Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 124

แรกเริ่มเรียนรู้อาชีวเวชศาสตร์

First Step to Occupational Medicine

วิวัฒน์ เอกบูรณะวัฒน์
จุฑารัตน์ จิโน
นวพรรณ ผลบุญ

จัดพิมพ์และเผยแพร่โดยมูลนิธิสัมมาอาชีวะ
800/3 ถนนสุขุมวิท ตําบลแสนสุข อําเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี 20130
เลขมาตรฐานสากลประจําหนังสือ (ISBN) 978-616-90900-0-7

ข้อมูลบรรณานุกรม
วิวัฒน์ เอกบูรณะวัฒน์, จุฑารัตน์ จิโน, นวพรรณ ผลบุญ. แรกเริ่มเรียนรู้อาชีวเวชศาสตร์.
พิมพ์ครั้งที่ 3. ชลบุรี: มูลนิธิสมั มาอาชีวะ; 2562. จํานวน 124 หน้า หมวดหมู่หนังสือ 616.98
วันที่เผยแพร่ 20 เมษายน พ.ศ. 2562

จัดพิมพ์ขึ้นสําหรับแจกฟรีให้แก่ผู้ทสี่ นใจ
เผยแพร่ภายใต้สัญญาอนุญาตครีเอทีฟคอมมอนส์ แสดงทีม่ า 3.0 ประเทศไทย (CC BY 3.0 TH)
อนุญาตให้นําไปใช้อ้างอิง ทําซ้ํา ดัดแปลง และเผยแพร่ต่อได้ โดยต้องแสดงที่มา
พิมพ์ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2554
พิมพ์ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2560
พิมพ์ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2562
คํานํา
ประเทศไทยเริ่มตื่นตัวพัฒนาด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมมาได้หลาย
สิบปีแล้ว เรามีแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับแรกออกมาตั้งแต่ปี
พ.ศ. 2504 นับจนถึงปัจจุบันนี้ ก็เป็นเวลาได้กว่าครึ่งศตวรรษ การพัฒนาเศรษฐกิจ
การผลิต และการค้า ทําให้มีโรงงานอุตสาหกรรมตั้งขึ้นในประเทศมากมาย การ
คิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เพิ่มขึ้นทําให้สภาพสังคม ความเป็นอยู่ และสิ่งแวดล้อม
รอบตั ว เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ไม่ เพียงแต่ประเทศไทยเท่านั้น ที่เกิดความ
เปลี่ยนแปลงนี้ แต่ความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นไปทั่วโลก
วิ ช าอาชี ว เวชศาสตร์ เ ป็ น วิ ช าที่ พั ฒ นาขึ้ น มาตามปั ญ หาจากการพั ฒ นา
เศรษฐกิจและอุตสาหกรรมดังกล่าว จุดมุ่งหมายของวิชาก็เพื่อให้ผู้เรียนได้มีความรู้
ความเข้าใจ ทําให้สามารถดูแลปัญหาสุขภาพของคนทํางานในโลกยุคใหม่ได้ ความ
เข้าใจแต่เพียงตัวโรคนั้นอาจไม่เพียงพอต่อการแก้ไขปัญหาสุขภาพแบบองค์รวม
ในยุคแห่งความสลับซับซ้อนของปัญหาเช่นในยุคปัจจุบัน วิชาอาชีวเวชศาสตร์จะ
ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความรู้ความเข้าใจถึงปัญหาสุขภาพของคนทํางานอย่างถ่องแท้
และสามารถนําความรู้ที่ได้ไปใช้แก้ไขที่ต้นเหตุของปัญหาได้อย่างตรงจุด
อย่างไรก็ตามเนื้อหาของวิชาอาชีวเวชศาสตร์ทั้งหมดนั้นมีปริมาณมหาศาล
เกี่ยวโยงกับศาสตร์ความรู้ด้านต่างๆ อย่างมากมาย ตําราอาชีวเวชศาสตร์มาตรฐาน
ที่จัดพิมพ์ในต่างประเทศนั้น บางเล่มจึงมีความหนาถึงหลายพันหน้า การเริ่มต้น
ศึกษาวิชานี้จากตําราของต่างประเทศที่มีความหนาหลายพันหน้านั้น อาจทําให้
เกิดความท้อใจและความสับสนแก่ผู้เริ่มเรียนรู้ได้ ด้วยเหตุนี้ทางคณะผู้เรียบเรียง
จึงได้จัดทําตําราพื้นฐานทางด้านอาชีวเวชศาสตร์เล่มเล็กๆ นี้ขึ้นมาไว้ให้แก่ผู้ที่
สนใจ โดยพยายามย่นย่อเอาแต่หลักทฤษฎีที่สําคัญมารวบรวมไว้ ด้วยหวังจะให้
เป็นจุดเริ่มต้นที่เข้าใจง่ายแก่ผู้เริ่มเรียนรู้ อีกทั้งยังมุ่งประสงค์จะแจกจ่ายโดยไม่คิด
มูลค่า เพื่อให้ความรู้แพร่หลายไปได้มากที่สุดอีกด้วย


ตํารา “แรกเริ่มเรียนรู้อาชีวเวชศาสตร์” เล่มนี้ จึงเหมาะกับผู้เริ่มต้นสนใจ
ในวิชาอาชีวเวชศาสตร์ทุกท่าน หวังว่าเนื้อหาที่สั้นกะทัดรัดของตําราเล่มนี้ จะ
ช่วยให้ผู้อ่านเข้าใจในหลักทฤษฎีพื้นฐานของวิชาอาชีวเวชศาสตร์ได้อย่างรวดเร็ว
ในการเรียบเรียงเนื้อหานั้น คณะผู้เรียบเรียงได้พยายามเลือกใช้ภาษาที่อ่านเข้าใจ
ง่าย และตรวจสอบให้มีความถูกต้องสมบูรณ์มากที่สุดเท่าที่จะทําได้ แต่หากยังมี
ข้อผิดพลาดประการใดก็ตามเกิดขึ้น ทางคณะผู้เรียบเรียงก็ต้องขออภัยเป็นอย่าง
สูงมา ณ ที่นี้ด้วย

คณะผู้เรียบเรียง
20 เมษายน พ.ศ. 2562


สารบัญ
เนื้อหา หน้า

อาชีวเวชศาสตร์คืออะไร 1
วิวัฒน์ เอกบูรณะวัฒน์
แพทย์อาชีวเวชศาสตร์ 3
วิวัฒน์ เอกบูรณะวัฒน์
ประวัติของวิชาอาชีวเวชศาสตร์ 5
จุฑารัตน์ จิโน
ประโยชน์ของวิชาอาชีวเวชศาสตร์ 9
วิวัฒน์ เอกบูรณะวัฒน์
มารู้จักกับสิ่งคุกคาม 11
วิวัฒน์ เอกบูรณะวัฒน์
สิ่งคุกคามและการสัมผัส 15
วิวัฒน์ เอกบูรณะวัฒน์
ความเสี่ยง 21
วิวัฒน์ เอกบูรณะวัฒน์
ขั้นตอนการประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพ 24
จุฑารัตน์ จิโน
การป้องกันโรคจากการทํางาน 28
วิวัฒน์ เอกบูรณะวัฒน์
หลักการซักประวัติอาชีพ 41
นวพรรณ ผลบุญ
หลักการวินิจฉัยโรคจากการทํางาน 49
วิวัฒน์ เอกบูรณะวัฒน์


เนื้อหา หน้า

การหาความเป็นสาเหตุ 70
วิวัฒน์ เอกบูรณะวัฒน์
การตรวจสุขภาพทางอาชีวเวชศาสตร์ 76
วิวัฒน์ เอกบูรณะวัฒน์
หลักการเดินสํารวจโรงงาน 85
วิวัฒน์ เอกบูรณะวัฒน์
แพทย์อาชีวเวชศาสตร์ให้บริการอะไรกับโรงงานได้บ้าง 99
วิวัฒน์ เอกบูรณะวัฒน์


แรกเริม่ เรียนรู้อาชีวเวชศาสตร์
๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐๐

อาชีวเวชศาสตร์คืออะไร
เรียบเรียงโดย นพ.วิวัฒน์ เอกบูรณะวัฒน์

“อาชีวเวชศาสตร์” (occupational medicine) เป็นวิชาการแพทย์แขนงหนึ่ง


ว่าด้วยเรื่องการดูแลสุขภาพของคนทํางาน วิชาอาชีวเวชศาสตร์นี้ ครอบคลุม
ตั้ง แต่ก ารป้ องกั นโรค การรักษาโรค และการฟื้น ฟู สุขภาพของคนทํางาน แต่
เนื่องจากปัญหาโรคจากการทํางานส่วนใหญ่จะเป็นปัญหาที่ป้องกันได้ องค์ความรู้
ของวิชานี้ในปัจจุบันจึงเน้นหนักไปทางการป้องกันโรคเป็นหลัก แพทย์เฉพาะทาง
ที่มีความเชี่ยวชาญในวิชาอาชีวเวชศาสตร์นั้นเราเรียกว่า “แพทย์อาชีวเวชศาสตร์”
(occupational physician)

ในอดีตก่อนที่จะมีการใช้คําว่าอาชีวเวชศาสตร์ (occupational medicine) เป็น


คํารวมนั้น ศาสตร์ในการดูแลสุขภาพคนทํางานโดยแพทย์จะมุ่งเน้นไปที่คนทํางาน
ในโรงงานอุตสาหกรรมเป็นหลัก วิชาดังกล่าวจึงเรียกว่า “เวชศาสตร์อุตสาหกรรม”
(industrial medicine) ต่อมามีการขยายความสนใจไปในกลุ่มคนทํางานกลุ่มอื่นๆ
ด้วย เช่น กลุ่มเกษตรกร ก็จะเรียกวิชาที่ดูแลสุขภาพของเกษตรกรว่า “เวชศาสตร์
เกษตรกรรม” (agricultural medicine) ในที่สุดศาสตร์ในการดูแลสุขภาพของ
คนทํางานนี้ ก็ได้รับความสนใจครอบคลุมไปถึงคนครบทุกอาชีพ ไม่ว่าจะเป็น
คนงานในโรงงาน เกษตรกร งานบริการ นักวิชาการ ผู้บริหาร ก็ล้วนแล้วแต่มีโอกาส
เกิดโรคจากการทํางานขึ้นมาด้วยกันทั้งหมด เพื่อตัดปัญหาความหลากหลายของ

1
ชื่อวิชาที่จะใช้เรียก จึงใช้คําว่า “อาชีวเวชศาสตร์” (occupational medicine) ซึ่ง
เป็นคํารวม หมายถึงศาสตร์ในการดูแลสุขภาพของคนทํางานทุกอาชีพแทน

วิ ช าอาชี ว เวชศาสตร์ ถู ก จั ด ว่ า เป็ น แขนงหนึ่ ง ของวิ ช าเวชศาสตร์ ป้ อ งกั น


(preventive medicine) ซึ่งปัจจุบันมีการเปิดสอบรับรองในประเทศไทยโดย
แพทยสภาอยู่ทั้งหมด 8 สาขา ได้แก่ ระบาดวิทยา อาชีวเวชศาสตร์ สาธารณสุข
ศาสตร์ เวชศาสตร์ป้องกันคลินิก สุขภาพจิตชุมชน เวชศาสตร์การบิน เวชศาสตร์
ทางทะเล และเวชศาสตร์การเดินทางและท่องเที่ยว สาเหตุที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มวิชา
เวชศาสตร์ป้องกันนั้นก็เนื่องจากโรคจากการทํางานส่วนใหญ่เป็นโรคที่รักษาไม่ได้
แต่ป้องกันได้ จึงต้องใช้การป้องกันเป็นหลักในการลดจํานวนผู้ป่วย อย่างไรก็ตาม
มีโรคจากการทํางานบางโรคที่สามารถรักษาได้ บางโรคสามารถฟื้นฟูให้ดีขึ้นได้
งานด้านอาชีวเวชศาสตร์จึงมีส่วนคาบเกี่ยวกับการรักษา และการฟื้นฟูสุขภาพ
ของคนทํางานที่ป่วยด้วย

ส่วนคําว่า "อาชีวอนามัย" (occupational health) นั้นหมายความถึง ศาสตร์


การดูแลสุขภาพอนามัยของคนทํางาน โดยผู้ดําเนินการคือผู้มีความรู้ทางด้าน
สาธารณสุ ข จากสาขาวิ ช าชี พ ใดก็ ต าม จะเห็ น ว่ า คํา ว่ า “อาชี ว เวชศาสตร์ ”
(occupational medicine) มีความหมายจําเพาะกว่า เนื่องจากหมายถึงการ
ดําเนินการดูแลสุขภาพของคนทํางานโดยแพทย์เท่านั้น โดยใช้ศาสตร์ทางด้าน
การแพทย์ เ ฉพาะทาง ซึ่ ง จะต้ อ งมี ก ารตรวจร่ า งกายผู้ ป่ ว ย การส่ ง ตรวจทาง
ห้องปฏิบัติการ และการให้การรักษารวมอยู่ด้วย

หากจะเปรียบเทียบความสัมพันธ์ของวิชา "อาชีวอนามัย" กับวิชา “อาชีวเวช


ศาสตร์” กับกรณีของศาสตร์ทางการแพทย์สาขาอื่นๆ เราอาจเปรียบเทียบได้กับ
ความสัมพันธ์ของวิชา “นิติวิทยาศาสตร์” กับ “นิติเวชศาสตร์” และความสัมพันธ์
ของวิชา “จิตวิทยา” กับ “จิตเวชศาสตร์” ก็ได้

2
หนังสืออ้างอิง
1. Rom WN. The discipline of environmental and occupational
medicine. In: Rom WN, Markovitz SB, editors. Environmental and
occupational medicine. 4th ed. Philadelphia: Lippincott Williams &
Wilkins; 2007. p. 3-8.
2. Faculty of Occupational Medicine of the Royal College of Physicians.
What is occupational medicine? [Internet]. 2010 [cited 2010 Dec
13]. Available from: http://www.facoccmed.ac.uk.
3. ข้อบังคับแพทยสภา ว่าด้วยหลักเกณฑ์การออกหนังสืออนุมัติและวุฒิบัตรเพื่อ
แสดงความรู้ความชํานาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. 2552. ราชกิจจา
นุเบกษา เล่ม 126 ตอนพิเศษ 46 ง. (ลงวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2552).

แพทย์อาชีวเวชศาสตร์
เรียบเรียงโดย นพ.วิวัฒน์ เอกบูรณะวัฒน์

แพทย์อาชีวเวชศาสตร์ (occupational physician) คือแพทย์เฉพาะทางสาขา


หนึ่งที่มีความเชี่ยวชาญในการดูแลสุขภาพของคนทํางาน อภิไธยเต็มของแพทย์
เฉพาะทางสาขานี้ที่กําหนดโดยแพทยสภาคือ “แพทย์เวชศาสตร์ป้องกัน (อาชีว
เวชศาสตร์)” สาเหตุที่ต้องมีคําว่า “เวชศาสตร์ป้องกัน” อยู่ในอภิไธยด้วย เนื่องจาก
วิชาอาชีวเวชศาสตร์นั้น ถูก จัดเป็นแขนงย่อยหนึ่งของวิชาเวชศาสตร์ป้องกัน
เช่นเดียวกับศาสตร์ด้านเวชศาสตร์ป้องกันสาขาอื่นๆ เช่น เวชศาสตร์ป้องกัน
คลินิก เวชศาสตร์การบิน หรือสาธารณสุขศาสตร์

อย่างไรก็ตาม คําที่คนทั่วไปใช้เรียกแพทย์เฉพาะทางสาขานี้ โดยปกติก็มักจะเรียก


เพียงว่า “แพทย์อาชีวเวชศาสตร์” มากกว่า สําหรับในกฎหมายที่เกี่ยวข้อง อย่าง
กฎกระทรวง กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสุขภาพของลูกจ้างฯ พ.ศ. 2547

3
ใช้คําเรียกที่สื่อถึงแพทย์เฉพาะทางสาขานี้ว่า “แพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งที่ได้รับ
ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมด้านอาชีวเวชศาสตร์”

แพทย์อาชีวเวชศาสตร์ มีการเปิดสอบรับรองโดยแพทยสภามาตั้งแต่ พ.ศ. 2539


นับถึงปัจจุบันก็กล่าวได้ว่า มีแพทย์เฉพาะทางสาขานี้ทํางานอยู่ในประเทศไทยมา
เป็นเวลาประมาณ 20 ปีแล้ว แต่หากเทียบกับศาสตร์การแพทย์เฉพาะทางสาขา
อื่นที่มีมาก่อน เช่น สูติศาสตร์ อายุรศาสตร์ ศัลยศาสตร์ ก็นับว่ายังเป็นสาขาที่
ใหม่อยู่มาก

การสํารวจจํานวนของแพทย์อาชีวเวชศาสตร์โดย พุทธิชัย แดงสวัสดิ์ และคณะ ในปี


พ.ศ. 2557 พบว่าประเทศไทยมีแพทย์อาชีวเวชศาสตร์อยู่จํานวนทั้งสิ้น 142 คน โดย
พบว่าแพทย์อาชีวเวชศาสตร์มีทั้งเพศชายและเพศหญิง (เพศชายร้อยละ 77.5 และ
เพศหญิงร้อยละ 22.5) มีอายุเฉลี่ย 50.3 ปี ส่วนใหญ่ทํางานอยู่ในกรุงเทพมหานคร
(ร้อยละ 46.4) รองลงมาคือภาคกลาง (ร้อยละ 21.8) และภาคตะวันออก (ร้อยละ
10.6)

การสํารวจโดย วิวัฒน์ เอกบูรณะวัฒน์ และคณะ ในปี พ.ศ. 2551 พบว่าแพทย์


อาชีว เวชศาสตร์ ส่ว นใหญ่ทํา งานอยู่ใ นภาครัฐ เช่น ในโรงพยาบาลของรัฐ ใน
มหาวิทยาลัย ในกระทรวงสาธารณสุข (ร้อยละ 71.7) ทํางานในโรงพยาบาลเอกชน
(ร้อยละ 4.0) ทํางานเป็นแพทย์ประจําสถานประกอบการ (ร้อยละ 9.1) ที่เหลือ
เป็นแพทย์อิสระ แพทย์เกษียณอายุ หรือเจ้าของกิจการ (ร้อยละ 15.2)

หนังสืออ้างอิง
1. ข้อบังคับแพทยสภา ว่าด้วยอภิไธยผู้มีความรู้ความชํานาญในการประกอบ
วิชาชีพเวชกรรมสาขาต่างๆ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2536. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม
110 ตอนที่ 64. (ลงวันที่ 26 เมษายน 2536).

4
2. กฎกระทรวง กําหนดหลัก เกณฑ์แ ละวิธีการตรวจสุข ภาพของลูก จ้า งและ
ส่งผลการตรวจแก่พนักงานตรวจแรงงาน พ.ศ. 2547. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม
122 ตอนที่ 4 ก. (ลงวันที่ 29 ธันวาคม 2547).
3. พุ ท ธิ ชั ย แดงสวั ส ดิ์ , วิ วั ฒ น์ เอกบู ร ณะวั ฒ น์ , ดุ สิ ต จั น ทยานนท์ , ฉั น ทนา
จันทวงศ์. การสํารวจจํานวนบุคลากรด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยใน
ประเทศไทย ปี พ.ศ. 2557. ธรรมศาสตร์เวชสาร 2558;15(3):393-405.
4. วิวัฒน์ เอกบูรณะวัฒน์, ฉัตรชัย เอกปัญญาสกุล, โยธิน เบญจวัง. แพทย์เฉพาะ
ทางสาขาอาชีวเวชศาสตร์ในประเทศไทย ปี พ.ศ. 2551. วารสารความปลอดภัย
และสุขภาพ 2552;2(8):50-9.

ประวัติของวิชาอาชีวเวชศาสตร์
เรียบเรียงโดย พญ.จุฑารัตน์ จิโน

วิชาอาชีวเวชศาสตร์นั้น แม้ว่าจะเป็นวิชาที่ค่อนข้างใหม่สําหรับวงการแพทย์ แต่


แท้ที่จริงแล้ววิชานี้มีประวัติมายาวนานหลายร้อยปี ในอดีต แพทย์และนักวิชาการ
หลายท่านให้ความสนใจในเรื่องผลของการทํางานที่ทําให้เกิดโรค รวมถึงการดูแล
สุขภาพของคนทํางาน ความรู้ในวิชาอาชีวเวชศาสตร์นั้นถูกสะสมมาตั้งแต่ยุค
โบราณ เฟื่องฟูขึ้นในยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม และพัฒนามาจนถึงยุคปัจจุบัน บุคคล
สําคัญในประวัติศาสตร์ที่ผู้ศึกษาวิชาอาชีวเวชศาสตร์ควรรู้จักไว้ มีดังนี้

ฮิปโปเครตีส (Hippocrates; 460 – 377 ปี ก่อนคริสตกาล) ได้สังเกตอาการของ


ผู้ป่วยที่ตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม และมุ่งเน้นในเรื่องความสมดุลของสภาพร่างกาย
กับสิ่งแวดล้อม เช่น น้ํา อากาศ และสถานที่ นอกจากนี้ยังสังเกตพบอาการปวดร้าว
ขา (sciatica) ในนักรบที่ขี่ม้าอยู่เป็นเวลานาน เป็นตัวอย่างของนักปราชญ์ในยุค
โบราณที่ให้ความสําคัญในเรื่องสุขภาพกับสิ่งแวดล้อมและลักษณะการทํางาน

5
พาราเซลซัส (Paracelsus หรือ Theophrastus Bombastus von Hoehenheim;
ค.ศ. 1493 – 1541) ถูกยกย่องให้เป็นบิดาแห่งพิษวิทยา เขาเป็นผู้กล่าวประโยค
อมตะประโยคหนึ่งไว้ว่า “All substances are poisons; there is none which
is not a poison. The right dose differentiates a poison and remedy”
แปลเป็นไทยได้ว่า “ทุกสิ่งในโลกนี้ล้วนเป็นพิษ ไม่มีสิ่งใดเลยในโลกนี้ที่ไม่เป็นพิษ
ขนาดการรับ สัมผัส เท่านั้น ที่จะเป็น ตัว กําหนดระดับ ความเป็น พิษของทุก สิ่ง ”
แนวคิดจากประโยคนี้ยังคงถูกใช้เป็นพื้นฐานของวิชาพิษวิทยามาจนถึงปัจจุบัน
พาราเซลซัสเป็นผู้มีคุณูปการในวงการอาชีวเวชศาสตร์ในฐานะเป็นผู้ศึกษาโรค
ระบบทางเดินหายใจในคนงานเหมืองถ่านหินและคนงานหลอมโลหะ

รามาซซินี (Bernardino Ramazzini; ค.ศ. 1633 – 1714) แพทย์ชาวอิตาลี


ได้รับการยกย่องจากทั่วโลกให้เป็นบิดาแห่งอาชีวเวชศาสตร์ เขาเป็นผู้เขียนตํารา
ด้านอาชีวเวชศาสตร์เล่มแรกของโลกที่ชื่อว่า “De Morbis Artificum Diatriba”
ในปี ค.ศ. 1700 ตํารานี้ต่อมาถูกแปลเป็นภาษาอังกฤษในปี ค.ศ. 1940 ในชื่อ
“Diseases of Workers” หรือแปลเป็นไทยคือ “โรคของคนทํางาน” หนังสือนี้
ทําให้ชาวโลกได้รู้จักเขาในวงกว้างขึ้น รามาซซินีได้ทุ่มเททําการศึกษาเกี่ยวกับ
โรคของคนอาชีพต่างๆ เช่น คนขุดแร่ ช่างทาสี ช่างทอง ช่างเป่าแก้ว ช่างปั้น
หม้อ หมอตําแย ไปจนถึงคนทํางานนั่งโต๊ะ และเขียนสิ่งที่ตรวจพบลงในหนังสือ
“De Morbis Artificum Diatriba” แต่ละบทแยกไว้เป็นหมวดหมู่ ข้อศึกษาของ
รามาซซินีพบว่าความเจ็บป่วยของคนทํางานเหล่านี้มาจากไอควันที่เป็นพิษและ
จากท่าทางการทํางานที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งความรู้ที่กล่าวมายังคงเป็นหลักการพื้นฐาน
ที่ใช้ได้ในวงการอาชีวเวชศาสตร์มาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้เขายังค้นพบว่าช่าง
เป่าแก้วที่ทํางานไปนานๆ จะมีปัญหาสายตา ช่างปั้นหม้อที่ใช้สารตะกั่วทาเคลือบ
หม้ออาจได้รับพิษจากงานที่ทํา และคนไข้ที่ได้รับการรักษาโดยการฉีดปรอทเหลว
เข้าในร่างกายอาจเกิดอาการพิษทางระบบประสาท ข้อความรู้ที่กล่าวมาทั้งหมด
ยังคงเป็นความจริงมาจนถึงปัจจุบันนี้

6
ผลงานของรามาซซินี เป็นจุดเริ่มต้นที่ทําให้แพทย์ทั่วโลกหันมาสนใจปัญหาโรคที่
เกิดจากการทํางานและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น คําถามหนึ่งที่รามาซซินีเสนอให้แพทย์
ทุกคนถามผู้ป่วยเพื่อหาสาเหตุของการเกิดโรคก็คือ “What is your occupation?”
หรือแปลเป็นไทยได้ว่า “คุณทํางานอะไร?” ประโยคคําถามนี้ยังคงเป็นคําถามที่มี
ประโยชน์สําหรับแพทย์ ที่จะช่วยในการค้นหาสาเหตุของโรคและรักษาผู้ป่วยมา
จนถึงทุกวันนี้

เพอร์ซิวาล พอตต์ (Percival Pott; ค.ศ. 1714 – 1788) เป็นผู้ค้นพบว่าโรคมะเร็ง


ถุงอัณฑะ (scrotal cancer) มีความสัมพันธ์กับการสัมผัสเขม่าในเด็กที่ทํางาน
ทําความสะอาดปล่องไฟ (chimney sweep) ในเมืองลอนดอน ประเทศอังกฤษ
พอตต์เชื่อว่าเขม่า (soot) ที่ติดสะสมอยู่ที่ถุงอัณฑะเป็นสาเหตุทําให้เกิดมะเร็งขึ้น
จึงนับว่าเป็นแพทย์คนแรกที่ค้นพบการเกิดโรคมะเร็งจากการทํางาน

โทมัส มอร์ริสัน เลก (Thomas Morrison Legge; ค.ศ. 1863 – 1932) แพทย์ชาว
อังกฤษ เป็นอีกผู้หนึ่งที่มีบทบาทสําคัญในการพัฒนางานทางด้านอาชีวเวชศาสตร์
เขาเป็นแพทย์ที่ทําหน้าที่ผู้ตรวจสอบโรงงาน (medical inspector) คนแรกของ
โลก และยังได้ทําการศึกษาความรู้เกี่ยวกับพิษของตะกั่ว ฟอสฟอรัส สารหนู และ
ปรอท เพิ่มเติมขึ้น นอกจากนี้ยังเป็นผู้เสนอให้บรรจุวิชาอาชีวเวชศาสตร์เข้าไว้ใน
หลักสูตรของโรงเรียนแพทย์อีกด้วย

อลิซ ฮาร์มิลตัน (Alice Hamilton; ค.ศ. 1869 – 1970) แพทย์หญิงผู้ได้รับการ


ยกย่ อ งว่ า เป็ น แพทย์ ผู้ บุ ก เบิ ก งานด้ า นอาชี ว เวชศาสตร์ ค นแรกของประเทศ
สหรั ฐ อเมริก า ฮาร์มิ ล ตั น เป็น ผู้เ ชี่ย วชาญทางด้ า นโรคพิษ ตะกั่ ว เธอได้ ศึ ก ษา
อันตรายจากสารตะกั่วในโรงงานหลายแห่งในประเทศอเมริกา นอกจากนี้ยังได้
ศึกษาพิษของสารอื่นๆ เช่น พิษของฟอสฟอรัสที่ทําให้เกิดการย่อยสลายของกระดูก
ขากรรไกร (phossy jaw) ในคนงานทําไม้ขีดไฟ พิษของแก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์

7
ที่เกิดในคนงานโรงหลอมเหล็ก พิษของไนโตรกลีเซอรีนที่พบในคนงานทํากระสุน
ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 หรือกลุ่มอาการนิ้วตาย (dead finger) ที่พบในคนที่ใช้
เครื่องเจาะหิน (jackhammer) ยุคเริ่มแรก ฮาร์มิลตันยังเป็นนักกิจกรรมสังคม
และเป็นนักเคลื่อนไหวเพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงด้านการดูแลสุขภาพคนทํางาน
ให้ดีขึ้น เธอได้เขียนหนังสือที่มีชื่อเสียงไว้สองเล่มชื่อ “Industrial Poisons” และ
“Exploring the Dangerous Trades”

สํา หรั บ ประเทศไทยนั้ น ผู้ บุ ก เบิ ก งานด้ า นอาชี ว เวชศาสตร์ ใ ห้ เ กิ ด ขึ้ น ได้ คื อ
ศาสตราจารย์แพทย์หญิง มาลินี วงศ์พานิช (หรือ ฮัจญะ มาเรียม อะมัน; ประมาณ
พ.ศ. 2475 – 2545 หรือ ประมาณ ค.ศ. 1932 – 2002) ท่านจบการศึกษาด้าน
อาชีวเวชศาสตร์จาก London school of hygiene and tropical medicine
และกลับมาทํางานที่มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้ก่อตั้งภาควิชาอาชีวอนามัย คณะ
สาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลขึ้น ซึ่งภาควิชานี้ เป็นแหล่งผลิตนักวิชาการ
ด้านอาชีวอนามัยและเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยให้กับประเทศออกมาเป็นจํานวน
มาก แพทย์หญิงมาลินี วงศ์พานิช ยังเป็นผู้วางรากฐานหลักสูตรแพทย์อาชีวเวช
ศาสตร์และพยาบาลอาชีวอนามัย โดยดําเนินงานร่วมกับกรมการแพทย์ อีกทั้งยัง
เป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งชมรมแพทย์อาชีวเวชศาสตร์ ที่มีชื่อว่า “ชมรมแพทย์อาชีวเวช
ศาสตร์แห่งประเทศไทย” ขึ้น

หนังสืออ้างอิง
1. Ramazzini B. De Morbis Artificum Diatreba. 1710 - 1713.
2. Gochfeld M. Chronologic history of occupational medicine. JOEM
2005;47(2):96-114.
3. Rom WN. The discipline of environmental and occupational
medicine. In: Rom WN, Markovitz SB, editors. Environmental and

8
occupational medicine. 4th ed. Philadelphia: Lippincott Williams &
Wilkins; 2007. p. 3-8.

