5348 - 623270365-2 ครั้งที่ 2

You might also like

Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 3

1

ใบงาน
(Take-Home Assignment)
รายวิชา LW012208 กฎหมายว่าด้วยตั๋วเงินและประกันภัย กลุ่มที่ 3 ส่งครั้งที่ 2

ชื่อ – นามสกุล นางสาวสุชาวดี ศรีเมือง รหัสประจำตัวนักศึกษา 623270365-2

โจทย์
ดำรง สั่งจ่ายเช็คระบุชื่อ ขีดฆ่าคำว่าหรือผู้ถือ ระบุชื่อ ดำริ เป็นผู้รับเงิน ต่อมา ดำริ ได้รับมอบเช็ค จึงได้สลักหลัง
ระบุชื่อ ดำนัย บุตรชาย และ ดำนุ้ย ได้ลงลายมือชื่อสลักหลังระบุชื่อ ดำเนิน ภริยา และต่อมา ดำเนินได้มอบเช็คดังกล่าว แก่
ดำดี พี่สาวต่างมารดาของตนเพื่อใช้ในการรักษาพยาบาล
ระหว่างที่ ดำดี กำลังจะไปที่โรงพยาบาลและรอคิวเข้ารับการรักษา ดำดีได้ทำเช็คดังกล่าวหล่นหาย พยาบาลดำขำ
เป็นผู้เก็บเช็คฉบับดังกล่าวนั้นได้ จึงทำการเก็บรักษาเช็คนั้นไว้และทำการส่งมอบเช็คโดยไม่มีการสลักหลังให้แก่ ดำเกลี้ยง
พนักงานขับรถของโรงพยาบาลที่สนิทกัน
เวลาผ่านไป 1 เดือน ดำเกลี้ยงจึงทำการสลักหลังเช็คดังกล่าว ระบุชื่อ ดำรัส เจ้าหนี้เงินกู้ของตนเป็นผู้รับเงิน ต่อมา
ดำรัส ได้รับมอบเช็ค จึงได้สลักหลังระบุชื่อ ดำดิน ต่อมา ดำดิน ลงลายมือชื่อ สลักหลัง ระบุชื่อ ดำนา ต่อมาดำนาสลักหลัง
ลอยไม่ระบุชื่อผู้รับประโยชน์และส่งมอบเช็คฉบับดังกล่าวให้แก่ ดำน้ำ
สามวันให้หลังจากที่ดำน้ำรับช็คมาจากดำนา ดำน้ำ ได้ลงชื่อสลักหลังเฉพาะระบุชื่อ ดำขลับ เป็นผู้รับประโยชน์และ
หาก ดำขลับ ไม่ได้สลักหลังใดๆ แต่กลับส่งมอบเช็คฉบับนั้น กลับคืนไปเพื่อชำระหนี้ โดยชอบด้วยกฎหมายให้ ดำกล
จงวินิจฉัยว่า
(1) การกระทำของใครข้างตันไม่ชอบด้วยกฎหมายตั๋วเงินเพราะเหตุใด
(2) ใครเป็นผู้ทรงโดยชอบในตั๋วเงินฉบับดังกล่าว

หลักกฎหมายที่เกีย่ วข้อง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

มาตรา 904 วางหลักว่า อันผู้ทรงนัน้ หมายความว่า บุคคลผู้มีตั๋วเงินไว้ในครอบครอง โดยฐานเป็นผู้รับเงิน หรือเป็นผู้รับสลัก


หลัง ถ้าและเป็นตั๋วเงินสั่งจ่ายให้แก่ผู้ถือ ๆ ก็นับว่าเป็นผู้ทรงเหมือนกัน

มาตรา 905 วรรคแรก วางหลักว่า ภายในบังคับแห่งบทบัญญัติมาตรา 1008 บุคคลผู้ได้ตั๋วเงินไว้ในครอบครอง ถ้าแสดงให้


ปรากฏสิทธิด้วยการสลักหลังไม่ขาดสาย แม้ถึงว่าการสลักหลังรายที่สุดจะเป็นสลักหลังลอยก็ตาม ท่านให้ถือว่าเป็นผู้ทรงโดย
ชอบด้วยกฎหมาย เมื่อใดรายการสลักหลังลอยมีสลักหลังรายอื่นตามหลังไปอีก ท่านให้ถอื ว่าบุคคลผู้ที่ลงลายมือชื่อในการสลัก
หลังรายที่สุดนั้น เป็นผู้ได้ไปซึ่งตั๋วเงินด้วยการสลักหลังลอย อนึ่ง คำสลักหลังเมื่อขีดฆ่าเสียแล้ว ท่านให้ถือเสมือนว่ามิได้มีเลย

