Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 33

LECTURENOTES BY OCTOBER STUDY

MEDICAL LAW
กฎหมายการแพทย์
Page |1

LAW4172 กฎหมายการแพทย์

ความหมายของ “กฎหมายการแพทย์”
ความหมายอย่างแคบของกฎหมายการแพทย์ เป็นการพิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างผู้เชี่ยวชาญในการ
ดูแลและผู้ป่วย ซึ่งผู้เชี่ยวชาญในการดูแลในที่นี้นั้นหมายถึงเฉพาะแพทย์และหน่วยงานโรงพยาบาล อีกทั้งกฎหมาย
การแพทย์ยังเป็นการกำหนดบทบาทของแพทย์ โดยมุ่งความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์กับผู้ป่วยเท่านั้น
แต่ความหมายของกฎหมายการแพทย์ของทางยุโรป ไม่ได้หมายถึงเฉพาะความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์กับ
ผู้ป่วยเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงความสัมพันธ์ระหว่างคนไข้ทั้งกับบุคลากรทางการแพทย์และที่ไม่ใช่แพทย์ด้วย
เช่น พยาบาล เภสัชกร เจ้าหน้าที่ผู้ช่วยแพทย์ หรือนักปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์ ตลอดจนองค์กร ผลิตภัณฑ์
ต่างๆที่มคี วามสัมพันธ์กับการให้บริการทางการแพทย์
ส่วนความหมายกฎหมายการแพทย์ของประเทศไทย เมื่อพิจารณาคำว่า “แพทย์” จากพจนานุกรม ฉบับ
ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 หมายถึง หมอรักษาโรค และจากพจนานุกรมสาธารณสุขไทย พ.ศ.2561 ของ
กระทรวงสาธารณสุข ให้ความหมายของคำว่า “การแพทย์” ว่า ศาสตร์ของการวินิจฉัย บำบัด รักษา หรือ
ป้องกันโรค โดยมุ่งหมายให้มนุษย์บรรเทาจากอาการทุกข์ทรมานที่เป็นอยู่หรือช่วยชีวิตหรือให้กลับมาสู่ภาวะที่
ไม่เจ็บป่วยได้ และเมื่อพิจารณาจากบทนิยามตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับคำว่า “แพทย์” คือ พ.ร.บ.วิชาชีพเวช
กรรม พ.ศ.2525 ม.4 นิยามคำว่า “วิชาชีพเวชกรรม” หมายความว่า วิชาที่กระทำต่อมนุษย์เกี่ยวกับ การรักษา
โรค การวินิจฉัยโรค การบำบัดโรค การป้องกัน การผดุงครรภ์ การปรับสวยด้วยเลนส์สัมผัส การแทงเข็ม หรือ
การฝังเข็มเพื่อบำบัดโรค หรือเพื่อระงับความรู้สึก และหมายความรวมถึง การแระทำทางศัลยกรรม การใช้
รังสี การฉีดยา หรือ สสาร การสอดใส่วัตถุใดเข้าไปในร่างกาย ทั้งนี้เพื่อการคุมกำเนิด การเสริมสวย หรือการ
บำรุงร่างกายด้วย และคำว่า “ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม” หมายความว่า บุคคลซึ่งได้ขึ้นทะเบียนและรับ
ใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมจากแพทยสภา
***สรุป กฎหมายการแพทย์ คือ การศึกษาหลักเกณฑ์และผลทางกฎหมายเกี่ยวกับการแพทย์และการ
บริการสาธารณสุขในสิทธิหน้าที่ระหว่างบุคลากรทางการแพทย์ การสาธารณสุข และผู้ป่วย***

LAW4172 กฎหมายการแพทย์ - LECURENOTES BY OCTOBER STUDY


Page |2

คำว่า จาก ความหมาย


แพทย์ พจนานุกรม ฉบับ หมอรักษาโรค
ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554
การแพทย์ พจนานุกรมสาธารณสุขไทย พ.ศ. ศาสตร์ ข องการวิ น ิ จ ฉั ย บำบั ด
2561 ของกระทรวงสาธารณสุข รักษา หรือป้องกันโรค โดยมุ่งหมาย
ให้มนุษย์บรรเทาจากอาการทุกข์
ทรมานที่เป็นอยู่หรือช่วยชีวิตหรือ
ให้กลับมาสู่ภาวะที่ไม่เจ็บป่วยได้
วิชาเวชกรรม พ.ร.บ.วิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2525 วิชาที่กระทำต่อมนุษย์เกี่ยวกับการ
ม.4 รั ก ษาโรค การวิ น ิ จ ฉั ย โรค การ
บำบั ด โรค การป้ อ งกั น การผดุ ง
ครรภ์ การปรับสวยด้วยเลนส์สัมผัส
การแทงเข็ ม หรือการฝัง เข็ ม เพื่ อ
บำบัดโรค หรือเพื่อระงับความรู้สึก
และหมายความรวมถึ ง การแระ
ทำทางศัลยกรรม การใช้รังสี การ
ฉีดยา หรือ สสาร การสอดใส่วัตถุ
ใดเข้าไปในร่างกาย ทั้งนี้เพื่อากร
คุมกำเนิด การเสริมสวย หรือการ
บำรุงร่างกายด้วย
ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม พ.ร.บ.วิชาชีพเวชกรรม พ.ศ.2525 บุ ค คลซึ ่ ง ได้ ข ึ ้ น ทะเบี ย นและรั บ
ม.4 ใบอนุ ญาตเป็นผู้ประกอบวิ ช าชี พ
เวชกรรมจากแพทยสภา
บุคลากรด้านสาธารณสุข พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 ผู้ให้บริการสาธารณสุขที่มีกฎหมาย
ระเบียบ หรือข้อบังคับรองรับ
ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุข พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 ผู้ประกอบวิชาชีพตามกฎหมายว่า
ด้วยสถานพยาบาล
ผู้ประกอบวิชาชีพ พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ.2541 ผู ้ ป ระกอบโรคศิ ล ปะ ผู ้ ป ระกอบ
แก้ไขฉบับที่ 4 พ.ศ.2559 วิชาชีพเวชกรรม ผู้ประกอบวิชาชีพ
กายภาพบำบัดและการผดุงครรภ์
LAW4172 กฎหมายการแพทย์ - LECURENOTES BY OCTOBER STUDY
Page |3

ผู ้ ป ระกอบวิ ช าชี พ ทั น ตกรรม ผู้


ประกอบวิ ช าชี พ เภสั ช กรรม ผู้
ประกอบวิชาชีพกายภาพบำบัด ผู้
ประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์
ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผน
ไทย ผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์
แผนไทยประยุกต์ หรือผู้ประกอบ
วิชาชีพทางการแพทย์และ
สาธารณสุขอื่นตามกฎหมายว่าด้วย
การนั้น และให้ หมายความรวมถึง
บุคคลตาม ม.31 แห่งกฎหมายว่า
ด้วยการประกอบโรคศิลปะ (รมต.
สาธารณสุ ข ประกาศให้ เ ป็ น ผู้
ประกอบวิชาชีพทางการแพทย์)

NOTE ! กฎหมายที่เกี่ยวกับการแพทย์ฉบับแรกของประเทศไทย คือ พระราชบัญญัติการแพทย์ พ.ศ.2466

วิวัฒนาการทางการแพทย์
1. ยุคประวัติศาสตร์
มนุษย์รู้จักรักษาตัวมาแต่ดึกดำบรรพ์ โดยสัญชาติญาณแห่งการธำรงไว้ซึ่งความอยู่รอดของตนเองได้มีอยู่
ในตัวของมนุษย์ตั้งแต่เกิดมีมนุษย์มาในโลกนี้ การสาธารณสุขในยุคดั้งเดิมนี้ก็มีอยู่บ้าง แต่ส่วนมากจะเน้นด้าน
การแพทย์ ในยุคนี้คนเชื่อว่าโรคเกิดจากปรากฎการณ์ตามธรรมชาติ การที่มนุษย์จะพ้นจากโรคภัยไข้เจ็บ ได้ก็โดย
การเซ่นไหว้ การบูชายันต์ เป็นต้น บุคคลสำคัญที่เริ่มงานทางด้านสาธารณสุข คือ พระพุทธเจ้า และหมอชีวกโก
มารภัจจ์ ผู้เป็นหมอสมุนไพร พระพุทธเจ้าทรงเป็นนักการสาธารณสุขที่ยอดเยี่ยม เพราะท่านได้ทรงบัญญัติให้พระ
ต้องดื่มน้ำจากเครื่องกรองน้ำ และห้ามพระสาวกของพระองค์ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ ลงในแม่น้ำลำคลอง จากศิลา
จารึกของอาณาจักรขอม ซึ่งจารึกไว้ว่าประมาณ พ.ศ. 1725 - 1729 พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงบำเพ็ญพระราชกุศล
LAW4172 กฎหมายการแพทย์ - LECURENOTES BY OCTOBER STUDY
Page |4

ตามความเชื่อในพระพุทธศาสนา โดยสร้างสถานพยาบาล เรียกว่า อโรคยาศาลาขึ้น 102 แห่ง ในบริเวณภาค


ตะวันออกเฉียงเหนือของไทย และบริเวณใกล้เคียง

2. ยุคสุโขทัย
การแพทย์ในสมัยสุโขทัย มีการค้นพบหินบดยาสมัยทวาราวดี ซึ่งเป็นยุคก่อนสมัยสุโขทัย และได้พบศิลา
จารึกของพ่อชุนรามคำแหงบันทึกว่า ทรงสร้างสวนสมุนไพรชนาดใหญ่ไว้บนเขาหลวง หรือเขาสรรพยาซึ่งปัจจุบัน
อยู่ในเขตอำเภอคีรีมาศ จังหวัดสุโขทัยสำหรับให้ราษฎรได้เก็บสมุนไพร ไปใช้รักษาโรคในยามเจ็บป่วย
ศิลาจารึกกล่าวว่า ความสมบูรณ์ของพืชพันธุ์ธัญญาหารว่า "ป่าพร้าวก็หลายในเมือง ป่าลาวก็หลายในเมือง หมาก
ม่วง ก็หลายในเมือง หมากขามก็หลายในเมือง" ในด้านอาหาร ศิลาจารึกว่า "ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว" แ สดงถึง
ความสมบูรณ์ด้านอาหารโปรตีนและอาหารแป้งด้วย

3. ยุคกรุงศรีอยุธยา
จากบันทึกประวัติศาสตร์ว่า ได้เกิดโรคติดต่ออันตรายขึ้นในเมืองอู่ทองอันเป็นเมืองหลวงเดิมจนประชาชน
ต้องอพยพมาตั้งเมืองใหม่ คือ กรุงศรีอยุธยาเพียงระยะเวลา 7-8 ปี ตั้งแต่พุทธศักราช 1893 ถึง 1900 ได้เกิดมี
อหิวาตกโรคขึ้นเป็นครั้งแรกในกรุงศรีอยุธยา จนถึงปีพุทธศักราช 2077 ปรากฎตามพงศาวดารว่า กรุงศรีอยุธยาได้
มีไข้ทรพิษระบาดเป็นเหตุให้พระบรมราชาที่ 4 แห่งกรุงศรีอยุธยาประชวรและสวรรคต ซึ่งโรคภัยไข้เจ็บที่เกิดขึ้นใน
สมัยนั้น ถ้าเป็นโรคติดต่ออันตรายเกิดขึ้นแต่ละครั้งจะทำลายชีวิตผู้คนครั้งละมากมาย เพราะขณะนั้นยังไม่มีผู้ใด
เข้าใจความเป็นจริงว่าสาเหตุของโรคเกิดขึ้นอย่างไร และไม่มีวิธีกำจัดโรคนั้น ๆ ได้อย่างแน่นอน แพทย์ก็มีไม่พอแก่
พลเมือง สาเหตุของโรคก็ไม่ทราบแน่ชัด เช่น ในตอนต้นศตวรรษที่ 18 มีข้อความที่กล่าวถึงประเทศไทยได้ประสบ
ทุพภิกขภัย (ภัยจากการขาดแคลนอาหาร) อย่างร้ายแรง ลำน้ำเจ้าพระยาตอนเขตกรุงศรีอยุธยานั้นน้ำในลำน้ำงวด
ขังจนเป็นสีเขียวและมีกลิ่นเหม็นโรคภัยไข้เจ็บก็อุบัติตามเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองได้ห้ามไม่ให้ราษฎรใช้น้ำในแม่น้ำ
บริโภค และเนื่องจากราษฎรขาดน้ำบริโภค จึงเกือบเกิดจลาจลขึ้นภายในประเทศถึงกับมีคำโจษจันกันขึ้นว่าพระ
อิศวรได้เสด็จมาที่ประตูเมือง ประกาศให้ทราบทั่วกันว่าฟองน้ำสีเขียวนั้นเป็นสื่อนำโรคร้ายแรงที่ปวงมาสู่ผู้บริโภค
และผู้อาบผู้ใช้น้ำ วิธีนี้น่าจะเป็นวิธีโฆษณาชวนเชื่อในสมัยที่ประชาชนยังเชื่อถือผีและเทวดากับสิ่งอื่น ๆ อยู่ ความ
ประสงค์การโฆษณาในสมัยนั้นจะเป็นทางหนึ่งทางใดก็ตาม เมื่อยังไม่ทราบต้นเหตุอันแท้จริงก็ใช้ไม่เลือก มีความ

