Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 46

ใบเตรียมการสอน

วิชา วัสดุวิศวกรรม (Engineering Materials) รหัสวิชา 04-470-201


เวลา 180 นาที
สัปดาห์ที่ 7 หน่วยที่ 4 โลหะกลุ่มเหล็ก (ต่อ)
(3 คาบ)

ชื่อบทเรียน
4.6 กระบวนการปรับปรุงสมบัติโลหะกลุ่มเหล็กด้วยกรรมวิธีทางความร้อน
4.7 กระบวนการชุบผิวแข็ง

จุดประสงค์การสอน
4.7 เข้าใจกระบวนการปรับปรุงสมบัติโลหะเหล็กด้วยกรรมวิธีทางความร้อน
4.7.1 อธิบายกระบวนการปรับปรุงสมบัติโลหะเหล็กด้วยกรรมวิธีทางความร้อน
4.7.2 อธิบายกระบวนการชุบแข็งเหล็กกล้า
4.7.3 อธิบายกระบวนการชุบแข็งทั้งชิ้นงาน
4.8 รู้จักกระบวนการชุบผิวแข็งของโลหะกลุ่มเหล็ก
4.8.1 บอกวิธีการชุบผิวแข็งด้วยเปลวไฟ
4.8.2 บอกวิธีการชุบผิวแข็งแบบเหนี่ยวนำ
4.8.3 บอกวิธีการชุบผิวแข็งด้วยกระบวนการคาร์บูไรซิ่ง
4.8.4 บอกวิธีการชุบผิวแข็งด้วยกระบวนการคาร์โบไนไตรดิ่ง
4.8.5 บอกวิธีการชุบผิวแข็งด้วยกระบวนการไนไตรดิ่ง
- 273 -

4.7 กระบวนการปรับปรุงสมบัติโลหะกลุ่มเหล็กด้วยกรรมวิธีทางความร้อน

กรรมวิธีทางความร้อนที่ทำกับโลหะสามารถทำให้สมบัติทางกลของโลหะเปลี่ยนแปลงได้ หากกรรมวิธี
ทางความร้อนกระทำกับโลหะได้อย่างเหมาะสม ซึ่งจะทำให้โลหะนั้นสามารถนำไปใช้งานได้อย่างกว้างขวาง
มากขึ้น กรรมวิธีทางความร้อนที่ทำกับโลหะสามารถแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ขึ้นอยู่กับลักษณะการเย็นตัว
และการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง ได้แก่ การอบอ่อน (Annealing) และการอบชุบเพิ่มความเข็ง (Hardening)
สำหรับกรรมวิธีทางความร้อนที่ทำกับโลหะกลุ่มเหล็ก สามารถแบ่งกรรมวิธีปลีกย่อยได้อีกดังแสดงใน
แผนรูปที่ 4.14
4.7.1 รูปแบบของการปรับปรุงสมบัติของโลหะกลุ่มเหล็กด้วยกรรมวิธีทางความร้อน
กรรมวิธีทางความร้อนที่ทำกับโลหะทุกชนิด จะประกอบด้วย

• การให้ความร้อน ซึ่งหมายถึงการให้ความร้อนที่ผิว
• การให้ความร้อนตลอดถึงแกนกลาง
• การคงอุณหภูมิ
• การเย็นตัวลงมาที่อุณหภูมิห้อง
- 274 -

รูปที่ 4.14 ขอบข่ายงานกรรมวิธีทางความร้อนที่ทำกับโลหะกลุ่มเหล็ก [9]

รูปที่ 4.15 ลักษณะของแผนภูมิกรรมวิธีทางความร้อนที่ทำกับโลหะ [9]


- 275 -

จากรูปที่ 4.15 เวลาของการให้ความร้อนที่ผิวหมายถึงเวลาที่เริ่มให้ความร้อนกับผิวชิ้นงานจนถึง


อุณหภูมิที่ต้องการ สำหรับ ในกรณีเวลาของการให้ความร้อนตลอดทั้งชิ้นงานหมายถึงช่ว งเวลาตั้งแต่ที่
ผิวชิ้นงานได้รับความร้อนถึงอุณหภูมิที่ต้องการจนกระทั่งแกนกลางของชิ้นงานได้รับอุณหภูมิที่ต้องการ เช่นกัน
และเวลาคงอุณหภูมิคือเวลาเริ่มตั้งแต่เมื่อแกนกลางถึงอุณหภูมิที่ต้องการ จนเริ่มมีการลดอุณหภูมิลง
1) การอบชุบแข็ง

การอบชุบเหล็ก หมายถึงกรรมวิธีทางความร้อนที่ให้เหล็กได้รับความร้อนที่อุณหภูมิสูงเป็น
เวลานาน แล้วทำให้เย็นตัวลงอย่างช้า ๆ การอบนี้มีผลทำให้โลหะเกิดการเปลี่ยนแปลงดังต่อไปนี้

• ความเค้นลดลง
• ความเหนี่ยวและความเหนี่ยวแน่นเพิ่มขึ้น
• ทำให้เกิดโครงสร้างเฉพาะ
เมื่อกล่าวถึงการอบชุบเหล็กนั้น การอบชุบเหล็กเป็นวิธีการที่มีขอบเขตกว้างที่สุด ซึ่งอาจแบ่งได้
ตามจุดประสงค์ของการอบได้ดังนี้

• การอบเพื่อที่จะกำจัด หรือลดความไม่สม่ำเสมอของโครงสร้างของเหล็ก เช่น การอบแพร่


(Diffusion Annealing) และ การอบปกติ (Normalizing)
• การอบเพื่อช่วยในการตัดเฉือนชิ้นงานได้ดีขึ้น เช่น การอบเพื่อให้ได้เกรนหยาบ การอบอ่อน
และการอบคืนรูปผลึก (Recrystalization)
• การอบเพื่อที่จะกำจัดหรือเพื่อลดความเค้นภายใน เช่น การอบลดความเค้น (Stress relief)
• การอบเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง เช่น การอบเหล็กหล่อขาวเพื่อให้คาร์บอนใน
เหล็กคาร์ไบด์เปลี่ยนเป็นแกรไฟต์

ในการทำความร้อนและการทำให้เย็นตัว จำเป็นที่จะต้องใช้อุณหภูมิที่ ถูกต้อง ในการให้ความ


ร้อนต่อชิ้นงานนั้น บริเวณขอบของชิ้นงานจะได้รับอุณหภูมิที่สูงกว่าบริเวณแกนกลาง เพราะความร้อนจะถ่ายเท
เข้าสู่ภายในแกนกลาง การให้ความร้อนเร็วเกินไปอาจทำให้เกิดความแตกร้าวได้ เพราะบริเวณผิวได้รับการ
ขยายตัวอย่างมากและทำให้บริเวณแกนกลางได้รับแรงดึงสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะเกิดขึ้นได้ง่ายกับชิ้นงานที่มี
พื้นที่หน้าตัดใหญ่ หรือชิ้นงานที่มีพื้นที่หน้าตัดแตกต่างกันมาก อันตรายที่อาจเกิดการแตกร้าวจะยิ่งมีสูงขึ้น ถ้า
การเป็นตัวนำความร้อนของเหล็กไม่ดี ในขณะที่ความสามารถในการขยายตัวของเหล็กดี นอกจากชิ้นงานมีความ
เค้นภายในสูงแล้ว ชิ้นงานอาจเกิดการแตกร้าวได้ง่ายเช่นกันระหว่างให้ความร้อน ซึ่งจะต้องทำการอบเพื่อลด
ความเค้น ในทำนองเดียวกันก็อาจเกิดการแตกร้าวได้ระหว่างการเย็นตัวลงของชิ้นงาน
- 276 -

การให้ความร้อนและการทำให้เย็นตัวของชิ้นงานทั่วๆ ไป ควรจะทำให้เกิดอุณหภูมิแตกต่างกัน
ภายในให้น้อยที่สุด ซึ่งสามารถที่จะทำให้ความเค้นที่เกิดจากความร้อนมีน้อยลง ขณะเดียวกันจะทำให้การ
เปลี่ยนแปลงโครงสร้างของชิ้นงานเป็นไปในเวลาใกล้เคียงกัน ซึ่งจะทำให้ไม่เกิดปัญหาเกี่ยวกับปริ มาตรที่
แตกต่างกันของเกรนแต่ละชนิด
การใช้อุณหภูมิอบที่สูง และการใช้เวลาในการอบนานเกินไป จะทำให้เกรนออสเตไนต์ที่ได้เป็น
เกรนหยาบ ซึ่งส่วนมากแล้วจะเป็นผลเสีย เพราะเกรนใหม่ที่ได้หลังจากทำให้เย็นตัวส่วนใหญ่จะเป็น เกรนที่
หยาบมาก ซึ่งจะทำให้เปราะง่าย เหล็กที่มีเกรนหยาบสามารถทำให้เกรนมีขนาดเล็กลงได้โดยการ อบปกติ
(Normalization)
2) การอบปกติ (Normalizing)

การอบวิธีนี้จะให้ความร้อนไปจนเหนือเส้นของการเปลี่ยนโครงสร้าง Ac3 เล็กน้อยคือเหนือเส้น


Ac3 20-50C สำหรับเหล็กกล้าไฮโปยูเทคตอยด์ (C < 0.77%) และเหนือเส้น Ac1 20-50C สำหรับเหล็กกล้า
ไฮเปอร์ยูเทคตอยด์ (C < 0.77%) การเย็นตัวจะเป็นไปอย่างช้าๆ ในอากาศ การให้ ความร้อนแก่เหล็กจาก
บริเวณ  ไปสู่บริเวณ  และกลับกัน การเย็นตัวอย่างช้าๆ ของเหล็กจะทำให้เกิดการเปลี่ยนโครงสร้างของเหล็ก
ขึ้นสองครั้ง และจะทำให้โครงสร้างของเหล็กละเอียดและสม่ำเสมอขึ้น ต่างจากโครงสร้างเดิม เช่น โครงสร้างจาก
การหล่อ การตี การชุบ แข็ง เป็น ต้น การเกิดเกรนที่ล ะเอียดขึ้นได้นั้นเนื่องมาจากมีแกนผลึก ( Crystal
nucleus) เกิดขึ้นใหม่เป็นจำนวนมาก ทั้งนี้เนื่องมาจากมีแนวเส้นผลึก (Crystal Line) จำนวนมาก ที่มีอยู่ใน
เกรนเพอร์ไลต์ ซึ่งจะมีลักษณะเป็นชั้นๆ
จุดประสงค์ของการอบปกติ คือ การทำให้เกรนที่มีขนาดใหญ่กลายเป็นเกรนที่มีขนาดปกติและ
ทำให้สมบัติเหมือนกันทุกทิศทาง การผลิตเหล็กกล้าหล่อ (Cast Steel) จำเป็นต้องมีการอบปกติ เพราะ
หลังจากการแข็งตัวเกรนของเหล็กจะมีลักษณะหยาบ นอกจากนั้นชิ้นงานขนาดใหญ่ที่ตีขึ้นรูป (Forging) ซึ่งได้รับ
ความร้อนสูงเป็นเวลานานก็จะมีโอกาสมีเกรนที่หยาบได้เช่นกัน การอบแบบนี้ยังสามารถแก้การเป็น โครงสร้าง
แบบเส้นบันทัดได้ด้วย
- 277 -

รูปที่ 4.17 แผนภูมิการอบปกติ (Normalizing) [2]


การอบปกติเหล็กกล้าที่มี C > 0.77% จะใช้อุณหภูมิในการอบเหนือเส้น Ac1 เพราะถ้าใช้
อุณหภูมิเหนือเส้น Ac3 ซึ่งเป็นช่วงอุณหภูมิสูง จะทำให้ได้เกรนออสเตไนต์โต และเมื่อเหล็กเย็นตัวลง จะมีผลทำ
ให้ซีเมนไตท์ที่เกิดขึ้น มีลักษณะเป็นตาข่าย ซึ่งจะมีผลให้สมบัติทางกลของเหล็ กลดลง และยากที่จะอบแก้ไข
ด้วยวีธีอื่น
ข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้ในการอบแบบนี้คือ การให้ความร้อนที่ไม่สม่ำเสมอ หมายถึง ความ
ร้อนไม่กระจายไปทั่วถึงทั้งชิ้นงาน ข้อผิดพลาดอีกอย่าง เช่น ความร้อนที่อบมากเกินไป หรืออบนานเกินไป
(ความร้อนที่ใช้เหมาะสมแล้วแต่ปล่อยทิ้งไว้นานเกินไป)
การอบเพื่อให้ได้เกรนหยาบ การอบเพื่อให้ได้เกรนหยาบ คือ การอบโดยใช้อุณหภูมิเหนือ จุด
เปลี่ยนโครงสร้าง Ac3 แล้วปล่อยให้เย็นตัวลงอย่างช้าๆ จนถึงจุดเปลี่ยนโครงสร้างล่าง Ac1 และหลังจากนั้น
ปล่อยให้เย็นตัวในอากาศปกติ การอบชนิดนี้เพื่อทำให้การตัดเฉือนชิ้นงานเป็นไปได้ง่าย และให้ได้ผิว ของ
ชิ้นงานที่ดี ส่วนใหญ่จะเป็นเหล็กที่มีคาร์บอนต่ำ และมีธาตุอื่นผสม เช่น Mn Cr ซึ่งสามารถนำไปชุบแข็งได้โดย
การเพิ่มคาร์บอนไปที่ผิว จึงทำให้ได้ผิวแข็งแต่บริเวณแกนกลางอ่อนและเหนียว ซึ่งการตัดเฉือนเหล็กชนิดนี้จะได้
ผิวที่ไม่ดี
- 278 -

