Download as docx, pdf, or txt
Download as docx, pdf, or txt
You are on page 1of 21

บริษัท ริช สปอร์ต จำกัด (มหาชน)

2. ลักษณะการประกอบธุรกิจ
2.1 โครงสร้างรายได้ของกลุ่มบริษัทฯ

ปี 2557 ปี 2558 ปี 2559 ม.ค. - มี.ค. 2560


ประเภทของรายได้
ล้านบาท ร้อยละ ล้านบาท ร้อยละ ล้านบาท ร้อยละ ล้านบาท ร้อยละ
รายได้จากการขายผลิตภัณฑ์ 657.89 80.55 907.23 80.75 1,086.63 79.66 282.75 80.43
รองเท้า (Footwear)
รายได้จากการขายผลิตภัณฑ์ 153.42 18.78 210.63 18.75 272.21 19.96 67.11 19.09
เสื้อผ้าและเครื่องแต่งกายอื่นๆ
(Non-Footwear)
รวมรายได้จากการขาย 811.31 99.34 1,117.86 99.50 1,358.84 99.62 349.86 99.52
รายได้อื่น* 5.41 0.66 5.67 0.50 5.22 0.38 1.68 0.48
รวมรายได้ทั้งหมด 816.72 100.00 1,123.53 100.00 1,364.07 100.00 351.54 100.00
หมายเหตุ : รายได้อื่นที่สำคัญ ประกอบด้วย รายได้จากดอกเบี้ยรับ และกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน

2.2 ลักษณะผลิตภัณฑ์ของกลุ่มบริษัทฯ
กลุ่มบริษัทฯ ประกอบธุรกิจจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ประเภทรองเท้า (Footwear) เสื้อผ้าและเครื่องแต่งกายอื่นๆ (Non-
Footwear) ภายใต้ตราสินค้า Converse โดย Converse เป็นแบรนด์รองเท้าผ้าใบจากประเทศสหรัฐอเมริกาที่มีประวัติยาวนาน
กว่า 100 ปี ทำให้รองเท้า Converse ที่มีสัญลักษณ์รูปดาว 5 แฉก เป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายทั่วโลกมาอย่าง
ต่อเนื่องและยาวนาน จากเดิมที่เป็นรองเท้าสำหรับใส่เล่นกีฬาไม่ว่าจะเป็นบาสเกตบอล แบดมินตัน และสเก็ตบอร์ด จนพัฒนา
กลายมาเป็นรองเท้าไลฟ์สไตล์สำหรับทุกเพศทุกวัยที่สามารถสวมใส่ได้ในทุกโอกาส ด้วยรูปทรงและดีไซน์ที่คลาสสิก มีความเป็น
เอกลักษณ์ นอกเหนือจากรองเท้า (Footwear) ซึ่งเป็นสินค้าหลักแล้ว บริษัทฯ ยังจำหน่ายสินค้าประเภทเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกา
ยอื่นๆ (Non-Footwear)
ทั้งนี้ ลักษณะผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ สามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ประกอบด้วย (1) กลุ่มผลิตภัณฑ์รองเท้า
(Footwear) และ (2) กลุ่มผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าและเครื่องแต่งกายอื่นๆ (Non-Footwear) โดยมีรายละเอียดดังนี้
2.2.1 กลุ่มผลิตภัณฑ์รองเท้า (Footwear)
บริษัทฯ จัดจำหน่ายรองเท้า (Footwear) ภายใต้ตราสินค้า “Converse” ซึ่งเป็นกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่สร้างรายได้
หลักให้แก่บริษัทฯ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 79.97 และร้อยละ 80.82 ของรายได้จากการขายรวมในปี 2559 และงวด 3 เดือนแรก
ปี 2560 ตามลำดับ โดยกลุ่มผลิตภัณฑ์รองเท้าของบริษัทฯ สามารถแบ่งเป็น 2 ประเภท ประกอบด้วย
1. รองเท้ากลุ่ม Basic
รองเท้ากลุ่ม Basic ได้แก่ รองเท้า 3 รุ่นหลัก ประกอบด้วย รุ่น Chuck Taylor All Star, รุ่น CONS Star
Player และรุ่น Jack Purcell ซึ่งเป็นรองเท้าที่เน้นความคลาสสิกของรูปทรงและเอกลักษณ์ของรองเท้าผ้าใบ Converse และเป็นสินค้า
ที่มีจำหน่ายตลอดปี ซึ่งมีอยู่ 5 สี ได้แก่ สีขาว สีดำ สีครีม สีน้ำเงิน และสีแดง โดยลักษณะของรองเท้าแต่ละรุ่นสามารถสรุปได้ดังนี้
1.1 รุ่น Chuck Taylor All Star : เป็นรองเท้ารุ่นคลาสสิกที่เปรียบเสมือนสัญลักษณ์ของ Converse
และได้รับความนิยมอย่างมาก ถือว่าเป็นรุ่นที่ทำให้รองเท้า Converse เป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายทั่วโลก ทั้งนี้ รองเท้ารุ่น Chuck
Taylor All Star เป็นรุ่นที่มีความทนทาน สวมใส่สบาย และสามารถใส่ได้ในทุกโอกาส มีทั้งทรงหุ้มข้อ (Chuck Taylor All Star
Hi) และไม่หุ้มข้อ (Chuck Taylor All Star Ox) สำหรับทรงหุ้มข้อนั้นจะมีจุดเด่นอยู่ที่โลโก้วงกลมและสัญลักษณ์ดาวห้าแฉก

รุ่น Chuck Taylor


All Star Hi

ส่วนที่ 2 หน้า 8
บริษัท ริช สปอร์ต จำกัด (มหาชน)

รุ่น Chuck Taylor


All Star Ox

1.2 รุ่น CONS Star Player : เป็นรองเท้าแนวสตรีทที่มีจุดเด่นเป็นสัญลักษณ์ Star Chevron ซึ่งเป็น


เอกลักษณ์ของตราสินค้า

รุ่น CONS Star


Player

1.3 รุ่น Jack Purcell : เป็นรองเท้ารุ่นคลาสสิกอีกรุ่นของแบรนด์ Converse โดยตัวรองเท้าจะมี


เอกลักษณ์ คือ สัญลักษณ์รอยยิ้ม “Jack Purcell Smile” บนแผ่นยางตรงส่วนหัวของรองเท้า

รุ่น Jack Purcell

ถึงแม้รองเท้ากลุ่ม Basic จะเน้นความคลาสสิกของรูปทรง แต่ Converse ก็มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากรุ่น


ดั้งเดิมให้มีความหลากหลายมากขึ้น โดยยังคงความคลาสสิกของรูปทรงเดิมไว้แต่ทำให้มีความทันสมัยเข้ากับยุคสมัยและดูเรียบ
ง่าย เช่น Chuck Taylor All Star Dainty, Chuck Taylor All Star Ballet Lace เป็นต้น รวมถึงมีการพัฒนาวัสดุที่ใช้ในการผลิต
เพื่อให้รองเท้ามีนํ้าหนักเบาและสวมใส่สบายมากขึ้น

2. รองเท้ากลุ่มแฟชั่น
นอกเหนือจากรองเท้ากลุ่ม Basic บริษัทฯ ยังจัดจำหน่ายรองเท้ากลุ่มแฟชั่นที่มีการออกแบบให้มีความ
ทันสมัยและมีดีไซน์ที่เปลี่ยนไปตามกระแสความนิยมในแต่ละขณะ ซึ่งจะมีทั้งรุ่นที่ออกแบบใหม่ในแต่ละซีซั่น และการนำรองเท้า
รุ่นที่เป็นกลุ่ม Basic มาปรับเปลี่ยนวัสดุด้านบนของรองเท้าที่ต่างออกไปจากรุ่น Basic เพื่อให้รองเท้ามีความทันสมัยแต่ยังคงไว้
ด้วยรูปทรงเดิมตามแบบฉบับของ Converse เช่น การออกสีใหม่นอกเหนือจากสีหลัก 5 สีที่กล่าวถึงข้างต้น การใช้ผ้าไวนิล ผ้า
ยีนส์ หนังกลับ หรือผ้าที่มีสีสันและลวดลายใหม่ๆ แทนหน้าผ้าแบบเดิม รวมทั้งการเปลี่ยนสีของส่วนประกอบอื่นบนรองเท้า เช่น
ตาไก่ และป้ายโลโก้ เป็นต้น ตลอดจนการออกแบบรองเท้ารูปแบบใหม่ และการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาใช้ในการผลิตรองเท้า
เพื่อตอบสนองต่อกระแสแฟชั่นและความนิยมของกลุ่มลูกค้าที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

สำหรับรองเท้ากลุ่มแฟชั่นนั้น สามารถแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ประกอบด้วย


1. รองเท้าที่ออกแบบโดยดีไซน์เนอร์ของ Converse โดย Converse จะมีการออกแบบสินค้าคอลเล
คชั่นใหม่ในทุกๆ ซีซั่น ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงไปตามกระแสความนิยมในแต่ละขณะ เช่น รองเท้ารุ่น Converse Chuck Taylor All
Star II Shield Canvas ที่ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อเตรียมรับหน้าฝนของซีซั่น Fall/Holiday 2016 โดยใช้วัสดุพรีเมี่ยมที่มีคุณสมบัติพิเศษ
เป็นรองเท้าผ้าใบกันละอองน้ำได้ เป็นต้น ซึ่งในการออกสินค้าคอลเลคชั่นใหม่นั้น Converse จะมีการจัดงานแสดงสินค้า (Trade
Show) ทุกซีซั่นเพื่อให้ตัวแทนจำหน่ายจากทั่วโลกได้ชมตัวอย่างสินค้าสำหรับซีซั่นใหม่ก่อนการสั่งซื้อจริง

ตัวอย่างรองเท้าที่ออกแบบโดยดีไซน์เนอร์ของ Converse

ส่วนที่ 2 หน้า 9
บริษัท ริช สปอร์ต จำกัด (มหาชน)

รุ่น Thunderbolt Ultra Ox รุ่น Jack Purcell Signature รุ่น CTAS Core Slip

รุ่น CTAS Ox รุ่น One Star Pro Ox รุ่น CTAS 70’s Ox

2. รองเท้าที่เป็นการร่วมออกแบบระหว่างดีไซน์เนอร์ของ Converse และดีไซน์เนอร์ชื่อดังของแบรนด์


ระดับโลก (Collaboration) เช่น John Varvatos, Missoni และ Andy Warhol เป็นต้น

ตัวอย่างรองเท้า Collaboration

รุ่น CTAS X Missoni Ox รุ่น CTAS Andy Warhol Hi รุ่น CTAS JV Side Zip Hi

3. รองเท้าที่ออกแบบโดยดีไซน์เนอร์ของบริษัทฯ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการเปลี่ยนวัสดุด้านบนของรองเท้า
ให้มีความแตกต่างจากรองเท้ากลุ่ม Basic เช่น การเพิ่มสีสันของผ้า Canvas หรือเป็นผ้าที่มีลวดลายต่างๆ เป็นต้น

ตัวอย่างรองเท้าที่ออกแบบโดยดีไซน์เนอร์ของบริษัทฯ

รุ่น CTAS Metallic Ox รุ่น CTAS Metallic Hi รุ่น CTAS Dainty Color รุ่น CONS Star Player Specialty Ox
Update

2.2.2 กลุ่มผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าและเครื่องแต่งกายอื่นๆ (Non-Footwear)


นอกเหนือจากผลิตภัณฑ์รองเท้าซึ่งเป็นสินค้าหลักแล้ว บริษัทฯ ยังจำหน่ายสินค้าประเภทเสื้อผ้า (Apparel)
และเครื่องแต่งกายอื่นๆ (Accessories) ภายใต้ตราสินค้า Converse เพื่อให้สินค้าของบริษัทฯ มีความหลากหลาย ครอบคลุม
สินค้าทุกประเภทในกลุ่มเครื่องแต่งกาย โดยสินค้าดังกล่าวมีจะมีการปรับเปลี่ยนดีไซน์ใหม่ๆ ในทุกซีซั่นเพื่อตอบสนองต่อเทรนด์
แฟชั่นที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา แต่ยังคงไว้ด้วยเอกลักษณ์ตามแบบฉบับ Converse ในปี 2559 และงวด 3 เดือนแรก ปี 2560
บริษัทฯ มีรายได้จากการขายผลิตภัณฑ์กลุ่มเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกายอื่นๆ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 20.03 และร้อยละ 19.18 ของ
รายได้จากการขายรวม ตามลำดับ

ทั้งนี้ กลุ่มผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าและเครื่องแต่งกายอื่นๆ สามารถแบ่งเป็น 3 ประเภท ดังนี้