ประโยชน์ของวิชาอาชีวเวชศาสตร์
เรียบเรียงโดย นพ.วิวัฒน์ เอกบูรณะวัฒน์

วิชาอาชีวเวชศาสตร์นั้น เป็นวิชาทางการแพทย์ที่มีประโยชน์ในหลายด้าน ทั้งต่อ


ผู้ป่วยและสังคมประเทศชาติ ต่อวงการแพทย์ และต่อตัวผู้เรียนเอง ประโยชน์ที่
จะกล่าวถึงนี้ครอบคลุมทั้งประโยชน์ที่เห็นเป็นรูปธรรม ประโยชน์ทางด้านจิตใจ
และประโยชน์ทางด้านเศรษฐศาสตร์ด้วย จะขอกล่าวถึงในแต่ละหัวข้อเรียงไป
ตามลําดับ ดังนี้

ประโยชน์ต่อผู้ป่วยและสังคมประเทศชาติ
 เนื่องจากจุดมุ่งหมายหลักของวิช าอาชีว เวชศาสตร์ คือ การใช้หลัก วิชาทาง
การแพทย์มาป้องกันโรคในคนทํางาน ประโยชน์ที่เกิดขึ้นโดยตรงเป็นอันดับ
แรก จึงเกิดความมีสุขภาพดีของคนทํางานนั่นเอง ซึ่งคนทํางาน (ประมาณการ
ว่าเป็นคนอายุ 15 – 65 ปี) ก็จัดเป็นประชากรกลุ่มใหญ่ของประเทศ การทําให้
คนทํางานมีสุขภาพดี ก็คือการทําให้คนส่วนใหญ่ของประเทศมีสุขภาพดี
 เมื่อคนทํางานสุขภาพดี มีรายได้เลี้ยงตนเอง ปัญหาทางสังคมที่เกิดจากการ
เป็นภาระพึ่งพิงของคนวัยทํางานก็จะลดน้อยลง คนเหล่านี้จะได้ทํางานอย่าง
เต็มศักยภาพ หากเขาประกอบสัมมาอาชีวะและรู้จักประมาณการใช้จ่ายแล้ว
ก็จะมีรายได้เลี้ยงตัวเองอย่างเพียงพอ
 เมื่อคนทํางานสุขภาพดีแล้ว ก็สามารถทํางานหารายได้ นอกจากเลี้ยงตนเอง
แล้วยังสามารถเลี้ยงครอบครัวได้ด้วย คนที่อยู่ในวัยพึ่งพิงทั้งเด็กและผู้สูงอายุ
ก็จะมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีโอกาสที่จะมีสุขภาพดีขึ้น

9
 การ “ป้องกันโรค” มักจะใช้เงินน้อยกว่า “การรักษาโรค” จึงเป็นการประหยัด
ค่าใช้จ่าย ประหยัดงบประมาณของประเทศ
 การ “ป้องกันโรค” คือโรคยังไม่เกิด เป็นสิ่งประเสริฐที่คนแทบทุกคนต้องการ
นอกจากนี้ยังเป็นการแก้ปัญหาที่ต้นเหตุอย่างแท้จริง
 นายจ้างก็ได้รับความอุ่นใจ ที่คนทํางานผู้มีฝีมือของเขาจะมีสุขภาพแข็งแรง
สามารถทํางานขับเคลื่อนองค์กรและกิจการต่อไปได้อย่างสะดวกเรียบร้อย
เกิดเป็นผลกําไรย้อนกลับมาสู่องค์กรและกิจการ
 คนทํางานก็เกิดความสบายใจ เนื่องจากได้รับการดูแลสุข ภาพอย่า งใกล้ชิด
เข้าใจ และเป็นองค์รวม จากแพทย์ที่ทราบสภาพการทํางานและความเป็นอยู่
ของคนทํางานอย่างแท้จริง
 องค์ ก รและกิ จ การที่ มี ก ารดํา เนิ น งานทางด้ า นอาชี ว อนามั ย และอาชี ว เวช
ศาสตร์ดี จะมีโอกาสแข่งขันการค้าในระดับนานาชาติได้มากขึ้น
 การดําเนินงานด้านอาชีว เวชศาสตร์ มีส่ว นช่ว ยป้อ งกัน ปัญ หายาเสพติด ใน
คนทํางาน เป็นการช่วยลดปัญหาทางสังคมอันเกิดจากยาเสพติด

ประโยชน์ต่อวงการแพทย์
 ทําให้ภาระงานในการรักษาผู้ป่วยลดลง เนื่องจากมีการป้องกันโรคไปบางส่วน
แล้ว ทําให้คนป่วยน้อยลง
 ทําให้มีระบบการส่งต่อและดูแลผู้ป่วยที่ชัดเจน และเป็นเฉพาะด้านสําหรับ
ผู้ป่วยกลุ่มคนทํางาน
 วงการแพทย์ ส ามารถจะเข้ า ถึ ง การดู แ ลผู้ ป่ ว ยแบบครอบคลุ ม ได้ ม ากขึ้ น
เนื่องจากผู้ให้บริการเข้าใจปัญหาของกลุ่มคนทํางานอย่างเป็นองค์รวม
 ทําให้มีที่ปรึกษาเพื่อจัดการปัญหากรณีของความเจ็บป่วยในคนทํางาน

ประโยชน์ต่อตัวผู้เรียน
 ตัววิชาต้องอาศัยความรู้ในวงกว้าง สนับสนุนให้ผู้เรียนเป็นผู้มีความรู้กว้างขวาง

10
 งานมีความท้าทาย สนุกสนาน มีการเปลี่ยนแปลง และต้องใช้ปัญญาขบคิด
 ได้บุญกุศล เนื่องจากได้ช่วยแก้ไขปัญหาสุขภาพให้กับพี่น้องประชาชน
 ได้ความสบายใจจากการช่วยเหลือผู้อื่น
 เป็นวิชาชีพซึ่งใช้หารายได้เลี้ยงตนเองและครอบครัวได้
 สามารถนําหลัก วิช ามาประยุก ต์ใ ช้กับ ตนเอง ทําให้สามารถทํางานได้อย่าง
ปลอดภัย ไม่เจ็บป่วยเป็นโรคจากการทํางาน
 เนื่องจากงานอาชีวเวชศาสตร์ต้องติดต่อกับคนจํานวนมาก ต้องร่วมงานกับคน
หลากหลายสาขาอาชีพ จึงทําให้ได้ฝึก สร้างมนุษยสัมพัน ธ์และการทํางาน
ร่วมกับผู้อื่น

หนังสืออ้างอิง
1. พุ ท ธทาส อิ น ทปั ญ โญ. การแก้ ปั ญ หาด้ ว ยสติ ปั ญ ญา. กรุ ง เทพมหานคร:
ธรรมสภา; 2552.
2. LaDou J, Harrison RJ. The practice of occupational medicine. In:
LaDou J, Harrison RJ, editors. Current occupational and environ-
mental medicine. 5th ed. New York: McGraw-Hill Education; 2014.
p. 1-4.

มารู้จักกับสิ่งคุกคาม
เรียบเรียงโดย นพ.วิวัฒน์ เอกบูรณะวัฒน์

ในการดําเนินการทางด้านอาชีวเวชศาสตร์นั้น สิ่งหนึ่งที่ผู้ดําเนินการควรจะรู้จักไว้
เบื้องต้นก็คือเรื่องของสิ่งคุกคาม (hazard) การสัมผัส (exposure) และการ
ประเมินความเสี่ยง (risk assessment) หลักการของเรื่องนี้ เป็นหลักการพื้นฐาน
ที่สามารถนําไปประยุกต์ใช้กับปัญหาทางด้านอาชีวเวชศาสตร์ในแทบทุกกรณี
เรียกได้ว่าเป็นหัวใจสําคัญของวิชาอาชีวเวชศาสตร์เลยทีเดียว สําหรับบทความนี้

11
จะได้กล่าวถึงเรื่องของ “สิ่งคุกคาม” อันเป็นเหตุของการเกิดโรคขึ้นเป็นอันดับ
แรก

คําว่าสิ่งคุกคาม (hazard) นั้นหมายถึง สิ่งใดๆ หรือสภาวการณ์ใดๆ ก็ตาม ที่มี


ความสามารถก่อปัญหาทางสุขภาพต่อคนได้ สิ่งคุกคามมักจะถูกแบ่งกลุ่มออกเป็น
กลุ่มย่อยๆ ได้ 5 – 6 กลุ่ม ตามลักษณะของ “สิ่ง” หรือ “สภาวการณ์” ที่สามารถ
ทําให้เจ็บป่วยได้ ดังนี้

1. สิ่งคุกคามทางกายภาพ (physical hazard)


คือสิ่งคุกคามที่เป็นพลังงานทางฟิสิกส์ ซึ่งมีคุณสมบัติทําให้เกิดโรคในคนได้ เช่น
อุณหภูมิ ความกดอากาศ แรงสั่นสะเทือนของวัตถุ พลังงานเสียง พลังงานแสง
รังสีคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ตัวอย่างของสิ่งคุกคามทางกายภาพที่ทําให้คนเจ็บป่วย
เช่น อุณหภูมิที่ร้อนเกินไปทําให้คนทํางานเป็นลมหมดสติได้ เสียงที่ดังเกินไปทํา
ให้คนทํางานหูตึงได้ รังสีแกมมาทําให้เป็นมะเร็ง เหล่านี้เป็นต้น

2. สิ่งคุกคามทางเคมี (chemical hazard)


คือสิ่ง คุกคามที่เป็ นสารเคมีทุกชนิดซึ่งมีสมบัติเ ป็นพิษ ต่อคนได้ ไม่ว่าจะอยู่ใ น
สถานะแก๊ส ของเหลว หรือของแข็ง ก็ตาม ทั้งที่เป็นธาตุและที่เป็นสารประกอบ
ทั้งที่เป็นสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์ ตัวอย่างเช่น สารตะกั่ว สารปรอท สารหนู
ยาฆ่ า แมลง ยาฆ่ า หญ้ า แก๊ ส คาร์ บ อนมอนอกไซด์ แก๊ ส ไข่ เ น่ า แก๊ ส คลอรี น
ตัวอย่างของสิ่งคุกคามทางเคมีที่ทําให้คนเจ็บป่วย เช่น แก๊สคลอรีนรั่วไหลทําให้
คนที่ดมแก๊สเข้าไปเสียชีวิต เกษตรกรพ่นยาฆ่าแมลงเป็นเวลานานทําให้เกิดอาการ
เวียนศีรษะ เหล่านี้เป็นต้น

3. สิ่งคุกคามทางชีวภาพ (biological hazard)


คือสิ่งคุกคามที่เป็นสิ่งมีชีวิต ไม่ว่าจะเป็นเชื้อจุลินทรีย์ แมลง หรือสัตว์ก่อโรค
รวมทั้งเนื้อเยื่อหรือสารคัดหลั่งของสิ่งมีชีวิต ที่สามารถทําให้เกิดการติดเชื้อและ

12
เจ็บป่วยได้ เช่น เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ เชื้อไวรัสพิษสุนัขบ้า เชื้อวัณโรค เชื้อโรคบิด
เชื้ออหิวาห์ เชื้อมาลาเรีย เหล่านี้เป็นต้น

4. สิ่งคุกคามทางด้านจิตใจ (psychological hazard)


คือสภาวการณ์หรือสถานการณ์ใดๆ ก็ตาม ที่อาจกระตุ้นให้เกิดปัญหาทางด้าน
จิตใจ หรือความสัมพันธ์ในครอบครัว หรือในสังคม ของผู้ที่ทํางานอยู่ในสภาวการณ์
นั้นๆ เช่น งานที่ทําไม่เป็นเวลาต้องอดหลับอดนอน งานที่มีความรีบเร่งสูง งานที่มี
ความรับผิดชอบสูง งานที่มีปัญหาสังคมภายในที่ทํางาน งานที่มีความกดดันจาก
ผู้ร่วมงาน เหล่านี้เป็นต้น สิ่งคุกคามกลุ่มนี้ บางครั้งอาจเรียกว่าสิ่งคุกคามทางจิต
สังคม (psychosocial hazard) ก็ได้

5. สิ่งคุกคามทางด้านชีวกลศาสตร์ (biomechanical hazard)


คือสภาวการณ์ใดๆ ก็ตาม ที่มีผลกระทบต่อระบบชีวกลศาสตร์ของผู้ที่ทํางาน มี
ผลทําให้ทํางานได้อย่างไม่สะดวกสบาย ติดขัด เกิดอาการปวดเมื่อย ทํางานได้ช้า
ตัวอย่างของสภาวการณ์ดังกล่าวนี้ เช่น การทํางานในที่แคบ การที่ต้องเอี้ยวตัวยก
ของ การที่ต้องยกของหนัก การที่ต้องเพ่งสายตามองแสงจ้าเป็นเวลานานๆ การ
ทํางานที่ต้องก้มๆ เงยๆ เหล่านี้เป็นต้น สิ่งคุกคามทางชีวกลศาสตร์สามารถแก้ไข
ได้ด้วยหลักวิชาการแขนงหนึ่งเรียกว่าการยศาสตร์ (ergonomics) ซึ่งใช้หลักการ
ออกแบบ จัดวางสิ่งของ และปรับสภาพการทํางานให้เหมาะกับสรีระของคนทํางาน
มากที่สุด บางครั้งเราอาจเรียกสิ่งคุกคามทางด้านชีวกลศาสตร์ว่า สิ่ง คุกคาม
ทางด้านการยศาสตร์ (ergonomic hazard) เป็นคําแทนกันก็ได้

6. สิ่งคุกคามทางด้านความปลอดภัย (safety hazard)


เป็นสภาวการณ์อีกเช่นเดียวกัน แต่เป็นสภาวการณ์ที่มีโอกาสทําให้คนทํางานเกิด
อุบัติเหตุ ซึ่งทําให้เกิดการบาดเจ็บต่อร่างกาย พิการ หรือเสียชีวิตได้ เช่น การทํางาน
กับของแหลมคม การทํางานในที่สูง การทํางานกับไฟฟ้าแรงสูง การทํางานกับ

13
เครื่องจักรมีคมในขณะที่ง่วงนอน เหล่านี้เป็นต้น สิ่งคุกคามกลุ่มนี้ มักทําให้เกิด
ปัญหาสุขภาพในรูปแบบของการบาดเจ็บ (injury) มากกว่าการทําให้เกิดการ
เจ็บป่วย (illness) บางครั้งเมื่อกล่าวถึงเฉพาะสิ่งคุกคามที่ทําให้เกิดเป็นโรค จึง
มักจะกล่าวถึงเฉพาะสิ่งคุกคาม 5 กลุ่มแรก และสิ่งคุกคามกลุ่มนี้ถูกละไว้ในฐานที่
เข้าใจ เนื่องจากทําให้เกิดการบาดเจ็บมากกว่าทําให้เป็นโรค

จะสังเกตเห็นว่าสิ่งคุกคาม 3 กลุ่มแรก เป็น “สิ่ง” (thing) คือเป็นสสารหรือ


พลั งงาน ที่ มีลั ก ษณะทางรู ปธรรมสามารถรั บ รู้ไ ด้ ด้ ว ยประสาทสั ม ผั ส หรื อ ใช้
เครื่องมือตรวจวัดได้ ในขณะที่ 3 กลุ่มหลัง เป็น “สภาวการณ์” (condition หรือ
circumstance) ซึ่งมีลักษณะเป็นนามธรรม แต่ก็ก่อ ผลต่อ สุข ภาพของคนได้
เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็น ปัญหาสภาพจิตใจ ความไม่สะดวกสบาย หรือสภาวะที่เสี่ยง
ต่อการเกิดอุบัติเหตุ

เมื่อมองในภาพกว้าง ดูเหมือนว่าทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัวเรา (everything) ล้วน


แล้วแต่สามารถเป็นสิ่งคุกคามได้หมดทั้งสิ้น ซึ่งในความเป็นจริงก็เป็นเช่นนั้น สิ่ง
ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งทางรูปธรรม หรือสภาวการณ์ทางนามธรรม ล้วนแล้วแต่
สามารถทําให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพกาย (physical health) หรือสุขภาพจิต
(mental health) ไม่อย่างใดก็อย่างหนึ่งได้ แต่ในการจะนําเรื่องใดมาพิจารณา
เป็นประเด็นปัญหาต่อไปนั้น จะต้องดูโอกาสของการเกิดปัญหาเป็นหลัก ยกตัวอย่าง
เช่นสารตะกั่ว เป็นสารที่ก่อให้เกิดโรคพิษตะกั่วได้ในคนทํางาน แต่หากคนทํางาน
สัมผัสไอของสารตะกั่วเป็นปริมาณน้อยมาก เช่นสัมผัสเดือนละครั้ง ในระดับที่ต่ํา
กว่าค่ามาตรฐาน กรณีเช่นนี้จัดว่ามีโอกาสเกิดปัญหาน้อยมาก ในทางตรงกันข้าม
หากคนทํางานสัมผัสไอของสารตะกั่วทุกวัน วันละหลายชั่วโมง เป็นเวลานาน
หลายปี ก็จัดว่ามีโอกาสเกิดโรคมากกว่า น่าจะเป็นปัญหามากกว่า การประเมินว่า
กรณีใดเป็นหรือไม่เป็นปัญหานั้น จะต้องใช้หลักการประเมินความเสี่ยง (risk
assessment)

14
สรุป
สิ่งคุกคามคื ออะไรก็ตามที่สามารถก่อให้เ กิดปัญหาสุขภาพได้ สิ่ง คุกคามมีอ ยู่
รอบตัวเราทุกคน ทั้งในที่ทํางานและในสิ่งแวดล้อม หากพิจารณาอย่างถ้วนถี่แทบ
จะกล่าวได้ว่าของทุกสิ่งทุกอย่างในโลกสามารถที่จะเป็นสิ่งคุกคามต่อสุขภาพได้
ทั้งหมด สิ่งคุกคามอาจอยู่ในรูปสสาร พลังงาน หรือเป็นสภาวการณ์บางอย่างก็ได้
โดยทั่วไปเราแบ่งสิ่งคุกคามออกเป็น 5 – 6 กลุ่ม ตามลักษณะของสิ่งคุกคามนั้น
คือ สิ่งคุกคามทางกายภาพ ทางเคมี ทางชีวภาพ ทางด้านจิตใจ ทางด้านชีวกล
ศาสตร์ และทางด้านความปลอดภัย การพิจารณาว่าสิ่งคุกคามจะทําให้เกิดปัญหา
ทางสุขภาพหรือไม่นั้น ต้องพิจารณาในเรื่องการสัมผัส และการประเมินความ
เสี่ยงร่วมด้วย

หนังสืออ้างอิง
1. สํานักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค กระทรวง
สาธารณสุข. ความรู้ในการป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพ. นนทบุรี: โอ-วิทย์
(ประเทศไทย); ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์.
2. Donagi A, Aladjem A. Systematization of occupational hazards by
occupation. In: Stellman JM, editor. ILO Encyclopaedia of occupa-
tional health and safety. 4th ed. Vol. IV (Chapter 103). Geneva:
International Labour Organization; 1998.

สิ่งคุกคามและการสัมผัส
เรียบเรียงโดย นพ.วิวัฒน์ เอกบูรณะวัฒน์

หลังจากที่ได้รู้จักกับสิ่งคุกคามไปแล้ว ต่อไปจะได้กล่าวถึงขั้นตอนที่สิ่งคุกคามจะ
เข้าสู่ร่างกายของคนเราซึ่งเรียกว่าการสัมผัส (exposure) คําว่า “การสัมผัส”
ในวิชาอาชีวเวชศาสตร์นี้ ไม่ได้หมายถึงการสัมผัสด้วยผิวหนังอย่างความหมายที่

15
ใช้กันทั่วไปเพียงอย่างเดียว แต่จะหมายรวมถึง “ผัสสะ” หรือ “การกระทบ” ต่อ
สิ่งหรือสภาวการณ์ต่างๆ ในทุกทาง ไม่ว่าจะเป็นทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย หรือใจ
การสัมผัสจะเกิดขึ้นทางใด ก็ขึ้นอยู่กับชนิดของสิ่งคุกคามต้นเหตุนั้นเอง

ในการสัมผัสกับสิ่งคุกคามนั้น บางอย่างเรารับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัส เช่น สัมผัส


กั บ เสี ย งดั ง ก็ ไ ด้ ยิ น ว่ า มี เ สี ย งดั ง สั ม ผั ส กั บ สารแอมโมเนี ย ก็ ไ ด้ ก ลิ่ น ฉุ น ของสาร
แอมโมเนีย สัมผัสกับความสั่นสะเทือนของเครื่องจักรก็ทราบได้ว่าเครื่องจักรสั่น
แต่ในบางกรณีการสัมผัสนั้นอาจไม่สามารถรับรู้ได้ด้วยประสาทสัมผัสของมนุษย์
ทั่วไป เช่น คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ทะลุเข้าสู่ร่างกายโดยตรงโดยที่เราไม่รู้สึกตัว แก๊ส
คาร์บอนมอนอกไซด์ซึ่งไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส เหล่านี้เป็นต้น

ช่องทางของการสัมผัส (route of exposure) จึงขึ้นอยู่กับว่าสิ่งคุกคามต้นเหตุ


นั้นเป็นอะไร มาในรูปแบบไหน หากเปรียบเทียบสิ่งคุกคามเสมือนของที่มี “ตัว
ส่ง” มา ช่องทางของการสัมผัสก็เป็นดั่ง “ตัวรับ” ที่ร่างกายจะรับเข้ามาได้เมื่อมี
ความพอเหมาะพอเจาะกัน เช่น เสียงดังนั้นจําเป็นจะต้องมีตัวรับคือหู ซึ่งเป็น
อวัยวะที่มีคุณสมบัติฟังเสียงได้ หากคนคนนั้นหูหนวกเสียแล้ว สิ่งคุกคามที่ส่งมาก็
ไม่สามารถสร้างผลกระทบได้ สิ่งคุกคามบางอย่างสามารถมีช่องทางการสัมผัสได้
หลายช่องทาง เช่น สารเคมีบางชนิด สามารถเข้าสู่ร่างกายได้ทั้งโดยการกินและการ
ซึมผ่านเข้าทางผิวหนัง แต่สิ่งคุกคามบางอย่างก็มีตัวรับที่เหมาะกันเพียงแค่ช่องทาง
เดียว เช่น กรณีของเสียงดังจะทําอันตรายต่อหูได้ก็จากช่องทางการได้ยินเท่านั้น
ดังนี้เป็นต้น

โดยทั่วไปช่องทางของการสัมผัสที่พบบ่อย ถูกกล่าวถึงบ่อย โดยเฉพาะสําหรับกรณี


ของสิ่งคุกคามทางเคมีและชีวภาพ จะมีอยู่ 3 ช่องทางหลัก คือทางการหายใจ
ทางผิวหนัง และทางการกิน

16
1. ทางการหายใจ (inhalation)
คือการสูดดมเอาสารเคมีที่อยู่ในรูป แก๊ส ละออง หรือฝุ่นขนาดเล็ก เข้าทางจมูก
ผ่านเข้าสู่ทางเดินหายใจ ผ่านโพรงจมูก กล่องเสียง หลอดลม และปอด ไปตามลําดับ
ในกรณีของสิ่งคุกคามทางชีวภาพ เชื้อโรคที่เป็นอนุภาคแขวนลอยอยู่ในอากาศ ก็
สามารถเข้าสู่ร่างกายผ่านทางเดินหายใจนี้ได้เช่นกัน การสัมผัสทางการหายใจ
เป็นช่องทางการสัมผัสสิ่งคุกคามจากการทํางานที่เกิดขึ้นบ่อยที่สุด

2. ทางผิวหนัง (skin absorption)


คือการที่สารเคมีซึมผ่านหรือเชื้อโรคแทรกผ่านผิวหนังเข้าสู่ร่างกาย สารเคมีบาง
ชนิด เช่น ตัวทําละลาย ยาฆ่าแมลงบางอย่าง มีคุณสมบัติซึมผ่านผิวหนังได้ดี ทํา
ให้เกิดเป็นพิษขึ้นได้แม้มีการสัมผัสเพียงเล็กน้อย การสัมผัสทางผิวหนังนี้เป็นช่อง
ทางการสัมผัส สิ่ง คุกคามจากการทํางานที่พบได้บ่อ ยเป็น อัน ดับรองลงมาจาก
ช่องทางการหายใจ

3. ทางการกิน (ingestion)
คือการกินสารเคมีหรือเชื้อโรคเข้าทางปาก ไม่ว่าจะโดยตั้งใจหรือบังเอิญก็ตาม ใน
กรณีของการทํางาน ส่วนใหญ่การสัมผัสทางการกินจะเกิดขึ้นโดยบังเอิญ เช่น
สารเคมีเลอะเปรอะเปื้อนมือของคนทํางาน แล้วคนทํางานใช้มือหยิบอาหารเข้าปาก
โดยไม่ได้ล้างมือ หรือใช้มือที่เปื้อนสารเคมีหยิบบุหรี่ขึ้นมาสูบ เหล่านี้เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม นอกจากช่องทางเข้าหลักของร่างกาย 3 ช่องทางนี้แล้ว ยังมีช่องทาง


การสัมผัสที่พบได้บ่อยน้อยกว่าทางอื่นๆ อีก ตามชนิดของสิ่งคุกคามที่ก่อโรค ซึ่ง
กล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า ประสาทสัมผัสทั้งหมดของมนุษย์ (ตา หู จมูก ลิ้น ผิวหนัง)
หรือถ้าให้กว้างกว่านั้นควรใช้คําว่าอายตนะทั้งหมดของมนุษย์ (ตา หู จมูก ลิ้น
กาย ใจ) สามารถเป็นช่องทางการรับสัมผัสสิ่งคุกคามได้ทั้งสิ้น ดังกรณีตัวอย่าง
ต่อไปนี้

17
 การมองเห็นผ่านทางตา สิ่งคุกคามคือ แสง
 การได้ยินผ่านทางหู สิ่งคุกคามคือ เสียงดัง
 การได้กลิ่นผ่านทางฆานประสาท (จมูก) สิ่งคุกคามคือ สารเคมีทุกชนิดที่มี
กลิ่น
 การฉีดเข้าทางผิวหนัง (high-pressure cutaneous injection) เป็นกรณีพิเศษ
ที่เกิดขึ้น เฉพาะในโรงงานอุตสาหกรรมที่มีเ ครื่อ งฉีด แรงดัน สูง กรณีที่เ กิด
อุบัติเหตุเครื่องฉีดมาฉีดโดนผิวหนังผู้ที่ทํางาน สารเคมีจากเครื่องฉีดสามารถ
ฉีดเข้าสู่ร่างกายผ่านทางผิวหนังได้โดยตรงโดยไม่ต้องซึมผ่าน และอาจเกิดแรงอัด
ระเบิดเนื้อเยื่อภายในด้วย แต่กรณีนี้โอกาสเกิดขึ้นมีน้อยและปริมาณสารเคมีที่
ได้รับก็มักจะน้อยด้วย
 การรับความรู้สึก ร้อน เย็น กดทับ สั่นสะเทือน ผ่านทางปมประสาทใต้ผิวหนัง
สิ่งคุกคามคือ อุณหภูมิที่ร้อน เย็น แรงกดทับ แรงสั่นสะเทือน ตามชนิดของปม
ประสาทที่รับความรู้สึกนั้นๆ
 การรับความรู้สึกเจ็บปวด เมื่อยล้า ผ่านทางเส้นประสาท สิ่งคุกคามคือ ท่าทาง
การทํางานที่ไม่สะดวกสบาย เป็นต้น
 การทะลุผ่า นเข้า สู่ร่า งกายโดยตรง สิ่ง คุก คามคือ รัง สี คลื่น แม่เ หล็ก ไฟฟ้า
พลังงานนิวเคลียร์ คลื่นอัลตร้าซาวด์ เป็นต้น
 การรั บ รู้ ผ่ า นทางจิ ต ใจ สํา หรั บ สิ่ ง คุ ก คามทางด้ า นจิ ต สั ง คม เช่ น งานกะ
ความเครียด การถูกดุด่าว่ากล่าว เป็นต้น

หลักการในเรื่องของสิ่งคุกคามและการสัมผัสนี้ นอกจากจะใช้ได้ในวิชาอาชีวเวช
ศาสตร์ แ ละอาชี ว อนามั ย แล้ ว ยั ง สามารถนํา มาประยุ ก ต์ใ ช้ใ นวิ ช าเวชศาสตร์
สิ่งแวดล้อมและอนามัยสิ่งแวดล้อมได้เช่นเดียวกันด้วย เพียงแต่เปลี่ยนสถานการณ์
จากสิ่งคุกคามที่อยู่ในสถานที่ทํางาน มาเป็นสิ่งคุกคามที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมทั่วไป
เท่านั้น ส่วนในเรื่องช่องทางการรับสัมผัสนั้นก็ใช้หลักการอย่างเดียวกัน ไม่ว่าสิ่ง
คุกคามจะมาจากแหล่งใดก็ตาม

18
หลั ก การดั ง กล่ า วนี้ เป็ น หลั ก การที่ ส ามารถใช้ ไ ด้ กั บ การเกิ ด โรคแทบทุ ก โรค
กล่าวคือการจะเกิดโรคได้จะต้องมีคน (host หรือ man) ที่จะเป็นโรค ต้องมีสิ่ง
ก่อโรคหรือ สิ่ง คุก คาม (agent หรือ hazard) และมีสิ่ง แวดล้อ มที่เ อื้อ อํา นวย
(environment) ทางระบาดวิทยาเรียกแบบจําลองขององค์ประกอบทั้ง 3 อย่างที่
เป็นพื้นฐานในการเกิดโรคขึ้นนี้ว่าปัจจัยสามทางระบาดวิทยา (epidemiologic
triangle) ซึ่งหากมาบรรจบกันอย่างพอเหมาะพอเจาะจะทําให้เกิดโรคขึ้นได้
หลั ก การนี้ ส ามารถประยุ ก ต์ ใ ช้ กั บ การเกิ ด โรคภั ย ไข้ เ จ็ บ ของมนุ ษ ย์ ไ ด้ ทุก โรค
รวมถึงโรคจากการทํางานในวิชาอาชีวเวชศาสตร์ และโรคจากมลพิษสิ่งแวดล้อม
ในวิชาเวชศาสตร์สิ่งแวดล้อมด้วย รูปที่ 1 แสดงแบบจําลองปัจจัยสามทางระบาด
วิทยา

รูปที่ 1 ปัจจัยสามทางระบาดวิทยา

กล่าวโดยละเอียดนั้น ความสัมพันธ์ของปัจจัยทั้ง 3 อย่างนี้เริ่มจากมีคน (host)


และมีสิ่งก่อโรค (agent) หรือสิ่งคุกคาม (hazard) ไม่ว่าจะเป็นสิ่งคุกคาม ทาง
กายภาพ (physical) ทางเคมี (chemical) ทางชีวภาพ (biological) ทางชีวกล
ศาสตร์ (biomechanical) หรือทางจิตสังคม (psychosocial) ก็ตาม สิ่งคุกคาม
จะออกมาจากแหล่งกําเนิด (source) ผ่านทางตัวกลาง (media) เช่น อากาศ
น้ํา ดิน อาหาร พืช สุญญากาศ แล้วมาตามเส้นทาง (pathway) เข้ามาสัมผัส
(exposure) กับร่างกายของคน ซึ่งการสัมผัสนั้นสิ่งคุกคามจะเข้าสู่ร่างกายผ่าน

19
ช่องทางการสัมผัส (route of exposure) ที่พบบ่อยมี 3 ทาง คือ การหายใจ
(inhalation) การซึมผ่านผิวหนัง (skin absorption) และการกิน (ingestion)
เมื่อเข้ามาสู่ร่างกายแล้ว สิ่งคุกคามก็ทําให้เกิดโรคหรือความเจ็บป่วย (disease
หรือ illness) ขึ้น ที่กล่าวมาทั้งหมดนี้เป็นธรรมชาติข องการเกิด โรคจากการ
ทํางานทุกโรค รูปที่ 2 แสดงให้เห็นถึงธรรมชาติของการเกิดโรคจากการทํางาน ซึ่ง
มีลักษณะการเกิดตามหลักการดังที่กล่าวมา

รูปที่ 2 ธรรมชาติการเกิดโรคจากการทํางาน

สรุป
“การสัมผัส” คือการที่สิ่งคุกคามชนิดต่างๆ เข้ามาสู่ร่างกายของคน ไม่ว่าจะเข้า
มาทางการหายใจ การซึมผ่านผิวหนัง การกิน หรือช่องทางใดๆ ก็ตาม โรคจาก
การทํางานจะเกิดขึ้นได้จะต้องมีสิ่งคุกคามเป็นตัวก่อโรค และสิ่งคุกคามนั้นจะต้อง
มีการสัมผัสกับคนทํางานด้วย

หนังสืออ้างอิง
1. สํานักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค กระทรวง
สาธารณสุข. ความรู้ในการป้องกันโรคจากการประกอบอาชีพ. นนทบุรี: โอ-วิทย์
(ประเทศไทย); ไม่ปรากฏปีที่พิมพ์.

20
2. ไพบูลย์ โล่ห์สุนทร. ระบาดวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์
แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2552.
3. Merletti F, Soskolne CL, Vineis P. Epidemiological method applied
to occupational health and safety. In: Stellman JM, editor. ILO
Encyclopaedia of occupational health and safety. 4th ed. Vol. I
(Chapter 28). Geneva: International Labour Organization; 1998.

