ ต สาหกรรมคอนเทนต์ ป ระจา ปี พ.ศ. 2563 (บริ ษั ท ฐิ ติ ธ นฤติ จ ากั ด สมาคมไทยธุ ร กิ จ อิ เ ล็ค โทรนิ ค บันเทิง
สมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติ และกระทรวงวัฒนธรรม, 2564) ได้ระบุถึงรายชื่อผู้ประกอบการของธุรกิจ การ
เผยแพร่ภาพยนตร์และวีดิทัศน์และรายการโทรทัศน์ จานวน 62 ราย ซึ่งรวมถึงรายการโทรทัศน์ ดังตารางที่ 21 นี้

ตารางที่ 21 ตัวอย่างรายชื่อผู้ประกอบการของธุรกิจการเผยแพร่ภาพยนตร์และวีดิทัศน์และรายการโทรทัศน์ 19

รายชื่อนิติบุคคลผู้ประกอบการของธุรกิ จการเผยแพร่ภ าพยนตร์แ ละวี ดิทั ศน์ และรายการโทรทั ศน์


1. บริษัท โซนี่ พิคเจอร์ส เอ็นเตอร์เทนเมนต์ 6. บริษัท เลเซอร์แคท จากัด
(ประเทศไทย) จากัด
2. บริษัท เอ็ม พิคเจอร์ส จากัด 7. บริษัท ฮอลลีวู้ด (ไทยแลนด์) จากัด
3. บริษัท ฮาร์เบอร์ วิว มีเดีย แอนด์ โปรดักชั่น จากัด 8. บริษัท บีอุส จากัด
4. บริษัท คอนเทนต์ สยาม จากัด 9. ผู้ประกอบธุรกิจรายอื่น จานวน 54 ราย
5. บริษัท โกลเด้นทาวน์ฟิล์ม จากัด

2. การจัดจาหน่ายภาพยนตร์จากในประเทศ ส่วนใหญ่สตูดิโอเป็ นทั้ งผู้ผ ลิต และผู้ จัดจาหน่ายภาพยนตร์


ด้วยตนเอง ซึ่งก็ไม่ต่างไปจากการจัดหน่ายภาพยนตร์ต่างประเทศเข้า ในประเทศไทยที่ มีลัก ษณะการควบรวมแบบ
เบ็ดเสร็จ แต่หากเป็นกรณีของภาพยนตร์กระแสทางเลือ ก ผู้กากับภาพยนตร์และอาจรวมถึ งผู้อานวยการสร้ า งจะ
นาภาพยนตร์ไปติดต่อกับหน่วยจัดฉายภาพยนตร์ด้วยตนเอง เนื่องจากภาพยนตร์เหล่านี้ไม่ได้ทากาไรเป็นหลัก และ
โดยปกติโรงภาพยนตร์ มักจะให้ ความสนใจภาพยนตร์ ที่ไ ด้กาไรและมี ส่ว นแบ่ งประมาณ 50:50 หรืออาจต่ากว่ า นี้
เรียกระบบนี้ว่า “การแบ่งเปอร์เซ็นต์”

19 เรื่องเดียวกัน

55
3. ระบบสายหนัง อาจกล่าวได้ว่า ระบบนี้มีเฉพาะในประเทศไทย เป็นระบบที่มีมาตั้ งแต่อ ดี ตเนื่อ งจาก
ความห่างไกลเชิง พื้ น ที่ การนาภาพยนตร์ (รูปแบบฟิล์ม) ออกจาหน่ายในโรงภาพยนตร์ ต่า งจั ง หวั ด ต้องอาศั ย
ตัวกลางในท้องถิ่น หรือที่เรียกว่า “สายหนัง” ที่มีความเชี่ยวชาญในพื้นที่ต่า งจังหวัดหรื อโรงภาพยนตร์ ต่างจั ง หวั ด
มากที่สุด แบ่งตามแต่ละพื้นที่ (ซึ่งปัจจุบันเหลือเพียง 4 สาย) (ชญาณิน ธนสุขถาวร, 2556) คือ
- สายเหนื อ และแปดจั ง หวั ด รอบกรุง เทพฯ ได้ แ ก่ นครปฐม สุ พรรณบุ รี กาญจนบุรี ราชบุ รี เพชรบุรี
ประจวบคีรีขันธ์ สมุทรสงคราม และสมุทรสาคร และสายเหนือ เรียกว่า “สายธนา” มาจากตระกูล “ธนารุ่งโรจน์”
เจ้าของโรงภาพยนตร์ธนาซีนีเพล็กซ์ (Thana cineplex) และค่ายภาพยนตร์พระนครฟิล์ม
- สายใต้ ภายใต้การควบคุมของ “โคลีเซียมฟิล์ม” โดยโรงภาพยนตร์โคลีเซียซีนีเพล็กซ์
- สายตะวันออก ควบคุมโดย “สมานฟิล์ ม” ของตระกู ล ทองร่ มโพธิ์ และดาเนิน กิจ การโรงภาพยนตร์
มัลติเพล็กซ์ในนาม SF Cinema หรือ SF
- สายอีสาน รวมสระบุรี มี 2 บริษัท ได้แก่ “มูวี่ พาร์ทเนอร์ เนวาดา” (Nevada) และไฟว์สตาร์

ทั้ ง นี้ จุ ด เด่ น ของการมี ส ายหนั ง คื อ ท าให้ ภ าพยนตร์ ก ระจายสู่ พื้น ที่ ทั่ ว ประเทศได้ อ ย่ า งรวดเร็วขึ้น
ภาพยนตร์ทจี่ าหน่ายให้สายหนังจะเป็นการ “จาหน่ายสิทธิ์” ในลักษณะ “จาหน่ายขาด” และตกลงราคากับผู้ผ ลิ ต
เองหรือตัวแทนจัดจาหน่าย การจาหน่ายสายหนัง เป็นการคาดการณ์ เพราะอาจจาหน่ายราคาหนึ่งแต่เมื่อฉายกลั บ
ได้กาไร (บางครั้งอาจขาดทุน) กาไรที่ได้ไม่ต้องให้คืนกั บผู้ผ ลิต รวมถึง เมื่อแบ่งตามภูมิภาค อาจทาให้เกิดการฉาย
ภาพยนตร์เฉพาะภาคได้ เช่น กรณีสายหนังอีสาน (ผู้ผลิตคือ “ผู้บ่าวไทบ้าน”)
สาหรับข้อจากัดของการมีสายหนัง คือ การผูกขาด ซึ่งนอกจากสายหนังแล้ว ยังมีระบบ “สายหนังเร่” ที่
ฉายหนังเร่ไปตามพื้นที่ต่างๆ ระบบนี้จะซื้อ “กากหนัง” หรือภาพยนตร์ที่ฉายผ่านสายหนังมาแล้วนาไป “เร่” ฉาย
ตามพื้นที่ต่างๆ กากหนังมีคุณภาพที่ไม่ดีนักและจะฉายไปเรื่อยๆ จนไม่อาจฉายได้หรือไม่มีผู้ชม ซึ่งถือได้ว่าเป็นการ
สร้างรายได้และทากาไรอีกทางหนึ่ง

4. การจัดจาหน่ายภาพยนตร์สู่ต่างประเทศ ในอดีตเป็นการติดต่อจากบริษัทภาพยนตร์ต่างประเทศเพื่ อ น า
ภาพยนตร์ จ ากประเทศไทยไปฉายในต่ า งประเทศ ได้ แ ก่ Europacorp, Golden Network, Fortissimo แต่
ปัจจุบัน สตูดิโอเริ่มจัดจาหน่ายเอง โดยเฉพาะภาพยนตร์ที่ต่างประเทศสนใจ

56
ส า หรั บ ภา พยน ตร์ กร ะแสทา งเลื อ ก เริ่ ม มี บ ริ ษั ท Extra Vergin, Mosquito Film Distribution
ประสานงานติดต่อนาภาพยนตร์ไปฉายต่างประเทศ แต่ทั้งนี้เนื่องจากค่าลิขสิทธิ์มีมูล ค่าน้อย เช่น การเผยแพร่ผ่าน
ช่ อ งทางเทศกาลภาพยนตร์ต่ างประเทศ ซึ่ ง ท ารายได้ ค่ อ นข้ างน้อ ย และอาจได้ เ พี ยงแค่ ค่า ธรรมเนี ยมการฉาย
(Screening Fee) จึงทาให้ผู้ผลิตภาพยนตร์หรือผู้กากับภาพยนตร์จาเป็นต้องติดต่อ ด้วยตนเอง

จากข้อมูลดังกล่าวพบว่า ระบบการเผยแพร่หรือการจัดจาหน่ายภาพยนตร์ข องไทย คานึงถึงผลกาไรเป็ น


หลั ก มี ลั ก ษณะเป็ น การผู ก ขาด โดยมี ผู้ เ กี่ ย วข้ อ งจ านวนจ ากั ด (ส่ ว นมากเป็ น นายทุ น หรื อ ผู้ เ ล่ น รายใหญ่ใน
อุ ต สาหกรรม) ซึ่ ง เป้ า หมาย คื อ การครองส่ ว นแบ่ ง การตลาดของการจาหน่ ายภาพยนตร์ใ น โรงภาพยนตร์ทั้ง
ส่วนกลาง (กรุงเทพฯ) และต่างจังหวัด จากนั้นจึงมุ่งสู่การนาไปฉายในสื่ออื่นๆ ได้แก่ ดีวีดี โทรทัศน์ สตรีมมิ่ง และ
เทศกาลภาพยนตร์ ด้วยรูปแบบของอุต สาหกรรมลั กษณะนี้ จึงทาให้ผู้เล่นรายใหม่ หรือผู้ผลิตภาพยนตร์ ก ร ะแส
ทางเลือกถูกจากัดโอกาสการเข้าถึงตลาดในอุตสาหกรรมภาพยนตร์

นอกจากนี้ ความพยายามควบรวมกิจการแบบแนวตั้ง (Vertical Integration) ของสายหนัง เริ่มตั้งแต่การ


เป็นผู้ลงทุนผลิตภาพยนตร์ จัดจาหน่าย และเป็นเจ้าของโรงฉายภาพยนตร์ ในมุมของสานักวิพากษ์เห็น ว่าเป็น การ
กีดกัดคู่แข่ง และควบรวมอานาจทางธุรกิ จ แต่ หากพิจารณาในแง่ข องการลดความเสี่ยง คือ การแตกแขนงธุ ร กิ จ
เพื่อกระจายรายได้ และลดการใช้ทรัพยากรของธุรกิจ
สาหรับห่วงโซ่คุณค่า ดัง กล่าว มีเพียงกรมสรรพากร ที่เป็นหน่วยงานของภาครัฐ ทีม่ ีส่วนเกี่ยวข้องในการ
จัดเก็บภาษี หน่วยงานที่ขับเคลื่อนหลักเป็นส่วนภาคเอกชน

4.3.4 การฉายภาพยนตร์ (Film Exhibition)


มีรูปแบบของการกระจายกิจ กรรมใกล้เ คีย งการเผยแพร่/จัดจ าหน่า ยภาพยนตร์ กล่าวคือ เป็นตัวกลาง
เชื่อมระหว่างผู้ ผลิ ตและผู้บริ โภค และมีลักษณะการผู กขาดตลาดและรวมอานาจของผู้ ดาเนิน งานจานวนไม่ มาก
โดยเฉพาะโรงภาพยนตร์ จึงเกิดปัญหาซึ่งผู้ผลิ ตรายย่ อย อาทิ ผู้กากับภาพยนตร์พบปัญหาในการหาช่ องทางการ
เผยแพร่ภาพยนตร์
นอกจากโรงภาพยนตร์แ ล้ว การฉายภาพยนตร์สามารถจาแนกได้ หลากหลาย ช่อ งทาง ทั้งดีวีดี โทรทัศ น์
พื้นที่ต่างๆ อาทิ โรงแรม รวมทั้ง ระบบสตรีมมิ่งหรือ ออนไลน์ ในปัจจุบั น และการเผยแพร่ผ่านเทศกาลภาพยนตร์
เป็นต้น รายละเอียดแสดงดังตารางที่ 22

57
ตารางที่ 22 ช่องทางการฉายภาพยนตร์ในประเทศไทย (วิเคราะห์โดยคณะทางาน)
อุตสาหกรรม ลักษณะการดาเนินการ องค์กรธุรกิจ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
โรงภาพยนตร์ - โรงภาพยนตร์กระแส บริษัทเมเจอร์, เอส เอฟ - กระทรวงวัฒนธรรม
หลักมักจะผูกขาดจาก - ค่าลิขสิทธิ์โรง และ
เจ้าใหญ่ VPF จากต่างประเทศ
- มีโรงภาพยนตร์ศิลปะ - หอภาพยนตร์
จานวนน้อย ไม่นับรวม - โรงเรียนหรือสถาบัน
โรงภาพยนตร์ใน การสอนภาพยนตร์
สถาบันการศึกษา
ดีวีดี การนาภาพยนตร์ บริษัทโรส แมงป่อง - กรมสรรพากร
เผยแพร่ผ่านบ้าน แต่ และอืน่ ๆ -กระทรวงวัฒนธรรม
เริ่มตกต่า
อื่นๆ ได้แก่ การฉายตาม การนาภาพยนตร์ - กรมสรรพากร
โทรทัศน์ โรงแรม ฯลฯ เผยแพร่ผ่านช่องทาง -กสทช. (กรณีการฉาย
อื่นๆ แต่จะหลังจาก ในโทรทัศน์)
การเผยแพร่ผ่านดีวีดี
Streaming จัดฉายภาพยนตร์และ Netflix, iFlix, Hooq, - บริษัท Netflix จาก
นาไปสู่การผลิต TureID, MonoMaxx ต่างประเทศ
ภาพยนตร์ - กรมสรรพากร
-กสทช. (ควรมี
บทบาทในการกากับ
ดูแลอย่างไร)
เทศกาลภาพยนตร์ การนาภาพยนตร์ฉาย - กระทรวงวัฒนธรรม - กระทรวงพาณิชย์
ในเทศกาล ซึ่งมีเพื่อ (เฉพาะภาพยนตร์ - สถานทูต
เผยแพร่แล้วยังเกี่ยวกับ อาเซียน) - เทศกาลภาพยนตร์
ตลาดภาพยนตร์ - รายย่อย ในต่างประเทศ

จากข้อมูลพบว่า แม้ช่องทางการฉายภาพยนตร์มีจานวนเพิ่มมากขึ้น ทั้งโรงภาพยนตร์ ดีวีดี ช่องทางอื่น ๆ


(โทรทัศน์ โรงแรม) รวมถึงช่องทางใหม่ ได้แก่ ระบบสตรีมมิ่ ง (Streaming) แต่ในทางปฏิบัติ พบว่า ทุกช่องทาง
ยังคงจากัดหรือผูกขาดสาหรับเจ้าของธุรกิจบางราย

58
สาหรับช่องทางการฉายผ่านเทศกาลภาพยนตร์ ภาพยนตร์ไทยมักผลิตเพื่อการฉาย โดยขาดการวางแผน
เรื่องการสร้างช่อ งทางการตลาดภาพยนตร์ และการพัฒ นาผู้ ผ ลิต รายละเอียดของช่ องทางการฉายภาพยน ตร์
อธิบายได้ดังต่อไปนี้
1. โรงภาพยนตร์ สามารถแบ่งได้ตามเกณฑ์ ดังนี้
- โรงภาพยนตร์ที่ไ ม่ใ ช่รู ปแบบธุ รกิจ ได้แก่ โรงภาพยนตร์ในมหาวิ ทยาลัย สถานทูต และหอภาพยน ตร์
เป็นต้น
- โรงภาพยนตร์รูปแบบธุรกิ จ เน้นโรงภาพยนตร์ ขนาดใหญ่ ภายใต้การดูแลของบริษั ทขนาดใหญ่ ได้แ ก่
บริษัทในเครือเมเจอร์ เครือเอสเอฟ (SF) ซึ่งมักขยายกิจการไปสู่ธุรกิจอื่นๆ ด้วย เช่น การผลิต สายส่ง ส่งผลให้เกิ ด
การกีดกัน และจากัดโอกาสของการเผยแพร่ภาพยนตร์โดยเฉพาะภาพยนตร์กระแสทางเลื อก หรือ ภาพยนตร์นอก
กระแส แต่เนื่องจากวิกฤติสถานการณ์ COVID-19 ในปัจจุบัน ทาให้เริ่มมีการขยายช่อ งทางการฉายผ่านช่อ งทาง
อื่นๆ โดยเฉพาะระบบออนไลน์
ทั้งนี้ รายได้ของการฉายภาพยนตร์ได้จากการแบ่งสัดส่ วนร้อยละ หรือเรียกว่า Flat Late เป็นอัตราที่ต้อ ง
จ่ายเท่ากัน หรือร้อยละ 50 : 50 แต่หากเป็นภาพยนตร์ กระแสทางเลือ กอาจได้ รับ ในสัด ส่ว นที่ น้อ ยกว่า รวมถึ ง
สัดส่วนที่ได้รับ อาจแตกต่า งกัน ในแต่ล ะสัป ดาห์ โดยเจ้า ของภาพยนตร์ต้ อ งจ่ายเงิน ค่า VPF (Virtual Print Fee)
หรือค่าธรรมเนียมสาหรับการฉายภาพยนตร์ระบบดิจิทัลให้กับโรงภาพยนตร์ อีกด้วย
นอกจากผู้เล่นรายใหญ่ที่ได้ก บริษัทเมเจอร์ซีนีเพล็กซ์ และเอสเอฟ แต่ในความเป็นจริงยังมีบริษัทอื่นๆ อีก
ดังเอกสารรายงานการจั ด เก็ บ สถิ ติ ข้อ มู ล มู ลค่ าอุ ต สาหกรรมคอนเทนต์แ ละฐานข้ อ มูล ผู้ ประกอบการกิจ กา รใน
อุตสาหกรรมคอนเทนต์ประจาปี พ.ศ. 2563 (บริษัทฐิติธนฤติจากัด สมาคมไทยธุรกิจอิเล็คโทรนิคบัน เทิง สมาพันธ์
สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติ และกระทรวงวัฒนธรรม, 2564) ได้ระบุถึงผู้ประกอบการของธุรกิจด้านโรงภาพยน ตร์ มี
จานวน 70 ราย ดังตัวอย่างตามตารางที่ 23 นี้

ตารางที่ 23 ตัวอย่างรายชื่อผู้ประกอบการของธุรกิ จด้ านการจัดฉายภาพยนตร์ 20


รายชื่อนิติบุคคลผู้ประกอบการของธุรกิ จด้า นโรงภาพยนตร์
1. บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จากัด (มหาชน) 7. บริษัท เมโทร โปร - ดิสก์ จากัด
2. บริษัท เอส เอฟ คอร์ปอเรชั่น จากัด (มหาชน) 8. บริษัท เอกมหากิจ จากัด
3. บริษัท อีจีวี เอ็นเตอร์เทนเมนท์ จากัด (มหาชน) 9. บริษัท ทองร่มโพธิ์ โฮลดิ้ง จากัด
4. บริษัท สยาม ซีนีเพล็กซ์ จากัด 10. บริษัท ไฟว์สตาร์เน็ทเวอร์ค จากัด
5. บริษัท ซีเอฟ มูฟวี่ พิคเจอร์ส จากัด 11. บริษัท เอ็กซ์เซกคิวทีฟ ซีนีม่า คอร์ปอเรชั่น จากัด
6. บริษัท ธนาเอนเตอร์เทนเม้นท์ จากัด

20 เรื่องเดียวกัน

59
อย่างไรก็ตาม จากวิกฤตสถานการณ์โรคระบาด COVID-19 ตั้งแต่ปี 2563 เรื่อยมาถึงปัจจุบัน (2564) โรง
ภาพยนตร์ได้รับผลกระทบในการปิด โรงภาพยนตร์เ พื่อป้ องกันโรคระบาด ในทางกลับกันกลับทาให้เกิด การเติ บ โต
ของระบบออนไลน์ มากขึ้ น ซึ่งทาให้การตั้ง คาถามถึ งอานาจหรื ออิ ทธิ พลของโรงภาพยนตร์ ในอนาคตว่า จ ะมี อ ยู่
หรือไม่ จากการสัมภาษณ์เ ชิง ลึก และการระดมความคิด เห็ นจากผู้เ ชี่ยวชาญ คณะทางานพบว่ามี ความคิ ดเห็ น ใน
สองทิศทาง ทิศทางแรก มีความเห็นว่าโรงภาพยนตร์จะยั งคงมี อิทธิ พลต่ออุ ตสาหกรรมภาพยนตร์ต่อ ไป ขณะที่อี ก
ด้านมีความเห็นว่า โรงภาพยนตร์จาเป็นต้องปรับตัว เพื่อที่จะสามารถดารงอยู่ได้ ต่อไปในอนาคต

2. ดีวีดี ที่ผ่านมานับเป็น ช่ อ งทางการฉายภาพยนตร์ที่ สาคั ญ มาก โดยหลังจากภาพยนตร์อ อกจา กโรง


ภาพยนตร์แล้ว ประมาณ 3-4 เดือน จะนามาวางจาหน่า ยในรู ปแบบดีวี ดี รายได้จากการจาหน่า ยลิ ขสิ ทธิ์ ใ ห้ กั บ
ช่องทางนี้ค่อนข้างมาก ผู้ผลิตหลายรายสามารถสร้างรายได้จากการจาหน่าย “สิทธิ์” ล่วงหน้า แล้วนาเงินมาใช้ใ น
การผลิต ปัจจุบันความนิยมในการชมภาพยนตร์จากดีวีดีลดลง โดยหันไปรับชมผ่านระบบสตรีมมิ่ง (Streaming)
ตัวอย่างบริษัทที่จัด จาหน่า ยภาพยนตร์ ในรูป แบบดี วีดี ได้แก่ แมงป่อง Right Beyond, Catalyst, Rose
Media
ข้ อ มู ล จากรายงานการจัด เก็ บสถิ ติ ข้อ มู ล มู ลค่ า อุต สาหกรรมคอนเทนต์ และฐานข้ อมู ล ผู้ ป ระกอบการ
กิจการในอุต สาหกรรมคอนเทนต์ป ระจาปี พ.ศ. 2563 (บริษัท ฐิติธนฤติ จากัด สมาคมไทยธุ ร กิจ อิเ ล็ คโทร นิ ค
บันเทิง สมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แ ห่ งชาติ และกระทรวงวั ฒนธรรม, 2564) ระบุถึงผู้เกี่ยวข้อ งในการเผยแพร่
ภาพยนตร์ 2 ส่วน คือ
1. ผู้ ป ระกอบการของธุ ร กิ จการดู แ ลสิท ธิ ใ นการผลิ ต ซ้ าภาพยนตร์วี ดิ ทั ศ น์ แ ละรายการโทรทั ศ น์ เพื่อ
จาหน่ายหรือเผยแพร่ มีจานวน 32 ราย ซึ่งรวมถึงการผลิตเป็นดีวีดีและทางช่องทางอื่นๆ ดังตารางที่ 24 ต่อไปนี้

60
ตารางที่ 24 ตั ว อย่ า งรายชื่ อ ผู้ ประกอบการของธุ ร กิ จ การดู แ ลสิ ท ธิ ในการผลิ ตซ้ าภาพยนตร์ วีดิทั ศน์ และ
รายการโทรทัศน์เพื่อจาหน่า ยหรือ เผยแพร่ 21
รายชื่อนิติบุคคลผู้ ประกอบการของธุร กิจการดู แลสิท ธิในการผลิ ตซ้ าภาพยนตร์วีดิทัศน์แ ละรายการโทรทั ศ น์
เพื่อจาหน่ายหรือเผยแพร่
1. บริษัท เอส เอฟ เอ็นเทอร์เทนเม้นท์ จากัด 7. บริษัท อาร์ท้อป มีเดีย (ไทยแลนด์) จากัด
2. บริษัท มูฟวี่ พาร์ทเนอร์ จากัด 8. บริษัท ซันเดย์ สทิล เวิร์คกิ้ง จากัด
3. บริษัท ออนป้า อินเตอร์เนชั่นแนล จากัด 9. บริษัท มงคล เมเจอร์ จากัด
4. บริษัท มีเดียเพล็กซ์ สตูดิโอ จากัด 10. บริษัท มูฟวี่ ก็อปปี้ไรท์ (ไทยแลนด์) จากัด
5. บริษัท ฮัน มีเดีย คัลเจอร์ จากัด
6. บริษัท ดิจิตอล ครีเนอร์จี จากัด

2. ผู้ประกอบการของธุรกิจการขายส่ งสื่อ บันทึ กเสีย งและวี ดิทั ศน์ที่ บันทึก ข้อ มูลแล้ วมีจานวน 92 ราย ดัง
ตัวอย่างตามตารางที่ 25 นี้

ตารางที่ 25 ตัวอย่างรายชื่อผู้ประกอบการของธุรกิจการขายส่งสื่อบันทึกเสียงและวีดิทัศน์ที่บันทึกข้อมูลแล้ว 22
รายชื่อนิติบุคคลผู้ประกอบการของธุรกิ จการขายส่งสื่ อบัน ทึกเสียงและวี ดิทั ศน์ ที่บัน ทึกข้อมู ลแล้ว
1. บริษัท เจเคเอ็น โกลบอล มีเดีย จากัด (มหาชน) 6. บริษัท ทูซีบรอดคาส จากัด
2. บริษัท สวีท แอนด์ คูล เอเจนซี่ (1999) จากัด 7. บริษัท เอ็มพีโอ เอสซีเอ็ม จากัด
3. บริษัท แคททาลิสท์ อัลลายแอนซ์ (ประเทศไทย) จากัด 8. บริษัท อินสไปร์มิวสิค จากัด
4. บริษัท เจเนซิส มีเดียคอม จากัด 9. บริษัท เอ็ม วี ดี จากัด
5. บริษัท เอ็กซ์ เอ็กซ์ แอล พาวเวอร์ ซาวด์ จากัด

3. ช่องทางอื่นๆ ได้แก่ โทรทัศน์ โรงแรม หรือสถานที่ต่างๆ เป็นการจาหน่ายสิทธิ์หลังการฉายภาพยนตร์


ให้แก่สถานที่ต่างๆ เหมือนกับการจาหน่ายสิท ธิ์ผ่านดีวี ดี ซึ่งจะได้เงินล่วงหน้า เพื่ อผลิ ตภาพยนตร์ แต่อาจมีร ะยะ
เวลานานกว่าประมาณ 1 ปี หรือ 1 ปีครึ่ง

4. ระบบสตรีมมิ่ง (Streaming) เป็นระบบใหม่ที่นาภาพยนตร์ไปฉาย ตัวอย่างเช่น บริษัทจากต่างประเทศ


Netflix, iFlix, Hooq, และบริษัทในประเทศไทย ได้แก่ TrueID, MonoMaxx ทั้งนี้ การฉายผ่านระบบสตรีมมิ่ง จะ

21 เรื่องเดียวกัน
22 เรื่องเดียวกัน

61
ฉายหลังจากที่ภาพยนตร์ออกฉายในโรงภาพยนตร์ไ ม่นานนัก หรือเช่นในช่วงวิกฤติสถานการณ์ COVID-19 อาจจะ
เข้าฉายก่อน
ปัจจุบันระบบสตรีมมิ่ง มีขนาดใหญ่ กระทั่งสามารถสนับสนุนทุนในการผลิ ตภาพยนตร์โ ดยตรงได้อี ก ด้ ว ย
ดังกรณีของ Netflix ซึ่งจะส่งผลต่ออานาจการควบคุมเนื้อหาและวิธี การทางานแบบตะวันตก นอกจากนี้ ยังเกิดข้อ
กังวลเกี่ยวกับข้อกฎหมาย ระบบการคุ้มครองลิขสิทธิ์ และอัตราการจ่ายค่าตอบแทน ที่อาจเกิดปัญหาในอนาคต

เอกสารรายงานการจัดเก็บสถิติข้อมูลมูลค่าอุตสาหกรรมคอนเทนต์แ ละฐานข้อมูล ผู้ประกอบการกิจการใน


อุ ต สาหกรรมคอนเทนต์ ป ระจ าปี พ.ศ. 2563 (บริ ษั ท ฐิ ติ ธ นฤติ จ ากั ด สมาคมไทยธุ ร กิ จ อิ เ ล็ ค โทรนิ ค บันเทิง
สมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่ง ชาติ และกระทรวงวัฒนธรรม, 2564) ระบุถึงผู้ประกอบการของธุรกิจให้บริ ก ารชม
ภาพยนตร์ผ่านทางอออนไลน์ (Movie Streaming Services) จานวน 11 ราย แสดงดังตารางที่ 26

ตารางที่ 26 รายชื่อผู้ประกอบการของธุ ร กิจให้ บริ ก ารชมภาพยนตร์ ผ่านทางออนไลน์ (Movie Streaming


Services) 23
รายชื่อผู้ให้บริการ
1. True Id (Trueid.net) 7. MonoMax (monomax.me)
2. Netflix (Netflix.com) 8. HBO GO (hbogo.co.th)
3. Viu (Viu.com) 9. Line TV (tv.line.me)
4. WeTv (Wetv.vip) 10. iFlix (ifix.com)
5. AIS Play (Aisplay.ais.co.th) 11. HOOQ (hooq.tv)
6. iQIYI (iqiyi.com)

23 เรื่องเดียวกัน

62
5. เทศกาลภาพยนตร์ โดยหลั ก การเทศกาลภาพยนตร์ เ ป็ นทั้ ง แหล่ ง ฉายภาพยนตร์ และเป็ น ตลาด
ภาพยนตร์ หรือ Film Market ซึ่งเกี่ยวข้องกับการพัฒนาอุตสาหกรรม และการยกระดับผู้ชมให้มีความเข้าใจ และ
เห็นโลกภาพยนตร์มากขึ้น การให้รางวัล และการเผยแพร่วัฒนธรรมของชาติ (Kerrigan, 2017 และพันธ์ธัมม์ ทอง
สั ง ข์ , 2551) ส าหรั บ ประเทศไทย มิ ติ ที่ ข าดหายจากเทศกาลภาพยนตร์ คื อ Film Market และการพั ฒ นา
อุตสาหกรรม เช่น การเป็นพื้นที่พบปะกันของกลุ่มผู้ผลิตภาพยนตร์ การพัฒนาโครงการภาพยนตร์ใหม่ ๆ
ปัจจุบัน เทศกาลภาพยนตร์ในประเทศไทยซึ่ งจัดขึ้นปี ละครั้ง ดาเนินการโดยกระทรวงวัฒนธรรม เน้นการ
ฉายภาพยนตร์ อ าเซี ย น (Bangkok ASEAN Film Festival) โดยที่ ผ่ า นมาการจั ด เทศกาลภาพยนตร์ Bangkok
International Film Festival จะเน้ น ภาพยนตร์ นานาชาติ และมี ก ารจัด การประกวดภาพยนตร์ เช่ น สุ พรรณ
หงส์ทองคา โดยสมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติ และชมรมวิจารณ์บันเทิง แต่ ไม่เน้นการจัดฉายภาพยนตร์
นอกจากนี้ มีการจัดเทศกาลภาพยนตร์ขนาดเล็ก เช่น โรงเรียนหรือสถาบันมักจะจัดเทศกาลภาพยนตร์ สั้ น
ของนักศึกษา ได้แก่ “หนังกางจอ” ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย “คอหนัง” ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์” เป็น
ต้น รวมทั้ง มีการจัดเทศกาลภาพยนตร์ในต่างประเทศ โดยกระทรวงพาณิชย์ และสถานทูตไทยประจาต่างประเทศ
เพื่อส่งเสริมเทศกาลภาพยนตร์ การเข้าร่วมเทศกาลภาพยนตร์ต่างประเทศ และการเปิดพื้นที่ให้ต่างประเทศได้ ช ม
ภาพยนตร์จากประเทศไทย รวมถึงการส่งเสริมการจัดจาหน่ายภาพยนตร์ไทย
ภายใต้กิจกรรมการฉายภาพยนตร์ จะพบว่า ภาคธุรกิจทั้งภายในประเทศ (บริษัทที่เกี่ยวกับโรงภาพยนตร์
และดีวีดี) และธุรกิจภายนอกประเทศ (บริษัทจัดการ/จัดเก็บค่าลิขสิทธิ์ภาพยนตร์ ลิขสิทธิ์โรงภาพยนตร์ VPF และ
บริษัทสตรีมมิ่งในระดับ ต่างประเทศ เช่น Netflix) มีบทบาทสาคัญไม่ ต่างจากห่ว งโซ่อุป ทานของการเผยแพร่ / จั ด
จ าหน่ า ย ส าหรั บ ภาครั ฐ ที่ เ ข้ า มาเกี่ ย วข้ อ งจะมี ทั้ ง ด้ า นการควบคุ ม ก ากั บ ดู แ ล เช่ น กระทรวงวั ฒ นธร ร ม
กรมสรรพากร รวมถึง กสทช. และด้านการให้ความสนับ สนุน เช่น กระทรวงวัฒนธรรม รวมถึงกระทรวงพา ณิ ช ย์
สถานทูต ซึ่งจัดเทศกาลภาพยนตร์

4.3.5 การบริโภค (Film Consumption)


ห่วงโซ่สุดท้ายในอุต สาหกรรมภาพยนตร์ ได้แก่ ผู้รับสารหรือผู้ช ม การผลิตภาพยนตร์จึ งต้ อ งวิ เ ครา ะห์
ข้อมูล และศึกษาความนิยมของตลาดหลัก ซึ่งสอดคล้องตามเป้าหมายของผู้ผลิตภาพยนตร์แต่ ละราย
การศึกษา และทาความเข้าใจความนิยม/พฤติกรรมของผู้ช ม มีเป้าหมาย 2 ประเด็น ได้แก่
- การส่งเสริมการตลาด เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้ชม
- การพัฒนาผู้ชม เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจในภาพยนตร์ (เนื้อหา และวัตถุประสงค์ของการสื่อสาร)
ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมภาพยนตร์ รายละเอียดอธิบายได้ดังตารางที่ 27

63
ตารางที่ 27 แนวทางการบริโภคภาพยนตร์ในประเทศไทย (วิเคราะห์โดยคณะทางาน)
เป้าหมาย การดาเนินงาน องค์กรธุรกิจที่เกี่ยวข้อง หน่วยงานสนับสนุน
การส่งเสริมการตลาด การโฆษณาประชาสัมพันธ์ สตูดิโอดาเนินการเอง หรือ สื่อมวลชน (ช่วยเผยแพร่ละ
เริ่มตั้งแต่ก่อนการผลิต การจัดจ้างบริษัทที่ปรึกษา ประชาสัมพันธ์ข้อมูล)
ภาพยนตร์ (เพื่อการ หรือบริษัทโฆษณา
จาหน่ายภาพยนตร์) ประชาสัมพันธ์ และบริษัท
จนกระทั่งขั้นตอนสุดท้ายคือ R&D ดาเนินการ
เมื่อภาพยนตร์เข้าฉาย และ
ผู้ชมได้รับชมภาพยนตร์
ดังกล่าวนั้น (จบ) แล้ว
การพัฒนาผู้ชม การสารวจผู้ชม และ Film Doc Club - หอภาพยนตร์
การยกระดับความรู้เกี่ยวกับ - Film School
ภาพยนตร์แก่ผู้ชม - นักวิจารณ์ภาพยนตร์

จากข้อมูลตารางที่ 27 อธิบายแนวทางการบริโภคภาพยนตร์ในประเทศไทย แบ่งได้ 2 เป้าหมาย ดังนี้


1) การส่งเสริมการตลาด โดยดึงดูดความสนใจของผู้ช มภาพยนตร์ ด้วยแนวทางหรือกลยุทธ์ ต่างๆ โดยมี
หน่วยงานที่รับผิดชอบได้แ ก่ สตูดิโอ หรือการจ้างผู้เชี่ยวชาญหรือบริษั ทผู้ผ ลิตสื่ อโฆษณาและประชาสั มพันธ์ หรือ
บริษัท R&D ดาเนินงาน
หากเป็นภาพยนตร์กระแสทางเลือก ผู้กากับภาพยนตร์เป็นผู้ดาเนินการ ความสาคัญของการโน้มน้าวและ
ดึงดูดความสนใจของผู้ช มภาพยนตร์ คือ การทาความเข้าใจว่า ใครคือผู้ชม ผู้ชมกลุ่มต่างๆ มีความต้องการ และ
ความสนใจภาพยนตร์ป ระเภทใด/อย่างไร ผู้ชมเปิดรับ (Involve/Engage) สื่อประเภทใด โดยใช้ข้อมูลจา กการ
วิเคราะห์/วิจัยต่างๆ ก่อนนาไปออกแบบสื่ อสารเพื่อ ดึง ดู ดความสนใจของผู้ช มภาพยนตร์ อาทิ การใช้สื่อมวลชน
การใช้สื่อบุคคล (Influencer) การใช้สื่อเฉพาะกิจ เช่น โปสเตอร์ ตัวอย่างภาพยนตร์ (Teaser) และปัจจุบัน เริ่ ม
ปรับสู่การสื่อสารในระบบออนไลน์ เพื่อสร้างกระแสการตลาดแบบไวรัล (Viral Marketing)
การทางานในส่วนนี้มักจะร่ว มกับ “สื่อมวลชน” รวมถึงสื่อมวลชนในโลกออนไลน์ เพื่อเผยแพร่ข่า วสาร
ตั้งแต่ก่อนการถ่ายทา ระหว่างการถ่ายทา และระหว่างช่วงเวลาของการฉายภาพยนตร์ โดยช่วงเวลาที่ต้องมี ก าร
สื่อสารประชาสัมพันธ์ มากที่สุ ด คือ ช่วงเวลาสัปดาห์แรกก่อนการเข้าฉาย และระหว่างการฉายภาพยนตร์ ดังนั้น
งบประมาณของการประชาสั มพันธ์จึ งอาจสู งเทียบเท่า กับงบการผลิ ต เช่น งบประมาณการผลิต 10-15 ล้านบาท
งบประมาณการประชาสัมพันธ์อาจสูงถึง 10-15 ล้านบาทด้วยเช่นกัน

64
2) การพัฒนาผู้ชม เป็นแนวคิดใหม่ที่ตั้ งอยู่บ นฐานของการให้ความสาคัญ กับภาพยนตร์ในมิ ติศิ ลปะ ที่ให้
ความสนใจทั้งฝ่ายการผลิต และผู้ชม แนวคิดดังกล่าวเกิดขึ้น ในยุโรป โดยเน้นการพัฒนาผู้ชมตั้ งแต่ร ะดับโรงเรี ย น
ดังนั้น หากเข้าใจผู้ชม พร้อมกับการยกระดั บ และพัฒนาความรู้ด้านศิล ปะภาพยนตร์แ ก่ ผู้ ชม จะช่วยให้สามารถ
ส่งเสริมอุต สาหกรรมภาพยนตร์ ให้ เ ติบ โตได้ สาหรับประเทศไทย องค์กรที่รับผิ ดชอบภารกิจ ดั งกล่า วนี้ คือ หอ
ภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2542 ทาหน้าที่รวบรวมข้อมูลด้านภาพยนตร์ และพัฒนาผู้ช มให้ มี
ความรู้ความเข้าใจศาสตร์ของภาพยนตร์ ผ่านการฉายภาพยนตร์ ทั้งในหอภาพยนตร์และการออกตระเวนฉายผ่ า น
รถโรงภาพยนตร์ การจัดเทศกาลภาพยนตร์ พิพิธภัณฑ์และนิทรรศการด้านภาพยนตร์ การจัด “โรงเรียนหนัง” การ
พัฒนาศูนย์ข้อมูลด้านภาพยนตร์ และการประชุมการเสวนาทางวิชาการ เป็นต้น (กาจร หลุยยะพงศ์, 2563)

นอกจากนี้ หน่วยงานภาครัฐที่ให้การสนั บสนุน ภารกิจ ด้านการพั ฒนาผู้ช ม คือ สถาบันการศึกษาที่ มีก าร


เรียนการสอนเกี่ยวกับภาพยนตร์ ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยรังสิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เป็นต้น

สาหรับประเด็นที่น่าสนใจ คือ ผู้ชม และสถาบันการเรียนการสอนด้านภาพยนตร์ (Film School) ยังไม่ มี


การรวมตัวที่เข้มแข็ง ทาให้พลังการผลักดันเกี่ยวกับภาพยนตร์ ค่อนข้างน้ อย แม้ที่ผ่านมา พ.ศ. 2550 มีการจัดตั้ ง
“เครือข่ายคนดูหนัง” เพื่อช่วยตั้งคาถามต่อ “พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทั ศน์” ปี พ.ศ. 2551 แต่การรวมตัวดังกล่ า ว
ขาดความต่อเนื่อ ง นอกจากนี้ นักวิจารณ์ภาพยนตร์ ซึ่งถือเป็นส่วนสาคั ญของการพัฒนาความรู้ แก่ ผู้ช ม โดยการ
สื่อสารผ่านนิตยสารด้านภาพยนตร์ แต่ในปัจจุบันจากการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีอย่า งรวดเร็ ว (Disruption)
โดยเฉพาะสื่อดิจิทัล ส่งผลกระทบให้อุตสาหกรรมนิ ตยสารได้รั บความนิย มลดลง นักวิจารณ์เริ่มลดบทบาทลง บาง
ท่านปรับตัวสู่โลกออนไลน์ ในขณะที่บางท่านลดบทบาทลงไป แต่ยังมีการรวมตัวกันเป็นชมรมวิจารณ์บัน เทิง ซึ่งมี
การจัดประกวดภาพยนตร์และให้รางวัล อีกทั้ง กระแสความนิยมและการเติบโตของโลกออนไลน์ทาให้ผู้ ช มส่ ว น
หนึ่ ง ก้ า วสู่ ก ารเป็ น ผู้ เ ขี ย นหรื อ ผู้ วิ จารณ์ ใ นโลกออนไลน์ ไ ด้ ด้ ว ยตนเอง และขยายการวิ จ ารณ์ ไ ปสู่ภ าพยนตร์
หลากหลายประเภทมากยิ่งขึ้น

จากข้อมูลข้างต้น จะเห็นได้ชัดเจนว่าการจัดการโซ่อุปทานในส่วนของการบริโภคนี้ มีลักษณะแยกขาดจาก


กันระหว่างภาคอุตสาหกรรม และภาครัฐ เนื่องจากเป้าหมายการดาเนินงานที่แตกต่างกัน โดยภาคอุตสาหกรรมจะ
เน้นมิติกาไรมากกว่าการพัฒนาหรือยกระดั บผู้ช ม ส่วนภาครัฐการทางานส่วนใหญ่เน้นที่สถาบันการศึ กษา อย่างไร
ก็ตาม ปัจจุบันมีองค์กรเอกชน เช่น Film Doc Club ซึ่งพัฒนามาจากผู้ผลิ ตนิ ตยสารภาพยนตร์ ทาหน้าที่พัฒนา
หรือยกระดับความรู้แก่ผู้ชมด้านสารคดี และการจัดเสวนาวิชาการ

65
4.4 ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
4.4.1 ประเภทของผู้มีส่วนได้ส่ว นเสี ย
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในอุ ตสาหกรรมภาพยนตร์โดยจาแนกเป็น 8 กลุ่ม ซึ่งมีหลากหลายรูปแบบและองค์ ก ร
ได้แก่ อุตสาหกรรม สหภาพ รัฐ เอกชน องค์กรต่างประเทศ ผู้ชม สื่อมวลชน นอกจากนั้นยังขยายไปสู่นักการเมื อ ง
ซึ่งอาจเป็นกลุ่มคนที่อาจมองข้ามไปในการวิเคราะห์ห่ว งโซ่ คุ ณค่า และได้แสดงให้เห็นความเกี่ยวข้องกับห่ว งโซ่ และ
ตัวอย่างองค์กร ดังตารางที่ 28 ต่อไปนี้

66
ตารางที่ 28 ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในอุ ตสาหกรรมภาพยนตร์ (วิเคราะห์โดยคณะทางาน)
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ความเกี่ยวเนื่องในโซ่อุปทาน ตัวอย่างองค์กร
ขั้นตอนในห่วงโซ่คุณค่า พัฒนา ผลิต เผยแพร่ ฉาย บริโภค
1.ภาคอุตสาหกรรม
ภาพยนตร์
1.1 สตูดิโอ x x x x x GDH สหมงคลฟิล์ม M Picture
1.2 ผู้ผลิตภาพยนตร์อิสระ x x x x x อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล
อโนชา สุวิชากรพงศ์
1.3.บริษัท Production x บริษัทผู้ผลิตภาพยนตร์ ได้แก่ จอ
House กว้าง, บาแรมยู,
Transformation, ซีนีมาเซีย และ
Happy Ending Film ของนวพล
ธารงรัตนฤทธิ์
- บริษัทหรือ Agency ด้าน
นักแสดง
- บริษัทขนาดเล็กที่ดูแลด้านเสื้อผ้า
หน้าผม
ธุรกิจที่เกี่ยวกับหรือสนับสนุน x - บริษัทให้เช่าอุปกรณ์ เช่น Gear
การผลิต Head, Light House, Cinerent,
VS Service
- บริษัทโรงถ่ายภาพยนตร์ เช่น
กันตนา มูฟวี่ ทาวน์, พร้อมมิตร
ฟิล์ม สตูดิโอ
หลังการผลิต x - Film Lab ได้แก่ สยามพัฒนา
(Post production) ฟิล์ม จากัด บริษัท Technicolor
(Thailand)
- บริษัทด้านตัดต่อภาพและเสียง
ได้แก่ กันตนา โพสต์ โปรดักชั่น,
Oriental Post, The Post
Bangkok

67
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ความเกี่ยวเนื่องในโซ่อุปทาน ตัวอย่างองค์กร
- บริษัทด้านแอนิเมชัน และเทคนิค
พิเศษ ได้แก่ Digital Magic, The
Monk Studio, วิธิตา แอนิเมชัน,
กันตนา แอนิเมชัน, Imagimax
- บริษัทด้านเพลง ดนตรี
- รวมถึงบริษัทที่อาจทาหน้าที่เช่น
การทา AD หรือเสียงบรรยายภาพ
1.4 บริษัทสนับสนุนการถ่าย x - Indochina Productions
ทาภาพยนตร์ต่างประเทศ - VS Service
- Living Films
- Benetone Films
1.5 บริษัทจัดจาหน่าย
1.5.1 ต่างประเทศ กลุ่มเมเจอร์ และอิสระ
x
1.5.2 ในประเทศ x สตูดิโอในประเทศ
1.5.3 สายหนังและหนังเร่ x - สายเหนือและแปดจังหวัดรอบ
กรุงเทพฯ เรียกว่า “สายธนา”
- สายใต้ ภายใต้การควบคุมของ
“โคลีเซียมฟิล์ม”
- สายตะวันออก ควบคุมโดย
“สมานฟิล์ม”
- สายอีสาน ซึ่งรวมสระบุรี มีบริษัท
สองแห่งคือ “มูวี่ พาร์ทเนอร์
เนวาดา” (Nevada) และไฟว์สตาร์
1.5.4 จาหน่ายภาพยนตร์ x Extra Virgin, Mosquito film
ต่างประเทศ Distribution
1.6.บริษัทฉาย
1.6.1 โรงภาพยนตร์ Major, SF, House,
x สถาบันการศึกษา

68
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ความเกี่ยวเนื่องในโซ่อุปทาน ตัวอย่างองค์กร
1.6.2 ดีวีดี x แมงป่อง Right Beyond,
Catalyst, Rose Media
1.6.3 ช่องทางอื่นๆ x การจาหน่ายตามช่องทางต่างๆ เช่น
โรงแรม โทรทัศน์
1.6.4 Streaming/OTT x Netflix, iFlix
1.6.5 เทศกาลภาพยนตร์ x - กระทรวงวัฒนธรรม
- สถาบันการศึกษา เช่น ภาพยนตร์
นักศึกษา “กางจอ” “คอหนัง”
อนึ่ง มีการจัดการประกวด ได้แก่
สุพรรณหงส์ทองคา โดยสมาพันธ์
สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติ
1.7. ผู้ชม
1.7.1 การประชาสัมพันธ์ -สตูดิโอทาเอง
x -บริษัทรับผลิตงาน
และ R&D
1.7.2 การพัฒนาผู้ชม x - หอภาพยนตร์
- Film school
- นักวิจารณ์ภาพยนตร์
- Film Doc Club
2. สมาคมวิชาชีพ/ สหภาพ x x x - สมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์
แห่งชาติ
- สมาคมผู้กากับภาพยนตร์
- ชมรมวิจารณ์บันเทิง
- สมาคมวิชาชีพภาพยนตร์และ
ดิจิทัลมีเดีย
- สมาคมภาพยนตร์อิสระไทย
3.รัฐ - คณะกรรมการภาพยนตร์และวีดิ
3.1 กระทรวงวัฒนธรรม x x x x ทัศน์แห่งชาติ (film board)

69
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ความเกี่ยวเนื่องในโซ่อุปทาน ตัวอย่างองค์กร
-กลุ่มเลขานุการคณะกรรมการ
ภาพยนตร์และวีดิทัศน์แห่งชาติ
สานักงานปลัด กระทรวงวัฒนธรรม
(ผลักดันนโยบาย)
- สานักพิจารณาภาพยนตร์และวีดิ
ทัศน์ กรมส่งเสริมวัฒนธรรม
กระทรวงวัฒนธรรม
3.2 กระทรวงการท่องเที่ยว x - กองกิจการภาพยนตร์
และกีฬา
3.3 กรมสรรพากร x x x x x - เก็บภาษี ลดภาษี
3.4 สานักงานคณะกรรมการ x x - สนับสนุนการผลิต
ส่งเสริมการลงทุน (BOI) - สนับสนุนการฉายในต่างประเทศ
3.5 สถานทูต x -สนับสนุนตลาดภาพยนตร์
3.6. กระทรวงพาณิชย์ x ต่างประเทศ ปกป้องทรัพย์สิน
3.7 กรมทรัพย์สินทางปัญญา x x X X -ลิขสิทธิ์
3.8 ตม. ศุลกากร x - ทา work permit ได้แก่ กรม
3.9 หน่วยงานที่เกี่ยวกับการ x อุทยาน กรมป่าไม้
อนุมัติสถานที่ถ่ายทา
ภาพยนตร์
3.10 หอภาพยนตร์ x สนับสนุนด้านองค์ความรู้
ฐานข้อมูล ภาพยนตร์ การฉาย
และการพัฒนาผู้ชม
3.11 Film School x x x x x มหาวิทยาลัยรัฐ เช่น จุฬาฯ
ธรรมศาสตร์ ศิลปากร มศว.
เชียงใหม่ ฯลฯ
มหาวิทยาลัยเอกชน เช่น ม.
กรุงเทพฯ ม.รังสิต

70
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ความเกี่ยวเนื่องในโซ่อุปทาน ตัวอย่างองค์กร
3.12 กระทรวงแรงงงาน และ x น่าจะเข้ามาดูแลเรื่องกฎหมาย
สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ แรงงาน สวัสดิภาพแรงงาน
ภาพยนตร์ และยกระดับวิชาชีพ
4.ภาคเอกชน
4.1 กลุ่มสปอนเซอร์ x สนับสนุนทาภาพยนตร์
4.2 กลุ่มโรงแรม อาหาร x
ท่องเที่ยว/ชุมชน
4.3 Film doc club x
4.4 เพลง ดนตรี x
4.5 character x
5. องค์กรต่างประเทศ x X x x x - บริษัทภาพยนตร์ต่างประเทศ
- องค์กรภาพยนตร์ต่างประเทศ
เช่น CNC, KOFIC ซึ่งจะเกี่ยวข้อง
กับการให้ทุน เทศกาลภาพยนตร์
6. ผู้ชม x (สัมพันธ์กับหัวข้อ 1.7. ผู้ชม)
7. สื่อมวลชนและนักวิจารณ์ x
8. นักการเมือง x x x x x

71
4.4.2 การวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ ส่วนเสีย (Stakeholder Analysis) ในอุตสาหกรรม
จากการศึกษาพบว่าสามารถจาแนกผู้เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมความเกี่ยวข้อ งได้แสดงดั งภาพที่ 11 นี้

ภาพที่ 11 แสดงการวิเคราะห์ผู้มี ส่วนได้ส่วนเสีย (วิเคราะห์โดยคณะทางาน)

ส่วนที่ 1 ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมากและมี อานาจหน้าที่รั บผิดชอบมาก ได้แก่ หน่วยงานภาครัฐ สตูดิโอ กลุ่ม


องค์กรภาพยนตร์ภ ายนอก ส่วนของการจั ดจาหน่า ยและการฉาย ได้แก่ สายหนัง โรงภาพยนตร์ และช่อ งทาง
เผยแพร่สื่อออนไลน์ รวมถึงสมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แห่งชาติ
ส่วนที่ 2 ผู้มีส่วนเกี่ย วข้ องมากแต่ มีอ านาจหน้ าที่ รับผิ ดชอบน้ อ ย ได้แก่ กลุ่มคนส่วนใหญ่ ที่ เกี่ย วข้ อ ง
โดยตรง ทั้งกลุ่มผู้ผลิตภาพยนตร์ โรงเรียนหรือสถาบันการเรียนการสอนด้า นภาพยนตร์ ผู้จัดเทศกาลภาพยนตร์
สหภาพ (Union) ซึ่ ง แม้ จ ะเป็ น การรวมตั ว แบบหลวมๆ และมั ก อยู่ ภ ายใต้ การน าของนายทุ น บางกลุ่มเท่านั้น
นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มผู้ชม ซึ่งมีความสาคัญต่อการผลักดันให้อุตสาหกกรรมพัฒนาและขับเคลื่ อนไปได้
ส่วนที่ 3 ผู้มีอานาจหน้ า ที่รั บผิ ดชอบมากแต่มี ความเกี่ ยวข้อ งน้ อ ย ได้แก่ กลุ่มที่เป็นกลไกขั บเคลื่ อ น
อุตสาหกรรมระดับนโยบาย อาทิ นักการเมืองในระดับต่างๆ ซึ่งเป็นผู้ผลักดันนโยบายด้านอุตสาหกรรมภาพยนตร์
โดยตรง รวมถึงแหล่งทุนสนับสนุ นจากต่างประเทศ หรือบริษัทเอกชนที่ให้ การสนั บสนุน การผลิตภาพยนตร์ และ
กลุ่มสื่อมวลชนที่เปรียบเสมือนกระบอกเสียงในการผลักดันนโยบายต่างๆ
ส่วนที่ 4 ผู้มีอานาจหน้าที่รับผิดชอบน้ อยและมี ความเกี่ยวข้องน้ อย ได้แก่ กลุ่มนักวิจารณ์ภาพยนตร์ ซึ่ง
ปั จ จุ บั น ลดบทบาทลงค่ อ นข้ า งมาก กลุ่ มชุ มชนที่ เ กี่ ย วข้ อ งและสนับ สนุ นพื้ น ที่ ก ารถ่ ายท าภาพยนตร์ ที่ ไ ด้รับ
ผลกระทบจากการถ่ายทาภาพยนตร์ทั้ งในเชิ งบวกและลบ สาหรับกรณีศึกษาต่างประเทศ อาทิ ประเทศญี่ปุ่น มี

72
การนาชุมชนเข้ามามีส่ว นร่ว มสนับ สนุนทุ น หรือการอานวยความสะดวก การเอื้อเฟื้อสถานที่และปัจจัย ต่างๆ ที่
จาเป็นต่อการถ่ายทาภาพยนตร์ รวมถึงกลุ่มธุรกิจที่ได้รั บผลสืบ เนื่อ ง ทั้งการท่องเที่ยว โรงแรม ร้านอาหาร ธุรกิจ
บันเทิงกลุ่มเพลง ดนตรี แฟชั่น และคาแรคเตอร์ เป็นต้น

ประโยชน์ที่ได้รับจากการรวบรวมข้อ มูล และวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในนิเ วศอุตสาหกรรมภาพยนตร์


ทาให้ผู้เกี่ยวข้องในห่วงโซ่คุ ณค่าระดับต่า งๆ สามารถทาความเข้าใจภาพรวมของอุ ตสาหกรรมภาพยนตร์ ได้ชั ด เจน
ยิ่งขึ้น รวมถึงเป็นข้อมู ลสนั บสนุ นการพิจารณาเสนอแนะนโยบายเพื่ อการผลั กดั นอุ ตสาหกรรมภาพยนตร์ อ ย่ า งมี
ทิศทางต่อไป

4.5 จุดเด่น สภาพปัญหา และโอกาสของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย


การศึกษาในหัวข้อ นี้พิจารณาข้ อ มูลจากการวบรวมรายงาน เอกสาร งานวิจัยในอดีตที่ผ่านมา และการ
สั มภาษณ์ ผู้ เ ชี่ ย วชาญที่ มีป ระสบการณ์ และท างานเกี่ ยวข้ องด้ า นภาพยนตร์ ใ นแต่ ละส่ ว นของห่ ว งโซ่ การผลิต
จานวน 38 คน โดยคาสาคัญ (Keywords) และหัวข้อคาถามเน้ นสถานการณ์ สภาพปัญหาในปัจ จุบั น จุดเด่ น
ข้อจากัด และเป้าหมายการพัฒนาอุตสาหกรรมภาพยนตร์ในอนาคต ซึ่งข้อมูลที่รวบรวมได้ทั้งจากเอกสาร และการ
สัมภาษณ์ แสดงดังตารางที่ 29 – 31

ตารางที่ 29 สถานการณ์/ปัญหาของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไ ทย
ห่วงโซ่การผลิต สถานการณ์/สภาพปัญหาในปัจจุ บัน
การพัฒนาและ  บริษัทใหญ่มีเงินทุนในการผลิตผลงานคุณภาพ
ผลิตภาพยนตร์  ภาพยนตร์อิสระได้รับการสนับสนุนเงินทุน และการยอมรับน้อยกว่าภาพยนตร์
กระแสหลัก
 เอกภาพของผู้ประกอบการค่อนข้างต่า มีการรวมตัวกันอย่างหลวมๆ
 บทภาพยนตร์ขาดคุณภาพ นาเสนอเนื้อเรื่องซ้าๆ
 นโยบายภาครัฐเป็นอุปสรรคต่อการทางานของกองถ่ายทาภาพยนตร์จาก
ต่างประเทศ
 Film Board เป็นหน่วยงานตรวจบทภาพยนตร์ของกองถ่ายทาภาพยนตร์จาก
ต่างประเทศ
 การแข่งขันอย่างรุนแรงของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ในประเทศเพื่ อนบ้าน
 สวัสดิการของแรงงาน ผู้ปฏิบัติงานอยู่ในระดับต่า
การเผยแพร่  ปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์

73
ห่วงโซ่การผลิต สถานการณ์/สภาพปัญหาในปัจจุ บัน
และการฉาย  การขาดการสนับสนุนจากภาครัฐ
 การไม่มีช่องทางที่สนับสนุนให้เกิดการซื้อและจาหน่ายภาพยนตร์เหมือนเช่นใน
เทศกาลภาพยนตร์
 การผูกขาดของโรงภาพยนตร์ขนาดใหญ่
 การเติบโตของ Streaming Service ครองส่วนแบ่งการตลาด และลดบทบาทของ
โรงภาพยนตร์
 ภาพยนตร์จาก Hollywood ยึดครองพื้นที่ในโรงภาพยนตร์
ผู้ชม  ความนิยมดูภาพยนตร์ต่างประเทศมากกว่าภาพยนตร์ ไทย
 ภาพยนตร์ทางเลือกของไทยได้รับการยอมรับน้อย
 การเติบโตของ Streaming ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการชมภาพยนตร์
 เงื่อนไขด้านเศรษฐกิจ (ราคาตั๋วภาพยนตร์ค่อนข้างแพง)
 การขาดงานวิจัยและบทวิเคราะห์การตลาดที่เหมาะสม/ต่อ เนื่อง เกี่ยวกับการ
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภคในการชมภาพยนตร์ไทย
ภาครัฐ  การขาดนโยบายสนับสนุน และเอื้อต่อการเติบโตของอุตสาหกรรม
 ความซ้าซ้อนในการดาเนินงานของหน่วยงานกากับดูแลภาครัฐ
 การสนับสนุนงบประมาณจานวนน้อย และมีเงื่อนไขที่จากัด
 การขาดความเข้าใจเกี่ยวกับมูลค่าของอุตสาหกรรม และความกังวลเรื่องความ
เสี่ยงในการให้ทุนแก่เอกชน (ขาดทุน)
 การทางานร่วมกับเอกชนค่อนข้างน้อย
 นโยบายการเซ็นเซอร์ภาพยนตร์ทาให้ภาพยนตร์ไทยไม่พัฒนา
 หน่วยงานกากับดูแลของภาครัฐ แต่ละหน่วยงานมีภารกิจทีไ่ ม่ได้มุ่งเน้นการ
ส่งเสริมเฉพาะด้านภาพยนตร์อย่างจริงจัง
ฐานข้อมูล  ข้อมูลที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรม มีการจัดเก็บแบบแยกส่วนตามวัตถุประสงค์ของ
หน่วยงานที่รวบรวม ทาให้ข้อมูลกระจัดกระจายไม่มีหน่วยงานกลางที่รวบรวม
ข้อมูลให้เป็นระบบ
 การไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลบางประเภทได้
 การขาดข้อมูลที่สาคัญต่ออุตสาหกรรม อาทิ ช่องทางการติดต่อบุคลากร อัตรา
ค่าตอบแทนแรงงานในสาขาอาชีพต่างๆ ของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ และแหล่ง
สนับสนุนเงินทุน เป็นต้น

