Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 57

เอกสารประกอบการเรียน

วิชาเคมี มัธยมศึกษาปีที่ 4
บทที่ 3 พันธะเคมี

โดยคุณครูอรอุมา ศรีสารคาม
ครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนสารคามพิทยาคม
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26
ใบความรู้ที่ 20
เรื่อง พันธะไอออนิก

นักวิทยาศาสตร์พบว่าแก๊สเฉื่อยสามารถอยู่เป็นอะตอมอิสระและมีเสถียรภาพสูง ธาตุหมู่นี้มีการจัด
อิเล็กตรอนเป็น ns2np6 ซึ่งมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับ 8 ยกเว้นฮีเลียมมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับ 2 ส่วนธาตุ
อื่นๆ มักทำปฏิกิริยากันเกิดเป็นสารประกอบเพื่อ จะปรับ ให้มีเวเลนซ์อ ิเ ล็กตรอนเป็น 8 เท่ากับเวเลนซ์
อิเล็กตรอนของแก๊สเฉื่อย แสดงว่าอะตอมที่มีจำนวนเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับ 8 เป็นสภาพที่เสถียรที่สุด การ
ที่อะตอมของธาตุต่างๆ รวมกันด้วยสัดส่วนที่ทำให้อะตอมมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับ 8 นี้เรียกว่า กฎออก
เตต การเกิดสารประกอบระหว่างอะตอมของโลหะจะมีลักษณะการรวมตัวอย่างไรศึกษาได้จากตัวอย่างการ
เกิดสารประกอบโซเดียมคลอไรด์และแคลเซียมฟลูออไรด์ต่อไปนี้
โซเดียมมีเลขอะตอม 11 จัดอิเล็กตรอนเป็น 1s22s22p63s1 ซึ่ง มีเวเลนซ์ อิเ ล็ก ตรอนเท่ ากั บ 1
คลอรีนมีเลขอะตอม 17 จัดอิเล็กตรอนเป็น 1s22s22p63s23p5 ซึ่งมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับ 7 การที่โซเดียม
และคลอรีนจะมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนครบ 8 เช่นเดียวกับแก๊สเฉื่อย โซเดียมต้องให้เวเลนซ์อิเล็กตรอน 1
อิเล็กตรอนแก่คลอรีน ทำให้โซเดียมมีโปรตอนมากกว่าอิเล็กตรอนอยู่ 1 จึงกลายเป็นโซเดียมไอออน (Na+) ซึ่ง
มีการจัดอิเล็กตรอนเหมือนกับธาตุนีออนคือ 1s22s22p6 ส่วนคลอรีนเมื่อรับอิเล็กตรอนแล้วจะมี จ ำนวน
อิเล็กตรอนมากกว่าโปรตอนอยู่ 1 จึงกลายเป็นคลอไรด์ไอออน (Na-) ซึ่งมีการจัดอิเล็กตรอนเหมือนกับธาตุ
อาร์กอนคือ 1s22s22p63s23p6 ดัง นั้นเมื่อโลหะโซเดีย มทำปฏิก ิริย ากั บแก๊ สคลอรีนจะเกิ ดการให้ แ ละรั บ
อิเล็กตรอนระหว่างอะตอมทั้งสองเกิดเป็นโซเดียมไอออนกับคลอไรด์ไอออน ไอออนทั้งสองมีประจุไฟฟ้าต่างกัน
จึงยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงดึงดูดระหว่างประจุไฟฟ้าเกิดเป็น พันธะไอออนิก แรงดึงดูดระหว่างโซเดียมไอออนกับ
คลอไรด์ไอออนเช่นนี้จะเกิดต่อเนื่องกันไปเป็นโครงผลึกขนาดใหญ่ และเรียกสารประกอบที่เกิดจากพันธะไอออ
นิกว่า สารประกอบไอออนิก

การรวมตัวกันของสารประกอบไอออนิก รวมตัวกันด้วยอัตราส่วนที่ทำให้ผลรวมของประจุทั้ง 2 เป็น


ศูนย์ สารประกอบไอออนิก จะไม่มีสูตรโมเลกุลเพราะไอออนทั้ง 2 ชนิดจะอยู่สลับต่อเนื่องกันไปทั้ง 3 มิติไม่
แยกเป็นโมเลกุล สารประกอบชนิดนี้จึงมีเพียงสูตรเอมพิริคัล ซึ่งแสดงอัตราส่วนอย่างต่ำของจำนวนไอออนที่
เป็นองค์ประกอบ
โครงสร้างของสารประกอบไอออนิก
สารประกอบไอออนิก ที่ปรากฎอยู่ในสถานะของแข็งมีการจัดเรียงตัวของไอออนบวกและไอออนลบ
เกิดเป็นผลึกที่มีโครงสร้างหลากหลาย จากการศึกษาโซเดียมคลอไรด์ (NaCl) พบว่า (Na+) และ (Cl-) จัดเรียง
สลับกันไปอย่างต่อเนื่องทั้งสามมิติโดยที่ (Na+) แต่ละไอออนจะถูกล้อมรอบด้ว ย (Cl-) 6 ไอออนและ (Cl-)
แต่ละไอออนจะถูกล้อมรอบด้วย (Na+) 6 ไอออน โซเดียมคลอไรด์จึง มีอัตราส่วนอย่างต่ำของ (Na+) กับ
(Cl-) เป็ น 1 : 1 สำหรั บ แคลเซี ย มฟลู อ อไรด์ (CaF2) พบว่ า Ca2+ แต่ ล ะไอออนจะถู ก ล้ อ มรอบด้ ว ย
(F-) 8 ไอออนและF- แต่ละไอออนจะถูกล้อมรอบด้วย Ca2+ 4 ไอออน แคลเซียมฟลูออไรด์จึงมีอัตราส่วนอย่าง
ต่ำของ Ca2+ กับ F- เป็น 1 : 2 โครงสร้างสารประกอบไอออนิก ชนิดอื่นๆ ก็จะมีไอออนบวกและไอออนลบ
ล้อมรอบซึ่งกันและกันแต่อาจมีจำนวนแตกต่างกัน จะเป็นเท่าใดขึ้นอยู่กับสัดส่วนของจำนวนประจุ ขนาดของ
ไอออนและโครงสร้างผลึก

โครงสร้างผลึกของโซเดียมคลอไรด์ โครงสร้างผลึกของแคลเซียมฟลูออไรด์
ใบความรู้ที่ 21
เรื่อง การเขียนสูตรสารประกอบไอออนิก

การเขียนสูตรสารประกอบไอออนิก
ในสารประกอบไอออนิกประกอบด้วยไอออนบวกและไอออนลบ ไอออนทั้งสอชนิดจะรวมตัวกันด้วย
อัตราส่วนที่ทำให้ผลรวมของประจุเป็นศูนย์ เช่น Na+ กับ Cl- จะรวมตัวกันด้วยอัตราส่วนของจำนวนไอออน
เป็น 1 : 1 ได้สารประกอบซึ่งมีสูตรเป็น NaCl Mg2+ กับ Br- จะรวมตัวกันด้วยอัตราส่วนของจำนวนไอออนเป็น
1 : 2 ได้สารประกอบซึ่งมีสูตรเป็น MgBr2 ส่วน Al3+ กับ S2- จะรวมกันด้วยอัตราส่วนของจำนวนไอออน 2 : 3
ได้สารประกอบซึ่งมีสูตรเป็น Al2S3 เป็นต้น
ไอออนจะมีประจุบวกหรือลบเท่าใดขึ้นอยู่กับจำนวนเวเลนต์อิเล็กตรอนที่อะตอมของธาตุจะให้หรือรับ
เพื่อให้เวเลนต์อิเล็กตรอนครบ 8 (ครบออกเตด) เช่น ธาตุ IA ให้อิเล็กตรอน 1 ตัวก็จะครบออกเตด ดังนั้น
อะตอมของธาตุหมู่ IA จะเกิดเป็นไอออนที่มีประจุบวกหนึ่ง เช่น Li+, Na+ ส่วนใหญ่หมู่ VIIA รับอิเล็กตรอน 1
ตัว ก็จะมีเวเลนต์อิเล็กตรอนครบ 8 ดังนั้นอะตอมของธาตุพวกนี้ จะเกิดไอออนที่มีประจุลบหนึ่ง เช่น F-, Cl-,
Br- เป็นต้น อัตราส่วนของไอออนบวกและไอออนลบในสารประกอบไอออนิก อาจพิจารณาโดยใช้ตารางธาตุ
ดังนี้
- ธาตุหมู่ IA รวมตัวกับธาตุหมู่ VIIA ธาตุหมู่ IA ให้ 1 อิเล็กตรอนกลายเป็นไอออนที่มีประจุ +1 ส่วน
ธาตุหมู่ VIIA รับ 1 อิเล็กตรอนกลายเป็นไอออนที่มีประจุ -1 อัตราส่วนของไอออนบวกและไอออนลบใน
สารประกอบไอออนิกที่เกิดขึ้นคือ 1: 1 เช่น KCl, KBr เป็นต้น
- ธาตุหมู่ IA รวมกับธาตุหมู่ VIA ไอออนของธาตุหมู่ IA มีประจุ +1 ส่วนธาตุหมู่ VIA รับ 2 อิเล็กตรอน
กลายเป็นไอออนมีประจุ -2 อัตราส่วนของไอออบวกและไอออนลบในสารประกอบไอออนิกที่เกิดขึ้นคือ 2: 1
เช่น Na2O, Li2O เป็นต้น
- ธาตุหมู่ IIA รวมกับธาตุหมู่ VIIA ธาตุหมู่ IIA ให้ 2 อิเล็กตรอนกลายเป็นไอออนมีประจุ +2 ส่วน
ไอออนของธาตุหมู่ VIIA มีประจุ -1 อัตราส่วนของไอออนบวกและไอออนลบในสารประกอบไอออนิกที่เกิดขึ้น
คือ 1: 2 เช่น MgF2, CaCl2 เป็นต้น
- ธาตุหมู่ IIA รวมกับธาตุหมู่ VIA ธาตุหมู่ IIA ให้ 2 อิเล็กตรอนกลายเป็นไอออนมีประจุ +2 ส่วน
ไอออนของธาตุหมู่ VIA มีประจุ -2 อัตราส่วนของไอออนบวกและไอออนลบในสารประกอบไอออนิกที่เกิดขึ้น
คือ 1: 1 เช่น MgO, CaS เป็นต้น
- ธาตุหมู่ IIIA รวมกับธาตุหมู่ VIIA ธาตุหมู่ IIIA ให้ 3 อิเล็กตรอนกลายเป็นไอออนมีประจุ +3 ส่วน
ไอออนของธาตุหมู่ VIIA มีประจุ -1 อัตราส่วนของไอออนบวกและไอออนลบในสารประกอบไอออนิกที่เกิดขึ้น
คือ 1: 3 เช่น AlF3 เป็นต้น
- ธาตุหมู่ IIIA รวมกับธาตุหมู่ VIA ธาตุหมู่ IIIA ให้ 3 อิเล็กตรอนกลายเป็นไอออนมีประจุ +3 ส่วน
ไอออนของธาตุหมู่ VIA มีประจุ -2 อัตราส่วนของไอออนบวกและไอออนลบในสารประกอบไอออนิกที่เกิดขึ้น
คือ 2: 3 เช่น Al2O3 เป็นต้น
ไอออนบวกและไอออนลบในสารประกอบไอออนิก นอกจากจะประกอบด้วยอะตอมเพียงอะตอม
เดียวแล้ว ไอออนอาจประกอบด้วยกลุ่มอะตอม ในกรณีนี้ให้ถือว่ากลุ่มอะตอมมีสมบัติเหมือนไอออนอะตอม
เดี่ยว เช่น
Na+ รวมตัวกับ SO42- ด้วยอัตราส่วน 2: 1 ได้ Na2SO4
NH4+ รวมตัวกับ NO3- ด้วยอัตราส่วน 1: 1 ได้ NH4NO3
NH4+ รวมตัวกับ Cl- ด้วยอัตราส่วน 1: 1 ได้ NH4Cl
NH4+ รวมตัวกับ PO43- ด้วยอัตราส่วน 3: 1 ได้ (NH4)3PO4
ตัวอย่างไอออนบางชนิด
ไอออน ชื่อ ไอออน ชื่อ
NH4+ แอมโมเนียมไอออน Cr2O72- ไดโครเมตไอออน
NO3- ไนเตรดไอออน MnO42- แมงกาเนตไอออน
NO2- ไนไตรต์ไอออน MnO4- เปอร์แมงกาเนตไอออน
SO32- ซัลไฟต์ไอออน CN- ไซยาไนด์ไอออน
SO42- ซัลเฟตไอออน HSO3- ไฮโดรเจนซัลไฟต์ไอออน
CO32- คาร์บอเนตไอออน HSO4- ไฮโดรเจนซัลเฟตไอออน
PO43- ฟอสเฟตไอออน S2O32- ไทโอซัลเฟตไอออน
SCN- ไทโอไซยาเนตไอออน S4O62- เตตระไทโอเนตไอออน
HCO3- ไฮโดรเจนคาร์บอเนตไอออน S2O82- เปอร์ซัลเฟตไอออน
HPO42- ไฮโดรเจนฟอสเฟตไอออน CrO42- โครเมตไอออน
ClO3- คลอเรตไอออน PO33- ฟอสไฟต์ไอออน
ClO4- เปอร์คลอเรตไอออน BO32- โบเรตไอออน

สูตรของสารประกอบไอออนิก เป็นสูตรเอมพิริคัล คือ สูตรที่แสดงอัตราส่วนอย่างต่ำของจำนวน


ไอออนที่รวมตัวกันเป็นสารประกอบไอออนิก สารประกอบไอออนิกไม่มีสูตรโมเลกุล เนื่องจากโครงสร้างของ
สารประกอบไอออนิกมีแต่ไอออนบวก และไอออนลบอยู่ต่อเนื่องกันทั้งสามมิติ ไม่มีโมเลกุลเหมือนกั บสาร
โคเวเลนต์ ในการเขียนสูตรสารประกอบไอออนิกมีหลักการ ดังนี้
1. เขียนสูตรของไอออนบวกไว้ข้างหน้าสูตรของไอออนลบ
2. ถ้าไอออนใดมีจำนวนมากกว่า 1 ให้ระบุจำนวนไอออนนั้นด้วย โดยเขียนตัวเลขแสดงจำนวนไอออน
ไว้ที่มุมล่างด้านขวา
ตัวอย่างการเขียนสูตรเอมพิริคัลของสารประกอบไอออนิก ตามหลักเกณฑ์ของ 1 และ 2 เช่น KBr
MgCl2 Na2SO4 K3PO4 K2HPO4 เป็นต้น
ตัวอย่างที่ 1 Na+กับ O2-
Na+ O2- รวมกันด้วยอัตราส่วนจำนวนไอออนเป็น 2: 1
ประจุ 1 2 ได้สารประกอบมีสูตรเป็น Na2O อ่านว่า โซเดียมออกไซด์
ชื่อ………………………………………..………………………………………..ชั้น………………….……….เลขที…
่ ……………..…

ใบงานที่ 21
เรื่อง การเขียนสูตรสารประกอบไอออนิก

1. จงเขียนสูตรของสารประกอบไอออนิกที่เกิดจากการรวมตัวระหว่างไอออนบวกกับไอออนลบที่กำหนดให้
ต่อไปนี้
ไอออนลบ
F- S2- NO3- SO42- PO43-
ไอออนบวก
Na+
Ba2+
Al3-
Ag+
Cu2+
Cr3+
NH4+

2. จงเขียนสูตรของสารประกอบไอออนิกที่เกิดจากการรวมตัวระหว่างธาตุต่อไปนี้
1) โพแทสเซียมกับคลอรีน
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..