ความเสี่ยง
เรียบเรียงโดย นพ.วิวัฒน์ เอกบูรณะวัฒน์

หลังจากที่ได้รู้จักกับสิ่งคุกคาม (hazard) และการสัมผัส (exposure) ไปแล้ว


หลักการพื้นฐานทางด้านอาชีวเวชศาสตร์อันดับต่อไปที่จะกล่าวถึงคือเรื่องของ
ความเสี่ยง (risk)

ความเสี่ยง (risk) คือ “โอกาส” ที่สิ่งคุกคามต่อสุขภาพจะส่งผลกระทบต่อเรา


หากสิ่งคุกคามที่เราสัมผัสมีโอกาสในการก่อผลกระทบได้มากจะเรียกว่า “เสี่ยง
มาก” แต่ ห ากสิ่ ง คุ ก คามที่ เ ราสั ม ผั ส มี โ อกาสก่ อ ผลกระทบได้ น้ อ ยก็ เ รี ย กว่ า
“เสี่ยงน้อย”

อุปมาเสือตัวหนึ่งคือสิ่งคุกคามที่อาจจะมาทําอันตรายต่อเราได้ ถ้าเสือนั้นถูก
ปล่อยออกมาเดินเพ่นพ่านได้อย่างอิสระ ไม่มีโซ่ล่ามไว้ อีกทั้งยังหิวโซ ก็มีโอกาสที่
เสือจะมาทําอันตรายเราได้มาก ดังนี้เรียกว่าเสี่ยงมาก (high risk) แต่หากเสือตัว
เดียวกันอยู่ในกรงที่แน่นหนา ทั้งยังมีโซ่ล่ามไว้อีกชั้น แล้วเรายืนดูเสืออยู่ภายนอก
กรง ก็เรียกได้ว่ามีความเสี่ยงที่จะถูกเสือทําร้ายน้อย (low risk)

21
เสือตัวเดียวกัน แต่อยู่ในสภาพต่างกัน ก็จะก่อให้เกิดความเสี่ยงที่ต่างกันไปด้วย
สิ่งคุกคามต่อสุขภาพชนิดเดียวกัน แต่หากอยู่ในสภาพที่ต่างกัน ความเสี่ยงในการ
ก่อโรคก็ย่อมต่างกันไป สารเคมีชนิดหนึ่ง ถูกใช้ใน 2 สถานที่ทํางาน ด้วยความ
เข้มข้นที่เท่ากัน ปริมาณที่เท่ากัน ซื้อมาจากแหล่งเดียวกัน แต่ที่แรกให้พนักงาน
สัมผัสสารเคมีนี้โดยตรง ใช้มือเปล่าสัมผัสตลอดทั้งวัน อีกที่หนึ่งให้พนักงานทํางาน
กับสารเคมีโดยไม่มีการสัมผัสโดยตรง ให้ใส่ถุงมือ ใส่หน้ากากป้องกันไอระเหย
และใช้ขันด้ามยาวตักสารเคมี ความเสี่ยงในการเกิดพิษจากสารเคมีชนิดนี้ในสอง
สภาวะย่อมไม่เท่ากัน

“การประเมินความเสี่ยง” (risk assessment) ในงานอาชีวอนามัย จึงมีประโยชน์


ในกรณีที่มีปัญหาหลายปัญหา เพื่อจะได้ทราบว่าปัญหาใดอันตรายหรือเร่งด่วน
มาก (เสี่ ยงมาก) จะได้รีบ แก้ ไขก่ อ น ส่ ว นปั ญหาใดอั นตรายหรื อ เร่ง ด่ ว นน้ อ ย
(เสี่ยงน้อย) ก็ค่อยหาทางปรับปรุงแก้ไขทีหลัง

“การประเมินความเสี่ยง” (risk assessment) หรืออาจเรียกว่า “การประเมิน


ความเสี่ยงด้านสุขภาพ” (health risk assessment; HRA) นั้น วิธีการประเมิน
โดยละเอียดจะทําในรูปแบบกระบวนการ มีขั้นตอนการประเมินที่ชัดเจน มีการใช้
สมการทางคณิ ต ศาสตร์ ใ นการทํา นายความเสี่ ย ง และค่ า ระดั บ ความเสี่ ย งที่
ประเมินได้ มักจะออกมาเป็นค่าตัว เลขที่ชัดเจน การประเมิน ความเสี่ย งด้าน
สุขภาพ ทําให้เราได้ทราบว่าปัญหาที่พบมีความสําคัญมากน้อยเพียงใด จะต้องทํา
การแก้ไขอย่างเร่งด่วนแค่ไหน และจะมีแนวทางการควบคุมหรือลดความเสี่ยงลง
ได้อย่างไร จึงนับว่าการประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพนั้น เป็นหัวใจสําคัญอย่าง
หนึ่งของวิชาอาชีวเวชศาสตร์เลยทีเดียว

ความเสี่ยงจะมากหรือน้อยนั้นขึ้นอยู่กับปัจจัยทั้ง สิ่งคุกคามต้นเหตุ (hazard) การ


สัมผัส (exposure) และตัวรับสิ่งคุกคาม (host หรือ receiver) ดังกรณีต่อไปนี้

22
 สิ่งคุกคามต่าง ความเสี่ยงต่าง เช่น จุ่มมือลงในน้ําเกลือกับจุ่มมือลงในน้ํากรด
เข้ ม ข้ น โอกาสที่ ผิ ว หนั ง จะไหม้ พ องย่ อ มไม่ เ ท่ า กั น น้ํา กรดมี โ อกาสทํา ให้
ผิวหนังไหม้พองได้มากกว่า
 ช่องทางการสัมผัสต่าง ความเสี่ยงต่าง เช่น การกินปรอทเข้าปาก ปรอทจะดูด
ซึมเข้าสู่ร่างกายน้อยมาก โอกาสเป็นพิษน้อย แต่ถ้านําปรอทปริมาณเท่ากันมา
ทําให้เป็นไอ แล้วสูดดมเข้าไป ปรอทจะดูดซึมเข้าสู่ร่างกายอย่างเต็มที่ โอกาส
เป็นพิษมากกว่า
 ปริมาณการสัมผัสต่าง ความเสี่ยงต่าง เช่น ทํางานในอู่ซ่อมรถแห่งหนึ่งที่มีเสียง
ดังมาก ถ้าทํางานโดยไม่มีเครื่องป้องกันเสียงเหมือนกัน ระหว่างทํางานวันละ
2 ชั่วโมง กับทํางานวันละ 10 ชั่วโมง โอกาสในการเป็นโรคหูเสื่อมย่อมไม่เท่ากัน
 ตัวรับต่าง ความเสี่ยงต่าง เช่น สารตะกั่วจะก่อพิษในเด็กได้ง่ายกว่าในผู้ใหญ่ ถ้า
สัมผัสสารตะกั่วปริมาณเดียวกัน เด็กอาจมีอาการพิษเกิดขึ้น ในขณะที่ผู้ใหญ่
ยังคงปกติ

ในสถานการณ์จริง เราจะต้องทําการประเมินความเสี่ยงโดยพิจารณาจากปัจจัยที่
จะมีผลกระทบได้ทั้งหมด เช่น ถ้าต้องการตอบคําถามว่าพนักงานคนหนึ่ง ทํางาน
อย่างหนึ่ง จะมีความเสี่ยงในการเกิดผลกระทบต่อสุขภาพมากหรือน้อย อย่างน้อย
เราควรทราบว่าพนักงานคนนั้นเป็นใคร มีโรคประจําตัวหรือไม่ สิ่งคุกคามในงาน
นั้นคืออะไร สัมผัสสิ่งคุกคามทางใด ปริมาณที่สัมผัสมากน้อยเท่าไร ระยะเวลา
การสัมผัสนานแค่ไหน สภาพแวดล้อมเป็นอย่างไร มีการใช้อุปกรณ์ป้องกันหรือไม่
เหล่านี้เป็นต้น

หนังสืออ้างอิง
1. พงศ์เทพ วิวรรธนะเดช. การประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพ. นนทบุรี: ภาควิชา
เวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2547.

23
2. DiBartolomeis MJ. Health risk assessment. In: LaDou J, Harrison RJ,
editors. Current occupational and environmental medicine. 5th ed.
New York: McGraw-Hill Education; 2014. p. 827-41.

ขั้นตอนการประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพ
เรียบเรียงโดย พญ.จุฑารัตน์ จิโน

การประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพ (health risk assessment; HRA) คือการ


วิเคราะห์ “โอกาส” ที่สิ่งคุกคาม (hazard) ในสิ่งแวดล้อม จะก่อผลกระทบด้าน
สุขภาพให้แก่ประชากรที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมนั้น ในกรณีของงานอาชีวเวชศาสตร์
สิ่งแวดล้อมเราที่สนใจก็คือ “สิ่งแวดล้อมในสถานที่ทํางาน” และประชากรที่เรา
สนใจก็คือ “คนทํางาน” นั่นเอง

การประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพหากทําโดยละเอียดแล้ว จะเป็นกระบวนการที่
มีขั้นตอนชัดเจน มีการใช้หลักการทางคณิตศาสตร์และวิชาความน่าจะเป็น มา
ทํานายระดับความเสี่ยงด้านสุขภาพที่อาจเกิดขึ้น ผลของการประเมินที่ได้จะทํา
ให้ทราบว่าความเสี่ยงนั้นมีมากหรือน้อยเพียงใด เนื้อหาในบทความนี้ จะกล่าวถึง
ขั้นตอนของการประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพโดยย่อ ว่ามีหลักการดําเนินการ
อย่างไรบ้าง

หากจะกล่าวไปแล้ว การประเมินความเสี่ยง (risk assessment) นั้น จัดเป็น


กระบวนการย่อยหนึ่งของการวิเคราะห์ความเสี่ยง (risk analysis) ซึ่งจะประกอบ
ไปด้วยกระบวนการย่อย 3 กระบวนการ ได้แก่ (1) การประเมินความเสี่ยง (risk
assessment) คือการที่จะบอกให้ได้ว่าความเสี่ยงนั้นมีมากหรือน้อย ทั้งในแง่ของ
โอกาสที่จะเกิด รวมถึงความรุนแรงหากเกิดผลกระทบขึ้น (2) การจัดการความเสี่ยง

24
(risk management) คือการพิจารณา เลือกวิธีการที่เหมาะสม และดําเนินการเพื่อ
ลดความเสี่ยง (3) การสื่อสารความเสี่ยง (risk communication) คือการให้ข้อมูล
แก่ผู้เกี่ยวข้อง ว่าความเสี่ยงนั้นรุนแรงมากน้อยเพียงใด ต้องให้ความสําคัญ หรือไม่
จําเป็นจะต้องตื่นตระหนก โดยการให้ข้อมูลต้องตรงกับความเป็นจริง

ในปี ค.ศ. 1983 องค์กร National Research Council แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา


ได้กําหนดขั้นตอนการประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพไว้เป็น 4 ขั้นตอน ซึ่งลําดับ
ขั้นตอนในการประเมินความเสี่ยงแบบนี้ ได้รับการยอมรับในวงวิชาการอย่าง
กว้างขวาง การดําเนินการแต่ละขั้นตอน มีดังนี้

1. การบ่งชี้สิ่งคุกคาม (hazard identification)


คือขั้นตอนในการบ่งชี้ว่าสิ่งใดหรือสภาวะใดเป็นปัจจัยคุกคามต่อสุขภาพ นั่นคือ
หากมนุษย์สัมผัสสิ่งนั้นหรือสภาวะนั้น แล้วจะก่อให้เกิดปัญหาทางสุขภาพขึ้นได้
การบ่งชี้สิ่งคุกคาม เป็นการตอบคําถามว่า สิ่งหรือสภาพการณ์ที่เราพิจารณา เป็น
สิ่งคุกคามต่อสุขภาพจริงหรือไม่ และถ้าเป็นจริงแล้ว ทําให้เกิดผลกระทบทาง
สุขภาพอะไรได้บ้าง

2. การประเมิน ขนาดการสัม ผัส กับ ผลกระทบที่เกิด ขึ้น (dose-response


assessment)
เป็นขั้นตอนการประเมินว่าในการสัมผัสสิ่งคุกคามนั้น ขนาดการสัมผัส (dose) ใน
แต่ละระดับ จะทําให้เกิดผลกระทบทางสุขภาพขึ้นมากน้อยเพียงใด ขั้นตอนนี้จะ
ทําให้ทราบว่าสิ่งคุกคามที่เราพิจารณานั้น มีความรุนแรงหรือมีความสามารถใน
การก่อผลกระทบต่อสุขภาพได้มากแค่ไหน และทําให้พอทราบว่าการสัมผัสสิ่ง
คุกคามในขนาดเท่าใดที่น่าจะเป็นระดับที่ปลอดภัย ระดับที่จะเริ่มมีผลกระทบ
ต่อสุขภาพเกิดขึ้น หรือระดับที่จะเกิดผลกระทบต่อสุขภาพอย่างชัดเจน

25
3. การประเมินการสัมผัส (exposure assessment)
คือการประเมินระดับการสัมผัสที่แต่ละบุคคล กลุ่มประชากร หรือทั้งระบบนิเวศน์
ได้รับ ว่ามากหรือน้อยเพียงใด โดยคํานึงถึงขนาดการสัมผัส (dose) ระยะเวลาที่
สัมผัส (duration) ช่องทางการสัมผัส (route of exposure) เช่น ทางการหายใจ
ทางผิวหนัง ทางการกิน และเส้นทางการฟุ้งกระจายของสิ่งคุกคามจากสิ่งแวดล้อม
ผ่านตัวกลาง (media) ต่างๆ เช่น อากาศ น้ํา อาหาร มาสู่มนุษย์ การประเมินการ
สัมผัสนี้ จะทําให้ทราบว่าสิ่งคุกคามที่พิจารณา มีโอกาสสัมผัสเข้ามาในร่างกาย
ผ่านตัวกลางและช่องทางการสัมผัสต่างๆ ได้มากน้อยเพียงใด ผลของการประเมิน
การสัมผัสในขั้นตอนนี้ จะได้เป็นตัวเลขปริมาณของสิ่งคุกคามต่อน้ําหนักร่างกาย
ต่อเวลา ซึ่งจะนําไปใช้ในการคํานวณในขั้นตอนต่อไป

4. การอธิบายลักษณะของความเสี่ยง (risk characterization)


คือขั้นตอนการวิเคราะห์ โดยใช้ข้อมูลจากทั้ง 3 ขั้นตอนก่อนหน้า นํามาประเมิน
ว่าการสัมผัสสิ่งคุกคามในสภาวะที่พิจารณานั้น ถือเป็นความเสี่ยงต่อสุขภาพมาก
น้อยเพียงใด ในขั้นตอนนี้ จะทําโดยใช้สมการคํานวณทางคณิตศาสตร์ คํานวณหา
ความน่ าจะเป็ นที่สิ่งคุ กคามที่พิจารณาจะเริ่ มก่ อผลกระทบต่อ สุขภาพในกลุ่ม
ประชากรที่สนใจได้ ข้อมูลที่ใช้ในการคํานวณก็คือข้อมูลที่ได้จากการประเมินใน 3
ขั้นตอนก่อนหน้า รวมเข้ากับปัจจัยความไม่แน่นอน (uncertainty factor) ที่อาจ
ส่งผลกระทบต่อการประเมิน ผลที่ได้จากการคํานวณมักได้เป็นค่าตัวเลขที่บอก
ระดับของขนาดการสัมผัสสิ่งคุกคามที่น่าจะปลอดภัย คือเป็นระดับที่น่าจะไม่
ก่อให้เกิดผลกระทบทางสุขภาพต่อกลุ่มประชากรที่พิจารณา

ในทางอาชีวเวชศาสตร์ ค่าระดับที่น่าจะปลอดภัยที่ได้จากกระบวนการประเมิน
ความเสี่ยงนี้ เมื่อนํามาประเมินความเป็นไปได้ในทางปฏิบัติ ร่วมกับการพิจารณา
ในเชิงนโยบาย จะทําให้องค์กรผู้มีอํานาจออกกฎหมาย และองค์กรด้านวิชาการ

26
สามารถนํามาใช้กําหนดค่าที่เรียกกันว่า Occupational exposure limit (OEL)
มาบังคับใช้เป็นกฎหมาย (กรณีองค์กรผู้มีอํานาจออกกฎหมาย) หรือเป็นคําแนะนํา
ทางวิชาการ (กรณีองค์กรด้านวิชาการ) เพื่อให้สถานประกอบการต่างๆ ได้ใช้
อ้างอิง เพื่อควบคุมไม่ให้ระดับของสิ่งคุกคามในสิ่งแวดล้อมการทํางานสูงเกินกว่า
ระดับที่กําหนด เพื่อความปลอดภัยของคนทํางาน ตัวอย่างของค่า OEL เช่น ค่า
Permissible exposure limit (PEL) ที่กําหนดโดยองค์กร Occupational Safety
and Health Administration (OSHA) แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นต้น

เมื่อมีการประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพแล้ว สิ่งสําคัญต่อมาก็คือการจัดการ
ความเสี่ยง (risk management) ผู้ที่มีอํานาจตัดสินใจในการดําเนินการจัดการ
ความเสี่ยงนั้นมักเป็นผู้นําชุมชนหรือผู้บริหารขององค์กร กระบวนการจัดการ
ความเสี่ยงที่ดีจะต้องเลือกวิธีการจัดการความเสี่ยงที่เหมาะสม และดําเนินการใน
ช่วงเวลาที่เหมาะสมด้วย

อีกกระบวนการหนึ่งที่ต้องกระทําไปควบคู่กับการจัดการความเสี่ยง คือการสื่อสาร
ความเสี่ยง (risk communication) เป็นกระบวนการที่ทําเพื่อให้เกิดความรู้ความ
เข้าใจเกี่ยวกับความเสี่ยงนั้นมากขึ้น ซึ่งบุคคลสําคัญที่จําเป็นต้องทําการสื่อสาร
ความเสี่ยงให้เข้าใจเป็นอันดับแรกก็คือผู้นําชุมชนหรือบริหารที่มีอํานาจตัดสินใจ
ในการจัดการความเสี่ยงนั้นได้ นอกจากนี้ ยังอาจต้องสื่อสารความเสี่ยงไปยัง
สาธารณะชน หรือบุคคลที่ได้รับความเสี่ยงนั้นด้วย การนําเสนอข้อมูลเพื่อสื่อสาร
ความเสี่ยงนั้นเป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ ข้อมูลวิชาการที่สื่อสารต้องตรงกับความ
เป็นจริง ต้องทําให้เกิดความตระหนักรู้ในอันตรายที่อาจเกิดจากความเสี่ยงนั้น แต่
ก็ต้องไม่ทําให้เกิดความตื่นตระหนกจนเกินไป และต้องทําให้ผู้ที่ได้รับความเสี่ยง
นั้นมีความรู้ สามารถดูแลตัวเอง รับมือกับความเสี่ยงนั้นได้

27
หนังสืออ้างอิง
1. National Research Council. Risk assessment in the federal govern-
ment: Managing the process. Washington, D.C.: National Academy
Press; 1983.
2. พงศ์เทพ วิวรรธนะเดช. การประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาพ. นนทบุรี: ภาควิชา
เวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2547.
3. DiBartolomeis MJ. Health risk assessment. In: LaDou J, Harrison RJ,
editors. Current occupational and environmental medicine. 5th ed.
New York: McGraw-Hill Education; 2014. p. 827-41.
4. Hammitt JK. Risk assessment and economic evaluation. In: Rom
WN, Markovitz SB, editors. Environmental and occupational
medicine. 4th ed. Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins; 2007.
p. 1696-711.

การป้องกันโรคจากการทํางาน
เรียบเรียงโดย นพ.วิวัฒน์ เอกบูรณะวัฒน์

หลักการป้องกันโรคจากการทํางาน (principle of occupational diseases


prevention) เป็นหลักการพื้นฐานที่สําคัญอีกอย่างหนึ่งของวิชาอาชีวเวชศาสตร์
เนื่องจากโรคจากการทํางานส่วนใหญ่เป็นโรคที่รักษาไม่หาย การ “ป้องกัน ”
ไม่ให้คนทํางานเกิดเป็นโรคขึ้น จึงมีบทบาทสําคัญอย่างยิ่งในการดําเนินงานด้าน
อาชีวเวชศาสตร์

ธรรมชาติการเกิดโรคจากการทํางานนั้น เริ่มจากการที่คน (host) เข้าไปทํางาน


และในงานมีสิ่งคุกคาม (hazard) เมื่อมีการสัมผัส (exposure) กับสิ่งคุกคาม ทํา
ให้คนเกิดเป็นโรคจากการทํางาน (occupational disease) ขึ้น หลักในการ

28
ป้องกันหรือลดความรุนแรงของโรคจากการทํางานนี้ ก็อาจยึดหลักตามปัจจัยสาม
ทางระบาดวิทยา (epidemiologic triangle) ซึ่งได้แก่ (1) คนทํางาน (2) สิ่ง
คุกคาม และ (3) สิ่งแวดล้อม นี้ก็ได้ การแก้ไขที่ปัจจัยใดปัจจัยหนึ่งหรือหลายปัจจัย
เพื่อไม่ให้เกิดโรคขึ้น ก็จะทําให้สามารถป้องกัน หรืออย่างน้อยก็ลดความรุนแรง
ของโรคจากการทํางานได้ ดังตัวอย่างต่อไปนี้

1. การแก้ไขที่คนทํางาน
ปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดโรคในคนอย่างหนึ่งคือ ความทนทาน (tolerance) และ
ความไวรับต่อโรค (susceptibility) ที่จะไม่เท่ากันในคนแต่ละคน ปัจจัยนี้อาจ
ขึ้นอยู่กับ อายุ เพศ พันธุกรรม สิ่งแวดล้อม โรคประจําตัว พฤติกรรมสุขภาพ ซึ่ง
จะเป็นตัวกําหนดโอกาสในการเกิดโรคในคนแต่ละคนได้ โดยทั่วไปคนที่มีสุขภาพ
แข็งแรง ก็จะมีความทนทานต่อโรคสูง เมื่อมาทํางานสัมผัสกับสิ่งคุกคาม โอกาส
เกิดโรคก็จะน้อย ส่วนคนที่มีความไวรับต่อโรค ไม่ว่าจะด้วยจากสาเหตุที่มีสุขภาพ
อ่อนแอ มีปัจจัยทางพันธุกรรมที่เอื้อต่อการเกิดโรค มีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ดี หรือ
ปัจจัยอื่นใดก็ตาม คนเหล่านี้จะเกิดโรคได้ง่ายกว่า

การแก้ไขที่ปัจจัยของคนทํางาน หากจะกล่าวไปแล้วจัดว่าเป็นการแก้ไขที่ยาก
ที่สุดในกระบวนการ เนื่องจากเป็นการแก้ไขที่ “คน” ซึ่งต้องใช้ความเข้าใจและ
ความร่วมมือจากตัวคนทํางานอย่างมาก วิธีการที่จะแก้ไขทําได้ 2 วิธี คือ (1) การ
เพิ่มความทนทานต่อโรคให้กับคนที่จะมาทํางาน และ (2) การห้ามไม่ให้คนที่มี
ความไวรับต่อโรคเข้ามาทํางาน

(1) การเพิ่มความทนทาน (tolerance) หรือความต้านทาน (resistant) ต่อโรค


ให้กับคนที่จะมาทํางาน ตัวอย่างเช่น งานพยาบาลมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัส
ตับอักเสบบีจากการถูกเข็มทิ่มตํา เราก็แก้ไขด้วยการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับ
อักเสบบี (hepatitis B vaccine) ให้กับพยาบาลที่จะมาทํางาน เมื่อพยาบาลมี

29
ภูมิคุ้มกันต่อโรคไวรัสตับอักเสบบีแล้ว ก็จะลดโอกาสการติดโรคนี้ลง หรือกรณี
ของคนที่ทํางานท่าทางซ้ําซาก ต้องใช้มือทําท่าซ้ําๆ ตลอดทั้งวัน มีความเสี่ยงต่อ
การเกิดโรคเส้นเอ็นอักเสบขึ้น การให้คนทํางาน ทํากายบริหารยืดเส้นยืดสาย
(stretching exercise) เพื่อหวังจะเพิ่มความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น
จะช่วยลดโอกาสการอักเสบที่เส้นเอ็นได้ วิธีนี้เราจะทําได้ต่อเมื่อสิ่งคุกคามนั้น มี
วิธีการ หรือวัคซีน หรือยาที่ใช้ป้องกันได้

(2) อีกวิธีหนึ่งคือการกันไม่ให้คนที่มีความไวรับต่อโรค (susceptible group) เข้า


มาทํางานที่เสี่ยง เช่น คนที่มีพันธุกรรมเสี่ยงต่อมะเร็งเต้านม (มียีนชนิด BRCA
mutation) ก็ห้ามไม่ให้ทํางานกะดึก เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านม
ขึ้น คนที่สูบบุหรี่จัด มีความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งปอด ก็ห้ามไม่ให้ทํางานสัมผัสแร่ใย
หิน (asbestos) เพื่อลดความเสี่ยง เพราะแร่ใยหินก่อโรคมะเร็งปอดได้เช่นกัน
หรือคนที่กระดูกสันหลังคด ก็ห้ามไม่ให้ทํางานยกของหนัก เพื่อลดความเสี่ยงต่อ
การบาดเจ็บที่กล้ามเนื้อหลัง วิธีการนี้โดยหลักการอาจเป็นวิธีหนึ่งที่ป้องกันโรคได้
แต่ในทางปฏิบัตินั้นไม่นิยมทํา เนื่องจากจะมีประเด็นปัญหาทางจริยธรรมได้

การดําเนินการห้ามคนเข้ามาทํางานจะทําได้จริงเพียงบางกรณีเท่านั้น เช่น หากมี


ความผิดปกติทางกายภาพชัดเจน และดูจะเป็นอันตรายต่อตัวคนทํางานจริงๆ
(unfit to work) ซึ่งถ้าอนุญาตให้เข้ามาทํางานมีโอกาสเกิดโรคหรืออุบัติเหตุจน
เสียชีวิตได้สูงมาก ก็อาจปฏิเสธการให้ทํางานได้โดยไม่ผิดหลักจริยธรรมนัก (ที่
ปฏิเสธการให้เข้ามาทํางานเพราะหวังดีต่อคนทํางานนั้น) ตัวอย่างเช่น ถ้ามีช่าง
ทาสีคนหนึ่งอ้วนมาก ดัชนีมวลกาย 40 อีกทั้งยังเป็นโรคหอบหืดที่ควบคุมอาการ
ไม่ได้ ถ้าจะให้ลงไปทํางานทาสีในอุโมงค์ที่มีความลึกลงไปจากพื้นดิน 20 เมตร
ต้องปีนบันไดลงไป อีกทั้งยังเป็นที่อับอากาศ ต้องใส่ชุดที่มีถังออกซิเจนติดตัวด้วย
กรณีเช่นนี้ การปฏิเสธไม่ให้เข้าไปทํางานสามารถทําได้ (โดยหากเขาเป็นพนักงาน

30
ประจําของบริษัทใดแล้ว ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ของบริษัทนั้นมีหน้าที่จัดหางานอื่น
ที่เหมาะสมให้เขาทําแทนต่อไป)

แต่หากเป็นเรื่องสิทธิส่วนบุคคลบางอย่าง เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มสุรา หรือเป็น


เรื่องของปัจจัยทางพันธุกรรม หากห้ามไม่ให้คนเข้าไปทํางานด้วยประเด็นเหล่านี้
มักจะประสบกับปัญหาจริยธรรมในเรื่องการเลือกปฏิบัติ (discrimination) การ
เลือกแก้ไขที่สิ่งคุกคามหรือแก้ไขที่สิ่งแวดล้อมนั้นดูจะง่ายกว่า

2. การแก้ไขที่สิ่งคุกคาม
เป็นวิธีการที่ดีในการแก้ไขปัญหา เนื่องจากเป็นการแก้ที่ต้นเหตุอย่างแท้จริง
และไม่ต้องทําการปรับปรุงแก้ไขที่คนซึ่งทําได้ยากกว่า วิธีแก้ไขที่สิ่งคุกคามจึงเป็น
วิธีการที่ได้รับความนิยมอย่างมากในการป้องกันโรคจากการทํางาน การแก้ไขที่สิ่ง
คุกคามทําได้ตั้งแต่กําจัดสิ่งคุกคามนั้นออกไปจากกระบวนการทํางานเลย ใช้สิ่ง
คุกคามอื่นที่มีอันตรายน้อยกว่าทดแทน หรือลดปริมาณการใช้สิ่งคุกคามนั้นให้
น้อยลง

(1) การไม่ใช้หรือกําจัดสิ่งคุกคามนั้นไปเลย (elimination) ถ้าสามารถทําได้จะ


เป็นการแก้ที่ต้นเหตุอย่างแท้จริง เช่น การใช้ยาฆ่าแมลงนั้นมีพิษทําให้เกษตรกร
เกิดโรคพิษจากยาฆ่าแมลง จึงหันมาปลูกพืชแบบปลอดสารพิษแทน ทําให้โอกาส
เกิดโรคพิษจากยาฆ่าแมลงหมดไป วิธีนี้เป็นวิธีที่ได้ผลดีที่สุด แต่ในทางปฏิบัติอาจ
ทําได้ยาก ทําได้ในบางกรณีเท่านั้น

(2) การใช้สิ่งอื่นทดแทน (substitution) โดยใช้สิ่งที่มีโอกาสก่อโรคน้อยกว่ามา


แทนที่ เช่น แร่ใยหิน (asbestos) ทําให้เกิดมะเร็งเยื่อหุ้มปอด จึงใช้ใยสังเคราะห์
(fiberglass) เป็นวัสดุทนไฟแทน สารตะกั่วในน้ํามันเชื้อเพลิงก่อโรคพิษตะกั่ว จึง
ใช้สาร ethyl / methyl tertiary butyl ether มาเป็นสาร anti-knock ในน้ํามัน

31
เชื้อเพลิงแทน หรือสารเบนซีน (benzene) ก่อโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว จึงใช้สาร
โทลูอีน (toluene) ซึ่งมีพิษก่อมะเร็งน้อยกว่ามาเป็นตัวทําละลายในโรงงานแทน
เป็นต้น

(3) การลดปริมาณการใช้ (reduce quantity) หรือลดความเข้มข้น (reduce


concentration) ของสิ่งคุกคามนั้นลง การใช้ในปริมาณสูงหรือความเข้มข้นสูง
ย่อมทําให้คนทํางานมีโอกาสสัมผัสกับสิ่งคุกคามในขนาดที่มากขึ้น หากสามารถ
ลดการใช้ลงได้ก็จะเป็นการลดความเสี่ยงที่จะเกิดโรคให้น้อยลง ตัวอย่างเช่น
น้ํายาล้างจานความเข้มข้นสูงจะระคายมือของพนักงานล้างจานมาก การเจือจาง
ให้ความเข้มข้นน้อยลงก็จะลดโอกาสเกิดผื่นที่มือจากการระคายเคืองน้ํายาล้าง
จานได้ นอกจากนี้ยังเป็นการช่วยประหยัดอีกด้วย

3. การแก้ไขที่สิ่งแวดล้อม
การแก้ ไขที่ สิ่ ง แวดล้ อ ม ก็ เ ป็ น การแก้ ไขปั ญหาที่ ดีแ ละได้รับ ความนิ ย มในการ
ป้องกันโรคจากการทํางานเช่นกัน การแก้ไขที่สิ่งแวดล้อมนั้น ทําเพื่อไม่ใ ห้สิ่ง
คุ ก คามมาสั ม ผั ส กั บคนทํา งาน หรื อ อย่ า งน้ อ ยก็เ พื่อ ลดปริม าณการสัม ผั ส ให้
น้อยลง หลายวิธีเป็นการแก้ไขที่สามารถกําจัดปัญหาออกได้ทั้งหมด และอีกหลาย
วิธีแม้ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ทั้งหมด แต่ก็ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคลง
ได้มาก

วิ ธี ก ารแก้ ไ ขที่ สิ่ ง แวดล้ อ มนั้ น ทํา โดยใช้ ห ลั ก วิ ช าสุ ข ศาสตร์ อุ ต สาหกรรม
(industrial hygiene) มาดําเนินการแก้ไขเป็นหลัก หลักการนี้คือหลักการควบคุม
(control) สิ่งคุกคาม โดยสามารถควบคุมสิ่งคุกคามได้ที่แหล่งกําเนิด (source)
ควบคุมที่ทางผ่าน (pathway) และควบคุมที่ตัวคน (person)

32
(1) การควบคุมที่แหล่งกําเนิด (source) คือการป้องกันไม่ให้สิ่งคุกคามมาสัมผัส
กับคนทํางานได้ โดยการแก้ไขที่จุดกําเนิดของสิ่งคุกคามนั้นเลย เช่น เครื่องจักร
เครื่องหนึ่งที่มีเสียงมอเตอร์ไฟฟ้าดังมาก หากคนทํางานใกล้ๆ นานๆ จะทําให้เกิด
เป็นโรคประสาทหูเสื่อมจากการสัมผัสเสียงดังได้ ก็แก้ไขโดยการทําฝาครอบ
เครื่องจักรนั้น ทําให้เสียงที่ดังออกมาภายนอกมีน้อยลง จัดว่าเป็นการแก้ไขที่
แหล่งกําเนิด

นอกจากการทําฝาปิดครอบ (enclosure) เช่นในกรณีของเสียงดังแล้ว เราอาจใช้


วิธีการอื่นๆ แก้ไข ขึ้นอยู่กับชนิดของสิ่งคุกคามที่จะควบคุม กรณีของฝุ่นผง เช่น
ฝุ่ น จากเครื่ อ งตั ด หิ น เครื่ อ งเจี ย รเหล็ ก อาจใช้ ตั ว ดู ด อากาศเฉพาะที่ (local
exhaust ventilation) หรืออาจใช้ระบบเปียก (wet process) คือการใช้น้ําพรม
ทําให้ฝุ่นฟุ้งกระจายขึ้นสู่อากาศน้อยลง กรณีของควันหรือไอสารเคมี ก็อาจใช้ตัว
ดูดอากาศเฉพาะที่ลดปริมาณควันหรือไอสารเคมีที่จะลอยขึ้นมา กรณีของความ
ร้อนก็ใช้ฉนวนกันความร้อนหุ้ม กรณีของรังสีก็ใช้ผนังกั้นรังสีหุ้ม เหล่านี้เป็นต้น

(2) การควบคุมที่ทางผ่าน (pathway) คือการป้องกันไม่ให้สิ่งคุกคามสัมผัสกับ


คนทํางาน หรือในบางกรณีก็เป็นการทําให้สัมผัสต่อสิ่งคุกคามน้อยลง โดยการ
แก้ไขที่ทางผ่านระหว่างแหล่งกําเนิดสิ่งคุกคามกับตัวคนทํางาน ตัวอย่างเช่น กรณี
ของเครื่องจักรที่มีเสียงดัง หากไม่สามารถทําฝาครอบเครื่องจักรได้ด้วยข้อจํากัด
บางประการ เช่น เครื่องจักรมีขนาดใหญ่มาก เครื่องจักรต้องระบายความร้อน
ออกตลอดเวลา หรือเครื่องจักรนั้นจะต้องมีการขยับแขนกลของเครื่องไปมาอยู่
ตลอดเวลา ทําให้ทําฝาครอบไม่ได้ เราอาจแก้ไขที่ทางผ่า นแทน โดยการเพิ่ม
ระยะห่างระหว่างคนกับเครื่องจักร เช่น จากเดิมคนควบคุมเครื่องจักรนั้นจะยืน
อยู่ ติ ด กั บ เครื่ อ งจั ก ร ก็ ต่ อ สายไฟให้ แ ป้ น ควบคุ ม มี ส ายยาวขึ้ น แล้ ว ให้ ค นคุ ม
เครื่องจักรจากระยะไกล วิธีการนี้ถ้าทําได้จะช่วยลดความเสี่ยง แต่ในทางปฏิบัติก็
อาจมีข้อจํากัด หากกระบวนการทํางานนั้นไม่สามารถจะทําจากระยะไกลได้

33
นอกจากการเพิ่มระยะห่าง (distance) ซึ่งสามารถลดความเสี่ยงได้ในกรณีของสิ่ง
คุกคามหลายจําพวก เช่น เสียงดัง ความร้อน แรงระเบิด ฝุ่นผง ควัน ไอสารเคมี
ได้แล้ว ยังอาจแก้ไขที่ทางผ่านด้วยวิธีอื่นได้อีก เช่น การติดตั้งตัวดูดอากาศทั่วไป
(general exhaust ventilation) ทําให้มีการดูดอากาศเสียออกทั่วไปในบริเวณ
อาคารที่ทํางาน การเจือจาง (dilution) โดยการเอาอากาศดีเข้ามาในบริเวณที่
ทํางานเพิ่มขึ้น ทําให้ความเข้มข้นของสิ่งคุกคามในอากาศมีลดลง เป็นต้น