1. ผลิตภัณฑ์เสื้อผ้า (Apparel)
เสื้อผ้าแบรนด์ Converse มีความโดดเด่นด้วยดีไซน์แนวสตรีทแฟชั่นที่เรียบง่ายแต่ทันสมัย เหมาะสำหรับ
การแต่งกายในวันสบายๆ ซึ่งได้รับอิทธิพลในการออกแบบจากเทรนด์แฟชั่นทั้งในและต่างประทศ โดยมีความหลากหลายทั้งแบบ
ดีไซน์ที่เรียบง่าย และลายกราฟิก โดยจะครอบคลุมเสื้อผ้ารูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น เสื้อยืด เสื้อโปโล เสื้อแจ็คเก็ต เสื้อฮู้ด กางเกง
ขาสั้น และกางเกงขายาว เป็นต้น ซึ่งสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ทั้งในกลุ่มของผู้ชายและผู้หญิง ในปี 2559 และ
งวด 3 เดือนแรกปี 2560 บริษัทฯ มีรายได้จากการขายผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 3.48 และร้อยละ 3.28 ของรายได้
จากการขายรวม ตามลำดับ

ส่วนที่ 2 หน้า 10
บริษัท ริช สปอร์ต จำกัด (มหาชน)

2. ผลิตภัณฑ์กระเป๋ า (Bags)
สินค้าประเภทกระเป๋ าเป็นสินค้าที่สร้างรายได้หลักให้แก่บริษัทฯ รองจากสินค้าประเภทรองเท้า โดยมี
สัดส่วนร้อยละ 12.09 และร้อยละ 11.95 ของรายได้จากการขายรวมในปี 2559 และงวด 3 เดือนแรกปี 2560 ตามลำดับ สินค้า
ประเภทนี้จะถูกออกแบบให้มีรูปทรงที่มีความหลากหลายเพื่อให้สามารถตอบโจทย์การใช้งานในรูปแบบต่างๆ โดยในแต่ละซีซั่น
บริษัทฯ จะมีออกแบบและผลิตกระเป๋ าที่มีลวดลายและสีสันตามเทรนด์ในแต่ละช่วงเวลา โดยเน้นรูปแบบที่เรียบง่ายสามารถใช้
งานได้หลายโอกาส มีขนาดที่พอเหมาะ และมีความทนทาน ทั้งนี้ สินค้าประเภทกระเป๋ าที่บริษัทฯ จำหน่าย ประกอบด้วย
กระเป๋ าสะพายหลัง (Backpack) กระเป๋ าสะพายข้าง (Tote Bag) กระเป๋ าใส่เอกสาร (Messenger Bag) กระเป๋ าถือแนวสปอร์ต
(Duffled Bag) กระเป๋ าคาดเอว (Waist Bag) และกระเป๋ าสะพายขนาดเล็ก (Mini Bag) เป็นต้น

กระเป๋ าสะพายหลัง (Backpack) กระเป๋ าสะพายข้าง (Tote Bag)

กระเป๋ าถือแนวสปอร์ต (Duffled Bag) กระเป๋ าใส่เอกสาร (Messenger Bag)

กระเป๋ าคาดเอว (Waist Bag) กระเป๋ าสะพายขนาดเล็ก (Mini Bag)

ส่วนที่ 2 หน้า 11
บริษัท ริช สปอร์ต จำกัด (มหาชน)

3. สินค้าประเภทเครื่องแต่งกายอื่นๆ (Accessories)
สินค้าประเภทเครื่องแต่งกายอื่นๆ ได้แก่ สินค้าประเภทหมวกและถุงเท้าภายใต้ตราสินค้า Converse
โดยเป็นสินค้าแนวสตรีทแฟชั่น เพื่อเพิ่มความโดดเด่นให้การแต่งกายดูน่าสนใจยิ่งขึ้น ซึ่งมีสินค้าทั้งสำหรับผู้ชายและผู้หญิง โดย
มีดีไซน์ รูปแบบและสีสันที่หลากหลาย ทั้งในรูปแบบเรียบง่ายที่ตกแต่งสินค้าด้วยโลโก้แบรนด์ Converse และแบบแฟชั่นที่มี
ความทันสมัย ซึ่งสามารถสวมใส่คู่กับรองเท้าหรือเครื่องแต่งกายอื่นๆ ของ Converse เพื่อเพิ่มความโดดเด่น และความเป็น
เอกลักษณ์สำหรับผู้สวมใส่

ส่วนที่ 2 หน้า 12
บริษัท ริช สปอร์ต จำกัด (มหาชน)

2.3 การตลาดและการแข่งขัน
2.3.1 กลยุทธ์ในการแข่งขัน
1. ตราสินค้าที่แข็งแกร่งและได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง
Converse เป็นแบรนด์รองเท้าผ้าใบที่มีประวัติศาสตร์ในประเทศสหรัฐอเมริกามาอย่างยาวนานกว่า 100
ปี และเป็นที่รู้จักทั่วโลกรวมทั้งในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งรองเท้ากลุ่ม Basic ซึ่งได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่องจนถึง
ปัจจุบัน ด้วยดีไซน์ที่เป็นเอกลักษณ์ รูปทรงที่มีความคลาสสิก เข้าได้กับทุกยุคทุกสมัย และสวมใส่ได้ทุกเพศทุกวัย ในขณะ
เดียวกัน Converse ก็มีการออกแบบผลิตภัณฑ์ให้มีความทันสมัยและมีดีไซน์ที่เปลี่ยนไปตามกระแสความนิยม ไม่ว่าจะเป็นการ
ออกสีใหม่นอกเหนือจากสีหลัก 5 สี การเปลี่ยนวัสดุด้านบนของรองเท้าให้มีความเป็นเอกลักษณ์และโดดเด่น การเปลี่ยนสีของ
ส่วนประกอบอื่นบนรองเท้า เช่น ตาไก่ ป้ายโลโก้ เป็นต้น ตลอดจนการออกแบบรองเท้ารูปแบบใหม่ ยิ่งไปกว่านั้น คุณภาพของ
สินค้าและวัสดุที่ใช้ในการผลิตก็มีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้รองเท้ามีความทนทาน น้ำหนักเบา และสวมใส่สบายมากขึ้น
ทำให้สินค้าของ Converse ได้รับความนิยมและเป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคตลอดมาจนถึงปัจจุบัน
ตลอดระยะเวลากว่า 14 ปี ที่บริษัทฯ ได้รับสิทธิจาก Converse ในการเป็นผู้ผลิตและจัดจำหน่ายสินค้า
ประเภทรองเท้า (Footwear) เสื้อผ้าและเครื่องแต่งกายอื่นๆ (Non-Footwear) ภายใต้ตราสินค้า Converse ซึ่งรวมถึงการทำการ
ตลาดและการโฆษณาประชาสัมพันธ์สินค้าและตราสินค้าดังกล่าวแต่เพียงผู้เดียวในประเทศไทย บริษัทฯ สามารถบริหารงานให้
ยอดขายสินค้าของ Converse เติบโตอย่างต่อเนื่องทุกปี และสามารถตอบสนองนโยบายต่างๆ รวมถึงเป้าหมายยอดขายของ
Converse ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ผู้บริหารจึงเชื่อมั่นว่าบริษัทฯ จะได้รับการสนับสนุนและไว้วางใจจาก Converse ได้อย่างต่อ
เนื่องและมั่นคง

2. ความหลากหลายของสินค้า
บริษัทฯ จำหน่ายสินค้าภายใต้ตราสินค้า “Converse” ครอบคลุมทุกกลุ่มสินค้าตั้งแต่รองเท้า (Footwear)
ซึ่งเป็นสินค้าหลัก รวมไปจนถึงสินค้าประเภทเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกายอื่นๆ (Non-Footwear) ได้แก่ กระเป๋ า หมวก ถุงเท้า
เชือกผูกรองเท้า โดยในแต่ละกลุ่มสินค้าก็จะมีความหลากหลายทั้งรูปแบบ ดีไซน์ และระดับราคา ตั้งแต่สินค้ารุ่น Basic ที่มีราคา
ไม่สูงมากนัก ไปจนถึงรุ่นพรีเมี่ยมที่เป็นรุ่น Hi-End ของ Converse และรุ่นพิเศษที่ผลิตจำนวนจำกัด (Limited Edition) ทำให้
สินค้าของบริษัทฯ สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็นกลุ่มวัยรุ่น นักเรียน นักศึกษา และวัยเริ่มทำงาน ซึ่งมี
ความแตกต่างกัน ทั้งรสนิยมด้านแฟชั่น กำลังซื้อ และพฤติกรรมการซื้อ

3. การคัดสรรสินค้าได้ตรงตามความต้องการของผู้บริโภค
ด้วยประสบการณ์ในการเป็นผู้จัดจำหน่ายสินค้าภายใต้ตราสินค้า Converse มาเป็นเวลากว่า 14 ปี ทำให้
บริษัทฯ เข้าใจความต้องการของลูกค้าในแต่ละกลุ่มเป้าหมายซึ่งมีความแตกต่างกันทั้งรสนิยมด้านแฟชั่น พฤติกรรมการซื้อ และ
กำลังซื้อ โดยฝ่ายผลิตภัณฑ์จะรับผิดชอบในการคัดเลือกสินค้าเข้ามาจำหน่ายให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค ซึ่งจะต้อง
อาศัยประสบการณ์และความชำนาญ การติดตามแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของแฟชั่นและรสนิยมของผู้บริโภคอย่างสม่ำเสมอ
รวมถึงการสอบถามข้อมูลจากพนักงานขาย เนื่องจากพนักงานขายจะได้พูดคุยและสอบถามความพึงพอใจโดยตรงจากลูกค้า ดัง
นั้น พนักงานขายจะมีส่วนช่วยในการรวบรวมข้อมูลความต้องการของลูกค้าหรือข้อเสนอแนะจากลูกค้าเพื่อเป็นข้อมูลให้แก่ฝ่าย
ผลิตภัณฑ์ นอกจากนี้ ฝ่ายผลิตภัณฑ์จะมีการประชุมร่วมกับ Converse อย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลแนวโน้ม และเท
รนด์แฟชั่น การนำเสนอผลิตภัณฑ์ใหม่ รวมถึงแนวโน้มพัฒนาการของสินค้า ซึ่งในส่วนของการจัดหาสินค้าของบริษัทฯ จะมีทั้ง
ในลักษณะที่เป็นการสั่งซื้อสินค้าสำเร็จรูปโดยตรงจาก Converse และสินค้าที่บริษัทฯ ออกแบบเองและจ้างผู้รับจ้างผลิตภายนอก
(OEM) หรือบริษัทย่อยในการผลิตสินค้า โดยทีมงานดีไซเนอร์ของบริษัทฯ จะศึกษาและติดตามแนวโน้มแฟชั่นทั้งในและต่าง
ประเทศอยู่ตลอดเวลา จากเหตุผลดังกล่าวส่งผลทำให้บริษัทฯ สามารถคัดสรรสินค้าให้ตรงตามกลุ่มเป้าหมาย และสามารถตอบ
สนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ

4. มีช่องทางการจำหน่ายครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศ
บริษัทฯ จำหน่ายสินค้าในลักษณะขายปลีกผ่านร้านค้าปลีกของบริษัทฯ (Mono Brand Store) และ
เคาน์เตอร์จำหน่ายสินค้าในห้างสรรพสินค้า (Shop-in-Shop) เป็นหลัก ณ วันที่ 31 มีนาคม 2560 บริษัทฯ มีร้านค้าปลีกของบริ
ษัทฯ จำนวน 41 แห่ง และเคาน์เตอร์จำหน่ายสินค้าในห้างสรรพสินค้าจำนวน 113 แห่ง ซึ่งจุดขายทั้งสองลักษณะจะกระจายอยู่
ทั่วประเทศ ทำให้สามารถเข้าถึงลูกค้าได้อย่างทั่วถึง ถึงกระนั้นก็ตาม บริษัทฯ ยังมีแผนที่จะขยายช่องทางการค้าปลีกให้

ส่วนที่ 2 หน้า 13
บริษัท ริช สปอร์ต จำกัด (มหาชน)

ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น โดยมุ่งหาโอกาสทางธุรกิจบนพื้นที่ที่มีศักยภาพอย่างต่อเนื่อง สำหรับร้านค้าที่เปิดดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน


บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการตกแต่งหน้าร้าน หรือ Window Display อยู่ตลอดตามแผนการตลาด (Marketing Campaign) ที่ได้
รับจาก Converse เพื่อให้สะท้อนภาพลักษณ์ของแบรนด์และดึงดูดลูกค้าอย่างต่อเนื่อง ซึ่งไม่เพียงส่งผลต่อภาพลักษณ์ที่ดีต่อลูกค้า
เท่านั้น การที่แบรนด์ Converse เป็นแบรนด์ที่แข็งแกร่งและมีส่วนแบ่งการตลาดเป็นอันดับต้นๆ ของประเทศ ร้านค้าหรือ
เคาน์เตอร์จำหน่ายสินค้าของบริษัทฯ จึงมีส่วนช่วยดึงดูดให้ลูกค้าเข้ามาใช้บริการศูนย์การค้าหรือห้างสรรพสินค้า ดังนั้น ที่ผ่าน
มาการดำเนินธุรกิจระหว่างบริษัทฯ กับเจ้าของพื้นที่ที่เป็นผู้พัฒนาศูนย์การค้ารวมถึงผู้ประกอบการห้างสรรพสินค้าจึงมีลักษณะที่
เอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน ส่งผลให้บริษัทฯ ได้รับโอกาสในการหาพื้นที่ที่มีศักยภาพจากห้างสรรพสินค้าหรือผู้พัฒนาศูนย์การค้า
ที่มีแผนการขยายสาขาหรือพื้นที่เพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง

5. ทีมผู้บริหารมีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในธุรกิจ
จากการที่ทีมผู้บริหารของกลุ่มบริษัทฯ ส่วนใหญ่เป็นผู้มีความรู้ ประสบการณ์ และความชำนาญใน
อุตสาหกรรมผลิตและจำหน่ายรองเท้าและเครื่องแต่งกายอื่นๆ มาเป็นเวลากว่า 15 ปี ทำให้มีความรู้และความเชี่ยวชาญในด้าน
รองเท้าและเครื่องแต่งกายอื่นๆ ครอบคลุมทุกด้านไม่ว่าจะเป็นการจัดหาผลิตภัณฑ์และการตลาด รวมถึงมีความเข้าใจเกี่ยวกับ
พฤติกรรมของผู้บริโภคอย่างถ่องแท้ สามารถกำหนดกลยุทธ์การตลาดและแนวทางการบริหารงานด้านต่างๆ ได้อย่างมี
ประสิทธิภาพและเหมาะสมกับสถานการณ์ในแต่ละขณะ นอกจากนี้ ทีมงานจัดหาผลิตภัณฑ์ยังมีการศึกษาและติดตามแนวโน้ม
แฟชั่นทั้งในและต่างประเทศรวมถึงการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับ Converse อยู่ตลอดเวลา ทำให้สามารถคาดการณ์แนวโน้มการ
เปลี่ยนแปลงของเทรนด์แฟชั่นรองเท้าและเครื่องแต่งกายอื่นๆ และสามารถออกแบบและจัดหาสินค้าได้ตรงตามความต้องการ
ของลูกค้าและตอบสนองไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

6. การใช้กลยุทธ์การตลาดที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
บริษัทฯ จะเลือกใช้กลยุทธ์การตลาดที่เหมาะสมกับกลุ่มลูกค้า และเนื่องจากกลุ่มลูกค้าหลักของบริษัทฯ
เป็นกลุ่มนักเรียน นักศึกษา วัยรุ่น และวัยเริ่มทำงาน บริษัทฯ จึงเน้นการประชาสัมพันธ์ผ่าน Digital Media เป็นหลัก ไม่ว่าจะ
เป็น Facebook, YouTube, Instagram เพื่อเป็นการสื่อสารกับลูกค้า, สร้างการรับรู้ในตราสินค้า (Brand Awareness), ตอกย้ำ
แบรนด์ Converse, การเปิดตัวสินค้าใหม่, การส่งข่าวการจัดกิจกรรมต่างๆ เช่น กิจกรรมในวันเปิดตัวสินค้า/เปิด Shop ใหม่
กิจกรรมภายในร้านค้าปลีกของบริษัทฯ กิจกรรมพิเศษต่างๆ อาทิ การจัดคอนเสิร์ต เป็นต้น นอกจากนี้ บริษัทฯ จะมีการผสม
ผสานเครื่องมือทางการตลาดอื่นๆ เพิ่มเติม ทั้งการโฆษณาผ่านวิทยุ นิตยสาร ป้ายโฆษณา เป็นต้น รวมถึงการตกแต่งหน้าร้าน
หรือ Window Display เพื่อสะท้อนภาพลักษณ์ของแบรนด์และดึงดูดลูกค้าอย่างต่อเนื่อง โดยส่วนใหญ่จะมีการปรับเปลี่ยนการ
ตกแต่งหน้าร้านทุก 3 เดือน
สำหรับ Materials ที่จะใช้ในการโฆษณาประชาสัมพันธ์นั้น ทาง Converse จะจัดส่งมาให้บริษัทฯ พร้อม
กับแผนการตลาด (Marketing Campaign) ไม่ว่าจะเป็น รูปภาพ, หนังโฆษณา นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังมีการนำ Concept/Theme
จากตัวอย่างที่ Converse ส่งให้มาผลิตเป็นสื่อใหม่ โดยจะเลือกใช้สถานที่ภายในประเทศ และเลือกใช้ศิลปินดาราหรือผู้ที่มีชื่อ
เสียงในสังคมที่เป็นคนไทยซึ่งกำลังได้รับความนิยมหรือมีชื่อเสียงในขณะนั้นๆ เพื่อให้การโฆษณาประชาสัมพันธ์ที่สื่อไปยังลูกค้า
มีลักษณะสอดคล้องกับสังคมและวัฒนธรรมของไทย

2.3.2 ลักษณะลูกค้าและลูกค้ากลุ่มเป้ าหมาย


จากการที่สินค้าที่บริษัทฯ จัดจำหน่ายมีความหลากหลายทั้งประเภทสินค้า รุ่นสินค้า และระดับราคาจึงทำให้
บริษัทฯ มีกลุ่มลูกค้าทุกเพศทุกวัย อย่างไรก็ตาม กลุ่มลูกค้าหลักของบริษัทฯ คือ กลุ่มวัยรุ่น นักเรียน นักศึกษา และวัยเริ่ม
ทำงานที่มีรายได้ระดับปานกลางถึงสูง

2.3.3 นโยบายราคา
บริษัทฯ มีนโยบายในการกำหนดราคาขายของสินค้าในแต่ละประเภทและรุ่นสินค้าจากต้นทุนบวกอัตรากำไร
ขั้นต้นที่เหมาะสม (Cost Plus Margin) โดยพิจารณาจากปัจจัยต่างๆ ได้แก่ ต้นทุนของสินค้า ความต้องการซื้อสินค้าของลูกค้า
หรืออุปสงค์ในตลาด ภาวะการแข่งขัน ระดับราคาของคู่แข่งในตลาด รวมถึงกำลังซื้อของกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย โดยบริษัทฯ จะ
พิจารณากำหนดราคาขายปลีกโดยเทียบเคียงกับคู่แข่งที่อยู่ในระดับเดียวกัน และให้อยู่ในระดับที่สามารถแข่งขันได้

ส่วนที่ 2 หน้า 14
บริษัท ริช สปอร์ต จำกัด (มหาชน)

นอกจากนี้ บริษัทฯ จะมีการจัดโปรโมชั่น โดยการให้ส่วนลดจากราคาขายปลีกปกติ ซึ่งจะพิจารณาจากปัจจัย


ต่างๆ เช่น ความนิยมต่อตัวสินค้าของลูกค้า อายุของสินค้า สภาพของสินค้า เป็นต้น ซึ่งโดยส่วนใหญ่สินค้าที่บริษัทฯ นำไปจัดโปรโม
ชั่นจะเป็นสินค้าในกลุ่มแฟชั่น เนื่องจากเป็นสินค้าที่ออกแบบสำหรับแต่ละซีซั่น เมื่อถึงช่วงปลายซีซั่น บริษัทฯ จะนำสินค้ามาจัด
โปรโมชั่นเพื่อระบายสินค้า และเตรียมวางจำหน่ายสินค้าสำหรับซีซั่นใหม่

2.3.4 การจำหน่ายและช่องทางการจัดจำหน่าย
บริษัทฯ มีการจำหน่ายสินค้าทั้งในลักษณะขายปลีกและขายส่ง โดยบริษัทฯ มีทีมงานขายรับผิดชอบและ
ประสานงานสำหรับการจำหน่ายในแต่ละรูปแบบ เพื่อให้สามารถดูแลบริหารจัดการลูกค้าในแต่ละกลุ่มได้อย่างทั่วถึงและมี
ประสิทธิภาพ ทั้งนี้ รายละเอียดของการจำหน่ายสินค้าในแต่ละช่องทางหลัก มีดังนี้

1) การจำหน่ายในลักษณะขายปลีก
การจำหน่ายในลักษณะขายปลีกเป็นการจำหน่ายให้แก่ลูกค้ารายย่อยทั่วไปผ่านร้านค้าปลีกของบริษัทฯ
และเคาน์เตอร์จำหน่ายสินค้าในห้างสรรพสินค้า โดยมีแผนกขายสรรพสินค้าและโชว์รูมรับผิดชอบ ซึ่งจะแบ่งเขตที่ดูแลรับผิดชอบ
เป็น 9 เขต มีหัวหน้าเขตการขายทำหน้าที่ดูแลรับผิดชอบบริหารงานร้านค้าปลีกและเคาน์เตอร์จำหน่ายสินค้าในห้างสรรพสินค้า
เริ่มตั้งแต่พนักงานขาย ปริมาณสินค้าที่เตรียมไว้เพื่อจำหน่าย การควบคุมการเบิก-คืนสินค้า การบริหารสต็อกสินค้า ณ จุดขาย
รวมถึงการประสานงานกับศูนย์การค้าและห้างสรรพสินค้า

การจำหน่ายสินค้าในลักษณะขายปลีกของบริษัทฯ จะแบ่งเป็น 2 ช่องทาง ตามรายละเอียดดังนี้


ก) ร้านค้าปลีกของบริษัทฯ (Mono Brand Store)
เป็นการจำหน่ายสินค้าผ่านร้านค้าปลีกของบริษัทฯ ซึ่งจะเป็นร้านค้าที่จำหน่ายเฉพาะสินค้าภายใต้
ตราสินค้า Converse เท่านั้น โดยบริษัทฯ จะเป็นผู้บริหารจัดการร้านค้าเองทั้งหมด ตั้งแต่การออกแบบ ตกแต่ง ตลอดจนการ
บริหารการขายสินค้า และการบริหารสต็อกสินค้า ร้านค้าปลีกของบริษัทฯ จะมีขนาดตั้งแต่ 80-100 ตารางเมตร ทั้งนี้ ร้านค้าปลีก
ทั้งหมดของบริษัทฯ จะเป็นลักษณะของการเช่าพื้นที่จากผู้ให้เช่า ซึ่งจะมีทั้งร้านที่อยู่ในศูนย์การค้าชั้นนำ และอาคารพาณิชย์ใน
แหล่งชุมชน ร้านค้าปลีกแต่ละแห่งจะมีพนักงานขายประจำอยู่ประมาณ 2-4 คน ขึ้นอยู่กับขนาดของร้านและยอดขายสินค้าของ
แต่ละร้าน
ณ วันที่ 31 มีนาคม 2560 บริษัทฯ มีร้านค้าปลีกของบริษัทฯ จำนวน 41 แห่ง กระจายอยู่ทั่วประเทศ

ข) เคาน์เตอร์จำหน่ายสินค้าในห้างสรรพสินค้า (Shop-in-Shop)
เป็นการจำหน่ายสินค้าในลักษณะการฝากขายผ่านเคาน์เตอร์จำหน่ายสินค้าในห้างสรรพสินค้า
ชั้นนำต่างๆ ทั้งที่เป็นเครือข่ายห้างสรรพสินค้าที่มีสาขาครอบคลุมทั่วประเทศ เช่น ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล, ห้างสรรสินค้า
โรบินสัน, ห้างสรรพสินค้าเดอะมอลล์ และซูเปอร์สปอร์ต เป็นต้น และห้างสรรพสินค้าท้องถิ่นในแต่ละจังหวัด โดยในแต่ละจุดขาย
จะมีพนักงานขายของบริษัทฯ ประจำอยู่ประมาณ 1-2 คน เพื่อทำหน้าที่ให้คำแนะนำสินค้าแก่ลูกค้า และบริหารจัดการสต็อก
สินค้าในแต่ละจุดขาย รวมทั้งประสานงานกับพนักงานของห้างในการดำเนินการต่างๆ เช่น การตรวจรับสินค้า และการตรวจสอบ
รายงานยอดขายประจำวัน เป็นต้น
ณ วันที่ 31 มีนาคม 2560 บริษัทฯ มีเคาน์เตอร์จำหน่ายสินค้าในห้างสรรพสินค้าจำนวน 113 แห่ง
กระจายอยู่ทั่วประเทศ

ตารางแสดงรายละเอียดช่องทางการจำหน่ายประเภทค้าปลีก ในปี 2557-2559 และงวด 3 เดือนแรกปี 2560