LAW4172 กฎหมายการแพทย์ - LECURENOTES BY OCTOBER STUDY


Page |5

ประสงค์อย่างเดียวขอให้ประชาชนเชื่อและทำตามก็แล้วกัน เป็นอันใช้ได้ทั้งสิ้น แต่ราษฎรมีความสงสัย ไม่เชื่อ พา


กันไปริมแม่น้ำลองใช้น้ำนั้นทาผิวของตนทดลองดู แต่ด้วยความเคราะห์ดีที่ฝนได้เกิดตกลงมาอย่างหนักเหตุการณ์
ร้ายแรงที่คาดหมายไว้ว่า น่าจะเกิดขึ้น จึงสงบไป การที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองประกาศห้ามใช้น้ำโสโครกนี้ ถ้าจะ
นับเป็นครั้งแรกว่าประเทศไทยน่าจะรู้จักการสาธารณสุขบ้างแล้ว ทั้งในยุคนี้พลเมืองของเราได้ลดน้อยลงไปมาก
เนื่องจากเสียชีวิตไปในสงครามบ่อยครั้ง ครั้งพม่ายกมาล้อมกรุงศรีอยุธยาครั้งหลังสุด กำลังต้านทานของพวกไทย
เรารวมทั้งกำลังกายกำลังใจอ่อนลงไปมาก ต่อเนื่องไปถึงความอดอยาก เป็นเหตุให้เกิดโรคติดต่อได้ง่า ย กรุงศรี
อยุธยาต้องพินาศลง ในวันที่ 7 เมษายน พุทธศักราช 2310 บ้านเมืองชำรุดทรุดโทรมหักพังโรคภัยไข้เจ็บก็ทวีขึ้นอยู่
ในลักษณะบ้านแตก สาแหรกขาด อาดูรไปด้วยกลิ่นซากศพ อันเป็นเหตุหนึ่งซึ่งนับว่าโรคภัยไข้เจ็บมีส่วนเป็นสาเหตุ
ช่วยทำให้ไทยต้องทิ้งเมืองมาสร้างนครหลวงใหม่ขึ้นที่ธนบุรีก็ได้
ด้านการแพทย์ในสมัยอยุธยา มีหลักฐานทางประวัติศาสตร์ว่า การแพทย์ในสมัยอยุธยามีลักษณะการ
ผสมผสาน ปรับประยุกต์มาจากการแพทย์ของอินเดียที่เรียกว่า อายุรเวทและการแพทย์ของจีน รวมทั้งความเชื่อ
ทางไสยศาสตร์ และโหราศาสตร์ ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพของชุมชน แนวคิดหลักของการแพทย์ไทยเป็น
แบบอายุรเวท ซึ่งมีเป้าหมายที่สภาวะสมดุลของธาตุ 4 อันเป็นองค์ประกอบของชีวิต ผู้ที่จะเป็นแพทย์ได้ต้องมี
วัตรปฏิบัติที่งดงามในทุกด้าน ด้านความกตัญญูรู้คุณครูบาอาจารย์นั้น แพทย์ไทยนับถือว่าครูดั้งเดิมคือพระฤาษีใน
สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พบบันทึกว่า มีระบบการจัดหายาที่ชัดเจน สำหรับประชาชนจะมีแหล่งจำหน่าย
ยาและสมุนไพรหลายแห่งทั้งในและนอกกำแพงเมืองมีการรวบรวมตำรับยาต่าง ๆ ขึ้นเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์
การแพทย์ไทย เรียกว่า ตำราพระโอสถพระนารายณ์

4. ยุครัตนโกสินทร์
สมัยรัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 2 เป็นยุคเริ่มต้นของกรุงรัตนโกสินทร์ การแพทย์ของไทยยังเป็นในลักษณะ
แผนโบราณ การสาธารณสุขยังไม่เจริญเท่าที่ควร
4.1 รัชกาลที่ 1
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ทรงปฏิสังขรณ์วัดโพธารามหรือวัดโพธิ์ขึ้นเป็นพระ
อารามหลวงให้ชื่อว่า วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ทรงให้รวบรวมและจารึกตำรายา และฤาษีดัดตนไว้ตามศาลา
ราย สำหรับการจัดหายาของราชการมีการจัดตั้งกรมหมอโรงพระโอสถ คล้ายกับในสมัยอยุธยา ผู้ที่รับราชการ
เรียกว่า หมอหลวง ส่วนหมอที่รักษาประชาชนทั่วไป เรียกว่า หมอราษฎร หรือหมอเชลยศึก

LAW4172 กฎหมายการแพทย์ - LECURENOTES BY OCTOBER STUDY


Page |6

4.2 รัชกาลที่ 2
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงให้ รวบรวมคัมภีร์แพทย์ที่กระจัดกระจายไว้ ณ โรงพระ
โอสถ โดยโปรดเกล้าฯ เชิญผู้ชำนาญโรค และสรรพคุณยาชนิดต่าง ๆ มารวมไว้ ผู้ใดมีตำรายาดี ๆ ที่บรรพบุรุษได้
เก็บไว้ ให้นำเข้ามาทูลเกล้าฯ ถวาย และกรมหมอหลวงคัดเลือกจดเป็นตำราหลวง สำหรับโรงพระโอสถ เพื่อ
ประโยชน์ของประชาชน
พ.ศ. 2359 มีพระราชโองการโปรดเกล้าให้ตรากฎหมาย ชื่อ กฎหมายพนักงานพระโอสถถวาย ซึ่งให้
อำนาจพนักงานมีอำนาจออกไปค้น หาพระโอสถ คือ สมุนไพร ที่ปรากฎมีอยู่ในแผ่นดิน ผู้ใดจะคัดค้านมิได้
พนักงานพระโอสถจึงมีอำนาจในการค้นหายา และมักจะเป็นผู้ที่อยู่ในตระกูลสืบทอดกันมาเท่านั้น

4.3 รัชกาลที่ 3
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงบูรณะปฏิสั งขรณ์วัดราชโอรสาราม และได้จารึกตำราไว้ใน
แผ่นศิลา ตามเสาระเบียงพระวิหาร รวมทั้งทรงปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพนฯ อีกครั้ง โปรดเกล้าฯ ให้จารึกตำรายา
ไว้บนแผ่นหินอ่อน ประดับไว้ตามผนังโบสถ์และศาลารายในบริเวณวัด มีตำราบอกสมุฏฐานของโรค และวิธี
บำบัด ทรงให้นำสมุนไพรที่ใช้ในการปรุงยา ที่หาได้ยากมาปลูกไว้ เพื่อให้ราษฎรได้ศึกษาและนำไปใช้ในการ
รักษาตน โดยมิหวงห้ามไว้ในตระกูลใด นับได้ว่าเป็น "มหาวิทยาลัยเปิด" แห่งแรกในประเทศไทยในปี พ.ศ.
2371 ซึ่งเป็นปีที่ 5 ในสมัยรัชกาลที่ 3 กล่าวได้ว่าเป็นปีแรกที่การแพทย์แผนตะวันตกเข้ามามีบทบาทสำคัญต่อ
การแพทย์และการสาธารณสุข โดยดำเนินการควบคู่กันไป กล่าวคือ ให้การรักษาพยาบาลผู้เจ็บป่วย และทำการ
ป้องกันโรคติดต่อที่ร้ายแรงไปด้วย ในรัชสมัยนี้ นายแพทย์แดน บีซ บรัดเลย์ (Dan Beach Bradley) ชาวบ้าน
เรียกว่า "หมอบลัดเล" นักเผยแพร่คริสตศาสนาชาวอเมริกันซึ่งมากับคณะมิชชั่นนารีได้เข้ามาเมืองไทยในปี
พ.ศ. 2378 เป็นผู้ริเริ่มการป้องกันโรคติดต่อครั้งแรกในประเทศไทย มีการปลูกฝีป้องกันไข้ทรพิษ ซึ่งได้ผลดี
จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2381 ทรงโปรดให้หมอหลวงไปเรียนวิธีปลูกฝีจากหมอบรัดเลย์ เพื่อปลูกให้แก่ข้าราชการและ
ประชาชน พ.ศ. 2387 เกียรติคุณของผู้เผยแพร่ศาสนา รวมทั้งชื่อเสียงที่หมอบรัดเลย์ทำไว้ แม้จะไม่ทำให้ใคร ๆ
นิยมทั่วไป แต่ก็มีบางท่านเป็นผู้เห็นการณ์ไกล ใคร่จะเรียนภาษาและวิชาของฝรั่งเอาไว้ใช้ให้เป็นประโยชน์
โดยเฉพาะกรมหลวงวงศาธิราชสนิท (ต้นตระกูลสนิทวงศ์) นี้ เป็นแพทย์ไทยคนแรกที่รับเอายาฝรั่งใช้รักษาโรค
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ยาควินนีนที่เรียกกันในครั้งนั้นว่ายาขาวฝรั่ง เอายาไทยหุ้มเสียก็เป็นยาแก้ไข้จับสั่นที่มีชื่อเสียง
มากในปี พ.ศ. 2392 นายแพทย์ซามูเอล เรย์ โนลด์ เฮาส์ (samuel Reynolds House) เป็นหมอของคณะ
เผยแพร่ศาสนาอเมริกัน ชาวบ้านเรียกว่าหมอเฮาส์ ซึ่งนับว่าเป็นผู้ที่นำยาสลบอีเธอร์มาใช้เป็นครั้งแรกใน
ประเทศไทย
LAW4172 กฎหมายการแพทย์ - LECURENOTES BY OCTOBER STUDY
Page |7

สมัยรัชกาลที่ 4 ถึงสมัยรัชกาลที่ 6 เป็นยุคที่มีการติดต่อกับประเทศแถบตะวันตก มีทูตมาเจริญสันถวไมตรี


คณะมิชชั่นนารีเข้ามาเผยแพร่ศาสนาคริสต์มากขึ้น พระมหากษัตริย์ของไทยทรงเสด็จประพาสต่างประเทศ ได้เห็น
ความเจริญในด้านต่าง ๆ จึงได้นำมาประยุกต์ให้เข้ากับประเทศไทย ทำให้บ้านเมืองเจริญรุ่งเรืองขึ้นเป็นลำดับ ด้าน
การแพทย์และการสาธารณสุข ก็วิวัฒนาการตามไปด้วยในยุคบ้านเมืองเจริญรุ่งเรืองนี้
4.4 รัชกาลที่ 4
การแพทย์ของประเทศไทยสมัยนี้ แยกออกได้แจ้งชัดเป็นสองแผน คือ การแพทย์แผนเดิมหรือแผนโบราณ
และการแพทย์แผนปัจจุบันมีแพทย์ชาวอเมริกัน 3 คน คือ หมอบรัดเลย์ หมอเฮาส์ และหมอเลน (อยู่ในประเทศ
ไทยเพียง 5 ปี ก็กลับอเมริกา พ.ศ. 2398) สำหรับ หมอเฮาส์ ในรัชสมัยนี้ มีบทบาทในการควบคุมอหิวาตกโรค
และรักษาคนไข้โดยการใช้ทิงเจอร์ผสมน้ำให้ดื่ม ซึ่งได้ผลดีถึงแม้ว่าจะได้นำการแพทย์แผนตะวันตกมาใช้มากขึ้น
เช่น การสูติกรรมสมัยใหม่ แต่ก็ไม่สามารถชักจูงประชาชนให้เปลี่ยนค่านิยมได้ เพราะการรักษาพยาบาลแผนไทย
เป็นจารีตประเพณีและวัฒนธรรมที่สืบเนื่องกันมา และเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตคนไทย

4.5 รัชกาลที่ 5
พ.ศ. 2413 มีการประกาศใช้กฎหมายเกี่ยวกับสุขาภิบาลเป็นครั้งแรก พระราชบัญญัติฉบับนั้น ชื่อว่า
"พระราชบัญญัติธรรมเนียมคลอง" เพื่อให้มีการรักษาความสะอาดของคลองให้ได้มาตรฐาน และคนสมัยนั้นเชื่อ
กันว่า การใช้น้ำสกปรก เป็นมูลเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บ
ในปี พ.ศ. 2429 พระองค์ได้เสด็จประพาสเมืองสิงคโปร์ได้ทอดพระเนตร เห็นการจัดตั้งโรงพยาบาล จึงมี
พระราชดำริให้มีโรงพยาบาลขึ้นในกรุงเทพมหานคร เพื่อบำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่ราษฎร โดยทรงโปรดเกล้าฯ ให้
ตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง เรียกว่า "คอมมิตตี จัดการโรงพยาบาล" เพื่อจัดสร้างโรงพยาบาลวังหลัง
จังหวัดธนบุรี ด้วยพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ ขณะดำเนินการก่อสร้างบังเอิญสมเด็จเจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ พระ
ราชโอรสสิ้นพระชนม์ จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระเมรุ ณ ท้ องสนามหลวงเป็นพิเศษ โดยใช้ไม้
ทนทาน เช่น ไม้สัก ทำเป็นเรือนต่าง ๆ โดยมีพระราชประสงค์ว่า เมื่อเสร็จงานพระเมรุแล้ว จะพระราชทาน
ดัดแปลงเป็นอาคารสำหรับโรงพยาบาลและยังได้มอบเงินของสมเด็จเจ้าฟ้าศิริราชกกุธภัณฑ์ อีกเป็นจำนวน
56,000 บาท และพระราชทานนามโรงพยาบาลว่า "โรงพยาบาลศิริราช" ซึ่งมีการรักษาทั้งแบบตะวันตกและ
แบบแผนไทย เมื่อโรงพยาบาลสร้างเสร็จจึงได้ตั้งกรมพยาบาลขึ้นแทน คณะกรรมการชุดเดิม เมื่อวันที่ 25
ธันวาคม พ.ศ. 2431 หน้าที่ของกรมพยาบาลนี้ นอกจากมีหน้าที่ควบคุมกิจการของศิริราชพยาบาลแล้ว ยังให้
การศึกษาวิชาการแพทย์ควบคุมโรงพยาบาลอื่น และจัดการปลูกฝีแก่ประชาชน ฉะนั้น อาจถือได้ว่าปี พ.ศ. 2431
เป็นการเริ่มศักราชใหม่ ของการแพทย์และสาธารณสุขแผนปัจจุบันในประเทศไทย
LAW4172 กฎหมายการแพทย์ - LECURENOTES BY OCTOBER STUDY
Page |8

