แนวข้อสอบ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562

You might also like

Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 18

แนวข้อสอบ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.

2562 (ชุดที่ 1)
ข้อ 1 การยกเว้นไม่ให้นาบทบัญญัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 มาใช้บังคับแก่ผู้
ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล จะต้องออกเป็นกฎหมายใด
ก. พระราชบัญญัติ
ข. พระราชกาหนด
ค. พระราชกฤษฎีกา
ง. กฎกระทรวง

ข้อ 2 กฎหมายตามข้อ 1 กาหนดหน่วยงานและกิจการใดที่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลไม่อยู่ในบังคับ


พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562
ก. หน่วยงานของรัฐทุกแห่ง
ข. กิจการด้านการศึกษา
ค. กิจการด้านความบันเทิงและนันทนาการ
ง. ถูกทุกข้อ

ข้อ 3 โดยหลักทั่วไป พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ใช้บังคับตั้งแต่วันใด


ก. 26 พฤษภาคม 2562
ข. 27 พฤษภาคม 2562
ค. 28 พฤษภาคม 2562
ง. 29 พฤษภาคม 2562

ข้อ 4 "บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งมีอานาจหน้าที่ตัดสินใจเกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วน


บุคคล" คือความหมายตามข้อใด
ก. ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล
ข. ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล
ค. พนักงานเจ้าหน้าที่
ง. ไม่มีข้อใดถูกต้อง

ข้อ 5 ผู้มีอานาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562


ก. นายกรัฐมนตรี
ข. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม 1
ค. รัฐมนตรีประจาสานักนายกรัฐมนตรี
ง. เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
| แนวข้อสอบ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562
ข้อ 6 ผู้มีอานาจหน้าที่กาหนดมาตรการหรือแนวทางการดาเนินการเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ให้
เป็นไปตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562
ก. คณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ
ข. คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ค. คณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร
ง. คณะกรรมการร่วมสี่ฝ่าย

ข้อ 7 ข้อใดไม่ถูกต้องเกี่ยวกับคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ก. คณะกรรมการสรรหากรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ มีจานวน 8 คน
ข. นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งผู้ได้รับคัดเลือกเป็นประธานและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ
ค. ประธานกรรมการมีวาระการดารงตาแหน่งคราวละ 4 ปี
ง. กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งบกพร่องต่อหน้าที่พ้นจากตาแหน่งเมื่อคณะรัฐมนตรีให้ออก

ข้อ 8 การขอความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลซึ่งเป็นคนไร้ความสามารถ ต้องขอความยินยอมจากผู้ใด


ก. ผู้ปกครอง
ข. ผู้อนุบาล
ค. ผู้พิทักษ์
ง. พนักงานเจ้าหน้าที่

ข้อ 9 ข้อใดไม่ถูกต้อง
ก. โดยหลักทั่วไปผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลจะทาการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล
ต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลก่อนหรือขณะนั้น
ข. การขอความยินยอมต้องทาโดยชัดแจ้งเป็นหนังสือเท่านั้น
ค. การขอความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลต้องแจ้งวัตถุประสงค์ในการเก็บรวมรวม ใช้ หรือ
เผยแพร่ด้วย
ง. เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลต้องมีอิสระในการให้ความยินยอม

ข้อ 10 ข้อใดมิใช่ข้อยกเว้น ในการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูล


ส่วนบุคคล
ก. เพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพของบุคคล
ข. เป็นการปฏิบัติตามกฎหมายของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล 2
ค. การจัดทาเอกสารประวัติศาสตร์หรือจดหมายเหตุเพื่อประโยชน์สาธารณะ
ง. ไม่มีข้อใดถูกต้อง
| แนวข้อสอบ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562
เฉลย
ข้อ 1 ค. มาตรา 4 วรรคสอง ต้องตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
ข้อ 2 ง. พระราชกฤษฎีกากาหนดหน่วยงานและกิจการที่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลไม่อยู่ภายใต้บังคับแห่ง
พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 พ.ศ. 2563 (คลิกดาวน์โหลด) และฉบับที่ 2
(พ.ศ. 2564) (คลิกดาวน์โหลด) กาหนดหน่วยงานและกิจการตามข้อ ก , ข , และ ค ไม่อยู่ในบังคับ
กฎหมายดังกล่าว จนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2565***
ข้อ 3 ค. พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 136 ตอนที่
69 ก วันที่ 27 พฤษภาคม 2562 และมาตรา 2 บัญญัติให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราช
กิจจานุเบกษา หรือตั้งแต่วันที่ 28 พฤษภาคม 2562 เป็นต้นไป
หมายเหตุ คำถำมข้อ 1 - ข้อ 3 มีควำมเกี่ยวเนื่องกัน และทาให้หลายคนเกิดความสับสน เนื่องจาก พ.ร.บ. ฉบับ
นี้ บังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 28 พฤษภาคม 2562 เป็นต้นไป ยกเว้นบทบัญญัติในหมวด 2 หมวด 3 หมวด 5 หมวด 6
หมวด 7 มาตรา 95 และมาตรา 96 ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกาหนด 1 ปี นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา และ
ต่อมาได้ถูกเลื่อนการบังคับใช้ออกไปอีกถึงวันที่ 31 พฤษภาคม 2565 ซึ่งเป็นวันสุดท้าย ดังนั้นวันที่ 1 มิถุนายน
2565 ถือว่าเป็นการบังคับใช้กฎหมายโดยสมบูรณ์ทั้งฉบับ แต่ไม่ได้หมายความว่ากฎหมายฉบับนี้เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่
1 มิถุนายน 2565 เพราะบทบัญญัติที่ไม่ถูกยกเว้น บังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 28 พฤษภาคม 2562 แล้ว
ข้อ 4 ก. มาตรา 6 "ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล" หมายความว่า บุคคลหรือนิติบุคคลซึ่งมีอานาจหน้าที่ตัดสินใจ
เกี่ยวกับการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล
ข้อ 5 ข. มาตรา 7 บัญญัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมรักษาการตาม
พระราชบัญญัตินี้ และให้มีอานาจแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
ข้อ 6 ข. มาตรา 16 (3) เป็นหน้าที่และอานาจของคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ข้อ 7 ข. มาตรา 10 วรรคสาม นายกรัฐมนตรีมีหน้าที่ประกาศรายชื่อประธานและกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่ง
ได้รับแต่งตั้งจากคณะรัฐมนตรี
ข้อ 8 ข. มาตรา 20 วรรคสอง ต้องขอความยินยอมจากผู้อนุบาลที่มีอานาจกระทาการแทนคนไร้
ความสามารถ
***มำตรำ 20
ผู้เยาว์ = ผู้ใช้อานาจปกครอง
คนไร้ความสามารถ = ผู้อนุบาล
คนเสมือนไร้ความสามารถ = ผู้พิทักษ์
ข้อ 9 ข. มาตรา 19 วรรคสอง การขอความยินยอมต้องทาโดยชัดแจ้ง เป็นหนังสือหรือทาโดยผ่านระบบ
อิเล็กทรอนิกส์
ข้อ 10 ง. ตัวเลือกตามข้อ ก , ข และ ค เป็นข้อยกเว้น ซึ่งผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลสามารถเก็บรวบรวม 3
ข้อมูลส่วนบุคคลได้โดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ตามมาตรา 24