2) แคลเซียมกับไอโอดีน
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..

3) สทรอนเซียมกับออกซิเจน
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..

4) อะลูมิเนียมกับไฮโดรเจน
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………..
ใบความรู้ที่ 22
เรื่อง การเรียกชื่อสารประกอบไอออนิก

ผลึกของสารประกอบไอออนิก ประกอบด้วยไอออนบวกกับไอออนลบ ในสัดส่วนที่ทำให้ประจุไฟฟ้า


รวมกั นเป็นกลาง การเรี ย กชื ่อ จึ งระบุ เพีย งชื่ อไอออนบวกก่อ น และตามด้ ว ยไอออนลบ จะสามารถสื่อ
ความหมายได้โดยไม่ต้องบอกสัดส่วนของแต่ละไอออน การเรียกชื่อไอออนบวกนั้น คือ การเรียกชื่อโลหะนั้นๆ
ตามปกติ แบ่งเป็น 2 กรณีคือ
1. ในกรณีที่ไอออนบวกของโลหะมีประจุคงที่ค่าเดียว ให้เรียกชื่อไอออนบวกนั้นด้วยชื่อธาตุไ ด้เลย
เช่น lithium (Li+), magnesium (Mg2+) โดยโลหะหมู่ 1, 2 และ 3 จะมีประจุ +1, +2 และ +3 ตามลำดับ
หรือธาตุทรานซิชันบางตัวมีประจุคงที่ ได้แก่ silver (Ag+), zinc (Zn2+) และ scandium (Sc3+) ตัวอย่างเช่น
NaCl อ่านว่า โซเดียมคลอไรด์ CaI2 อ่านว่า แคลเซียมไอโอไดด์
(Sodium chloride) (Calcium iodide)

KBr อ่านว่า โพแทสเซียมโบรไมด์ CaCl2 อ่านว่า แคลเซียมคลอไรด์


(Potassium bromide) (Calcium chloride)
2. ในกรณีที่ไอออนบวกของโลหะมีประจุได้หลายค่า ให้เรียกชื่อโลหะนั้นตามด้วยวงเล็บบอกประจุ
ของไอออนนั้น แล้วต่อท้ายด้วย “ion” ตัวอย่างเช่น
FeCl2 อ่านว่า ไอร์ออน (II) คลอไรด์ CuS อ่านว่า คอปเปอร์ (I) ซัลไฟด์
(Iron (II) chloride) (Cupper (I) sunfide)

FeCl3 อ่านว่า ไอร์ออน (III) คลอไรด์ Cu2S อ่านว่า คอปเปอร์ (II) ซัลไฟด์
(Iron (III) chloride) (Copper (II) sunfide)
2 สารประกอบธาตุสามหรือมากกว่าถ้าสารประกอบเกิดจากไอออนบวกของโลหะ หรือกลุ่มไอออน
บวกรวมตัวกับกลุ่มไอออนลบให้อ่านชื่อไอออนบวกของโลหะหรือชื่อกลุ่มไอออนบวก แล้วตามด้วยกลุ่มไอออน
ลบ
การเรียกชื่อไอออนเชิงซ้อนและสารประกอบไอออนิกที่ประกอบด้วยไอออนเชิงซ้อนซึ่งอาจเรียกชื่ อ
ตามระบบ IUPAC เช่น
ไอออน ชื่อสามัญ ชื่อตามระบบ IUPAC
NO3- ไนเตรดไอออน ไตรออกโซไนเตรดไอออน
NO2- ไนไตรต์ไอออน ไดออกโซไนเตรดไอออน
SO32- ซัลไฟต์ไอออน ไตรออกโซซัลเฟตไอออน
SO42- ซัลเฟตไอออน เตตระออกโซซัลเฟตไอออน
PO32- ฟอสไฟต์ไอออน ไตรออกโซฟอสเฟตไอออน
PO42- ฟอสเฟตไอออน เตตระออกโซฟอสเฟตไอออน
ตัวอย่างการเรียกชื่อสารประกอบไอออนิกตามระบบ IUPAC
สารประกอบ ชื่อสามัญ ชื่อตามระบบ IUPAC
KNO3 โพแทสเซียมไนเตรด โพแทสเซียมไตรออกโซไนเตรด
CaSO4 แคลซียมซัลเฟต แคลเซียมเตตระออกโซซัลเฟต
Na2SO4 โซเดียมซัลไฟต์ โซเดียมไตรออกโซซัลเฟต
Mg3(PO4)2 แมกนีเซียมฟอสเฟต แมกนีเซียมเตตระออกโซฟอสเฟต
CuSO4 คอปเปอร์ (II) ซัลเฟต คอปเปอร์ (II) เตตระออกโซซัลเฟต

ตัวอย่าง จงเขียนชื่อของสารประกอบชนิดอะตอมคู่ จากสูตร CsF


ขั้นที่ 1 พิจารณาหาไอออนบวก และไอออนลบ ซึ่ง Cs เป็นธาตุในหมู่ที่ 1 จึงเกิดเป็นไอออนที่มีประจุ
ไฟฟ้าเป็น +1 หรือ Cs+ และเพราะ F เป็นธาตุในหมู่ 7 จึงเกิดเป็นไอออนที่มีประจุไฟฟ้าเป็น -1 หรือ F-
ขั้นที่ 2 การอ่านชื่อของไอออนบวก, Cs+ จะเรียกว่า ซีเซียม ซึ่งจะเรียกเหมือนกับชื่อของธาตุซีเซียม
ขั้นที่ 3 การอ่านชื่อของไอออนลบ, F- จะถูกเรียกว่า ฟลูออไรด์ ซึ่งเป็นชื่อของธาตุฟลูออรีนที่มีการเติม
คำว่า –ไอด์ (-ide) เข้าไปในตอนท้ายของชื่อธาตุ
ขั้นที่ 4 การอ่านชื่อของสารประกอบ ปฏิบัติโดยการรวมชื่อของแต่ละไอออนเข้าด้วยกัน ดังนั้นชื่อ
ของ CsF จึงเป็นซีเซียมฟลูออไรด์
ชื่อ………………………………………..………………………………………..ชั้น………………….……….เลขที…
่ ……………..…

ใบงานที่ 22
เรื่อง การเรียกชื่อสารประกอบไอออนิก

1. จงเรียกชื่อสารประกอบต่อไปนี้

สารประกอบ การเรียกชื่อ
1) CuCO3
2) NH4CN
3) BaSO4
4) Na2HPO4
5) Fe2O3
6) AgNO3
7) COCl2
8) KMnO4
9) Pb(NO3)2
10) Na2SO4
11) PbS
12) Li2SO4
13) Cu2O
14) KI
15) MnO2

2. จงเขียนสูตรของสารประกอบต่อไปนี้
สารประกอบ การเขียนสูตร
1) เลด (II) ไนเตรต
2) แคลเซียมฟอสเฟต
3) อะลูมิเนียมคาร์บอเนต
4) โครเมียม (III) คลอไรด์
ใบความรู้ที่ 20
เรื่อง พลังงานกับการเกิดสารประกอบไอออนิก

ในการเกิดพันธะไอออนิก หรือสารประกอบไอออนิกมีการเปลี่ยนแปลงหลายขั้นตอน และแต่ละขั้นจะ


มีพลังงานเกี่ยวข้องอยู่ด้วย ดังจะแสดงให้ดูในรูปของแผนภาพวัฏจักรบอร์นฮาเบอร์ (Born Haber cycle) ดังนี้
ตัวอย่าง การเกิดสารประกอบโซเดียมคลอไรด์ (NaCl)
สารประกอบไอออนิกเกิดจากการให้อิเล็กตรอนของโลหะกลายเป็นไอออนบวก และการรับ
อิเล็กตรอนของอโลหะกลายเป็นไอออนลบ มารวมตัวกันเกิดเป็นสารประกอบไอออนิกดังสมการ
Na (s) + 1/2Cl2 (g) NaCl (s)
ซึ่งสามารถแสดงกระบวนการเกิดและพลังงานในขัน้ ตอนย่อย ๆ ในรูปของแผนภาพวัฏจักรบอร์นฮา
เบอร์ ได้ 5 ขั้นดังนี้
Na (s) + 1/2Cl2 (g) Hf NaCl (s)
 E1  E2
Na (g) Cl (g)  E5
 E3  E4
Na+ (g) + Cl- (g)

อธิบายได้ดังนี้
ขั้นที่ 1 การระเหิดของของแข็ง โลหะโซเดียมที่อยู่ในสถานะของแข็งระเหิดเป็นไอ (กลายเป็นอะตอม
ในสถานะแก๊ส) ขั้นนี้ต้องใช้พลังงานหรือดูดพลังงานเท่ากับ 107 KJ/mol เรียก พลังงานขั้นที่ 1 (E1) นี้ว่า
พลังงานการระเหิด (Heat of sublimation) ใช้สัญลักษณ์ HS หรือ S
Na (s) + 107 KJ/mol Na (g)  E1 = HS = 107 KJ/mol
ขั้นที่ 2 การสลายพันธะของแก๊ส โมเลกุลของแก๊สคลอรีนแตกออกเป็นอะตอมของคลอรีนในสถานะ
แก๊ส ขั้นนี้ต้องใช้พลังงานหรือดูดพลังงานเท่ากับ 122 KJ/mol เรียก พลังงานขั้นที่ 2 (E2) นี้ว่า พลังงานการ
สลายพันธะ(Bond dissociation energy) ใช้สัญลักษณ์Hdis หรือ D
1/2Cl2 (g) + 122 KJ/mol Cl (g)  E2 = Hdis =122 KJ/mol
ขั้นที่ 3 การแตกตัวเป็นไอออนของอะตอมโลหะ อะตอมของโซเดียมในสถานะแก๊สเสียอิเล็กตรอน
ออกไป 1 ตัว กลายเป็นไอออนบวก (Na+) ใช้พลังงาน 496 KJ/mol เรียกพลังงานขั้นที่ 3 (E3) นี้ว่า
พลังงานไอออไนเซชัน (Ionization energy) ใช้สัญลักษณ์ IE
Na (g) + 496 KJ/mol Na+ (g) + e-  E3 = IE = 496 KJ/mol

ขั้นที่ 4 การเกิดไอออนของอะตอมอโลหะ อะตอมของคลอรีนในสถานะแก๊สรับอิเล็กตรอน 1 ตัว ที่


หลุดออกจากอะตอมของโซเดียมกลายเป็นไอออนลบ (Cl-) และคายพลังงาน 349 KJ/mol เรียกพลังงานขั้นที่
4 (E4) นี้ว่า สัมพรรคภาพอิเล็กตรอน (Electron affinity) ใช้สัญลักษณ์ EA
Cl (g) + e- Cl- (g) + 349 KJ/mol E4 = EA = 349 KJ/mol
ขั้นที่ 5 การเกิดสารประกอบไอออนิก โซเดียมไอออนกับคลอไรด์ไอออนในสถานะแก๊สรวมตัวกันเป็น
ผลึกโซเดียมคลอไรด์ และคายพลังงานออกมา 787 KJ/mol เรียกพลังงานขั้นที่ 5 (E5) นี้ว่า พลังงานโครงผลึก
หรือพลังงานแลตทิซ (Lattice energy) ใช้สัญลักษณ์ U
Na+ (g) + Cl- (g) NaCl (s) + 787 KJ/mol 
E4 = U = + 787 KJ/mol
สมการรวมของปฏิกิริยา  +  +  +  +  เขียนได้ดังนี้
Na (s) + 1/2Cl2 (g) NaCl (s)
พลังงานรวมของปฏิกิริยา E1 + E1 + E1 + E1 + E1 = Hf
107 + 122 + 496 + (-349) + (-787) = -411 KJ
ถ้าพลังงานการเกิดปฏิกิริยา มีเครื่องหมายเป็น บวก แสดงว่าเป็น ปฏิกิริยาแบบดูดพลังงาน
ถ้าพลังงานการเกิดปฏิกิริยา มีเครื่องหมายเป็น ลบ แสดงว่าเป็น ปฏิกิริยาแบบดคายพลังงาน
แสดงว่าในการเกิด NaCl (s) เป็นการเปลี่ยนแปลงประเภทคายพลังงาน คือเมื่อเกิด NaCl 1 โมล
จะคายพลังงาน 411 KJ
ชื่อ………………………………………..………………………………………..ชั้น………………….……….เลขที…
่ ……………..…

ใบงานที่ 20
เรื่อง พลังงานกับการเกิดสารประกอบไอออนิก

ตัวอย่างข้อสอบ
ข้อมูลในตาราง ใช้ในการตอบคำถามข้อ 1-2 (Ent’19)
พลังงานของปฏิกิริยา Na(s) + ½ Cl2 (g) NaCl (s) เกิดพลังงานขั้นต่างๆ ตามตาราง 5 ขั้น

1. พลังงานในขั้นที่ 4 เป็นพลังงานอะไร
ก. พลังงานในการแตกตัว ข. พลังงานอิเล็กตรอนอัฟฟินิตี
ค. พลังงานโครงร่างผลึก ง. พลังงานไอออไนเซชัน

2. พลังงานในขั้นที่ 5 เป็นพลังงานอะไร
ก. พลังงานในการแตกตัว ข. พลังงานอิเล็กตรอนอัฟฟินิตี
ค. พลังงานโครงร่างผลึก ง. พลังงานไอออไนเซชัน
3. จงเขียนแผนภาพแสดงการเปลี่ยนแปลงพลังงานในการเกิดสารประกอบไอออนิกจากธาตุที่กำหนดให้
โพแทสเซียมกับฟลูออรีน
ใบความรู้ที่ 21
เรื่อง สมบัติบางประการและสมการไอออนิก