รูปที่ 4.18 แผนภูมิการอบเพื่อให้ได้เกรนหยาบ [2]


3) การอบอ่อน (Soft annealing or Spheroidizing)
การอบอ่อน คือ การอบที่อุณหภูมิใต้เส้นของการเปลี่ยนโครงสร้างล่าง Ac1 เล็กน้อย แล้วทำให้
เย็นตัวลงช้าๆ เพื่อที่จะให้เหล็กอ่อนตัวลง การอบวิธีนี้จะมีอิทธิพลต่อโครงสร้างเพอร์ไลต์ ซึ่งมีลักษณะเป็น
เส้นๆ โดยจะทำให้ซีเมนไตท์ในเพอร์ไลต์เปลี่ยน เป็นลักษณะกลม นอกจากนั้นยังสามารถทำให้คาร์บอนใน
เกรนมาร์เตนไซต์ แยกตัวออกมาเป็นเหล็กคาร์ไบด์ได้ การที่เกรนเพอร์ไลต์ที่มีลักษณะเป็นเส้นเปลี่ยนแปลง
รูปร่างได้นั้น ต้องใช้เวลาในการอบหลายชั่วโมง การอบอ่อนจำเป็นมาก สำหรับชิ้นงานที่ทำจากเหล็กแผ่น
เหล็กเส้น หรือเส้นลวด ซึ่งได้มาจากการรีดหรือดึง แล้วจำเป็นต้องนำเหล็กนั้นไปขึ้นรูปเย็นต่อไป หรือในกรณี
เหล็กกล้าคาร์บอน C > 0.5% ได้รับความร้อนและเกิดการเย็นตัวอย่างรวดเร็วจึงทำให้เกิดเกรนมาร์เตนไซต์
และมีความจำเป็นต้องทำการตัด เฉือนอีก ซึ่งจะทำไม่ได้ ถ้าไม่ทำการอบอ่อนเสียก่อน หรือในกรณีเหล็กหล่อสี
เทามีเกรนลิดีบุไรต์ที่ผิวของชิ้นงาน ซึ่งมีความแข็งมากทำให้การตัดเฉือนทำได้ยาก จึงต้องมีการอบอ่อนเพื่อให้
สามารถตัดเฉือนได้
- 279 -

รูปที่ 4.19 แผนภูมิการอบอ่อน ก) สำหรับเหล็กกล้าคาร์บอนต่ำ ข) และ ค) สำหรับเหล็กกล้าคาร์บอน


ปานกลาง และคาร์บอนสูง [2]
4) การอบคืนรูปผลึก (Recrystallisation)
การอบคืนรูปผลึก คือ การอบเพื่อช่วยให้เหล็กอ่อนตัวลง เพราะมีความแข็งเพิ่มขึ้นหลังจากมี
การขึ้นรูปเย็น เช่น การขึ้นรูปลึก (Deep Drawing) ซึ่งจะทำให้เหล็กสามารถทำการขึ้นรูปขั้นต่อไปได้ โดยที่
เหล็กไม่เกิดการเสียหาย อุณหภูมิของการอบวิธีนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของเหล็ก และขึ้นอยู่กับสัดส่วนของการขึ้นรูป
ปกติก็จะอยู่ประมาณ 550-650C เกรนที่เกิดจากการขึ้นรูปเย็นจะเปลี่ยนรูปไปได้ตามแนวของการขึ้นรูป
หลังจากผ่านการอบก็จะสามารถกลับสู่สภาพและขนาดเดิม รวมทั้งซีเมนไตท์ก็จะกลับรูปเป็นทรงกลมอย่ าง
เดิมด้วย ซึ่งส่งผลให้การขึ้นรูปเย็นขั้นต่อไปสามารถทำได้สะดวกตราบเท่าที่อุณหภูมิอบไม่เกินเส้น Ac1 แต่ถ้า
ในชิ้นงานชิ้นหนึ่งมีสัดส่วนของการขึ้นรูปไม่เท่ากัน เช่น ในกรณีของการขึ้นรูปลึก อาจจะทำให้เกิดเกรนหยาบ
ที่บริเวณ ที่มีสัดส่วนของการขึ้นรูปอยู่บริเวณจุดวิ กฤต สำหรับเหล็กกล้าที่มี C < 0.2% จุดวิกฤตของสัดสวน
การขึ้นรูปจะอยู่ระหว่าง 5-20% จึงควรหลีกเลี่ยงการอบคืนรูปผลึกมาทำการอบปกติแทน เพื่อหลีกเลี่ยงการ
เกิดเกรนหยาบ การอบคืนรูปผลึกนั้นมีข้อดีตรงที่ชิ้นงานไม่ค่อยเกิดการไหม้ที่ผิวและการเสียรูปทรงของชิ้นงาน
- 280 -

ซึ่ง การอบปกติ จ ะมีโ อกาสเกิ ด ได้ม ากกว่ า ในกรณีข องเหล็ กกล้ าที่ ไ ม่ มี ก ารเปลี่ย นแปลง
โครงสร้างเลย เช่น เหล็กกล้าไร้สนิมออสเตเนติก วีธีเดียวที่จะทำให้เกรนกลับสู่สภาพเดิมได้ คือการอบคืนรูป
ผลึก

รูปที่ 4.20 แผนภูมิการอบคืนรูปผลึก [2]


5) การอบลดความเค้น (Stress Relief)

อุณหภูมิที่ใช้ในการอบแบบนี้จะอยู่ใต้เส้นของการเปลี่ยนโครงสร้าง Ac1 ส่วนใหญ่จะต่ำกว่า


650C และทำให้เย็นตัวลงอย่างช้าๆ เพื่อให้ความเค้นภายในเกิดการสมดุลย์ไม่มีการเปลี่ยนแปลงสมบัติอย่าง
อื่น การอบนี้สามารถกำจัดความเค้นที่อาจเกิดจากความร้อนหรื อแรงกระทำเชิงกล เช่น ความเค้นที่เกิดจาก
การเชื่อม การขึ้นรูปเย็น การให้ความร้อนที่ไม่สม่ำเสมอ หรือการเย็นตัวไม่สม่ำเสมอก็สามารถทำได้เช่นกัน ค่า
ความแข็งแรงของเหล็ก คือค่าความเค้นคราก และความต้านแรงดึงจะมีค่าลดลงที่อุณหภูมิตั้งแต่ 300C ขึ้น
ไป ดังรูปที่ 4.21 จากการอบที่อุณหภูมิของการอบลดความเค้นนี้ จะมีผลทำให้ค่าความเค้นครากลดต่ำลง
และทำให้ความเค้นในตัวชิ้นงานลดลง เพราะความเค้นภายในจะมีค่าสูงกว่าความเค้นครากและอยู่ในบริเวณ
พลาสติก จึงมีการฟอร์มตัว (Deformation) แต่ความเค้นนี้ไม่สามารถลดลงจนถึงศูนย์ได้ เพราะอุณหภูมิที่อบ
ไม่สามารถทำให้ความเค้นครากลดลงเหลือเท่ากับศูนย์ได้ การทำให้เย็นตัวลงจำเป็นต้องให้เย็นอย่างช้าๆ
เพื่อให้อุณหภูมิตลอดทั้งหน้าตัดมีขนาดใกล้เคียงกัน มิเช่นนั้นอาจจะเกิดความเค้นภายในขึ้นอีกได้ การอบวิธีนี้
ต่างกับการอบอ่อนตรงที่เวลาคงอุณหภูมิของการอบแบบนี้ สั้นกว่าการอบอ่อนมาก ดังนั้นจึงไม่เกิดการเปลี่ยน
รูปทรงของซีเมนไตท์ นอกจากนั้นค่าความแข็งและค่าความต้านแรงดึงจะไม่ลดลง การอบด้วยวิธีนี้กับเหล็กซึ่ง
ผ่านการชุบแข็ง และอบคืนตัว (Tempering) แล้วจำเป็นต้องใช้อุณหภูมิอบต่ำกว่าอุณหภูมิของการ อบคืนตัว
- 281 -

เพราะถ้าสูงเกินไปจะทำให้ค่าความแข็งแรงของเหล็กลดต่ำลงอย่างมาก การอบลดความเค้นนี้ยังสามารถใช้
กำจัดความเค้นที่มีอยู่ในเหล็กหล่อได้ด้วย โดยใช้อุณหภูมิสำหรับเหล็กหล่อสีเทาแกรไฟต์แผ่น และแกรไฟต์
กลมโดยส่วนใหญ่จะเลือกใช้อุณหภูมิในการอบ 500-550C และสำหรับเหล็กหล่อเจือต่ำใช้อุณหภูมิประมาณ
550-600C และไม่ควรใช้อุณหภูมิสูงกว่านี้เพราะจะเป็นเหตุให้ค่าความต้านแรงดึงของเหล็กลดลงมาก

รูปที่ 4.21 สมบัติของเหล็กกล้าขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ [2]

รูปที่ 4.22 แผนภูมิการอบลดความเค้น [2]


- 282 -

รูปที่ 4.23 อุณหภูมิของการอบวิธีต่างๆ ในแผนภาพสมดุล Fe-Fe3C [2]


4.7.2 การชุบแข็งเหล็กกล้า

การชุบแข็งเหล็กกล้าในที่นี้ หมายถึง การทำให้เหล็กกล้ามีความแข็งเพิ่มขึ้นด้วยความร้อน ซึ่งมี


กรรมวิธีต่างๆ ดังแสดงในรูปที่ 4.24 หลักการในการชุบแข็งเหล็กกล้าคือ การทำให้เหล็กกล้าเปลี่ยนโครงสร้าง
จาก BCC กลายเป็น FCC โดยการให้ความร้อนจนถึงอุณหภูมิเหนือเส้น Ac3 สำหรับเหล็กกล้าที่มีคาร์บอนต่ำ
กว่า 0.77% หรือที่เรียกว่า “เหล็กกล้าไฮโปยูเทกตอยด์” แต่สำหรับเหล็กกล้าที่มีคาร์บอนสูงกว่า 0.77% หรือ
ที่เรียกว่า “เหล็กกล้าไฮเปอร์ยูเทกตอยด์” ให้ความร้อนแค่อุณหภูมิเหนือเส้น Ac1 อุณหภูมิที่ใช้ในการชุบแข็ง
ควรอยู่เหนือเส้นดังกล่าว ประมาณ 50C จากนั้นจึงทำให้เหล็กกล้าเย็นตัวลง ซึ่งความเร็วในการเย็นตัวจะต้อง
มากพอที่จะทำให้เหล็กกล้ามีความแข็งเพิ่มขึ้น เพราะเกิดการเปลี่ยนโครงสร้างเป็นมาร์เตนไซต์
- 283 -

รูปที่ 4.24 กรรมวิธีการชุบแข็งวิธีต่างๆ [3]

เหตุที่อุณหภูมิชุบแข็งของเหล็กกล้าไฮเปอร์ยูเทกตอยด์อยู่แค่เหนือเส้น Ac1 ประมาณ 50C


นั้น เนื่องจากเหล็กกล้าชนิดนี้มีปริมาณคาร์บอนสูง ถ้าใช้อุณหภูมิชุบแข็งเหนือเส้น Ac3 หลังจากการทำให้เย็นตัว
จะทำให้เหล็กกล้ามีความแข็งไม่สูงเท่าที่ควรเพราะจะเกิดเกรนที่เรียกว่า”รีเทนออสเตไนต์ ( Retained
Austenite)” หลงเหลืออยู่มาก นอกจากนั้นการใช้อุณหภูมิในการชุบแข็งสูง จะมีผลทำให้ได้เกรนมาร์เตนไซด์ ที่
หยาบ ซึ่งจะเป็นผลให้ได้ความแข็งไม่มากเท่าที่ควร

ถ้าชุบแข็งเหล็กกล้าไฮเปอร์ยูเทกตอยด์จากอุณหภูมิเหนือเส้น Ac1 ก็จะทำให้ได้เกรนมาร์เตนไซต์


ซึ่งเกิดจากเกรนออสเตไนต์ ที่มีคาร์บอนผสมอยู่ประมาณ 0.9% จะทำให้เกิดรีเทนออสเตไนต์น้อยกว่า เพราะ
เกรนออสเตไนต์กลายเป็นมาร์เตนไซต์ได้ง่ายกว่า คาร์บอนที่เหลือจะลายเป็นซีเมนไตท์ ความแข็ง  700
HB ซึ่งก็มีความแข็งใกล้เคียงกันกับเกรนมาร์เตนไซต์ (550-600 HB) แต่มีความเปราะมากกว่า
- 284 -

รูปที่ 4.25 เปรียบเทียบความแข็งของเหล็กกล้าคาร์บอน จากการอบปกติ และจากการชุบแข็ง ขึ้นกับ


ปริมาณคาร์บอน [2]

รูปที่ 4.26 โครงสร้างจุลภาคมาร์เตนไซต์ของเหล็กกล้าไฮโปยูเทกตอยด์ 0.6%


คาร์บอนที่ได้หลังจากการชุบแข็ง [10]
- 285 -

การใช้อุณหภูมิชุบแข็งต่ำเกินไป รวมทั้งการใช้เวลาคงอุณหภูมิที่อุณหภูมิชุบแข็งสั้นเกินไป จะ
ทำให้เหล็กคาร์ไบด์ที่เหลืออยู่นี้ เป็นแกนผลึกสำหรับเกิดเพอร์ไลต์ แทนที่จะกลายเป็นเกรนมาร์เตนไซต์

