Download as docx, pdf, or txt
Download as docx, pdf, or txt
You are on page 1of 6

แนวข้อสอบวิชากฎหมายเกี่ยวกับองค์กรธุรกิจ

***สอบ วันที่ 13 กันยายน 2566 วันเสาร์ เวลา 09.00-11.00 น.***


อาจารย์ ชัดชัย กลิ่นความดี
การให้คะแนน

***วินิจฉัย เป็ นข้อๆ ใครทำอะไร***


****ข้อกฎหมายครบ***
สรุป ให้เขียนว่า ดังนั้น แทน
***เอาประมวลกฎหมายเข้าห้องสอบได้***
ข้อ.1 ม.1012 ม.1091 ม.1049 ม.1050
***การจัดตั้งห้าง
มาตรา 1012 อันว่าสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไป
ตกลงเข้ากันเพื่อกระทำกิจการร่วมกัน ด้วยประสงค์จะแบ่งปันกำไรอันจะพึงได้แต่กิจการที่ทำนั้น
มาตรา 1025 อันว่าห้างหุ้นส่วนสามัญนั้น คือห้างหุ้นส่วนประเภทซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนหมดทุกคนต้องรับผิด
ร่วมกันเพื่อหนี้ทั้งปวงของหุ้นส่วนโดยไม่มีจำกัด
***หุ้นส่วนเอาสิทธิ์
มาตรา 1049 ผู้เป็นหุ้นส่วนจะถือเอาสิทธิใด ๆ แก่บุคคลภายนอกในกิจการค้าขายซึ่งไม่ปรากฏชื่อของ
ตนนั้นหาได้ไม่
มาตรา 1050 การใด ๆ อันผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งได้จัดทำไปในทางที่เป็นธรรมดาการค้าขายของ
ห้างหุ้นส่วนนั้น ท่านว่าผู้เป็นหุ้นส่วนหมดทุกคนย่อมมีความผูกพันในการนั้น ๆ ด้วย และจะต้องรับผิดร่วม
กันโดยไม่จำกัดจำนวนในการชำระหนี้อันได้ก่อให้เกิดขึ้นเพราะจัดการไปเช่นนั้น

