Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 186

การเป็นพลเมือง (CITIZENSHIP)

Human 4.0

โดย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชนินทร เพ็ญสูตร
การเป็นพลเมือง(CITIZENSHIP)
Human 4.0

โดย
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชนินทร เพ็ญสูตร

ภายใต้แผนงานบูรณาการยุทธศาสตร์เป้าหมาย (Spearhead)
ด้านสังคม คนไทย 4.0
สนับสนุนโดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ประจำปีงบประมาณ 2562
คำนำ

ความสำคัญของการเรียนรู้ด้านการเป็นพลเมือง ถือเป็นการเรียนรู้ที่รัฐทั่วโลกต่างให้ความสำคัญ
เป็นอย่างยิ่ง เพราะเป็นการเรียนรู้ที่ใช้ในการผลิตเยาวชนในรูปแบบตามที่รัฐต้องการ ไม่ว่ารัฐนั้นจะมี
การปกครองในรูปแบบใดก็ตาม
ผู้เ ขียนมีความเชื่อว่า การตั้งคำถาม การถกเถียง ท่ามกลางผู้คนจำนวนหนึ่ง จะทำให้เราได้
รับฟังความคิดเห็นจากผู้อื่นมากขึ้น และโลกของเราก็กำลังเปิดมากขึ้นในขณะที่รับฟัง แน่นอนว่าเราจะมี
โอกาสในการแสดงออกด้วยเช่นกัน ในสมัยที่ผู้เขียนเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนที่ ประเทศสหรัฐอเมริก า
เมื่อปี ค.ศ. 2002-2003 จำได้ว่า ในขณะที่ก ำลัง นั่ง เรียนวิชาภาษาอัง กฤษอยู่นั้น คุณครูได้ถามว่า
เราชอบแต่งตัวด้วยเสื้อ ผ้าสีอะไร มีนัก เรียนผิวสีคนหนึ่งรีบยกมือตอบว่า “เพราะว่าฉันเป็นคนผิวสี
(African American) ฉันจึงต้องใส่เสื้อสีสด ๆ เพื่อให้หน้าตาของฉันดูเด่นขึ้นมา” และแทบจะทันใดนั้นเอง
มีนักเรียนหญิงอีกคนหนึ่งยกมือขึ้น คุณครูได้ให้โอกาสเธอพูดต่อจากเพื่อน และเธอเองก็เป็นคนผิวสีเช่นกัน
เธอบอกว่า “ทำไมเราต้องใส่เสื้อสีสด ๆ เพื่อให้เราดูเด่นล่ะ ทำไมการใส่เสื้อสีดำสำหรับพวกเรามันถึงดูแย่
และทำไมเวลาเราพูดถึงสีดำ มันรู้สึ กเหมือนกับว่าสีดำคือตัวแทนแห่งความชั่วช้า และสีที่ดีต้องเป็นสี
ที่สดใส เช่น สีขาว และทำไมความขาวมันถึงเป็นตัวแทนของความดี ฉันคือคนผิวสี แต่ฉันไม่เชื่อว่าใส่เสื้อ
สีสดแล้วจะทำให้ฉันดูดีขึ้น ไม่ว่าเสื้อสีอะไร ฉันก็สามารถดูดีได้ในรูปแบบที่ฉันเป็น”
ทั้งห้องเรียนเงียบงันหลังจากคำตอบ รวมทั้งผู้เขียน แต่ผู้เขียนคิดว่า ณ ขณะนั้น เราต่างได้รับ
คำตอบจากในใจที่อยู่ก้นบึ้งความคิดของเพื่อนคนนี้เรียบร้อยแล้ว

แด่ Mr. Netter และ Class of 2004, Tara High School


สารบัญ
หน้า
บทที่ 1 ความหมาย นิยาม และแนวคิดเกี่ยวกับการเป็นพลเมือง 1
- บริบทของพลเมือง 2
- ทฤษฎีว่าด้วยพลเมือง 6
- รูปแบบของพลเมือง 7
- สรุป 16
- บทความเรื่อง Human Cyborg 4.0 17
- บทความเรื่อง การลี้ภัย: ทำไมเขาถึงเลือกทีจ่ ะหนี? 19
- บทความเรื่อง Memori สตาร์ทอัพด้านความตาย 21
- บทความเรื่อง โลกหลังยุค 4.0 23
- คำถามท้ายบทที่ 1 24
บทที่ 2 การสร้างความตระหนักถึงปัญหารอบตัวทั้งในระดับท้องถิ่น ประเทศ และนานาชาติ 25
- ปัญหารอบตัว-ปัญหาระดับท้องถิ่น 26
- ปัญหาระดับประเทศ 36
- ปัญหาระดับนานาชาติ 42
- สรุป 52
- บทความเรื่อง ว่าด้วย Social Enterprise อยากจะเป็นกับเขาต้องสร้างรายได้ 53
- บทความเรื่อง #ความน่าจะเรียน ไปเรียนทำ Social Enterprise กันเถอะ 55
- บทความเรื่อง ตู้ปันสุขกับแรงจูงใจในการบริจาค? 57
- บทความเรื่อง The People’s Supermarket
เมื่อคนไทยได้ร่วมเป็นเจ้าของร้านซูเปอร์มาร์เก็ตในลอนดอน 59
- บทความเรื่อง Poverty, Inc. เมื่อเราถูกฆ่าด้วยความสงสาร 61
- บทความเรื่อง เรายังโชคดีกว่าคนเป็นพันล้านบนโลก: คุณค่าของเงิน 175 บาท 63
- บทความเรื่อง Eatable City: เมืองกินได้ 65
- บทความเรื่อง เรื่องราวของ Olio สตาร์ทอัพกูโ้ ลกผ่านการกิน 66
- บทความเรื่อง Green School: โลกสีเขียวในบาหลี 68
- บทความเรื่อง Lush: งามอย่างสายกรีน 69
- บทความเรื่อง Hackathon เร็วกว่าได้พร้างาม 70
- บทความเรื่อง มหาวิทยาลัย จะไปทางไหนต่อ? 72
- คำถามท้ายบทที่ 2 74


หน้า
บทที่ 3 การเป็นพลเมืองกับการเรียนรู้และการดำรงตนในพหุวัฒนธรรมและความหลากหลาย 75
ทางสังคม
- ความหมายของคำว่าพหุวัฒนธรรม 76
- ความยุติธรรมและการไม่เลือกปฏิบัติ 77
- ความหลากหลายทางวัฒนธรรม 81
- ความหลากหลายทางศาสนา 84
- ความหลากหลายทางชนชาติ 87
- ความหลากหลายทางเพศ 90
- สรุป 95
- บทความเรื่อง ปี 2020 แล้ว ทำไมเรายังเหยียดสีผิวกันอยู่? 97
- บทความเรื่อง โครงการ Host Family สำหรับนักศึกษาต่างชาติในสหราชอาณาจักร 99
- บทความเรื่อง Dignity Kitchen ครัวสร้างศักดิ์ศรีของคนสิงคโปร์ 102
- บทความเรื่อง Her เรารักกันแบบไม่มีตัวตนได้ไหม? 104
- บทความเรื่อง Mumbai Dabbawalas: อาหารกลางวันจากบ้าน ส่งตรงถึงมือคุณ 106
- บทความเรื่อง หัวเราะทัง้ น้ำตาไปกับวันจมูกแดง 108
- บทความเรื่อง เที่ยวฟรี นอนฟรี ชีวิตดีดีในยุคดิจิทัล 110
- บทความเรื่อง เดินทางไปดาวอังคารด้วยตั๋วเที่ยวเดียว 112
- คำถามท้ายบทที่ 3 114
บทที่ 4 การสร้างทัศนคติเชิงบวกเพื่อการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งด้วยสันติวิธี 115
- ทัศนคติเชิงบวก 116
- ความรุนแรง 118
- การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งด้วยสันติวิธี 120
- สรุป 123
- บทความเรื่อง GoFundMe 124
- บทความเรื่อง Terrace House: เมือ่ เรียลลิตี้โชว์สามารถฆ่าคนได้? 125
- บทความเรื่อง เมื่อ Podcast ทวงความยุติธรรม/เพราะเขาอาจไม่ใช่ฆาตกร? 128
- คำถามท้ายบทที่ 4 130
บทที่ 5 การแสดงออกทางการเมืองในศตวรรษที่ 21 131
- พลเมือง 1.0 และ พลเมือง 2.0 132
- ความหมายของการมีส่วนร่วมทางการเมือง 135
- การมีส่วนร่วมทางการเมืองแบบออฟไลน์ 136
- การมีส่วนร่วมทางการเมืองในรูปแบบออนไลน์ 137

หน้า
- การมีส่วนร่วมทางการเมืองทั้งแบบออฟไลน์และออนไลน์ 139
- ระดับการมีส่วนร่วมทางการเมือง 140
- สรุป 142
- บทความเรื่อง Democracy Voucher Program: คูปองประชาธิปไตยจากซีแอตเทิล 143
- บทความเรื่อง ศาสตราจารย์และนายกเทศมนตรีสติเฟื่องแห่งเมืองโบโกตา 145
- คำถามท้ายบทที่ 5 147
บทสรุป 148
บรรณานุกรม 151

สารบัญรูปภาพ
หน้า
รูปภาพที่ 1: รูปภาพของรถจักรยานยนต์ที่จอดบนทางเดินเท้า 29
รูปภาพที่ 2: รูปภาพของรถจักรยานยนต์ที่จอดรถในบริเวณพื้นที่จอดรถสำหรับคนพิการ 29
รูปภาพที่ 3: รูปภาพของสลัมใน Kibera, กรุงไนโรบี ประเทศเคนยา 42
รูปภาพที่ 4: รูปภาพของสลัมในกรุงมานิลา, ประเทศฟิลิปปินส์ 42
รูปภาพที่ 5: รูปภาพวัฒนธรรมการแต่งกาย 73
รูปภาพที่ 6: ภาพของ China Town ในเมือง Newcastle, ประเทศอังกฤษ 73
รูปภาพที่ 7: วัฒนธรรมอาหารในกรุงอิสตันบูล, ประเทศตุรกี 74
รูปภาพที่ 8: ภาพหญิงสวม Hijab 76
รูปภาพที่ 9: ภาพหญิงสวม Burka 76
รูปภาพที่ 10: ภาพการสูญเสียพื้นที่ของชาวปาเลสไตน์ตั้งแต่ ค.ศ. 1947 จนถึงปัจจุบัน 78
รูปภาพที่ 11: ภาพกลุ่มชาวเยอรมันยืนประท้วงหน้าสถานทูตเกาหลี 104
รูปภาพที่ 12: ภาพชายชาวเยอรมันผู้ต่อต้านฮิตเลอร์ 115
รูปภาพที่ 13: ภาพครูชาวเยอรมันถูก SA และ SS ทำการลงโทษ 116

สารบัญตาราง
หน้า
ตารางที่ 1: สถิติของอุบัติเหตุการจราจรในประเทศไทย ปี ค.ศ. 2007-2012 29
ตารางที่ 2: สถิติของการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจรตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554-2559 30
ตารางที่ 3: ประเภทของสิทธิและสวัสดิการของผูส้ ูงอายุ 32
ตารางที่ 4: ประเภทของเพศ 80

แนวการบรรยาย (Course Syllabus)
กระบวนวิชา 140104 : การเป็นพลเมือง (Citizenship)

คำอธิบายลักษณะกระบวนวิชา
ความหมาย นิยาม และแนวคิดเกี่ยวกับการเป็นพลเมือง แนวคิดสิทธิ เสรีภาพ การสร้างความ
ตระหนักถึงปัญหารอบตัวทั้ง ในระดับท้องถิ่น ประเทศ และนานาชาติ ความรับผิดชอบต่อสัง คมและ
ผลประโยชน์ ส ่ ว นรวม การเป็ น พลเมื อ งกั บ การเรี ย นรู ้ แ ละการดำรงตนในพหุ ว ั ฒ นธรรมและ
ความหลากหลายทางสังคม การสร้างทัศนคติเชิง บวกเพื่อการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งด้วยสันติวิธี
การแสดงออกทางการเมืองในศตวรรษที่ 21
ผลลัพธ์การเรียนรู้ของกระบวนวิชา (Course Learning Outcomes: CLOs) : นักศึกษาสามารถ
1. อธิบายถึงปัญหารอบตัวที่ปรากฏทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับประเทศ และระดับนานาชาติ
2. ยอมรับ และปรับ ตัวกับ ความหลากหลายทางการเมืองและวัฒ นธรรม และปฏิบ ัติตนที่
แสดงออกถึงความเสมอภาคและความเท่าเทียมกันในคุณค่าความเป็นมนุษย์
3. อธิบายและแสดงออกถึงการเป็นพลเมืองเพื่อการพัฒนาทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับประเทศ
และระดับนานาชาติ

เนื้อหากระบวนวิชา จำนวนชั่วโมง
บรรยาย
1. ความหมาย นิยาม และแนวความคิดเกี่ยวกับการเป็นพลเมือง 9
2. การสร้างความตระหนักถึงปัญหารอบตัว ทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับประเทศ 9
และระดับนานาชาติ
3. การเป็ น พลเมื อ งกั บ การเรี ยนรู ้ แ ละการดำรงตนในพหุ วั ฒ นธรรมและ 9
ความหลากหลายทางสังคม
4. การสร้างทัศนคติเชิงบวกเพื่อการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งด้วยสันติวิธี 9
5. การแสดงออกทางการเมืองในศตวรรษที่ 21 9
รวม 45


การพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักศึกษา
CLOs วิธีการจัดการเรียนรู้ วิธีการประเมินผลการเรียนรู้
1. อธิ บ ายถึ ง ปั ญ หารอบตั ว ที่ 1. การบรรยายในชั้นเรียน 1. ประเมินผลจากการสอบ
ปรากฏ ทั้ง ในระดับ ท้องถิ่น 2. การฉายภาพยนตร์สารคดี
ระดั บ ประเทศ และระดั บ
นานาชาติ
2. ยอมรับและปรับตัวกับความ 1. การบรรยายในชั้นเรียน 1. ประเมินผลจากการสอบ
หลากหลายทางการเมืองและ 2. การฉายภาพยนตร์สารคดี
วัฒ นธรรม และปฏิบ ัติตนที่
แสดงออกถึงความเสมอภาค
และความเท่ า เที ย มกั น ใน
คุณค่าความเป็นมนุษย์
3. อธิบายและแสดงออกถึงการ 1. การบรรยายในชั้นเรียน 1. ประเมินผลจากการสอบ
เป็นพลเมืองเพื่อการพัฒนา 2. การฉายภาพยนตร์สารคดี
ทั ้ ง ในระดั บ ท้ อ งถิ่ น ระดั บ
ประเทศ และระดับนานาชาติ

เกณฑ์การประเมินผลการเรียน (คะแนน 100%)


1. ข้อสอบกลางภาค ข้อสอบแบบปรนัย คะแนน 50% สอบบทที่ 1 และ 2 + กิจกรรมก่อน
กลางภาค (50 ข้อ 50 คะแนน)
2. ข้อสอบปลายภาค ข้อสอบแบบปรนัย คะแนน 50% สอบบทที่ 3 – 5 + กิจกรรมหลัง
กลางภาค (50 ข้อ 50 คะแนน)
3. งานที่ได้รับมอบหมายจำนวน 4 ชิ้นงาน (ไม่มีคะแนน แต่นับเป็นเวลาเรียน)
A 71-100
B+ 66-70
B 61-65
C+ 56-60
C 51-55
D+ 46-50
D 41-45
F 0-40


แผนการเรียนการสอน
คลิปวิดีโอการเรียนการสอน สามารถเข้าถึงได้ที่ https://bit.ly/33b5wHF
ตำราและเอกสารหลัก
ชนินทร เพ็ญสูตร. (2563). Human 4.0
หนังสือ – เอกสารอ่านประกอบ
Bellamy, R. (2008). Citizenship: A very short introduction. OUP Oxford.
Kochenov, D. (2019). Citizenship. Cambridge, MA: The MIT Press.
Marshall, T. H. (1950). Citizenship and social class (Vol. 11, pp. 28-29). New York, NY:
Cambridge.
Spiro, P. J. (2020). Citizenship: What Everyone Needs to Know. Oxford University Press.

สื่อการเรียนการสอน
YouTube : https://bit.ly/33b5wHF
Podcast รายการ Human 4.0: สำหรับการฟังแทนการอ่านหนังสือ

Apple Podcasts: https://apple.co/3zt8ZzP


Spotify: https://spoti.fi/3gwzuwL
SoundCloud: https://soundcloud.com/infinitypodcastthailand/sets/human-4-0
Facebook: https://www.facebook.com/citizenchicThailand


บทที่ 1
ความหมาย นิยาม และแนวคิดเกี่ยวกับการเป็นพลเมือง
หัวข้อ
- ความหมาย-นิยาม ของความเป็นพลเมือง
- แนวคิดเกี่ยวกับความเป็นพลเมือง
วัตถุประสงค์
- นักศึกษาสามารถเข้าใจถึงความหมายของความเป็นพลเมืองในเบื้องต้นได้
- นักศึกษาสามารถเข้าใจในแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับความเป็นพลเมือง
เกริ่นนำ
เรื่องราวของการเป็นพลเมือง ถือเป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์ตั้งแต่แรกเกิด โดยความเป็น
พลเมืองนั้น ถูก นิยามขึ้นโดยมนุษย์ และถึง แม้ว่าคำว่า พลเมือง ไม่ต่างอะไรจากสิ่งที่ถูกสมมติขึ้น
แต่ในทางปฏิบัติ ผู้ได้รับสิทธิ์ในการเป็นพลเมืองของรัฐหนึ่ง ย่อมจะมีสิทธิ์ที่จะเห็นผลในทางปฏิบัติที่
แตกต่างอย่างชัดเจนเมื่อเปรียบเทียบกับผู้ที่ไม่ได้รับสิทธิ์ในการเป็นพลเมือง
การได้มาซึ่งสิทธิ์ของความเป็นพลเมืองในแต่ละรัฐนั้น มีความแตกต่างกันออกไป ในขณะที่บางรัฐ
มีก ารเปลี่ยนกฎหมายในกระบวนการยอมรับการเป็นพลเมือ งของรัฐอยู่เป็นระยะ บางรัฐมีการออก
กฎหมายที่จำกัดการให้สิทธิ์ก ารเป็นพลเมืองแก่บุคคลที่เป็นพลเมืองของรัฐอื่น หรือบุคคลไร้สัญ ชาติ
ที่ประสงค์จะขอสิทธิ์ในสัญชาตินั้น ๆ บางรัฐมีการสนับสนุนให้บุคคลผูซ้ ึ่งมิ ใช่พลเมืองเข้ามาอาศัยอยู่ในรัฐ
เพื่อจุดประสงค์ในการเพิ่มจำนวนประชากรในวัยทำงานรวมไปถึงเพิ่มจำนวนประชากรที่ทำงานในสาขา
ที่ขาดแคลน
พลเมือง เกี่ยวข้อ งกับประเด็นหลากหลายมิติ ทั้ง มิติทางเศรษฐกิจ สัง คม ไปจนถึงการเมือง
การเป็นพลเมืองเกี่ยวข้องกับสิทธิพิเศษของสังคมการเมือง ผู้ที่ได้รับสิทธิ์ในการเป็นพลเมืองนั้นย่อมมีสิทธิ์
ที่จะมีส่วนในการตัดสินใจร่วมกันกับผู้ที่ได้รับสิทธิ์ในการเป็นพลเมืองอื่น ๆ ที่ในที่สุดแล้วผลของการ
ตัดสินใจนั้นจะกลายเป็นกฎระเบียบในการควบคุมชีวิตของพลเมืองทางสังคมร่วมกัน (Bellamy, 2008:1)
ในบทนี้ จะเป็นการอธิบายถึงนิยามความหมายของคำว่าพลเมือง ประวัติศาสตร์และที่มาของ
พลเมือง รวมไปถึงทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับประเด็นด้านพลเมือง และในท้ายบทที่ 1 ผู้เขียนได้เขียนบทความ
อ่านประกอบที่ม ีป ระเด็นที่เ กี่ยวข้อ งกับ ความหมาย นิยาม และแนวคิดเกี่ยวกับ การเป็นพลเมื อ ง
โดยบทความเรื่อง “Human Cyborg 4.0” เป็นบทความที่ชวนตั้งคำถามเกี่ยวกับสภาวะของความเป็น
มนุษย์ - ความเป็นพลเมือง มนุษย์มีสิทธิในร่างกายของตนเองไปจนถึงระดับไหนและรัฐสามารถเข้ามามี
บทบาทต่อสถานภาพของมนุษย์ สถานภาพของความเป็นพลเมืองที่ธำรงอยู่ในรัฐได้อย่างไร บทความเรื่อง

1
“การลี้ภัย: ทำไมเขาถึงเลือกที่จะหนี?” เป็นบทความที่อธิบายถึงสถานะของบุคคลที่เป็นพลเมือง บุคคลที่
มิได้มีสถานะเป็นพลเมือง และสถานภาพของผู้ลี้ภัย บทความเรื่อง “Memori สตาร์ทอัพด้านความตาย”
อธิบายถึงสิทธิ์ของพลเมืองและความผูก พันธ์ของสิท ธิ์พลเมืองหลั งจากความตาย และบทความเรื่อ ง
“โลกหลังยุค 4.0” อธิบายถึงนโยบายของรัฐที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับพลเมืองในประเด็นของสิทธิ์ของพลเมือง
ในการได้รับสวัสดิการจากรัฐ
บริบทของพลเมือง
ในประเด็นของบริบทของพลเมือง มีงานเขียนหลักที่พูดถึงความเป็นพลเมือง ได้แก่ งานเขียนของ
T.H. Marshall (1950) Richard Bellamy (2008) Dimitry Kochenov (2019) และ Peter J. Spiro (2020)
ที่ผู้เขียนเลือกนำมาอ้างอิงประกอบเป็นหลัก
คำว่า “ความเป็นพลเมือง” หรือ “Citizenship” ตามคำจำกัดความของ T.H. Marshall (1950: 32)
สามารถถูกแบ่งออกได้เป็น 3 ส่วนหลักด้วยกัน ได้แก่ บริบทของความเป็นพลเมืองที่เกี่ยวกับพลเมือง
(Civic) บริบทของความเป็นพลเมืองที่เกี่ยวกับการเมือง (Political) และบริบทของความเป็นพลเมือง
ที่เ กี่ยวกับสังคม (Social) การเป็นพลเมือ ง คือ การเป็นสมาชิกในสังคมเต็มรูป แบบ ที่พึง มีสิทธิและ
ความรับผิดชอบในด้านพลเมือง ด้านการเมือง และด้านสังคม (Marshall, 1950; 1975; 1981 as cited
in Yuval-Davis, 1991: 59) Hague & Harrop (2013:15) ได้ น ิ ย ามความหมายของพลเมื อ งว่ า
พลเมือง คือ สมาชิกเต็มรูปแบบของรัฐ ที่มีศักดิ์และสิทธิในการได้รับสถานภาพสมาชิกที่เท่าเทียมกัน
ภายใต้สังคมทางการเมืองของรัฐ ทั้งนี้ Hague & Harrop ได้ระบุถึงสถานภาพของความเป็นพลเมืองนั้น
ขึ้นอยู่กับรัฐเป็นสำคัญ โดยการเป็นพลเมืองนั้นจะมีหลักฐานเอกสารที่ยืนยันถึงความเป็นพลเมืองของรัฐ
เช่น บัตรประจำตัวประชาชน หรือพาสปอร์ต (Hague & Harrop, 2013:15)
บริบ ทของความเป็นพลเมืองที่เกี่ย วกับพลเมือง นิยามความหมายของความเป็นพลเมือง
ประกอบไปด้วย เสรีภาพส่วนบุคคลและสิทธิขั้นพื้นฐานส่วนบุคคล กล่าวคือ พลเมืองย่อมได้รับเสรีภาพ
และสิทธิขั้นพื้นฐานส่วนบุคคล
บริบ ทของความเป็นพลเมืองที่เกี่ยวกับการเมือง นิยามความหมายของความเป็นพลเมือง
ประกอบด้วย สิทธิในการมีส่วนร่วมทางการเมือง กล่าวคือ พลเมืองจะมีสิทธิในการมีส่วนร่วมทางการเมือง
บริบทของความเป็นพลเมืองที่เกี่ยวกับสังคม นิยามความหมายของความเป็นพลเมืองกอปรด้วย
สิท ธิในการได้ร ับ สวัส ดิก ารจากภาครัฐ ทั้ง สวัส ดิก ารทางด้าน เศรษฐกิจ การรัก ษาความปลอดภัย
การศึกษา และสังคม ในบริบทของความเป็นพลเมืองที่เกี่ยวกับสังคม Marshall (1950: 30) ให้ความเห็น
เอาไว้ว่า มีความหมายที่ครอบคลุม อย่างกว้างขวาง ไม่เ ฉพาะในประเด็นของการมีสิทธิในการได้รับ
สวัสดิการจากภาครัฐในทุกด้าน แต่ยังครอบคลุมไปถึง สิทธิในการใช้ชีวิตตามมาตรฐานทั่วไปของสังคม
สิทธิในการแสดงออกตามขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมประเพณีของตนเองแก่สังคม

2
Richard Bellamy ได้ทำการแบ่งส่วนประกอบของพลเมืองออกเป็น 3 ส่วนหลัก ได้แก่ การเป็น
สมาชิ ก (Membership) หรื อ การเป็ น ส่ ว นหนึ ่ ง (Belonging), สิ ท ธิ ์ (Rights), และการมี ส ่ ว นร่ ว ม
(Participation)
การเป็นสมาชิก (Membership) หรือ การเป็นส่วนหนึ่ง (Belonging) โดยในกรณีของการ
เป็นสมาชิก จะพบว่าที่ผ่านมา บุคคลที่อาศัยอยู่ในชุมชนการเมือง (Political Community) อาจถูกกีดกัน
ไปจากการเป็นสมาชิก – ถูกกีดกันจากการเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนการเมือง เช่น การถูกกีดกันที่เกิดจาก
สภาวะทางธรรมชาติของมนุษย์ ได้แก่ เชื้อชาติ เพศ ฯลฯ หรือไม่มีคุณสมบัติเพียงพอในการเป็นสมาชิก
ซึ่งอาจเกิดจากการไม่มีทรัพย์สินที่เป็นที่ดิน หรือไม่มีการศึกษาที่เพียงพอ หรือถูกตัดสิทธิ์เพราะการไม่มี
งานทำ การเป็นคนไร้ท ี่อ ยู่อ าศัย หรือเป็นผู้มีความผิดปกติทางจิต โดยไม่ว่าจะเป็นกรณีท ี่เกิดจาก
การถูกกีดกันเพราะสภาวะทางธรรมชาติของมนุษย์ ถูกประเมินว่าไม่มีคุณสมบัติเพียงพอ หรือถูกตัดสิทธิ์
ล้วนเป็นการยกเว้นภายใน (Internal Exclusions) (Bellamy, 2008: 12) ในส่วนของการยกเว้นภายนอก
(External Exclusions) ประเด็นที่เ กี่ยวข้อง ได้แก่ การขอลี้ภัยโดย “ผู้ขอลี้ภัย” (asylum seeker)
และการอพยพเข้ามาโดย “ผู้อพยพ” (immigrant) (Bellamy, 2008: 13)
ในสหรัฐอเมริกา แต่ละรัฐมีกระบวนการออกกฎหมายภายในรัฐที่แตกต่างกัน ผลของกฎหมาย
ส่ง ผลให้บางรัฐมีข้อห้ามมิให้บุคคลมีสิทธิ์เ ลือ กตั้งหากอยู่ในระหว่างการถูก คุมขัง บางรัฐอนุญาตให้
ผู้ถูกคุมขังสามารถใช้สิท ธิ์ในการเลือกตั้ง ได้ บางรัฐแม้บุคคลจะพ้นจากการถูก คุม ขัง แต่ยังอยู่ในช่ วง
ระหว่างทัณฑ์บน บุคคลนั้นไม่มีสิทธิ์ในการเลือกตั้ง ในขณะที่บางรัฐ บุคคลเมื่อถูกคุมขังด้วยอาชญากรรม
บางกรณี จะไม่ ม ี ส ิ ท ธิ ์ใ นการเลื อ กตั้ ง ตลอดไป หรื อ จนกว่ า จะได้ ร ั บ การอภัย โทษจากผู ้ ว่าการรัฐ
หรือมีกระบวนการบางอย่างที่จะต้องทำให้เสร็จสมบูรณ์ก่อนที่จะได้รับสิทธิ์ในการเลือกตั้งกลับคืนมา
(National Conference of State Legislatures, 2021) สำหรับกรณีของผู้มีความผิดปกติทางจิตและ
มีผู้ปกครองที่ต้องให้ความดูแลบุคคลดังกล่าว บางรัฐในสหรัฐอเมริกา หากเข้าข่ายในเกณฑ์ดังกล่ าว
บุคคลนั้นจะไม่มีสิทธิ์ในการเลือกตั้ง (Vasilogambros, 2018)
ในรัฐแทนกันยีกา อูก ันดา และเคนยา เมื่อมีก ารประกาศเอกราชให้พ้นจากขอบข่ายการอยู่
ใต้อาณานิคมของอังกฤษ รัฐดังกล่าวได้ออกกฎหมายที่มีการกีดกันทางเชื้อชาติที่เรียกว่านโยบายการทำให้
เป็นแอฟริกัน (Africanization) ส่งผลให้ประชากรกว่า 200,000 คนซึ่งส่วนมากเป็นผู้มีเชื้อสายอินเดียที่
แต่เดิมเป็นพลเมืองบริติชกลายเป็นผู้ ลี้ภัยภายในรัฐ ส่งผลให้สถานภาพของกลุ่มประชากรดังกล่าวในมิติ
ทางสังคมและเศรษฐกิจเปลี่ยนไปในทิศทางที่ถดถอย (Spiro, 2020:143)
ในประเด็นของการยกเว้นภายนอก (External Inclusions) รัฐอาจมีการเปลี่ยนนโยบายในการ
รับเข้าผู้อพยพ / ผู้ขอลี้ภัย หรือกระบวนการได้มาซึ่งความเป็นพลเมืองของบุคคลที่มิใช่พลเมืองแต่ขอสิทธิ์
ในการเป็นพลเมืองของรัฐ กระบวนการเปลี่ยน – แก้ไขนโยบายถือเป็นวิธีการยกเว้นภายนอกในรูปแบบที่
รัฐจัดทำขึ้นให้เป็นไปตามกระบวนการทางกฎหมาย (Wimmer 2002: 1, 4 as cited in Jasińska-Kania,
2009: 17)

3
สิทธิ์ (Rights) ในประเด็นของสิทธิ์ หากบุคคลถูกนับว่าเป็นพลเมืองของรัฐ ย่อมได้รับสิทธิ์อันเกิด
จากกฎหมายของรัฐ เช่น สิทธิ์ในการมีส่วนร่วมทางการเมือง แต่ไม่ได้หมายความว่าบุคคลที่มิได้เ ป็น
พลเมืองของรัฐจะไม่ได้ร ับ สิท ธิ ์ใ ด ๆ อนึ่ง ในกฎหมายระหว่างประเทศในประเด็นที ่เ กี่ ย วข้ อ งกั บ
สิทธิมนุษยชน – ในพันธสัญญาระหว่างประเทศ เกี่ยวกับสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง ปีค.ศ. 1966
ระบุว่า “รัฐจะต้องขยายการปกป้องแก่บุคคลในเขตพื้นที่ของรัฐ โดยอยู่ภายใต้เ ขตอำนาจของศาล”
(Spiro, 2020:63) หมายความว่า ไม่ว่าจะเป็นบุคคลที่เป็นพลเมืองของรัฐหรือไม่ย่อมได้รับสิทธิ์ในการ
คุ้มครองปกป้องในสวัสดิภาพจากรัฐที่บุคคลนั้นอาศัยอยู่
ข้อคำถามที่เกิดขึ้นคือ สิทธิ์ของบุคคลที่มิได้เป็นพลเมืองและบุคคลที่เป็นพลเมือง เมื่ออาศัยอยู่
ร่วมกันในรัฐแล้ว จะได้รับสิทธิ์อย่างเท่าเทียมกันในทุกกรณีหรือไม่ ตัวอย่างของรัฐไทย ในประเด็นของสิทธิ์
ในการครอบครองที่ดิน หากบุคคลไม่ได้เป็นพลเมืองของรัฐ - มิใช่ประชาชนชาวไทย สามารถครอบครอง
ที่ดินได้ไม่เกิน 1 ไร่ โดยมีการระบุคุณสมบัติอื่น ๆ เพื่อให้สามารถครอบครองที่ดินได้ อันเป็นข้อจำกัด
สำหรับชาวต่างชาติในการครอบครองที่ดิน ในขณะที่พลเมืองไทยไม่ได้ถูกจำกัดสิทธิ์ในการครอบครองทีด่ นิ
เฉกเช่นบุคคลที่มิใช่พลเมืองของรัฐ (ประมวลกฎหมายที่ดิน พ.ศ. 2497 อ้างถึงใน มาลินี คงรื่น, ม.ป.ป.: 2)
ข้อสังเกตของ Spiro (2020: 64) คือ ลักษณะการเสียเปรียบของสิทธิ์ในประเด็นต่าง ๆ สำหรับ
บุคคลซึ่งมิใช่พลเมือง ตัวอย่างเช่น การถูกจำกัดทางกฎหมายไม่ให้ทำงานบางด้านที่เกี่ยวข้องกับกฎหมาย
เช่น ผู้พิพากษา และอาชีพอื่น ๆ ซึ่งสงวนสิทธิ์ไว้สำหรับพลเมืองเท่านั้น การถูกจำกัดในการครอบครอง
ใบอนุญาต หรือการประกอบธุรกิจบางประเภท
Kochenov (2019: 126 – 127) อธิ บ ายถึ ง ความสำคั ญ ของสิ ท ธิ ์ ของพลเมื องของรั ฐ ได้แก่
สิทธิ์ในการเข้ามายังรัฐที่ตนเองเป็นพลเมืองและสิทธิ์ในการอยู่อาศัย สิทธิ์ที่จะมีกิจกรรมเชิงเศรษฐกิจใน
เขตพื้นที่ของรัฐ สิทธิ์ของพลเมืองในการที่จะไม่ถูกเนรเทศออกจากรัฐ ทั้งนี้ Kochenov ได้ยกตัวอย่างถึง
กรณีของ Louis Olivier Bancoult ที่ถูกทหารบริติชบัง คับ ให้ย้ายออกจากหมู่เกาะ Chagos ที่ตนเอง
อาศัยอยู่ไปยัง รัฐมอริเ ชียส ในช่วงต้นทศวรรษ 1970 โดยหมู่เ กาะดัง กล่าวตามกฎหมายถือว่าไม่มี
ผู้อยู่อาศัย ทั้ง ๆ ที่ข้อเท็จ จริง มีผ ู้อยู่อาศัยมาก่อ นแล้ว ด้วยกฎหมายดัง กล่าวส่ง ผลให้ร ัฐสามารถ
ให้สหรัฐอเมริกาทำการเช่าหมู่เกาะเพื่อสร้างฐานทัพนาวีในต่างแดน (Kochenov, 2019: 145)
นอกเหนือไปจากประเด็นของสิทธิ์แล้ว พลเมืองยังมีสิ่งที่ถูกพ่วงเข้าไว้อีกประการ ที่มาควบคู่กับ
ประเด็นของสิทธิ์ คือ “หน้าที่” (Obligations) หากย้อนกลับไปยัง คราเมื่อสมัยกรีกโบราณและโรม
หน้าที่ของพลเมืองคือการทำหน้าที่ในการปกป้องแผ่นดินโดยการเป็นทหาร นอกจากหน้า ที่ในการเป็น
ทหาร การจ่ายภาษี ถือเป็นอีกหน้าที่หนึ่งในฐานะพลเมืองในองค์การปกครองสมัยโบราณ (Spiro, 2020: 61)
ในปัจจุบัน พลเมืองของแต่ละรัฐยังคงมีหน้าที่ที่ต้องกระทำในฐานะพลเมือง ในกรณีของพลเมือง
ของสหรัฐอเมริก า หน้าที่ในการจ่ายภาษีถือเป็นหน้าที่ของพลเมืองไม่ว่ าพลเมืองจะอาศัยอยู่ท ี่ใ ด
โดย Internal Revenue Service (IRS) ได้ทำการระบุไว้อย่างชัดเจนว่าพลเมืองของสหรัฐอเมริก าจะต้อง
4
ทำหน้าที่ในการจ่ายภาษี ไม่ว่าจะอยู่ ณ ที่ใด – ไม่จำเป็นจะต้องพำนักอาศัยอยู่ในสหรัฐอเมริกาหรือ
มีรายรับในรัฐ โดยภาษีที่จ่ายคำนวณจากรายรับที่เกิดขึ้นจริงไม่ว่ารายรับนั้นจะได้รับ ณ ที่ใด ( Internal
Revenue Service, 2022) นอกเหนือไปจากหน้าที่ในการจ่ายภาษีแล้ว พลเมืองสหรัฐอเมริกายังมีหน้าที่
ในการเป็นลูกขุน (Jury) ในกรณีที่รัฐทำการคัดเลือกให้ปฏิบัติหน้าที่ในการเป็นลูกขุน (Spiro, 2020: 160)
บางรัฐออกกฎหมายให้พลเมืองต้องทำการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะทหาร เช่น กรีซ โดยในบรรดารัฐที่เป็น
สมาชิกสหภาพยุโรป กรีซนับว่าเป็นรัฐที่ให้พลเมืองปฏิบัติหน้าที่ทางทหารนานที่สุด โดยออกกฎว่าพลเมือง
ชายกรีก ตั้งแต่อายุ 19 – 45 ต้องเข้าปฏิบัติหน้าที่ในกองทัพเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 1 ปี (Spiro, 2020:
160; Knorr – Evans, 2022)
การมีส่วนร่วม (Participation) ในประเด็นดังกล่าว Bellamy (2008:15) กล่าวถึง สิทธิ์ในการ
ที่จะมีสิทธิ์ (Right to have rights) ของพลเมือง ซึ่งพลเมืองในสังคมทางการเมืองแต่ละแห่งย่อมมีสิทธิ์ที่
จะได้รับสิทธิ์ที่แตกต่างกันออกไป ในประเด็นดังกล่าวได้ถูกวิพากษ์จากนักสิทธิมนุษยชนที่มองว่าบุคคล
ควรย่อมมีสิทธิ์ที่จะได้รับสิทธิ์อย่างเท่าเทียมกัน ไม่ว่าจะอาศัยอยู่ที่ใดหรือถือกำเนิด ณ ที่ใด
จากนิยามของ Bellamy (2008) มีมุมมองต่อประเด็นของการเป็นสมาชิก - สิทธิ์ - และการมีส่วนร่วม
ที่เกี่ยวข้องยึดโยงและไม่ได้แยกออกจากกัน อย่างไรก็ตาม งานของ Bellamy (2008) เขียนครอบคลุม
นิยามความหมายของสิทธิ์และการมีส่วนร่วมไว้อย่างใกล้เคียงกัน ผู้เขียนจึงขออธิบายประเด็นของสิทธิ์
และการมีส่วนร่วมเพิ่มเติมดังนี้
ในกรณีของสิทธิ์ถือเป็นสิ่งที่พลเมืองได้รับจากข้อตกลงของชุมชนทางการเมือง ตัวอย่างของสิทธิ์
ที่ได้รับ ได้แก่ การได้รับการบริการสาธารณะ – สินค้าสาธารณะ เช่น การได้รับการบริการจากตำรวจ
การได้ร ับ การป้อ งกันภยันตรายจากภายนอกโดยหน่วยงานของรัฐ ฯลฯ ในส่วนของการมีส ่วนร่วม
เช่น การมีส่วนร่วมทางการเมือง กรณีตัวอย่างของสหรัฐอเมริกา มีข้อห้ามที่ห้ามมิให้พลเมืองของรัฐ
ต่างชาติบริจาคเงิ นเพื่อสนับสนุนการเลือกตั้งไม่ว่าจะเป็นการเลือกตั้งระดับท้องถิ่นหรือระดับชาติของ
สหรัฐอเมริก า ซึ่ง ความหมายมิได้ครอบคลุมเฉพาะในนามของบุคคลหากแต่ครอบคลุมข้อห้ามไปยัง
พรรคการเมือง สมาคม พรรคการเมือง และรัฐบาลต่างชาติ จากกรณีดังกล่าวจะเห็นได้ว่า พลเมืองของรัฐ
อื่ น ถูก ห้ามมิให้กระทำการบริจาคเงินให้กับนักการเมือ ง/พรรคการเมืองในสหรัฐอเมริก า (Federal
Election Commission, 2017) และในประเด็นของการมีส่วนร่วมทางการเมือง หมายความว่า บุคคลที่มี
สถานะพลเมืองของรัฐอื่น (ไม่ได้มีสถานะเป็นพลเมืองของสหรัฐอเมริกา) ย่อมไม่สามารถมี ส่วนร่วม
ทางการเมืองในประเด็นของการบริจาคเงินให้กับนักการเมือง/พรรคการเมืองได้ โดยการบริจาคเงินให้กับ
พรรคการเมือง/นักการเมือง ถือเป็นการมีส่วนร่วมทางการเมืองประการหนึ่ง
โดยสรุปแล้ว จากส่วนประกอบ 3 ประการของพลเมือง Bellamy (2008: 17) ได้ให้คำนิยามของ
พลเมืองเอาไว้ว่า “การเป็นพลเมืองคือสภาวะของความเท่าเทียมกันของพลเมือง ซึ่งรวมถึงการเป็นสมาชิก
ของสังคมทางการเมืองโดยที่พลเมืองทุกคนสามารถกำหนดเงื่อนไขความร่วมมือทางสังคมได้อย่างเท่า

5
เทียมกัน สถานะนี้ไม่เพียงแต่รัก ษาสิทธิที่เท่าเทียมกันในการเพลิดเพลินกับสินค้าส่วนรวมที่สมาคม
การเมืองจัดหาให้เท่านั้น แต่ยังเกี่ยวข้องกับหน้าที่ที่เท่าเทียมกันในการส่งเสริมและรักษาไว้ซึ่งสิ่งเหล่านี้
รวมถึงความดีของความเป็นพลเมืองประชาธิปไตยด้วย”

ทฤษฎีว่าด้วยพลเมือง
พื้นฐานแนวความคิดเกี่ยวกับ การเป็นพลเมือง ได้ถูก แบ่ ง ออกเป็น 2 รูป แบบด้วยกัน ได้แก่
กลุ่มทฤษฎีบรรทัดฐาน (Normative Theories) และ กลุ่มทฤษฎีเชิงประจักษ์ (Empirical Theories)
กลุ่มทฤษฎีบรรทัดฐาน ถือเป็นกลุ่มทฤษฎีที่ “พยายามที่จะกำหนดสิทธิ – หน้าที่พลเมืองทีค่ วรพึงมี”
กลุ ่ ม ทฤษฎี เ ชิ ง บรรทั ด ฐานศึ ก ษาด้ า นประวั ต ิ ศ าสตร์ เพื ่ อ ที ่ จ ะสำรวจค้ น หาพลเมื องในอุ ดมคติ
“โดยกระบวนการค้นคว้าหาความรู้ในด้านประวัติศาสตร์ ทำให้ค้นพบกระบวนการคิดว่าอะไรคือพลเมือง
อะไรคือความคาดหวังในการให้พลเมืองหนี่ง ๆ สนับสนุนให้ความช่วยเหลือให้กับรัฐและพลเมื องอื่น ๆ
และการให้ก ารสนับสนุนให้ความช่วยเหลือดัง กล่าวจะเกิดขึ้นในสถานการณ์แบบใด และสนับสนุน
ช่วยเหลืออย่างไรและเมื่อไหร่” (Bellamy, 2008: 27) ความหมายของการคาดหวังในการเป็นพลเมืองใน
อุดมคติที่แตกต่างกันออกไป ผันแปรไปตามห้วงระยะเวลาที่เปลี่ยนแปลง โดยในอดีตการรับราชการทหาร
อาจถูกมองว่าเป็นส่วนหนึ่งของความคาดหวังให้พลเมืองให้การสนับสนุนช่วยเหลือรัฐ แต่ในปัจจุบันอาจมี
ความคาดหวังในประเด็นดังกล่าวน้อยลงไป ในขณะที่ลักษณะบางประการ แม้ว่าระยะเวลาจะเปลี่ยนแปร
ไปอาจไม่มีการเปลี่ยนแปลง ในที่นี้ Bellamy (2008: 27 – 28) ยกตัวอย่างของสภาวะของความรักชาติ
หรือความรู้สึก ว่าสามารถที่จ ะสละชีพ เพื่อ ชาติ อาจยัง ถูก มองว่าผู้ท ี่ม ีความรู้สึก ร่วมดัง กล่าวอยู่ใน
สถานภาพของพลเมืองที่ดีและเป็นคุณสมบัติที่พึงปรารถนาของรัฐ (Bellamy, 2008: 27 – 28)
กรณีตัวอย่างระหว่างรัสเซียและยูเครนในปี ค.ศ. 2022 เหตุการณ์เริ่มต้นขึ้นจากการที่รัสเซียบุก
เข้าไปยังพื้นที่ของยูเครนในวันที่ 24 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2022 มีการใช้ความรุนแรงโดยกองกำลังทหารของ
รัสเซียและการใช้อาวุธยุทโธปกรณ์หลากหลายรูปแบบ ส่งผลให้พลเรือนและทหารยูเครนเสียชีวิตเป็น
จำนวนมาก สิ่งที่เกิดขึ้นในห้วงเวลาดังกล่าวคือการอาสาสมัครเข้าร่วมสู้รบเพื่อต่อต้านการคุกคามของกอง
กำลัง รัสเซีย โดยมีท ั้งผู้ที่อาศัยอยู่ในยูเครนและชาวยูเครนผู้ท ี่อาศัยอยู่ในต่างแดนตัดสินใจเดินทาง
กลับ บ้านเพื่อร่วมปกป้องรัฐของตนเอง จากบทสัมภาษณ์ใน Aljazeera (February 27, 2022) มีผ ู้ให้
สัมภาษณ์ว่า:
“มันเป็นความรู้สึกที่เลวร้ายเมื่อเขาระเบิดบ้านของคุณ...สงครามเกิดขึ้นแล้วและเราจะต้ อ ง
กลับไป” (ชายชาวยูเครน อายุ 26 ปี ผู้อาศัยอยู่ในโปแลนด์)

6
“ผมไม่เคยสู้รบเลยในชีวิตของผม ผมผ่านการฝึกฝนทางด้านการทหารเมื่อนานมาแล้ว แต่นี่จะ
ไม่ใช่สิ่งที่หยุดยั้งผม มันไม่มีคำใดที่สามารถอธิบายความรู้สึก ของผมได้” (ชายชาวยูเครน อายุ 27 ปี
ผู้อาศัยอยู่ในยูเครน)
“ผมคาดการณ์เอาไว้แล้วว่า สิ่งนี้ (สงคราม) จะเกิดขึ้น ... ผมไม่ได้แปลกใจ ผมจะกลับไปเพื่อ
ปกป้องประเทศของผม ครอบครัวของผม แผ่นดินของผม” (ชายชาวยูเครน อายุ 38 ปี)
จากกรณีของข้อเท็จจริงดังกล่าวจะเห็นได้ว่า พลเมืองยูเครนที่ได้ถูกสัม ภาษณ์ มีสภาวะของ
ความรู้สึกรักในประเทศชาติของตนเองและมีความรู้สึกว่าถึงเวลาแล้วที่จะต้องสนับสนุนช่วยเหลือรัฐ
ถึงแม้ว่าจะต้องสละชีพของตนก็ตาม
กลุ่มทฤษฎีเชิงประจักษ์ พยามหาคำตอบและอธิบายว่า “พลเมืองได้ครอบครองสิทธิ - หน้าที่ที่มี
อยู่จริงได้อย่างไร” (Bellamy, 2008: 27) “ทฤษฎีเชิงประจักษ์สำรวจกระบวนการทางสังคม เศรษฐกิจ
และการเมืองที่ก่อให้เกิดความเป็นพลเมืองในเวลาและสถานที่ที่แตกต่างกัน และเส้นทางที่สถานภาพการ
เป็นพลเมืองที่ได้รับในกลุ่มต่าง ๆ” (Bellamy, 2008: 28) “ทฤษฎีเชิงประจักษ์พยายามทำความเข้าใจว่า
ความเป็นพลเมืองเกิดขึ้นได้อย่างไร และเกิดขึ้นทำไมในสถานการณ์และรูปแบบที่ถูกกำหนด” (Bellamy,
2008: 28)

รูปแบบของพลเมือง
Bellamy (2008) ได้แบ่งรูปแบบของการเป็นพลเมืองออกเป็น 2 รูปแบบหลัก ได้แก่ การเป็น
พลเมืองที่มีส่วนร่วมเท่าเทียม (Citizenship as equal participation) และ การเป็นพลเมืองในสถานะ
ทางกฎหมายที่เท่าเทียมกัน (Citizenship as equal legal status)
การเป็นพลเมืองที่มีส่วนร่วมเท่าเทียม (Citizenship as equal participation)
จุดเริ่มต้นของการเป็นพลเมืองที่มีส่วนร่วมเท่าเทียม ย้อนไปในสมัยกรีซโบราณ งานเขียนของ
อริสโตเติล “The Politics” ได้กล่าวถึงมนุษย์ว่าเป็นสัตว์การเมือง (political animals) ประเด็นสำคัญคือ
โดยพื้นฐานแล้วมนุษย์อยู่ร่วมกันในชุมชนทางการเมืองและนั่นหมายความว่า มนุษย์ท ี่อยู่ในนครรัฐ
(polis หรือ city-state) เท่านั้นที่ศักยภาพของมนุษย์จะสามารถถูกรับรู้ได้อย่างเต็มที่ (Bellamy, 2008: 31)
การจะเป็นพลเมือ งของเอเธนส์ในสมัยโบราณได้ จะต้อ งเป็นชายที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป
เป็นชายของลำดับวงศ์ตระกูลที่รู้จักกันว่าเกิดมาในครอบครัวของชาวเอเธนส์ เป็นผู้ปกครองของครัวเรือน
เป็นนักรบที่ครอบครองอาวุธและมีศักยภาพในการต่อสู้และเป็นนายของแรงงานอื่น ๆ หรืออีกนัยหนึ่งคือ
เป็นนายของทาส ในมุมมองดัง กล่าว จะเห็นได้ว่าการจะเป็นพลเมืองของเอเธนส์ในสมัยโบราณนั้น
มีเ งื่อนไขหลายประการ ได้แก่ ต้องเป็นเพศชาย, ต้องเป็นชาวเอเธนส์ท ี่ถือกำเนิดมาจากครอบครัว

7
ชาวเอเธนส์ และมีเงื่อนไขของสถานภาพและสถานะทางสังคม จะเห็นได้ว่า กลุ่มที่มิได้ถูกจัดลำดับว่าเป็น
พลเมืองเอเธนส์ ได้แก่ สตรี (อย่างไรก็ตาม สตรีชาวเอเธนส์ที่แต่งงานแล้วจะถูกนับรวมว่าเป็นพลเมือง
เอเธนส์ด้วยเหตุผลของการลำดับวงศ์ตระกูล), เด็ก และเยาวชนผู้มีอายุต่ำกว่า 20 ปี , ทาส, ผู้อพยพ
(immigrants หรือ metics) ในประเด็นของผู้อพยพ แม้จะย้ายเข้ามาอยู่ในนครรัฐเอเธนส์หลายชั่วอายุคน
แต่ก็ไม่ได้ถูกนับให้เป็นพลเมืองอย่างเต็มรูปแบบ ทว่ามีหน้าที่ที่จะต้องทำบางประการที่คล้ายกับหน้าที่ของ
พลเมือง ได้แก่ จ่ายภาษีและมีหน้าที่ทางการทหาร ในบรรดาประชากรที่อาศัยอยู่ในเอเธนส์ มีประชากร
ที ่ ถ ู ก นั บ ว่ า เป็ น พลเมื อ งเอเธนส์ จ ำนวนราว 30,000 – 50,000 รายในขณะที ่ จ ำนวนทาสมี ส ู ง ถึ ง
80,000 – 100,000 ราย (Bellamy, 2008: 31)
สิทธิ์ในการเป็นพลเมืองของชาวเอเธนส์คือการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในระดับนครรัฐ พลเมือง
นครรัฐเอเธนส์สามารถมีส่วนร่วมโดยการเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของสภาที่ประชุมที่มีการพบปะปีละกว่า 40
ครั้ง โดยในแต่ละครั้งจะต้องมีผู้เข้าร่วม 6,000 คนสำหรับการประชุมแบบเต็มคณะ กระบวนการตัดสินใจ
เป็นสิท ธิ์อันสำคัญ ของสมาชิก ที่ม ีก ารตัดสินใจตั้งแต่ป ระเด็นการเข้าสู่ส งคราม การสร้างสันติภาพ
การตั ด สิ นใจในการรวมตัว ของพั นธมิต รระหว่ า งเอเธนส์ แ ละนครรั ฐอื ่ น ๆ การจัด เก็บ ภาษี ฯลฯ
สำหรับชาวเอเธนส์ที่มีอายุ 30 ปีขึ้นไป อีกสิทธิ์ที่ได้รับคือการทำหน้าที่เป็นลูกขุน ซึ่งจะมีตั้งแต่คณะลูกขุน
จำนวน 201 – 501 คน นอกจากนี้ยังจะต้องทำหน้าที่ในการรับราชการซึ่งมีระยะเวลาคราวละ 1 – 2 ปี
ซึ่ง มีเ พียงบางตำแหน่ง ที่เ ป็น การคั ดเลื อกเช่น ตำแหน่ง นายพล ซึ่ง ถูก คัดเลือกโดยสภาที ่ป ระชุ ม
กระบวนการให้มีส่วนร่วมในการตัดสินใจและเข้าไปเป็นส่วนหนึ่ง ของการปฏิบัติหน้าที่ในนามนครรัฐ
มีวัตถุประสงค์เพื่อให้พลเมืองได้รับโอกาสที่เท่าเทียมกันในการใช้อำนาจทางการเมือง (Bellamy, 2008: 32)
ข้อสังเกตประการหนึ่งของ Bellamy (2008: 34) คือถึงแม้ว่าสิทธิ์ในการเป็นพลเมืองของชาวเอเธนส์จะ
ถือเป็นเอกสิทธิ์สำหรับคนกลุ่มน้อยที่อยู่ในเอเธนส์ แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า การควบคุมการทำงานของภาครัฐ
นั้นถูกขับเคลื่อนด้วยพลเมืองเหล่านี้
การเป็นพลเมืองที่มีความเท่าเทียมกันในสถานะทางกฎหมาย (Citizenship as equal legal
status)
สิ่งที่เป็นข้อแตกต่างระหว่างสังคมแบบกรีกโบราณและสาธารณรัฐโรมัน กระบวนการแบ่งแยก
ทางชนชั้น พลเมืองในรูปแบบอุดมคติของกรีกคือการไม่มีการแบ่งชนชั้น ในขณะที่สาธารณรัฐโรมั นยัง คง
เป็นการแบ่ง ชนชั้นกันระหว่างสามัญชน (plebeians) และขุนนาง (patricians) (Bellamy, 2008: 35)
ในสมัยโรมัน สังคมได้ถูกแบ่งออกเป็นชนชั้นอย่างชัดเจน ได้แก่ สังคมชนชั้นบน และสังคมชนชั้นล่าง ทั้งนี้
บุคคลที่จัดอยู่ในสังคมชนชั้นบน ได้แก่ “จัก รพรรดิ , สมาชิก สภาสูง , ทหาร, เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง,
ผู้พิพากษา, สมาชิกสภาเมือง และนักบวช” (Knapp, 2011: 5) สังคมชนชั้นล่างคือ บุคคลอื่น ๆ ที่ไม่ได้
ถูกจัดอยู่ในสังคมชนชั้นบน การจัดบุคคลตามสถานะทางสังคมเศรษฐกิจ พบว่า มีชนชั้นบนอยู่เพียง
ประมาณร้อยละ 0.5 ในขณะที่ประมาณร้อยละ 99.5 จัดเป็นชนชั้นล่าง (Knapp, 2011: 5-6) บทบาทของ
สตรีโ รมัน มีส ถานะไม่ต่างจากสตรีเอเธนส์ คือ มีห น้าที่ดูแลความเรียบร้อยภายในเคหสถานของตน
8
และไม่มีบทบาทอื่นใดในทางการเมือง โดยมีความเชื่อว่า พระเจ้าได้จัดสรรแบ่งหน้าที่ของผู้ชายและผู้หญิง
ให้แยกออกจากกัน โดยผู้หญิงมีหน้าทีภ่ ายในบ้าน ในขณะที่ผู้ชายมีหน้าที่ความรับผิดชอบนอกบ้านทัง้ หมด
(Chrysostorm as cited in Knapp, 2011: 53)
การได้ม าซึ่ง สิท ธิ์ในการเป็นพลเมืองโรมันในระยะแรกนั้น ไม่แตกต่างไปจากพลเมืองกรีก
บุคคลนั้นจะต้องเป็นพลเมืองของโรมันโดยสืบเชื้อสายมาจากครอบครัวโรมัน โดยจะต้องไม่ได้อยู่ในสภาวะ
ของทาสทั้งตนเองและครอบครัว แต่เมื่ออาณาจักรโรมันได้แผ่ขยายออกไป นิยามของการเป็นพลเมืองก็มี
การเปลี่ยนแปร โดยเมื่อขอบเขตของอาณาจักรขยายไป ผู้ที่อาศัยอยู่ในเขตแดนที่โรมันเข้าครอบครอง
จะได้สิทธิ์ในการเป็นพลเมืองโรมันในส่วนของรูปแบบการปกครอง ยังคงใช้รูปแบบการปกครองแบบเดิม
ก่อนที่อาณาจักรโรมันจะแผ่ขยายอิทธิพลออกไปและยังถือเป็นพลเมืองของพื้นที่ ดั้งเดิม หมายความว่า
พลเมืองถือสิทธิ์การเป็นพลเมืองของ 2 เขตพื้นที่ โดยในรูปแบบดังกล่าว การเป็นพลเมืองถือเป็นรูปแบบ
ทางการเป็นพลเมืองตามกฎหมายมากกว่าการเป็นพลเมืองในมิติทางการเมือง ซึ่งจะมีศัพท์ที่เรียกว่า
“civitas sine suffragio” หรืออีกนัยหนึ่งคือการเป็นพลเมืองโดยไม่มีสิทธิ์ในการโหวต (Bellamy, 2008:
39-40)
การเป็นพลเมืองในยุคประชาธิปไตยสมัยใหม่
งานเขียนของ T.H. Marshall (1950) และ Stein Rokkan (1970; 2009)1 ถือเป็นงานเขียนที่ใช้
อธิ บ ายประเด็ น ของการเป็ น พลเมื อ งในยุ ค ประชาธิ ป ไตยสมั ย ใหม่ โดยพลเมื อ งคื อ ผลผลิ ตจาก
“กระบวนการที่เกี่ยวข้องกันของการสร้างรัฐ การเกิดขึ้นของสังคมการค้าและอุตสาหกรรม และการสร้าง
จิตสำนึกของชาติ” (Bellamy, 2008: 45 – 46) โดยในระยะกระบวนการสร้างรั ฐ “เกิดการสร้างระบบ
รวมกันโดยชนชั้นนำในด้านการบริหาร การทหาร และวัฒนธรรม โดยมาพร้อมกับการรวมดินแดน ระบบ
ราชการของรัฐ และโครงสร้างทางด้านกฎหมาย” (Bellamy, 2008: 46)
ระยะที่สอง “เกิดการสร้างเศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรม กระบวนการนี้ก่อให้เกิดการสร้าง
โครงสร้างพื้นฐานของสินค้าสาธารณะตามความต้องการของตลาดเศรษฐกิจ ในระยะนี้ เกิดการสร้างการ
หลอมรวมของระบบการขนส่ง ระบบเงินตราและระบบกฎหมายที่ใช้ร่วมกัน” (Bellamy, 2008: 46)
ระยะที่สาม กระบวนการสร้างชาติ “เกี่ยวข้องกับ การสร้างมวลชนให้มีจิตสำนึกของชาติที่
เหมาะสมกับตลาดและเศรษฐกิจอุตสาหกรรมโดยวิธีการศึกษาภาคบังคับ การกำหนดมาตรฐานทางภาษา
สื่อมวลชน และกองทัพ” (Bellamy, 2008: 46)
T.H. Marshall (1950) ยกตัวอย่างของกระบวนการการสร้างการเป็นพลเมืองของคนบริติช
โดยแบ่งออกเป็น 3 ช่วงระยะเวลา โดยช่วงแรกในศตวรรษที่ 17 - กลางศตวรรษที่ 19 มีการควบรวมของ
1Marshall, T. H. (1950). Citizenship and social class (Vol. 11, pp. 28-29). New York, NY: Cambridge. Rokkan, S.
(2009). Citizens, elections, parties: Approaches to the comparative study of the processes of development. ECPR
Press.
9
สิทธิ์พลเมืองที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางเศรษฐกิจและสังคม เช่น การมีอิสรภาพในการเป็นเจ้าของที่ดิน
การแลกเปลี่ยนสินค้า บริการ และแรงงานผ่านระบบตลาด ความมีอิสระในการการเลือกเข้าร่วมกิจกรรม
กับโบสถ์และการแสดงออกถึงความไม่เห็นด้วยในประเด็นต่าง ๆ ช่วงที่สองเกิดขึ้นในช่วงปลายศตวรรษที่
18 - ระยะแรกของศตวรรษที่ 20 ช่วงนี้เกี่ยวข้องกับสิทธิ์ทางการเมืองในการเลือกตั้งและการเป็นผู้รับ
สมัครเลือกตั้ง โดยสิทธิ์ในการมีส่วนร่วมทางการเมืองเริ่มต้นจากผู้เป็นเจ้าของที่ดินไปสู่ผู้ชายและท้ายที่สุด
มีการขยายสิทธิ์ให้ผู้หญิงเข้ามามีส่วนร่วมทางการเมือง ช่วงที่สาม เกิดขึ้นในช่วงตอนปลายศตวรรษที่ 19
ไปจนถึงกลางศตวรรษที่ 20 ในช่วงนี้เกี่ยวข้องกับการเกิดขึ้นของสิท ธิทางสังคม เช่น ประเด็นในด้าน
สวัสดิการทางเศรษฐกิจและความมั่นคง โดยเริ่มต้นจากสวัสดิการในระดับต่ำไปจนถึงการขยายลักษณะ
ของสวัสดิการให้ครอบคลุมหลากหลายประเด็น เช่น การขยายโอกาสผ่านการให้สวัสดิการทางการศึก ษา
สวัสดิการด้านสุขภาพ และสวัสดิการในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการเกษียณอายุ (Bellamy, 2008: 47-49)
การได้มาซึ่งการเป็นพลเมืองในยุคสมัยใหม่
ตามหลักกฎหมาย พบว่า สามารถแบ่งการได้รับรองสัญชาติของบุคคลจากรัฐตามการกำเนิด
ออกเป็น 2 รูปแบบ ได้แก่
1. Jus soli หมายถึง การเกิดภายในดินแดนของประเทศหนึ่ง ๆ ในรูปแบบ jus soli บุคคล
ย่อมได้สัญชาติโดยยึดหลักดินแดนที่เกิดเป็นสำคัญ (Scott, 1930: 58)
2. Jus sanguinis หมายถึง การสืบ สันดานโลหิต ในรูป แบบ jus sanguinis บุคคลย่อมได้
สัญชาติผ่านการสืบสายโลหิต (Scott, 1930: 58)
ทั้งนี้ การได้รับสัญชาติในรัฐใดรัฐหนึ่ง อาจใช้หลัก jus soli เป็นหลัก หรือ ใช้ jus sanguinis
เป็นหลัก หรือใช้ทั้ง jus soli และ jus sanguinis
ตัวอย่างเฉพาะกรณี jus soli : กรณีของประเทศฝรั่งเศส เด็กที่เกิดในประเทศฝรั่งเศสจะได้สิทธิ
ในการเป็นพลเมืองฝรั่งเศสถึงแม้จะไม่มีบิดามารดา หรือ บิดามารดาเป็นบุคคลไร้สัญชาติ หรือ เกิดใน
ประเทศฝรั่ง เศสโดยมีบ ิดาหรือมารดาอย่างน้อ ยคนใดคนหนึ ่ง เกิ ดในฝรั ่ง เศสจะได้ร ับ สิท ธิ ในการ
เป็นพลเมืองฝรั่งเศส (The Law Library of Congress, 2012: 1)
ตัวอย่างเฉพาะกรณี jus sanguinis : กรณีของประเทศเยอรมนี กรณีที่จะได้รับสิทธิความเป็น
พลเมืองเยอรมัน บุตรจะต้องเกิดจากผู้ปกครองที่เป็นเยอรมัน สำหรับกรณีอื่น ๆ เด็กจะได้รับสิทธิในการ
เป็นพลเมืองเยอรมันต่อเมื่อบิดาหรือมารดามีถิ่นที่พักอาศัยประจำอยู่ในประเทศเยอรมนีเป็นระยะเวลา
อย่างน้อย 8 ปี นอกจากนี้ บิดาหรือมารดาจะต้องมีใบอนุญาตให้สามารถอยู่อาศัยในเยอรมนีหรือประเทศ
ในสหภาพยุโ รปแบบถาวร หรือ เป็นพลเมืองของประเทศสมาชิก สหภาพยุโรป (The Law Library of
Congress, 2012: 1-2)

10
ตัวอย่างเฉพาะกรณี jus sanguinis และ jus soli : กรณีของประเทศกรีซ เด็กจะได้รับสิทธิในการ
เป็นพลเมืองประเทศกรีซเมื่อมีบิดาหรือมารดาเป็นคนกรีก (ยึดหลัก jus sanguinis) และเด็กเกิดในกรีซ
โดยบิดาหรือมารดาเกิดในประเทศกรีซและอาศัยอยู่เป็นการถาวรในประเทศกรีซ หรือ เด็กเกิดในประเทศ
กรีซโดยไม่ได้ถือสัญชาติอื่นใด หรื อ เด็กถือกำเนิดในกรีซโดยไม่มีสัญชาติ (ยึดหลัก jus soli) (The Law
Library of Congress, 2012: 2)
นอกเหนือไปจากการได้มาซึ่ง เป็นพลเมือ งโดยการเกิดแล้ว บุคคลย่อมสามารถเป็นพลเมือง
ของรัฐใดรัฐหนึ่งผ่านเงื่อนไขอื่น ๆ เช่น
- การแปลงสัญชาติ หรือ การโอนสัญชาติ (Naturalization)
Naturalization คือ กระบวนการที่ภาครัฐได้มอบสัญชาติให้แก่พลเมืองต่างชาติ หรือ
มอบสัญชาติให้กับบุคคลที่แต่เดิมไม่ได้รับสัญชาติของรัฐนั้น ๆ มาตั้งแต่กำเนิด โดยการมอบ
สัญชาติให้จะกระทำต่อเมื่อบุคคลดังกล่าวมีคุณสมบัติครบตามข้อกำหนดของรัฐ 2 โดยปกติ
แล้ว Naturalization จะเกิดขึ้นหลังจากที่พลเมืองต่างชาติได้อยู่อาศัยในรัฐ จนได้รับสิทธิให้
เป็น Permanent Resident หรือ สิทธิสามารถอยู่อาศัยภายในรัฐได้อย่างถาวร แต่ยังไม่ ได้
รับ สิท ธิเ ทียบเท่าพลเมือ ง หลังจากการได้ดำรงสิท ธิ Permanent Resident มาจนครบ
ระยะเวลาที่กำหนด บุคคลดังกล่าวมีสิทธิในการขอสัญชาติเป็นพลเมืองของรัฐได้
- การแต่งงาน (Marriage) – ในหลายรัฐเรียกว่า การ Naturalization ผ่านการแต่งงาน
การแต่ง งาน ถือ เป็นอีก วิธีก ารหนึ่ง ที่ส ามารถให้บ ุคคลมีส ิท ธิในการได้ร ับ สัญ ชาติ
ตามคู่สมรส ในทางปฏิบัติ มีบุคคลต่างชาติสมรสเพื่อให้ได้มาซึ่งสัญชาติ เกิดเป็นธุรกิจรับจ้าง
สมรสโดยสามารถเลือกคู่สมรสผ่านนายหน้า ในประเทศสหรัฐอเมริกา หากพบว่ามีการสมรส
หลอกเพื่อให้ได้มาซึ่งสิทธิใ นการอยู่อาศัยในประเทศ จะต้องถูกดำเนินคดี และที่ผ่านมา
มีเหตุการณ์ที่มีผู้ถูกดำเนินคดีจากการรับจ้างอำนวยความสะดวกในการสมรสหลอกให้แก่
ผู้ที่ต้องการเข้ามายังประเทศ (Cai, 2016)
- การลงทุนซื้อความเป็นพลเมือง (Citizenship by Investment)
ในบางกรณี รั ฐ บาลต้ อ งการสร้ า งรายได้ ให้ แ ก่ ร ั ฐ โดยการยื่ น ข้อ เสนอให้แก่ก ลุ่ม
ผู้มีทรัพย์สินสูงจากทั่วโลกเข้ามาถือสัญชาติ โดยการถือสัญชาติอื่นอาจก่อให้เกิดประโยชน์
ในหลากหลายด้าน เช่น ประโยชน์ทางด้านภาษี ประโยชน์ทางด้านความปลอดภัย ประโยชน์
ในด้านการลงทุน ในปี ค.ศ. 2017 มีประเทศมากกว่า 24 ประเทศที่ยื่นข้อเสนอให้พลเมือง
ต่างชาติลงทุนในรัฐผ่านทางการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ พันธบัตรรัฐบาล การลงทุนในธุรกิจ
แลกกับการกรุยทางไปสู่การเป็นพลเมืองของรัฐ (AP News, May 16, 2017) ข้อมูลจาก
World Economic Forum พบว่า ในบางกรณีเมื่อมีการลงทุนการซื้อความเป็ นพลเมือง
ผู้ลงทุนจะต้องอยู่อาศัยในรัฐตามระยะเวลาที่กำหนด และจะยังไม่ได้รับสิทธิการเป็นพลเมือง

2 อ้างจากนิยาม Naturalization ของ U.S. Citizenship and Immigration Services


11
จนกว่าจะถึง ระยะเวลาที่ภาครัฐได้ก ำหนดไว้ เช่น ในประเทศ Antigua and Barbuda
ผู้ลงทุนจะต้องลงทุนเป็นจำนวน 250,000 เหรียญสหรัฐ และจะต้องเข้าอยู่อาศัยใน Antigua
and Barbuda เป็นระยะเวลาอย่างน้อย 5 วันในทุก 5 ปี ข้อดีคือ ผู้ลงทุนสามารถได้รับสิทธิ
ในการเป็นพลเมืองได้ทันที ในขณะที่ประเทศ ฝรั่งเศส ผู้ลงทุนจะต้องลงทุนเป็นจำนวนเงิน
สูงถึง 10 ล้านยูโร และจะต้องใช้ระยะเวลาถึง 5 ปี กว่าจะได้รับสิทธิในการเป็นพลเมือง
(Myers, 2016)
ถึง แม้ว่าการซื้อ ความเป็นพลเมืองจะส่ง ผลดีในแง่ของการสร้างกระแสรายได้ให้กับ
ภาครัฐ และส่งผลดีต่อผู้ที่ต้องการได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี ความปลอดภัย โอกาสในการ
ลงทุน อย่างไรก็ตาม ประเด็นการซื้อสิทธิความเป็นพลเมือง ถือเป็นที่ถกเถียงในแง่ของความ
เหมาะสม ในกรณีของประเทศ Malta พลเมืองของประเทศราวร้อยละ 53 ไม่เห็นด้วยกับ
รัฐบาลที่จะมอบสิทธิในความเป็นพลเมืองให้กบั นักลงทุนต่างชาติ (Meltzer, 2013) นอกจาก
ประเด็นเรื่องความเหมาะสมแล้ว ยังต้องตั้งคำถามเรื่องความมั่นคงของรัฐอีกด้วย เพราะนัก
ลงทุนที่ซื้อสิทธิในความเป็นพลเมือ งอาจเป็นผู้กระทำผิดกฎหมายจากรัฐอื่น เช่น ฟอกเงิน
ย้ายทรัพย์สินที่ได้มาจากการคอร์รัป ชัน หรือ ทรัพย์สินที่ได้ม าจากการทำธุรกรรมที่ผิด
กฎหมาย
อนึ่ง รัฐย่อมจะมีพลเมืองของรัฐและบุคคลที่ไม่ใช่พลเมืองของรัฐอาศัยอยู่ ทั้งนี้ บุคคลที่อาศัย
อยู่ภายในรัฐยังสามารถถูกแบ่งย่อยออกเป็นหลายประเภท ได้แก่
- Economic Migrant (ผู้อพยพทางด้านเศรษฐกิจ) – บุคคลที่ย้ายถิ่นฐานออกจากประเทศบ้าน
เกิดของตนเองด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจ ผู้อพยพในรูปแบบนี้ไม่นับว่าเป็นผู้ลี้ภัย เพราะสามารถ
เดินทางกลับไปยังประเทศของตนเองได้อย่างปราศจากความหวาดกลัว แต่ท ี่อพยพไปยัง
ประเทศอื่น เพราะความต้องการให้ชีวิตได้รับโอกาสที่ดีขึ้น (Amnesty International, 2017)
- Alien3 (คนต่างด้าว) – บุคคลที่ไม่ใช่พลเมืองของรัฐที่ตนเองพำนักอยู่ (Internal Revenue
Service – IRS, n.d.)
- Undocumented Alien4 (คนต่างด้าวที่ไร้เอกสารอธิบาย) – บุคคลที่เข้ามายังรัฐอื่นโดยไม่มี
เอกสารแสดงตัวตนและไม่ได้รับอนุญาตให้เข้ามายังรัฐ หรือ บุคคลที่เข้ามายังรัฐอย่างถูกต้อง
ตามกฎหมายแต่อาศัยอยู่ในรัฐจนเกินกำหนดวีซ่า (Internal Revenue Service – IRS, n.d.)
- Expat – ย่อมาจาก “expatriate” ไม่มีคำแปลอย่างเป็นทางการของ expat ทั้งนี้ expat ถือ
เป็นบุคคลที่ไม่ได้อยู่ในบ้านเกิดเมืองนอนของตนเองและอาศัยทำมาหากินอยู่ในประเทศอื่น
expat ในบางนิยามหมายถึง บุคคลผู้มีการศึกษาสูง มีฐานะดี ทำงานในต่างประเทศ เช่น งาน
ที่ต้องใช้ทักษะ (ไม่ใช่งานประเภทใช้แรงงานทั่วไป) (Nash, 2017)

3 อิงคำอธิบายตาม Alien ที่เข้ามาในสหรัฐอเมริกา


4 อิงคำอธิบายตาม Undocumented Alien ที่เข้ามาในสหรัฐอเมริกา
12
- Asylum Seeker (ผู้แสวงหาที่ลี้ภัย) – บุคคลที่ต้องการการคุ้มครองในระดับนานาชาติ ทั้งนี้
ผู้ขอลี้ภัยอาจยังไม่ได้รับสถานะเป็นผู้ลี้ภัย ผู้แสวงหาที่ลี้ภัยอาจทำเรื่องไปถึงยังรัฐอื่นเพื่อขอ
ลี้ภัย แต่จ ะยัง ไม่ได้รับการตอบรับให้สามารถลี้ภัยอย่างเป็นทางการจากรัฐ ( Amnesty
International, 2017)
- Refugee (ผู้ลี้ภัย) – บุคคลที่เดินทางหนีออกจากประเทศบ้านเกิดของตนเองและไม่ยินยอม
ที่จะกลับไปยังประเทศบ้านเกิดของตนเอง เพราะความกลัวในการถูกลงโทษ อันเนื่องมาจาก
เชื้อชาติ, ศาสนา, การเป็นสมาชิกของกลุ่ม หรือเพราะเหตุผลทางความคิดทางการเมื อง
(Amnesty International, 2017)5
- Stateless Person (คนไร้สัญชาติ) – บุคคลผู้ไม่ได้รับการยอมรับให้มีสถานะเป็นพลเมืองของ
รัฐใดอย่างถูกต้องตามกฎหมาย (Amnesty International, 2017)
การได้มาซึ่งความเป็นพลเมืองสามารถกระทำได้หลายวิธีการ โดยวิธีการปกติคือ การได้มาซึ่ง
ความเป็นพลเมืองจากการสืบสันดานโลหิต หรือ จากสถานที่ที่เราเกิด หรือ กระบวนการได้มาซึ่งความเป็น
พลเมืองผ่านการโอนสัญชาติ – แต่งงาน – หรือแม้กระทั่งการซื้อความเป็นพลเมือง ทั้งนี้ ยังมีบุคคลที่ไม่ได้
อยู่ในสถานะพลเมืองของรัฐ เช่น คนต่างด้าว ผู้ลี้ภัย ฯลฯ ซึ่งจะมีคำนิยามของบุคคลในแต่ละประเภท
แตกต่างกันออกไป
สถานะพลเมืองของมนุษย์ในศตวรรษที่ 21 และโลกอนาคต
ในปี ค.ศ. 2017 ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย ได้ทำการมอบความเป็นพลเมืองให้แก่หุ่นยนต์
ที่มีชื่อว่า โซเฟีย (Sophia) ในประเด็นนี้ก่อให้เกิดความท้าทายในจริยธรรมและปัญญาประดิษฐ์ (Artificial
Intelligence-AI) ทั้งนี้ ในปัจจุบัน ยังมีข้อถกเถียงกันถึงความปลอดภัยของการนำปัญญาประดิษฐ์มาใช้
ปรากฏการณ์ก ารให้ความเป็นพลเมืองแก่ปัญ ญาประดิษฐ์โซเฟียก่อให้เกิดประเด็นที่จะต้อ งพัฒนา
ในด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับพลเมืองในอนาคต (Chikhale and Gohad, 2018: 107) ในซาอุดีอาระเบีย
ยัง คงมีป ระเด็นความท้าทายทางด้านสิทธิม นุษยชน เช่น ประเด็นของสิท ธิสตรีในรัฐ ปี ค.ศ. 2017
สตรีชาวซาอุดีอาระเบียเริ่มได้รับสิทธิในการเข้าถึงการให้บริการจากภาครัฐในด้านการศึกษาและการ
สาธารณสุข โดยไม่ต้องได้รับการอนุมัติจากผู้ปกครองของสตรีผู้นั้นก่อน (Chikhale and Gohad, 2018:
107) นั่นแปลว่า สิทธิการเป็นพลเมืองของโซเฟีย เกิดขึ้นพร้อม ๆ กับการที่สตรีได้รับอนุญาตให้ทำธุรกรรม
ในบางกรณีด้วยตนเอง โดยไม่ต้องได้รับการยินยอมจากบุคคลอื่น
พลเมือ งเน็ต (Netizen) กับ ความท้าทายของการเป็นพลเมืองสมัยใหม่ – นอกเหนือ ไปจาก
ประเด็นของการเป็นพลเมืองในมิติทางกฎหมาย/การได้รับการยอมรับตามสถานะในการเป็นพลเมืองโดย
รัฐแล้ว การเป็นพลเมืองเน็ตถือเป็นอีกประเด็นที่ก่อให้เกิดคำถามถึงสภาวะของความเป็นพลเมืองที่มี การ
เชื่อมต่อเครือข่ายผ่านระบบออนไลน์ โดยพลเมืองเน็ตไม่ได้มีขอบข่ายปิดกั้นในระดับความเป็นรัฐแบบ

5 สามารถอ่านบทความเรื่อง การลี้ภัย: ทำไมเขาถึงเลือกที่จะหนี? เพิ่มเติมท้ายบท


13
สากล กล่าวคือ ไม่ได้มีการถูกจำกัดบทบาทในเขตดินแดน6 ประเด็นการมีส่วนร่วมส่งผลให้พลเมืองเน็ต ได้
ทำหน้าที่ในการเป็นนักข่าวพลเมือง (Achmad, 2021) ซึ่งเป็นอีกบทบาทในการตรวจสอบในหลากหลาย
ประเด็น ไม่ว่าจะเป็นการสืบสวนสอบสวน การเปิดเผยแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างพลเมืองเน็ต นอกจากนี้
ยังมีประเด็นในการดำรงชีวิตอื่น ๆ เช่น การทำงานผ่านรูปแบบออนไลน์ ซึ่งส่งผลให้ประชากรจำนวนหนึ่ง
กลายเป็น digital nomad (ผู้เร่ร่อนดิจิทัล) ซึ่งหมายความว่าประชากรกลุ่มนี้สามารถทำงานในรูปแบบ
ออนไลน์และสามารถทำงานจากบริเวณใดของโลก ส่งผลให้เกิดการย้ายถิ่นที่อยู่อาศัยไปตามความพึงพอใจ
ของผู้เ ร่ร ่อนดิจิท ัล กลายเป็นนิยามใหม่ท ี่เ กิดขึ้นของการทำงานในศตวรรษที่ 21 นอกเหนือจากนี้
การกำเนิดของ Metaverse (จักรวาลนฤมิต) ซึ่งถึงแม้จะไม่มีตัวตนจริงที่สามารถสัมผัสได้ แต่ผู้ใช้งานผ่าน
ระบบออนไลน์สามารถมีตัวตนอยู่ในโลกเสมือนและประกอบธุรกรรมหลายประการที่เชื่อมทั้ง โลกเสมือน
และโลกแห่งความจริง อาทิเช่น การชำระเงินเพื่อซื้อสิทธิ์ในที่ดินออนไลน์ หรือแม้กระทั่งมีค วามเป็นไปได้
ในการมีส่วนร่วมทางการเมืองออนไลน์ผ่านการพบปะกับผู้สมัครรับเลือกตั้งใน Metaverse ประเด็น
เหล่านี้ทำให้เกิดคำถามต่อการควบคุมของรัฐ เพื่อการอ้างสิทธิ์ในพื้นที่เสมือนจริงและโลกออนไลน์บน
แพลตฟอร์มต่าง ๆ
เพื่อรับมือกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ในปี ค.ศ. 2019 รัฐบาล องค์กรเอกชน และพลเมือง
ในประเทศเดนมาร์ก มีผู้เชี่ยวชาญทางด้านสิทธิและจริยธรรม กฎหมาย สังคมศาสตร์ วัฒนธรรม การเมือง
และเศรษฐกิ จ เข้ า ร่ ว มให้ ค วามเห็น ถึ ง ประเด็ น การใช้ เ ทคโนโลยีป ั ญ ญาประดิ ษ ฐ์ ใ นกรณี ต ่าง ๆ
เช่น การแก้ไขปัญหาประชาธิปไตย การสร้างความยุติธรรมของระบบตุลาการ การยินยอมการให้ข้อมูล
ผ่านระบบออนไลน์ของพลเมือง การเคลื่อนการลงทุนไปยังการลงทุนปัจจัยพื้นฐานของปัญญาประดิษฐ์ ฯลฯ
(Danish Board of Technology, 2019)
นอกเหนือจากประเด็นระหว่างปัญญาประดิษฐ์ พัฒนาการ และสิทธิมนุษยชนแล้ว ประเด็นที่เป็น
อีกข้อถกเถียงกันคือ สิทธิมนุษยชนและจริยธรรมของ “มนุษย์เครื่องจักร” (Human Cyborg) กล่าวคือ
เมื่อมนุษย์มีชิ้นส่วนของร่างกายที่มิได้เป็นชิ้นส่วนทางธรรมชาติ การปกป้องด้านสิทธิ ควรเป็นไปในทิศทางใด
ข้อถกเถียงเบื้องต้นในประเด็นนี้ คือ มนุษย์ควรมีสิทธิในร่างกายของตนเองมากหรือน้อยขนาดไหน
และการใช้ส ิท ธิของการเป็น Human Cyborg เพื่อความได้เ ปรียบในการแข่ง ขันกับ มนุษย์ท ี่ไม่ได้มี
ส่วนประกอบทางร่างกายด้วยเครื่องจักร ควรมีข้อตกลงทางด้านกฎหมายหรือสิทธิพื้นฐานอย่างไร 7

6 จากการประชุมในงาน The Seventh International Conference of American States ส่งผลให้เกิด อนุสัญญากรุงมอนเตวิเดโอว่าด้วย


สิทธิและหน้าที่ของรัฐ (Montevideo Convention on the Rights and Duties of States) ในวั น ที่ 26 ธั น วาคม ค.ศ. 1933 (The
Faculty of Law, n.d.; Heywood, 2019, p. 59) โดยอนุสัญญาฯดังกล่าว ได้ระบุถึงคุณสมบัติขั้นพื้นฐานของรัฐ ดังนี้ มาตรา 1 รัฐใน
ฐานะนิ ติ บุ คคลของกฎหมายระหว่า งประเทศจะต้ อ งมี คุ ณ สมบั ติ อั น ได้ แ ก่ ประชากรถาวร (permanent population) อาณาเขตที่
กำหนดไว้ (a defined territory) รัฐบาล (government) และการมีความสามารถในการเข้าถึงความสัมพันธ์กับรัฐ อื่น ๆ (a capacity
to enter into relations with other states)
7 สามารถอ่านบทความเรื่อง Human Cyborg 4.0 เพิ่มเติมท้ายบท
14
ประเด็นด้านสิทธิ – เสรีภาพ
พลเมืองย่อมได้รับเสรีภาพและสิทธิขั้นพื้นฐานส่วนบุคคล ทั้ง นี้ ในภาษาไทย คำว่า “สิทธิ”
และ “เสรีภาพ” มักเป็นคำที่มีการใช้คู่เคียงกันไป จนอาจทำให้เข้าใจได้ว่า “สิทธิ” และ “เสรีภาพ”
ต่ า งก็ ม ี ความหมายเหมื อนกั น อย่ า งไรก็ ตาม พงษ์ พ ิ ล ั ย วรรณราช ได้ ต ั ้ ง ข้ อ สัง เกตไว้ ว ่า “สิท ธิ”
และ “เสรีภาพ” มีความหมายที่แตกต่างกันหากพิจารณาจากนิยามความหมายที่ระบุไว้ในรัฐธรรมนูญ
(พงษ์พิลัย วรรณราช, ม.ป.ป.) จากการพิจารณาความหมายของสิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 พบว่า ตามรัฐธรรมนูญหมวดที่ 3 ว่าด้วย สิทธิและเสรีภาพของปวงชน
ชาวไทย สามารถแบ่งการใช้คำศัพท์ “สิทธิ” และ “เสรีภาพ” ออกเป็น 2 กรณีหลัก คือ
1. การเลือกใช้คำว่าสิทธิและเสรีภาพร่วมกัน เช่น ในมาตราที่ 25 ระบุว่า “สิทธิและเสรีภาพ
ของปวงชนชาวไทย นอกจากที่ บ ั ญ ญั ติ ค ุ้ ม ครองไว้เ ป็น การเฉพาะในรั ฐธรรมนูญ แล้ว
การใดที่ม ิได้ห้ามหรือ จำกัดไว้ในรัฐธรรมนูญหรือในกฎหมายอื่น บุคคลย่อมมี สิทธิและ
เสรีภาพที่จะทำการนั้นได้และได้รับความคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญ…” มาตราที่ 27 ระบุว่า
“บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมาย มี สิทธิและเสรีภาพและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย
เท่าเทียมกัน” และ มาตราที่ 28 ระบุว่า “บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย”
(รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560, 2561: 7-8)
2. การเลือกใช้คำว่า “สิทธิ” และ “เสรีภาพ” แยกออกจากกัน เช่น ในกรณีของการเลือกใช้
คำว่า “สิทธิ” ในรัฐธรรมนูญ ถูกระบุไว้ในมาตรา 32 “บุคคลย่อมมี สิทธิในความเป็ นอยู่
ส่วนตัว เกียรติยศ ชื่อเสียง และครอบครัว” มาตรา 37 “บุคคลย่อมมี สิทธิในทรัพย์สินและ
การสืบมรดก” และในกรณีของการเลือกใช้คำว่า “เสรีภาพ” ในรัฐธรรมนูญ ถูก ระบุไว้
ในมาตรา 31 “บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์ในการถือศาสนาและย่อมมีเสรีภาพในการปฏิบตั ิ
หรือประกอบพิธีกรรมตามหลักศาสนาของตน...” 8 มาตรา 34 “บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการ
แสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธอี นื่
การจำกัดเสรีภาพดังกล่าวจะทำมิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย
ที่ตราขึ้นเฉพาะเพื่อรัก ษาความมั่ นคงของรัฐ...” (รัฐธรรมนูญ แห่ง ราชอาณาจัก รไทย
พุทธศักราช 2560, 2561: 9-10)
ทั้งนี้ สิทธิ ถือเป็น “อำนาจที่ถูกรองรับโดยกฎหมาย” เช่น สิทธิคุ้มครองผู้บริโภค ในขณะที่
เสรีภาพ คือความมีอิสระในการพึงกระทำสิ่งต่าง ๆ (Stiftung Freiheit, ม.ป.ป.)