| แนวข้อสอบ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562


แนวข้อสอบ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (ชุดที่ 2)
ข้อ 11 กรณีเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลขอรับสาเนาข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตน ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลต้อง
ดาเนินการตามคาขอภายในกี่วัน
ก. ไม่เกิน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับคาขอ
ข. ไม่เกิน 15 วัน นับแต่วันที่ได้รับคาขอ
ค. ไม่เกิน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับคาขอ
ง. ไม่เกิน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับคาขอ

ข้อ 12 โดยทั่วไปหากมีการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลมีหน้าที่แจ้งเหตุการละเมิด


ดังกล่าวแก่สานักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ภายในกาหนดเวลาใด
ก. 24 ชั่วโมง
ข. 48 ชั่วโมง
ค. 72 ชั่วโมง
ง. ไม่มีข้อใดถูกต้อง

ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ ตอบคาถามในข้อ 13 ถึงข้อ 16


ก. ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล
ข. ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล
ค. เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ง. สานักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

ข้อ 13 ผู้มีหน้าที่ตรวจสอบการดาเนินงานของลูกจ้างหรือผู้รับจ้างของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล เกี่ยวกับการ


เก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ.
2562

ข้อ 14 ผู้มีหน้าที่จัดให้มีระบบการตรวจสอบ เพื่อดาเนินการลบหรือทาลายข้อมูลส่วนบุคคล เมื่อพ้น


กาหนดเวลาการเก็บรักษา

ข้อ 15 ผู้มีหน้าที่ให้คาปรึกษาแก่หน่วยงานของรัฐและเอกชน เกี่ยวกับการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติคุ้มครอง


ข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562
4
ข้อ 16 เป็นหน่วยงานของรัฐตามกฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่

| แนวข้อสอบ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562


ข้อ 17 เกี่ยวกับเลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ข้อใดไม่ถูกต้อง
ก. ต้องมีสัญชาติไทย และอายุไม่ต่ากว่า 40 ปี
ข. มีวาระการดารงตาแหน่งคราวละ 4 ปี
ค. รับผิดชอบในการบริหารงานของสานักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ขึ้นตรงต่อ
คณะกรรมการกากับสานักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ง. เป็นกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล และเป็นกรรมการและ
เลขานุการคณะกรรมการกากับสานักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

ข้อ 18 ข้อใดมิใช่ความรับผิดทางแพ่ง ตามพระราชบัญญัตุมครองข้


ิค้ อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562
ก. ค่าสินไหมทดแทนความเสียหายของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
ข. ค่าใช้จ่ายตามความจาเป็นในการป้องกันความเสียหายที่กาลังจะเกิดขึ้นของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
ค. ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการลงโทษตามที่ศาลกาหนด แต่ไม่เกิน 3 เท่า ของค่าสินไหมทดแทนที่แท้จริง
ง. ไม่มีข้อใดถูกต้อง

ข้อ 19 อายุความในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล ตามพระราชบัญญัติ


คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 จะต้องไม่เกินระยะเวลาตามข้อใด
ก. 1 ปี นับแต่วันที่ผู้เสียหายรู้ถึงความเสียหายและรู้ตัวผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลหรือผู้ประมวลผล
ข้อมูลส่วนบุคคลที่ต้องรับผิด
ข. 2 ปี นับแต่วันที่ผู้เสียหายรู้ถึงความเสียหายและรู้ตัวผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลหรือผู้ประมวลผล
ข้อมูลส่วนบุคคลที่ต้องรับผิด
ค. 3 ปี นับแต่วันที่ผู้เสียหายรู้ถึงความเสียหายและรู้ตัวผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลหรือผู้ประมวลผล
ข้อมูลส่วนบุคคลที่ต้องรับผิด
ง. 4 ปี นับแต่วันที่ผู้เสียหายรู้ถึงความเสียหายและรู้ตัวผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลหรือผู้ประมวลผล
ข้อมูลส่วนบุคคลที่ต้องรับผิด

ข้อ 20 พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ได้บัญญัติโทษทางปกครองไว้ โดยกาหนดอัตรา