ข้อ.2 ม.1090 ม.1091 ม.1032


***หุ้นส่วนจำกัดรับผิด
มาตรา 1090 ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดจะประกอบการค้าขายอย่างใด ๆ เพื่อประโยชน์ตน
หรือเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกก็ได้แม้ว่าการงานเช่นนั้นจะมีสภาพเป็นอย่างเดียวกันกับการค้าขายของ
ห้างหุ้นส่วนก็ไม่ห้าม
มาตรา 1091 ผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดจะโอนหุ้นของตนปราศจากความยินยอมของผู้เป็น
หุ้นส่วนอื่น ๆ ก็โอนได้
มาตรา 1032 ห้ามมิให้เปลี่ยนแปลงข้อสัญญาเดิมแห่งห้างหุ้นส่วนหรือประเภทแห่งกิจการ นอกจากด้วย
ความยินยอมของผู้เป็นหุ้นส่วนหมดด้วยกันทุกคน เว้นแต่จะมีข้อตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น
ข้อ.3 ม.1175 ม.11194 ม.1145 ม.1195 ม.1236
***บอกเลิกบริษัท
มาตรา 1145 จำเดิมแต่ได้จดทะเบียนบริษัทแล้ว ท่านห้ามมิให้ตั้งข้อบังคับใหม่ หรือเพิ่มเติม
เปลี่ยนแปลงข้อบังคับหรือข้อความในหนังสือบริคณสนธิแต่อย่างหนึ่งอย่างใด เว้นแต่จะได้มีการลงมติ
พิเศษ
***เรียกประชุม
มาตรา 1175 คำบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่ทุกคราวนั้น ให้ลงพิมพ์โฆษณาอย่างน้อยสองคราวใน
หนังสือพิมพ์แห่งท้องที่ฉบับหนึ่งก่อนวันนัดประชุมไม่น้อยกว่าเจ็ดวันหรือส่งทางไปรษณีย์ไปยังผู้ถือหุ้น
ทุกคนบรรดามีชื่อในทะเบียนของบริษัทก่อนวันนัดประชุมไม่น้อยกว่าเจ็ดวัน
ในคำบอกกล่าวนั้น ให้ระบุสถานที่ วัน เวลา และสภาพแห่งกิจการที่จะได้ประชุมปรึกษากันนั้นด้วย
ใช้แล้วแต่กรณี *** กรณีมติพิเศษ – เรียกประชุม ใช้ประกอบ ม.1236 ด้วย
มาตรา 1195 การประชุมใหญ่นั้นถ้าได้นัดเรียกหรือได้ประชุมกัน หรือได้ลงมติฝ่ าฝืนบทบัญญัติใน
ลักษณะนี้ก็ดี หรือฝ่ าฝืนข้อบังคับของบริษัทก็ดี เมื่อกรรมการหรือผู้ถือหุ้นคนหนึ่งคนใดร้องขึ้นแล้ว ให้ศาล
เพิกถอนมติของที่ประชุมใหญ่อันผิดระเบียบนั้นเสีย แต่ต้องร้องขอภายในกำหนดเดือนหนึ่งนับแต่วันลงมติ
นั้น
***ยกเลิก
มาตรา 1236 อันบริษัทจำกัดย่อมเลิกกันด้วยเหตุดั่งจะกล่าวต่อไปนี้ คือ
(1) ถ้าในข้อบังคับของบริษัทมีกำหนดกรณีอันใดเป็นเหตุที่จะเลิกกันเมื่อมีกรณีนั้น
(2) ถ้าบริษัทได้ตั้งขึ้นไว้เฉพาะกำหนดกาลใด เมื่อสิ้นกำหนดกาลนั้น
(3) ถ้าบริษัทได้ตั้งขึ้นเฉพาะเพื่อทำกิจการอย่างหนึ่งอย่างใดแต่อย่างเดียวเมื่อเสร็จการนั้น
(4) เมื่อมีมติพิเศษให้เลิก
(5) เมื่อบริษัทล้มละลาย

ข้อ.4 ม.1070 ม.1088 ม.1025


***ดุลพินิจ เป็น อำนาจศาล
มาตรา 1025 อันว่าห้างหุ้นส่วนสามัญนั้น คือห้างหุ้นส่วนประเภทซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วนหมดทุกคนต้องรับ
ผิดร่วมกันเพื่อหนี้ทั้งปวงของหุ้นส่วนโดยไม่มีจำกัด
มาตรา 1088 ถ้าผู้เป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดผู้ใดสอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของห้างหุ้น
ส่วน ท่านว่าผู้นั้นจะต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้ทั้งหลายของห้างหุ้นส่วนนั้นโดยไม่จำกัดจำนวน
แต่การออกความเห็นและแนะนำก็ดี ออกเสียงเป็นคะแนนนับในการตั้งและถอดถอนผู้จัดการตามกรณีที่มี
บังคับไว้ในสัญญาหุ้นส่วนนั้นก็ดี ท่านหานับว่าเป็นการสอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของห้างหุ้นส่วนนั้น
ไม่
มาตรา 1070 เมื่อใดห้างหุ้นส่วนซึ่งจดทะเบียนผิดนัดชำระหนี้ เมื่อนั้นเจ้าหนี้ของห้างหุ้นส่วนนั้นชอบที่
จะเรียกให้ชำระหนี้เอาแต่ผู้เป็นหุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งก็ได้
มาตราที่สำคัญ
***ความรับผิดในหุ้นที่โอนไปแล้ว
มาตรา 1133 หุ้นซึ่งโอนกันนั้น ถ้าเป็นหุ้นอันมิได้ส่งเงินใช้เต็มจำนวนค่าหุ้น ท่านว่าผู้โอนยังคง
ต้องรับผิดในจำนวนเงินที่ยังมิได้ส่งใช้ให้ครบถ้วนนั้นแต่ว่า
(1) ผู้โอนไม่ต้องรับผิดในหนี้อันหนึ่งอันใดของบริษัทซึ่งได้ก่อให้เกิดขึ้น
ภายหลังโอน
(2) ผู้โอนไม่ต้องรับผิดออกส่วนใช้หนี้ เว้นแต่ความปรากฏขึ้นแก่ศาลว่า
บรรดาผู้ที่ยังถือหุ้นของบริษัทอยู่นั้นไม่สามารถออกส่วนใช้หนี้อันเขาจะพึงต้องออกใช้นั้นได้
ในข้อความรับผิดเช่นว่ามานั้น ท่านห้ามมิให้ฟ้ องผู้โอนเมื่อพ้นสองปี นับแต่ได้จดแจ้งการโอน
นั้นลงในทะเบียนผู้ถือหุ้น

