Download as docx, pdf, or txt
Download as docx, pdf, or txt
You are on page 1of 61

ชื่อโครงงาน ผ้าแสนสวยด้วยสีธรรมชาติ

จัดทำโครงงาน นักเรียนชั้นอนุบาลปี ที่ 3 โรงเรียนบ้าน


หัวช้าง
ที่ปรึกษา นางสาววัชราภรณ์ วรรณคง นางเบญจพร
เชื้อลิ้นฟ้ า
ระยะเวลาในการจัดทำ วันที่ 5 มกราคม- 19 กุมภาพันธ์
พ.ศ 2562

ที่มาของโครงงาน (วันที่ 5 มกราคม 2562)


จากการเรียนเรื่องหน่วยสีแสนสนุกครูสนทนากับเด็กเรื่องพืช
หรือสมุนไพรพื้นบ้านที่มีสีต่าง ๆในขณะที่เด็กๆเกิดการสงสัยว่าสีจาก
พืช ดอกไม้หรือสมุนไพรพื้นบ้านสามารถนำไปทำอะไรได้บ้างจึงทำให้
เกิดคำถามต่าง ๆ ขึ้น
ขั้นที่ 1 ตั้งคำถามที่อยากรู้
ครู: บ้านใครปลูกพืชดอกไม้หรือสมุนไพรที่มีสีต่างๆบ้าง
น้องใบเตย: บ้านหนูปลูกใบเตยค่ะ
แน็ค: บ้านผมมีขมิ้นครับ
ใบเบิ้ล: บ้านผมมีดอกอัญชันเยอะเลยครับ
มิ้น: บ้านหนูมีดอกกุหลาบ
ญา: บ้านหนูก็มีดอกกุหลาบ
ปอน: บ้านหนูมีดอกดาวเรืองค่ะ
ครู: ที่บ้านของเด็ก ๆนอกจากจะนำพืชดอกไม้หรือสมุนไพรพื้นบ้านที่
มีสีต่าง ๆไปไหว้พระหรือทาแก้ผื่นคันแล้วเราสามารถนำไปทำอะไรได้
อีกบ้าง
ขวัญ: แม่หนูเอาไปทำขนมค่ะ สีจะได้สวยๆ
มุ้ง: แม่หนูก็เอาไปต้มทำน้ำใบเตยค่ะหอมแล้วอร่อยด้วย
แหวน: หนูกับพี่เคยเอามาถูเสื้อให้เป็ นสีค่ะครู(ครูบันทึกคำตอบลงใน
กระดาษ)
น้ำ: หนูเคยเอาดอกกุหลาบมาทาปากให้เป็ นสี(ครูบันทึกคำตอบลงใน
กระดาษ)
ครู: ลองยกตัวอย่างพืช ดอกไม้ สมุนไพร ที่มีสีต่าง ๆมา 3 ชนิด
หนูนา: ดอกอัญชันค่ะ
หนูดี: ใบเตยสีเขียวค่ะครู
อิม: ขมิ้นสีเหลือง
ครู: เป็ นเรื่องที่น่าสนใจมากเลยค่ะ เรามาช่วยกันหาคำตอบกัน
สรุปคำถามที่เด็ก ๆ อยากรู้
คำถามที่ 1 พืช ดอกไม้ สมุนไพรมีสีที่ติดผ้าได้หรือไม่
คำถามที่ 2 ใบเตย ดอกอัญชัน ขมิ้น จะสามารถมาเปลี่ยนสีผ้า
ได้อย่างไร
จากการที่เด็กสนใจคำถาม 2 คำถาม ครูจึงสนทนาร่วมกับเด็ก
ๆ และสรุปถึงคำถามที่เด็ก ๆจะนำมาตรวจสอบ จำนวน 2 คำถาม
โดยใช้เหตุผลในการเรียงลำดับคำถามที่อยากรู้มากที่สุดมาทดลอง
ก่อน และครุใส่ตัวเลขตามลำดับจากอยากรู้มากไปหาน้อย 1,2 ดังนี้
คำถามที่ 1 พืช ดอกไม้ สมุนไพรมีสีที่ติดผ้าได้หรือไม่
คำถามที่ 2 ใบเตย ดอกอัญชัน ขมิ้น จะสามารถมาเปลี่ยนสีผ้า
ได้อย่างไร

