หน่วยการเรียนรู้ที่ 4

You might also like

Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 6

หน่วยการเรียนรู้ที่ 4

เรื่อง ความเค็ม

หัวข้อเรื่อง
ความเค็ม

สาระสำคัญ
ความเค็มของน้ำมีผลต่อการดำรงชีวิตของสัตว์น้ำ ทั้งด้านการเจริญเติบโต การสืบพันธุ์สัตว์น้ำ โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งกระบวนการแลกเปลี่ยนแร่ธาตุและน้ำ สัตว์น้ำบางชนิดมีพฤติกรรมการผสมพันธุ์วางไข่ ที่เกี่ยวข้องกับ
ความเค็ม ได้แก่ กุ้งก้ามกราม

วัตถุประสงค์ เพื่อให้
1. นักศึกษาทราบถึงความสำคัญของความเค็มที่มีผลต่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
2. นักศึกษาทราบถึงหลักการและวิธีการวัดค่าความเค็ม
3. นักศึกษาสามารถวัดค่าความเค็มได้อย่างถูกต้องตามหลักการและวิธีการ
4. นักศึกษาสามารถแปรความหมายและปรับปรุงคุณภาพน้ำได้ตามหลักและวิธีการ

เนื่อหา
ความเค็ม (Salinity)
ความเค็มของน้ำ หมายถึง ปริมาณของแข็ง หรือเกลือแร่ต่าง ๆ โดยเฉพาะโซเดียมคลอไรด์
(NaCl) ที่ละลายอยู่ในน้ำ โดยนิยมคิดเป็นหน่วยน้ำหนักของสารดังกล่าวเป็นกรัมต่อกิโลกรัมของน้ำ หรือ ส่วน
ในพัน (parts per thousand, ppt.) ใช้ส ัญลักษณ์ ‰ ทั้งนี้ห ลังจากที่พวกเกลือ คาร์บอเนต ถูกเปลี่ยนเป็น
ออกไซด์ และพวกเกลือโบไมด์ และไอโอไดด์ ถูกแทนที่โดยคลอไรด์ และอินทรียวัตถุ ถูกออกซิไดส์ไปทั้งหมด
ค่าความเค็มของน้ำ จะสัมพันธ์กับค่าคลอรินิตี้ (chlorinity) ซึ่งหมายถึงปริมาณ คลอไรด์ โบร
ไมด์ และไอโอไดด์ ที่มีอยู่ในน้ำหนัก หนึ่ งกิโ ลกรั ม คำที่มีความหมายใกล้ เคี ยงกัน อี กคำหนึ ่ง คื อ คลอโรซิ ตี
(chlorosity) ซึ่งหมายถึงค่า chlorinity คูณด้วยค่าความหนาแน่นของน้ำ ที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส จาก
ความสัมพันธ์ดังกล่าวมานี้ จึงสามารถคำนวณค่าความเค็มจากค่า คลอรินิตี้ ได้ดังสมการ

S (‰) = 1.80655 Cl (‰)


