Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 13

1

หน่วยที่ 1
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับน้ำและการวิเคราะห์คุณภาพน้ำ
หัวข้อเรื่อง
1.1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับน้ำ
1.1.1 โมเลกุลและโครงสร้าง
1.1.2 คุณสมบัติของน้ำ
1.1.3 คุณภาพน้ำในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
1.1.4 ความสำคัญของน้ำต่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
1.2 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวิเคราะห์คุณภาพน้ำ
1.2.1 หลักการวิเคราะห์คุณภาพน้ำ
1.2.2 ความสำคัญของการวิเคราะห์คุณภาพน้ำ
สาระสำคัญ
น้ำและการวิเคราะห์คุณภาพน้ำ มีความสำคัญต่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ดังนั้นนักศึกษา
จะต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ คุณสมบัติของน้ำ โมเลกุลและโครงสร้างของน้ำ ลักษณะทั่วไป
วัฎจักรของน้ำ ลักษณะทางกายภาพ เคมี และชีวภาพของน้ำ ความสำคัญของน้ำต่อการเพาะเลี้ยง
สัตว์น้ำ หลักการวิเคราะห์คุณภาพน้ำ และความสำคัญของการวิเคราะห์คุณภาพน้ำ
จุดประสงค์ทั่วไป
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเรื่องความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับน้ำ หลักการวิเคราะห์
คุณภาพน้ำและความสำคัญของการวิเคราะห์คุณภาพน้ำ
จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
1. นักศึกษาสามารถบอกองค์ประกอบของน้ำได้
2. นักศึกษาสามารถบอกลักษณะทั่วไปของน้ำได้
3. นักศึกษาสามารถบอกถึงคุณสมบัติของน้ำได้
4. นักศึกษาสามารถแยกประเภทตามคุณสมบัติของน้ำได้
5. นักศึกษาสามารถอธิบายถึงความสำคัญของน้ำต่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำได้
6. นักศึกษาสามารถบอกหลักการวิเคราะห์คุณภาพน้ำได้
7. นักศึกษาสามารถอธิบายถึงความสำคัญของการวิเคราะห์คุณภาพน้ำได้
8. นักศึกษามีเจตคติที่ดีต่อการอนุรักษ์ทรัพยากรน้
แผนการสอนรายวิชา การวิเคราะห์และควบคุมคุณภาพนา้ 30601-2001 เทิดพันธุ์ นิ่มสกล
2

1.1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับน้ำ
โลกของเราประกอบด้วยพื้นดินและพื้นน้ำ โดยส่วนที่เป็นผืนน้ำนั้นมีอยู่ประมาณ 3 ส่วน
(ร้อยละ 75) และเป็นพื้นดิน 1 ส่วน (ร้อยละ 25) น้ำเป็นสารประกอบที่จำเป็นสำหรับการคงอยู่ของ
สิ่งมีชีวิตทุกชนิด พืชใช้น้ำในการสังเคราะห์แสง ทั้งพืชและสัตว์ใช้น้ำในกระบวนการเมตาบอริซึม
และแหล่งน้ำยังเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตในน้ำ น้ำคือสภาพแวดล้อมที่ปลาและสัตว์น้ำอาศัย
ดำรงชีวิตและแพร่ขยายเผ่าพันธุ์ของสิ่งมีชีวิต เป็นแหล่งทีร่ ับสิ่งขับถ่ายและของเสีย แพลงตอนพืช
และพืชไม้น้ำใช้สารอาหารและคาร์บอนไดออกไซด์ในน้ำในการสังเคราะห์แสงเพื่อการเจริญเติบโต
ปลดปล่อยออกซิเจนและสารอื่นๆ ออกสู่น้ำ สัตว์น้ำหาอาหารจากมวลน้ำ การที่สิ่งมีชีวิตเหล่านี้ต้อง
ดำรงชีวิตอยู่ในน้ำ ทำให้การเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติของน้ำเป็นปัจจัยที่มีผลเป็นอย่างมากต่อสิ่งมีชีวิต
ทุกประเภท
1.1.1 โมเลกุลและโครงสร้าง
น้ำ (water ) ชื่ออื่น Aqua , Hydro , Hydrate
ชื่อเคมี Hydrogen oxide
สูตรเคมี H2O
โมเลกุลของน้ำประกอบด้วย ธาตุไฮโดรเจน (Hydrogen ; H ) 2 อะตอม และธาตุ
ออกซิเจน (Oxygen ; O) ดังภาพที่ 1.1