ตั้งคำถามที่เด็ก

ครูสรุปคำถามของเด็ก
คำถามที่ 1 พืช ดอกไม้ สมุนไพรมีสีที่

ขั้นที่ 1 ตั้งคำถามเกี่ยวกับพืช ดอกไม้ สมุนไพร (วันที่ 8 มกราคม


2562)
จุดประสงค์
เพื่อศึกษา พืช ดอกไม้ สมุนไพรมีสีที่ติดผ้าได้หรือไม่
ตัวแปรที่ศึกษา
ตัวแปรต้น ใบเตย ดอกอัญชัน ขมิ้น
ตัวแปรตาม สีที่ติดผ้า
ตัวแปรควบคุม น้ำใบเตย น้ำดอกอัญชัน น้ำขมิ้น
ขั้นที่ 2 รวบรวมความคิดและข้อสันนิฐาน (วันที่ 9 มกราคม 2562)
เด็กและครูสนทนาร่วมกัน โดยใช้คำถามกระตุ้นให้เด็กเล่า
ประสบการณ์ที่เกี่ยวกับพืช ดอกไม้ สมุนไพรที่สามารถนำมาย้อมผ้าที่
เด็กเคยเห็นเคยรู้จัก มีที่บ้านและชุมชนที่เด็กอาศัยอยู่
ครู: นักเรียนเคยเห็นผู้ปกครองนำ ใบเตย ดอกอัญชัน ขมิ้น มา
ย้อมผ้าบ้างไหม
มีนา: หนูไม่เคยเห็นค่ะแต่เคยเห็นเวลาแม่คั้นดอกอัญชันและนำ
ผ้าขาวมากรองสีของน้ำอัญชันจะติดผ้าสีขาวค่ะเป็ นสีม่วงค่ะ
แป๋ ว: ใช่ค่ะหนูก็เคยเห็นผ้าจะเป็ นสีเขียวเหมือนใบเตยเลยค่ะ
ทอฝั น: แต่หนูเคยเอาขมิ้นมาทาตัวแล้วถูโดนเสื้อ เสื้อหนูเป็ นสี
เหลืองเลยค่ะ
ครูจึงชวนเด็ก ๆ สนทนาต่อเนื่องว่า ที่เด็ก ๆ เคยเห็นและรู้จัก
มีลักษณะเหมือนกันไหมคะ แตกต่างกันอย่างไร จากนั้นครูทบทวน
คำถามที่เด็กอยากรู้คือ “พืช ดอกไม้ สมุนไพรมีสีที่ติดผ้าได้หรือไม่”
และครูให้คาดคะเนคำตอบ โดยแบ่งกลุ่มเด็กออกเป็ น 3 กลุ่ม โดยครู
ใช้คำถาม ถามเด็ก ๆ โดยให้เด็กแต่ล่ะกลุ่มร่วมกันคิด และตกลงกัน
ว่า กลุ่มของตนคาดคะเนคำตอบว่าอย่างไร จากคำถาม “เด็ก ๆนำ
ใบเตย ดอกอัญชัน ขมิ้น มาทดลองย้อมผ้า สีจะติดผ้าได้หรือไม่” เด็ก
ๆนำเสนอคำตอบที่คาดคะเน ครูเขียนคำตอบนั้นลงในกระดาษของ
แต่ล่ะกลุ่ม
กลุ่มที่ 1 ผ้าติดสีจาง นำไปซักสีค่อยๆจางลง ในน้ำซักมีสี
กลุ่มที่ 2 ผ้าติดสีเข้ม นำไปซักผ้าไม่มีสี ในน้ำซักมีสี
กลุ่มที่ 3 ผ้าติดสีเข้ม นำไปซักผ้ามีสีเข้ม ในน้ำซักมีสี
เด็กๆแสดงความคิด

ขั้นที่ 3 ทดสอบและสืบเสาะ (15-16 มกราคม 2562)


ครูสนทนากับเด็ก ๆโดยใช้คำถาม “เด็ก ๆคิดว่าจะหาคำตอบ
โดยวิธีการใดบ้าง” โดยเด็กได้ร่วมกันหาคำตอบดังนี้
กลุ่มที่ 1 ตอบว่า ไปถามครูวิทยาศาสตร์ค่ะ
กลุ่มที่ 2 ตอบว่า ไปดูในคอมพิวเตอร์ครูค่ะ/ครับ
กลุ่มที่ 3 ตอบว่า ทดลองค่ะ/ครับ
ครูและเด็กร่วมกันสนทนาและสรุปวิธีการหาคำตอบได้ 3 วิธี
ตามที่เด็กเสนอดังนี้
1. ถามคุณครูในโรงเรียน
2. ค้นหาคำตอบจากอินเตอร์เน็ต
3. ทดลองปฏิบัติจริง

