Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 3

รายละเอียดของหลักสูตร

หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต
สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์
หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐

ชื่อสถาบันอุดมศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
คณะ คณะเทคนิคการแพทย์

หมวดที่ ๑ ข้อมูลทั่วไป
๑. รหัสและชื่อหลักสูตร
ภาษาไทย : วิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์
ภาษาอังกฤษ : Bachelor of Science Program in Medical Technology

๒. ชื่อปริญญาและสาขาวิชา
ชื่อภาษาไทย ชื่อเต็ม : วิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคนิคการแพทย์)
ชื่อย่อ : วท.บ. (เทคนิคการแพทย์)
ชื่อภาษาอังกฤษ ชื่อเต็ม : Bachelor of Science (Medical Technology)
ชื่อย่อ : B.Sc. (Med. Tech.)

๓. วิชาเอก (ถ้ามี) ไม่มี

๔. จํานวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร
๔.๑ แบบปกติ/โครงการพิเศษ : จํานวนหน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตร ๑๔๕ หน่วยกิต
๔.๒ โครงการพิสิฐวิธาน (Distinction Program) : จํานวนหน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตร ๑๔๗ หน่วยกิต

๕. รูปแบบของหลักสูตร
๕.๑ รูปแบบ
หลักสูตรระดับปริญญาตรี (๔ ปี)
๕.๒ ประเภทของหลักสูตร :
๕.๒.๑ ปริญญาตรีทางวิชาชีพหรือปฏิบัติการ ซึ่งจําแนกออกเป็น ๔ ลักษณะ คือ

๕.๒.๑.๑ แบบปกติ
๕.๒.๑.๒ โครงการพิเศษที่มุ่งเน้นสร้างเสริมศักยภาพด้านการบริการตรวจในห้องปฏิบัติการทาง
สัตวแพทย์
๕.๒.๑.๓ โครงการพิเศษที่มุ่งเน้นสร้างเสริมศักยภาพเฉพาะด้านการจัดการ : โครงการ ๔+ ๑
๕.๒.๑.๔ โครงการพิสิฐวิธาน (Distinction Program)
๕.๓ ภาษาที่ใช้ : ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ โดยใช้ภาษาไทยเป็นหลัก
๕.๔ การรับเข้าศึกษา : รับนักศึกษาไทย
๕.๕ ความร่วมมือกับสถาบันอื่น : เป็นหลักสูตรเฉพาะของสถาบันที่จัดการเรียนการสอน
โดยตรง
๕.๖ การให้ปริญญาแก่ผู้สําเร็จการศึกษา : ให้ปริญญาเพียงสาขาวิชาเดียว

๖. สถานภาพของหลักสูตรและการพิจารณาอนุมัต/ิ เห็นชอบหลักสูตร
๖.๑ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. ๒๕๖๐ ปรับปรุงจากหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาเทคนิคการแพทย์
พ.ศ. ๒๕๕๕ เริ่มเปิดสอน ภาคการศึกษาที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๐
๖.๒ คณะกรรมการประจําคณะเทคนิคการแพทย์ เห็นชอบ ในการประชุม ครั้งที่ ๑/๒๕๖๐ วันที่
๒๖ เดือน มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๐
๖.๓ ผ่านการกลั่นกรองจากมหาวิทยาลัยมหิดล โดยคณะกรรมการพิจารณากลั่นกรองหลักสูตรระดับ
ปริญญาตรี โดยให้ความเห็นชอบในการประชุมครั้งที่ ๓/๒๕๖๐ เมื่อวันที่ ๒ เดือน มีนาคม
พ.ศ. ๒๕๖๐
๖.๔ สภาเทคนิคการแพทย์เห็นชอบหลักสูตรในการประชุม ครั้งที่ ๔/๒๕๖๐ วันที่ ๒๘ เดือน มิถุนายน
พ.ศ. ๒๕๖๐
๖.๕ สภามหาวิทยาลัย พิจารณาอนุมัติ และเห็นชอบหลักสูตรจากสภาเทคนิคการแพทย์ ในการประชุม
ครั้งที่ ๕๒๒ เมื่อวันที่ ๑๙ เดือน กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๖๐

๗. ความพร้อมในการเผยแพร่หลักสูตรทีม่ ีคุณภาพและมาตรฐาน
ปีการศึกษา ๒๕๖๑ (หลังเปิดสอน ๒ ปี)

๘. อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสําเร็จการศึกษา
ผู้เข้าศึกษาในหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (เทคนิคการแพทย์) เมื่อสําเร็จการศึกษาแล้ว สามารถประกอบ
อาชีพในองค์กรทั้งในและต่างประเทศ ตลอดจนสามารถทํางานร่วมกับทีมสุขภาพ ชุมชน สังคมได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ โดยจําแนกลักษณะของงานที่ปฏิบัติได้ดังนี้
๘.๑ เป็นนักเทคนิคการแพทย์ที่ปฏิบัติงานในห้องปฏิบัติการทางเทคนิคการแพทย์ หรือเวชศาสตร์ชันสูตรของ
โรงพยาบาลต่างๆ ในภาครัฐและเอกชน หรือทํางานร่วมกับทีมสุขภาพในชุมชน


๘.๒ เป็นนักวิจัย นักวิชาการ นวัตกรซึ่งปฏิบัติงานในสถาบันอุดมศึกษา หรือสถาบันวิจัยของภาครัฐ หรือ
เอกชน
๘.๓ ผู้ประกอบการในสายวิชาชีพ (คลินิกเทคนิคการแพทย์) หรือธุรกิจต่างๆ ที่สามารถนําองค์ความรู้ทาง
เทคนิคการแพทย์ และวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีอื่นๆ ไปประยุกต์ใช้
๘.๔ เป็น Medical Data Scientist ที่สามารถนําข้อมูลทางเทคนิคการแพทย์ และข้อมูลอื่นที่เกี่ยวข้องไป
ประยุกต์ใช้เพื่อประโยชน์ในการบริการดูแลสุขภาพ และสถานการณ์ต่างๆ ได้
๘.๕ ควบคุม/วิเคราะห์/พัฒนา คุณภาพผลิตภัณฑ์ของธุรกิจในภาคอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมการเกษตร
อุปกรณ์และน้ํายาทางการแพทย์ เช่น ผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่ม ผลิตภัณฑ์ยา ฯลฯ
๘.๖ ผู้จัดจําหน่ายและสื่อสารเทคโนโลยี เครื่องมือน้ํายาวิเคราะห์ เครื่องมือแพทย์และวิทยาศาสตร์การแพทย์

สําหรับผู้ที่ประสงค์จะศึกษาต่อระดับปริญญาโท และปริญญาเอก สามารถศึกษาในสาขาเทคนิค


การแพทย์ วิทยาศาสตร์สุขภาพ หรือสาขาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีต่างๆ รวมถึงสาขาการบริหารจัดการ และ
Information Technology

You might also like