Download as docx, pdf, or txt
Download as docx, pdf, or txt
You are on page 1of 28

โครงงานวิทยาศาสตร์

สาขา คอมพิวเตอร์
เรื่อง ระบบแสกนใบหน้าเพื่อพัฒนาเครื่องจ่ายยา
อัตโนมัติ

จัดทำโดย

นางสาวธัญยานันท์ โชติรก
ั ษวงศ์
นางสาวพิธุนิภา ไชยพันธ์
นางสาวภิญญดา นุสา

ครูที่ปรึกษา
นางสาวธัญวรัตม์ ไร่สงวน
นางสาวพิไลลักษณ์ ถิ่นวัน

โครงงานนีเ้ ป็ นส่วนหนึ่งของโครงการประชุมวิชาการ
และนำเสนอผลงานของนักเรียนในโครงงานการ
ห้องเรียนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และ สิง่
แวดล้อม
กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ครัง้ ที่ 14 ประจำ
ปี การศึกษา 2567

ระบบแสกนใบหน้าเพื่อพัฒนาเครื่องจ่ายยาอัตโนมัติ

Face scanning system to develop automatic


medicine dispenser

จัดทำโดย
นางสาวธัญยานันท์ โชติรก
ั ษวงศ์
นางสาวพิธุนิภา ไชยพันธ์
นางสาวภิญญดา นุสา

ครูที่ปรึกษา

นางสาวธัญวรัตม์ ไร่สงวน
นางสาวพิไลลักษณ์ ถิ่นวัน

โครงงานนีเ้ ป็ นส่วนหนึ่งของโครงการประชุมวิชาการ
และนำเสนอผลงานของนักเรียนในโครงงานการ
ห้องเรียนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และ สิง่
แวดล้อม
กลุ่มภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างครัง้ ที่ 14 ประจำ
ปี การศึกษา 2567

สารบัญ

เรื่อง หน้า
สารบัญ ก
บทที่ 1 บทนำ 1
1.1 ที่มาและความสำคัญ 1
1.2 วัตถุประสงค์ของการวิจัย 2
1.3 สมมติฐานของการวิจัย 2
1.4 ขอบเขตของการวิจัย 2
1.5 นิยามศัพท์เฉพาะ 2
1.6 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 3
บทที่ 2 เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 4
2.1 NodeMCU ESP8266 4
2.1.1 ความหมายของ NodeMCU ESP8266 4
2.1.2 คุณสมบัติของ NodeMCU ESP8266 4
2.2 โปรแกรม Arduino IDE 5
2.3 ภาษา C++ 5
2.4 แนวคิด และทฤษฎีเกี่ยวกับความพึงพอใจ 6
2.5 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 8
บทที่ 3 วิธีดำเนินงานโครงงาน 10
1. แผนผังการทำงาน 10
1.1 แผนการทำงานโครงงาน 10
1.2 แผนผังการทำงานของระบบเครื่องจ่ายยา 11

1.3 แผนผังการทำงานของระบบแสกนใบหน้า 11
2. วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือหรือโปรแกรมที่ใช้ใน 12
การพัฒนา
3. ขัน
้ ตอนการดำเนินงาน 12
3.1 ออกแบบโครงสร้างเครื่องจ่ายยาอัตโนมัติ 12
3.2 ประกอบเครื่องจ่ายยา 12
3.3 เขียนโค้ดโปรแกรม 13
3.4 ประกอบแผงวงจร 13

สารบัญ (ต่อ)

3.5 เชื่อมต่อกล้องเว็บแคมกับคอมพิวเตอร์ 13
3.6 ทำ Face trainer ผ่านโปรแกรม CIRA 13
Core
3.7 เขียนโค้ดบันทึกฐานข้อมูล Mysql 13
3.8 สร้าง Line Notify ส่งข้อความแจ้งเตือน 13
เข้าแอพพลิเคชันไลน์
3.9 Export โค้ดลงในบอร์ด 13
3.10 ทดสอบประสิทธิภาพระบบเครื่องจ่ายยา 13
อัตโนมัติ
3.11 ประเมินความพึงพอใจต่อระบบเครื่อง 13
จ่ายยาอัตโนมัติ
1