ถ้าชุบแข็งเหล็กกล้าไฮโปยูเทกตอยด์จากอุณหภูมิระหว่างเส้น Ac3 และ Ac1 จะทำให้เกรน


บางส่วนยังคงสภาพเป็นเฟอร์ไรต์อยู่ และทำให้เหล็กที่ชุบแข็งมีความแข็งไม่สม่ำเสมอ บางจุดในเนื้อเหล็กจะ
อ่อน และบางจุดจะแข็งมาก

ถ้าใช้อุณหภูมิในการชุบแข็งสูงเกินไป หรือใช้เวลาคงอุณหภูมินานเกินไป จะเป็นผลให้ได้เกรนมาร์


เตนไซต์หยาบ และมีผลทำให้ชิ้นงานมีความเปราะมากขึ้น

การชุบแข็งเหล็กกล้าให้ได้มาร์เตนไซต์ ดังแสดงในรูปที่ 4.39 ต้องทำให้เหล็กกล้ามีโครงสร้าง


เป็นออสเตไนต์เย็นลงอย่างต่อเนื่อง และรวดเร็ว โดยจุ่มลงในตัวกลาง เช่น น้ำ น้ำมัน หรืออากาศ แต่ในขณะ
จุ่มชุบนั้น อัตราการเย็นตัว ณ ตำแหน่งต่างๆ ในชิ้นงานไม่เท่ากัน เช่น ที่ผิวจะเย็นเร็วกว่าภายใน ดังนั้น ใน
ชิ้นงานอาจมีโครงสร้างหลายชนิดเกิดขึ้น เช่น อาจมีทั้งมาร์เตนไซต์ เพอร์ไลต์ หรือเบไนต์

ปัจจัยที่ทำให้ได้โครงสร้างเป็นมาร์เตนไซต์ตลอดชิ้นงาน ในการชุบแข็งนั้นขึ้นอยู่กับ ส่วนผสม


ทางเคมีของเหล็กกล้า ชนิด และสมบัติของตัวกลางในการจุ่มชุบ ขนาด และรูปร่างของชิ้นงาน

1) ความสามารถในการชุบแข็ง (Hardenability)
ความสามารถในการชุบแข็ง คือ ความ สามารถของเหล็กกล้าที่โครงสร้างจะเปลี่ยนไปเป็นมาร์เตน
ไซต์ ณ อัตราเร็วในการเย็นตัวหนึ่งๆ ซึ่งสามารถทราบได้โดยการวัดความแข็งที่ความลึกต่างๆ กัน หากเหล็กมี
ความสามารถในการชุบแข็งดี หมายถึง เหล็กสามารถเกิดมาร์เตนไซต์ลึก หรือได้ตลอดความหนาของชิ้นงาน
ความสามารถในการชุบแข็งสามารถหาได้จากการทดสอบจอมินี
2) การทดสอบจอมินี (The Jominy end-quench test) การทดสอบนี้ใช้อย่างกว้างขวาง
สำหรับทดสอบความสามารถในการชุบแข็งของโลหะ โดยที่ปัจจัยที่มีผลต่อความสามารถในการชุบแข็ง เช่น
ขนาด รูปร่างของชิ้นทดสอบ และกระบวนการชุบกำหนดให้คงที่
ชิ้นทดสอบ : เป็นแท่งกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 25 มม. ยาว 100 มม.
- 286 -

วิธีทำ
1. นำไปอบที่อุณหภูมิและเวลาที่กำหนดไว้ เพื่อให้โครงสร้างกลายเป็นออสเตไนต์ 100%
จากนั้นจัดวางไว้ดังรูปที่ 4.40 a) อย่างรวดเร็ว โดยปลายด้านล่างจะมีน้ำพ่นเป็นฝอยออกมาทำให้ชิ้นทดสอบ
เย็นจากปลายด้านล่าง โดยที่อุณหภูมิของน้ำเป็น 24 C

2. อัตราการไหลของน้ำ คิดจากความสูงของน้ำที่พุ่งขึ้นมาอย่างอิสระ ต้องสูง 65 มม.

3. ชิ้นตัวอย่างวางอยู่สูงกว่าท่อน้ำ 12 มม.
4. ชิ้นตัวอย่างที่ปลายด้านล่างจะเย็นด้วยอัตราเร็วสูงสุด และอัตราการเย็นตัวจะลดลงเมื่ออยู่
ห่างจากปลายมากขึ้น

รูปที่ 4.27 การทดสอบจอมินี a) การวางชิ้นทดสอบ b) การทดสอบความแข็งบนชิ้นทดสอบ [9]

`เมื่อชิ้นตัวอย่างเย็นลงจนถึงอุณหภูมิห้องแล้ว นำมาเจียรไนตามยาว ดังรูปที่ 4.40b โดย


เจียรไนลึก 0.4 มม. จากผิว ทำการวัดความแข็งรอคเวลล์ C ในช่วงความยาว 50 มม. จากปลายที่เย็นตัวเร็ว
ที่สุด โดยแบ่งออกเป็น

1. ในช่วง 1-12 มม. วัดความแข็งแต่ละจุดห่างกัน 1.6 มม.

2. ในช่วง 13-50 มม. วัดความแข็งแต่ละจุดห่างกัน 3.2 มม.

หลังจากนั้นนำไปเขียนกราฟระหว่าง ระยะห่างจากปลาย กับความแข็ง ดังรูปที่ 4.28


- 287 -

รูปที่ 4.28 ความแข็งของชิ้นทดสอบ ขึ้นอยู่กับระยะห่างจากปลาย ที่เย็นตัวเร็วที่สุด [9]

3) ขบวนการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในขณะชุบแข็ง ในการชุบแข็งการเย็นตัวของเหล็กกล้า จะเป็น ไป


อย่างรวดเร็ว สิ่งที่เกิดขึ้นในระหว่างขบวนการ คือ

• การแพร่ (Diffusion) ของคาร์บอน เนื่องจากในขบวนการชุบแข็งต้องให้คาร์บอนมี การแพร่


หรือการเคลื่อนตัว เข้าไปอยู่ในแลททิซของเหล็ ก ซึ่งต้องใช้เวลาในการแพร่ ที่อุณหภูมิสูง
คาร์บอนสามารถแพร่ได้ง่าย แต่ถ้าเหล็กกล้าเย็นตัวอย่างเร็ว จะทำให้คาร์บอนมีเวลาในการ
แพร่น้อยลงหรือกล่าวโดยทั่วไปว่า ความสามารถในการแพร่คาร์บอนจะลดลง เมื่ออุณหภูมิ
ลดลง
• การเปลี่ยนโครงสร้างของแลททิซเหล็ก ระยะทางของอะตอมที่จะต้องเคลื่อนตัว ในการ
เปลี่ยนแลททิซจาก FCC ไปเป็น BCC นั้น มีระยะทางน้อยมาก เมื่อเหล็กเย็นตัวลง จนถึง
อุณหภูมิของการเปลี่ยนโครงสร้าง เหล็กกล้าก็จะสามารถเปลี่ยนโครงสร้างได้ แม้ว่าเหล็กจะ
เย็นตัวลงอย่างรวดเร็วก็ตาม
ในกรณีที่เหล็กกล้าถูกทำให้เย็นตัวอย่างรวดเร็ว เช่น ในการชุบแข็ง การแพร่ของคาร์บอนออก
จากภายในแลททิซของเหล็ก เป็นไปได้ยาก แต่การเปลี่ยนแปลงการเรียงตัวของอะตอมเหล็กจาก FCC ไปเป็น
BCC เป็นไปได้ เพราะอะตอมของเหล็กไม่จำเป็นต้องเคลื่อนที่เป็นระยะทางมาก จึงทำให้เกิ ดการเปลี่ยน
โครงสร้าง แม้ว่าจะมีอะตอมคาร์บอนยังคงอยู่ภายใน และเป็นเหตุให้เกรนที่ได้ไม่กลายเป็นเฟอร์ไรต์อย่างที่เคย
เป็น เนื่องจากมีอะตอมคาร์บอนแทรกตัวอยู่ จึงเป็นแลททิซที่มีรูปร่างบิดเบี้ยวและมีปริมาตรเพิ่มขึ้น เกรนที่
เกิดใหม่นี้เรียกว่า มาร์เตนไซต์ (Martesite) ซึ่งมีความต้านแรงดึงและความแข็งสูง แต่เปราะ ดังรูปที่ 4.29
- 288 -

รูปที่ 4.29 เปรียบเทียบขนาดแลททิซของเหล็ก a) แบบบอดี้เซ็นเตอร์คิวบิค


b) แบบเตตราโกนาลมาร์เตนไซต์ (ขวา) [2]
4) แผนภาพทีทีที (TTT - Diagram) ย่อมาจาก Time – Temperature – Transformation
เป็นแผนภาพซึ่งแสดงจุดเริ่มและจุดสิ้นสุดของการเปลี่ยนโครงสร้างของเหล็กกล้าขึ้นที่กับเวลา การใช้แผนภาพ
สมดุลเหล็ก – เหล็กคาร์ไบด์ เพื่อดูชนิดเกรนของเหล็กกล้านั้น ไม่สามารถใช้กับกรณีที่มีการเย็นตัวของเหล็ก
อย่างรวดเร็วจากบริเวณออสเตไนต์ เช่น ในกรณีของการชุบแข็ง ดังนั้นจึงได้มีการคิดแผนภาพทีทีทีขึ้น เพื่อให้
สามารถทราบถึงชนิดของเกรนของเหล็ก ในกรณีที่มีการเย็นตัวอย่างรวดเร็ว แผนภาพทีทีที มีอยู่ด้วยกัน 2
ชนิด คือ

• ชนิดการแปลงอุณหภูมิแบบต่อเนื่อง (Continuous Transformation) แผนภาพชนิดนี้จะมี


ประโยชน์ในทางปฏิบัติต่อการชุบแข็งอย่างมาก เช่น การหาค่าความแข็งของเหล็กกล้าหลังจากการชุบแข็ง
มุมซ้ายบน ดังรูปที่ 4.46 a) คือ อุณหภูมิชุบแข็ง ซึ่งเป็นจุดเริ่มการเย็นตัวจนถึงอุณหภูมิห้อง เส้นการเย็นตัว
ซ้ายสุด เป็นเส้นที่เย็นตัวเร็วที่สุด และเส้นขวาสุด เป็นเส้นที่มีการเย็นตัวช้าสุด จำนวนเปอร์เซ็นต์ของเกรนแต่
ละชนิด แสดงให้เห็นบริเวณจุดตัดของเส้นโค้งกับเส้นเย็นตัว เส้นเย็นตัวซ้ายสุดจะเกิดเป็นเกรนมาร์เตนไซต์ แต่
มีบางส่วนเป็นรีเทนออสเตไนต์
• ชนิดการแปลงอุณหภูมิคงที่ (Isothermal Transformation) แผนภาพนี้ใช้ในกรณีที่การเย็น
ตัว ของออสเตไนต์เป็น ไปด้วยความเร็ว แต่อุณหภูมิที่ลดลงนี้ยังไม่ถึงเส้นเริ่มเปลี่ยนเป็นเกรนมาร์เตนไซต์
(Ms) ดังรูปที่ 4.46 b) จึงทำให้เกรนออสเตไนต์คงสภาพอยู่ในช่วงแรก หลังจากที่เวลาผ่านไปจนพบกับเส้นโค้ง
เส้นแรก ซึ่งเป็นเส้นเริ่มเปลี่ยนโครงสร้างก็จะเริ่มเกิดโครงสร้างชนิดใหม่ขึ้น ซึ่งจะเป็นชนิดใดนั้นขึ้นกับระดับ
ของอุณหภูมิที่หยุดไว้ โครงสร้างนี้จะเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ ตามเวลาที่คงอุณหภูมินั้นไว้ และจะสิ้นสุดการ
เปลี่ยนโครงสร้างเมื่อเวลาผ่านไปจนตัดกับเส้นโค้งเส้นที่สอง ซึ่งเป็นเส้นสิ้นสุดการเปลี่ยนโครงสร้าง
- 289 -

a)

b)
รูปที่ 4.30 แผนภาพทีทีทีของเหล็กกล้าเจือ C = 0.5% Mn = 0.9% และ Cr = 1% อุณหภูมิชุบแข็ง
840C เวลาคงอุณหภูมิ 10 นาที a) ชนิดการแปลงอุณหภูมิแบบต่อเนื่อง (Continuous Transformation)
b) ชนิดการแปลงอุณหภูมิคงที่ (Isothermal Transformation) {3]
- 290 -

ในกรณีการเย็นตัวผ่านเส้น Ms ลงมา โครงสร้างจะเปลี่ยนจากออสเตไนต์ไปเป็นมาร์เตนไซต์


ทันที ซึ่งหมายถึง การหยุดของอุณหภูมิจะไม่มีผลต่อการควบคุมโครงสร้างในกรณีนี้ จึงไม่ใช่การเย็นตัว ชนิด
การแปลงที่อุณหภูมิคงที่ จำนวนมาร์เตนไซต์จะเพิ่มขึ้นได้ก็ต่อเมื่อให้มีการเย็นตัวลงจนถึงอุณหภูมิห้อง