สมบัติบางประการของสารประกอบไอออนิก
สารประกอบไอออนิกประกอบด้วยไอออนบวกกับไอออนลบ เมื่อทุบผลึกของสารไอออนิกจะเกิดการ
เลื่อนไถลของไอออนไปตามระนาบผลึก เป็นผลให้ไอออนชนิดเดียวกันเลื่อนไปอยู่ตรงกัน จึง เกิดแรงผลัก
ระหว่างไอออน ทำให้ผลึกแตกออก ดังนั้นสารระกอบไอออนิกจึงมีสมบัติเปราะและแตกได้ง่าย
นอกจากนี้สารประกอบไอออนิกที่เป็นของแข็ง ไอออนที่เป็นองค์ประกอบจะยึดเหนี่ยวกันอย่าง
แข็ง แรงไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ จึงทำให้สารประกอบไอออนิกในสถานะที่เป็นของแข็ง มีสมบัติไม่นำไฟฟ้า
สารประกอบไอออนิกในสภาพหลอมเหลวหรือละลายอยู่ในน้ำ
1. สารประกอบไอออนิกมีสถานะเป็นของแข็ง
2. สารประกอบไอออนิกจะมีจุดเดือด และจุดหลอมเหลวสูง
3. สารประกอบไอออนิกสถานะปกติ(ของแข็ง) จะไม่นำไฟฟ้า แต่จะนำไฟฟ้าได้เมื่อหลอมเหลวหรือ
ละลายน้ำ
4. การละลายน้ำของสารประกอบไอออนิกแตกต่างกัน บางชนิดละลายน้ำได้ดี แต่บางชนิ ดไมละลาย
น้ำ
การละลายน้ำของสารประกอบไอออนิก
1. ละลายน้ำได้
- เกลือหมู่ 1 ทุกชนิดละลายน้ำได้
- เกลือของหมู่ NH4+ ทุกชนิดละลายน้ำได้
- เกลือของ NO3- ทุกชนิดละลายน้ำได้ (เกลือไนเตรด)
- เกลือหมู่ 2 รวมกับไอออนประจุ -1 ละลายน้ำได้
2. ไม่ละลายน้ำ (หรือละลายได้น้อยมาก)
- เกลือหมู่ 2 รวมกับประจุ –2 , -3 ยกเว้น MgSO4 ละลายน้ำได้
- เกลือเฮไลด์ (หมู่ 7) รวมกับโลหะแทรนซิชัน ไม่ละลายน้ำ ยกเว้น PbCl2 ละลายเล็กน้อย
- HgCl2 ละลายได้ดีแต่ Hg2Cl2 ไม่ละลาย
- เกลือโลหะแทรนซิชันที่รวมกับประจุ -2, -3 ไม่ละลายน้ำ ยกเว้น CuSO4, CdSO4 ละลายได้ดี
- โลหะแทรนซิชันที่รวมประจุกับ OH- ไม่ละลายน้ำ และ Ca(OH)2, Mg(OH)2, Fe(OH)3 ไม่ละลายน้ำ
- แทรนซิชันที่ละลายน้ำได้
- CN-, NO3-, HCO3-, HSO4-, H2PO4- ละลายได้
ตารางแสดงสมบัติบางประการของสารประกอบไอออนิก
สารประกอบ ลักษณะที่ปรากฏ จุดหลอมเหลว จุดเดือด สภาพละลายได้ในน้ำ ณ
(°C) (°C) อุณหภูมิ 20 °C (g/น้ำ 100)
NaCl ของแข็งสีขาว 801 1413 36.0
LiF ของแข็งสีขาว 846 1717 0.13
CaCl2 ของแข็งสีขาว 782 1600 74.5
CuSO4·5H2O ของแข็งสีฟ้า 650 - 20.7
Al2O3 ของแข็งสีขาว 2072 2980 ไม่ละลาย
Fe2O3 ของแข็งสีน้ำตาลแดง 1565 - ไม่ละลาย

สารประกอบไอออนิกทุกสารมีสถานะเป็นของแข็ง มีจุดหลอมเหลวจุดเดือดสูง สารประกอบไอออนิก


บางชนิดมีค่าสภาพการละลายได้ในน้ำสูง บางชนิดมีค่าสภาพการละลายในน้ำต่ำ และบางชนิดไม่ละลายน้ำ
การละลายของสารเป็นการกระจายของตัวละลายเข้าไปอยู่ระหว่างอนุภาคของตัวทำละลาย ขณะที่
สารเกิดการละลาย แรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคในตัวละลายและตัวทำละลายจะถูกทำลาย ในขณะเดียวกันก็
มีการสร้างแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคของตัวทำละลายกับอนุภาคของตัวละลาย
ใบกิจกรรมการทดลองที่ 1
เรื่อง การละลายของสารประกอบไอออนิกในน้ำ
วัตถุประสงค์การทดลอง
1. เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงพลังงานเมื่อสารประกอบไอออนิกละลายในน้ำได้
2. อธิบายากรเปลี่ยนแปลงพลังงานเมื่อสารประกอบไออนิกละลายในน้ำได้

บทนำการทดลอง
สารประกอบไอออนิกประกอบด้วยไอออนบวกและไอออนลบยึดเหนี่ยวกันอย่างแข็งแรง เมื่อเป็น
ของแข็งไม่นำไฟฟ้า เพราะไอออนที่เ ป็นองค์ประกอบยึดเหนี่ยวกันอย่างแข็งแรงจนเคลื่อนที่ไ ม่ไก้ แต่เมื่อ
หลอมเหลวหรือละลายในน้ำจะนำไฟฟ้า เพราะไอออนเคลื่อนที่ได้ สารประกอบไอออนิกมีสถานะเป็นของแข็ง
ที่อุณหภูมิห้อง มีจุดเอดลจุดหลอมเหลวสูง เมื่อละลายในน้ำจะมีสภาพการละลายได้แ ตกต่างกัน และมี
ความสัมพันธ์กับพลังงาน

อุปกรณ์
1. แท่งแก้วคนสาร
2. ช้อนตักสารเบอร์ 1
3. แคลลอริมิเตอร์
4. เทอร์มอมิเตอร์ขนาด 0-100 °C
5. โกร่งและที่บด
6. กระบอกตวงขนาด 50 cm3

สารเคมีที่ใช้ในการทดลอง
1. คอปเปอร์ (II) ซัลเฟตที่ปราศจากน้ำ
2. แอมโมเนียมคลอไรด์
3. โซเดียมคลอไรด์
4. น้ำ

วิธีการทดลอง
1. บรรจุน้ำ 25 cm3 ไว้ในแคลอริมิเตอร์ วัดอุณหภูมิของน้ำ
2. ใส่โซเดียมไฮดรอกไซด์ 1 g ลงในน้ำที่เตรียมไว้ คนสารละลายแล้วรีบปิดฝาแคลอรีมิเตอร์ บันทึก
อุณหภูมิสูงสุดหรือต่ำสุดของสารละลายที่เปลี่ยนแปลง
3. ทำการทดลองเช่นเดียวกับข้อ 1-2 แต่ใช้โซเดียมคลอไรด์แทน
แบบบันทึกกิจกรรมที่ 1
เรื่อง การละลายของสารประกอบไอออนิกในน้ำ

คำชี้แจง ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มทำการทดลองแล้วบันทึกผลการทดลอง สรุปและอภิปรายผลการทดลองให้


ถูกต้องสมบูรณ์
วันที่ทำการทดลอง …………………………………………………………………………………………………..…………………….….
คุณครูที่ควบคุมการทดลอง …………………………………………………………………………………..……..…………………….
ชื่อผู้ทำการทดลอง……………………………………………………………………………………………………….……………………..
………………………………………………………………………………………………………………………………….………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………….…….…………………
………………………………………………………………………………………………………………………………….…….…………………
ตารางบันทึกผลการทดลอง
สาร มวลของสาร (g) อุณหภูมิของน้ำ (°C) อุณหภูมิของสารละลาย (°C)

NaOH
NH4Cl
NaCl

สรุปและอภิปรายผล
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

คำถามท้ายการทดลอง
1. สารประกอบทั้งสามชนิดละลายในน้ำได้แตกต่างกันอย่างไร
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
2. การละลายของสารแต่ละชนิดในน้ำมีการเปลี่ยนแปลงพลังงานหรือไม่อย่างไร
ใบความรู้ท่ี 24
เรื่อง ปฏิกิริยาของสารประกอบไอออนิก

สมการไอออนิกมี ส ถานะเป็น ของแข็ง อนุ ภ าคไม่ เ คลื่ อนที่ ทำปฏิกิริยายาก ดัง นั้นปฏิกิริย าของ
สารประกอบไอออนิกส่วนใหญ่อยู่ในสภาวะที่เป็นสารละลาย ซึ่งแตกตัวให้ไอออนบวกและไอออนลบ เมื่อนำ
สารละลายของสารประกอบไอออนิกต่างชนิดกันมาผสมกัน ถ้าเกิดสารใหม่ที่มีสมบัติต่างไปจากสารเดิม แสดง
ว่ามีปฏิกิริยาเกิดขึ้น ถ้าสมบัติหลังผสมไม่เปลี่ยนแปลง แสดงว่าไม่เกิดปฏิกิริยา
สมการไอออนิก
เมื่อผสมสารละลายของสารประกอบไอออนิกบางชนิดเข้าด้วยกัน จะได้สารละลายที่มีไอออนของสาร
ทั้งสองปนกันอยู่ ปรากฏเป็นสารละลายใส เช่น
ผสม NaCl(aq) กับ KNO3(aq) เขียนสมการเคมีที่เกิดขึ้นได้ดังนี้
NaCl(aq) + KNO3(aq) NaNO3(aq) + KCl(aq)
หรือ Na+(aq) + Cl-(aq) + K+(aq) + NO3-(aq) Na+(aq) + NO3-(aq) + K+(aq) + Cl-(aq)
เมื่อผสมกัน จะมีไอออนอยู่ในสารละลายทั้ง 4 ชนิด แสดงว่า ไม่เกิดผลิตภัณฑ์ที่เป็นของแข็ง จึงอยู่ใน
สภาพไอออน (มีน้ำล้อมรอบ) แต่เมื่อผสมสารละลายของสารประกอบไอออนิกบางชนิดเข้าด้วยกัน จะได้
ผลิตภัณฑ์เป็นตะกอนเกิดขึ้น เช่น
ผสม NaCl(aq) กับ AgNO3(aq) เขียนสมการเคมีที่เกิดขึ้นได้ดังนี้
NaCl(aq) + AgNO3(aq) NaNO3(aq) + AgCl(aq)
หรือ Na+(aq) + Cl-(aq) + Ag+(aq) + NO3-(aq) Na+(aq) + NO3-(aq) + AgCl(s)
เมื่อผสมกันจะเกิดตะกอนของ AgCl(s) เขียนสมการแสดงการเกิดตะกอน AgCl ดังนี้
Ag+(aq) + Cl-(aq) AgCl(s)
เรียกสมการนี้ว่า สมการไอออนิก
สมการไอออนิก (Ionic equation ) คือ สมการเคมีที่เขียนเฉพาะไอออนหรือโมเลกุลของสารที่มีส่วน
ในการเกิดปฏิกิริยา ส่วนไอออนหรือโมลกุลของสารใดไม่มีส่วนในการเกิดปฏิกิริยาไม่ต้องเขียน สมการไอออนิก
จะต้องเป็นสมการที่มีสารใดสารหนึ่งเป็นไอออนร่วมอยู่ด้วยในปฏิกิริยานั้น เช่น
Zn(s) + 2H+(aq) Zn2+(aq) + H2(g)
H+(aq) + OH-(aq) H2O(l)
2.2 ครู ม อบหมายใบงานที ่ 22 ให้ น ั ก เรี ย นทำ เรื ่ อ งปฏิ ก ิ ร ิ ย าชองสารประกอบไอออนิ ก
โดยแลกเปลี่ยนความคิดเห็น อภิปราย เรียนรู้ร่วมกัน เมื่อทำเสร็จแล้วส่งในคาบเรียน
หลักการเขียนสารประกอบไอออนิก ดังนี้
1. ให้เขียนเฉพาะส่วนไอออนหรือโมเลกุลของสารทำปฏิกิริยากันเท่านั้น
2. ถ้าสารที่เกี่ยวข้องในปฏิกิริยาเป็นสารที่ไม่ละลายน้าหรือไม่แตกตัวเป็นไอออนหรือเป็นออกไซด์หรือ
เป็นก๊าซให้เขียนสูตรโมเลกุลของสารนั้นในสมการได้ ตัวอย่าง ออกไซด์ เช่น CO2, H2O ก๊าซ เช่น H2, NH3 สาร
ที่ไม่ละลายน้ำ เช่น CaCO3, AgCl
3. ดุลสมการไอออนิก โดยทาจานวนอะตอมและจานวนไอออนของธาตุ ทุกธาตุ ทั้ง ทางซ้า ยและ
ทางขวาของสมการให้เท่ากัน พร้อมทั้งดุลประจุรวมทั้งทางซ้ายและขวาของสมการให้เท่ากัน
ตัวอย่าง
1. เมื ่ อ ให้ ส ารละลายโพแทสเซี ย มซั ล เฟต (K2SO4) ทำปฏิ ก ิ ร ิ ย ากั บ สารละลายแบเรี ย มไนเตรต
Ba(NO3)2 จะเกิดตะกอนของแบเรียมซัลเฟต Ba(SO4)(s) เนื่องจากไอออนเข้าทำปฏิกิริยากันคือ Ba2+ และ
SO42- ส่วน K+ และ NO3- ไม่ได้รวมตัวกัน จึงไม่ต้องเขียน K+ และ NO3-
K2SO4(aq) + Ba(NO3)2(aq) 2KNO3(aq) + BaSO4(s)
2K+(aq) + SO42-(aq) + Ba2+(aq) + 2NO3-(aq) 2K+(aq) + 2NO3-(aq) + BaSO4(s)
สมการไอออนิกคือ 2K+(aq) + SO42-(aq) BaSO4(s)
2. เมื่อผสมสารละลายแคลเซียมคลอไรด์ (CaCl2) กับสารละลายโพแทสเซียมฟอสเฟต (K3PO4)Ca2+
จาก CaCl2 และ PO43- จาก K3PO4 จะรวมตัวกันเกิดตะกอนแคลเซียมฟอสเฟต (Ca3(PO4)2) ดังนั้นสมการไอออนิก
คือ
3Ca2+(aq) + PO43-(aq) Ca3(PO4)2(aq)
**ข้อคิด การที่จะเขียนสมการไอออนิกได้ จะต้องรู้ว่าสารไอออนิกใดบ้างละลายน้ำได้และไม่ละลายน้ำ
และต้องเขียนสูตรของสารประกอบไอออนิกได้
ชื่อ………………………………………..………………………………………..ชั้น………………….……….เลขที…
่ ……………..…

ใบงานที่ 24
เรื่อง ปฏิกิริยาของสารประกอบไอออนิก

1. จงเติมเครื่องหมาย  ลงในช่องสีเหลี่ยมต่อไปนี้
สาร ละลายน้ำ ไม่ละลายน้ำ
1) Cu2O
2) Pb(NO3)2
3) Fe(PO4)2
4) AgI
5) MgCO3
6) Na2O
7) MnO2

2. จงเขียนสมการไอออนิกและสมการไอออนิกสุทธิ แสดงปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นจากการผสมสารละลายแต่ละคู่
ต่อไปนี้

1) KBr กับ AgNO3


…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………….…………………………………………..