บทที่ 1
บทนำ

1.1 ที่มาเเละความสำคัญ

งานพยาบาลและอนามัยโรงเรียนเป็ นงานที่ให้บริการทางด้าน
สุขภาพของนักเรียนโดยมุ่งเน้นให้นักเรียนทุกคนมีสุขภาพดี สมบูรณ์ด้าน
ร่างกาย เปิ ดบริการให้กับนักเรียนด้านการปฐมพยาบาลเบื้องต้น
การดูแลผู้ป่วยที่มีอาการเจ็บไข้เล็กน้อย และเนื่องด้วยสภาพอากาศที่
แปรปรวน ฝุ ่นเพิ่มมากขึน
้ หรือมีการระบาดของโรคติดต่อต่าง ๆ อย่าง
แพร่หลาย ทำให้เจ็บป่ วยได้ง่าย ส่งผลให้นักเรียนมีความประสงค์ขอรับยา
เพื่อบรรเทาอาการเจ็บป่ วยของตนเองในเบื้องต้น เป็ นจำนวนมาก เช่น
ยาพาราเซตามอล (Paracetamol) ยาแก้แพ้ (Antihistamines) ยาลด
กรด (Antacids)
ระบบการจัดการด้านยาในห้องปฐมพยาบาลมีความสำคัญอย่างยิ่ง
ต่อความปลอดภัยของนักเรียน ตามมาตรฐานโรงพยาบาลและบริการ
สุขภาพ II-6 ระบบการจัดการด้านยาครอบคลุมถึงการจัดการระบบการ
จ่ายยาที่เอื้อต่อการป้ องกันการคลาดเคลื่อนทางการจ่ายยา โดยสาเหตุ
ของความคลาดเคลื่อนทางการจ่ายยาของห้องปฐมพยาบาลมีหลาย
สาเหตุ เช่น คุณครูผู้ดูแลห้องปฐมพยาบาลมีหน้าที่หรือภาระงานอื่น ๆ ที่
ต้องรับผิดชอบ จึงทำให้ดูแลห้องพยาบาลได้ไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ
หรือนักเรียนหยิบยาด้วยตนเอง ทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนทางการจ่าย
ยา
2

โดยในปั จจุบันห้องปฐมพยาบาลใช้ใบลงทะเบียนในการเข้ารับ
บริการห้องปฐมพยาบาล โดยการลงชื่อและอาการ ซึ่งวิธีนอ
ี ้ าจทำให้ได้
ข้อมูลที่ผิดพลาด ลืมลงทะเบียน และนักเรียนยังคงต้องหยิบยาด้วย
ตนเอง ทำให้เกิดการคลาดเคลื่อนทางการจ่ายยา เช่น การหยิบยาผิดชนิด
หยิบยาไม่ตรงตามอาการ โดยการรับประทานยาผิดชนิดหรือไม่ตรงตาม
อาการจะส่งผลเสียต่อสุขภาพในหลายๆด้านและเป็ นอันตรายต่อนักเรียน
ที่มาใช้บริการ ดังนัน
้ วิธีที่จะสามารถจัดการกับปั ญหานีไ้ ด้คือ การนำ
ระบบแสกนหน้าเพื่อพัฒนาเครื่องจ่ายยาอัตโนมัติ
มาประยุกต์ใช้ในห้องปฐมพยาบาล ซึ่งจากการค้นคว้างานวิจัย พบว่า
เครื่องจ่ายยาอัตโนมัติสามารถป้ องกันการเกิดความคลาดเคลื่อนในการ
จ่ายยาได้
ด้วยเหตุดังนีผ
้ ู้จัดทำโครงงานจึงมีความสนใจที่จะศึกษาระบบแสกน
ใบหน้าเพื่อพัฒนาเครื่องจ่ายยาอัตโนมัติ และนำผลที่ได้มาประยุกต์ใช้งาน
ในห้องปฐมพยาบาลเพื่อช่วยแบ่งเบาภาระของคุณครูที่ดูแลห้องพยาบาล
และป้ องกันการจ่ายยาคลาดเคลื่อน พร้อมทัง้ สามารถนำความรู้เรื่อง
ระบบแสกนหน้าไปใช้ประโยชน์ในทางอื่น ๆ ได้

1.2 วัตถุประสงค์ของการวิจัย

1.2.1 เพื่อศึกษาปั ญหาและแนวทางแก้ไขการพัฒนาศักยภาพของ


ผู้รับผิดชอบที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยา
1.2.2 เพื่อเก็บข้อมูลการรับยาของนักเรียนอย่างเป็ นระบบ
1.2.3 เพื่อหาประสิทธิภาพเครื่องจ่ายยาอัตโนมัติ
3

1.3 สมมติฐานของการวิจัย

1.3.1 เครื่องจ่ายยาอัตโนมัติสามารถจ่ายยาให้กับนักเรียนได้อย่าง
ถูกต้อง
1.3.2 เครื่องจ่ายยาอัตโนมัติสามารถเก็บข้อมูลของนักเรียนที่มารับ
ยา เเละรายงานให้ผู้ดูเเลห้องพยาบาลได้