H
104.450

H
O
0.9584 ๐A

ภาพที่ 1.1 โมเลกุลของน้ำ


ที่มา : th.wikipidia.org/wiki/น้ำ_(โมเลกุล)
แผนการสอนรายวิชา การวิเคราะห์และควบคุมคุณภาพนา้ 30601-2001 เทิดพันธุ์ นิ่มสกล
3

จากภาพที่ 1.1 ธาตุทั้งสองยึดเกาะซึ่งกันและกันโดยแรงร่วม(Covalent bonding) ที่เกิด


จากหมู่อะตอมโดยอะตอมของธาตุไฮโดรเจนทั้งสองอยู่ทางซีกใดซีกหนึ่งของอะตอมของธาตุออกซิเจน
หากลากเส้นผ่านศูนย์กลางของหมู่อะตอม ศูนย์กลางอะตอมทั้งสองของธาตุไฮโดรเจนจะทำมุมห่าง
กัน 104.45 องศา และห่างจากศูนย์กลางอะตอมออกซิเจนถึงศูนย์กลางอะตอมใดอะตอมหนึ่งของ
ธาตุไฮโดรเจนยาวเท่ากันคือ 0.9584 องศา A
ในโมเลกุลของน้ำธาตุออกซิเจนมีประจุไฟฟ้าลบ ส่วนธาตุไฮโดรเจนจะมีประจุไฟฟ้าบวก
คุณสมบัติเช่นนี้ทำให้โมเลกุลของน้ำมีโครงสร้างไม่แน่นอนเปลี่ยนแปลงได้ โดยการแตกตัวเป็นอิออน
อยู่ตลอดเวลา น้ำเป็นตัวทำละลายที่ดี โดยเฉพาะกับอินทรีย์สาร ทั้งนี้เพราะว่าสนามไฟฟ้าในโมเลกุล
ของน้ำมีทั้งปะจุไฟฟ้าบวกและลบ ซึ่งเกิดจากความสามารถในการแตกตัวเป็นอิออนของโมเลกุลเอง
1.1.2 คุณสมบัติของน้ำ
น้ำ เป็นของเหลวชนิดหนึ่ง ที่มีอยู่มากที่สุดบนผิวโลก และเป็นปัจจัยสำคัญต่อการดำรงชีวิต
ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิดเราสามารถพบน้ำได้ในหลายๆ สถานที่ อาทิ ทะเล ทะเลสาบ แม่น้ำ ห้วย หนอง
คลอง บึง และในหลาย ๆ รูปแบบ เช่น น้ำแข็ง หิมะ ฝน ลูกเห็บและไอน้ำ

ภาพที่ 1.2 วัฎจักรของน้ำ


ที่มา : http://www.sarakhamrid.com
น้ำมีรูปแบบและสถานะเป็นของเหลว แต่ก็ยังมีรูปของสถานะของแข็งที่เรียกว่าน้ำแข็ง และ
สถานะแก๊สที่เรียกว่าไอน้ำ ลักษณะทั่วไป โปร่งใส เกือบเป็นของเหลว ไม่มีสี หรือมีสีน้ำเล็กน้อย
คุณสมบัติหลักทางเคมีและกายภาพของน้ำ ( th.wikipedia.org/wiki/น้ำ) ได้แก่
แผนการสอนรายวิชา การวิเคราะห์และควบคุมคุณภาพนา้ 30601-2001 เทิดพันธุ์ นิ่มสกล
4

1) น้ำเป็นของเหลวที่ไม่มีรส ไม่มีกลิ่น ใสไม่มีสี ที่อุณภูมิและความดันปกติ น้ำแข็งก็