ปี 2557 ปี 2558 ปี 2559 ม.ค. - มี.ค. 2560
ช่องทางการจัดจำหน่าย
แห่ง ร้อยละ แห่ง ร้อยละ แห่ง ร้อยละ แห่ง ร้อยละ
ร้านค้าปลีกของบริษัทฯ 30 21.28 35 23.65 39 25.16 41 26.62
ห้างสรรพสินค้า 111 78.72 113 76.35 116 74.84 113 73.38
รวม 141 100.00 148 100.00 155 100.00 154 100.00

2) การจำหน่ายในลักษณะขายส่ง

ส่วนที่ 2 หน้า 15
บริษัท ริช สปอร์ต จำกัด (มหาชน)

เป็นการจำหน่ายสินค้าในลักษณะขายส่งให้แก่ลูกค้าที่เป็นร้านจำหน่ายเสื้อผ้า รองเท้า และอุปกรณ์กีฬา


ทั้งในลักษณะที่เป็นเครือข่าย (Chain Stores) เช่น แอคทีฟ เนชั่น, สปอร์ตโดม และเอาท์เล็ท มอลล์ เป็นต้น และร้านค้าทั่วไป
โดยแบ่งเขตการขายครอบคลุมกรุงเทพฯ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ พนักงานขายเครดิตจะทำหน้าที่ใน
การติดต่อหาลูกค้าที่เป็นตัวแทนจำหน่ายรายใหม่ๆ และรักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้าปัจจุบัน โดยจะมีการตรวจเยี่ยมลูกค้าอยู่
เป็นประจำ เพื่อให้ข้อมูลสินค้าและโปรแกรมส่งเสริมการขายของสินค้าแต่ละรุ่นในแต่ละช่วงเวลา สอบถามความพึงพอใจของ
ลูกค้าเกี่ยวกับสินค้า รวมทั้งรวบรวมข้อมูลความต้องการและข้อเสนอแนะของลูกค้า เพื่อนำมาเป็นข้อมูลให้แก่ฝ่ายผลิตภัณฑ์ใน
การจัดหาสินค้าให้ตรงกับความต้องการของลูกค้าได้มากยิ่งขึ้น

ตารางแสดงสัดส่วนรายได้จากการขายแยกตามประเภทช่องทางการจัดจำหน่ายปี 2557-2559 และงวด 3 เดือนแรกปี 2560


ปี 2557 ปี 2558 ปี 2559 ม.ค. - มี.ค. 2560
รายได้จากการขาย
ล้านบาท ร้อยละ ล้านบาท ร้อยละ ล้านบาท ร้อยละ ล้านบาท ร้อยละ
รายได้จากการขายผ่านร้านค้าปลีกขอ 142.57 17.57 190.09 17.01 256.02 18.84 62.06 17.74
งบริษัทฯ
รายได้จากการขายผ่านเคาน์เตอร์ 391.80 48.29 525.48 47.01 596.06 43.87 147.58 42.18
จำหน่ายสินค้าในห้างสรรพสินค้า
รายได้จากการขายให้แก่ลูกค้าขายส่ง 276.94 34.13 402.28 35.99 506.77 37.29 140.22 40.08
รวมรายได้จากการขาย 811.31 100.00 1,117.86 100.00 1,358.84 100.00 349.86 100.00

ส่วนที่ 2 หน้า 16
บริษัท ริช สปอร์ต จำกัด (มหาชน)

ตารางแสดงจำนวนช่องทางการจัดจำหน่ายจำแนกตามภูมิศาสตร์ ในปี 2557-2559 และงวด 3 เดือนแรก ปี 2560


ช่องทาง ปี 2557 ปี 2558 ปี 2559 ม.ค. - มี.ค. 2560
การจัดจำหน่าย แห่ง ร้อยละ แห่ง ร้อยละ แห่ง ร้อยละ แห่ง ร้อยละ
กรุงเทพและปริมณฑล 53 37.59 61 41.22 66 42.58 63 40.91
- ร้านค้าปลีกของบริษัทฯ 6 4.26 10 6.76 14 9.03 14 9.09
- เคาน์เตอร์จำหน่ายสินค้า 47 33.33 51 34.46 52 33.55 49 31.82
ในห้างสรรพสินค้า
ต่างจังหวัด 88 62.41 87 58.78 89 57.42 91 59.09
- ร้านค้าปลีกของบริษัทฯ 24 17.02 25 16.89 25 16.13 27 17.53
- เคาน์เตอร์จำหน่ายสินค้า 64 45.39 62 41.89 64 41.29 64 41.56
ในห้างสรรพสินค้า
รวม 141 100.00 148 100.00 155 100.00 154 100.00

ส่วนที่ 2 หน้า 17
บริษัท ริช สปอร์ต จำกัด (มหาชน)

2.3.5 ภาวะอุตสาหกรรม
จากรายงานของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติระบุว่าในปี 2559 ผลิตภัณฑ์
มวลรวมในประเทศ (GDP) มีอัตราการขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 3.24 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับการขยายตัวร้อยละ 2.94 ในปี 2558
โดยได้รับแรงสนับสนุนจากการใช้จ่ายและการลงทุนของภาครัฐที่ขยายตัวสูงในช่วงต้นปีจากการที่ภาครัฐเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณ
ทำให้การลงทุนภาครัฐในปี 2559 ขยายตัวร้อยละ 9.87 ประกอบกับการฟื้นตัวของภาคการส่งออกในช่วงปลายปีโดยมีอัตราการ
ขยายตัวในไตรมาสที่ 3 ปี 2559 เท่ากับร้อยละ 0.40 และในไตรมาสที่ 4 ปี 2559 เท่ากับร้อยละ 3.60 ซึ่งเป็นการปรับตัวเพิ่มขึ้น
ของยอดการส่งออกเป็นครั้งแรกในรอบเจ็ดไตรมาสย้อนหลัง ที่เป็นผลจากการปรับตัวเพิ่มขึ้นของราคาสินค้าในตลาดโลก และการ
ฟื้นตัวของเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าหลักที่เริ่มมีความชัดเจนมากขึ้น โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น
นอกจากนี้ ในส่วนของการบริโภคภาคเอกชนยังคงขยายตัวต่อเนื่องจากร้อยละ 2.17 ในปี 2558 เป็นร้อยละ
3.06 ในปี 2559 โดยได้รับแรงสนับสนุนจากการขยายตัวของรายได้ครัวเรือนภาคเกษตรกรรม และการขยายตัวของรายได้ครัว
เรือนนอกภาคเกษตรกรรมตามการจ้างงานในภาคบริการโดยเฉพาะในภาคธุรกิจที่เติบโตดี เช่น ภาคการท่องเที่ยว เป็นต้น ซึ่ง
ช่วยให้รายได้เฉลี่ยต่อหัวปรับตัวเพิ่มขึ้นจาก 203,356.10 บาทต่อคน ในปี 2558 เป็น 212,862.30 บาทต่อคน ในปี 2559 คิด
เป็นอัตราการเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.67 ประกอบกับภาระในการชำระหนี้รถยนต์คันแรกที่ทยอยหมดลงและระดับราคาเชื้อเพลิงที่อยู่ใน
ระดับต่ำจึงมีส่วนช่วยให้ครัวเรือนมีรายได้สุทธิเพื่อการบริโภคมากขึ้น สอดคล้องกับการขยายตัวของดัชนีการอุปโภคบริโภคภาค
เอกชนซึ่งปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.33 จากปีก่อน โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการเพิ่มขึ้นของการใช้จ่ายสินค้ากึ่งคงทน เช่น เสื้อผ้า
และเครื่องนุ่งห่ม ที่ขยายตัวร้อยละ 1.71 และการใช้จ่ายภาคบริการที่ขยายตัวร้อยละ 7.17 ประกอบกับการใช้จ่ายของนักท่อง
เที่ยวต่างชาติที่แม้จะชะลอลงตัวลงจากปีก่อนแต่ก็ยังคงเติบโตขึ้นในระดับร้อยละ 10.95 ยิ่งไปกว่านั้น การบริโภคภาคเอกชนยัง
ได้รับแรงสนับสนุนจากมาตรการกระตุ้นการบริโภคของภาครัฐ เช่น มาตรการลดหย่อนภาษีสนับสนุนการท่องเที่ยวในเดือน
เมษายน เงินช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากภัยแล้ง และมาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ระดับตำบล รวมถึงมาตรการ
กระตุ้นการใช้จ่ายในช่วงปลายปี ได้แก่ การลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากการท่องเที่ยว และการใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้าและ
บริการที่มีมูลค่าไม่เกิน 15,000 ต่อคน (ช็อปช่วยชาติ) ที่มีระยะเวลานานกว่ามาตรการเดียวกันในปีก่อนหน้า

กราฟแสดงอัตราการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP)
ร้อยละ
8.00 7.24
7.00
6.00 6.72
5.00
4.00 3.24
2.73 2.94
3.00
1.83 3.06
2.00 0.91 2.17
1.00 0.84000000000 0.94000000000 0.88000000000
0.00 0001 0001 0006
2554 2555 2556 2557 2558 2559

การขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) การขยายตัวของการบริโภคเอกชน

ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

ข้อมูลรายได้ต่อหัวของประชากรและดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน
2553 2554 2555 2556 2557 2558 2559
รายได้ต่อหัวของประชากร (บาท/คน) 150,117 155,926 167,501 174,337 195,995.20 203,356.10 212,862.30

ส่วนที่ 2 หน้า 18
บริษัท ริช สปอร์ต จำกัด (มหาชน)

ดัชนีการอุปโภคบริโภคภาคเอกชน 100.00 101.74 109.40 111.26 112.63 114.05 117.85


- ดัชนีการใช้จ่ายสินค้าไม่คงทน 100.00 100.52 105.11 107.35 108.39 111.71 114.09
- ดัชนีการใช้จ่ายสินค้ากึ่งคงทน 100.00 102.75 106.83 106.41 106.22 106.96 108.79
- ดัชนีการใช้จ่ายสินค้าคงทน 100.00 102.94 143.45 138.06 111.51 104.06 102.86
- ดัชนีการใช้จ่ายภาคบริการ 100.01 107.59 117.24 126.80 130.62 139.49 149.48
- ดัชนีการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวต่างชาติ 100.00 133.33 162.54 203.89 188.76 237.93 263.99
ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย

ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจไทยในปี


2560 จะขยายตัวร้อยละ 3.0 - 4.0 โดยมีปัจจัยจากการขยายตัวของการส่งออกซึ่งคาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 2.09 ซึ่งจะเป็นปัจจัย
สนับสนุนให้การผลิตภาคอุตสาหกรรมและการลงทุนภาคเอกชนปรับตัวดีขึ้น ประกอบกับการฟื้นตัวและขยายตัวของการผลิต
ภาคเกษตรซึ่งจะเป็นปัจจัยสนับสนุนให้ฐานรายได้และการใช้จ่ายของครัวเรีอนในภาคเกษตรปรับตัวดีขึ้น โดยคาดว่าการบริโภค
ภาคเอกชนและการลงทุนรวมขยายตัวร้อยละ 2.80 และร้อยละ 5.30 ตามลำดับ ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อทั่วไปอยู่ในช่วงร้อยละ
1.2-2.2 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 0.2 ในปี 2559 และร้อยละ (0.9) ในปี 2558

ภาวะอุตสาหกรรมค้าปลีกไทย
จากการที่รายได้หลักของบริษัทฯ มาจากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในกลุ่มรองเท้า และเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกา
ยอื่นๆ ในลักษณะขายปลีกผ่านร้านค้าปลีกของบริษัทฯ และเคาน์เตอร์จำหน่ายสินค้าในห้างสรรพสินค้าเป็นหลัก ดังนั้น ภาวะ
อุตสาหกรรมค้าปลีกในประเทศจึงสามารถแสดงให้เห็นถึงแนวโน้มตลาดและการเติบโตของรายได้บริษัทฯ ได้อีกทางหนึ่ง ซึ่งการ
เติบโตของอุตสาหกรรมค้าปลีกจะเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับอัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ตามที่
กล่าวข้างต้น ทั้งนี้ จากข้อมูลของสมาคมผู้ค้าปลีกไทย ระบุว่าในปี 2559 ธุรกิจค้าปลีกไทยมีอัตราการเติบโตร้อยละ 2.97 เพิ่มขึ้น
จากปี 2558 ที่มีการเติบโตเท่ากับร้อยละ 2.80 ซึ่งอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยมีปัจจัย
สำคัญในการเติบโตคือ การขยายตัวของการใช้จ่ายภาคครัวเรือนจากการฟื้นตัวของภาคการเกษตรและจำนวนนักท่องเที่ยว ทั้งนี้
หากพิจารณาเฉพาะอุตสาหกรรมค้าปลีกที่เกี่ยวข้องกับรองเท้าและเครื่องแต่งกายซึ่งเป็นธุรกิจหลักของบริษัทฯ โดยอ้างอิงจาก
อัตราการเติบโตของดัชนีค้าปลีกในส่วนเป็นเสื้อผ้า รองเท้า และเครื่องหนัง พบว่าปี 2557-2559 ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่องจาก
อัตราการเติบโตร้อยละ 1.56 ในปี 2557 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 14.17 ในปี 2558 และชะลอตัวลงเล็กน้อยเป็นร้อยละ 13.31 ในปี
2559