1.4 ขอบเขตของการวิจัย

1.4.1 ตัวเเปรในการวิจัย

ตัวเเปรที่ศึกษาประกอบด้วย

1.1 ตัวเเปรต้น คือ

เครื่องจ่ายยาอัตโนมัติ

1.2 ตัวเเปรตาม คือ

1.2.1 การจ่ายยาให้กับนักเรียน
1.2.2 เซนเซอร์ตรวจจับใบหน้าแล้วแจ้งเตือนเข้าสู่มือ
ถือของผู้ดูแลห้องพยาบาลผ่าน แอพพลิเคชันไลน์

1.5 นิยามศัพท์เฉพาะ
4

1.5.1 เครื่องจ่ายยาอัตโนมัติ หมายถึง เครื่องจ่ายยาที่สามารถ


จ่ายยาและจดจำใบหน้าผู้ที่มาใช้งานได้ถูกต้อง พร้อมทัง้ สามารถส่งข้อมูล
ผ่าน Line ได้อย่างรวดเร็ว
1.5.2 ระบบการแสกนใบหน้า หมายถึง ระบบที่สามารถแส
กนและจดจำหน้าผู้ที่มาใช้งานพร้อมทัง้ แสดงชื่อได้ถูกต้อง
1.5.3 ความพึงพอใจของผู้ใช้งาน หมายถึง ความคิดเห็นของผู้
ใช้งานที่มีระบบแสกนใบหน้าเพื่อพัฒนาเครื่องจ่ายยาอัตโนมัติ
1.5.4 ประสิทธิภาพของระบบแสกนใบหน้าเพื่อพัฒนาเครื่อง
จ่ายยาอัตโนมัติ หมายถึง เครื่องจ่ายยาอัตโนมัติที่สามารถจ่ายยาและ
จดจำใบหน้าได้อย่างถูกต้องทุกครัง้
1.5.5 การจ่ายยาคลาดเคลื่อน หมายถึง การจ่ายยาที่ผิดชนิด
หรือการจ่ายยาที่ไม่ตรงตามอาการ

1.6 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

-สามารถอำนวยความสะดวกสบายและลดระยะเวลาในการจ่ายยา
-สามารถแบ่งเบาภาระหน้าที่ของคุณครูที่ดูแลห้องพยาบาล
-สามารถนำโปรแกรม Arduino IDE มาประยุกต์ใช้ได้จริง
-เครื่องจ่ายยาสามารถจ่ายยาให้กับนักเรียนได้ถูกต้อง
5

บทที่ 2
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

การดำเนินโครงงานวิทยาศาสตร์เรื่อง ระบบแสกนใบหน้าเพื่อ
พัฒนาเครื่องจ่ายยาอัตโนมัติ คณะผู้จัดทำได้ศึกษา ทบทวนความหมาย
ตลอดจนแนวคิด ทฤษฎีเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อใช้เป็ น
แนวทางในการศึกษา ดังนี ้

2.1 NodeMCU ESP8266


6

ภาพที่ 1 บอร์ด NodeMCU ESP8266


ที่มา https://techtalk2apply.com

2.1.1 ความหมายของ NodeMCU ESP8266

NodeMCU คือ บอร์ดคล้าย Arduino ที่สามารถเชื่อมต่อกับ WiFi


ได้, สามารถเขียนโปรแกรมด้วย Arduino IDE ได้เช่นเดียวกับ Arduino
และบอร์ดก็มีราคาถูกมาก ๆ เหมาะแก่ผู้ที่คิดจะเริ่มต้นศึกษา หรือทดลอง
ใช้งานเกี่ยวกับ Arduino, IoT, อิเล็กทรอนิกส์ หรือแม้แต่การนำไปใช้จริง
ในโปรเจคต่าง ๆ ก็ตาม เพราะราคาไม่แพง ภายในบอร์ดของ NodeMCU
ประกอบไปด้วย ESP8266 (ไมโครคอนโทรลเลอร์ที่สามารถเชื่อมต่อ
WiFi ได้) พร้อมอุปกรณ์อำนวยความสะดวกต่าง ๆ เช่น พอร์ต micro
USB สำหรับจ่ายไฟ / อัปโหลดโปรแกรม, ชิพสำหรับอัปโหลดโปรแกรม
ผ่านสาย USB, ชิพแปลงแรงดันไฟฟ้ า และขาสำหรับเชื่อมต่ออุปกรณ์
ภายนอก เป็ นต้น
7