***ข้อสอบ
***การประชุม
ม.1176+ม.1187
มาตรา 1176 ผู้ถือหุ้นทั่วทุกคนมีสิทธิจะเข้าประชุมในที่ประชุมใหญ่ได้เสมอ ไม่ว่าจะเป็นประชุม
ชนิดใดคราวใด
มาตรา 1187 ผู้ถือหุ้นทุกคนจะมอบฉันทให้ผู้อื่นออกเสียงแทนตนก็ได้แต่การมอบฉันทเช่นนี้ต้องทำ
เป็นหนังสือ
มาตรา 1173 การประชุมวิสามัญจะต้องนัดเรียกให้มีขึ้นในเมื่อผู้ถือหุ้นมีจำนวนหุ้นรวมกันไม่น้อย
กว่าหนึ่งในห้าแห่งจำนวนหุ้นของบริษัท ได้เข้าชื่อกันทำหนังสือร้องขอให้เรียกประชุมเช่นนั้น ในหนังสือ
ร้องขอนั้นต้องระบุว่าประสงค์ให้เรียกประชุมเพื่อการใด
มาตรา 1174 เมื่อผู้ถือหุ้นยื่นคำร้องขอให้เรียกประชุมวิสามัญดั่งได้กล่าวมาในมาตราก่อนนี้แล้ว ให้
กรรมการเรียกประชุมโดยพลัน ถ้าและกรรมการมิได้เรียกประชุมภายในสามสิบวันนับแต่วันยื่นคำร้องไซร้
ผู้ถือหุ้นทั้งหลายซึ่งเป็นผู้ร้อง หรือผู้ถือหุ้นคนอื่น ๆ รวมกันได้จำนวนดั่งบังคับไว้นั้นจะเรียกประชุมเอง
ก็ได้
***เรียกขอดูได้
มาตรา 1207 กรรมการต้องจัดให้จดบันทึกรายงานการประชุม และข้อมติทั้งหมดของที่ประชุมผู้ถือ
หุ้นและของที่ประชุมกรรมการลงไว้ในสมุดโดยถูกต้อง สมุดนี้ให้เก็บรักษาไว้ ณ สำนักงานที่ได้จดทะเบียน
ของบริษัท บันทึกเช่นนั้นอย่างหนึ่งอย่างใด เมื่อได้ลงลายมือชื่อของผู้เป็นประธานแห่งการประชุมซึ่งได้ลง
มติ หรือซึ่งได้ดำเนินการงานประชุมก็ดีหรือได้ลงลายมือชื่อของผู้เป็นประธานแห่งการประชุมถัดจากครั้ง
นั้นมาก็ดี ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นหลักฐานอันถูกต้องแห่งข้อความที่ได้จดบันทึกลงในสมุดนั้น ๆ
และให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าการลงมติและการดำเนินของที่ประชุมอันได้จดบันทึกไว้นั้นได้เป็นไปโดยชอบ
ผู้ถือหุ้นคนใดจะขอตรวจดูเอกสารดั่งกล่าวมาข้างต้นในเวลาใดเวลาหนึ่งระหว่างเวลาทำการงานก็ได้
***ใช้ร่วมกันกับ กรณี มติพิเศษ ม.1159 ม.1154 ม.1195 ม.1145 ม.1194 เพิ่มเติม ม.1236
มาตรา 1159 ในจำนวนกรรมการนั้น แม้ตำแหน่งจะว่างไปบ้าง กรรมการ
ที่มีตัวอยู่ก็ย่อมทำกิจการได้ แต่ถ้าในเวลาใดจำนวนกรรมการลดน้อยลงกว่าจำนวนอันจำเป็นที่จะเป็นองค์
ประชุมได้ตลอดเวลาเช่นนั้น กรรมการที่มีตัวอยู่ย่อมทำกิจการได้เฉพาะแต่ในเรื่องที่จะเพิ่มกรรมการขึ้นให้
ครบจำนวนหรือนัดเรียกประชุมใหญ่ของบริษัทเท่านั้น จะกระทำกิจการอย่างอื่นไม่ได้
มาตรา 1154 ถ้ากรรมการคนใดล้มละลาย หรือตกเป็นผู้ไร้ความสามารถไซร้ ท่านว่ากรรมการคนนั้นเป็น
อันขาดจากตำแหน่ง

