Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 20

1

อวสานสมเด็จเจ้ าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่ วง บุนนาค)


วิภสั เลิศรัตนรังษี๑

ธรรมดาของนักการเมือง หากอานาจวาสนายังน้ อย ตัวยังเล็ก ศัตรู คู่แข่ งย่ อมน้ อยและเล็ก แต่ ถ้ามีอานาจ
วาสนายิ่งใหญ่ ศั ตรู คู่แข่ งย่ อมยิ่งใหญ่ เข้ มแข็ง และมีจานวนมากยิ่งขึ้น อานาจวาสนากับศั ตรู คู่ล้างคู่ผลาญจึง
เป็ นของคู่กัน ประดุจกลางวันคู่กับกลางคืน กฎธรรมดามีอยู่เช่ นนี้ ต่ อให้ เจ้ าพระยาหรื อเจ้ าฟ้ าเจ้ าแผ่ นดินก็ไม่ มี
ละเว้น
ฉะนั้นแล้ว สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรี สุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค, ๒๓๕๑-๒๔๒๕) เสนาบดีผูเ้ คยถื อ
อาญาสิ ทธิ์ดุจเจ้าชีวิตที่สั่งประหัตประหารผูค้ นได้ ย่อมจะต้องมีคู่ขดั แย้งทางการเมืองที่สูงส่ งตามอานาจวาสนา
ของท่านด้วย เมื่อกวาดตาดูทวั่ ราชสานักก็มิเห็นว่าผูใ้ ดจะต่อกรกับท่านได้อย่างสมน้ าสมเนื้ อ นอกเสี ยจากพระ
เจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ (ครองราชย์ ๒๔๑๑-๒๔๕๓) ทาให้ตลอดระยะเวลากว่า ๑๔ ปี หรื อคิดเป็ นราว ๑ ใน ๓
ของรัชสมัยอันยาวนานของพระองค์ เราจะพบเห็นการช่วงชิ งอานาจระหว่างเสนาบดีกับพระเจ้าอยู่หัว เป็ น
ระยะๆ แต่ก็ไม่เคยมีครั้งใดเลยที่จะปะทะกันจนแตกหัก เพราะทุกๆ ครั้งมักจบลงด้วยการประนี ประนอมอย่างที่
ชนชั้นนาไทยช่าชองโดยเสมอ
แต่การช่วงชิงอานาจที่ว่านี้ ก็มาถึงจุดเปลี่ยนในปี พ.ศ.๒๔๒๒ เมื่อไม่มีอานาจอื่นใดที่จะล้มล้างอานาจ
ของสมเด็จเจ้าพระยาฯ ได้อีกแล้ว จึงคงเหลือแต่ปัญหาสุ ขภาพที่ พอจะคุกคามอานาจของท่านได้ ช่วงชีวิ ตของ
สมเด็จเจ้าพระยาฯ ในตอนนี้จึงไม่ต่างอะไรกับดวงอาทิตย์ที่กาลังผ่านพ้นช่วงเที่ยงวัน เข้าสู่ ช่วงบ่ายคล้อยก่อนที่
จะลับขอบฟ้า ชวนให้นึกถึงพระนิพนธ์ของกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ใน “สามกรุ ง” อยูต่ อนหนึ่งว่า “วัยงายบุญบ่าย
ใกล้ สายัณห์ ดวจดัง่ อาทิตย์อนั อ่อนแล้ว บารมีบ่มีวนั ไวโรจน์ อีกเลย ยังจะหับดับแด้ว ดึ่งดั้นอันธการฯ”๒
(๑)
สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรี สุริยวงศ์ (ช่วง) เกิดในปี สุ ดท้ายของรัชกาลที่ ๑ ถวายตัวเป็ นมหาดเล็กใน
สมัยรัชกาลที่ ๒ ตอนปลายรัชกาลที่ ๓ ได้เลื่อนจากจมื่นไวยวรนารถเป็ น “พระยาศรี สุริยวงศ์” จางวางมหาดเล็ก


นักศึกษาปริ ญญาเอก สาขาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ทั้งนี้ผเู ้ ขียนต้องขอขอบพระคุณคุณชัยวุฒิ ตันไชย และคุณปราน จินตะเวช ที่ได้
ร่ วมสนทนา แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ตลอดจนเอื้อเฟื้ อหลักฐานสาหรับการเขียนบทความนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ฉันทามติจุฬาลงกรณ์” นั้นเป็ นคาที่
คุณชัยวุฒิเสนอไว้ในวงสนทนา จึงได้นามาทดลองเสนอไว้ในบทความด้วย ความดีความชอบใดๆ ของบทความนี้ หากพึงจะมี ขอให้ระลึกถึงสอง
ท่านในข้างต้นด้วยเช่นกัน ส่วนความผิดพลาดประการใดๆ อันเกิดจากการตีความก็ดี หรื ออ่านหลักฐานคลาดเคลื่อนก็ดี ผูเ้ ขียนก็ขอน้อมรับไว้แต่เพียง
ผูเ้ ดียว

พิทยาลงกรณ, พระราชวรวงศ์เธอ, สามกรุง, (กรุ งเทพฯ: คลังวิทยา, ๒๕๑๘), น.๑๔๑.
2

เมื่อมีการเปลี่ยนผ่านรัชสมัย บิดาของท่านได้เลื่อนขึ้นเป็ นสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์ (ดิศ บุนนาค,


๒๓๓๑-๒๓๙๘) จึงทรงพระกรุ ณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนพระยาศรี สุริยวงศ์ข้ ึนเป็ น “เจ้าพระยา” ในราชทินนาม
เดิม และให้วา่ ที่สมุหพระกลาโหมไปก่อน ครั้นบิดาท่านถึงแก่พิราลัยในปี พ.ศ.๒๓๙๘ จึงได้วา่ ราชการกรมพระ
กลาโหมเต็มตาแหน่ง
ในช่วงปลายรัชกาลที่ ๔ นี้ เองที่เจ้าพระยาศรี สุริยวงศ์รวบอานาจการนาในรัฐบาลได้สาเร็ จ เมื่อสมเด็จ
เจ้าพระยาบรมมหาพิ ไ ชยญาติ (ทัต บุ นนาค, ๒๓๓๔-๒๔๐๐) และพระบาทสมเด็ จพระปิ่ นเกล้า เจ้า อยู่ หั ว
(๒๓๕๑-๒๔๐๘) ถึงแก่พิราลัยและสวรรคต ทาให้การผลัดแผ่นดินที่มาถึงในคืนวันที่ ๑ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๑๑
เจ้าพระยาศรี สุริยวงศ์จึ งเสนาบดีผูใ้ หญ่เพียงหนึ่ งเดียวควบคุมการเปลี่ยนผ่านรัชกาล แตกต่างไปจากรัชกาล
ก่อนที่ยงั มีเสนาบดีผใู ้ หญ่หลายท่านร่ วมกันตัดสิ นใจ๓ และเหตุที่พระเจ้าอยู่หัวพระองค์ใหม่มีพระชนมายุเพียง
๑๕ พรรษา อีกทั้งยังประชวรหนัก ทาให้ราชสานักขาดการนาไม่ต่างกับอยูใ่ นภาวะสุ ญญากาศ ที่ประชุมเจ้านาย
เสนาบดี และพระราชาคณะ จึงตกลงให้เจ้าพระยาศรี สุริยวงศ์เป็ นผูส้ าเร็จราชการแผ่นดินไปจนกว่าพระเจ้าอยู่หัว
จะมีพระชนมายุครบ ๒๐ พรรษา ด้วยเหตุน้ ี เอง การถ่ายโอนอานาจจึ งไม่เสร็ จสิ้ นในคืนนั้น หากแต่ลากยาว
ออกไปเกือบ ๕ ปี เลยทีเดียว
(๒)
เมื่อเจ้าพระยาศรี สุริยวงศ์ขยับไปเป็ นผูส้ าเร็ จราชการแผ่นดินแล้ว ตาแหน่งสมุหพระกลาโหมที่ว่างอยูก่ ็
ได้ม อบให้ “เจ้าคุ ณทหาร” หรื อเจ้าพระยาสุ รวงศ์ไ วยวัฒน์ (วร บุ นนาค, ๒๓๗๑-๒๔๓๑) บุ ตรชายได้สื บ
ตาแหน่งต่อ ส่ วนเสนาบดีกรมท่ า ก็ให้ไปเรี ยกเอาตราประทับบัวแก้วคืนจากกรมขุนวรจักรธรานุภาพ (๒๓๕๙-
๒๔๑๕) ซึ่ งขัดแย้งกับท่านเรื่ องการสถาปนาวังหน้า ไปมอบให้ให้เจ้าพระยาทิพากรวงศ์มหาโกษาธิ บดี (ขา
บุนนาค, ๒๓๕๖-๒๔๑๓) น้องชายต่างมารดาของท่าน แต่หลังจากว่าราชการกรมท่าได้เพียงปี เดียว เจ้าพระยา
ทิ พ ากรวงศ์ถึ ง แก่ อสั ญกรรม ตาแหน่ ง ถู ก ส่ ง มอบให้กับ เจ้า พระยาภาณุ วงศ์ม หาโกษาธิ บ ดี (ท้วม บุ นนาค,
๒๓๗๓-๒๔๕๖) หรื อ “เจ้าคุณกรมท่า” น้องชายต่างมารดาอีกคนของท่านเป็ นเสนาบดีแทน
นอกจากระดับเสนาบดีจตุสดมภ์แล้ว เจ้าพระยาศรี สุริยวงศ์ก็ยงั มีขุนนางคู่ใจในทานอง ๔ ปุโรหิ ตคือ
พุ่ม, พุก, จันทร์ และเนียม ทั้ง ๔ ท่านเป็ นขุนนางมากฝี มือในด้านต่างๆ อาทิ กฎหมาย กระบวนราชการ การสื บ


จอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั , พระบาทสมเด็จพระ, พระราชหัตถเลขาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้ าอยู่หัว, (กรุ งเทพฯ: องค์การค้าของคุรุสภา, ๒๕๔๗),
น.๒๔๓.
3

จับโจรผูร้ ้าย กระทัง่ การค้าขาย ส่วนเส้นสนกลในในราชสานักก็ยงั มีเจ้าจอมมารดาพึ่ง พระมารดาของกรมหลวง


พิชิตปรี ชากร (๒๓๙๘-๒๔๕๒) คอยเป็ นหูเป็ นตาให้กบั ท่านด้วย๔
(๓)
แม้วา่ การถ่ายโอนอานาจให้กบั ยุวกษัตริ ยใ์ นรอบนี้ ดูจะราบรื่ นกว่าครั้งใดๆ ในประวัติศาสตร์ จนอาจจะ
กล่าวได้ว่าเป็ นผลงานของเจ้าพระยาศรี สุริยวงศ์ก็ว่าได้ แต่ถา้ มองจากมุมของคนร่ วมสมัย โดยเฉพาะกับฝ่ ายราช
สานักที่ขาดการนาในช่วงเวลาดังกล่าวแล้ว ความไม่ชดั เจนว่าผูส้ าเร็ จราชการจะมา “ค้ า” หรื อ “โค่น” พระราช
บัลลังก์ได้กลายเป็ นเมฆหมอกที่ ปกคลุมไปทัว่ ราชสานัก เพราะพงศาวดารมักกล่าวว่าการถ่ายโอนอานาจสู่ ยุ
วกษัตริ ยม์ กั จะไม่ราบรื่ น ความหวาดกลัวว่ากงล้อประวัติศาสตร์ จะซ้ ารอยเช่นนี้ ไปปรากฏในโคลงมหามงกุฎ
ราชคุณานุสรณ์ พระนิ พนธ์ของกรมพระนราธิ ปประพันธ์พงศ์ (๒๔๐๔-๒๔๗๔) ที่ว่า “ปางจอมถวัลราชเจ้า
เยาว์วยั ฉะนี้นา ศรี สุริยวงศ์เจ้าพระยา หย่งดิ้น สาเร็จราชการไผท รับพระ ประศาสน์ท่าน ต่างหวาดพลาดแล้ว
สิ้น พระวงศ์ ฯ”๕
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส (๒๔๐๓-๒๔๖๔) ตรัสเล่าว่าความสัมพันธ์เชิ ง
อานาจระหว่างผูส้ าเร็ จราชการแผ่นดินกับบรรดาพระราชโอรสในรัชกาลที่ ๔ ก็ ยงั อยู่ในระดับที่ย่าแย่ “เราได้
เห็นความเปลี่ยนแปลงแห่ งความเป็ นไปของพวกเราเป็ นครั้งแรก คนผูเ้ คยนับถือและฝากตัวก็จืดจางไป คนที่เรา
ไม่เคยเกรงก็ตอ้ งเกรง...สมัยที่พวกเรามาถึงเข้าบัดนั้น ชั่งเป็ นคราวที่พวกเจ้ านายตกต่านี่กระไร”๖ สอดคล้องกับที่
กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์พระนิพนธ์ไว้วา่ “สพสมัยอัยยะชาตท้อ ถอยนิยม อานาจราชการบุน นาคคว้า”๗
แต่ในบรรดาคาบอกเล่าทั้งหมด กรมหมื่นราชศักดิ์สโมสร (๒๓๙๙-๒๔๗๔) ถ่ายทอดสิ่ งที่พระองค์พบ
เห็นได้อย่างมีสีสันที่สุด ดังที่หม่อมเจ้าหญิงพูนพิสมัย ดิศกุล (๒๔๓๘-๒๕๓๓) บันทึกไว้วา่ “เรากลัวเขาจริ ง พอ
คลานผ่านที่เขาเอกเขนกอยู่ละก็ เราหมอบกราบกันราวเทียว” แต่เพราะตอนนั้นท่านหญิงพูนพิศมัยไม่ทราบว่า
“เขา” ที่วา่ นั้นคือผูใ้ ด กรมหมื่นราชศักดิ์สโมรสรก็ทรงตอบว่า “ใครล่ะ สมเด็จเจ้าพระยาฯ ซี วันหนึ่งเขาเขยิบตีน
ไปถูกเอาหัวพระมหาสมณะที่กาลังกราบอยู่เข้า เขาหันมาบอกว่า ขอโทษทีนะเจ้า” ท่านหญิงได้ยินดังนั้นก็ทรง


ดารงราชานุภาพ, สมเด็จฯ กรมพระยา, พระราชพงศาวดารรั ชกาลที่ ๕, (กรุ งเทพฯ: มติชน, ๒๕๕๕), น.๒๓๘. และ ดารงราชานุภาพ, สมเด็จฯ กรม
พระยา, พระสนมเอก, (กรุ งเทพฯ: รวมสาส์น, ๒๕๒๕), น.๒๑-๒๒.

