My Kid Is My Pet

You might also like

Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 8

Welcome to

MY KID
MY PET
is

Documentary .
Written by Yada Yeamyad 63103010207
ลูกรักในปัจจุบัน

ที่ไม่ได้หมายถึงคนอีกต่อไป
“ จุ๊มเหม่งมีอะไร จุ๊มเหม่งมีอะไร “
ประโยคฮิตที่ถูกกล่าวถึงในวงกว้างของสังคมออนไลน์ไทยที่ทำให้เรามีความ
รู้สึกเต็มไปด้วยความสุขและอบอุ่นหัวใจหลังจากที่ได้ยินทุกครั้งจากโพสต์
ออนไลน์ของหมาน้อยขนสีทองอร่ามนามว่า จุ๊มเหม่ง ไอดอลสัตว์เลี้ยงที่โด่ง
ดังอย่างมากในขณะนี้ ซึ่งไม่ได้มีแค่จุ๊มเหม่งเท่านั้นที่ได้รับความรักอย่าง
ล้นหลาม เพราะในปัจจุบันจากผลสำรวจของวิทยาลัยการจัดการ ม.มหิดล
ในกลุ่มตัวอย่าง 1,146 คน ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบไปด้วยคน Gen Y มีผลการ
วิจัยเชิงคุณภาพว่ากลุ่มคนเหล่านี้เริ่มหันเลี้ยงสัตว์แทนการสร้างครอบครัว
มากขึ้น ความสุขของพวกเขากลายเป็นเจ้าขนปุยสุดน่ารักแทนที่เด็กน้อยยิ้ม
หวานสักคน สารคดีเรื่องนี้จะพาเราไปค้นหาความรักในหัวใจของทาสสัตว์ตัว
น้อยเหล่านี้ ปัจจัยใดที่ทำให้หัวใจของพวกเขาแปรเปลี่ยนทางเลือกที่เคยเป็น
ไป มาทำความรู้จักโลกอีกใบของเหล่าทาสที่มีเจ้าตัวน้อยน่ารักเหล่านี้มาอยู่ใน
พื้นที่ในหัวใจพร้อมๆกัน

มเหม่ง
จุ๊
Pet Parents the fairy got mother of pets
Pet Parents คือ คำที่นิยามความหมายของผู้ที่ดูแลเอาใจใส่สัตว์เลี้ยง
เสมือนสมาชิกคนหนึ่งในครอบครัว ซึ่งเป็นแนวคิดที่เกิดในช่วง
ค.ศ.2000 อย่างไรก็ตามในสังคมไทยมีแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของการ
เลี้ยงสัตว์ภายในครัวเรือนตั้งแต่ พ.ศ.2549 จวบจนถึงปัจจุบัน โดย
ในปัจจุบันคน Gen Y ได้มีการหันมาเป็น Pet Parents เพิ่มมากขึ้น
จากการอ้างอิงเกี่ยวกับวิจัยเชิงคุณภาพของวิทยาลัยการจัดการ
ม.มหิดล จากกลุ่มตัวอย่าง 1,146 คน โดยผลสำรวจพบว่าส่วนมากที่
เป็นคนกลุ่มเจเนอเรชันวาย49% นิยมเลี้ยงสัตว์เพื่อเป็นลูก
ซึ่งคน Gen Y เหล่านี้พวกเขามี
แนวโน้มที่จะตัดสินใจแต่งงาน
น้อยลงและหันมาครองตัวเป็น
โสดมากขึ้น ดังนั้นการตัดสินใจ
ที่จะกเลือกสวมปลอกคอให้สัตว์
เลี้ยงแทนที่จะสวมข้อเท้าให้เด็ก
ทารก เนื่องจากพวกเขามีความ
คิดเห็นว่า เลี้ยงสัตว์นั้นเป็นเรื่อง
ง่ายมากกว่าเลี้ยงเด็ก แม้ว่าจะมี
รายจ่ายของสัตว์เลี้ยงเทียบเท่า
เด็ก 1 คนเนื่องมาจากพวกเขามี
ความคิดว่ามันคือราคาของ
ความรักและการดูแลเอาใจใส่ที่
พวกเขามีให้ต่อเจ้าปุกปุย กรณี
ด้านค่านิยมของการสวม
บทบาทเป็น Pet Parents ใน
สังคมไทยเรามักจะเห็นค่านิยม
ของความเป็น Pet Parents
ผ่านทางการสื่อสารโดยตรง
ระหว่างผู้เลี้ยงสัตว์และสัตว์
เลี้ยงเสมือนกับการคุยกับเด็ก
หรือลูกของตนเอง ซึ่ง
พฤติกรรมของการเป็น Pet
Parents จะมีลักษณะที่ต่างกัน
โดยขึ้นอยู่กับปัจจัยด้าน
เพศ,การศึกษา,อายุ,รูปแบบการ
ดำเนินชีวิต เป็นต้น
แฟนหรือหมา?
ครอบครัวหรือสัตว์เลี้ยง?