2) CaCl2 กับ Na2CO3


…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………….……………………………..

3) Na2SO4 กับ BaCl2


…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………….…………………..

4) Na3PO4 กับ CaCl2


…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
………………………………………………………………………………………………………………………………………….……………..
ใบความรู้ที่ 26
เรื่อง การเกิดพันธะและชนิดของพันธะโคเวเลนต์

การเกิดพันธะโคเวเลนต์
ไฮโดรเจนเป็นธาตุที่มีค่า IE สูงจึงเสียอิเล็กตรอนได้ยาก เมื่อไฮโดรเจน 2 อะตอมอยู่ใกล้กันจะเกิดแรง
ดึงดูดระหว่างอิเล็กตรอนกับโปรตอนในนิวเคลียสของทั้งสองอะตอม จึงมีแนวโน้มสูงที่จะพบอิเล็กตรอนทั้งสอง
อยู่ในบริเวณระหว่างนิวเคลียสของทั้งสองอะตอม และดึงดูดให้นิวเคลียสเข้ามาใกล้กันมากขึ้น ในขณะเดียวกัน
ก็จะมีแรงผลักระหว่างโปรตอนกับโปรตอนและระหว่างอิเล็กตรอนกับอิเล็กตรอนของแต่ละอะตอมด้วย เมื่อ
อะตอมทั้งสองเข้ามาใกล้กันในระยะที่เหมาะสม อะตอมทั้งสองจะมีพลังงานต่ำสุดและอยู่รวมกันเป็นโมเลกุล
โดยใช้อิเล็กตรอนร่วมกันแรงดึงดูดที่ทำให้อะตอมอยู่รวมกันได้ในลักษณะนี้เรียกว่า พันธะโคเวแลนต์ โมเลกุล
ของสารที่อะตอมยึดเหนี่ยวกันด้วยพันธะโคเวเลนต์เรียกว่า โมเลกุลโคเวเลนต์ และสารที่ประกอบด้วยอะตอม
ที่สร้างพันธะโคเวเลนต์เรียกว่าสารโคเวเลนต์

รูป 1 แรงดึงดูดและแรงผลักในโมเลกุล H2
รูป 2.12 กราฟแสดงการเปลี่ยนแปลงพลังงานในการเกิดโมเลกุลไฮโดรเจน
จากกราฟ เมื่ออะตอมของไฮโดรเจนสองอะตอมอยู่ห่างกัน อะตอมของไฮโดรเจนทั้งคู่จะมีพลังงาน
ศักย์ค่าหนึ่งเมื่ออะตอมเคลื่อนที่เข้าใกล้กัน จะเกิดแรงดึงดูดระหว่างอิเล็กตรอนกับโปรตอน ขณะเดียวกันก็จะ
เกิดแรงผลักระหว่างโปรตอนกับโปรตอนและระหว่างอิเล็กตรอนกับอิเล็กตรอนด้วย แรงดึงดูดและแรงผลัก
ดังกล่าวจะทำให้พลังงานศักย์ลดลง เมื่ออะตอมทั้งสองเข้าใกล้กันมากขึ้นอีก พลังงานศักย์จะลดลงเรื่อ ยๆ
จนกระทั่งนิวเคลียสของอะตอมทั้งสองอยู่ห่างกันเป็นระยะ 74 พิโกเมตร ผลรวมของแรงดึงดูดและแรงผลักทำ
ให้พลังงานศักย์ของไฮโดรเจนทั้งสองอะตอมลดลงมากที่สุด ซึ่งมีค่าน้อยกว่าพลังงานเริ่มต้น 436 กิโลจูลต่อ
โมล ไฮโดรเจนทั้งสองอะตอมจะใช้อิเล็กตรอนร่วมกันเกิดเป็นโมเลกุลที่เสถียรมาก ถ้าอะตอมทั้งสองเข้าใกล้กัน
มากกว่านี้ แรงผลักระหว่างนิวเคลียสและระหว่างอิเล็กตรอนจะเพิ่มขึ้นทำให้ พลังงานศักย์ของโมเลกุลสูงขึ้น
อย่างรวดเร็วจนอะตอมทั้งสองอยู่ร่วมกันเป็นโมเลกุลไม่ได้ นักเรียนคิดว่านอกจากโมเลกุลของไฮโดรเจนแล้วยัง
มีโมเลกุลใดอีกที่มีการใช้อิเล็กตรอนร่วมกันแบบนี้
ชนิดของพันธะโคเวเลนต์
นักเรียนทราบแล้วว่าเมื่ออะตอมของธาตุรวมกันเกิดเป็นสารประกอบจะทำให้แต่ละอะตอมมีเวเลนต์
อิเล็กตรอนเป็น 8 ตามกฎออกเตต เช่น การรวมตัวของธาตุไฮโดรเจนกับธาตุฟลูออรีนเกิดเป็นไฮโดรเจน
ฟลูออไรด์ ไฮโดรเจนมีเวเลนซ์อิเล็กตรอน 1 ต้องการอีก 1 อิเล็กตรอนจึง จะครบ 2 เหมือนฮี เลียม ส่วน
ฟลูออรีนมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับ 7 ต้องการอีก 1 อิเล็กตรอนจึงจะครบ 8 แต่ธาตุทั้งสองมีพลังงานไอออ
ไนเซชันลำดับที่ 1 สูง แสดงว่าเสียอิเล็กตรอนได้ยาก จึง ไม่มีอะตอมใดให้อิเล็กตรอน ธาตุทั้ง สองจึ ง ใช้
อิ เ ล็ ก ตรอนร่ ว มกั น 1 คู ่ เกิ ด เป็ น พั น ธะโคเวเลนต์ ช นิ ด พั น ธะเดี ่ ย ว อิ เ ล็ ก ตรอนคู ่ ท ี ่ ใ ช้ ร ่ ว มกั น นี้
เรียกว่า อิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะ
จากตัวอย่างการเกิดโมเลกุลของแก๊สไฮโดรเจนหรือไฮโดรเจนฟลูออไรด์ช่วยให้ทราบว่าการเกิดพันธะ
เคมีจะเกี่ยวข้องกับเวเลนซ์อิเล็กตรอนของแต่ละอะตอม สำหรับอะตอมที่เกิดพันธะนั้นนักเคมีนิยมใช้การเขียน
สัญลักษณ์แบบจุดของลิวอิส* โดยประกอบด้วยสัญลักษณ์ของธาตุหนึ่งแทนนิวเคลียสกับอิเล็กตรอนในชั้นถัด
จากเวเลนซ์อิเล็กตรอนเข้าไป และจุดรอบสัญลักษณ์ซึ่งแทนจำนวนเวเลนซ์อิเล็กตรอนของธาตุนั้นๆ ในกรณี
ของธาตุกลุ่มย่อย A (หมู่ IA ถึง VIIIA) ซึ่งมีจำนวนเวเลนซ์อิเล็กตรอนเท่ากับเลขหมู่ จึงเขียนสัญลักษณ์แบบจุด
ของลิวอิสแสดงได้ดังตัวอย่าง

ดังนั้นการเกิดพันธะโคเวเลนต์ระหว่างอะตอมของไฮโดรเจนกับฟลูออรีนซึ่งเป็นพันธะเดี่ยว จึงแสดง
ด้วยสัญลักษณ์แบบจุดของลิวอิสได้ดังนี้
ตัวอย่างโมเลกุลโคเวเลนต์อื่นๆ ซึ่งมีพั นธะในโมเลเป็นพันธะเดี่ยว เช่น โมเลกุลแก๊สคลอรีน (Cl2)
โมเลกุลน้ำ H2O ใช้สัญลักษณ์แบบจุดของลิวอิสแสดงได้ดังนี้
การแสดงการเกิดพันธะโคเวเลนต์ด้วยสัญ ลักษณ์แบบจุดของลิวอิส โดยใช้จุด 2 จุด หรืออาจใช้
เส้น 1 เส้นแทนอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะ 1 คู่ ระหว่างอะตอมทั้งสองเรียกว่า โครงสร้างลิวอิส จากตัวอย่าง
จะสัง เกตเห็นว่าเวเลนซ์อิเล็กตรอนบางอิเล็กตรอนไม่ได้เกี่ยวข้องกับการเกิดพันธะอิเล็กตรอนเหล่านี้จะ
เรียกว่า อิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว
ในโมเลกุลของแก๊สออกซิเจน ซึ่ง ประกอบด้วยออกซิเจน 2 อะตอม ออกซิเจนมี 6 เวเลนซ์
อิเล็กตรอน แต่ละอะตอมต้องการอีก 2 อิเล็กตรอนจึงจะครบ 8 ดังนั้นจึงใช้อิเล็กตรอนร่วมกัน 2 คู่ เกิดพันธะ
โคเวเลนต์ ช นิ ด พั น ธะคู ่ ตั ว อย่ า งโมเลกุ ล โคเวเลนต์ อ ื ่ น ๆ ที ่ ม ี พ ั น ธะคู ่ ใ นโมเลกุ ล เช่ น โมเลกุ ล
คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) เอทิลีน C2H4 เขียนโครงสร้างลิวอิสแสดงได้ดังนี้
ถ้าอะตอมทั้งสองใช้อิเล็กตรอนร่วมกัน 3 คู่ พันธะที่เกิดขึ้นเรียกว่า พันธะสาม เช่น ในโมเลกุล
ไนโตรเจน N2 อะเซทิลีน C2H4 เขียนโครงสร้างลิวอิสแสดงได้ดังนี้

นอกจากนี้เพื่อความสะดวกอาจใช้เส้น 1 เส้น ( - ) แทนอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะ 1 คู่ สำหรับโมเลกุลที่มีพันธะคู่


หรือพันธะสาม จึงเขียนเส้น 2 เส้น ( = ) และ 3 เส้น แทนอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะ 2 คู่และ 3 คู่ ตามลำดับ
สำหรับอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวจะเขียนแสดงไว้หรือไม่ก็ได้ ดังตัวอย่างในตาราง 2.6
จากการที่อะตอมใช้อิเล็กตรอนร่วมกันเพื่อทำให้อะตอมมีเวเลนซ์อิเล็กตรอนครบ 8 ตามกฎออก
เตต จึงสามารถใช้กฎออกเตตทำนายจำนวนพันธะโคเวเลนต์ของแต่ละอะตอมได้ ตัวอย่างเช่น ธาตุคาร์บอนมี
เวเลนซ์อิเล็กตรอน 4 จึงต้องการอีก 4 อิเล็กตรอนเพื่อให้ครบ 8 นั่น คือคาร์บอนจะเกิดพันธะได้ 4 พันธะ ซึ่ง
อาจเป็นพันธะเดี่ยวทั้งหมดหรืออาจมีพันธะคู่หรือพันธะสามร่วมด้วยก็ได้ เช่น พันธะของคาร์บอนในโมเลกุลอี
เทน เอทิลีน และอะเซทิลีน ตามลำดับ

สารโคเวเลนต์บางชนิดประกอบด้วยพันธะโคเวเลนต์ที่อิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะมาจากอะตอมใดอะตอม
หนึ่งเท่านั้น พันธะที่เกิดขึ้นในลักษณะเช่นนี้เรียกว่า พันธะโคออร์ดิเนตโคเวเลนต์
ตัวอย่าง พันธะโคออร์ดิเนตโคเวเลนต์ในไอออน NH4+

ในกรณีนี้ NH3 มีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ ยว 1 คู่ ส่วน H+ เป็นไอออนที่ไ ม่มีอิเล็กตรอน NH3 จึง ให้
อิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวแก่ H3 เกิดพันธะใหม่ระหว่าง NH กับ H+ ซึ่งเป็นพันธะโคออร์ดิเนตโคเวเลนต์ อย่างไรก็
ตามเมื่อศึกษาเพิ่มเติมต่อไปจะพบว่าพันธะระหว่าง N กับ H ทั้ง 4 พันธะในไอออน NH4+ นี้มีลักษณะไม่
แตกต่างกัน
ตัวอย่าง พันธะโคออร์ดิเนตโคเวเลนต์ในโมเลกุล

แก๊สโบรอนไตรฟลูออไรด์สามารถทำปฏิกิริยากับแก๊สแอมโมเนียเกิดเป็นสารประกอบ โดยมีพนั ธะ
โคออร์ ด ิ เ นตโคเวเลนต์ เ กิ ด ขึ ้ น ระหว่ า งอะตอม N กั บ B ทำให้ อ ะตอม B มี เ วเลนซ์ อ ิ เ ล็ ก ตรอนครบ 8

โมเลกุลที่ไม่เป็นไปตามกฎออกเตต
ในโมเลกุลโคเวเลนต์ที่ได้ศึกษามาแล้วส่วนใหญ่อะตอมกลางจะมีจำนวนอิเล็กตรอนล้อมรอบเป็นไป
ตามกฎออกเตต แต่มีบางโมเลกุลที่จำนวนอิเล็กตรอนรอบอะตอมกลางน้อยกว่า 8 อิเล็กตรอน เช่น ในโมเลกุล
เบริลเลียมคลอไรด์ ซึ่งมีอิเล็กตรอนรอบเบริลเลียมเพียง 4 อิเล็กตรอน หรือในโมเลกุลโบรอนไตร
ฟลูออไรด์ มีอิเล็กตรอนรอบโบรอนเพียง 6 อิเล็กตรอนโครงสร้างลิวอิสของสารทั้งสองแสดดังรูป

