การเขียนโครงร่างวิจัย2

You might also like

Download as docx, pdf, or txt
Download as docx, pdf, or txt
You are on page 1of 31

รายงานการวิจัย

(Research Proposal)

เรื่อง

การพัฒนากระบวนการที่มีประสิทธิผลในการจัดการความรู้
โครงการในอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย( Development of
Effective Process in Managing Project Knowledge in
Thai Construction Industry)

โดย

นรุตม์ สุตตะระ
เสนอต่อมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช เพื่อเป็ นส่วนหนึ่ง
ของการศึกษา
ตามหลักสูตรอุตสาหกรรมบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีโยธา คณะ
เทคโนโลยีอุตสาหกรรม
ปี การศึกษา 2565
ชื่อรายงานการวิจัย : การพัฒนากระบวนการที่มี
ประสิทธิผลในการจัดการความรู้โครงการในอุตสาหกรรม
ก่อสร้างไทย
ชื่อผู้วิจัย : นาย นรุตม์ สุตตะระ
ปี ที่ทำการวิจัย : 2566

บทคัดย่อ
ปั จจุบันความรู้ (Knowledge) เป็ นสินทรัพย์ที่มีความสำคัญมากใน
องค์กรถ้าองค์กรสามารถรวบรวมองค์ความรู้ทั้งเก่าและใหม่อย่าง
เป็ นระบบถ่ายทอดและแบ่งปั นกันระหว่างคนในองค์กรเพื่อที่จะนํา
ไปใช้และขยายผลให้เกิดประโยชน์สูงสุดจะเป็ นการเพิ่มศักยภาพใน
การแข่งขันและพัฒนาองค์กรสู่ความเป็ นเลิศได้

การจัดการความรู้ (Knowledge Management) หรือเรียกย่อๆว่า


KM เป็ นกระบวนหรือระบบ แลกเปลี่ยนความรู้กันระหว่างบางสิ่ง
บางอย่างกับบางคนไม่ว่าจะทำให้เกิดมาตรฐานการทำงาน หรือ
ทำให้บุคคลใดหรือองค์กรใดมีขีดความความสามารถที่แตกต่างกัน
หรือมีประสิทธิภาพมากขึ้น (Peter F.Duckker, 2003) โดยเฉพาะ
เพื่อแก้ปั ญหาในการดําเนินงาน KM เป็ นแนวคิดในการบริหาร
องค์กร แบบใหม่สามารถนําความรู้ในองค์กรมาใช้ได้อย่างมี
ประสิทธิภาพและเป็ นกลไกสำคัญอย่างหนึ่งที่จะพัฒนาไปเป็ น
องค์กรการเรียนรู้อย่างแท้จริงในอนาคต
โครงการก่อสร้างเป็ นโครงการที่ต้องใช้งบประมาณในการลงทุนสูง
สำาหรับหน่วยงานทุกภาคส่วนตลอดจนมีอายุการใช้งานที่ค่อนข้าง
ยาวนานกว่า 30 ปี และอาจถึง 100 ปี สำหรับโครงสร้างพื้นฐาน
ขนาดใหญ่บางประเภท ดังนั้นความสามารถในการออกแบบ
ก่อสร้างโครงการก่อสร้างให้ตอบสนองต่อความต้องการอย่าง
แท้จริงโดยใช้ทรัพยากรไม่ว่าจะเป็ นวัสดุ แรงงาน เครื่องจักรให้เกิด
ประสิทธิภาพสูงสุดจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งอีกทั้งปั จจุบันยังมี
ประเด็นในด้านการรักษาสิ่งแวดล้อมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย
จำเป็ นต้องมีการพัฒนาเทคโนโลยีทั้งในด้านวัสดุและเทคโนโลยีใน
การออกแบบก่อสร้างอย่างต่อเนื่องเพื่อให้สามารถแข่งขันกับบริษัท
ออกแบบก่อสร้างข้ามชาติซึ่งมีความพร้อมทั้งด้านเงินทุน และ
เทคโนโลยี ที่นับวันก็จะหลั่งไหลเข้ามาช่วงชิงส่วนแบ่งการตลาดใน
ประเทศและภูมิภาคอย่างรวดเร็วประสิทธิภาพในการใช้งานลดลง
จากที่คาดการณ์และเมื่อต้องซ่อมบํารุงหรือปรับแก้ก็จําต้องว่าจ้าง
บริษัทข้ามชาติเหล่านี้กลับมาอีกไม่สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่าง
แท้จริงตลอดไปการพัฒนาอุตสาหกรรมก่อสร้างมุ่งสู่การใช้วัสดุและ
เทคโนโลยีอย่างมีประสิทธิภาพตลอดจนพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ ไม่
ว่าจะเป็ นด้านวัสดุเครื่องจักรวิธีการก่อสร้างตลอดจนการจัดการ
ต่างๆเพื่อ ตอบสนองความต้องการในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน
จะเกิดขึ้นได้ต้องมีการจัดการความรู้อย่างเป็ นรูปธรรมหมายถึงการ
จัดเก็บองค์ความรู้ต่างๆที่เกิดขึ้นและเป็ นส่วนที่สร้างความแข็งแกร่ง
ให้กับองค์กรในการดำเนินการในโครงการก่อสร้างสำคัญๆอย่างมี
ประสิทธิภาพเพื่อให้สามารถนํากลับมาใช้ในการบำรุงรักษา
โครงการดังกล่าวตลอดจนนําไปใช้ประโยชน์ในโครงการอื่นต่อไปใน
อนาคต เนื่องจากการที่ องค์กรสามารถเปลี่ยนความรู้ที่มีอยู่ในตัว
ของวิศวกรหรือบุคลากร(Individual Knowledge)ให้กลายเป็ น
ความรู้ขององค์กร (Organizational Knowledge) และสามารถ
ถ่ายทอดให้กับบุคลากรอื่นๆในองค์กรได้นั้นจะทำให้องค์กรสามารถ
ดำรงอยู่ได้โดยไม่ต้องพึ่งพาบุคคลอื่นจากภายนอกองค์กร