ถามคุณครูใน
ค้นหาคำตอบจาก

ทดลองและ

เด็กๆตกลงร่วมกันว่าจะใช้วิธีการทดลองในการหาคำตอบ
เพราะว่าจะได้ทดลองด้วยตนเอง จะรู้คำตอบ อยากทดลองทำเอง
ด้วย น่าสนุกดีค่ะ/ครับ
ครูใช้คำถาม ถามเด็กต่อว่า “เราจะใช้วัสดุอะไรทำการทดลอง
บ้าง”
ครูและเด็กสนทนา –ขั้นตอนของการทดลอง -พืช ดอกไม้
สมุนไพรมีสีที่ติดผ้าได้ –วิธีการบันทึกผลการทดลอง

เด็กทดลองและสรุปผล

วัสดุอุปกรณ์
1. ใบเตย ดอกอัญชัน ขมิ้น
2. กะละมัง
3. ผ้า
4. มีด
5. กรรไกร
6. ที่ขูดขมิ้น
7. น้ำ
ครูแบ่งเด็กออกเป็ น 3 กลุ่ม กลุ่มละ 5-6 คน เพื่อทำการทดลอง
กลุ่มที่ 1 กลุ่มใบเตย จะทำให้ผ้าติดสีด้วยการนำผ้าแช่น้ำใบเตย
กลุ่มที่ 2 กลุ่มดอกอัญชัน จะทำให้ผ้าติดสีด้วยการถูดอกอัญชันลงใน
ผ้า
กลุ่มที่ 3 กลุ่มขมิ้น จะทำให้ผ้าติดสีด้วยการทุบขมิ้นลงบนผ้า

กลุ่มที่ 1 กลุ่มใบเตย (จะทำให้ผ้าติดสีด้วยการนำผ้าแช่น้ำใบเตย)


ล้างทำความสะอาดใบเตย
ตัดใบเตยเป็ นชิ้นเล็กๆ

ช่วยกันคั้นน้ำใบเตย
นำผ้าขาวไปแช่ในน้ำใบเตย
เด็กนำผ้าที่แช่น้ำใบเตยไปซักผลปรากฎว่าผ้าติดสีเพียงเล็กน้อย

กลุ่มที่ 2 กลุ่มดอกอัญชัน ( จะทำให้ผ้าติดสีด้วยการถูดอกอัญชัน


ลงในผ้า)
ล้างทำความสะอาด
ถูดอกอัญชันลงบนผ้าขาว
นำผ้าไปซัก

ผ้ามีสีม่วง
กลุ่มที่ 3 กลุ่มขมิ้น (จะทำให้ผ้าติดสีด้วยการทุบขมิ้นลงบนผ้า)

ล้างทำความสะอาดขมิ้น
ทุบขมิ้นลงบนผ้าขาว

นำผ้าที่ไปซัก
ผ้ามีสีเหลือง

ขั้นที่ 4 สังเกตและบรรยาย
เมื่อเด็กทำการทดลองเสร็จแล้วเด็กแต่ล่ะกลุ่มออกมานำเสนอ
กลุ่มที่ 1 นำเสนอพืช ดอกไม้ สมุนไพรมีสีที่ติดผ้าได้หรือไม่ ด้วยใบ
เตย
จากการที่เด็กนำใบเตยไปคั้นในน้ำแล้วนำผ้าไปแช่ไว้ผลคือ ผ้า
ติดสีของใบเตยเพียงเล็กน้อย
กลุ่มที่ 2 นำเสนอพืช ดอกไม้ สมุนไพรมีสีที่ติดผ้าได้หรือไม่ ด้วย
ดอกอัญชัน
จากการที่เด็กนำดอกอัญชันไปถูลงที่ผ้าขาว ทำให้เกิดสีน้ำเงิน
เข้ม และมีเศษกลีบดอกติดที่ผ้า
กลุ่มที่ 3 นำเสนอพืช ดอกไม้ สมุนไพรมีสีที่ติดผ้าได้หรือไม่ ด้วย
ดอกขมิ้น
จากการที่เด็กนำขมิ้นไปทุบลงบนผ้า ทำให้ผ้ามีสีเหลืองและมี
กลิ่นหอมของขมิ้น