สำหรับการชุบแข็งเหล็กกล้าเครื่องมือในทางปฏิบัติจะไม่สามารถทำให้ได้มาร์เตนไซต์ 100%
เพราะจะเกิดรีเทนออสเตไนต์จำนวนหนึ่ง ถึงแม้อุณหภูมิจะลดลงจนถึงอุณหภูมิห้องแล้วก็ตาม ก็ยังคงสภาพ
เป็นออสเตไนต์อยู่ ออสเตไนต์ประเภทนี้จะเปลี่ยนไปเป็นมาร์เตนไซด์ได้ ก็ต่อเมื่ออุณหภูมิลดต่ำลงไปอีกจนถึง
เส้นสิ้นสุดการเปลี่ยนเป็นเกรนมาร์เตนไซต์ Mf ซึ่งอาจอยูต่ ่ำถึง -30C

แผนภาพทีทีที ชนิดการแปลงอุณหภูมิคงที่ ใช้ประโยชน์ในการบอกถึงชนิดของเกรนของเหล็ก


เมื่อการปรั บ ปรุงคุณภาพของเหล็กกล้ าเป็นแบบให้อุณหภูมิคงที่เหนือเส้น Ms เช่น การชุบแข็งแบบมาร์
เทมเปอริง การชุบแข็งแบบออสเทมเปอริง และยังสามารถช่วยกำหนดอุณหภูมิอุ่นชิ้นงานสำหรับงานเชื่อมได้
ด้วย

แผนภาพทีทีที ทั้งสองชนิดนี้ จะใช้ได้กับอุณหภูมิชุบแข็ง ตามที่กำหนดในแผนภาพเท่านั้น ถ้า


อุณหภูมิชุบแข็งสูงกว่าที่แสดงในแผนภาพ เส้นโค้งทั้งหมดจะต้องเลื่อนไปทางขวาและในทางตรงข้าม ถ้า
อุณหภูมิชุบแข็งต่ำกว่าในแผนภาพ เส้นโค้งจะเลื่อนไปทางซ้าย นอกจากนั้นตัวแปรสำคัญที่มีผลต่อตำแหน่งของ
เส้นโค้งต่างๆ คือส่วนผสมทางเคมีของเหล็กกล้าแต่ละชนิด เช่น ถ้ามีคาร์บอนหรือสารเจือเพิ่มขึ้น จะทำให้เส้น
โค้งหรือปลายจมูกของเบไนต์เลื่อนไปทางขวาของแผนภาพ ฉะนั้น เหล็กกล้าทุกชนิดจึงต้องมีแผนภาพทีทีที
เฉพาะของเหล็กกล้าแต่ละชนิดนั้น

4.7.3 การชุบแข็งทั้งชิ้นงาน (Full Hardening)

การชุบแข็งเหล็กกล้าด้วยการชุบโดยตรงในสารชุบ เหล็กกล้าจะถูกให้ความร้อนจนถึงอุณหภูมิชุบ
แข็ง และคงอุณหภูมิไว้จนกระทั่งความร้อนกระจายทั่วชิ้นงานและเกรนของเหล็กกล้าเปลี่ยนเป็นออสเตไนต์
จากนั้นชิ้นงานจึงถูกจุ่มชุบ (Quenching) ลงในสารชุบ ดังแสดงในรูปที่ 4.47 ซึ่งอาจจะเป็นน้ำ น้ำมัน หรือ
อากาศ ขึ้นอยู่กับชนิดของเหล็กกล้า ถ้าการเย็นตัวของเหล็กกล้าขณะชุบสูงกว่าอัตราเร็วเย็นตัววิกฤติ (Critical
Cooling Rate) ของเหล็กนั้น จะทำให้โครงสร้างของเหล็กกล้าสามารถเปลี่ยนไปเป็นมาร์เตนไซต์ได้
- 291 -

รูปที่ 4.31 แผนภาพอุณหภูมิขึ้นกับเวลาในการชุบแข็ง {3]

รูปที่ 4.32 อัตราเร็วเย็นตัววิกฤติ (Critical Cooling Rate) ของเหล็กกล้าคาร์บอนขึ้นกับปริมาณคาร์บอน {3]

อัตราเย็นตัววิกฤต CCR ของเหล็กกล้าแต่ละชนิดขึ้นกับปริมาณคาร์บอน และสารเจือที่ผสมใน


เหล็กกล้าแต่ละชนิดเป็นหลัก โดยเฉพาะปริมาณคาร์บอน เมื่อปริมาณคาร์บอนเพิ่มขึ้นค่า CCR จะลดลง ดังรูป
ที่ 4.48 สารเจือหลักที่มีผลให้ค่า CCR ลดลง เช่น โครเมียม นิกเกิล แมงกานีส โมลิดินั่ม เป็นต้น ซึ่งค่า CCR มี
ส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการกำหนดความเร็วในการเย็นตัวขณะชุบแข็ง ซึ่งขึ้นกับชนิดของสารชุบ
- 292 -

สำหรับการเลือกใช้อุณหภูมิชุบแข็งนั้น ขึ้นอยู่กับประเภทของเหล็กกล้า เช่น เหล็กกล้าไฮโปยู


เทกตอยด์ (C<0.77%) อุณหภูมิชุบแข็งจะอยู่เหนือเส้น Ac3 ประมาณ 50C ส่วนเหล็กกล้าเจือนั้น ส่วนใหญ่จะมี
อุณหภูมชิ ุบแข็งสูงกว่านี้ ซึ่งผู้ผลิตเหล็กจะเป็นผู้แนะนำอุณหภูมิชุบแข็งที่เหมาะสมให้

หลักในการเลือกสารชุบ การเลือกใช้สารชุบในการชุบแข็ง โดยหลักการแล้วต้องให้ความเร็วใน


การเย็นตัวของเหล็กกล้าขณะชุบลงในสารชุบสูงกว่าอัตราเย็นตัววิกฤตของเหล็กชนิดนั้น เพื่อให้ได้โครงสร้าง
มาร์เตนไซต์ตามต้องการ ขณะเดียวกันสิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงคื อ การเสียรูป และการแตกร้าวซึ่งอาจเกิด
ขึ้นกับชิ้นงานขณะชุบ เพราะถ้าการเย็นตัวขณะชุบสูงมาก การเสียรูปก็มีมาก รวมถึงโอกาสแตกร้าวก็มีสูงด้วย
แม้จะได้ชิ้นงานที่มีความแข็งสูงก็ไม่มีประโยชน์ ในขณะที่ถ้าการเย็นตัวขณะชุบต่ำกว่าอัตราเย็นตัววิกฤตของ
เหล็กนั้นก็จะไม่ได้โครงสร้างมาร์เตนไซต์ที่สมบูรณ์ หรือได้ความแข็งไม่สูงตามต้องการ ดังนั้นการเลือกใช้สาร
ชุบจึงต้องใช้หลักการให้ความเร็วในการเย็นตัวของชิ้นงานขณะชุบสูงกว่าอัตราเย็นตัววิกฤต (CCR) ของเหล็ก
นั้นเท่าที่จำเป็นในการเปลี่ยนเป็นโครงสร้างมาร์เตนไซต์

ดังนั้นสารชุบจึงมีให้เลือกใช้หลายชนิด แต่ละชนิดให้ความเร็วในการเย็นตัวขณะชุบแตกต่างกัน
ซึ่งจำเป็นต้องเลือกให้เหมาะสมกับเหล็กกล้าแต่ละชนิด เนื่องจากเหล็กกล้าแต่ละชนิดมีค่า CCR ที่แตกต่างกัน
ดังรูปที่ 4.33

การชุบแข็งในน้ำ น้ำที่ใช้ควรผสมเกลือแกงประมาณ 10% หรือ จะใช้โซเดียมไฮดรอกไซด์


(โซดาไฟ) 10% ก็ได้ ซึ่งจะช่วยป้องกันการเกาะของฟองอากาศในขณะชุบชิ้นงาน นอกจากนี้ยังทำให้การ
ถ่ายเทความร้อนดีขึ้น น้ำสามารถถ่ายเทความร้อนได้ดีที่สุด ที่อุณหภูมิประมาณ 20C ข้อเสีย ของการชุบ
ชิ้นงานด้วยน้ำ คือ การบิดงอของชิ้นงานจะมีสูง และโอกาสที่ชิ้นงานจะแตกร้าวมีค่อนข้างมาก ทั้งนี้เนื่องจากมี
การเย็นตัวเร็วมาก เหล็กกล้าที่เหมาะกับการชุบแข็งในน้ำควรเป็นเหล็กกล้าที่มีอัตราเย็นตัววิกฤตสูง เช่น
เหล็กกล้าคาร์บอน
- 293 -

รูปที่ 4.33 การเลือกสารชุบชนิดต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับกลุ่มเหล็กกล้าแต่ละชนิด {3]

การชุบแข็งชิ้นงานในน้ำมัน ชิ้นงานจะเย็นตัวช้ากว่าชุบในน้ำ ดังนั้นการบิดงอของชิ้นงานจะมี


น้อยกว่า อุณหภูมิของน้ำมันที่เหมาะในการชุบประมาณ 60 - 80C ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของน้ำมั น น้ำมันบาง
ชนิดอาจสูงกว่านี้ เพราะที่อุณหภูมินี้น้ำมันจะมีสมบัติในการถ่ายเทความร้อนได้ดี เหล็กกล้าที่เหมาะกับการชุบ
แข็งในน้ำมันส่วนใหญ่เป็นเหล็กกล้าเจือต่ำถึงสูง สำหรับน้ำมันเย็นเร็วสามารถชุบแข็งเหล็กกล้าคาร์บอนได้ แต่
ต้องมีความหนาไม่มากนัก

การชุบแข็งชิ้นงานด้วยอากาศ ซึ่งอาจจะปล่อยให้ชิ้นงานเย็นตัวในอากาศนิ่ง หรือถ้าต้องการให้


เร็วขึ้นก็ใช้การเป่าด้วยอากาศ ข้อดีของวิธีนี้ก็คือ การบิดงอและการแตกหักของชิ้นงานจะมีน้อยมาก แต่มี
ข้อเสีย คือ ผิวของชิ้นงานจะเกิดการอ๊อกซิเดชั่นจากอากาศทำให้ผิวเป็นสะเก็ดไหม้ เหล็กกล้าที่เหมาะกับการ
ชุบแข็งโดยเป่าด้วยอากาศ ควรเป็นเหล็กกล้าเจือสูง ซึ่งมีอัตราเย็นตัววิกฤตต่ำ
- 294 -

จากรูปที่ 4.33 แสดงสารชุบที่เหมาะกับเหล็กกล้าแต่ละชนิด โดยเหล็กกล้าที่มีค่าอัตราเย็นตัว


วิกฤตสูง ก็จำเป็นต้องเลือกใช้สารชุบที่ให้ความเร็วในการเย็นตัวขณะชุบที่สูงกว่า ในขณะที่เหล็กกล้าเจือสูงซึ่งมี
อัตราเย็นตัววิกฤตต่ำ ก็เหมาะกับสารชุบที่ให้ความเร็วในการเย็นตัวขณะชุบต่ำ เช่น พัดลมเป่า

ในการชุบ แข็งปัญหาที่มีมากที่ส ุด คือ การบิดงอและแตกร้าวของชิ้นงานหลังจากการชุ บ


โดยเฉพาะกับชิ้นงานหนาและมีรูปร่างซับซ้อน ทั้งนี้มีสาเหตุจากการเย็นตัวของชิ้นงานจากอุณหภูมิสูงลงมายัง
อุณหภูมิต่ำอย่างรวดเร็ว การชุบแข็งแบบมาร์เทมเปอริงจะช่วยลดปัญหาดังกล่าวได้อย่างมาก การชุบวิธีนี้ต้อง
กระทำสองจังหวะด้วยกัน (ดังรูปที่ 4.34) คือ ขั้นแรก ต้องชุบลงในบ่อเกลือ (Salt Bath) ซึ่งมีอุณหภูมิสูงกว่า
เส้น Ms ของเหล็กกล้าชนิดนั้นประมาณ 50C เมื่ออุณหภูมิของเหล็กกล้าลดลงมาถึงอุณหภูมิบ่อเกลือ
โครงสร้างจะยังไม่เปลี่ยนแปลง คือ ยังคงเป็นออสเตไนต์อยู่ ชิ้นงานจะถูกแช่อยู่ในบ่อเกลือนี้ เพื่อให้อุณหภูมิ
เท่ากันตลอดทั้งชิ้นงาน เวลาในการแช่ชิ้นงานนี้ต้องไม่ นานเกินไปจนเหล็กเปลี่ยนโครงสร้างเป็นเบไนต์ได้
หลังจากนั้นจึงปล่อยให้เย็นตัวในอากาศ หรือชุบลงในน้ำมัน

รูปที่ 4.34 แผนภาพแสดงเส้นโค้งการเย็นตัวของการชุบแข็งแบบมาร์เทมเปอริง [3]

การชุบแข็งวิธีนี้จะช่วยลดความเค้นที่เกิดจากการลดอุณหภูมิลงอย่างรวดเร็วได้ แต่ก็ไม่สามารถ
ที่จะลดความเค้นจากการเปลี่ยนโครงสร้างได้ อย่างไรก็ตามการบิดงอ และแตกร้าวของชิ้นงานชุบแข็ง จะมี
น้อยลง ซึ่งเหมาะสำหรับชิ้นงานหนามากๆ ข้อดีอีกอย่างคือ ผิวของชิ้นงานจะไม่ได้รับการเสียหายจากการไหม้
เพราะเกลือชุบจะช่วยป้องกันอ๊อกซิเจนไม่ให้ถูกผิวชิ้นงาน ความแข็งลึกของเหล็กกล้าจากการชุบวิธีนี้จะมีน้อย
กว่าการชุบโดยตรงลงในน้ำหรือน้ำมัน