สารบัญ
หน้

บทคัดย่อภาษาไทย
สารบัญ

บท บทนำ
ที่1 ความหมายและส่วนประกอบองความรู้
ประเภทของความรู้
วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
ขอบเขตของโครงการวิจัย

บท เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ที่2 การจัดการความรู้
การจัดการความรู้ในอุตสาหกรรมก่อสร้าง
การประมวลความรู้
กรอบแนวความคิดในการวิจัย
บท วิธีดำเนินการวิจัย
ที่3 แผนการวิจัย
สารบัญ (ต่อ)

หน้า

เอกสารและสิ่งอ้างอิง
บทที่1
บทนำ
ปั จจุบันความรู้ (Knowledge) เป็ นสินทรัพย์ที่มีความสำคัญ
มากในองค์กรถ้าองค์กรสามารถรวบรวมองค์ความรู้ทั้งเก่าและใหม่
อย่างเป็ นระบบถ่ายทอดและแบ่งปั นกันระหว่างคนในองค์กรเพื่อที่
จะนําไปใช้และขยายผลให้เกิดประโยชน์สูงสุดจะเป็ นการเพิ่ม
ศักยภาพในการแข่งขันและพัฒนาองค์กรสู่ความเป็ นเลิศได้
การจัดการความรู้ (Knowledge Management) หรือเรียก
ย่อๆว่า KM เป็ นกระบวนหรือระบบ แลกเปลี่ยนความรู้กันระหว่าง
บางสิ่งบางอย่างกับบางคนไม่ว่าจะทำให้เกิดมาตรฐานการทำงาน
หรือ ทำให้บุคคลใดหรือองค์กรใดมีขีดความความสามารถที่แตก
ต่างกันหรือมีประสิทธิภาพมากขึ้น (Peter F.Duckker, 2003) โดย
เฉพาะเพื่อแก้ปั ญหาในการดําเนินงาน KM เป็ นแนวคิดในการ
บริหารองค์กร แบบใหม่สามารถนําความรู้ในองค์กรมาใช้ได้อย่างมี
ประสิทธิภาพและเป็ นกลไกสำคัญอย่างหนึ่งที่จะพัฒนาไปเป็ น
องค์กรการเรียนรู้อย่างแท้จริงในอนาคตโครงการก่อสร้างเป็ น
โครงการที่ต้องใช้งบประมาณในการลงทุนสูงสำาหรับหน่วยงานทุก
ภาคส่วนตลอดจนมีอายุการใช้งานที่ค่อนข้างยาวนานกว่า 30 ปี
และอาจถึง 100 ปี สำหรับโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่บางประเภท
ดังนั้นความสามารถในการออกแบบก่อสร้างโครงการก่อสร้างให้
ตอบสนองต่อความต้องการอย่างแท้จริงโดยใช้ทรัพยากรไม่ว่าจะ
เป็ นวัสดุ แรงงาน เครื่องจักรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดจึงมีความ
สำคัญอย่างยิ่งอีกทั้งปั จจุบันยังมีประเด็นในด้านการรักษาสิ่ง
แวดล้อมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยจำเป็ นต้องมีการพัฒนา
เทคโนโลยีทั้งในด้านวัสดุและเทคโนโลยีในการออกแบบก่อสร้าง
อย่างต่อเนื่องเพื่อให้สามารถแข่งขันกับบริษัทออกแบบก่อสร้างข้าม
ชาติซึ่งมีความพร้อมทั้งด้านเงินทุน และเทคโนโลยี ที่นับวันก็จะหลั่ง
ไหลเข้ามาช่วงชิงส่วนแบ่งการตลาดในประเทศและภูมิภาคอย่าง
รวดเร็วประสิทธิภาพในการใช้งานลดลงจากที่คาดการณ์และเมื่อ
ต้องซ่อมบํารุงหรือปรับแก้ก็จําต้องว่าจ้างบริษัทข้ามชาติเหล่านี้กลับ
มาอีกไม่สามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างแท้จริงตลอดไปการพัฒนา
อุตสาหกรรมก่อสร้างมุ่งสู่การใช้วัสดุและเทคโนโลยีอย่างมี
ประสิทธิภาพตลอดจนพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็ นด้านวัสดุ
เครื่องจักรวิธีการก่อสร้างตลอดจนการจัดการต่างๆเพื่อ ตอบสนอง
ความต้องการในการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนจะเกิดขึ้นได้ต้องมี