โครงสร้างลิวอิสในโมเลกุล และ
โมเลกุลโคเวเลนต์หลายชนิดที่มีอิเล็กตรอนรอบอะตอมกลางมากกว่า 8 เช่น ฟอสฟอรัสเพนตะคลอ
ไรด์ PCl5 อะตอมฟอสฟอรัสใช้เวเลนซ์อิเล็กตรอนทั้ง 5 อิเล็กตรอนสร้างพันธะกับคลอรีน 5 พันธะ จึง มี
อิเล็กตรอนล้อมรอบ 10 อิเล็กตรอน ซัลเฟอร์เฮกซะฟลูออไรด์ SF6 อะตอมกำมะถันใช้เวเลนซ์อิเล็กตรอนทั้ง 6
อิเล็กตรอนสร้างพันธะกับฟลูออรีน 6 พันธะ จึงมีอิเล็กตรอนล้อมรอบ 12 อิเล็กตรอน เช่นเดียวกับอะตอมของ
ซีนอนในซีนอนเตตระฟลูออไรด์ XeF4 โมเลกุลโคเวเลนต์ที่กล่าวมาแล้วแสดงได้ดังรูป
ตัวอย่างโมเลกุลโคเวเลนต์ที่ไม่เป็นไปตามกฎออกเตต
ชื่อ....................................................................................................... ชั้น.......................เลขที่.................
ใบงานที่ 26
เรื่อง การเกิดและชนิดของพันธะโคเวเลนต์

1. จงเขียนสูตรโครงสร้างลิวอิสแบบจุดและแบบเส้นของโมเลกุลต่อไปนี้
สูตรโมเลกุล สูตรโครงสร้างลิวอิสแบบจุด สูตรโครงสร้างลิวอิสแบบเส้น
Br2

H2O

H2O2

CS2

N2H4

CH2O

C3H6O

CH3Cl

CCl4

NOCl
ใบความรู้ที่ 27
เรื่อง การเขียนสูตรและการเรียกชื่อของพันธะโคเวเลนต์

การเขียนสูตรสารประกอบโคเวเลนต์ (Formula of Covalent Compounds)


สูตรโมเลกุล
1. เขียนสัญลักษณ์ของธาตุที่เป็นองค์ประกอบเรียงตามลำดับของธาตุ และค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตี ตามหลัก
สากล ดังนี้ คือ B, Si, C, Sb, As, P, N, H, Te, Se, S, At, I, Br, Cl, O, F ตามลำดับ
2. ในสารประกอบโคเวเลนต์ ถ้าอะตอมของธาตุมีจำนวนอะตอมมากกว่าหนึ่งให้เขียนจำนวนอะตอมด้วย
ตัวเลขแสดงไว้มุมล่างทางขวา ในกรณีที่ธาตุในสารประกอบนั้นมีเพียงอะตอมเดียวไม่ต้องเขียนตัวเลขแสดงจำนวน
อะตอม
สูตรโครงสร้าง
สูตรที่แสดงให้ทราบว่า 1 โมเลกุลของสารประกอบด้วยธาตุใดบ้าง อย่างละกี่อะตอม และอะตอมของธาตุ
เหล่านั้นมีการจัดเรียงตัวหรือเกาะเกี่ยวกันด้วยพันธะอย่างไร ซึ่งแบบเป็น 2 แบบคือ
1. สูตรโครงสร้างแบบจุด คือสูตรโครงสร้างที่แสดงถึงการจัดอิเล็กตรอนวงนอกสุดให้ครบออกเตตใน
สารประกอบนั้น โดยใช้จุด (.) แทนอิเล็กตรอน 1 ตัว
2. สูตรโครงสร้างแบบเส้น คือสูตรโครงสร้างที่แสดงถึงพันธะเคมีในสารประกอบนั้นว่าพันธะใดบ้าง โดยใช้
เส้น (-) แทนพันธะเคมี เส้น 1 เส้น แทนอิเล็กตรอนที่ใช้ร่วมกัน1 คู่

การเรียกชื่อสารประกอบโคเวเลนต์
สารประกอบโคเวเลนต์เป็นโมเลกุลของสารที่เกิดจากอะตอมของธาตุตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปมาสร้างพันธะ
โคเวเลนต์ต่อกันด้วยสัดส่วนต่าง ๆ กัน ทำให้เป็นการยากในการเรียกชื่อสาร จึงได้มีการตั้งกฎเกณฑ์ในการเรียกชื่อ
สารประกอบโคเวเลนต์ขึ้น เพื่อให้สามารถสื่อความเข้าใจถึงลักษณะโครงสร้างของสารประกอบโคเวเลนต์ได้ตรงกัน
โดยน ั ก ว ิ ท ยาศาสตร ์ ไ ด้ ก ำ หน ดห ลั ก เก ณฑ ์ ใน ก าร เร ี ย ก ชื ่ อ ส าร ปร ะ ก อ บโ ค เว เ ลน ต ์ ไ ว ้ ด ั ง นี้
1. ให้เรียกชื่อของธาตุที่อยู่ข้างหน้าก่อนแล้วตามด้วยชื่อของธาตุที่อยู่ด้านหลัง โดยเปลี่ยนเสียง
พยางค์ท้ายของธาตุเป็น-ไอด์(-ide) ดังตัวอย่างดังต่อไปนี้
ไฮโดรเจน (H) ออกเสียงเป็น ไฮไดรต์
คาร์บอน (C) ออกเสียงเป็น คาร์ไบด์
ไนโตรเจน (N) ออกเสียงเป็น ไนไตรด์
ฟลูออรีน (F) ออกเสียงเป็น ฟลูออไรด์
คลอรีน (CI) ออกเสียงเป็น คลอไรต์
ออกซิเจน (O) ออกเสียงเป็น ออกไซต์
2. ระบุจำนวนอะตอมของธาตุไว้หน้าชื่อธาตุ โดยวิธีการระบุจำนวนอะตอมของธาตุจะระบุโดยใช้ชื่อ
ตัวเลขในภาษากรีก ดังนี้
1 = มอนอ (mono)
2 = ได (di)
3 = ไตร (tri)
4 = เตตระ (tetra)
5 = เพนตะ (penta)
6 = เฮกซะ (hexa)
7 = เฮปตะ (hepta)
8 = ออกตะ (octa)
9 = โนนะ (nona)
10 = เดคะ (deca)
แต่มีข้อยกเว้น คือ ไม่ต้องมีการระบุจำนวนอะตอมของธาตุที่อยู่ด้านหน้าในกรณีที่ธาตุที่อยู่ด้านหน้ามี
อยู่เพียงอะตอมเดียว และไม่จำเป็นต้องมีการระบุจำนวนอะตอมของธาตุในกรณีที่ธาตุที่อยู่ด้านหน้าเป็นธาตุ
ไฮโดรเจน ไม่ว่าจะมีกี่อะตอมก็ตาม
ตัวอย่างการเรียกชื่อสารประกอบโคเวเลนต์
N2O5 เรียกว่า ไดโนโตรเจนเพนตะออกไซด์
N2O เรียกว่า ไดโนโตรเจนมอนอกไซด์
CCI4 เรียกว่า คาร์บอนเตตระคลอไรด์
SO2 เรียกว่า ซัลเฟอร์ไดออกไซด์
CO เรียกว่า คาร์บอนมอนนอกไซด์
CO2 เรียกว่า คาร์บอนไดออกไซด์
H2S เรียกว่า ไฮโดรเจนซัลไฟด์
ชื่อ....................................................................................................... ชั้น.......................เลขที่.................

ใบงานที่ 27
เรื่อง การเขียนสูตรและการเรียกชื่อของพันธะโคเวเลนต์

1. จงเขียนสูตรและอ่านชื่อของสารที่เกิดจากการรวมตัวระหว่างอะตอมคู่ต่อไปนี้
การเขียนสูตร การอ่านชื่อ
H กับ S
C กับ F
Be กับ H
S กับ O
P กับ Br
Si กับ Cl
C กับ Cl
N กับ I
N กับ O
P กับ Cl

2. จงอ่านชื่อสารประกอบโคเวเลนต์ที่กำหนดให้

1) P4O10 ………….…………………………………………………………………..…………………………………………….
2) P2S5 ………..…….……………………………………………………………………………………………………………..
3) AlI3 ..…………………….……………………………………………………………………………………………………..
4) Cl2O7 ..…………………….……………………………………………………………………………………………..……..
5) SF6 ..…………………….……………………………………………………………………………………………..……..
ใบความรู้ที่ 29
เรื่อง ความยาวพันธะและพลังงานพันธะโคเวเลนต์

ความยาวพันธะ คือ ระยะห่างที่น้อยที่สุดระหว่างนิวเคลียสของสองอะตอมภายในโมเลกุลในสถานะที่


เป็นแก็สให้เป็นอะตอมเดี่ยวในสถานะที่เป็นแก๊ส

ซึ่งความยาวพันธะระหว่างอะตอมคู่เดียวกันในโมเลกุลของสารต่างชนิดกันจะมีค่าต่างกัน ค่าความยาว
พันธะที่นำมาคิดในโจทย์จึงเป็นความยาวพันธะเฉลี่ย
พลังงานพันธะ หมายถึง พลังงานที่น้อยที่สุดที่ใช้เพื่อสลายพันธะที่ยึดเหนี่ยวระหว่างอะตอมคู่หนึ่งๆใน
โมเลกุลในสถานะแก๊ส ให้กลายเป็นอะตอมเดี่ยวๆในสถานะแก๊ส พลังงานพันธะสามารถบอกถึงความแข็งแรงของ
พันธะเคมีได้ โดยพันธะที่แข็งแรงมากจะมีพลังงานพันธะมาก และพันธะที่แข็งแรงน้อยจะมีพลังงานพันธะน้อย มี
หน่วยเป็น KJ/mol
การเปรียบเทียบความยาวพันธะ และพลังงานพันธะ
ความยาวพันธะและพลังงานพันธะจะเปรียบเทียบกันได้ก็ต่อเมื่อเป็นพันธะที่เกิดจากอะตอมของธาตุคู่
เดียวกันถ้าเป็นอะตอมต่างคู่กันเทียบกันไม่ได้
การคำนวณเกี่ยวกับพลังงานพันธะ ดูได้จากการเปลี่ยนแปลงปฏิกิริยาทางเคมี ซึ่งมีอยู่ 2 ประเภท
คือ 1.เมื่อมีการสร้างพันธะจะมีการเปลี่ยนแปลงแบบคายพลังงาน
2.เมื่อมีการสลายพันธะจะมีการเปลี่ยนแปลงแบบดูดพลังงาน

ดูด=สลาย สร้าง=คาย

กรณีที่ 1 โมเลกุล เป็น อะตอม เป็นการเปลี่ยนแปลงแบบดูดพลังงาน


กรณีที่ 2 อะตอม + อะตอม + … เป็น โมเลกุล เป็นการเปลี่ยนแปลงประเภทคายพลังงาน
กรณีที่ 3 โมเลกุล 1 + โมเลกุล 2 เป็น โมเลกุล 3 + โมเลกุล 4 สมการนี้จะไม่สามรถสรุปได้ว่าเป็น
การเปลี่ยนแปลงพลังงานประเภทใด

สรุป พลังงานที่ดูดเข้าไป > พลังงานที่คายออกมา => ปฏิกิริยาดูดความร้อน


พลังงานที่คายออกมา > พลังงานที่ดูดเข้าไป => ปฏิกิริยาคายความร้อน
การเกิดปฏิกิริยาเคมีเกี่ยวกับการสลายพันธะในสารตั้งต้นและการสร้างพันธะในผลิตภัณฑ์ การสลายพันธะต้องดูด
พลังงานและการสร้างพันธะจะคายพลังงาน ถ้าเราทราบชนิดและจำนวนของพันธะทั้งหมดที่สลายและที่เกิดใหม่ ก็
สามารถคำนวณ พลังงานของปฏิกิริยา ( H) ได้ ดังสมการ
∆H = E1 + E2
เมื่อ ∆H คือ พลังงานของปฏิกิริยา
E1 คือ ผลรวมของพลังงานที่ใช้ในการสลายพันธะทั้งหมดในสารตั้งต้น
E2 คือ ผลรวมของพลังงานที่คายออกมาเมื่อสร้างพันธะใหม่ทั้งหมดในผลิตภัณฑ์
ตัวอย่างที่ 1 การสลายพันธะในโมเลกุล CCl4 1 โมล ออกเป็นอะตอมเดี่ยวต้องใช้พลังงานเท่าใด
การเปลี่ยนแปลงนี้เป็นแบบดูดพลังงานหรือคายพลังงาน
CCl4(g) C(g) + 4Cl(g)
วิธีทำ CCl4 1 โมล มีพันธะ C – Cl = 4 mol
พลังงานพันธะของ C – Cl = 327 kJ/mol
พลังงานที่ใช้สลายพันธะของCCl4 1 โมล = 4 mol x 327 kJ/mol
= 1308 kJ
ดังนั้น การสลายพันธะในโมเลกุลCCl4 1 โมล ต้องใช้พลังงาน 1,308 กิโลจูล และเป็นการดูดพลังงาน
ตัวอย่างที่ 2 ปฏิกิริยาการเผาไหม้แก๊สมีเทน (CH4) 1 โมล ได้ผลิตภัณฑ์เป็นแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์และไอน้ำ
ปฏิกิริยานี้คายพลังงานหรือดูดพลังงานเท่าใด สมการเคมีที่ดุลแล้วของปฏิกิริยาเผาไหม้ CH4 1 โมล เป็นดังนี้
CH4(g) + 2O2(g) CO2(g) + 2H2O(g)
วิธีทำ สารตั้งต้นในปฏิกิริยาที่เกิดการสลายพันธะคือ CH4จำนวน 1 โมล และ O2จำนวน 2 โมล
พลังงานที่ต้องใช้สลายพันธะของสารตั้งต้น
CH4 1 โมล มีพันธะ C – H = 4 mol
O2 1 โมล มีพันธะ O = O = 1 mol
พลังงานพันธะ C – H = 413 kJ/mol
พลังงานพันธะ O = O = 498 kJ/mol
พลังงานที่ใช้สลายพันธะของ CH4 จำนวน 1 โมล และ O2 จำนวน 2 โมล = E1 kJ
E1 = (4 mol x 413 kJ/mol) + (2 mol x 498 kJ/mol)
= 1652 kJ + 996 kJ
= 2648 kJ
ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากปฏิกิริยา คือ CO2 1 โมล และ H2O 2 โมล
CO2 1 โมล มีพันธะ C = O = 2 mol
H2O 2 โมลมีพันธะ H – O = 2 mol
พลังงานพันธะ C = O = 804 kJ/mol
พลังงานพันธะ H – O = 463 kJ/mol
พลังงานที่คายออกมาจากการสร้างพันธะของ CO2 1 โมล และ H2O 2 โมล = E2 kJ
E2 = [2 mol x (-804) kJ/mol] + [4 mol x (-463) kJ/mol]
= (-1608 kJ) + (-1852kJ)
= - 3460 kJ
∆H = E1 + E2
= (2648kJ) + (-3460kJ)
= - 812 kJ
ดังนั้น การเผาไหม้แก๊สมีเทน 1 โมล ได้ผลิตภัณฑ์เป็นแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ และน้ำจะคายพลังงานเท่ากับ 812
กิโลจูล และปฏิกิริยานี้เป็นปฏิกิริยาแบบคายพลังงาน