โทษปรับทางปกครองสูงสุดตามข้อใด
ก. ไม่เกิน 1 ล้านบาท
ข. ไม่เกิน 3 ล้านบาท
ค. ไม่เกิน 5 ล้านบาท
ง. ไม่เกิน 10 ล้านบาท 5

| แนวข้อสอบ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562


เฉลย
ข้อ 11 ค. มาตรา 30 วรรคสี่ ไม่เกิน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับคาขอ
ข้อ 12 ค. มาตรา 37 (4) ต้องแจ้งเหตุการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคลโดยไม่ชักช้าภายใน 72 ชั่วโมง นับแต่ทราบ
เหตุเท่าที่จะสามารถกระทาได้
ข้อ 13 ค. มาตรา 42 (2) หน้าที่ของ เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ข้อ 14 ก. มาตรา 37 (3) หน้าที่ของ ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล
ข้อ 15 ง. มาตรา 44 (6) หน้าที่ของ สานักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ข้อ 16 ง. มาตรา 43 วรรคสี่ บัญญัติให้สานักงานคณะกรรมการข้อมูลส่วนบุคคลเป็นหน่วยงานของรัฐตาม
กฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่
ข้อ 17 ก. มาตรา 58 (2) ต้องมีอายุไม่ต่ากว่า 35 ปี แต่ไม่เกิน 60 ปี
ข้อ 18 ค. มาตรา 78 วรรคหนึ่ง ศาลมีอานาจสั่งให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลหรือผู้ประมวลผลข้อมูลส่วน
บุคคล จ่ายค่าสินไหมทดแทนเพื่อการลงโทษเพิ่มขึ้นจากจานวนค่าสินไหมทดแทนที่แท้จริงตามที่
ศาลเห็นสมควร แต่ไม่เกิน 2 เท่าของค่าสินไหมทดแทนที่แท้จริง
ข้อ 19 ค. มาตรา 78 วรรคสอง อายุความไม่เกิน 3 ปี นับแต่วันที่ผู้เสียหายรู้ถึงความเสียหายและรู้ตัวผู้
ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลหรือผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลที่ต้องรับผิด หรือ 10 ปี นับแต่วันที่มี
การละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล
ข้อ 20 ค. มาตรา 84 และมาตรา 87 กาหนดอัตราโทษปรับทางปกครองไม่เกิน 5 ล้านบาท

| แนวข้อสอบ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562


แนวข้อสอบ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (ชุดที่ 3)
ใช้ตัวเลือกต่อไปนี้ ตอบคำถำมข้อ 21 ถึงข้อ 25
ก. คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ข. คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญ
ค. พนักงานเจ้าหน้าที่
ง. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

ข้อ 21 ผู้มีหน้าที่และอานาจพิจารณาเรื่องร้องเรียนตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562

ข้อ 22 ผู้มีหน้าที่ไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล

ข้อ 23 ผู้มีอานาจแต่งตั้งคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญในแต่ละเรื่อง

ข้อ 24 ผู้มีอานาจสั่งลงโทษปรับทางปกครอง

ข้อ 25 ผู้มีอานาจสั่งให้บุคคลใดส่งเอกสารหรือข้อมูลเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

ข้อ 26 ผู้มีอานาจหน้าที่ออกหนังสือแจ้งให้ผู้ใดส่งเอกสารหรือหลักฐานเกี่ยวกับการดาเนินการตาม
พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562

ข้อ 27 จากข้อ 25 และข้อ 26 ผู้ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตาม ต้องระวางโทษปรับทางปกครองตามข้อใด


ก. ไม่เกิน 1 แสนบาท
ข. ไม่เกิน 5 แสนบาท
ค. ไม่เกิน 7 แสนบาท
ง. กฎหมายไม่ได้กาหนดโทษปรับทางปกครองไว้

ข้อ 28 โดยทั่วไปผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลที่ใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล โดยไม่ได้รับความยินยอมจาก


เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล โดยประการที่น่าจะทาให้ผู้อื่นเกิดความเสียหาย ต้องระวางโทษทางอาญาตามข้อใด
ก. จาคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 5 แสนบาท หรือทั้งจาทั้งปรับ
ข. จาคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 ล้านบาท หรือทั้งจาทั้งปรับ
ค. จาคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 ล้านบาท หรือทั้งจาทั้งปรับ 7
ง. จาคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 2 ล้านบาท หรือทั้งจาทั้งปรับ

| แนวข้อสอบ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562


ข้อ 29 จากข้อ 28 หากเป็นการกระทาเพื่อแสวงหาประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสาหรับตนเอง
หรือผู้อื่น ต้องระวางโทษตามข้อใด
ก. จาคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 5 แสนบาท หรือทั้งจาทั้งปรับ
ข. จาคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 ล้านบาท หรือทั้งจาทั้งปรับ
ค. จาคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 ล้านบาท หรือทั้งจาทั้งปรับ
ง. จาคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 2 ล้านบาท หรือทั้งจาทั้งปรับ

ข้อ 30 ผู้ใดล่วงรู้ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้อื่น เนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วน


บุคคล พ.ศ. 2562 นาไปเปิดเผยแก่ผู้อื่น ต้องรับผิดทางอาญาตามข้อใด
ก. จาคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 5 แสนบาท หรือทั้งจาทั้งปรับ
ข. จาคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 ล้านบาท หรือทั้งจาทั้งปรับ
ค. จาคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 ล้านบาท หรือทั้งจาทั้งปรับ
ง. จาคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 2 ล้านบาท หรือทั้งจาทั้งปรับ