คำถามวัดใจของคู่รักบางคู่ที่ฉายให้เห็นตามซีรีส์ คือ ระหว่างแมวกับ


เค้าตัวเองรักใครมากกว่ากันหรือแม้แต่ความอ่อนไหวทางความรู้สึก
หากเราตัดสินใจที่จะเลือกสัตว์เลี้ยงมากกว่าการสร้างครอบครัว รวม
ถึงเป็นคำถามที่ผู้เขียนสงสัยด้วยเช่นเดียวกัน ดังนั้นผู้เขียนจึงได้มี
การสัมภาษณ์จากคำถามที่เกี่ยวกับการชัั่งน้ำหนักทางความรู้สึกและ
ความสำคัญระหว่างครอบครัวและสัตว์เลี้ยง ผลจากการสัมภาษณ์
โดยภาพรวมจากกลุ่มตัวอย่างที่มีสถานะโสดและมีความชื่นชอบใน
การเลี้ยงสัตว์ คือ สถานะทางการเงินพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน
ภาระหน้าที่และขอบเขตความรับผิดชอบมีผลต่อการตัดสินใจเลี้ยง
สัตว์รวมไปถึงกรณีสมมุติที่ตนเองไม่ได้มีการเลี้ยงสัตว์แต่คนรักของ
ตนเองมีความสนใจที่จะเลี้ยงสัตว์ ตนเองก็สามารถหันมาสนใจที่จะ
เลี้ยงสัตว์ได้เช่นเดียวกัน ทั้งนี้ผู้ให้การสัมภาษณ์บางคนยังคิดว่าการ
เลี้ยงสัตว์นั้นช่วยเพิ่มสถานะทางสังคมให้กับตนเองได้อีกด้วย
และคำถามที่สำคัญอีก ๅ คำถาม อย่างเช่น แฟนหรือหมา ครอบครัวหรือ
สัตว์เลี้ยงนั้น มีเพียงส่วนน้อยเท่านั้นที่เลือกแมว ส่วนผู้ให้สัมภาษณ์
ส่วนใหญ่จะตอบว่าเลือกคนรัก เนื่องจากพวกเขามีความเห็นว่าคุณค่า
ทางความรู้สึกที่ได้จากสัตว์เลี้ยงหรือได้จากคนรักนั้นให้คุณค่าและให้
ความรู้สึกที่ต่างกัน ส่วนด้านการเลือกการเลี้ยงสัตว์แทนการสร้าง
ครอบครัวนั้น ผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนมากมีความคิดเห็นว่าการที่พวกเขาไม่
เกิดความรู้สึกอิจฉาหรือเสียดายในกรณีที่เฝ้ามองเพื่อนในวัยเดียวกัน
สร้างครอบครัวเนื่องจากพวกเขามองว่ามันคือทางเลือกที่พวกเขาเลือก
เองส่วนเสียงส่วนน้อยนั้นมีความคิดเห็นว่าในกรณีที่ตนเองไม่สามารถ
ดูแลตนเองได้อีกต่อไปอาจจะเกิดความรู้สึกน้ิยใจเมื่อเฝ้ามองครอบครัว
ของผู้อื่นในกรณีที่ตนเองในขณะนั้นมีเพียงแค่สัตว์เลี้ยงอย่างเดียว รวม
ไปถึงคำถามสุดท้าย คือ ถ้าตนเองต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่งระหว่าง
สัตว์เลี้ยงกับการสร้างครอบครัวอย่างเดียว ผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนมากจะ
เลือกตอบครอบครัวเนื่องจากพวกเขาเชื่อว่าครอบครัวนั้นให้คุณค่าทาง
ใจต่างกันและคุณค่าความเป็นมนุษย์ที่ต่างกัน เนื่องจากมนุษย์สามารถ
ดำรงอยู่ด้วยได้การสร้างเผ่าพันธ์ุ ส่วนผู้ให้สัมภาษณ์ส่วนน้อยที่เลือก
ตอบสัตว์เลี้ยงนั้นเนื่องจากพวกเขาคิดว่าการสร้างครอบครัวเป็นเรื่อง
ยุ่งยากและการอบรมสั่งสอนเด็กที่อาจจะเกิดมาเป็นลูกของตนเองนั้น
เป็นเรื่องที่ยุ่งยากยิ่งกว่าการเลี้ยงสัตว์
อ้างอิง
Reference

ขอบคุณรูปภาพจากอิสตราแกรม @japanandfriend

สำนักข่าวคมชัดลึก. (2566). รู้ยัง คนเจเนอเรชันวาย "Gen Y" 49% "เลี้ยงสัตว์" เพื่อเป็นลูก.


สืบค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2566, จาก https://www.komchadluek.net/news/society/541201

ศิวพร เที่ยงธรรม: และ บุหงา ชัยสุวรรณ. (2561,พฤษภาคม-สิงหาคม). รูปแบบการดำเนินชีวิตและ


พฤติกรรมการซื้อของผู้บริโภคกลุ่ม Pet Parents. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า. 4(2). สืบค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2566, จาก
http://gscm.nida.ac.th/uploads/files/1538711848.pdf

You might also like