Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 24

แนวข้อสอบวิชา ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดากับการบัญชี รหัสวิชา

2201-2005
ตอนที่1 ให้เลือกคาตอบที่ถูกต้องที่สุด
1. ในระบบเศรษฐกิจ ที่ใช้ต ลาดเป็น เครื่ องมือ โดยให้เอกชนเป็นผู้ ผลิต และขายสิ นค้า และบริก ารนั้ น
การกระทาอย่างไรจะเปิดโอกาสให้มีการใช้ทรัพยากรโดยประหยัดและมีประสิทธิภาพ
ก.การค้าโดยการผูกขาด
ข.การค้าขายโดยรัฐบาล
ค.การให้แข่งขันกันโดยเสรี
ง.การค้าขายโดยรัฐวิสาหกิจ
2. ข้อใดที่ถือว่าเป็นที่มาของรายรับของรัฐบาล
ก. การกู้เงิน
ข. การพิมพ์ธนบัตร
ค. การเก็บภาษีอากร
ง. การกู้เงิน การพิมพ์ธนบัตร และการเก็บภาษีอากร
3. การที่รัฐบาลให้ประชาชนเสียภาษีอากรให้กับรัฐบาลนั้นมีลักษณะอย่างไร
ก. ให้เสียตามใจสมัคร
ข. มีลักษณะเป็นการบังคับ
ค. ไม่มีลักษณะเป็นการบังคับ
ง. ใครจะเสียหรือไม่เสียก็ได้
4. รัฐบาลกู้เงินจากที่ใดมาใช้จ่ายบ้าง
ก. ธนาคารออมสิน
ข. ธนาคารพาณิชย์
ค. ธนาคารแห่งประเทศไทย
ง. ธนาคารออมสิน ธนาคารพาณิชย์ หรือธนาคารแห่งประเทศไทย
5. รัฐบาลเก็บภาษีอากรจากใคร
ก. นิติบุคคล
ข. บุคคลธรรมดา
ค. สิ่งที่ไม่ใช่บุคคล
ง. บุคคลธรรมดาและนิติบุคคล
6. ฐานภาษีคืออะไร
ก. ประชาชน
ข. กรมสรรพากร
ค. ประมวลรัษฎากร
ง. สิ่งที่เป็นเงื่อนไขให้บุคคลต้องเสียภาษี
7. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเก็บจากอะไร
ก. เงินได้
ข. ทรัพย์สิน
ค. สินค้าและบริการ
ง. สิทธิพิเศษในการประกอบการ
8. การเก็บภาษีตามอัตราเป็นร้อยละเพิ่มขึ้นในเมื่อฐานภาษีเป็นจานวนเงินมากขึ้น เรียกว่าอัตราอะไร
ก. อัตราตามส่วน
ข. อัตราก้าวหน้า
ค. อัตราถอยหลัง
ง. อัตราตามส่วนและอัตราก้าวหน้า
9. ภาษีที่เก็บจากสินค้าและบริการเป็นภาษีชนิดใด
ก. ภาษีทางตรง
ข. ภาษีทางอ้อม
ค. ภาษีชั่วคราว
ง. ภาษีเพื่อกิจการเฉพาะอย่าง
10. ภาษีเงินได้เป็นภาษีชนิดใด
ก. ภาษีทางตรง
ข. ภาษีทางอ้อม
ค. ภาษีชั่วคราว
ง. ภาษีเพื่อกิจการเฉพาะอย่าง
11. ข้อใดเป็นภาษีทางตรง
ก. ภาษีทรัพย์สิน
ข. ภาษีเงินได้นิติบุคคล
ค. ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ง. ภาษีทรัพย์สิน ภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
12. ลักษณะของภาษีอากรที่ดีต้องให้มีผลกระทบกระเทือนต่อประชาชนอย่างไร
ก. มาก
ข. น้อย
ค. มากที่สุด
ง. น้อยที่สุด
13. สิ่งใดเป็นเครื่องวัดความสามารถในการเสียภาษีของประชาชนได้ดีที่สุด
ก. รายได้
ข. รายจ่าย
ค. ทรัพย์สิน
ง. รายได้และรายจ่าย
14. กฎหมายภาษีอากรที่จะทาให้มีการเก็บภาษีได้เต็มเม็ดเต็มหน่วย จะต้องมีลักษณะอย่างไร
ก. ไม่กากวม
ข. เข้าใจง่าย
ค. เข้าใจยากและกากวม
ง. เข้าใจง่ายและไม่กากวม
15. ข้อใดเป็นประโยชน์สาหรับกิจการที่ต้องการส่งเสริมการลงทุน
ก. การยกเว้นภาษีอากร
ข. การเพิ่มการเก็บภาษีอากร
ค. การเก็บภาษีอากรตามธรรมดา
ง. การเก็บภาษีอากรปีเว้นปีเรื่อย ๆ ไป
16. การที่รัฐบาลต้องการจากัดการบริโภคของประชาชน ต้องอาศัยภาษีใด
ก. ภาษีทางตรง
ข. ภาษีทางอ้อม
ค. ภาษีเก็บตามปริมาณ
ง. ภาษีเก็บจากเงินได้
17. ในการแก้ไขปัญหาภาวะเงินฝืด หากจาเป็นต้องเลือกใช้ภาษีอากร ภาษีใดจะมีผลดีกว่า
ก. ภาษีทางตรง
ข. ภาษีทางอ้อม
ค. ภาษีเก็บตามปริมาณ
ง. ภาษีเก็บจากสินค้าและบริการ
18. ภาษีอากรที่มีส่วนสาคัญที่สุดในการแก้ไขความเหลื่อมล้าต่าสูงทางเศรษฐกิจของประชาชนคืออะไร
ก. ภาษีน้ามัน
ข. ภาษีทางอ้อม
ค. ภาษีทางตรง
ง. ภาษีเก็บจากสินค้าและบริการ
19. ในการพิมพ์ธนบัตรออกมาใช้ จะต้องมีทุนสารองเงินตรา ซึง่ ได้แก่อะไร
ก. ทองคา
ข. เงินตราต่างประเทศ
ค. หลักทรัพย์ต่างประเทศ
ง. ทองคา เงินตราต่างประเทศ และหลักทรัพย์ต่างประเทศ
20. กฎหมายว่าด้วยการภาษีอากรเป็นกฎหมายประเภทใด
ก. กฎหมายเอกชน
ข. กฎหมายมหาชน
ค. กฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ง. กฎหมายระหว่างประเทศ
21. กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง เสียภาษีเงินได้ต่างหากจากผู้ตายเมื่อใด