พ.ศ. 2432 เนื่องจากการขาดแคลนแพทย์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ สร้างโรงเรียนแพทยากรขึ้น


ที่ศิริราชพยาบาล มีหลักสูตรการเรียนวิชาแพทย์แผนตะวันตก และแผนไทยร่วมด้วย โดยมีหลักสูตร 3 ปีและได้ มี
การพิมพ์ตำราแพทย์สำหรับใช้ในโรงเรียนเล่มแรก คือ แพทยศาสตร์ -สงเคราะห์ขึ้น ในปี พ.ศ. 2438 เนื้อหามี
ทั้งการแพทย์แผนไทยและแผนตะวันตก
พ.ศ. 2447 ได้พิมพ์ตำราแพทย์เล่มใหม่ขึ้น โดยใช้ชื่อเดิม คือ แพทยศาสตร์สงเคราะห์ แต่เนื้อหากล่าวถึง
การแพทย์แผนตะวันตกเกือบทั้งสิ้น พิมพ์ออกมาได้เพียง 4 เล่ม
พ.ศ. 2448 ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดการสุขาภิบ าล เป็นการทดลองขึ้นที่ ตำบลท่าฉลอม
จังหวัดสมุทรสาคร เป็นแห่งแรก
พ.ศ. 2450 มีการพิมพ์ตำราออกมา 2 เล่ม คือ
ก. ตำราเวชศาสตร์วรรณา
ข. ตำราแพทยศาสตร์สงเคราะห์ 2 เล่ม ซึ่งถือเป็นตำรายาแห่งชาติฉบับแรก
ต่อมาพระยาพิษณุประสาทเวช (หมอคง) เห็นว่าตำราเหล่านี้ยากแก่ผู้ศึ กษาจึงพิมพ์ตำราขึ้นใหม่ ได้แก่
ตำราแพทยศาสตร์สงเคราะห์ฉบับหลวง 2 เล่ม และตำราแพทยศาสตร์สังเขป 3 เล่ม ซึ่งกระทรวงสาธารณสุข ได้ใช้
มาจนทุกวันนี้

4.6 รัชกาลที่ 6
พ.ศ. 2454 ทรงสร้างโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ แล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2457 โดยใช้ทุนทรัพย์ส่วนพระองค์
สมทบกับเงินช่วยเหลือจากสมาคมอุณาโลมแดง
พ.ศ. 2455 ทรงสถาปนาปาสตุรสภา เพื่อบำบัดโรคกลัวน้ำ และสร้างวชิรพยาบาล
พ.ศ. 2456 มีการสั่งเลิกการสอนวิชาชาแพทย์แผนไทย
พ.ศ. 2457 กระทรวงมหาดไทย ต้องการให้จังหวัดต่าง ๆ มีสถานที่สำหรับการป่วยไข้ และจำหน่ายยา
เรียกสถานที่นี้ว่า "โอสถสภา" ในภายหลังงานสาธารณสุขได้เจริญก้าวหน้าไปมากแล้ว จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็นสุขศาลา
โดยถือว่าสุขศาลาเป็นศูนย์กลางการสาธารณสุข
พ.ศ. 2459 เปลี่ย นชื่อ กรมพยาบาลเป็นกรมประชาภิบาล สังกัดกระทรวงมหาดไทย มี 4 กอง คือ
กองบัญชาการเบ็ดเสร็จ กองสุขาภิบาล กองพยาบาล กองเวชวัตถุ
พ.ศ. 2460 ตั้งโรงเรียนการแพทย์ทหารบก
พ.ศ.2461 ทรงมี พ ระราชดำริ ว ่ า การแพทย์ แ ละการสุ ข าภิ บ าลยั ง แยกอยู ่ ใ น 2 กระทรวง คื อ
กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงนครบาล ควรจะให้อยู่ในหน่วยงานเดียวกัน โดยกรมประชาภิบาลยกเลิกไปตั้ง
LAW4172 กฎหมายการแพทย์ - LECURENOTES BY OCTOBER STUDY
Page |9

กรมสาธารณสุ ข ขึ ้ น ในวั น ที ่ 24 พฤศจิ ก ายน เพื ่ อ รวมงานสาธารณสุ ข เข้ า เป็ น หน่ ว ยงานเดี ย วขึ ้ น กั บ
กระทรวงมหาดไทย โดยมีกรมพระยาชัยนาทนเรนทร เป็นอธิบดีคนแรก
พ.ศ. 2463 ทรงตั้งสถานเสาวภา
พ.ศ. 2463 ทรงนำสภากาชาดสยามเข้าเป็นสมาชิก สภากาชาดสากล เมื่อวันที่ 8 เมษายน
พ.ส. 2465 ทรงตั้งกองอนุสภากาชาด โดยมีพระราชประสงค์จะปลูกนิสัยให้เป็นผู้มีน้ำใจเมตตากรุณาต่อ
เพื่อนมนุษย์ และตั้งโรงเรียนนางพยาบาลของสภากาชาด
พ.ศ. 2466 มีประกาศใช้พ ระราชบัญ ญั ติ การแพทย์ เป็น การควบคุ มการประกอบโรคศิ ล ปะ มี
วัตถุประสงค์ เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายแก่ประชาชน จากการประกอบการของผู้ที่ไม่มีความรู้และมิได้ฝึกหัด

4.7 รัชกาลที่ 7
ในรัช สมัย นี้ มีการออกกฎเสนาบดีแบ่งการประกอบโรคศิลปะ เป็น แผนปัจจุบันและแผนโบราณ
กำหนดว่า
ก. ประเภทแผนปัจจุบัน คือ ผู้ประกอบโรคศิลปะ โดยความรู้จากตำราอันเป็นหลักวิชาโดยสากลนิยม ซึ่ง
ดำเนินและจำเริญขึ้น อาศัยการศึกษา ตรวจค้น และทดลองของผู้รู้ ในทางวิทยาศาสตร์ทั่วโลก
ข. ประเภทแผนโบราณ คือ ผู้ประกอบโรคศิลปะ โดยอาศัยความสังเกตความชำนาญ อันได้บอกเล่าสืบต่อ
กันมาเป็นที่ตั้ง หรืออาศัยตำราที่มีมาแต่โบราณ มิได้ดำเนินไปทางวิทยาศาสตร์
พ.ศ. 2469 กรมสาธารณสุขได้อนุมัติให้ปรับปรุง ส่วนบริหารราชการใหม่ แบ่งกิจการออกเป็น 13 กอง
คือ กองบัญชาการ กองการเงิน กองที่ปรึกษา กองบรรณาธิการ กองบุราภิบาล กองวิศวกรรม กองสุขภาพ กอง
โอสถศาลา กองยาเสพติดให้โทษ โรงพยาบาลคนเสียจริต กองส่งเสริมสุขาภิบาล กองแพทย์สุขาภิบาลแห่งพระ
นคร วชิรพยาบาล

4.8 รัชกาลที่ 8
ในปี พ.ศ. 2485 ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี จอมพล ป. พิบูลสงคราม มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี แต่งตั้ง
คณะกรรมการพิจารณาจัดการปรับปรุงทางการแพทย์ โดยมีการประชุมครั้งแรก เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ.
2485 และได้ประชุมอีก 4 ครั้ง รวมเป็น 5 ครั้ง ครั้งหลังเมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2485 สามารถเสนอรายงาน
การจัดตั้งกระทรวงสาธารณสุข ให้รัฐบาลเสนอต่อรัฐสภา ต่อมาก็ได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง
ทบวง กรม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2485 มีกระทรวงสาธารณสุขขึ้น ตามมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัตินี้ และมาตรา 13
โดยมีข้อความในพระราชกฤษฎีกาในเรื่องเหตุผลที่มาของการสถาปนากระทรวงสาธารณสุข ปรากฎดังนี้
LAW4172 กฎหมายการแพทย์ - LECURENOTES BY OCTOBER STUDY
P a g e | 10

"โดยเหตุที่การสาธารณสุข และการแพทย์ในเวลานี้ ยังกระจัดกระจายอยู่ในกระทรวงและกรมหลายแห่ง


งานบางอย่างทำซ้ำและก้าวก่ายกัน และบางอย่างก็ไม่เชื่อม ประสานกันเป็นเหตุให้ ต้องเปลืองเจ้าหน้าที่ และ
ค่าใช้จ่าย ไปในทางไม่ประหยัด จึงสมควรปรับปรุงเสียใหม่ เพื่อให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น" ในด้านการแพทย์รัชสมัยนี้
มีการศึกษาวิจัยสมุนไพรเพิ่มขึ้น ในระหว่างปี พ.ศ. 2485 - 2486 ขณะที่สงครามโลกครั้งที่ 2 ลุกลามเข้ามาในเขต
เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ทำให้เกิดภาวะขาดแคลนยา ศาสตราจารย์นายแพทย์อวย เกตุสิงห์ ได้ทำวิจัยสมุนไพรที่
ใช้รักษาไข้มาลาเรียที่โรงพยาบาลสัตหีบ หลังสงครามโลกสงบลง ยังคงมีปัญหาขาดแคลนยาแผนปัจจุบันรัฐบาลจึง
มี นโยบายให้โรงงานเภสัชกรรม กระทรวงสาธารณสุขนำสมุนไพรมาผลิตเป็นยารักษาโรคเป็ นที่ทราบกันโดยทั่วไป
ในนักวิชาการสาธารณสุข แพทย์และประชาชนคนไทยว่า สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราช
ชนก ได้ทรงอุทิศพระองค์ ทรงมีพระเมตตาปราณีต่อพสกนิกรของพระองค์ ทรงพระตระหนัก เป็นอย่างยิ่งว่า
สุขภาพของคนไทยเป็นเรื่องสำคัญและต้องการได้รับการแก้ ไข ทรงเล็งเห็นปัญหาสาธารณสุขของประเทศไทยเป็น
อย่างดี และทรงมีพระราชหฤทัยอย่างแน่วแน่ที่จะดำเนินการแก้ปัญหาเหล่านั้น จะเห็นได้จากพระราชหัตถเลขา
ของพระองค์ที่มีไปถึงกรมพระยาชัยนาทนเรนทร ความตอนหนึ่งว่า "หม่อมฉันรู้สึกอยู่เสมอว่า การสาธารณสุขนั้น
เป็นของสำคัญ เป็นสิ่งบำรุงกำลังของชาติไทย เป็นสาธารณสุขประโยชน์กับมนุษยชาติทั่วไป เพราะฉะนั้นเมื่อมี
โอกาสอันใดที่หม่อมฉันพอที่จะช่วยออกกำลังกาย ปัญญา หรือทรัพย์ อันเป็นทางที่จะทะนุบำรุงให้การนั้นเจริญขึ้น
แล้ว หม่อมฉันยินดีปฏิบัติได้เสมอ"
สมเด็ จ พระมหิต ลาธิ เ บศร อดุ ล ยเดชวิ ก รม พระบรมราชชนก ทรงเป็ น พระราชโอรสองค์ท ี ่ 69 ใน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และองค์ที่ 7 ในสมเด็จพระนางเจ้าสว่าง
วัฒนา พระบรมราชเทวี (สมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวสาอัยยิกาเจ้า) ทรงมีพระเชษฐาและ
พระเชษฐภคินี ร่วมพระมารดารวม 7 พระองค์สมเด็จพระบรมราชชนก ทรงพระราชสมภพในวันศุกร์ เดือนยี่ ปี
เถาะ ขึ้น 3 ค่ำ ซึ่งตรงกับวันที่ 1 มกราคม พุทธศักราช 2434 ณ พระตำหนักสมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระ
บรมราชเทวี ในพระบรมมหาราชวัง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ พระราชทาน นาม
ว่า "สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าชาย มหิดลอดุลยเดช นเรศวรมหาราชาธิบดินทร์ จุฬาลงกรณนรินทร์วรางกูร
สมบูรณ์เบญจพรสิริสวัสดิ์ ขัตติยวโรภโตสุชาต คุณ สังกาศเกียรติประกฤษฐ ลักษณวิจิตรพิสิษฐบุรุษย ชนุตมรัตน์
พัฒนศักดิ์ อัครวรราชกุมาร" ทรงบรรพชาสามเณร เมื่ อวันที่ 20 สิงหาคม ถึงวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2447 และ
ทรงผนวชวันที่ 21 สิงหาคม รัตนโกสินทรศก 123 ภายหลังทรงลาผนวชแล้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า
เจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เสด็จไปศึกษา ณ ประเทศอังกฤษ ทรงเข้าเรียนที่โรงเรียน แฮโรว์ ในปี
พ.ศ. 2448 เพื่อทรงศึกษาวิชาเบื้องต้นในปี พ.ศ. 2450 สมเด็จฯ พระบรมราชชนก ได้เสด็จพระราชดำเนินไปยัง
ประเทศเยอรมนี เพื่อทรงศึกษาที่ โรงเรียนเตรียมนายร้อย เมืองปอตสดัม เป็นเวลา 1 ปีระหว่างที่ทรงศึกษาอยู่ที่
LAW4172 กฎหมายการแพทย์ - LECURENOTES BY OCTOBER STUDY
P a g e | 11