4.1) ประเภทของน้ำตามระดับความเค็ม
ความเค็มของน้ำจะมีค่าแตกต่างกันไป แล้วแต่สถานที่และประเภทของดิน น้ำทะเลชายฝั่ง
มี ค วามเค็ ม เปลี ่ ย นแปลงในช่ ว งกว้ า ง โดยเฉพาะบริ เ วณปากแม่ น ้ ำ ลำคลองหรื อ ทะเลสาบ ความเค็ มอาจ
เปลี่ยนแปลงอยู่ระหว่าง 0-33 ส่วนในพัน ขึ้นอยู่กับฤดูการและระยะห่างจากทะเล ขณะที่น้ำในมหาสมุทร มีความ
เค็มค่อนข้างคงที่ เฉลี่ย 35 ส่วน ประเภทของน้ำตามระดับความเค็มดังนี้
น้ำจืด (fresh water) มีความเค็มระหว่าง 0 – 0.21 ส่วนในพัน
น้ำกร่อย (brackish water) มีความเค็มระหว่าง 0.21 – 30.0 ส่วนในพัน
น้ำเค็ม (sea water) มีค่าความเค็มมากกว่า 30 ส่วนในพัน ขึ้นไป
สำนักวิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง (2551)
4.2) ผลของความเค็มที่มีต่อสัตว์น้ำ
ความเค็มของน้ำมีผลต่อการดำรงชีวิตของสัตว์น้ำ โดยเฉพาะระบบการควบคุมปริมาณน้ำ
ภายในร่างกาย (water regulatory system) ซึ่งมีผลมาจากความแตกต่างของแรงดัน osmotic ระหว่างภายใน
ตัวสัตว์น้ำและน้ำภายนอก สัตว์น้ำจืดจะมีแรงดัน osmotic ภายในตัวสูงกว่าน้ำที่อยู่ภายนอก ดังนั้นน้ำภายนอกจึง
สามารถแทรกซึมเข้าสู่ร่างกายได้ง่าย สัตว์น้ำจืดจึงต้องพยายามขจัดเอาน้ำส่ว นเกินเหล่านี้ออกไป ในทางตรงกัน
ข้าม สัตว์น้ำเค็มที่อาศัยอยู่ในทะเลจะมีแรงดัน osmotic ต่ำกว่าน้ำทะเล ดังนั้น น้ำภายในตัวก็จะออกนอกร่างกาย
ได้ง่าย สัตว์ทะเลจึงต้องพยายามเก็บรักษาปริมาณน้ำไว้ให้มาก สำหรับสัตว์น้ำบางชนิด โดยเฉพาะสัตว์น้ำกร่อยที่
อาศั ย อยู ่ บ ริ เ วณที่ ม ี ก ารเปลี ่ ย นแปลงความเค็ ม มาก จะมี ค วามสามารถในการปรั บ ตั ว และทนทานต่ อ การ
เปลี่ยนแปลงของแรงดัน osmotic ดังกล่าวได้ดี อย่างไรก็ตาม สัตว์น้ำทั่ว ๆ ไปสามารถปรับตัวได้เข้ากับสภาพ
ความเค็มของน้ำที่เปลี่ยนแปลงได้ แต่ทั้งนี้ต้องค่อย ๆ เป็นไปอย่างช้า ๆ โดยปกติ สัตว์น้ำจืดจะมีเลือดที่มีความ
เข้มข้นสูงกว่าน้ำภายนอกประมาณ 6 เท่าของแรงดัน osmotic หรือเท่ากับความเข้มข้นประมาณ 7 ส่วนในพัน
ของเกลือโซเดียมคลอไรด์ ดังนั้นสัตว์น้ำจืดโดยทั่วไปจะสามารถอยู่ในน้ำที่มีความเค็มประมาณ 7 ส่วนในพันได้
และบางชนิดจะอาศัยอยู่ในน้ำที่มีความเค็มสูงกว่านี้ได้ แต่ต้องให้เปลี่ยนแปลงทีละน้อยดังที่กล่าวมาแล้ว สำหรับ
ปลาทะเลหรือสัตว์น้ำเค็มก็เช่นเดียวกัน มีความทนทานต่อการเปลี่ยนแปลงของความเค็มที่ ลดต่ำลงไม่เท่ากันใน
แต่ละชนิด
สัตว์น้ำกร่อยในประเทศไทย เช่น ปลากระพงขาว กุ่งกุลาดำ กุ้งแชบ๊วย ฯลฯ จะผสมพันธุ์วางไข่
ทะเล หลังจากนั้นไข่จะถูกพัดพาเข้าสู่ชายฝั่ง และฟักออกเป็นตัว ตัวอ่อนจะดำรงชีวิตอยู่ในน้ำกร่อยและน้ำจืด เมื่อ
ถึงวัยเจริญพันธุ์จะเคลื่อนตัวออกสู่ทะเลเพื่อทำการผสมพันธุ์วางไข่ต่อไป สัตว์น้ำที่มีวงจรชีวิตลักษณะนี้เรียกว่า
Catadromous euryhaline species
ความเค็มมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของสัตว์น้ำเป็นอย่างมาก ความเค็มมีผลต่อการ
พัฒนาการและการเจริญเติบโตของสัตว์น้ำ เช่น การปฏิสนธิและการฟักไข่ (วารินทร์ และคณะ, 2548 อ้างโดย
สำนักวิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง,2551) การพัฒนาของตัวอ่อนในการอนุบาลสัตว์น้ำในน้ำเค็มที่ไม่เหมาะสมจะ
ทำให้มีอัตราการรอดต่ำ ซึ่งลูกปลาในแต่ละช่วงอายุหรือลุกปลาในแต่ละชนิด อาจต้องการความเค็มที่แตกต่างกัน
เช่น ความเค็มที่เหมาะสมในการอนุบาลลูกปลากระรัง อายุ 12-19 อยู่ในช่วง 16-24 ส่วนในพันส่วน ลูกปลากระรัง
อายุ 20-27 วัน ต้องการความเค็ม 16 ส่วนในพันส่วน ในการอบุบาลลูกปลาช่อนทะเล พบว่า ลูกปลาที่มีอายุ 13
วัน สามารถเลี้ยงได้ในน้ำที่มีความเค็มสูงเพียง 15 ส่วนในพันเท่านั้น
สัตว์น ้ำแต่ล ะชนิด มีช ่ว งความเค็ มที ่เหมาะสมต่ อการเจริ ญเติบโตแตกต่า งกัน เช่นปลานิ ล
(Oreochromis niloticus) เจริญเติบโตได้ดีที่สุดที่ความเค็ม 5-10 ส่วนในพันส่วน ปลาดุกทะเล เจริญเติบโตดี
ที่ความเค็ม 15 ส่วนในพันส่วน ใกล้เคียงกับปลากระบอกซึ่งเจริญเติบโตดีที่ความเค็ม 17 ส่วนในพันส่วน กุ้งกุลาดำ
และกุ้งแชบ้วยเจริญเติบโตดีที่ความเค็ม 10-20 และ 10-30 ส่วนในพันส่วน ตามลำดับ เมื่อความเค็มของน้ำปลี่ยน
แปลงมากกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ ภายในเวลา 2-3 นาที สัตว์น้ำไม่สามารถปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้
ทำให้สัตว์น้ำตายได้ สัตว์น้ำจืดโดยทั่วไปสามารถอาศัยอยู่ในแหล่งน้ำที่มีความเค็มประมาณ 7 ส่วนในพันส่วนได้
เนื่องจากสัตว์น้ำจืดมีความเข้มข้น ของเกลือแร่ภายในร่างกายประมาณ 7 ส่วนในพันส่วน แต่จะมีอัตราการ
เจริญเติบโตช้า
ในการเพาะเลี้ยงกุ้งก้ามกราม, กุ้งนาง หรือที่รู้จักกันดีในอีกชื่อหนึ่งว่า กุ้งหลวง เป็นกุ้งน้ำจืดที่มี
ขนาดใหญ่ที่สุดจนได้ชื่อสามัญในภาษาอังกฤษว่า Giant fresh-water prawn มีแพร่กระจายอยู่ทั่วไป ตามแหล่ง
น้ำจืดที่มีทางน้ำไหลติดต่อกับแม่น้ำหรือทะเล ในภูมิภาคทางแถบอินโดแปซิฟิก ได้แก่แม่น้ำ ลำคลอง หนอง บึง
และทะเลสาป สำหรับในประเทศไทยกุ้งก้ามกรามมีแพร่กระจายอยู่เกือบทั่วทุกภาค ภาคกลางมีชุกชุมในลุ่มน้ำ
เจ้าพระยา แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำบางปะกง ซึ่งได้แก่ ท้องที่ของจังหวัดอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี สมุทรสงคราม
สมุทรปราการ ราชบุรี และสุพรรณบุรี เป็นต้น ส่วนทางภาคใต้มีชุกชุมมากในทะเลสาปสงขลา นอกจากนี้ยังมีพบที่
จังหวัดสุราษฏร์ธานี ชุมพร และนครศรีธรรมราช เป็นต้น
กุ้งก้ามกรามเป็นสัตว์สองน้ำ กุ้งขนาดใหญ่อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำจืด ตามบริเวณหน้าดินของ
แม่น้ำลำคลองซึ่งน้ำอุณหภูมิค่อนข้างต่ำ มีความต้องการออกซิเจนสูง จึงมักพบกุ้งชนิดนี้ที่บริเวณน้ำไหล และใส
สะอาด มีนิสัยหลบซ่อนตัวอยู่บริเวณตามรากไม้และเสา ตลอดจนหินผาที่จมอยู่ใต้น้ำมีความไวต่อแสง ว่องไวและ
ปราดเปรียว หลบหลีกศัตรูได้คล่องแคล่วเมื่อรบกวน
กุ้งก้ามกรามมีสัญชาติญาณในการเดินทางเพื่อการวางไข่ และหาอาหารเพื่อการเจริญเติบโต
เมื่อถึงฤดูวางไข่ ในท้องที่จังหวัดทางภาคใต้ระหว่างเดือนตุลาคม -กุมภาพันธ์ และในจังหวัดทางภาคกลางระหว่าง
เดือนพฤษภาคม-ตุลาคม กุ้งเพศเมียจะเดินทางจากแม่น้ำ ลำคลองส่วนที่มีสภาพน้ำจืดไปยังบริเวณใกล้ปากแม่น้ำ
หรือปากทะเลสาป เพื่อการวางไข่และฟักไข่ ทั้งนี้เนื่องจากลูกกุ้งวัยอ่อนที่ฟักเป็นตัวจากไข่แล้ว มีความต้องการ
อาศัยอยู่ในน้ำทะเลซึ่งมีความเค็มสูงและอุดมด้วยเกลือแร่ จึงจำเป็นต้องเดินทางไปยังแหล่งน้ำเค็มตามบริเวณดังได้
กล่าวแล้ว ลูกกุ้งจะวิวัฒนาการเจริญเติบโตขึ้นโดยลำดับในน้ำที่มีสภาพดังกล่าวอยู่ชั่วระยะหนึ่ง เป็นเวลาประมาณ
45-60 วัน จากนั้นลูกกุ้งวัยอ่อนจะเจริญถึงขั้นวัยรุ่นขนาดความยาวตัว 1-2 เซนติเมตร มีลักษณะและอวัยวะที่
ครบถ้วนเหมือนพ่อแม่ แล้วจะจมตัวลงที่พื้นดินที่ตื้นตามชายฝั่ง และเริ่มเดินทางเข้าสู่แม่น้ำลำคลองหรือทะเลสาป
เพื่อไปเลี้ยงตัวและเจริญเติบโตจนถึงขั้นสมบูรณ์เพศในแหล่งน้ำจืดต่อไป
วงจรชีวิตของกุ้งก้ามกรามวนเวียนอยู่เช่นนี้ตลอดชั่วอายุขัยลูกกุ้งวัยอ่อนเมื่อฟักออกจากไข่จะมี
ขนาดเล็กมาก เลื่อนลอยอยู่ในน้ำ หรือเคลื่อนที่ไปตามกระแสคลื่นกระแสลม อยู่ในสภาพเดียวกับ แพลงก์ตอน
เคลื่อนไหวด้วยตัวเองได้น้อย ส่วนหัวค่อนข้างโตเรียวไปทางหาง เมื่อลอยอยู่ในน้ำส่วนหัวอยู่ข้างล่างส่วนหางชี้อยู่
ข้างบน ชอบแสงสว่างอ่อนๆ กินอินทรีย์วัตถุ จำพวกสัตว์ที่มีขนาดเล็กเป็นอาหาร ได้แก่ ไรน้ำ ไข่ปลา ไข่หอย
หนอนทะเล ตัวอ่อนของสัตว์น ้ำจำพวกกุ้ง ปูที่มีขนาดเล็กแทบทุกชนิด ตลอดจนกินพวกเดียวกันเอง ลูกกุ้ง
ก้ามกรามวัยอ่อน ตามธรรมชาติมีอันตรายอยู่รอบด้านมักจะเป็นเหยื่อของสัตว์น้ำจำพวก ปลา ปู กุ้ง ฯลฯ ขนาด
ใหญ่เสียส่วนมาก นอกจากนั้นความผันแปรของสภาพสิ่งแวดล้อม ได้แก่ ความร้อน ความเย็น และความเค็มของ
น้ำทะเล รวมทั้งน้ำเสียตลอดจนความรุนแรงของคลื่นลม ก็มีส่วนที่ทำลายให้ลูก กุ้งวัยนี้ตายไปเป็นจำนวนมาก ใน
จำนวนลูกกุ้งที่ฟักออกจากไข่นับหมื่น นับแสนตัวจะเหลือรอดและเจริญเติบโต เป็นกุ้งขนาดใหญ่ได้เพียงไม่กี่ตัว
เท่านั้น ประมาณกันว่าอัตรารอดตายของกุ้งก้ามกรามในแหล่งน้ำนับตั้งแต่ฟักออกจากไข่จนเติบโตถึงขนาดที่ตลาด
ต้องการ ได้ไม่ถึง 1 เปอร์เซ็นต์