ก. ในปีที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย
ข. ถัดจากปีที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย
ค. 2 ปีหลังจากเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย
ง. 3 ปีหลังจากเจ้ามรดกถึงแก่ความตาย
22. ในปีภาษีที่ได้มีการแบ่งแยกกองมรดกแล้ว เงินได้หลังจากการแบ่งแยกย่อมตกเป็นของใคร
ก. สมาคม
ข. ทายาท
ค. รัฐบาล
ง. กองมรดก
23. ใครมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ก. บุคคลธรรมดา
ข. ห้างหุ้นส่วนสามัญ
ค. กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง
ง. บุคคลธรรมดา ห้างหุ้นส่วนสามัญ และกองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง
24. ถ้าบุคคลต่อไปนี้มีเงินได้ถึงเกณฑ์ที่กฎหมายกาหนดไว้ว่าต้องเสียภาษี ใครบ้างที่มีสิทธิพิเศษไม่ต้อง
เสียภาษี
ก. ผู้เยาว์
ข. คนไร้ความสามารถ
ค. คนเสมือนไร้ความสามารถ
ง. ต้องเสียภาษีทุกคน
25. ใครมีหน้าที่เสียภาษีแทนผู้เยาว์
ก. ผู้พิทักษ์
ข. ผู้อนุบาล
ค. พนักงานอัยการ
ง. ผู้แทนโดยชอบธรรม
26. ใครมีหน้าที่เสียภาษีแทนคนไร้ความสามารถ
ก. ผู้พิทักษ์
ข. ผู้อนุบาล
ค. พนักงานอัยการ
ง. ผู้แทนโดยชอบธรรม
27. ใครมีหน้าที่เสียภาษีแทนคนเสมือนไร้ความสามารถ
ก. ผู้พิทักษ์
ข. ผู้อนุบาล
ค. พนักงานอัยการ
ง. ผู้แทนโดยชอบธรรม
28. ใครมีหน้าที่เสียภาษีแทนผู้อยู่ต่างประเทศ
ก. ผู้พิทักษ์
ข. ผู้อนุบาล
ค. ผู้แทนโดยชอบธรรม
ง. ผู้จัดการกิจการอันก่อให้เกิดเงินได้พึงประเมิน
29. ใครมีหน้าที่เสียภาษีแทนผู้ตาย
ก. ทายาท
ข. ผู้จัดการมรดก
ค. ผู้ครอบครองทรัพย์มรดก
ง. ทายาท ผู้จัดการมรดก หรือผู้ครอบครองทรัพย์มรดก
30. ห้ า งหุ้ น ส่ ว นสามั ญ หรื อ คณะบุ ค คลที่ มิ ใ ช่ นิ ติ บุ ค คลมี ห น้ า ที่ เ สี ย ภาษี ต่ อ เมื่ อ มี เ งิ น ได้ พึ ง ประเมิ น ในปี
ภาษีที่ล่วงมาแล้วเกินกว่าเท่าใด
ก. 10,000 บาท
ข. 20,000 บาท
ค. 30,000 บาท
ง. 60,000 บาท
31. ใครมีหน้าที่เสียภาษีแทนห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
ก. ทายาท
ข. ผู้จัดการมรดก
ค. ผู้แทนโดยชอบธรรม
ง. ผู้อานวยการหรือผู้จัดการ
32. ผู้อยู่ในประเทศไทย หมายถึง ผู้ซึ่งอยู่ในประเทศไทยชั่วระยะเวลาหนึ่งหรือหลายระยะรวมเวลาทั้งหมด
ถึงกี่วันในปีภาษี
ก. 60 วัน
ข. 120 วัน
ค. 180 วัน
ง. 240 วัน
33. ปีภาษี 2557 เริ่มตั้งแต่วันใดถึงวันใด
ก. 1 มกราคม 2557 ถึง 31 ธันวาคม 2557
ข. 1 มกราคม 2557 ถึง 30 มิถุนายน 2557
ค. 1 กรกฎาคม 2557 ถึง 31 ธันวาคม 2557
ง. 1 มกราคม 2557 ถึง 1 มกราคม 2558
34. ผู้อ ยู่ใ นประเทศไทย มี เงิ นได้พึ งประเมิ นเนื่อ งจากหน้ าที่ ง านหรือ กิจ การที่ ทาในต่า งประเทศ จะต้อ ง
เสียภาษีให้กับรัฐบาลไทยในกรณีใด
ก. ต้องเสียภาษีเมื่อนาเงินได้นั้นเข้ามาในประเทศไทย
ข. ต้องเสียภาษีแม้จะไม่ได้นาเงินได้นั้นเข้ามาในประเทศไทย
ค. ต้องเสียภาษีไม่ว่าจะนาเงินได้นั้นเข้ามาในประเทศไทยหรือไม่ก็ตาม
ง. ไม่ต้องเสียภาษีไม่ว่ากรณีใด ๆ
35. ในปี พ.ศ. 2557 นายแดง คนไทยไปท างานในประเทศสิ ง คโปร์ เป็ นเวลา 10 เดื อน ได้เ งิน ทั้ง สิ้ น
500,000 บาท และได้กลับมาพักผ่อนในประเทศไทยเป็นเวลา 2 เดือน โดยนาเงินได้ทั้งหมดเข้ามาใน
ประเทศไทยด้วย เช่นนี้ นายแดงจะต้องเสียภาษีให้กับรัฐบาลไทยหรือไม่
ก. ต้องเสียภาษีให้กับรัฐบาลไทย
ข. ไม่ต้องเสียภาษีให้กับรัฐบาลไทย
ค. ต้องเสียภาษีให้กับรัฐบาลไทยบางส่วน
ง. จะเสียภาษีให้กับรัฐบาลไทยหรือไม่ก็ได้
36. ผู้ ที่ มิ ไ ด้ อ ยู่ ใ นประเทศไทย หมายถึ ง ผู้ ซึ่ ง อยู่ ใ นประเทศไทยชั่ ว ระยะเวลาหนึ่ ง หรื อ หลายระยะรวม
เวลาทั้งหมดไม่ถึงกี่วันในปีภาษี
ก. 60 วัน
ข. 120 วัน
ค. 180 วัน
ง. 240 วัน
37. ผู้ที่มิได้อยู่ในประเทศไทย แต่มีเงินได้จากแหล่งในประเทศไทย มีหน้าที่ต้องเสียภาษีให้กับรัฐบาล
ไทย ถ้าเงินได้นั้นได้จ่ายกันที่ใด
ก. จ่ายที่กรุงเทพฯ
ข. จ่ายในประเทศไทย
ค. จ่ายนอกประเทศไทย
ง. จ่ายในประเทศไทยหรือนอกประเทศไทยก็ได้