โรงเรียนนายร้อยชั้นต้น ประเทศเยอรมนี แพทย์ที่เยอรมันได้ทำการรักษาพระอาการประชวรด้วยโรคกระดูกสัน


หลังคด ตั้งแต่ทรงพระเยาว์ จะมีพระอาการเป็นปกติหลังจากนั้นแล้วทรงศึกษาด้านการทหาร ณ โรงเรียน นาย
ร้อยทหารบก Royal Prussian Military College, Gross Lichterfelde ใกล้กรุงเบอร์ลิน
ภายหลังที่ทรงสำเร็จจากโรงเรียนนายร้อยทหารบกแล้ว พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระ
กรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทรงศึกษาด้านทหารเรือ ณ Imperial German Naval College เมืองเฟลนสบูร์ก ตอนเหนือ
ของประเทศเยอรมนี ระหว่างปี พ.ศ. 2454 - 2457 เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ 1 เนื่องจากรัฐ บาลสยามใน
พระบาทสมเด็จฯ พระบรมราชชนก ต้องเสด็จกลับประเทศสยาม และทรงเข้ารับราชการในกระทรวงทหารเรือใน
ระยะเวลาที่ทรงรับราชการกองทัพเรือนั้น ทรงทุ่มเทพระสติปัญญาในการพัฒนากองทัพเรือ ทรงบันทึก โครงการ
สร้างกองเรือรบ ทรงเสนอความคิดเห็นเกี่ยวกับการจัดหาเรือตอร์ปิโดรักษาฝั่งสำหรับป้องกันน่านน้ำไทย และ
ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับเรือดำน้ำ รวมทั้งปัญหาด้านโภชนาการ สำหรับการปฏิบัติงานในเรือดำน้ำ แต่กลับทรงพบ
อุปสรรคหลายประการในการวางโครงการใหม่ ๆ ให้กับกองทัพเรือ จึงทรงลาออกจากราชการทหารเรือในช่วงท้าย
เวลาที่ทรงปฏิบัติราชการกองทัพเรือและมีพระดำริที่จะลาออกนั้น พระเจ้ าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาชัยนาท
นเรนทร ผู้บัญชาการโรงเรียนราชแพทยาลัย (คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาลปัจจุบัน) ได้เสด็จไปเฝ้าเพื่อเชิญ
เสด็จประพาสเรือยนต์ไปตามคลองต่าง ๆ ได้รับสั่งให้เรือแวะที่สะพานท่าน้ำโรงพยาบาลศิริราช และทูลเชิญเสด็จฯ
พระบรมราชชนกทอดพระเนตรโรงพยาบาล และทรงพบเห็นสภาพผู้ป่วยไม่มีที่พักคนไข้นอนเรียงกันอยู่ อย่าง
แออัดเมื่อสมเด็จฯพระบรมราชชนกทรงเห็นถึงความจำเป็นของบ้านเมืองในขณะนั้น และทรงเห็นว่าการศึกษา
เพิ่มเติมเกี่ยวกับด้านการแพทย์และสาธารณสุขจะทำให้ทรงช่วยเหลือกิจการด้านนี้ในประเทศเป็นไปได้ดียิ่งขึ้ น
สมเด็จฯพระบรมราชชนก เสด็จออกไปยังมหาวิทยาลัยเอดินเบอระ สกอตแลนด์ เพื่อทรงศึกษาด้านการแพทย์ แต่
เนื่องจากสภาพอากาศในสกอตแลนด์เป็นอุปสรรคต่อพระอนามัย จึงเสด็จไปที่สหรัฐอเมริกา พ.ศ. 2475 พระองค์
เสด็จไปศึกษาวิชาการสาธารณสุข และวิชาการแพทย์ ณ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ประเทศสหรัฐอเมริกาทรงสอบได้
ประกาศนียบัตรการสาธารณสุขและปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิต ชั้น Cum Lande พระองค์เป็นผู้ทรงบำเพ็ญ
ประโยชน์ต่อวงการแพทย์ การสาธารณสุข การพยาบาล การเภสัชกรรม ทันตศึกษา การประมง และการศึกษา
ของประเทศ เป็นคุณูปการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการแพทย์

LAW4172 กฎหมายการแพทย์ - LECURENOTES BY OCTOBER STUDY


P a g e | 12

หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์
1. องค์การอนามัยโลก (WHO)
จุดเริ่มต้นขององค์การอนามัยโลก เกิดขึ้นภายหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ในการประชุมนานาชาติเพื่อ
ร่ า งกฎบั ต รสหประชาชาติใ นปี ค.ศ.1945 ณ เมื อ งซานฟรานซิ ส โก โดยทุ ก ฝ่ า ยมี ค วามเห็ นต้ อ งตรงกันว่า
สหประชาชาติควรมีองค์การอนามัยระหว่างประเทศ
ในปรต่อมาได้มีการประชุมอนามัยโลก ณ นครนิวยอร์ก เพื่อร่าง “ธรรมนูญขององค์การอนามัยโลก” ขึ้น
ขณะที่รอการให้สัตยาบันของประเทศต่างๆได้ตั้งคณะกรรมการชั่วคราวทำหน้าที่ก่อตั้งองค์การอนามัยโลกให้
สอดคล้องกับธรรมนูญที่ได้ร่างไว้ กระทั่งตราสารจัดตั้งองค์การอนามัยโลกได้รับการลงนามโดย 16 ประเทศ เมื่อ
วันที่ 22 กรกฎาคม ค.ศ.1946
องค์การอนามัยโลก เป็นองค์กรชำนาญพิเศษของสหประชาชาติ ซึ่งรับผิดชอบการประสานงานด้าน
สาธารณสุขระหว่างประเทศ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 7 เมษายน ค.ศ.1948 ประกอบด้วยสมาชิก 131 ประเทศ ได้จัดการ
ประชุมสมัชชาอนามัยโลกขึ้นสมัยแรกเสร็จสิ้นเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม ค.ศ.1948
ภารกิจขององค์การอนามัยโลกดำเนินการภายใต้สมัชชาอนามัยโลกประกอบด้วยผู้แทนประเทศสมาชิก มี
การกระจายการปฏิบัติงานขององค์การไปถึงส่วนต่างๆของโลก สมัชชาอนามัยโลกในการประชุมสมัยที่ 1 ได้มีมติ
กำหนดพื้นที่การดำเนินงานออกเป็น 6 ภูมิภาค คือ
1) ภูมิภาคอเมริกา มีสำนักงาน ณ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี.
2) ภูมิภาคเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออก สำนักงาน ณ เมืองอเล็กซานเดรีย
3) ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สำนักงาน ณ กรุงนิวเดลี
4) ภูมิภาคแอฟริกา สำนักงาน ณ เมืองบราซาวีล
5) ภูมิภาคแปซิฟิกตะวันตก สำนักงาน ณ กรุงมะนิลา
6) ภูมิภาคยุโรป สำนักงาน ณ กรุงโคเปนเฮเกน
เดิมองค์การอนามัยโลกมีวัตถุประสงค์เพื่อหยุดยั้งโรคระบาดของโรคต่างๆ แต่ในปัจจุบันมีการขยาย
ขอบเขตภารกิจออกไป มีการอำนวยความช่วยเหลือแก่ประเทศต่างๆตามความต้องการเมื่อมีการร้องขอมา มีการ

LAW4172 กฎหมายการแพทย์ - LECURENOTES BY OCTOBER STUDY


P a g e | 13

จัดให้บริการด้านสุขภาพอนามัยแก่ประเทศต่างๆทั่วโลก ส่งเสริมและประสานงานด้านการวิจัยทางวิทยาศาสตร์
ระหว่างชาติเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพต่างๆอันไม่อาจดำเนินโดยลำพังของแต่ละประเทศ และทำหน้าที่แก้ปัญหาโรคที่
ยังไม่สามารถรักษาได้ เช่น ซาร์ส ไข้หวัดนก และโควิด-19

2. หน่วยงานภาครัฐภายในประเทศไทย
พิจารณาจากการแบ่งภารกิจ 5 ด้าน คือ
2.1 หน่วยงานหลักที่มีภารกิจเชิงนโยบายและให้บริการเป็นการทั่วไป ได้แก่
2.1.1 กระทรวงสาธารณสุข
ที่มาของกระทรวงสาธารณสุขเริ่มจากในสมัยรัชการที่ 5 จัดตั้งกรมพยาบาล กระทรวงธรรมการ
ต่อมาในสมัยรัชการที่ 6 ทรงจัดตั้งกรมประชาภิบาล กระทรวงมหาดไทยขึ้น และในสมัยรัชการที่ 8 ทรง
ตั้งเป็นกระทรวงสาธารณสุข ในปี พ.ศ.2485
อำนาจหน้าที่ของกระทรวงสาธารณสุข เป็นไปตาม พ.ร.บ.ปรับปรุง กระทรวง ทบวง กรม พ.ศ.
2545 ม.42 กำหนดหน้าที่เสริมสร้างสุขภาพอนามัย การป้องกัน ควบคุมและรักษาโรคภัย การฟื้นฟู
สมรรถภาพของประชาชน และราชการอืน่ ตามกฎหมายกำหนด
โครงสร้างการดำเนินงานของกระทรวงสาธารณสุข ตาม ม.43 ได้กำหนดส่วนราชการออกเป็น
10 ส่วน คือ 1.สำนักนายกรัฐมนตรี 2.สำนักงานปลัดกระทรวง 3.กรมการแพทย์ 4.กรมควบคุมโรค 5.กรม
แพทย์แผนไทย 6.กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ 7.กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ 8.กรมสุขภาพจิ ต 9.กรม
อนามัย 10.คณะกรรมการอาหารและยา

2.1.2 องค์การเภสัชกรรม
ที่มาขององค์การเภสัชกรรมเริ่มจากในช่วงรัชการที่ 6 ภายหลังจากการปรับเป็นกรมสาธารณสุข
แล้ว ในปี พ.ศ.2482 มีการสร้างโรงงานเภสัชกรรมแยกออกมาจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยมีที่มา
จากการเล็งเห็นว่าประเทศไทยมีสมุนไพรที่หลากหลายและมีจำนวนมากจึงน่าจะมีการผลิตยาไว้ ให้
ประชาชนได้ใช้ในยามจำเป็น