2.1.2 คุณสมบัติของ NodeMCU ESP8266

(1) ใช้โมดูล ESP8266-12E ซึ่งมีหน่วยความจำ flash4 Mbytes


(2) ใช้ช พ
ิ USB to UART เบอร์ CP2102 ของบ ริษ ัท SILICON
LABS ทำให้ไม่มีปัญหากับ OS ต่าง ๆ
(3) ระดับ สัญ ญาณลอจิก ของสัญญาณอิน พุตและเอาต์พ ุต (GPIO)
3.3 V
(4) สามารถใช้ไฟเลีย
้ งบอร์ดจากพอร์ต USB 5VDC หรือ จากแหล่ง
จ่ายไฟภายนอก 5-10VDC
(5) สามารถพัฒนาโปรแกรมโดยใช้โปรแกรม Arduino ได้

2.2 โปรแกรม Arduino IDE

ซอฟแวร์อาร์ดูโน่ หรือ Arduino Integrated Development


Environment เป็ นโปรแกรมเขียนโค้ดคำสั่งเพื่อควบคุมบอร์ดไมโคร
คอนโทรลเลอร์โดยใช้ภาษา C/C++ ในการเขียน สามารถทำงานได้ในทุก
ๆระบบปฏิบัติการ เช่น Window, MacOS X และ Linux เป็ นต้น
สามารถดาวน์โหลดโปรแกรมได้ที่
https://www.arduino.cc/en/software
8

ภาพที่ 2 หน้าต่างหลักของโปรแกรม Arduino IDE


ที่มา https://kb32ft.makerasia.com

2.3 ภาษา C++

ภาษา C++ เป็ นภาษาโปรแกรมระดับสูง ที่พัฒนามาจาก


ภาษา C โดย เบียเนอ สเดราสดร็อบ (Bjarne Stroustrup) เพื่อรองรับ
โปรแกรมเชิงวัตถุ (object-oriented program) คือ การมองโปรแกรม
เป็ นส่วนประกอบย่อย ที่นักเขียนโปรแกรมนำมาประกอบกัน เช่น เมื่อ
ต้องการเขียนโปรแกรมบนวินโดวน์ อุปกรณ์พ้น
ื ฐานที่ต้องการจะสามารถ
ประกอบกันเป็ นโปรแกรมได้ โดยไม่จำเป็ นต้องทราบว่าอุปกรณ์นน
ั ้ สร้าง
ขึน
้ มาอย่างไรแต่ต้องศึกษาให้เข้าใจว่าจะใช้ชน
ิ ้ ส่วนใด จะนำมาใช้อย่างไร
ก็สามารถสร้างโปรแกรมขึน
้ มาได้ โดยการนำวัตถุมาประกอบกัน เปรียบ
เหมือนกับช่างยนต์ นำเอาชิน
้ ส่วนต่าง ๆ ของรถมาประกอบเข้าด้วยกัน
กล่าวคือภาษา C++ ได้ถก
ู พัฒนาคำสั่งลัดและเครื่องมือต่าง ๆ เพิ่ม
ขึน
้ จากภาษา C เพื่อช่วยในการเขียนโปรแกรมให้สะดวกรวดเร็วมากยิ่ง
ขึน
้ โดยภาษา C++ จะมีความยืดหยุ่นในการเขียนโปรแกรมสูง จึงถูกนำ
9

ไปใช้ในการเขียนโปรแกรมแบบต่าง ๆ มากมาย เช่น โปรแกรม


คอมพิวเตอร์ระบบสมองกลฝั งตัว(Embedded) เว็บเซิร์ฟเวอร์ การ
พัฒนาเกม และแอพพลิเคชันที่ต้องการประสิทธิภาพอย่างสูง