74
ห่วงโซ่การผลิต สถานการณ์/สภาพปัญหาในปัจจุ บัน
 ข้อมูลบางส่วนขาดความน่าเชื่อถือ

ตารางที่ 30 จุดเด่นของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ ไทย


ห่วงโซ่การผลิต จุดเด่น
การพัฒนาและ  บทภาพยนตร์บางเรื่อง ได้รับความสนใจ และมีการติดต่อซื้อไปใช้งาน โดยบริษัท
ผลิตภาพยนตร์ ต่างประเทศ
 ภาพยนตร์ไทยบางเรื่อง มีเอกลักษณ์ที่ต่างประเทศจดจาได้
 บุคลากรด้านการถ่ายทาและการตัดต่อ มีทักษะฝีมือระดับคุณภาพเป็นที่ย อมรับ
 ผู้กากับทางเลือกและภาพยนตร์อิสระบางเรื่อง ได้รับรางวัลในต่างประเทศ
 สถานที่ถ่ายทาภาพยนตร์ในประเทศ มีความน่าสนใจเอื้อต่อการถ่ายทาภาพยนตร์
 บริษัทถ่ายทาภาพยนตร์ในไทยมีเครื่องมือ อุปกรณ์ และสถานที่ (Studio) ที่มีมาตรฐาน
เทียบเท่าระดับสากล
การเผยแพร่  การจัดเทศกาลภาพยนตร์เฉพาะทาง
และการฉาย  การโปรโมทภาพยนตร์ผ่านช่องทาง Online หรือ Social Media ได้ผลตอบรับดี
 ภาพยนตร์ไทย ได้รับความสนใจจาก Streaming Service ในการนาไปฉายบน
Platform ต่างๆ
 ประเทศไทยมีโรงภาพยนตร์ที่เน้นฉายภาพยนตร์ทางเลือก
 โรงภาพยนตร์จานวนมาก มีเทคโนโลยีทลี่ ้าสมัย
ผู้ชม  ผู้ชมที่เป็นคนรุ่นใหม่ มีความเห็นเปิดกว้าง ยอมรับในความหลากหลายของภาพยนตร์ มี
จานวนเพิ่มมากขึ้น
 ผู้ชมแสดงความคิดเห็นอย่างสร้างสรรค์ต่อผลงานภาพยนตร์เพิ่ มมากขึ้น
 ผู้ชมยอมรับ และเปิดใจชมภาพยนตร์ที่มีความหลากหลายผ่านทาง Streaming หรือ
Online มากขึ้น
ภาครัฐ  การจัดสรรเงินทุนสนับสนุน และช่วยเหลืออุตสาหกรรมภาพยนตร์มีเพิ่มขึ้น
 การพิจารณาเพื่อเสนอให้เกิดการปรับเปลี่ยนเนื้อหาใน พ.ร.บ. ภาพยนตร์ให้มีความ
ทันสมัย
 ผู้ผลิตภาพยนตร์ มีแนวทางเชื่อมโยงร่วมกับนายทุนเพื่อการผลิตผลงาน
(Matchmaking)

75
ห่วงโซ่การผลิต จุดเด่น
 ภาครัฐสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมงานเทศกาลภาพยนตร์
 ภาครัฐตระหนักถึงความสาคัญของการบูรณาการปฏิบัติงานร่วมกันในแต่ละหน่วยงาน
ฐานข้อมูล  ข้อมูลบางส่วนที่มีการรวบรวมไว้ แต่ไม่ได้รับการเผยแพร่
 ข้อมูลทั่วไปของอุตสาหกรรม ส่วนใหญ่สามารถสืบค้นได้ทางอินเตอร์เน็ต
 การจัดเก็บรวบรวมข้อมูล แยกตามวัตถุประสงค์การใช้งานของแต่ละหน่วยงาน

ตารางที่ 31 เป้าหมายในอนาคตของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไ ทย
ห่วงโซ่การผลิต เป้าหมายในอนาคต
การพัฒนาและ  การส่งเสริมบทภาพยนตร์ และมาตรฐานการผลิตให้เทียบเท่าระดับสากล
ผลิตภาพยนตร์  การสร้าง และพัฒนานักเขียนบทที่มีทักษะฝี มือ สามารถผลิตผลงานที่มีคุณภาพเพิ่มขึ้น
 การให้เสรีในการนาเสนอเนื้อหา
 การส่งเสริมโอกาสให้ผู้ผลิตภาพยนตร์หน้าใหม่และกลุ่มอิสระได้แสดงฝีมือ
 กองถ่ายภาพยนตร์จากประเทศไทยและต่างประเทศควรได้รับการปฏิบัติด้ วยมาตรฐาน
ที่เทียบเคียงกัน
 การส่งเสริมให้มีทุนสาหรับพัฒนาและผลิตภาพยนตร์มากขึ้น
การเผยแพร่และ  การกาหนดนโยบายสนับสนุนการเผยแพร่ภาพยนตร์อย่างเสรี
การฉาย  ภาครัฐควรสนับสนุนและผลักดันภาพยนตร์ไทยให้สามารถเผยแพร่ได้ สู่ช่องทาง หรือ
Platform ต่างๆ ที่หลากหลาย
 การพิจารณาจัดให้มีเทศกาลภาพนยตร์ประจาประเทศ
 การเพิ่มพื้นที่สาหรับกิจกรรมพิเศษในการฉายภาพยนตร์
 การกาหนดสัดส่วนของ Screen Quota สาหรับภาพยนตร์ไทย ให้มีโอกาสเข้าฉายใน
โรงภาพยนตร์ได้เพิ่มมากขึ้น
 การส่งเสริมให้โรงภาพยนตร์เครือใหญ่ ช่วยสนับสนุนภาพยนตร์ไทย
ผู้ชม  สัดส่วนการชมภาพยนตร์ไทยเพิ่มมากขึ้น
 การปรับเปลี่ยนทัศนคติเชิงบวกต่อภาพยนตร์ไทยเพิ่ มมากขึ้น
 การเข้าใจภาพยนตร์ในเชิงศิลปะเพิ่มมากขึ้น
ภาครัฐ  ภาครัฐควรทาความเข้าใจและผสานความร่วมมือกับภาคเอกชนมากขึ้น
 การผลักดันนโยบายที่เอื้อให้เกิดความสะดวกต่ อการทางานของบุ คลากรในอุตสาหกรรม

76
ห่วงโซ่การผลิต เป้าหมายในอนาคต
 การจัดสรรเงินทุนสาหรับผู้ผลิตภาพยนตร์หน้าใหม่และกลุ่มอิสระ
 การแต่งตั้งหน่วยงานเฉพาะเพื่อดูแล และลดความซับซ้อนในขั้นตอนการดาเนินงาน
 การทางานร่วมกันระหว่างผู้เชี่ยวชาญจากภาคอุตสาหกรรมในองค์กรภาครัฐ
ฐานข้อมูล  การจัดตั้งศูนย์รวบรวมข้อมูลที่มีระบบ เป็นปัจจุบัน และสะดวกต่อการสืบค้นข้อมูล
 การพัฒนาฐานข้อมูลในรูปแบบที่องค์กรหรือบุคลากร (ที่ได้รับมอบหมายหรือมีหน้าที่
เกี่ยวข้อง) สามารถปรับ/แก้ไขข้อมูลได้ ผ่านการ Login ยืนยันตัวตนด้วย Profile ที่
ได้รับการตรวจสอบแล้ว
 การพัฒนาฐานข้อมูลด้านพฤติกรรมผูบ้ ริโภคภาพยนตร์ เพื่อวิเคราะห์และพัฒนา
คุณภาพสินค้าให้ตรงกับความต้องการของตลาดผู้ชมภาพยนตร์กลุ่ มเป้าหมาย

จากนั้น นาข้อมูลที่ร วบรวมได้ มาวิ เคราะห์จุ ด เด่น และสภาพปั ญ หา โดยใช้ SWOT เพื่อนาไปสู่ก าร หา
โอกาสของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย

4.5.1 จุดเด่นและสภาพปั ญหาอุ ตสาหกรรมภาพยนตร์ไ ทย


จากการศึกษาข้อมูลพบว่าจุดเด่นของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย ประกอบด้วย
1) คุณภาพและเนื้อ หาของภาพยนตร์ มีค วามโดดเด่ น ทั้งภาพยนตร์ก ระแสหลัก และกระแสทางเลื อ ก
รายละเอียดกล่าวคือ
- ภาพยนตร์กระแสทางเลือกมีคุ ณภาพ ได้รับคัดเลือกในรางวัลระดับนานาชาติ ได้แก่ ผลงานของอภิชาติ
พงศ์ วีระเศรษฐกุล และอโนชา สุวิชากรพงศ์ เป็นต้น
- ภาพยนตร์ไทยกระแสหลั ก ได้รับความนิย มในระดั บ เอเซีย อาทิ ต้มยำกุ้ง องค์บำก ฉลำดเกมส์ โ กง
รวมถึงภาพยนตร์ประเภทสยองขวัญ

2) ผู้ผลิตภาพยนตร์ต่างประเทศให้ ค วามสนใจ และเดินทางเข้า มาการถ่ายทาภาพยนตร์ ต่า งประเทศใน


ประเทศไทย (เริ่มตั้งแต่ขั้นตอน Pre-production, Production and Post-production)
- บุคลากรในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ของไทยมี ความรู้ความเชี่ยวชาญ และฝีมือที่ได้มาตรฐาน โดยเฉพาะ
ฝ่ายผลิตและฝ่ายที่ดูแลหลัง การผลิ ต (Post-production) รวมถึงการใช้บริการตัดต่อ การใส่ (ผสมผสาน) เทคนิ ค
พิเศษ และการทาแอนิเมชัน

77
- อัตราค่าตอบแทนแรงงานอยู่ในเกณฑ์ที่ เหมาะสม เมื่อเทียบกับฝีมือของบุ คลากรจากประเทศอื่น ๆ ใน
ภูมิภาคเอเซีย รวมทั้ง อุปนิสัยของบุคลากรที่เกี่ยวข้ องต่า งๆ ในอุตสาหกรรมภาพยนตร์มีความขยัน เอาใจใส่ และ
ไม่เกี่ยงงาน (จาเริญลักษณ์ ธนะวังน้อย, 2555 และเศรษฐา วีระธรรมานนท์ และอารีรัตน์ ใจประดับ , 2562)
- สถานที่ถ่ายทาในประเทศไทย และคุณภาพของการบริการ เป็นที่ประทับใจของนักลงทุน เมื่อเทียบกั บ
ประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชียตะวัน ออกเฉีย งใต้ (จาเริญลักษณ์ ธนะวังน้อย, 2555 และเศรษฐา วีระธรรมานนท์
และอารีรัตน์ ใจประดับ, 2562) แต่อย่างไรก็ตาม มีรายงานเพิ่มเติมว่า ประเทศข้า งเคี ยงต่างๆ เริ่มให้ความสนใจ
พัฒนาศักยภาพเพื่อแข่งขั นชิง ส่วนแบ่ง การตลาดในอุ ตสาหกรรมผลิ ตภาพยนตร์ โดยมีแนวทางที่ใกล้ เคีย งกั บไทย
อาทิ การแข่งขันด้านภาษี ได้แก่ การเพิ่มสัดส่วนมาตรการการลดหย่อนภาษี เป็นต้น

สาหรับสภาพปั ญหาของอุ ต สาหกรรมภาพยนตร์ ไทย จาแนกตามห่ว งโซ่ คุ ณค่า ของอุ ตสาหกรรม และ
โครงสร้ า งพื้ น ฐานต่ า งๆ ซึ่ ง เกี่ ย วข้ อ งกั บ องค์ ก รที่ ใ ห้ ก ารสนั บ สนุ น อุ ต สาหกรรมภาพยนตร์ ทั้ ง ภาครั ฐ และ
ภาคเอกชน ประกอบด้วย

1) การพัฒนาอุตสาหกรรมภาพยนตร์
- การสนับสนุนเงินลงทุนแก่อุตสาหกรรมภาพยนตร์ของไทย มีสัดส่วนที่ค่อนข้างต่าเมื่อเทียบกับ ประเทศที่
ประสบความสาเร็จในอุตสาหกรรมนี้ อาทิ ประเทศฝรั่งเศสและประเทศเกาหลีใ ต้ รวมถึงเงินทุนสนับสนุนส าหรั บ
ภาพยนตร์กระแสทางเลื อ ก ซึ่งแม้จะมี แนวโน้ ม เข้ าชิ งรางวั ลระดั บนานาชาติก็ ตาม ส่งผลให้ภาพยนตร์ ก ร ะแส
ทางเลือกต้องหาแหล่ง ทุนภายนอกประเทศ หรือใช้ทุนส่วนตัว หรือใช้ระบบการร่ว มระดมทุ น (Crowdfunding)
เป็นต้น ซึ่งเป็นการยากและทาให้ปริมาณการผลิตภาพยนตร์ลดน้อยลงไปอย่างเห็นได้ชัด
- การสนับสนุนอุตสาหกรรมภาพยนตร์ของภาครั ฐ ค่อนข้างจากัดในกรอบนิยามของศิลปะและวั ฒนธรรม
ที่กาหนดโดยภาครัฐ โดยยังไม่ครอบคลุมประเด็นทางวัฒนธรรมที่เป็นกระแสนิย ม หรือที่ประชาชนนิยม ทาให้พื้นที่
ของภาพยนตร์ศิลปะ ภาพยนตร์สารคดี และภาพยนตร์ทางเลือกมีสัดส่วนน้อย
- เนื้อหาภาพยนตร์ไม่หลากหลาย บทภาพยนตร์ขาดความน่าสนใจ ขาดความคิดสร้างสรรค์ในการพั ฒ นา
บทให้มีความแปลกใหม่ จึงมีเพียงบทภาพยนตร์ที่ เป็น สูตรสาเร็จของตลาด นอกจากนี้ อัตราค่าตอบแทนแรงงาน
ของนักเขียนบทค่อนข้างต่า จึงอาจไม่จูงใจให้เกิดการพัฒนาและสร้างสรรค์งาน
- จานวนสตูดิโอขนาดใหญ่ มีน้อ ย และให้ความสนใจเพีย งภาพยนตร์ที่ ประสบความสาเร็จ และคา ดหวั ง
รายได้หรือผลกาไรได้เท่านั้น
- บริษัทหรือผู้ผลิต ภาพยนตร์ ขนาดเล็ กไม่ ได้ รับ การสนับ สนุ น เนื่องจากข้อจากัด ที่ร ะบุตามเงื่อ นไขการ
สนับสนุนเงินทุน กาหนให้บริษัทฯ ต้องมีเงินลงทุนหรือสินทรัพย่รวม 1 ล้านบาท

78
2) การผลิตภาพยนตร์ รวมถึงการถ่ายทาภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย
- แม้บุคลากรมีคุณภาพ แต่ปัญหาสาคัญ คือ การพัฒนาศักยภาพบุคลากรระหว่างกระบวนการทางานหรื อ
ช่วงเวลาการปฏิบัติ งานมีน้ อย การขาดแรงจูงใจในการทางาน บุคลากรส่วนใหญ่รับ งานในรูป แบบของฟรี แ ลนซ์
(Freelance)
- การขาดการพัฒนาทั ก ษะของบุ คลากร อาทิ ทักษะด้านภาษาอัง กฤษ ทักษะการทางานด้ านการผลิ ต
ภาพยนตร์ กระบวนการตัดต่อ กระบวนการ Post-production ต่างๆ ทักษะความรู้ด้านเศรษฐกิจ การตลาด เป็น
ต้น ทั้งนี้ รูปแบบการพัฒนาสามารถทาได้ หลายลั กษณะ ทั้งการฝึกอบรม การดูงาน และการให้ทุนการศึกษาเพื่ อ
เรียนรู้ในกระบวนงานที่สนใจ หรือเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงาน
- การขาดการพัฒนาเครือข่าย โดยเฉพาะการรวมตัว ในรูปแบบสมาชิกสมาคม ชมรม หรือสหภาพแรงงาน
เพื่อการต่อรอง หรือเรียกร้องผลประโยชน์ต่างๆ ของสมาชิก
- การถ่ายทาภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย เมื่อเทียบกับต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศใกล้ เ คี ย ง
โดยรอบ ซึ่งมีประเด็นด้านของภาษี การลดหย่อนภาษี โดยเฉพาะภาษีนักแสดงที่น้อยกว่าประเทศเพื่อนบ้าน
- โรงถ่ายภาพยนตร์ในไทยมีจากัด เนื่องจากเป็นลงทุนทีส่ ูง รวมทั้งเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ ที่จาเป็นและได้
มาตรฐานมีราคาค่อนข้างสูง
- มาตรฐานวิชาชีพของบุ คลากรในอุ ตสาหกรรมภาพยนตร์ และการจัดตั้งองค์ก รดู แลผลประโยชน์ ท าง
วิชาชีพแก่บุคลากรที่ร่วมเป็นสมาชิก

3) การแพร่กระจายภาพยนตร์
- ภาพยนตร์มักจะนาเข้า มาจากฮอลลีวู้ดเป็นหลัก
- การผูกขาดทางธุรกิจ ทั้งการจัดจาหน่ายจากต่างประเทศ ในประเทศ และที่สาคัญ คือ ระบบสายหนัง ที่
มีอานาจในการซื้อ-ขายสิท ธิ์ภาพยนตร์ เ พื่อ นาออกฉายในพื้ นที่ ส่งผลให้ตัวเลขรายได้จ ากการฉายภาพยน ตร์ ไ ม่
สอดคล้องกับความเป็นจริง

4) การฉายภาพยนตร์
- ธุรกิจการฉายภาพยนตร์ เช่น โรงภาพยนตร์ ดีวีดี และสตรีมมิ่ง เป็นธุรกิจที่ค่อนข้างผูกขาดและทาก าไร
อย่างมาก ส่งผลให้ภาพยนตร์กระแสทางเลือกมีโอกาสที่จ ะออกฉายได้น้อย
- กรณีของโรงภาพยนตร์
- ไม่มีโรงภาพยนตร์หรือช่องทางการฉายภาพยนตร์กระแสทางเลือกมากนัก
- โรงภาพยนตร์ ขนาดใหญ่ คิดค่าใช้จ่ายในการเข้าฉาย โดยมีสัดส่วนร้อ ยละ 50 - 50 (ไม่ร วม
ค่าธรรมเนียมบริ การเครื่อ งฉาย (Virtual Print Fee: VPF) หรือค่าใช้จ่ายสาหรั บการฉายระบบดิจิทั ล ) ส่งผลให้

79
ภาพยนตร์รายย่อยเกิดปัญหา ตามมาด้วยการเรียกร้องให้โรงภาพยนตร์เว้นการเก็บ ค่าธรรมเนี ยมบริการเครื่องฉาย
ทั้งนี้ อุณาโลม จันทร์รุ่งมณีกุล (2560) ให้ความเห็นว่า ธุรกิจโรงฉายภาพยนตร์ มีอั ตราการเติบโตสู ง สวนทางกั บ
ธุรกิจผลิตภาพยนตร์ที่แบกรับค่าใช้จ่ายจานวนมาก และเติบโตได้ค่อนข้างช้า หรือน้อยกว่ามาก

3. การที่ ป ระเทศไทยไม่ มี เ ทศกาลภาพยนตร์แ บบครบวงจร กล่ า วคื อ นอกจากการฉายภาพยนตร์ที่


หลากหลายรูปแบบแล้ว เทศกาลยังต้องทาหน้าที่เ สมื อนตลาดภาพยนตร์ เพื่อเป็นแหล่งพบปะระหว่า งศิ ลปิน นัก
ลงทุน/นักธุรกิจ และผู้ชมงาน รวมถึงนักวิจารณ์ และตลาดในอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่อง

4. ข้อกังวลเกี่ยวกับการเติบโตของระบบการฉายผ่านออนไลน์ หรือ สตรี มมิ่ง คือ ในอนาคตอาจมีเจ้ า ของ


Platform รายใหญ่เพียงไม่มาก ซึ่งก้าวเข้าสู่การเป็นผู้ล งทุน ผลิ ตภาพยนตร์ นอกจากนั้น กระบวนการตรวจสอบ
ดูแลทางกฎหมายเกี่ยวกับระบบสตรี มมิ่งยัง ไม่ชัด เจน เนื่องจากเป็นเรื่องที่ค่อนข้างใหม่ สาหรับผู้ เกี่ย วข้อ งด้าน การ
กากับนโยบาย

5) การบริโภคภาพยนตร์
การขาดการพัฒนาผู้ชมอย่างมีระบบ และเป็นรูปธรรม

6) โครงสร้างของอุตสาหกรรมภาพยนตร์
1. ภาครัฐเน้นบทบาทด้านการกากับ และควบคุม อาทิ การตรวจพิจารณาบทหรือเนื้อหาภาพยนตร์ ส่งผล
ให้เกิดข้อจากัดในการพัฒ นาหรื อสร้า งสรรค์ เนื้ อหาภาพยนตร์ เ พื่อ เลี่ ยงการถู กระงั บหรื อเซ็น เซอร์ผ ลงาน รวมถึ ง
กฎหมายที่เกี่ยวข้อ งกั บการถ่ายทาภาพยนตร์ ต่ างประเทศในประเทศไทย มีกระบวนการที่ เกี่ ยวข้อ งจานวน มาก
และใช้ระยะเวลาค่อ นข้า งมากตั้ งแต่การขออนุ ญาตเข้าใช้ พื้นที่ เ พื่อ ถ่ายทาภาพยนตร์ การตรวจสอบเนื้อ หาและ
ความเหมาะสมของบทภาพยนตร์ ส่งผลต่อต้นทุนการดาเนินงานในการผลิตภาพยนตร์
2. มาตรการสนั บ สนุ นภาพยนตร์ ไ ทยโดยภาครัฐ มี ค่ อ นข้างจ ากั ด อาทิ การสนั บสนุ นทุ น การพัฒนา
บุคลากร การกาหนดบทลงโทษทางกฎหมาย ฯลฯ
3. หน่วยงานต่างๆ ภายในองค์กรภาครั ฐที่ เ กี่ยวข้อ งดู แลด้านอุ ตสาหกรรมภาพยนตร์ กระจายในหลาย
ส่วนงาน กระทรวง กรม ทาให้ขาดเอกภาพในการผลัก ดันนโยบายส่ง เสริ มและสนับ สนุน อุต สาหกรรมภาพยนตร์
อย่างเป็นรูปธรรม
4. มาตราการจูงใจด้านภาษี สาหรับอุตสาหกรรมภาพยนตร์ค่อนข้างน้อย
5. สถาบันการศึกษาที่มีหลักสูตรการเรียนการสอนด้านภาพยนตร์ ยังไม่สามารถตอบสนองความต้ องการ
ทางธุรกิจของอุตสาหกรรมภาพยนตร์อย่างเป็นรูปธรรม

80
6. การขาดความเชื่อ มโยงในการพั ฒ นาอุ ต สาหกรรมภาพยนตร์ ระหว่ างภาครัฐ (ซึ่ ง ท าหน้ าที่ กาหนด
นโยบาย) ภาคเอกชน (ซึ่งเป็นเสมือนกลไกการขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่สาคั ญ) และภาคการศึกษาหรือ Film School
(ซึ่งเป็นแหล่งบ่มเพาะและสร้างแรงงานในการผลักดันให้เกิด การผลิตผลงานที่ มีคุ ณภาพ)
7. การขาดแนวทางบริหารจั ดการ รวบรวมและเก็ บข้ อ มู ลอย่า งเป็น ระบบ (ฐานข้อมูล) สาหรับใช้ เ ป็ น
เครื่องมือในการวิเคราะห์ กาหนดนโยบายและแผนการดาเนินงานต่างๆ ทั้งนี้ ข้อมูลที่รวบรวมได้ควรประกอบด้วย
- ข้อมูลทั่วไปของผู้ชม (กลุ่มเป้าหมาย) ตั้งแต่จานวนผู้ชมภาพยนตร์แบ่งตามอายุ รายได้ เพศ
การศึกษา เป็นต้น
- รายได้ (ประมาณการณ์) ของภาพยนตร์แต่ละประเภท แต่ละเรื่อง
(ปั จ จุ บั น มี ข้ อ มู ล รายได้ ข องภาพยนตร์ที่ ร วบรวมได้ จ ากโรงภาพยนตร์ใ นกรุง เทพฯ และ
จังหวัดใหญ่ๆ ทีม่ ีความเติบโตทางเศรษฐกิจ
- ข้อมูลเกี่ยวกับแนวโน้มการตลาด สาหรับการวางแผนผลิตภาพยนตร์
- องค์ความรู้ที่สาคัญ ต่างๆ เกี่ยวกับภาพยนตร์ ซึ่งครอบคลุมทั้งระบบนิ เวศของอุต สาหกรรม
อาจครอบคลุมประวัติศาสตร์ภาพยนตร์ และงานวิจัยด้านภาพยนตร์ที่เกี่ยวข้อง
8. การบริหารจัดการปัญหาการละเมิดลิขสิทธิ์

81
4.5.2 โอกาสของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ ไทย

ภาพที่ 12 แสดงการวิเคราะห์ SWOT ของอุตสาหกรรมไทย (วิเคราะห์โดยคณะทางาน)

จุดแข็งของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ การวิเคราะห์พบว่าสามารถจาแนกได้เป็น 2 หัวข้อหลัก ได้แก่


1. บุคลากร
- มีคุณภาพ
- อัตราค่าตอบแทนต่า เมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน
- สถานที่ถ่ายทา สวยงาม เหมาะสมกับเนื้อหาและบทภาพยนตร์ที่หลากหลาย
2. บทภาพยนตร์
- ด้านศิลปะ
- คุณภาพ และมาตรฐาน ซึ่งการันตีจากรายได้ และรางวัลระดับนานาชาติที่ได้รับ

82
จุดอ่อนของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ ได้แก่
(1) บทและเนื้อหาภาพยนตร์ไม่หลากหลาย
(2) การขาดแหล่งเงินทุน สนั บสนุน การผลิ ตภาพยนตร์ ทั้ง กระแสหลักและกระแสทางเลื อกที่เ น้น มุ มมอง
ด้านศิลปะ ทาให้แนวโน้มการผลิตภาพยนตร์ส่วนใหญ่เป็นไปเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดกระแสหลัก
(3) การผูกขาดในการเผยแพร่และจาหน่ายภาพยนตร์ในระบบนิ เวศ ตั้งแต่การผลิต การเผยแพร่ และการ
ฉาย/จาหน่าย ผู้ผลิตรายใหม่หาโอกาสแสดงผลงานค่อนข้างยาก
(4) การขาดการพัฒนาบุคลากร ทั้งผูผ้ ลิตและผู้ชมภาพยนตร์ ซึ่งจะส่งผลให้ภาพยนตร์ไ ม่ พัฒ นาก้า วไกล
ในกรณีของผู้ผลิต นอกจากการพัฒนาความรู้ ยังหมายรวมถึงมาตรฐานวิชาชีพ และการยกระดับแรงงาน อันจะทา
ให้เกิดข้อกาหนดด้านเวลาการทางาน รายได้ และสวัสดิการคุ้มครองที่ได้มาตรฐาน
(5) การขาดฐานข้ อ มู ล ซึ่ ง หมายรวมถึ งข้ อ มู ล เบื้อ งต้ นเกี่ ย วกั บ สถิ ติ ภ าพยนตร์ ภาพยนตร์ บุ ค ลากรที่
เกี่ยวข้อง และอื่นๆ
(6) การขาดการเชื่ อมโยงเครือ ข่ ายทั้ ง หมดเข้ าด้ ว ยกั น ทั้ งฝั่ ง ของผู้ ผ ลิ ต รั ฐ Film School และชมรม
สมาคม ทาให้พลังในการผลักดันเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงไม่มากพอ
(7) มาตรการทางกฎหมาย ไม่ทันสมัย เช่น กรณีมาตรการภาษี ลดหย่อนภาษี ในด้านของการส่งเสริมการ
ถ่ายทาภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย
(8) รัฐให้ความสาคัญด้านการควบคุมมากกว่าการสนั บสนุน โดยพิจารณาได้จากกฎเกณฑ์ต่างๆ ที่ควบคุ ม
ภาพยนตร์
(9) การขาดหน่วยงานที่ช่วยผลักดันในด้านนโยบาย (Policy) ถึงแม้จะมี Film board แต่การผลักดันยังไม่
เกิดผลเท่าที่ควร
(10) การละเมิดลิขสิทธิ์

อย่างไรก็ตาม เมื่อประเมินผล และวิเคราะห์ข้อมูลอย่างละเอีย ดพบว่าอุ ตสาหกรรมภาพยนตร์ มีโอกาสการ


พัฒนาและเติบโตได้หากสามารถนาจุดอ่อนที่พบมาปรับปรุง และแก้ไข โดยโอกาสที่พบ ประกอบด้วย
(1) การมี ห น่ ว ยงานที่ ใ ห้ ก ารสนั บ สนุน และส่ ง เสริมอุ ต สาหกรรมสร้ างสรรค์ อาทิ ส านั ก งานส่ ง เสริม
เศรษฐกิจสร้างสรรค์ หรือ สศส (CEA) ซึ่งมีภารกิจโดยตรงในการสนับสนุนอุ ตสาหกรรมสร้างสรรค์ เพื่อเป็นกลไก
ในการเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของประเทศ รวมถึงการสนับสนุนการดาเนินงานด้านอุตสาหกรรมภาพยนตร์
(2) ผู้ชมรุ่นใหม่ เริ่มมีการปรับรสนิยมการชมภาพยนตร์ ทาให้เป็นโอกาสในการพัฒนาเนื้อหาที่สอดรั บ กั บ
ผู้ชม
(3) การเติบโตระบบดิจิทัล ซึ่งส่งผลทั้งในด้านการผลิต การจัดฉาย ที่สะดวกรวดเร็วมากกว่าในอดีต
(4) รัฐให้ความสาคัญต่อเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ซึ่งภาพยนตร์เป็นส่วนหนึ่งที่ทารายได้แก่ประเทศ

83
(5) การขยายตัวของอุตสาหกรรมข้างเคียง เช่น ซีรีส์ การ์ตูน คาแรคเตอร์ และอื่นๆ
(6) การมีองค์กรภาพยนตร์ต่างประเทศให้การสนับสนุน โดยเฉพาะในเรื่องทุนการพัฒนาภาพยนตร์
(7) การร่วมลงทุน (Co Production) ระหว่างประเทศ

อย่างไรก็ดี พบว่าอุปสรรคของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ ประกอบด้วย


(1) การนิยามภาพยนตร์โดยเฉพาะรัฐฯ ที่ค่อนข้างเน้นภาพยนตร์ที่ตอบรับกับวัฒนธรรมอันดีงาม
(2) หน่วยงานรัฐที่ดาเนิน การจั ด การภาพยนตร์ มีหลากหลาย กระจัดกระจาย แต่ขาดการประสา นงาน
แบบบูรณาการเข้าด้วยกัน
(3) ภัยคุกคามจากภาพยนตร์ต่า งประเทศ ตั้งแต่ตัวภาพยนตร์ การจัดจาหน่าย การฉาย ระบบสตรี มมิ่ ง
ที่มาจากต่างประเทศ ทาให้เกิดการลดทอนคุณค่าของภาพยนตร์ จากประเทศไทย
(4) หน่วยงานขนาดเล็กก้าวไปไม่ถึงแหล่งเงินทุน ซึ่งรวมถึงกลุ่มศิลปินหน้าใหม่ด้วย

84
5. กรณีตัวอย่างอุตสาหกรรมภาพยนตร์ในต่างประเทศ
เมื่อศึกษา วิเคราะห์สถานการณ์ทั้งข้ อจากั ด ปัญหา จุดเด่น จุดด้อย โอกาส และอุปสรรคของอุ ตสาหกรรม
ภาพยนตร์ไทยจากเอกสารวิชาการต่างๆ และจากการสัมภาษณ์ ความเห็นของผู้ เชี่ย วชาญแล้ว ขั้นต่อมา คือ การ
เปรียบเทียบกรณี ศึก ษาต้น แบบที่ ดี (Best Practice) สาหรับหาแนวทางเพื่ อ การพั ฒนาอุ ตสาหกรรมและร ะบบ
ฐานข้อมูลจากต่างประเทศ เพื่อนาประเด็นที่เป็นจุด เด่นของนานาประเทศมาเป็นบทเรียนเพื่ อช่วยวางแผนพั ฒ นา
ศักยภาพอุตสาหกรรมสร้างสรรค์สาขาภาพยนตร์ และวี ดิทั ศน์ ข องประเทศไทยตามกรอบคิด เศรษฐกิจ สร้างสรรค์
เพื่อนามาใช้ประโยชน์ต่ อการกาหนดแผนพั ฒนาและฐานข้ อ มูลการพั ฒนาเศรษฐกิจสร้า งสรรค์ สาขาภาพยนตร์
ของประเทศไทย

สาหรับต่างประเทศ การดาเนินงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ที่ ได้รับ การสนับสนุนจากภาครัฐและเอกชน


อย่างเข้มแข็ง และเป็นระบบกระทั่ง ภาคอุ ตสาหกรรมสามารถดาเนิน งานได้ ด้ วยตั ว เอง ได้แก่ สหราชอาณาจั ก ร
ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศออสเตรเลีย ประเทศเกาหลีใต้ และประเทศสิงคโปร์ โดยการศึกษาครั้งนี้ คัดเลือ ก
ตัวอย่างประเทศที่มีความโดดเด่นด้านการพั ฒนาอุต สาหกรรมสร้างสรรค์สาขาภาพยนตร์ และวีดิ ทัศน์ ซึ่งพิจารณา
จากภาพรวมนโยบายและแผนเศรษฐกิ จ สร้ างสรรค์ ข องแต่ ล ะประเทศ เที ย บเคี ย งกั บ การพั ฒ นาเศรษฐกิจ
สร้ า งสรรค์ ข องประเทศไทย ได้ แ ก่ การขั บ เคลื่อ นระบบเศรษฐกิ จ รู ปแบบทุน นิ ยม ระบอบการปกครองแบบ
ประชาธิปไตย ขนาดของประเทศและจานวนประชากร ความหลากหลายทางวัฒ นธรรม และความเป็น อยู่ ข อง
ประชาชนทั้งในเขตเมืองและชนบทที่มีเอกลัก ษณ์ เฉพาะ
ข้อมูลจาก UNESCO Institute for Statistics แสดงข้อมูลประเทศที่มีอุ ตสาหกรรมภาพยนตร์ที่ใหญ่ ที่ สุ ด
ตามจานวนการผลิตภาพยนตร์ แอนิเมชันและสารคดี จานวน 10 อันดับแรก แสดงดังตารางที่ 32

ตารางที่ 32 ประเทศที่มีการผลิตภาพยนตร์มากที่ สุด 10 อันดับแรกของโลก24


ลาดับ ประเทศ จานวนที่ผลิต (เรื่อง) ปีที่เก็บข้อมูล
1 อินเดีย 1,813 2018
2 ไนจีเรีย 997 2011
3 จีน 874 2017
4 ญี่ปุ่น 689 2019

24 โดย UNESCO Institute for Statistics

85
ลาดับ ประเทศ จานวนที่ผลิต (เรื่อง) ปีที่เก็บข้อมูล
5 สหรัฐอเมริกา 660 2017
6 เกาหลีใต้ 339 2016
7 ฝรั่งเศส 300 2017
8 สหราชอาณาจักร 285 2017
9 สเปน 241 2017
10 เยอรมัน 233 2017

นอกจากนี้ ตลาดภาพยนตร์ที่ใหญ่ที่สุดตามรายได้ (Box Office) ใน 10 ประเทศตามจานวนตั๋วที่จาหน่ า ย


ได้ในปี 2019

ตารางที่ 33 ประเทศที่มีตลาดภาพยนตร์ที่ใหญ่ ที่สุดตามจานวนตั๋ วที่จาหน่ายได้ในปี ค.ศ. 2019 25


อันดับ ประเทศ จานวนตั๋วที่จาหน่ายได้ (ล้านใบ)
1 อินเดีย 1,650
2 จีน 1,514
3 สหรัฐอเมริกา 1,170
4 เม็กซิโก 352
5 เกาหลีใต้ 239
6 รัสเซีย 209
7 ฝรั่งเศส 205
8 ญี่ปุ่น 194
9 บราซิล 177
10 สหราชอาณาจักร 175

25 เรื่องเดียวกัน

86
การศึกษานี้ แบ่งกรณีศึกษาประเทศต้นแบบโดยใช้เกณฑ์ ดังนี้
1) บทเรียนการพัฒนาอุต สาหกรรมเกมจากประเทศที่ ประสบความสาเร็จ คณะทางานเลือ กศึ ก ษา
ประเทศ สหรัฐอเมริกา ประเทศอังกฤษ ประเทศอินเดีย ประเทศเกาหลี
2) ประเทศที่ มีลั ก ษณะและกิจ กรรมด้า นอุ ต สาหกรรมภาพยนตร์เ ทีย บเคีย งกั บ ประเทศไทย เช่น
ประเทศไนจีเรีย หรืออยู่ในภูมิภาคเดียวกัน จากการศึกษาเบื้องต้นพบว่ามีประเทศในภูมิภาค เช่น ประเทศไนจี เรี ย
ประเทศสิง คโปร์ และประเทศอิน โดนีเซีย และประเทศเวีย ดนาม ทีม่ ีแนวทางการส่ง เสริ มพัฒ นาอุ ตสาหกรรม
ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ที่น่าสนใจ

กรอบการศึกษาความสาเร็จของแต่ละประเทศ แบ่งเป็น 3 หัวข้อ ดังนี้


1. ภาพรวมอุตสาหกรรมภาพยนตร์ของประเทศที่ยกมาเป็นกรณี ศึกษา
2. หน่วยงานหลักที่รับผิดชอบและแนวทางขับเคลื่อนอุตสาหกรรมภาพยนตร์ของประเทศนั้น
3. ความคิดสร้างสรรค์และพื้นที่สร้างสรรค์เพื่อการพัฒนาอุ ตสาหกรรมภาพยนตร์

5.1 กรณีศึกษาจากประเทศสหรัฐอเมริกา
Hollywood คือ พื้นที่ในประเทศสหรั ฐอเมริ กาที่ เป็ นสั ญลั ก ษณ์ข องอุ ต สาหกรรมภาพยนตร์ ร ะดั บ โลก
และเป็นต้นแบบแก่ประเทศอื่นๆ26 ในการดาเนินธุรกิจภาพยนตร์ที่สร้างกาไรมหาศาล Hollywood มีจุดเริ่มต้ น ที่
นครแองเจลิส ปี ค.ศ. 1910 ในยุคทีก่ ารถ่ายทาภาพยนตร์ ใช้สถานที่ถ่ายทาในประเทศสหรั ฐอเมริกาซึ่ งถูก ปิ ด กั้ น
ด้วยสิทธิบัตรของโทมัส เอดิสัน ทาให้ในการผลิต จัดจาหน่าย หรือจัดแสดงภาพยนตร์แต่ละครั้งจะต้ องผ่านการขอ
อนุมัติจากบริษัทของเอดิสั นก่อ น ทาให้ผู้ผลิตภาพยนตร์เ คลื่ อนย้ายไปยั งรัฐ แคลิฟอร์ เนีย เพื่อหลบเลี่ยงกฏหมาย
ดังกล่าว นอกจากนี้ สภาพอากาศและสถานที่โ ดยรอบ มีปัจจัยที่เอื้อต่ อ การถ่ายทาภาพยนตร์ Hollywood จึง
กลายเป็ น จุ ด ศู นย์ กลางของอุ ต สาหกรรมภาพยนตร์ อ เมริ กั น โดยในยุค ทองของ Hollywood มี ส ตู ดิ โ อถ่ า ยทา
ภาพยนตร์ขนาดใหญ่ จานวน 5 แห่ง ที่ผลิตภาพยนตร์ เองและมีนั กแสดงในสั งกั ดของตั วเอง ได้แก่ Paramount,
RKO, 20th Century Fox, Metro-Goldwyn-Mayer (MGM) และ Warner Bros ซึ่งการผลิตภาพยนตร์ ทั้ ง หมด
ขึ้นตรงต่อสตูดิโอทั้ง 5 นี้

ระบบสตูดิโอ (Studio System)27 เกิดขึ้นพร้อมยุคทองของสตู ดิโอขนาดใหญ่ ทั้ง 5 โดยเป็นกระบวนการ


ที่สตูดิโอผลิตภาพยนตร์ในสถานที่ถ่า ยทาของตน ด้วยคนของตนซึ่งมีการผูก มัด ด้ว ยสัญญาระยะยาวและยึ ด ครอง
การเผยแพร่ ใ นรู ป แบบแนวดิ่ ง (Vertical Integration) เช่ น ความเป็ น เจ้ า ของที่ เ บ็ ด เสร็ จ ในแง่ ก ารเผยแพร่

26 แปลจาก https://www.u-s-history.com/pages/h3871.html
27 แปลจาก https://www.classichollywoodcentral.com/background/the -studio-system/

87
ภาพยนตร์ แ ละการฉาย ด้ ว ยกลยุท ธ์ ก ารด าเนิ นธุ ร กิจ รูป แบบนี้ ช่ ว ยให้ ส ตู ดิโ อ สามารถเพิ่ มยอดจาหน่ ายของ
ภาพยนตร์ ซึ่ ง เรีย กกั นว่ าการจาหน่ ายภาพยนตร์แ บบเป็ นก้ อ น (Block Booking) หรื อ การจ าหน่า ยภาพยนตร์
หลากหลายประเภทใน Package เดียว เช่นในหนึ่งการซื้อจะต้องได้ภาพยนตร์ ฟอร์ มใหญ่ผ สมภาพยนตร์ที่น่า สนใจ
น้อยกว่าหรือมีการผลิตคุณภาพต่ากว่า (B movie) รวมกันไปซึ่งถูกมองว่าเป็นการผูกขาดแบบหนึ่ง ปัจจุบัน สตูดิโอ
ทั้ง 5 พัฒนาและปรับเปลี่ยนมาเป็น Universal Pictures, Paramount Pictures, Warner Bros. Pictures, Walt
Disney Pictures และ Columbia Pictures

องค์ ป ระกอบอื่ น ๆ ที่ ส ร้ า งความยิ่ ง ใหญ่ แ ก่ อ าณาจั ก ร Hollywood คื อ การก่ อ ตั้ ง บริ ษั ท บั น ทึ ก เสียง
Capitol Records, การสร้าง Hollywood Walk of Fame ในปี ค.ศ. 1960 ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อสรรเสริญ ศิ ล ปิ น
คนสาคัญในวงการบันเทิง ในปี ค.ศ. 2001 มีการเปิด The Dolby Theatre ซึ่งกลายเป็น Kodak Theatre ที่ใช้ใน
การจัดพิธีแจกรางวัล Oscar นอกจากนั้นยังมีการรวมตั วกัน ของสถานีโ ทรทั ศน์แ ละเครือ ข่ายเคเบิ ลที วีที่ มาตั้ ง ใน
บริ เ วณเดี ย วกั น เช่ น CBS, MTV, Comedy Central, และ BET ในปี ค.ศ.2014 ท าให้ Hollywood กลายเป็น
ศูนย์รวมขององค์กรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านอุ ตสาหกรรมความบันเทิง

ภาพที่ 13 แสดงจานวนภาพยนตร์จากประเทศสหรั ฐอเมริ กาและประเทศแคนาดาที่ เข้าฉายทั่ว โลก ในปี ค.ศ.


2000-202028

28 https://www.statista.com/statistics/187122/movie-releases-in-north-america-since-2001/

88
ภาพที่ 13 แสดงจานวนของภาพยนตร์ที่ ฉายในประเทศสหรั ฐ อเมริ กาและประเทศแคนาดา ในปี ค.ศ.
2020 มีจานวนต่ากว่า ปี ค.ศ.. 2019 ถึงร้อยละ 66 เนื่องจากภาพยนตร์ที่จ ะเข้าโรงหลายเรื่อ งถูก เลื่อ นออกไป
เพราะวิกฤต COVID-19ในขณะที่จานวนภาพยนตร์ที่เข้าฉายมีจานวนเพิ่มขึ้น อย่างต่ อเนื่อ งโดยเฉพาะในช่ วงปี ค.ศ
.. 2013-2019 ด้ า นการวิจั ยของสมาคมภาพยนตร์แ ห่ ง อเมริ ก า (MPA)29 รายงานว่า จานวนโดยประมาณของ
ภาพยนตร์อเมริกันที่เข้า สู่ขั้น ตอนการถ่ายทาคิด เป็นจานวน 447 เรื่อง ซึ่งลดลงกว่าร้อยละ 45 จากปี ค.ศ. 2019
เนื่องด้วยวิกฤต COVID-19 ซึ่งส่งผลให้การถ่ายทาต้อ งหยุด กลางคันและในบางกรณีการถ่ายทาต้ อ งยกเลิ ก ไปใน
ที่สุด ในตารางที่ 34 แสดงอันดับภาพยนตร์ Hollywood ซึ่งถูกผลิตในช่ว งปี ค.ศ.. 2007 เป็นต้นไปโดยจ ะเป็ น
ภาพยนตร์จากสตูดิโอใหญ่ที่ใช้เงินทุนมหาศาล และได้รายได้มากว่าร้อยละ 60

ตารางที่ 34 อันดับรายได้โดยประมาณทั่วโลกของภาพยนตร์ Hollywood30


หน่วยเงิน : ล้านเหรียญ
รายได้
ลาดับ ภาพยนตร์ที่ทารายได้ การลงทุน ปี (พ.ศ.)
โดยประมาณ
1 Star Wars: The Force Awakens 936 306 2558
2 Avengers: Endgame 858 356 2562
3 Avatar 749 237 2552
4 Black Panther 700 200 2561
5 Avengers: Infinity War 678 325 2561
6 Titanic 600 200 2540

Value Chain ของ Hollywood31


สตูดิโอสาคัญของ Hollywood ได้ยึดครองอุตสาหกรรมภาพยนตร์ ซึ่งมีลักษณะการทางานเป็นกลุ่มบริ ษั ท
ที่อยู่ภายใต้บรรษัทสื่อข้ามชาติหรือ บริษัทบันเทิงยักษ์ใหญ่ เช่น Paramount เป็นบริษัทย่อยของบรรษัทข้า มชาติ
คือ Viacom สตูดิโอใหญ่หลายที่เริ่มพึ่ งพาบริษั ทย่ อย และบริษัทผลิตภาพยนตร์อิสระในการจั ดทาผลิ ตภั ณฑ์ ท าง
ภาพยนตร์ ในขณะที่ภาพยนตร์อิสระทารายได้ไ ม่ มากแต่ภาพยนตร์ เหล่านี้แ สดงให้เ ห็นถึง ตัวแทนของผู้ร่ว มเล่ น ใน
สนามการผลิตภาพยนตร์ใน Hollywood และเป็นเรื่องปกติที่ภาพยนตร์ อิสระมี ข้อจากัดในความสามารถใน เรื่ อ ง
การผลิตและการจัดจาหน่ายมากกว่าสตูดิโอใหญ่

29 https://deadline.com/2021/03/box-office-vodi-19-mpa-report-1234717209/
30 https://www.boxofficemojo.com/chart/top_lifetime_gross/
31 Litvak, Isaiah, U.S. Film Commissions & Hollywood, 2007, The IEDC Economic Development Journal, p.5-8

89
สินค้าและการบริการมี แนวโน้ มที่จ ะถู กผลิต ผ่านกิจกรรมในแนวดิ่ ง ลาดับของกิจกรรมลัก ษณะนี้ จ ะพบ
เห็นได้ในอุตสาหกรรมภาพยนตร์แบบ Hollywood การสร้างภาพยนตร์จะเริ่มด้วย การที่โปรดิวเซอร์เสาะหาสิ ท ธิ
ของภาพยนต์ เช่นการจ้างผู้เขียนบทภาพยนตร์ มาเขียนบทเพื่ อให้ไ ด้มาในซึ่ งสิ ทธิ ของภา พยนตร์ เรื่อ งนั้น ในจุดนี้
โครงการนั้นจะอยู่ในขั้นตอนการพัฒนาและด้านการเงิน “Development and Finance” โดยโปรดิวเซอร์ได้ห า
เงินทุนและผู้กากับ, ดาราและทีมงานที่ต้องการร่วมทางาน มีการจัดตารางและต้นทุน ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องทาในขั้นตอน
นี้ การตัดสินใจว่าจะให้ไฟเขียวต่อผลิตภาพยนตร์หรือไม่จะจบลงในส่วนนี้

เมื่อได้รับไฟเขียว การผลิตจะเข้าสู่ขั้นตอนก่อนการผลิต “Pre-production” ซึ่งในขั้นตอนนี้ โปรดิวเซอร์


ได้จ้างทีมงานที่ยังไม่ได้เ ข้าร่วมในช่ว งแรก สรุปตารางการถ่ายทาและเงินทุนที่ใช้ในการผลิต รวมถึงการทาประกั น
ต่างๆ ซึ่งเป็นช่วงที่โ ปรดิว เซอร์ ไ ด้ตั ด สินใจเลือ กสถานที่ถ่า ยทา การหาอุปกรณ์ในการถ่ายทาอื่น ๆ ตามที่จาเป็ น
และจัดตารางการถ่ายทา การดาเนินการถ่ายทาทั้งหมดนี้ อยู่ในช่วงของการถ่ายทา “Production” เมื่อสาเร็จ จะ
ถูกส่งต่อไปในช่วงหลังการถ่ายทา “Post-production” ซึ่งภาพยนตร์จะถูกตัดต่อ ลงเสียง เพิ่มเพลงประกอบและ
เพิ่มการใช้ special effect ต่างๆ ในส่วนหลังการถ่ายทา คือส่วนที่ภาพยนตร์จ ะกลายเป็ นฟิ ล์ ม negative ที่โยง
เข้าถึงขั้นตอนจัดจาหน่าย “Distribution” ของภาพยนตร์เกี่ยวข้อ งกั บการขอใบอนุญาติ ในการจั ดจาหน่าย หรือ
การนาเข้าตลาดในการจัดฉาย “Exhibition” ทั้งในและต่างประเทศ

การตัดสินใจเลือกสถานที่ในการถ่ายทาของ Hollywood
การตัดสินใจเลือกสถานที่ ในการถ่ายทาขึ้น อยู่ กับ หลายปัจจัย ด้ว ยกั น โปรดิวเซอร์และทีมงานจะท าการ
ประเมินอย่างละเอีย ดเกี่ยวกั บองค์ประกอบของราคาและสิ่ง ที่จาเป็น ในการถ่ายทาในโครงการนั้น ๆ พูดง่ายๆก็ คื อ
เมื่อต้นทุนยิ่งจากัด ยิ่งมีข้อต่อรองมากขึ้น ยิ่งโปรดิวเซอร์หาทางลดต้นทุนได้มากเท่าไหร่ เงินที่จะเหลือเพื่อการ ท า
การตลาดก็มากขึ้น เท่ านั้น โดยแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ 1) Above-The-Line นั้นรวม โปรดิวเซอร์,ผู้กากับ , ลิขสิท ธิ์
ของภาพยนตร์, นักเขียนบท และผู้แสดงนา ซึ่งมักจะเป็ นราคาที่ เปลี่ย นแปลงไม่ไ ด้ และ 2) Below-The-Line
รวมถึงกิจกรรมอื่นๆ เช่น ค่ากองและค่าเครื่องอานวยความสะดวก รวมถึงการเช่าอุปกรณ์จะอยู่ในกลุ่ม

สัญญากับสหภาพแรงงานที่ เกี่ย วข้ องกับ กฎระเบีย บการทางานและอัตราการจ้า งงาน มีผลกระทบอย่ า ง


มากต่อค่าแรง สัดส่วนราคาระหว่าง Above-The-Line และ Below-The-Line แตกต่างกันไปตามภาพยน ตร์ แ ต่
ละเรื่อง แต่เนื่องจากภาพยนตร์ส่วนใหญ่เน้นความสาคั ญของดาราที่ร่ว มแสดง ต้นทุนจึงไปอยู่ที่ราคาของ Above-
The-Line ในการผลิตภาพยนตร์ของสตูดิโอใหญ่ที่จ้างดาราแถวหน้ามากขึ้นเรื่อ ยๆ สัดส่วนของต้นทุนก็จะไปหนั ก
อยู่ที่ส่วนของ Above-The-Line หรือยิ่งต้นทุนน้ อยแค่ไ หน ส่วนที่จะเอาไปใช้จ่ ายกับ Below-The-Line ก็มาก
ยิ่งขึ้น

90
การทาให้การผลิตภาพยนตร์ให้ตรงตามความต้องการก็เป็น ปัญหาที่ยาก รวมถึงปัญหาในด้านศักยภาพใน
ด้านต่างๆ เช่น โครงสร้าง, คุณภาพของกองถ่าย และสถานที่ ที่ สามารถเข้าถึงได้และใช้ งานได้ ผลกระทบจากผู้
แสดงและความคิ ดสร้า งสรรค์เ ข้า มามี บทบาทเมื่ อ ต้ องตั ดสิ นใจเรื่อ งสถานที่ ถ่ายทา ซึ่งเกี่ยวข้อ งกับ เรื่ อ งรา วใน
ภาพยนต์, ผู้กากับที่เลือกเอาไว้ และดารานักแสดงที่อยู่ในสถานที่ๆ ได้วางแผนไว้ และผลกระทบต่อความสามารถ
ของโปรดิเซอร์ในการควบคุมการถ่ายทา

สมาคมภาพยนตร์แห่งอเมริกา (MPAA) รายงานว่าสตูดิโอใหญ่ๆ มีต้นทุนในการผลิตภาพยนตร์ปร ะมาณ


60 ล้านเหรียญ32สหรัฐ โดยหนึ่งในสามของต้น ทุน นั้น ถูก ใช้ไ ปกับ สถานที่ จึงไม่ต้องสงสัย ว่ารั ฐ อื่น ๆใน ปร ะเทศ
สหรัฐอเมริกา รัฐบาลต่างประเทศและคณะกรรมการภาพยนตร์ พยายามที่จ ะส่ง เสริ มภูมิภาคของตนให้ เป็นสถานที่
ถ่ายทาภาพยนตร์ ในขณะที่ความเป็นหนึ่งทางด้านศิลปะเป็นเรื่อ งส่วนสาคัญในเวลาที่ต้ องเลือกสถานที่ถ่ายทา แต่
ทุกวันนี้สิ่งที่ขับเคลื่อนอุต สาหกรรมนี้ อยู่คื อการควบคุ มเงิน การถ่ายทาภาพยนตร์นอก California มักจะต้นทุ น ที่
กว่าเสมอ

องค์กรที่เกี่ยวข้องกับ Hollywood
1. สมาคมภาพยนตร์แห่งอเมริกา 33 (The Motion Picture Association หรือ MPA) รับหน้าที่
เป็ น ตั ว แทนของผู้ผ ลิ ตและจัด จาหน่ ายภาพยนตร์รายใหญ่ข องประเทศสหรั ฐ อเมริ ก า ได้ แ ก่ สตู ดิ โ อใหญ่ทั้ง 5
(Paramount Pictures, Sony Pictures, Universal Pictures, Walt Disney Studios, Warner Bros) และ
บริการสตรีมมิ่ง Netflix
สมาคมนี้ ก่ อ ตั้ ง ขึ้ น ในปี ค.ศ. 1922 มี วั ต ถุ ป ระสงค์ มุ่ง สนั บ สนุน อุ ต สาหกรรมภาพยนตร์และ
โทรทัศน์โดยส่งเสริมการคุ้ มครองทรั พย์สิน ทางปัญ ญา ขยายการเข้าถึงตลาด พยายามทาให้ผู้รักการชมภาพยนตร์
ทั่วโลก ตระหนักถึงความสาคัญของการปกป้องเนื้ อหาและลดการละเมิดลิ ขสิทธิ์ รวมถึงความพยายามในการจากั ด
การแชร์ ง านลิ ขสิ ท ธิ์ ผ่ า นการแชร์ไ ฟล์ แ ละผ่ านการสตรี ม และตั้ ง แต่ ปี ค.ศ. 1968 MPA ได้ จั ด ตั้ ง Code and
Rating Administration หรื อ CARA ซึ่ ง ท าหน้ า ที่ จั ด เรตติ้ ง ส าหรั บ ภาพยนตร์ ที่ จั ด แสดงและจั ด จ าหน่ ายเชิง
พาณิชย์ในประเทศสหรัฐอเมริกา

2. สถาบันภาพยนตร์อเมริกัน34 (American Film Institute หรือ AFI) เป็นสถาบันที่ได้รับ การ


สนับสนุนโดยภาคเอกชนและรายได้จากการเป็นสมาชิก ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1965 เพื่อเป็นองค์การศิลปะแห่ ง ชาติ

32 รายงานฉบับนี้ใช้อัตราการแลกเปลี่ ยน ณ วันที่ 1 กรกฎาคม ปี พ.ศ. 2564 คือ 32.023 บาท ต่อ 1 เหรียญดอลลาร์สหรัฐ
33 https://www.motionpictures.org/who-we-are/
34 https://www.afi.com/

91
ในการอนุรักษ์มรดกภาพยนตร์ของประเทศสหรัฐ อเมริกา ให้การศึกษาแก่นักทาภาพยนตร์และให้ เกียรติ ศิล ปิ น ที่ มี
ผลงานสาคัญ AFI ได้รับการสนับสนุนจากองค์การกองทุน เพื่อ ศิล ปะแห่ง ชาติ (National Endowment for the
Arts) สมาคมภาพยนตร์ แ ห่ ง อเมริ ก า (Motion Picture Association of America) และมู ล นิ ธิ ฟอร์ ด (Ford
Foundation) โดยกลุ่มคณะกรรมการประกอบไปด้วยนักประวัติ ศาสตร์ภาพยนตร์ นักแสดงและผู้กากับกิตติ มศั ก ดิ์
ที่ เ ป็ น ตั ว แทนให้ กั บ ฝั่ ง ศิ ล ปะและด้ า นวิช าการ ทางสถาบัน ได้ มีก ารจัด การฝึ ก นัก ท าภาพยนตร์ภ ายใต้ ชื่ อ AFI
Conservatory และมีการสะสมแหล่ งข้อ มูล ทางวิ ชากร และทางประวัติศาสตร์ เกี่ย วกับ ภาพยนตร์ ที่เรีย กกว่า AFI
Catalog รวมถึงการจัดเทศกาลภาพยนตร์ สารคดี AFI DOCS ซึ่งเป็นแสดงฉายภาพยนตร์ ที่ไ ม่เ อากาไรที่ใหญ่ ที่ สุ ด
ในโลก

3. สมาคมนักแสดงภาพยนตร์และโทรทั ศน์35 (The Screen Actors Guild หรือ SAG-AFTRA)


เป็นสหภาพแรงงานที่เป็นตัวแทนนักแสดงทางโทรทัศน์และภาพยนตร์ นักข่าว นางแบบ ผู้ดาเนินรายการวิทยุ และ
บุคลากรทางด้านสื่อจากทั่วโลก องค์กรนี้จัดตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 2012 จากการรวมตัวของสมาคมนั กแสดงภาพยนตร์
และโทรทัศ น์ (SAG) กับองค์ศิ ลปิ นด้ านวิท ยุ และโทรทั ศ น์แ ห่ งอเมริก า (American Federation of Television
and Radio Artists หรื อ AFTRA) โดยมี เ ป้ า หมา ยเพื่ อ ร่ ว มกั น ต่ อ รองและจั ด ตั้ ง ร ะดั บ ของค่ า ตอบแ ทน ,
ผลประโยชน์ และสภาพการทางานที่เอื้อต่อประโยชน์ข องบุ คลากรในวงการสื่ อ และให้การป้องกันการใช้บุค ลากร
เหล่านี้จากความไม่เป็นธรรม

