Final Project.

You might also like

Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 53

โครงการกังหันน้ำผลิตพลังงานไฟฟ้า

บริเวณช่องระบายน้ำทะเลที่ PTT LNG (LMPT1)

นายชรินทร์ธร สวัสดิ์ล้น

รายงานโครงงานสหกิจศึกษานีเ้ ป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา
ตามหลักสูตรเทคโนโลยีวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์กำลัง
ภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์กำลัง
คณะวิทยาลัยเทคโนโลยีอุตสาหกรรม
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
พ.ศ. 2565
โครงการกังหันน้ำผลิตพลังงานไฟฟ้า
บริเวณช่องระบายน้ำทะเลที่ PTT LNG (LMPT1)
HYDRO TURBINE GENERATOR FROM SEAWATER OUTFALL CHANNEL
PTTLNG(LMPT1) DESIGN PROJECT

นายชรินทร์ธร สวัสดิ์ล้น

รายงานสรุปการปฏิบัติงานสหกิจศึกษานี้เป็นส่วนหนึ่ง
ของการศึกษาตามหลักสูตรเทคโนโลยีวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์กำลัง
ภาควิชาเทคโนโลยีวิศวกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์กำลัง คณะวิทยาลัยเทคโนโลยีอตุ สาหกรรม
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
พ.ศ. 2565

ชื่อโครงงานพิเศษ : โครงการกังหันน้ำผลิตพลังงานไฟฟ้าบริเวณช่องระบายน้ำทะเลที่
PTT LNG (LMPT1)
HYDRO TURBINE GENERATOR FROM SEAWATER
OUTFALL CHANNEL PTTLNG(LMPT1) DESIGN PROJECT
ชื่อ : นายชรินทร์ธร สวัสดิ์ล้น
อาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษา : ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษา
พนักงานที่ปรึกษา : ชื่อพนักงานที่ปรึกษา
ภาควิชา : ชื่อภาควิชา
ปีการศึกษา : 2565

บทคัดย่อ

โครงการนี้จัดทำเพื่อมุ่งเน้นนำเสนอการออกแบบและคำนวณของกังหันน้ำผลิตพลังงาน
ไฟฟ้าลักษณะคล้ายUndershot- waterwheel จากการที่ช่องระบายน้ำทะเลในบริเวณของบริษัท
PTT LNG(LMPT1) มีอัตราไหลของน้ำในช่องระบายตั้งแต่ 2.703 ถึง 11.037 𝑚3 /𝑠 มีระดับน้ำ
ไม่คงที่ หลักการคือเมื่อมีแรงของน้ำมากระทำบริเวณใบพัดของกังหันจนทำให้เกิดการหมุนเกิดขึ้น
โดยที่เพลาที่เชื่อมต่อกับกังหันจะมีชุดทดรอบของมูเล่ย์และสายพานติดตั้งอยู่เพื่อส่งถ่ายกำลังไปยัง
ระบบกำเนิดพลังงานไฟฟ้าก็คือมอเตอร์เหนี่ยวนำแบบ 3 เฟส ขนาด 22 kW โดยมีอัตราการทดรอบ
อยู่ที่ 158 เท่าเพื่อที่มอเตอร์เหนี่ยวนำจะสามารถแปลงพลังงานกลเป็นพลังงานไฟฟ้าได้ตามความเร็ว
คุณลักษณะของมอเตอร์ชนิดเหนี่ยวนำและเมื่อได้พลังงานไฟฟ้ามาแล้วจึงนำไปเชื่อมต่อกับชุดอุปกรณ์
Inverter เพื่อปรับความถี่, มุมเฟส และระดับแรงดัน เพื่อที่จะสามารถนำไปเชื่อมต่อกับระบบกริด
(On-Grid) เพื่อช่วยลดการใช้จ่ายและประหยัดพลังงานไฟฟ้าที่ใช้จ่ายให้กับหลอดไฟบริเวณตาม
ทางเดินของช่องระบายน้ำ การออกแบบและคำนวณกังหันน้ำชนิดนี้เป็นพลังงานที่สามารถสร้างจาก
ผลพลอยได้จากกระบวนการผลิตโดยที่ไม่ต้องเสียงบประมาณเป็นจำนวนมากและยังสามารถประหยัด
พลังงานและลดค่าใช้จ่ายค่าไฟได้ด้วย

กิตติกรรมประกาศ

รายงานโครงงานสหกิ จศึ กษานี้สำเร็ จลุ ล่วงได้ ด ้วยความกรุ ณาของ นาย ธนา ภั ศดาวงศ์
พนักงานพี่เลี้ยง, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อนุศักดิ์ บิสลาม อาจารย์นิเทศประจำสาขาวิชาสหกิจศึกษา
และดร.วิโชค พรหมดวง อาจารย์ที่ปรึกษาประจำวิชาสหกิจศึกษา ที่กรุณาให้คำปรึกษา ความรู้
ข้อเสนอแนะ และอำนวยความสะดวกในการทำโครงงานสหกิจศึกษานี้ ตลอดจนแก้ไขข้อบกพร่อง
เพื่อให้โครงงานสหกิจศึกษานี้ มีความสมบูรณ์มากขึ้น กระผมจึงขอกราบขอบพระคุณมา ณ โอกาสนี้
คุณค่าและประโยชน์ของโครงงานสหกิจศึกษานี้ ขอมอบแด่บิดา มารดา และครูอาจารย์
ทุกท่านที่ได้อบรมสั่งสอนให้ความรู้แก่ผู้วิจัยตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

นายชรินทร์ธร สวัสดิ์ล้น

สารบัญ
หน้า
บทคัดย่อภาษาไทย ข
กิตติกรรมประกาศ ค
สารบัญ ง
สารบัญตาราง ฉ
สารบัญภาพ ช
บทที่ 1 บทนำ 1
1.1 ความสำคัญและที่มาของโครงงาน 1
1.2 วัตถุประสงค์ของโครงงาน 2
1.3 ขอบเขตของโครงงาน 2
1.4 ขั้นตอนการดำเนินงาน 3
1.5 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 3
บทที่ 2 ทฤษฎีและหลักการ 4
2.1 ทฤษฎีที่ 1 พลังงานน้ำ (water energy) 4
2.2 ทฤษฎีที่ 2 วัฏจักรของน้ำ (Water Cycle) 4
2.3 ทฤษฎีที่ 3 กังหันน้ำ (Water Turbine) 7
2.4 ทฤษฎีที่ 4 หลุก, ระหัดวิดน้ำ (Water Wheel) 11
2.5 ทฤษฎีที่ 5 ทฤษฎีเกี่ยวกับการคำนวณกำลังและพลังงานของน้ำ 14
บทที่ 3 วิธีการดำเนินการ 19
3.1 ขั้นที่ 1 ศึกษาหลักการการทำงานของระบบอุปกรณ์ 19
3.2 ขั้นที่ 2 ตรวจสอบลักษณะหน้างาน 19
3.3 ขั้นที่ 3 ออกแบบชิ้นงาน 20
3.4 ขั้นที่ 4 คำนวณหาความเร็วการไหลของน้ำ 24
3.5 ขั้นที่ 5 นำทุ่นไปลอยน้ำและบันทึกค่าเวลา 25
3.6 ขั้นที่ 6 นำค่าจากการคำนวณไป Simulation
เพื่อหาค่าประหยัดพลังงาน 32

สารบัญ (ต่อ)
หน้า
บทที่ 4 ผลการทดลอง 33
4.1 ผลการทดลอง 1 33
4.2 ผลการทดลอง 2 37
บทที่ 5 สรุปผลและข้อเสนอแนะ 40
5.1 สรุปผลการดำเนินงาน 40
5.2 ข้อเสนอแนะ 40
บรรณานุกรรม 41
ภาคผนวก 42
ประวัติผู้เขียนโครงงาน 43

สารบัญตาราง
ตารางที่ หน้า
3-1 ตารางแสดงค่าเวลาที่ทุ่นลอยน้ำในระยะทาง 5 เมตร 26

สารบัญภาพ
ภาพที่ หน้า
2-1 วัฏจักรของน้ำและการประยุกต์ใช้พลังงานจากน้ำ 5
2-2 แสดงตัวอย่างของกังหันน้ำแบงกิ 8
2-3 แสดงตัวอย่างของกังหันน้ำเพลตัน 8
2-4 แสดงตัวอย่างกังหันน้ำเทอร์โก 9
2-5 แสดงตัวอย่างกังหันน้ำฟรานซิส 10
2-6 แสดงตัวอย่างกังหันน้ำคาปลาน 10
2-7 แสดงตัวอย่างกังหันน้ำเดเรียซ 11
2-8 ล้อน้ำหรือหลุก ใช้สำหรับทดน้ำจากแหล่งน้ำไปยังจุดที่สูงกว่า 11
2-9 หลุกเปลีย่ นพลังงานจากน้ำมาเป็นพลังงานกลใช้สำหรับตำข้าว 12
2-10 กังหันหรือล้อน้ำแบบหลุกสูง 12
2-11 กังหันหรือล้อน้ำแบบหลุกกลาง 13
2-12 กังหันหรือล้อน้ำแบบหลุกต่ำ 13
2-13 ขนาดของช่องระบายน้ำ 14
2-14 มูเล่ย์ 16
2-15 หลักการสร้างสนามแม่เหล็กในช่องอากาศ 17
2-16 หลักการควบคุมวงจรเบื้องต้น 18
3-1 การวัดค่า Velocity Of Flow Rate และระดับน้ำในขณะนั้น และอ่านแบบพื้นที่
หน้าตัดของช่องระบายน้ำ 19
3-2 การออกแบบชิ้นงาน และคำนวณค่าพารามิเตอร์ 20
3-3 กังหันน้ำ 20
3-4 ทุ่นลอยน้ำรับน้ำหนักโครงสร้าง 21
3-5 ทุ่นวางเครื่องกำเนิดพลังงานไฟฟ้า 21
3-6 เครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบเหนี่ยวนำ ขนาด 22kW 50 Hz. 6 pole 21
3-7 ท่อสแตนเลส 304 ขนาด 1 ’’ ยาว 2.5 เมตร
ท่อแสตนเลส 304 ขนาด ½ ’’ ยาว 2.5 เมตร 22

สารบัญภาพ (ต่อ)
ภาพที่ หน้า
3-8 V-Pulley SPA ขนาด 560 mm. Bushing ขนาด 1 ¼’’ 22
3-9 V-pulley SPA 450 mm. และ Bushing 2012 ขนาด ¾ ’’ 22
3-10 V-pulley SPA 40 mm. ขนาด ¾’’ 23
3-11 บ่ารองเพลา 23
3-12 สลิงไส้เชือก diameter 4 mm. 23
3-13 กล่องครอบเครื่องกำเนิดไฟฟ้า 24
3-14 ทุ่นที่ใช้ทำการทดลอง 25
3-15 การทดลองนำทุ่นไปลอยน้ำ 25
3-16 มูเล่ย์ 28
3-17 หลักการทำงานของการเบรกโดยการลัดวงจร 32
4-1 การ Simulation ( ตัวแปรที่เกี่ยวข้อง ) 33
4-2 ตัวแปรที่เกี่ยวข้อง 36
1

บทที่ 1
บทนำ
1.