มหามงกุฎราชคุณานุสรณ์ ฝี พระโอษฐ์ กรมพระนราธิปประพันธ์ พงศ์ , พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงพระศพ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวัลลภา
เทวี ณ เมรุ วดั เบญจมบพิตร วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๔๙๕, น.๑๙๒. (เน้นโดยผูเ้ ขียน)

วชิรญาณวโรรส, สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยา, พระประวัติตรั สเล่า, พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพนางเป้า ศรี สมุทโภค ณ วัด
มกุฏกษัตริ ยาราม พระนคร ๒๕ เมษายน ๒๔๙๔, น.๑๖-๑๘. (เน้นโดยผูเ้ ขียน)

มหามงกุฎราชคุณานุสรณ์ ฝี พระโอษฐ์ กรมพระนราธิปประพันธ์ พงศ์ , น.๑๙๒.
4

แทรกขึ้นว่า “ทาไมจะต้องกราบล่ะ เพียงนั่งคุมเท่านั้นไม่พอเทียวรึ ” เมื่อกรมหมื่นราชศักดิ์สโมสรได้ยินเข้า


ดังนั้นก็ทรงพระสรวลลัน่ แล้วตรัสว่า “มึงอย่ าอวดดีไปหน่ อยเลย ถ้ าเอ็งเกิดทัน เอ็งก็กลัวเขาเหมือนกัน ” เรื่ อง
ความน่าเกรงขามที่วา่ นี้ แม้แต่สมเด็จฯ กรมพระยาดารงราชานุภาพ (๒๔๐๕-๒๔๘๖) ก็ยงั ยืนยันตามที่กรมหมื่น
ราชศักดิ์สโมสรเล่าไว้เช่นกันว่า “จริ งของท่านนะ พ่อเคยเห็นคนมามากแล้ว ไม่เห็นใครมีสง่าเหมือนสมเด็จ
เจ้าพระยาฯ คนนี้ ถ้าเดินมาในที่ประชุม คนทั้งร้อยก็กลัวทั้งร้อย ไม่รู้วา่ เป็ นอย่างไร”๘
หลังจากสาเร็ จราชการแผ่นดินครบกาหนด ๕ ปี แล้ว เจ้าพระยาศรี สุริยวงศ์ก็ถวายคืนพระราชอานาจแด่
พระเจ้าอยู่หัว จากนั้นก็ทรงพระกรุ ณาโปรดเกล้าฯ ยกย่องให้เป็ น “สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรี สุริยวงศ์” อัน
เป็ นบรรดาศักดิ์สูงสุ ดเท่าที่เสนาบดีคนหนึ่ งพึงจะได้รับในสมัยนั้น ด้วยมีเกียรติยศเทียบเท่าพระองค์เจ้าต่างกรม
ทั้งยังโปรดฯ ให้มีอานาจสั่งประหารชีวิตได้เทียบเท่าพระเจ้าอยู่หัว ตลอดจนเรี ยกขานว่าผูส้ าเร็ จราชการแผ่นดิน
ต่อไปได้อีก ข้อสาคัญกว่านั้น สมเด็จเจ้าพระยาฯ จะยังอยู่ในฐานะที่ปรึ กษาราชการแผ่นดินต่อไปอีก ๙ ปี จนถึง
แก่พิราลัยในปี พ.ศ.๒๔๒๕ ซึ่งในทางพฤตินยั แล้วท่านก็คือหัวหน้าเสนาบดี ทาให้ในช่วงเวลา ๙ ปี ที่วา่ นี้สมเด็จ
เจ้าพระยาฯ มี ก รณี ก ระทบกระทั่งกับพันธมิ ตรทางการเมื องของพระเจ้าอยู่หัวอยู่หลายครั้ ง แต่ ทุ ก ครั้ งก็ไม่
สามารถช่วงชิงอานาจจากสมเด็จเจ้าพระยาฯ ได้สาเร็จเลย
(๔)
ตอนที่ พ น้ จากตาแหน่ ง ผูส้ าเร็ จราชการแผ่นดิ น สมเด็จเจ้าพระยาฯ ก็ มี อายุ ๖๕ ปี แล้ว แม้จะอยู่ใ น
ตาแหน่งหัวหน้าเสนาบดี ต่อไปก็จริ ง แต่ท่านก็จะดูในระดับนโยบายสาคัญของรัฐบาลเท่านั้น เวลาส่ วนใหญ่จึง
เป็ นการพักผ่อน หากไม่อานวยการแปลวรรณกรรมจีน ก็มกั จะนอนฟั งมโหรี ปี่พาทย์อยู่ที่ ทาเนี ยบ กระทัง่ มี
คาพูดของผูห้ ลักผูใ้ หญ่ในเวลาต่อมาว่า “นอนฟังเพลงได้เป็ นวรรคเป็ นเวร ยังกับสมเด็จเจ้าพระยาก็ไม่ปาน”๙
ภายหลังท่านได้กราบบังคมทูลลาไปอยู่ที่เมืองราชบุรี นานๆ ทีถึงจะเข้ากรุ งเทพฯ จนกระทัง่ ครึ่ งหลัง
ของปี พ.ศ.๒๔๒๒ เมื่อสมเด็จเจ้าพระยาฯ มีอายุย่าง ๗๑ ปี ท่านก็ลม้ ป่ วยอย่างหนักจนไม่สามารถไปร่ วมพระ
ราชพิธีถือน้ าฯ ตอนปลายปี ได้๑๐ การล้มป่ วยถึงขนาดขาดพระราชพิธีดงั กล่าวน่าจะยืนยันได้ว่าอาการคงจะเพียบ
หนักจริ ง ฝ่ ายราชสานักย่อมจับตามองเรื่ องนี้ อย่างใกล้ชิด เพราะโลกการเมืองที่ไม่มีสมเด็จเจ้าพระยาฯ กาลังเข้า


พูนพิศมัย ดิศกุล, ม.จ.หญิง, สิ่ งที่ข้าพเจ้ าพบเห็น, (กรุ งเทพฯ: นิตยสารคลังสมอง, ๒๕๓๔), น.๑๘๓-๑๘๕. (เน้นโดยผูเ้ ขียน)

พูนพิศ อมาตยกุล, “พระพุทธเจ้าหลวงกับดนตรี ” ใน หนังสือที่ระลึกงานพระราชทานเพลิงพระศพ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเหมวดี ณ เมรุ
วัดเทพศิรินทราวาส วันที่ ๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๖, น.๑๔๓.
๑๐
จดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน พระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้ าอยู่หัว ภาค ๙, พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงพระศพ พระเจ้า
บรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเยาวภาพงศ์สนิท ณ เมรุ วดั เบญจมบพิตรดุสิตวนาราม วันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๔๗๘, น.๒.
5

ใกล้พวกเขามากขึ้น ในพระราชหัตถเลขาสั่งการปฏิสังขรณ์วดั พระแก้วในช่วงเวลาเดียวกันจึงระบุว่า “ถ้าฉันทา


การวัดนี้ไม่แล้ว ก็เป็ นที่หมายว่า ถ้าสมเด็จเจ้ าพระยาตายเสีย ฉันจะรักษาแผ่นดินไว้ไม่ได้ ”๑๑
ที่น่าสนใจก็คือ สมเด็จเจ้าพระยาฯ ก็รู้ตวั ว่าชีวิตของท่านในเวลานั้นก็ไม่แน่ นอน จึงปฏิเสธที่จะไม่รับ
ตาแหน่ งผูส้ าเร็ จราชการแผ่นดินอีกครั้งหากพระเจ้าอยู่หัวและคณะจะไปเยือนยุโรปตอนต้นปี พ.ศ.๒๔๒๓๑๒
เพราะถ้าหากเกิ ดสิ่ งใดสิ่ งหนึ่ งกับตัวท่านแล้วก็เกรงว่าเสนาบดี ที่เหลืออยู่จะรักษาพระนครเอาไว้ไม่ได้ ด้วย
เสนาบดีผูใ้ หญ่อย่างเจ้าคุณทหารและเจ้าคุณกรมท่าก็ตอ้ งตามเสด็จไปด้วย ๑๓ เมื่อสมเด็จเจ้าพระยาฯ เอ่ยปาก
เช่นนี้ เสนาบดีจตุสดมภ์จึงลงความเห็นว่าจะต้องเลื่อนการเสด็จออกไปจนกว่าสมเด็จเจ้าพระยาฯ จะหายดี แต่ดู
เหมือนว่าโอกาสนั้นคงจะหาได้ยากยิง่ ดังที่มีรับสั่งกับผูใ้ กล้ชิดว่า “ในเวลาที่สมเด็จเจ้าพระยายังมีชีวิตอยู่ เราคง
จะไม่ได้ไป เพราะไม่แลเห็นว่าอาการท่านจะคงเป็ นปรกติ”๑๔
(๕)
ในที่น้ ี อยากจะตั้งข้อสังเกตไว้ดว้ ยว่า อาการป่ วยครั้งนี้ น่าจะส่ งผลเสี ยหายต่อนโยบายปฏิรูประบบไพร่
ที่สมเด็จเจ้าพระยาฯ พยายามจะผลักดันในตอนท้ายของชีวิตอยูไ่ ม่นอ้ ย
ในช่วง ๕ ปี ที่ท่านเป็ นผูส้ าเร็ จราชการแผ่นดินนั้น สมเด็จเจ้าพระยาฯ ได้ผลักดันให้มีการออกกฎหมายที่
เรี ยกกันว่า “ไพร่ เลือกนาย”๑๕ นโยบายนี้สร้างความไม่พอใจให้กบั บรรดามูลนายเพราะทาให้พวกเขาสูญเสี ยการ
ควบคุมไพร่ เมื่อท่านพ้นจากตาแหน่งผูส้ าเร็ จราชการแผ่นดินไปได้ไม่นานก็มีเสี ยงเรี ยกร้องให้ยกเลิกกฎหมาย
ดังกล่าวดังขึ้นเรื่ อยๆ แม้แต่สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระบาราบปรปักษ์ (๒๓๖๒-๒๔๒๙) ก็ทรงยกเรื่ องนี้ ข้ ึนมาเป็ น
เงื่อนไขต่อรองรับตาแหน่งเจ้าพระยาจักรี ในปี พ.ศ.๒๔๒๐ เพราะตามความเห็นของพระองค์แล้ว หากปล่อยให้
ไพร่ เคลื่อนย้ายกันเช่นนี้ การจะตามตัวมาลงโทษเมื่อเกิดคดีความ ตลอดจนการรวบรวมส่วยสาอากรของมูลนาย
ก็จะทาได้ลาบาก๑๖
ฝ่ ายสมเด็จเจ้าพระยาฯ เองก็คงจะเห็นปั ญหาที่ เกิ ดขึ้นอยู่เช่นกัน จึงไม่มีหลักฐานว่าท่านต่อต้านการ
ยกเลิกนโยบายดังกล่าว แต่กลับเห็นความพยายามที่จะแก้ไขในสิ่ งผิด ด้วยการนาระบบกานันและอาเภอที่ใช้คุม
๑๑
ณัฐวุฒิ สุทธิสงคราม, สมเด็จเจ้ าพระยาบรมมหาศรี สุริยวงศ์ (ช่ วง บุนนาค), (กรุ งเทพฯ: สร้างสรรค์บุ๊คส์, ๒๕๕๑), น.๙๗๓. (เน้นโดยผูเ้ ขียน)
๑๒
โปรดดูการเตรี ยมการเสด็จประพาสยุโรป พ.ศ.๒๔๒๓ ใน พีรศรี โพวาทอง, “พระพุทธเจ้าหลวงกับการเสด็จประพาสยุโรป พ.ศ.๒๔๒๓,”
ศิลปวัฒนธรรม ๒๙, ๙(๒๕๕๑): ๑๑๘-๑๓๓.
๑๓
หจช. กต(ล) ๗.๓/๑๐ ในหลวงจะเสด็จประพาศยุโรป แต่ตอ้ งงดเพราะสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรี สุริยวงษ์ป่วย จ.ศ.๑๒๔๑-๑๒๔๒. ณัฐวุฒิ สุทธิ
สงคราม, สมเด็จเจ้ าพระยาบรมมหาศรี สุริยวงศ์ (ช่ วง บุนนาค), น.๘๕๐.
๑๔
ณัฐวุฒิ สุทธิสงคราม, สมเด็จเจ้ าพระยาบรมมหาศรี สุริยวงศ์ (ช่ วง บุนนาค), น.๘๕๐.
๑๕
วุฒิชยั มูลศิลป์ , “ไพร่ เลือกนาย-ตามใจไพร่ สมัคร, พ.ศ.๒๔๑๑-๒๔๔๒,” วารสารราชบัณฑิตยสถาน ๑๗, ๑(๒๕๕๕): ๒๗๑-๒๙๔.
๑๖
จดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน พระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้ าอยู่หัว ภาค ๙, น.๗๗-๗๘.
6

ไพร่ ในหัวเมืองชั้นในไปใช้กบั หัวเมืองชั้นนอก๑๗ เพราะระบบที่วา่ นี้ส่วนกลางจะเรี ยกบัญชีไพร่ จากมูลนายมาไว้