38. ข้ อ ใดที่ ไ ม่ มี ส ภาพบุ ค คลตามกฎหมาย แต่ มี ห น้ า ที่ ต้ อ งเสี ย ภาษี ถ้ า มี เ งิ น ได้ ถึ ง เ กณฑ์ ที่ ก ฎหมาย
กาหนดไว้
ก. กองมรดก
ข. บริษัทจากัด
ค. ห้างหุ้นส่วนจากัด
ง. ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล
39. การตกลงกั นของบุคคลตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป เพื่ อกระทากิ จการใดกิจ การหนึ่ง หรื อหลายกิจการ แต่การ
ร่วมเข้าทากิจการกันนั้น ไม่มีวัตถุประสงค์ที่จ ะแบ่งปันกาไรอันจะพึงได้จากกิจการที่กระทานั้น เรียกว่า
อะไร
ก. ห้างหุ้นส่วนสามัญ
ข. ห้างหุ้นส่วนจากัด
ค. คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
ง. ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล
40. ผู้มี เงิ น ได้ พึ งประเมิ นและเป็ นผู้ อ ยู่ใ นประเทศไทย มี หน้ า ที่ต้ อ งเสี ยภาษีใ ห้ กับ รั ฐบาลไทย ส าหรั บ
เงินได้พึงประเมินอันได้เนื่องมาจากทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทย ทรัพย์สินที่อยู่ในประเทศไทยหมายถึง
อะไร
ก. ทรัพย์แบ่งได้
ข. สังหาริมทรัพย์
ค. อสังหาริมทรัพย์
ง. สังหาริมทรัพย์และอสังหาริมทรัพย์
41. ข้อใดเป็นลักษณะของเงินได้พึงประเมิน
ก. เป็นเงิน
ข. เป็นทรัพย์สินที่สามารถคิดคานวณได้เป็นเงิน
ค. เป็นประโยชน์ที่สามารถคิดคานวณได้เป็นเงิน
ง. เป็นเงิน ทรัพย์สิน หรือประโยชน์ที่สามารถคิดคานวณได้เป็นเงิน
42. เงินได้พึงประเมินต้องถือเอายอดเงินใด
ก. ยอดเงินหลังหักค่าใช้จ่ายแล้ว
ข. ยอดเงินก่อนหักค่าใช้จ่ายใด ๆ
ค. ยอดเงินหลังหักค่าลดหย่อนแล้ว
ง. ยอดเงินหลังหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนแล้ว
43. ข้อใดที่ไม่ถือว่าเป็นเงินได้พึงประเมิน
ก. รถยนต์ที่ได้รับจากการชิงโชค
ข. ค่าเช่านาที่ได้รับเป็นข้าวเปลือก
ค. ใช้เครื่องสูบน้าสูบน้าเข้านาของตน
ง. การที่นายจ้างให้อยู่บ้านโดยไม่ต้องเสียค่าเช่า
44. ข้อใดเป็นเงินได้เนื่องจากหน้าที่หรือตาแหน่งงานที่ทาหรือจากการรับทางานให้
ก. บานาญ
ข. ค่ากู๊ดวิลล์
ค. ค่าลิขสิทธิ์
ง. ค่านายหน้า
45. ข้อใดเป็นเงินได้จากวิชาชีพอิสระ
ก. เงินได้จากการทาเกษตรกรรม
ข. เงินได้จากการทากิจการขนส่ง
ค. เงินได้จากการประกอบโรคศิลปะ
ง. เงินได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องจัดหาสัมภาระมาด้วย
46. ข้อใดไม่ใช่เงินได้จากวิชาชีพอิสระ
ก. เงินได้จากการดัดผม
ข. เงินได้จากการว่าความ
ค. เงินได้จากการตรวจสอบบัญชี
ง. เงินได้จากการรักษาโรคของนายแพทย์
47. ข้อใดเป็นวิชาชีพอิสระ
ก. การบัญชี
ข. วิชากฎหมาย
ค. การประกอบโรคศิลปะ
ง. การบัญชี วิชากฎหมาย และการประกอบโรคศิลปะ
48. นายเขี ยวรับ เหมาก่อสร้า งบ้านให้กับ นายเหลืองในราคา 1,500,000 บาท โดยนายเขีย วเป็น ผู้จัดหา
สัมภาระต่าง ๆ มา เช่น อิฐ หิน ปูน ทราย กระเบื้อง เหล็ก ไม้ เช่นนี้ เงินค่ารับเหมาก่อสร้างที่นายเขียว
ได้รับเป็นเงินได้ประเภทใด
ก. เงินได้จากวิชาชีพอิสระ
ข. เงินได้จากการจ้างแรงงาน
ค. เงินได้จากหน้าที่หรือตาแหน่งงานที่ทา
ง. เงินได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องจัดหาสัมภาระมาด้วย
49. เงินได้จากการฟอกหนังเป็นเงินได้ประเภทใด
ก. เงินได้จากวิชาชีพอิสระ
ข. เงินได้จากการจ้างแรงงาน
ค. เงินได้จากการประกอบอุตสาหกรรม
ง. เงินได้จากหน้าที่หรือตาแหน่งงานที่ทา
50. เงินได้พึงประเมินข้อใดที่ได้รับการยกเว้นไม่ตอ้ งนาไปรวมคานวณเพื่อเสียภาษีเงินได้
ก. เงินปันผลของบริษัท
ข. ดอกเบี้ยธนาคารพาณิชย์
ค. เงินโบนัสที่จ่ายแก่ผู้ถือหุ้น
ง. ค่าสอบที่สถานศึกษาของทางราชการจ่ายให้
51. ข้อใดเป็นเงินได้ที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษี
ก. เงินได้จากการเป็นมัคคุเทศก์
ข. เงินได้ที่ได้รับจากการรับมรดก
ค. เงินได้จากการให้โดยเสน่หาเนื่องในพิธี
ง. เงินได้จากการอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยา
52. ข้อใดเป็นเงินได้ที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษี
ก. เบี้ยประชุมกรรมการ ก.พ.
