Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 10

สัปดาห์ที่ หน้าที่

เนื้อหาการสอน 2 1
รหัสและชื่อวิชา : 3100 - 0107 ความแข็งแรงของวัสดุ วันที่ : เวลา :
แผนกวิชา : ช่างก่อสร้าง ชื่อสถานศึกษา : วิทยาลัยเทคนิคน่าน
1.2 ความเค้น (Stress)

ถ้าพิจารณามวลวัตถุชิ้นหนึ่ง ซึ่งอยู่ภายใต้แรงภายนอกชุด P กระทาดังรูปที่ 1.1 ก. ถ้าแรงกระทาชุดนี้


มีค่าไม่มากนัก มวลของวัตถุจะยืดออกเล็กน้อยแล้วไม่ยืดต่อไปอีก สาหรับระนาบของหน้าตัดใด ๆ ของมวลวัตถุ
ในรูปที่ 1.1 ข. แรงภายนอกต่าง ๆ ที่มากระทามวลวัตถุจะอยู่ในสภาวะสมดุลย์ได้ ก็ต่อเมื่อมีแรงต้านชุดหนึ่งซึ่ง
เป็นแรงสมดุลย์ที่กระทาอยู่ภายในเนื้อวัตถุ ซึ่งเรียกว่าแรงภายใน และจะกระจายไปตลอดภายในพื้นที่หน้าตัด แรงที่
กระทากับอนุภาคเล็ก ๆ ในเนื้อวัตถุ หรือความเข้มของแรงนั้น คือ แรงต่อพื้นที่หน้าตัดซึ่งเรียกว่า ความเค้น
(Stress) ซึ่งเกิดในมวลวัตถุนั้น

รูปที่ 1.1 มวลวัสดุ เมื่อมีแรงภายนอกมากระทา

พิจารณาท่อนวัสดุ AB ในรูปที่ 1.2 ที่ถูกกระทาด้วยแรงดึงตามแนวแกน P ที่ปลาย ของวัสดุ โดยไม่


คิดน้าหนักของวัสดุ แรง P จะทาให้ท่อนวัสดุยืดตัว และพยายามทาให้ขาดออกจากกัน (Rapture) แต่ความพยายาม
นี้จะถูกต้านทานด้วยแรงภายในของวัสดุ
สัปดาห์ที่ หน้าที่
เนื้อหาการสอน 2 2
รหัสและชื่อวิชา : 3100 - 0107 ความแข็งแรงของวัสดุ วันที่ : เวลา :
แผนกวิชา : ช่างก่อสร้าง ชื่อสถานศึกษา : วิทยาลัยเทคนิคน่าน

รูปที่ 1.2 ท่อนวัสดุ ถูกกระทาด้วยแรงดึง

รูปที่ 1.3 ภาพแสดงหน้าตัดวัสดุ

เพื่อที่จะมองเห็นภาพแรงภายในนี้ได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น ลองตัดท่อนวัสดุที่หน้าตัดใด ๆ แล้วพิจารณา