เฉลย
ข้อ 21 ข. มาตรา 72 (1) คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญมีหน้าที่และอานาจพิจารณาเรื่องร้องเรียนตามกฎหมายนี้
ข้อ 22 ข. มาตรา 72 (3) คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญมีหน้าที่และอานาจไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล
ข้อ 23 ก. มาตรา 71 วรรคหนึ่ง คณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลมีอานาจหน้าที่แต่งตั้งคณะกรรมการ
ผู้เชี่ยวชาญในแต่ละเรื่อง
ข้อ 24 ข. มาตรา 90 วรรคหนึ่ง คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญมีอานาจสั่งลงโทษปรับทางปกครอง... ในกรณีที่
เห็นสมควร จะสั่งให้แก้ไขหรือตักเตือนก่อนก็ได้
ข้อ 25 ข. มาตรา 75 คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญมีอานาจสั่งให้บุคคลใดส่งเอกสารหรือข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่มีผู้
ร้องเรียน หรือเรื่องอื่นใดที่เกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล รวมทั้งสั่งให้บุคคลใดมาชี้แจง
ข้อเท็จจริงด้วยก็ได้
ข้อ 26 ค. มาตรา 76 (1) พนักงานเจ้าหน้าที่ มีหน้าที่ออกหนังสือแจ้งให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ผู้
ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล หรือผู้ใด มาให้ข้อมูล ส่งเอกสารหรือหลักฐานใดๆ เกี่ยวกับการ
ดาเนินการหรือการกระทาความผิดตามกฎหมายนี้
ข้อ 27 ข. มาตรา 89 ผู้ใดฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตาม ต้องระวางโทษปรับทางปกครองไม่เกิน 5 แสนบาท
ข้อ 28 ก. มาตรา 79 วรรคหนึ่ง จาคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 5 แสนบาท หรือทั้งจาทั้งปรับ
ข้อ 29 ข. มาตรา 79 วรรคสอง จาคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 1 ล้านบาท หรือทั้งจาทั้งปรับ
ข้อ 30 ก. มาตรา 80 วรรคหนึ่ง จาคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 5 แสนบาท หรือทั้งจาทั้งปรับ 8

| แนวข้อสอบ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562


แนวข้อสอบ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (ชุดที่ 4)
ข้อ 31 หลักการสาคัญของสิทธิในการเพิกถอนความยินยอม คือข้อใด
ก. เพิกถอนความยินยอมภายใน 1 ปี นับแต่ให้ความยินยอม
ข. เพิกถอนความยินยอมเมื่อใดก็ได้
ค. เพิกถอนความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรเท่านั้น
ง. เพิกถอนความยินยอมทางอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้

ข้อ 32 เมื่อผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลได้รับคาขอการเพิกถอนจากเจ้าของข้อมูลแล้ว ต้องทาอย่างไร


ก. แจ้งให้ทราบผลกระทบจากการถอนความยินยอม
ข. หยุดประมวลผล
ค. ไกล่เกลี่ยข้อพิพาท
ง. ถูกข้อ ก. และ ข.

ข้อ 33 ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลที่ไม่แจ้งผลกระทบจากการถอนความยินยอม มีโทษตามข้อใด


ก. โทษปรับทางปกครองไม่เกิน 1 ล้านบาท
ข. โทษปรับทางปกครองไม่เกิน 3 ล้านบาท
ค. โทษปรับทางปกครองไม่เกิน 5 ล้านบาท
ง. โทษปรับทางปกครองไม่เกิน 5 แสนบาท

ข้อ 34 เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลได้รับความคุ้มครองสิทธิในเรื่องใดโดยไม่ต้องมีการร้องขอ
ก. สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล
ข. สิทธิในการลบข้อมูลส่วนบุคคล
ค. สิทธิได้รับแจ้งการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคล
ง. สิทธิห้ามมิให้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล

ข้อ 35 ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับการแจ้งรายละเอียดการเก็บรวบรวมข้อมูล
ส่วนบุคคล มีโทษในข้อใด
ก. โทษปรับทางปกครองไม่เกิน 1 ล้านบาท
ข. โทษปรับทางปกครองไม่เกิน 3 ล้านบาท
ค. โทษปรับทางปกครองไม่เกิน 5 ล้านบาท
ง. โทษปรับทางปกครองไม่เกิน 5 แสนบาท 9

| แนวข้อสอบ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562


ข้อ 36 สิทธิขอเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล ยกเว้นเรื่องใด
ก. ขอเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตน
ข. ขอรับสาเนาข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตน
ค. ขอให้ส่งข้อมูลไปยังผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลอื่น
ง. ขอให้เปิดเผยการได้มาซึ่งข้อมูลที่ไม่ได้ให้ความยินยอม

ข้อ 37 หากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ขอเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลต้องทาอย่างไร


ก. ต้องปฏิบัติตามคาขอ
ข. ปฏิเสธคาขอเมื่อกฎหมายบัญญัติไว้หรือตามคาสั่งศาล
ค. ปฏิเสธคาขอหากจะเกิดความเสียหายต่อบุคคลอื่น
ง. ถูกทุกข้อ

ข้อ 38 หากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ขอให้เปิดเผยถึงการได้มาซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลที่ตนไม่ได้ให้ความยินยอม


และผู้ควบคุมข้อมุลส่วนบุคคลไม่อาจปฏิเสธได้ เช่นนี้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลต้องดาเนินการตามคาขออย่างไร
ก. ไม่ชักช้า
ข. โดยด่วนที่สุด
ค. ตามความเหมาะสม
ง. ไม่มีข้อใดถูกต้อง

ข้อ 39 จากข้อ 38 ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลต้องดาเนินการตามสิทธิเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล ภายในกี่วัน


ก. 15 วัน นับแต่วันที่ยื่นคาขอ
ข. 15 วัน นับแต่วันที่รับคาขอ
ค. 30 วัน นับแต่วันที่ยื่นคาขอ
ง. 30 วัน นับแต่วันที่รับคาขอ

ข้อ 40 จากข้อ 39 หากผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล ดาเนินการไม่ทันภายในระยะเวลาที่กฎหมายกาหนด มีโทษ