8 ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ในมาตราที่ 31 มีการใช้คำว่า “ถือศาสนา” แทนคำว่า “นับถือศาสนา”


15
สรุป
นิยามของคำว่า พลเมือง มีความหมายที่ครอบคลุมทั้งด้าน บริบททางด้านพลเมือง ในประเด็น
เรื่องสิทธิเสรีภาพส่วนบุคคล บริบททางด้านการเมือง ครอบคลุมในประเด็นของการมีส่วนร่วมทางการ
เมืองของพลเมือง บริบททางด้านสังคม ครอบคลุมในประเด็นที่กว้าง เกี่ยวข้องโดยตรงกับสิทธิในก าร
เข้าถึงสวัสดิการของภาครัฐ สิทธิในด้านเศรษฐกิจและสังคม
ในยุคสมัยนครรัฐเอเธนส์โ บราณ บุคคลที่ได้ร ับ สิท ธิให้เ ป็นพลเมือง คือ ผู้ชายชาวเอเธนส์
สิทธิของสตรีถูกจำกัด รวมไปถึงสิทธิของทาสก็ถูกจำกัดลงเช่นเดียวกัน มาถึงในยุคประชาธิปไตยสมัยใหม่
พลเมื อ งถู ก แบ่ ง ออกโดยการกำเนิ ด ตามหลั ก กฎหมายของรั ฐ ซึ ่ ง แยกออกเป็ น 2 ประการ คื อ
jus sanguinis และ jus soli โดย jus sanguinis จะเป็นการถือเอาหลัก การสืบ สายโลหิต ในขณะที่
jus soli ถือเอาหลักดินแดนเป็นสำคัญ นอกเหนือจากสิทธิที่ได้มาโดยการกำเนิดแล้ว บุคคลสามารถได้รับ
สิทธิในการเป็นพลเมืองได้โดยกระบวนการแปลง/โอนสัญชาติ ฯลฯ
ในส่วนของประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความเป็นพลเมืองในอนาคต คือการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี
อย่างรวดเร็ว ซึ่งก่อให้เกิดการตั้งคำถามว่าความหมายของการเป็นพลเมืองที่แท้จริงนั้น มีมิติที่เหนือไปจาก
การดำรงตนอยู่ในสภาวะของความเป็นพลเมืองในระดับรัฐหรือไม่ และพลเมืองในพื้นที่เสมือนจริง
ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในนิยามความหมายของพลเมืองอย่างไร

16
Human Cyborg 4.0
มนุษย์มีสิทธิในร่างกายของตนเองมากแค่ไหน คำถามนี้เป็นคำถามเชิงปรัชญา เป็นคำถามที่ซ่อน
ถึงวิธีความคิดเบื้องหลังที่ทำให้ผลของความคิดนั้นตีความออกมาผ่านกระบวนการนโยบายสาธารณะ
ของรัฐ หากเราคิดว่า เราเป็นเจ้าของร่างกายของเราแต่เพียงผู้เดียว แสดงว่าเรามีสิทธิที่จะ ใช้ร่างกาย
ของเราตราบเท่าที่เรามีความต้องการ โดยไม่ได้ไปละเมิดในสิท ธิของผู้อื่น เช่น เรามีสิทธิที่จะเจาะหู
สักตามร่างกายและใบหน้า แต่เราไม่มีสิทธิที่จะไปยืนปัสสาวะหรือขีดเขียนกำแพงในสถานที่สาธารณะหรือ
เคหสถานของผู้อื่น
ทว่า หากเราลองเพิ่มข้อคำถามที่ไปผูกกับศีลธรรมจรรยา คำตอบที่ว่าเรามีสิทธิในร่างกายของเรา
ทุกประการ อาจเริ่มมีข้อขัดแย้งมีทั้งคนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย เช่น หากว่าเราเป็นเจ้าของในร่างกาย
ของเราทุกประการ เราสามารถออกกฎหมายทำแท้งเสรี เพราะถือเป็นสิทธิของสตรีในฐานะเจ้าของ
ร่างกายในการตัดสินใจที่จ ะมีหรือไม่มีบุตร ข้อความเบื้องต้นทำให้เราพอจะเห็นได้ว่า ประเด็นในการ
ตีความสามารถถูกแบ่งออกได้เป็น
1. สตรี ผ ู ้น ั้ นเป็น เจ้า ของร่ า งกายและเป็ นผู ้ ร ับ ผิ ดชอบในการกระทำที่ เ กิ ด ขึ ้น กับ ตนเอง
ย่อมสามารถทำแท้งได้
2. สตรีผู้นั้นมิได้เป็นเจ้าของร่างกายโดยสมบูรณ์ เพราะเมื่อตั้งครรภ์ ให้ถือว่าทารกในครรภ์
มีสิทธิในการที่จะมีชีวิต เพราะร่างกายในครรภ์เป็นร่างกายของทารก มารดาย่อมไม่มีสิทธิ
ในการทำแท้ง
จะเห็นได้จ ากประเด็นเบื้อ งต้นที่คาบโยงเกี่ยวข้องกับ ศีล ธรรมว่ า รัฐแต่ล ะรัฐมี วิธีก ารคิ ด
ในประเด็นทางด้าน
สิทธิมนุษยชนที่แตกต่างกัน บางรัฐมีการผ่อนปรนให้มารดาสามารถทำแท้ง ได้ในกรณีท ี่บ ุ ตร
ในครรภ์มีความพิการ หรือกรณีมารดาอาจมีความเสี่ยงทางด้านสุขภาพและชีวิตหากยังคงอุ้ม ครรภ์ต่อไป
บางรัฐเปิดโอกาสให้ม ารดามีสิทธิในการทำแท้งเสรีได้ เพราะบุตรในครรภ์ถือเป็นสิท ธิโดยชอบของ
ผู้เป็นมารดา ในขณะที่บางรัฐห้ามมิให้มารดาทำแท้งไม่ว่าในกรณีใด ๆ สำหรับกรณีของการเปิดโอกาส
ให้มารดาทำแท้งเสรี นั่นหมายความว่า มารดามีสิทธิในร่างกายของตนเองทุกประการ ส่วนในกรณีของ
การห้ามมิให้ทำแท้ง หรือ การห้ามมิให้ทำแท้งแต่งดเว้นเฉพาะเงื่อนไขบางอย่าง ในสองกรณีนี้ แสดงว่า
มารดาไม่มีสิทธิในร่างกายของตนเองโดยสมบูรณ์ แต่สิทธิในร่างกายของมารดากลายเป็นสิท ธิ ของรัฐ
โดยชอบหรือไม่
นิยามของ cyborg แบบที่เข้าใจง่าย คือส่วนหนึ่งเป็นร่างกายมนุษย์ (part human) และอีกส่วน
เป็นเครื่อ งจัก ร/อุป กรณ์/หรือ เครื่อ งกล (part machine) (Swartz & Watermeyer, 2008, p. 189)
ดัง นั้น human cyborg คือ มนุษย์ผ ู้มีร่างกายที่ประกอบไปด้วยชิ้นส่วนของอุป กรณ์อื่นใดที่มิได้เป็น
ส่วนหนึ่งของร่างกายโดยกำเนิด มีข้อถกเถียงมากมายในประเด็นที่ว่า เราจะสามารถนับได้อย่างไรว่าอะไร
17
คือ cyborg และอะไรที่ไม่ใช่ cyborg ในบางกรณีนักวิชาการบางส่วนนับว่าผู้พิการทางสายตาที่ต้อ งใช้
ไม้เท้าเป็นอุปกรณ์ช่วยในการเดินถือเป็น cyborg ในขณะเดียวกันผู้ที่สวมแว่นตา หรือผู้พิการทางการ
ได้ยินที่ต้องใช้เครื่อ งฟัง เสียงก็สามารถถูก นับได้ว่าเป็นมนุษย์ cyborg ด้วยเช่นกัน (Bateson, 1972
as cited in Warwick, 2003, p. 131) ตัวอย่างในเบื้องต้นถือเป็นมนุษย์ cyborg ผู้มีความจำเป็นที่จะต้อง
ใช้อุปกรณ์ในการช่วยเหลือเพื่อการดำรงชีวิตประจำวัน ในขณะเดียวกัน อุปกรณ์ที่ไม่ได้มีความจำเป็น
ในการดำรงชีวิตแต่มนุษย์เลือกที่จะสวมใส่ เช่น อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่สามารถสวมใส่ได้ ผู้ที่ใช้อุปกรณ์
เหล่านี้อาจถือได้ว่าเป็นมนุษย์ cyborg ด้วยเช่นกัน (Pentland, 1998 as cited in Warwick, 2003, p.
131)
ประเด็นที่เกิดเป็นข้อถกเถียงว่าเราจะนับอย่างไรถึงความเป็นมนุษย์ในกรณีของ human cyborg
ถือเป็นข้อคำถามในประเด็นทางจริยธรรม ตัวอย่างของกรณีที่เป็นที่วิพากษ์ ได้แก่ กรณีของนักกีฬาผู้พิการ
ชาวแอฟริกาใต้ Oscar Pistorius นักกีฬากรีฑาผู้พิการทางขาผู้มีขาเทียมทั้งสองข้างทำมาจากคาร์บอน
ไฟเบอร์ กรณีขาเทียมของ Oscar ก่อให้เกิดข้อถกเถียงว่าเขาได้เปรียบในการเข้าแข่งขันกีฬามากกว่า
ผู้พิการคนอื่น ๆ หรือไม่ ที่ผ่านมา Oscar ได้ทำการแข่งขันกีฬาทั้งในระดับพาราลิมปิก และกี ฬาโอลิมปิก
และถือเป็นนักกีฬาผู้พิการทางขาโดยสมบูรณ์ทั้งสองข้างคนแรกที่ได้สิท ธิเ ข้าแข่ง ขันคัดเลือกในกี ฬา
โอลิมปิก (USA Today, 2012)
กรณี ข อง Kevin Warwick ศาสตราจารย์ ป ระจำมหาวิท ยาลั ย Reading สหราชอาณาจัก ร
ได้ทำการฝังไมโครชิปไว้ในอวัยวะของร่างกายบริเวณแขน โดยคุณสมบัติของไมโครชิปสามารถทำให้เขา
ควบคุม คอมพิวเตอร์ ทำการเปิดปิดไฟ หรือปรับเครื่องทำความร้อนจากระยะไกลได้ ( The Medical
Futurist, 22 June 2017)
ในกรณีของ Pistorius ถือ เป็นการใช้อวัยวะเทียมเพื่อช่วยเหลือในการดำรงชีวิตประจำวัน
ส่วนกรณีของ Warwick ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงตนเองให้เป็นมนุษย์ cyborg ด้วยความจงใจเพื่ออำนวย
ความสะดวกในชี ว ิต ในอนาคต หากมี ม นุ ษ ย์ ผ ู้ นิ ยมการทำให้ต นเองเป็น human cyborg มากขึ้น
ประเด็นทางด้านกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับปัญญาประดิษฐ์จ ะต้องมีข้อรองรับเพื่อลดความได้เ ปรียบ
เสียเปรียบ ไม่ว่าจะเป็นกรณีการสมัครเข้าทำงาน สมัครเรียนต่อ ไปจนถึงสิทธิในการเปลี่ยนบุตรของ
ตนเองให้กลายเป็นมนุษย์ cyborg ตามผู้ปกครอง
สรุปว่า สิทธิในการทำแท้งเป็นของใคร มารดาหรือรัฐ และใครจะเป็นผู้ได้เปรียบเสียเปรียบจาก
การกลายเป็นมนุษย์ cyborg ในอนาคต

18
การลี้ภัย: ทำไมเขาถึงเลือกที่จะหนี?
บนโลกใบนี้ยังมีผู้ที่ประสงค์จะลี้ภัยออกจากบ้านเกิดเมืองนอนของตนเองไปยังประเทศอื่น
เป็นจำนวนไม่น้อย สาเหตุของการประสงค์จะขอลี้ภัยอาจมาจากเหตุผลทางการเมือง ชาติพันธุ์ ศาสนา
เพศสภาพ ฯลฯ ในปัจจุบัน ข้อมูลจาก The United Nations High Commissioner for Refugees (UNHCR)
พบว่า ในโลกใบนี้มีบุคคลพลัดถิ่นมากถึง 70.8 ล้านคน หรือในจำนวนประชากรทุก ๆ 110 คน จะมีผู้พลัดถิ่น
1 คน โดยในจำนวนนี้แบ่งออกเป็น 41.3 ล้านคนเป็นบุคคลพลัดถิ่นในประเทศ (internally displaced
people) 25.9 ล้านคนเป็นผู้ลี้ภัย (refugee) และ 3.5 ล้านคนเป็นผู้แสวงหาที่ลี้ภัย (asylum-seeker)
(BBC News, 24 September, 2019; UNHCR, n.d. [a])
นิยามของบุคคลพลัดถิ่นในประเทศ (internally displaced people) คือ ผู้ที่ถูกบังคับให้ย้าย
ถิ่นฐานของตนเองอันเนื่องมาจากความขัดแย้งหรือการกดขี่ข่มเหง โดยลักษณะการย้ายถิ่นฐานจะเป็นการ
ย้ายถิ่นฐานภายในประเทศเดิม เช่น ย้ายถิ่นฐานข้ามจังหวัด (UNHCR Teaching About Refugees, 2017)
ผู้ลี้ภัย (refugee) คือ บุคคลผู้ที่หนีจากสภาวะสงคราม ความรุนแรง ความขัดแย้ง หรือ การกดขี่
ข่ม เหง ความแตกต่างระหว่างบุคคลพลัดถิ่นในประเทศกับผู้ลี้ภัย คือ ผู้ล ี้ภัยทำการลี้ภัยไปยังรัฐอื่น
มีการข้ามเขตดินแดนของรัฐเดิมออกไปเพื่อแสวงหาความปลอดภัย โดยในสถานะของผู้ลี้ภัยจะได้รับการ
คุ้มครองภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ (UNHCR, n.d. [b])
ผู้แสวงหาที่ลี้ภัย (asylum – seeker) คือ ผู้ที่ทำการขอลี้ภัย แต่กระบวนการขอลี้ภัยนั้นยังอยู่
ในระหว่างการพิจารณา/ยัง ไม่ได้รับการตอบรับการพิจ ารณา โดยในทุก ๆ ปีจะมีผู้คนราว 1 ล้านคน
จากทั่วโลกแสวงหาที่ลี้ภัย (UNHCR, n.d. [c])
จากตัวเลขสถิติของ UNHCR พบว่ากว่าร้อยละ 57 ของผู้ลี้ภัย มาจากสามประเทศหลัก ได้แก่
ซีเรีย (6.7 ล้านคน), อัฟกานิสถาน (2.7 ล้านคน) และเซาท์ซูดาน (2.3 ล้านคน) ในส่วนของประเทศ
ที่ให้การรองรับผู้ลี้ภัยมากที่สุด 5 ลำดับแรก ได้แก่ ตุรกี (3.7 ล้านคน), ปากีสถาน (1.4 ล้านคน), ยูกันดา
(1.2 ล้านคน), ซูดาน และเยอรมนี (ประเทศละ 1.1 ล้านคน) โดยในบรรดาจำนวนผู้ลี้ภัยทั้งหมดกว่า
ร้อยละ 80 ลี้ภัยไปยังประเทศเพื่อนบ้าน (UNHCR, n.d. [a])
ในปี ค.ศ. 2018 มีคนกว่า 35,000 คน ที่ถูกบังคับให้ต้องย้ายถิ่นฐานออกจากที่พักอาศัยของตนเอง
ในทุก ๆ วัน หากเปรียบเทียบตั้งแต่ปี ค.ศ. 1995-2015 จะพบว่า จำนวนของผูพ้ ลัดถิ่นเพิม่ มากขึ้นถึง 3 เท่า
สาเหตุที่ทำให้ผู้พลัดถิ่นมีปริมาณเพิ่มขึ้นเช่นนี้ เป็นเพราะสงครามและความขัดแย้ง ที่เห็นได้อย่างชัดเจน
คื อ สงครามกลางเมือ งของประเทศซี เ รีย ที่ ส ่ง ผลให้ต ัว เลขของผู ้ล ี ้ภ ัย เพิ ่ม สู ง ขึ้ นอย่ างมี นัยสำคัญ
(BBC News, 24 September, 2019)
ในส่วนของประเทศไทยถือว่ายัง “...มิได้เป็นภาคีสมาชิกกับอนุสัญญาว่าด้วยสถานภาพผู้ลี้ ภัย
ปี พ.ศ. 2494 และพิธีสารปี พ.ศ. 2510 อีกทั้งยังไม่มีกฎหมายที่ยอมรับการเข้ามาของผู้ขอลี้ภัย ดังนั้น
19
ผู้ลี้ภัยต้องปฏิบัติตามกฎหมายการตรวจคนเข้าเมืองดั่งเช่นชาวต่างชาติอื่น ๆ และภายใต้บริบทดังกล่าว
ผู้ลี้ภัยสามารถถูกจับกุม กักกัน และเนรเทศออกนอกประเทศได้ ” อย่างไรก็ตามประเทศไทยได้ทำการ
ให้ความช่วยเหลือผู้ลี้ภัยชาวพม่า จำนวนราว 90,000 คน โดยให้อาศัยอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยซึ่งมีอยู่ 9 แห่ง
ในประเทศ (UNHCR, n.d. [d])
ในส่วนของบุคคลสัญชาติไทย ถึงแม้ประเทศไทยไม่ได้ประสบกับปัญหาของสงครามกลางเมือง
มิได้ม ีก ารกีดกันทางด้านศาสนา เพศสภาพ และในประเด็นเหล่านี้ พลเมือ งไทยได้รับความคุ้มครอง
ผ่านรัฐธรรมนูญ ทางสิท ธิเ สรี ภาพขั้ นพื้ นฐานอยู ่แล้ว (รัฐธรรมนูญ แห่ง ราชอาณาจั ก รไทย , 2560)
อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตว่าหลังจากเหตุการณ์รัฐประหารปี 2557 ที่ผ่านมา ได้ปรากฏว่าบุคคล
สัญชาติไทยจำนวนราว 100 คน ได้ทำการขอลี้ภัยไปยังประเทศอื่น (BBC News, ม.ป.ป.) ในจำนวนนี้
ได้แบ่งผู้ลี้ภัยออกเป็นสองกลุม่ ได้แก่ ผู้ลี้ภัยในประเทศเพื่อนบ้าน เช่น กัมพูชา และ ผู้ลี้ภัยในประเทศอื่น ๆ
โดยผู้ล ี้ภัยมีท ั ้ง นั ก วิ ชาการ นัก ศึก ษา บัณฑิต นัก กิจ กรรมทางการเมือง และแม้ก ระทั่ง นัก ดนตรี
(BBC News, ม.ป.ป.)
เราหวังว่าบทความนี้จ ะทำให้ทุกท่านเข้าใจในนิยามของผู้ล ี้ภัย ผู้แสวงหาที่ลี้ภัย และบุคคล
พลัดถิ่นภายในประเทศมากยิ่งขึ้น สุดท้ายนี้เราขอเป็นส่วนหนึ่ งในการเป็นกระบอกเสียงและสนับสนุน
ให้รัฐบาลไทยทำการปกป้องชีวิตของพลเมืองไทย ไม่ว่าเขาหรือเธอจะอาศัยอยู่ในรัฐไทยหรือไม่ก็ตาม
#Saveวันเฉลิม

20
Memori สตาร์ทอัพด้านความตาย
จะเป็นอย่างไรถ้าหากความตายของเรายัง มีคุณค่าส่ง ไปถึง คนรุ่นหลัง Memori สตาร์ท อัพ
ด้านความตายจากประเทศบรูไนจะทำหน้าที่ในการเป็นผู้ดูแลและจัดการบริการหลังการขายเมื่อความตาย
มาถึงผู้ใช้บริการ
Queenie Chong ชาวบรูไนเชื้อสายจีนก่อตั้ง Memori ในปี ค.ศ. 2018 Chong เป็นผู้หญิงที่มี
ส่วนในการสนับสนุนให้วงการสตาร์ทอัพในประเทศบรูไนเติบโต โดยเธอเป็ นหนึ่งในผู้ก ่อตั้ง Startup
Brunei องค์กรที่ให้การช่วยเหลือสตาร์ทอัพผ่านระบบการให้คำปรึกษาและการอบรมความรู้ด้านการทำ
ธุรกิจ (Cordon, 2019; Startup Brunei, n.d.)9
Memori คือสตาร์ทอัพที่ต้องการเปลี่ยนแปลงแนวความคิดของคนในสัง คมเอเชียตะวันออก
เฉียงใต้ที่คิดว่า การพูดเรื่องความตายถือเป็นสิ่งต้องห้าม Memori ทำหน้าที่ในการให้คำปรึกษาและ
เตรียมความพร้อมสำหรับการตาย ผลิตภัณฑ์หลักของบริษัทในปัจจุบัน คือพินัยกรรมออนไลน์ ผู้ใช้บริการ
สามารถเขียนพินัยกรรม โดยที่ไม่ต้องมีทนายมาเกี่ยวข้องในกระบวนการ การเขียนพินัยกรรมผ่านระบบ
Memori จะเป็นการเขียนพินัยกรรมออนไลน์ แต่จะต้องมีการเซ็นรับรองพินัยกรรมเพื่ อยืนยัน ในส่วนของ
รายละเอียดของพินัยกรรม เช่น ผู้ใช้บริการมีทรัพย์สมบัติอะไรบ้าง ต้องการแบ่งมรดกของตนให้แก่ใคร
เป็นจำนวนเท่าใด ฯลฯ จะเข้าไปอยู่ในระบบออนไลน์ของบริษัท นอกจากผลิตภัณฑ์พินัยกรรมออนไลน์
แล้ว Memori ยังมีผลิตภัณฑ์ที่เรียกว่า “Vault” หรือการจัดเก็บเอกสารสำคัญอื่น ๆ นอกเหนือไปจาก
ตัวพินัยกรรม เช่น ประวัติทางการแพทย์ และผู้ใช้บริก ารสามารถทำการบันทึกข้อความเพื่อบอกลา
แก่คนรู้จัก โดยการบันทึกข้อความสามารถทำได้ทั้งในรูปแบบของเสียง ภาพ หรือ วิดีโอ (Cordon, 2019;
Memori, n.d. [a], [b])
ปัจ จุบัน Memori ได้ร ับ ทุนสนับสนุนจำนวน 100,000 เหรียญสหรัฐ และวางแผนที่จะขยาย
การให้บ ริก ารไปยังประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์ (Wong, 2018; Cordon, 2019) ในอนาคต Chong
วางแผนให้ Memori เป็นบริษัทที่ให้บริการในทุก ๆ ด้านที่เกี่ยวข้องกับความตาย เช่น บริการจัดการ
งานศพแบบครบวงจร การสั่งดอกไม้ออนไลน์เพื่อแสดงความเสียใจต่อผู้ที่จากไป ฯลฯ ข้อคำนึงในการ
ทำสตาร์ทอัพในบรูไนผ่านความคิดเห็นของ Chong คือการที่ตลาดของประเทศบรูไน มีขนาดเล็กเกินไป
การขยายฐานการให้บริก ารไปยังต่างประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ถือเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่ง
สำหรับสตาร์ทอัพในประเทศที่มีประชากรจำนวนไม่มาก ด้วยเหตุผลเดียวกัน เมื่อมีฐานการให้บริการ
ขนาดเล็ก จึง ยัง ไม่ม ีผ ู้ลงทุนในสตาร์ท อัพ บรูไนเป็นจำนวนมากนัก Chong จึง เลือกทำการระดมทุน
จากนักลงทุนหลากหลายประเทศทั้งจากประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์ 10

9 ผู ้ เขี ยนเข้ าร่ วมโครงการ YSEALI Regional Workshop ณ ประเทศอิ นโดนี เซี ยร่ วมกั บ Queenie Chong ระหว่ างวั นที ่ 24-28 มี นาคม
พ.ศ. 2562 ณ บาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ในระหว่างการเข้าร่วมกิจกรรมได้มีการสัมภาษณ์ Queenie Chong ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ Memori
10 ผู ้ เขี ย นเข้ า ร่ว มโครงการ YSEALI Regional Workshop ณ ประเทศอิ นโดนี เซี ย ร่ วมกั บ Queenie Chong ระหว่ า งวั นที ่ 24-28 มี นาคม

พ.ศ. 2562 ณ บาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ในระหว่างการเข้าร่วมกิจกรรมได้มีการสัมภาษณ์ Queenie Chong ในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ Memori


21
ในอนาคต เราอาจจะได้เ ห็ นการขยายฐานการให้ บ ริก าร Memori มายั ง ประเทศไทยและ
ความหวังของผู้ก่อตั้งบริษัทที่อยากจะทำให้เรื่องต้องห้ามในการพูดคุย กลายเป็นเรื่องธรรมดาสามัญ
อาจจะขยับเข้าใกล้ความเป็นจริงมากขึ้น

22
โลกหลังยุค 4.0
ในปัจจุบัน เรากำลังอยู่ในโลกยุค 4.0 ที่เต็มไปด้วยการพัฒนาทางเทคโนโลยี และการก้าวข้าม
ผ่านเศรษฐกิจ ที่เ น้นอุตสาหกรรมหนัก ในรูป แบบของยุค 3.0 จะเห็นได้ว่าหลัง จากยุครุ่ง เรืองของ
อุตสาหกรรมหนัก ในปี ค.ศ. 2019 บริษัทที่มีแบรนด์ที่มีมูลค่าสูงที่สุดในโลก 5 อันดับแรก ล้วนเป็นบริษัท
ทางด้านเทคโนโลยีทั้งสิ้น ได้แก่ อันดับที่ 1 Apple, อันดับที่ 2 Google, อันดับที่ 3 Microsoft, อันดับที่ 4
Amazon และอันดับที่ 5 Facebook กลายเป็นว่าแบรนด์ในบริษัทของกลุ่มอุตสาหกรรมหนักที่มีมูลค่า
สูงสุด คือ Toyota ติดอยู่ในอันดับที่ 9 (Forbes, n.d.)
คำว่าอุตสาหกรรม 4.0 มีที่มาจากประเทศเยอรมนี ซึ่งเป็นหนึ่งในนโยบายของรัฐบาลเยอรมนี
“Industrie 4.0” ที่เ กิดขึ้นในปี ค.ศ. 2014 นิยามความหมายของอุตสาหกรรม 4.0 คือ การปฏิวัติ
ทางเทคโนโลยีจากระบบสมองกลฝังตัวสู่ระบบไซเบอร์ -กายภาพ (“technological evolution from
embedded system to cyber-physical system”) ในอุตสาหกรรมแบบ 4.0 จะเห็นการเปลี่ยนผ่าน
ทางการใช้เทคโนโลยีในกระบวนการผลิต มีการใช้ประโยชน์จากอินเทอร์เน็ตแห่งสรรพสิ่ง (Internet of
Things – IOT) นอกจากนี ้ ย ั ง มี ก ารพั ฒ นาการใช้ ป ั ญ ญาประดิ ษ ฐ์ ( Artificial Intelligence – AI)
โดยในปี ค.ศ. 2018 เยอรมนีมีการประกาศยุทธศาสตร์ “AI Made in Germany” (Bundesministerium
für Bildung und Forschung (BMBF), 2018; The Federal Government, 2018 as cited in Fukuda, 2020, p. 2)
ในปี ค.ศ. 2016 รัฐบาลญี่ปุ่ นได้มีก ารประกาศนโยบาย “Society 5.0” หรือ “สัง คม 5.0”
สังคม 5.0 คือ “สังคมข้อมูลข่าวสารที่สร้างความเจริญรุ่งเรืองให้แก่สั งคมที่มีมนุษย์เป็นจุดศูนย์กลาง”
(Fukuyama, 2018, p. 47, 49) ในภาพรวม จุดมุ่งหมายของสังคม 5.0 คือ การพัฒนาคุณภาพชีวิตของ
มนุษย์ด้วยการใช้ผลิตผลจากอุตสาหกรรม 4.0 โดยอุตสาหกรรม 4.0 เป็นการมุ่งประเด็นไปที่การพัฒนา
ทางเทคโนโลยีและผลผลิตที่เกิดจากการพัฒนานั้น แต่สังคม 5.0 จะเน้นไปที่มนุษย์ (Ferreira & Serpa,
2018) โดยสภาพสังคมของ 5.0 ในแบบที่ควรจะเป็น มีลักษณะดังต่อไปนี้ (Harayama, 2017, p. 10; Costa,
2018 as cited in Ferreira & Serpa, 2018)
1. ความต้องการของมนุษย์ไม่ว่าจะเป็นในด้านการบริการหรือผลิตภัณฑ์ ได้รับการตอบสนอง
2. มนุษย์สามารถได้รับการบริการที่มีมาตรฐานขั้นสูงและใช้ชีวิตอยู่ได้อย่างสบาย
3. ปฏิวัติสังคมที่เราเคยคุ้นชิน พัฒนาคุณภาพชีวิต และการอาศัยอยู่ในชุมชนทั้งที่บา้ นและที่ทำงาน
ในอนาคต ประเทศต่า ง ๆ ย่ อ มจะมี ค วามตื่ นตั วในการพั ฒ นาและสร้า งสัง คมเพื่อรองรับ
อุตสาหกรรม 4.0 เฉกเช่นเดียวกันกับประเทศญี่ปุ่น จะเห็นได้ว่าหากนโยบายของประเทศใดที่ริเริ่มทำและ
ประสบความสำเร็จ จะส่ง ผลให้ประเทศอื่น ๆ เกิดการลอกเลียนแบบนโยบายและนำเอามาปรับใช้
กับประเทศของตนเอง ดังเช่น กรณีของประเทศไทยที่นำเอา Industrie 4.0 ของเยอรมนีแล้วมาปรับเป็น
นโยบาย Thailand 4.0 (ประเทศไทย 4.0) ถึงแม้ว่าวันนี้จะยังไม่เห็นภาพของการเปลี่ยนแปลงอันเกิด
จากนโยบายสังคม 5.0 อย่างชัดเจน เพราะยังอยู่ในระยะเริ่มต้น แต่เมื่อใดที่นโยบายมีแนวโน้มที ่จ ะ
ประสบความสำเร็จ เชื่อว่าญี่ปุ่นจะกลายเป็นต้นแบบแห่งการพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์ให้กับประเทศ
อื่น ๆ ทั่วโลก
23
คำถามท้ายบทที่ 1
1. ความสำคัญของสิทธิ์ของพลเมืองของรัฐคืออะไร อธิบาย
2. ความแตกต่างของการได้สิทธิ์ในการเป็นพลเมืองของชาวเอเธนส์แตกต่างจากพลเมืองของชาว
โรมันอย่างไร
3. ผู้แสวงหาที่ลี้ภัยและผู้ลี้ภัย มีนิยามความหมายที่แตกต่างอย่างไร
4. ความหมายของ Alien คืออะไร
5. jus sanguinis และ jus soli คืออะไรและแตกต่างกันอย่างไร

24
บทที่ 2
การสร้างความตระหนักถึงปัญหารอบตัวทั้งในระดับท้องถิ่น ประเทศ และนานาชาติ
หัวข้อ
- ปัญหารอบตัว-ปัญหาระดับท้องถิ่น
- ปัญหาระดับประเทศ
- ปัญหาระดับนานาชาติ

วัตถุประสงค์
- นักศึกษาเข้าใจและสามารถอธิบายถึงปัญหาที่เกิดจากตนเองได้ สามารถแก้ไขหรือป้องกันปัญหา
ที่เกิดจากตนเองในเบื้องต้นได้
- นักศึกษาเข้าใจและสามารถอธิบายถึงปัญหาในระดับท้องถิ่น และเรียนรู้ที่จะไม่สร้างปัญหาให้กับ
ท้องถิ่น
- นักศึกษาเข้าใจและสามารถอธิบายถึงปัญหาระดับประเทศและเรียนรู้ที่จะไม่สร้างปัญหาให้กับ
ประเทศ
- นักศึกษาเข้าใจและสามารถอธิบายถึงปัญหาระดับนานาชาติ เรียนรู้ในพหุวัฒนธรรม

เกริ่นนำ
ข้อคำถามที่สำคัญประการหนึ่งของการศึกษาเรื่องพลเมือง คือการเรียนการสอนด้านพลเมือง
มีความจำเป็นที่จ ะต้องอธิบ ายถึง ประเด็นเรื่อ ง Sustainable Development Goals (SDGs) หรือไม่
อย่างไร และประเด็นดังกล่าวมีความเกี่ยวข้องกับการศึกษาเรื่องพลเมืองอย่างไร
งานเขียนของ Chung & Park (2016) มีก ารเชื่อมโยง 3 ประเด็นหลัก เข้าไว้ด้วยกั น ได้แ ก่
การศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Education for Sustainable Development) การศึกษาพลเมืองโลก
(Global Citizenship Education) และเป้ า หมายการพั ฒ นาที ่ ย ั ่ ง ยื น (Sustainable Development
Goals) งานเขี ย นของ Leite (2021) ศึ ก ษาถึ ง การใช้ ป ระเด็ น SDGs เพื ่ อ การศึ ก ษาพลเมื อ งโลก
งานของ Brunold (2015) ศึก ษาเรื่องการศึก ษาด้านพลเมืองเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนและผลที่ตามมา
สำหรับการสอนพลเมืองเยอรมันและหลัก สูตรในระดับอุดมศึกษา ซึ่ง ประเด็นของการเรียนการสอน
สอดคล้องกับนโยบายด้านการศึกษาขององค์การสหประชาชาติ จากเอกสารวิชาการข้างต้น แสดงให้เห็น
ถึงประเด็นการเรียนการสอนที่เชื่อมโยงกันระหว่างการพัฒนาอย่างยั่งยืนและการศึกษาด้านพลเมือง
ในบทนี้เป็นเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับประเด็นด้าน SDGs โดยตรง โดยในบทความท้ายบทจะเป็น
ตัวอย่างที่เกี่ยวข้อ งกับประเด็น SDGs และการตั้งคำถามที่เกิดขึ้นต่อหลักแนวคิดการพัฒนาที่ยั่งยืน
บทความเรื่อง “ว่าด้วย Social Enterprise อยากจะเป็นกับเขาต้องสร้างรายได้” เป็นบทความที่อธิบายถึง
25
ความหมายของกิจ การเพื ่ อสั ง คม ข้ อ แตกต่ า งระหว่ า งการทำธุ ร กิ จ และการทำกิ จ การเพื ่ อสัง คม
บทความเรื่อง “#ความน่าจะเรียน ไปเรียนทำ Social Enterprise กันเถอะ” เป็นบทความต่อเนื่องจาก
บทความชิ้นแรก อธิบายถึงหลักสูตรระยะสั้นและระยะยาวที่เกี่ยวข้องกับกิจการเพื่อสังคม บทความเรื่อง
“ตู้ปันสุขกับแรงจูงใจในการบริจาค?” “Poverty, Inc. เมื่อเราถูกฆ่าด้วยความสงสาร” และ “เรายังโชค
ดีกว่าคนเป็นพันล้านบนโลก: คุณค่าของเงิน 175 บาท” เป็นบทความที่ตั้งคำถามต่อความไม่ยั่งยืนของ
โครงการที่มีเป้าหมายเพื่อลดความเหลื่อมล้ำที่ส่งผลดีในระยะสั้น แต่กลับส่งผลลบในระยะยาวและไม่มี
ความยั่งยืน ในทางตรงกันข้าม บทความเรื่อง “The People’s Supermarket” “Eatable City: เมืองกินได้”
“เรื ่ อ งราวของ Olio สตาร์ ท อั พ กู ้ โ ลกผ่ า นการกิ น ” “Green School: โลกสี เ ขี ย วในบาหลี ” และ
“Lush งามอย่างสายกรีน” อธิบายถึงการสนับสนุนประเด็น SDGs ที่มีความยั่งยืน โดย The People’s
Supermarket อธิบายถึงกระบวนการลดปัญหาอาหารที่กลายมาเป็นขยะ Eatable City เล่าถึงเรื่องราว
ของเมืองกินได้ สนับสนุนในการคงไว้ซึ่งอาหารของชุมชน ดูแลโดยคนในชุมชน เป็นแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับ
อาหาร Olio เป็นการใช้เ ทคโนโลยีให้เ กิดประโยชน์ในการสนับ สนุนการลดปริม าณอาหารเหลือทิ้ง
Green School ถือเป็นโรงเรียนตัวอย่างที่สนับสนุนการเรียนรู้ในประเด็น SDGs ด้วยการสร้างสภาวะ
แวดล้อมภายในโรงเรียนอย่างเหมาะสม และสนับสนุนการเรียนรู้ผ่านการลงมือปฏิบัติ Lush เป็นเรื่องราว
ของธุรกิจที่ไม่ใช่ธุรกิจเพื่อสังคมแต่มีเป้าหมายในการทำธุรกิจที่ก่อให้เกิดขยะในปริมาณต่ำและสรรหา
ผลิตภัณฑ์เพื่อทดแทนการใช้พลาสติก บทความเรือ่ ง “Hackathon เร็วกว่าได้พร้าเล่มงาม” อธิบายถึงการ
สรรหาวิธีแบบระดมความคิดเห็นในการแก้ไขปัญหาสังคมในระยะเวลาอันรวดเร็ว และบทความเรื่อง
“มหาวิทยาลัย จะไปทางไหนต่อ” ถือเป็นบทความที่ตั้งคำถามถึงความยั่งยืนของสสถาบันการศึกษาและ
บทบาทของมหาวิทยาลัยในอนาคต

ปัญหารอบตัว-ปัญหาระดับท้องถิ่น
การเงินส่วนบุคคล (Personal Finance)
การเรียนการสอนเรื่องการเงินส่วนบุคคลในประเทศไทย ไม่ได้ถูกคัดเลือกให้เป็นวิชาบังคับ
วิชาที่มีการเรียนการสอนที่ใกล้เคียงกับการเงินส่วนบุคคลมากที่สุดคือ วิชาเศรษฐศาสตร์ อย่างไรก็ตาม
เราจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องเรียนรู้เรื่องการเงินส่วนบุคคลในเบื้องต้น
เพราะอะไรเราถึงต้องเรียนรู้เรื่องการเงินส่วนบุคคล คำตอบก็คือ ในปี พ.ศ. 255911 ประเทศไทย
มีหนี้ครัวเรือนคิดเป็นต่อ GDP สูงถึงร้อยละ 71.2 ถือว่าเป็นประเทศที่มีหนี้ครัวเรือนสู งเป็นอันดับต้น ๆ
ของเอเชีย โดยทุก 1 ใน 3 ของคนไทยเป็นหนี้ในระบบ (Sommarat, Atchana, Krislert, & Bhumjai,
2017: 2, 5) การเรียนรู้เรื่องการเงินส่วนบุคคลจะช่วยให้เราเรียนรูถ้ ึงวิธีการจัดการเงิน การออม การลงทุน

11 ไตรมาสที่ 3 ของปี พ.ศ. 2559


26
การกระจายความเสี่ยง การที่บุคคลกลายเป็นหนี้ หากว่าหนี้นั้นเป็นหนี้เสีย ย่อมจะส่งผลกระทบในเชิงลบ
ต่อประเทศชาติ เช่น เมื่อครอบครัวเป็นหนี้ อาจก่อให้เกิดความเครียด บั่นทอนสุขภาพจิต ส่งผลลบ
ต่อประสิทธิภาพในการทำงาน ทำให้ผลงานของบริษัทหรือองค์กรถูกผลิตออกมาได้คุณภาพที่ตกต่ำลง
ปั ญ หาที่ เ กิ ดจากความเครี ย ดยั ง ส่ง ผลเสี ย ต่ อ สุ ข ภาพกาย เป็ น การเพิ ่ ม ภาระใ นการใช้ จ ่า ยไปกั บ
ค่ารักษาพยาบาล จะเห็นได้ว่าปัญหาหนึ่งอาจส่งผลกระทบนำไปสู่ปัญหาอื่น ซึ่งจะส่งผลกระทบในแง่ลบ
โดยรวมทั้งในระยะสั้นและระยะยาวได้
ในประเทศสหรัฐอเมริกา นักศึกษาแพทย์ที่ใช้วิธีก ารกู้ยืมเพื่อเป็นค่าเล่าเรียน มีหนี้เฉลี่ยเมื่อ
เรียนจบการศึกษาอยู่ที่คนละ 190,000 เหรียญสหรัฐ สิ่งที่เกิดขึ้นคือ ยิ่งนักศึกษาแพทย์มีหนี้มากเท่ าไหร่
ยิ่งมีแนวโน้มในการเข้าศึกษาแพทย์เฉพาะทางในสาขาที่ทำเงินสูงขึ้น แพทย์ที่มีหนี้มากมักจะมีคุณภาพ
ชีวิตที่ต่ำ ทำงานหนัก และมีความพึงพอใจในการแบ่งเวลาชีวิตอยู่ในระดับต่ำ (Youngclaus & Fresne,
2013; AAMC Data Book, 2016; Grayson, Newton, & Thompson, 2012; West, Shanafelt, &
Kolars, 2011 as cited in Lynch, Best, Gutierrez, & Daily, 2018: 11) จากตัวอย่างสถานการณ์หนี้
ของนักศึกษาแพทย์ในสหรัฐอเมริกา พบว่า การเป็นหนี้ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในชีวิตเป็นวงจร
ในความเป็นจริง นักศึกษาแพทย์อาจไม่ได้มีความสนใจในการศึกษาสาขาเฉพาะทางที่เรียน แต่จำเป็นต้อง
ศึกษาในสาขาดังกล่าวเพราะค่าตอบแทนที่สูง
เส้นแบ่งความยากจน หรือ Poverty Line ถูกกำหนดโดย World Bank (ธนาคารโลก) เพื่อเป็น
การวัดว่าประชากรบนโลกยัง อยู่ในสภาวะของความยากจนเป็นจำนวนประมาณเท่าไหร่ เส้นแบ่ ง
ความยากจนในปี ค.ศ. 2015 มีมูลค่าเท่ากับ 1.90 ดอลลาร์สหรัฐต่อวัน หากบุคคลใดมีรายได้น้อยกว่า
วันละ 1.90 ดอลลาร์สหรัฐ ถือว่าเป็นบุคคลยากจน เส้นแบ่งความยากจนมีการเปลี่ยนแปลงตามราคา
ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น ตั้งแต่ค่าอาหาร ค่าที่พักอาศัย ไปจนถึงค่าเสื้อผ้า ในปี ค.ศ. 2008 เส้นแบ่งความยากจน
จะอยู่ที่ 1.25 ดอลลาร์สหรัฐ พบว่าหากใช้หลักเกณฑ์เส้นแบ่งความยากจนที่ 1.90 ดอลลาร์สหรัฐ จะมีคน
ยากจนอยู่บนโลกใบนี้ประมาณ 900 ล้านคนในปี ค.ศ. 2012 (The World Bank, 2015)
ในปี พ.ศ. 2560 คนไทยจำนวนประมาณ 14 ล้านคน ได้ลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ สำหรับ
ผู้มีรายได้น้อย หรือที่เรียกแบบเข้าใจง่ายว่า ลงทะเบียนคนจน โดยมีผู้ผ่านเกณฑ์การได้รับสวัสดิก าร
จากภาครัฐจำนวนทั้งสิ้นประมาณ 11.4 ล้านคน (ไทยรัฐออนไลน์ [ก], 15 กันยายน, 2560) เกณฑ์ในการ
มีสิทธิได้รับสิทธิจากสวัสดิการแห่งรัฐเพราะเป็นคนจน พิจารณาจาก 5 ข้อ ได้แก่
1. เป็นผู้มีสัญชาติไทย
2. อายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี
3. มีรายได้ทั้งปีไม่เกิน 100,000 บาท
4. ครอบครองทรัพย์สินทางการเงินไม่เกิน 100,000 บาท

27
5. ไม่เป็นเจ้าของทรัพย์สินประเภทอสังหาริมทรัพย์ หรือ หากเป็นเจ้าของอสังหาริม ทรัพย์
จะต้องเป็นเจ้าของบ้านขนาดไม่เกิน 25 ตารางวา เจ้าของห้องชุดไม่เกิน 35 ตารางเมตร
ในกรณีที่ใช้พื้นที่ทั้งอยู่อาศัยและทำการเกษตรจะต้องมีพื้นที่ห้ามเกิน 10 ไร่ โดยพื้นที่สำหรับ
อยู่อาศัยเองมีไม่เกิน 1 ไร่ และกรณีใช้เพื่อการเกษตรจะต้องมีพื้นที่ห้ามเกิน 10 ไร่ และ
เป็นพื้นที่ที่ไม่ได้ทำการเกษตรไม่เกิน 1 ไร่ (TCIJ, 9 มีนาคม 2560)
อนึ่ง โครงการสวัสดิการแห่งรัฐ เป็นโครงการที่เริ่มมีมาตั้งแต่ พ.ศ. 2560 โดยผู้มีรายได้น้อย
จะได้รับบัตรผู้มีรายได้น้อย หรือบัตรคนจน เมื่อผ่านคุณสมบัติ บัตรเหล่านี้สามารถนำไปใช้เป็นส่วนลด
ค่าใช้จ่ายประเภทครัวเรือน ได้แก่ สิทธิในการใช้บัตรแทนเงินสดมูลค่า 300 บาททุกเดือน กรณีมีรายได้
ต่ำกว่าปีละ 30,000 บาท และ 200 บาททุกเดือนกรณีมีรายได้สูงกว่า 30,000 บาทต่อปี โดยสามารถ
ซื้อสินค้าและประเภทของสิ นค้าจากร้านธงฟ้าประชารัฐและร้านค้าตามกระทรวงพาณิชย์ก ำหนด
รวมไปถึงสิทธิในการซื้อก๊าซหุงต้ม 45 บาทในทุก 3 เดือน ตามร้ านค้าที่กำหนดโดยกระทรวงพลังงาน
และค่าใช้จ ่ายประเภทการเดินทาง ได้แก่ สิท ธิในการใช้บ ัตรคนจนแทนมูลค่า รถไฟฟ้า รถไฟ และ
รถโดยสารสาธารณะ เดือนละ 500 บาท ในแต่ละประเภท (ไทยรัฐออนไลน์ [ข], 21 กันยายน, 2560)
จากการกำหนดผู้มีรายได้น้อย หรือ คนจนของรัฐไทยในปี พ.ศ. 2560 พบว่า รัฐไทยใช้มาตรฐาน
ค่าความยากจนสูงกว่าเส้น poverty line ตามมาตรฐานสากลมาก คือ โดยเฉลี่ ยต่อวัน ผู้ที่มีรายได้ต่อปี
เท่ากับ 100,000 บาท จะมีรายรับวันละประมาณ 273 บาท ซึ่งสูงกว่าเส้น poverty line ที่ประมาณ
60 บาท ถึง 4.5 เท่า การที่มีคนเข้ามาลงทะเบียนสูงถึง 14 ล้านคนเศษ แสดงให้เห็นว่าคนไทยจำนวน
เกินกว่า ร้อยละ 20 12 เห็นว่าตนเองมีปัญหาทางการเงิน หรืออย่างน้อยยินดีที่จะได้รับการช่วยเหลือ
จากภาครัฐ
ในระยะยาว เราไม่สามารถจะบอกได้ว่า รัฐบาลไทยยังจะคงไว้ซึ่งนโยบายสวัสดิก ารแห่งรัฐ
เพื่อช่วยเหลือคนจน เพราะเมื่อเราคิดในอัตราขั้นต่ำ บุคคลจะได้รับการช่วยเหลือ จากโครงการดังกล่าว
ถึง เดือนละ 1,715 บาท คิดจากราคาค่าโดยสารรถทั้ง 3 ประเภท ประเภทละ 500 บาท รวมเป็น
1,500 บาท บวกกับค่าใช้จ่ายขั้นต่ำ 200 บาทต่อเดือน และค่าก๊าซหุงต้มที่ราคาเฉลี่ยเดือนละ 15 บาท
และหากคนจำนวน 11.4 ล้านคนที่ผ่านเกณฑ์ได้รับสิทธินี้เลือกใช้สิทธิทุกเดือน รัฐจะต้องแบกรับภาระไป
ทั้งสิ้นเดือนละประมาณ 1.9 หมื่นล้านบาทหรือปีละกว่า 2.3 แสนล้านบาท (เฉลี่ยใกล้เคียงกับงบประมาณ
ประจำปีของกระทรวงการคลังในปี พ.ศ. 2562 ที่ 2.38 แสนล้านบาท)13 แม้ในกรณีที่บุคคลทั้ง หมด
เลือกใช้สิทธิโดยสารรถเพียง 1 ประเภทที่ 500 บาท รัฐก็จะต้องแบกรับภาระถึงปีละ 9.7 หมื่นล้านบาท
โดยงบประมาณภาครัฐ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 มีมูลค่าทั้งสิ้น 3 ล้านล้านบาท ค่าใช้จ่ายมูลค่า

12คิดจากการประมาณการจำนวนประชากรไทย ในปี พ.ศ. 2561 ที่ 67 ล้านคน


13ข้อมูลเปรียบเทียบจากงบประมาณภาครัฐ ปี พ.ศ. 2562 เข้าถึงข้อมูลจาก
http://budget.parliament.go.th/bbebook62/FILEROOM/CABILIBRARY62/DRAWER01/GENERAL/DATA0000/00000501.PDF
28
2.3 แสนล้านบาท และ 9.7 หมื่นล้านบาท คิดเป็น ร้อยละ 7 และ ร้อยละ 3 ของงบประมาณภาครัฐ
ทั้งปี พ.ศ. 2562 ตามลำดับ (สำนักงบประมาณ สำนักนายกรัฐมนตรี, 2561: 77)
วิธีการที่จะสอนให้เราทำความเข้าใจเรื่องการเงินส่วนบุคคล คือ การทดลองเขียนบัญชีรายรับและ
รายจ่าย โดยกระบวนการคือ การเขียนรายจ่ายทุกวัน และเมื่อเราเห็นค่าใช้จ่ายของเราแล้ว เราจะสามารถ
จำแนกรายจ่ายออกเป็น 3 ประเภทด้วยกัน ได้แก่
1. รายจ่ายประจำ คือ รายจ่ายที่เราสามารถรู้ได้ล่วงหน้าว่าจะต้องมีการชำระเป็นรายเดือน
เช่น ค่าผ่อนรถ ค่าผ่อนบ้าน ค่าสัญญาณอินเทอร์เน็ต ค่าโทรศัพท์รายเดือน ค่าสาธารณูปโภค
พื้นฐาน ค่าประกันชีวิต ฯลฯ
2. รายจ่ายฉุกเฉิน เช่น รายจ่ายที่เกิดจากการประสบอุบัติภัย การถูกปล้น การเจ็บป่วย
3. รายจ่ายพิเศษ เช่น รายจ่ายค่าทำบุญ ค่าซองแต่งงาน ค่าซองงานศพ ค่าสังสรรค์
ทั้งนี้ ค่าใช้จ่ายที่เราสามารถคำนวณล่วงหน้าเป็นรายปีได้ง่ายที่สุด คือ รายจ่ายประจำ ดังนั้น
ควรเริ่มจากการคำนวณรายจ่ายรายปีอย่างคร่าว ๆ เพื่อเปรียบเทียบกับรายรับรายปี จากการบันทึก
รายจ่ายที่แท้จริง จะเห็นได้ว่า ในแต่ละปี มีค่าใช้จ่ายจำนวนมากที่เราไม่ได้คาดคิด ดังนั้นเราควรจะมีเงิน
เก็บส่วนหนึ่งไว้เพื่อสำรองจ่ายฉุกเฉิน ตั้งแต่ 1-6 เดือนของรายรับรายเดือนของเรา
การออมเงิน เป็นอีกภารกิจที่สำคัญ เพื่อทำให้เราบรรลุเป้าหมายในการประสบความสำเร็จ
ทางการเงิน การออมเงินนั้น ทำได้ 2 วิธีคือ
1. ใช้เงินรายรับในแต่ละเดือน เหลือเงินเท่าไหร่ แล้วค่อยออมเงิน
2. เมื่อมีรายรับเข้ามา ให้ทำการออมเงินทันที แล้วค่อยเอาเงินที่เหลือไปใช้จ่าย
นัก ศึก ษาสามารถออมเงินผ่านทั้ง 2 วิธีก าร แต่อย่างไรก็ตาม วิธีก ารที่ 2 คือ ออมเงินทันที
จะทำให้เราสามารถจัดการการเงินเราได้ดีก ว่าการออมในวิธีที่ 1 ดังนั้น วิธีการที่แนะนำให้นัก ศึก ษา
ออมเงิน คือ วิธีการออมเงินเป็นรายเดือนก่อนแล้วค่อยใช้เงินที่เหลือหลังจากการออมแล้ว โดยอาจเริ่มจาก
จำนวนเงินที่ 10 เปอร์เซ็นต์ของรายรับและเพิ่มขึ้นไปเรื่อย ๆ เมื่อมีรายรับมากขึ้น
นอกจากการออมแล้ว นักศึกษาควรเรียนรู้ในการลงทุน เพื่อเพิ่มพูนเงินออมของเราให้มมี ากขึ้น
คำถามคือ ทำไมเราต้องเรียนรู้เรื่องการลงทุน นั่นเป็นเพราะว่า หากเราเก็บเงินไว้ในธนาคาร ณ ปี พ.ศ. 2561
พบว่าอัตราดอกเบี้ยที่เราจะได้รับจากธนาคารพาณิชย์อยู่ที่ประมาณร้อยละ 0.5-1.7 (ธนาคารแห่งประเทศ
ไทย, 2561) อย่างไรก็ตาม สิ่งที่เราจะต้องคำนึงเมื่อเราฝากเงินต้นของเราไว้ในธนาคารคือ อัตราเงินเฟ้อ
ซึ่ง หมายความว่ามูลค่าของเงินของเราจะถดถอยลงไปในแต่ละปี เช่น เมื่อ 15 ปีท ี่แล้ ว เราสามารถ
ซื้อก๋วยเตี๋ยวได้ราคาชามละ 20-25 บาท แต่ในปัจจุบัน ปี พ.ศ. 2561 เราต้องซื้อก๋วยเตี๋ยวถึงชามละ
30-35 บาท ในปี ค.ศ. 2018 อัตราเงินเฟ้อของประเทศในเอเชียและแปซิฟิก อยู่ที่ ร้อยละ 3.4 ในส่วนของ
ประเทศที่ม ีอัตราเงินเฟ้อมากที่ส ุด คือ ประเทศในทวีป แอฟริก า คือ อยู่ที่ ร ้อยละ 11.8 ในขณะที่
29
อัตราเงินเฟ้อต่ำสุดเกิดขึ้นที่ทวีปยุโรป ในอัตราร้อยละ 2.1 (World Economic Outlook as cited in
International Monetary Fund (IMF), 2018) จากข้อมูลเชิงสถิติ พบว่า หากเราฝากเงินไว้ในธนาคาร
พาณิชย์ในประเทศไทย เราจะขาดทุนในทันที เพราะค่าเงินเฟ้อมีอัตราที่มากกว่าเงินฝาก นอกเหนือไปจาก
ประเด็นของเงินเฟ้อ แล้ว เรายัง จะต้อ งพิ จ ารณาถึง สภาวะทางเศรษฐกิจ ที่อาจเกิดความผันผวนได้
ตลอดเวลา เช่น ในปี ค.ศ. 2017-2018 มูลค่าของเงินสกุล Lira ซึ่งเป็นสกุลเงินของประเทศตุรกีตกลง
ไปถึงประมาณร้อยละ 50 โดยเหตุการณ์ทั้งหมดเกิดขึ้นในระยะเวลา 1 ปี เท่านั้น (Collinson & Davies,
2018) นั่นแปลว่า หากเราฝากเงินไว้ในธนาคารในประเทศตุรกีโดยไม่ได้ลงทุนอะไรเลย เงินของเราจะมี
มูลค่าลดลงไปถึงครึ่งหนึ่ง
ถ้าเช่นนั้นเราสามารถลงทุนในด้านใดบ้าง วิธีการมีหลากหลายตั้งแต่การลงทุนในตราสารหนี้
เช่น พันธบัตรรัฐบาลและหุ้นกู้ โดยการลงทุนในตราสารหนี้จะมีอัตราดอกเบี้ยและอายุของตราสารหนี้
กำหนดไว้ และสามารถซื้อขายเปลี่ยนมือได้ (ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย, ม.ป.ป.) การลงทุนใน
ตราสารทุน (หุ้น) การลงทุนในเงินสกุลดิจิทัล เช่น Bitcoin, Ethereum, การลงทุนในทองคำและแร่
ประเภทอื่น ๆ และการลงทุนในอัตราแลกเปลี่ยนค่าเงิน (Forex) โดยแต่ละการลงทุนจะมีความเสี่ยง
ที่แตกต่างกันออกไป ทั้งนี้ สิ่งที่เสี่ยงที่สุดก็คือ การที่เราไม่เสี่ยงอะไรเลย
โดยสรุปแล้ว บุคคลควรมีความรู้เบื้องต้นทางการเงิน เริ่มตั้งแต่การรับรู้ในรายรับรายจ่ายของ
ตนเอง ไปจนถึงการลงทุนเบื้องต้น นอกจากการเรียนรู้ในข้างต้นจะเป็นประโยชน์ต่อตนเองโดยตรงแล้ว
ยังเป็นประโยชน์แก่ประเทศชาติ เพราะเราไม่ต้องพึ่งพิงหรือผลักภาระของตนเองให้ไปตกอยู่กับรัฐ

ความรับผิดชอบของตนเองต่อสังคม
เมื่อ พูดถึงความรับ ผิดชอบต่อสังคม เรามักนึก ถึงความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจ
หรือที่มีชื่อเรียกเป็นทางการว่า ความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ (Corporate Social Responsibility:
CSR) โดยความหมายของ CSR คือ “การประกอบกิจการ ด้วยความดูแลใส่ใจต่อผู้มีส่วนได้เสีย เศรษฐกิจ
สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างมีคุณธรรมจริยธรรมและจรรยาบรรณ ตลอดจนมีธรรมาภิบาลเป็นเครือ่ งกำกับ
ให้การดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ เป็นไปด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต โปร่งใสและยุติธรรม...” (คณะกรรมการ
กลุ่ม ความร่วมมือ ทางวิชาการเพื่อ พัฒนามาตรฐานการเรียนการสอนและการวิจ ัยด้านบริหารธุรกิจ
แห่งประเทศไทย, 2555: 11)
อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่เพียงแต่องค์กรธุรกิจที่จะต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคม เราในฐานะบุคคล
ต่างก็มีส่วนในการสร้างความรับผิดชอบต่อสังคมเช่นเดียวกัน ทั้งนี้ ความรับผิดชอบของตนเองต่อสังคม

30
หมายความถึง “การดำรงชีวิต โดยเอาใจใส่ต่อบุคคลที่เราปฏิสัมพันธ์ทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยการ
ดำรงชีวิตประจำวันจะต้องคำนึงถึงผลทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมที่ อาจเกิดขึ้นจากตัวเรา”14
ในประเด็นความรับผิดชอบของตนเองต่อสังคม จะยกตัว อย่างกรณีศึกษาที่เ กิดขึ้นในระดับ
มหาวิทยาลัย เพื่อให้นักศึก ษาได้เ ข้าใจถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการกระทำของเรา กรณีศึก ษา
ตัวอย่าง ได้แก่ การบริโ ภคแอลกอฮอล์ การเคารพกฎจราจร การจัดการกับขยะและผลกระทบที่มี
ต่อสิ่งแวดล้อม
การบริโ ภคแอลกอฮอล์ จากผลการประมาณการเชิงสถิติของ World Health Organization
ในปี ค.ศ. 2016 พบว่า ประชากรไทยผู้มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป บริโภคแอลกอฮอล์เฉลี่ยคนละ 8.3 ลิตรต่อปี
ถือว่าเป็นสถิติที่สูงเป็นอันดับที่ 2 ของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยคนไทยนิยมบริโภคเหล้าสูงสุด
ตามมาด้วยเบียร์ และไวน์ ตามลำดับ สำหรับประเทศที่บ ริโ ภคแอลกอฮอล์เป็น อันดับ 1 ของเอเชีย
ตะวันออกเฉียงใต้ คือ ลาว ประชากรลาวบริโภคแอลกอฮอล์เฉลี่ยคนละ 10.4 ลิตรต่อปี ในขณะที่ประเทศ
ที่ม ีอัตราการบริโภคแอลกอฮอล์ต่ำ เป็นประเทศที่ป ระกอบไปด้วยประชากรที่นับถือศาสนาอิสลาม
เป็นหลัก ได้แก่ บรูไน (0.4 ลิตรต่อปี) อินโดนีเซีย (0.8 ลิตรต่อปี) และมาเลเซีย (0.9 ลิตรต่อปี) (World
Health Organization, 2018) ตัวเลขการบริโ ภคแอลกอฮอล์ท ี่ยกตัวอย่างมา ถึง แม้จ ะถูก แบ่ง ออก
อย่างชัดเจน ว่าผลทางการนับถือศาสนา (อิสลาม) ส่งผลอย่างชัดเจนต่อพฤติกรรมการบริโภคแอลกอฮอล์
อย่างไรก็ตาม ตัวเลขการบริโภคแอลกอฮอล์ของประชากรสิงคโปร์ ถือว่าต่ำกว่าประเทศไทยมากกว่า 4
เท่า คือ อยู่ที่เพียง 2 ลิตรต่อคนต่อปี นั่นแสดงว่าเราสามารถควบคุมการดื่มแอลกอฮอล์ได้ ในส่วนของ
ภาครัฐ สามารถขึ้นภาษีแอลกอฮอล์เพื่อให้ปริมาณการบริโภคแอลกอฮอล์ลดลง
คำถามคือ รัฐไทยไม่ได้มี การจัดการกับปัญหาพฤติกรรมการบริโภคแอลกอฮอล์ของคนไทย
จริงหรือ ความจริงคือ บริษัทที่ขายแอลกอฮอล์ในประเทศไทย ไม่สามารถจดทะเบียนบริษัทเพื่อระดมทุน
จากประชาชนในตลาดหุ้นได้ อย่างไรก็ตามบริษัทมหาชนสามารถไประดมทุนยังตลาดหุ้นในต่างประเทศ
เช่น ประเทศสิงคโปร์ จากพระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 พบว่า มีข้อจำกัด
เกิดขึ้นมากมายภายใต้พ ระราชบัญ ญั ติน ี้ท ี่จ ะช่ วยให้ก ารเข้ าถึง แอลกอฮอล์เ ป็นไปได้ย ากขึ้น เช่น
ห้ามร้านค้าขายแอลกอฮอล์แก่บุคคลที่อายุต่ำกว่า 20 ปี ห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ผ่านเครื่องขาย
อัตโนมัติ ห้ามขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในบริเวณสถานที่ปฏิบัติศาสนกิจ สถานศึกษา สถานที่ราชการ
สวนสาธารณะ (พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551, 2551) นอกจากนี้ยังห้ามมิให้
มีก ารโฆษณาขายแอลกอฮอล์ท างตรง และจำกัดอายุผู้มีสิท ธิบริโ ภคแอลกอฮอล์ที่ตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป
อย่างไรก็ตาม สิ่งที่รัฐไทยควรจะปรับปรุงเพิ่มเติมในประเด็นที่เกี่ยวกับแอลกอฮอล์คือ ภาษีแอลกอฮอล์
และการจัดระเบียบพื้นที่ ก ารขายแอลกอฮอล์ (Treerutkuarkul, 2017) จากข้อมูล ที่เ กี่ย วข้อ งกั บ

14ใช้คำนิยามของ CSR จาก คณะกรรมการกลุ่มความร่วมมือทางวิชาการเพื่อพัฒนามาตรฐานการเรียนการสอนและการวิจัยด้านบริหารธุรกิจ


แห่งประเทศไทย, 2555 มาปรับใช้ให้เข้ากับบริบทของความรับผิดชอบของตนเองต่อสังคม
31
ทางกฎหมาย พบว่า รัฐไทยได้มีการจัดการและตั้งข้อกำหนดกฎเกณฑ์กับการขายแอลกอฮอล์ในเบื้องต้น
นั่นแสดงว่า ปัญหาของการบริโภคแอลกอฮอล์ ส่วนหนึ่งย่อมต้องเกิดจาก พฤติกรรมส่วนบุคคล
โฆษณา “จน เครียด กินเหล้า” ในปี พ.ศ. 2548 โดยสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริม
สุขภาพ (สสส.) (หนังสือพิมพ์บ้านเมือง, ม.ป.ป. อ้างถึงใน สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริม
สุขภาพ (สสส.), 2555) ถือเป็นโฆษณารณรงค์ให้ประชาชนงดการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ท่ปี ระสบ
ความสำเร็จ ในด้านการประชาสัมพันธ์เ ป็นอย่างยิ่ง อย่างไรก็ตาม ภาพลัก ษณ์ท ี่ สสส. พยายามสื่อ
ในโฆษณานี้ คือ ผู้บริโภคแอลกอฮอล์เป็นคนยากจน คำถาม คือ ผู้บริโภคแอลกอฮอล์ มักปรากฏอยู่ในหมู่
ของคนยากจนจริงหรือไม่15
จากผลการวิจ ั ย ที่ ไ ด้ จ ั ดทำขึ้ น เพื ่อ สำรวจพฤติก รรมการบริ โ ภคแอลกอฮอล์ ข องนัก ศึก ษา
มหาวิทยาลัยเปิดจำนวน 87,151 ราย ที่มีอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป พบว่าร้อยละ 65 ของนักศึกษาบริโภค
แอลกอฮอล์เป็นประจำ นักศึกษาเพียงร้อยละ 26 ที่ไม่บริโภคแอลกอฮอล์ โดยผู้หญิงบริโภคแอลกอฮอล์
เป็นจำนวนน้อยกว่าผู้ชายอย่างมีนัยสำคัญ (Wakabayashi et al., 2015) จากข้อมูลเชิงสถิติ จะพบว่า
แม้ก ระทั่งบุคคลผู้ม ีก ารศึกษาในระดับอุดมศึกษา ยัง มีพฤติกรรมการบริโภคแอลกอฮอล์เป็นประจำ
มากกว่าผู้ไม่บริโภคแอลกอฮอล์ถึง 2.5 เท่า
ข้อเสียของการบริโภคแอลกอฮอล์ โดยปราศจากความรับผิดชอบ ได้แก่ กรณีของการเมาแล้วขับ
ในช่วงเทศกาลปีใหม่ พ.ศ. 2561 มีคดีที่เกิดขึ้นจากการเมาแล้วขับมากถึง 6,030 คดี (กรมคุมประพฤติ
อ้างถึงใน ไทยรัฐออนไลน์, 8 มกราคม 2561)
ในประเด็นของการบริโ ภคแอลกอฮอล์ ไม่ได้ม ีก ารห้ามนัก ศึก ษาไม่ให้บ ริโ ภคแอลกอฮอล์
อย่างสิ้นเชิง อย่างไรก็ตาม เราควรเรียนรู้ที่จะเป็นผู้บริโภคที่มีความรับผิดชอบต่อตนเอง เช่น ไม่เสพติด
การบริโภคแอลกอฮอล์จนอาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้อื่น เช่น กรณีของการเมาแล้วขับ การก่อเหตุทะเลาะ
วิวาท ทำร้ายร่างกาย เป็นต้น
การเคารพกฎจราจร ถือเป็นความรับผิดชอบส่วนบุคคล ที่ส่งผลกระทบต่อผู้ที่เกี่ยวข้อ งกั บ
การจราจรส่วนรวม ตั้ง แต่ ผู้เ ดินบนทางเท้า ผู้ใช้ร ถยนต์ส ่วนบุคคล -รถบริการสาธารณะ ตลอดจน
เจ้าหน้าที่ที่มีส่วนเกี่ยวข้องในงานด้านจราจร
คนไทยเคารพกฎเกณฑ์การจราจรมากเพียงใด จากสถิติที่ปรากฏในปี ค.ศ. 2015 พบว่า คนไทย
มีอัตราการสวมหมวกนิรภัยในช่วงเวลาขับขี่จักรยานยนต์ต่ำเป็นลำดับที่ 6 จาก 7 ประเทศอาเซียน
ที่ส ามารถเก็บ ข้อมูลได้ (ไทย, เวียดนาม, กัม พูชา, มาเลเซีย, อินโดนีเ ซีย , ฟิล ิป ปินส์ และเมียนมา)
คือ มีผ ู้ส วมใส่ห มวกนิรภัยเพียงร้อ ยละ 52 ในกรณีของคนขับ และเพียงร้อยละ 20 ของคนโดยสาร
15 สำนั ก งานกองทุ น สนั บ สนุ นการสร้า งเสริ ม สุ ขภาพ ได้ จ ั ด ทำโฆษณาเพื ่อ รณรงค์ ใ ห้ป ระชาชนงดการบริ โ ภคเครื ่ อ งดื ่ มแอลกอฮอล์
เป็นจำนวนมาก โดยไม่ได้เสนอเพียงแต่ผู้บริโภคที่ยากจนเพียงด้านเดียว สามารถเข้าถึงโฆษณาได้ที่
https://www.youtube.com/watch?v=wYyGNtePSDI
32
โดยประเทศที่มีสถิติในการสวมหมวกนิรภัยที่ดีที่สุด คือ ประเทศมาเลเซีย คือ คนขับร้อยละ 97 และ
ผู้โดยสารร้อยละ 89 ที่สวมหมวกนิรภัย (World Health Organization, 2016: 61)

รูปภาพที่ 1 (ภาพซ้าย): รูปภาพของรถจักรยานยนต์ที่จอดบนทางเดินเท้าทั้ง ๆ ที่มีข้อความห้ามจอด และจะมีการปรับเป็น เงินสูง สุดไม่เ กิน


5,000 บาทตามกฎหมาย, ผู้เขียนถ่ายภาพนี้ที่อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. 2561 ; รูปภาพที่ 2 (ภาพขวา): รูปภาพของรถจักรยานยนต์
ที่จอดรถในบริเวณพื้นที่จอดรถสำหรับคนพิการ (แต่คนขับไม่ได้มีความพิการทางร่างกายแต่อย่างใด) , ผู้เขียนถ่ายภาพนี้ที่อำเภอเมือง
จังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ. 2561

สำหรับสถิติของอุบัติเหตุการจราจรในประเทศไทย พบว่าในช่วงปี พ.ศ. 2550-2555 (ค.ศ. 2007-


2012) จำนวนอุบัติเหตุมีอัตราที่ลดลงในทุกปี ดังจะเห็นได้จากแผนภาพตารางที่ 1
ปี (ค.ศ.) จำนวนอุบัติเหตุ (คน) จำนวนผู้บาดเจ็บ (คน) จำนวนผู้เสียชีวิต (คน)
2007 101,752 142,738 12,492
2008 88,721 146,955 11,561
2009 84,806 113,048 10,717
2010 74,379 113,862 10,742
2011 68,269 104,725 9,910*
2012 61,197 110,777 8,746*
ตารางที่ 1: สถิติของอุบัติเหตุการจราจรในประเทศไทย ปี ค.ศ. 2007-2012
ที่มา: Royal Thai Police, 2012 as cited in World Health Organization, 2016
*ตัวเลขผู้เสียชีวิตไม่ตรงกันกับข้อมูลจากสำนักข่าวอิศรา, 31 ธันวาคม, 2560 เพราะในตารางนี้เป็นข้อมูลจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติเพียง
อย่างเดียว

33
แต่ถ้ามาดูสถิติของการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจรตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554-2559 (ค.ศ. 2011-2016)
พบว่าตัวเลขคลาดเคลื่อนจากข้อมูลที่ได้มาจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติถึง เกือบ 2.4 เท่าในปี พ.ศ. 2554
และ 2.6 เท่าในปี พ.ศ. 2555 ดังตารางภาพที่ 2

ปี (พ.ศ.) จำนวนผู้เสียชีวิต (คน)


2554 23,390*
2555 22,841*
2556 22,438
2557 21,429
2558 19,479
2559 22,356
ตารางที่ 2: สถิติของการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจรตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 – 2559
ที่มา: สำนักข่าวอิศรา, 31 ธันวาคม, 2560
* ในตารางข้อมูลนี้เป็นข้อมูลที่รวบรวมมาจาก 3 แหล่งข้อมูลได้แก่ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ข้อมูลใบมรณบัตร และบริษัทกลาง
คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ

และด้วยสถิติในตารางภาพที่ 2 พบว่า จากสถิตินี้ ส่งผลให้ประเทศไทยได้กลายเป็นประเทศ


ที่มีอัตราผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุการจราจรเป็นอันดับที่ 1 ของโลก และสูญเสียมูลค่าทางเศรษฐกิจมากกว่า
5 แสนล้านบาทจากอุบัติเหตุ (สำนักข่าวอิศรา, 31 ธันวาคม 2560)
ในปี ค.ศ. 2013 สาเหตุ ส ่ ว นใหญ่ ข องอุ บ ั ต ิ เ หตุ ใ นประเทศไทยเกิ ด มาจากการขั บ รถเร็ว
ร้อยละ 12.6, การเปลี่ยนเลนกะทันหัน ร้อยละ 12.2, การขับรถในระยะกระชั้นชิดกับรถคันหน้าเกินไป
ร้อยละ 9.6 และอุบ ัติเ หตุจ ากการเมาแล้วขับ ร้อยละ 6.9 นอกจากนี้ ในช่วงปี ค.ศ. 2006-2013
สาเหตุหลักของการเกิดอุบัติเหตุมาจากผูใ้ ช้ถนนเองถึงร้อยละ 63.9 (Royal Thai Police, 2013 as cited
in World Health Organization, 2016: 10-11) ทั้งนี้ ประเทศไทยมีจำนวนรถที่จดทะเบียนกับกรมขนส่ง
ทางบกสูงถึงกว่า 38 ล้านคัน โดยเป็นรถจักรยานยนต์ 20.5 ล้านคัน รถยนต์ส่วนบุคคล 9.2 ล้านคัน
และรถประจำทาง 1.4 แสนคัน (กรมการขนส่งทางบก, 2561)16 ซึ่งเมื่อนับว่าประชากรไทยมีจำนวน
67 ล้านคน แสดงว่าในทุก ๆ 1.7 คน จะมีคนที่ครอบครองรถ 1 คัน
จากข้ อ มู ล เชิ ง สถิ ต ิ แสดงให้ เ ห็ นว่ า คนใช้ ถ นนในประเทศไทยส่ว นหนึ ่ง ยั ง คงขับ รถด้วย
ความประมาท ไม่ เ คารพในกฎหมายและกฎจราจร ขั บ รถโดยไม่ ค ำนึ ง ถึ ง ผู ้ ใ ช้ ถ นนร่ ว ม นั ่ น คื อ

16 ข้อมูลวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2561


34
การขาดความรับผิดชอบต่อส่วนรวม ทั้งนี้ เมื่อเราใช้คำว่า คนใช้ถนนในประเทศไทยส่วนหนึ่ง แต่ส่วนหนึ่ง
ที่ได้กล่าวถึง กลับส่งผลให้อุบัติเหตุบนท้องถนนเกิดขึ้นในประเทศไทยมากที่สุดในโลก

ทั้งนี้เมื่อนักศึกษาได้ทราบถึงสถิติการเกิดอุบัติเหตุในประเทศไทยแล้ว นักศึกษาควรเรียนรู้ที่จะ
เคารพกฎจราจร ขับขี่ยานพาหนะด้วยความปลอดภัย และคำนึงถึงผู้ร่วมใช้ท้องถนนรายอื่น ๆ
การจัดการกับขยะและผลกระทบที่มีต่อสิ่งแวดล้อม ปัญหาอีกประการหนึ่งทีเ่ กี่ยวข้องกับตนเอง
แต่ส ่ง ผลกระทบต่อ การจัดการในระดับ ท้องถิ่นและประเทศชาติ คือ ปัญ หาขยะและผลกระทบต่อ
สิ่งแวดล้อม จากสถิติโดยการเก็บข้อมูลจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พบว่า ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556-2559
ปริมาณขยะที่เกิดขึ้นในประเทศไทยมีปริม าณเพิ่ ม ขึ้นทุกปี โดยตัวเลขตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 เป็นต้นมา
ขยะเกิดขึ้นถึงปีละมากกว่า 26 ล้านต้น และในปี พ.ศ. 2559 ตัวเลขเพิ่มสูงขึ้นเป็น 27 ล้านตัน โดยเฉลี่ยแล้ว
ประชากร 1 คนจะสามารถสร้างขยะได้สูงถึง 1.14 กิโลกรัมต่อวัน โดยมีขยะที่ถูก นำมาใช้ประโยชน์ได้
เพียงร้อยละ 21 และขยะได้ถูกกำจัดอย่างถูกต้อง ร้อยละ 35 (สำนักจัดการกากของเสียและสารอันตราย
กรมควบคุมมลพิษ, 2560: 4)

ขยะคือสิ่งของที่บุคคลไม่ต้องการใช้ ไม่เห็นประโยชน์ หรือคุณค่า ขยะจึงถือเป็นส่วนเกินสำหรับ


บุคคลนั้น ๆ ขยะบางประเภท ใช้ระยะเวลายาวนานในการย่อยสลาย เช่น พลาสติก ใช้เวลาในการย่อย
สลายยาวนานถึง 450 ปี กระป๋องอะลูมิเนียม ใช้ระยะเวลาในการย่อยสลายนานถึง 80-100 ปี แม้กระทั่ง
รองเท้าหนังยังต้องใช้ระยะเวลาที่ยาวนานถึง 25-40 ปีในการย่อยสลาย (กรมควบคุมมลพิษ, ม.ป.ป.)

วิ ธ ี ก ารลดขยะและกำจั ด ขยะอย่ า งถู ก วิ ธ ี ตามนิ ย ามของกรมควบคุ ม มลพิ ษ (ม.ป.ป.)