ดูไม่มีสีเช่นกัน และสำหรับน้ำในสถานะแก๊สนั้นปกติเราจะมองไม่เห็น
2) น้ำเป็นของเหลวโปร่งใส ดังนั้นพืชน้ำจึงสามารถอยู่ในน้ำได้เพราะมีแสงสว่างส่อง
ได้อย่างทั่วถึง จะมีเพียงแสงอุลตร้าไวโอเลตและอินฟาเรดเท่านั้นที่จะถูกน้ำดูดซับเอาไว้
3) น้ำมีสถานะเป็นของเหลวในสภาวะปกติ
4) น้ำเป็นโมเลกุลขั้ว เพราะว่าออกซิเจนมีค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตี (Electro
negativity: EN) สูงกว่าไฮโดรเจน ออกซิเจนมีขั้วลบ ในขณะที่ไฮโดรเจนมีขั้วบวก แสดงว่าน้ำเป็น
โมเมนต์ขั้วคู่ ปฏิกิริยาระหว่างขั้วของแต่ละโมเลกุลเป็นเหตุให้เกิดแรงดึงดูดที่เชื่อมโยงกับมวลรวม
ของน้ำของความตึงผิว แรงยึดเหนี่ยวสำคัญอื่น ๆ ที่ทำให้โมเลกุลของน้ำเกาะเข้ากับอีกอันหนึ่งเรียกว่า
พันธะไฮโดรเจน

ภาพที่ 1.3 การประสานและความยึดหยุ่นของน้ำเนื่องจากแรงตึงผิว


ที่มา : http://www.variety.thaiza.com
5) จุดเดือดของน้ำ (รวมถึงของเหลวอื่น ๆ) ขึ้นอยู่กับความกดดันของบรรยากาศ
ตัวอย่างเช่น บนยอดเขาเอเวอเรสต์ น้ำจะเดือดที่อุณหภูมิ 68 องศาเซลเซียส เปรียบเทียบกับ 100
องศาเซลเซียสที่ระดับน้ำทะเล ในทางกลับกัน เขตน้ำลึกใกล้รอยแตกของเปลือกโลกเนื่องจากภูเขาไฟ
ระเบิด อุณหภูมิอาจขึ้นเป็นหลายร้อยองศาและยังคงสถานะเป็นของเหลวเหมือนเดิม
6) น้ำจะไหลเข้าหาตัวมันเอง น้ำมีค่าความตึงผิวสูงขึ้นเกิดจากการประสานกันอย่าง
แข็งแรงระหว่างโมลกุลของน้ำเพราะว่ามันมีขั้ว ความยืดหยุ่นที่เห็นได้ชัดเกิดจากค่าความตึงผิวคอย
ควบคุมให้คลื่นมีลักษณะเป็นพริ้ว