4. สมาคมคณะกรรมการภาพยนตร์ น านาชาติ 36 (Association of Film Commissioners


International หรือ AFCI) เป็นองค์กรที่ไม่ แสวงหาผลประโยชน์ ก่อตั้งในปี ค.ศ. 1975 ทาหน้าที่เป็นเครือ ข่ า ยที่
เชื่อมโยงคณะกรรมการภาพยนตร์ให้แ ก่ 40 ประเทศ ซึ่งมีหน้าที่ในการฝึกฝนและสร้างคณะกรรมการภาพยนตร์ ที่
สามารถตั้งมาตรฐานทางด้านภาพยนตร์ได้ พร้อมกับให้การศึกษาและองค์ ความรู้เ กี่ยวกับ คณะกรรมการภาพยนตร์
อย่างเต็มรูปแบบ ส่วนหนึ่งในเป้าหมายของสมาคมคือ การให้ โอกาสด้านการสร้า งเครื อข่า ยและการตลาดต่ อ รั ฐ
ต่ า งๆ ใน Hollywood โดยคณะกรรมการภาพยนตร์ (Film Commission) มี ก ระจายอยู่ ใ น 6 รั ฐ ทั่ ว ประเทศ
สหรัฐอเมริกา ได้แก่ California, Cleveland, North Carolina, San Diego, Texas และ Virginia แต่ละองค์ ก ร
ได้รับการดาเนินการและรับเงินทุนจากหลายหน่วยงานของรัฐบาล อย่างเช่น สานักงานนายกเทศมนตรี , สานักงาน
ผู้ว่าราชการ, หอการค้า, องค์กรของรัฐที่รับผิดชอบในการส่ง เสริ มการท่องเที่ย ว เป็นต้น มีหน้าที่ในการดึงดูด การ
ถ่ายทาภาพยนตร์ โทรทัศน์และวีดิโอ ผ่านการนาเสนอสิทธิประโยชน์ ด้านภาษีและเงิน สนับสนุน โดยตระหนั ก ถึ ง
ผลประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจที่จะมาสู่พื้นที่ของตนเอง

35 https://www.sagaftra.org/about
36 https://afci.org/about-afci/#about-us

92
5. สถาบั น ศิ ล ปะภาพยนตร์แ ละวิ ทยาการ 37 (The Academy of Motion Picture Arts and
Sciences หรื อ AMPAS) เป็ น สถาบั น ที่จั ด งานแจกรางวั ล Oscar หรื อ Academy Awards ก่ อ ตั้ ง ขึ้ น ในปี ค.ศ.
1927 โดยเป็นองค์กรสากลระดับโลกที่รวมบุคลากรที่ประสบความสาเร็จในวงการภาพยนตร์ไ ว้กว่า 9,000 คนที่มา
ร่วมกันตัดสินว่าภาพยนตร์ในแต่ละปีเรื่องไหนมีความเหมาะสมในการได้รับรางวั ล
6. ในประเทศสหรัฐอเมริกายังมีเทศกาลภาพยนตร์กระจายตัวอยู่ในหลายรัฐ ที่ให้ ความสนใจกั บ
ภาพยนตร์ที่แตกต่างกันเป็นมีเ อกลัก ษณ์ของตนเองโดยเทศกาลเหล่านี้ถู กก่อนตั้งโดย ดารานักแสดง หรือองค์กรที่
ให้การสนับสนุนทางด้านภาพยนตร์ อย่างเช่น New York Film Festival, Sundance Film Festival, South by
Southwest Festival หรือ Los Angeles Film Festival ซึ่งเทศกาลเหล่า นี้เ ปิด โอกาสให้ ภาพยนตร์น อกกร ะแส
และภาพยนตร์อิสระได้เป็นที่รู้จักต่อสาธารณชนและสร้างความหลากหลายให้ กับวงการภาพยนตร์มากขื้น

สูตรสาเร็จของ Hollywood
Ganna Pogrebna38,39 นักวิจัยจากมหาวิ ทยาลัย Birmingham ได้ศึกษาบทภาพยนตร์ จานวน 6,147
เรื่อง ในช่วงปี ค.ศ. 1935 - ค.ศ. 2018 ซึ่งเป็นภาพยนตร์เรื่องที่ไ ด้รับ ความนิยมสูง และค้นพบโครงเรื่องที่ก ร ะตุ้ น
อารมณ์และทารายได้สู งสุ ด คือ เรื่องของ “คนตกที่นั่งลาบาก” ซึ่งเล่าเรื่องจากอารมณ์ ที่ต่าสุด มาสู งสุง เช่น The
Godfather, The Lord of the Rings: The Fellowship of the Ring หรือ The Sixth Sense เป้าหมายการวิจัย
คือ ทาความเข้าใจความต้องการของผู้ช ม โดยนักวิทยาศาสตร์ แบ่งภาพยนตร์ตามรูปแบบอารมณ์ 6 ประเภท ซึ่ง
ประสบความสาเร็จใน Box Office ผลการวิจัยเผยว่า เรื่องคนตกที่นั่งลาบากที่มีแนวทางสุข – เศร้า - สุข เป็นสูตร
สาเร็จที่ทาเงินได้ในภาพยนตร์ทุก ประเภท โดยมียอดการลงทุนประมาณ 40.5 ล้านเหรียญสหรัฐ และสามารถท า
รายได้โดยเฉลี่ย 54.9 ล้านเหรียญสหรัฐ ในขณะที่ภาพยนตร์ ชีว ประวั ติที่ เล่า เรื่ องคนจนกลายเป็น คนรวยมา เป็ น
อันดับต้นๆ แต่ยังไม่ประสบความสาเร็จเท่าภาพยนตร์ลี้ ลับสอบสวน ในประเภทภาพยนตร์ตลก โครงเรื่องแนวคน
รวยกลายเป็นคนจนที่ปิดฉากด้วยความเศร้าประสบความสาเร็จน้อยที่สุ ด

กลุ่มนักวิจัยพบว่าภาพยนตร์ที่ มีโครงเรื่อ งคนตกอยู่ในที่ นั่งลาบากไม่ใช่ เรื่องที่คนชอบมากที่ สุดแต่เป็ น เนื้ อ


เรื่องที่คนพูดถึงมากที่สุด ซึ่งการวิจัยนี้มีการใช้ศาสตร์ด้านข้อมูล (Data Science) เพื่อทาความเข้าใจ Hollywood
ในการใช้โครงเรื่องสร้างอารมณ์ ของภาพยนตร์ ที่ผลั กดันรูป แบบธุรกิจใหม่ ในอุ ตสาหกรรมบันเทิง นักวิจัยรวบรวม
ข้ อ มู ล จากหลากหลายแหล่ ง รวมทั้ ง จ านวนความพึ่ ง พอใจจากเวปไซต์ IMDb ส่ ว น Pogbrena คาดหวั ง ว่ า
ผลการวิจัยนี้จะช่วยให้บริษัทภาพยนตร์มีความคิดสร้างสรรค์มากขึ้น

37 https://www.oscars.org/academy-story
38 Ganna Pogrebna, 2019, Improving productivity in Hollywood with data science: Using emotional arcs of movies to drive
product and service innovation in entertainment industries, University of Birmingham
39 https://www.bbc.com/news/entertainment-arts-46385657

93
มูลค่าด้านพื้นที่สร้างสรรค์
นอกจากการมีสตูดิโอภาพยนตร์ ที่ขึ้นชื่ อแล้ ว Hollywood สามารถเรียกนักท่องเที่ย วให้ เข้า ไปมีส่ว นร่ ว ม
ในประสบการณ์ ข อง Hollywood จากการจัดทัวร์ ไปยั งแต่ ล ะสตู ดิโ อ (Studio Tour) โดยสตูดิโอรายใหญ่ เช่น
Paramount, Warner Bros และ Universal รวมถึงการจัด ทัว ร์ช มบ้านดารา (Hollywood Star Tour)40 ซึ่งพา
นักท่องเที่ยวเยี่ยมชมหน้าบ้านของดาราดัง ทั่วเมือ ง และการสร้าง Hollywood Hall of Frame41 ที่มีการวางแผ่ น
หินรูปดาวจารึก ชื่ อของนั กแสดง และรูปพิ มพ์ผ่า มื อ ของบุ ค คลที่ มีชื่ อ เสี ย งในวงการบัน ทิ ง หรือการมี Chinese
Theatre42 ที่มาพร้อมเอกลั ก ษณ์ภายนอกที่โ ดดเด่ น ทาให้กลายเป็น สถานที่ ที่นักท่องเที่ย วทั่ วโลกสนใจเข้ า มา
สัมผัสประสบการณ์ความรู้สึก และความเป็น Hollywood
สถาบันศิลปะภาพยนตร์ และวิทยาการ (The Academy of Motion Picture Arts and Sciences หรือ
AMPAS) ด าเนิ น การจัด งานแจกรางวัล ออสการ์ วางแผนตั้ ง Academy Museum of Motion Pictures 43 เพื่ อ
เป็นสถาบันแนวหน้าที่อุทิศ ให้ กับผลงานทางศิลปะและวิท ยาศาสตร์ข องภาพยนตร์ ซึ่งจะมีการจัดฉายภาพยนตร์
โลก โดยเน้นเรื่องราวที่สะท้อนศิลปะ ประวัติศษสตร์ เทคโนโลยี ศิลปินและผลกระทบทางสังคม

บุคลากรของ Hollywood
รูปแบบการทางานของ Hollywood คือ การจัดทีมเฉพาะกิจขึ้ นส าหรั บ การถ่ ายทาที่ ใหญ่แ ละซั บ ซ้ อ น
โดยระดมทักษะเฉพาะ และความเชี่ยวชาญเฉพาะของบุ คลากรแต่ล ะคน มาร่วมกันทางานภายใต้กรอบระยะเวลา
และทรัพยากรด้านเงินทุน ที่จากั ด แต่มีความยืดหยุ่นสูง การดาเนินงานจึงต้องเคร่ ง ครัดและมี วินัย สอดคล้องกั บ
ค่าตอบแทนที่ได้รับซึ่ งสู งกว่า งานประเภทเดียวกัน ภายนอกกองถ่า ยทาภาพยนตร์ อันเนื่องจากความเป็นสหภาพ
ของ Hollywood ทาให้สามารถต่อรองค่าตอบแทนได้สูงกว่า อาทิ ช่างไฟที่ทางานในกองถ่ายได้ค่าแรง 35 เหรียญ
สหรัฐต่อชั่วโมง ซึ่งสูงกว่าค่าแรงของช่างไฟทั่วไปถึง ร้อยละ 4044

40 https://www.hollywoodcitytours.com/?gclid=Cj0KCQjw2tCGBhCLARIsABJGmZ6doFt7jAg9Inoi-HJFPEs6uO4L8KXVvZddz-XT-

Lsjr0VncmVxOYYaAsKaEALw_wcB
41 https://walkoffame.com/
42 http://www.tclchinesetheatres.com/
43 https://www.academymuseum.org/en/
44 Davidson, Adam, What Hollywood Can Teach Us About the Future of Work, 2015, New York Times Magazine

94
5.2 กรณีศึกษาประเทศอินเดีย
ประเทศอินเดีย ให้ความสาคัญกับอุตสาหกรรมภาพยนต์ และครองตาแหน่งการผลิตภาพยนตร์ในปริ มาณ
ที่สูงเป็นอันดับหนึ่งของโลกในทศวรรษที่ผ่านมา เมื่อเทียบกับ Hollywood อินเดียมีคาที่ใช้สื่อแทนอุ ตสาหกรรม
ภาพยนตร์อินเดีย ซึ่งเป็นการนาชื่อเมืองบอมเบย์ มาผสมกับคาว่า Hollywood เป็น Bollywood จากสถิติจานวน
ภาพยนตร์อินเดียที่ผลิตขึ้นต่อ ปี เห็นได้ว่ามีจานวนเพิ่มมากขึ้นเกือบทุกปี (ตารางที่ 35) โดยภาพยนตร์ที่ทารายได้
ในช่วง 100 ล้านเหรียญสหรัฐขึ้นไป (ตารางที่ 36) ซึ่งใน 5 อันดับภาพยนตร์ทาเงินที่ผสมผสานระหว่างภาพยนตร์ ด
ราม่าและแอ๊คชั่นอิงประวัติศาสตร์ แต่ส่วนที่ทาให้ภาพยนตร์อินเดี ยได้รับการจดจาคือนาการร้อ งเล่น เต้นระบาเข้ า
ไปผสมเพื่อใช้ในการเล่า เรื่อ งภาพยนตร์ ของ Bollywood ให้รับการยอมรับทั้งในประเทศและในระดั บสากล และ
นับเป็นประเทศที่ผลิตภาพยนตร์ในจานวนที่มากเป็นอั นดับ ต้นๆ โดยผลิตภาพยนตร์เป็นอันดับหนึ่ งของโลกในช่ ว ง
ปี ค.ศ.. 2016 - 201945 ซึ่งจะเห็นได้ว่าในปี ค.ศ. 2019 จานวนภาพยนตร์มีจานวนมากถึง 2,449 เรื่อง

ตารางที่ 35 จานวนภาพยนตร์อินเดียที่ถู ก ผลิ ตขึ้นในช่วงปี ค.ศ.. 2013 - 201846


ปี (พ.ศ.) จานวนภาพยนตร์อินเดียที่ เข้าฉายในแต่ละปี (เรื่อง)
2557 1,778
2558 1,827
2559 1902
2560 1,986
2561 1,813
2562 2,446

ตารางที่ 36 อันดับรายได้ทั่วโลกของภาพยนตร์อิน เดี ยช่วงปี ค.ศ.. 2016 - 201947


ลาดับ ภาพยนตร์ที่ทารายได้ รายได้โดยประมาณ (ล้านเหรียญ) ปี (พ.ศ.)
1 Dangal 287 2559
2 Baahubali 2: The Conclusion 257 2560
3 Secret Superstar 154 2560
4 Bajrangi Bhaijaan 150 2558
5 PK 120 2557

45 https://www.screenaustralia.gov.au/fact-finders/international-context/world-rankings/feature-films-and-cinemas
46 https://www.cbfcindia.gov.in/main/publications.html
47 https://www.boxofficeindia.com/report-details.php?articleid=4396

95
การสนับสนุนจากภาครัฐ
ในปี พ.ศ. 2504 48 รัฐบาลจัดตั้งสถาบันภาพยนตร์ข องประเทศอิน เดีย Film and Television Institute
of India หรือ FTII) เพื่อฝึกฝนและพัฒนาผู้กากับหน้าใหม่ และแต่งตั้งคณะกรรมการภาพยนตร์ฝ่ายการเงิน (Film
Finance Commission หรือ FFC) รวมกับองค์กรพัฒนาภาพยนตร์แห่ งชาติของประเทศอิ นเดีย (National Film
Development Corporation of India หรือ NFDC) เพื่อช่วยสนับสนุน เงิ นทุน สาหรับ การผลิ ต ภาพยนตร์ อิ ส ระ
และภาพยนตร์ ทดลอง รวมทั้ ง หอภาพยนตร์แ ห่ง ชาติ (National Film Archive) ซึ่ ง ก่ อ ตั้ ง ขึ้ น ในปี พ.ศ. 2507
องค์กรทั้งหมดนี้ ต่างมุ่งสนับสนุนภาพยนตร์ที่ เปิ ดตั วครั้ งแรก และภาพยนตร์ที่ไม่ใช้ ดาราดั งร่ว มแสดง นอกจากนี้
รัฐบาลประเทศอิน เดีย ได้ พยายามยกระดั บ ภาพยนตร์ อิน เดีย เข้ าสู่ งานประเภทศิ ล ปะ อย่างไรก็ตาม เนื่องจาก
ภาพยนตร์ ถูกมองเป็นผลิตภัณฑ์สาหรั บผู้ มีฐานะปานกลางถึง ดี ในขณะที่ ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศอิ น เดี ย
ยังมีฐานะยากจน การเข้าถึงภาพยนตร์จึ ง เป็ น ไปได้ค่ อนข้า งยาก กระทั่งในช่ ว งปลายศตวรรษที่ 20 มีการผลิ ต
ภาพยนตร์คุ ณภาพปานกลางจานวนมาก เพื่อตอบสนองการรั บ ชมภายในประเทศมากขึ้น พร้อมการนาภา ษา
ท้องถิ่นมาใช้ในภาพยนตร์จานวนรวมถึ ง 16 ภาษา ทาให้ภาพยนตร์เป็นสื่อที่แ พร่ห ลายในประเทศอิ นเดียในเวลา
ต่อมา
ต่อมารัฐบาลประเทศอินเดียได้ก่ อตั้ งคณะกรรมการกลางการรับรองภาพยนตร์ Central Board of Film
Certificate (CBFC)49 ซึ่งอยู่ภายใต้ก ระทรวงสารสนเทศและการกระจายเสีย ง (Ministry of Information and
Broadcasting) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ทาหน้าที่ตรวจพิจารณาภาพยนตร์ทั้ งในประเทศและภาพยนตร์ที่นา เข้ามาฉาย
ในประเทศ โดยดาเนินการตามพระราชบัญญั ติภาพยนตร์ ปี ค.ศ. 1952 ภาพยนตร์ที่เข้าฉายในประเทศอินเดี ย ทุ ก
เรื่องต้องผ่านการตรวจสอบดูแลของคณะกรรมการที่ไ ด้รับการแต่ งตั้งจากภาครัฐ หน่วยงานกลางตั้งอยู่ที่มุมไบและ
มีหน่วยงานย่อย 9 แห่งกระจายตามหั ว เมื อ งต่ างๆ ทั่วประเทศ CBFC มีเป้าหมาย50 ในการเสนอความบัน เทิ ง ที่
ปลอดภัยและเหมาะสมต่อสาธารณชนตาม พ.ร.บ.ภาพยนตร์ปี ค.ศ. 1952 และกฎหมายทางภาพยนตร์ที่จัดตั้งในปี
ค.ศ. 1983 พร้อมจัดประชุมร่วมกับผู้ผลิตภาพยนตร์เพื่อหารือแนวทางในการดาเนินงานที่มีประสิทธิภาพ

48 https://www.britannica.com/art/history-of-the-motion-picture/India
49 https://www.cbfcindia.gov.in/main/about-us.html
50 https://www.cbfcindia.gov.in/main/vision-and-mission.html

96
องค์กรพัฒนาภาพยนตร์ แห่ งชาติ ของประเทศอิ นเดี ย51 (National Film Development Corporation
of India หรือ NFDC) ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1975 เพื่อเป็นศูนย์กลางการเคลื่อนไหวเกี่ยวกับภาพยนตร์ข องปร ะเทศ
อินเดีย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อส่ง เสริ ม บูรณาการและจัดการดาเนินการเกี่ยวกับ อุตสาหกรรมภาพยนตร์ มีหน้าที่ ใน
การให้ทุนสาหรับการผลิต และการจัดจาหน่าย ภายใต้โครงสร้างการปฏิบัติ งานของกระทรวงสารสนเทศและการ
กระจายเสียง (Ministry of Information and Broadcasting) นอกจากนั้น NFDC ได้จัดตั้งหน่วยงานพิเ ศษเพื่ อ
ดูแลด้านต่างๆ ดังนี้
1. ภาพยนตร์ ข องประเทศอิ น เดี ย (Cinemas of India หรื อ COI)52 เป็ น ช่ อ งทางต่ อ ยอดจาก
NFDC เริ่มก่อตั้งในปี ค.ศ.2012 เพื่อช่วยในการนาเสนอและส่งเสริ มภาพยนตร์อิน เดีย ที่เป็นผลงานของชาวอิ น เดี ย
COI ทาหน้าที่เชื่อมโยงผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ ร่ว มกับนัก ผลิต ภาพยนตร์หน้าใหม่ นอกจากนั้น COI
เป็นพื้นที่ในการฉายภาพยนตร์แบบ Video-on-Demand (VOD) เพื่อให้บริการ Streaming ภาพยนตร์อินเดีย สู่ ผู้
ที่สนใจในทุกภูมิภาคทั่วโลก
2. ตลาดภาพยนตร์ Film Bazaar53 เป็นตลาดภาพยนตร์ที่ ใหญ่ที่ สุด ในเอเซีย ใต้ จัดตั้งขึ้น ในปี
พ.ศ. 2550 เพื่อสนับสนุนการร่ว มมือ ในงานสร้างสรรค์ทางภาพยนตร์ข องกลุ่ มผู้ ผลิ ตภาพยนตร์จากเอเซียใต้ แ ละ
ต่างประเทศ โดยมีการรวมตั วของผู้ ซื้อ และผู้ จาหน่ายภาพยนตร์จากทั่ วโลกเป็ นประจาทุ ก ปี ใช้เวลาปีละ 5 วัน
จุดมุ่งหมายสาคัญของตลาดภาพยนตร์ คือ การค้นพบ สนับสนุน และนาเสนอเนื้อหาและบุคลากรที่มีความสามารถ
ด้านการผลิตภาพยนตร์และการจัดจาหน่าย ที่มาจากฝั่งเอเซียใต้
3. นอกจากนี้ NFDC ได้ เ ปิ ด ช่ อ งทางการจั ด หาอุป กรณ์ ที่ เ กี่ ยวเนื่อ งกั บการถ่ ายท าภาพยนตร์
ให้กับกองถ่ายจากต่างประเทศ ผ่านทาง Vendor Enlistment Portal54 ซึ่งให้บริการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการผลิ ต
ภาพยนตร์ เช่น สื่อประชาสัมภาษณ์ หรือการออกแบบเวปไซต์ เป็นต้น

แหล่งเงินทุน
แหล่งเงินทุนสาหรั บการผลิ ตภาพยนตร์ ได้รับจากองค์กรพั ฒนาภาพยนตร์แ ห่ง ชาติ ของประเทศอิ น เดี ย
(National Film Development Corporation of India หรือ NFDC) ช่วยจัดหาแหล่งเงิน ทุน เพื่อ สนั บสนุ น การ
สร้างภาพยนตร์ หรือการจัดหาผู่ร่วมลงทุนสร้างภาพยนตร์ (Co-Production) โดยรับหน้าที่เป็นศูนย์ประสานงาน
ส่วนกลางให้กับทุกฝ่าย

51 https://www.nfdcindia.com/
52 https://www.cinemasofindia.com/#terms/about
53 https://filmbazaarindia.com/about/
54 https://nfdcempanelment.com/

97
NFDC จัดกองทุนขึ้นในหลากหลายรู ปแบบ อาทิ ในปี พ.ศ. 2560 องค์กรพัฒนาภาพยนตร์แ ห่ง ชาติ ข อง
ประเทศอินเดียหรือ NFDC ได้จัดตั้ง Cine Arristes Welfare Fund of India หรือ CAWFI55 เป็นกองทุนสวัสดิการ
สาหรับเชิญให้ผู้สนใจผลิตภาพนยตร์ สมัครเพื่อรับการคัดเลือกรับเงินทุนสนับสนุน โดยเงินทุนดังกล่าว มาจากกาไร
ที่รวบรวมได้จากภาพยนตร์อินเดียชื่อดังเรื่อง Gandhi

การพัฒนาบุคลากร
องค์กรพัฒนาภาพยนตร์แ ห่งชาติข องประเทศอิน เดี ย (National Film Development Corporation of
India หรือ NFDC)56 ให้การส่งเสริมกิจกรรมหรือ การจัดแข่ งขัน เพื่ อค้น หาผู้ผลิ ตภาพยนตร์ หน้าใหม่ โดยให้โอกาส
แก่ผู้สนใจผลิตภาพยนตร์ และผู้ที่ต้องการหาทุ น รวมทั้ง จัดการอบรมให้ ความรู้เ กี่ย วกั บวิ ชาชี พ ด้านภาพยน ตร์
อาทิ การอบรมนักเขียนบท57 FDC Screenwriters’ Lab ซึ่งดาเนินการต่อเนื่องมาเป็นครั้งที่ 14 ในปี พ.ศ. 2564
เพื่อมุ่งหานักเขียนบทเข้า รับการอบรมจากผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมภาพยนตร์
ปี พ.ศ. 2503 ประเทศอินเดี ยได้ก่ อ ตั้ง สถาบั น สาหรับ สอนการผลิ ตภาพยนตร์ ชื่อว่า สถาบันภาพยนตร์
และโทรทั ศ น์ แ ห่ ง ประเทศอิน เดี ย (Film and Television Institute of India หรื อ FTII)58 โดยรั ฐ บาลประเทศ
อินเดียให้การสนับสนุน สถาบันดังกล่าวตั้งอยู่ในพื้นที่ของสถานที่ถ่ายทา Prabhat Studio เมืองปูเน่ พื้นที่ ซึ่งเป็น
จุดเริ่มต้นแห่งการส่งเสริ มการถ่า ยทาภาพยนตร์ แก่ส ถาบันศึ กษา FTII และเป็นหนึ่งในสตูดิโอถ่ายทาที่เ ก่าแก่ ที่ สุ ด
ของโลก FTII เป็นสถานศึกษาที่ผลิตบุคลากรคุณภาพซึ่งได้รับรางวัลทั้งระดับ ประเทศและนานาชาติอย่างต่อ เนื่อง

เนื้อหาภาพยนตร์ที่ทาเงิน
ภาพยนตร์อินเดีย ดึ งดู ด ผู้ช มจากทั่ว โลกผ่ านดาราดั งอย่าง Akshay Kumar ซึ่งได้รับค่าตอบแทนถึ ง 35
ล้านเหรียญสหรัฐและ Salman Khan ที่มีค่าตอบแทน 37 ล้านเหรียญสหรัฐ โดย FICCI รายงานว่าอุตสาหกรรม
ภาพยนตร์อินเดียเติบโต ร้อยละ 27 ในปี พ.ศ. 2560 ทั้งในประเทศและต่างประเทศ จากรายงานของ Deloitte
India and the Motion Picture Distributors Association ปี พ.ศ. 256059 พบว่ า ประเทศจี น ให้ ค วามสนใจ
ภาพยนตร์ Bollywood อย่างมาก กระทั่งสามารถทารายได้ 120 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยภาพยนตร์ฮินดีได้รับความ
นิ ย มสู ง สุ ด คิ ด เป็ น ร้ อ ยละ 40 ของตลาดภาพยนตร์ นอกจากนี้ รายงานระบุ ว่ า การเปลี่ ย นแปลงส าคั ญของ
อุตสาหกรรมภาพยนตร์อินเดียเกิดจาก 5 ปัจจัยสาคัญ ได้แก่

55 https://www.nfdcindia.com/news/2017/40
56 https://www.nfdcindia.com/news/
57 https://www.nfdcindia.com/uploads/post/0851690001617779189.pdf
58 https://www.ftii.ac.in/p/about-ftii
59 https://www.mpa-apac.org/wp-content/uploads/2018/05/India-ECR-2017_Final-Report.pdf

98
1. การให้คุณค่าต่ อบทภาพยนตร์ มากขึ้ น โดยภาพยนตร์อิน เดียหลายเรื่ อ งที่ ผลิ ตขึ้ นระหว่ า งปี
พ.ศ. 2560 - 2561 สามารถครองตลาดด้วยการใช้บทภาพยนตร์ ถึงแม้ว่าจะมีการนาดาราดัง เช่น Akshay Kumar
และ Amitabn Bachchan ร่วมแสดงเพื่อ ดึง ดู ดผู้ช มด้ว ยก็ ตาม การให้ความสาคัญกั บบทภาพยนตร์ เป็น แนวโน้ ม
สาคัญที่คาดว่าจะยังคงเกิดขึ้นต่อเนื่องในอนาคต
2. รายได้ที่เพิ่มขึ้นจากธุรกิจ OTT จากการเติบโตและครอบครองตลาดของบริการสตรี มมิ่ ง อย่ า ง
Amazon Prime เปิดโอกาสให้โปรดิวเซอร์ได้รับรายได้เพิ่มขึ้น
3. การได้ส่วนแบ่งจากตลาดต่างประเทศ รายได้สุทธิของ Box Office ของภาพยนตร์ต่างประเทศ
เพิ่มขึ้นจากร้อ ยละ 6 ในปี พ.ศ. 2556 เป็นร้อยละ 10 ในปี พ.ศ. 2559 ส่วนแบ่งที่เพิ่ มขึ้น เกิดจากการลงเสี ย ง
พากย์เป็นภาษาอิน เดี ยในภาพยนตร์ Hollywood รวมทั้ง มีส่วนในการเพิ่ มเงิ นในการโฆษณาและการสร้า งโรง
ภาพยนตร์อีกด้วย
4. การเติบโตของภาพยนตร์ ท้อ งถิ่ น : เหตุผลที่ทาให้ภาพยนตร์ ท้อ งถิ่ นได้รับ ความนิ ย มมา กขึ้ น
คือ จานวนที่เพิ่มขึ้นของภาพยนตร์ท้ องถิ่ น นอกจากนั้น คือ การเพิ่มจานวนโรงฉายภาพยนตร์ ที่ มาพร้ อ มหน้ า จอ
ความคมชัดสูง (ประมาณ 14-15 โรงภาพยนตร์) สุดท้าย คือ เนื้อหาภาพยนตร์ที่แหวกแนวและเข้าถึง คนดูใ น พื้ น ที่
ท้องถิ่นได้มากขึ้น

สถานที่ถ่ายทาและเทศกาลภาพยนตร์
จากการศึกษาพบว่า มีการสร้าง Film City ทั่วประเทศอิน เดีย เช่น Mumbai Film City60 เมืองมุ ม ไบ
Ramoji Film City เมือง Hyderabad หรือ Innovative Film City เมือง Bengaluru สถานที่ถ่ายทาเหล่านี้มีการ
บริหารจัดการโดย Maharashtra Film, State and Cultural Development Corporation Ltd. ซึ่งเป็นองค์ ก ร
ของรัฐบาลท้องถิ่น เป็นศูนย์กลางการผลิตและการถ่า ยทาภาพยนตร์ อิน เดีย เป็นที่ตั้งของโรงถ่ายภาพยนตร์ แ ละ
บริ ษั ท ผู้ ส ร้ า งภาพยนตร์ร ายสาคั ญ เกื อบทั้ งหมดของประเทศอิน เดี ย รวมทั้ ง มี ก ารบริห ารจัด การอ านวยความ
สะดวกด้านสถานที่ถ่า ยทา ทั้งแบบกลางแจ้ง และในสตู ดิโ อที่ มีพื้น ที่ก ว่า 9,000 ตารางเมตร อุปกรณ์การถ่ า ยท า
บุคลากร เจ้าหน้าที่ และอื่นๆ เพื่ออานวยความสะดวกแก่การสร้างภาพยนตร์ สร้างรายได้ประมาณ 400 ล้าน
เหรียญสหรัฐต่อปี ที่สาคัญ Film City ยังมีส่วนในการส่งเสริมการท่ องเที่ย ว โดยการนานักท่องเที่ยวมาเยี่ ย มชม
ภายในสถานที่ถ่ายทาภาพยนตร์ Bollywood ที่ได้รับความนิยม
เทศกาลภาพยนตร์ Indian Panorama International Film Festival61 มีเป้าหมายเพื่ อ เปิ ด พื้น ที่ ใ ห้ แ ก่
ภาพยนตร์ จ ากทั่ว โลกได้แ สดงออกถึง ศิ ล ปะของการผลิต ภาพยนตร์ และส่ ง เสริมการผลิ ต ภาพยนตร์ ให้ มีการ
แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และวัฒนธรรมของประเทศอิน เดีย กับนานาประเทศ เชื่อมโยงและเข้าใจบริบททางสั ง คม

60 http://www.filmcitymumbai.org/
61 https://filmfreeway.com/IndianPanoramaInternationalFilmFestival

99
และวัฒนธรรมร่วมกัน รวมทั้งสนับสนุนความสัมพันธ์อันดีจากการทางานร่วมในสายงานผลิตภาพยนตร์ โดยเปิดให้
ผู้ชมและคนรักภาพยนตร์ได้เข้าร่วมงานอย่างเสรี

5.3 กรณีศึกษาจากประเทศอังกฤษ
62ประเทศอั ง กฤษมี บ ทบาทส าคั ญ ในอุ ต สาหกรรมภาพยนตร์ ม าเป็ น เวลาหลายศตวรรษ และเป็ น
แหล่ ง ก าเนิ ด ของภาพยนตร์ ที่ เป็ น ส่ วนหนึ่ง ของงานศิ ล ปะซึ่ ง มี ยุค ทองอยู่ใ นช่ว ง ปี ค.ศ. 1940 เอกลั ก ษณ์ ของ
อุตสาหกรรมภาพยนตร์อัง กฤษมี ความเที ยบเคีย งกับ Hollywood โดยประวัติศาสตร์อุตสาหกรรมภาพยนตร์ ของ
อังกฤษ และอเมริกามีแนวโน้มที่จะแข่งขัน กันอย่างเห็นได้ชั ด ในด้านภาพยนตร์ สตูดิโอจาก Hollywood ได้ลงทุน
กับภาพยนตร์อัง กฤษกว่า 1 พันล้านปอนด์ เพื่อผลิตภาพยนตร์ ฟอร์ มใหญ่ ในปี พ.ศ. 2563 นอกจากนี้ ประเทศ
อังกฤษ มีนโยบายดึงดู ดการถ่ายทาภาพยนตร์ อิน เดี ย เข้า มาถ่า ยทา ณ ฐานการผลิต 12 แห่งในประเทศอั ง กฤษ
รวมถึงวัฒนธรรมที่ลึกซึ้ งของประเทศอัง กฤษช่วยสร้างความหลากหลาย ซึ่งช่วยผลักดันการส่งออกผลิ ตภั ฒ ฑ์ ท าง
วัฒนธรรมและการเล่าเรื่องด้วยการร่วมมือกัน ระหว่างนานาชาติ

รัฐบาลประเทศอัง กฤษมุ่ งมั่ นสนั บสนุน อุต สาหกรรมดิจิทั ลและอุต สาหกรรมสร้างสรรค์ ให้ เป็น ส่วนหนึ่ ง ที่
สร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจ รวมถึงการส่งเสริมค่านิยมทางวั ฒนธรรมและสั งคม ยิ่งไปกว่านั้นคือการสร้างแรงจู ง
ใจทางด้านการเงินสาหรับการถ่ายทาภาพยนตร์ โดยมีการให้ทุนสนับสนุนจากสาธารณะผ่านทางสถาบันภาพยนตร์
อังกฤษ (British FiIm Institute หรือ BFI), และองค์กรอื่น ๆ ในระดับประเทศและภู มิภาค เช่น Screen Skills,
Into Film, the British Council, the BBC และ Channel 4 เพื่ อ การพั ฒ นาและส่ง เสริมบุ ค ลากรที่ มีค วามคิด
สร้ า งสรรค์ แ ละความสามารถเฉพาะด้ าน เพื่ อ ท างานด้ า นธุ ร กิ จและการพั ฒ นาผู้ ชม นอกจากนี้ การจั ดฉาย
ภาพยนตร์ มีหลายช่องทางอย่าง เช่น ตลาด Video on Demand ที่ประเทศอังกฤษมี พัฒนาการมากที่สุด ในแทบ
ทวีปยุโรป รวมถึงการใช้เครือข่าย 4G ที่แสดงให้เห็นถือความร่ วมมือระหว่างโทรทัศน์แ ละภาพยนตร์ กับภาคส่วน
เทคโนโลยี

เศรษฐกิจและภาพยนตร์อังกฤษ
ภาพที่ 14 แสดงรายได้โดยรวมของภาพยนตร์อั งกฤษระหว่างปี พ.ศ. 2553 และ พ.ศ. 2562 ในขณะที่
รายได้โดยรวมมีความผันผวน รายได้จากการเข้าชมในโรงภาพยนตร์เพิ่มขึ้น ไม่มากนักตั้ งแต่ปี พ.ศ. 2555 ในขณะที่
รายได้ จ ากดิ จิ ทัล เพิ่ มสู งขึ้ นอย่ างต่ อ เนื่ อ งตั้ง แต่ ปี พ.ศ. 2553 จากข้ อ มู ล แสดงให้ เ ห็ นถึ งอิ ท ธิ พลของการรับชม
ภาพยนตร์ในรูปแบบดิจิทัลที่ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น

62 แปลจาก https://www.thecreativeindustries.co.uk/site-content/industries-tv-film-tv-film-why-the-uk

100
ภาพที่ 14 รายได้ของภาพยนตร์อังกฤษจากปีพ.ศ. 2553-256163

มูลค่ารวมเพิ่ม (GVA) ของอุตสาหกรรมภาพยนตร์อั งกฤษ ปี พ.ศ. 2561 เท่ากับ 7 ล้านปอนด์ ข้อมูลจาก


รัฐบาลรายงาน64 ว่ามูลค่ารวมเพิ่มของอุ ตสาหกรรมสร้า งสรรค์ของประเทศอัง กฤษ ปี พ.ศ. 2561 จานวน 111.7
พันล้านปอนด์ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 6 มาจากอุตสาหกรรมภาพยนตร์ ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2552 และปี พ.ศ.
2561 โดยมูลค่ารวมเพิ่มของอุตสาหกรรมภาพยนตร์เพิ่มขึ้นจากเดิมร้ อยละ 113

ในปี พ.ศ. 2562 ภาพยนตร์อังกฤษทารายได้โ ดยรวม 10.3 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มจากปี พ.ศ. 2561
จานวน 9.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ ภาพยนตร์อิสระจากประเทศอังกฤษมีรายได้ 1.1 พันล้านเหรียญสหรัฐ ในปี พ.ศ.
2562 ทั้ ง นี้ ภาพยนตร์ อั ง กฤษที่ มีร ายได้ สู ง สุ ด ในปี พ.ศ. 2562 จาก Box Office ทั่ ว โลก คื อ Avengers :
Endgame มีมูลค่า 2.4 พันล้านเหรียญสหรั ฐ และภาพยนตร์อิสระที่ไ ด้รายได้สู งสุ ด คือ Downton Abbey เป็น
จานวน 176 ล้านเหรียญสหรัฐทั่วโลก ซึ่งตัวเลขนี้แสดงให้ เห็น ถึง ความสาคัญของภาพยนตร์ก ระแสหลักและนอก
กระแสที่นับเป็นองค์ประกอบสาคัญของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ที่ทาเงินให้แ ก่ประเทศอั งกฤษ

63 UK Film market as a whole (2020), https://www.bfi.org.uk/industry-data-insights/statistical-yearbook


64 UK Film economy (2020), https://www.bfi.org.uk/industry-data-insights/statistical-yearbook

101
จานวนภาพยนตร์ที่สร้างรายได้สู งสุ ดทั่ วโลกจากจานวนทั้ งหมด 200 เรื่อง มีการจาแนกสัดส่วน โดย 26
เรื่อง มีการวางโครงเรื่องและตัวละครที่สร้างสรรค์โดยนัก เขียนชาวอัง กฤษ และมีนักแสดงชาวอังกฤษได้รับแสดงใน
บทนาและสมทบ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 67.5 จากภาพยนตร์ที่สร้างรายได้สูงสุดทั่วโลกจานวน 200 เรื่อง
นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 - 2562 ผู้กากับชาวอังกฤษได้ร่ว มทางานกับภาพยนตร์ 31 เรื่องจากทั้งหมด 200
เรื่องที่สร้างรายได้สูงสุดทั่ วโลกในช่วงเดีย วกัน นอกจากนี้ ภาพยนตร์อังกฤษและนักแสดงชาวอังกฤษได้รับรา งวั ล
เกี่ยวกับภาพยนตร์รวม 27 รางวัลใหญ่
(อ้างอิงจาก UK Film economy (2020), https://www.bfi.org.uk/industry-data-insights/statistical-
yearbook)

ความโดดเด่นของสถานที่และการอานวยความสะดวก
ประเทศอั ง กฤษได้ รั บ ความสนใจด้ า นสถานที่ ถ่ า ยท าที่ มีค วามหลากหลาย ทั้ ง ความเป็ น เมื อ งหลวง
ประวัติศาสตร์ และความเป็นธรรมชาติ เช่น Game of Thrones ซึ่งถ่ายทา ณ ตอนเหนือของไอร์ แลนด์ สถานที่
ถ่ายทาต่างๆ ในประเทศอังกฤษ ช่วยสนับสนุนและกระตุ้นการท่องเที่ ยวโดยเชื่อ มโยงกั บภาพยนตร์ ต่างๆ ที่ได้รับ
ความนิยม โดยทารายได้มูลค่ากว่า 600 ล้านปอนด์ ในปี พ.ศ. 2559 ส่งเสริมให้เกิด การจ้า งงานและสร้างรายได้
จากภาษี ทั้งนี้ สัดส่วนของผู้ทเี่ ดิน ทางเข้ามาท่ องเที่ ยวในประเทศสกอตแลนด์ ได้รั บอิ ทธิ พลมาจากโทรทั ศ น์ แ ละ
ภาพยนตร์ คิ ด เป็ น ร้ อ ยละ 8 นอกจากนี้ มี ก ารจั ด ทั ว ร์ ส ตู ดิ โอ Warner Brothers65 ชื่ อ Harry Potter Studio
Tour ในปี พ.ศ. 2562 โดยมีการสร้างและออกแบบโดยสมาชิกกองถ่ายที่ทางานในภาพยนตร์ซีรี ส์ รวมถึงการใช้ชุด
แสดง การจัดทัวร์นี้สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวมาเยี่ยมชมได้กว่า 12 ล้านคน

การส่งเสริมบุคลากร
ประเทศอังกฤษมี การเรียนการสอนเกี่ ยวกั บภาพยนตร์ และโทรทั ศน์ ที่ไ ด้รับ การยอมรับ ในระดั บโลกจาก
หลายสถาบัน อาทิ London Film School และ National Film and Television School (NFTS)66 อุตสาหกรรม
การสร้างเทคนิคพิเศษทางภาพ (Visual Effect) ได้เบิกทางสู่นวัตกรรมใหม่ ๆ ในประเทศอังกฤษ โดย NFTS มีการ
สอนหลักสูตรที่ครอบคลุมเชื่อมโยงตั้งแต่ภาพยนตร์ โทรทัศน์และวีดิโอเกม ซึ่งมีส่วนที่เจาะลึกในศาสตร์องค์ค วามรู้
ต่างๆ ที่จาเป็นต่ออุตสาหกรรมบันเทิงโดยรวม

65 https://www.wbstudiotour.co.uk/
66 https://nfts.co.uk/

102
เงินทุน
67 Chapain (2017) กล่าวว่าการลดหย่อนภาษีสาหรับภาพยนตร์ รายการโทรทัศน์และแอนิเมชั่นได้ท าให้

การถ่ายทาในประเทศอั งกฤษมีแ รงดึง ดูด มากขึ้น ในขณะที่ปีพ.ศ. 2563 ภาพยนตร์อังกฤษกว่า 300 เรื่องได้ก าร
ถ่ า ยท าเสร็ จ สิ้ น ซึ่ ง ได้ รั บ การผ่ อ นผั น ภาษี ด้ ว ยค่ า ใช้ จ่ า ยของ ประเทศอั ง กฤษเป็ น จ านวน 2.5 พั น ล้ า นปอนด์
อุตสาหกรรมภาพยนตร์ได้รับการสนับสนุน จากรัฐบาลประเทศอังกฤษจาก พ.ร.บ. ภาพยนตร์ (Cinematography
Films Act) ที่ร่างขึ้นในปีพ.ศ. 2470 ช่วงปีพ.ศ. 2543 อุตสาหกรรมภาพยนตร์ในประเทศอั งกฤษได้รับเงินทุ น จาก
หลายหน่วยงานของรัฐบาล เช่น หน่วยงานสาธารณะและแหล่งเงินจากยุโรป โดยคณะกรรมการภาพยนตร์อั ง กฤษ
(UK Film Council) ซึ่งในปัจจุบันคือสถาบันภาพยนตร์อังกฤษ (BFI) รับหน้าที่เป็นช่องทางหลักด้านการสนับ สนุ น
จากรัฐบาล ที่นอกเหนือจากการลดหย่อนภาษี ซึ่งคณะกรรมการภาพยนตร์อัง กฤษส่ง เสริ มกิจกรรมในหลายเวที ที่
เกี่ยวข้องกับ Value Chain ของภาพยนตร์ รวมถึงองค์กรอื่นที่สนับสนุนอยู่ ในระดับประเทศและท้ องถิ่น โดยรวม
สาธารณชนได้ใช้เงินเพื่อ สนับสนุน อุต สาหกรรมภาพยนตร์แ ละวีดิโ อโดยร้อยละ 56 ให้แก่การผลิตและถ่ายทาร้ อ ย
ละ 12 ให้แก่การจัดจาหน่ายและนาออกฉาย และการฝึกฝนทัก ษะและการศึ ก ษาอยู่ที่ ร้ อยละ 14 ซึ่งการฝึก ฝน
ทั ก ษะเป็ น องค์ ป ระกอบส าคั ญ ที่ อ ยู่ ใ นยุ ท ธศาสตร์ ก าร พั ฒ นาฝึ ก ฝนทั ก ษะใน ช่ ว งปี พ.ศ. 2543 ที่ มีชื่ อ ว่ า
A Bigger Future โดยมีหลายองค์กรที่มอบปริญญาบัตรด้านวิชาการและการเรียนการสอนในหลักสูตรภาพยนตร์

องค์กรที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมภาพยนตร์อังกฤษ
1. สถาบันภาพยนตร์ประเทศอังกฤษ (The British Film Institute /BFI)68 ก่อตึ้งขึ้นมาในปีพ.ศ.
2476 เป็นผู้จัดสรรกองทุนล๊อตเตอรี่แห่งชาติให้กับภาพยนตร์ ซึ่งลงทะเบียนเป็นองค์กรการกุศลโดยได้รับ พร ะบรม
ราชานุญาต (Royal Charter) BFI ซึ่งได้รับช่วงต่อจากคณะกรรมการภาพยนตร์ อัง กฤษ (UK Film Council) ในปี
พ.ศ. 2554 โดยรับหน้าที่สนับสนุนและอนุรั ก ษ์ภาพยนต์ โทรทัศน์และภาพเคลื่ อนไหวในประเทศอัง กฤษ โดยใช้
กองทุ น ล๊ อ ตเตอรี่ (lottery fund) ในการส่ ง เสริมการถ่า ยท าภาพยนตร์ การจั ดจ าหน่า ยและการให้ก ารศึกษา
ทางด้านภาพยนตร์ BFI ได้รับการสนับสนุนโดย กระทรวง ดิจิทัล วัฒนธรรม สื่อ และการกีฬาของประเทศอั ง กฤษ
(Department for Digital, Culture, Media and Sport หรื อ DCMS) ซึ่ ง เป็ น หน่ ว ยงานที่ ดู แ ลการขั บ เคลื่ อน
อุ ต สาหกรรมสร้ า งสรรค์ หน้ า ที่ ข อง BFI คื อ การท าการกุ ศ ลทางวั ฒ นธรรมผ่ า นทางดู แ ลรั ก ษาและจั ด แสดง
ภาพยนตร์โลกสู่ส าธารณชนทางโรงภาพยนตร์ เทศกาลภาพยนตร์และทางออนไลน์ รวมทั้งดูแลคลั งภาพยนตร์
นานาชาติขนาดใหญ่ เสาะหานักทาภาพยนตร์รุ่นใหม่ และทางานร่วมกับรัฐบาลและคนในอุตสาหกรรมภาพยนตร์
เพื่อทาให้ประเทศอังกฤษเติบโตอย่างสร้างสรรค์ทั้งในและต่างประเทศ

67
Chapain, Caroline, 2017, Innovation Dynamic in the Film Industry: The Case of the Soho Cluster in London, p.12-13
68
British Film Institute (BFI), https://www.bfi.org.uk/

103
2. คณะกรรมการอุตสาหกรรมสร้างสรรค์69 (Creative Industries Council /CIC) เป็นองค์กรที่
ทางานร่วมกันระหว่างรัฐบาล ธุรกิจสร้างสรรค์และองค์กรสร้า งสรรค์ อื่น ๆ ซึ่งเน้นในส่วนที่ทาให้ประเทศอั ง กฤษมี
การเติบโต อย่างเช่นการเข้าถึงเงินทุน ทักษะ ตลาดการส่งออก กฏหมาย ทรัพย์สินทางปัญญา และสาธารณูปโภค
ต่ า งๆ รวมถึ ง การสนั บ สนุน โอกาสทางด้ านอื่ นๆ เช่ น การสร้ างความหลากหลายและการมี ส่ ว นร่ ว มของคนใน
อุตสาหกรรม
3. รางวั ล สถาบั น ศิ ลปะภาพยนตร์แ ละโทรทัศ น์ แห่ ง ประเทศอัง กฤษ 70 (British Academy of
Film and Television Arts /BAFTA) ถูกจัดตั้งขึ้นในปีพ.ศ. 2490 เพื่อให้เชิดชูและให้ เกีย รติ ศิล ปินชาวอั ง กฤษที่
สร้างผลงานดีเด่นทางด้านภาพยนตร์ทั้งในและต่างประเทศ

Model ของอุตสาหกรรมภาพยนตร์อังกฤษ
Chapain (2017)71 เสนอว่าอุตสาหกรรมภาพยนตร์ดาเนินงานใน 2 รูปแบบ ได้แก่
1) สตูดิโอภาพยนตร์อังกฤษและสหรัฐ อเมริกา ซึ่งผลิตภาพยนตร์ในรูปแบบดั้ง เดิ มและรู ป แบบ
จัดจาหน่ายโดยมีตัวแทนเป็นบริษัทใหญ่จากทางอเมริกัน
2) ภาพยนตร์อังกฤษอิ สระที่ผ ลิต โดยบริ ษัท เล็ก ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการผลิต จัดจาหน่ายและการ
บริการทางภาพยนตร์ ซึ่งรูปแบบดังกล่าวนี้ อาจมีข้อจากัดด้านการจัดจาหน่าย เนื่ องจากประเทศสหรั ฐอเมริ ก ามี
ศักยภาพด้านการจัดจาหน่ายในระดับนานาชาติมากกว่า จึงอาจครองส่วนแบ่งของการจาหน่ายภาพยนตร์ดังกล่าว

อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการภาพยนตร์อังกฤษ (2552) ตั้งข้อสังเกตว่า องค์กรผู้จัดจาหน่ายสื่อบันเทิงราย


ใหญ่ อาทิ Working Title หรือ DNA มีการจัดทาข้อตกลงผูกขาดเรื่องการถ่ายทาและจัดจาหน่ายระยะยาวกับ ผู้ จั ด
จาหน่ายจากประเทศสหรัฐอเมริกา

ทั้ ง นี้ การฉายภาพยนตร์ ใ นประเทศอั ง กฤษพึ่ ง พาผู้ จั ด จ าหน่ า ย จาก 5 หน่ ว ยงาน ได้ แ ก่ Odeon,
Cineworld, Vue, National Amusements และ Ward Anderson ซึ่งเป็นเจ้าของโรงภาพยนตร์ คิดเป็นสัด ส่ ว น
ร้อยละ 74 ของโรงภาพยนตร์ทั้งหมด

69
https://www.thecreativeindustries.co.uk/about-us
70
British Academy Film Awards, https://www.bafta.org/film
71 Chapain, Caroline, 2017, Innovation Dynamic in the Film Industry: The Case of the Soho Cluster in London, p.12-13

104
ความเข้มแข็งของอุตสาหกรรมภาพยนตร์แ ละโทรทัศน์ในประเทศอั งกฤษ ตั้งอยู่บนพื้นฐานด้านทักษะและ
ความชานาญของการผลิตภาพยนตร์ โดยรวมการผลิตภาพยนตร์แ ละวิดีโ อ และกระบวนการหลังการผลิต (Post-
production) เป็นสัดส่วนร้ อยละ 92 ของภาพยนตร์ใ นปี พ.ศ. 2553 นอกจากนี้ ประเทศอัง กฤษได้ ผลิ ต ดา รา
นั ก แสดง ผู้ ก ากั บ และโปรดิ วเซอร์ คุ ณภาพจานวนมาก ซึ่ ง เป็ น ที่รู้ จัก และได้ รับ การยอมรั บ จากทั่ วโลก รวมถึง
อุตสาหกรรมภาพยนตร์ และวิ ดีโอต่า งได้รับประโยชน์จากสตูดิ โอขนาดใหญ่แ ละกลาง รวมถึงขนาดเล็กบางแห่ ง ที่
สร้างสรรค์บุคลกรและผลงานทางด้านการถ่ายทาภาพยนตร์และ Post-Production

กล่าวโดยสรุปคือ องค์ประกอบที่จาเป็น ของ Value Chain ในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ มีส่วนช่วยให้ก าร


พัฒนาการของอุ ตสาหกรรมภาพยนตร์ใ นประเทศอั ง กฤษเติบ โตอย่างมี ทิ ศทาง ส่งผลต่อกระบวนการผลิ ต และ
Post-Production ที่มีคุณภาพและมาตรฐานเป็นที่ ยอมรับ รวมถึงการมีนโยบายที่เอื้อ ต่อ การพั ฒนาอุ ตสาหกรรม
เป็ น อย่ า งยิ่ ง อย่ า งไรก็ ต ามพั ฒ นาการเหล่ า นี้ ยั ง เชื่ อ มโยงใกล้ ชิ ด กั บ อุ ต สาหกรรมภาพยน ตร์ ข อง ปร ะ เทศ
สหรัฐอเมริกาในแง่ของการเงิน การถ่ายทาและการจัดจาหน่าย

5.4 กรณีศึกษาจากประเทศเกาหลีใต้
อุตสาหกรรมภาพยนตร์ ในประเทศเกาหลีใ ต้ ในช่ ว งเวลา 20 ปีที่ผ่านมาถือว่า มีการเติบ โตที่ร วดเร็ ว และ
แข็งแรงในเชิงการผลิตและการส่งออก จนภาพยนตร์เกาหลี ใต้ได้เข้า มาแบ่ ง พื้นที่ทางการตลาดไปจากมหาอานาจ
ทางภาพยนตร์อย่าง Hollywood รวมถึงการประกาศความสาเร็จในเวทีภาพยนตร์ร ะดั บโลกจากการชนะรา งวั ล
ออสการ์ครั้งที่ 92 ในปี พ.ศ. 2563 ของภาพยนตร์เรื่อง Parasite กากับโดย บงจุนโฮ โดยเป็นภาพยนตร์เรื่องแรก
ที่ชนะรางวัลภาพยนตร์ยอดเยี่ย ม ด้วยการดาเนินเรื่องในภาษาที่ไม่ ใช่ภาษาอังกฤษ ด้วยจุดเด่นในหลายๆด้าน จึง
ทาให้อุตสาหกรรมภาพยนตร์เกาหลีใต้กลายเป็นผู้เล่นคนสาคัญในตลาดภาพยนตร์โลก

มูลค่าอุตสาหกรรมภาพยนตร์เกาหลีใ ต้ในลัก ษณะของสิน ค้าส่งออกได้พุ่งตัว สูงอย่างต่อ เนื่อง ตั้งแต่ปี พ.ศ.


