Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 102

ฝึกการเล่น

กลองชุด ด้วยตนเอง

1
ฝึกการเล่น
กลองชุด ด้วยตนเอง

ฝึกการเล่น
กลองชุดด้วยตนเอง
ราคา 185 บาท

กรรมการผู้จัดการ : กุลธร เลิศสุริยะกุล


บรรณาธิการ : รจนา กาศยปนันท์
สอนโดย : ปธานิน จ้อยปาน
เรียบเรียง : อิทธิรุตม์ กุลเลิศพิทยา
ศิลปกรรม : อิทธิรุตม์ กุลเลิศพิทยา
จัดจ�ำหน่ายโดย

Top Talent Music Academy

จัดพิมพ์โดย

บริษัท เบสท์มีเดีย เอ็ดดูเทนเมนท์ จ�ำกัด


57 ชั้น 2 ซอยนาคนิวาส 21 แยก 2-3 ถนนนาคนิวาส
แขวงลาดพร้าว เขตลาดพร้าว กทม. 10230
โทร. 02-956-1146
Email : bestmediaedutainment@gmail.com
2
ฝึกการเล่น
กลองชุด ด้วยตนเอง

ค�ำน�ำ
ดนตรี เป็นสิ่งที่มีบทบาทส�ำคัญและเกี่ยวข้องกับการด�ำเนินชีวิตของมนุษย์
เป็นอย่างมาก เราสามารถใช้ดนตรีช่วยผ่อนคลายจิตใจ อารมณ์ ท�ำให้เกิดความ
สนุกสนาน และความคิดสร้างสรรค์ ตลอดจนน�ำความรู้ความสามารถไปประยุกต์
ใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจ�ำวันและการประกอบอาชีพได้
หนังสือเล่มนี้ได้รวบรวมเนื้อหาของการตีกลองชุด เพื่อให้คุณสามารถจดจ�ำ
และเข้าใจ ทั้งยังเป็นการประหยัดเวลา ซึ่งจริง ๆ อาจจะใช้เวลานานนับปีกันเลยที
เดียว แต่หากฝึกตามวิธีที่ได้แนะน�ำไว้ คุณจะสามารถเล่นได้อย่างคล่องแคล่วได้อย่าง
แน่นอน
หนังสือ “กลองชุด” เล่มนี้จะสามารถช่วยพัฒนาฝีมือการตีกลองชุดของคุณ
ให้สามารถน�ำไปใช้ฝึกซ้อมหรือเล่นจริงได้ และการฝึกในแบบต่าง ๆ นี้ คุณอาจน�ำมาใช้
เพือ่ แกะเพลงทีเ่ ราชืน่ ชอบได้เช่นกัน

กองบรรณาธิการ

3
ฝึกการเล่น
กลองชุด ด้วยตนเอง

4
ฝึกการเล่น
กลองชุด ด้วยตนเอง

สารบัญ
ค�ำน�ำ 2
ประวัตกลองชุด 7
ส่วนประกอบของกลองชุด 15
ทฤษฎีเบื้องต้น 27
เริ่มฝึกตีกลองชุดอย่างไร ? 33
เทคนิคการบรรเลงกลองชุด 45
เริ่มฝึกตีกลอง Sanre Drum 61
การเหยียบกระเดื่อง Bass Drum 67
การเล่น H-Hat ให้ได้ Dynamic 69
Stroke คืออะไร ? 73
ฝึกแยกประสาทการตีกลองชุด 79
ฝึกยากให้ง่าย 87
แบบฝึกหัดการ Warm Up 95

5
ฝึกการเล่น
กลองชุด ด้วยตนเอง

6
ฝึกการเล่น
กลองชุด ด้วยตนเอง

CHAPTER 1
ประวัติของกลองชุด

7
ฝึกการเล่น
กลองชุด ด้วยตนเอง

8
ฝึกการเล่น
กลองชุด ด้วยตนเอง

ประวัติของกลองชุด
กลองชุดเป็นชื่อเรียกภาษาไทย มี
ความหมายถึง กลองหลายใบ ภาษาอังกฤษ
ใช้ Team Drum หรือ Jass Drum ทั้ง
สองชื่อมีความหมายเหมือนกัน คือ การ
บรรเลงกลองครั้งละหลายใบ ค�ำว่า “แจ๊ส
(Jass) หมายถึง ดนตรีแจ๊ส ซึ่งใช้กลอง
ชุดร่วมบรรเลง จึงเรียกว่า Jass Drum
และยังมีชื่อเรียกกลองชุดเป็นภาษาอังกฤษ
ว่า Dance Drumming หมายถึงกลองชุด
ใช้บรรเลงจังหวะเต้นร�ำ
กลองชุดประกอบด้วย กลองลักษณะ
ต่างๆหลายใบ และฉาบหลายอันมารวม
กัน โดยใช้ผู้บรรเลงเพียงคนเดียว กลอง
ชุดนี้ตามประวัติของดนตรีไม่ปรากฏว่าได้
เข้าร่วมบรรเลงกับวงดนตรีดุริยางค์สากล
ซึ่งเป็นวงดนตรีขนาดใหญ่ แต่ใช้บรรเลง
ร่วมกับวงดนตรีแจ๊ส และวงดนตรีที่มีเครื่อง
ดนตรี น ้ อ ยชิ้ น บรรเลงได้ แ ก่ วงคอมโบ้
(Combo) วงสตริงคอมโบ้ (String Combo)
ฯลฯ
กลอง จัดว่าเป็นเครื่องดนตรีที่เก่า
แก่ที่สุดในจ�ำพวกเครื่องดนตรีทั้งหมด ใน

9
ฝึกการเล่น
กลองชุด ด้วยตนเอง

อดีตมนุษย์ขึงหนังสัตว์บนรูกลวงของท่อนไม้ และตีหนังสัตว์ด้วยนิ้วและมือ
จากการศึกษาประวัติศาสตร์พบว่า คนตีกลองพื้นเมืองจะตีกลองเป็นจังหวะ
ส�ำหรับการเต้นร�ำระหว่างเผ่า แต่ปัจจุบันพบว่า การบรรเลงกลองชุดจะเด่น
ที่สุดในส่วนของวงดนตรี ส�ำหรับการเต้นร�ำ คนตีกลองพยายามปรับปรุงวิธี
การบรรเลง โดยบรรเลงตามจังหวะที่ได้ยินแล้วน�ำมาปรับปรุงโดยการคิดค้น
ระบบใหม่ขึ้น ซึ่งนับว่าเป็นระบบที่ได้ริเริ่มขึ้นเป็นครั้งแรก โดยการบันทึก
อัตราส่วนของจังหวะกลองในบทเพลง การบันทึกบทเพลงนั้นประกอบด้วย
ท�ำนองเพลง การประสานเสียงและจังหวะ ท�ำให้ดนตรีมีการประสานเสียง
กลมกลืน เพิ่มความไพเราะมากยิ่งขึ้น การริเริ่มพัฒนากลองชุดเป็นครั้งแรก
โดยเริ่มต้นจากบทเพลงจังหวะวอลซ์ (Waltz)
ในช่วง ค.ศ. 1890 ถึง ค.ศ. 1910 นักตีกลองชุดเริ่มแยกออกจากแบบ
ดั้งเดิม พยายามที่จะแสดงออกถึงความรู้สึกที่เป็นอิสระของดนตรี แทนแบบ
เก่าทีม่ แี บบแผนบังคับ ให้ปฏิบตั ติ ามการแสดงถึงความก้าวหน้าของนักตีกลอง
10
ฝึกการเล่น
กลองชุด ด้วยตนเอง

ชุดคือ จะเติมความสนุกสนานลงในช่วงปลายประโยคเพลง หรือต้นประโยค


เพลงแล้วจึงบรรเลงตามบทเพลงที่ก�ำหนด ซึ่งเป็นเพียงการบรรเลงให้ถูก
ต้องตามจังหวะเพลงเท่านั้น การแสดงความก้าวหน้านี้เป็นการคิดค้นเพื่อ
การสร้างสรรค์จากแรงบันดาลใจภายในโดยตรงของนักตีกลองชุด
ปี ค.ศ. 1910 ถึง ค.ศ. 1920 จังหวะ แร็กไทม์ (Ragtime) ได้รับความ
นิยมมากเพราะเป็นจังหวะใหม่และน่าตื่นเต้น ลักษณะจังหวะแร็กไทม์ เป็น
จังหวะเร็ว และรวบรัดชวนให้เต้นร�ำสนุกสนาน เป็นทีช่ นื่ ชอบของชนชาวผิวด�ำ
แต่นักตีกลองส่วนใหญ่ โดยเฉพาะคนรุ่นเก่าปฏิเสธของใหม่ โดยตระหนักถึง
รูปแบบจังหวะของดนตรีอิสระ และเรียกพวกนักตีกลองชุดจังหวะแร็กไทม์
ว่า “ของปลอม” เพราะบรรดานักตีกลองชุดรุ่นใหม่บรรเลงโดยการใช้ความ
จ�ำและบรรเลงอย่างใช้อิสระโดยไม่ใช้โน้ตเพลง ถึงแม้ว่าจะเป็นการบรรเลง
โดยปราศจากตัวโน้ต แต่ผู้บรรเลงสามารถอ่านและเข้าใจอารมณ์ของดนตรี
ได้เป็นอย่างดี ที่ส�ำคัญก็คือ สามารถบรรเลงได้อย่างดีเยี่ยม
ต้นศตวรรษที่ 20 ปี ค.ศ. 1920 ดนตรีแจ็สเริ่มได้รับความนิยมอย่าง

11
ฝึกการเล่น
กลองชุด ด้วยตนเอง

ช้าๆ บรรดานักตีกลองชุดรุ่นเก่าที่ไม่ยอมเปลี่ยนแปลงการบรรเลงจ�ำต้อง
ยอมพ่ายแพ้แก่นักตีกลองชุดรุ่นใหม่ท่ีมีชื่อเสียง จังหวะการบรรเลงค่อยๆ
เริ่มเปลี่ยนแปลงบ้างเล็กน้อย ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการและ
รสนิยมของผู้ฟัง แต่อย่างไรก็ตาม นักตีกลองจะต้องทราบเกี่ยวกับการรัว
การท�ำเสียงให้สั่นสะเทือน และความรู้เกี่ยวกับหนังกลองหรือแผ่นพลาสติก
ที่จะท�ำให้ขึงตึงพอดีไม่หย่อนหรือตึงเกินไป นักตีกลองที่ดีและเก่งที่มีความรู้
รอบตัวมักจะหางานได้ง่าย แต่ผู้ที่มีความรู้อย่างดีเรื่องเครื่องเคาะตีทั้งหมด
ก็จะได้งานที่ดีกว่า
ต่อมาในปี ค.ศ. 1928 ถึง ค.ศ. 1935 เป็นยุคของซิมโพนิค-แจ๊ส
(Symphonic- Jass) จังหวะของดนตรีมีทั้งจังหวะเร็วและช้า การบรรเลง
จังหวะช้านั้น เริ่มมีการใช้แปรงลวด (Wirebrushes) หรือภาษานักตีกลอง
เรียกว่า “แซ่” นักตีกลองต้องเรียนรู้เกี่ยวกับแปรงลวด ถึงวิธีการใช้และวิธี
การบรรเลงและนักตีกลองต้องเป็นผูท้ ตี่ งั้ จังหวะในบทเพลงพร้อมทัง้ ยึดจังหวะ
ให้มั่นคง เครื่องดนตรีอื่นๆจะปฏิบัติตามจังหวะกลองชุด

12
ฝึกการเล่น
กลองชุด ด้วยตนเอง

ปี ค.ศ. 1935 จังหวะแบบใหม่ที่มีชื่อว่า สวิง (Swing) เริ่มแพร่หลาย


ช่วงตอนต้นของปี บทเพลงทุกเพลงต้องมีกลองชุดเข้าร่วมบรรเลงด้วยเสมอ
นับเป็นครั้งแรกที่นักตีกลองชุดเข้าถึงจุดสุดยอด ซึ่งมีความส�ำคัญมาก จัดอยู่
ในระดับสูงสุด เพราะไม่มีงานไหนจะสมบูรณ์แบบถ้าขาดกลองชุดและการ
บรรเลงเดีย่ ว (Solo) ถึงขนาดนักตีกลองชุดทีเ่ ก่งๆมีชอื่ เสียงน�ำชือ่ ของตนเอง
มาตั้งเป็นชื่อของวงดนตรี ในยุคนี้จึงถือว่าเป็นยุคของนักตีกลองชุดที่ประสบ
ความส�ำเร็จอย่างสูง
จากประวัตขิ องกลองชุดทีผ่ า่ นมาจะเห็นได้วา่ รูปแบบการบรรเลงกลอง
ชุดได้พัฒนาขึ้นตามล�ำดับมีการเปลี่ยนแปลงจังหวะตามยุคตามสมัย ส�ำหรับ
นักตีกลองชุดผู้ที่ไม่ยอมเปลี่ยนแปลงคงยึดถือตามแบบฉบับเดิมก็จะไม่ได้รับ
ความนิยม การที่ไม่ปรับปรุงพัฒนาตนเองนั้นท�ำให้อยู่ในสังคมของดนตรีไม่
ได้ เพราะจะถูกคนที่พัฒนาตนเองหรือคนยุคใหม่แย่งงานไปหมด นักตีกลอง
ที่ดีและเก่งจะประสบความส�ำเร็จได้อย่างมีพื้นฐานที่ดีและมีหลักการอย่างดี

