Download as docx, pdf, or txt
Download as docx, pdf, or txt
You are on page 1of 65

1

โครงสร้างการจัดองค์การของสถานศึกษา

**กลุ่มที่ 1
หลักสูตรบริหารการศึกษา (ค.ม. 30)
คณะคุรุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี

1. ความเป็ นมาและความสำคัญ
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และ
แนวทางการปฏิรูปการศึกษามุ่งกระจายอำนาจการจัดการศึกษาไปยัง
หน่วยงานปฏิบัติคือ สถานศึกษา เขตพื้นที่การศึกษา และ องค์กร
ปกครองส่วนท้องถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการบริหารจัดการศึกษาขั้นพื้น
ฐานและอุดมศึกษา ระดับต่ำกว่าปริญญาตรี ให้กระจายอำนาจการ
บริหารและการจัดการศึกษาทั้งด้านวิชาการ งบประมาณ การบริหาร
บุคคล และการบริหารทั่วไป จากส่วนกลางไปยังสถานศึกษาโดยตรง (กร
ะทรวงศึกษาธิการ. 2542 : 21) เพื่อให้สถานศึกษาสามารถ
บริหารงานต่างๆ ได้อย่างคล่องตัว และเสร็จสิ้นในองค์การของตนเองให้
มากที่สุด โดยการกำกับและส่งเสริม สนับสนุน ด้านนโยบาย แผนและ
มาตรฐานการศึกษาของคณะกรรมการสถานศึกษาและสำนักงานเขต
พื้นที่การศึกษา ดังนั้น การบริหารและจัดการศึกษาจึงมีแนวทางที่ชัดเจน
เกี่ยวกับการกระจายอำนาจการจัดการศึกษา เพื่อให้ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง
หรือหน่วยงานระดับปฏิบัติคือสถานศึกษามีอำนาจตัดสินใจ และ
สนับสนุนให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีส่วนร่วมในการตัดสินใจในรูปแบบของ
คณะกรรมการของ องค์การทางการศึกษาระดับต่างๆ โดยมีเป้ าหมายเพื่อ
พัฒนาคุณภาพการศึกษาทำให้ทรัพยากร บุคคลของชาติมีคุณภาพ มี
ความสมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปั ญญา มีความรู้และคุณธรรม รวมทั้ง
การอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
2

กระจายอำนาจการบริหารไปยังสถานศึกษาโดยตรง โดยใช้
โรงเรียนเป็ นฐาน (School Based Management : SBM) เป็ นรูป
แบบการบริหารที่มุ่งหมายให้สถานศึกษามีอำนาจหน้าที่และความรับผิด
ชอบในการบริหารโรงเรียนแบบเบ็ดเสร็จ มีความเป็ นอิสระและคล่องตัว
ในการตัดสินใจในการบริหารในทุกด้านที่ เกี่ยวข้องกับภารกิจของสถาน
ศึกษา ทั้งด้านหลักสูตร ด้านงบประมาณ การบริหารบุคคลและ
การบริหารทั่วไป เป็ นการบริหารจัดการที่เป็ นไปตามความต้องการของ
โรงเรียนโดยการบริหารแบบมีส่วนร่วมในรูปของคณะกรรมการสถาน
ศึกษาในการใช้อำนาจหน้าที่ ความรับผิดชอบในการตัดสินใจใช้ทรัพยากร
ที่มีอยู่ดำเนินการแก้ปั ญหาและจัดกิจกรรมการศึกษา นำรูปแบบการ
บริหารโดยใช้โรงเรียนเป็ นฐานไปใช้และปรับปรุงพัฒนาจนเป็ นลักษณะ
ของตนเอง อุดมการณ์สำคัญของการจัดการศึกษา คือ การจัดให้มีการ
ศึกษาตลอดชีวิต และสร้างสังคมไทยให้เป็ นสังคมแห่งการเรียนรู้ การ
ศึกษาที่สร้างคุณภาพสังคมปลูกฝั งความเป็ นสมาชิกที่ดีของสังคมตั้งแต่วัย
ศึกษาในขั้นพื้นฐานและพัฒนาความรู้ความสามารถเพื่อการทำงานที่มี
คุณภาพ โดยให้สังคมทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาได้ตรง
ตามความต้องการ และสามารถตรวจสอบได้ เพื่อให้เกิดการพัฒนาชีวิต
สังคม และประเทศชาติอย่างยั่งยืน สามารถพึ่งตนเองได้ โดยถือว่าผู้
เรียน มีความสำคัญที่สุด ได้รับการส่งเสริมให้สามารถพัฒนา
ตนเองตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ (วัชรพล สุด
สายเนตร. 2556 : 1) โดยจัดให้มีระบบโครงสร้างและกระบวนการ
จัดการศึกษาของไทยมีเอกภาพเชิงนโยบาย และมีความหลากหลายใน
ทางปฏิบัติ มีการกระจายอำนาจไปสู่เขตพื้นที่การศึกษาและสถาบันการ
ศึกษา ดังปรากฏในบทบัญญัติ มาตรา 39 ที่ว่า “ให้กระทรวงกระจาย
อำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาทั้งด้านวิชาการ งบประมาณ
การบริหารงานบุคคล และการบริหารทั่วไป ไปยังคณะกรรมการและ
3

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา
โดยตรง” การกระจายอำนาจดังกล่าวจะทำให้สถานศึกษามีความคล่อง
ตัว มีอิสระในการบริหารจัดการเป็ นการสร้างรากฐานและความเข้มแข็ง
ให้กับสถานศึกษา สามารถจัดการศึกษาได้อย่างมีคุณภาพและสามารถ
พัฒนาอย่างต่อเนื่อง (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
2546 : 7)
การจัดการศึกษาดังกล่าว มีผลทำให้โครงสร้างระบบงานและ
อัตรากำลังของสถานศึกษา ต้องเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ทำให้ต้องมี
การทบทวนบทบาทหน้าที่และภารกิจของสถานศึกษากันใหม่ ต้องจัดทำ
โครงสร้างใหม่ จัดกลุ่มงาน และจัดอัตรากำลังให้เหมาะสม เพื่อให้
สอดคล้องกับข้อกำหนดในพระราชบัญญัติการศึกษาดังกล่าว แต่จุดมุ่ง
หมายที่สำคัญคือเรื่องคุณภาพการศึกษา ในด้านโครงสร้างขององค์การ
หรือสถานศึกษานั้นการออกแบบจะคำนึงถึงระบบบริหารและการจัดการ
ที่คล่องตัว (Autonomy) เป็ นผลให้การบริหาร มีอิสระทั้งด้านวิชาการ
งบประมาณ การบริหารบุคคลและการบริหารทั่วไป โดยอยู่บนฐานของ
การ บริหารแบบมีส่วนร่วมจากทุกฝ่ ายที่เกี่ยวข้องรวมถึงผู้มีส่วนได้ส่วน
เสีย (Stakeholder) ตลอดจนการ จัดระบบบุคลากรหลักให้ได้ปฏิบัติงาน
หลักอย่างเต็มที่ตรงกับลักษณะงานหลักและความรู้ ความสามารถ (อุทัย
บุญประเสริฐ. 2545 : 3) ซึ่งสถานศึกษาจะต้องมีการปรับปรุง
เปลี่ยนแปลง โครงสร้างการบริหารที่เหมาะสม สอดคล้องกับปั ญหาและ
ความต้องการของท้องถิ่น ตามหลักการมีส่วนร่วมในการบริหารและ
จัดการศึกษา อาจจะเป็ นในรูปของคณะกรรมการ การจัดส่วนงาน
การแบ่งงาน การกำหนดโครงสร้างอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบ และ
การประสานงาน จำเป็ นต้องให้เหมาะสมสอดคล้องกัน จึงจะส่งผลให้
องค์การสามารถกำหนดทิศทางในการพัฒนาที่มีความ เป็ นไปได้สูง รวม
4

ทั้งการใช้ทรัพยากรอย่างประหยัด มีประสิทธิภาพ และ


ดำเนินการได้แท้จริง

2. แนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
การศึกษาครั้งนี้ ได้นำเสนอแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับ
การจัดโครงสร้างองค์การ ของสถานศึกษาไว้ตามลำดับ ดังนี้
2.1 ประเภทขององค์การ
2.2 ทฤษฎีองค์การ
2.3 การจัดองค์การ
2.4 การจัดองค์การทางการศึกษา

2.1 ประเภทขององค์การ
ในความหมายที่เป็ นพื้นฐานที่สุดขององค์การ (Organizatio
n) นั้น ก็คือ การที่คนมากกว่าหนึ่งคนได้มาร่วมกันทำกิจกรรมใดกิจกรรม
หนึ่งหรือหลายกิจกรรม เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกัน วัตถุประสงค์
นั้นอาจเป็ นไปเพียงชั่วคราว หรือต้องใช้เวลายาวนาน อาจมีความยากง่าย
หรือจริงจังแตกต่างกันไป จึงได้มีองค์การเกิดขึ้น แต่ถ้าองค์การนั้นมีการ
เติบใหญ่ เริ่มมีระบบระเบียบ และการยอมรับจากสังคมมากขึ้น ก็จะมี
สถานะ “เป็ นทางการ” (Formal Organization) ซึ่งจะต่างจากองค์การ
ที่ไม่มีการระบุวัตถุประสงค์ และไม่มีระบบระเบียบในการดำเนินการเอา
ไว้ หรือมีการยอมรับกันแต่อย่าง “ไม่เป็ นทางการ” (Informal
Organization) ซึ่งองค์การอย่างไม่เป็ นทางการเหล่านี้อาจได้แก่กลุ่ม
เพื่อน วงแชร์ การนัดเล่นไพ่ หรืองานเลี้ยงฉลอง เป็ นต้น ซึ่งองค์การ
อย่างไม่เป็ นทางการเหล่านี้อาจเป็ นสิ่งที่อยู่มีส่วนซ้อนอยู่ในระบบองค์การ
ที่เป็ นทางการอยู่แล้วด้วย เช่นภายในองค์การอย่างเป็ นทางการนั้น อาจมี
5

การเกาะกลุ่มเกิดองค์การอย่างไม่เป็ นทางการขึ้นได้ เมื่อแต่ละคนได้


ทำงานด้วยกัน มีการพบปะกัน และอาจมีผลประโยชน์ หรือความสนใจ
สอดคล้องกัน ก็คบค้าสมาคมกันไป
องค์การอย่างเป็ นทางการอาจได้แก่ หน่วยงานราชการ
บริษัทห้างร้าน อุตสาหกรรม วัด โรงเรียน มูลนิธิ สมาคม สถาบัน
ฯลฯ จากการศึกษาที่มีมานานแล้วนับเป็ นพัน และเป็ นร้อยปี องค์การจะ
มีธรรมชาติดังต่อไปนี้ คือ
2.1.1 การจัดแบ่งไปตามลักษณะพิเศษ (Specialization) เ
ช่นเมื่อองค์การมีขนาดใหญ่ขึ้น ก็มีการแบ่งออกเป็ นสายงาน แต่ละส่วน
งานที่ถูกจัดแบ่งงานนั้นก็จะมีคนจำนวนหนึ่ง ที่แต่ละคนต่างต้องมีการรับ
หน้าที่และความรับผิดชอบกันไป เช่น แม้แต่ร้านตัดเย็บเครื่องหนัง เมื่อมี
การขยายงานมากขึ้น ก็มีการแบ่งแยกกิจกรรมตัดหนังเป็ นส่วนหนึ่ง งาน
เย็บหนังเป็ นส่วนหนึ่ง และงานตบแต่งเพื่อความสวยงามเป็ นอีกส่วน
หนึ่ง เป็ นต้น
2.1.2 การทำระบบให้เป็ น
มาตรฐาน (Standardization) กิจการใดที่มีการทำกันบ่อยๆ แต่ไม่มี
การทำความตกลงกันเกิดเป็ นความสับสน ซับซ้อนยากแก่ผู้ปฏิบัติงาน ก็
จะมีการหาข้อยุติ และสามารถหาทางออกในการปฏิบัติได้เหมือนๆกัน
เช่นการกำหนดอัตราเงินเดือนเป็ นบัญชี ใครมีวุฒิ ประสบการณ์ หรือ
ความรับผิดชอบอย่างไร ก็จะมีการกำหนดเป็ นอัตราเงินเดือนเอาไว้ ไม่ให้
เกิดความลักลั่น เกิดความพึงพอใจได้สำหรับทั้งแต่ละบุคคล และทั่วทั้ง
องค์การ
2.1.3 การทำให้เป็ นทางการ (Formalization) การทำให้
เป็ นทางการนั้น คือการทำให้ระบบการสื่อสารสั่งการนั้นมีกฎ ระเบียบ
และคำสั่งที่ออกมานั้นมีผลบังคับใช้ ดังนั้นจึงต้องมีการเขียนออกมาเป็ น
ลายลักษณ์อักษร สำหรับตำแหน่งหน้าที่การงานนั้นก็ต้องมีการจัดเป็ น
6

ระบบเพื่อให้รับทราบกันภายในหน่วยงาน มิใช่จะตั้งหรือเรียกกันอย่าง
ตามใจชอบ ในระบบทหารนั้นจึงต้องมีการจัดทำตำแหน่งกันเป็ นลำดับ มี
ความรับผิดชอบ อำนาจหน้าที่ และตลอดจนระบบรางวัลค่าตอบแทน
และสวัสดิการกำกับไว้อย่างเป็ นทางการชัดเจน
2.1.4 การรวมศูนย์อำนาจ (Centralization) คือการสั่งการ
นั้น เพื่อให้มีคนตัดสินใจได้ในท้ายที่สุด ของแต่ละส่วนงานนั้น จะรู้ว่า การ
ตัดสินใจนั้นใครคือผู้รับผิดชอบสูงสุด ในทัศนะการตัดสินใจสั่งการนั้น
หน่วยงานในลักษณะนี้จะต้องหลีกเลี่ยงความสับสนในการสั่งงาน ทุกคน
จะรู้ว่าศูนย์กลางของงานนั้นอยู่ ณ ที่ใด และเมื่อแต่ละระดับไม่อยู่ใน
สถานะที่จะตัดสินใจสั่งการได้นั้น เขาควรจะต้องฟั งใครในระดับต่อไป
2.1.5 ระบบสายงาน (Configuration) หรืออาจเรียกใน
ภาษาอังกฤษว่า The Shape of the role structure คือเป็ นโครงสร้าง
ที่ทำให้รู้รายละเอียดของแต่ละคนว่ามีบทบาทหน้าที่ และการสังกัดส่วน
งานว่าเป็ นอย่างไร มีความเชื่อมโยงกับผู้บังคับบัญชา และส่วนงานต่างๆ
ทั้งนี้อาจจะสามารถแสดงให้เห็นได้ด้วยแผนภูมิขององค์การเป็ นต้น
เพราะเมื่อต้องมีการใช้คนนับจำนวนร้อยหรือเป็ นพันคนในการทำงานนั้น
อาจเกิดความสับสนได้ จึงต้องมีการกำหนดระบบสายงาน เพื่อให้สามารถ
สื่อประสานกัน เช่น ในองค์การทางทหารนั้นเขาจะมีระบบสายบังคับ
บัญชา มีการแต่งกายกันตามลำดับชั้นยศ ทหารระดับยศที่ต่ำกว่าก็ต้อง
ทำความเคารพคนในระดับที่สูงกว่าเป็ นลำดับไป แต่ในการสั่งงานตาม
หน้าที่นั้น ก็ต้องเป็ นไปตามสายงานและความรับผิดชอบ จะไม่มีการมา
ก้าวก่ายกัน
2.1.6 ความยืดหยุ่น (Flexibility) เมื่อองค์การมีขนาดใหญ่
มากๆ กฎเกณฑ์เริ่มตายตัว มีระเบียบแบบแผนออกมามาก ท้ายสุด
องค์การก็จะขาดความคล่องตัว สูญเสียประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน จึง
มักจะมีความยืดหยุ่นเปิ ดเอาไว้ ให้เป็ นดุลยพินิจของผู้ปฏิบัติงานในแต่ละ
7