1.1 ความสำคัญและที่มาของโครงงาน

“พลังงานน้ำ” คือ พลังหรือกำลังที่เกิดจากการไหลของน้ำ ซึ่งมีกำลังที่รุนแรง หากไม่สามารถ


ควบคุมได้ พลังน้ำนั้นก็สามารถทำให้เกิดความเสียหายแก่ชีวิตและทรัพย์สินได้อย่างกว้างขวาง
ดังตัวอย่าง เช่น การเกิดอุทกภัยในบริเวณที่ลาดเชิงเขาหรือบริเวณที่มีความลาดชันสูง และการเกิด
สึนามิ เป็นต้น ในทางตรงกันข้าม หากสามารถควบคุมพลังน้ำได้ตามแนวทางที่ เหมาะสม พลังน้ำ
อันมหาศาลนั้น ก็สามารถนำมาใช้เป็นประโยชน์แก่มนุษยชาติได้พลังน้ำได้ถูกใช้ประโยชน์มาแล้ว
ตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 19 การสร้างกังหันน้ำสร้างขึ้นเพื่อใช้ประโยชน์ ในครัวเรือนและการชลประทาน
เพื่อหมุนเครื่องจักรในโรงงานสีข้าว โรงงานทอผ้า โรงงานเลื่อยไม้ และโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ ใน
ปัจจุบันนิยมใช้ในการผลิตไฟฟ้าซึ่งเรียกว่า ไฟฟ้าพลังน้ำ กังหันน้ำเป็นอุปกรณ์ประเภทหนึ่งที่ใช้
ประโยชน์จากน้ำที่ไหลหรือตกลงมาเพื่อสร้างพลังงานโดยใช้ชุดพายที่ติดตั้งรอบวงล้อ แรงตกของน้ำ
จะดันกังหันการหมุนของล้อนี้สามารถส่งไปยั งเครื่องจักรต่างๆผ่านเพลาที่อยู่ตรงกลางของล้อ ซึ่งล้อ
เหล่านี้โดยทั่วไปมีขนาดใหญ่และประกอบด้วยไม้หรือโลหะมีใบมีดหรือถังจำนวนมากตามขอบของล้อ
กังหันน้ำมักจะวางในแนวตั้งเหนือแหล่งน้ำ ซึ่งหมายความว่าแกนอยู่ในแนวนอนเพลานี้ถ่ายโอน
พลังงานจากน้ำที่ตกลงมาไปยังสายพานขับเคลื่อนหรือระบบเกียร์ที่จะควบคุมเครื่องจักรบางประเภท
ล้อเหล่านี้ต้องการแหล่งน้ำที่ตกลงมาหรือไหล และแหล่งเหล่านี้อาจรวมถึงลำธารหรือแม่น้ำ แม้ว่า
กังหันน้ำจะไม่ได้ถูกใช้อย่างแพร่หลายในปัจจุบันแต่เขื่อนไฟฟ้าพลังน้ำก็ทำงานบนหลักการพื้นฐาน
เดียวกันกับการใช้พลังของน้ำที่ไหลเพื่อขับเคลื่อนเครื่องจักร
ปัจจุบันได้มีการทดลองเกี่ยวกับพลังงานทดแทนค่อนข้างมากเพื่อนำพลังงานที่มีอยู่ในรูปแบบ
ต่าง ๆ ซึ่งมีอยู่อย่างไม่จำกัดในธรรมชาตินำมาใช้ ซึ่งน้ำเป็นพลังงานที่มนุษย์สามารถนำมาใช้ให้เกิด
ประโยชน์ได้ พลังงานน้ำเป็นพลังงานที่สามารถหามาใช้ได้ง่ายและประกอบกับประเทศไทยเป็น
ประเทศที่มีคลองชลประทานตามพื้นที่ต่างๆของประเทศไทย รวมทั้งตามชนบทในขณะที่พลังงานจาก
ธรรมชาติส่วนใหญ่ที่มนุษย์พยายามดึงมาใช้มักมีอยู่อย่างจำกัดและก่อให้เกิด มลพิษให้แก่สิ่งแวดล้อม
เช่น น้ำมันทำให้เกิดสารพิษ เป็นต้น แต่พลังงานน้ำเป็นพลังงานที่สะอาดไม่ก่อให้เกิดมลพิษกังหันน้ำ
เป็นอุปกรณ์หนึ่งที่สามารถเปลี่ยนพลังงานกลเป็นพลังงานไฟฟ้าได้ ทั้งยังสามารถเคลื่อนย้ายและ
นำไปใช้ ง านตามคลองชลประทานต่ า งๆ ได้ ต ามต้ อ งการโดยอาศั ย พลั ง งานกลจากน้ ำ ไปหมุ น
2

Generator เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าและนำมาชาร์จ Battery ซึ่งสามารถนำไปใช้กับระบบแสงสว่างและ


ระบบไฟฟ้าอื่นๆนำไปใช้ก่อให้เกิดประโยชน์และเป็นการประหยัดพลังงานไฟฟ้าเป็ นอย่างมาก เพราะ
สามารถกระจายการผลิตกระแสไฟฟ้าเคลื่อนที่ขนาดเล็กได้ทำให้มีการใช้ไฟฟ้าได้อย่างทั่วถึง
บริษัท พีทีที แอลเอ็นจี จำกัด (PTTLNG) ได้นำน้ำทะเลเข้ามาใช้ในกระบวนการแปรสภาพของ
ก๊าซธรรมชาติเหลว (Liquefied Natural Gas,LNG) (ที่อุณหภูมิที่ -162 องศาเซลเซียส) กลายเป็น
แก๊สโดยวิธีการแลกเปลี่ยนอุณหภูมิ ปริมาณน้ำทะเลที่ใช้ในแต่ละวันในแต่ละช่วงก็จะมีปริมาณที่
แตกต่างกันเนื่องจากปริมาณการส่งออกแก๊สไม่เท่ากัน เมื่อสิ้นสุดกระบวนการแปรสภาพของLNGน้ำ
ทะเลที่ได้สูบขึ้นมาใช้งานก็จะถูกปล่อยลงในช่องระบายน้ำทะเลกลับสู่ธรรมชาติ
จากการปรึกษากับพนักงานที่ปรึกษาของบริษัท ฯ พบว่า ว่าปริมาณน้ำที่ถูกปล่อยมีปริมาณที่
เหมาะสมจะผลิตพลังงานไฟฟ้าขึ้นมาใช้เพื่อประหยัดค่าใช้จ่ายและใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าโดยที่ไม่
สร้างมลพิษได้ จึงได้คำนวณและออกแบบกังหันน้ำผลิตพลังงานไฟฟ้าให้เข้ากับสภาพพื้นที่เพื่อเป็นอีก
หนึ่งแนวทางให้กับทางบริษัทได้ประหยัดพลังงานและสามารถผลิตพลังงานเองได้
1.2 วัตถุประสงค์ของโครงงาน
1.2.1 เพื่อสามารถที่จะเป็นแนวทางหนึ่งให้กับบริษัทเมื่อต้องจะลดค่าใช้จ่ายสำหรับพลังงาน
ที่ต้องใช้ โดยที่สามารถผลิตไฟฟ้าใช้ได้เองเป็นการนำทรัพยากรมาใช้ได้อย่างคุ้มค่า
และไม่มีผลเสียต่อระบบนิเวศ
1.2.2 เพื่อพัฒนาทักษะไหวพริบและความคิดการออกแบบให้เข้ากับสภาพหน้างาน เพื่อที่จะ
ได้ไม่ต้องใช้วัสดุอุปกรณ์ในราคาสูง
1.2.3 เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจในระบบอุปกรณ์ต่างๆที่จะนำมาใช้ในการออกแบบ
ชิ้นงาน
1.2.4 เพื่อฝึกการวางแผนการปฏิบัติโครงงานอย่างเป็ นระบบ เพื่อให้งานสำเร็จไปตาม
ระยะเวลาที่กำหนด

1.3 ขอบเขตของโครงงาน
1.3.1 ออกแบบโมเดลชิ้นงาน
1.3.2 จำลองและคำนวณค่าพลังงานที่ผลิตได้
1.3.3 Simulation ค่าพลังงานที่สามารถผลิตได้
1.3.4 ออกแบบรายการวัสดุอุปกรณ์ที่ใช้
3

1.4 ขั้นตอนการดำเนินงาน
1.4.1 ศึกษาหลักการการทำงานของระบบอุปกรณ์เช่น หลักการทำงานของกังหันน้ำแบบห
ลุกต่ำ, หลักการทำงานของเครื่องกำเนิดพลังงานไฟฟ้าแบบเหนี่ยวนำ,ระบบสายพาน
ส่งกำลัง และอัตราการทดความเร็ว และคุณสมบัติต่างๆของวัสดุอุปกรณ์ แต่ละชนิด
1.4.2 ตรวจสอบสภาพหน้างานและวัดค่า Volumetric Flow Rate ของระดับน้ำในขณะนั้น
และวัดขนาดของช่องระบายน้ำ
1.4.3 คำนวณค่า ทอร์ค ความเร็วรอบ และพลังงานกลที่เกิดขึ้นเพื่อนำมาจำลองหาค่า
พลังงานที่สามารถผลิตได้
1.4.4 นำค่าพลังงานทีจ่ ำลองมาคำนวณถึงค่าการประหยัดพลังงานเพื่อลดค่าใช้จ่าย

1.5 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.5.1 ได้ฝึกการออกแบบชิ้นงานให้เข้ากับ ลักษณะหน้างาน และใช้วัสดุอุปกรณ์ที่ เข้ากับ
ลักษณะหน้างาน
1.5.2 มี ค วามรู ้ แ ละเข้ า ใจเกี ่ ย วกั บ อุ ป กรณ์ ท ี ่ น ำมากขึ ้ น เช่ น หลั ก การทำงานของ
Induction machine, การเลื อ กใช้ ป ระเภทในการส่ ง กำลั ง , อั ต ราทดความเร็ ว
เป็นต้น
1.5.3 ฝึกความคิดที่เป็นระบบไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการวางแผนการปฏิบัติงานให้เสร็จ
ตามระยะเวลาที ่ ก ำหนด หรื อ จะเป็ น เรื ่ อ งของการออกแบบแล้ ว ต้ อ งคำนึ ง ถึ ง
ในอนาคต เช่น ความปลอดภัยของผู้ใช้ , การป้องกันอุปกรณ์ , การยืดระยะเวลา
การใช้งาน เป็นต้น
1.5.4 เป็ น แนวทางให้ บ ริ ษ ั ท ใช้ ใ นการผลิ ต พลั ง งานจากแหล่ ง น้ ำ ทิ ้ ง และใช้ ท รั พ ยากร
อย่างคุ้มค่าโดยไม่มีผลกระทบกับสิ่งแวดล้อม
4

บทที่ 2
ทฤษฎีและหลักการ

การออกแบบกั ง หั น น้ ำ ผลิ ต ไฟฟ้ า จำเป็ น ต้ อ งมี พ ื ้ น ฐานความเข้ า ใจทฤษฎี ด ้ า นต่ า งๆ


ซึ่งเกี่ยวข้องกับกังหันน้ำรวมไปถึงทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง ซึ่งรายละเอียดที่เกี่ยวข้องของทฤษฎี หลักการ
มีดังต่อไปนี้
2.