การแก้ไขที่ทางผ่านอีกวิธีการหนึ่งที่นิยมทํากัน คือการทําห้องควบคุม (control


room) ที่มีสภาพแวดล้อมปลอดภัยให้คนทํางานไปนั่งควบคุมเครื่องจักรในห้อง
นั้นแทน วิธีการนี้นิยมใช้ในกรณีที่เครื่องจักรมีขนาดใหญ่มาก จนไม่สามารถทําฝา
ครอบได้ เช่นเครื่องจักรมีขนาดใหญ่เท่าตึก 4 ชั้น เป็นต้น การสร้างห้องควบคุมที่
เก็บเสียงและกันไอระเหยสารเคมีได้ให้คนทํางานนั่งควบคุมอยู่ภายใน จะเป็นการ
ง่าย ประหยัด และปลอดภัยกว่า

(3) การควบคุมที่ตัวคน (person) คือการป้องกันไม่ให้สิ่งคุกคามเข้าสู่ร่างกาย


คนทํางาน โดยแก้ไขที่ตัวคน ซึ่งก็ทําได้โดยการให้คนทํางานใส่อุปกรณ์ป้องกัน
ส่วนบุคคล (personal protective equipment; PPE) นั่นเอง ตัวอย่างของ
อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล เช่น ที่อุดหูลดเสียง (ear plug) ครอบหูลดเสียง (ear
muff) ผ้ากันเปื้อน (apron) ถุงมือป้องกันสารเคมี (chemical glove) รองเท้า
นิรภัย (safety shoe) ชุดกันสารเคมี (chemical suit) หน้ากากกันสารเคมี
(chemical mask) เป็นต้น

การควบคุมที่ตัวบุคคลนี้ จะเลือกใช้ก็ต่อเมื่อการควบคุมที่แหล่งกําเนิดสิ่งคุกคาม
และการควบคุมที่ทางผ่าน ไม่สามารถกําจัดความเสี่ยงออกไปได้หมดแล้วเท่านั้น
โดยทั่วไปจะไม่เลือกเป็นวิธีการแก้ไขปัญหาวิธีแรก เนื่องจากการดําเนินการกับ
“คน” นั้นมักจะทําได้ยากลําบาก เพราะต้องอาศัยความร่วมมือและความเข้าใจ

34
อย่างมาก อีกทั้งประสิทธิภาพในการลดการสัมผัสก็มักจะน้อยกว่าการแก้ไขที่
แหล่งกําเนิดและทางผ่าน การให้คนทํางานใส่อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล เช่น
หน้ากากกันสารเคมี ชุดกันสารเคมี นั้น ในประเทศเขตร้อนอย่างประเทศไทย ก็
มักมีข้อจํากัดอีกอย่างหนึ่งคือคนทํางานมักทนใส่ไม่ได้นานด้วย

นอกจากการควบคุมทางวิศวกรรม (engineering control) ด้วยวิธีการต่างๆ เช่น


การเปลี่ยนระบบเครื่องจักร การทําฝาครอบ การทําระบบดูดอากาศ ดังที่ได้กล่าว
มาแล้วนั้น การควบคุมสิ่งคุกคามยังสามารถทําได้โดยใช้วิธีการบริหารจัดการ
(administrative control) อีกด้วย ซึ่งการใช้การบริหารจัดการนี้ ถึงแม้ว่าตาม
หลักการจะไม่สามารถกําจัดความเสี่ยงออกไปได้ทั้งหมด แต่อย่างน้อยก็พอช่วย
ลดความเสี่ย งลงได้บ้าง โดยทั่ว ไปจึง นิย มใช้เ ป็นวิธีเ สริมในการลดความเสี่ย ง
หลังจากที่ได้แก้ไขทางวิศวกรรมแล้ว

วิธีการแก้ไขโดยการบริหารจัดการที่ทําได้ เช่น การลดจํานวนชั่วโมงการทํางานลง


ซึ่งจะทําให้พนักงานมีโอกาสสัมผัสต่อสิ่งคุกคามน้อยลง การผลัดเวรกันเข้าไป
ทํางาน ซึ่งจะทําให้พนักงานแต่ละคน มีโอกาสสัมผัสกับสิ่งคุกคามน้อยลง แต่การ
ผลัดเวรกันเข้าไปทํางานนี้ จะทําให้เพิ่มจํานวนคนที่ต้องรับความเสี่ยงในการเกิด
โรคขึ้น

อี ก วิ ธี ก ารหนึ่ ง ในด้ า นการบริ ห ารจั ด การที่ ค วรนํ า มาใช้ คื อ การสนั บ สนุ น ให้
ปฏิบัติงานอย่างปลอดภัย (safe work practice) เช่น ให้คนงานที่มือสัมผัสกับ
สารเคมีล้างมือทุกครั้งก่อนกินข้าว ให้คนงานที่ตัวเปื้อนสารเคมีอาบน้ําทุกครั้ง
ก่อนกลับบ้าน การซ่อมแซมเครื่องจักรที่มีเสียงดังให้มีเสียงดังลดลง การตรวจสอบ
เครื่องจักรให้มีสภาพดีอยู่เสมอ ไม่ปล่อยให้เครื่องจักรชํารุดจนเกิดอุบัติเหตุต่อ
คนทํางานได้ การทําความสะอาดที่ทํางานให้สะอาดอยู่เสมอ ไม่ให้มีฝุ่นผงหรือ
คราบสารเคมีเกาะสะสมอยู่ตามบริเวณต่างๆ และการกําหนดวิธีการทํางานที่

35
ปลอดภัยเป็นมาตรฐานให้คนที่มาทํางานทุกคนต้องปฏิบัติตาม วิธีการทํางานอย่าง
ปลอดภัยเหล่านี้ เป็นวิธีบริหารจัดการที่ช่วยให้คนทํางานลดโอกาสการสัมผัสต่อ
สิ่งคุกคามลงนั่นเอง

นอกจากการพิจารณาตามปัจจัยสามทางระบาดวิทยา คือ คนทํางาน สิ่งคุกคาม


และสิ่ ง แวดล้ อ มแล้ ว หากมองในมุ ม กว้ า งขึ้ น ก็ ยั ง มี แ นวทางการดํา เนิ น การ
(approach) เพื่อป้องกันโรคจากการทํางานอีกแบบหนึ่ง คือการพิจารณาตามลําดับ
ขั้นตอนของการดําเนินโรค (course of disease) การดําเนินการป้องกันโรคตาม
แนวคิดนี้ นอกจากจะดําเนินการป้องกันไม่ให้เกิดโรคขึ้นแล้ว ในกรณีที่คนทํางาน
เกิดเป็นโรคขึ้นมา ก็ยังทําการป้องกันต่อเพื่อไม่ให้เป็นโรคหนักขึ้น แต่ถ้าเป็นโรค
จนมีอาการมากแล้ว ก็ทําการป้องกันต่อไปไม่ให้ทุพพลภาพ รายละเอียดการ
แก้ไขไปตามลําดับขั้นตอนของการดําเนินโรค เป็นดังนี้

1. การป้องกันปฐมภูมิ (primary prevention)


คือการป้องกันก่อนที่จะเกิดโรคขึ้น ซึ่งก็ได้แก่การป้องกันตามหลักปัจจัยสามทาง
ระบาดวิทยาที่กล่าวถึงในส่วนแรกไปแล้วนั่นเอง หากจะแบ่งกลุ่มกิจกรรมการ
ป้องกัน “ก่อนเกิดโรค” ให้ชัดเจนขึ้น สามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ (1) การ
ดําเนินการใดก็ตามเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคขึ้น และ (2) การส่งเสริมสุขภาพ

(1) การดําเนินการเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรค (disease prevention) ไม่ว่าจะโดย


การกําจัดสิ่งคุกคามออก (elimination) การทดแทนสิ่งคุกคามด้วยสิ่งที่ปลอดภัย
กว่า (substitution) การลดการใช้ (reduce) การแก้ไขที่สิ่งแวดล้อมในงาน โดย
การควบคุมทั้งที่แหล่งกําเนิด (source) หรือควบคุมที่ทางผ่าน (pathway) หรือ
ควบคุมที่ตัวบุคคล (personal protection) จะโดยการแก้ไขด้วยวิธีการทาง
วิ ศ วกรรม (engineering control) หรื อ ด้ ว ยวิ ธี ก ารทางการบริ ห ารจั ด การ

36
(administrative control) ที่กล่าวมานี้จัดว่าเป็นการป้องกันโรคแบบปฐมภูมิ
ทั้งหมด

การให้ภูมิคุ้มกันโรค (immunization) โดยการให้วัคซีนต่างๆ แก่คนทํางานที่มี


ความเสี่ ย ง จั ด ว่ า เป็ น การป้ อ งกัน โรคแบบปฐมภู มิ วิ ธี ห นึ่ง เช่ น การให้ วั ค ซี น
ป้องกันไข้หวัดใหญ่แก่บุคลากรทางการแพทย์ที่ต้องดูแลผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่
การให้วัคซีนป้องกันโรคไข้เหลืองแก่นักธรณีวิทยาที่จะไปทํางานในทวีปแอฟริกา
เป็นต้น

การให้ยาป้องกันโรค (prophylaxis) ก็จัดว่าเป็นการป้องกันโรคแบบปฐมภูมิอีก


วิ ธี ห นึ่ ง เช่ น กั น ในกรณี ข องโรคจากการทํา งาน เช่ น การให้ ย าต้ า นมาลาเรี ย
(malaria) ในทหารที่จะเข้าไปทํางานในถิ่นที่มีมาลาเรียชุกชุม หรือการให้ยา
acetazolamide ในนักปีนเขา เพื่อป้องกันภาวะปอดบวมน้ําจากการอยู่บนที่สูง
(high-altitude pulmonary edema) หรือการให้อาหารที่มีวิตามินซีแก่ลูกเรือที่
ต้องออกทะเลไปนานๆ เพื่อป้องกันไม่ให้ลูกเรือเกิดเป็นโรคเลือดออกตามไรฟัน
(scurvy) เนื่องจากขาดวิตามินซี เหล่านี้เป็นต้น

(2) การส่งเสริมสุขภาพหรือการสร้างเสริมสุขภาพ (health promotion) คือการ


ดําเนินการในคนที่มีสุขภาพดีและยังไม่เกิดโรคขึ้น โดยการใช้วิธีการต่างๆ เพื่อทํา
ให้คนผู้นั้นมีสุขภาพแข็งแรงยิ่งขึ้นไปอีก เนื่องจากคนที่มีสุขภาพแข็งแรง โดยทั่วไป
ก็จะมีความต้านทานต่อโรคได้มากกว่าคนที่สุขภาพไม่แข็งแรง การดําเนินการ
ส่งเสริมสุขภาพ จึงจัดได้ว่าเป็นการป้องกันโรคแบบปฐมภูมิอย่างหนึ่ง

ตัวอย่างของกิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพ เช่น การออกกําลังกายในคนทํางานยก


ของหนัก คนกลุ่มนี้มีโอกาสเกิดการบาดเจ็บต่อกระดูกและกล้ามเนื้อได้มาก หาก
ให้ออกกําลังกาย โดยหวังจะให้เพิ่มความแข็งแรง ทนทาน ยืดหยุ่น และทําให้มี

37
ขนาดมัดกล้ามเนื้อที่ใหญ่ขึ้น ก็น่าจะทําให้ความเสี่ยงต่อการเป็นโรคกระดูกและ
กล้ามเนื้อจากการทํางานลดลงได้ นอกจากการออกกําลังกายแล้ว การแนะนําให้
กินอาหารที่สะอาดและมีประโยชน์ การให้พักอาศัยอยู่ในสิ่งแวดล้อมที่มีอากาศดี
การช่วยเหลือให้เลิกสูบบุหรี่ การช่วยเหลือให้เลิกดื่มสุรา ทั้งหมดนี้ก็จัดว่าเป็นการ
ส่งเสริมสุขภาพเช่นกัน

2. การป้องกันทุติยภูมิ (secondary prevention)


คือการป้องกันในกรณีที่โรคเริ่มเกิดขึ้นแล้ว แต่ป้องกันไม่ให้โรคนั้นเป็นมาก ทํา
ได้โดยวิธี (1) รีบตรวจหาความผิดปกติให้พบตั้งแต่ที่โรคยังไม่มีอาการ และ (2) หาก
โรคเริ่มมีอาการแล้ว รีบตรวจอาการให้พบแล้วรักษาตั้งแต่ระยะแรก กระบวนการ
ป้องกันแบบทุติยภูมินี้ จะดําเนินการได้โดยแพทย์เท่านั้น ต่างจากการป้องกันปฐม
ภูมิที่ใช้การดําเนินการร่วมกันจากหลายสาขาวิชาชีพ สําหรับโรคจากการทํางาน
แล้ว แพทย์อาชีวเวชศาสตร์จะมีบทบาทอย่างมากในการป้องกันแบบทุติยภูมิ
รายละเอียดเป็นดังนี้

(1) การตรวจหาความผิดปกติให้พบ (early detection) โรคจากการทํางาน


บางอย่างนั้น แม้ว่าจะยังไม่มีอาการ (symptom) และอาการแสดง (sign) ของโรค
เกิดขึ้น แต่ก็อาจมีความผิดปกติของระบบร่างกายให้ตรวจพบได้ก่อนหน้าที่จะเกิด
โรคเป็นระยะเวลานาน หากสามารถตรวจผลกระทบต่อสุขภาพ (health effect)
ที่ เ กิ ด ขึ้ น นี้ ใ ห้ พ บตั้ ง แต่ ร ะยะแรก และรี บ เข้ า ไปดํา เนิ น การแก้ ไ ข ก็ จ ะทํา ให้
สามารถป้องกันไม่ให้ป่วยจนมีอาการได้

ตัวอย่างเช่น การตรวจสมรรถภาพการได้ยิน (audiometry) ในคนที่ทํางานสัมผัส


เสียงดัง หากตรวจพบความผิดปกติตั้งแต่ระยะแรก คือตรวจพบว่าเริ่มมีการได้ยิน
ลดลงในช่วงเสียงความถี่สูง (high-frequency hearing loss) ก็จะช่วยนําไปสู่
การปรับปรุงเพื่อลดการสัมผัสเสียงดังในที่ทํางาน ทําให้ป้องกันอาการหูตึงจาก

38
การทํางานสัมผัสเสียงดังได้ หรือกรณีของโรคปอดฝุ่นหิน (silicosis) โดยทั่วไป
โรคนี้จะพบว่ามีจุดขาวเล็กๆ ที่ปอดจํานวนมาก ซึ่งตรวจพบได้จากการถ่ายภาพ
รังสีทรวงอก (chest X-ray) จุดขาวเล็กๆ ในคนที่ทํางานสูดดมฝุ่นหินเหล่านี้ จะ
สามารถตรวจพบได้ตั้งแต่ยังไม่มีอาการหอบเหนื่อยหลายปี หากสามารถตรวจพบว่า
เป็นโรคปอดฝุ่นหินตั้งแต่ระยะที่ยังไม่มีอาการนี้ ก็จะช่วยให้นําไปสู่การย้ายงาน
หรือปรับปรุงสภาพงาน เพื่อจะได้ไม่ต้องสูดดมฝุ่นหินเข้าไปอีก ทําให้ปอดไม่เสื่อม
ลงไปมากได้

(2) การวินิจฉัยและรักษาอย่างรวดเร็ว (early diagnosis and treatment) เมื่อ


โรคที่เป็นเกิดมีอาการ (symptom) และอาการแสดง (sign) ขึ้นแล้ว การตรวจ
โดยแพทย์ให้พบโรคตั้งแต่ระยะเริ่มแรก ก็ยังถือว่าดีกว่ามาพบโรคในระยะรุนแรง
แล้ว การตรวจพบและวินิจฉัยตั้งแต่ระยะเริ่มแรกนั้นทําให้สามารถรักษาโรคได้
อย่างมีประสิทธิภาพ โอกาสการรักษาหายก็มักจะมีมากกว่าการตรวจพบในระยะ
รุนแรง ความยุ่งยาก ผลแทรกซ้อน การเกิดภาวะทุพพลภาพ และค่าใช้จ่ายในการ
รักษาก็มักจะน้อ ยกว่า เราจึง ถือ ว่าการตรวจวินิจฉัยโรคและรักษาให้ได้อ ย่าง
รวดเร็วนั้น ก็เป็นการป้องกันแบบทุติยภูมิเช่นกัน

ตั ว อย่ า งกรณี โ รคจากการทํา งาน เช่ น อาการพิ ษ จากสารไตรคลอโรเอทิ ลี น


(trichloroethylene) หากสามารถตรวจวินิจฉัยได้ตั้งแต่ระยะเริ่มแรก ก็มีโอกาส
สูงที่ผู้ป่วยจะหายได้ หรือการป่วยจากโรคพิษตะกั่ว (lead poisoning) หากได้รับ
การวินิจฉัยที่ถูกต้องอย่างรวดเร็วแล้ว ก็จะนําไปสู่การรักษาที่รวดเร็ว และทําให้
คนไข้หายได้

ในการป้ อ งกั น แบบทุ ติ ย ภู มิ นั้ น ไม่ ว่ า จะเป็ น การตรวจความผิ ด ปกติ ตั้ ง แต่ ที่
คนทํางานยังไม่มีอาการ (early detection) หรือการตรวจวินิจฉัยและรักษา
ตั้งแต่มีอาการระยะเริ่มแรก (early diagnosis and treatment) จะทําได้ก็โดย

39
การตรวจสุขภาพคนทํางานโดยแพทย์อาชีวเวชศาสตร์ในวาระต่างๆ เช่น การตรวจ
สุขภาพก่อนเข้างาน (pre-placement examination) การตรวจสุขภาพประจําปี
(annually examination) การตรวจสุขภาพตามระยะ (periodic examination)
การตรวจสุขภาพก่อนเกษียณ (retirement examination) เหล่านี้เป็นต้น

3. การป้องกันตติยภูมิ (tertiary prevention)


คือการป้องกันในระดับสุดท้าย หมายถึงกรณีที่โรคมีอาการมากแล้ว แต่ป้องกัน
ไม่ให้เกิดภาวะทุพพลภาพขึ้น การดําเนินการป้องกันโรคแบบตติยภูมินั้น อีกชื่อ
หนึ่งก็คือการฟื้นฟูสมรรถภาพนั่นเอง ในการที่คนเกิดเป็นโรคขึ้นมาจนมีอาการ
มากแล้วนั้น จะทําให้ระบบอวัยวะบางอย่างสูญเสียหน้าที่ไปได้ การดําเนินการ
ฟื้นฟูสมรรถภาพของผู้ป่วย ก็ถือว่าเป็นการป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยต้องอยู่ในภาวะ
ทุ พ พลภาพ ช่ ว ยเหลื อ ตนเองไม่ ไ ด้ เราจึ ง จั ดว่ า การฟื้ น ฟู ส มรรถภาพเป็ น งาน
ป้องกันอย่างหนึ่งเช่นกัน

การฟื้นฟูสมรรถภาพในกรณีของคนทํางานนั้น ทําโดยบุคลากรหลากหลายสาขา
อาชีพ เช่น แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู นักกายภาพบําบัด นักอาชีวบําบัด แพทย์อาชีว
เวชศาสตร์นั้นก็มีส่วนร่วมสนับสนุนให้เกิดระบบการจัดการฟื้นฟูแก่คนทํางานด้วย
การดําเนินการสําหรับคนทํางานนั้น จะมีเป้าหมายสูงสุดที่มากเป็นพิเศษกว่า
คนไข้ทั่วไปคือ นอกจากต้องการให้หายจากภาวะทุพพลภาพแล้ว ยังต้องการให้
สามารถกลั บ ไปทํา งานได้ ด้ ว ย (ถ้ า สามารถทํา ได้ ) กระบวนการฟื้ น ฟู เ พื่ อ ให้
กลับไปทํางานได้นี้เราเรียกว่า การดูแลผู้ป่วยกลับเข้าทํางาน (return to work
management)

ในกระบวนการดูแลผู้ป่วยกลับเข้าทํางานนั้น นอกจากแพทย์อาชีวเวชศาสตร์จะมี
หน้าที่ช่วยเหลือสนับสนุนผู้ป่วยแล้ว ยังมีหน้าที่สําคัญอีกอย่างหนึ่งคือการเป็น
ผู้ตรวจร่างกายเพื่อประเมินความพร้อมว่าผู้ป่วยจะสามารถกลับไปทํางานได้หรือ

40
ยั ง การตรวจสภาพร่ า งกายและจิ ต ใจเพื่ อ ประเมิ น ความพร้ อ มในการทํ า งาน
(fitness for work examination) ที่ทําหลังจากคนทํางานเจ็บป่วย และผ่าน
กระบวนการฟื้นฟูมาแล้วนั้น มีชื่อเรียกเฉพาะว่า การตรวจประเมินก่อนกลับเข้า
ทํางาน (return to work examination)

หนังสืออ้างอิง
1. Stewart J. Occupational hygiene: control of exposures through
intervention. In: Stellman JM, editor. ILO Encyclopaedia of occu-
pational health and safety. 4th ed. Vol. I (Chapter 30). Geneva:
International Labour Organization; 1998.
2. Cohen BS. Industrial hygiene measurement and control. In: Rom
WN, Markovitz SB, editors. Environmental and occupational
medicine. 4th ed. Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins; 2007.
p. 1764-78.
3. ไพบูลย์ โล่ห์สุนทร. ระบาดวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์
แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2552.
4. สุรศักดิ์ บูรณตรีเวทย์. ตําราอาชีวเวชศาสตร์เบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: บุ๊ค
เน็ท; 2547.

หลักการซักประวัติอาชีพ
เรียบเรียงโดย พญ.นวพรรณ ผลบุญ

การซักประวัติ เป็นสิ่งสําคัญสําหรับแพทย์ในการหาสาเหตุของโรค และเพื่อใช้


ประกอบการวินิจฉัยโรคต่างๆ โดยเฉพาะโรคจากการทํางาน ซึ่งเป็นโรคที่มีความ
สลับซับซ้อนในการที่จะวินิจฉัย แพทย์จะต้องมีรายละเอียดเพียงพอจึงจะสามารถ
วินิจฉัยได้ ในการวินิจฉัยโรคจากการทํางานนั้น แพทย์จะต้องแยกสาเหตุจากการ

41
ทํางานออกจากสาเหตุการเกิดโรคอย่างอื่นๆ เสียก่อน ซึ่งจะทําได้ต้องใช้ข้อมูล
เกี่ยวกับการทํางานที่มากเพียงพอ การซักประวัติการทํางานหรือการซักประวัติ
อาชีพนั้น จึงเป็นสิ่งสําคัญมากในกระบวนการวินิจฉัยโรคจากการทํางาน เมื่อนํา
ข้อมูลประวัติที่ได้ มาประกอบกับการตรวจร่างกายโดยแพทย์ ผลการตรวจทาง
ห้องปฏิบัติการ และข้อมูลที่เกี่ยวข้องอื่นๆ แล้ว จึงจะทําให้แพทย์วินิจฉัยโรคจาก
การทํางานได้ บทความนี้จะอธิบายถึงรายละเอียดของการซักประวัติในผู้ป่วยที่
สงสัยโรคจากการทํางาน ประวัติที่แพทย์ควรสอบถามจากผู้ป่วย มีดังนี้

ประวัติทั่วไป
1. เพศ มีความเกี่ยวข้องกับโรคจากการทํางานในบางประเด็น เช่น เพศชายมี
แนวโน้มจะต้องทํางานใช้กําลังมากกว่า มีความเสี่ยงต่อโรคระบบกล้ามเนื้อ
และกระดู ก มากกว่ า เพศหญิ ง เพศหญิ ง มี โ อกาสตั้ ง ครรภ์ ซึ่ ง ในระหว่ า งที่
ตั้งครรภ์อาจมีความไวรับต่อสารเคมีบางชนิดมากกว่าช่วงปกติ
2. อายุ อายุมากร่างกายไม่แข็งแรงเท่าอายุน้อย โอกาสเกิดโรคจากการทํางานใช้
กําลัง หรือโรคจากการทํางานผิดท่าทาง ก็มากกว่า
3. สถานภาพสมรส หากอยู่เป็นครอบครัว การทํางานบางอย่างอาจทําให้คนใน
บ้านเสี่ยงต่อโรคมากขึ้น เช่น โรงงานที่มีฝุ่นหิน (silica) ทํางานเสร็จแล้วอาจ
ติดเสื้อผ้ากลับไปบ้าน มีการปนเปื้อน และทําให้คนในครอบครัวต้องสัมผัสฝุ่น
หินเข้าไปด้วยได้
4. ที่อยู่ตามบัตรประชาชนและที่อยู่ปัจจุบัน การสอบถามถึงที่อยู่และหมายเลข
ติดต่อ ทําเพื่อประโยชน์ในการติดต่อผู้ป่วยกลับในภายหลัง และยังมีประโยชน์
ในการใช้วิเคราะห์โรคจากมลพิษในสิ่งแวดล้อมได้ เช่น หากมีผู้ป่วยเป็นโรค
เกิดขึ้นในบริเวณพื้นที่ใกล้เคียงกันหลายราย เป็นต้น
5. ประวัติการศึกษา เป็นการบ่งบอกลักษณะงาน และความซับซ้อนของงานได้
คร่าวๆ คนมีการศึกษาสูงมีแนวโน้มที่จะได้งานที่ต้องสัมผัสต่อสิ่งคุกคามทาง
กายภาพ ชีวภาพ และสารเคมี น้อยกว่า

42
6. ประวัติงานอดิเรก ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของโรคได้เช่นกัน เช่น มีงานอดิเรกชอบ
แต่งสีรถ พ่นสีรถ ก็อาจเป็นสาเหตุทําให้เกิดโรคหอบหืดขึ้นได้

ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต
1. ประวั ติ ก ารเจ็ บ ป่ ว ยและประวั ติ ก ารบาดเจ็ บ ในอดี ต อาจทํ า ให้ ร่ า งกาย
อ่อนแอลง และทําให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคจากการทํางานเพิ่มขึ้นได้ เช่น เคย
กระดูกหลังทรุดจากอุบัติเหตุรถชน เมื่อมาทํางานยกของหนักก็อาจจะปวด
หลังได้ง่าย
2. ประวัติโรคประจําตัวและโรคเรื้อรัง บางโรคอาจมีผลต่อการทํางาน เช่น เป็น
โรคเบาหวาน ต้องกินยาเป็นเวลา เมื่อทํางานกะดึกจะทําให้กินยาตามเวลา
ไม่ได้ จึงคุมระดับน้ําตาลได้ยากขึ้น
3. ประวัติการผ่าตัด บางกรณีอาจมีผลต่อการทํางาน เช่น เคยผ่าตัดหมอนรอง
กระดูกสันหลังมาก่อน เคยผ่าตัดใส่เหล็กที่กระดูกต้นขามาก่อน ความพร้อม
ในการทํางานยกของหนักจะลดลง
4. ประวัติการได้รับวัคซีน การทํางานที่ต้องสัมผัสกับสิ่งคุกคามด้านชีวภาพ เช่น
งานพยาบาล แพทย์ สัตวแพทย์ หากได้รับวัคซีนป้องกันโรคมาก่อน โอกาส
เกิดโรคติดเชื้อจากการทํางานก็จะน้อยลง
5. ประวัติการรับประทานยาประจํา ยาบางอย่างอาจมีผลต่อการทํางาน เช่น ยา
คลายกล้ามเนื้อ หรือยาลดน้ํามูกบางชนิด ทําให้ง่วง ถ้าทํางานกับเครื่องจักร
และของมีคม จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุได้
6. ประวัติการดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่ เครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นพิษต่อตับ
หากทํางานสัมผัสสารที่เป็นพิษต่อตับอยู่ด้วย เช่น ตัวทําละลายชนิดต่างๆ
อาจทําให้เกิดตับเสื่อมเร็วขึ้น การสูบบุหรี่เพิ่มความเสี่ยงโรคถุงลมโป่งพองและ
มะเร็งปอด หากทํางานสัมผัสสารที่เป็นอันตรายต่อปอดร่วมด้วย เช่น แร่ใยหิน
ฝุ่นหิน อาจทําให้ปอดเสียเร็วขึ้น

43
ประวัติอาชีพ
ประวัติอาชีพเป็นส่วนที่สําคัญที่สุด และจะต้องทําการสอบถามให้ละเอียดที่สุด
จึงจะช่วยในการวินิจฉัยโรคจากการทํางานได้ การสอบถามแต่เพียงกลุ่มอาชีพ
(job category) เช่น เกษตรกรรม รับจ้าง รับราชการ นั้นไม่ละเอียดเพียงพอที่จะ
ใช้วินิจฉัยโรคจากการทํางาน การสอบถามเพียงชื่ออาชีพ (job title) เช่น ทหาร
วิศวกร ครู ช่างไฟฟ้า ก็ยังไม่ละเอียดเพียงพอที่จะใช้วินิจฉัยโรคจากการทํางานได้
การถามประวัติอาชีพจะมีประโยชน์สูงก็ต่อเมื่อ ทําการถามละเอียดลงไปถึงระดับ
รายละเอียดของงาน (job description)

สิ่งที่ควรสอบถามหรือหาข้อมูลที่เกี่ยวกับอาชีพ มีดังนี้
1. ชื่ออาชีพ (job title) เป็นอันดับแรกที่ต้องถาม คําถามที่ว่า “คุณประกอบ
อาชีพอะไร” หรือ “What is your occupation?” นี้ จะช่วยให้แพทย์เข้าใจ
สถานภาพทั่วไปของผู้ป่วยมากขึ้น ทําให้ประเมินความเสี่ยงคร่าวๆ ได้ว่าผู้ป่วย
น่ า จะสั ม ผั ส สิ่ ง คุ ก คามอะไรในงานบ้ า ง สามารถประเมิ น ระดั บ การศึ ก ษา
สภาพความเป็นอยู่ เศรษฐานะ ของผู้ป่วยได้คร่าวๆ และทําให้แพทย์ประเมิน
ได้ด้วยว่า จะสื่อสารกับผู้ป่วยอย่างไรจึงจะเหมาะสม ทําให้ผู้ป่วยเข้าใจได้ง่าย
การถามประวัติอาชีพที่ดีนั้น ควรสอบถามทุกอาชีพตลอดช่วงชีวิตที่ผู้ป่วยทํา
มา (all lifetime job titles) เนื่องจากโรคจากการทํางานบางโรค เช่น ปอด
ฝุ่นหิน โรคมะเร็ง มีระยะก่อโรคยาวนานหลายปี การเกิดโรคอาจมีสาเหตุมา
จากงานเดิมที่ผู้ป่วยทํา ไม่ใช่มาจากงานในปัจจุบันก็ได้
2. ชื่อสถานประกอบการ (name of workplace) เพื่อให้สามารถติดต่อกับ
สถานประกอบการในกรณี ที่จํา เป็น ต้อ งถามข้อ มู ล เพิ่ ม เติม จากทางสถาน
ประกอบการได้ ควรสอบถามเบอร์โทรศัพท์ พร้อมทั้งชื่อหัวหน้างาน หรือ
เจ้าหน้าที่คนที่จะให้ติดต่อไว้ด้วย ประโยชน์อีกประการหนึ่งของการถามชื่อ
สถานประกอบการคือ ในกรณีที่มีผู้ป่วยโรคเดียวกัน ทํางานอยู่ที่เดียวกัน มา

44
รักษาตัวจํานวนมาก อาจบ่งชี้ถึงความไม่ปลอดภัย เพราะมีสิ่งคุกคามอันตราย
บางอย่างในที่ทํางานนั้นอยู่
3. ลักษณะการทํางาน (job description) เป็นส่วนสําคัญที่จะต้องถาม การให้
ผู้ป่วยอธิบายลักษณะการทํางานของตนเองโดยละเอียด ตั้งแต่ขั้นตอนการ
ทํางาน ทําอะไรบ้าง ทําอย่างไร ใช้เครื่องมืออะไร ใช้สารเคมีอะไร ทําร่วมกับ
ใคร สภาพแวดล้อมโดยรอบเป็นอย่างไร ในแต่ละวันทํางานกี่อย่าง สิ่งเหล่านี้
เป็นเรื่องสําคัญที่จะทําให้แพทย์สามารถประเมินได้ว่า โรคที่เกิดขึ้นมีโอกาสที่
จะเป็นโรคจากการทํางานได้หรือไม่ การถามรายละเอียดการทํางานยังช่วยให้
ประเมินได้ว่า ผู้ป่วยมีความรู้ความเข้าใจในงานที่ตนเองทํามากน้อยเพียงใด
ด้วย บ่อยครั้งที่พบว่า ผู้ป่วยที่ทํางานในสายการผลิตประกอบชิ้นส่วน ไม่ทราบ
ว่าชิ้นส่วนที่ตนเองประกอบนั้นเอาไปเป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์อะไร
หรือคนที่ทํางานกับสารเคมี บางครั้งก็อาจไม่ทราบว่าสารเคมีที่ตนเองสูดดม
อยู่ทุกวันนั้น มีชื่อว่าอะไร อย่างนี้เป็นต้น
4. สิ่งคุกคาม (hazard) ในการถามรายละเอียดลักษณะการทํางานนั้น สิ่งที่ต้อง
พิจารณาคือ ต้องประเมินให้ได้ว่าสิ่งคุกคามที่ผู้ป่วยสัมผัสน่าจะเป็นอะไร กรณี
ของเสียงดัง แสงจ้า อากาศร้อน ผู้ป่วยอาจบอกได้ชัดเจน แต่กรณีของสารเคมี
แพทย์ มั ก ต้ อ งใช้ ป ระสบการณ์ ข องตนเองคาดการณ์ ร่ ว มด้ ว ย แพทย์ ที่ มี
ประสบการณ์จะสามารถถามคําถามอันเป็นประโยชน์ ซึ่งพอทําให้คาดการณ์
ได้ว่า สารเคมีที่ผู้ป่วยสัมผัสนั้นน่าจะเป็นสารอะไร เช่น คนทํางานในโรงงาน
ทําน้ําแข็ง วันหนึ่งได้รับกลิ่นฉุนแสบจมูกรุนแรงขึ้นมา จากนั้นช่างก็รีบเข้ามา
ซ่อมระบบทําความเย็นในโรงงาน หากได้ประวัติเช่นนี้ แพทย์ที่มีประสบการณ์
ก็พอจะประเมินได้แล้วว่า ผู้ป่วยน่าจะประสบกับเหตุการณ์แก๊สแอมโมเนียรั่ว
5. ลักษณะการสัมผัส (exposure) ควรสอบถามให้ชัดเจนว่า สิ่งคุกคามที่สัมผัส
นั้น ผู้ป่วยสัมผัสอย่างไร ช่องทางการสัมผัสคือช่องทางใด จากการหายใจ การ
ดูดซึมเข้าสู่ผิวหนัง หรือการกิน ถ้าเป็นสารเคมี มีปริมาณการใช้มากน้อยเพียงใด
มีความเข้มข้นมากน้อยเพียงใด การสัมผัสเกิดขึ้นนานเพียงใด ทําทั้งวันหรือทํา