ระดับ เพราะในท้ายที่สุดแล้วจะไม่มีกฎเกณฑ์ใดที่จะตายตัวและสามารถ
ใช้ได้ในทุกสภาวะ จำเป็ นต้องมีความยืดหยุ่นเพื่อให้สามารถทำงานที่มี
ความแตกต่างกันได้

2.2 ทฤษฎีองค์การ
ทฤษฎีองค์การ (Organization Theory) เป็ นแนวความ
คิดที่เกี่ยวกับองค์การได้ถูกรวบรวม และคิดค้นอย่างมีรูปแบบ จนกลาย
เป็ นทฤษฎีเมื่อประมาณต้นศตวรรษที่ 20 ทฤษฎีเป็ นเพียงนามธรรมที่
อธิบาย และวิเคราะห์ถึงความจริง และประสบการณ์ต่าง ๆ ของ
ธรรมชาติที่เกิดขึ้นรอบ ๆ ตัว อย่างมีระบบและมีแบบแผนเชิง
วิทยาศาสตร์ว่าถ้าทำ และหรือ เป็ นอย่างนั้น ผลจะออกมาแบบ
นี้(If....then) ซึ่งในลักษณะเช่นนี้ ทฤษฎีก็เปรียบเสมือนการคาดคะเนถึง
ผลที่เกิดขึ้นภายใต้สถานการณ์ต่าง ๆ ที่แตกต่างกัน จากระยะ
เวลาต้นศตวรรษที่ 20 จนถึงปั จจุบัน สามารถจำแนกแนวความคิดและ
ทฤษฎีองค์การออกเป็ น 3 ขั้นตอน คือ (ไชยา ยิ้มวิไล 2528 อ้าง
จาก Henry L. Tosi)
2.2.1 ทฤษฎีสมัยดั้งเดิม (Classical Theory)
ทฤษฎีองค์การสมัยดั้งเดิมได้เริ่มคิดค้น และก่อตั้งขึ้น
เมื่อปลายศตวรรษที่ 19 จากการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในปลายศตวรรษ
ที่ 19 นี้ แนวความคิดเกี่ยวกับองค์การก็เปลี่ยนแปลงตามไปด้วย เพื่อให้
สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ซึ่งสภาพแวดล้อมของสังคมยุค
นั้นเป็ นสังคมอุตสาหกรรม ทฤษฎีองค์การสมัยดั้งเดิม จึงมีโครงสร้างที่
แน่นอน มีการกำหนดกฎเกณฑ์และเวลาอย่างมีระเบียบแบบแผน มุ่งให้
ผลผลิตมีประสิทธิผล และประสิทธิภาพ (Effective and Efficient
Productivity) จากลักษณะดังกล่าว ทฤษฎีองค์การสมัยดั้งเดิม จึงมี
ลักษณะที่มุ่งเน้นเฉพาะความเป็ นทางการความมีรูปแบบหรือรูปนัยของ
8

องค์การเท่านั้น ทั้งนี้เพื่อจะได้ผลผลิตสูง และรวดเร็ว ของมนุษย์เสมือน


เครื่องจักรกล (Mechanistic) กล่าวอีกนัยหนึ่ง ทฤษฎีองค์การสมัยมนุษย์
ในเชิงจิตวิทยา สังคมวิทยา และมนุษย์วิทยา ทุกอย่างจะเป็ นไปตามกฎ
เกณฑ์ ตามกรอบและโครงสร้างที่กำหนดไว้อย่างแน่นอนปราศจากความ
ยืดหยุ่น(Flexibility)
ทฤษฎีองค์การสมัยดั้งเดิมนี้พยายามที่จะสร้างองค์การ
ขึ้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการเบื้องต้นทางด้านเศรษฐกิจขององค์การ
และสังคม นอกจากนั้นการที่มุ่งให้ โครงสร้างองค์การทางสังคมมีกรอบมี
รูปแบบก็เพื่อความสะดวกในการบริหาร และปกครอง ดังได้กล่าวแล้ว
องค์การสมัยดั้งเดิมมุ่นเน้นผลผลิตสูงตามเป้ าหมายที่กำหนดไว้นั่นเอง
ทั้งนี้หลักการของทฤษฎีองค์การสมัยดั้งเดิม มุ่งเน้นองค์การที่มีรูปแบบ
(Formal Organization) ซึ่งตั้งอยู่บนพื้นฐานหลัก 4 ประการที่ได้กล่าว
ไว้แล้วในตอนองค์การที่มีรูปแบบ ได้แก่การแบ่งระดับชั้นสายการบังคับ
บัญชา การแบ่งงาน ช่วงการควบคุม และเอกภาพในการบริหารงาน ซึ่ง
กลุ่มนักวิชาการ ที่มีบทบาทมากในทฤษฎีองค์การสมัยดั้งเดิม
คือ Frederick Taylor ผู้เป็ นเจ้าตำรับการบริหารแบบวิทยาศาสตร์
(Scientific Management) Max Weber เจ้าตำรับระบบราชการ
(Bureaucracy) Lyndall Urwick และ Luther Gulick ผู้มีชื่อเสียงเรื่อง
ทฤษฎีองค์การและกระบวนการบริหารงาน เป็ นต้น
2.2.2 ทฤษฎีสมัยใหม่ (Neo – Classical Theory of
Organization)
ทฤษฎีองค์การสมัยใหม่เป็ นทฤษฎีที่พัฒนามาจาก
ทฤษฎีองค์การสมัยดั้งเดิม โดยพัฒนามาพร้อมกับวิชาการด้าน
สังคมวิทยา จิตวิทยา การพัฒนาที่สำคัญเกิดขึ้นระหว่าง
ค.ศ.1910 และ 1920 ในระยะนี้การศึกษาด้านปั จจัยมนุษย์เริ่มได้นำมา
พิจารณา โดยมองเห็นความสำคัญและคุณค่าของมนุษย์
9

(Organistic) โดยเฉพาะการทดลองที่ Hawthorne ที่ดำเนินการตั้งแต่


ค.ศ.1924 – 1932 ได้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญในการศึกษาทางพฤติกรรม
ศาสตร์ และในช่วงนี้เองแนวความคิดด้าน มนุษยสัมพันธ์ (Human
Relations Movement) ได้รับพิจารณาในองค์การและขบวนการ
มนุษยสัมพันธ์นี้ ได้มีการเคลื่อนไหวพัฒนาในประเทศสหรัฐอเมริกา
อย่างเต็มที่ในระหว่าง ค.ศ.1940 – 1950 ความสนใจ ในการศึกษา
กลุ่มนอกแบบ หรือกลุ่มอย่างไม่เป็ นทางการ (Informal Group) ที่แฝง
เข้ามาในองค์การที่มีรูปแบบมีมากขึ้น ทฤษฎีองค์การสมัยใหม่มุ่งให้ความ
สนใจด้านความต้องการ (needs) ของสมาชิกในองค์การเพิ่มขึ้น
สรุปได้ว่าทฤษฎีองค์การสมัยใหม่ ให้ความสำคัญใน
ด้านความรู้สึกของบุคคล ยอมรับถึงอิทธิพลทางสังคมที่มีผลกระทบต่อ
การปฏิบัติงาน อาทิเช่น กลุ่มคนงานและการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจซึ่ง
มีความเชื่อว่าขบวนการมนุษยสัมพันธ์ จะให้ประโยชน์ในการผ่อนคลาย
ความตายตัวในโครงสร้างขององค์การสมัยดั้งเดิมลง
บุคคลที่มีชื่อเสียงในทฤษฎีองค์การสมัยใหม่ คือ Hugo
Munsterberg เป็ น ผู้เริ่มต้นวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรม เขียน
หนังสือชื่อ Psychology and Industrial Efficiency, Elton Mayo,
Roethlisberger และ Dickson ได้ทำการศึกษาที่ฮอธอร์น (Hawthorne
Study) เป็ นผู้บุกเบิกขบวนการมนุษยสัมพันธ์ (Human Relations
Movement) นอกจากนั้นได้รับการสนับสนุนจากนักทฤษฎีมนุษย์
สัมพันธ์อีก เช่น McGregor และ Maslow เป็ นต้น
2.2.3 ทฤษฎีสมัยปั จจุบัน (Modern Theory of
Organization)
ทฤษฎีองค์การสมัยปั จจุบันได้รับการพัฒนามาในช่วง
ค.ศ. 1950 หรือก่อนหน้านั้นเล็กน้อย แนวการพัฒนาทฤษฎีองค์การสมัย
ใหม่ยังคงใช้ฐานแนวความคิด และหลักการของทฤษฎีองค์การสมัยดั้งเดิม
10

และสมัยใหม่มาปรับปรุงพัฒนา โดยพยายามรวมหลักการทางวิทยาการ
หลายสาขาเข้ามาผสมผสาน ที่เรียกกันว่า สห
วิทยาการ (Multidisciplinary Approach) เป็ นการรวมกันของหลักการ
ทางเศรษฐศาสตร์ พฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์เข้าด้วยกันที่เรียก
ว่าเศรษฐศาสตร์สังคม (Socioeconomic)
นักทฤษฎีองค์การสมัยปั จจุบัน มีความคิดว่าทฤษฎี
สมัยดั้งเดิมนั้น พิจารณาองค์การในลักษณะแคบไป โดยมีความเชื่อว่า
องค์การอยู่ท่ามกลางสิ่งแวดล้อมที่หลากหลาย ฉะนั้นควรเน้นการ
วิเคราะห์ และสังเคราะห์สิ่งต่าง ๆ เข้าด้วยกัน การศึกษาองค์การที่ดีที่สุด
ควรจะเป็ นวิธีการศึกษาวิเคราะห์องค์การในเชิงระบบ (System
Analysis) ซึ่งประกอบด้วยตัวแปรต่าง ๆ มากมายทั้งภายใน และ
ภายนอกองค์การล้วนแล้วแต่มีผลกระทบต่อโครงสร้าง และการจัด
องค์การทั้งสิ้น แนวความคิดเชิงระบบนี้ประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ที่เป็ น
พื้นฐาน 5 ส่วน
(1) สิ่งนำเข้า (Input)
(2) กระบวนการ (Process)
(3) สิ่งส่งออก (Output)
(4) ข้อมูลป้ อนกลับ (Feedback)
(5) สภาพแวดล้อม (Environment)
ดังนั้น องค์การในแนวความคิดนี้จึงต้องมีการปรับตัว
(Adaptive) ตลอดเวลา เพราะตัวแปรต่างๆ มีลักษณะเปลี่ยนแปลง
(Dynamic) อยู่เสมอ โดยบุคคลที่มีชื่อเสียงในทฤษฎีองค์การสมัยใหม่
หลายคนอาทิเช่น Alfred Korzybskj,
Mary Parker Follet, Chester I Barnard, Ludwig Von
Bertalanfty และ Norbert Winer เป็ นต้น
11

ภาพประกอบที่ 1 แสดงระบบโครงสร้างการจัดองค์การของสถานศึกษาตาม
แนวคิดทฤษฎีระบบ (System Theory)

หน่วย
ตรวจสอบ

Environment

Input Process Output

-ฝ่ ายบริหารทั่วไป -การบริหารสถาน -ผลสัมฤทธิ์


-ฝ่ ายบริหาร ศึกษา ทางการศึกษา
ชุมชน
ระเบียบ/ วิชาการ -การจัดการเรียน -ประสิทธิภาพ/
กฎหมา -ฝ่ ายบริหารงาน

Feedback

ข้อมูล

ที่มา : สังเคราะห์จากแนวคิดของ Peter M. Senge (1990)

2.2.4 ทฤษฎีองค์การตามสถานการณ์และกรณี
(Contingency Theory)
เริ่มมีบทบาทประมาณปลายปี ค.ศ.1960 เป็ นทฤษฎีที่
พัฒนามาจากความคิดอิสระ ที่ว่าองค์การที่เหมาะสมที่สุดควรจะเป็ น
12

องค์การที่มีโครงสร้างและระบบที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม และสภาพ
ความเป็ นจริงขององค์การ ตั้งอยู่บนพื้นฐานการศึกษาสภาพแวดล้อมที่
แตกต่างกันของมนุษย์ (Humanistic Environment)ทฤษฎีองค์การตาม
สถานการณ์และกรณีนี้มีอิสระมาก โดยมีธรรมชาติ (Natural) เป็ น
ตัวแปรและเป็ นปั จจัยสำคัญในการกำหนดรูปแบบ กฎเกณฑ์และระเบียบ
แบบแผนมีลักษณะเป็ นเหตุเป็ นผลและสอดคล้องกับสภาพความเป็ นจริง
สภาพแวดล้อม เป้ าหมายขององค์การโดยส่วนรวมและเป้ าหมายของ
สมาชิกทุกคนในองค์การ โดยมีข้อสมมติฐานว่า องค์การที่เหมาะสมที่สุด
คือ องค์การที่มีโครงสร้างและรูปแบบที่สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมของ
สังคมนั้น ๆ ซึ่งรวมถึงสภาพภูมิศาสตร์ วัฒนธรรม ค่านิยม ความเชื่อ การ
สนับสนุน และความต้องการของสมาชิกในองค์การนั้นด้วย
บุคคลที่กำหนดชื่อทฤษฎีองค์การตามสถานการณ์และกรณี
คือ Fiedler นอกจากนั้น ก็มี Woodward, Lawrence แล
ะ Lorsch ได้ทำการวิจัยศึกษาเรื่องนี้

2.3 การจัดองค์การ
2.3.1 ความหมาย
ฟลิปโป (Flippo. 1966 : 103) ให้ความหมายการจัด
องค์การ คือ กระบวนการจัด ความสัมพันธ์ระหว่างส่วนต่างๆ ของ
องค์การ เพื่อให้รวมกันเข้าเป็ นหน่วยงานที่มีประสิทธิภาพ สามารถให้งาน
ขององค์การบรรลุเป้ าหมายจนสำเร็จได้ผลดี
แมคลาเนย์ (McLaney. 1964 : 11) ให้ความหมายการจัด
องค์การคือ การจัดระเบียบ ให้กิจกรรมต่างๆ ขององค์การสมดุลกัน โดย
กำหนดว่า ใครมีหน้าที่อะไร อำนาจหน้าที่และ ความรับผิดชอบอย่างไร
เพื่อให้การดำเนินงานขององค์การบรรลุตามแผนที่กำหนดไว้
13