ขั้นที่ 5 บันทึกผล (18 มกราคม 2562)


เด็กแต่ละกลุ่มร่วมกันออกแบบการทดลอง โดยครูใช้คำถาม
กระตุ้นให้เด็กแสดงความคิดเห็น
คำตอบที่ 1 เล่าให้เพื่อนฟั ง
คำตอบที่ 2 วาดภาพ
ครูแจกอุปกรณ์การบันทึกผลให้แต่ละกลุ่ม ประกอบด้วย กระดาษ
ปรู๊ฟ สีเทียน สีไม้ ปากกาเมจิก ครูทบทวนวิธีบันทึกผลการทดลอง
เด็กแต่ละกลุ่มบันทึกผลการทดลองและออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน

กลุ่มที่ 1

กลุ่มที่ 2
กลุ่มที่ 3

ขั้นที่ 6 สรุปและอภิปรายผล (19 มกราคม 2562)


ครูและเด็กร่วมกันสนทนาถึงคำถามที่เด็กอยากรู้ “ถ้าเราพืช
ดอกไม้ สมุนไพรมีสีที่ติดผ้าได้ผลเป็ นอย่างไรบ้าง” ครูและเด็กร่วมกัน
สรุปจากนั้นให้เด็กแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน

หลังจากที่เด็กๆนำเสนอเสร็จทุกกลุ่มแล้วครูก็เสนออีกครั้งว่า
พืช ดอกไม้ สมุนไพร สามารถติดผ้าได้ เพราะพืช ดอกไม้ สมุนไพร
เหล่านี้มีสี และผ้ามีสีที่ต่างกันเพราะสีพืช ดอกไม้ สมุนไพร ต่างกัน
และวิธีที่เด็กๆทำให้ติดกับผ้าที่ต่างกันทำให้เกิดสีที่อ่อน และสีเข้ม
จากการนำพืช ดอกไม้ สมุนไพรทั้ง 3 ชนิดมาทำให้ติดผ้าสรุปได้ดังนี้

- นำใบเตยไปคั้นในน้ำแล้วนำผ้าไปแช่ไว้ผลคือ ผ้าติดสีของใบ
เตยเพียงเล็กน้อย
- นำดอกอัญชันไปถูลงที่ผ้าขาว ผลคือทำให้เกิดสีน้ำเงินเข้ม
และมีเศษกลีบดอกติดที่ผ้า
- นำขมิ้นไปขูดแล้วนำขมิ้นมาทุบลงบนผ้า ผลคือทำให้ผ้ามีสี
เหลืองและมีกลิ่นหอมของ
ขมิ้น

เมื่อสรุปเรียบร้อยแล้วครูก็ถามเด็ก ๆ ว่า เด็กๆมีข้อสงสัยหรือ


อยากรู้อะไรเกี่ยวกับ พืช ดอกไม้ สมุนไพรมีสีที่ติดผ้าได้อีกไหมคะ

หนูนา: หนูอยากนำน้ำใบเตยที่เหลือไปย้อมผ้าที่บ้านด้วยค่ะ

ญา: หนูก็อยากได้ค่ะ
แน็ค: ผมอยากรู้ว่าพืช ดอกไม้ สมุนไพร อื่นๆจะมีสีที่ติดผ้าได้
เหมือน ใบเตย อัญชัน และขมิ้นอีกไหมครับ

ผลการทำโครงงานคำถามที่ 1 เด็กเกิดการพัฒนาด้านต่างๆดังนี้

1. การส่งเสริมพัฒนาการความสามารถพื้นฐาน 4 ด้าน
1.1 ด้านการเรียนรู้
- เด็กรู้จักตั้งคำถามที่ตนสงสัย
- เด็กได้ลงมือทำและทดลองด้วยตนเอง
- เด็กสามารถอธิบายถึงวิธีการเรียนรู้ของตนเอง ว่าเรียนรู้
อย่างไร และได้พบคำตอบที่อยากรู้
- เด็กได้เรียนรู้เรื่องพืช ดอกไม้ สมุนไพรมีคุณสมบัติติดผ้า
ได้
- เด็กสามารถสรุปและนำเสนอผลสรุปแก่คนอื่นได้
1.2 ด้านภาษา
- เด็กบอกรายละเอียดเกี่ยวกับอุปกรณ์การทดลองโดยใช้
คำพูดของตนเอง
- เด็กพูดอธิบายถึงสิ่งที่พวกเขาสังเกตเห็นจากการทดลอง
- เด็กได้พูดนำเสนอข้อมูลที่ได้ค้นพบด้วยตนเอง
1.3 ด้านสังคม
- เด็กสามารถทำงานร่วมกับคนอื่นได้
- เด็กสามารถแสดงความคิดเห็นของตนเอง และยอมรับ
ฟั งความคิดเห็นของคนอื่น
- เด็กเคารพกฎ กติกาของห้องเรียน
1.4 ด้านการเคลื่อนไหวและทักษะการรับรู้ของประสาท
สัมผัส
- เด็กสามารถเคลื่อนไหว หยับ จับ และใช้อุปกรณ์การ
ทดลองได้คล่องแคล่ว
- เด็กสามารถหยิบจับและเรียนรู้การใช้มีดได้อย่าง
ปลอดภัย