สามารถกระทำโดยวิธีการ 7 R ได้แก่
- Refuse – การปฏิเสธไม่ใช้สิ่งของที่จะก่อให้เกิดมลพิษ หรือสิ่งของที่ย่อยสลายได้ยาก เช่น
การปฏิเสธการใช้กล่องโฟม
- Refill – การเลือกใช้สินค้าที่สามารถเติมได้ เช่น แทนที่จะซื้อขวดสบู่ทุกครั้ง เราสามารถ
ซื้อ เฉพาะน้ำสบู่ที่ม ีขายเป็นถุงแทนการซื้อขวดใหม่ ในปัจ จุบัน มีร ้านรับเติม สบู่ แชมพู
โดยผู้ใช้บริการสามารถนำเอาภาชนะของตนเองมาเติมผลิตภัณฑ์เหล่านี้ได้ที่ร้าน ในกรณี
ของประเทศไทยมีร้าน Refill Station ที่ให้บริการเติมผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย ตั้งอยู่บริเวณ
BTS อ่อนนุช กรุงเทพฯ
- Return – คืนผลิตภัณฑ์ ได้แก่ การคืนขวดน้ำอัดลม ขวดเบียร์
- Repair – แทนที่จะซื้อสินค้าใหม่ เราสามารถส่งสินค้าซ่อมได้ เช่น รองเท้า เครื่องใช้ไฟฟ้า
ปัญหาหนึ่งที่เกิดขึ้น คือ การรับประกันผลิตภัณฑ์สินค้าในปัจจุบันมักมีอายุที่สนั้ เช่น ระยะเวลา
ในการครอบคลุมประกัน 1 ปี ทำให้ผู้บริโภคเลือกที่จะซื้อสินค้าใหม่ทดแทนการซ่อม
- Reuse – การใช้ซ้ำ เช่น เมื่อกระปุกใส่แยมหมดลง แทนที่เราจะทิ้งขวดแยม เราสามารถ
นำขวดแยมไปล้างและใช้ประโยชน์ เช่น เป็นที่เก็บน้ำมันเหลือใช้
35
- Recycle – การรีไซเคิล จะเกิดขึ้นเมื่อ เราเห็นว่าสิ่งของนั้นไม่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่เราแล้ว
จำเป็นที่จะต้องทิ้ง การรีไซเคิลที่ ถูกต้อง คือ การแยกขยะที่จะทิ้งออกเป็นประเภท เช่น
ขยะอันตราย ขยะเปียก ขยะแห้ง ออกจากกัน
- Reduce – การลดการใช้ขยะด้วยการลดการบริโภค ซึ่งจะส่งผลให้เราสร้างขยะน้อยลง
อนึ่ง ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีการปล่อยขยะพลาสติกลงไปในท้องทะเลมากที่สุดเป็นลำดับที่ 5
ขอ ง โ ล ก ( Ocean Conservancy & McKinsey Center for Business and Environment, 2017)
ดังนั้น ประเด็นการจัดการขยะถือเป็นประเด็นเร่งด่วนที่ประเทศไทยทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และบุคคล
ควรตระหนักในปัญหาและแก้ไขปัญหาร่วมกัน ทั้งนี้สถิติการใช้ถุงพลาสติกของคนไทยต่อวันสูงถึง 8 ใบ
(Styllis, 2018) วิธีการในการบังคับลดการใช้พลาสติก คือ การคิดราคาถุงพลาสติกต่อใบ หรือ งดการแจก
ถุงพลาสติกแก่ลูกค้า อย่างไรก็ตาม บุคคลควรมีจิตสำนึกในการลดการใช้ถุงพลาสติก และไม่ใช้ถุงพลาสติก
ประเภท ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง แต่ควรมีการนำกลับมาใช้ซ้ำ

ปัญหาระดับประเทศ
ในแต่ละประเทศ ต่างมีปัญหามากมายหลายประการที่ต้องได้รับการแก้ไข ทั้งประเด็นที่เร่งด่วน
และประเด็นที่ไม่เร่งด่วน ประเด็นที่ส่งผลกระทบต่อคนจำนวนมาก ประเด็นที่ส่งผลกระทบต่อคนจำนวนน้อย
การจัดเรียงลำดับความสำคัญของปัญหาระดับประเทศนั้นเป็นหน้าที่ที่สำคัญของภาครัฐ ในบทนี้จะขอ
ยกตัวอย่างปัญหาที่ประเทศไทยกำลังเผชิญ 2 ปัญหาด้วยกัน คือ สังคมผู้สูงอายุ และ การทุจริตคอร์รัปชัน
สังคมผู้สูงอายุ
สถิติผ ู้ส ูง อายุในประเทศไทยปี พ.ศ. 2560 อยู่ท ี่ร ้อยละ 15 ของจำนวนประชากรทั้ง หมด
(กรมกิจการผู้สูงอายุ, 2560) ซึ่งถือว่าประเทศไทยได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุเป็นที่เรียบร้อย โดยนิยามของคำ
ว่ า สั ง คมผู ้ส ู ง อายุ (Aging Society) คื อ สั ง คมที่ ม ี ป ระชากรอายุ 60 ปี ข ึ ้ น ไปมากกว่ า ร้อ ยละ 10
หรือ ประชากรที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป มากกว่าร้อยละ 7 ของจำนวนประชากรทั้งประเทศ สังคมผู้สูงอายุ
โดยสมบูรณ์ (Aged Society) คือ สังคมที่มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 20 หรือ ประชากร
ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 14 ของจำนวนประชากรทั้งประเทศ และสังคมผู้สูงอายุระดับสุดยอด
Super-Aged Society คือสังคมที่มีประชากรผู้มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 20 ของจำนวน
ประชากรทั้งประเทศ (ชมพูนุท พรหมภักดิ์, 2556: 1, 3)
สัง คม Aging Society ในปัจจุบันมีอยู่ในร้อยละ 60 ของประเทศทั่วโลก (O’Connor, 2014)
มีสังคมที่อยู่ในระดับ Super-Aged Society แล้วถึง 3 ประเทศ ได้แก่ ญี่ปุ่น เยอรมนี และอิตาลี และในปี
ค.ศ. 2020 จะมีสังคม Super-Aged Society เพิ่มเป็น 13 ประเทศ และ 34 ประเทศ ในปี ค.ศ. 2030
(O’Connor, 2014) ในปี ค.ศ. 2017 มีผู้สูงอายุประมาณ 962 ล้านคนทั่วโลก หรือ ร้อยละ 13 ของประชากร
โลก (United Nations, Department of Economic and Social Affairs, Population Division, 2017)

36
จะเห็นได้ว่าสังคมผู้สูงอายุไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในประเทศไทย แต่ เ กิดขึ้นกับประเทศทั่วโลก
โดยเฉพาะในยุโ รปและเอเชียที่ม ีฐานเศรษฐกิจ ดี การเกิดขึ้นของสัง คมผู้ส ูง อายุย่อมส่ง ผลกระทบ
ต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ประการหนึ่งเป็นเพราะไม่ได้มี การคาดหวังว่าผู้สูงอายุ ต้องทำงานหรือ
สามารถมีส่วนในการเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจมากได้เทียบเท่ากับสมัยยังเป็นประชากรในวัยทำงาน
นอกจากประเด็นทางด้านเศรษฐกิจ ประเด็นทางด้านสังคม เช่น การดูแลผู้สูงอายุ สวัสดิการเพื่อผู้สูงอายุ
ถือเป็นประเด็นที่ท ั้ง ภาครัฐจะต้อ งทำการพิจารณา เพื่อให้ป ระชากรโดยรวมยัง ได้รับสวัส ดิก ารที่ดี
โดยไม่กระทบต่อระบบเศรษฐกิจเกินจำเป็น
ประเทศไทยยังจะต้องมีการจัดระบบเพื่อเตรียมตัวดูแลประชากรผู้สูงอายุ ที่ผ่านมา รัฐให้ สิทธิ
และสวัสดิการให้แก่สูงอายุในเบื้องต้น ได้แก่
ประเภทของสิทธิ สิทธิและสวัสดิการ
1. การแพทย์และสาธารณสุข - จัดช่องทางพิเศษเพื่อผู้สูงอายุโดยเฉพาะ เพื่อการรับบริการ
ที่รวดเร็ว
2. การศึกษา ศาสนา ข้อมูล - สิทธิในการเรียนรู้ในศูนย์การเรียนรู้ชุมชน หลักสูตรการศึกษา
ที่จัดทำเพื่อผู้สูงอายุ
3. การประกอบอาชีพ – การฝึกอาชีพ - ให้คำปรึกษาและจัดทำข้อมูลเกี่ยวกับงานเพื่อผู้สูงอายุ
โดยเฉพาะ
4. การพัฒนาตน การมีส่วนร่วมในสังคม - สนับสนุนชมรมผู้สูงอายุ กิจกรรมสันทนาการ กิจกรรม
ภูมิปัญญาท้องถิ่น
5. อำนวยความสะดวกในความปลอดภัย - จัดสภาพแวดล้อม บริการพาหนะแก่ผู้สูงอายุ
6. ลดหย่อนค่าโดยสาร - ได้รับสิทธิจ่ายเพียงครึ่งราคาจากการเดินทางด้วยกิจการขนส่ง
ของภาครัฐ เช่น รถไฟฟ้าใต้ดิน (MRT) แอร์พอร์ต เรล ลิงค์
(ARL) รถโดยสารประจำทาง ขสมก. เรือด่วน ฯลฯ
7. ยกเว้นค่าชมสถานที่ของรัฐ - สิทธิเข้าชมพิพิธภัณฑ์ อุทยาน และอื่น ๆ โดยไม่ต้องเสีย
ค่าใช้จ่าย
8. ช่วยเหลือผู้สูงอายุที่ได้รับอันตราย - ให้การช่วยเหลือผู้สูงอายุจากการถูกทารุณกรรม แสวงหา
ประโยชน์ ถูกทอดทิ้ง โดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและ
ความมั่นคงของมนุษย์
9. การให้คำแนะนำทางคดี - ให้การช่วยเหลือผู้สูงอายุจากการถูกทารุณกรรม แสวงหา
ประโยชน์ ถูกทอดทิ้งโดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและ
ความมั่นคงของมนุษย์

37
ประเภทของสิทธิ สิทธิและสวัสดิการ
10. ช่วยเหลือด้านที่พักอาศัย เครื่องนุ่งห่ม - มีกระบวนการจัดที่พักอาศัย อาหาร เครื่องนุ่งห่มให้ผู้สูงอายุ
โดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
11. เบี้ยยังชีพ - ให้เบี้ยยังชีพแก่ผู้สูงอายุที่ไม่ได้รับสิทธิอื่นใดจากภาครัฐ
เป็นประจำ
- อายุ 60 – 69 ปี ได้รับเบี้ยเลี้ยงเดือนละ 600 บาท
- อายุ 70 – 79 ปี ได้รับเบี้ยเลี้ยงเดือนละ 700 บาท
- อายุ 80 – 89 ปี ได้รับเบี้ยเลี้ยงเดือนละ 800 บาท
- อายุ 90 ปีขึ้นไป ได้รับเบี้ยเลี้ยงเดือนละ 1,000 บาท
ตารางที่ 3: ประเภทของสิทธิและสวัสดิการของผู้สูงอายุ
ข้อมูลจาก: กรมกิจการผู้สูงอายุ, ม.ป.ป.

จะเห็นได้ว่าสิทธิที่ประชาชนไทยผู้สูงอายุจะได้รับเป็นเบี้ยยังชีพ สูงสุดเพียงเดือนละ 1,000 บาท


หรือวันละ 33 บาท ซึ่งต่ำกว่าเส้นแบ่งความยากจน ในกรณีของผู้เกษียณอายุซึ่งเป็นข้าราชการ พนักงาน
องค์กรเอกชน หรือผู้ที่เราเรียกว่าเป็นแรงงานในระบบ ยังมีสิทธิที่จะได้รั บสวัส ดิการและสิท ธิต ามที่
ต้นสังกัดที่ทำงานมอบให้ แต่ปัญหาประการหนึ่งของประเทศไทยคือ จำนวนแรงงานนอกระบบมีจำนวน
มากกว่าแรงงานในระบบ ซึ่งหมายความว่า ประชากรแรงงานนอกระบบอาจไม่ได้มีหลักประกันทางด้าน
การเงินหลังการเกษียณ โดยตัวเลขของแรงงานนอกระบบในปี พ.ศ. 2560 อยู่ที่ 20.8 ล้านคน (ร้อยละ 55)
ในขณะที่แรงงานในระบบมีจำนวนทั้งสิ้น 16.9 ล้านคน (ร้อยละ 44.8) เท่ากับว่าแรงงานไทยทั้งในและ
นอกระบบมีจำนวนรวมกันทั้งสิ้น 37.7 ล้านคนจากจำนวนประชากรประมาณ 67 ล้านคน แรงงาน
นอกระบบส่วนใหญ่ม ีก ารศึก ษาในระดับประถมศึกษาหรือ ต่ำกว่าถึง ร้อยละ 60.5 ในขณะที่แรงงาน
นอกระบบมีการศึกษาถึงขั้นอุดมศึกษาเพียง ร้อยละ 9.5 หรือ 2 ล้านคน (สำนักงานสถิติแห่งชาติ, 2560)
จากสถิติของแรงงานในระบบ-นอกระบบ จะทำให้เราเห็นภาพของคุณภาพชีวิตหลังวัยเกษียณ
ของผู้สูงอายุ ที่ส่วนใหญ่แล้วจะต้องพึ่ง พิงตนเองและภาครัฐในการให้การช่วยเหลือ ทั้งนี้ นอกเหนือ
จากการพิจารณาด้านสิทธิและสวัสดิการการให้ความช่วยเหลือแก่ผสู้ ูงอายุจากภาครัฐแล้ว ความพร้อมของ
การรองรับผู้สูงอายุในด้านอื่น เช่น การแพทย์ , จำนวนเตียงคนไข้, จำนวนแพทย์ พยาบาล และบุคลากร
ทางการแพทย์ รวมทั้งสถานที่พักอาศัยที่เหมาะสมแก่ผู้สูงอายุ ถือเป็นประเด็นที่จะต้องนำมาพิจารณา
เป็นยุท ธศาสตร์ของการเจริญเติบ โตของรัฐ จำนวนบุคลากรทางการแพทย์ ได้แก่ แพทย์ พยาบาล
ทันตแพทย์ เภสัชกร ภายใต้ส ัง กัดกระทรวงสาธารณสุข มีจ ำนวนรวมกันทั้งหมดเพียง 120 ,821 คน
โดยจัง หวัดที่มี ส ถิติจำนวนแพทย์ต่อ ประชากรต่ำที่สุด คือ จัง หวัดบึงกาฬ มีจ ำนวนแพทย์ 1 คนต่อ
ประชากร 5,906 คน ในขณะที่สถิติที่ดีที่สุด คือ กรุงเทพฯ มีจำนวนแพทย์ 1 คนต่อประชากร 716 คน
(กระทรวงสาธารณสุข , 2558 อ้างถึง ใน สำนัก งานพัฒ นาระบบข้อมูล ข่าวสารสุขภาพ, 2560: 100)
ในส่วนของจำนวนเตียงต่อประชากร มีเตียงในโรงพยาบาลภาครัฐทั้งสิ้น 134,453 เตียง หรือ 1 เตียง

38
สำหรับคนไข้ทุก ๆ 465 คน (กระทรวงสาธารณสุข , ม.ป.ป. อ้างถึงในกระทรวงการพัฒนาสัง คมและ
ความมั่นคงของมนุษย์, ม.ป.ป.) สำหรับประเด็นบ้านพักผู้สูงอายุ ในปัจจุบัน บ้านพักผู้สูงอายุท่ใี ห้บริการ
โดยรัฐไม่เ พียงพอต่อ ความต้อ งการของผู้สูง อายุ ดัง จะเห็นได้จ ากข่าวที่ปรากฏว่าต้องมีก ารจองคิว
เพื่อรอเข้าบ้านพักผู้สูงอายุเป็นจำนวนมาก (มติชนออนไลน์, 1 กุมภาพันธ์ 2561) ในส่วนของภาคเอกชน
มีธุรกิจที่เกิดขึ้นเพื่อการดูแลผู้สูงอายุโดยภาคเอกชนประมาณ 800 ราย (TCIJ, 12 พฤศจิกายน, 2560)
ซึ่ง ในอนาคตธุรกิจเพื่อผู้สูงอายุยังสามารถเติบโตอีก ได้มาก เพื่อรองรับ การเปลี่ยนแปลงของสภาพ
ทางสังคมที่มีอัตราการเกิดต่ำลง และมีอัตราการมีชีวิตที่ยืนยาวขึ้น
จะเห็นได้ว่า ความพร้อ มของภาครัฐในการจัดการเพื่อผู้ส ูง อายุ ยัง จะต้องมีก ารปรับ ปรุง
ในหลายด้าน ทั้งด้านสวัสดิการที่ผู้สูงอายุควรได้รับตามความเหมาะสมแก่การดำรงชีวิตหลังการเกษียณ
การเพิ่ม การผลิตบุคลากรทางการแพทย์ การกระจายบุคลากรทางการแพทย์ในประเทศไทยเพื่อลด
ความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงบริการทางการแพทย์ ทั้งนี้ จะเห็นได้ว่า หากประชากรมีวินัยทางการเงิน
มีการเก็บออมเงิน-ลงทุนทางการเงิน จะช่วยลดภาระของรัฐไปได้ในจำนวนหนึ่ง นอกจากนี้ การเพิ่มขึ้น
ของจำนวนผู้สูงอายุในแต่ละปี ส่งผลให้ธุรกิจเพื่อผู้สูงอายุสามารถเติบโตได้อีกมาก

การทุจริต-คอร์รัปชัน
การทุจริตและคอร์รัปชัน ถือเป็นปัญหาระดับชาติของประเทศไทย ตามคำนิยามของสำนักงาน
ราชบัณฑิตยสภา (2555) คำว่า “ทุจริต” หมายถึง “ประพฤติชั่ว ประพฤติไม่ดี ไม่ซื่อตรง โกง คดโกง
ฉ้อโกง โดยใช้อุบายหรือเล่ห์เหลี่ยมหลอกลวงเพื่อให้ได้สิ่งที่ต้องการ” (บทวิทยุรายการ รู้ รัก ภาษาไทย,
2555 อ้างถึงใน สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, 2555) ส่วนนิยามของคำว่า “คอร์รัปชัน” ตามคำนิยามของ
Merriam-Webster คือ “ความไม่ซื่อสัตย์ หรือ การกระทำผิดกฎหมาย โดยเฉพาะการกระทำที่เกิดจาก
ผู้ม ีอำนาจ ได้แก่ ข้าราชการ” (Merriam-Webster n.d.) ทั้ง นี้ การรับ สินบนถือเป็นการคอร์รัปชัน
เมื่อเราเปรียบเทียบในนิยามของทุจริตและคอร์ร ัป ชัน พบว่า ทุจริตเป็นคำที่ใช้สำหรับบุคคลทั่วไป
ที่ประพฤติมิชอบ แต่การใช้คำว่าคอร์รัปชันมักหมายถึงการกระทำผิดในฐานะของผู้ทำงานที่อยู่ในภาครัฐ
ในเบื้องต้น การคอร์รัปชัน ถือเป็นปัญหาภายในประเทศที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่อเศรษฐกิ จ
ในประเทศ เคนยา และ ซาอีร์ การคอร์รัปชันคิดเป็นมูลค่ามหาศาลเมื่อเปรียบเทียบกับ Gross National
Product (GNP) หรือ ผลิตภัณฑ์ ป ระชาชาติ ม วลรวมของประเทศ (Shleifer & Vishny, 1993: 599)
นั ก วิ ช าการบางส่ ว นมองว่ าการคอร์ ร ั ป ชัน ยั ง คงมี ผ ลดี อยู ่บ ้ าง นั ่ น คื อ การขยายตัว ทางเศรษฐกิ จ
เหตุผลเพราะ การที่เจ้าพนักงานรับเงินสินบนมาจากบุคคลหนึ่ง จะส่งผลให้บุคคลผู้นั้น ได้รับบริการ
ที่รวดเร็วยิ่งขึ้น คือ ลัดข้ามขั้นตอนของระบบราชการที่อาจมีความล่าช้า ประการถัดมา เจ้าพนักงานรัฐเอง
เมื่อได้รับสินบนมาจะทำงานหนัก ขึ้น โดยเฉพาะกรณีของการได้ร ับสินบนในแต่ล ะชิ้นงาน ยิ่งทำงาน
เสร็จสิ้นมากขึ้นยิ่งจะมีรายรับจากสินบนเพิ่มขึ้น (Leff, 1964; Huntington, 1968 as cited in Mauro,
1995: 681) อย่างไรก็ตาม Shleifer & Vishny, 1993 มองว่าการคอร์รัปชันส่งผลกระทบเชิงลบโดยตรง
39
ต่อพัฒนาการทางเศรษฐกิจ (Shleifer & Vishny, 1993 as cited in Mauro, 1995: 682) การคอร์รัปชัน
ส่ง ผลกระทบต่อรายรับ ของภาครัฐ (Shleifer & Vishny 1993; Hindriks, Keen, and Muthoo 1999
as cited in Gupta, Davoodi, and Tiongson, 2001: 111) คือ แทนที่ภาครัฐจะได้รับรายได้โ ดยตรง
กลายเป็นรายได้ส่วนหนึ่งถูกใช้ไปกับสินบน การคอร์รัปชันส่งผลต่อการลดลงของการลงทุนในทรัพยากรมนุษย์
(Ehrlich and Lui 1999 as cited in Gupta, Davoodi, and Tiongson, 2001: 111) และอันที่จริงแล้ว
การคอร์รัปชันส่งผลต่อผลการดำเนินงานของภาครัฐและการบริการในเชิงลบ (Bearse, Glomm, and
Janeba 2000 as cited in Gupta, Davoodi, and Tiongson, 2001: 111)
สิ่งที่น่าสนใจอีกประการที่เกี่ยวกับการคอร์รัปชัน คือ รัฐบาลที่คอร์รัปชันและไม่มีความมั่นคง
มีการใช้จ่ายงบประมาณภาครัฐในประเด็นการศึกษาน้อยกว่ารัฐบาลที่มีความมั่นคงและไม่ คอร์ร ัป ชัน
(Mauro, 1995: 706) และยิ่ง มีก ารรับรู้ว่ามี คอร์รัปชัน มากเท่าไหร่ ยิ่ง มีผลเชิงลบต่อการลงทุนและ
เศรษฐกิจของประเทศมากยิ่งขึ้น (Mauro, 1995; World Bank as cited in Treisman, 2000) จากการศึกษา
เปรียบเทียบระหว่างประเทศในประเด็นเรื่องการรับสินบน พบว่า หากประเทศใดที่มีระบบการตรวจสอบ
ข้าราชการอย่างกวดขันเข้มแข็ง เช่น Komitet Gosudarstvennoy Bezopasnosti (KGB) ในสหภาพ
โซเวียต การรับสินบนโดยที่ไม่มใี ครสามารถจับผิดได้ มีโอกาสเกิดขึ้นได้ยาก นอกจากนี้หากในประเทศนั้น ๆ
มีผู้นำเป็นจำนวนน้อย พฤติกรรมเบี่ยงเบนของผู้รับสินบนมักถูกจับได้ เช่นเดียวกับการที่อยู่ในสังคมที่
ไม่มีความหลากหลายและมีความใกล้ชิดกัน เช่น ในประเทศเอเชียตะวันออก พฤติกรรมเบี่ยงเบนที่ส่อเค้า
ว่าบุคคลผู้นั้นรับสินบนย่อมจะเป็นที่รับทราบในหมู่เพื่อนฝูงและเครือญาติ จนในที่สุด เรื่องราวของบุคคล
ผู้นั้นจะถูกตีแผ่ออกไปในวงกว้าง (Shleifer & Vishny, 1993)
คำถามที่ว่า ลักษณะการปกครอง – ศาสนา – กายภาพ แบบใดที่ทำให้ประเทศมีการคอร์รัปชัน
มากหรือน้อย เป็นที่น่าสนใจศึกษาสำหรับนักวิชาการ โดยเฉพาะการศึกษาในเชิงเปรียบเทียบ ในกรณี
ของสหราชอาณาจักรและบรรดาอดีตเมื องขึ้น พบว่า ประชากรภายใต้ร่ มเงาของอังกฤษ คุ้นชินกับการ
ถูกบังคับใช้กฎหมายอย่างเท่าเทียมกัน ความเข้มแข็งของวัฒ นธรรมการใช้ก ฎหมายนี้ส่งผลให้บ ุค คล
ไม่กระทำการคอร์รัปชัน หรืออย่างน้อย มองว่าการกระทำผิดกฎหมายเป็นเรื่องที่ไม่สมควร ซึ่งวัฒนธรรม
เหล่านี้เป็นผลทีไ่ ด้รับมาโดยตรงจากการเป็นประเทศอาณานิคม ประการถัดมาที่มีผลต่อการคอร์รัปชัน คือ
การนับถือศาสนาคริส ต์นิกายโปรแตสแตนต์ ในสังคมที่มีปริม าณประชากรนับ ถือโปรแตสแตนต์ม าก
ส่งผลดีต่อการที่รัฐ จะมีอัตราการคอร์รัปชันที่ต่ำ ในประเด็นของการ ครอบครองทรัพยากรทางธรรมชาติ
ประเทศที่มีทรัพยากรทางธรรมชาติมาก เช่น น้ำมัน โลหะ มีแนวโน้มที่จะมีอัตราการคอร์รัปชันมากกว่า
ประเทศที่มีทรัพยากรทางธรรมชาติที่น้อยกว่า ประเทศที่มีการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่ดีมีแนวโน้มที่จะมี
การคอร์รัปชันน้อยกว่าประเทศที่ยากจน การพัฒนาทางเศรษฐกิจลดการคอร์รัปชัน ประเทศที่ใช้ระบอบ
สหพันธรัฐมีแนวโน้มที่จะมีการคอร์รัป ชันมากกว่า และประเทศที่มีประชาธิปไตยที่มั่นคง คือตั้งแต่ ปี
ค.ศ. 1950 เป็นต้นมา มีการคอร์รัปชันน้อยกว่าประเทศที่มีลักษณะไปในทางตรงข้าม (Treisman, 2000)

40
ถ้าเรานำเอาผลการวิจ ัยของ Triesman (2000) มาเปรียบเทียบกับ บริบ ทของประเทศไทย
เราจะพบว่าประเทศไทยไม่ได้มีก ารปกครองแบบสหพันธรัฐ ไม่ได้มีทรัพยากรที่ม ีค่ามาก เช่น น้ำมัน
ทองคำ และอื่น ๆ แต่ในข้อที่เหลือ ถือเป็นข้อเสียเปรียบของไทย เช่น ความเป็นประชาธิปไตยที่มั่นคง
การนับถือคริสต์โปรแตสแตนต์ และวัฒนธรรมภายในอาณานิคม ดังนั้น แปลว่า ประเทศไทยมีแนวโน้ม
ที่จะเป็นประเทศที่มีการคอร์รัปชันมากกว่าไม่มีหรือไม่
จาก Corruption Perceptions Index 2021 พบว่าประเทศที่มีอัตราการคอร์รัปชันมาก ได้แก่
ประเทศในทวีปเอเชีย ทวีปแอฟริกา และละตินอเมริกา โดย Corruption Perceptions Index จะมีการ
ให้คะแนนในแต่ล ะประเทศ สำหรับ ประเทศที่ม ีคะแนนสูง แสดงว่ามีอัตราการเกิด คอร์ร ัป ชัน น้ อ ย
ยิ่งตัวเลขสูง ถือว่ายิ่งดี โดยในปี ค.ศ. 2017 ประเทศที่มีคะแนนสูงที่สุด 5 ลำดับแรก ได้แก่ นิวซีแลนด์
(88 คะแนน), เดนมาร์ก (88 คะแนน), ฟินแลนด์ (88 คะแนน), นอร์เ วย์ (85 คะแนน), สิง คโปร์ (85
คะแนน) และสวีเดน (85 คะแนน) สำหรับประเทศที่มีคะแนนต่ำสุด 5 ลำดับแรก ได้แก่ เซาท์ซูดาน (11
คะแนน), ซีเรีย (13 คะแนน), โซมาเลีย (13 คะแนน), เวเนซูเอลา (14 คะแนน), เยเมน (16 คะแนน),
เกาหลีเหนือ (16 คะแนน) และอัฟกานิสถาน (16 คะแนน) ในส่วนของประเทศไทย ได้คะแนน 35/100
คะแนน อยู่ในลำดับที่ 110 จาก 180 ประเทศ (Transparency International, 2022)
การดำเนินการในการลดการคอร์รัปชัน ถึงแม้จะมีกระบวนการใช้วิธีการทางกฎหมายเพื่อยุติ
การคอร์รัปชัน พบว่า ยังคงมีปัจจัยอื่น ๆ ที่จะช่วยลดการคอร์รัปชัน จาก Transparency International
(2016) พบว่า มี 5 กระบวนการในการลดอัตราการคอร์รัปชัน ได้แก่
- การหยุด การไม่ ต้ องรั บ โทษ (End impunity) ในกรณี นี ้ห มายถึง การบัง คั บ ใช้ก ฎหมาย
เพื่อมิให้ผู้กระทำผิดไม่ต้องรับโทษ
- ปฏิร ูป ระบบราชการและการจัดการด้านการเงิน (Reform public administration and
finance management) ความหมายในกรณีนี้หมายถึง การพัฒนาการจัดการด้านการเงิน
และพัฒนาความเข้มแข็งของฝ่ายตรวจสอบภายใน
- สนั บ สนุ น ความโปร่ ง ใสและการเข้ า ถึ ง ข้ อ มู ล (Promote transparency and access
information) รัฐที่ประสบความสำเร็จในการลดอัตราการคอร์ร ัป ชัน มัก มีก ารสนับสนุน
การเปิดเผยการทำงานของภาครัฐ เปิดเสรีภาพให้แก่สื่อและการเข้าถึงข้อมูล
- ให้อำนาจแก่ประชาชน (Empower citizens) การให้อำนาจแก่ประชาชนในการตรวจสอบ
การทำงานของภาครัฐจะก่อให้เกิดผลเชิงบวกอย่างยั่งยืนต่อการสร้างความไว้วางใจร่วมกัน
ระหว่างภาครัฐและประชาชน ตัวอย่างของการตรวจสอบโดยภาคประชาชนได้ม ีส่ว นช่วย
แบ่งเบาภาระของภาครัฐในกระบวนการทำงาน เช่น การตรวจสอบการกระทำความผิดในช่วง
การเลือกตั้งโดยประชาชน

41
- ปิดช่องโหว่ในระดับนานาชาติ (Close international loopholes) การอุดช่องโหว่ในระดับ
นานาชาติ จะส่ง ผลให้ผู้กระทำการคอร์รัป ชันไม่สามารถเคลื่อนย้ายหรือทำการฟอกเงิน
ยังต่างประเทศ อันจะเป็นช่องโหว่ในการติดตามการเคลื่อนไหวทางการเงิน
จากการเรียนรู้เรื่องการคอร์รัปชันในเบื้องต้น คำถามคือ นโยบายสามารถถูกคอร์รัปชันได้หรือไม่
และกลายเป็นนโยบายที่เอื้อประโยชน์ต่อพวกพ้องหรือไม่ คำถามในประเด็นนี้เป็นสิ่งที่นักศึกษาควรจะ
นำไปคิดและพิจารณาถึงผลกระทบของนโยบายที่ผ่านมาของรัฐบาลไทยที่มีผลโดยตรงต่อตัวนักศึกษาและ
สังคมรอบข้าง

ปัญหาระดับนานาชาติ

ในปี ค.ศ. 2015 องค์ก ารสหประชาชาติ (United Nations – UN) ได้ตั้ง เป้าหมายที่เรียกว่า
Sustainable Development Goals (SDGs) หรือ เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 17 ประการ17
ได้แก่
1. No Poverty – ไม่มีความยากจน
2. Zero Hunger – ไม่มีความหิวโหย
3. Good Health and Well-being – การมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี
4. Quality Education – คุณภาพการศึกษา
5. Gender Equality – ความเท่าเทียมกันทางเพศ
6. Clean Water and Sanitation – น้ำดื่มสะอาดและสุขอนามัย
7. Affordable and Clean Energy – พลังงานสะอาดในราคาที่เอื้อมถึงได้
8. Decent Work and Economic Growth – งานที่เหมาะสมและการเติบโตทางเศรษฐกิจ
9. Industry, Innovation, and Infrastructure – อุ ต สาหกรรม นวั ต กรรม และโครงสร้าง
พื้นฐาน
10. Reduced Inequalities – ลดความไม่เท่าเทียมกัน
11. Sustainable Cities and Communities – เมืองและสังคมยั่งยืน
12. Responsible Consumption and Production – การบริโภคและการผลิตอย่างมีความ
รับผิดชอบ
13. Climate Action – การเคลื่อนไหวในประเด็นที่เกี่ยวกับภูมิอากาศ
14. Life Below Water – ชีวิตใต้ผืนน้ำ
15. Life On Land – ชีวิตบนผืนดิน

17 เข้าถึงข้อมูลจาก UN ประเทศไทย https://www.un.or.th/globalgoals/th/the-goals/


42
16. Peace, Justice and Strong Institutions – ความสงบสุข และความยุติธรรม รวมไปถึง
องค์กรเข้มแข็ง
17. Partnerships for the Goals – สร้างความร่วมเมื่อเพื่อบรรลุเป้าหมาย (UN ประเทศไทย,
ม.ป.ป.[ก])
เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ถือเป็นเป้าหมายที่องค์การสหประชาชาติตั้งไว้จนถึง ปี ค.ศ. 2030
โดยเป็นเป้าหมายที่มีอายุ 15 ปี นับตั้งแต่ปี ค.ศ. 2015 เป็นต้นมา
ประเด็นที่หนึ่ง No Poverty-การขจัดปัญหาความยากจน องค์การสหประชาชาติเล็งเห็นว่า
การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศขนาดใหญ่ เช่น จีนและอินเดียส่งผลให้ประชากรก้าวข้ามผ่าน
ความยากจน (UN ประเทศไทย, ม.ป.ป.[ข]) โดยนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1980 เป็นต้นมา ประชากรจีนกว่า
800 ล้านคน ได้หลุดพ้นออกจากความยากจน และนับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1990 เป็นต้นมา มีประชากรกว่า
1.1 พันล้านคนที่หลุดพ้นจากสภาวะความยากจน ในปัจ จุบัน ประชากรในประเทศเอเชียตะวันออก
เพียงร้อยละ 9 ยังอยู่ในสภาวะความยากจน (Sanchez, 2017) อย่างไรก็ตาม ความเหลื่อมล้ำยังคงมีอยู่
ในสังคม ปัญหาของการได้รับเงินบำนาญหลังเกษียณอายุ ปัญหาของการได้รับการช่วยเหลือจากภาครัฐ
ของคนพิก ารและผู้ว่างงาน รวมไปถึง การได้ร ับ สิท ธิของมารดาหลัง การคลอดบุตรยังคงเป็นปัญหา
ที่ก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำกันในสัง คม ปัญหาอีกประการหนึ่งที่องค์ก ารสหประชาชาติ ให้ความใส่ ใจ
คือ ปัญหาที่เกิดจากภัยพิบัติ ซึ่งจะส่งผลกระทบทางเศรษฐกิจให้แก่รัฐ โดยเฉพาะผลกระทบที่เกิดขึ้น
กับประเทศที่มีรายได้ประชากรปานกลาง-ต่ำ และประเทศที่มีรายได้ประชากรต่ำ (United Nations,
2017: 2-3)
ประเด็ น ที ่ส อง Zero Hunger – การขจั ด ปั ญ หาความหิ ว โหย ช่ ว งปี ค.ศ. 2000-2002
ประมาณการว่ามีประชากรที่ขาดสารอาหารอยู่ถึง 930 ล้านคน หรือ ร้อยละ 15 ของประชากรโลก
ในทศวรรษถัดมาช่วงปี ค.ศ. 2014-2016 พบว่า ประชากรที่ขาดสารอาหารมีปริมาณที่ลดลงแต่ถือว่า
ยังมีประชากรที่ขาดสารอาหารอยู่เป็นจำนวนมาก คือ 793 ล้านคน หรือ ร้อยละ 11 ของประชากรโลก
วิธีการแก้ไขคือ การเพิ่มการลงทุนและการให้การช่วยเหลือทางด้านการเงินเพื่อส่งเสริมการเพิ่มปริมาณ
ของผลิตผลด้านการเกษตร (United Nations, 2017: 3-4)
ถึงแม้ว่าในปัจจุบันจะยังมีประชากรจำนวนมากที่อยู่ในสภาวะการขาดแคลนอาหาร แต่ปัญหา
อีก ส่วนหนึ่งที่เ กิดขึ้น คือ ปัญ หา Food Waste หรือ ปัญ หาอาหารเหลือทิ้ง หมายถึง อาหารที่ไม่ได้
ถูกบริโภคและส่งผลให้เกิดความสูญเปล่าจากกระบวนการผลิต ประมาณการว่ามี Food Waste เกิดขึ้นถึง
1 ใน 3 ของอาหารที่ถูก ผลิตขึ้นมา (Food and Agriculture Organization of the United Nations

43
(FAO), n.d.) ดังนั้น ในขณะที่ประชากรจำนวนหนึ่งประสบกับสภาวะการขาดสารอาหาร แต่ในขณะเดียวกัน
ก็ยังมีอาหารเหลือที่ไม่ได้ถูกบริโภคในปริมาณมาก18
ประเด็ น ที ่ ส าม Good Health and Well-being – การมี ส ุ ข ภาพและความเป็ น อยู ่ที่ดี
เป้าหมายขององค์การสหประชาชาติคือ การลดอัตราการเสียชีวิตของเด็กแรกเกิดจนถึงอายุต่ำกว่า 5 ปี
การลดอัตราการเสียชีวิตของมารดาระหว่างคลอดบุตร ป้องกันการท้องโดยไม่พร้อมและการท้อง
ในวัยเยาว์ ลดอัตราการติดเชื้อเอชไอวี วัณโรค มาลาเรีย และตับอักเสบ นอกจากนี้ยังมีประเด็นของการ
ติดเชื้อจากน้ำสกปรก การขาดสุขอนามัยที่ดีที่องค์การสหประชาชาติต้องการให้มกี ารแก้ไขไปในทางทีด่ ขี นึ้
(United Nations, 2017: 4-6)
ประเด็นที่สี่ Quality Education – ด้านคุณภาพการศึกษา เป้าหมายคือ การให้ประชากรมี
โอกาสในการเข้าถึงการศึกษา ได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพ และส่งเสริมโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต
สำหรับ ประชากรทุก คน พบว่ า การเข้ าถึง และการได้ร ับ โอกาสทางการศึ ก ษาในปี ค.ศ. 2014 ใน
ระดับประถมศึกษาสูงถึงร้อยละ 91 และลดลงไปในลำดับขั้นการศึกษาที่สูงขึ้น ได้แก่ ร้อยละ 84 ได้รับ
โอกาสในการเข้าศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และร้อยละ 63 สำหรับมัธยมศึกษาตอนปลาย ประมาณ
การว่ามีเด็กและเยาวชนกว่า 263 ล้านคนที่ไม่ได้เข้าสู่ระบบการศึกษา (United Nations, 2017: 7)
นอกเหนือไปจากประเด็นการเข้าถึงโอกาสในการได้รับการศึกษาแล้ว คุณภาพการศึกษาควรได้รับ
การพัฒนาขึ้น ผลจากการทดสอบความรู้ด้านคณิตศาสตร์และการอ่านของนักเรียนในแอฟริกาและอเมริกาใต้
พบว่า มีนักเรียนที่มผี ลการทดสอบต่ำกว่ามาตรฐานทีค่ วรจะเป็น ปัญหาด้านความเหลือ่ มล้ำทางสถานะทาง
เศรษฐกิจส่งผลอย่างชัดเจนต่อผลการศึกษา กล่าวคือ นักเรียนที่มาจากครอบครัวที่มีฐานะทางเศรษฐกิจ
ดีกว่าจะมีผลการเรียนรู้อยู่ในระดับที่ดีกว่านักเรียนที่มีฐานะยากจน นอกจากนี้ ผลการศึกษาของนักเรียน
ในเมืองจะมีผลการศึกษาที่ดีกว่านักเรียนที่อาศัยอยู่ในชนบท และนอกจากการพัฒนาในส่วนของนักเรียน
ครูก็สมควรได้รับโอกาสในการเข้าอบรมเพื่อเพิ่มพูนความรู้และอุปกรณ์การศึกษารวมไปถึงสภาพของ
โรงเรียนควรได้รับการพัฒนาให้อยู่ในระดับที่ได้มาตรฐาน เพราะสิ่ งอำนวยความสะดวกเหล่านี้ส่งผลต่อ
คุณภาพการศึกษาโดยรวม (United Nations, 2017: 7)19
ประเด็นที่ห้า Gender Equality – ความเท่าเทียมกันทางเพศ ในประเด็นนี้ พบว่าสตรีและ
เด็กหญิงยังคงได้รับโอกาสและสิทธิขั้นพื้นฐานในระดับที่ไม่เท่าเทียมกับเพศชาย ความพยายามในการ
ได้มาซึ่งความเท่าเทียมกัน ส่วนหนึ่งจะต้องมาจากการสร้างกฎหมายที่สนับสนุนในสิทธิของสตรี (United
Nations, 2017: 8)

18
กรณีของการแก้ไขปัญหาในประเด็นของการขาดแคลนอาหาร และการลดปัญหา food waste สามารถอ่านบทความเพิ่มเติ ม เรื่อ ง
Eatable City: เมืองกินได้/เรื่องราวของ Olio สตาร์ทอัพกู้โลกผ่านการกิน ในบทความท้ายบทที่ 2
19
นอกจากประเด็นการขาดแคลนโอกาสทางการศึกษา ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยยังได้รับผลกระทบที่ส่งผลให้เกิดการขาดแคลนนั กศึก ษาและ
ไม่สามารถสร้างรายได้เพียงพอที่จะดูแลกิจการการศึกษาในระยะยาว สามารถอ่านบทความเพิ่มเติมเรื่อง มหาวิทยาลัย จะไปทางไหนต่ อ ?
ในบทความท้ายบทที่ 2
44
ปัญหาที่เกิดขึ้นกับสตรีและเด็กหญิง ได้แก่ การแต่งงานในวัยเด็ก การถูกล่วงละเมิดทางเพศและ
การใช้ความรุนแรง การขลิบอวัยวะเพศหญิง ปัญหาของการมีเพศสัมพันธ์ในรูปแบบที่ไม่สมยอมของสตรี
ที่มีความสัมพันธ์กับคู่สมรส หรือ แฟน จำนวนสตรีที่สามารถเข้าไปดำรงตำแหน่งทางการเมืองในสภาล่าง
น้อ ยกว่าเพศชายอย่างมีนัยสำคัญ คือน้อยกว่าร้อยละ 25 รวมทั้ง จำนวนสตรีท ี่ได้ร ับ การคัดเลือก
ให้ดำรงตำแหน่งในระดับการจัดการเป็นต้นไปมีจ ำนวนน้อยกว่าเพศชาย ในตำแหน่ง ผู้จัดการระดับ
กลาง-ระดับสูง มีสตรีที่ได้เข้าดำรงตำแหน่งน้อยกว่า 1 ใน 3 (United Nations, 2017: 8)
ประเด็นที่หก Clean Water and Sanitation – น้ำดื่มสะอาดและสุขอนามัย ในประเด็นนี้
พบว่า ยังมีคนบนโลกใบนี้อีก 2 พันล้านคนที่ประสบกับสภาวะการอาศัยอยู่ในประเทศที่มี ความเสี่ยงใน
การขาดแคลนน้ำในอนาคต เนื่องจากปริมาณน้ำที่ใช้กับปริมาณน้ำที่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ไม่สัมพันธ์
กัน อย่างไรก็ตามจากข้อมูล พบว่าคุณภาพชีวิตของประชากรโลกในการเข้าถึงน้ำดื่มสะอาดและสุขอนามัย
พัฒนาดีขึ้น (United Nations, 2017: 8-9)
ประเด็น ที่เ จ็ด Affordable and Clean Energy – พลังงานสะอาดในราคาที่เอื้อมถึงได้
องค์การสหประชาชาติคาดหวังว่าประชากรโลกจะสามารถเข้าถึงพลังงานที่ยั่งยืนอย่างมีประสิทธิภาพ
ในปี ค.ศ. 2014 ประชากรกว่า 1.06 พันล้านรายยังไม่สามารถเข้าถึงการใช้ไฟฟ้า โดยจำนวนกว่าครึ่งของ
ประชากรในกลุ่มนี้อาศัยอยู่ในบริเวณใต้ทะเลทรายซาฮารา นอกจากนี้ยังมีประเด็นของการขาดแคลน
เชื้อเพลิงสะอาดและเทคโนโลยีที่ใช้ในการทำอาหาร ซึ่ง ส่งผลกระทบต่อประชากรกว่า 3 พันล้านคน
(United Nations, 2017: 9)
ประเด็นที่แปด Decent Work and Economic Growth – งานที่เหมาะสมและการเติบโต
ทางเศรษฐกิจ ในประเด็นของการพัฒนาที่ยั่งยืนลำดับที่ 8 นี้ เป้าหมายคือการพัฒ นาทางเศรษฐกิ จ
อย่างยั่งยืนอย่างครอบคลุม ทั้งในประเด็นของการปรับปรุงจำนวนผู้ว่างงาน ผลิตภาพแรงงาน การเข้าถึง
บริการทางการเงิน และการพัฒนาเศรษฐกิจที่สามารถใช้ตัวชี้วัดจากการดูการเติบโตของ GDP เป็นหลัก
พบว่า ในช่วงปี ค.ศ. 2010-2015 อัตราการเติบโต GDP ของประเทศทัว่ โลกโดยเฉลี่ยอยู่ที่ ร้อยละ 1.6 ต่อปี
ซึ่งถือเป็นสัญญาณที่ดีขึ้น เมื่อเทียบกับช่วงปี ค.ศ. 2005-2009 ที่เศรษฐกิจชะลอตัวการเติบโต ทำให้
มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยอยู่ที่ ร้อยละ 0.9 (United Nations, 2017: 10)
อัตราการว่างงานทั่วโลก โดยเฉลี่ยแล้ว เพศหญิง จะมีอัตราการว่างงานที่ม ากกว่าเพศชาย
ในทุก ช่วงอายุ และเยาวชน 20จะมีอัตราการว่างงานมากกว่าผู้ใหญ่ถึง 3 เท่า นอกจาก นี้ป ัญ หาของ
การว่างงาน อีกปัญหาหนึ่งที่ยังคงต้องแก้ไข คือ ปัญหาของแรงงานเด็ก ซึ่งคือ เยาวชนที่ มีอายุระหว่าง
5-17 ปี ที่อยู่ในระบบแรงงาน โดยในปี ค.ศ. 2012 ยังคงมีแรงงานเด็กอยู่ทั่วโลกมากถึง 168 ล้านคน
(United Nations, 2017: 10)

20คำนิยามของ United Nations เยาวชนหมายถึง บุคคลที่มีอายุอยู่ในช่วงระหว่าง 15-24 ปี อย่างไรก็ตาม การเข้าร่วมกิจกรรมของเยาวชน


ในระดับประเทศ อายุของเยาวชนสามารถยืดหยุ่นได้ โดยตามนิยามของ African Charter Youth กำหนดไว้ว่าเยาวชนคือ บุคคลที่มอี ายุ
ระหว่าง 15-35 ปี (United Nations, Educational, Scientific and Cultural Organization (UNESCO). The, n.d.)
45
ผลิตภาพแรงงาน หมายถึง การเติบโตของอัตรา GDP รายปีต่อแรงงาน ในช่วงปี ค.ศ. 2009-2016
ผลิตภาพแรงงานลดลงเหลืออัตราร้อยละ 1.9 เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงปี ค.ศ. 2000-2008 ที่อัตราร้อยละ
2.9 การลดลงของอัตราการเติบโตนี้ส่งผลลบต่อภาพรวมของเศรษฐกิจโลก (United Nations, 2017: 10)
การเข้าถึงบริการทางการเงิน มีการวัดการเข้าถึงบริการทางการเงิน โดยการนับสาขาของธนาคาร
และเครื่องบริก ารเงินสดอัตโนมัติ ผลปรากฏว่า ในช่วงปี ค.ศ. 2010-2015 อัตราการเติบ โตของ
เครื่องบริการเงินสดเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 55 และสาขาของธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้นร้อยละ 5 โดยการเติบโต
ของเทคโนโลยีดิจิทัลส่งผลให้การขยายขนาดของธนาคารพาณิชย์ไม่ได้เกิดขึ้นสูงมาก (United Nations,
2017: 10)
ประเด็นที่เก้า Industry, Innovation, and Infrastructure – อุตสาหกรรม นวัตกรรม และ
โครงสร้างพื้นฐาน เป้าหมายในประเด็นนี้ คือ การลงทุนในการวิจัยและพัฒนา การลดการส่งผลกระทบ
ต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากอุตสาหกรรม การขนส่งทางอากาศ การเข้าถึงสัญญาณโครงข่ายสัญญาณโทรศัพท์
ปัจ จุบ ันอุตสาหกรรมการผลิตมีก ารเปลี่ยนผ่ านกระบวนการผลิต ที่พ ึ่ง พิง เทคโนโลยีท ี ่ทั นสมั ย ขึ้ น
อย่างไรก็ตามความเหลี่อ มล้ำยังคงเกิดขึ้น ประเทศอุตสาหกรรมมีการผลิตผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีขั้นกลาง
และสูงถึงร้อยละ 80 ของผลผลิตอุตสาหกรรม ในขณะที่ประเทศที่มีการพัฒนาอุตสาหกรรมในระดับต่ำ
ที่สุด ผลิตผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีขั้นกลางและสูงเพียงร้อยละ 10 (United Nations, 2017: 11)
การลงทุนงบประมาณในการวิจัยและพัฒนาเพิ่มมากขึ้น โดยในปี ค.ศ. 2014 มีอัตรานักวิจัย
ต่อประชากร 1 ล้านคนอยู่ที่ 1,098 คน อย่างไรก็ตามพบว่ายังมีความเหลื่อมล้ำอยู่มาก เมื่อเปรียบเทียบ
จำนวนนักวิจัยในประเทศที่พัฒนาแล้วและประเทศกำลังพัฒนา คือ ตั้งแต่ นักวิจัย 63 คน ในประเทศ
ที่มีอัตราการพัฒนาขั้นต่ำไปจนถึง 3,500 คนในประเทศแถบยุโรปและอเมริกาเหนือ (United Nations,
2017: 11)
การพัฒ นาที่ส ่ง ผลบวกต่อ ประชากรในการเข้าถึง ข้อมูล และการติดต่อสื่อสารมากที่ส ุดคือ
การเข้าถึง ของสัญญาณโทรศัพท์ ประมาณการว่า ในปี ค.ศ. 2016 ร้อยละ 95 ของประชากรทั่วโลก
สามารถเข้าถึงสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้ (United Nations, 2017: 12)
ประเด็นที่สิบ Reduced Inequalities – ลดความไม่เท่าเทียมกัน คำว่าความไม่เท่าเทียมกัน
สามารถทำให้เราตีความออกไปได้หลายประการด้วยกัน อย่างไรก็ตาม นิยามของการลดความไม่เท่าเทียม
กันของ SDGs เน้นไปที่ ความไม่เท่าเทียมกันระหว่างประเทศ เช่น การมีสิทธิมีเสียงในระดับนานาชาติ
ซึ่งในประเด็นนี้ การพัฒนาให้ประเทศกำลังพัฒนาเข้ามามีสิทธิมีเสียงในการตัดสินใจในระดับนานาชาติ
มากขึ้น ยังก้าวหน้าไม่มากเท่าที่ควร แน่นอนว่าประเทศมหาอำนาจในเชิงเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม
ย่ อ มต้ อ งการการธำรงไว้ ซ ึ ่ ง อำนาจในการตั ด สิ น ใจ ในกรณี ข องกองทุ น การเงิ น ระหว่ า งประเทศ
International Monetary Fund (IMF) พบว่า มีการเพิ่มสัดส่วนในการโหวตของประเทศกำลัง พัฒ นา
จากร้อยละ 33 ในปี ค.ศ. 2010 เป็นร้อยละ 37 ในปี ค.ศ. 2016 อย่างไรก็ตามสมาชิกประเทศกำลังพัฒนา

46
มีปริมาณสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 74 ของประเทศสมาชิก ทั้งหมด (United Nations, 2017: 12) เท่ากับว่า
สัดส่วนในการโหวตของประเทศกำลังพัฒนาต่ำกว่าความเป็นจริงถึงร้อยละ 50
การเคลื ่ อนย้า ยการทำงานของประชากร เช่ น แรงงานอพยพที ่ ไ ปทำงานยั ง ต่ างประเทศ
ยัง คงเผชิญ กับปัญหาในการส่ง เงินมาให้กับทางบ้าน เพราะมี ค่าใช้จ ่ายในการโอนเงินเป็นจำนวนสูง
เป้าหมายที่ตั้งไว้คือ การลดค่าดำเนินการในการโอนเงินให้เหลือเพียงร้อยละ 3 ของจำนวนเงินที่โ อน
โดยในปัจ จุบ ัน สิ่ง ที่ส ามารถอำนวยความสะดวกได้คือ การใช้ internet banking (United Nations,
2017: 12)
ประเด็ น ที ่ ส ิ บ เอ็ ด Sustainable Cities and Communities – เมื อ งและสั ง คมยั ่ ง ยื น
ในปัจจุบันประชากรได้ย้ายเข้ามาตั้งถิ่นฐานในเมืองมากขึ้นกว่าแต่ก่อน โดยในปี ค.ศ. 2015 มีประชากร
ราวร้อยละ 54 หรือ เกือบ 4 พันล้านคนอาศัยอยู่ในเมือง และคาดว่าตัวเลขนี้จะเพิ่มขึ้นเป็น 5 พันล้านคน
ภายในปี ค.ศ. 2030 (United Nations, 2017: 13)
ในปี ค.ศ. 2018 ประชากรของโลกมีจำนวนประมาณ 7.5 พันล้านคน โดยประเทศที่มีจำนวน
ประชากรมากที่สุด 10 ลำดับแรก ได้แก่ จีน (1.3 พันล้านคน), อินเดีย (1.2 พันล้านคน), สหรัฐอเมริกา
(329 ล้านคน), อินโดนีเซีย (262 ล้านคน), บราซิล (208 ล้านคน), ปากีสถาน (207 ล้านคน), ไนจีเรีย
(195 ล้านคน), บังคลาเทศ (159 ล้านคน), รัสเซีย (142 ล้านคน) และ ญี่ปุ่น (126 ล้านคน) (U.S. Census
Bureau, 2018) จากข้อ มูล สถิติ พบว่าประเทศที่ม ีจ ำนวนประชากรมากที่ส ุด 10 ประเทศ มีเ พียง
สหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่นที่ถูกจัดว่าเป็นประเทศที่มีระดับเศรษฐกิจที่พัฒนาแล้ว ในขณะที่ประเทศที่เหลือ
ทั้งหมดยังคงอยู่ในช่วงระหว่างการพัฒนาทางเศรษฐกิจแม้กระทั่งรัสเซียซึ่ง ถือว่ากำลังอยู่ในช่วงระหว่าง
การเปลี่ยนผ่านทางเศรษฐกิจ (United Nations, 2014)
การเพิ่มขึ้นของประชากรและการเคลื่อนย้ายของประชากรเข้าสู่เมือง ได้ทำให้สภาวะของเมือง
ส่วนหนึ่งกลายเป็นสลัม ผู้คนที่อยู่ในสลัม ประสบกับปัญหาในการอยู่อ าศัย ทั้ง ในด้านความคับแคบ
ของพื้นที่ ความสะอาด การเสื่อมโทรมของพื้น ที่ ตัวอย่างของสลัมที่มีประชากรอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก
ได้แก่ สลัมในพื้นที่ Kibera ในกรุงไนโรบี ประเทศเคนยา โดยสลัม Kibera ถือเป็นสลัมที่มีขนาดใหญ่ที่สุด
ในทวีปแอฟริกา มีประชากรอาศัยอยูป่ ระมาณ 250,000 คน ปริมาณผู้คนที่อาศัยอยู่ในสลัมในเมืองไนโรบี
มีมากถึงร้อยละ 60 จากประชากรไนโรบีทั้งหมด (African Population and Health Research Center
(APHRC), 2014) ในประเทศฟิลิปปินส์ ประชากรผู้อาศัยอยู่ในสลัมมีจำนวนมากนับเป็น ร้อยละ 2 ของ
ประชากรสลัมทั่วโลก (Robinson, 2017) สำหรับประชากรโลกที่อาศัยอยู่ในพื้นที่สลัมมีสูงถึง 880 ล้านคน
ในปี ค.ศ. 2014 และหากเทียบเป็นอัตราร้อยละของประชากรสลัมต่อประชากรโลกในปี ค.ศ. 2018 พบว่า
จำนวนประชากรที่อาศัยอยู่ในเขตพื้นที่สลัมมีมากถึงร้อยละ 10 ของประชากรทั้งหมด

47
รูปภาพที่ 3: รูปภาพของสลัมใน Kibera, กรุงไนโรบี ประเทศเคนยา21

รูปภาพที่ 4: รูปภาพของสลัมในกรุงมานิลา, ประเทศฟิลิปปินส์22

นอกจากประเด็นของพื้นที่แออัดที่เกิดขึ้นตามเมืองต่าง ๆ ทั่วโลก สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาเมื่อประชากร


เคลื่อนย้ายเข้ามาอยู่ในเมืองมาก คือ ปัญหาของมลภาวะอากาศเป็นพิษ บริการและโครงสร้างพื้นฐาน
สาธารณะที่รัฐจะต้องปรับปรุงเพิ่มเติม เพื่ออำนวยความสะดวกจากการที่ประชากรมี มากขึ้น นอกจากนี้
ประเด็นที่รัฐจะต้องพิจารณา คือ ในกรณีของภัยพิบัติที่เกิดขึ้นในเมืองใหญ่ มูลค่าความเสียหายต่อชีวิต
และทรัพย์สินจะเพิ่มมากขึ้น เป้าประสงค์ในการพัฒนาเมืองและสังคมยั่งยืน คือ การทำให้เมืองเติบโตขึ้น

21 ที่มาของภาพจาก https://en.wikipedia.org/wiki/Kibera#/media/File:Kibera.jpg
22 ที่มาของภาพจาก https://en.wikipedia.org/wiki/File:Manila_Philippines_Slums-in-Manila-01.jpg
48
อย่างยั่ง ยืน เป็นเมือ งที่ป ลอดภัย และมีพื้นที่ สำหรับทุกคนในการเข้าถึง ความปลอดภัยและบริการ
สาธารณะ รวมทั้งได้รับคุณภาพชีวิตที่ดีตามสมควร (United Nations, 2017: 13)
ประเด็ น ที ่ ส ิ บ สอง Responsible Consumption and Production – การบริ โ ภคและ
การผลิตอย่างมีความรับผิดชอบ ในประเด็นนี้ เน้นไปที่การบริโภคและการผลิตอย่างยั่งยืน รวมไปถึงการ
คำนึงถึงปริมาณของสารพิษและขยะอันตรายที่เกิดจากกระบวนการผลิตและบริโภค ทั้งนี้ พบว่าในพื้นที่
โดยเฉพาะทวีปเอเชียตะวันออก มีอัตราการใช้ทรัพยากรทางธรรมชาติเพิ่มขึ้น (United Nations, 2017:
14) ส่วนหนึ่งเป็นไปเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคที่มีกำลังในการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น
ประเด็นที่สิบสาม Climate Action – การเคลื่อนไหวในประเด็นที่เกี่ยวกับสภาพภูมอิ ากาศ
ในประเด็นนี้ มุ่งหวังให้เกิดความร่วมมือระดับ นานาชาติ เพื่อเคลื่อนไหวในประเด็นที่เกี่ยวกับ สภาพ
ภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง โดยประเทศพัฒนาแล้วจะทำการช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนาในการสนับสนุน
งบประมาณเพื่อนำไปใช้ในประเด็นที่เกี่ยวกับ ภูมิอากาศ การพัฒนาด้าน climate action ที่ผ่านมา คือ
ประเทศต่าง ๆ เริ่มจัดทำยุทธศาสตร์เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดภัยพิบัติภายในประเทศ และจากการ
ประชุมในระดับนานาชาติ มีประเทศทั่วโลกที่ทำการร่วมมือสร้างข้อตกลงในการเคลื่อนไหวในประเด็น
ที่เกี่ยวกับภูมิอากาศ (United Nations, 2017: 14) อย่างไรก็ตาม ในประเด็นการเคลื่อนไหวที่เกี่ยวกับ
สภาพภูมิอากาศ ยังเป็นประเด็นที่ไม่เห็นความเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน นอกเหนือไปจากคำมั่นสัญญา
ของประเทศต่าง ๆ ที่ร่วมตกลงกัน
ประเด็นที่ส ิบ สี่ Life Below Water – ชีวิตใต้ผ ืนน้ำ ผืนน้ำถือ เป็นแหล่ง อาหารชั้นดีของ
ประชากร และน้ำเป็นส่วนประกอบของโลกใบนี้ถึง 3 จาก 4 ส่วน อย่างไรก็ตาม พบว่าปัญหาที่เกิดขึ้น
ได้แก่ สภาวะของมหาสมุทรที่เป็นกรด การทำการประมงเกินขนาดและมลพิษที่เกิดจากการเดินเรือ ส่งผล
ลบต่อสิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเลและสภาพแวดล้อมโดยรวม (United Nations, 2017: 15) การเปลี่ยนแปลง
ทางด้านกฎหมาย เช่น เพิ่มพื้นที่ในการอนุรักษ์ทะเล ถือเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาคุณภาพชีวิตใต้ผืนน้ำ
(United Nations, 2017: 15)
ประเด็นที่สิบห้า Life On Land – ชีวิตบนผืนดิน เป้าหมายข้อนี้มีจุดมุ่งหมายในการปกป้อง
ผืนแผ่นดิน และชีวภาพมวลรวมของสรรพสิ่ง ในปัจจุบัน ผืนแผ่นดินประมาณร้อยละ 15 จัดอยู่ในแผ่นดิน
ที่ได้รับการดูแลรักษาอนุรักษ์ โดยในช่วงปี ค.ศ. 1998-2013 พื้นที่ประมาณร้อยละ 20 ของโลกมีต้นไม้พืช
พรรณปกคลุมอยู่ ปัญหาหนึ่งที่โลกกำลังประสบคือสภาวะการสูญเสียหน้าดินและการแปรสภาพกลายเป็น
ทะเลทรายซึ่งจะส่งผลเสียต่อประชากรถึง 1 พันล้านคน นอกจากนี้ การสูญเสียในความหลากหลายทาง
ชีวภาพซึ่งได้รับผลกระทบมาจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศ ซึ่งอาจส่งผลให้สิ่งมีชีวิตบางสายพันธุ์
เสี่ยงต่อสภาวะของการสูญพันธุ์ ทั้งนี้ โลกยังคงมีปัญหาจากการลักลอบบุกรุกล่าสัตว์ เพื่อนำเอาชิ้นส่วน
ไปค้าขาย เช่น งาช้าง นอแรด (United Nations, 2017: 16) ดังนั้นการปกป้องผืนแผ่นดิน มีทั้งที่เกิดจาก
ผลกระทบของสภาวะแวดล้อมทางธรรมชาติและการกระทำที่ผิดกฎหมายของมนุษย์

49
ประเด็นที่ส ิบ หก Peace, Justice and Strong Institutions – ความสงบสุข และความ
ยุติธรรม รวมไปถึงองค์กรเข้มแข็ง จุดประสงค์ของการพัฒนาที่ยั่งยืนในประเด็นนี้ มุ่งไปที่ประชาชน
สามารถเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมอย่างเท่าเทียมและทั่วถึง อย่างไรก็ตามในความเป็นจริง การเข้าถึง
ประสิทธิภาพ และความน่าเชื่อถือของกระบวนการยุ ติธรรมยังคงมีความเหลื่อมล้ำกันทั้งในระดับประเทศ
และระดับภูมิภาค (United Nations, 2017: 16-17) นอกจากนี้ ยังมีประเด็นที่องค์การสหประชาชาติให้
ความสนใจ ได้แก่ สิทธิมนุษยชน เสรีภาพในการเข้าถึงข้อมูล การใช้งบประมาณของภาครัฐอย่างโปร่งใส
ปัญหาการคอร์รัปชัน และการรับสินบน
หากคุณอาศัยอยู ่ใ นประเทศแถบละติ นอเมริก า บริเ วณใต้ท ะเลทรายซาฮารา และเอเชี ย
คุ ณ มี ค วามเสี ่ ย งในการถู ก ฆาตกรรม นอกจากนี ้ จากตั ว อย่ า งข้ อ มู ล ของ 76 ประเทศ ในช่ ว งปี
ค.ศ. 2005-2016 โดยข้อ มูลส่วนมากมาจากประเทศกำลังพัฒนา พบว่าร้อยละ 80 ของเด็กที่มีอายุ
ระหว่าง 8-14 ปี ถูกลงโทษทางวินัยโดยการทำร้ายร่างกายและหรือถูกล่วงละเมิดทำร้ายทางด้านจิตใจเป็น
ประจำ (United Nations, 2017: 17)
ปัญหาด้านการค้ามนุษย์ การค้ามนุษย์เพื่อการค้าประเวณีในเด็กหญิงและสตรี การค้ามนุษย์
โดยการบังคับให้เป็นแรงงาน ยังคงเป็นปัญหาหลักที่องค์การสหประชาชาติต้องการแก้ไข พบว่า มีการ
ค้ามนุษย์ในรูปแบบการค้าประเวณีลดลงแต่การค้ามนุษย์เพื่อไปเป็นแรงงานมีจำนวนมากขึ้น โดยเหยื่อ
การค้ามนุษย์จะเป็นผู้หญิงและเด็กหญิงมากกว่า เพศชาย (United Nations, 2017: 17)
คำว่า “Modern Slavery” ถือเป็นการให้คำนิยามในรูปแบบใหม่ของ ทาส ในยุคปัจจุบัน สภาวะ
ความเป็นทาส เกิดขึ้นได้จาก 4 กรณีหลักด้วยกัน ได้แก่
1. ถูก บัง คับ ใช้แรงงานด้วยความไม่เ ต็ม ใจ ไม่ว่าการบังคับ นั้นจะเกิดจากการบัง คับขู่เข็ญ
ทางร่างกายหรือจิตใจ
2. บุคคลผู้นั้นมีเจ้าของ หรือ ถูก ควบคุมโดยนายจ้าง ไม่ว่าจะผ่านทางการข่ม ขู่ก ารทำร้าย
ร่างกายหรือจิตใจ หรือการถูกทำร้ายร่างกายและจิตใจ
3. บุ ค คลผู ้ นั ้ นถู ก ลดคุณ ค่ าของความเป็น มนุ ษย์ จนกลายเป็น เพี ย งแค่ส ิ น ค้ า ที ่ส ามารถ
เปลี่ยนผ่านมือของเจ้าของผ่านการค้าขายโดยถือว่าบุคคลผู้นั้น คือ สมบัติชิ้นหนึ่ง
4. บุคคลผู้นั้นถูกจำกัดอิสรภาพในการเดินทาง เช่น การถูกจำกัดให้อยู่ในสถานที่นั้น ๆ โดยไม่
สามารถออกไปไหนมาไหนได้ หรือ ถูกล่ามโซ่เอาไว้ เพื่อไม่ให้หนีไปไหน (Anti-slavery, n.d.)
ประมาณการว่า มีบุคคลที่ตกอยู่ในสภาวะของความเป็นทาสอยู่ถึง 40.3 ล้านคน โดยในจำนวนนี้
จำแนกออกเป็น เด็ก 10 ล้านคน หรือ ราวร้อยละ 25 ของจำนวนทาสสมัยใหม่ทั้งหมด 24.9 ล้านคน
เป็นแรงงานที่ถูกบังคับใช้แรงงาน 15.4 ล้านคน คือ จำนวนผู้ที่ถูกบังคับให้แต่งงาน และ 4.8 ล้านคน คือ
จำนวนของผู้ที่ถูกบังคับให้ค้าประเวณี (Anti-slavery, n.d.)

50
ประเด็นที่ 17 Partnerships for the Goals – สร้า งความร่วมเมื่อเพื่อบรรลุเป้า หมาย
ในประเด็นนี้มีเป้าประสงค์เพื่อให้รัฐมีการร่วมมือกันพัฒนาในด้านต่าง ๆ อย่างยั่งยืน ได้แก่ ความร่วมมือ
ทางด้านการเงิน ความร่วมมือทางด้านเทคโนโลยีทางการสื่อสารและข้อมูล ความร่วมมือทางด้านการค้า
โดยการร่วมมือ กันจะสามารถลดระดับ ความเหลื่อมล้ำระหว่างประเทศที่พัฒ นาแล้วกับ ประเทศที่
กำลังพัฒนาได้ในระดับหนึ่ง (United Nations, 2017: 18-19)

วิถีการแก้ไขปัญหาเพื่อความยั่งยืน
ในปั จ จุ บ ัน การแก้ ไขปั ญ หาเพื ่ อความยั ่ง ยื น สามารถเกิ ดขึ ้น ได้จ ากทั ้ ง หน่ ว ยงานภาครัฐ
ภาคเอกชน ไปจนถึงบุคคลทั่วไป ในกรณีของการทำธุรกิจ ปัจจุบันมีธุรกิจที่เรียกว่า “กิจการเพื่อสังคม
(social enterprise)” ที่เป็นธุรกิจที่มิได้ม ีการแสวงหากำไรหลักเป็นกำไรเพื่อผลประโยชน์ของบริ ษัท
เพียงอย่างเดียว หากแต่เป้าหมายของกิจการเพื่อสังคมเป็นไปเพื่อแก้ไขปัญหาทางสังคม-สิ่งแวดล้อม23
บทความท้ายบทที่ 2 มีเรื่องราวประกอบที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกิจที่เน้นถึงความรับผิดชอบ
ต่อสังคม เช่น เรื่องของ Lush บริษัทผลิตภัณฑ์ดูแลร่างกายจากสหราชอาณาจักร เรื่องราวของโรงเรียน
ที่เน้นการเรียนการสอนเพิ่มเติมด้านสิ่งแวดล้อมในอินโดนีเซียที่มีชื่อ ว่า Green School เรื่องราวของ
สตาร์ทอัพที่มีเป้าประสงค์เพื่อลดปัญหา food waste อย่าง Olio
ถึงแม้ว่าการแก้ไขปัญหาเพื่อความยั่งยืนจะมีหลากหลายรูปแบบ แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า ณ ปัจจุบัน
ยังมีวิธีแก้ไขปัญหาแบบชั่วคราว เช่น การบริจาค ธุรกิจที่เน้นการขายผลิตภัณฑ์แบบที่เน้นการช่วยเหลือ
สังคมผ่านการบริจาคสินค้าของตนเอง เช่น เมื่อซื้อสินค้าของบริษัท บริษัทจะทำการบริจาคผลิตภัณฑ์
ไปยัง ประเทศอื่น ๆ ในกรณีของการทำธุร กิจในลักษณะนี้ ส่ง ผลเชิง บวกแบบชั่วคราวหากแต่สร้าง
ผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศผู้รับบริจาคในระยะยาว24

23
สามารถอ่านบทความเรื่อง ว่าด้วย Social Enterprise อยากจะเป็นกับ เขาต้ องสร้างรายได้ / #ความน่าจะเรียน ไปเรียนทำ Social
Enterprise กันเถอะ / The People’s Supermarket เมื่อคนไทยได้ร่วมเป็นเจ้าของร้านซูเปอร์มาร์เก็ตในลอนดอน เพิ่มเติมท้ายบท
24
สามารถอ่านบทความเรื่อง ตู้ปันสุขกับแรงจูงใจในการบริจาค? / Poverty, Inc. เมื่อเราถูกฆ่าด้วยความสงสาร / เรายังโชคดีกว่าคนเป็น
พันล้านบนโลก: คุณค่าของเงิน 175 บาท

51
สรุป
ในบทที่สอง นักศึกษาได้เรียนรู้ถึงปัญหาที่เกิดขึ้นรอบตัว ทั้งปัญหาจากตัวของเราเอง ปัญหาสังคม
ที่อยู่รอบตัวเรา นัก ศึกษาเรียนรู้ถึงการเงินส่วนบุคคลในเบื้องต้น ความสำคัญของการเงินส่วนบุคคล
ส่งผลกระทบโดยตรงต่อตัวเรา และหากเราเป็นคนมีวินัยทางการเงิน เราจะพบว่าในอนาคต เราจะกลายเป็น
พลเมืองที่เป็นอิสระ คือ ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องพึ่งพาทางการเงินจากรัฐ หรือ มีการพึ่งพาทางการเงิน
จากรัฐผ่านการใช้สิทธิที่พึงมีตามสมควร
การเรียนรู้ในการเคารพกฎจราจรของนักศึกษา ย่อมส่งผลดีต่อความปลอดภัยของตัวนักศึกษาเอง
และบุคคลผู้ร่วมใช้ประโยชน์จากการจราจร ทั้งนี้ ผลในเชิงสถิติของการจราจรไทย พบว่า จำนวนยานพาหนะ
ถือเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบโดยตรงต่ อสภาพการจราจร แต่การไม่เคารพในวินัยจราจร ส่งผลด้านลบ
ให้ประเทศไทยติดอันดับโลกในสถิติการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุบนท้องถนน
ประเด็ นที่ ส ำคั ญ อี ก ประการหนึ ่ง ที่ เ กิ ด ขึ ้น รอบตั ว เรา คื อ ปั ญ หาของขยะและผลกระทบ
ต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งในปัจจุบัน ประเทศไทยยังมีปัญหาในการจัดการเรื่องการใช้ถุงพลาสติก การทิ้งขยะ
ลงในท้องทะเลที่ติดเป็นอันดับที่ 5 ของโลก ทั้งนี้ นักศึกษาควรใช้วิธีการ 7R ในการลดขยะและมีความ
ตระหนักในการทิ้งขยะ นำสิ่งของกลับมาใช้ซ้ำ และการรีไซเคิลอย่างถูกวิธี
สังคมผู้สูงอายุ ถือเป็นปัญหาระดับชาติ ที่รัฐไทยจะต้องมีการจัดการนโยบายสาธารณะที่เอื้อ
ต่อผู้สูงอายุ นอกจากการจัดการโดยภาครัฐ จะเห็นว่าภาคเอกชนมีการตื่นตัวในการทำธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับ
ผู้สูงอายุ อย่างไรก็ตาม ปัญหาขั้นพื้นฐานที่จะต้องได้รับการแก้ไขคือ จะทำอย่างไรให้ผู้สูงอายุมีโอกาส
ในการได้รับการบริการอย่างทั่วถึง เช่น การเข้าถึงทางการแพทย์ สิทธิในการได้รับโอกาสให้เข้าอาศัย
ในบ้านพักคนชรา ฯลฯ
การทุจริตคอร์รัปชัน ถือเป็นปัญหาระดับชาติที่สะสมมายาวนาน ทั้งนี้ ความหมายของทุจริตและ
คอร์ร ัป ชัน มีความแตกต่างกัน โดยทุจ ริตสามารถหมายความถึง การกระทำที่เกิดได้โดยบุคคลทั่วไป
แต่นิยามคอร์รัปชันจะหมายถึงการกระทำความผิด -การรับสินบนโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ การคอร์รัปชัน
สามารถพบได้ในประเทศทั่วโลกแต่ประเทศที่ยากจนกว่ามีแนวโน้มที่จะคอร์รปั ชันมากกว่า รวมทั้งลักษณะ
จำเพาะบางอย่าง เช่น การเคยเป็นประเทศภายใต้อาณานิคม การนับถือศาสนา มีผลต่อปริมาณการ
คอร์รัปชัน ทั้งนี้ การคอร์รัปชันมีแนวโน้มที่จะทำให้เศรษฐกิจเติบโตในเชิงลบมากกว่าการไม่คอร์รัปชัน
จากปัญหาส่วนตัว ปัญหาท้องถิ่น ปัญหาระดับชาติ มาจนถึงปัญหาระดับนานาชาติ ในปี ค.ศ.
2015 องค์การสหประชาชาติ ได้มีการให้ความสนใจในการแก้ไขปัญหาระดับนานาชาติ 17 ประการ
ด้วยกัน ตั้งแต่ประเด็นทางด้านเศรษฐกิจ เช่น ความยากจน ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจ ประเด็นด้าน
สังคม เช่น ความเท่าเทียมกันทางเพศ การเข้าถึงการศึกษา ประเด็นด้านสิ่งแวดล้อม เช่น ปัญหาด้านการ
ถดถอยลงของความหลากหลายทางชีวภาพ ความมั่นคงทางอาหาร ไปจนถึงประเด็นทางการเมือง เช่น
การสร้างความร่วมมือกันในระดับนานาชาติ
52
ว่าด้วย Social Enterprise อยากจะเป็นกับเขาต้องสร้างรายได้
Social Enterprise แปลเป็นภาษาไทยว่ากิจการเพื่อสังคม ลักษณะสำคัญของกิจการเพื่อสังคม
คือ “ธุร กิจที่เปลี่ยนแปลงโลกไปในทิศทางที่ดีขึ้น” (Social Enterprise UK, n.d.) สิ่ง ที่ทำให้กิจการ
เพื่อสังคมแตกต่างจากธุรกิจคือ ธุรกิจเป็นองค์กรที่แสวงหาผลกำไรเป็นสำคัญ ถึงแม้ ว่าในองค์กรธุรกิจ
จะมีหน่วยงานอย่าง Corporate Social Responsibility (CSR) หรือหน่วยงานที่ดูแลด้านความรับผิดชอบ
ต่อสังคม แต่เ ป้าประสงค์หลัก ขององค์กรยังคงเป็นการทำกำไรเป็นสำคัญ ตัวอย่าง CSR ขององค์กร
ในประเทศไทย ได้แก่ โครงการ Journey D โดยแอร์เ อเชีย โครงการ Journey D มีก ิจ กรรมในการ
สนับสนุนการท่องเที่ยวโดยชุมชน ถือเป็นกิจกรรมท่องเที่ยวทางเลือกที่ก่อให้เกิดรายได้ภายในชุม ชน
ท้องถิ่น นอกจากนี้ ยังมีโครงการที่สนับสนุนการขายผลิตภัณฑ์ที่ผลิตโดยชุมชนท้องถิ่น เช่น ตุ๊กตาหมี
พื้นเมืองอาข่า ผ้าคาดผมชุมชนผาหมี โดยสินค้าดังกล่าวจะถูกนำไปจัดจำหน่ายบนเที่ยวบินของแอร์เอเชีย
(Journey D, ม.ป.ป.)
ทั้งนี้ เราอย่าได้เข้าใจผิดว่ากิจการเพื่อสังคมเป็นองค์กรที่ไม่แสวงหากำไร หลักการทำธุรกิจของ
กิจการเพื่อสังคมเป็นไปเพื่อหารายได้และมีกำไรจากการขายผลิตภัณฑ์และบริการ แต่สิ่งที่ทำให้เ รา
เรียกว่ าองค์ก รนี้เ ป็นกิจ การเพื่อ สัง คม นั่นเป็นเพราะ รายได้และกำไรที่ได้จ ากการให้บ ริก ารหรือ
ขายผลิตภัณฑ์จะไม่ได้อยู่ที่เจ้าของกิจ การหรือผู้ถือหุ้นเป็นหลัก กำไรที่ได้จ ากการประกอบกิจการ
อาจนำไปลงทุนต่อเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงบวกต่อสังคม เกิดการจ้างงาน นำส่งรายได้ให้กับ
ชุมชนท้องถิ่น หรือนำกำไรไปบริจาคต่อ (Social Enterprise UK, n.d.)
วิธีก ารที่จ ะดูว่าองค์ก รธุร กิจ ใดถือ เป็นกิจ การเพื่อ สังคม หน่วยงาน Social Enterprise UK
มีข้อสังเกตดังต่อไปนี้
1. ธุรกิจมีพันธกิจที่ชัดเจนที่เกี่ยวข้องกับประเด็นทางด้านสังคมหรือสิ่งแวดล้อม
2. เป็นธุรกิจที่มีรายรับเกินกว่ากึ่งหนึ่งจากการซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ
3. เป็นองค์กรที่เป็นเจ้าของไอเดียในการทำพันธกิจเพื่อสังคม
4. เป็นธุรกิจที่มีการลงทุนหรือบริจาคกำไรอย่างน้อยกึ่งหนึ่งสู่เป้าหมายเพื่อสังคม
5. มีความโปร่งใสทั้งในกระบวนการดำเนินการ การแสดงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการประกอบ
กิจการ
กิจการเพื่อสังคม ถือเป็นองค์กรที่อยู่ตรงกึ่งกลางระหว่าง “ธุรกิจ” กับ “องค์กรไม่แสวงหาผล
กำไร” หรือ non-profit organization (Social Enterprise Alliance, n.d.) ประเด็นความแตกต่างของ
องค์กรไม่แสวงหากำไร คือ องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรไม่มีการดำเนินการเพื่อแสวงหากำไร และรายได้
องค์กรจะไม่ตกเป็นผลประโยชน์ต่อสมาชิก พนักงาน หรือผู้บริหารในองค์กร (Cornell Law School,
n.d.) ตัวอย่างขององค์ก รไม่แสวงหากำไรในประเทศไทย ได้แก่ โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมาย
ประชาชน หรือ iLaw โดย iLaw เน้นการทำงานในด้านที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชน มีเป้าหมายในการ

53
สนับสนุนประชาธิปไตย เสรีภาพทางการแสดงออก สิทธิพลเมือง สิทธิทางการเมือง และสนับสนุนระบบ
ยุติธรรมที่เป็นธรรมและสามารถตรวจสอบได้ (iLaw, ม.ป.ป.) iLaw ไม่สามารถนำเอารายได้ที่ได้รับมา
สร้างผลกำไรให้เกิดขึ้นกับพนักงานในองค์กรหรือผู้บริหาร รายได้ที่ได้รับจากการบริจาคจากองค์กรทั้งใน
และต่างประเทศจะต้องเป็นไปเพื่อสืบสานพันธกิจขององค์กรในประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน
ในปั จ จุบ ั น คำว่ า กิ จ การเพื ่อสั ง คม เริ ่ ม เป็น ที่ ร ู้ จ ั ก ในสั ง คมไทยมากขึ ้น ในอนาคตเชื่อว่า
จะมีผู้ประกอบการที่หันมาทำกิจการเพื่อสังคมกันมากขึ้น เพราะตอบโจทย์ทั้งในแง่ของการสร้างคุณค่า
ต่อสังคมและสามารถสร้างรายได้โดยผ่านกระบวนการแข่งขันไม่ต่างจากการทำธุรกิจทั่วไปที่ต้องหาลู กค้า
ทำการตลาด สร้างผลิตภัณฑ์หรือบริการเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภค ถือเป็นความท้าทาย
สองด้านที่ผู้ประกอบกิจการเพื่อสังคมต้องพบเจอ

54
#ความน่าจะเรียน ไปเรียนทำ Social Enterprise กันเถอะ
สำหรับใครก็ตามที่ต้องการจะทำงานด้าน social enterprise มีความฝันอันสูงสุดว่าอยากจะเป็น
ผู้ประกอบการกิจการเพื่อสังคม เราได้ทำการรวบรวมหลักสูตรที่น่าสนใจที่จะทำให้ทุกท่านได้เ รียนรู้
เรื่องราวของกิจการเพื่อสังคมแบบรู้ลึก รู้จริง โดยแบ่งออกเป็นหลักสูตรการเรียนการสอนทั้งในรูปแบบ
ออนไลน์ ออฟไลน์ เรียนในต่างประเทศและในประเทศ ขอเชิญทุกท่านไปทำการจับจ่ายซื้อคอร์สเรียน
อย่างมีความสุขกันได้เลย
คอร์สเรียนภาษาอังกฤษแบบออนไลน์
1. หลักสูตร Social Entrepreneurship โดย Wharton, University of Pennsylvania
หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับผู้สมั ครเรียนทั้งประเภทบุคคลทั่วไปและบุคคลจากองค์กรที่
ต้องการสร้างความเปลี่ยนแปลงทางสังคม
สมัครเรียน: https://www.coursera.org/learn/wharton-social-entrepreneurship
ระยะเวลาในการเรียน: 5 ชั่วโมง
ค่าเรียน: ฟรี!
2. หลักสูตร Social Entrepreneurship Specialization โดย Copenhagen Business School
(CBS)
หลักสูตรนี้มีการแนะนำเบื้องต้นให้ผู้เรียนได้รู้จักกับธุรกิจเพื่อสังคมและการสร้างองค์กร
เพื่อตอบโจทย์ในการแก้ไขปัญหาทางสังคมหรือสิ่งแวดล้อม การเรียนในหลักสูตรนี้จะมีกิจกรรม
กลุ่มที่ให้นักศึกษาช่วยกันศึกษาเรียนรู้ถึงปัญหา หาโอกาส และไอเดีย ในการแก้ไขปัญหานั้น
สมัครเรียน: https://www.coursera.org/specializations/social-entrepreneurship-cbs
ระยะเวลาในการเรียน: 4 ชั่วโมง
ค่าเรียน: ฟรี!
หลักสูตรภาษาอังกฤษระดับปริญญาโท
1. MSt in Social Innovation โดย Cambridge Judge Business School, University of
Cambridge, สหราชอาณาจักร
หลัก สูตรปริญญาโทด้านนวัตกรรมสังคม ถือเป็นหลัก สูตรการเรียนการสอนระดับ
ปริญญาโทที่น่าสนใจมาก อย่างไรก็ตามหลักสูตรนี้จะเป็นการเรียนการสอนแบบ part-time
เท่านั้น ไม่มีการเรียนการสอนแบบเต็มเวลา
ระยะเวลาในการเรียน: 2 ปี
คุณสมบัติ: ทำงานมาแล้ว 2 ปี/มีคะแนน IELTS ที่ 7.5 และไม่มีคะแนนด้านใดที่ต่ำกว่า 7
ค่าเรียน: ราคาจะขึ้นในทุกปีการศึกษา ในส่วนของปี ค.ศ. 2019 ค่าเล่าเรียนอยู่ที่ปีละ
16,200 ปอนด์ (ประมาณ 630,000 บาท ต่อปี)