free - body ของส่วนล่างของท่อนวัสดุ (รูปที่ 1.3) จะเห็นว่าการที่ส่วนนี้จะอยู่ในสภาวะสมดุลย์ได้ ต้องมีแรง
ภายใน เนื่องจากอนุภาคที่อยู่เหนือหน้าตัดขึ้นไปกระทากับส่วนล่างของ หน้าตัด เพื่อต้านกับแรงภายนอก P ที่ หน้า
ตัดใด ๆ แรงภายในนี้จะเกิดทุก ๆ จุดบนหน้าตัด และถ้าการกระจายของแรงเหล่านี้สม่าเสมอทั่วพื้นที่หน้าตัดแล้ว
แรงภายนอก P = แรงภายใน F = A
สัปดาห์ที่ หน้าที่
เนื้อหาการสอน 2 3
รหัสและชื่อวิชา : 3100 - 0107 ความแข็งแรงของวัสดุ วันที่ : เวลา :
แผนกวิชา : ช่างก่อสร้าง ชื่อสถานศึกษา : วิทยาลัยเทคนิคน่าน
ในที่นี้ A คือพื้นที่หน้าตัดของท่อนวัสดุและ  = F / A เป็นแรงภายในต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่
เรียกว่า แรงเค้น (Stress หรือ Unit Stress) มีหน่วยเป็นปอนด์ต่อตารางนิ้วหรือกิโลกรัมต่อตารางเซนติเมตร แรง
ภายใน F นี้บางครั้งเรียกว่า total stress หรือ Stress resultant มีหน่วยเป็นปอนด์หรือกิโลกรัมหรือนิวตัน
ถ้าแรงมีภายนอกที่กระทาผ่านจุดแนวแกนผ่านจุดเซ็นทรอยด์ (Centroidal Axis) ของพื้นที่หน้าตัด
ของท่อนวัสดุ การกระจายของแรงภายในที่ต้านทานแรงภายนอกก็จะเป็นไปอย่างสม่าเสมอทั่วพื้นที่หน้าตัด
ในกรณีที่การกระจายของแรงภายในไม่สม่าเสมอ นั่นคือแรงเค้นไม่กระทาเท่ากันทุก ๆ จุดบน
พื้นที่หน้าตัด พิจารณาส่วนของพื้นที่เล็ก ๆ A ซึ่งมีแรงภายใน F กระทา เมื่อ A เข้าใกล้ศูนย์แรงแรงเค้นที่
จุดบนพื้นที่หน้าตัดจะเป็น
F dF
 = lim
A0 A
=
dA
ค่าของแรงเค้นในท่อนวัสดุที่ถูกกระทาด้วยแรงหนึ่งขึ้นอยู่กับขนาดของพื้นที่หน้าตัดของวัสดุนั้น
โดยสรุปแล้วความเค้นคือ แรงต้านทานภายในของวัสดุที่พยายามต้านทานแรงภายนอกที่มากระทา เพื่อ
ไม่ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขนาดรูปร่างของวัสดุนั้น แรงต้านทานภายในจะกระจายอย่างสม่าเสมอบนพื้นที่หน้าตัด
ของวัสดุที่รับแรงนั้น หรือแรงภายในต่อหนึ่งหน่วยพื้นที่ ที่วัสดุต่อต้าน (Internal Resisting Force) แรงภายนอก
ที่มากระทาต่อวัสดุนั้น โดยมีแรงรวมเท่ากับแรงภายนอกแต่มีทิศทางตรงกันข้าม และหน่วยของความเค้นนั้นคิดได้
จากอัตราส่วนของแรงที่กระทาภายนอกต่อหน่วยพื้นที่หน้าตัดขวางของวัสดุนั้น นั่นคือ จะมีหน่วยเป็น นิวตันต่อ
ตารางเมตร กิโลกรัมต่อตารางมิลลิเมตร และปอนด์ต่อตารางนิ้วเป็นต้น ลักษณะของความเค้นที่เกิดขึ้นนั้นจะขึ้นอยู่
กับ ลักษณะของแรงภายนอกที่มากระทา
1.3.1 ความเค้นดึง (Tensile Stress)
เกิดขึ้นเมื่อวัสดุอยู่ภายใต้แรงดึงซึ่งแนวแรงมีทิศทางตั้งฉากกับพื้นที่หน้าตัด ต่อพื้นที่หน้าตัดนั้น
ในสภาวะสมดุลย์ พิจารณาในทิศทางตั้งฉากกับพื้นที่หน้าตัด
แรงภายใน = แรงภายนอก
 t  dA = dP (1.1)
ผลรวมของแรงตลอดพื้นที่หน้าตัด

A
  t  dA =  dP

t * A = P
P
ดังนั้น t = (1.2)
A
สัปดาห์ที่ หน้าที่
เนื้อหาการสอน 2 4
รหัสและชื่อวิชา : 3100 - 0107 ความแข็งแรงของวัสดุ วันที่ : เวลา :
แผนกวิชา : ช่างก่อสร้าง ชื่อสถานศึกษา : วิทยาลัยเทคนิคน่าน

รูปที่ 1.4 ท่อนวัสดุรับแรงดึง


1.3.2 ความเค้นอัด (Compressive Stress)
เกิดขึ้นเมื่อวัสดุอยู่ภายใต้แรงอัด ซึ่งแนวแรงมีทิศทางตั้งฉากกับพื้นที่หน้าตัด ต่อพื้นที่หน้าตัด
นั้น
ในสภาวะสมดุลย์ พิจารณาในทิศทางตั้งฉากกับพื้นที่หน้าตัด
พิจารณาทานองเดียวกันกับความเค้นดึง
แรงภายใน = แรงภายนอก
c * dA = dP (1.3)
ผลรวมของแรงตลอดพื้นที่หน้าตัด
 c * dA =  dP
A
c * A = P
P
ดังนั้น c = (1.4)
A