แผนการสอนรายวิชา การวิเคราะห์และควบคุมคุณภาพนา้ 30601-2001 เทิดพันธุ์ นิ่มสกล


5

7) น้ำมีขั้วแม่เหล็กจึงมีคุณสมบัติยึดติดสูง
8) น้ำเป็นตัวทำละลายที่ดี เรียกได้ว่าเป็นตัวทำละลายสากล สามารถละลายสสารได้
หลายชนิด สสารที่ละลายกับน้ำได้ดี เช่น เกลือ น้ำตาล กรด ด่าง และแก๊สบางชนิด โดยเฉพาะ
ออกซิเจน คาร์บอนไดออกไซด์ เรียกว่า ไฮโดรฟิลลิก หรือสสารที่ชอบน้ำ ขณะที่สสารที่ละลายน้ำได้
น้อยหรือไม่ได้เลย เช่น ไขมัน และน้ำมัน เรียกว่า ไฮโดรไฟบิก หรือสสารที่ไม่ชอบน้ำ
9) ทุกองค์ประกอบที่สำคัญในเซลล์ (โปรตีน ดีเอ็นเอ และ โพลีแซคคาไรด์) จะ
ละลายได้ในน้ำ
10) น้ำบริสุทธิ์มคี ่าการนำไฟฟ้าต่ำ แต่ค่านี้จะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญกับปริมาณ
ของสารประกอบไอออนิก เช่น โซเดียมคลอไรด์ ที่ละลายอยู่ในน้ำ
1.1.3 คุณภาพน้ำในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
มาตรฐานคุณภาพน้ำสำหรับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำนั้น สำนักวิจัยลัพัฒนาประมงชายฝั่ง
(2551) กล่าวถึงมาตรฐานคุณภาพน้ำว่าได้มีนักวิชาการจากหลายสถาบัน จากหลายประเทศพยายาม
กำหนดเกณฑ์ต่าง ๆ แต่เนื่องจากสัตว์เลี้ยงมีมากมายหลายชนิด ทั้งในเขตอบอุ่นและเขตหนาว ความ
คงทนต่อสภาพแวดล้อมของสัตว์แต่ละชนิดแต่ละวัยแตกต่างกัน จึงทำให้เกณฑ์ต่าง ๆ ที่กำหนดนั้น
ต้องยืดหยุ่นผันแปรไปตามท้องที่ อย่างไรก็ตาม ดัชนีคุณภาพน้ำที่ผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำควรมีความรู้และ
นำไปใช้เพื่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำนั้น อาจจำแนกได้ 3 ลักษณะ คือ
1.ลักษณะทางกายภาพ หมายถึง ดัชนีคุณภาพน้ำที่ผันแปร อันเกิดจากลักษณะกายภาพที่
สามารถตรวจวัดได้ และมีผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิต ในทางตรงหรือทางอ้อม เช่น ความขุ่น (turbidity),
อุณหภูมิ (temperature), ความนำไฟฟ้า (conductivity), ปริมาณสารแขวนลอย (suspended
solids) ฯลฯ
2. ลักษณะทางเคมีภาพ หมายถึง ดัชนีคุณภาพน้ำที่ผันแปรอันเนื่องจากปฏิกิริยาทางเคมีที่
สามารถตรวจวัดได้ และมีผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ ทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น ความเป็นกรด
เป็นด่าง (pH), ความเป็นกรด (acidity), ความเป็นด่าง (alkalinity), ความกระด้าง (hardness),
ปริมาณออกซิเจนละลายน้ำ (dissolved oxygen), ปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์อิสระ (free carbon
dioxide), ไนโตรเจน (nitrogen), ฟอสฟอรัส (phosphorus), ไฮโดรเจนซัลไฟด์ (hydrogen
sulphide), ความเค็ม (salinity), โลหะหนัก (heavy metals), สารพิษ (toxic) ฯลฯ
3. ลักษณะทางชีวภาพ หมายถึง ดัชนีคุณภาพน้ำที่ผันแปรเนื่องจากสิ่งมีชีวิตในน้ำอันมี
ผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ ทั้งทางตรงและอ้อม เช่น แพลงตอนพืชและสัตว์ (plankton), แบคทีเรีย
(bacteria), พืชน้ำ (aquatic plant), เชื้อโรค (pathogens) ฯลฯ

แผนการสอนรายวิชา การวิเคราะห์และควบคุมคุณภาพนา้ 30601-2001 เทิดพันธุ์ นิ่มสกล


6

ภาพที่ 1.4 คุณภาพน้ำที่เหมาะสมทำให้ปลามีสุขภาพดี


ที่มา : http://www.renball.com
1.1.4 ความสำคัญของน้ำต่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
1) ประโยชน์ของน้ำและความสำคัญของน้ำ
น้ำเป็นแหล่งกำเนิดชีวิตของสัตว์และพืช สำหรับมนุษย์แล้วสามารถมีชีวิตอยู่โดย
ขาดน้ำได้ไม่เกิน 3 วัน และน้ำยังจำเป็นทั้งในภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรม ซึ่งมีความสำคัญ
อย่างยิ่งในการพัฒนาประเทศ ประโยชน์ของน้ำได้แก่
1.1) น้ำเป็นสิ่งจำเป็นที่เราใช้สำหรับดื่มกิน การประกอบอาหาร
ชำระร่างกาย ฯลฯ
1.2) น้ำมีความจำเป็นสำหรับการเพาะปลูกเลี้ยงสัตว์ แหล่งน้ำเป็นที่อยู่
อาศัยของปลาและสัตว์น้ำอื่น ๆ ซึ่งมนุษย์เราใช้เป็นอาหาร
1.3) ในการอุตสาหกรรม ต้องใช้น้ำในกระบวนการผลิตใช้ล้างของเสียใช้
หล่อเครื่องจักรและระบายความร้อน ฯลฯ
1.4) การทำนาเกลือโดยการระเหยน้ำเค็มจากทะเล
1.5) น้ำเป็นแหล่งพลังงาน พลังงานจากน้ำใช้ทำระหัด ทำเขื่อนผลิต
กระแสไฟฟ้าได้
1.6) แม่น้ำ ลำคลอง ทะเล มหาสมุทร เป็นเส้นทางคมนาคมที่สำคัญ
1.7) ทัศนียภาพของริมฝั่งทะเลและน้ำที่ใสสะอาดเป็นแหล่งท่องเที่ยว