LAW4172 กฎหมายการแพทย์ - LECURENOTES BY OCTOBER STUDY


P a g e | 14

ต่อมาสมัยรัชการที่ 8 ในปี พ.ศ.2485 มีการรวมกิจการการแพทย์และสาธารณสุขที่กระจายใน


หลายหน่วยงานมารวมไว้ในกระทรวงสาธารณสุข ต่อมาในปี พ.ศ.2487 กองโอสถศาลาที่เดิมมีหน้าที่ผลิต
ยาตำราหลวง เห็นว่าโรงงานเภสัชกรรมมีความสามารถและศักยภาพในการผลิตยาได้แล้วจึงได้มอบ
อำนาจหน้าที่ในการผลิตยาตำราหลวงให้แก่ โรงงานเภสัชกรรมแทน โดยอยู่ภายใต้การดูแลของกองโอสถ
ศาลา จนสุดท้ายในปี พ.ศ.2509 พ.ร.บ.องค์การเภสัชกรรม ได้รวมอำนาจหน้าที่ของทั้งโรงงานเภสัชกรรม
และกองโอสถศาลาเข้าไว้ด้วยกันเป็นหน่วยงานเดียว
อำนาจหน้าที่ขององค์การเภสัชกรรม จาก พ.ร.บ.องค์การเภสัชกรรม พ.ศ.2509 ม.7 กำหนดให้
องค์การเภสัชกรรมเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายมหาชน มีขอบอำนาจตาม ม.6 คือ ผลิตยาและเวชภัณฑ์
ส่งเสริมการวิเคราะห์ยาและเวชภัณฑ์ รวมทั้งวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตยาและเวชภัณฑ์ ซื้อขายแลกเปลี่ยน
และให้ยาและเวชภัณฑ์ ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับการผลิตยาและเวชภัณฑ์ และมีอำนาจหน้าที่ตามมอบหมาย
จากกระทรวงสาธารณสุข คือ การรักษาระดับราคายาและเวชภัณฑ์ไม่ให้เพิ่มสูงขึ้นโดยรวดเร็ว รักษา
คุณภาพให้เป็นไปตามมาตรฐาน จัดหาและสนองความต้องการด้านยาและเวชภัณฑ์ให้แก่หน่วยงาน
ในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข จัดหาและสนองความต้องการด้านวัคซีน และเซรุ่มให้แก่หน่วยงานใน
สังกัดกระทรวงสาธารณสุข สำรองยาและเวชภัณฑ์ตามแผนเตรียมพร้อมแห่งชาติ จัดหา ส่งยาและ
เวชภัณฑ์แก่กองทุนและเวชภัณ ฑ์ประจำหมู่บ้านตามเป้า หมายของโครงการสาธารณสุขมูล ฐาน
สนับสนุนนโยบายสาธารณสุขอื่นๆนอกจากเรื่อ งยา และนโยบายที่เกี่ยวข้องกับยาและเวชภัณฑ์ ทั้ง
ด้า นการผลิต การจัด หา การกระจาย การบริโ ภค การควบคุมการพึ่งตนเอง การใช้เ ทคนิคและ
ทรัพยากรที่เหมาะสมภายในประเทศ
และนอกจากนี้ องค์การเภสัชกรรม ยังมีอำนาจตาม ม.9 ด้วย คือ
(1) มีทรัพย์สินต่างๆถือกรรมสิทธิ์ ครอบครอง สร้าง ซื้อ เช่า ให้เช่า ให้เช่าซื้อ ยืม ให้ยืม จัดหา
จำหน่าย ทำการแลกเปลี่ยน โอนและรับโอนด้วยประการใดๆซึ่งที่ดินหรือทรัพย์สินอื่น และมีสิทธิรับ
ทรัพย์สินที่มีผู้อุทิศให้
(2) ร่วมการงานหรือสมทบกับบุคคลหรือส่วนราชการอื่นเพื่อประโยชน์แห่งกิจการเภสัชกรรม
รวมทั้งการเข้าเป็นหุ้นส่วนหรือถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือนิติบุคคลใดๆ
(3) กู้ ยืม ให้กู้ ให้ยืมเงิน โดยมีหลักประกันด้วยบุคคลหรือด้วยทรัพย์

LAW4172 กฎหมายการแพทย์ - LECURENOTES BY OCTOBER STUDY


P a g e | 15

สรุป องค์การเภสัชกรรมมีอำนาจหน้าที่ 2 ส่วน คือ


1. อำนาจหน้าที่ ตาม ม.6 พ.ร.บ.องค์การเภสัชกรรม พ.ศ.2509
2. อำนาจหน้าที่ตามที่กระทรวงสาธารณสุขมอบหมาย
3. อำนาจตาม ม.9 พ.ร.บ.องค์การเภสัชกรรม พ.ศ.2509

โครงสร้างการดำเนินงานขององค์การเภสัชกรรม ตาม พ.ร.บ.องค์การเภสัชกรรม พ.ศ.2509 ม.


18, 21 และ 22 มีคณะกรรมการเภสัชกรรมจำนวนไม่น้อยกว่า 8 คน แต่ไม่เกิน 14 คน โดยรัฐมนตรีเป็น
ผู้มีอำนาจแต่งตั้งหรือถอดถอนประธานและกรรมการ มีอำนาจหน้าที่วางนโยบายและควบคุมดูแลทั่วไป มี
อำนาจดำเนิ น การตาม ม.9 วางข้ อ บั ง คั บ การประชุ ม และดำเนิ น กิ จ การ วางข้ อ บั ง คั บ ต่ า งๆ และ
คณะกรรมการยังมีอำนาจหน้าที่ตาม ม.25 และ 26 คือ มีอำนาจหน้าที่แต่งตั้งผู้อำนวยการเป็นผู้บริหาร

2.1.3 สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ

2.2 หน่วยงานหลักที่มีภารกิจด้านการให้บริการสุขภาพ รักษาพยาบาล โดยเฉพาะสถานพยาบาลของ


รัฐ รัฐวิสาหกิจและหน่วยงานอื่นของรัฐ
2.2.1 ความหมายของ “สถานพยาบาล”
ตาม พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ.2541 แก้ไข (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2559 ม.4 ให้ความหมายว่า สถานที่
รวมตลอดถึงยานพาหนะซึ่งจัดไว้เพื่อการประกอบโรคศิลปะตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบโรค
ศิลปะ การประกอบวิชาชีพเวชกรรมตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพเวชกรรม การประกอบวิชาชีพการ
พยาบาลและการผดุงครรภ์ตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ การประกอบ
วิชาชีพทันตกรรมตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชีพทันตกรรม การประกอบวิชาชีพกายภาพบำบัดตาม
กฎหมายว่าด้วยวิชาชีพกายภาพบำบัด การประกอบวิชาชีพเทคนิคการแพทย์ตามกฎหมายว่าด้วย
วิชาชีพเทคนิคการแพทย์ การประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยและการประกอบวิชาชีพการแพทย์
แผนไทยประยุกต์ตามกฎหมายว่าด้วยวิชาชี พการแพทย์แผนไทยหรือการประกอบวิชาชีพทางการ
แพทย์และสาธารณสุข อื่นตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น ทั้งนี้ โดยกระทำเป็นปกติธุระไม่ว่าจะได้รับ
ประโยชน์ตอบแทนหรือไม่
LAW4172 กฎหมายการแพทย์ - LECURENOTES BY OCTOBER STUDY
P a g e | 16

2.2.2 ประเภทของสถานพยาบาล
จาก ม.14 พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ.2541 แก้ไข (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2559 แบ่งสถานพยาบาล
ออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ ประเภทรับผู้ป่วยไว้ค้างคืน และ ไม่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน
หากพิจารณาเฉพาะสถานพยาบาลของรัฐ จะสามารถจำแนกได้เป็น 6 ประเภท แบ่งตามการ
สังกัด ได้แก่ สถานพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข สถานพยาบาลสังกัด มหาวิทยาลัย สถานพยาบาล
สั ง กั ด กองทั พ และสำนั ก งานตำรวจแห่ ง ชาติ สถานพยาบาลสั ง กั ด องค์ ก รปกครองส่ ว นท้ อ งถิ่ น
สถานพยาบาลสังกัดหน่วยงานอื่นๆ และสถานพยาบาลที่มีลักษณะเป็นองค์การมหาชน
1) สถานพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุข
ก) ประเภทไม่รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน ได้แก่ ศูนย์บริการสาธารณสุข ซึ่งเป็นหน่วยปฐมภูมิ
มีหน้าที่ส่งเสริมสุขภาพ ฟื้นฟูสุขภาพ ป้องกันโรค รักษาพยาบาลเบื้องต้น โดยจะบริการผู้ป่วยนอกเป็น
หลัก ไม่ได้รับผู้ป่วยไว้ค้างคืน
ข) ประเภทรับผู้ป่วยไว้ค้างคืน ได้แก่ โรงพยาบาล ซึ่งจะแบ่งระดับการบริการย่อยลง
ไปได้เป็น 2 ระดับ คือ
- การบริการระดับทุติยภูมิ รักษาทั้งโรคพื้นฐาน และโรคซับซ้อน
- การบริการระดับตติยภูมิ รักษาโรคซับซ้อนสูงและต้องใช้แพทย์เฉพาะทาง
นอกจากนี้ สำหรับสถานพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขประเภทรับผู้ปวยไว้ค้างคืน
ยังอาจแบ่งตามความเชี่ยวชาญได้เป็น 2 อย่างด้วยกัน คือ โรงพยาบาลทั่วไป และโรงพยาบาลเฉพาะทาง
โรงพยาบาลทั่วไป (ประเภทรับผู้ป่วยค้างคืน)
โรงพยาบาลส่วนกลาง เช่น โรงพยาบาลราชวิถี โรงพยาบาลสงฆ์ โรงพยาบาล
สั ง กั ด กระทรวงสาธารณสุ ข ตั ้ ง อยู ่ ใ นกรุ ง เทพหรื อ เลิดสิน สถาบันธัญญรัตน์
ปริมณฑล ขึ้นตรงต่อกรมการแพทย์
โรงพยาบาลส่วนภูมิภาค โรงพยาบาลศูน ย์ = ระดั บตติยภูมิ มีเตียงมากกว่า
500 เตียง

LAW4172 กฎหมายการแพทย์ - LECURENOTES BY OCTOBER STUDY


P a g e | 17

โรงพยาบาลทั่วไป = โรงพยาบาลประจำจังหวัดหรือ
โรงพยาบาลขนาดใหญ่ ระดับตติยภูมิ มีเตียง 120-
500 เตียง
โรงพยาบาลส่วนภูมิภาค โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช = โรงพยาบาลชุมชน
ประจำอำเภอ ระดับปฐมภูมิหรือทุติยภูมิ มีเตียง 30-
200 เตียง
โรงพยาบาลชุ ม ชน = โรงพยาบาลชุ ม ชนประจำ
อำเภอทั่วไป ระดับปฐมภูมิหรือทุติยภูมิ มีเตียง 10-
120 เตียง
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล = โรงพยาบาล
ประจำตำบลพัฒนาจากสถานีอนามัยหรือศูนย์สุขภาพ
ชุมชน บางแห่งถ่ายโอนให้ อบต.

โรงพยาบาลเฉพาะทาง (ประเภทรับผู้ป่วยค้างคืน)
ส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เช่ น สถาบั น มะเร็ ง สถาบั น โรคทรวงอก สถาบั น
ขึ้นกับกรมการแพทย์ ประสาทวิทยา สถาบันโรคผิวหนัง
โรงพยาบาลที่มีหน้าที่ดูแลผู้ป่วยจิตเวช เช่น โรงพยาบาลศรีธัญญา สถาบันราชานุกูล สถาบัน
ขึ้นกับกรมสุขภาพจิต กัลยาณราชนครินทร์

2) สถานพยาบาลสังกัดกระทรวงศึกษาธิการและมหาวิทยาลัย
สถานพยาบาลสังกัดกระทรวงศึกษาธิการและมหาวิทยาลัยบางแห่งมีศักยภาพในการผลิต
บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขได้ จึงมีการแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
ก) ประเภทโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยที่มีการผลิต บุคลากรทางการแพทย์ เป็นระดับ
ตติยภูมิ มีระดับความสามารถในขั้นสูง มีการเรียนการสอน การวิจัย เช่น โรงพยาบาลศิริราช
ข) ประเภทโรงพยาบาลและศูนย์การแพทย์ของมหาวิทยาลัยที่ไม่ได้ผลิต บุค ลากร
ทางการแพทย์ แต่มีการบริการทั่วไปและเฉพาะทาง เช่น เวชศาสตร์เขตร้อน โรงพยาบาลสวนสุนันทา
ศูนย์การแพทย์ปัญญานันทภิกขุ

LAW4172 กฎหมายการแพทย์ - LECURENOTES BY OCTOBER STUDY


P a g e | 18

3) สถานพยาบาลสังกัดกระทรวงกลาโหมและสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
แบ่งการสังกัดภายในออกเป็น 4 ส่ว น คือ สังกัดกรมการแพทย์ทหารบก สังกัดกรมแพทย์
ทหารเรือ สังกัดกรมแพทย์ทหารอากาศ และสังกัดสำนักงานตำรวจแห่งชาติ
4) สถานพยาบาลสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ก) กรุ ง เทพมหานคร เช่ น โรงพยาบาลกลาง โรงพยาบาลตากสิ น โรงพยาบาล
ลาดกระบัง
ข) องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อื่น เช่น โรงพยาบาลเมืองพัทยา โรงพยาบาล อบจ.
ภูเก็ต โรงพยาบาลนครศรีธรรมราช โรงพยาบาลเทศบาลนครอุดรธานี โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่
5) สถานพยาบาลสังกัดหน่วยงานอื่นๆ
เป็นสถานพยาบาลที่มีเพื่อสวัสดิการของบุคลากรของหน่วยงาน แต่ก็บริการแก่บุคคลทั่วไปด้วย
เช่น โรงพยาบาลบุรฉัตรไชยยากร (สังกัดการรถไฟ) โรงพยาบาลยาสูบ (สังกัดกระทรวงการคลัง) ทัณฑ
สถาน โรงพยาบาลราชทัณฑ์ (สังกัดกระทรวงยุติธรรม) และโรงพยาบาลการไฟฟ้านครหลวง (สังกัดการ
ไฟฟ้านครหลวง)
6) สถานพยาบาลที่มีสถานะเป็นองค์การมหาชน
มีเพียงแห่งเดียว คือ “โรงพยาบาลบ้านแพ้ว ” มีความเป็นอิสระ คล่องตัว ใช้ประโยชน์จาก
ทรัพยากรบุคลากรและทรัพย์สินของรัฐให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด อยู่ในกำกับของกระทรวงสาธารณสุข
มีเตียงมากกว่า 300 เตียงขึ้นไป
7) หน่วยงานพิเศษที่ไม่ใช่ของรัฐ
ในที่นี้ คือ “สภากาชาด” ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์สาธารณะ ก่อตั้งมาตั้งแต่ 26 เมษายน
พ.ศ.2439 (ร.ศ.112) มีโรงพยาบาลในดูแลทั้งสิ้น 2 แห่ง คือ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และโรงพยาบาล
สมเด็จพระบรมราชเทวี ณ ศรีราชา
2.3 หน่วยงานที่มีภารกิจด้านการประกันสุขภาพ
ระบบประกันสุขภาพของประเทศไทย แบ่งออกเป็น 3 ระบบ ได้แก่ การประกันสุขภาพสำหรับ
ข้าราชการและเจ้าหน้าที่ของรัฐ ประกันสังคม และหลักประกันสุขภาพทั่วหน้า
LAW4172 กฎหมายการแพทย์ - LECURENOTES BY OCTOBER STUDY
P a g e | 19

