กรอบแนวคิด

You might also like

Download as docx, pdf, or txt
Download as docx, pdf, or txt
You are on page 1of 4

นางสาวศิริเพชร มีไชโย 65090990

กรอบแนวคิด
จากการศึกษาลักษณะของการเขียนย่อความ และการจัดการเรียนการสอนโดย
ใช้กลวิธีเมตาคอมนิชัน ร่วมกับเทคนิคการเขียนแบบสตอรี่ไลน์ ที่ผู้วิจัยมีความคิดเห็น
ว่าเหมาะสมที่จะนำมาช่วยในการพัฒนาทักษะการเขียนย่อความให้แก่ผู้เรียนได้อย่าง
ดี ซึ่งการวิจัยในครั้งนี้ ผู้วิจัยสรุปเป็ นกรอบแนวคิดในการวิจัยตัวแปรได้ ดังนี้

การออกแบบการเรียนรู้ 1.ความสามารถการเขียน
การพัฒนาทักษะการ
แบบแนวคิดเมตาคอ ย่อความ
เขียนย่อความด้วยการ
มนิชั่น 2.ความพึงพอใจของ
จัดการเรียนการรู้โดยใช้
1.ความรู้ นักเรียนที่มีต่อการจัดการ
การเขียนแบบสตอรี่ไลน์
2. การบังคับตน เรียนการสอนโดยใช้กลวิธี
ร่วมกับเทคนิคเมตาคอก
2.1 การวางแผน เมตาคอมนิชัน ร่วมกับ
นิชัน
(planning) เทคนิคการเขียนแบบสตอ
1.การวางแผน
2.2 การตรวจสอบ รี่ไลน์
การออกแบบการเรียนรู้ (planning)
(monitoring) 1.1 การสังเคราะห์
ด้วย
2.3 การประเมิน และวิเคราะห์เนื้อหาของ
เทคนิคสตอรี่ไลน์
(evaluating) รายวิชา
1. การสังเคราะห์และ
วิเคราะห์เนื้อหาของ 1.2 การเขียนหลักสูตร

รายวิชา หรือรูปแบบการสอน โดย

2. การเขียนหลักสูตร ใช้เส้นทางการเดินเรื่อง

หรือรูปแบบการสอน
โดยใช้เส้นทางการเดิน
เรื่อง (Topic line)

3. การดำเนินการโดยวิธี
สอนแบบสตอรี่ไลน์
ประกอบด้วยขั้นตอนภาพประกอบ 2 กรอบแนวคิดในการวิจัย
สำคัญ 4 องค์ด้วยกัน คือ
ฉาก ตัวละคร วิถีชีวิต
นิยามศัพท์เฉพาะ
และเหตุการณ์
นางสาวศิริเพชร มีไชโย 65090990

1. เมตาคอกนิชัน หมายถึง ความตระหนักรู้เกี่ยวกับความคิดของตนเอง ว่าตน


รู้หรือไม่รู้สิ่งใดมีความ
เข้าใจหรือไม่เข้าใจในสิ่งที่ได้รับมอบหมาย แล้วสามารถวางแผนกระบวนการทำงาน
ของตน มีการกำกับควบคุมตนเองให้งานเป็ นไปตามเป้ าหมายที่วางไว้ การตรวจสอบ
ตนเองระหว่างการทำงานเพื่อทบทวนกระบวนการในการทำกิจกรรม และสามารถ
ประเมินผลทางการคิดของตนเองได้เพื่อให้งานสำเร็จลุล่วงตามเป้ าหมาย ซึ่งถือว่า
เป็ นการสะท้อนความคิดของตนเองในสิ่งที่ตนเองรู้และเข้าใจ และเมื่อข้อมูลต่าง ๆ
ถูกจดจำและกลายมาเป็ นสิ่งที่สำคัญต่อผู้เรียนในกระบวนการเรียนรู้ซึ่งข้อมูลดังกล่าว
จะถูกนำไปเก็บไว้เป็ นความในหน่วยความจำ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ และใช้ในการ
เชื่อมโยงกับองค์ความรู้ของผู้เรียนที่มีอยู่ก่อนแล้ว