ธงชัย สันติวงษ์ (2531 : 63) ให้ความหมายการจัดองค์การ


คือ การจัดระเบียบ กิจกรรมให้เป็ นกลุ่มก้อนเข้ารูป และการมอบหมาย
งานให้คนปฏิบัติ เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จตาม วัตถุประสงค์ของงานที่ตั้งไว้
อุทัย หิรัญโต (2526 : 224) ให้ความหมายการจัดองค์การ
คือ การจัดระเบียบ เกี่ยวกับตัวคน ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและองค์
ประกอบต่างๆ ขององค์การ โดยจัดให้กิจกรรม ต่างๆ ดำเนินไปตามวิถี
ทางปฏิบัติเพื่อไปสู่ เป้ าหมาย โดยกำหนดอำนาจหน้าที่และความ รับผิด
ชอบไว้
สรุปได้ว่า การจัดองค์การ คือ กระบวนการที่เกี่ยวข้องกับ
การจัดกลุ่มคนและกิจกรรม ของงาน มอบหมายความรับผิดชอบและ
อำนาจหน้าที่ให้บุคคล เพื่อให้การดำเนินงานขององค์การ บรรลุ
วัตถุประสงค์ตามแผนที่ได้กำหนดไว้ การจัดองค์การจะช่วยให้การปฏิบัติ
งานมี ประสิทธิภาพหลายประการ ได้แก่ ช่วยแบ่งงานออกเป็ นส่วนๆ
ช่วยจัดกลุ่มกิจกรรมเพื่อให้บรรลุ วัตถุประสงค์ขององค์การ ช่วยกำหนด
ขอบเขตของงาน

2.3.2 ความสำคัญของการจัดองค์การ
ธิดา พาหอม (2544 : 64) กล่าวว่า องค์การจะบรรลุ
วัตถุประสงค์ตามแผนที่กำหนดไว้ได้ ผู้บริหารจะต้องมีความรู้ในการจัด
องค์การเพื่อให้การดำเนินงานเป็ นไปโดยสะดวก ไม่เกิดปั ญหา จะช่วยส่ง
ผลต่อการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพ กล่าวคือ 1) ช่วยแบ่งแยกงานออก
เป็ นส่วน ๆ การแบ่งแยกงานให้ตรงกับความรู้ ความสามารถความชํานาญ
ให้แต่ละคน จะทำให้การปฏิบัติงาน มีประสิทธิภาพ 2) ช่วยจัดกลุ่ม
กิจกรรมเพื่อให้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์ขององค์การ คือ การที่ รวม
14

กลุ่มงานที่มีลักษณะอย่างเดียวกันหรือคล้ายคลึงกันมารวมเข้าด้วยกัน
ตามความเหมาะสม 3) ช่วยกำหนดขอบเขตของงานและมอบหมายความ
รับผิดชอบ และอำนาจหน้าที่ในการ จัดองค์การจะต้องคำนึงถึงคนที่
ปฏิบัติงาน ให้ทราบถึงขอบเขตของงานว่าทำงานอะไรอยู่ที่ใดใน หน่วย
งาน จะต้องกำหนดอำนาจหน้าที่เพื่อจะรู้ว่า มีความสัมพันธ์กับผู้อื่น
ภายในองค์การ อย่างไร ตั้งแต่ระดับสูงจนถึงระดับต่ำ ส่วนการมอบหมาย
งานนั้น ผู้บริหารจะต้องพิจารณาบุคคลที่คิดว่ามี ความเหมาะสมกับงาน
นั้น และสามารถปฏิบัติงานนั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ 4) ช่วยจัด ความ
สัมพันธ์ต่างๆ ผู้บริหารจะต้องวางกฎเกณฑ์ต่างๆ ไว้ให้ชัดเจนเพื่อให้การ
ทำงานเป็ นระเบียบ และไม่ขัดแย้งกันความสัมพันธ์ในเรื่องเกี่ยวกับบุคคล
และกลุ่มทำงานต่างๆ
จากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า การจัดองค์การนับว่ามีความ
สำคัญที่จะช่วยให้องค์การดำเนิน ไปด้วยความราบรื่น ประสบผลสำเร็จ
เพราะองค์การจะประกอบไปด้วย การรวมกลุ่มของบุคคล โดยมีจุดหมาย
ร่วมกัน งานที่องค์การทำจึงต้องอาศัยคนมากกว่าหนึ่งคนขึ้นไปและคนนั้น
ย่อมมี ความแตกต่างกันเมื่อมาร่วมกันทำงานย่อมประสบปั ญหาในเรื่อง
ต่างๆ ดังนั้นจึงจำเป็ นต้องมีการ กำหนดระเบียบ กฎเกณฑ์ขององค์การ
หน้าที่ของบุคคล ระบบความสัมพันธ์ การประสานงาน การควบคุม การ
แบ่งหน้าที่การงานให้ชัดเจน เพื่อเป็ นกรอบและทิศทางให้บุคคลใน
องค์การปฏิบัติ
สรุปได้ว่าความสำคัญของการจัดองค์การจะทำให้การแบ่ง
งาน การจัดกลุ่มงาน การมอบ อำนาจหน้าที่ให้ผู้ปฏิบัติงาน เป็ นไปอย่าง
มีระบบ ทำให้เห็นถึงกระแสการไหลของงาน ช่วยให้ ผู้ปฏิบัติทราบถึง
ขอบเขตงาน เป็ นกรอบที่ช่วยเชื่อมโยงในการทำงานของแต่ละระบบ ช่วย
ในการ ติดต่อ สื่อสาร และการตัดสินใจป้ องกันการทำงานซ้ำซ้อน และ
ขจัดข้อขัดแย้งในหน้าที่การงาน
15

องค์การที่จัดไว้อย่างเหมาะสมจะก่อให้เกิดประโยชน์หลาย
ประการ คือ ช่วยให้การ บริหารงานเป็ นไปโดยสะดวกและง่าย กล่าวคือ
จะไม่ก่อให้เกิดปั ญหางานคั่งที่จุดใดจุดหนึ่ง ไม่สิ้นเปลืองเพราะการทำงาน
ซ้ำซ้อน ไม่เกิดปั ญหาการลังเลหรือเกี่ยงกันทำ ช่วยให้การมอบหมายงาน
สามารถกระทำโดยง่าย และยังทำให้การพัฒนาและเปลี่ยนแปลงองค์การ
ไปตามสถานการณ์ ต่างๆ ได้ง่ายขึ้น
2.3.3 หลักของการจัดองค์การ
หลักของการจัดองค์การเป็ นกระบวนการสร้างความสัมพันธ์
ระหว่างหน้าที่การงานและ ปั จจัยทางกายภาพต่างๆขององค์การ ซึ่งหลัก
การจัดองค์การในระบบราชการมีหลักสำคัญหลายประการ สมคิด บางโม
(2544 : 116-118) กล่าวไว้ดังนี้
1) การกำหนดหน้าที่การงาน (Function) นั้นขึ้นอยู่
กับวัตถุประสงค์ขององค์การ หน้าที่ การงาน และภารกิจ จึงหมายถึงกลุ่ม
ของกิจกรรมที่ต้องปฏิบัติเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของ องค์การ หน้าที่
การงานจะมีอะไรบ้างและมีกี่กลุ่ม ขึ้นอยู่กับเป้ าหมายขององค์การ
ลักษณะ องค์การ และขนาดขององค์การด้วย
2) การแบ่งงาน (Division of work) หมายถึงการแยก
งานหรือรวมหน้าที่การงานที่มี ลักษณะเดียวกัน หรือใกล้เคียงกันไว้ด้วย
กัน หรือแบ่งงานตามลักษณะเฉพาะของงาน แล้วมอบ งานนั้นๆ ให้แก่
บุคคล หรือกลุ่มบุคคลที่มีความสามารถหรือความถนัดในงานนั้นๆ โดยตั้ง
เป็ น หน่วยงานย่อยขึ้นมารับผิดชอบ
3) หน่วยงานสำคัญขององค์การ คือ หน่วยงานหลัก
(Line) หน่วยงานที่ปรึกษา (Staff) และหน่วยงานอนุกร (Auxiliary)
หน่วยงานหลัก คือ หน่วยงานที่ปฏิบัติงานตรงกับวัตถุประสงค์ หน่วยงาน
ที่ปรึกษา คือ หน่วยงานที่ปฏิบัติงานช่วยหน่วยงานหลัก หน่วยงานอนุกร
16

คือ หน่วยงานที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับหน่วยงานหลักและ หน่วย


งานที่ปรึกษา
4) จัดสายการบังคับบัญชาเหมาะสม สายบังคับบัญชา
(Chain of command หรือ Line of authority หรือ Hierarchy)
หมายถึง สายของความสัมพันธ์ของบุคคลในองค์การตามลำดับขั้น จาก
ระดับสูงไปยังระดับต่ำ ตลอดทั้งองค์การ เป็ นลำดับขั้นที่กำหนดอำนาจ
หน้าที่จากระดับสูงสุดมาถึงระดับต่ำสุด จากผู้บังคับบัญชาระดับสูงสุดมา
ถึงพนักงานระดับต่ำสุดหลักการจัดสายบังคับบัญชา ก็คือ แต่ละสายจะ
ต้องไม่ควรให้มีลำดับขั้นมากเกินไป เพื่อมิให้การรายงานจากล่างขึ้นสู่
เบื้องบนผ่านหลายชั้นจนเกินไป ซึ่งอาจจะทำให้เกิดปั ญหาในเรื่อง ของ
การสื่อสาร (Communication) ล่าช้า บิดเบือน และอาจจะยากแก่การ
ควบคุมด้วย
5) จัดการติดต่อสื่อสารสะดวกและคล่องตัว การติดต่อ
สื่อสาร (Communication) เป็ นกระบวนการดำเนินการที่จะส่งข่าวสาร
และ ความเข้าใจจากบุคคลหนึ่งไปยังบุคคลหนึ่ง หรือจากหน่วยงานหนึ่ง
ไปยังอีกหน่วยงานหนึ่งเพื่อให้ บุคคล หรือหน่วยงานทำงานได้ตรงกับ
วัตถุประสงค์ขององค์การ การติดต่อสื่อสารเป็ นเรื่องที่สำคัญ ที่องค์การ
จะต้องจัดให้มีอย่างสะดวกและดีพอ เพื่อที่จะให้ทุกคนปฏิบัติงานได้อย่าง
ประสานกัน และปฏิบัติงานบรรลุวัตถุประสงค์อย่างมีประสิทธิภาพ
6) จะต้องจัดให้มีเอกภาพในการบังคับบัญชา (Unity
of command) หมายถึง ผู้ใต้บังคับบัญชาจะต้อง มีผู้บังคับบัญชา
โดยตรงเพียงคนเดียวเท่านั้น ทั้งนี้เพื่อมิให้มีความสับสน
7) จะต้องมีขอบเขตของการควบคุมเหมาะสม ขอบเขต
ของการควบคุม (Span of control) ได้แก่ การที่ผู้บังคับบัญชาควบคุม ผู้
ใต้บังคับบัญชาจำนวนมากน้อยเท่าใด ถ้ามีผู้ใต้บังคับบัญชามากเกินไปก็
17

จะควบคุมดูแลไม่ทั่วถึง ถ้าน้อยเกินไปก็จะไม่คุ้มค่า ในการจัดองค์การที่ดี


จึงต้องจัดช่วงของการควบคุมที่มีจำนวนเหมาะสม ไม่มากหรือน้อยเกินไป
8) จะต้องมีการประสานงานที่มีประสิทธิภาพ การ
ประสานงาน (Coordination) เป็ นกิจกรรมสำคัญที่จะทำให้งานที่แบ่งกัน
ไปแล้ว ให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างสอดคล้อง และทำให้งานบรรลุ
วัตถุประสงค์ตามที่ต้องการได้
9) จะต้องกำหนดหน้าที่และมอบอำนาจหน้าที่ที่เหมาะ
สม การจัดองค์การจะต้องกำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบ
(Responsibility)ไว้ให้ ชัดเจนว่าหน่วยงานใดมีหน้าที่ และความรับผิด
ชอบอย่างไร ทั้งนี้รวมไปถึงการกำหนดหน้าที่ของ บุคคลหรือที่เรียกว่า ใบ
แสดงหัวข้องานหรือใบพรรณนางาน (Job description) ให้ชัดเจนด้วย
นอกจากนั้นแล้วจะต้องกำหนดอำนาจหน้าที่ (Authority) ให้สอดคล้อง
กับหน้าที่และ ความรับผิดชอบ (Responsibility) ด้วย
10) จะต้องมีการมอบหมาย และมอบอำนาจหน้าที่ที่
เหมาะสม การจัดองค์การที่ดีนั้นจะต้องมีการมอบหมายงาน (Work
assignment) ให้ ผู้ปฏิบัติงานได้ปฏิบัติงานอย่างเหมาะสม และนอกจาก
นั้นจะต้องมอบอำนาจ (Delegation of authority) ให้ผู้ปฏิบัติงานอย่าง
เหมาะสมด้วย
จากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่าองค์การจะดำเนินการบรรลุ
วัตถุประสงค์หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่ กับการจัดองค์การที่ดีและเหมาะสม การ
จัดองค์การเป็ นการจัดแบ่งองค์การออกเป็ นหน่วยงาน ย่อยๆ และเป็ นก
ระบวนการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างหน้าที่การงาน บุคคล และปั จจัย
ต่างๆ ใน องค์การให้เหมาะสม การจัดองค์การที่ดีจะต้องคำนึงถึงหน้าที่
การงาน การแบ่งงาน หน่วยงาน สำคัญขององค์การ การบังคับบัญชา
เอกภาพในการบังคับบัญชา และโครงสร้างขององค์การ หลักในการจัด
องค์การเป็ นการกำหนดรายละเอียดของงานที่จะทำเพื่อให้บรรลุเป้ า
18

หมาย การแบ่ง งานให้แต่ละคนทำโดยยึดหลักความชํานาญ ความถนัด


การบังคับบัญชา และการประสานงานให้ ฝ่ ายต่างๆปฏิบัติงานไปด้วย
ความราบรื่น บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การอย่างมีประสิทธิภาพ