ที่กานันและอาเภอ ซึ่ งเป็ นคนที่ส่วนกลางแต่งตั้ง หากมูลนายต้องการจะเกณฑ์ไพร่ ของตนก็ให้มาติดต่อจาก
กานันและอาเภอ การขยายระบบดังกล่าวออกไปยังหัวเมื องชั้นนอกก็เท่ากับการเพิ่มขีดความสามารถให้กบั
ส่ วนกลางอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ซึ่ งตามความหมายนี้ ส่วนกลางก็คือกรมพระกลาโหม๑๘ ดังที่มีตวั อย่างว่า
เรื อกลไฟของเจ้าคุณทหารไปติดสันดอนที่เมืองตานี นายอาเภอเมืองตานีตีกลองสัญญาณก็สามารถระดมไพร่ มา
ลากเรื อได้ราวพันกว่าคนในทันที๑๙
ความคิดดังกล่าว แม้แต่เจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธารง (เพ็ง เพ็ญกุล, ๒๓๖๔-๒๔๓๗) เจ้ากรมพระสุรัสวดี
ที่เป็ นคู่ขดั แย้งกับสมเด็จเจ้าพระยาฯ มาโดยตลอดก็ยงั ออกปากชมเชยว่า “คิดการครั้งนีเ้ ยือกเยนเหมือนไฟสุ มขร
ไม่ ร้ ู สิ้นรู้ สุด” เพราะสมเด็จเจ้าพระยาฯ เสนอให้ แต่งตั้งหัวหน้าชุมชนเป็ นกานันและอาเภอ คนในชุมชนจะได้
ควบคุมกันเอง ส่ วนกลางก็จะไม่สิ้นเปลืองสิ่ งใดทั้งยังได้คนเหล่านี้ มาเป็ นหูเป็ นตาให้อีกด้วย๒๐แต่พอจะนานโน
บายไปใช้จริ งกลับเกิดความล่าช้า เพราะถึงแม้วา่ ทุกฝ่ ายจะเห็นตรงกันเรื่ องการคุมไพร่ ก็จริ ง แต่ถา้ การปฏิรูปนี้จะ
ทาให้ฝ่ายสมเด็จเจ้าพระยาฯ กินรวบหรื อได้ผลประโยชน์เพียงฝ่ ายเดียวก็ยอ่ มจะถูกขัดขวางเป็ นธรรมดา
วิธีการขัดขวางก็แสนจะเรี ยบง่าย เพราะนิ สัยของสมเด็จเจ้าพระยาฯ ที่ให้ความสาคัญกับ เป้ าหมาย
มากกว่าวิธีการ เจ้ากรมพระสุ รัสวดี จึงใช้การโต้ตอบทางหนังสื อราชการให้เป็ นประโยชน์ โดยเขาจงใจจะตั้ง
คาถามจี้ลงไปที่แผนการปฏิบตั ิงานต่างๆ เพราะรู ้ดีว่าสมเด็จเจ้าพระยาฯ จะตอบกลับมาแบบกว้างๆ ไม่ได้ความ
ชัดเจน ทาให้การโต้ตอบนี้ กินเวลาหลายเดือนกว่าจะได้รับการอนุมตั ิ อุปนิสัยเช่นนี้ แม้แต่พระเจ้าอยู่หัวก็เคยมี
รับสั่งว่า “ท่านมักสั่งลุ่นๆ บัดตราก็ตามที...จะถามว่าเอาอย่างไรก็ไม่ได้ความจนตาย”๒๑
หากเรามองโครงการปฏิรูปไพร่ ท้ งั สองครั้ง จะเห็นได้วา่ นโยบายนี้ต้ งั อยูบ่ นอานาจของสมเด็จเจ้าพระยา
ฯ ล้วนๆ โดยในครั้งแรกลงมือทาตอนมีอานาจเบ็ดเสร็จในฐานะผูส้ าเร็จราชการแผ่นดิน แต่ดว้ ยผลลัพธ์ที่ออกมา
ค่อนข้างน่าผิดหวัง ท่านจึงหาทางจะแก้ตวั อีกครั้งในปี พ.ศ.๒๔๒๓ ที่คาดหมายกันว่าจะได้กลับมาเป็ นผูส้ าเร็ จ
ราชการแผ่นดินอีก แต่ทุกอย่างก็ตอ้ งผิดจากที่คาดหมาย เมื่อท่านล้มป่ วยอย่างหนักจนเกือบจะเอาชีวิตไม่รอด ทา

๑๗
อัญชลี สุลายัณห์, ความเปลี่ยนแปลงของระบบไพร่ และผลกระทบต่ อสังคมไทยในรั ชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้ าอยู่หัว, (กรุ งเทพฯ:
สร้างสรรค์บุ๊คส์, ๒๕๕๒), น.๙๘-๑๐๒.
๑๘
ปิ ยะฉัตร ปิ ตะวรรณ, ระบบไพร่ ในสังคมไทย พ.ศ.๒๔๑๑-๒๔๕๓, (กรุ งเทพฯ: มูลนิธิโครงการตาราฯ, ๒๕๒๖), น.๑๒๔-๑๒๕.
๑๙
หจช. ร.๕ พศ ๓/๑๖๓ เจ้าพระยามหิธรทูลเกล้าฯ ถวายเรื่ องได้รับสาเนาหนังสือสมเด็จเจ้าพระยาเรื่ องศักเลข จ.ศ.๑๒๔๒.
๒๐
หจช. ร.๕ พศ ๓/๑๖๓ เจ้าพระยามหิธรทูลเกล้าฯ ถวายเรื่ องได้รับสาเนาหนังสือสมเด็จเจ้าพระยาเรื่ องศักเลข จ.ศ.๑๒๔๒. (เน้นโดยผูเ้ ขียน)
๒๑
ณัฐวุฒิ สุทธิสงคราม, สมเด็จพระเจ้ าบรมวงศ์ เธอ เจ้ าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบาราบปรปั กษ์ (ภาคปลาย) พระราชหัตถเลขาและคาอธิบาย เล่ม ๗,
(กรุ งเทพฯ: องค์การค้าของคุรุสภา, ๒๕๑๖), น.๗-๘.
7

ให้โครงการปฏิรูปไพร่ รอบสองที่เดินหน้ามาก่อนแล้วจึงไม่อาจจะสานต่อได้ดว้ ยอานาจของท่านเพียงฝ่ ายเดียว


หากแต่ตอ้ งนามาพิจารณาร่ วมกับเจ้ากรมพระสุรัสวดีและพระเจ้าอยูห่ ัว ซึ่งเป็ นคู่ขดั แย้งทางการเมืองกับตัวท่าน
เอง การปฏิรูปไพร่ รอบที่สองนี้ จึงดาเนิ นการไปอย่างกะท่อนกะแท่นตลอดทั้งโครงการก็ว่าได้ แม้แต่เจ้าพระยา
นครศรี ธรรมราชก็ไม่พอใจ๒๒ เมื่อไม่ได้รับความร่ วมมือจากกรมพระสุ รัสวดี และหัวเมืองเช่นนี้ ทาให้เมื่อสิ้ น
อานาจสมเด็จเจ้าพระยาฯ แล้ว หัวเมืองชั้นนอกเคยผ่านการปฏิรูปไพร่ ก็พากลับไปใช้วิธีการคุมไพร่ ตามเดิม
อีก๒๓
(๖)
ในระหว่างที่ สมเด็จเจ้าพระยาฯ ออกไปคุมการปฏิรูปไพร่ น้ ัน ท่านได้ไปเกณฑ์ชายข้อมือขาวจานวน
หนึ่งที่ดูคล่องแคล่วมาเป็ นทหารเรื อในสังกัดกรมพระกลาโหมด้วย พระเจ้าอยู่หัวเห็นว่าเป็ นความคิดที่ดีและมี
ประโยชน์ต่อราชการจึงประทานอนุญาติไป พร้อมกับมีรับสั่งเพิ่มเติมอีกว่า “ส่ วนราชการทางกรุ งเทพฯ ก็จะคิด
จัดการทหารบกขึ้นตามแบบอย่างเจ้าคุณต่อไป” แต่ในพระราชหัตถเลขาฉบับดังกล่าวไม่ได้บอกด้วยว่าคนที่มา
สมัครทหารเกื อบทั้ง หมดมาจากเมื องราชบุ รี และเพชรบุ รี ซึ่ ง เป็ นคนที่ อยู่ใ นสังกัด ของสมเด็จเจ้าพระยาฯ
ทั้งสิ้ น๒๔
ต้องกล่าวไว้ดว้ ยว่า ทั้งสมเด็จเจ้าพระยาฯ และพระเจ้าอยู่หัวเห็นตรงกันเรื่ องสร้างกองทัพสมัยใหม่ แต่
วิธีการจะสร้างกองทัพกลับแตกต่างกันอย่างสิ้ นเชิง เพราะกองทัพสมัยใหม่ของสมเด็จเจ้าพระยาฯ ก็คือกองทัพ
ไพร่ ติดอาวุธ คนที่จะมาฝึ กทหารจะถูกเกณฑ์มาตามระบบไพร่ แบบดั้งเดิมทุกอย่าง ซึ่งวิธีการนี้ พระเจ้าอยู่หวั ไม่
เห็นด้วย เพราะการเกณฑ์ไพร่ จะทาให้ไม่สามารถฝึ กฝนได้อย่างสม่าเสมอและต่อเนื่อง อีกทั้งจานวนไพร่ ที่จะมา
เป็ นทหารก็ไม่เคยแน่นอนเพราะสามารถจ่ายส่ วยได้ หากเป็ นเช่นนี้ ก็จะไม่สามารถสร้างทหารประจาการที่เป็ น
หัวใจของกองทัพสมัยใหม่ข้ ึนมาได้เลย๒๕

๒๒
ทั้งนี้ โครงการปฏิรูปไพร่ เป็ นส่ วนหนึ่ งของการทานุบารุ งเมืองตรัง ที่เป็ นโครงการทางการเมืองสุดท้ายในชีวิตของสมเด็จเจ้าพระยาฯ แล้ว ดู
อุษณีย์ ฉวีกุลรัตน์, ระบบเหมาเมืองในหัวเมืองฝ่ ายทะเลตะวันตก พ.ศ.๒๓๙๓-๒๔๓๖, (วิทยานิพนธ์อกั ษรศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร,
๒๕๒๙), น.๑๗๒.
๒๓
ดารงราชานุภาพ, สมเด็จฯ กรมพระยา, การเสด็จตรวจราชการหัวเมืองของสมเด็จพระเจ้ าบรมวงศ์ เธอ กรมพระยาดารงราชานุภาพ, (กรุ งเทพฯ:
สถาบันดารงราชานุภาพ, ๒๕๕๕), น.๙๙-๑๐๐, ๑๑๓.
๒๔
สุรศักดิ์มนตรี (เจิม), จอมพล มหาอามาตย์เอก เจ้าพระยา, ประวัติการของจอมพล เจ้ าพระยาสุ รศักดิ์มนตรี ภาค ๑, พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิง
ศพ เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี ฯ ณ เมรุ วดั เทพศิรินทราวาศ วันที่ ๘ เมษายน ๒๔๗๖, น.๑๐๐-๑๐๑.
๒๕
ณัฐวุฒิ สุทธิสงคราม, สมเด็จพระเจ้ าบรมวงศ์ เธอ เจ้ าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบาราบปรปั กษ์ (ภาคปลาย): พระราชหัตถเลขาและคาอธิบาย เล่ม ๒,
(กรุ งเทพฯ: องค์การค้าของคุรุสภา, ๒๕๑๖), น.๒๙-๓๒.
8

พระเจ้าอยูห่ วั ทรงเสนอให้เปลี่ยนจากการเกณฑ์ไพร่ ไปเป็ นการเปิ ดรับสมัครทหารแทน ดังนั้นการได้มา


ซึ่งทหารบกที่ทรงบอกกล่าวกับสมเด็จเจ้าพระยาฯ ก็คือวิธีการรับสมัครไพร่ ไปเข้าสังกัดกรมทหารหน้า ซึ่งเป็ น
กรมทหารส่ วนพระองค์ที่เพิ่งจัดตั้งขึ้นใหม่ เมื่อการเปิ ดรับสมัครเป็ นวิธีการที่ไม่เคยมีมาก่อน กรมทหารหน้าจึง
ต้องแลกเปลี่ยนด้วยข้อเสนอที่ไม่อาจจะปฏิเสธได้ ไม่วา่ จะเป็ นการให้เงินเดือน ให้เครื่ องแบบ มีอาหารและที่พกั
ให้ เมื่อรับราชการไปแล้ว ๕ ปี จะปลดประจาการเป็ นทหารกองหนุน ได้สิทธิงดเว้นภาษีและไม่ถูกเกณฑ์แรงงาน
อีก๒๖
การเปิ ดรับสมัครทหารก็ยงั จงใจเลือกช่วงเวลาที่สมเด็จเจ้าพระยาฯ ลงไปทางใต้ ทาให้กว่าที่จะรู ้เรื่ องนี้ ก็
ผ่านพ้นไปหลายเดือนแล้ว สมเด็จเจ้าพระยาฯ ไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากจะกราบบังคมทูลขอไพร่ เหล่ า นั้น
กลับคืนในทันที แต่คราวนี้ พระเจ้าอยู่หัวไม่ยอมอ่อนข้อให้ พระองค์ให้เหตุผลว่าไพร่ เหล่านี้ ถูกพระยาเพชรบุรี
ซึ่งเป็ นน้องชายของสมเด็จเจ้าพระยาฯ เบียดเบียนจนต้องหลบหนีมาสมัครเป็ นทหารที่กรุ งเทพฯ หากพระองค์
บังคับให้กลับมาอยูต่ ามหมู่เหล่าตามเดิมอีกก็เหมือนว่าทรงไม่เห็นความทุกข์ของไพร่ ๒๗
สมเด็จเจ้าพระยาฯ ยังได้มีจดหมายไปต่อว่าเจ้าคุณทหารที่ปล่อยให้ก องทัพส่ วนพระองค์มาเปิ ดรั บ
สมัครทหารในเมื องขึ้นกรมพระกลาโหมไปเสี ยหลายพันคน พร้อมกับสาธยายให้เจ้าคุณทหารรู ้ด้วยว่า ไพร่
เหล่านี้ได้รับพระราชทานมาตั้งแต่พระเจ้าอยูห่ ัวรัชกาลที่ ๑ ให้ทามาหากินในแถบนี้ มีมูลนายดูแลรักษาสื บเนื่ อง
มาโดยตลอด เมื่อถึงสมัยรัชกาลที่ ๔ ก็ทรงยกเว้นค่านาให้ พอมาถึงรัชกาลปัจจุบนั ก็ถูกเกณฑ์ไปรักษาพระราชวัง
ที่เขาสัตนาทเมื องราชบุ รี๒๘ ส่ วนสาเหตุที่ ไพร่ เหล่า นี้ ไปร้ องทุก ข์กล่ า วโทษก็ เป็ นเพราะถูกหลวงทรงศัก ดา
จางวางกองไพร่ ที่พระยาเพชรบุรีปลดออกในข้อหาฉ้อเบี้ยหวัดขุนนางกองไพร่ เป็ นคนยุยง๒๙ สมเด็จเจ้าพระยาฯ
จึงตักเตือนเจ้าคุณทหารให้ “ตรึ กตรองการนอกแลในหน้าแลหลังให้จงมาก” จะได้รักษาอานาจของตนเองเอาไว้
ได้
สมเด็จเจ้าพระยาฯ ได้พยายามจะประนีประนอมกับพระเจ้าอยู่หัวอีกครั้ง โดยขอให้คืนไพร่ กลับมาอยู่
ตามหมู่ตามเหล่าดังเดิมเสี ยก่อน หากกรมทหารหน้าต้องการทหารเมื่อใดก็ให้มาคัดเลือกเอาไปใหม่ เพราะถ้า
ปล่อยให้ไพร่ เข้ากรุ งเทพฯ ไปพร้อมกันหลายพันคน เห็นทีเมืองเพชรบุรีและเมืองราชบุรีก็คงจะทรุ ดโทรมไม่
ต่างจากเมืองร้าง ส่ วนข้อหาเกี่ยวกับขุนนางเมืองเพชรบุรีเบียดเบียนไพร่ ท่านก็อาสาจะชาระความจริ งมาให้ ทั้ง