55
2. BA in Global Studies and Social Entrepreneurship และ MA in Social Innovation
and Sustainability (MAS) โดย The School of Global Studies, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ประเทศไทยเองก็มีหลักสูตรการเรียนการสอนทางด้านการเป็นผู้ประกอบการเพื่อสัง คม
และนวัตกรรมสังคมโดยตรงที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ การเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษและ
ผู้เรียนสามารถเลือกเข้าเรียนได้ทั้งในระดับปริญญาตรีและปริญญาโท
ระยะเวลาในการเรียน: 4 ปี สำหรับปริญญาตรี/1 ปีสำหรับปริญญาโท
คุณสมบัติ: ปริญญาตรี: จบการศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย/มีผลสอบภาษาอัง กฤษ
ตามเกณฑ์ขึ้นไป/เกรดเฉลีย่ ไม่ต่ำกว่า 2.5/มี Statement of Purpose และ Portfolio
ปริญ ญาโท: จบการศึกษาในระดับ ปริญญาตรี/มีผลสอบภาษาอังกฤษตามเกณฑ์
ขึ้นไป/มี Statement of Interest/CV
ค่าเรียน: ปริญญาตรี เทอมละ 72,000 บาท/ ปริญญาโท 257,710 บาทต่อปี
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่: https://sgs.tu.ac.th/

56
ตู้ปันสุขกับแรงจูงใจในการบริจาค?
ผลกระทบจากพิษ COVID-19 ทำให้ประชาชนชาวไทยจำนวนหนึ่ง ดำรงชีพผ่านไปในแต่ละวัน
อย่างยากลำบาก ข้อมูลเชิงสถิติพบว่าในปี พ.ศ. 2560 ธนาคารในประเทศไทยมีจำนวนบัญ ชีเงินฝาก
กว่า 80.2 ล้านบัญ ชี โดยในจำนวนนี้เ ป็ นบัญ ชีป ระเภทบัญ ชีเ งินฝากส่ วนบุ คคล 37.9 ล้านบัญ ชี
หรือคิดเป็นร้อยละ 47.25 ของบัญชี เงินฝากทั้งหมด แม้จะเป็นสัญญาณที่ดีว่าประชากรไทยจำนวนมาก
มีบัญชีเงินฝากเป็นของตัวเอง แต่เมื่อดูจากสถิติยอดเงินฝากพบว่าคนจำนวน 12.2 ล้านคนมีเงินฝากอยู่
ในบัญชีเงินฝากไม่ถึง 500 บาท โดยในจำนวนนี้ กว่า 4.7 ล้านบัญชีที่มีเงินอยู่ในธนาคารไม่ถึง 50 บาท!
(สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์, 16 ธันวาคม 2562)
เมื่อเกิดอุบัติภัยที่ส่งผลให้ประชากรจำนวนหนึ่งไม่สามารถหางานทำได้ หรือไม่มีงานทำ จะส่งผล
ให้ผู้ที่มีเงินออมน้อยได้กลายมาเป็นกลุ่มเสี่ยงในทันที จากข้อมูลของกระทรวงการคลังพบว่า ในช่วงเวลา
ที่รัฐบาลเปิดมาตรการเยี ยวยาให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชนที่ประสบปัญหาในกรณีของ COVID-19
มีผู้ลงทะเบียนเพื่อรับความช่วยเหลือเป็นจำนวนถึง 22.3 ล้านราย (ไทยรัฐออนไลน์, 23 พฤษภาคม 2563)
ถึงแม้ว่าในความเป็นจริง จะมีผู้ไม่ผ่านเกณฑ์การรับเงินเยียวยาจากภาครัฐ แต่ปฏิเสธมิได้ว่า ประชาชน
จำนวนไม่น้อยในประเทศคือผู้เปราะบางทางเศรษฐกิจ
จากผลกระทบของสถานการณ์ COVID-19 ได้ก ่อให้เ กิดนวัตกรรมทางสัง คมโดยประชาชน
ทำการช่วยเหลือประชาชนด้วยกั นผ่าน “ตู้ปันสุข” หลักการของตู้ปันสุข ไม่มีอะไรที่ซับซ้อน สามารถ
ทำเลียนแบบกันได้ และใช้เงินทุนไม่สูงในการเริ่มต้น อุปกรณ์หลักสำหรับโครงการตู้ปันสุข ได้แก่ ตู้ที่ตั้งได้
ในที่สาธารณะและอาหารหรือของอุปโภคเพื่อใช้ในการบริจาค พอมีตู้ซึ่งมีคุณสมบัติแห่งการเป็นพื้ นที่
ในการเก็บของ จึงเป็นความสะดวกแก่ผู้ที่อยากให้และผู้ที่ประสงค์จะรับสิ่งของ
ข้อ แตกต่างในประเด็นของตู้ป ันสุขเมื่อเปรียบเทียบกับการบริจ าค คือสิท ธิในการเลือกของ
ผู้รับบริจาค เปรียบเทียบอย่างง่าย เมื่อเราไปบริจาคสิ่งของ หน่วยงานหรือผู้รับบริจาคจะเป็นผู้ รับสิ่งของ
บริจาคทั้งหมดนั้น และนำมาคัดแยกอีกทอดหนึ่ง ทำให้ในบางโอกาสผู้รับบริจาคไม่มีสิทธิที่จะเลือกขอรับ
ของบริจาค ในทางตรงกันข้าม ตู้ปันสุขให้เอกสิทธิ์แก่ผู้รับบริจาคในการคัดเลือกรับสิ่งของ ณ จุดบริจาค
ถือเป็นการรับแบบมีสิทธิในการเลือกภายใต้ระยะเวลาที่จำกั ด เอกสิทธิ์ในการเลือกขึ้นอยู่กับจำนวนของ
คนที่รอรับบริจาคและข้อตกลงร่วมกันของผู้รับบริจาค หากผู้รับบริจาคมีการตกลงกันในการคัดเลือก
สิ่งของอย่างเป็นระเบียบ เช่น มีกฎร่วมกันว่าสามารถเลือกได้ไม่เกินคนละ 2 ชิ้น มีการต่อแถวเข้าคิว
ในการเลื อ กของบริ จ าค จะส่ ง ผลให้ จ ำนวนผู ้ ไ ด้ ร ั บ ของบริ จ าคมี จ ำนวนมากกว่ า ในกรณี ท ี ่ ไ ม่ มี
การตั้งกฎเกณฑ์ร่วมกัน
ในทางเศรษฐศาสตร์ เบื้องหลังการบริจาคมีวัตถุป ระสงค์ท ี่แตกต่างกันโดยแบ่งลัก ษณะของ
การบริจาคออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มแรกคือการบริจาคแบบ impulsive กลุ่มนี้มีแรงกระตุ้นในการที ่จ ะ
บริจาคด้วยความรวดเร็วเพื่อตอบสนองต่อผลเชิงบวกแบบทันเหตุการณ์ ตัวอย่างเช่น เกิดเหตุแผ่นดินไหว
57
มีผู้คนล้มตายจำนวนมากเกิดสภาวะการขาดแคลนอาหาร เสื้อผ้า การบริจาคในลักษณะที่ต้องตอบสนอง
ต่อสถานการณ์อ ย่างฉับ พลันจะอยู่ ในกลุ ่ม impulsive ผู้บ ริจ าคมีแนวโน้ม ที่จ ะไม่ ได้ คิ ดถึง ผลของ
การบริจาคในระยะยาว เป็นเสมือนการบริจาคเฉพาะหน้า ผลที่ได้จากการบริจาคคือการตอบสนองทาง
อารมณ์ในเชิงบวกแบบ “ง่ายและเร็ว” ในทางตรงกันข้าม การบริจาคแบบกลุ่มที่สอง คือ deliberate
เป็นการบริจาคแบบจงใจ มีความตระหนักก่อนที่ จะบริจาคและมีการคิดถึงผลจากการบริจาคในระยะ
ที่ยาวกว่าแบบ impulsive (Karlan, Tantia, & Welch, 2019)
ทีนี้ เราลองมาวิเคราะห์กันว่า การบริจาคผ่านตู้ปันสุข ถือเป็นการบริจาคแบบ impulsive หรือ
แบบ deliberate ในกรณีของประเทศไทย โครงการตู้ปันสุข ถูกจัดขึ้นมาเพื่อ ตอบสนองต่อผลกระทบ
ทางเศรษฐกิจอันเกิดจากวิกฤต COVID-19 โดยตรง จะเห็นว่าตู้ปันสุ ขไม่ได้เกิดขึ้นเมื่อโรค COVID-19
ได้มีการแพร่ระบาดในประเทศไทย แต่เกิดขึ้นหลังจากที่ภาครัฐมีการออกระเบียบในการงดเว้นการเปิด
ให้บริการของสถานที่สาธารณะ โรงเรียน ห้างร้าน และออกระเบียบมิให้ประชาชนเดินทางนอกเคหสถาน
ในยามวิกาล ส่งผลให้ประชาชนจำนวนหนึ่งต้องถูกพักงานและกลายเป็นผูว้ ่างงานชั่วคราว การเกิดขึ้นของ
ตู้ปันสุขถือเป็นการตอบสนองต่อสถานการณ์แบบเร่งด่วน จึงถูกนับว่าเป็นการบริจาคแบบ impulsive
ชีวิตของคนเรามีทางเลือกหลายทาง เราลองมาพิจารณากันดูว่า แท้จริงแล้วเราคือคนที่ชอบ
บริจาคเพื่อที่จะมีความสุขแบบทันทีทันใด หรือเราเป็นผู้บริจาคที่ตระหนักถึงผลกระทบในระยะยาวและ
ชอบความสุขที่เกิดจากการพยายามมากกว่าความสุขที่บริโภคได้แบบฉีกซองต้มน้ำสามนาที

58
The People’s Supermarket
เมื่อคนไทยได้ร่วมเป็นเจ้าของร้านซูเปอร์มาร์เก็ตในลอนดอน
ในสหราชอาณาจักรนั้น มีร้านค้าแบบซูเปอร์ม าร์เ ก็ตระดับ แบรนด์ขนาดใหญ่อยู่ห ลายแห่ง
ได้แก่ Tesco (ที่สหราชอาณาจักรเรียกว่า Tesco เฉย ๆ ไม่มีคำว่า Lotus ต่อท้ายเหมือนที่ไทย), Asda,
Sainsbury’s, Waitrose, Morrisons และ Aldi (Sweney, 2 April 2019) ผลของการเกิ ด ขึ ้ น ของ
ซูเ ปอร์ม าร์เ ก็ตที่ม ีห ลากหลายสาขา ทำให้ร ้านเหล่านี้ สามารถทำการต่อรองราคาผลิตภัณฑ์จ าก
ผู้ประกอบการได้ เพราะซื้อสินค้าทีละจำนวนมาก กระบวนการต่อรองราคานี้ ยังรวมไปถึงการคัดเลือก
สินค้าทางการเกษตร สินค้าทางการเกษตรหลายชนิดถูกคัดออกจากระบบคลังสิ นค้า เพียงเพราะมีขนาด
ที่ไม่ได้มาตรฐาน รูปทรงไม่สวยงาม เช่น มันฝรั่งที่ไม่ได้มีผิวเรียบ กล้วยหวีที่มีขนาดเล็ก ฯลฯ ประมาณการ
ว่าอาหารที่ขายในสหราชอาณาจักรผ่านทางซูเปอร์ม าร์เ ก็ตมีส ่วนแบ่งทางการตลาดสูง ถึงร้อยละ 96
(People of London, 2015)
The People’s Supermarket หรือซูเปอร์มาร์เก็ตของประชาชน ถือกำเนิดขึ้นในปี ค.ศ. 2010
โดย Arthur Dawson เชฟร้านอาหารและเจ้าของร้านอาหาร Dawson กล่าวว่าทุก 1 แคลอรี่ของอาหาร
ที่ทานในประเทศอังกฤษ จะมาจากการใช้กำลังการผลิตถึง 10 แคลอรี่ ดังนั้นอุตสาหกรรมอาหารถือเป็น
อุตสาหกรรมที่ก่อ ให้เกิดความสิ้นเปลืองพลัง งานเป็นอย่างมาก Dawson มีความสนใจในการสร้าง
ร้านอาหารที่ประหยัดพลังงาน โดยร้านของเขาใช้พลังงานน้ำเป็นหลัก นอกจากนี้ร้านอาหารของเขา
มีเป้าหมายที่จะลดขยะทุกประเภท มีการนำผลิตภัณฑ์รีไซเคิลกลับมาใช้ใหม่ เช่น ในร้านมียางรถยนต์ที่ใช้
แล้วนำกลับ มาใช้เป็นกระถางต้นไม้ที่ปลูก ผลไม้ในร้านอาหาร เศษอาหารที่เหลือถูกนำไปทำเป็นปุ๋ย
อย่างไรก็ตาม Dawson ต้องการที่จะขยายขอบเขตของการเปลี่ยนแปลงไปมากกว่าแค่พื้นที่ในร้านอาหาร
ของเขา โครงการ The People’s Supermarket จึงถือกำเนิดขึ้น (TED, 2010)
เงินทุนในการก่อตั้ง The People’s Supermarket มาจากการที่ Dawson จัดงานขายมื้ออาหาร
เป็นคอร์สให้กับลูกค้า โดยอาหารทำมาจากสินค้าที่ถึง กำหนดวันหมดอายุและไม่สามารถขายต่อได้
ในซูเปอร์มาร์เก็ต (Channel 4, 4 March 2011) ร้าน The People’s Supermarket ตั้งอยู่ในบริเ วณ
Bloomsbury อันเป็นย่านที่แวดล้อ มไปด้วยสถานศึก ษาอย่ าง University College London (UCL)
และ London School of Economics and Political Science (LSE) และอันที่จริงแล้วสถานที่ตั้งอยู่
ไม่ไกลจาก Tesco และ Waitrose
The People’s Supermarket สามารถดึงประชาชนที่อาศัยอยู่และผู้ที่ทำงานในย่าน Bloomsbury
เข้ามาเป็นสมาชิกจำนวนหนึ่ง บุคคลผู้ประสงค์จะเข้ามาเป็นสมาชิกต้องทำการจ่ายค่าสมาชิก ร้านแห่งนี้
มีเ พียงพนักงานคิดเงินที่ได้รับเงินเดือน นอกจากนั้นแล้ว เป็นหน้าที่ของสมาชิกที่จะต้อ งหมุนเวียน
ผลัดเปลี่ยนมาเป็นอาสาสมัครช่วยงานในร้านเพื่อ แลกกับ การได้ร ับ ส่วนลดราคาสินค้า ร้อยละ 10
(ผู้เ ขียนเคยเป็นสมาชิกและได้ท ำการอาสาสมัครให้ก ับร้าน The People’s Supermarket ในช่วงปี

59
ค.ศ. 2011) งานอาสาสมัครมีตั้งแต่จัดวางสินค้า ไปจนถึงมีส่วนช่วยเหลือในการทำอาหาร ผลไม้ ผัก และ
เนื ้ อ สั ตว์ ทางร้ านนำมาขายโดยผ่ า นการซื ้อ ขายโดยตรงจากเกษตรกร ราคาอาหารอาจไม่ถูก นัก
เมื่อเปรียบเทียบกับซูเปอร์มาร์เก็ตใกล้เคียง แต่คุณค่าที่ผู้ซื้อได้รับกลับไปคือการได้สนับสนุนเกษตรกร
สหราชอาณาจั ก รโดยตรง สำหรั บ อาหารสด ผั ก ผลไม้ ที ่ ใ กล้ จ ะหมดอายุแ ละไม่ ส ามารถขายได้
จะถูกแปรเปลี่ยนไปเป็นอาหารกลางวัน หรือชุดอาหารเย็น โดยในแต่ละวันรายการอาหารจะไม่ซ้ำกัน
เป็นเพราะขึ้นอยู่กับทางร้านว่ามีอาหารสดประเภทใดบ้างที่ยังขายไม่หมดในแต่ละวัน ทางร้านจะทำการ
ขึ้นป้ายสถิติว่าสามารถลดของเหลือจากอาหารไปได้กี่กิโลกรัมในแต่ละสัปดาห์ เป้าประสงค์สู งสุดของ
โครงการ The People’s Supermarket คือการลดเศษขยะที่เ กิดจากอาหารให้เหลือ 0 เปอร์เ ซ็นต์
และการสนับสนุนการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน
ปัจจุบัน The People’s Supermarket มีอายุยืนยาวมากกว่า 10 ปี มีส่วนในการช่วยลดขยะ
ที่เกิดจากอาหารในทุก ๆ วัน The People’s Supermarket ถือเป็นสหกรณ์ชุมชนของประชาชนย่าน
Bloomsbury เป็นร้านอาหาร และเป็นซูเ ปอร์ม าร์เ ก็ตที่ ยัง คงยืนหยัดอยู ่ไ ด้ท ่ามกลางการแข่ ง ขั น
กับซูเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่รายอื่น

60
Poverty, Inc. เมื่อเราถูกฆ่าด้วยความสงสาร
ภาพยนตร์สารคดีเรื่อง Poverty, Inc. (2014) ได้ส่งแรงสะท้อนให้เราได้คิดในมุมกลับถึงเรื่องราว
ที่คนทั่วไปมักคิดว่า การบริจาคสิ่งของเงินทองให้กับผู้ที่เดือดร้อน คือเรื่องราวดีดีที่เราสามารถทำได้ทุกที่
ทำได้ตลอดเวลาเพื่อเพื่อนมนุษย์ และสิ่งที่เราทำไปนั้น ย่อมส่งผลดีต่อผู้ได้รับเสมอ สารคดีเรื่องนี้สะท้อน
ให้เราได้เห็นอีกมุมหนึ่งว่า การบริจาคแบบไม่บนั ยะบันยัง อาจส่งผลในแง่ลบต่อธุรกิจ SMEs ภายในประเทศได้
สารคดีเรื่องนี้กำกับโดย Michael Matheson Miller นอกจากการเป็นผู้กำกับภาพยนตร์แล้ว
เขายังเคยเป็นอาจารย์สอนด้านรัฐศาสตร์และปรัชญาที่ Ave Maria College ประเทศนิการากัว (Poverty,
Inc., n.d.) ในการดำเนินเรื่องของ Poverty, Inc. ผู้กำกับได้แสดงให้เราเห็นถึงจำนวนปริมาณอันมหาศาล
ของสิ่งบริจาค องค์กรจำนวนมากได้เข้าไปช่วยเหลือประเทศกำลังพัฒนาโดยเน้ นการช่วยเหลือด้วยการ
บริจาค แต่ไม่ได้เน้นไปที่การพัฒนาในศักยภาพของมนุษย์ ผลที่เกิดขึ้นก็คือ เมื่อประชาชนรับรูว้ ่าถึงอย่างไร
ก็จะมีของมาบริจาคให้กับพวกเขา ไม่ว่าจะเป็นอาหารแห้ง เสื้อผ้า รองเท้า ทำให้ประชาชนเลือกที่จะเป็น
ผู้รอรับสิ่งของบริจาคและไม่ซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการรายย่อยในประเทศ ผลในระยะยาว คือ การทำลาย
การเติบโตของธุรกิจประเภท SMEs ในประเทศกำลังพัฒนาผ่านการทำดีด้วยการบริจาค โดยประเทศโลกที่ 1
ในสารคดีนำเสนอเรื่องราวของรองเท้ายี่ห้อ TOMS ซึ่งมีคติประจำแบรนด์ว่า “buy-one-give-one”
ที่ผ่านมา TOMS ได้บริจาครองเท้าไปแล้วถึงเกือบ 100 ล้านคู่ (Marquis & Park, 2014, p. 28; TOMS,
n.d.) ผลจากการเกิดขึ้นของ TOMS และการประสบความสำเร็จจากยอดขายที่ขายสินค้าผ่านเรื่องราวที่
เน้นคุณค่า ที่ทำให้ผู้ซื้อรองเท้ารู้สึกว่าตนเองได้มอบอะไรกลับ คืนแก่สังคมผ่านรองเท้า 1 คู่ ส่งผลให้
บริ ษ ั ท อื ่ น ๆ ทำการลอกเลี ย นแบบโมเดลธุ ร กิ จ ของ TOMS เช่ น Warby Parker บริ ษ ั ท ขายแว่ น
ทำการบริจาคแว่นตาไปแล้วกว่าแสนคู่ Soapbox Soaps และ Two Degrees Food ใช้โมเดลเดียวกันนี้
ในการซื้อ 1 บริจาค 1 ให้แก่ผู้ที่มีสุขอนามัยที่ไม่ดีและเด็กผู้ขาดแคลนอาหาร (Marquis & Park, 2014,
p. 28) งานวิจัยจาก arquis & Park (2014) แสดงให้เห็นว่าคนรุ่นมิลเลนเนียล ให้ความสำคัญกับคุณค่า
ทางสังคม และด้วยโมเดลทางธุรกิจที่ไม่ได้มีอะไรซับซ้อนแต่กลับส่งผลดีต่อการสื่อสารทางการตลาด
ทำให้บริษัทหลายแห่งหันมาให้ความสำคัญกับการสร้างคุณค่าทางสังคม
อย่างไรก็ตาม การบริจาคสิ่งของให้กับกลุ่มคนที่ถูกนิยามว่าเป็นคนจนอาจก่อให้เกิดผลเสียหลาย
ประการ Hawthorne, 2017 ให้ความเห็นถึงข้อเสีย 5 ประการอันเกิดจากการบริจาคว่า
1. ชุมชนไม่สามารถอยู่ได้อย่างยั่งยืนด้วยการพึ่งพิงเพียงสิ่งบริจาค
2. การบริจาคไม่ได้แก้ไขปัญหาที่แท้จริง
3. วิธีการแก้ไขปัญหาเพื่อความยั่งยืนไม่ได้ถูกทำการพัฒนา
4. ผู้บริจาคไม่มีแผนการที่ยั่งยืน
5. การบริจาคเป็นการฆ่าเศรษฐกิจชุมชน
ภาพยนตร์สารคดีเรื่องนี้ มีข้อความจากคนในประเทศผู้รับการบริจาค ที่นำเสนอต่อผู้ชมให้ฉุกคิด
ว่า การที่เราคิดว่าเรากำลังทำดี แท้ที่จริงแล้ว ได้ไปทำให้ใครเดือดร้อนหรือไม่ ผู้ให้สัมภาษณ์สองรายใน

61
ภาพยนตร์สารคดีกล่าวว่า “ไม่มีใครอยากเป็นขอทานตลอดชีวิต” และ “ผมรู้จักประเทศที่ร่ำรวยจาก
การค้าขาย...แต่ผมไม่รู้จักประเทศใดที่เมื่อได้รับการช่วยเหลือเป็นจำนวนมากแล้วกลายเป็นประเทศโลกที่
1” (PovertyCure, 24 October 2014)
สุดท้ายแล้ว ไม่มีใครที่อยากจะเป็นผู้รับตลอดกาล เราทุกคนต่างอยากที่จะมีคุณค่าในตัวเอง
และอยากรู้สึกภาคภูมิใจในการพัฒนาศักยภาพที่มีอยู่

62
เรายังโชคดีกว่าคนเป็นพันล้านบนโลก: คุณค่าของเงิน 175 บาท
ถ้าหากว่าคุณมีรายได้มากกว่า 175 บาทต่อวัน หรือมากกว่า 5,250 บาทต่อเดือน นั่นแปลว่า
คุณมีรายได้มากเกินกว่าคนเกือบครึ่งหนึ่งบนโลกใบนี้
ข้อมูลจากธนาคารโลกพบว่า ร้อยละ 46 ของประชากรโลกมีชีวิตอยู่ด้วยเงินจำนวนน้อ ยกว่า
5.5 เหรียญสหรัฐต่อวัน (175 บาท) เป้าหมายของธนาคารโลกที่ขีดเส้นไว้ในปี ค.ศ. 2030 คือการกำจัด
ความยากจนขั้นรุนแรง โดยมีก ารใช้เ ส้นแบ่ง ความยากจนขั้นรุนแรงอยู่ท ี่ 1.9 เหรียญสหรัฐต่อวัน
หรือราว 60 บาท (The World Bank, 2018)
ภาพยนตร์สารคดีเรื่อง Living on One Dollar เล่าถึงเรื่องราวของนักศึกษาชาวอเมริกัน 4 ราย
ที่ตัดสินใจเดินทางไปยังประเทศกัวเตมาลาเป็นระยะเวลา 8 สัปดาห์ โดยอาศัยอยู่ด้วยเงินวันละ 1 เหรียญ
สหรัฐต่อคน ซึ่ง ณ ขณะเวลาที่พวกเขาทำการทดลอง มีประชากรบนโลกราว 1.1 พันล้านคนที่ใช้ชีวิตอยู่
ด้วยเงินน้อยกว่า 1 เหรียญสหรัฐ สิ่งที่เกิดขึ้นกับนักศึกษาทั้ง 4 รายหลังจากที่ทดลองใช้ชีวิตอยู่ในประเทศ
กัวเตมาลาไปซักพักหนึ่ง พบว่านักศึกษาเริ่มมีอาการผื่นแพ้ มีอาการนอนหลับไม่สนิทและมีน้ำหนักตัว
ที่ลดลงอย่างเห็นได้ชัด (TEDx Talks, 2011)
สารคดีเรื่องนี้แสดงให้เห็นถึงความยากลำบากในการใช้ชีวิตท่ามกลางความยากจน ซึ่งนักศึกษา
ชนชั้นกลางในสหรัฐอเมริกาไม่เคยพบเจอ พวกเขาทั้ง 4 คน ได้ทำการทดลองเป็นเกษตรกร นอนบน
พื้นดินอันว่างเปล่า และเริ่ม ทำการวิจ ัยผ่านการสัม ภาษณ์ ชาวบ้า นที่ อยู ่ในพื้นที่บ ริเ วณใกล้เ คี ย ง
จากการเก็บข้อมูลทำให้พวกเขาเข้าใจสภาวะของความยากจนที่แท้จริงมากขึ้น หลังจาก 8 สัปดาห์ผ่านไป
นักศึกษาทั้ง 4 รายมีน้ำหนักลดลงรวมกันถึง 18 กิโลกรัม จากการวิจัยพบว่า คนยากจนในกัวเตมาลา
ที่พวกเขาสัมภาษณ์ มักคิดถึงเรื่องเงินอยู่ตลอดเวลา คือ คิดว่าจะทำอย่างไรให้มีเงินพอใช้ได้ทั้งในระยะสั้น
และระยะยาว ชาวบ้านมีการรวมกลุ่มช่วยเหลือกันเองผ่านนวัตกรรมที่คิดขึ้น เช่น จัดตั้งชมรมออมเงิน
ซึ่งแท้จริงแล้วคือการรวมกลุ่มกันเล่นแชร์นั่นเอง โดยทุกเดือน สมาชิกในชมรมจะทำการส่งเงินเข้าไปยัง
ส่วนกลาง และทุกคนจะผลัดกันได้รับเงินก้ อนเพื่อนำไปใช้จ่าย อย่างไรก็ตามวิธีการนี้มีความเสี่ยงมาก
ที่สมาชิกในชมรมจะสูญเสียเงินในกรณีที่สมาชิกปฏิเสธที่จะจ่ายเงิน หรือเกิดการขโมยเงินส่วนกลางขึ้น
วิธีการหนึ่งที่ช่วยเหลือประชาชนผู้ยากจนคือการปล่อยเงินกู้โดยสถาบันทางการเงิน โดยเป็นการปล่อย
เงินกู้ด้วยเงินจำนวนไม่มากต่อราย แต่มากพอที่จะทำให้ผู้กู้สามารถลงทุนในกิจการขนาดย่อมของตนเอง
เช่น ลงทุนซื้อผ้าดิบมาเพื่อนำมาทอเป็นลวดลายขาย (TEDx Talks, 2011) วิธีการนี้เรียกว่า ระบบการเงิน
ในระดับจุลภาค หรือ ไมโครไฟแนนซ์ (Micro-Finance) จะเห็นได้ว่าวิธีการนี้เป็นวิธี การเดียวกันกับ
ที่ธนาคารกรามีนในประเทศบังคลาเทศใช้ ผลคือธนาคารกรามีนได้เปิดโอกาสให้สตรีจำนวนมากได้มาเป็น
ผู้ประกอบการรายย่อย (Grameen Foundation, n.d.)
ภาพยนตร์สารคดีเรื่อง Living on One Dollar ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงแก่ชาวกัวเตมาลา
จำนวนหนึ่ง โดยสตรีชาวกัวเตมาลา ได้รับเงินกู้เพื่อธุรกิจเป็นจำนวน 6,242 ราย กว่า 500 หลังคาเรือน

63
มีน้ำสะอาดไว้บริโภค นักเรียนชาวกัวเตมาลากว่า 110 คนได้รับทุนการศึกษาต่อ และเกิดโรงเรียนและ
ศูนย์โภชนาการแห่งใหม่ (Optimist, n.d.)
ท้ายที่สุดแล้ว จากโครงการวิจัยและถ่ายทำภาพยนตร์สารคดีของนักศึกษามหาวิทยาลัยจำนวน
4 คน ได้ก ่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลง ทั้ง ในแง่ของชีวิตผู้ทำสารคดี ซึ่ง ต่อมาได้ก ลายเป็น influencer
ในการทำสารคดีเพื่อสังคม การเปลี่ยนแปลงของชาวบ้านกัวเตมาลาที่เหล่านักศึกษาชาวอเมริกันได้พบเจอ
และทำความรู้จัก ไปจนถึงการเปลี่ยนแปลงในความรู้สึกนึกคิดของผู้ชมสารคดีเรื่องนี้จากทั่วทุกมุมโลก

64
Eatable City: เมืองกินได้
โครงการเมื องกิ น ได้ (Eatable City) ถื อ กำเนิ ดขึ ้ น ในปี ค.ศ. 2010 ณ เมื อ ง Andernach
ประเทศเยอรมนี โครงการ Eatable City มีจุดประสงค์ที่จะสร้างพื้นทีส่ ีเขียวให้แก่เมือง โดยการสร้างเมือง
กินได้เป็นไปเพื่อการสนับสนุนระบบนิเวศน์ เศรษฐกิจ และสุนทรียะของเมือง (Connective Cities, n.d.)
โครงการ Eatable City เกิดจากการร่วมมือกันระหว่างรัฐบาลท้องถิ่น NGOs และภาคประชาชน
หลักการของ Eatable City คือการปลูกพืชแปลงผักชนิดกินได้ในพื้นที่สาธารณะของเมือง โดยประชาชน
สามารถเข้ามาเก็บพืชผักเพื่อนำกลับไปเป็นส่วนประกอบของมื้ออาหารได้ ทั้งนี้ ในแต่ละปีจะมี การเน้น
การปลูก พืชชนิดที่แตกต่างกันออกไป เช่น ในปี ค.ศ. 2010 มีก ารปลูก มะเขือเทศ 101 สายพันธุ์ ,
ปี ค.ศ. 2011 มี ก ารปลู ก ถั ่ ว 100 สายพั น ธุ์ , ปี ค.ศ. 2012 มี ก ารปลู ก หั ว หอม 20 สายพั น ธุ์
และปี ค.ศ. 2013 เน้นไปที่การปลูกกะหล่ำปลี (Connective Cities, n.d.)
นอกจากการปลูกพืชกินได้แล้ว Eatable City ยังมีการปลูกผลไม้และของกินชนิดอื่น ๆ เช่น ลูกพลับ
มะเดื่อ อัลมอนด์ และส้มขม ซึ่งทั้งหมดล้วนมีที่มาจากบริเวณทะเลเมดิเตอร์เรนียน นอกจากนี้ยังมีการ
นำเอาผลไม้ท้องถิ่นที่ปัจจุบันเป็นผลไม้หายากมาปลูกเพิ่มเติม เช่น ควินซ์ (ผลไม้ที่มีลกั ษณะเหมือนแอปเปิล
ผสมกับลูกแพร์) เมดลาร์ (ผลไม้คล้ายแอปเปิล) และเชอร์รีคอร์เนเลียน (Connective Cities, n.d.)
ที่ผ่านมาโครงการ Eatable City ได้ช่วยให้คนว่างงานได้มีงานทำ โดยทำหน้าที่ในการดูแลพืชผัก
ผลไม้ของโครงการ นอกจากนี้โครงการยังได้ส่งเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนตั้งแต่ระดับประถมศึกษาขึ้นไป
โรงเรียนทำการเรียนการสอนด้านการเกษตรแบบยั่งยืน การบริโ ภคตามหลักโภชนาการเพื่อสุขภาพ
การพัฒนาอย่างยั่งยืน และนักเรียนได้มีโอกาสในการดูแลสวนพืชผักของโรงเรียน (Connective Cities, n.d.)
ในปี ค.ศ. 2018 โครงการ Edible Cities Network-Integrating Edible City Solutions for
social, resilient and sustainably productive cities (EdiCitNet) ได้ถือกำเนิดขึ้นภายใต้การสนับสนุน
ทุนโดยสหภาพยุโรป โครงการ EdiCitNet สนับสนุนการปลูกพืชในพื้นที่เมือง ซึ่งในปัจจุบันมีเครือข่าย
ร่วมกันกว่า 11 เมือง ในประเทศเนเธอร์แลนด์ , เยอรมนี (Andernach ถือเป็นหนึ่งในเมืองเครือข่าย),
นอร์เวย์, สเปน, สหราชอาณาจักร, สโลวีเนีย, ตูนิเซีย, โตโก, อุรุกวัย และคิวบา (Edible Cities Network,
n.d.) หนึ่งในโครงการที่มีชื่อเสียงมากของ EdiCitNet เกิดขึ้นที่เมืองรอตเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์
โดยบริษัทชื่อ Rotterzwam ได้ทำการปลูกเห็ดในบริเวณที่เคยเป็นสระว่ายน้ำ โดยใช้ปุ๋ยที่ท ำมาจาก
กากกาแฟ เห็ดที่ปลูกได้จะนำไปขายต่อให้กับร้านอาหารท้องถิ่น (Berlin University Alliance, 2019)
ในอนาคตเราอาจจะได้เห็นเมืองกิ นได้ ในหลาย ๆ พื้นที่มากขึ้น ข้อดีที่เห็นได้ชัดเจนของเมือง
กินได้ คือการใช้พื้นที่อันว่างเปล่าให้เป็นประโยชน์ พลเมืองในเมืองกินได้สามารถเรียนรู้ในการทำการเกษตร
ผ่านการเป็นอาสาสมัครและการทานผักและผลไม้ที่ปราศจากการใช้ยาฆ่าแมลงยังส่งผลให้ผู้คนในเมือง
มีสุขภาพที่ดีในระยะยาว

65
เรื่องราวของ Olio สตาร์ทอัพกู้โลกผ่านการกิน
องค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (Food and Agriculture Organization of
the United Nations – FAO) คาดการณ์ว่า ในทุก ๆ ปี โลกได้ส ูญ เสียปริมาณอาหารไปในระหว่าง
กระบวนการผลิตและการบริโภคประมาณ 1 ใน 3 โดยการสูญเสียอาหารแบ่งออกเป็นการสูญเสียแบบ
food loss และ food waste โดย food loss คือการสูญ เสียอาหารในระหว่างกระบวนการผลิตและ
เพาะปลูก ส่วน food waste คือ การสูญ เสียอาหารหลัง ขั้นตอนการผลิตเสร็จ สิ้นแล้ว ตัวอย่างเช่น
ผลผลิตทางการเกษตรบางส่วนถูกคัดทิ้งไปไม่ถึงมือผู้บริโภค เพราะขนาดของสินค้าไม่ได้มาตรฐานตามที่
กำหนด เช่น ลูกแพร์ที่ผลเล็ก มะม่วงที่ผิวไม่เรียบ ในประเด็นนี้จะเห็นได้ว่ามิได้มีความผิดปกติอันใดในเชิง
คุณค่าของอาหาร อาหารบางส่วนที่ใกล้วันหมดอายุหรือเข้าสู่เกณฑ์วันหมดอายุที่ร้านค้านำลงจากชั้นวาง
สิ น ค้ า และอาหารที ่ เ หลื อ จากการบริ โ ภค (Food and Agriculture Organization of the United
Nations, 2019; n.d.)
บริเ วณที่โ ลกได้ส ูญ เสียปริม าณอาหารมากที่สุด อันดับ ที่ 1 อยู่ท ี่เ อเชียกลางและเอเชียใต้
ในอัตราร้อยละ 20.7 อันดับที่ 2 ทวีปอเมริกาเหนือและยุโรป ร้อยละ 15.7 และอันดับที่ 3 แอฟริกาใต้
สะฮารา ร้อยละ 14 ส่วนบริเวณที่มีการสูญเสียปริมาณอาหารน้อยที่สุด ได้แก่ ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์
ร้อยละ 5.8 สำหรับปริมาณอาหารที่มีการสูญเสียมากที่สดุ ได้แก่ อันดับที่ 1 พืชผลที่มีราก หัว และพืชผล
ที่มีน้ำมัน ร้อยละ 25.3 อันดับที่ 2 ผักและผลไม้ ร้อยละ 21.6 และอันดับที่ 3 เนื้อสัต ว์ ร้อยละ 11.9
ในส่วนของประเภทอาหารที่มีอัตราการสูญเสียน้อยที่สุด คือ ธัญพืชและถั่ว ร้อยละ 8.6 (Food and
Agriculture Organization of the United Nations, 2019)
เพื ่ อ เป็ นการลดปั ญ หาของ food waste ในสหราชอาณาจั ก ร Tessa Clarke และ Saasha
Celestial-One จึงได้ร่วมกันก่อตั้ง สตาร์ทอัพที่มีชื่อ ว่า Olio ในปี ค.ศ. 2015 Olio เปิดให้ผู้ใช้บริการ
สามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชันซึ่งภายในแอปฯ ผู้ใช้บริการสามารถโพสต์รูปภาพอาหารทีไ่ ม่ต้องการทาน
แต่อาหารเหล่านี้ยังอยู่ในสภาวะที่สามารถส่งต่อได้ โดยผู้ใช้บริการสามารถทำการมอบ อาหารเหล่านั้น
ให้กับผู้ใช้บริการแอปพลิเคชันในบริเวณใกล้เคียง ที่ผ่านมา Olio มีผู้ใช้งานจำนวนทั้งสิ้น 2 ล้านคนและ
มีการส่งต่ออาหารระหว่างกันไปแล้ว 4.6 ล้านครั้ง ใน 50 ประเทศ (O’Hear, 2018; Olio, n.d. [a], [b])
ผู้เขียนได้ทำการทดลองดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน Olio มาเพื่อทดลองใช้ วิธีการใช้งานของแอปฯ
ค่อนข้างสะดวก ทั้งนี้ Olio ไม่ได้ให้บริการการส่งต่ออาหารแต่เพียงเท่านั้น แต่ยังขยายการให้บริการ
ออกเป็นสิ่งของที่ไม่ใช้แล้ว หากต้องการส่งต่ออาหารหรือสิ่งของ สามารถทำได้โดยการโพสต์รูป ภาพของ
อาหาร/สิ่งของและเขียนอธิบายคร่าว ๆ โดยผู้ใช้บริการแอปฯ จะมีการระบุที่อยู่สำหรับการรับสิ่งของ
ทั้ง นี้ Olio ได้ท ำการเขียนกฎระเบียบไว้อ ย่างละเอียดว่าห้ามมีการซื้อขายสินค้าผ่านระบบ ไม่ม ีการ
แลกเปลี่ยนสิ่งของระหว่างกัน ไม่มีการบริจาค และของทุกอย่างที่โพสต์ในระบบจะต้องไม่มีค่าใช้จ่าย
ในประเด็นของการบริจาคและข้อแตกต่างระหว่างการบริจาคและการส่งต่อ ผู้เขียนมีความเห็นว่ า Olio

66
ต้องการคงมาตรฐานของคำว่า “ส่งต่อ” โดยการส่งต่อสิ่งของหรืออาหารนี้จะสามารถทำได้ต่อเมื่อซื้อมา
แต่ไม่มีโอกาสได้ใช้ ซื้ออาหารมาแต่ไม่สามารถบริโภคได้ทันและใกล้วันหมดอายุ หรือ ซื้ออาหาร/สินค้ามา
ในปริมาณที่มากเกินความต้องการ ซึ่งในประเด็นเหล่านี้ Olio จะทำการสอบถามผู้ใช้บริการเมื่อเข้าสู่
ระบบเป็นครั้งแรกว่าเพราะเหตุใดถึงต้องการส่งต่ออาหาร/สิ่งของให้แก่ผู้รับ แต่ถ้าหากว่าเป็นการบริจาค
นั่นหมายความว่า ผู้บริจาคอาจจงใจซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคมาเพื่อมอบให้ผู้รับบริจาคครั้งละเป็นจำนวนมาก
โดยที่ตนเองอาจไม่ได้มีความต้องการในการบริโภคสินค้านั้นตั้งแต่แรก ทำให้หลักการของการบริจาคไปขัด
ต่อวัตถุประสงค์ของ Olio ที่ก่อตั้งขึ้นมาเพื่อลดปัญหา food waste
อย่างไรก็ตาม เมื่อผู้เขียนได้ทดลองใช้ Olio เป็นครั้งแรกในวันที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2563 พบว่า
ยัง ไม่ส ามารถส่ง ต่อหรือรับ อาหาร/สิ่ง ของได้ เพราะผู้ใช้บ ริก ารที่อยู่ใกล้เ คียงกับ ผู้เ ขียนมากที่สุด
อยู่ไกลออกไปถึง 8,984 กิโลเมตร หรืออยู่ไกลถึงลอนดอน

67
Green School: โลกสีเขียวในบาหลี
ในขณะที่ประเทศไทยและทั่วโลกกำลังเข้าแข่งขันกัน เพื่อที่จะทำให้ผลคะแนนสอบของนักเรียน
สู ง ขึ ้ น รวมไปถึ ง แข่ ง ขัน ให้ อั นดั บ มหาวิ ท ยาลัย มี ก ารขยั บ สูง ขึ้ น ยั ง มี โ รงเรี ย นแห่ ง หนึ ่ง ในบาหลี
ประเทศอินโดนีเ ซีย ที่เ ลือกทางเดินที่แตกต่างจากโรงเรียนส่วนใหญ่และมีเป้าประสงค์ในการมอบ
ประสบการณ์ที่ไม่ได้เป็นไปตามกระแสโลกให้แก่นักเรียน
Green School (โรงเรียนสีเ ขียว) ได้ร ับ การยอมรับ จาก World Economic Forum ให้เ ป็น
โรงเรียนที่มีความก้าวหน้าในการเป็นโรงเรียนต้นแบบที่สร้างหลักสูตรการเรียนการสอนด้านความยั่งยืน
และสร้างผู้นำทางด้านธรรมชาติแ ละสิ ่ง แวดล้อมในอนาคต โรงเรียนแห่ง นี้ตั้ง อยู่ท ่ามกลางพื ้ น ที่
ทางธรรมชาติในบาหลี ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 2008 ในปัจจุบันมีนักเรียนราว 800 คน ทำการเรียนการสอน
ตั้งแต่ระดับชั้นก่อนเข้าอนุบาลไปจนถึงมัธยมศึกษาตอนปลาย (3-18 ปี) (Ho, 2020; World Economic
Forum, 2020, p. 15)
เอกลัก ษณ์เ ฉพาะตัวของโรงเรียนสีเ ขียว คือโครงสร้างอาคารทั้งหมดทำมาจากไม้ไผ่ ตั้ง แต่
ห้องเรียน ห้องประชุม ไปจนถึงห้องนอน ในแต่ละปีโรงเรียนสามารถลดคาร์บอนฟุตพรินต์ไปได้ถึง 4 ตัน
โดยการใช้รถ BioBus ที่ใช้พลังงานจากน้ำมันปรุงอาหาร ถึงแม้จะเป็นโรงเรียนที่อยู่ท่ามกลางสภาวะ
ทางธรรมชาติ แต่หลักสูตรการเรียนการสอนมีความทันสมัยและส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียน
เป็นอย่างมาก โรงเรียนมีห้องไม้สำหรับให้นักเรียนประดิษฐ์สิ่งของ มีเครื่องพิมพ์สามมิติและเครื่องเลเซอร์
เพื่อให้นักเรียนสร้างโมเดลจำลอง (World Economic Forum, 2020, p. 15)
นอกเหนือไปจากการเรียนการสอนในห้องเรียน นักเรียนจะได้สัมผัสกับธรรมชาติที่แตกต่ าง
ไปจากโรงเรียนอื่น ๆ ภายในบริเวณโรงเรียนมีแม่น้ำไหลผ่าน นักเรียนได้เรียนรู้ในการทำการเกษตรและ
การทำอาหารโดยใช้ผลผลิตที่เพาะปลูกได้ภายในโรงเรียน ในปีการศึกษา 2017-2018 โรงเรียนสามารถ
ผลิตอาหารเองได้ถึงเดือนละราว 150 กิโลกรัม (World Economic Forum, 2020, p. 15)
ผู้เขียนได้มีโอกาสเดินทางไปเยี่ยมชม Green School ในปี พ.ศ. 2562 และได้ทดลองทานอาหาร
ของโรงเรียน ปรากฏว่าในมื้ออาหารนั้นไม่มีเนื้อสัตว์ มีแต่ผ ัก ผลไม้ และข้าวเป็นส่วนประกอบหลัก
โดยภาชนะที่ใส่อ าหารจะมีจานรองข้าวเป็นใบกล้วย ห้องเรียนไม่ม ีเ ครื่องปรับ อากาศและอาศัยลม
ตามธรรมชาติเป็นเครื่องทำความเย็น โครงสร้างของอาคารทำจากไม้ไผ่ที่มีขนาดใหญ่ทำให้อาคารมีความ
แข็งแรงคงทนและรองรับคนได้เป็นจำนวนมากแม้ในห้องเรียนที่มีขนาดเล็ก โรงเรียนให้ความสำคัญกับ
ความเป็นส่วนตัวของนักเรียนเป็นอย่างมาก สังเกตได้จากการที่ห้ามผู้เข้าเยี่ยมชมโรงเรียนทำการถ่ายรูป
นักเรียนและเมื่อมีผู้ละเมิดกฎทางเจ้าหน้าที่จะขอให้ลบรูปภาพนั้นทันที
สำหรับใครที่สนใจจะนำบุตรหลานของท่านไปเข้าศึกษาต่อ ณ โรงเรียนสีเ ขียว ค่าเล่าเรียน
ต่อปีการศึกษาสำหรับเด็กเล็กจะอยู่ที่ราว 375,000 บาท และสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายจะ
อยู่ที่ราว 750,000 บาท (Green School, n.d.)
68
Lush: งามอย่างสายกรีน
Lush ถือ กำเนิดขึ้ นในปี ค.ศ. 1995 ณ เมือ ง Poole สหราชอาณาจัก ร Lush ถือเป็นบริษัท
ขายเครื่องสำอางที่ผลิตด้วยมือ ผลิตภัณฑ์ของ Lush มีทั้งผลิตภัณฑ์ดูแลผิว หน้า ร่างกาย ไปจนถึงแชมพู
สบู่ และครีมนวดผม ความพิเศษของ Lush คือ บริษัทมีเป้าประสงค์ในการสนับสนุนการลดใช้พลาสติก
อย่างจริงจัง ผลิตภัณฑ์ทำมาจากสิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติเป็นส่วนใหญ่ ไม่มีการทดลองผลิตภัณฑ์กับสัตว์
และบริษัทเน้นการทำธุรกิจแบบมีจริยธรรม (Lush, n.d. [a]; Teather, 2007)
ถ้าหากลองเดินเข้าไปยัง ร้าน Lush สิ่ง ที่สั ง เกตได้คือ ผลิตภัณฑ์จ ำนวนหนึ่ง ถูก วางกองลง
ตามตะกร้าโดยไม่มีพลาสติกห่อหุ้ม Lush เรียกสินค้าประเภทนี้ว่า สินค้าแบบ “เปลือย” โดยผลิตภัณฑ์
ราวร้อยละ 35 จะถูกขายแบบเปลือย ในส่วนของขวดพลาสติกทีใ่ ช้ห่อหุม้ ผลิตภัณฑ์สามารถนำไปรีไซเคิลได้
ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2012 บริษัทมีการใช้ขวดพลาสติกที่มีขนาดบางลงในอัตราร้อยละ 10 นอกจากนี้ยังมีการใช้
สิ่งห่อหุ้มทดแทนพลาสติกที่ทำมาจากพืชและสามารถย่อยสลายได้ (Lush, n.d. [b]) Lush มีการพัฒนา
ผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ อยู่เสมอ หนึ่งในผลิตภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมมากคือ Soap Paper หรือสบู่ที่มีขนาดบาง
เท่าแผ่นกระดาษและเล็กเท่ากับนามบัตร โดย Soap Paper สามารถใช้ได้กับการทำความสะอาดร่างกาย
และใช้สระผม (Lush, 2017)
นอกเหนือไปจากผลิตภัณฑ์แนวรักษ์ธรรมชาติแล้ว สิ่งที่บริษัทได้ให้ความสำคัญอีกประการ คือ
การคืนรายได้ส่วนหนึ่งสู่สังคม ช่วงปี ค.ศ. 2007 บริษัทบริจาคกำไรราวร้อยละ 2 ให้กับองค์กรการกุศล
และในปัจจุบัน Lush มีโครงการ Charity Pot ที่ให้ผู้บริโภคสามารถร่วมบริจาคเงินผ่านการซื้อสิ นค้า
ประเภทเครื่องสำอางทาผิว โดยรายได้จากการขาย Charity Pot ทั้งหมดจะมอบให้กับองค์กรขนาดเล็ก
ในทวีปอเมริกาเหนือและทั่วโลกที่ทำงานสนับสนุนด้านสิทธิมนุษยชน สัตว์และสิ่งแวดล้อม และอีกหนึ่ง
กิจ กรรมของ Lush คือ การมอบผลิตภัณฑ์ของ Lush ให้แก่องค์ก รขนาดเล็ก ที่ท ำงานสนับ สนุนด้าน
สิทธิมนุษยชน สัตว์ และสิ่งแวดล้อม (Teather, 2007; Lush, n.d. [c])
เป็นเวลากว่า 25 ปีที่ Lush ได้ส่งมอบผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติให้แก่ลูกค้า และเป็นองค์กรที่เน้น
ด้านการทำธุรกิจแบบมีจริยธรรม ในปัจจุบัน Lush มีรายได้กว่าปีละ 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ ถึงแม้ว่าราคา
สินค้าของ Lush ค่อนข้างสูง แต่การเน้นย้ำแบรนด์ว่าเป็นแบรนด์ที่มีจริยธรรมส่งผลให้ลกู ค้าบางส่วนเลือก
ที่จะซื้อสินค้าของ Lush ต่อไป (Financial Times, 2019)

69
Hackathon เร็วกว่าได้พร้างาม
Hackathon มี ท ี ่ ม าจากคำว่ า Hack และ Marathon โดยคำว่ า hack หมายถึ ง การค้ นคว้า
สอบสวนการเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ กระบวนการ Hackathon เกิดขึ้นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1999
โดยการรวมตัวกันของนัก พัฒ นาซอฟต์แวร์ระบบการดำเนินงานคอมพิวเตอร์ OpenBSD (Briscoe &
Mulligan, 2014, p. 2) การ hackathon เป็ น ไปเพื ่ อ การรวมตั ว กั น พั ฒ นาหรือ แก้ ไ ขปัญ หาบางสิ่ง
บางอย่างโดยใช้วิธีการแบบมาราธอน คือ การใช้ระยะเวลาร่วมกันโดยมีเวลาเป็นตัวกำหนด นอกจากคำว่า
hackathon ในบางครั ้ ง มี ก ารใช้ ค ำว่ า hackfest ซึ ่ ง มี ท ี ่ ม าจากคำว่ า hacking festival (Briscoe &
Mulligan, 2014, p. 3)
งาน Hackathon ในปั จ จุ บ ั น ได้ ข ยายขอบเขตจากการรวมตั ว กั น แก้ ไ ขปั ญ หาซอฟต์ แ วร์
โดยนักพัฒนาซอฟต์แวร์ ไปเป็นกิจกรรมหลากหลายประเภท งาน hackathon ไม่ได้ต้องการแค่เพียง
นักพัฒนาซอฟต์แวร์ หรือบุคคลที่สามารถเขียนโค้ดคอมพิวเตอร์ แต่ยังต้องการดีไซเนอร์ และผู้ที่เชี่ยวชาญ
ด้านธุร กิจ ผู้เ ชี่ ยวชาญเฉพาะด้าน รวมไปถึงนักการตลาดมาช่วยกันแก้ไขปัญหา ทั้ง นี้ กลุ่ม ผู้จัดงาน
hackathon ในปัจจุบัน มีตั้งแต่บริษัทเอกชน หน่วยงานรัฐบาล ไปจนถึงองค์กรระหว่างประเทศ
กระบวนการของงาน hackathon จะเริ่มต้นขึ้นด้วยการตั้งโจทย์เพื่อให้ผู้เข้าร่วมงานทราบว่า
จะต้ อ งแก้ ไ ขปั ญ หาหรื อนำเสนอไอเดี ยในด้ า นอะไร เช่ น hackathon ด้ า นการศึ ก ษา hackathon
ด้านการท่องเที่ยว hackathon ด้านสุขภาพ โดยการรับสมัครคนเข้าร่วมงานจะมีการจัดแบ่งออกเป็น
- developer ผู้เชี่ยวชาญด้านการใช้คอมพิวเตอร์สาย coding
- designer ผู้ที่สามารถทำงานด้านกราฟิกดีไ ซน์ สามารถใช้โปรแกรมต่าง ๆ ในการออกแบบ
แอปพลิเคชัน
- business ผู้เชี่ยวชาญในด้านการออกไอเดียเชิงธุรกิจ/การตลาด สามารถใช้ทักษะในการ
นำเสนองานของกลุ่มสู่สาธารณชนได้
โดยทั่วไปของงาน hackathon จะใช้เ วลาตั้ง แต่ 24-72 ชั่วโมง ในการร่วมกันแก้ไขปัญ หา
ผู ้ เ ข้ า ร่ ว มงานมั ก ต้อ งใช้ เ วลามากกว่ า วั น ละ 8 ชั ่ ว โมง ในการร่ ว มกั น ทำงานแก้ไ ขปั ญ หา ดั ง นั้ น
สถานที่จัดงาน hackathon ในหลาย ๆ กรณีจะมีการเปิดทำการ 24 ชั่วโมง เพราะกระบวนการทำงาน
แบบไม่เป็นไปตามเวลาเข้างานปกติ ทำให้ผู้จัดงาน hackathon ส่วนหนึ่งเลือกที่จะจัดงานในช่วงเวลาวัน
ศุกร์-วันอาทิตย์ เพื่อให้ผู้ทำงานประจำสามารถใช้เวลาว่างของตนเองเข้าร่วมงานได้
ในปัจจุบัน มีการจัดงาน hackathon เพื่อแก้ไขปัญหาสังคมมากขึ้น การ hackathon เพื่อแก้ไข
ปัญหาสังคม ได้เปลี่ยนประเภทผู้เข้าร่วมงานจากที่เคยเน้นไปที่ การแก้ไขปัญหาเพื่อเพิ่มโอกาสทางธุรกิจ
ไปเป็นเพื่อสังคม ส่งผลให้จากกลุ่มผู้เข้าร่วมงานสายธุร กิจและการตลาดเปลี่ยนมาเป็นผู้เข้าร่วมงาน
ตามธีม ของงาน hackathon เช่น งาน hackathon ด้านการศึก ษา จะมีนัก การศึก ษา ครู อาจารย์

70
ผู้แทนจากหน่วยงาน NGOs ด้านการศึก ษา มาเข้าร่วม hackathon ในฐานะผู้ม องเห็นปัญ หาของ
การศึกษาและต้องการแก้ไขปัญหาบางอย่างที่ตนเองหรือหน่วยงานกำลังเผชิญอยู่
ผู้เขียนเคยมีส่วนในการเข้าร่วมงาน hackathon ทั้งสายธุรกิจและ งาน hackathon เพื่อแก้ไข
ปัญหาทางสังคม วิธีการดำเนินงาน hackathon ไม่มีความแตกต่างกันมาก ผู้เข้าร่วมงานสามารถรวมกลุ่ม
กันมาก่อน หรือมารวมตัวกันได้ที่งาน hackathon โดยเริ่มต้น หากไม่มีทีมมาก่อน ผู้จัดงานจะให้ผู้เข้าร่วม
งานทำการนำเสนอไอเดียเรื่องที่ตนเองสนใจ (pitching) เช่น งาน hackathon ด้านการท่องเที่ยว
ผู้เ ข้าร่วมงานอาจมีไอเดียในการแก้ไขปัญ หาของแพ็ก เกจทัวร์ท ี่ขายไม่ห มด ด้วยการลดราคาทัวร์
ที่ขายไม่ได้ และทำการนำเสนอเฉพาะทัวร์ราคาถูกจากบริษัททัวร์ที่ยังมีที่ว่างอยู่ให้แก่ลูกค้า และหลังจาก
การนำเสนอไอเดีย จะมีการทำการโหวตว่าผู้เข้าร่วมงานแต่ละคนชอบไอเดียของใคร เมื่อผลโหวตออกมา
ผู้ที่ได้รับคะแนนโหวตเกินขั้นต่ำที่ผู้ร่วมงานกำหนด จะได้นำเอาไอเดียนั้นไปแก้ไขปัญหา โดยผู้ร่วมงาน
ที่เ หลือจะมีโ อกาสไปเข้าร่ วมทีม กับ เจ้า ของไอเดีย ที่ ไ ด้ร ับ การคั ดเลือ ก หลัง จากนั้นกระบวนการ
hackathon ต่อไปคือการคิดหาทางแก้ไขปัญหา ผู้ที่สามารถเขียนโค้ดได้ อาจเริ่มทำการเขียนโปรแกรม
คอมพิวเตอร์เบื้องต้น ผู้ที่เชี่ยวชาญด้านการออกแบบจะทำการออกแบบ presentation ที่เตรียมนำเสนอ
ส่วนผู้เชี่ยวชาญด้านธุรกิจ/การตลาด หรือ ผู้เชี่ยวชาญด้านสังคมประเภทอื่น มักมีบทบาทในการนำเสนอ
ทางแก้ไขปัญหาในเชิงลึก คิดหาวิธีการดึงดูดลูกค้า หาหน่วยงานในการสร้างความร่วมมือ และเป็นผู้
นำเสนองานของทีม กระบวนการสุดท้ายของงาน hackathon คือการนำเสนอผลงาน กระบวนการ
นำเสนอมักจะมีรูปแบบทีค่ ล้ายกัน คือ เริ่มต้นด้วยการนำเสนอปัญหา (pain point) และเสนอวิธีการแก้ไข
ปัญหา การแก้ไขปัญหาผู้เข้าร่วมงานอาจทำเป็นชิ้นผลงาน (prototype) เช่น กลุ่มแก้ไขปัญหาหมอกควัน
ผลิตชิ้นงานเป็นเครื่องดูดฝุ่นที่มีคุณสมบัติดูดควัน (ไม่ต้องผลิตเครื่องจริงออกมา แต่เป็นตัวต้นแบบจำลอง)
นำเสนอผ่านการเขียนโปรแกรมเบื้องต้น หรือการนำเสนอผ่าน presentation ในช่วงการนำเสนองาน
จะมีก รรมการผู้ท รงคุณวุฒิเ ป็นผู้พ ิจารณาการนำเสนอ และอาจมีก ารตั้ง คำถามจากประเด็นที่สงสัย
สุดท้าย ทีมที่มีคะแนนสูงสุดตั้งแต่ 1-3 อันดับแรก จะมีโอกาสได้รับรางวัลจากผู้จัดงานในรูปแบบของ
เงินรางวัล/ของรางวัล ในบางกรณี รางวัลที่ได้รับจะเป็นประกาศนียบัตร/โล่ห์รางวัล
ข้อ ดีของงาน hackathon คือ การสร้างกระบวนการระดมไอเดี ยความคิ ดในการแก้ป ั ญ หา
ภายใต้เงื่อนไขข้อจำกัดของเวลา ซึ่งในหลายกรณีสามารถนำไปปรับใช้จริง ได้ ในส่วนของข้อเสียของ
งาน hackathon คือ ในหลายครั้ง ผลของการจัดงานมิได้ก ่อให้เ กิ ดการแก้ไขปัญ หาจริง เป็นเพียง
การระดมความคิดเบื้องต้น และไม่ได้มีการนำเอาการแก้ไขปัญหาที่ได้นำเสนอไปพัฒนาต่อ จึงเป็นการ
จัดงานที่สิ้นเปลืองทรัพยากร โดยไม่สามารถวัดผลของความสำเร็จได้

71
มหาวิทยาลัย จะไปทางไหนต่อ?
ในปี ค.ศ. 2020 สถาบันอุดมศึกษาขนาดเล็กในอัง กฤษที่ม ีชื่อว่า School of Oriental and
African Studies (SOAS) ตกเป็นข่าวว่าได้กลายเป็นสถานศึกษาที่มีปัญหาทางการเงิน ทั้งนี้ ในปี ค.ศ. 2020
จากเหตุการณ์ COVID-19 ยิ่งจะส่งผลให้ฐานะทางการเงินของ SOAS แย่ลงไปมากกว่าเดิม เพราะรายได้
ที่มาจากนักศึกษาต่างชาติล ดลง ประมาณการว่ารายรับจากค่าเล่าเรียนในส่วนของนัก ศึกษาต่างชาติ
อาจลดลงไปถึงร้อยละ 50 ที่ผ่านมา ผู้บริหารมหาวิทยาลัยได้ทำการขายอาคารสถานที่ของมหาวิทยาลัย
เพื่อแก้ปัญหาทางการเงิน อย่างไรก็ตาม รายได้จากการขายอาคารไม่ได้แก้ปัญหาทางการเงินให้กับ
มหาวิทยาลัยในระยะยาว และท้ายที่สุดแล้วการลดจำนวนของพนักงานมหาวิท ยาลัยอาจเป็นเรื ่องที่
หลีกเลี่ยงไม่ได้ ทั้งนี้ ผู้บริหารมหาวิทยาลัยมีแผนทำการทบทวนว่าหลักสูตรใดยังสามารถทำรายได้และ
อาจต้องทำการปิดหลักสูตรที่ขาดทุน (McKie, 2020)
จากสถานการณ์ ข อง SOAS ทำให้ เ กิ ด คำถามต่ อ สภาวะทางการเงิ น ของมหาวิ ท ยาลั ยใน
สหราชอาณาจักรว่ายังมีมหาวิทยาลัยอีกหลายแห่งหรือไม่ที่กำลังเผชิญสภาวะความเสี่ยงที่จะกลายเป็น
มหาวิทยาลัยที่เข้าสู่สภาวะล้มละลาย
ในปี ค.ศ. 1998 ถือเป็นปีแรกที่รัฐบาลนำโดย Tony Blair นายกรัฐมนตรีสหราชอาณาจักรริเริ่ม
ให้นัก ศึก ษาในระดับ อุดมศึก ษาจ่ายค่าเล่าเรียนในอัตราปีล ะ 1,000 ปอนด์ ต่อมาในปี ค.ศ. 2006
อัตราค่าเล่าเรียนในอังกฤษเพิ่มขึ้นเป็น 3,000 ปอนด์ และนับตั้งแต่ปีการศึกษา ค.ศ. 2012 เป็นต้นมา
ได้ ม ี ก ารเปลี ่ ย นแปลงค่ า เล่ า เรี ย นจาก 3,000 เป็ น 9,000 ปอนด์ (Ball, 2014) ถึ ง แม้ จ ะมี ก ารขึ้น
ค่าเล่าเรียนถึงสามเท่าตัวในปี ค.ศ. 2012 แต่กลับมีอัตราร้อยละของผู้เข้าเรียนต่อในระดับอุดมศึกษามาก
ยิ่งขึ้น โดยในปี ค.ศ. 2018 ถือเป็นปีแรกที่ชาวอังกฤษที่มีอายุตั้งแต่ 18-30 ปี จำนวนเกินกึ่งหนึ่งเข้าศึกษา
ต่อในระดับอุดมศึกษา (Turner, 2019)
ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจว่า สรุปแล้ว มหาวิทยาลัยในสหราชอาณาจักรถือเป็นมหาวิทยาลัยรัฐ
หรือมหาวิทยาลัยเอกชน ทั้งนี้จุดกำเนิดของมหาวิทยาลัยถือเป็นมหาวิทยาลัยเอกชน และไม่เคยตกอยู่
ภายใต้การควบคุมของภาครัฐจนกระทั่งปี ค.ศ. 1919 มีการก่อตั้ง University Grant Committee (UGC)
โดย UGC ถือเป็นช่องทางหนึ่งในการที่รัฐบาลจะสามารถช่วยเหลือมหาวิทยาลัยโดยการกันงบประมาณ
ภาครัฐกระจายไปยังมหาวิทยาลัยต่าง ๆ (Shattock & Berdahl, 1984) ในภาพรวม มิอาจกล่าวได้ว่า
มหาวิท ยาลัยเหล่านี้เ ป็นมหาวิท ยาลัย ของรัฐ แต่เ ป็นมหาวิท ยาลัยที่ได้ร ับ การช่ วยเหลือ ทางด้ า น
งบประมาณอุดหนุนเพียงบางส่วนจากรัฐ ทั้งนี้ ขอยกตัวอย่างงบประมาณในภาพรวมของมหาวิทยาลัย
ในสหราชอาณาจักรในช่วงปีการศึกษา 2014-2015 มาพอสังเขป ในปีการศึกษาดัง กล่าวมีสถานศึกษา
ที่ทำการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษาได้รับงบประมาณอุดหนุนจากรัฐบาลจำนวนทั้งสิ้น 164 แห่ง
โดยรายรับของมหาวิทยาลัยมาจากภาครัฐบาลร้อยละ 26 หรือเพียงราว 1 ใน 4 ของรายได้ทั้งหมด

72
ในขณะที่ร้อยละ 44 ของรายได้มหาวิทยาลัยมาจากการเก็บค่าธรรมเนียมการเรี ยนการสอน ซึ่งถือเป็น
รายได้หลักของมหาวิทยาลัย (Universities UK, 2016, p. 3)
ถ้ า หากพิ จ ารณาเฉพาะในส่ ว นของรายได้ข องมหาวิ ท ยาลัย จากการเรี ยนการสอน พบว่า
ร้อยละ 47 ของรายรับมาจากค่าเล่าเรียนในระดับปริญญาตรีของนัก ศึก ษาจากสหราชอาณาจักรและ
สหภาพยุโรป และร้อยละ 23 มาจากค่าเล่าเรียนของนักศึกษานอกสหราชอาณาจักรและสหภาพยุโรป
(Universities UK, 2016, p. 4)
ในกรณีที่มหาวิทยาลัยขาดรายได้จากนักศึกษาต่างชาติเพราะเหตุก ารณ์ COVID-19 ถ้าหาก
เปรียบเทียบโดยการอ้างอิงปีการศึกษา 2014-2015 พบว่ารายได้กว่า 1 ใน 4 มาจากนักศึกษาต่างชาติ
นอกสหภาพยุโรป ซึ่งต้องจ่ายค่าเล่าเรียนในอัตราที่แพงกว่าอัตราค่าเล่าเรียนของนักศึกษาจากสหราช
อาณาจัก รและสหภาพยุโ รป ทั้ง นี้ ขอเปรียบเทียบในกรณีของ University College London (UCL)
ปีการศึกษา 2020-2021 ค่าเล่าเรียนสำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรีภายในประเทศและสหภาพยุโรป
อยู่ที่ 9,250 ปอนด์ ในขณะที่นักศึกษาต่างชาติที่เหลือมีค่าเล่าเรียนตั้งแต่ปีละ 19,720-28,610 ปอนด์
(UCL, n.d. [a], [b]) การขาดรายได้จากนักศึกษาต่างชาติ แม้มิใช่รายได้หลักของมหาวิทยาลัย แต่ปฏิเสธ
ไม่ได้ว่าประเด็น COVID-19 มีความสำคัญมากต่อรายได้โดยรวมของมหาวิทยาลัยในสหราชอาณาจักร
SOAS ถือ เป็นสถานศึก ษาที่ม ีก ารเรียนการสอนแบบเฉพาะทาง กล่าวคือ SOAS มีก ารเน้น
การเรี ยนการสอนด้า นสัง คมศาสตร์ ท ี่ เ น้น area studies ในเอเชี ย ตะวั น ออกกลาง และแอฟริก า
และถือเป็นมหาวิทยาลัยที่มีนักศึกษาต่างชาติสูงถึงร้อยละ 56 โดย SOAS มีนักศึกษาต่างชาติมากกว่า
ค่าเฉลี่ยของมหาวิท ยาลัยทั่วโลกถึง 5 เท่า (SOAS, n.d.) เพราะการเรียนการสอนเฉพาะทางและ
จำนวนนักศึกษาต่างชาติจำนวนมาก ทำให้ SOAS กลายเป็นสถาบันอุดมศึกษาที่มีความเสี่ยงในการเผชิญ
กับสภาวะล้มละลายในอนาคต
สุดท้ายแล้ว สถาบันอุดมศึก ษาที่ม ีก ารเรียนการสอนเฉพาะทาง มีจำนวนคณะและนัก ศึ ก ษา
ไม่มาก อาจมีทางเลือกในการอยู่รอดไม่มากนัก ทางเลือกหนึ่งคือการถูกควบรวมไปเป็นส่วนหนึ่งของ
มหาวิทยาลัยขนาดใหญ่ ดังเช่นกรณีของ University College London ที่ควบรวม Institute of Education
ในปี ค.ศ. 2014 (UCL, 2014) ทางเลือกประการถัดไปคือสิง่ ที่ SOAS กำลังทำอยู่ นั่นก็คือการลดค่าใช้จา่ ย
ตัดหน่วยงานที่ไม่ทำกำไรทิ้ง ในส่วนของทางเลือกสุดท้าย ที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น เพราะไม่ใช่ทางรอด
แต่เป็นทางเลิกกิจการของสถาบันอุดมศึกษาแห่งนี้

73
คำถามท้ายบทที่ 2
1. อะไรคือ SDGs
2. CSR และ Social Enterprise แตกต่างกันอย่างไร
3. ข้อแนะนำในการแก้ไขปัญหาการคอร์รัปชันในเบื้องต้น มีอะไรบ้าง อธิบาย
4. จากบทความท้ายบทสตาร์ทอัพ Olio มีความเกี่ยวข้องกับ SDGs ประการใด อธิบาย
5. การใช้วิธีการ Hackathon จะสามารถนำมาช่วยสนับสนุนในประเด็น SDGs ได้อย่างไร

74
บทที่ 3
การเป็นพลเมืองกับการเรียนรู้และการดำรงตนในพหุวัฒนธรรมและความหลากหลายทางสังคม
หัวข้อ
- ความหมายของคำว่าพหุวัฒนธรรม
- ความยุติธรรมและการไม่เลือกปฏิบัติ
- ความหลากหลายทางวัฒนธรรม
- ความหลากหลายทางศาสนา
- ความหลากหลายทางชนชาติ
- ความหลากหลายทางเพศ
วัตถุประสงค์
- นักศึกษาเรียนรู้ที่จะปฏิบัติต่อผู้อื่นด้วยความเสมอภาคอย่างปราศจากอคติ
- นักศึกษาสามารถเรียนรู้ถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่ปรากฏอยู่ในสังคมยุคปัจจุบัน
- นัก ศึก ษาสามารถเรียนรู้ถึง ความหลากหลายทางศาสนา ความเชื่อ ที่ป รากฏอยู่ในสังคมยุค
ปัจจุบัน
- นักศึกษาสามารถเรียนรู้ถึงความหลากหลายทางชนชาติที่ปรากฏอยู่ในสังคมยุคปัจจุบัน
- นักศึกษาสามารถเรียนรู้ถึงความหลากหลายทางเพศที่ปรากฏอยู่ในสังคมยุคปัจจุบัน

เกริ่นนำ
ความหลากหลายทางวัฒ นธรรม เชื้อชาติ ศาสนา เพศ ฯลฯ การเคลื่อนย้านถิ่นที่อยู่อาศัย
ส่งผลให้ความหลากหลายเกิดขึ้นในสังคม ในบทนี้ มีประเด็นของการปรับตัวของรัฐเพื่อให้ตอบรับต่อ
สภาวะของความหลากหลาย การเรียนรู้ถึงความเข้าใจในความหลากหลาย การยอมรับและการอยู่ร่วมกัน
อย่างสันติ
ทั้งนี้ ในบทที่ 3 จะมีประเด็นที่สะท้อ นให้เห็นต่อการปรับตัวเพื่อสนับสนุนในประเด็นของความ
แตกต่าง และการต่อต้านความต่างด้วยวิธีการที่มีความรุนแรงตั้งแต่ความรุนแรงระดับ น้อยถึงมาก
ประเด็นในบทที่ 3 ที่ตั้งคำถามไว้คือ วิธีการโดยรัฐ ที่มีเป้าหมายเพื่อสนับสนุนให้กลุ่มคนส่วนน้อยได้รับ
สิทธิพิเศษ เพื่อขยายโอกาส ลดความเหลื่อมล้ำ จะส่งผลให้เกิดความเหลื่อมล้ำไปยังคนอื่น ๆ หรือไม่
อย่างไร และจะมีวิธีการได้ที่สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างถาวร (หากมี) ในบทนี้มีประเด็นชวนให้ถกเถียงหา
คำตอบ ซึ่งคำตอบของผู้อ่านอาจมีความแตกต่างกันออกไป ตามประสบการณ์ สภาวะแวดล้อมที่เ คย
ประสบ

75
บทความท้ายบทที่ 3 เป็นประเด็นที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาของความหลากหลายที่เ กิดขึ้นและยังคง
ธำรงอยู่ในศตวรรษที่ 21 บทความเรื่อง “ปี 2020 แล้ว ทำไมเรายังเหยียดสีผิวกันอยู่ ?” เล่าเรื่องราวการ
เสียชีวิตของ George Floyd และการได้รับการปฏิบัติที่แตกต่างกันจากเจ้าหน้าที่รฐั หรือการตั้งคำถามต่อ
เจ้าหน้าที่รัฐ บทความเรื่อง “โครงการ Host Family สำหรับนักศึกษาต่างชาติในสหราชอาณาจัก ร”
อธิบายถึงโครงการที่สนับสนุนการเรียนรู้ในวัฒนธรรมของพลเมืองสหราชอาณาจักร “Dignity Kitchen
ครัวสร้างศักดิ์ศรีของคนสิงคโปร์” เป็นบทความที่แสดงให้เห็นถึงธุรกิจที่รองรับต่อความสะดวกในการ
ประกอบอาชีพของเพื่อนผู้พิการและกลุ่มเปราะบางในสิงคโปร์ บทความเรื่อง “Her เรารักกันแบบไม่มี
ตัวตนได้ไหม” ชี้ให้เห็นถึงการเปลี่ยนผ่านของสังคม โดยโซเชียลมีเดียและเทคโนโลยีดิจิ ทัลได้เข้ามามี
บทบาทให้บุคคลจากหลากหลายพื้นที่ติดต่อกันได้สะดวกยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม กรณีของบทความนี้
จะชี้ให้เห็นถึงผลกระทบเชิงลบที่มาด้วยกันกับการเปลี่ยนผ่านของเทคโนโลยี บทความเรื่อง “Mumbai
Dabbawalas: อาหารกลางวันจากบ้าน ส่งตรงถึงมือคุณ” ตั้งข้อสังเกตต่ อการประกอบอาชีพที่คดั เลือก
ผ่านถิ่นที่อยู่อาศัย “หัวเราะทั้งน้ำตาไปกับวันจมูกแดง” เรื่องราวของการให้ความช่วยเหลือในระดับ
ระหว่างประเทศ บทความเรื่อง “เที่ยวฟรี นอนฟรี ชีวิตดีดีในยุคดิจิทัล” และ “เดินทางไปดาวอังคารด้วย
ตั๋วเที่ยวเดียว” อธิบ ายในประเด็นที่มีความเกี่ยวข้องกับการทำความเข้าใจในพหุวัฒนธรรมผ่านการ
เดินทาง

ความหมายของคำว่าพหุวัฒนธรรม

พหุ ว ั ฒ นธรรม เกิ ด มาจากคำ 2 คำ คื อ “พหุ ” และ “วั ฒ นธรรม” ตามพจนานุก รมฉบับ
ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 คำว่า “พหุ” หมายความว่า “มาก” ส่วนคำว่า “วัฒนธรรม” หมายความว่า
“สิ่งที่ทำความเจริญงอกงามให้แก่หมู่คณะ เช่น วัฒนธรรมไทย วัฒนธรรมในการแต่งกาย วิถีชีวิตของ
หมู่คณะ เช่น วัฒนธรรมพื้นบ้าน วัฒนธรรมชาวเขา” ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตฯ ไม่ปรากฏของ
ความหมายคำว่า พหุวัฒนธรรม แต่เ มื่อรวมความหมายจากคำสองคำเข้าด้วยกัน พหุวัฒ นธรรม คื อ
สิ่งที่ทำความเจริญงอกงามให้แก่หมู่คณะในลักษณะที่หลากหลาย หรือ วัฒนธรรมอันหลากหลาย
อย่างไรก็ตาม คำว่า วัฒ นธรรม หรือ Culture ในภาษาอัง กฤษ ไม่ได้ม ีความหมายเป็นไปใน
เชิงบวกทั้งหมด เช่น ในสหรัฐอเมริกา มีวัฒนธรรมที่เรียกว่า Rape Culture ซึ่งเป็นคำที่เริ่มมีการถูกพูดถึง
ตั้งแต่ช่วงปี ค.ศ. 1970 เป็นต้นมา Rape Culture คือ วัฒนธรรมที่มีความเชื่อว่าการใช้ความรุน แรง
ที่กระทำโดยผู้ชายต่อผู้หญิง ถือเป็นความเป็นจริงในชีวิตอย่างหนึ่ง และการใช้ความรุนแรงนี้เชื่อมโยง
กับเรื่องทางเพศ โดยถือว่าเป็นสิทธิของผู้ชายที่จะมีเพศสัมพันธ์กับผู้หญิง (Phipps, Ringrose, Renold, &
Jackson, 2018) ดังจะเห็นได้จากตัวอย่างในความหมายของ Rape Culture การแปลคำว่าวัฒนธรรม
จึง หลีกเลี่ยงการแปลว่า “สิ่ง ที่ทำความเจริญงอกงามให้แก่หมู่คณะ” แต่เ ป็น “สิ่ง ที่นิยมประพฤติ-
ความเชื่อในหมู่คณะ” แทน ดังนั้น ความหมายของคำว่าพหุวัฒนธรรม คือ “สิ่งที่นิยมประพฤติ-ความเชื่อ
ในหมู่คณะในลักษณะที่หลากหลาย” หรือ “วัฒนธรรมอันหลากหลาย”

76
ทำไมเราถึงต้องศึกษาเรียนรู้เรื่องพหุวัฒนธรรม นั่นเป็นเพราะว่า ในสังคมปัจจุบัน ได้ปรากฏ
ความหลากหลายมากขึ้น เนื่อ งด้วยความสะดวกในการเข้าถึง การขนส่ง ทั้ง ทางบก ทางทะเล และ
ทางอากาศ การเข้าถึงการสื่อสารที่ปราศจากข้อจำกัด ส่งผลให้ผู้คนจากต่างถิ่นสามารถเห็นวิถีชีวิตของ
ผู้คนที่มีวิถีชีวิตที่แตกต่างออกไป ทั้งนี้ เราสามารถเห็นความหลากหลายทางสังคม วัฒนธรรม และวิถีชีวิต
โดยการสัง เกตผ่านทางอินเทอร์เ น็ต โซเชียลมีเ ดีย และการประสบกับความหลากหลายด้วยตนเอง
การศึ ก ษาเรี ยนรู ้ เ รื ่อ งพหุว ั ฒ นธรรม จะทำให้ เ ราเรี ยนรู ้ ท ี ่จ ะเข้ าใจและยอมรั บ ในความแตกต่าง
อย่างปราศจากอคติ

ความยุติธรรมและการไม่เลือกปฏิบัติ
ความยุติธรรมคืออะไร Michael J. Sandel ศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ผู้สอนวิชา
ความยุติธรรม ได้ตั้งคำถามกับนักศึกษาฮาร์วาร์ดเอาไว้ว่า
กรณีที่ 1 นักศึกษาไปอยู่ในสถานการณ์ที่เป็นผู้บั งคับรถราง แต่ปรากฏว่าสัญญาณ
เบรกไม่สามารถทำงานได้ แต่ในโชคร้ายยัง มีค วามโชคดี อยู่ นั่นคือ พวงมาลัย รถ
สามารถใช้งานได้ ถ้าหากนักศึกษาเลือกที่จะไม่ทำอะไรเลย รถจะต้องชนคนงานทั้ง
5 คน ที่อยู่ตรงหน้า และคนงานเหล่านั้นจะต้องเสียชีวิตทั้งหมด แต่ถ้าหากนั กศึ กษา
หมุ นพวงมาลั ย ไปทางขวา คนทั ้ ง 5 คนนั ้ นจะรอดชี วิ ต แต่ เ มื ่ อหมุ นพวงมาลั ย
ไปทางขวา ยังคงมีคนงาน 1 คนที่อยู่บริเวณรางรถ และเขาจะต้องเสียชีวิตแทนคนทั้ง
5 คนนั้น คำถามคือ คุณจะหมุนพวงมาลัยไปทางขวา เพื่อให้คน 1 คนเสียชีวิต และ
คนทั้ง 5 คน รอดชีวิตหรือไม่ (Sandel, 2009)25

จากคำถามที่ Sandel ตั้ง ปรากฏว่า นักศึกษาส่วนใหญ่ในห้องเรียนเลือกที่จะหมุนพวงมาลัย


ไปทางขวาด้วยจุดประสงค์ที่จะช่วยเหลือให้คนทั้ง 5 คน รอดชีวิต ถึงแม้ว่าจะต้องมีใครคนใดคนหนึ่ง
เสียชีวิตในกรณีนี้ก็ตาม อย่างไรก็ตาม เมื่อเปลี่ยนแนวคำถามกลับพบว่านักศึกษาแทบทั้งหมดในห้องเรียน
กลับตัดสินใจไปในทางตรงข้าม
กรณีที่ 2 สมมติว่าคุณเป็นแพทย์ และมีคนไข้ในความดูแลถึง 5 รายที่ต้องการอวั ยวะ
ที่สำคัญ หากไม่ได้รับการผ่าตัดเปลี่ย นอวัย วะเหล่ านี้ คนไข้จะถึงแก่ค วามตายได้
อย่างไรก็ตาม ไม่มีคนมาบริจาคอวัยวะ โดยอวัยวะที่คนไข้ต้องการ ได้แก่ หัวใจ, ปอด,
ไต, ตับ และตับอ่อน และในขณะที่คนไข้ทั้ง 5 กำลังนอนรอความตายอยู่ นั้น ในห้อง
คนไข้ ห ้ องถั ด ไป เกิ ด มี ช ายคนหนึ ่ ง ที ่มี ส ุ ขภาพดี เยี ่ย ม เข้ ามาตรวจสุ ข ภาพทั ่วไป
ในระหว่างที่เขารอตรวจสุขภาพนั้น เขากำลังนอนหลับอยู่ คำถามคือ จะมีใครเลือกที่
จะฆ่าผู้ชายคนนี้ เพื่อรักษาชีวิตของคนไข้ที่เหลือทั้ง 5 คนบ้าง (Sandel, 2009)26

25 ไม่ได้เป็นการถอดคำพูดแบบคำแต่คำแต่เป็นการสรุปด้วยภาษาของผู้แปลเอง
26 ไม่ได้เป็นการถอดคำพูดแบบคำแต่คำแต่เป็นการสรุปด้วยภาษาของผู้แปลเอง