255872 ที่มูลค่า 29.4 ล้านเหรียญสหรัฐไปสู่ มูล ค่า 43.9 ล้านเหรียญสหรัฐในปีต่อ มาและคงมู ลค่า ไว้ราว 40 ล้าน
เหรียญสหรัฐจนกระทั่งปี พ.ศ. 2561 จากการสารวจสถิติจาก Korean Film Council ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 จานวน
ภาพยนตร์เกาหลีใ ต้ที่ ผลิ ตในประเทศมีจานวนเพิ่มขึ้น อย่า งต่ อเนื่อ ง โดยเฉพาะในปี พ.ศ. 2562 ซึ่งเป็นช่ว งก่ อ น
สถานการณ์โควิด มีภาพยนตร์เกาหลีใต้ที่ผลิตและเข้าฉายในโรงภาพยนตร์จานวนมากถึง 256 เรื่อง (ตารางที่ 37)

72
https://www.statista.com/statistics/859817/south-korea-movie-export-value/

105
ตารางที่ 37 จานวนภาพยนตร์เกาหลีใต้ที่ ผลิตและเข้าฉายในโรงภาพยนตร์ ระหว่างปี พ.ศ. 2558 - 256373
ปี พ.ศ. จานวนภาพยนตร์เกาหลีใต้ที่ ผลิตและเข้าฉายในโรงภาพยนตร์ (เรื่อง)
2558 226
2559 195
2560 216
2561 236
2562 256
2563 134

การสนับสนุนจากภาครัฐ
อุตสาหกรรมภาพยนตร์เ กาหลี ใต้ไ ด้ปรั บเปลี่ยนมาเป็นโยบายในรู ปแบบสนับ สนุน ภายใต้สภาภาพยนตร์
เกาหลี Korean Film Council (KOFIC)74 ซึ่งเป็นองค์กรพิเศษที่ ถูกรับรองโดยกระทรวงวัฒ นธรรม กระทรวงกีฬ า
และการท่องเที่ยว และรัฐบาลประเทศเกาหลีใ ต้ ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2516 มีหน้าที่สนับสนุนภาพยนตร์เ กาหลี ใ ต้
อย่างเต็มตัว โดยคานึงว่าภาพยนตร์ เป็น ศิล ปะที่ เป็น ตัว แทนของประเทศเกาหลีใ ต้ รวมถึงความพยายามผลั ก ดั น
การเติบโตของภาพยนตร์เอเซียเข้าสู่ตลาดโลก KOFIC ให้การสนับสนุนในส่วนต่างๆ ดังนี้
1. การสนับสนุนด้านการวิจัยและพัฒนา โดยตั้งใจวางแผนและพัฒนาภาพยนตร์เ กาหลีใ ต้ ผ่าน
การจัดหา นักเขียน ผู้กากับ โปรดิวเซอร์ และบริษัทผลิตภาพยนตร์ เข้าสู่ตลาดภาพยนตร์ รวมทั้งต้องการขยาย
โอกาสในการผลิตภาพยนตร์ให้หลากหลาย และจัดหาสิ่งจาเป็นในการผลิตภาพยนตร์อื่นๆ อีกด้วย
2. การสนับสนุนการลงทุ นและการผลิ ต ในประเทศ โดยการส่ง เสริ มการสร้า งภาพยน ตร์ ที่ มี
ความเป็นเอกลักษณ์และค้นหาผู้กากับที่จ ะเป็นแนวหน้าให้กั บวงการภาพยนตร์เกาหลี ใต้
3. การสนั บ สนุ น การจั ด จ าหน่ า ยภาพยนตร์ ซึ่ ง KOFIC มุ่ ง ที่ จ ะสร้ า งความหลากหลายใน
วัฒนธรรมภาพยนตร์และเผยแพร่ คุ ณค่าของภาพยนตร์ผ่านทางการขยายรากฐานของการจั ด จาหน่ายภาพยนตร์
ศิลปะหรือภาพยนตร์อิสระ และจัดตั้งเทศกาลภาพยนตร์ที่หลากหลาย
4. สนับสนุนการส่งออกภาพยนตร์ โดยส่งภาพยนตร์ เกาหลี ใต้ เ พื่อ เข้ าร่ว มเทศกาลภาพยนตร์
และโครงการอื่นๆในต่า งประเทศ รวมถึงการโปรโมทลักษณะของการให้บริ การจับ คู่ธุรกิจ อีก ด้วย โดยมีการจัด ตั้ ง
การร่วมมือของรัฐบาลประเทศเกาหลีใ ต้และอาเซียน Asean-Rok Film Partnership75 ที่จัดขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ.
2562 เพื่อให้เกิดการร่วมมือกันในการผลิตภาพยนตร์ระหว่างรัฐบาลประเทศเกาหลี ใต้และประเทศกลุ่มอาเซียน

73
https://www.koreanfilm.or.kr/eng/films/index/filmsList.jsp
74
https://www.koreanfilm.or.kr/eng/kofic/intro.jsp
75
https://www.koreanfilm.or.kr/eng/main/arfp.html

106
5. สนับสนุนเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการถ่ายทา พยายามเสาะหาเทคโนโลยีที่เหมาะกับการสร้ า ง
ภาพยนตร์ที่มีคุณภาพ
6. ดู แ ลด้ า นนโยบายภาพยนต์ องค์ ก ร KOFIC ได้ ท าการศึ ก ษานโยบายที่ ช่ ว ยในการสร้าง
สภาพแวดล้ อ มที่ เ หมาะสมต่ อ การแข่ ง กั น ทางด้ า นภาพยนตร์ พร้ อ มทั้ ง หาทางออกให้ แ ก่ ปั ญ หาที่ เ กิ ด ขึ้นใน
อุตสาหกรรมภาพยนตร์ทั้งในและต่างประเทศ
7. การสร้าง Korean Academy of Film Arts (KAFA)76 ในปี พ.ศ. 2527 องค์กร KOFIC ให้
สร้าง KAFA มาเพื่อฝึกฝนและสร้างบุคลากรที่ทางานด้านสร้างสรรค์ทางภาพยนตร์ โดยมีการจัดการเรียนการสอน
ผลิตและกากั บภาพยนตร์ แอนนิเมชั่น การถ่ายทาภาพ และในปี พ.ศ. 2549 มีหลักสูตรขั้นสู ง ที่ข ยายขอบเขต
การศึกษาโดยนานักศึกษามาเข้าร่วมในวงการภาพยนตร์และจัด การผลิตภาพยนตร์ยาว (Feature) จานวน 4 เรื่อง
ต่อปี ซึ่งภาพยนตร์ที่ผลิตเหล่านี้ส่วนใหญ่ถูกส่ง เข้าร่ว มเทศกาลภาพยนตร์ทั้ งในและต่างประเทศ โดยได้ชนะรางวั ล
มากมาย ในปัจจุบัน KAFA มีผู้สาเร็จการศึก ษากว่า 700 คนและเป็นสถาบัน ให้ การศึก ษาด้านภาพยนตร์ อั น ดั บ
ต้นๆ ของประเทศ
8. การสร้าง KOFIC Namyangju Studio77 ซึ่งเป็นศูนย์ก ลางการถ่ายทาภาพยนตร์ แบบครบ
วงจร อันประกอบด้วยโรงถ่ายทาภาพยนตร์แ บบในร่มและกลางแจ้ ง ห้องบันทึกเสียง ห้องตัดต่อ และศูนย์เรีย นรู้
เกี่ ย วกั บ ภาพเพื่ อ ใช้ ใ นการท างานภาพยนตร์ รวมถึ ง พิ พิธ ภั ณฑ์ ภ าพยนตร์ (Film Culture Museum) ซึ่ ง ได้
กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเพื่อแสดงอุ ปกรณ์ ที่ใช้ในการสร้างแอนนิเ มชั่น 3D ผู้ที่เข้าชมสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับการ
พัฒนาการด้านเทคโนโลยีไปพร้อมๆกับกระบวนการการผลิตภาพยนตร์

การสนับสนุนบุคลากร
ประเทศเกาหลีใต้มีการลงทุนสร้างสถาบันเพื่ อพั ฒนาทรัพยากรมนุ ษย์ในเชิงคุ ณภาพ ทั้งในส่วนของภาครั ฐ
และภาคเอกชน โดยภาครัฐได่ก่อตั้ งสถาบันการศึ กษาเฉพาะทางที่ หลากหลายเช่ น KAFA ซึ่งเป็นโรงเรียนเฉพาะ
ทางด้านภาพยนตร์ เพื่อฝึกฝนอบรมผู้ ผ ลิต ภาพยนตร์ค นรุ่น ใหม่ใ ห้ก ลายเป็น มื ออาชี พ และทางเอกชนมี ก าร ตั้ ง
School of Film, TV and Multimedia ที่ ส อนการถ่ า ยท าภาพยนตร์ แ ละการผลิ ต สื่ อ ต่ า งๆ ภายใต้ Korean
National University of Arts78 เพื่ อ สร้ า งต้ น ทุ น ให้ กั บ ผู้ ที่ ส นใจศึ ก ษาด้ า นภาพยนตร์ ซึ่ ง มี ผ ลต่ อ คุ ณภาพของ
ภาพยนตร์เกาหลีใต้ในระยะยาว
นอกจากนั้น KOFIC ได้จัดโครงการเพื่ อส่ ง เสริ มกลุ่ มนั ก แสดง เช่นในช่วงโควิ ด ได้มีการจัด ตั้ง Korean
Actors 20079 ซึ่งเป็นการคัด เลือ ก 100 นักแสดงหญิง และ 100 นักแสดงชาย ที่เป็นตัวแทนวงการภาพยนตร์

76
http://114.202.2.227/english/index.do
77
https://www.koreaetour.com/kofic-namyangju-studios/
78 https://www.karts.ac.kr/en/main.do
79 https://theactorispresent.kr/

107
เกาหลีใต้ โดยพิจารณาจากเกณฑ์รางวัลที่เคยได้รับทั้ งในประเทศและระดับนานาชาติ อิทธิพลใน Box office และ
การมีส่วนร่วมของพวกเขาในภาพยนตร์นานาชาติ 200 นักแสดงที่ได้รับการคัดเลือกจะถูก การเผยแพร่สู่สาธาร ณะ
ในเดือน ผ่านเว็บไซต์ที่จัดทาขึ้นพิเศษ ซึ่งนาเสนอประวัติโดยละเอียดของนักแสดงแต่ล ะคน ทางสภาการภาพยนตร์
เกาหลี ต้องการส่งเสริมการเติบโตของอุตสาหกรรมภาพยนตร์สู่ตลาดต่างประเทศ

กองทุน
ดร. อมร ถุงสุวรรณ (2560) 80 กล่าวไว้ว่าอุตสาหกรรมภาพยนตร์ขับเคลื่อนได้ ด้วยกองทุน ซึ่งแยกออกเป็ น
3 กองทุนที่ใช้ในการผลิตภาพยนตร์
1. กองทุนสภาภาพยนตร์ เกาหลี กองทุนทั้งหมดปีล ะ 52 ล้านเหรียญสหรั ฐ แบ่งเป็น 12 ล้าน
เหรียญสหรัฐเพื่อ สร้า งภาพยนตร์ 11.6 ล้านเหรียญสหรัฐในการส่ งเสริ มโรงภาพยนตร์แ ละบริ ษัท ภาพยนตร์ กู้ ยื ม
และ 28.4 ล้านใช้เพื่อส่งเสริมการดาเนินงานของสถาบันศิลปะและภาพยนตร์และ Namyangju Studio
2. กองทุนที่เป็นส่วนหนึ่งของเทศกาลภาพยนตร์ นานาชาติปูซานหรื อ Pusan Promotion Plan
(PPP) ซึ่งเป็นกองทุนร่ ว มระหว่า งรั ฐและเอกชนในการให้ การสนั บสนุน เงิน อย่างน้อยปีล ะ 2,000 ดอลลาร์ แก่
ภาพยนตร์เอเซีย ที่อ ยู่ในขั้น เตรีย มงาน ถ่ายทา หรือขั้นตอนหลัง การถ่ายทา โดยภาพยนตร์ ที่ไ ด้รั บคั ด เลื อกเข้ า
โครงการจะมีโอกาสในการเจรจาระดมทุ นจากผู้ สร้างจากที่วโลก กองทุนนี้เน้นการให้ความช่ วยเหลือ ด้านการ เงิ น
และด้านต่างๆ ทั้งภาพยนตร์ของประเทศเกาหลีใต้และภาพยนตร์ประเทศทางเอเซียเป็นสาคัญ
3. กองทุน PIFF Asian Network of Documentary (AND Asia Project) เป็นกองทุนที่ให้ก าร
สนับสนุนการสร้างภาพยนตร์ ประเภทสารคดี ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่ อสร้างความเข้าใจอันี่ ทางวั ฒนธรรมประเภทไม่
แสวงหากาไร โดยแบ่งเป็นสองประเภทคือ ประเภทที่ความยาวไม่ต่ากว่า 50 นาทีและความยาวไม่เกิน 30 นาที ซึ่ง
ให้สิทธิ์ขอทุนแก่ นักสร้างภาพยนตร์สั้น ที่มีโครงการสร้างภาพยนตร์สั้นเชิงสารคดี

80 ดร.
อมร ถุงสุวรรณ (2560). งานวิจ ัยนวัตกรรมการพัฒนาสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมตามคุณค่าเชิงคุณธรรมของธุรกิจ คุณธรรมของธุรกิจภาพยนตร์ไทยเพื่อเสริมสร้าง
เศรษฐกิจ สร้างสรรค์, หน้า 21

108
สถานที่การถ่ายทา
นอกจากการสร้ างโรงถ่ ายทาภาพยนตร์ หลายแห่ ง ในประเทศเกาหลี ใต้ เช่ น โรงถ่ าย Busan Cinema
Studios เพื่ อ ให้ บ ริ ก ารให้ เ ช่ าโรงภาพยนตร์ พร้อ มอุ ป กรณ์ อ านวยความสะดวกในการท างาน ส าหรั บผู้ กากับ
ภาพยนตร์ นักสร้างภาพยนตร์อิสระ นักเรียน นักศึกษา ในราคามาตรฐาน ซึ่งเป็นการจัดหาความรู้และสร้างโอกาส
ในการฝึกฝนให้แก่บุคคลากรรุ่นใหม่ที่จ ะเข้าสู่ อุตสาหกรรมภาพยนตร์ เกาหลี ใ ต้ Netflix81 ผู้ให้บริการสตรีมมิ่ง คอน
เทนต์ระดับโลก ได้ประกาศเซ็นสัญญาเช่าสตู ดิโ อเพื่อ การผลิ ตผลงาน original content ในระยะยาว 2 แห่งนอก
กรุงโซล ในเมืองพาจู และ ยอนชอน ได้ระบุว่าการเช่าสตูดิโอ 2 แห่ง นั่นคือ YCDSMC – Studio 139 ที่ประกอบ
ไปด้วย 6 พื้นที่ถ่ายทา และพื้นที่รองรับอื่นๆ ซึ่งมีพื้นที่ใช้สอยทั้งหมด 9,000 ตารางเมตร และ Samsung Studio
ที่จะมี 3 พื้นที่ถ่ายทา พื้นที่ใช้สอยทั้งหมด 7,000 ตารางเมตร นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 ถึง ปี พ.ศ. 2563 Netflix ได้
ลงทุนใน Content เกาหลี กว่า 700 ล้านเหรียญสหรัฐพร้อมด้ว ยผลงานการผลิ ตจากประเทศเกาหลีใ ต้ มากกว่า
80 ผลงาน และมีผู้ชมจากทั่วโลก ซึ่งการจัดเตรียมสตูดิ โอทั้ ง 2 แห่งนี้เป็นการแสดงออกถึ งเจตจานงของ Netflix
ในการลงทุนในระบบนิเวศสร้างสรรค์ (Creative Ecosystem) ของประเทศเกาหลีใต้ในระยะยาว

นอกจากนั้ น หน่ ว ยพั ฒ นาภาพยนตร์ อ ย่ า ง Busan Cinema Venture Center 82 ซึ่ ง เป็ น สถานที่ จั ด
เทศกาลภาพยนตร์ภูซาน Busan International Film Festival (BIFF) มีพื้นที่ ที่ประกอบโดยโรงภาพยนตร์ข ยาย
ใหญ่ที่พร้อมจัดงานแสดวขนาดใหญ่ ที่ เกี่ย วข้ องกับภาพยนตร์ และบั นเทิง อื่น ๆ รวมทั้งการให้เช่าอุป กรณ์เ กี่ ย วกั บ
การถ่ายทาภาพยนตร์และสถานที่เพื่อฝึกอบรมบุคลกร เพื่อจัดการคุณภาพยนตร์ทางการจัดการความรู้ใ ห้แต่นั ก ท า
ภาพยนตร์รุ่นใหม่

การอานวยความสะดวก แนวทางสนับสนุน
กฎหมายของเกาหลี ใ ต้ไ ด้เ น้นส่ ง เสริ มและสนับ สนุน อุต สาหกรรมภาพยนตร์ โดยมีการประกาศใช้ Film
Promotion Law และได้จัดตั้ง KOFIC ขึ้นเพื่อทาหน้าที่ส่งเสริมและสนับสนุน อุตสาหกรรมภาพยนตร์โ ดยตรง ทา
ให้การดาเนินงานไปได้อย่างต่อเนื่อ ง โดยประธานและคณะกรรมการของ KOFIC มีความเชี่ยวชาญด้านภาพยนตร์
ทาให้การปฏิบัติงานเพื่อส่ง เสริ มด้านภาพยนตร์เ กาหลี ใ ต้ เป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพและตรงตามความต้ องการ
ของอุตสาหกรรม

81
https://about.netflix.com/th/news/expanding-our-presence-in-korea-netflix-production-facilities
82
https://english.busan.go.kr/bsfilm01

109
รัฐบาลเกาหลีใต้ส่งเสริมและสนับสนุนอุตสาหกรรมภาพยนตร์ด้ วยมาตรการที่ เป็นรูปธรรม Kim (2007) 83
กล่าวว่าระบบ screen quota ได้ถูกนาเสนอผ่านกฎหมายภาพยนตร์ในปี พ.ศ. 2509 โดยมีการบังคับจานวนวั น ที่
ภาพยนตร์เกาหลีใต้ต้องเข้าฉายในโรงภาพยนตร์ มากกว่า 90 วันต่อปีและได้รับการเพิ่ มขึ้น เป็น 121 วัน และ146
วันในปี พ.ศ. 2527 ต่อมาในปี พ.ศ. 2529 บุคลากรในวงการภาพยนตร์ต้องการความเป็นเสรีในการผลิตภาพยนตร์
จึงเรียกร้องให้การยกเลิกระบบเซ็นเซอร์และพัฒนามาตรการที่ใช้ ในการส่ง เสริมภาพยนตร์ เกาหลีใ ต้เ พื่อตอบรั บ กั บ
การเข้ า มาของ Hollywood ซึ่ ง เป็ น จุ ด เริ่ มต้ น ท าให้ เ กิด กฎหมาย Film Promotion Law ขึ้ น ในปี พ.ศ. 2538
บั ง คั บ ใช้ โ ดยสภาภาพยนตร์เ กาหลี ห รือ KOFIC เพื่ อ ให้ เ สรี ภ าพต่ อ อุ ต สาหกรรมภาพยนตร์แ ละท าให้น โยบาย
ส่งเสริมภาพยนตร์นั้นมีประสิทธิภาพมากขึ้น

ประเทศเกาหลีประสบปัญหาละเมิด ลิขสิ ทธิ์ภาพยนตร์ในระดับ ที่ค่ อนข้า งต่า ทาให้รายได้ภาพยนตร์ จ าก


การฉายในโรงมี มูล ค่ าสู ง และท าให้ ผู้ผ ลิ ต กล้ าลงทุ นเพื่ อ สร้างภาพยนตร์ที่ มีคุ ณภาพ รวมทั้ ง มี ก ารจั ด เทศกาล
ภาพยนตร์นานาชาติในประเทศเกาหลีใต้ มาเป็ นระยะเวลายาวนาน มีเอกลักษณ์และมี ความสร้างสรรค์เป็นจ านวน
มาก และได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติส่งผลภาพยนตร์เกาหลีใต้เจริญ เติบโตอย่างรวดเร็ว

รัฐบาลเกาหลีใต้เข้าช่วยในการประชาสัมพันธ์และการตลาดภาพยนตร์เ กาหลีใต้ ผ่านการประกาศใช้ Film


Promotion Law โดยมีการซื้อภาพยนตร์และทาการประชาสัมพันธ์ผ่านช่ องทางต่างๆ หรือหน่วยงานส่งเสริมและ
สนับสนุนธุรกิจภาพยนตร์ (Busan Film Industry) ที่ดูแลเรื่องกองทุน และการรับบริจาคหรือการให้ความร่ ว มมื อ
ระหว่าง ผู้จัดเทศกาลภาพยนตร์ เพื่อขยายโอกาสการแข่งขันให้มากขึ้น รวมถึงการสนับสนุนการทาการตลาดให้แ ก่
บริษัทภาพยนตร์ ช่วยให้ภาพยนตร์เกาหลีใต้เ ป็นที่รู้จักยิ่ งขึ้น และสามารถสร้างรายได้ในตลาดต่างประเทศได้ มาก
ยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ ยังมีการจัดตั้ง Alternative Market Outreach (KOME) เพื่อควบคุมและดูแลการจัดจาหน่ า ย


ภาพยนตร์ผ่านระบบออนไลน์ และ KOFIC ยังจัดทาฐานข้อมูลในเว็บ ไซต์ KoBiz (Korean Film Biz Zone) หรือ
Koren Movie Database (KMDB) 84 เพื่อนาเสนอข้ อ มูล หนั งเกาหลีทุ ก มิ ติ ตั้งแต่รายชื่อหนัง ที่เ ข้าฉาย รายชื่อ
บริษัทผลิตหนังเกาหลี บุคลากรในด้านการผลิต รายงานข่าวเชิงลึก รวมถึงบทความและบทวิ เคราะห์หนั งเกาหลี
เพื่อให้ผู้สนใจทั้งในและนอกประเทศได้ศึก ษาค้นคว้า

83
Kim Hyae-joon (2007) A History of Korean Film Policies, https://www.koreanfilm.or.kr, p.335
84 https://www.kmdb.or.kr/eng/main

110
5.5 กรณีศึกษาจากประเทศฝรั่งเศส
เมื่อมองประเทศไทยเปรียบเทียบกับ ประเทศฝรั่ งเศส มีความใกล้เคียงกันในหลายด้านทั้งจานวนประชากร
และขนาดพื้นที่ประเทศ โดยประเทศฝรั่งเศสมีประชากร 67 ล้านคน ในขณะที่ประเทศไทยมีประชากร 69 ล้านคน
(วัดเมื่อปี พ.ศ. 2562) อีกทั้งขนาดของประเทศฝรั่ ง เศสวั ดได้ 643,801 ตร.กม.และประเทศไทยวั ด ได้ 513,120
ตร.กม. และหากย้อนไปดูจุดกาเนิดของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ในประเทศฝรั่งเศส จะเห็นได้ว่าภาพยนตร์ฝรั่ ง เศส
นั้นเป็นตัวแทนของวัฒนธรรมประจาชาติ ซึ่งเป็นสิ่งที่ประเทศหวงแหนแต่ต้ องการอนุรัก ษ์ไว้ เสมือนมรดกของชาติ
แง่มุมนี้ถือว่ามีแนวทางที่ ใกล้ เคี ยงกับที่ ประเทศไทย 85ภาพยนตร์ฝรั่งเศสอยู่คู่ กับ ประเทศฝรั่ งเศสมากกว่า 100 ปี
ตั้งแต่ August และ Louis Lumière สร้างเทคโนโลยีทางภาพยนตร์ขึ้ นใน ค.ศ. 1895 หรือปลายศตวรรษที่ 19
รวมถึง นักทาภาพยนตร์ชั้นครู อย่า ง Georges Méliès ที่ได้สร้างภาพยนตร์ที่ มีกลไกเหมือ นมายากล (A Trip To
The Moon) ที่กลายเป็นหนึ่งในผลงานอมตะในประวัติ ศาสตร์ภาพยนตร์ ในแง่การเคลื่อนไหวทางภาพยนตร์ที่ โ ดด
เด่นคือ กระแสต่อต้านการทาภาพยนตร์สู ตร Hollywood จากการรวมตัวของนั กทาภาพยนตร์ค ลื่นลู กใหม่ ห รื อ
French New Wave ที่ได้ผลิตผู้กากับเช่น Jean-Luc Godard และ François Truffaut รวมถึงนักวิจารณ์และนั ก
สร้างภาพยนตร์อย่าง André Bazin ผู้ก่อตั้ง นิตยสารภาพยนตร์ฝรั่ง เศส Cahiers du Cinéma โดยองค์รวมของ
อุตสาหกรรมมีความตั้งใจทาให้ภาพยนตร์เป็ นสิ่งที่ กระตุ้นปัญ ญาและสุนทรียภาพทางศิลปะ ซึ่งสะท้อนให้เห็นจาก
การก่อตั้งพิพิธภัณฑ์ภาพยนตร์ อย่าง Cinémathèque (หอภาพยนตร์) ในประเทศฝรั่งเศส
ภาพยนตร์ที่ถูกผลิตขึ้น ในประเทศฝรั่ งเศส มีจานวนเพิ่มขึ้นอย่า งต่ อเนื่อ งในช่วง 10 ปี โดยมีสัดส่วนเป็ น
ภาพยนตร์ฝรั่งเศสถึงร้อยละ 70 และภาพยนตร์ต่างประเทศอยู่ในส่วนเพีย งแค่ประมาณร้อยละ 25 ซึ่งเห็นได้ชัดว่ า
ความสม่าเสมอทางสัดส่วนนี้เปิดโอกาสให้เ กิดภาพยนตร์สัญชาติฝรั่งเศสเข้า มาเติ มเต็ มในตลาดภาพยนตร์ไ ด้จานวน
มาก

ภาพที่ 15 แสดงจานวนภาพยนตร์ที่ถูกผลิตในประเทศฝรั่ง เศสต่ อปี 86

85 https://www.britannica.com/place/France/The-cinema
86 ศูนย์ภาพยนตร์และภาพเคลื่อนไหวแห่งชาติ

111
การสนับสนุนจากภาครัฐ
หน่วยงานที่อยู่ภ ายใต้ กระทรวงวั ฒนธรรมประเทศฝรั่ ง เศส ที่รับบทบาทในการสนับ สนุ นอุ ต สาหกร รม
ภาพยนตร์ฝรั่งเศสมีชื่ อว่า ศูนย์ภาพยนตร์และภาพเคลื่อ นไหวแห่ งชาติ 87 (Centre national du cinéma et de
l’image animée หรือ CNC) ถูกก่อตั้งในปี 2489 โดยหน่วยงานนี้ มีห น้า ที่กากั บ ดูแ ลกิจ การทั้ งหมดที่ เกี่ ย วกั บ
ภาพยนตร์ ทั้งด้านกฎหมายและการดาเนิ นการ รวมถึงการจัดสรรทุนที่ได้จากการจัดเก็บภาษีที่เ กี่ยวข้ องกับ ธุ ร กิ จ
ทางด้ า นภาพและเสี ย ง คุ ณภาณุ อารี (2563) 88 กล่ า วว่ า “ผู้ ผ ลิ ต ที่ โ ปรเจ็ ค ผ่ า นการคั ด เลื อ กจะต้ อ งเสนอ
งบประมาณสร้างเพื่อให้ทาง CNC พิจารณาอนุมัติวงเงิน และการสนับสนุนผ่านการลดภาษีการผลิตภาพยนตร์ ซึ่ง
ผู้สร้างภาพยนตร์ที่ เลื อ กขอการสนั บสนุนประเภทนี้ จ ะได้รับ โอกาสการคืน ภาษี (Tax Rebate) ประมาณร้ อ ยละ
20-30” 89 ในส่วนอื่นๆ CNC ยังร่วมกับองค์กรอื่น ๆ เพื่อช่วยเหลื อผู้ ผลิ ตภาพยนตร์จากทั่ว โลก เช่น ในปี พ.ศ.
2562 สถาบัน Palestine Film Institute (PFI)90 ซึ่งมีหน้าที่ในการให้ทุ น อนุรักษ์และส่ง เสริ มภาพยนตร์ข องรั ฐ
ปาเลสไตน์ ได้ร่วมมือกับ CNC ในการจัด workshop ด้านการผลิตร่ว (Co-Production) ที่ตลาดภาพยนตร์ ข อง
เทศกาลเมืองคานส์ โดยเป็นการจับคู่โปรเจ็คภาพยนตร์จาก 2 ประเทศให้ได้ทางานร่วมกัน หรือในปี พ.ศ. 2555 มี
การจัดกองทุน World Cinema Support91 โดยสถาบันฝรั่งเศส92 (Institut Français) โดยการให้ทุนภาพยน ตร์
ต่างประเทศที่ ต้อ งการผลิ ตร่ ว มกั บประเทศฝรั่ง เศส โดยต้องมี การผลิ ตถ่า ยท าระหว่า งบริ ษั ทที่ อยู่ ตั้ งในปร ะเทศ
ฝรั่งเศสและบริษัทที่อยู่ต่างประเทศ พร้อมการกากับโดยผู้กากับจากต่างประเทศและถ่ายทานอกประเทศฝรั่ง เศส

หน่วยงาน UniFrance93 ถูกก่อตั้งขึ้นในปี 2492 รับหน้าที่ในการส่งเสริ มภาพยนตร์ฝ รั่ง เศสให้ ไปทั่ ว โลก
หน่วยงานนี้อยู่ภายใต้การดูแลของ CNC โดยมีสมาชิกกว่า 1,000 คน ประกอบด้วยบุค ลากรในวงการภาพยนตร์
จากทุกภาคส่วน เช่น โปรดิเซอร์ภาพยนตร์ขนาดยาวและสั้น ผู้ส่งออก ฝ่ายขาย ผู้กากับ นักแสดง หรือนักเขียนบท
UniFrance ได้ เ ข้ า ร่ ว มในเทศกาลภาพยนตร์ โ ลกในทุก ปี เ พื่ อ น าเสนอภาพยนตร์ ฝ รั่ง เศสสู่ต ลาดโลกและสร้าง
เครือข่ายเชื่อมโยงกับองค์การส่งเสริมภาพยนตร์ในยุโรป (European Film Promotion)

87 https://www.cnc.fr/web/en/about/support
88 https://filmclubthailand.com/articles/special-scoop/film-policy-2france/
89 https://www.cnc.fr/web/en/publications/results-2017_557488
90 https://www.cnc.fr/web/en/pficnc-coproduction-workshop-at-the-72nd-cannes-film-festival--call-for-feature-film-

projects_947901
91 https://www.cnc.fr/web/en/news/world-cinema-support_113775
92 https://www.if.institutfrancais.com/en/our-actions
93 https://en.unifrance.org/corporate

112
ช่องโทรทัศน์ Canal+ ที่มีใบอนุญาติการกระจายเสียงเพื่อสนั บสนุน การผลิ ตภาพยนตร์โ ดยเฉพาะ โดยมี
การจัดช่องพิเศษ คือ Canal+ Cinéma เพื่อจัดฉายภาพยนตร์ฝรั่ง เศสและยุ โรป ซึ่งได้กลายเป็นช่องทางที่รั ฐ บาล
ใช้เพื่อส่งเสริมภาพยนตร์ในยุ โรปและฝรั่ง เศส โดยมีการลงทุนล่าสุดถึง 205 ล้านเหรียญสหรัฐ94 ในการทาสัญญา
จากปี พ.ศ. 2562 ถึง ปี พ.ศ. 2566 ซึ่งถือว่าเป็นข้อผูกมัดที่ใ ช้เ ม็ด เงิน สูงสาหรั บหน่ว ยงานการกระจายเสีย งที่ ไ ด้ มี
การลงทุนกับภาพยนตร์ภายในประเทศ นอกจากนั้น Canal + ยังมีสตูดิโอ Studiocanal ที่เปิดโอกาสให้มีการผลิ ต
ภาพยนตร์ได้ 4 เรื่องต่อปี (อ้างอิง Elsa Keslassy จาก Variety.com)

การร่วมกันผลิต (Co-Production) เป็นส่วนที่รัฐบาลประเทศฝรั่ง เศสทั้ งในระดับประเทศและท้อ งถิ่ น ได้


เข้าไปมีส่วนร่วม มีภาพยนตร์หลายเรื่องที่ลดความเสี่ยงทางด้านการเงินและเพิ่มโอกาสในการเผยแพร่ภาพยน ตร์ ไ ด้
ในหลายประเทศโดยการเปิดโอกาสให้เกิดการผลิตร่วมกันโดยเฉพาะประเทศที่อยู่ในสหภาพยุโรป

ภาพที่ 16 ประเทศที่ร่วมกันผลิตภาพยนตร์ กับ ประเทศฝรั่ง เศสและจานวนภาพยนตร์ที่ ผลิ ตขึ้นมาต่อ ปี 95

94 https://variety.com/2018/film/global/french-pay-tv-group-canal-plus-renews-agreement-with-french-film-industry-1203023188/
95 https://www.cnc.fr/web/en/publications/results-2017_557488

113
การสนับสนุนด้านเงินทุน
หน่ ว ยงาน CNC 96รั บ หน้ า ที่ ให้ เ งิ นช่ วยเหลื อ เพื่ อการผลิต ภาพยนตร์ใ นประเทศฝรั่ง เศสใน 2 ลั ก ษณะ
ด้วยกันคือ
1. เงินทุนแบบให้ตามปกติ (Automatic Aid) ซึ่งจะมีการพิจารณาจากผลงานที่ผ่านมาของผู้ผ ลิ ต
ภาพยนตร์ ทั้งในด้านจานวนผู้เข้าชมในโรงภาพยนตร์ และทางโทรทัศน์ โดยเงินช่วยเหลือในกลุ่ มนี้จ ะให้ กับ ผู้ ผ ลิ ต
ภาพยนตร์ชาวฝรั่งเศส ภาพยนตร์ฝรั่งเศส และการผลิตร่วมหรือการลงทุนร่วมของประเทศฝรั่งเศสเท่านั้น
2. เงินช่วยเหลือแบบคั ดสรร (Selective Aid) โดยระบบ Avance sur Recette97 ที่เริ่มใช้ ใ นปี
พ.ศ. 2503 เป็นเงินกู้ปลอดดอกเบี้ย ที่ สามารถชาระคืนด้วยเงินที่ มาจากรายได้ ซึ่งโปรเจ็คต้องผ่านการพิจาร ณา
จากคณะกรรมาธิ การ Commission d’Avance sur Recettes เพื่ออนุมัติทุน เป้าหมายของกองทุนนี้ คือ การจั ด
ขึ้นเพื่อส่งเสริมการผลิตภาพยนตร์เรื่องแรกและภาพยนตร์อิส ะที่ประสบปัญหาในการเสาะหาเงินทุน

นอกจากนั้นรัฐบาลประเทศฝรั่ง เศสเข้า มาช่วยอุต สาหกรรมภาพยนตร์ ในช่ว งที่ มีวิก ฤต อย่างเช่นที่เกิด ขึ้ น


ในช่วงโควิทโดยการให้เงินช่วยเหลือแก่โรงภาพยนตร์และบุคลากรในวงการ 98 โดย CNC ทาการจัดสรรและส่งเสริ ม
การเอาภาพยนตร์ฝรั่งเศสเพื่ อเข้าระบบ Video on Demand ในช่วงที่รอการกลับของการเปิ ดของโรงภาพยนตร์
เนื่องจากรัฐตระหนั กว่า การชมภาพยนตร์คื อส่ วนหนึ่ ง ของวิ ถีชี วิต ของชาวฝรั่ ง เศส และต้องการให้โรงภาพยนตร์
สามารถอยู่รอดได้ รวมถึง การที่รัฐต้องการให้คนในวงการยังคงรักษางานของตัวเองไว้ไ ด้หลังวิกฤตผ่านไป

96 https://ditp.go.th/contents_attach/67030/55000848.pdf
97 https://www.cnc.fr/professionnels/aides-et-financements/cinema/production/avance-sur-recettes-avant-realisation_191260
98 https://www.indiewire.com/2020/04/unifrance-saving-french-film-industry-1202224994/

114
การสนับสนุนบุคลากร
หน่ ว ยงาน UniFrance99 มี ส่ ว นของการให้ บ ริ ก าร ด้ า นข้ อ มู ล เกี่ ย วกั บ ช่ อ งทางติ ด ต่ อ บุ ค ลา กร ใน
อุตสาหกรรมภาพยนตร์ทั้งที่ อยู่ในประเทศฝรั่ง เศสและนอกประเทศในทุกภาคส่ว นไม่ว่าเป็น นักข่าว ผู้กากับ ฝ่าย
ขาย ผู้จัดจาหน่ายภาพยนตร์ หรือนักแสดง และยังมีการให้ข้อมู ลติ ดต่อ บริษั ทที่ เชี่ยวชาญในด้านต่า งๆ ที่เกี่ยวกั บ
ภาพยนตร์ฝรั่งเศสอีกด้วย
การจัดตั้งสมาคมนัก วิจารณ์ภาพยนตร์ชื่ อ French Union of Film Critics ซึ่งเป็นผู้จัดตั้ง La Semaine
de la Critique100 ที่มีสมาชิกจานวน 244 คนที่ประกอบด้วยนักเขียน นักวิจารณ์ภาพยนตร์ นักข่าวสายภาพยนตร์
โดยมีเป้าหมายเพื่อ ดารงความสัมพัน ธ์ระหว่างสมาชิกและปกป้ องดูแลความสนใจ จรรยาบรรณ และเสรีภาพของ
การวิพากษ์วิจ ารณ์ ภาพยนตร์ ซึ่งเกี่ยวข้อ งกับ อิ สรภาพในการแสดงความคิ ด เห็ น ทั้งนี้สมาคมต้ องการส่ ง เสริ ม
ความคิดสร้า งสรรค์ทางด้านภาพยนตร์ ในพื้น ที่ ต่างๆ อย่างต่อเนื่ อง ผ่านการมอบรางวั ลให้แ ก่ผ ลงานที่โ ดดเด่ น
ประจาปี รวมถึงการเข้าร่วมเป็นคณะกรรมการในเทศกาลภาพยนตร์ต่างๆ ที่จัดขึ้นภายในประเทศ
ในประเทศฝรั่ ง เศสมี มหาวิ ทยาลัย และสถาบั นการศึก ษามากมายที่ก่ อ ตั้ง ขึ้น มาเพื่ อฝึ ก ฝนบุ คลากร เพื่ อ
ป้อนเข้าสู่อุตสาหกรรมภาพยนตร์อย่างเช่น สถาบัน International Film & Television School of Paris101 ที่ถูก
ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2515 ที่เปิดโอกาสให้ผู้ที่สนใจด้านภาพยนตร์เข้าศึ กษาได้ในหลายระดับตั้ งแต่ปริญ ญาตรี จ นถึ ง
ระดับปริญญาโทโดยมีการมุ่งเน้นการปฎิบัติและมีการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด

สถานที่การถ่ายทา
หน่วยงาน Film France102 เป็นองค์ที่ได้รับงินทุนจากรัฐผ่านการสนับสนุนโดย CNC หน่วยงานนี้มีหน้า ที่
ในการส่ ง เสริ มประเทศฝรั่ ง เศสให้ เ ป็น จุด หมายของบริษั ท ถ่ ายทาภาพยนตร์จ ากต่ างประเทศและผู้ ส นใจผลิต
ภาพยนตร์ในประเทศฝรั่ง เศส รวมถึงการเป็น เครือ ข่ายให้ส มาคมภาพยนตร์ท้ อ งถิ่น ไปทั่ว โลก ผ่า นการให้ข้ อ มู ล
เกี่ยวกับสถานที่ถ่ายทา บุคลากรทางภาพยนตร์ กองถ่าย อัตราการจ้างงาน และเครื่องอานวยความสะดวกใน การ
ถ่ายทาต่างๆ นอกจากนั้น Film France ให้ความช่วยเหลือในการติดต่อประสานงานหน่วยงานที่เหมาะสมเกี่ ย วกั บ
ในอนุญาติทางาน และการขอใบอนุญาติถ่ายทาภาพยนตร์ รวมถึง อัตราค่าแรง อุปกรณ์ในด้านสตูดิโ อและ Post
Production รวมทั้ ง การจั ด สรรข้ อ มู ลเกี่ ย วกั บ โอกาสในการร่ว มผลิ ต และช่ ว ยเหลือ โปรดิ ว เซอร์ ต่ า งประเทศที่

99 https://en.unifrance.org/corporate#les-longs-metrages
100 https://www.semainedelacritique.com/en/french-union-of-film-critics
101 https://www.eicar.fr/en/master-bachelor-in-

filmmaking/?gclid=CjwKCAjw2ZaGBhBoEiwA8pfP_pG7ojiuWNjrUgGBmzK97odAkEUB5mVnYSDjuBaYmfNp VCPa-zT0LBoC-
qEQAvD_BwE
102 https://locations.filmfrance.net/ และแปลจาก https://www.filmfrance.net/v2/gb/home.cfm?choixmenu=qui

115
ต้องการสมั ครขอคืน ภาษีสาหรั บการถ่า ยท าในต่า งประเทศ หรือ Tax Rebate for International Production
(TRIP)103 ซึ่งจากที่เคยให้แรงจูงใจทางภาษีที่ร้อยละ 30 มีการให้เพิ่มมาร้อยละ 10 จากถ่ายทาด้วยเงิน 2 ล้านยูโร
Cité du Cinéma104 เป็นโรงภาพยนตร์ที่ ตั้ง อยู่ ในใจกลางกรุ ง ปารีส ที่ก่ อ ตั้ง โดยผู้ กากั บและโปรดิว เซอร์
Luc Besson ซึ่งมีมาตรฐานเท่า เทีย มกับสตู ดิโอใหญ่ ในโรมหรือ Pinewood ในกรุงลอนดอนโดยมีการก่อ ตั้ ง ในปี
พ.ศ. 2555 หลังจากใช้สถานที่เพื่อถ่ายทาภาพยนตร์ ฝรั่งเศสชื่อดั ง LEON ผู้กากับ Luc Besson ได้เปลี่ยนสถานที่
รกร้างให้กลายเป็นศูนย์กลางของการถ่ายทาภาพยนตร์แห่งสาคัญในยุโรป

ประเทศฝรั่งเศสถือว่าเป็น ประเทศที่ มีให้ พื้นที่กั บการฉายภาพยนตร์ ผ่านจากการจัด ตั้งโรงภาพยนตร์ ในปี


พ.ศ. 2560 จากการตรวจสอบประเทศฝรั่ ง เศสมี จ อภาพยนตร์ ถึ ง 5,913 จอ 105 ซึ่ ง ประเมิ น เที ย บกั บ จ านวน
ประชากรถื อ ว่าเป็ นจ านวนที่มาก โรงภาพยนตร์ ส่ว นใหญ่ก ระจุ ก ตัว อยู่ใ นกรุ ง ปารี ส โดยโรงภาพยนตร์เหล่านี้
บางส่ ว นอุ ทิ ศ ให้ กั บ การฉายภาพยนตร์ เ ชิ ง ศิ ล ปะ (Art House) และในส่ ว นโรงภาพยนตร์ ทั่ ว ไปก็ มีก ารฉาย
ภาพยนตร์กระแสหลักจากประเทศสหรั ฐอเมริกา จะมีการเปิดพื้นที่ให้ ภาพยนตร์จากต่า งประเทศหรือ ภาพยนตร์
ทางเลือกร่วมด้วย

ภาพที่ 17 แสดงจานวนโรงภาพยนตร์ใจกลางกรุงในประเทศฝรั่งเศส 106

103 https://www.cnc.fr/documents/71205/151986/The+TRIP+and+10%25+VFX+Bonus+Guide.pdf/78d4c00f-227d-56f5-b009-

154896245908
104 http://www.citeducinema.org/
105 https://www.cnc.fr/web/en/publications/results-2017_557488
106
ศูนย์ภาพยนตร์และภาพเคลื่อนไหวแห่งชาติ

116
การอานวยความสะดวก แนวทางสนับสนุน
 เทศกาลภาพยนตร์ เ มื อ งคานส์ ซึ่ ง มี อ ายุม า 72 ปี คุ ณ ก้ อ ง ฤทธิ์ ดี 107กล่ า วไว้ ว่า เป็ น เทศกาลเกิ ดมา
สาหรับคนในอุตสาหกรรมและเป็น เทศกาลต้น แบบเพื่อ คนในวงการภาพยนตร์ เทศกาลนี้มีจุดประสงค์เ พื่อ ดึ ง ดู ด
ความสนใจและส่งเสริมภาพยนตร์ในองค์รวม โดยมุ่งพัฒนาภาพยนตร์และกระตุ้นอุ ตสาหกรรมภาพยนตร์รอบโลก
พร้อมกับการเชิดชูภาพยนตร์ในระดับนานาชาติ ซึ่ งเป็นหน้าที่หลักของการดาเนินการเทศกาล108 นอกจากเทศกาล
ภาพยนตร์เมืองคานส์แ ล้ว ประเทศฝรั่งเศสยั งจัด เทศกาลภาพยนตร์ ที่แตกย่ อยออกไปทั้ งที่ใ ห้ค วามสนใจในร ะดั บ
นานาชาติและเฉพาะกลุ่มเช่น Festival Pocket Film109 ที่สนับสนุนการผลิตภาพยนตร์ผ่านโทรศัพท์มือถือ
 โครงการ French Tech Ticket110 เป็นหนึ่งการรณรงค์ส่งเสริมด้านธุรกิจที่ เกี่ย วข้องกับนวั ตกรรมโดย
เป็นการเชิญให้ผู้ เข้า ร่ว มโครงการเพื่ อไปใช้ชี วิ ตในปารีส ประเทศฝรั่ งเศสเป็น เวลาประมาณ 1 ปี เพื่อเก็บ เกี่ ย ว
วัฒนธรรมประเทศฝรั่งเศสแล้ว นาไปเผยแพร่ ซึ่งเป็นกรณีที่ Streaming Service ในชื่อ FilmDoo111 ได้รับโอกาส
เข้าร่วมโดยทางโครงการเปิ ดโอกาสให้ FilmDoo ได้เสาะหาภาพยนตร์ ฝรั่ง เศสเข้ามาเผยแพร่บน Platform เพื่อ
ส่งเสริมวัฒนธรรมและภาพลักษณ์ของประเทศฝรั่ง เศส (ข้อมูลจากบทสัมภาษณ์ของคุณ Weerada Sucharitkul ผู้
ก่อตั้ง FilmDoo)
 ประเทศฝรั่ ง เศสมี ก ารจั ด สรรสถานที่ ต่ างๆ ในประเทศเพื่ อ จั ด กิ จ กรรมและส่ ง เสริ ม อุ ต สาหกรรม
ภาพยนตร์ในรูปแบบที่สร้างสรรค์แตกต่างกันไป เช่น ในปี พ.ศ. 2563 การจัดกิจกรรมการล่องเรือชมภาพยนตร์ ที่ มี
ชื่อว่า ‘Cinéma Sur l’eau’ หรือ โรงภาพยนตร์บนน้า 112 เพื่อกระตุ้นการกลับมาของวัฒนธรรมการชมภาพยนตร์
ที่หายไปกว่า 1 ปีจากภัยโควิท โดยงานนี้ซึ่งเป็นส่ วนหนึ่ งของงานประจาปี ‘Paris Plages’ โดยใช้บรรยากาศริ ม
แม่ น้ าแซน (Seine River) เป็ น จุ ด สนใจในการดึ ง ดู ด คนรั ก ภาพยนตร์ เ ข้ ามาร่ วมประสบการณ์ ใ หม่ ใ นการชม
ภาพยนตร์

107
https://gqthailand.com/culture/article/why-the-cannes-film-festival-matters
108
https://www.festival-cannes.com/en/qui-sommes-nous/festival-de-cannes-1
109
https://www.facebook.com/PocketFilmFest/
110
https://www.gouvernement.fr/en/french-tech-ticket
111 https://www.filmdoo.com/
112 https://www.marketingoops.com/exclusive/trending-exclusive/paris-floating-cinema-socially-distant-electric-boats/

117
5.6 ปัจจัยความสาเร็จของอุตสาหกรรมภาพยนตร์จากประเทศต้ นแบบทั้ง 5 ประเทศ
ข้อมูลที่ได้จากการศึก ษา สามารถสรุปองค์ประกอบสาคั ญ และปัจจัยความสาเร็จของประเทศต้ น แบบ
(แสดงดังตารางที่ 38) โดยอธิบายได้ดังนี้
5.6.1 ภาพรวมของอุตสาหกรรมภาพยนตร์
อุตสาหกรรมภาพยนตร์ แบ่งเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่
1) การพิ จ ารณาอุ ต สาหกรรมภาพยนตร์ใ นฐานะเป็น ธุ รกิ จ ซึ่ ง ประเทศที่ มีแ นวทางดาเนิน นโยบายใน
รู ป แบบดั ง กล่ า วนี้ ได้ แ ก่ ประเทศเกาหลี ใต้ ประเทศสหรัฐ อเมริก า และประเทศอิ นเดี ย โดยเห็ น ได้ชั ด เจนว่า
ประเทศอิ น เดี ย และประเทศเกาหลี ใ ต้ รั บ อิ ท ธิ พล และน าแบบอย่ างความส าเร็ จ ของ Hollywood ประเทศ
สหรัฐอเมริกา มาประยุกต์ใช้ โดยเน้นการผลิตภาพยนตร์เพื่อการส่งออก รวมถึงการส่งเสริมและผลักดันให้บุคลากร
สามารถแสดงศั กยภาพในเวทีโ ลก เพื่อสร้างการยอมรับ ในระดั บ สากลแก่ ภาพยนตร์แ ละผู้ ที่ มีส่ วนเกี่ย วข้ อ งกั บ
ภาพยนตร์ นอกจากนี้ ความมุ่งมั่ นทุ่ มเทในการผลิ ตภาพยนตร์ คุ ณภาพจานวนมาก โดยมีเอกลั กษณ์ ที่ สา มารถ
เข้าถึงกลุ่มคนจานวนมากได้ นับเป็นปัจจัยความสาเร็จของการบริหารจัด การอุ ตสาหกรรมภาพยนตร์ในฐาน ะเป็ น
ธุรกิจ ซึ่งขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ
2) การพิจารณาอุตสาหกรรมภาพยนตร์ในฐานะเป็นส่ วนหนึ่ งของการดารงไว้ซึ่ งวั ฒนธรรมอันดี ของชาติ
ให้ประชาชนในประเทศตระหนักถึ งคุ ณค่า และเอกลักษณ์เฉพาะตนของแต่ล ะประเทศ รวมทั้ง ให้ความสาคัญ กั บ
ความเป็นศิลปะของภาพยนตร์ ซึ่งประเทศที่มีแนวทางดาเนินนโยบายในรูป แบบดังกล่าวนี้ ได้แก่ ประเทศฝรั่ง เศส
และประเทศอั ง กฤษ โดยประเทศอั ง กฤษมี ก ารเชื่ อ มโยงกับ Hollywood เพื่ อ เป็ น ส่ ว นช่ ว ยในการผลัก ดันด้าน
การตลาด

5.6.2 หน่วยงานที่รับผิดชอบ
ประเทศต้นแบบทั้ง 5 ประเทศ มีการจัดตั้งหน่วยงานพิเ ศษทาหน้าที่ สนับ สนุน และผลักดันอุตสาหกรรม
ภาพยนตร์โดยตรง โดยหน่วยงานดัง กล่า วนี้ ดาเนินงานภายใต้บ ทบาท และอานาจหน้าที่ที่ได้ รับ มอบหมา ยเพื่ อ
ขับเคลื่อนนโยบาย และผลักดันอุตสาหกรรมภาพยนตร์สู่เ ป้าหมายที่ภาครั ฐและเอกชนได้ต กลงร่ วมกันไว้ ให้ส าเร็ จ
ลุล่วงอย่างรวดเร็วและราบรื่น ผ่านการพิจารณาและตัดสินใจจากบุ คลากรที่ มีความเข้าใจอุ ตสาหกรรมเป็นอย่ า งดี
นอกจากนี้ หน่ ว ยงานฯ ยั ง ได้ รั บ การสนั บ สนุ น งบประมาณจากรั ฐ บาล โดยมี ตั ว อย่ า งขององค์ ก รที่ ป ระสบ
ความสาเร็จ ในการดาเนิ นงาน และได้รับ การยอมรั บ อาทิ KOFIC ของประเทศเกาหลี ใ ต้ หรือระบบสตูดิ โ อใน
ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นต้น

118
5.6.3 ความคิดสร้างสรรค์
อุ ต สาหกรรมภาพยนตร์ข องแต่ ล ะประเทศ มี วิ วั ฒ นาการการเติ บ โตผ่ านการสร้ างสรรค์ เนื้ อ หาที่เป็น
เอกลักษณ์ ทั้งบทภาพยนตร์ หรือเทคนิ คการถ่ ายทารู ปแบบเฉพาะ นอกจากนี้ มีการผลิตภาพยนตร์ ที่ มี ค วาม
หลากหลายเพื่อดึงดูดความสนใจของผู้ชมแต่ล ะกลุ่ม ที่แตกต่างกัน รวมทั้ง การศึกษาวิจัยเพื่อหาวิเคราะห์ แนวทาง
หรือรูปแบบการผลิตภาพยนตร์ให้ได้รับความนิ ยมในระดั บสากล หรือการยอมรับจากทั่ว โลก รวมถึงประเทศที่ เ น้ น
การอนุรักษ์วัฒนธรรม เช่น ประเทศฝรั่งเศส และประเทศอังกฤษ มีการนาเสนอกิจกรรมซึ่งทาให้การชมภาพยนตร์
กลายเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตประชาชนภายในประเทศ

5.6.4 แนวทางการสนับสนุน
ประกอบด้วย 3 แนวทาง ดังนี้
 เงินทุน : เงินหมุนเวียนเพื่อขับเคลื่อนอุ ตสาหกรรมภาพยนตร์ ในประเทศต้นแบบทั้ ง 5 ประเทศ คือ
เงินที่ได้รับจากรัฐบาลโดยความร่ว มมื อกับภาคเอกชน เป็นเงินที่ภาครัฐส่งมอบให้กับหน่ วยงานพิเ ศษเพื่อ ใช้จั ด สรร
ให้เกิดประโยชน์ต่ อการผลิต ภาพยนตร์อย่า งต่ อเนื่อ ง เช่น การลดหย่อนภาษีสาหรับกองถ่ายฯ ที่เข้ามาถ่ายทาใน
ประเทศ การให้ทุนแก่นักผลิตภาพยนตร์หน้า ใหม่ หรือการตั้งกองทุนล๊อตเตอรี่ เพื่ อนาเงิน กลับ เข้าระบบการ ผลิ ต
ภาพยนตร์ในประเทศ

 บุคลากร: แนวทางการพัฒนาบุคลากรด้านภาพยนตร์ของประเทศต้นแบบ มีแนวทางที่ใกล้เคียงกั น


โดยสนับสนุนให้บุ คลากรของประเทศตน เข้ารับการอบรมความรู้จากผู้เ ชี่ย วชาญเฉพาะทางด้ านภาพยน ตร์ ทั้ ง
ภายในและต่างประเทศ เพื่อเป็นการยกระดับศักยภาพของบุคลากร และเตรียมพร้อมเพื่ อก้าวสู่ เวทีโลก โดยแต่ล ะ
ประเทศมีการจัดตั้งสถาบันการเรียนการสอนด้านภาพยนตร์ที่ มีคุ ณภาพ รวมทั้ง การดูแลคุ้มครองสิทธิทางวิ ช าชี พ
ของบุคลากรในวงการภาพยนตร์ ทุกระดั บขั้น ในรูปแบบของสหภาพหรือสมาคม เพื่อดูแลความชอบธรรมในการ
ปฎิบัติงาน

 สถานที่ แ ละการสนับ สนุ นอื่ น ๆ: การจั ด สรรพื้ น ที่ เ พื่ อ จั ด ตั้ ง สตู ดิ โอถ่ า ยท าภาพยนตร์ และโรง
ภาพยนตร์ นั บ เป็ น แนวทางหนึ่ ง ในการส่ ง เสริม ให้ อุ ต สาหกรรมการผลิ ต ภาพยนตร์ ใ นประเทศมี ค วามเติบโต
นอกจากนี้ ยังเป็นการยกระดับศักยภาพด้านการผลิต และดึงดูดให้กองถ่ายต่างประเทศเข้ามาถ่ายทาภาพยนตร์ ใ น
ประเทศนั้นๆ ด้วย อีกทั้ง สถานที่เหล่านี้ ยังสามารถพัฒนาเป็นสถานที่ท่องเที่ยว และเอกลักษณ์ของแต่ละประเทศ
เช่ น เดี ย วกั บ Hollywood หรื อ เช่ น ประเทศเกาหลี ใ ต้ มีก ารก าหนด Screen Quota เพื่ อ ให้ มีพื้น ที่ ส าหรั บ
ภาพยนตร์เกาหลีใต้เข้าฉายในโรงภาพยนตร์อย่างทั่วถึง

119
ในขณะที่ การสนับสนุนอื่น ๆ อาทิ การรวบรวมข้ อ มูล และจัดทาระบบฐานข้ อ มูล ภาพยนตร์ อ ย่ า ง
ต่อเนื่องครบถ้วน เพื่อเป็นแหล่งสืบค้นข้อมูลสาหรับนั กลงทุน ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ รวมทั้งเพื่อประโยชน์
ต่อการศึกษาวิจัยเชิงวิชาการและเชิง การตลาดนับว่า มี ความสาคัญ และเป็นปัจจัยสาคัญที่ผลักดัน ให้อุ ตสาหกรรม
ภาพยนตร์ เติบโตและประสบความสาเร็จได้อย่างยั่งยืน

ตารางที่ 38 แสดงการเปรียบเทียบอุ ตสาหกรรมภาพยนตร์ของประเทศต้นแบบทั้ง 5 ประเทศ


(วิเคราะห์โดยคณะทางาน)

ฝรั่งเศส เกาหลีใต้ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ อินเดีย


 ภาพยนตร์  อุตสาหกรรม  ระบบนิเวศได้รับ  ภาพยนตร์ คือ  ผลิตภาพยนตร์
เป็นส่วนหนึ่ง เติบโต การจัดรวบรวม ผลงานศิลปะ จานวนมากต่อปี
ของวัฒนธรรม อย่างรวดเร็ว ไว้ในที่เดียว  การส่งต่อ หรือ  เทียบเคียงต้นแบบ
 ภาพยนตร์ (20 ปี)  ภาพยนตร์และ ส่งผ่านวัฒนธรรม จาก Hollywood
คือมรดกของชาติ  ภาพยนตร์ บุคลากรได้รับการ ทางภาพยนตร์  ผลิตภาพยนตร์
 ประวัติศาสตร์ เป็นธุรกิจทากาไร ยอมรับ  พึ่งพาการทางาน มีเอกลักษณ์
ภาพยนตร์  ต้องการให้ จากทั่วโลก ร่วมกับ  พบปัญหา
ที่ยาวนาน ภาพยนตร์  ขับเคลื่อน สหรัฐอเมริกา การละเมิดลิขสิทธิ์
 เคลื่อนไหว เป็นสินค้าส่งออก ด้วยตัวเลข  ผลงานและ
ภาพรวม

สวนทาง  จานวนภาพยนตร์ ทางการตลาด บุคลากรได้รับ


Hollywood เพิ่มขึ้น  ลงทุนสูง การยอมรับ
 ภาพยนตร์ได้รับ อย่างต่อเนื่อง กับภาพยนตร์
การพิจารณา  ได้รับการยอมรับ  ภาพยนตร์ คือ
ว่าเป็นศิลปะ และยกย่อง สินค้าส่งออก
 ผลิตภาพยนตร์ จากเวทีโลก  ใช้ความนิยม
ฝรั่งเศสจานวนมาก เพื่อยึดครอง
 เปิดรับภาพยนตร์ ส่วนแบ่งตลาด
จากทั่วโลก ในต่างประเทศ
 หน่วยงานใหญ่  รัฐบาลแต่งตั้ง  หน่วยงานได้รับ  รัฐแต่งตั้งสถาบัน  องค์กรรัฐวิสาหกิจ
(CNC) ที่ได้รับ หน่วยงานพิเศษ อานาจเบ็ดเสร็จใน ภาพยนตร์เพื่อดูแล มีบทบาทดูแล
หน่วยงานที่รับผิดชอบ

มอบหมาย เพื่อดูแล การดูแล อุตสาหกรรม กิจการด้าน


จากรัฐบาล อุตสาหกรรม อุตสาหกรรม โดยรวม ภาพยนตร์
มีอานาจเต็มที่ ภาพยนตร์  สตูดิโอใหญ่มี  มุ่งให้อุตสาหกรรม  หน่วยงานย่อย
 หน่วยงานและ ในทุกด้าน บทบาท และ เติบโต ที่รับผิดชอบเฉพาะ
สมาคมย่อย อานาจทางการ ด้านการผลิต

120
ฝรั่งเศส เกาหลีใต้ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ อินเดีย
เชื่อมโยงกับ CNC  หน่วยงานพิเศษ ตลาด และได้รับ ด้านความคิด แยกเป็นท้องถิ่น
ส่งเสริมเฉพาะ ประกอบด้วย การสนับสนุน สร้างสรรค์ อย่างชัดเจน
ด้านอนุรักษ์ บุคลากรจาก จากภาครัฐ  ส่งเสริมภาพยนตร์
ภาพยนตร์และ วงการภาพยนตร์  มีกฎหมายควบคุม ในแง่วัฒนธรรม
ส่งเสริม  มุ่งเป้าส่งออก การละเมิดลิขสิทธิ์ มากกว่าเศรษฐกิจ
ด้านวัฒนธรรม ภาพยนตร์ ที่เข้มงวด
สู่เวทีโลก  มีสมาคมอิสระ
 ต้องการให้ ดูแลในภาคส่วน
ภาพยนตร์ สาคัญ
เป็นสินค้าส่งออก  มีหน่วยงานกลาง
ทาหน้าที่ส่งออก
และจัดจาหน่าย
ภาพยนตร์ไป
ต่างประเทศ
 จัดเทศกาล  สะท้อนภาพลักษณ์  ทาวิจัยสารวจ  ติดตามนวัตกรรม  สร้างสรรค์
ภาพยนตร์ ของประเทศ ความต้องการ ใหม่ๆ เอกลักษณ์ของ
ที่หลากหลาย ผ่านเนื้อหา ของตลาด  ผสมผสาน ภาพยนตร์ให้เป็นที่
ทั่วประเทศ ภาพยนตร์  สร้างรูปแบบ สื่อภาพยนตร์ จดจา และยากต่อ
 จัดกิจกรรม  วิจัยเพื่อเสาะหา ภาพยนตร์ เพื่อต่อยอด การลอกเลียนแบบ
เพื่อส่งเสริม ภาพยนตร์ ที่ครองใจตลาด กับช่องทาง หรือ  สร้างเอกลักษณ์
วัฒนธรรม ที่เหมาะสม วิเคราะห์ และ Platform ต่างๆ พิเศษแก่ภาพยนตร์
ความคิดสร้างสรรค์


การชมภาพยนตร์ กับการส่งออก ทาการตลาด อาทิ สวนสนุก ด้วยภาษา และ
ภาพยนตร์ หรือนวนิยาย ความเป็นท้องถิ่น
แบบครบวงจร (Local)
 จัดเทศกาล  ขยายช่องทางการ
ภาพยนตร์ที่ เผยแพร่สู่
หลากหลาย Platform ต่างๆ
 สนับสนุนการ
พัฒนา
บทภาพยนตร์
 หน่วยงานใหญ่  รัฐบาลมอบ  สตูดิโอใหญ่เป็น  การลดหย่อนภาษี  หน่วยงานย่อยของ
(CNC) จัดสรร เงินทุนให้ เจ้าของทุน  แหล่งเงินทุนจาก รัฐ มุ่งส่งเสริม
สนับสนุน
แนวทาง

เงินทุน

เงินทุนให้ หน่วยงานพิเศษ ยุโรป ด้านเงินทุน


เพื่อ  กองทุนล๊อตเตอรี่

121
ฝรั่งเศส เกาหลีใต้ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ อินเดีย
 แก่การผลิต  ไปจัดสรรตาม  สตูดิโอย่อยที่เป็น  สตูดิโอขนาดใหญ่
ภาพยนตร์ในหลาย สมควร เครือของสตูดิโอ และ บริษัทเอกชน
รูปแบบ  รัฐไม่ก้าวก่ายการ ใหญ่ เป็นเจ้าของทุน
 รัฐบาลให้โอกาสขอ ทางานของ  ช่วยป้องกันการ  สถาบันทางการเงิน
คืนภาษี หน่วยงานพิเศษ ขาดทุน อนุมัติเงินกู้ให้กับ
 รัฐบาลให้เงิน  เงินทุนจากคนใน ผู้ประกอบการ
ช่วยเหลือธุรกิจ วงการและ
และ สปอนเซอร์
 บุคลากรในวงการ  กองทุนช่วยเหลือ
ภาพยนตร์ในช่วง ภาพยนตร์อิสระ
วิกฤต
 มีการมอบรางวัล  มีการจัดอบรม  มีการมอบรางวัล  มีการมอบรางวัล  มีสถาบันการศึกษา
ให้กับผลงาน และหลักสูตรการ ให้กับผลงาน ให้กับผลงาน เฉพาะทาง
ภาพยนตร์ที่มี เรียนการสอนด้าน ภาพยนตร์ที่มี ภาพยนตร์ที่มี กระจายอยูท่ ั่วไป
คุณภาพ และความ ภาพยนตร์จากมือ คุณภาพ และความ คุณภาพ และความ ในเมืองหลวง
โดดเด่น อาชีพ ทั้งในและ โดดเด่น โดดเด่น  มีแนวทาง
 มีหน่วยงาน ต่างประเทศ  มีหน่วยงาน  สมาคมส่งเสริม การส่งเสริมดารา
รวบรวมช่องทาง  ส่งเสริมบุคลากรให้ รวบรวมช่องทาง และปกป้อง ให้มีชื่อเสียง และ
บุคลากร

การติดต่อบุคลากร สามารถพัฒนา การติดต่อบุคลากร บุคลากรเฉพาะ โด่งดังในระดับ


ในทุกภาคส่วน ฝีมือสู่เวทีโลก ในทุกภาคส่วน ด้าน สากล
 บุคลากรมีเสรีภาพ  ดูแลคุ้มครองสิทธิ  บุคลากรมีทักษะ  จัดตั้งสมาคมเพื่อ
ในการแสดงจุดยืน และความเป็น ฝีมือที่ได้มาตรฐาน ดูแลบุคลากรในแต่
ธรรมให้บุคลากร ละมีคุณภาพเป็นที่ ละท้องถิ่น
 จัดทามาตรฐาน ยอมรับจากทั่วโลก
วิชาชีพ
 จัดตั้งหน่วยงาน  มีสตูดิโอที่พร้อม  ส่งเสริม และดึงดูด  อานวยความ  สร้างเมือง
เพื่ออานวย และเอื้อต่อการ ความสนใจ ให้ สะดวกให้แก่การ ภาพยนตร์ สาหรับ
ความสะดวกและ ถ่ายทาภาพยนตร์ สถานที่ถ่ายทา  ถ่ายทาในประเทศ ใช้เป็นสถานที่
สถานที่และอื่นๆ