๒๖
สุรศักดิ์มนตรี (เจิม), จอมพล มหาอามาตย์เอก เจ้าพระยา, ประวัติการของจอมพล เจ้ าพระยาสุ รศักดิ์มนตรี ภาค ๑, น.๘๘-๘๙.
๒๗
หจช. ร.๕ นก ๑๐/๑๐๘ เจ้าพระยาสุรวงษไวยวัฒน์ พระราชทานกราบเรี ยนสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรี สุริยวงษ เรื่ อง การแก้ไขราชการแผ่นดินให้
ก้าวหน้าเหมาะสมกับยุคสมัย จ.ศ.๑๒๔๒.
๒๘
หจช. ร.๕ รล-พศ ๒๐/๗๔ ซ่อมแซมพระที่นง่ั เขาสัตนาท เมืองราชบุรี จ.ศ.๑๒๔๒.
๒๙
หจช. ร.๕ รล-พศ ๒๐/๗๕ ลาวทรงดาเมืองเพชรบุรีถวายฎีกากล่าวโทษพระยาเพชรบุรีและกรมการเมืองว่ากดขี่ได้รับความเดือนร้อน จ.ศ.๑๒๔๒.
9

ยังกราบบังคมทูลแนะนาว่ากษัตริ ยส์ ามารถตรัสคืนคาได้ หากคาสั่งที่ ออกไปนั้นผิดพลาด โดยยกตัวอย่างว่า


“เมื่อแผ่นดินพระบาทสมเดจพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผูส้ ั่งฤานาทาผิดพระกระแสไปแล้ว ก็ตอ้ งถอยกลับมาตั้ง
กระบวนกันใหม่ เปนดังนี้เนืองๆ ครั้งนี้จะตั้งกระบวนไปใหม่ไม่ได้ฤา”๓๐
ฝ่ ายพระเจ้าอยูห่ วั ก็ยนื กรานที่จะไม่คืนไพร่ ให้อยู่ดี พระองค์ยงั ฟื้ นความหลังมาเตือนความจาของสมเด็จ
เจ้าพระยาฯ ด้วยว่าท่านก็รู้เห็นในการเรื่ องนี้ มาตั้งแต่ตน้ รับสั่งดังกล่าวไม่ต่างอะไรกับการราดน้ ามันเข้ากองไฟ
เพราะยิง่ ทาให้สมเด็จเจ้าพระยาฯ รู ้สึกโกรธที่เสี ยรู ้เข้าไปอีก ความไม่พอใจนั้นไปปรากฏในจดหมายถึงเจ้าคุณ
ทหารฉบับหนึ่งว่า “บัดนี้ มาเกิดวิบตั ิดว้ ยผูถ้ ืออานาจมาคิดชักถอนผูค้ นระส่ าระสายไปสิ้ นดังนี้ ตัวเราเปนผูท้ านุ
บารุ งมาแต่ก่อนก็ไม่รู้วา่ เหตุผลจะเปนประการใด จะสันนิษฐานเอาอย่างไรก็ไม่ได้ ขอให้หกั โอนเราเสี ยเถิด อย่า
ให้เกี่ยวข้องในราชการต่อไปอีกเลย ด้วยแก่ชรามากแล้ว”๓๑ คาวิพากษ์วิจารณ์แกมข่มขู่ว่าจะลาออกเช่นนี้ ได้ผล
แทบจะในทันที ด้วยมีข่าวลือในกรุ งเทพฯ ว่าสมเด็จเจ้าพระยาฯ ชักชวนให้เจ้าคุณทหารก่อการกบฏ สถานการณ์
คงจะตึงเครี ยดอยูไ่ ม่นอ้ ย เพราะถึงขนาดที่กงสุลอังกฤษคิดจะเรี ยกเรื อปื นเข้ามาประจาในกรุ งเทพฯ เลยทีเดียว๓๒
เมื่อสื บหาต้นตอของข่าวลือที่ว่านี้ ก็เห็นว่าน่าจะมาจาก “ความแผ่นดินตาก” ที่สมเด็จเจ้าพระยาฯ เขียน
ถึงเจ้าคุณทหาร เนื้ อหาในนั้นคงจะรุ นแรงมากจนทาให้เจ้าคุณทหารต้องมีจดหมายเตือนสติบิดาของตนไปว่า
“ข้าพระพุทธเจ้าเหนว่าแรงนัก ไม่ควรพูด ข้าพระพุทธเจ้าขอรับพระราชทานเสี ยเถิด ” แต่ดว้ ยความรุ นแรงของ
เนื้ อหาทาให้เจ้าคุณทหารไม่อาจจะนาขึ้นกราบบังคมทูลให้ทรงทราบได้ จึงไม่มีการคัดลอกเป็ นสาเนาเก็บไว้ให้
ค้น คว้า ในปั จ จุ บ ัน แต่ ถ ้า สั น นิ ษ ฐานจากค าว่า “ความแผ่น ดิ น ตาก” ที่ เ จ้า คุ ณ ทหารอ้า งถึ ง ก็ น่ า จะเกี่ ย วกับ
เหตุการณ์จลาจลช่วงปลายแผ่นดินพระเจ้ากรุ งธนบุรี การยกประเด็นนี้ข้ ึนมากล่าวในช่วงเวลาหน้าสิ่ วหน้าขวาน
ย่อมจะถูกทาให้เข้าใจได้วา่ กาลังชักชวนให้บุตรชายก่อการกบฏ๓๓
สาหรับสมเด็จเจ้าพระยาฯ แล้ว การถูกกล่าวหาว่าจะก่อกบฏหรื อชิงราชสมบัติดูจะไม่ใช่เรื่ องน่าตื่นเต้น
อีกต่อไป นักการเมืองมากประสบการณ์ย่อมรู ้โดยสามัญสานึ กว่าเรื่ องทานองนี้ จะเกิดขึ้นก่อต่อเมื่อมีใครสักคน
หนึ่งได้รับความนิยม (popular) ทัดเทียมกับบุคคลที่อยู่ในตาแหน่งพระเจ้าแผ่นดิน ๓๔ แต่สาหรับเจ้าคุณทหารที่

๓๐
หจช. ร.๕ รล-พศ ๒๐/๗๕ลาวทรงดาเมืองเพชรบุรีถวายฎีกากล่าวโทษพระยาเพชรบุรีและกรมการเมืองว่ากดขี่ได้รับความเดือนร้อน จ.ศ.๑๒๔๒.
๓๑
หจช. ร.๕ นก ๑๐/๑๐๘ เจ้าพระยาสุรวงษไวยวัฒน์ พระราชทานกราบเรี ยนสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรี สุริยวงษ เรื่ องการแก้ไขราชการแผ่นดินให้
ก้าวหน้าเหมาะสมกับยุคสมัย จ.ศ.๑๒๔๒.
๓๒
สุกญั ญา บารุ งสุข, อานาจหน้ าที่และบทบาทของสมุหพระกลาโหมในสมัยรั ตนโกสิ นทร์ , น.๒๔๘.
๓๓
หจช. ร.๕ นก ๑๐/๑๓๑ เจ้าพระยาสุรวงษไวยวัฒน์ พระราชทานกราบเรี ยนสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรี สุริยวงษ เรื่ องการทางานทานุบารุ งประเทศ
และพระราชวงศ์ของตระกูลบุนนาค จ.ศ.๑๒๔๒.
๓๔
นิธิ เอียวศรี วงศ์, ชาติไทย, เมืองไทย, แบบเรี ยนและอนุสาวรี ย์: ว่ าด้ วยวัฒนธรรม, รั ฐ และรูปการณ์ จิตสานึก, (กรุ งเทพฯ: มติชน, ๒๕๕๗),
น.๑๒๐.
10

ไม่ได้เข้มแข็งเท่าบิดา ปฏิกิริยาต่อข่าวลือนั้นย่อมส่ งผลแตกต่างออกไป ข่าวลือทานองนี้ นอกจากจะไม่เพิ่มพูน


อิทธิพลทางการเมืองให้กบั เจ้าคุณทหารแล้ว กลับส่งผลเสี ยหายกับเขาเสี ยมากกว่าเดิมอีก
เจ้าคุณทหารรี บเขียนจดหมายฉบับหนึ่งถึงสมเด็จเจ้าพระยาฯ ในทันที เนื้ อหาหลักๆ คือต้องการให้บิดา
ได้ระลึกว่าวงศ์ตระกูลได้เป็ นใหญ่เป็ นโตมาถึงทุกวันนี้ก็เพราะพระเจ้าอยู่หวั ชุบเลี้ยงมา และโดยส่วนตัวของเขา
นั้น ความปรารถนาทางการเมืองอย่างที่สุดคือการเป็ นกันชนระหว่างพระเจ้าอยู่หัวกับ บิดาเท่าที่จะทาได้ ดังที่
ระบุในจดหมายว่า
“อนึ่งความปฏิญาณอยู่ในใจข้ าพระพุทธเจ้ านั้น ถ้ าเหนการสิ่ งไรในพระบาทสมเดจพระเจ้ าแผ่ นดิน
เรี่ยวแรง ก็ไม่ กราบเรี ยนใต้ เท้ าพระกรุ ณาเจ้ า (สมเด็จเจ้าพระยาฯ-ผูเ้ ขียน) เหนการสิ่ งไรในใต้ เท้ าพระ
กรุ ณาเจ้ าเรี่ ยวแรง ก็ไม่ กราบบังคมทู ลพระกรุ ณา เพราะพระบาทสมเดจพระเจ้ าอยู่ หัว เปนพระเจ้ า
แผ่นดิน ใต้ เท้ าพระกรุณาเจ้ าเปนบิดา ไม่อยากให้ เปนการแตกหัก” ๓๕
เจ้าคุณทหารนาจดหมายนี้ กราบบังคมทูลให้ทรงทราบก่อนส่ งให้บิดาอ่าน เมื่อทอดพระเนตรแล้วก็มี
รับสั่งว่า “แต่เหนคาที่ว่านี้ เธอเปนผูใ้ หญ่จะช่วยทานุ บารุ งแผ่นดินต่อไปอยู่แล้ว ” ก็เป็ นอันว่าเจ้าคุณทหารได้
แสดงความจงรักภักดีให้เป็ นที่ประจักษ์เรี ยบร้อย และเพื่อจะสลายความตึงเครี ยดดังกล่าว ทรงมีรับสั่งให้ต้ งั กอง
สัก เลขเพื่อชดเชยทางบัญชี ให้กับ เมืองราชบุ รีและเพชรบุรีที่ ไพร่ หนี ไ ปสมัครเป็ นทหาร โดยมอบหมายให้
หลานชายของสมเด็จเจ้าพระยาฯ ออกไปเป็ นแม่กอง๓๖
ส่วนเจ้าหมื่นไวยวรนารถ (เจิม แสง-ชูโต, ๒๓๙๔-๒๔๗๔) ผูจ้ ุดชนวนความขัดแย้งนี้ก็ได้รับผลกระทบ
อยู่ไม่น้อย เขากล่าวว่า “พวกวงศ์ญาติที่สืบสายโลหิ ตทางบุนนาคก็พากันไม่ชอบข้าพเจ้า เพราะเหตุที่ไปเกลี้ย
กล่อมพวกลาวสี ไม้หรื อลาวโซ่งลาวพวนและเขมรเมืองเพ็ชรบุรีและราชบุรีเข้ามาเป็ นทหารสมัคร จึงพากันใช้
อานาจรบกวนให้ขา้ พเจ้าเกิดความร้อนใจขึ้น”๓๗ และการที่เจ้าคุณทหารเลือกเข้าข้างพระเจ้าอยู่หัว ยิ่งทาให้เขา
กับบิดาห่ างเหิ นมากขึ้ น สมเด็จเจ้าพระยาฯ ถึงขนาดเรี ยกบุตรชายของตนว่า “ฯพณฯ ที่สมุหพระกลาโหม”
แม้กระทัง่ ในจดหมายส่ วนตัว จากแต่เดิมเรี ยกว่า “คุณสุ รวงษ์” รวมถึงประชดประชันว่าหากจะทาการสิ่ งใด
ต่อไปเบื้องหน้าก็ไม่จาเป็ นต้องมาขอคาปรึ กษาจากตนเองอีก ให้คิดเสี ยว่า “สิ้นอานาจเราแล้ว”๓๘

๓๕
หจช. ร.๕ นก ๑๐/๑๓๑ เจ้าพระยาสุรวงษไวยวัฒน์ พระราชทานกราบเรี ยนสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรี สุริยวงษ เรื่ องการทางานทานุบารุ งประเทศ
และพระราชวงศ์ของตระกูลบุนนาค จ.ศ.๑๒๔๒.
๓๖
สุรศักดิ์มนตรี (เจิม), จอมพล มหาอามาตย์เอก เจ้าพระยา, ประวัติการของจอมพล เจ้ าพระยาสุรศักดิ์มนตรี ภาค ๑, น.๑๐๒.
๓๗
สุรศักดิ์มนตรี (เจิม), จอมพล มหาอามาตย์เอก เจ้าพระยา, ประวัติการของจอมพล เจ้ าพระยาสุรศักดิ์มนตรี ภาค ๒, พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิง
ศพ เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี ฯ ณ เมรุ วดั เทพศิรินทราวาศ วันที่ ๘ เมษายน ๒๔๗๖, น.๑.
๓๘
หจช. ร.๕ รล-พศ ๒๐/๘๔ คดีต่างๆ เมืองสงขลา จ.ศ.๑๒๔๒. (เน้นโดยผูเ้ ขียน)
11