เพื่อนำมาสร้างให้เกิดเป็ นองค์ความรู้ใหม่ เนื่องจากเป็ นแนวทางในการช่วยให้ผู้เรียน


คิดเกี่ยวกับการคิดของตนเอง และช่วยให้การเรียนรู้ในสิ่งต่าง ๆง่ายขึ้น โดยแบ่ง
กระบวนการของเมตาคอกนิชันเป็ น 3 ขั้นตอน ดังนี้
1.1 การวางแผน (planning) หมายถึง การรู้ว่าตนเองคิดว่าจะทำงานนั้น
อย่างไร ตั้งแต่การกำหนดเป้ าหมาย จนถึงการปฏิบัติงานจนบรรลุเป้ าหมาย
1.2 การตรวจสอบ (monitoring) หมายถึง การทบทวนความคิด
เกี่ยวข้องกับแผนที่วางไว้ว่าเป็ นไป
ได้เพียงใด ความเหมาะสมของลำดับขั้นตอนและวิธีการที่เลือกใช้
1.3 การประเมิน (evaluating) หมายถึง การคิดที่เกี่ยวกับการประเมิน
การวางแผนวิธีการตรวจสอบ
และการประเมินผลลัพธ์ของตนเอง
2. สตอรี่ไลน์ หมายถึง เป็ นวิธีที่ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ที่เน้นผู้
เรียนเป็ นศูนย์กลาง จะมีการผูกเรื่องแต่ละตอนให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเรียง
ลำดับเหตุการณ์ หรือที่เรียกว่า กำหนดเส้นทางเดินเรื่อง โดยใช้คำถามหลักเป็ นตัวนำ
สู่การให้ผู้เรียนทำกิจกรรมอย่างหลากหลาย เพื่อสร้างความรู้ด้วยตนเอง เป็ นการ
นางสาวศิริเพชร มีไชโย 65090990

เรียนตามสภาพจริง ที่มีการบูรณาการระหว่างวิชา เพื่อเป้ าหมายพัฒนาศักยภาพของ


ผู้เรียนทั้งตัว โดยแบ่งกระบวนการของสตอรี่ไลน์ เป็ น 3 ขั้นตอน ดังนี้
2.1 การสังเคราะห์และวิเคราะห์เนื้อหาของรายวิชาหรือกลุ่ม
ประสบการณ์ โดยความร่วมมือกันใน
หมู่ผู้เกี่ยวข้อง อาทิ ศึกษานิเทศก์ ผู้บริหาร ผู้ปกครอง และผู้สอน เพื่อพิจารณาอย่าง
ละเอียดว่าองค์ความรู้ที่ประสงค์จะจัดให้แก่ผู้เรียนนั้นได้แก่อะไรบ้าง มีความโดดเด่น
หรือซ้ำซ้อนอยู่ในรายวิชา กลุ่มวิชา หรือกลุ่มประสบการณ์ต่างๆ อย่างไร แล้วกำหนด
องค์รวมคามรู้ ที่พึงประสงค์ไว้ให้ชัดเจนในรูปแบบของหลักสูตร หรือในรูปแบบของ
หัวเรื่อง
2.2 การเขียนหลักสูตรหรือรูปแบบการสอน โดยใช้เส้นทางการเดินเรื่อง
(Topic line) โดยใช้วิธีการสอนแบบสตอรี่ไลน์เป็ นกรอบในการเขียน โดยมีหัวเรื่อง
เป็ นเครื่องกำหนดเนื้อหา ความแตกต่างของการบูรณาการหลักสูตร และบูรณาการ
เรียนการสอนอยู่ที่คำถามนำที่ใช้ในแต่ละองค์กล่าวคือ การบูรณาการหลักสูตร จะ
เน้นคำถามนำที่มีความเกี่ยวพันกันของรายวิชา กลุ่มวิชา เน้นคำถามนำเนื้อหาขั้น
ตอนการเขียนหลักสูตรหรือการเขียนแผนการสอนนี้เกิดขึ้นก่อนนำหลักสูตรหรือ
แผนการสอนไปใช้ และเป็ นขั้นตอนที่กำหนดไว้อย่างชัดเจนว่าผู้สอน และผู้เรียนมี
บทบาทอย่างไรในการเรียนการสอน รวมทั้งสื่อและกิจกรรมต่างๆ จะถูกนำเข้าสู่
แผนการสอในลักษณะใด
2.3 การกำหนดเส้นทางการเดินเรื่องให้สอดคล้องกับหลักสูตรหรือหัว
เรื่อง เส้นทางการเดินเรื่อง (Top line) ที่ใช้เป็ นกรอบสำหรับการดำเนินการโดยวิธี
สอนแบบสตอรี่ไลน์ ประกอบด้วยขั้นตอนสำคัญ 4 องค์ด้วยกัน คือ ฉาก ตัวละคร วิถี
ชีวิต และเหตุการณ์ ซึ่งในแต่ละองค์ประกอบด้วยประเด็นหลักบางประเด็นที่ยกขึ้นมา
พิจารณาเป็ นพิเศษ โดยการตั้งคำถามนำแล้วให้ผู้เรียนค้นคว้าหาคำตอบ คำถามเหล่า
นี้จะโยงไปยังคำตอบที่สัมพันธ์กับเนื้อหาวิชาต่างๆ ที่ประสงค์จะบูรณาการเข้าด้วยกัน
3. การจัดการเรียนการสอนโดยใช้กลวิธีเมตาคอมนิชันร่วมกับเทคนิคการ
เขียนแบบสตอรี่ไลน์ คือ การนำแผนการกระบวนการทำงานของตน ทั้ง 3 ขั้นตอน
มาปรับใช้คือ การวางแผน การตรวจสอบ และการประเมิน โดยจะนำขั้นตอนของเท
นางสาวศิริเพชร มีไชโย 65090990