อัตราการเติบโตของดัชนีค้าปลีกในส่วนเป็นเสื้อผ้า รองเท้า และเครื่องหนัง

16.08% 14.17% 13.33%


300 9.62%
6.74%
15.0%

250 4.65% 1.56%


10.%

200
5.0%

224.03
197.68
0.%

150 170.48 173.14


-5.0%

155.52
133.98
-10.%

100 125.52 -15.0%

50
-20.%

-25.0%

0 -30.%

Y2553 Y2554 Y2555 Y2556 Y2557 Y2558 Y2559


ดัชนีค้าปลีกกลุ่มร้านขายปลีกเสื้อผ้า รองเท้า และเครื่องหนัง
อัตราการเติบโตของดัชนีค้าปลีกกลุ่มร้านขายปลีกเสื้อผ้า รองเท้า และเครื่องหนัง
ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจ ธุรกิจ และเศรษฐกิจฐานราก ของธนาคารออมสิน ได้คาดการณ์ว่าธุรกิจค้าปลีกในปี
ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย
2560 จะมีแนวโน้มการเติบโตประมาณร้อยละ 3.0-3.2 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายของภาครัฐ โดย
เฉพาะยอดขายของผู้ประกอบการค้าปลีกสมัยใหม่คาดว่าจะยังคงขยายตัวจากการลงทุนขยายสาขาใหม่ และปรับปรุงสาขาเดิม
และพื้นที่ให้เช่า ซึ่งจะช่วยทำให้รายได้ของกลุ่มค้าปลีกเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง

จำนวนสาขาของห้างสรรพสินค้าของโรบินสัน ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล และกลุ่มเดอะมอลล์

ส่วนที่ 2 หน้า 19
บริษัท ริช สปอร์ต จำกัด (มหาชน)

สาขา
100 10

74 77 81
75 68 12 12 75

11
10 22 กลุ่มเดอะมอลล์
50 21 21
19 50

ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล
25 โรบินสัน
39 42 44 47 25

0 0

Y2557 Y2558 Y2559 Y2560F

ที่มา : Website และเอกสารการนำเสนอข้อมูลของแต่ละบริษัท

กลยุทธ์การแข่งขันของผู้ประกอบการห้างสรรพสินค้าในปี 2559-2560
ผู้ประกอบการ กลยุทธ์การแข่งขัน
ปี 2559
 เปิดศูนย์การค้า จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ เซ็นทรัลเฟสติวัล อีสวิลล์ และเซ็นทรัลพลาซ่า นครศรีธรรมราช
ปี 2560
 ขยายศูนย์การค้า จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ เซ็นทรัลพลาซ่า นครราชสีมา, เซ็นทรัลภูเก็ต เฟส 2 และ
เซ็นทรัลพลาซ่า มหาชัย
 มีแผนปรับปรุงศูนย์การค้า จำนวน 5 แห่ง เพื่อเพิ่มพื้นที่ให้เช่า ได้แก่ เซ็นทรัลเวิลด์, เซ็นทรัลพลาซ่า
พระราม 2, เซ็นทรัลพลาซ่า พระราม 3, เซ็นทรัลพลาซ่า สนามบินเชียงใหม่ และเซ็นทรัลเฟสติวัล
ภูเก็ต
ปี 2559
 เปิดสาขาใหม่จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ โรบินสัน นครศรีธรรมราช งบลงทุน 550 ล้านบาท และโรบินสัน
ไลฟ์สไตล์ลพบุรี งบลงทุน 1.1 พันล้านบาท
 ปรับเปลี่ยนรูปแบบห้างสรรพสินค้าเป็นแบบ Lifestyle โดยนำเสนอบริการเต็มรูปแบบที่ตอบสนอง
ต่อวิถีชีวิตผู้บริโภคในปัจจุบัน เช่น เปิดร้านกาแฟไว้ให้นักดื่มกาแฟ หรือทำพื้นที่เล่นสำหรับเด็ก
เพื่อกลุ่มลูกค้าประเภทครอบครัว
ปี 2559
 ปรับปรุง (Renovate) เดอะมอลล์ โคราช ภายใต้โครงการ The Oasis Of The Northeast ด้วยงบ
ลงทุน 2,000 ล้านบาท เพื่อผลักดันให้เป็นศูนย์การค้าที่ยิ่งใหญ่และครบวงจรที่สุดของภาคอีสาน พื้นที่
รวม 350,000 ตร.ม.
ที่มา : รายงานสถานการณ์และแนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรม ประจำไตรมาส 4 ปี 2559 และแนวโน้มปี 2560 (ธันวาคม 2559)
จัดทำโดยศูนย์วิจัยเศรษฐกิจ ธุรกิจและเศรษฐกิจฐานราก ธนาคารออมสิน

ภาวะอุตสาหกรรมเสื้อผ้าและรองเท้า
จากรายงานธุรกิจเสื้อผ้าและรองเท้าในประเทศไทยที่จัดทำโดย Euromonitor International ฉบับเดือน
กุมภาพันธ์ 2560 ระบุว่าในปี 2559 อุตสาหกรรมเสื้อผ้าและรองเท้าในประเทศไทยมีมูลค่าตลาดรวม 295,576.70 ล้านบาท เพิ่ม
ขึ้น จากปี 2558 ซึ่งมีมูลค่าตลาด 283,345.80 ล้านบาท คิดเป็นอัตราการเติบโตร้อยละ 4.32 โดยชะลอตัวลงจากปีก่อนหน้าซึ่งมี
อัตราการเติบโตเท่ากับร้อยละ 4.56 เนื่องจากผู้บริโภคในประเทศมีพฤติกรรมการใช้จ่ายที่ระมัดระวังมากขึ้นจากการที่ภาวะ
เศรษฐกิจที่ยังคงทรงตัวและระดับหนี้สินภาคครัวเรือนที่ยังคงอยู่ในระดับที่สูง อย่างไรก็ตาม อุตสาหกรรมเสื้อผ้าและรองเท้าใน
ประเทศยังคงได้รับแรงหนุนจากการที่จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติและยอดการใช้จ่ายของชาวต่างชาติที่มีการขยายตัวในระดับที่
สูงต่อเนื่องตลอดปี 2558-2559 ซึ่งปัจจัยดังกล่าวช่วยสนับสนุนให้อุตสาหกรรมเสื้อผ้าและรองเท้าในประเทศไทยในปี 2559
เติบโตได้ในอัตราที่สูงกว่าการเติบโตของเศรษฐกิจ

ส่วนที่ 2 หน้า 20
บริษัท ริช สปอร์ต จำกัด (มหาชน)

มูลค่าตลาดกลุ่มผลิตภัณฑ์เสื้อผ้าและรองเท้า ปี 2557-2559 และประมาณการปี 2560 – 2564


พันล้านบาท
500 4.56% 4.32% 3.97%
0.6

3.15% 3.41% 3.66%


2.90% 0.4

400
336.289999999999349.65
0.2

324.429999999999
304.16313.729999999999
295.58
270.979999999999283.35
300 103.18
0

89.28 93.49 98.04


77.38 82.04 85.47
72.76
-0.2

200 -0.4

205.97 213.54 218.69 224.45 230.94 238.25 246.47 -0.6

100 198.22
-0.8

0 -0.1

2557 2558 2559 2560F 2561F 2562F 2563F 2564F

มูลค่าตลาดเสื้อผ้า มูลค่าตลาดรองเท้า อัตราการเติบโตมูลค่าตลาดเสื้อผ้าและรองเท้า

ที่มา: Euromonitor International : Apparel and Footwear in Thailand (February 2017)

ทั้งนี้ อีกหนึ่งปัจจัยที่ช่วยผลักดันอุตสาหกรรมของเสื้อผ้าและรองเท้าในปี 2559 คือกระแสของผู้บริโภคที่ตื่น


ตัวกับการดูแลรักษาสุขภาพมากยิ่งขึ้น รวมถึงกระแสการแต่งกายแนวสปอร์ตแฟชั่น (Athleisure) ซึ่งเป็นการผสมผสานระหว่าง
เครื่องแต่งกายแนวลำลองและแนวกีฬาเข้าด้วยกัน ซึ่งกระแสดังกล่าวส่งผลทำให้ตลาดผลิตภัณฑ์กลุ่มเครื่องแต่งกายแนวกีฬา
(Sportwear) ทั้งในกลุ่มเครื่องแต่งกายสำหรับเล่นกีฬา (Performance) เครื่องแต่งกายสำหรับกิจกรรมกลางแจ้ง (Outdoor) และ
เครื่องแต่งกายลำลองแนวสปอร์ต (Sport-Inspired) มีอัตราการเติบโตในระดับที่สูงอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2559 ผลิตภัณฑ์กลุ่ม
เครื่องแต่งกายแนวกีฬามีมูลค่าตลาดเท่ากับ 45,792.90 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2558 ซึ่งมีมูลค่าตลาด 40,404.60 ล้านบาท คิด
เป็นอัตราการเติบโตร้อยละ 13.34 โดยรายงานของ Euromonitor International คาดการณ์ว่าตลาดผลิตภัณฑ์เครื่องแต่งกายแนว
กีฬาจะยังคงเติบโตในอัตราที่ชะลอตัวลง โดยปัจจัยการเติบโตที่สำคัญยังคงเป็นกระแสที่ผู้บริโภคให้ความใส่ใจกับสุขภาพ และ
การแต่งกายแนวสปอร์ตแฟชั่น และได้คาดการณ์ว่าในปี 2560 ผลิตภัณฑ์กลุ่มเครื่องแต่งกายแนวกีฬาจะมีมูลค่าตลาดเท่ากับ
50,260.10 ล้านบาท และจะเพิ่มขึ้นเป็น 67,403.10 ล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราการเติบโตเฉลี่ย (CAGR) ร้อยละ 8.04

ยอดขายผลิตภัณฑ์เครื่องแต่งกายแนวกีฬา ในประเทศไทยปี 2557-2559 และการการคาดการณ์ปี 2560-2564


(หน่วย : พันล้านบาท)
CAGR (%)
เครื่องแต่งกายแนวกีฬา 2557 2558 2559 2560F 2561F 2562F 2563F 2564F
57-59 59-64F
เสื้อผ้าแนวกีฬา (Sports Apparel)
- เสื้อผ้าลำลองแนวสปอร์ต 11.48 13.77 16.25 18.69 21.12 23.66 26.26 28.88 18.98 12.19
(Sports-Inspired Apparel)
- เสื้อผ้าสำหรับเล่นกีฬา 9.60 11.32 13.14 14.45 15.60 16.70 17.78 18.76 16.99 7.38
(Performance Apparel)
- เสื้อผ้าสำหรับกิจกรรมกลางแจ้ง 3.90 4.18 4.45 4.63 4.80 4.97 5.13 5.28 6.82 3.48
(Outdoor Apparel)
รวมเสื้อผ้าแนวกีฬา (Sports 24.98 29.28 33.84 37.77 41.53 45.32 49.17 52.93 16.39 9.36
Apparel)

ส่วนที่ 2 หน้า 21
บริษัท ริช สปอร์ต จำกัด (มหาชน)

CAGR (%)
เครื่องแต่งกายแนวกีฬา 2557 2558 2559 2560F 2561F 2562F 2563F 2564F
57-59 59-64F
รองเท้าแนวกีฬา (Sports Footwear)
- รองเท้าลำลองแนวสปอร์ต 6.29 6.79 7.30 7.63 7.93 8.27 8.59 8.89 7.73 4.02
(Sports-Inspired Footwear)
- รองเท้าสำหรับเล่นกีฬา 2.60 2.84 3.08 3.23 3.38 3.52 3.66 3.79 8.84 4.24
(Performance Footwear)
- รองเท้าสำหรับกิจกรรมกลางแจ้ง 1.42 1.50 1.57 1.63 1.68 1.72 1.76 1.79 5.15 2.66
(Outdoor Footwear)
รวมรองเท้าแนวกีฬา (Sports 10.31 11.13 11.95 12.49 12.99 13.52 14.01 14.47 7.66 3.90
Footwear)
รวมยอดขายเครื่องแต่งกายแนวกีฬา 35.29 40.40 45.79 50.26 54.52 58.84 63.18 67.40 13.91 8.04
(Sportswear)
ที่มา: Euromonitor International : Sportwear in Thailand (February 2017)