13
ฝึกการเล่น
กลองชุด ด้วยตนเอง

อีกด้วย
ช่วงระยะสงครามโลกครั้งที่สอง ปี ค.ศ. 1940 เป็นระยะที่มีความ
ต้องการด้านดนตรีสวิงมาก นักตีกลองชุดมีงานมากเพราะทหารต้องการฟัง
เพลงหลังจากออกรบ รัฐบาลได้ส่งวงดนตรีไปปลอบขวัญทหาร ซึ่งเป็นการ
ช่วยเหลือให้ทหารมีขวัญและก�ำลังใจสามารถสูร้ บจนชนะข้าศึก และสงคราม
ดนตรีเป็นส่วนหนึ่งที่มีส่วนช่วยในกิจกรรมครั้งนี้
หลังจากสงครามโลกครั้งที่สองสงบลง รสนิยมของบุคคลทั่วไปเริ่ม
เปลี่ยนแปลง
ดนตรีแบบคอมโบ้ (Combo) เริ่มได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย นัก
ตีกลองเริ่มเบื่อหน่ายการบรรเลงจังหวะเก่าๆ มีการริเริ่มจังหวะใหม่ๆ โดยใช้
กลองใหญ่ช่วยเน้นจังหวะ เรียกว่า บ๊อพ (Bop) หลังจากนั้นจึงเข้าสู่ยุคของ
การบรรเลงด้วยนิ้วมือ (Finger Drumming Techinque) คือการบรรเลง
ด้วยเทคนิคที่ใช้นิ้วมือปฏิบัติทั้งสองข้าง โดยใช้ไม้ตีกลองมือขวา ตีฉาบด้าน
ขวามือ ซึ่งเป็นการรักษาจังหวะให้ม่ันคงแน่นอน แล้วเปลี่ยนมือขวามาตีไฮ
แฮท (Hi Hat) อยู่ด้านซ้ายมืออย่างต่อเนื่อง เท้าขวาเหยียบที่กระเดื่องกลอง
ใหญ่เน้นเสียงหนักแน่นมัน่ คง มือซ้ายตีกลองเล็กและฉาบอย่างอิสระโดยการ
เน้นเสียง เช่น การตีเน้นเสียงที่ริมขอบกลอง หรือ การตีหนักๆที่กลางกลอง
ผู้ที่มีเทคนิคการบรรเลงด้วยนิ้วมือได้ดี คือ โจ โจนส์ (JO JONES) โจนส์ใช้
มือขวาตีที่หัวฉาบมือซ้ายตีขอบฉาบอย่างช�ำนาญและเชี่ยวชาญ
จังหวะต่างๆ ทีน่ ยิ มบรรเลง ตัง้ แต่อดีตเรือ่ ยมามีจงั หวะมากมายหลาย
รูปแบบ บางจังหวะก็หายสาบสูญไป เพราะไม่ได้รับความนิยม แต่ก็มีจังหวะ
ใหม่ๆ เข้ามาแทนที่

14
ฝึกการเล่น
กลองชุด ด้วยตนเอง

CHAPTER 2
ส่วนประกอบของกลองชุด

15
ฝึกการเล่น
กลองชุด ด้วยตนเอง

ส่วนประกอบของกลองชุด
กลองชุดประกอบด้วยกลองลักษณะต่างๆ หลายใบและฉาบหลายอัน
มารวมกันโดยใช้ผู้บรรเลงเพียงคนเดียว กลองชุดนี้ตามประวัติของดนตรีไม่
ปรากฏว่าได้เข้าร่วมบรรเลงกับวงดนตรีดุริยางค์สากล ซึ่งเป็นวงดนตรีขนาด
ใหญ่ แต่ใช้บรรเลงร่วมกับวงดนตรีแจ๊สและวงดนตรีที่มีเครื่องดนตรีน้อย
ชิ้นบรรเลงได้แก่วง คอมโบ้ วงสตริงคอมโบ้ ฯลฯ กลองที่ใช้ร่วมบรรเลงกับ
กลองชุดมีดังนี้

16
ฝึกการเล่น
กลองชุด ด้วยตนเอง

1. กลองใหญ่ (Bass Drum)


กลองใหญ่ มีรูปร่างลักษณะคล้ายคลึงกับกลองใหญ่ท่ีใช้บรรเลงในวง
ดุริยางค์สากลแต่ขนาดแตกต่างกันคือ ขนาดกลองใหญ่ของกลองชุดมีขนาด
ที่นิยมใช้ทั่วไป คือ ขนาด 14 x 20 นิ้ว หรือ 14 x 22 นิ้ว มีอุปกรณ์เหมือน
กันกับกลองใหญ่วงดุริยางค์ทุกประการ เวลาบรรเลงไม่ต้องใช้ขอหยั่งรองรับ
เพราะมีขาหยั่งติดมากับตัวกลอง เพียงแต่ดึงขอหยั่งออกทั้งสองข้างจะท�ำให้
กลองไม่เคลื่อนที่ เป็นการยึดตัวกลองใหญ่ให้ติดอยู่กับพื้นกลองใหญ่ไม่ใช้ไม้
ถือส�ำหรับตี ใช้กระเดื่อง (Pedal) ติดแท่งเหล็กกลมๆ ปลายหุ้มด้วยสักหลาด
ความยาวประมาณ 10 นิ้ว ส�ำหรับเท้าข้างขวาเหยียบลงไปบนกระเดื่อง
ปลายกระเดื่องส่วนบนจะท�ำหน้าที่แทนมือ
17
ฝึกการเล่น
กลองชุด ด้วยตนเอง

2. กลองเล็ก (Snare Drum)


กลองเล็ก เป็นส่วนประกอบทีส่ ำ� คัญของกลองชุดรูปร่างลักษณะกลอง
เล็กที่ใช้บรรเลงร่วมกับกลองชุด มีลักษณะเหมือนกลองเล็กที่ใช้บรรเลงวง
ดุริยางค์วงใหญ่ทุกประการ หรือเป็นกลองเล็กอย่างเดียวกัน สามารถน�ำไป
ใช้บรรเลงร่วมกับวงดนตรีโดยทั่วไปได้กลองเล็กเป็นเครื่องดนตรีที่ส�ำคัญที่สุด
ในจ�ำพวกเครื่องเคาะตีทั้งหลาย เพราะการบรรเลงตามบทเพลงของกลอง
เล็กจะท�ำหน้าที่บรรเลงจังหวะที่ขัดกับกลองใหญ่ โดยกลองใหญ่จะบรรเลง
ตามจังหวะหนัก และเบากลองเล็กจะบรรเลงจังหวะขืนหรือจังหวะขัด มี
ลักษณะเหมือนกับหยอกล้อกัน และเป็นการกระ ตุ้นให้ผู้ฟังตื่นตัว มีอารมณ์
ร่วมกับผู้บรรเลง เกือบจะทุกบทเพลงที่เปิดโอกาสให้กลองเล็กแสดงความ
สนุก คึกคัก และเป็นการเรียกร้องให้เครื่องดนตรีอื่นๆร่วมสนุกสนานด้วยนั่น
คือ การบรรเลงกลองเล็กตอนปลายประโยคของบทเพลง ที่ภาษานักตีกลอง
เรียกว่า “ห้องส่ง” หรือ “บทส่ง” (Fill) ขนาดกลองเล็กที่นิยมใช้ขนาดเส้น
ผ่าศูนย์กลาง 6 x 14 นิ้ว

18
ฝึกการเล่น
กลองชุด ด้วยตนเอง

3. ฉาบ (Cymbals)
ฉาบ เป็ น ส่ ว นประกอบอี ก ชิ้ น หนึ่ ง ของกลองชุ ด รู ป ร่ า งลั ก ษณะ
เหมือนกับฉาบที่ใช้บรรเลงในวงดุริยางค์ โดยทั่วไปนิยมใช้ฉาบขนาดเส้น
ผ่าศูนย์กลาง 20-30 นิ้ว ตั้งไว้ด้านข้างขวามือ และขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง
16-18 นิ้ว ตั้งไว้ด้านข้างซ้ายมือ ฉาบทั้งสองใบนี้ไม่มีเชือกหนังส�ำหรับมือถือ
แต่จะมีขาหยั่งรองรับทั้งสองใบ เวลาบรรเลงใช้มือขวาตีฉาบด้านขวามือเป็น
หลัก เพราะมีเสียงก้องกังวานกว่า บางครั้งอาจสลับเปลี่ยนมาตีด้านซ้ายมือ
บ้างเป็นบางครั้ง

19
ฝึกการเล่น
กลองชุด ด้วยตนเอง

4. ไฮแฮท (Hi Hat)


ไฮแฮท คือ ฉาบสองใบเหมือนกับฉาบในวงดุริยางค์ แต่มีขนาดเล็ก
กว่า โดยทั่วไปนิยมใช้ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 14-15 นิ้ว ฉาบทั้งสองใบนี้
ไม่ใช้เชือกหนังร้อยส�ำหรับถือ เพราะมีขาตั้งรองรับ ใบที่หนึ่งใส่ลงบนขาตั้ง
โดยให้ด้านนูนอยู่ด้านล่าง จะมีแผ่นโลหะและสักหลาดรองรับ อีกใบหนึ่ง
ใส่ลงบนขอตั้งโดยให้ด้านนูนอยู่ด้านบน มีที่ไขติดอยู่กับแกนของขาตั้ง โดย
กะระยะให้ห่างกันพอประมาณ เพื่อไม่ให้ฉาบทั้งสองใบชิดติดกัน ช่วงล่างสุด
มีกระเดือ่ งเหมือนกับกลองใหญ่สำ� หรับเหยียบให้ฉาบทัง้ คูก่ ระทบกัน ไฮแฮทมี
หน้าที่คอยขัดจังหวะหรือช่วยหนุนกลองเล็ก เน้นจังหวะขัดให้กระชับยิ่งขึ้น

20
ฝึกการเล่น
กลองชุด ด้วยตนเอง

5. ทอม ทอม (Tom Tom)


ทอม ทอม คือ กลองขนาดเล็กสองใบมีรูปร่างเหมือนกลองเล็ก แต่มี
ขนาดสูงกว่า ไม่ติดเส้นลวด ทอม ทอม ทั้งสองใบมีขนาดแตกต่างกัน ใบหนึ่ง
จะติดตั้งทางด้านซ้ายมือ ซึ่งมีขนาดเล็กกว่าอีกใบหนึ่ง ซึ่งติดตั้งด้านขวามือ
โดยทั่วไปนิยมใช้ทอม ทอม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 9 x 13 นิ้ว และขนาด
14 x 14 นิ้ว ทั้งสองใบจะมีรูด้านข้างส�ำหรับใส่แกนโลหะเพื่อติดตั้งบนกลอง
ใหญ่ ระดับเสียงทอม ทอม ด้านซ้ายมือมีระดับเสียงสูงกว่าด้านขวามือ ทอม
ทอม มีหน้าที่สร้างความสนุกคึกคัก โดยจะบรรเลงในบทส่ง หรือการเดี่ยว
กลอง (Solo) เพือ่ สร้างความรูส้ กึ การกระตุน้ ให้เพลิดเพลินกับจังหวะ บทเพลง
ที่ใช้ ทอม ทอม บรรเลงมากที่สุด คือ เพลงประเภทลาติน

21
ฝึกการเล่น
กลองชุด ด้วยตนเอง

6. ฟลอร์ทอม (Floor Tom)


ฟลอร์ทอม มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่ง ว่า “ทอมใหญ่” (Large Tom)
รูปร่างลักษณะเหมือนกับ ทอม ทอม ไม่ติดเส้นลวด ขนาดของฟลอร์ทอม สูง
กว่าทอม ทอม มีขาติดตั้งกับตัวฟลอร์ทอม เวลาบรรเลงตั้งอยู่ด้านขวามือชิด
กับกลองใหญ่ เสียงฟลอร์ทอมต�่ำกว่าเสียงทอม ทอม แต่เสียงสูงกว่าเสียง
กลองใหญ่ ฟลอร์ทอม ท�ำหน้าที่อย่างเดียวกับ ทอม ทอม โดยทั่วไปนิยมใช้
ฟลอร์ทอม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 16 x 16 นิ้ว

22
ฝึกการเล่น
กลองชุด ด้วยตนเอง

7. ไม้กลอง (Drum Stick)


ไม้ที่นิยมใช้ท�ำไม้กลอง ไม้ฮิกคอรี่ (Hickory) เป็นต้นไม้ชนิดหนึ่งใน
ตระกูลวอลนัท พบในทวีปอเมริกาเหนือ เป็นพันธุ์ไม้จ�ำพวก caryaที่มีความเ
หนียวและมีความยืดหยุ่นพอสมควร เนื้อไม้ชนิดนี้จะมีเส้นใยที่มีลักษณะเป็น
เส้นๆ ดังนั้นจึงทนต่อการใช้งานได้ยาวนาน เพราะหลังจากที่ใช้งานไปได้ระยะ
หนึ่ง จะเป็นเพียงแค่ค่อยๆร่อนออกเป็นเส้นๆ ออกไปเรื่อยๆ เท่านั้น ไม้กลอง
ชนิดนี้จึงไม่เปราะหักได้โดยง่าย

ต้นฮิกกอรี่

เนื้อไม้ฮิกกอรี่

23
ฝึกการเล่น
กลองชุด ด้วยตนเอง

ลักษณะรูปทรงไม้กลอง
ลักษณะทั่วไปคือเป็นการเหลาไม้จากปลายไม้(Butt)ให้เล็กลงในจนถึง
ส่วนปลาย (Shoulder) แต่กม็ ไี ม้ทดี่ ไี ซด์พเิ ศษให้ตวั ด้าม (Shaft) ใหญ่กว่าปลาย
ซึ่ง เป็นไม้ของ Tom Gauger เช่นรุ่นของ Tomm Gauger#17 ความลาดชัน
ของด้ามที่เปลี่ยนไปให้ความรู้สึก และความสมดุลที่ดีพิเศษเพราะจุดศูนย์ถ่วง
(Fulcrum Point) ได้เปลี่ยนไปอยู่ใกล้ปลายไม้มากขึ้น ลักษณะของหัวไม้

