โรคหนองในแท้ Gonorrhea

You might also like

Download as txt, pdf, or txt
Download as txt, pdf, or txt
You are on page 1of 3

โรคหนองในแท้

Gonorrhea
การพยาบาล
ระยะตั้งครรภ์

1. ให้การพยาบาลมารดาหลังคลอดโดยยึดหลัก universal precaution เพื่อ


ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อเช่นเดียวกับระยะคลอด
2. แนะนำมารดาหลังคลอดเกี่ยวกับการดูแลรักษาความสะอาดของร่างกาย
เครื่องใช้ส่วนตัว การกำจัดสิ่งปนเปื้ อนสารคัดหลั่งอย่างถูกต้อง เพื่อการป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
3. ประเมินอาการติดเชื้อของทารกแรกเกิด ได้แก่ มีไข้ อ่อนเพลีย ดูดนมไม่ดี
ตัวเหลือง ชัก หรือมีแผล herpes ตามร่างกาย ซึ่งหากทารกสัมผัสกับเชื้อเริม ควรแยกทารกออกจากทารกรายอื่น
เพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ และเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นกับทารก
4. แนะนำการเลี้ยงดูทารก โดยล้างมือให้สะอาดก่อนจับทารกทุกครั้ง และถ้า
ไม่มีแผลบริเวณหัวนมหรือเต้านม สามารถให้breastfeeding ได้ และหากสงสัยว่าทารกอาจมีตาอักเสบควรรีบมา
พบแพทย์
5. ดูแลให้มารดาหลังคลอด และทารกได้รับยาป้องกันการติดเชื้อตามแผนการ
รักษา
6. แนะนำและดูแลเรื่องอื่นๆของมารดาหลังคลอด หรือหลังผ่าตัดเช่นเดียวกับ
มารดาหลังคลอดทั่วไป และเน้นการกลับมาตรวจหลังคลอดตามนัด รวมถึงอาการผิดปกติที่ต้องกลับมาตรวจก่อนวันนัด
ระยะหลังคลอด

1.ดูแลผู้คลอดโดยยึดหลัก universal precaution เพื่อป้องกันการแพร่


กระจายเชื้อ
2.หลีกเลี่ยงการทำหัตถการทางช่องคลอด เช่นการตรวจภายใน การเจาะถุงน้ำ
คร่ำ หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ควรทำอย่างระมัดระวัง และไม่ทำให้ถุงน้ำคร่ำแตกเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไปสู่
ทารก
3.ดูแลให้ผู้คลอดและทารกได้รับยาตามแผนการรักษาเพื่อป้องกันการติดเชื้อ
4.หากไม่สามารถคลอดทางช่องคลอดได้เตรียมผู้คลอดให้พร้อมสำหรับการผ่าตัดนำ
ทารกออกทางหน้าท้อง ทั้งทางร่างกาย จิตใจและกฎหมาย
ระยะคลอด
1. คัดกรองและประเมินกาวะสุภพของสตรีตั้งครรภ์ โดยการซักประวัติโดย
ละเอียด ตรวจร่างกาย หากสงสัยว่ามีการติดเชื้อควรส่งพบแพทย์เพื่อให้ไต้รับวินิจฉัยตั้งแต่เริ่มตัน
2. แนะนำให้นำสามีมารับการตรวจเพื่อวินิจฉัยโรค และหากมีการติดเชื้อแนะนำ
ให้รักษาไปพร้อมกัน และติดตามการรักษาอย่างต่อเนื่อง
3. อธิบายให้เข้าใจถึงการดำเนินของโรค อันตรายของโรคต่อการตั้งครรภ์
แผนการรักษาการป้องกันสุขภาพของสตรีตั้งครรภ์และทารกในครรภ์
4. แนะนำการปฏิบัติตัวของสตรีตั้งครรภ์และสามีในดังนี้
4.1 รับประทานยา ฉีดยา หรือทายาตามแผนการรักษา
4.2 หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ หรือใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งจนกว่าจะ
รักษาจนหายขาด
4.3 หลีกเลี่ยงการสัมผัสแผลและหนอง และล้างมือให้สะอาดทุกครั้งหลังการสัมผัสแผลหรือ
หนอง
4.4 กรณีมีแผลที่อวัยวะสืบพันธุ์แนะนำให้ทำความสะอาดอวัยวะสืบพันธุ์ทุกครั้งหลังการขับ
ถ่ายและอาบน้ำ รวมทั้งดูแลร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ
4.5 แนะนำเกี่ยวกับความสำคัญของการมาตรวจตามนัด การสังเกตอาการผิดปกติ รวมถึง
อาการผิดปกติที่ต้องมาตรวจก่อนวันนัด
5. ติดตามผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการและผลการรักษาของสตรีตั้งครรภ์และสามือย่าง
สม่ำเสมอ
การประเมินและวินิจฉัย
1. การซักประวัติเกี่ยวกับการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ติดเชื้อหนองในหรือเคยมีประวัติติดเชื้อหนองในมา
ก่อน รวมถึงซักประวัติเกี่ยวกับอาการและอาการแสดงของการติดเชื้อหนองใน

