Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 6

รายงาน

วิชาคณิตศาสตร์เพิ่มเติม

จัดทำโดย
เด็กชายธนันดร น้อยนารถ

เสนอ

ทิชเชอร์อารีรัตน์
แผนผังโครงสร้างของระบบจำนวนจริง

จากรูปแผนผังข้างบนจะเห็นได้ว่า นอกจากจำนวนจริงแล้ว ยังมีจำนวนจินตภาพ ซึ่งเราจะไม่สนใจศึกษาในบทเรียนนี้


นอกจากนี้ เราจะเห็นได้ว่า จำนวนจริงประกอบด้วย จำนวนอตรรกยะ และ จำนวนตรรยะ ซึ่งเราจะพิจารณาในรายละเอียด
ได้ดังนี้
จำนวนอตรรกยะ คือ จำนวนที่ไมสามารถเขียนให้อยู่ในรูปเศษส่วนของจำนวนเต็ม หรือ ทศนิยมซ้ำได้ ยกตัวอย่างเช่น 2, √
√√ 3, 5 หรือค่า¶ เป็นต้น
จำนวนตรรกยะ คือ จำนวนที่สามารถเขียนให้อยู่ในรูปเศษส่วนของจำนวนเต็ม หรือ ทศนิยมซ้ำได้ยกตัวอย่างเช่น 1/2, 1/3,
2/5 เป็นต้น
จากแผนภาพอีกเช่นเคย จะเห็นได้ว่า จำนวนตรรกยะ จะประกอบด้วยสองส่วนคือ จำนวนเต็ม และ จำนวนตรรกยะที่ไม่ใช่
จำนวนเต็ม
จำนวนเต็ม คือจำนวนที่เป็นตัวเลขเต็มๆ หรือ ตัวเลขที่ไม่มีทศนิยมนั่นเอง นั่นคือ ตัวเลขที่เราใช้นับนั่นเอง ยกตัวอย่างเช่น 1, 2,
3, 4 ... ทั้งนี้ทั้งนั้น รวมไปจนถึงค่าที่ติบลบของจำนวนนับนี้และศูนย์ด้วย เช่น 0, -1, -2, -3, -4 ....
จำนวนตรรกยะที่ไม่ใช่จำนวนเต็ม ความหมายของจำนวนนี้ก็ตามความหมายของชื่อเลยครับ นั่นคือ ตัวเลขเขียนในรูปของ
ทศนิยมซ้ำได้โดยที่ไม่ได้เป็นเลขจำนวนเต็มนั่นเอง อย่างเช่น 1/2=0.5 หรือ 1/3 = 0.333... (สามซ้ำ)
ยิ่งไปกว่านั้น จำนวนเต็มยังแบ่งย่อยได้อีกสามหมวดคือ จำนวนเต็มลบ จำนวนเต็มบวก และ จำนวนเต็มศูนย์
สมบัติของจำนวนจริง
เนื่องจากว่า สมบัติของจำนวนจริงมีเยอะมาก ในที่นี้จะนำเสนอเฉพาะที่คิดว่าสำคัญแล้วกันนะครับ
ถ้าให้ a, b และ c เป็นจำนวนจริงใดๆ แล้ว จะได้ว่าจำนวนจริงจะมีสมบัติดังต่อไปนี้
1. สมบัติปิดการบวก: a+ b จะต้องเป็นจำนวนจริงเสมอ
2. สมบัติการเปลี่ยนหมู่ของการบวก: a + (b + c) = (a + b) + c
3. สมบัติการมีเอกลักษณ์การบวก: a + 0 = a = 0 + a โดยที่เราเรียก 0 ว่าเอกลักษณ์ของการบวก
4. สมบัติการมีอินเวอร์สของการบวก: a + (-a) = 0 = (-a) + a โดยที่ (-a) เป็นอินเวอร์สการบวก
ของ a
5. สมบัติปิดของการคูณ: a คูณ b หรือ ab จะต้องมีผลลัพธ์เป็นจำนวนจริงเสมอ
6. สมบัติการเปลี่ยนหมู่ของการคูณ: a(bc) = (ab) c
7. สมบัติการมีเอกลักษณ์การคูณ: a x 1 = a = 1 x a โดยที่เราเรียก 1 ว่าเอกลักษณ์ของการคูณ
8. สมบัติการมีอินเวอร์สของการคูณ: a a-1= 0 = a-1 a โดยที่ a-1 เป็นอินเวอร์สการคูณของ a
9. สมบัติการแจกแจงทางซ้าย: a(b + c) = ab + ac
นอกจากสมบัติของจำนวนจริงแล้ว เรายังมีทฤษฎีบทเบื้องต้นสำหรับจำนวนจริงด้วย ในทำนอง
เดียวกับสมบัติของจำนวนจริง จะขอนำเสนอเฉพาะส่วนที่คิดว่าสำคัญเท่านั้นนะครับ
ถ้าให้ a, b, c และ d เป็นจำนวนจริงใดๆ จะได้ว่า
1. ถ้า a+c = b+c แล้ว a = b
2. ถ้า c ไม่เท่ากับศูนย์ และ ac =ab แล้ว a = b
3. เมื่อ c > 0 แล้วจะได้ว่า
(1) ถ้า a > b แล้ว ac > bc
(2) ถ้า a < b แล้ว ac < bc
(3) ถ้า ac > bc แล้ว a > b
(4) ถ้า ac < bc แล้ว a < b
4. เมื่อ c < 0 แล้วจะได้ว่า
(1) ถ้า a > b แล้ว ac < bc
(2) ถ้า a < b แล้ว ac > bc
(3) ถ้า ac > bc แล้ว a < b
(4) ถ้า ac < bc แล้ว a > b
5. ถ้า ab = 0 แล้ว a = 0 หรือ b = 0
6. ถ้า a < b และ c < d แล้ว a – d < b - c
จำนวนอตรรกยะ คือ จำนวนที่ไม่สามารถเขียนให้อยู่ในรูปเศษส่วนของจำนวนเต็ม หรือทศนิยมซ้ำ
ได้
จำนวนตรรกยะ คือ จำนวนที่สามารถเขียนให้อยู่ในรูปเศษส่วนของจำนวนเต็มหรือทศนิยมซ้ำได้
แบ่งได้เป็น
จำนวนตรรกยะที่ไม่ใช่จำนวนเต็ม เช่น -1.5, 3,22/7
จำนวนตรรกยะที่เป็น
จำนวนเต็มบวก เช่น 1, 2, 3, 4, 5, … , 7/7 , 14/7
จำนวนเต็มศูนย์ เช่น 0, 0/5
จำนวนเต็มลบ เช่น -1 , -2, -3, -4, …, – 7/7 , – 14/7