รูปทรงของหัวไม้กลองแบ่งได้เป็น 3 แบบใหญ่ๆ(ตามรูปที่ 2 ข้างบน)


คือรูปทรงกลม(เหมือนลูกบอลหรือแอปเปิ้ล) รูปทรงรี(เหมือนลูกสาลี่แต่ผม
ว่าเหมือนองุ่นมากกว่า) และรูปทรงสามเหลี่ยม (เหมือน ปิรามิด) ซึ่งลํกษณะ
ของหัวไม้มอี ทิ ธิผลอย่างมากต่อเสียงทีเ่ กิดขึน้ เวลาเราตี Cymbal อิทธิผลของ
น�้ำหนักต่อเสียงที่เกิดขึ้น ตามกฎของเสียงสะท้อนบอกว่าจุดสัมผัสที่ยิ่งเล็ก
24
ฝึกการเล่น
กลองชุด ด้วยตนเอง

เท่าไหร่กจ็ ะท�ำให้เสียงทีเ่ กิดขึน้ เป็นคลืน่ ความถีท่ ยี่ งิ่ สูงตามไปด้วยเช่นกัน และ


เช่นเดียวกันกับความหนาแน่นของไม้ยิ่งหนาแน่นมากเท่าไหร่ก็จะท�ำให้เสียง
ที่เกิดขึ้นเป็นคลื่นความถี่ที่ยิ่งสูงตามไปด้วย ไม้ในอุดมคติของผู้เขียนเรื่องนี้
คือไม้ที่มีน�้ำหนัก ท�ำจากไม้ที่มีความหนาแน่นมาก มีหัวไม้เป็นทรงสามเหลี่ยม
เพราะน�้ำหนักและความหนาแน่นของไม้ให้ความหนาแน่นของเสียงและหัวไม้
ทรงสามเหลี่ยมให้เสียงที่ชัดเจนเวลาตี Cymbal
Dot Inlays
ภาพต่อไปนี้แสดงให้เห็นรูปทรงของหัวไม้ที่มีอิทธิผลต่อเสียง

ลักษณะของหัวไม้
ไม้หัวทรงสามเหลี่ยม (ภาพที่ 4 )เห็นได้ว่าเกิดจุดสัมผัสที่เล็กที่สุดดัง
นั้นเสียงที่ได้ออกมาก็จะเป็นเสียงที่มีความถี่เสียงที่สูง ชัดเจน เนื่องจากแรง
ที่กดลงไปทั้งหมดสัมผัสในจุดเล็ก ลองเปลี่ยนต�ำแหน่งของไม้ (ภาพที่ 5) โดย
ให้พื้นที่สัมผัสเต็มที่เสียงที่ได้จะเปลี่ยนไปจากเคลียร์ ชัดเจน เป็นเสียงที่ทึบ
ไม้ ก ลองหั ว รู ป วงรี (ภาพที่ 6) ให้ พื้ น ที่ ผิ ว สั ม ผั ส ที่ เ หมื อ นกั บ ทรง
สามเหลี่ยมและเมื่อเปลี่ยนต�ำแหน่งการตีก็เกิดผิวสัมผัสที่ไม่ต่างกัน
ไม้รูปทรงวงรี (ภาพที่ 7) จากรูปเห็นได้ว่าไม้ประเภทนี้ท�ำให้เกิดผิว
สัมผัสมากที่สุดกว่าที่กล่าวไปแล้ว ดังนั้นจึงท�ำให้เกิดเสียงที่เข้มกว่า และเมื่อ
เทียบกับไม้ทรงหัวสามเหลี่ยม ไม้ประเภทนี้จะให้เสียงที่เข้มกว่าแบบแรกแต่
เบากว่าหัวสามเหลี่ยมแบบที่ 2 เนื่องจากเกิดผิวสัมผัสที่น้อยกว่า
25
ฝึกการเล่น
กลองชุด ด้วยตนเอง

เบอร์ไม้กลอง

26
ฝึกการเล่น
กลองชุด ด้วยตนเอง

CHAPTER 3
ทฤษฎีเบื้องต้น

27
ฝึกการเล่น
กลองชุด ด้วยตนเอง

ทฤษฎีเบื้องต้น
ตัวโน้ต คือ สิง่ ขัน้ พืน้ ฐานทีค่ วรรูใ้ นการเล่นเครือ่ งดนตรีทกุ ชนิด มีความ
ส�ำคัญคือท�ำให้รู้ถึงจังหวะและสัดส่วนในการเล่นเครื่องดนตรีชนิดต่าง ๆ รวม
ถึงโครงสร้าง-รูปแบบ-สัญลักษณ์ต่าง ๆ ก็เป็นสิ่งจ�ำเป็นที่ควรรู้เช่นกัน...
ค่าของตัวโน้ต
ตัวโน้ต ตัวโน้ต โน้ต โน้ต

บรรทัด 5 เส้น

บรรทัด 5 เส้น มีไว้ส�ำหรับบันทึกตัวโน้ตหรือสัญลักษณ์ตัวหยุดต่าง ๆ


โดยการบันทึกนั้นจะขึ้นอยู่กับค่าของตัวโน้ตนั้น ๆ ที่เราจะท�ำการบันทึกลงไป
ตัวอย่างเช่น ถ้าเป็นโน้ต (ตัวด�ำ) ใน 1 ห้องของไทม์ซกิ เนเจอร์ 4/4 จะสามารถ
ใส่โน้ตตัวด�ำได้เพียง 4 ตัว เป็นต้น
28
ฝึกการเล่น
กลองชุด ด้วยตนเอง

บันไดเสียง (C major scale)

นอกจากระดับเสียงข้างต้นแล้วยังมีระดับเสียงที่แยกย่อยลงไปอีก ใน
ที่นี้จะใช้คีย์บอร์ดเป็นภาพอธิบายเสียงต่าง ๆ เพื่อให้การท�ำความเข้าใจใน
เสียงและโน้ตต่าง ๆ ง่ายยิ่งขึ้น...

29
ฝึกการเล่น
กลองชุด ด้วยตนเอง

Time Signature (ไทม์ ซิกเนเจอร์)

Time Signature คือ เครื่องหมายก�ำหนดจังหวะ ในแต่ละ 1 ห้อง โดย


ค่าของตัวเลขที่แสดงอยู่ด้านบน คือจ�ำนวนจังหวะในห้องนั้น ๆ ส่วนตัวเลขที่
อยู่ด้านล่างคือจ�ำนวนโน้ตที่มีอยู่ในห้องนั้น ๆ เช่นกัน...

Key Signature (คีย์ ซิกเนเจอร์)

30
ฝึกการเล่น
กลองชุด ด้วยตนเอง

โน้ตกลอง (Drum Key)

31
ฝึกการเล่น
กลองชุด ด้วยตนเอง

Percussion Clef (กุญแจ Percussion)


คือ กุญแจที่บ่งบอกว่าบรรทัด 5 เส้นนี้ ใช้ส�ำหรับเขียนโน้ต Percussion

Bar Line (เส้นกั้นห้อง)


ใช้ส�ำหรับแบ่งห้องเพลงใน 1 เพลง ซึ่งมีค่าโน้ตตามอัตราจังหวะที่ก�ำหนดใน
เพลงนั้น ๆ

Double Bar Line (เส้นกั้นห้องคู่)


ท�ำหน้าที่เหมือนเส้นกั้นห้อง แต่แตกต่างกันตรงที่เส้นกั้นห้องคู่ท�ำหน้าที่บอก
ว่าจบวรรคหรือช่วงเพลงหนึ่ง ๆ

Measure (ห้องเพลง)
คือ พืน้ ทีๆ่ เกิดขึน้ จากการแบ่งของเส้นกัน้ ห้อง ใช้สำ� หรับบันทึกโน้ตตามทีก่ ล่าว
มาแล้วในเรื่องของเส้นกั้นห้อง

32
ฝึกการเล่น
กลองชุด ด้วยตนเอง

CHAPTER 4
เริ่มต้นฝึกตีกลองชุดอย่างไร?

33
ฝึกการเล่น
กลองชุด ด้วยตนเอง

เริ่มต้นฝึกตีกลองชุดอย่างไร?
1.เริ่มต้นด้วยการนับจังหวะด้วยมือ อุปกรณ์ฝึกตีกลอง ที่ดีที่สุด
การนับจังหวะด้วยการเคาะของมือนั้นคุณไม่จ�ำเป็นต้องมีอุปกรณ์
อลังการอะไรในการเริ่มต้น จริง ๆ แล้ว คุณไม่จ�ำเป็นต้องมีอะไรด้วยซ�้ำ
เริ่มกันที่พื้นฐานเลย ขอให้คุณมีแค่เก้าอี้ นั่งลง ไม่ต้องเกร็ง แล้วก็โต๊ะซักตัว
อะไรก็ได้ วางมือไว้บนโต๊ะแล้วเริ่มได้

ท�ำไมถึงต้องฝึกเคาะจังหวะก่อนด้วย อันที่จริงสิ่งนี้เป็นสิ่งที่มือใหม่ใน
การตีกลองมักจะติดกันช่วงแรกเวลาอยู่หน้ากลองชุด นั่นก็คือ ไม่เข้าใจเรื่อง
ของจังหวะ ดังนั้นจึงเป็นการดีที่สุดที่จะเข้าใจพื้นฐานที่ง่ายที่สุดก่อนจะไป
สเต็ปที่ยากขึ้นในอนาคต

34
ฝึกการเล่น
กลองชุด ด้วยตนเอง

2. เรียนรู้พื้นฐานจังหวะ 4/4
เพลงทั่วไปใน 1 ห้องมักมี 4 จังหวะ แทนด้วยเครื่องหมาย 4/4 ตัว
บอก time signature ซึ่งหมายความถึงการเคาะ 4 ครั้งใน 1 ห้อง และการ
ฝึกนับเป็นดังนี้

ในระหว่างเคาะให้คุณพูดจังหวะออกมาด้วยในตอนเริ่ม เพื่อให้คุณได้
เข้าใจถึงจังหวะ และรู้ว่าคุณนับถูกหรือไม่ ดังนั้นนี่จะท�ำให้คุณสามารถพัฒนา
เพื่อฝึกส่วนที่ซับซ้อนมากขึ้นในอนาคต
ในระหว่างซ้อม หากคุณมี Metronome หรือเครื่องนับจังหวะ ซึ่ง
สามารถหาซื้อได้ไม่ยาก จะเป็นตัวช่วยที่มีประโยชน์มาก
เอาหละ วิธีการนั้นไม่ยาก ให้คุณเคาะโต๊ะ เมื่อลงจังหวะนับเลข และ
ยกขึ้นเมื่อลงจังหวะ “และ” ดังนี้ หนึ่ง-และ-สอง-และ-หนึ่ง (ห้องต่อไป)
วนซ�้ำไปเรื่อย ๆ (เคาะ-ยก-เคาะ-ยก เป็น 4 จังหวะใน 1 ห้อง)

3. ฝึกในจังหวะที่เร็วขึ้น

ทีนี้พอคุณเริ่มเข้าใจจังหวะเคาะ กับจังหวะยกกันแล้ว คุณควรเริ่มใน


จังหวะที่ซับซ้อนขึ้นเล็กน้อย ในจังหวะ 4/4 คุณจะเริ่มเคาะเป็น หนึ่ง-และ-
สอง-และ-สาม-และ-สี่-และ-หนึ่ง ดูตามรูป จังหวะเคาะ คือจังหวะตัวเขบ็ต
1 ชั้น
35
ฝึกการเล่น
กลองชุด ด้วยตนเอง

4. ฝึกแยกประสาทมือทั้งสองข้างแบบง่าย ๆ
วิธฝี กึ นับเหมือนเดิมกลับข้อข้างบน แต่ขอ้ นีค้ ณ
ุ ต้องใช้มอื อีกข้างในการ
เคาะจังหวะที่สอง และสี่ วิธีน้ีเปรียบเสมือนการท่่ีคุณตีกลองแต๊กด้วยมืออีก
ข้าง

5. ฝึกจังหวะลงด้วยเท้า
ให้คณ
ุ ใช้มอื เคาะโต๊ะแบบเดิม และสิง่ ทีเ่ พิม่ ขึน้ มาคือ ทุกครัง้ ทีล่ งจังหวะ
หนึ่ง และสาม ให้คุณเคาะเท้า จะซ้ายหรือขวาก็ได้ นี่คือการลงจังหวะเสมือน
กลองเบส หรือ Downbeat

สิ่งที่คุณได้เรียนรู้คือ การตีกลองแนว Rock ซึ่งเป็นการฝึกตีกลองที่


ง่ายทีส่ ดุ การฝึกตีกลอง สามารถแยกเป็นสองส่วนนัน่ คือ จังหวะ และ เทคนิค
คุณสามารถเรียนรู้เรื่องจังหวะ โดยที่ไม่จ�ำเป็นต้องมีกลองชุดแต่อย่างใด แต่
ด้านเทคนิค คุณจ�ำเป็นต้องมีซักตัวแน่ละ แต่ถึงอย่างนั้น คุณอาจเคยเห็นมือ
กลองอาชีพ หรือแม้แต่ในภาพยนตร์ ที่พวกเขามักจะใช้การนั่งและเคาะหน้า
ตักส�ำหรับการฝึกซ้อมก่อนขึ้นเวที ในการเรียนรู้ทั้งหมด การรู้จักจังหวะของ
ดนตรี จังหวะการตีกลอง 5 ขั้นตอนในการฝึกสเต็ปแรก คุณควรจะฝึกให้
ช�่ำชองเสียก่อน ที่จะไปสู่ขั้นตอนถัดไป ที่คุณอาจต้องมีกลองชุดดี ๆ ไว้เริ่มต้น
ซักตัว