แผนการสอนรายวิชา การวิเคราะห์และควบคุมคุณภาพนา้ 30601-2001 เทิดพันธุ์ นิ่มสกล


7

ภาพที่ 1.5 ความผูกพันธ์ระหว่างสายน้ำกับวิถีชีวิตไทย


ที่มา : http:// www.archpsu.com

2) ความสำคัญของน้ำต่อการเพาะเลี้ยงสัตวน้ำ
การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเป็นการนำเอาสัตว์น้ำมาเพาะฟักอนุบาลในพื้นที่จำกัดในอัตรา
ความหนาแน่นที่มากกว่าสภาพธรรมชาติมากมายหลายเท่า การดำเนินการเช่นนี้ทำให้เกิดการ
เปลี่ยนแปลงคุณภาพน้ำในหลายส่วนในช่วงระยะการฟักอนุบาลและเลี้ยงสัตว์น้ำ ซึ่งจะต้องมีการดูแล
จัดการเพื่อคงคุณภาพน้ำไว้ให้อยู่ในช่วงระดับที่เหมาะสมเพื่อให้สัมฤทธิ์ผลในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
การอนุบาลสัตว์น้ำวัยอ่อน และการเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อให้ได้ผลผลิต การเปลี่ยนแปลงคุณภาพน้ำที่
เกิดขึ้นมีสาเหตุโดยตรงจากวิธีการที่เรานำมาใช้ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำการนำพ่อแม่พันธุ์มากักขังใน
บ่อและกระชัง การให้อาหารเพื่อให้ผสมพันธุ์วางไข่ ก็จะมีผลต่อคุณภาพน้ำ ทั้งจากการใช้ออกซิเจน
ของสัตว์น้ำที่ถูกขังในบ่อน้ำขนาดเล็ก การขับถ่ายของเสียของสัตว์น้ำที่จะสะสมอยู่ในบ่อและการเน่า
สลายของเศษเหลืออาหาร การฟักไข่ในปริมาณมาก ๆ ในพื้นที่จำกัดก็อาจทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับ
คุณภาพน้ำ เช่นเดียวกันกับการเลี้ยงสัตว์น้ำที่หนาแน่นกว่าสภาพธรรมชาติมาก และการให้อาหาร
สำเร็จรูปในปริมาณสูง เหล่านี้ล้วนทำให้เกิดปัญหากับคุณภาพน้ำ การที่จะทำให้ได้ผลผลิตสัตว์น้ำใน
ระดับที่ต้องการบางครั้งก็ต้องมีการจัดการเกี่ยวกับธาตุอาหารในบ่อเพื่อให้เกิดอาหารธรรมชาติของ
สัตว์น้ำอย่างพอเพียง ผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจึงจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคุณภาพน้ำ และ
วิธีการจัดการคุณภาพน้ำ ต้องรู้จักถึงความต้องการของสัตว์น้ำแต่ละชนิดเกี่ยวกับคุณภาพน้ำที่สัตว์น้ำ
สามารถจะแพร่พันธุ์ และเจริญเติบโตได้ดี ( ยนต์ มุสิก,มปป.)

แผนการสอนรายวิชา การวิเคราะห์และควบคุมคุณภาพนา้ 30601-2001 เทิดพันธุ์ นิ่มสกล


8

ภาพที่ 1.6 บ่อเลี้ยงปลาแบบกึ่งเข้มข้น


ที่มา :http://www.fishesfishing.com
สำหรับสัตว์น้ำ น้ำเป็นทั้งที่อยู่อาศัย แหล่งที่ให้ออกซิเจนในการหายใจ แหล่งสำหรับให้
อาหารและแหล่งรองรับของเสีย การจัดการคุณภาพน้ำจึงต้องพิจารณาข้อจำกัดเหล่านี้ร่วมกัน อีกสิ่ง
หนึ่งที่ทำให้การจัดการคุณภาพน้ำในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ค่อนข้างจะต้องใช้ความรู้ความเข้าใจ
ค่อนข้างมากก็คือความสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงกันของคุณภาพน้ำต่าง ๆ ซึ่งการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติของ
น้ำอย่างหนึ่งอาจส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปถึงคุณภาพน้ำอีกหลายอย่างทั้งในด้านลบและในด้าน
บวกความเข้าใจที่ถูกต้องจึงเป็นหัวใจสำคัญสำหรับผู้ที่จะทำงานในด้านนี้ให้ประสบผลสำเร็จ