45
แค่วันละไม่กี่นาที รายละเอียดจะได้มากหรือน้อยนั้น ขึ้นอยู่กับความเข้าใจใน
งานของตนเองของผู้ป่วยด้วย
6. ระยะเวลาที่ทํางาน (duration) ในหนึ่งวันทําการสัมผัสกับสิ่งคุกคามนาน
เพี ย งใด กี่ ชั่ ว โมง กี่ น าที หรื อ กี่ ค รั้ ง หากเป็ น งานกะ ทํา กะเช้ า หรื อ กะดึ ก
ระยะเวลาต่อกะนานกี่ชั่วโมง มีการควงกะ (การอยู่กะติดกันเพื่อให้ได้รับ
ค่าแรงมากขึ้น) บ้างหรือไม่ มีการทํางานนอกเวลาบ้างหรือไม่ มีการมาทํางาน
ในวันหยุดบ้างหรือไม่ การถามประวัติในข้อนี้จะทําให้แพทย์ประเมินได้ว่าการ
สัมผัสต่อสิ่งคุกคามนั้น น่าจะมีความรุนแรงมากน้อยเพียงใด มีความเสี่ยงที่จะ
ก่อให้เกิดโรคได้มากน้อยเพียงใด
7. ปีที่เริ่มทํางานและเลิกทํางาน (start and stop years) ควรสอบถามปีที่
เข้าทํางานและเลิกทํางานสําหรับทุกอาชีพตั้งแต่ผู้ป่วยเริ่มต้นเข้าทํางาน (ถ้า
สามารถทําได้) เพราะจะมีประโยชน์ในการประเมินระยะเวลาการสัมผัสสิ่ง
คุกคาม และเป็นประโยชน์กับการค้นหาความสัมพันธ์ระหว่างระยะเวลาที่เริ่ม
สัมผัสสิ่งคุกคามกับระยะเวลาที่เริ่มป่วยเป็นโรค (onset of disease) การ
สัมผัสสิ่งคุกคามก่อโรค จะต้องเกิดขึ้นก่อนการเริ่มป่วยเป็นโรคเสมอ
8. อุปกรณ์ป้องกันอันตราย (personal protective equipment; PPE)
การสอบถามถึงปัจจัยประกอบ ในการที่ผู้ป่วยจะสัมผัสสิ่งคุกคามมากขึ้นหรือ
น้อยลง ก็นับว่าเป็นตัวช่วยบอกโอกาสในการเกิดโรคได้ ปัจจัยอย่างหนึ่งที่มีผล
คือ การใส่หรือไม่ใส่อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล หากมีการใส่อุปกรณ์
ป้องกันอันตราย อุปกรณ์ที่ใส่มีความเหมาะสมหรือไม่ นอกจากนี้ในเรื่องการ
ปฏิบัติตัวตามหลักความปลอดภัยในการทํางาน และหลักสุขอนามัยพื้นฐาน
เช่น การล้างมือหลังจากสัมผัสสารเคมี การล้างมือก่อนกินข้าว การไม่สูบบุหรี่
ในที่ทํางาน การไม่กินข้าวในพื้นที่ทํางาน การอาบน้ําก่อนกลับบ้านในคนทํางาน
กั บ สารเคมี ก็ จัด ว่า มี ป ระโยชน์ ใ นการประเมิ น ระดั บ การสั ม ผัส สิ่ ง คุก คาม
เช่นกัน

46
9. เอกสารความปลอดภัยในการทํางานกับสารเคมี (safety data sheet;
SDS) หากผู้ป่วยมีความรู้เกี่ยวกับสารเคมีที่ตนเองทํางานเพียงพอ สามารถบอก
ชื่อสารเคมีที่ตนเองสัมผัสได้ การค้นหาเอกสารความปลอดภัยในการทํางาน
กับสารเคมีจากฐานข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต ก็จะช่วยให้แพทย์เข้าใจถึงพิษของ
สารเคมีที่ผู้ป่วยทํางานอยู่ด้วยมากขึ้น โดยเฉพาะในกรณีที่ผู้ป่วยทํางานกับ
สารเคมีที่ใช้ไม่บ่อยในโรงงานทั่วไป และแพทย์ไม่มีความคุ้นเคยกับพิษภัยของ
สารเคมีนั้น ในโรงงานที่มีมาตรฐานมักมีการจัดเตรียมเอกสารความปลอดภัย
ในการทํางานกับสารเคมีทุกชนิดที่มีในโรงงานไว้ หากจําเป็น แพทย์อาจติดต่อ
ขอเอกสารนี้จากฝ่ายอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของโรงงานก็ได้
10.การสอบถามข้อมูลจากนายจ้าง (information from employer) หาก
นายจ้างเป็นผู้ส่งตัวผู้ป่วยมาตรวจวินิจฉัย หรือนายจ้างให้ความร่วมมือเพียงพอ
แพทย์อาจโทรศัพท์ไปสอบถามข้อมูลจากนายจ้างเพิ่มเติมด้วยก็ได้ การสอบถาม
ข้อมูลอาจถามจากตัวนายจ้างเอง ผู้บริหาร หัวหน้างาน เจ้าหน้าที่ฝ่ายทรัพยากร
มนุษย์ หรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายอาชีวอนามัยและความปลอดภัยของโรงงาน แล้วแต่
ความเหมาะสม การสอบถามข้อมูลจากฝ่ายนายจ้างนี้ มีข้อดีเพราะจะทําให้
แพทย์ได้รับข้อมูลจากทั้งสองฝ่าย ทําให้ประเมินปัญหาได้อย่างเป็นกลางมาก
ขึ้น และในกรณีที่ผู้ป่วยมีความรู้ความเข้าใจในงานของตนเองไม่มากนัก เช่น
ไม่รู้ว่าทํางานกับสารเคมีอะไร เจ้าหน้าที่ที่มีความรู้ของโรงงาน เช่น เจ้าหน้าที่
ความปลอดภัย หรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ อาจสามารถบอกข้อมูลที่
ชัดเจนกว่าให้แก่แพทย์ได้
11.ฐานข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ (computer database) ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่มี
ความรู้ความเข้าใจในงานของตนเอง ทําให้บอกข้อมูลแก่แพทย์ไม่ได้ชัดเจน
และเมื่อติดต่อไปทางนายจ้างแล้ว ก็ไม่ได้รับความร่วมมือจากฝ่ายนายจ้างใน
การให้ข้อมูลที่เพียงพอเช่นกัน แพทย์อาจต้องใช้การค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมจาก
อิ น เตอร์ เ น็ ต ซึ่ ง ปั จ จุ บัน ข้ อ มูล ในอิน เตอร์ เ น็ ต มี อ ยู่ ม ากมาย ทั้ ง ฐานข้ อ มู ล
เกี่ยวกับพิษของสารเคมี ฐานข้อมูลรายละเอียดกระบวนการผลิตในโรงงาน

47
ประเภทต่างๆ ฐานข้อมูลเอกสารความปลอดภัยในการทํางานกับสารเคมี
ฐานข้อมูลเพื่อการวินิจฉัยและการรักษาโรค ฐานข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้แพทย์
มีข้อมูลเพิ่มเติม สามารถประเมินปัญหาของผู้ป่วยได้อย่างรอบคอบขึ้น อีก
กรณีหนึ่งที่อาจต้องมีการใช้ฐานข้อมูลจากคอมพิวเตอร์ คือในกรณีที่สถาน
ประกอบการ หน่วยงานของรัฐ หรือหน่วยงานที่ทําหน้าที่ดูแลสุขภาพให้กับ
คนทํางานในสถานประกอบการนั้นๆ มีการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการทํางานและ
การเจ็บป่วยของคนทํางานไว้ในฐานข้อมูลเฉพาะ หากได้รับความร่วมมือและ
ไม่เป็นการละเมิดกฎหมายเกี่ยวกับการเปิดเผยข้อมูล การสืบค้นข้อมูลจาก
ฐานข้อมูลในลักษณะนี้อาจมีส่วนช่วยให้เข้าใจประวัติการทํางานและประวัติ
สุขภาพในอดีตของผู้ป่วยได้มากขึ้น
12.การเดินสํารวจโรงงาน (walkthrough survey) หากสามารถร้องขอทาง
ฝ่ายนายจ้างเพื่อเข้าไปสํารวจดูการทํางานในสถานที่จริงของผู้ป่วยได้ ก็จะเป็น
การเก็บข้อมูลการทํางานที่ชัดเจนที่สุด การเข้าไปสํารวจโรงงานนี้ สําหรับใน
ประเทศไทย แพทย์จะทําได้ก็ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากทางฝ่ายนายจ้างแล้ว
เท่ านั้ น หรื อ หากเป็ น การวิ นิ จฉั ย โรคจากการทํ างานที่เ กิ ด เป็น กรณี พิ พาท
แพทย์อาจได้รับเชิญไปเดินสํารวจในฐานะที่ปรึกษาของพนักงานตรวจแรงงาน
ผู้มีอํานาจก็ได้ การเดินสํารวจจะช่วยให้แพทย์ได้เห็นการสัมผัสสิ่งคุกคามใน
สถานการณ์จริง ทําให้เข้าใจปัญหาและสามารถวิเคราะห์หาสาเหตุของโรคได้
ชัดเจนขึ้น

การซักประวัติการทํางานดังที่กล่าวมา หากเก็บข้อมูลได้ละเอียดเพียงพอ ก็จะ


สามารถนํามาใช้ประกอบการวินิจฉัยโรคจากการทํางานได้เป็นอย่างดี นอกจาก
การซักประวัติการทํางานแล้ว แพทย์ยังต้องอาศัยผลจากการตรวจร่างกาย ผลการ
ตรวจทางห้องปฏิบัติการ และข้อมูลที่เกี่ยวข้องอื่นๆ เช่น ข้อมูลทางระบาดวิทยา
มาเป็นส่วนสนับสนุนการวินิจฉัยโรคจากการทํางานด้วย

48
หนังสืออ้างอิง
1. Harrison RJ, Mulloy KB. The occupational & environmental medical
history. In: LaDou J, Harrison RJ, editors. Current occupational and
environmental medicine. 5th ed. New York: McGraw-Hill Education;
2014. p. 26-31.
2. Parker JE. The occupational and environmental history and
examination. In: Rom WN, Markovitz SB, editors. Environmental
and occupational medicine. 4th ed. Philadelphia: Lippincott Williams
& Wilkins; 2007. p. 22-31.

หลักการวินิจฉัยโรคจากการทํางาน
เรียบเรียงโดย นพ.วิวัฒน์ เอกบูรณะวัฒน์

การวินิจฉัยโรค (diagnosis) เป็นกระบวนการหนึ่งที่แพทย์จําเป็นต้องทําเพื่อให้


สามารถรักษาโรคได้ การวินิจฉัยโรคในกรณีทั่วไป ก็คือการที่แพทย์ตัดสินใจหรือ
ลงความเห็นว่าผู้ป่วย “เป็นโรคอะไร” จากข้อมูลที่ได้จากการซักประวัติ การตรวจ
ร่างกาย และการส่งตรวจทางห้อ งปฏิบัติก าร ประมวลผลร่วมกับ ความรู้แ ละ
ประสบการณ์ของแพทย์ที่มี การวินิจฉัยโรคที่ถูกต้อง จะนําไปสู่การรักษาโรคที่
ถูกวิธี

แต่การวินิจฉัยโรคจากการทํางานนั้น ไม่ใช่การวินิจฉัยหาโรค แต่เป็นการวินิจฉัย


ว่าโรคที่เป็นอยู่นั้นเกิดจากการทํางานหรือไม่ หรืออาจกล่าวได้ว่า การวินิจฉัยโรค
จากการทํางานนั้นก็คือ “การวินิจฉัยหาสาเหตุ” ของโรคนั่นเอง ด้วยเหตุนี้ การ
วินิจฉัยโรคจากการทํางานจึงต้องใช้ความรู้ในการหาสาเหตุ (causal relationship)
มาพิจารณาเป็นหลักสําคัญ

49
การวิ นิ จ ฉั ย โรคในกรณี ทั่ ว ไปกั บ การวิ นิ จ ฉั ย โรคจากการทํ า งานนั้ น มี ค วาม
ต่อเนื่องกัน การวินิจฉัยโรคจากการทํางานจะทําได้ก็ต่อเมื่อแพทย์ทราบแล้วว่า
ผู้ป่วยเป็นโรคอะไร จึงจะสามารถวินิจฉัยได้ว่าโรคนั้นมีสาเหตุเกิดจากการทํางาน
หรือไม่

สรุปคือ... การวินิจฉัยโรคกรณีทั่วไป วินิจฉัยเพื่อดูว่า “ผู้ป่วยเป็นโรคอะไร” ส่วน


การวินิจฉัยโรคจากการทํางาน วินิจฉัยเพื่อดูว่า “สาเหตุของโรคเกิดจากการ
ทํางานหรือไม่”

ทฤษฎีสาเหตุของโรค (disease causation)


เนื่องจากการวินิจฉัยโรคจากการทํางานคือการวินิจฉัยสาเหตุ (cause) ของโรค
ดังนั้นจึงจําเป็นต้องกล่าวถึงทฤษฎีสาเหตุของโรค (disease causation) เป็นการ
เริ่มต้นก่อน ปัจจุบันแม้ว่ามนุษย์เราจะรู้จักโรคภัยต่างๆ มากมาย แต่ก็คงต้อง
ยอมรั บ ว่ า สาเหตุ ข องโรคหลายๆ โรคนั้ น เราก็ ยั ง ไม่ ท ราบสาเหตุ ที่ แ น่ ชั ด นั ก
ตัวอย่างเช่น โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคสะเก็ดเงิน เป็นต้น ทฤษฎีที่คาดคะเน
ถึงสาเหตุการเกิดโรคนั้นมีอยู่หลายทฤษฎี แต่ไม่มีทฤษฎีใดสามารถอธิบายสาเหตุ
การเกิดโรคทุกโรคได้อย่างครบถ้วนทั้งหมด แนวคิดเกี่ยวกับทฤษฎีสาเหตุของโรค
มีดังต่อไปนี้

1. Single cause VS Multiple causes


ช่วงเวลากว่าศตวรรษที่ผ่านมา ตั้งแต่วิชาระบาดวิทยาได้เริ่มถือกําเนิดขึ้น นัก
ระบาดวิทยาที่ศึกษาเรื่องสาเหตุของการเกิดโรคในยุคเริ่มแรก มีความเห็นว่าโรค
จะเกิดขึ้นจากสาเหตุของโรคอย่างใดอย่างหนึ่ง สาเหตุของโรคนี้เรียกว่าสิ่งก่อโรค
(agent) ซึ่งในยุคสมัยของการศึกษาในระยะเริ่มแรกนั้น โรคติดเชื้อเป็นโรคที่
ได้ รั บ ความสนใจและเป็ น ปั ญ หามาก สิ่ ง ก่ อ โรคที่ ว่ า นี้ ก็ คื อ เชื้ อ โรคชนิ ด ต่ า งๆ
นั่นเอง สาเหตุของโรคจึงถูกมองเป็นจากสาเหตุเดียว (single cause of disease)

50
ซึ่งส่วนใหญ่ก็คือจากตัวเชื้อโรคนั่นเอง เช่น โรคไข้มาลาเรีย ก็เกิดจากเชื้อมาลาเรีย
โรคอหิวาต์ ก็เกิดจากเชื้ออหิวาต์ เป็นต้น นี่คือแนวคิดในยุคเริ่มแรก ซึ่งทําให้เกิด
แนวคิดแบบจําลองปัจจัยสามทางระบาดวิทยา (epidemiologic triangle) ขึ้น

ต่อมาเมื่อความรู้ทางด้านการแพทย์พัฒนาขึ้น นักระบาดวิทยาก็เริ่มมีความเข้าใจ
มากขึ้นว่า โรคส่วนใหญ่ไม่ได้เกิดจากสาเหตุใดสาเหตุหนึ่งเพียงอย่างเดียว แต่มัก
เกิดจากหลายสาเหตุร่วมกัน (multiple causes of disease) ตัวอย่างของโรคที่
เกิดจากหลายสาเหตุ หรือที่เรียกว่า multifactorial disease ที่เห็นได้ชัดเจน เช่น
โรคเบาหวาน ซึ่งอาจจะเกิดจากทั้งปัจจัยด้านพันธุกรรม อาหารการกิน พฤติกรรม
การออกกําลังกาย อายุ และปัจจัยอื่นๆ ที่ยังไม่ทราบแน่ชัดอีกหลายอย่าง หรือ
โรคมะเร็งเต้านม ที่อาจเกิดจากทั้งปัจจัย พันธุกรรม การได้รับฮอร์โมนเพศเสริม
การไม่มีบุตร และจากปัจจัยอื่นๆ ที่ยังไม่ทราบแน่ชัด เหล่านี้เป็นต้น

2. Sufficient-cause model
จากการมองในภาพกว้ า งแบบหลายสาเหตุ อ ย่ า งที่ ก ล่า วมา ในตํ า ราทางด้ า น
ระบาดวิ ท ยาสมั ย ใหม่ จึ ง นิ ย ามให้ โ รคทุ ก โรคเป็ น โรคที่ มี ปั จ จั ย หลายอย่ า งมา
ประกอบกันทําให้เกิดขึ้น Kenneth J. Rothman และคณะ ได้เสนอไว้ในตํารา
“Modern epidemiology” ว่า แบบจําลองที่นํามาใช้อธิบายการเกิดโรคอาจใช้
แบบจําลอง sufficient-cause model หรืออาจเรียกว่า sufficient-component
cause model มาอธิบายจะเป็นการเข้าใจโรคต่างๆ ได้มากขึ้น หลักการของ
แบบจําลองนี้เชื่อว่าโรคทุกโรคเกิดจากปัจจัยหลายองค์ประกอบมาร่วมกันทําให้
เกิดเสมอ เมื่อแต่ละปัจจัยมาประสบเหมาะกันพอดีก็จะทําให้เกิดโรคขึ้นได้

ตัวอย่างเช่นการที่คนคนหนึ่งจะเดินไปตามทางเดินแล้วหกล้มจนเกิด “กระดูก
สะโพกหั ก ” ได้นั้ น จะต้อ งมี อ งค์ป ระกอบที่ พ อเหมาะพอเจาะหลายอย่ า งมา
ประกอบกัน สาเหตุของการเกิด “กระดูกสะโพกหัก” นั้น ครอบคลุมตั้งแต่ ฝนตก

51
ทําให้พื้นเปียก รองเท้าที่ใส่นั้นลื่น ทางที่เดินขรุขระเป็นหลุมบ่อ ทางเดินไม่มีราว
จับ รวมถึงปัจจัยอื่นๆ ที่ยังไม่สามารถแยกแยะได้อีกมากมายหลายประการ จาก
หลั ก คิ ด นี้ จ ะเห็ น ได้ ว่ า แนวคิ ด ว่ า การที่ “กระดู ก สะโพกหั ก ” นั้ น ต้ อ งอาศั ย
องค์ประกอบหลายอย่าง เกี่ยวข้องแม้แต่กับการที่ “ฝนตกจนทําให้พื้นเปียก”
ด้ ว ยแล้ ว เราอาจจะเรีย กได้ ว่า มุม มองตามแบบจํ า ลองนี้ เห็ น ทุ ก สิ่ ง ทุ ก อย่ า ง
สั ม พั น ธ์ กั น ไปหมดในลั ก ษณะ “เด็ ด ดอกไม้ ส ะเทื อ นถึ ง ดวงจั น ทร์ ” หรื อ ที่
ภาษาอังกฤษเรียกว่าทฤษฎี butterfly effect เลยทีเดียว

ในกรณีของโรคดั้งเดิมที่ดูเหมือนมีสาเหตุการเกิดเพียงสาเหตุเดียวชัดเจน เช่น
โรคติดเชื้อ ก็สามารถถูกพิจารณาแบบมุมกว้างว่าเป็นโรคที่มีสาเหตุจากหลาย
ปัจจัยได้ด้วย ตัวอย่าง เช่น วัณโรคปอด หากมองในแนวคิดเดิม สาเหตุของโรค
ย่อมมีเพียงอย่างเดียวคือตัวเชื้อแบคทีเรีย M. tuberculosis ที่เป็นสาเหตุทําให้
เกิดโรคขึ้น แต่หากมองให้กว้างขึ้น ปัจจัยตัวเชื้อโรคนั้นเป็นปัจจัยที่จําเป็นต่อการ
เกิดโรค (necessary cause) ก็จริง แต่การที่คนคนหนึ่งจะเกิดวัณโรคปอดขึ้นได้
ไม่เพียงแต่จะต้องมีเชื้อโรคเท่านั้น ยังต้องมีปัจจัยอื่นๆ อีกด้วย เช่น ต้องมีอากาศ
ที่ถ่ายเทไม่ดีทําให้เชื้อโรคลอยจากคนป่วยมาสู่คนปกติ ต้องอยู่ใกล้ชิดกับคนเป็น
โรคในระยะเวลาที่นานเพียงพอ คนที่รับเชื้อต้องมีภูมิคุ้มกันต่ํากว่าคนปกติทั่วไป
หากมองในมุมกว้างอย่างนี้ ก็อาจจะพูดได้ว่าวัณโรคปอด หรือโรคติดเชื้อชนิด
ต่างๆ ก็เป็น multifactorial disease เช่นกัน

กรณีของโรคจากสิ่งคุกคามจากการทํางานนั้น ยกตัวอย่างเช่น โรคปอดฝุ่นหิน


จริงอยู่สาเหตุสําคัญที่สุดที่ทําให้เกิดโรคขึ้นมาคือการสูดดมเอาฝุ่นหินเข้าไป “ฝุ่น
หิน” จึงเป็นสาเหตุของโรคในการมองแบบสาเหตุเดียว แต่หากมองให้มีหลาย
สาเหตุ การที่ฝุ่นหินจะทําให้เกิดโรคปอดฝุ่นหินขึ้นมาได้นั้น ต้องขึ้นอยู่กับอี ก
หลายปัจจัย คือต้องมีปริมาณฝุ่นที่เข้มข้นเพียงพอ ต้องทํางานสูดดมฝุ่นมานาน
เพี ย งพอ ต้ อ งมี อ ากาศที่ถ่ า ยเทไม่ ดี ต้ อ งไม่ มีก ารใส่ หน้ า กากกั น ฝุ่ น หรื อ ใส่ แ ต่

52
ประสิ ท ธิ ภ าพการป้ อ งกั น ไม่ ดี พ อ คนที่ สู ด ดมเอาฝุ่ น เข้ า ไปก็ อ าจจะมี ค วาม
ไวรับต่อโรคด้วย หากมองในภาพกว้างเช่นนี้ ก็กล่าวได้ว่าโรคปอดฝุ่นหินเป็น
multifactorial disease ได้อีกเช่นกัน

การมองสาเหตุของโรคในภาพกว้างขนาดนี้ มีข้อดีคือทําให้สามารถมีช่องทางการ
ป้องกันโรคได้มากขึ้น กล่าวคือหากเราจัดการแก้ไขกับปัจจัยสาเหตุอันใดอันหนึ่ง
แล้ว ก็จะทําให้โรคไม่เกิดขึ้นได้ อย่างไรก็ตามแนวคิดของแบบจําลองนี้เชื่อว่า โรค
หนึ่งโรคนั้นอาจจะเกิดจากการประกอบกันขององค์ประกอบได้หลายรูปแบบ
นอกจากนี้ยังมักจะมีปัจจัยองค์ประกอบที่ยังไม่สามารถแยกแยะได้ (เรียกว่า U
factor) อยู่ด้วยเสมอ แม้จะมองปัญหาได้ในมุมกว้างขึ้น แต่การป้องกันโรคให้ได้ผล
สําเร็จเสมอไปก็ยังทําไม่ได้ในความเป็นจริง

เนื่องจากทฤษฎีสาเหตุของโรคในปัจจุบันมีแนวโน้มไปทางโรคทุกโรคเกิดจาก
หลายสาเหตุ ดังนั้นการพิจารณาสาเหตุของโรคว่าเกิดจากการทํางานหรือไม่จึงทํา
ได้สลับซับซ้อนและยากขึ้น หากพิจารณาแบบมุมกว้างดังทฤษฎีใหม่ที่กล่าวมาแล้ว
นั้น คนที่จะไปซื้อเสื้อสูทมาใส่ทํางาน ถ้าขณะเดินไปซื้อเสื้อเกิดถูกรถชนแขนหัก
ก็ต้องบอกว่าการที่แขนหักนั้น มีสาเหตุ “เกี่ยวเนื่อง” กับการทํางานได้ การมอง
ในลักษณะนี้อาจกล่าวในลักษณะภาพรวมได้ว่า โรคทุกโรคเป็นโรคที่ “เกี่ยวเนื่อง”
กับการทํางานทั้งสิ้น

อย่างไรก็ตาม สาเหตุหนึ่งที่ต้องมีการวินิจฉัยโรคจากการทํางานนั้น เนื่องจาก


ระบบกองทุนเงินทดแทนที่มีอยู่ในประเทศที่พัฒนาด้านอุตสาหกรรมแทบทุก
ประเทศ กําหนดให้จ่ายเงินทดแทนให้กับคนที่เป็น “โรคจากการทํางาน” จึงเป็น
ที่มาของหน้าที่ที่แพทย์จะต้องวินิจฉัยแยกแยะว่า “การเจ็บป่วยใดเป็นจากการ
ทํางาน” และ “การเจ็บป่วยใดไม่ใช่จากการทํางาน” ขึ้น แม้ว่าทฤษฎีสาเหตุของ
โรคแบบมองภาพกว้างในยุคใหม่จะใช้ประโยชน์ในแง่การหาหนทางป้องกันโรคได้

53
ดี ก ว่ า การมองแบบทฤษฎี เ ก่ า ก็ จ ริ ง แต่ ใ นทางปฏิ บั ติ นั้ น ปั จ จุ บั น กองทุ น เงิ น
ทดแทนยังคงต้องการให้แยกแยะให้ได้ว่า “โรคใดเกิดจากการทํางาน” และ “โรค
ใดไม่ได้เกิดจากการทํางาน” เพื่อให้สามารถจ่ายเงินทดแทนแก่คนที่เจ็บป่วยจาก
การทํางานได้ ในการพิจารณาเพื่อวินิจฉัยโรคจากการทํางานในเนื้อหาส่วนต่อไป
นั้น จึงจะพิจารณาสาเหตุของโรคตามทฤษฎีเก่า คือแบ่งโรคเป็น “โรคที่มีสาเหตุ
เดียว” กับ “โรคที่มีหลายสาเหตุ” เป็นหลักเท่านั้น

ทําไมจึงต้องวินิจฉัยโรคจากการทํางาน
การวินิจฉัยโรคจากการทํางาน มีความสําคัญอยู่ 2 ประเด็นหลัก ประเด็นแรก
ดั ง ที่ ก ล่ า วไปแล้ ว คื อ เนื่ อ งจากระบบกองทุ น เงิ น ทดแทนจํ า เป็ น ต้ อ งทราบว่ า
คนทํางานใดเจ็บป่วยจากการทํางานบ้าง เพื่อที่จะได้จ่ายเงินชดเชยการเจ็บป่วย
นั้นให้แก่คนที่เจ็บป่วยจากการทํางานได้อย่างถูกต้อง การทํางานนั้นถือว่าเป็นการ
สร้างผลประโยชน์ให้นายจ้าง และก็ไม่ควรจะเป็นกิจกรรมที่เป็นสาเหตุให้คนถึง
แก่การเจ็บป่วยหรือล้มตายโดยไม่จําเป็น ระบบกองทุนเงินทดแทนมีขึ้นเพื่อชดเชย
ความสูญเสียต่อคนทํางานในเรื่องนี้

อี ก ประการหนึ่ ง ที่ ทํ า ให้ ก ารวิ นิ จ ฉั ย โรคจากการทํ า งานมี ค วามสํา คั ญ คื อ เพื่ อ


นําไปสู่การรวบรวมสถิติโรค จํานวนของผู้ป่วยโรคจากการทํางานที่เพิ่มขึ้นจะทํา
ให้เกิดการแก้ไขสภาพแวดล้อมการทํางานเพื่อให้คนทํางานเจ็บป่วยน้อยลงใน
อนาคต ซึ่งประเด็นนี้จะเป็นประโยชน์กับประเทศชาติและคนทํางานทุกคนใน
ภาพรวม ด้ ว ยความสํ า คั ญ ในข้ อ นี้ ทํ า ให้ ก ารวิ นิ จ ฉั ย โรคจากการทํ า งานใน
คนทํางานกลุ่มที่กองทุนเงินทดแทนไม่คุ้มครอง เช่น ข้าราชการหรือแรงงานนอก
ระบบ จึงยังคงมีความสําคัญอยู่

คําศัพท์ของระบบกองทุนเงินทดแทนที่เกี่ยวข้องกับโรคจากการทํางานนั้น จะแบ่ง
โรคออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ โรคจากการทํางาน (occupational disease) คือโรค

54
ที่ “ถ้าไม่ทํางานก็ไม่เกิดโรคนี้ขึ้น” และอีกกลุ่มคือ โรคที่เกี่ยวเนื่องกับการทํางาน
(work-related disease) คือโรคที่ไม่ได้เกิดจากการทํางานโดยตรง แต่การทํางาน
มีส่วนทําให้โรคมีอาการเปลี่ยนแปลง เป็นหนักขึ้นหรือเบาลงได้ โรคในกลุ่มนี้
“ถ้าไม่ทํางานก็ยังคงสามารถเกิดโรคขึ้น” ในการจ่ายเงินทดแทนนั้น กองทุนเงิน
ทดแทนของไทยจะจ่ายเงินให้กับผู้ป่วยที่เป็นโรคจากการทํางาน (occupational
disease) เท่านั้น ส่วนโรคที่เกี่ยวเนื่องกับการทํางาน (work-related disease)
จะไม่ได้รับเงินชดเชยการป่วยเป็นโรค

แนวทางการวินิจฉัยโรคจากการทํางาน
เมื่อได้ทราบถึงทฤษฎีสาเหตุของโรค และทราบถึงจุดมุ่งหมายในการวินิจฉัยโรค
จากการทํ า งานแล้ ว ในขั้ น ตอนการดํ า เนิ น การวิ นิ จฉั ย โรคจากการทํ า งานนั้ น
สํ า หรั บ ประเทศไทยควรวิ นิ จ ฉั ย ตามเกณฑ์ ที่ ก ฎหมายแรงงานได้ กํ า หนดไว้
กฎหมายที่ใช้ประกอบการวินิจฉัยโรคจากการทํางานสําหรับประเทศไทยปัจจุบัน
ให้ยึดตามประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่อง หลักเกณฑ์การ
วินิจฉัยและการประเมินการสูญเสียสมรรถภาพของผู้ป่วยหรือบาดเจ็บด้วยโรค
จากการทํางาน พ.ศ. 2540 และ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2541 เป็นหลัก รายละเอียดตาม
กฎหมายทั้ง 2 ฉบับนี้ เป็นดังนี้...