หากคุณอยากฝึกตีกลอง แต่มีงบไม่มาก หรือมีพื้นที่ไม่พอวางกลองชุด


คุณอาจลอง ซื้อ กลองชุดไฟฟ้า แบบซิลิโคน พกพาสะดวก ราคาประหยัด ซัก
ตัวเป็นทางเลือก

36
ฝึกการเล่น
กลองชุด ด้วยตนเอง

37
ฝึกการเล่น
กลองชุด ด้วยตนเอง

ท�ำความรู้จักกับกลองชุด
1. รู้จักข้อมูลพื้นฐานต่าง ๆ ของกลองชุด
สิง่ แรกหลังจากคุณมีกลองชุด ควรท�ำความคุน้ เคยกับมัน แต่ละชิน้ ของ
กลองชุดมีความแตกต่างกันไปตามลักษณะการใช้งานในเซ็ตนั้น ๆ กลองชุด
มีหลายยี่ห้อ หลายขนาด และมีความแตกต่างทั้งเสียงและการออกแบบที่มี
เอกลักษณ์ต่าง ๆ กันออกไป กลองชุดโดยทั่วไป จะมีกลองชุดพื้นฐานหลัก ๆ
เหมือนกัน กลองพื้นฐานมีดังนี้

38
ฝึกการเล่น
กลองชุด ด้วยตนเอง

กลองเบส (กลองใหญ่ หรือ คิ๊ก) เป็นกลองฃิ้นที่ให้เสียงต�่ำและดังที่สุด


มักเล่นเป็นเสียงลงจังหวะห้อง และใช้เท้าเล่น
กลองสแนร์ (กลองแต๊ก) เป็นกลองทีม่ กั จะวางไว้ระหว่างหัวเข่าทัง้ สอง
ด้านของมือกลอง และใช้มือซ้ายเล่นเป็นหลัก กลองแต๊กจะให้เสียงที่แน่นและ
ดัง โดยจะมีแถบเหล็กเล็ก ๆ แขวนไว้ติดกับหน้ากลองด้านล่าง เพื่อให้เสียง
ที่ไม่เหมือนใครจากการสั่นของแถบเม็ดที่เป็นเหล็ก
กลองทอม (ทอม ทอม) กลองทอมจะมีหลายขนาดตามแต่ตอ้ งการ โดย
ปกติมักมี 2-3 ตัว กลองทอมจะให้เสียงที่แตกต่างกันตามแต่ต้องการ จากสูง
ไปต�่ำ โดยจะแยกเป็น ไฮทอม มิดทอม และฟลอร์ทอม สูงไปต�่ำตามล�ำดับ
กลองทอมสามารถใช้เครื่องจูนเพื่อปรับเสียงได้ด้วย

2. ฉาบแต่ละแบบ แตกต่างกันอย่างไร
ฉาบหรือ Cymbals มีหลายแบบ หลายขนาด และให้เสียงที่แตกต่าง
กัน แล้วแต่จะต้องการเล่นกลองชุดแบบไหน ฉาบมีลักษณะกลม และมักใช้
แบบที่เป็นโลหะประกอบกับขาตั้ง ให้เสียงจากการสั่นของฉาบ ฉาบแบบ
39
ฝึกการเล่น
กลองชุด ด้วยตนเอง

พื้นฐานมี 4 แบบคือ ไฮ-แฮท ฉาบไรด์ ฉาบสแปลช และฉาบแคลช

ไฮ-แฮท เป็นฉาบที่เล่นโดยใช้การตีและมี 2 ลักษณะ คือ เปิด และ ปิด


โดยใช้เท้าในการควบคุมการเปิด-ปิด ตัวควบคุมมีลักษณะคล้ายกระเดื่องที่ใช้
เล่นกลองใหญ่ แต่แตกต่างออกตามลักษณะการใช้งาน ไฮ-แฮท จะเป็นฉาบ
สองตัว คว�่ำเข้าหากัน และให้เสียงการจากสั่นที่ไม่เหมือนฉาบตัวอื่น ๆ

40
ฝึกการเล่น
กลองชุด ด้วยตนเอง

ฉาบไรด์ เป็นฉาบที่ให้เสียงที่ลึกและนุ่มนวลกว่าฉาบชนิดอื่น ๆ เป็น


ฉาบที่มักใช้เล่นรัว ๆ บ่อยที่สุดในเพลงส่วนใหญ่

41
ฝึกการเล่น
กลองชุด ด้วยตนเอง

ฉาบสแปลช เป็นฉาบที่ให้เสียงกว้างรองจากฉาบแคลช เสียงที่ให้จะ


คล้าย ๆ คุณเอาของใหญ่ ๆ โยนลงในน�้ำเร็ว ๆ ฉาบสแปลชมักถูกใช้ส�ำหรับ
เต็มเติมเสียงกลองในเพลงต่าง ๆ

42
ฝึกการเล่น
กลองชุด ด้วยตนเอง

ฉาบแคลช เป็นฉาบที่คล้ายกับฉาบสแปลช แตกต่างกันที่ ฉาบแคลช


จะมีเสียงที่กว้างและดังที่สุดในบรรดาฉาบทั้งหมด มักใช้เป็นเสียงจบห้อง คุณ
อาจได้ยินบ่อยในเพลงป๊อปและเพลงร็อคตลาดทั่ว ๆ ไป

43
ฝึกการเล่น
กลองชุด ด้วยตนเอง

44
ฝึกการเล่น
กลองชุด ด้วยตนเอง

CHAPTER 5
เทคนิคการบรรเลงกลองชุด

45
ฝึกการเล่น
กลองชุด ด้วยตนเอง

เทคนิคการบรรเลงกลองชุด
ฝึกตีกลองกันจริง ๆ ซะที
ก่อนจะไปเริ่มกัน ขอให้คุณลองหาเครื่องช่วยนับจังหวะ หรือ Metro-
nome มาช่วยในการฝึกตีกลอง หากยังไม่มีอาจลองหาในร้านขายอุปกรณ์
ดนตรีใกล้บ้านหรือทางอินเตอร์เน็ตก็ได้ หรือไม่ก็หากคุณมีตอมพิวเตอร์หรือ
โน๊ตบุค๊ ทีส่ ามสารถวางไว้ใกล้ ๆ กลองชุดก็ลองมองหาโปรแกรมช่วยนับจังหวะ
ทางดนตรีดกู ไ็ ด้เช่นกัน ทีตอ้ งบอกก่อน เพราะหากคุณเริม่ ต้นจากการเล่นด้วย
จังหวะที่ถูกวิธีแล้ว การฝึกตีกลองของคุณจะง่ายขึ้นมาก ๆ เพราะการตีกลอง
กับการนับจังหวะนั้นเป็นเรื่องคู่กัน ทีนี้เราจะเข้าเนื้อหาเลยนะ

46
ฝึกการเล่น
กลองชุด ด้วยตนเอง

โดยทั่วไปกลองชุดประกอบด้วยกลองใหญ่ 1 ใบ กลองเล็ก 1 ใบ กลอง


ทอมใหญ่หรือฟลอร์ทอม 1 ใบ กลองทอม ทอม 2 ใบ ฉาบใหญ่ 1 ใบ ฉาบเล็ก
1 ใบ และไฮแฮท 1 คู่ ก่อนการบรรเลงต้องจัดกลองชุดให้ถูกต้องเสียก่อน
เริ่มต้นจากกลองใหญ่ตั้งอยู่ด้านหน้าผู้บรรเลง กลองเล็กตั้งอยู่ริมขอบกลอง
ใหญ่ด้านซ้ายมือ กลองทอมใหญ่ หรือฟลอร์ทอมตั้งอยู่ริมขอบกลองใหญ่ด้าน
ขวามือ กลองทอม ทอม สองใบตัง้ อยูบ่ นกลองใหญ่ ทอมใบเล็กติดตัง้ ด้านซ้าย
มือ ทอมใบที่ใหญ่กว่า ติดตั้งด้านขวามือ ส่วนฉาบใหญ่ตั้งอยู่ระหว่างกลอง
ใหญ่กับทอมใหญ่ด้านขวามือ ฉาบเล็กตั้งอยู่ระหว่างกลองใหญ่กับกลองเล็ก
ด้านซ้ายมือ และไฮแฮท อยู่ติดกับกลองเล็กด้านซ้ายมือ หลัง จากจัดกลอง
47
ฝึกการเล่น
กลองชุด ด้วยตนเอง

ชุดเรียบร้อยแล้ว ควรตรวจสภาพกลองทุกใบให้อยู่ในสภาพการที่ใช้การได้ดี
โดย เฉพาะการปรับเสียงกลองใหญ่ ตรวจสอบแผ่นพลาสติกโดยการวางเท้า
ลงบนกระเดื่องแล้วกดปลายเท้าลง หูฟังเสียงกลองใหญ่ ลักษณะเสียงที่บ่ง
บอกว่าไม่ตึงเกินไปไม่หย่อนเกินไป จะมีเสียงทึบก้องกังวานพอประมาณ ถ้า
เสียงทึบความก้องกังวานสั้นแสดงว่าตึงเกินไป แต่ถ้าเสียงไม่ทึบและมีความ
ก้องกังวานมากแสดงว่าหย่อนเกิดไป ฉะนัน้ ควรปรับเสียงกลองใหญ่ให้พอดีไม่
ตึงเกินไปหรือหย่อนมาก การปรับเสียงกลองเล็กต้องปลดเส้นลวดออกจาก

48
ฝึกการเล่น
กลองชุด ด้วยตนเอง

แผ่นพลาสติกก่อน น�ำไม้ตีกลองเล็กเคาะลงบนแผ่นพลาสติก เพื่อฟังเสียง


กลองเล็ก วิธีการปรับเสียงกลองเล็กโดยการใช้ที่หมุนมีลักษณะกลมเป็นโพรง

มีที่จับส�ำหรับหมุนกลองเล็กบางชนิดใช้ไขด้วยสกรู การปรับเสียงต้องน�ำวิธี
การปรับเสียงกลองใหญ่มาใช้ คือ ปรับจุดที่หนึ่งใกล้ตัว แล้วย้ายไปปรับจุด
ที่สองซึ่งอยู่ตรงกันข้ามและจุดที่สามปรับด้านบนแล้วย้ายไปปรับจุดที่ 4 อยู่
ตรงกันข้ามคือด้านล่าง เหมือนกับเข็มทิศปรับทิศเหนือแล้วย้ายลงใต้ ปรับทิศ
49
ฝึกการเล่น
กลองชุด ด้วยตนเอง

ตะวันออกแล้วย้ายไปปรับทิศตะวันตก ดังนี้เรื่อยไปทุกจุด อย่าปรับทุกจุด


ตามล�ำดับเรียงกันเป็นวงรอบ เพราะจะท�ำให้ด้านแต่ละด้านไม่เท่ากัน เมื่อ
ปรับจุดใดจุดหนึ่งและด้านตรงกันข้ามเรียบร้อยแล้ว ใช้ไม้ตีกลองเล็กเคาะ
ลงบนแผ่นพลาสติกเพื่อฟังเสียง ถ้าเสียงสูงแสดงว่าตึง ถ้าเสียงต�่ำแสดงว่า
หย่อน ต้องปรับทั้งสองด้านใหม่ให้ระดับเสียงเท่ากันส่วนการปรับเสียงทอม
และทอมใหญ่ ให้ใช้วธิ กี ารปรับเสียงเหมือนกับกลองเล็ก ระดับเสียงกลองทอม
ทั้งสามใบมีระดับเสียงไม่เท่ากัน ควรตั้งระดับเสียงกลองทอม ด้านซ้ายมือให้
เสียงสูง ทอมด้านขวามือเสียงกลาง และทอมใหญ่เสียงต�่ำ ระดับเสียงกลอง
ทอมสามใบ จะมีระดับเสียงต่อเนื่องกัน คือ สูง กลาง และต�่ำ

การปรับเสียงกลองอีกลักษณะหนึ่งที่นิยมโดยทั่วไป คือ การป้องกัน


เสียงก้องกังวานของหางเสียงกลองขณะบรรเลงจังหวะเร็วๆ ท�ำให้เสียงถี่
กระชั้นของหางเสียงกลองที่ไม่ต้องการปะปนกันกับเสียงกลอง ท�ำให้ได้ยิน

50
ฝึกการเล่น
กลองชุด ด้วยตนเอง

เสียงกลองที่ต้องการไม่ถนัดชัดเจน ควรน�ำวัสดุที่มีน�้ำหนักเบา เล่น ส�ำลี นุ่น


หรือเศษผ้าวางลงบนแผ่นพลาสติก แล้วใช้ผ้าขนาดหนึ่งฝ่ามือ รูปสี่เหลี่ยม
ผืนผ้าหรือใหญ่กว่าเล็กน้อยปิดทับบนวัสดุ น�ำกาวเทปหรือกระดาษกาว หรือ
วัสดุพนั สายไฟปิดทับทัง้ สีด่ า้ น เสียงของหางกลองจะลดน้อยลงมาก สามารถ
บรรเลงจังหวะเร็วๆ ตามถนัดได้ตามความต้องการ โดยจะได้ยินเสียงกลอง
เป็นจังหวะๆ ตามตัวโน้ตอย่างชัดเจน บางครั้งผู้บรรเลงจะไม่นิยมปิดเศษผ้า
กับแผ่นพลาสติก จะใช้วิธีถอดแผ่นพลาสติกออกแล้วน�ำเศษผ้าใส่ในกลอง
แล้วปิดแผ่นพลาสติกสามารถกระท�ำได้เป็นอีกวิธหี นึง่ ทีป่ อ้ งกันหางเสียงกลอง