2.1 ทฤษฎีที่ 1 พลังงานน้ำ (Hydro Power)


น้ำเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นจากธรรมชาติและหมุนเวียนให้ใช้อย่างไม่มีวันหมด น้ำถือเป็นปัจจัยที่
สำคัญต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งมนุษย์ ใช้ประโยชน์จากน้ำทั้งการ
อุปโภคและบริโภค นอกจากนี้ยังใช้น้ำเป็นแหล่งพลังงานในการผลิตไฟฟ้าเพื่อทดแทนการใช้เชื้อเพลิง
จากซากดึกดำบรรพ์ (Fossil Fuel) อีกทั้งพลังงานที่ได้จากน้ำเป็นพลังงานสะอาด ไม่ก่อให้เกิดมลพิษ
จึงทำให้ทั่วโลกมีการส่งเสริมให้มีการใช้พลังงานน้ ำเพื่อผลิตไฟฟ้า อย่างไรก็ตามในปัจจุบันเมื่อ
เปรียบเทียบกับการบริโภคพลังงานทั้งโลกแล้ว การบริโภคพลังงานจากน้ำมีประมาณร้อยละ 3 เท่านั้น
สาเหตุอาจเกิดจากความแตกต่างของลักษณะทางภูมิศาสตร์ของแต่ละพื้นที่ ซึ่งเป็นข้อจำกัดในการ
สร้างเป็นแหล่งผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานน้ำ การใช้พลังงานจากน้ำหากไม่ใช่น้ำจากแหล่ง
ธรรมชาติแล้วอาจเกิดผลกระทบในเรื่องของสิ่งแวดล้อมอื่นได้ เช่น การสร้างเขื่อน ซึ่งจะต้องเสียพื้นที่
ป่าไม้ และส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศวิทยาต่อพื้นที่บริเวณนั้นเป็นอย่างมาก (พิสิทธิ์ วุฒิวานิช .
2552)

2.2 ทฤษฎีที่ 2 วัฏจักรของน้ำ (Water Cycle)


โลกมีบริเวณที่เป็นมหาสมุทรประกอบอยู่ถึง 3 ใน 4 ส่วน พลังงานจากแสงอาทิตย์เป็นสาเหตุ
ที่ทำให้เกิดการหมุนเวียนเป็นวัฏจักรของน้ำขึ้น จากปริมาณพลังงานแสงอาทิตย์ที่ส่งมายังโลกเท่ากับ
140,000×1012 วัตต์ หรือ 140,000 เทระวัตต์ พลังงานแสงอาทิตย์จำนวน 40,000 เทระวัตต์ หรือ
เป็นประมาณร้อยละ 2-3 ของพลังงานจากแสงอาทิตย์ทั้งหมด ถูกใช้ในการเกิดวัฏจักรของน้ำ
(Ristinen and Kraushaar, 1999) เมื่อน้ำบนโลกได้รับพลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์ จะทำให้
น้ำบนผิวโลกตามแหล่งต่างๆ ทั้งในห้วย หนอง คลอง บึง ทะเล และมหาสมุทร ระเหยกลายเป็นไอน้ำ
และลอยขึ้นไปในอากาศ เมื่อไอน้ำได้ลอยขึ้นสู่เบื้องบนแล้ว ก็จะได้รับความเย็นและเกิดการกลั่นตัว
กลายเป็นละอองน้ำเล็กๆ ลอยจับตัวกันเป็นกลุ่มเมฆ เมื่อจับตัวกันมากขึ้นและกระทบความเย็นจะ
5

กลั่นตัวกลายเป็นหยดน้ำตกลงสู่พื้น โลก และจะเกิดกระบวนการเช่นนี้ซ้ำแล้วซ้ำเล่าเป็นวัฏจักร


หมุนเวียนต่อเนื่องกันอยู่ตลอดเวลาเรียกว่าเป็นวัฏจักรธรรมชาติของน้ำ ซึ่งทำให้มีน้ำเกิดขึ้นบนผิวโลก
อย่างสม่ำเสมอ
น้ำฝนที่ตกลงสู่พื้นโลก บางส่วนอาจตกลงในแหล่งกักเก็บธรรมชาติที่อยู่บนที่สูง หรือตกลงมา
ในแหล่งกักเก็บที่มนุษย์สร้างขึ้นเช่น ฝาย เขื่อน เป็นต้น แหล่งกักเก็บน้ำเหล่านี้จะเป็นแหล่งสะสม
พลังงานของน้ำในรูปของพลังงานศักย์ ซึ่งถ้าเป็นแหล่งกักเก็บที่อยู่บนที่สูงน้ำจะไหลลงสู่พื้นด้านล่าง
เป็นลักษณะของน้ำตกจะทำให้เกิดการเปลี่ยนรูปของพลังงานตามธรรมชาติ โดยพลั งงานศักย์จะ
เปลี่ยนเป็นพลังงานจลน์ ซึ่งมนุษย์สามารถนำเอาพลังงานจลน์ที่เกิดขึ้นนี้ไปผลิตกระแสไฟฟ้าได้ โดย
หลักการนี้มนุษย์จึงได้สร้างแหล่งกักเก็บน้ำดังกล่าวเพื่อใช้พลังงานจากน้ำไปผลิตกระแสไฟฟ้า วัฏจักร
ของน้ำและตัวอย่างการประยุกต์ใช้พลังงานจากน้ำแสดงในภาพ

ภาพที่ 2.1 วัฏจักรของน้ำและการประยุกต์ใช้พลังงานจากน้ำ

ประเทศไทยกับการใช้พลังงานน้ำประเทศไทยเป็นประเทศที่มีปริมาณน้ำที่สามารถใช้
หมุนเวียนภายในประเทศรายปี( Annual Internal Renewable Water Resources) ค่อนข้างน้อย
เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆ ทวีปเอเชียเองก็ถือว่าเป็นทวีปที่มีปริมาณน้ำต่อหัวต่ำกว่าค่าเฉลี่ย
ของทั้งโลก โดยประเทศไทยมีปริมาณน้ำหมุนเวียนในประเทศเฉลี่ยไม่ถึง 2,000 ลูกบาศก์เมตรต่อคน
ต่อปี ซึ่งใกล้เคียงกับอินเดียและปากีสถาน แต่ถ้านับรวมปริมาณน้ำที่ได้จากแม่น้ำระหว่างประเทศแล้ว
จะมีปริมาณน้ำหมุนเวียนประมาณ 3,000 ลูกบาศก์เมตรต่อคนต่อปี ในขณะที่ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ ยใน
ประเทศไทยจัดอยู่ในเกณฑ์ที่ค่อนข้างน้อยคือประมาณ 1,630 มิลลิเมตรต่อปี ดังนั้นจากข้อมูลปริมาณ
น้ำที่กล่าวมาแล้วนั้นจะเห็นว่าศักยภาพของพลังงานน้ำของประเทศไทยถือว่าอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างต่ำ
6

แต่อย่างไรก็ตามถึงแม้ปริมาณน้ำอยู่เกณฑ์ค่อนข้างต่ำก็ไม่เป็นปัญหาในการใช้พลังงานจากน้ำ เพราะ
การใช้พลังงานจากน้ำนั้นเป็นแค่เพียงการนำเอาพลังงานจากน้ำนั้นออกมาใช้ ไม่ได้เป็นการทำให้เกิด
การสิ้นเปลืองน้ำหรือทำให้น้ำหมดไป (กชกร ธานีวัฒน์. 2547)
ในปัจจุบันประเทศไทยใช้ไฟฟ้าจากการผลิตด้วยพลังงานน้ำประมาณร้อยละ 5-6 ของ
ปริมาณการใช้ไฟฟ้าทั่วประเทศ พลังงานไฟฟ้าที่ได้จากพลังงานน้ำเป็นเพียงแหล่งผลิตไฟฟ้าเสริม
ให้กับระบบไฟฟ้าของประเทศในช่วงที่มีการใช้ไฟฟ้าสูง หรือที่เรียกว่า ปริมาณการใช้สู งสุด (Peak
Load)เพราะโรงไฟฟ้าจากพลังงานน้ำ (Hydro Power Plant) มีความสามารถในการเดินเครื่องได้
รวดเร็วและสามารถหยุดเดินเครื่องได้ทุกเวลาตามความต้องการ ซึ่งต่างกับโรงไฟฟ้าที่ใช้ซากดึกดำ
บรรพ์เป็นเชื้อเพลิงต้องใช้เวลานานในการเริ่มเดินเครื่อง สำหรับหน่วยงานหลักของประเทศไทยที่ทำ
หน้าที่ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานน้ำคือ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย โดยมีโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำที่
อยู่ในความรับผิดชอบ 20 แห่ง ทั่วประเทศ และมีกำลังการผลิตรวมทั้งสิ้นประมาณ 2.9 จิกะวัตต์
(กชกร ธานีวัฒน์. 2547)
ในส่วนของรัฐบาลไทยได้มีการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการใช้พลังงานน้ำเพื่อการผลิตไฟฟ้า
โดยได้กำหนดโครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานน้ำขนาดเล็กและขนาด เล็กมาก
(Small/MicroHydropower) ซึ่งจะมีกำลังการผลิตรวม 350 เมกะวัตต์ ซึ่งจะมีโครงการย่อย ๆ
ประกอบ เช่น โครงการติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าท้ายเขื่อนชลประทานที่มีอยู่แล้ว โครงการปรับปรุง
ประสิทธิภาพเขื่อนไฟฟ้าพลังงานน้ำ และโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำแห่งใหม่ สำหรับ
โครงการที่ได้เริ่มต้นไปแล้วเมื่อปี พ.ศ. 2547 คือโครงการติดตั้งเครื่องผลิตไฟฟ้าท้ายเขื่อนและอาคาร
บังคับน้ำของกรมชลประทาน จำนวน 33 แห่งทั่วประเทศ ซึ่งมีกำลังการผลิต รวม 154 เมกะวัตต์
(กชกรธานีวัฒน์. 2547) จากนโยบายนี้ผลพลอยได้ที่จะติดตามมา คือการส่งเสริมอุตสาหกรรมการ
ผลิตกังหันน้ำและเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดเล็ก ซึ่งเดิมก็มีอยู่บ้างแต่ยังไม่ได้รับการส่งเสริมเท่าที่ควร
นั้นคือจะเป็นการยกระดับให้เป็นอุตสาหกรรมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่เรียกว่า เอส เอ็ม
อี (SMEs) ตามนโยบายการส่งเสริมธุรกิจและอุตสาหกรรมขนาดย่อมของรัฐบาลให้มีความเจริญเติบโต
และยั่งยืนต่อไป
ข้อดีของการใช้พลังงานน้ำ
สำหรับข้อดีของการประยุกต์ใช้พลังงานน้ำสามารถสรุปได้ดังนี้
1 เนื่องจากน้ำมีวัฏจักรเป็นธรรมชาติ ดังนั้นเมื่อเราใช้พลังงานจากน้ำแล้ว น้ำที่ถูกใช้แล้วจะ
ถูกปล่อยกลับไปสู่แหล่งธรรมชาติ จะมีการระเหยกลายเป็นไอเมื่อได้รับพลังงานความร้อนจากดวง
7

อาทิตย์ และเมื่อไอน้ำรวมตัวเป็นเมฆก็จะตกลงมาเป็นน้ำฝนหมุนเวียนกลับมาทำให้เราสามารถใช้
พลังงานน้ำได้ตลอดไปไม่สิ้นสุด
2 การใช้พลังงานจากน้ำเป็นการใช้เฉพาะส่วนที่อยู่ในรูปพลังงาน ซึ่งไม่ใช่เป็นเนื้อมวลสาร
ดังนั้นเมื่อใช้พลังงานไปแล้วเนื้อมวลสารของน้ำก็ยังคงเหลืออยู่ น้ำที่ถูกปล่อยออกมายังมีปริมาณและ
คุณภาพเหมือนเดิม สามารถนำไปใช้ประโยชน์อย่างอื่นได้อีกมากมาย เช่น เพื่อการชลประทาน
การเกษตร และการอุปโภคบริโภค หรือรักษาระดับน้ำในแม่น้ำให้มีความลึกพอต่อการเดินเรือ เป็นต้น
3 การสร้างเขื่อนเป็นการเก็บกักน้ำเอาไว้ใช้ในช่วงที่ไม่มีฝนตก ทำให้ได้แหล่งน้ำขนาดใหญ่ซึ่ง
สามารถประกอบอาชีพด้านประมง หรือใช้เป็นสถานที่ท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจได้ และในบางโอกาส
ก็ยังสามารถใช้ไล่น้ำเสียในแม่น้ำลำคลอง ที่เกิดจากการปล่อยของโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ หรือช่วย
ไล่น้ำทะเลในเวลาที่นํ้าทะเลหนุนสูงขึ้นมาได้อีกด้วย
4 ระบบของพลังงานน้ำเป็นระบบที่มีประสิทธิภาพสูง สามารถดำเนินการผลิตพลังงานไฟฟ้า
ได้ในเวลาอันรวดเร็ว อีกทั้งยังสามารถควบคุมให้สามารถผลิตพลังงานออกมาได้ใกล้เคียงกับความ
ต้องการ ทำให้การผลิตและการใช้พลังงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
5 อุปกรณ์ต่างๆ ของระบบพลังงานน้ำส่วนใหญ่จะมีความทนทานสูง มีอายุการใช้งานนาน
6 ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานในการใช้พลังงานน้ำค่อนข้างต่ำ เพราะไม่ต้องสิ้นเปลืองค่า
เชื้อเพลิง และเนื่องจากไม่มีการปล่อยมลพิษจึงไม่ต้องจ่ายค่ากำจัดมลพิษ