2.3.6 ภาวะการแข่งขันธุรกิจเครื่องแต่งกายแนวกีฬา (Sportswear) ในประเทศไทย


ตลาดเครื่องแต่งกายแนวกีฬา (Sportswear) ในประเทศไทย เป็นตลาดที่มีผู้ประกอบการจำนวนมากและมี
ตราสินค้าที่หลากหลาย ทั้งที่เป็นตราสินค้าระดับสากล (Global Brand) และตราสินค้าภายในประเทศ (Local Brand) ผู้ประกอบ
การจึงมุ่งเน้นสร้างความแตกต่างให้กับสินค้าของตนเองทั้งในรูปแบบการออกสินค้าในลักษณะคอลเลคชั่นพิเศษ และการนำ
นวัตกรรมใหม่ๆ มาใช้ในการผลิตสินค้าเพื่อให้สินค้ามีความทันสมัยและมีน้ำหนักเบา ประกอบกับการใช้ดารานักแสดงที่มีชื่อ
เสียงในการโฆษณาประชาสัมพันธ์สินค้าเพื่อให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายโดยอาศัยสื่อต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น แมกกาซีน สิ่งพิมพ์
ตลอดจนสื่อออนไลน์ นอกจากนี้ ยังมีการจัดกิจกรรมต่างๆ (Event Marketing) เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างลูกค้ากับแบรนด์
อย่างสม่ำเสมอ
ทั้งนี้ ตำแหน่งทางการตลาด (Market Positioning) สำหรับรองเท้าภายใต้ตราสินค้า Converse ซึ่งเป็นตราสิน
ค้าหลักของบริษัทฯ นั้นเป็นรองเท้าที่เน้นออกแบบให้สามารถสวมใส่ได้ในชีวิตประจำวันเป็นหลัก โดยยังคงมีบางรุ่นที่สามารถสวม
ใส่สำหรับเล่นกีฬาหรือออกกำลังกายได้ด้วย ส่วนในด้านราคาเมื่อเทียบกับสินค้าภายใต้ตราสินค้าอื่นในตลาด สินค้าของ Converse
จะมีราคาในช่วงปานกลางถึงสูง ซึ่งเป็นระดับราคาที่ใกล้เทียบเคียงตราสินค้าอื่นๆ จากต่างประเทศ สำหรับตราสินค้าที่มีความใกล้
เคียงกับตราสินค้า Converse มากที่สุดทั้งในส่วนของวัตถุประสงค์การใช้งานและราคาสินค้า ได้แก่ Addidas Neo, Vans และ
Onitsuka Tiger

ส่วนที่ 2 หน้า 22
บริษัท ริช สปอร์ต จำกัด (มหาชน)

2.4 การจัดหาผลิตภัณฑ์
การจัดหาผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ สามารถแบ่งได้เป็น 3 รูปแบบ ได้แก่ (1) การสั่งซื้อสินค้าโดยตรงจาก Converse
(2) การจ้างผู้รับจ้างผลิตภายนอก และ (3) การผลิตสินค้าโดยโรงงานของบริษัทย่อย ทั้งนี้ ปัจจัยในการพิจารณาช่องทางในการ
จัดหาผลิตภัณฑ์ดังกล่าวข้างต้น จะขึ้นอยู่กับต้นทุนในการจัดหาผลิตภัณฑ์ และระยะเวลาในการสั่งซื้อ (Lead time) เป็นหลัก

รายละเอียดของการจัดหาผลิตภัณฑ์ในแต่ละรูปแบบ มีดังนี้
2.4.1 การสั่งซื้อสินค้าโดยตรงจาก Converse (In-Line)
นโยบายการบริหารงานของ Converse จะใช้วิธีการจ้างผลิตสินค้าผ่านผู้ผลิตทั่วโลกที่ผ่านการรับรอง
มาตรฐานจาก Converse โดยที่ Converse จะไม่มีโรงงานผลิตสินค้าเป็นของตนเอง ดังนั้น บริษัทฯ สามารถสั่งซื้อสินค้า
สำเร็จรูปทุก Category จาก Converse ไม่ว่าจะเป็นสินค้าประเภทรองเท้า เสื้อผ้า หรือเครื่องแต่งกายอื่นๆ โดยบริษัทฯ มีการทำ
สัญญาให้บริการจัดหาสินค้ากับ Nike Global Trading B.V. (ดูสรุปรายละเอียดในห้วข้อ 5.2.2) โดย Nike Global Trading B.V.
จะมีหน้าที่ในการจัดหาสินค้าภายใต้ตราสินค้า Converse จากผู้ผลิตที่ผ่านการรับรองมาตรฐานจาก Converse ให้แก่บริษัทฯ
ในการสั่งซื้อสินค้าโดยตรงจาก Converse นั้น บริษัทฯ จะดำเนินการผ่านระบบสั่งซื้อสินค้าของ Converse
สำหรับสินค้าประเภทรองเท้ากลุ่มแฟชั่น และสินค้าเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกายอื่นๆ จะมีรอบการสั่งซื้อตามซีซั่น ตามระยะเวลาที่
Converse กำหนด โดย Converse จะแจ้งรอบการสั่งซื้อสินค้าของแต่ละซีซั่นให้บริษัทฯ ทราบล่วงหน้าทุกปี ซึ่งปกติจะเป็นการ
สั่งซื้อล่วงหน้าประมาณ 4-6 เดือน ก่อนเริ่มซีซั่น สำหรับสินค้าประเภทรองเท้ากลุ่ม Basic บริษัทฯ จะสามารถสั่งซื้อสินค้าได้
ตลอดปี
ปัจจุบัน สินค้าที่บริษัทฯ สั่งซื้อผ่านการสั่งซื้อโดยตรงจาก Converse ได้แก่ รองเท้ากลุ่มแฟชั่น, เสื้อผ้า และ
เครื่องแต่งกายอื่นๆ ได้แก่ กระเป๋ า หมวก ถุงเท้า เชือกผูกรองเท้า นอกจากนี้ อาจจะมีรองเท้ากลุ่ม Basic ที่ลูกค้าระบุให้บริษัทฯ
สั่งซื้อจากต่างประเทศ
ทั้งนี้ บริษัทฯ มียอดสั่งซื้อสินค้าโดยตรงจาก Converse คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 33.52 และร้อยละ 43.35 ของ
ยอดซื้อสินค้ารวมทั้งหมดของบริษัทฯ ในปี 2559 และไตรมาสแรกของปี 2560 ตามลำดับ

2.4.2 การจ้างผู้รับจ้างผลิตภายนอก (Original Equipment Manufacturer หรือ OEM)


สำหรับสินค้าประเภทเครื่องแต่งกายอื่นๆ ได้แก่ กระเป๋ า หมวก และถุงเท้า บริษัทฯ จะมีการจัดหาสินค้าโดย
ผ่านผู้รับจ้างผลิตภายนอก (OEM) ทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพิ่มเติมนอกเหนือจากการสั่งซื้อสินค้าโดยตรงจาก Converse
ในกรณีนี้จะเป็นสินค้าที่ออกแบบโดยดีไซน์เนอร์ของบริษัทฯ ซึ่งแบบของสินค้าดังกล่าวต้องได้รับการอนุมัติจาก Converse ก่อน
จึงจะสามารถเริ่มผลิตสินค้าดังกล่าวได้ สำหรับผู้รับจ้างผลิตภายนอกที่บริษัทฯ สามารถเลือกใช้จะต้องเป็นโรงงานที่ผ่านการ
รับรองมาตรฐานจาก Converse เท่านั้น โดยบริษัทฯ จะคัดเลือกโรงงานผู้รับจ้างผลิตโดยพิจารณาจากต้นทุน เช่น ราคาสินค้า
ภาษีนำเข้า ค่าใช้จ่ายในการขนส่ง เป็นต้น รวมถึง Lead Time ในการผลิตและขนส่งสินค้าเป็นหลัก ซึ่งปัจจุบันบริษัทฯ จะสั่งซื้อ
สินค้าจากผู้ผลิตในประเทศจีนเป็นหลัก
ในการสั่งผลิตสินค้าแต่ละครั้ง บริษัทฯ จะส่งแบบสินค้าให้แก่ผู้รับจ้างผลิต เพื่อให้ผู้รับจ้างผลิตจัดทำสินค้า
ตัวอย่างให้บริษัทฯ พิจารณาก่อน หากสินค้าตัวอย่างได้มาตรฐานตามที่บริษัทฯ ออกแบบไว้ บริษัทฯ จึงจะสั่งผลิตสินค้าจากผู้รับ
จ้างผลิตรายนั้นๆ ทั้งนี้ ในการวางแผนการผลิตแต่ละครั้ง บริษัทฯ จะวางแผนการผลิตร่วมกับผู้รับจ้างผลิตล่วงหน้าอย่างน้อย 12
เดือน ก่อนกำหนดส่งสินค้า

2.4.3 การผลิตสินค้าโดยโรงงานของบริษัทย่อย
ปัจจุบัน บริษัทฯ สั่งผลิตรองเท้าจากโรงงานของบริษัท เบเนฟิท ชูส์ จำกัด (“BNS”) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบ
ริษัทฯ โดยสินค้าที่บริษัทฯ สั่งซื้อจาก BNS เป็นรองเท้ากลุ่ม Basic รุ่น Chuck Taylor All Star และรุ่น CONS Star Player รวม
ถึงรองเท้ากลุ่มแฟชั่นที่ออกแบบโดยดีไซน์เนอร์ของบริษัทฯ และในการสั่งผลิตสินค้า ฝ่ายผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ จะประสานงาน
กับฝ่ายวางแผนการผลิตของ BNS เพื่อวางแผนผลิตสินค้าล่วงหน้าทั้งปี โดยบริษัทฯ จะแจ้งประมาณการยอดสั่งซื้อรองเท้าแต่ละ
รุ่นให้ BNS ทราบเพื่อจัดเตรียมวัตถุดิบให้พร้อมสำหรับการผลิต และจะส่งใบสั่งซื้อสินค้าที่ระบุรายละเอียด รุ่นสินค้า สี ไซส์ ใน
แต่ละคำสั่งซื้อให้แก่ BNS ล่วงหน้าประมาณ 3-4 เดือน เพื่อทำการผลิตสินค้า

ตารางแสดงสัดส่วนการจัดหาผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ

ส่วนที่ 2 หน้า 23
บริษัท ริช สปอร์ต จำกัด (มหาชน)

หน่วย : ร้อยละ ปี 2557 ปี 2558 ปี 2559 ม.ค. - มี.ค.


2560
ซื้อสินค้าสำเร็จรูปโดยตรงจาก Converse 28.20% 26.19% 33.52% 43.35%
ซื้อสินค้าสำเร็จรูปจากผู้รับจ้างผลิตภายนอก 9.00% 10.28% 9.69% 7.98%
(OEM)
ซื้อสินค้าสำเร็จรูปจากโรงงาน BNS 62.80% 63.53% 56.79% 48.67%
รวมซื้อสินค้าสำเร็จรูปทั้งหมด 100.00% 100.00% 100.00% 100.00%

อย่างไรก็ตาม จากการที่บริษัทฯ มีแผนที่จะเริ่มจำหน่ายสินค้าภายใต้ตราสินค้า “Pony” ในประเทศไทยใน


เดือนกันยายน 2560 บริษัทฯ จะจัดหาสินค้าสำหรับจำหน่ายในช่วงเริ่มต้นโดยสั่งผลิตจากผู้รับจ้างผลิตภายในประเทศ ซึ่งไม่มี
ความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกับบริษัทฯ และผู้ถือหุ้นรวมถึงผู้บริหารของบริษัทฯ หลังจากนั้นในปี 2561 บริษัทฯ จะใช้โรงงานของ
BNS ในการผลิตรองเท้าภายใต้ตราสินค้า Pony ในขณะที่รองเท้าภายใต้ตราสินค้า Converse ที่บริษัทฯ สั่งผลิตจาก BNS อยู่ใน
ปัจจุบันนั้น บริษัทฯ จะสั่งซื้อจาก Converse ทั้งหมด

2.4.3.1 โรงงานผลิตของบริษัทย่อย
โรงงานของบริษัท เบเนฟิท ชูส์ จำกัด (“BNS”) ซึ่งมีฐานะเป็นบริษัทย่อยของบริษัทฯ ตั้งอยู่ที่ 50
ซอยเทียนทะเล 16 ถนนบางขุนเทียน-ชายทะเล แขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ บนเนื้อที่รวม 2 ไร่ 3 งาน 33 ตาราง
วา โดยมีกำลังการผลิตเต็มที่ 1,200,000 คู่ต่อปี ปัจจุบันโรงงานของ BNS ประกอบธุรกิจผลิตรองเท้าภายใต้ตราสินค้า Converse
เพื่อจัดส่งให้แก่บริษัทฯ ทั้งหมด
ทั้งนี้ รายละเอียดกำลังการผลิตและปริมาณการผลิตจริงในแต่ละปี สามารถสรุปได้ดังนี้

ปี 2557 ปี 2558 ปี 2559 ม.ค. - มี.ค.