2. การตรวจร่างกาย พบหนองสีขาวขุ่น บางรายอาจพบเลือดปนหนอง ถ้ามีการอักเสบมากขาหนีบ


จะบวมกดเจ็บบริเวณต่อมบาร์โธลิน หรือต่อมข้างท่อปัสสาวะ
3.การตรวจห้องปฏิบัติการ
- การเก็บน้ำเหลิงหรือหนองจากส่วนที่มีการอักเสบ แล้วนำมาย้อมสีตรวจ gram stain smear
มีการติดเชื้อจะพบ Intracellular gram negative diplococci
- การตรวจเพื่อยืนยันผล โดยการเพาะเชื้อ หรือการตรวจ Nucleic acid test (NET) ผล
Positive ต่อ Neisseria gonorrhoeae = มีการติดเชื้อ
ความหมาย
โรคหนองในแท้ (Gonorrhea) เป็นโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อว่า
ไนซ์ซีเรีย โกโนร์เรีย (Neisseria gonorrhoeae) โดยเชื้อแบคทีเรียนี้เป็นเชื้อดื้อยา เรียกว่า ซุปเปอร์บั๊ก
(Superbug) ทำให้การรักษาโรคหนองในแท้นั้นทำได้ยากขึ้น
การรักษา
1. ติดเชื้อหนองในชนิดไม่มีภาวะแทรกซ้อน (uncomplicated gonorrhea) ในสตรีตั้งครรภ์
และสตรีในระยะให้นมบุตรแนะนำให้ใช้ Ceftriaxone 500 mg ฉีดเข้ากล้ามเนื้อครั้งเดียวร่วมกับให้
Azithromycin 1 gm.
2. ติดเชื้อหนองในชนิดมีภาวะแทรกซ้อนเฉพาะที่ (local complicated gonorrhea) ให้การ
รักษาเหมือนโรคหนองในชนิดไม่มีภาวะแทรกซ้อน แต่ให้การรักษาอย่างน้อย 2 วันหรือจนกว่าจะหาย และแนะนำให้
งดการมีเพศสัมพันธ์ 7 วันหลังให้การรักษา
3. การติดเชื้อหนองในชนิดมีภาวะแทรกซ้อนแบบแพร่กระจาย (disseminated gonocoats
infection) รักษาโดยใช้ Ceftriaxone 1-2 gm. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำวันละ 1 ครั้งจนอาการดีขึ้นแล้ว
เปลี่ยนเป็นยาชนิดรับประทาน Cefixime 400 mg. วันละ 2 ครั้งรักษาอย่างน้อย 7 วัน ร่วมกับให้
Azithromycin 1 gm. รับประทานครั้งเดียว
*หากมีภาวะแทรกซ้อน ได้แก่ meningitis หรือ endocarditis ร่วมด้วย ใช้ยา
Ceftrizone 1-2 gm. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำทุก 12 ชั่วโมงร่วมกับ Azithromycin 1 gm. รับประทานครั้ง
เดียวถ้าเป็น meningitis ให้รักษาติดต่อกัน 10-14 วันและ endocarditis ให้รักษาติดต่อกัน 4 สัปดาห์
อาการและอาการแสดง
ถ้ามีการติดเชื้อที่ทางเดินปัสสาวะส่วนล่างจะพบ อาการปัสสาวะแสบขัดปัสสาวะบ่อยปัสสาวะกระปริ
ดกระปรอยเป็นหนองข้นบางครั้งอาจปัสสาวะเป็นเลือด
ปากมดลูกและช่องคลอดอักเสบ ทำให้มีตกขาวเป็นหนองข้นปริมาณมาก
กดเจ็บบริเวณต่อมบาร์โธลิน (bartholin's gland)
ผลกระทบต่อภาวะสุขภาพสตรีและ
ผลกระทบต่อสตรีตั้งครรภ์
เกิดการแท้งบุตร
ทำให้ถุงน้ำคร่ำอักเสบและติดเชื้อ
ถุงน้ำคร่ำแตก่อนกำหนด
เกิดการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด
เกิตการติดเชื้อหนองในที่ปากมดลูก ซ่องคลอด หรือที่อวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกโดยเฉพาะบริเวณ
เยื่อเมือกที่ตาของทารก ทำให้เกิดตาอักเสบ (gonococcal opthalmia neonetorm)
และอาจเป็น สาเหตุให้ตาบอดได้ ในรายที่กลืนหรือสูดสำลักน้ำคร่ำที่มีเชื้อหนองในเข้าไปจะทำให้
ช่องปากอักเสบ
หูอักเสบ กระเพาะอาหารอักเสบได้ส
การแพร่จากแม่ไปสู่ลูก