2.3.1 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)


หลักประกันสุขภาพทั่วหน้า อยู่ภายใต้หน่วยงานสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ระยะแรก
เป็นที่รู้จักในชื่อเรียกว่า 30 บาทรักษาทุกโรค ซึ่งเป็นการพยายามทำให้ประชาชนเข้าถึงบริการด้าน
สาธารณสุขของรัฐตามรัฐธรรมนูญ
อำนาจหน้ า ที่ ข องสำนั ก งานหลั ก ประกั น สุ ข ภาพแห่ ง ชาติ คื อ เพื ่ อ ทำหน้ า ที่ บ ริ ก ารด้ า น
สาธารณสุขแก่ประชาชนที่ไม่อยู่ภายใต้การคุ้มครองของหลักประกันประเภทอื่นของรัฐแล้ว ตาม ม.24
แห่ง พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 กำหนดให้มีสถานะเป็นนิติบุคคล ตามกฎหมาย
มหาชนประเภทองค์ ก รมหาชนภายใต้ การกำกับ ดู แ ลของรั ฐ มนตรี ก ระทรวงสาธารณสุ ข มี ก าร
บริหารงานโดยคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและ
มาตรฐานบริการสาธารณสุข ในการบริหารงานนั้นจะมีผู้รับผิดชอบซึ่งเรียกว่าเลขาธิการซึ่งแต่งตั้งโดย
คณะรัฐมนตรี
อำนาจหน้าที่ในการดำเนินการ
- คณะกรรมการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มีอำนจหน้าที่ ตาม ม.18
- คณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐาน มีอำนาจหน้าที่ ตาม ม.50
- สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มีอำนาจหน้าที่ ตาม ม.26

สาระสำคัญของ พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 คือ “สิทธิหลักประกันสุขภาพ


แห่งชาติ” เป็นสิทธิตามกฎหมายของคนไทยทุกคนตั้งแต่เกิดและตลอดช่วงชีวิต ไม่ใช่สิทธิเพื่อการ
สงเคราะห์เฉพาะกลุ่ม รู้จักกันในชื่อ “สิทธิบัตรทอง” หรือ “สิทธิ 30 บาท” โดยผู้มีสิทธิหลักประกัน
สุ ข ภาพแห่ง ชาติ คื อ ผู ้ ท ี ่ ม ี ส ั ญ ชาติ ไ ทย มี เ ลขประจำตั ว ประชาชน 13 หลั ก ของกรมการปกครอง
กระทรวงมหาดไทย และบุคคลนั้นจะต้องไม่มีสิทธิประกันสุขภาพอื่นที่ใช้จ่ายจากเงินงบประมาณของ
รัฐ ได้แก่ สิทธิตามกฎหมายประกันสังคม สิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลของข้าราชการ พนักงานส่วน
ท้องถิ่น หรือสิทธิสวัสดิการรักษาพยาบาลของหน่วยงานรัฐอื่นๆ เช่น รัฐ วิสาหกิจ องค์การมหาชน
ข้าราชการการเมือง

LAW4172 กฎหมายการแพทย์ - LECURENOTES BY OCTOBER STUDY


P a g e | 20

บทบัญญัติที่เกี่ยวกับการจัดการข้อร้องเรียนและคุ้มครองสิทธิ
ม.5 รับบริการสาธารณสุขที่มีมาตรฐานและประสิทธภาพตามที่กำหนด
ม.6 เลือกหน่วยบริการประจำ หรือเปลี่ยนหน่วยบริการประจำได้
รับบริการที่หน่วยบริการประจำ ยกเว้นอุบัติเหตุ เจ็บป่วยฉุกเฉินหรือเหตุตามสมควร สามารถ
ม.7
เข้าที่สถานบริการอื่นนอกเหนือจากหน่วยบริการประจำได้
ม.8 สิทธิว่าง ใช้สิทธิครั้งแรกที่หน่วยบริการใดก็ได้
สำนักงานมีอำนาจหน้าที่กำกับดูแลหน่วยบริการ อำนวยความสะดวกในการเสนอเรื่อง
ม.26
ร้องเรียน
ม.41 ให้คณะกรรมการกันเงินไว้เป็นเงินช่วยเหลือเบื้องต้น ในกรณีที่ผู้บริการได้รับความเสียหาย
หน่วยบริการให้บริการสาธารณสุขรวมทั้งการใช้วัคซีน ยา เวชภัณฑ์ อุปกรณ์ในการรักษาที่ได้
ม.45 (1)
มาตรฐานและมีคุณภาพ
คณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานมีอำนาจหน้าที่ กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ
ม.50 (5)
เงื่อนไข และวิธีพิจารณาเรื่องร้องเรียน
ม.57 ร้องเรียนเมื่อได้รับบริการที่ไม่ได้มาตรฐาน
ร้องเรียนเมื่อไม่ได้รับความสะดวก ไม่ได้รับบริการตามสิทธิ ถูกเรียกเก็บเงินที่ไม่มีสิทธิเก็บหรือ
ม.59
เกินอัตรา
ม.60 การกระทำผิดร้ายแรงหรือเกิดขึ้นซ้ำของหน่วยบริการตาม ม.59 หรือ 59

จากใน ม.41 เกี่ยวกับเงินช่วยเหลือเบื้องต้น ซึ่ง “เงินช่วยเหลือเบื้องต้น” หมายถึง เงินที่จ่ายให้


ผู้รับบริการ หรือทายาท หรือผู้อุปการะ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในกรณีที่ผู้รับบริการได้รับความ
เสียหายจากการรักษาพยาบาลในหน่วยบริการ โดยไม่ต้องรอการพิสูจน์ถกู ผิด

LAW4172 กฎหมายการแพทย์ - LECURENOTES BY OCTOBER STUDY


P a g e | 21

สำหรับหลักเกณฑ์การจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้น จากข้อบังคับคณะกรรมการหลักประกัน
สุขภาพ พ.ศ.2555 สรุปได้ดังนี้
1. ผู้รับบริการต้องเป็นผู้มีสิทธิตาม พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 และเป็นผู้ได้รับความ
เสียหาย
2. ความเสียหายที่เกิดขึ้นต้องเป็นความเสียหายที่เกิดจากการให้บริการสาธารณสุข หรือความเสียหายที่
เกิดจากเหตุสุดวิสัยในระบบการรักษาพยาบาล
3. ต้องไม่เป็นความเสียหายที่ดำเนินไปตามพยาธิสภาพของโรค หรือเหตุแทรกซ้อนของโรคที่เป็นไป
ตามปกติธรรมดาของโรคนั้นอยู่แล้ว
4. ต้องยื่นคำร้องภายใน 1 ปี นับแต่วันที่ทราบความเสียหาย โดยไม่ต้องรอพิสูจน์ ถูกผิดหรือผลพิสูจน์
ทางการแพทย์
5. ต้องพิจารณาให้เสร็จภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับการร้องขอ
6. หากผู้รับบริการหรือทายาทที่ยื่นคำร้อง ไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัยของคณะอนุกรรมการ สามารถยื่น
อุทธรณ์ได้ภายใน 30 วัน หลังได้รับแจ้ง โดยวิธีการและสถานที่ยื่นคำร้องเหมือนกับการยื่นคำร้องครั้ง
แรก โดยสำนั กงานสาขาจะนำคำร้องอุทธรณ์และผลการวินิจฉัยครั้งแรกส่งมาที่ สปสช. เพื่อให้
คณะกรรมการพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์เป็นผู้พิจารณา ซึ่ง คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณา
อุทธรณ์เป็นที่สิ้นสุด
*** แม้คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ จะเป็นที่สิ้นสุด แต่สิ้นสุดเพียงที่ห น่วยงานเท่านั้น
หากไม่พอใจหรือไม่เห็นด้วย ยังสามารถร้องต่อศาลปกครองได้อยู่ ***

ขอบเขตการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้น ตามกำหนดใน ข้อ 29 ของประกาศกระทรวงสาธารณสุข

1. พิจารณาถึงประเภทของความเสียหาย
2. พิจารณาถึงความรุนแรงและเศรษฐานะของผู้เสียหาย

เกณฑ์การพิจาณาเงินช่วยเหลือ
เสียชีวิตหรือทุพพลภาพอย่างถาวร จ่ายไม่เกิน 400,000 บาท
พิการหรือสูญเสียอวัยวะ จ่ายไม่เกิน 240,000 บาท
บาดเจ็บหรือเจ็บป่วยต่อเนื่อง จ่ายไม่เกิน 100,000 บาท
LAW4172 กฎหมายการแพทย์ - LECURENOTES BY OCTOBER STUDY
P a g e | 22

2.3.2 สำนักงานประกันสังคม
เป็นหน่วยงานที่จัดตั้งขึ้นตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มีสถานะเป็นนิติบุคคล สังกัด
กระทรวงมหาดไทย มีการบริหารโดยคณะกรรมการ 2 ชุด คือ คณะกรรมการประกันสังคม มีอำนาจ
หน้าที่ ตาม ม.9 และคณะกรรมการการแพทย์ มีอำนาจหน้าที่ตาม ม.15

2.3.3 กรมบัญชีกลาง
เป็นหน่วยงานสังกัดกระทรวงการคลัง มีหน้าที่ในการพิจารณาและจ่ายค่ารักษาพยาบาลให้แก่
ข้าราชการและเจ้าหน้าที่รัฐ มีผู้สิทธิตามระบบนี้ประมาณ 5 ล้านคน หรือประมาณ 8% ของผู้มีสิทธิตาม
หลักประกันสุขภาพทุกประเภทของประเทศไทย ระบบนี้จะถือหลักปฏิบัติตามพระราชกฤษฎีกาเงิน
สวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล พ.ศ.2553

2.4 หน่วยงานหลักที่มีภารกิจด้านการวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ
2.4.1 สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข
2.4.2 สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์
2.4.3 สถาบันมะเร็ง

2.5 หน่วยงานหลักที่มีภารกิจด้านการกำกับดูแล ควบคุมและการตรวจสอบ


2.5.1 สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล (สรพ.)
เป็นหน่วยงานที่มีสถานะเป็นนิติบุคคล ประเภทองค์การมหาชน ตาม พรฎ.จัดตั้งสถาบันรับรอง
คุณภาพสถานพยาบาล (องค์การมหาชน) พ.ศ.2552 อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐมนตรีกระทรวง
สาธารณสุข มีภารกิจรับรองคุณภาพสถานพยาบาลทั้งรัฐและเอกชน โดยในการรับรองจะมีเงื่อนไขว่า
“สถานพยาบาลจะต้องมีองค์ประกอบของการปฏิบัติงานและการพัฒนาคุณภาพที่เ ชื่อได้ว่าจะสามารถ

LAW4172 กฎหมายการแพทย์ - LECURENOTES BY OCTOBER STUDY


P a g e | 23

ให้บริการด้านสาธารณสุขโดยมีระบบการดำเนินงานที่ดีและมีคุณภาพตามมาตรฐานที่สถาบันได้กำหนด
ไว้” เพื่อเป็นหลักประกันให้ประชาชนได้รับบริการด้านสาธารณสุขที่ไม่ต่ำกว่ามาตรฐาน
2.5.2 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
เป็ น หน่ ว ยงานที ่ ม ี ห น้ า ที ่ โ ดยตรงในการกำกั บ ดู แ ลควบคุ ม ตรวจสอบผลิ ต ภั ณ ฑ์ ส ุ ข ภาพ
ภายในประเทศ และผลิตภัณฑ์สุขภาพที่นำเข้าจากต่างประเทศ ให้เป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้
ประชาชนได้บริโภคผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน และมีความปลอดภัย
ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่อยู่ในความดูแลของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หมายความถึง
ผลิตภัณฑ์อาหาร ยา ยาเสพติดให้โทษ วัตถุที่ออกฤทิ์ต่อจิตประสาท สารระเหย เครื่องสำอาง วัตถุ
อันตรายที่ใช้ในบ้านเรือนหรือทางสาธารณสุข และเครื่องมือแพทย์
กฎหมายที่เกี่ยวข้องในการกำกับดูแล เช่น
- พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ.2522
- พ.ร.บ.ยา พ.ศ.2510
- พ.ร.บ.เครื่องสำอาง พ.ศ.2558
- พ.ร.บ.วัตถุอันตราย พ.ศ.2535
- พ.ร.บ.เครื่องมือแพทย์ พ.ศ.2531
- กฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติด
รวมทั้งกำกับตามข้อตกลงระหว่างประเทศด้วย