การชุบแข็งแบบออสเทมเปอร์ริ่ง (Austempering Hardening) ชุบแข็งวิธีนี้เพื่อชุบแข็งชิ้นงาน


ให้ได้เกรนเบไนต์ ซึ่งมีลักษณะคล้ายเกรนเพอร์ไลต์ แต่มีความละเอียดกว่ามาก และไม่มีลักษณะเป็นเส้น
- 295 -

เหมือนเกรนเพอร์ไลต์ทั่วๆ ไป แต่จะมีลักษณะกลมและมีความแข็งสูง แต่ต่ำกว่ามาร์เตนไซต์ ทว่ามีความ


เหนียวมากกว่า ทำให้ไม่จำเป็นต้องทำการอบคืนตัว (Tempering) หลังจากการชุบแข็ง

รูปที่ 4.35 แผนภาพแสดงเส้นโค้งการเย็นตัวของการชุบแข็งแบบออสเทมเปอริง {3]

ขั้นตอนของการชุบแข็งด้วยวิธีนี้ ทำได้โดยการชุบชิ้นงานจากอุณหภูมิชุบแข็งลงในบ่อเกลือซึ่งมี
อุณหภูมิอยู่เหนือเส้น Ms ดังรูปที่ 4.35 โดยมีหลักการว่า ยิ่งอุณหภูมิของบ่อเกลือยิ่งใกล้เคียงกับเส้น Ms มาก
เท่าไร ก็จะยิ่งทำให้ชิ้นงานมีความแข็งมากขึ้น หลังจากการชุบลงในเกลือร้อนแล้วต้องแช่ชิ้นงานไว้ในเกลือร้อน
เพื่อให้โครงสร้างเปลี่ยนเป็นเบไนต์ทั้งหมด ซึ่งเวลาแช่ชิ้นงานควรจะเป็นเวลานานเท่าไรสามารถ ดูได้จาก
แผนภาพทีทีทีของเหล็กกล้าชนิดนั้น

ข้อดีของการชุบวิธีนี้ คือ การบิดงอของชิ้นงานมีน้อย ความเค้นภายในเนื่องจากการเปลี่ยน


โครงสร้างมีไม่มาก ดังนั้นจึงเหมาะกับชิ้นงานบางๆ และควรเป็นเหล็กกล้าคาร์บอน เพราะเหล็กกล้าเจือต่ำและ
เจือสูง จะต้องใช้เวลาในการแช่ชิ้นงานนานมาก ซึ่งจะทำให้มีค่าใช้จ่ายสูงมาก ตัวอย่างชิ้นงานที่นิยมชุบแข็งวิธี
นี้ ได้แก่ เหล็กแหนบรถยนต์ ซึ่งทำด้วยเหล็กกล้าคาร์บอนปานกลาง เป็นต้น

ปัญหาสำคัญของเหล็กกล้าขณะให้ความร้อน คือ ผิวของเหล็กกล้าทำปฏิกิริยาออกซิเดชั่นกับ


ออกซิเจนในอากาศ การป้องกันผิวเหล็กกล้าขณะให้ความร้อน คือ ทำให้ผิวของเหล็กกล้าเกิดการเสียหาย
เพราะเกิดเป็นสเกล ซึ่งอาจทำให้ขนาดของชิ้นงานต่ำกว่าที่กำหนดได้ นอกจากนั้นผิวก็ยังอาจเกิดการสูญเสีย
คาร์บ อน (Decarburizing) ซึ่งจะส่งผลให้ค่าความต้านการล้า (Fatigue Strength) ของชิ้นงานลดลง ยิ่ง
อุณหภูมิที่ใช้สูงและเวลานานยิ่งทำให้การเกิดออกซิเดชั่นรุนแรงมากขึ้น ถ้าไม่มีมาตรการป้องกันใดๆ ก็
- 296 -

จำเป็นต้องเผื่อขนาดชิ้นงานให้เพียงพอจากการเสียหายนี้ เพื่อมิให้ขนาดต่ำกว่าที่กำหนดหลังจากการตบแต่ง
ภายหลังการชุบแข็ง อย่างไรก็ตามการเผื่อขนาดมากเกินไปทำให้ต้นทุนการผลิตสูงขึ้น และบางจุดยากในการตบ
แต่ง เช่น รูขนาดเล็ก ฟันเกลียว เป็นต้น ดังนั้นการผลิตจำนวนมาก จึงมักป้องกันการเสียหายของผิวมิให้
เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่น เพื่อหลีกเลี่ยงการตบแต่งภายหลัง

การป้องกันผิวเหล็กกล้าขณะให้ความร้อน สามารถทำได้ดังนี้

• การใช้ก๊าซปกป้อง (Shield Gas) ก๊าซที่ใช้ต้องไม่มีส่วนผสมของออกซิเดชั่น และก๊าซซึ่งสามารถ


ดึงคาร์บอนออกจากผิวเหล็กกล้า ได้แก่ CO2 ก๊าซที่นิยมใช้ เช่น ไนโตรเจน ไนโตรเจน + ไฮโดรเจน (ได้จาก
การแตกตัวของแอมโมเนีย ) เอ็นโดเทอร์มิกก๊าซ (เป็นก๊าซผสม N2 + CO + H2 ได้จากการเผาโพรเพนกับ
อากาศ หรือ การแตกตัวของเมทานอล) อาร์กอน ฮีเลี่ยม ฯลฯ การจะเลือกใช้ก๊าซชนิดใดนั้นต้องคำนึงถึงชนิดของ
เหล็กกล้า ความปลอดภัยและค่าใช้จ่าย
• การอบในบ่ อ เกลื อ (Salt Bath) เกลื อเคมี ม ี ห ลายชนิ ด มี จ ุ ดหลอมเหลวแตกต่ า งกั น ที่
อุณหภูมิห้องจะมีลักษณะเป็นผง เมื่อได้รับความร้อนจะหลอมละลายเป็นของเหลว ชิ้นงานชุบแข็งจะถูกผูก
ด้วยลวด และแช่ในบ่อเกลือ ซึ่งเกลือเคมีจะทำหน้าที่ป้องกันออกซิเจนจากอากาศ ขณะเดียวกันยังพาความ
ร้อนเข้าสู่ชิ้นงาน บางกรณียังสามารถเติมคาร์บอน หรือไนโตรเจนเข้าสู่ผิวของเหล็กกล้าได้ด้วย ปัจจุบันการอบ
ชุบในบ่อเกลือมีการใช้น้อยลง เนื่องจากมีปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมจากไอระเหยของเกลือเคมี
• การใช้สีลักษณะพิเศษทา สีลักษณะพิเศษหรือที่เรียกว่า Stop Off เป็นสีซึ่งทนความร้อนได้
สูง สามารถทาผิวของเหล็กกล้าเพื่อป้องกันการเกิดออกซิเดชั่น ซึ่งสามารถเลือกทาเฉพาะจุดที่สำคัญได้
เนื่องจากสีดังกล่าวมีราคาค่อนข้างสูง
• การใช้โลหะบางห่อ โลหะบาง เช่น เหล็กกล้าไร้สนิมแผ่นบาง (Stainless Foil) เนื่องจาก
เหล็กกล้าไร้สนิมทนต่อการเกิดออกซิเดชั่นได้ดี วิธีนี้ไม่ค่อยเป็นที่นิยมกันมากนัก เนื่องจากสิ้นเปลืองสูง

4.8 การชุบผิวแข็ง (Surface Hardening)

การชุบผิวแข็ง คือ การชุบแข็งชิ้นงานเพื่อให้เฉพาะผิวชิ้นงานแข็งเท่านั้น แต่บริเวณแกนกลางไม่มีความ


แข็งเพิ่มขึ้นหรือเพิ่มขึ้นไม่มาก ซึ่งจะเป็นผลให้แกนกลางของชิ้นงานคงความเหนียวอยู่ นอกจากนั้นยังเป็นการ
เพิ่มความคงทนในการเสียดสี และเพิ่มความสามารถในการรับแรงกดอัดที่ผิว ผิวที่ผ่านการชุบแข็งแล้วยัง
ป้องกันการเกิดการแตกร้าวจากการล้า (Fatigue) ได้ดีขึ้น ซึ่งหมายถึงชิ้นงานจะมีค่าความต้านล้า (Fatigue
Strength) เพิ่มขึ้น การชุบผิวแข็งมีหลายแบบ ดังต่อไปนี้
- 297 -

4.8.1 การชุบผิวแข็งโดยเปลวไฟ (Flame Hardening)

เหล็กกล้าที่ใช้ชุบแข็งด้วยวิธีนี้ ต้องเป็นเหล็กกล้าคาร์บอนที่มีคาร์บอนปานกลางขึ้นไป หรือมี


สารเจือ เช่น Cr Mo เป็นต้น ส่วนใหญ่หลังจากผิวถูกทำให้ร้อนจนเปลี่ยนโครงสร้างแล้วชิ้นงานจะถูกทำให้
เย็นลงด้วยการพ่นน้ำ การให้ความร้อนและการพ่นน้ำจะต้องเป็นไปอย่างรวดเร็ ว เพื่อป้องกันไม่ให้บริเวณ
แกนกลางได้รับความร้อนมากเกินไป ดังแสดงในรูปที่ 4.36

การให้ความร้อนชิ้นงานด้วยเปลวไฟ ทำได้โดยการใช้เปลวไฟจากก๊าซเชื้อเพลิง เช่น อาซิทีลิน


หรือโพรเพน การชุบผิวแข็งจะมีด้วยกันหลายวิธี เช่น ชิ้นงานอยู่กับที่และเปลวไฟพร้อมน้ำพ่นเคลื่อนที่ หรือ
อาจจะกลับกันคือ ชิ้นงานเคลื่อนที่ เช่น หมุนรอบตัวเอง และเปลวไฟอยู่กับที่

รูปที่ 4.36 การชุบผิวแข็งด้วยเปลวไฟ (Flame Hardening) [2]


- 298 -

ข้อดีของการชุบวิธีนี้คือ แกนกลางจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงสมบัติ การบิดเสียรูปของชิ้นงาน มี


น้อย การชุบเป็นไปอย่างรวดเร็ว เชื้อเพลิงที่ใช้ไม่สิ้นเปลือง แต่ข้อเสีย คือไม่สามารถที่จะชุบเพื่อให้ได้ชั้นแข็ง
ลึก (Case Depth) น้อยกว่า 1 มม. จึงไม่เหมาะกับชิ้นงานขนาดเล็ก

4.8.2 การชุบผิวแข็งเหนี่ยวนำ (Induction Hardening)

หลักการของการชุบผิวแข็งวิธีนี้คล้ายคลึงกับการชุบแข็งด้วยเปลวไฟ เพียงแต่พลังงานความร้อน
ที่ใช้ได้จากขดลวดเหนี่ยวนำ ซึ่งมีกระแสไฟฟ้า ความถี่สูงไหล ทำให้เกิดสนามแม่เหล็กไฟฟ้า และเกิดการ
เหนี่ยวนำ ทำให้มีกระแสไฟฟ้าไหลบริเวณผิวของชิ้นงานชุบแข็ง ซึ่งจะทำให้ชิ้นงานได้รับความร้อนอย่าง
รวดเร็ว แต่ความร้อนนี้จะอยู่แต่บริเวณผิวชิ้นงานเท่านั้น หลังจากได้รับความร้อนแล้วชิ้นงานก็จะถูกทำให้เย็น
อย่างรวดเร็วด้วยการฉีดน้ำ ดังแสดงในรูปที่ 4.37

ชั้นแข็งลึก (Case Depth) ที่ผิวสามารถกำหนดได้ค่อนข้างแม่นยำ เนื่องจากขึ้นอยู่กับความถี่


กำลังไฟฟ้า ความเร็วในการเคลื่อนที่ผ่านขดลวดของชิ้นงาน ชนิดของสารชุบ รวมถึงความแรงและปริมาณของ
สารชุบ ซึ่งตัวแปรเหล่านี้สามารถกำหนดได้ อย่างแน่นอน โดยเฉพาะปัจจุบันเครื่ องจั กรมั กควบคุม ด้ ว ย
คอมพิวเตอร์ สามารถควบคุมตัวแปรต่างๆ ได้ตามต้องการ ดังนั้นในการผลิตชิ้นงานจำนวนมาก เช่น ชิ้นส่วน

รถยนต์ เครื่องจักรกลการเกษตร และชิ้นส่วนเครื่องจักรกลทั่วไป จึงนิยมใช้วิธีนี้มากกว่าการชุบผิวแข็งด้วยเปลว


ไฟ แม้เครื่องจักรจะมีราคาค่อนข้างสูงก็ตาม

รูปที่ 4.37 การชุบผิวแข็งเหนี่ยวนำ (Induction Hardening) [3]


- 299 -

เครื่องอินดักชั่นที่ใช้ในการชุบผิวแข็งในปัจจุบันสามารถทำงานได้อย่างอัตโนมัติ ดังรูปที่ 4.38


โดยสามารถตั้งโปรแกรมเพื่อกำหนดตำแหน่งชุบแข็งของชิ้นงาน และชั้นความแข็งลึกได้อย่างแม่นยำ ซึ่งสามารถ
ชุบแข็งชิ้นงานจำนวนมากได้คุณภาพไม่แตกต่างกันในแต่ละชิ้น

รูปที่ 4.38 เครื่องอินดักชั่นควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ สามารถทำงานได้อย่างอัตโนมัติ [3]

4.8.3 การชุบผิวแข็งแบบคาร์บุไรซิ่ง (Carburization Hardening)