2.4 แนวคิด และทฤษฎีเกี่ยวกับความพึงพอใจ

ความพึงพอใจเป็ นความรู้สึกที่มีต่อบุคคลมีต่อสิ่งที่ได้รับ
ประสบการณ์ และแสดงออก หรือ พฤติกรรมตอบสนองในลักษณะแตก
ต่างกันไป ความพึงพอใจต่อสิ่งต่าง ๆ นัน
้ จะมีมาก หรือน้อยขึน
้ อยู่กับแรง
จูงใจ การสร้างแรงจูงใจ หรือการกระตุ้นให้เกิดแรงจูงใจกับผู้ปฏิบัติงาน
จึงเป็ นสิ่งจำเป็ น เพื่อให้งานหรือสิ่งที่ทำนัน
้ ประสบความสำเร็จ การศึกษา
เกี่ยวกับความพึงพอใจเป็ นการศึกษาตามทฤษฎีทางพฤติกรรมศาสตร์ที่
เกี่ยวข้องกับความต้องการของมนุษย์ มีดังนี ้
Scott, 124 (1970) เสนอแนวคิดในการสร้างแรงจูงใจให้เกิดความ
พึงพอใจต่อการทำงานที่จะให้ผลเชิงปฏิบัติมีลักษณะดังนี ้
1. งานควรมีส่วนสัมพันธ์กับความปรารถนาส่วนตัว งานจะมีความ
หมายต่อผู้ทำ
2. งานนัน
้ ต้องมีการวางแผน และวัดความสำเร็จได้ โดยใช้ระบบ
การทำงาน และการควบคุมที่มีประสิทธิภาพ
3. เพื่อให้ได้ผลในการสร้างสิ่งจูงใจภายในเป้ าหมายของงานต้องมี
ลักษณะ ดังนี ้
3.1 คนทำงานมีส่วนร่วมในการตัง้ เป้ าหมาย
3.2 ผู้ปฏิบัติได้รับทราบผลสำเร็จในการทำงานโดยตรง
3.3 งานนัน
้ สามารถทำให้สำเร็จได้
10

เมื่อนำแนวคิด Scott มาประยุกต์ใช้กับกิจกรรมการเรียนการสอน


เพื่อสร้างแรงจูงใจให้เกิดความพึงพอใจต่อกิจกรรมการเรียนการสอน มี
แนวทางดังนี ้
1. ศึกษาความต้องการ ความสนใจ และระดับความสามารถ หรือ
พัฒนาการของผู้เรียน
2. วางแผนการสอนอย่างเป็ นกระบวนการ และประเมินผลอย่างมี
ประสิทธิภาพ
3. จัด กิจ กรรมที่ใ ห้น ัก เรีย นมีส ่ว นร่ว มสะท้อ นผลงาน และการ
ทำงานร่วมกันได้

ความสำคัญของความพึงพอใจในงาน

1. การรับรู้ปัจจัยต่าง ๆ ที่มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจใน
งานจะทำให้หน่วยงาน
สามารถนำไปใช้ในการสร้างปั จจัยเหล่านัน
้ ให้เกิดขึน
้ เพื่อเป็ นประโยชน์
ต่อการทำงาน
2. ความพึงพอใจในงานจะทำให้บุคคลมีความตัง้ ใจและมี
ความรับผิดชอบในการ
ทำงานลดการขาดงาน ลดการลาออก และลดการมาทำงานสาย
3. ความพึงพอใจในงานเป็ นการเพิ่มผลผลิตของบุคคลทำให้
องค์การมีประสิทธิภาพ
และประสิทธิผล ได้บรรลุเป้ าหมายขององค์การ พฤติกรรมของบุคคลที่มี
ความพึงพอใจในงาน
11

การวัดความพึงพอใจในงาน

วัตถุประสงค์ของการวัดความพึงพอใจในงาน มีดังนี ้
1. เพื่อ จะได้ท ราบถึง สาเหตุข องความพึง พอใจ และไม่พ งึ
พอใจในงาน
2. เพื่อจะได้ทราบถึงความสัมพันธ์ระหว่า งความพึงพอใจใน
งานกับผลงาน ที่ออกมา
3. เพื่อจะได้เรียนรู้ถึงสภาพแวดล้อมต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดความ
พึงพอใจ และไม่พึงพอใจในงาน
4. เพื่อจะให้ทราบถึงความสัมพันธ์ระหว่างความพึงพอใจใน
งานกับการฝึ กอบรม การขาดงาน
การแบ่งแบบวัดจึงมีหลายลักษณะตาม ฉลวยศรี ท้าวน้อย (2547)
ได้กล่าวถึง การแบ่ง แบบวัดความพึงพอใจในงาน ดังนี ้
1. การแบ่งแบบวัดตามลักษณะข้อความที่ถาม ได้แก่
1.1 แบบสำรวจปรนัย (objective surveys) เป็ นแบบวัดที่มี
คำถาม และคำตอบให้
เลือกตอบโดยผู้ตอบต้องตอบตามที่ตนเองมีความคิดเห็น และมีความรู้สึก
ที่เป็ นจริงข้อมูล ที่ได้สามารถวิเคราะห์ด้วยเชิงปริมาณ
1.2 แบบสำรวจเชิงพรรณนา (descriptive survey) เป็ น
แบบสอบถามที่ผู้ตอบตอบ
ด้วยคำพูด และข้อเขียนของตนเอง เป็ นแบบสัมภาษณ์ หรือคำถาม
ปลายเปิ ดให้ผู้ตอบตอบได้อส
ิ ระข้อมูลที่ได้เป็ นข้อมูลเชิงคุณภาพ
2. การแบ่งแบบวัดตามลักษณะของงาน ได้แก่
12