การจัดการความรู้อย่างเป็ นรูปธรรมหมายถึงการจัดเก็บองค์ความรู้
ต่างๆที่เกิดขึ้นและเป็ นส่วนที่สร้างความแข็งแกร่งให้กับองค์กรใน
การดำเนินการในโครงการก่อสร้างสำคัญๆอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อ
ให้สามารถนํากลับมาใช้ในการบำรุงรักษาโครงการดังกล่าวตลอด
จนนําไปใช้ประโยชน์ในโครงการอื่นต่อไปในอนาคต เนื่องจากการที่
องค์กรสามารถเปลี่ยนความรู้ที่มีอยู่ในตัวของวิศวกรหรือ
บุคลากร(Individual Knowledge)ให้กลายเป็ นความรู้ขององค์กร
(Organizational Knowledge) และสามารถถ่ายทอดให้กับบุคลา
กรอื่นๆในองค์กรได้นั้นจะทำให้องค์กรสามารถดำรงอยู่ได้โดยไม่
ต้องพึ่งพาบุคคลอื่นจากภายนอกองค์กร
ความหมายความรู้และองค์ประกอบของความรู้
ความหมายของความรู้ Davenport and Prusak(1998) ได้
ให้นิยามความรู้ว่าความรู้คือส่วนผสมของกรอบประสบการณ์คุณค่า
สารสนเทศในเชิงบริบทและความเข้าใจอย่างลึกซึ้งของความชํา
นาญซึ่งได้เสนอกรอบการทำงานสำหรับการประเมินและรวบรวม
ประสบการณ์และสารสนเทศใหม่เข้าด้วยกัน ในองค์กรต่างๆ ความ
รู้ไม่ได้อยู่ในรูปเอกสารหรือในคลังความรู้เท่านั้น แต่ยังอยู่ในการ
ทำงานประจำ กระบวนการ วิธีการปฏิบัติ และบรรทัดฐานของ
องค์กรด้วย ความรู้เป็ นสารสนเทศที่แลกเปลี่ยนกัน ระหว่างบางสิ่ง
บางอย่างกับบางคน ไม่ว่าจะเพื่อทำให้เกิดมาตรฐานการทำงานหรือ
ทำให้บุคคลใดหรือ องค์กรใดมีขีดความสามารถที่แตกต่างหรือมี
ประสิทธิภาพมากขึ้น (Peter F.Drucker, 2003) สารสนเทศ เพียง
อย่างเดียวไม่เพียงพอที่จะทำให้เกิดความรู้ เราต้องเข้าใจวิธีที่ดีที่สุด
ในการใช้สารสนเทศเพื่อการ แก้ปั ญหาในการผลิตสินค้าหรือบริการ
(Kogut & Zander, 1992)ความรู้ต่างๆมีประโยชน์อย่างมากต่อ
องค์กร ก่อนที่จะเป็ นความรู้ได้นั้นมีส่วนต่างๆ ประกอบกัน ขึ้นเป็ น
ขั้นเป็ นระบบจนกลายเป็ นความรู้ Davenport and Prusak
(1998) ได้อธิบายความสัมพันธ์ ระหว่างข้อมูล (Data) สารสนเทศ
(Information) และความรู้ (Knowledge) สรุปรายละเอียดได้ดังนี้
ข้อมูล (Data) คือ กลุ่มของข้อเท็จจริงที่มีลักษณะไม่ต่อเนื่อง
หรือแยกกันโดยสิ้นเชิงของ เหตุการณ์ต่างๆ ในองค์กร มักอธิบาย
ข้อมูลในลักษณะการบันทึกโครงสร้างการดำเนินการขององค์กร
ข้อมูลที่ได้จะไม่มีการแปลความหมาย ไม่มีการหาความสัมพันธ์และ
ไม่มีการระบุวัตถุประสงค์ ตัวอย่างเช่น เมื่อลูกค้านํารถมาเติมเชื้อ
เพลิงที่สถานี ข้อมูลที่ได้จะเป็ นข้อมูลที่บอกจำนวนเชื้อเพลิงที่
ลูกค้าเดิม จำนวนเงินที่ลูกค้าจ่าย แต่ไม่สามารถบอกได้ว่าทําไม
ลูกค้าจึงมาใช้บริการที่สถานีนี้หรือ สามารถคาดการณ์ได้ว่าลูกค้าจะ
กลับมาใช้บริการอีกหรือไม่ สถานีบริการได้ดีหรือไม่ดี และไม่
สามารถ บอกได้ว่าสถานีนั้นประสบความสำเร็จหรือล้มเหลวในกา
รดําเนินงาน เป็ นต้น ในองค์กรที่ทันสมัย ข้อมูลต่างๆมักถูกเก็บใน
รูปแบบของเทคโนโลยีหรือระบบส่วนกลางขององค์กร การประเมิน
การจัดการ ข้อมูลสามารถพิจารณาได้ 2 ด้านคือ ด้านเชิงปริมาณ
จะถูกประเมินในรูปของต้นทุน (Cost) ความเร็ว (Speed) และ