การชุบแข็งวิธีนี้จะใช้เมื่อต้องการชุบผิวแข็งชิ้นงานที่ทำจากเหล็กกล้าคาร์บอนต่ำ ซึ่งปกติจะไม่
สามารถทำการชุบแข็งได้ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องทำการเพิ่มปริมาณคาร์บอนบริเวณผิวชิ้นงานเพื่อให้มีคาร์บอนมาก
พอ

คาร์บอนนี้อาจได้มาจากสารของแข็ง ของเหลว หรือก๊าซ ก็ได้ โดยจะต้องทำให้อะตอมคาร์บอน


แพร่ (Diffuse) เข้าไปในผิวเหล็กกล้า ซึ่งชิ้นงานจำเป็นต้องทำให้ร้อนจนมีอุณหภูมิเหนือเส้น Ac3 เพราะที่
อุณหภูมินี้ ความสามารถและความเร็วในการแพร่ของคาร์บอนเข้าไปในเหล็กกล้า เป็นไปได้มาก บริเวณผิวที่
ต้องการชุบแข็งจะต้องให้คาร์บอนแพร่เข้าไปประมาณ 0.77% และไม่ควรให้มีคาร์บอนมากกว่านี้ เพราะถ้ามี
คาร์บอนมากเกินไปหลังจากการชุบจะมีซีเมนไตท์หลงเหลืออยู่มากเกินไป ซึ่งมีผลเสียต่อชิ้นงาน คือมีความ
เปราะสูง โอกาสที่ผิวแตกร้าวจะมีมาก หรืออาจมีออสเตไนต์ตกค้างมาก

การควบคุมคาร์บอน ทำได้โดยหลายวิธี เช่น โดยการเลือกชนิดของสารเติมคาร์บอน ซึ่งมีหลาย


ชนิด นอกจากนั้นยังสามารถเลือกเวลาและอุณหภูมิเติมคาร์บอน เพื่อความเหมาะสมตามความต้องการ ซึง่ การ
- 300 -

ใช้อุณหภูมิเติมคาร์บอนสูง จะทำให้คาร์บอนสามารถแพร่เข้าไปได้ลึก และรวดเร็ว สำหรับเวลาที่เลือกใช้ขึ้นอยู่กับ


สารเติมคาร์บอน และ ชั้นความแข็งลึก (Case Depth) ที่ต้องการ

รูปที่ 4.39 การเติมคาร์บอนด้วยสารของแข็ง (Packed Carburizing) และผงถ่านอัดเม็ดสำเร็จรูป [3]

สารเติมคาร์บอนที่เป็นของแข็ง ดังรูปที่ 4.39 ประกอบด้วย ถ่านไม้ ถ่านหิน เช่น ถ่านไม้ 60%


ถ่านหินสีน้ำตาล 40% ผสมกับสารเร่งปฏิกิริยาแบเรียมคาร์บอเนตจำนวนหนึ่ง ถ้าบริเวณใดไม่ต้องการชุบผิ

แข็งก็สามารถทำได้โดยการพอกด้วยดินเหนียว หรือชุบผิวด้วยทองแดง อุณหภูมิที่ใช้ในการเติม


คาร์บอนอยู่ที่ประมาณ 900 - 950C ถ้าใช้เวลาเติม 4 ชม. คาร์บอนสามารถแพร่เข้าไปในผิวประมาณ 1 มม.

หลังจากชิ้นงานถูกเติมคาร์บอนเพียงพอแล้ว จำเป็นต้องทำการจุ่มชุบชิ้นงานในตัวกลาง เช่น น้ำ


หรือ น้ำมันชุบแข็ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของเหล็กกล้า ถ้าชิ้นงานทำด้วยเหล็กกล้าคาร์บอนต่ำไม่มีสารเจือ
จำเป็นต้องจุ่มชุบลงในน้ำ แต่ถ้าชิ้นงานมีสารเจือ เช่น โครเมียม 1% ก็สามารถจุ่มชุบลงในน้ำมันชุบแข็งได้
เนื่องจากโครเมียมทำให้อัตราเย็นตัววิกฤตของเหล็กกล้าลดลง

ในทางปฏิบัติ การนำชิ้นงานออกจากภาชนะที่บรรจุรวมกับผงถ่านขณะอุณหภูมิสูง มักยุ่งยาก


เนื่องจากผงถ่านจะลุกไหม้เมื่อสัมผัสกับอากาศ ดังนั้นบ่อยครั้งต้องยอมให้ชิ้นงานที่บรรจุในกล่องถ่านเย็นตัวลง
มาถึงอุณหภูมิห้อง แล้วจึงแยกชิ้นงานออกจากผงถ่าน และนำไปให้ความร้อนอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งสามารถใช้อุณหภูมิ
ชุบแข็งต่ำลงอยู่ระหว่าง 820 - 860C ได้ เพื่อให้การเสียรูปของชิ้นงานไม่สูงมากนัก

สำหรับสารเติมคาร์บอนที่เป็นของเหลว เช่น โปตัสเซียมไซยาไนต์ (KCN) หรือโซเดียมไซยาไนต์


(NaCN) ผสมกับคลอรีน สารนี้เมื่อได้รับความร้อนสูง เกลือไซยาไนต์จะแตกตัวให้คาร์บอน และคาร์บอนจะแพร่
- 301 -

เข้าไปในผิวเหล็ก โดยจะรวมกับเหล็กเป็นเหล็กคาร์ไบด์ การเติมคาร์บอนวิธีนี้ แม้นว่าจะมีราคาสูง แต่เวลาที่ใช้


เติมจะสั้นกว่า การแพร่ของคาร์บอนจะเป็นไปอย่างสม่ำเสมอ แต่มีข้อเสีย คือ การปกปิดบริเวณที่ไม่ต้องการ
ชุบแข็งจะทำได้ยากกว่า และยังมีปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมเนื่องจากไอระเหยของเกลือนำไปสู่การกัดกร่อน และ
ไซยาไนต์เป็นสารพิษ การปฏิบัติงานต้องระมัดระวังเรื่องความสะอาด รวมถึงอาจมีการปนเปื้อนเข้าไปในชิ้นงาน
และตกค้าง ซึ่งต้องคำนึงถึงชิ้นงานที่นำไปใช้งานว่าเกี่ยวข้องกับการบริโภคหรือไม่ ซึ่งจากปัญหาดังกล่าวปัจจุบัน
จึงมีการใช้น้อยลง

รูปที่ 4.40 หลักการเติมคาร์บอนที่ผิว โดยสารเติมคาร์บอนแบบของเหลว (เกลือเคมี) [3]

สารเติมคาร์บอนที่อยู่ในรูปก๊าซที่ใช้ ได้แก่ ก๊าซเชื้อเพลิง เช่น โพรเพน แก๊สปิโตรเลี่ยมเหลว


(LPG) ผสมกับแก๊สพาหะ (Carrier Gas) คือ เอ็นโดเทอร์มิกแก๊ส (Endothermic Gas) ข้อดีของวิธีนี้ คือ การ
ควบคุมจำนวนคาร์บอน ทำได้ง่ายกว่า ใช้พลังงานน้อย และเวลาสั้นกว่า ชิ้นงานที่ได้ผิวจะสะอาด แต่ข้อเสีย
คือ เครื่องจักรมีราคาแพง

จากรูปที่ 4.41 แสดงหลักการทำงานของเตาชุบแข็งแบบควบคุมบรรยากาศ สำหรับชุบผิวแข็ง


แบบแก๊สคาร์บุไรซิ่ง ซึ่งเป็นเตาชุบแข็งที่มีราคาค่อนข้างสูง โดยเตาถูกแบ่งเป็นสองส่วน ด้านในเป็นส่วนที่
ชิ้นงานถูกให้ความร้อน 900 - 950C ก๊าซพาหะและก๊าซเติมคาร์บอนจะถูกฉีดเข้าไปในห้องให้ความร้อนนี้
คาร์บอนจากก๊าซจะแพร่เข้าสู่ผิวชิ้นงาน ความลึกที่คาร์บอนสามารถเข้าไปได้ขึ้นกับอุณหภูมิ เวลา ค่า CP
(Carbon Potential) ของก๊าซในห้องให้ความร้อน และชนิดของเหล็กกล้า เมื่อได้ความลึกของคาร์บอนที่
ต้องการแล้ว ชิ้นงานมักถูกลดอุณหภูมิลงเหลือ 820 - 860C ก่อนทำการจุ่มชุบเพื่อลดการเสียรูปของชิ้นงาน
หลังจากนั้นชิ้นงานจะถูกขับเคลื่อนออกจากห้องให้ความร้อนมาอยู่เหนือถังน้ำมันชุบแข็ง และถูกจุ่มชุบ โดย
ชิ้นงานจะไม่สัมผัสกับออกซิเจนในอากาศเลย ทำให้ผิวชิ้นงานที่ได้สะอาดไม่มีออกไซด์ที่ผิว
- 302 -

ปัจจุบ ันเตาชุบแข็งแบบควบคุมบรรยากาศควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ ทำให้สามารถควบคุม


คุณภาพ เช่น ค่าความแข็ง ชั้นแข็งลึก (Case Depth) ได้อย่างแม่นยำ และสม่ำเสมอมาก

รูปที่ 4.41 เตาชุบแข็งแบบควบคุมบรรยากาศ สำหรับชุบผิวแข็งแบบแก๊สคาร์บุไรซิ่งและ


แบบแก๊สคาร์โบไนไตรดิ่ง [3]

4.8.4 การชุบผิวแข็งแบบคาร์โบไนไตรดิ่ง (Carbonitriding)

เป็นกระบวนการชุบผิวแข็งที่ปรับปรุงมาจากการชุบผิวแข็งแบบคาร์บุไรซิ่ง โดยการฉีดแอมโมเนีย
(NH3) เพิ่มเติมเข้าไปในคาร์บุไรซิ่งก๊าซ ส่งผลทำให้นอกจากจะมีอะตอมคาร์บอนแพร่เข้าไปในผิวของเหล็กกล้า
แล้ว ยังมีอะตอมไนโตรเจนแพร่เข้าไปในผิวของเหล็กกล้าด้วย

ไนโตรเจนช่วยเพิ่มความสามารถในการชุบแข็ง หรือลดอัตราเย็นตัววิกฤตให้กับเหล็ กกล้า การ


ผสมไนโตรเจนทำให้สามารถชุบผิวแข็งเหล็กกล้าคาร์บอนต่ำที่ไม่มีสารเจือใดๆ ผสมลงในสารชุบที่ไม่จำเป็นต้อง
ให้อัตราเย็นตัวขณะชุบสูงได้ เช่น สามารถชุบแข็งในน้ำมันชุบแข็งได้ ซึ่งจะให้การเสียรูปน้อยกว่าชุบในน้ำ

การชุบผิวแข็งแบบคาร์โบไนไตรดิ่ง ช่วงอุณหภูมิที่มีการเติมคาร์บอนและไนโตรเจนมักทำที่ 815


- 900C ใช้เวลา 2 – 6 ชม. แล้วแต่ความลึกที่ต้องการ เช่นที่อุณหภูมิ 860C เวลา 3 ชม. ได้ชั้นแข็งลึ ก
ประมาณ 0.3 – 0.4 มม. ที่ 550 HV

ส่วนประกอบของก๊าซในเตาประกอบด้วย
- 303 -

ก๊าซพาหะ (Carrier Gas) + ก๊าซเติมคาร์บอน (Enriching Gas) + แอมโมเนีย


(เอ็นโดเทอร์มิกก๊าซ) (โพรเพนหรือLPG) (NH3)

โดยที่ NH3 ปกติใช้ที่ปริมาณ 2 – 12 % ของคาร์บุไรซิ่งก๊าซ (เอ็นโดเทอร์มิกก๊าซ + โพรเพน)


NH3 ที่ใช้ต้องมีความบริสุทธิ์ 99.9 %

ในรูปที่ 4.42 เป็นการเปรียบเทียบชั้นแข็งลึกของการชุบผิวแข็งแบบคาร์บุไรซิ่งสำหรับเหล็กกล้า


เจือต่ำ JIS SCM415 กับการชุบผิวแข็งแบบคาร์โบไนไตรดิ่ง สำหรับเหล็กกล้าคาร์บอนต่ ำ JIS SS400 ข้อ
แตกต่างที่เห็นได้ชัด คือความแข็งผิวของการชุบผิวแข็งแบบคาร์โบไนไตรดิ่ง มีค่าสูงกว่าแบบคาร์บุไรซิ่ง
เล็กน้อย เนื่องจากไนไตรเจนทำให้เกิดชิ้นเหล็กไนไตรด์ ซึ่งมีความแข็งสูงกว่ามาร์เตนไซต์ แต่ความแข็งบริเวณ
แกน (Core Hardness) ของเหล็ก JIS SS400 มีค่าต่ำกว่า SCM415 อย่างชัดเจน

รูปที่ 4.42 ชั้นแข็งลึกของชิ้นงานชุบผิวแข็งแบบคาร์บุไรซิ่ง (JIS SCM415) และการชุบผิวแข็งแบบคาร์-โบไน


ไตรดิ่ง (JIS SS400) ด้านขวาเป็นเฟืองที่ผ่านการชุบผิวแข็งแบบคาร์บุไรซิ่ง แสดงชั้นแข็งลึกที่เกิดขึ้น [3]

4.8.5 การชุบผิวแข็งแบบไนไตรดิ่ง (Nitride Hardening)