คนิคสตอรี่ไลน์ที่สอนให้ผู้เรียนผูกเรื่องแต่ละตอนให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเรียง
ลำดับเหตุการณ์โดยใช้คำถามหลักเป็ นตัวนำ ทั้ง 3 ขั้น เข้ามา ใช้ในขั้นการตรวจสอบ
ของกลวิธีเมตาคอมนิชัน คือ การสังเคราะห์เนื้อหา การใช้เส้นทางดำเนินเรื่อง และ
การตั้งคำถามนำเพื่อให้ผู้เรียนได้ค้นหาคำตอบ
4. การย่อความ คือ การเก็บใจความสำคัญของเรื่องจากข้อความที่อ่านหรือฟั ง
แล้วนำสาระสำคัญมาเรียบเรียงใหม่ให้สั้นด้วยภาษาที่กระชับ เข้าใจง่าย ได้ความถูก
ต้องและครบถ้วนสมบูรณ์มากหรือน้อยแล้วแต่ต้องการ เช่น ย่อเรื่องจากหนังสือทั้ง
เล่มให้เหลือเพียง 1-2 หน้า ย่อบทความที่มีความยาว 5 หน้าเหลือเพียงครึ่งหน้า
เป็ นต้น
5. ทักษะการเขียนย่อความ คือ เป็ นทักษะที่สำคัญในชีวิตประจำวัน ซึ่งทักษะ
การย่อความเป็ นการย่อเรื่องจากสารที่รับมาแล้วมาจับใจคามสำคัญใหม่ เฉพาะส่วนที่
สำคัญโดยการสรุปใจความจากเนื้อความที่สั้นกว่าเดิมแต่ยังคงเนื้อความเดิม เพื่อ
ถ่ายทอดออกมาได้อย่างถูกต้อง สามารถใช้ในทักษะทั้งสี่ คือ การฟั ง การพูด การอ่าน
และการเขียน
6. ความพึงพอใจ หมายถึง ความรู้สึกเชิงบวกของนักเรียน ที่มีต่อการจัดการ
เรียนการสอนโดยใช้กลวิธีเมตาคอมนิชัน ร่วมกับเทคนิคการเขียนแบบสตอรี่ไลน์ โดย
วัดจากแบบสอบถามความพึงพอใจ แบบประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 10 ข้อ

You might also like