2.3 ทฤษฎีที่ 3 กังหันน้ำ (Water Turbine)


กังหันน้ำเป็นอุปกรณ์ที่ถูกพัฒนาจากวงล้อน้ำ ซึ่งเดิมใช้สำหรับการทดน้ำและโม่แป้ง ในปี
ค.ศ. 1832 วิศวกรชาวฝรั่งเศสชื่อเบนอย์ต ฟูเนรองซ์ (Benoit Fourneyron) ประสบความสำเร็จใน
การพัฒนากังหันน้ำที่มีประสิทธิภาพสูงในการเปลี่ยนพลังงานน้ำไปเป็นพลังงานกล โดยเรียกชื่อว่า
กั ง หั น น้ ำ ของฟู เ นรองซ์ (Fourneyron’s Turbine) หลั ง จากที ่ ว งล้ อ น้ ำ ไม่ เ คยมี ก ารพั ฒ นาหรื อ
เปลี่ยนแปลงมากว่า 2,000 ปีก่อนหน้านี้ (Boyle. 1996) นับเป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญอย่างยิ่งในการ
พัฒนากังหันน้ำ ในปัจจุบันกังหันน้ำได้ถูกพัฒนาให้มีขนาดและ รูปร่างที่แตกต่างกันมากมาย และมี
ประสิทธิภาพสูง กังหันน้ำเป็นส่วนประกอบที่สำคัญที่สุดของโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำ เพราะจะทำหน้าที่
ในการเปลี่ยนพลังงานจลน์ของน้ำไปเป็นพลังงานกล โดยการทำให้ใบพัดของกังหันน้ำเกิดการหมุน
ส่ ง ผลให้ แ กนของเครื่ อ งกำเนิด ไฟฟ้ าที่ เชื่ อ มต่อ อยู ่หมุน ตาม และสามารถผลิ ตไฟฟ้ า ออกมาได้
โดยทั่วไปกังหันน้ำแบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ 2 ประเภทคือ
8

1. กังหันน้ำประเภทหัวฉีด (Impulse Turbine) กังหันน้ำประเภทหัวฉีด (Impulse Turbine) หรือ


กังหันน้ำแบบแรงกระแทก กังหันน้ำแบบนี้มักใช้กับเขื่อนหรืออ่างเก็บน้ำที่มีหัวน้ำสูง ( High Head)
เพราะต้องอาศัยแรงฉีดหรือแรงกระแทกของน้ำที่ไหลมาจากท่อส่งน้ำที่รับน้ำมาจากเขื่อน น้ำที่ไหลลง
มาตามท่อส่งน้ำจะถูกลดขนาดมายังหัวฉีดก่อนจะถูกฉีดเข้าไปที่ตัวของกังหันน้ำ ลำน้ำที่พุ่งผ่านหัวฉีด
จะมีแรงและความเร็วสูง ดังนั้นเมื่อกระแทกเข้าใบพัดหรือวงล้อของกังหันน้ำ จะทำให้กังหันน้ำเกิด
การหมุนได้ การควบคุมการหมุนของกังหันน้ำสามารถทำได้โดยการปรับขนาดของหัวฉีด ซึ่งเสมือน
เป็นการปรับปริมาณน้ำให้มากหรือน้อยได้ตามต้องการ กังหันน้ำประเภทนี้สามารถแบ่งออกเป็น 3
ชนิด ได้แก่
1.1 กังหันน้ำแบงกิ (Banki Turbine) กังหันน้ำประเภทนี้เหมาะสำหรับแหล่งน้ำที่มีหัวน้ำต่ำ
(Low Head) และต้องการกำลังการผลิตค่อนข้างน้อยดังแสดงในรูป ซึ่งปัจจุบันไม่ค่อยนิยมใช้แล้ว

ภาพที่ 2.2 แสดงตัวอย่างของกังหันน้ำแบงกิ

1.2 กั ง หั น น้ ำ เพลตั น (Pelton Turbine) กั ง หั น น้ ำ ชนิ ด นี ้ ไ ด้ ร ั บ การพั ฒ นามาตั ้ ง แต่ ปี


ค.ศ.1880 โดย เลสเตอร์ เพลตัน (Lester Pelton) รูปแบบของกังหันน้ำนี้ ถูกออกแบบโดยใช้ถ้วยรับ
น้ำซึ่งติดอยู่ในวงล้อภายในตัวกังหันเป็นแบบถ้วยคู่ ดังแสดงในรูป และสามารถใช้กับลำน้ำที่ผ่านหัวฉีด
มากกว่า 1 ช่อง โดยอาจมีจำนวนถึ ง 4 ช่องก็ได้ ซึ่งจะทำให้ได้รับกำลังเพิ่มขึ้นในขณะที่ขนาดของ
กังหันน้ำเท่าเดิม โดยทั่วไปกังหันน้ำนี้เหมาะสำหรับการผลิตไฟฟ้าจากแหล่งน้ำที่มีระดับของหัวน้ำสูง
(High Head) ซึ่งสูงกว่า 250 เมตร หรืออาจน้อยกว่าก็ได้ในกรณีที่เป็นระบบเล็ก การทำให้กังหันน้ำ
ชนิดนี้หมุนอาจใช้ความเร็วของลำน้ำที่ผ่านหัวฉีดที่ไม่ต้องมีความเร็วสูงนัก โดยประสิทธิภาพของ
กังหันน้ำชนิดนี้จะดีที่สุด เมื่อความสัมพันธ์ระหว่างความเร็วของการหมุนของวงล้อถ้วยเป็นครึ่งหนึ่ง
ของความเร็วของลำน้ำที่ฉีดเข้าไป (Boyle. 1996)
9

ภาพที่ 2.3 แสดงตัวอย่างของกังหันน้ำเพลตัน

1.3 กังหันน้ำเทอร์โก (Turgo Turbine) เป็นกังหันน้ำที่ถูกพัฒนาขึ้นจากกังหันน้ำแบบเพล


ตัน เมื่อประมาณปี ค.ศ. 1920 โดยภายในตัวกังหันน้ำนี้จะใช้ถ้วยรับน้ำแบบเดี่ยวและค่อนข้างตื้น
แทนถ้วยรับน้ำแบบคู่ในกังหันน้ำแบบเพลตัน ดังแสดงในรูปที่ 2.4 กังหันน้ำประเภทนี้เหมาะสำหรับ
แหล่งน้ำที่มีหัวน้ำที่มีระดับความสูงปานกลาง (Medium Head) เพราะสามารถใช้กับลำน้ำที่ผ่าน
หัวฉีดซึ่งมีความเร็วไม่มากนัก และมีความสามารถในการรับปริมาณน้ำได้มากกว่ากังหันน้ำเพลตัน
โดยประสิทธิภาพของกังหันน้ำจะดีที่สุดเมื่อความเร็วของการหมุนของวงล้อถ้วยเป็นครึ่งหนึ่งของ
ความเร็วของลำน้ำที่ฉีดเข้าไปเหมือนกับกรณีของกังหันน้ำแบบเพลตัน (Boyle. 1996)

ภาพที่ 2.4 แสดงตัวอย่างกังหันน้ำเทอร์โก

2. กังหันน้ำประเภทแรงปฏิกิริยา (Reaction Turbine) เป็นกังหันน้ำที่ต้องอาศัยแรงดันของน้ำ ซึ่ง


เกิดจากความแตกต่างของระดับน้ำที่อยู่ด้านหน้าและด้านท้ายของกังหันน้ำมาทำให้ใบพัดของกังหัน
เกิดการหมุน น้ำที่เข้าไปในตัวกังหันจะแทรกเข้าไปในช่องระหว่างใบพัดเต็ม ทุกช่องพร้อมกันทำให้ตัว
กังหันน้ำทั้งหมดจะจมอยู่ในน้ำ กัง หันน้ำประเภทนี้เหมาะสำหรับการใช้กับแหล่งน้ำที่มีหัวน้ำต่ำถึง
ปานกลาง โดยทั่วไปที่นิยมใช้อยู่จะแบ่งออกเป็น 3 ชนิด ได้แก่
10

2.1 กังหันน้ำฟรานซิส (Francis Turbine) กังหันน้ำชนิดนี้เป็นกังหันน้ำที่นิยมใช้กันอย่าง


แพร่หลายเพราะสามารถใช้กับแหล่งน้ำที่มีระดับความสูงของหัวน้ำตั้งแต่ 2 ถึงกว่า 300เมตร (Boyle.
2004) หลักการทำงานของกังหันน้ำแบบฟรานซิสคือ น้ำที่ถูกส่งเข้ามาจากท่อส่งน้ำจะไหลเข้าสู่ท่อก้น
หอยที่ประกอบอยู่รอบๆ ตัวกังหัน ท่อก้นหอยจะมีขนาดของพื้นที่หน้าตัดเล็กลงตามความยาวของท่อ
เพื่อต้องการทำให้น้ำมีแรงดันและความเร็วในการไหลมากขึ้น ภายในท่อก้นหอยจะมีน้ำเต็มอยู่
ตลอดเวลา น้ำที่ไหลในท่อก้นหอยจะแทรกตัวผ่านลิ้นนำน้ำเข้า (Guide Vane)เพื่อเข้าสู่ตัวกังหันน้ำ
ทำให้วงล้อของกังหันน้ำเกิดการหมุนได้ ลิ้นนำน้ำเข้าสามารถปรับแต่งมุมให้ปิดหรือเปิดได้มากน้อย
ตามความต้องการ ทำหน้าที่คล้ายหัวฉีดของกังหันน้ำแบบเพลตัน น้ำซึ่งถ่ายพลังงานจลน์ให้กับใบพัด
กังหันน้ำแล้ว จะไหลลงสู่ท่อรับน้ำที่อยู่ด้านล่างต่อไป กังหันน้ำแบบฟรานซิสมีทั้งแบบแกนตั้ง และ
แกนนอน ซึ่งการเลือกใช้จะขึ้นอยู่กับการออกแบบและขนาดของโรงไฟฟ้าแต่โดยทั่วไปจะนิยมใช้แบบ
แกนตั้งมากกว่า ลักษณะของกังหันน้ำฟรานซิสดังแสดงในรูป

ภาพที่ 2.5 แสดงตัวอย่างกังหันน้ำฟรานซิส


2.2 กังหันน้ำคาปลาน (Kaplan turbine) เป็นกังหันน้ำที่มีลักษณะเหมือนใบพัดดังแสดงใน
ภาพที่ 5 เหมาะกับแหล่งน้ำที่มีระดับความสูงของหัวน้ำต่ำตั้งแต่ 1 ถึง 70 เมตร (วัฒนาถาวร. 2543)
และมีหลักการทำงานโดยน้ำไหลผ่านใบพัดในทิศขนานกับแกนของกังหันน้ำ โดยใบพัดของกังหันน้ำ
คาปลานสามารถปรับมุมเพื่อรับแรงอัดหรือแรงฉีดของน้ำโดยอัตโนมัติซึ่งจะทำให้สามารถควบคุม
ความเร็วในการหมุนของกังหันน้ำได้

ภาพที่ 2.6 แสดงตัวอย่างกังหันน้ำคาปลาน


11

2.3 กังหันน้ำเดเรียซ (Deriaz Turbine) เป็นกังหันน้ำที่มีลักษณะทั่วไปคล้ายกับกังหันน้ำคา