ตามข้อใด
ก. โทษปรับทางปกครองไม่เกิน 1 ล้านบาท
ข. โทษปรับทางปกครองไม่เกิน 3 ล้านบาท
ค. โทษปรับทางปกครองไม่เกิน 5 ล้านบาท
ง. โทษปรับทางปกครองไม่เกิน 5 แสนบาท 10

| แนวข้อสอบ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562


เฉลย
ข้อ 31 ข. มาตรา 19 วรรคห้า เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลจะถอนความยินยอมเมื่อใดก็ได้ ถือเป็นหลักการ
สาคัญ เป็นการคุ้มครองสิทธิของเจ้าของข้อมูล
ข้อ 32 ง. มาตรา 19 วรรคหก หากการถอนความยินยอมจะส่งผลกระทบต่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลในเรื่องใด
ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลมีหน้าที่ต้องแจ้งให้เจ้าของข้อมูลทราบถึงผลกระทบจากการถอนความ
ยินยอมนั้นด้วย
ข้อ 33 ก. มาตรา 82 ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลที่ไม่แจ้งผลกระทบจากการถอนความยินยอม มีโทษปรับทาง
ปกครองไม่เกิน 1 ล้านบาท
ข้อ 34 ค. มาตรา 23 กฎหมายกาหนดให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลมีหน้าที่ต้องแจ้งเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล
ทราบก่อนหรือขณะเก็บรวบรมข้อมูลส่วนบุคคล โดยเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลไม่ต้องร้องขอแต่
อย่างใด รายละเอียดที่ต้องแจ้งให้ทราบ เช่น เก็บข้อมูลอะไรบ้าง วัตถุประสงค์ของการเก็บ
ระยะเวลาการเก็บ การส่งต่อข้อมูลให้ใคร และช่องทางติดต่อผู้ควบคุมข้อมูล ซึ่งหากผู้ควบคุมฝ่า
ฝืนไม่ปฏิบัติตามสิทธิในการแจ้งรายละเอียดให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลทราบ มีโทษปรับทาง
ปกครองไม่เกิน 1 ล้านบาท ตามมาตรา 82
ข้อ 35 ก. มาตา 82 ดูเหตุผลจากคาตอบข้อ 34
ข้อ 36 ค. มาตรา 30 วรรคหนึ่ง สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิ
1. ขอเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตน
2. ขอรับสาเนาข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตน
3. ขอให้เปิดเผยถึงการได้มาซึ่งข้อมูลส่วนบุคคลที่ตนไม่ได้ให้ความยินยอม
(ส่วนตัวเลือก ค. เป็นสิทธิในการโอนย้ายข้อมูลส่วนบุคคล ตามมาตรา 31 จึงไม่เกี่ยวข้องกับคาถาม)
ข้อ 37 ง. มาตรา 30 วรรคสอง เมื่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลขอเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลแล้ว โดยหลักผู้ควบคุม
ข้อมูลส่วนบุคคลจะต้องปฏิบัติตามคาขอนั้น เว้นแต่เป็นการปฏิเสธตามกฎหมายหรือคาสั่งของศาล
หรือจะส่งผลกระทบที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อสิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น
ข้อ 38 ก. มาตรา 30 วรรคสี่ เมื่อเป็นกรณีที่ไม่อาจปฏิเสธคาขอได้ ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลต้องดาเนินการ
ตามคาขอโดยไม่ชักช้า (แต่ต้องไม่เกิน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับคาขอ)
ข้อ 39 ง. มาตรา 30 วรรคสี่ ต้องดาเนินการโดยไม่ชักช้า แต่ไม่เกิน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับคาขอ
ข้อ 40 ก. มาตรา 82 ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลที่ไม่ปฏิบัติตามมาตรา 30 วรรคสี่ มีโทษปรับทางปกครองไม่
เกิน 1 ล้านบาท
* กรณีคำถำมข้อนี้ เมื่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีคาขอเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล และเป็นกรณีที่ไม่อาจปฏิเสธ
คาขอได้ มาตรา 30 วรรคสี่ บัญญัติให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลมีหน้าที่ต้องดาเนินการตามคาขอโดยไม่ชักช้า
แต่ไม่เกิน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับคาขอ ดังนั้น การไม่ปฏิบัติตามมาตรา 30 วรรคสี่ จึงเกิดขึ้นได้ 2 กรณี คือ ไม่ 11
ดาเนินการเลย หรือดาเนินการแต่ไม่เป็นไปตามเวลาที่กาหนด ซึ่งมาตรา 82 บัญญัติให้รับโทษทางปกครองไม่
เกิน 1 ล้านบาท
| แนวข้อสอบ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562
แนวข้อสอบ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (ชุดที่ 5)
ข้อ 41 Right to Rectification คือ ?
ก. สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล
ข. สิทธิในการลบข้อมูลส่วนบุคคล
ค. สิทธิในการแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลให้ถูกต้อง
ง. สิทธิในการคัดค้านการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล

ข้อ 42 ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลต้องแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลตามหลักการข้อใด
ก. ถูกต้อง เป็นปัจจุบัน
ข. สมบูรณ์
ค. ไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิด
ง. ถูกทุกข้อ

ข้อ 43 มาตรการทางกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ในกรณีผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลไม่ดาเนินการแก้ไข


ข้อมูลส่วนบุคคลให้ถูกต้อง
ก. ร้องทุกข์
ข. ร้องเรียน
ค. อุทธรณ์
ง. ฟ้องร้อง

ข้อ 44 หลักการสาคัญของสิทธิในการลบข้อมูลส่วนบุคคล คือข้อใด


ก. สิทธิขอให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลลบข้อมูลส่วนบุคคล
ข. ขอให้ทาลายข้อมูลส่วนบุคคล
ค. ทาให้ข้อมูลส่วนบุคคลไม่สามารถระบุถึงตนได้
ง. ถูกทุกข้อ