แผนการสอนรายวิชา การวิเคราะห์และควบคุมคุณภาพนา้ 30601-2001 เทิดพันธุ์ นิ่มสกล


9

ภาพที่ 1.7 การเลี้ยงปลาในกระชัง


ที่มา :http://www.cpthailand.com
1.2 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวิเคราะห์คุณภาพน้ำ
1.2.1 หลักการวิเคราะห์คุณภาพน้ำ
มั่นสิน ตัณฑุลเวศม์ และ มั่นรักษ์ ตัณฑุลเวศม์(2551) กล่าวถึงการวิเคราะห์คุณสมบัติของน้ำ
ในห้องปฏิบัติการ แบ่งตามวัตถุประสงค์ได้ 2 ลักษณะคือ
1) การวิเคราะห์ด้านคุณภาพ (Qualitative analysis) เป็นการวิเคราะห์เพื่อทราบ
ถึง ชนิดของสารประกอบที่มีอยู่ในสารละลายนั้น โดยผู้วิเคราะห์ต้องการทราบเพียงว่ามีสารอะไรอยู่
บ้าง ไม่เกี่ยวข้องกับปริมาณ หรือความเข้มข้นของสารประกอบเหล่านั้น
2) การวิเคราะห์ด้านปริมาณ (Quantitative analysis) เป็นการวิเคราะห์เพื่อทราบ
ถึงปริมาณของสารประกอบที่มีอยู่ในสารละลายนั้น โดยผู้วิเคราะห์ต้องการทราบปริมาณที่แน่นอน
ของสารดังกล่าว โดยคำนวณออกมาเป็นน้ำหนัก หรือปริมาณต่อน้ำหนัก หรือปริมาตรของสารละลาย
การวิเคราะห์ด้านปริมาณ แบ่งออกได้เป็น 3 แบบ คือ
2.1) การวิเคราะห์น้ำหนัก (Gravimetric analysis) เป็นการคิดน้ำหนัก
ของสารประกอบ เพื่อทำการแยกสารประกอบดังกล่าวออกมาจากสารละลายที่ทำการตรวจสอบ
เช่น การหาปริมาณของแข็งที่ละลายทั้งหมด ( total dissolved solids )
2.2) การวิเคราะห์ปริมาตร (Volumetric analysis) โดยการคิดเทียบกับ
ปริมาตรของสารละลายมาตรฐาน ที่เราทราบความเข้มข้นแน่นอน เมื่อทำปฏิกิริยาสมดุลหรือถึงจุด
ยุติ (End point) กับสารละลายที่ทำการตรวจสอบ วิธีนี้เรียกโดยทั่วไปว่า การไตเตรต (Titration)
เช่น การวัดค่าความเป็นด่าง และการวัดปริมาณออกซิเจนที่ละลายน้ำ เป็นต้น