77
ในโจทย์คำถามที่มีความคล้ายคลึงกัน คือ ทั้งกรณีที่ 1 และ 2 มีจำนวนคนที่เท่ากัน คือ กลุ่ม A
มี 1 คน และกลุ่ม B มี 5 คน ถ้าหากเราไม่ลงมือทำอะไร คนทั้ง 5 จากกลุ่ม B คนจะต้องเสียชีวิต แต่หาก
เราเลือกที่จะช่วยเหลือคนทั้ง 5 คน จะต้องทำให้คน 1 คน จากกลุ่ม A เสียชีวิต ทำไมมนุษย์ถึงเลือกที่จะ
ตัดสินใจไปในทิศทางที่แตกต่างกัน
คำตอบคื อ เรามี ว ิ ธ ี ก ารใช้เ หตุ ผ ลทางศี ล ธรรมที่ แ ตกต่า งกั น การใช้ เ หตุ ผ ลทางศีล ธรรม
แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้ แก่ Consequentialist Moral Reasoning (เหตุผลทางศีลธรรมเชิงผลลัพธ์)
คือ เรานำพาศีลธรรมไปผูกเอาไว้กับผลที่จะเกิดขึ้นจากการกระทำ และ Categorical Moral Reasoning
(เหตุผลทางศีลธรรมเชิงเด็ดขาด) คือ เราวางเส้นศีลธรรมไว้ที่หน้าที่และสิทธิ โดยไม่ได้คำนึงถึงผลลัพธ์
ของการกระทำ (Sandel, 2009) โดยในกรณีท ี่ 1 เมื่อนัก ศึก ษาส่วนใหญ่เ ลือกที่จ ะเบี่ยงพวงมาลัย
ไปทางขวา เพื่อให้คนอีก 5 คนมีชีวิตรอด การกระทำเช่นนั้นถือเป็นการใช้ Consequentialist Moral
Reasoning เพราะเน้นไปที่ผลลัพธ์ คือ ช่วยชีวิตคนได้ 5 คน ย่อมดีกว่า 1 ชีวิต ในขณะที่ใน กรณีที่ 2
นักศึกษาเกือบทั้งหมดในห้องเลือกที่จ ะไม่ฆาตกรรมคนไข้สุขภาพดี เพื่อให้คนไข้อีก 5 คนได้มีชีวิตรอด
ในกรณีนี้นักศึกษาส่วนใหญ่เลือกใช้ Categorical Moral Reasoning คือ ยึดถือในความถูกต้องของการ
ทำหน้าที่ของการเป็นแพทย์ ไม่ละเมิดสิทธิของคนไข้ที่มีสุขภาพดี ถึงแม้ว่าผลลัพธ์จะเป็นการเสียชีวิต
ของคน 5 คน ซึ่งมากกว่าผู้รอดชีวิต 1 คนก็ตาม
ความหมายของคำว่า “ยุติธรรม” ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตฯ คือ “ความชอบด้วยเหตุผล,
ความชอบธรรม หรือ ความเที่ยงธรรม” จากกรณีตัวอย่างข้างต้น เราจะเห็นได้ว่า ความยุติธรรมนั้นเป็นผล
มาจากการตัดสินใจของบุคคล โดยมีพื้นฐานมาจากเหตุผลทางศีลธรรม ซึ่งแต่ละบุคคลจะมีวิธีก ารใช้
เหตุผ ลทางศีล ธรรมที่แตกต่างกัน เช่นเดียวกันกับกลุ่มคน องค์ก ร และรัฐ ในบางกรณีจ ะเห็นว่ารัฐ
หรื อ องค์ ก รระหว่ า งรั ฐ มี ก ารออกกฎหมายที ่ ม ี พ ื ้ น ฐานมาจากเหตุ ผ ลทางศี ล ธรรมที ่ แ ตกต่ างกั น
เช่น ในปี ค.ศ. 2011 European Commission (คณะกรรมาธิการยุโรป) ได้ผ่านกฎหมายที่ให้สิทธิในการ
ที่จะถูกลืม หรือ “Right to be Forgotten” ภายใต้แนวคิดนี้ บุคคลสามารถใช้สิทธิในการขอลบข้อมูล
ส่วนบุคคลของตัวเองจากระบบข้อมูลที่มีการจัดเก็บไว้ ที่มาของสิทธิในการที่จะถูกลืมสามารถย้อนไปที่
กฎหมาย “Le droit à l'oubli” หรือ “Right to Oblivion” ของประเทศฝรั่งเศส ซึ่งถือเป็นกฎหมาย
ที่ให้สิทธิในการที่จะปฏิเสธในการพิมพ์เรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับคดีความที่เคยเกิดขึ้นของนักโทษที่เ คย
ถู ก ดำเนิ น คดี แ ละหลุ ด พ้ น จากการได้ ร ั บ โทษ (Rosen, 2012: 88-89) สิ ท ธิ ใ นการที ่ จ ะถู ก ลื ม มี
ความครอบคลุมทั้งการขอลบข้อมูลส่วนบุคคลโดยตรงจากแหล่งข้อมูล เช่น เว็บไซต์ที่เผยแพร่ข้อมูล ของ
เรา หรือ ขอให้ search engine เช่น Google ให้ทำการลบข้อมูลของเรา ทั้งนี้ Google ไม่สามารถที่จะ
ลบข้อมูลที่มีอยู่ในเว็บไซต์อื่น ๆ โดยตรงได้ แต่สิ่งที่ Google สามารถทำได้คือ ลบผลการค้นหา ลบ links
ที่มีชื่อเราไม่ให้ไปปรากฏอยู่บน Google (European Union, 2018) ในทางตรงกันข้าม ความยุติธรรม
ในรูปแบบของสหรัฐอเมริกา คือ การที่ประชาชนจะได้สิทธิตาม Bill of Rights หรือ บัญญัติว่าด้วยสิทธิ
ของพลเมือง ตามรัฐธรรมนูญ โดยในข้อที่ 1 ที่ปรากฏอยู่ใน Bill of Rights คือ “Freedom of Religion,
78
Speech, and Press” ( National Center for Constitutional Studies, n. d. ; Rosen, 2012: 88)
พลเมืองอเมริก ันมีสิทธิในการที่จะนับถือศาสนา มีเสรี ภาพในการแสดงออกผ่านการพูด , คิด, เขียน
และเปิดเสรีภาพในการแสดงออกของสื่อ และเสรีภาพในการเข้าถึงสื่อ ดังนั้นข้อมูลในรูปแบบเดียวกัน
เช่น ประวัติของการต้องคดีของอาชญากร ถึงแม้ว่าจะได้รับโทษจนคดีเป็นที่สิ้นสุดแล้ว ก็ยังสามารถบรรจุ
ข้อมูลรายละเอียดไว้ในเว็บไซต์ได้
การไม่เลือกปฏิบัติ หมายความถึง การกระทำอย่างเสมอภาค ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 ระบุไว้อย่างชัดเจนในมาตราที่ 27 ว่า
“บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมาย มีสิทธิและเสรีภาพและได้ร ับความคุ้ มครองตาม
กฎหมายเท่าเทียมกัน ชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็น
ธรรมต่อบุคคล ไม่ว่าด้วยความเหตุแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิด , เชื้อชาติ, ภาษา, เพศ,
อายุ, ความพิการ, สภาพทางกายหรือสุขภาพ, สถานะของบุคคล, ฐานะทางเศรษฐกิจ
หรือสังคม, ความเชื่อทางศาสนา, การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมื องอัน
ไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญหรือเหตุอื่นใด จะกระทำมิได้...” (รัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560, 2561: 8)

พื้นฐานที่ท ำให้บ ุคคลได้ร ับ สิท ธิและเสรีภาพอย่างเท่าเทียมกัน ได้ถูก ระบุไว้ตามกฎหมาย


ถ้ายกตัวอย่างที่เห็นได้ชัดมากขึ้นในประเด็นของการไม่เลือกปฏิบัติต่อบุคคล ได้แก่ เจ้าพนักงานที่มีหน้าที่
ในการทำความสะอาดถนนสาธารณะ ย่อ มจะต้อ งทำความสะอาดถนนทุก พื้นที่ ไม่ม ีก ารเว้นการทำ
ความสะอาดบริเวณหน้าบ้านของบุคคลใดบุคคลหนึ่ง เมื่อมีผู้ขอเข้าแจ้งความ เจ้าพนักงานสอบสวนจะต้อง
ทำการรับเรื่องแจ้งความ ผ่านการทำการบันทึกไว้เป็นหลักฐาน ไม่มีข้อยกเว้น ถึงแม้บุคคลผู้นั้นจะเป็น
คนต่างด้าวหรือนักท่องเที่ยวที่อาศัยอยู่ในประเทศไทย
อย่างไรก็ตาม ยังมีตัวอย่างที่เกิดขึ้นจริง ที่ส่งผลให้ต้องตั้งคำถามในประเด็นของการไม่เลือ ก
ปฏิบัติ ในประเทศสหรัฐอเมริกา มีนโยบายที่เรียกว่า Affirmative Action27 ซึ่งเป็นนโยบายเพื่อช่วยเหลือ
ผู้ด้อยโอกาส นโยบายนี้ ให้สิทธิพิเศษแก่ บุคคลบางชาติพันธุ์ สิทธิพิเศษแก่บุคคลที่มีรายได้ ในระดับต่ำ
และสิทธิพิเศษในการจ้างงานแก่บุคคลทีม่ ีลกั ษณะบางประการ เช่น ถูกจ้างงานเพราะเป็นเพศหญิง ถูกจ้าง
งานเพราะเป็นผู้มีความหลากหลายทางเพศ คำถามคือนโยบาย Affirmative Action เป็นนโยบายที่เลือก
ปฏิบัติหรือไม่ คำตอบคือ ใช่ เพราะนโยบายเจาะจงในการให้โอกาสแก่กลุ่มคนบางประเภทแต่ไม่ใช่ทุกคน
ในประเทศจะได้รับสิทธินั้น อย่างไรก็ตาม เมื่อเราพิจารณาถึง Affirmative Action เราจะต้องนำเอา
ประเด็น “ความเหลื่อมล้ำ” เข้ามาพิจารณาด้วย นั่นคือ โดยธรรมชาติแล้วบุคคลไม่ได้เกิดมาด้วยต้นทุน
ชีวิตที่เสมอกัน บางคนเกิดมาจากครอบครัวที่มีฐานะ ย่อมจะส่งผลให้บุคคลนั้นได้รับการดูแลตามสมควร
ไม่ขาดแคลนสารอาหาร และสามารถเข้าศึกษาต่อ ในระดับอุดมศึกษาตามความสามารถของตนเองโดย
ไม่ขัดสนเงินทองในการชำระเป็นค่าเล่าเรียนและค่ากินอยู่ ในกรณีตรงกันข้าม บุคคลที่ถือกำเนิดมา

27 ผู้เขียนแปลคำว่า Affirmative Action โดยอิงจากบทความที่เขียนโดย Coate & Loury (1993)


79
โดยบุพการีอาจหย่าร้างกัน ทำให้ต้องเติบโตมาภายใต้การเลี้ยงดูของพ่อหรือแม่ ที่อาจไม่สามารถสนับสนุน
ให้ บ ุ ต รได้ เ รี ย นตามสมควร ไม่ ส ามารถส่ ง เสี ย ให้ ล ู ก ได้ เ รีย นพิ เ ศษ อาหารการกิ น ไม่ เ พี ย งพอต่อ
ความต้องการ ทำให้สมองของบุตรไม่ได้ร ับการพัฒ นาเท่าที่ควรจะเป็น เมื่อบุตรมีความต้องการที ่จ ะ
เข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัย เพราะต้องการได้รับการศึกษาที่ดีและเชื่อว่าการมีวุฒิการศึกษาที่ดี
จะส่งผลให้สามารถหางานที่ดีและมีรายรับที่ดีได้ ถ้าเยาวชนที่มาจากครอบครัวที่มีฐานะดี และเยาวชน
ที่มาจากพื้นฐานครอบครัวที่ยากจน ต้องมีแข่งขันเพื่อให้ได้รับสิทธิในการเข้ามหาวิทยาลัยผ่านข้อสอบกลาง
ทั้งสองคนนี้มีโอกาสที่เท่าเทียมกันในการนั่งทำข้อสอบ แต่ความเหลื่อมล้ำทางฐานะเศรษฐกิจส่งผลลบ
ต่อเยาวชนที่มาจากครอบครัวพื้นฐานยากจน ทำให้เขามีโอกาสน้อยกว่าที่จะสามารถได้สิทธิเข้าเรียน
ในมหาวิทยาลัยที่ต้องการ
การเลือกปฏิบัติต่อกลุ่มบุคคล ในสถานการณ์บางอย่างจะช่วยลดระดับความเหลื่อมล้ำ ไม่ว่าจะเป็น
ความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจหรือ สังคม ซึ่ง ในระยะยาวจะส่ง ผลให้เพิ่ม ศักยภาพในการแข่ง ขันของ
ผู้ด้อยโอกาสมากขึ้น ถือเป็นการขยายความเท่าเทียมกันในสังคมได้ในระดับหนึ่ง เช่นนั้นแล้ว นโยบาย
Affirmative Action จึงถือเป็นนโยบายเลือกปฏิบัติเชิงบวกสำหรับผู้ด้อยโอกาส ทั้งนี้ “การเลือกปฏิบัติ
เชิง บวกต่อบุคคล” มีศัพ ท์ท ี่ใช้ท ดแทนเรียกว่า “Preference for a Person หรือ การให้ส ิท ธิพิเศษ
ส่วนบุคคล” (คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ, 2558: 93-94)
สำหรับการตอบคำถามที่ว่า “ความยุติธรรม” มีจริงหรือไม่ ตัวอย่างจากการรับนักศึกษาเข้าเรียน
ต่อในมหาวิทยาลัย Ivy League ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่มีความเก่าแก่และมีชื่อเสียง 8 แห่งในสหรัฐอเมริกา
ได้แก่ Brown University, Columbia University, Cornell University, Dartmouth College, Harvard
University, University of Pennsylvania, Princeton University แ ล ะ Yale University28 พ บ ว่ า
มหาวิท ยาลัยในเครือ Ivy League ส่วนมากเลือกที่จะลดมาตรฐานการรับ นักศึก ษาเข้าเรียนในกรณี
ที่ผู้ปกครองเลือกที่จะบริจาคเงินให้แก่มหาวิทยาลัย โดยอัตราเงินบริจาคจะอยู่ที่ 5 ล้ านเหรียญสหรัฐ
สำหรับนักเรียนที่มีคะแนนในระดับที่ไม่ต่างจากคู่แข่งรายอื่น ๆ และ 10 ล้านเหรียญสหรัฐสำหรับผู้ที่มี
คะแนนต่ำกว่า (Unz, 2012 as cited in Fingleton, 2012) ทั้ง นี้ มหาวิท ยาลัยในเครือ Ivy League
ถือเป็นมหาวิทยาลัยเอกชน ที่มีค่าเล่าเรียนที่สูงเมื่อเปรียบเทียบกับมหาวิทยาลัยของรัฐ การลดมาตรฐาน
การรับนักศึกษาซึ่งเป็นผลมาจากการบริจาคเงินไม่ถือเป็น Affirmative Action เพราะไม่ได้สนับสนุน
ให้กลุ่มคนผู้ด้อยโอกาส ได้รับสิทธิให้เข้าเรียนใน Ivy League แต่เป็นการกันพื้นที่ไว้ให้กลุ่มบุคคลที่มี
สถานภาพทางการเงินในระดับบนได้เข้าศึกษาต่อ
จะเห็นได้จากตัวอย่างของการรับเข้านักศึกษาในมหาวิทยาลัยเอกชนระดับบนของสหรัฐอเมริกา
ถึงความเหลื่อมล้ำทางฐานะทางเศรษฐกิจ ที่ส่งผลให้กลุ่มคนจำนวนหนึ่งมีสิทธิเหนือกว่าบุคคลอื่น ดังนั้น
หน้าที่ประการหนึ่ง ของรัฐ คือ การสร้างความยุติธรรม ลดความเหลื่อ มล้ำ ถึงแม้จะเป็นการลดการ

28 อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.businessinsider.com/the-ivy-league-schools-ranked-2013-9
80
เหลื่อมล้ำด้วยวิธีการเลือกปฏิบัติที่เน้นผลเชิงบวก (หรือการให้สิทธิพิเศษ) ต่อผู้ด้อยโอกาส ในมุมมองของ
รัฐบาล การเลือกปฏิบัติในบางกรณี ถือเป็นการให้ยุติธรรม
ความหลากหลายทางวัฒนธรรม
แบบการเรียนการสอนในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับสังคมพหุวัฒนธรรมในประเทศไทยในปัจจุบัน
มีการเรียนการสอนให้นักเรียนได้รู้จักกับความแตกต่างทางวัฒนธรรม เช่น ประเด็นการมีคนอาศัยอยู่ใน
ประเทศไทยหลากหลายเชื้อชาติ นอกจากนี้ยังมีการเรียนการสอนให้นักเรียนได้เรียนรู้ถึงวัฒ นธรรมย่อย
คือ วัฒนธรรมของแต่ละภาคในประเทศไทย พบว่า เนื้อหาในหลักสูตรการเรียนการสอนในแบบเรียน
เมื่อเปรียบเทียบกับแบบเรียนปี พ.ศ. 2520 กับ พ.ศ. 2544 และ พ.ศ. 2551 มีความแตกต่างกันในการ
ยอมรับถึงความหลากหลายทางวัฒนธรรม ตัวอย่างเช่น แบบเรียนในปี พ.ศ. 2520 เขียนถึงคนจีนที่มา
อาศัยอยู่ในประเทศไทยว่าเป็นชาวต่างชาติ ในขณะที่แบบเรียนในยุคหลังจาก พ.ศ. 2520 เปลี่ยนวิธีการ
เรียกจากคำว่าชาวต่างชาติ (คนจีน) ว่าเป็น คนไทยเชื้อสายจีน (ฐิติมดี อาพัทธนานนท์, 2556: 120)
เราสามารถพบวัฒนธรรมที่หลากหลายได้ตามสถานที่ต่าง ๆ ในประเทศไทย วัฒ นธรรมของ
คนภาคเหนือ มีความแตกต่างจากวัฒ นธรรมของคนภาคใต้ ภาคอีส าน และภาคอื่น ๆ วัฒ นธรรม
ที่แตกต่างกันนี้แสดงออกมาทางการแต่งกาย อาหาร ภาษา ประเพณี เช่น เมื่อพูดถึงส้มตำ ไก่ย่าง เราจะ
นึกถึงอาหารจากภาคอีสาน เมื่อเรานึกถึงคำพูดท้ายประโยคที่จบด้วย “เจ้า” เราจะนึกถึงคนภาคเหนือ
เมื่อนึกถึงความรีบเร่ง การตื่นเช้าเพื่อไปทำงาน เรามักจะนึกถึงคนที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพมหานคร
เราได้เรียนรู้วัฒนธรรมจากสังคมรอบตัวของเรา ทั้งนี้ เมื่อมีการเคลื่อนย้ายของประชากรมากขึ้น
หรือเมื่อเราเดินทางไปยังที่ต่าง ๆ เราจะประสบพบเจอกับวัฒนธรรมความเชื่อที่แตกต่างกัน เมื่อเราเอา
คำว่าวัฒนธรรมไปเชื่อมกับคำอื่น ๆ เช่น วัฒนธรรมการทำงาน วัฒนธรรมคน Gen Y เราจะยิ่งพบกับ
ความหลากหลายมากขึ้น ในประเด็นของวัฒนธรรมการทำงาน ประเทศญี่ปุ่นมีวัฒนธรรมการทำงานที่หนัก
พนักงานต้องทำงานในจำนวนชั่วโมงที่ยาวนานในแต่ละสัปดาห์ และโดยเฉลี่ยแล้วคนญี่ปุ่นทำงานถึง
2,000 ชั่วโมงต่อปี จำนวนชั่วโมงการทำงานที่ยาวนานเช่นนี้ แทบจะไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงมานานนับ
ทศวรรษ (Ministry of Health, Labour and Welfare 2015 as cited in Ono, 2018: 35) สำหรั บ
วัฒนธรรมของคน Gen Y คือ วัฒนธรรมการใช้อินเทอร์เน็ตในการเป็นตัวกลางการสื่อสาร การหาคำตอบ
โดยเฉพาะมีการพึ่งพิงการค้นหาความรู้จากอินเทอร์เน็ตมากกว่าจากความรู้ในรูปแบบเดิมที่หาได้จาก
องค์กร (McMahan et al., 2009: 61; Li & Bernoff, 2008: 9 as cited in Lichy, 2012: 102)
วัฒนธรรมสามารถเกิดการเปลี่ยนแปลงจากปัจจัยภายในประเทศและปัจจัยภายนอกประเทศ
ตัวอย่างเช่น วัฒ นธรรมของคนอเมริกันในระยะแรก ได้รับอิทธิพลมาจากคนอังกฤษ นั่นเป็นเพราะ
คนอั ง กฤษได้ ย้ ายถิ่ น ที่ อ ยู ่ม ายัง สหรั ฐ อเมริ ก าและนำเอาวั ฒ นธรรมดั้ ง เดิม ของตนเองเข้ ามาด้วย
ในกาลต่อมา คนอเมริกันเริ่มมีการสร้างวัฒนธรรมของตนเองขึ้นมา ทั้งอาหาร การแต่งกาย ฯลฯ และ
วั ฒ นธรรมแบบอเมริ ก ั นได้ส ่ ง ผ่ านไปยั ง ประเทศต่า ง ๆ จะเห็น ได้ว ่ า อาหารประเภท Junk Food
ของคนอเมริกันได้กลายมาเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมการกินของคนในหลายชาติ

81
รูปภาพที่ 5: รูปภาพวัฒนธรรมการแต่งกาย ผู้ที่ปรากฏอยู่ในภาพคือ
อดีตประธานาธิบดีสหรัฐฯ John F. Kennedy และภริยา Jacqueline Kennedy
ผู้เขียนถ่ายภาพนี้ที่ John F. Kennedy Presidential Library and Museum, บอสตัน,
สหรัฐอเมริกา เมื่อปี ค.ศ. 2017

รูปภาพที่ 6: ภาพของ China Town ในเมือง Newcastle, ประเทศอังกฤษ


ผู้เขียนถ่ายภาพนี้ เมื่อปี ค.ศ. 2015

82
รูปภาพที่ 7: วัฒนธรรมอาหารในกรุงอิสตันบูล, ประเทศตุรกี ผู้เขียนภาพนี้ถ่ายเมื่อปี ค.ศ. 2014

นอกจากการรับรู้ถึงวัฒนธรรมที่หลากหลาย เราควรจะเรียนรู้ถึงการยอมรับในวัฒนธรรมของผูอ้ นื่


ในกรณีท ี่วัฒ นธรรมนั้น ไม่ขัดต่อ หลัก สิท ธิม นุษยชน ในประเด็นเรื่องการยอมรับ ในวัฒ นธรรมและ
การอยู่ร่วมกันระหว่างวัฒนธรรมจะขอยกตัวอย่าง กรณีของชนเผ่า Korowai (โคโรไว) ในจังหวัดปาปัว
ประเทศอินโดนีเซีย ชนเผ่าโคโรไวดั้งเดิม นิยมสร้างบ้านให้อยู่สูงจากผืนดิน ไม่ใส่เสื้อผ้า หาอาหารจาก
ภายในป่า โดยอาหารหลักที่ทาน ได้แก่ หนอน และต้นสาคู บ้านที่อยู่นั้นก็ทำเองจากไม้ ชาวโคโรไวมีชีวิต
ความเป็นอยู่ที่พอเพียง อย่างไรก็ตาม เมื่อบุคคลภายนอกได้ให้ความสนใจในวิถีชีวิตของชาวโคโรไวมากขึ้น
มีนักข่าวจากต่างประเทศเข้ามาทำข่าวเกี่ยวกับชาวโคโรไว และถึงขั้นจ้างชาวโคโรไวให้สร้างบ้านให้และ
แสร้ง ทำเป็นว่าชาวโคโรไวอาศัย ในบ้ านหลัง ใหม่ท ี่ส ร้ างขึ้ น โดยบ้านหลัง ใหม่ม ีขนาดสูง เกิ น ปกติ
ที่ชาวโคโรไวอาศัยอยู่ สาเหตุที่ต้องสร้างบ้านให้สูงขนาดนั้น เพราะเมื่อถ่ายภาพมาจากทางอากาศ
ภาพบ้านและชาวโคโรไวจะดูเด่นขึ้นมา ผลจากการเข้ามาของนักข่าวต่างชาติ ทำให้ชาวโคโรไวมีวิถีชวี ิต
ที่เปลี่ยนไป ประกอบกับรัฐบาลอินโดนีเซียต้องการให้ชาวโคโรไวเป็นคนศิวิไลซ์มากขึ้น จึงสร้างบ้านสังกะสี
และบ้านไม้ ให้ชาวโคโรไวอาศัยอยู่ บ้านเหล่านี้อยู่บนพื้นดินที่ห่างไกลออกมาจากป่า ข้อดีคือ ชาวโคโรไว
มีท ี่อยู่เป็นหลักแหล่ง มากขึ้น แต่ข้อ เสียคือ รัฐบาลอินโดนีเซีย ปล่อยให้ชาวโคโรไวอาศัยอยู่เช่นนั้น
โดยไม่ได้มีมาตรการอื่นในการรองรับการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของชาวโคโรไว ทำให้ชาวโคโรไวที่อพยพ
ออกมาอยู่บ้านบนพื้นดินประสบกับความยากจนเพราะไม่มีอาชีพรองรับ ไม่มีความสามารถทำอาชีพที่ต้อง
ใช้ทักษะ และชาวโคโรไววัยกลางคนขึ้นไป ไม่ได้รับการศึกษา ดังนั้น เมื่อ ใดก็ตามที่นักข่าวเข้ามาทำข่าว
เกี่ยวกับชาวโคโรไว ชาวโคโรไวจะแสร้งว่ายังคงใช้ชีวิตอยู่ในป่า นำนักข่าวไปชมวิถีชีวิต และรับเงินเสมือน
เป็นค่าตัวนักแสดงจากนักข่าว29

29 ที่มาจากรายการสารคดี My Year with the Tribe สามารถเข้าถึงสารคดีได้ที่ https://www.bbc.co.uk/programmes/p065jqfz


83
ในภาพรวมของวัฒนธรรม เราได้เ รียนรู้ว่า วัฒนธรรมมีความหลากหลาย แม้ภายในประเทศ
เดียวกันก็จะเห็นความหลากหลายของวัฒนธรรม การเรียนรู้ที่จะยอมรับในวัฒนธรรมของกันและกั น
ถื อ เป็ น สิ ่ ง ที ่ จ ะช่ ว ยให้ ม นุ ษ ย์ ด ำรงอยู ่ ร ่ ว มกั น ได้ การเข้ า ไปแทรกแซงวั ฒ นธรรมและก่ อ ให้ เ กิ ด
การเปลี่ยนแปลงอย่างกะทันหัน ดังตัวอย่างการเปลี่ ยนแปลงวิถีชีวิตของชาวโคโรไวโดยบุคคลภายนอก
ผลักดันให้ชาวโคโรไวกลายเป็นคนชายขอบของอินโดนีเซียที่กลายมาเป็นปัญหาให้กับภาครัฐ วัฒนธรรม
มีการเปลี่ยนแปลงจากปั จจัยภายในประเทศและภายนอกประเทศ มีทั้งลักษณะของการเปลี่ยนแปลง
แบบค่อยเป็นค่อยไปและแบบการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน

ความหลากหลายทางศาสนา
รัฐธรรมนูญของประเทศไทยปี พ.ศ. 2560 มาตรา 31 ระบุว่า “บุคคลย่อมมีเสรีภาพบริบูรณ์
ในการถือศาสนาและย่อมมีเสรีภาพในการปฏิบัติหรือประกอบพิธีกรรมตามหลักศาสนาของตน แต่ต้องไม่
เป็นปฏิปักษ์ต่อหน้าที่ของปวงชนชาวไทย ไม่เป็นอันตรายต่อความปลอดภัยของรัฐ และไม่ขัดต่อความสงบ
เรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน” (รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560, 2561: 9)
จากรัฐธรรมนูญ แห่ง ราชอาณาจัก รไทย ไม่ป รากฏว่ามีข้อความใดที่ร ะบุให้ศาสนาพุท ธเป็นศาสนา
ประจำชาติ ถือเป็นการแสดงออกทางกฎหมายถึงการให้ความสำคัญแก่ทุกศาสนาอย่างเท่าเทียมกัน
ถึงแม้รัฐธรรมนูญจะไม่ได้เน้นไปที่การให้ความสำคัญของศาสนาใดเป็นพิเศษ เว้นเสียแต่การระบุ
ในมาตรา 7 ว่า “พระมหากษัตริย์ทรงเป็นพุทธมามกะ และทรงเป็นอัครศาสนูปถัมภก” (รัฐธรรมนูญแห่ง
ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560, 2561: 4) ในบทกาลอื่น ๆ ของรัฐธรรมนูญที่เกี่ยวข้องกับประชาชน
ไทยที่เหลือ ไม่ได้มีการกล่าวถึงการน้อมนำเอาศาสนาพุทธมาเป็นหลักแก่ชีวิต แต่ในเชิงปฏิบัติกลับปรากฏ
ว่าการเรียนการสอนของโรงเรียนในประเทศไทยภายใต้ห ลัก สูตรกระทรวงศึก ษาธิก าร กลับ มีก าร
ให้นักเรียนเรียนวิชาที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนาเป็นหลัก เช่น ในหลักสูตรประถมศึกษาปีที่ 2 นักเรียนจะได้
เรียนรู้ถึงพุทธสาวก พุทธสาวิกา ได้เรียนรู้ว่าศาสนาพุทธถือเป็นเอกลักษณ์ของชาติ หลักสูตรครอบคลุม
ไปถึง การศึก ษาศาสนิก ชนตัวอย่าง แต่ม ีเ พียงศาสนิก ชนผู้นับถือ ศาสนาพุท ธที่นัก เรียนจะได้ศึกษา
เช่น พระสัง ฆราช สมเด็จ พระญาณสัง วร ฯลฯ (สำนัก วิชาการและมาตรฐานการศึก ษา สำนัก งาน
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ, ม.ป.ป.: 7-8) ถึงแม้จะมีการสอดแทรกเนื้อหา
ของศาสนาอื่น ๆ เช่น ศาสนาคริสต์ อิสลาม และ ฮินดู แต่เป็นการสอดแทรกเนื้อหาในจำนวนที่ น้อยมาก
อย่างเทียบกันไม่ติดเมื่อเปรียบเทียบกับศาสนาพุทธ
ในประเทศสหรั ฐ อเมริก า มี ก ารระบุ ไ ว้ ช ั ด เจนภายใต้ Bill of Rights ในประเด็ น ของสิท ธิ
ส่วนบุคคลในการนับถือศาสนา ระบบการศึกษาของสหรัฐฯ ไม่มีการเรียนการสอนศาสนาในโรงเรียน
รัฐบาล ยกเว้นแต่กรณีการสอนในเชิงประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และข้อเท็จจริง (Franken, 2016) ดังนั้น
ผู้ที่ต้องการเรียนรู้เรื่องศาสนาในเชิงลึกกว่าแง่มุมทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม สามารถเข้าเรียนได้
ในโรงเรียนเอกชน หรือโรงเรียนสอนศาสนาโดยตรง
84
ในขณะที่ป ระเทศไทยมีก ารเรียนการสอนที่เ น้นไปที่พระพุท ธศาสนา ประเทศสหรัฐอเมริกา
ไม่มีการสอนศาสนาในโรงเรียนรัฐบาล รัฐบาลเบลเยียมเลือกที่จะรับรู้ถึงการมีอยู่ของศาสนาบางศาสนา
และรั ฐ บาลให้ ก ารอุ ป ถั ม ภ์ แก่ ศ าสนา แต่ ม ี เ พี ย ง 6 ศาสนาที ่ ร ั ฐ บาลสนั บ สนุ น อย่ า งเป็ น ทางการ
ได้แก่ คาทอลิก โปรแตสแตนต์ ยูดาห์ แองกลิคัน อิสลาม คริสต์ออโธด็อกซ์ และสนับสนุนความเชื่อที่ไม่
นับอยู่ในศาสนา คือ Non Confessional Freethinkers โดยการสนับสนุนของรัฐมาในรูปแบบเงินเดือน
และบำนาญ และเมื่อศาสนาและความเชื่อ ได้ร ับ การสนับสนุนทางการเงินจากรัฐอย่างเป็นทางการ
นักเรียนโรงเรียนรัฐบาลสามารถเลือกที่จะเรียนรู้เรื่องศาสนาด้วยตนเอง เช่น นาย Andrew เลือกศึกษา
เฉพาะศาสนาอิสลาม ผู้ทำการสอนศาสนาอิสลามให้แก่นาย Andrew จะไม่ใช่ครูอาจารย์ของภาครัฐ
แต่เป็นผู้สอนศาสนาเป็นผู้รับผิดชอบทั้งในการสอนและการวางแผนการสอน (Franken, 2016)
จะเห็นได้ว่าระบบการเรียนการสอนเรื่องศาสนาของแต่ละรัฐ เมื่อนำมาเปรียบเทียบดูพบว่า
มีความหลากหลาย ทั้งนี้ เราจะเห็นวิธีการคิดของรัฐที่แตกต่างกันในการนำพาเอาศาสนาเข้ามาเกี่ ยวข้อง
กับการดำรงชีวิต สหรัฐอเมริกาถือว่ารัฐไม่ได้มีหน้าที่ในการยุ่งเกี่ยวกับศาสนา ในส่วนของประเทศไทย
เน้นไปที่การให้นักเรียนได้เรียนรู้ถึงพระพุท ธศาสนาเป็นหลัก และยอมรับการมีตัวตนของศาสนาอื่น
แต่ไม่ได้มีการเรียนการสอนในลักษณะที่แยกออกเป็นตัวเลือกให้แก่นักเรียน กล่าวคือ เยาวชนภายใ ต้
การเรี ย นตามระบบกระทรวงศึ ก ษาธิ ก ารไม่ ว ่ า จะนั บ ถื อ ศาสนาใด จะต้ อ งเรี ย นตามหลั ก สูตรที่
กระทรวงศึกษาธิการกำหนดไว้ นั่นแปลว่ าการเรียนรู้เกี่ยวกับศาสนาอื่น ในเชิงลึกจะเกิดขึ้นภายนอก
ชั้นเรียน ในส่วนของเบลเยียม นัก เรียนสามารถเลือกเรียนศาสนาได้ แต่ถูก กำหนดไว้ท ี่ 6 ศา สนา
กับ 1 ความเชื่อเท่านั้น
ผลจากการเรียนการสอนตามระบบของกระทรวงศึกษาธิการในแต่ละประเทศ ส่งผลให้ บุคคล
มีการรับรู้ต่อศาสนาในลักษณะที่แตกต่างกัน เราจะเห็นได้ว่าหลังจากเหตุการณ์การก่อการร้าย 9/11
ในประเทศสหรัฐอเมริกา คนอเมริกันมีความหวาดกลัวต่อคนมุสลิมมากขึ้น และในบางกรณีเกิดสภาวะ
การเหมารวม ภายใต้เหตุการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นในประเทศไทย โดยเฉพาะเหตุการณ์ความไม่สงบ
ในสามจัง หวัดชายแดนภาคใต้ ทำให้ป ระชากรไทยส่วนหนึ่ง เกิดความหวาดกลัวต่อ การอาศัยอยู่ใน
สามจัง หวัดชายแดนภาคใต้ คำถามคือ เราควรตัดสินบุคคลจากข้อเท็จ จริง หรือ จากการเหมารวม
และทำไมถึง เป็นเช่นนั้น และในทางปฏิบ ัติ หากเราตัดสินบุคคลจากศาสนาที่เ ขานับ ถือ เพราะเขา
มีพฤติกรรมที่แตกต่างจากเรา เมื่อมองกลับมาที่ตัวตนของเรา เราคิดเช่นไรที่คนอื่นก็อาจตัดสินเราจาก
ศาสนาที่เรานับถือ
ประเทศฝรั่ ง เศส ถื อ เป็ น ประเทศที ่ม ี ป ระชากรที ่ น ับ ถื อศาสนาอิ ส ลามมากที ่ส ุ ดในยุโ รป
ประมาณ 4-5 ล้านคน ในปี ค.ศ. 2004 ฝรั่งเศสออกกฎหมายห้ามเยาวชนที่เข้าเรียนโรงเรียนรัฐบาลสวม
ฮิญ าบ (Hijab) ในโรงเรียน (Hamdan, 2007) ในเวลาต่อมากฎหมายได้ครอบคลุมถึงการห้ามสวมใส่

85
Burka30 (บูร์กา) ในที่สาธารณะตั้งแต่ปี ค.ศ. 2010 เป็นต้นมาและผู้ที่ไม่ทำตามกฎหมายจะต้องถูกปรับ
เป็นจำนวนเงินสูงถึง 150 ยูโร (Leane, 2011: 1033)

รูปภาพที่ 8 (ภาพซ้าย): ภาพหญิงสวม Hijab31 ; รูปภาพที่ 9 (ภาพขวา): ภาพหญิงสวม Burka32

ไม่เ ฉพาะแต่ในประเทศฝรั่งเศสเท่านั้นที่มีการห้ามสวมใส่เสื้อผ้าที่ปกปิดร่างกายแบบมิดชิด
ตามหลักศาสนา ประเทศบัลแกเรีย33 (2016), เบลเยียม (2011), เยอรมนี34 (2017), แคนาดาเฉพาะ
Quebec35 (2017) และออสเตรีย (2017) ต่างก็ออกกฎหมายในการห้ามสวมใส่ Burka ในพื้นที่สาธารณะ
เช่นกัน โดยเหตุผลที่ภาครัฐชี้แจ้งว่าทำไมถึงต้องออกนโยบายห้ามการสวมใส่เสื้อผ้าลักษณะดังกล่าวนั้น
มีความแตกต่างกันออกไป เช่น เหตุผลทางความปลอดภัย (บัลแกเรีย) การดำรงอยู่ร่วมกันและการปกป้อง
สิทธิและเสรีภาพ (เบลเยียม) ฯลฯ (Stack, 2017) การออกกฎหมายห้ามการแต่งกายซึ่งไปกระทบกับ
หลักความเชื่อของศาสนา ส่งผลให้เกิดการถกเถียงกันอย่างกว้างขวาง ทั้งประเด็นการละเมิดสิทธิในด้าน
การละเมิดความเชื่อทางศาสนา ละเมิดสิทธิเสรีภาพอันพึงมีของบุคคลภายใต้สังคมประชาธิปไตย
ในปัจจุบัน ศาสนาที่มีคนนับถือมากที่สุด คือ ศาสนาคริสต์ ร้อยละ 31.2 ของประชากรโ ลก
รองลงมาคือ ศาสนาอิสลาม ร้อยละ 24.1 อันดับที่สาม ประชากรที่ไม่เกี่ยวข้องกับศาสนาใด ร้อยละ 16
อันดับที่ 4 ศาสนาฮินดู ร้อยละ 15.1 อันดับที่ 5 ศาสนาพุทธ ร้อยละ 6.9 อันดับที่ 6 คือศาสนาพื้นบ้ าน
ซึ่งเป็นศาสนาของท้องถิ่น ร้อยละ 5.7 อันดับที่ 7 ศาสนาอื่น ๆ ร้อยละ 0.8 และ ศาสนายูดาห์ร้อยละ 0.2
ของประชากรโลก และในปั จ จุบ ัน ศาสนาที ่ม ีอ ัต ราการเติ บ โตของการเข้า มานับ ถื อมากที ่ส ุ ด คื อ
ศาสนาอิสลาม (Hackett & McClendon, 2017)

30 สามารถสะกดแทนด้วย Burqa
31 ภาพประกอบจาก https://en.wikipedia.org/wiki/Hijab#/media/File:Female_hijab_in_Islam.jpg
32 ภาพประกอบจาก https://en.wikipedia.org/wiki/Burqa#/media/File:Burqa_clad_women_bying_at_a_market.jpg
33 ห้ามเฉพาะสถานที่ราชการ โรงเรียน และองค์กรทางวัฒนธรรม
34 กรณีของประเทศเยอรมนี ห้ามสวมใส่ ณ ขณะเวลาขับรถเท่านั้น
35 กรณีของแคนาดา ผู้ฝ่าฝืนข้อห้ามจะไม่ได้รับการบริการสาธารณะจากภาครัฐ

86
การเรียนรู้ถึงความหลากหลายของศาสนา ทำให้เราเห็นว่าในโลกใบนี้ ประกอบไปด้วยประชากร
ที ่ ม ี ค วามหลากหลายทางศาสนา และอั ต ราการเติ บ โตของการนับ ถื อศาสนามี ค วามแตกต่างกั น
อย่างไรก็ตาม เรายังได้เรียนรู้ถึงวิธีการที่ภาครัฐจัดการกับประชากรที่นับถือศาสนาต่าง ๆ ในรูปแบบ
ที่แตกต่างกันออกไปผ่านทางการจัดการศึกษาและกฎหมาย ซึ่งในปัจจุบันยังเป็นที่ถกเถียงในประเด็น
ด้านสิทธิเสรีภาพ – ประชาธิปไตย – และความมั่นคงของรัฐ

ความหลากหลายทางชนชาติ
นิ ย ามของคำว่ า “ชนชาติ ” หมายถึ ง “กลุ ่ ม ชนที ่ ม ี เ ชื ้ อ ชาติ ห รื อ กลุ ่ ม ชาติ พ ั น ธุ ์ เ ดี ย วกั น
และมีวัฒนธรรมเป็นแบบเดียวกัน อาจจะอาศัยอยู่ในประเทศเดียวกัน หรือแยกย้ายกันอยู่ในหลาย
ประเทศก็ได้” (บทวิทยุรายการ รู้ รัก ภาษาไทย, 2550 อ้างถึงใน สำนักงานราชบัณฑิตยสภา, 2550)
กรณีตัวอย่างเช่น ชนชาติยิวที่ไปอาศัยอยู่ในประเทศยุโรป มีวัฒนธรรมเป็นของตัวเองที่แตกต่างไปจาก
คนพื้นเมืองในประเทศ การเข้ามาในสหรัฐอเมริกาของชนชาติจีน ก่อให้เกิด China Town ในหลายพื้นที่
ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่แสดงออกถึงความเป็นชนชาติอันมีอัตลักษณ์เฉพาะบางอย่างที่แตกต่างอย่างเห็นได้ชัด
ชนชาติ ไทยเข้าไปอยู ่ในเมือ งซิ ดนี ย์ ประเทศออสเตรเลีย ก็ไปสร้างสถานที่ ท ี่เ รียกว่า Thai Town
ซึ่งในปัจจุบันเป็นแหล่งรวมร้านอาหารไทยและมีร้านขายของไทยอยู่ในบริเวณดังกล่าว
เมื่อเราได้เรียนรู้ถึงความหมายของคำว่าชนชาติแล้ว ประการถัดไป เราจะได้เรียนรู้ถึงการยอมรับ
ในความเป็นรัฐในระดับ สากล และความขัดแย้ง ระดับ สากลในประเด็นของรัฐกับ ชนชาติ องค์ก าร
สหประชาชาติ ไ ด้ ย อมรั บ ให้ South Sudan เข้ า มาเป็ น ส่ ว นหนึ ่ ง ของประเทศสมาชิ ก ในองค์ ก าร
สหประชาชาติเมื่อปี ค.ศ. 2011 ถือเป็นประเทศสมาชิกลำดับที่ 193 ซึ่งเป็นประเทศสมาชิกรายล่าสุด
ขององค์การสหประชาชาติ (United Nations, n.d.) ถึงแม้ประเทศสมาชิกองค์การสหประชาชาติจะมีมาก
ถึง 193 ประเทศ แต่ยังมีประเทศบางประเทศ ที่ไม่ได้ถูกบรรจุให้เข้าไปอยู่เป็นส่วนหนึ่งของประเทศ
สมาชิกองค์การสหประชาชาติ ตัวอย่างเช่น ไต้หวัน เหตุผลเพราะว่า ไต้หวันไม่ได้ดำรงสถานะเป็นรัฐ แต่
ถือเป็นส่วนหนึ่งของประเทศจีน การไม่ได้เข้ามาเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติและการไม่ได้รับ
การยอมรับว่า ไต้หวันมีสถานะเป็นรัฐ ถือเป็นความขัดแย้งในระดับระหว่างประเทศ คนไต้หวันไม่ถือว่า
ตนเองเป็นคนจีน ไม่ได้ตกเป็นเมืองขึ้นของจีน มีวัฒนธรรมเป็นของตนเอง และถือว่าตนเองเป็นคนไต้หวัน
แต่ในมุมมองของคนชนชาติจีนกลับมองว่า ไต้หวัน เป็นส่วนหนึ่งของประเทศจีน
กรณีของประเทศอิสราเอลและชาวปาเลสไตน์ ถือเป็นความขัดแย้ง ที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตของ
คนปาเลสไตน์ เนื่องจากกลุ่มคนทั้งสองชนชาติอาศัยอยู่ในอาณาบริเวณเดียวกัน การประกาศก่อตั้งรัฐ
อิสราเอลมีขึ้นในวันที่ 14 พฤษภาคม ค.ศ. 1948 และประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา Harry S. Truman
ได้ยอมรับรัฐใหม่นี้ในวันประกาศการมีตัวตนของอิสราเอล นอกจากนี้ยังสนับสนุนให้ส่งประชาชนชาวยิว
ที่กระจัดกระจายตัวอยู่ตามดินแดนต่าง ๆ ให้ไปรวมตัวกันอยู่ในพื้นที่บริเวณที่ชาวปาเลสไตน์เดิมอาศัยอยู่
และสนับสนุนการสร้างรัฐของชนชาติยิว (Office of the Historian, n.d.)
87
รูปภาพที่ 10: ภาพการสูญเสียพื้นที่ของชาวปาเลสไตน์ตั้งแต่ ค.ศ. 1947 จนถึงปัจจุบัน 36

ชาวยิวได้อพยพเข้ามาอยู่ในดินแดนของชาวปาเลสไตน์ ด้วยจุดประสงค์หลักคือการรวมชนชาติ
ของตนไว้ในผืนแผ่นเดียวกัน ภายใต้หลักการรวมกรุงเยรูซาเล็ม ไว้ให้เป็นเมืองหลวงของรัฐอิสราเอล
ชั่วนิรันดร์ (Dumper, 1992: 32) ปัญหาคือ การเข้ามาของชาวยิวและการสร้างชาติอิสราเอลส่งผลกระทบ
ต่อพื้นที่ที่เคยเป็นดินแดนของชาวปาเลสไตน์ จากภาพจะเห็นได้ถึงการลดลงของพื้นที่และดินแดน
ปาเลสไตน์เดิมถูกแบ่งออกไปให้มีการกระจัดกระจายกัน
วิธีการจัดการความขัดแย้ง ของชาติพันธุ์ โ ดยรัฐ ตามนิยามของ สมศักดิ์ สามัคคีธรรม (2559)
มีด้วยกัน 6 ประการ เรียงลำดับตามความรุนแรงของวิธีการจากมากไปน้อย ได้แก่
1. การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (Genocide) ถือเป็นวิธีการที่รุนแรงที่สุด ความหมายของ Genocide
ไม่เ คยปรากฏมาก่อนจนกระทั่งปี ค.ศ. 1944 โดย Raphael Lemkin โดยที่ม าของคำว่า
Geno ในภาษากรีก หมายถึง เชื้อชาติ หรือ เผ่า ส่วนคำว่า Cide มีท ี่ม าจากภาษาละติน
หมายความถึง การฆ่า ความหมายโดยรวมของ Genocide คือ อาชญากรรมความรุนแรง
ที่กระทำเพื่อเป้าประสงค์ในการกำจัดกลุม่ คน (เผ่าพันธุ์, เชื้อชาติ) ให้หมดไป (United States
Holocaust Memorial Museum, n.d.) ที่ผ ่านมาเราจะใช้คำว่า Genocide กับเหตุการณ์
ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิว การฆ่าล้างชาว Tutsi ในประเทศรวันดา ฯลฯ (Uvin, 1996)
2. การกวาดล้างชาติพันธุ์ (Ethnic Cleansing) เป็นวิธีการที่มีความรุนแรงรองลงมา ถึงแม้จะมี
การฆาตกรรมกลุ่มคน แต่การฆ่าล้างให้หมดไปไม่ใช้เป้าประสงค์หลัก วิธีการนี้มีจุดมุ่งหมาย

36 ภาพประกอบจาก https://icahd.org/2016/09/15/judaizing-palestine-a-campaign-against-house-demolitions-in-a-single-
state/
88
เพื่อการกวาดล้าง ไล่ต้อนให้กลุ่มคนที่รัฐไม่ต้องการออกจากรัฐไป การใช้ความรุนแรงถือเป็น
การสร้างความหวาดกลัวที่ส่งผลให้ ชนกลุ่มน้อยมีความหวาดระแวงในการใช้พื้นที่ของรัฐ
ตัวอย่างวิธีการ Ethnic Cleansing ที่กำลังเกิดขึ้น ได้แก่ กรณีของชาวโรฮิงญาในประเทศ
เมียนมา (Aljazeera, March 6, 2018 [a])
3. การกลืนกลายทางวัฒนธรรม (Assimilation) คือ การที่รัฐบาลใช้นโยบายเป็นไปเพื่อให้
ชนกลุ่มน้อย กลุ่มชาติพันธุ์ ได้ปรับตัวเข้ากับวัฒนธรรมหลักของชาติ และกลายเป็นส่วนหนึ่ง
ของวั ฒ นธรรมหลั ก เช่ น ในกรณี ข องประเทศออสเตรเลี ย รั ฐ สนั บ สนุ น ให้ เ ยาวชน
ชาว Aborigine มาเข้ าเรี ยนในโรงเรีย นที ่ร ั ฐบาลจัด ให้ ส่ ว นผู้ ใหญ่จ ะมีก ารสอนสร้าง
ให้สามารถมีความรู้เชิงวิชาชีพ (The Policy of Assimilation, 1961: 1-3)
4. การบูรณาการทางวัฒนธรรม (Integration) คือ การยอมรับว่าวัฒนธรรมชนกลุ่มน้อยนั้น
ดำรงอยู่ตามจริง รัฐไม่ได้พยายามจะบีบบังคับให้ชนกลุ่มน้อย กลุ่มชาติพันธุ์ต้องปรับตัวตาม
ชนชาติห มู่มาก แต่ชนกลุ่ม น้อยต้องยอมรับว่า วัฒ นธรรมหลัก ที่ดำรงอยู่ในรัฐยังคงเป็น
วัฒนธรรมของชนหมู่มาก ซึ่งชนกลุ่มน้ อยจะยังมีข้อเสียเปรียบบางประการ เช่น ภาษาหลัก
ของทางราชการ ยังคงเป็นภาษาที่คนส่วนใหญ่ใช้ และการเรียนการสอนในโรงเรียนก็จะใช้
ภาษาทางราชการ ตัวอย่างที่เห็นได้จากการที่รัฐใช้วิธีการ Integration คือ ประเทศมาเลเซีย
ที่มีชนชาติจีน ชนชาติมาเลย์ ชนชาติอินเดีย อาศัยอยู่ร่วมกัน รัฐบาลให้การยอมรับในการ
ดำรงอยู่ของวัฒนธรรมตามชนชาติ แต่วัฒนธรรมหลักยังคงเป็นวัฒนธรรมมาเลย์
5. การให้ ส ถานะพิเ ศษแก่ ค นพื ้ น เมื อ ง (Accommodation) คื อ การที ่ ร ั ฐ ให้ก ารยอมรับ
ในวัฒนธรรมของคนกลุ่มน้อย สนับสนุนให้มีการดำรงไว้ซึ่งวัฒนธรรม และยังให้สิทธิพิเศษ
บางประการแก่ชนกลุ่มน้อย วิธีการ Accommodation ปรากฏอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา
ที่ให้สิทธิชนกลุ่มน้อย เช่น บุคคลที่ไม่ใช่คนผิวขาว ในการรับได้รับพิจารณาให้เข้าทำงานเพื่อ
สนับสนุนความหลากหลายในสังคม
6. สหพั น ธรั ฐ ทางชาติ พ ั น ธุ ์ (Ethno-federalism) รั ฐ ยอมรั บ ในการดำรงวั ฒ นธรรมของ
ชนกลุ่มน้อย และรัฐได้กำหนดให้ชนกลุ่มน้อยมีดินแดนและเขตพื้นที่การปกครองเป็นของ
ตนเอง แต่ยังอยู่ภายใต้รัฐบาลกลาง ทั้งนี้ ตัวอย่างของรัฐที่มีการอนุญาตให้ชนกลุ่ม น้อย
ได้มีพื้นที่การปกครองเป็นของตนเอง ได้แก่ แคนาดา รัสเซีย
จะเห็นได้ว่าภายในรัฐ สามารถประกอบไปด้วยบุคคลจากหลากหลายชนชาติ และรัฐมีวิธีการ
จัดการในประเด็นของการยอมรับความหลากหลายที่แตกต่างกัน ตั้งแต่การจัดการกับความหลากหลาย
ด้วยวิธีการรุนแรง ไปจนถึงการยอมรับในวัฒนธรรมและการมีตัวตนของชนกลุ่มน้อย

89
ความหลากหลายทางเพศ
จากการสำรวจของ The Australian Sex Survey ในปี ค.ศ. 2016 พบว่ า มี ว ิ ธ ี ก ารระบุถึง
ความเป็นเพศของตนเองได้แตกต่างกันไปถึง 33 แบบ ได้แก่
เพศ คำอธิบาย
1. Woman - บุคคลที่เกิดมาเป็นเพศหญิงและระบุตนเองว่าเป็นเพศหญิง
2. Man - บุคคลที่เกิดมาเป็นเพศชายและระบุว่าตนเองเป็นเพศชาย
3. Transgender Man - บุคคลที่เกิดมาเป็นเพศหญิง แต่นิยามตนเองว่าในขณะปัจจุบัน
เป็นผู้ชาย (บุคคลอาจทำการผ่าตัดหรือไม่ผ่าตัดเพื่อเปลี่ยนแปลง
เครื่องเพศ)
4. Transgender Woman - บุคคลที่เกิดมาเป็นเพศชาย แต่นิยามตนเองว่าในขณะปัจจุบัน
เป็นผู้หญิง (บุคคลอาจทำการผ่าตัดหรือไม่ผา่ ตัดเพื่อเปลีย่ นแปลง
เครื่องเพศ)
5. Trans Person - บุคคลที่ทั้งสภาวะทางอารมณ์และจิตใจบ่งบอกว่าตนเองเป็นเพศ
ตรงข้าม
6. Trans Man - บุคคลที่ถูกระบุว่าเป็นเพศหญิงโดยกำเนิด แต่ปัจจุบันระบุว่า
ตนเองเป็นเพศชาย
7. Trans Woman - บุคคลที่ถูก ระบุว่าเป็นเพศชายโดยกำเนิด แต่ป ัจ จุบันระบุว่า
ตนเองเป็นเพศหญิง
8. Female to Male - Transgender Man
9. Male to Female - Transgender Woman
10. Transsexual - บุคคลที่ทั้งสภาวะทางอารมณ์และจิตใจบ่งบอกว่าตนเองเป็นเพศ
ตรงข้าม Transsexual คือ บุคคลที่ก้าวข้ามความเป็นเพศเดิม
ของตนเองไปสู่เพศตรงข้ามผ่านการกินฮอร์โมน, การแต่งกาย
และการบำบัด
11. Cisgender - บุคคลที่นิยามเพศของตนเองตามเพศกำเนิดของตนเอง
12. Cis Female - บุคคลที่เกิดมาเป็นเพศหญิงและระบุตนเองว่าเป็นผู้หญิง
13. Cis Male - บุคคลที่เกิดมาเป็นเพศชายและระบุตนเองว่าเป็นผู้ชาย
90
เพศ คำอธิบาย
14. Gender-Non Conforming - บุคคลที่ไม่ระบุว่าตนเองเป็นเพศชายหรือเพศหญิง
15. Non Gender - บุคคลผู้ไม่ระบุเพศของตนเอง
16. Non-Binary - บุคคลที่ไม่อธิบายว่าตนเองเป็นผู้ชายหรือผู้หญิง แต่อาจอธิบาย
ว่าตนเองอยู่ตรงไหนในแถบเพศ เช่น มีความเอนเอียงไปทาง
ผู้ชายมากกว่าผู้หญิง แต่ไม่ใช่ผู้ชายทั้ง 100 เปอร์เซ็นต์
17. Neutrois - เพศกลาง (ไม่นิยามว่าเป็นเพศหญิง และ ไม่นิยามว่าเป็นเพศชาย)
18. Genderfluid - บุคคลผู้เลือกไม่ระบุเพศ ไม่ว่าจะเป็นชายหรือหญิง
19. Genderqueer - บุคคลผู้เลือกไม่ระบุเพศ ไม่ว่าจะเป็นชายหรือหญิง
20. Demigender - บุคคลที่ม ีความสัมพันธ์กับการเป็นเพศหนึ่ง ๆ แต่ไม่ใช่ 100
เปอร์เซ็นต์ คำว่า Demi หมายถึง ครึ่งหนึ่ง
21. Demiboy - บุคคลที่มีส่วนของความเป็นชาย บุคคลนี้จะเกิดมาโดยถูกระบุว่า
เป็นเพศชายหรือเพศหญิงก็ได้
22. Demigirl - บุคคลที่มีส่วนของความเป็นหญิง บุคคลนี้จะเกิดมาโดยถูกระบุว่า
เป็นเพศชายหรือเพศหญิงก็ได้
23. Agender - บุคคลผู้ไม่ระบุเพศ
24. Intergender - บุคคลผู้มีความเป็นเพศระหว่างเพศชายและหญิงผสมกันอยู่
25. Intersex - บุคคลที่ถือกำเนิดมาโดยมีเครื่องเพศทั้งสองอย่างร่วมกัน
26. Pangender - บุคคลที่ระบุว่ามีความเป็นเพศมากกว่า 1 เพศ
27. Poligender - บุคคลที่ระบุว่ามีความเป็นเพศมากกว่า 1 เพศ
28. Omnigender - บุคคลที่ระบุว่ามีความเป็นเพศมากกว่า 1 เพศ
29. Bigender - บุคคลที่ระบุว่าเป็นทั้งเพศหญิงและเพศชาย บางคนมีบุคลิกลักษณะ
แสดงออกมาทั้งสองเพศ
30. Androgyne - บุคคลผู้ไม่ระบุเพศ
31. Androgyny - บุคคลผู้มีส่วนผสมระหว่างบุคลิกที่แสดงออกถึงความเป็นชาย
และความเป็นหญิง
91
เพศ คำอธิบาย
32. Third Gender - บุคคลผู้ไม่ระบุเพศว่าเป็นชายหรือหญิง
33. Trigender - บุคคลผู้สลับ บุคลิก การแสดงออกไปมาระหว่างการเป็นผู้ชาย
ผู้หญิง และเพศอื่น
ตารางที่ 4: ประเภทของเพศ
ที่มา: The Australian Sex Survey, 2016 as cited in Jager, 2016

ตามประวั ติ ศ าสตร์ มี ก ารบัน ทึก ถึ ง บุค คลที่ ร ัก และชอบพอบุ คคลเพศเดีย วกัน ตั ้ง แต่ก ่อน
สมัยคริสตกาล แม้กระทั่งในไบเบิลยังมีการพูดถึงบุคคลที่รักในเพศเดียวกัน ในประเทศกรีซสมัยโบราณ
ก่อนคริสตกาล มีบุคคลจำนวนมากรักชอบพอในเพศเดียวกัน ประเทศเคนยามีการใช้คำศัพท์ “Female
Husbands” เพื่อระบุถึงพฤติกรรมทางเพศที่แตกต่างออกไปจากเพศกำเนิด หรือศัพท์ของคนอินเดียนแดง
เรี ย กว่ า “Two-Spirit” ซึ ่ ง ถื อ เป็ น พฤติ ก รรมที ่ ย อมรั บ ได้ ใ นสั ง คมคนพื ้ น เมื อ ง นอกจากนี้
คนจากทวีปแอฟริกาตอนเหนือ และ คนเกาะจากอาณาบริเวณทะเลแปซิฟิค ต่างยอมรับวิถีท างเพศ
ในลักษณะนี้เช่นกัน หากแต่พลเมืองในยุโรปไม่สามารถยอมรับได้ (Morris, n.d.)
เมื่อคนยุโรปอพยพเข้ามายังอเมริกา ได้มีการสร้างกฎหมายในการห้ามการมีพฤติกรรมรักร่วมเพศ
และหากพบผู้กระทำความผิด อาจถูกตัดสินให้ถึงโทษประหารชีวิต หรือตัดอวัยวะเพื่อเป็นการลงโทษ
โดยมีการลงโทษจริงในรัฐ New York และ Connecticut นอกจากนี้แล้ว การร่วมเพศในลักษณะที่ไม่เป็น
ธรรมชาติ เช่นทางทวารหนัก ถือว่าผิดกฎหมาย โดยกฎหมายการห้ามการร่วมเพศในลักษณะนี้ยังคงอยู่
ไปจนถึงศตวรรษที่ 21 (Brooklyn Connections – Brooklyn Public Library, n.d.: 2)
ในปัจจุบันวิธีการระบุอัตลักษณ์ทางเพศของบุคคลมีความหลากหลาย คำถามคือ เมื่อสังคมรับรูถ้ งึ
ความหลากหลายทางเพศ นั่นแปลว่า สังคมจะยอมรับการมีความหลากหลายทางเพศมากขึ้น หรือ ไม่
อันที่จริงแล้ว ในปี ค.ศ. 2017 ยังมีประเทศถึง 72 ประเทศที่ระบุว่าการเป็นเกย์นั้นผิดกฎหมาย โดยใน
8 ประเทศ (หรือร้อยละ 11 ของประเทศที่ถือว่าการเป็นเกย์ผิดกฎหมาย) ได้ระบุโทษสูงสุดของการ
เป็นเกย์คือ การประหารชีวิต โดยประเทศที่ยังมีการลงโทษประหารชีวิตเกย์ ได้แก่ อิห ร่าน, ซูดาน,
ซาอุดิอาระเบีย, เยเมน, บางพื้นที่ของโซมาเลีย, ไนจีเรียตอนเหนือ, ซีเรีย และอิรัก โดยในกรณีของอิหร่าน,
ซูดาน, ซาอุดิอ าระเบีย , เยเมน, บางพื้นที่ของโซมาเลีย และไนจีเ รียตอนเหนือ โทษประหารชีวิ ต
กระทำภายใต้กฎหมายชะรีอะฮ์ (Sharia) ส่วนกรณีของซีเรียและอิรัก การประหารชีวิตไม่ได้กระทำการ
โดยรัฐ แต่เ ป็นผู้ยึดอำนาจอื่น เช่น Islamic State ที่ไม่ได้ร ับ การยอมรับ ให้เป็นรัฐบาล ในปัจ จุบัน
มีประเทศกว่า 120 ประเทศทั่วโลกที่ไม่ได้ม ีก ฎหมายลงโทษในประเด็นผู้มีความหลากหลายทางเพศ
(Duncan, 2017)

92
ระดับในการยอมรับการมีตัวตนของผู้มีความหลากหลายทางเพศ ในระดับรัฐ แบ่งออกเป็น 4
ระดับ ได้แก่37
1. ยอมรับการแต่งงานอย่างถูกต้องตามกฎหมายของคู่สมรสเพศเดียวกัน ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้ว
ประเทศที่ยอมรับการสมรสจะอยู่ในยุโรปและทวีปอเมริกาเหนือ
2. ยอมรับการอยู่ร่วมกันเป็นคู่ชีวิต (Civil Union)
3. ไม่มีโทษในทางกฎหมายสำหรับผู้มีความหลากหลายทางเพศ
4. การเป็นบุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศ ถือว่ามีความผิดทางกฎหมาย ส่วนใหญ่กฎหมาย
นี้จะอยู่ในประเทศแถบตะวันออกกลางและแอฟริกา ข้อแตกต่างระหว่างการสมรส และ
Civil Union
ในอังกฤษ คือ การทำพิธีสมรสของคู่รักเพศเดียวกันไม่สามารถกระทำได้ในสถานที่ประกอบ
พิธีกรรมทางศาสนา (Travis, 2011)
จะเห็นได้ว่าในปัจจุบัน ถึงแม้จะมีการเปิดกว้างมากขึ้นในการยอมรับเพศสภาพที่หลากหลาย
แต่สำหรับในหลายประเทศ สิทธิโดยรวมของผู้มีความหลากหลายทางเพศยังถูกจำกัด ไม่ได้รับการยอมรับ
ให้มีความเท่าเทียมกันกับผู้ที่มีเพศสภาพตรงกับเพศกำเนิด

มิติแห่งความเหลือ่ มล้ำ ความหลากหลาย จากเรื่องสีผวิ ไปจนถึงการสร้างอารยธรรมในอนาคต


ในปัจจุบันปฏิเสธมิได้ว่า แม้เราจะอยู่ในยุคศตวรรษที่ 21 แล้วก็ตาม หากแต่เรื่องราวของความ
อยุติธรรมและอคติในโครงสร้างทางสังคม ชนชาติ เพศ ศาสนา ยังคงมีอยู่จริง ในบทความท้ายบทที่ 3
นักศึกษาจะได้เรียนรู้ถึงเรื่องราวของการปฏิบ ัติตนระหว่างตำรวจกับผู้ต้องสงสัยด้วยความอยุติธรรม
ซึ่งเป็นกรณีที่เกิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา กรณีของการหลอกเหยื่อบนโลกออนไลน์ผ่านปรากฏการณ์ที่เรียกว่า
Romance Scam ที ่ เ กิ ด ขึ ้ น จากความสามารถในการเข้ า ถึ ง อิ น เทอร์ เ น็ ต และการใช้ อ ิ น เทอร์เ น็ต
เป็นเครื่องมือในการหลอกลวงบุคคลอื่น นอกจากนี้ ยังมีกรณีของการช่วยเหลือในระดับระหว่างประเทศ
หากแต่การช่วยเหลือ เกิดขึ้นจากฐานความคิดที่มองว่า สถานภาพพื้นฐานไม่เท่าเทียมกัน38
ทั้งนี้ ในมิติเชิงบวก ยังมีกลุ่มอาสาสมัคร/องค์กร ที่มีส่วนในการช่วยเพิ่มความเข้าใจในความ
แตกต่างทางวัฒนธรรมและความหลากหลายในประเด็นต่าง ๆ เช่น โครงการ Host Family ที่ดำเนิน
กิจกรรมโดยอาสาสมัคร ซึ่งมีเป้าประสงค์เพื่อให้นักศึกษาต่างชาติได้เรียนรู้ถึงวัฒนธรรม วิถีชีวิต และ
ความเป็นอยู่ของชาวอังกฤษ, Dignity Kitchen สถานประกอบการที่เน้นการให้บริการผ่านกลุม่ เปราะบาง
ทั้งทางด้านร่างกายและจิตใจในประเทศสิงคโปร์ , การท่องเที่ยวโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายผ่านกระบวนการ

37อ้างอิงจาก Duncan, 2017


38อ่านบทความเรื่อง ปี 2020 แล้ว ทำไมเรายังเหยียดสีผิวกันอยู่? / Her เรารักกันแบบไม่มีตัวตนได้ไหม? / หัวเราะทัง้ น้ำตาไปกับวันจมูก
แดง ในท้ายบทที่ 3
93
เป็นสมาชิกแพลตฟอร์มออนไลน์ เช่น Couchsurfing39 นอกเหนือไปจาก 3 กรณีดังกล่าว ยังมีประเด็น
ที่น่าสนใจเกี่ยวกับการทำงานผ่านกระบวนการคัดเลือกทางชาติพันธุ์ในอินเดีย40
สำหรับในโลกอนาคต หากเรามีความต้องการที่จะนำมนุษย์เคลื่อนย้ายไปยังอาณาจักรแห่งใหม่
นอกเหนือไปจากโลกที่เรากำลังอาศัยอยู่ ประเด็นที่นอกเหนือไปจากความสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์
ในการธำรงไว้ซ ึ่งการอยู่ร อดของมนุษย์ เรายัง จะต้องคำนึง ถึงสภาวะทางสัง คมอีก ด้วย เราจะสร้าง
อาณาจั ก รแห่ ง ใหม่ สร้ า งอารยธรรมใหม่ อ ย่ า งไรให้ เ กิ ด ความเท่ า เที ย มกั น ลดความเหลื ่ อ มล้ ำ
และปราศจากอคติดังเช่นที่เป็นอยู่41

39 อ่านบทความเรื่องโครงการ Host Family สำหรับนักศึกษาต่างชาติในสหราชอาณาจักร / Dignity Kitchen ครัวสร้างศักดิ์ศรีของคน


สิงคโปร์/เที่ยวฟรี นอนฟรี ชีวิตดีดีในยุคดิจิทัล ในท้ายบทที่ 3
40 อ่านบทความเรื่อง Mumbai Dabbawalas: อาหารกลางวันจากบ้าน ส่งตรงถึงมือคุณ ในท้ายบทที่ 3
41 อ่านบทความเรื่องเดินทางไปดาวอังคารด้วยตั๋วเที่ยวเดียว ในท้ายบทที่ 3

94
สรุป
ในบทที่ 3 นี้ นักศึกษาได้เรียนรู้ถึงความหมายของคำว่า พหุวัฒนธรรม การเรียนการสอนมีการ
ตั้งคำถามถึงคำแปลของคำว่าวัฒนธรรม ที่แต่เดิมหมายความถึงสิ่งที่ดีงาม แต่ในความเป็นจริง วัฒนธรรม
บางประการ ถือเป็นความเชื่อที่ลดคุณค่าสิทธิมนุษยชน เช่น Rape Culture ซึ่งเป็นแนวความคิดของ
ชายเป็นใหญ่และการใช้ความรุนแรงทางเพศ
ประเด็นของความยุติธรรมและการไม่เลื อกปฏิบัติ ความหมายของคำว่ายุติธรรมนั้น ถูกแบ่งไป
ตามกระบวนความคิด เชิ ง เหตุผ ลทางศี ล ธรรม ระหว่ าง consequentialist moral reasoning และ
categorical moral reasoning ทั้งนี้ เราได้เห็นถึงความแตกต่างในกระบวนความคิดที่ส่งผลให้รัฐมีการ
นำเสนอนโยบายเพื่อเพิ่มพูนความเท่าเทียมกันที่ต่างกันออกไป และการไม่เลือกปฏิบัติ ในเชิงทฤษฎีเป็น
การส่งเสริมสนับสนุนความเท่าเทียมกัน แต่การที่รัฐ เลือกปฏิบัติในบางกรณี เป็นไปเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ
ที่เกิดขึ้นในสังคม
ความหลากหลายทางวัฒนธรรม วัฒนธรรมในโลกใบนี้ มีความหลากหลายอย่างยิ่ง ทั้งในเรื่องของ
การแต่งกาย ภาษา อาหาร เมื่อ เราเรียนรู้ถึ งวัฒนธรรมของบุคคลจากภาคอื่น ของประเทศไทย และ
วัฒนธรรมของต่างชาติ เราควรเคารพในวัฒนธรรมของผู้อื่น และไม่ ละเมิดสิทธิของผู้อื่นในการดำรงไว้ซึ่ง
วัฒนธรรมของตน เว้นเสียแต่วัฒนธรรมนั้นละเมิดสิทธิมนุษยชนผู้อื่น
ความหลากหลายทางศาสนา ในแต่ละรัฐ มีความแตกต่างกันในการนับถือศาสนา ในปัจจุบัน
ยังมีบุคคลอีกเป็นจำนวนมากที่นับถือศาสนาท้องถิ่น และบุคคลจำนวนมากอีก เช่นเดียวกันที่ไม่นับ ถือ
ศาสนา เราพบว่า การเรียนการสอนเรื่องศาสนานั้นเป็นนโยบายของรัฐที่จะส่งเสริมให้เยาวชนได้เรียนรู้ถึง
ศาสนาหนึ่ง ๆ หรือหลากหลายศาสนา ทั้งนี้ ในบางรัฐ เช่น สหรัฐอเมริกา เลือกที่จะใช้นโยบายในการ
ไม่มีนโยบายทางการศึกษาที่เข้ามายุ่งเกี่ยวกับการเรียนการสอนทางศาสนา ข้อดีของการเรียนรู้ในศาสนา
คือ การทำความเข้าใจในศาสนาของตนเอง ที่สอนให้ทำความดี ละเว้นความชั่ว สำหรับรัฐที่เปิดโอกาส
ให้เ ยาวชนศึก ษาศาสนาอื่น ๆ จะทำให้เ ยาวชนได้เ ข้าใจในศาสนิก ชนอื่น ๆ ในปัจ จุ บ ัน รัฐในยุโรป
เริ่ม มีก ารออกกฎหมายที่ อ าจไปละเมิ ด ต่อเสรีภ าพทางศาสนา และอาจขัดต่อหลัก ประชาธิ ป ไตย
โดยเหตุผลทางความมั่นคงและการอยู่ร่วมกันอย่างสันติส ุข ในอนาคต ประเด็นของการเพิ่มข้อจำกั ด
ทางศาสนามีแนวโน้มที่ จะเพิ่มมากขึ้นในรัฐตะวันตก ซึ่งเราจะต้องมาพิจารณาถึงผลกระทบทางสังคม
ที่จะเกิดขึ้นหลังจากกฎหมายได้ผลิตออกมา
ความหลากหลายทางชนชาติ ชนชาติมีลักษณะร่วมกันบางอย่าง ไม่ว่าจะอยู่ในประเทศต่างถิ่น
เราจะสามารถคาดเดาได้ว่าบุคคลที่เราพบเจอนั้น เป็นคนชนชาติใด จากลักษณะท่าทางและการกระทำ
การมีชนชาติท ี่ห ลากหลาย ได้ส ่ง ผลให้ในบางกรณีเ กิดข้อ พิพ าท ความขัดแย้ง จนในที่ส ุดนำไปสู่
ความรุนแรง ทั้งนี้ การเรียนรู้ที่จะยอมรับความหลากหลายของชนชาติและการเคลื่อนย้ายของกลุม่ ชนชาติ
ไปยังประเทศต่าง ๆ จะทำให้เราลดอคติที่มีต่อชนชาติอื่น
95
ความหลากหลายทางเพศ เราสามารถเห็นความหลากหลายทางเพศได้จากสื่อและจากประสบการณ์
การพบเจอผู้คนที่หลากหลาย ถึงแม้เราจะอยู่ในศตวรรษที่ 21 ประเด็นเรื่องความหลากหลายทางเพศและ
การยอมรับความเท่าเทียมกันทางเพศ ยังคงเป็นประเด็นที่อ่อนไหว ทั้งยังมีกฎหมายที่ออกกฎการห้าม
มีพฤติกรรมรักร่วมเพศ จำกัดสิทธิและเสรีภาพในการเลือกเพศของพลเมือง

96
ปี 2020 แล้ว ทำไมเรายังเหยียดสีผิวกันอยู่?
จากเหตุก ารณ์ล่าสุดในสหรัฐอเมริก าที่เ กิดการจลาจลเนื่องด้วยเหตุผลที่ป ระชาชนไม่พอใจ
ในกรณีที่ George Floyd ชายผิวสีได้เสียชีวิตจากการถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมในกรณีของการใช้ธนบัตร
ปลอมซื้อสินค้า โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจใช้เข่าของตนเองกดน้ำหนักลงไปที่คอของ Floyd เพื่ อป้องกัน
การหลบหนี ทั้งที่ Floyd ไม่ได้มีแนวโน้มว่าจะหลบหนีการจับกุม และในขณะที่ Floyd ถูกเข่ากดทับไปที่
คอของเขานั้น เขาได้พ ยายามสื่อ สารกับ ตำรวจว่าเขาหายใจไม่ออก อย่างไรก็ตาม ตำรวจผู้ท ำการ
ควบคุมตัว Floyd มิได้มีปฏิกิริยาโต้ตอบต่อ ความต้องการของ Floyd จนเป็นเหตุที่ทำให้เขาเสีย ชี วิต
ในที่สุด (The New York Times, 28 May 2020)
การกระทำของเจ้าหน้าที่ตำรวจ ส่งผลให้ประชาชนเกิดความไม่พอใจเป็นจำนวนมาก ประชาชน
ส่ ว นหนึ่ ง ได้เ ริ่ ม ทำการประท้ว งอย่า งสงบและในเวลาต่ อ มาได้ ก ่อ การจลาจลในหลายรัฐส่ง ผลให้
ประธานาธิบดีทรัมป์ต้องออกมาชี้แจงผ่าน Twitter และสื่อต่าง ๆ ถึงบทบาทของประธานาธิบดีในการ
มีอำนาจสั่งการเพื่อควบคุมเหตุการณ์ อย่างไรก็ตามหลังจากที่ทรัมป์มกี ารส่งออกข้อความผ่าน Twitter ว่า
“looting will lead to shooting” หรือ “การปล้นสะดมจะนำไปสู่การยิง” ส่งผลให้ประชาชนตั้งคำถาม
กับสภาวะความเป็นประธานาธิบดีที่ควรอยู่เคียงข้างประชาชน มากกว่าที่จะมีการข่มขู่ประชาชนผ่าน
แพลตฟอร์มออนไลน์ หลังจากข้อความดังกล่าวมีการเผยแพร่ออกไป ทาง Twitter ได้ทำการซ่อนข้อความ
ของประธานาธิบดี โดยเลือกที่จะไม่ลบข้อความนั้นทิ้งเพราะเป็นที่สนใจของสาธารณะ แต่เพราะข้อความนี้
ละเมิดกฎของ Twitter จึงต้องทำการซ่อนข้อความ กฎที่ทรัมป์ละเมิดคือการไปสนับสนุนความรุนแรง
โดยผู้ที่ต้องการอ่านข้อความจะต้องทำการกดอ่านข้อความที่ Twitter ของทรัมป์โดยตรง เพื่อเข้าถึงเนื้อหา
ที่ถูกซ่อนอยู่ (Stelter and O’Sullivan, 2020)
อันที่จ ริง แล้วปัญหาของความขัดแย้งเพราะสีผิวยังคงมีอยู่ในสหรัฐอเมริก าแม้ว่าปีนี้จะเป็น
ปี ค.ศ. 2020 แล้วก็ตาม ประเด็นที่น่าสนใจประการหนึ่งเกี่ยวกับปัญหาการเหยียดผิว คือการเลือกใช้คำ
ในการอธิบายบุคคล ข้อแตกต่างระหว่างสหราชอาณาจักรและสหรัฐอเมริกา คือในขณะที่คนอเมริกัน
แบ่งการเรียกคนโดยแยกตามภูมิหลังทางเชื้อชาติออกเป็น Asian American, African American หรือ
Black, Hispanic และ White ซึ่งคำเหล่านี้คือคำธรรมดาสามัญที่ใช้เรียกกันในภาษาพูดและภาษาเขียน
ในโรงเรียน ที่ท ำงาน สื่อ สิ่ง พิม พ์และสื่อออนไลน์ นั่นคือการระบุตัวตนว่าตนเองคือ Black, Asian
American, White, Hispanic หรืออื่น ๆ ก่อนที่จะมีคำตามหลังเพิ่มเติมว่า American
คนอังกฤษในทางตรงกันข้ามเรียกทุกคนรวมกันว่าเป็น British ถึงแม้การกรอกเอกสารในหลาย
กรณีจะมีการให้ระบุอย่างละเอียด เช่น การกรอกเอกสารของมหาวิทยาลัยที่ให้ระบุว่าเป็น คนเอเชียที่มี
ภูมิหลังทางเชื้อชาติจากพื้นที่ใด เช่น เอเชียใต้ ตะวันออกกลาง เอเชียตะวันออก หรือ อื่น ๆ (สำหรับชาว
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างพวกเรามักจะต้องเช็ก ในช่องว่าเป็นชาวเอเชียประเภทอื่น ๆ อยู่เสมอ)
เหตุผลประการหนึ่งว่าทำไมต้องมีการระบุอย่างละเอียดเพราะสหราชอาณาจักรมีพลเมืองที่ย้ายมาจาก
ประเทศบางประเทศเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะประเทศในเครื อจักรภพ เช่น อินเดียและปากีสถาน
97
แต่ก ารกรอกเอกสารทางการกับ การปฏิบ ัติในชีวิตประจำวันกลับมีความแตกต่างกันเป็นอย่างมาก
คนอังกฤษที่มีพ่อหรือแม่เป็นผู้อพยพมาจากต่างประเทศมักจะระบุอย่างชัดเจนว่า เขาคือคนอัง กฤษ
แต่พ่อหรือแม่มาจากประเทศ x เช่นเดียวกับคนอังกฤษที่ มีพ่อแม่ผู้อพยพมาจากประเทศในทวีปเอเชีย
ที่จะแนะนำตัวว่าเป็นคนอังกฤษ แต่พ่อหรือแม่ของเขาอพยพมาจากประเทศอื่น โรงเรียนในอังกฤษมีการ
ปรับ ตัวตามลัก ษณะที่เ ปลี่ยนไปของจำนวนประชากรและภูมิห ลัง ทางเชื้อชาติ เช่น หลายโรงเรียน
ในสหราชอาณาจักรมีห้องสำหรับการสวดมนต์ เพื่อรองรับในความหลากหลายทางศาสนาโดยเฉพาะ
(Muslim engagement & development, 2019)
จุดที่สร้างความแตกต่างระหว่างสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักรอีกประเด็นหนึ่งคือ ปริมาณ
ของจำนวนประชากรในแต่ละภูมิหลังทางเชื้อชาติ โดยในบรรดาประชากรที่อาศัยอยู่ในสหราชอาณาจักร
ร้อ ยละ 87.2 คือ คนสหราชอาณาจักรผิวขาว ในขณะที่อังกฤษและเวลส์ ร้อ ยละ 80 คือ คนสหราช
อาณาจักรผิวขาว, ร้อยละ 6.8 คือ บุคคลที่มีภูมิหลังจากประเทศเอเชียใต้ (ปากีสถาน บังคลาเทศ อินเดีย
และอื่น ๆ), ร้อยละ 3.4 คือ คนผิวสี, ร้อยละ 0.7 คือ ชาวจีน, ร้อยละ 0.4 คือ ชาวอาหรับ และอื่น ๆ
ร้อยละ 0.6 (Institute of Race Relations, n.d.) ในทางตรงกันข้าม ตัวเลขของประชากรและภูมิหลัง
ทางเชื้อชาติของฝั่งสหรัฐอเมริกาพบว่าในเชิงปริมาณ ตัวเลขในฝั่งที่ไม่ใช่คนผิวขาวมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างมี
นัยสำคัญ ตัวเลขล่าสุดจากการสำรวจสำมะโนประชากรสหรัฐฯ ซึ่ง มีก ารจัดทำในทุก 10 ปี พบว่า
ประชากร Hispanic หรือ Latino มีปริมาณร้อยละ 18.3, ประชากร African American มีปริมาณร้อยละ
13.4 และ Asian American มีปริมาณร้อยละ 5.9 ของจำนวนประชากรทั้งหมด ทำให้ White American
มี จ ำนวนทั้ ง สิ ้น ร้ อ ยละ 76.5 (United States Census Bureau, 2018) ถึ ง แม้ ต ัว เลขประชากรของ
Hispanic และ Asian American จะมีจำนวนไม่มาก แต่อัตราการเพิ่มขึ้นของประชากรทั้งสองประเภท
ในช่วงปี ค.ศ. 2010-2018 เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 18.6 และ 27.4 ตามลำดับและถือเป็นสองกลุ่มที่มีจำนวน
ประชากรเพิ่มขึ้นสูงสุด (Frey, 2019) ในภาพรวม การเพิ่ม ขึ้นของจำนวนประชากรกลุ่มอื่นที่ไม่ใช่
ประชากรผิ ว ขาว ส่ ง ผลอย่ า งมี น ั ย สำคั ญ ต่ อ การเปลี ่ ย นแปลงโครงสร้ า งทางสั ง คมของสหรั ฐ ฯ
มีการคาดการณ์ว่าในปี ค.ศ. 2045 ประชากรอื่น ๆ ที่ไม่ใช่ White American จะมีจำนวนรวมกันมากกว่า
White American ในที่สุด (Frey, 2018)

98
โครงการ Host Family สำหรับนักศึกษาต่างชาติในสหราชอาณาจักร

ข้ อ เท็ จ จริ ง ของการเพิ ่ ม จำนวนประชากรในสหรั ฐ ฯที ่ ไ ม่ ใ ช่ ค นผิ ว ขาว ย่ อ มส่ ง ผลกระทบต่ อ


ความมั่นคงของคนผิวขาวในหลายประเด็น ไม่ว่าจะเป็นประเด็นทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และ
แม้กระทั่งภาษาที่ใช้ การรู้สึกถึงความไม่มั่นคงเลยส่งผลให้ประชากรจำนวนหนึ่งได้กลายเป็นกลุ่ม คน
ที่สนับสนุนหลักการ White Supremacist หรือหลักการที่คนผิวขาวเป็นใหญ่ (ในสังคม) ประธานาธิบดี
ทรัมป์และหลักการหาเสียง Make America Great Again ถือเป็นส่วนหนึ่งในการสนับสนุนความเป็น
White Supremacist ผ่ า นคอนเทนต์ ท ี ่ ซ ้ ำ เติ ม ไปมาถึ ง การทำให้ อ เมริ ก ากลั บ มาเป็ น ใหญ่ อ ี ก ครั้ง
แต่ความหมายนัยยะของคำว่าอเมริกา ได้แฝงเฉพาะถึงกลุ่มคนประเภทใดประเภทหนึ่งหรือไม่ (โดยเฉพาะ
คนผิวขาว) และในที่สุดแล้ว แม้กระทั่งสมาชิกพรรคเดโมแครตยังเรียกทรัมป์ว่า “a white supremacist”
(Montanaro, 2019)
โดยสรุป ทั้งกรณีของการใช้ภาษาอังกฤษแบบ American English ส่งผลให้เกิดความแตกต่าง
ในการระบุภูมิหลังของเชื้อชาติ นอกจากนี้ การเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างประชากร ที่ประชากรกลุ่มอื่น ๆ
ที ่ ไ ม่ ใ ช่ ก ลุ ่ ม คนผิ ว ขาวได้ ม ี ก ารเพิ ่ ม จำนวนประชากรอย่า งมี น ัย สำคั ญ ส่ ง ผลให้ ส ภาวะความเป็น
คนหมู่มากของคนผิวขาวเริ่มถูกท้าทายจากการเปลี่ยนแปลงนี้ และในที่สุดแล้ว เมื่อพวกเขากำลังจะหมด
สภาวะที่ก ุม อำนาจในการชี้ท ิศทางอันเป็นไปของประเทศ จึง ส่ง ผลให้เ กิดแรงต่อต้านที่มี แนวโน้ม
ที่จะรุนแรงขึ้นไปเรื่อย ๆ เพราะไม่ว่าใครก็อยากจะรู้สึกถึงความมั่นคง ไม่อยากเห็นการเปลี่ยนแปลงและ
อยากมีที่ยืนเป็นของตัวเองทั้งนั้น
ในแต่ละปีมีนักศึกษาชาวต่างชาติจำนวนมากเข้ามาศึกษาต่อยังสหราชอาณาจักร ในปีการศึกษา
2017-2018 สหราชอาณาจัก รมีนัก เรียนต่างชาติจ ำนวน 458,490 คน โดยในจำนวนนี้ นัก ศึก ษา
ชาวต่างชาติที่มีจำนวนมากที่สุดเป็นนักศึกษาชาวจีนจำนวน 106,530 คน อันดับที่ 2 นัก ศึกษาจาก
ประเทศอินเดีย (19,750 คน), อันดับที่ 3 นักศึกษาจากประเทศสหรัฐอเมริกา (18,885 คน), อันดับที่ 4
นักศึกษาจากฮ่องกง (ถูกนับแยกออกจากจีนในกรณีนี้ มีนักศึกษาจำนวน 16,350 คน) และอันดับที่ 5
นักศึกษาจากประเทศมาเลเซีย (14,970 คน) ในส่วนของประเทศไทยติดลำดับที่ 18 (6,270 คน) สาขาที่มี
คนนิยมเข้าเรียนต่อมากที่สุดสามลำดับแรก ได้แก่ อันดับที่ 1 ด้านบริหารธุรกิจ มีนักศึกษาต่างชาติเรียน
ต่อในสาขานี้มากถึง 126,955 คน หรือร้อยละ 27.69, อันดับที่ 2 ด้านวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยี
(52,635 คน – ร้ อ ยละ 11.48) และอั น ดั บ ที่ 3 ด้ า นสั ง คมศาสตร์ (42,785 คน – ร้ อ ยละ 9.33)
(UK Council for International Student Affairs, 2019)
การศึก ษาต่อ ยัง ต่างประเทศส่ง ผลต่อการเปลี่ยนผ่านในพฤติก รรมและความคิดเห็นที่มีต่อ
วัฒนธรรมดั้งเดิม นักศึกษาหลายคนต้องปรับตัวด้านภาษา เจอประสบการณ์ด้านลบที่เกี่ยวข้องกับข้อห้าม
ทางศาสนาและวัฒนธรรมของประเทศที่ตนเองเคยอาศัยอยู่ เช่น ข้อห้ามทางศาสนาในการดื่มของมึนเมา
แต่เมื่อมาเรียนต่อยังสหราชอาณาจักรกลับพบว่าภายในรั้วมหาวิทยาลัยมีการขายสุรา หรือการเปิดเผย
99
เรื่องเพศและความสัมพันธ์ของนักศึกษา ในส่วนของข้อดี คือนักศึกษาผู้พานพบกับวัฒนธรรมต่างชาติ
อาจมีการยอมรับในความแตกต่างทางวัฒนธรรมได้มากยิ่งขึ้น (Newsome & Cooper, 2016, p. 196-197)
สำหรับการเรียนในระดับมัธยมศึกษา นักเรียนอาจได้มีโอกาสพักอาศัยกับครอบครัวชาวต่างชาติ
หรืออาศัยอยู่กับนักเรียนด้วยกันภายในหอพักของโรงเรียน ช่วงเวลาในการอาศัยอยู่กับบุคคลอื่นที่มิใช่
คนในครอบครัวจะทำให้นัก เรียนได้เ รียนรู้ถึง การใช้ชี วิตร่วมกับ ผู้อื่นและถ้าหากในชั้นเรียนมีความ
หลากหลาย นั ก เรี ยนจะได้ เ รี ย นรู ้ถ ึ ง ความแตกต่ า งทางวั ฒ นธรรม ในทางตรงกั น ข้ า ม นั ก ศึ ก ษา
ในระดับอุดมศึก ษาถึงแม้ว่าจะมีโอกาสในการเข้าพักที่หอพัก ของนักศึก ษา แต่ไม่ใช่ทุกมหาวิทยาลัย
จะมีหอพักที่กำกับดูแลโดยมหาวิทยาลัยรองรับนั กศึกษาทุกคน ทำให้นักศึกษาหลายคนต้องพักอาศัยอยู่
หอนอกกำกับของมหาวิทยาลัย และอาจมีปฏิสัมพันธ์กับนักศึกษาด้วยกันเองน้อยกว่าเมื่อเทียบกับกรณี
ของนักเรียนในระดับมัธยมศึกษา
เพื ่ อ ให้ น ั ก ศึ ก ษาชาวต่ า งชาติ ไ ด้ ม ี โ อกาสในการสั ม ผั ส การใช้ ช ี ว ิ ต แบบสหราชอาณาจัก ร
โครงการ HOST UK จึงได้ถือกำเนิดขึ้นในปี ค.ศ. 1987 HOST UK ดำเนินงานผ่านระบบอาสาสมัครและ
ถือเป็นองค์กรการกุศล จุดประสงค์หลักของโครงการคือการให้นักศึกษาได้เรียนรู้ถึงวิถีชีวิตของพลเมือง
สหราชอาณาจักร (HOST UK Official, n.d.) หลักการของ HOST UK คือนักศึกษาจะได้เ ข้าพัก อาศัย
กับ ครอบครัวอาสาสมัครในช่วงสุดสัป ดาห์โ ดยเป็นการพัก ค้างคืน กิจ กรรมที่ท ำร่วมกับ ครอบครัว
อาสาสมัคร ขึ้นอยู่กับการกำหนดของครอบครัวอาสาสมัคร ในบางครั้งอาจมีกิจกรรมแนวธรรมชาติ เช่น
การเดินป่า ปีนเขา หรืออาจเป็นการท่องเที่ยว ร่วมกันทำอาหาร หรือแม้แต่การไปร่วมกิจกรรมทางศาสนา
ในช่วงเทศกาลคริสต์มาส สำหรับค่าใช้จ่ายในการเข้าร่วมโครงการซึ่งเป็นค่าดำเนินการที่ผู้เข้าร่วมโครงการ
ต้องรับผิดชอบราว 50 ปอนด์ ขึ้นอยู่กับแต่ละมหาวิทยาลัยในสหราชอาณาจักร บางมหาวิทยาลัยมีการ
จ่ายค่าโครงการให้กับนักศึกษา ทำให้นักศึกษาไม่ต้องออกค่าใช้จ่ายใด ๆ ในขณะที่บางมหาวิท ยาลัย
นักศึกษาจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าเข้าร่วมโครงการเอง ทั้งนี้ นักศึกษาไม่สามารถกำหนดได้ว่าจะได้เข้าพัก
ยัง เมืองไหน แต่ส ามารถระบุงบประมาณค่าเดินทางที่มีได้ เช่น ในกรณีท ี่ระบุว่าสามารถรับผิดชอบ
ค่าเดินทางได้มากกว่า 150 ปอนด์ อาจจะได้เดินทางไปพักอาศัยกับครอบครัวในประเทศไอร์แลนด์เหนือ
ประสบการณ์ในการเข้าพักอาศัยกับชาวอังกฤษถือเป็นโอกาสที่หาไม่ได้โดยง่าย การได้เรียนรู้
ในวัฒนธรรมที่แตกต่างจะทำให้นักศึกษาเข้าใจในวิถีชีวิตของชาวอังกฤษมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้การเข้า ร่วม
โครงการ HOST UK จำกัดสิทธิ์เฉพาะนักศึกษาต่างชาติที่ศึกษาอยู่ในสหราชอาณาจักรเท่านั้น โดยจะต้อง
มีการรับรองว่าเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยในสหราชอาณาจักรจริง
ในส่วนของประเทศไทย ครอบครัวชาวไทยสามารถเข้าร่วมโครงการในลักษณะนี้ได้ผ่านองค์กร
เช่น องค์กร AFS Thailand โดยสามารถเข้าร่วมเป็นครอบครัวอุปถัมภ์ ผ่านโครงการ 4 โครงการ ได้แก่
School-based Programs, Community Service Programs, Teaching Assistant Program แ ล ะ
โปรแกรมอื่น ๆ (AFS Thailand, n.d.)