1. การวินิจฉัยโรคจากการทํางาน ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
1.1.มีหลักฐานทางการแพทย์แสดงการเจ็บป่วย ดังนี้
ก. เวชระเบียน
ข. ผลและรายงานการชันสูตรต่างๆ ที่เกี่ยวกับโรค
ค. ใบรับรองแพทย์
ง. ความเห็นของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
1.2.มี ก ารวิ นิ จ ฉั ย แยกสาเหตุ อื่ น ๆ ของการเจ็ บ ป่ ว ยซึ่ ง อาจทํา ให้ เ กิ ด การ
เจ็บป่วยแบบเดียวกัน (differential diagnosis)

55
1.3.มีประวัติหรือหลักฐานทางประวัติหรือหลักฐานอื่นแสดงถึงการได้รับสิ่ง
คุกคามทั้งในงานและนอกงาน
1.4.มีอาการหรืออาการแสดงครั้งแรก (onset) เกิดหลังจากสัมผัส (exposure)
และมีระยะเวลาก่อโรครายบุคคล (induction time)

2. นอกจากหลักฐานที่กําหนดไว้ตามข้อ 1. แล้ว อาจใช้หลักเกณฑ์ข้อใดข้อหนึ่ง


ประกอบการวินิจฉัยโรคได้ ดังต่อไปนี้
2.1.การวินิจฉัยด้วยการรักษาทางการแพทย์พิสูจน์สาเหตุของโรค เช่น โรคพิษ
สารตะกั่วอาจจําเป็นต้องทําการตรวจทดลองรักษาไปก่อน เพื่อให้ผู้ป่วย
ปลอดภัย หากอาการดีขึ้น แสดงว่าน่าจะเป็นโรคพิษจากตะกั่ว
2.2.อาการป่วยบางระยะสัมพันธ์กับการสัมผัสสิ่งแวดล้อมที่มีปัจจัยคุกคามใน
พื้นที่สงสัย
2.3.อาการป่วยบางระยะเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น เมื่อเว้นจากสิ่งแวดล้อม
ที่เป็นปัจจัยคุกคาม
2.4.มีผู้ป่วยในกลุ่มผู้สัมผัสลักษณะเดียวกันมากกว่าหนึ่งราย หรือมีรายงาน
การสอบสวนทางระบาดวิทยาสนับสนุน
2.5.สอดคล้องกับการศึกษาหรือรายงานในคน และสัตว์ก่อนหน้านี้

3. หลักเกณฑ์การวินิจฉัยโรค ให้อ้างอิงเอกสารทางการของ องค์การอนามัยโลก


(World Health Organization; WHO) องค์การแรงงานโลก (International
Labour Organization; ILO) และเกณฑ์สากลขององค์กรต่างประเทศที่เป็นที่
ยอมรับตามลําดับ และเอกสารจะต้องเป็นฉบับปัจจุบัน หรือเอกสารเล่มที่จะ
ออกใหม่

56
เกณฑ์นี้เป็นเกณฑ์การวินิจฉัยมาตรฐาน ที่สามารถนํามาใช้กับการวินิจฉัยโรคจาก
การทํางานได้ทุกโรค เมื่อพิจารณาจากเกณฑ์การวินิจฉัยทั้ง 3 ข้อหลักแล้ว สามารถ
อธิบายจุดมุ่งหมายรายละเอียดได้ดังนี้

เกณฑ์ข้ อ 1. นั้ น เป็ น ข้ อ มู ล หลัก ที่ จ ะต้ อ งมี เ พื่อ ใช้ ใ นการวิ นิ จ ฉั ย โรคจากการ
ทํางาน ข้อมูลจากข้อ 1.1 ได้แก่ เวชระเบียน รายงานการชันสูตรต่างๆ (ผลส่ง
ตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น ผลเลือด ผลปัสสาวะ ผลภาพรังสี) ใบรับรองแพทย์
และความเห็นของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญนั้น เป็นข้อมูลที่ต้องใช้เพื่อให้แน่ใจว่า การ
วินิจฉัยโรคว่าเป็นโรคอะไรนั้นทําได้ถูกต้อง เนื่องจากแพทย์จําเป็นต้องทราบว่า
ผู้ป่วยเป็นโรคอะไรอย่างแน่นอนเสียก่อน จึงจะสามารถพิจารณาต่อไปได้ว่าโรค
นั้นเกิดจากการทํางานหรือไม่ ข้อ 1.2 ที่ให้ทํา differential diagnosis แยกโรคที่
มีอาการเหมือนกันโรคอื่นๆ ออกไป ก็มีจุดประสงค์เช่นเดียวกัน

ข้อ 1.3 นั้น คือต้องมีหลักฐานที่ชัดเจนว่า ผู้ป่วยได้รับสัมผัส (exposure) ต่อสิ่ง


คุกคามก่อโรค (hazard) นั้นจริงๆ ส่วนข้อ 1.4 นั้น คือการยืนยันระยะเวลาก่อโรค
(induction time) ซึ่งตามหลักการแล้ว ผู้ป่วยจะต้องเริ่มมีอาการป่วย (onset)
หลังการสัมผัส (exposure) ต่อสิ่งคุกคาม (hazard) เสมอ

ส่วนเกณฑ์ข้อ 2. นั้น ส่วนใหญ่เป็นข้อสนับสนุนทางระบาดวิทยา ที่ถ้ามีเพิ่มเติม


ก็จะเป็นการช่วยสนับสนุนให้หลักฐานน่าเชื่อถือขึ้น ข้อ 2.1 กล่าวถึงการยอมรับ
การวินิจฉัยจากการลองรักษา (therapeutic diagnosis) ได้ หากเป็นการลอง
รักษาเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วย ข้อ 2.2 และ 2.3 กล่าวถึงเรื่องความจําเพาะ
(specificity) ของความสัมพันธ์ระหว่างการสัมผัสสิ่งคุกคามกับการเกิดโรค โดย
ข้อ 2.2 ให้พิจารณาว่า ถ้าหากสัมผัสสิ่งคุกคามก็จะเกิดโรคขึ้น ในทางกลับกัน ข้อ
2.3 ให้พิจารณาว่า ถ้าหากไม่ได้สัมผัสสิ่งคุกคาม ก็จะไม่เกิดโรคขึ้น ส่วนข้อ 2.4
เป็นการใช้ความรู้ทางระบาดวิทยามาอธิบายได้ว่า หากคนทํางานสัมผัสต่อสิ่ง

57
คุ ก คามในงานแบบเดี ย วกั น แล้ ว ย่ อ มมี โ อกาสที่ จ ะเกิ ด โรคแบบเดี ย วกั น กั บ
คนทํางานคนอื่นได้ (consistency) ข้อ 2.5 เป็นการหาข้อสนับสนุนจากการทบทวน
งานวิจัยและรายงานผู้ป่วยในอดีต (review of literature) ว่าเคยมีรายงานการ
เกิดโรคในลักษณะนี้ จากการสัมผัสสิ่งคุกคามชนิดนี้ มาก่อนหรือไม่ ซึ่งจะเป็น
ประโยชน์อย่างมาก กรณีที่สิ่งคุกคามนั้นเป็นสิ่งคุกคามใหม่ หรือไม่ค่อยได้มีการใช้
หรือยังมีข้อมูลเกี่ยวกับอันตรายของมันอยู่น้อย

เกณฑ์ข้อ 3. ซึ่งเป็นข้อสุดท้ายนั้น เป็นการชี้แจงให้ใช้เอกสารแนวทางขององค์กร


ที่น่าเชื่อถือมาอ้างอิง คือกําหนดให้ใช้เอกสารของ WHO และ ILO เป็นหลัก
เนื่องจากในช่วงเวลาที่ประกาศใช้กฎหมายฉบับนี้ (พ.ศ. 2540) ยังไม่มีการจัดทํา
เอกสารแนวทางการวินิจฉัยโรคจากการทํางานของประเทศไทยขึ้น อย่างไรก็ตาม
ในช่วงหลายปีต่อมา กระทรวงแรงงานได้พัฒนาจัดทําแนวทางการวินิจฉัยโรคจาก
การทํางานในรายละเอียดของแต่ละโรค ที่เป็นภาษาไทยขึ้นจนสําเร็จ เล่มล่าสุด
ในปัจจุบันคือ “มาตรฐานการวินิจฉัยโรคจากการทํางานฉบับเฉลิมพระเกียรติ
เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550” ซึ่ง
สามารถนํามาใช้อ้างอิงประกอบไปกับเอกสารขององค์กรต่างประเทศได้

การวินิจฉัยโรคจากการทํางานในภาคปฏิบัติ
จากเกณฑ์การวินิจฉัยโรคจากการทํางานตามกฎหมายที่ระบุมา หากดําเนินการ
หาข้อมูลตามเกณฑ์ที่กําหนดอย่างครบถ้วนแล้ว แพทย์ก็จะสามารถประเมินได้ว่า
โรคที่ผู้ป่วยเป็นนั้นเกิดจากการทํางานหรือไม่ อย่างไรก็ตามในทางปฏิบัติจริงนั้น
ข้อมูลที่ได้รับทั้งจากการสอบถามผู้ป่วย จากการสอบถามฝ่ายนายจ้าง การตรวจ
ร่างกาย และการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ ก็อาจจะยังไม่มากเพียงพอที่จะ
ประเมินได้ โดยเฉพาะหากโรคที่วินิ จฉัย นั้นมี ความก้ํ ากึ่ง คืออาจเกิดจากการ
ทํางานก็ได้ หรือ ไม่ใช่จากการทํางานก็ได้

58
เพื่อให้ผู้อ่านสามารถนําแนวทางการวินิจฉัยโรคจากการทํางานไปใช้ปฏิบัติได้จริง
จะขอกล่าวในรายละเอียดการประเมินเพื่อวินิจฉัยโรคจากการทํางานเพิ่มเติมให้
ชัดเจนขึ้น โรคต่างๆ ที่พบนั้น หากพิจารณาตามทฤษฎีสาเหตุของโรคแบบเก่า
(คือแบ่งเป็นโรคที่มีสาเหตุเดียว กับ โรคที่มีหลายสาเหตุ) แล้วนํามาเทียบกับ
เกณฑ์การวินิจฉัยโรคจากการทํางานตามที่กล่าวมา จะสามารถแบ่งโรคออกได้
เป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ

กลุ่มที่ (1) คือกลุ่มโรคที่ประเมินแล้วมักชัดเจนว่าเป็นจากการทํางานแน่ๆ (ขอ


เรียกว่ากลุ่มโรคสีดํา) กลุ่มที่ (2) คือกลุ่มโรคที่ประเมินแล้วมักชัดเจนว่าสาเหตุ
ไม่ได้เป็นจากการทํางานแน่ๆ (ขอเรียกว่ากลุ่มโรคสีขาว) และกลุ่มสุดท้าย กลุ่มที่
(3) คือกลุ่มโรคที่มีหลายสาเหตุ ทําให้ประเมินแล้วมักมีความก้ํากึ่ง ทําให้ไม่แน่ว่า
โรคนี้เกิดจากการทํางานหรือไม่ (ขอเรียกว่ากลุ่มโรคสีเทา) แนวทางการดําเนินการ
ในแต่ละกลุ่มโรคจะแตกต่างกันออกไป โดยมีคําแนะนําทั่วๆ ไปดังนี้

(1) กลุ่มโรคสีดํา คือโรคที่มีสาเหตุเดียว และมักรู้กันมานานแล้วว่าสาเหตุนั้นเกิด


จากการทํา งาน โรคกลุ่ ม นี้ เช่ น โรคปอดฝุ่ น หิ น (silicosis) โรคปอดใยหิ น
(asbestosis) โรคปอดชานอ้อย (bagassosis) โรคปอดฝุ่นฝ้าย (byssinosis) โรค
ปอดฝุ่นเหล็ก (siderosis) โรคพิษตะกั่ว (lead poisoning) โรคพิษแคดเมียม
(cadmium poisoning) โรคพิษสารหนู (arsenic poisoning) โรคพิษแมงกานีส
(manganese poisoning) โรคพิษตัวทําละลาย (solvent poisoning) โรคพิษ
สารกําจัดศัตรูพืช (pesticide poisoning) โรคแก้วหูทะลุจากการสัมผัสเสียงดัง
(acoustic trauma) โรคน้ําหนีบ (decompression sickness) การบาดเจ็บจาก
การทํางาน (occupational injury) เป็นต้น

โรคในกลุ่มโรคสีดํานี้ เมื่อวินิจฉัยโรคได้ถูกต้องชัดเจนแล้ว ให้หาข้อมูลเพื่อพิสูจน์


การสัมผัส (exposure) ต่อสิ่งคุกคามก่อโรคให้ชัดเจน หากมีข้อมูลการสัมผัสต่อ

59
สิ่งคุกคามที่สงสัยว่ามาจากการทํางานชัดเจนแน่นอนแล้ว ก็มักจะแน่ใจได้เลยว่า
โรคนี้เกิดจากการทํางานแน่นอน สามารถวินิจฉัยว่าเป็นโรคจากการทํางานได้
อย่างมั่นใจ

(2) กลุ่มโรคสีขาว จะตรงข้ามกับกลุ่มโรคสีดํา คือจะเป็นโรคที่มีสาเหตุที่ค่อนข้าง


แน่ชัด เป็นที่ยอมรับกันอยู่เพียงสาเหตุเดียว และสาเหตุนั้นก็ไม่เกี่ยวเนื่องกับการ
ทํางานเลย จึงมักทําให้พิจารณาได้ชัดเจนว่าโรคกลุ่มนี้ไม่ได้เกิดจากการทํางานแน่ๆ
ตัวอย่างเช่น โรคทาลัสซีเมีย (ทราบกันมานานแล้วว่าโรคนี้เกิดจากพันธุกรรม
ไม่ได้เกิดจากการทํางาน ไม่ว่าจะทํางานอะไรก็เป็นโรคนี้ได้) ลิ้นหัวใจรั่ว (โรคนี้
ทราบกันมานานแล้วว่าเป็นโรคแต่กําเนิด ไม่ใช่เกิดจากการทํางาน) โรค G6PD
deficiency (เป็นโรคจากพันธุกรรม ไม่ได้เกิดจากการทํางาน ไม่ว่าทํางานอะไรก็
เป็นโรคนี้ได้) โรคพยาธิตัวตืดในลําไส้ (เกิดจากการกินอาหารสุกๆ ดิบๆ ไม่ได้เกิด
จากการทํางาน) เหล่านี้เป็นต้น

โรคในกลุ่มสีขาวนี้ หากพบมักไม่เป็นปัญหากับแพทย์มากนักในการวินิจฉัย เพราะ


แพทย์ส่วนใหญ่จะประเมินได้ตรงกันว่าไม่ได้เกิดจากการทํางานแน่นอน

(3) ส่วนโรคสีเทานั้น เป็นโรคที่มีลักษณะก้ํากึ่ง เนื่องจากมีสาเหตุการเกิดได้หลาย


สาเหตุ อาจจะเกิดจากการทํางานก็ได้ หรือไม่ได้เกิดจากการทํางานก็ได้ ทําให้
แพทย์ตัดสินวินิจฉัยว่าเป็นจากการทํางานหรือไม่ได้ยาก นอกจากนี้โรคที่อยู่ใน
กลุ่มโรคสีเทา ยังเป็นกลุ่มโรคที่มีจํานวนมากที่สุดอีกด้วย ปัญหาความไม่แน่ใจใน
การวินิจฉัยโรคจากการทํางานของแพทย์ จึงมักพบได้บ่อย

ตัวอย่างของโรคสีเทาที่มีลักษณะก้ํากึ่งนี้ เช่น โรคปวดหลังจากกล้ามเนื้อหลัง


อักเสบ (อาจเกิดจากการทํางานยกของหนักก็ได้ หรือเกิดจากการไปยกของหนัก
นอกเวลางานก็ได้ หรือเกิดจากการนั่งผิดท่าก็ได้) โรคประสาทหูเสื่อม (อาจเกิด

60
จากการทํางานสัมผัสเสียงดังก็ได้ การไปเที่ยวดิสโก้เทคนอกเวลางานก็ได้ หรือ
การที่มีอายุมากขึ้นแล้วหูเสื่อมลงก็ได้) โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ (อาจเกิดจากการ
สัมผัสสารเคมีบางอย่างในงาน เช่น แก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์ก็ได้ หรือเกิดจาก
ไขมันอุดตันหลอดเลือดก็ได้ หรือเกิดจากการสูบบุหรี่ก็ได้ โดยมากก็มักจะเกิดจาก
หลายสาเหตุมาประกอบกันอีกด้วย ทําให้วินิจฉัยว่าเป็นจากการทํางานหรือไม่ได้
ยาก) โรคผื่นแพ้ที่มือ (อาจเกิดจากการสัมผัสสารเคมีในที่ทํางานก็ได้ หรือเกิดจาก
การสัมผัสสารเคมีที่บ้านก็ได้) เหล่านี้เป็นต้น

จะเห็นได้ว่าโรคในกลุ่มสีเทาที่มีลักษณะก้ํากึ่งนั้น จะวินิจฉัยว่าเป็นโรคจากการ
ทํางานหรือไม่ได้ยากที่สุด แนวทางการดําเนินการเพื่อช่วยให้สามารถวินิจฉัยโรค
ในกลุ่มสีเทาได้ง่ายขึ้น ขอเสนอให้ทําดังนี้

1. ทําการวินิจฉัยโรคให้ได้แน่นอน ต้องทราบการวินิจฉัยยืนยัน (definite


diagnosis) ที่ถูกต้องและชัดเจนว่าผู้ป่วยเป็นโรคอะไร
2. รวบรวมข้ อ มู ล ตามเกณฑ์ ม าตรฐานการวิ นิ จ ฉั ย โรคจากการทํา งานที่
กําหนดไว้ตามกฎหมาย ให้ได้ข้อมูลมากที่สุด พยายามซักประวัติอาชีพให้
ละเอียด ตรวจร่างกาย และส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการอย่างถี่ถ้วน
3. สอบถามถึงอาการเจ็บป่วยว่ามีมากขึ้นหรือลดลงสัมพันธ์กับงานหรือไม่
อาการป่ ว ยเกิ ด ขึ้ น หลั ง จากที่ เ ข้ า มาทํ า งานหรื อ ไม่ มี เ พื่ อ นร่ ว มงานที่
เจ็บป่วยเหมือนผู้ป่วยหรือไม่
4. ซักประวัติข้อมูลการสัมผัสต่อสิ่งคุกคามให้ได้ละเอียดที่สุดเท่าที่ทําได้ หาก
สามารถไปสํารวจโรงงานของผู้ป่วยได้ก็อาจจะได้ข้อมูลการสัมผัสต่อสิ่ง
คุกคามมากขึ้น ประวัติการสัมผัสต่อสิ่งคุกคามนี้ ถ้าสอบถามได้ชัดเจนจะ
ช่วยสนับสนุนว่ามีโอกาสเป็นโรคที่เกิดจากการทํางานได้สูง

61
หลั ง จากที่ ไ ด้ ดํา เนิ น การตามคํา แนะนํา เหล่ า นี้ แ ล้ ว จะทํา ให้ ไ ด้ ข้ อ มู ล เพื่ อ มา
ประเมินและตัดสินใจมากขึ้น ถ้าข้อมูลโดยเฉพาะข้อมูลการสัมผัสต่อสิ่งคุกคามดู
สนับสนุนว่าเป็นโรคจากการทํางาน ก็สามารถลงความเห็นวินิจฉัยว่าเป็นโรคจาก
การทํางานได้ แต่หากข้อมูลสนับสนุนว่าไม่เป็นโรคจากการทํางาน ก็ควรวินิจฉัย
ไปตามจริงว่าไม่ได้เป็นโรคจากการทํางาน

กลุ่มโรคที่มีลักษณะก้ํากึ่งเป็นสีเทานี้ มีแนวทางอีกอย่างหนึ่งที่จะช่วยคาดการณ์
ได้ว่า แพทย์ควรลงความเห็นวินิจฉัยเป็นโรคจากการทํางานหรือไม่หากข้อมูลที่มี
อยู่นั้นก้ํากึ่งมาก แนวทางการตัดสินใจนั้นก็คือการพิจารณาจากบัญชีรายชื่อโรค
จากการทํางาน ซึ่งในแต่ละประเทศจะมีการกําหนดบัญชี รายชื่อโรคจากการ
ทํางานไว้อยู่จํานวนไม่เท่ากัน หากโรคที่วินิจฉัยมีการบรรจุไว้ในบัญชีรายชื่อโรค
จากการทํางานของประเทศแล้ว ก็มีแนวโน้มว่ามีความเหมาะสมที่จะเบิกเงิน
ทดแทนจากการเจ็บป่วยด้วยโรคนั้นๆ ได้ ยกตัวอย่างเช่น บัญชีรายชื่อโรคจาก
การทํางานของประเทศไทยนั้น ได้ทําการปรับปรุงครั้งล่าสุดเมื่อปี พ.ศ. 2550 ซึ่ง
การปรับปรุงครั้งนี้ได้กําหนดให้ โรคกระดูกและกล้ามเนื้อ โรคผื่นแพ้ผิวหนัง และ
โรคมะเร็ง ซึ่งล้วนแต่จัดว่าเป็นโรคที่มีความก้ํากึ่ง สามารถวินิจฉัยว่าเป็นโรคจาก
การทํ า งานได้ ทํ า ให้ ก ารวิ นิ จ ฉั ย โรคเหล่ า นี้ เ พื่ อ ส่ ง เบิ ก เงิ น ชดเชยได้ รั บ การ
สนับสนุนมากขึ้น

บัญชีรายชื่อโรคจากการทํางานของประเทศไทย ตามประกาศกระทรวงแรงงาน
เรื่องกําหนดชนิดของโรคซึ่งเกิดขึ้นตามลักษณะหรือสภาพของงานหรือเนื่องจาก
การทํางาน พ.ศ. 2550 มีจํานวนทั้งหมด 80 โรค ดังนี้

1. โรคที่เกิดขึ้นจากสารเคมีดังต่อไปนี้
(1) เบริลเลียม หรือสารประกอบของเบริลเลียม
(2) แคดเมียม หรือสารประกอบของแคดเมียม

62
(3) ฟอสฟอรัส หรือสารประกอบของฟอสฟอรัส
(4) โครเมียม หรือสารประกอบของโครเมียม
(5) แมงกานีส หรือสารประกอบของแมงกานีส
(6) สารหนู หรือสารประกอบของสารหนู
(7) ปรอท หรือสารประกอบของปรอท
(8) ตะกั่ว หรือสารประกอบของตะกั่ว
(9) ฟลูออรีน หรือสารประกอบของฟลูออรีน
(10) คลอรีน หรือสารประกอบคลอรีน
(11) แอมโมเนีย
(12) คาร์บอนไดซัลไฟด์
(13) สารอนุพันธ์ฮาโลเจนของสารไฮโดรคาร์บอน
(14) เบนซีน หรือสารอนุพันธ์ของเบนซีน
(15) อนุพันธ์ไนโตรและอะมิโนของเบนซีน
(16) ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ หรือกรดซัลฟูริค
(17) ไนโตรกลีเซอรีน หรือกรดไนตริคอื่นๆ
(18) แอลกอฮอล์ กลัยคอล หรือคีโตน
(19) คาร์บอนมอนนอกไซด์ ไฮโดรเจนไซยาไนด์ หรือสารประกอบของ
ไฮโดรเจนไซยาไนด์ ไฮโดรเจนซัลไฟด์
(20) อะครัยโลไนไตรล์
(21) ออกไซด์ของไนโตรเจน
(22) วาเนเดียม หรือสารประกอบของวาเนเดียม
(23) พลวง หรือสารประกอบของพลวง
(24) เฮกเซน
(25) กรดแร่ที่เป็นสาเหตุให้เกิดโรคฟัน
(26) เภสัชภัณฑ์
(27) ทัลเลียม หรือสารประกอบของทัลเลียม

63
(28) ออสเมียม หรือสารประกอบของออสเมียม
(29) เซลีเนียม หรือสารประกอบของเซลีเนียม
(30) ทองแดง หรือสารประกอบของทองแดง
(31) ดีบุก หรือสารประกอบของดีบุก
(32) สังกะสี หรือสารประกอบของสังกะสี
(33) โอโซน ฟอสยีน
(34) สารทําให้ระคายเคือง เช่น เบนโซควินโนน หรือสารระคายเคืองต่อ
กระจกตา เป็นต้น
(35) สารกําจัดศัตรูพืช
(36) อัลดีไฮด์ ฟอร์มาลดีไฮด์ และกลูตารัลดีไฮด์
(37) สารกลุ่มไดอ๊อกซิน
(38) สารเคมี หรือสารประกอบของสารเคมีอื่น ซึ่งพิสูจน์ได้ว่ามีสาเหตุ
เนื่องจากการทํางาน
2. โรคที่เกิดขึ้นจากสาเหตุทางกายภาพ
(1) โรคหูตึงจากเสียง
(2) โรคจากความสั่นสะเทือน
(3) โรคจากความกดดันอากาศ
(4) โรคจากรังสีแตกตัว
(5) โรคจากรังสีความร้อน
(6) โรคจากแสงอัลตราไวโอเลต
(7) โรคจากรังสีไม่แตกตัวอื่นๆ
(8) โรคจากแสงหรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
(9) โรคจากอุณหภูมิต่ํา หรือสูงผิดปกติมาก
(10) โรคที่ เ กิ ด ขึ้ น จากสาเหตุ ท างกายภาพอื่ น ซึ่ ง พิ สู จ น์ ไ ด้ ว่ า มี ส าเหตุ
เนื่องจากการทํางาน

64
3. โรคที่เกิดขึ้นจากสาเหตุทางชีวภาพ ได้แก่ โรคติดเชื้อ หรือโรคปรสิตเนื่องจาก
การทํางาน
4. โรคระบบหายใจที่เกิดขึ้นเนื่องจากการทํางาน
(1) โรคกลุ่มนิวโมโคนิโอสิส เช่น ซิลิโคสิส แอสเบสโทสิส ฯลฯ
(2) โรคปอดจากโลหะหนัก
(3) โรคบิสสิโนสิส
(4) โรคหืดจากการทํางาน
(5) โรคปอดอักเสบภูมิไวเกิน
(6) โรคซิเดโรสิส
(7) โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง
(8) โรคปอดจากอะลูมิเนียม หรือสารประกอบของอะลูมิเนียม
(9) โรคทางเดินหายใจส่วนบนเกิดจากสารภูมิแพ้หรือสารระคายเคืองในที่
ทํางาน
(10) โรคระบบหายใจอื่น ซึ่งพิสูจน์ได้ว่ามีสาเหตุเนื่องจากการทํางาน
5. โรคผิวหนังที่เกิดขึ้นเนื่องจากการทํางาน
(1) โรคผิวหนังที่เกิดจากสาเหตุทางกายภาพ เคมี หรือชีวภาพอื่น ซึ่งพิสูจน์
ได้ว่ามีสาเหตุเนื่องจากการทํางาน
(2) โรคด่างขาวจากการทํางาน
(3) โรคผิวหนังอื่น ซึ่งพิสูจน์ได้ว่ามีสาเหตุเนื่องจากการทํางาน
6. โรคระบบกล้ามเนื้อและโครงสร้างกระดูกที่เกิดขึ้นเนื่องจากการทํางานหรือ
สาเหตุจากลักษณะงานที่จําเพาะหรือมีปัจจัยเสี่ยงสูงในสิ่งแวดล้อมการทํางาน
7. โรคมะเร็งที่เกิดขึ้นเนื่องจากการทํางานโดยมีสาเหตุจาก
(1) แอสเบสตอส (ใยหิน)
(2) เบนซิดีน และเกลือของสารเบนซิดีน
(3) บิสโครโรเมทธิลอีเทอร์
(4) โครเมียมและสารประกอบของโครเมียม

65
(5) ถ่านหิน
(6) เบต้า – เนพธีลามีน
(7) ไวนิลคลอไรด์
(8) เบนซีนหรืออนุพันธ์ของเบนซีน
(9) อนุพันธ์ของไนโตรและอะมิโนของเบนซีน
(10) รังสีแตกตัว
(11) น้ํามันดิน หรือ ผลิตภัณ ฑ์จ ากน้ํามัน ดิน เช่น น้ํามัน ถ่านหิน น้ํามัน
เกลื อ แร่ รวมทั้ ง ผลิ ต ภั ณ ฑ์ จ ากการกลั่ น น้ํา มั น เช่ น ยางมะตอย
พาราฟินเหลว
(12) ไอควันจากถ่านหิน
(13) สารประกอบของนิกเกิล
(14) ฝุ่นไม้
(15) ไอควันจากเผาไม้
(16) โรคมะเร็งที่เกิดจากปัจจัยอื่น ซึ่งพิสูจน์ได้ว่ามีสาเหตุเนื่องจากการ
ทํางาน
8. โรคอื่น ๆ ซึ่งพิสูจน์ได้ว่าเกิดขึ้นตามลักษณะหรือสภาพของงานหรือเนื่องจาก
การทํางาน

หากโรคที่วินิจฉัยอยู่ในบัญชีรายชื่อโรคจากการทํางานของประเทศ การวินิจฉัยโรค
นั้นเป็นโรคจากการทํางานก็เป็นสิ่งที่เหมาะสม อย่างไรก็ตาม หากโรคที่พิจารณา
ไม่มีอยู่ในบัญชีรายชื่อโรคจากการทํางาน แต่แพทย์ประเมินแล้วว่าน่าจะเป็นโรค
จากการทํางานจริง แพทย์ก็ยังสามารถเขียนวินิจฉัยและยื่นเรื่องเข้าสู่ระบบกองทุน
เงินทดแทนได้ เนื่องจากในบัญชีรายชื่อโรคจากการทํางานของประเทศไทยข้อ
สุดท้าย คือข้อที่ 8. อนุญาตให้วินิจฉัย “โรคอื่นๆ ซึ่งพิสูจน์ได้ว่าเกิดขึ้นตามลักษณะ
หรือสภาพของงานหรือเนื่องจากการทํางาน” ได้

66
บัญชีรายชื่อโรคจากการทํางานนั้น ในแต่ละประเทศจะมีจํานวนรายชื่อโรคไม่
เท่ากัน ในบางประเทศการทํางานหนักจนตาย (Karoshi disease) การฆ่าตัวตาย
เนื่องจากมีความเครียดจากงาน หรือการเป็นโรคหลอดเลือดหัวใจตีบหลังจากการ
ทํางานโดยไม่ได้พักผ่อน สามารถเบิกเงินทดแทนได้ แต่สําหรับประเทศไทย โรค
เหล่านี้ยังไม่ได้ถูกบรรจุเอาไว้ในบัญชีรายชื่อโรคจากการทํางาน หากมีผู้ยื่นเรื่อง
ขอเบิกเงินทดแทนมา อาจจะต้องผ่านการพิจารณาจากคณะอนุกรรมการการแพทย์
ก่อน จึงจะทราบว่าสามารถเบิกเงินชดเชยได้หรือไม่

ตามระบบกองทุนเงินทดแทนของประเทศไทยนั้น เมื่อแพทย์ที่โรงพยาบาลได้ทํา
การวิ นิ จ ฉั ย ลู ก จ้ า งว่ า เป็ น โรคจากการทํา งานแล้ ว แพทย์ จ ะต้ อ งเขี ย นใบลง
ความเห็นคือใบ กท.16/1 ส่งให้กับกองทุนเงินทดแทน (โดยนายจ้างเขียนใบแจ้ง
การประสบอันตราย กท.16 กับใบแจ้งส่งตัวลูกจ้างเข้ารับการรักษาพยาบาล กท.
44 แนบไปด้วย) เมื่อส่งให้เจ้าหน้าที่กองทุนเงินทดแทนพิจารณาแล้ว หากเห็นว่า
มี ร ายละเอี ย ดการลงความเห็ น ชั ด เจน ลู ก จ้ า งก็ จ ะได้ รั บ เงิ น ชดเชยจากการ
เจ็บป่วยจากการทํางานนั้น แต่หากข้อมูลการวินิจฉัยที่แพทย์เขียนมาไม่ละเอียด
กํากวม หรือวงเงินค่ารักษาพยาบาลสูงมาก เจ้าหน้าที่กองทุนเงินทดแทนก็จะส่ง
เรื่องเข้าคณะอนุกรรมการการแพทย์ ที่กระทรวงแรงงานแต่งตั้งขึ้น ให้พิจารณา
ความเหมาะสมอี ก ทอดหนึ่ ง ดั ง นั้ น เมื่ อ แพทย์ ที่ โ รงพยาบาลเขี ย นวิ นิ จ ฉั ย ลง
ความเห็นว่าเป็นโรคจากการทํางานไปแล้ว หากเขียนข้อมูลได้ละเอียดชัดเจน
เพียงพอและโรคนั้นเกิดจากการทํางานจริง ลูกจ้างก็มีโอกาสที่จะได้รับเงินชดเชย
สูง การได้รับเงินชดเชยของลูกจ้างนั้น จะได้รับค่าแรงชดเชยในกรณีที่ต้องหยุด
งานมากกว่า 3 วันขึ้นไป และหากมีการสูญเสียอวัยวะ ก็จะได้เงินค่าชดเชยอวัยวะ
ที่สูญเสียไป รวมถึงค่าฟื้นฟูสมรรถภาพด้วย

อย่างไรก็ตามการวินิจฉัยโรคจากการทํางานนี้ นอกจากลูกจ้างจะได้รับเงินชดเชย
และการดูแลจากกองทุนเงินทดแทนแล้ว ผลที่เกิดขึ้นกับฝั่งนายจ้างคือ นายจ้าง

67
จะต้องเสียค่าประสบการณ์ ทําให้ต้องจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนเงินทดแทนเพิ่มขึ้น
ในปีต่อๆ ไป และหากเป็นโรคที่มีความรุนแรง เช่น ถึงกับทําให้ลูกจ้างเสียชีวิต ก็
มักจะมีพนักงานตรวจแรงงานไปตรวจสอบที่โรงงานด้วย ดังนั้นการลงความเห็น
วินิจฉัยโรคจากการทํางานของแพทย์จึงทําให้เกิดผลได้ผลเสียทั้งต่อฝ่ายนายจ้าง
และฝ่ายลูกจ้างเสมอ หากมีเรื่องฟ้องร้องระหว่างลูกจ้างกับนายจ้างขึ้นในภายหลัง
แพทย์ที่เป็นผู้วินิจฉัยโรคจากการทํางานก็อาจถูกเรียกไปเป็นพยานผู้เชี่ยวชาญที่
ศาลได้ ในกรณีที่ปัญหาการวินิจฉัยโรคจากการทํางานมีความสลับซับซ้อน แพทย์
ที่ไม่คุ้นเคยกับการดูแลผู้ป่วยโรคจากการทํางานมาก่อนอาจส่งปรึกษาแพทย์อาชีว
เวชศาสตร์ เพื่อให้เป็นผู้วินิจฉัยโรคจากการทํางานให้แทนได้

อีกประเด็นหนึ่งที่เกี่ยวกับระบบการจ่ายเงินชดเชยของกองทุนเงินทดแทนของ
ประเทศไทยที่ควรทราบ คือการจ่ายเงินของกองทุนเงินทดแทน ถ้าพิจารณาแล้ว
ว่าเป็นโรคจากการทํางาน (occupational disease) ก็จะจ่ายเงินให้เต็มจํานวนที่
ลูกจ้างมีสิทธิจะได้ แต่หากพิจารณาแล้วเห็นว่าไม่ได้เป็นโรคจากการทํางาน ไม่ว่า
จะระบุเป็นโรคที่เกี่ยวเนื่องกับการทํางาน (work-related disease) หรือไม่
เกี่ยวเนื่องกับการทํางานก็ตาม กองทุนเงินทดแทนก็จะไม่จ่ายเงินให้เลย คือการ
จ่ายเงินจะเป็นลักษณะ all or none (จ่ายเต็มจํานวนหรือไม่จ่ายเลยเท่านั้น)

ในบางประเทศอาจมีลักษณะการจ่ายเงินทดแทนที่ต่างไปจากนี้ สืบเนื่องจาก
ทฤษฎีสาเหตุของโรคที่เชื่อว่าโรคส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากหลายสาเหตุร่วมกัน
จากแนวคิดนี้ทําให้ระบบการวินิจฉัยโรคจากการทํางานและการจ่ายเงินทดแทน
ในบางประเทศ มีการปรับจ่ายตามสัดส่วนของงานที่คาดว่าจะเป็นสาเหตุที่ทําให้
เกิดโรค ตัวอย่างเช่น หากแพทย์คาดคะเนว่าการที่พนักงานดับเพลิงเพศชายคน
หนึ่งอายุ 35 ปี รูปร่างไม่อ้วน แต่สูบบุหรี่จัด และมีไขมันสูง จะเป็นโรคหลอดเลือด
หัวใจตีบจากการสูดดมแก๊สคาร์บอนมอนอกไซด์จากการเข้าไปผจญเพลิงในตึก
แห่งหนึ่ง แพทย์วินิจฉัยลงความเห็น ว่าการทํางานผจญเพลิงนี้มีสัดส่ว นทํา ให้

68
พนักงานคนนี้ป่วยเป็นโรคเท่าใด (เช่น มีสัดส่วน 70% ในการทําให้เกิดโรคขึ้น)
การตั ด สิ น จ่ า ยเงิ น ทดแทนก็ จ ะพิ จ ารณาให้ ต ามสั ด ส่ ว นที่ แ พทย์ ล งความเห็ น
อย่างไรก็ตามระบบการวินิจฉัยแบบนี้ยังไม่มีการใช้ในประเทศไทยในปัจจุบัน

หนังสืออ้างอิง
1. Rothman KJ, Greenland S, Poole C, Lash TL. Causation and causal
inference. In: Rothman KJ, Greenland S, Lash TL, editors. Modern
epidemiology. 3rd ed. Philadelphia: Lippincott Williams & Wilkins;
2008. p. 5-31.
2. Syme SL. Multifactorial diseases. The Gale encyclopedia of public
health [Internet]. 2002 [cited 2017 Jan 7]; Available from: http://
www.encyclopedia.com/education/encyclopedias-almanacs-tran
scripts-and-maps/multifactorial-diseases.
3. โยธิน เบญจวัง, วิลาวัณย์ จึงประเสริฐ, บรรณาธิการ. มาตรฐานการวินิจฉัยโรค
จากการทํางาน ฉบั บ เฉลิ ม พระเกี ย รติ เ นื่อ งในโอกาสมหามงคลเฉลิ ม พระ
ชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550. นนทบุรี: สํานักงานกองทุนเงิน
ทดแทน สํานักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน; 2550.
4. ประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่อง หลักเกณฑ์การวินิจฉัย
และการประเมินการสูญเสียสมรรถภาพของผู้ป่วยหรือบาดเจ็บด้วยโรคจากการ
ทํางาน. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 114 ตอนพิเศษ 39 ง. (ลงวันที่ 22 พฤษภาคม
2540).
5. ประกาศกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรื่อง หลักเกณฑ์การวินิจฉัย
และการประเมินการสูญเสียสมรรถภาพของผู้ป่วยหรือบาดเจ็บด้วยโรคจากการ
ทํางาน (ฉบับที่ 2). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 115 ตอนพิเศษ 31 ง. (ลงวันที่ 30
มีนาคม 2541).