ตัวอย่างที่ 3 เมื่อผ่านแก๊สคลอรีนไปทำปฏิกิริยากับแก๊สมีเทน จะเกิดการเปลี่ยนแปลงดังสมการ


CH4(g) + Cl2(g) CH3Cl(g) + HCl(g)
วิธีทำ สารตั้งต้นในปฏิกิริยาที่เกิดการสลายพันธะ คือ CH4 และ Cl2
CH4 1 โมล มีพันธะ C – H = 4 mol
Cl2 1 โมล มีพันธะ Cl – Cl = 1 mol
พลังงานพันธะ C – H = 413 mol
พลังงานพันธะ Cl – Cl = 243 mol
พลังงานที่ใช้สลายพันธะของ CH41 โมล และ Cl2 1 โมล = E1 kJ
E1 = (4 mol x 413 kJ/mol) + (1 mol x 243 kJ/mol)
E1 = 1652 kJ + 243 kJ
E1 = 1895 kJ
ผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นในปฏิกิริยา คือ CH3Cl 1โมล และ HCl 1โมล
CH3Cl 1 โมล มีพันธะ C – H = 3mol
CH3Cl 1 โมล มีพันธะ C – Cl = 1mol
HCl 1 โมลมีพันธะ H – Cl = 1mol
พลังงานพันธะ C – H = 413 mol
พลังงานพันธะ C – Cl = 327 mol
พลังงานพันธะ H – Cl = 431 mol
การสร้างพันธะของ CH3Cl 1 โมล และ HCl 1 โมล คายพลังงานออกมา = E2 kJ
E2 = [3 mol x (-413) kl/mol] + [1 mol x (-327) kJ/mol] +[1 mol x (-431) kJ/mol]
= (-1239 kJ) + (-327 kJ) + (-431 kJ)
= -1997 kJ
∆H = E1 + E2
= (1895 kJ) + (-1997 kJ)
= - 102 kJ
ดังนั้น ปฏิกิริยานี้เป็นปฏิกิริยาแบบคายพลังงาน และพลังงานที่คายออกมาเท่ากับ 102 กิโลจูล
ชื่อ…………………………………………………………………………………………..ชั้น……………………….เลขที่……………………..

ใบงานที่ 28
เรื่อง ความยาวพันธะและพลังงานพันธะโคเวเลนต์

คำชี้แจง : จงตอบคำถามต่อไปนี้
1. จงเปรียบเทียบพันธะและพลังงานพันธะระหว่าอะตอมคาร์บอนใน C2H2 C2H4 และ C2H6
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

2. จงคำนวณหาพลังงานพันธะของสารต่อไปนี้
กำหนด พลังงานพันธะดังนี้ H – H = 436 kJ/mol, N  N = 945 kJ/mol และ N – H = 391 kJ/mol
จงหาว่าการเปลี่ยนแปลงต่อไปนี้ว่าเป็น ดูดหรือคายพลังงาน และมีค่าเท่าใด
2NH3 N2 + 3H2 ในสภาวะก๊าซ
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
3. พิจารณาปฏิกิริยา CH4(g) + 4Cl2(g) CCl4(g) + 4HCl
ปฏิกิริยานี้ ดูดหรือคายความร้อน และความร้อนของปฏิกิริยามีค่ากี่กิโลจูลต่อโมลของ CH4
กำหนดให้พลังงานพันธะของ C – H = 413, Cl – Cl = 242, C – Cl = 339 และ H – Cl = 431
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………
ใบความรู้ที่ 29
เรื่อง รูปร่างของโมเลกุลโคเวเลนต์

พันธะโคเวเลนต์ เป็นพันธะที่มีทิศทางและมุมระหว่างพันธะที่แน่นอน เนื่องจากการสร้างพันธะเกิดจากการใช้


อิเล็กตรอนร่วมกันระหว่างอะตอมที่สร้างพันธะกัน การจัดตัวของพันธะในโมเลกุลนั้น จะเป็นไปในรูปแบบที่ทำให้
เกิดการเบียดกันของกลุ่มหมอกอิเล็กตรอนรอบๆ อะตอมกลางน้อยที่สุด
ถ้าโมเลกุ ลประกอบด้วยอะตอมเพียง 2 อะตอม จะมีรูปร่างเป็น เส้น ตรง (Linear) เสมอ เช่น H2 F2
Cl2 Br2 I2 N2 O2 HCl HBr HI แต่ถ้าโมเลกุลประกอบด้วยอะตอมมากกว่า 2 อะตอม รูปทรงเรขาคณิตของ
โมเลกุลจะเป็นไปได้หลายแบบ การพิจารณาว่ารูปทรงเรขาคณิตของโมเลกุลเป็นอย่างไร ให้เริ่มพิจารณาที่อะตอม
กลางของโมเลกุล โดยมีหลักการสำคัญดังต่อไปนี้
1. พิ จ ารณาว่ า มี พ ั น ธะรอบอะตอมกลางกี ่ พ ั น ธะ (พั น ธะเดี ่ ย ว พั น ธะคู่ หรื อ พั น ธะสาม นั บ เป็ น
1 พันธะเท่ากัน
2. พิจารณาว่ามีอิเล็กตรอนคู่โดเดี่ยวหรือไม่ ถ้ามีต้องดูว่ามีกี่คู่
3. นำโครงสร้างโมเลกุลที่ได้จากข้อ 1 และ 2 ใช้ร่วมกับทฤษฎีการผลักของคู่อิเล็กตรอน (VSEPR) เพื่อ
บอกรูปทรงเรขาคณิตของโมเลกุล
กำหนดสั ญ ลั ก ษณ์ ข องโครงสร้ า งโมเลกุ ล ตามทฤษฎี VSEPR ด้ ว ยสู ต ร AXE (หรื อ อาจใช้ ต ั ว อั ก ษร
อื่น เช่น ABE แต่ความหมายเดียวกัน) ฉะนั้นเมื่อกล่าวว่าให้เขียนสัญลักษณ์ VSEPR จึง หมายถึง ให้เขียนสูตร
AXE ว่าเป็นแบบใด ตัวอักษรในสูตรมีความหมายดังนี้
A = อะตอมกลางของโมเลกุล
X = จำนวนพันธะรอบอะตอมกลาง (พันธะเดี่ยว พันธะคู่ พันธะสาม นับเป็น 1 พันธะเหมือนกัน)
E = จำนวนอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวของอะตอมกลาง (นับเป็นคู่ ๆ)
ตารางแสดงสูตร AXE รูปทรงเรขาคณิต และมุมระหว่างพันธะ ของโมเลกุลโคเวเลนต์

สูตร AXE รูปทรงเรขาคณิต ภาพแสดงรูปทรง


ของโมเลกุล ของกลุ่มอิเล็กตรอน เรขาคณิต สารตัวอย่าง มุมระหว่างพันธะ
รอบอะตอมกลาง ของโมเลกุล
โมเลกุลอะตอมคู่
(ไม่มีสัญลักษณ์ - เส้นตรง HF, O2, H2,N2,Cl2 -
AXE) (linear)

AX2E0 (เส้นตรง) เส้นตรง BeCl2, HgCl2, CO2


(linear)
สูตร AXE รูปทรงเรขาคณิต ภาพแสดงรูปทรง
ของโมเลกุล ของกลุ่มอิเล็กตรอน เรขาคณิต สารตัวอย่าง มุมระหว่างพันธะ
รอบอะตอมกลาง ของโมเลกุล

BF3, CO32−,
(สามเหลี่ยมระนาบ) สามเหลี่ยมระนาบ
AX3E0 NO3−, SO3
(triangle หรือ,
trigonal planar)

AX2E1 มุมงอ NO2−, SO2, O3


(สามเหลี่ยมระนาบ)
(bent , angular)

CH4, PO43−, SO42−,


AX4E0 ทรงสี่หน้า ClO4−CO32-
ทรงสี่หน้า
(tetrahedral)
AX3E1

พีระมิดฐาน NH3, PCl3


ทรงสี่หน้า
สามเหลี่ยม
(trigonal pyramid

AX2E2 มุมงอ
ทรงสี่หน้า (bent ,angular) H2O, OF2

ในแนวระนาบฐาน
AX5E0 พีระมิดคู่ฐาน พีระมิดทำมุมกัน 120
พีระมิดคู่ฐาน สามเหลี่ยม PCl5 องศา ส่วนส่วนสูงของ
สามเหลี่ยม (trigonal พีระมิดทำมุม 90 องศา
bipyramid) กับระนาบ

สูตร AXE รูปทรงเรขาคณิต ภาพแสดงรูปทรง


ของโมเลกุล ของกลุ่มอิเล็กตรอน เรขาคณิต สารตัวอย่าง มุมระหว่างพันธะ
รอบอะตอมกลาง ของโมเลกุล

AX4E1
พีระมิดคู่ฐาน SF4
ม้ากระดก
สามเหลี่ยม
AX3E2 น้อยกว่า 90 องศา

พีระมิดคู่ฐาน ตัวที ClF3, BrF3


สามเหลี่ยม (T-shape)

AX2E3 180 องศา

พีระมิดคู่ เส้นตรง
XeF2, I3−
ฐานสามเหลี่ยม

90 องศา

AX6E0 SF6
ทรงแปดหน้า ทรงแปดหน้า
(octrahedral)

AX5E1 90 องศา

ทรงแปดหน้า พีระมิดฐานสี่เหลี่ยม ClF5, BrF5


(square pyramid)

สูตร AXE รูปทรงเรขาคณิต ภาพแสดงรูปทรง


ของโมเลกุล ของกลุ่มอิเล็กตรอน เรขาคณิต สารตัวอย่าง มุมระหว่างพันธะ
รอบอะตอมกลาง ของโมเลกุล
AX4E2
90 องศา
ทรงแปดหน้า สี่เหลี่ยมจัตุรัส
XeF4
(square plana)
AX7E0
ในแนวระนาบฐาน
พีระมิดคู่ฐานห้า พีระมิดคู่ฐานห้า พีระมิดทำมุมกัน 72
เหลี่ยม เหลี่ยม IF7 องศา ส่วนส่วนสูงของ
(pentagonal (pentagonal พีระมิดทำมุม 90 องศา
bipyramid) bipyramid) กับระนาบ
AX6E1
ในแนวระนาบฐาน
พีระมิดทำมุมกัน 72
พีระมิดคู่ฐานห้า พีระมิดฐานห้า XeF6 องศา ส่วนส่วนสูงของ
เหลี่ยม เหลี่ยม พีระมิดทำมุมน้อยกว่า
(pentagonal 90 องศากับระนาบ
pyramid)

ตัวอย่าง
AX3 = รูปสามเหลี่ยมแบนราบ
AX3E = รูปพีระมิดฐานสามเหลี่ยม
AX2E2 = รูปมุมงอ
เมื่อ A = อะตอมกลาง
X = อะตอมที่ล้อมรอบ
E = จำนวนอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว
NH3 A = อะตอมกลางคือธาตุ N
X = อะตอมที่ล้อมรอบคือธาตุ H
E = จำนวนอิเล็กตรอนคู่โดเดี่ยวของธาตุ N มี 2 อิเล็กตรอน
ดังนั้น NH3 จึงมีสูตรทั่วไปคือ AX3E (รูปพีระมิดฐานสามเหลี่ยม)
BF3 A = อะตอมกลางคือธาตุ B
X = อะตอมที่ล้อมรอบคือธาตุ F
E = จะไม่มีเนื่องจากธาตุ B ไม่มีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวเหลือ
ดังนั้น BF3 จึงมีสูตรทั่วไปคือ AX3 (รูปสามเหลี่ยมแบนราบ)
ชื่อ…………………………………………………………………………………………..ชั้น……………………….เลขที่……………………..
ใบงานที่ 29
เรื่อง รูปร่างของโมเลกุลโคเวเลนต์

คำชี้แนะ จงทำนายรูปร่างโมเลกุลโคเวเลนต์
โมเลกุล รูปร่าง โมเลกุล รูปร่าง
BeCl2 NCl3

BH3 PCl3

BCl3 BrF5

CH4 OF2

CH3Cl H2O

CH2Cl2 H2S

CCl4 SF6
ใบความรู้ที่ 14
เรื่อง สภาพขั้วของโมเลกุลโคเวเลนต์

ในพันธะโคเวเลนต์ อิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะจะเคลื่อนที่อยู่ระหว่างอะตอมทั้งสองที่สร้างพันธะกัน ถ้าพบว่า


อิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะเคลื่อนที่อยู่ตรงกลางระหว่างอะตอมพอดี แสดงว่าอะตอมคู่นั้นมีความสามารถในการดึงดูด
อิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะเท่ากัน แต่ถ้าพบว่าอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะเคลื่อนที่อยู่ใกล้อะตอมใดอะตอมหนึ่งมากกว่าอีก
อะตอมหนึ่ง แสดงว่าอะตอมคู่นั้น มีความสามารถในการดึงดูดอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะไม่เท่ากัน
ค่าที่บอกให้ทราบถึงความสามารถในการดึงดูดอิเล็กตรอนของธาตุที่สร้างพันธะกันเป็น สารประกอบ
เรียกว่า อิเล็กโทรเนกาติวิตี ( Electronegativity )
ค่าอิเล็กโทรเนกาติวิ ตี จะมีค่ามากหรือน้อยขึ้นอยู ่กับ จำนวนประจุในนิวเคลีย ส และระยะระหว่าง
เวเลนต์อิเล็กตรอนกับนิวเคลียส ธาตุที่มีจำนวนประจุในนิวเคลียสมาก แต่มีระยะระหว่างเวเลนต์ อิเล็กตรอนกับ
นิวเคลียสห่างกันน้อย จะมีค่าค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีสูง กว่าธาตุที่มีมีจำนวนประจุในนิวเคลียสน้อย แต่มีระยะ
ระหว่างเวเลนต์อิเล็กตรอนกับนิวเคลียสห่างกันมาก