2.1 แบบวัดความพึงพอใจในงานโดยทั่วไป เป็ นแบบวัดความ


พึงพอใจของบุคคลที่มี
ความสุขอยู่กับงานโดยส่วนรวม
2.2 แบบวัดความพึงพอใจเฉพาะเกี่ยวกับการงาน เป็ นแบบ
วัดความพึงพอใจในงาน
เฉพาะงานในแต่ละด้านแนวคิดทฤษฎีและหลักการต่าง ๆ เกี่ยวกับ
การสร้างความพึงพอใจในงานนีเ้ ราสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการสร้าง
ความพึงพอใจให้กับนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยการจัด
สภาพแวดล้อม และปั จจัยต่า ง ๆ ที่เอื้อ ต่อ การเรียนรู้ให้แ ก่ผ ู้เ รียน เน้น
กิจกรรมให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมทัง้ ในงานที่เป็ นรายบุคคล และงานกลุ่ม
จัดการนำเสนอ และแสดงผลงานเพื่อ ให้เกิด ความเป็ นเจ้า ของและภาค
ภูมิใจ สิ่งที่เกิดขึน
้ ตามมานัน
้ จะแสดงให้เห็นพฤติกรรมที่เขาได้แสดงออก
ถึงความรู้สึกที่พึงพอใจหรือไม่พึงพอใจต่อกิจกรรมนัน
้ ๆ

2.5 งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

มาลีรัตน์ โสดานิล และอมรศักดิ ์ อมรธนานันท์ (2555) ได้ทำการ


ศึกษาเรื่องการรู้จำใบหน้าแบบหลายมุมมองโดยใช้เทคนิคผสมผสานการ
แบ่งภาพและการจับคู่ภพามุมมองจริง โดยงานวิจัยที่พัฒนาขึน
้ ดวยวิธีการ
ผสมผสานระหว่างเทคนิคการแบงภาพและเทคนิคการจับคูภาพมุมมอง
จริง (HybridImage Partition and Real View-based Matching)
สามารถเพิ่มประสิทธิภาพอัตรารูจําไดในระดับดีซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับ
การรูจําแบบ EigenFace และ EigenFace แบบใชฐานขอมูลมุมมองจริง
พบวาการรูจําใบหนาที่วิจัยขึน
้ มีประสิทธิภาพที่ดีกวาโดยมีอัตราการรูจํา
เฉลี่ยที่84.97%
13

กังสดาล หาญเชิงชัย (2562) โครงงานนีม


้ ีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา
หลักการทำงานของวิธีการ 2DPCA
(การวิเคราะห์องค์ประกอบหลัก 2 มิติ) สำหรับการรู้จำใบหน้า โดยสรุป
ผลการทดลองแสดงให้เห็นได้ว่าจากการทดลองและวัดประสิทธิภาพของ
วิธีการที่นำเสนอทัง้ 2 แบบพบว่า การปรับปรุง วิธีการ 2DPCA แบบที่ 1
การหาความสัมพันธ์แบบ 2 ทิศทาง มีประสิทธิภาพสูงสุดสำหรับการรู้จำ
ใบหน้าภายใต้ผลตกกระทบจากการส่อง สว่างของแสงโดยใช้ฐานข้อมูล
ของ Yale face database B+ (Georghiades et al., 2001) และการ
ปรับปรุงวิธีการ 2DPCA แบบที่ 2 การใช้เทคนิค ELSSP มีประสิทธิภาพ
สูงสุดสำหรับภาพรวมเฉลี่ยของทัง้ 3 ฐานข้อมูล ได้แก่ ORL face
database (Samaria et al., 1994) Yale face database
(Belhumeur et al., 1996) และ Yale face database B+ เมื่อเปรียบ
เทียบประสิทธิภาพกับวิธีการอื่น ๆ ได้แก่ วิธีการ 2DPCA แบบดัง้ เดิม
(Jian et al., 2004) วิธีการ 2D2 PCA (Jian et al., 2004) วิธีการ
Bi2DPCA (Kim et al., 2008) และวิธีการ I-2DPCA (Woraratpanya et
al., 2015)