ข้อ 45 เงื่อนไขในการใช้สิทธิลบข้อมูลส่วนบุคคล ข้อใดไม่เกี่ยวข้อง


ก. ข้อมูลหมดความจาเป็นในการประมวลผลตามวัตถุประสงค์
ข. เป็นข้อมูลส่วนบุคคลที่ไม่สมบูรณ์
ค. เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลถอนความยินยอมในการเก็บรวบรวม ใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล
ง. ข้อมูลส่วนบุคคลได้ถูกใช้ประมวลผลโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย 12

| แนวข้อสอบ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562


ข้อ 46 ข้อจากัดในการใช้สิทธิลบข้อมูลส่วนบุคคล คือข้ใด
ก. เป็นข้อมูลเกี่ยวกับเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น
ข. เป็นข้อมูลที่กฎหมายกาหนดให้เก็บ
ค. เป็นข้อมูลเกี่ยวกับเอกสารประวัติศาสตร์
ง. ถูกทุกข้อ

ข้อ 47 นาย เอ ได้เดินทางเข้ามาในประเทศไทย ถูกตรวจพบว่าเป็นโรคติดต่ออันตรายหรือโรคระบาดซึ่งอาจ


แพร่เชื้อได้ นาย เอ สามารถใช้สิทธิในการลบข้อมูลส่วนบุคคลได้หรือไม่
ก. ได้ เพราะเป็นข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความละเอียดอ่อน
ข. ได้ เพราะมาตรา 33 บัญญัติรับรองสิทธิในการลบข้อมูลส่วนบุคคล
ค. ไม่ได้ เพราะเป็นข้อมูลที่กฎหมายระบุให้เก็บรวบรวมข้อมูล
ง. ไม่ได้ เพราะเป็นข้อมูลสาธารณะ

ข้อ 48 Right to erasure สอดคล้องกับข้อใด


ก. Right to Restrict processing
ข. Right to Forgotten
ค. Right to rectification
ง. Right to data portability

ข้อ 49 กรณีที่ต้องดาเนินการลบหรือทาลายหรือทาให้ข้อมูลไม่สามารถระบุตัวได้ หากผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล


ไม่ดาเนินการ ท่านจะแนะนาให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลทาอย่างไรตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ก. โต้แย้ง
ข. ร้องทุกข์
ค. แจ้งความ
ง. ร้องเรียน

ข้อ 50 หากมีการส่งต่อหรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลต่อสาธารณะและเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลขอให้ลบหรือ
ทาลายข้อมูลดังกล่าว ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลต้องดาเนินการอย่างไร
ก. แจ้งให้ทราบผลกระทบ
ข. หยุดประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลที่ขอให้ลบหรือทาลาย
ค. แจ้งผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลอื่น ๆ ให้ดาเนินการลบหรือทาลายตามคาขอ 13
ง. แก้ไขให้ถูกต้อง สมบูรณ์