วงแหวนซับเสียงกลอง

เครื่องตั้งเสียงกลอง

51
ฝึกการเล่น
กลองชุด ด้วยตนเอง

การบรรเลงกลองชุด มีขั้นตอนดังนี้
1. การนั่ง
ผู ้ บ รรเลงกลองชุ ด ต้ อ งนั่ ง บรรเลง เพื่ อ ใช้ เ ท้ า ทั้ ง สองข้ า งให้ เ ป็ น
ประโยชน์ ก่อนนั่งควรเลือกเก้าอี้ส�ำหรับนั่งตีกลอง เมื่อนั่งแล้วรู้สึกสบาย
ไม่เจ็บก้นเพราะเก้าอี้นั่งมีหลายชนิด บางชนิดสามารถปรับเลื่อนให้สูงขึ้น
หรือต�ำ่ ลงได้ตามต้องการ การนัง่ ควรนัง่ ตามสบาย เท้าและหัวเข่าทัง้ สองแยก
ออกจากกัน เพื่อให้กลองเล็กอยู่ระหว่างหัวเข่าทั้งสอง เท้าข้างขวาวางลง
บนกระเดื่องกลองใหญ่ เท้าข้างซ้ายวางลงบนกระเดื่องไฮ-แฮท หลังต้อง
ไม่งอโค้ง ควรตั้งให้ตรงอยู่เสมอเพื่อให้อาการปวดหลังมีน้อยมาก หายใจ
สะดวกปลอดโปร่ง (ส่วนมากเมื่อบรรเลงไประยะหนึ่งหลังจะงอโค้งเป็นส่วน
ใหญ่) คอตั้งตรง ใบหน้าตั้งตรงไม่ก้มต�่ำ สายตามองดูบทเพลงและเพื่อน
ร่วมบรรเลง เพราะผู้บรรเลงกลองชุดจะเป็นผู้ให้สัญญาณจังหวะ กรณีที่
ไม่มีผู้อ�ำนวยเพลง

52
ฝึกการเล่น
กลองชุด ด้วยตนเอง

2. การจับไม้กลอง
การจับไม้กลองนั้น ถือว่าเป็นเบสิคที่ต้องศึกษาตั้งแต่เริ่มต้น หากท�ำไม่
ถูกตั้งแต่แรก อาจจะท�ำให้ต้องเสียเวลามานั่งรื้อ นั่งแก้ในภายหลัง ซึ่งไม่เป็น
ผลดีกบั การพัฒนาการเล่นของเราในตอนนี้ จึงขอแนะน�ำการจับไม้กลองทีเ่ ป็น
ที่นิยมอยู่ในปัจจุบัน เพื่อเป็นแนวทางให้กับผู้เล่นทุกท่านครับ
การจับไม้กลองที่นิยมกันมีอยู่ 2 แบบ คือ
Match Grip และ Traditional Grip

Match Grip - การจับแบบนี้สองข้างจะจับเหมือนกันดังรูป

53
ฝึกการเล่น
กลองชุด ด้วยตนเอง

วิธีการจับไม้แบบ Match Grip


ขั้นที่ 1 ใช้น้ิวโป้งกับนิ้วชี้ จับที่ “จุดสมดุล” ของไม้ (Focal point)
วิธีการหาก็คือลองจับเบาๆแล้วปล่อยไปที่ snare ตรงไหนเด้งได้พอดีๆ
ก็คือตรงนั้นล่ะครับ แต่ส่วนใหญ่จะอยู่ที่ต�ำแหน่ง 1 ใน 3 ของความยาวไม้

ขั้นที่ 2 นิ้วอื่นๆ ก็ก�ำตามมาหลวมๆ

54
ฝึกการเล่น
กลองชุด ด้วยตนเอง

Traditional Grip - การจับแบบนี้ส่วนใหญ่นักดนตรีแจ๊สจะชอบ


(rocker บางคนก็ใช้เช่น Virgil Donati)
เหตุผลก็เพราะเวลาเล่น จะตีดับเบิ้ลได้เร็วและง่าย ควบคุมน�้ำหนักได้ดี
ซึ่งถ้าฝึกไว้ทั้ง 2 แบบได้ก็จะดีมาก ท�ำให้มีลูกเล่นเพิ่มขึ้น
วิธีจับไม้แบบ Traditional Grip
ขั้นที่ 1 - คีบไม้ที่จุด ” Focal point “ด้วยซอกระหว่างนิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้

55
ฝึกการเล่น
กลองชุด ด้วยตนเอง

ขั้นที่ 2 - งอนิ้วโป้ง นิ้วนางและนิ้วก้อย เข้ามาพยุงไม้ไว้

ขั้นที่ 3 - งอนิ้วชี้เข้ามาช่วยจับอีกทีหนึ่ง
การจับแบบนี้จุดหมุนจะอยู่ที่ซอกนิ้วหัวแม่มือกับนิ้วชี้ อย่าก�ำแน่นมาก และ
ไม่หลวมจนเกินไป

56
ฝึกการเล่น
กลองชุด ด้วยตนเอง

เปลี่ยนจากเคาะโต๊ะมาตีกลองชุดจริง
หากคุณได้ลองท�ำตามขัน้ ตอน เรือ่ งการฝึกนับจังหวะการตีกลองไปแล้ว
ครั้งนี้คุณจะเปลี่ยนมาจับไม้กลอง มาตีกลองชุดกันจริง ๆ ซักที เริ่มต้นดังนี้
เล่นโน๊ตเขบ็ตด้วยไฮ-แฮท กลองสแนร์ในจังหวะ 2 และ 4 ในจังหวะ
1 และ 3 ให้เล่นกลองเบสด้วยกระเดื่องเท้า
ขณะเล่น พยายามออกเสียงจังหวะด้วย จริง ๆ คุณอาจจะคิดว่าไม่
จ�ำเป็นต้องท�ำแบบนี้ แต่คุณลองท�ำดูในขณะเรียนรู้และฝึกซ้อมตีกลอง มัน
ช่วยได้จริง ๆ
หลังจากฝึกตีกลองจนคล่องแล้ว ให้เริ่มเปลี่ยนชิ้นเล่น เช่น ในจังหวะ
ที่ 2 และ 4 จากที่เล่นกลองสแนร์ ให้ลองสลับไปเล่นชิ้นอื่นแทนเช่นกลอง
ทอมต่าง ๆ หรือฉาบไรด์ก็ได้
พอคุณรู้จักกลองชุดครบทุกชิ้นแล้ว ลองขยับไปฟังเพลงแล้วลองตีเข้า
จังหวะดู ไม่ต้องเป๊ะ แค่อยากให้คุณได้เริ่มรู้สึกถึงการตีประกอบจังหวะเท่านั้น
หากยังรู้สึกว่ายังไม่ค่อยตรง ให้ลองเล่นเปล่า ๆ กับเครื่องนับดูก็ได้ ฝึกไป
ซักพัก เดี๋ยวก็เข้าจังหวะได้เอง

57
ฝึกการเล่น
กลองชุด ด้วยตนเอง

การฝึกเล่นโน้ตตัวด�ำ
ในการฝึกตีกลองโดยการฝึกนับจังหวะ quarter notes จะใช้ time
signature แบบ 4 /4 ซึ่งจะสามารถไปต่อได้กับการฝึกตีกลองกับ eighth
notes, sixteenth notes และ 32th notes ซึ่งเป็นการย่อยจังหวะให้สั้นลง
ไปเรื่อย ๆ พื้นฐานการตีกลองจะเหมือน ๆ กัน
ในรูปด้านล่างจะแสดงให้เห็นโน้ตด�ำทั้งสี่ตัวในหนึ่งห้อง ซึ่งบนตัวโน้ต
จะแสดงตัวเลขในการฝึกนับจังหวะในการตีกลอง ดังนั้นเราจะนับจังหวะตาม
ตัวโน๊ตในหนึ่งห้องเป็น หนึ่ง-สอง-สาม-สี่ พอถึงห้องใหม่ เราก็จะเริ่มต้นนับที่
หนึ่ง เหมือนเดิม

โน้ตตัวด�ำ 4 ตัว
หลังจากท�ำความเข้าใจกับภาพด้านบนได้แล้ว ลองดูภาพด้านล่าง จะ
แสดงตัวโน๊ตตัวด�ำทั้งสองห้อง ซึ่งถูกแบ่งด้วยเส้นกั้นห้อง โดยแสดงให้เห็นว่า
ในหนึ่งห้องจะมีโน้ตตัวด�ำทั้งหมดเพียงสี่ตัวเท่านั้น หมายถึงในหนึ่งห้อง จะตี
กลองเพียงสี่จังหวะ โดยไม่ได้ขึ้นอยู่กับว่า ในหนึ่งจังหวะเราจะตีกี่ชิ้น ( หาก
ฝึกตีกลองกับกลองชุด) ถึงตรงนี้จ�ำเป็นต้องท�ำความเข้าใจถึงความแตกต่าง
ระหว่างจังหวะ กับ ห้อง ให้ดี ในการฝึกตีกลองด้วยการนับ หนึ่ง-สอง-สาม-
สี่ เราจะโฟกัสไปทีละห้อง ออกจากกัน

โน้ตตัวด�ำ 2 ห้อง

58
ฝึกการเล่น
กลองชุด ด้วยตนเอง

รูปด้านล่างจะแสดงโน้ตด�ำทั้งหมดสี่ห้อง ซึ่งลักษณะของการฝึกนับ
จังหวะในการตีกลองก็เหมือนกับรูปที่ผ่าน ๆ มา แต่จะมีความแตกต่างตรงที่
โน้ตที่แสดงในรูปด้านล่างจะใช้เล่นกลองหลากหลายชิ้นในกลองชุดนั่นเอง ซึ่ง
โน้ตแต่ละตัวจะเล่นต่างชิ้นกัน

โน้ตตัวด�ำ 4 ห้อง

ถึงแม้ว่าแต่ละตัวโน้ตจะอยู่ต่างต�ำแหน่งกัน แต่อย่างไรก็ตามก็ยังเป็น
โน้ตตัวด�ำ (quarter notes) เราจะได้รู้จักบทเรียนเกี่ยวกับการฝึกนับจังหวะ
ที่มากขึ้นในล�ำดับถัด ๆ ไป
เวลาฝึกตีกลองจริง ๆ ให้สลับขวาและซ้าย ดังตัวอย่างคือ จังหวะ 1
ให้ใช้มือขวาตีกลอง จังหวะ 2 ให้ใช้มือซ้ายตีกลองสลับกันไป โดยพยายามให้
แต่ละจังหวะใช้มือเดิมตีเสมอ และหลังจากเราฝึกตีกลองด้วยการนับจังหวะ
กับโน้ตตัวด�ำกันจนคล่องแล้ว ให้ลองเร่งความเร็วดู อาจจะใช้ Metronome
มาช่วยก�ำกับความเร็วในการฝึกซ้อม (แนะน�ำให้มีทุกครั้ง) ผู้ฝึกจะสามารถ
เริ่มไปฝึกในส่วนต่อ ๆ ไปที่ยากขึ้น เช่น การฝึกตีกลองกับโน้ตตัวเขบ็ต 1 ชั้น
2 ชั้น และมากกว่านั้นได้อีก

59
ฝึกการเล่น
กลองชุด ด้วยตนเอง

การฝึกเล่นตัวโน้ตเขบ็ต 1 ชั้นและเขบ็ต 2 ชั้น

จากภาพแสดงค่าของจังหวะในโน้ตแต่ละตัว เริ่มจาก โน้ตตัวกลม ตัว


ขาว ตั ว ด� ำ เขบ็ ต 1 ชั้ น และเขบ็ ต 2 ชั้ น ตามล� ำ ดั บ ส่ ว นวิ ธีก ารนั บ
โน้ตตัวด�ำนั้นเป็นตัวที่ใช้ก�ำหนดความเร็วของเพลง เช่น ตัวด�ำเท่ากับ 60
หมายถึง ใน 1 นาที มี 60 Beat หรือ 60 ตัวด�ำ เขบ็ต 1 ชั้น นั้นคือแบ่งตัว
ด�ำเป็น 2 จังหวะให้นับเป็น 1 and 2 and 3 and 4 and และเขบ็ต 2 ชั้น
คือแบ่งเขบ็ต 1 ชั้นไปอีกเท่าตัวคือให้นับเป็น 1 eh and a 2eh and a 3 eh
and a 4 eh and a ดังนั้น ถ้าใน 1 นาที มี 60 Beat หรือ 60 ตัวด�ำ จะมี
โน้ตเขบ็ต 1 ชั้น 120 ตัว มีเขบ็ต 2 ชั้น 240 ตัว

60
ฝึกการเล่น
กลองชุด ด้วยตนเอง

CHAPTER 6
เริ่มฝึกตีกลอง Snare Drum

61
ฝึกการเล่น
กลองชุด ด้วยตนเอง

เริ่มฝึกตีกลอง Snare Drum

การตีกลอง Snare ให้ดีนั้นผู้เล่น จะต้องเรียนรู้จัก การควบคุมน�้ำหนัก


การตี และควบคุมจังหวะ การกระดอน (Rebound) ของไม้ ทั้งมือซ้าย และ
มือขวา ให้ช�ำนาญ และ เกิดความคล่องตัว ไม่เกรง ก็จะท�ำให้ ตีกลองได้ดี
ข้อส�ำคัญเราต้องฝึก แบบฝึกหัดพื้นฐาน เป็นประจ�ำ กับเครื่องก�ำหนดจังหวะ
พร้อมทั้งฟังเสียง และควบคุมน�้ำหนัก การตีทั้งดังเบา ให้คมชัดตลอดเวลา
แล้วค่อย ๆ เพิ่มความเร็ว ขึ้นเรื่อย ๆ จนช�ำนาญ แต่ต้องระลึกไว้เสมอว่า
ต้องควบคุมน�้ำหนัก และ การ Rebound ของทั้งสองมือ ให้ดีเสมอ