(๗)
หลังจากความวุ่นวายจากกรณี รับสมัครทหารผ่านพ้นไป สมเด็จเจ้าพระยาฯ ได้ลม้ ป่ วยอีกครั้ง รอบนี้ มี
อาการหลับไม่สนิท ปวดเมื่อย ลุกนัง่ เองไม่ได้ ต้องมีช่วยพยุง แต่ก็ยงั พอจะเดินเหิ นช้าๆ ได้อยู่๓๙ ทาให้ท่านต้อง
ใช้เวลาส่วนใหญ่พกั ผ่อนอยูท่ ี่เมืองราชบุรีมาถึงกลางปี พ.ศ.๒๔๒๔
พออาการกลับมาดีข้ นึ บ้าง สมเด็จเจ้าพระยาฯ ทาจดหมายถึงเจ้าคุณทหารว่า “บัดนี้ไปอยูเ่ มืองราชบุรี ไม่
มี การงานสิ่ งใด นั่งเปล่านอนเปล่าอยู่ เหมือนหนึ่ งจะคอยวันมรณา ไม่ชอบกล (ไม่เข้าท่า -ผูเ้ ขียน) เลย”๔๐ จึง
ขอให้กราบบังคมทูลให้ท่านได้ออกไปทานุบารุ งเมืองตรังให้เป็ นเมืองการค้าของหัวเมืองชายทะเลฝั่งตะวันตก
เมื่อทางกรุ งเทพฯ ไม่ขดั ข้องประการใด สมเด็จเจ้าพระยาฯ ก็เดินทางออกไปเมืองตรังในทันที ทาให้ตลอดครึ่ งปี
หลังของ พ.ศ.๒๔๒๔ ไม่ปรากฏความขัดแย้งทางการเมืองใดๆ อีก เพราะทั้งสองฝ่ ายเว้นระยะห่างกันพอสมควร
ฝ่ ายหนึ่งไปจัดราชการอยู่เมืองตรัง อีกฝ่ ายหนึ่ งก็ง่วนอยู่กบั การเตรี ยมงานสมโภชพระนครที่จะจัดขึ้นตอนต้นปี
พ.ศ.๒๔๒๕
เมื่องานสมโภชพระนครอยู่ในการดูแลของฝ่ ายราชสานักทั้งหมด จึงไม่มีพ้ืนที่ให้กบั เสนาบดีตระกูล
บุนนาค พวกเขาจึงไปรวมตัวกันจัดแสดงละครที่จวนของเจ้าคุณกรมท่า ข่าวนี้ ไปเข้าพระกรรณของกรมหมื่น
บริ รักษ์นริ นทรฤทธิ์ (๒๓๘๘-๒๔๒๙) ผูร้ ับผิดชอบงานจัดแสดงในทันที พระองค์ได้ทาจดหมายถึงเจ้าคุ ณ
กรมท่าว่าจะขอคณะละครดังกล่าวมาจัดแสดงเป็ นเวลา ๑ สัปดาห์ แต่เจ้าคุณกรมท่าเห็นว่าตนเองไม่ได้เป็ น
เจ้าของคณะละครนี้ จึงกราบทูลไปว่าควรจะทาจดหมายถึงสมเด็จเจ้าพระยาฯ ที่เป็ นเจ้าของคณะเสี ยจะดีกว่า ๔๑
แต่ดูเหมือนว่ากรมหมื่นบริ รักษ์จะไม่ทรงเข้าพระทัยในสิ่ งที่เจ้าคุณกรมท่าพยายามจะชี้แจง พระองค์ยนื กรานให้
เจ้าคุณกรมท่าจัดคณะละครไปแสดงให้ได้ โดยจะผ่อนผันให้อีก ๑ เดือนแล้วให้แสดงไปจนกว่าจะสิ้ นสุ ดงาน
สมโภช (งานนี้ฉลองกันเป็ นเวลา ๓ เดือน)
แต่ไม่ว่าเจ้าคุณกรมท่าจะชี้แจงกลับไปซ้ าอย่างไร กรมหมื่นบริ รักษ์จะไม่ทรงฟังคาชี้แจงนั้น ทั้งยังทรง
กล่าวโทษเจ้าคุณกรมท่าอย่างรุ นแรงด้วยว่า “เจ้าคุณไม่มีน้ าใจเอื้อเฟื้ อยินดีต่อพระกฤษฎาภินิหาญของพระบรม
ราชวงษ์ปัตยุบนั นี้”๔๒ การถูกเจ้านายรุ่ นราวคราวลูกมาต่อว่าต่อขานเช่นนี้ ทาให้เจ้าคุณกรมท่าต้องมีจดหมายถึง

๓๙
หจช. ร.๕ นก ๑๒/๔๐๔ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรี สุริยวงษ กราบบังคมทูลเรื่ องอาการเจ็บไข้ จ.ศ.๑๒๔๓.
๔๐
หจช. ร.๕ รล-พศ ๒๐/๑๐๒ เจ้าพระยาสุรวงษ์ออกไปจัดการเลขเมืองตะวันตก และจะทานุบารุ งเมืองตรัง จ.ศ.๑๒๔๒.
๔๑
หจช. ร.๕ นก ๑๗/๒๖๘-๒๖๙ กรมหมื่นบริ รักษ์ กราบเรี ยน ฯพณฯ ผูส้ าเร็จราชการกรมท่า เรื่ องเจ้าฟ้าภาณุรังษีโปรดฯ ให้เกณฑ์ละครของกรมท่า
ไปเล่นที่โรงละครกลางเอกซฮิบิเช่อน ณ ท้องสยามหลวง จ.ศ.๑๒๔๔.
๔๒
หจช. ร.๕ นก ๑๗/๒๗๒ กรมหมื่นบริ รักษ์ คานับเรี ยนมายังเจ้าพระยาภาณุวงษฯ เรื่ องไม่สามารถนาละครมาเล่นในการเอกซฮิบิเช่อน ว่าเปนการ
ขาดความกตัญญูต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูห่ วั จ.ศ.๑๒๔๔.
12

สมเด็จเจ้าพระยาฯ ขอให้ส่งคณะละครดังกล่าวไปจัดแสดงจะได้สิ้นเรื่ องสิ้ นราวกันไป แต่สมเด็จเจ้าพระยาฯ


กลับเห็นว่าคณะที่ว่าเป็ นแต่เพียงเด็กเพิ่งจะฝึ กหัด หากนาไปจัดแสดงแล้วก็คงไม่พน้ จะโดนข้อหาหมิ่นพระบรม
เดชานุภาพในที่สุด๔๓
ในจดหมายตอบฉบับเดียวกัน สมเด็จเจ้าพระยาฯ ได้ตกั เตือนเจ้าคุณกรมท่าด้วยว่า “ครั้ งนี้ ท่านผูก้ ะ
เกณฑ์ว่ากล่าวเรี่ ยวแรงนัก จนเปนถึงคนไม่มีกตัญญู เปนคนเทจ์ดงั นี้ ก็เพราะสมเดจพระเจ้าแผ่นดินท่านจะไม่
ทรงเลี้ยงแล้ว เจ้าเล็กนายน้อยจึ่งได้โอกาศว่ากล่าวดัง่ นี้ได้ ทรงพระมหากรุ ณาชุบเลี้ยงให้เปนเสนาบดีไม่มีกตัญญู
ขาดจากความจริ งเสี ยแล้ว จะฉลองพระเดชพระคุณไปได้ฤา”๔๔ เมื่อเจ้าคุณกรมท่ากลับมาทบทวนสิ่ งที่สมเด็จ
เจ้าพระยาฯ ตักเตือนมาก็ลงความเห็นว่า “ข้าพระพุทธเจ้าคิดด้วยเกล้าฯ ว่าจะบอกป่ วย ทาราชการอยู่กับบ้าน
ตามแต่เวลาที่ท่านจะปลดเปลื้องราชการไปจากตัวกว่าจะหมดความประสงค์ของท่าน แลตามแต่เวลาที่จะเปน
ไป”๔๕
แม้ว่าในท้ายที่สุด เจ้าคุณกรมท่าจะยังไม่ลาออก และไม่โดนเกณฑ์คณะละครไปแสดงก็ตาม แต่นั่นก็
เป็ นชนวนเหตุให้เจ้าคุณกรมท่า ต้องกลับมาทบทวนตาแหน่ งหนของตนเองอี กครั้ ง เพราะท่านถูกกดดันใน
ตาแหน่งเสนาบดีว่าการต่างประเทศมาเป็ นเวลานานแล้ว แต่ที่ยงั รักษาตาแหน่ งนี้ ไว้ได้ก็เพราะอิทธิ พลของเจ้า
คุณพี่ชาย ถ้าหากสมเด็จเจ้าพระยาฯ จากไปในวันใดวันหนึ่งแล้ว ตัวท่านเองก็ยอ่ มจะเดือดร้อนตามไปด้วย
“ถ้ าจะทนทาราชการต่อไปนั้น ถ้ าข้ าพระพุทธเจ้ าตายเสี ยก่ อนใต้ เท้ าพระกรุ ณาเจ้ าก็เปนการดี ถ้ าใต้ ท้าว
พระกรุ ณาเจ้ าล่ วงลับไปก่ อนข้ าพระพุทธเจ้ า ถ้ าข้ าพระพุทธเจ้ ายังอยู่ในราชการแล้ วก็คงจะได้ ค วาม
ลาบากเวทนา แลความเดือดร้ อนกับตัวเปนที่สุดแน่ ถ้ าคิดปลดเปลื้องเสี ยในเวลาที่ใต้ เท้ าพระกรุ ณาเจ้ า
อยู่ ดั ง นี้ การสิ่ ง หนึ่ ง สิ่ ง ใดก็ ยั ง จะมี ค วามเกรงใจอยู่ บ้ า ง พอภอจะได้ รั ก ษาตั ว อยู่ จ นจื ด จางไป
ข้ าพระพุทธเจ้ าคิดด้ วยเกล้ าฯ ดังนี”้ ๔๖
(๘)

๔๓
หจช. ร.๕ นก ๑๗/๒๗๔ สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรี สุริยวงษ มายังเจ้าพระยาภาณุวงษมหาโกษาธิบดี เรื่ องการที่ไม่สามารถนาละครมาเล่นได้ว่า
ไม่เกี่ยวข้องกับการที่ว่าอกตัญญูต่อในหลวง จ.ศ.๑๒๔๔.
๔๔
หจช. ร.๕ นก ๑๗/๒๗๗ เจ้าพระยาภาณุวงษมหากโกษาธิบดี กราบเรี ยนสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรี สุริยวงษ เรื่ องความคับข้องใจในการรับ
ราชการในฐานะพระคลัง จ.ศ.๑๒๔๔.
๔๕
หจช. ร.๕ นก ๑๗/๒๗๗ เจ้าพระยาภาณุวงษมหากโกษาธิบดี กราบเรี ยนสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรี สุริยวงษ เรื่ องความคับข้องใจในการรับ
ราชการในฐานะพระคลัง จ.ศ.๑๒๔๔.
๔๖
หจช. ร.๕ นก ๑๗/๒๗๗ เจ้าพระยาภาณุวงษมหากโกษาธิบดี กราบเรี ยนสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรี สุริยวงษ เรื่ องความคับข้องใจในการรับ
ราชการในฐานะพระคลัง จ.ศ.๑๒๔๔. (เน้นโดยผูเ้ ขียน)
13

การที่เจ้าเล็กนายน้อยสาแดงอานาจต่อเจ้าคุณกรมท่า ถึงเพียงนี้ ได้ มูลเหตุสาคัญย่อมจะมาจากอิทธิพลที่


คุม้ ครองเจ้าคุณกรมท่ากาลังถดถอยจนเป็ นที่สังเกต เพราะนับตั้งแต่สมเด็จเจ้าพระยาฯ ล้มป่ วยในปี พ.ศ.๒๔๒๒
เป็ นต้นมา นอกจากจะมีข่าวลือที่แพร่ สะพัดกันไปทัว่ แล้ว ยังไปไกลถึงเมืองพระตะบอง จนพระยาคทาธรธรนิ
นทร์ (เยีย อภัยวงศ์, -๒๔๓๔) ต้องมีจดหมายมาถามอาการป่ วยจากเจ้าคุณทหารเลยทีเดียว ในจดหมายตอบ
กลับของเจ้าคุณทหารยังทาให้เราทราบด้วยว่า อาการป่ วยรอบนี้ ทรุ ดหนักในช่วงเริ่ มงานสมโภชพระนคร “มี
อาการไอคอแห้ง รับประทานอาหารให้มีลมปะทะน่าอก กลืนอาหารไม่ใคร่ จะลง” ทั้งวังหลวงและวังหน้าก็ได้
ส่งหมอหลวงมาดูแลถึงเมืองราชบุรี แต่อาการก็ไม่ดีข้ ึน ร่ างกายก็เหี่ยวแห้งลงไปทุกวันเพราะรับประทานอาหาร
ได้เพียงมื้อละ ๒-๓ ช้อนเท่านั้น๔๗
ปลายเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๒๕ ครอบครัวต้องนาตัวสมเด็จเจ้าพระยาฯ กลับมารักษาที่กรุ งเทพฯ
เพราะร่ างกายซูบผอมจนเดินไม่ได้ ต้องขึ้นแค่หามไปมา๔๘ กลางเดือนต่อมา สมเด็จเจ้าพระยาฯ ออกไปพักผ่อน
ตากอากาศที่ สั ต หี บ เจ้า คุ ณ กรมท่ า ที่ เ ดิ น ทางไปด้ว ยได้ร ายงานกลับ มาว่ า อาการป่ วยนั้ น ยัง คงทรงๆ อยู่
รับประทานอาหารได้บา้ งไม่ได้บา้ ง นอนไม่ค่อยจะหลับทาให้อ่อนเพลียกว่าตอนอยู่กรุ งเทพฯ ๔๙ เมื่อพักผ่อน
แล้วท่านก็กลับมาจัดงานวันเกิด ฉลองอายุ ๗๔ ปี ที่กรุ งเทพฯ ในการนี้ พระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชทานพรและอัฐ
ทองแดง ๕๑,๒๐๐ อัฐ คิดเป็ นมูลค่ากว่า ๑๐ ชัง่ เป็ นของขวัญ จากนั้นท่านก็เดินทางกลับเมืองราชบุรีอีกครั้ง๕๐
ราวกลางเดือนมกราคม พ.ศ.๒๔๒๕ (ตามปฏิทินเก่า) สมเด็จเจ้าพระยาฯ ที่กาลังเดินทางกลับจากไป
ธุระที่เมืองกาญจนบุรีก็เกิดอยากจะกินมะขามป้อม ไม่ว่าใครห้ามก็ไม่ฟัง จึงได้ยอมให้หามเปลเข้าไปในป่ านั้น
ตอนเวลากลางวันร้อนจัด แต่เมื่อถึงป่ ามะขามป้อมแล้วกลับไม่เจอต้นมะขามป้อม “นัง่ หลับตาอยู่ ครั้นกลับมาตัว
ก็ร้อนเปนไขทีเดียว ท่ านตกใจถามหมอว่ าจะกลับไปตายบ้ านทันฤาไม่ทัน จมื่นมหาดเลกหมอว่าทัน ” จึงเป็ นอัน
ล่องเรื อมาถึงเมืองราชบุรีในตอนบ่ายวันที่ ๑๙ มกราคม แต่พอคิดว่าจะต้องกลับเข้ากรุ งเทพฯ ในวันเสาร์ ซึ่งไม่
ต้องพระราชนิ ยมในสมัยรัชกาลที่ ๔ สมเด็จเจ้าพระยาฯ จึงสั่งให้หยุดพักเสี ยวันหนึ่ งก่อนแล้วค่อยเข้าพระนคร