รูปที่ 1.5 ท่อนวัสดุรับแรงอัด


สัปดาห์ที่ หน้าที่
เนื้อหาการสอน 2 5
รหัสและชื่อวิชา : 3100 - 0107 ความแข็งแรงของวัสดุ วันที่ : เวลา :
แผนกวิชา : ช่างก่อสร้าง ชื่อสถานศึกษา : วิทยาลัยเทคนิคน่าน
1.3.3 ความเค้นเฉือน (Shear Stress)
เกิดขึ้นเมื่อวัสดุอยู่ภายใต้แรงเฉือน ซึ่งมีทิศทางขนานกับพื้นที่หน้าตัด ต่อพื้นที่หน้าตัดนั้น
พิจารณาเมื่อมีแรงภายนอกมากระทาต่อวัตถุ โดยพยายามทาให้วัตถุขาดออกจากกันตามแนวระนาบที่ขนานกับ
ทิศทางของแรง จะเกิดแรงภายในต้านทานแรงภายนอกบนระนาบนั้นเราเรียกแรงภายในนี้ว่า แรงเฉือน (Shear
Force) เมื่อหารแรงนี้ด้วยพื้นที่หน้าตัดที่รับแรงหรือต้านทานแรงนี้จะได้ค่า แรงเค้นเฉือน (Shear Stress)
ในสภาวะสมดุลย์ พิจารณาในทิศทางตั้งฉากกับพื้นที่หน้าตัด
พิจารณาเดียวกันกับความเค้นดึง จะได้ความสัมพันธ์ระหว่างความเค้นเฉือนกับแรงเฉือนดังนี้
 =V (1.5)
A

ค่าแรงเฉือนที่คานวณได้นี้เป็นเพียงค่าเฉลี่ยเท่านั้น (โดยสมมุตอว่าค่าแรงเฉือนกระจายอย่างสม่าเสมอ
ทั่วหน้าตัดที่รับแรง) แต่ในความเป็นจริงแล้วการกระจายของแรงเฉือนอาจจะอยู่ยากกว่านี้แล้วแต่กรณี
ในกรณีที่เป็นแรงดึงและแรงอัด พื้นที่หน้าตัดที่รับแรงจะตั้งฉากกับทิศทางของแรง แต่ในกรณีแรงเฉือน
พื้นที่หน้าตัดที่รับแรงจะขนานกับทิศทางของแรง

รูปที่ 1.6 วัสดุรับแรงเฉือน

1.4 ความเครียด (Strain)

เมื่อมีแรงภายนอกกระทาต่อโครงการ จะมีผลทาให้ชิ้นส่วนของโครงสร้างเสียรูปไป (Deformation) โดย


ทาให้ส่วนของโครงสร้างนั้นเกิดความเครียดขึ้น ซึ่งความเครียดนั้น มีนิยามว่า ขนาดที่เปลี่ยนแปลงไปของมวลวัสดุ
ต่อขนาดเดิม ในทิศทางใดทิศทางหนึ่งที่พิจารณา หรืออาจแสดงได้โดยสมการดังนี้คือ
สัปดาห์ที่ หน้าที่
เนื้อหาการสอน 2 6
รหัสและชื่อวิชา : 3100 - 0107 ความแข็งแรงของวัสดุ วันที่ : เวลา :
แผนกวิชา : ช่างก่อสร้าง ชื่อสถานศึกษา : วิทยาลัยเทคนิคน่าน

ความเครียด = ส่วนที่เปลี่ยนแปลง = ความยาวสุดท้าย - ความยาวเดิม


ความยาวเดิม ความยาวเดิม
 S ' S
 = = (1.6)
S S

รูปที่ 1.7 ส่วนของโครงสร้างเมื่อเกิดความเครียด

สาหรับการศึกษา ความเครียด ในส่วนของโครงสร้าง เพื่อเป็นแนวทางในการกาหนดความยาวของ


โครงสร้าง ตลอดจนเลือกใช้วัสดุ เพื่อให้ส่วนของโครงสร้างเสียรูปไปได้ไม่เกินที่มาตรฐานกาหนด โดยความเครียดที่
เกิดขึ้นในวัสดุ แบ่งออกได้เป็น 3 ลักษณะตามทิศทางที่เกิดความเค้นนั้น ๆ กล่าวคือ

1.4.1 ความเครียดดึง (Tensile Strain)


ชิ้นส่วนของโครงสร้างที่มีความยาวเดิม เมื่อมีแรงดึงมากระทาในรูปที่ 1.8 ทาให้ส่วนของ
โครงสร้างนั้นยืดออก จะมีผลทาให้ความเครียดดึงขึ้นดังแสดงไว้ในสมการ 1.7 คือ
t =  (1.7)
L

รูปที่ 1.8 แสดงการเกิดความเครียดดึง


สัปดาห์ที่ หน้าที่
เนื้อหาการสอน 2 7
รหัสและชื่อวิชา : 3100 - 0107 ความแข็งแรงของวัสดุ วันที่ : เวลา :
แผนกวิชา : ช่างก่อสร้าง ชื่อสถานศึกษา : วิทยาลัยเทคนิคน่าน
1.4.2 ความเครียดอัด (Compressive Strain)
ชิ้นส่วนของโครงสร้างที่มีความยาวเดิม เมื่อมีแรงอัดมากกว่าในรูปที่ 1.9 ทาให้ส่วนของ
โครงสร้างนั้นหดลง จะมีผลทาให้ความเครียดอัดขึ้น ดังแสดงไว้ในสมการ 1.8 คือ