ข. เบี้ยประชุมกรรมาธิการของรัฐสภา
ค. ค่าสอนที่ได้รับจากมหาวิทยาลัยเอกชน
ง. ค่าสอนที่ได้รับจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
53. นายแดงได้รับเงินได้ดังต่อไปนี้ ข้อใดที่ไม่ได้รบั ยกเว้นภาษี
ก. นายขาวจ่ายเงินค่าร้องเพลงให้แก่นายแดง 20,000 บาท
ข. นายม่วงหมิ่นประมาทนายแดง ต้องจ่ายค่าเสียหายให้นายแดง 10,000 บาท
ค. นายเหลืองขับรถยนต์ชนนายแดงบาดเจ็บต้องจ่ายเงินให้แก่นายแดง 30,000 บาท
ง. นายเขียวทาแจกันโบราณของนายแดงแตก ต้องจ่ายเงินให้นายแดง 50,000 บาท
54. นายสีเป็นชาวนามีเงินได้ดังต่อไปนี้ ข้อใดที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษี
ก. เงินได้จากการขายมะพร้าว
ข. เงินได้จากการขายน้าตาลปีบ
ค. เงินได้จากการขายข้าวอันเกิดจากกสิกรรมที่ตนได้ทาเอง
ง. เงินได้จากการขายข้าวที่ตนรับจากผู้อื่นมาขายอีกทอดหนึ่ง
55. ข้อใดต้องเสียภาษีเงินได้
ก. เงินได้จากการขายบุหรี่ของร้านขายส่ง
ข. เงินได้จากการขายบุหรี่ของร้านขายปลีก
ค. การโอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ให้บุตรบุญธรรมโดยไม่มีค่าตอบแทน
ง. การโอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ให้บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายโดยไม่มีค่าตอบแทน
56. นายจันทร์รับเหมาก่อสร้างบ้านให้แก่นายอังคารในราคา 500,000 บาท โดยนายจันทร์มิได้เป็นผู้จัดหา
สัมภาระมา คงมีเฉพาะเครื่องมือก่อสร้างเท่านั้น เช่นนี้ เงินค่าก่อสร้าง 500,000 บาทที่นายจันทร์ได้รับ
ถือเป็นเงินได้ประเภทใด
ก. เงินได้จากวิชาชีพอิสระ
ข. เงินได้จากการจ้างแรงงาน
ค. เงินได้จากการรับทางานให้
ง. เงินได้จากการรับเหมาที่ผู้รับเหมาต้องจัดหาสัมภาระมาด้วย
57. ข้อใดไม่เป็นเงินได้พึงประเมิน
ก. สูบน้าจากคลองเข้าสู่นาของตัวเอง
ข. ให้เช่าสวนโดยได้รับค่าเช่าเป็นผลไม้
ค. ให้เช่านาโดยได้รับค่าเช่าเป็นข้าวเปลือก
ง. ลูกจ้างได้อยู่บ้านของนายจ้างโดยไม่ต้องเสียค่าเช่า
58. เงินที่นาฝากธนาคาร เมื่อพิสูจน์ไม่ได้ว่าเป็นเงินได้ประเภทใด ถือว่าเป็นเงินได้ประเภทใด
ก. เงินได้จากวิชาชีพอิสระ
ข. เงินได้จากการจ้างแรงงาน
ค. เงินได้จากการประกอบธุรกิจ
ง. เงินได้จากหน้าที่หรือตาแหน่งงานที่ทา
59. ข้อใดเป็นเงินได้ที่ไม่ได้รับยกเว้นภาษี
ก. บานาญพิเศษ
ข. บาเหน็จพิเศษ
ค. บานาญธรรมดา
ง. บาเหน็จตกทอด
60. ในปัจจุบันประเทศไทยยังมิได้ทาอนุสัญญาว่าด้วยการเว้นการเก็บภาษีซ้อนกับประเทศใด
ก. มอริเชียส
ข. ฮังการี
ค. อังกฤษและไอร์แลนด์เหนือ
ง. โมนาโก
61. เงินได้สุทธิได้มาจากอะไร
ก. เงินได้พงึ ประเมิน-ค่าใช้จ่าย-ค่าลดหย่อน
ข. ค่าใช้จ่าย-เงินได้พึงประเมิน-ค่าลดหย่อน
ค. ค่าลดหย่อน-เงินได้พึงประเมิน-ค่าใช้จ่าย
ง. เงินได้พงึ ประเมิน+ค่าใช้จ่าย+ค่าลดหย่อน
62. การหักค่าใช้จ่ายส่วนตัวของผู้มีเงินได้อันไม่เกี่ยวกับการหาเงินได้ เรียกว่าการหักอะไร
ก. กาไร
ข. ค่าใช้จ่าย
ค. ค่าลดหย่อน
ง. เงินได้พงึ ประเมิน
63. การหักค่าใช้จ่ายอันเป็นเหตุที่มาแห่งเงินได้ หรือค่าใช้จ่ายที่ผู้มีเงินได้ต้องใช้ไปเพื่อประโยชน์ในการ
หาเงินได้ เรียกว่าการหักอะไร
ก. กาไร
ข. ค่าใช้จ่าย
ค. ค่าลดหย่อน
ง. เงินได้พงึ ประเมิน
64. การหักค่าใช้จ่ายตามจานวนที่จ่ายไปจริงเพื่อการได้มาซึ่งเงินได้ เรียกว่าอะไร
ก. การหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมา
ข. การหักค่าใช้จ่ายตามความจาเป็นและสมควร
ค. การหักค่าใช้จ่ายเป็นร้อยละของเงินได้พงึ ประเมิน
ง. การหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมาและการหักค่าใช้จ่ายตามความจาเป็นและสมควร
65. นายดาและนางแดงสามีภรรยาทางานที่บริษัทแห่งหนึ่ง นายดาได้รับเงินเดือนทั้งปีเป็นเงิน 300,000
บาท นางแดงได้รับเงินเดือนทั้งปีเป็นเงิน 140,000 บาท นายดาและนางแดงจะหักค่าใช้จ่ายได้เท่ าไร
ก. นายดาและนางแดงรวมกันได้ 176,000 บาท
ข. นายดา 120,000 บาท นางแดง 56,000 บาท
ค. นายดา 56,000 บาท นางแดง 60,000 บาท
ง. นายดา 60,000 บาท นางแดง 56,000 บาท
66. เงินได้ที่เป็นค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าสิทธิ กฎหมายให้หักค่าใช้จ่ายได้เท่าไร
ก. ร้อยละ 20
ข. ร้อยละ 30
ค. หักค่าใช้จ่ายไม่ได้
ง. หักค่าใช้จ่ายได้ตามความจาเป็นและสมควร
67. ผู้มีเงินได้จะหักลดหย่อนสาหรับตัวเองได้เท่าไร
ก. 30,000 บาท
ข. 40,000 บาท
ค. 50,000 บาท
ง. 60,000 บาท
68. ผู้มีเงินได้จะหักลดหย่อนสาหรับสามีหรือภรรยาของตนที่ไม่มีเงินได้ได้เท่าไร
ก. 30,000 บาท
ข. 40,000 บาท