๔๗
หจช. ร.๕ นก ๒๑/๓๐ พระยาคทาธรธรณินทร์ บอกน้อมคานับสมุหพระกลาโหมเรื่ องอาการป่ วยของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรี สุริยวงษ์ จ.ศ.
๑๒๔๔. และ หจช. ร.๕ นก ๒๑/๕๔ เจ้าพระยาสุรวงษไวยวัฒน์ มายัง พระยาคทาธรธรณินทร์ เรื่ องอาการป่ วยของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรี สุริ
ยวงษ์ จ.ศ.๑๒๔๔.
๔๘
หจช. ร.๕ นก ๒๑/๒๑๒ เจ้าพระยาสุ รวงษไวยวัฒน์ มาถึงผูว้ ่าราชการเมืองกรมการเมืองชายทะเลฝั่งตะวันตกทั้งมวล เรื่ องสมเด็จเจ้าพระยาบรม
มหาศรี สุริยวงษถึงแก่พิราไลย จ.ศ.๑๒๔๔.
๔๙
หจช. ร.๕ นก ๒๑/๒๑๒ เจ้าพระยาสุ รวงษไวยวัฒน์ มาถึงผูว้ ่าราชการเมืองกรมการเมืองชายทะเลฝั่งตะวันตกทั้งมวล เรื่ องสมเด็จเจ้าพระยาบรม
มหาศรี สุริยวงษถึงแก่พิราไลย จ.ศ.๑๒๔๔.
๕๐
หช. จมห. ร.๕ มัด ๒๑/๕ พระราชทานพระในการแซยิดสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรี สุริยวงศ์ จ.ศ.๑๒๔๔. และ หจช. ร.๕ นก ๒๑/๔๑ เจ้าพระยา
สุรวงษไวยวัฒน์ กราบบังคมทูลเรื่ องการทาบุญวันเกิด อาการป่ วย กับการทูลลาไปราชบุรีของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรี สุริยวงษ จ.ศ.๑๒๔๔.
14

ในวันอาทิตย์ แต่ไม่ทนั จะหามท่านขึ้นจวนก็เป็ นลมคอพับเสี ยที่ตน้ มะขามหลังบ้าน แก้ไขอย่างไรก็ไม่ได้สติ


กว่าจะตามตัวเจ้าคุณทหารได้ก็มืดค่า เมื่อปรึ กษากันก็ตกลงให้พาสมเด็จเจ้าพระยาฯ เข้ากรุ งเทพฯ เสี ยแต่ในคืนนี้
เมื่อมาถึงปากคลองกระทุ่มเบน “พอเวลา ๕ ทุ่มเสศชักคอหันบิดไปนิดเดียวก็ขาดใจตาย” ๕๑
เช้าวันรุ่ งขึ้น ร่ างไร้วิญญาณของผูส้ าเร็ จราชการแผ่นดินก็เคลื่อนมาถึงทาเนี ยบที่ฝ่ังธนบุรี เวลาเที่ยงเศษ
พระเจ้าอยู่หัวเสด็จไปพระราชทานน้ าหลวงอาบศพ มีพระบรมวงศานุวงศ์ เสนาบดี ขุนนางผูใ้ หญ่ผนู ้ อ้ ย รวมทั้ง
ฝ่ ายในไปร่ วมรดน้ าศพอย่างคับคัง่ หลังจากรดน้ าศพเสร็ จสิ้ น เจ้าพนักงานแต่งศพตามธรรมเนียม เจ้าคุณทหาร
หวีผมให้บิดาเป็ นครั้งสุ ดท้ายก่อนจะห่ อศพลงโกศ จากนั้นพระเจ้าอยูห่ ัวทรงสวมชฎาพระราชทานตามเกียรติยศ
เจ้าพนักงานยกโกศขึ้นตั้งบนแว่นฟ้า พระสงฆ์ ๕๐ รู ปบังสุกุลแล้วเสด็จกลับพระบรมมหาราชวัง๕๒
พระเจ้า อยู่ หั ว ยัง มี รั บ สั่ ง ให้ เ สนาบดี คิ ด จัด งานศพสมเด็ จ เจ้า พระยาฯ อย่า ง “คนโตๆ” ของยุ โ รป
สันนิษฐานได้วา่ จะเกี่ยวข้องกับการเพิ่มวันไว้ทุกข์จาก ๓ วันตามธรรมเนียมไปเป็ น ๗ วัน ตลอดจนการแต่งกาย
ไว้ทุกข์ ซึ่งเจ้าคุณกรมท่าคงจะเสนอให้แต่งดาอย่างฝรั่ง แต่เจ้าคุณทหารในฐานะบุตรชายไม่เห็นด้วย ดังที่กรม
หมื่นเทวะวงศ์วโรปการ (๒๔๐๑-๒๔๖๖) บันทึกเอาไว้ว่า “ในเวลานั้น เจ้าพญาสุ รวงษพบพูดไปรเวทในฉาก
เรื่ อ งแขวะกับ กรมท่ า ด้ว ยไว้ทุ ก ข์ จะนุ่ ง ขาวตามธรรมเนี ย มแลจะอาไศรยเราในการต่ อ ไปด้ว ย”๕๓ เมื่ อ
พระราชสานักออกทุกข์ในวันที่ ๒๘ มกราคมแล้ว เจ้าคุณทหารก็เข้าเฝ้าถวายตราสุ ริยมณฑลคืนแด่พระเจ้าอยู่หัว
เป็ นการสิ้ นอานาจของสมเด็จเจ้าพระยาฯ โดยสมบูรณ์๕๔
(๙)
กลางปี พ.ศ.๒๔๒๖ สมเด็จเจ้าฟ้ าฯ กรมพระบาราบปรปั กษ์ ทรงกาหนดรู ปแบบของเมรุ และเครื่ อง
ประกอบเกียรติยศว่าจะให้รับพระราชทานเบญจาทองคาตั้งโกศ ตั้งเมรุ ที่สนามข้างอุโบสถวัดบุปผาราม๕๕ โดย
เมรุ น้ ันจะยกของพระเจ้าน้องนางเธอ กรมขุนขัติยกัลยา มาปลูก แต่แก้ทรงเมรุ เป็ นอย่างสี่ เหลี่ยม ไม่ได้ย่อมุม

๕๑
ปุญญกถาพระประวัติและจดหมายเหตุรายวันของสมเด็จพระเจ้ าบรมวงศ์ เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์ วโรปการ, พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ มจ.
หญิง ทิพรัตนประภา เทวกุล ณ เมรุ วดั เทพศิรินทราวาส, ๑ มีนาคม ๒๕๐๘, น.๘๐-๘๑. (เน้นโดยผูเ้ ขียน)
๕๒
ณัฐวุฒิ สุทธิสงคราม, สมเด็จเจ้ าพระยาบรมมหาศรี สุริยวงศ์ (ช่ วง บุนนาค), น.๙๕๗-๙๕๘.
๕๓
ปุญญกถาพระประวัติและจดหมายเหตุรายวันของสมเด็จพระเจ้ าบรมวงศ์ เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์ วโรปการ, น.๘๒-๘๓.
๕๔
จดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน พระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้ าอยู่หัว ภาค ๑๓, พิมพ์ในงานพระราชเพลิงพระศพ พระเจ้า
บรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวาณีรัตนกัญญา ณ เมรุ วดั เทพศิรินทราวาส วันที่ ๒๗ มกราคม ๒๔๗๙, น.๑๔.
๕๕
หจช. ร.๕ นก ๒๘/๙๒ สมเด็จฯ กรมพระบาราบปรปักษ กราบบังคมทูลเรื่ องเมรุ สมเดจเจ้าพระยาบรมมหาศรี สุริยวงษ จ.ศ.๑๒๔๕.
15

อย่างเมรุ เจ้า มียอดเป็ นฉัตรผ้าแดง๕๖ ในระหว่างการปลูกเมรุ ก็มีคนร้ายลอบมาขโมยเสาเมรุ กรมพระนครบาลจึง


จับตัวส่งให้เจ้าคุณทหารเป็ นผูล้ งโทษ๕๗
ช่วงปลายปี เดียวกัน คุณหญิงพัน ภริ ยาของสมเด็จเจ้าพระยาฯ ได้ส่งจดหมายออกไปทวงเงินขุนนางที่
ติดหนี้ สมเด็จเจ้าพระยาฯ หลายราย หนึ่ งในนั้นคือเจ้าพระยาไทรบุรีที่ติดค้างอยู่ ๒,๕๐๐ เหรี ยญ เพราะต้องใช้
จ่ายในงานออกเมรุ เป็ นจานวนมาก ๕๘ อีกทั้งยังต้องเตรี ยมที่พกั รับรองเจ้าเมืองและเจ้าประเทศราชขึ้นกรมพระ
กลาโหมที่จะมาร่ วมงานหลายสิ บเมือง ส่ วนขุนนางหัวเมืองขึ้นกรมมหาดไทยที่จะมาร่ วมงานก็มีแต่พระยาปลัด
เมืองพระตะบองเท่านั้น๕๙ ในวันงานยังมีแขกชาวต่างชาติที่มาร่ วมพิธีอย่างคับคัง่ จนเกินกาลังเจ้าภาพที่จะรับรอง
ได้อย่างทัว่ ถึง ดังที่มีผบู ้ นั ทึกเอาไว้วา่ “มีฝรั่งไปนัง่ ตรงน่าพลับพลามากเตมไปทั้งนั้น ตารวจไม่มีที่นง่ั ต้องรื้ อกัน
วุน่ วาย กรมท่ากับเจ้าของงานไม่จดั การรับรองให้ดีเลย”๖๐
ส่ วนการเตรี ยมเรื่ องแห่ โกศจากทาเนี ยบไปยังเมรุ เจ้าคุณทหารได้หารื อกับเจ้าหมื่นไวยวรนารถ (เจิม
แสง-ชูโต) เพื่อขอทหารหน้าไปเดินแห่ ให้เป็ นเกียรติยศ ความคิดนี้ จึงดู เป็ นเรื่ องที่ ตลกร้ ายอยู่ไม่น้อย เพราะ
สมเด็จเจ้าพระยาฯ ก็เคยมีปัญหาอย่างรุ นแรงกับกรมทหารหน้ามาก่อน ส่วนเจ้าหมื่นไวยวรนารถเห็นว่าเรื่ องนี้ ไม่
เคยมีแบบแผนปฏิบตั ิ จึงได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานทหารเพียง ๑๐๐ คนไปเข้ากระบวน๖๑ แต่ถา้ หากจัด
ตามแบบแผนแล้ว สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมพระบาราบปรปั กษ์ทรงขอทหารล้อมวังไปเป็ นฝี พายต่างๆ รวมทั้งเข้า
กระบวนแห่ ของฝ่ ายหน้าและฝ่ ายในไม่ต่ากว่า ๔๐๐ คน๖๒ ทาให้การแห่ โกศสมเด็จเจ้าพระยาฯ ครั้งนี้ ตอ้ งใช้
ทหารทั้งแบบเก่าและใหม่รวมกันไม่ต่ากว่า ๕๐๐ คน
ทั้ง นี้ ราชส านัก ยัง ได้กาหนดการศพสมเด็จเจ้าพระยาฯ ไว้ ๔ วัน ระหว่างวันที่ ๔ - ๗ เมษายน พ.ศ.
๒๔๒๗ สาหรับวันแรกจะเป็ นการเคลื่อนโกศจากทาเนียบไปยังเมรุ ที่วดั บุปผาราม วันที่สองเป็ นวันทิง้ ทาน วันที่