สนับสนุนการถ่าย ในระดับสากล ภาพยนตร์เป็น  สนับสนุนสถานที่ ถ่ายทาและสถานที่


ทาภาพยนตร์ใน  มีโรงภาพยนตร์ สถานที่ท่องเที่ยว ในการถ่ายทา ท่องเที่ยว เพื่อ
ประเทศฝรั่งเศส จานวนมาก และ  สร้างเอกลักษณ์  ให้กลายเป็น อานวยความ
 มีการสร้างสตูดิโอ จัดฉายภาพยนตร์ ทางภาพยนตร์ผ่าน สถานที่ท่องเที่ยว สะดวกแก่
ณ ใจกลางเมือง เกาหลีใต้ บรรยากาศของ  การจัดฐานข้อมูล ภาพยนตร์
สถานที่ต่างๆ ไว้ในที่เดียว ต่างประเทศที่เข้า

122
ฝรั่งเศส เกาหลีใต้ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ อินเดีย
 มีการจัดเก็บข้อมูล ในรูปแบบ Screen  มีโรงภาพยนตร์ มาใช้สถานที่ถ่าย
และสรุปรายงาน Quota ขนาดใหญ่และ ทา
เกี่ยวกับ  มีการจัดเก็บข้อมูล ขนาดเล็ก
อุตสาหกรรมทุกปี อย่างเป็นระบบ  เพื่อรองรับผู้ชมที่
 มีโรงภาพยนตร์ (ฐานข้อมูล) หลากหลาย
จานวนมาก และมี ครบถ้วนในที่เดียว  ฐานข้อมูลทาง
การจัดฉาย ภาพยนตร์ที่
ภาพยนตร์ที่ สมบูรณ์
หลากหลาย

ภาพที่ 18 แสดงแนวทางการพั ฒนาอุ ตสาหกรรมภาพยนตร์ ข องประเทศฝรั่ ง เศสและประเทศเกาหลี ใต้


(วิเคราะห์โดยคณะทางาน)

123
ภาพที่ 19 การถอดบทเรียนจากประเทศต้น แบบและข้อจ ากั ดของประเทศไทย (วิเคราะห์โดยคณะทางาน)

124
6. ข้อเสนอแผนยุทธศาสตร์อุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย

6.1 แผนยุทธศาสตร์อุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยที่ผ่านมา
พิจารณาจากแผนยุทธศาสตร์ อุตสาหกรรมภาพยนตร์ไ ทย จานวน 4 แผน ซึ่งจัดทาโดยหน่วยงานของรั ฐ
ได้แก่ สานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสั งคมแห่ง ชาติ (2551) กระทรวงวัฒนธรรม (2560-2564)
และสานักงานส่ ง เสริ มวิ สาหกิจ ขนาดกลางและขนาดย่ อ ม (สสว.) รวมถึงแผนยุท ธศาสตร์ที่ เ ฉพาะเจาะจงด้ า น
แอนิเมชัน โดยรักศานต์ วิวัฒน์สินอุดม (2554) เพื่อที่จะทาให้ทราบทั้งแนวคิ ดและวิธี การดาเนิน งาน อันจะนามา
ปรับใช้กับการพัฒนาและเสนอแนะแนวทางจั ดทาแผนยุทธศาสตร์ กลุ่ม Creative Content ครั้งนี้ โดยมีประเด็ น
สรุปแสดงดังตารางที่ 39

ตารางที่ 39 แผนยุทธศาสตร์ด้า นการพัฒนาอุ ตสาหกรรมภาพยนตร์ในที่มีอ ยู่ในปัจ จุบัน


(วิเคราะห์โดยคณะทางาน)
โครงการศึกษา ยุทธศาสตร์การพัฒนา ยุทธศาสตร์การส่งเสริม โครงการจัดทา
เพื่อจัดทายุทธศาสตร์ อุตสาหกรรมภาพยนตร์ อุตสาหกรรมภาพยนตร์ ยุทธศาสตร์และ
การพัฒนาธุรกิจ แอนิเมชันไทย และวีดิทัศน์ของประเทศ แผนปฏิบัติการส่งเสริม
ภาพยนตร์ไทย (2551) เพื่อการแข่งขัน ไทย ระยะที่ 3 วิสาหกิจขนาดกลางและ
โดย สานักงานคณะกรรมการ ระดับนานาชาติ (2554) (ปี พ.ศ.2560-2564) ขนาดย่อม สาขา
พัฒนาการเศรษฐกิจ โดย รักศานต์ วิวัฒน์สินอุดม โดย กระทรวงวัฒนธรรม ภาพยนตร์และวีดิทัศน์
และสังคมแห่งชาติ (มปป) 113
โดย สานักงานส่งเสริม
วิสาหกิจขนาดกลาง
และขนาดย่อม
1 การบริหารจัดการธุรกิจ การเพิ่มศักยภาพผู้ผลิต พัฒนาบุคลากรใน ยกระดับคุณภาพของ
ภาพยนตร์ไทย (ปรับปรุง ภาพยนตร์แอนิเมชันของ อุตสาหกรรมภาพยนตร์ให้ ภาพยนตร์ไทยให้สามารถ
หน่วยงานรัฐ จัดตั้งองค์กร ประเทศไทยและบุคลากร เป็นมืออาชีพ (ส่งเสริมยก แข่งขันได้ในระดับภูมิภาค
ส่งเสริมพัฒนาธุรกิจ สร้าง ย่องบุคคล พัฒนาซอฟ์ท อย่างยั่งยืน (พัฒนา
ความร่วมมือภาคีรัฐเอกชน แวร์ และรวมถึงการพัฒนา ศักยภาพการผลิต พัฒนา
พัฒนาฐานข้อมูล) ผู้ชมภาพยนตร์) ช่องทางการแสดงผลงาน
การสนับสนุนการผลิตร่วม

113 https://sme.go.th/upload/mod_download/Summary%20Film%20Final%20Report-20171113111120.pdf

125
โครงการศึกษา ยุทธศาสตร์การพัฒนา ยุทธศาสตร์การส่งเสริม โครงการจัดทา
เพื่อจัดทายุทธศาสตร์ อุตสาหกรรมภาพยนตร์ อุตสาหกรรมภาพยนตร์ ยุทธศาสตร์และ
การพัฒนาธุรกิจ แอนิเมชันไทย และวีดิทัศน์ของประเทศ แผนปฏิบัติการส่งเสริม
ภาพยนตร์ไทย (2551) เพื่อการแข่งขัน ไทย ระยะที่ 3 วิสาหกิจขนาดกลางและ
โดย สานักงานคณะกรรมการ ระดับนานาชาติ (2554) (ปี พ.ศ.2560-2564) ขนาดย่อม สาขา
พัฒนาการเศรษฐกิจ โดย รักศานต์ วิวัฒน์สินอุดม โดย กระทรวงวัฒนธรรม ภาพยนตร์และวีดิทัศน์
และสังคมแห่งชาติ (มปป) 113
โดย สานักงานส่งเสริม
วิสาหกิจขนาดกลาง
และขนาดย่อม
สร้างความหลากหลายของ
เนื้อหา)
2 การเสริมสร้างความ การเพิ่มปริมาณและ ส่งเสริมและพัฒนาตลาด พัฒนาไปสู่สถานที่ถ่ายทา
เข้มแข็งอุตสาหกรรม คุณภาพภาพยนตร์ ภาพยนตร์ ทั้งในและ ภาพยนตร์ครบวงจรระดับ
(รวมกลุ่มผู้ผลิต สนับสนุน แอนิเมชันของประเทศไทย ต่างประเทศ โลก (พัฒนาบุคลกร
ภาพยนตร์ที่มีคุณภาพและ (เช่น การร่วมผลิต) อุปกรณ์ พัฒนาภาพลักษณ์
หลากหลาย การเข้าถึง ของประเทศไทย ยกระดับ
แหล่งเงินทุน-กองทุน One-stop-service)
ภาพยนตร์ ส่งเสริม
เทคโนโลยี กฎหมาย
ลิขสิทธิ์ วิจัยเพื่อพัฒนา
ธุรกิจ)
3 การพัฒนาบุคลากร การสร้างผู้จัดจาหน่าย ส่งเสริมและปกป้อง เสริมสร้างศักยภาพของ
(พัฒนาหลักสูตรภาพยนตร์ แอนิเมชันในประเทศไทย ทรัพย์สินทางปัญญา ผู้ประกอบการสู่การเป็น
ในสถาบันการศึกษา การตั้ง ผู้นาการให้บริการ Post
ศูนย์ฝึกอบรมวิชาชีพ Production
ร่วมมือด้านวิชาการและ
การประกอบอาชีพ
ทุนการศึกษา)

126
โครงการศึกษา ยุทธศาสตร์การพัฒนา ยุทธศาสตร์การส่งเสริม โครงการจัดทา
เพื่อจัดทายุทธศาสตร์ อุตสาหกรรมภาพยนตร์ อุตสาหกรรมภาพยนตร์ ยุทธศาสตร์และ
การพัฒนาธุรกิจ แอนิเมชันไทย และวีดิทัศน์ของประเทศ แผนปฏิบัติการส่งเสริม
ภาพยนตร์ไทย (2551) เพื่อการแข่งขัน ไทย ระยะที่ 3 วิสาหกิจขนาดกลางและ
โดย สานักงานคณะกรรมการ ระดับนานาชาติ (2554) (ปี พ.ศ.2560-2564) ขนาดย่อม สาขา
พัฒนาการเศรษฐกิจ โดย รักศานต์ วิวัฒน์สินอุดม โดย กระทรวงวัฒนธรรม ภาพยนตร์และวีดิทัศน์
และสังคมแห่งชาติ (มปป) 113
โดย สานักงานส่งเสริม
วิสาหกิจขนาดกลาง
และขนาดย่อม
4 การพัฒนาการตลาด การตลาดภาพยนตร์ ส่งเสริมความร่วมมือการ
สนับสนุนการฉายและการ
(การมีข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับ แอนิเมชันประเทศไทยใน ร่วมลงทุนภาพยนตร์ และกระจายภาพยนตร์จาก
ตลาดภาพยนตร์ สนับสนุน ภูมิภาค ธุรกิจถ่ายทาภาพยนตร์ ประเทศไทยอย่างมี
มาตรการตลาดเชิงรุก เช่น ต่างประเทศในประเทศไทยประสิทธิภาพและยั่งยืน
Road show การจัด film (ส่งเสริมการลงทุน แก้(พัฒนาผู้ชมตลาด การ
fest การร่วมือกับโรง กฎหมายที่ไม่เอื้อแก่การ
สนับสนุนการกระจายและ
ภาพยนตร์ส่งเสริมการฉาย ถ่ายทา) ฉายภาพยนตร์ ธุรกิจโรง
ภาพยนตร์) ภาพยนตร์กระจาย
ภาพยนตร์กระแสทางเลือก
ส่งเสริมภาพยนตร์ไปยัง
ต่างประเทศ)
5 การส่งเสริมธุรกิจการถ่าย การเพิ่มกลุ่มผู้ชมแอนิเมชัน พัฒนาขีดความสามารถ พัฒนาศักยภาพพื้นฐานของ
ทาภาพยนตร์ต่างประเทศ ในประเทศไทย (เช่น การ ของอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมภาพยนตร์
ในประเทศไทย จัดเทศกาลภาพยนตร์ ภาพยนตร์ของประเทศไทย และวีดิทัศน์ (เน้นพัฒนา
(ประชาสัมพันธ์ประเทศ แอนิเมชันในประเทศไทย) (การบริหารจัดการ โครงสร้างพื้นฐาน แหล่ง
ไทย สนับสนุนมาตรการ ฐานข้อมูล โครงสร้าง เงินทุน ฐานข้อมูล
ส่งเสริมการลงทุน พัฒนา พื้นฐาน) กฎหมาย ปกป้องคุ้มครอง
ศักยภาพบุคลากรที่ ทรัพย์สินทางปัญญา
เกี่ยวเนื่อง พัฒนาขีด ปรับปรุงหน่วยงานรัฐ)
ความสามารถของธุรกิจ
เช่น post production

127
โครงการศึกษา ยุทธศาสตร์การพัฒนา ยุทธศาสตร์การส่งเสริม โครงการจัดทา
เพื่อจัดทายุทธศาสตร์ อุตสาหกรรมภาพยนตร์ อุตสาหกรรมภาพยนตร์ ยุทธศาสตร์และ
การพัฒนาธุรกิจ แอนิเมชันไทย และวีดิทัศน์ของประเทศ แผนปฏิบัติการส่งเสริม
ภาพยนตร์ไทย (2551) เพื่อการแข่งขัน ไทย ระยะที่ 3 วิสาหกิจขนาดกลางและ
โดย สานักงานคณะกรรมการ ระดับนานาชาติ (2554) (ปี พ.ศ.2560-2564) ขนาดย่อม สาขา
พัฒนาการเศรษฐกิจ โดย รักศานต์ วิวัฒน์สินอุดม โดย กระทรวงวัฒนธรรม ภาพยนตร์และวีดิทัศน์
และสังคมแห่งชาติ (มปป) 113
โดย สานักงานส่งเสริม
วิสาหกิจขนาดกลาง
และขนาดย่อม
ธุรกิจให้เช่าอุปกรณ์ และ
อื่นๆ)
6 การเพิ่มช่องทาง
การนาเสนอภาพยนตร์
แอนิเมชันในประเทศไทย
(การฉายในโรง การผลิตดีวี
ดี อินเทอร์เน็ต)
7 การใช้นโยบายสนับสนุน
และมาตรการทางกฎหมาย
ภาพยนตร์แอนิเมชันใน
ประเทศไทย (เช่น ลิขสิทธิ์)

จากข้อมูลแผนยุทธศาสตร์ที่จัดทาโดยหน่วยงานต่างๆ ตั้งแต่ พ.ศ. 2551 - พ.ศ. 2564 มีเป้าหมายมุ่งเน้ น


การแก้ไขปัญ หา และสนับสนุน อุ ต สาหกรรมภาพยนตร์ ไทย ทั้งด้านการผลิ ต เนื้ อ หา สถานที่ ถ่ า ยท า การจั ด
จาหน่าย การฉาย การตลาด กลุ่มผู้ชม รวมทั้ง ให้ความสนใจต่อการพัฒนาบุคลากร และการพัฒนาโครงสร้ า ง
พื้นฐานสาหรับอุตสาหกรรมภาพยนตร์ ได้แก่ เงินลงทุน กฎหมาย

128
ส าหรั บ แนวทางจั ด ท าแผนยุ ท ธศาสตร์ จ ากการศึ ก ษารวบรวมข้ อ มู ล ครั้ ง นี้ มี ขั้ น ตอนการวิ เ คราะห์
ดาเนินงาน และเสนอแนะ โดยมีความเห็น จากการสั มภาษณ์ ผู้ เกี่ ยวข้อ งในอุต สาหกรรม และการประชุ ม หารื อ
ร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ ยวข้อ งทั้ งภาครั ฐ เอกชน และสถาบันการศึกษา เพื่อให้เกิดความเข้าใจสภาพปั ญ หา
ของอุ ต สาหกรรมภาพยนตร์ อ ย่ า งชั ด เจน และสามารถแก้ ข้ อ จ ากั ด อุ ป สรรค และปั ญ หาของบุ ค ลากรใน
อุตสาหกรรมภาพยนตร์ได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยมีประเด็นนาเสนอที่สาคัญ ดังนี้

6.2 แผนยุทธศาสตร์อุตสาหกรรมสร้างสรรค์ กลุ่ม Creative Content


แนวทางนาเสนอแผนยุทธศาสตร์ก ลุ่ม Creative Content ผ่านการศึกษาและรวบรวมข้อ มูลยุ ทธศาสตร์
ภาพยนตร์ที่มีในอดีต ควบคู่กับการวิเคราะห์เอกลักษณ์ของภาพยนตร์ ตามแนวคิดที่นาเสนอไว้ข้างต้น กล่าวคือ 1)
แนวคิดการพิจารณาความสาคัญ ของภาพยนตร์ใ นฐานะศิ ลปะ และพาณิชย์ศิลป์ 2) การพิจารณาความสาคัญ ของ
ภาพยนตร์ในฐานะเศรษฐกิจสร้า งสรรค์ 3) การศึกษากรณีตัวอย่า งอุ ตสาหกรรมภาพยนตร์ในต่างประเทศ ได้แ ก่
ประเทศเกาหลี ใต้ ประเทศฝรั่งเศส และประเทศอื่น ๆ 4) การสัมภาษณ์ความเห็ นจากผู้เ ชี่ยวชาญด้านภาพยนตร์
และเสวนากลุ่มย่อยจากผู้เชี่ยวชาญ เพื่อวิเคราะห์จุดเด่น จุดด้อย โอกาส และอุปสรรคของอุตสาหกรรมภาพยนตร์
ต่อไป
อย่างไรก็ตาม แนวคิดของ McQuail ซึ่งให้ความสนใจต่อ สถานการณ์หรื อปัจจั ยที่ส่ งผลต่ อ อุต สาหกรรม
ภาพยนตร์ ได้แก่ ปัจจัยด้านการเมือง เศรษฐกิจ และปัจจัยด้านการเติบโตสู่ยุค เทคโนโลยี ดิจิทัล การเชื่อมโยงของ
สื่อออนไลน์หลากหลาย Platform การเติบโตของระบบสตรีมมิ่ ง รวมทั้ง สถานการณ์วิกฤตโรคระบาด COVID-19
ส่งผลให้เกิดการปรับตัวของกระบวนการผลิต การฉายภาพยนตร์ และแม้กระทั่งการปรับตัวของบุคลากรในวิ ช าชี พ
ทั้งรูปแบบการทางาน การหาช่องทางการตลาด เป็นต้น นอกจากนี้ การขยายนิยามภาพยนตร์จากฟิล์ ม สู่ สื่ อ ที่
เกี่ยวข้องหรือสื่อสารัตถะ เช่น ซีรีส์ และอื่นๆ แสดงดังภาพที่ 20

129
ภาพที่ 20 แสดงที่มาของการพัฒนาของแผนยุท ธศาสตร์ (วิเคราะห์โดยคณะทางาน)

ภาพที่ 20 - 21 แสดงความพยายามผลั ก ดั น ให้ เ กิ ด การบู รณาการร่ ว มเพื่ อ การพัฒนาอุ ตสาหกรรม


สร้างสรรค์ระหว่างหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องต่างๆ ครอบคลุมทั้งระบบนิเวศของอุต สาหกรรม

ภาพที่ 21 แสดงเอกลักษณ์ของยุท ธศาสตร์ (วิเคราะห์โดยคณะทางาน)

130
6.3 แผนพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ กลุ่ม Creative Content
(จากการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลโดยคณะทางาน)

วิสัยทัศน์ (Vision)
การพัฒนาอุตสาหกรรมสร้า งสรรค์สาขาภาพยนตร์ ของประเทศไทยให้ ก้าวไปสู่ก ระแสโลกเพื่ อเพิ่ มมู ล ค่ า
ทางเศรษฐกิจและคุณค่าทางวัฒนธรรม ภายในระยะเวลา 5 ปี (2564 – 2568)

การดาเนินงานส่งเสริมและขับเคลื่ อนอุ ตสาหกรรมสร้างสรรค์ กลุ่ม Creative Content ประกอบด้ ว ย


ยุทธศาสตร์ 6 ด้าน (ยุทธศาสตร์หลัก และยุทธศาสตร์สนับสนุน)
ยุทธศาสตร์หลัก
1) การพัฒนาโครงสร้างอุตสาหกรรม (Creative Film Structure)
2) การพัฒนาฐานข้อมูลภาพยนตร์ (Creative Film Database)

ยุทธศาสตร์สนับสนุน (4P)
3) การพัฒนาคน (Creative People)
4) การพัฒนาการผลิต (Creative Production)
5) การพัฒนาสถานที่ (Creative Place)
6) การพัฒนาธุรกิจ (Creative Promotion หรือ Creative Business)

รายละเอียดดังนี้
1) ยุ ท ธศาสตร์ ด้า นการพั ฒนาโครงสร้ า งอุ ตสาหกรรม ( Creative Film Structure) เป็ น
ยุทธศาสตร์ที่ให้ค วามสนใจต่อ การปรับ เปลี่ ยนโครงสร้ างอุต สาหกรรมภาพยนตร์ ทั้งการบูรณาการความร่ ว มมื อ
ระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ การพัฒนาและปรับแนวทางการจัดสรรทุนสนับ สนุนแก่ภาคอุต สาหกรรม และ
การทบทวนกฎหมายที่ เกี่ ยวข้ องกั บ อุต สาหกรรมภาพยนตร์ ทั้งด้านเนื้อ หา การคุ้มครองลิ ขสิ ทธิ์ การเผยแพร่
ผลงาน และแนวทางการดูแลแรงงานสร้างสรรค์
2) ยุทธศาสตร์ ด้านการพั ฒนาฐานข้ อมู ลภาพยนตร์ (Creative Film Database) เพื่อเป็ น
ประโยชน์ต่อการนาไปใช้วิเคราะห์ หรือวางแผนงานในการพัฒนาอุตสาหกรรมด้านต่างๆ
3) ยุ ท ธศาสตร์ ด้า นการพั ฒนาแรงงานและกลุ่ มเครื อ ข่า ย (Creative People) ครอบคลุ ม
ตั้งแต่ต้นน้าถึงปลายน้ าของ Ecosystem ได้แก่ ผูส้ ร้าง พัฒนา และผลิตคอนเทนต์ ผู้ชม การยกระดับมาตรฐาน
วิชาชีพ รวมถึงการประสานเครือข่ายความร่วมมือด้านภาพยนตร์ในส่วนต่างๆ

131
4) ยุ ท ธศาสตร์ ด้า นการพั ฒนาการผลิ ต (Creative Production) จะให้ ค วามสนใจต่ อการ
พัฒนาด้านการผลิตภาพยนตร์ ตั้งแต่การหาทุน การผลิต และหลังการผลิต ทั้งในกรณีของภาพยนตร์ ที่เน้ น ศิ ล ปะ
และทั่วไป
5) ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาพื้ นที่ ถ่ายทาภาพยนตร์ในประเทศไทย (Creative Place) หรือ
พื้นที่การถ่ายทา จะให้ความสนใจต่อ การถ่า ยทาภาพยนตร์ ต่า งประเทศในประเทศไทย เพราะถือว่าเป็น แหล่ ง
รายได้สาคัญและการช่วยพัฒนาอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยในทางอ้อม
6) ยุ ท ธศาสตร์ ด้า นการพั ฒนาตลาด (Creative Promotion หรื อ Business) คื อ การให้
ความสนใจมิติ ด้านหลั ง การผลิ ตทั้ งหมด นับตั้งแต่การฉาย การจัดจาหน่าย การส่งเสริมการ จาหน่ าย เพื่อทาให้
ภาพยนตร์ไทยได้รับการยอมรับทั้งในและต่างประเทศ ทั้งในด้านการจาหน่ายและการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีแก่ชาติ

จากวิสัยทัศน์ และยุทธศาสตร์สามารถนาเสนอด้วยภาพที่ 22 นี้

ภาพที่ 22 ข้อเสนอแผนพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ สาขาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ (วิเคราะห์โดยคณะทางาน)

จากการศึกษาข้อมูลและการรวบรวมความเห็น เพื่ อเสนอแนะยุ ทธศาสตร์การพั ฒนาอุตสากรรมสร้างสรรค์


ที่กล่าวมาข้างต้นแล้วนั้น การกาหนดเป้าหมายเพื่อนาไปสู่การจั ดทาแผนปฏิบัติ การนับเป็นส่วนสาคัญลาดับ ต่ อ มา
ทั้งนี้ เป้าหมายของยุทธศาสตร์แต่ละด้าน และดัชนีชี้วัดผลสาเร็จ สรุปสาระสาคัญได้แสดงดังตารางที่ 40

132
ตารางที่ 40 ข้อเสนอสาหรับยุทธศาสตร์ เป้าหมายและดัชนี สาหรั บแผนพั ฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ สาขา
ภาพยนตร์และวีดิทัศน์
ยุทธศาสตร์ เป้าหมายการดาเนินงาน ดัชนีชี้วัดความสาเร็จ
1. ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนา พัฒนาระบบนิเวศ และโครงสร้าง เกิดการบูรณาการด้านความ
โครงสร้างอุตสาหกรรม ของอุตสาหกรรม รวมทั้งองค์กรที่มี ร่วมมือ และการดาเนินงานเพื่อ
(Creative Film Structure) ส่วนเกี่ยวข้องในการกากับดูแล เพื่อ พัฒนาอุตสาหกรรมภาพยนตร์
สนับสนุนอุตสาหกรรมภาพยนตร์ให้ ภายในระยะเวลา 3 ปี
เติบโตอย่างมีประสิทธิภาพ
2. ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนา ผลักดันให้เกิดการเชื่อมโยงข้อมูล เกิดการบูรณาการความร่วมมือ
ฐานข้อมูลภาพยนตร์ และการบูรณาการความร่วมมือเพื่อ ในการพัฒนาและจัดทาระบบ
(Creative Film Database) พัฒนาระบบฐานข้อมูล สาหรับใช้ ฐานข้อมูล เพื่อให้บริการข้อมูล
ประโยชน์ในการส่งเสริม ด้านภาพยนตร์ที่เกี่ยวข้องใน
อุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย อุตสาหกรรม ภายในระยะเวลา
3 ปี
3. ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนา พัฒนา และยกระดับมาตรฐาน บุคลากรในสาขาวิชาชีพ ได้รับ
บุคลากรและการเชื่อมโยง/สร้าง วิชาชีพผู้ผลิตภาพยนตร์ในประเทศ การยกระดับศักยภาพ และ
ความเข้มแข็งให้กับเครือข่าย รวมทั้งผู้ชม พร้อมสร้างความ ทักษะมาตรฐานการปฏิบัติงาน
(Creative People) เชื่อมโยงให้กับเครือข่ายผู้เกี่ยวข้อง รวมถึงการสร้างความเชื่อมโยง
ในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ทั้งในและ ระหว่างเครือข่ายให้เกิดขึ้น
ต่างประเทศ อย่างน้อย 3 เครือข่าย
4. ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนา สนับสนุนการผลิตภาพยนตร์ไทย 1) จานวนภาพยนตร์ไทย
การผลิตภาพยนตร์ไทย (Creative เพิ่มขึ้นร้อยละ 20
Production) 2) ภาพยนตร์ไทยได้รับรางวัล
ระดับนานาชาติ อย่างน้อยปีละ
1 เรื่อง
5. ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาพื้นที่ สนับสนุนการจัดหา/จัดเตรียม ยกระดับรายได้จากการถ่ายทา
ถ่ายทาภาพยนตร์ในประเทศไทย สถานที่หรือพื้นที่สาหรับถ่ายทา ภาพยนตร์ในประเทศไทย
(Creative Place) ภาพยนตร์ในประเทศไทย เพิ่มขึ้น ร้อยละ 8-10 ใน
ระยะเวลา 5 ปี

133
ยุทธศาสตร์ เป้าหมายการดาเนินงาน ดัชนีชี้วัดความสาเร็จ
6. ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาตลาด การสนับสนุนช่องทางในการเผยแพร่ เกิดช่องทางการเผยแพร่
(Creative Promotion/Business) การจาหน่าย และการตลาด ภาพยนตร์ผ่านระบบออนไลน์
ภาพยนตร์ไทยทั้งในและต่างประเทศ จานวน 1 Platform และ
ส่งเสริมการจัดเทศกาล
ภาพยนตร์ ระดับนานาชาติ
ปีละ 1 ครั้ง

จากนั้ น แปลงแผนยุ ท ธศาสตร์ แ ละเป้ าหมายสู่ ก ลยุ ท ธ์ หรื อ แนวทางการด าเนิ นงาน และการจัดทา
แผนงาน/โครงการ ที่สอคล้องกับตัวชี้วัดสาคัญที่กาหนดขึ้น แสดงรายละเอียดดังภาพที่ 23 ดังนี้

ภาพที่ 23 แสดงแผนพัฒนาอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ สาขาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ (วิเคราะห์โดยคณะทางาน)

134
กลยุทธ์ และโครงการตามแผนยุทธศาสตร์ ดังต่อไปนี้
1. ยุทธศาสตร์ ด้านการพั ฒนาโครงสร้า งอุ ตสาหกรรม (Creative Film Structure) ประกอบด้วย 3
กลยุทธ์ดาเนินงาน และโครงการดังภาพที่ 24

ภาพที่ 24 แสดงยุทธศาสตร์ด้านการพั ฒนาโครงสร้างอุ ตสาหกรรม (Creative Film Structure)


(วิเคราะห์โดยคณะทางาน)

ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาโครงสร้างอุตสาหกรรม ประกอบด้วย 3 กลยุทธ์ รายละเอียดดังนี้


กลยุทธ์ที่ 1 การพัฒนาและการบู รณาการการดาเนินงานระหว่างองค์กร / หน่วยงานที่มีภารกิจ และ
หน้าที่รับผิดชอบในการผลัก ดันให้ เกิดผลผลิ ต และผลงานภาพยนตร์แบบครบวงจร
ข้อมูลจากการวิจัย พบว่าปัจจุบันภารกิจด้านการกากับ ดูแล และส่งเสริมอุตสาหกรรมภาพยนตร์
ของหน่วยงานภาครัฐ ในประเทศไทย กระจายอยู่ในหลายส่วนงานทั้ งระดับ กระทรวง ทบวง กรม ดังนั้นกลยุ ท ธ์
สาคัญคือการบูรณาการการดาเนิน งานให้เ กิด เอกภาพ และความชัดเจนเพื่อผลัก ดันให้เ กิดนโยบายสนับ สนุ น การ
ขั บ เคลื่ อ นอุ ต สาหกรรมภาพยนตร์อ ย่ างเป็ นรู ป ธรรม กรณี ตั ว อย่ างได้ แ ก่ ประเทศเกาหลีใ ต้ ประเทศฝรั่งเศส
ประเทศฟิลิปปินส์ และประเทศสิงคโปร์ เป็นต้น
ภายใต้กลยุทธ์นี้ สามารถจัดทาเพื่ อวางโครงสร้า งอุ ต สาหกรรมให้ เ กิด การเชื่อ มโยงการท า งาน
อย่างครบวงจร ครอบคลุมทั้งระบบนิเ วศอย่า งเป็น รูปธรรม โครงการศึก ษาความเป็น ไปได้ใ นการจั ดตั้ง อง ค์ ก ร
อิ สระเพื่ อ ดาเนิ น งานด้ า นภาพยนตร์ แ บบครบวงจร (ผลิต เผยแพร่ จัดจาหน่าย บริโภค พัฒนาคนเครื อ ข่ า ย
นโยบาย) โดยมีรายละเอียดโครงการ แสดงดังภาพที่ 25

135
ยุทธศาสตร์ที่ 1 ตัวอย่างแนวทางการจัดทาโครงการผลักดันการพัฒนาองค์กรอิสระเพื่อดูแลงานด้านภาพยนตร์

ภาพที่ 25 แสดงตัวอย่างโครงการผลัก ดัน การพั ฒนาองค์กรอิสระเพื่ อดู แลงานด้า นภาพยนตร์


(วิเคราะห์โดยคณะทางาน)

ยุทธศาสตร์ที่ 1 : โครงการผลักดันการพัฒนาองค์กรอิสระเพื่อดูแลงานด้านภาพยนตร์
รายละเอียดและการดาเนินงาน :
การผลักดันให้ เกิ ด การจั ด ตั้ งองค์ก รอิ สระ114 เพื่อผลักดัน ให้ หน่ วยงานทุ กภาคส่ว นที่ มีหน้า ที่รับ ผิ ด ชอบ
เกี่ยวข้องด้านอุตสาหกรรมภาพยนตร์สามารถปฎิบัติ งานได้ อย่างมี ประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น ผ่านกระบวนการวิเคราะห์
และกลั่นกรองโดยคณะทางานฯ ที่มีความรู้ความเข้าใจในระบบโครงสร้า งของอุ ตสาหกรรมภาพยนตร์ไ ทย อย่ า ง
แท้จริง เพื่อสามารถกาหนดนโยบายหรือแนวทางเชื่อมโยงความร่ว มมื อกับหน่ว ยงานที่เ กี่ยวข้อ งได้ อย่างเหมา ะสม
ทั้งนี้ โดยมีข้อพิจารณา ได้แก่
1) วิเคราะห์และกาหนดเป้าหมายภารกิจหน่วยงานอย่างชัดเจน
2) วางโครงสร้างองค์กร และกาหนดกรอบหน้าที่ ความรับผิดชอบ และภารกิจของหน่วยงานให้สอดคล้ อ ง
กับเป้าหมาย
3) กาหนดโครงสร้า งบุ คลากรบริหารงาน (Board) ซึ่งควรคัด เลือ กบุค ลากรจากหน่ว ยงานที่ มีบ ทบาท
หน้าที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมภาพยนตร์ เพื่อให้เกิดความเชื่อ มโยงในการดาเนินงาน อาทิ กระทรวงวัฒนธรรม
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เป็นต้น นอกจากนี้ สิ่งที่สาคัญคือผู้บริหารต้อ งมี ความรู้ และความเข้าใจภารกิ จ
งานด้านการพัฒนาส่งเสริมอุตสาหกรรมภาพยนตร์อย่างแท้จริง

114 ศึกษาเพิ่มเติมจากเอกสาร “หลักการจาแนกประเภทหน่วยงานรัฐในกากับของฝ่ายบริหาร” (กพร. : 2558)

136
4) พิจารณาแหล่งเงินทุนสนับสนุนทั้ งการดาเนินงาน และการส่งเสริมให้เกิ ดการขั บเคลื่อนกิจกรรมต่ า งๆ
ในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ ตัวอย่างกรณีศึกษาในต่างประเทศทุนสนับสนุน มาจากภาษีบันเทิงหรือ ตั๋วภาพยนตร์

ผลลัพธ์ที่คาดหวัง
การสนับสนุนการดาเนินงานขององค์กรอิสระ ให้สามารถขับเคลื่อนและสร้า งมู ลค่า เพิ่ มแก่ อุต สาหกรรม
ภาพยนตร์ไทยอย่างเป็นรูปธรรม

ตัวอย่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
หอภาพยนตร์ กระทรวงพาณิ ช ย์ กระทรวงต่ างประเทศ กระทรวงการท่ อ งเที่ ย วและกี ฬา กระทรวง
วัฒนธรรม กระทรวงการคลัง และ Film School

หลักพิจารณาเพิ่ มเติ ม อ้างอิงตามแนวคิด ศ.นพ.ประเวศ วะสี คือ ความรู้ สังคม และนโยบาย สาหรับ
พิจารณาประกอบการผลักดันให้เกิดองค์กรจัดการด้านอุตสาหกรรมภาพยนตร์โ ดยเฉพาะ
1) ความรู้ หมายถึง การมีระบบฐานข้ อมู ล ที่จาเป็ นเกี่ย วกับ อุ ตสาหกรรมภาพยนตร์ อาทิ รายได้ หรือ
มูลค่าของอุตสาหกรรม หรือเศรษฐศาสตร์ภาพยนตร์ เป็นต้น
2) สังคม หมายถึง ความร่วมมื อหรื อการสนั บสนุ นจากภาคีเ ครื อข่า ยที่ เกี่ ยวข้ อ งหรื อ มีส่ วนร่ วม ทั้งส่ว น
ราชการ และเอกชน รวมทั้ง การให้ความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนผ่าน Social Campaign เพื่อการมีส่วนร่ว มใน
การสนับสนุนการดาเนินงานขององค์กร
3) นโยบาย หมายถึง การดาเนินงานประสานควบคู่กับฝ่ายนโยบาย หรือส่วนการเมือง และสื่อมวลชนใน
ลักษณะ Media Advocacy เพื่อผลักดันให้เกิดการยอมรับในหน่วยงานใหม่

กลยุทธ์ที่ 2 การพัฒนากระบวนการจั ดสรรทุ น และการสนั บสนุ น ทุน ให้ กั บผู้ ผลิ ตภาพยนตร์ แต่ ละ
ระดับอย่างเหมาะสม ครอบคลุมตลอดห่วงโซ่อุตสาหกรรมภาพยนตร์ (การผลิต เผยแพร่ ฉาย รวมถึงงานวิจัยด้าน
ภาพยนตร์) ผ่านการดาเนินงานโครงการศึก ษาและวิ เคราะห์แ นวทางการจั ดตั้งกองทุน ภาพยนตร์ โดยแยกกั บ
หน่วยงานอิสระ (ในกลยุทธ์ที่ 1) แต่ดาเนินงานร่วมกันเพื่อประสิทธิภาพของการส่งเสริ มอุตสาหกรรมภาพยนตร์

อย่างไรก็ตาม หากไม่สามารถดาเนิน งานในส่ว นของการจั ด ตั้ง กองทุนภาพยนตร์ไ ด้ อาจประสานความ


ร่วมมือกับกองทุนสื่อสร้างสรรค์และปลอดภัย เพื่อพิจารณาขยายขอบเขตการดาเนินงานทุนภาพยนตร์ ซึ่งไม่จากัด
เฉพาะวัฒนธรรม ภายใต้นิยามทีภ่ าครัฐกาหนด

137
กลยุทธ์ที่ 3 การพิจารณาทบทวนกฎหมายเกี่ยวกั บอุ ตสาหรรมภาพยนตร์ให้มี ความเป็น ปัจ จุบัน และ
สอดคล้ อ งกั บการดาเนิ น ธุ ร กิ จ ในรู ปแบบที่ ปรั บเปลี่ ย นไปอย่ า งมากในยุ คเทคโนโลยี ดิจิ ทั ล โดยด าเนินการ
ทบทวน พ.ร.บ.ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ ปี พ.ศ. 2551 ให้สอดคล้องกับแนวทางดาเนินปัจจุบันครอบคลุมตลอดทั้ ง โซ่
อุปทานของอุตสาหกรรมภาพยนตร์เริ่มตั้งแต่การผลิต การถ่ายทาภาพยนตร์ในประเทศไทย (Location Shooting)
การเผยแพร่ การฉาย (โรงภาพยนตร์ การทา Screen Quota ระบบ Streaming การตรวจพิจารณาภาพยน ตร์ )
และการบริ โภค ซึ่ ง ปรั บตั ว จากสื่ อ ภาพยนตร์ สู่ สื่อ โทรทัศ น์ และสื่ อ ออนไลน์ โดยมี หน่ วยงานที่เ กี่ ยวข้ อง ได้แก่
กสทช. กระทรวง ICT รวมทั้งหน่วยงานรับผิดชอบด้านพาณิชย์ อาทิ ภาษี ลิขสิทธิ์ และกฎหมายอื่นๆ ในประเด็นที่
เกี่ยวข้องกั บการจ้า งงาน มาตรฐานการทางาน ค่าตอบแทนรายได้ และสวัสดิการ โดยกระทรวงแรงงาน และ
สถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ

ภายใต้ ก ลยุ ท ธ์นี้ มี โ ครงการสาคั ญ ได้ แ ก่ การวิ เคราะห์ แ ละทบทวนเพื่ อ การปรั บปรุ งกฎหมายให้
สอดคล้องกั บการดาเนิ นธุ รกิ จในรู ปแบบที่ ปรั บเปลี่ย นไปในปั จจุ บัน โดยมุ่งเน้นการจัดตั้ งที มงานเพื่ อพิ จาร ณา
วิเคราะห์ และทบทวนข้อ กฎหมายที่ เกี่ ยวข้อ งกั บอุ ตสาหกรรมภาพยนตร์ ทีก่ ากับดูแลโดยหลายหน่ วยงาน ให้มี
ความเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ

ทั้ ง นี้ งบประมาณส าหรับ การด าเนิน งานยุ ท ธศาสตร์ ที่ 1 ประมาณการณ์ โ ดยคร่ าว 10,000,000 บาท
เนื่องจากโครงการที่ ดาเนิน งานภายใต้ ยุท ธศาสตร์ ดั งกล่า ว มุ่งเน้นการศึกษาและวิเ คราะห์ ผล เพื่อผลักดันให้ เ กิ ด
การพั ฒ นาโครงสร้ า งอุ ต สาหกรรมภาพยนตร์ ซึ่ ง อ้ า งอิ ง จากงบประมาณการศึ ก ษา “โครงการทบทวนและ
ประเมินผลกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ปี พ.ศ. 2544 - 2564”115 ที่มีความใกล้เคียงกัน

115 https://bit.ly/397Y7vj

138
2. ยุทธศาสตร์ด้านการพั ฒนาฐานข้ อมูลภาพยนตร์ (Creative Film Database) ประกอบด้วยกลยุท ธ์
และโครงการดังภาพที่ 26 ต่อไปนี้

ภาพที่ 27 แสดงยุทธศาสตร์ด้านการพั ฒนาฐานข้อมูลด้านภาพยนตร์ (Creative Film Database )


(วิเคราะห์โดยคณะทางาน)

ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาฐานข้อมูลภาพยนตร์ ประกอบไปด้วย 6 กลยุทธ์ และโครงการภายใต้กลยุท ธ์


จานวน 4 โครงการ
ข้อเสนอกลยุ ท ธ์ทั้ ง 6 ได้จากการวิ เคราะห์ข้ อ มูล กรณี ศึ ก ษาฐานข้อ มู ล ของประเทศเกาหลี ใต้ ประเทศ
ฝรั่งเศส และประเทศไทย ซึ่งแสดงข้อมูลเปรียบเทียบดังภาพที่ 27 ดังนี้

139
ภาพที่ 28 แสดงผลวิเคราะห์เปรียบเทีย บรายละเอีย ดข้อมูลที่มีการจัดเก็บของแต่ละประเทศ

140
ภาพที่ 29 แสดงรายละเอียดข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับอุ ตสาหกรรมภาพยนตร์โ ดยหน่วยงานต่างๆของประเทศไทย

จากการวิเคราะห์ทั้งหมดนามาสู่กลยุทธ์และโครงการ ดังต่อไปนี้
กลยุทธ์ที่ 1 การพัฒนาฐานข้ อมูลด้ านการตลาด (รายได้ตัวเลขที่เ ป็นจริ ง และฐานผู้ชม อย่างน้อยราย
ไตรมาส) ข้ อ มู ล เหล่ า นี้ จ ะน าไปใช้ ใ นการพั ฒ นาอุ ต สาหกรรมภาพยนตร์โ ดยตรง ทั้ ง การคาดหมายการผลิต
ภาพยนตร์ อย่างไรก็ดี ฐานข้อมูลด้านการตลาดที่สาคัญ มากที่สุ ดคื อ รายได้ของภาพยนตร์ รวมถึงเศรษฐศา สตร์
ภาพยนตร์ที่จะต้องสะท้อนให้ เห็น มูลค่า อุตสาหกรรมภาพยนตร์ ทั้งหมดที่ส่งผลต่อ มูล ค่าเศรษฐกิจโดยรวมยั ง ไม่ พบ
ตัวเลขในหัวข้ อนี้ สาหรับตัวเลขรายได้นั้น พบว่า ที่ผ่านมาสมาพันธ์ ส มาคมภาพยนตร์ แห่ งชาติ เป็ นผู้ ดาเนิ น งาน
ร่วมกับกระทรวงวัฒนธรรม แต่อาจเป็นตัวเลขที่มีการประมาณการและไม่ชัด เจน
ด้วยเหตุนี้ จึงจาเป็นต้องมีการสนับสนุน “ทุน” ในการพัฒนาตัวเลขรายได้ รวมถึงเศรษฐศาสตร์ภาพยนตร์
ให้ชัดเจน เพื่อที่ว่าจะเป็นตัวเลขในการดาเนินงานพัฒนาองค์ กรอิสระ

กลยุ ท ธ์ ที่ 2 การพั ฒนาฐานข้ อ มู ลด้ า นภาพยนตร์ รวมถึ ง “บทภาพยนตร์ ” เพื่ อ ที่ จ ะน ามาพัฒนา
อุตสาหกรรมภาพยนตร์ ในแง่ของการที่ผู้ผลิต ผู้ชม ศึกษาและเรียนรู้เพื่อยกระดับการพัฒนาภาพยนตร์ในอนาคต
ทั้งนี้ ข้อมูลในส่วนแรก หอภาพยนตร์ ได้ดาเนินการไปบ้างแล้ว แต่ในส่วนบทภาพยนตร์โดยเฉพาะบทภาพยนตร์
สมัยใหม่ยังไม่ได้ดาเนินการ

141
กลยุทธ์ที่ 3 การพัฒนาระบบ Steaming ภาพยนตร์ไทย (ดังกรณีของอาร์เจนตินา) เพราะการได้รับ ชม
ภาพยนตร์ก็เท่ากับการได้เรียนรู้อันจะนาไปสูการพัฒนาทั้งผู้ผลิตและผู้ช ม ในกรณีนี้ ยังไม่มีองค์กรใดดาเนินการ
กลยุทธ์ที่ 4 การพัฒนาฐานข้อ มู ลผู้ ผลิ ตและแรงงานสร้า งสรรค์ข องอุ ตสาหกรรมภาพยนตร์ รวมถึ ง
film school ข้อมูลนี้บางส่วน กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา รวมถึงกระทรวงวัฒนธรรมได้ดาเนินการบ้างแล้ว
กลยุ ท ธ์ ที่ 5 การพั ฒนาฐานข้ อ มู ลด้ า นการถ่ า ยท าภาพยนตร์ ในประเทศไทย ข้ อ มู ล นี้ กระทรวงการ
ท่องเที่ยวและกีฬา ได้ดาเนินการไปบ้างแล้ว
กลยุทธ์ที่ 6 การพัฒนาฐานข้อมู ลด้า นองค์ ความรู้ภ าพยนตร์ (ทั้งในและต่างประเทศ) ข้อมูลนี้บางส่ ว น
หอภาพยนตร์ได้ดาเนินการไปบ้างแล้ว

เนื่ อ งจากกลยุ ท ธ์ ข้ างต้ น เป็ นเสมื อ นเนื้อ หาส าหรั บฐานข้ อ มู ล ดั ง นั้ น โครงการที่อ ยู่ ภ ายใต้ กลยุ ทธ์จึง
ประกอบไปด้วย 4 โครงการ ดังนี้
โครงการที่ 1 การให้ ทุ น สนั บสนุ น การดาเนิ น การด้ า นฐานข้ อ มู ล การตลาด โดยเฉพาะ
ฐานข้อมูลกับรายได้ของภาพยนตร์ ตลอดจนเศรษฐศาสตร์ภาพยนตร์ที่ แสดงถึงมู ลค่า ทางเศรษฐกิ จในประเทศ
ข้อมูลชุดนี้จะมีค วามสาคั ญอย่า งมากต่อ การดาเนิน งานก่ อตั้ งองค์ กรภาพยนตร์ และการนาไปใช้กับอุต สาหกรรม
ภาพยนตร์
โครงการที่ 2 การให้ ทุ น สนั บสนุ น องค์ ความรู้ด้า นภาพยนตร์ จะมุ่ ง เน้ น การจัด สรรทุน เพื่อ
พัฒนาความรู้เกี่ยวกับภาพยนตร์
โครงการที่ 3 การสารวจและพั ฒนาหน่ ว ยงานรั บผิ ดชอบด้ า นการพั ฒนาและเชื่ อ ม โยง
ฐานข้ อ มู ลในด้ า นต่ า งๆ (6 ด้ า นข้ างต้ น) โดยหน่ว ยงานนี้จ ะต้ องมี ห น้า ที่ คื อ จั ด เก็ บ เชื่ อ มโยง เผยแพร่ และ
วิเคราะห์ เพื่อยกระดับข้อมูลเพื่อการนาไปใช้ ทั้งนี้ ขอยกตัวอย่างรายละเอียดโครงการเพิ่มเติ ม ดังนี้

142
ภาพที่ 30 แสดงตัวอย่างแนวทางการพัฒนาฐานข้อมูลสาขาภาพยนตร์แ ละวี ดิทั ศน์ (วิเคราะห์โดยคณะทางาน)

ยุทธศาสตร์ที่ 2 : ตัวอย่างโครงการการพัฒนาฐานข้อมูลสาขาภาพยนตร์และวีดิทัศน์
รายละเอียดและการดาเนินงาน :
โครงการดังกล่าวมุ่ งเน้นการพั ฒนาระบบการจั ด เก็บ และบริ หารจั ดการฐานข้ อ มูล ด้านภาพยนตร์แ ละวี ดิ
ทัศน์ที่มีประสิทธิภาพและสามารถนาไปใช้ประโยชน์ ได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยการดาเนินการสาคัญเพื่อให้โครงการ
สาเร็จตามเป้าหมาย ได้แก่
1) การพัฒนาฐานข้อมูลด้านการตลาด (รายได้ตัว เลขที่เป็นจริง ฐานผู้ชมอย่างน้อยรายไตรมาส)
และที่สาคัญคือ การต้องพัฒนาตัวเลขของเศรษฐศาสตร์ ภาพยนตร์ที่ สามารถทาให้เห็นมูลค่าเศรษฐกิจภาพยนตร์
และเทียบกับมูลค่าโดยรวม
2) การพัฒนาฐานข้อมูลด้านภาพยนตร์เพิ่มข้อมูลของบทภาพยนตร์
3) การพัฒนาระบบ streaming เพื่อภาพยนตร์ไทย เพื่อพัฒนาทั้งผู้ผลิตและผู้ช ม ดาเนินการโดย
รัฐร่วมกับเอกชน
4) การพัฒนาฐานข้อ มู ลผู้ ผลิ ตและแรงงานสร้า งสรรค์ ของอุ ต สาหกรรมภาพยนตร์ร วมถึ ง film
school
5) การพัฒนาฐานข้อมูลด้านการถ่ายทาภาพยนตร์ในประเทศไทย
6) การพัฒนาฐานข้อมูลด้านองค์ความรู้ภาพยนตร์ให้ครบถ้วน ทั้งในและต่างประเทศ

143
โดยในการนาเสนอฐานข้อมูล ควรทาให้ เป็น One Stop Site ที่รวบรวมข้อมูลจากหลายหน่วยงานไว้ ใ นที่
เดียวโดยมีการจัด แบ่ งประเภทชัด เจน และเปิดช่อ งทางเข้า ถึง ข้อ มู ลที่ หายาก เช่น บทภาพยนตร์และสถิติ ต่ า งๆ
รวมถึง การเปิดโอกาสให้บุคลากรหรือหน่วยงานในอุ ตสาหกรรมสามารถใช้ Login เพื่อเข้าไปอัพเดทข้อ มูลได้ แ บบ
Real Time ตลอดจนนาเสนอข้อมูลทั้งภาษาไทยและอังกฤษในหลากหลายรูปแบบ เช่น บทความและคลิปวีดิโอ

ตัวอย่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้ อง : สานักงานส่งเสริมเศรษฐกิจ สร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) หอภาพยนตร์


(องค์การมหาชน) กองกิจการภาพยนตร์และวี ดิทั ศน์ต่า งประเทศ กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ย วและ
กีฬา เป็นต้น

ภาพที่ 31 แสดงตัวอย่างการจัดการฐานข้อมูลในเว็บไซต์ของ CEA (วิเคราะห์โดยคณะทางาน)

144
โครงการที่ 4 การสร้างระบบเพื่อ สามารถนาข้ อมู ลดั งกล่า วไปใช้ ไ ด้แ ละสามารถปรั บเปลี่ ยนให้ทั นสมัย ซึ่งจะ
หมายรวมถึงระบบการเชื่อมโยงข้อมูลแล้ว ยังเป็นระบบที่ สามารถ Steaming ภาพยนตร์ได้อีก
งบประมาณส าหรั บ การด าเนิน งานยุท ธศาสตร์ที่ 2 ประมาณการไว้ ที่ 51,000,000 บาท โดยอ้ า งอิง
งบประมาณจาก TOR โครงการพัฒนาระบบการบริ หารจั ดการฐานข้ อ มูล ขนาดใหญ่ (Big Data) และระบบการ
วิเคราะห์ข้ อ มู ล (Data Analytics) สาหรับกรมบั ญ ชีก ลาง116 เพราะ โครงการดัง กล่า ว มีขอบเขตการทา งา นที่
คล้ายคลึงกับโครงการที่ผู้วิจัยนาเสนอ โดยขอบเขตการดาเนินงานประกอบด้ วย การรวบรวมข้อมูล ออกแบบและ
พัฒนาระบบ Big Data ระบบการแสดงผล เป็นต้น

3. ยุ ท ธศาสตร์ ด้า นการพั ฒนาคนและเครื อ ข่ า ย (Creative People) ประกอบด้ ว ยกลยุ ท ธ์ และ


โครงการดังต่อไปนี้

ภาพที่ 32 แสดงยุทธศาสตร์ด้านการพั ฒนาคนและเครื อข่าย (Creative People ) (วิเคราะห์โดยคณะทางาน)

116
https://bit.ly/3tObXMW

145
ยุทธศาสตร์ ด้า นที่ 3 การพัฒนาคนและเครือข่ าย ถือได้ว่าเป็นยุทธศาสตร์ ที่เ กี่ยวข้องกับ คน ทั้งในกรณี
ของคนท างาน (ซึ่ ง จะต้ อ งขยายมิ ติ ข องคนท างานด้ านภาพยนตร์ ให้ ไ ปสู่สื่ อ ที่ เ กี่ ยวข้ อง หรื อ สื่ อ เสี ยงและภาพ
ทั้งหมด) ผู้ชม และเครือข่าย ทั้งนี้ ยุทธศาสตร์นี้จะประกอบไปด้วยกลยุทธ์ 6 กลยุทธ์ (โดยกลยุทธ์แรก เป็นกลยุทธ์
ที่สาคัญมากที่สุด นั่นคือ การพัฒนาวิชาชีพภาพยนตร์) และโครงการภายใต้กลยุทธ์ 13 โครงการ
กลยุทธ์ที่ 1 การพัฒนาวิชาชีพภาพยนตร์ เพื่อยกระดับวิชาชีพที่เป็นมาตรฐานสากล และสวัสดิการต่างๆ
กลยุทธ์นี้จะมุ่งเน้นการทาให้วิชาชีพภาพยนตร์ไ ด้รับการยอมรับ มีมาตรฐาน เพื่อทั้งการจ้างาน ระบบสวัสดิการ ใน
ส่วนนี้กระทรวงแรงงานและสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพจะก้าวมามีบทบาทอย่างมาก

กลยุทธ์ที่ 1 ประกอบด้วยโครงการ 3 โครงการ ดังนี้


โครงการที่ 1 การยกระดับศักยภาพและความเป็ นมือ อาชีพแก่บุ คลากรด้า นภาพยนตร์ เพื่อรั บ
การรับรองเป็น วิชาชี พในกระทรวงแรงงาน ซึ่งเป็นประโยชน์สาหรั บแรงงาน ในการรับความช่วยเหลือระหว่ า ง
วิกฤตสถานการณ์ COVID-19 ทั้งเงินเยียวยารายได้ และการรับจัดสรรวัคซีนป้องกัน COVID-19 โดยเสนอให้เ ป็ น
โครงการเร่งด่วนและสาคัญที่สุด
โครงการที่ 2 การรวมกลุ่มและเกิดการประสานวิชาชีพภาพยนตร์
โครงการที่ 3 การพัฒนามาตรฐานวิชาชีพ
งบประมาณส าหรั บ ยุ ท ธศาสตร์ ที่ 3 กลยุ ท ธ์ ที่ 1 ประมาณการไว้ ที่ 3,000,000 บาท โดยอ้ า งอิ ง จาก
โครงการยกระดับ สมรรถนะบุค คลตามมาตรฐานอาชี พและคุ ณวุ ฒิวิ ชาชีพ กลุ่มอุตสาหกรรมและบริ การดิ จิ ทั ล
ข้อมูล และปัญญาประดิ ษฐ์ สาขาวิชาชีพแมคคาทรอนิ กส์ ของสถาบันคุ ณวุ ฒิวิ ชาชี พ (องค์การมหาชน) 117 โดย
ขอบเขตการดาเนิน งานของโครงการตั วอย่า ง ได้แก่ การออกแบบและจั ด ทา ตลอดจนการอบรมหลั กสู ต รการ
พัฒนาวิชาชีพ

กลยุทธ์ที่ 2 การพัฒนาทุนความรู้แ ก่ผู้ ผลิต แรงงาน นักศึกษา อาจารย์ โดยเป็นทั้งทุนความรู้สาหรั บ คน


ขั้นต้น กลาง และสูง จาแนกเป็นความรู้ ทั้ง ด้านการผลิ ต /Produce/Management/การจัดจาหน่าย/การฉา ย/
กฎหมาย (โดยเฉพาะในกรณีข องระบบลิข สิท ธิ์ ระบบสตรีมมิ่ง ฯลฯ) และ Film Studies ซึ่งกลยุทธ์ดั ง กล่ า วนี้
ประกอบด้วย 3 โครงการ ได้แก่
โครงการที่ 1 การวิเคราะห์ แ ละสร้ างหลั ก สู ตร โดยจาแนกความรู้ที่ ควรจะพั ฒนาแก่ผู้ ผลิ ต ทั้ง
ความรู้และ Tacit Knowledge ตัวอย่างองค์ความรู้ เช่น Producer กับการถ่ายทาภาพยนตร์ ทั้งในประเทศและ
ต่างประเทศ การจัดจาหน่ายภาพยนตร์
โครงการที่ 2 การฝึกอบรมทั้งในและต่างประเทศ

117 https://www.tpqi.go.th/

146
โครงการที่ 3 การให้ทุนการศึกษา
งบประมาณสาหรับยุทธศาสตร์ที่ 3 กลยุทธ์ที่ 2 ประมาณการไว้ที่ 18,000,000 บาท โดยอ้างอิงจากการ
สนับสนุนของ KOFIC ที่จัดสรรงบประมาณจานวน 520,000 เหรียญสหรัฐ เพื่อเยียวยาและช่วยเหลือ บุค ลากรใน
อุตสาหกรรมภาพยนตร์ใ นช่ ว ง COVID-19 ทั้งการให้ความรู้ ผ่านการฝึ กอบรมเพื่ อ ยกระดับ พัฒนา และขยาย
ทักษะของบุคลากร118

กลยุทธ์ที่ 3 การพัฒนาทุนความรู้แก่ ผู้ชมเพื่อ สร้างรสนิยมผู้ชมให้ หลากหลาย เพราะหากผู้ชมยกระดั บ


ได้ก็จะช่วยสนับสนุนอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยโดยอ้อม นอกจากนั้น การเป็นผู้ชมที่คมคิดแล้วยังอาจก้าวไปสู่ ก าร
เป็นผู้ผลิตภาพยนตร์ได้ในอนาคต ผ่านโครงการวิเคราะห์และสร้างหลัก สู ตรแก่ ผู้ชม โดยเน้นทั้งการให้ความรู้ แ ละ
การทดลองปฏิบัติ
งบประมาณส าหรั บ ยุท ธศาสตร์ที่ 3 กลยุทธ์ที่ 3 ประมาณการไว้ที่ 18,000,000 บาท โดยอ้างอิ ง จาก
โครงการพัฒนาศัก ยภาพประชาชนในการรู้ เท่า ทันสื่ อ ของสานักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสี ยง กิจการ
โทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ119 แม้ว่าวัตถุประสงค์ของโครงการที่นามาเป็นตั วอย่างจะไม่เ หมื อ นกั บ
โครงการที่ผู้วิจัยนาเสนอ แต่เมื่อพิจารณาขอบเขตการดาเนินงานแล้ว พบว่าสามารถนามาประยุก ต์ใช้กับ โครงการที่
นาเสนอได้

กลยุทธ์ที่ 4 การสร้าง Hub เพื่อเชื่อมประสานการท างานหน่ วยงานของรั ฐ สืบเนื่องจากการท างาน


ด้านภาพยนตร์กระจัดกระจายตามหน่วยงานรัฐ ทั้งกระทรวง องค์กรอิสระ องค์กรมหาชน จึงควรจะมีการประสาน
การทางานเข้าด้วยกัน
กลยุทธ์ที่ 4 ประกอบด้วยโครงการ 2 โครงการ
โครงการที่ 1 การรวมรวมและประสานเครือข่ ายรั ฐและประสานการดาเนิ นงาน โดยอาจมีการ
จัดการประชุมเพื่อวางข้อตกลงเพื่ อนาไปสู่ การทางานร่ว มกัน สาหรับรายละเอียดของโครงการนี้ มีตัว อย่างเพิ่ มเติ ม
ดังนี้

118 https://en.unesco.org/creativity/covid-19/kofic-fund-supporting-film-industry
119 https://btfp.nbtc.go.th/portfolio/2561/1427.aspx

147
ภาพที่ 33 แสดงตั ว อย่ า งโครงการจั ดตั้ ง Hub เพื่ อ เชื่ อ มโยงการท างานของหน่ ว ยงานรั ฐ (วิ เ คราะห์ โดย
คณะทางาน)