100
ในอนาคต ประเทศไทยมีแนวโน้มที่จะมีนักศึกษาต่างชาติโดยเฉพาะนักศึกษาจากประเทศจีนและ
ประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยในประเทศไทยมากขึ้น โครงการที่มีลักษณะ
คล้ า ยกั บ HOST UK อาจช่ ว ยให้ น ั ก ศึ ก ษาชาวต่ า งชาติ เข้ า ใจในวั ฒ นธรรมและวิ ถ ี ช ี ว ิ ต แบบไทย
ในยุคศตวรรษที่ 21 ได้มากยิ่งขึ้น
หมายเหตุ : ผู้เ ขียนเคยเข้าร่วมโครงการ HOST UK ในช่วงปี ค.ศ. 2010-2012 ค่าเข้าร่วมโครงการ
ในปัจจุบันอาจมีการปรับราคาสูงมากขึ้น และผู้เขียนเคยเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนโครงการเอเอฟเอส
ประเทศสหรัฐอเมริกา ประจำปีการศึกษา 2002-2003 และใช้เวลา 11 เดือนพักอาศัยอยู่กับครอบครัว
ชาวอเมริกัน 1 ครอบครัวตลอดช่วงระยะเวลาที่เข้าร่วมโครงการ

101
Dignity Kitchen ครัวสร้างศักดิ์ศรีของคนสิงคโปร์
ในประเทศสิงคโปร์ มีห้องครัวขนาดใหญ่ที่ชุบชีวิตคนจำนวนไม่น้อยให้กลับมามีพื้นที่ของตนเอง
อีกครั้ง ถือเป็นธุรกิจเพื่อสังคมที่ประสบความสำเร็จจนคนจากหลายประเทศต้องเดินทางมาดูงาน
ในปี ค.ศ. 2010 Seng Choon ผู้ประกอบการชาวสิงคโปร์ได้ทำโครงการ Dignity Kitchen ขึ้นมา
เพื่อให้ผู้พิก ารทางสมอง ผู้พ ิก ารทางร่างกาย ผู้ด้อยโอกาสทางสังคม และ ผู้ม ีปัญหาทางสุขภาพจิต
ได้มีโอกาสในการฝึกการทำงาน ณ โรงอาหารแห่งศักดิ์ศรี เพื่อที่หลังจากการฝึกงานแล้ว เขาและเธอ
สามารถไปประกอบอาชีพในสถานประกอบการอื่นได้ (Project Dignity, n.d.)
โมเดลธุรกิจของ Dignity Kitchen ตั้งแต่ระยะแรกคือ การให้บริการอาหารกลางวันแก่ผู้สูงอายุจาก
บ้านพักคนชรา โดยมีกิจกรรมให้ร่วมทำในระหว่างการทานอาหาร เช่น การร้องเพลง ทั้งนี้ อาหารและเครือ่ งดืม่
จะถูกทำการผลิตโดยกลุ่มผู้พิการและผู้ด้อยโอกาสทางสังคม มื้ออาหารกลางวันที่มอบให้แก่ผู้สูงอายุได้รับ
การสนับสนุนโดยบุคคลหรือองค์กร ลักษณะของ Dignity Kitchen จะเป็นเหมือนกับฟู้ดคอร์ทในประเทศ
ไทย คือมีร้านอาหารจำนวนหลายร้านและมีร้านเครื่องดื่มอยู่ในบริเวณเดียวกัน (Project Dignity, n.d.)
เนื่องจาก Dignity Kitchen เป็นธุรกิจเพื่อสังคมไม่ใช่องค์กรการกุศล องค์กรนี้จึงมีกระบวนการ
คัดเลือกผู้พิการและผู้ด้อยโอกาสเข้ามาฝึกงานที่ห้องครัว นั่นหมายความว่า ไม่ใช่ทุกคนที่จะได้รับคัดเลือก
ให้เข้าร่วมโครงการ ผู้ผ่านการฝึกงานจะได้ปฏิบ ัติงานจริง ณ ร้านอาหาร หรือร้านขายเครื่องดื่ม ของ
โครงการ และเมื่อระยะเวลาการฝึกงานจบลง จะมีการอบรมผู้ได้รับคัดเลือกรุ่นใหม่ ผู้ที่ผ่านการฝึกงาน
แล้วบางส่วนจะได้รับโอกาสให้เข้าไปทำงานยังองค์กรอื่น ๆ ต่อไป
Seng Choon มีพื้นฐานในการทำธุรกิจมาก่อนที่จะมาทำโครงการ Dignity Kitchen ความถนัด
ของเขาคือการวางระบบ เพราะเขาเรียนจบด้านวิศวกรรมศาสตร์ นอกจากนี้ ความถนัดอีกประการของ
เขาคือการฟื้นฟูกิจการธุรกิจ เมื่อ คุณแม่ของเขาได้เสียชีวิตลงและได้ทิ้งเงินมรดกให้เขาจำนวนหนึ่ง
เขาได้นำเงินมรดกมาทำโครงการ Dignity Kitchen โดยได้ทำการวางระบบการทำงานของพนักงานฝึกงาน
มีการประดิษฐ์อุปกรณ์เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้พิการ เช่น สร้างระบบที่สามารถหุงข้าวได้ทีละ
หลายหม้อผ่านการกดด้วยนิ้วเดียว ฝึกผู้พิการทางสายตาให้เป็นพนักงานคิดเงินโดยการฝึกใช้ประสาท
สัมผัสทางมือ ฝึกผู้พิการทางการได้ยินให้สามารถรับรายการอาหารจากลูกค้าได้ และหน้าร้านจะมีการแปะ
โค้ดภาษามืออย่างง่าย เพื่อให้ลูกค้าสามารถสั่งเครื่องดื่มจากผู้พิการทางการได้ยินได้เอง
นับถึงเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2019 ธุรกิจเพื่อสังคมที่ก่อตั้งโดย Seng Choon ได้ฝึกอบรมผู้พิการและ
ผู้ด้อยโอกาสไปแล้วกว่า 796 คน ส่งมอบอาหารกลางวันให้แก่ผู้สูงอายุแล้วกว่า 80,000 มื้ออาหาร และราว 3
ใน 4 ของผู้ผ่านการอบรมจากโครงการได้งานทำกับพาร์ทเนอร์ของโครงการ (Project Dignity, n.d.) ในเดือน
มกราคม ปี ค.ศ. 2020 Dignity Kitchen ได้ทำการขยายสาขาไปยังฮ่องกง โดยยังคงวัตถุประสงค์เดิมทุ ก
ประการตามต้นฉบับที่ประเทศสิงคโปร์ คือ การให้โอกาสแด่ผู้พิการและผู้ด้อยโอกาสทางสังคม (Chan, 2020)
อาหารที่ถูกผลิตโดยผู้พิการและผู้ด้อยโอกาสแห่งร้าน Dignity Kitchen อาจมีความแตกต่ าง
อยูบ่ ้างเมื่อเปรียบเทียบกับมื้ออาหารตามปกติ เช่น กระบวนการผลิตบางขั้นตอนอาจเป็นไปอย่างเชื่องช้า

102
แต่ผู้เขียนสังเกตได้ว่าทุกคนต่างตั้งใจทำงาน ถึงแม้ว่าแป้งแต่ละก้อนจะถูกปั้นใหม่หลายครั้งเพราะไม่ถูกใจ
ผู้ปั้น แต่นั่นเป็นเพราะผู้ปั้นอยากเห็นแป้งที่มีมาตรฐานที่ทำด้วยฝีมือของตนเอง

หมายเหตุ : ในปี ค.ศ. 2018 ผู้เขียนได้ไปศึกษาดูงาน Dignity Kitchen ณ ประเทศสิงคโปร์ และได้ฟังการ


บรรยายจากคุณ Seng Choon จึงขอทำการสรุปรายละเอียดของการฟังการบรรยายไว้ในบทความนี้

103
Her เรารักกันแบบไม่มีตัวตนได้ไหม?
ภาพยนตร์เ รื่อง Her (2013) กำกับ โดย Spike Jonze นำเสนอเรื่องราวของชายโสดคนหนึ่ง
ที่ตัดสินใจทดลองมีความรักกับปัญญาประดิษฐ์ท ี่สามารถพกพาไปด้วยได้ทุกที่ผ่านอุปกรณ์ที่ไม่ได้มี
ขนาดใหญ่ไปกว่าเครื่องไอพอด (iPod) หลายคนที่คิดว่าเรื่องราวความรักระหว่างมนุษย์ผู้ชายในภาพยนตร์
ที่มีต่อปัญญาประดิษฐ์เพศหญิงไม่มีทางเป็นไปได้ อาจจะต้องคิดใหม่ เพราะในปัจจุบันความรักในรูปแบบ
ดัง กล่าวมีอยู่จริง ทว่าไม่ได้เ ป็นความรัก ระหว่างมนุษย์กับ ปัญญาประดิษฐ์ หากแต่เ ป็นความรักอัน
หลอกลวงระหว่างมนุษย์กับมนุษย์บนโลกออนไลน์
Romance Scam ถือ เป็นคำที่เ กี่ยวข้องโดยตรงกับ ความรัก อันหลอกลวง โดยลัก ษณะของ
romance scam คือ ความสัมพันธ์ที่ไม่มีอยู่จริงผ่านทางเว็บไซต์หาคู่ , โซเชียลแพลตฟอร์ม และอีเมล
(Budd & Anderson, 2009; Stabek, 2009 as cited in Kopp et al., 2015, p. 207) วิธีการหลอกลวง
เหยื่อเกิดขึ้นได้โดยการหาเหยื่อผ่านช่องทางออนไลน์ โดยเป้าหมายของผู้หลอกลวงประสงค์จะให้เหยื่อ
ตกหลุมรัก โดยในเบือ้ งต้นผู้หลอกลวงจะทำการสร้างตัวตนปลอมขึ้นมา มีการสร้างเรื่องราวของผู้หลอกลวง
ให้สมจริง หลังจากนั้นจะทำการส่งข้อความหาเหยื่อโดยตรงเป็ นประจำ ในบางครั้งยังมีการขอให้เหยื่อ
ซื้อของขวัญให้ เช่น โทรศัพท์เคลื่อนที่ ในระยะที่สอง หลังจากที่เหยื่อเริ่มชอบพอกับผูห้ ลอกลวงแล้ว ระยะ
นี้จะมีการสร้างเรื่องราวเสมือนกับสร้างความก้าวหน้าของความสัมพันธ์ โดยการหลอกว่าจะเดินทางมาพบ
กับเหยื่อ และแน่นอนว่าการเดินทางจะต้องติดปัญหาอุปสรรค ทำให้ไม่สามารถเดินทางมาหาได้ วิธีแก้ไข
มีอยู่หนทางเดียวนั่นคือขอให้เหยื่อทำการโอนเงินมาให้ และเมื่อเหยื่อโอนเงินมาให้ ผู้หลอกลวงจะยังคงใช้
วิธีการเช่นนี้ในการรีดทรัพย์จากเหยื่อ จนกว่าเหยื่อจะรู้ตัวและเลิกติดต่อกันไปในที่สุด (Sorell & Whitty,
2019; Buchanan & Whitty, 2014, p. 262) ทั้งนี้ นอกเหนือไปจากการหลอกลวงเหยื่อตามกลวิธีข้างต้น
ผู้หลอกลวงยังเพิ่มความน่าเชื่อถือเพื่อขอให้เหยื่อทำการโอนเงินเพิ่มเติม เช่น ในบางครั้งมีการให้แพทย์
ตัวปลอมโทรศัพท์ไปหาเหยื่อเพื่อให้เหยื่อช่วยเหลือคนรักของตัวเองให้หายขาดจากโรคภัยด้วยการโอนเงิน
ค่ารักษาพยาบาล นอกจากนี้ ยังมีกรณีที่เหยื่ออาจตกไปอยู่ในอันตรายได้ เช่น การขอให้เหยื่อเดินทางมา
หาผู้หลอกลวง ณ ประเทศในทวีปแอฟริกา โดยหากเหยื่อเดินทางมาจริงอาจประสบกับความเสี่ยงในการ
ถูกลักพาตัวเพื่อเรียกค่าไถ่ (SOCA, 2010; Whitty & Buchanan, 2012c as cited in Buchanan & Whitty,
2014, p. 262)
Romance scam เริ่มกลายเป็นที่รู้จักในเกาะอังกฤษราวปี ค.ศ. 2007 โดยสามปีให้หลังจากการ
เกิดขึ้นของ romance scam ช่วงปี ค.ศ. 2010-2011 พบว่าพลเมืองสหราชอาณาจักรถูกหลอกลวง
ด้วยวิธีการนี้ไปถึง 592 คน โดยในจำนวนนี้กว่าร้อยละ 34 สูญเสียเงินมากกว่า 5,000 ปอนด์ หรือราว
245,000 บาท ข้อสังเกตประการหนึ่งที่มีต่อกรณีการหลอกลวงแบบ romance scam คือยังมีเหตุการณ์
ที่เกิดขึ้นจริงแต่ไม่ได้ถูกรายงานอย่างเป็นทางการเป็นจำนวนมาก โดยตัวเลขอาจมีมากถึ ง 230,000 คน
ที่ตกเป็นเหยื่อของ romance scam (Buchanan & Whitty, 2014, p. 262)

104
โดยสรุป เรามีสิทธิที่จะตกเป็นเหยื่อของความรักแบบที่ไม่เคยพบเจอกันมาก่อน ไม่ต่างจากตัวเอก
ของภาพยนตร์เรื่อง Her ดังนั้นสิ่งที่เราคิดว่ามันเป็นไปไม่ได้ มันได้เป็นไปแล้วในปัจจุบันและการหลอกลวง
เช่นนี้ยัง คงจะเกิดขึ้นต่อไป เราได้แต่หวังว่าเหยื่อคนนั้นคงไม่ใช่คุณที่ กำลังอ่านบทความของเราอยู่
ณ ขณะนี้

105
Mumbai Dabbawalas: อาหารกลางวันจากบ้าน ส่งตรงถึงมือคุณ
ในห้วงเวลาที่ประเทศไทยมีทั้ง Grab Food, Line Man, Foodpanda และอื่น ๆ อีกมากมาย
เป็นตัวเลือกในการสั่งอาหารมาทานยังที่พักอาศัยหรือที่ทำงานแทนการทำอาหารทานเอง ทำให้คนเมือง
จำนวนหนึ่งให้ความสำคัญกับการทำอาหารที่บา้ นทานเองลดลง เพราะในที่สุดแล้ว ความสะดวกสบายของ
การให้บริการขนส่งอาหารในราคาที่พร้อมจ่าย ถูกนับเป็นเหตุผลในการตัดสินใจสัง่ อาหารผ่านแพลตฟอร์ม
ออนไลน์
ในเมืองมุมไบ ประเทศอินเดีย มีการให้บริการรับส่งอาหาร ไม่ต่างจากประเทศไทย แต่ความพิเศษ
ของการส่ง อาหารในมุม ไบ ถูก จัดวางผ่านระบบออฟไลน์ อาหารที่ร ับ ส่ง เป็นอาหารที่ท ำเองที่บ้าน
ส่งผ่านมาในรูปแบบของปิ่นโตอาหาร ด้วยฝีมือของ Dabbawalas เหล่ามนุษย์นักเดินทางขนส่งอาหาร
ที่เดินทางไปส่งอาหารด้วยการขึ้นรถไฟและเดินเท้า คำว่า “dabba” แปลว่า “กล่อง” ในที่นี้หมายถึง
กล่องอาหาร และ “wala” หมายถึงคนที่เกี่ยวข้องกับการแลกเปลี่ยน เมื่อรวมคำว่า “dabbawala”
เข้าไว้ด้วยกันจึงหมายความว่า คนที่ทำหน้าที่ในการขนส่งอาหารให้แก่ผู้บริโภค (Pathak, 2010, p. 236)
ประวัติศาสตร์การขนส่งอาหาร dabbawalas สามารถย้อนไปได้ถึงปี ค.ศ. 1890 โดยผู้คิดค้น
ธุรกิจแบบ dabbawala คนแรกคือ Mahadu Havji Bache ชาวเมืองปูเน ผู้เข้ามาทำงานยัง เมืองมุมไบ
Bache เล็ง เห็นว่า มีความต้อ งการของคนอินเดี ยที ่ท ำงานตามหน่ วยงานรัฐ ภายใต้ก ารกำกับ ของ
สหราชอาณาจักรในการทานอาหารที่ทางบ้านเป็นผู้ทำให้ Bache จึงสรรหาคนจากเมืองปูเนมาทำหน้าที่
ในการขนส่งอาหาร โดยในระยะแรกใช้คนเพียง 20 คน ก่อนที่จะขยายขนาดของการให้บริการ โดยระบบ
การรับคนเข้าทำงานเป็นการคัดคนเข้าทำงานจากความสัมพันธ์ทางพื้นถิ่น กล่าวคือ บุคคลเหล่านี้มาจาก
พื้นที่เดียวกัน (Pathak, 2010, p. 236 – 237)
ระบบการขนส่ง อาหารของ dabbawalas ถือว่ามีป ระสิท ธิภาพมาก เพราะมีก ารผิดพลาด
แค่เพียง 1 ครั้งจาก 6 ล้านครั้งของการขนส่ง ด้วยการเดินทางโดยรถไฟและการเดินเท้าเพื่อทำการขนส่ง
ปิ่นโตอาหาร ทำให้ dabbawalas ถือเป็นหนึ่งในธุรกิจสายกรีน ในทุก ๆ วัน จะมี dabbawalas ทำงาน
ราว 5,000 คน โดยสายงานการทำงานของ dabbawalas จะถูก แบ่ง ออกไปตามเขตของเมืองมุมไบ
การเดินทางของ dabbawalas จะอยู่ในเขตพื้นที่ 25 กิโลเมตรของเส้นทางเดินรถไฟและอาศัยการเดินเท้า
โดยเฉลี่ย 10 กิโลเมตร เริ่มต้นจากการรับอาหารปิ่นโต แล้วนำไปรวม ณ จุดรวมอาหารและจากจุดรวม
อาหาร ปิ่นโตจะถูกคัดแยกเพื่อเตรียมเดินทางไปยังเส้นทางเดินรถไฟสายต่าง ๆ เมื่อปิ่นโตเดินทางมาถึงแต่
ละสถานีรถไฟ เหล่า dabbawalas จะมารับปิ่นโตเพื่อนำไปส่งต่อยังลูกค้า โดยการขนส่งนี้จะเป็นการ
ขนส่งอาหารกลางวัน (Ganapathy, Mahadevan, & Ravikeerthi, 2016)
ระบบการขนส่งอาหารกลางวันไปยังทั่วเมืองมุมไบโดยเหล่า dabbawalas เป็นที่รู้จักไปทั่วโลก
จากการตีพิมพ์ของนิตยสาร Forbes ในปี 1998 (Pathak, 2010, p. 240) นอกจากนี้ยังมีภาพยนตร์เรื่อง
The Lunchbox (2013) นำแสดงโดยนักแสดงชื่อดังอย่าง Irrfan Khan The Lunchbox นำเสนอเรื่องราว
106
ของการส่งอาหารที่ผิดพลาดโดย dabbawala ภาพยนตร์เรื่องนี้ทำให้ผู้ชมจากต่างประเทศได้รู้จ ัก กั บ
คำว่า dabbawala และประสิทธิภาพของการขนส่งอาหารที่มีการผิดพลาดน้อยมาก ภายในภาพยนตร์
ตัวละครที่แสดงเป็น dabbawala มีการอ้างถึงงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยชื่อดังในต่างประเทศเพื่อยืนยัน
กับตัวเอกของเรื่องว่าแทบเป็ นไปไม่ได้เลยที่เขาจะส่งปิ่นโตอาหารผิด ในข้อเท็จจริงแล้วมีงานวิชาการ
ที่ตีพิมพ์โดยอาจารย์จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดเรื่อง “The Dabbawala System: On-Time Delivery,
Every Time” อยู่จริง
Dabbawala ไม่ได้เป็นเพียงแค่ธุรกิจการขนส่งอาหาร หรือชื่อเรียกคนขนส่งอาหาร แต่เป็น
เรื ่ อ งราวของประสิ ท ธิ ภ าพในด้ า นการขนส่ง ที่ ไ ม่ต ้ องใช้ เ งิน ทุ นจำนวนมาก และเป็น การเดินทาง
โดยสิ้นเปลืองพลังงานน้อยเพราะใช้การขนส่งสาธารณะ นอกจากนี้ dabbawala ยังนำเสนอในประเด็น
ของท้องถิ่นศึกษา เช่น กระบวนการคัดเลือกคนที่ม ีท ี่ม าจากความสัม พันธ์ในพื้นถิ่นเดียวกัน ถึง แม้
การเลียนแบบวิธีก าร dabbawala เพื่อนำมาปรับ ใช้จ ะทำได้ยาก เพราะเหตุป ัจ จัยที่ท ำให้ป ระสบ
ความสำเร็จมีหลายประการ รวมไปถึงวัฒนธรรมการรับประทานอาหารของคนท้องถิ่น แต่ dabbawala
ก็แสดงให้เห็นถึงความเชื่อมโยงในการทำธุรกิจให้ประสบความสำเร็จโดยการสร้างอัตลักษณ์ที่โดดเด่น
ไม่เหมือนใคร

107
หัวเราะทั้งน้ำตาไปกับวันจมูกแดง
วันจมูกแดง (Red Nose Day) ถือกำเนิดขึ้นในปี ค.ศ. 1988 โดยองค์กร Comic Relief ซึ่งเป็น
องค์ก รการกุศลในสหราชอาณาจักร ในทุกปีเ ว้นปีจะมี 1 วันในสหราชอาณาจักรที่เป็นวันจมูกแดง
หลั ก การของวั น จมู ก แดงคื อ การให้ค วามช่ ว ยเหลื อด้ า นการเงิน แก่ ป ระเทศในทวี ป แอฟริ ก าและ
สหราชอาณาจัก รโดยผ่านการบริจ าค สิ่ ง ที่ท ำให้องค์ก ร Comic Relief มีความแตกต่างจากองค์กร
การกุศลอื่น คือการใช้ความตลกในการระดมทุน ดังนั้น ยอดการบริจาคของวันจมูกแดงจะมาจากการ
ที่นักแสดงตลกรวมไปถึงนักแสดงคนอื่น ๆ ทำการแสดงละครหรือกิจกรรมที่สร้างความตลกขบขันให้แก่
ผู้ชมในสหราชอาณาจักรผ่านการออกอากาศทางช่อง BBC (Comic Relief, 2013)
ประชาชนทั่วประเทศสามารถมีสว่ นร่วมกับวันจมูกแดงด้วยการซื้อจมูกสีแดงทีว่ างขายตามร้านค้า
ทั่วไปในสหราชอาณาจักร จมูกสีแดงมีรูปทรงกลมเหมือนจมูกที่ตัวตลกใส่แต่จะมีลวดลายที่แตกต่างกัน
ออกไป นอกจากการซื้อจมูกสีแดงแล้ว ยังสามารถบริจาคเงินโดยตรงผ่านทางโครงการ หรือทำกิจกรรม
ระดมทุนของตนเองในนามวันจมูกแดงและนำรายได้มอบให้กับองค์กร Comic Relief เพื่อดำเนินการ
สาธารณประโยชน์ต่อไป ผู้เขียนเคยเป็นทั้งผู้ซื้อจมูกแดงและผู้บริจาคเงินให้กับองค์กร Comic Relief
ข้อสัง เกตที่ม ีต่อ วันจมูกแดง คือ ชาวอัง กฤษจำนวนมากต่างมีส่วนร่วมทั้งก่อนและหลังวันจมูกแดง
ในบางครั้ง เห็นรถแท็ก ซี่ใส่จมูกสีแดงไว้ห น้ารถยนต์เพื่อแสดงออกว่าสนับสนุนโครงการวันจมูกแดง
ในเบื้องต้น สิ่งที่จะต้องทราบเกี่ยวกับคนอังกฤษ คือ เขาเป็นคนที่สนับสนุนด้านการกุศลจนเป็นวัฒนธรรม
คือนอกจากวันจมูกแดงแล้ว ในช่วงใกล้วันทหารผ่านศึก จะเห็นชาวอังกฤษจำนวนไม่น้อยที่ขึ้นรถไฟใต้ดิน
โดยมีก ารติดดอกป๊อ ปปี้บนเสื้อ เพื่อเป็นการรำลึก ถึงวันทหารผ่านศึก จากรายงานโดย GoFundMe
พบว่าสหราชอาณาจักรเป็นประเทศที่มีอ ัตราร้อยละของผู้บริจ าคเพื่อการกุศลต่อจำนวนประชากร
มากที่สุดเป็นลำดับที่ 5 ของโลกรองลงมาจาก ประเทศไอร์แลนด์ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และแคนาดา
(GoFundMe, n.d. as cited in Whitehead, 2019)
การแสดงตลกเพื่อทำการระดมทุนสู่องค์กร Comic Relief ถือว่าเป็นโครงการที่ประสบความสำเร็จมาก
ในการรวมนักแสดงและบุคคลผู้มีชื่อเสียงจากทั่วทั้งประเทศมาร่วมกิจกรรม ตัวอย่างเช่น ในปี ค.ศ. 2011
Andy Murray นักกีฬาเทนนิสชาวอังกฤษได้ให้เกียรติมาร่วมทำการแสดงตลกร่วมกับนักแสดงคนอื่น ๆ
อย่างไรก็ตาม ในกรณีของการสร้างคอนเทนต์ผ่านช่อง BBC จะมีการแนะนำโครงการ Red Nose Day
คั่นรายการแสดงละครตลก เพื่ออธิบายว่าทำไมผู้ชมทางบ้านถึงควรบริจาคเงินเข้าสู่โครงการ ในหลายครั้ง
เรื่องราวที่ถ่ายทอดนำเสนอบทสัมภาษณ์และภาพที่น่าสะเทือนใจ เช่น ฉายภาพเด็กหญิงจากทวีปแอฟริกา
ที่อายุไม่ถึงสิบปีนั่งร้องไห้เพราะเธอหิวข้าวและเธอได้แต่พูด ซ้ำ ๆ ผ่านกล้องว่า “ฉันหิวข้าวเหลือเกิน”
ที่น่าสงสารไปกว่านั้นคือเธอเป็นเด็กกำพร้าที่ไม่มีผู้ปกครองคอยดูแล หรือการฉายภาพเด็กชายอายุไม่เกิน
สามขวบที่กำลังถูกแมลงวันรุมตอมตามใบหน้าและลำตัว โดยมีนักแสดงชาวอังกฤษกล่าวผ่านกล้องว่า

108
เด็กคนนี้น่าสงสารอย่างไร42 กระบวนการสร้างคอนเทนต์เหล่านี้ทำให้สามารถมองได้อย่างน้อยสองมุมมอง
คือ 1.) สร้างเรื่องราวให้น่าเห็นใจเพราะจะทำให้ผู้ชมรายการรู้สึกว่าต้องบริจาคเงินช่วยเหลือเป็นการ
เร่งด่วน หรือ 2.) เรื่องราวความน่าสงสารเหล่านี้เป็นการฉายภาพซ้ำของความรู้สึกที่ว่าพลเมืองสหราช
อาณาจักรคือพลเมืองจากประเทศโลกที่ 1 ควรทำหน้าที่ในการช่วยเหลือประเทศโลกที่ 3 นอกจากนี้
ยังสามารถมองไปถึงว่าคอนเทนต์ได้สร้างภาพว่าแอฟริกาเป็นดินแดนที่มีแต่ผู้คนยากไร้ น่าสงสารเห็นใจ
ซึ่งอันที่จริงแล้วการสื่อสารในลักษณะเช่นนี้ ไม่ได้ฉายภาพทั้งหมดของทวีปแอฟริกาและเป็นการนำเสนอ
ในมุมมองเพียงด้านเดียว
ในภาพรวมของโครงการ Red Nose Day ถือว่าประสบความสำเร็จในการระดมทุนเป็นอย่างมาก
โดยในปี ค.ศ. 2019 มีคนบริจาคเงินให้กับโครงการเป็นจำนวนถึง 63.9 ล้านปอนด์ (Comic Relief, n.d.)
วัน Red Nose Day ในสหราชอาณาจักร จะกลับมาอีกครั้งในปี ค.ศ. 2021 และเมื่อถึงเวลานั้น ผู้เขียน
หวังว่าการแสดงตลกในครั้งหน้า จะไม่ทำให้ผู้ชมทางบ้านต้องเสียน้ำตาอีก

42 ผู้เขียนได้รับชมรายการของโครงการ Red Nose Day ผ่านทางช่อง BBC ในขณะที่ศึกษาต่อในสหราชอาณาจักร ปี ค.ศ. 2011


109
เที่ยวฟรี นอนฟรี ชีวิตดีดีในยุคดิจิทัล
จะเป็นอย่างไรเมื่อคุณเดินทางไปถึงยังประเทศยุโรป ก็มีคนมาชวนคุณไปเที่ยวฟรี โดยมีไกด์
ผู้ร อบรู้เ ส้นทางและประวัติศาสตร์พาคุณเดินชมรอบเมือ ง นอกจากนี้ยัง มีที่พักฟรีให้แก่คุณได้นอน
ตามเมืองต่าง ๆ โดยที่คุณไม่ต้องไปจองโรงแรมหรือที่พักแบบ Airbnb ให้เสียเวลา แน่นอนว่าข้อเสนอนี้
หลายคนอาจคิดว่าไม่น่าเป็นจริงได้ เพราะของฟรีไม่น่าจะมีในโลก อย่างไรก็ตามบทความนี้จะมานำเสนอ
การท่องเที่ยวแบบทางเลือกที่จะมอบทั้งที่พักและไกด์นำเที่ยวให้กับคุณโดยไม่เสียค่าใช้จ่ าย
SANDEMANs New Europe ก่ อ ตั ้ ง ในปี ค.ศ. 2003 โดย Chris Sandeman บั ณ ฑิ ต จาก
มหาวิทยาลัย Yale (SANDEMANs New Europe, n.d.) เมื่อ Sandeman เรียนจบ เขาได้ทำงานเป็นไกด์
ในเบอร์ลิน แต่การเป็นไกด์อาชีพของเขาไม่ประสบความสำเร็จจนต้องถูกให้ออกจากงาน เขาเลยคิดไอเดีย
“ทัวร์ฟรี” ขึ้นมา เพื่อให้เขายังคงได้ทำหน้าที่ในการเป็นไกด์และหาลูกค้าตามโฮสเทลต่าง ๆ (Aim to
Travel, 2013) หลักการทัวร์ฟรีของ Sandeman คือ การพาไปเดินเที่ยวบริเวณรอบเมืองในเบอร์ลิน
ซึ่งเป็นเมืองที่มสี ถานที่สำคัญที่อยู่ใกล้กันในระยะที่เดินได้ ทัวร์นี้ไม่มีการตั้งราคา แต่จะอยู่ได้ด้วยเงินค่าทิป
จากลูกค้าที่เห็นสมควรว่าควรให้ทิปแก่ผู้นำทัวร์เป็นจำนวนเงินเท่าไหร่ Chris Sandeman ได้กล่าวถึง
หลักการของบริษัทว่า หากลูกค้าผู้มาเดินทัวร์ฟรีไม่พึงพอใจในการให้บริการ ก็สามารถที่จะเดินออกจาก
ทัวร์โดยไม่ต้องให้เงินค่าทิปแต่ อย่างใด หลังจากการเปิดให้บริการในเบอร์ลินเพียง 6 เดือน บริษัทของ
Sanderman สามารถครองมูลค่าการตลาดของบริษัทนำเที่ยวแบบเดินทัวร์ได้ถึงร้อยละ 50 ในเบอร์ลิน
(Aim to Travel, 2013) ปั จ จุ บ ั น บริ ษ ั ท มี บ ริ ก ารทั ว ร์ ฟ รี ใ น 20 เมื อ งทั ้ ง ในยุ โ รป สหรั ฐ อเมริ ก า
และตะวันออกกลาง (SANDEMANs New Europe, n.d.)
นอกจากเรื่องการเที่ยวฟรีแล้ว ในปัจจุบันเราสามารถค้นหาที่พักอาศัยฟรี ผ่านการใช้บริการ
จากเว็บไซต์ Couchsurfing.com ไอเดียของเว็บไซต์มีที่มาจากผู้ก่อตั้ง Casey Fenton ในปี ค.ศ. 1999
Fenton ได้เ ดินทางจากเมือ งบอสตัน ประเทศสหรัฐอเมริก าไปยังประเทศไอซ์แลนด์โ ดยไม่ได้มีการ
วางแผนในการจองที่พัก เขาตัดสินใจทำการแฮ็กระบบข้อมูลของมหาวิทยาลัยไอซ์แลนด์ (University of
Iceland) และทำการส่งอีเมลไปหานักศึกษาราว 1,500 คนเพื่อขอความช่วยเหลือในการให้ที่พักอาศัย
แก่เขา ปรากฎว่ามีคนตอบรับให้เขาเข้าพักอาศัยเป็นจำนวนมาก เมื่อ Fenton กลับมายังสหรัฐอเมริกา
เขาเลยนำเอาไอเดียที่ได้จากการขอเข้าพักอาศัยฟรีในไอซ์แลนด์มาเปิดตัวเว็บไซต์ Couchsurfing.com
โดยองค์กรนี้ถือเป็นองค์กรที่ไม่แสวงหาผลกำไร (Wikipedia, n.d.) หลักการของการใช้บริการ Couchsurfing
สามารถทำได้โดยกรอกข้อมูลเบื้องต้นของผู้ใช้บริการ โดยสามารถเลือกได้ว่าจะเป็นโฮสต์ผู้ให้บริการ
เปิดที่พักต้อนรับผู้มาพักอาศัยหรือจะเป็นผู้ขอเข้าพักอาศัยเอง ผู้ขอเข้าพักอาศัยจะทำการส่งข้อความ
แนะนำตัวและเหตุผลในการขอเข้าพักไปยังโฮสต์โ ดยตรง หรือ บางครั้งสามารถทิ้ง ข้อ มูลไว้ในระบบ
เพี่อให้โฮสต์ได้เสนอให้เข้าพัก อาศัย ทั้งผู้เข้าพักอาศัยและโฮสต์ต้องทำการตกลงร่วมกันทั้งสองฝ่าย
ผ่านระบบ โดยทั้ง สองฝ่ายสามารถเห็นข้อแนะนำติชมจากข้อมูลการเข้าพัก หรือการเป็นโฮสต์ของ
ผู้ใช้บริการคนก่อน ๆ ปัจจุบันผู้ใช้บริการและผูใ้ ห้บริการ Couchsurfing มีอยู่ทั่วโลก โดยหลักการเบื้องต้น
110
ของ Couchsurfing คือ โฮสต์ให้บริการเข้าพักอาศัยโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย แต่อาจมีเงื่อนไขที่แตกต่างกัน
ออกไปในแต่ล ะโฮสต์ เช่น ห้ามสวมใส่ร องเท้าภายในบ้าน ห้ามนำเด็ก เข้ามาพัก อาศัยภาย ในบ้าน
หรือ ห้ามสูบบุหรี่ภายในบ้าน ฯลฯ
ทั้ง SANDERMANs New Europe และ Couchsurfing ถือเป็นองค์ก รที่ส นับ สนุ นเศรษฐกิ จ
แบบแบ่งปัน หรือ sharing economy โดยนิยามของเศรษฐกิจแบบแบ่งปัน คือ การแลกเปลี่ยนระหว่าง
บุคคลในระยะสั้น โดยการแลกเปลี่ยนนี้อาจเป็นสินค้าหรื อการบริการ และมักกระทำผ่านแพลตฟอร์ม
ออนไลน์ (Chappelow, 2020) ตัวอย่างของเศรษฐกิจแบบแบ่งปัน ได้แก่ Airbnb ที่ผู้ให้บริการคือเจ้าของ
สถานที่ที่ให้ผู้เข้ามาพักอาศัยในช่วงระยะเวลาตามที่ได้ตกลงกัน โดยผู้เข้าพักทำการจองที่พักผ่านระบบ
ออนไลน์ (Chappelow, 2020)
ปัจจุบันอาชีพไกด์ที่อาจถูกจำกัดด้วยการสอบใบอนุญาต ซึ่งหมายความว่าคนต่างชาติไม่มีสิทธิ
ในการทำอาชีพนี้ได้ในประเทศที่มีกฎหมายดังกล่าว และโรงแรมที่จะต้องทำการขออนุญาตเปิดโรงแรม
ตามกฎหมาย กำลังถูกท้าทายโดยองค์กรข้ามชาติที่มาทั้งในรูปแบบขององค์กรไม่แสวงหาผลกำไรและ
สตาร์ทอัพ คำถามคือ ประเทศไทยที่พึ่งพิงรายได้จากการท่องเที่ยวจะเสียดุลการค้าและสามารถจัดเก็บ
ภาษีได้น้อยลงจากการเข้ามาขององค์กรเหล่านี้นับเป็นปริมาณเงินมากเท่าไหร่ และตัวเลขนี้มีแนวโน้ม
เพิ่มขึ้นอย่างไรในอนาคต

111
เดินทางไปดาวอังคารด้วยตั๋วเที่ยวเดียว
จะเป็นอย่างไรถ้าหากว่าเราได้ไปอาศัยอยู่บนดาวอัง คารจริง ๆ ในปี ค.ศ. 2011 โครงการ
Mars One ได้ถือกำเนิดขึ้น โดยมีเป้าประสงค์ที่จะพามนุษย์เดินทางไปยังดาวอังคาร การเดินทางในครั้งนี้
เป็นการเดินทางไปโดยมีตั๋วยานอวกาศเพียงเทีย่ วเดียว และจะไม่มีการกลับมาอีก (Mars One, n.d.; Chu,
2014) นั่นแปลว่ามนุษย์ท ี่ตัดสินใจเดินทางไปยังดาวอังคารกับโครงการ Mars One อาจไม่ม ีโอกาส
ได้พบเจอกับครอบครัว ญาติ และเพื่อนของตนเองอีกเลยตลอดชีวิต
หลังจากการเปิดตัวของโครงการ ในปี ค.ศ. 2013 Mars One ได้ทำการเปิดรับสมัครผู้เข้าร่วม
โครงการเดินทางไปยังดาวอังคารภายใต้โครงการที่มีชื่อว่า the Astronaut Selection Program (ASP)
โครงการนี้เปิดโอกาสให้คนจากทั่วโลกส่งใบสมัครเข้ามายังโครงการ และหากได้รับคั ดเลือก เขาและเธอ
เหล่านั้นจะได้เดินทางไปยังดาวอังคารในปี ค.ศ. 2031 (Mars One, n.d.)
ถึง แม้ว่าโครงการ Mars One จะได้รับการตอบรับอย่างล้นหลามจากทั่วทุกมุมโลก แต่ก ็เกิด
คำถามอยู่ไม่น้อยว่าโครงการนี้ได้รับการสนับสนุนโดยใคร เพราะจากเว็บไซต์ของโครงการ ชี้แจงเอาไว้ว่า
Mars One ได้ร ับ การสนับ สนุนทางการเงินราว 1 ล้านเหรียญสหรัฐ จากการบริจาค การขายสินค้า
การลงทุน รายได้จากสปอนเซอร์ ฯลฯ แต่ไม่ได้มีรัฐบาลหรือองค์กรขนาดใหญ่ให้การสนับสนุน
ในปี ค.ศ. 2014 นักวิจัยจากมหาวิท ยาลัย Massachusetts Institute of Technology (MIT)
ได้ทำการวิจัยถึงความเป็นไปได้โครงการ Mars One ผลปรากฏว่า โครงการนี้มีช่องโหว่มากมายในเชิง
วิทยาศาสตร์ เช่น การปลูกพืชบนดาวอังคารจะส่งผลให้เกิดการสร้างออกซิเจนในระดับที่ไม่ปลอดภัยและ
จะทำให้มนุษย์ขาดอากาศหายใจในที่สุด ในส่วนของน้ำ มีการค้นพบน้ำแข็งบนพื้นผิ วของดาวอัง คาร
และทางโครงการ Mars One ได้ระบุว่าผู้เข้าร่วมโครงการอาจทำการละลายน้ำแข็งบนพื้นผิวดาวอังคาร
เพื่อนำมาบริโภค อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีในปัจจุบันยัง ไม่ส ามารถทำการละลายน้ำแข็งจากดิน และ
นำมาบริโภคได้ (Chu, 2014)
ทั้ง นี้ นอกเหนือจากประเด็นปัญ หาในเชิง วิทยาศาสตร์ของการไปอยู่บนดาวอัง คารอย่างไร
ให้มีชีวิตรอดแล้ว ยังมีประเด็นทางด้านสังคมวิทยาและจิตวิทยาที่จะต้องนำมาพิจารณาด้วย โครงการ
Hawai’i Space Exploration Analog and Simulation (HI-SEAS) ถือเป็นโครงการทดลองที่ให้มนุษย์
มาอาศัยอยู่ด้วยกันในสภาวการณ์ที่จำลองว่ามนุษย์กำลังอาศัยอยู่บนดาวอังคาร โดยกลุ่มที่ทำการทดลอง
เป็นระยะเวลาที่ยาวนานที่สุด ใช้เวลา 1 ปีในการอาศัยอยู่ร่วมกัน (Hersher, 2016) โดยทั้ง 6 ผู้ทำการทดลอง
ต้องอาศัยอยู่ร่วมกันในพื้นที่แคบ ใช้ห้องน้ำร่วมกัน สามารถอาบน้ำได้เพียง 30 วินาทีเพื่อประหยั ดน้ำ
ทานอาหารอวกาศ รับส่งข้อมูลข่าวสารช้ากว่าเวลาทั่วไปราว 20 นาที และเมื่อออกจากพื้นที่อาศัยจะต้อง
ทำการสวมชุดอวกาศ (Koren, 2018) ผลปรากฏว่า มนุษย์ผู้เข้ารับการทดลองอยู่ร่วมกัน เกิดการทะเลาะกัน
แบ่งพรรคแบ่งพวก ทำให้ผู้เข้าร่วมโครงการบางส่วนอยู่อย่างไม่มีความสุข (The Habitat, 2018)

112
ก่อ นที่เ ราจะหาวิธีเดินทางไปยังดาวอัง คาร ซึ่ง คาดว่าไม่วันใดก็วันหนึ่งที่ม นุษย์จะสามารถ
หาหนทางไปยังดาวอังคารได้ เราควรหันมาให้ความสำคัญกับสภาวะของความเป็นมนุษย์ ทั้งในสภาพจิตใจ
สภาพสังคม ซึ่งล้วนมีผลต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ทั้งในวันนี้และในอนาคตอันไกล

113
คำถามท้ายบทที่ 3
1. การกลืนกลายทางวัฒนธรรม แตกต่างจาก การกวาดล้างชาติพันธุ์อย่างไร
2. Affirmation Action ใรข้อดีข้อเสียอย่างไร อธิบาย
3. สิทธิในการที่จะถูกลืม มีข้อดีอย่างไร อธิบาย
4. วิธีการจัดการเรียนการสอนในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับ ศาสนา มีความแตกต่างกันในแต่ล ะรัฐ
อย่างไร อธิบายตัวอย่างมา 2 กรณีศึกษา
5. Make America Great Again อาจถูกนำเข้าไปเกี่ยวโยงกับ White Supremacist อย่างไร

114
บทที่ 4
การสร้างทัศนคติเชิงบวกเพื่อการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งด้วยสันติวิธี
หัวข้อ
- ทัศนคติเชิงบวก
- ความรุนแรง
- การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งด้วยสันติวิธี
วัตถุประสงค์
- นักศึกษาสามารถเรียนรู้ถึงวิธีการสร้างทัศนคติเชิงบวก
- นักศึกษาเรียนรู้ที่จะแก้ไขปัญหาข้อขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างตนเองและผู้อื่นด้วยสันติวิธี
- นัก ศึก ษาสามารถเป็นส่ วนหนึ่ง ของการลดปัญ หาความขัด แย้ง ทางสัง คม ที่เ กิ ดขึ้นจริง ใน
สถานการณ์ปัจจุบัน

เกริ่นนำ
ในชีวิตประจำวันของเรา ต้อ งประสบกับ เหตุแห่ง ความพึง พอใจและความไม่พึง พอใจด้วย
เหตุผลต่าง ๆ ในบทที่ 4 เราจะได้เรียนรู้กันถึง “ความสุข” ถึงแม้ทุกคนจะเข้าใจว่าความสุขแปลว่าอะไร
แต่ร ู้ห รือไม่ว่า ในปัจ จุบ ัน เริ่ม มีการเรียนการสอนวิ ชาที่เกี่ยวข้อ งกับความสุขในหลายมหาวิทยาลัย
หรือนั่นแสดงว่า คนเราไม่รู้ว่าทำอย่างไรถึงจะมีความสุข
นอกจากการเรียนรู้ถึงความสุข เราจะได้เรียนรู้ถึงความรุนแรง ซึ่งเป็นปัญหาที่กอ่ ให้ เกิดความทุกข์
แต่ในความเป็นจริง แล้ว ชีวิตของพวกเราจะต้องเจอกับ ความทุก ข์อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ การเรียนรู้
เรื่องความรุนแรง จะทำให้เราเข้าใจว่าสิ่งใดที่เราควรกระทำและไม่ควรกระทำต่อผู้อื่น เพราะสิ่งนั้นอาจ
เป็นสิ่งที่เรียกว่าความรุนแรง โดยที่เราได้กระทำไปอย่างไม่รู้ตัว และนอกจากการเรียนรู้เรื่องความรุนแรงแล้ว
เรายังจะได้เรียนรู้ถึงการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง ด้วยสันติวิธี ซึ่ง เป็นการคงไว้ซึ่งสันติภาพโดยรวม
ของสังคม
สำหรับบทความท้ายบทที่ 4 บทความเรื่อง “GoFundMe” ในกรณีนี้ใช้อธิบายถึงการระดมทุน
เพื่อสนับสนุนช่วยเหลือผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของการถูกล่วงละเมิด บทความเรื่อง “Terrace House: เมื่อเรียล
ลิตี้โ ชว์ส ามารถฆ่าคนได้” อธิบ ายถึง ปัญหา cyberbullying ที่ส ่ง ผลต่อสภาวะจิตใจของมนุษย์ และ
บทความ “เมื่อพอดแคสต์ทวงความยุติธรรม/เพราะเขาอาจไม่ใช่ฆาตกร?” อธิบายถึงบทบาทของการ
สื่อสารมวลชนที่ส่งผลกระทบต่อการตั้งคำถามกับระบบยุติธรรมของรัฐ

115
ทัศนคติเชิงบวก
การเรียนการสอนในรายวิชาที่เกี่ยวกับศาสตร์แห่งความสุข ถือว่าได้รับความนิยมมากในประเทศ
สหรัฐอเมริก า ดัง จะเห็นได้จากการเปิดการเรียนการสอนเป็นระบบออนไลน์ผ่านเว็ บไซต์ ที่เรียกว่า
Massive Open Online Course (MOOC) เช่น Coursera.org และ edX.org โดยมหาวิท ยาลัยชั้นนำ
ของโลกที่มีการสอนศาสตร์ความสุข ได้แก่ University of California, Berkley มีการสอนวิชา The Science
of Happiness43 Yale University มี ก ารสอนวิ ช า The Science of Well-Being44 ซึ ่ ง เนื ้ อ หาของ
การเรียนการสอนเกี่ยวข้องกับความสุขโดยตรง
วิชาความสุขไม่ได้มีก ารเรียนการสอนผ่านคณะด้านวิท ยาศาสตร์สายสุขภาพแต่เ พียงเท่ านั้น
คณะทางด้านสายสัง คมศาสตร์ เช่น บริห ารธุร กิจ เศรษฐศาสตร์ ต่างมีวิชาการเรียนการสอนและ
ผลงานวิจ ัยที่เ กี่ยวข้องกับ ความสุขด้วยเช่นกัน เช่น Professor Raj Raghunathan จาก McCombs
School of Business, The University of Texas at Austin ทำการสอนรายวิชา A Life of Happiness
and Fulfillment ซึ่งมีนักเรียนลงทะเบียนเรียนวิชานี้ผ่าน Coursera มากเกิน 100,000 ราย ในต้นปี
ค.ศ. 2016 และรายวิชานี้กลายเป็นวิชาที่ติดอันดับ 1 ใน 10 ของ Coursera (Raghunathan, 2016: 4-5)
สำหรับวิชาทางด้านเศรษฐศาสตร์ Professor Nattavudh Powdthavee (ณัฐวุฒิ เผ่าทวี) ผู้เชี่ยวชาญ
ด้านเศรษฐศาสตร์ความสุขและเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม เป็นผู้สอนรายวิชา The Economics of Wellbeing
ณ The University of Warwick45 ดังนั้นเราจะเห็นได้ว่าศาสตร์แห่งความสุข สามารถนำไปประยุกต์ใช้
ในหลากหลายสาขาวิชา
ทั ศ นคติ เ ชิ ง บวก เกี ่ ย วข้ อ งอย่ า งไรกั บ ความสุ ข คำว่ า “ทั ศ นคติ ” ตามพจนานุ ก รมฉบับ
ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 แปลว่า “แนวความคิด” ดังนั้นทัศนคติเชิงบวก จึงหมายถึง แนวความคิด
เชิงบวก ทั้งนี้ การมีความสุขถือเป็นพื้นฐานทัศนคติเชิงบวก จากผลการจัดอันดับของ World Happiness
Report, 2021 พบว่า ประเทศที่คนมีความสุขมากที่สุด 5 อันดับแรก คือ ประเทศฟินแลนด์, ไอซ์แลนด์
เดนมาร์ก, สวิสเซอร์แลนด์ และเนเธอร์แลนด์ ในส่วน ไทย อันดับที่ 48 สำหรับประเทศที่มีความสุขน้อย
ที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ ซิมบับเว, แทนซาเนีย, จอร์แดน, อินเดีย, และกัมพูชา จากการจัดอันดับทั้งหมด
95 อันดับ (Helliwell et al., 2021: 18-19)
เหตุผ ลว่าทำไมบุคคลในประเทศหนึ ่ง ถึง มี ความสุ ขมากกว่าประเทศอื่ น ประการหนึ่ง คือ
การมี ค ุ ณ ภาพชี ว ิ ต โดยรวมที ่ ด ี จากการวั ด ผลโดย Social Progress Index โดย Social Progress
หมายความถึง “ความสามารถของสังคมในการทำให้พลเมืองได้รับความต้องการขั้นพื้นฐาน สร้างพื้นที่
ให้กับพลเมืองและสังคมในการพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ ยังต้องสร้างปัจจัยที่ส่งเสริม
ให้พลเมืองสามารถใช้ศักยภาพของตนเองได้อย่างเต็มที่” (Porter, Stern, & Green, 2017: 2-3)

43 ดูรายละเอียดของรายวิชาเพิ่มเติมได้ที่ https://www.edx.org/course/the-science-of-happiness
44 ดูรายละเอียดของรายวิชาเพิ่มเติมได้ที่ https://www.coursera.org/learn/the-science-of-well-being
45 ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://www.wbs.ac.uk/about/person/nattavudh-powdthavee

116
เกณฑ์การวัดคุณภาพของชีวิตของ Social Progress Index แบ่งออกเป็น 3 ข้อหลัก ได้แก่
- ความต้อ งการขั้นพื้นฐานของมนุ ษย์ แบ่ง ออกเป็น โภชนาการและการรัก ษาพยาบา ล
ขั้นพื้นฐาน น้ำดื่มและสุขอนามัย ที่อยู่อาศัย และ ความปลอดภัย
- สุขภาวะขั้นพื้นฐาน แบ่ง ออกเป็น การเข้าถึง ความรู้ขั้นพื้นฐาน การเข้าถึง ข้อ มูล และ
การสื่อสาร สุขภาพ และคุณภาพของสิ่งแวดล้อม
- โอกาส แบ่งออกเป็น สิทธิส่วนบุคคล เสรีภาพส่วนบุคคล เสรีภาพในการเลือก การยอมรับ
ความคิดเห็น การรู้สึกเป็นส่วนร่วม การเข้าถึงการศึกษาขั้นสูง
ผลของประเทศทีม่ ีคะแนน Social Progress Index สูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ ประเทศเดนมาร์ก
(90.57), ฟินแลนด์ (90.53), ไอซ์แลนด์ (90.27), นอร์เวย์ (90.27) และประเทศสวิสเซอร์แลนด์ (90.10)
(Porter, Stern, & Green, 2017: 2-3) ถือว่าเป็นไปในทิศทางเดียวกับ ระดับ ความสุขของประชากร
ในประเทศนั้น ๆ เราสามารถอนุมานจากผลคะแนนของ Social Progress Index และ World Happiness
Report ได้ว่า ความสุขของมนุษย์ส ่วนหนึ่ง ขึ้นอยู่ก ับ สภาพแวดล้อมและสังคม ซึ่ง ส่วนหนึ่ง เป็นผล
มาจากการจัดการผ่านนโยบายของภาครัฐ การจัดสรรสวัสดิการและการเมืองการปกครองที่เปิดกว้าง
ให้ประชาชนได้มีสิทธิเสรีภาพและมีโอกาสในการใช้ศักยภาพที่ตนเองมีอยู่อย่างเต็มที่
หลังจากที่ได้เห็นผลรวมของความสุขและความก้าวหน้าทางสังคมของประชากรในระดับรัฐแล้ว
ในระดับหน่วยศึกษาที่เล็กที่สุด คือ การศึกษาความสุขในระดับบุคคล จากผลการศึกษาของวิทยาศาสตร์
ความสุข พบว่า อัตราความสุขของมนุษย์ขึ้นอยู่กับยีนถึงร้อยละ 50 ซึ่งเป็นสิ่งที่เราไม่สามารถควบคุมได้
เพราะเป็นสิ่งที่เรามีมาตั้งแต่กำเนิด ร้อยละ 40 ของความสุขขึ้นอยู่กับกิจกรรมที่เราทำซึ่งเป็นสิ่งที่เรา
สามารถควบคุมได้ และร้อยละ 10 ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ที่เราเผชิญ เช่น เหตุการณ์สำคัญในครอบครัว
การสูญเสียเงิน ชีวิตคู่ ดังนั้นถึงแม้จะมีปัจจัยที่ควบคุมความสุขไม่ได้ถึงกึ่งหนึ่ง แต่เรายังสามารถควบคุม ได้
ในอีกครึ่งที่เหลือ (Lyubomirsky, 2008 as cited in Mendelsohn, 2008) ในที่นี้ไม่ได้หมายความว่าเรา
สามารถควบคุมเหตุการณ์ไม่ให้เกิดขึ้น เช่น เราไม่สามารถควบคุมให้คนในครอบครัวเราไม่เจ็บป่วย
คนรักไม่จากไป หรือ การลงทุนในตลาดหุ้นไม่ขาดทุน แต่สิ่งที่เราสามารถควบคุมได้ คือ วิธีการคิดและ
การปฏิบัติตนต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
คนมี ค วามสุ ข มั ก มีพ ฤติ ก รรมอย่ า งไร คนมี ค วามสุ ข มั ก จะมีอ งค์ป ระกอบร่ ว มดั ง ต่อไปนี้
“มีความสุขในความสัมพันธ์ทางสังคม, สามารถแสดงออกถึงความรู้สึกสำนึกบุญคุณได้โดยง่าย, มักจะเป็น
คนแรก ๆ ที่เสนอตัวช่วยเหลือผู้อื่น, มีการฝึกฝนการมองโลกในแง่ดี, อยู่กับปัจจุบัน, มีความสุขกับปัจจุบัน
ออกกำลังกายหรือมีกิจกรรมที่มีการใช้ร่างกายเคลื่อนไหวเป็นนิสัย , มักเป็นคนที่มีความเชื่อในศาสนา,
มีเ ป้าหมายที่มีความหมายและปฏิบัติตามเป้าหมายนั้นอย่างจริงจัง ” (Argyle, 1999; Diener et al.
1999; Diener & Lucas, 1999; Lyubomirsky, 2001; and Myers, 2000 as cited in Lyubomirsky,
2008)

117
จะเห็นได้ว่าการมีความสุขในความสัมพันธ์ทางสังคมถือเป็นองค์ประกอบหนึ่งของคนมีความสุข
การมีความสัมพันธ์ทางสังคมที่ดีส่งผลดีต่อ การลดระดับความขัดแย้งในสังคม รวมไปถึงการรู้สึกสำนึก
บุญ คุณและการช่วยเหลือผู้อื่นอย่างสม่ ำเสมอเมื่อมีโอกาส ทั้ง นี้ เมื่อ ถามว่าทำอย่างไรเราถึงจะเป็น
ผู ้ ม ี ค วามสุ ข คำตอบคื อ ความสุ ข นั ้น สามารถสร้า งและฝึก ฝนได้ เราสามารถค้ นหากิ จ กรรมที่ใช้
การเคลื่อนไหวทางร่างกายที่เราชอบและฝึกฝนในการทำกิจกรรมนั้น ๆ อย่างสม่ำเสมอ ฝึกพูดคำว่า
ขอบคุณทุกครั้งเมื่อมีใครทำอะไรให้กับเราและชื่นชมผู้อื่นอย่างจริงใจ การเขียนจดหมายขอบคุณถือเป็น
อีกการฝึกฝนการสร้างความสุข ทั้งสร้างความสุขให้กับตัวเองและสร้างความสุขให้กับ ผู้อื่น
ความสุขเป็นสิ่งที่บุคคลสามารถสร้างด้วยตนเองได้ เพื่อส่งเสริมให้เรามีทัศนคติที่ดีต่อโลก, สังคม,
ผู้คนรอบข้าง และตนเอง เราสามารถฝึกฝนการสร้างความสุขให้แก่ตัวเราเองและบุคคลรอบข้าง ในส่วน
ของภาครัฐ หน้าที่ของรัฐคือการส่งเสริมสวัสดิการรัฐ สนับสนุนให้ประชากรในประเทศได้รับสวัสดิการ
ขั้นพื้นฐานอย่างเพียงพอ รัฐต้อ งเป็นตัวแสดงหลัก ในการลดความเหลื่อมล้ำทาง สังคม เปิดโอกาส
ให้ประชาชนสามารถแสดงออกซึ่งเสรีภาพส่วนบุคคล รัฐควรหลีกเลี่ยงการสร้างความขัดแย้งภายในสังคม
และในระดับระหว่างรัฐ
ทั้งนี้ เมื่อถามถึงความต้องการของนักศึกษาว่าในชีวิตนี้ต้องการอะไร หลายคนจะมีความต้องการ
ที่แตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็นความต้องการทางทรัพย์สิน สุขภาพ ครอบครัว สติปัญญา ความก้าวหน้า
ในหน้าที่การงาน แต่เมื่อขอให้นักศึกษาคิดทบทวนในคำตอบอีกครั้ง เช่น ทำไมถึงอยากมีทรัพย์สมบัติมาก ๆ
สุดท้ายคำตอบอาจจะเป็นไปได้ว่า ที่สุดแล้วความต้องการสูงสุดของมนุษย์ คือ ความสุข ไม่ว่าจะเป็น
ความสุขในการมีความสัมพันธ์ที่ดีกับครอบครัวและคนรอบข้าง หรือความสุขภายในจิตใจของตนเอง

ความรุนแรง
ความรุนแรง (Violence) สามารถแบ่ง ประเภทเป็น ความรุนแรงทางกาย, ความรุนแรงทางเพศ,
ความรุนแรงทางจิตใจ และการทอดทิ้ง-เพิกเฉย โดยความรุนแรงแบ่งออกเป็น 3 รูปแบบ ตามคำจำกัด
ความของ Violence Prevention Alliance (n.d.) ได้แก่
- Self-directed Violence – ความรุนแรงต่อตนเองโดยตรง หมายถึงความรุนแรงที่ผู้กระทำและ
เหยื่อเป็นคนคนเดียวกัน ความรุนแรงในลักษณะนี้ ได้แก่ การทำร้ายร่างกายตนเอง การฆ่าตัวตาย
(Violence Prevention Alliance, n.d.; Krug, Dahlberg, Mercy, Zwi & Lozano, 2002: 6)
- Interpersonal Violence – ความรุนแรงระหว่างบุคคล ในกรณีนี้แบ่ง ออกเป็นการกระทำ
ความรุนแรงต่อ เครือ ญาติ เช่น ญาติพี่น้อง คนรัก บุตร โดยความรุนแรงเช่นนี้ มัก เกิดขึ้น
ภายในบ้าน และกระทำความรุนแรงต่อ บุคคลภายนอก ซึ่งจะแบ่งออกเป็น การกระทำความ
รุนแรงต่อคนรู้จัก เช่น เพื่อน และการกระทำความรุนแรงต่อคนที่ไม่รจู้ ัก (Violence Prevention
Alliance, n.d.; Krug, Dahlberg, Mercy, Zwi & Lozano, 2002: 6)

118
- Collective Violence – ความรุนแรงกลุ่ม ความรุนแรงในรูปแบบนี้ประกอบไปด้วยผู้ก ระทำ
ระดับกลุ่ม โดยผู้กระทำความรุนแรงจะถือว่าตนเองนั้นเป็นสมาชิกของกลุ่ม ไม่ว่ากลุ่มนั้นจะเป็น
กลุ่ม ที่ม ีการจัดตั้ง ในลักษณะชั่วคราวหรือถาวร ความรุนแรงกลุ่มแบ่งออกเป็นหลายระดับ
ได้แก่ ระหว่างกลุ่ม กับบุคคล, ระหว่างกลุ่ม กับ กลุ่ม , ระหว่างรัฐ กับ กลุ่ม , ระหว่างรัฐ กั บ
กลุ่มผู้ก่อการร้าย โดยเป้าประสงค์ของการใช้ความรุนแรงนี้เป็นไปเพื่อเป้าหมายทางด้านเศรษฐกิจ
สัง คม หรือการเมือง รูป แบบของความรุนแรงระดับ กลุ่ม ประกอบไปด้วย การทำสงคราม
การก่อการร้าย ความขัดแย้งทางการเมืองที่มีมาตรการการใช้ความรุนแรงระหว่างรัฐ การใช้ความ
รุ น แรงโดยรั ฐ ต่ อ ประชาชน เช่ น การฆ่ า ล้ า งเผ่ า พั น ธุ ์ การทรมาน การข่ ม ขื น ทางจิ ต ใจ
และการกระทำอื่นที่ละเมิดต่อสิทธิมนุษยชน, อาชญากรรมองค์กร (Krug, Dahlberg, Mercy,
Zwi & Lozano, 2002: 215)
ปัญหาการใช้ความรุนแรงที่เกิดขึ้นกับเยาวชนในสหรัฐอเมริกา จากสถิติพบว่า กว่าร้อยละ 74
ของเยาวชนอายุระหว่าง 10-24 ปีในสหรัฐอเมริกา เสียชีวิตด้วย 4 สาเหตุหลัก ได้แก่ อุบัติเหตุรถยนต์
ร้อยละ 22, การบาดเจ็บจากสาเหตุอื่น ร้อยละ 20, การฆ่าตัวตาย ร้อยละ 17, และการถูกฆาตกรรม
ร้อยละ 15 (Kann et al., 2018: 2) ในสหรัฐอเมริกานักเรียนกว่า ร้อยละ 15.7 พกอาวุธติดตัว ซึ่งส่งผลให้
นักเรียนร้อยละ 6 เคยถูกข่มขู่หรือทำร้ายด้วยอาวุธ , ร้อยละ 23.6 เคยทำร้ายร่างกาย หรือถูกทำร้าย
ร่างกาย, ร้อยละ 7.4 เคยถูกบังคับให้มีเพศสัมพันธ์ ซึ่งเป็นตัวเลขที่เท่ากันกับจำนวนนักเรียนที่พยายาม
ฆ่าตัวตาย (Kann et al., 2018: 13; 15; 20)
ในปัจจุบัน การเข้าถึง internet และ social media ทำให้ผู้คนสามารถสื่อสารถึงกันได้ง่ายขึ้น
จากสถิติเ มื่อ สิ้นปี ค.ศ. 2017 พบว่ามีป ระชากรจำนวนถึง 4.1 พันล้านคนที่เป็นผู้ใช้ง าน internet
นั่นแสดงว่าอัตราการเข้าถึง internet ของประชากรโลกสูงถึงร้อยละ 54 (Internet World Stats, 2018)
นอกจากนี้ Facebook ยังมีผู้ใช้งานมากกว่า 2.2 พันล้านคนในปี ค.ศ. 2018 และในทุก ๆ วัน มีคนใช้งาน
social network มากกว่า 1.45 พันล้านคน (Aljazeera, 26 April, 2018 [b])
ปัญ หาด้านความรุนแรงที่เ กิดขึ้นจากการใช้ social media คือ cyberbullying ซึ่ง หมายถึง
การรังแกที่เกิดขึ้นผ่านการใช้อุปกรณ์ดิจิทัล เช่น โทรศัพท์สมาร์ทโฟน คอมพิวเตอร์ และแท็บเล็ต โดยการ
รั ง แกนี ้ จ ะออกมาในรู ป แบบข้ อ ความ, รู ป ภาพ, คลิ ป ที ่ ส ่ ง ออกมาทาง SMS หรื อ โซเชี ย ลมี เ ดี ย
เช่น Facebook Twitter Instagram แอพพลิเ คชัน เกมออนไลน์ โดยข้อความ รูป ภาพ และคลิปนั้น
สามารถส่งต่อให้แก่บุคคลอื่น และบุคคลอื่นสามารถเขียนวิจารณ์บนแพลตฟอร์ม โดยเนื้อหาที่โพสต์เป็น
การทำให้ผู้ถูกกล่าวถึงเกิดความอับอาย ถูกดูหมิ่นเกลียดชัง (Stopbullying.gov, 2018) สำหรับตัวเลขที่
นักเรียนอเมริกันเคยถูก cyberbullying พบว่ามีสูงถึงเกือบร้อยละ 15 ของนักเรียนทั่วประเทศ โดยจาก

119
สถิติ นักเรียนหญิงจะประสบปัญหาการถูก cyberbullying มากกว่านักเรียนชาย (Kann et al., 2018:
17)46
ความรุนแรงถือเป็นทางออกสุดท้ายในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง ผลของการแก้ไขปัญ หา
ความขัดแย้งด้วยความรุนแรงไม่ก่อให้เกิดผลดีต่อทั้งตนเองและผู้อื่น การใช้ความรุนแรงก่อให้เกิดผลตั้งแต่
ผลกระทบทางด้านจิตใจทั้งระยะสั้นและระยะยาว ผลกระทบทางด้านร่างกาย และสุดท้ายผลกระทบ
ถึงชีวิต
การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งด้วยสันติวิธี
การแก้ไขปัญหาด้วยสันติวิธี เป็นการแก้ไขปัญหาที่อยู่ขั้วตรงกันข้ามกับการแก้ ไขปัญหาผ่านการ
ใช้ความรุนแรง ข้อดีของการแก้ไขปัญหาด้วยสันติวิธี คือ การลดความเสี่ยงในการสูญเสีย ไม่ว่าจะเป็น
ความสูญเสียทางจิตใจ ร่างกาย หรือชีวิต
บทความทางวิชาการที่กล่าวถึงวิธีการยุ ติความขัดแย้ง มีความหลากหลายตั้งแต่การใช้วิธีการ
ยุติความขัดแย้งในระดับองค์กร วิธีการยุติความขัดแย้งในโรงเรียน ไปจนถึงยุติความขัดแย้งในระดับสากล
เช่น การที่ United Nations ใช้ความพยายามเข้าไปยุติความขัดแย้งในประเทศที่กำลังอยู่ใน War Zone
หรือพื้นที่ที่อยู่ในเขตสงคราม-ความไม่สงบ จะเห็นได้ว่าความขัดแย้งถือเป็นเรื่องสากล แต่ระดับของปัญหา
ความขัดแย้งมีความแตกต่างกัน เช่น การแก้ไขปัญหาระหว่างการทะเลาะกันของนักเรียน 2 คน ย่อมมีวิธี
ในการแก้ปัญหาที่รวดเร็วกว่าการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ ซึ่งเป็นปัญหา
ระดับระหว่างรัฐ นอกจากนี้ จำนวนผู้ไกล่เกลี่ย หรือ ผู้ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการแก้ปัญหามีจำนวน
ไม่เท่ากัน ในกรณีของนักเรียนทะเลาะกัน ครูฝ่ายปกครองผู้มีความรู้จักนักเรียนดีในระดับหนึ่ง จะสามารถ
เข้าใจถึงสาเหตุของปัญหาและรู้วิธียุติปัญหา นั่นหมายความว่า ไม่จำเป็นต้องใช้คนกลางเป็นจำนวนมาก
ในการไกล่เกลี่ยปัญหา ในกรณีของเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้นั้น ผู้ที่เข้าไปช่วยแก้ปัญหามีทั้งภาครัฐ
อาจารย์มหาวิทยาลัย และองค์ก ารระหว่างประเทศ แต่ล ะฝ่ายที่ช่วยกันแก้ปัญ หาต่างมีความเข้าใจ
ในบริบทของปัญหาไม่เท่ากัน
จากการนิยามของฮัสสัน ดูมาลี (2558: 33) การแก้ไขปัญหาความขัดแย้งด้วยสันติวิธีมี 4 ประการ
หลัก ได้แก่ การไกล่เ กลี่ยข้อ พิพาทผ่านบุคคลกลาง (Mediation), การใช้วิธีการทางกฎหมายในการ
ไกล่เกลี่ย (Litigation) เช่น การฟ้องร้อง, การประท้วง – และเผชิญหน้ากันอย่างสันติ (Non-violence
Confrontation), และการจัดการความขัดแย้งแบบมีส่วนร่วม (Consensus Building Conflict Management)
หมายถึง การให้ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรงของความขัดแย้งนั้น มาหารือเพื่อหาข้อแก้ไขและหาทางออก
ร่วมกัน (สรวิศ ลิมปรังษี, 2555: 17-20 อ้างถึงใน ฮัสสัน ดูมาลี, 2558: 33)
46 ในบทความท้ายบทที่ 4 เรื่อง Terrace House: เมื่อเรียลลิตี้โชว์สามารถฆ่าคนได้? ถือเป็นกรณีตัวอย่างของผลกระทบจาก Cyberbullying
ที่เกิดขึ้นหลังจากการไปออกรายการ Reality Show ในประเทศญี่ปุ่น

120
รูปภาพที่ 11: ชาวเยอรมันยืนประท้วงหน้าสถานทูตเกาหลีเหนือด้วยความสงบ ตัวอย่างของการประท้วงอย่างสันติ
ผู้เขียนถ่ายภาพนี้ที่หน้าสถานทูตเกาหลีเหนือ, เบอร์ลิน, เยอรมนี พ.ศ. 2561

นิตยสาร Time (n.d.) ได้ท ำการจัดอันดับ 10 ภาพการประท้วงอย่างสันติในประวัติศาสตร์


ดังต่อไปนี้
1. John Lennon และ Yoko Ono ได้ทำการประท้วงเพื่อต่อต้านสงครามเวียดนามด้วยการติด
ป้ายไว้ตรงหน้าต่างของโรงแรมที่พัก เป็นข้อความว่า “Hair Peace” และ “Bed Peace”
โดยใช้วิธีการสะกดคำว่า Please เป็น Peace (สันติภาพ)
2. Henry David Thoreau ได้ท ำการประท้วงรัฐบาล ด้วยวิธีก ารเพิก เฉยผ่ านการปฏิ เ สธ
จ่ายภาษี เพราะคิดว่าทำไมเราต้องจ่ายเงินภาษีให้กับรัฐบาลภายใต้กฎหมายที่ไม่ยุติธรรม
3. Inez Milholland Boissevain และคณะได้ขี่ม้าพร้อมแต่งชุดสีขาวเดินทางมายังวอชิงตัน ดีซี
เพื่อทำการเรียกร้องให้รัฐบาลออกกฎหมายให้ผู้หญิงสามารถไปเลือกตั้งได้
4. Mohandas Gandhi และคณะ เดินทางไปผลิตเกลือ ก่อนหน้าที่จะเดินทางไปทำนาเกลือ
รัฐบาลอังกฤษที่ควบคุมอินเดีย ห้ามคนอินเดียทำการผลิตเกลือเอง คานธีใช้เวลาเดินทาง
ด้วยเท้า 24 วัน และลงมือผลิตเกลือ ส่งผลให้เกิดการเคลื่อนไหวตามคานธีอย่างมากมาย
5. United Auto Workers ในช่วงเศรษฐกิจตกต่ำของสหรัฐอเมริก า General Motors (GE)
ได้โยกย้ายงานไปให้กลุ่มคนที่ไม่ได้เป็นสมาชิกสหภาพ สมาชิกเลยประท้วงนัดหยุดทำงาน
ส่งผลให้ภายใน 2 อาทิตย์ คนร่วมกันนัดหยุดงานถึง 135,000 คน
6. Rosa Parks สตรีผู้สร้างสัญลักษณ์แห่งความเท่าเทียมกัน เหตุการณ์เกิดขึ้นเมื่อเธอปฏิเสธ
ที่จะลุกขึ้นเพื่อให้ชายผิวขาวนั่ง จนกลายเป็นเหตุการณ์ที่เป็นแรงบันดาลใจให้กับคน African
American ทั่วประเทศ

121
7. Martin Luther King Jr. และผู ้ ต ิ ด ตามอี ก ราว 200,000 คน เดิ น ทางมาฟั ง ประโยค
“I have a dream…” อันโด่งดัง ที่วอชิงตัน ดีซี
8. Tommie Smith และ John Carlos สองนักกีฬาเหรียญรางวัลโอลิมปิก (1968) กำหมัด
ชูมือขึ้น เพื่อเป็นการแสดงออกถึงการประท้วงเชิงสัญลักษณ์สำหรับความไม่เท่าเทียมกัน
ผ่านการแบ่งแยกสีผิวในสหรัฐอเมริกา
9. National Mobilization Committee ในปี ค.ศ. 1967 หญิงสาวจากกลุ่มดังกล่าว ยืนถือ
ดอกไม้ท่ามกลางทหารที่ถืออาวุธ โดยเธอมาแสดงจุดยืนในการต่อต้านสงครามเวียดนาม
10. ไม่มีใครทราบว่าชายผู้นั้นเป็นใคร เหตุการณ์เกิดขึ้นที่กรุงปักกิ่ง มีผู้คนเสียชีวิตกว่า 200 คน
ชายผู้นไี้ ปยืนขวางรถถังของทหาร
จากตัวอย่างของเหตุการณ์การประท้วงอย่างสันติในประวัติศาสตร์ พบว่าวิธีการแก้ไขปัญ หา
ความขัดแย้งด้วยสันติวิธีมีความหลากหลาย แต่ละวิธีมีการใช้เวลาและจำนวนคนในการเข้าแก้ป ัญ หา
ในระดับที่แตกต่างกัน ทั้งนี้จะเห็นว่า ผู้ใช้วิธีการแก้ปัญหาอย่างสันติ เช่น คานธี สามารถดึงกลุ่มคนให้มา
เข้าร่วมการประท้วงอย่างสันติได้เป็นจำนวนมาก คานธีใช้หลักการทำให้ดูเป็นตัวอย่างในการฝ่าฝืนคำสั่ง
ของรัฐบาลอังกฤษ ในขณะที่มาร์ติน ลูเธอร์คิง จูเนียร์ ใช้วิธีการที่เขาถนัด คือ การพูด เพราะแต่เดิมเป็น
นักเทศน์อยู่แล้ว ภาษาในการพูดของเขาสามารถตรึงความประทับใจให้กับคนจำนวนมากได้ นอกจากนี้
ในกรณีอื่น ๆ มีการแสดงออกในเชิงสัญลักษณ์ เช่น ดอกไม้ แทนสันติภาพ ซึ่งเป็นภาพลักษณ์ ตรงกันข้าม
กับฝ่ายรัฐบาลที่กำลังถือปืน
ในบทความท้ายบทที่ 4 ถือเป็นสองกรณีของการแก้ ไขปัญหาความขัดแย้งผ่านการใช้วิธีก าร
ทางกฎหมายในการไกล่เกลี่ย (Litigation) ประเด็นที่น่าสนใจสำหรับในสองกรณีดังกล่าว คือ ก่อนที่จะมี
การจัดการความขัดแย้งผ่านกระบวนการทางศาล ในกรณีแรก มีก ารระดมทุนผ่านทางโลกออนไลน์
บนแพลตฟอร์ม ที่ม ีชื่อว่า GoFundMe เพื่อนำไปสนับ สนุนการแก้ไขปัญ หาการล่วงละเมิดทางเพศ
อีกกรณีคือการนำเสนอเรื่องราวของผู้ถูกกล่าวหาในคดีฆาตกรรม ซึ่งนักข่าวนำเรื่องราวของผู้ถูกกล่าวหา
มานำเสนอผ่านพอดแคสต์ ทำให้เกิดการเรียกร้องความยุติธรรมให้กับผู้ถูกกล่าวหา47