เหล็กกล้าที่เหมาะในการชุบแข็งวิธีนี้ ควรเป็นเหล็กกล้าเจือ ซึ่งมีสารเจือพวก Al และ Cr เช่น


เหล็ก DIN 32CrAlMo4 และ 31CrMoV9 เป็นต้น ส่วนเหล็กกล้าคาร์บอนไม่เหมาะสม เพราะจะทำให้ได้
เกรนหยาบ มีความแข็งไม่สูงพอ
- 304 -

ความลึกของการแพร่ไนโตรเจนเข้าไปในเหล็กกล้านั้นขึ้นกับ อุณหภูมิและเวลา เช่น ที่อุณหภูมิ


500C ใช้เวลาในการอบ 20 ชม. ได้ความลึกเพียง 0.3 มม. เท่านั้น การเพิ่มอุณหภูมิให้สูงกว่านี้จนเหล็กเปลี่ยน
โครงสร้างเป็นออสเตไนต์ จะลดเวลาในการเติมไนโตรเจน เพราะออสเตไนต์สามารถรับไนโตรเจนได้ดีกว่าเฟอร์
ไรต์ แต่เหล็กไนไตรด์ที่ได้จะมีความเปราะสูง การอบที่อุณหภูมิต่ ำจะทำให้ได้เหล็กไนไตรด์ที่ละเอียดและมี
ความแข็งสูง

ถ้าจุดประสงค์ในการชุบ เพียงเพื่อต้องการป้องกันการเป็นสนิมของเหล็กกล้าโดยไม่ต้องการเพิ่ม
ความแข็งต่อชิ้นงาน อุณหภูมิที่ใช้ในการเติมไนโตรเจนอาจเลือกใช้อุณหภูมิสูงได้ เช่น 600 -850C และเวลาที่ใช้
ในการอบอาจใช้เพียงไม่อีกนาทีก็เพียงพอ

ข้อดีของการชุบผิวแข็งทุกวิธี คือ ค่าความต้านการล้าของเหล็กกล้าจะเพิ่มขึ้น เพราะการเปลี่ยน


โครงสร้างบริเวณผิว ทำให้บริเวณนั้นมีปริมาตรเพิ่มมากขึ้น และเป็นผลให้บริเวณผิวได้รับแรงกด การชุบผิว
แข็งด้วยวิธีนี้ มีข้อดีกว่าการชุบผิวแข็งแบบคาร์บุไรซิ่ง เพราะให้ความแข็งสูงกว่า และความแข็งยังคงอยู่จนถึง
อุณหภูมิ 500C และที่สำคัญ คือ ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องทำให้ชิ้นงานเย็นตัวลงอย่างรวดเร็ว ชิ้นงานสามารถ
ทำให้เย็นตัวลงอย่างช้าๆ ซึ่งทำให้การบิดงอของชิ้นงานมีน้อยมาก สามารถทำการเจียระไนชิ้นงานก่อนการชุบ
แข็งได้ และผิวชุบยังทนต่อการสึกกร่อนสูงด้วย แต่ข้อเสียของการชุบวิธีนี้คือ เวลาที่ใช้ในการเติมไนโตรเจนใช้
เวลานานมาก และได้ความลึกน้อย

รูปที่ 4.43 ชั้นผิวแข็งไนไตรดิ้ง a) เหล็กกล้าคาร์บอนปานกลางชุบไนไตรดิ้ง


b) เหล็กกล้าไร้สนิม 304 ชุบไนไตรดิ้ง [3]
- 305 -

สารเติมไนโตรเจนมีทั้งแบบของเหลว และแบบก๊าซ แบบของเหลว ได้แก่ เกลือเคมี ซึ่งจะมีส่วนผสม


ของเกลือไซยาไนต์ ส่วนแบบก๊าซใช้วิธีฉีดแอมโมเนียเข้าไปในเตาเพื่อให้แตกตัวเป็นอะตอมไนโตรเจนและโฮโดร
เจน ซึ่งเตาจะต้องมีช่องให้ก๊าซที่เหลือออกและต้องเผาก๊าซที่เหลือตรงบริเวณช่องทางออก เนื่องจากไฮโดรเจน
เป็นก๊าซติดไป

จากรูปที่ 4.43 แสดงให้เห็นชั้นสีขาว ซึ่งเป็นชั้นแข็งของสารประกอบเหล็กไนไตรด์ซึ่งมีความแข็ง


สูงกว่า 1000 HV แต่ชั้นแข็งลึกนี้มีระยะไม่มากนัก ดังรูปที่ 4.44

รูปที่ 4.44 เปรียบเทียบความแข็งระหว่างการชุบผิวแข็งแบบคาร์บุไรซิ่งกับการชุบแข็งผิวแบบไนไตรดิ่ง [3]


- 306 -

เอกสารอ้างอิง

[1] สมศักดิ์ โสภณกุล. (2555). อุตสาหกรรมการผลิตเหล็ก. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์สมาคมส่งเสริม


เทคโนโลยีไทย-ญี่ปุ่น.
[2] สมนึก วัฒนศรียกุล. (2538). โลหะวิทยา. ศูนย์ผลิตตำราเรียนสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนคร
เหนือ.
[3] สมนึก วัฒนศรียกุล. (2546). การชุบแข็ง, ศูนย์ผลิตตำราเรียนสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนคร
เหนือ.
[4] Anderson. J.C. Leaver, K.D. Rawlings, R.D. and Alexander, J.M. (1990). Materials Science,
4th Edition, Hong Kong: Chapman & Hall.
[5] Herman W. Pollack. (2003). Materials Science and Metallurgy, 4th Edition, USA: Prentice-
Hall, Inc.
[6] Serope Kalpakjian, (1992). Manufacturing Engineering and Technology, 3rd Edition,
Addison-Wesley
[7] Sidney H. Abner. (1974). Introduction to Physical Metallurgy, 2nd Edition, Singapore:
McGraw-Hill, Inc.
[8] William D. Callister Jr. (2003). Materials Science and Engineering an Introduction, 6th
Edition. USA: John Wiley & Sons, Inc.
[9] ศิริพร ดาวพิเศษ. (2544). วัสดุวิศวกรรม, ศูนย์ผลิตตำราเรียนสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนคร
เหนือ.
[10] Kenneth G. Budinsli. and Michael K. Budinsli. (2002). Engineering Material: Properties and
Selection, 7th Edition, USA: Pearson Education International, Inc.
- 307 -

คำถามท้ายสัปดาห์
จงเลือกคำตอบที่ถูกต้อง

1. การขึ้นรูปเย็น (Cold working) หมายถึง การขึ้นรูปด้วยแรงทางกล ณ อุณหภูมิใด


ก. อุณหภูมิต่ำกว่าอุณหภูมิห้อง
ข. อุณหภูมิต่ำกว่าอุณหภูมิการเกิดผลึก (Crystallization temperature)
ค. อุณหภูมิต่ำกว่าอุณหภูมิการตกผลึกใหม่ (Recrystallization temperature)
ง. อุณหภูมิต่ำกว่าอุณหภูมิการเปลี่ยนสภาพจากเปราะเป็นดึงยืดได้ (Ductile-brittle transition
temperature)
2. ข้อใดคือข้อด้อยของการขึ้นรูปร้อน (Hot working) ของโลหะ
ก. ควบคุมขนาดของชิ้นงานให้เที่ยงตรงได้ยาก
ข. ชิ้นงานมีความเปราะมากขึ้น
ค. เกิดความเค้นตกค้างภายในเนื้อชิ้นงานมากขึ้น
ง. ชิ้นงานมีสภาพดึงยืด (Ductility) ลดลง
3. กรรมวิธีการชุบที่ใช้ตัวกลางชนิดใดต่อไปนี้ ที่ทำให้เกิดอัตราการคายความร้อนจากชิ้นงานมากที่สุด
ก. อากาศปกติ
ข. อากาศในเตาอบ
ค. น้ำเปล่า
ง. น้ำมัน
4. ในการอบอ่อนเต็มที่ (Full annealing) ชิ้นงานถูกทำให้เย็นลงด้วยตัวกลางชนิดใด
ก. อากาศปรกตินอกเตาอบ
ข. อากาศในเตาอบ
ค. น้ำเปล่า
ง. น้ำมัน
5. ข้อใดคือวัตถุประสงค์ของการอบอ่อน (Annealing)
ก. เพื่อเพิ่มความแข็งแรง
ข. เพื่อให้ได้โครงสร้างที่มีความอ่อนตัวสูง
ค. เพื่อเพิ่มความแข็งให้กับวัสดุ
ง. ข้อ 1 2 และ 3 ถูก
6. ข้อใดคือวัตถุประสงค์ของการอบปรกติ (Normalizing)
ก. เพื่อปรับปรุงสมบัติเชิงกลให้ดีขึ้น
ข. เพือ่ ปรับปรุงโครงสร้างให้สม่ำเสมอ
- 308 -

ค. เป็นการทำลายความเครียดภายใน
ง. ข้อ 1 2 และ 3 ถูก
7. การอบปกติ (Normalizing) ของเหล็กกล้าคาร์บอนต่ำ จะต้องมีการให้ความร้อนและการเย็นตัวของชิ้นงาน
อย่างไร
ก. ให้ความร้อนจนชิ้นงานเปลี่ยนโครงสร้างเป็นออสเทไนต์และเฟร์ไรต์ และปล่อยให้เย็นตัวในเตาอบ
ข. ให้ความร้อนจนชิ้นงานเปลี่ยนโครงสร้างเป็นออสเทไนต์ทั้งหมด และปล่อยให้เย็นตัวในอากาศ
ค. ให้ความร้อนจนชิ้นงานเปลี่ยนโครงสร้างเป็นออสเทไนต์ทั้งหมด และปล่อยให้เย็นตัวในน้ำ
ง. ให้ความร้อนจนชิ้นงานเปลี่ยนโครงสร้างเป็นออสเทไนต์และซีเมนไทต์ และปล่อยให้เย็นตัวในน้ำ
8. กระบวนการใดต่อไปนี้ไม่สามารถช่วยเพิ่มความแข็งแรงให้กับชิ้นงานโลหะได้
ก. การทำคาร์บูไรซิ่ง (Carburizing)
ข. การทำสเฟียร์รอยไดซิ่ง (Spheroidizing)
ค. การรีดเย็น
ง. การอัดขึ้นรูป
9. ข้อใดเรียงลำดับโครงสร้างเหล็กกล้าที่มีความแข็งมากไปน้อย
ก. ซีเมนไทต์ > เพอร์ไลต์ > มาร์เทนไซต์
ข. มาร์เทนไซต์ > เพอร์ไลต์ > เบไนต์
ค. เบไนต์ > เพอร์ไลต์ > เฟร์ไรต์
ง. มาร์เทรไซต์ > เฟร์ไรต์ > ซีเมนไทต์
- 309 -

Quiz of Ferrous metal


- 310 -

แบบทดสอบท้ายหน่วย
จงทำเครื่องหมาย X บนตัวเลือกที่ถูกต้องที่สุด

1. ข้อใดคือ ความหมายที่ถูกต้องที่สุดของเหล็กกล้า

ก. เหล็ก+คาร์บอน

ข. เหล็ก+คาร์บอน+ซิลิกอน

ค. เหล็ก+คาร์บอน+สารเจือที่ติดมากับเหล็ก

ง. เหล็ก+คาร์บอน+สารเจือที่ติดมากับเหล็ก+สารเจือเพิ่มเติม

2. แผนภาพสมดุลเหล็ก-เหล็กคาร์ไบด์ (Fe-Fe3C Diagram) เป็นแผนภาพสมดุลในระบบใด

ก. Metastable System Iron – Carbon Diagram ข. Stable System Iron – Carbon Diagram

ค. Iron – Carbon Diagram ง. Iron – Graphite Diagram

3. ข้อใดต่อไปนี้ ไม่ใช่โครงสร้างจุลภาคที่มีในเหล็กกล้าไฮโปยูเทกตอยด์

ก. เฟอร์ไรต์ ข. ออสเตไนต์ ค. ลีดีบูไรต์ ง. เพอร์ไลต์

4. สมบัติทางกลของเหล็กกล้าขึ้นอยู่กับธาตุใดเป็นหลัก

ก. คาร์บอน ข. ซิลิกอน ค. แมงกานีส ง. โครเมียม

5. คาร์บอนที่ละลายอยู่ในเหล็กกล้าคาร์บอนจะรวมอยู่กับเหล็กในลักษณะใด

ก. อยู่ในรูปคาร์บอนอิสระ

ข. อยู่ในรูปแกรไฟต์เม็ดกลม

ค. รวมตัวกับเหล็กอยู่ในรูปสารประกอบคาร์ไบด์

ง. รวมตัวกับธาตุเจือเกิดเป็นสารประกอบชนิดต่างๆ
- 311 -

6. เหล็กที่มีโครงสร้างจุลภาคเป็นออสเตไนต์ หรือเหล็กแกรมม่า (-Iron) โครงผลึกมีลักษณะการจัดเรียง


ตัวอย่างไร

ก. BCC ข. FCC ค. BCT ง. HCP

7. เหล็กกล้าคาร์บอนชนิดใด นิยมนำไปใช้ทำเป็นเหล็กเครื่องมือสำหรับงานตัดเฉือนวัสดุ

ก. เหล็กกล้าคาร์บอนต่ำ ข. เหล็กกล้าคาร์บอนปานกลาง

ค. เหล็กกล้าคาร์บอนสูง ง. เหล็กกล้าคาร์บอนไม่สามารถนำไปทำเป็นเครื่องมือตัดได้

8. โครงสร้างจุลภาคของเหล็กที่เป็นโครงสร้างลีดีบูไรด์ (Ledeburite) ประกอบด้วย Fe3C และ -ผลึกผสม จะ