69
6. ประกาศกระทรวงแรงงาน เรื่อง กําหนดชนิดของโรคซึ่งเกิดขึ้นตามลักษณะ
หรือสภาพของงานหรือเนื่องจากการทํางาน. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 124
ตอนพิเศษ 97 ง. (ลงวันที่ 24 กรกฎาคม 2550).
7. LaDou J, Craner J. Workers’ compensation. In: LaDou J, Harrison RJ,
editors. Current occupational and environmental medicine. 5th ed.
New York: McGraw-Hill Education; 2014. p. 40-50.

การหาความเป็นสาเหตุ
เรียบเรียงโดย นพ.วิวัฒน์ เอกบูรณะวัฒน์

ต่อเนื่องจากเรื่องการวินิจฉัยโรคจากการทํางาน ในบทความนี้จะขอกล่าวถึง
รายละเอียดเรื่องหลักการหาความเป็นสาเหตุ (causal relationship) ซึ่งเป็น
หลักแนวคิดพื้นฐานทางด้านระบาดวิทยาอย่างหนึ่ง ที่มีการนํามาประยุกต์ใช้ใน
ประเด็นด้านอาชีวเวชศาสตร์อยู่หลายเรื่อง ทั้งในเรื่องของการวินิจฉัยโรคจากการ
ทํ า งาน การแปลความหมายผลการวิ จั ย ที่ พ บ และการวางนโยบายด้ า นการ
ป้องกันโรค กิจกรรมเหล่านี้ล้วนแล้วแต่ต้องตอบปัญหาสําคัญประการหนึ่งให้ได้
คือ “สิ่งคุกคามที่พิจารณานั้นเป็นสาเหตุของโรคใช่หรือไม่” ซึ่งการที่จะตอบ
ปัญหานี้ได้ จําเป็นต้องเรียนรู้เรื่องหลักการหาความเป็นสาเหตุเสียก่อน

การพิจารณาความเป็นสาเหตุของโรคในชีวิตประจําวันนั้น หากโรคที่เกิดขึ้นมี
ระยะก่อตัวไม่นาน สัมผัสสิ่งคุกคามแล้วป่วยเป็นโรคทันที อีกทั้งกลไกการเกิดโรค
ไม่ มี ค วามสลั บ ซั บ ซ้ อ นมากนั ก ก็ เ ป็ น การง่ า ยที่ จ ะประเมิ น ได้ ว่ า สิ่ ง คุ ก คามที่
พิจารณานั้นเป็นสาเหตุของโรคหรือไม่ ยกตัวอย่างเช่น หากกินยาฆ่าแมลงเข้าไป
แล้วผู้ป่วยเกิดหมดสติ ชักกระตุก น้ําลายฟูมปากอยู่ตรงที่นั้นเลย ถึงแม้ไม่ต้อง
เรียนรู้ทฤษฎีการหาความเป็นสาเหตุของโรค ทุกคนก็ทราบได้ว่ายาฆ่าแมลงที่พึ่ง
กินเข้าไปนั้นเป็นสาเหตุของอาการที่เกิดขึ้น หรือกรณีของการเดินหกล้มแล้ว

70
กระดูกหักในทันที หรือกรณีของการได้รับสารเคมีที่รั่วไหลออกมาแล้วเกิดอาการ
หายใจไม่ อ อกในทั น ที โรคเหล่า นี้ ล้ ว นเห็ น สาเหตุก ารเกิด ได้ ตรงตั ว รวดเร็ ว
ชัดเจน จึงไม่จําเป็นต้องใช้การพิจารณาหาสาเหตุแต่อย่างใด

อย่างไรก็ตามในการพิจารณาหาสาเหตุของโรคไม่ได้ง่ายดังที่กล่าวมาหมดทุกกรณี
หากโรคที่เกิดขึ้นมีระยะเวลาการก่อโรคยาวนาน เช่น สัมผัสสิ่งคุกคามวันนี้ อีกสิบ
ปีจึงจะเกิ ดโรคขึ้ น อาการของโรคก็ ไม่ชั ดเจน กลไกการก่อโรคก็ส ลั บซับซ้ อ น
สาเหตุการเกิดโรคก็มีหลายสาเหตุ แบบนี้ก็ไม่เป็นการง่ายนักที่จะบอกได้ว่าสิ่ง
คุกคามที่พิจารณานั้นก่อให้เกิดโรคหรือไม่ได้ก่อให้เกิดโรค อีกทั้งโรคจากการ
ทํ า งานและโรคจากมลพิ ษ สิ่ ง แวดล้ อ มที่ พ บได้ ส่ ว นใหญ่ ก็ มั ก จะเป็ น โรคที่ ห า
สาเหตุการเกิดได้ยากในลักษณะนี้ ตัวอย่างของกรณีที่จัดว่าซับซ้อนหาความเป็น
สาเหตุได้ยากเช่นคําถามที่ว่า “สารเบนซีนทําให้เกิดโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวได้
หรือไม่”, “การทํางานกะดึกจะทําให้เกิดเป็นมะเร็งเต้านมได้หรือไม่”, “การดื่ม
กาแฟจะทํา ให้ เ ป็ น โรคหลอดเลื อ ดหั ว ใจตีบ ได้ห รื อ ไม่” หรือ “การทํา งานกั บ
คอมพิวเตอร์นานๆ จะทําให้สายตาสั้นได้หรือไม่” เหล่านี้เป็นต้น

ของสองสิ่งที่มีความสัมพันธ์ (association) กันนั้น อาจมีความสัมพันธ์กันแบบ


ธรรมดาหรือสัมพันธ์กันแบบเป็นสาเหตุ (causation) ก็ได้ ยกตัวอย่างเช่นหากเรา
ทํ า การศึ ก ษาวิ จั ย แล้ ว พบว่ า นั ก เรี ย นที่ ร่ า งกายสู ง ใหญ่ มั ก จะมี ผ ลการเรี ย นดี
ความสัมพันธ์ที่พบนี้อาจจะเป็นสาเหตุของกัน คือการที่ร่างกายสูงใหญ่ทําให้เด็ก
เรียนดี หรือการที่เรียนดีทําให้เด็กมีร่างกายสูงใหญ่ หรือเพียงแต่สัมพันธ์กันเฉยๆ
ไม่ได้เป็นสาเหตุของกันก็ได้ การที่เราจะแยกแยะว่าของที่พิจารณาสองสิ่งนั้นสัมพันธ์
กันแบบธรรมดา (association) หรือว่าสัมพันธ์กันแบบเป็นสาเหตุ (causation)
ทําโดยใช้เกณฑ์การพิจารณาความเป็นสาเหตุมาตัดสิน

71
เกณฑ์การพิจารณาความเป็นสาเหตุ (criteria for causation) เป็นแนวคิดที่
นําเสนอขึ้นโดยนักระบาดวิทยาที่มีชื่อเสียงท่านหนึ่ง คือ Austin Bradford Hill
เพื่อเป็นเกียรติให้แก่ผู้เสนอทฤษฎีนี้ขึ้นมา บางครั้งเราจึงเรียกเกณฑ์นี้ว่า Hill’s
criteria of causation เกณฑ์การพิจารณาทั้งหมดมีอยู่จํานวน 9 ข้อ ดังนี้

1. Strength
ปัจจัยแรกที่ควรพิจารณาคือ ถ้าของสองสิ่งที่พิจารณานั้นสัมพันธ์กันแล้ว กําลัง
ของความสัมพันธ์ (strength of association) นั้นมีมากน้อยเพียงใด หากเรา
พบว่ากําลังของความสัมพันธ์นั้นสูงมาก ก็มีโอกาสสูงว่าของสองสิ่งที่พิจารณานั้น
จะเป็นสาเหตุกันได้ ในกรณีนี้ขอยกตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือเรื่องการสูบบุหรี่กับ
การเกิดมะเร็งปอด ซึ่งในปัจจุบันเรื่องนี้ได้รับการยอมรับกันทั่วไปแล้วว่าการสูบ
บุหรี่น่าจะเป็นสาเหตุของมะเร็งปอดแน่นอน ในเรื่องกําลังของความสัมพันธ์ ผล
การศึกษาวิจัยในอดีตพบว่า คนที่สูบบุหรี่มีโอกาสเป็นมะเร็งปอดมากกว่าคนที่ไม่
สูบถึงกว่า 10 เท่า การที่มีกําลังของความสัมพันธ์สูงขนาดนี้ สนับสนุนว่าการสูบ
บุหรี่น่าจะเป็นสาเหตุของมะเร็งปอดจริง (โดยทั่วไปการพิจารณาของนักระบาด
วิทยาจะใช้เกณฑ์คร่าวๆ ว่า ถ้าความเสี่ยงในการเกิดโรคเพิ่มขึ้นมากกว่า 3 เท่า ก็
จั ดว่ าความสั มพั น ธ์ นั้ น มีกําลั ง สู ง ชั ด เจนแล้ ว ส่ ว นรายละเอี ย ดการพิ จ ารณาที่
มากกว่ านี้ จะไม่ ข อกล่ า วถึ ง ผู้อ่ า นที่ส นใจสามารถศึ ก ษาได้ เ พิ่ ม เติม จากตํา รา
พื้นฐานทางด้านระบาดวิทยา)

2. Consistency
อันดับต่อมาคือความมั่นคงของความสัมพันธ์ (consistency of association) คือ
ในความสัมพันธ์ที่พบนั้น หากว่าเป็นสาเหตุกันจริงแล้ว ไม่ว่าจะทําการศึกษาวิจัย
กี่ครั้ง ใครเป็นคนทํา ทําในประชากรกลุ่มไหน ก็จะพบผลสัมพันธ์กันทุกครั้งไป
หากมีลักษณะเช่นนี้ ถือว่าสนับสนุนความเป็นสาเหตุกัน ยกตัวอย่างเช่น กรณีของ
การสูบบุหรี่กับมะเร็งปอด หากเราพบว่ามีรายงานการศึกษาในรูปแบบศึกษาข้อมูล

72
ย้อนหลัง (retrospective study) ถึง 25 รายงาน และการศึกษาข้อมูลแบบไป
ข้างหน้า (prospective study) ถึง 9 รายงาน ที่พบว่าการสูบบุหรี่สัมพันธ์กับ
มะเร็งปอด แสดงว่าแม้จะมีนักวิจัยหลายกลุ่ม ทําการศึกษาหลายครั้ง ในประชากร
หลากหลาย ก็ยังคงพบความสัมพันธ์นี้ได้อยู่

3. Specificity
ความจําเพาะของความสัมพันธ์ (specificity of association) คือการพิจารณา
แล้วพบว่า หากสัมผัสสิ่งคุกคามชนิดนี้แล้วจะป่วยเป็นโรคนี้เสมอ หรือหากป่วยเป็น
โรคนี้แล้วจะพบว่ามีการสัมผัสสิ่งคุกคามชนิดนี้เสมอ เกณฑ์ความจําเพาะนี้จะเป็น
จริงอย่างแน่นอนได้ก็เฉพาะกรณีที่สิ่งคุกคามกับโรคนั้นสัมพันธ์กันแบบหนึ่งต่อหนึ่ง
(one-to-one relationship) อย่างไรก็ตามจะพบได้บ่อยกว่าว่า โรคชนิดหนึ่งนั้น
อาจจะเกิดจากหลายสาเหตุ หรือสิ่งคุกคามหนึ่งนั้นอาจจะก่อให้เกิดโรคหลายโรค
ก็ได้ เกณฑ์ในข้อนี้หากสิ่งคุกคามกับโรคสัมพันธ์กันแบบหนึ่งต่อหนึ่งก็จะช่วย
สนับสนุนความเป็นสาเหตุให้ แต่ก็อาจไม่พบลักษณะตามเกณฑ์นี้ได้ในหลายโรค

กรณีของการสูบบุหรี่กับมะเร็งปอดก็มีข้อโต้แย้งนี้เกิดขึ้นเช่นกัน เนื่องจากมะเร็ง
ปอดเป็นโรคที่เกิดได้จากหลายสาเหตุ เราอาจพบคนเป็นโรคมะเร็งปอดโดยที่ไม่
เคยสูบบุหรี่เลยก็ได้ (เพราะไปสัมผัสสารก่อมะเร็งปอดชนิดอื่น เช่น เรดอน แร่ใยหิน
หรือสาเหตุอื่นๆ ที่มนุษย์เรายังไม่ทราบ) การพิจารณาเกณฑ์ตามความจําเพาะนี้
จึงอาจไม่พบได้ในทุกกรณีเสมอไป

4. Temporality
คือการพิจารณาการเรียงลําดับเวลาของความสัมพันธ์ (time sequence of
association) นั่นคือ “เหตุ” ต้องมาก่อน “ผล” เสมอ ไม่ว่าโรคนั้นจะมีระยะเวลา
ก่อโรคสั้นหรือยาวนานเช่นใดก็ตาม คนจะต้องสัมผัสสิ่งก่อโรคก่อนแล้วจึงค่อย

73
ป่วยเป็นโรคเสมอ ในกรณีของการสูบบุหรี่กับมะเร็งปอดก็คือ จะต้องสูบบุหรี่ก่อน
แล้วจึงค่อยป่วยเป็นมะเร็งปอดในภายหลัง ลําดับเวลาต้องเป็นเช่นนี้เสมอ

5. Biological gradient (dose-response relationship)


ข้อนี้เป็นการพิจารณาความเข้มข้นของความสัมพันธ์ (biologic gradient) คือ
หากสิ่งคุกคามที่พิจารณาทําให้เกิดโรคจริงแล้ว ยิ่งสัมผัสสิ่งคุกคามนั้นมาก ก็จะ
ยิ่งมีโอกาสเกิดโรคนั้นขึ้นได้มาก หรือที่ในวิชาพิษวิทยาเรียกลักษณะเช่นนี้ว่า
dose-response relationship นั่นเอง ตัวอย่างของการสูบบุหรี่กับมะเร็งปอด
เช่น การสูบบุหรี่วันละ 20 มวน ย่อมมีโอกาสเกิดเป็นมะเร็งปอดมากกว่าสูบบุหรี่
วันละ 1 มวน ดังนี้เป็นต้น

อย่ า งไรก็ ต ามเกณฑ์ ข้ อ นี้ ก็ มี ข้ อ โต้ แ ย้ ง ได้ เ ช่ น กั น คื อ เนื่ อ งจากคุ ณ สมบั ติ ท าง


พิษวิทยาของสิ่งคุกคามบางชนิดนั้นอาจไม่ได้มีลักษณะเป็นเส้นตรง (linear) คือ
ยิ่ ง ได้ รั บ มากยิ่ ง ทํ า ให้ เ กิ ด โรคได้ ม ากเสมอไป สิ่ ง คุ ก คามบางอย่ า งถ้ า ได้ รั บ ใน
ปริมาณน้อยๆ กลับจะเป็นผลดีต่อร่างกาย แต่ถ้าได้รับในปริมาณมากจึงจะก่อโรค
ขึ้น (เช่น น้ําเปล่า และ แร่ธาตุที่จําเป็นต่อร่างกาย ถ้าได้รับพอดีเป็นผลดี แต่ถ้า
ได้รับมากเกินไปทําให้ป่วยได้) อย่างนี้เป็นต้น

6. Biological plausibility
คือการพิจารณาความเป็นไปได้ในทางชีววิทยา (biological plausibility) ว่า
ความรู้ที่มีในปัจจุบันนี้ สามารถอธิบายกลไกการเกิดโรคจากการสัมผัสสิ่งคุกคาม
ที่พิจารณาได้หรือไม่ ตัวอย่างเช่น การสูบบุหรี่นั้นทําให้ได้รับสารก่อมะเร็งบางอย่าง
เช่น benzo(a)pyrene เข้าไปทางควันบุหรี่ เกิดปฏิกิริยากับเนื้อเยื่อปอด จึงมี
โอกาสที่จะเกิดเป็นมะเร็งปอดขึ้นได้ หากสามารถบ่งชี้กลไกได้ ก็ช่วยสนับสนุนว่า
มีโอกาสเป็นสาเหตุก่อโรคที่พิจารณานั้น

74
แต่เกณฑ์ข้อนี้ก็มีข้อโต้แย้งได้เช่นกัน คือถ้าความรู้ทางด้านชีววิทยาในปัจจุบันยังมี
ไม่มากพอ ก็จะยังไม่มีการค้นพบความรู้ที่จะมาอธิบายกลไกการเกิดโรคที่พบได้
ซึ่งอาจทําให้พิจารณาผิดไปว่าของสองสิ่งที่สัมพันธ์กันนั้นไม่เป็นสาเหตุกัน เพราะ
คิดว่าไม่มีความเป็นไปได้เลยในทางกลไกชีวภาพที่จะเกิดขึ้น

7. Coherence
การพิจารณาความสอดคล้องของความสัมพันธ์ (coherence of association)
ข้อนี้มุ่งให้พิจารณาว่า ลักษณะของความสัมพันธ์ที่พบนั้น ไม่ได้มีประเด็นที่ขัดแย้ง
กับความรู้พื้นฐานที่มีเกี่ยวกับโรค หรือธรรมชาติของโรค (nature of disease)
อย่ า งชนิ ด ตรงกั น ข้ า ม ยกตั ว อย่ า งเช่ น กรณี ข องการสู บ บุ ห รี่ กั บ มะเร็ ง ปอด
ความสัมพันธ์ที่ได้ไม่ขัดแย้งกับธรรมชาติของโรคที่พบ คือ ผู้ชายสูบบุหรี่มากกว่า
ผู้ ห ญิ ง ก็ พ บโรคมะเร็ ง ปอดในผู้ ช ายมากกว่ า ผู้ ห ญิ ง และคนสมั ย ใหม่ สู บ บุ ห รี่
มากกว่าคนสมัยก่อน ก็พบว่าอัตราการเกิดมะเร็งปอดมีเพิ่มขึ้นไปตามความนิยม
ในการสูบบุหรี่เช่นกัน ดังนี้เป็นต้น

8. Experiment
การทําการทดลอง (experiment) ในบางกรณีการทําการทดลองเปลี่ยนแปลง
การสัมผัสสิ่งคุกคามให้น้อยลง แล้วดูว่าอัตราการเกิดโรคเปลี่ยนแปลงหรือไม่ ก็
เป็ น อี ก วิ ธี ก ารหนึ่ ง ที่ จ ะสนั บ สนุ น การเป็ น สาเหตุ กั น ได้ เช่ น หากทดลองให้
คําแนะนําเพื่อลดการสูบบุหรี่ลงในประชากร แล้วพบว่าอัตราการเกิดมะเร็งปอด
นั้นก็ลดลงตามไปด้วย ก็เป็นการสนับสนุนว่าการสูบบุหรี่ทําให้เกิดมะเร็งปอด

9. Analogy
คือการพิจารณาด้วยการเปรียบเทียบอุปมา (analogy of association) ตัวอย่างเช่น
ในกรณี ข องการกิ น ยา thalidomide ทํา ให้ ท ารกในครรภ์ ผิ ด ปกติ ไ ด้ เมื่ อ มา

75
พิจารณาเรื่องผลของยาต่อทารกในครรภ์ ก็น่าเชื่อได้ว่ายาอื่นๆ ก็น่าจะสามารถ
เป็นสาเหตุทําให้ทารกในครรภ์ผิดปกติได้เช่นกัน ดังนี้เป็นต้น

การพิจารณาหาความเป็นสาเหตุตาม Hill’s criteria of causation นี้ ไม่ได้เป็น


เกณฑ์แบบที่เด็ดขาดตายตัว เนื่องจากเกณฑ์บางข้ออาจมีข้อโต้แย้งหรือข้อที่อาจ
ไม่เป็นไปตามเกณฑ์ก็ได้ (ซึ่งเป็นเรื่องปกติของความสลับซับซ้อนทางธรรมชาติ
ของการเกิดโรค) ดังนั้นการพิจารณาจึงไม่ใช่ว่าของสองสิ่งจะเป็นสาเหตุกันได้ก็
ต่อเมื่อต้องมีลักษณะครบถ้วนตามเกณฑ์ทุกข้อ แต่การพิจารณาให้ประเมินเกณฑ์
ในแต่ละข้อแล้วดูภาพรวมมากกว่า ถ้าพบว่ามีบางข้อไม่เป็นไปตามเกณฑ์อาจต้อง
หาคําอธิบ ายเพิ่ม เติมว่า เป็น เพราะเหตุใ ด การพินิจพิเ คราะห์อ ย่างถี่ถ้ว นโดย
ปราศจากอคติตามแนวทางนี้ ก็จะทําให้สามารถประเมินตัดสินออกมาได้ว่า สิ่ง
คุกคามที่พิจารณานั้นเป็นสาเหตุการเกิดโรคแน่หรือไม่

หนังสืออ้างอิง
1. Hill AB. The environment and disease: association or causation?
Proc R Soc Med 1965;58:295-300.
2. ไพบูลย์ โล่ห์สุนทร. ระบาดวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์
แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2552.

การตรวจสุขภาพทางอาชีวเวชศาสตร์
เรียบเรียงโดย นพ.วิวัฒน์ เอกบูรณะวัฒน์

การตรวจสุขภาพ (health examination) คือกระบวนการค้นหาปัญหาสุขภาพ


ในร่างกายของคน การตรวจสุขภาพนั้นอาจเป็นการตรวจสุขภาพด้วยตนเอง (self
examination) หรือเป็นการตรวจโดยแพทย์ (medical examination หรือ
medical checkup) ก็ได้

76
โอกาสที่คนจะมาตรวจสุขภาพนั้นมีหลายโอกาสแตกต่างกัน ที่พบได้บ่อยที่สุดคือ
มาตรวจสุขภาพตามระยะ (periodic health examination) ซึ่งโดยปกติก็จะ
ตรวจปีละครั้ง จึงอาจเรียกว่าการตรวจสุขภาพประจําปีก็ได้ (annually health
examination) นอกจากนี้โอกาสอื่นๆ ที่คนจะมาตรวจสุขภาพก็เช่น การตรวจ
สุขภาพก่อนทําประกันชีวิต การตรวจสุขภาพก่อนเข้าทํางาน การตรวจสุขภาพ
ก่ อ นเกณฑ์ ท หาร การตรวจสุ ข ภาพเพื่ อ สมั ค รเรี ย น การตรวจสุ ข ภาพเพื่ อ ทํ า
ใบขับขี่ เป็นต้น

กระบวนการตรวจสุ ข ภาพประกอบด้ ว ยขั้ น ตอนต่ า งๆ หลายขั้ น ตอนด้ว ยกั น


โดยทั่วไปจะเริ่มจากการซักประวัติ (history taking) เพื่อค้นหาว่าผู้เข้ารับการตรวจ
นั้นมีปัจจัยเสี่ยงอะไรบ้าง มีโรคเดิมอะไรอยู่บ้าง จะได้เลือกการตรวจที่เหมาะสม
ให้ได้ต่อไป จากนั้นจะเป็นการตรวจร่างกาย (physical examination) เพื่อค้นหา
ความผิ ด ปกติ ใ นร่ า งกายโดยแพทย์ ต่ อ ด้ ว ยการส่ ง ตรวจทางห้ อ งปฏิ บั ติ ก าร
(laboratory investigation) ซึ่งได้แก่ การตรวจเลือด การตรวจปัสสาวะ การ
ตรวจภาพรังสี การอัลตร้าซาวด์ เป็นต้น เมื่อได้ข้อมูลจากผลการซักประวัติ การ
ตรวจร่างกาย และการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการทั้งหมดแล้ว แพทย์จะนําข้อมูล
ทั้งหมดมาประเมินและสรุป เพื่อดูว่าผู้เข้ารับการตรวจมีสุขภาพปกติดีหรือไม่
หากพบว่ามีการเจ็บป่วยเป็นโรคเกิดขึ้น จะได้รีบดําเนินการรักษาต่อไป หาก
พบว่ายังไม่เกิดเป็นโรค แต่เริ่มมีความเสื่อมหรือความผิดปกติของร่างกาย ก็จะได้
ทําการแนะนําเพื่อแก้ไขความผิดปกติหรือชะลอความเสื่อมนั้น และหากพบว่ายัง
ไม่ เ กิด ความผิ ด ปกติ แต่ มีปัจ จั ย ความเสี่ย งต่ อ การเกิด โรคในอนาคต ก็ จ ะได้
แนะนําการปฏิบัติตัวเพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรค รูปที่ 3 แสดงขั้นตอนการ
ดําเนินการตรวจสุขภาพโดยแพทย์ในกรณีทั่วไป

77
รูปที่ 3 ขั้นตอนการตรวจสุขภาพโดยแพทย์ในกรณีทั่วไป

ตัวอย่างของการตรวจสุขภาพแล้วพบว่าเจ็บป่วย เช่น ตรวจแล้วพบว่าเป็นต้อ


กระจกสุกที่ตาข้างหนึ่ง สิ่งที่แพทย์ควรดําเนินการก็คือ การส่งผู้เข้ารับการตรวจที่
ป่วยเป็นโรคไปรักษา ในกรณีของต้อกระจกสุกก็คือการส่งตัวไปผ่าตัดเปลี่ยนเลนส์
ตัวอย่างของกรณีที่พบความเสื่อม เช่น ตรวจพบว่าระดับการได้ยินเริ่มลดลงใน
ช่วงเสียงความถี่สูง (high-frequency hearing loss) แต่ยังไม่ถึงกับหูตึง สิ่งที่
แพทย์ควรจะดําเนินการต่อก็คือ การแนะนําปรับพฤติกรรมสุขภาพ ได้แก่ การงด
ฟังเพลงเสียงดัง หลีกเลี่ยงงานที่ต้องสัมผัสเสียงดัง ใช้ที่อุดหูป้องกันทุกครั้งที่
ทํางานในที่เสียงดัง ร่วมกับทําการเฝ้าระวังต่อไป โดยแนะนําให้มาตรวจสมรรถภาพ
การได้ยินซ้ําทุกปี เป็นต้น ส่วนตัวอย่างของกรณีที่พบความเสี่ยง เช่น ยังตรวจ
ร่างกายไม่พบโรคหรือความผิดปกติ แต่มีพฤติกรรมชอบสูบบุหรี่วันละ 2 ซอง ซึ่ง
ทําให้เสี่ยงต่อโรคมะเร็งปอด โรคหลอดเลือดหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมองใน
อนาคต สิ่งที่แพทย์ควรดําเนินการต่อก็คือ การแนะนําผู้ที่มาตรวจสุขภาพให้ปรับ
พฤติกรรมเพื่อลดความเสี่ยงนั้น ในที่นี้คือการแนะนําให้เลิกสูบบุหรี่ เป็นต้น

78
ส่ ว นการตรวจสุ ข ภาพทางด้ า นอาชี ว เวชศาสตร์ (occupational health
examination) นั้น ก็คือการตรวจสุขภาพใดๆ ก็ตามที่เกี่ยวข้องกับการทํางาน
ให้กับคนทํางานนั่นเอง ซึ่งโอกาสในการตรวจก็มีได้หลายกรณีเช่นกัน ดังนี้

1. Pre-employment examination
2. Pre-placement examination
3. Periodic examination
4. Fitness for work examination
5. Return to work examination
6. Retirement examination (exit examination)

ต่อไปนี้เป็นรายละเอียดของการตรวจสุขภาพทางอาชีวเวชศาสตร์ในกรณีต่างๆ

1. การตรวจสุขภาพก่อนจ้างงาน (pre-employment examination)


เป็นการตรวจสุขภาพก่อนที่โรงงานจะจ้างงานคนทํางานนั้นเข้ามาทํางาน (คือคน
ถูกตรวจยังไม่มีสถานะเป็นลูกจ้างของโรงงาน) เหตุผลของการตรวจนั้นเพื่อดู
ความปลอดภัยของคนทํางานเป็นหลัก โดยแพทย์จะดูว่า (1) คนมาสมัครงานนั้น
มีโรคอะไรอยู่บ้างหรือไม่ (2) ถ้ามีโรคอยู่ เขาจะสามารถทํางานที่พิจารณาได้โดย
ปลอดภัยหรือไม่ (3) ถ้าสามารถทํางานนั้นได้ เมื่อให้ไปทํางานแล้วอาการป่วยจะ
แย่ลงหรือไม่ ถ้าตรวจแล้วมีความพร้อมที่จะทํางาน (fit to work) ก็สามารถให้
ทํางานได้ ถ้าไม่พร้อมที่จะทํางาน (unfit to work) ก็ไม่ควรให้ทํางานนั้น

2. การตรวจสุขภาพก่อนเข้าทํางาน (pre-placement examination)


เป็นการตรวจสุขภาพก่อนที่จะให้คนเข้าไปทํางานเช่นเดียวกัน แต่มีความแตกต่าง
กับการตรวจสุขภาพก่อนจ้างงานคือ การตรวจสุขภาพก่อนจ้างงาน ผู้เข้ารับการ
ตรวจยังไม่มีสถานะเป็นลูกจ้าง ส่วนการตรวจสุขภาพก่อนเข้าทํางาน (หรืออาจ

79
เรียกการตรวจสุขภาพก่อนเข้าประจําตําแหน่ง) โรงงานได้รับคนทํางานเข้ามาเป็น
ลูกจ้างแล้ว อาจผ่านการทดลองงานมาระยะหนึ่งแล้วด้วย การตรวจสุขภาพนั้น
ทํ าก่ อ นที่ จ ะให้ ลู ก จ้ า งเข้ า ไปประจํ าตํ า แหน่ ง งาน จุ ดมุ่ง หมายของการตรวจก็
เช่นเดียวกับการตรวจก่อนจ้างงาน คือเพื่อดูความปลอดภัยของคนที่จะเข้าไป
ทํางานเป็นสําคัญ