ปริมาณความจุ (Capacity) และด้านคุณภาพมักถูกประเมินในรูป
ของเวลา (Timeliness) ความเกี่ยวข้องกัน (Relevance) ความ
ชัดเจน (Clarity)
สารสนเทศ (Information) คือ ข่าวสารที่อยู่ในรูปแบบของ
เอกสารหรือการสื่อสารที่สามารถ มองเห็นหรือได้ยินได้ ซึ่งมีความ
สำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงวิธีการรับรู้ในบางสิ่งและมีผลต่อการ
ตัดสินใจและพฤติกรรมของผู้รับข่าวสารเพราะสารสนเทศทำให้ผู้ที่
ได้รับนั้นมีทัศนคติและการเข้าใจที่ แตกต่างกัน เนื่องจาก
สารสนเทศเป็ นข่าวสารจึงต้องมีการคำนึงถึงการเคลื่อนย้ายของ
สารสนเทศใน องค์กรด้วย การประเมินการจัดการสารสนเทศจะ
พิจารณาได้ 2 ด้านคือ ด้านเชิงปริมาณจะถูกประเมินใน รูปของการ
เชื่อมต่อ (Connectivity) และการดำเนินการ (Transaction) และ
ด้านคุณภาพมักถูกประเมินใน รูปของสารประโยชน์
(Informativeness) และผลประโยชน์ (Usefulness) สารสนเทศ
แตกต่างจากข้อมูล คือสารสนเทศมีความหมาย ข้อมูลจะกลายเป็ น
สารสนเทศได้เมื่อมีผู้ให้ความหมาย การให้ความหมาย หรือ
เปลี่ยนแปลงข้อมูลเป็ นสารสนเทศสามารถดำเนินการได้ด้วยการ
เพิ่มคุณค่าให้กับข้อมูลทำได้ 5 แนวทางด้วยกันคือ
1. การช่วยให้เข้าใจความหมาย (Contextualized) ซึ่งเราจะรู้
ว่าเก็บข้อมูลเอาไว้เพื่อวัตถุประสงค์อะไร
2. การจัดหมวดหมู่ (Categorized) ซึ่งเรารู้หน่วยย่อยของการ
วิเคราะห์หรือเป็ นองค์ประกอบ สำคัญของข้อมูล
3. การคํานวณ (Calculated) ข้อมูลสามารถวิเคราะห์ได้ตาม
หลักคณิตศาสตร์หรือสถิติ
4. การแก้ไขให้ถูกต้อง (Corrected) ข้อผิดพลาดของข้อมูลที่ได้
ต้องถูกกําจัดออกไป
5. ความชัดเจน (Condensed) หมายถึงสามารถนําข้อมูลมา
แยกแยะหรือสรุปที่อยู่ในรูปแบบที่เห็นชัดเจนได้ยิ่งขึ้น
ความรู้ (Knowledge) จะกว้างกว่า ลึกซึ้งกว่าและมีคุณค่า
มากกว่าข้อมูลและสารสนเทศ ความรู้ ได้มาจากการผสมผสานมา
จากสารสนเทศในขณะที่สารสนเทศได้มาจากการเปลี่ยนแปลง
ข้อมูล ถ้า ต้องการทำให้สารสนเทศเปลี่ยนเป็ นความรู้ ต้องอาศัย
กระบวนการดังนี้
1. การเปรียบเทียบ (Comparison) เป็ นสารสนเทศเกี่ยวกับ
สถานการณ์หนึ่งเปรียบเทียบกับ สถานการณ์อื่น ๆ ที่รู้มาก่อนแล้ว
2. ความสำคัญ (Consequences) หมายถึง สารสนเทศนั้นมี
องค์ประกอบอะไรที่ใช้ในการปฏิบัติ
3.ความเกี่ยวข้องหรือความสัมพันธ์ (Connections) หมายถึง
สารสนเทศชนิดนี้เกี่ยวข้องกับ
สารสนเทศชนิดใด
4.การสนทนา (Conversation) หมายถึง คนอื่นคิดอย่างไรเกี่ยว
กับสารสนเทศนี้
ดังนั้นการที่จะทำให้ความรู้ต่างๆ มีประโยชน์ต่อองค์กร ต้องมีการ
จัดการที่เริ่มตั้งแต่การจัดการ ข้อมูล (Data) สารสนเทศ
(Information) และความรู้ (Knowledge) เนื่องจากขั้นตอนมี
ความสำคัญและ จำเป็ นต้องอาศัยทั้งศาสตร์และศิลป์ ของผู้
เชี่ยวชาญ เพื่อเป้ าหมายสูงสุดที่จะให้องค์กรนั้นเป็ นองค์กร แห่ง
การเรียนรู้ (Learning Organization) และทำให้บุคลากรในองค์กร
เกิดการเรียนรู้จากสิ่งต่างๆแล้วเกิดการพัฒนาขึ้นทั้งตัวเองและใน
ภาพรวมขององค์กรด้วย