62
ฝึกการเล่น
กลองชุด ด้วยตนเอง

แบบฝึกหัดแนะน�ำพื้นฐานการตี Snare Drum เพื่อควบคุมการใช้มือทั้งสองข้าง

การเล่นแสนร์ให้ลื่นไหล ด้วย Dynamic


แสนร์นั้น เป็นกลองที่มีความส�ำคัญมากของคนเล่นกลองชุด และหาก
แสนร์ที่ใช้มีเสียงที่ดีแล้ว ก็จะท�ำให้การเล่นออกมาดีด้วย แต่ว่าสิ่งส�ำคัญนั้น ก็
อยู่ที่ผู้เล่นของเรานั่นเองว่า ต้องการให้เสียงแสนร์ออกมาส�ำเนียงอย่างไร มี
น�้ำหนัก ความหนัก ความเบา ความดัง เท่าไร ซึ่งก็จะขอแนะน�ำเทคนิคการ
เล่นแสนร์ในแบบต่างๆ ครับ
ส�ำหรับค�ำว่า Dynamic นั้น ก็คือการเล่นให้มีความหนักเบาที่ต่างกัน
ออกไปในเพลงที่เราเล่น ท�ำให้เพลงออกมาน่าฟัง ไม่ใช่แข็งทื่อ ฟังแล้วไม่ได้
อารมณ์ หรืออาจจะอัดแสนร์อย่างเดียว ท�ำให้คนฟังร�ำคาญหูก็เป็นได้
ดังนั้นเมื่อเราเปลี่ยนรูปแบบการเล่นแสนร์ ก็จะท�ำให้เสียงที่ออกมา
แตกต่างออกไปมากทีเดียว เราลองมาดูกันนะครับว่า เราสามารถเล่นแบบ
ไหนได้บ้าง

63
ฝึกการเล่น
กลองชุด ด้วยตนเอง

Rim shot – คือการตีที่หนังแสนร์ และขอบแสนร์ไปพร้อมๆ กัน เสียง


ที่ได้ก็จะเน้นหนัก ชัดเจน โดยเฉพาะเพลงจังหวะเร็วๆ เล่นแบบนี้เต้นกันมันส์
เลยทีเดียว
Normal Note – อันนี้คือการตีตามปกติที่หนังแสนร์เพียงอย่างเดียว
ก่อนตีไม้กลองอยู่ห่าง จากหนังประมาณ 4 – 6 นิ้ว ซึ่ง อันนี้ก็ยังมีการเล่น
แบ่งออกไปอีก เช่น Full stroke, Half stroke

64
ฝึกการเล่น
กลองชุด ด้วยตนเอง

Ghost Note – อันนี้คือการตีเบาๆ ที่หนังแสนร์ โดยก่อนตีไม้กลอง


จะห่างจากหนังประมาณซัก 1 นิ้ว ส่วนใหญ่จะเล่นหลังจากที่เล่นจังหวะเน้น
ไปแล้ว ถ้าอธิบายง่ายๆ ก็เหมือนกับเสียง Eco ที่มันค่อยๆ เบาลง

Cross Stick หรือเรียกว่า Rim Click อันนี้เป็นการวางไม้ลงที่หนัง


แสนร์ แล้วยกไม้เคาะกับขอบแสนร์ เช่นเพลงเพื่อนสนิท ของ Endorphin ถ้า
หาต�ำแหน่งได้ดีๆ ไม้กลองดีๆ แสนร์ดีๆ เสียงออกมานี่หวานใสมากเลยครับ

65
ฝึกการเล่น
กลองชุด ด้วยตนเอง

หลังจากได้วิธีการเล่นแสนร์เบื้องต้นไปแล้ว ก็ลองไปฝึกเล่นดูนะครับ
จะท�ำให้เพื่อนๆ เพิ่มลูกเล่น ส�ำเนียงแสนร์ได้มากทีเดียว

66
ฝึกการเล่น
กลองชุด ด้วยตนเอง

CHAPTER 7
การเหยียบกระเดื่อง Bass Drum

67
ฝึกการเล่น
กลองชุด ด้วยตนเอง

การเหยียบกระเดื่อง Bass Drum

วิธีการเหยียบกระเดื่องกลองใหญ่ ให้วางเท้าลงบนกระเดื่อง กดปลาย


เท้าลงบนกระเดื่องแล้วรีบ ยกปลายเท้าขึ้นโดยให้สันเท้าติดอยู่กับที่ กระเดื่อง
จะเด้งติดตามปลายเท้ามาโดยอัตโนมัติ วิธีนี้ใช้ส�ำหรับการบรรเลงจังหวะ
ธรรมดา ตั้งแต่จังหวะช้าๆ จนถึงจังหวะค่อนข้างเร็ว ส่วนจังหวะเร็วและ
ต้องการเสียงกลองหนักแน่นให้ยกขาขึ้นแล้วใช้ปลายเท้ากดลงบนกระเดื่อง
โดยให้น�้ำหนักอยู่ที่ปลายเท้า แล้วรีบยกขาขึ้นอย่างเร็ว ต้องการความเร็ว
ขนาดไหน ก็ให้ชักเท้าขึ้นและกดปลายเท้าลงตามที่ต้องการ วิธีนี้ยังใช้ส�ำหรับ
การรัวกลองใหญ่ได้อีกด้วย
68
ฝึกการเล่น
กลองชุด ด้วยตนเอง

CHAPTER 8
การเล่น Hi-Hat ให้ได้ Dynamic

69
ฝึกการเล่น
กลองชุด ด้วยตนเอง

การเล่น Hi-Hat ให้ได้ Dynamic

การเล่น Hi – Hat นั้น มีผลต่อเสียงที่ออกมาโดยรวมของกลองมาก


และบางครั้งก็แสดงอารมณ์ในช่วงของเพลงได้เป็นอย่างดี
การเล่น Hi – Hat ด้วยเทคนิคที่ต่างออกไป เสียงที่ออกมาก็จะแตก
ต่างไปด้วย และท�ำให้บทเพลงมีชีวิตชีวามากขึ้น
เราลองมาดูวิธีการเล่น Hi – Hat กันครับ

70
ฝึกการเล่น
กลองชุด ด้วยตนเอง

Closed Hi – Hat ; วิธีนี้คือการเหยียบแป้นเหยียบของขาตั้ง Hi –


Hat ให้สุด ซึ่งเหมาะกับการเล่นจังหวะธรรมดา หรือเบาๆ

Open Hi – Hat ; การเปิด Hi – Hat คือการปล่อยให้ Hi –Hat ทั้ง


บนและล่างแยกออกจากกัน โดยการยกเท้าขึ้นจากแป้นเหยียบของขา Hi –
Hat การเล่นแบบนี้ใช้กันบ่อย เช่น จังหวะส่ง, จังหวะยก (Upbeat) เป็นต้น

Sizzle – การเปิด Hi – Hat นิดหน่อย คือยังเหยียบแป้นเหยียบอยู่


แต่ปล่อยให้ Hi – Hat แยกกันนิดหน่อย เสียงที่ได้จะยาว ส่วนใหญ่จะใช้ใน
ท่อน Hook หรือท่อนที่ต้องการจังหวะสนุก

Alternating Hi – Hat การตีโดยใช้ปลายไม้สลับกับคอไม้ เทคนิค


นี้ถ้าฝึกได้จะตีกลองได้ไพเราะมากครับ เช่นจังหวะ 8 beat ปกติจะเล่น Hi
hat ปิดทั้งหมด 8 จังหวะ เราก็เปลี่ยนมาเป็น จังหวะแรกคอไม้ จังหวะที่สอง
ปลายไม้ … สลับกันไปเรื่อย เสียงที่ได้ก็จะลื่นไหล ได้ความหนักเบาครับ

71
ฝึกการเล่น
กลองชุด ด้วยตนเอง

ภาพที่ 1 การตีโดยใช้คอไม้

ภาพที่ 2 การตีโดยใช้ปลายไม้

72
ฝึกการเล่น
กลองชุด ด้วยตนเอง

CHAPTER 9
Stroke คืออะไร

73
ฝึกการเล่น
กลองชุด ด้วยตนเอง

Stroke คืออะไร ?
ตาม Dictionary แล้ว
Stroke อ่านว่า สะ - โตรก แปลว่า การตี การเฆี่ยน การตีลูกบอล
ถ้าใช้ในการเล่นกลอง stroke ก็คือ การตีไปที่กลองนั่นเอง
ดังนั้น การควบคุม Stroke จึงเป็นกุญแจส�ำคัญในการเล่นกลอง โดย
มีความสัมพันธ์กับอวัยวะของผู้เล่นดังนี้
แขน – การใช้แขนนั้น เสียงที่เล่นออกมา จะมีความหนักหน่วง มีพลัง
รุนแรง และเสียงที่ดัง
ข้อมือ – ให้เสียงที่ดัง แต่ไม่เท่ากับใช้ทั้งแขน แต่จะได้ความเร็วเพิ่มขึ้น
นิ้ว – จะได้ความเร็วในการเล่น แต่เสียงที่ได้จะเบา

74
ฝึกการเล่น
กลองชุด ด้วยตนเอง

ในการเล่นจริงๆ นั้น ก็จะใช้ทั้ง 3 ส่วนผสมกัน ทั้งนิ้ว ข้อมือ และแขน


แต่ถ้าหากต้องการความเร็ว
การเคลื่อนไหวของ แขน ก็จะลดลง และใช้กล้ามเนื้อที่เล็กลง คือ ข้อ
มือและนิ้ว ก็จะได้ ความเร็ว เพิ่มขึ้นนั่นเอง
ดังนั้นผู้เล่นกลอง จึงต้องฝึกฝนการควบคุม Stroke ในแบบต่างๆ เพื่อ
ให้ได้เสียงที่ออกมามีความหนักเบา
ในตอนนี้ก็จะมาเรียนรู้กันว่า Stroke ในการตีกลองนั้น มีกี่แบบกันครับ
การใช้และควบคุมไม้กลองนัน้ เป็นศิลปะของผูเ้ ล่นกลองทุกคน ทีจ่ ะต้องศึกษา
ฝึกฝน เพื่อให้ได้เสียงที่ออกมาดีที่สุด ซึ่งการใช้ไม้กลองตีกลองลงไปนั้น ก็จะ
มีอยู่ 3 แบบในเบื้องต้นคือ

Full Stroke
ฟูล สโตรก (Full stroke ) นั้น เป็นการเล่นที่ให้ท้ังพลัง และเสียงที่ดัง
แต่ความเร็วจะลดลงเนื่องจากต้องใช้กล้ามเนื้อมัดใหญ่
การหัด Full Stroke ท�ำได้ดังนี้

75
ฝึกการเล่น
กลองชุด ด้วยตนเอง

จับไม้โดยใช้แบบ Match Grip หรือ Traditional Grip แล้วแต่ถนัด


อยู่ในท่าปกติ (ฝรั่งบางคนเรียกท่าเริ่มต้นว่า Home Position)

เหนี่ยวไม้ขึ้นจนไม้เกือบตั้งฉากกับพื้น ให้กล้ามเนื้อข้อมือรู้สึกตึงๆ จาก


นั้นฟาดไม้ลงไปที่แป้นฝึก กลอง หรือหนังสือตรงหน้า แบบเต็มๆ ถ้าหากจับ
ไม้ที่จุดสมดุลและไม่แน่นหรือหลวมเกินไป ด้วย แรงสะท้อน (Rebound) จะ
ท�ำให้ไม้กลับมาอยู่ต�ำแหน่งเดิมได้

การทดสอบว่าท�ำถูกต้องหรือไม่ ?
การฝึกที่ถูกต้องนั้น ไม้ที่สะท้อนกลับ ต้องมาจากแรงสะท้อน (Re-
bound) ไม่ใช่มาจากการยกไม้ขึ้น พูดง่ายๆ ก็เหมือนกับการเลี้ยงลูกบาสเก็
ตบอล เราแค่ตีลูกบาสลงไป แล้วมันก็จะเด้งกลับมาเข้ามือเราเอง ปลายไม้
กลองก็เช่นกัน เราก็แค่โยนมันลงไปที่กลอง เดี๋ยวมันก็จะเด้งกลับมาเอง

76
ฝึกการเล่น
กลองชุด ด้วยตนเอง

Half Stroke
ฮาฟ สโตรก (Half Stroke) นั้น เป็นการเล่น ที่ให้เสียงดังลดลงจาก
Full Stroke แต่จะเพิ่มความเร็วขึ้น
การหัด Half Stroke ท�ำได้เหมือนกับ Full stroke ต่างกันที่ จุดเริ่ม
ต้นของปลายไม้ จะห่างจากหนังกลอง ประมาณ 4 นิ้ว

Low Stroke
การเล่น โลว สโตรก (Low stroke) เสียงทีไ่ ด้จะเบาทีส่ ดุ แต่จะได้ความเร็ว
ที่สุดด้วย
การหัด Low Stroke ก็ท�ำเช่นเดียวกับ Full Stroke แตกต่างกันเพียงจุด
เริ่มต้นของปลายไม้ ที่จะห่างจากหนังกลองประมาณ 1- 2 นิ้วเท่านั้น

หลังจากทีไ่ ด้ทราบกันไปแล้วในเรือ่ งการควบคุมสโตรก ก็หวังว่าเพือ่ นๆ


คงน�ำไปหัดกันต่อไปนะครับ
ถ้าหากเราควบคุม stroke ของเราได้ดีแล้ว การเล่นก็จะดีตามไปด้วย
นักกอล์ฟ ก็ต้องหัดวงสวิงทุกวันถึงจะเก่ง มือกลองก็ต้องซ้อมหวดทุกวันเช่น
กันครับ
77
ฝึกการเล่น
กลองชุด ด้วยตนเอง

