Download as docx, pdf, or txt
Download as docx, pdf, or txt
You are on page 1of 8

กิจกรรมเสริมสร้าง DQ เด็กวัยเรียน

ตามโครงการพัฒนา EQ และทักษะการใช้ชีวิตในยุค
ดิจิทัล
สังกัดกรุงเทพมหานคร สำหรับนักเรียนชัน
้ ประถมศึกษา
ปี ที่ ๔-๖

กิจกรรมพัฒนา 8DQ (Identity Skill)

1. ชื่อกิจกรรม ตัวไรว้า

2. วัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาทักษะชีวิตเด็กชัน
้ ประถมศึกษาปี ที่ 4-6 ใน
ยุคดิจิทัลด้าน identity skill

3. ขัน
้ ตอนการทำกิจกรรม
3.1 ขัน
้ นำ
3.1.1 ให้นก
ั เรียนพิจารณาพฤติกรรมของตนจากบัตรข้อความ
หมายเลข 1-5 (พฤติกรรมเชิงลบ) ที่ครูติดไว้บนกระดาน แล้วนักเรียนเลือก
ธงหมายเลขที่ตรงกับหมายเลขบัตรข้อความบนกระดาน
3.1.2 ครูเฉลยพฤติกรรมต่าง ๆ ว่าตรงกับพฤติกรรมของสัตว์
ชนิดใด พร้อมทัง้ แสดงบัตรภาพสัตว์นน
ั ้ ๆ ให้นก
ั เรียนดูหน้าชัน
้ เรียน
ข้อเสนอแนะ ควรเชื่อมโยงพฤติกรรมด้านลบของตน กับพฤติกรรม
ของสัตว์ให้ชัดเจนและเห็นภาพมากขึน
้ และควรระมัดระวังความเห็นของ
เด็กเมื่อเทียบพฤติกรรมคนกับสัตว์
3.2 ขัน
้ ดำเนินการ
3.2.1 ให้นักเรียนเลือกพฤติกรรมของสัตว์ที่นักเรียนอยากจะ
เป็ นอีกคนละ 1 ชนิด จากบัตรข้อความหมายเลข 6-10 (พฤติกรรมเชิง
บวก) ที่ครูติดไว้บนกระดาน
3.2.2 ให้นก
ั เรียนวาดภาพสัตว์ตามจินตนาการทีม
่ ท
ี งั ้ พฤติกรรม
ของสัตว์ทงั้ สองชนิด มา 1 ตัว
พร้อมทัง้ ตัง้ ชื่อสัตว์ โดยมีส่วนประกอบของสัตว์ ดังนี ้
- ส่วนหัวเป็ นสัตว์ที่มีพฤติกรรมเหมือนนักเรียน

- ส่วนลำตัวและส่วนอื่น ๆ เป็ นสัตว์ที่มีพฤติกรรมที่


นักเรียนต้องการจะเป็ น
3.2.3 ให้ตัวแทนนักเรียนออกมานำเสนอผลงานหน้าชัน
้ เรียน
โดยครูและนักเรียนร่วมกันแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็น

3.3 ขัน
้ สรุป
3.3.1 ครูและนักเรียนร่วมกันอภิปรายถึงพฤติกรรมเชิงบวก
และเชิงลบของเพื่อน ๆ ซึง่
นักเรียนควรรู้และยอมรับตนเอง
3.3.2 ครูและนักเรียนร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการ
ปรับพฤติกรรมเชิงลบและการ
พัฒนาพฤติกรรมเชิงบวก เพื่อที่จะได้อยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างมีความสุข

4. อุปกรณ์/สื่อ
4.1 บัตรข้อความแสดงพฤติกรรมของสัตว์ชนิดต่าง ๆ
4.2 บัตรภาพสัตว์
4.3 กระดาษ A4
4.4 ดินสอ HB , ยางลบ , สีไม้หรือสีตามถนัด
4.5 ธงแสดงหมายเลข

5. รายชื่อผู้จัดทำ โรงเรียนบ้านหนองระแหง(ชมแสงประชานุกูล)
สำนักงานเขตคลองสามวา
5.1 นางสาวปวิดา ชื่นเชย ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ
5.2 นางกนกอร ศรวิเศษ ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ

ข้อเสนอแนะ ภาพสื่อในกิจกรรมอาจจะไม่ชัดเจนมากนัก ในทักษะด้าน


ดิจิทัลสำหรับเด็กประถมหากต้องการเปรียบเทียบใน session แรก หรือ
class แรก ๆ อาจจะต้องให้เด็กได้เข้าใจความหมาย หรือข้อมูลที่เป็ นจริง
เมื่อตรวจสอบความเข้าใจแล้ว การใช้กิจกรรมเป็ นสัญลักษณ์ ก็สามารถ
ทำได้

You might also like