เกิดขึ้นที่จุดใดในแผนภาพสมดุลเฟส Fe-Fe3C

ก. 0.77%C ที่อุณหภูมิ 727oC ข. 2.11%C ที่อุณหภูมิสูงกว่า1148oC

ค. 4.3%C ที่อุณหภูมิ 1148oC ง. 4.3%C ที่อุณหภูมิสูงกว่า 727oC

9. โครงสร้างจุลภาคของเหล็กกล้าไฮเปอร์ยูเทกตอยด์ที่อุณหภูมิห้องคือ โครงสร้างในข้อใด

ก. +P ข. +Fe3C ค. P+Fe3C ง. M+P

10. ข้อใดคือ ความหมายที่ถูกต้องของเหล็กกล้าไฮโปยูเทกตอยด์

ก. เหล็กกล้าที่มีปริมาณคาร์บอน 0.008-0.77% ข. เหล็กกล้าที่มีปริมาณคาร์บอน 0.77-2.11%

ค. เหล็กกล้าที่มีปริมาณคาร์บอน 2.11-4.3% ง. เหล็กกล้าที่มีปริมาณคาร์บอนมากกว่า 4.3%

11. ธาตุเจือที่มีการผสมลงไปในเหล็กกล้า กลุ่มใดที่ทำให้เกิดคาร์ไบด์

ก. กลุ่มเพิ่มเสถียรภาพออสเตไนต์ ข. กลุ่มเพิ่มเสถียรภาพเฟอร์ไรต์

ค. กลุ่มรวมตัวกับไนโตรเจน ง. กลุ่มรวมตัวกับคาร์บอน

12. ข้อใดคือ ความหมายที่ถูกต้องของเหล็กกล้าเจือสูง

ก. เหล็กกล้าที่มีการผสมธาตุอื่นๆ มากกว่า 8% ข. เหล็กกล้าที่มีการผสมธาตุอื่นๆ น้อยกว่า 8%


- 312 -

ค. เหล็กกล้าที่มีการผสมธาตุอื่นๆ มากกว่า 18% ง. เหล็กกล้าที่มีการผสมธาตุโครเมียม 18%

13. นิกเกิลมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างออสเตไนต์ ข้อใดถูกต้องที่สุด

ก. ปริมาณนิกเกิลที่เพิ่มขึ้นมีผลทำให้อุณหภูมิยูเทกตอยด์ลดลง

ข. ปริมาณนิกเกิลที่เพิ่มขึ้นช่วยลดปริมาณของคาร์บอนที่จุดยูเทกตอยด์ให้น้อยลง

ค. ปริมาณนิกเกิลที่เพิ่มขึ้นมีผลทำให้อุณหภูมิยูเทกตอยด์ลดลง และลดปริมาณของคาร์บอนที่จุดยู
เทกตอยด์ให้น้อยลง

ง. ปริมาณนิกเกิลที่เพิ่มขึ้นมีผลทำให้เส้น Solidus ลดต่ำลง

14. ธาตุที่ทำหน้าที่เพิ่มเสถียรภาพออสเตไนต์ในเหล็กกล้า สามารถขยายอาณาบริเวณของออสเตไนต์ได้


อย่างไร

ก. ลดอุณหภูมิของเส้น A3 และเพิ่มอุณหภูมิของเส้น A4

ข. เพิ่มอุณหภูมิของเส้น A3 และลดอุณหภูมิของเส้น A4

ค. เพิ่มอุณหภูมิของเส้น A3 และเพิ่มอุณหภูมิของเส้น Acm

ง. เลื่อนเส้น Acm ไปทางขวามากขึ้น

15. ข้อใด ไม่ใช่สมบัติของเหล็กกล้าเครื่องมือที่ใช้ในงานแม่พิมพ์ตัดเฉือนโลหะ

ก. ทนต่อการใช้งานที่อุณหภูมิสูง ข. ทนต่อการสึกหรอ

ค. ทนต่อการเสียดสี ง. ทนต่อแรงกระแทก

16. โครเมียมมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างออสเตไนต์ ข้อใดถูกต้องที่สุด

ก. มีผลทำให้อาณาเขตออสเตไนต์แคบลง โดยเพิ่มอุณหภูมิของเส้น A3 และลดอุณหภูมิของเส้น A4

ข. มีผลทำให้อาณาเขตออสเตไนต์แคบลง โดยเพิ่มอุณหภูมิของเส้น A3 และลดปริมาณคาร์บอน

ค. มีผลทำให้อาณาเขตออสเตไนต์กว้างขึ้น โดยเพิ่มอุณหภูมิของเส้น A3 และลดอุณหภูมิของเส้น A4


ง. มีผลทำให้อาณาเขตออสเตไนต์กว้างขึ้น โดยลดอุณหภูมิของเส้น A3 และเพิ่มอุณหภูมิของเส้น A4
- 313 -

17. เหล็กกล้าเครื่องมือในข้อใด นิยมนำมาใช้ทำเป็นมีดกลึงโลหะ

ก. เหล็กกล้าคาร์บอนเครื่องมือ ข. เหล็กกล้าความเร็วสูง

ค. เหล็กกล้าเครื่องมืองานเย็น ง. เหล็กกล้าเครื่องมืองานร้อน

18. ข้อใดคือ เกณฑ์ในการแบ่งกลุ่มของเหล็กกล้าเครื่องมือ

ก. แบ่งตามปริมาณคาร์บอน ข. แบ่งตามลักษณะการใช้งาน

ค. แบ่งตามความสามารถในการชุบแข็ง ง. ถูกทุกข้อ

19. เหล็กกล้าไร้สนิมชนิดใดต่อไปนี้ ที่ไม่สามารถชุบแข็งได้และแม่เหล็กดูดไม่ติด

ก. Martensitic Stainless Steels ข. Austenitic Stainless Steels

ค. Ferritic Stainless Steels ง. Duplex Stainless Steels

20. เหล็กกล้าเครื่องมืองานเย็นชนิดใดที่สามารถทำการชุบแข็งด้วยอากาศได้

ก. AISI A2 ข. AISI W2 ค. AISI O2 ง. AISI D2

21. ปริมาณโครเมียมขั้นต่ำในเหล็กกล้าไร้สนิม ควรมีปริมาณเท่าใด

ก. 8% ข. 12% ค. 15% ง. 18%

22. ธาตุชนิดใดที่มีผลต่อความสามารถต้านทานการกัดกร่อนของเหล็กกล้าไร้สนิม

ก. โครเมียม ข. นิกเกิล ค. วานาเดียม ง. โคบอลต์

23. การกัดกร่อนที่เกิดขึ้นบริเวณขอบเกรนของเหล็กกล้าไร้สนิม เรียกว่าอะไร

ก. Hot Shortness ข. Intergranular Corrosion ค. Sensitization ง. ถูกทั้งข้อ ข และข้อ ง

24. เหล็กกล้าไร้สนิม ชนิด 18/8 เลข 8 หมายถึงปริมาณของธาตุใด

ก. โครเมียม ข. นิกเกิล ค. คาร์บอน ง. โมลิบดินัม

25. เหล็กหล่อชนิดใดมีกราไฟต์ชนิดแผ่น หรือที่เรียกว่า Flakes Graphite


- 314 -

ก. เหล็กหล่อขาว ข. เหล็กหล่อเทา ค. เหล็กหล่ออบเหนียว ง. เหล็กหล่อแกรไฟต์คอมแพค

26. เหล็กกล้าไร้สนิมชนิดใด มีความแข็งแรงที่อุณหภูมิสูงใช้ทำอุปกรณ์เตาอบชุบ และเตาความร้อน

ก. 309 ข. 316 ค. 318 ง. 403

27. การผลิตเหล็กหล่อแกรไฟต์กลมสามารถผลิตได้ด้วยวิธีการใด

ก. การเติมแมกนีเซียมและซีเรียมลงไปในน้ำเหล็กในขั้นตอนการหลอมวัตถุดิบต่างๆ

ข. การเติมแมกนีเซียมและซีเรียมลงไปในน้ำเหล็กหล่อเทาก่อนที่จะเทน้ำเหล็กลงในแบบหล่อ

ค. การเติมแมกนีเซียมและซีเรียมลงไปในน้ำเหล็กหล่อเทาที่อยู่ในแบบหล่อ

ง. การเติมแมกนีเซียมและซีเรียมลงไปในน้ำเหล็กหล่อขาวก่อนที่จะเทน้ำเหล็กลงในแบบหล่อ

28. ค่า CE ในเหล็กหล่อ คืออะไร

ก. ปริมาณคาร์บอน ข. ปริมาณซิลิกอน

ค. ปริมาณคาร์บอนเทียบเท่า ง. ปริมาณคาร์บอนเทียบเท่ามีค่า = %C + 1/3%Si

29. ธาตุชนิดใดมีผลทำให้เกิดแกรไฟต์ชนิด Widmanstatten ในเหล็กหล่อ

ก. พลวง ข. อาร์เซนิค ค. ตะกั่ว ง. ดีบุก

30. ฐานเครื่องจักรกลต่างๆ นิยมผลิตด้วยเหล็กหล่อชนิดใด

ก. เหล็กหล่อเทา ข. เหล็กหล่อขาว

ค. เหล็กหล่อแกรไฟต์กลม ง. เหล็กหล่ออบเหนี่ยว

31. กรรมวิธีทางความร้อนมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงสมบัติของโลหะ ขึ้นอยู่ปัจจัยในข้อใด


ก. อุณหภูมิในการอบ ข. อุณหภูมิอบและลักษณะการเย็นตัว

ค. การเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง ง. ลักษณะการเย็นตัวและการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง

32. โครงสร้างมาเตนไซต์ ที่ได้จากการชุบแข็งเหล็กกล้ามีโครงสร้างผลึกแบบใด


- 315 -

ก. BCC ข. BCT ค. FCC ง. HCP

33. การอบชุบโลหะที่อุณหภูมิสูงเกินไปเป็นเวลานานๆ มีผลต่อโลหะอย่างไร

ก. ลดความเค้นภายในเนื้อโลหะ ข. ทำให้โลหะมีเกรนหยาบ

ค. สลายคาร์ไบด์ในเนื้อโลหะ ง. เกิดการเสียหายที่บริเวณขอบเกรน

34. ข้อใดคือ การอบเพื่อที่จะกำจัด หรือลดความไม่สม่ำเสมอของโครงสร้างของเหล็ก

ก. การอบอ่อน ข. การอบเพื่อให้ได้เกรนหยาบ ค. การอบแพร่ ง. การอบคืนรูปผลึก

35. การชุบผิวแข็งเหล็กกล้าเหมาะกับชิ้นงานประเภทใด

ก. มีดกลึง ข. ดอกสว่าน ค. โครงสร้างเครื่องจักร ง. เฟืองส่งกำลัง

36. อุณหภูมิที่เหมาะสำหรับการอบอ่อน คือข้อใด

ก. การอบที่อุณหภูมิใต้เส้นของการเปลี่ยนโครงสร้างล่าง Ac1 เล็กน้อย

ข. อบที่อุณหภูมิประมาณ 550-650C

ค. อบให้อยู่ในช่วงที่มีการเปลี่ยนโครงสร้างเป็นออสเตไนต์

ง. อบที่อุณหภูมิเหนือเส้นประมาณ Ac3 20-50C

37. การชุบแข็งเหล็กกล้าด้วยวิธีการใดที่ให้โครงสร้างจุลภาคสุดท้ายเป็นเบไนต์

ก. Surface Hardening ข. Precipitate Hardening

ค. Austempering ง. Martempering

38. โครงสร้างจุลภาคของเหล็กกล้า ชนิดใดมีความแข็งมากที่สุด

ก. เฟอร์ไรต์ ข. เพอร์ไลต์ ค. เบไนต์ ง. มาเตนไซต์

39. ข้อใดคือวิธีการทดสอบความสามารถในการชุบแข็งเหล็กกล้า

ก. Jominy Test ข. Hardening Test ค. Hard ability Test ง. Shore Test


- 316 -

40. การชุบแข็งเหล็กกล้า โดยทั่วไปต้องอบเหล็กให้เปลี่ยนโครงสร้างจุลภาคเป็นโครงสร้างแบบใด

ก. เพอร์ไลต์ ข. ออสเตไนต์ ค. เบไนต์ ง. เฟอร์ไรต์


- 317 -

1) บอกความสำคัญของหน่วยเรียน
วิธีการสอนและ 2) ให้เนื้อหาโดยวิธีบรรยาย และยกตัวอย่างประกอบ
กิจกรรม 3) ถาม-ตอบ คำถามในห้องเรียน
4) ให้นักศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม
หนังสืออ้างอิง หมายเลข 1-10
เอกสารใช้ประกอบ หน่วยเรียนที่ 4
สื่อการสอน
1. เครื่องมัลติมีเดียโปรเจคเตอร์
วัสดุโสตทัศน์
2. พาวเวอร์พอยต์
- ให้นักศึกษาทำแบบฝึกหัดท้ายบท
งานที่มอบหมาย - ให้นักศึกษาจดบันทึกสรุปเนื้อหาและศึกษาเพิ่มเติม
- ให้นักศึกษาอ่านเอกสารประกอบการสอน
1. สังเกตความสนใจ การให้ความร่วมมือ
การวัดผล 2. การถาม-ตอบ
3. การทำแบบฝึกหัดและงานที่มอบหมาย
หมายเหตุ :-

You might also like