ยุทธศาสตร์ที่ 3: ตัวอย่างโครงการจัดตั้ง Hub เพื่อเชื่อมโยงการทางานของหน่วยงานรัฐ


รายละเอียดและการดาเนิน การ:
การจัดตั้ง Hub หรือองค์กรส่วนกลาง ที่รับหน้าที่เชื่อมโยงหน่ว ยงานรั ฐ ต่างๆ เพื่อร่วมกันทาข้อ ตกลง
และทาความเข้าใจถึงการสนับสนุนและผลั กดัน อุตสาหกรรมภาพยนตร์ไ ทย โดยองค์กรส่วนกลางนี้จะมีอานาจใน
การประสานหน่วยงานรั ฐที่ ดูแลนโยบายทางภาพยนตร์ ต่างๆ ที่ยังกระจัดกระจายอยู่ ให้ได้มีการรวมตัว กั น เพื่ อ
ประโยชน์ของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย
โดยองค์ ก รกลางนี้ ส ามารถการจั ด ประชุ มเพื่ อ วางข้ อ ตกลงระหว่ า งหน่ ว ยงานต่ า งๆ ซึ่ ง จะช่ ว ย
ประสานงานกับหน่วยงานสาคัญ เช่น กระทรวงวัฒนธรรม ที่มีหน้าที่เกี่ยวกับทุ นการผลิ ตภาพยนตร์ การตรวจ
พิจารณาภาพยนตร์ กฎหมายภาพยนตร์ กระทรวงท่องเที่ย วและกีฬาเกี่ยวกับ งานด้านการประสานการถ่ า ยท า
ภาพยนตร์ ต่ า งประเทศในประเทศไทย การสร้ า งสตู ดิ โ อและการเกิ ด One Stop Service รวมถึ ง เชื่ อ มโยง
หน่วยงานเหล่านี้เข้าหาฐานข้อมูลภาพยนตร์
ผลที่คาดหวังให้เกิดหลังการจัดโครงการคื อการรวมและประสานเครื อข่ายรัฐให้ มีการดาเนินงานอย่ า งมี
ประสิทธิภาพมากขึ้น การผลักดันให้เกิดหน่วยงานที่มีอานาจในการประสานและเชื่อ มโยงหน่ว ยงานภาครัฐ และ
เกิดนโยบายหรือการปฎิบัติการที่เอื้อต่อการเติบโตของอุต สาหกรรมภาพยนตร์ไทย

148
ตัวอย่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้ อง: กระทรวงพาณิชย์ หอภาพยนตร์ กระทรวงต่างประเทศ กระทรวงการท่องเที่ ย ว
และกีฬา กระทรวงวัฒนธรรม กระทรวงการคลัง กระทรวงแรงงาน และ Film School

โครงการที่ 2 การผลั ก ดั น ให้ เกิ ด หน่ ว ยงานที่ มี อ านาจในการเชื่ อ ม โยง ซึ่ ง หากมี อ งค์ ก ร
ภาพยนตร์อิสระก็จะเป็นหนึ่งในหน่วยงานย่อยในนั้น

กลยุ ท ธ์ ที่ 5 การสร้ า ง Hub เพื่ อ เชื่ อ มประสานการท างานหน่ ว ยงานของรั ฐ เอกชน (รวมถึ ง
sponsorship) วิ ช าชี พ และ Film School โดยท าให้ เ ป็ น ทั้ ง ภาพรวมและแยกย่ อ ย ทั้ ง นี้ ชมรมที่ ยั ง ไม่ เ คย
ปรากฏแต่น่าที่จะสนับ สนุน ให้ เกิ ด เพื่อผลัก ดัน การดาเนินงานอุ ตสาหกรรมภาพยนตร์ ได้แก่ นักทาภาพยนตร์ ใ น
พื้ น ที่ ต่ า งจั ง หวั ด Film School และเครื อ ข่ า ยผู้ ช ม ส าหรั บการเชื่อ มโยงกลุ่มรายย่อ ย ก็ มีเ ป้ า หมายให้ เ กิดการ
ประสานการทางานเช่นกัน ดังเช่น การเชื่อมระหว่างผู้ผลิตและฝ่ายฉายเพื่อการเจรจาต่อรองการฉาย โดยโครงการ
ที่สนับสนุนการดาเนินงานของกลยุทธ์นี้ ประกอบด้วย 2 โครงการ ได้แก่
โครงการที่ 1 การรวบรวมการทางานและประสานงานของรั ฐ วิชาชีพ เอกชน และ Film
School โดยอาจมีการจัดประชุม การทา MOU
โครงการที่ 2 การผลักดันให้เกิ ด หน่ว ยงานที่ มีอ านาจในการเชื่ อมโยง ทั้งนี้อาจเป็นหน่วยงาน
เดียวกันกับกลยุทธ์ที่ 4 เพื่อให้เกิดการประสานงานเป็นหนึ่งเดียวกัน

กลยุทธ์ที่ 6 การสร้าง Hub เพื่อเชื่อมโยงการทางานกับต่างประเทศ


กลยุทธ์ที่ 6 ประกอบด้วยโครงการ 2 โครงการ คือ
โครงการที่ 1 การรวบรวมและประสานการท างานกั บต่า งประเทศ โดยอาจมีการจัด ปร ะชุ ม
การทา MOU และเผยแพร่ความร่วมมือสู่เครือข่ายในประเทศ
โครงการที่ 2 การผลักดันให้ เกิดหน่ วยงานที่มี อานาจในการเชื่อมโยง ทั้งนี้ อาจเป็นหน่วยงาน
เดียวกันกับกลยุทธ์ที่ 4 เพื่อให้เกิดการประสานงานเป็นหนึ่งเดียวกัน

งบประมาณสาหรับยุทธศาสตร์ที่ 3 กลยุทธ์ที่ 4-6 นั้น สามารถใช้งบประมาณร่วมกับยุทธศาสตร์ที่ 1 และ


เพิ่มงบประมาณการดาเนิน งานในส่วนนี้ อีก 3,000,000 บาท สาหรับกิจกรรมสนับสนุนต่างๆ เช่น การจัดประชุ ม
การทา MOU และเผยแพร่ความร่วมมือสู่ เ ครือข่ายในประเทศและต่างประเทศ โดยอ้างอิงงบประมาณจาก TOR
การจ้างดาเนินการจัดงานสั มมนาเรื่อ ง “ท้องถิ่นก้าวไกล เศรษฐกิจไทยก้าวหน้า ” ของ สานักงานคณะกรร มการ
ส่งเสริมการลงทุน120

120 https://bit.ly/3hDsbn4

149
4. ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาการผลิต (Creative Production) ประกอบด้วยกลยุทธ์ และโครงการดั ง
ภาพที่ 32 ดังต่อไปนี้

ภาพที่ 34 แสดงยุ ท ธศาสตร์ ด้า นการพั ฒนาการผลิ ตภาพยนตร์ ในประเทศไทย (Creative Production)
(วิเคราะห์โดยคณะทางาน)
ยุ ท ธศาสตร์ ด้า นที่ 4 การพั ฒนาการผลิ ต ถื อได้ ว่ า เป็ น ยุ ทธศาสตร์ที่ เกี่ ย วข้ อ งกั บ การผลิต ภาพยนตร์
นับตั้งแต่การพัฒนาภาพยนตร์ การผลิต หลังการผลิต ทั้งนี้ ยุทธศาสตร์นี้จะประกอบไปด้วยกลยุทธ์ 4 กลยุทธ์ และ
โครงการภายใต้กลยุทธ์ 5 โครงการ
กลยุ ท ธ์ ที่ ห นึ่ ง การพั ฒนากองทุ น การผลิ ตภาพยนตร์ (โดยอาจจ าแนกทั้ ง การให้ ทุ น ก่ อ น หลั ง จั ด
จาหน่าย) ทั้งภาพยนตร์ศิลปะและอุ ตสาหกรรม และยังหมายรวมสื่อ อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ กองทุนนี้อาจสัมพั น ธ์
กันกับกองทุนภาพยนตร์ที่จัดตั้งขึ้นในแผนยุทธศาสตร์แรก เพื่อมิให้เกิดองค์กรที่หลากหลายหรือซ้าซ้อน
กองทุนนี้ อาจคล้ายคลึงกับกรณีของ CNC ของประเทศฝรั่งเศส ที่ได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐ และเงิน
สนับสนุนมาจากส่วนแบ่งรายได้ตั๋วภาพยนตร์ แล้วนามาจัดสรรทุน ในหลากหลายรูปแบบ ทั้งการผลิต การจัด
จาหน่าย นอกจากนั้น ยังเป็นทุนที่มิได้ให้เปล่าวทั้งหมดแต่อาจให้ยืม ร่วมลงทุน และมีการคืนทุนหลังจากการได้ผล
กาไร
นอกจากนั้น ยังมีข้อเสนอว่า นอกจากการให้ทุนแล้ว ยังต้องพิจารณาไปสู่การให้ที่ องค์กรจะมีลิ ขสิ ท ธิ์ ใ น
การดาเนินการจัดฉายภาพยนตร์ด้วย เพื่อให้ผลงานที่ผลิตแล้วนั้นสามารถเผยแพร่ด้วย
ภายใต้ ก ลยุ ท ธ์ ที่ ห นึ่ ง นี้ มี โ ครงการคื อ การวิ เคราะห์ แ ละจั ดตั้ ง กองทุ น สนั บสนุ น การผลิ ต
ภาพยนตร์

150
กลยุทธ์ที่ 2การพัฒนาการลงทุน Co-Production เป็นกลยุทธ์ที่ส่งเสริมการลงทุนระหว่างประเทศ โดย
จะทาหน้าที่เป็นเสมือนหน่วยงานกลางในการช่วยประสานระหว่างเอกชนของประเทศไทยและต่างประเทศ รวมถึง
อาจให้การสนับสนุนในด้านต่างๆ อันจะทาให้เกิดการลงทุนภาพยนตร์ในประเทศมากขึ้น
ภายใต้กลยุท ธ์ นี้ มีโครงการ คือ การวิเคราะห์แ ละการจั ดตั้ง หน่ วยงานดาเนิ นงานด้ าน Co-
Production ทาหน้าที่เสมือน Hub โดยทาหน้าที่สนับสนุน
กลยุทธ์ที่ 3 การพัฒนาเนื้อหาให้ห ลากหลายและเชื่อมโยงในลัก ษณะ Creative Content (เช่น เชื่อม
ระหว่างภาพยนตร์ ซีรีส์ การ์ตูน คาแรคเตอร์) และนาไปสู่การพัฒนาบทภาพยนตร์ที่มี เอกลัก ษณ์
อย่างไรก็ดี ข้อควรระวังคือ อาจต้องไม่ใช่เน้นเฉพาะการเชื่อมโยง เพราะกลยุทธ์นี้ยังต้องให้ความสาคั ญ ต่ อ
เนื้อหาที่หลากหลายหรือวัฒนธรรมที่มีความแตกต่าง
กลยุทธ์นี้ประกอบด้วยโครงการ 2 โครงการ ดังนี้
โครงการที่ 1 การวิเคราะห์ เนื้ อ หาให้ มี ความหลากหลายและเชื่ อมโยงเพื่ อ นาไปสู่ ก าร ผ ลิ ต
ภาพยนตร์

ภาพที่ 35 แสดงตัวอย่างโครงการ Creative Content สร้างมูลค่าจากการเชื่อมโยงหลายช่ องทางและเนื้ อ หา


หลากหลาย (วิเคราะห์โดยคณะทางาน)

ยุ ท ธศาสตร์ ที่ 4 : ตั ว อย่ า งโครงการ Creative Content สร้ า งมู ลค่ า จากการเชื่ อ มโยงหลายช่อ งทาง และ
เนื้อหาหลากหลาย
รายละเอียดและการดาเนิน การ:

151
โครงการนี้มุ่งเพิ่มมู ลค่าของ Content ผ่านทางการส่งเสริมการสร้างเรื่ องราวจากความคิด สร้างสรรค์ ทั้ง
ในแง่ของ (1) เนื้อหาที่มีความหลากหลาย เปิดกว้างต่อนิยามวัฒ นธรรมและศิล ปะ นอกจากนั้น ยังขยายไปสู่ (2)
เนื้อหาที่มีลักษณะเชื่ อ มโยง (Intertextuality) เช่น เนื้อหาจากวรรณกรรมที่ถู กดั ดแปลงสู่สื่ อภาพยนตร์ หรือการ
ปรับ Content เดิมให้เป็นซีรีส์ทางโทรทัศน์ โดยการใช้แก่นเรื่องเดียวกัน แต่มีการขยายหรือย่นย่อการเล่าเรื่ อ งให้
เหมาะสมกับ สื่อ ที่แ ตกต่า งกัน อีกทั้ง (3) ผลักดันการใช้ความคิด สร้างสรรค์ที่ สามารถแปรรูปให้ เหมาะกั บ สื่ อ ใน
หลายรูปแบบผ่านการร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
แนวทางการทางาน คือ (1) การศึกษา Content ที่หลากหลายและเชื่อ มโยง ตลอดจนกลยุทธ์ในการน า
Content เชื่อมไปที่สื่อต่า งๆ และมุ่งสู่การผลิ ตได้จริ ง (2) การร่วมเป็นเจ้าภาพในการจั ดประกวดการสร้า งสร รค์
Content ที่มีเนื้อหาหลากหลายและเชื่อ มโยง (3) การจัดสัมนาพู ด คุยในหั วข้ อ ดัง กล่ าวร่ ว มกั บหน่ว ยงานส า คั ญ
อื่นๆ (4) การเป็น Hub ที่เชื่อมหน่วยงานทั้ งผู้ ผลิ ต ผู้จัดจาหน่าย Platform ต่างๆ เพื่อทาให้หน่วยงานเหล่ า นั้ น
เล็งเห็นมูลค่าทางธุรกิจและเปิดโอกาสให้ทั้ง 2 ฝ่ายได้ทาข้อตกลงทางธุรกิจร่วมกัน
ผลลัพธ์ที่คาดหวังหลังการจัดโครงการ คือ การเกิด Content ทีม่ ีความหลากหลาย และการเกิด Content
ทีพ่ ร้อมส่งออกในหลายช่อ งทางตามความต้อ งการของผู้ ที่สนใจนาเนื้ อหาเหล่านั้น ไปเผยแพร่ ผลอีกด้านหนึ่ ง คื อ
การกระตุ้นให้ผู้ผลิ ต Content วางแผนการเผยแพร่ เนื้อ หาในหลายช่อ งทาง โดยตระหนักรู้ถึงหนทางในการ เพิ่ ม
มูลค่า Content ได้ในระยะยาว หรือนาเนื้อหาไปต่อยอดได้ ในอนาคต และสุดท้ายคือผลที่ สามารถวัดได้จากการ
เพิ่มมูลค่าของความคิดสร้างสรรค์ด้านการผลิต เนื้อหาในประเทศไทย
ตั ว อย่ า งหน่ ว ยงานที่ เกี่ ย วข้ อ ง: สมาพั น ธ์ ส มาคมภาพยนตร์ แ ห่ ง ชาติ กระทรวงวั ฒ นธรรม สมาคมผู้ ก ากั บ
ภาพยนตร์ไทย สมาคมภาพยนตร์อิสระไทย และบริษัทผลิตภาพยนตร์ ในประเทศไทยอื่นๆ

โครงการที่ 2 การนาเนื้อหาที่มีความหลากหลายและเชื่อมโยงไปพั ฒนาบุ คคลากรด้ านบทและ


นาไปผลิตภาพยนตร์ เพราะปัญหาที่ผ่านมาแม้จะมีเนื้ อหาที่หลากหลาย หรือแม้จะมีบทที่ดีก็ตามแต่ ก็มักจะไม่ ไ ด้
นาไปสู่การผลิตภาพยนตร์
กลยุทธ์ที่ 4 การสนับสนุนการจ้างงาน Post Production สืบเนื่องจากประเทศไทยมีค วามชานาญการ
ด้าน Post Production เป็นอย่างมาก จึงน่าที่จะมีการสนับสนุน ให้ ต่างประเทศเห็น ความสาคัญ และเกิด การจ้ า ง
งานให้มากขึ้น
ภายใต้กลยุทธ์นี้ มีโครงการคือ การวิเคราะห์ และการจัดตั้ง หน่ วยงานที่สนั บสนุน การจ้ า งงาน
Post Production ซึ่งจะต้องทาหน้าที่ในการ Promote ให้อุตสาหกรรมภาพยนตร์ในต่างประเทศให้ ความสนใจ
หรืออาจสร้างมาตรการต่า งๆ ตัวอย่างเช่น การได้รับการลดหย่อนภาษี หรือภาพยนตร์ที่ ประเทศไทยร่ว มลงทุ น
จะต้องมีการใช้ Post Production ในประเทศไทย ซึ่งกรณีหลังนี้ก็เป็นแนวทางการให้ทุนในประเทศต่างๆ จานวน
มาก

152
งบประมาณ ใช้ ง บประมาณร่ ว มกั บยุ ท ธศาสตร์ ที่ 1 เนื่ อ งจากเป็น เรื่อ งการศึ กษาเกี่ย วกับ การจัดตั้ง
หน่วยงาน และยุทธศาสตร์ที่ 3 กลยุทธ์ที่ 3 การพัฒนาทุนความรู้แก่ผู้ชมเพื่อสร้างรสนิยมผู้ชมให้หลากหลาย

5. ยุทธศาสตร์ด้านการพั ฒนาพื้ นที่ ถ่ายทาภาพยนตร์ใ นประเทศไทย (Creative Place) ประกอบด้ว ย


กลยุทธ์ และโครงการดังรูปภาพต่อไปนี้

ภาพที่ 36 แสดงยุ ท ธศาสตร์ ด้า นการพั ฒนาพื้ น ที่ ก ารถ่ า ยท าภาพยนตร์ ใ นประเทศ (Creative Place )
(วิเคราะห์โดยคณะทางาน)

ยุ ท ธศาสตร์ ด้ า นที่ 5 การพั ฒนาพื้ น ที่ ถ่ า ยท าภาพยนตร์ ใ นประเทศไทย ถื อ ได้ ว่ า เป็ น ยุ ท ธศาสตร์ที่
เกี่ยวข้องกับการถ่ายทาภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย ทั้งนี้ ยุทธศาสตร์นี้จะประกอบไปด้ วยกลยุ ทธ์ 4 กล
ยุทธ์ และโครงการภายใต้กลยุทธ์ 5 โครงการ
กลยุทธ์ที่หนึ่ง การพัฒนา One Stop Service เพื่อการถ่ายทาภาพยนตร์ในประเทศไทย สืบเนื่องจาก
ปัญหาการประสานการทางานด้านการถ่ายทาในประเทศไทยที่มีห น่วยงานต่างๆ จานวนมาก จึงน่าจะมีหน่วยงาน
กลางที่ทาหน้าที่รับผิดชอบประสานงานเป็นหลัก
ภายใต้กลยุทธ์นี้ มีโครงการ คือ การวิเคราะห์และผลั กดั น One Stop Service

153
กลยุทธ์ที่ 2การพัฒนาสถานที่ ถ่า ยท าและสตู ดิโอภาพยนตร์ในประเทศไทยให้มีลัก ษณะยั่งยื น โดยให้
ชุมชนมีส่วนร่วมในลักษณะ Film Council โดยอาจเริ่มต้นจากระดับภูมิภาคให้ในแต่ล ะภู มิภาคมีศูน ย์กลางและ
มีส่วนร่วมในการบริหารการถ่ายทาภาพยนนตร์ (คล้ายกับกรณีประเทศญี่ปุ่น)
ภายใต้กลยุทธ์ที่สองนี้ มีโครงการ คือ การวิเคราะห์ แ ละผลั ก ดัน สถานที่ ถ่า ยท าและสตู ดิโ อใน
ประเทศไทยให้มีลักษณะยั่งยืนโดยให้ชุมชนมี ส่วนร่วม ซึ่งอธิบายเพิ่มเติมดังโครงการต่ อไปนี้

ภาพที่ 37 แสดงตัวอย่างโครงการสนับสนุนการสร้างสตู ดิโ อระดับสากล (วิเคราะห์โดยคณะทางาน)

ยุทธศาสตร์ที่ 5: ตัวอย่างโครงการสนับสนุนการสร้างสตู ดิโอระดั บสากล


รายละเอียดและการดาเนิน การ:
โครงการสนับสนุน การสร้างสตูดิ โอระดับ สากลมุ่ งเน้นให้เ กิ ดการประสานงานเพื่อ การส่ง เสริมการ สร้ า ง
สตู ดิ โ อถ่ า ยท าภาพยนตร์ ระดั บ สากลเพื่ อ เพิ่ มมู ล ค่ า ทางเศรษฐกิ จของการใช้ พื้น ที่ ในประเทศไทย โดยในการ
ดาเนินการโครงการดังกล่าว หน่วยงานภาครัฐ เอกชน รวมถึงท้องถิ่น ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างสตูดิโอ ทาหน้าที่เป็น
เจ้าภาพการเจรจาร่ว มลงทุ นระหว่างบริ ษัทสตรี มมิ่ ง หรือบริษัทต่างประเทศ ซึ่งสิ่งที่ควรสนับ สุน ควบคู่กัน ไปคื อ
การส่งเสริมให้สตูดิโอถ่ายทาภาพยนตร์ที่ สามารถพัฒนาเป็นแหล่งท่อ งเที่ยวได้ เพื่อเป็นการสร้างมูลค่า เพิ่ ม หาก
โครงการดัง กล่าวดาเนิน การได้ส าเร็จจะทาให้ เ กิ ดการสร้า งสตู ดิโ อในประเทศไทยเพิ่ มขึ้น และประเทศไทยจะ
สามารถดึงดูดกองถ่ายต่างประเทศเข้า มาถ่ายทาในประเทศไทยได้ มากขึ้น นอกจากนี้สตูดิโอระดับสากลยังช่ว ยเพิ่ ม
จานวนภาพยนตร์ที่ถูกผลิตขึ้นในประเทศไทยอีกด้วย
ตัวอย่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง: กระทรวงต่างประเทศ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงวัฒนธรรม

154
และผู้ต้องการลงทุนสร้างสตูดิโอจากทั้งในและต่างประเทศ

กลยุทธ์ที่ 3 การลดหย่อนภาษี และ Incentive ที่แข่งขันได้ในโลก กลยุทธ์นี้เป็นกลยุทธ์ที่ แหล่ งถ่า ยท า


ในต่างประเทศใช้ดึงดู ดภาพยนตร์ ต่างประเทศมาถ่ายทาและอาจมีการชิ งไหวชิง พริบอยู่เสมอ ทาให้ประเทศไทยก็
ต้ อ งมี ก ารปรั บ ตั ว ให้ ทั นสมั ย อย่ า งไรก็ ดี นอกจากการมองการลดหย่อ นภาษีแ ละ Incentive ส าหรั บ กองถ่าย
ต่างประเทศแล้ว การทา Focus Group ยังมีข้อสังเกตเพิ่มเติมด้วยว่า อาจต้องขยับขยายไปสู่การถ่ายทาภาพยนตร์
ในพื้นที่ต่างจังหวัดด้วย เพื่อทาให้เกิดการส่งเสริมแรงงานและการท่องเที่ย วในพื้นที่ ต่างจังหวัด
ภายใต้กลยุทธ์ ที่ 3นี้ มีโครงการ คือ การวิเคราะห์แ ละผลั ก ดั นให้ เกิ ดการลดหย่ อ นภาษี แ ละ
Incentive ที่ทันต่อเหตุการณ์
กลยุทธ์ที่ 4 การพัฒนาความรู้ ความเข้ าใจด้ านการถ่ ายท าภาพยนตร์ใ นประเทศไทย เพราะในอดี ต ที่
ผ่านมา ประชาชนและแม้ กระทั่ งคนในแวดงอุ ตสาหกรรมภาพยนตร์ก็ มักจะมองไม่ เห็น คุ ณูป การของการถ่า ยท า
ภาพยนตร์ในประเทศไทย แต่ในความเป็นจริง แล้ วนอกจากเงินรายได้ที่ เข้า ประเทศจานวนมหาศาล การถ่ายทา
ภาพยนนตร์ต่างประเทศไทยยังส่งผลทางอ้อ ม ทาให้เกิดการพัฒนาบุคลากรและอุตสาหกรรมภาพยนตร์ ในประเทศ
ไทย และการส่งเสริมการท่องเที่ยวประเทศไทย ดังนั้น จึงอาจต้องมีการพัฒนาและเผยแพร่ความรู้ชุดนี้ให้สัง คม
กลยุทธ์นี้ประกอบด้วย 2 โครงการ
โครงการที่ 1 การวิเคราะห์ แ ละสร้า งความเข้ าใจด้า นการถ่ ายถ าภาพยนตร์ใ นประเทศไทย
โดยอาจทั้งการสารวจและการเผยแพร่ ดังรายละเอียดในโครงการตัวอย่างต่อไปนี้

155
ภาพที่ 38 แสดงตัวอย่ างโครงการสร้ างองค์ ความรู้ เกี่ย วกับมู ลค่า ด้ านการถ่า ยทาภาพยนตร์ ในประเทศไทย
(วิเคราะห์โดยคณะทางาน)

ยุทธศาสตร์ที่ 5 : ตัวอย่างโครงการสร้างองค์ความรู้เกี่ ยวกับมู ลค่ าด้า นการถ่ายท าภาพยนตร์ในประเทศไทย


รายละเอียดและการดาเนิน การ:
โครงการสร้างองค์ความรู้เกี่ย วกับ มูล ค่าด้านการถ่ายทาภาพยนตร์ในประเทศไทย มุ่งเน้นไปที่การผลั ก ดั น
ให้เกิดความเข้าใจในด้านการถ่ายทาในประเทศไทยผ่านการให้ข้ อมูล เกี่ย วกับ มูล ค่าทางเศรษฐกิจ โดยใช้เครื่อ งมื อ
และกระบวนการต่างๆ ในการสร้างความเข้าใจ เช่น การเปิดเวทีสนทนาและผลัก ดันการปรั บเปลี่ยนนโยบายเผื่ อ
เอื้อต่อการถ่ายทาในประเทศไทย
ทั้งนี้ เพื่อให้โครงการสั มฤทธิ์ ผล จาเป็นต้องสร้า งความร่ ว มมือ กั บหน่ว ยงานภาครั ฐและเอกชนใน การ
รวบรวมและเผยแพร่ข้ อ มูล เกี่ย วกั บ มูล ค่าและคุ ณค่าของ Location Shooting เพื่อให้ภาคส่วนต่า งๆ เล็งเห็น ถึ ง
ความสาคัญของการถ่ายทาภาพยนตร์ในประเทศไทย
ผลที่คาดว่าจะได้รับจากการดาเนินโครงการ คือ การสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับมูลค่าของการถ่ายภาพยนตร์
ในประเทศไทย ผลดีส่วนหนึ่งคือการทาให้ภาครัฐเล็ งเห็นถึ งมู ลค่าของ Location Shooting ผ่านทางตัวเลขสถิ ติ ที่
เชื่อถือได้ทางเศรษฐกิจ และโครงการสามารถส่งผลให้เกิ ดการเปลี่ ยนแปลงทางนโยบายและกฎหมายต่างๆ ที่เอื้อ
ต่อการเข้ามาถ่ายทาภาพยนตร์ในประเทศไทย เช่น นโยบายด้าน Incentive ที่ สามารถดึงดูดกองถ่ายต่างประเทศ
ได้มากขึ้นและสนับ สนุ นให้ เกิ ด การพั ฒนาระบบ One Stop Service เพื่ออานวยความสะดวกให้แ ก่ การถ่ า ยท า
ภาพยนตร์ในประเทศไทยโดยการเชื่อมโยงกับภาครัฐ
ตัวอย่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้ อง: กระทรวงต่างประเทศ กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา สมาคมผู้บริหารการผลิ ต
ภาพยนตร์ต่างประเทศ กระทรวงวัฒนธรรม และผู้ผลิตจากภาคเอกชน

โครงการที่ 2 การสนับสนุนให้ทุ น ดูง านแก่แ รงงานและบุ คลากรที่เกี่ ยวข้ อง เพื่อให้เข้าใจลัก ษณะการ


ถ่ายทาภาพยนตร์ ต่า งประเทศในประเทศอื่น ๆ นอกจากจะเข้ าใจวิ ธี การทางานแล้ว ยังสามารถน า มา
ประยุกต์ใช้กับการถ่ายทาภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทยได้ อีกด้วย
งบประมาณสาหรับยุทธศาสตร์ที่ 5 นั้น ประมาณการไว้ที่ 480,000,000 บาท : อ้างอิงจากข่าวการเสนอ
การสนับสนุนงบประมาณเพื่อ ดึง ดูด Co-Production เฉกเช่นกรณีประเทศสิง คโปร์ ดังที่รายงานข่าวต่างประเทศ
ใน Hollywood Report 121

121 https://www.hollywoodreporter.com/news/general-news/singapore-offers-funding-international-productions-1259397/

156
6. ยุทธศาสตร์ ด้า นการพั ฒนาตลาด (Creative Promotion หรือ Business) ประกอบด้วยกลยุ ท ธ์
และโครงการดังรูปภาพดังต่อไปนี้

ภาพที่ 39 แสดงยุทธศาสตร์ด้านการพั ฒนาตลาด (Creative Promotion หรือ Business )


(วิเคราะห์โดยคณะทางาน)

ยุทธศาสตร์ด้านที่ 6 การพัฒนาตลาด ให้ความสาคัญในมิติการเผยแพร่ การสนับสนุนการจาหน่าย โดย


พิจารณาถึงบริ บ ทของการเปลี่ย นแปลงของสั งคมดิ จิทั ล ควบคู่กั น ยุทธศาสตร์นี้ ประกอบด้ วย 5 กลยุทธ์ และ
โครงการภายใต้กลยุทธ์ จานวน 8 โครงการ
กลยุทธ์ที่ 1 การศึกษาและให้ทุนแก่โรงภาพยนตร์เพื่อเพิ่มช่องทางการฉายภาพยนตร์ ไทย
จากการศึ ก ษาพบว่ า ที่ ผ่ า นมาโรงภาพยนตร์ มีลั กษณะการควบรวมกิ จการท าให้ผู้ ผ ลิ ตไม่ สามารถนา
ภาพยนตร์เข้าฉายได้ รวมถึงสถานการณ์การแพร่ร ะบาดของ COVID-19 และการปรับรูปแบบธุรกิจการแพร่ ภ าพ
ตั้ ง แต่ ก ารเผยแพร่ สื่ อๆ ผ่ า นช่ อ งทางออนไลน์ การเข้า สู่ยุ ค ของระบบสตรีมมิ่ ง ส่ ง ผลกระทบโดยตรงต่ อ ความ
ต้ อ งการเข้ าชมภาพยนตร์ใ นโรงภาพยนตร์ จึ ง จ าเป็ นต้ อ งมี การศึ ก ษาระบบห่ว งโซ่ คุ ณค่ า (Value Chain) และ
Ecosystem ของโรงภาพยนตร์ เพื่อสร้างโอกาส และส่งเสริมแนวทางการปรับ ตั วที่ เหมาะสมสาหรั บการพั ฒ นา
ช่องทางการฉายภาพยนตร์
โดยกลยุทธ์ดังกล่าวนี้ประกอบด้วย 3 โครงการย่อย ได้แก่
โครงการที่ 1 การศึกษาแนวทางการปรับตั วของโรงภาพยนตร์ ในช่ วงวิก ฤติ COVID-19 และ
ผลกระทบจากระบบสตรีมมิ่ง

157
โครงการที่ 2 การจัดประชุมเครื อข่า ยโรงภาพยนตร์ เพื่อการเจรจาเกี่ยวกับโควต้า และสั ด ส่ ว น
การฉายภาพยนตร์
โครงการที่ 3 การให้ทุนแก่โรงภาพยนตร์ เพื่อเป็นช่องทางในการจัดฉายภาพยนตร์ที่ไ ม่มีโ อกาส
ฉายในโรงทั่วไป

กลยุทธ์ที่ 2 การศึกษาและให้ทุนแก่ระบบ Streaming เพื่อเพิ่มช่องทางการฉายภาพยนตร์ไทย เนื่องจาก


เป็นช่องทางใหม่ที่เริ่มได้รับความนิย ม แต่อาจมีปัญหา คือ ระบบ Streaming ที่มีจากัด และองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้ อ ง
กับการจัดการยังน้อยอยู่ จึงต้องมีการศึกษาและการจัดการเพื่อขยายช่องทางการฉายนี้
ภายใต้ ก ลยุ ท ธ์ นี้ มี โ ครงการ คื อ การจั ดตั้ ง หรื อ การให้ ทุ น การท าระบบ Streaming เพื่ อ การฉาย
ภาพยนตร์ไทย
งบประมาณสาหรับยุทธศาสตร์ที่ 6 กลยุทธ์ที่ 1-2 ทุกโครงการ ประมาณการไว้ที่ 170,000,000 บาท โดย
อ้างอิงจากงบประมาณที่ KOFIC จัดสรรให้โรงภาพยนตร์ขนาดกลางและขนาดเล็ก ในช่ว งสถานการณ์ COVID-19
เพื่อสนับสนุนการฉายภาพยนตร์พิเศษ122

กลยุทธ์ที่ 3 การสนับสนุน เทศกาลภาพยนตร์ (Film Festival) ภายใต้มาตรการบริ หารจั ด การ ความ


ปลอดภัยด้านสาธารณสุข ในช่วงวิกฤติโรคระบาด COVID-19 การจัดเทศกาลภาพยนตร์ ควรมีการปรับรู ป แบบ
แนวทางการดาเนินชี วิ ตวิถี ใหม่ หรือ Next Normal อาทิ การปรับสู่ระบบออนไลน์ โดยคงสาระสาคั ญหลั ก ของ
เทศกาลภาพยนตร์ ได้แก่ การจัดฉายภาพยนตร์ การเผยแพร่ความรู้ (ฝึกอบรม) การเชื่อมโยงและสร้างเครื อ ข่ า ย
บุคลากรด้านภาพยนตร์ในแต่ละสายอาชีพ การทาการตลาด (Film Market) และการให้รางวัล
โดยกลยุทธ์ดังกล่าวนี้ประกอบด้วย 2 โครงการ ได้แก่
โครงการที่ 1 การวิเคราะห์และผลัก ดันหน่ วยงานที่รั บผิดชอบเทศกาลภาพยนตร์
โครงการที่ 2 การจัดเทศกาลภาพยนตร์ แบบครบวงจร (ทั้งการจัดฉาย การให้ความรู้ การสร้าง
เครือข่าย การทาการตลาด การให้รางวัล)
งบประมาณสาหรับยุทธศาสตร์ที่ 6 กลยุทธ์ที่ 3 ทุกโครงการ ประมาณการไว้ที่ 320,000 บาท โดยอ้างอิง
จากการให้ทุนของ Screen Scotland123

122 https://en.unesco.org/creativity/covid-19/kofic-fund-supporting-film-industry
123 https://www.creativescotland.com/__data/assets/pdf_file/0006/52746/Film-Festivals-Guidance-Aug-2018.pdf

158
กลยุทธ์ที่ 4 การสนับสนุนการส่งออกภาพยนตร์ ไทย
ภายใต้กลยุทธ์นี้ มีโครงการ คือ การวิเคราะห์และผลั กดั นหน่วยงานที่รั บผิ ดชอบการส่ง ออกภาพยนตร์
ไทย
กลยุทธ์ที่ 5 การสนับสนุน การทา Promotion โดยเน้นทั้งการจาหน่า ยและการสร้ างภาพลั ก ษณ์ ข อง
ประเทศ เช่น การทาให้คนต่างประเทศรู้จัก ความเชี่ ยวชาญการท าภาพยนตร์ ผี หรือภาพยนตร์กระแสทางเลื อ ก
การดาเนินงานสามารถทาได้ทั้งเชิงรับและเชิงรุก เช่น การทา Tool Kits ของภาพยนตร์ไทยไปเสนอต่างประเทศ

ภาพที่ 40 แสดงตัวอย่างโครงการการทา Promotion ให้แก่ Thailand Cinema Tookit


(วิเคราะห์โดยคณะทางาน)

ภายใต้กลยุทธ์นี้มีโครงการ คือ การวิเคราะห์แนวทางการท า Promotion และเกิดหน่ว ยงานเพื่ อ การ


จาหน่ายและการสร้างภาพลัก ษณ์ข องประเทศ ดังรายละเอียดในตัวอย่างดังนี้
ยุทธศาสตร์ที่ 6: ตัวอย่างโครงการการทา Promotion ให้แก่ Thailand Cinema Tookit
รายละเอี ย ดและการดาเนิน การ: Thai Cinema Toolkit คือ การรวบรวมภาพยนตร์ ที่ สามารถแสดง
เอกลักษณ์ของประเทศไทยเพื่อนาเสนอต่อผู้ที่ สนใจ คือ การจัดเทศกาลภาพยนตร์ไทย หรือสนใจนาภาพยนตร์ไทย
ไปเลือกฉาย ภาพยนตร์ใน Toolkit จะผ่านการคัดเลือกจากผู้เชี่ยวชาญทางด้านภาพยนตร์ไ ทย และให้สิทธิในการ
ฉายโดยไม่มีค่าใช้จ่าย ซึ่งแนวคิดนี้ถูกถอดบทเรียนมาจาก Taiwan Cinema Toolkit124 จากประเทศไต้หวั น ที่ ไ ด้
124 https://toolkit.culture.tw/en/film_53.html

159
เปิดช่องทางออนไลน์หรื อ Portal เพื่อนาเสนอตัวอย่างภาพยนตร์ใน Toolkit ที่ สามารถค้นหาผ่านทางเวปไซต์ ที่
จัดตั้งขึ้นได้ ส่วนข้อมูลภาพยนตร์ที่ถูกรวบรวมใน Toolkit สามารถดาวน์โหลดได้ผ่านทางเวปไซต์เดียวกัน
โครงการนี้สามารถทาให้สัมฤทธิ์ผลผ่านทางการประสานงานระหว่างหน่วยงานรัฐและผู้ผลิ ตจากฝั่ง เอกชน
ที่รับผิดชอบในการคัด เลือ กภาพยนตร์ เ พื่อ จัด ทา Toolkit หรือการเป็นเจ้าภาพการจั ดสั มนาพู ด คุย เกี่ย วกั บ การ
คัดเลือกภาพยนตร์เข้าสู่ Toolkit ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และการทาการจัดหรือขยายพื้นที่อ อนไลน์ส าหรั บ
การค้ น หาและดาวน์โ หลดไฟล์ ข้อ มู ล เกี่ ยวข้อ งของThailand Cinema Toolkit ผลลั พธ์ ที่ ค าดหวั ง หลั ง การจัด
โครงการ คือจานวนผู้สนใจจัดเทศกาลภาพยนตร์ ไทยเพิ่ มมากขึ้นเนื่ องจากการได้ เห็น ตัว เลือ กภาพยนตร์ที่ ไ ด้ ผ่ า น
การคัดกรองมาแล้ ว ในแง่ภาพลักษณ์ คื อการที่ ภาพยนตร์จาก Toolkit ช่วยทาให้ประเทศไทยเป็นที่ รู้จัก มา กขึ้ น
และสุดท้ายคือการฉายภาพยนตร์ไทยเพิ่มมากขึ้นทั้งในและต่างประเทศ
ตัวอย่างหน่วยงานที่ เกี่ ยวข้ อง: หอภาพยนตร์ กระทรวงวัฒนธรรม ผู้ผลิตจากฝั่งเอกชน กระทรวงพาณิชย์ และ
กระทรวงต่างประเทศ

งบประมาณสาหรับยุทธศาสตร์ที่ 6 กลยุทธ์ที่ 4-5 ทุกโครงการ ประมาณการไว้ที่ 320,000,000 บาท โดย


อ้างอิงจากการสนับสนุนรัฐบาลประเทศอั งกฤษ ที่จัดตั้งกองทุนสนับสนุนการส่ง ออกภาพยนตร์ อิสระของปร ะเทศ
อังกฤษ ไปยังต่างประเทศ125

โดยสรุป แผนยุทธศาสตร์ใหม่ ต้องการ “องค์กร” ที่จะดูแลระบบนิเวศภาพยนตร์ทั้งหมด (คล้ายคลึงกับ


KOFIC and CNC) ซึ่งจะเป็นเสมือนแกนร่มที่จะเชื่อ มร้อยงานทั้งหมดเข้าด้ว ยกัน (ต่างจากแผนยุทธศาสตร์อื่นๆ ที่
อาจมอบงานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง)
หน่วยงานนี้จะมี โครงสร้า งองค์กรที่จ ะดาเนิน งานด้านภาพยนตร์ แบบบู ร ณาการ โดยมีโครงสร้างย่ อ ยๆ
ได้แก่ หน่วยงานด้านการทา Co Production หน่วยงานด้านพัฒนาบุค ลากรภาพยนตร์ หน่วยงานด้านเครื อ ข่ า ย
หน่วยงานด้านกฎหมายภาพยนตร์ หน่วยงานด้านการสนั บสนุนการจัด จาหน่ ายย การจัดทาเทศกาลภาพยน ตร์
ฯลฯ นอกจากนั้น อาจมีหน่วยงานอื่นๆ ภายนอก เช่น กองทุนภาพยนตร์ กองทุนการผลิตภาพยนตร์ แต่ทั้งหมดยั ง
อยู่ภายใต้ร่มขององค์ กรใหม่นี้ ทั้งนี้ รัฐควรทาหน้าที่เ ป็น “หน่วยสนับสนุน” (รวมถึงผู้ร่วมลงทุน ) มากกว่าการ
ควบคุม

125 https://www.gov.uk/government/news/7-million-global-screen-fund-launched

160
นอกจากนั้น จากการทา Focus Group เมื่อพิจารณาสิ่งที่ควรดาเนินการเป็นลาดับต้นๆ 4 ลาดับ ได้แก่
ลาดับแรก ก็คือ กลยุทธ์การผลักดันองค์กรอิ สระ ที่จะดูแลระบบนิเวศภาพยนตร์ทั้งหมด
ล าดั บ ที่ 2 คื อ กลยุ ท ธ์ ด้า นการรวบรวมฐานข้ อ มูล รายได้ ภ าพยนตร์ รวมถึ งเศรษฐศาสตร์
ภาพยนตร์ เพื่อที่จะเป็นข้อมูลสาคัญในการผลักดันองค์กรอิสระในข้อแรก
ลาดับที่ 3 คือ กลยุทธ์การยกระดั บวิชาชีพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเหตุการณ์วิกฤติโรคร ะบาด
COVID-19ผู้เกี่ยวข้องกับแวดวงภาพยนตร์ ควรได้รั บการช่ วยเหลื อ ทั้งเรื่องเงินสนับสนุนดารงชี พ สวัสดิการต่า งๆ
เช่น วัคซีน ที่เทียบเท่ากับวิชาชี พอื่ นๆ ซึ่งอาจต้องประสานระหว่า งสมาคมวิ ชาชี พ และภาครัฐ ได้แก่ กระทรวง
แรงงาน และสถาบันคุณวุฒิวิชาชีพ
ลาดับที่ 4 คือ กลยุทธ์การสร้าง Hub เพื่อประสานการทางานของหน่วยงานรั ฐ เพื่อประสาน
การดาเนินงานของรัฐที่กระจัดกระจาย
อย่ า งไรก็ ดี ที มประเมิ น ได้ นายุท ธศาสตร์ ทั้ ง 6 ด้ า น และน าแผนกลยุท ธ์ ทั้ง หมด 28 กลยุ ท ธ์ มาให้ค่า
น้าหนัก โดยเทียบแกนสองแกน คือ แกนตั้ง ความยาก-ง่ายของการดาเนินงาน และแกนนอน ผลกระทบที่เกิ ด ขึ้ น
หากดาเนินงานสาเร็จคือ สูง และต่า เพื่อจะได้ทราบว่า ควรจะดาเนินงานหรือทุ่มทรั พยากรไปในจุด ใด และได้ผ ล
มาดังภาพที่ 41 นี้

ภาพที่ 41 ระดับความยาก-ง่ายและระดับผลกระทบในการดาเนินงาน

161
ส่วนที่ 1 เป็นส่วนที่มี ลัก ษณะการท างานที่ย ากแต่ ไ ด้ ผลกระทบสูง ในส่วนนี้อาจต้องใช้ร ะยะเวลาการ
ท างานที่ ค่ อ นข้ า งยาวนาน (ประมาณ 5 ปี ห รื อ มากกว่ า นั้ น ) และรวมถึ ง การใช้ ท รั พยากรทั้ ง ด้ านบุ ค คลและ
งบประมาณจานวนมาก แต่หากประสบผลสาเร็จ ย่อ มทาให้อุ ตสาหกรรมภาพยนตร์ก้ าวไปข้า งหน้าอย่ างรวด เร็ ว
เพราะจะมุ่งเน้นการจัด การโครงสร้า งตั้ งแต่รากฐาน ไม่ต่างจากตัวอย่างการทางานของต่างประเทศ เช่น ประเทศ
ฝรั่งเศส และประเทศเกาหลี ใต้ นอกจากนั้น ยังเป็นส่วนที่ภาคอุตสาหกรรมภาพยนตร์ ให้ ความสนใจอยากร่ ว มมื อ
ทางานแต่อาจยังไม่มีเจ้าภาพ จึงอาจต้องระดมพลังในการทางานทาให้ต้องใช้ระยะเวลาระดับ หนึ่ง
ทั้งนี้ ยุทธศาสตร์ที่เกี่ยวข้องและกลยุทธ์ รวม 8 กลยุทธ์ มีดังนี้
 ยุทธศาสตร์ A : Creative Film Structure ทั้งสามกลยุทธ์คือ A.1 การพัฒนาองค์กรอิสระ A.2 การ
พัฒนากองทุนรวม A.3 การพัฒนากฎหมาย
 ยุ ท ธศาสตร์ D: Creative Production โดยมี ก ลยุ ท ธ์ คื อ D.3 การพั ฒ นากองทุ น การผลิต
ภาพยนตร์
 ยุทธศาสตร์ E: Creative Place โดยมีกลยุทธ์ คื อ E.1 การทา one stop service การถ่าย
ทาภาพยนตร์ในประเทศไทย E.2 การทา studio และ E.3 การทามาตรการลดภาษีส าหรั บ
การถ่ายทาในประเทศไทย
 ยุทธศาสตร์ F: Creative Promotion/Business F.4 การส่งออกภาพยนตร์

ส่วนที่ 2 เป็นส่วนที่ทางานยากแต่ ผลกระทบต่า นั่นก็หมายความว่า ต้องใช้การลงทุนสูง แต่อาจได้ไม่ คุ้ ม


และอาจใช้ระยะเวลาค่อนข้างมาก โดยอาจมากกว่า 5 ปี จานวน 1 กลยุทธ์
ในกรณี นี้ คื อ ยุ ท ธศาสตร์ F: Creative Promotion/ Business F.3 Film Festival แบบครบวงจ ร
สื บ เนื่ อ งจากในอดี ต ประเทศไทยเคยมี ก ารด าเนิน มาแล้ วในระดั ห นึ่ ง และเกิ ด ปั ญ หาทาให้ก ารด าเนิ นงานต้อง
ระมัดระวัง รวมถึงการเคลื่อนไปสู่เหตุการณ์COVID-19การจัดเทศกาลอาจต้องปรับ มาสู่การทาออนไลน์ด้ วยหรือไม่

ส่วนที่ 3 เป็นส่วนที่ ท างานง่า ยและผลกระทบสูง คือ เป็นส่วนที่มีก ารทางานที่ไ ม่ ยากนั กและมี ค วาม
เป็ น ไปได้ ใ นการด าเนิ น งานโดยอาจใช้ ระยะเวลาไม่ ถึ ง 3 ปี หากแล้ ว เสร็ จ จะส่ ง ผลกระทบต่ อ อุ ต สาหกรรม
ภาพยนตร์ที่ดีขึ้น (Quick Win)
ทั้งนี้ ยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ที่เกี่ยวข้อง จานวน 16 กลยุทธ์ จะมีดังต่อไปนี้
 ยุทธศาสตร์ B : Creative Film Database ซึ่งจะประกอบด้วยกลยุท ธ์ทั้ ง B.1-B.6 ซึ่งจะมุ่งเน้ น การ
ดาเนินงานด้านฐานข้อมูลภาพยนตร์ทั้งหมด อาจมีทั้งการหาข้อมูลใหม่ เช่น รายได้และเศรษฐศาสตร์
ภาพยนตร์ และการเชื่อมโยงข้อมูลจากหน่วยงานต่างๆ ที่มีอยู่ประสานเข้าด้วยกัน

162
 ยุทธศาสตร์ C: Creative People โดยจะมีกลยุท ธ์ที่ เ กี่ย วข้ อง คือ C.1 การพัฒนาวิชาชีพ C.3 การ
พัฒนาทุนความรู้ C.4 การสร้าง Hub เครือข่ายภาครัฐที่ ทางานด้านภาพยนตร์ C.5 การสร้าง Hub
เครือข่ายด้านอุตสาหกรรมภาพยนตร์ทั้งหมด
 ยุทธศาสตร์ D: Creative Production โดยมีกลยุทธ์ที่เกี่ยวข้อ งคื อ D.2 การพัฒนา Co-Production
D.3 การพัฒนาเนื้อหาเชื่อมโยง และ D.4 การส่งเสริม Post-Production
 ยุ ท ธศาตร์ F: Creative Promotion/Business โดยมี ก ลยุ ท ธ์ ที่ เ กี่ ย วข้ อ งคื อ F.1 การพั ฒ นาโรง
ภาพยนตร์ F.2 การพัฒนาระบบ Streaming และ F.5 การสนับสนุนการ Promotion ภาพยนตร์
ส่วนที่ 4 เป็นส่วนที่ทางานง่ายแต่ อาจมี ผลกระทบต่า หมายถึง ทาได้แต่อาจคุ้มค่าน้อย เมื่อเทียบกับส่ว น
ที่ 3
ภายใต้ส่วนนี้ประกอบไปด้วยยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ จานวน 3 กลยุทธ์ ดังนี้
 ยุทธศาสตร์ C : Creative People ประกอบด้วยสองกลยุท ธ์คื อ C.2 การพัฒนาผู้ชม และ C.6 การ
สร้าง Hub เครือข่ายภาพยนตร์กับต่างประเทศ
 ยุ ท ธศาสตร์ E: Creative Place คื อ กลยุ ท ธ์ E.4 การพั ฒ นาความรู้ ด้ านการถ่า ยท าภาพยนตร์ใน
ประเทศไทย
สาหรับข้อเสนอแนะของทีม ประเมิน คือ อาจต้องเริ่มดาเนินงานในส่วนที่ 3 ก่อน ซึ่งจะง่ายและเห็ น ผล
โดยเร็ ว และที่ ส าคั ญ คื อ ผลจากการด าเนิ นงานนั้น จะช่ ว ยเป็ น พื้ น ฐานส าคั ญ ส าหรั บ การท างานในส่ วนอื่นๆ
โดยเฉพาะการผลั ก ดั น ในส่ ว นที่ 1 ซึ่ ง ถึ ง แม้ จ ะมี ค วามยากก็ ต ามแต่ จ ากการ Focus Group และสั มภาษณ์
ผู้เชี่ยวชาญก็มองว่า ควรจะต้องดาเนินงานไปพร้อมๆ กัน เพียงแต่ว่า อาจใช้ระยะเวลาที่ค่อนข้างนาน ต้องการพลัง
ในการทางานสูงทั้งฟากของประชาชน ภาคี ความรู้ และนโยบาย

4. ผู้เกี่ยวข้องกับการดาเนินงานด้านภาพยนตร์
จากแผนยุทธศาสตร์ใหม่นี้พบว่า เป็นแผนที่ต้องการให้เกิด การผลั กดัน องค์กรใหม่ โดยมีข้อสันนิษฐานว่ า
หากมีองค์กรใหม่ ก็สามารถเป็น กลไกหลั กในการผลั กดั นเป้าหมายให้ อุ ตสาหกกรรมภาพยนตร์ไ ทยก้า วไปไกลได้
มากกว่า
อย่างไรก็ดี หากวิเคราะห์เพิ่มเติ มว่า ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ดังกล่าวนี้มีผู้ ที่เกี่ย วข้อ งกับแผนยุทธศาสตร์ นี้
อย่ า งน้ อ ยสองฟาก คื อ ฟากของ CEA ซึ่ ง เป็ น องค์ ก รใหม่ และอี ก ฟากหนึ่ ง เป็ น องค์ ก รเดิ มที่ เ คยท างานด้าน
ภาพยนตร์มาก่อน ทั้งภาครัฐและเอกชน ทั้งสองส่วนนี้น่าจะมีส่วนที่จะช่วยผลักดัน แผนฉบับดังกล่าว
หากมองในฟากของคนที่ทางานมาก่ อน ก็จะพบว่า ทั้งภาครัฐและเอกชน มีส่วนเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรม
ดังรูปภาพดังต่อไปนี้

163
ภาพที่ 42 แสดงภาครัฐและเอกชน มีส่วนเกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมภาพยนตร์
จากรูปภาพจะเห็นทั้ งภาครั ฐ และเอกชนที่ทางานเกี่ย วกั บภาพยนตร์ ตั้งแต่ขั้นตอนการผลิ ต การตลาด
หรือโปรโมชั่น และการบริโภค ทั้งนี้ หากจาแนกแยะแยะหน้าที่โดยละเอียดจะได้ดังภาพดัง ต่อไปนี้

164
ภาพที่ 43 แสดงหน้าที่รับผิดชอบของหน่วยงานภาครั ฐ

ภาพที่ 44 แสดงหน้าที่รับผิดชอบของหน่วยงานเอกชน

165
ในขณะที่บทบาทความรั บผิ ดชอบของ สศส. หรือ CEA เกี่ยวข้องกับการสนับ สนุ นเศรษฐกิจ สร้า งสร รค์
ดังนี้
1. ส่ ง เสริ มและพั ฒ นาศั ก ยภาพของเศรษฐกิ จ สร้ า งสรรค์ แ ละปั จ จั ย สนั บ สนุ น การพั ฒ นาเศรษฐกิ จ
สร้างสรรค์เพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาและยกระดับเศรษฐกิจ
2. ส่งเสริมและสนั บ สนุ นการพั ฒนาความคิ ด สร้า งสรรค์ และนวั ต กรรมให้ แก่ ชุมชน สาธารณชน และ
สถาบันการศึกษา
3. ส่งเสริมและพั ฒนาพื้ นที่ ที่เ อื้ อต่ อ บรรยากาศสร้า งสรรค์ และการเริ่ มต้น ธุร กิจใหม่ รวมทั้งพัฒนาย่ า น
เศรษฐกิจสร้างสรรค์ให้เกิดขึ้น
4. พั ฒ นาผู้ ป ระกอบการและส่ ง เสริ มให้ เ กิ ดการน ากระบวนการคิ ด เชิง สร้ างสรรค์ ไปใช้ ในการพัฒนา
ผลิตภัณฑ์และสร้างนวัตกรรมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของประเทศ
5.เป็นศูนย์กลางการรวบรวมและพั ฒนาข้ อ มูลและสถิ ติ ที่เ กี่ยวกับ เศรษฐกิจ สร้างสรรค์ เพื่อการตัดสิ น ใจ
เชิงนโยบายและเพื่อสนับสนุนความคิดสร้างสรรค์การสร้างนวัตกรรม และ
6 ส่งเสริมและประสานความร่ ว มมือ กับ หน่ วยงานภาครั ฐ ภารเอกชน และหน่วยงานต่า งประเทศหรื อ
ระหว่างประเทศเพื่อแลกเปลี่ยนและถ่ายทอดองค์ ค วามรู้ ด้านความคิด สร้างสรรค์ที่จ ะนาไปสู่ เศรษฐกิจสร้า งสรรค์
ของประเทศ
จากข้อมูลบทบาทภารกิจของหน่วยงานต่างๆ ที่รวบรวมมาข้างต้น สามารถแสดงช่องว่างของการเชื่อมโยง
บทบาทความรับผิดชอบของหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง แสดงดังภาพที่ 45

166
ภาพที่ 45 แสดงช่องว่างการพัฒนาอุตสาหกรรมภาพยนตร์ ไทย (วิเคราะห์โดยคณะทางาน)

จากภาพพบว่า สศส. จะมีบทบาทเกี่ยวเนื่องในยุทธศาสตร์ 6 ด้าน 16 กลยุทธ์ ดังนี้


ยุ ท ธศาสตร์ ที่ 1 ยุ ท ธศาสตร์ ด้า นการพั ฒนาโครงสร้ า งอุ ตสาหกรรม ( Creative Film Structure):
สศส. จะช่ ว ยในด้ า นการผลั ก ดั น องค์ ก รอิ ส ระ ทั้ ง นี้ ถึ ง แม้ จ ะเป็ น การด าเนิ น งานที่ ย ากและใช้ เ วลา แต่ ภ าคี
อุตสาหกรรมภาพยนตร์ ให้ ความสนใจเป็น อันดั บแรก หาก สศส. มีส่วนร่วมในการช่ วยผลัก ดัน ก็จ ะย่ อ มส่ ง ผลทั้ ง
อุตสาหกรรมเจริญเติบโตในอนาคตแล้ว ก็จะทาให้การดาเนินงานร่วมกับภาคีเป็นไปได้ด้วยดี
ยุทธศาสตร์ที่ 2 ยุทธศาสตร์ด้านการพั ฒนาฐานข้ อมู ลภาพยนตร์ (Creative Film Database): สศส.
จะมีบทบบาทในสองด้าน คือ การรวบรวมบริหารจัดการฐานข้อ มูล โดยเชื่อมโยงกับข้อ มูลที่ ต่างๆ และการให้ทุ น
การจั ด ท าข้ อ มู ล รายได้ ภ าพยนตร์ ตลอดจนเศรษฐศาสตร์ ภาพยนตร์ ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ มู ล ค่ าทางเศรษฐกิ จของ
ภาพยนตร์เทียบกับมูลค่าเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ ซึ่งทีมประเมินเห็นว่า เป็นส่วนที่ขาดหายไปเพราะข้ อ มู ล มี
ความกระจัดกระจาย และที่สาคัญสอดรับกับภารกิจของ สศส.
ยุทธศาสตร์ที่ 3 ยุทธศาสตร์ ด้านการพั ฒนาคนและเครื อข่า ย (Creative People): สศส. จะมีบทบาท
ในด้านการเป็น Hub สาหรับการเชื่อมโยงเครื อข่าย ทั้งภาครัฐ องค์กรต่างๆ และต่างประเทศ เพราะทีมประเมิ น
เห็นว่า เป็นส่วนที่ยังขาดหายไปของการดาเนินงานที่ผ่านมา และเป็นงานที่ไม่ยากสามารถก่อ เกิ ดผลกระทบได้ ใ น
ระดับมาก

167
ยุทธศาสตร์ที่ 4 ยุทธศาสตร์ ด้านการพัฒนาการผลิต (Creative Production): สศส. ควรจะมีบทบาท
ในสามด้านคือ 1.การพัฒนาเนื้อ หาให้ห ลากหลายและเชื่ อ มโยง (D.3) ทีมประเมิ นเห็น ว่า น่าจะเป็นจุดเด่ น ของ
สศส. ที่ทางานด้านเนื้อหาและจะสร้างจุดต่างกับการพั ฒนาเนื้อ หาของหน่ วยงานอื่น ๆ โดยเน้นการเชื่อมโยงเนื้ อ หา
จากสื่ อ ต่ า งๆ เข้ า ด้ วยกั น ส าหรับ อี กสองด้ าน ดู เ หหมื อ นว่า น่ า จะเป็ นส่ ว นที่ ยัง ไม่ มีใ ครเป็น เจ้าภาพอย่ างเป็น
ทางการ และเป็นงานที่ไม่ยากนัก คุ้มค่าต่ อการดาเนิน งาน คือ 2. การเป็นหน่วยงานกลางประสานการลงทุน และ
3.การเป็นหน่วยสนับสนุนจ้างงานด้าน Post Production (D.4)
ยุทศาสตร์ที่ 5 ยุทธศาสตร์ ด้า นการพั ฒนาพื้ นที่ ถ่า ยทาภาพยนตร์ในประเทศไทย (Creative Place):
สศส. ควรจะมีบทบาทในสองด้าน คือ (1) การพัฒนาความรู้ความเข้าใจด้านการถ่ายทาภาพยนตร์ในประเทศไทย
(E.4) ถึงแม้จะเป็นกลยุท ธ์ที่อาจส่ง ผลกระทบไม่ มากนั กแต่ก็ เป็ นสิ่ง ที่ภาคีส่ วนถ่ายทาภาพยนตร์ ในประเทศไทยที่
เป็นภาคีของ สศส. ให้ความสนใจและทาไม่ยากนัก น่าจะเป็นการลงทุนที่ได้ ผล และ (2) การผลักดันให้เกิด studio
โดยชุมชนมีส่วนร่วม (E.2) แม้จะเป็นกลยุทธ์ที่ค่อ นข้างยาก แต่ก็เกี่ยวข้องกับกระทรวงท่ องเที่ย วและกีฬา รวมถึง
ภาคีชุมชนต่างๆ น่าจะเป็นโอกาสที่ดีที่ทาให้เกิดการประสานงานร่วมกัน
ยุทธศาสตร์ที่ 6 ยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาตลาด (Creative Promotion หรือ Business): สศส. ควร
จะมีบทบาทในด้านการสนับสนุ นการทา Promotion (F.5) โดยเน้นทั้งการจาหน่ายและการสร้างภาพลัก ษณ์ ข อง
ประเทศ ซึ่งในส่วนนี้ทีมประเมินเห็นว่า เป็นจุดเด่นของ สศส. อยู่แล้ว