ค. 50,000 บาท
ง. 60,000 บาท
69. เงิ นได้จ ากการแสดงของนั กแสดงละคร ภาพยนตร์ วิ ทยุ หรื อโทรทั ศน์ นัก ร้อ ง นัก ดนตรี นั กกี ฬ า
อาชีพ หรือนักแสดงเพื่อความบันเทิงใด ๆ หักค่าใช้จ่ายรวมกันแล้วต้องไม่เกินเท่าไร
ก. 400,000 บาท
ข. 500,000 บาท
ค. 600,000 บาท
ง. 700,000 บาท
70. นายแดงมีบุตร 1 คน อายุ 2 ปี ยังไม่ได้เข้าเรียนในโรงเรียน นายแดงจะหักค่าลดหย่อนสาหรับบุตรคนนี้ได้
เท่าไร
ก. 15,000 บาท
ข. 16,000 บาท
ค. 17,000 บาท
ง. 18,000 บาท
71. บุตรในข้อใดที่บิดาหรือมารดามีสิทธิหักลดหย่อนได้
ก. บุตรอายุ 2 ปี ยังไม่ได้เรียนหนังสือ
ข. บุตรอายุ 12 ปี เรียนอยู่ชั้นมัธยมศึกษา
ค. บุตรอายุ 26 ปี เป็นคนไร้ความสามารถซึ่งบิดามารดาต้องเลี้ยงดูอยู่
ง. หักลดหย่อนได้ทุกข้อ
72. นายเขียวมีบุตรดังนี้คือ บุตรคนที่ 1 เกิด พ.ศ. 2532 บุตรคนที่ 2 เกิด พ.ศ. 2534 บุตรคนที่ 3 เกิด
พ.ศ. 2545 บุตรคนที่ 4 เกิด พ.ศ. 2547 เช่นนี้นายเขียวจะหักลดหย่อนสาหรับบุตรคนใดได้บ้าง
ก. บุตรคนที่ 1
ข. บุตรคนที่ 2
ค. บุตรคนที่ 3
ง. บุตรคนที่ 4
73. หักค่าลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาของผู้มีเงินได้ได้คนละเท่าใด
ก. 10,000 บาท
ข. 20,000 บาท
ค. 30,000 บาท
ง. 40,000 บาท
74. นายฟ้าคนไทยแต่อยู่ในประเทศอังกฤษ มีเงินได้จากทรัพย์สินในประเทศไทย คือมีบ้านให้เช่าที่กรุงเทพฯ
นายฟ้าจะหักลดหย่อนสาหรับตนเองได้เท่าไร
ก. 30,000 บาท
ข. 40,000 บาท
ค. 50,000 บาท
ง. 60,000 บาท
75. ถ้าผู้มีเงินได้ถึงแก่ความตายในระหว่างปีภาษี จะหักค่าลดหย่อนได้หรือไม่
ก. หักลดหย่อนไม่ได้เลย
ข. หักลดหย่อนได้เพียงครึ่งเดียว
ค. หักได้เสมือนผู้ตายยังมีชีวิตอยู่ตลอดปีภาษี
ง. หักได้เฉพาะสามีภรรยาหรือบุตรที่ยังมีชีวิตอยู่
76. การหักลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตของผู้มีเงินได้เอง หักได้เท่าจานวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินเท่าไร
ก. 10,000 บาท
ข. 20,000 บาท
ค. 40,000 บาท
ง. 50,000 บาท
77. การที่จะหักลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตได้นั้น ต้องเป็นการประกันชีวิตของผู้ใด
ก. ผู้มีเงินได้
ข. สามีของผู้มีเงินได้
ค. ภรรยาของผู้มีเงินได้
ง. ผู้มีเงินได้ หรือสามีภรรยาของผู้มีเงินได้
78. สามีประกันชีวิตให้ภรรยา แต่ภรรยาไม่มีเงินได้ สามีจะหักลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตสาหรับภรรยาได้เป็น
เงินไม่เกินเท่าไร
ก. 10,000 บาท
ข. 20,000 บาท
ค. 40,000 บาท
ง. 50,000 บาท
79. การที่จะหักลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตได้นั้น ต้องเป็นการเอาประกันชีวิตไว้กับผู้รับประกันภัย
ที่ประกอบกิจการประกันชีวิต ณ ที่ใด
ก. ในราชอาณาจักร
ข. นอกราชอาณาจักร
ค. ในยุโรปและอเมริกา
ง. ในราชอาณาจักรหรือนอกราชอาณาจักรก็ได้
80. เบี้ยประกันภัยที่สามารถหักลดหย่อนได้ต้องเป็นเบี้ยประกันภัยสาหรับอะไร
ก. การประกันชีวิต
ข. การประกันอัคคีภัย
ค. การประกันอุทกภัย
ง. การประกันภัยจากแผ่นดินไหว
81. เงินสะสมที่จ่ายเข้ากองทุนสารองเลี้ยงชีพ หักลดหย่อนได้ตามจานวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินเท่าไร
ก. 7,000 บาท
ข. 8,000 บาท
ค. 9,000 บาท
ง. 10,000 บาท
82. กองทุนสารองเลี้ยงชีพ หมายถึงกองทุนซึ่งใครจัดตั้งขึ้น
ก. ลูกจ้างจัดตั้งขึ้น
ข. นายจ้างจัดตั้งขึ้น
ค. ลูกจ้างหรือนายจ้างจัดตั้งขึ้นก็ได้
ง. ลูกจ้างและนายจ้างร่วมกันจัดตั้งขึ้น
83. ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมที่อยู่ในเกณฑ์จะนาไปหักลดหย่อนในการคานวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา หักได้ตาม
จานวนที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินเท่าไร
ก. 50,000 บาท
ข. 100,000 บาท
ค. 150,000 บาท
ง. 200,000 บาท
84. กรณีใดที่จะหักลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมไม่ได้
ก. การเช่าซื้ออาคารจากการเคหะแห่งชาติ
ข. การกู้ยืมเงินจากธนาคารมาเพื่อเช่าซื้ออาคาร
ค. การกู้ยืมเงินจากธนาคารมาเพื่อซื้ออาคารหรือห้องชุด
ง. การกู้ยืมเงินจากธนาคารมาเพื่อปลูกสร้างอาคารบนที่ดินของตน
85. การกู้ยืมเงินจากผู้ใดที่จะนามาหักลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมไม่ได้
ก. สหกรณ์
ข. สมาคม
ค. ธนาคาร
ง. บริษัทประกันชีวิต
86. ผู้ที่มีสิทธิหักลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมได้ จะต้องมีอาคารหรือห้องชุดเป็นที่อยู่อาศัยแหล่งสาคัญกี่แห่ง
ก. 1 แห่ง