2.4 การจัดองค์การทางการศึกษา
วิโรจน์ สารรัตนะ (2544 : 11) ได้จำแนกองค์การทางการ
ศึกษาตามแนวคิดของ ฮอล์ล ไว้ดังนี้ 1) จำแนกออกเป็ น 2 ลักษณะ คือ
องค์การแบบราชการ (Bureaucratic) มีลักษณะสำคัญ เช่น การมีสาย
บังคับบัญชาการยึดถือกฎระเบียบการแบ่งงานกันทำ และการ ไม่คำนึงถึง
ความเป็ นส่วนตัว เป็ นต้น อีกลักษณะหนึ่งคือ องค์การแบบวิชาชีพ
(Professional) มีลักษณะสำคัญ เช่น การมีอิสระในการตัดสินใจ ความ
สามารถ ควบคุมมาตรฐานการทำงานของตนเองได้ ตลอดจน ความเป็ นผู้
มีความชํานาญในวิชาชีพ เป็ นต้น 2) จำแนกเป็ น 4 ลักษณะ คือ ลักษณะ
แรกเป็ น องค์การที่มีโครงสร้างไม่ชัดเจน (Chaotic) มีระดับของการเป็ น
ทั้งแบบราชการและเป็ นวิชาชีพต่ำ มีความสับสน และเต็มไปด้วยความขัด
แย้งอย่างไรก็ดีองค์การลักษณะนี้มีแนวโน้มที่จะพัฒนาไปสู่ องค์การใน
ลักษณะอื่น องค์การลักษณะที่สอง เน้นโครงสร้างเชิงอำนาจหน้าที่
(Authoritarian) อำนาจขึ้นอยู่กับบุคคลในตำแหน่ง และสายการบังคับ
บัญชา ยึดกฎระเบียบสั่งการจากบนสู่ล่าง องค์การลักษณะที่สาม เน้น
โครงสร้างองค์การที่มีทั้งแบบราชการ และแบบวิชาชีพสูงคล้ายกับ รูป
แบบเชิงอุดมศึกษา Weber จึงเรียกองค์การลักษณะที่สามนี้ว่า เป็ นแบบ
Weberian และองค์การ ลักษณะที่สี่ มีโครงสร้างที่เน้นความเป็ นวิชาชีพ
(Professional) มีความเป็ นราชการต่ำ เน้นการ มอบอำนาจการตัดสินใจ
ให้กับผู้ปฏิบัติซึ่งเป็ นมืออาชีพที่มีศักยภาพและความสามารถที่จะตัดสิน
ใจ เรื่องความสำคัญขององค์การได้
19

วิโรจน์ สารรัตนะ (2544 : 12 - 16) ได้จำแนกลักษณะองค์การ


ทางการศึกษาตามแนวคิด ของมินท์ซเบอร์ก ออกเป็ น 7 ลักษณะ
คือ
1) ลักษณะแบบง่าย (Simple structure) อำนาจอยู่ที่ผู้
บริหารมีโครงสร้างอย่าง ไม่เป็ นทางการ สมาชิกมีไม่มาก การแบ่งงานกัน
ทำจึงยังไม่ชัดเจน
2) ลักษณะแบบเครื่องจักร (Machine bureaucracy) มี
มาตรฐานของงาน (Standardization of works) เป็ นกลไกการประสาน
งานขององค์การที่สำคัญมีผู้ชํานาญการเชิง เทคนิค (Techno -
Structure) มีบทบาทสำคัญในการวิเคราะห์มาตรฐานงาน มีการรวม
ศูนย์อำนาจ และความเป็ นทางการสูง ยึดกฎระเบียบ เน้นการสื่อสารทาง
เคียวและการตัดสินใจเป็ นไปตามสาย การบังคับบัญชา
3) ลักษณะแบบวิชาชีพ (Professional bureaucracy)
เน้นทั้งเรื่องการกระจายอำนาจ และเรื่องการทำให้เป็ นมาตรฐาน แต่เป็ น
มาตรฐานด้านทักษะ (Standardization of skills) ของ สมาชิกใน
องค์การที่จะต้องได้รับการพัฒนาถึงระดับความเป็ นวิชาชีพ ดังนั้น
มาตรฐานด้านทักษะ ของสมาชิกจึงเป็ นกลไกสำคัญขององค์การใน
ลักษณะนี้ ความมีประสิทธิผลขององค์การขึ้นอยู่กับ ความรู้ความสามารถ
และทักษะของผู้ปฏิบัติเป็ นสำคัญ เพราะองค์การลักษณะนี้จะกระจาย
อำนาจ การตัดสินใจให้กับผู้ปฏิบัติงานในระดับสูง
4) ลักษณะแบบราชการอย่างง่าย (Simple bureaucracy)
มีลักษณะปนกันระหว่าง องค์การแบบง่ายและองค์การแบบเครื่องจักร
โดยการรวมศูนย์อำนาจและความเป็ นทางการมีสูงแต่ อาจมีโครงสร้าง
องค์การแบบแบนราบ (Flat) การปฏิบัติงานอยู่ภายใต้การควบคุมกำกับ
อย่าง ใกล้ชิดจากผู้บังคับบัญชา ยึดถือกฎระเบียบและข้อบังคับ
20

5) ลักษณะแบบวิชาชีพอย่างง่าย (Simple professional


bureaucracy) มี ลักษณะปนกันระหว่างองค์การแบบง่ายกับแบบวิชาชีพ
การรวมศูนย์อำนาจและความชํานาญเฉพาะ ทางมีอยู่ในระดับสูง แม้จะ
ยึดหลักการทำงานร่วมกันระหว่างผู้บริหารและผู้ปฏิบัติ แต่ก็ภายใต้การ
ควบคุมกำกับของผู้บริหารอย่างใกล้ชิดเปรียบเสมือนกับวงดนตรีซิมโฟนี
หรือวงออร์เคสตร้า
6) ลักษณะแบบกึ่งวิชาชีพ (Semi professional
bureaucracy) มีลักษณะปนกัน ระหว่างองค์การแบบเครื่องจักรกับแบบ
วิชาชีพ คือ แม้จะมีการรวมศูนย์อำนาจหรือมีลักษณะเป็ น แบบทางการก็
มีไม่มากเท่ากับองค์การแบบเครื่องจักร แต่ก็ไม่ได้มีความเป็ นอิสระหรือ
กระจาย อำนาจมากเท่าองค์การแบบวิชาชีพ
7) ลักษณะองค์การแบบการเมือง (Political
organization) องค์การแบบนี้มักมีแทรก อยู่ในองค์การแทบทุกลักษณะ
มีการใช้แบบการเมืองและอำนาจอย่างไม่เป็ นทางการ (Informal power
and politics) ซึ่งจะทำให้โครงสร้างองค์การแบบทางการไม่เกี่ยวข้อง
สัมพันธ์กัน เกิดสภาพ ความไร้ระเบียบ การเจรจาต่อรอง การรวมกลุ่ม
และการเล่นเกมการเมือง (Political games) ซึ่ง ไม่ก่อให้เกิดผลดีต่อ
ความมีประสิทธิผลขององค์การ
องค์การในลักษณะต่างๆ ตามทัศนะของ มินท์ซเบอร์ก ดังกล่าว
ข้างต้น แสดงภาพประกอบได้ดังนี้
21

ภาพประกอบที่ 2 แสดงลักษณะองค์การทางการศึกษาตามทัศนะของ
Mintzberg

ที่มา : วิโรจน์ สารรัตนะ. 2544 : 15

โดยสรุปลักษณะขององค์การทางการศึกษาตามทฤษฎีดังกล่าว
ข้างต้น เมื่อมองในแง่การ เปลี่ยนแปลงกระบวนทัศน์ อาจกล่าวได้ว่ามี
แนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงในจุดเน้นจากแบบที่เป็ น Bureaucracy มา
เป็ นแบบ Professional โดยระหว่างความเป็ น Bureaucracy และ
22

Professional นั้น ก็มีรูปแบบที่ผสมผสานกันเกิดขึ้น แต่อย่างไรก็ตาม


ทิศทางของการเปลี่ยนแปลงก็ยังคงเป็ น การเปลี่ยนแปลงจากแบบ
Bureaucracy สู่แบบ Professional เป็ นสำคัญ โดยรูปแบบทั้งสองมี
ลักษณะที่เหมือนกันและแตกต่างกันดังแสดงให้เห็นในภาพประกอบดังนี้

ภาพประกอบที่ 3 แสดงลักษณะที่เหมือนกันและแตกต่างกันของ
องค์การแบบราชการและแบบวิชาชีพ

ที่มา : วิโรจน์ สารรัตนะ, 2544 : 16


23

สรุปได้ว่าโครงสร้างการจัดองค์การทางการศึกษา ที่นักวิชาการได้
ให้แนวความคิดและ รูปแบบการจัดองค์การไว้หลายความคิด หลายรูป
แบบ แนวคิดสำคัญของโครงสร้างองค์การก็คือ รูปแบบที่เป็ นทางการใน
การจัดความสัมพันธ์ของคนและงานในองค์การเพื่อการบรรลุเป้ าหมายที่
กำหนดไว้ แนวทางการจัดโครงสร้างองค์การโรงเรียนขนาดเล็ก ต้องมีการ
ศึกษาธรรมชาติของครู และลักษณะของงานที่โรงเรียนต้องปฏิบัติให้
ชัดเจน หลังจากนั้นจึงวิเคราะห์สภาพการดำเนินงาน ภายใต้โครงสร้าง
องค์การที่เป็ นอยู่ของโรงเรียนขนาดเล็ก เมื่อได้สภาพที่ชัดเจนก็จะ
สามารถหา แนวทางในการจัดโครงสร้างองค์การให้สอดคล้องกับบุคลากร
และงานของโรงเรียนขนาดเล็กได้

3. โครงสร้างการจัดองค์การของสถานศึกษา
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 มาตรา 39
กำหนดให้มีการกระจายอำนาจ การบริหารงานด้านวิชาการ การงบ
ประมาณ การบริหารงานบุคคลและงานบริการทั่วไปมายัง สถานศึกษา
โดยตรงนั้น สถานศึกษาแต่ละแห่งอาจจัดโครงสร้างและระบบงานของ
ตนเองรองรับภารกิจดังกล่าวก็ได้ และให้งานประกันคุณภาพเป็ นส่วนของ
กระบวนการบริหารปกติแบบต่อเนื่อง ดังภาพประกอบต่อไปนี้
24

ภาพประกอบที่ 4 การจัดโครงสร้างแบบแบ่งงานตามภารกิจเพื่อรองรับ
การกระจายอำนาจ
ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542

ที่มา : อุทัย บุญประเสริฐ และจิราภรณ์ จันทร์สุพัฒน์. 2545 : 3


25

3.1 กฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้อง
จากการศึกษาค้นคว้าสามารถสรุปสาระสำคัญของกฎหมาย
และระเบียบที่เกี่ยวข้องคือพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ
กระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546 และ กฎกระทรวงแบ่งส่วนราชการ
มาตรา 34 ให้จัดระเบียบบริหารราชการเขตพื้นที่การ
ศึกษาดังนี้
(1) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
(2) สถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานหรือส่วน
ราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น
การแบ่งส่วนราชการภายในตาม (1) ให้จัดทำเป็ นประกาศกระทรวงและ
ให้ระบุอำนาจ หน้าที่ของแต่ละส่วนราชการไว้ในประกาศกระทรวง ทั้งนี้
โดยคำแนะนำของคณะกรรมการ การศึกษาขั้นพื้นฐาน
การแบ่งส่วนราชการภายในตาม (2) และอำนาจหน้าที่
ของสถานศึกษาหรือส่วนราชการ ที่เรียกชื่ออย่างอื่นให้เป็ นไปตาม
ระเบียบที่คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษาแต่ละเขตพื้นที่ การศึกษา
กำหนด
การแบ่งส่วนราชการตามวรรคสองและวรรคสามให้เป็ นไป
ตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดใน กฎกระทรวง
ทั้งนี้ กฎกระทรวงศึกษาธิการกำหนดหลักเกณฑ์การแบ่ง
ส่วนราชการภายในสถานศึกษาที่จัด การศึกษาขั้นพื้นฐานหรือส่วน
ราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่น พ.ศ. 2547
ข้อ 2 การแบ่งส่วนราชการภายในสถานศึกษาและส่วน
ราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นให้ เป็ นไปตามแนวทางดังต่อไปนี้
26

(1) สอดคล้องกับภารกิจหลักและรองรับการกระจายอำ
นาจการบริหารและจัดการศึกษา จากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา
ขั้นพื้นฐานและกระทรวงศึกษาธิการ
(2) มีความเป็ นเอกภาพในทางการบริหารจัดการ มีความ
ยืดหยุ่น และพร้อมต่อการ ปรับเปลี่ยน
(3) มีกลไกในการประสานงานอย่างทั่วถึงและมี
ประสิทธิภาพทั้งภายในและภายนอก สถานศึกษาหรือส่วนราชการที่เรียก
ชื่ออย่างอื่น
(4) มุ่งผลสัมฤทธิ์ตามภารกิจ ความคุ้มค่า ลดขั้นตอนการ
บริหาร เพิ่มประสิทธิภาพและ ประสิทธิผลการบริหารจัดการ
(5) คำนึงถึงความสัมพันธ์ที่เกื้อกูลต่อสัมฤทธิผลของ
คุณภาพการศึกษา ระดับและขนาด ของสถานศึกษาหรือส่วนราชการที่
เรียกชื่ออย่างอื่น จำนวนนักเรียน ผู้รับบริการ และความ เหมาะสมด้าน
อื่น
ข้อ 3 ให้แบ่งส่วนราชการภายในสถานศึกษาและส่วน
ราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นเป็ น กลุ่ม และกลุ่มอาจแบ่งส่วนราชการเป็ นก
ลุ่มงานหรือหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะ เทียบเท่ากลุ่มงานได้
การกำหนดอำนาจหน้าที่ของส่วนราชการตามวรรคหนึ่งต้อง
สอดคล้องกับแนวทางตามข้อ 2
ข้อ 4 การแบ่งส่วนราชการตามข้อ 3 ต้องได้รับความเห็น
ชอบจากสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาที่สถานศึกษาหรือส่วนราชการที่
เรียกชื่ออย่างอื่นนั้นสังกัด ทั้งนี้ ตามระเบียบที่ คณะกรรมการเขตพื้นที่
การศึกษาแต่ละพื้นที่การศึกษากำหนดการบริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
ที่เป็ นนิติบุคคล
นอกจากการบริหารและการจัดการศึกษาตามอำนาจหน้าที่เพื่อ
พัฒนาคุณภาพการของ ผู้เรียนแล้ว รัฐบาลได้มีการปฏิรูประบบราชการ
27

เพื่อบริการประชาชนให้มีความพึงพอใจในการ บริการภาครัฐมากขึ้น เพื่อ


ให้เป็ นไปตามเจตนารมณ์ดังกล่าว พระราชกฤษฎีกาว่าการบริหารกิจการ
บ้านเมืองที่ดี พ.ศ. 2542 ขึ้น เพื่อให้ทุกกระทรวง ทบวง กรมและส่วน
ราชการถือปฏิบัติ

3.2 ขอบข่ายการบริหารสถานศึกษาตามพระราชบัญญัติการ
ศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และแก้ไขเพิ่ม
เติม พ.ศ.2545 มีผลบังคับให้กระทรวงศึกษาธิการ ปรับโครงสร้างองค์กร
ใหม่ โดยมีสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) มี
บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของ
ชาติคือตั้งแต่อนุบาลถึงมัธยมศึกษา ปี ที่ 6 (สพฐ,2550:28-121)
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจึงกำหนด
ขอบข่ายภารกิจการศึกษาของชาติโดย มีการกระจายอำนาจการบริ
หารงานการศึกษา 4 ด้านในสถานศึกษาดังนี้ (สุนทร โคตรบรรเทา.
2560 : 1-5)
3.2.1 งานวิชาการ
3.2.2 งานงบประมาณ
3.2.3 งานบุคลากร
3.2.4 งานบริหารทั่วไป
ดังรายละเอียดต่อไปนี้
3.2.1 การบริหารงานวิชาการ
28