ประเภทของความรู้ (Classification of Knowledge)


ความรู้สามารถแบ่งได้หลายมิติ ในที่นี้จะกล่าวถึงความรู้ในสอง
ลักษณะคือ ความรู้ฝั งลึก (Tacit knowledge) และความรู้แบบชัด
แจ้ง (Explicit knowledge) (Nonaka and Takeuchi, 1995; De
Tienne and Jensen, 2001) ความรู้ที่ชัดแจ้งนั้นสามารถเขียน
หรืออธิบายได้อย่างชัดเจน เช่นแบบก่อสร้าง ข้อกําหนด ในการ
ก่อสร้าง คู่มือในการก่อสร้าง ตํารา สูตรทางคณิตศาสตร์ และความ
รู้ฝั งลึกเช่นทักษะในการ แก้ปั ญหาของวิศวกรซึ่งยากต่อการอธิบาย
ออกมาเป็ นรูปแบบที่ชัดเจนได้ การมีปฏิสัมพันธ์ระหว่าง ความรู้ทั้ง
สองแบบจะนําไปสู่ความรู้หรือเทคนิคก่อสร้างใหม่ๆ และจะมีผล
ทำให้เกิดการสร้างและ ยกระดับความรู้เพื่อบรรลุความสำเร็จตาม
เป้ าหมาย เรียกการเปลี่ยนแปลงความรู้ตาม โมเดล SECI (Nonaka
and Takeuchi, 1995) ดังแสดงในรูปที่ 1
รูปที่ 1 การเปลี่ยนแปลงรูปแบบของความรู้ตาม โมเดล SECI
ที่มา: Nonaka and Takeuchi, 1995

วัตถุประสงค์ของโครงการวิจัย
1. ศึกษากระบวนการในการจัดการความรู้ที่มีประสิทธิภาพ
สำหรับโครงการก่อสร้าง
2. สํารวจการจัดการความรู้ของโครงการก่อสร้างใน
ประเทศไทยที่เป็ นอยู่ในปั จจุบัน
3. พัฒนาและออกแบบผังข้อมูลความรู้ของโครงการก่อสร้าง
ให้สอดคล้องกับกระบวนการจัดการ ความรู้ที่มีประสิทธิภาพเพื่อให้
สามารถนําไปพัฒนาเป็ นโปรแกรมต้นแบบสำหรับอุตสาหกรรม
ก่อสร้างทั่วไปได้ทดลองใช้การจัดการความรู้อย่างเป็ นรูปธรรมและ
ง่ายสำหรับผู้ใช้งาน
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
กรอบแนวคิดและผังต้นแบบการจัดการความรู้โครงการ
สามารถช่วยให้องค์กรในอุตสาหกรรม ก่อสร้างไม่ว่าจะเป็ นฝ่ าย
เจ้าของงานที่เป็ นภาครัฐ เอกชน บริษัทผู้ออกแบบ บริษัทที่ปรึกษา
ควบคุม โครงการบริษัทรับเหมาก่อสร้างและอื่นๆสามารถพัฒนาไป
เป็ นโปรแกรมเพื่อจัดเก็บความรู้ที่เกิดขึ้น ในโครงการก่อสร้างหนึ่งๆ
อย่างเป็ นรูปธรรม เพื่อนําไปใช้ประโยชน์ในการบำรุงรักษาโครงการ
ดังกล่าว และยิ่งไปกว่านั้นเพื่อพัฒนาคุณภาพและประสิทธิภาพใน
งานก่อสร้างต่อๆ ไป
ขอบเขตของโครงการวิจัย
การศึกษาจะใช้วิธีการเก็บข้อมูลจากกรณีศึกษาของโครงการ
ก่อสร้างที่ดเนินการในประเทศ ไทยอย่างน้อย 2 โครงการ โดยการ
สังเกตการณ์ ณ พื้นที่ก่อสร้างจริง ร่วมกับการสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้อง
ใน โครงการและการตรวจเอกสารข้อมูลโครงการที่ได้รับอนุญาต
จากผู้ร่วมโครงการสำหรับระบบการจัดการความรู้ของโครงการใน
การศึกษานี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้สามารถพัฒนาเป็ นโปรแกรม
ต้นแบบสำหรับอุตสาหกรรมก่อสร้างทั่วไปได้ทดลองใช้การจัดการ
ความรู้อย่างเป็ นรูปธรรม และง่ายสำหรับผู้ใช้งาน หากต้องการนํา
ไปใช้จริงอาจต้องพัฒนาให้สอดคล้องกับการ คําเนินงานและระบบ
ข้อมูลของหน่วยงานนั้นๆอีกครั้งหนึ่ง
บทที่2
เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

การจัดการความรู้ (Knowledge Management)


การจัดการความรู้เป็ นระบบบริหารจัดการทรัพย์สินความรู้ของ
องค์กรทั้งที่เป็ นความรู้ฝั งลึก ระบบการจัดการความรู้เป็ นการ
กระบวนการที่เกี่ยวพันกับการจําแนกความรู้และความรู้แบบชัดแจ้ง
การตรวจสอบความรู้ การจัดเก็บความรู้ที่ผ่านการตรวจแล้ว การเต
รียมการกรองความรู้และการ เตรียมการเข้าถึงความรู้ให้กับผู้ใช้
โดยมีหลักการที่สำคัญคือ ทำให้ความรู้ถูกใช้ ถูกปรับเปลี่ยนและ
ถูกยกระดับให้สูงขึ้น