47 อ่านบทความเรื่อง GoFundMe / เมื่อ Podcast ทวงความยุติธรรม / เพราะเขาอาจไม่ใช่ฆาตกร? เพิ่มเติมในท้ายบทที่ 4


122
สรุป
ในบทนี้ เราได้เริ่มต้นเรียนรู้กันเรื่องความสุข ปัจจุบัน การเรียนการสอนด้านศาสตร์แห่งความสุข
กลายเป็นวิชาที่มีผู้สนใจในการเรียนรู้เป็นจำนวนมาก ศาสตร์แห่งความสุขมีการเรียนการสอนทั ้ง ใน
สายวิทยาศาสตร์สุขภาพ และสายสังคมศาสตร์ พบว่า ในเชิงวิทยาศาสตร์ ความสุขมาจากยีนของมนุษย์
ถึงกึ่งหนึ่งซึ่งเป็นสิ่งที่มนุษย์ไม่สามารถควบคุมได้ เพราะถือเป็นลักษณะโดยธรรมชาติกำเนิด อย่างไรก็ตาม
ความสุขอีกครึ่งที่เหลือ เป็นสิ่งที่มนุษย์สามารถเลือกที่จะเรียนรู้และรับมือกับสถานการณ์ที่กำลังเผชิญด้วย
ทัศนคติเ ชิ ง บวก ความสุขสามารถสร้างได้จากการฝึกฝน และความสุขสามารถสร้างได้จากกิจกรรม
ธรรมดาสามัญ
เหตุผลที่เราศึกษาเรื่องความสุขและทัศนคติเชิงบวก ก็เพื่อเราจะได้หลีกเลี่ยงการใช้ความรุนแรง
ในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง ความรุนแรง (Violence) มีทั้งความรุนแรงทางร่างกาย ความรุ นแรง
ทางจิตใจ ความรุนแรงทางเพศ และการทอดทิ้ง ซึ่งถือเป็นความรุนแรงอย่างหนึ่งที่ผู้มีอำนาจเหนือกว่า
กระทำกับผู้ไม่มีอำนาจ เช่น การที่พ่อแม่ทิ้งบุตร รัฐบาลทอดทิ้งประชาชน องค์การระหว่างประเทศ
ทอดทิ้งรัฐที่กำลังประสบปัญหาภายในประเทศ การใช้ความรุนแรงแบ่งออกเป็น การใช้ความรุน แรง
ต่อตนเอง การใช้ความรุนแรงต่อบุคคลอื่น และการใช้ความรุนแรงโดยกลุ่ม ทั้งนี้ความรุนแรงที่ส่งผล
ต่อจิตใจ เช่น cyberbullying ถือเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อเยาวชนในยุคปัจจุบัน
การแก้ไขปัญ หาความขัดแย้ง ด้วยสันติ วิ ธี ถือเป็นวิธีก ารแก้ไขปัญ หาโดยหลีก เลี่ยงการใช้
ความรุนแรง วิธีการแก้ปัญหาความขัดแย้งด้วยสันติวิธี ตามนิยามของฮัสสัน ดูมาลี (2558: 33) ได้แก่
การใช้คนกลางเป็นผู้ให้การช่วยเหลือแก้ไขความขัดแย้งระหว่างคู่กรณี การใช้วิธีการทางกฎหมายโดยตรง
การประท้วง และการสรรหาความร่วมมือผ่านการการประชุมหารือ

123
GoFundMe
โลกใบนี้ยังมีคนที่ต้องการความช่วยเหลือมากมาย และในหลายครั้งการช่วยเหลือสามารถทำได้
โดยการอาศัยธารน้ำใจจากผู้คนจำนวนมาก แพลตฟอร์ม GoFundMe ได้ถือกำเนิดขึ้นในสหรัฐอเมริกา
เมื่อปี ค.ศ. 2010 โดยจุดประสงค์ของ GoFundMe คือการเป็นแพลตฟอร์มระดมทุนเพื่อทำประโยชน์
ให้ แ ก่ บ ุค คลและชุม ชน ที ่ ผ ่ านมา GoFundMe สามารถระดมทุ นไปได้ ถ ึง 9 พั น ล้านเหรียญสหรัฐ
และมีการบริจาคเงินไปแล้วกว่า 120 ล้านครั้ง (Radu & McManus, 2018, p. 134; GoFundMe, n.d. [a])
GoFundMe มีการแบ่งรูปแบบการระดมทุนออกเป็นหลากหลายประเภท อาทิเช่น การระดมทุน
ด้านการแพทย์ การศึกษา การระดมทุนในกรณีฉุกเฉิน การระดมทุนเพื่อช่วยเหลือสัตว์ การระดมทุนเพื่อ
องค์กรไม่แสวงหากำไร และการระดมทุนเพื่อความทรงจำ เช่น การระดมทุนเพื่องานศพ และการระดมทุน
เพื่อทวงคืนความยุติธรรมต่อผู้ที่จากไปแล้ว (GoFundMe, n.d. [b])
วิธีการขอระดมทุนสามารถทำได้โดยการโพสต์ข้อความอธิบายหลักการและเหตุผลในการขอ
ระดมทุน ผู้โพสต์สามารถใส่รูปภาพหรือคลิปวิดีโอลงไปในแพลตฟอร์มได้ ผู้ขอระดมทุนจะต้องทำการ
กำหนดเพดานจำนวนเงินในการขอระดมทุน โดยแพลตฟอร์มจะมีการแสดงจำนวนผู้แชร์ ผู้กดติดตาม
จำนวนผู้บริจาค รายชื่อผู้บริจาคจำนวนเงินบริจาคล่าสุดเรียงตามลำดับ และยอดรวมของเงินบริจา ค
ทั้งนี้ ผู้ใช้งานแพลตฟอร์มสามารถเขียนข้อคิดเห็นที่มีต่อการขอรับบริจาคได้
องค์กร GoFundMe สามารถอยู่ได้ด้วยการเก็บค่าธรรมเนียมจากผู้บริจาค โดยค่าธรรมเนียม
การบริจาคในแต่ละประเทศจะมีจำนวนไม่เท่ากัน ยกตัวอย่างเช่น ในประเทศสหรัฐอเมริกา สำหรับ
การบริจาค 1 ครั้งจะมีค่าธุรกรรมทางการเงินร้อยละ 2.9 และ GoFundMe จะเก็บเงินจากการบริจาคอยู่ที่
0.3 เหรียญสหรัฐต่อครั้ง ในกรณีของประเทศโปรตุเกส จะมีค่าธรรมเนียมเฉพาะของ GoFundMe ร้อยละ 5
ค่าธุรกรรมทางการเงินร้อยละ 2.55 และเก็บเงินจากค่าบริจาคครั้งละ 2.5 ยูโ ร (GoFundMe, n.d. [c])
ที่ผ ่านมา โครงการที่ส ามารถระดมทุนได้ส ูง สุดจากแพลตฟอร์ม GoFundMe คือโครงการ
TIME’S UP Legal Defense Fund โดยสามารถระดมทุนไปได้ถึง 24.2 ล้านเหรียญสหรัฐ การระดมทุนนี้
เป็นไปเพื่อช่วยเหลือสตรีที่ตกเป็นเหยื่อของการถูกล่วงละเมิดทางเพศในที่ ทำงาน สาเหตุที่โครงการนี้
ประสบความสำเร็จในด้านการระดมทุนเป็นอย่างมาก เพราะการเคลื่อนไหวในประเด็นนี้มีที่มาหลังจาก
การเปิ ด โปงกรณี ก ารล่ ว งละเมิ ด ทางเพศนั ก แสดงหญิ ง โดยผู ้ ล ่ ว งละเมิ ด คื อ Harvey Weinstein
ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท Miramax ที่ผลิตภาพยนตร์เรื่อง The King’s Speech, Pulp Fiction, Shakespeare
in Love ฯลฯ (GoFundMe, n.d. [d]; Glusac, 2018; Farrow, 2017)
ในกรณีของประเทศไทย มีแพลตฟอร์มการบริจาคเงินชื่อว่า “เทใจ” ผู้ต้องการบริจาคเงินหรือ
ส่งโครงการเพื่อขอพิจารณาการรับบริจาคเงิน สามารถเข้าไปยังเว็บไซต์ www.taejai.com โดยที่ผ่านมา
เทใจสามารถทำการระดมทุนเงินไปได้ถึง 142.8 ล้านบาท จากผู้บริจาคทั้งหมด 72 ,475 ราย และมี
โครงการที่ขอระดมทุนและสามารถได้รับเงินระดมทุนตามเป้าไปแล้วกว่า 355 โครงการ (เทใจ, ม.ป.ป.)
124
Terrace House: เมื่อเรียลลิตี้โชว์สามารถฆ่าคนได้?
บทความนี้มิได้เป็นการชี้นำว่าการเข้าร่วมรายการประเภทเรียลลิตี้โชว์จะเป็นการเพิ่ม ความเสี่ยง
ในการมีชีวิตที่ส ั้ นลง อย่างไรก็ตามปฏิเ สธไม่ ได้ว ่ากรณีก ารก่ออั ต วิน ิบ าตกรรมของ ฮานะ คิม ูร ะ
(Hana Kimura) มีจุดเริ่มต้นจากการทีเ่ ธอเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของรายการเรียลลิตี้โชว์ “Terrace House”
รายการ Terrace House เริ ่ ม ออกอากาศตอนแรกในปี ค.ศ. 2012 โดยบริ ษ ั ท ผู ้ ผ ลิตคือ
Fuji Television นับจนถึงปัจจุบันรายการนี้มีจำนวนทั้งสิ้น 5 ซีรีส์ด้วยกัน ความแตกต่างของ Terrace
House กับรายการเรียลลิตี้โชว์อื่น ๆ คือรายการนี้ไม่มีการคัดคนออก แต่เป็นการสมัครใจออกจากบ้าน
ด้วยตนเอง ในแต่ละซีรีส์จะใช้ระยะเวลาไม่เท่ากัน เช่น ซีรีส์แรก Boys × Girls Next Door (2012–2014)
มีความยาวถึง 97 ตอน ในขณะที่ซีรีส์ Aloha State (2016-2017) มีความยาวเพียง 36 ตอน โดยใน
แต่ละตอนจะนับเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นภายในระยะเวลา 1 สัปดาห์ (Wikipedia, n.d.)
Terrace House ในแต่ละซีรีส์จะมีการเปลี่ยนสถานที่ถ่ายทำให้แตกต่างกันออกไป เช่น โตเกียว
ฮาวาย นะงะโนะ ผู้เข้าร่วมรายการจะได้อาศัยอยู่ภายในบ้านโดยตัวบ้านแบ่งออกเป็นพื้นที่ส่วนรวม ได้แก่
ห้องดูโ ทรทัศน์ (ซึ่ง บางครั้งพวกเขาก็ม ารวมตัวกันดูรายการเรียลลิตี้โ ชว์ของตัวเอง) , ห้องทานข้าว,
ห้องนั่งเล่น และจะแบ่งห้องนอนออกเป็นห้องนอนผู้ชาย-ผู้หญิง โดยแต่ล ะห้องนอนสามารถรองรับ
ผู้พักอาศัยได้ 3 คน ดังนั้น บ้านในซีรีส์จะรับพลเมืองประจำบ้านได้คราวละ 6 คน และเมื่อใดก็ตามที่มี
คนสมัครใจออกจากบ้านโดยไม่หวนกลับมาอีก ก็จะมีคนเข้ามาแทนที่คน ๆ นั้นในรายการตอนถัดไป
ผู้ที่อาศัยอยู่ภายในบ้านจะถูกทำการบันทึกภาพเคลื่อนไหว และเมื่อเดินทางออกไปข้างนอกบ้าน
ในบางครั้ง จะมีตากล้อ งตามไปถ่ายทำนอกสถานที่ด้วย รายการ Terrace House เป็นรายการที่ไม่มี
บทการแสดง ดังนั้น ผู้เข้าร่วมรายการจึงสามารถแสดงออกถึงความเป็นตัวตนของตนเอง หรือเลือกแสร้ง
ทำให้ตัวเองดูดีในสายตาผู้ชมรายการก็สามารถทำได้ ในขณะที่รายการออกอากาศจะมีการคอมเมนต์
พฤติกรรมของผู้อาศัยอยู่ในบ้านโดยพิธีกรชายหญิงจำนวน 6 ราย เทียบเท่ากับจำนวนสมาชิกภายในบ้าน
เหตุผลที่ทำให้รายการนี้เป็นรายการยอดนิยมของคนญี่ปุ่นและคนทั่วโลก คือการแสดงออก
ถึง ความเป็นธรรมชาติท ี่แท้จริงของมนุษย์ และรายการนี้กำลังทำให้ผู้ชมเห็นธรรมชาติของคนญี่ปุ่น
ในยุคมิลเลนเนียลที่แตกต่างจากความเป็นญี่ปุ่นแบบที่คนทั่วไปคิด เช่น เราอาจนึกภาพคนญี่ปุ่นทั่วไป
ในวั ย ทำงานใส่ ส ู ท เดิ น ทางขึ ้ น รถไฟเพื ่ อ ไปยั ง ที ่ ท ำงาน ทำงานจนถึ ง กลางดึ ก ในบางครั้ ง
ต้องร่วมพบปะสังสรรค์กับเพื่อนร่วมงานหลังงานเลิก เดินทางขึ้นรถไฟกลับบ้าน และใช้ชีวิตวนเวียนไม่ต่าง
จากนี้ แต่ผู้เข้าร่วมรายการ Terrace House เป็นคนญี่ปุ่นที่มีวัฒนธรรมในการทำงานที่แตกต่างออกไป
เช่น เป็นฟรีแลนซ์ นักกีฬาทีมชาติ นักดนตรี นักร้อง นางแบบ-นายแบบ ช่างไม้ นักศึกษาที่ทำงานพิเศษ
ฯลฯ

125
จากงานวิจัยของ Lewis (2005, p. 68) พบว่าลักษณะสำคัญของชาวเอเชียในกระบวนการสือ่ สาร
ได้แก่
- มีลักษณะเก็บเนื้อเก็บตัว
- มีความสุภาพ
- เงียบขรึม
- คิดแบบเงียบ ๆ
- ไม่แทรกแซงการสื่อสารของผู้อื่น
- ไม่เชื่อใจคนที่พูดมาก
- ใช้ความเงียบเป็นการแสดงออก
- ใช้วิธีการทางการทูตก่อนที่จะเปิดเผยความจริง
- มีการแสดงสัญลักษณ์ท่าทางทางร่างกายน้อย (Lewis, 2005, p. 68 as cited in Nishimura,
Nevgi, & Tella, 2008, p. 790 – 791)
ทั้ง นี้ก ารแสดงออกในแบบญี่ป ุ่น แม้ไม่ได้ม ีก ารสื่อ สารโดยตรง แต่ผ ู้ร ับ สารสามารถเข้าใจ
ความหมายโดยนัยจากคำพูดและพฤติกรรมของผู้ส่งสาร เช่น เมื่อเราอยากชวนเพื่อนชาวญี่ปุ่นไปเที่ยว
และได้ชวนเพื่อ นชาวญี่ป ุ่ นไปเที่ ยวทางวาจา หากเขาตอบกลับ มาว่า “ขอคิดดูก ่อน” นั่นแปลว่ า
เขาไม่ตกลงใจที่จ ะไป ลัก ษณะการแสดงออกเช่นนี้ ผู้ร ับ สารจะต้องเข้าใจในบริบ ทของชาวญี ่ ปุ่ น
ในทัศนะของ Lewis (1999, p. 400) มองว่าวัฒนธรรมของชาวญี่ปุ่นมีความเป็นเฉพาะตัวที่ทำให้แตกต่าง
จากชาติอื่นอยู่สามประการ ได้แก่ ประวัติศาสตร์อันยาวนานในการอยู่อย่างโดดเดี่ ยวของประเทศญี่ปุ่น,
ภาษาญี่ปุ่น และลักษณะทางภูมิศาสตร์ของญีป่ ุ่น (Lewis, 1999, p. 400 as cited in Nishimura, Nevgi,
& Tella, 2008, p. 790) ในส่วนของภาษาญี่ปุ่นนั้นมีลักษณะในการสนับสนุนวัฒนธรรมการแสดงออก
แบบไม่เป็นทางตรง ดังกรณีตัวอย่างการหลีกเลี่ยงการตอบปฏิเสธที่จะไม่ไปเที่ยว หลีกเลี่ยงการเรียกชื่อ
ด้วยชื่อส่วนบุคคล ให้ความเคารพในความเงียบที่ยาวนาน และรอให้ฝ่ายหนึ่งพูดให้จบเสียก่อนที่จะเป็น
ฝ่ายพูด (Hall & Hall, 1990 as cited in Nishimura, Nevgi, & Tella, 2008, p. 790)
จะเห็นได้ว่าการเกิดขึ้นของซีรีส์ Terrace House ในประเทศญี่ปุ่น ส่งผลให้ผู้ชมได้เห็นถึงการ
สื่อสารระหว่างกันของผู้ท ี่อยู่ในบ้านโดยละเอียด ข้อ มูล จาก Dooley & Hida (2020) พบว่าคิม ูร ะ
ถูกวิพากษ์วิจารณ์โดยผู้คนบนโลกออนไลน์ซึ่งนับว่าเป็นการ cyberbullying โดยเหตุผลของที่เธอโดน
cyberbullying เป็นเพราะพฤติกรรมการพูดจาอย่างเปิดเผยของเธอ และแน่นอนว่าชาวญี่ปุ่นจำนวนมาก
ได้เห็นพฤติกรรมของเธอผ่านทางรายการ Terrace House
เป็นที่คาดการณ์ว่าผลจากการโดน cyberbullying ซ้ำ ๆ ทำให้คิมูระตัดสินใจจบชีวิตลงด้วย
วัยเพียง 22 ปี ผลจากเรื่องราวอันน่าเศร้าของคิมูระทำให้ผู้คนเรียกร้องให้มีการหยุดการกลั่นแกล้งกัน
บนโลกออนไลน์ รัฐบาลญี่ปุ่นเองก็ไม่ได้นิ่งนอนใจและพยายามที่จะจัดการบรรดามือคีย์บอร์ด อย่างไรก็ตาม
ประเด็นการจัดการกับบรรดาผู้กลั่นแกล้งเหยื่อบนโลกออนไลน์ยังคงเป็นที่ถกเถียงกัน ว่ารัฐบาลที่มาจาก
126
การเลือกตั้งและเป็นรัฐบาลในประเทศประชาธิปไตยสามารถควบคุม -จำกัดสิทธิและเสรีภาพในการ
แสดงออกของพลเมืองของตนเองได้ขนาดไหน เพราะหากมีการเข้าควบคุมมากไปอาจเข้าข่ายการลิดรอน
สิทธิและเสรีภาพในการแสดงออกของประชาชนได้
ท้ายที่สุดนี้ เราได้แต่หวังว่าคิมูระจะเป็นเหยื่อรายสุดท้ายที่โดน cyberbullying อย่างไรก็ตาม
การคาดหวังเช่นนี้จะเป็นจริงได้หากทุกคนร่วมมือร่วมใจกันมีจิตสำนึกที่ดีในการไม่กลั่นแกล้งคนอื่นไม่ ว่า
จะเป็นการกลั่นแกล้งกันบนโลกออนไลน์หรือในชีวิตจริง #RIP #Kimura

127
เมื่อ Podcast ทวงความยุติธรรม/เพราะเขาอาจไม่ใช่ฆาตกร?
จะเป็นอย่างไรถ้าหากมีรายการพอดแคสต์แนวสืบสวน ทำหน้าที่เป็นกระบอกเสียงให้กบั ผู้ที่ถูก
กล่าวหาว่าเป็นฆาตกรที่ถูกจับและถูกลงโทษจองจำอยู่ในคุก ว่าในท้ายที่สุดแล้วทางการอาจทำการ
จับแพะ! จนนำมาสู่การเรียกร้องทวงคืนความยุติธรรมให้แก่ผู้ถูกกล่าวหาในที่สุด
พอดแคสต์รายการ Serial ถือกำเนิดมาจากทีมผู้สร้างรายการพอดแคสต์ This American Life
รายการ Serial มีผู้ดำเนินรายการคือ Sarah Koenig นักข่าวและผู้จัดรายการพอดแคสต์ ในปี ค.ศ. 2014
รายการ Serial ได้ถือ กำเนิดขึ้น และผลจากการเกิดขึ้นของรายการนี้ ได้ส ่ง ผลต่อการเปลี่ยนแปลง
ในพฤติก รรมของผู้ฟัง รายการพอดแคสต์ในประเทศสหรัฐอเมริกา กล่าวคือ จากเดิม ที่ผู้ฟัง รายการ
พอดแคสต์ในสหรัฐฯ ถือ เป็นกลุ่มเฉพาะ Serial ได้ส ่ง ผลให้เกิดการเพิ่มปริม าณของผู้ฟัง พอดแคสต์
ในสหรัฐอเมริกาเพิม่ ขึ้น ประมาณการว่าใน 7 สัปดาห์ มียอดดาวน์โหลดรายการ Serial สูงถึง 10 ล้านครัง้
(Serial, n.d.; Edison Research, 2019 as cited in Klein, 2020, p. 29)
ความแตกต่างระหว่างพอดแคสต์รายการ Serial เมื่อเปรียบเทียบกับพอดแคสต์รายการอื่น ๆ
คือ ลักษณะในการดำเนินเนื้อเรือ่ ง พอดแคสต์ทั่วไปจะเป็นการดำเนินรายการแบบพูดคุยผ่านการสัมภาษณ์
เป็นรายการที่มีพิธีกรดำเนินรายการหลัก หรือรายการที่มีพิธีกรมากกว่า 1 คน แต่พอดแคสต์รายการ
Serial พิธีก รทำหน้าที่ในการเป็นผู้บรรยายเนื้อหา ตัดสลับการนำเสียงของผู้ถูกสัมภาษณ์หลายราย
เข้ามายังรายการ พอดแคสต์ในลักษณะเช่นนี้มีก ระบวนการทำรายการไม่ต่างไปจากรายการสารคดี
แต่เ ป็นสารคดีป ระเภทเสียง ซึ่ง จะต้องใช้ร ะยะเวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูลยาวนานกว่ารายการ
พอดแคสต์ทั่วไป
Serial ซีรีส์แรก เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับคดีฆาตกรรมในเมือง Baltimore รัฐ Maryland โดยผู้ถูก
ดำเนินคดีในข้อหาฆาตกรรม คือ Adnan Syed ส่วนผู้ถูกฆาตกรรม คือ Hae Min Lee อดีตแฟนสาว
ของเขา เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นในปี ค.ศ. 1999 และ Syed ได้ถูกจองจำในคุกตั้ง แต่ หลังการถูกตัดสิ นว่า
มีความผิดจวบจนถึงปัจจุบันเป็นระยะเวลากว่า 2 ทศวรรษ
ทีมงานผู้จัดทำ Serial ได้ทำการลงพื้นที่เพื่อนำเสนอเรื่องราวที่เกิดขึ้นผ่านรูปแบบสื่อเชิงสืบสวน
(investigative journalism) ทั้งนี้ ข่าวเชิงสืบสวนหมายถึง “...การมุ่งเปิดโปงเรื่องราวต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
กับประโยชน์สาธารณะซึ่งอาจถูกปกปิดอย่างตั้งใจโดยผู้มีอำนาจหรืออาจเป็นเรื่องที่ถูกมองข้ามอย่าง
ไม่ตั้งใจจากความคลุมเครือของเหตุการณ์ความวุ่นวายต่าง ๆ ที่ต้องใช้วิธีการวิเคราะห์ และสืบหาหลักฐาน
ทั้งจากข้อมูล/เอกสารที่มีลักษณะเปิดเผยอยู่แล้ว และข้อมูล/เอกสารที่มีลักษณะปิดเป็น ความลับ...”
(Hunter, 2011 อ้างถึงใน มูลนิธิสื่อมวลชนศึกษา, 2557, น. 6)
จากการทำข่าวเชิงสืบสวนและถ่ายทอดเรื่องราวลงไปในพอดแคสต์ ส่ง ผลให้ประชาชนสหรัฐฯ
และผู้ฟังรายการในต่างประเทศจำนวนหนึ่งตั้ง คำถามหลังจากการได้รับข้อมูลผ่านรายการ Serial ว่า
ตกลงแล้วใครกันที่เป็นผู้ฆ่า Hae Min Lee เพราะรายการได้ทำการถ่ายทอดเรื่องราวที่เป็นคุณให้แก่
128
Syed ผู้ถูกกล่าวหา ทั้งนี้ ตลอดระยะเวลาในการถูกจองจำของ Syed เขายืนยันความบริสุทธิ์ของตนเอง
มาโดยตลอด ว่าไม่ได้มีส่วนรู้เห็นในการฆาตกรรม Hae Min Lee โดยสาเหตุที่เขาถูกตัดสินว่ามีความผิด
ส่วนหนึ่งเป็นเพราะ Syed ไม่สามารถอธิบายได้ว่าในระยะเวลาที่เกิดเหตุฆาตกรรม เขาได้ทำอะไรอยู่
นอกจากนี้ เขายังถูกกล่าวหาโดยเพื่อ นของเขา Jay Wilds ว่า Syed เป็นผู้ฆาตกรรม Lee โดย Wilds
ได้เล่าเหตุการณ์การฆาตกรรมที่เกิดขึ้น ถึงแม้จะมีหลักฐานว่าเขาเองมีความสับสนในการเล่าเหตุการณ์
แต่ผ ลจากการให้ก ารต่อศาล ส่ง ผลให้ Syed ถูก ตัดสินว่ามี ค วามผิ ดฐานก่ อเหตุ ฆาตกรรมในที ่ สุ ด
(Serial, 2014; Wikipedia, n.d.)
ผลของพอดแคสต์รายการ Serial ทำให้มีการสร้างรายการสารคดีจัดทำโดยช่อง Home Box
Office (HBO) ชื่อ The Case Against Adnan Syed ออกอากาศในปี ค.ศ. 2019 (Bernstein, 2019)
มี ก ารออกหนั ง สื อ ที่ เ กี ่ ย วข้ อ งกั บ Adnan Syed เช่ น Adnan's Story: The Search for Truth and
Justice After Serial, ADNAN SYED: The Truth Behind The Serial Case and the Murder of Hae
Min Lee, American Crime Stories Volume 1: Adnan Syed and Making a Murderer ฯ ล ฯ
นอกจากนี้ ความเป็ น ที ่ น ิ ย มของ Serial ยั ง ส่ ง ผลให้ พ อดแคสเตอร์ ป ระจำรายการ Sarah Koenig
ได้รับคัดเลือกให้เป็น 1 ใน 100 ผู้ทรงอิทธิพลในปี ค.ศ. 2014 จากการจัดลำดับโดย Time Magazine
(Gorelick, 2015)
ถึงแม้การสร้างพอดแคสต์รายการ Serial จะส่งผลให้ชีวิตของ Adnan Syed ได้รับความสนใจ
จากสื่อมวลชนและประชาชนเป็นจำนวนมาก แต่ท้ายที่สุดแล้วเขายังคงถูกจองจำต่อไปโดยไม่มีโอกาส
ในการได้รับการเปิดการพิจารณาคดีของเขาอีกครั้ง (Fortin, 2019) สุดท้ายแล้ว สื่อสามารถทำหน้าที่
ในการเป็นกระบอกเสียงมวลชนได้ในระดับหนึ่งแต่ท้ายที่สดุ แล้วก็ยังไม่สามารถเปลี่ยนผลการตัดสินใจของ
ฝ่ายตุลาการในระดับรัฐอยู่ดี

129
คำถามท้ายบทที่ 4
1. อธิบายวิธีการแก้ไขปัญหาความขัดแย้ง จากนิยามของฮัสสัน ดูมาลี (2558)
2. Cyberbullying คืออะไร
3. ความรุนแรงมีประเภทใดบ้าง อธิบาย
4. เกณฑ์การวัดคุณภาพชีวิตของ Social Progress Index มีอะไรบ้าง อธิบาย
5. กรณีของซีรีส์ Terrace House เกี่ยวข้องกับประเด็น Cyberbullying อย่างไร

130
บทที่ 5
การแสดงออกทางการเมืองในศตวรรษที่ 21
หัวข้อ
- พลเมือง 1.0 และ พลเมือง 2.0
- ความหมายของการมีส่วนร่วมทางการเมือง
- การมีส่วนร่วมทางการเมืองแบบออฟไลน์
- การมีส่วนร่วมทางการเมืองแบบออนไลน์
- การมีส่วนร่วมทางการเมืองทั้งแบบออฟไลน์และออนไลน์
- ระดับการมีส่วนร่วมทางการเมือง
วัตถุประสงค์
- นักศึกษาสามารถแสดงออกถึงการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระดับสถานศึกษา
- นักศึกษาสามารถแสดงออกถึงการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระดับท้องถิ่น
- นักศึกษาสามารถแสดงออกถึงการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระดับประเทศ
- นักศึกษาสามารถแสดงออกถึงการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระดับนานาชาติ

เกริ่นนำ
การแสดงออกทางการเมืองถือเป็นสิท ธิ และเสรีภาพส่วนบุคคลที่พึงกระทำได้ภายใต้ระบอบ
การปกครองแบบประชาธิปไตย ในบทนี้นักศึกษาจะได้เรียนรู้ถึงความหมายของพลเมืองแบบ 1.0 และ 2.0
ประเด็นหลักของบทนี้ทเี่ ราจะศึกษากัน คือ การมีส่วนร่วมทางการเมือง สังคมที่ประชาชนเข้ามามีสว่ นร่วม
ทางการเมือง ถือว่าเป็นสังคมที่ประชาชนสามารถตรวจสอบรัฐบาลได้ในระดับหนึ่ง รัฐต่าง ๆ บนโลกใบนี้
ได้เ ลือกที่จะมีร ูป แบบการปกครองที่หลากหลาย ได้แก่ รัฐ ที่ม ีการปกครองในรูปแบบประชาธิปไตย
สังคมนิยม ฟาสซิสต์ และคอมมิวนิสต์ อย่างไรก็ตาม ประชาธิปไตยถือเป็นรูปแบบการปกครองที่นิยมใช้
มากที่ส ุดในโลก แต่เ มื่อเราพิจ ารณาความเป็นประชาธิป ไตย จะพบว่า แต่ล ะรัฐมีก ารปกครองแบบ
ประชาธิป ไตยในระดับ ความเข้ม ข้นที่แตกต่างกัน ในบทนี้นัก ศึก ษาจะได้เ รียนรู้ถึ งกรณีศึก ษาจาก
ต่างประเทศและจะทำให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้ได้ว่า ประเทศไทยเราอยู่ตรงไหนบนโลกใบนี้ ในประเด็น
ที่รัฐเปิดโอกาสให้พลเมืองมีส่วนร่วมทางการเมือง
สำหรั บ บทความท้ า ยบทที ่ 5 บทความเรื ่ อ ง “Democracy Voucher Progran: คู ป อง
ประชาธิปไตยจากซีแอตเติล” อธิบายถึงการใช้นโยบายที่สนับสนุนให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในการ
สนับสนุนผู้แทนในเขตพื้นที่ของตน และบทความเรื่อง “ศาสตราจารย์และนายกเทศมนตรีสติเฟื่องแห่ง
เมืองโบโกตา” อธิบายถึงการทดลองทางสังคมของนักการเมือง
131
พลเมือง 1.0 และ พลเมือง 2.0
ในยุคดิจิทัล มีคำศัพท์ใหม่ ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีเกิดขึ้นมามากมาย เช่น นักวิชาการเลือก
ที่จะอธิบายพัฒนาการของเว็บ ไซต์ด้วยการแบ่ง การเกิดขึ้นของเว็บไซต์ออกเป็น ยุค ได้แก่ Web 1.0,
Web 2.0, Web 3.0 และ Web 4.0 (Aghaei, Nematbakhsh, & Farsani, 2012: 1) นอกจากการอธิบาย
ในประเด็นของเทคโนโลยีด้วยกันเองแล้ว ในแต่ละประเทศยังอธิบายถึงการเปลี่ยนผ่านการพัฒนาประเทศ
ด้วยตัวเลข ดังจะเห็นได้จากกรณีของประเทศไทยที่มีการออกนโยบาย ประเทศไทย 4.0 ประเทศญี่ปุ่น
มีการพูดถึงสังคม 5.0 หรือ Society 5.0 (Granrath, 2017)
สำหรับการให้นิยามคำว่าพลเมืองในปัจจุบัน นอกเหนือไปจากนิยามตามกฎหมาย ชนินทร เพ็ญสูตร
(2561) ได้แบ่งการนิยามคำว่าพลเมืองออกเป็น พลเมือง 1.0 และ พลเมือง 2.0;
“นิ ย ามของพลเมื อ ง 1.0 คื อ พลเมื อ งที ่ ไ ม่ ไ ด้ ม ี ค วามกระตื อ รื อ ร้ น หรื อ
มีความกระตือรือร้นในระดับน้อยในการมีส่วนร่วมทางสังคมและการเมือง พลเมือง
ในรู ป แบบนี ้ ไม่ มี การต่ อต้านภาครัฐ เป็ นเพี ย งผู้ รั บ เสนอข้อนโยบายของภาครัฐ
ข้อดีคือเป็นพลเมื องที่ไ ม่ มี การต้ านการกระทำของรัฐ เชื่อฟังในคำสั่ งของรั ฐ และ
มี การเสนอข้ อคิ ด เห็ นต่ อรั ฐ ในระดับ ที ่น้ อยมาก ถึ ง ไม่ มี เ ลย ข้ อเสี ย คื อ พลเมื อง
แบบ 1.0 สามารถจะยอมรั บ หรื อหวาดกลั วเกิ นกว่ าที ่ จะต่ อต้ านรั ฐ ในกรณี ท ี ่รัฐ
ได้ทำการละเมิดสิทธิมนุ ษยชนขั้ นพื้ นฐานของตนเองและพลเมื องในรัฐ ” (ชนินทร
เพ็ญสูตร, 2561: 3)
“นิ ย ามของพลเมื อ งแบบ 2.0 คื อ พลเมื องที ่ ม ี ค วามกระตื อตื อ ร้ นในการ
มีส่วนร่วมกับภาครัฐในการเป็นผู้ช่วยผลิต คิดค้นนโยบายสาธารณะ มีความรู้สึกของ
การเป็นเจ้าของรัฐ มีสภาวะของความเป็นผู้สร้าง สภาวะผู้นำสูง รู้สึกเป็นส่วนหนึ่ง
ของสังคมและเมื่อมีเหตุการณ์ใดก็ตามที่พลเมือง 2.0 เห็นว่าขัดต่อหลักสิทธิ มนุ ษยชน
หรื อ ภาครั ฐ สมควรจะต้ องทำการปรับ ปรุ งหรื อสร้ างนโยบายใด ๆ พลเมื อง 2.0
จะทำการเปลี่ยนแปลงผ่านการเรียกร้อง ผ่านการรวมพลังของพลเมือง 2.0 ในรูปแบบ
ของสังคมชุมชน ไปจนถึงการสร้างการเปลี่ยนแปลงด้วยตนเอง ข้อดีของพลเมือง 2.0
คือ เป็นพลเมืองที่สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงโดยไม่ต้องรอรับการช่วยเหลือจาก
ภาครัฐเป็นหลัก ถือเป็นการช่วยเหลือแบ่งเบาภาระงานของภาครัฐ ชุมชนที่มีพลเมือง
2.0 อาศัยอยู่ร่วมกัน ถือเป็นชุมชนเข้มแข็ง ข้อเสียคือ ภาครัฐอาจควบคุมพลเมือง 2.0
ได้ ย าก พลเมื องแบบ 2.0 อาจมี ข ้ อเรี ย กร้ องต่ อภาครั ฐ เสมื อนว่ าภาครั ฐ จะต้ อง
เตรียมพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงทางนโยบายอยู่ตลอดเวลา นโยบายที่ภ าครั ฐคิ ด ค้น
ขึ้นอาจถู กพลเมื องเรีย กร้ องให้เปลี่ย นแปลงก่ อนที ่จะมี การนำนโยบายออกไปใช้
ทำให้เสียเวลาในการพัฒนาประเทศ เพราะสภาวะการตัดสินใจประกอบไปด้วยบุคคล
หลายส่วนกว่าที่จะออกมา 1 นโยบาย” (ชนินทร เพ็ญสูตร, 2561: 4)

132
รูปภาพที่ 12: ภาพชายชาวเยอรมันผู้ต่อต้านฮิตเลอร์48,
ผู้เขียนถ่ายภาพนี้ที่พิพิธภัณฑ์ Topography of Terror, เบอร์ลิน, เยอรมนี พ.ศ. 2561

จากรูป ภาพที่ 12 จะเห็นได้ว่า ชายชาวเยอรมันคนหนึ่ง (คาดการณ์ว่าน่ าจะชื่ อ August


Landmesser) 49 เลือกที่จะไม่ทำท่าทางเคารพฮิตเลอร์ อันที่จริงแล้ว การไม่เคารพและศรัทธาในผู้นำ
ในสมัยที่นาซีเรืองอำนาจ ถือว่ามีความผิด เราไม่สามารถเข้าใจเหตุผลที่แท้จริงของการต่อต้านรัฐบาลของ
ชายผู้นี้ได้ เพราะไม่มีบทสัมภาษณ์ ใดที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์นี้บันทึกไว้เป็นหลักฐาน ชายคนดังกล่าว
ถือว่าเป็นพลเมือ งแบบ 2.0 คือ ในกรณีท ี่ภาครัฐมีก ารกระทำที่ขัดต่อหลักสิทธิม นุษยชน พลเมือง
ไม่จำเป็นต้องทำตามคำสั่งของรัฐ อย่างไรก็ตาม คำอธิบายพลเมืองแบบ 1.0 และ 2.0 เหมาะสมที่จะใช้
อธิบายพลเมืองภายใต้ระบอบประชาธิปไตย

48 แปลมาจากคำบรรยายใต้ภาพที่พบใน Topography of Terror, เบอร์ลิน, เยอรมนี


49 แปลมาจากคำบรรยายใต้ภาพที่พบใน Topography of Terror, เบอร์ลิน, เยอรมนี
133
รูปภาพที่ 13: ภาพครูชาวเยอรมันถูก Sturmabteilumg (SA) และ Schutzstaffel (SS) ทำการลงโทษด้วยการแขวนป้ายประจานต่อหน้า
ธารกำนัล เหตุผลเพราะคุณครูห้ามให้เด็กนักเรียนทำท่าทางเคารพต่อฮิตเลอร์ด้วยการพูดคำว่า Heil Hitler!50,
ผู้เขียนถ่ายภาพนี้ที่พิพิธภัณฑ์ Topography of Terror, เบอร์ลิน, เยอรมนี พ.ศ. 2561

จากรูปภาพที่ 13 จะเห็นได้ว่า ทางการเยอรมนีได้ทำการลงโทษคุณครูโดยวิธีการที่ละเมิดสิทธิ


มนุษยชน ซึ่งถือเป็นการใช้ความรุนแรงทางจิตใจ โดยการทำให้เกิดความอับอาย เป็นที่ถูกดูหมิ่น เกลียดชัง
ต่ อ บุ ค คลอื ่ น คำถามคื อ คุ ณ ครู ช าวเยอรมั น ในรู ป ภาพ ถื อ เป็ น พลเมื อ งแบบ 1.0 หรื อ 2.0
คำตอบคือ เป็นพลเมืองแบบ 2.0 เพราะคุณครูคงจะเล็งเห็นว่า รัฐกำลังใช้อำนาจไปในทางที่ไม่ถูกต้อง จึง
ไม่ต้องการให้เด็กนักเรียนที่อยู่ในความดูแลถูกหล่อหลอมให้เกิดความศรัทธาต่อผู้นำที่นำเอาระบบอำนาจ
ที่ไม่ถูกต้องมาใช้
พลเมืองในอุดมคติของรัฐประชาธิปไตย คือ พลเมืองแบบ 2.0 เพราะการเป็นพลเมืองแบบ 2.0 นั้น
ถือเป็นพลเมืองที่ช่วยทำหน้าที่ในการตรวจสอบและถ่วงดุลอำนาจรัฐอีกทาง กระบวนการตรวจสอบ

50 แปลมาจากคำบรรยายใต้ภาพที่พบใน Topography of Terror, เบอร์ลิน, เยอรมนี


134
ภาครัฐจะส่งผลให้ปัญหาการคอร์รัปชันและการออกนโยบายเพื่อเอื้อแก่ผลประโยชน์ของตนเองลดลง
สังคมพลเมืองแบบ 2.0 คือ สังคมที่ภาคประชาชนเข้มแข็ง ในขณะที่สังคมพลเมืองแบบ 1.0 คือสังคม
ที่ภาคประชาชนอ่อนแอและต้องเป็นผูร้ องรับนโยบายจากภาครัฐแต่เพียงฝ่ายเดียวโดยปราศจากข้อโต้แย้ ง

ความหมายของการมีส่วนร่วมทางการเมือง
ความหมายของการมีส่วนร่วมทางการเมือง หรือ Political Participation คือ กิจกรรมที่บคุ คล
ทำโดยคาดหวังว่าจะมีอิท ธิพลต่อองค์ประกอบ หรือ นโยบายของรัฐบาลของเขา (Hague & Harrop,
2013: 130) สำหรับคำนิยามการมีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างกว้าง ๆ คือ “กิจกรรมที่พลเมืองได้กระทำ
ที่กระทบต่อการเมือง” (Deth, 2016: 2) ทั้งนี้ การที่พลเมืองติดต่อโดยตรงกับนักการเมืองหรือหัวคะแนน
ของนักการเมืองถือเป็นการมีส่วนร่วมทางการเมืองในรูปแบบที่เป็นทางการ แต่ในความเป็นจริง แล้ว
ไม่ใช่ว่าพลเมือ งทุก คนที่จ ะสามารถเข้าถึง สมาชิก สภาผู้ แทนราษฎร หรือแม้ก ระทั่ง ผู้ใหญ่บ ้านได้
เราสามารถมีส่วนร่วมทางการเมืองที่เป็นทางการน้อยกว่าในรูปแบบแรกได้แก่ ลงชื่อคัดค้าน เป็นส่วนหนึ่ง
ของการประท้วง หรือแม้กระทั่งทำตัวเป็นผู้ก่อการร้ายต่อต้านรัฐ (Hague & Harrop, 2013: 130)
นอกเหนือจากที่ได้ก ล่าวมาแล้ว กิจ กรรมการมีส ่วนร่วมทางการเมือ ง ได้แก่ การเลือ กตั้ง ,
การติดต่อ เจ้าหน้าที่ร ัฐและแจ้ง ถึง ประเด็นที่ต ้องการให้ม ีก ารเปลี่ยนแปลง , Boycott (คว่ำบาตร)
ไม่ยอมซื้อสินค้า-ไม่เข้าใช้บริการ, การชุมนุม, ไปเป็นอาสาสมัคร, เขียนเว็บบล็อก, ซื้อสินค้าแฟร์เทรด,
ประท้วงด้วยการอดอาหาร, ประท้วงขู่ฆ่าตัวตาย, ฆ่าตัวตายเพื่อประท้วง, กองโจรทำสวน (Guerrilla
Gardening), มีส่วนร่วมใน Flash Mob หรือการมีส่วนร่วมในกิจกรรมกับกลุม่ ใดกลุม่ หนึ่ง แล้วสลายตัวไป
อย่างรวดเร็ว (Deth, 2016: 2)
การมีส่วนร่วมทางการเมืองสามารถถูกแบ่งออกเป็นหลากหลายประเภท ได้แก่ การมีส่วนร่วม
ทางการเมืองในแบบที่เป็นทางการและการมีส่วนร่วมทางการเมืองในรูปแบบที่ไม่เป็นทางการ (Hague &
Harrop, 2013) เส้นการแบ่งระหว่างความเป็นทางการและไม่เป็นทางการ ได้แก่ การมีส่วนร่วมทาง
การเมืองที่เป็นกิจกรรมที่ทางภาครัฐได้จัดขึ้น เช่น การเลือกตั้งในทุกระดับตั้งแต่ ผู้ใหญ่บ้าน ไปจนถึงการ
เลือกตั้งระดับประเทศ การลงประชามติ กับ การมีส่วนร่วมทางการเมืองที่เป็นกิจกรรมที่รัฐไม่ได้เป็นผู้จัด
เช่น การเข้าร่วมรณรงค์ ด้วยการประท้วงอดอาหาร ทั้งนี้ ถ้าเราใช้ตัวชี้วัดจากความเป็นทางการและ
ความไม่เป็นทางการของการมีส่วนร่วมทางการเมือง พลเมื องแบบ 1.0 จะเป็นพลเมืองที่มีส่วนร่วมทาง
การเมืองในรูปแบบที่เป็นทางการเท่านั้น ส่วนพลเมืองแบบ 2.0 คือพลเมืองที่มีส่วนร่วมทางการเมือง
ในรูปแบบที่ไม่เป็นทางการ หรือมีส่วนร่วมทางการเมืองทั้งแบบที่ไม่เป็นทางการและเป็นทางการ
นอกจากการแบ่ง การมีส ่วนร่วมทางการเมือ งในรูป แบบที่เ ป็นทางการและไม่ท างการแล้ว
การมีส่วนร่วมทางการเมืองยังสามารถถูก แบ่งออกได้เป็น การมีส่วนร่วมทางการเมืองแบบออฟไลน์
การมีส่วนร่วมทางการเมืองแบบออนไลน์ และการมีส่วนร่วมทางการเมืองทั้งแบบออฟไลน์และออนไลน์

135
การมีส่วนร่วมทางการเมืองแบบออฟไลน์
การมีส่วนร่วมทางการเมืองแบบออฟไลน์ถือว่าเป็นการมีส่วนร่วมทางการเมืองในรูปแบบที่เก่าแก่
ที่สุด การมีส่วนร่วมทางการเมืองแบบออฟไลน์ คือ การมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยปราศจากการใช้
อุปกรณ์เทคโนโลยีที่สามารถเชื่อมต่อกับระบบอินเทอร์เน็ต
บุคคลที่ต้องการมีส ่วนร่วมทางการเมืองแบบออฟไลน์ สามารถกระทำได้ทั้ง การมีส่วนร่วม
ในรูปแบบปัจเจกบุคคล และรูปแบบหมู่คณะ การมีส่วนร่วมในระดับปัจเจกบุคคล ได้แก่ การไปเลือกตั้ง
การไปลงประชามติ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่โดยปกติแล้วสามารถทำคนเดียวได้ ส่วนกิจกรรมในรูปแบบคณะ
อาทิเช่น การรวมตัวกันประท้วงเรียกร้องในประเด็นที่ต้องการให้ภาครัฐมีการเปลี่ยนแปลง หากเป็น
การเรียกร้องในนามปัจเจกบุคคล อาจไม่ส่งผลให้ภาครัฐต้องหันมาให้ความสนใจได้เท่ากับการประท้วง
ในระดับหมู่คณะ อย่างไรก็ตาม ปฏิเสธไม่ได้ว่า การเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์สามารถ
เริ่มต้นเกิดขึ้นได้ด้วยบุคคลเพียงคนเดียว เช่น กรณีของ โรซา พาร์คส์, คานธี, แม่ชีเทเรซ่า ฯลฯ
ตัวอย่างของการมีส่วนร่วมในรูปแบบออฟไลน์ในอดีตที่ผ่านมา ได้แก่ การประท้วงรัฐบาลต่อต้าน
การทำสงครามเวียดนามของคนอเมริกัน ในช่วงเดือนตุลาคมปี ค.ศ. 1969 มีคนเข้าร่วมการประท้วง
รัฐบาลอเมริกันทั่วประเทศเป็นจำนวนกว่า 2 ล้านคน นอกจากนี้ในปี ค.ศ. 1970 นักศึกษาอเมริกันรวมตัว
กันประท้วงรัฐบาลและทำการปิดวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยกว่า 500 แห่งทั่วประเทศ (Wells, 1999)
ในกรณีของประเทศไทย กลุ่มนิสิตนักศึกษาเคยมีการรวมตัวกันประท้วงครั้งใหญ่เพื่อต่อ ต้าน
รัฐบาลเผด็จการจนนำไปสู่การใช้ความรุนแรงต่อประชาชน ในวันที่ 14 ตุลาคม 2516 จนเป็นเหตุให้
มีผู้เสียชีวิตถึง 77 คน (ศิลปวัฒนธรรม, 14 ตุลาคม, 2560) ในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬปี 2535 บุคคลทั่วไป
เคยรวมตัวกันต่อต้านพลเอกสุจินดา คราประยูร ที่ขึ้นมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีหลังจากที่ทำการ
รัฐประหารรัฐบาลเลือ กตั้ง มีคนมาร่วมกันชุมนุมต่อต้านรัฐบาลพลเอกสุจินดามากถึง 500 ,000 คน
(คมชัดลึก, 17 พฤษภาคม, 2560) การต่อต้านรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ก่อนการรัฐประหารปี พ.ศ. 2549
การชุม นุม คนเสื้อ แดงปี 2553 และชุม นุม ต่อต้านรัฐบาลยิ่ง ลัก ษณ์ ชินวัตร ก่อนการรัฐประหารปี
พ.ศ. 2557 เหตุการณ์ทั้งหมดนี้ถือเป็นการมีส่วนร่วมทางการเมืองในรูปแบบออฟไลน์51
อีกกรณีตัวอย่างของการมีส่วนร่วมทางการเมืองในประเทศไทย คือ กรณี การประท้วงการถูก
เลิกจ้างของพนักงานที่ทำงานในโรงงานชุดชั้นใน ในระยะแรกพนักงานเหล่านี้ประท้วงอยู่หน้าโรงงาน
เป็นเวลาถึง 4 เดือน และเมื่อไม่มีการเปลี่ยนแปลง พนักงานเหล่านี้จึงไปประท้วงต่อรัฐบาล จนในที่สุด
ได้คิดวิธีการประท้วงที่มาจากความถนัดของพวกเธอ นั่นคือการนำเอาจักรเย็บผ้าไปวางไว้ที่กระทรวงการคลัง
และใช้พื้นที่บริเวณกระทรวงการคลังในการเย็บชุดชั้นใน เพื่อที่จะบอกกับรัฐบาลว่าพวกเธอเป็นแรงงานฝีมือ

51 การต่อต้านรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ก่อนการรัฐประหารปี 2549 การชุมนุมคนเสื้อแดงปี 2553 และ ชุมนุมต่อต้านรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร


ก่อนการรัฐประหารปี 2557 ประกอบไปด้วยกิจกรรมทางการเมืองทั้งในรู ปแบบออนไลน์และออฟไลน์ อย่างไรก็ตาม ในประเด็นของ
การประท้วงแบบออฟไลน์ในที่นี้คือ การทำกิจกรรมประท้วง – ชุมนุนมต่อต้านตามสถานที่ต่าง ๆ
136
ปัจจุบันอดีตพนักงานที่ถูกเลิกจ้างเหล่านี้ ได้รวมตัวกันเปิดกิจการชุดชั้นในเล็ก ๆ ภายใต้ยี่ห้อ “Try Arm”
สิ่งที่เปลี่ยนไป คือ พวกเธอทุกคนเป็นเจ้าของกิจการร่วมกัน มีรายได้เพิ่มขึ้น และได้สร้างแรงบันดาลใจ
ให้กับผู้หญิงไทยที่กำลังประสบกับสภาวะการถูกเลิกจ้างเช่นพวกเธอ (สามัญชนคนไทย, 4 กรกฎาคม,
2558)
การมีส ่วนร่วมทางการเมือ งแบบออฟไลน์ได้ร ับ ความนิยมเป็นอย่า งมากในช่วง ค.ศ. 1960
ซึ่ง เป็น ช่วงที่ Social Movement มีก ารเจริญ เติบ โตอย่างมาก (Escobar, 1992) นิยามของ “Social
Movement” หรือ “การเคลื่อนไหวทางสังคม” หมายถึง “ปฏิบัติการของกลุ่มคนที่มีเป้าหมายเดียวกัน
คือ ต้องการเปลี่ยนแปลงสังคมที่พวกเขาอาศัยอยู่ในประเด็นต่าง ๆ เช่น การเมือง สิ่งแวดล้อม เชื้อชาติ
สิทธิผู้หญิง LGBTQ+ โรคเอดส์ คนพิการ ฯลฯ” (แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย, 2560)
โดยการเคลื ่ อ นไหวทางสั ง คมนั ้ น เติ บ โตไปพร้ อ มกั บ “อุ ด มการณ์ เ สรี น ิ ย มประชาธิ ป ไตย”
(ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร อ้างถึงใน แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย, 2560) ตัวอย่างของการ
เคลื่อนไหวทางสังคมในปัจจุบัน ได้แก่ กิจกรรม Pride ซึ่งเป็นกิจกรรมที่จัดขึ้นเพื่อสนับสนุนในสิทธิของ
LGBTQ+ ทั่วโลก โดยกิจกรรม Pride จะไม่ได้มีการจัดกิจกรรมแต่เพียงในเมืองใดเมืองหนึ่ง แต่เป็นการจัด
กิจกรรมในหลากหลายสถานที่ทั่วโลก ดังนั้น กิจกรรม Pride ถือเป็นกิจกรรมในระดับนานาชาติ ที่ชาว
LGBTQ+ และผู้ส นับสนุนให้การตอบรับต่อกิจกรรมและเข้าไปมีส่วนร่วมภายในงาน เช่น การแสดง
การร้องเพลง การเดินขบวนพาเหรด ฯลฯ
การมีส่วนร่วมทางการเมืองแบบออฟไลน์ยังคงมีความสำคัญในปัจจุบัน และมีความหมายที่กว้าง
ออกไปไกลกว่าแค่การเลือกตั้ง หรือการลงประชามติ จะเห็นได้ว่าในประเทศไทย การมีส่วนร่วมทาง
การเมืองแบบออฟไลน์สามารถส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในระดับชาติ โดยเฉพาะ
การชุม นุมประท้วงเพื่อขับไล่ผู้นำประเทศ อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยมีความหลากหลายในประเด็น
การประท้วงที่นอกเหนือไปจากประเด็นทางการเมืองแบบเดิม เช่น การขับไล่ผู้นำ การเรียกร้องให้รัฐบาล
ช่วยเหลืออันเนื่องมาจากปัญหาเศรษฐกิจหรือไม่

การมีส่วนร่วมทางการเมืองในรูปแบบออนไลน์
วิธีการมีส่วนร่วมทางการเมืองในรูปแบบออนไลน์ได้รับความนิยมจากบุคคลทั่วไปเป็นจำนวนมาก
ข้อดีของการมีส่วนร่วมแบบออนไลน์ คือ การประหยัดค่าใช้จ่ายและประหยัดเวลา เมื่อเปรียบเทียบกับ
ยุคก่อนการเกิดขึ้นของ World Wide Web บุคคลที่ต้องการมีส่วนร่วมทางการเมืองสามารถเข้า ไปมี
ส่วนร่วมโดยต้องเดินทางไปยังสถานที่จัดกิจกรรม ณ วันและเวลาตามที่กำหนด ข้อจำกัดคือ หากบุคคลใด
ที่อยากเข้าร่วมกิจกรรมแต่สถานที่จดั กิจกรรมทางการเมืองนั้นอยู่ไกล อาจทำได้เพียงการสนับสนุนด้านอืน่
เช่น การบริจาคเงิน การร่วมลงชื่อคัดค้านโดยการส่งเอกสารยืนยันการมีตัวตนทางไปรษณีย์ ผู้จัดกิจกรรม
ทางการเมืองเองต้องอาศัยการประชาสัมพันธ์ให้คนมาเข้าร่วมผ่านวิธีการออฟไลน์ เช่น นิตยสาร การส่ง
จดหมายเชิญ การโทรศัพท์ การตั้งซุ้มประชาสัมพันธ์กิจกรรม ซึ่งเป็นการสิ้นเปลืองค่าใช้จ่า ยของผู้จัดงาน
137
การมีส่วนร่วมทางการเมืองในรูปแบบออนไลน์ มีความสำคัญและสามารถส่งผลกระทบต่อระบบ
การเมืองได้ไม่น้อยไปกว่าการมีส่วนร่วมทางการเมืองแบบออฟไลน์ โดยคำว่าการมีส่วนร่วมทางการเมือง
แบบออนไลน์นั้นหมายถึง การที่บุคคลมีส่วนร่วมทางการเมืองผ่ านทางอินเทอร์เน็ต เช่น การโพสต์
ข้อความออนไลน์แสดงความคิดเห็นทางการเมืองผ่านเว็บ ไซต์ หน้าเว็บ ของตนเอง ไดอารีออนไลน์
การลงชื่อคัดค้านผ่านเว็บไซต์ การสร้างเว็บไซต์เพื่อระดมความคิดเห็นบุคคลอื่น การโพสต์ความคิดเห็นลง
บนโซเชียลมีเดีย เช่น Twitter Facebook Instagram การไลฟ์สดแสดงความเห็นทางการเมือง การทำ
poll ออนไลน์เพื่อเก็บข้อมูลทางการเมือง ฯลฯ
ตัวอย่างของการมีส่วนร่วมทางการเมืองแบบออนไลน์ ได้แก่
- การเข้าไปลงชื่อเพื่อสนับสนุนรณรงค์ประเด็นที่เราสนใจผ่านทาง Change.org ซึ่งเป็นแพลตฟอร์ม
ออนไลน์ที่ให้บุคคลทั่วไปมาสร้างประเด็นในการรณรงค์ และลงชื่อสนับสนุนในประเด็นดังกล่าว
โดย ณ วันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2561 มีคนเข้ามาใช้งานเว็บไซต์นี้แล้วกว่า 248 ล้านคนทั่วโลก
มีประเด็นในการรณรงค์ที่ประสบความสำเร็จแล้วกว่า 29,526 ประเด็น ใน 196 ประเทศ ในกรณี
ของประเทศไทยที่มีการรณรงค์ผ่าน Change.org แล้วประสบความสำเร็จ ได้แก่ การรณรงค์
ให้นัก ศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่สามารถเข้ารับพระราชทานปริญญาบัตรโดยการแต่งกาย
ตามเพศสภาพ ในประเด็นนี้ผู้ทำการสร้างประเด็นในการรณรงค์ คือ กลุ่มความหลากหลาย มช.
มีผู้ร่วมลงชื่อสนับสนุนกว่า 2,498 คน ข้อสังเกตที่น่าสนใจเกี่ยวกับ Change.org คือ ผู้ริเริ่มการ
รณรงค์มีทั้งในรูปแบบของกลุ่ม องค์กร และรายบุคคล ในบางกรณีมีบุคคลที่มีชื่อเสียงเข้ามาริเริ่ม
การรณรงค์ เช่น คุณสง่า ดามาพงษ์ เป็นผู้ริเริ่มรณรงค์ให้มีนักโภชนาการในโรงเรียน นอกจากนี้
ประเทศไทยยังมีประเด็นการรณรงค์ที่น่าสนใจอีกหลายกรณี ได้แก่ การรณรงค์ยกเลิกการแบ่ง
เปอร์เซ็นต์ค่าปรับจราจรให้ตำรวจ, รณรงค์ให้ห้างร้านคิดเงินค่าถุงพลาสติกเพื่อลดปริมาณขยะ,
ขอคืนพื้นที่ป่าดอยสุเทพจากศาลอุทธรณ์ ภาค 5, รณรงค์สนับสนุนการการุณยฆาต (การตาย
โดยความสมัครใจ), รณรงค์สนับสนุนการทำแท้งเมื่อท้องโดยไม่พร้อม (Change.org)
- การติ ด แฮชแท็ ก บน Twitter หรื อ social media อื ่ น ๆ เช่ น #MeToo มี ท ี ่ ม าจาก
Tarana Burke ผู้จัดตั้งกลุ่มการเคลื่อนไหวในปี ค.ศ. 2006 เพื่อช่วยเหลือผู้ที่เคยประสบกับการ
ล่วงละเมิดทางเพศ โดยเฉพาะหญิงผิวสีที่ยากจน ในเวลาต่อมา #MeToo กลายเป็นที่รู้จักของคน
ทั ่ ว โลก กลุ ่ ม #MeToo Movement เลยขยายวงกว้า งจากที ่ แต่ เ ดิม เน้น ไปที่ ก ารให้ ความ
ช่วยเหลือแก่เหยื่อผิวสี เป็นการช่วยเหลือบุคคลที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศทั่วโลก หลักการของ
#MeToo คือ “You are not alone” ซึ่งในปัจจุบัน #MeToo ได้หลายเป็นแรงบันดาลใจของ
สตรีทั่วโลกในการเปิดโปง/ฟ้องร้องผูท้ ี่คุกคามทางเพศตนเอง (me too., n.d.) ที่ผ่านมา #MeToo
ถือว่าประสบความสำเร็จในประเทศญี่ปุ่น ดังเช่นกรณีของข้าราชการชั้นสูงของประเทศ ต้องลาออก
เพราะไปใช้ภาษาคุกคามทางเพศกับนักข่าวหญิงและถูกเปิดโปง (BBC News, April 19, 2018)

138
- Revolution 2.0 ในประเทศอียิปต์ ในปี ค.ศ. 2009 มีผู้ใช้งาน Facebook ในอียิปต์ราว 800,000 คน
(Attiaa, Aziza, Friedmana, and Elhusseiny, 2011: 370) การให้ ส ิ ท ธิ เ สรี ภ าพประชาชน
อย่างจำกัดของรัฐบาลเผด็จการ Mubarak ส่งผลให้คนรุ่นใหม่ส่วนหนึ่งต้องพึ่ง social media
ในการจัดตั้งกลุ่มต่อ ต้านรัฐบาลผ่านโลกออนไลน์ (Shapiro, 2009 as cited in Attiaa, Aziza,
Friedmana, and Elhusseiny, 2011: 370) นักกิจกรรมทางการเมืองใช้ Facebook เป็นทีร่ ะบาย
เพื่อให้บุคคลอื่นได้รับรู้ถึงสภาวะในประเทศอียิปต์ และใช้เป็นที่นัดหมายรวมพลกันประท้วง
รัฐบาลจนในที่สุดสามารถกดดันให้รัฐบาล Mubarak ต้องลงจากอำนาจ (Ghonim, 2012)
จากตัวอย่างที่ยกมาอธิบายถึงการมีส่วนร่วมทางการเมืองออนไลน์ พบว่า ผลของการมีส่วนร่วม
ทางการเมืองแบบออนไลน์นั้น สามารถส่ง ผลกระทบในระดับ โลก เช่น #MeToo ส่ง ผลให้เ กิดการ
เปลี่ยนแปลงการปกครองโดยยุติเผด็จการที่ม ีมาอย่างยาวนาน ผ่านเหตุการณ์ Revolution 2.0 และ
ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในประเด็นรอบตัวของเรา เช่น การรณรงค์สิทธิเท่าเทียมกันทางเพศ ข้อดีของ
การใช้วิธีการออนไลน์ คือ การประหยัดงบประมาณ และ ความสามารถในการกระจายข่าวได้อย่างรวดเร็ว
ด้วยประสิทธิภาพของแพลตฟอร์มออนไลน์ ในส่วนของข้อเสียของการใช้วิธีการออนไลน์ คือ การพิจารณา
ถึงเส้นแบ่งระหว่างความเป็นส่วนตัว/ส่วนรวม การใช้วิธีการเรียกร้องทางการเมืองด้วยการ cyberbullying

การมีส่วนร่วมทางการเมืองทั้งแบบออฟไลน์และออนไลน์
ในปั จ จุบ ั น เส้ น แบ่ ง ระหว่ างการมีส ่ ว นร่ ว มทางการเมือ งแบบออฟไลน์ แ ละแบบออนไลน์
มีความแคบลง ส่งผลให้กิจกรรมที่มีจุดประสงค์ทางการเมืองต้องใช้วิธีการระดมคนเข้ามามีส่วนร่วมทั้ง
ในรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์ เช่น การจัดกิจกรรมรณรงค์การต่อต้านการละเมิดสิทธิมนุษยชนของ
องค์กร XX มีการรับสมัครสมาชิกในรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์ คือ การลงทะเบียนผ่านหน้าเว็บไซต์
และการรับสมัครสมาชิกตามที่สาธารณะ มีการประกาศจัดกิจกรรมบนหน้า Facebook และมีกิจกรรม
ที่ต้องการให้สมาชิกเข้าร่วมตามจริง
การมีส่วนร่วมทางการเมืองของบุคคลในหลายกรณี เกิดขึ้นทั้งรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์
และอันที่จริงแล้ว เหตุการณ์ Revolution 2.0 จะไม่สามารถประสบความสำเร็จได้หากขาดกิจกรรมทั้งใน
รูป แบบออนไลน์ คือ การโพสต์ บนหน้า Facebook และกิจ กรรมออฟไลน์ คือ การรวมตัวกันชุมนุม
ประท้วงรัฐบาลเผด็จการ อีก กิจกรรมการมีส่วนร่วมทางการเมืองที่ผสมรวมทั้ง รูปแบบออนไลน์และ
ออฟไลน์ คือ การเข้าร่วมกิจกรรม flash mob ซึ่งเป็นการเข้าร่วมกิจกรรมและจะสลายตัวไปอย่างรวดเร็ว
เมื่อกิจกรรมนั้นจบไป ทั้งนี้ กิจกรรม flash mob มักจะมีการนัดแนะให้ผู้ที่สนใจ สมาชิกกลุ่มเข้าร่วม
ตอบรับการร่วมทำกิจกรรมผ่าน Facebook และไปร่วมกิจกรรม ณ สถานที่ วันและเวลาตามที่มีก าร
นัดหมายผ่านทางโซเชียลมีเดีย

139
ข้อดีของกิจกรรมทางการเมืองทั้งแบบออฟไลน์และออนไลน์ คือ การสามารถระดมปัจเจกบุคคล
จำนวนมากที่อาจไม่จำเป็นต้องสมาชิกของกลุ่มให้เข้าร่วมกิจกรรมผ่านการชักชวนทั้งในรูปแบบออนไลน์
และออฟไลน์ กิจกรรมทางการเมืองแบบออฟไลน์และออนไลน์ ถือเป็นทางเลือกให้คนรุ่นใหม่ได้เข้ามา
มีส่วนร่วมทางการเมืองแบบเข้าถึงได้มากขึ้น เช่น การรับรู้ถึงกิจกรรมของพรรคการเมือง XX และรับชม
กิจกรรมของพรรคการเมืองผ่าน live สด แต่เมื่อพรรคการเมืองเดินทางมายังถิ่นที่ตนเองอยู่ ก็สามารถ
เข้ า ไปร่ ว มทำกิ จ กรรมด้ ว ยได้ ข้ อ เสี ย ของกิ จ กรรมทางการเมื อ งแบบออฟไลน์ แ ละออนไลน์ คื อ
อาจก่อให้เกิดความเหนื่อยล้าทางการเมือง หมายความถึงการที่บุคคลได้รับข้อมูลเป็นจำนวนมากผ่าน
รูป แบบออนไลน์และการชัก ชวนให้เข้าทำกิจกรรมจริงที่อาจมีมากเกินไป ส่ง ผลให้ บุคคลเกิดสภาวะ
การเบื่อการเมืองและเลือกที่จะไม่ใส่ใจในการมีส่วนร่วมทางการเมืองไปในระยะสั้น ระยะยาว หรือไม่มี
ส่วนร่วมทางการเมืองแบบถาวร

ระดับการมีส่วนร่วมทางการเมือง
ภายใต้โ ลกประชาธิป ไตย การมีส ่วนร่วมทางการเมืองสามารถทำได้ตั้ง แต่ในระดับ ท้องถิ่น
ระดับจังหวัด ระดับภูมิภาค ระดับประเทศ ไปจนถึงระดับโลก บุคคลที่ดำรงอยู่ภายใต้ระบอบประชาธิปไตย
สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองได้ตามความสมัครใจ ในทางตรงกันข้าม การมีส่วนร่วมทางการเมือง
ในประเทศที่มีนโยบายการปกครองประเทศในรูปแบบของเผด็จการ มักเป็นการมีส่วนร่วมทางการเมือง
ในรูปแบบของการถูกจัดตั้ง (Mobilized Participation) ไม่ใช่การมีส่วนร่วมแบบสมัครใจ นอกเหนือไปจากนี้แล้ว
การมีส่วนร่วมทางการเมืองภายใต้เผด็จการสามารถทำได้อย่างจำกัด หรือไม่สามารถทำได้เลย ในกรณี
ที่สามารถทำได้อย่างจำกัด รัฐบาลอาจเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถมีส่วนร่วมทางการเมืองในระดับท้องถิ่น
แต่ไม่สามารถมีส่วนร่วมทางการเมืองในระดับที่เหนือไปกว่านั้น เพื่อไม่ให้เป็นอันตรายต่อการต่อ ต้าน
การปกครองจากส่วนกลาง การมีส่วนร่วมทางการเมืองภายใต้ระบอบคอมมิวนิสต์นั้น ประกอบไปด้วย
บุคคลจำนวนมาก แต่ถือเป็นการมีส่วนร่วมทางการเมืองที่ม ีคุณภาพในระดับต่ำ เพราะไม่ได้เกิดจาก
ความต้องการจากประชาชนโดยตรง (Hague & Harrop, 2013: 143-144)
ในประเด็นของการวัดระดับการมีส่วนร่วมทางการเมือ งของพลเมือง เช่นใน Great Britain
(อังกฤษ สกอตแลนด์ และ เวลส์) ปี ค.ศ. 2011 มีการตั้งคำถามว่า พลเมืองเคยแสดงออกทางการเมือง
ในทางใดบ้าง (Hansard Society, 2012; Kavanagh & Cowley, 2010 as cited in Hague & Harrop,
2013: 133) ผลปรากฏว่า;
- มีการใช้สิทธิไปเลือกตั้ง (ร้อยละ 65)
- มีการพูดคุยเกี่ยวกับการเมือง (ร้อยละ 35)
- ลงชื่อคัดค้านทั้งในรูปแบบออฟไลน์และออนไลน์ (ร้อยละ 27)
- เสนอความคิดเห็นต่อผู้แทน (ร้อยละ 13)
- Boycott การซื้อสินค้า (ร้อยละ 10)
140
- เสนอแนะความคิดเห็นทางการเมืองออนไลน์ (ร้อยละ 6)
- เข้าร่วมประชุมทางการเมือง (ร้อยละ 4)
- เดินขบวนประท้วง (ร้อยละ 4)
- เป็นสมาชิกพรรคการเมืองหรือบริจาคเงิน (ร้อยละ 3)
- เป็นส่วนหนึ่งของการหาเสียงการเลือกตั้ง (ร้อยละ 2)
จะเห็นได้ว่า คนส่วนมากของสังคมมีส่วนร่วมทางการเมืองผ่านการเลือกตั้ง ในขณะที่กิจกรรม
ที่ต้องใช้เวลาในการลงมือปฏิบัติ เช่น การช่วยหาเสียงเลือกตั้งกลับมีผู้มีส่วนร่วมน้อยที่สุด รวมไปถึง
การบริจาคเงินและการเป็นสมาชิกพรรค นั่นอาจแสดงให้เห็นว่า คนส่วนใหญ่ของสังคม มีระดับการมี
ส่วนร่วมทางการเมืองน้อย และอาจมีภาพลบต่อการเมืองโดยรวม ถึงเลือกที่จะมีส่วนร่วมกับพรรคการเมือง
โดยตรงน้อยมาก
เราสามารถรับรู้ได้ว่า เราเป็นบุคคลที่มีส่วนร่วมทางการเมืองในแบบใดจากการจำแนกบุคคล
ออกเป็น 4 ประเภทของ Verba et al. (1978) ได้แก่ Voters, Campaigners, Communal Activists,
และ Contactors โดย voters คือ ผู้ที่ไปใช้สิทธิเลือกตั้งทั่วไป, voter campaigners คือ ผู้ที่ช่วยลงมือ
หาเสียงเลือกตั้ง , communal activists คือ ผู้ที่มีส่วนร่วมในกลุ่มหรือสมาคมในประเด็นที่ตนเองสนใจ,
และ contactors คือ ผู้ท ี่ม ีป ัญ หาส่วนตั วอะไรก็ ติ ดต่ อ เจ้าหน้าที่ (Verba et al., 1978 as cited in
Hague & Harrop, 2013: 132-133) ปัญ หาการแบ่งบุคคลออกเป็น 4 ประเภทของ Verba et al. คือ
ในหลายกรณี บุคคลอาจมีส่วนร่วมทางการเมืองทั้ง 4 รูปแบบ หรือ มากกว่า 1 รูปแบบขึ้นไป ทำให้การจำแนก
การมีส่วนร่วมทางการเมืองในลักษณะนี้ ไม่สามารถบ่งบอกอะไรไปได้มากกว่าการอธิบายว่า เราได้มีส่วนร่วม
ทางการเมืองอย่างไร
การวัดระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของบุคคลเป็นเรื่องที่ซับซ้อน ทำให้การวัดผลนิยมวัดผล
แยกกันไปในแต่ล ะด้าน เช่น การวัดผลการมีส ่วนร่วมทางการเมื องผ่านการเลือกตั้ง ในประเทศ X
เปรียบเทียบกับ ประเทศ Y การวัดผลการตื่นตัวของ Social Movement ในประเทศสหรัฐอเมริก า
ผ่านการวัดจำนวนสมาชิกและจำนวนครั้งในการเข้าร่ วมกิจกรรมของสมาชิกรายปี ฯลฯ อนึ่ง เราสามารถ
รับรู้ได้ในเบื้องต้นว่าเรามีส่วนร่วมทางการเมืองมากหรือน้อย จากการใช้นิยามของพลเมือง 1.0 และ 2.0
เข้ามาช่วยในการวัดระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของเรา ในกรณีที่เรามีส่วนร่วมทางการเมืองสูงกว่า
ระดับปกติ เช่น นอกเหนือไปจากการไปเลือกตั้ง เรายังเป็นสมาชิกของกลุ่มการเมืองทีไ่ ม่เป็นทางการอืน่ ๆ
ในกรณีนี้ถือ ว่าเรามีร ะดับ การมีส ่วนร่ วมทางการเมืองที ่ส ูง กว่ าปกติ เพราะได้เ ข้าร่วมในกิจ กรรม
ที่นอกเหนือไปจากการกำหนดให้โดยรัฐ หากเราเพียงแต่ไปเลือกตั้งทุก 4 ปี ไปใช้สิทธิลงทะเบียนเพื่อ
ขอสวัสดิการรัฐตามเวลา และไปลงประชามติตามที่รัฐกำหนดให้ไปโหวต นั่นถือว่าเราเป็นผู้มีส่วนร่วม
ทางการเมื อ งในระดั บ ปกติ และประการสุ ด ท้ า ย ในกรณี ท ี ่ เ ราไม่ ไ ด้ ไ ปเลื อ กตั ้ ง ในทุ ก ครั ้ ง ที ่ มี
การเลือกตั้ง คือ ไปบ้างไม่ไปบ้าง หรือไม่ไปใช้สิทธิเลย นั่นหมายความว่า เรามีส่วนร่วมทางการเมืองใน
ระดับที่ต่ำกว่าปกติ
141
สรุป
พลเมืองในยุคดิจิทัลสามารถถูกแบ่งออกได้เป็นรหัสเลข คือ พลเมืองแบบ 1.0 ที่หมายถึงพลเมือง
ที่ไร้ความกระตือรือร้น เป็นพลเมืองที่อยู่ในสภาพของการเป็นผู้รับ ไม่มีการขัดขืนหรือตั้งคำถามกับภาครัฐ
ถ้าเปรียบเทียบให้เห็นภาพ พลเมืองแบบ 1.0 คือ พลเมืองที่ยินยอมให้รัฐทำการละเมิดสิทธิมนุษยชน
ของตนเอง ของผู้อื่น และของสังคม ในขณะที่พลเมืองแบบ 2.0 คือพลเมืองที่อยู่ในข้อตรงกันข้ามกับ
พลเมือง 1.0 อย่างสิ้นเชิง คือ เป็นพลเมืองที่ม ีความกระตือรือร้น ต่อสิท ธิ และเสรีภาพของตนเอง
เป็นพลเมืองผู้มีส่วนร่วมทางการเมืองอย่างแข่งขัน ซึ่งจะทำหน้าที่ในการตรวจสอบการทำงานของภาครัฐ
ได้เป็นอย่างดี
ประเด็นหลัก ของบทนี้เ ป็นการพูดถึง การมีส ่วนร่วมทางการเมือง ที่ห ลายคนอาจเข้าใจว่า
การมีส่วนร่วมทางการเมือง คือ การไปเลือกตั้ง การไปลงประชามติ อย่างไรก็ตาม ความหมายของการ
มีส่วนร่วมทางการเมืองมีความหมายที่กว้างมาก คือ กิจกรรมที่เราทำโดยมีเป้าประสงค์ที่จะเปลี่ยนแปลง
ผลทางการเมือง ทั้งนี้ เราแบ่งการมีส่วนร่วมทางการเมืองออกเป็น การมีส่วนร่วมทางการเมืองแบบ
ออฟไลน์, การมีส่วนร่วมทางการเมืองแบบออนไลน์ และลูกครึ่ง คือ การมีส่วนร่วมทางการเมืองทั้งแบบ
ออฟไลน์และออนไลน์ ซึ่งในปัจจุบัน กิจกรรมที่พลเมืองเข้าไปมีส่วนร่วมมีแนวทางเป็นไปในกิจกรรมที่มี
ทั้งรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์
ในประเด็นสุดท้าย เราได้เรียนรู้ถึงการวัดระดับการมี ส่วนร่วมทางการเมือง การวัดระดับทาง
การเมืองเป็นเรื่องที่ซับซ้อน แต่ถ้าเอาหลักการพลเมือง 1.0 และ พลเมือง 2.0 มาใช้เป็นตัวชี้วัด จะพบว่า
การมีส่วนร่วมทางการเมืองของเราอยู่ในระดับสูงกว่าปกติ ต่ำกว่าปกติ คือ การไม่มีส่วนร่วมทางการเมือง
ไม่แม้กระทั่งไปเลือกตั้ง หรืออยู่ในระดับปกติ
บทความท้ายบทที่ 5 จำนวน 2 บทความ เป็นการนำเสนอการแก้ไขปัญหาการมีส่วนร่วมทาง
การเมือง และการแก้ไขปัญหาเมืองผ่านการสร้างสรรค์คอนเทนต์ที่แปลกใหม่ บทความเรื่อง Democracy
Voucher Program: คูปองประชาธิปไตยจากซีแอตเทิล เล่าถึงการเปิดโอกาสให้ ผู้สมัครทางการเมือง
ได้ม ีโ อกาสรับเงินบริจาคเพื่อใช้ในการหาเสียงโดยตรงจากประชาชนผ่านระบบคูปอง บทความเรื่อง
ศาสตราจารย์สติเฟื่องแห่งเมืองโบโกตา เล่าถึงเรื่องราวการเปลี่ยนเมืองจากการใช้นโยบายที่เกิดจาก
การทดลองทางสังคม

142
Democracy Voucher Program: คูปองประชาธิปไตยจากซีแอตเทิล
ปฏิเ สธไม่ได้ว่าราคาของการหาเสียงเลือกตั้งนั้นมีมูลค่าสูงมาก และมีแนวโน้มที่จะสูง ขึ้นไป
อย่างต่อเนื่องในทุกปี ปัจจัยที่ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายในการหาเสียงเลือกตั้งมีแนวโน้มสูงขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นเพราะ
อัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มขึ้น ทำให้แม้กระทั่งราคาของการซื้อเสียงก็มีมูลค่าสูงขึ้น ในปี พ.ศ. 2533 ราคาของการ
ซื้อเสียงการเลือกตั้งท้องถิ่นในประเทศไทย อยู่ที่ราคาหัวละ 100-300 บาท ในขณะที่ราคาการซื้อเสียง
เลื อ กตั้ ง ท้ อ งถิ่ นปี พ.ศ. 2555 ราคาขึ ้ นไปสู ง ถึ ง หั วละ 1,000 บาท (Arghiros, 1993, p. 139-140;
Manager Online, 1 June 2012 as cited in Chanintorn, 2015, p. 51, 179)
ในสหรัฐอเมริกาค่าใช้จ่ายในการหาเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ อยู่ที่ 1.4 พันล้านเหรียญ
สหรัฐในปี ค.ศ. 2000, 1.9 พันล้านเหรียญสหรัฐในปี ค.ศ. 2004, และ 2.3 พันล้านเหรียญในปี ค.ศ. 2016
(OpenSecrets.org, n.d.) จะเห็นได้ว่าด้วยมูลค่าอันมหาศาลของค่าใช้จ่ายในการหาเสียง ทำให้บุคคล
ทั ่ ว ไปที ่ ไ ม่ ไ ด้ ผ ่ า นการรั บ รองจากพรรคการเมื อ งขนาดใหญ่ อ ย่ า ง Democrats หรื อ Republican
แทบจะไม่มีโอกาสในการชนะเลือกตั้ง เพราะคงไม่สามารถทำการระดมทุนและทรัพยากรในการหาเสี ยง
ได้ทัดเทียมกับตัวแทนของพรรคการเมืองขนาดใหญ่ ทั้งนี้ผู้สนับสนุนทุนรายใหญ่มักเป็นผู้สนับสนุนในนาม
ขององค์กร ซึ่งประกอบไปด้วยกลุ่มผลประโยชน์ที่หวังผลจากการเลือกตั้ง เช่น กลุ่มอุตสาหกรรมรถยนต์
ซึ่งคาดหวังว่าเมื่อบุคคลหรือพรรคการเมืองที่องค์กรสนับสนุนชนะการเลื อกตั้ง เขาหรือเธอจะตอบแทน
การได้รับการสนับสนุนผ่านการผลักดันนโยบายสาธารณะที่ก่อให้เกิดประโยชน์แก่กลุ่มผู้สนับสนุนทุน
การเลือกตั้งท้องถิ่นในสหรัฐอเมริกาเองก็ไม่ต่างจากการเลือกตั้งระดับ ชาติ ที่มีการระดมทุ น
จากผู้สนับสนุนมาเพื่อใช้ในการหาเสียงเลือกตั้ง ถ้าเช่นนั้น เราอาจอนุมานได้ว่า ผู้สมัครที่มีความสามารถ
ในการระดมทุน ย่อมมีโอกาสมากกว่าในการชนะการเลือกตั้ง ปัญหาที่เกิดขึ้นจากกระบวนการระดมทุน
ผ่านองค์กรและกลุ่มผลประโยชน์คือสุดท้ายแล้ว ผู้ชนะการเลือกตั้งจะฟังเสียงของประชาชนมากแค่ไหน
ในเมื่อประชาชนส่วนใหญ่ไม่ได้ให้การสนับสนุนทางการเงินแก่ผู้สมัครรับเลือกตั้ง
รัฐบาลเมืองซีแอตเทิลได้คิดหาวิธีในการแก้ไขปัญหาของการระดมทุนสำหรับการลงแข่งขัน
เลือกตั้งในระดับท้องถิ่น โดยตั้งโครงการที่มีชื่อว่า “Democracy Voucher Program” ซึ่งเป้าหมายของ
โครงการนี้จะส่ง เสริมให้ประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการเลือกตั้งมากขึ้นหรือแม้กระทั่ง
ลงสมัครเลือกตั้งเสียเอง โดยมีการผ่านร่างกฎหมายในปี ค.ศ. 2015 ซึ่งร่างกฎหมายนี้มีที่มาจากการที่
ประชาชนชาวซีแอตเทิลได้สนับสนุนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของกระบวนการเลือกตั้ง เพราะต้องการเห็น
ความโปร่งใส-ซื่อสัตย์ ปราศจากการคอร์รัปชัน โดยจำกัดวงเงินในการบริจาค พร้อมทั้งห้ามผู้รับเหมา
ก่อสร้างบางรายจากการสนับสนุนการเงินให้กับผู้สมัครรับเลือกตั้ง (Seattle.gov, n.d.)
Democracy Voucher Program เปิดโอกาสให้พลเมืองซีแอตเทิล ได้ใช้คูปองในการสนับสนุน
ผู้ส มัครรับ เลือ กตั้ง โดยเงินที่ร ัฐสนับ สนุนโครงการนี้ม าจากภาษีท ี ่ดิ นมูล ค่า 3 ล้านเหรียญสหรัฐ
และผู้จ ัดการโครงการคือ Seattle Ethics and Election Commission (SEEC) จะเป็นผู้ท ำการแจก
143
คูปองให้แก่พลเมืองซีแอตเทิ ลที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์ (มี อายุ 18 ปีขึ้นไป เป็นผู้อาศัยอยู่ในซีแอตเทิล
เป็นพลเมืองสหรัฐฯ หรือถือกรีนการ์ด) คูปองที่ได้รับมีมูลค่าแทนเงินสดในการสนับสนุนการเลือกตั้ง
โดยสามารถมอบคูปองให้กับผู้สมัครรับเลือกตั้งโดยตรงหรือส่งไปที่ SEEC เจ้าของคูปองจะต้องเขียนชื่อ
ผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ต้องการมอบเงินสนับสนุนและลงชื่อกำกับ หลังจากนั้น SEEC จะเป็นผู้ทำการมอบเงิน
สนับสนุนให้แก่ผู้สมัครรับเลือกตั้ง จากข้อมูลล่าสุดในปี ค.ศ. 2019 ผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งที่ได้รับคูปอง
สนับสนุนสูงสุด ได้รับคูปองจำนวน 4,189 ใบ คิดเป็นจำนวนเงินสนับสนุนถึง 104,725 เหรียญสหรัฐ
(ประมาณ 3.3 ล้านบาท) (Seattle.gov, 2019)
ในอนาคตเราอาจได้เ ห็นโมเดลของเมืองซีแอตเทิล ไปอยู่ในเมืองอื่น ๆ ของสหรัฐอเมริกา
และหากโครงการนี้ประสบความสำเร็จในระยะยาว คือ มีคนที่ได้รับการเลือกตั้งเพราะทุนสนับสนุนจาก
คูปองที่ประชาชนมอบให้เป็นจำนวนมาก เราอาจได้เห็นประชาธิปไตยที่ปราศจากผลประโยชน์ของกลุ่ม
นายทุน ถือเป็นประชาธิปไตยของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชนอย่างแท้จริง