แผนการสอนรายวิชา การวิเคราะห์และควบคุมคุณภาพนา้ 30601-2001 เทิดพันธุ์ นิ่มสกล


10

2.3) การวิเคราะห์โดยการเทียบสี (Colorimetric analysis) เป็นวิธีการ


วิเคราะห์ที่ได้พัฒนาขึ้นมา เพื่อเกิดความสะดวกรวดเร็วและประหยัด เหมาะสำหรับตัวอย่างที่มี
จำนวนมาก ๆ หลักการทั่วไปคือ การทำให้เกิดสีในสารละลายตัวอย่าง ลักษณะการเกิดสีจะเป็น
สัดส่วนกับปริมาณของสารประกอบที่มีอยู่ในสารละลายนั้น ทั้งนี้โดยเปรียบเทียบกับสารละลาย
มาตรฐานปกติ การเทียบสีจะใช้เทียบโดยเครื่องมือไฟฟ้า เช่น เครื่องวัดการดูดกลืนแสง
(Spectrophotometer) จะมีความแม่นยำสะดวกรวดเร็ว ในปัจจุบันมีชุดทดสอบอย่างง่าย (test kit)
ซึ่งใช้งานสะดวกรวดเร็วราคาถูก และมีความแม่นยำในระดับหนึ่ง (ประเทือง เชาว์วันกลาง,2534)
สิ่งที่สำคัญที่ผู้ทำการวิเคราะห์ให้ความสนใจคือ ความแม่นยำ (Accuracy) และ
ความเที่ยงตรง (Precision) แต่ในการวิเคราะห์ อาจเกิดความผิดพลาดขึ้นเนื่องจาก
1) การผิดพลาดจากตัวผู้วิเคราะห์เอง เช่น การอ่านค่าไม่ถูกต้อง ไม่สามารถ
สังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงของสีหรือการไม่ผสมสารละลายต่าง ๆ ให้เข่ากันดีเสียก่อน
2) ความผิดพลาดจากเครื่องมือที่ใช้ เช่น เครื่องมือไม่เที่ยงตรง หรือเครื่องแก้ว
หรือภาชนะที่ใช้มีคุณสมบัติไม่ถูกต้อง
3) ความผิดพลาดจากวิธีวิเคราะห์ เช่นการนำวิธีการวิเคราะห์น้ำจืด ไปใช้กับน้ำ
ทะเล หรือผิดพลาดจากอุณหภูมิหรือเวลาไม่ถูกต้อง
โดยทั่วไปผลที่ได้จากการวิเคราะห์แต่ละครั้งไม่ควรตัดสินว่าผิดพลาดจนกว่าจะ
วิเคราะห์หลาย ๆ ครั้ง เพื่อทดสอบความเที่ยงตรงจะช่วยให้มีความถูกต้องมากขึ้น
1.2.2 ความสำคัญของการวิเคราะห์คุณภาพน้ำ
ในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่จะทำให้ประสบผลสำเร็จหรือล้มเหลว
คือคุณภาพน้ำ สุบัณฑิต นิ่มรัตน์ และวีระพงศ์ วุฒิพันธุ์ชัย (2552) ได้กล่าวถึงคุณภาพน้ำในการ
เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ หมายถึง คุณสมบัติโดยรวมทั้งด้านกายภาพ ด้านเคมี และด้านชีวภาพในบ่อเลี้ยง
สัตว์น้ำ ที่มีความเหมาะสมต่อการเจริญเติบโตและสุขภาพของสัตว์น้ำ และผลกระทบต่อการใช้
ประโยชน์จากน้ำในด้านการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ปัจจัยต่างๆ ในน้ำที่ทำให้คุณสมบัติของน้ำเปลี่ยนแปลง
จนมีผลกระทบต่อการอยู่รอด การสืบพันธุ์ การเจริญเติบโตและผลผลิต จุดหมายของการเลี้ยงสัตว์น้ำ
คือความต้องการผลิตสัตว์น้ำที่มีคุณภาพดีนอกเหนือจากผลผลิตต่อพื้นที่ให้ได้มากที่สุด คุณภาพน้ำ
นับเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้การเลี้ยงสัตว์น้ำบรรลุจุดหมายนี้ ( อุธร ฤทธิลึก,2555)
ดังนั้นในการเลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อผู้เลี้ยงจะต้องให้ความสำคัญต่อการจัดการการเลี้ยงเพื่อให้น้ำมี
คุณภาพดี โดยพยายามควบคุมคุณภาพน้ำทั้งก่อนปล่อยและขณะเลี้ยงสัตว์น้ำด้วยเทคนิคหรือวิธีการ
ที่เหมาะสม ซึ่งผู้เลี้ยงจะต้องมีความรู้และสามารถวิเคราะห์คุณภาพน้ำในเบื้องต้นเพื่อจะได้ทราบว่า
คุณภาพน้ำดังกล่าวทั้งทางกายภาพ ทางเคมี และชีวภาพ มีความเหมาะสมต่อการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ

แผนการสอนรายวิชา การวิเคราะห์และควบคุมคุณภาพนา้ 30601-2001 เทิดพันธุ์ นิ่มสกล


11

หรือไม่เพียงใด หากพบว่าคุณภาพน้ำที่วิเคราะห์ได้ไม่มีความเหมาะสม ผู้เลี้ยงก็สามารถจัดการ