หัวใจของการเล่นกลอง
หากจะให้นยิ ามค�ำว่า ดนตรี คือ การแสดงออกของมนุษย์ ทีจ่ ะน�ำเสียง
ต่างๆ มาเรียงกันไว้ในเวลา ก็คงไม่ผิดนัก
ดังนั้นอาจจะพอสรุปได้ว่า ส่วนประกอบที่ส�ำคัญของดนตรี ก็คือ เสียง
(Tone) และเวลา (Time) ธรรมชาติของกลอง จัดเป็นเครื่องดนตรีประเภท
เครื่องเคาะ (Percussion) ที่มีความสัมพันธ์กับเวลาเป็นอย่างมาก คือ เป็น
เครื่องดนตรีที่ให้จังหวะ (Rhythm) กับเครื่องดนตรีชนิดอื่นๆ เพราะฉะนั้น
บางคนจึงบอกว่า
ถ้ามือกลองล่ม วงก็ล่มตามไปด้วย
ถ้าหากลองเปรียบเทียบการเล่นกลอง เป็นการเต้นของหัวใจ หรือ
ชีพจร (Pulse) จะพบว่า มนุษย์เรานี้ หากอยู่ในสภาวะปกติ อัตราการเต้น
ของชีพจร ก็จะสม�่ำเสมอ คือ ประมาณ 72 ครั้ง/นาที และมันก็รักษาระดับ
การเต้นไว้ได้อย่างดี
ดังนั้นมือกลองก็อาจจะเปรียบเสมือนหัวใจของ
วง (ขนาดเล็ก) ต้องเป็นผู้ควบคุมจังหวะการเล่นของ
ทุกคนในวงให้ออกมาสม�่ำเสมอเช่นเดียวกัน

ดั ง นั้ น มื อ กลองที่ ดี จะต้ อ งฝึ ก การควบคุ ม


จั ง หวะให้ ไ ด้ ซึ่ ง ในปั จ จุ บั น มี เ ครื่ อ งมื อ ที่ ใ ช้ ฝ ึ ก อยู ่
มากมาย โดยเฉพาะอย่ า งยิ่ ง เครื่ อ งเคาะจั ง หวะ
(Metronome) เป็นเครื่องที่ช่วยเคาะจังหวะให้กับผู้
เล่นในอัตราเร็วที่คงที่ ท�ำให้มือกลองฝึกควบคุมจังหวะ
จนชิน เมือ่ ไม่ได้ใช้เครือ่ งก็ยงั สามารถจะควบคุมจังหวะ
ได้เหมือนกับมี เมทรอโนม, นาฬิกาอยู่ในตัวนั่นเอง

78
ฝึกการเล่น
กลองชุด ด้วยตนเอง

CHAPTER 10
ฝึกแยกประสาทการตีกลองชุด

79
ฝึกการเล่น
กลองชุด ด้วยตนเอง

ฝึกแยกประสาทการตีกลองชุด

ก่อนจะไปพูดถึงขั้นตอนการฝึก จะมาท�ำความเข้าใจกันก่อนว่า การฝึก


แยกประสาทหรือในวงการมือกลองอาชีพเค้าเรียกกันว่า Limb independ-
ence practice ซึ่งเกี่ยวกับการฝึกร่างกายให้แยกการท�ำงานออกเป็น 4 ส่วน
(ส�ำหรับการตีกลอง) ก็คือ เท้าขวาส�ำหรับเหยียบกระเดื่องเพื่อเล่นกลองใหญ่
เท้าซ้ายส�ำหรับเหยียบ hi-hat pedal หรือกระเดื่องอีกตัวส�ำหรับกลองชุด
ประเภท double bass และ สองมือส�ำหรับตีกลองชุด ชิ้นต่าง ๆ การฝึก
limb independence นั้นจะท�ำให้คุณตีกลองได้หลากหลายจังหวะ โดยไม่
จ�ำเป็นต้องโฟกัสไปที่การตีกลองชุดชิ้นใดชิ้นหนึ่งเป็นหลัก ที่นี้ไปดูกันทีละขั้น
ตอนกันได้เลย

80
ฝึกการเล่น
กลองชุด ด้วยตนเอง

1. ฝึกพิ้นฐานของการตีกลองสแนร์
เคยจ�ำกันได้มั้ยกับภาพยนตร์ไทยเรื่อง Season Change ในฉาก
ที่ พ ระเอกหนุ ่ ม ผู ้ ชื่ น ชอบการตี ก ลองชุ ด ก� ำ ลั ง สอบเข้ า เรี ย นที่ วิ ท ยาลั ย
ดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล คุณครูบอกให้ตีแพทเทรินของ Single
Stroke Roll ไอเจ้า Single Stroke และ Double Stroke เป็นสิ่งที่ก�ำลังจะ
พูดถึง ซึ่งมันเป็นพื้นฐานของการตีกลองเลยก็ว่าได้ หากคุณเข้าใจและฝึกได้
มันจะเป็นส่วนส�ำคัญในการฝึกแยกประสาทในการตีกลอง
SINGLE STROKE

Single Stroke คือการตีกลองโดยแต่ละมือจะลงไม้ 1 ครั้ง สลับกันไป


สามารถแยกได้เป็น 2 ลักษณะคือ Close Shot และ Open Shot ซึ่ง การ
ตีกลองแบบ Close Shot คือหลังการตี ให้กดข้อมือเพื่อบังคับให้หัวไม้หยุด

81
ฝึกการเล่น
กลองชุด ด้วยตนเอง

ให้ไวที่สุด ไม่ปล่อยให้ไม้กลองเด้งขึ้นมา ส่วนใหญ่จะใช้ในการตีเพลง rock


ทั่วๆ ไป การตีแบบ Open shot ก็คือการปล่อยให้ไม้กลองเด้งขึ้นมาและ
บังคับให้ไม้กลองค้างไว้ วิธกี าร single stroke ควรฝึกจากช้าๆ ก่อนแล้วค่อยๆ
ขยับเร็วขึ้นเรื่อยๆ และควรมี Metronome ไว้ช่วยนับจังหวะให้

DOUBLE STROKE

Double Stroke คือการตีกลองที่ลงน�้ำหนักเพียง 1 ครั้งแต่ได้เสียง


2 ครั้งจากการเด้งกลับของหัวไม้ การตี double stroke นั้นยากกว่า single
stroke ตรงที่คุณต้องบังคับให้ไม้กลองเด้งกลับไปที่หน้ากลองอีกครั้งหลังจาก
มันเด้งย้อนขึ้นมา เป็นการบังคับข้อมือให้กดไม้ลงหลังจากการเด้งครั้งแรก
แนะน�ำว่าควรฝึกจากช้า ๆ และควรฝึกหลังจากตีกลองแบบ single stroke
คล่องแล้ว การตี double stroke ก็มี 2 ลักษณะคือ แบบ Close shot และ
Open shot เหมือนกับ single stroke เลย

หลักส�ำคัญคือการตีกลองทั้งสองลักษณะนี้ ควรฝึกจากช้าๆ แล้ว


ค่อยๆ เพิ่มจังหวะขึ้น และควรมี Metronome ไม่คอยช่วยจับจังหวะให้ด้วย
หากคุณสามารถฝึกตีกลองทั้งสองรูปแบบได้จนคล่อง ในภายหลัง ไม่ว่าจะ
เป็นการตีกลองด้วยแพทเทินแบบไหน จะเป็น triple จะเป็น quadruple
stroke ก็สบายหมด

82
ฝึกการเล่น
กลองชุด ด้วยตนเอง

2. ฝึกแยกประสาทเท้าซ้ายจากมือ
มาถึงช่วงนี้ คุณคงรู้สึกเหมือนการเกาหลังไป เกาขาไป ซึ่งเกายังไงก็
ไม่หายคัน เพราะเกาไม่ถึง การฝึกตีกลองก็เหมือนกัน มันคือการฝึกสิ่งที่ซับ
ซ้อน และท�ำหลายๆ สิ่งพร้อมกัน จากการตีกลองโดยแยกมือทั้ง 2 ออกจาก
กัน คราวนี้คุณต้องแยกเป็น 3 ส่วน เป็น 4 ส่วน พร้อมๆ กัน ส่วนหนึ่งท�ำ
อย่างหนึ่ง แล้วอีกหลายๆ ส่วนก็ท�ำหน้าที่ของมันไป นี่แหละการตีกลองชุด

การฝึกแยกประสาทเท้าออกจากกัน และแยกออกจากมือนั้น ใช้ระยะ


เวลานาน แม้แต่มือกลองอาชีพกว่าจะ่ผ่านช่วงนี้ก็ใช้เวลาเช่นกัน คุณต้องใช้
ความอดทนมากๆ ส�ำหรับขั้นตอนนี้ วิธีการคือ การนับจากที่คุณคุ้นเคยก็คือ
การนับตัวโน้ตเขบ็ต ซึง่ ทีจ่ ะเพิม่ มาในขัน้ ตอนนีค้ อื ทุกๆ ตัวโน้ต คุณต้องใช้เท้า
ซ้ายเหยียบ hi-hat pedal เพื่อเล่น close hi-hat ส�ำหรับจังหวะลง และ เล่น
open hi-hat ตอนจังหวะยก แต่อย่าพึ่งคิดว่าสบายไป มือขวาต้องพยายาม

83
ฝึกการเล่น
กลองชุด ด้วยตนเอง

ตีให้เข้ากับอย่างใดอย่างหนึ่งของจังหวะ hi-hat จะเป็น close หรือ open


ก็ได้ โดยที่ตัวโน้ตสุดท้ายของชุด 8th note ให้ลงที่ฉาบไรด์ หรือฉาบแคลช
หากคุณมี

3. ฝึกตีกลองใหญ้ให้คล่อง
มาถึงขั้นตอนสุดท้ายของการฝึกชุด limb independence แล้ว ก็คือ
เท้าขวา สิ่งที่คุณต้องท�ำก็คิอ พยายามฝึกเล่นเท้าขวาอย่างเดียวก่อน ด้วย
จังหวะหลายๆ แบบ หลังจากนั้นพยายามฝึกให้เข้ากับส่วนอื่นๆ ในจังหวะ
หลักๆ

ทริคที่ง่ายที่สุดคือ ไม่ต้องไปกังวลว่าจะตีกลองผิดตีกลองถูก พยายาม


บังคับส่วนอื่นๆ นอกจากเท้าขวาให้แม่นก่อน ยิ่งคุณฝึกมากเท่าไหร่ คุณจะเก่ง
ขึน้ จะคล่องขึน้ เรือ่ ยๆ เอง ให้กล้ามเนือ้ มันจดจ�ำ เพียงแค่คณ
ุ ไม่ถอดใจไปก่อน
วันหนึ่งคุณจะรู้สึกว่า มาถึงจุดนี้ได้อย่างไร หากคุณยังคงไม่คล่อง พยายาม
84
ฝึกการเล่น
กลองชุด ด้วยตนเอง

แยกว่าแต่ละจังหวะ คุณต้องตีชิ้นไหนบ้าง ค่อยๆ ผสมเข้าไปทีละข้าง แค่นี้


คุณก็ฝึกไปได้ไกลกว่าคนอื่นแล้ว

จบกันไปอีกขั้นตอนส�ำหรับการตีกลองด้วยตนเอง ตอนหน้าจะเป็นขั้น
ตอนสุดท้ายในชุดนี้แล้ว น่าจะเป็นตอนที่โหดที่สุดส�ำหรับการฝึกตีกลองชุด
ด้วยตนเอง ส�ำหรับมือใหม่แล้ว โปรดอย่าลืมว่าการตีกลองชุด เป็นทักษะ ซึ่ง
หมายความว่ามันฝึกได้ และไม่มีใครเป็นมาตั้งแต่เกิด คุณเองก็ตีกลองให้เก่ง
ได้ หมั่นฝึกบ่อยๆ นะครับ

85
ฝึกการเล่น
กลองชุด ด้วยตนเอง

86
ฝึกการเล่น
กลองชุด ด้วยตนเอง

CHAPTER 11
ฝึกยากให้ง่าย

87
ฝึกการเล่น
กลองชุด ด้วยตนเอง

1. ฝึกตีกลองในจังหวะโน้ตสามพยางค์ (Triplets)
โน้ตสามพยางค์ คือ โน้ตที่มี 3 ตัว ถูกก�ำหนดให้มีจังหวะเท่าโน้ตสอง
พยางค์ ( 2 ตัว ) วิธีตีนับก็คือใน 1 ห้องจะเป็นการนับแบบ one-and-a-two-
and-a-three-and-a-four-and-a-one ไม่ว่าจะตีจังหวะโน้ตเขบ๊ต 1 ชั้น (8th
note) หรือ 2 ชั้น (16th note) ก็ไม่ต่างกันคือ ใน 1 ตัวโน้ต จะมี 3 พยางค์

การตีกลองในจังหวะโน้ต 3 พยางค์ จริงๆ แล้วมักไม่ค่อยพบในเพลง


ร็อคหรือป๊อปซักเท่าไหร่ การตีกลองลักษณะนี้มักพบในการเล่นวงดุริยางค์
หรือวงออเครสตร้าซะเป็นส่วนมาก แต่ก็มีบางเพลงที่ใช้อยู่เหมือนกัน การตี
ลักษณะนี้จึงจ�ำเป็นต้องรู้จักเป็นอย่างน้อย หากคุณเจอเพลงที่ใช้การเล่นโน้ต
3 พยางค์ก็จะได้เข้าใจและฝึกตีได้ ถือเป็นพื้นฐานทางดนตรีอีกอย่างหนึ่งเช่น
กัน

ในช่วงแรกพยายามใช้ Metronome ช่วยนับจังหวะให้ก่อน เพราะโดย


ส่วนใหญ่ผู้ที่เริ่มต้นมักจะงงกับจังหวะแบบนี้ เริ่มจากช้าๆ แล้วไปเร็ว

88
ฝึกการเล่น
กลองชุด ด้วยตนเอง

2. ฝึกตีกลองชุดกับโน้ตเขบ็ต 2 ชั้น (16th note)