144
ศาสตราจารย์และนายกเทศมนตรีสติเฟื่องแห่งเมืองโบโกตา
กลายเป็นข่าวโด่งดังไปทั่วโลก เมื่อศาสตราจารย์คนหนึ่งเลือกที่จะหันหลังให้กับวงการวิชาการ
แล้วมุ่งหน้าเข้าสู่การเป็นนักการเมืองและใช้วิธีการทดลองวิจัยในแบบที่ตนเองถนัดมาทำการทดลอง
ทางสังคมกับเมืองที่ตนเองเป็นนายกเทศมนตรี
ศาสตราจารย์ Antanas Mockus เคยเป็ น ศาสตราจารย์ ป ระจำ ณ Columbian National
University โดยเป็นผู้เชี่ยวชาญทั้งทางด้านคณิตศาสตร์และด้านปรัชญา ก่อนหน้าที่เขาจะลาออกจาก
มหาวิทยาลัย เขาดำรงตำแหน่งสุดท้ายเป็นอธิการบดี Mockus ไม่เคยมีประสบการณ์ทางการเมืองมาก่อน
อย่างไรก็ตาม เมื่อ เขาตัดสินใจลงสมัครรับเลือกตั้ง เป็นนายกเทศมนตรีของเมือ งโบโกตา (Bogotá)
ประเทศโคลอมเบีย เขากลับได้รับคะแนนเสียงอย่างท่วมท้นจากประชาชน ส่วนหนึ่งเป็นเพราะประชาชน
เห็ น ว่ า เขาเป็น คนที่ จ ริ ง ใจ และถ้ า หากนับ จากสถิ ต ิแ ล้ ว ชาวโบโกตาเลื อกที่ จ ะให้ ค วามไว้วางใจ
กับนักวิชาการมากกว่านักการเมือง โดยประชาชนไว้ใจนักวิชาการถึงร้อยละ 60 ในขณะที่นักการเมือง
กลับได้รับการไว้วางใจเพียงร้อยละ 6 (The Harvard Gazette, 11 March 2004; Mockus as cited in
The Guardian, 28 October 2013)
Mockus เลือกที่จะทำการทดลองทางสังคมเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในเมืองโบโกตา โบโกตา
ถือเป็นเมือ งหนึ่ง ในประเทศโคลอมเบียที ่ม ีป ัญ หาด้า นความรุน แรง คอร์ร ัป ชัน ปัญ หาการจราจร
อันเนื่องมาจากผู้คนไม่เ คารพกฎหมาย และยัง มีก ลุ่ม เยาวชนที่ท ำการปล้นชิง ทรัพย์และขโมยของ
(The Harvard Gazette, 11 March 2004) วิธีก ารทดลองของ Mockus กระทำโดยปราศจากการใช้
ความรุนแรง ในการแก้ไขปัญหาการไม่เคารพกฎจราจร Mockus ในฐานะนายกเทศมนตรีได้ทำการว่าจ้าง
ตัวตลกละครใบ้จำนวน 420 รายในการเข้าควบคุมการจราจร โดยเหล่าตัวละครใบ้จะเดินไปตามถนน
เพื่อสอดส่องผู้กระทำผิดกฎจราจร และหากพบผู้กระทำผิดกฎจะทำการแสดงในทันที เช่น แสร้งทำว่ า
ได้รับบาดเจ็บ เมื่อผู้ขับขี่ยานพาหนะละเมิดการให้ทางกับผู้เดินข้ามทางม้าลาย ตัวละครใบ้เหล่านี้ได้ทำ
หน้ า ที ่ ท ดแทนตำรวจจราจรผู ้ ร ั บ สิ น บน การทดลองทางสั ง คมอี ก ประการที ่ Mockus ได้ ค ิ ด ค้ น
คือการพิมพ์บัตรที่เรียกว่าบัตรพลเมืองจำนวน 350,000 ใบแจกให้กับประชาชน โดยบัต รพลเมืองจะมี
รูปประกอบด้านหนึ่งเป็นการยกนิ้วโป้งขึ้น และอีกด้านเป็นรูปมือคว่ำนิ้วโป้ง รูปยกนิ้วโป้งขึ้นมีไว้สำหรับ
การสนับสนุนการปฏิบัติตามกฎจราจรของรถยนต์ ในขณะที่รูปนิ้วโป้งชี้ลงเป็นการตอบสนองในทิศทาง
ตรงกันข้าม ผลจากการทดลองของ Mockus ปรากฏว่าภายในระยะเวลาราว 10 ปี อัตราการเสียชีวิตจาก
อุบัติเหตุบนถนนลดลงมากกว่าร้อยละ 50 และ Mockus สามารถย้ายตำรวจที่ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
ออกไปจากการปฏิ บ ั ต ิ ห น้ า ที ่ ถ ึ ง 1,800 นาย (The Guardian, 28 October 2013; The Harvard
Gazette, 11 March 2004; & Mockus, 2015)
สำหรับประเด็นอื่น ๆ ทางสังคม Mockus ได้ริเริ่มกิจกรรม “คืนสำหรับสุภาพสตรี” โดยร้องขอ
ความร่วมมือจากผู้ชายเมืองโบโกตาให้อยู่บ้านเพื่อเลี้ยงดูลูก และให้โ อกาสผู้หญิงในการเที่ยวราตรี

145
ปรากฎว่าในสามคืนแรกของโครงการมีผู้หญิงที่ได้ออกจากบ้านเพื่อท่องเที่ยวสังสรรค์ในยามค่ำคืนมากถึง
700,000 ราย (The Harvard Gazette, 11 March 2004)
การก้าวเข้ามาดำรงตำแหน่งของ Mockus ผ่านการเลือกตั้ง ได้พิสูจน์ว่า ในสายตาของประชาชน
เขาคือบุคคลที่เหมาะสมในการแก้ไขปัญหาเมืองโบโกตา เขาได้รับการเลือกตั้งถึงสองสมัย และเมื่อการ
ดำรงตำแหน่งของเขาเป็นปัญหาต่อกลุ่มก่อความไม่สงบฝ่ ายซ้าย Mockus เลือกที่จะใส่เสื้อกันกระสุน
ในการป้องกันตัว แต่เป็นเสื้อกันกระสุนทีม่ ีรูตรงหน้าอกเป็นรูปหัวใจ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่เขาทำไว้เพื่อแสดง
ความมั่นใจ และสุดท้ายก็ไม่มีใครทำร้ายเขาได้ (Mockus, 2015)
เรื่องราวของ Mockus และการทดลองเมือง ถือเป็นกรณีศึก ษาที่นำส่งต่อผ่านสื่อทั้งในและ
ต่างประเทศ ถึงแม้ว่าในปัจจุบันเขาจะไม่ได้ดำรงตำแหน่งนายกเทศมนตรีของเมืองโบโกตาแล้ว แต่เขายัง
ถูกรับเชิญไปบรรยายเรื่องราวการทดลองทางสังคม แลกเปลี่ยนความรู้กับนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ
Mockus เป็นตัวอย่างที่ทำให้ เราเห็นว่า ไม่จำเป็นต้องแก้ปัญหาความรุนแรงด้วยความรุนแรง การแก้ไข
ปัญ หาที่เ ห็นผลสามารถเกิดมาจากความคิดสร้างสรรค์ท ี่ไม่จ ำเป็น ต้องใช้ง บประมาณจำนวนมาก
และสามารถส่งผลกระทบเชิงบวกในระยะยาว

146
คำถามท้ายบทที่ 5
1. ข้อดีของการมีส่วนร่วมทางการเมืองแบบออฟไลน์คืออะไร
2. ประชาชนในรัฐไร้ประชาธิปไตย สามารถมีส่วนร่วมทางการเมืองได้หรือไม่ และมีความแตกต่าง
อย่างไรเมื่อเปรียบเทียบกับกรณีของรัฐประชาธิปไตย
3. เราสามารถมีส่วนร่วมทางการเมืองในรูปแบบออนไลน์ได้อย่างไร
4. อธิบายกรณีของ Democracy Voucher Program
5. อธิบายกรณีการทดลองทางสังคมในเมืองโบโกตา ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเมืองอย่างไร

147
บทสรุป
การได้สิทธิในการเป็นพลเมืองในรัฐใดรัฐหนึ่งตั้งแต่กำเนิด ถือเป็นสิทธิพิเศษ เพราะ มีบุคคล
จำนวนหนึ่งที่ยัง ไม่มีสิทธิในการเป็นพลเมืองของรัฐใดทั้งสิ้น กลายเป็นบุคคลไร้สัญชาติทั้ง ๆ ที่อาจจะ
ถือกำเนิดและอาศัยอยู่ในรัฐนั้นมาโดยตลอด นอกเหนือจากบุคคลไร้สัญชาติ ยังมีผู้ขอลี้ภัย ผู้ล ี้ภัย
และผู้อพยพ เพราะเหตุผลทางเศรษฐกิจ ที่ต้องการแสวงหาโอกาสที่ดีขึ้นให้แก่ชีวิต และบุคคลเหล่านี้
ทั้งหมด ยังไม่ได้รับการรับรองให้เป็นพลเมื องในรัฐที่ตนเองไปอาศัยอยู่ หรือ ต้องการร้องขอไปอาศัยอยู่
ความพิเศษของการเป็นพลเมืองภายใต้ระบอบประชาธิปไตย คือ การได้รับประกันจากรัฐบาลในการ
รับ รองสิท ธิและเสรีภาพส่วนบุคคล ตราบใดที่ส ิท ธิเ สรีภาพนั้นไม่ไปกระทบสิท ธิเ สรีภาพของผู้อื่น
ประการถัดมา คือ การได้รับสิทธิทางการเมือง ทั้งสิทธิในการมีส่วนร่วมทางการเมือง การประท้วงรัฐบาล
ในประเด็นที่ตนเองไม่เ ห็นด้วย ไปจนถึง การเข้าไปเป็นผู้ล งสมัครรับเลือกตั้ง ทางการเมืองโดยตรง
และประการสุดท้าย สิทธิทางสังคม ได้แก่ สิทธิในการได้ร ับสวัสดิก ารจากภาครัฐ เช่น เงินเบี้ยเ ลี้ยง
ผู้สูงอายุ การได้รับการรักษาทางการแพทย์ ฯลฯ
“สิทธิ” และ “หน้าที่” มีความหมายที่แตกต่างกัน เมื่อมีการพูดถึงสิทธิ สิ่งที่ผู้คนจะนึกถึงคือ
เราจะได้รับสิทธิอะไร ไม่ว่าจะเป็นสิทธิในการรับมรดก สิทธิในการได้เข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึก ษา
การยืนยันสิทธิในการเข้าหอพักนักศึกษา อย่างไรก็ตาม หลังจากที่เรารับทราบในสิทธิของเราแล้ว เราควร
เรียนรู้ถึงหน้าที่ของเราด้วยเช่นกัน ความรับผิดชอบต่อตนเองไม่ให้ไปเบียดเบียนผู้อื่น ถือเป็นหน้าที่
ที่พลเมืองพึงกระทำ ความรับผิดชอบในที่นี้ มีตั้งแต่ความรับผิดชอบต่อตนเอง เช่น การจัดการเรื่องการเงิน
ส่วนบุคคล ความรับ ผิดชอบในการปฏิบ ัติตามกฎหมาย การเคารพกฎจราจร แม้ก ระทั่งการบริโภค
แอลกอฮอล์ ถึงแม้จะเป็นสิทธิของเราที่จะบริโภคแอลกอฮอล์ แต่เมื่อมองไปในระยะยาวแล้ว หากเรามีเงิน
เพียงพอในการรักษาตัวจากโรคที่เกิดจากการบริโภคแอลกอฮอล์ ถือเป็นโชคอั นดีของเรา แต่ถ้าหากเรา
กลายเป็นหนี้เพราะแอลกอฮอล์ เป็นภาระแก่สังคม เพราะมีโรคที่ต้องดูแลรักษาและอาจส่งผลกระทบต่อ
การทำงาน ยังจะถือว่าเรามีสิทธิในการเป็นภาระของสังคมหรือไม่ นอกจากนี้ยังมีประเด็นอีกมากมาย
ที่เ ราจะต้องใส่ใจ เพราะสิ่งเหล่านี้คือ ปัญหาที่เกิดจากการกระทำของเราส่วนหนึ่ง เช่น ปัญ หาขยะ
และการจัดการขยะที่จ ะส่ง ผลกระทบต่อ สิ่ง แวดล้อม ปัญ หาในระดับ ประเทศ เช่น สัง คมผู้ส ูง อายุ
การทุจริต คอร์รัปชัน เราในฐานะพลเมืองไทย จะมีส่วนช่วยเหลือรัฐได้อย่างไร นอกจากปัญหาภายในประเทศ
เรายังจะต้องสวมแว่นตาอีกกรอบหนึ่ง คือ การเป็นพลเมืองของโลก ซึ่งเราจะพบว่า โลกใบนี้ยังคงมีปัญหา
มากมายที่จำเป็นจะต้องได้รับการแก้ไข การเรียนรู้ถึงความเหลื่อมล้ำในสังคม จะทำให้เราขยายการมอง
จากมุมของเราแต่เพียงผู้เดียวไปเป็นการมองในฐานะผูม้ ีส่วนได้ส่วนเสียกับปัญหาสากลที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน
ในช่วงการดำรงชีวิตอยู่ของเรานั้น เราอาจพบเห็นกับความหลากหลายบนโลกใบนี้ ประเทศไทย
ถือเป็นประเทศที่มีผู้คนที่มีลักษณะความเหมือนร่วมกันบางอย่าง เช่น พลเมืองไทยส่วนมากนั้น พูดภาษา
เดียวกัน คือ ภาษาไทย ซึ่ง เป็นภาษาราชการของประเทศ พลเมืองไทยส่วนใหญ่นับ ถือศาสนาพุทธ
แต่ในความเหมือนร่วมนั้นยังมีความแตกต่างอยู่ เช่น ความแตกต่างของวัฒนธรรมท้องถิ่น และการย้ายเข้า
148
มาของประชากรต่างถิ่น ส่งผลให้เราได้รบั เอาอิทธิพลทางวัฒนธรรมบางอย่างมาจากผู้คนจากพื้นที่อื่นไม่วา่
จะโดยตั้งใจหรือไม่ หรือ การได้รับเอาวัฒนธรรมที่ก้าวข้ามผ่านมาในรูปแบบของบริษัท ห้างร้าน องค์กร
สถานประกอบการ เช่น การเข้ามาของร้านอาหารจากต่างประเทศ สิ่งเหล่านี้ส่งผลกระทบให้ชีวิตของเรา
และบุคคลรอบข้างเกิดการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา การเข้ามาของสิ่งแปลกใหม่นั้น ผู้คนจะปฏิ บัติต่อ
การเปลี่ยนแปลงในสองรูปแบบ คือ ยอมรับ และ ต่อต้าน อย่างไรก็ตาม เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข
เราควรเรียนรู้ที่จะปฏิบัติต่อผู้อื่นด้วยความยุติธรรมผ่านการตัดสินใจทางจริยธรรมที่เราคิดว่าส่งผลดีต่อ
สถานการณ์ น ั ้ น ๆ การยอมรั บ ในความหลากหลายทางวั ฒ นธรรม ความหลากหลายทางศาสนา
ความหลากหลายทางชนชาติ และการยอมรับความหลากหลายทางเพศ จะส่งผลให้พลเมืองโลกสามารถ
อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข
จากข้อเท็จจริง เรายังคงพบเห็นข้อขัดแย้งอันเกิดจากการกีดกันทางเพศ ข้อขัดแย้งทางชนชั้นและ
การเข้ายึ ดทรัพยากรธรรมชาติ ข้อ ขัดแย้งทางศาสนาส่งผลให้เ กิดสภาวะของการยอมรับ/ไม่ยอมรับ
ในความเชื่อของศาสนาผู้อื่น คำถามคือ เราจะมีวิธีการในการจัดการกับความขัดแย้งอย่างไร การจัดการ
กับความขัดแย้ง มีทั้งวิธีการใช้ความรุนแรง ซึ่งแบ่งออกเป็นความรุนแรงทางกาย ความรุนแรงทางเพศ
ความรุนแรงทางจิตใจ และการทอดทิ้ง จะเห็นได้ว่า การแก้ไขปัญหาข้อขัดแย้งด้วยวิธีการรุนแรง ย่อมไม่
ส่งผลดีในระยะยาว จะเห็นได้จากตัวอย่างในประวัติศาสตร์ การทำสงครามโลกของเยอรมัน ส่งผลให้
เศรษฐกิจประเทศเยอรมนี ตกต่ำเป็นระยะเวลาที่ยาวนาน การกีดกันการพบปะกันระหว่ างประชากร
เกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ ถือเป็นการพรากสถาบันครอบครัวออกจากกัน วิธีการแก้ไขความขัดแย้ง
อย่างสันติวิธี ถือเป็นการแก้ไขความขัดแย้งที่จะส่งผลให้เกิดการสูญเสียน้อยที่สุด โดยวิธีการแก้ไขปัญหา
ด้วยสันติวิธีนั้นมีหลากหลายรูป แบบ อยู่ท ี่ก ารเลือกใช้ให้เ หมาะสมกับแต่ละสถานการณ์และขนาด
ของความขัดแย้ง
ในสังคมประชาธิปไตย การมีส่วนร่วมทางการเมืองของพลเมือง ถือเป็นการสนับสนุนทางตรง
ให้ระบอบประชาธิป ไตยยังคงเจริญเติบโตได้ในรัฐ พลเมืองของรัฐสามารถถูกแบ่งออกเป็น พลเมืองที่มี
ความกระตือรือร้นในการมีส่วนร่วมทางการเมือง และพลเมืองที่ไม่ได้มีความกระตือรือร้นในการมีส่วนร่วม
ทางการเมือง ในรัฐประชาธิปไตยที่แท้จริง จะไม่มีการบีบบังคับให้พลเมืองต้องมีส่วนร่วมทางการเมือง
เพราะการบังคับถือเป็นการละเมิดสิทธิประการหนึ่ง อย่างไรก็ตาม รัฐที่มีพลเมืองที่ตื่นตัวทางการมีส่วน
ร่วมทางการเมือง จะส่งผลดีต่อการตรวจสอบการทำงานของภาครัฐ
การมีส่วนร่วมทางการเมืองนั้นมีความหมายครอบคลุมที่กว้างมาก และไม่ได้จำกัดแค่การไป
เลือกตั้ง อย่างไรก็ตาม บุคคลส่วนใหญ่ยังคงมีส่วนร่วมทางการเมืองเพียงการไปเลือกตั้งในทุกการครบรอบ
วาระการคงอยู่ของนัก การเมือง ทั้ง นี้ เทคโนโลยีในปัจ จุบ ัน ส่ง ผลให้ก ารมีส ่วนร่วมทางการเมือ ง
สะดวกสบายมากขึ้น เช่น การคัดค้านในประเด็นที่เราไม่เห็นด้วยผ่านการลงชื่อออนไลน์ การสร้างกระแส
เพื่อให้พลเมืองเกิดการตื่นตัวในประเด็นต่าง ๆ ผ่านการใช้แฮชแท็กทางโซเชียลมีเดีย ถึงแม้การมีส่วนร่วม
ทางการเมืองแบบออนไลน์จะสร้างความสะดวกสบายแก่ผู้ท ี่ต้องการมีส ่วนร่วม วิธีการแบบออฟไลน์
149
ก็มีความสำคัญไม่ต่างกัน ดังจะเห็นจากกรณี Revolution 2.0 ในประเทศอียิปต์ที่ผู้นำเผด็จการยุติอำนาจ
ของตนเองเป็นเพราะการมีส่วนร่วมทางการเมืองทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์
โดยสรุป แล้ว การเป็นพลเมือง มีความหมายที่ล ึก ซึ้ง กว่าการได้ร ับ สิท ธิในการเป็นพลเมือง
การใช้สิทธิของความเป็นพลเมือง คำว่าพลเมืองทำให้เราได้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างการได้สิท ธิเป็น
พลเมืองและการถูกกีดกันสิทธิไม่ให้เป็นพลเมือง นอกจากการรับรู้ถึงความแตกต่างในประเด็นที่ธรรมดา
สามัญที่สุดแล้ว เราควรเรียนรู้ที่จะปฏิบัติตนเป็นพลเมืองที่มีคุณค่าต่อตนเองและสังคม และก่อนที่เราจะ
ตัดสินผู้อื่น เราต้องแยกแยะให้ออกว่าเราตัดสินด้วยพื้นฐานของอคติ หรือ พื้นฐานของความจริง

150
บรรณานุกรม
ภาษาไทย
กรมการขนส่งทางบก. (2561). กรมการขนส่งทางบก เผยรถจดทะเบียนใหม่ป้ายแดง เดือนมกราคม
2561 รวมทั่วประเทศ 268,989 คัน. สืบค้นเมือ่ 26 สิงหาคม 2561, จาก
https://www.dlt.go.th/th/public-news/view.php?_did=1954
กรมกิจการผูส้ ูงอายุ. (2560). สถิติผสู้ ูงอายุของประเทศไทย 77 จังหวัด ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2560.
สืบค้นเมื่อ 26 สิงหาคม 2561, จาก
http://www.dop.go.th/download/knowledge/th15330553
63-125_1.pdf
______________. (ม.ป.ป.). สิ ท ธิ แ ละสวั ส ดิก ารผู ้ ส ู ง อายุ . สื บ ค้ น เมื ่ อ 26 สิ ง หาคม 2561, จาก
http://www.dop.go.th/download/laws/benefit_th_20160507132133_1.pdf
กรมควบคุมมลพิษ. (ม.ป.ป.). ปัญหาสิ่งแวดล้อมจากขยะมูลฝอย. สืบค้นเมื่อ 26 สิงหาคม 2561, จาก
http://www.pcd.go.th/info_serv/waste_rubbish.htm
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (ม.ป.ป.). จำนวนเตียง สัดส่วนเตียงต่อประชากร
จำนวนผู้ป่วยใน จำนวนวันอยู่ผู้ป่วยใน และอัตราการครองเตียง จำแนกรายภาค ปี พ.ศ. 2545-
2558 สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ . สืบค้นเมื่อ 27 สิงหาคม
2561, จาก https://www.m-society.go.th/ewt_news.php?nid=18548
คณะกรรมการกลุ่มความร่วมมือทางวิชาการเพื่อพัฒนามาตรฐานการเรียนการสอนและการวิจ ัยด้าน
บริหารธุรกิจแห่งประเทศไทย. (2555). แนวทางความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการ. สืบค้นเมื่อ
26 สิงหาคม 2561, จาก https://www.set.or.th/sustainable_dev/th/sr/publication/files/
corporate_social_responsibility.pdf
คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่ง ชาติ. (2558). คู่มือการทำความเข้าใจ เรื่อง สิทธิพลเมืองและสิท ธิ
ทางการเมือง. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
คมชัดลึก. (2560). วันนี้ในอดีต 17 พ.ค.2535 กำเนิด‘พฤษภาทมิฬ’. สืบค้นเมื่อ 3 กันยายน 2561, จาก
http://www.komchadluek.net/news/today-in-history/277321
ชนินทร เพ็ญสูตร. (2561). ความรู้ ความเข้าใจ และความคิดเห็นต่อการเป็นพลเมือง (Citizenship) ของ
นั ก ศึ ก ษา มหาวิ ท ยาลั ย เชี ย งใหม่ . ในการประชุ ม วิ ช าการ Thailand Research Expo:
Symposium 2018. Centara Grand Central World Convention Centre, Central World.
กรุงเทพฯ. 9-13 สิงหาคม, 2561.
151
ชมพูนุท พรหมภักดิ์. (2556). การเข้าสูส่ ังคมผู้สงู อายุของประเทศไทย (Aging society in Thailand).
สืบค้นเมื่อ 26 สิงหาคม 2561, จาก
http://library.senate.go.th/document/Ext6078/6078440
_0002.PDF
ฐิติมดี อาพัทธนานนท์. (2556). เนื้อหาความเป็นพหุวัฒนธรรมในแบบเรียนไทย. วารสารสังคมลุ่มนํ้าโขง,
9(1), 107-130
ตลาดหลั ก ทรั พย์ แ ห่ ง ประเทศไทย. (ม.ป.ป.). ตราสารหนี้ . สื บ ค้ น เมื ่ อ 25 สิ ง หาคม 2561 , จาก
https://www.set.or.th/th/products/bonds/bonds_p1.html
เทใจ. (ม.ป.ป.). สืบค้นเมื่อ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2563, จาก https://taejai.com/th/
ไทยรัฐออนไลน์. (2560 [ก]). เช็กผลลงทะเบียนคนจน 15 ก.ย. 3 ช่องทาง มีผู้ผ่านเกณฑ์ 11.4 ล้านคน.52
สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2561, จาก https://www.thairath.co.th/content/1068847
___________. (2560 [ข]). เงื่อนไขใช้บัตรคนจน ชำระค่าสินค้า ค่าโดยสาร ดูรายละเอียดที่นี่!!. สืบค้น
เมื่อ 25 สิงหาคม 2561, จาก https://www.thairath.co.th/content/1076409
___________. (2561). สรุปยอด 'เมาแล้วขับ' ปีใหม่ กว่า 6,000 คดี สงกรานต์นี้เข้มก.ม. สืบค้นเมื่อ 25
สิงหาคม 2561, จาก https://www.thairath.co.th/content/1172010
___________. (2563). ตรวจสอบสถานะเราไม่ทิ้งกัน งดโอนเงิน 2 วัน ผู้ผ่านเกณฑ์รอรับเงิน 25 พ.ค.
63. สืบค้นเมื่อ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2563, จาก https://www.thairath.co.th/news/business
/1851124
ธนาคารแห่งประเทศไทย. (2561). อัตราดอกเบี้ยเงินฝากสำหรับบุคลธรรมดา ของธนาคารพาณิชย์
ประจำวันที่ 24 สิงหาคม 2561. สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2561, จาก. https://www.bot.or.th
/thai/statistics/_layouts/application/interest_rate/in_rate.aspx
พงษ์พิลัย วรรณราช. (ม.ป.ป.). “สิทธิ”และ “เสรีภาพ” แท้จริงแล้วเหมือนหรือต่างกันอย่างไร. สืบค้นเมื่อ
21 สิงหาคม 2561, จาก http://web.krisdika.go.th/activityDetail.jsp?actType=I&actCode
=83&head=4&item=n5
พระราชบัญญัติควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. ๒๕๕๑. (2551). สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2561, จาก
http://old.ddc.moph.go.th/law/showimg5.php?id=77

52 หัวข้อในไทยรัฐออนไลน์สะกดคำว่า เช็ค เป็น เช็ก


152
มติชนออนไลน์. (2561). บ้านพักคนชรา ‘บ้านบางแค’ ในวันที่ต้อง ‘ต่อคิว’ จองข้ามปี. สืบค้นเมื่อ 26
สิงหาคม 2561, จาก https://www.matichon.co.th/lifestyle/news_824450
มาลินี คงรื่น. (ม.ป.ป.). ปัญหาการถือครองที่ดินของชาวต่างชาติในไทย. สืบค้นเมื่อ 1 เมษายน 2565, จาก
https://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/ewt_dl_link.php?nid
=32421
มูลนิธิสื่อมวลชนศึกษา. (2557). รายงานฉบับสมบูรณ์ สื่อเชิงสืบสวน (Investigative Journalism) ในทีวี
ดิจิตอลช่องข่าวสารและสาระ (22 สิงหาคม-22 กันยายน 2557). สืบค้นเมื่อ 7 มิถุนายน พ.ศ.
2563, จาก http://www.nbtc.go.th
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๖๐. (2561). กรุงเทพฯ: กลุ่มงานการพิมพ์ สำนักการ
พิมพ์ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. (2560). หมวด ๓ สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย. สืบค้นเมื่อ 7
มิถุนายน พ.ศ. 2563, จาก https://library2.parliament.go.th/giventake/content_thcons/
20cons2560.pdf
ศิลปวัฒนธรรม. (2560). 14 ตุลาคม 2516: รัฐบาลทหารใช้กำลังสังหารผู้ชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตย
แต่สุดท้ายสิ้นอำนาจ. สืบค้นเมื่อ 3 กันยายน 2561, จาก https://www.silpa-mag.com/this-
day-in-history/article_3350
สถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์. (2562). ส่องพฤติกรรมการออมของคนไทย ผ่านข้อมูลบัญชีเงินฝาก
ธนาคารกว่า 80 ล้านบัญชีจาก DPA การส่งเสริมการออมของคนไทยไปถึงไหน และควรทำอะไร
เพิ่ม. สืบค้นเมื่อ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2563, จาก https://www.pier.or.th/
สมศักดิ์ สามัคคีธรรม. (2559). ชาติพันธุ์และการจัดการความขัดแย้งทางชาติพันธุ์. วารสารพัฒนาสังคม,
18 (ฉบับพิเศษ), 157-174.
สามัญชนคนไทย. (2558). ชีวิต 300. สืบค้นเมื่อ 3 กันยายน 2561, จาก https://www.youtube.com
/watch?v=0WJM9DmjQpQ
สำนักข่าวอิสรา. (2560). สถิติใหม่ คนไทยตายบนถนนที่ 1 ของโลก แค่รณรงค์แจกพระคงไม่รอด. สืบค้น
เมื่อ 25 สิงหาคม 2561, จาก https://www.isranews.org/isranews-scoop/62419-accident-
62419.html
สำนัก งบประมาณ สำนัก นายกรัฐมนตรี. (2561). งบประมาณโดยสังเขป ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.
๒๕๖๒. สืบ ค้นเมื่อ 25 สิง หาคม 2561, จาก http://budget.parliament.go.th/bbebook62
/FILEROOM/CABILIBRARY62/DRAWER01/GENERAL/DATA0000/00000501.PDF
153
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.). (2555). “จน เครียด กินเหล้า”. สืบค้นเมื่อ 25
สิงหาคม 2561, จาก http://www.thaihealth.or.th/Content/16708-%22จน%20เครียด%20
กินเหล้า%22.html
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ. (2560). บุคลากรทางการแพทย์ และสาธารณสุข. สืบค้น
เมื่อ 26 สิงหาคม 2561, จาก
https://www.hiso.or.th/hiso/picture/reportHealth/ThaiHealth
2017/thai2017_13.pdf
สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. (2550). ชนชาติ (๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐). สืบค้นเมื่อ 29 สิงหาคม 2561, จาก
http://www.royin.go.th/?knowledges
___________________. (2554 [ก]). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ “พหุ”. สืบค้น
เมื่อ 31 สิงหาคม 2561, จาก. http://www.royin.go.th/dictionary/index.php
___________________. (2554 [ข]). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ “วัฒนธรรม”.
สืบค้นเมื่อ 31 สิงหาคม 2561, จาก http://www.royin.go.th/dictionary/index.php
___________________. (2554 [ค]). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ “ยุติธรรม”.
สืบค้นเมื่อ 31 สิงหาคม 2561, จาก. http://www.royin.go.th/dictionary/index.php
___________________. (2554 [ง]). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔ “ทัศนคติ”.
สืบค้นเมื่อ 31 สิงหาคม 2561, จาก http://www.royin.go.th/dictionary/index.php
___________________. (2555). ทุจริต (๑๕ พฤษภาคม ๒๕๕๕). สืบค้นเมื่อ 29 สิงหาคม 2561, จาก
http://www.royin.go.th/?knowledges
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2560). การสํารวจแรงงานนอกระบบ พ.ศ. 2560 The Informal
Employment Survey 2017. สืบค้นเมื่อ 26 สิงหาคม 2561, จาก http://
www.nso.go.th/sites/2014/DocLib13/ด้านสังคม/สาขาแรงงาน/แรงงานนอกระบบ/แรงงาน
นอกระบบ_2560/Full_report2560.pdf
สำนักจัดการกากของเสียและสารอันตราย กรมควบคุมมลพิษ. (2560). รายงานสถานการณ์ขยะมูลฝอย
ชุมชนของประเทศไทยปี พ.ศ. 2559. สืบค้นเมื่อ 26 สิงหาคม 2561, จาก
http://infofile.pcd.go.th
/waste/wsthaz_annual59.pdf
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กระทรวงศึกษาธิการ. (ม.ป.ป.). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรูแ้ กนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้สงั คม
154
ศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม. สืบค้นเมื่อ 29 สิงหาคม 2561, จาก
https://drive.google.com/file/d/0B9t56k6dmUe5Z202Wmw5S1dvOGM/view
แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย. (2560). Social Movement คืออะไร? ทำไมถึงสำคัญ ?.
สืบค้นเมื่อ 3 กันยายน 2561, จาก https://www.amnesty.or.th/latest/blog/47
ฮัสสัน ดูมาลี. (2558). ความขัดแย้งและการจัดการความขัดแย้งกรณี การเลี้ยงหอยแครงในอ่าวปัตตานี.
สารอาศรมวัฒนธรรมวลัยลักษณ์, 15(2), 29-44.
BBC News. (ม.ป.ป.). ผู้ลี้ภัยทางการเมือง: คนเห็นต่าง หรือ พวกหนักแผ่นดิน. สืบค้นเมื่ อ 7 มิถุนายน
พ.ศ. 2563, จาก https://www.bbc.com/thai/extra/Y0IB3TQXys/thai_exiles#group--
iCIbkgWYIv
Change.org. (n.d.). เว็ บ ไซต์ เ พื ่ อ สร้ า งการเปลี ่ ย นแปลง. สื บ ค้ น เมื ่ อ 3 กั น ยายน 2561 , จาก
https://www.change.org/th
iLaw. (ม.ป.ป.) เกี่ยวกับเรา. สืบค้นเมื่อ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2563, จาก https://ilaw.or.th/about
Journey D. (ม.ป.ป.). สืบค้นเมื่อ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2563, จาก http://journey-d.com/
Stiftung Freiheit. (ม.ป.ป.). ความหมายของสิทธิเสรีภาพคือ. สืบค้นเมื่อ 27 เมษายน พ.ศ. 2565, จาก
https://www.stiftung-freiheit.org/
TCIJ. (2560 [ก]). แจงคุณสมบัติ 5 ข้อ ลงทะเบียนคนจนรอบใหม่. สืบค้นเมื่อ 25 สิงหาคม 2561, จาก
https://www.tcijthai.com/news/2017/09/current/6817
____. (2560 [ข]). ต้นทุนดูแลคนชราพุ่ง คาดอีก 10-15 ปีทะลุ 6-7 แสนล้าน. สืบค้นเมื่อ 27 สิงหาคม
2561, จาก https://www.tcijthai.com/news/2017/11/scoop/7501
The United Nations High Commissioner for Refugees (UNHCR). (n.d. [d]). จำนวนผู้ล ี้ภัยใน
ประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2563, จาก https://www.unhcr.or.th/node/323
United Nations, ประเทศไทย. (ม.ป.ป. [ก]). เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของประเทศไทย. สืบค้น
เมื่อ 23 สิงหาคม 2561, จาก https://www.un.or.th/globalgoals/th/the-goals/
______________________. (ม.ป.ป. [ข]). ขจัดความยากจน-เป้าหมาย. สืบค้นเมื่อ 23 สิงหาคม 2561,
จาก https://thailand.un.org/th/sdgs/1

155
ภาษาอังกฤษ
Achmad, W. (2021). Citizen and Netizen Society: The Meaning of Social Change From a
Technology Point of View. Jurnal Mantik, 5(3), 1564-1570.
African Population and Health Research Center (APHRC). (2014). Retrieved August 25, 2018,
from https://www.kibera.org.uk/Reports/Nairobi%20Slum%20Survey%202012.pdf
AFS Thailand. ( n. d. ) . AFS Host Family Programs. Retrieved June 7, 2 0 20, from
https://afsthailand.org/host-a-student/
Aghaei, Sareh, Mohammad Ali Nematbakhsh, & Hadi Khosravi Farsani. (2012). Evolution of
the World Wide Web: From WEB 1.0 TO WEB 4.0. International Journal of Web &
Semantic Technology, 3(1), 1-10.
Aim to Travel. (2013). Interview with Chris Sandeman of Sandeman's New Europe [Video
file]. Retrieved June 5, 2020, from https://www.youtube.com/watch?v=7RMzHA9
FGU8
Aljazeera. ( 2018 [ b] ) . Number of active Facebook users increased despite scandals.
Retrieved September 1, 2018, from https: / / www. aljazeera. com/ news/ 2018/ 04/
number-active-facebook-users-increased-scandals-180426073628185.html
Aljazeera. ( 2018 [ a] ) . Rohingya 'ethnic cleansing in Myanmar continues': UN. Retrieved
August 30, 2018, from https://www.aljazeera.com/news/2018/03/rohingya-ethnic-
cleansing-myanmar-continues-180306062135668.html
Amnesty International. ( 2017) . Do you know the difference between a refugee and an
asylum seeker? The most common refugee terminology explained. Retrieved August
22, 2018, from https: / / www. amnesty. org. au/ refugee- and- an- asylum- seeker-
difference/
Anti- slavery. ( n. d. ) . What is modern slavery?. Retrieved August 25 , 2018, from
https://www.antislavery.org/slavery-today/modern-slavery/
AP News. (2017). How AP collected, parsed data on China’s investor immigrants. Retrieved
August 22, 2018, from https://apnews.com/11a539b89e214ea491676304e017be5c/
How-AP-collected,-parsed-data-on-China's-investor-immigrants

156
Attiaa, Ashraf M. , Nergis Aziza, Barry Friedmana, & Mahdy F. Elhusseiny. ( 2011) .
Commentary: The impact of social networking tools on political change in Egypt’s
‘‘Revolution 2.0’’. Electronic Commerce Research and Applications, 10 (4), 369-374.
Ball, J. (2014). Explained: how is it possible to triple tuition fees and raise no extra cash?.
Retrieved June 11, 2 0 20, from https: / / www. theguardian. com/ news/ datablog
/2014/mar/21/explained-triple-tuition-fees-no-extra-cash
BBC News. ( 2018) . #MeToo hits Japan as Junichi Fukuda quits over harassment claims.
Retrieved September 3, 2018 from https: / / www. bbc. com/ news/ world- asia-
43819001.
BBC News. ( 2019) . Displaced people: Why are more fleeing home than ever before?.
Retrieved June 7, 2020, from https://www.bbc.com/news/world-49638793
Bellamy, R. (2008). Citizenship: A very short introduction. OUP Oxford.
Berlin University Alliance. (2019). When Food Grows in the Middle of the City: The EdiCitNet
project promotes local and sustainable food production in cities. Retrieved June
9, 2020, from https://www.berlin-university-alliance.de/en/impressions/20191002-
edible-cities/index.html
Bernstein, A. (2019). The Case Against Adnan Syed: what happened after Serial?. Retrieved
June 7, 2020, from https://www.theguardian.com/tv-and-radio/2019/feb/28/the-
case-against-adnan-syed-what-happened-after-serial
Briscoe, G., & Mulligan, C. (2014). The hackathon phenomenon. Retrieved June 13, 2020,
from https://qmro.qmul.ac.uk/xmlui/bitstream/handle/123456789/11418/Briscoe%
20Digital%20Innovation:%20The%20Hackathon%20Phenomenon%202014%20Publi
shed.pdf?sequence=2
Brooklyn Connections – Brooklyn Public Library. (n.d.). Social Movements Project Packet:
The Lesbian, Gay, Bisexual, and Transgender Movement. Retrieved August 30, 2018,
from https: / / www. bklynlibrary. org/ sites/ default/ files/ documents/ brooklyn-
collection/connections/7_14_16_LGBTQ+%20Project%20Packet.pdf

157
Brunold, A. (2015). Civic education for sustainable development and its consequences for
German civic education didactics and curricula of higher education. Discourse and
Communication for Sustainable Education, 6(1), 30.
Buchanan, T. , & Whitty, M. T. ( 2014) . The online dating romance scam: causes and
consequences of victimhood. Psychology, Crime & Law, 20(3), 261-283.
Cai, Belinda. (2016). Until Citizenship Do We Part: How People Pull off Green Card Marriages.
Retrieved August 22, 2018, from https://www.vice.com/en_us/article/zngkje/until-
citizenship-do-we-part-how-people-pull-off-green-card-marriages
Chan, B. ( 2020) . ‘ I look at their ability, not their disability’ : Dignity Kitchen founder on
training his Hong Kong workforce. Retrieved June 7, 2 0 20, from https: / / www.
scmp. com/ lifestyle/ food- drink/ article/ 3049790/ i- look- their- ability- not- their-
disability-social-enterprise
Chanintorn Pensute. ( 2015) . Candidates, Vote-Canvassers, and Voters in Thai Provincial
Administrative Organisation Elections (Doctoral dissertation, University of Leeds).
Channel 4. (2011, 4 March). The People’s Supermarket [Video file]. Retrieved May 30, 2020,
from https://www.channel4.com/press/news/peoples-supermarket
Chappelow, J. ( 2020) . Sharing Economy. Retrieved June 5, 2 0 20, from https: / / www.
investopedia.com/terms/s/sharing-economy.asp
Che, Jayoung. ( 2017) . Citizenship and the Social Position of Athenian Women in the
Classical Age. A Prospect for Overcoming the Antithesis of Male and Female. Athens
Journal of History, 3(2), 97-118.
Chikhale, S. N. , & Gohad, V. D. ( 2018) . „ Multidimensional Construct About The Robot
Citizenship Law's In Saudi Arabia “. International Journal of Innovative Research and
Advanced Studies (IJIRAS), 5(1), 106-108.
Chu, J. ( 2014) . Mars One ( and done?) . MIT team independently assesses the technical
feasibility of the proposed Mars One mission. Retrieved June 5, 2 0 20, from
http://news.mit.edu/2014/technical-feasibility-mars-one-1014

158
Chung, B. G., & Park, I. (2016). A review of the differences between ESD and GCED in SDGs:
Focusing on the concepts of global citizenship education. Journal of international
Cooperation in Education, 18(2), 17-35.
Coate, Stephen & Glenn C. Loury. (1993). Will Affirmative-Action Policies Eliminate Negative
Stereotypes. American Economic Association, 83(5), 1220-1240.
Collinson, Patrick & Rob Davies. (2018). Q&A: Why is the Turkish lira in freefall and should
we worry?. Retrieved August 25 , 2018, from https: / / www. theguardian. com
/world/2018/aug/12/qa-why-is-the-turkish-lira-in-freefall-and-should-we-worry
Comic Relief. (n.d.). Red Nose Day 2019. Retrieved June 12, 2020, from https://www.
comicrelief.com/rednoseday
___________. (2013). Our History. Retrieved June 12, 2020, from web.archive.org/web/
20130314084851/http://www.comicrelief.com/about-us/our-history
Connective Cities. ( n. d. ) . Andernach-The Eatable City. Retrieved June 9, 2 0 20, from
https://www.connective-cities.net/en/good-practice-details/gutepraktik/andernach-
the-eatable-city-1/
Cordon, M. (2019). Brunei-based legacy planning startup Memori secures additional seed
investment. Retrieved June 10, 2020, from https://www.techinasia.com/memori-
secures-additional-seed-investment
Cornell Law School. ( n. d. ) . Non – profit organizations Retrieved May 29, 2 0 20, from
https://www.law.cornell.edu/wex/non-profit_organizations
Danish Board of Technology. ( 2019) . AI 360: Steering AI for societal benefit. Retrieved
September 2, 2018 from https: / / tekno. dk/ article/ ai-360-steering-ai-for-societal-
benefit/?lang=en
Deth, Jan W. van. (2016). What is Political Participation?. Retrieved September 2, 2018 from
http://politics.oxfordre.com/view/10.1093/acrefore/9780190228637.001.0001/acrefo
re-9780190228637-e-68
Dooley, B & H. Hida. ( 2020) . After Reality Star’ s Death, Japan Vows to Rip the Mask Off
Online Hate. Retrieved June 2, 2 0 20, from https: / / www. nytimes. com/ 2020/
06/01/business/hana-kimura-terrace-house.html
159
Dumper, Michael. ( 1992) . Israeli settlement in the Old City of Jerusalem. Journal of
Palestine Studies, 21(4), 32-53.
Duncan, Pamela. (2017). Gay relationships are still criminalised in 72 countries, report finds.
Retrieved August 30, 2018, from https: / / www. theguardian. com/ world/ 2017/ jul/
27/gay-relationships-still-criminalised-countries-report
Edible Cities Network. (n.d.). Edible Cities Solutions for a better world!. Retrieved June 9,
2020, from https://www.edicitnet.com/cities/
Escobar, Arturo. (1992). Imagining a Post-Development Era? Critical Thought, Development
and Social Movements. Social text, (31/32), 20-56.
European Union. (2018). Data protection and online privacy. Retrieved August 29, 2018,
from https: / / europa. eu/ youreurope/ citizens/ consumers/ internet-telecoms/ data-
protection-online-privacy/index_en.htm
Farrow, R. (2017). From Aggressive Overtures to Sexual Assault: Harvey Weinstein’s Accusers
Tell Their Stories. Retrieved June 12, 2020, from https://www.newyorker.com/news/
news-desk/from-aggressive-overtures-to-sexual-assault-harvey-weinsteins-accusers-
tell-their-stories
Federal Election Commission. (2017). Foreign Nationals. Retrieved April 2, 2 0 22, from
https://www.fec.gov/updates/foreign-nationals/
Ferreira, C. M., & Serpa, S. (2018). Society 5.0 and Social Development. Management and
Organizational Studies (5), 26-31.
Financial Times. (2019). How Lush took on the cosmetics industry [Video file]. Retrieved
June 11, 2 0 20, from https: / / www. ft. com/ video/ 3583e60d- 0cfd- 409e- b8e1-
86799663e73e
Fingleton, Eamonn. ( 2012) . For Third-raters Who Want to Get Into Harvard, It Helps To
Have Parents With $10 million to Grease the Skids. Retrieved August 29, 2018, from
https: / / www. forbes. com/ sites/ eamonnfingleton/ 2012/ 11/ 30/ do-the-ivy-league-
universities-discriminate-against-asian-americans/#3017db39812e

160
Food and Agriculture Organization of the United Nations (FAO). n.d. Food Loss and Food
Waste. Retrieved August 23, 2018, from http: / / www. fao. org/ food-loss-and-food-
waste/en/
_____________________________________________________. (n.d.). Food Loss and Food
Waste. Retrieved June 1 0 , 2 0 20, from http: / / www. fao.org/ food-loss-and-food-
waste/en/
_____________________________________________________. (2019). Understanding the
issue before taking action. Retrieved June 10, 2020, from http://www.fao.org/state-
of-food-agriculture/en/
Forbes. ( n. d) . The World's Most Valuable Brands. Retrieved June 13, 2 0 20, from
https://www.forbes.com/powerful-brands/list/#tab:rank
Fortin, J. (2019). Adnan Syed of ‘Serial’ Is Denied a New Trial by Maryland Court of Appeals.
Retrieved June 7, 2020, from https://www.nytimes.com/2019/03/08/us/adnan-syed-
case-conviction.html
Franken, Leni. (2016). Religious Freedom in Education: The United States Versus Belgium.
Religion & Education, 43(2), 191-207.
Frey, W.H. (2018). The US will become ‘minority white’ in 2045, Census projects. Retrieved
June 2, 2020, from https://www.brookings.edu/blog/the-avenue/2018/03/14/the-us-
will-become-minority-white-in-2045-census-projects/
________. (2019). Six maps that reveal America’s expanding racial diversity. Retrieved June
2, 2020, from https://www.brookings.edu/research/americas-racial-diversity-in-six-
maps/?gclid=CjwKCAjw8df2BRA3EiwAvfZWaJBVCGC_X6x2S6ECg44L1BjWNqsIqYo0ZO
alZfOcSV_CpMwNi6SdpRoChE4QAvD_BwE
Fukuda, K. (2020). Science, technology and innovation ecosystem transformation toward
society 5.0. International Journal of Production Economics, 220, 107460.
Fukuyama, M. ( 2018) . Society 5. 0: Aiming for a new human-centered society. Japan
Spotlight, 1, 47-50.

161
Ganapathy, V. , Mahadevan, P. , & Ravikeerthi, J. V. ( 2016) . An Empirical Study of the
Feasibility of Introducing the Mumbai Dabbawala Food Delivery System in
Bangalore. SAMVAD, 12, 9-22.
Ghonim, Wael. (2012). Revolution 2.0: The Power of the People is Greater than the People
in Power: A Memoir. Boston: Houghton Mifflin Harcourt.
Glusac, M. (2018). The most successful GoFundMe campaigns of all time. Retrieved June
12, 2020, from https://www.insider.com/best-gofundme-campaigns-2018-11
GoFundMe. ( n. d. [ a] ) . Success Stories. Retrieved June 12, 2 0 20, from https: / / www.
gofundme.com/c/success
_________. (n.d. [b]). Fundraising Categories. Retrieved June 12, 2020, from https://www.
gofundme.com/start
_________. ( n. d. [ c] ) . Pricing and Fees. Retrieved June 12, 2 0 20, from https: / / www.
gofundme.com/pricing
_________. (n.d. [d]). TIME'S UP Legal Defense Fund. Retrieved June 12, 2020, from https://
www.gofundme.com/f/timesup
Gorelick, R. ( 2015) . ‘ Serial’ is first – ever podcast to win Peabody award; creator Sarah
Koenig makes Time’s 100 most influential people list [Updated]. Retrieved June 7,
2020, from https://www.baltimoresun.com/features/baltimore-insider/bal-serial-
peabody-podcasts-20150420-story.html
Grameen Foundation. (n.d.). Unleashing the power of the poor. Retrieved June 1, 2020,
from https://grameenfoundation.org/about-us/why-grameen
Granrath, Lorenz. ( 2017) . Japan’ s Society 5. 0: Going Beyond Industry 4. 0. Retrieved
September 2, 2018 from https: / / www. japanindustrynews. com/ 2017/ 08/ japans-
society-5-0-going-beyond-industry-4-0/
Green School. ( n. d. ) . Become a Green School Student. Retrieved June 10, 2 0 20, from
https://www.greenschool.org/bali/admissions/?t=gs.org
Gupta, Sanjeev, Hamid Davoodi, & Erwin Tiongson. (2001). Corruption and the provision of
health care and education services in The Political Economy of Corruption. Jain,
Arvind K. London and New York: Routledge. Pp. 111-141.
162
Hackett, Conrad & David McClendon. ( 2017) . Christians remain world’ s largest religious
group, but they are declining in Europe. Retrieved August 29, 2018, from
http://www.pewresearch.org/fact-tank/2017/04/05/christians-remain-worlds-largest-
religious-group-but-they-are-declining-in-europe/
Hague, Rod & Martin Harrop. (2013). Comparative government and politics (Vol. 9). New
York: Palgrave Macmillan.
Hamdan, Amani. ( 2007) . The Issue of Hijab in France: Reflections and Analysis. Muslim
World Journal of Human Rights, 4(2), 1-27.
Hawthorne, J. ( 2017) . 5 Reasons why donations to the poor may bring bad results! .
Retrieved June 1, 2 0 20, from https: / / businessconnectworld. com/ 2017/ 06/ 07/
donating-to-poor-makes-them-more-poor/
Helliwell, John F., R. Layard, Jeffrey D. Sachs, J. De Neve, L.B. Aknin & S. Wang. (2021).
World Happiness Report 2021. Retrieved April 5, 2022, from
https://worldhappiness.report/ed/2021/
Hersher, R. ( 2016) . 'Mars Mission' Crew Emerges from Yearlong Simulation In Hawaii.
Retrieved June 5, 2020, from https://www.npr.org/sections/thetwoway/2016/08/29/
491794937/mars-mission-crew-emerges-from-yearlong-simulation-in-hawaii
Heywood, A. (2015). Key concepts in politics and international relations. Macmillan
International Higher Education.
Ho, S. ( 2020) . Green School Bali Recognised By World Economic Forum Future Schools
Report. Retrieved June 10, 2 0 20, from https: / / www. greenqueen. com. hk/ green-
school-bali-recognised-world-economic-forum-future-schools-report/
HOST UK Official. (n.d.). About. Retrieved June 7, 2020, from https://www.facebook.com
/pg/HOSTUK/about/?ref=page_internal
Institute of Race Relations. (n.d.). Ethnicity and Religion Statistics. Retrieved June 2, 2020,
from http://www.irr.org.uk/research/statistics/ethnicity-and-religion/
Internal Revenue Service. ( n. d. ) . Immigration Terms and Definitions Involving Aliens.
Retrieved August 22, 2018, from https: / / www. irs. gov/ individuals/ international-
taxpayers/immigration-terms-and-definitions-involving-aliens

163
______________________. (2022). U.S. Citizens and Resident Aliens Abroad. Retrieved
April 2, 2022, from https://www.irs.gov/individuals/international-taxpayers/us-
citizens-and-resident-aliens-abroad
International Monetary Fund ( IMF) . ( 2018) . Inflation rate, average consumer prices.
Retrieved August 25, 2018, from http: / / www. imf. org/ external/ datamapper/
PCPIPCH@WEO/OEMDC/
Internet World Stats. (2018). World Internet Usage and Population Statistics Dec 31, 2017
– Update. Retrieved September 1, 2018, from https://www.internetworldstats.com/
stats.htm
Jacobs, Peter. ( 2013) . RANKED: The Ivy League Schools From Worst To Best. Retrieved
August 29, 2018, from https: / / www. businessinsider. com/ the-ivy-league-schools-
ranked-2013-9
Jager, Chris. (2016). Explained: The 33 Gender Identities Recognised by The Australian Sex
Survey. Retrieved August 30, 2018, from https://www.lifehacker.com.au/2016/07/
explained-the-33-gender-identities-recognised-by-the-2016-australian-sex-survey/
Jasińska-Kania, A. (2009). Exclusion from the nation: Social distances from national
minorities and immigrants. International Journal of Sociology, 39(3), 15-37.
Kann, Laura et al. , ( 2018) . Youth Risk Behavior Surveillance — United States, 2017.
Surveillance Summaries, 67(8), 1-114.
Karlan, D., P. Tantia, & S. Welch. (2019). Behavioral Economics and Donor Nudges: Impulse
or Deliberation? Retrieved May 27, 2 0 20, from https: / / ssir. org/ articles/ entry/
behavioral_economics_and_donor_nudges_impulse_or_deliberation
Klein, A. (2020). The opinion podcast: A visceral form of persuasion. Prompt: A Journal of
Academic Writing Assignments, 4(1), 29-40.
Knapp, Robert C. ( 2011) . Invisible Romans: Prostitutes, Outlaws, Slaves, Gladiators,
Ordinary Men and Women … the Romans that History Forgot. London: Profile Books
LTD.

164
Knorr – Evans, M. (2022). Which countries in Europe and around the world require
military service?. Retrieved April 2, 2022, from
https://en.as.com/en/2022/03/02/latest_news/1646249590_205875.html
Kochenov, D. (2019). Citizenship. Cambridge, MA: The MIT Press.
Kopp, C., Layton, R., Sillitoe, J., & Gondal, I. (2015). The Role of Love stories in Romance
Scams: A Qualitative Analysis of Fraudulent Profiles. International Journal of Cyber
Criminology, 9(2).
Koren, M. ( 2018) . When a Mars Simulation Goes Wrong. Retrieved June 5, 2 0 20, from
https: / / www. theatlantic. com/ science/ archive/ 2018/ 06/ mars- simulation- hi- seas-
nasa-hawaii/553532/
Krug, Etienne G. , Linda L. Dahlberg, James A. Mercy, Anthony B. Zwi & Rafael Lozano.
( 2002) . World report on violence and health. Retrieved September 1, 2018, from
http://apps.who.int/iris/bitstream/handle/10665/42495/9?sequence=1
Law Library of Congress, The. ( 2012) . Citizenship Based on Birth in Country. Retrieved
August 22, 2018, from https: / / www. loc. gov/ law/ help/ citizenship- birth-
country/citizenship-birth-country.pdf
Leane, Geoffrey WG. (2011). Rights of Ethnic Minorities in Liberal Democracies: Has France
Gone Too Far in Banning Muslim Women from Wearing the Burka?. Human Rights
Quarterly, 33, 1032-1061.
Leite, S. (2021). Using the SDGs for global citizenship education: definitions, challenges,
and opportunities. Globalisation, Societies and Education, 1-13.
Lichy, Jessica. (2012). Towards an international culture: Gen Y students and SNS?. Active
Learning in Higher Education, 13(2), 101-116.
Lush. (n.d. [a]). Our Story. Retrieved June 11, 2020, from https://au.lush.com/article/
ourstory#:~:text=LUSH%20Fresh%20Handmade%20Cosmetics%2C%20as,incredible
%20talents%20to%20the%20business.

165
____. (n.d. [b]). 0 Things You Should Know about Lush Packaging. Retrieved June 11, 2020,
from https://www.lushusa.com/stories/article_10-things-lush-packaging.html
____. (n.d. [c]). Charitable Giving. Retrieved June 11, 2020, from https://www.lushusa.com
/charity-pot.html
____. (2017). How To Use: Wash Cards | Lush [Video file]. Retrieved June 11, 2020, from
https://www.youtube.com/watch?v=iWeCJMiIb1w
Lynch, Ashley., Thomas Best, Sarah Catherine Gutierrez, & Joshua A. Daily. (2018). What
should I do with my student loans? A proposed strategy for educational debt
management. Journal of graduate medical education, 10(1), 11-15.
Lyubomirsky, Sonja. ( 2008) . The How, What, When, and Why of Happiness. Retrieved
September 1, 2018, from http: / / sonjalyubomirsky. com/ files/ 2012/ 09/ Layous-
Lyubomirsky-in-press.pdf
Marquis, C. , & Park, A. ( 2014) . Inside the buy- one give- one model. Stanford Social
Innovation Review, Winter: 28-33
Mars One. (n.d.). Roadmap. Retrieved June 5, 2020, from http://www.mars-one.com/
mission/roadmap
Marshall, T. H. (1950). Citizenship and social class (Vol. 11). Cambridge.
Mauro, Paolo. (1995). Corruption and growth. The quarterly journal of economics, 110(3),
681-712.
McKie, A. ( 2020) . SOAS faces ‘ viability problems’ amid pandemic crisis, director warns.
Retrieved June 11, 2020, from https://www.timeshighereducation.com/news/soas-
faces-viability-problems-amid-pandemic-crisis-director-warns#survey-answer
me too. (n.d.). Vision. Retrieved September 2, 2018 from https://metoomvmt.org/
Meltzer, Tom. ( 2013) . Want to buy citizenship? It helps if you're one of the super-rich.
Retrieved August 22, 2018, from https://www.theguardian.com/uk-news/shortcuts
/2013/dec/10/want-to-buy-citizenship-super-rich-malta-passports
Memori. (n.d. [b]). A safe place for your documents and data. Retrieved June 10, 2020,
from https://memori.io/vault

166
Memori. (n.d. [a]). How to make a Will online in 4 simple steps with Memori. Retrieved
June 10, 2020, from https://memori.io/will
Mendelsohn, Michael. (2008). Positive Psychology: The Science of Happiness. Retrieved
August 28, 2018, from https://abcnews.go.com/Health/story?id=4115033&page=1
Merriam – Webster. ( n. d. ) . Corruption. Retrieved August 29, 2018, from https: / / www.
merriam-webster.com/dictionary/corruption
Mockus, Antanas. ( 2015) . The Art of Changing a City. Retrieved May 30, 2 0 20, from
https://www.nytimes.com/2015/07/17/opinion/the-art-of-changing-a-city.html
Montanaro, D. ( 2019) . Democratic Candidates Call Trump A White Supremacist, A Label
Some Say Is 'Too Simple'. Retrieved June 2, 2020, from https://www.npr.org/2019/
08/15/751215391/democratic-candidates-call-trump-a-white-supremacist-a-label-
some-say-is-too-sim

Morris, Bonnie J. ( n. d. ) . History of Lesbian, Gay, Bisexual and Transgender Social


Movements. Retrieved August 30, 2018, from
http: / / www. apa. org/ pi/ LGBTQ+/ resources
/history.aspx
Muslim engagement & development. (2019). Prayer. Spaces in Schools. Retrieved June 2,
2020, from https://www.mend.org.uk/prayer-spaces-schools/
Myers, Joe. (2016). Countries where you can buy citizenship. Retrieved August 22, 2018,
from https://www.weforum.org/agenda/2016/07/countries-selling-citizenship/
Nash, Kieran. ( 2017) . The Difference between an Expat and an Immigrant Semantics.
Retrieved August 22, 2018, from http://www.bbc.com/capital/story/20170119-who-
should-be-called-an-expat
National Center for Constitutional Studies. (n.d.). The Bill of Rights (Amendments 1-10).
Retrieved August 29, 2018, from https: / / nccs. net/ blogs/ americas- founding-
documents/bill-of-rights-amendments-1-10
National Conference of State Legislatures. (2021). Felon Voting Rights. Retrieved April 2,
2022, from https://www.ncsl.org/research/elections-and-campaigns/felon-voting-
rights.aspx
167
Newsome, L. K. , & Cooper, P. ( 2016) . International Students’ Cultural and Social
Experiences in a British University: “ Such a hard life [ it] is here” . Journal of
International Students, 6(1), 195-215.
Nishimura, S. , Nevgi, A. , & Tella, S. ( 2008) . Communication style and cultural features in
high/ low context communication cultures: A case study of Finland, Japan and
India. Teoksessa A. Kallioniemi ( toim. ) , Uudistuva ja kehittyvä ainedidaktiikka.
Ainedidaktinen symposiumi, 8(2008), 783-796.
O’ Connor, Sarah. ( 2014) . World will have 13 ‘ super-aged’ nations by 2020. Retrieved
August 27, 2018, from https: / / www. ft. com/ content/ f356f8a0- 1d8c- 11e4- 8f0c-
00144feabdc0
O’ Hear, S. ( 2018) . Olio, the app that lets you share unwanted food items with your
neighbours, pick up £6M Series A. Retrieved June 10, 2020, from https://techcrunch.
com/2018/07/11/olio/
Ocean Conservancy & McKinsey Center for Business and Environment. (2017). Stemming
the Tide: Land-based strategies for a plastic-free ocean. Retrieved August 26, 2018,
from https: / / oceanconservancy. org/ wp- content/ uploads/ 2 0 1 7 / 0 4 / full- report-
stemming-the.pdf
Office of the Historian. ( n. d. ) . Creation of Israel, 1948. Retrieved August 30, 2018, from
https://history.state.gov/milestones/1945-1952/creation-israel
Olio. (n.d. [a]). Our Story. Retrieved June 10, 2020, from https://olioex.com/about/our-
story/
____. (n.d. [b]). Our Impact. Retrieved June 10, 2020, from https://olioex.com/about/our-
impact/
Ono, Hiroshi. (2018). Why do the Japanese work long hours. Sociological perspectives on
long working hours in japan. Japan labor issues, 2(5), 35-49.
OpenSecrets.org. (n.d.). Cost of Election. Retrieved May 29, 2020, from https://www.
opensecrets.org/overview
Optimist. ( n. d. ) . Optimist’ s Films Have Changed 275,616 Lives and Counting. Retrieved
June 1, 2020, from https://optimist.co/impact/

168
Pathak, G. S. (2010). Delivering the Nation: The Dabbawala s of Mumbai. South Asia: Journal
of South Asian Studies, 33(2), 235-257.
People of London. (2015, 23 January). Arthur Potts Dawson – The People’s Supermarket
– People of London [ Video file] . Retrieved May 30, 2 0 20, from https: / / www.
youtube.com/watch?v=GOGLr6dUl1k&t=27s

Phipps, Alison., Jessica Ringrose, Emma Renold, & Carolyn Jackson. (2018). Rape culture,
lad culture and everyday sexism: Researching, conceptualizing and politicizing new
mediations of gender and sexual violence. Journal of Gender Studies, 27(1), 1-8.

Pikulicka-Wilczewska, A. (2022). ‘We are going to defend ourselves’: Ukrainians join war
front. Retrieved April 2, 2022, from https://www.aljazeera.com/news/2022/2/27/we-
are-going-to-defend-ourselves-ukrainians-join-war-front
Porter, Michael E. , Scott Stern, & Michael Green. ( 2017) . Social Progress Index 2017.
Retrieved August 28, 2018, from https: / / www. socialprogressindex. com/ assets/
downloads/ resources/ en/ English- 2017- Social- Progress- Index- Findings-
Report_embargo-d-until-June-21-2017.pdf
Poverty, Inc. (n.d.). Meet the Filmmakers. Retrieved June 1, 2020, from https://www.
povertyinc.org/
PovertyCure. (2014). Poverty, Inc. Official Trailer [Video file]. Retrieved June 1, 2020, from
https://www.youtube.com/watch?v=aqGQ1IRhdzg
Project Dignity. ( n. d. ) . About Project Dignity. Retrieved June 7, 2 0 20, from https: / /
projectdignity.sg/about-us/
Radu, M. B., & McManus, L. (2019). Bridging Social Capital through the Techno-subsystem:
A Qualitative Analysis of GoFundMe Requests for Hurricane Relief. Journal of Family
Strengths, 19(1), 9.
Raghunathan, Raj. (2016). If You're So Smart Why Aren't You Happy. London: Portfolio.
Robinson, Melia. ( 2017) . A photographer captured these shocking photos of one of the
world's most densely populated slums. Retrieved August 25 , 2018, from
https://www.businessinsider.com/aerial-photos-manila-slums-bernhard-lang-2017-7

169
Rosen, Jeffrey. (2012). The Right to be Forgotten. Stanford Law Review Online, 64(88), 88-92.
Sanchez, Carolina. (2017). From local to global: China’s role in global poverty reduction
and the future of development (Speech and Transcripts). Retrieved August 23, 2018,
from https://www.worldbank.org/en/news/speech/2017/12/07/from-local-to-global-
china-role-global-poverty-reduction-future-of-development
Sandel, Michael J. (2009). Justice: What's The Right Thing To Do? Episode 01 "The Moral
Side of Murder" . Retrieved August 28, 2018, from https: / / www. youtube. com/
watch?v=kBdfcR-8hEY&t=195s
SANDEMANs New Europe. ( n. d. ) . Who are SANDEMANs?. Retrieved June 5, 2 0 20, from
https://www.neweuropetours.eu/about-us/
Scott, James Brown. ( 1930) . Nationality: jus soli or jus sanguinis. American Journal of
International Law, 24(1), 58-64.
Seattle.gov. (n.d.). Purpose and authority Retrieved May 29, 2020, from https://library.
municode.com/wa/seattle/codes/municipal_code?nodeId=TIT2EL_CH2.04ELCACO_
SUBCHAPTER_VIIIHOELSE_2.04.600PUAU
_________. ( 2019) . Democracy Voucher Program. Retrieved May 29, 2 0 20, from
http://www.seattle.gov/democracyvoucher/program-data
Serial. (n.d.). Serial Tells One Story – A True Story. Retrieved June 7, 2020, from https://
serialpodcast.org/about
_____. (2014). Season 1 All Episodes Fall 2014 [Audio file]. Retrieved June 7, 2020, from
https://serialpodcast.org/season-one
Shattock, M. , & Berdahl, R. ( 1984) . The British University Grants Committee 1919– 83:
Changing relationships with government and the universities. Higher Education, 13(5),
471-499.
Shleifer, Andrei, & Vishny, Robert W. ( 1993) . Corruption. The quarterly journal of
economics, 108(3), 599-617.

170
SOAS. ( n. d. ) . International Students. Retrieved June 11, 2 0 20, from https: / / www.
soas.ac.uk/international/

Social Enterprise Alliance. (n.d.). Social Enterprise What is Social Enterprise?. Retrieved May
29, 2020, from https://socialenterprise.us/about/social-enterprise/
Social Enterprise UK. ( n. d. ) . What is it all about? Retrieved May 29, 2 0 20, from
https://www.socialenterprise.org.uk/what-is-it-all-about/
Sommarat Chantarat, Atchana Lamsam, Krislert Samphantharak & Bhumjai Tangsawasdirat.
(2017). Thailand’s Household Debt through the Lens of Credit Bureau Data: Debt
and Delinquency. Retrieved August 22, 2018, from https: / / www. pier. or. th/ wp-
content/uploads/2017/08/pier_dp_061.pdf
Sorell, T. , & Whitty, M. ( 2019) . Online romance scams and victimhood. Security
Journal, 32(3), 342-361
Spiro, P. J. (2020). Citizenship: What Everyone Needs to Know. Oxford University Press.
Stack, Liam. (2017). Burqa Bans: Which Countries Outlaw Face Coverings?. Retrieved August
30, 2018, from https://www.nytimes.com/2017/10/19/world/europe/quebec-burqa-
ban-europe.html
Startup Brunei. (n.d.). How it all works. Retrieved June 10, 2020, from https://startupbrunei
.com/#whatwedo
Stelter, B. and D. O’ Sullivan. ( 2020) . Trump tweets threat that 'looting' will lead to
'shooting. ' Twitter put a warning label on it. Retrieved June 2, 2 0 20, from
https://edition.cnn.com/2020/05/29/tech/trump-twitter-minneapolis/index.html
Stopbullying. gov. ( 2018) . What Is Cyberbullying. Retrieved September 1, 2018, from
https://www.stopbullying.gov/cyberbullying/what-is-it/index.html
Styllis, George. (2018). Thailand falling behind in global battle with plastic waste. Retrieved
August 26, 2018, from https://asia.nikkei.com/Economy/Thailand-falling-behind-in-
global-battle-with-plastic-waste
Swartz, L., & Watermeyer, B. (2008). Cyborg anxiety: Oscar Pistorius and the boundaries of
what it means to be human. Disability & Society, 23(2), 187-190.

171
Sweney, Mark. ( 2019) . Sainsbury’ s falls behind Asda to become UK's third biggest
supermarket chain. Retrieved May 30, 2020, from https://www.theguardian.com/
business/2019/apr/02/sainsburys-asda-uk-supermarket-aldi-lidl#maincontent
Teather, D. (2007). Lush couple with a shed load of ideas. Retrieved June 11, 2020, from
https://www.theguardian.com/business/2007/apr/13/retail2
TED. (2010). Arthur Potts Dawson: A vision for sustainable restaurant [Video file]. Retrieved
May 30, 2020, from https://www.youtube.com/watch?v=eJ89At9Xxws
TEDx Talks. (2011). TEDxBuenos Aires 2011 – Chris Temple & Zach Ingrasci-Viviendo con
un dólar por día [Video file]. Retrieved June 1, 2020, from https://www.youtube.com
/watch?v=RLh5CRUecfY
The Faculty of Law. Montevideo Convention on the Rights and Duties of States. (n.d.).
Retrieved February 7, 2022, from
https://www.jus.uio.no/english/services/library/treaties/01/1-02/rights-duties-
states.xml
The Guardian. ( 2013) . Antanas Mockus: Columbians fear ridicule more than being fined.
Retrieved May 30, 2 0 20, from https: / / www. theguardian. com/ public- leaders-
network/2013/oct/28/antanas-mockus-bogota-mayor
The Habitat [Audio podcast]. (2018). Retrieved June 5, 2020, from https://gimletmedia.
com/shows/the-habitat
The Harvard Gazette. (2004). Academic turns city into a social experiment. Retrieved May
30, 2020, from https://news.harvard.edu/gazette/story/2004/03/academic-turns-city-
into-a-social-experiment/
The Medical Futurist. (2017). The World’s Most Famous Real-Life Cyborgs Retrieved May
30, 2 0 20, from https: / / medicalfuturist. com/ the- worlds- most- famous- real- life-
cyborgs/
The New York Times. (2020). New video shows Minneapolis police arrest of George Floyd
before death [Video file]. Retrieved June 2, 2020, from https://www.youtube.com
/watch?v=ZWzkgKPZWcw

172
The Policy of Assimilation. (1961). Decisions of Commonwealth and State Ministers at the
Native Welfare Conference, Canberra, January 26th and 27th, 1961. Retrieved August
30, 2018, from https: / / aiatsis. gov. au/ sites/ default/ files/ catalogue_resources
/18801.pdf
The United Nations High Commissioner for Refugees (UNHCR). (n.d. [a]). Figures at a Glance.
Retrieved June 7, 2020, from https://www.unhcr.org/figures-at-a-glance.html
_______________________________________________________. ( n. d. [ b] ) . What is a
Refugee?. Retrieved June 7, 2 0 20, from https: / / www. unhcr. org/ afr/ what- is- a-
refugee.html
_______________________________________________________. ( n. d. [ c] ) . Asylum –
Seekers. Retrieved June 7, 2020, from https://www.unhcr.org/asylum-seekers.html
The World Bank. (2018). Nearly Half the World Lives on Less than $5.5 a Day. Retrieved
June 1, 2020, from https://www.worldbank.org/en/news/press-release/2018/10/17/
nearly-half-the-world-lives-on-less-than-550-a-day
Thomke, S. H., & Sinha, M. (2010). The Dabbawala Dystem: On-Time Delivery, Every Time.
Retrieved June 13, 2 0 20, from https: / / www. hbs. edu/ faculty/ Pages/ item. aspx?
num=38410
Time. (n.d.). Top 10 Nonviolent Protests. Retrieved September 1, 2018, from http://content
.time.com/time/photogallery/0,29307,1887394,00.html
TOMS. (n.d.). How We Give. Retrieved June 1, 2020, from https://www.toms.com/impact
Transparency International. (2016). How to Stop Corruption: 5 Key Ingredients. Retrieved
October 31, 2020, from https: / / www. transparency. org/ en/ news/ how- to- stop-
corruption-5-key-ingredients#
_______________________. (2022). Corruption Perceptions Index 2021. Retrieved April 2,
2022, from https://www.transparency.org/en/cpi/2021
Travis, Alan. ( 2011) . Gay marriage v civil partnership: what's the difference?. Retrieved
August 30, 2018, from https: / / www. theguardian. com/ world/ 2011/ feb/ 17/ gay-
marriage-civil-partnerships

173
Treerutkuarkul, Apiradee. ( 2017) . Moving Thailand's mountain of alcohol-related harm.
World Health Organization. Bulletin of the World Health Organization, 95(7), 487.
Treisman, Daniel. (2000). The causes of corruption: a cross-national study. Journal of public
economics, 76(3), 399-457.
Turner, C. ( 2019) . More than half of young people are going to university for the
first time, figures reveal. Retrieved June 11, 2020, from https://www.telegraph
.co.uk/news/2019/09/26/half-young-people-going-university-first-time-figures-reveal/
U. S. Citizenship and Immigration Services. ( 2018) . Citizenship Through Naturalization.
Retrieved August 22, 2018, from https: / / www. uscis. gov/ us-citizenship/ citizenship-
through-naturalization
UCL. (n.d. [a]). UK/EU students' fees. Retrieved June 11, 2020, from https://www.ucl.ac.uk/
prospective-students/undergraduate/fees-and-funding/tuition-fees/ukeu-students-
fees
___. (n.d. [b]). Overseas students' fees. Retrieved June 11, 2020, from https://www.ucl.ac.
uk/ prospective- students/ undergraduate/ fees- and- funding/ tuition- fees/ overseas-
students-fees
___. (2014). UCL and the Institute of Education confirm merger. Retrieved June 11, 2020,
from https://www.ucl.ac.uk/news/2014/nov/ucl-and-institute-education-confirm-
merger
UK Council for International Student Affairs. ( 2 0 1 9 ) . International student statistics: UK
higher education. Retrieved June 7, 2020, from https://www.ukcisa.org.uk/Research-
-Policy/Statistics/International-student-statistics-UK-higher-education
UNHCR Teaching About Refugees. (2017). Who is an Internally Displaced Person [Video
file]. Retrieved June 7, 2020, from https://www.youtube.com/watch?time_continue
=24&v=DCzpVQkencw&feature=emb_logo
United Nations, Department of Economic and Social Affairs, Population Division. ( 2017) .
World Population Prospects: The 2017 Revision, Key Findings and Advance Tables.
Working Paper No. ESA/P/WP/248.

174
United Nations, Department of Economic and Social Affairs, Sustainable Development.
(n.d.). Overview. Retrieved October 31, 2020, from https://sdgs.un.org/goals/goal1
United Nations, Educational, Scientific and Cultural Organization ( UNESCO) , The. ( n. d. ) .
What do we mean by “youth”? Retrieved August 24, 2018, from http://www.unesco
.org/new/en/social-and-human-sciences/themes/youth/youth-definition/
United Nations. ( n. d. ) . Growth in United Nations membership, 1945-present. Retrieved
August 28, 2018, from http: / / www. un. org/ en/ sections/ member- states/ growth-
united-nations-membership-1945-present/index.html
_____________. (2014). World Economic Situation and Prospects 2014. Retrieved August
25, 2018, from unctad.org/en/PublicationsLibrary/wesp2014_en.pdf
_____________. (2017). Progress towards the Sustainable Development Goals Report of
the Secretary- General. Retrieved August 23, 2018, from www. un. org/ ga/ search/
view_doc.asp?symbol=E/2017/66&Lang=E
United States Census Bureau. ( 2018) . Quick Facts. Retrieved June 2, 2 0 20, from
https://www.census.gov/quickfacts/fact/table/US/IPE120218
_____________________________. ( 2018) . U. S. and World Population Clock. Retrieved
August 25, 2018, from https://www.census.gov/popclock/
United States Holocaust Memorial Museum. (n.d.). What is Genocide?. Retrieved August
28, 2018, from https://encyclopedia.ushmm.org/content/en/article/what-is-genocide
Universities UK. ( 2016) . University Funding Explained. Retrieved June 11, 2 0 20, from
https: / / www. universitiesuk. ac. uk/ policy- and- analysis/ reports/ Documents/ 2016/
university-funding-explained.pdf
USA Today. (2012). Oscar Pistorius makes history, leaves without medal. Retrieved May 30, 2020,
from https: / / web. archive. org/ web/ 20120811151754/ http: / / www. usatoday. com/
sports/olympics/london/track/story/2012-08-10/4x400-relay-oscar-pistorius-south-
afric/56946372/1
Uvin, Peter. (1996). Tragedy in Rwanda: The political ecology of conflict. Environment,
38(3), 7-29.

175
Vasilogambros, M. (2018). Thousands Lose Right to Vote Under 'Incompetence' Laws.
Retrieved April 2, 2022, from https://www.pewtrusts.org/en/research-and-
analysis/blogs/stateline/2018/03/21/thousands-lose-right-to-vote-under-
incompetence-laws
Violence Prevention Alliance. ( n. d. ) . Definition and typology of violence. Retrieved
September 1, 2018, from http: / / www. who. int/ violenceprevention/ approach/
definition/en/
Wakabayashi, Mami. , Rebecca McKetin, Cathy Banwell, Vasoontara Yiengprugsawan,
Matthew Kelly, Sam-ang Suebsman, Hirayasu Iso, Adrian Sleigh, & Thai Cohort Study
Team (2015). Alcohol consumption patterns in Thailand and their relationship with
non-communicable disease. BMC public health, 15(1), 1297.
Warwick, K. ( 2003) . Cyborg morals, cyborg values, cyborg ethics. Ethics and information
technology, 5(3), 131-137.
Wells, Tom. (1999). The Anti-War Movement in the United States. Retrieved September 2,
2018 from http://www.english.illinois.edu/maps/vietnam/antiwar.html
Whitehead, H. (2019). UK ranked as the fifth most generous country by GoFundMe report.
Retrieved June 12, 2020, from https://www.civilsociety.co.uk/news/gofundme-s-
annual-giving-report-places-the-uk-in-the-top-five-most-generous-countries.html
Wikipedia. ( n. d. ) . Murder of Hae Min Lee. Retrieved June 7, 2 0 20, from https: / / en.
wikipedia.org/wiki/Murder_of_Hae_Min_Lee#Jay_Wilds
________. (n.d.). Terrace House (franchise). Retrieved June 2, 2020, from https://en.
wikipedia.org/wiki/Terrace_House_(franchise)
________. (n.d.). Couchsurfing. Retrieved June 5, 2020, from https://en.wikipedia.org/wiki
/CouchSurfing
Will Millard. (2018). My Year with the Tribe. Retrieved August 29, 2018, from https://www.
bbc.co.uk/programmes/p065jqfz
Wong, A. (2018). Brunei legacy planning startup Memori secures USD 100,000 in investment.
Retrieved June 10, 2020, from https://www.bizbrunei.com/2018/12/brunei-legacy-
planning-startup-memori-secures-usd-100000-in-investment/
176
World Bank, The. (2015). FAQs: Global Poverty Line Update. Retrieved August 23, 2018,
from http://www.worldbank.org/en/topic/poverty/brief/global-poverty-line-faq
World Economic Forum. (2020). Schools of the Future Defining New Models of Education
for the Fourth Industrial Revolution. Retrieved June 10, 2020, from http://www3.
weforum.org/docs/WEF_Schools_of_the_Future_Report_2019.pdf
World Health Organization (WHO). (2016). Road Safety Institutional and Legal Assessment
Thailand December 2015. Retrieved August 26, 2018, from http: / / www. searo.
who.int/thailand/areas/rs-legal-eng11.pdf
__________________________. (2018). Total consumption, projected estimates for 2016
by country. Retrieved August 26, 2018, from http: / / apps. who. int/ gho/ data/
node.main.A1041?lang=en
Yuval-Davis, Nira. (1991). The citizenship debate: Women, ethnic processes and the state.
Feminist Review, 39(1), 58-68.

177

You might also like