2.5.3 สำนักงานคุ้มครองผู้บริโภค
เป็นหน่วยงานที่คุ้มครองประชาชนในฐานะผู้บริโภคสินค้าและบริการจากผู้ประกอบการ ผู้
โฆษณา เพื่อรับสินค้าและบริการที่ได้มาตรฐาน มีคุณภาพ ไม่ส่งผลกระทบต่อตนเองและครอบครัว
ป้องกันการเอาเปรียบจากผู้ประกอบการ ตาม ม.10 แห่ง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 ได้กำหนด
หน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค เช่น รับเรื่องราวร้องทุกข์ ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทก่อน
ฟ้องศาล แจ้งข่าว ดำเนินคดีเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิผู้บริโภค เป็นต้น

LAW4172 กฎหมายการแพทย์ - LECURENOTES BY OCTOBER STUDY


P a g e | 24

กฎหมายที่เกี่ยวข้องในการกำกับดูแล เช่น
- พ.ร.บ.คุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522
- พ.ร.บ.วิธีพิจารณาคดีผู้บริโภค พ.ศ.2511
- พ.ร.บ.ขายตรงและตลาดแบบตรง พ.ศ.2545
- พ.ร.บ.ความรับผิดต่อความเสียหายในสินค้าที่ไม่ปลอดภัย พ.ศ.2551

สิทธิที่เกี่ยวกับการแพทย์ สิทธิในสุขภาพ และสิทธิของผู้ป่วย


1. สิทธิในสุขภาพ (Right to Health)
คำว่า “สุขภาพ” ตาม พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 ม.3 หมายถึง ภาวะของมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้ง
ทางกาย ทางจิต ทางปัญญา และทางสังคม เชื่อมโยงกันเป็นองค์รวมอย่างสมดุลย์ นอกจากนี้ในความเห็นทาง
วิชาการ ยังรวมไปถึงจิตวิญญาณด้วย
สภาพของร่างกายที่มีความเจริญเติบโตและพัฒนาการสมวัย สะอาด สมบูรณ์ แข็งแรง ปราศจาก
สุขภาพกาย
โรคภัยไข้เจ็บและทุพพลภาพ พร้อมทั้งมีภูมิคุ้มกันโรต หรือความต้านทานโรคเป็นอย่างดี
ความสามารถในการปรั บ ตั ว ให้ ม ี ค วามสุ ข อยู ่ ใ นสั ง คมและสิ ่ ง แวดล้ อ มได้ เ ป็ น อย่ า งดี มี
สัมพันธภาพกับบุคคลอื่น ดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยความสมดุล และสนองความต้องการของตนเองใน
สุขภาพจิต
ภาวะที่มีการเปลี่ยนแปลงโดยไม่มีข้อขัดแย้ง มิได้หมายความรวมเฉพาะเพียงแต่ปราศจากอาการ
ของโรคประสาท หรือโรคจิตเท่านั้น
ความรู้ทั่วรู้เท่าทันและความเข้าใจอย่างแยกได้ในเหตุผลแห่งความดีความชั่ว ความมีประโยชน์
ปัญญา
และความมีโทษซึ่งนำไปสู่ความมีจิตอันดีงามและเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่
สุขภาพ การอยู่ร่วมกันด้วยดี มีครอบครัวที่อบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง สังคมมีความยุติธรรม มีความสอดคล้อง
สังคม มีสันติภาพ มีความเป็นประชาสังคม มีระบบบริการที่ดี และระบบบริการเป็นกิจกรรมทางสังคม

“สิทธิในสุขภาพ” คือ การรับรองและคุ้มครองให้บุคคลได้รับปรโยชน์ในภาวะที่สมบูรณ์ทั้งทางกาย


ทางจิต ทางปัญญา และทางสังคม เชื่อมโยงกันเป็นองค์รวมอย่างสมดุลย์

LAW4172 กฎหมายการแพทย์ - LECURENOTES BY OCTOBER STUDY


P a g e | 25

สิทธิในสุขภาพ มีทั้งสิทธิตามกฎหมายเอกชน และสิทธิตามกฎหมายมหาชน ในแง่ของสิทธิในสุขภาพ


ตามกฎหมายเอกชน คือ สิทธิในสุขภาพที่เรียกร้องให้เอกชนด้วยกัน กระทำการ งดกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง
เพื่อเคารพต่อสุขภาพของบุคคลอื่น เช่น การไม่สูบบุหรี่ในอาคาร ไม่เผาขยะในที่สาธารณะ ไม่ปล่อยของเสียจาก
โรรงานหรืออาคารลงแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคของผู้อื่น และการไม่ส่งเสียงยามวิกาล เป็นต้น ส่วนสิทธิใน
สุขภาพตามกฎหมายมหาชน คือ การเรียกร้องต่อรัฐให้ดำเนินการต่างๆ อันมีลักษณะเป็นการรับรองและคุ้มครอง
สุขภาพที่ดีของประชาชน โดยเฉพาะการจัดสวัสดิการให้ประชาชนภายในรัฐนั้น มีความสมบูรร์พร้อมทั้ง ร่างกาย
จิตใจ ปัญญา และในทางสังคม เช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 รับรองสิทธิ ในการได้รับบริการ
สาธารณสุขจากรัฐอย่างเสมอภาคเท่าเทียม เหมาะสม มีคุณภาพและได้มาตรฐานตาม ม.47 และ ม.55 การจัด
สวัสดิการ สิ่งอำนวยความสะดวก และความช่วยเหลือที่เหมาะสมจากรัฐสำหรับผู้สูงอายุและบุคคลยากไร้ ตาม ม.
48 การให้สิทธิได้รับการเลี้ยงดูและการศึกษาอบรมที่เหมาะสมจากรัฐสำหรับเด็กและเยาวชนที่ไม่มีผู้ดูแล ตาม ม.
54
สิทธิในสุขภาพในความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชนนั้น มี 2 ลักษณะด้วยกัน คือ สิทธิเรียกร้อง และ
ไม่ต้องเรียกร้อง
สิทธิเรียกร้อง (สิทธิเชิงบวก) ไม่ต้องเรียกร้อง (สิทธิเชิงลบ)
เมื่อมีการเรียกร้องต่อรัฐให้ต้องดำเนิน การอย่างใด การที ่ บ ุ ค คลสามารถใช้ ส ิ ท ธิ ใ นสุ ข ภาพได้ เ องโดย
อย่างหนึ่งแก่ประชาชน เช่น การจัดสวัสดิการด้านการ ปราศจากการเข้ามาดำเนินการใดๆหรือแทรกแซงจาก
รักษาและสาธารณสุขให้แก่ป ระชาชน ด้านสุขภาพ รั ฐ เช่ น สิ ท ธิ เ สรี ภ าพที ่ จ ะเลื อ กที ่ อ ยู ่ อ าศั ย ใน
อาหาร ที่อยู่อ าศัย การศึกษาแก่เด็กเร่ร่อน ดูแลคน สิ่งแวดล้อมที่ดีต่อสุขภาพของตน สิทธิเสรีภาพของ
พิการและผู้ส ูงอายุ ที่ช ่ว ยเหลือตัว เองไม่ได้ การลด ผู้ป่วยในสถานพยาบาลของรัฐในการเลือกวิธีการรักษา
ความเหลื่อมล้ำ และการสร้างความเท่าเทียมในเชิง หรือปฏิเสธการรักษา การต้องการมีบุตรหรือไม่มีบุตร
สังคม เศรษฐกิจและวัฒนธรรม เช่น การออก พ.ร.บ. ด้วยวิธีใด
คู่ชีวิต การออกกฎหมายคุ้มครองสิทธิของทุกศาสนา

1.1 สิทธิในสุขภาพที่มีลักษณะเป็นสิทธิเรียกร้อง
เป็นสิทธิตามกฎหมาย หรือตามรัฐธรรมนูญ แบ่งเป็น สิทธิในสุขภาพโดยทั่ว ไป และสิทธิในสุขภา พ
โดยเฉพาะ
1.1.1 สิทธิในสุขภาพโดยทั่วไป
LAW4172 กฎหมายการแพทย์ - LECURENOTES BY OCTOBER STUDY
P a g e | 26

คือ สิทธิที่รัฐมุ่งคุ้มครองแก่ประชาชนที่อาศัยหรือดำเนินกิจกรรมภายในรัฐโดยไม่เจาะจงกลุ่ม
บุคคลใดเป็นการเฉพาะ มีการรับรองไว้ตามรัฐธรรมนูญ พ.ร.บ. กฎ ระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ เช่น ตาม ม.
47 และ 55 แห่งรัฐธรรมนูญที่กำหนดรับ รองสิทธิในการได้รับบริการสาธารณสุขที่เหมาะสมและได้
มาตรฐานสำหรับพลเมืองไทย หรือใน ม.58 ที่กำหนดสิทธิในการมีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น
1.1.2 สิทธิในสุขภาพโดยเฉพาะ
คือ สิทธิที่รัฐมุ่งให้ความคุ้มครองแก่บุคคลบางกลุ่มเป็นการเฉพาะ เพราะอาจมีกลุ่มผู้ด้อยโอกาส
หรือขาดโอกาส กฎหมายจะกำหนดแบบกว้างไว้ในรัฐธรรมนูญ และไปกำหนดรายละเอียดในกฎหมาย
ลำดับรอง เช่น การคุ้มครองเด็ก ผู้สูงอายุ คนพิการ แรงงาน เช่น ม.48 ว.2 กรณีคนสูงอายุและผู้ยากไร้
1.2 สิทธิในสุขภาพที่มีลักษณะไม่ต้องเรียกร้อง
1.3 สิทธิในสุขภาพทั่วไปตามพันธกรณีระหว่างประเทศ
เช่น ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ค.ศ.1948 ข้อ 1, 3, 21 (2), 25 และกติการะหว่างประเทศว่า
ด้วยเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ค.ศ.1966 ข้อ 12
ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ค.ศ.1948
มนุษย์ทั้งปวงเกิดมามีอิสระและเสมอภาคกันในศักดิ์ศรีและสิทธิต่างในตน มีเหตุผลและมโนธรรม
ข้อ 1
และควรปฏิบัติต่อกันด้วยจิตวิญญาณแห่งภราดรภาพ
ข้อ 3 ทุกคนมีสิทธิในการมีชีวิต เสรีภาพ และความมั่นคนแห่งบุคคล
ข้อ 21 (2) ทุกคนมีสิทธิที่จะเข้าถึงบริการสาธารณะในประเทศตนโดยเสมอภาค
(1) ทุกคนมีสิทธิในมาตรฐานการครองชีพอันเพียงพอสำหรับสุขภาพและความอยู่ดีของตนและ
ครอบครัว รวมทั้งอาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และการดูแลรักษาทางการแพทย์ และบริการ
สังคมที่จ ำเป็น และมีส ิทธิในหลักประกันยามว่างงาน เจ็บป่ว ย พิการ หม้าย วัยชรา หรือ
ข้อ 25 ปราศจากการดำรงชีพอื่นในสภาวะแวดล้อมนอกเหนือการควบคุมของตน

(2) มารดาและเด็กย่อมมีสิทธิที่จะรับการดูแลรักษาและการช่วยเหลือเป็นพิเศษ เด็กทั้งปวงไม่ว่า


จะเกิดในหรือนอกสมรส จะต้องได้รับการคุ้มครองทางสังคมเช่นเดียวกัน

LAW4172 กฎหมายการแพทย์ - LECURENOTES BY OCTOBER STUDY


P a g e | 27

กติการะหว่างประเทศว่าด้วยเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม ค.ศ.1966 ข้อ 12


1. รัฐภาคีแห่งกติกานี้รับรองสิทธิของทุกคนที่จะมีสุขภาพกายและสุขภาพจิตตามมาตรฐานสูงสุดเท่าที่
เป็นได้
2. ขั้นตอนในการดำเนินการโดยรัฐภาคีแห่งกติกานี้ เพื่อบรรลุผลในการทำให้สิทธินี้เป็นจริงอย่างสมบูรณ์
จะต้องรวมถึงสิ่งต่างๆที่จำเป็น

1.4 สิทธิในสุขภาพเฉพาะตามพันธกรณีระหว่างประเทศ
เป็นสิทธิในสุขภาพของบุคคลกลุ่มเปราะบางเป็นการเฉพาะ ได้แก่
1.4.1 สิทธิในสุขภาพของเด็กและเยาวชน เช่น อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็ก ค.ศ.1989
1.4.2 สิทธิในสุขภาพของผู้ยากไร้ เช่น
- อนุสัญญาว่าด้วยการช่วยเหลือด้านอาหาร ค.ศ.2012
- ปฏิญญาอีสตันบูลว่าด้วยการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ ค.ศ.1996
- ปฏิญญาว่าด้วยเมืองและถิ่นที่อยาอาศัยและอื่นๆในสหัสวรรษใหม่ ค.ศ.2016
- ปฏิญญาทางการเมืองเรื่องเอชไอวีแอนเอดส์ ค.ศ.2022
1.4.3 สิทธิในสุขภาพของคนพิการ เช่น อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของคนพิการ ค.ศ.2006 ข้อ 25
1.4.4 สิทธิในสุขภาพของคนสูงอายุ เช่น หลักการสำหรับผู้สูงอายุขององค์การสหประชาชาติ
ค.ศ.1991
1.4.5 สิทธิของคนต่างด้าว (ไม่มีสัญชาติไทย) เช่น
- ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ค.ศ.1948 ข้อ 1, 2, 3, 7
- กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมือง และสิทธิการเมือง ข้อ 5, 10, 13, 27
ฎ.6785/2544 วางหลักของการเข้ารับการรักษาของคนต่างด้าวที่เข้าเมืองโดยไม่ถูกกฎหมาย
ว่า “เมื่อคนต่างด้าวเหล่านั้นเจ็บป่วยจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาพยาบาล สถานพยาบาล
และโรงพยาบาลของรัฐ ย่อมไม่อาจปฏิเ สธการรัก ษาพยาบาล ทั้งนี้ด้วยเหตุผลด้ า น
มนุษยธรรม”