วนายุทธ์ แสนเงิน, สิรภพ ขัดสาย และศราวุธ อุ่นเรือน ได้ออกแบบ


และพัฒนาเครื่องจ่ายยา เม็ดแบบอัตโนมัติแบบเคลื่อนย้ายโดยอุปกรณ์
ต้นแบบเครื่องจ่ายยาเม็ดแบบอัตโนมัติ ติดตัง้ ระบบสมองกลฝั งตัว
สำหรับควบคุมการทำงานโซโวมอเตอร์ 3 ชุด โดยตัวเครื่องได้ ออกแบบ
เป็ นทรงกระบอกแบ่งเป็ น 4 ชัน
้ , ชัน
้ ที่1 เป็ นระบบสมองกลฝั ง ตัวและ
ประมวลผล ชัน
้ ที่2, 3, และ 4 สำหรับบรรจุยาเม็ดและแคปซูล มี ช่อง
บรรจุยา 15 ช่องต่อชัน
้ ต่อถาดยาและใน 1 ช่องต่อมื้อ สามารถบรรจุยา
14

ชนิดเม็ดและแคปซูลได้ไม่เกิน 7 เม็ด ชุดถาดยามี 3 ชัน


้ เพื่อให้บรรจุยา
ทานได้3 ช่วงเวลา สามารถกา หนดเวลาการจ่ายยาได้ตามเวลาที่กา หนด
สามารถจ่ายยาต่อเนื่อง 15 วนั โดยไม่ต้องจัดยาใหม่รวมถึงระบบแจ้ง
เตือนผ่านแอพพลิเคชั่นไลน์เมื่อมีการจ่ายยาและกรณียาหมด ไปยัง ผู้ใช้
งานหรือผู้ดูแลผู้ป่วย

อัครวินท์ ครองไชย, สะการะ ตันโสภณ และสุเมธ เหมะวัฒนะชัย


งานวิจัยนีม
้ ีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนาระบบตรวจจับเม็ดยาที่มี
ความแม่นยำสูงสำหรับเครื่องจ่ายยาอัตโนมัติ โดยในการศึกษานี ้ คณะผู้
วิจัยได้มีการทดสอบกับยาเม็ดที่แตกต่างกันทัง้ ขนาดและรูปร่างจำนวน 8
ชนิด โดยมีการทดสอบปั จจัยต่าง ๆโดยจากผลการทดลองพบว่า ค่า
สัมประสิทธิแ์ รงเสียดทานระหว่างเม็ดยาตัวอย่างกับระบบตรวจจับเม็ดยา
มีค่าในช่วง 0.47-0.70 โดยความเอียงที่เหมาะสมต่อการไหลของเม็ดยา
คือ 35 องศา และการใช้มอเตอร์สั่นสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการจ่าย
เม็ดยาได้ดีมากขึน
้ ผลการทดสอบการอ่านค่าสัญญาณของชุดเซ็นเซอร์
อินฟราเรด พบว่าการตัง้ ค่าการตรวจจับที่ระดับสัญญาณ 50% ของระดับ
สัญญาณปกติให้ผลการตรวจจับที่แม่นยำ สำหรับผลการทดสอบ
ประสิทธิภาพโดยรวมของระบบการตรวจจับเม็ดยา พบว่าระบบตรวจจับ
เม็ดยาที่พัฒนาขึน
้ สามารถตรวจจับได้ถูกต้อง 100% สำหรับตัวอย่างเม็ด
ยาทัง้ หมดที่ได้นำมาทดสอบ
15

บทที่ 3
วิธด
ี ำเนินงานโครงงาน

โครงงานคอมพิวเตอร์ เรื่อง ระบบแสกนใบหน้าเพื่อพัฒนาเครื่อง


จ่ายยาอัตโนมัติ ทางคณะผู้จัดทำมีวิธีการดำเนินการ ดังนี ้
1. แผนผังการทำงาน
16

2. วัสดุอุปกรณ์
3. ขัน
้ ตอนการดำเนินงาน

1. แผนผังการทำงาน
1.1 แผนผังการทำโครงงาน

1.2 แผนผังการทำงานของระบบ
17

START

กดเลือก

รับคำสั่งผ่าน Arduin
Micro Servo
บอร์ด o IDE

ได้รับยา แจ้งเตือน

END

1.3 แผงผังการทำงานของระบบแสกนใบหน้า

START

เขียนโค้ดลงโปรแกรม

โมดูล CIRA
Core รับ-ส่ง

รับค่าคำสั่ง
ผ่านบอร์ด
18

เขียนโค้ดผ่าน

แจ้งเตือนผ่าน
แอปพลิเคชันไลน์

2. วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือหรือโปรแกรมที่ใช้ในการพัฒนา

2.1 เครื่องคอมพิวเตอร์ พร้อมเชื่อมต่อระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต


2.2 โปรแกรม CIRA Core
2.3 โปรแกรม Arduino IDE
2.4 Mysql Database
2.5 บอร์ด NodeMCU ESP8266
2.6 บอร์ดขยายขา ESP8266
2.7 บอร์ดทดลอง
2.8 กล้องเว็บแคม
2.9 Button switch
2.10 Micro Servo Motor SG90
2.11 สายไฟจัมเปอร์
2.12 ไม้อัด
2.13 น็อตเกลียวปล่อย