สาหรับหน่วยงานอื่นๆ ในอดีตสามารถเข้ามาเกี่ยวข้องในแผนยุทธศาสตร์ได้เช่นกัน ดังนี้


ยุ ท ธศาสตร์ ที่ 1 ยุ ท ธศาสตร์ ด้า นการพั ฒนาโครงสร้ า งอุ ตสาหกรรม ( Creative Film Structure):
องค์กรต่างๆ ทั้งหมดควรมีส่วนร่วมในการพัฒนาองค์กรภาพยนตร์ ใหม่ กระทรวงวัฒนธรรม น่าจะมีส่วนร่วมในการ
พั ฒ นาองค์ ก รทุ นภาพยนตร์ ที่ค รบวงจร (ซึ่ ง อาจหมายรวมถึง ทุ นการผลิ ต ) กระทรวงวั ฒ นธรรมและกระทรวง
ท่องเที่ยวและกระทรวงอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงการคลัง กระทรวงแรงงาน กสทช. น่าจะ
เป็นองค์กรที่ร่วมดาเนินการเกี่ยวกับการพัฒนากฎหมายภาพยนตร์ให้ ทันสมัย
ยุทธศาสตร์ที่ 2 ยุทธศาสตร์ด้านการพั ฒนาฐานข้อมู ลภาพยนตร์ (Creative Film Database): ที่ผ่าน
มาพบว่า มีองค์กรที่หลากหลายทางานเกี่ยวกับข้อมูล แต่ต้องมีการเชื่อมโยงกัน นอกจากนั้น หอภาพยนตร์ ซึ่งเป็น
ผู้ดาเนินงานด้านองค์ความรู้เกี่ยวกับภาพยนตร์เดิม น่าจะมีส่วนร่วมในการพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับภาพยนตร์
ยุทธศาสตร์ที่ 3 ยุทธศาสตร์ ด้านการพั ฒนาคนและเครือข่า ย (Creative People) : พบว่า มีองค์กรที่
เข้ามามีส่วนร่วมในการดาเนิ นงาน ได้แก่ กระทรวงวัฒนธรรม ช่วยดาเนินการด้านการพัฒนาบุค ลากร ตลอดจน
สถาบันคุณวุฒิวิชาชี พ กระทรวงแรงงาน และสมาคมชมรม ต่างๆ เข้ามามีส่วนร่วมในการยกระดั บบุ คลากรให้ มี
มาตรฐาน ส่วนหอภาพยนตร์รวมถึงกระทรวงศึกษา น่าจะมีส่วนร่วมในการดาเนินงานพัฒนาผู้ชม

168
ยุทธศาสตร์ที่ 4 ยุทธศาสตร์ด้านการพั ฒนาการผลิ ต (Creative Production) : กองทุนสื่อสร้างสรรค์
และปลอดภั ย และกระทรวงวัฒ นธรรม จะมี ส่ ว นร่ว มในการจัด ตั้ งกองทุน การผลิ ตภาพยนตร์ (ซึ่ ง อาจร่ วมกับ
กองทุนภาพยนตร์ในยุทธศาสตร์แรกหรือแยกออกมาต่างหากก็ได้)
ยุทศาสตร์ที่ 5 ยุทธศาสตร์ ด้า นการพั ฒนาพื้ นที่ ถ่า ยทาภาพยนตร์ในประเทศไทย (Creative Place):
กระทรวงการท่อ งเที่ย วและกีฬา จะเข้ามามีส่วนร่ว มดาเนินการในการผลั กดั น One Stop Service สาหรับการ
ถ่ายทาภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย และการดาเนินการด้านสตูดิโอในประเทศไทย
ยุทธศาสตร์ที่ 6 ยุทธศาสตร์ด้านการพั ฒนาตลาด (Creative Promotion หรือ Business): กระทรวง
วั ฒ นธรรม สามารถมี ส่ ว นร่ว มในการกระตุ้ น ให้ เ กิด การพั ฒ นาช่ อ งทางการฉาย ทั้ ง โรง streaming และ film
festival และกระทรวงพาณิชย์จะก้าวมามีส่วนร่วมในการสนับสนุนการส่งอออกภาพยนตร์ ไปต่างประเทศ

5. ข้อเสนอเรื่องบทบาทการพั ฒนายุท ธศาสตร์ข องสานั กงานส่งเสริ มเศรษฐกิ จสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน)


หรือ สศส.
จากการวิเคราะห์ ทั้ง ภารกิจ ของ สศส. (CEA) และแผนยุทธศาสตร์ ทั้ง 6 ด้าน ทาให้สามารถวิ เ ครา ะห์
บทบาทของ สศส. ทีส่ ามารถดาเนินการได้อย่างน้อย 3 ด้าน ดังภาพที่ 46

ภาพที่ 46 แสดงข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย สาหรับการดาเนินการของ CEA (วิเคราะห์โดยคณะทางาน)

169
1. บทบาทแรก Foster and Educator หรือผู้ผลักดันหรือ บ่มเพาะ
บทบาทนี้ ในด้านหนึ่งจะหมายถึ งการที่ช่ว ยผลั กดัน องค์ก รอิสระเพื่อสนับสนุนภาพยนตร์แบบบูร ณาการ
ซึ่งอาจเป็นบทบาทที่ค่อนข้างใช้พลังการดาเนินงานค่อนข้างสูง เพราะจะต้องทางานกับระดับนโยบาย
ในอีกด้านหนึ่ง บทบาทในกลุ่มนี้จะเป็นผู้บ่ มเพาะ ซึ่งอาจไม่ใช้พลังมากนัก เพราะจะมุ่ งเน้ นในระดั บ สั ง คม
ได้แก่ การสนับสนุนการ Promotion ภาพยนตร์ในต่างประเทศ การสนับสนุนเกี่ยวกับความเข้าใจด้านการถ่า ยท า
ภาพยนตร์ในประเทศไทย และการพัฒนาเนื้อหาให้มีความหลากหลายและเชื่อ มโยง

2. บทบาทที่ 2 Advocator หรือผู้ประสาน


บทบาทนี้จะมุ่งเน้นการทาหน้าที่ประสานงานการดาเนินงานด้านภาพยนตร์ ทั้งการประสานงานภาพรวม
ทั้ ง หมดแล้ ว ยั ง เป็ น การประสานงานให้ เ กิ ด หน่ ว ยงานต่ า งๆ เช่ น หน่ ว ยงานการประสานการลงทุ น (Co
Production) หน่ ว ยงานประสานงานด้ า นการจ้ า งงาน Post Production หน่ ว ยงานประสานงานเชื่ อ มโยง
เครือข่ายต่างๆ ทั้งรัฐ เอกชน และต่างประเทศ แต่ทั้งนี้ หากมีการผลักดันให้เกิดองค์กรภาพยนตร์สาเร็จ ก็จะทาให้
สศส. ก็จะลดบทบาทนี้ลง

3. บทบาทที่ 3 Informer หรือผู้ให้ข้อมูล


บทบาทนี้จะมุ่ง เน้น การบริหารจัด การฐานข้ อ มูล และการสร้างฐานข้อ มู ลที่ เกี่ ยวข้อ ง เพื่อที่จะยกระดั บ
ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับภาพยนตร์ในประเทศไทย

170
7. ฐานข้อมูล
แผนการจัดทาฐานข้อมู ลสาหรับอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ สาขาภาพยนตร์และวีดิทัศน์
แผนการจั ด ท าฐานข้ อ มู ล เป็ น การอธิ บ ายรายละเอี ย ดเพิ่ มเติ มของยุท ธศาสตร์ การพั ฒ นาฐานข้อมูล
สาหรับอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ สาขาภาพยนตร์และวีดิทัศน์ข องประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์เ พื่ อเก็ บรวบร วม
ข้อมูลอย่างเป็นระบบ และง่ายต่อการสืบค้น การวิเคราะห์ วิจัย เพื่อประโยชน์ในการประเมินสถานการณ์การตลาด
และกระแสความนิยมต่างๆ ทางธุรกิจ รวมถึงเพื่อประโยชน์ในการวิเคราะห์แนวโน้ มการปรับ เปลี่ยนของตลา ดสู่ ยุ ค
ดิจิทัล ซึ่งการนาเสนอ แบ่งออกเป็น 4 หัวข้อ ได้แก่
7.1 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการจัดทาฐานข้อมูล
7.2 กรอบแนวคิดการจัดทาฐานข้อมูล
7.3 หน่วยงานที่มีการจัดเก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย
7.4 กรณีศึกษาต้นแบบด้านการจัดทาฐานข้อมูลจากต่างประเทศ
7.5 สรุปแนวทางการจัดทาฐานข้อมูลและข้อเสนอแนะการประยุกต์ใช้ฐานข้อ มูล

7.1 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการจั ดทาฐานข้อมูล


ความรู้พื้นฐานเกี่ยวข้อ งกับ การจั ดทาฐานข้อ มู ล สามารถทาความเข้าใจผ่านคานิยาม วัตถุประสงค์ และ
การกาหนดกรอบแนวคิดและวิธีการศึกษาในส่วนการจัดทาฐานข้อ มูล อันจะนาไปสู่การกาหนดร่างโครงสร้า งของ
ฐานข้อมูลสาหรับอุตสาหกรรมภาพยนตร์ต่อไป รายละเอียดดังนี้

7.1.1 นิยามของฐานข้อมูล (Database)


ฐานข้อมูล (Database) หมายถึง การจัดเก็บข้อมู ลที่ มีค วามสั มพัน ธ์กั นไว้ในแหล่ง เดีย วบนระบบดิ จิ ทั ล
ข้อมูลจะถูกจัดแบ่ง เป็ นหมวดหมู่ เ พื่อ หลีก เลี่ยงความซ้าซ้ อนของข้ อมู ล แบ่ง การจัดเก็บตามชนิ ดของเนื้ อหา เช่น
ตามลาดับอักษร บรรณานุกรม หรือสถิติ ซึ่งระบบของฐานข้อมูลจะอนุญาตให้ เกิ ดการสร้างข้อ มูล ค้นหา เพิ่มเติ ม
แก้ไข และการเข้าถึงในรูป แบบต่า งๆ มีการจัดเรียงที่ง่ายต่อ การใช้งาน นอกจากนั้น ข้อมูลที่จัดเก็บต้ องผ่า นการ
ตรวจสอบ คั ด กรองความถู ก ต้ อ ง และมี มาตรฐานเดี ย วกั น โดยข้ อ มู ล ที่ จั ด เก็ บ ต้ อ งครบถ้ ว น สอคล้ อ งตาม
วัตถุประสงค์การใช้งานขององค์กร อุตสาหกรรม หรือบุคคลทั่วไปที่นาข้อมูลนั้นไปใช้ประโยชน์

นิยามของฐานข้อมูลสาหรับการศึกษาครั้งนี้ คือ ข้อมูลที่ได้รับการจัดระเบียบและเก็บรวบรวมไว้ ณ ที่หนึ่ง


ตามวัตถุประสงค์องค์ กรที่จัด เก็บ หรือผู้สร้าง (พัฒนา) ฐานข้อมูลนั้น ซึ่งเอื้อต่อการใช้ประโยชน์ โดยข้อมูลมีค วาม
หลากหลายเหมาะต่อการนาไปใช้งานตามแต่วัตถุ ประสงค์ที่ ต่างกัน เช่น ชื่อบุคคล สถานที่ หน่วยเงินลงทุน รายรับ

171
หรือเนื้อหาสาคัญอื่นๆ เป็นต้น ผ่านการรวบรวมด้วยวิธีต่างๆ อาทิ การค้นคว้า การนับ การวัด หรือการสังเกต และ
นาเสนอในรูปแบบตัวเลข รูปภาพ ตาราง คลิปวิดีโอ และข้อความ เป็นต้น

7.1.2 วัตถุประสงค์ของการจัดทาฐานข้อมูลอุตสาหกรรมภาพยนตร์
การจัดทาฐานข้ อ มู ลอุ ต สาหกรรมสร้า งสรรค์ สาขาภาพยนตร์แ ละวี ดิ ทั ศน์ มีวัตถุประสงค์ เ พื่ อ ก าหนด
ขอบเขตและโครงสร้ า งของฐานข้ อ มู ล ที่ มีป ระสิ ท ธิ ภาพ เพื่ อ ให้ เ กิ ด ประโยชน์สู ง สุ ด ต่ อการน าไปใช้ เ ป็ นข้ อมูล
ประกอบการพิจารณา วิเคราะห์ วิจัยต่างๆ สาหรับ องค์กร บุคลากรหรือผู้สนใจโดยทั่วไปในอุตสาหกรรมภาพยนตร์
ทั้งนี้ วัตถุประสงค์หลักของการจัดทาฐานข้อมูลอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย มีดังนี้
(1) เพื่อเป็นแหล่งให้บริการข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับอุ ตสาหกรรมสร้างสรรค์ สาขาภาพยนตร์
(2) เพื่อเป็นศูนย์กลางข้อมูลที่เชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน
(3) เพื่อเป็นแหล่ง รวบรวมข้อ มู ลของการศึก ษา ค้นคว้า วิเคราะห์ และวิจัย รวมทั้ง เป็นแหล่ง รวม
องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไ ทย
(4) เพื่อให้บริการข้อมูลที่มีประโยชน์ต่ อผู้ประกอบธุรกิจ ผู้เชี่ยวชาญ บุคลากร และผู้ที่สนใจเกี่ยวกั บ
ภาพยนตร์ ในการนาไปใช้วิเคราะห์สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ต่อ ไป

7.2 กรอบแนวคิดการจัดทาฐานข้อมูล (Database) สร้างสรรค์ สาขาภาพยนตร์


กรอบแนวคิดการจั ดทาฐานข้ อมู ลของอุ ต สาหกรรมสร้า งสรรค์ สาขาภาพยนตร์ ประกอบด้วยแนวคิ ด
การจัดกลุ่มข้อมูลสาหรับจัดทาฐานข้อมูลที่เป็นระบบ และการกาหนดโครงสร้างฐานข้อมูล รายละเอียดดังต่อไปนี้

7.2.1 แนวคิดการจัดทาฐานข้อมูลอุตสาหกรรมภาพยนตร์
โครงสร้ า งของฐานข้อ มู ล ซึ่ ง เปรี ย บเสมื อ นศู น ย์ร วมของข้ อมู ล เกี่ ย วกั บ อุ ต สาหกรรมภาพยนตร์ ควร
พิจารณาให้มีความถูกต้อ งครบถ้วน สมบูรณ์ของข้อมูล สาหรับให้บริการต่อ นักวิชาการ ผู้ประกอบธุรกิจ บุคลากร
ในอุตสาหกรรม และบุคคลทั่วไปที่สนใจได้ใช้ประโยชน์ รวมทั้ง สาหรับเป็นแหล่งอ้างอิงข้อมูลให้องค์กรภาครั ฐ และ
เอกชน สามารถน าข้ อ มู ล ไปใช้ ป ระกอบการพิ จ ารณา และตั ด สิ น ใจเชิ ง นโยบาย ในการส่ ง เสริมและก าหนด
แนวทางการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจแก่อุตสาหกรรมภาพยนตร์

172
โดยแบ่งข้อมูลของฐานข้อมูลออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ข้อมูลเชิงคุณภาพ และข้อมูลเชิงปริมาณ กล่าวคือ
1) ข้อมูลเชิงคุณภาพ คือ ข้อมูลที่แสดงสถานภาพ คุณสมบัติ และลักษณะของผลิต ภัณฑ์ หรือบริการงาน
สร้างสรรค์แต่ละประเภท ที่เกี่ยวข้องกับบุ คลากร และผู้ประกอบการที่ มีส่วนในการพั ฒนาผลิ ตภั ณฑ์แ ละบริ ก าร
สร้างสรรค์ รวมถึงองค์ค วามรู้ที่ ใช้ ในการต่อ ยอดและส่ ง เสริ มสนับ สนุ นอุ ต สาหกรรมสร้า งสรรค์ใ นอนาคต โดย
จัดเก็บข้อมูลตามประเภทดังต่อไปนี้
 ผลิตภัณฑ์ หรือการบริการงานสร้างสรรค์ เช่น ประเภทของผลิตภัณฑ์และบริการ
 บุคลากร หรือผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรม เช่น ประวัติบุคลากร ช่องทางการติดต่อ
 องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น แนวโน้มของอุตสาหกรรม

2) ข้อมูลเชิง ปริ มาณ เป็นการรวบรวมข้ อ มู ลอุ ต สาหกรรมสร้า งสรรค์ ในเชิ ง ตัว เลข ทั้งในภาพรวม และ
การแจกแจงรายละเอี ยดตามประเภทผลิ ต ภั ณฑ์ บริ ก าร บุ ค ลากร และผู้ ป ระกอบการที่ เ กี่ ยวข้ อ ง เพื่ อ แสดง
ทิศทาง แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมที่เกิดขึ้น โดยจัดเก็บข้อมูลตามประเภทดังต่อไปนี้
 ผลิตภัณฑ์ หรือการบริการ เช่น มูลค่าการลงทุนในอุตสาหกรรม มูลค่าโดยรวมของอุตสาหกรรม
มูลค่าการนาเข้า-ส่งออก มูลค่าผลิตภัณฑ์แต่ละประเภท
 บุคลากร หรือผู้ประกอบการ เช่น จานวนบุคลากรและผู้ประกอบการที่เกี่ ยวข้อง จานวนบุคลากร
ในแต่ละสาขาวิชาชีพ ภาพรวมของตลาดแรงงาน
โดยแนวคิดการรวบรวมข้อมูลข้างต้นจะนามาใช้ในการจัดกลุ่มข้อ มูลของแต่ล ะอุต สาหกรรมต่ อไป

ภาพที่ 47 แสดงแนวคิดการจัดกลุ่มข้อมู ลของอุ ตสาหกรรมภาพยนตร์ (วิเคราะห์โดยคณะทางาน)

173
7.2.2 กรอบแนวคิดการออกแบบฐานข้อมู ลอุ ตสาหกรรมภาพยนตร์
ประกอบด้วย 3 ขั้นตอนหลัก ดังนี้
1) ศึกษาและรวบรวมข้ อ มูลที่ มีอยู่ใ นระบบฐานข้ อ มูล เดิ มของอุ ตสาหกรรมภาพยนตร์ ทั้งจากหน่วยงาน
ภาครัฐและเอกชน การทบทวนนโยบายและแผนการพัฒนาอุตสาหกรรมภาพยนตร์ รวมถึงการนากรณีศึกษาจาก
ต่างประเทศ มาเป็นแนวทางในการกาหนดขอบเขตของข้ อมูล ที่สาคัญ ต่อการพั ฒนาอุต สาหกรรมภาพยนตร์ พร้อม
ทั้งศึกษาความต้องการของภาครัฐและเอกชนในการนาฐานข้อมูลนี้ไปใช้ประโยชน์
2) วิ เ คราะห์ ช่ อ งว่ า งของข้ อ มู ล ที่ ต้ อ งการการเติ มเต็ ม โดยวิ เ คราะห์ ข้ อ มู ล จากการสั มภาษณ์ เ ชิ งลึก
ผู้เกี่ยวข้องในอุ ต สาหกรรม เพื่อนามาเพิ่ มเติ มหรือ ปรับ ปรุ งฐานข้ อ มูลที่ มีอยู่ ในปัจจุบั น ให้มีค วามเหมาะสม และ
สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
3) การออกแบบฐานข้ อ มูล ซึ่งนาผลการวิเคราะห์ ช่อ งว่า งของข้อ มู ล มาออกแบบและจัด ระเบียบข้ อ มู ล
ของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไ ทยให้ เหมาะสม และสอดคล้องตามกรอบแนวคิด การจัด กลุ่ มข้ อมู ลข้างต้น พร้อมทั้ ง
เสนอแนวทางการใช้ ป ระโยชน์ และการบู ร ณาการเชื่ อ มโยงข้ อ มู ล กั บ หน่ ว ยงานต่ า งๆ ที่ เ กี่ ย วข้ อ ง ให้ เ กิ ด
ประสิทธิภาพสูงสุด

7.3 หน่วยงานที่มีการจัดเก็บข้อมูลเกี่ยวข้องกั บภาพยนตร์ไ ทย

ส่วนที่ 1 หน่วยงานรัฐ หรือหน่วยงานในกากับของรัฐ


1. กระทรวงวัฒนธรรม กลุ่มเลขานุการคณะกรรมการภาพยนตร์ และวี ดิทั ศน์ แห่งชาติ 126
กลุ่ มเลขานุ ก ารคณะกรรมการภาพยนตร์ แ ละวี ดิ ทั ศ น์ แ ห่ ง ชาติ สั ง กั ด กองยุ ท ธศาสตร์ แ ละแผนงาน
สานักงานปลัดกระทรวงวั ฒนธรรม มีวิสัยทัศน์ คือ เป็นองค์กรที่มีสมรรถนะสูง ในการกาหนดนโยบายยุทธศาสตร์
และการบริหารงานด้านวัฒนธรรมทั้งในและต่างประเทศพัฒนาคุ ณภาพมาตรฐานการทางานรวมทั้ งงานบริการของ
หน่วยงานในสังกัด
พันธกิจหลัก ประกอบด้วย
1) การกาหนดนโยบายแผนและมาตรการด้านศิลปะ ศาสนาและวัฒนธรรม
2) การส่งเสริมและพัฒนาระบบการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในด้านศิลปะ ศาสนาและวัฒนธรรม
3) การพัฒนาบุคลากรระบบงบประมาณระบบสารสนเทศกฎหมายให้มีคุ ณภาพมาตรฐาน
4) การประชาสัมพันธ์และเผยแพร่งานด้านศิลปะ ศาสนาและวัฒนธรรม
5) การพัฒนาความร่วมมือและความสัมพันธ์กับ ต่างประเทศโดยมิ ติทางวัฒนธรรม

126 https://www.m-culture.go.th/filmcommittee/main.php?filename=index

174
ประเภทของข้อมูลทีเ่ กี่ยวกับภาพยนตร์ไทย ที่หน่วยงานดาเนินการจัดเก็บ ดูแล และเผยแพร่ ได้แก่
 ข้อมูลโครงการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรมภาพยนตร์และวี ดิทัศน์
 รายงานผลการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ ระยะที่ 3 ครึ่งระยะ
 ยุทธศาสตร์การส่งเสริมอุตสาหกรรมภาพยนตร์และวีดิทัศน์ร ะยะที่ 3 (ปี พ.ศ. 2560- 2564)
 70 สุดยอดภาพยนตร์ไทยในสมัยรัชกาลที่ 9 (E-Book)
 ช่องยูทูป CONTENT THAILAND CHANNEL

2. กระทรวงพาณิชย์127
กระทรวงพาณิชย์ได้รวบรวมและเผยแพร่ข้ อ มูลเกี่ยวกั บอุ ตสาหกรรมภาพยนตร์บนเว็บไซต์ข องกระทรวง
ได้แก่ ข้อมูลบริษัท/ห้างหุ้นส่วนที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมภาพยนตร์128
โดยการเข้ า ใช้ ง าน คลิ ก เว็ บ ไซต์ https://datawarehouse.dbd.go.th/ จากนั้ น น าชื่ อ บริษั ท หรื อเลข
ทะเบียนบริษัท ไปค้นหาข้อมูล ซึ่งฐานข้อมูลที่กระทรวงพาณิชย์รวบรวมไว้ประกอบด้วย
 ชื่อนิติบุคคล
 เลขทะเบียนนิติบุคคล
 สถานะนิติบุคคล
 วันที่จดทะเบียนจัดตั้ง
 ทุนจดทะเบียน
 รายชื่อคณะกรรมการ และชื่อกรรมการที่ลงชื่อผูกพัน
 ที่ตั้งบริษัท
 งบแสดงฐานะการเงินของบริษัท
 มูลค่าหุ้นและสัดส่วนการลงทุนของบริษัทนั้นๆ จาแนกตามสัญชาติ

127 https://datawarehouse.dbd.go.th/
128 ฐานข้อมูลนี้ เป็นฐานข้อมูลของบริษัท/ห้างหุ้นส่วน ทุกแห่งที่จดทะเบียนกับกระทรวงพาณิชย์

175
3. กองกิจการภาพยนตร์และวีดิทั ศน์ ต่างประเทศ129
กรมการท่อ งเที่ย ว มีภารกิจที่เ กี่ย วข้ อ งกั บ ด้านภาพยนตร์ คื อ ส่งเสริมและสนั บ สนุ นกิ จการภาพยนตร์
ต่ า งประเทศในราชอาณาจัก ร โดยหน่ว ยงานที่รั บ ผิด ชอบคื อ กองกิ จ การภาพยนตร์ แ ละ วี ดิ ทั ศ น์ ต่ างประเทศ
ประเภทข้อมูลเกี่ยวกับภาพยนตร์ไทยที่หน่วยงานดังกล่าวจัดเก็บและเผยแพร่ ได้แก่
 ข้อมูลภาพรวมเกี่ยวกับประเทศไทย
 ข้อมูลทีจ่ าเป็นต่างๆ เช่น ภาษี วีซ่า ใบอนุญาตทางาน ฯลฯ
 ข้อมูลขั้นตอนสาหรับ กองถ่า ยทาภาพยนตร์ ต่างประเทศที่ จ ะขออนุ ญาตเข้า มาถ่ายทาภาพยน ตร์ ใ น
ประเทศไทย
 ข้อมูล Incentive สาหรับกองถ่ายต่างประเทศที่จะเข้ามาถ่ายทาภาพยนตร์ในประเทศไทย

4. หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน)130
หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) เป็นหน่วยงานของรั ฐ ทาหน้าที่เสมือนหอสมุ ด พิพิธภัณฑ์ หอศิลป์ ซึ่ง
เก็บรวบรวมภาพยนตร์ และวีดิทัศน์ รวมทั้ง สิ่งเกี่ยวเนื่องกับภาพยนตร์และวี ดิทั ศน์ เพื่ออนุรักษ์ไว้เป็ นทรั พย์ สิ น
ทางปัญญา และมรดกทางศิล ปวั ฒนธรรมของชาติ โดยนาออกให้บริการแก่ประชาชน และผู้สนใจทั่วไปได้ศึ ก ษา
ค้นคว้า และชื่นชม หรือใช้ประโยชน์อย่างสะดวก
ข้อมูลที่หอภาพยนตร์จัดเก็บและเผยแพร่เกี่ยวกับภาพยนตร์ ได้แก่ ฟิล์มภาพยนตร์ ภาพยนตร์รูปแบบไฟล์
ดิจิทัล สื่อบันทึกภาพและเสียงประเภทต่างๆ และสิ่งเกี่ยวเนื่องกับภาพยนตร์

ส่วนที่ 2 หน่วยงานเอกชน
1. กลุ่มนิตยสารภาพยนตร์ ส่วนใหญ่เผยแพร่ผ่านช่องทางเฟสบุ๊ก
 นิ ต ยสาร STARPICS (ปั จ จุ บั น ไม่ มี ก ารพิ ม พ์ จ าหน่ า ยแล้ ว แต่ ยั ง มี ช่ อ งทางเผยแพร่ ท างเฟสบุ๊ ก
https://www.facebook.com/Starpics
 นิตยสาร FILMAX (ปัจจุบันไม่มีการพิมพ์จาหน่ายแล้ว)
 นิตยสาร เอนเตอร์เทน131
 นิตยสาร BIOSCOPE (ปัจจุบันไม่มีการพิมพ์จาหน่ายแล้ว แต่ยังมีช่องทางเผยแพร่ ทางเฟสบุ๊ ก แต่ว่า
ไม่ได้มีการอัพเดตข้อมูลมาตั้งแต่ เดือนกรกฎาคม ปี พ.ศ. 2563)132

129
http://www.thailandfilmoffice.go.th/
130
https://www.fapot.or.th/main/index
131
https://www.facebook.com/Entertainmagazine
132
https://www.facebook.com/BioscopeMagazine

176
2. เพจต่างๆ ที่อัพเดตข้อมูลข่าวสารในวงการภาพยนตร์ (ส่วนใหญ่เป็นข่าวทั่วไปเกี่ยวกับภาพยนตร์ หรือรีวิว
ภาพยนตร์ ไม่ใช่ข้อมูลเชิงสถิติ)
 GDH133
 Kanin The Movie134
 นักเลงโรงหนัง135
 หนังโปรดของข้าพเจ้า 136
 อวยไส้แตกแหกไส้ฉีก137
 เทพเจ้าคอนเน็ตโต้138
 ตั๋วร้อน ป๊อปคอร์นชีส139
 JUST ดู IT.140
 หมื่นทิพ141
 Jediyuth.com142

3. เว็บไซต์ที่เผยแพร่ข่าวสารเกี่ยวกับวงการภาพยนตร์ อาทิ
 https://moviewthai.com/
 https://www.beartai.com/category/lifestyle/movies
 https://jediyuth.com/

133
https://www.facebook.com/gdh559
134
https://www.facebook.com/KaninTheMovie
135
https://www.facebook.com/TheaterGangster/
136
https://www.facebook.com/MyFavouriteFilms/
137
https://www.facebook.com/overhyp/
138
https://www.facebook.com/cornettogod/
139
https://www.facebook.com/TuaronPopcorncheese/
140
https://www.facebook.com/JustDooItTH/
141
https://www.facebook.com/10000tip/
142
https://www.facebook.com/jediyuthcom/

177
7.4 กรณีศึกษาด้านฐานข้อมูลจากต่างประเทศ
หลังจากการศึกษาฐานข้ อ มูลของอุ ตสาหกรรมภาพยนตร์ ไทย ที่มีการจัดเก็บ โดยหน่ว ยงานภาครั ฐ และ
เอกชน ดังที่ได้นาเสนอไปข้า งต้นแล้วนั้ น ในส่วนต่อมาจะเป็น การยกกรณี ศึก ษาด้านฐานข้ อ มูล ของต่ างปร ะเทศ
เพื่ อ วิ เ คราะห์ ก ระบวนการจั ด เก็ บ ข้ อมู ล รายละเอีย ดข้ อมู ล ที่ ถู ก จัด เก็ บ รวมถึ ง รู ปแบบวิธี ก ารนาเสนอ โดยมี
วัตถุประสงค์ ในการศึ ก ษาเพื่อ เป็น ต้น แบบ หรือแนวทางที่จ ะน ามาปรับ ใช้ กั บกระบวนการออกแบบฐานข้ อ มู ล
สาหรับอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยต่อไป

ภาพที่ 48 แสดงหลักการในการคัดเลือกประเทศต้นแบบ (วิเคราะห์โดยคณะทางาน)

เกณฑ์ในการใช้เพื่อพิจารณาประเทศที่ถูกยกมาเป็นกรณี ศึกษา เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาฐานข้ อ มู ล


ภาพยนตร์ในประเทศไทย มีดังนี้
1. ประเทศที่มีการกาหนดหน่วยงานขึ้นเพื่อเข้ามาดูแลอุตสาหกรรมและฐานข้อมู ลภาพยนตร์
2. ประเทศที่มีฐานข้อ มู ลที่ ถูกจั ด เก็ บ ครบถ้ว น ซึ่งนาไปสู่ การนาข้อ มู ล เหล่านั้น มาใช้ ประโยชน์ไ ด้ใ น เชิ ง
อนุรักษ์วัฒนธรรม การค้นคว้าวิจัยศึกษา และในเชิงธุรกิจ
3. รูปแบบของฐานข้อ มูลของประเทศที่ มีความเหมาะสมหรือ ใกล้เ คีย งกั บ สถานการณ์ ของอุ ตสาหกรรม
ภาพยนตร์ในประเทศไทย
4. ฐานข้อมูลมีการนาเสนอเนื้อหาที่ง่ายต่อการสืบค้นและสะดวกต่อการนาข้อ มูลไปใช้ ประโยชน์

เมื่อยึดหลักเกณฑ์ในการคั ดเลือกประเทศที่นามาใช้ กรณีศึ กษาด้านฐานข้ อมู ลจากข้างต้น จึงได้ผลสรุป ได้


2 ประเทศที่แสดงตั วอย่างที่ สามารถเป็นต้นแบบในการศึก ษาเรื่ องฐานข้อ มู ลของอุต สาหกรรมภาพยนตร์ ไ ด้ คื อ

178
ประเทศเกาหลีใต้ และประเทศฝรั่งเศส โดยในส่วนต่อไปจะเป็นการให้รายละเอียดการจั ดเก็บ ข้อ มูลของหน่วยงาน
ในแต่ละประเทศ ดังนี้

7.4.1 กรณีศึกษาฐานข้อมูลประเทศเกาหลีใต้
อุตสาหกรรมภาพยนตร์ใ นประเทศเกาหลีใ ต้ในช่ว งเวลา 20 ปีที่ผ่านมาถือว่ามีก ารเติ บโตที่ร วดเร็ ว และ
แข็งแรงในเชิงการผลิตและการส่ งออก โดยอุตสาหกรรมภาพยนตร์ของประเทศเกาหลีใ ต้ มีส่วนสาคัญ ของกร ะแส
คลื่ น เกาหลี หรื อ Hallyu ที่ แ ผ่ ข ยายไปทั่ว โลก โดยภาพยนตร์เ กาหลี ใ ต้ โดดเด่ นในด้ า นส่ ง ผ่านวั ฒนธรรม และ
ภาพลักษณ์ของประเทศที่ ก้าวข้า มผ่านกาแพงภาษา ซึ่งมีข้อพิสูจน์มาจากการคว้ารางวั ลออสการ์สาขาภาพยนตร์
ยอดเยี่ยมในปี พ.ศ. 2563 และยังมีภาพยนตร์จากประเทศเกาหลีใ ต้อีก มากมายที่ ได้รั บการยอมรั บและเป็น ที่ รู้ จั ก
ทั่วโลก ความสาเร็จของอุต สาหกรรมภาพยนตร์ เกาหลี ใ ต้นั้น มาจากการได้รับ การสนั บสนุ นจากรั ฐบาล ที่มีความ
เข้าใจในอุตสาหกรรมและเปิ ดกว้างต่ อความคิ ด สร้างสรรค์ใ ห้กั บคนในวงการภาพยนตร์ ซึ่งเป็นการส่งเสริ ม ที่ มา
พร้อมกับเงินทุน และการสร้างระบบฐานข้อมูลที่ส มบูร ณ์แบบให้กับอุ ตสาหกรรมเพื่ อใช้ในการพั ฒนาอุตสาหกรรม
ภายในประเทศและการส่งเสริมการส่งออกผลงานภาพยนตร์และบุ คลากรไปสู่ต่างประเทศอีก ด้วย

การจัดเก็บข้อมูลของสภาภาพยนตร์ประเทศเกาหลี Korean Film Council (KOFIC)


อุตสาหกรรมภาพยนตร์ เ กาหลี ใต้ อยู่ภายใต้ นโยบาย 2 รูปแบบคือแบบควบคุมและสนับสนุ น โดยในช่ว ง
ปลาย ปี พ.ศ. 2523 ดาเนินการในรูปแบบควบคุม และตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 เป็นต้นมาได้ปรับเปลี่ยนมาเป็นโยบาย
ในรูปแบบสนับ สนุน ภายใต้สภาภาพยนตร์ข องประเทศเกาหลี Korean Film Council (KOFIC) ซึ่งเป็นองค์ ก ร
พิเศษที่ถูกรับรองโดยกระทรวงวัฒนธรรม, กระทรวงกีฬาและการท่องเที่ยว และรัฐบาลประเทศเกาหลีใต้ ก่อตั้งขึ้น
ในปี พ.ศ. 2516 มีหน้าที่สนับสนุนภาพยนตร์เกาหลีใต้อย่างเต็มตัว โดยคานึงว่าภาพยนตร์เป็นศิลปะที่เป็น ตั ว แทน
ของประเทศเกาหลีใต้ รวมถึงความพยายามผลั กดัน การเติบโตของภาพยนตร์ เอเซีย เข้าสู่ ตลาดโลก ซึ่งมีการสร้า ง
เวปไซต์เพื่อดาเนินการที่ https://www.koreanfilm.or.kr/eng/kofic/intro.jsp

179
ภาพที่ 49 แสดงตัวอย่างหน้าเว็ปไซต์ของ KOFIC

จากการศึกษาเวปไซต์ของ KOFIC พบว่ามีการใช้เพื่อหลากหลายจุดประสงค์ได้แ ก่การให้ข้อ มูลเกี่ย วกั บ คน


ในอุตสาหกรรรม ข้อมูลโรงภาพยนตร์ สถิติ การประชาสัมพันธ์ข่าวสาร การรายงาน Box Office รวมถึงการแยก
ส่ ว นห้ อ งสมุ ด ภาพยนตร์ ใ ห้สื บ ค้ น และข้ อ มู ล เกี่ ย วกั บ การผลิ ต รร่ว มกั บ องค์ ก รอื่ น โดยข้ อ มู ล ถูก น าเสนอเป็น
ภาษาอังกฤษแทบทั้งหมด รูปแบบการจัดฐานข้อมูลของ KOFIC สามารถแจกแจงได้ดังต่อไปนี้

(1) รายละเอียดเกี่ยวกับภาพยนตร์ ธุรกิจ และบุคลากร


 รายละเอียดภาพยนตร์ ใหม่ (New Films) โดยละเอียด พร้อมข้อมูลช่ องทางติ ด ต่อ สตู ดิ โ อที่
ผลิตภาพยนตร์ วันที่เข้าฉาย พร้อมภาพประกอบ รวมถึงจานวนคนที่เข้ามาดูข้อมูลของภาพยนตร์แต่ละเรื่อง
 รายละเอียดภาพยนตร์ที่ กาลัง อยู่ ในระหว่า งการถ่ายทา (In Production) โดยบางเรื่อ งร ะบุ
สถานะของการถ่ายทา เช่น Pre-Production ในส่วนรายละเอียดต่างๆ ของภาพยนตร์ค่อนข้างน้อย โดยบางเรื่อ ง
มีเพียงชื่อนักแสดง หรือวันที่จะออกฉายเท่านั้น
 รายชื่อภาพยนตร์ (Film Directory) มีช่องทางให้สืบค้นจากประเภทภาพยนตร์สั้นหรือยาว ปี
ที่ผลิต ประเภทของภาพยนตร์ ชื่อนักแสดง หรือผู้กากับ
 รายชื่ อ บุ ค ลากร (People Directory) ซึ่ ง สามารถสื บ ค้ น ผ่ านต าแหน่ ง และชื่ อ บุ ค คล หรือ
องค์กร

180
 รายชื่ อ บริ ษั ท (Companies Directory) ใช้ วิ ธี ก ารสื บ ค้ น เรี ย งตามตามตั ว อั ก ษร โดยให้
รายละเอี ย ดเกี่ ย วกั บ ความเชี่ ยวชาญของหน่ ว ยงานนั้ น ๆ เช่ น Production หรื อ Distribution รวมถึ ง รายชื่อ
ภาพยนตร์ที่เป็นผลงานของบริษัทด้วย
 รายชื่อเทศกาลภาพยนตร์ (Festival Directory) รายละเอียดเทศกาลภาพยนตร์ทั้ งหมดของ
ประเทศเกาหลีใต้ พร้อมช่วงเวลาจัดเทศกาล
 รายชื่อตลาดภาพยนตร์ (Market Directory) ให้รายละเอียดเกี่ยวกับตลาดสาหรับภาพยนตร์
แต่ละขั้นตอน ตั้งแต่ Pre-production จนถึงขั้นตอนการจัดจาหน่าย และเป็นแหล่งรวมการพบปะกัน ของทุ ก ภาค
ส่วนในอุตสาหกรรมภาพยนตร์
 รายละเอียดภาพยนตร์ที่เข้าฉาย (In Cinemas) โดยมีการแบ่งเป็นรายละเอียดภาพยนตร์ แ ละ
โรงภาพยนตร์ที่ฉาย ซึ่งมีการแยกว่าฉายด้วยซับ ไตเติ้ ลภาษาอั งกฤษหรื อการฉายในรูปแบบภาพย นตร์ อิสระ (Art
House)
 รายละเอียด Box Office ซึ่งนาเสนอข้อมูลเป็นรายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน และรายปี
 การร่วมมือผลิต (Co-Production) โดยแบ่งข้อมูลเป็น 4 ส่วน ได้แก่
(1) บริษัทที่มีความเชี่ยวชาญในด้านต่างๆ พร้อมช่องทางการติดต่อ
(2) การให้แรงจูงใจทางด้านภาษีส ถานที่ถ่ายทา (Location Incentive) โดยมีการแจก
แจงรายละเอียดสาหรับการเข้าร่วม โดยสามารถดาวน์โหลดข้อมูลไปใช้งานได้ในรูปแบบไฟล์ PDF
(3) รายละเอียดสมาคมภาพยนตร์ ท้อ งถิ่น พร้อมรายละเอีย ดเกี่ยวกับจุ ดเด่นของแต่ ล ะ
พื้นที่ การให้แรงจูงใจทางด้านภาษี และช่องทางติดต่อ
(4) ข้ อ ตกลงในการร่ ว มมื อ ผลิ ต (Co-Production Agreements) โดยสามารถดาวน์
โหลดข้อตกลงทางด้านกฎหมายของประเทศอื่น ออกมาได้ในรูปแบบไฟล์ PDF ทั้งภาษาอังกฤษและภาษาเกาหลี

(2) การให้องค์ความรู้และข่าวสาร
 มีการรวบรวมข่าวที่เกี่ยวข้องกับภาพยนตร์เกาหลี ใต้และสภาภาพยนตร์เกาหลี
 บทความน าเสนอการรายงานข้อ มู ล รายได้ Box Office และประเด็ น ที่ น่ า สนใจในวงการ
ภาพยนตร์ (Feature)
 การรวบรวมบทสัมภาษณ์ของบุคลากรจากวงการภาพยนตร์
 มี ก ารสร้ า ง K-Cinema Library เพื่ อ เป็ น บรรณานุ ก รมดิ จิ ทั ล ที่ สามารถสื บ ค้ น ภาพยนตร์
เกาหลีใต้ได้
 การนาเสนอกรณีศึกษาในด้านการผลิ ตร่ว ม (Ko-Production Case Study) กับคู่ค้าอื่น ซึ่งที่
มีการแยกส่งแบ่งทางการลงทุนที่ชัดเจน

181
 เปิดให้ดาวน์โหลดสื่อ สิ่ง พิ มพ์ วารสารเกี่ยวกับภาพยนตร์ (Korean Cinema Today) ในส่วน
ของหนังสือ จะมี การแยกเป็ นภาพยนตร์ เกาหลี ใต้ อุตสาหกรรมภาพยนตร์ เ กาหลี ซึ่ งให้รายละเอี ย ดทางตั ว เลข
ประวัติศาสตร์ภาพยนตร์เกาหลีใต้ โดยทุกเอกสารสามารถนาเอามาใช้งานได้ในรูปแบบ ไฟล์ PDF

ภาพที่ 50 แสดงตัวอย่างการนาเสนอข้อมูลของ KOFIC

การจัดเก็บข้อมูลของสภาภาพยนตร์ประเทศเกาหลี Korean Film Archive (KOFA)


Korean Film Archive หรือ KOFA เป็นหอภาพยนตร์แ ห่ง เดียวของประเทศเกาหลี ใต้ โดยมีสาขาย่ อ ย
อยู่ใน ปูซาน และบูชอน ได้รับการก่อตั้งในปี 1974 เป็นองค์กรที่รับหน้าที่สะสม อนุรักษ์ และจัดระเบียบภาพยนตร์
รวมถึงผลิตภัณท์ต่า งๆ ที่เกี่ยวข้องกับวงการภาพยนตร์ เช่น วีดิโอ ไฟล์เสียง โปสเตอร์ ภาพนิ่ง หนังสือ วารสาร
เสื้อผ้า อุปกรณ์ประกอบฉาก รูปภาพ การบันทึกภาพข่าว และสารคดี โดยมีการเก็บรัก ษาในรูป แบบฟิ ล ม์ หรือ
ดิ จิ ทั ล ภาพยนตร์ ต้ น ฉบั บ และส าเนาของประเทศเกาหลี ใ ต้ ส่ ว นใหญ่ ถู ก เก็ บ รั ก ษาไว้ ที่ นี่ KOFA มี ฐ านข้ อ มู ล
ภาพยนตร์เกาหลีใต้ที่น่าเชื่อถือที่มีชื่อว่า Korean Movie Database หรือ KMDB อีกทั้งยังมีส่วนในการผลิต DVD
ของภาพยนตร์คลาสสิก โดยมีเวปไซต์อยู่ที่ https://eng.koreafilm.or.kr/main

182
จากการค้นคว้าข้อ มู ลบนเว็บ ไซต์ ของ KOFA พบว่ามีการนาเสนอข้อ มู ลในลั กษณะของการอนุรั ก ษ์ เ พื่ อ
จุดประสงค์ของการศึกษาค้นคว้า ตามรูปแบบของหอภาพยนตร์ในรูปแบบ Cinematheque ที่มีทั้งการเก็บบู ร ณะ
และการจัดฉายภาพยนตร์คลาสสิ กอมตะ รวมถึงการจัดแสดงงานศิล ปะเกี่ย วกับ ภาพยนตร์ ต่างๆ ในลักษณะของ
พิพิธภัณฑ์ รวมถึงการให้บริการด้านข้อมูลและการจัดจาหน่ายที่เกี่ยวกับภาพยนตร์ ต่างๆ ที่ข้อแจกแจงรายละเอีย ด
ดังนี้
 KOFA ท าหน้ า ที่ ใ นการเป็ น สถานที่ ส ถานที่ เ ก็ บ สะสมบู ร ณะภาพยนตร์ ผลิ ต ภั ท ฑ์ ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ
ภาพยนตร์และการจัดฉายภาพยนตร์ที่ได้รับบูรณะ โดยเป็นเปิดพื้นที่ให้แก่ภาพยนตร์คลาสสิกและภาพยนตร์ ศิ ล ปะ
จากในแต่ต่างประเทศ โดยมีจุดมุ่ง หมายเพื่ อส่ ง เสริ มคุ ณค่า ของภาพยนตร์อ มตะไม่ไ ด้ถู ก ทาลายและถู ก ลื มจาก
สายตาผู้ชม รวมถึงภาพยนตร์ที่หาชมได้ยากอีกด้วย ซึ่งในส่วนนี้มีการเปิดให้จองตั๋วเข้าชมภาพยนตร์ในช่อ งทางตรง
หรือออนไลน์
 ห้ อ งสมุ ด ภาพยนตร์ ที่ เ ปิ ด โอกาสให้นั กวิ ช าการด้า นภาพยนตร์ และคนรัก ภาพยนตร์เ ข้ ามาใช้สื่อที่
เกี่ยวข้องกับภาพยนตร์ไว้ในที่เดียวกัน ซึ่งอยู่ในรูปแบบ DVD, VHS หรือ Blue-rays และสื่อสิ่งพิมพ์ของภาพยนตร์
ที่ถูกผลิตขึ้นภายในประเทศ ในส่วนภาพยนตร์คลาสสิกและภาพยนตร์ อิสระสามารถเข้าชมได้ ในระบบ Video On
Demand โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ที่
https://www.kmdb.or.kr/vod/main (เวปไซต์เป็นภาษาเกาหลีทั้งหมด)
 พิพิธภัณฑ์ภาพยนตร์ เป็นส่วนจัดการแสดงนิทรรศการภาพยนตร์เ กาหลี ใต้ ที่แบ่ งไว้ตามช่ว งเวลาและ
ประเภทเช่น นิทรรศการเกี่ย วกั บ วิชาชี พทางภาพยนตร์ การจัดแสดงรางวั ล ทางภาพยนตร์ หรือประวัติศ า สตร์
ภาพยนตร์เกาหลีใต้
 การเปิ ด ให้ บ ริ การเช่ ายืมภาพยนตร์เ กาหลี ใ ต้ โดยมี จุ ด ประสงค์ เ พื่ อ ให้ ความสะดวกต่ อ การจัดฉาย
ภาพยนตร์ทั่วโลก โดยมีการให้ข้อมูลเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ที่จาเป็นและช่องทางการติดต่ อ
 Korean Movie Database หรือ KMDB เป็นส่วนของฐานข้อมูลที่ใช้ในการสืบค้น ข้อมู ลภาพยนตร์ เ ก่ า
ที่ ไ ด้ รั บ การบู ร ณะ โดยภาพยนตร์ ส่ ว นใหญ่ มีก าร ให้ ลิ ง ค์ เ ข้ า ชมภาพยนตร์ รู ป แบบเต็ มได้ ท าง Youtube ที่
https://www.youtube.com/channel/UCvH6u_Qzn5RQdz9W198umDw
(ข้อมูลเป็นภาษาเกาหลี ภาพยนตร์ที่เผยแพร่ไม่มีซับไตเติ้ลภาษาอังกฤษ)
 การจัดจาหน่ายหนังสือการศึกษาเกี่ยวกับภาพยนตร์และตัวภาพยนตร์ในรูปแบบ DVD

183
ภาพที่ 51 แสดงตัวอย่างฐานข้อมูลของ KOFA

สรุปรายละเอียดการจัดเก็บและนาเสนอข้อมูลภาพยนตร์ของประเทศเกาหลีใต้
จากการศึกษาเว็บไซต์ของหน่ วยงาน KOFIC และ KOFA ในประเด็นเกี่ยวกับการจั ดเก็ บและการนา เสนอ
ข้อมูลนั้น จะเห็นว่าทั้งสองหน่ วยงาน มีลักษณะที่คล้า ยคลึง กัน กล่าวคือทั้งสององค์ก รมี ความต้อ งการให้ ค วามรู้
เกี่ ย วกั บ ภาพยนตร์ เ กาหลี ใ ต้ โดยผ่ า นการสร้ า งฐานข้ อ มู ล เพื่ อ สื บ ค้ น การให้ ค วามรู้ ถึ ง ประวั ติ ศ าสตร์ ข อง
อุตสาหกรรมภาพยนตร์ รวมถึงการแนะนาหนัง สือ บทความงานเขีย นต่า งๆที่ เ กี่ยวข้ องกับ การศึก ษาภาพยน ตร์
อย่างไรก็ตาม 2 หน่วยงานมีบทบาทและภารกิจที่แตกต่างกันบางส่วน อธิบายดังตารางที่ 41

ตารางที่ 41 ความแตกต่างระหว่างหน่วยงาน KOFIC และ KOFA


KOFIC KOFA
 มีช่องทางส าหรับ สื บค้ นข้ อ มู ล เกี่ ย วกั บ บุค ลา กร  มีการจัดฉายภาพยนตร์ ทั้ งในพื้น ที่ แ ละออน ไลน์
บริษัท และภาพยนตร์ พร้อมช่องทางการติดต่อ พร้อมระบบการจองที่นั่ง
 เน้นข้อมูลทางด้านธุ รกิจ ภาพยนตร์ และเทศกาล  เน้นฐานข้อมูลเชิ งอนุรัก ษ์ภาพยนตร์โบรา ณและ
ภา พยน ตร์ ร วมถึ ง กา ร ร่ ว มมื อ ผลิ ต (Co- อิ ส ระเพื่ อ สะท้ อ นคุ ณค่ า ของภาพยนตร์ ใ นด้าน
Production) ประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม
 มีการการจัดจาหน่ายภาพยนตร์ในรูปแบบ DVD

184
KOFIC KOFA
 น าเสนอสถิ ติ ร ายได้ Box office ภาพรวมของ  มีการจัดเก็บข้ อ มูล และผลิ ตภั ณฑ์ที่ เ กี่ยวข้ อ งกั บ
อุตสาหกรรม และจานวนภาพยนตร์ที่เข้าฉา ยใน ภาพยนตร์ เช่น สิ่งของประกอบฉาก
รูปแบบตัวเลข  มีการจัดแสดงในรูปแบบของพิพิธภัณฑ์
 มุ่งนาเสนอข้อมูลของภาพยนตร์ร่วมสมัยเป็ น ส่ ว น
ใหญ่ พร้ อ มความเคลื่ อ นไหวของอุ ต สาหกรรม
ภาพยนตร์ในปัจจุบัน
 น าเสนอข้ อ มู ล เชิ ง ลึ ก จากการสั ม ภาษ ณ์ แ ล ะ
กรณีศึกษาด้านการร่วมมือผลิต

ภาพที่ 52 แสดงฐานข้อมูลภาพยนตร์ในประเทศเกาหลีใต้

185
7.4.2 กรณีศึกษาฐานข้อมูลประเทศฝรั่งเศส
อุ ต สาหกรรมภาพยนตร์ใ นประเทศฝรั่ ง เศส มี ส ถานการณ์ ที่ ค ล้ ายคลึ งกั บ อุ ต สาหกรรมภาพยนตร์ใน
ประเทศไทยค่อนข้างมาก เนื่องด้วยการมองภาพยนตร์เป็ นสื่ อที่ส ะท้อนวัฒนธรรมของประเทศ มากกว่าการเป็ น
ผลิตภัณฑ์ทางเศรษฐกิจ เพื่อส่ งออกจาหน่า ยต่างประเทศ รวมถึงจานวนประชากรของประเทศฝรั่ง เศสที่ มีป ริ มาณ
ใกล้เคียงกับประเทศไทย (67 ล้านคนในปี 2564) อีกทั้งประเทศฝรั่งเศสมุ่งการผลิตภาพยนตร์ที่มี เอกลัก ษณ์ พร้อม
ต่ อ ต้ า นการครอบง าจากประเทศมหาอ านาจอย่ างประเทศสหรัฐ อเมริก า ด้ ว ยเหตุ ผ ลนี้ก ารจัด ฐานข้ อ มู ลของ
ประเทศฝรั่งเศสเหมาะสมในการเป็นต้นแบบให้แก่ อุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย

การจัดเก็บข้อมูลของศูนย์ภาพยนตร์และภาพเคลื่ อนไหว (Centre national du cinéma et de l’image


animée หรือ CNC)
ประเทศฝรั่ ง เศสมี ก ารจั ด การและสนั บ สนุ น อุ ต สาหกรรมภาพยนตร์ ที่ มีชื่ อ ว่ า ศู น ย์ ภ าพยนตร์ แ ละ
ภาพเคลื่ อ นไหว (Centre national du cinéma et de l’image animée หรื อ CNC) ซึ่ ง เป็ น หน่ ว นงานสั งกัด
กระทรวงวัฒนธรรมฝรั่งเศสและมีหน้า ที่ดูแลกิจการทั้ งหมดที่ เกี่ยวข้องกับอุ ตสาหกรรมภาพยนตร์ ในประเทศ ทั้งนี้
ภารกิจหลักของ CNC ได้แก่ การกากับดูแลการสนับสนุนอุ ตสาหกรรมภาพยนตร์ การออกอากาศวิ ดีโ อมั ลติ มี เ ดี ย
และการส่งเสริมภาพยนตร์และโทรทั ศน์เชิง เทคนิคเพื่อ เผยแพร่แก่ผู้ช มทุก คนและการอนุรั กษ์และพัฒนามรดกทาง
ภาพยนตร์ นอกเหนือจากการส่งเสริมและสนับสนุนอุตสาหกรรมภาพยนตร์ของประเทศฝรั่ง เศสแล้ว CNC ยังมีการ
จัดเก็บข้อมูลที่เ กี่ย วข้อ งกั บอุ ตสาหกรรมภาพยนตร์ที่ มีการเผยแพร่ บนเว็บ ไซต์ที่ https://www.cnc.fr/web/en
โดยแบ่งเป็น 6 หมวดที่สาคัญ ดังต่อไปนี้
(1) ข่าวประชาสัมพันธ์ เป็นหมวดที่รายงานข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมภาพยนตร์ รวมถึง
ข้อมูลเชิงสถิติต่างๆ และนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการผลิตหรือเผยแพร่ภาพยนตร์
(2) เอกสารเผยแพร่ (Publication) ซึ่งมีการแจกแจงรายงานการใช้จ่ายต่อ ครั วเรื อนที่เ กี่ ย วกั บ
ภาพยนตร์และวีดิทัศน์ในแต่ละปีในรูปแบบ ไฟล์ PDF
(3) ข้อมูลเชิ งสถิ ต เป็นการรวบรวมข้ อ มู ลที่ เ กี่ย วข้อ งกับ จานวนการรั บชมภาพยนตร์ จานวน
ใบเสร็จการซื้อภาพยนตร์ และตามสั ญชาติ ของภาพยนตร์ การรับชมภาพยนตร์ จาแนกตามสั ญชาติ จานวนการ
รับชมภาพยนตร์ สัญ ชาติฝรั่ ง เศส การรับชมภาพยนตร์ จาแนกรายวั น อาทิตย์แ ละรายเดื อน รวมทั้งจาแนกตาม
ภูมิภาคของประเทศ รวมทั้งยังให้ความสาคั ญกับ การรายงานของการรับ ชมภาพยนตร์ที่จาแนกตามอายุ สัญชาติ
จานวนภาพยนตร์ที่ผ ลิต ออกมาจาแนกรายสัญ ชาติ จานวนภาพยนตร์ที่ป ระสบความสาเร็จ ตั้ งแต่ ปี ค.ศ. 1945
เป็นต้น ในหมวดนี้เป็นการนาเสนอข้อมูลเชิงสถิติที่ถูกจัด เป็น 3 กลุ่มด้วยกันดังนี้

186
(3.1) ข้ อ มู ล เชิ ง สถิ ติ อี ก ชุ ด หนึ่ ง จะเป็ น ข้ อ มู ล เชิ ง สถิ ติ ที่ แ บ่ ง แยกเป็ น ภาคส่ ว น ( Sectoral
Statistics) ซึ่งข้อมูลในส่วนนี้สามารถดาวน์โหลดออกมาใช้งานได้ในรู ปแบบ Excel โดยแยกแยะออกเป็นประเภท
ดังต่อไปนี้
 ข้อมูลเชิงสถิติของโรงภาพยนตร์ในด้านการเข้าชมและภาพยนตร์ที่กาลัง เข้าโรงฉาย
 การส่งออกภาพยนตร์ (Distribution) โดยวัดเป็น เป็น จานวนรายได้ที่ มีการจาแน กเป็ น
ภูมิภาคต่างๆ ทั่วโลก
 การจั ด แสดงภาพยนตร์ (Film Exhibition) เป็ น ข้ อ มู ล ที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ จ านวนข้ อ มู ล
โดยทั่วไปเกี่ ยวกั บจานวนที่นั่ ง ในโลกภาพยนตร์ ผู้ให้บริการ หรือการสนับสนุน อุ ตสาหกรรมภาพยนตร์ รวมถึ ง
จานวนโรงภาพยนตร์ที่มีอยู่ในประเทศโดย เป็นต้น
 จานวนผู้ชมภาพยนตร์ (Movie-going public) โดยแยกตาม อายุ เพศ อาชีพ และถิ่น ที่
อยู่
 การผลิตรายการโทรทัศน์ ซึ่งมีการแบ่งข้อมูลตามประเภทได้ แก่ Animation สารคดี และ
รายการโทรทัศน์ทั่วไป
 ค่าใช้จ่ายต่อครัวเรือนกับภาพยนตร์และวีดิทัศน์
 รายได้ ข องภาพยนตร์ แ ละวี ดิ ทั ศ น์ โดยมี ก ารแบ่ ง ตามประเทศ เนื้ อ หา ประเภทของ
ภาพยนตร์ และประเภทของสื่อทั้งภาพยนตร์และวีดิ ทัศน์
 การรวบรวมข้อมูลทางสถิติของภาพยนตร์จากต่างประเทศ เช่น ทวีปยุโรป ประเทศญี่ปุ่ น
ประเทศอิตาลี ประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศออสเตรเลีย ประเทศสเปน และประเทศอังกฤษ โดยให้ข้อมูลตัวเลข
อย่างละเอียด เช่นส่วนแบ่งการตลาดในประเทศ การเข้าชม จานวนภาพยนตร์ที่ถูกผลิตต่อปี เป็นต้น
(3.2) จานวนผู้เข้าชมภายนตร์ (Theater Admission) ซึ่งเป็นการรายงานข้ อ มูล ในจ า นวน
ผู้ ช มจ าแนกเป็ น รายเดื อ น รวมทั้ ง ส่ ว นแบ่ ง การตลาด ( Market Share) ที่ มีก ารจ าแนกเป็ น ภาพยนตร์สั ญชาติ
ฝรั่ ง เศส ภาพยนตร์ สั ญ ชาติ อ เมริกั น และสั ญ ชาติ อื่ นๆ ทั้ ง นี้ สิ่ ง ที่ น่ าสนใจที่เ กี่ ย วข้ อ งกั บข้ อ มู ล จานวนผู้ เ ข้าชม
ภาพยนตร์คือหน่วยงานมีการจาแนกจานวนผู้เข้าชมภาพยนตร์จาแนกตามจานวนผู้เ ข้าชมตั้งแต่ เช่น ภาพยนตร์ที่
มีผู้ชมมากกว่า 5 แสนคนขึ้นไป 1 ล้านคนขึ้นไป 3 ล้านคนขึ้นไป เป็นต้น
(3.3) ในส่ ว นถั ด ไปที่ เ ป็ น ข้อ มู ล เชิ ง สถิ ติ คื อ Movie-going population "Barometer”
เป็นข้อมูลที่นาเสนอจานวนผู้ชมเช่น เดีย วกันแต่จ ะเน้น กับข้อ มูล เชิ งประชากรของผู้ เข้าชมภาพยนตร์ เช่น การเข้า
ชมภาพยนตร์ ที่ จ าแนกตามเพศ ตามอายุ อาชี พ ความถี่ ใ นการเข้ าชมภาพยนตร์ รวมทั้ ง สถานที่ ที่ เ ข้ ารับชม
ภาพยนตร์ เป็นต้น