LAW4172 กฎหมายการแพทย์ - LECURENOTES BY OCTOBER STUDY


P a g e | 28

1.5 การรับรองสิทธิในสุขภาพของประเทศไทย
แบ่งออกเป็น 2 ส่วนด้วยกัน คือ การรับรองสิทธิตามรัฐธรรมนูญ และการรับรองสิทธิตามพระราชบัญญัติ
และกฎหมายยลำดับรอง
1.5.1 การรับรองสิทธิตามรัฐธรรมนูญ มีการแยกย่อยออกเป็น 2 อย่าง คือ สิทธิในสุขภาพทั่วไป
และสิทธิในสุขภาพโดยเฉพาะ
1) สิทธิในสุขภาพทั่วไป มีลักษณะเป็นสิทธิขั้นพื้นฐาน ดังจะเห็นได้จากการรับรอง “สิทธิในการ
ได้รับบริการทางสาธารณสุข” ทั้งในรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540 และ 2560 ซึ่งมีการรับรองเป็น 3 ลักษณะ คือ
สิทธิในสุขภาพด้านร่างกายและจิตใจ สิทธิในสุขภาพด้านสติปัญญา และสิทธิในสุขภาพด้านสังคม
2) สิทธิในสุขภาพโดยเฉพาะ เช่น การคุ้มครองผู้ด้อยโอกาส
ผลเมื่อรัฐธรรมนูญให้การรับรองสิทธิในสุขภาพ คือ การจัดทำบริการสาธารณสุข เป็นหน้าที่ของรัฐ
ประชาชนและชุมชนเกิดสิทธิที่จะติดตาม เร่งรัด ฟ้องหน่วยงาน ตาม ม.25 ว.3 ที่รับรองให้สิทธิในสุขภาพและ
สิทธิอื่นๆ มีสิทธิทางศาลเพื่อบังคับรัฐให้ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยสิทธิเสรีภาพ

1.5.2 การรับรองสิทธิต ามพระราชบัญญัติแ ละกฎหมายลำดับรอง มีการบัญญัติไว้ทั้งใน


กฎหมายหลัก และกฎหมายที่มีเนื้อหาด้านสุขภาพเป็นการเฉพาะ
1) กฎหมายหลัก มี 2 ฉบับ คือ พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 และ พ.ร.บ.หลักประกัน
สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545
1.1) พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 สิทธิที่ให้การรับรองไว้ เช่น
ม.5 สิทธิในการดำรงชีวิตในสิ่งแวดล้อมและสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อสุขภาพ
สิทธิในสุขภาพของหญิง และสิทธิในสุขภาพของคนพิการ คนสูงอายุ คนด้อยโอกาสใน
ม.6
สังคมและกลุ่มคนต่างๆที่มีความจำเพาะเรื่องสุขภาพ
ม.7 สิทธิในข้อมูลด้านสุขภาพของตน
ม.8 สิทธิในการได้รับทราบข้อมูลเมื่อเข้ารับบริการสาธารณสุข
ม.9 สิทธิรับทราบข้อมูลเมื่อตนเข้าร่วมการวิจัย

LAW4172 กฎหมายการแพทย์ - LECURENOTES BY OCTOBER STUDY


P a g e | 29

สิทธิในการร้องขอให้มีการประเมินและมีสิทธิร่วมกระบวนการประเมินผลกระทบด้าน
ม.11
สุขภาพ
สิทธิทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขเพื่อยืดการตายในวาระ
ม.12
สุดท้ายของชีวิตตนหรือยุติความทรมานจากความเจ็บป่วย

1.2) พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 เป็นกฎหมายที่มีวัตถุประสงค์เพื่อ


ลดความเหลื่อมล้ำและไม่เท่าเทียมในสังคม พยายามแก้ไขปัญหาการบริการด้านสาธารณสุขและการ
ทำงานไม่ประสานความร่วมมือ มีการกำหนดระบบประกันสุขภาพคนไทยเป็น 3 ระบบ คือ ระบบประกัน
สำหรับข้าราชการและเจ้าหน้าที่รัฐ ระบบประกันสังคม และระบบประกันสุขภาพทั่วหน้า
2) กฎหมายที่มีเนื้อหาด้านสุขภาพเป็นการเฉพาะ มี 3 กลุ่ม คือ
เช่น พ.ร.บ.การสาธารณสุข การรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบ
กฎหมายด้านอนามัย
เรี ย บร้ อ ยของบ้ า นเมื อ ง ส่ ง เสริ ม และรั ก ษาความสะอาดและความเป็น
สิ่งแวดล้อม
ระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมืองและโรงงาน
กฎหมายด้านการ เช่น พ.ร.บ.อาชีวอนามัย และความปลอดภัยในการทำงาน สุสานและฌาปน
ควบคุมโรค สถาน โรคติดต่อ คุ้มครองสุขภาพของผู้ไม่สูบบุหรี่
กฎหมายคุ้มครอง เช่น พ.ร.บ.ยา อาหาร ยาสูบ เครื่องมือแพทย์ เครื่องสำอาง คำประกาศสิทธิ
ผู้บริโภคด้านสุขภาพ ผู้ป่วย

1.6 สิทธิของผู้ป่วยในช่วงเวลาต่างๆ
1.6.1 สิทธิของผู้ป่วยก่อนเข้ารับการรักษาหรือบริการ

1. สิทธิเข้าถึงการรักษา
2. สิทธิเข้าถึงและรับรูปข้อมูลด้านสุขภาพที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการ
3. สิทธิให้ความยินยอมและเลือกวิธีการรักษา
4. สิทธิปฏิเสธการรักษา
5. สิทธิได้รับการคุ้มครองจากการถูกทดลองในงานวิจัย

LAW4172 กฎหมายการแพทย์ - LECURENOTES BY OCTOBER STUDY


P a g e | 30

สิทธิให้ความยินยอม
1. ความยินยอมอันบริสุทธิ์ของผู้มีความสามารถ
จะต้ อ งมี เ จตนาอั น แท้ จ ริ ง ด้ ว ยใจสมั ค ร
องค์ประกอบของการให้ความยินยอมหลังการแจ้ง ปราศจากการบังคับ ขู่เข็ญ หลอกลวง สำคัญ
ข้อมูลอย่างเพียงพอก่อนรับการรักษา (Informed ผิด หรือด้วยเหตุอันมิชอบอื่นๆ
consent) 2. ความยินยอมไม่ขัดต่อสำนึกในศีลธรรมอันดี
ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย กล่าวคือ เป็น
*แม้ยินยอม แต่ถ้าแพทย์ดำเนินบกพร่อง ไม่เป็นไป ความยินยอมต่อการรักษาตามหลักวิชาทาง
ตามมาตรฐาน กฎหมายก็ไม่คุ้มครอง ถือว่าแพทย์ทำ การแพทย์การสาธารณสุข มีมาตรฐาน ไม่ผิด
ละเมิดแล้ว ธรรมชาติหรือหลักวิชา
3. ความยินยอมต้องมีจนถึงขณะกระทำการหรือ
** ม.8 พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 ไม่ได้บังคับ หัตถการใดๆ ไม่มีการเพิกถอนความยินยอม
ให้ต้องทำเป็นหนังสือ ดังนั้น คู่ความจึงไม่ต้องห้ามนำ ก่อน
พยานบุคคลเข้าสืบเพื่อแก้ไขเปลี่ยนแปลงรายละเอียด 4. ความยินยอมต้องผ่านการรับรู้ข้อมูล อย่าง
ในหนังสือนั้น ตาม ป.วิ.พ. ม.94 สมบูรณ์ ถูกต้อง ชัดเจน และเพียงพอ
5. ความยินยอมต้องแสดงออกจากการมี ส ่ ว น
ร่วม (Active consent)

สิทธิปฏิเสธการรักษา
ม.8 ว.1 พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ 2550 ผู้ป่วยสามารถปฏิเสธการรักษาได้ทุกขั้นตอน
ทั่วไป
การรักษา และทุกช่วงเวลา
ม.12 พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ 2550 ผู้ป่วยแสดงเจตนายุติการรักษาในวาระสุดท้าย
วาระสุดท้ายของชีวิต
ของชีวิตได้

1.6.2 สิทธิของผู้ป่วยในระหว่างและหลังการรับบริการด้านสุขภาพ เช่น คำประกาศสิทธิของ


ผู้ป่วย พ.ศ.2541 และคำประกาศสิทธิและข้อพึงปฏิบัติของผู้ป่วย พ.ศ.2558 แต่อย่างไรก็ตาม คำประกาศ
สิทธินั้นไม่มีสถานะเป็นกฎหมาย เป็นเพียงหลักเกณฑ์เท่านั้น

LAW4172 กฎหมายการแพทย์ - LECURENOTES BY OCTOBER STUDY


P a g e | 31

1.6.3 สิทธิของผู้ป่วยในวาระสุดท้ายของชีวิต จากปฏิญญาลิสบอน ว่าด้วยสิทธิของผู้ป่ วย ข้อ


10 C ได้กำหนดไว้ว่า “จะได้รับการดูแลรักษาตามหลักสิทธิมนุษยธรรมในวาระสุดท้ายของชีวิตตนเองและจะได้รับ
ความช่วยเหลือให้จากไปอย่างสงบและสมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้”
ใน พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 ม.12 ได้มีการระบุถึงกรณีสิทธิของผู้ป่วยในวาระสุดท้าย
ของชีวิตไว้เช่นกันว่า “บุคคลมีสิทธิทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืด
การตายในวาระสุดท้ายของชีวิตตนหรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วยได้ ซึ่งสิทธิดังดล่าวนี้จะพิจารณาจาก
พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 ม.12 ร่วมกับ กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการดำเนินการตามหนังสื อ
แสดงเจตนาไม่ประสงค์รับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตตรหรือเพื่อยุติการ
ทรมานจากการเจ็บป่วย พ.ศ.2553
คำสำคัญ
- ยูธานาเซีย
- การุณยฆาต
- การช่วยเหลือให้ฆ่าตัวตาย

1) ยูธานาเซีย (Euthanasia)
เป็นมาตรการที่ใช้เพื่อการปลดปล่อย ด้ วยความมุ่งหมายตั้งใจให้จบชีวิต เป็นการบรรเทาความ
ทุกข์ทรมานที่ยากต่อการแก้ไข ซึ่งมีการช่วยให้จบชีวิต
ในมุมมองของแพทยสมาคมโลก ให้ความเห็นว่ายูธานาเซียเป็นการกระทำโดยตั้งใจจะทำลายชีวิต
ของผู้ป่วย แม้ว่าจะเป็นากรทำตามคำขอร้องของผู้ป่วยหรือญาติสนิท ก็ถือว่าผิดจริยธรรม แต่ไม่รวมถึงการดูแล
ของแพทย์ที่เคารพต่อความปรารถนาของผู้ป่วย ในวาระสุดท้ายของชีวิตซึ่งประสงค์ที่จะเสียชีวิตตามธรรมชาติ
1.1) Passive Euthanasia คือ การงดเว้นการช่วยเหลือหรือรักษาบุคคลโดยให้คนไข้
ตายไปเองอย่างสงบ ไม่ใช้เครื่องมื อหรือยากระตุ้นให้คนไข้ตาย (สอดคล้องกับลักษณะของ ม.12 แห่ง พ.ร.บ.
สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2550 เป็นการดูแลแบบประคับประคอง)

LAW4172 กฎหมายการแพทย์ - LECURENOTES BY OCTOBER STUDY


P a g e | 32

1.2) Active Euthanasia คือ การทำให้บุคคลตายโดยเจตนาและตายอย่างสงบ ด้วย


วิธีการที่ไม่รุนแรงหรือวิธีการที่ทำให้ตายอย่างสะดวก
2) การุณยฆาต (Mercy Killing)
เป็นการเร่งให้บุคคลที่รักษาไม่หายและมีความทุกข์แสนสาหัสได้ จบชีวิตลงเพื่อให้ผู้ป่วยพ้นจาก
ความทุกข์ทรมานซึ่งเกิดขึ้นเมื่อบุคคลนั้นยังหายใจอยู่ แต่ไม่มีความสามารถที่จะรับรู้ การให้อาหารก็ต้องให้ทาง
สายเลือด การหายใจต้องใช้เครื่องช่วย
3) การช่วยเหลือให้ฆ่าตัวตาย (Physician-assisted suicide)

LAW4172 กฎหมายการแพทย์ - LECURENOTES BY OCTOBER STUDY

You might also like