มีความพยายามในการศึกษากระบวนการจัดการความรู้และนํา
เสนอรูปแบบของการจัดการ ความรู้ในมุมที่หลากหลายดังเช่น รูป
แบบในการสร้างและแลกเปลี่ยนความรู้ของ Jackson and Klobas
(2008) ดังแสดงในรูปที่ 2 ในการสร้างความรู้องค์กรนั้นจำเป็ นต้อง
เปลี่ยนความรู้ฝั งลึกให้ เป็ นความรู้ชัดแจ้งให้ได้ จึงจะสามารถส่ง
ผ่านให้เกิดการเรียนรู้และนําไปทดลองใช้จนเกิดความรู้ฝั ง ลีกที่
พัฒนาอย่างต่อเนื่องของบุคลากรต่อไป
รูปที่ 2 รูปแบบการสร้างและแลกเปลี่ยนความรู้
ที่มา: Jackson and Klobas, 2008

การจัดการความรู้ในอุตสาหกรรมก่อสร้าง

ในโครงการก่อสร้างนั้นมีผู้ที่เข้ามาเกี่ยวข้องในการออกแบบ
ก่อสร้าง ใช้งานจากหลากหลายสาขา Fong (2003) ได้นําเสนอรูป
แบบของการเกิดความรู้ของทีมงานโครงการที่มีความรู้และ
ประสบการณ์จากหลากหลายสาขาวิชาดังแสดงในรูปที่ 3 ซึ่งต้อง
ประกอบด้วยการสร้างความรู้ (knowledge generation) การแลก
เปลี่ยนความรู้ (knowledge sharing) และการประสานความรู้
(knowledge integration) ซึ่งในการประสานความรู้นี้จำเป็ นต้อง
อาศัยการจัดการเอกสารโครงการที่มีประสิทธิภาพรวมไปถึงชิ้นงาน
ที่ออกแบบจริงเป็ นเครื่องมือในการเชื่อมความรู้ ซึ่งเป็ นเอกสารดัง
กล่าวเป็ นความรู้ชัดแจ้งทั้งสิ้น

รูป ที่
3 ความสัมพันธ์ของปั จจัยต่างๆ ในการสร้างความรู้ในทีมงานจาก
หลากหลายสาขา
ที่มา: Fong, 2003
รูปที่ 4 กระบวนการในการแก้ปั ญหาอย่างสร้างสรรค์ในการประชุม
โครงการ
ที่มา: Teerajetgul and Charoenngam, 2008

การศึกษาถึงการใช้ความรู้แบบฝั งลึกในโครงการก่อสร้างใน
ประเทศไทย แม้จะชี้ชัดว่า ความรู้แบบฝั งลึกเป็ นส่วนที่ใช้ในการแก้
ปั ญหาของการก่อสร้าง ดังนั้นจากรูปที่ 4 แสดงให้เห็นถึงความจํา
เป็ นของการเปลี่ยนความรู้ฝั งลึกให้เป็ นความรู้ชัดแจ้งเพื่อให้ทีมงาน
หน้างานสามารถนําไปดำเนินการได้อย่างเป็ นรูปธรรม
จะเห็นได้ว่าการดึงความรู้ฝั งลึกในตัวบุคคลที่ร่วมงานใน
โครงการมาจัดเก็บในรูปของความรู้ชัดแจ้ง นมีความสำคัญยิ่งต่อ
การจัดการความรู้ให้มีผลสัมฤทธิ์ ดังนั้นการศึกษานี้จะมุ่งเน้น ใน
การแปลงความรู้ที่เกิดขึ้นในโครงการก่อสร้างให้เป็ นความรู้ชัดแจ้ง
ในรูปแบบที่สามารถนําไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
การศึกษาของ Lytras and Pouloudi (2003) ได้รวบรวม
และวิเคราะห์กรอบในการจัดการ ความรู้ที่นําเสนอโดยนักวิจัย
มากกว่า 20 ผลงาน และได้นําเสนอโครงสร้างในการจัดการความรู้
โครงการดังแสดงในรูปที่ 5 ซึ่งในการศึกษานี้นอกจากจะมุ่งเน้นการ
แปลงความรู้ฝั งลึกเป็ นความรู้ชัดแจ้งแล้วยังจะมุ่งศึกษาวิจัย
กระบวนการจัดการความรู้โดยเฉพาะอย่างยิ่งในขั้นตอนการจัดเรียง
(organize) เพื่อให้สามารถนําไปใช้ประโยชน์ได้อย่างมี
ประสิทธิภาพต่อไป