187
(4) ทุ น สนั บ สนุ น ให้ ข้ อ มู ล และเอกสารสารที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ โครงการที่ เ ปิ ด โอกาสให้ ผู้ ส ร้ า ง
ภาพยนตร์สามารถสมัครเพื่อยืน ข้อ เสนอในการรับ เงิน ทุนสนับสนุ นโดยในหมวดนี้ จะมี การแนบเอกสารเพื่อ ให้ ผู้ ที่
สนใจสามารถอ่านรายละเอียดหรือเข้าไปสมัครได้จากเว็บไซต์นี้ได้ อย่างสะวด
(5) ข้ อ มู ล สั ญ ญาการผลิ ต ภาพยนตร์ ร่ ว ม (Coproduction Agreement) เป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ของ
เว็ บ ไซต์ ที่ น าเสนอเนื้อ หาที่เ ผยแพร่ สัญ ญาที่ป ระเทศลงนามร่ วมกั บ ประเทศอื่น ๆ เพื่ อ การพั ฒ นาและการผลิต
ภาพยนตร์ร่วมกัน อาทิ สัญญาร่วมกับประเทศเยอรมันในด้านกฎระเบียบข้ อบังคั บหรือสภาพตลาดตามจริง สัญญา
ร่วมกับประเทศจอร์เจียในด้านการผลิตภาพยนตร์ร่ว มกัน ตลอดจนการแลกเปลี่ยนภาพยนตร์ระหว่างสองประเทศ
เป็นต้น
(6) การลดหย่อนภาษี (Tax Rebate) เพื่อให้ผู้ที่ผลิตภาพยนตร์ หรือรายการโทรทัศน์ แอนิเมชั น
เว็บไซต์ หรือละครชุด (Series) เป็นต้น โดยต้องเป็น โครงการต้ อ งมีอ งค์ป ระกอบที่ เกี่ ยวข้ องกับ วั ฒนธรร มหรื อ
มรดกและดินแดนที่เกี่ยวข้องกับประเทศฝรั่งเศสหรือยุโรป

อย่างไรก็ดี เว็บไซต์ดั งกล่า วนั้ นเป็น ฐานข้ อ มูล ที่ ได้ รับ การจัด เอาไว้ เ อาเป็น ระบบและสามารถเข้า ถึ ง ได้
โดยง่ายซึ่งทาให้ผู้ผลิตภาพยนตร์หรือผู้ที่เ กี่ยวข้ องกับ อุตสาหกรรมทั้ งทางตรงและทางอ้อ มสามารถนาข้ อมูลนี้ ไ ปใช้
ในการคาดการณ์หรือวิเคราะห์ให้เห็นภาพรวมของอุ ตสาหกรรมภาพยนตร์โดยรวม อย่างไรก็ตามจากการศึกษาชุ ด
ข้อมูลโดยเฉพาะข้อ มูล เชิง สถิติ นั้นพบว่าไม่ค่ อยได้รับ การอั พเดตและเป็น ชุดข้ อมู ลที่ ค่อนข้า งเก่าและอาจจะไม่ เ ข้ า
กับบริบทที่การเผยแพร่ เ นื้อ หาผ่า นโครงข่ายอิ นเทอร์ เน็ ต เข้า มามี บทบาทอย่า งมากต่ อ การรั บ ชมภาพยน ตร์ ใ น
ปัจจุบัน

188
ภาพที่ 53 แสดงตัวอย่างฐานข้อมูลด้านสถิ ติของ CNC

ภาพที่ 54 แสดงฐานข้อมูลภาพยนตร์ในประเทศฝรั่งเศส

189
7.5 แนวทางการจัดฐานข้อมูลที่ควรมีเพิ่มเติมสาหรั บอุ ตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย

จากข้ อ มู ล ที่ ไ ด้ รั บ จากการสั มภาษณ์ เ ชิ ง ลึก และการประชุ มระดมสมองกั บ ผู้ เ ชี่ ยวชาญด้ านต่ างๆ ใน
อุตสาหกรรมภาพยนตร์ พบว่า ฐานข้อมูลที่มีประสิทธิ ภาพ ครบถ้วน และทันสมัย จะเอื้อประโยชน์ต่อการพั ฒ นา
วงการภาพยนตร์ข องประเทศไทยในหลายมิ ติ ทั้ ง ในด้ า นการพั ฒ นาบุ ค ลากรในอุ ต สาหกรรมภาพยนตร์ การ
ตัดสินใจลงทุน การช่วยเหลือและเยียวยาคนในอุ ตสาหกรรมภาพยนตร์ไ ด้อย่า งทั่วถึ ง และเป็นธรรม อย่างไรก็ตาม
สิ่งที่เป็นจุดอ่อนสาคัญ คือ อุตสาหกรรมภาพยนตร์ ของประเทศไทยยั งไม่ มีฐานข้ อ มูล ที่เ ป็นระบบ ข้อมูลยัง ขาด
ความครบถ้ ว นในหลายมิ ติ ฐานข้ อ มู ลที่ มี ได้ รั บ การจัด เก็ บและดู แลโดยหลายหน่ ว ยงาน ซึ่ ง แต่ ละหน่ว ยงานก็
ดาเนินการจัดเก็บข้อมูลตามวัตถุประสงค์ของหน่วยงาน และไม่ได้มีการเก็บอย่างต่ อเนื่อ ง รวมทั้งฐานข้อมูลยัง ไม่ มี
การเชื่อมโยงกันอีกด้วย ทาให้ข้อมูลที่มีอยู่มีลักษณะกระจัดกระจาย นาไปใช้ประโยชน์ต่อได้ยาก

7.5.1 ข้อเสนอแนะการพัฒนาฐานข้อมูลอุตสาหกรรมภาพยนตร์ข องไทย


การศึกษาครั้งนี้ พบข้อเสนอแนะในการพัฒนาสร้างฐานข้อ มูล เพื่ อพั ฒนาอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไ ทยใน 5
ด้านดังนี้

1. ฐานข้อมูลทางการตลาดและรายได้
ในปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลด้านการตลาดที่ส มบูรณ์ พร้อ มเพีย ง โดยเฉพาะเรื่องรายได้ที่แน่ชัด พฤติกรรมและ
รสนิยมของผู้ชม ทั้งนี้เป็นเพราะหลายปัจจัย หลายประการ อาทิการแข่งขันเข้มข้นในธุรกิจ ภาพยนตร์ ระบบสาย
หนัง กลยุทธ์ทางการตลาดที่ เ ป็น ความลั บ การขาดหน่วยงานกลางจั ด เก็ บ การขาดกฎหมายบั งคั บ การเปิ ด เผย
รายได้

ประการแรกข้อมู ลด้านรายได้ ไม่ มีการเก็ บรวบรวมอย่า งเป็น กิจจะลั กษณะ แต่มักเป็นการประมา ณการ
หรือคาดการณ์โดยผู้ เชี ยวชาญในอุต สาหกรรม สื่อมวลชน และนักวิจารณ์ภาพยนตร์ ยกตัวอย่างเช่น รายได้จาก
การจาหน่ายบัตร (Box office) ทีส่ ื่อมวลชน หรือ เวปไซต์ ภาพยนตร์ และโรงฉายรายงานกันอยู่นั้น มีวิธีเก็บข้อมู ล
จากการสอบถามตัวเลขคร่าวๆ จากโรงภาพยนตร์ หรือค่ายภาพยนตร์ต่างๆ แล้วก็มาจัดลาดับ เรียบเรียงเอง เป็น
ตัวเลขที่พอให้เห็นภาพรวม หรือตัวเลขสมมติที่ขาดหลั กฐานรองรับ จึงอาจจะไม่สะท้อนรายได้ภาพยนตร์ที่ ชั ด เจน
นอกจากนี้ปริมาณรายได้รวมที่นาเสนอก็ไม่ ได้บ อกจานวนตั๋ ว และ ราคาตั๋วที่แท้จริง เพราะแต่ละโรงในแต่ละเขตก็
ตั้งราคาตั๋วแตกต่างกัน นอกจากนี้ ข้อมูลรายได้ในปัจจุบันจะมีเฉพาะข้อ มูลของโรงในเขตกรุง เทพฯ และปริมณฑล
ไม่มีตัวเลขรายได้จากสายหนัง (ซึ่งตามปกติจะจ่ายค่ายภาพยนตร์หรือเจ้าของภาพยนตร์ ครั้งเดี ยว แต่นาภาพยนตร์
ไปฉายตามจังหวัด ต่างๆ แล้วเก็บรายได้ตามข้อ ตกลงกัน เอง) ไม่มีการเก็บสถิ ติย้ อนหลัง ตามหลักการตลาด การ

190
ทราบรายได้ที่แท้จ ริง จะช่ วยให้ สามารถวางแผนการเผยแพร่แ ละจั ดจาหน่ายภาพยนตร์ไ ด้ อย่า งมีป ระสิ ท ธิ ภ าพ
ดังนั้นการประมาณการรายได้เช่นนี้จึงเป็นข้อมูลไม่สมบูร ณ์ และไม่ครอบคลุมผลรายได้ทั้งประเทศ

นอกจากนี้ อุ ต สาหกรรมนี้ ยัง ขาดข้ อมู ล ที่ เ กี่ย วกับ พฤติ ก รรมของและรสนิ ยมของผู้ช ม ตั้ ง แต่ ป ระเภท
ภาพยนตร์ที่ชอบดู ความถี่การชมภาพยนตร์ ฐานข้อมูลที่มีใ นปัจ จุบัน ไม่รู้ว่ ากลุ่มไหนดู ภาพยนตร์ ไทย กลุ่มอายุ
เท่าไร ไม่มีข้อมูลจากโรงภาพยนตร์ ว่าภาพยนตร์แ นวไหนเป็น ที่นิย มในแต่ ล ะเดือ น (ยกเว้นการจ้างบริษัท วิจั ย ท า
รายงานศึกษาเป็นครั้งคราวแต่ไม่เปิดเผยต่อสาธารณะ เพราะเป็นข้อมูลลับของแต่ละส่วนงาน) และควรมีการศึกษา
ช่องทางการสื่อสารของผู้ บริโ ภคด้ วย เช่น ผู้ชมไปจ่ายเงินซื้ อ ตั๋ว เพราะเงื่ อนไขใด เพราะชื่นชอบ หรือ โปรโมชั่ น
ราคาตั๋ว เพราะความรู้สึกของผู้ชมต่อภาพยนตร์จริงๆ หรือเพราะการบอกปากต่อปาก หรือเพราะบทวิจารณ์ ดังนั้น
ข้อมูลที่จะช่วยให้วางแผนการตลาดได้อย่างบรรลุผล เช่น การเปิดเผยจานวนตั๋วที่จาหน่ายได้ทั้งภาพยนตร์ไทยและ
ต่างประเทศ การศึกษาพฤติกรรมของและรสนิยมของผู้ช ม เพราะจะทาให้ทราบว่าผู้ชมนิยมดูภาพยนตร์อะไร ชอบ
ภาพยนตร์แนวไหน และทาให้นายทุน ค่ายภาพยนตร์เห็นเทรนด์เ กี่ยวกับ พฤติกรรมของและรสนิย มของผู้ช ม ซึ่ง
ข้อมูลเหล่านี้ เ ป็น ส่ว นสาคั ญในการกาหนดทิ ศ ทางของผู้รั บ ชมภาพยนตร์ และส่วนแบ่ งการตลาดที่ มีผ ลต่ อ การ
วางแผนพัฒนาและการเติบโตของอุตสาหกรรมภาพยนตร์

ฐานข้อมูลผู้ชม หรือ แฟนภาพยนตร์ก็เป็นการจัดทาแบบต่างคนต่างทา และรูปแบบที่แตกต่างกัน ทั้งที่ทา


ผ่านเวปไซด์ของโรงภาพยนตร์ และผ่านแพลตฟอร์มการจาหน่ายบัตร (Ticket Platform เช่น Thaiticketmaster
และ Ticket Melon) เพราะฉะนั้นข้อมู ลที่ผู้ ซื้อ กรอกเข้า มาจะไม่ไ ด้สาเร็จรูป เสี ยที เดีย ว แต่จะเป็นข้อมูลดิ บ เช่น
ชื่อ นามสกุล อายุและอีเมล ซึ่งต้องนามาจัดระเบียบ ภายหลัง จึงควรพัฒนาแพลตฟอร์มที่ สามารถนาเสนอข้อมู ล
ดิบออกมาเป็นรายงานที่ สมบูร ณ์เ พื่อ การตั ดสิน ใจได้ตามพลวัตรในอุ ตสาหกรรมและระยะเวลาในการเผยแพร่ ต่ อ
สาธารณะ

นอกจากนี้ยงมีประเด็น เรื่อ งรายชื่อ บุค คลและสถานที่ติ ดต่ อ (Contact List) บุคลากรและผู้ประกอบการ


ในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ ปกติถ้าเป็นค่ายภาพยนตร์ ใหญ่ จะมีรายนามผู้ติดต่อ เช่น สหมงคลฟิลม์ เอ็มพิคเจอร์
แต่เนื่องจากยั ง มี ผู้อานวยการ ผู้กากับ ศิลปิน แรงงานสร้างสรรค์ ที่ เ กิ ดขึ้ น มากมาย โดยเฉพาะภาพยนตร์ ไทย
ในช่วงนี้ที่เริ่มสร้างชื่อขึ้น มาในช่ว งสองถึ งสามปีที่ผ่านมา ก็มักจะเป็นภาพยนตร์ไทยที่ไ ม่ มีค่าย และมีผู้อานวยการ
ท้องถิ่น ผู้สร้างภาพยนตร์ประจาจังหวัด หรือเฉพาะกลุ่ม จึงค่อนข้างลาบากในการเข้าไปติดต่อและการเข้าถึง ส่วน
ใหญ่จึงต้องติดต่อผ่านสื่อสัง คมออนไลน์ หรือเครือข่ายส่วนบุคคล จากเพื่อนๆ ในวงการที่คอยอัพเดตข่าวสาร การ
จัดทาระเบียนรายชื่อบุค คลและสถานที่ติ ดต่ อทีทั นสมัย เข้าถึงได้ง่ายจะเอื้อ ประโยชน์ ในการวางแผนการจ้า งงาน
เชื่อมต่อประสานและสร้างภาคีเพื่อการเติบโตของอุ ตสาหกรรมภาพยนตร์

191
ปัจจุบัน สมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แ ห่ง ชาติ เป็นแหล่งข้อมูล หลั กสาหรับรายได้ภาพยนตร์ป ระจาปี ใน
ระดับหนึ่งแต่ยังขาดความสมบูรณ์ และการอั พเดตให้ทัน สมั ย ด้วยเหตุนี้ ผู้เชี่ยวชาญจึงเห็ นว่าควรมี หน่วยงานกลาง
ในจัดเก็บข้อมูลรายได้ และข้อมูลทางการตลาด พฤติกรรมของและรสนิยมของผู้ชม เพื่อช่วยให้มีฐานข้อมูลเปิด เผย
ต่อสาธารณะสาหรับการกาหนดแนวโน้มการตลาด ทานายพฤติกรรมผู้บริโภค และแนวทางการผลิตเนื้อหาที่เป็ น ที่
นิยม อย่างไรก็ดี ในความเป็นจริง การเปิดเผยที่รายได้และกลยุทธ์ข้อมูลทางการตลาดของธุรกิจ อาจถือว่าเป็นการ
เปิดเผยความลับของบริษัทค่ายภาพยนตร์ และโรงฉายภาพยนตร์ และอาจมีผลกระทบหลายอย่าง เช่น การจัดเก็บ
ภาษีสรรพากร การรู้กลยุทธ์การแข่งขันในอุตสาหกรรม ดังนั้นจึงอาจจะต้องพิจารณาเรื่องการมีกฎหมายบั งคับ การ
เปิดเผยรายได้ภาพยนตร์อย่างประเทศสหรัฐ อเมริกา ซึ่งก็ใช้เวลานานอยู่นานในการที่จะพัฒนากฎหมายเพื่อ บั ง คั บ
ให้บริษัทภาพยนตร์ต่างๆ ค่ายภาพยนตร์ หรือโรงภาพยนตร์ เปิดเผยยอดตัวเลขจริงได้

2. ฐานข้อมูลเกี่ยวกับภาพยนตร์ไทย รวมถึงภาพยนตร์ที่เข้าฉายในประเทศ
การท าฐานข้ อ มู ล รวมส าหรั บ ภาพยนตร์ (Database) ที่ ค่ อ นข้ า งละเอี ย ดเป็ น เรื่ อ งส าคั ญ ปั จ จุ บันใน
ประเทศไทยมี ก ารจั ด ท าฐานข้ อ มู ล เกี่ ย วกั บภาพยนตร์ ไ ทยตามวั ต ถุ ป ระสงค์ เ ฉพาะ เช่ น โรง ภาพยนตร์ ค่ าย
ภาพยนตร์ มีข้อมูลภาพยนตร์ที่ เข้าฉายในลั กษณะโฆษณาประชาสัมพัน ธ์ สื่อบันเทิงและเวปไซต์ภาพยนตร์ ไ ทยมี
การเก็บข้อมูลที่กระจัดกระจายตามความสนใจของผู้ สื่อข่า วและตามความนิย มของผู้ ชม ในขณะที่หอภาพยนตร์ มี
การจัดเก็บข้อมูลภาพยนตร์ไทยเพื่อ การศึก ษาและการอนุรักษ์ เป็นระบบที่สุ ดแต่ยั ง มีข้อ มูลไม่ ครบถ้ว น นอกจากนี้
ยังมีมีฐานข้อมูลหรื อระเบี ยนการจั ดฉาย รายได้ของภาพยนตร์ต่า งประเทศที่ เข้าฉายในประเทศตามช่ องทางและ
พื้นที่ต่างๆ จากการสัมภาษณ์แ ละสนทนากลุ่ ม พบว่าแม้ ว่า มีผู้ พยายามจัด ทา แต่ยังไม่เห็นเป็นรู ปเป็นร่า ง และมี
ลั ก ษณะต่ า งคนต่ า งท า ผู้ เ ชี่ ย วชาญจึง เห็ น ควรที่ จะมี ศู น ย์ ก ลางในการจั ด สร้ างฐานข้ อ มู ล ส าหรับ ภาพยนตร์ที่
ครบถ้วนมีประสิทธิภาพ

กระบวนการจัด ท าฐานข้ อ มู ล ควรครอบคลุมตามห่ วงโซ่ คุ ณ ค่ า ตั้ ง แต่ ก ารผลิ ต การจัด จาหน่าย การ
เผยแพร่ และการบริ โ ภค เช่ น รายละเอี ย ดภาพยนตร์ ก่ อ นการผลิ ต ระหว่ า งการผลิ ต และผลิ ต เสร็ จ แล้ ว มี
รายละเอียดภาพยนตร์ เช่น รายชื่อภาพยนตร์ไทยพร้อมทั้งเรื่องย่ อ นักแสดง ผู้กากับ ผู้ผลิต ภาพนิ่ง คลิปตัวอย่า ง
ปีที่ฉาย ประเทศที่ฉาย ระดับความเหมาะสมของภาพยนตร์ เป็นต้น แม้กระทั่งการทาเทศกาลภาพยนตร์ ก็ ค วรมี
การจัดเก็บข้อมูลให้เป็นระบบเพื่อใช้เป็นหลั กฐานและเอกสารสาคัญในการศึกษา ค้นคว้าภาพยนตร์ไทยต่อไป

นอกจากนี้ ควรมีระบบการจั ดเก็บ ฟิ ล ม์ภาพยนตร์ ที่ เข้า ถึง ง่ายและเป็ นระบบ ยกตัวอย่างเช่นการแปลง
ฟิ ล์ มเก่ า ใหเป็ น ข้ อ มู ล ดิ จิ ทั ล (Digital File) ส าหรั บ ค้ น คว้ า ข้ อ มู ล และท าวิ จั ย การจั ด ท าข้ อ มู ล เรื่ อ งลิ ข สิ ท ธิ์
(Copyright Protection) เพื่อป้องกันภาพยนตร์ถู กละเมิด ลิข สิท ธิ์ การเก็บภาพยนตร์หรื อ ฟุต เทจดิบ ไว้ ที่ผู้ ส ร้ า ง

192
ขณะเดียวกันก็ส่งไปให้หน่วยจัดเก็บ อื่นๆ เพื่อเป็นฐานสารอง (Backup) เช่น บริจาคให้หอภาพยนตร์ เพื่อเป็นฟิ ล์ ม
สารอง และอนุญาตให้น าไปใช้ เผยแพร่ เ พื่อ ประโยชน์ สาธารณะในบางกรณี ไ ด้ การบริหารจัดการแพลตฟอร์ ม
หลากหลายทีข่ ้อมูลถูกเก็บ ข้อมูลเกี่ยวกับเทคโนโลยี ที่ใช้ เพื่ อการผลิ ตภาพยนตร์ เช่นด้วยกล้องดิจิทัล หรือ ใช้ม้ว น
ฟิลม์ ซึ่งตามปกติภาพยนตร์ ฟอร์ มใหญ่ อาจจะมีข้ อ มูล เหล่ านี้แ ต่ถ้า ภาพยนตร์เ ล็ก ๆ จะไม่บันทึกข้อ มูล แบบนี้ ซึ่ง
เป็นข้อมูลทีม่ ีประโยชน์ต่อผู้ ที่ต้อ งการศึ กษาเรื่ องภาพยนตร์ รูปแบบของไฟล์ รูปแบบการทางาน รุ่นของกล้องที่ใ ช้
ถ่าย บริษัทถ่ายทา หรือสาเนาของภาพยนตร์ถูกเก็บไว้ที่ไหน หรือภาพยนตร์ถูกนาออกฉายในต่างประเทศ คืออะไร
ประเทศอะไรบ้าง การจัดเก็บข้อมูลทั้งหมดนี้แสดงให้ เห็นว่า วงจรชีวิต ของภาพยนตร์ไ ม่ไ ด้อยู่ แค่ ตัวภาพยนตร์ เ อง
แต่อยู่ที่ว่าเกิดมาจากไหน มีผลกระทบอะไร และได้ฝากความรู้ความทรงจาเพื่อประโยชน์ของผู้ใช้ภายหลังอย่างไร

สาหรับประเทศไทย หอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) เป็นศูนย์รวมข้อมูลภาพยนตร์ไทยหลักที่ สาคัญ เป็น


หน่ ว ยงานของรั ฐ ที่ ทาหน้ าที่ ค ล้ ายกั บ หอสมุ ด พิ พิธ ภั ณฑ์ หอศิ ล ป์ ที่ เ ก็ บ ภาพยนตร์แ ละ วี ดิ ทั ศ น์ ตลอดจนสิ่ง
เกี่ยวเนื่องกับภาพยนตร์และวี ดิทั ศน์ เพื่ออนุรักษ์ไว้เป็นทรัพย์สิ นทางปัญ ญาและมรดกทางศิลปวัฒนธรรมของชาติ
และนาออกบริการ ให้ประชาชนได้ ศึก ษา ค้นคว้า และชื่นชมหรื อ ใช้ ประโยชน์อ ย่า งสะดวกและกว้า งขวาง หอ
ภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) ให้คุณค่าภาพยนตร์ว่าเป็นสื่อ การเรีย นรู้ที่ดี ที่สุ ดอย่า งหนึ่ง ของมนุ ษย์ และอาจยังให้
เกิดปัญญาได้ (ดูเพิ่มเติมที่เวปหอภาพยนตร์ 143) แต่กระบวนการทางานเรื่องฐานข้อ มูลภาพยนตร์ ไทยก็อาจจ ะยั ง
ไม่ ค รบถ้ ว นสมบู ร ณ์ ต ามเจตนารมณ์ เนื่ อ งจากขาดความร่ วมมื อ ประสานงาน กับ ภาคเอกชนที่ เ ป็น เจ้า ของตัว
ภาพยนตร์แม้กระทั่ งบทภาพยนตร์ที่ จ ะเก็บ ไว้ ใ ห้ค นรุ่น ต่ อไปได้ ศึก ษาก็ยั งหาได้ยาก การไม่ค่อยรู้ประวัติ ศ า สตร์
ภาพยนตร์ไทยอาจส่ ง ผลให้ คนไทยไม่ ค่ อยรั ก หรือ นิย มภาพยนตร์ ไ ทย เพราะไม่ค่ อยรู้จัก จึง ไม่ เห็น คุ ณค่า ข้อมู ล
ความรู้เหล่านี้อาจจะหายไป จึงควรจะจัดทาฐานข้อมูลรวบรวมเรื่องนี้อ ย่างจริงจังและรอบด้าน

ในขณะเดีย วกัน ผู้เชี่ยวชาญก็มีข้ อเสนอให้ประเทศไทยควรพั ฒนา ฐานข้ อมู ล ตามต้ นแบบนานาชาติ คื อ


The Internet Movie Database หรื อ เป็ น ที่ รู้ จัก กั น ในนามเว็บ ไซต์ IMDb.com ซึ่ ง เปิ ด ให้ บ ริ ก ารตั้ง แต่ ปี พ.ศ.
2533 และถูกซื้อโดย Amazon.com ในปี พ.ศ. 2541 เป็นเว็บไซต์ฐานข้ อ มูล เกี่ ยวกั บภาพยนตร์ ทั่ว โลก มีข้อมู ล
เกี่ยวกับภาพยนตร์จานวนมหาศาล มีรายละเอียดภาพยนตร์ เรื่องย่อ นักแสดง ผู้กากับ ผู้ผลิต ปีที่ฉาย ประเทศที่
ฉาย เรตติ้งของภาพยนตร์ และมีการเชื่อมโยงไปข้อมูล อื่นๆที่ เกี่ยวข้อง ได้รับความนิยมในการนาข้อมูล ไปใช้อ้ า งอิ ง
ที่สาคัญคือยัง เป็น พิ้น ที่ส าหรั บ ผู้ช มภาพยนตร์จากทั่ วโลกเข้า มาให้ ค ะแนนภาพยนตร์ที่ ดูจ บไปแล้ ว รวมทั้ง ร่ ว ม
วิจารณ์บนเว็บไซต์ได้ เลย ดดยผ่านระบบการเป็นสมาชิ กแบบไม่เ สียค่า ใช้จ่าย ประเด็นปัญหาที่ต้องขบคิ ดคื อ จ ะมี
หน่วยงานกลางใดที่น่าเชื่อถือและมีประสิ ทธิภาพเป็นผู้จั ดทาฐานข้ อ มูลแนวนี้ มีการลงทุนเรื่องฐานข้อ มูลและการ

143
https://www.fapot.or.th/main/about/history

193
บริการข้อมูลเชิงลึกอย่างไร รวมถึงการเข้าถึงฐานข้อมูลผ่านระบบบอกรับสมัครสมาชิก หรือให้ สาธารณชนใช้ ไ ด้ ฟรี
โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

3. ฐานข้อมูลเกี่ยวกับแรงงานสร้างสรรค์และบริษัทในอุตสาหกรรมภาพยนตร์
การมีฐานข้อมูลแรงงานสร้า งสรรค์ จะช่วยให้ทราบว่ามีแรงงาน หรือ ผู้มีความสามารถในกองถ่ายเท่ า ไร
เพื่อประเมิ น การค่า ตอบแทนและค่า ใช้จ่า ยที่ ส ะท้อ นเม็ด เงิน ที่ ห มุน อยู่ ในเศรษฐกิจ อย่ างถู กต้ อ ง แต่ข้อมู ล ด้ า น
มาตรฐานแรงงาน การว่าจ้างบุคลากรในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทยยังเป็นสิ่งที่ขาดหาย ผู้เชี่ยวชาญจึงเสนอแผนที่
จะทาฐานข้อมูลของแรงงานสร้างสรรค์ (Creative Talents) บุคลากรคนไทยที่อยู่ในตาแหน่ งงานต่างๆ บุคลากร
ในกองถ่าย จานวนผู้เชี่ยวชาญและประสบการณ์ใ นแต่ ล ะสาขา ผลงานที่เป็น ที่ป ระจั ก ษ์ห รื อยอมรั บ ในวงการ
สถานที่ติดต่อ รวมทั้งการกาหนดมาตรฐานค่าแรงขั้นต่าของแต่ละส่วนในห่ วงโซ่ คุณค่า ค่าตอบแทนในแต่ละแผนก
เพื่อช่วยให้ตัดสินใจว่าจะว่าจ้างใคร เพราะการผลิตภาพยนตร์แต่ละประเภทจะมีวิธี การทางานที่ไม่เหมือนกัน

นอกจากนี้ ยังควรต้องมีการทาฐานข้ อมู ลเกี่ยวกั บระบบการว่าจ้าง อาทิ เงื่อนไขฐานภาษี แรงจูงใจต่า งๆ


ส าหรั บ การสร้ า งภาพยนตร์ (Incentives) ระเบี ย นข้ อ มู ล ผู้ ป ระสานงานเพื่ อ อ านวยความสะดวกแก่ ก องถ่าย
ต่างประเทศและกระบวนการ Post Production การอัพเดทข้อ มูล ธุร กิจที่ เกี่ ยวเนื่ องกับ สิ่ งอานวยความสะดวก
ข้อมูลเหล่า นี้จ ะช่ว ยให้ แรงงานในอุ ต สาหกรรม และนักเรีย นนั ก ศึ ก ษาที่เ ลื อกเรีย นสายภาพยนตร์ แอนิเ มชั น
สามารถทราบค่าตอบแทนตามขอบเขตการทางาน และสวัสดิการ รวมถึงทราบความหลากหลายในสายงานว่า มี ทั้ ง
เบื้องหน้า เบื้อหงหลัง และการพัฒนาขยับตามสายอาชี พต่างๆ ที่มีมากมาย ในขณะเดียวกัน บริษัท ต่างประเทศ
ที่ มาจ้ า งแรงงานในประเทศไทยก็ สามารถมี แ หล่ ง อ้ างอิ ง ในการเจรจาต่ อ รองให้ ส อดคล้อ งตามมาตรฐานของ
อุตสาหกรรม นอกจากนี้ ยังช่วยประเมินว่าควรได้รับสวัสดิการการดูแลเหมือนแรงงานปกติอย่า งไร โดยเฉพาะเรื่อ ง
สุขภาวะของคนทาภาพยนตร์ในสถานการณ์โควิด แต่ข้อมูลเหล่านี้หาได้ยากเพราะมาตรฐานในการบริหารจัด การ
ในแต่ละโปรดักชั่นไม่เหมือนกัน โดยเฉพาะแรงงานที่ประกอบอาชีพนี้แบบอิสระหรือ ฟรีแลนซ์ และปัจจัยด้านสังคม
เศรษฐกิจ วัฒนธรรมในแต่ละห้วงเวลา

4. ฐานข้อมูลด้านแหล่งทุน
การรวบรวมข้อมูลด้านแหล่ง ทุนสาหรั บผลิ ตและเผยแพร่ภาพยนตร์ เป็นประเด็นที่มีการเรียกร้ องเช่ น กั น
เพราะยังไม่มีการรวบรวบอย่างเป็นทางการและเป็นระบบระเบียบบนเว็บไซต์เ ดียวที่จะช่วยเป็น ศูนย์รวมข้ อมูล ด้ า น
แหล่งทุน ในปัจจุบันคนในอุตสาหกรรมภาพยนตร์จ ะหาข้อ มูลหลัก ๆ เกี่ยวกับแหล่งเงินทุน จากสานักงานกองทุ น
พัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ และ กระทรวงวัฒนธรรม ข้อมูลที่เหลือกระจัดกระจายอยู่เวปหน่วยงาน องค์กร
ต่างที่มีโครงการเฉพาะกิจสาหรับให้ทุนสร้างภาพยนตร์ตามเงื่ อนไขและข้อกาหนดต่างๆ และสื่อสังคมออนไลน์ เช่น

194
Facebook ซึ่งเป็นกลุ่มที่สร้างขึ้นมาสื่อสารกันเองภายในกลุ่ม หรือแหล่งทุนจากต่างประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษหรื อ
ภาษาต่างประเทศจึงเป็นข้อจากั ดสาหรับ คนไทยในอุ ตสาหกรรมภาพยนตร์ หลายๆท่าน และหลายโอกาส บุคคลที่
ได้รับทุนจึงมักเป็นคนเดิม หรือมีชื่อเสียง เพราะมีผลงานเดิมที่ประสบความสาเร็จเป็น เครื่องยืนยัน ในขณะที่คนรุ่ น
ใหม่อาจจะเสียเปรียบกว่าในการเข้าถึงแหล่งทุน

ในขณะเดียวกัน ฐานข้อมูลเกี่ยวกับการลงทุนด้านเศรษฐกิจสร้างสรรค์ สามารถหาได้จากสถิติการส่งเสริ ม


การลงทุน จากสานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (Board of Investment หรือ BOI) ซึ่งให้ข้อมูลว่าบุคคล
หรือหน่วยงานที่มารับการส่งเสริมการลงทุนนั้นทากิจการประเภทอะไร เป็นชาติไหน ลงทุนเท่าไร ได้สิทธิประโยชน์
อะไร อย่างไรก็ดี สิ่งทีส่ านักงานคณะกรรมการส่ ง เสริ มการลงทุน เน้น คื อ ทิ ศทางที่ชั ด เจนและความต้อ งการของ
ภาคเอกชน และเป็นไปตามแรงจูงใจ ซึ่งในปปัจจุบันไม่มี เนื่องจากไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขการลงทุนได้ ซึ่ง
อาจจะต้องมี การพิจารณาความเหมาะสมของเงื่ อนไขนี้กั นใหม่ หากต้องการส่ง เสริ มอุ ตสาหกรรมภาพยน ตร์ ใ น
ประเทศไทย

5. ฐานข้อมูลเกี่ยวกับสถานที่ต่างๆ ที่เหมาะกับการถ่ายทาภาพยนตร์ในประเทศไทย
กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ย วและกีฬา เป็นหน่วยงานรฐที่ทาหน้าที่อ นุมัติใ นเรื่ องการขอใช้
พื้นที่ถ่ายทาในประเทศไทย ร่วมกับหน่วยงานรั ฐบาลและเอกชนอื่น ๆ เวปไซต์ของกรมมี สถิ ติรายไตรมาสแสดง
จานวนผู้ที่ได้รับอนุญาตและจานวนเงินลงทุน รวมทั้งแรงจูงใจต่างๆ อาทิ ส่วนลดและการคืนเงิน (Rebate) (ตามที่
อธิบายในบทที่ 3) แต่ยังขาดความครบถ้วนด้านข้อมูลรูปภาพสถานที่ถ่ายทาและรายละเอียดที่ ช่วยในการตัด สิ น ใจ
ของผู้ที่จะขออนุ ญาตเข้า มาถ่ายทาในประเทศไทย จึงเป็นภาระของเอกชนหรื อคนกลางที่ ประสานกั บกองถ่ า ย
ต่างประเทศในการเสนอรูปภาพให้เลื อก ซึ่งมีรายละเอียดปลีกย่ อยเช่น สภาพทางภูมิศาสตร์ข องสถานที่นั้ น เป็น
ทะเลหรือเกาะ ระบบโลจิสติกส์เหมาะสมกับกองถ่ายขนาดใหญ่ ๆ หรือไม่ มีที่พักและสิ่งอานวยความสะดวกหรื อ ไม่
และมีระบบการจัดเก็บภาษีอย่า งไร เขาก็ไม่เลือกบางทีมันไม่ ครบ เพราะสุดท้ายแล้วเนี่ย แต่ภายในระบะเวลาครึ่ ง
ชั่วโมงเขาไม่สามารถเดินทางไปถึงได้

อย่างไรก็ดี ข้อมูลเหล่านี้ มักเป็น ข้อ มู ลของบริษั ท แต่ ล ะแห่ง ซึ่ ง มีกาหนดมาตรฐานไม่ เหมื อนกัน และไม่
เปิดเผยในวงธุรกิจ แต่เป็นค่าจ้างค่าตอบแทนที่ ตกลงกันเป็นรายกรณี ผู้เชี่ยวชาญจึงเห็นควรที่ จะมี มาตรฐานการ
ว่าจ้างและจัด การที่ เ ป็น ราคากลาง หรือมี สหภาพของอุต สาหกรรมภาพยนตร์ เ พื่ อ พิทั ก ษ์สิ ท ธิข องสมาชิ ก เช่น
ค่าตอบแทนทีมช่างไฟควรเป็น เท่านั้ นเท่า นี้ต่ อชั่วโมง นักแสดงควรเป็นเท่า นั้นเท่านี้ โลเคชั่นควรเป็นสถาน ที่ แ บบ
ไหน ถึงจะไม่รบกวนผู้อื่น คิดราคาต่อชั่วโมงเป็นเท่าไหร่ ต้องมีค่าจิปาถะอะไรบ้าง เพื่อให้ผู้ลงทุนสามารถตัด สิ น ใจ
คิดราคาต้นทุนการผลิตโดยรวมได้แม่นยามีประสิทธิภาพมากขึ้ น และจะไม่เกิดปัญหาราคากลางที่ไ ม่เป็น ธรรมแปร

195
ผันตามประเภทงานหรื อบุ ค คล เช่นทีมงานช่างภาพที่ทางานให้กองถ่ายภาพยนตร์ โฆษณา (ซึ่งมีเงินทุนสูง) จะได้
ค่าตอบแทนกองถ่ายภาพยนตร์น้อยกว่า ทั้งๆที่ทาหน้าที่เดิม และเงื่อนไขการทางานใกล้เคียงกัน

7.5.2 การประยุกต์ใช้ฐานข้อมูลอุ ตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย


การสรุปข้อเสนอแนะการประยุกต์ ใช้ฐานข้ อมู ลอุต สาหกรรมภาพยนตร์ไทยจากการสั มภาษณ์เ ชิงลึ ก และ
การประชุมระดมความคิดเห็นจากผู้เชี่ยวชาญและบุคลากรในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ ซึ่ งสามารถสรุปได้ ดังนี้

1. ควรจัดตั้งหน่วยงานกลางที่รับผิดชอบการบริหารจัดการฐานข้อมูล
ในประเทศไทยมีหน่วยงานของรัฐ ที่ทาหน้าที่ กากับ ดูแล และส่งเสริมอุตสาหกรรมภาพยนตร์ ในด้านของ
ฐานข้อมูล จะพบว่าหน่วยงานต่างๆ ได้จัดทาฐานข้อมูล ตามวั ตถุ ประสงค์ การใช้ งานของหน่ว ยงานตนเอง และมี
หลายกรณีที่เป็นการจัดเก็บข้อ มูลเฉพาะกิจ กล่าวคือ จัดเก็บรวบรวมข้อมูลเฉพาะเรื่อ งและระยะเวลาที่ หน่ว ยงาน
ตนเองต้องใช้เท่านั้น
นอกจากนี้ ฐานข้อมูลของแต่ละหน่วยงานก็ยั งไม่เชื่ อมโยงกัน ทาให้การนาไปใช้ต่อทาได้ยาก ดังนั้น สิ่งที่
ควรดาเนินการ คือ การจัดตั้งหน่วยงานกลางที่รั บผิ ด ชอบการบริหารจั ดการฐานข้ อ มู ล โดยหน่วยงานดั ง กล่ า ว
จาเป็นต้องมีทั้งอานาจ หน้าที่ และทรัพยากรที่เหมาะสมเพื่อ ดาเนินงาน หากมีหน่วยงานกลางที่รับผิดชอบโดยตรง
ก็จะสามารถแก้ไขปัญหาในเรื่องการกระจัดกระจายของข้อ มูล และทาให้ข้อมูลได้รับการจัดเก็บอย่างครบถ้วน ตรง
ตามเป้าหมาย และนาไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเป็นรูปธรรม

2. ควรจัดเก็บรวบรวมข้อมูลอย่างครบถ้วนและหลากหลาย
ปั ญ หาหนึ่ ง ที่ ผู้ ให้ สั มภาษณ์ เ ชิง ลึ ก ได้ ส ะท้ อ นออกมาร่ว มกั น คื อ ข้ อ มู ล ที่ จั ด เก็ บ นั้น ไม่ ค รบถ้ว นและไม่
หลากหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลรายได้การจาหน่ายภาพยนตร์ หรือ Box Office ที่มีการรวบรวมไว้เฉพาะใน
พื้นที่กรุงเทพมหานครและปริ มณฑลเท่านั้น ยังขาดตัวเลขรายได้การจาหน่ายภาพยนตร์ในต่างจัง หวัด นอกจากนี้
ในส่วนของข้อมูลที่จาเป็นและเป็นประโยชน์ด้านอื่นๆ ก็ยังกระจัดกระจาย ไม่ครบถ้วน เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับบุคลากร
ในอุตสาหกรรมภาพยนตร์ ข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมของผู้ชมภาพยนตร์ เป็นต้น

3. ควรมีการนาเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบและปรับปรุงข้อ มูลที่นาเสนออย่างต่อเนื่ อง
ฐานข้ อ มู ล ที่ มีค วรถู กรวบรวมและนาเสนออย่ างเป็ นระบบ เข้ า ถึ ง และค้ น หาได้ ง่ า ย รวมทั้ ง ควรมีการ
ปรับปรุงฐานข้อมูลให้ทันสมัยอยู่เสมอ เนื่องจากอุตสาหกรรมภาพยนตร์ในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

196
7.5.3 แนวทางการดาเนินงานการจัดทาฐานข้ อมูลของอุ ตสาหกรรมภาพยนตร์
จากการศึกษาข้อมูลโดยการสั มภาษณ์ เชิ งลึ ก การประชุมระดมความคิด เห็น และการศึกษาเปรียบเที ย บ
ฐานข้อมูลอุตสาหกรรมภาพภาพยนตร์ ของประเทศไทย เปรียบเทียบกับประเทศเกาหลีใ ต้ และประเทศฝรั่ ง เศส
คณะผู้วัยพบว่าสิ่งที่ควรดาเนินการ คือ การจัดตั้งหน่วยงานกลางที่มีอานาจ หน้าที่ และทรัพยากรที่เหมาะสม เพื่อ
ทาหน้าที่บริหารจัดการฐานข้อ มู ลของอุ ตสาหกรรมภาพยนตร์ เพื่อแก้ไขปั ญหาในเรื่ องการกระจัด กระจายของ
ข้ อ มู ล และท าให้ ข้ อ มู ล ได้รั บการจัด เก็ บอย่ างครบถ้ว น ตรงตามเป้ าหมาย และน าไปใช้ ประโยชน์ ไ ด้ อย่ างเป็น
รูปธรรม โดยหน่วยงานดังกล่าว ควรดาเนินการ ดังนี้

1) กาหนดวัตถุประสงค์การใช้งานข้อมูลที่ชัดเจน
โดยให้ครอบคลุ มผู้ มีส่ วนได้ เ สียทุ กภาคส่ว นได้ มีส่ วนร่ ว มในการออกแบบการจัด เก็ บและนาเสนอข้ อ มู ล
ทั้งนี้ หน่วยงานดังกล่ าว ควรเริ่มต้นจากการกาหนดวัต ถุประสงค์ การใช้ งานข้ อ มูล ที่ชั ด เจน ครอบคลุม โดยต้ อ ง
สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอุต สาหกรรมภาพยนตร์ในมิ ติต่า งๆ นอกจากนี้ ควรเปิดโอกาสให้ผู้ มีส่ว นได้ เ สี ย
จากทุ ก ภาคส่ว นได้ มีส่ วนร่ว มในการออกแบบการจัด เก็ บ และการน าเสนอข้อ มู ล เพื่ อ ให้ ก ารเก็ บ ข้อ มู ล มี ค วาม
ครบถ้วนในทุกมิติ และข้อมูลที่เก็บรวบรวมมา สามารถนาไปใช้ประโยชน์ได้จริง

2) จัดเก็บรวบรวมข้อมูลอย่างครบถ้วนทุกมิติ
การจัดเก็บรวบรวมข้อ มูล ของหน่ วยงานดั ง กล่าว ควรพิจารณาให้มีความครบถ้วนในทุ ก มิติ ตลอดห่ ว งโซ่
มูลค่าของอุตสาหกรรมภาพยนตร์ เช่น ข้อมูลบุคลากรทุก สาขาในอุต สาหกรรมภาพยนตร์ ข้อมูลบริษัทต่า งๆใน
อุตสาหกรรมภาพยนตร์ ข้อมูลรายได้ของภาพยนตร์ทั้ งของประเทศไทยและต่างประเทศครอบคลุ มทุ กจังหวัด ทั่ว
ประเทศไทย ข้ อ มู ล ผู้ ช ม ข้ อ มู ล ด้ า นการศึ ก ษาในสาขาภาพยนตร์ ข้ อ มู ล ทุ น สนับ สนุน จากทั้ งในประเทศและ
ต่างประเทศ เป็นต้น

3) นาเสนอข้อมูลในรูปแบบที่เข้าถึงได้ง่าย
ฐานข้อมูลอุตสาหกรรมภาพยนตร์ของประเทศไทยยั งมี ลักษณะกระจัดกระจาย เข้าถึงได้ยาก นาไปใช้งาน
ต่ อ ได้ ย าก ดั ง นั้ น ฐานข้ อ มู ลที่ จะพั ฒ นาขึ้ นใหม่ นั้น ควรที่จ ะนาเสนอข้ อ มู ล ในรูป แบบที่เ ข้ าถึ งได้ ง่ าย กล่าวคือ
เว็บไซต์ของหน่ วยงานกลางที่ จ ะจั ดตั้ งขึ้ น ควรเป็นเว็บไซต์ หลั ก ในการนาเสนอข้อ มู ล (ไม่กระจัดกระจายอยู่ ใ น
หลายเว็บไซต์) ข้อมูลควรถูกนาเสนออย่างเป็นระบบ โดยจัดแบ่งหมวดหมู่ไว้อย่า งชัด เจน ข้อมูลควรถูกนาเสนอใน
รูปแบบที่ผู้ใช้งานสามารถรับชมในระบบออนไลน์ และนาไปใช้งานต่อได้ส ะดวก นอกจากนี้ ในหน้าเว็บไซต์ ค วรมี
การนาเสนอทั้งภาษาไทยและภาษาอัง กฤษ โดยเฉพาะข้ อ มูล ที่ ต้อ งถู ก ใช้ งานโดยชาว ต่างประเทศ ควรจะมี ก าร
นาเสนอเป็นภาษาอังกฤษให้ครบถ้วน

197
4) มีระบบการค้นหาข้อมูลที่มีประสิทธิภาพ
เพื่อให้ง่ายและสะดวกต่อ ผู้ใช้ฐานข้ อมู ล ควรมีการพัฒนาระบบการค้นหาขั้นสูง (Advanced Search) ทา
ให้ผู้ใช้งานสามารถตีกรอบการค้นหาให้จากัดลงได้ ค้นหาข้อมูลที่ต้องการได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น

5) มีการปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยอยู่เสมอ
นอกจากการเก็บรวบรวม และนาเสนอข้อมูลที่มีประสิทธิภาพแล้ว สิ่งที่สาคัญอีกประการคือ การปรับปรุง
ข้อมูลให้ทันสมัยอยู่เ สมอ หน่วยงานที่จะจัดตั้งขึ้นใหม่ ควรมีผู้รับผิดชอบในการติ ดตาม เก็บรวบรวมและนาเสนอ
ข้อมูลเป็นรายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน และรายปี โดยพิจารณาความถี่ในการนาเสนอให้สอดคล้ องกับปร ะเภท
ข้อมูลที่นาเสนอ

ตัวอย่างโครงการพัฒนาฐานข้ อมูล สาหรั บอุ ตสาหกรรมภาพยนตร์ (ตามรายละเอียดในบทที่ 6)


 เป้าหมาย: พัฒนาฐานข้อมูลที่สมบูรณ์ ครอบคลุม และทันสมัย สาหรับอุตสาหกรรมภาพยนตร์
 กลยุทธ์: มุ่งสนับสนุนการพัฒ นาฐานข้ อ มูล สาหรับ อุ ตสาหกรรมภาพยนตร์ โดยจัดตั้งหน่ว ยงาน
กลางที่ทาหน้าที่รับผิดชอบบริหารจัดการฐานข้อมูล
 แนวทาง: จัดตั้งหน่วยงานกลางที่ทาหน้าที่รับผิดชอบบริหารจัดการฐานข้อมูล
 โครงการ: โครงการจัดตั้งหน่ วยงานกลางที่ ทาหน้ าที่รั บผิ ดชอบบริหารจัด การฐานข้อ มู ล : จัดตั้ง
หน่ ว ยงานกลางที่ มีอ านาจ หน้ า ที่ ทรั พยากรที่เ หมาะสม มาท าหน้า ที่บ ริห ารจัด การฐานข้อ มู ล โดยหน่วยงาน
ดังกล่าวมีหน้าที่ตั้ งแต่เ ริ่มออกแบบฐานข้อ มูล เก็บรวบรวมข้อ มู ลทั้ งการจั ด เก็ บข้ อมู ลใหม่และประสานขอข้ อ มู ล
จากหน่วยงานที่รับผิดชอบเดิ ม ประมวลผลข้อ มู ลและนาเสนอในรู ปแบบที่ เข้า ใจง่ายและเป็นระบบ รวมทั้งดู แ ล
รักษาปรับปรุงฐานข้อมูลให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ
 หน่วยงานที่เกี่ยวข้อ ง: หน่วยงานอื่นๆ (กระทรวงวัฒ นธรรม/ กระทรวงการท่อ งเที่ ยวและกี ฬ า/
กระทรวงพาณิชย์/ กลุ่มโรงภาพยนตร์และสมาคมต่างๆในอุตสาหกรรมภาพยนตร์)
 ให้ความร่วมมื อในการส่ ง มอบฐานข้ อ มูล ด้า นภาพยนตร์ที่ แต่ ล ะหน่ว ยงานมีอ ยู่ ให้แก่หน่วยงาน
กลางที่ตั้งขึ้นใหม่
 สศศ. ทาหน้าที่เป็นหน่วยงานกลางในการบริหารจั ด การฐานข้ อ มูล โดยเปิดโอกาสให้ผู้ มี ส่ ว น ได้
ส่วนเสียทั้งหมดเข้ามาร่ วมออกแบบฐานข้อ มูล เก็บรวบรวมข้อมู ลทั้ งการจั ดเก็บข้ อ มูลใหม่และประสานขอข้ อ มู ล
จากหน่วยงานที่รับผิดชอบเดิ ม ประมวลผลข้อ มู ลและนาเสนอในรู ปแบบที่ เข้า ใจง่ายและเป็นระบบ รวมทั้งดู แ ล
รักษา ปรับปรุงฐานข้อมูลให้มีความทันสมัย

198
บรรณานุกรม

กฤษดา เกิดดี. 2555. การตรวจพิจารณาภาพยนตร์. ใน เอกสารการสอนชุดวิชา การบริหารงานภาพยนตร์. หน้า


14-1-14-44. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ก าจร หลุ ย ยะพงศ์ . 2556. ภาพยนตร์ กั บ การประกอบสร้ า งสั ง คม. กรุ ง เทพฯ: ส านั ก พิ มพ์ แ ห่ ง จุ ฬ าลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
กาจร หลุยยะพงศ์. 2558a. การบริหารงานโรงภาพยนตร์. ใน เอกสารการสอนชุดวิชา การบริหารงานภาพยนตร์ .
หน้า 11-1-11-66. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
กาจร หลุยยะพงศ์. 2558b. กฎหมายและจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานภาพยนตร์. ใน เอกสารการสอน
ชุดวิชา การบริหารงานภาพยนตร์. หน้า 15-1-15-60. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
กาจร หลุยยะพงศ์. 2563a. การบริหารกิจการภาพยนตร์. ใน เอกสารการสอนชุดวิชา การบริหารกิจการสื่อสาร.
หน้า 11-1-11-78. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
กาจร หลุยยะพงศ์.2563b. บทบาทหน้าที่ทีมงานถ่ายภาพยนตร์ . ใน เอกสารการสอนชุดวิชา การผลิตภาพยนตร์
เบื้องต้น. หน้า 13-1-13-57. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
กาจร หลุยยะพงศ์.2563c. การบริหารการผลิตภาพยนตร์. ใน เอกสารการสอนชุดวิชา การผลิตภาพยนตร์เบื้องต้น .
หน้า 14-1-14-55. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรราธิราช.
จั ก ร วา ล นิ ล ธ า ร งค์ . 2560. กา ร ผลิ ต และเผยแพร่ ภ า พยน ตร์ เ รื่ อ ง วา นิ ช ชิ่ ง พอยท์ . กรุ ง เทพฯ :
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (เอกสารอัดสาเนา)
จาเริญลักษณ์ ธนะวังน้อย. 2555. “ประเทศไทยกับการเป็น พื้นที่ถ่ายทาภาพยนตร์ ต่างประเทศของอาเซี ยน.” ใน
วารสารศาสตร์. ปีที่ 5 ฉ.2 (พฤษภาคม-สิงหาคม):74-93.
จาเริญลักษณ์ ธนะวังน้อย. 2558. “การจัดเทศกาลภาพยนตร์ ต่า งประเทศเพื่อ สนั บ สนุน การเป็น แหล่ งถ่า ยท า
ภาพยนตร์ของไทย”. ใน วารสารศาสตร์. ปีที่ 8 ฉ.2. (พฤษภาคม-สิงหาคม) : 98-126.
ชญานิน ธนะสุขถาวร. 2556. “ผลกระทบจากการขยายกิจ การโรงภาพยนตร์ มัล ติ เ พล็ ก ซ์ ต่อ ระบบสายหนั ง ใน
ประเทศไทย”. ในวารสารหนังไทย. ฉ 17 (มกราคม): หน้า 139-172.
ชวนะ ภวกานันท์. 2555. “กระบวนทัศน์ยุทธศาสตร์ การจัดการการสื่อ สารการตลาดเพื่ อสร้า งกระแสชาตินิ ย มใน
ธุรกิจภาพยนตร์ไทยสู่สังคมอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ ” . ใน วารสารศาสตร์. ปีที่ 5 ฉ.2 (พฤษภาคม-สิงหาคม):
47-73.
ธนา วงศ์ญาณณาเวช. 2551. หนังอาร์ต ไม่ได้มาเพราะโชคช่วย. กรุงเทพฯ : ออฟเซท ครีเอชั่น.
บุญรักษ์ บุญญะเขตมาลา. 2533. ศิลปะแขนงที่เจ็ด. กรุงเทพฯ : เม็ดทราย.
บุญรักษ์ บุญญะเขตมาลา. 2552. โรงงานแห่งความฝัน. กรุงเทพฯ: พับลิค บุเคอรี.

199
บริษัทฐิติธนฤติจากั ด สมาคมไทยธุ รกิ จอิ เล็ ค โทรนิค บัน เทิง สมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์แ ห่ งชาติ และกระทรวง
วั ฒ นธรรม. 2564. เอกสารรายงานการจั ด เก็ บ สถิ ติ ข้ อ มู ล มู ล ค่ า อุ ต สาหกรรมคอนเทนต์ แ ละฐานข้อ มูล
ผู้ประกอบการกิจการในอุตสาหกรรมคอนเทนต์ประจาปี 2563. เอกสารอัดสาเนา.
ประสพ เรียงเงิน. (บรรณาธิการ). 2559. ยุทธศาสตร์การส่งเสริมอุตสาหกรรมภาพยนตร์แ ละวีดิทั ศน์ร ะยะที่ 3 (ปี
พ.ศ. 2560-2564). กรุงเทพฯ: สานักงานกิจการโรงพิมพ์ องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
พันธ์ธัมม์ ทองสังข์. 2551. ผู้อานวยการสร้างภาพยนตร์ (เพื่อการแสวงหาการลงทุน ต่า งประเทศ). ใน สามารถ
จันทร์สูรย์ (บรรณาธิการ). การบริหารจัดการงานอุตสาหกรรมวัฒนธรรม. หน้า 3-81. กรุงเทพฯ: เซเว่น พริ้น
ติ้ง กรุ๊ป.
พระราชบัญญัติภาพยนตร์และวีดิทัศน์ ปี พ.ศ. 2551.
รักศานต์ วิวัฒน์สินอุดม. 2551. ทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรมภาพยนตร์ไทย: กรณีศึกษาการวางแผนการตลาด
ของภาพยนตร์ไทย. ใน วารสารนิเทศศาสตร์. ปีที่ 26 ฉ.1 : 45-70.
รักศานต์ วิวัฒน์สินอุดม. 2554. ยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมภาพยนตร์แอนนิ เ มชัน ไทยเพื่อ การแข่ ง ขั น ใน
ระดับนานาชาติ. ใน วารสารนิเทศศาสตร์. ปีที่ 29 ฉ.4 : 118-149.
ศุภวุฒิ สายเชื้อ และคณะ. 2552. ทาไมต้องเศรษฐกิจสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ: คอนแทรค พับลิชชิ่ง.
เศรษฐา วีระธรรมานนท์ และอารีรัตน์ ใจประดับ. 2562. ศักยภาพของประเทศไทยด้านธุรกิจการถ่ายทาภาพยนตร์
ต่างประเทศในประเทศไทย: การวิเคราะห์วิสาหกิจขนาดกลางและย่อ ม (SME) ที่เกื้อหนุนธุรกิจการถ่ า ยท า
ภาพยนตร์ ต่ า งประเทศในประเทศไทย. ใน วารสารนิ เ ทศศาสตร์ ธุ รกิ จ บั ณฑิ ต . ปี ที่ 13 ฉ.1 (มกราคม-
มิถุนายน): 12-42.
*สมาพันธ์สมาคมภาพยนตร์ แห่ง ชาติ . 2564. สถิติและมูลค่าอุต สาหกรรมคอนเทนต์บัน เทิ งประจาปี พ.ศ. 2560.
www. mpc.or.th (อันนี้ลองดูว่าจะอ้างอย่างไรในwebsite)
สมสุข หินวิมาน. 2558. แนวคิดและแนวทางการวิเคราะห์ธุรกิจสื่อสารมวลชน. ใน สมสุข หินวิมาน (บรรณาธิการ).
ธุรกิจสื่อสารมวลชน. หน้า 33-78. กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สานักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสัง คมแห่งชาติ . 2551. รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการศึกษาเพื่อจั ด ท า
ยุทธศาสตร์การพัฒนาธุรกิจภาพยนตร์ไทย. กรุงเทพฯ: อัดสาเนา.
อนงค์นาฏ รัศมีเวียงชัย. 2558a. ธุรกิจภาพยนตร์. ใน สมสุข หินวิมาน (บรรณาธิการ). ธุรกิจสื่อสารมวลชน. หน้า
273-311. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อนงค์นาฏ รัศมีเวียงชัย. 2558b. การพัฒนาโครงการสร้างภาพยนตร์นอกกระแส. ใน เอกสารการสอนชุดวิชา การ
บริหารงานภาพยนตร์. หน้า 12-1-12-42. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
อุ ณาโลม จั น ทร์ รุ่ ง มณี กุ ล . 2558. การบริ ห ารงานภาพยนตร์ น อกกระแส. ใน เอกสารการสอนชุ ด วิ ช า การ
บริหารงานภาพยนตร์. หน้า 13-1-13-58. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

200
อุณาโลม จันทร์รุ่งมณีกุ ล.2560. 120 ปี ธุรกิจภาพยนตร์ไ ทยในมิ ติป ระวั ติ ศาสตร์แ ละเศรษฐกิจ และสัง คมไทย.
กรุงเทพฯ: ศักดิ์โสภาการพิมพ์.
อุษา ไวยเจริญ. 2550. การควบรวมกิจการในธุรกิจโรงภาพยนตร์. งานวิจัยเฉพาะเรื่อง เศรษฐศาสตร์มหาบั ณฑิ ต
(เศรษฐศาสตร์ธุรกิจ) คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
เอฟฟินิตี้ (Effinity) และ สสว. มปป. รายงานฉบับสมบูรณ์โครงการจั ดทายุท ธศาสตร์แ ละแผนปฏิบั ติการส่ ง เสริ ม
วิสาหกิจขนาดกลางและย่อมสาขาภาพยนตร์. เอกสารอัดสาเนา

Cleve, Bastian. 2018. Film Production Management. New York: Routledge.


De Valk, Mark and Arnold, Sarah. 2013. The Film Handbook. London: Routledge.
Finney, Angus. 2010. The International Film Business. London: Routledge.
McQuail, Denis, 2005. McQuail’s Mass Communication Theory. London: Sage.

201

You might also like