ข. 2 แห่ง
ค. 3 แห่ง
ง. กี่แห่งก็ได้
87. การหักลดหย่อนเงินบริจาค ให้หักได้เท่าจานวนที่บริจาคแต่ต้องไม่เกินร้อยละเท่าใดของเงินที่เหลือจาก
การหักทุก ๆ อย่างแล้ว
ก. ร้อยละ 5
ข. ร้อยละ 10
ค. ร้อยละ 20
ง. ร้อยละ 30
88. บริจาคอะไรบ้างที่จะหักลดหย่อนเงินบริจาคได้
ก. บริจาคเงิน
ข. บริจาคที่ดิน
ค. บริจาคสิ่งของ
ง. บริจาคเงินหรือสิ่งของก็ได้
89. บริจาคเงินให้กับที่ใดจึงจะหักลดหย่อนเงินบริจาคไม่ได้
ก. วัดวาอาราม
ข. สภากาชาดไทย
ค. โรงพยาบาลตารวจ
ง. โรงพยาบาลกล้วยน้าไท
90. หักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพได้คนละเท่าไร
ก. 30,000 บาท
ข. 60,000 บาท
ค. 90,000 บาท
ง. 120,000 บาท
91. กฎหมายให้มีการยกเว้นภาษีเงินได้แก่ผู้มีหน้าที่เสียภาษี เฉพาะเศษของบาทจากการคานวณภาษีเพื่อ
อะไร
ก. เพื่อความสะดวกแก่ผู้เสียภาษี
ข. เพื่อความสะดวกแก่กรมสรรพากร
ค. เพื่อความสะดวกในการใช้เครื่องสมองกล
ง. เพื่อความสะดวกแก่ผู้เสียภาษีและการใช้เครื่องสมองกล
92. ให้ยกเว้นภาษี เงินได้บุคคลธรรมดา สาหรับเงินได้สุ ทธิจากการค านวณภาษีเงิ นได้ เฉพาะส่วนที่
ไม่เกินกี่บาทแรกสาหรับปีภาษีนั้น
ก. 100,000 บาท
ข. 150,000 บาท
ค. 300,000 บาท
ง. 500,000 บาท
93. ในปี พ.ศ. 2556 นายอาทิตย์ทางานที่บริษัทแห่งหนึ่งได้เงินเดือน ๆ ละ 25,000 บาท นางจันทร์ภรรยา
ของนายอาทิตย์รับราชการได้เงินเดือน ๆ ละ 19,400 บาท นายอาทิตย์และนางจันทร์มีบุตรผู้เยาว์ 3 คนซึ่ง
กาลังเรียนหนังสืออยู่ในสถานศึกษาของทางราชการทั้งหมด นายอาทิตย์ต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดาของตนซึ่งอายุ
เกิน 60 ปี ได้จ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนสารองเลี้ยงชีพในอัตราร้อยละ 3 ของเงินเดือนที่ได้รับ ได้จ่ายดอกเบี้ย
เงินกู้ยืมให้แก่ธนาคารเป็นเงิน 12,000 บาท สาหรับการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อบ้านอยู่อาศัยโดยจานองบ้านที่ซื้อเป็น
ประกันการกู้ยืม และได้บริจาคเงินให้โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์เป็นเงิน 15,000 บาท เช่นนี้ นายอาทิตย์จะหัก
ค่าใช้จ่ายสาหรับตนเองได้เป็นเงินเท่าไร
ก. 40,000 บาท
ข. 50,000 บาท
ค. 60,000 บาท
ง. 70,000 บาท
94. ในกรณีตามข้อ 3. นางจันทร์จะหักค่าใช้จ่ายสาหรับตนเองได้เป็นเงินเท่าไร
ก. 40,000 บาท
ข. 50,000 บาท
ค. 60,000 บาท
ง. 70,000 บาท
95. ในกรณี ต ามข้ อ 3. เงิ น ได้ ห ลั ง จากหั ก ค่ า ใช้ จ่ า ยของนายอาทิ ต ย์ แ ละนางจั น ทร์ เ ป็ น เงิ น รวมทั้ ง สิ้ น
เท่าไร
ก. 392,800 บาท
ข. 402,800 บาท
ค. 412,800 บาท
ง. 422,800 บาท
96. ในกรณีตามข้อ 3. นายอาทิตย์หักลดหย่อนสาหรับตัวเอง ภรรยา บุตร การศึกษาของบุตรและค่าอุปการะ
เลี้ยงดูบิดาของตนได้เป็นเงินรวมทั้งสิ้นเท่าไร
ก. 111,000 บาท
ข. 121,000 บาท
ค. 131,000 บาท
ง. 141,000 บาท
97. ในกรณีตามข้อ 3. นายอาทิตย์หักลดหย่อนเงินสะสมเข้ากองทุนสารองเลี้ยงชีพได้เป็นเงินเท่าไร
ก. 7,000 บาท
ข. 8,000 บาท
ค. 9,000 บาท
ง. 10,000 บาท
98. ในกรณีตามข้อ 3. นายอาทิตย์หักลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมได้เป็นเงินเท่าไร
ก. 5,000 บาท
ข. 10,000 บาท
ค. 12,000 บาท
ง. 15,000 บาท
99. ในกรณีตามข้อ 3. นายอาทิตย์หักลดหย่อนเงินบริจาคได้เป็นเงินเท่าไร
ก. 12,000 บาท
ข. 13,000 บาท
ค. 14,000 บาท
ง. 15,000 บาท
100. ในกรณีตามข้อ 3. เงินได้สุทธิเท่ากับเท่าไร
ก. 225,800 บาท
ข. 235,800 บาท
ค. 245,800 บาท
ง. 255,800 บาท
101. ในกรณีตามข้อ 3. นายอาทิตย์และนางจันทร์ต้องเสียภาษีรวมกันเป็นเงินเท่าไร (สามีภรรยาต่างฝ่าย
ต่างเสียภาษี หรือตกลงเสียภาษีรวมกันก็ได้ ตามมาตรา 57 ฉ แห่งประมวลรัษฎากร)
ก. 3,290 บาท
ข. 4,290 บาท
ค. 5,290 บาท
ง. 6,290 บาท
102. ในปี พ.ศ. 2556 นายสุข คนโสด มีเงินได้จากการออกแบบแปลนอาคารเป็นเงิน 300,000 บาท
นายสุขจะหักค่าใช้จ่ายได้เป็นเงินเท่าไร
ก. 80,000 บาท
ข. 90,000 บาท
ค. 100,000 บาท
ง. 110,000 บาท
103. ในปี พ.ศ. 2556 นายแพทย์เดชา คนโสด มีร ายได้จากการรักษาโรคที่คลินิ กของตนเองเป็นเงิ น
4,000,000 บาท นายแพทย์เดชาจะหักค่าใช้จ่ายได้เป็นเงินเท่าไร
ก. 2,400,000 บาท
ข. 2,500,000 บาท
ค. 2,600,000 บาท
ง. 2,700,000 บาท
104. ในปี พ.ศ. 2556 นายกิจ คนโสด มีรายได้จากการรับเหมาก่อสร้างที่ตนเป็นผู้จัดหาสัมภาระมาเอง
เป็นเงิน 700,000 บาท นายกิจจะหักค่าใช้จ่ายได้เป็นเงินเท่าไร
ก. 480,000 บาท
ข. 490,000 บาท
ค. 500,000 บาท