รูปที่ 5 โครงสร้างการจัดการความรู้โครงการ
ที่มา: Lytras and Pouloudi, 2003
โดยในงานวิจัยนี้จากรูปที่ 5 ผู้วิจัยได้เน้นศึกษาในกระบวนการการ
ประมวลความรู้ (Knowledge Codification) และการทำแผนที่
ความรู้ (Mapping Knowledge)
การประมวลความรู้ (Knowledge Codification)
Davenport and Prusak (1998) การประมวลความรู้
(Knowledge Codification) เป็ นการ เปลี่ยนความรู้ในองค์กรให้
อยู่ในรูปแบบข้อมูลที่สามารถเข้าถึงหรือนําไปปรับใช้ได้ และอยู่ใน
รูปแบบที่ง่ายต่อการเข้าใจให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยผู้จัดการ
ความรู้และผู้ใช้สามารถจัด หมวดหมู่ อธิบาย ทำแผนที่ สร้างแบบ
จําลอง ลอกเลียน และบันทึกความรู้นั้นได้
อุปสรรคสำคัญในการประมวลความรู้ คือ ทำอย่างไร ให้
สามารถประมวลความรู้โดย ปราศจากการสูญเสีย ดังนั้นถ้าต้องการ
ประสบความสำเร็จในการประมวลความรู้ องค์กร ไม่ควรลืม หลัก
การ 4 หลักการดังต่อไปนี้
1. กำหนดเป้ าหมายในการประมวลความรู้
2. ระบุความรู้ที่มีอยู่ในรูปแบบต่างๆ ที่เหมาะสมกับเป้ าหมาย
ที่วางไว้
3. ประเมินความรู้เพื่อประโยชน์และความเหมาะสมในการ
ประมวลความรู้
4. ระบุสื่อกลางที่เหมาะสมสำหรับการประมวลและเผยแพร่
ความรู้ การค้นหาแหล่งที่มาของความรู้ที่ต้องการประมวลความรู้
นั้นมีความสำคัญมาก ถ้าหากไม่ ทราบแหล่งที่มาของความรู้จะ
ทำให้ไม่สามารถรู้หรือทำอะไรกับความรู้นั้นได้เลย ดังนั้นการทำ
แผน ที่แหล่งที่มาของความรู้ในองค์กรนั้นจึงเป็ นขั้นตอนสำคัญใน
กระบวนการประมวลความรู้ เนื่องจากจะสามารถทำให้ประเมิน
หรือกําหนดค่าของประโยชน์และความสำคัญของความรู้นั้นใน
องค์กรและสามารถอธิบายประเภทของความรู้นั้นได้
แผนที่ความรู้ (Knowledge Map) ชี้ไปที่ความรู้แต่ไม่ได้
ประกอบด้วยความรู้ เป็ นเพียงแค่ คู่มือแนะนําแต่ไม่ใช่ที่เก็บความรู้
การพัฒนาแผนที่ความรู้เป็ นการหาตำแหน่งของความรู้ที่สำคัญใน
องค์กรและเผยแพร่รายการหรือรูปภาพที่สามารถค้นหาที่ที่สามารถ
หาความรู้นั้นได้ แผนที่ความรู้มัก พุ่งประเด็นไปที่ตัวบุคคลเช่นเดียว
กับเอกสารและฐานข้อมูล วัตถุประสงค์และประโยชน์สำคัญใน
การทำแผนที่ความรู้คือการแสดงให้บุคคลในองค์กรทราบถึงความรู้
ที่มีอยู่ในองค์กรและตำแหน่ง ของความรู้นั้นได้ การทำแผนที่ความรู้
องค์กรเป็ นการรวบรวมหรือการนําแผนที่ความรู้ย่อยแต่ละ บุคคล
ในองค์กร หรือนําความรู้ที่แยกออกเป็ นส่วนส่วนๆ หรือที่ไม่ได้
บันทึกเป็ นเอกสารมารวมเข้า
ด้วยกัน
การยึดเก็บความรู้แบบฝั งลึก (Capturing Tacit
Knowledge) เป็ นอีกขึ้นตอนหนึ่งที่สำคัญและ ยากมากในการ
ประมวลความรู้ เนื่องจากการทำแผนที่ความรู้แบบฝั งลึกที่ได้จาก
บุคคลในองค์กรนั้นสามารถสร้างสรรค์เป็ นคลังความรู้ที่สำคัญได้
แต่ไม่สามารถรับประกันได้ว่าความรู้นั้นจะมี ประโยชน์อย่างต่อ
เนื่องหรือไม่บางครั้งคนมักมีการเรียนรู้ที่ดีจากเรื่องเล่า ดังนั้นเรื่อง
เล่าจึงเป็ แนวทางที่หนึ่งรวมรวบ ประสบการณ์จากในอดีตเข้าด้วย
กันและนําไปประยุกต์ใช้ในอนาคความสำคัญของเรื่องเล่าใน
กระบวนการประมวลความรู้คือการพยายามเปลี่ยนความรู้ที่ได้จาก
เรื่องเล่าให้เป็ นรหัสหรือ สัญลักษณ์ (Code) บางครั้งเรื่องเล่าเป็ น
แนวทางที่ดีที่ช่วยในการสอนและการเรียนรู้ ในบางองค์กร ได้มีการ
ส่งวิดีโอคําปราศรัยของผู้บริหารไปยังสำนักงานสาขาย่อยเพื่อเปิ ด
ให้ดูในระหว่างพักทาน อาหารกลางวันเกี่ยวกับหลักการขายหรือ
เหตุการณ์ทางธุรกิจที่สำคัญของบริษัท ทำให้ผู้ฟั งเกิดการ รับรู้และ
มีการแบ่งปั นความรู้ร่วมกัน เป็ นต้น
กรอบแนวคิดในการวิจัย
การประยุกต์ใช้แผนที่ความรู้ในโครงการก่อสร้าง
ในการวิจัยผู้วิจัยเน้นในกระบวนการประมวลความรู้โดยเฉพาะการ
ยึดเก็บความรู้ที่ได้จากผู้เชี่ยวชาญ วิศวกร และผู้ที่มีประสบการณ์ที่
เกี่ยวข้องในโครงการก่อสร้าง การการยึดเก็บความรู้นั้น จะเห็นว่า
ความรู้แบ่งเป็ น 2 ประเภทคือ ความรู้ฝั งลึก (Tacit knowledge)
และความรู้แบบชัดแจ้ง (Explicit knowledge) (Nonaka and
Takeuchi, 1995; DeTienne and Jensen, 2001) ใน
กระบวนการ
ก่อสร้างประกอบด้วย 4 ขั้นตอนการดําเนินงาน (J.M. Kamara,
2002) คือ ขั้นตอนแนวความคิด โครงการ (Project Conception),
ขั้นตอ ขั้นตอนการออกแบบ (Design of Facility), ขั้นตอนการ
ก่อสร้าง (Construction of Facility) และขั้นตอนการใช้งาน (Use
of Facility) ซึ่งแต่ละขั้นตอนการดําเนินงาน ก่อให้เกิดความรู้มาก
มาย ดังแสดงในรูปที่ 6
รูปที่ 6 ขั้นตอนการดําเนินงานก่อสร้าง