สมบัติการเท่ากัน
สมบัติการสะท้อน a = a
สมบัติการสมมาตร ถ้า a = b แล้ว b = a
สมบัติการถ่ายทอด ถ้า a = b และ b = c แล้ว a = c
สมบัติการบวกด้วยจำนวนที่เท่ากัน ถ้า a = b แล้ว a + c = b + c
สมบัติการคูณด้วยจำนวนที่เท่ากัน ถ้า a = b แล้ว ac = bc

สมบัติการบวก
สมบัติปิด ถ้า a ϵ R และ b ϵ R แล้ว a + b ϵ R
สมบัติการสลับที่ จะได้ a + b = b + a
สมบัติการเปลี่ยนกลุ่ม จะได้ a + (b + c) = (a + b) + c
สมบัติมีเอกลักษณ์การบวก คือ 0 จะได้ 0 + a = a + 0 = a
สมบัติมีอินเวอร์สการบวก a มีอินเวอร์สการบวกคือ -a และ -a มีอินเวอร์สการบวก คือ a จะได้ a
+ (-a) = (-a) + a = 0
สมบัติการคูณ
สมบัติปิด ถ้า a ϵ R และ b ϵ R แล้ว a.b ϵ R
สมบัติการสลับที่ จะได้ a.b = b.a
สมบัติการเปลี่ยนกลุ่ม จะได้ a.(b.c) = (a.b).c
สมบัติมีเอกลักษณ์การคูณ คือ 1 จะได้ 1.a = a.1 = a
สมบัติมีอินเวอร์สการคูณ (ยกเว้น 0 เพราะ 1/0 ไม่มีความหมาย) a มีอินเวอร์สการคูณคือ 1/a และ
1/a มีอินเวอร์สการคูณ คือ a จะได้ a. 1/a = 1/a .a=1

เอกลักษณ์ที่ถูกนำไปใช้บ่อยในการแก้สมการพหุนาม หรือ อสมการพหุนาม


(a +b)2= a2+2ab+b2
(a-b)2=a2-2ab+b2
a2-b2=(a-b) (a+b)
(a+b)3-a3 +3a2b + 3ab2 + b3
(a-b)3=a3-3a2b+3ab2– b3
a3+ b3=(a+b) (a2-ab+b2)
a3– b3=(a-b) (a2+ab+b2)

การแก้สมการพหุนามรูปทั่วไป

ย้ายข้างให้ข้างหนึ่งของสมการมี่ค่าเป็น 0 และอีกข้างให้ ส.ป.ส. หน้าตัวแปรยกกำลังสูงสุดมีค่าเป็น


บวก
หากพหุนามมีตัวร่วมให้ดึงออกมา และหากเป็นค่าคงตัวให้หารตลอดสมการ (ยกเว้นตัวแปรที่ห้าม
หารตลอดสมการ เนื่องจาก ตัวแปรมีค่าเป็น 0 ได้ ซึ่งตัวส่วนเป็น 0 จะไม่สามารถหาค่าได้)
แยก Factor ซึ่งหลังจากแยกแล้ว ส.ป.ส. หน้าตัวแปรต้องมีค่าบวก)

You might also like