ปลาน แต่ต่างกันในส่วนของรูปแบบของใบพัด ซึ่งคล้ายกับใบพัดของกังหันน้ำฟรานซิส กังหันน้ำชนิด
นี้จะใช้แรงดันน้ำที่เกิดจากการไหลของน้ำในทิศทางทแยงมุมกับแกนของกังหันน้ำและการประยุกต์ใช้
จะเหมาะกับแหล่งน้ำที่มีระดับความสูงของหัวน้ำสูงๆ เพราะต้องใช้แรงดันน้ำที่มีแรงดันสูง ลักษณะ
ของกังหันน้ำแบบเดเรียซแสดงไว้ในภาพ 2.7

ภาพที่ 2.7 แสดงตัวอย่างกังหันน้ำเดเรียซ

2.4 ทฤษฎีที่ 4 หลุก, ระหัดวิดน้ำ (Water Wheel)


เป็นอุปกรณ์ที่ถูกสร้างขึ้นซึ่งเดิมใช้สำหรับการทดน้ำและใช้ในการเกษตรอื่น ๆ เช่น โม่แป้ง
ตำข้าว ลักษณะของหลุกดังแสดงในภาพ 2.8 และ 2.9

ภาพที่ 2.8 ล้อน้ำหรือหลุก ใช้สำหรับทดน้ำจากแหล่งน้ำไปยังจุดที่สูงกว่า


12

ภาพที่ 2.9 หลุกเปลี่ยนพลังงานจากน้ำมาเป็นพลังงานกลใช้สำหรับตำข้าว

ล้อน้ำ หรือ หลุก หรือ ระหัดวิดน้ำ (Water Wheel) ยังสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท


ใหญ่ๆ ตามรูปแบบของระดับน้ำที่ไหลเข้ากังหัน คือ
1. หลุกสูง (Overshot Water Wheel) แบบนี้น้ำจะไหลเข้าทางด้านบนของตัวกังหันโดย
กังหันจะรับน้ำ แล้วหมุนไปตามน้ำหนักของน้ำที่ไหลลงตามแรงโน้มถ่วงของโลกดังรูปที่ 2.10 กังหัน
แบบนี้มีประสิทธิภาพค่อนข้างสูง แต่ต้องอาศัยพื้นที่ ของลำน้ำที่มีความต่างระดับหรือความลาดเอียง
ของลำน้ำมากๆ เพียงพอที่จะต่อรางน้ำให้ไหลเข้าทางด้านบนของตัวกังหัน

ภาพที่ 2.10 กังหันหรือล้อน้ำแบบหลุกสูง


13

2. หลุกกลาง (Breast shot Water Wheel) แบบนี้น้ำจะไหลเข้าตรงส่วนกลางของตัว


กังหันดังรูป แบบนี้อาศัยความต่างระดับของลำน้ำเช่นกันแต่ไม่มากเท่าแบบแรกและความใช้เร็ว
ในการไหลของน้ำร่วมด้วย

ภาพที่ 2.11 กังหันหรือล้อน้ำแบบหลุกกลาง

3. หลุกต่ำ (Undershot Waterwheel) แบบนี้น้ำจะไหลเข้าทางด้านล่างของตัวกังหันโดย


กังหันจะอาศัยแรงดันจากความเร็วของน้ำเพียงอย่างเดียว แบบนี้จะมีประสิทธิภาพน้อยกว่าสองแบบ
แรก แต่สร้างง่ายที่สุดและไม่จำเป็นต้องอาศัยความชันของลำน้ำมากนัก เพียงนำไปติดตั้งในทางน้ำ
ไหลก็สามารถทำงานได้โดยรบกวนระบบนิเวศน์น้อยที่สุด

ภาพที่ 2.12 กังหันหรือล้อน้ำแบบหลุกต่ำ


14

2.5 ทฤษฎีที่ 5 ทฤษฎีเกี่ยวกับการคำนวณกำลังและพลังงานของน้ำ


การที่ต้องการจะหาความเร็วของน้ำนั้น จำเป็นต้องทราบขนาดของพื้นที่หน้าตัดของช่อง
ระบายน้ำหาได้จาก 𝐴 = 𝑤 × ℎ
𝐴 : พื้นที่หน้าตัดของช่องระบายน้ำ( 𝑚2 )
𝑤 : ขนาดความกว้างของพื้นที่หน้าตัด( 𝑚 )
ℎ : ขนาดความลึกของน้ำจากระดับผิวน้ำถึงพื้นของช่องระบายน้ำ กรณี Volumetric Flow rate
สูงสุดอยู่ที่ 11.037 𝑚3 /𝑠 ความลึกอยู่ที่ 1.476 𝑚 และต่ำสุดอยู่ที่ 2.703 𝑚3 /𝑠 ความลึกอยู่ที่ 0.8 𝑚

ภาพที่ 2.13 ขนาดของช่องระบายน้ำ


เมื่อเราได้ขนาดของพื้นที่หน้าตัดของช่องระบายน้ำมาแล้วจำเป็นต้องทราบค่าของ อัตราการไหลของ
ปริมาตรด้วย จึงจะสามารถคำนวณหาค่าความเร็วของกระแสน้ำที่พัดได้จากสูตร 𝑄 = 𝐴 × 𝑉
𝑄 : อัตราการไหลของปริมาตรน้ำ ( 𝑚3 /𝑠)
𝐴 : พื้นที่หน้าตัดของช่องระบายน้ำ ( 𝑚2 )
𝑉 : ความเร็วการไหลของน้ำ (𝑚/𝑠)
การที่ใบพัดของกังหังหมุนได้จะต้องมีกำลังของน้ำในช่องระบายน้ำมากระทำต่อบริเวณใบพัด กำลัง
เหล่านั้นสามารถคำนวณได้จาก 𝑃𝑐ℎ𝑎𝑛𝑒𝑙 = 𝜌 × 𝑔 × ℎ × 𝑄
𝑃𝑐ℎ𝑎𝑛𝑒𝑙 : กำลังของน้ำที่ไหลในช่องระบายน้ำ ( 𝑊𝑎𝑡𝑡 )
𝜌 : ค่าความหนาแน่นของน้ำ ( 𝑘𝑔/𝑚3 )
ℎ : ขนาดความลึกของน้ำจากระดับผิวน้ำถึงพื้นของช่องระบายน้ำ ( 𝑚 )
𝑄 : อัตราการไหลของปริมาตรน้ำ ( 𝑚3 /𝑠)
15

เมื่อแรงจากน้ำมากระทำบริเวณใบพัดของกังหันเมื่อกังหันมีการหมุนทำให้เกิดแรงบิดขึ้น สามารถ
คำนวณได้จากสูตร 𝑇 =𝑟 ×𝐹
𝑇 : แรงบิด ( 𝑁𝑚 )
𝑟 : รัศมีของกังหัน ( 𝑚 )
𝐹 : แรงของน้ำที่มากระทำบริเวณใบพัด สามารถคำนวณได้จาก
𝐹 = 𝜌 × 𝐴 × 𝑉2
𝜌 : ค่าความหนาแน่นของน้ำ ( 𝐾𝑔/𝑚3 )
𝐴 : พื้นที่หน้าตัดของช่องระบายน้ำ ( 𝑚2 )
𝑉 : ความเร็วการไหลของน้ำ (𝑚/𝑠)

เมื่อมีการหมุนเกิดขึ้น การหมุนนี้จะเกิดเป็นวงกลมตามลักษณะโครงสร้างของกังหันและจะมีความเร็ว
𝑉 × cos (𝜃)
ที่เป็นเส้นรอบวงกลมเกิดขึ้นสามารถคำนวณได้จาก 𝑈 =
2
𝑈 : ความเร็วเส้นรอบวงของกังหันที่เกิดขึ้น (𝑚/𝑠)
𝑉 : ความเร็วการไหลของน้ำ (𝑚/𝑠)
𝜃 : มุมระยะห่างของใบพัดแต่ละใบพัด

เมื่อได้ความเร็วเส้นรอบวงของกังหันแล้วสามารถนำมาหาจำนวนความเร็วรอบเพื่อนำไปเข้า
กระบวนการทดอัตราความเร็ว สามารถคำนวณได้จาก
60 × 𝑈
𝑁=
𝜋 × 𝑂𝐷𝑡𝑢𝑟𝑏𝑖𝑛𝑒
𝑁 : จำนวนความเร็วรอบ (RPM)
𝑈 : ความเร็วเส้นรอบวงของกังหันที่เกิดขึ้น (𝑚/𝑠)
𝑂𝐷𝑡𝑢𝑟𝑏𝑖𝑛𝑒 : เส้นผ่านศูนย์กลางของกังหัน

เมื่อมีการหมุนเกิดขึ้นและมีแรงบิดเกิดขึ้นของกังหันสามารถคำนวณหากำลังทางกลของกังหันได้จาก
𝑃𝑤ℎ𝑒𝑒𝑙 = 𝑇 × 𝜔 × 𝑍
𝑃𝑤ℎ𝑒𝑒𝑙 : กำลังทางกลของกังหัน ( 𝑊 )
𝑇 : แรงบิด ( 𝑁𝑚 )
𝑍 : จำนวนใบพัด
16

𝜔 : ความเร็วเชิงมุม ( 𝑟𝑎𝑑/𝑠 )
2𝜋 × 𝑁
ความเร็วเชิงมุมสามารถหาได้จาก 𝜔=
60
𝑁 : จำนวนความเร็วรอบ (RPM)

เมื่อได้จำนวนความเร็วรอบแล้วจำเป็นต้องนำมาทดอัตราความเร็วเพื่อให้ได้ความเร็วที่เหมาะสม
สำหรับคุณลักษณะของชุดกำเนิดพลังงานไฟฟ้าแบบเหนี่ยวนำ ในชุดส่งถ่ายกำลังของกังหันน้ำบาง
แบบได้ใช้ระบบทดรอบสองครั้ง หรือมากกว่า ซึ่งในการหาอัตราการทดรอบ ก็ทำนองเดียวกับระบบ
ทดรอบครั้งเดียว ดังรูปภาพที่ 14

ภาพที่ 2.14 มูเล่ย์

จากการทดแบบดังรูป สามารถคำนวณได้จากสูตร
𝑁4 𝐷1 × 𝐷3
=
𝑁1 𝐷2 × 𝐷4
𝑁1 : ความเร็วของมูเล่ย์ตัวที่ 1

𝑁4 : ความเร็วของมูเล่ย์ตัวที่ 4

𝐷1 : ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของมูเล่ย์ตัวที่ 1

𝐷2 : ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของมูเล่ย์ตัวที่ 2

𝐷3 : ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของมูเล่ย์ตัวที่ 3

𝐷4 : ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของมูเล่ย์ตัวที่ 4
17

ในสภาวะแรกเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเหนี่ยวนำจะทำงานในโหมดมอเตอร์ไฟฟ้าเหนี่ยวนำ แล้วทำการหมุน
โรเตอร์ด้วยตัวต้นกำลัง (Prime mover) ให้มีความเร็วรอบสูงกว่าความเร็วซิงโครนัส จะทำให้ แรงบิด
เหนี่ยวนำ กลับทิศทางและทำให้มอเตอร์ไฟฟ้าเหนี่ยวนำเปลี่ยนเป็นเครื่องกำเนิดไฟฟ้า เหนี่ยวนำเมื่อ
หมุนโรเตอร์ให้มีความเร็วรอบเกินค่าความเร็วซิงโครนัส (Ns) ค่าสลิปจะเป็นลบและเมื่อ เครื่องกำเนิด
ไฟฟ้ า เหนี ่ ย วนำถู ก หมุ น ด้ ว ยแรงบิ ด มากขึ ้ น จะทำให้ ไ ด้ ก ำลั ง งานมากขึ ้ น เนื ่ อ งจาก Induction
Machine ไม่มีขดลวดสนามแยกต่างหาก (โรเตอร์เป็นแบบ Squirrel-cage) ดังนั้นเมื่อ Induction
Machine ทำงานเป็ น Induction Generator จึ ง ไม่ ส ามารถจ่ า ยกำลั ง งานรี แ อคที ฟ (var) แต่
Induction Generator จะเป็นตัวรับกำลังงานรีแอคทีฟ (var) จากภายนอก เพื่อที่จะนำไปสร้าง
สนามแม่เหล็กในช่องอากาศ คุณสมบัติของ Induction Machines ในโหมดการทำงานต่างๆ แสดง
ดังภาพที่ 2.15

