Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 2

คำอธิบำยสรุปสำระสำคัญ

พระรำชบัญญัติระบบกำรชำระเงิน พ.ศ. ๒๕๖๐ ๑


_______________
๑. ควำมมุ่งหมำยของกฎหมำย
กฎหมายฉบับนี้มีขึ้นเพื่อกาหนดให้ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นหน่วยงานที่ทาหน้าที่กากับ
ดูแลระบบการชาระเงินและบริการการชาระเงินให้เป็นระบบ มีเอกภาพ มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
และทันต่อความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว
๒. สรุปสำระสำคัญของกฎหมำย
๒.๑ กาหนดลักษณะของระบบการชาระเงินที่มีความสาคัญ ได้แก่ (๑) เป็นระบบการ
ชาระเงินที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานหลักของประเทศ (๒) เป็นระบบการชาระเงินที่รองรับการโอนเงิน
มูลค่าสูง หรือที่ใช้สาหรับการหักบัญชีหรือการชาระดุลระหว่างสมาชิก (๓) ระบบการชาระเงินที่
ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดตั้งและดาเนินการหรือที่รัฐมนตรีประกาศกาหนดโดยคาแนะนาของ
ธนาคารแห่งประเทศไทย และให้ธนาคารแห่งประเทศไทยมีหน้าที่กากับดูแลระบบการชาระเงินที่มี
ความสาคัญเพื่อให้ระบบมีความมั่นคง ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ (มาตรา ๕ มาตรา ๖ มาตรา
๗)
๒.๒ กาหนดให้ธนาคารแห่งประเทศไทยมีอานาจประกาศกาหนดวิธีการเพื่อให้สมาชิก
ระบบการชาระเงินที่มีความสาคัญต้องปฏิบัติ เมื่อสมาชิกยื่นคาร้องหรือถูกร้องขอต่อศาลให้ฟื้นฟู
กิจการและศาลมีคาสั่งรับคาร้องขอให้ฟื้นฟูกิจการ ถูกฟ้องล้มละลาย หรือถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์
และกาหนดให้มีการคุ้มครองเงิน หลักทรัพย์ หรือตราสารที่สมาชิกดารงไว้เป็นหลักประกันเพื่อการใด
ๆ ในระบบการชาระเงินที่มีความสาคัญไม่เป็นทรัพย์สินที่อาจแบ่งแก่เจ้าหนี้ในคดีล้มละลาย ตลอดจน
กาหนดให้ธุรกรรมการชาระเงินที่มีผลสมบูรณ์แล้วมิให้ถูกยกเลิกด้วยเหตุตามกฎหมายแพ่งและ
พาณิชย์หรือกฎหมายล้มละลาย (Payment Finality) (มาตรา ๘ ถึงมาตรา ๑๑)
๒.๓ กาหนดลักษณะของระบบการชาระเงินภายใต้การกากับที่ต้องขออนุญาต และ
กาหนดให้รัฐมนตรีมีอานาจกาหนดระบบการชาระเงินที่จะต้องขึ้นทะเบียน กาหนดคุณสมบัติของ
ผู้ที่จะขออนุญาตประกอบธุรกิจระบบการชาระเงินภายใต้การกากับ และลักษณะต้องห้ามของ
กรรมการหรือผู้มีอานาจในการจัดการของผู้ประกอบธุรกิจ กาหนดให้ ธปท. มีอานาจประกาศ
กาหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข อัตราที่เกี่ยวข้อง และการเลิกประกอบธุรกิจ (มาตรา ๑๒ ถึง
มาตรา ๑๕)
๒.๔ กาหนดลักษณะของระบบการชาระเงินภายใต้การกากับ และลักษณะของผู้ที่จะ
ประกอบธุรกิจบริการชาระเงินภายใต้การกากับ กาหนดให้ ธปท. มีอานาจประกาศกาหนดหลักเกณฑ์
วิธีการ เงื่อนไข อัตราที่เกี่ยวข้อง และลักษณะต้องห้ามของกรรมการหรือผู้มีอานาจในการจัดการของ
ผู้ประกอบธุรกิจ (มาตรา ๑๖ ถึงมาตรา ๑๘)

๑ คาอธิบายนี้มีขึ้นเพื่อประโยชน์ในการเข้าใจสาระสาคัญของกฎหมายเท่านั้น ส่วนการจะปฏิบัติตามกฎหมายให้เป็นไปอย่าง
ถูกต้องนั้น ประชาชนจะต้องศึกษา ทาความเข้าใจ ตรวจสอบ และยึดถือตัวบทกฎหมายเป็นสาคัญ
2

๒.๕ กาหนดหลักเกณฑ์เพื่อคุ้มครองเงินรับล่วงหน้าจากผู้ใช้บริการ และหลักประกันที่


สมาชิกวางไว้กับระบบ ในกรณีผู้ให้บริการ หรือสมาชิก ถูกระงับการดาเนินกิจการ ล้มละลายหรือถูก
พิทักษ์ทรัพย์ (มาตรา ๑๐ มาตรา ๑๙ ถึงมาตรา ๒๒)
๒.๖ กาหนดให้ธนาคารแห่งประเทศไทยมีอานาจในการกาหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการ
กากับดูแล การตรวจสอบ และการแก้ไขฐานะหรือการดาเนินงานของบริการระบบการชาระเงิน
ภายใต้การกากับและบริการการชาระเงินภายใต้การกากับ (มาตรา ๒๔ ถึงมาตรา ๓๕)
๒.๗ กาหนดหลักเกณฑ์การอุทธรณ์ (มาตรา ๓๖)
๒.๘ กาหนดโทษทางอาญาหรือโทษทางปกครองสาหรับผู้ที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามที่
กฎหมายฉบับนี้กาหนด (มาตรา ๓๗ ถึงมาตรา ๕๖)

๓. บทบัญญัติที่คุ้มครองประชำชน
๓.๑ กาหนดหลักเกณฑ์การให้ความคุ้มครองเงินรับล่วงหน้าของประชาชน กรณีผู้ประกอบ
ธุรกิจบริการการชาระเงินภายใต้การกากับเป็นลูกหนี้ตามคาพิพากษา หรือถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์
โดยให้ธนาคารแห่งประเทศไทยมีอานาจจัดการรวบรวมเงินรับล่วงหน้าและจัดสรรเงินดังกล่าวคืน
ให้แก่ผู้ใช้บริการ ตามหลักเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยกาหนด (มาตรา ๒๑)
_______________

You might also like