2. การส่งเสริมทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์

2.1 ทักษะการสังเกต

- การดมกลิ่น หยิบ จับ สัมผัส วัสดุที่ใช้ในการทดลอง คือ


ใบเตย อัญชัน ขมิ้น

2.2 ทักษะการวัด

- เด็กเลือกใช้ผ้าที่มีขนาดเท่ากันในการปิ ดขมิ้นเข้ากับอีก
ผ้าอีกผืนเพื่อให้ประกบกันได้พอดี
2.3 ทักษะการจำแนกประเภท

- เด็กบอกหรือจำแนกประเภทของ พืช ดอกไม้ สมุนไพรมี


สีที่ติดผ้าได้

2.4 ทักษะการคำนวณ

- ปริมาณการใส่พืช ดอก ไม้ สมุนไพรที่ติดผ้าได้

2.5 ทักษะการพยากรณ์หรือการคาดคะเนคำตอบ

- เด็กสามารถคาดคะเนคำตอบที่ตนคิดไว้

2.6 ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปสและ
สเปสกับเวลา

- เด็กสามารถออกแบบได้ (ร่วมกันกำหนดการทดลอง) ว่า


จะทดลองอย่างไร ทำอย่างไร ใช้วัสดุอุปกรณ์อะไรบ้าง

2.7 ทักษะการจัดกระทำ และสื่อความหมายข้อมูล

- เด็กสามารถบันทึกผลสิ่งที่สังเกตและทดลองได้โดยการ
วาดภาพ การทำแผนภูมิรูปภาพ (รูปพืช ดอกไม้ สมุนไพรมีสีที่ติดผ้า
ได้) และนำเสนอข้อมูลหน้าชั้นเรียนให้ผู้อื่นเข้าใจได้

2.8 ทักษะการลงความคิดเห็นจากข้อมูล
- เด็กสามารถแสดงความคิดเห็นหรือให้เหตุผลเพิ่มเติม
ของตนเองได้

คำถามที่ 2 ถ้านำ ใบเตย ดอกอัญชัน ขมิ้น มาย้อม


ขั้นตอนที่ 1 ตั้งคำถามเกี่ยวกับปรากฏการณ์ธรรมชาติ ( วันที่ 1
กุมภาพันธ์ 2562 )

จากการที่เด็กได้ทดลองเด็กๆก็ทราบว่า ใบเตย ดอกอัญชัน


ขมิ้น สามารถติดผ้าได้ แล้วเด็กๆคิดว่าถ้านำใบเตย ดอกอัญชัน ขมิ้น
มาย้อมสีผ้า ผลจะเป็ นอย่างไร

จุดประสงค์

เพื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพของสีที่ได้ในการติด
ผ้า

ตัวแปรที่ศึกษา

ตัวแปรต้น ใบเตย ดอกอัญชัน ขมิ้น


ตัวแปรตาม เปรียบเทียบประสิทธิภ าพของน้ำใบเตย น้ำ
ดอกอัญชัน น้ำขมิ้นในการติดผ้า

ตัวแปรควบคุม ปริมาณของน้ำทั้ง 3 ชนิด ระยะเวลาในการ


ย้อม

ขั้นที่ 2 รวบรวมความคิดและข้อสันนิษฐาน ( วันที่ 5 กุมภาพันธ์


2562 )

เด็กและครูสนทนาร่วมกัน โดยครูใช้คำถามกระตุ้นให้เด็กเล่า
ประสบการณ์เดิมเกี่ยวกับการทดลองวิธีการเปลี่ยนสีผ้าของแต่ละ
กลุ่มและประสิทธิภาพของสีที่ติดผ้าที่ทำการทดลอง