ปรับปรุงให้มีความเหมาะสมต่อไป

ภาพที่ 1.8 ผลกระทบที่เกิดจากคุณภาพน้ำที่ไม่เหมาะสม


ที่มา : http://www.oknation.net

เอกสารอ้างอิง

ประเทือง เชาว์วันกลาง.2534.คุณภาพน้ำทางการประมง.แผนกประมง.คณะวิชาสัตวศาสตร์ .
สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตลำปาง.
มั่นสิน ตัณฑุลเวศม์ และ มั่นรักษ์ ตัณฑุลเวศม์.2551.คู่มือการวิเคราะห์คุณภาพน้ำ.พิมพ์ครั้งที่ 5 .
โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.กรุงเทพฯ.
ยนต์ มุสิก. ม.ป.ป. คุณภาพน้ำกับกำลังการผลิตของบ่อปลา. ภาควิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ คณะประมง
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์,กรุงเทพฯ.
สำนักวิจัยและพัฒนาประมงชายฝั่ง.2551.วิธีวิเคราะห์และควบคุมคุณภาพน้ำเพื่อการ
เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่ง. กรมประมง. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์.
สุบัณฑิต นิ่มรัตน์ และวีรพงศ์ วุฒิพันธุ์ชัย.2552.การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำอย่างยั่งยืน บทบาทของ
จุลินทรีย์และการประยุกต์ใช้.สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,กรุงเทพฯ.
อุทร ฤทธิลึก.2553.การจัดการคุณภาพน้ำในบ่อเลี้ยงปลาเขตร้อน.โอเดียนสโตร์,กรุงเทพฯ.
“น้ำ(โมเลกุล)”,ม.ป.ป.[ออนไลน์] วิกิพีเดียสารานุกรมเสรี.เข้าถึงได้จาก:
แผนการสอนรายวิชา การวิเคราะห์และควบคุมคุณภาพนา้ 30601-2001 เทิดพันธุ์ นิ่มสกล
12

http//:th.wikipedia.org/wiki/น้ำ [สืบค้นเมื่อ วันที่ 10 มีนาคม 2553]


“วัฎจักรของน้ำ”,ม.ป.ป.[ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก http://www.sarakhamrid.com
[สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2553]
“คุณสมบัติของน้ำ”,ม.ป.ป.[ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก http://www.variety.thaza.com
[สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2553]
“คุณภาพน้ำในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ”,ม.ป.ป.[ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก http://www.renball.com
[สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2553]
“ความผูกพันธ์ระหว่างสายน้ำกับวิถีชีวิตไทย”,ม.ป.ป.[ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก
http://www.archpsu.com [สืบค้นเมื่อ 10 มีนาคม 2553]
“บ่อเลี้ยงปลา”,ม.ป.ป. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก http://www.fisherfishing.com
[สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2553]
“การเลี้ยงปลาในกระชัง”,ม.ป.ป.[ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก http://www.cpthailand.com
[สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2553]

แผนการสอนรายวิชา การวิเคราะห์และควบคุมคุณภาพนา้ 30601-2001 เทิดพันธุ์ นิ่มสกล


13

แบบฝึกหัดท้ายบท
หน่วยที่ 1 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับน้ำและการวเคราะห์คุณภาพน้ำ
--------------------------------------

คำชี้แจง ให้นักศึกษาตอบคำถามต่อไปนี้มาให้เข้าใจ

1. องค์ประกอบที่สำคัญของน้ำประกอบด้วยโมเลกุลของ
1.1........................................................................
1.2……………………………………………………………..
2. ลักษณะทั่วไปของน้ำที่สำคัญ ได้แก่
2.1…………………………………………………………….
2.2…………………………………………………………….
2.3……………………………………………………………..
3. น้ำมี 3 สถานะ ได้แก่
3.1…………………………………………………………….
3.2…………………………………………………………….
3.3…………………………………………………………….
4. คุณสมบัติของน้ำแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ คือ
4.1 …………………………………………….. ได้แก่ ..........................................................................
4.2 …………………………………………….. ได้แก่ ..........................................................................
4.3 …………………………………………….. ได้แก่ ..........................................................................
5. การวิเคราะห์คุณภาพน้ำด้านปริมาณ (Quantitative analysis) หมายถึง......................................
............................................................................................................................. ..................
สามารถวิเคราะห์ได้โดย
5.1…………………………………………… ได้แก่............................................................................
5.1…………………………………………… ได้แก่............................................................................
5.3………………………………………….. ได้แก่...........................................................................

แผนการสอนรายวิชา การวิเคราะห์และควบคุมคุณภาพนา้ 30601-2001 เทิดพันธุ์ นิ่มสกล

You might also like