ที่มา: J.M. Kamara, 2002

บทที่3
วิธีดำเนินการวิจัย
แผนการวิจัย
อุปกรณ์
1. คอมพิวเตอร์
2.เครื่องพิมพ์
3. อุปกรณ์เสริมที่จําเป็ นในการบันทึกความรู้
เทคโนโลยี วิธีการก่อสร้าง ที่เป็ นประโยชน์ ณ พื้นที่
ก่อสร้าง
ขั้นตอนการวิจัย

1. ตรวจเอกสารทั้งหนังสือและบทความในวารสาร
เพื่อให้เข้าใจกระบวนการรวมถึงเครื่องมือ ต่างๆที่ใช้
ในการจัดการความรู้โครงการทั้งในและนอก
อุตสาหกรรมก่อสร้างให้เกิดประสิทธิภาพ
2. พัฒนากรอบแนวคิดที่ประกอบด้วยกระบวนการ
จัดการความรู้โครงการก่อสร้างให้เกิด ประสิทธิภาพ
วิธีการรวมถึงปั จจัยที่สนับสนุน และกีดขวางการ
จัดการความรู้ในขั้นตอนต่างๆ
3. สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญในอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย
เพื่อยืนยันความสอดคล้องของกรอบ แนวคิดที่
พัฒนาขึ้นกับการบริหารจัดการโครงการก่อสร้างใน
ประเทศไทย
4. คัดเลือกโครงการก่อสร้างที่เหมาะสมเพื่อเป็ น
กรณีศึกษาอย่างน้อย 2 โครงการ 5. เก็บข้อมูลกรณี
ศึกษา ณ โครงการก่อสร้างและดําเนินงานจริง
6. รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล
7. พัฒนาผังข้อมูลและความรู้โครงการ
8. ตรวจสอบความสอดคล้องกับการนําไปปฏิบัติ
9. ปรับแก้ผังความรู้
10. ผังต้นแบบในการจัดการความรู้โครงการ

เอกสารและสิ่งอ้างอิง
Davenport T. H. 2005. Thinking for a living:
How to get better performances and results
from knowledge workers. Harvard Business
School Press, Boston.
Davenport T. H. and Prusak L. 1998. Working
knowledge: How organization manage what
they know. Harvard Business School Press,
Boston.
Francisco Loforte Ribeiro. 2010. Using
knowledge to improve preparation of
construction projects. Business Process
Management Journal, Vol.16, No.3(2010),
pp 361-95
Nonaka I. and Takeuchi H. 1995. The
knowledge-creating company: How
Japanese companies create the dynamics
of innovation. Oxford Univ. Press, Oxford,
U.K.
Mezher T., Abdul-Malak M. A., Ghosn I. and
Ajam M. 2005. Knowledge management in
mechanical and industrial engineering
consulting: A case study. J. Manage. Eng,
21(3), 138-147.
Miltiadis D. Lytras and Athanasia
Pouloudi. 2003. Project management as a
knowledge management primer: the
learning infrastructure in knowledge-
intensive organization : projects as
knowledge transformations and beyond.
The Learning Organization, No. 10(2003),
pp 237-250
Patel M. B., McCarthy T. J., Morris P. W. G.
and Elhag T. M. S.. 1999. The role of IT in
capturing and managing knowledge for
organizational learning on construction
projects. Univ. of Manchester Institute of
Science and Technology.
Patrix X. W. Zoo. 1999. Lesson Learned
from Managing the Design of the Water
Cube National Swimming Centre for the
Beijing 2008 Olympic Games. Architectural
engineering and design management,
Vol.6(2010), pp 175-188

You might also like