ง. 510,000 บาท
105. นางสาวดวงฤทัย คนโสด เป็นดาราภาพยนตร์ มีรายได้จากการแสดงภาพยนตร์ในปี พ.ศ. 2556 เป็น
เงิน 800,000 บาท และต้องอุปการะบิดาซึ่งพิการโดยมีบัตรประจาตัวคนพิการ นางสาวดวงฤทัยจะหัก
ค่าใช้จ่ายได้เป็นเงินรวมทั้งสิ้นเท่าไร
ก. 360,000 บาท
ข. 370,000 บาท
ค. 380,000 บาท
ง. 390,000 บาท
106. การขายที่ดินโดยมุ่งในทางการค้าหากาไรจะหักค่าใช้จ่ายได้อย่างไร
ก. หักค่าใช้จ่ายได้เป็นการเหมา
ข. กฎหมายไม่ยอมให้หักค่าใช้จ่ายเลย
ค. หักค่าใช้จ่ายได้ตามความจาเป็นและสมควร
ง. หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมา หรือหักตามความจาเป็นและสมควรก็ได้
107. นายอังคารขายที่ดินพร้อมทั้งบ้านซึ่งเป็นมรดกที่ได้รับมาเมื่อ 5 ปีที่แล้ว ได้เงินเป็นจานวน 800,000
บาท ที่ดินดังกล่าวตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ นายอังคารจะหักค่าใช้จ่ายได้ร้อยละเท่าใดของราคาขาย
ก. 20
ข. 30
ค. 40
ง. 50
108. นายชวนขายที่นานอกเขตเทศบาลซึ่งบิดายกให้เมื่อ 5 ปีที่แล้วจานวน 10 ไร่ ได้เงินมา 600,000
บาท นายชวนต้องเสียภาษีเป็นเงินเท่าไร
ก. 9,000 บาท
ข. 10,000 บาท
ค. 11,000 บาท
ง. 12,000 บาท
109. กฎหมายให้ยกเว้นภาษีเงินได้จากการโอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ให้แก่ผู้ใดโดยไม่มีค่าตอบแทน
ก. บุตรบุญธรรม
ข. บุคคลภายนอก
ค. บุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย
ง. บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายและบุตรบุญธรรม
110. การโอนโดยทางมรดกซึ่งกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ให้แก่ใครจึงจะไม่เสียภาษีเงินได้
ก. บุคคลภายนอก
ข. ทายาทโดยธรรม
ค. ทายาทโดยพินัยกรรม
ง. ทายาทโดยธรรมหรือทายาทโดยพินัยกรรม
111. ธนาคารกรุงเทพ จ่ายดอกเบี้ยเงินฝากประจา 12 เดือน ให้แก่นายเขียว 20,000 บาท ธนาคาร
จะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายเป็นเงินเท่าไร
ก. 2,000 บาท
ข. 3,000 บาท
ค. 4,000 บาท
ง. 5,000 บาท
112. นายฉลาดอาศัยอยู่ในประเทศไทย ได้รับเงินปันผลจากบริษัทกิจมั่นคงจากัด 500,000 บาท นายฉลาด
จะต้องถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายเป็นเงินเท่าไร
ก. 25,000 บาท
ข. 50,000 บาท
ค. 75,000 บาท
ง. 100,000 บาท
113. การยกเว้นภาษีเงินได้จากการขายอสัง หาริมทรัพย์ที่ตั้ง อยู่นอกเขตกรุง เทพฯ เทศบาล หรือเมือ ง
พัทยานั้นยกเว้นให้แก่ใคร
ก. บริษัทจากัด
ข. บุคคลธรรมดา
ค. กิจการร่วมค้า
ง. ห้างหุ้นส่วนจากัด
114. ในกรณีเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 1 และ 2 เป็นเงินที่นายจ้างจ่ายให้ครั้งเดียวเพราะเหตุออกจาก
งาน ให้หักค่าใช้จ่ายเป็นจานวนเท่ากับเท่าไรคูณด้วยจานวนปีที่ทางานแต่ไม่เกินเงินได้พึงประเมิน
ก. 4,000 บาท
ข. 5,000 บาท
ค. 6,000 บาท
ง. 7,000 บาท
115. จากข้อ 114. เมื่อหักค่าใช้จ่ายขั้นแรกแล้วเหลือเท่ าใด ให้หักค่าใช้จ่ายได้อีกร้อยละเท่าใดของเงินที่
เหลือนั้น
ก. 30
ข. 40
ค. 50
ง. 60
116. นายเขียวได้รับเงินบาเหน็จเมื่อออกจากงานเป็นเงิน 200,000 บาท มีจานวนปีที่ทางาน 10 ปี นาย
เขียวได้รับเงินเดือน ๆ สุดท้ายเป็นเงิน 20,000 บาท ค่าใช้จ่ายที่กฎหมายยอมให้นายเขียวหักได้ทั้งสิ้น
เป็นเงินเท่าไร
ก. 115,000 บาท
ข. 125,000 บาท
ค. 135,000 บาท
ง. 145,000 บาท
117. จากข้อ 116. นายเขียวต้องเสียภาษีเป็นเงินทั้งสิ้นเท่าไร
ก. 3,150 บาท
ข. 3,250 บาท
ค. 3,350 บาท
ง. 3,450 บาท
118. ในปี พ.ศ. 2556 นายวินัย คนโสด อายุ 65 ปี และเป็นผู้อยู่ในประเทศไทย ได้รับเงินบานาญเดือนละ
37,000 บาท นายวินัยจะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ที่ผู้มีเงินได้ซึ่งเป็นผู้อยู่ในประเทศไทย และมีอายุไม่ต่ากว่า
65 ปีบริบูรณ์ในปีภาษีที่ได้รับเฉพาะส่วนที่ไม่เกินกี่บาท
ก. 100,000 บาท
ข. 130,000 บาท
ค. 160,000 บาท
ง. 190,000 บาท
119. จากข้อ 118. นายวินัยหักค่าใช้จ่ายได้เป็นเงินเท่าไร
ก. 40,000 บาท
ข. 50,000 บาท
ค. 60,000 บาท
ง. 101,600 บาท
120. จากข้อ 118. เงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายแล้ว เป็นเงินเท่าไร
ก. 164,000 บาท
ข. 174,000 บาท
ค. 184,000 บาท
ง. 194,000 บาท
ตอนที่ 2 ให้แสดงวิธีทาให้ถูกต้อง
1. นายสมชายรับราชการระหว่างเดือนมกราคม 2556 ถึงเดือนมีนาคม 2556 ได้เงินเดือน ๆ ละ 31,950
บาท ระหว่างเดือนเมษายน 2556 ถึงเดือนกันยายน 2556 ได้เงินเดือน ๆ ละ 32,630 บาท และระหว่าง