๕๖
หจช. สบ ๑๗ บันทึกรายวันกรมพระสมมต จ.ศ.๑๒๔๖, น.๙๕.
๕๗
จดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน พระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้ าอยู่หัว ภาค ๑๖, พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ เจ้าพระยา
อภัยราชามหายุติธรรมธร ณ เมรุ วดั เทพศิรินทราวาส วันที่ ๑๕ มีนาคม ๒๔๘๑, น.๙๙.
๕๘
หจช. ร.๕ นก ๓๔/๔๔ พระนริ นราชเสนี มายังพระยายุทธการโกสนฯ กับหม่อมแสงในท่านเจ้าพระยาไทรบุรี ความว่าขอให้จดั เงิน ๒๕๐๐ เหรี ยญ
ฝากเข้ามาใช้คืนคุณหญิงพัน เพราะคุณหญิงจะนาไปใช้จ่ายในการศพสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรี สุริยวงศ์ จ.ศ.๑๒๔๖
๕๙
หจช. ร.๕ นก ๓๑/๑๖๓, น.๑๗๘; หจช. ร.๕ นก ๓๒/๙๙, น.๒๕๙-๒๖๐; หจช. ร.๕ นก ๓๒/๑๒๖, น.๓๑๗; หจช. ร.๕ นก ๓๓/๗๒, น.๑๘๕-
๑๘๖.และ หจช. ร.๕ นก ๓๓/๘๑, น.๒๑๑.
๖๐
หจช. สบ ๑๗ บันทึกรายวันกรมพระสมมต จ.ศ.๑๒๔๖, น.๙๕.
๖๑
หจช. ร.๕ นก ๓๓/๑๗ เจ้าหมื่นไวยวรนารถ กราบบังคมทูลขอรับพระราชทานทหารไปแห่ศพสมเด็จเจ้าพระยา จ.ศ.๑๒๔๕-๑๒๔๖.
๖๒
หจช. ร.๕ นก ๓๓/๖๐ กรมหมื่นประจักษศิลปาคม กราบบังคมทูลว่า สมเด็จฯ กรมพระบาราบปรปักษจะขอทหารรักษาพระบรมมหาราชวัง ๔๐๐
คน ไปใช้ในการแห่ศพสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรี สุริยวงษ จ.ศ.๑๒๔๕-๑๒๔๖.
16

สามเป็ นวันพระราชทานเพลิงศพ และวันสุ ดท้ายเป็ นวันเก็บอัฐิ๖๓ วันที่ถือว่าเป็ นจุดสนใจมากจนมีการบันทึกไว้


หลายแหล่งตรงกันคือวันแรกที่เคลื่อนโกศเข้าสู่เมรุ ผูท้ ี่อยู่ในเหตุการณ์ต่างบันทึกตรงกันถึงความเอิกเกริ กอย่าง
ที่ไม่เคยเห็นมาก่อน๖๔ แม้แต่หมอสมิธก็ยงั รายงานไว้ในหนังสื อพิมพ์ของท่านว่า “อนาประชาราษฎรทั้งปวงที่มา
ช่วยมาดูการแห่การชักศพ คนเปนอันมาก เบียดเสี ยดกันออกแน่น ชักศพวันนั้นเวลาเที่ยงกาลังแดดร้อนจัดนัก...
แต่การเล่นต่างๆ มีตลอดวัน การเมรุ ของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรี สุริยวงษคราวนี้ โตใหญ่งามนัก สมกับวาศ
นาท่ า นเปนผูใ้ หญ่ สู ง ไม่ (เคย)เหนเหมื อ นคราวนี้ ไม่ เปลื อ งเงิ น เปนอัน มาก คนได้ไ ปดู ก ารเมรุ ค ราวนี้ ชม
สรรเสริ ญเปนอันยิง่ ”๖๕
ตลอดงานทั้ง ๔ วัน พระเจ้า อยู่ หั ว เสด็ จ ทุ ก วัน แต่ ว ัน ที่ ส าคัญ ที่ สุ ด คื อ วัน ที่ ๖ เมษายนที่ เ ป็ นวัน
พระราชทานเพลิงศพในเวลาบ่าย ๕ โมงเย็น๖๖ เมื่อเสร็ จพิธีการเก็บอัฐิแล้ว เจ้าคุณทหารก็เข้าเฝ้าถวายคืนเครื่ อง
ยศและสิ่ งของพระราชทานตามคาสั่งเสี ยของสมเด็จเจ้าพระยาฯ โดยแบ่งเป็ นเครื่ องยศที่ได้รับพระราชทานใน
สมัย รั ชกาลที่ ๓ รวม ๙ รายการ ที่ ไ ด้รับ พระราชทานในสมัยรั ชกาลที่ ๔ เป็ นเครื่ องยศ ๓ รายการ เป็ นของ
พระราชทานส่ วนตัวอีก ๑๔ รายการ และที่ได้รับพระราชทานในรัชกาลที่ ๕ เป็ นเครื่ องยศ ๑๒ รายการ สิ่ งของ
พระราชทานเป็ นส่ วนตัวอี ก ๑๕ รายการ รวมทั้ง หมด ๕๓ รายการ ซึ่ ง สิ่ ง ของที่ ถ วายคื นนี้ บางส่ วนก็ไ ด้รับ
พระราชทานกลับคืนมาด้วย๖๗
(๑๐)
พลันที่สิ้นสมเด็จเจ้าพระยาฯ แล้ว ความเคลื่อนไหวทางการเมืองก็ปรากฏ ดังกรณี ที่เจ้าคุณทหารหารื อ
อย่างลับๆ กับกรมหมื่นเทวะวงศ์วโรปการว่าจะขอพึ่งพาต่อไปในอนาคต ส่ วนสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงภาณุ
พันธุวงศ์วรเดช (๒๔๐๒-๒๔๗๑) อีกหนึ่งแกนนาคนสาคัญในฝ่ ายพันธมิตรฯ ได้กราบบังคมทูลว่าต่อไปนี้ จะมา
ขอเฝ้าตอนกลางวันทุกวัน ด้วยมีขอ้ ราชการต้องปรึ กษามากกว่าแต่ก่อน แต่กรมหมื่นเทวะวงศ์วโรปการทรงเห็น
ว่าคากราบบังคมทูลนั้นมีเบื้องหน้าเบื้องหลังเป็ นอย่างอื่น “เหนจะเปนด้วยนายเทียนต้องรับพระราชอาญาไม่มี
ใครจะแต่งหนังสื อถวายท่าน แลประการหนึ่ง นายเทียนทูลเตือนท่านแต่ก่อน ซึ่ งเราได้สาเนาหนังสื อนั้นมาจาก

๖๓
หจช. ร.๕ กต(ล) ๔.๒/๙๒ หมายกาหนดการเผาศพสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรี สุริยวงษที่วดั บุปผาราม จ.ศ.๑๒๔๖.
๖๔
หจช. สบ ๑๗ บันทึกรายวันกรมพระสมมต จ.ศ.๑๒๔๖, น.๙๕.
๖๕
จดหมายเหตุสยามไสมย เล่มที่ ๑ และ ๒ พิมพ์ ครั้ งที่ ๒, (กรุ งเทพฯ: ต้นฉบับ, ๒๕๔๘), น.๑๔๔.
๖๖
หจช. สบ ๑๗ บันทึกรายวันกรมพระสมมต จ.ศ.๑๒๔๖, น.๙๗.
๖๗
หจช. ร.๕ นก ๓๔/๔ เจ้าพระยาสุรวงษไวยวัฒน์ฯ กราบบังคมทูลถวายบัญชีเครื่ องยศและสิ่งของพระราชทานของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรี สุริ
ยวงศ์ จ.ศ.๑๒๔๖. และ หจช. สบ ๑๗ บันทึกรายวันกรมพระสมมต จ.ศ.๑๒๔๖, น.๑๑๖.
17

กรมหมื่นพิชิตที่ให้หลวงบรรหารไปล่อมาได้วา่ ถ้าสมเดจเจ้ าพญาตายแล้ว ในหลวงจะทรงว้าเหว่มาก ให้ ท่านทา


ให้ สนิทชิดชมกับในหลวงจะเปนการดีในพระองค์ ”๖๘
และเมื่อไม่มีอิทธิพลของเจ้าคุณพี่ชายคุม้ ครองแล้ว เจ้าคุณกรมท่าก็ถูกตรวจสอบเป็ นคนแรก เพราะเพียง
๗ วันหลังจากสมเด็จเจ้าพระยาฯ ถึงแก่พิราลัย ก็มีรับสั่งตาหนิ เรื่ องขาดส่ งเงินโรงภาษีโดยทันที พระเจ้าอยู่หัว
ทรงใช้เหตุผนี้ ในการยึดโรงภาษีไว้จนกว่าเจ้าคุณกรมท่าจะส่ งเงินครบตามที่ระบุไว้ในสัญญาสัมปทาน๖๙ ส่ วน
เจ้าคุณทหารนั้นมีการผ่อนผันการดาเนิ นการไปหลังจากเสร็ จงานพระราชทานเพลิงศพในปี พ.ศ.๒๔๒๗ ด้วยมี
รับสั่งว่าจะปรับปรุ งให้เป็ นแบบแผนเดียวกันทั้งประเทศ ทาให้เจ้าคุณทหารต้องคืนสัมปทานภาษีร้อยชักสาม
ภาษีน้ าตาล ให้กบั กรมพระคลังสมบัติจดั การแทน ส่ วนภาษีฝ่ิ นที่เป็ นฐานทรัพยากรสาคัญของกรมพระกลาโหม
ก็หลุดมือเสนาบดีไปอยูใ่ นการควบคุมของปลัดทูลฉลองแทน๗๐
ทางด้านการเมือง ฝ่ ายพันธมิตรฯ ยังกดดันเจ้าคุณกรมท่าอย่างหนักจนต้องขอลาออกจากตาแหน่งในปี
พ.ศ.๒๔๒๘ ส่วนเจ้าคุณทหารก็หมดความสาคัญในฐานะเสนาบดีอนั ดับหนึ่งไปให้กรมหมื่นเทวะวงศ์วโรปการ
ในที่สุด ตัวท่านเองก็ขอลดบทบาททางการเมืองโดยให้เหตุผลว่าป่ วย และถึงแก่อสัญกรรมในตาแหน่ งตอนปี
พ.ศ.๒๔๓๑ เป็ นอันว่าหลังจากสิ้ นสมเด็จเจ้าพระยาฯ ไปเพียง ๖ ปี เสนาบดีตระกูลบุนนาคก็ ถูกถอนรากโถน
โคนทั้งทางเศรษฐกิจและการเมือง หมดความสาคัญในรัฐบาลโดยสิ้ นเชิง๗๑
(๑๑)
ภายหลังการผลัดแผ่นดินย่อมจะมีการก่อตัวของระเบียบการเมืองใหม่โดยเสมอ แต่เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น
ในปี พ.ศ.๒๔๑๑ กลับมีจุดที่แตกต่างไปจากเดิมอยู่ไม่น้อย นั่นคือการก้าวขึ้นมามี อานาจของผูส้ าเร็ จราชการ
แผ่นดิน ซึ่งในช่วงเวลา ๕ ปี แรกนั้นก็เป็ นที่รับรู ้วา่ อานาจและบารมีของท่านไม่มีผใู ้ ดจะเทียบเทียมได้ เหมือนกับ
ดวงอาทิตย์เที่ยงวันที่กาลังร้อนแรงอย่างที่สุด แต่เมื่อพ้นจากตาแหน่งแล้ว สมเด็จเจ้าพระยาฯ ก็ลงมาอยู่ในฐานะ
หัวหน้าเสนาบดี ต่อไปอีกหลายปี ทาให้อิทธิ พลทางการเมืองของท่านไม่ ได้หายไปไหนเลย อานาจการนาใน
รัฐบาลก็ดูจะเป็ นของท่านต่อไปอีก ในจุดนี้เองที่ทาให้เห็นว่าระบอบขุนนางได้พฒั นามาถึงขีดสุดแล้ว
ถ้าเป็ นช่วงต้นรัชกาลใหม่ๆ ที่พระเจ้าอยู่หัวยังทรงพระเยาว์ พันธมิตรทางการเมืองของพระองค์ก็ไม่
เข้มแข็ง พระญาติขา้ งพระราชมารดาก็ลว้ นแต่โลเลเหลวไหล ๗๒ ก็ยงั พอจะเข้าใจบริ บทในขณะนั้นได้ว่าทาไม

๖๘
ปุญญกถาพระประวัติและจดหมายเหตุรายวันของสมเด็จพระเจ้ าบรมวงศ์ เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์ วโรปการ, น.๘๘. (เน้นโดยผูเ้ ขียน)
๖๙
หจช. ร.๕ บ ๑.๒/๑๐ พระราชหัตถเลขาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั ร.ศ.๑๐๓.
๗๐
สุกญ
ั ญา บารุ งสุข, อานาจหน้ าที่และบทบาทของสมุหพระกลาโหมในสมัยรั ตนโกสิ นทร์ , น.๒๓๓.
๗๑
ในประเด็นนี้ผเู ้ ขียนจะหาโอกาสขยายความในบทความต่อไป
๗๒
จุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั , พระบาทสมเด็จพระ, ประชุมพระราชนิพนธ์ ในรั ชกาลที่ ๕ ภาคปกิณกะ ๒, น.๒๔.
18

อานาจการตัดสิ นใจถึงอยู่ที่หัวหน้าเสนาบดี เพราะไม่ใช่แค่เสนาบดีเท่านั้นที่ไม่เกรงใจชนชั้นเจ้านาย แม้แต่เจ้า