การบริหารงานวิชาการ มีหลักการ แนวคิด ขอบข่ายและ


ภารกิจและบทบาทหน้าที่ในการดำเนินงานของสถานศึกษาดังนี้
1) จัดทำหลักสูตรสถานศึกษา สถานศึกษาจัดทำ
หลักสูตรของสถานศึกษาเอง ตามกรอบหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้น
พื้นฐาน และสอดคล้องกับสภาพปั จจุบัน ปั ญหา และความต้องการของ
ชุมชน และสังคมอย่างแท้จริง โดยมีครู ผู้บริหาร ผู้ปกครอง และสมาชิก
ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดทำหลักสูตร
2) จัดกระบวนการเรียนรู้ ในการจัดกระบวนการเรียนรู้
โดยถือว่าผู้เรียนสำคัญที่สุดวงเล็บผู้เรียนเป็ นศูนย์กลาง
3) ให้ชุมชนและสังคมมีส่วนร่วมในการกำหนด
หลักสูตร โดยให้ชุมชนและสังคมเข้ามามีส่วนร่วมในการกำหนดขอบข่าย
และเนื้อหาของหลักสูตรสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
4) จัดการศึกษาให้มีคุณภาพและมีมาตรฐาน โดยจัดให้
มีตัวชี้วัดคุณภาพการจัดทำหลักสูตรและกระบวนการเรียนรู้ และตรวจ
สอบคุณภาพการจัดการศึกษาทุกระดับชั้นทั้งระดับเขตพื้นที่และระดับ
สถานศึกษา
ขอบข่ายและภารกิจ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้น
พื้นฐาน (สพฐ.) มีการกระจายอำนาจของการและภารกิจให้สถานศึกษา
12 งานดังนี้

(1) งานการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
(2) งานการพัฒนากระบวนการเรียนรู้
(3) งานการวัดผลและประเมินผลและการเทียบโอน
ผลการเรียนรู้
(4) งานการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา
29

(5) งานการพัฒนาสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีการ


ศึกษา
(6 ) งานการพัฒนาแหล่งเรียนรู้
(7) งานการนิเทศการศึกษา
(8) งานการแนะแนวการศึกษา
(9) งานการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายใน
(10) งานการส่งเสริมความรู้ด้านวิชาการแก่ชุมชน
(11) งานการประสานความร่วมมือในการพัฒนา
วิชาการในสถาบันอื่นๆ
(12) การการสนับสนุนวิชาการแก่ชุมชน ครอบครัว
และองค์กรการศึกษาอื่นๆ
บทบาทหน้าที่ในการดำเนินงานของสถานศึกษา ในแต่ละ
ขอบข่ายงานวิชาการ สถานศึกษาต้องปฏิบัติดังนี้
(1) งานการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
- จัดทำหลักสูตรสถานศึกษาเป็ นของตนเอง โดยดำเนิน
การดังต่อไปนี้
จะทำการวิจัยและการพัฒนาหลักสูตรขึ้นใช้เองให้ทันกับการ
เปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจ และสังคม และเป็ นต้นแบบให้กับโรงเรียนอื่น
- ทำหลักสูตรที่มุ่งเน้นการพัฒนาผู้เรียนให้เป็ นมนุษย์ที่
สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปั ญญา อารมณ์ และมีความรู้และความ
สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข
- จัดให้มีวิชาต่างๆครบถ้วนตามหลักสูตรแกนกลางการ
ศึกษาขั้นพื้นฐานของกระทรวงศึกษาธิการ
- เพิ่มเติมเนื้อหาสาระของรายวิชาให้สูงและลึกซึ้งขึ้น
สำหรับกลุ่มเป้ าหมายเฉพาะได้แก่การศึกษาในด้านต่อไปนี้ ศาสนา
30

ดนตรี นาฏศิลป์ กีฬา อาชีวศึกษา การศึกษาที่ส่งเสริมความเป็ นเลิศ


ของผู้บกพร่องพิการ และการศึกษาทางเลือก
- เพิ่มเติมเนื้อหาสาระของรายวิชาที่สอดคล้องกับ
สภาพปั ญหาความต้องการของผู้เรียนผู้ปกครองชุมชนสังคมและโลก
- จัดกระบวนการเรียนการสอนและอื่นๆให้เหมาะสม
กับความสามารถของนักเรียนตามกลุ่มเป้ าหมายพิเศษโดยความร่วมมือ
ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและเครือข่ายสถานศึกษา
- ส่งเสริมให้คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานให้
ความเห็นชอบหลักสูตรสถานศึกษา
- นิเทศติดตามประเมินผลและปรับปรุงหลักสูตรสถาน
ศึกษาและรายงานผล ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทราบ
(2) งานการพัฒนากระบวนการเรียนรู้
- จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความ
สนใจและความถนัดของผู้เรียน
- ฝึ กทักษะกระบวนการคิดการจัดการการเผชิญ
สถานการณ์และประยุกต์ใช้
- จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง
- จัดการเรียนการสอนโดยผสมสาระความรู้ด้านต่างๆ
อย่างได้สัดส่วนและสมดุลกัน
- ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ
สภาพแวดล้อมสื่อการเรียนและอำนวยความสะดวก
- จัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นทุกเวลาและทุกสถานที่
(3) งานวัดผลและประเมินผลและการเทียบโอนผลการ
เรียน
- กำหนดระเบียบการจัดการและการประเมินผลของ
สถานศึกษา
31

- จัดทำเอกสารหลักสูตรสถานศึกษา
- วัดผลประเมินผลเทียบโอนประสบการณ์
- จัดให้มีการประเมินผลการเรียนทุกช่วงชั้น
- จัดให้มีการพัฒนาเครื่องมือการวัดและประเมินผล
- จัดระบบสารสนเทศด้านการวัดและประเมินผลและ
การเทียบโอนผลการเรียน
- ผู้บริหารสถานศึกษาอนุมัติผลการประเมินการเรียน
ด้านต่างๆ
- มีคณะกรรมการเทียบโอนของสถานศึกษาทั้งในระบบนอก
ระบบและตามอัธยาศัย
(4) งานวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา
- กำหนดนโยบายและแนวทางการใช้การวิจัยเป็ นส่วน
หนึ่งของกระบวนการเรียนรู้
- พัฒนาครูและนักเรียนให้มีความรู้เกี่ยวกับการปฏิรูป
การเรียนรู้
- พัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยกระบวนการวิจัย
- ระบบการและเผยแพร่ผลการวิจัย
(5) งานพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา
- ร่วมกันกำหนดนโยบายและวางแผน ในเรื่องจัดหา
และพัฒนาการเรียนรู้และเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาของสถานศึกษา
- พัฒนาบุคลากรเกี่ยวกับการพัฒนาสื่อการเรียนรู้และ
เทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
- พัฒนาและใช้สื่อและเทคโนโลยีการศึกษา
(6) งานการพัฒนาและส่งเสริมแหล่งเรียนรู้
- จัดให้มีแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายทั้งภายในและ
ภายนอกสถานศึกษา
32

- จัดระบบแหล่งเรียนรู้ภายในสถานศึกษาให้เอื้อต่อ
การจัดการเรียนรู้
- จัดระบบข้อมูลแหล่งเรียนรู้ในท้องถิ่น
- ส่งเสริมให้ครูและนักเรียนได้ใช้แหล่งเรียนรู้
(7) งานการนิเทศการศึกษาภายใน
- สร้างความตระหนักให้แก่ครูและผู้เกี่ยวข้องให้เข้าใจ
กระบวนการนิเทศภายใน
- จัดการนิเทศภายในสถานศึกษา
- จัดระบบการนิเทศภายในสถานศึกษา
(8) งานการแนะแนวการศึกษา
- กำหนดนโยบายการจัดการศึกษาที่มีการแนะแนว
เป็ นองค์ประกอบสำคัญ
- จัดระบบงานและโครงสร้างองค์การแนะแนวและ
ดูแลนักเรียนของสถานศึกษา
- สร้างความตระหนักให้ครูทุกคนเห็นคุณค่าของการ
แนะแนวและการช่วยเหลือนักเรียน
- ส่งเสริมและพัฒนาครูให้มีความรู้เพิ่มเติม
- คัดเลือกครูทำหน้าที่แนะแนว
- ลงมือปฏิบัติ
- ส่งเสริมความร่วมมือ
- ประสานงานกับหน่วยงานอื่นๆ
- เชื่อมโยงระบบ
(9) งานการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายใน
- กำหนดมาตรฐานการศึกษาเพิ่มเติมของสถานศึกษา
- จัดระบบบริหารและสารสนเทศ
- จัดทำการสถานศึกษาที่มุ่งเน้นคุณภาพการศึกษา
33

- ดำเนินตามแผนพัฒนาสถานศึกษา
- ตรวจสอบและทบทวนคุณภาพการศึกษา
- ประเมินคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
- จัดทำรายงานคุณภาพการศึกษาประจำปี (SAR)
(10) งานการส่งเสริมความรู้ด้านวิชาการแก่ชุมชน
- จัดระบบการเรียนรู้ร่วมกับบุคคล
- ส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน
- ส่งเสริมให้บุคคลมีการจัดการศึกษาอบรม
- พัฒนาชุมชน
(11) งานการประสานความร่วมมือกับสถานศึกษาอื่นๆ
- ระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา
- เสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสถานศึกษากับชุมชน
- ให้บริการด้านวิชาการที่สามารถเชื่อมโยงแลกเปลี่ยน
ข้อมูลข่าวสารตำแหน่งวิทยากรอื่นๆ
- จัดกิจกรรมร่วมกับชุมชน
(12) งานการสนับสนุนงานวิชาการแก่ชุมชนครอบครัวและ
องค์กรการศึกษาอื่นๆ
- ประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจต่อบุคคลส่วนรวม
เกี่ยวกับสิทธิในการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
- จัดให้มีการสร้างความรู้ความเข้าใจรายการเพิ่มความ
รู้ความพร้อมแก่บุคคลครอบครัวองค์กรหน่วยงานสถานประกอบการหรือ
สถาบันอื่นๆที่ร่วมจัดการศึกษา
- ร่วมงานกับผู้อื่น
- ส่งเสริมการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกัน
- ส่งเสริมให้ได้รับความช่วยเหลือทางวิชาการ
- ส่งเสริมและพัฒนาแหล่งเรียนรู้
34

3.2.2 งานบริหารงานงบประมาณ
การบริหารงานงบประมาณมีหลักการและแนวคิด 4
ประการดังนี้
1) ยึดหลักความเท่าเทียมและเสมอภาค การบริหาร
งานงบประมาณให้สถานศึกษายึดหลักความเท่าเทียมและความเสมอภาค
ทางโอกาสการศึกษาของผู้เรียนเพื่อการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
2) ทุ่มพัฒนาขีดความสามารถในการบริหารการจัดการ
งบประมาณ โดยมุ่งพัฒนาขีดความสามารถในการบริหารงบประมาณ
มาตรฐานการจัดการทางการงานเพื่อรองรับการบริการงบประมาณและ
ผลงาน
3) ยึดหลักการกระจายอำนาจ โดยยึดหลักการกระจา
ยอำนาจในการบริหารงบประมาณให้เป็ นลักษณะของวงเงินรวมแก่สถาน
ศึกษาซึ่งอยู่ในระยะของการพัฒนา
4) มุ่งเน้นการเสริมสร้างประสิทธิภาพและประสิทธิผล
โดยเน้นระบบการจัดการงบประมาณของสถานศึกษาให้มีความเป็ นอิสระ
ในการตัดสินใจมีความคล่องตัวควบคู่กับความโปร่งใสและความรักผิด
ชอบตรวจสอบได้ตามผลสำเร็จของงานและทรัพยากรที่ใช้
ขอบข่ายและภารกิจ 20 ประการ ดังนี้
(1) งานการจัดทำแผนงบประมาณ
(2) การจัดทำแผนปฏิบัติการใช้จ่ายเงิน
(3) การอนุมัติการใช้เงินงบประมาณ
(4) การโอนและขอเปลี่ยนแปลงงบประมาณ
(5) การรายงานผลการเบิกจ่ายงบประมาณ
(6) การตรวจสอบ ติดตาม และรายงานการใช้งบ
ประมาณ
(7) การตรวจสอบ ติดตาม และรายงานการใช้ผลผลิต
35

(8) การระดมทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา
(9) การปฏิบัติเกี่ยวกับกองทุนเพื่อการศึกษา
(10) การบริหารจัดการทรัพยากรเพื่อการศึกษา
(11) การวางแผนพัสดุ
(12) การกำหนดรูปแบบรายงานครุภัณฑ์
(13) การพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศ เพื่อการจัดทำ
และการจัดพัสดุ
(14) การจัดหาพัสดุ
(15) งานการควบคุมดูแลบำรุงรักษาและจำหน่ายพัสดุ
(16) การจัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สินทรัพยากร
(17) การเบิกเงินจากคลัง
(18) การรับ การเก็บ และการจ่ายเงิน
(19) การนำเงินคืนคลัง
(20) การจัดทำบัญชีการเงิน
บทบาทหน้าที่ในการดำเนินงานของสถานศึกษา ในแต่ละ
ขอบข่ายงานงบประมาณ สถานศึกษาต้องปฏิบัติดังนี้
(1) การจัดทำแผนงบประมาณ
- จัดทำข้อมูลและสารสนเทศทางการเงิน
- จัดทำระบบงบประมาณรายจ่าย
- เสนอแผนงบประมาณเพื่อขอความเห็นชอบ
- จะทำแผนงบประมาณ
(2) งานการจัดทำแผนปฏิบัติการใช้จ่ายงาน
- จัดทำแผนปฏิบัติงานประจำปี
- ขอความเห็นชอบแผนปฏิบัติการ
(3) งานการอนุมัติการใช้งบประมาณ
36