ภาพที่ 2.15 หลักการสร้างสนามแม่เหล็กในช่องอากาศ


อินเวอร์เตอร์แบบที่นิยมคือ เครื่องแปลงไฟเครื่องแปลงไฟแบบเชื่อมต่อโครงข่าย Grid Tie
Inverter หรือ อาจจะเรียกว่า "ออนกริด อินเวอร์เตอร์" On Grid Inverter มีหน้าที่ในการแปลง
พลังงานไฟฟ้าจาก induction generator มาจ่ายไฟเข้าระบบไฟฟ้า เป็นไฟฟ้ากระแสสลับ 230 Vac
50 Hz ทั่วๆไป หลักการทำงานของกริดไทร์อินเวอร์เตอร์คือ เมื่อมีไฟฟ้าจาก induction generator
มากพอที่จะทำให้กริดไทร์อินเวอร์เตอร์ทำงาน กริดไทร์อินเวอร์เตอร์ก็จะ แปลงไฟจาก generator
จากเดิมที่เป็นไฟกระแสตรง แปลงเป็นไฟกระแสสลับ 220 โวลต์ แล้วก็จะทำการเชื่อมไฟเข้ากับไฟ
ของการไฟฟ้า (Synchronization) จ่ายเข้าไปในระบบภายในบ้าน ถ้าเมื่อไรที่มีกังหันมีความเร็วมาก
พอผลิตไฟก็จะใช้ไฟฟ้าจากกังหัน ลดการใช้ไฟจากการไฟฟ้า แต่ถ้าเมื่อไรที่กังหันไม่มีความเร็วมากพอ
ในการผลิตไฟ กริดไทร์อินเวอร์เตอร์ก็จะใช้ไฟจากการไฟฟ้ามาจ่ายแทนอัตโนมัติ ทำให้ผู้ใช้งานมีความ
สะดวกสบาย และยังช่วยลดค่าไฟที่จะต้องจ่ายให้กับการไฟฟ้า แถมยังไม่ต้องกังวลว่าไฟฟ้าที่ผลิตได้
จากกังหันจะเพียงพอกับการใช้งานหรือไม่
18

วิธีการป้องกัน induction machine เกิดเหตุ Overspeed และ Overheat


ใช้วิธีการเบรกโดยการลัดวงจร (Short-Circuit Braking) การเบรกด้วยวิธีนี้ทำได้โดยการ
ลัดวงจรที่ขั้วสเตเตอร์เข้าด้วยกันจะเกิดการเบรกของโรเตอร์ขึ้น วิธีนี้สามารถทำได้ง่ายแต่ไม่สามารถ
คาดคะเนเวลาที่มอเตอร์จะหยุดนิ่งเนื่องจากความเฉื่อยของการหมุนทำให้ไม่สามารถหยุดหมุนได้ทันที
ข้อดีของการเบรกทางไฟฟ้า เมื่อเทียบกับทางกล เช่น ไม่ต้องมีการบำรุงรักษาเปลี่ยนผ้าเบรก หรือทำ
ให้ ม ี ผ งฝุ ่ น จากระบบเบรก โดยการควบคุ ม จะต้ อ งมี ส ั ญ ญาณความเร็ ว จาก Tachometer ที ่ วั ด
ความเร็วและส่งสัญญาณไปยัง Controller ให้ควบคุมการทำงานของ Contactor ลัดวงจรของเครื่อง
กำเนิดพลังงานไฟฟ้าเพื่อหน่วงและลดความเร็วเพื่อป้องกันการเกิด Overspeed และ Overheat
ของอุปกรณ์

หลักการควบคุมเบื้องต้น
เมื่อความเร็วที่ผ่านการทดความเร็วมีค่าที่สู งระบบควบคุมจะต้องมีสัญญาณความเร็วจาก
Tachometer ที่วัดความเร็วและส่งสัญญาณไปยัง Controller ให้ควบคุมการทำงานของ Contactor
เพื ่ อ ลั ด วงจรของเครื ่ อ งกำเนิ ด พลั ง งานไฟฟ้ า เพื ่ อ หน่ ว งและลดความเร็ ว เพื ่ อ ป้ อ งกั น การเกิ ด
Overspeed และ Overheat ของอุปกรณ์

ภาพที่ 2.16 หลักการควบคุมวงจรเบื้องต้น


19

บทที่ 3
วิธีการดำเนินการ
3.

3.1 ขั้นที่ 1 ศึกษาหลักการการทำงานของระบบอุปกรณ์เช่น หลักการทำงานของ Undershot


waterwheel, หลักการทำงานของ Induction motor, ระบบส่งถ่ายกำลังด้วย Pulley และ Belt ,
อัตราการทดความเร็ว และคุณสมบัติต่างๆของวัสดุอุปกรณ์แต่ละชนิด

3.2 ขั้นที่ 2 ตรวจสอบลักษณะหน้างานว่าควรออกแบบลักษณะใด และวัดค่า Velocity Of Flow


Rate และระดับน้ำในขณะนั้น และอ่านระยะพื้นที่ของส่วนต่างๆจากแบบบริเวณของช่องระบายน้ำที่
จะนำมาออกแบบ

ระดับน้ำในวันที่มีปริมาณการส่งออก LNG มาก

ระดับน้ำในวันที่มีปริมาณการส่งออกLNGน้อย

ภาพที่ 3.1 การวัดค่า Velocity Of Flow Rate และระดับน้ำในขณะนั้น


และอ่านแบบพื้นที่หน้าตัดของช่องระบายน้ำ
20

3.3 ขั้นที่ 3 ออกแบบชิ้นงาน จากขนาดอุปกรณ์ที่มีขายอยู่ในทั่วไปเพื่อที่จะสามารถสร้างชิ้นงานนี้


ได้จริง และคำนวณค่าพารามิเตอร์ที่เกี่ยวกับการสร้างชิ้นงานนี้

ภาพที่ 3.2 การออกแบบชิ้นงาน และคำนวณค่าพารามิเตอร์

ภาพที่ 3.3 กังหันน้ำ


21

ภาพที่ 3.4 ทุน่ ลอยน้ำรับน้ำหนักโครงสร้าง

ภาพที่ 3.5 ทุน่ วางเครื่องกำเนิดพลังงานไฟฟ้า

ภาพที่ 3.6 เครื่องกำเนิดไฟฟ้าแบบเหนี่ยวนำ ขนาด 22kW 50 Hz. 6 pole


22

ภาพที่ 3.7 ท่อสแตนเลส 304 ขนาด 1’’ ยาว 2.5 เมตร


ท่อแสตนเลส 304 ขนาด ½’’ยาว 2.5 เมตร

ภาพที่ 3.8 V-Pulley SPA


ขนาด 560 mm. Bushing ขนาด 1 ¼’’

ภาพที่ 3.9 V-pulley SPA 450 mm.


และ Bushing 2012 ขนาด ¾’’
23

ภาพที่ 3.10 V-pulley SPA 40 mm. ขนาด ¾

ภาพที่ 3.11 บ่ารองเพลา

ภาพที่ 3.12 สลิงไส้เชือก diameter 4 mm. 12 เส้น


24

ลักษณะดังนี้

อาจจะต้องวัดจากขนาด
มอเตอร์จริงเพื่อนำไปสั่ง
ประกอบขึน้

ภาพที่ 3.13 กล่องครอบเครือ่ งกำเนิดไฟฟ้า


3.4 ขั้นที่ 4 คำนวณหาความเร็วการไหลของน้ำได้ จากสูตร 𝑄 = 𝐴 × 𝑉 จากขนาดความ
กว้าง ความยาว ของกำแพงและขนาดความลึกของน้ำ
เนื่องจากอัตราการไหลปริมาณของน้ำขึ้นอยู่กับจำนวนปั๊มน้ำทะเลที่ทางโรงงานสูบขึ้นมาใช้
ในกระบวนการผลิตในการคำนวณนี้จะจำลองอัตราที่ปั๊มสูบน้ำที่ทำงาน 1 ตัว มีอัตราการไหลที่ 9732
𝑚3 /ℎ แต่ต้องนำมาแปลงเป็น 𝑚3 /𝑠 และพื้นความลึกของน้ำที่ไปวัดมาจริงๆ ณ ตอนนั้นอยู่ที่
ระดับ 0.8 𝑚 ความกว้างของช่องระบายน้ำอ่านจากแบบการก่อสร้างอยู่ที่ 4 𝑚 จากตัวแปรที่ทราบ
ตอนนี้สามารถหาความเร็วการไหลของน้ำได้

จากสูตร ; 𝑄 =𝐴 ×𝑉
(9732 / 3600) = (0.8 x 4) x V

V =0.845 𝑚/𝑠
นำค่าความเร็วที่คำนวณมาทำการทดลองวัดค่าความเร็วการไหลของน้ำ นำทุ่นขนาด 7 g. ไป
ลอยน้ำและจับเวลาเมื่อทุ่นลอยถึงระยะ 5 เมตร
S (ระยะทางทำการทดลอง) = 5m.
V (ความเร็วของน้ำจากการคำนวณ) = 0.845 m/s
T (เวลาที่วัดได้เมื่อทุ่นลอยถึงระยะ 5 เมตร)
0.845 = 5/t
เพราะฉะนั้นเวลาที่ต้องจับได้อยู่ที่ ; t = 5.9 s.
25

ความหนาแน่น = มวล / ปริมาตร

ความหนาแน่น = 7 𝑔 / ((22/7)(2.5)2 (10)) 𝑐𝑚

ความหนาแน่น = 0.0356 𝑔/𝑐𝑚3

ภาพที่ 3.14 ทุ่นที่ใช้ทำการทดลอง

3.5 ขั้นที่ 5 นำทุ่นไปลอยน้ำและบันทึกค่าเวลาเป็นจำนวน 10 ครั้ง

ภาพที่ 3.15 การทดลองนำทุน่ ไปลอยน้ำ


26

เมื่อนำค่าเวลามาบันทึกจะได้ว่า
ตารางที่ 3.1 แสดงค่าเวลาที่ทุ่นลอยน้ำในระยะทาง 5 เมตร

หากำลังของน้ำที่ในช่องระบาย กำลังของน้ำในที่นี้จะเป็นกำลังที่มากระทำบริเวณใบพัด
กังหันสามารถคำนวณได้จาก 𝑃𝑐ℎ𝑎𝑛𝑒𝑙 = 𝜌 × 𝑔 × ℎ × 𝑄

𝑔 และ 𝜌 เป็นค่าคงตัวซึ่ง 𝜌 เป็นค่าความหนาแน่นของน้ำทะเลมีค่าเป็น 1025 𝑘𝑔/𝑚3

และค่า 𝑔 เป็นค่าความโนมถ่วงของโลกคือ 9.8 𝑚/𝑠 2 ค่า ℎ ความลึกของระดับน้ำ และค่า 𝑄


คือค่าอัตราการไหลของปั๊ม 1 ตัว = (9732 / 3600) 𝑚3 /𝑠

แทนค่าในสูตร 𝑃𝑐ℎ𝑎𝑛𝑒𝑙 = 1025 x 9.8 x 0.8 x 2.703

𝑃𝑐ℎ𝑎𝑛𝑒𝑙 = 16658.628 Watt

เมื่อกังหันหมุนจากการที่แรงของน้ำมากระทบบริเวณใบพัดจะมีแรงบิดของกังหันเกิ ดขึ้น ซึ่ง


คำนวณได้จาก 𝑇 = 𝐹 × 𝑟 โดยที่ 𝑟 คือค่ารัศมีของกังหันมีค่าเป็น 0.31 𝑚 และ 𝐹 คือแรง
ของน้ำ สามารถคำนวณได้จาก 𝐹 = 𝜌 × 𝐴 × 𝑉 2 ค่า 𝜌 คือค่าความหนาแน่นของน้ำทะเล
มีค่า เป็น 1025 𝑘𝑔/𝑚3 ,ค่า 𝐴 คือพื้นที่หน้าตัดของช่องระบายน้ำมีค่าเป็น (0.8 x 4) ดังการ
27