4.3 การวัดความเค็ม
ความเค็มของน้ำ หมายถึง ปริมาณของของแข็ง หรือเกลือแร่ต่าง ๆ โดยเฉพาะโซเดียมคลอไรด์ (NaCl)
ที่ละลายอยู่ในน้ำ โดยนิยมคิดเป็นหน่วยน้ำหนักของสารดังกล่าวเป็นกรัมต่อกิโลกรัมของน้ำ หรือส่วนในพัน (parts
per thousand, ppt.) ใช้สัญลักษณ์ ‰ ทั้งนี้หลังจากที่พวกเกลือ คาร์บอเนต ถูกเปลี่ยนเป็นออกไซด์ และพวก
เกลือโบไมด์ และไอโอไดด์ ถูกแทนที่โดยคลอไรด์ และอินทรียวัตถุ ถูกออกซิไดส์ไปทั้งหมด
1) หลักการ
ค่าความเค็มของน้ำ จะสัมพันธ์กับค่าคลอรินิตี้ (chlorinity) ซึ่งหมายถึงปริมาณคลอไรด์ โบรไมด์
และไอโดไดด์ ที่มีอยู่ในน้ำหนักหนึ่งกิโลกรัม คำที่มีความหมายใกล้เคียงกันอีกคำหนึ่งคือ คลอโรซิตี (chlorosity)
ซึ่งหมายถึงค่า chlorinity คูณด้วยค่าความหนาแน่นของน้ำ ที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส จากความสัมพันธ์
ดังกล่าวมานี้ จึงสามารถคำนวณค่าความเค็มจากค่า คลอรินิตี ได้ดังสมการ