ครู: จากการที่เรานำ ใบเตย ดอกอัญชัน ขมิ้น มาทดลอง


และสีติดผ้าได้นักเรียนว่าดีไหม

แน็ค: ดีครับ ผ้าสีสวยและหอมด้วยครับ

ทอฝั น: เวลานำผ้าไปซักสีของผ้าจะจางลงค่ะ

คุณครู: สีติดผ้าจริงนะคะเด็กๆ แต่เมื่อนำไปซักสีของผ้า


จะจางลงด้วย แล้วเราจะทำยังไงให้สีผ้าติดทนนานคะเด็กๆ

ขวัญ: นำผ้ามาย้อมค่ะครู

คุณครู: ได้สิคะ สรุปเด็กๆคิดว่าจะนำ ใบเตย ดอกอัญชัญ ขมิ้น


มาย้อมผ้ากัน
รวบรวมความคิดเห็น

ขั้นที่ 3 ทดสอบและปฏิบัติการสืบเสาะ ( วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2562 )

ครูและเด็กๆร่วมกันสนทนาและเด็กๆตกลงร่วมกันว่าจะได้วิธี
การทดลองในการหาคำตอบวางแผนการทดลองและจัดกลุ่มค้นหาคำ
ตอบโดยแต่ละกลุ่มต้องหาคำตอบสังเกตการณ์โดยการนำผ้าไปย้อม
ของแต่ละกลุ่มที่รับผิดชอบ

กลุ่มที่ 1 สังเกตการณ์ย้อมผ้าด้วยน้ำใบเตย

กลุ่มที่ 2 สังเกตการณ์ย้อมผ้าด้วยน้ำดอกอัญชัน

กลุ่มที่ 3 สังเกตการณ์ย้อมผ้าด้วยน้ำขมิ้น
สังเกตการณ์ย้อมผ้าด้วยน้ำใบเตย
กลุ่มที่ 1 กลุ่มใบเตย

ล้าง ตัด
คั้น
ย้อม

ซัก
สีของผ้าหลังจากซักและตากให้
แห้ง

กลุ่มที่ 2 กลุ่มดอกอัญชัน
ล้าง
เตรียมอุปกรณ์
ช่วยกันคั้นน้ำดอกอัญชัน
นำน้ำดอกอัญชันที่ได้ไปต้มแล้วนำผ้าไปย้อม
ย้อม
นำผ้าที่ย้อมเสร็จแล้วไปซัก
สีของผ้าหลังจากซักและตากให้
แห้ง
กลุ่มที่ 3 กลุ่มขมิ้น

ล้าง คั้น
นำผ้าขาวใส่ในหม้อเพื่อย้อม
นำผ้าที่ย้อมเสร็จแล้วไปซักจากนั้นตากให้แห้ง

สีของผ้าหลังจากซักและตากให้
แห้ง
ขั้นที่ 4 สังเกตและบรรยาย (วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2562)

เมื่อแต่ละกลุ่มสังเกตการณ์ย้อมสีผ้าด้วย พืช ดอกไม้ สมุนไพร


แล้ว ครูเชิญเด็กๆแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอข้อมูลโดยใช้คำถาม
กระตุ้น คือเด็กๆสังเกตเห็นอะไรบ้าง น้ำใบเตย ดอกอัญชัน ขมิ้น มี
ลักษณะแบบไหน มีสี มีกลิ่นอย่างไร

กลุ่มที่ 1 นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับการย้อมผ้าด้วยน้ำใบเตย

จากการสังเกตการณ์เปลี่ยนแปลงของน้ำใบเตย โดยการดู การ


ดม การชิม ได้ผลสรุปว่า การย้อมสีผ้าจากน้ำใบเตย ผ้าที่ได้มีสีเขียว
อ่อน มีกลิ่นหอม เมื่อนำผ้าไปซักสีของผ้าเป็ นสีเขียวอ่อนมีกลิ่นหอ
มอ่อนๆ ของใบเตย
กลุ่มที่ 2 นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับการย้อมผ้าด้วยน้ำดอกอัญชัน

จากการตามหาสังเกตการเปลี่ยนแปลงของน้ำดอกอัญชัน ผ้าที่
ได้มีสีน้ำเงิน มีกลิ่นหอมอ่อนๆ เมื่อนำผ้าไปซักสีของผ้าเป้ นสีน้ำเงิน
อ่อน
กลุ่มที่ 3 นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับการย้อมสีผ้าด้วยขมิ้น