คำนวณข้างต้น 𝑉 คือ ค่าความเร็วการไหลของน้ำได้จากการคำนวณของสมการที่ ผ่านมามีค่าเป็น


0.845 𝑚/𝑠 นำค่าตัวแปรข้างต้นมาแทนในสมการ จะได้ว่า

𝐹 = 1025 × 3.2 × 0.8452


𝐹 = 2342.002 𝑁

และนำค่า 𝐹 ที่ได้มาแทนในสมการหาแรงบิดจะได้ว่า

𝑇 = 2342.002 × 0.31
𝑇 = 726.021 𝑁
เมื่อกังหันหมุนจะเกิดความเร็วเส้นรอบวงกลมขึ้น สามารถคำนวณได้จาก
𝑉 × cos (𝜃)
𝑈=
2

𝑉 คือ ค่าความเร็วการไหลของน้ำซึ่งได้ค่านี้มาแล้วจากการคำนวณข้างต้นมีค่า
เท่ากับ 0.845 𝑚/𝑠

𝜃 คือ ค่ามุมระหว่างใบพัดถึงกันของแต่ละใบพัดมีค่าเป็น 60°


สามารถนำมาแทนค่าหาความเร็วเส้นรอบวงได้ดังนี้
0.845 × cos (60)
𝑈=
2

𝑈 = 0.21125 𝑚/𝑠
สามารถนำค่าของความเร็วเส้นรอบวงมาคำนวณหาจำนวนความเร็วรอบได้จากสูตร
60 ×𝑈
𝑁= ซึ่งค่า 𝑈 คือค่าความเร็วเส้นรอบวงซึ่งคำนวณมาแล้วจากสมการข้างต้น
𝜋 × 𝑂𝐷𝑡𝑢𝑟𝑏𝑖𝑛𝑒
มีค่าเป็น 0.21125 𝑚/𝑠 ส่วนค่า 𝑂𝐷𝑡𝑢𝑟𝑏𝑖𝑛𝑒 คือค่าเส้นผ่านศูนย์กลางของกังหัน มีค่าเป็น 0.62
𝑚 แทนค่าในสมการได้ดังนี้
60 ×0.21125
𝑁=
𝜋 ×0.62

𝑁 = 6.505 RPM
28

เมื่อมีการหมุนเกิดขึ้นและมีแรงบิดเกิดขึ้นของกังหันสามารถคำนวณหากำลังทางกลของกังหันได้จาก

𝑃𝑤ℎ𝑒𝑒𝑙 = 𝑇 × 𝜔 × 𝑍
𝑇 ค่าแรงบิดของระบบซึ่งได้ค่านี้จากการคำนวณข้างต้นแล้วมีค่า 726.021 Nm
2𝜋 × 𝑁
𝜔 คือค่าความเร็วเชิงมุม ซึ่งคำนวณได้ จาก 𝜔 = ค่า 𝑁 คือจำนวนรอบที่
60
เกิดขึ้นซึ่งคำนวณจากสมการข้างต้นไว้แล้ว มีค่าที่ 6.505 RPM เมื่อนำมาค่านี้แทนในสมการ
ความเร็วเชิงมุมจะมีค่า 0.681 rad/s

𝑍 คือค่าจำนวนใบพัดของกังหัน มีค่าเป็น 6 ใบพัด นำค่าเหล่านี้มาแทนในสมการได้จะได้ว่า

𝑃𝑤ℎ𝑒𝑒𝑙 = 726.021 × 0.681 × 6


𝑃𝑤ℎ𝑒𝑒𝑙 = 2966.521 Watt

เมื่อได้จำนวนความเร็วรอบแล้วจำเป็นต้องนำมาทดอัตราความเร็วเพื่อให้ได้ความเร็ว ที่เหมาะสม
สำหรับคุณลักษณะของเครื่องกำเนิดพลังงานไฟฟ้าแบบเหนี่ยวนำ ในชุดส่งถ่ายกำลังของกังหันน้ำบาง
แบบได้ใช้ระบบทดรอบสองครั้ง หรือมากกว่า ดังรูป

ภาพที่ 3.16 มูเล่ย์


กำหนดให้ค่าเส้นผ่านศูนย์กลางของมูเล่ย์แต่ละตัวมีค่าเป็น

𝐷1 : ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของมูเล่ย์ตัวที่ 560 𝑚𝑚

𝐷2 : ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของมูเล่ย์ตัวที่ 40 𝑚𝑚

𝐷3 : ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของมูเล่ย์ตัวที่ 450 𝑚𝑚

𝐷4 : ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของมูเล่ย์ตัวที่ 40 𝑚𝑚

และค่าความเร็วรอบของมูเล่ย์ตัวที่ 1 มีค่า 𝑁1 = 6.505


29

จากตัวแปรข้างต้นสามารถหาความเร็วรอบของมูเล่ย์ตามของตัวสุดท้ายได้จากสูตร
𝑁4 𝐷1 × 𝐷3
=
𝑁1 𝐷2 × 𝐷4
𝑁4 𝐷1 ×𝐷3
แทนค่าในสมการข้างต้น =
𝑁1 𝐷2 × 𝐷4
𝑁4 560×450
จะได้ว่า =
6.505 40×40

∴ 𝑁4 = 1024 คือค่าความเร็วมูเล่ยต์ ามของตัวสุดท้าย


ทั้งนี้ การที่จะใช้งานปั๊มน้ำสูบน้ำทะเลเข้ามาใช้ในกระบวนการผลิตแต่ละครั้งแต่ละวันอาจจะ
ไม่เหมือนกันทุกวันทุกเวลา จึงต้องคิดคำนวณเผื่อกรณีที่มีการใช้งานปั๊มถึง 4 ตัว จะได้ค่าพารามิเตอร์
เท่าไร และนำค่าที่ได้ทั้งค่าต่ำสุดและค่าสูงสุดมาเฉลี่ยกั นเพื่อเลือกขนาดที่เหมาะสมของ Induction
Machine ที่จะใช้ผลิตพลังงานไฟฟ้า โดยทำการคำนวณด้วยวิธีการเดิมแต่เปลี่ยนค่าพารามิเตอร์ก็คือ
𝑄 ที่มีค่าเดิมเป็น 9732 เป็น 39732 𝑚3 /ℎ เพราะได้ทำการสอบถามกับผู้ที่เกี่ยวข้องด้านการ
ผลิตจึงได้ค่า Volumetric of Flow Rate สำหรับกรณีนี้ขึ้นมา และค่า ℎ ก็คือค่าของความลึกน้ำค่า
เดิมเป็น 0.8 𝑚 แต่เมื่อมีการใช้งานปั๊มน้ำสูบน้ำเข้ามามากขึ้นระดับน้ำก็จะสูงขึ้นเป็น 1.476 𝑚 เมื่อ
มีการใช้งานค่าที่เปลี่ยนแปลงไปแต่ใช้วิธีการคำนวณเดิมผลค่าตัวแปรที่ออกมาได้ ก็คือ

𝐴 = 5.904 𝑚2

𝑉 = 1.869 𝑚/𝑠

𝑃𝑐ℎ𝑎𝑛𝑒𝑙 = 163639.1975 𝑊𝑎𝑡𝑡


𝑇 = 6553.156 𝑁𝑚

𝑁 = 14.385 RPM

𝑃𝑤ℎ𝑒𝑒𝑙 = 59214.318 Watt

𝑁4 = 2283 𝑅𝑃𝑀 คือค่าความเร็วมูเล่ย์ตามของตัวสุดท้าย


เมื่อใช้งานปั๊มตัวเดียวแต่ว่าขนาดของ induction machine มีขนาดใหญ่จึงไม่มีแรงบิดมาก
พอจะขับให้โรเตอร์หมุนก็จะไม่เกิดประโยชน์แต่อย่างใด และถ้าวันหนึ่งใช้งานปั๊มสูบน้ำ 4 ตัวแต่เลือก
30

ขนาด induction machine เล็กเกินไปอาจจะเกิดเหตุการณ์ Overcurrent ขึ้นเมื่อเกิดเหตุนี้จะเป็น


อันตรายต่อผู้ใช้งานและตัวอุปกรณ์เอง จึงต้องนำค่ากรณีใช้งานปั๊ม1ตัวที่เป็นค่าน้อยสุดและใช้งานปั๊ม
4ตัวที่เป็นค่ามากสุดมาทำการหาค่าเฉลี่ยกลางเพื่อที่เลือกขนาด induction machine ที่เหมาะสม
เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการผลิตพลังงานไฟฟ้าและความปลอดภัย
เมื่อนำค่าสูงสุดและต่ำสุดของจำนวนรอบการหมุนมาหาค่าเฉลี่ยกลาง

จำนวนรอบการหมุนเฉลี่ยมีค่า = 10.4395 𝑅𝑃𝑀หรือ 1.093 rad/s สามารถนำค่านี้ไปแทนเข้า


60 ×𝑈
สูตรคำนวณย้อนกลับได้จากสูตร 𝑁 =
𝜋 × 𝑂𝐷𝑡𝑢𝑟𝑏𝑖𝑛𝑒

ซึ่งค่า 𝑈 คือค่าความเร็วเส้นรอบวง และ 𝑂𝐷𝑡𝑢𝑟𝑏𝑖𝑛𝑒 คือ เส้นผ่านศูนย์กลางของกังหัน


60 ×𝑈
เมื่อแทนค่าจะได้ว่า 10.44 =
𝜋 ×0.62

เพราะฉะนั้น ค่าความเร็วเส้นรอบวง (𝑈) = 0.34 𝑚/𝑠


เมื่อแทนค่าในสมการจะได้ความเร็วของเส้นรอบวง และสามารถนำค่าความเร็วเส้นรอบวง
𝑉 × cos (𝜃)
คำนวณย้อนกลับ คำนวณค่า ความเร็วการไหลของน้ำ (𝑉 ) ได้จากสมการ 𝑈 =
2
โดยที่ 𝜃 = 60° และ 𝑈 = 0.34 𝑚/𝑠
𝑉 × cos (60°)
เมื่อแทนค่าในสมการจะได้ว่า 0.34 =
2

เพราะฉะนั้น ความเร็วการไหลของน้ำ (𝑉 ) = 1.36 𝑚/𝑠


ค่า Volumetric Of Flow Rate ที่เป็นค่าเฉลี่ยระหว่างการที่ใช้ปั๊มตัวเดียว (ต่ำสุด ) และ
39732+9732
4 ตั ว (สู ง สุ ด ) มี ค ่ า อยู ่ ท ี ่ = 24732 𝑚3 /ℎ แปลงเป็ น 𝑚3 /𝑠 ได้ โ ดย
2
24732
= 6.87 𝑚3 /𝑠 สามารถนำค่า Volumetric Of Flow Rate ที่เป็นค่าเฉลี่ย มาคำนวณ
3600
หาพื้นที่หน้าตัดของช่องระบายน้ำได้ จากสมการ 𝑄 = 𝐴 × 𝑉

𝑄 มีค่า = 6.87 𝑚3 /𝑠 และ ความเร็วการไหลของน้ำ (𝑉 )มีค่า = 1.36 𝑚/𝑠


เมื่อแทนสมการจะได้ว่า 6.87 = 𝐴 × 1.36

เพราะฉะนั้น พื้นที่หน้าตัดของช่องระบายน้ำ (𝐴) มีค่า = 5.05 𝑚2


31

สามารถคำนวณค่า แรงบิด (𝑇) ได้จากค่าพารามิเตอร์ที่คำนวณมา แทนเข้าในสมการที่ว่า


𝑇 =𝐹 ×𝑟
𝑟 คือ รัศมีของกังหัน และแรงของน้ำที่มากระทำบริเวณใบพัด(𝐹)