ผู้อำนวยการสถานศึกษาเป็ นผู้อนุมัติงบประมาณที่ได้
รับการจัดสรรภายใต้ความร่วมมือของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
(4) งานการโอนและการขอเปลี่ยนแปลงงบประมาณ
ผู้อำนวยการสถานศึกษาเสนอขอ/โอนเปลี่ยนแปลงต่อ
เขตพื้นที่การศึกษา
(5) งานการรายงานผลการเบิกจ่ายงบประมาณ
(6) งานการตรวจสอบติดตามและการรายงานการใช้งบ
ประมาณ
- จัดให้มีการตรวจสอบและการติดตาม
- จัดทำรายงานประจำปี
(7) การตรวจสอบติดตามและรายงานผลการใช้ผลผลิต
- ประเมินคุณภาพการปฏิบัติงาน
- วางแผนประเมินประสิทธิภาพและประสิทธิผล
- วิเคราะห์และประเมินความประหยัด
(8) การระดมทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา
- วางแผนรณรงค์ส่งเสริมการระดมทุนเพื่อการศึกษา
- จัดทำข้อมูลสารสนเทศและระบบการรับจ่ายทุนการ
ศึกษา
- สรุปรายงานและเผยแพร่เชิญผู้มีเกียรติผู้สนับสนุน
ทางการศึกษาและทุนเพื่อการพัฒนาการศึกษาโดยความเห็นชอบของ
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
(9) ปฏิบัติเกี่ยวกับกองทุนเพื่อการศึกษา
- สำรวจและคัดเลือกนักเรียน
- ประเมินการกู้ยืมเพื่อการศึกษา
- สร้างความตระหนักแก่ผู้ยืมเพื่อการศึกษา
37

- ติดตามตรวจสอบประเมินผลและรายงานผลการ
ดำเนินงาน
(10) บริหารจัดการทรัพยากรเพื่อการศึกษา
- จะทำรายการทรัพยากร
- วางแผนกำหนดแนวปฏิบัติ
- กระตุ้นให้บุคลากรร่วมใช้ทรัพยากร
- ประสานความร่วมมือกับผู้รับผิดชอบ
- ดำเนินการเชิดชูเกียรติบุคคล
(11) งานวางแผนพัสดุ
- วางแผนพัสดุล่วงหน้า
- จัดทำแผนการจัดหาพัสดุ
- จัดหาพัสดุ
(12) งานกำหนดแบบรูปรายงานครุภัณฑ์
- กำหนดแบบรูปรายการ
- กำหนดการรูปลักษณะเฉพาะ
(13) การพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศเพื่อการจัดทำและ
จัดหาพัสดุ
สถานศึกษาต้องพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อทำการจัด
ซื้อจัดจ้างและประเมินผลผู้ขายและผู้รับจากทุกประเภทที่เกี่ยวข้อง
(14) การจัดหาพัสดุ
สถานศึกษาต้องจัดหาพัสดุตามระเบียบว่าด้วยพัสดุ
ของส่วนราชการและคำสั่งมอบอำนาจของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้น
พื้นฐาน
(15) การควบคุมดูแลบำรุงรักษาและจำหน่ายพัสดุ
38

สถานศึกษาต้องจัดทำพัสดุตามระเบียบกระทรวงว่า
ด้วยการให้สถานศึกษาจัดทำรับบริการรับจ้างผลิตเพื่อจำหน่าย
พ.ศ.2533
(16) การหาผลประโยชน์จากทรัพยากร
- จัดทำแนวปฏิบัติระเบียบของสถานศึกษาในการ
ดำเนินการหารายได้
- จัดหาประโยชน์เกี่ยวกับที่ราชพัสดุและ
อสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ในความครอบครอง
- เงินรายได้ที่เกิดขึ้นถือเป็ นเงินนอกงบประมาณ
ประเภทเงินได้สถานศึกษา
- จัดหาผลประโยชน์จากทรัพย์สิน
(17) การเบิกเงินจากคลัง
(18) งานการรับการเก็บและการจ่ายเงิน
(19) การนำเงินคืนคลัง
(20) การจัดทำบัญชีการเงิน
3.2.3 งานบริหารงานบุคคล
งานบริหารงานบุคคลมีหลักการและแนวคิด 3 ประการดังนี้
1) ยึดหลักความต้องการและการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
ในการบริหารงานบุคคลของเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาตาม
นโยบาย กฎหมาย และหลักเกณฑ์ที่กำหนด
2) ยึดหลักความเป็ นอิสระ ในการบริหารงานบุคคล
ของเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาตามนโยบาย กฎหมาย และหลัก
เกณฑ์ที่กำหนด
3) ยึดหลักธรรมาภิบาล
ขอบข่ายและภารกิจสถานศึกษามีภารกิจต้องปฏิบัติเกี่ยว
กับบุคลากรใน 19 งานย่อยดังต่อไปนี้
39

(1) การวางแผนอัตรากำลัง
(2) การจัดอัตรากำลังข้าราชการและบุคลากรทางการ
ศึกษา
(3) การสรรหาและการแต่งตั้ง
(4) การดำเนินการเกี่ยวกับการเลื่อนขั้นเงินเดือน
(5) การลาทุกประเภท
(6) การประเมินผลการปฏิบัติงาน
(7) การดำเนินการทางวินัยและการลงโทษ
(8) การสั่งพักราชการและ การสั่งให้ออกจากราชการ
ไว้ก่อน
(9) การรายงานการดำเนินการทางวินัยและการลงโทษ
(10) การอุทธรณ์และร้องทุกข์
(11) การ ออกจากราชการ
(12) การจัดระบบและการจัดทำทะเบียนประวัติ
(13) การเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
(14) การส่งเสริม การประเมินวิทยฐานะ
(15) การส่งเสริมและการยกย่องเชิดชูเกียรติ
(16) การส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณ
วิชาชีพ
(17) งานส่งเสริมวินัยคุณธรรมและจริยธรรม
(18) งาน ริเริ่มส่งเสริมและการขอรับใบอนุญาต
ประกอบวิชาชีพ
(19) งานพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากร
บทบาทหน้าที่ในการดำเนินงานของสถานศึกษา
(1) การวางแผนอัตรากำลัง
40

- รวบรวมและรายงานข้อมูลข้าราชการครูและ
บุคลากรทางการศึกษาเสนอต่อสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
- วิเคราะห์ความต้องการตามอัตรากำลัง
- จัดทำแผนอัตรากำลังของสถานศึกษา
- เสนอแผนอัตรากำลังของสถานศึกษาโดยความ
ยินยอมของคณะกรรมการสถานศึกษา
(2) การจัดอัตรากำลัง
- รวบรวมและรายงานข้อมูลบุคลากร
-เสนอความต้องการ
(3) การสรรหาและบรรจุแต่งตั้ง
- เสนอความต้องการบุคลากร
- ดำเนินการสรรหาและจัดจ้าง
- แจ้งภาระงานและมาตรฐานที่เกี่ยวข้อง
- ดำเนินการทดลองปฏิบัติงาน
- ตามและประเมินผลการปฏิบัติงานในตำแหน่งครูผู้
ช่วย
- รายงานผลการทดลองปฏิบัติหน้าที่ราชการ/เตรียมความ
พร้อมและพัฒนาอย่างเข้ม
- ดำเนินการแต่งตั้ง/สั่งให้พ้นจากสภาพ
(4) การดำเนินการเกี่ยวกับการเลื่อนขั้นเงินเดือน
- ประกาศเกณฑ์พัฒนาเป็ นแนวปฏิบัติ
- แต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาเลื่อนเงินเดือน
- รวบรวมข้อมูลพร้อมความเห็นต่อระดับสูงขึ้นในการ
พิจารณาข้อมูล
- แจ้งให้เจ้าตัวสร้างสำหรับไม่สัมภาษณ์เลื่อนขั้น
- แจ้งให้เจ้าตัวสร้างถึงการเลื่อนขั้น
41

(5) งานการลาทุกประเภท
- อนุญาต/เสนอขออนุญาตตามหลักเกณฑ์
- เสนอเรื่องการขออนุญาตศึกษาต่อ
(6) การประเมินผลการปฏิบัติงาน
- กำหนดมาตรฐานการปฏิบัติงาน
- ดำเนินการประเมินผล
- นำผลไปใช้
- รายงานการประเมินผล
(7) งานการดำเนินการทางวินัยและการลงโทษ
- แต่งตั้งคณะกรรมการสถาบัน
- พิจารณาโทษทางวินัยไม่ร้ายแรง
- รายงานผลการพิจารณาโทษ
(8) การสั่งพักราชการ และให้ออกจากราชการไว้ก่อน
กรณีการทำผิดวินัยร้ายแรงและมีเหตุต้องสั่งพักหรือสั่ง
ให้ออกจากราชการไว้ก่อนให้ดำเนินการตามที่กฎหมายกำหนดสำหรับครู
ผู้ช่วยและครูที่ยังไม่มีวิทยฐานะ
(9) การรายงานการดำเนินการทางวินัยและ การลงโทษ
สถานศึกษาต้องเสนอรายงานการดำเนินการลงโทษ
ทางวินัยและการลงโทษที่ตัดสินใจไปแล้วไปยังผู้อำนวยการเขตพื้นที่
(10) การอุทธรณ์และการร้องทุกข์ การอุทธรณ์และการ
ร้องทุกข์
การอุทธรณ์และการร้องทุกข์สถานศึกษารับเรื่อง การ
อุทธรณ์และการร้องทุกข์สถานศึกษารับเรื่องอุทธรณ์และเสนอไปยังผู้มี
อำนาจตามกฎหมายเพื่อพิจารณา
(11) งานการออกจากราชการ
- อนุญาตให้ลาออก
42

- สั่งให้ออก
(12) การจัดระบบและการจัดทำทะเบียนประวัติ
- จัดทำข้อมูลทะเบียนประวัติบุคลากร
- ดำเนินการเกี่ยวกับการเกษียณอายุของบุคลากร
- รับเรื่องแก้ไขวันเดือนปี เกิด
(13) การเสนอขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์
- ดำเนินการขอเครื่องราชให้แก่ข้าราชการและลูกจ้าง
ประจำ
- จัดทำทะเบียนผู้ได้รับเครื่องราช
(14) การส่งเสริมการประเมินวิทยฐานะ สถานศึกษาต้อง
ดำเนินการ 3 ประการดังนี้
- สำรวจและรวบรวมข้อมูลการขอเลื่อนวิทยฐานะ
- ประชุมชี้แจงหลักเกณฑ์
- รวบรวมแบบเสนอขอรับการประเมิน
(15) งานส่งเสริมและการยกย่องเชิดชูเกียรติ
- ส่งเสริมการพัฒนาตนเองของบุคลากร
- สร้างขวัญกำลังใจแก่บุคลากร
(16) การส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณวิชาชีพ
- ดำเนินการพัฒนาบุคลากร
- ควบคุมดูแลและส่งเสริมบุคลากร
(17) งานส่งเสริมวินัยคุณธรรมและจริยธรรมบุคลากร
- ตัวอย่างที่ดีแก่บุคลากร
- เสริมสร้างให้มีวินัยในตนเอง
- ป้ องกันไม่ให้ทำผิดวินัย
(18) งานเริ่มส่งเสริมและการขอรับใบอนุญาตประกอบ
วิชาชีพ
43

สถานศึกษาต้องปฏิบัติคือขอรับใบอนุญาตและขอต่อ
ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพของบุคลากรไปยังสำนักงานเขตพื้นที่การ
ศึกษา
(19) งานพัฒนาบุคลากร สถานศึกษาต้องปฏิบัติ 4
ประการดังนี้
- วิเคราะห์ความจำเป็ น
- จัดทำแผนพัฒนาบุคลากร
- ดำเนินการพัฒนาบุคลากรตามแผนที่กำหนด
- สร้างและพัฒนาเครือข่ายในการพัฒนาบุคลากร
3.2.4 งานบริหารงานทั่วไป
หลักการและแนวคิด ยึดหลัก 4 ประการดังนี้
1) สถานศึกษามีความเป็ นอิสระ สถานศึกษามีความ
เป็ นอิสระในการบริหารและการจัดการศึกษาด้วยตนเองมากที่สุดโดยมี
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากำกับดูแล ส่งเสริม สนับสนุน และประสาน
งานในเชิงนโยบายในการจัดการศึกษาเป็ นไปตามนโยบาย และมาตรฐาน
การศึกษาของชาติ
2) ส่งเสริมประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการ
บริหารและการจัดการศึกษา โดยดำเนินการตามหลักการบริหารที่มุ่งผล
สัมฤทธิ์ของงานเป็ นหลัก โดยเน้นความโปร่งใส ความรับผิดชอบตรวจ
สอบได้ ตามเกณฑ์กติกาและการมีส่วนร่วมของบุคคล ชุมชนและองค์กรที่
เกี่ยวข้อง
3) มุ่งพัฒนาองค์การสถานศึกษา โดยพัฒนาการศึกษา
ให้เป็ นองค์กรสมัยใหม่นำหลักนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้อย่างเหมาะ
สมด้วยระบบเครือข่ายและเทคโนโลยีที่ทันสมัย
4) ยึดหลักการประสานงานส่งเสริมและสนับสนุน ช่วย
ส่งเสริมสนับสนุนให้อำนวยความสะดวกในการบริหารการศึกษาทั้งใน
44

ระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย บุคคล ชุมชน องค์การหน่วยงาน


และสถาบันสังคมอื่น
ขอบข่ายและภารกิจ
งานบริหารทั่วไปมี 22 งานที่สถานศึกษาต้องรับผิดชอบ
ดังนี้
(1) การพัฒนาระบบเครือข่ายข้อมูลสารสนเทศ
(2) งานการประสานงานและการพัฒนาเครือข่ายการ
ศึกษา
(3) การวางแผนบริหารการศึกษา
(4) งานวิจัยเพื่อพัฒนานโยบายและงาน
(5) งานจัดระบบการบริหารและพัฒนาองค์การ
(6) งานการพัฒนามาตรฐานการปฏิบัติงาน
(7) งานเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
(8) การดำเนินงานธุรการ
(9) ดูแลอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อม
(10) งานจัดทำสำมะโนนักเรียน
(11) การรับนักเรียน
(12) การยุบรวมควบและเลิกสถานศึกษา
(13) งานการประสานการจัดการศึกษาในระบบ นอก
ระบบและตามอัธยาศัย
(14) งานระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา
(15) งานทัศนศึกษา
(16) งานส่งเสริมกิจการนักเรียน
(17) การประชาสัมพันธ์งานสถานศึกษา
45

(18) งานการส่งเสริมสนับสนุนและประสานงานการ
จัดการศึกษาของบุคคล ชุมชน องค์กรหน่วยงานและสถาบันสังคมอื่นที่
จัดการศึกษา
(19) งานประสานราชการส่วนภูมิภาคและ ส่วนท้อง
ถิ่น
(20) งานรายงานผลการปฏิบัติงาน
(21) งานจัดระบบการควบคุมภายในหน่วยงาน
(22) งานปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและลงโทษนักเรียน
บทบาทหน้าที่การดำเนินงานของสถานศึกษา
(1) งานพัฒนาระบบและ เครือข่ายสารสนเทศ
- ระบบฐานข้อมูลของสถานศึกษา
- จัดระบบเครือข่ายข้อมูลสารสนเทศ
- เชื่อมโยงกับสถานศึกษา
- เสนอและเผยแพร่ข้อมูลสารสนเทศ
- การบริหารและการประชาสัมพันธ์
(2) งานประสานงานและพัฒนาเครือข่ายการศึกษา
- ประสานกับเครือข่ายการศึกษา
- แพร่ข้อมูลเครือข่ายการศึกษา
- แผนโครงการกิจกรรมเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเครือ
ข่ายการศึกษา
- ความร่วมมือสนับสนุนทางวิชาการแก่เครือข่าย
(3) งานวางแผนการบริหารงานการศึกษา
- จัดทำแผนพัฒนาการศึกษา
- เสนอแผนต่อสำนักงานเขตพื้นที่
- ดำเนินการโดยความเห็นชอบคณะกรรมการสถาน
ศึกษา
46