จากการตามหาสังเกต การเปลี่ยนแปลงของน้ำขมิ้น โดยการดู


การดม การชิม ได้ผลสรุปว่า การย้อมสีผ้าด้วยขมิ้น ผ้าที่ได้มีสีเหลือง
มีกลิ่นหอมของขมิ้น เมื่อนำผ้าไปซักสีของผ้าเป็ นสีเหลืองอ่อนยังมี
กลิ่นหอมอ่อนๆของขมิ้น

ขั้นที่ 5 บันทึกข้อมูล (15 กุมภาพันธ์ 2562)


จากการที่เด็กแต่ละกลุ่มได้ทำการหาคำตอบจากคำถามที่ว่า ถ้า
นำใบเตย ดอกอัญชัน ขมิ้น มาย้อมสีผ้าผลจะเป็ นอย่างไร

โดยการสังเกต การทดลอง การเปลี่ยนแปลงของผ้า เมื่อย้อม ด้วยพืช


ดอกไม้ สมุนไพรแต่ละชนิด ครูให้เด็กๆออกแบบวิธีการบันทึกข้อมูลที่
เด็กๆสังเกต ค้นคว้า หรือสอบถามอย่างไรบ้าง และถ้าทำให้คนอื่นรู้
ด้วยจะทำอย่างไรบ้าง

อิม: เล่าให้เพื่อนฟั งค่ะ

แป๋ ว: วาดรูปค่ะ

ครูให้เด็กๆแบ่งกลุ่มแล้วจึงบันทึกข้อมูลโดยการวาดรูประบายสี พืช
ดอกไม้ สมุนไพร ที่นำมาย้อมผ้า
ออกแบบวิธีการบันทึกผลและนำเสนอผลงาน
ออกแบบวิธีการบันทึกผลและนำเสนอผลงาน
ขั้นที่ 6 สรุปและอภิปรายผล (วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2562)

เด็กและครูร่วมกันสนทนาถึงคำถาม “ถ้านำใบเตย ดอกอัญชัน


ขมิ้น มาย้อมสีผ้าผลจะเป็ นอย่างไร”
ครูให้เด็กๆทบทวนโดยการเชิญเด็กแต่ละคนออกมาเล่าว่า เด็กๆ
ค้นหาคำตอบได้อย่างไรคะเกี่ยวกับการสังเกต มีวิธีการอย่างไร โดย
ครูใช้กระดาษบันทึกผลการสนทนา

ครูถามเด็กๆว่า จากการที่เด็กๆหาคำตอบว่า การนำ ใบเตย


ดอกอัญชัน ขมิ้น มาย้อมสีผ้าได้หรือไม่

สรุปว่าเด็กๆได้ข้อมูลอย่างไร เด็กช่วยกันตอบว่า จากการย้อมผ้าด้วย


น้ำ ใบเตย อัญชัน ขมิ้น สีสามารถติดผ้าได้ แต่ผ้าที่ย้อมด้วยขมิ้นจะมี
สีเข้มกว่า ดมกลิ่นผ้า มีกลิ่นหอมของ ใบเตย อัญชัน และขมิ้น

ครูถามเด็กๆว่าคำตอบที่ได้ตรงตามคำตอบที่เด็กๆคาดคะเน
อย่างไร เด็กๆตอบว่า ตรง คือ ผ้าที่ย้อมติดสีคือ ใบเตย อัญชัน ขมิ้น
และมีกลิ่นหอมของทั้ง 3 ชนิดด้วย

จากนั้นครูชักชวนเด็กๆ สรุปร่วมอีกครั้งคือการสังเกตการ
เปลี่ยนแปลงของผ้าหลังจากย้อมสี ครูถามเด็กๆว่า “นอกจากนี้
นักเรียนมีเรื่องอะไรที่อยากรู้ไหมคะ”

แน็ค: ครูครับถ้าเราเอาดอกไม้อย่างอื่นมาย้อมสีจะติดผ้าไหม
ครับ

ใบเบิ้ล: ถ้าเอาหลายๆสีมารวมกันผ้าจะเป็ นสีอะไรครับ

ครู: แล้วเด็กคนอื่นๆอยากรู้เรื่องอะไรอีกไหมคะ
หนูดี: ถ้าหนูเอาผลไม้ที่มีสีมาย้อม ผ้าจะมีสีไหมคะ