เดือนตุลาคม 2556 ถึงเดือนธันวาคม 2556 ได้เงินเดือน ๆ ละ 33,990 บาท ได้จ่ายเงินสะสมเข้ากองทุน
บาเหน็จบานาญข้าราชการเป็นเงินร้อยละ 3 ของเงินเดือนที่ได้รับ นายสมชายมีภรรยาซึ่งไม่มีเงินได้และบุตร
ผู้เยาว์ 2 คน ซึ่งกาลังเรียนหนังสืออยู่ในชั้นประถมศึกษา และต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดาของตนซึ่งอายุ
เกิน 60 ปี ให้คานวณภาษีที่นายสมชายจะต้องเสีย ตอบ 889.60 บาท

2. ในปี พ.ศ. 2556 นายเขียวทางานที่บริษัทแห่งหนึ่งได้เงินเดือน ๆ ละ 40,000 บาท นายเขียวมี


ภรรยาจดทะเบียนตามกฎหมาย และบุตรผู้เยาว์ 1 คน ซึ่งกาลังเรียนอยู่ในโรงเรียนมัธยมศึกษาของรัฐบาล
ตลอดปีภรรยาและบุตรของนายเขียวไม่มีเงินได้แต่อย่างใด นายเขียวต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดาและมารดาของ
ตนซึ่งอายุเกิน 60 ปี ได้เอาประกันชีวิตไว้กับบริษัทประกันชีวิตศรีอยุธยา จากัด มีกาหนดระยะเวลา 15 ปี
ได้จ่ายเบี้ยประกันชีวิตไปในปี พ.ศ. 2556 เป็นเงิน 25,000 บาท ได้จ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนสารองเลี้ยงชีพ
เป็นเงินร้อยละ 3 ของค่าจ้าง ได้จ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ยืมให้แก่ธนาคารเป็นเงิน 25,000 บาท สาหรับการกู้ยืมเงิน
เพื่อซื้อบ้านอยู่อาศัย โดยจานองบ้านที่ซื้อเป็นประกันการกู้ยืม ได้จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมเป็น
เงินร้อยละ 5 ของค่าจ้าง และได้บริจาคเงินให้กับมูลนิธิสายใจไทยเป็นเงิน 50,000 บาท ให้คานวณภาษีที่
นายเขียวจะต้องเสีย (ค่าจ้างที่ใช้เป็นฐานในการคานวณเงินสมทบของผู้ประกันตนกาหนดเป็นจานวนไม่ต่ากว่า
เดือนละ 1,650 บาท และไม่เกินเดือนละ 15,000 บาท) ตอบ 1,932 บาท

3. ในปี พ.ศ. 2556 นายแดงทางานที่บริษัทแห่งหนึ่งได้เงินเดือน ๆ ละ 50,000 บาท นางดาภรรยา


ของนายแดงรับราชการได้เงินเดือน ๆ ละ 24,000 บาท นายแดงและนางดามีบุตรผู้เยาว์ 1 คน ซึ่งกาลังเรียน
หนังสืออยู่ในสถานศึกษาของทางราชการ นายแดงต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดาและมารดาของตนซึ่งอายุเกิน 60
ปี ได้เอาประกันชีวิตไว้กับบริษัทเมืองไทยประกันชีวิต จากัด มีกาหนดระยะเวลา 15 ปี ได้จ่ายเบี้ยประกันชีวิต
ไปในปี พ.ศ. 2556 เป็นเงิน 30,000 บาท ได้จ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนสารองเลี้ยงชีพเป็นเงินร้อยละ 3 ของ
ค่าจ้าง ได้จ่ายดอกเบี้ยเงินกู้ยืมให้แก่ธนาคารเป็นเงิน 30,000 บาทสาหรับการกู้ยืมเงินเพื่อซื้อบ้านอยู่อาศัย
โดยจานองบ้านที่ซื้อเป็นการประกันการกู้ยืม ได้จา่ ยเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมเป็นเงินร้อยละ 5 ของ
ค่าจ้าง และได้บริจาคเงินให้มูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ เป็นเงิน 40,000 บาท ให้คานวณภาษีที่นายแดง
และนางดาจะต้องเสียรวมกัน (ค่าจ้างที่ใช้เป็นฐานในการคานวณเงินสมทบของผู้ประกันตน กาหนดเป็น
จานวนไม่ต่ากว่าเดือนละ 1,650 บาทและไม่เกินเดือนละ 15,000 บาท) (สามีภรรยาต่างฝ่ายต่างเสียภาษี
หรือตกลงเสียภาษีรวมกันก็ได้ ตามมาตรา 57 ฉ แห่งประมวลรัษฎากร) ตอบ 28,100 บาท
4. ในปี พ.ศ. 2556 นายเดชา คนโสด แต่ต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดาและมารดาของตนซึ่งอายุเกิน 60
ปี นายเดชาได้รับเงินปันผลจากบริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยเป็นเงิน 1,400,000 บาท ถูกหักภาษี ณ ที่
จ่ายไว้แล้ว 140,000 บาท บริษัทที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทยดังกล่าวต้องเสียภาษีจากกาไรสุทธิในอัตราร้อย
ละ 30 ให้คานวณภาษีที่นายเดชาจะต้องเสีย หรือได้รับคืน ตอบ ได้คืนภาษี 397,500 บาท

5. ในปี พ.ศ. 2556 นายเจริญ คนโสด แต่ต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดาและมารดาของตนซึ่งอายุเกิน 60


ปี มีเงินได้จากค่าลิขสิทธิ์เป็นเงิน 300,000 บาท จากการให้เช่าบ้านเป็นเงิน 100,000 บาท จากการ
ออกแบบแปลนอาคารเป็นเงิน 200,000 บาท จากการรับเหมาก่อสร้างที่นายเจริญเป็นผู้จัดหาสัมภาระมา
เองเป็นเงิน 600,000 บาท ให้คานวณภาษีที่นายเจริญจะต้องเสีย ตอบ 33,500 บาท

6. ในปี พ.ศ. 2556 นางสาววาสนา คนโสด ต้องอุปการะเลี้ยงดูบิดาและมารดาของตนซึ่งอายุเกิน


60 ปี และบิดาของนางสาววาสนายังเป็นคนพิการ มีบัตรประจาตัวคนพิการ ซึ่งอยู่ในความอุปการะของ
นางสาววาสนา นางสาววาสนามีเงินได้จากการแสดงภาพยนตร์เป็นเงิน 1,500,000 บาท ให้คานวณภาษีที่
นางสาววาสนาจะต้องเสีย ตอบ 65,000 บาท

You might also like