มาตรา 917 วรรคแรก วางหลักว่า อันตั๋วแลกเงินทุกฉบับ ถึงแม้ว่าจะมิใช่สั่งจ่ายให้แก่บุคคลเพื่อเขาสั่งก็ตาม ท่านว่าย่อมโอน


ให้กันได้ด้วยสลักหลังและส่งมอบ
2
มาตรา 919 วางหลักว่า คำสลักหลังนั้นต้องเขียนลงในตั๋วแลกเงินหรือใบประจำต่อ และต้องลงลายมือชื่อผู้สลักหลัง
การสลักหลังย่อมสมบูรณ์แม้ทั้งมิได้ระบุชื่อผู้รับประโยชน์ไว้ด้วย หรือแม้ผู้สลักหลังจะมิได้กระทำอะไรยิ่งไปกว่าลง
ลายมือชื่อของตนที่ด้านหลังตั๋วแลกเงินหรือที่ใบประจำต่อก็ย่อมฟังเป็นสมบูรณ์ดุจกัน การสลักหลังเช่นนี้ท่านเรียกว่า “สลัก
หลังลอย”

มาตรา 989 วรรคแรก วางหลักว่า บทบัญญัติทั้งหลายในหมวด 2 อันว่าด้วยตั๋วแลกเงินดังจะกล่าวต่อไปนี้ ท่านให้ยกมา


บังคับในเรื่องเช็คเพียงเท่าที่ไม่ขัดกับสภาพแห่งตราสารชนิดนี้ คือบทมาตรา 910, 914 ถึง 923, 925, 926, 938 ถึง 940,
945, 946, 959, 967, 971

วินิจฉัย

จากโจทย์ ตั๋วเงินดังกล่าว คือ เช็ค ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 987 ได้วางลักษณะของตั๋วเงิน


ดังกล่าวไว้ว่า เช็คนัน้ คือหนังสือตราสาร ซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่า ผู้สั่งจ่าย สั่งธนาคาร ให้ใช้เงินจำนวนหนึ่งเมื่อทวงถาม ให้แก่
บุคคลอีกคนหนึ่งหรือให้ใช้ตามคำสั่งของบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้รับเงิน
ตั๋วเงินดังกล่าวเป็นเช็คตามมาตรา 987 ซึ่งเป็นหนึ่งในประเภทของตั๋วเงินตามมาตรา 898
การพิสูจน์ผู้ทรงตามมาตรา 904 ทำได้ดังนี้คือ
1.มีตั๋วเงินไว้ในครอบครอง
2.ครอบครองตั๋วเงินในฐานะใดฐานะหนึ่ง คือ โดยฐานะเป็นผู้รับเงิน เป็นผู้รับสลักหลัง หรือฐานะเป็นผู้ถือ
ถ้าขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไม่เรียกว่าเป็นผู้ทรง
การพิสูจน์ผู้ทรงซึ่งได้ตั๋วมาโดยการสลักหลังสามารถทำได้ 2 วิธีคือ
1.การสลักหลังโดยระบุชื่อผู้รับประโยชน์ เรียกว่า สลักหลังเฉพาะ
2.การสลักหลังโดยไม่ระบุชื่อผู้รับประโยชน์ เรียกว่า สลักหลังลอย
เมื่อรับสลักมาแล้วหากจะโอนตั๋วต่อต้องโอนให้ถูกตามวิธกี ารของตั๋วเงินเพราะต้องด้วยแสดงให้ปรากฏสิทธิด้วยการ
สลักหลังไม่ขาดสาย
การที่ดำรงสั่งจ่ายเช็คระบุชื่อ ขีดฆ่าคำว่าหรือผู้ถือ ระบุชื่อดำริเป็นผู้รับเงิน เช็คดังกล่าวนี้มีการสลักหลังและส่งมอบ
เป็นการโอนแบบระบุชื่อตามมาตรา 917 วรรคแรก ดำริจึงเป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 904 ประกอบมาตรา
905
ต่อมาดำริ ได้สลักหลังระบุชื่อดำนุ้ย เป็นการสลักหลังเฉพาะและส่งมอบ ถือว่าดำนุ้ยเป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย
ตามมาตรา 904 ประกอบมาตรา 905
ดำนุ้ยได้ลงลายมือชื่อสลักหลังระบุชื่อดำเนินเป็นผู้รับ ถือได้ว่าดำเนินครอบครองเช็คนี้โดยชอบด้วยกฎหมายจึงเป็นผู้
ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 904 ประกอบมาตรา 905
จากโจทย์จะเห็นได้ว่าดำเนินได้มอบเช็คให้กับดำดี ซึ่งการโอนตัว๋ แบบระบุชื่อนั้นจะต้องสลักหลังและส่งมอบ แต่
ข้อเท็จจริงคือการส่งมอบเช็คดังกล่าวนี้ไม่ได้มีการลงลายมือชื่อผู้สลักหลังและไม่ระบุชื่อผู้รับประโยชน์หรือผู้รับสลักหลัง จึงไม่
เป็นการส่งมอบแบบสลักหลังลอยตามมาตรา 919 และการส่งมอบเช็คให้กับดำดีนนั้ ถือว่าดำดีครอบครองเช็คโดยไม่ชอบด้วย
กฎหมายตามาตรา 917 วรรคแรก ประกอบมาตรา 989 วรรคแรก
เช่นนี้แล้วแม้ดำดีจะไม่มีชอื่ หลังตั๋วแต่มีเช็คนั้นไว้ในครอบครอง ก็ไม่ถือว่าดำดีเป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายตาม
มาตรา 904 ประกอบมาตรา 905 วรรคแรก
3