และนี่จะเป็ นคำถามที่เด็กๆและครูร่วมกันหาคำตอบต่อไป

ผลการพัฒนาความสามารถของเด็กปฐมวัย

1. ผลการพัฒนาความสามารถพื้นฐาน 4 ด้าน ตามโครงการ


บ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยประเทศไทย
1.1 ด้านการเรียนรู้
- เด็กๆสามารถบอกเล่าวิธีการหาคำตอบของตนเองได้
- เด็กได้ลงมือทำและทดลองด้วยตนเอง
- เด็กสามารถอธิบายถึงวิธีการเรียนรู้ของตนเอง ว่าเรียน
รู้อย่างไร และได้พบคำตอบที่อยากรู้
- เด็กได้เรียนรู้เรื่องผ้าแสนสวยด้วยสีจากธรรมชาติ เด็ก
สามารถสรุปและนำเสนอผลสรุปแก่คนอื่นได้
1.2 ด้านภาษา
- เด็กสามารถใช้ภาษาสื่อสารและแสดงความคิดเห็น
สนทนาโต้ตอบในการค้นหาคำตอบ
- เด็กสามารถใช้ภาษาในการพูด สอบถาม บรรยาย เล่า
เรื่องราว สิ่งที่สังเกตค้นพบ

1.3 ด้านสังคม
- เด็กสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้

- เด็กสามารถแสดงความคิดเห็นของตนเอง และ
ยอมรับฟั งความคิดเห็นของคนอื่น

- เด็กสามารถปฏิบัติตามข้อตกลงได้

1.4 ด้านการเคลื่อนไหวและทักษะการรับรู้ของประสาท
สัมผัส

- เด็กสามารถใช้กล้ามเนื้อมือ ตา ประสานสัมพันธ์กัน
ในการสังเกต ค้นคว้าหาคำตอบ

- เด็กสามารถเคลื่อนไหวร่างกายในการค้นคว้าหา
ข้อมูลอย่างคล่องแคล่ว

- เด็กสามารถใช้ประสาทสัมผัสในการสังเกตจนได้
ข้อมูลที่ชัดเจน

2. ผลการพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์
2.1 ทักษะการสังเกต
- การเปลี่ยนแปลงของการย้อมสีผ้าด้วยพืช ดอกไม้
สมุนไพร คือ ใบเตย อัญชัน ขมิ้น
2.2 ทักษะการวัด
- การบอกขนาด ของแต่ละชนิด ( ใบเตย อัญชัน ขมิ้น )
2.3 ทักษะการจำแนกประเภท
- บอกจำแนกประเภทของพืช ดอกไม้ สมุนไพร แต่ละ
ชนิดได้ (ใบเตย อัญชัน ขมิ้น)
2.4 ทักษะการคำนวณ
- ปริมาณของน้ำพืช ดอกไม้ สมุนไพร เท่ากัน
2.5 ทักษะการพยากรณ์หรือการคาดคะเนคำตอบ
- ใบเตย อัญชัน และขมิ้น สีสามารถติดผ้าได้มีกลิ่นหอม
2.6 ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปสและ
สเปสกับเวลา
- เด็กสามารถออกแบบได้ ( ร่วมกันกำหนดขั้นตอนการ
ทดลอง ) ว่าจะทดลองอย่างไร ทำอย่างไร ใช้วัสดุอุปกรณ์
อะไรบ้าง
- เด็กสามารถปฏิบัติการทดลองตามขั้นตอนที่กำหนดให้
- เด็กสามารถบันทึกผลการทดลองได้
2.7 ทักษะการจัดกระทำ และสื่อความหมายข้อมูล
- เด็กสามารถบันทึกผลสิ่งที่สังเกตและทดลองได้โดยการ
วาดภาพ การทำแผนภูมิรูปภาพ
( รูปพืช ดอกไม้ สมุนไพรที่สามารถมีสีที่ติดผ้าได้) และนำ
เสนอข้อมูลให้ผู้อื่นเข้าใจได้
2.8 ทักษะการลงความคิดเห็นจากข้อมูล
- เด็กสามารถใช้ประสบการณ์เดิมในการให้ข้อมูลเหตุผล
เพิ่มเติม รวมถึงการแสดงความคิดเห็นของตนเองในการ
แสดงความคิดเห็นต่างๆในขณะศึกษาหาความรู้

You might also like