2560
กำลังการผลิตเต็มที่* (คู่/ปี) 1,200,000 1,200,000 1,200,000 300,000
ปริมาณการผลิตจริง (คู่/ปี) 700,093 831,194 974,635 192,875
อัตราการใช้กำลังการผลิต (ร้อยละ) 58.34 69.27 81.22 64.29
หมายเหตุ : กำลังการผลิตเต็มที่คำนวณจากการผลิตรองเท้า 400 คู่ต่อชั่วโมง โดยทำงานวันละ 10 ชั่วโมง แบ่งเป็นการทำงาน
1 กะ คือ 8 ชั่วโมง และทำงานล่วงเวลาอีก 2 ชั่วโมง และมีวันทำงานเฉลี่ย 25 วัน/เดือน ซึ่งเมื่อคำนวณตาม
สมมติฐานดังกล่าว จะสามารถผลิตรองเท้าได้คิดเป็น 100,000 คู่ต่อเดือน

2.4.3.2 กระบวนการผลิตของบริษัทย่อย
โรงงานของ BNS เป็นโรงงานผลิตรองเท้าที่ยังคงต้องอาศัยทักษะฝีมือแรงงานเป็นส่วนใหญ่ โดย
เฉพาะอย่างยิ่ง ในส่วนของแผนกจักรในการเย็บหน้าผ้าสำเร็จรูปซึ่งจะเป็นจักรเข็มคู่ ดังนั้น กระบวนการผลิตส่วนใหญ่ของ BNS
ยังคงต้องอาศัยฝีมือแรงงานอยู่ค่อนข้างมาก จากการที่โรงงานของ BNS เป็นโรงงานที่ผ่านการรับรองมาตรฐานจาก Converse
ซึ่งมุ่งเน้นด้านคุณภาพมาตรฐานสินค้าเป็นสำคัญ BNS จึงจัดให้มีกระบวนการในการตรวจสอบคุณภาพ 100% ในทุกขั้นตอนการ
ผลิต รวมถึงการตรวจสอบคุณภาพสินค้าสำเร็จรูป

ทั้งนี้ กระบวนการผลิตรองเท้าของ BNS สามารถสรุปได้ดังนี้

การรับวัตถุดิบ

การตัดชิ้นส่วน
การตียาง

การเย็บหน้าผ้าสำเร็จรูป ส่วนที่ 2 หน้า 24


บริษัท ริช สปอร์ต จำกัด (มหาชน)

รูปภาพแสดงส่วนประกอบที่สำคัญของรองเท้า

TPU ยางเคาน์เตอร์
เชือก (Rubber
Toe Logo
รองเท้า Counter)
cap

Heel Sock
Logo liner
Toe
bumper ตา Single
ไก่ Foxing พื้นรองเท้า Wedge
Strobel
Board

1. การรับวัตถุดิบ
พนักงานฝ่ายสโตร์วัตถุดิบจะตรวจนับจำนวนและรายละเอียดของวัตถุดิบที่จะรับเข้าคลัง และนำส่งให้กับฝ่ายควบคุม
คุณภาพเพื่อตรวจสอบคุณภาพเบื้องต้นของวัตถุดิบแต่ละประเภทตามคู่มือการตรวจสอบ

2. การตัดชิ้นส่วน
เมื่อรับวัตถุดิบที่เบิกจากสโตร์วัตถุดิบเข้าสู่กระบวนการผลิต แผนกตัดชิ้นส่วนจะทำการตัดชิ้นส่วนและ จัดเตรียมชิ้นส่วน
งานหน้าผ้า เช่น การสกรีนตำแหน่งในการเย็บ, การรีดพับขอบเพื่อกำหนดระยะการพับขอบ เป็นต้น ทั้งนี้ ชิ้นส่วนงานหน้าผ้า จะ
ประกอบไปด้วย หน้าผ้าใน-นอก, ซับใน, ลิ้น, หูลิ้น, สาปส้น, ยางเคาน์เตอร์, แผ่นรองพื้นรองเท้า (Sock Liner), Strobel Board, สาป
ตาไก่ โดยฝ่ายควบคุมคุณภาพจะดำเนินการตรวจสอบคุณภาพของชิ้นงานทุกชิ้นก่อนส่งไปยังขั้นตอนการเย็บหน้าผ้าสำเร็จรูป

3. การเย็บหน้าผ้าสำเร็จรูป
ขั้นตอนการเย็บหน้าผ้าสำเร็จรูปจะเป็นการเย็บชิ้นส่วนผ้าต่างๆ ที่ตัดเตรียมไว้ ประกอบเป็นหน้าผ้าสำเร็จรูปตามรอยสกรีน
และรอยพับที่กำหนดบนหน้าผ้าให้เป็นหน้าผ้าสำเร็จรูปตามสเปคที่กำหนด โดยหน้าผ้าสำเร็จรูปทั้งหมดที่ได้จากขั้นตอนการเย็บ
ดังกล่าวจะถูกตรวจสอบโดยฝ่ายควบคุมคุณภาพก่อนจัดส่งให้แผนกสโตร์กลางเพื่อนำไปจัดเป็นชุดคู่กับส่วนประกอบอื่นของรองเท้า

4. การตียาง

ส่วนที่ 2 หน้า 25
บริษัท ริช สปอร์ต จำกัด (มหาชน)

เมื่อรับวัตถุดิบที่เบิกจากสโตร์วัตถุดิบเข้าสู่กระบวนการผลิต แผนกตียางจะนำยางคอมพาวด์ สารเคมี และแม่สี มาตีผสม


ตามสูตรเฉพาะของแต่ละชิ้นส่วน และทิ้งไว้ให้เย็น หลังจากนั้น ฝ่ายควบคุมคุณภาพจะดำเนินการตรวจสอบโดยการตัดชิ้นส่วน ยางที่
ผสมแล้วไปทดสอบโดยการอบเพื่อตรวจสอบสียางและการสุกของยาง และนำมาเทียบกับชิ้นส่วนงานตัวอย่าง
ยางที่ตีผสมเสร็จแล้วตามสูตรเฉพาะของแต่ละชิ้นส่วน จะถูกนำมาขึ้นรูปสำหรับแต่ละชิ้นส่วน ดังนี้
- ชิ้นส่วนพื้นรองเท้า : นำยางที่ผสมสำหรับชิ้นส่วนพื้นรองเท้ามาตัดเป็นชิ้นตามน้ำหนักมาตรฐานที่กำหนดของ
รองเท้าแต่ละไซส์ และนำเข้าสู่กระบวนการอบขึ้นรูปที่อุณหภูมิและระยะเวลาที่กำหนด จากนั้นนำยางที่ผ่านการ
อบแล้วมาตัดเศษยางออกจากขอบพื้น และนำมาขัดผิวด้านในและขอบพื้นยางเพื่อลบความมันของพื้นยาง
- ชิ้นส่วนยางเคาน์เตอร์ : นำยางที่ผสมสำหรับชิ้นส่วนยางเคาน์เตอร์มาประกบติดกับเนื้อผ้า หลังจากนำมาตัด
เป็นแผ่น เพื่อส่งให้แผนกตัดชิ้นส่วน
- ชิ้นส่วนยางเวท (Wedge) : นำยางที่ผสมสำหรับชิ้นส่วนยางเวทมาตัดเป็นชิ้นตามน้ำหนักมาตรฐานที่กำหนด
ของแต่ละไซส์ และนำเข้าสู่กระบวนการอบขึ้นรูปที่อุณหภูมิและระยะเวลาที่กำหนด และนำยางที่ผ่านการอบแล้ว
มาตัดเศษยางโดยรอบออก เพื่อนำไปประกบติดกับแผ่นรองพื้นรองเท้า (Sock Liner) ที่ผ่านการสกรีนโลโก้
Converse แล้วด้วยกาว Hot Melt Adhesive เป็นชิ้นส่วนพื้นรองสำเร็จรูป
- ชิ้นส่วนยางครบเซ็ต : นำยางที่ผสมสำหรับชิ้นส่วนยางครบเซ็ตมารีดให้บางและขึ้นรูปเป็นชิ้นส่วนต่างๆ ได้แก่
Single Foxing / Toe Bumper / Toe Cap / Heel Logo ตามรูปทรงและสีที่กำหนด
หลังจากที่ผลิตได้ชิ้นส่วนยางต่างๆ ตามที่กล่าวข้างต้นแล้ว ฝ่ายควบคุมคุณภาพจะตรวจสอบคุณภาพของชิ้นส่วน
ทั้งหมด ก่อนส่งให้แผนกสโตร์กลางเพื่อนำไปจัดเป็นชุดคู่กับส่วนประกอบอื่นของรองเท้า

5. การจัดชุดส่วนประกอบ
เมื่อแผนกสโตร์กลางรับชิ้นส่วนงานต่างๆ จากแต่ละแผนก ประกอบด้วย หน้าผ้าสำเร็จรูปจากแผนกจักร และพื้นรองเท้า
สำเร็จรูป, ชิ้นส่วนพื้นรองสำเร็จรูป และชิ้นส่วนยางครบเซ็ต จากแผนกตียาง จะนำมาจัดเก็บเป็นชุดเพื่อเตรียมส่งให้แผนกประกอบ
โดยแยกตามรุ่น/สี/ไซส์

6. การประกอบรองเท้า
พนักงานแผนกประกอบจะนำหุ่นรองเท้าใส่เข้าชิ้นส่วนงานหน้าผ้าตามรุ่น/ไซส์ และดึงหน้าผ้าให้ตึงเพื่อให้กระชับเป็นรูปทรง
ตามหุ่นรองเท้า การประกอบรองเท้าจะเริ่มต้นจากการประกอบพื้นรองเท้าเข้ากับชิ้นส่วนหน้าผ้าโดยใช้กาวประเภท Water Based และ
นำเข้าเครื่องอัดพื้นเพื่อให้พื้นรองเท้าและหน้าผ้าติดกัน หลังจากนั้นจะนำชิ้นส่วนอื่นๆ ของรองเท้า ซึ่งได้แก่ Toe Cap / Foxing /
Toe Bumper / Heel Logo มาประกอบเข้ากับตัวรองเท้าด้วยกาวประเภท Water Based และนำเข้านำเข้าเครื่องอัดแต่ละ
ประเภทเพื่อให้ชิ้นส่วนต่างๆ ยึดติดกับตัวรองเท้า
เมื่อผ่านกระบวนการข้างต้นแล้ว ฝ่ายควบคุมคุณภาพจะตรวจสอบคุณภาพชิ้นงานทั้งหมด ก่อนส่งเข้าเตาอบเป็นเวลา
ประมาณ 1 ชั่วโมง เพื่อทำให้ยางสุกซึ่งจะทำให้ส่วนประกอบที่เป็นยางอยู่ตัวและมีความแข็งแรงทนทาน จากนั้นนำรองเท้าที่ผ่านการ
อบแล้วมาทิ้งไว้ให้เย็น แล้วจึงทำการถอดหุ่นออกจากรองเท้า และส่งให้แผนกบรรจุหีบห่อ

7. การบรรจุหีบห่อ
พนักงานแผนกบรรจุหีบห่อจะนำชิ้นส่วนพื้นรองสำเร็จรูปใส่ในรองเท้าตามรุ่น/ไซส์แล้วเข้าเครื่องอัดเพื่อให้พื้นในยึดติด
กับรองเท้า และนำรองเท้ามาเจาะรูระบายและตอกตาไก่ หลังจากนั้นจะนำรองเท้ามาทำความสะอาดโดยใช้น้ำยาเช็ดทำความ
สะอาด และให้ฝ่ายควบคุมคุณภาพตรวจสอบชิ้นงานทั้งหมด
หลังจากผ่านกระบวนการทั้งหมดแล้ว พนักงานจะนำรองเท้าที่ผ่านการตรวจสอบแล้วมาร้อยเชือกตามไซส์ /สีที่กำหนด และ
ร้อยป้ายผลิตภัณฑ์พร้อมติดสติ๊กเกอร์ราคาให้ตรงกับรุ่นที่ผลิต และห่อกระดาษบรรจุลงกล่องบรรจุผลิตภัณฑ์ที่ติดสติ๊กเกอร์แสดง
รุ่น/สี/ไซส์ เรียบร้อยแล้ว พร้อมทั้งสแกน Barcode และบรรจุลงกล่องลัง (Carton) ที่ติดสติ๊กเกอร์แสดงรุ่น/ไซส์/สี/จำนวน โดยฝ่าย
ควบคุมคุณภาพจะดำเนินการตรวจสอบสติ๊กเกอร์หน้ากล่องบรรจุผลิตภัณฑ์กับสติ๊กเกอร์ที่กล่องลัง (Carton) จะต้องถูกต้องตรงกัน
นอกจากนี้ ฝ่ายควบคุมคุณภาพจะมีการสุ่มทดสอบคุณภาพรองเท้าจากแผนกประกอบ ดังนี้
- การทดสอบ Bonding : เป็นการทดสอบแรงยึดติดระหว่างหน้าผ้ากับยาง
- การทดสอบ Flex : เป็นการทดสอบการหักงอของผลิตภัณฑ์
- การทดสอบ Aging : เป็นการทดสอบการเกิด X-Ray ของสี เมื่ออยู่ในอุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส

ส่วนที่ 2 หน้า 26
บริษัท ริช สปอร์ต จำกัด (มหาชน)

2.4.3.3 การจัดหาวัตถุดิบในการผลิตของบริษัทย่อย
BNS ให้ความสำคัญในการคัดเลือกวัตถุดิบที่นำมาใช้ในการผลิต โดยสั่งซื้อวัตถุดิบหลักส่วนใหญ่
จากผู้ผลิตและ/หรือผู้จัดจำหน่ายวัตถุดิบที่ผ่านการรับรองมาตรฐานของ Converse อย่างไรก็ตาม จะมีวัตถุดิบบางประเภท เช่น
ยาง หรือผ้าสำหรับใช้ผลิตรองเท้ากลุ่มแฟชั่นที่ดีไซน์เนอร์ของบริษัทฯ ออกแบบเอง ที่ BNS สั่งซื้อจากผู้ผลิตในประเทศที่ไม่ได้
ผ่านการรับรองมาตรฐานจาก Converse ในกรณีนี้ Converse กำหนดให้ BNS ต้องส่งวัตถุดิบดังกล่าวไปผ่านการตรวจสอบ
มาตรฐานโดยสถาบัน SGS และส่งผลการตรวจสอบดังกล่าวให้ Converse ก่อนจึงจะสามารถใช้วัตถุดิบดังกล่าวในกระบวนการ
ผลิตรองเท้าได้

ปัจจัยหลักในการสั่งซื้อวัตถุดิบของ BNS สามารถสรุปได้ดังนี้


1. คุณภาพของวัตถุดิบ
จากการที่บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีนโยบายในการให้ความสำคัญกับคุณภาพของผลิตภัณฑ์
BNS จึงสั่งซื้อวัตถุดิบวัตถุดิบหลักส่วนใหญ่จากผู้ผลิตและ/หรือผู้จัดจำหน่ายวัตถุดิบที่ผ่านการรับรองมาตรฐานของ Converse
ตาม Vendor List ที่ BNS ได้รับแจ้งจาก Converse อย่างไรก็ตาม หากเป็นการสั่งซื้อวัตถุดิบจากผู้ผลิตที่ไม่อยู่ใน Vendor List
ของ Converse BNS จะต้องส่งวัตถุดิบดังกล่าวไปผ่านการตรวจสอบโดยสถาบัน SGS เพื่อเป็นการยืนยันว่าวัตถุดิบดังกล่าวมี
คุณสมบัติตามที่กำหนดก่อนที่จะเริ่มสั่งซื้อวัตถุดิบจากผู้ผลิตดังกล่าว นอกจากนี้ BNS ยังจัดให้มีกระบวนการในการตรวจสอบ
คุณภาพของวัตถุดิบรวมทั้งเยี่ยมชมและตรวจสอบโรงงานของผู้ผลิต ประกอบกับฝ่ายควบคุมคุณภาพจะทำการสุ่มตรวจสอบ
วัตถุดิบทุกครั้งที่ Vendor นำวัตถุดิบมาส่ง เพื่อให้มั่นใจในคุณภาพของวัตถุดิบที่จะนำมาใช้ในกระบวนการผลิตสินค้า

2. ระยะเวลาในการส่งมอบวัตถุดิบ
การซื้อวัตถุดิบในประเทศจะมีระยะเวลาในการส่งมอบวัตถุดิบประมาณ 15-30 วัน ขึ้นอยู่กับ
ประเภทของวัตถุดิบ ในขณะที่การซื้อวัตถุดิบจากต่างประเทศจะมีระยะเวลาในการส่งมอบวัตถุดิบประมาณ 2-3 เดือน เนื่องจาก
ต้องเผื่อระยะเวลาขนส่งซึ่งขึ้นอยู่กับประเทศที่สั่งซื้อ ดังนั้น โดยส่วนใหญ่หากเป็นวัตถุดิบทั่วไปที่ผู้ผลิตหรือ Supplier ใน
ประเทศสามารถจัดหาได้มีคุณภาพใกล้เคียงกับผู้ผลิตหรือ Supplier ต่างประเทศ หรือมีคุณภาพตามที่ BNS กำหนด เช่น ยาง
สารเคมี และวัสดุตกแต่งบางชนิด เป็นต้น บริษัทฯ จะสั่งซื้อจากแหล่งในประเทศ เนื่องจากมีระยะเวลาการส่งมอบที่สั้นกว่าทำให้
สามารถบริหารสินค้าคงเหลือได้สะดวกและมีประสิทธิภาพมากขึ้น
3. ต้นทุนวัตถุดิบ
ผู้ผลิตที่อยู่ใน Vendor List ของ Converse จะกระจายอยู่ในทุกภูมิภาคทั่วโลก BNS จะเลือก
ซื้อจากประเทศที่มีต้นทุนต่ำ โดยจะพิจารณาทั้งราคาวัตถุดิบ รวมไปจนถึงค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นภาษีนำเข้า ค่า
ใช้จ่ายในการขนส่ง เป็นต้น

ตารางแสดงสัดส่วนการซื้อวัตถุดิบจากในประเทศและต่างประเทศ
ปี 2557 ปี 2558 ปี 2559 ม.ค. - มี.ค. 2560
ล้านบาท ร้อยละ ล้านบาท ร้อยละ ล้านบาท ร้อยละ ล้านบาท ร้อยละ
ซื้อวัตถุดิบในประเทศ 64.18 65.12 68.16 63.25 70.08 55.29 12.77 66.78
ซื้อวัตถุดิบต่างประทศ 34.37 34.88 39.60 36.75 56.67 44.71 6.35 33.22
ยอดซื้อวัตถุดิบรวม 98.55 100.00 107.76 100.00 126.76 100.00 19.13 100.00

รายละเอียดวัตถุดิบที่สำคัญของบริษัทย่อย มีดังนี้
1. ผ้า
ผ้าถือเป็นหนึ่งในส่วนประกอบหลักของรองเท้าสำหรับใช้ในการผลิตส่วนหน้าผ้าสำเร็จรูปซึ่ง
เป็นส่วนประกอบด้านบนของรองเท้า โดยผ้าที่ใช้ในการผลิตส่วนใหญ่จะเป็นผ้าใบ (Canvas) ที่มีความหนาและทนทาน ซึ่งใช้ใน
การผลิตรองเท้ากลุ่ม Basic นอกเหนือจากผ้าใบ (Canvas) แล้ว ยังมีการใช้ผ้าประเภทอื่นในการผลิตรองเท้ากลุ่มแฟชั่นที่
ออกแบบโดยดีไซน์เนอร์ของบริษัทฯ ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงไปตามแนวโน้มแฟชั่นในแต่ละซีซั่น เช่น ผ้ายีนส์ ผ้าฟอก หรือผ้าที่มี
ลวดลายต่างๆ เป็นต้น โดยก่อนตรวจรับวัตถุดิบในแต่ละ Lot ฝ่ายควบคุมคุณภาพจะต้องทำการทดสอบคุณสมบัติต่างๆ ก่อน เช่น
การอบ การซัก การยึดติดกับกาว และการทดสอบอายุของผ้า เป็นต้น

ส่วนที่ 2 หน้า 27
บริษัท ริช สปอร์ต จำกัด (มหาชน)

ทั้งนี้ ในการจัดหาผ้าสำหรับใช้ในการผลิตจะมีทั้งจากส่วนที่สั่งซื้อในประเทศและต่างประเทศ
เช่น เวียดนาม ฮ่องกง และญี่ปุ่น เป็นต้น

2. ยาง
ยางเป็นวัตถุดิบหลักที่ในการผลิตพื้นรองเท้า, ยางเวท (Wedge), Single Foxing, Toe Bumper,
Toe Cap และ Heel Logo ซึ่งเป็นส่วนด้านล่างของรองเท้า โดยยางที่ใช้ในการผลิตจะเป็นยางคอมพาวด์ ซึ่งเป็นยางที่ผ่านการ
ผสมสารเคมีสูตรเฉพาะสำหรับชิ้นส่วนแต่ละอย่าง เพื่อให้ได้ยางที่มีคุณสมบัติตามที่มาตรฐานกำหนด
ทั้งนี้ การจัดหายางคอมพาวด์สำหรับใช้ในการผลิตทั้งหมดเป็นการสั่งซื้อจากผู้ผลิตและ/หรือผู้
จัดจำหน่ายในประเทศทั้งหมด โดยในปี 2559 และงวด 3 เดือนแรก ปี 2560 BNS สั่งซื้อยางจากผู้ผลิตรายหนึ่งคิดเป็นสัดส่วน
ร้อยละ 22.71 และร้อยละ 38.39 ของมูลค่าการสั่งซื้อวัตถุดิบรวม ตามลำดับ

3. วัสดุประกอบหน้าผ้า
วัสดุประกอบหน้าผ้า หมายถึงวัสดุที่ใช้ในการตกแต่งบนส่วนบนของรองเท้า เช่น ด้าย ตาไก่ เชือก
รองเท้า ป้ายตราสินค้า ซึ่ง BNS สั่งซื้อจากผู้ผลิตและ/หรือผู้จัดจำหน่ายที่ผ่านการรับรองมาตรฐานของ Converse เป็นหลัก ทั้งนี้
ในการจัดหาวัสดุประกอบหน้าผ้านั้นจะมีทั้งจากส่วนที่จัดซื้อภายในประเทศและจากต่างประเทศ เช่น จีน ฮ่องกง ไต้หวัน เป็นต้น

4. สารเคมี
สารเคมีที่ใช้ในการผลิต ได้แก่ ยาเร่งปฏิกิริยายาง แม่สีสำหรับผสมยาง กาวสำหรับใช้ในการ
ประกอบรองเท้า และน้ำยาทำความสะอาดรองเท้า ทั้งนี้ การจัดหาสารเคมีสำหรับใช้ในการผลิตทั้งหมดเป็นการสั่งซื้อจากผู้จัด
จำหน่ายในประเทศทั้งหมด
2.4.3.4 ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
ในอดีตที่ผ่านมาบริษัทย่อยไม่มีข้อพิพาทหรือถูกฟ้องร้องเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ถึงกระนั้นก็ตาม
บริษัทย่อยถือเป็นนโยบายในการให้ความสำคัญกับการลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นไปตามนโยบายของ
Converse โดยในปี 2559 มีการกำหนดแผนการดำเนินงานในการลดการใช้สารเคมีในกระบวนการผลิตเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่ง
แวดล้อม โดยเปลี่ยนจากการใช้กาว Solvent ซึ่งมีส่วนผสมของตัวทำละลายที่เป็นอันตราย (Solvent Based Adhesive) เป็นการ
ใช้กาวน้ำ (Water Based Adhesive) ทั้งหมด รวมทั้งการควบคุมปริมาณการใช้สารระเหยและสารเคมีต้องห้ามบนสินค้า
ที่ผลิต
ในการผลิตรองเท้าของ BNS จะมีของเสียจากกระบวนการผลิต ได้แก่
- ขยะปนเปื้อนสารเคมี ซึ่งได้แก่ ภาชนะและวัสดุปนเปื้อนสารเคมี เช่น กาว และน้ำยาเช็ด
ทำความสะอาด เป็นต้น โดย BNS ได้ดำเนินการจ้างบริษัทรับจ้างกำจัดของเสียในการทำลายของเสียดังกล่าวอย่างถูกต้องตาม
สุขลักษณะ
- เศษยางที่เหลือจากขั้นตอนการตียาง บริษัทย่อยจะนำมา Recycle เพื่อทำเป็นแท่งสำหรับปู
พื้นภายในโรงงาน

2.5 งานที่ยังไม่ได้ส่งมอบ
-ไม่มี-

ส่วนที่ 2 หน้า 28

You might also like