ภาษีนายอากรก็ยงั มีท่าทีกระด้างกระเดื่อง ดังที่มีรับสั่งกับกรมหมื่นวชิ รญาณวโรรสว่า “พ่อตาย เจ๊กมันไม่ยา
เกรง”๗๓ เมื่ อ ราชส านัก ขาดการน าอย่า งชัด เจนถึ ง เพี ย งนี้ การขึ้ น มาน าของสมเด็ จ เจ้า พระยาฯ จึ ง ไม่ ไ ด้ไ ร้
ความชอบธรรมเสี ยที เดี ยว แต่ปัญหาที่ เกิ ดขึ้นเป็ นหลังจากการถ่ายโอนอานาจให้พระเจ้า อยู่หัวเสี ยมากกว่า
เพราะสมเด็จเจ้าพระยาฯ ก็ยงั คงเป็ นฝ่ ายนาทางการเมืองอยู่ต่อไป สภาพการณ์ในช่วง ๙ ปี นี้ต่างหากที่น่าจะสร้าง
ความคับข้องใจให้กบั พระเจ้าอยูห่ วั รวมทั้งพันธมิตรทางการเมืองของพระองค์อยูไ่ ม่นอ้ ย
และดังที่เสนอไปว่า สภาพการนาของสมเด็จเจ้าพระยาฯ ก็ทาท่าจะเสื่ อมถอยนับตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๔๒๒
เป็ นต้นมา ทาให้ในขวบปี หลังจากนั้นจึงได้เห็นในสิ่ งที่ไม่เคยเห็นมาก่อน ดังกรณี ของการเกณฑ์ทหารบกเมือง
เพชรบุรีกบั เมืองราชบุรี และกรณี ขอคณะละครไปแสดงในงานสมโภชกรุ งเทพฯ ทั้งสองกรณี น้ ี แม้ทา้ ยที่สุดจะ
จบลงอย่างประนี ประนอมก็ตาม แต่หากมองในทางกลับกัน เราก็จะเห็นการรุ กคืบเข้าไปในเขตอิทธิ พลของ
สมเด็จเจ้าพระยาฯ อย่างที่ไม่เคยทาได้มาก่อน การยืนกรานที่จะไม่คืนไพร่ เมืองเพชรบุรีและเมืองราชบุรีของพระ
เจ้าอยูห่ วั การยืนกรานจะให้เจ้าคุณกรมท่านาคณะละครไปแสดงให้ได้ของกรมหมื่นบริ รักษ์ ทั้งสองกรณี น้ ีคงจะ
เกิดขึ้นไม่ได้เลยถ้าหากสุ ขภาพของสมเด็จเจ้าพระยาฯ ยังคงแข็งแรงอยูเ่ หมือนตอนต้นรัชกาล
และก่อนที่สมเด็จเจ้าพระยาฯ จะถึงแก่พิราลัยไม่นาน พระเจ้าอยู่หัวก็ทรงเข้าแทรกแซงกิจการภายใน
กรมพระกลาโหมด้วยการดึงเอากรมโทรเลขไปมอบให้สมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงภาณุพนั ธุวงศ์วรเดช และกรม
กองแก้วจินดา (ทหารปื นใหญ่) ไปมอบให้พระเจ้าน้องยาเธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร (สมเด็จฯ กรมพระยาดารง
ราชานุภาพ) ดูแลแทน๗๔ ทั้งสองกรมนี้ เป็ นหน่วยงานที่สมเด็จเจ้าพระยาฯ ให้ความสนใจในช่วงท้ายๆ ของชีวิต
และในไม่กี่วนั ก่อนที่สมเด็จเจ้าพระยาฯ จะถึงแก่พิราลัย พระเจ้าอยูห่ วั ก็ทรงเรี ยกเสนาบดีและเจ้านายต่างกรมมา
ประชุมราชการร่ วมกันเป็ นครั้งแรก๗๕
ความริ เริ่ มดังกล่าวก็สะท้อนข้อเท็จจริ งอย่างสาคัญว่าสภาพการนาของสมเด็จเจ้าพระยาฯ ได้สิ้นสุ ดลง
แล้ว คือไม่สามารถทาหน้าที่เป็ นหัวหน้าเสนาบดีได้อีกต่อไป ยุคสมัยที่จะพระเจ้าอยู่หัวจะปรึ กษาราชการผ่าน
จดหมายกับเสนาบดีจตุสดมภ์เพียงไม่กี่คน และยังต้องรอการตัดสิ นใจสุ ดท้ายจากสมเด็จเจ้าพระยาฯ กาลังจะ

๗๓
จุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั , พระบาทสมเด็จพระ, พระราชดารั สในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้ าอยู่หัวทรงแถลงพระบรมราชาธิบายแก้ ไขการ
ปกครองแผ่นดินฯ, น.๓๒๙.
๗๔
หจช. ร.๕ นก ๒๑/๔๔ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กราบบังคมทูลเรื่ องการทาแผนที่เมืองตากและข้อขัดแย้งระหว่างกัปตันลอฟตัสกับมิสเตอร์แมกคา
ที จ.ศ.๑๒๔๔.
๗๕
จดหมายเหตุพระราชกิจรายวัน พระราชนิพนธ์ ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้ าอยู่หัว ภาค ๑๓, พิมพ์ในงานพระราชทานเพลิงพระศพ พระ
เจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวาณีรัตนกัญญา ณ เมรุ วดั เทพศิรินทราวาส วันที่ ๒๗ มกราคม ๒๔๗๙, น.๗.
19

สิ้ นสุ ดในอีกไม่ชา้ จังหวะเวลาดังกล่าวจึงเหมาะสมอย่างมากที่จะทรงเพิ่มที่นงั่ ในสภาเสนาบดีให้พระเจ้าน้องยา


เธอได้มีส่วนร่ วมในการบริ หารราชการแผ่นดินอย่างเปิ ดเผย สิ่ งนี้จึงยืนยันได้วา่ อานาจการนาคณะเสนาบดีได้มา
อยูก่ บั พระเจ้าอยูห่ วั ตั้งแต่ก่อนที่สมเด็จเจ้าพระยาฯ จะถึงแก่พิราลัยเสี ยอีก
ปี พ.ศ.๒๔๒๕ จึงเป็ นปี หมุดหมายที่สาคัญ เพราะนอกจากจะเป็ นปี ที่พระราชวงศ์จกั รี ต้ งั มัน่ มาได้ครบ
หนึ่ งศตวรรษ ก็ยงั เป็ นปี ที่เสนาบดีตระกูลบุนนาคสิ้ นสุ ดการนาในรัฐบาลของพระเจ้าอยู่หัวรั ชกาลที่ ๕ อย่าง
สิ้ นเชิ งด้วย เพราะเสนาบดีที่เหลืออีกสองท่านก็ไม่มีบารมีเทียบเท่าสมเด็จเจ้าพระยาฯ ทาให้อานาจการนาใน
รัฐบาลจึงตกเป็ นของพระเจ้าอยู่หัวเป็ นลาดับ สิ่ งที่ต้องพึงระวังต่ อไปคือ การจากัดอานาจของเสนาบดีเพื่อที่จะ
ป้องกันไม่ให้ เกิดหัวหน้ าเสนาบดีที่ไม่ ใช่ พระเจ้ าอยู่หัวขึน้ มาอีกในอนาคต จึงไม่น่าแปลกใจว่าทาไมกรมหลวงเท
วะวงศ์วโรปการต้องคอยสังเกตท่าทีของสมเด็จเจ้าฟ้าฯ กรมหลวงภาณุพนั ธุ วงศ์วรเดช ตลอดจนการสอดแนม
บรรดาพระเจ้าน้องยาเธอต่างๆ ว่ามีการจับกลุ่มกันอย่างไร พระองค์ใดสนิทกับพระองค์ใด เพื่อจะได้รู้แนวโน้ม
ของการหยัง่ เสี ยงต่างๆ ในเสนาบดีสภา และจะได้รายงานให้พระเจ้าอยูห่ วั ได้ทรงทราบ๗๖
ความหวาดระแวงที่วา่ นี้ยงั นาไปสู่ การสร้าง “เล่าเต๋ ง” หรื อห้องลับสาหรับให้พระเจ้าอยู่หวั ทรงสอดส่ อง
การประชุมเสนาบดี ดังที่ระบุว่า “อนึ่ งเมื่อเขียนแผนพระที่นง่ั แล้ว จึ่งได้คิดเห็นด้วยเกล้าฯ พร้อมกันอีกว่า การที่
ประชุมปฤกษาราชการในเวลาที่เสดจ์ออก จะเปนด้วยประการใดก็ยากที่จะกราบบังคมทูลพระกรุ ณาให้ชดั เจน
ได้ คิดด้วยเกล้าฯ ว่าควรจะให้มีเล่าเต๋ งต่อหลังห้องประชุมนั้นด้วย สาหรับประทับในเวลามีพระราชประสงค์จะ
ทอดพระเนตรที่ประชุม ไม่ให้ผปู ้ ระชุมรู ้สึกว่าเสดจออกเวลาใด จะได้ทอดพระเนตรเหนในการที่ผิดกันนั้น จึ่ง
ได้ต่อเล่าเต๋ งขึ้นไว้ในแผนพระที่นงั่ นั้นด้วย”๗๗ หากให้สันนิ ษฐานว่าความคิดดังกล่าวนี้ เป็ นของผูใ้ ด ก็เชื่อได้ว่า
เป็ นความคิดของกรมหลวงเทวะวงศ์วโรปการเป็ นแน่ เพราะในการประชุม ครั้ งหนึ่ งในปี พ.ศ.๒๔๓๖ เมื่อ
เสนาบดีกระทรวงกลาโหมนาเรื่ องปื นที่พระเจ้าอยู่หัวทรงสั่งซื้ อเข้าสู่ ที่ประชุมเสนาบดีสภา ก็เป็ นกรมหลวงเท
วะวงศ์วโรปการอีกเช่นกันที่ทรงประกาศกร้าวกลางที่ประชุมว่า
“เสนาบดีคนไหนที่จะตั้งตัวเปนใหญ่ กว่ าพระเจ้ าอยู่หัว จะไม่ อนุญาตการที่พระเจ้ าอยู่หัวทรงอนุ ญาต
แล้วดังนี้ ผู้ใดจะเปนผู้คัดค้ าน อยากจะทรงรู้ จักหน้ าผู้ที่เปนขบถนั้น”๗๘

๗๖
หจช. สบ. ๑๖.๑๐/๔๘ ลายพระหัตถ์กราบบังคมทูล เรื่ องจัดเวลาในการประชุมปรึ กษาราชการ (๒๓ ส.ค. ๒๔๓๒).
๗๗
รายงานการประชุมเสนาบดีสภา ร.ศ.๑๑๑ (เล่ม ๑), (กรุ งเทพฯ: กรมราชเลขาธิการ, ๒๕๕๐), น.๓๗.
๗๘
รายงานการประชุมเสนาบดีสภารั ชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้ าอยู่หัว ภาคที่ ๒ รายงานการประชุมเสนาบดีสภา ร.ศ.๑๑๒ ตอน ๒,
(กรุ งเทพฯ: คณะกรรมการชาระประวัติศาสตร์ไทย, ๒๕๕๒), น.๕๖.
20

ถ้าหากอานาจของพระเจ้าอยู่หัวล้นพ้นเสมือนหนึ่งไม่กาหนดอย่างที่พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ ทรงเชื่อ
เช่นนั้น๗๙ การสร้างความชอบธรรมที่จะไม่กาหนดพระราชอานาจไว้ในตัวบทกฎหมายเพียงอย่างเดียวคงยังไม่
พอ แต่ยงั ต้องหาทางจากัดอานาจของเสนาบดีคู่ขนานกันไปด้วย ซึ่งความพยายามจะจากัดอานาจเสนาบดีน้ นั ก็ดู
เหมือนว่าจะได้รับความร่ วมมือจากเจ้านายพี่นอ้ งที่เป็ นพระราชโอรสในรัชกาลที่ ๔ ตลอดจนขุนนางที่เป็ นฝ่ าย
พันธมิตรฯ อยู่ไม่น้อย ด้วยพวกท่านเหล่านี้ รู้ซ่ ึ งถึงความตกต่าเมื่อครั้งที่หัวหน้าเสนาบดีเรื องอานาจเหนื อกว่า
พระเจ้าอยู่หัวมาเหมือนๆ กัน สมเด็จพระมหาสมณเจ้าฯ ก็ยงั ทรงตรัสเล่าไว้อย่างเข้าอกเข้าใจพระเจ้าอยู่หัวด้วย
ว่า “พวกเรายังเล็กนักก็ไม่รู้สึกลึกซึ้งกี่มากน้อย แต่พระบาทสมเดจพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั ที่ทรงพระเจริ ญกว่า
คงจะรู้ สึกฝังในพระราชหฤทัยเปนหนักหนา”๘๐
ความรู ้ สึ ก เจ็บ ปวดที่ ถูกแบ่ ง ปั น ร่ วมกันเช่ นนี้ ท าให้ส มเด็ จพระมหาสมณเจ้า ฯ เข้าใจทันที ว่าท าไม
เจ้านายพี่นอ้ งต่างก็มุ่งมัน่ รับราชการช่วยเหลือพระเจ้าอยูห่ ัวตั้งแต่ทรงพระเยาว์ เมื่อมีการตั้งรัฐบาลใหม่หลังจาก
การปฏิ รูป การปกครองแผ่นดิ นในปี พ.ศ.๒๔๓๕ เสนาบดี ที่ ล ้วนแล้วแต่เป็ นพระราชโอรสในรั ชกาลที่ ๔
ตลอดจนขุนนางฝ่ ายพันธมิตรฯ ก็ไม่กล้าที่จะทัดทานพระราชอานาจแม้แต่นอ้ ย จนบางครั้งก็ไม่แน่ใจด้วยซ้ าว่า
ตนเองมีขอบเขตอานาจถึงเพียงใด ต้องรอให้มีพระบรมราชวินิจฉัยก่ อนโดยเสมอ อาจกล่าวได้อีกเช่นกันว่า
ระยะเวลาที่เหลืออีก ๒ ใน ๓ ของรัชสมัย (พ.ศ.๒๔๒๖-๒๔๕๓) การเมืองไทยตกอยู่ภายใต้การนาของพระ
เจ้า อยู่หัว โดยสมบู ร ณ์ ซึ่ ง เราอาจจะเรี ย กความเห็ น พ้อ งต้อ งกัน นี้ ได้ว่า เป็ น “ฉั น ทามติ จุ ฬ าลงกรณ์ ” (The
Chulalongkorn Consensus)
ดัง นั้น ท่ านหญิ ง พู นพิ ศ มัย ซึ่ ง ประสู ติใ นปี พ.ศ.๒๔๓๘ ย่อมไม่ มี ท างจะเข้าใจเลยว่า การมี หัวหน้า
เสนาบดี เรื อ งอานาจเหนื อ กว่าพระเจ้า อยู่หัว เป็ นอย่า งไร แตกต่างไปจากกรมหมื่ น ราชศัก ดิ์ สโมสรที่ ผ่ า น
ประสบการณ์ดังกล่าวมาด้วยพระองค์เอง ด้วยเหตุน้ ี กระมัง พระองค์ท่านถึงได้ตรัสตอบท่านหญิงที่กังขาใน
อานาจและบารมีของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรี สุริยวงศ์ไปด้วยอารมณ์อย่างเต็มเปี่ ยมว่า
“มึงอย่าอวดดีไปหน่ อยเลย ถ้าเอ็งเกิดทัน เอ็งก็กลัวเขาเหมือนกัน”

๗๙
จุลจอมเกล้าเจ้าอยูห่ วั , พระบาทสมเด็จพระ, พระราชดารั สในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้ าเจ้ าอยู่หัวทรงแถลงพระบรมราชาธิบายแก้ ไขการ
ปกครองแผ่นดินฯ, น.๗๕.
๘๐
วชิรญาณวโรรส, สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยา, พระประวัติตรั สเล่า, น.๑๖-๑๘. (เน้นโดยผูเ้ ขียน)

You might also like