คลินิกเบาหวาน

You might also like

Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 2

แนวทางการซักประวัติเพื่อให้คำปรึกษาด้านยา

คลินิกเบาหวาน
หัวข้อ
ยืนยันตัวตน
การแพ้ยา
โรคประจำตัว/โรคร่วม
สอบถามการใช้ยาอื่นๆ/สมุนไพร/อาหารเสริม
สอบถามพฤติกรรมการดื่มสุรา สูบบุหรี่
รายใหม่
ให้ความรู้เรื่องโรค
- โรคเบาหวานเป็นโรคที่เกิดจากฮอร์โมนอินซูลินไม่เพียงที่จะควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้จึงส่งผล
ให้ร่างกายมี
ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ
ซึ่งหากปล่อยให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงจะเพิ่มความเสี่ยงของการเกิด
โรคแทรกซ้อนต่างๆ ได้มากมาย ไม่ว่าจะเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด โรคความดันโลหิตสูง โรคไต
โรคตา รวมถึงโรคหลอดเลือดส่วนปลาย ดังนั้นผู้ป่วยจึงจำเป็นต้องได้รับยาลดระดับน้ำตาลในเลือด
- เพื่อลดการเกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ
อธิบายชื่อยา ข้อบ่งใช้ และวิธีการทานยา
กรณีได้รับยาฉีดอินซูลิน ต้องสอนเทคนิคการใช้ยา
แนะนำให้ทานยาต่อเนื่อง ไม่หยุดทานยา และไม่ปรับลดขนาดยาเองโดยที่แพทย์ไม่ได้สั่ง
อธิบายอาการไม่พึงประสงค์ หรือความผิดปกติจากการใช้ยาที่อาจเกิดขึ้นได้
1. กลุ่ม Biguanide (Metformin) เช่น เบื่ออาหาร ปวดท้อง ท้องเสีย คลื่นไส้
2. กลุ่ม Sulfonylurea (Glipizide) เช่น น้ำตาลในเลือดต่ำ น้ำหนักเพิ่ม
3. กลุ่ม Thiazolidinedione (Pioglitazone) เช่น บวม น้ำหนักเพิ่ม
4. กลุ่ม DPP-4 inhibitor (Alogliptine, Linagliptin, Sitagliptin) เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย
ปวดศีรษะ
5. กลุ่ม SGLT2 inhibitor (Empagliflozin, Dapagliflozin) เช่น เลือดเป็นกรด
การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ การติดเชื้อราในช่องคลอด
อธิบายอาการของภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ เช่น หน้ามืด ใจสั่น เหงื่อออก อ่อนเพลีย โดยมีวิธีการแก้ไข คือ
การดื่มน้ำหวาน หรือ อมลูกอม หากอาการยังไม่ดีขึ้นให้รีบนำส่งโรงพยาบาล
แนะนำให้ออกกำลังกาย ควบคุมน้ำหนัก เลิกสูบบุหรี่ และเลิกดื่มสุรา
แนะนำให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทานอาหารเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด เช่น
- หลีกเลี่ยงการทานของหวาน อาหารใส่กะทิ เน้นทานผักหลากหลายสี ผลไม้ที่มีน้ำตาลน้อย เช่น
แอปเปิ้ล สาลี่ ชมพู่ เป็นต้น
ผลทางห้องปฏิบัติการที่สำคัญในการติดตามการรักษา เช่น FBS HbA1c
รายเดิม
ทวนสอบวิธีการใช้ยา (กรณีใช้ยาฉีดอินซูลินผิด ต้องแนะนำการใช้ใหม่)
สอบถามความร่วมมือในการใช้ยา (ลืมทาน/ทานไม่ตรงเวลา/ขาดยา)
แนะนำให้ทานยาต่อเนื่อง ไม่หยุดทานยา และไม่ปรับลดขนาดยาเองโดยที่แพทย์ไม่ได้สั่ง
เพื่อลดความรุนแรงของโรค และป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดในอนาคต
สอบถามอาการของภาวะน้ำตาลต่ำ หน้ามืด ใจสั่น แนะนำวิธีการแก้ไข เช่น การดืม่ น้ำหวาน หรือ อมลูกอม
หากอาการยังไม่ดีขึ้นให้รีบนำส่งโรงพยาบาล
สอบถามอาการไม่พึงประสงค์ หรือความผิดปกติจากการใช้ยา
1. กลุ่ม Biguanide (Metformin) เช่น เบื่ออาหาร ปวดท้อง ท้องเสีย คลื่นไส้
2. กลุ่ม Sulfonylurea (Glipizide) เช่น น้ำตาลในเลือดต่ำ น้ำหนักเพิ่ม
3. กลุ่ม Thiazolidinedione (Pioglitazone) เช่น บวม น้ำหนักเพิ่ม
4. กลุ่ม DPP-4 inhibitor (Alogliptine, Linagliptin, Sitagliptin) เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย
ปวดศีรษะ
5. กลุ่ม SGLT2 inhibitor (Empagliflozin, Dapagliflozin) เช่น เลือดเป็นกรด
การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ การติดเชื้อราในช่องคลอด
อธิบายผลทางห้องปฏิบัติการในการติดตามการรักษาเช่น HbA1c, FBS ดีขึ้น/แย่ลงเพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยมี
ความร่วมมือในการทานยามากยิ่งขึ้น
- กรณีผลแย่ลง: แนะนำให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทานอาหารเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
เช่น หลีกเลี่ยการทานของหวาน อาหารใส่กะทิ เน้นทานผักหลากหลายสี ผลไม้ที่มีน้ำตาลน้อย เช่น
แอปเปิ้ล สาลี่ ชมพู่ เป็นต้น

You might also like