S (‰) = 1.80655 Cl (‰)


2) อุปกรณ์วัดความเค็ม
วิธ ีว ัดความเค็มของน้ำที่คุ้นเคยกันในปัจจุบันมีอยู่ 2 วิธี ด้ว ยกัน คือ วัดด้ว ยเครื่องวัดการ
หักเหแสง (Handheld Reflectometer หรือ Reflecto-salinometer) กับเครื่องวัดการนำไฟฟ้าของน้ำ

ภาพที่ 4.1 เครื่องมือวัดความเค็ม Reflecto-salinometer


ที่มา : สำนักวิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง (2551)

3) วิธีการวัดความเค็ม
การวัดความเค็มด้วยเครื่องมือวัดการหักเหแสง เป็นการวัดดัชนีการหักเหแสงผ่านน้ำทะเล
ตัวอย่างการวัดที่ทำได้ง่าย ให้ผลรวดเร็ว เครื่องมือมีขนาดกระทัดรัด และราคาไม่แพง มีอายุการใช้งานนาน
เครื่องมือชนิดนี้จึงเป็ นที่นิยมใช้ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ค่าความเค็มที่ได้จากเครื่องวัดการหักเหแสงมีความ
ละเอียด ± 0.5 ถึง ± 2 ส่วนในพันส่วน ข้อควรระวังในการวางใช้เครื่องวัดการหักเหแสง คือ ไม่ควรวางเครื่องมือใน
ที่ที่มีอุณหภูมิสูงหรือต่ำเกินไป เช่น วางกลางแดด เพราะการหักเหของแสงในตัวกลางหนึ่งๆ ขึ้นกับค่าอุณหภูมิ
ขั้นตอนการวัดความเค็มด้วยเครื่องวัดการหักเหแสงเป็นดังนี้
1) ตรวจสอบสเกลของเครื่องให้อยู่ที่ระดับ 0 โดยหยดน้ำกลั่นลงบนแผ่นปริซึมเพื่อล้าง
ความเค็มที่อาจตกค้างอยู่ เสร็จแล้วหยดน้ำกลั่นลงไปบนแผ่นปริซึมอีกครั้ง
2) ปิดแผ่นทาบปริซึม ยกเครื่องวัดขึ้นส่องไปยังบริเวณที่มีแสงสว่าง ถ้าสเกลเครื่องวัดไม่
ตรงกับ 0 ปรับปุ่มปรับความเค็มที่อยู่ด้านบน เพื่อให้เครื่องอ่านค่าความเค็มเท่ากับ 0 ส่วนในพันส่วน ( ‰ )
3) เปิดฝาทาบปริซึมแล้วใช้กระดาษหรือผ้านุ่มๆ เช็ดน้ำที่เหลือออก แล้วหยดน้ำตัวอย่าง
ที่ต้องการลงบนแผ่นปริซึม ปิดแผ่นทาบปริซึม อ่านค่าโดยยกเครื่องวัดส่องไปยังบริเวณที่มีแสงสว่าง
4) เมื่อวัดตัวอย่างเสร็จแล้ว หยดน้ำกลั่นลงบนแผ่นปริซึมอีกครั้ง เพื่อทำความสะอาด
ก่อนเก็บเข้าที่
ภาพที่ 6.3 การวัดความเค็ม ด้วยเครื่องวัดการหักเหแสง (Reflecto-salinometer)
ที่มา : เทิดพันธุ์ นิ่มสกล (2563)

You might also like