ประเด็นต่อมาคือการทีด่ ำขำเป็นผู้เก็บเช็คนั้นได้และส่งมอบโดยไม่มีการสลักหลังให้แก่ดำเกลี้ยง เช็คดังกล่าวเป็นเช็ค


ที่ระบุชื่อ โดยทั่วไปแล้วกฎหมายกำหนดให้ต้องสลักหลังและส่งมอบจึงจะเป็นการชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 917 วรรคแรก
ประกอบมาตรา 989 วรรคแรก ซึ่งการสลักหลังจะสลักหลังแบบเฉพาะหรือสลักหลังแบบลอยก็ย่อมได้ แต่ดำขำไม่ได้มีการ
สลักหลังแต่อย่างใดมีเพียงการส่งมอบเท่านั้น
ทั้งนี้มีข้อเท็จจริงปรากฏว่าเช็คนั้นได้ขาดสายตั้งแต่ดำเนินได้ส่งมอบเช็คให้แก่ดำดีแล้ว กล่าวคือ หากการสลักหลังไม่
ขาดสาย คือ การสลักหลังแต่ละทอดเป็นไปอย่างต่อเนือ่ งและกระทำโดยผู้มีสิทธิในตั๋วตามบทบัญญัติว่าด้วยการสลักหลังตั๋ว
ดังนี้ ดำเกลี้ยงไม่ถือว่าเป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายถึงแม้จะมีเช็คในครอบครองตามมาตรา 904 ประกอบมาตรา 905
วรรคแรก
และแม้ดำเกลี้ยงทำการสลักหลังเช็คดังกล่าวโดยระบุชื่อดำรัสเป็นการโอนเช็คตามมาตรา 917 วรรคแรก ประกอบ
มาตรา 989 แล้วก็ตาม ก็ไม่ได้ทำให้ดำรัสหรือผู้รับโอนคนต่อไปเป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายเนื่องจากการโอนตั๋วต่อต้อง
โอนให้ถูกตามวิธีของตั๋วเงิน เพราะต้องด้วยแสดงให้ปรากฏสิทธิด้วยการสลักหลังไม่ขาดสายแต่เช็คดังกล่าวนั้นได้ขาดสายตั้งแต่
ดำเนินได้ส่งมอบให้ดำดี จึงทำให้ผู้รับโอนคนต่อไปไม่ใช่ผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 904 ประกอบมาตรา 905
วรรคแรก

สรุป

1.การกระทำของดำเนินนัน้ ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะดำเนินทำเพียงแค่ส่งมอบเท่านั้น ซึ่งการโอนเช็คแบบระบุชื่อ


นั้นโอนได้โดยการสลักหลังและส่งมอบ ดังนั้นการกระทำของนายดำเนินจึงไม่ชอบด้วยกฎหมายตามมาตรา 917 วรรคแรก
ประกอบมาตรา 989 วรรคแรก
2.ดำเนินเป็นผู้ทรงโดยชอบด้วยกฎหมาย ตามมาตรา 904 เนื่องจากการโอนเช็คนั้นได้ขาดสายตั้งแต่ดำเนินได้ส่ง
มอบเช็คให้แก่ดำดีแล้ว

You might also like