 =  (1.8)
L

รูป 1.9 แสดงการเกิดความเครียดอัด

1.4.3 ความเครียดเฉือน (Shear Strain)


ส่วนของโครงสร้างที่มีความยาวเดิม เมื่อมีแรงเฉือนมากระทา ในรูปที่ 1.10 ทาให้ส่วนของ
โครงสร้างนั้นเคลื่อนไหวไปตามแนวแรง ทาให้เกิดความเครียดเฉือนขึ้นดังแสดงไว้ในสมการ 1.9 คือ
r =  (1.9)
L

รูปที่ 1.10 แสดงการเกิดความเครียดเฉือน


สัปดาห์ที่ หน้าที่
เนื้อหาการสอน 2 8
รหัสและชื่อวิชา : 3100 - 0107 ความแข็งแรงของวัสดุ วันที่ : เวลา :
แผนกวิชา : ช่างก่อสร้าง ชื่อสถานศึกษา : วิทยาลัยเทคนิคน่าน
การทดสอบโดยการเฉือน เป็นวิธีที่ทดสอบแตกต่างจากการทดสอบโดยการดึงและการอัด คือ
การเฉือนของแรงที่กระทาตรงกันข้าม มีทิศทางที่ขนานกับพื้นที่หน้าตัดที่ขนาด และการทดสอบโดยการเฉือนนี้ทา
เพื่อหาคุณสมบัติความต้านทานการเฉือนของวัสดุ ซึ่งจะต้องนาไปใช้ในการทาชิ้นส่วนของเครื่องจักรกล ที่ต้องรับ
แรงเฉือนเช่น หมุดย้า สลักเกลียว และสลักเป็นต้น แรงเฉือนแบ่งเป็น 2 แบบคือ
1.4.3.1 แรงเฉือนตรง
แรงเฉือนตรง หมายถึง ผลรวมของแรงขนานที่มีทิศทางตรงกันข้าม กระทาผ่าน
เซนทรอยด์ของพื้นที่ซึ่งมีขนาดเล็ก และอาจจะเป็นไปได้ว่าเมื่อวัสดุรับแรงเฉือน ก็จะเกิดความเค้นเฉือนที่สม่าเสมอ
ทั่วทั้งพื้นที่หน้าตัด ซึ่งในความเป็นจริงแล้ววัสดุที่รับแรงเฉือนโดยตรงทั่วไปมักจะมีแรงดัดโค้งและแรงเสียดทาน
เกิดขึ้นพร้อมด้วยเสมอ จึงสรุปได้ว่าในทางปฏิบัติ วัสดุจะไม่มีโอการที่จะรับแรงเฉือนโดยตรงเพียงอย่างเดียว
สาหรับตัวอย่างลักษณะการเฉือนตรงก็คือ ได้แก่ การตัดเหล็ก และแรงเฉือนที่กระทากับหมุดย้าและสลักเป็นต้น
1.4.3.2 แรงเฉือนบิด
แรงเฉือนบิด หมายถึงแรงที่ขนานกันและมีทิศทางตรงกันข้ามกระทาต่อวัสดุ โดย
ไม่ได้กระทาตามแนวแกนของวัสดุนั้น ซึ่งจะทาให้เกิดแรงคู่ควบ และจะพยายามบิดวัสดุให้หมุนเฉือนขาดไปตาม
ทิศทางของแรง ดังนั้นพื้นที่ในการรับแรงเฉือนบิด จะขนานกับแนวแรง สาหรับตัวอย่างของวัสดุที่รับแรงบิดได้แก่
เพลาต่าง ๆ
สัปดาห์ที่ หน้าที่
เนื้อหาการสอน 2 9
รหัสและชื่อวิชา : 3100 - 0107 ความแข็งแรงของวัสดุ วันที่ : เวลา :
แผนกวิชา : ช่างก่อสร้าง ชื่อสถานศึกษา : วิทยาลัยเทคนิคน่าน
ตัวอย่างที่ 1.1
คอนกรีตทรงกระบอกยาว 30 cm มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 10 cm หลังจากรับรับแรงกดอัดสูงสุด 70 kN วัด
ความยาวได้ 29.98 cm จงหาความเค้นอัดสูงสุดและความเครียดอัด
70 kN

30 cm

70 kN

วิธีทา
ความเค้นอัด

A D2 = 7.85 103 m2
4
P
c 
A
70 1000

7.85 103
2
 c  8.92 N/m Ans

ความเครียดอัด


L
 = 30 - 29.98 = 0.02 cm.
0.02

30
 = 6.67 104 Ans

You might also like