ทารกแรกคลอดอาจติดเชื้อหนองในจากช่องคลอดของมารดาในระหว่างการคลอด เกิด
ภาวะ
ophthamia neonatrum โดยหลังคลอดประมณ 3-5 วันจะมีอาการของ
conjunctivitis
มี purulent eye discharge
การป้องกัน
ในที่ตาทารกแรกเกิดนิยมใช้ 1% tetracycline ointment 0.5% หรือ erythromycin
ointment ป้ายตาทารกโดยไม่ต้องล้างออก บางโรงพยาบาลอาจให้ 1% AgNO3 หยอดตาทารก
กรณีที่ทารกมีการติดเชื้อ
1.ติดเชื้อที่เยื่ยบุตา รักษาโดยให้ยา Ceftriaxone 25-50 mg ต่อน้ำหนักตัว 1
กิโลกรัม (ไม่เกิน 125 mg) ฉีดเข้าทาง IM หรือ IV เพียงครั้งเดียว
2.ติดเชื้อแบบแพร่กระจายเช่น bacteremia, arthritis, ในอวัยวะต่าง ๆ ให้ยา
Ceftriaxone 50 mg ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ฉีดเข้า IM หรือ IV ติดต่อกันเป็นเวลา 7 วัน
3.ติดเชื้อที่เยื่อหุ้มสมอง ให้ Ceftriaxone 50 mg ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ฉีดเข้า
IM หรือ IV ทุก 12-24 ชั่วโมง ติดต่อกันเป็นเวลา 10-14 วัน
สาเหตุ
เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ที่ชื่อ Neisseria gonorrhoeae ซึ่งสามารถตรวจพบได้ในน้ำอสุจิ
และสารน้ำในช่องคลอด จึงถ่ายทอดผ่านทางการมีเพศสัมพันธ์เป็นหลัก และสามารถถ่ายทอดได้บ้างโดยการสัมผัส
โดยตรง เช่น ทารกที่คลอดผ่านทางช่องคลอดของมารดาที่ติดเชื้อ ทำให้เกิดการติดเชื้อที่เยื่อบุตา
ผลกระทบต่อทารก

![DD77AB13-BE51-4F09-B233-4B45C8B0FAAC](attached://dc4feed0c4acc80d029d132a0a450006
150x122)

You might also like