ค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตี (EN)
ค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีนำไปใช้อธิบายสมบัติบางประการของสารได้ เช่น ขั้วของพันธะโคเวเลนต์
1. ถ้าพันธะโคเวเลนต์เกิดจากอะตอมที่มีค่าค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีเท่ากัน เช่น พันธะในโมเลกุลของ H2,
O2, N2, F2, Br2, I2, P4 อิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะจะอยู่ตรงกลางระหว่างอะตอมทั้งสองเป็นส่วนใหญ่ หรืออาจกล่าว
ได้ว่าอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะจะถูกนิวเคลียสของอะตอมทั้งสองดึงดูดด้วยแรงเท่าๆกัน เราเรียกพันธะโคเวเลนต์ที่
เกิดขึ้นในลักษณะนี้ว่า พันธะโคเวเลนต์ไม่มีขั้ว
สรุป พันธะที่เกิดจากอะตอมของธาตุชนิดเดียวกันเป็นพันธะไม่มีขัว
2. ถ้าพันธะโคเวเลนต์เกิดจากอะตอมที่มีค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีต่างกัน อะตอมที่มีค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตี
มากกว่า จะดึงอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะเข้ามาใกล้ตัวมันเอง อะตอมนี้จะแสดงอำนาจไฟฟ้าเป็นลบ และอะตอมที่มี
ค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีน้อยกว่าจะถูกดึงอิเล็กตรอนคู่ร่วมพันธะไป อะตอมนี้จะแสดงอำนาจไฟฟ้าบวก เราเรียก
พันธะโคเวเลนต์ชนิดนี้ว่า พันธะโคเวเลนต์มีขั้ว
การแสดงขั้วของพันธะโคเวเลนต์ ใช้สัญลักษณ์ (δ-, δ+) (อ่านว่า เดลตาลบ และเดลตาบวกตามลำดั บ)
และความแรงของขั้วของพันธะขึ้นกับผลต่างของค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีของอะตอมคู่สร้างพันธะ โดยถ้าค่าอิเล็ก
โทรเนกาติวิตีแตกต่างกันมากกว่า สภาพขั้วจะแรงกว่า เช่น H – F มีสภาพขั้วแรงกว่า H – Cl
สรุป พันธะที่เกิดจากอะตอมต่างชนิดกันเป็นพันธะมีขั้ว
ขั้วของโมเลกุล
วิธีพิจารณาว่าโมเลกุลใดมีขั้วหรือไม่มีขั้วมีหลักดังนี้
1. โมเลกุลใดที่มีแต่พันธะที่ไม่มีขั้วทั้งสิ้น จัดเป็นโมเลกุลที่ไม่มีขั้ว เช่น H2, O2, N2, F2, Br2, I2, P4
2. โมเลกุลใดที่มีพันธะมีขั้ว โมเลกุลนั้นอาจมีขั้วหรือไม่มีขั้วก็ได้ ขึ้นกับการเขียนเวกเตอร์ แล้วดูการหักล้างกันของ
ทิศทางของขั้วของพันธะรอบอะตอมกลาง ถ้าหักล้างกันหมดโมเลกุลนั้นจะไม่มีขั้ว แต่ถ้าหักล้างกันไม่หมดโมเลกุล
นั้นจะมีขั้ว โดยทิศทางของขั้วลบของโมเลกุลชี้ไปทางทิศทางของผลลัพธ์ เช่น
ชื่อ………………………………………..………………………………………..ชั้น………………….……….เลขที…
่ ……………..…

ใบงานที่ 14
เรื่อง สภาพขั้วของโมเลกุลโคเวเลนต์
1. จงเขียนสภาพขั้วของพันธะ โดยใช้สัญลักษณ์ δ- และ δ+ แสดงสภาพขั้วค่อนข้างเป็นลบและสภาพขั้ว
ค่อนข้างเป็นบวกตามลำดับ ของพันธะต่อไปนี้

1) H – S 2) H – Si 3) N – H 4) N – O

5) C – O 6) C – Cl 7) C – H 8) Cl – F

2. จงทำนายว่าโมเลกุลโคเวเลนต์ต่อไปนี้มีขั้วหรือไม่ และมีทิศทางของขั้วในโมเลกุลเป็นอย่างไร
1) ไฮโดรเจนไอโอไดด์ (HI)
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………….
2) คาร์บอนไดซัลไฟด์ (CS2)
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………….
3) ออกซิเจนไดฟลูออไรด์ (OF2)
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………….
4) ไนโตรเจนไตรคลอไรด์ (NCl3)
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………….
5) ไดคลอโรมีเทน (CH2Cl2)
…………………………………………………………………………………………………………………………………………………….

3. เมื่อพิจารณาสูตรของสารประกอบต่อไปนี้ (ENT’26)
(1) โบรมีน (Br2) (2) แอมโมเนีย (NH3) (3) น้ำ (H2O)
(4) ไฮโดรเจนคลอไรด์ (HCl) (5) คาร์บอนเตตระคลอไรด์ (CCl4)
สารใดเป็นพันธะโคเวเลนต์แบบมีขั้ว
ก. (1), (2), (3) และ (4) เท่านั้น ข. (2), (3) และ (4) เท่านั้น
ค. (2), (3), (4) และ (5) เท่านั้น ง. (4) เท่านั้น
ใบความรู้ที่ 31
เรื่อง แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลโคเวเลนต์

การเปลี่ยนสถานะของสารต้องมีการให้ความร้อนแก่สาร เพื่อให้อนุภาคของสารมีพลังงานจลน์สูงพอที่จะ
หลุดออกจากกัน แสดงว่าสารแต่ละสถานะมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุล ซึ่งเรียงลำดับจากมากไปน้อยดัง นี้
ของแข็ง > ของเหลว > ก๊าซ
การเปลี่ยนสถานะของสารโคเวเลนต์ มีการทำลายแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลเท่านั้น ไม่มีการทำลาย
พันธะเคมี ดังนั้นสารที่มีจุดเดือดจุดหลอมเหลวสูง แสดงว่าแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลสูง
ประเภทของแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลโคเวเลนต์ มีดังนี้
1. แรงลอนดอน (london foece) เป็นแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุล ยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงอ่อนๆ ซึ่ ง
เกิดขึ้นในสารทั่วไป และจะมีค่าเพิ่มขึ้นตามมวลโมเลกุลของสาร
2. แรงดึงดูดระหว่างขั้ว (dipole – dipole force) เป็นแรงดึงดูดทางไฟฟ้าอันเนื่องมาจากแรงกระทำ
ระหว่างขั้วบวกกับขั้วลบของโมเลกุลที่มีขั้ว
สารโคเวเลนต์ที่มีขั้ว มีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุล 2 ชนิดรวมอยู่ด้วยกันคือ แรงลอนดอนกับแรงดึงดูด
ระหว่างขั้ว และเรียกแรง 2 แรงรวมกันว่า แรงแวนเดอร์วาลส์
3. พันธะไฮโดรเจน (hydrogen bond , H – bond ) คือ แรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลที่เกิดจากไฮโดรเจน
อะตอมสร้างพันธะโคเวเลนต์ กับอะตอมที่มีค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีสูงๆและมีขนาดเล็ก ได้แก่ F, O และ N แล้วเกิด
พันธะโคเวเลนต์มีขั้วชนิดมีสภาพขั้วแรงมาก ทั้งนี้เนื่องจากพันธะที่เกิดขึ้นนี้อิเล็กตรอนคู่รวมพันธะจะถูกดึงเข้ามา
ใกล้อะตอมของธาตุที่มีค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีสูง มากกว่าทางด้านอะตอมของไฮโดรเจนมาก และอะตอมของธาตุที่
มีค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตีสูง ยังมีอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยว จึงเกิดดึงดูดกันระหว่างอิเล็กตรอนคู่โดดเดี่ยวกับอะตอมของ
ไฮโดรเจนซึ่งมีอำนาจไฟฟ้าบวกสูงของอีกโมเลกุลหนึ่ง ทำให้เกิดเป็นพันธะไฮโดรเจน
แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลทั้ง 3 ชนิดนี้ พันธะไฮโดรเจนจัดเป็นแรงยึดเหนี่ยวที่แข็งแรงที่สุด ขณะที่แรง
ลอนดอนจัดเป็นแรงยึดเหนี่ยวที่แข็งแรงน้อยที่สุด และทั้ง 3 แรงนี้แข็งแรงน้อยกว่าพันธะโคเวเลนต์ พันธะไออนิก
และพันธะโลหะมาก

สมบัติของสารโคเวเลนต์
1. มีจุดเดือดจุดและหลอมเหลวต่ำ เพราะจะทำให้เดือดหรือหลอมเหลวต้องใช้พลังงานไปในการทำลาย
แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุล (ไม่ได้ทำลายพันธะโคเวเลนต์ ยกเว้นโครงผลึกร่ างตาข่าย) อาจจะแบ่งสารโคเวนต์
ตามจุดเดือด จุดหลอมเหลว จะได้ 4 พวกดังนี้
1.1 สารโคเวเลนต์ไม่มีขั้ว พวกนี้จะมีจุดเดือดจุดหลอมเหลวต่ำกว่าพวกอื่นๆ เพราะโมเลกุลยึด
เหนี่ยวกันด้วยแรงลอนดอนอย่างเดียวเท่านั้น
1.2 สารโคเวเลนต์มีขั้ว พวกนี้จะมีจุดเดือดจุดหลอมเหลวสูงกว่าพวกไม่มีขั้ว เพราะยึดเหนี่ยว
โมเลกุลด้วยแรง 2 แรง คือแรงลอนดอลและแรงดึงดูดระหว่างขั้ว
1.3 สารโคเวเลนต์ที่สามารถสร้างพันธะไฮโดรเจนได้ เช่น HF, NH3, H2O พวกนี้จะมีจุดเดือดจุด
หลอมเหลวสูงกว่าสารโคเวเลนต์ที่มีขั้ว เพราะโมเลกุลยึดเหนี่ยวกันด้วยแรงแวนเดอร์วาลส์และพันธะไฮโดรเจน
1.4 พวกที ่ ม ี โ ครงสร้ า งเป็ น โครงผลึ ก ร่ า งตาข่ า ย เช่ น เพชร แกรไฟต์ คาร์ บ อรั น ดั ม
ซิลิกอนไดออกไซด์ พวกนี้มีจุดเดือดจุดหลอมเหลวสูงมาก ซึ่งโดยทั่วไปสารโคเวเลนต์มีจุดเดือดจุดหลอมเหลวต่ำ ที่
เป็นเช่นนี้เพราะการจัดเรียงอะตอมภายในผลึก
2. สารโคเวเลนต์จะไม่นำไฟฟ้าไม่ว่าจะอยู่ในสถานะใด (ยกเว้น แกรไฟต์) เนื่องจากไม่มีอิเล็กตรอนอิสระ
และเมื่อหลอมเหลวไม่แตกตัวเป็นอิออน
3. โมเลกุลที่มีขั้วสามารถละลายในตัวทำละลายที่โมเลกุลมีขั้วได้ และโมเลกุลที่ไม่มีขั้วสามารถละลายใน
ตัวทำละลายที่ไม่มีขั้วได้ (มีขั้วกับมีขั้ว, ไม่มีขั้วกับไม่มีขั้ว= ละลายกันได้ แต่มีขั้วกับไม่มีขั้วไม่ละลายกัน)
ชื่อ………………………………………..………………………………………..ชั้น………………….……….เลขที…
่ ……………..…

ใบงานที่ 15
เรื่อง แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลโคเวเลนต์

1. จงบอกชนิดของแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลของสารที่กำหนดให้ต่อไปนี้
สาร แรงดึงดูดระหว่างโมเลกุล
1. มีเทน (CH4)
2. ไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2S)
3. กรดไฮโดรคลอริก (HCl)
4. น้ำแข็งแห้ง (CO2)
5. กรดแอซิติก (CH3COOH)

2. ตัวอย่างข้อสอบ
1. แก็สเฉื่อยใดที่มีแรงแวนเดอร์วาลส์ระหว่างอะตอมมากที่สุด (ENT’21)
ก. นีออน ข. อาร์กอน ค. คริปทอน ง. ซีนอน
2. สารประกอบสองชนิดในข้อใดที่แรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลมีค่ามากที่สุด (ENT’37)
ก. HF, CCl4 ข. HCl, SiH4 ค. CH4, PH3 ง. NH3, HF
3. ไอออนที่อยู่ในน้ำยึดเหนี่ยวกับโมเลกุลของน้ำด้วยแรงหรือพันธะชนิดใด
ก. พันธะไอออนิก ข. แรงดึงดูดระหว่างขั้ว
ค. พันธะไฮโดรเจน ง. แรงดึงดูดระหว่างไอออนกับขั้ว
จากตาราง จงตอบคำตอบ
ชนิดของสาร จุดหลอมเหลว (°C) สมบัติ
1 801 แข็งแต่เปราะ เมื่อหลอมเหลวนำไฟฟ้า
2 -182 ไม่นำไฟฟ้า
3 1,540 แข็ง เป็นเงา นำไฟฟ้าได้ดี
4 0 นำไฟฟ้าได้น้อยมาก
4. สารชนิดที่ 2 มีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลเป็นแบบใด
ก. แรงแวนเดอร์วาลส์ ข. พันธะโคเวเลนต์
ค. พันธะโลหะ ง. พันธะไอออนิก
ใบความรู้ที่ 32
เรื่อง สารโคเวเลนต์โครงผลึกร่างตาข่าย

สารโคเวเลนต์บางชนิดที่มีโครงร่างแตกต่างไปจากพวก เช่น เพชร แกรไฟต์ ควอทซ์ จะมีพันธะ


ภายในเป็นพันธะโคเวเลนต์ และมีโครงสร้างของโมเลกุลเป็นแบบโครงผลึกร่างตาข่าย คือ แต่ละอะตอมจะจัดเรียง
กันอย่างเป็นระเบียบด้วยพันธะโคเวเลนต์ ต่อเนื่องกันไปทั้งหมดคล้ายร่างตาข่าย
การเปลี่ยนสถานะของสารโครงผลึกร่างตาข่ายจะต้องมีการทำลายแรงยึดเหนี่ยวระหว่ างอะตอม ได้แก่
พันธะโคเวเลนต์ ซึ่งต้องใช้พลังงานสูงมาก เช่นเดียวกับพวกไอออนิกและพวกโลหะ สารที่มีโครงผลึกร่างตาข่าย
เช่น แกรไฟต์ เพชร ซึ่งมีจุดเดือดจุดหลอมเหลวสูง
สรุปสมบัติทั่วๆ ไปของสารโครงผลึกร่างตาข่าย
1. ไม่มีสูตรโมเลกุล จึงใช้สูตรอย่างง่ายแทน เช่น C, SiO2, SiC
2. หามวลโมเลกุลไม่ได้ เพราะไม่ทราบสูตรโมเลกุลที่แน่นอน
3. มีจุดเดือดจุดหลอมเหลวสูงมาก มีความแข็งแรงเป็นพิเศษ เพราะมีพันธะแบบสามมิติ
ธาตุคาร์บอน
สมบัติทั่วๆ ไปของคาร์บอนได้แก่
- มีจุดหลอมเหลว 3730 0C และจุดเดือด 4830 0C (ในเพชร)
- เป็นของแข็ง มีความหนาแน่น 3.51 g/cm3 ในเพชร และ 2.26 g/cm3 ในแกรไฟต์
- มีรัศมีอะตอม 0.077 nm
- มีพลังงานไอออไนเซชันลำดับที่หนึ่ง (IE1) 1086 kJ/Mol
- มีอิเล็กโทรเนกาติวิตี 2.5
คาร์บอนที่อยู่ในภาวะอิสระตามธรรมชาติมี 2 รูป คือ แกรไฟต์และเพชร
แกรไฟต์