| แนวข้อสอบ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562


เฉลย
ข้อ 41 ค. สิทธิในการแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลให้ถูกต้อง (Right to Rectification) พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วน
บุคคล พ.ศ. 2562 มาตรา 35 และมาตรา 36 บัญญัติคุ้มครองสิทธิในการแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลให้
ถูกต้อง หากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลเห็นว่าข้อมูลส่วนบุคคลของตนไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์
สามารถยื่นคาร้องขอแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลที่เกี่ยวกับตนได้
ข้อ 42 ง. มาตรา 35 ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลต้องดาเนินการให้ข้อมูลส่วนบุคคลถูกต้อง เป็นปัจจุบัน
สมบูรณ์ และไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิด (สิทธิในการแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลนี้ แม้จะไม่มีการร้องขอ
แต่ก็ถือเป็นหน้าที่ตามกฎหมายของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลที่จะต้องดาเนินการให้ข้อมูลส่วน
บุคคลถูกต้อง เป็นปัจจุบัน สมบูรณ์ และไม่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิด
ข้อ 43 ข. มาตรา 36 วรรคสอง ประกอบกับมาตรา 34 วรรคสอง หากผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลไม่
ดาเนินการแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลให้ถุกต้อง เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิร้องเรียนต่อ
คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญเพื่อสั่งให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลดาเนินการแก้ไขได้
ข้อ 44 ง. สิทธิในการลบข้อมูลส่วนบุคคล มาตรา 33 บัญญัติให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิขอให้ผู้ควบคุม
ข้อมูลส่วนบุคคล ดาเนินการลบหรือทาลาย หรือทาให้เป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวบุคคลที่เป็น
เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลได้
ข้อ 45 ข. ข้อมูลส่วนบุคคลที่ไม่สมบูรณ์หรือไม่ถูกต้อง เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลสามารถขอให้แก้ไขข้อมูลส่วน
บุคคลได้ จึงไม่ใช่เงื่อนไขในการใช้สิทธิลบข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งตัวเลือก ก. ค. และ ง. เป็นเงื่อนไข
ในการใช้สิทธิลบข้อมูลส่วนบุคคล ตามมาตรา 33 วรรคหนึ่ง
ข้อ 46 ง. มาตรา 33 วรรคสอง เป็นกรณีจากัดสิทธิ ทาให้ไม่สามารถใช้สิทธิลบข้อมูลส่วนบุคคลได้ ถ้าเป็น
ข้อมูลส่วนบุคคลที่มีวัตถุประสงค์ดังนี้
1. เป็นข้อมุลเกี่ยวกับเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น
2. เป็นข้อมูลตามมาตรา 24 (1) เอกสารประวัติศาสตร์หรือจดหมายเหตุเพื่อประโยชน์
สาธารณะ การศึกษาวิจัยหรือสถิติ
3. เป็นข้อมูลตามมาตรา 24 (4) เพื่อปฏิบัติหน้าที่ในการดาเนินภารกิจเพื่อประโยชน์
สาธารณะ หรือปฏิบัติหน้าที่ในการใช้อานาจรัฐ
4. เป็นข้อมูลตามมาตรา 26 (5) (ก) เวชศาสตร์ป้องกันหรือาชีวเวชศาสตร์ การประเมิน
ความสามารถในการทางานของลูกจ้าง การวินิจฉัยโรคทางการแพทย์ ให้บริการด้านสุขภาพ สังคม
การรักษาทางการแพทย์ การจัดการด้านสุขภาพ ระบบและการให้บริการด้านสังคมสงเคราะห์
5. เป็นข้อมูลตามมาตรา 26 (5) (ข) ประโยชน์สาธารณะด้านการสาธารณสุข การป้องกัน
โรคติดต่อันตรายหรือโรคระบาด การควบคุมมาตรฐานหรือคุณภาพยา เวชภัณฑ์ เครื่องมือแพทย์
6. เป็นข้อมูลเกี่ยวกับการก่อตั้งสิทธิเรียกร้องตามกฎหมาย การปฏิบัติตามหรือการใช้สิทธิ 14
เรียกร้องตามกฎหมาย หรือการยกขึ้นต่อสู้สิทธิเรียกร้องตามกฎหมาย หรือเพื่อการปฏิบัติตาม
กฎหมาย
| แนวข้อสอบ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562
ข้อ 47 ค. การเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์เกี่ยวกับประโยชน์สาธารณะด้านการ
สาธารณสุข เป็นกรณีมีความจาเป็นในการปฏิบัติตามกฎหมายนั้น ๆ ตามมาตรา 26 (5) (ข) ถูก
จากัดสิทธิในการลบข้อมูลส่วนบุคคลตามมาตรา 33 วรรคสอง (ดูเหตุผลจากคาตอบข้อ 46
เพิ่มเติม)
ข้อ 48 ข. Right to erasure หรือ Right to Forgotten คือ สิทธิในการลบหรือทาลาย หรือทาให้ข้อมูลส่วน
บุคคลเป็นข้อมูลที่ไม่สามารถระบุตัวบุคคลได้
ข้อ 49 ง. ต้องแนะนาเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ให้ดาเนินการตาม พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562
มาตรา 33 วรรคสี่ ว่าหากผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลไม่ดาเนินการลบฯ เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมี
สิทธิร้องเรียนต่อคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญ เพื่อสั่งให้ดาเนินการได้
ข้อ 50 ค. มาตรา 33 วรรคสาม หากผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลส่งต่อหรือเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะแล้ว ผู้
ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลจะต้องแจ้งผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลอื่น ๆ ให้ดาเนินการลบตามคาขอ
โดยเสียค่าใช้จ่ายเองทั้งหมดเพื่อให้เป็นไปตามคาขอให้ลบ

15

| แนวข้อสอบ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562


แนวข้อสอบ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (ชุดที่ 6)
ข้อ 51 หากเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลขอให้ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล แต่ผู้ควบคุม
ข้อมูลส่วนบุคคลไม่ได้ดาเนินการตามคาขอ เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิตามกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วน
บุคคลอย่างไร
ก. ร้องเรียน
ข. ร้องทุกข์
ค. อุทธรณ์
ง. กล่าวโทษ

ข้อ 52 สิทธิในการขอให้โอนย้ายข้อมูลส่วนบุคคลตามมาตรา 31 ข้อใดไม่สอดคล้อง


ก. ไฟล์อิเล็กทรอนิกส์
ข. ข้อมูลสามารถอ่านได้โดยทั่วไป
ค. เก็บข้อมูลเป็นเอกสาร
ง. ใช้งานได้โดยอัตโนมัติ

ข้อ 53 ข้อยกเว้น Right of Data Portability


ก. ประโยชน์สาธารณะ
ข. ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย
ค. ละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลอื่น
ง. ถูกทุกข้อ

ข้อ 54 สิทธิในการคัดค้านการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล ข้อใดถูกต้อง


ก. ไม่ต้องร้องขอ
ข. ใช้สิทธิเมื่อใดก็ได้
ค. ภายใน 1 ปี
ง. ไม่มีข้อจากัดสิทธิ

ข้อ 55 กรณีใดไม่สามารถใช้สิทธิคัดค้านการเก็บรวบรวม ใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล


ก. เป็นข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการตลาดแบบตรง
ข. เป็นข้อมูลเพื่อประโยชน์สาธารณะ
ค. เป็นข้อมูลเพื่อประโยชน์โดยชอบด้วยกฎหมาย 16
ง. เป็นข้อมูลเพื่อวิจัยหรือสถิติในกรณีจาเป็นเพื่อประโยชน์สาธารณะ

| แนวข้อสอบ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562


ข้อ 56 ข้อใดคือหน้าที่ของผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลเมื่อมีการคัดค้านการเก็บรวบรวม ใช้หรือเปิดเผยข้อมุล
ส่วนบุคคล
ก. ยุติการเก็บรวบรวม ใช้หรือเปิดเผยข้อมุล
ข. แยกข้อมูลที่ถูกคัดค้านออกจากข้อมูลส่วนอื่น
ค. ยับยั้งการโอนข้อมูลส่วนบุคคล
ง. ถูกเฉพาะข้อ ก. และ ข.