(4) งานวิจัยเพื่อพัฒนานโยบายและแผน
- ศึกษาวิเคราะห์วิจัยการจัดและพัฒนาการศึกษาของ
สถานศึกษาตามกรอบทิศทางของเขตพื้นที่การศึกษาและความต้องการ
ของสถานศึกษา
- แจ้งผลการศึกษาวิจัยของสถานศึกษาให้เขตพื้นที่
ทราบ
- เผยแพร่ผลการศึกษาวิจัยให้บุคลากรและสาธารณชน
ทราบ
(5) งานจัดระบบการบริหารและพัฒนาองค์การ
- ศึกษาวิเคราะห์จัดทำแผนกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการ
พัฒนาสถานศึกษา
- กำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จของการบริหาร
- จัดระบบการบริหารและการพัฒนาสถานศึกษาให้ทัน
สมัยและมีประสิทธิภาพ
- ประเมินผลงานและรายงาน
- ปรับปรุงและพัฒนาระบบการบริหารอย่างต่อเนื่อง
(6) งานการพัฒนามาตรฐานการปฏิบัติงาน
- กำหนดมาตรฐานและตัวบ่งชี้ของการปฏิบัติงาน
แต่ละด้าน
- เผยแพร่มาตรฐานการปฏิบัติงาน
- ติดตามประเมินผลการปฏิบัติงานตามมาตรฐาน
- ปรับปรุงมาตรฐานและพัฒนาทั้งมาตรฐานและระบบ
การประเมินมาตรฐาน
(7) งานเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
- วางแผนและดำเนินการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยี
มาใช้ในการบริหารและพัฒนาการศึกษา
47

- ระดมจัดหาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในด้านต่างๆ
- สนับสนุนและพัฒนาบุคลากรให้บุคลากรนำ
นวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้
- ส่งเสริมให้มีการวิจัยและพัฒนาในการผลิตและ
พัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา
- ติดตามประเมินผลการใช้เทคโนโลยี
(8) งานการดำเนินงานธุรการ
- ศึกษาวิเคราะห์สภาพและระบบงานธุรการโดยนำ
เทคโนโลยีมาช่วย
- วางแผนและออกแบบงานธุรการโดยนำเทคโนโลยีมา
ช่วย
- จัดบุคลากรรับผิดชอบจัดและพัฒนาบุคลากรให้มี
ความรู้ความสามารถในการปฏิบัติงานธุรการ
- จัดหาเทคโนโลยีมาใช้งาน
- ดำเนินงานธุรการตามระบบที่กำหนดไว้โดยยึดหลักความถูก
ต้องรวดเร็วประหยัดและคุ้มค่า
- ติดตามประเมินผลและปรับปรุงงานธุรการให้มี
ประสิทธิภาพ
(9) งานดูแลอาคารสถานที่และสภาพแวดล้อม
- กำหนดแนวทางการวางแผนการบริหารอาคารสถาน
ที่และสภาพแวดล้อม
- บำรุงดูแลและพัฒนาอาคารสถานที่และสภาพ
แวดล้อมให้อยู่ในสภาพพร้อมใช้มั่นคงปลอดภัยและสวยงาม
- ติดตามตรวจสอบการใช้อาคารสถานที่และสภาพ
แวดล้อมทางการศึกษา
(10) การจัดทำสำมะโนผู้เรียน
48

- ประสานกับชุมชนและท้องถิ่นในการสำรวจและจัด
ทำสำมะโนผู้เรียน
- เสนอสำมะโนผู้เรียนให้เขตทราบ
- จัดระบบข้อมูลสารสนเทศจากสำมะโนผู้เรียน
(11) งานรับนักเรียน
- ร่วมกับเขตกำหนดเขตพื้นที่บริการของสถานศึกษา
- การรับนักเรียนโดยประสานกับเขตพื้นที่การศึกษา
- นักเรียนตามแผนที่กำหนดโดยความเห็นชอบของ
คณะกรรมการสถานศึกษา
(12) งานยุบรวมและเลิกสถานศึกษา
สถานศึกษาต้องเสนอข้อมูลความต้องการในการยุบ
รวมเปลี่ยนสภาพไปยังเขตโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการสถาน
ศึกษา
(13) งานการประสานการจัดการศึกษาในระบบ นอก
ระบบและตามอัธยาศัย
- สำรวจความต้องการในการเข้ารับบริการสถานศึกษา
ทุกรูปแบบ
- กำหนดแนวทางและความเชื่อมโยงในการจัดและ
พัฒนาการศึกษาทั้ง 3 รูปแบบ
- ดำเนินการจัดการศึกษาในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง
หรือทั้งสามรูปแบบตามความเหมาะสมและศักยภาพของสถานศึกษารวม
ทั้งเชื่อมโยงประสานความร่วมมือและส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษา
(14) งานการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา
- กำหนดแนวทางเพื่อระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา
- ระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษาทุกด้าน
49

- ดำเนินการโดยความเห็นชอบของคณะกรรมการ
สถานศึกษา
(15) งานทัศนศึกษา
- วางแผนการนำนักศึกษาไปทัศนศึกษา
- ดำเนินการนำนักเรียนไปทัศนศึกษาตามหลักเกณฑ์
และวิธีการที่กำหนด
(16) งานส่งเสริมกิจการนักเรียน
สถานศึกษาดำเนินการและส่งเสริมให้นักเรียนมีส่วน
ร่วมในการจัดกิจกรรมอย่างหลากหลายตามความสนใจและความถนัด
ของนักเรียนสรุปและประเมินผลเพื่อการปรับปรุง
(17) งานประชาสัมพันธ์งานการศึกษา
- วางแผนการประชาสัมพันธ์ตามงานกำหนด
- ติดตามประเมินผลปรับปรุง
- พัฒนาการประชาสัมพันธ์สถานศึกษา
(18) งานส่งเสริม สนับสนุน และประสานงานการจัดการ
ศึกษาของบุคคลองค์กรหน่วยงานและสถาบันสังคมอื่นที่จัดการศึกษา
สถานศึกษาให้คำปรึกษาแนะนำส่งเสริมสนับสนุนและ
ประสานความร่วมมือในการจัดการศึกษา
(19) งานประสานงานราชการส่วนภูมิภาคและส่วนท้องถิ่น
- ประสานความร่วมมือกับท้องถิ่นกับหน่วยงาน
ราชการส่วนภูมิภาค
- ประสานความร่วมมือกับส่วนท้องถิ่นกับหน่วย
ราชการองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและสถานศึกษาในสังกัดร่วมกัน
ทั้งหมด
(20) งานรายงานผลการปฏิบัติงาน
50

- จัดระบบการติดตามโดยติดตามตรวจสอบประเมิน
ผลและการรายงานผล การพัฒนาการศึกษาของสถานศึกษา
- จัดทำเกณฑ์มาตรฐานมีมาตรฐานตัวชี้วัดและเกณฑ์
การติดตามตรวจสอบและประเมินผลการพัฒนาการศึกษา
- ดำเนินการติดตามโดยมีการติดตามตรวจสอบและ
ประเมินผลการพัฒนาการศึกษาตามที่กำหนดไว้
- รายงานผลให้เขตพื้นที่การศึกษาหน่วยงานที่
เกี่ยวข้องและสาธารณชนทราบ
-ปรับปรุงและพัฒนาระบบการติดตามโดยมีระบบ
ติดตามตรวจสอบและประเมินผลและรายงานผลการพัฒนาการศึกษา
(21) งานการจัดระบบการควบคุมภายในหน่วยงาน
- วิเคราะห์กำหนดมาตรการในการป้ องกันความเสี่ยง
ในการดำเนินงาน
- วางแผนการจัดระบบการควบคุมภายใน
- ดำเนินการควบคุมหลักเกณฑ์และวิธีการ
- ติดตามโดยการติดตามและประเมินผลการควบคุมภายใน
และรายงานให้เขตพื้นที่ทราบ
(22) งานปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและลงโทษนักเรียน
- ศึกษาสภาพปั ญหาเป็ นการศึกษาสภาพปั ญหาและ
พฤติกรรมของนักเรียนระเบียบและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
- การวางแผนงานการปกครองนักเรียน
- บริหารงานปกครองของนักเรียนกำหนดบทบาท
หน้าที่ความรับผิดชอบและประสานงานการปกครอง
- ส่งเสริมและพัฒนาให้นักเรียนมีวินัย คุณธรรม
จริยธรรมได้แก่การจัดกิจกรรมส่งเสริมพัฒนาความรับผิดชอบต่อสังคม
การใช้เวลาว่างและการยกย่องให้กำลังใจการประพฤติดี
51

- ป้ องกันและแก้ไขกิจกรรมไม่เหมาะสมได้แก่สารเสพ
ติดและเหตุในโรงเรียน
- การประเมินผลงานปกครองนักเรียน
3.3 ตัวอย่างโครงสร้างการจัดองค์การทางการศึกษา
ผู้ศึกษาค้นคว้าขอเสนอตัวอย่างโครงสร้างการจัดองค์การทางการ
ศึกษา ดังจะนำเสนอต่อไปนี้

ภาพประกอบที่ 5 โครงสร้างกระทรวงศึกษาธิการ
52
53

ที่มา : เว็บไชด์กระทรวงศึกษาธิการ สืบค้นเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2565


ภาพประกอบที่ 6 โครงสร้างองค์กรสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน
54

ที่มา : เว็บไชด์ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สืบค้นเมื่อ


วันที่ 17 กรกฎาคม 2565

ภาพประกอบที่ 7 การแบ่งส่วนราชการในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

ที่มา : เว็บไชด์ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สืบค้นเมื่อ


วันที่ 17 กรกฎาคม 2565
55

ภาพประกอบที่ 8 ตัวอย่างโครงสร้างการบริหารสถาบันการอาชีวศึกษา
56

ที่มา : เว็บไชด์ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สืบค้นเมื่อ


วันที่ 17 กรกฎาคม 2565

4. สภาพการจัดการศึกษาในปั จจุบัน
การศึกษาเป็ นเครื่องมือสำคัญที่ใช้ในการพัฒนาคน ดังนั้นการ
ปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง(พ.ศ. 2552-2561) โดยสำนักงาน
เลขาธิการสภาการศึกษาร่วมกับหน่วยงานทางการศึกษาที่เกี่ยวข้อง
ได้กำหนดวิสัยทัศน์สำหรับการปฏิรูปการศึกษาครั้งนี้คือ คนไทยได้เรียนรู้
ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ โดยมีเป้ าหมายหลักสำคัญคือ
พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาและการเรียนรู้ของคนไทย สร้าง
โอกาสทางการศึกษาและการเรียนรู้ และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุก
ภาคส่วนของสังคมในการบริหารจัดการศึกษา (สำนักงานเลขาธิการสภา
การศึกษา. 2552 : 9) เด็กเป็ นทรัพยากรที่สำคัญยิ่งที่จะเป็ นกลไกขับ
เคลื่อนการพัฒนาประเทศ จะต้องใช้ความรู้ ความสามารถเป็ นอย่างมาก
เด็กที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี สังคมที่ดี มีการศึกษาที่ดี ย่อมได้
57

เปรียบในการแข่งขันเสมอ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคม การเมืองและ


เทคโนโลยี ดังนั้นการพัฒนาคนจึงเป็ นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศ (
พนิดา ชาตยาภา. 2559) จากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.
2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 สรุปได้ว่า การพัฒนา
ทางการศึกษาในสถานศึกษานั้น การบริหารงานวิชาการเป็ นหัวใจหลัก
เป็ นหน้าที่ที่สำคัญของผู้บริหารสถานศึกษา ครูและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจะ
ต้องให้ความสำคัญทำความเข้าใจและดูแลบริหารจัดการการกำหนด
แนวทางร่วมกันในการปฏิบัติงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ตามที่ตั้งไว้
บทบาทการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาตามขอบข่ายการ
บริหารงานวิชาการที่กำหนดในกระทรวงศึกษาธิการ (สำนักงานคณะ
กรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. 2550 : 29-31)
การบริหารงานวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กนับ
เป็ นการบริหารที่มีความแตกต่างจากโรงเรียนขนาดกลางและโรงเรียน
ขนาดใหญ่ จากการสรุปของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (2551 :
45-49) มีความแตกต่างระหว่างโรงเรียนขนาดเล็กและขนาดใหญ่ โดยที่
โรงเรียนขนาดเล็กจำนวนมากยังขาดศักยภาพ ทั้งด้านครู วัสดุครุภัณฑ์
การพัฒนาวิชาการ รวมทั้งมีความแตกต่างกันทั้งในคุณภาพและ
มาตรฐานของสถานศึกษา ซึ่งเกิดจากในโรงเรียนดำเนินการวิเคราะห์
สภาพการจัดการศึกษาพบจุดอ่อนด้านการบริหารการศึกษาซึ่งพบว่า
ขนาดเล็กไม่สามารถนำนโยบายการศึกษาขั้นพื้นฐานไปปฏิบัติได้ครบ ซึ่ง
สอดคล้องจากผลสรุปของสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (2552 : ง)
พบว่าโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กขาดแคลนสื่อและอุปกรณ์การสอน
สื่อที่มีอยู่ไม่ตรงกับเนื้อหา ขาดความหลากหลายและทันสมัย จากการ
ศึกษาเพิ่มเติมพบข้อมูลเชิงประจักษ์ที่แสดงให้เห็นว่าคุณภาพการศึกษา
ไทยด้านผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนแตกต่างกันตามขนาดของโรงเรียน พื้นที่ตั้ง
โรงเรียนขนาดใหญ่มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด โรงเรียนในกรุงเทพมหานครและ
58

ภาคกลางมีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด และโรงเรียนสาธิตและเอกชนมีคะแนน
เฉลี่ยสูงสุดทุกด้าน ในขณะที่โรงเรียนขนาดเล็กในพื้นที่เศรษฐกิจต่ำ มี
คะแนนเฉลี่ยที่ต่ำกว่า ซึ่งแสดงให้เห็นว่าคุณภาพการศึกษาไทยมีความ
แต่งตามสภาพภูมิเศรษฐกิจสังคมของประเทศ (พร้อมพิไล บัวสุวรรณ.
2554 : 15)
การเกิดปั ญหาหลายประการเกี่ยวกับการศึกษาของประเทศไทย
ซึ่งปั ญหาที่เห็นได้ชัดเจน คือ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนไทยอยู่
ในเกณฑ์ต่ำ จากการรายงานข้อมูลการจัดการทดสอบการศึกษาขั้นพื้น
ฐาน(Ordinary nation education test : O-NET) ในทุก ๆ ปี นั้น ผลที่
ออกมาเป็ นไปในทิศทางเดียวกัน คือเด็กไทยมีความรู้ต่ำกว่ามาตรฐาน
หรือแม้แต่การศึกษาขององค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการ
พัฒนาหรือที่รู้จักกันในนาม PISA พบว่า นักเรียนไทยมีความรู้ทาง
วิทยาศาสตร์อยู่ในระดับสูงเพียงร้อยละ 1 เท่านั้นและยังพบว่าเด็กไทย
ร้อยละ 74 อ่านภาษาไทยไม่ออก เขียนไม่ได้ และเมื่อศึกษาข้อมูลทางผล
สัมฤทธิ์ สำหรับนักเรียนที่ศึกษาในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม
ศึกษานครราชสีมา เขต 3 พบว่า ผลการทดสอบระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-
NET) มีคะแนนเฉลี่ยต่ำกว่าคะแนนระดับประเทศเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะ
โรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก ปั ญหาดังกล่าวมีความสำคัญเป็ นอย่าง
มากที่ต้องรีบแก้ไขและได้รับการพัฒนาอันเกี่ยวข้องโดยตรงกับการ
บริหารวิชาการในโรงเรียนทุกขนาด (สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม
ศึกษานครราชสีมา เขต 3. 2558) ผลการศึกษาพบว่านักเรียนโรงเรียน
ขนาดเล็กเหล่านั้นได้รับการศึกษาไม่เท่าเทียมกับสถานศึกษาขนาดอื่นที่
จะเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพและไม่เป็ นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐบาล
โดยเฉพาะการบริหารงานวิชาการโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก
(สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา 2551 : 45-46) สำนักงานเขตน กา
รกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3 โรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กที่
59

มีจ e นวนนักเรียนไม่เกิน 120 คน อยู่ 4 โรงเรียน (ไม่รวมเอกจน) คิดเป็ น


ร้อยละ 51.61 ของโรงเรียนทั้งหมดจากรายงานผลการประเมินคุณภาพ
การศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ปี การศึกษา 2558 ชั้นประถม
ศึกษาปี ที่ 6 โรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็ก พบว่า ผลการประเมินของ
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 6 จำนวน 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้หลักมี
คะแนนเฉลี่ยไม่ถึงร้อยละ 50 ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น วิจัยมีความ
สนใจที่จะศึกษาปั ญหาและแนวทางแก้ปั ญหาการบริหารงานวิชาการ
โรงเรียนประถมศึกษาอุบาลเก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม
ศึกษานครราชสีมา เขต 3 ให้มีคุณภาพดีขึ้น โดยเป็ นการศึกษาการ
บริหารงานวิชาการ 6 ด้าน ได้แก่ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
ด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ด้านการจัดประเมินผล ด้านการพัฒนา
สื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา ด้านการวิจัยเพื่อพัฒนา
คุณภาพการศึกษาและด้านการพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถาน
ศึกษา ซึ่งเป็ นรากฐานการพัฒนาด้านวิชาการที่สำคัญที่สุด เพื่อผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนของผู้เรียนให้เป็ นไปตามเป้ าหมายของชาติที่วางไว้ และเป็ น
แนวทางในการแก้ปั ญหาการบริหารงานวิชาการโรงเรียนประถมศึกษา
ขนาดเล็กและผู้ที่เกี่ยวข้องจะได้นำไปเป็ นข้อมูลในการบริหารงานวิชาการ
ในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดเล็กให้มีคุณภาพดียิ่งขึ้นต่อไป

5. ข้อเสนอแนะ
5.1 การจัดส่วนงานในสถานศึกษาให้การปฏิบัติงานมี
ประสิทธิภาพควรใช้หลักการหรือแนวคิดของกระบวนการมีส่วนร่วมใน
การทำงานและการสร้างทีมงาน โดยมีการวางแผนเป็ นเกณฑ์ในการ
พิจารณากำหนดงาน โรงเรียนควรเปิ ดโอกาสให้ครู คณะกรรมการ
โรงเรียน ผู้ปกครอง หรือบุคคลอื่นมีส่วนร่วมในการจัดส่วนงาน เพราะจะ
ได้พัฒนาการศึกษาทุกด้าน และมีมุมมองจากทุกฝ่ าย
60

5.2 การแบ่งงาน งานของโรงเรียนควรมีงานในลักษณะงานใน


หน้าที่และงานการเรียนการสอน งานสนับสนุนการเรียนการสอน งาน
นโยบายและแก้ปั ญหาความต้องการของผู้เรียน ควรกำหนดให้มีหน่วย
ตรวจสอบที่มีความเป็ นอิสระขึ้นตรงต่อผู้บริหารสถานศึกษา มีหน้าที่ใน
การกลั่นกรองงาน ให้คำแนะนำ หรือให้คำปรึกษาแก่ฝ่ ายบริหารทั้ง 4
ฝ่ าย ทั้งนี้เพื่อรับรองการดำเนินงานในเบื้อต้นแก่ผู้ปฏิบัติ สร้างความเชื่อ
มั่นให้กับผู้ปฏิบัติงาน
5.3 การกำหนดโครงสร้างอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบ การ
มอบหมายงานให้กับครู ควรมีวิธีการแก้ปั ญหา โดยเปิ ดโอกาสให้
ครูได้แสดงความคิดเห็นในการแก้ปั ญหางานตามบทบาท ภารกิจของ
ตนเอง มอบงานที่จำเป็ นให้ตรงกับความต้องการจัดโครงสร้างของงานให้
เล็กลงให้ครูทุกคนรับผิดชอบแต่ละงาน เพื่อไม่ให้งานไปหนักเพียงคนใด
คนหนึ่งเท่านั้น การกำหนดแนวทาง กรอบ หรือขอบข่ายของแต่ละงาน
ควรกำหนดให้มีความชัดเจน โดยกำหนดงานภารกิจ อำนาจหน้าที่ ความ
รับผิดชอบ และผลสำเร็จของงาน เพื่อให้ครูการแบ่งชั้นการบังคับบัญชา
ของแต่ละงานในโรงเรียนจะมีปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพแนว
ดำเนินการที่เหมาะสม คือให้อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบอย่าง
สมดุล แบ่งชั้นตามอำนาจหน้าที่ สายบังคับบัญชา แนวทางในการกำหนด
โครงสร้างอำนาจหน้าที่ความรับผิดชอบควรดำเนินการ ให้บุคลากรมี
อิสระในการตัดสินใจพัฒนางานอย่างสร้างสรรค์ ผ่านกิจกรรมโครงการ
ประชุมปรึกษาหารือกันกับคณะครูทุกคน ให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการ
ตัดสินใจ
5.4 การประสานงานโดยตรงกับผู้บริหารและเพื่อนร่วมงาน
โดยผ่านการประชุมปรึกษาหารือ ทั้งที่เป็ นทางการและไม่เป็ นทางการ
ระบบแผนงานเพื่อควบคุมงานและประสานงานในโรงเรียนควรกำหนด
เกณฑ์และตัวชี้วัดให้ชัดเจน โดยกำหนดแผนควบคุมเป็ นลายลักษณ์อักษร
61

ดำเนินงานตามแผน และกิจกรรมนั้นๆ แล้วนิเทศและประเมินโดยตรง


อย่างไม่เป็ นทางการ แนวทางในการแก้ปั ญหาการจัดระบบประสานงาน
ควรใช้การประสานงานทั้ง 2 รูปแบบ ทั้งที่เป็ นทางการ และไม่เป็ น
ทางการตามความเหมาะสม โดยใช้วิธีในการนิเทศ ประชุม สื่อด้วยวาจา

ภาพประกอบที่ 9 ตัวอย่างแผนภูมิโครงสร้างการจัดองค์การของสถาน
ศึกษา

ตัวอย่างแผนภูมิโครงสร้างการจัดองค์การของสถานศึกษา

ผู้อำนวยการ

คณะกรรมการบริ คณะที่ปรึกษา

หน่วยตรวจสอบ
ฝ่ ายบริหาร ฝ่ ายบริหารงบ ฝ่ ายบริหารงาน
ฝ่ ายบริหารบุคล
วิชาการ ประมาณ ทั่วไป
62

๑. งานธุรการฝ่ าย ๑. งานธุรการฝ่ าย ๑. งานจัดทำแผนงบ ๑. งานธุรการ


บริหารวิชาการ บุคลากร ประมาณและคำขอตั้ง 2. งานอาคารสถานที่
๒. งานหลักสูตรและ 2. งานอบรม ประชุม งบประมาณ สาธารณูปโภคและ
การสอน สัมมนา ๒. งานจัดทำแผน สภาพแวดล้อม
๓. งานกลุ่มสาระการ 3. งานสวัสดิการ/ขวัญ ปฏิบัติการ 3. งานเลขานุการคณะ
เรียนรู้ กำลังใจ ๓. งานอนุมัติการใช้ กรรมการศูนย์พัฒนา
๔. งานกิจกรรมพัฒนา 4. งานจัดเวรยาม จ่ายงบประมาณ เด็กเล็ก
ผู้เรียน 5. งานวันลา ๔. งานขอโอนและ 4. งานพัฒนาระบบ
๕. งานทะเบียน ฯลฯ เปลี่ยนแปลงงบ เครือข่ายข้อมูล
๖. งานวัดผลและ ประมาณ สารสนเทศ
ประเมินผล ๕. งานรายงานผลการ 5. งานเทคโนโลยีเพื่อ
๗. งานศูนย์สื่อและ เบิกจ่ายงบประมาณ การศึกษา/โสต
แหล่งเรียนรู้ ๖. งานตรวจสอบ ทัศนูปกรณ์
8. งานประกันคุณภาพ ติดตามและรายงานการ 6. งานสำมะโนผู้
การศึกษา ใช้งบประมาณ เรียน/รับนักเรียน
9. งานวิจัยและ ๗. งานตรวจสอบ 7. งานรักษาความ
พัฒนาการศึกษา ติดตามและรายงานการ ปลอดภัย ป้ องกัน
๑ 0. งานนิเทศและ ใช้ผลผลิตจากงบ อุบัติเหตุและอัคคีภัย
บริการทางการศึกษา ประมาณ 8. งานโภชนาการ
ฯลฯ ๘. งานกำหนดรูปแบบ 9. งานระดมทุนและ
รายการครุภัณฑ์ สิ่ง ทรัพยากรเพื่อการ
ก่อสร้าง ศึกษา
๙. งานพัฒนาระบบ ๑ 0. งาน
ข้อมูลสารสนเทศเพื่อ ประชาสัมพันธ์/สัมพันธ์
จัดหาพัสดุ กับชุมชน/บริการ
๑๐. งานจัดหาพัสดุ สาธารณะ
๑๑. งาน ๑ 1. งานการจัดการ
ควบคุม/จำหน่ายพัสดุ ศึกษาในระบบ นอก
๑๒. งานเบิกเงินจาก ระบบและตามอัธยาศัย
คลัง ๑ 2. งานนิเทศติดตาม
๑๓. งานรับ เก็บ ประเมินผลและรายงาน
จ่าย เงิน ผล
๑๔. งานจัดทำบัญชี 13. งานอื่นๆ ที่ได้รับ
การเงิน มอบหมาย
๑๕. งานจัดทำรายงาน ฯลฯ
ทางการเงิน
๑๖. งานจัดทำหรือ
63

จัดหาแบบพิมพ์ บัญชี
ทะเบียนและรายงาน
ฯลฯ

เอกสารอ้างอิง
กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). คําชี้แจงประกอบพระราชบัญญัติการ
ศึกษาแหงชาติ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพกรมศาสนา.
ธงชัย สันติวงษ์. (2531). การบริหารงานบุคคล. พิมพ์ครั้งที่ 3 กรุงเทพฯ
: ไทยวัฒนาพานิช. (2535). องค์การและการบริหาร. กรุงเทพฯ :
ไทยวัฒนาพานิช.
ธิดา พาหอม. (2544). องค์การและการจัดการ.พระนครศรีอยุธยา :
สถาบันราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
พนิดา ชาตยาภา. (2559). เทคโนโลยีกับเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21.
วารสารวไลยอลงกรณ์ปริทัศน์.
พร้อมพิไล บัวสุวรรณ์ (2554). ครอบครัวและโรงเรียนหุ้นส่วนเพื่อ
คุณภาพของผู้เรียน. กรุงเทพฯ : แสงดาว.
วัชรพล สุดสายเนตร. (2556). การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็ นฐานใน
สถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัด. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 3.
วิโรจน์ สารรัตนะ. (2544). โรงเรียน : องค์กรแห่งการเรียนรู้ กรอบ
แนวคิดเชิงทฤษฎีทางการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ : ทิพย
วิสุทธิ์
สมคิด บางโม. (2544). หลักการบริหารการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 4.
กรุงเทพฯ : สถาบันราชภัฏ. พระนคร.
64

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 3. (2558).


แผนปฏิบัติการประจำปี งบประมาณ พ.ศ. 2558. นครราชสีมา
: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 8.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2546). คู่มือการปฏิบัติ
งานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การ
รับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2550). แนวทางการกระ
จายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษาใหคณะกรรมการ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาตามกฎกระทรวง
กำหนดหลักเกณฑและวิธีการกระจายอำนาจบริหารและ
จัดการศึกษา พ.ศ. 2550. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการ
การศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2551) . ยุทธศาสตร์การพัฒนา
คุณภาพการศึกษาระเบียบวาระแห่งชาติ 2551 - 2555.
กรุงเทพ ฯ : สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวง
ศึกษาธิการ.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2552). ข้อเสนอการปฏิรูปการ
ศึกษาในทศวรรษที่สอง 2552-2561. กรุงเทพ ฯ : สำนักงาน
เลขาธิการสภาการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ.
สุนทร โคตรบรรเทา. (2560). ภาวะผู้นำในองค์การสถานศึกษา.
กรุงเทพฯ : ปั ญญาชน
อุทัย บุญประเสริฐ และจิราภรณ์ จันทร์สุพัฒน์. (2545). รายงานการ
วิจัยเรื่องภารกิจโครงสร้างและอัตรากำลังของสถานศึกษา
ตามพ.ร.บ.การศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ประกอบการประชุม
การกระจายอำนาจสู่สถานศึกษา : บริหารโดยใช้โรงเรียนเป็ น
ฐาน. ม.ป.ท.
65

อุทัย บุญประเสริฐ. (2545). การบริหารจัดการสถานศึกษาโดย


ใชโรงเรียนเป็ นฐาน. กรุงเทพมหานคร : คณะครุศาสตรจุฬาลง
กรณมหาวิทยาลัย.
อุทัย หิรัญโต. (2526). สารานุกรมศัพท์รัฐประศาสนศาสตร์ (การ
บริหารรัฐกิจ). กรุงเทพฯ :โอเดียนสโตร์.
Flippo, Edwin B. (1966). Management : A behavioral
approach. Boston, Mass: Allyn and Bacon.
McLaney, William J. (1964). Management Training. Illinois :
Richard D. Irwin
Senge, P. M. (1990). The fifth discipline :The art and
practice of the learning organization. London :
Century Press. Senge
Tosi, Henry L. (1975). Theories of organization. Chicago, Ill.:
St. Clair.

You might also like