สามารถคำนวณได้จากสมการ 𝐹 = 𝜌 × 𝐴 × 𝑉 2

โดยที่ 𝐴 มีค่า = 5.05 𝑚2 และ 𝑉 มีค่า = 1.36 𝑚/𝑠 ค่าคงตัว 𝜌 มีค่า = 1025 𝑘𝑔/𝑚3
แทนสมการจะได้ว่า 𝐹 = 1025 × 5.05 × 1.362

เพราะฉะนั้นแรงของน้ำที่มากระทำบริเวณใบพัด (𝐹) = 9573.992 𝑁 นำมาแทนในสมการ


𝑇 = 9573.992 × 0.31
เพราะฉะนั้นแรงบิด(𝑇)มีค่า = 2967.937 𝑁𝑚

จากสมการ กำลังทางกลของกังหัน (𝑃𝑤ℎ𝑒𝑒𝑙 ) = 𝑇 × 𝜔

แรงบิด(𝑇)มีค่า = 2967.937 𝑁𝑚 และความเร็วเชิงมุม (𝜔) มีค่า =1.093 𝑟𝑎𝑑/𝑠

เมื่อแทนสมการจะได้ว่า (𝑃𝑤ℎ𝑒𝑒𝑙 ) = 2967.937 × 1.093

เพราะฉะนั้น กำลังทางกลของกังหัน (𝑃𝑤ℎ𝑒𝑒𝑙 )มีค่า = 19463.734 𝑊𝑎𝑡𝑡


ควรเลือกใช้ Induction Machine ขนาด 22kW
วิธีการป้องกัน induction machine เกิดเหตุ Overspeed และ Overheat
ใช้วิธีการเบรกโดยการลัดวงจร (Short-Circuit Braking) การเบรกด้วยวิธีนี้ทำได้โดยการ
ลัดวงจรที่ขั้วสเตเตอร์เข้าด้วยกันจะเกิดการเบรกของโรเตอร์ขึ้น วิธีนี้สามารถทำได้ง่ายแต่ไม่สามารถ
คาดคะเนเวลาที่มอเตอร์จะหยุดนิ่ง ข้อดีของการเบรกทางไฟฟ้า เมื่อเทียบกับทางกล เช่น ไม่ต้องมี
การบำรุงรักษาเปลี่ยนผ้าเบรก หรือทำให้มีผงฝุ่ นจากระบบเบรก โดยการควบคุมจะต้องมีสัญญาณ
ความเร็วจาก Tachometer ที่วัดความเร็วและส่งสัญญาณไปยัง Controller ให้ควบคุมการทำงาน
ของ Contactor ลัดวงจรของเครื่องกำเนิดพลังงานไฟฟ้าเพื่อหน่วงและลดความเร็วเพื่อป้องกันการ
เกิด Overspeed และ Overheat ของอุปกรณ์
32

ภาพที่ 3.17 หลักการทำงานของการเบรกโดยการลัดวงจร

3.6 ขั้นที่ 6 นำค่าจากการคำนวณไป Simulation โดยใช้โปรแกรม MATLAB Simulink เพื่อหาค่า


พลังงานที่สามารถผลิตได้ และนำค่าความเร็วรอบ , Volumetric of Flow rate ในแต่ละช่วงเวลามา
สร้างความสัมพันธ์โดยสร้างเป็นกราฟ
33

บทที่ 4
ผลการทดลอง

4.1 ผลการทดลองที่ 1
นำตัวแปรที่เกี่ยวข้องมาทำการทดลองหาค่าพลังงานที่สามารถผลิตได้โดยใช้โปรแกรม MATLAB
Simulink ทั้งกรณีที่น้ำมี Volumetric flowrate 11.037 𝑚3 /𝑠 และ 2.073 𝑚3 /𝑠

ภาพที่ 4.1 การ Simulation ( ตัวแปรที่เกี่ยวข้อง )

ความหนาแน่นของน้ำทะเล ( กรณีระดับน้ำต่ำ )

พื้นที่หน้าตัดของช่องระบายน้ำ
34

พื้นที่หน้าตัดของช่องระบายน้ำ

อัตราการไหลของปริมาณน้ำ ( กรณีระดับน้ำต่ำ )

กังหัน ( กรณีระดับน้ำต่ำ )
35

รอบการหมุนของกังหันRPM ( กรณีระดับน้ำต่ำ )

แปลงเป็น RPM
จะได้ที่ 6.5 RPM

อัตราการทดความเร็ว

ความเร็วเมื่อผ่านการทดความเร็ว

แปลงเป็น RPM
จะได้ที่ 1032 RPM
36

ภาพที่ 4.2 ตัวแปรทีเ่ กี่ยวข้อง

Induction machine ขนาด 22kW 50Hz 6 Pole


37

พลังงานที่สามารถผลิตได้ PER UNIT = พลังงานที่สามารถผลิตได้ kW / ค่าขนาดของ


เครื่องกำเนิดไฟฟ้า SI UNIT

พลังงานและความเร็วกังหันแปรผันตรงกันจึงทาให้พลังงานที่
ผลิตได้เริ่มต้นจาก 0 และเพิ่มขึน้ จนถึงค่าความเร็วคงตัว

4.2 ผลการทดลองที่ 2

อัตราการไหลของปริมาณน้ำ ( กรณีระดับน้ำสูง )
38

กังหัน(กรณีระดับน้ำสูง)

รอบการหมุนของกังหันRPM(กรณีระดับน้ำสูง)
39

ความเร็วเมื่อผ่านการทดความเร็ว

จำลองค่าความเร็วที่ 1200 RPM เนื่องจากคำนึงถึงความปลอดภัยของอุปกรณ์ จึงจำลอง


ที่ระดับความเร็วนี้

พลังงานที่สามารถผลิตได้ PER UNIT = พลังงานที่สามารถ


ผลิตได้ SI UNIT / ค่าขนาดของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า SI UNIT
40

บทที่ 5
สรุปผลและข้อเสนอแนะ

4.

5.1 สรุปผลการดำเนินงาน
จากการออกแบบชุดจำลองโครงการกังหันน้ำผลิตพลังงานไฟฟ้าบริเวณช่องระบายน้ำ
ที่บริษัท PTT LNG(LMPT1) มีปริมาณการไหลอยู่ที่ 2.703 – 11.037 𝑚3 /𝑠 ซึ่งถ้าเลือกใช้เครื่อง
กำเนิดไฟฟ้าขนาดที่ 22kW สามารถผลิตไฟที่ปริมาณการไหลต่ำสุดอยู่ที่ 17.6 kW และปริมาณการ
ไหลมากที่สุดอยู่ที่ 21.34 kW เมื่อนำค่าพลังงานที่สามารถผลิตได้มาเฉลี่ย แล้ว จะมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่
19.47 kW เมื่อนำมาคำนวณการประหยัดค่าใช้จ่ายจะได้ว่า
1วั น สามารถผลิ ต พลั ง งานได้ 19.47𝑘𝑊 × 13 = 253.11 𝑘𝑊ℎค่ า ไฟ
1kAWh = 4.1 บาท ต้องการทราบว่าระยะเวลาคืนทุนจากการสร้างที่มีมูลค่า 203,300 บาทได้จาก
203300
= 191 วัน หรือประมาณ 6 เดือน 11 วัน สามารถคืนทุนได้ ซึ่งเป็นการผลิตพลังงาน
253.11×4.2
ไฟฟ้าที่ไม่ก่อเกิดมลพิษและเป็นการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า และยังช่วยลดค่าใช้จ่ายสำหรับการใช้
พลังงานได้ด้วย

5.2 ข้อเสนอแนะ
5.2.1 ควรศึกษาและวิจัยในวิธีอื่นๆ เพื่อที่อาจจะเพิ่มประสิทธิภาพของการออกแบบนี้ให้ดี
ยิ่งๆขึ้นไป ในอนาคตขอบเขตงานหรือความต้องการใช้งานอาจจะมากขึ้น จึงต้องออกแบบมาให้
ครอบคลุมกับความต้องการและมีความปลอดภัยมากขึ้น และผลิตพลังงานไฟฟ้าได้มากขึ้น ทั้งนี้
นอกจากประสิทธิภาพการใช้งานจะมากขึ้นแล้วยังเป็นการเพิ่มพูนความรู้ และยกระดับงานวิจัยนี้ให้
สูงขึ้นด้วย
5.2.2 ทรัพยากรหมุนเวียนเหล่านี้ล้วนเกิดประโยชน์ อย่างมากในการผลิตพลังงานเพื่ อ
นำมาใช้งานต่างๆล้วนเป็นการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ไม่ก่อเกิดมลพิษ และช่วยประหยัดค่าใช้จ่าย
5.2.3 ควรศึกษาเพิ่มเติมเพื่อลดขัน้ ตอนของการใช้ระบบส่งกำลังกลให้น้อยกว่านี้
5.2.4 ควรจัดทำการวิจัยชนิดทุ่นวัดความเร็วน้ำ เพื่อความเที่ยงตรงของอุปกรณ์วัดมากกว่านี้
41

บรรณานุกรม

กชกร ธานีวัฒน์. (2547). พลังงานหมุนเวียนปี 2547. หนังสือรักษ์พลังงาน. กรุงเทพฯ.


บุญศักดิ์ ใจจงกิจ. 2523. เครื่องจักรพลังน้ำ. สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าวิทยาเขตพระนคร
เหนือ. พิมพครั้งที่ 2 : กรุงเทพฯ.
ประพันธ รองกาศ และ วิสรัส เอี่ยมประชา. 2526. การออกแบบและสร้างกังหันน้ำสำหรับสูบน้ำ
แบบทุน่ ลอย. รายงานปริญญาตรีนิพนธวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิศวกรรมเครื่องกล
คณะวิศวกรรมศาสตร์. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พิสิทธิ์ วุฒิวานิช. (2552). ทฤษฎีของพลังงานและวัฏจักรของน้ำ. สืบค้น 13 มกราคม 2566, จาก
https://archive.lib.cmu.ac.th/full/T/2552/enen0952ap_ch2.pd.
วัฒนาถาวร. 2543. โรงต้นกําลัง. สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปนุ ). พิมพครั้งที่ 4 : กรุงเทพฯ.
สัมพันธ ไชยเทพ และ ธเนศ ไชยชนะ. 2550. กังหันน้ำเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้าระบบบังคับน้ำ.
รายงานการประชุมวิชาการประจําปี สํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
(สวทช.). เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
อัศวิน ปศุศฤทธากร. (2552). การประเมินสมรรถนะของกังหันน้ำขนาดเล็กแบบหลุกต่ำเพื่อใช้ผลิต
กระแสไฟฟ้า. วิทยานิพนธ์ (วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาวิศวกรรมพลังงาน)).
เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Boyle, G. 1996. Renewable Energy Power for a Sustainable Future. Oxford University
Press. New York. USA.
IAEME Publication. (2020). PLANNING OF FLAT PLATE UNDERSHOTWATERWHEEL
AS MINI HYDRO POWER PLANT AND IRRIGATION POWER IN REMOTE AREAS.
สืบค้น 13 มกราคม 2566, จาก https://www.academia.edu/45634384/PLANNING.
42

ภาคผนวก
43

ประวัติผู้จัดทำ

ชื่อ-นามสกุล : นายชรินทร์ธร สวัสดิ์ลน้


ภูมิลำเนา : บ้านเลขที่ 67/5 หมู่ 3 ตำบล ตะพง อำเภอ เมือง จังหวัด ระยอง 21000
ที่อยู่ปัจจุบัน : บ้านเลขที่ 67/5 หมู่ 3 ตำบล ตะพง อำเภอ เมือง จังหวัด ระยอง 21000
ประวัติการศึกษา : ระดับการศึกษา ประถมศึกษา โรงเรีบยบวรรัตนศาสตร์
ระดับการศึกษา มัธยมศึกษา โรงเรียนระยองวิทยาคม
ระดับการศึกษา อุดมศึกษา มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
กรุงเทพมหานคร

You might also like