3. ขัน
้ ตอนการดำเนินงาน

3.1 ออกแบบโครงสร้างเครื่องจ่ายยาอัตโนมัติ
3.1.1 ตัวเครื่องจ่ายยา ขนาด 33 x 25 x 35
19

3.1.2 ประตูด้านบน ขนาด 19.9 x 32.6


3.1.3 ประตูด้านล่าง ขนาด 14.9 x 32.6
3.1.4 แผ่นรองยา 3 แผ่น ขนาด 5 x 7 เซนติเมตร
3.1.5 ปล่องรับยา 2 แผ่น ขนาด 17 x 32 เซนติเมตร
3.1.6 แผ่นวงกลมจ่ายยา ขนาด 6 เซนติเมตร
3.1.7 แผ่นรองแก้วยา ขนาด 4.6 เซนติเมตร
3.1.8 ปล่องยาแก้ปวด ขนาด 0.6 x 1.8 เซนติเมตร
3.1.9 ปล่องยาลดกรด ขนาด 0.55 x 1.25 เซนติเมตร
3.1.10 ปล่องยาแก้แพ้ ขนาด 0.34 x 0.9 เซนติเมตร

3.2 ประกอบตู้จ่ายยา
3.2.1 ตัดไม้อัดตามขนาดที่ออกแบบไว้ในขัน
้ ตอนที่ 1
3.2.2 วัดตำแหน่งที่จะต่อไม้อัด
3.2.3 น้ำแผ่นไม้อัดที่ตัดไว้ มาวางทาบกันตามรอยที่วัดไว้
3.2.4 ใช้สกรูเจาะเพื่อยึดแผ่นไม้อัดให้ติดกัน
3.2.5 ติดบานพับไม้อัดและกลอนประตูที่ประตูทงั ้ 2 บาน

3.3 เขียนโค้ดโปรแกรม

3.4 ประกอบแผงวงจร
3.4.1 อัพโหลดโค้ดเข้าสู่บอร์ด ESP8266 Nodemcu
3.4.2 นำบอร์ด ESP8266 Nodemcu ต่อเข้ากับบอร์ดขยาย
ขา ESP8266
3.4.3 นำสายไฟจั๊มเปอร์มาเชื่อมระหว่างบอร์ดขยายขา และ
เซอร์โวลมอเตอร์
20

3.4.5 นำ Button switch มาเสียบบนบอร์ดทดลอง


3.4.6 นำสายไฟจั๊มเปอร์มาเชื่อมระหว่างบอร์ดขยายขาและ
บอร์ดทดลองบริเวณระหว่าง Button switch

3.5 เชื่อมต่อกล้องเว็บแคมกับคอมพิวเตอร์

3.6 ทำ Face trainer ผ่านโปรแกรม CIRA Core

3.7 เขียนโค้ดบันทึกฐานข้อมูล Mysql

3.8 สร้าง Line Notify ส่งข้อความแจ้งเตือนเข้าแอพพลิเคชันไลน์

3.9 Export โค้ดลงในบอร์ด

3.10 ทดสอบประสิทธิภาพระบบเครื่องจ่ายยาอัตโนมัติ โดยนำ


เครื่องจ่ายยาอัตโนมัติไปทดลองใช้ที่ห้องพยาบาล โรงเรียนมุกดาหาร ช่วง
เวลา 07:00 – 16:00 น. เป็ นระยะเวลา 1 เดือน โดยมีผู้ทดลองใช้จำนวน
150 คน

3.11 ประเมินความพึงพอใจต่อระบบเครื่องจ่ายยาอัตโนมัติ
วิเคราะห์ความพึงพอใจของผู้ใช้งานต่อระบบเครื่องจ่ายยา
อัตโนมัติ โดยสร้างแบบสอบถามความพึงพอใจตามด้านต่างๆ ดังนี ้
3.11.1 ความพึงพอใจต่อความรวดเร็วในการใช้งาน
3.11.2 ความพึงพอใจต่.อความถูกต้องแม่นยำ
21

3.11.3 ความพึงพอใจต่อการใช้งานได้จริงของระบบเครื่อง
จ่ายยาอัตโนมัติ
3.11.4 ความพึงพอใจต่อเครื่องจ่ายยาอัตโนมัติใช้งานง่าย
ไม่ซับซ้อน
3.11.5 ความพึงพอใจต่อภาพรวมความสวยงามของเครื่อง
จ่ายยาอัตโนมัติ

You might also like