ข้อ 57 พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 กาหนดหน้าที่และความรับผิดชอบในการปฏิบัติตาม


กฎหมายไว้กับบุคคลสองกลุ่ม คือใคร
ก. ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล กับ เจ้าหน้าที่
ข. บุคคล กับ นิติบุคคล
ค. ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล กับ ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล
ง. เจ้าหน้าที่ กับ ผู้ประมวลผล

ข้อ 58 แนวคิดตามข้อ 57 ได้รับอิทธิพลมาจากกฎหมายใด


ก. General Data Protection Regulation : GDPR
ข. Federal Trade Commission : FTC
ค. California Consumer Privacy Act 2018 : CCPA
ง. Health Insurance Portability and Accountability Act

ข้อ 59 พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ใช้บังคับกับกรณีผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลอยู่นอกประเทศ


ไทย ยกเว้นข้อใด
ก. เฝ้าติดตามพฤติกรรมเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลที่เกิดขึ้นในประเทศไทย
ข. เสนอสินค้าให้เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลที่อยู่ในประเทศไทย
ค. เสนอบริการให้แก่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลที่อยู่ในประเทศไทยโดยไม่มีการชาระเงิน
ง. ไม่มีข้อใดถูก

ข้อ 60 ข้อยกเว้นการใช้บังคับ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ข้อใดไม่สอดคล้อง


ก. เพื่อประโยชน์ส่วนตน
ข. เพื่อกิจกรรมในครอบครัว
ค. ข้อมูลของบริษัทข้อมูลเครดิตตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจข้อมูลเครดิต 17
ง. ไม่มีข้อใดถูก

| แนวข้อสอบ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562


เฉลย
ข้อ 51 ก. มาตรา 34 วรรคสอง หากผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลไม่ดาเนินการตามคาขอให้ระงับการใช้ข้อมูลส่วน
บุคคล เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิร้องเรียนต่อคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญ เพื่อสั่งให้ดาเนินการได้
ข้อ 52 ค. มาตรา 31 รับรองสิทธิการขอให้ส่งหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลที่อยู่ในรูปแบบที่สามารถอ่านหรือใช้งาน
ได้โดยทั่วไป หรือโดยอัตโนมัติ หรือเป็นไฟล์อิเล็กทรอนิกส์ ไม่รวมถึงข้อมูลที่เก็บเป็นเอกสาร
ข้อ 53 ง. มาตรา 31 วรรคสาม เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ไม่สามารถใช้สิทธิขอให้ส่งหรือโอนข้อมูลส่วนบุคคลได้
3 กรณี ได้แก่ 1. เป็นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อประโยชน์สาธารณะ 2. จะเป็นการปฏิบัติหน้าที่ตาม
กฎหมายไม่ได้ และ 3. เป็นการละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลอื่น
ข้อ 54 ข. มาตรา 32 เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิคัดค้านการเก็บรวบรวม ใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล
(การประมวลผล หมายถึง การเก็บรวบรวม ใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล) ที่เกี่ยวกับตนเมื่อใดก็ได้
ข้อ 55 ง. มาตรา 32 โดยหลักเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลมีสิทธิคัดค้านการประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลเมื่อใดก็ได้
ในเรื่องต่อไปนี้
1. เป็นการเก็บข้อมูลเพื่อประโยชน์สาธารณะ (มาตรา 24 (4)) หรือเพื่อประโยชน์โดยชอบด้วย
กฎหมาย (มาตรา 24 (5)) เว้นแต่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลแสดงเหตุผลอันชอบด้วยกฎหมายที่สาคัญยิ่งกว่า
หรือเหตุผลเกี่ยวกับการใช้สิทธิตามกฎหมาย
2. เป็นข้อมูลเพื่อวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการตลาดแบบตรง
3. เป็นข้อมูลเพื่อวัตถุประสงค์ศึกษาวิจัย ประวัติศาสตร์ สถิติ เว้นแต่มีความจาเป็นเพื่อประโยชน์สาธารณะ
ข้อ 56 ง. มาตรา 32 วรรคสอง เมื่อเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลใช้สิทธิคัดค้านแล้ว ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลต้อง
ยุติการเก็บรวบรวม ใช้หรือเปิดเผยข้อมูล และแยกข้อมูลที่ถูกคัดค้านออกจากข้อมูลส่วนอื่นทันที
ข้อ 57 ค. พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 กาหนดหน้าที่และความรับผิดชอบในการปฏิบัติตาม
กฎหมายไว้กับบุคคลสองกลุ่ม ได้แก่ ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล กับ ผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล
โดยได้รับแนวคิดมาจาก General Data Protection Regulation (GDPR) ซึ่งเป็นกฎหมายคุ้มครอง
ข้อมูลส่วนบุคคลของสหภาพยุโรป
ข้อ 58 ก. ดูคาตอบข้อ 57
ข้อ 59 ง. มาตรา 5 ขอบเขตการใช้บังคับ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ดังนี้
1. ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลหรือผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลอยู่ในประเทศไทย ใช้กับการเก็บ
รวบรวม ใช้หรือเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลทั้งหมด (ไม่ว่าจะทาการเก็บรวบรวมฯ ในหรือนอกประเทศ)
2. กรณีผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลหรือผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคลอยู่นอกประเทศไทย ใช้บังคับ
เฉพาะกิจกรรม 2 ประเภท คือ
2.1 การเสนอสินค้าหรือบริการให้แก่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลที่อยู่ในประเทศไทย ไม่ว่าจะมีการ
ชาระเงินหรือไม่ก็ตาม 18
2.2 การเฝ้าติดตามพฤติกรรมของเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลที่เกิดขึ้นในประเทศไทย
ข้อ 60 ง. มาตรา 4 วรรคหนึ่ง (1) (6) ข้อ ก. ข. และ ค. เป็นข้อยกเว้น ไม่ใช้บังคับตามกฎหมายนี้
| แนวข้อสอบ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562

You might also like