รูปแสดงโครงสร้างของแกรไฟต์
คาร์บอนอะตอมในแกรไฟต์ต่อกันภายในชั้น ระยะระหว่างคาร์บอนอะตอมภายในชั้นเดียวกันเท่ากันหมด
แต่จะต่างกับระยะระหว่างคาร์บอนอะตอมที่อยู่คนละชั้น ความยาวพันธะของคาร์บอนอะตอมในชั้นเดียวกั น
ประมาณ 140 พิโกเมตร ซึ่งความยาวอันนี้อยู่ก้ำกึ่งระหว่างพันธะเดี่ยวกับพันธะคู่ (พันธะเดี่ยว = 154 พันธะคู่ =
134 พิโกเมตร) คาร์บอนแต่ละอะตอมจะสร้างพันธะโคเวเลนต์ชนิดเดียวกับอะตอมอื่นอีก 3 อะตอมที่อยู่ใกล้เคียง
ภายในชั้นเดียวกันอะตอมละหนึ่งพั นธะ ส่วนอีกหนึ่งอิเล็กตรอนที่เหลือจะนำมาใช้ร่วมกันเป็นของกลาง สามารถ
เคลื่อนที่ไปได้ทุกทิศทางที่ขนานกับชั้นของแกรไฟต์ ซึ่งเป็นเหตุให้แกรไฟต์นำไฟฟ้าได้
คาร์บอนแต่ละชั้นห่างกันประมาณ 340 พิโกเมตร เป็นระยะที่ยาวกว่าความยาวพันธะในชั้นเดี ยวกัน
แสดงว่าแรงยึดเหนี่ยวระหว่างชั้นไม่แข็งแรงเท่าภายในชั้น ลักษณะเช่นนี้ทำให้แกรไฟต์มีลักษณะเป็นแผ่นๆ ซ้อน
กันและเลื่อนไถลไปได้ จากผลอันนี้จึงใช้แกรไฟต์ทำไส้ดินสอดำ และใช้เป็นสารหล่อเลื่อน ถึงกระนั้นจุดหลอมเหลว
จุดเดือดของแกรไฟต์ก็สูงมาก แสดงว่าแรงยึดเหนี่ยวภายในมีค่ามาก
เพชร
คาร์บอนทุกอะตอมในผลึกเพชรยึดกับคาร์บอนอะตอมใกล้เคียงอีก 4 อะตอมด้วยพันธะโคเวเลนต์ชนิด
เดี่ยว ระยะระหว่างคาร์บอนทุกอะตอมเท่ากันหมดทุกทิศทาง โดยคาร์บอนอะตอมยึดกันทุกทิศทางมีลักษณะคล้าย
ตาข่ายมีความยาวเท่ากับ 154 พิโกเมตร ซึ่งแต่ละอะตอมถูกยึดไว้แน่นหนา ไม่มีอิเล็กตรอนเหลือ เพชรจึงไม่นำ
ไฟฟ้า และมีความแข็งมาก

รูปแสดงโครงสร้างของเพชร
ใบความรู้ที่ 25
เรื่อง พันธะโลหะ

พันธะโลหะ (Metallic bond) คือ พันธะที่เกิดเนื่องจากแรงดึง ดูดระหว่างไอออนบวกซึ่ง เรียงชิ ดกัน


กับเวเลนต์อิเล็กตรอนที่เ คลื่อนที่อยู่โดยรอบทั้งก้อนโลหะและการที่เวเลนต์ อิเล็กตรอนเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระ
เพราะโลหะเป็นธาตุที่มีเวเลนต์อิเ ล็ก ตรอนน้อ ยและมีค่ าพลัง งานไอออนไนเซชันต่ำ จึง ทำให้ เกิดกลุ่ ม หมอก
อิเล็กตรอนและไอออนบวกได้ง่าย
พันธะโลหะมีเวเลนต์อิเล็กตรอนที่ยึดกับไอออนบวกไม่ได้เป็นของอะตอมใดอะตอมหนึ่งเพียงอะตอมเดียว
แต่เวเลนต์อิเล็กตรอนทุกตัวสามารถเคลื่อนที่ไปยังอะตอมอื่นๆ ได้ ซึ่งแตกต่างจากพันธะโคเวเลนต์ ทั้งนี้เพราะใน
ก้อนโลหะแต่ละอะตอมจะมีอะตอมอื่นล้อมรอบ 8 หรือ 12 อะตอม อะตอมจึงมีเวเลนต์อิเล็กตรอนไม่พอที่จะทำให้
เกิดคู่อิเล็กตรอนที่ใช้ร่วมพันธะระหว่างอะตอมแต่ละอะตอมเข้าด้วยกันทั้งหมดได้ ดังแบบจำลองของกลุ่มหมอก
อิเล็กตรอน (Electron-sea model) ของก้อนโลหะ

รูปที่ 1 แบบจำลองกลุ่มหมอกอิเล็กตรอน (Electron-sea model) ของก้อนโลหะ


จากแบบจำลองของกลุ่มหมอกอิเล็กตรอนในก้อนโลหะสามารถนำมาอธิบายสมบัติบางประการของโลหะ
ได้ดังนี้
1. การที่โลหะมีจุดเดือดจุดหลอมเหลวสูง อธิบายได้ว่า ไอออนบวกที่อยู่กับที่ส่ง แรงดึง ดูดกับเวเลนต์
อิเล็กตรอนที่เคลื่อนที่ไปมาอย่างแรง และยึดกันอย่างเหนี่ยวแน่น
โลหะใดที่มีเวเลนต์อิเล็กตรอนเพิ่มขึ้น จะทำให้จุดหลอมเหลว จุดเดือด ความแข็ง ความหนาแน่นและ
ความร้อนแฝงในการกลายเป็นไอจะเพิ่มขึ้น
ตารางที่ 1 แสดงจุดหลอมเหลว ความหนาแน่นและความร้อนแฝงของการกลายเป็นไอเพิ่มขึ้นตามเวเลนต์
อิเล็กตรอนของโลหะ
โลหะ เวเลนต์อิเล็กตรอน จุดหลอมเหลว ความหนาแน่น ความร้อนแฝงของการ
(0C) (g/cm3) กลายเป็นไอ (kcal/mol)
Na 1 98 0.97 23.1
Mg 2 650 1.74 31.5
Al 3 660 2.70 67.9
2. การที่โลหะนำไฟฟ้าได้ดี อธิบายได้ว่า มีเวเลนต์อิเล็กตรอนเคลื่อนที่ไปมาทั้งก้อนโลหะทุกทิศทุกทาง แต่
โลหะจะนำไฟฟ้าลดลงเมื่ออุณหภูมิสูงขึ้น เนื่องจากไอออนบวกเกิดการสั่นสะเทือนถี่และช่วงกว้างมากทำให้
อิเล็กตรอนเคลื่อนที่ไม่สะดวก
3. การที่โลหะมีผิวมันวาว อธิบายได้ว่า กลุ่มหมอกอิเล็กตรอนที่เคลื่อนที่ได้โดยอิสระกระทบกับแสงที่เป็น
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าทำให้ผิวโลหะสามารถสะท้อนแสงได้ดี
4. การที่โลหะตีแผ่เป็นแผ่น หรือดึงเป็นเส้นได้ อธิบายได้ว่า ไอออนบวกในก้อนโลหะแต่ละไอออนอยู่ใน
สภาพเหมือนๆ กันได้รับแรงดึงดูดจากประจุลบเท่ากันทั้งก้อนโลหะ ไอออนบวกจึงเลื่อนไถลได้ไม่หลุดจากกัน ใน
ขณะเดียวกันก็รักษาระยะระหว่างนิวเคลียสและรักษาโครงผลึกในก้อนโลหะไว้อย่างเดิม
5. การที่โลหะเคาะแล้วเสียงกังวาน อธิบายได้ว่า แรงยึดเหนี่ยวระหว่างไอออนบวกกับเวเลนต์อิเล็กตรอน
ของก้อนโลหะแข็งแรงมากประกอบกับไอออนบวกอยู่ใกล้ชิดกันมากทำให้การสั่นสะเทือนของอนุภาคในก้อนโลหะ
ส่งแรงสั่นสะเทือนไปถึงกันอย่างรวดเร็ว จึงเกิดเสียงออกมาด้วยความถี่ค่อนข้างสูงเป็นเสียงกังวาน
ตารางที่ 2 เปรียบเทียบความแข็งแรงของชนิดพันธะแบบต่าง ๆ
ชนิดพันธะ ความแข็งแรงของพันธะ (kJ/mol)
พันธะโลหะ(ประมาณ) 80 - 600
พันธะไอออนิก 100 - 450
พันธะโคเวเลนต์ 100 - 500
แรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลโคเวเลนต์ 1 - 30
ตาราง แสดงการเปรียบเทียบชนิดของพันธะตามโครงสร้าง
โลหะ สารโครงผลึกร่างตา สารไอออนิก สารโคเวเลนต์
(giant mettallic) ข่าย (giant ionic) (simple
(giant molecular) molecular)
1.โครงสร้าง
ก. ตัวอย่าง Na, Fe, Cu, Au เพชร, SiC, SiO2 NaCl , CaO ,KOH I2 ,CH4 , HCl , N2
ข. ชนิดของอนุภาค อะตอม อะตอม ไอออน โมเลกุล
ค. ชนิดของสาร ธาตุโลหะหรือ ธาตุอโลหะในหมู่ IVA สารประกอบ ธาตุอโลหะหรือ
อโลหะผสมมี EN. หรือสารประกอบของ ระหว่างโลหะ- สารประกอบอโลหะ
ต่ำ ธาตุในหมู่ IVA อโลหะที่มี EN. ที่มี EN. สูง
ต่างกันมาก
2. ชนิดของพันธะ พันธะโลหะ พันธะโคเวเลนต์แบบ พันธะไอออนิก พันธะโคเวเลนต์
โครงผลึกร่างตาข่าย
3.สมบัติ ของเหลวหรือก๊าซ
ก. สถานะที่ ของแข็ง ของแข็ง ของแข็ง (ยกเว้น P4 ,I2 ,S8
อุณหภูมิห้อง ของแข็ง)
ข. ความแข็ง แข็งและเหนียว แข็งแต่เปราะ แข็งแต่เปราะ อ่อน
โลหะ สารโครงผลึกร่างตา สารไอออนิก สารโคเวเลนต์
(giant mettallic) ข่าย (giant ionic) (simple
(giant molecular) molecular)
ค. การนำไฟฟ้า เป็นตัวนำไฟฟ้าที่ดี ไม่นำไฟฟ้า ยกเว้น ไม่นำไฟฟ้าเมื่อเป็น ไม่นำไฟฟ้า ยกเว้นสาร
เมื่อเป็นของแข็ง แกร์ไฟต์ ของแข็ง แต่เมื่อ โคเวเลนต์ที่มีสมบัติ
หรือของเหลว หลอมเหลวนำ เป็นกรด นำไฟฟ้าได้
ไฟฟ้าได้ดี
ง. การละลาย ไม่ละลายในตัวทำ ไม่ละลายใน ละลายได้ในตัวทำ โมเลกุลมีขั้วละลายใน
ละลายมีขั้วและไม่มี ตัวทำละลายทุกชนิด ละลายมีขั้ว ตัวทำละลายมีขั้ว ส่วน
ขั้ว แต่ละลายใน ไม่ละลายใน โมเลกุลไม่มีขั้วจะ
โลหะที่หลอมเหลว ตัวทำละลายไม่มีขั้ว ละลายในตัวทำละลาย
ไม่มีขั้ว
ชื่อ………………………………………..………………………………………..ชั้น………………….……….เลขที…
่ ……………..…

ใบงานที่ 23
เรื่อง พันธะเคมี
1. ตารางข้างล่างนี้แสดงจุดหลอมเหลว จุดเดือด และความสามารถในการนาไฟฟ้าเมื่อหลอมเหลวของ
สารประกอบคลอไรด์ A , B และ C สิ่งที่สรุปได้จากข้อมูล คือ (Ent’23)

ก. A และ B เป็นสารประกอบไอออนิก ข. A ,B และ C เป็นสารประกอบไอออนิก


ค. A เป็นสารประกอบไอออนิกเพียงสารเดียว ง. B เป็นสารประกอบไอออนิกเพียงสารเดียว

2. ธาตุ M และ N มีการจัดเรียงอิเล็กตรอนดังนี้


M 2 8 18 6
N 2 8 18 32 18 4
สารประกอบระหว่าง M และ N ควรมีสูตรดังข้อใด (Ent’มี.ค.44)
ก. MN2 ข. M2N ค. M2N3 ง. M3N2

3. ข้อใดไม่ใช่สารประกอบไอออนิกทั้งหมด (Ent’40)
ก. KBr , K2S ข. SrCl2 , SiC ค. MgO , Na2S ง. BaCl2 , KBr

4. สารประกอบใดเป็นไปตามกฎออกเตต (Ent’28)
ก. BCl3 ข. CO2 ค. SF6 ง. PCl5
5. ปฏิกิริยาในข้อใดที่มีการสลายพันธะเคมี (Ent’23)
ก. O2 (g) O2+ (g) ข. ½ Br2 (l) Br (g)
ค. Na+ (g) + Cl- (g) NaCl (s) ง. 2Cl (g) Cl2 (g)
6. กำหนดให้ 2AB (g) + B2 (g) 2AB2 (g) ถ้าปฏิกิริยาคายความร้อน 112 kJ
พลังงานพันธะ A – B ของโมเลกุล AB = 90 kJ/mol
พลังงานพันธะของ B – B ใน B2 = 120 kJ/mol
พลังงานพันธะของ A – B ของโมเลกุล AB2 จะเป็นกี่กิโลจูลต่อโมล (Ent’40)
ก. 51.5 ข. 103 ค. 206 ง. 412

You might also like