ข้อ 3. นายหนึ่ง นายสอง นายสามและนายสี่ ได้ร่วมทุนกันจัดตั้ง ห้างหุ้นส่วนจำกัดสี่สหาย โดยนายหนึ่งและ


นายสองลงหุ้นคนละ 100,000 บาท ไม่จำกัดความรับผิด ส่วนนายสามและนายสี่ลงหุ้นคนละ 200,000 บาท
จำกัดความรับผิด ห้างหุ้นส่วนจำกัดมีนายหนึ่งและนายสองเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ และมีรายการจดทะเบียน
ไว้ที่สำนักงานทะเบียน กระทรวงพาณิชย์ โดยได้โฆษณาในราชกิจจานุเบกษาเรียบร้อยแล้วว่า “นายหนึ่ง
และนายสองลงลายมือชื่อร่วมกันจึงจะมีผลผูกพันห้างหุ้นส่วน” ต่อมา ในวันที่ 21 กันยายน 2562 นายหนึ่ง
และนายสองต้องเดินทางไปต่างประเทศจึงได้มอบอำนาจให้นายสามซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับ
ผิด เข้าจัดกิจการงานในห้างแทนตนเป็นเวลา 10 วันในวันที่ 25 กันยายน 2562 นายสามในฐานะผู้รับมอบ
อำนาจจากนายหนึ่งและนายสองได้ทำสัญญาแทนห้างหุ้นส่วนจำกัดเพื่อซื้อขายสินค้าจากนายเอ จำนวน
1,000,000 บาท และในวันที่ 26 กันยายน 2562 นายสี่ซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด ได้ทำสัญญา
แทนห้างหุ้นส่วนเพื่อซื้อสินค้าจากนายบี จำนวน 1,000,000 บาท เมื่อนายหนึ่งและนายสองกลับมาจากต่าง
ประเทศก็ได้รับเอาสัญญาที่นายสามทำไว้แทนห้างหุ้นส่วน แต่ไม่ยอมรับเอาสัญญาที่นายสี่ทำไว้ เช่นนี้หาก
นายเอและนายบี ได้เรียกให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดสี่สหาย ปฏิบัติตามสัญญาแล้ว แต่ห้างหุ้นส่วนจำกัดสี่สหาย
ไม่ปฏิบัติตามสัญญาให้วินิจฉัยว่า นายเอ และนายบีจะเรียกให้บุคคลใดรับผิดได้บ้าง

You might also like