การตีกลองกับโน้ตเขบ็ต 2 ชั้น (16th note) ก็คือการตีกลอง 4 ครั้ง
ต่อ 1 จังหวะ หาก 1 ห้องมี 4 จังหวะ ก็คือการตีกลอง 16 ครั้งนั่นเอง จ�ำ
ง่าย ๆ คุณเองอาจเคยฝึกตีกลองในส่วนนี้อยู่แล้ว จากขั้นตอนที่ผ่าน ๆ มา
แต่ครั้งนี้ จะให้คุณลองเล่นโน้ต 3 พยางค์กับโน้ตเบข็ต 2 ชั้น ซึ่งการนับจะ
เป็น one-e-and-a-and-e- two-e-and-a-and-e- three-e-and-a-and-e-
four-e-and-a-and-e-one

3. ฝึกตีกลองกับโน้ตเบข็ต 3 ชั้น (32th note)


การตีกลองกับโน้ตเขบ็ต 3 ชั้น (32th note) ก็คือการตีกลอง 8 ครั้ง
ต่อ 1 จังหวะ หาก 1 ห้องมี 4 จังหวะ ก็คือการตีกลอง 32 ครั้ง ฟังแล้วอาจ
ดูเหมือนยาก วิธกี ารฝึกตีกลองแบบนีเ้ ริม่ ต้นโดยทีค่ ณ
ุ ต้องคล่องกับการตีเขบ็ต
2 ชั้นมาก่อนแล้ว การนับจะเป็นลักษณะนี้ (ทบทวนเขบ็ต 2 ชั้นก่อน) one-
e-and-a-two-e-and-a-three-e-and-a-four-e-and-a-one ให้คุณลองหัด
ตีกลองกับ hi-hat ก่อน เพราะจริง ๆ แล้วการตีจังหวะนี้พบในการตี hi-hat
ซะเป็นส่วนมาก รองลงก็คือกลองแต๊ก การฝึกตีคือ คุณฝึกตีจังหวะโน้ตเขบ็ต
2 ชั้นด้วยการใช้มือขวาอย่างเดียว พอเริ่มเข้าที่แล้ว ให้ลงไม้มือซ้ายเข้าไป
ตอนที่ยกมือขวาขึ้น ก็จะเป็นการเล่นโน๊ตเขบ็ต 3 ชั้นแล้ว
89
ฝึกการเล่น
กลองชุด ด้วยตนเอง

การตีกลองกับโน้ตเขบ็ต 3 ชั้นนั้นถือว่ายากพอสมควร แต่หากคุณ


เข้าใจได้ในตอนเริ่มต้น มันจะช่วยให้คุณเรียนรู้การตีกลองในจังหวะที่ซับซ้อน
ได้ง่ายขึ้นเป็นอย่างมาก ควรฝึกซ้อมให้คล่อง แล้วลองย้ายไปฝึกตีกลองกับ
กลองแต๊กดู คุณจะเริ่มจับน�้ำหนักได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม และส�ำคัญ อย่าลืมใช้
Metronome ช่วยนับจังหวะในตอนฝึกซ้อมทุกครั้ง

4. ฝึกปรับ Metronome ให้เข้ากับการฝึกซ้อม


จริงๆ แล้วข้อนี้ควรจะย้ายไปอยู่ในขั้นตอนแรกๆ แต่ไม่เป็นไร คิดว่า
คุณคงเริม่ เข้าใจการใช้มนั ในตอนแรกๆ อยูแ่ ล้ว ดังนัน้ ข้อนีจ้ ะเป็นการย�ำ้ เตือน
ว่า ทุกๆ ครั้งที่คุณฝึกตีกลองชุด อย่าลืมใช้ Metronome ช่วยนับจังหวะ โดย
ทุกติ๊ก หมายถึง 1 จังหวะ การเลื่อนตัวถ่วงลงหมายถึงให้นับจังหวะไวขึ้น
เลื่อนขึ้นหมายถึงช้าลง การฝึกตีกลองทุกครั้ง ต้องเริ่มจากช้าไปเร็วทุกครั้ง
และในข้อ 1 – 3 ของขั้นตอนนี้ จ�ำเป็นอย่างยิ่งที่คุณต้องมี Metronome ไว้
ช่วยนับ เพื่อให้คุณแม่นจังหวะขึ้น
90
ฝึกการเล่น
กลองชุด ด้วยตนเอง

5. ท�ำความคุ้นเคยกับจังหวะเงียบเสียง (Rest)
จังหวะเงียบเสียงหรือ Rest คือการเงียบเสียงในดนตรี ดนตรีไม่ได้มแี ต่
เสียงหรือโน้ตที่เปล่งออกมาแค่อย่างเดียว ยังมีการเงียบเสียงที่มีความส�ำคัญ
มาก ๆ รวมอยู่ด้วย เพราะการเงียบเสียง หรือการไม่เล่นก็คือส่วนประกอบ
หลักของดนตรีเหมือนกัน ซึ่ง Rest ก็มีเหมือนโน้ตทั่วไป ดูตามรูป (ใช้ time
signature เป็น 4/4)

Whole Rest : มี่ค่าสัดส่วนเท่ากับ Whole Note คือ 4 Beat หรือ


4 จังหวะ นั่นคือการเงียบเสียง หรือ หยุดเล่นไป 4 จังหวะใน 1 ห้องนั่นเอง
(สัญลักษณ์ จะเป็นเส้นขีดทึบอยู่ใต้เส้นบรรทัดที่ 4 ดังรูป)
Half Rest : มี่ค่าสัดส่วนเท่ากับ Half Note ครับ คือ 2 Beat หรือ
จังหวะ นั่นคือการเงียบเสียง หรือ หยุดเล่นไป 2 จังหวะ โดยที่ใน 1 ห้อง
สามารถมี Half Rest ได้ 2 นั่นเอง (สัญลักษณ์ จะเป็นเส้นขีดทึบอยู่บนเส้น
บรรทัดที่ 3 ดังรูป)
Quarter Rest : มี่ค่าสัดส่วนเท่ากับ Quarter Note ครับ คือ 1 ตัวมี
ค่า 1 Beat หรือ 1 จังหวะ นั่นคือการเงียบเสียง หรือ หยุดเล่นไป 1 จังหวะ
91
ฝึกการเล่น
กลองชุด ด้วยตนเอง

ใน 1 ห้องสามารถมี Quarter Rest ได้ 4 ตัว (สัญลักษณ์ จะเป็นดังรูป)


Eighth Rest : มี่ค่าสัดส่วนเท่ากับ Eighth Note ครับ คือ 1 ตัวมีค่า
คร่ง Beat หรือ ครึ่ง จังหวะ (2 ตัว = 1 บีท) นั่นคือการเงียบเสียง หรือ ใน
1 ห้องสามารถมี Eighth Rest ได้ 8 ตัว (สัญลักษณ์ จะเป็นดังรูป)
ในการฟังเพลง หากคุณลองฟังดี ๆ จะมีการหยุดตี หรือโน๊ต Rest อยู่
เป็นจ�ำนวนมาก ที่คั่นอยู่ในจังหวะ fill in ของการเล่นกลองชุดบ่อย ๆ

6. ฝึกตีกลองจากการผสมผสานระหว่างโน้ตธรรมดากับโน้ต rest
จุดส�ำคัญที่คุณต้องฝึกให้ได้ก็คือ การตีกลองชุดที่ ไม่ว่าจะใช้มือไหนตี
ก็ได้เสียงออกมาเหมือนกัน เพราะการมีโน้ต rest เข้ามาจะท�ำให้การใช้มือ
สลับกันบ่อยครั้งในการเล่นกลองชุด ดังนั้น คุณต้องเริ่มท�ำความเข้าใจกับการ
ตีกลองชุดขั้นตอนนี้ วิธีการฝึกนั้นไม่ยากจนเกินไป เวลาคุณตีกลองให้ลองหา
โน้ตกลองจากเพลงง่ายๆ ซัก 2 – 3 เพลงมาลองฝึก ยิ่งเพลงที่มีการใช้โน้ต
rest เยอะๆ ยิ่งดี แต่ต้องเป็นเพลงง่ายๆ ไม่งั้นคุณจะงงมาก ส�ำคัญสุด ย�้ำทุก
ครั้ง ต้องมี Metronome ช่วยนับจังหวะด้วย

92
ฝึกการเล่น
กลองชุด ด้วยตนเอง

7. รู้จักกับลูกส่งกลอง (Fill in)


ลูกส่งกลอง (Fill in) คือการมีลูกเล่นเพิ่มเติมจากจังหวะปกติ ก่อนจะ
ส่งห้องถัดไป วึง่ จะช่วยให้เพลงดูมมี ฟู เม้นต์มากขึน้ ดังนัน้ คุณอาจต้องลองฝึก
ตีกลองชุดจังหวะ fiFill in ในหลายๆ รูปแบบ แต่คงเป็นส่วนท้ายๆ ของการ
ฝึกตีกลองชุดในช่วงเริ่มต้น เพราะการตี fiFill in นั้นมักจะถูกใส่อยู่ในหลักสูตร
ขั้นกลาง หรือขั้นสูงขึ้น ในหลักสูตรตีกลองชุด ตามโรงเรียนมาตรฐานทั่วไป
ในขั้นตอนนี้ คุณแค่ท�ำความรู้จักไว้ แล้วลองตีตามเพลงที่คุณชอบดูก่อนก็ได้
ก่อนที่จะไปเรียนรู้ในระดับที่สูงขึ้น

สุดท้ายคงไม่มีอะไรจะมากกว่าไปกว่า ขออวยพรให้คุณ ส�ำเร็จในการ


เริ่มต้นตีกลองชุด หวังว่า บทความชุดนี้ จะช่วยย่นย่อระยะเวลาในการฝึกตี
กลองชุดของคุณให้สั้นลง และสามารถเตรียมความพร้อมให้คุณไปสู้บทเรียน
ตีกลองที่ยากขึ้นไปได้

93
ฝึกการเล่น
กลองชุด ด้วยตนเอง

94
ฝึกการเล่น
กลองชุด ด้วยตนเอง

CHAPTER 11
แบบฝึกหัดการ Warm Up

95
ฝึกการเล่น
กลองชุด ด้วยตนเอง

แบบฝึกหัดการ Warm Up
แบบฝึกหัดข้อ 1-5 เราจะเล่น Sixteenth Notes บนสแนร์พร้อมกับ
มีเน้นตามจังหวะต่างๆ โดยจุดที่น่าสนใจจะอยู่ที่ต�ำแหน่งของมือที่ถูกก�ำหนด
มาให้ ซึ่งจะมีทั้ง Single Stroke, Double Stroke และ Paradiddle รวมอยู่

96
ฝึกการเล่น
กลองชุด ด้วยตนเอง

แบบฝึกหัดการ Warm Up

97
ฝึกการเล่น
กลองชุด ด้วยตนเอง

Diddle Warm Ups (ของ Owen Goldman) จริงๆ แล้วมันก็คือ


Double Stroke แหละครับ แต่มันไม่ได้เล่น Double ต่อเนื่องกันทุกโน้ต จะ
มีเพียงแค่บางจังหวะเท่านั้น โน้ตที่แบบฝึกหัดให้มาส่วนใหญ่จะเป็นโน้ตเขบ็ต
สองชั้น (Sixteenth Note) จะมีข้อ 9-11 ที่ใช้โน้ตสามพยางค์ (Triplet Note)
ส่วนตรง Diddle นั้น ในข้อ 1-8 เป็นโน้ตเขบ็ตสามชั้น (Thirty Second
Note) และข้อ 9-11 ตรง Diddle เป็นโน้ตเขบ็ตสองชั้นของโน้ตสามพยางค์
ในการฝึ ก นั้ น ถ้ า โน้ ต เราเป็ น เขบ็ ต สองชั้ น ให้ นั บ เหมื อ นเดิ ม คื อ
1e&a2e&a3e&a4e&a ตรงไหนที่เป็น Diddle ก็ให้ตีลงไปแล้วปล่อยให้ไม้
กระเด้งให้ได้สองครั้ง (Double Stroke) แต่ถ้าโน้ตเป็นสามพยางค์ก็ให้นับว่า
1&a2&a เป็นต้น
แบบฝึ ก หั ด ข้ อ 1-4 แต่ ล ะข้ อ ให้ ฝ ึ ก วนไปวนมาจนคล่ อ ง โดยมี
เมโทรนอมเป็นตัวก�ำหนดความเร็ว 80-160
แบบฝึกหัดข้อ 5-7 จะเป็นหนึง่ ห้องเต็ม วิธฝี กึ ให้เล่นซ�ำ้ ไปมาจนกระทัง่
เราควบคุมข้อมือและนิ้วจนคล่อง ใช้ความเร็วอยู่ระหว่าง 75-150
แบบฝึกหัดข้อ 8 ก็ฝึกเหมือนข้ออื่นๆ ใช้ Tempo 80-160 ส่วนข้อ
9-11 เป็นกลุ่มโน้ตสามพยางค์ แต่ละข้อจะมี Diddle อยู่ต่างที่กัน ก็ใช้การ
นับ 1&a2&a ซ�้ำไปซ�้ำมาจนมั่นใจ โดยควบคุมความเร็วที่ 100-200
ส�ำคัญที่สุดอย่าลืมเคาะเท้าในจังหวะตัวด�ำไว้จะท�ำให้รู้ว่าเราก�ำลังเล่น
โน้ตอะไรอยู่ รับรองว่าเป็นแบบฝึกหัดการ Warm Up ที่ดีอย่างหนึ่ง เพราะ
จะได้ฝึกทั้งข้อมือและนิ้วทั้งสองข้างและความเร็วของ Tempo จะช่วยให้
ข้อมือกับนิ้วแข็งแรงมากยิ่งขึ้น

98

You might also like