การตรวจทั้ง 2 อย่างนี้มีลักษณะคล้ายคลึงกัน ต่างกันในจุดที่ว่าโรงงานได้ทําการ


รับคนทํางานนั้นเข้ามาเป็นลูกจ้างแล้วหรือยังเท่านั้น ในทางปฏิบัติความแตกต่าง
กันนี้จะทําให้เกิดปัญหาให้พิจารณาได้ในกรณีที่คนทํางานนั้นไม่พร้อมที่จะทํางาน
(unfit to work) เนื่องจากการตรวจก่อนเข้าทํางานนั้น คนทํางานมีสถานะเป็น
ลู ก จ้ า งของโรงงานแล้ ว หากตรวจแล้ ว ไม่ พ ร้ อ มที่ จ ะทํา งาน โรงงานจะต้ อ ง
รับภาระดําเนินการหางานอื่นที่เหมาะสมกว่ามาให้ทําแทน (เพราะว่าได้จ้างมา
เป็ น ลู ก จ้ า งของโรงงานแล้ ว ) ส่ ว นการตรวจก่ อ นจ้ า งงานนั้ น หากตรวจแล้ ว
คนทํางานไม่พร้อมที่จะทํางาน โรงงานอาจปฏิเสธการรับเข้าทํางานได้เลย (คือ
คนทํางานนั้นไม่ได้งาน) หากมองในมุมที่เป็นกลางจะเห็นว่า การตรวจก่อนเข้า
ทํางานดูจะได้ประโยชน์ต่อฝ่ายลูกจ้างมากกว่า ในขณะที่การตรวจก่อนจ้างงาน ดู
จะได้ประโยชน์ต่อฝ่ายนายจ้างมากกว่า ในข้อกฎหมายของประเทศไทยปัจจุบัน
ตามกฎกระทรวง กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการตรวจสุขภาพของลูกจ้างฯ พ.ศ.
2547 ได้กําหนดให้นายจ้าง “…ตรวจสุขภาพลูกจ้างครั้งแรกให้เสร็จสิ้นภายใน
สามสิบวันนับแต่วันที่รับลูกจ้างเข้าทํางาน…” ซึ่งน่าจะตีความได้ว่า หมายถึง
กําหนดให้โรงงานต่างๆ ทําการตรวจสุขภาพก่อนเข้าทํางานเป็นหลัก

3. การตรวจสุขภาพตามระยะ (periodic examination)


คือการตรวจสุขภาพคนทํางานตามวงรอบ ซึ่งโดยทั่วไปก็จะตรวจปีละครั้ง จึงอาจ
เรียกว่า การตรวจสุขภาพประจําปี (annually health examination) ก็ได้ การ
ตรวจสุ ขภาพตามระยะนั้น นอกจากจะดูปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดขึ้ นจากการ

80
ทํางานแล้ว โดยทั่วไปแพทย์ก็มักจะตรวจดูปัญหาสุขภาพทั่วๆ ไปของคนทํางาน
ไปด้วยพร้อมกันเลย

ในข้อกฎหมายของประเทศไทย ตามกฎกระทรวง กําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการ


ตรวจสุขภาพของลูกจ้างฯ พ.ศ. 2547 กําหนดให้นายจ้างจัดให้มีการตรวจสุขภาพ
ตามระยะให้กับลูกจ้าง “...อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้ง...” เป็นเกณฑ์ขั้นต่ํา อย่างไรก็
ตามในบางกรณี หากแพทย์เห็น ว่างานที่ ทํานั้ น มีค วามเสี่ ยงมาก แพทย์ก็ อาจ
แนะนําให้ตรวจถี่กว่าปีละครั้งก็ได้ เช่น ในคนทํางานสัมผัสกัมมันตรังสีที่เสี่ยงมาก
อาจตรวจสุขภาพทุก 3 เดือน หรือในคนทํางานบนแท่นขุดเจาะน้ํามัน อาจตรวจ
สุขภาพทุก 6 เดือน ดังนี้เป็นต้น

การตรวจสุขภาพตามระยะนั้น ตรวจเพื่อดูว่า (1) หลังจากทํางานมาระยะหนึ่งแล้ว


คนทํา งานยั ง มี สุ ข ภาพดี อ ยู่ ห รื อ ไม่ (2) ผลจากการทํา งาน ทํา ให้ สุ ข ภาพของ
คนทํางานแย่ลงหรือเกิดโรคขึ้นหรือไม่ (3) ผลจากการที่คนทํางานอายุมากขึ้น
และจากสาเหตุปัจจัยส่วนตัวอื่น เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มสุรา ทําให้สุขภาพของ
คนทํางานแย่ลงหรือเกิดโรคขึ้นหรือไม่ (4) ถ้าเกิดมีโรค เขายังพร้อมที่จะทํางาน
อยู่หรือไม่ (5) ถ้าพบว่าคนทํางานป่วยเป็นโรค แพทย์จะได้รีบดําเนินการส่งตัว
เพื่อทําการรักษาต่อไป

ประเด็นการตรวจสุขภาพทางอาชีวเวชศาสตร์ ที่แตกต่างจากการตรวจทั่วไปเรื่อง
หนึ่งคือ การตรวจจะต้องดูความเสี่ยงจากสิ่งคุกคามที่คนทํางานสัมผัสด้วย ข้อมูล
ความเสี่ยงนี้ อาจได้จากการที่แพทย์เข้าไปเดินสํารวจโรงงานเพื่อประเมินความเสี่ยง
หรือจากข้อมูลที่ทางโรงงานให้แก่แพทย์ การทราบข้อมูลความเสี่ยงที่ถูกต้องจะ
ช่ ว ยให้ แ พทย์ ส ามารถออกแบบการตรวจสุ ข ภาพได้ ต รงตามความเสี่ ย งของ
คนทํางานแต่ละคน

81
ข้อแตกต่างระหว่างการตรวจสุขภาพทางอาชีวเวชศาสตร์กับการตรวจสุขภาพ
ทั่วไปอีกประเด็นหนึ่งคือ การตรวจสุขภาพตามระยะทางอาชีวเวชศาสตร์นั้น
มักจะทําการตรวจพร้อมกันทั้งโรงงาน ซึ่งการที่คนทํางานทั้งโรงงานมาตรวจ
พร้อมๆ กันนี้ ก็จะทําให้แพทย์ได้ข้อมูลทั้งแบบเป็นรายบุคคลและในภาพรวม ทํา
ให้สามารถประเมินปัญหาทั้งในระดับบุคคลและในภาพรวมของทั้งโรงงานได้ด้วย
การประเมินในภาพรวมทั้งโรงงานนั้น ยกตัวอย่างเช่น แพทย์พบว่าคนทํางานใน
แผนกที่เ สียงดังแผนกหนึ่ง มีผลตรวจการได้ยินลดลงหลายคน จึงนําไปสู่การ
พิจารณาว่าอาจเกิดปัญหาเสียงดังเกินไปที่แผนกนั้น และทําให้เกิดการแก้ไข
สภาพแวดล้อมการทํางานในแผนกนั้นให้ดีขึ้น ทําให้เสียงดังลดลง เป็นต้น รูปที่ 4
แสดงขั้นตอนการตรวจสุขภาพตามระยะทางอาชีวเวชศาสตร์ ซึ่งจะมีการประเมิน
และสรุปผลได้ทั้งในระดับบุคคลและในภาพรวมของโรงงาน

รูปที่ 4 ขั้นตอนการตรวจสุขภาพตามระยะทางอาชีวเวชศาสตร์

82
4. การตรวจประเมิ น ความพร้ อ มในการทํา งาน (fitness for work
examination)
คือ การตรวจเพื่ อ ดู ค วามพร้ อ มของร่ า งกายและจิ ต ใจคนทํ า งาน เมื่ อ จะให้ ไ ป
ทํางานที่ค่อนข้างมีความเสี่ยงกว่าปกติทั่วไปบางอย่าง เช่น งานบนแท่นขุดเจาะ
แก๊สในทะเล (fitness for work offshore) งานในที่อับอากาศ (fitness for work
in confined-space) งานดําน้ํา (fitness to dive) งานขับรถ (fitness to drive)
เหล่านี้เป็นต้น

หลักการตรวจเพื่อประเมินความพร้อมนั้น ตรวจเพื่อดูว่า (1) คนทํางานมีสุขภาพ


แข็งแรงดีหรือไม่ มีการเจ็บป่วยด้วยโรคอะไรหรือไม่ (2) ประเมินระดับสุขภาพ
ของคนทํางานนั้น เทียบกับงานที่เขาจะไปทําว่าสามารถทําได้อย่างปลอดภั ย
หรือไม่ โดยพิจารณาถึงทั้งความปลอดภัยของคนทํางานนั้นเอง ความปลอดภัย
ของเพื่อนร่วมงาน และความปลอดภัยต่อสาธารณะด้วย ถ้าตรวจแล้วพร้อมที่จะ
ทํางาน (fit to work) ก็ให้ทํางานนั้นได้ ถ้าไม่พร้อมที่จะทํางาน (unfit to work)
ควรให้งดการทํางานนั้นไว้ก่อน และหางานอื่นให้แทน

5. การตรวจสุขภาพก่อนกลับเข้าทํางาน (return to work examination)


ก็เป็นการตรวจประเมินความพร้อมในการทํางานอย่างหนึ่งเช่นกัน คือเป็นการ
ตรวจเพื่อดูความพร้อมของร่างกาย หลังจากที่คนทํางานเจ็บป่วยหรือประสบ
อุบั ติเหตุ จนต้องหยุ ดงานไปเป็ นเวลานานแล้ว กํ าลั งจะกลับเข้ าทํางานอี กครั้ ง
หลักการตรวจสุขภาพก่อนกลับเข้าทํางานนี้ ใช้หลักการเดียวกันกับการตรวจ
ประเมินความพร้อมในการทํางาน คือดูสภาวะสุขภาพ (physical fitness) เทียบ
กับความสามารถขั้นพื้นฐานที่ต้องใช้ในการทํางานนั้น (work demand) หาก
ตรวจแล้ ว ยั ง ไม่ พ ร้ อ มที่ จ ะทํา งาน ควรให้ ง ดการทํา งานนั้ น ไว้ ก่ อ น และใน
คนทํา งานที่ บ าดเจ็ บ หรื อ เจ็ บ ป่ ว ยบางราย อาจต้ อ งส่ ง ไปฟื้ น ฟู ส มรรถภาพ
(rehabilitation) เพิ่มเติมด้วย เพื่อที่จะได้กลับมาทํางานเดิมได้

83
6. การตรวจสุขภาพก่อนเกษียณ (retirement examination)
คื อ การตรวจเมื่ อ คนทํา งานจะเกษี ย ณจากงาน หรื อ หากเป็ น การตรวจเมื่ อ
คนทํางานจะลาออกจากงานที่เดิม โดยยังอายุไม่ถึงเกษียณ จะเรียกว่า การตรวจ
สุขภาพก่อนออกจากงาน (exit examination) การตรวจสุขภาพก่อนเกษียณนั้น
ทํ า เพื่ อ ดู ว่ า หลั ง จากที่ ทํ า งานมาเป็ น เวลานานแล้ ว สุ ข ภาพของคนทํ า งานยั ง
แข็งแรงดีอ ยู่หรือไม่ มีความเสื่อมใดเกิ ดขึ้ นบ้าง มีโรคเกิดขึ้นหรือไม่ ถ้ามีโรค
เกิดขึ้นจะได้รีบแนะนําและให้การรักษาตั้งแต่ระยะที่ตรวจพบ การตรวจนี้ช่วยให้
คนที่ทํางานมานานจนเกษียณ ได้มีสุขภาพที่แข็งแรงสมวัย ได้มีโอกาสพักผ่อน
หรือท่องเที่ยวในช่วงวัยหลังเกษียณอย่างมีคุณภาพ

เกี่ยวกับด้านกฎหมาย การตรวจสุขภาพก่อนเกษียณถือว่ามีประโยชน์ต่อฝ่าย
นายจ้างด้วย เนื่องจากเป็นหลักฐานที่ช่วยยืนยันว่า คนที่มาทํางานกับโรงงานนั้น
ขณะที่กําลังจะเกษียณหรือกําลังจะลาออกจากงานไป ยังไม่ได้เกิดเป็นโรคขึ้น
หรือป่วยเป็นโรคขึ้นแล้ว ซึ่งจะช่วยเป็นข้อมูลยืนยันระยะเวลาการเกิดโรคได้ หาก
เกิดปัญหาคนทํางานออกจากงานไปแล้วเจ็บป่วยขึ้นในภายหลัง แล้วมาร้องเรียน
กับทางโรงงาน

หนังสืออ้างอิง
1. กฎกระทรวง กําหนดหลัก เกณฑ์แ ละวิธีการตรวจสุข ภาพของลูก จ้า งและ
ส่งผลการตรวจแก่พนักงานตรวจแรงงาน พ.ศ. 2547. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม
122 ตอนที่ 4 ก. (ลงวันที่ 29 ธันวาคม 2547).
2. Parker JE. The occupational and environmental history and
examination. In: Rom WN, Markovitz SB, editors. Environmental
and occupational medicine. 4th ed. Philadelphia: Lippincott Williams
& Wilkins; 2007. p. 22-31.

84
หลักการเดินสํารวจโรงงาน
เรียบเรียงโดย นพ.วิวัฒน์ เอกบูรณะวัฒน์

การเดินสํารวจโรงงาน (walkthrough survey) เป็นคําที่ใช้กันทั่วไป ซึ่งปกติจะ


หมายถึงการที่เจ้าหน้าที่ของโรงงาน (factory staff) หรือบุคคลจากภายนอก
(visitor) เข้า ไปเยี่ยมสํา รวจภายในพื้น ที่ก ารผลิต ของโรงงาน โดยบุค คลจาก
ภายนอกที่จะเข้าไปเดินสํารวจโรงงานนี้ มักจะเป็นผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญสาขา
ต่างๆ ที่เข้ามาเดินสํารวจเพื่อช่วยเหลือโรงงานในการดําเนินงานอย่างใดอย่าง
หนึ่ง เช่น วิศวกรมาเดินสํารวจเพื่อจะวางระบบไฟฟ้าให้ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย
มาเดินสํารวจเพื่อหาจุดเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ ผู้มีส่วนได้เสีย (stakeholder)
มาเดิ น สํ า รวจเพื่ อ ดู ว่ า โรงงานมี คุ ณ ภาพมากเพี ย งพอหรื อ ไม่ นั ก สุ ข ศาสตร์
อุตสาหกรรมมาเดินสํารวจเพื่อวางแผนตรวจวัดระดับสิ่งคุกคามในโรงงาน สําหรับ
แพทย์อาชีวเวชศาสตร์นั้นก็เดินสํารวจโรงงานเช่นกัน จุดมุ่งหมายหลักก็เพื่อเก็บ
ข้อมูลไว้สําหรับดูแลสุขภาพของคนทํางานในโรงงานนั่นเอง

กล่าวอย่างจําเพาะเจาะจงขึ้น คําว่า การเดินสํารวจโรงงาน (walkthrough survey)


นั้นหมายถึงการเดินอย่างละเอียดถี่ถ้วนพอสมควร หากไม่ได้เข้าไปภายในพื้นที่
การผลิต เพียงแต่นั่งคุยกันในพื้นที่ต้อนรับของโรงงาน หรือเดินผ่านพื้นที่การผลิต
อย่างรวดเร็ว โดยไม่ได้ข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับสุขภาพของคนทํางานและสิ่ง
คุ ก คามในกระบวนการผลิ ต เลย กิ จ กรรมเช่ น นี้ เ ราไม่ เ รี ย กว่ า การเดิ น สํา รวจ
โรงงาน แต่อาจจะเรียกว่าการเยี่ยมโรงงาน (plant visit) หรือได้รับการพานําชม
โรงงาน (plant tour) แทน น่าจะเหมาะสมกว่า

การเดินสํารวจโรงงานนั้น เป็นเครื่องมือที่สําคัญอย่างหนึ่งที่แพทย์อาชีวเวชศาสตร์
จะใช้ ใ นการเก็ บ ข้ อ มู ล การสั ม ผั ส สิ่ ง คุ ก คามของคนทํ า งานภายในโรงงานนั้ น

85
เนื่ อ งจากแพทย์ ไ ด้ เ ข้ า ไปอยู่ ใ นสถานการณ์ ก ารทํา งานจริ ง ซึ่ ง จะทํา ให้ เ ข้ า ใจ
เหตุการณ์ได้มากกว่าทราบข้อมูลจากคําบอกเล่าของคนทํางานหรือนายจ้าง

ต่อไปนี้เป็นหลักการเดินสํารวจโรงงาน เพื่อให้สามารถเก็บข้อมูลมาใช้ในการดูแล
สุขภาพคนทํางานได้อย่างถูกต้องครบถ้วนมากขึ้น ซึ่งจะทําให้การเดินสํารวจนั้น
เกิดประโยชน์กับทั้งฝ่ายนายจ้างและตัวคนทํางาน รวมทั้งเกิดความปลอดภัยต่อ
ตัวผู้เดินสํารวจโรงงานด้วย จะขอกล่าวในรายละเอียดไปเป็นข้อๆ ดังนี้

1. วัตถุประสงค์ของการเดินสํารวจโรงงาน
สิ่ ง สําคั ญ ที่ สุ ดอั น ดั บ แรกที่ แ พทย์อ าชี ว เวชศาสตร์ ต้ อ งถามตนเองก่ อ นไปเดิ น
สํารวจโรงงานทุกครั้งก็คือ การเดินสํารวจโรงงานครั้งนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่ออะไร
หากยังไม่สามารถตอบคําถามนี้ได้ ก็จะทําให้การเดินสํารวจโรงงานครั้งนั้นทําไป
โดยไม่มีจุดหมาย โอกาสที่จะได้ข้อมูลตรงกับความต้องการก็จะน้อย โดยทั่วไป
วัตถุประสงค์เฉพาะของการเดินสํารวจโรงงานในแต่ละกรณีจะไม่เหมือนกัน ที่พบ
บ่อยคือ
 เดินสํารวจเพื่อประเมินความเสี่ยงต่อการสัมผัสสิ่งคุกคามในแผนกต่างๆ ของ
โรงงาน เช่น กรณีที่แพทย์พึ่งจะเข้ามารับหน้าที่เป็นที่ปรึกษาให้โรงงานนี้ หรือ
กรณีที่โรงงานพึ่งจะสร้างเสร็จใหม่ๆ การเดินทําเพื่อสํารวจดูความเสี่ยงต่อการ
สัมผัสสิ่งคุกคามในทุกแผนก และเก็บข้อมูลไว้เพื่อดําเนินการต่อไป
 เดิ น สํา รวจเพื่ อ จะวางแผนการตรวจสุ ข ภาพให้ กั บ คนทํา งาน การเดิ น ด้ ว ย
วัตถุประสงค์นี้ เมื่อค้นหาสิ่งคุกคามและประเมินความเสี่ยงในแต่ละแผนกแล้ว
แพทย์จะนําข้อมูลความเสี่ยงนั้น มาพิจารณาวางแผนการตรวจสุขภาพให้กับ
คนทํางานแต่ละแผนกอย่างตรงกับความเสี่ยงที่คนทํางานแต่ละแผนกได้รับ
ซึ่งการเดินสํารวจเพื่อวัตถุประสงค์นี้ ข้อมูลที่ได้มาจะใช้วางแผนได้กับทั้งการ
ตรวจสุขภาพประจําปี ก่อนเข้าทํางาน ก่อนกลับเข้าทํางาน หรือการตรวจเพื่อ

86
ดูความพร้อมในการทํางาน ช่วยให้การตรวจสุขภาพทําได้อย่างตรงตามความ
เสี่ยงมากขึ้น
 เดินสํารวจเพื่อประเมินคุณภาพ ในกรณีที่มีการจัดทํามาตรฐานคุณภาพของ
โรงงาน แพทย์อาชีวเวชศาสตร์อาจได้รับเชิญให้ไปเดินสํารวจเพื่อประเมินการ
จัดการความเสี่ยงว่าทําได้เหมาะสมแล้วหรือยัง ในกรณีจะจัดตั้งโรงงานใหม่
หรื อ ต่ อ อายุใ บอนุ ญาต ก็ อาจจะต้ อ งมี ก ารเดิ น สํารวจก่ อ นดํา เนิ น การด้ ว ย
เช่นกัน
 การเดินสํารวจเมื่อโรงงานเปลี่ยนเครื่องจักรใหม่หรือเปลี่ยนกระบวนการผลิต
ใหม่ ซึ่งก็จะทําให้ความเสี่ยงต่อสุขภาพของคนทํางานเปลี่ยนไปด้วย (อาจดีขึ้น
หรือแย่ลงก็ได้) การเดินสํารวจลักษณะนี้โดยมากจะดูเพียงแต่เฉพาะส่วนที่
เปลี่ยนแปลงไป ไม่จําเป็นต้องเดินดูทั้งโรงงานเหมือนกรณีอื่น
 การเดินสํารวจเพื่อประเมินการกลับเข้าทํางานของคนทํางานที่เจ็บป่วย เมื่อ
คนทํางานเจ็บป่วยหนักถึงขั้นสูญเสียอวัยวะ และฟื้นฟูจนกลับเข้ามาทํางานได้
แพทย์ อาจถู กเชิ ญ ให้ ไ ปประเมิ น ที่ หน้างานด้ว ยว่า คนทํ างานนั้ น จะกลั บ ไป
ทํางานได้อย่างปลอดภัยหรือไม่ เป็นการสํารวจดูเฉพาะจุดเช่นกัน
 เดินสํารวจเพื่อตรวจสอบหรือสอบสวนเหตุการณ์ เมื่อเกิดกรณีบาดเจ็บหรือ
เจ็บป่วยจากการทํางาน หรือเกิดการร้องเรียนในเรื่องการดูแลสุขภาพของ
ลูกจ้างไปที่กระทรวงแรงงาน แพทย์อาจได้รับเชิญจากกระทรวงแรงงานให้ไป
เดินสํารวจเพื่อประเมินดูจุดเสี่ยงที่เป็นปัญหานั้น การเดินสํารวจลักษณะนี้
แพทย์ จ ะไปเดิ น สํารวจร่ ว มกั บ พนัก งานตรวจแรงงานเสมอ และทํา หน้า ที่
สอบสวนหาสาเหตุของปัญหา

2. การเตรียมตัวก่อนเดินสํารวจ
การเตรียมตัวก่อนเดินสํารวจนั้น ควรเริ่มจากการทบทวนวัตถุประสงค์ของการ
เดินสํารวจว่าเราจะไปเดินสํารวจเพื่ออะไร ดูหมายเลขติดต่อ บุคคลที่เราจะไป
ติ ด ต่ อ หากเป็ น โรงงานที่ ไ ม่ เ คยไปมาก่ อ นอาจต้ อ งเตรี ย มแผนที่ สํ า หรั บ การ

87
เดินทางไป หรือติดต่อให้ทางโรงงานนํารถมารับ การไปเดินสํารวจโรงงานนั้นต้อง
ใช้กําลังกายและสมาธิสูง อีกทั้งในโรงงานยังอาจมีสิ่งคุกคามอันตรายอยู่มาก คืน
วันก่อนไปสํารวจจึงควรนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ งดเครื่องดื่มของมึนเมาทุก
ชนิด การจัดเตรียมอุปกรณ์และทีมงาน หากเป็นการเดินสํารวจร่วมกับบุคลากร
สาขาอาชีพอื่น เช่น นักสุขศาสตร์อุตสาหกรรม พยาบาลอาชีวอนามัย ควรนัด
หมายผู้ ร่ ว มที ม ให้ ท ราบวั น เวลาและสถานที่ นั ด หมาย อุ ป กรณ์ ที่ จํ า เป็ น เช่ น
ปากกา กระดาษจด แบบฟอร์มการเดินสํารวจ ควรเตรียมไปให้พร้อม กรณีที่จะ
ทําการตรวจวัดระดับสิ่งคุกคามด้วย จะต้องจัดเตรียมเครื่องตรวจวัดทางสุขศาสตร์
อุตสาหกรรมไว้ล่วงหน้า ทําการสอบเทียบ (calibrate) ตรวจสอบแบตเตอรี่ให้
เรียบร้อย หากมีอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล เช่น รองเท้านิรภัย หน้ากาก
ป้องกันฝุ่น ควรเตรียมไปด้วย

กรณี ที่ ต้ อ งการข้ อ มู ล บางอย่ า งที่ คิ ด ว่ า โรงงานจะต้ อ งจั ด เตรี ย มไว้ ก่ อ น เช่ น
รายการสารเคมี ที่ ใ ช้ รายละเอี ย ดกระบวนการผลิ ต หรื อ รายละเอี ย ดข้ อ มู ล
safety data sheet (SDS) ควรแจ้งให้ทางโรงงานทราบล่วงหน้า เพื่อที่ทาง
โรงงานจะได้เตรียมไว้ให้ได้ทัน หากสามารถศึกษารายละเอียดข้อมูลของโรงงาน
ว่าผลิตอะไร มีกระบวนการผลิตคร่าวๆ อย่างไร มีลักษณะองค์กรอย่างไร ไว้
ล่วงหน้าได้ก็ยิ่งดี

3. แนวทางปฏิบัติตัวในการเดินสํารวจโรงงาน
แนวทางการปฏิบัติตัวเมื่อเดินสํารวจ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อตัวผู้เดินสํารวจ
และเป็นการรักษามารยาทและความสัมพันธ์อันดีกับทางโรงงาน ควรปฏิบัติตัวดังนี้
 ระลึกถึงอยู่เสมอว่าเราเป็น “แขก” ที่ได้รับเชิญให้เข้าไปเดินสํารวจ ไม่ใช่เจ้า
บ้าน ควรรักษากิริยามารยาทให้เรียบร้อยและใช้คําพูดที่สุภาพเสมอ นอกจาก
การเดิ น สํ า รวจร่ ว มกั บ เจ้ า หน้ า ที่ ต รวจแรงงานในกรณี ส อบสวนข้ อ พิ พ าท
ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างแล้ว ส่วนใหญ่แล้วการเดินสํารวจโรงงานนั้น เป็น

88
เรื่องที่ทางโรงงาน “เต็มใจ” จะให้แพทย์เข้าไปเดินสํารวจเกือบทั้งสิ้น จุดนี้ทํา
ให้แพทย์ควรรักษามารยาทและให้เกียรติกับทางโรงงานเป็นอย่างดี
 การแต่งกายควรรัดกุม ใส่เสื้อผ้าที่หนาและเรียบร้อย ผู้หญิงควรใส่ก างเกง
มากกว่ากระโปรง รองเท้าควรใส่รองเท้าหุ้มส้น ไม่ควรใส่รองเท้าแตะหรือ
รองเท้าส้นสูง หากมีกฎให้ใส่รองเท้านิรภัยก็ควรใส่รองเท้านิรภัยเข้าไปเสมอ
ผู้หญิงที่ผมยาวควรผูกรัดให้เรียบร้อย หากมีกฎให้ใส่หมวกนิรภัยก็ควรปฏิบัติ
ตาม สาเหตุที่ต้องแต่งตัวให้เรียบร้อยและรัดกุมนั้นเพื่อความปลอดภัยของผู้
เดินสํารวจ เนื่องจากพื้นในโรงงานอาจขรุขระ ไม่เรียบ ทางเดินอาจมีเครื่องจักร
มีสิ่งกีดขวางอยู่ หากใส่รองเท้าส้นสูง เดินแล้วส้นรองเท้าอาจติดกับพื้นโรงงาน
ทําให้หกล้มเกิดอุบัติเหตุ ผมที่ยาวรุงรังอาจเข้าไปติดพันกับเครื่องจักร ทําให้
ถูกเครื่องจักรดึง เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงได้ เป็นต้น
 ให้ความร่วมมือกับทางโรงงาน ปฏิบัติตามกฎข้อบังคับของทางโรงงานอย่าง
เคร่งครัดเสมอ ใส่อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลที่ทางโรงงานจัดเตรียมมาให้ใส่
เพื่อความปลอดภัยของผู้เดินสํารวจ
 ไม่พูดคุยหยอกล้อกันระหว่างที่เดินสํารวจโรงงาน นอกจากจะเสียมารยาท
แล้วอาจทําให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่ายอีกด้วย การเดินควรเดินด้วยความสํารวม ถ้า
ไปหลายคนให้เดินเป็นแถว รวมกลุ่มกันไว้ อย่าเดินแยกออกไปไกลๆ คนเดียว
อาจหลงทาง หรือหลงไปตรงจุดที่เป็นอันตรายได้
 ไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทุกชนิดก่อนไปเดินสํารวจโรงงาน เนื่องจากอาจ
ทําให้เกิดอาการเมาค้าง เมื่อไปเดินสํารวจโรงงานที่มีจุดอันตรายอาจทําให้เกิด
อุบัติเหตุได้ง่าย
 ไม่สูบบุหรี่ โดยเฉพาะในบริเวณที่มีป้ายห้าม เพราะอาจมีสารเคมีไวไฟอยู่ ใน
โรงงานด้านปิโตรเคมี เช่น คลังน้ํามัน หอกลั่นน้ํามัน แท่นขุดเจาะแก๊ส ที่ต้อง
ระมัดระวังในเรื่องการเกิดประกายไฟเป็นอย่างสูง มักมีกฎให้ฝากอุปกรณ์ที่
สามารถก่อประกายไฟได้ทุกชนิดไว้ เช่น บุหรี่ ไฟแช็ค โทรศัพท์มือถือ กล้อง
ถ่ายรูป ก็ควรปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด

89
 หากต้องการถ่ายรูปกระบวนการผลิต ต้องขออนุญาตทางเจ้าหน้าที่โรงงาน
ก่อนเสมอ หากไม่ได้รับอนุญาตให้ถ่ายก็ห้ามถ่ายเด็ดขาด หากได้รับอนุญาตให้
ถ่ายรูป หลังจากเดินสํารวจเสร็จ ก็ควรให้เจ้าหน้าที่ของโรงงานตรวจสอบด้วย
ว่าได้ถ่ายรูปอะไรออกไปบ้าง เพื่อให้ทางโรงงานเกิดความสบายใจ สาเหตุที่
โรงงานบางแห่งห้ามการถ่ายรูปภายในพื้นที่การผลิตนั้น เพราะอาจมีส่วนที่
เป็ น ความรู้ หรื อ เทคโนโลยี หรื อ สู ต รเฉพาะของโรงงาน ที่ เ ป็ น ความลั บ
(know-how) ที่ ต้ อ งปกปิ ด ไว้ ด้ ว ยเหตุ ผ ลทางธุ ร กิ จ หากถู ก นํ า ไปเผยแพร่
โดยทั่วไปก็จะทําให้ทางโรงงานเกิดความเสียหายได้
 ปฏิบัติตามป้ายห้ามหรือป้ายคําสั่งต่างๆ ที่ติดไว้ บริเวณที่มีป้ายห้ามเข้าก็ต้อง
ไม่เดินเข้าไป หากจําเป็นต้องเข้าไปเพื่อประโยชน์ในการเก็บข้อมูล ก็ต้องขอ
อนุญาตเจ้าหน้าที่ของโรงงานที่พาเดินสํารวจก่อนเสมอ ไม่แตะต้องเครื่องจักร
หรื อ สู ด ดมสารเคมี ใ ดๆ ก่ อ นที่ จ ะได้ รั บ ทราบว่ า สิ่ ง นั้ น คื อ อะไร และได้ รั บ
อนุญาตแล้ว เพราะอาจเป็นของอันตราย ทําให้เกิดอุบัติเหตุหรือการเจ็บป่วย
ต่อตัวผู้เดินสํารวจได้
 มีสติและสมาธิในการเดินสํารวจ ทางเดินในโรงงานบางแห่งอาจแคบ ขรุขระ
เปียกลื่น มีเศษเหล็ก เศษตะปู หรือของตั้งวางอยู่อย่างไม่เป็นระเบียบ แขนกล
ของเครื่องจักรบางตัวอาจกวัดแกว่งไปมา มีจุดที่มีความร้อนสูง มีรถขนของวิ่ง
ไปมา ปั้นจั่นยกของไปมา อันตรายจากของตกใส่ศีรษะ และอันตรายอื่นๆ อีก
มาก ทั้งหมดนี้อาจทําให้เกิดการบาดเจ็บต่อตัวผู้เดินสํารวจได้ จึงต้องเดิน
อย่างมีสติระมัดระวังโดยตลอด
 ไม่ ห ยิ บ ฉวยของอะไรก็ ต ามในโรงงานติ ด ไม้ ติ ด มื อ กลั บ มาบ้ า นโดยเด็ ด ขาด
สาเหตุที่ไม่ควรหยิบฉวยของในโรงงานมานั้น เนื่องจากหากทางโรงงานทราบ
ว่าเราหยิบฉวยของมาโดยไม่ได้รับอนุญาต จะทําให้เสียความน่าเชื่อถือไปทันที
และหากของที่หยิบมานั้นเป็นของอันตราย เช่น ก้อนสารเคมีที่เป็นพิษ สาร
กัมมันตรังสี เราอาจได้รับอันตรายจากการเก็บของนั้นไว้

90
 หากจําเป็นต้องเก็บตัวอย่างชิ้นส่วนใดๆ ก็ตามในโรงงานไปวิเคราะห์เพื่อช่วย
ในการวินิจฉัยโรคของคนทํางานแล้ว ต้องขออนุญาตทางโรงงานก่อนเสมอ
 ในการพูดคุยกับเจ้าหน้าที่ของโรงงาน ควรพูดคุยในทางสร้างสรรค์ ไม่ข่มขู่ ไม่
พยายามซักถามแบบเค้นหาความจริง ปัญหาบางอย่างที่เจ้าหน้าที่ของโรงงาน
ตอบไม่ได้เพราะเขาไม่ทราบก็ไม่ควรไปบีบบังคับให้ตอบ และไม่ควรพูดในเชิง
สั่งสอนหรือยกตนข่มท่านด้วย ควรพูดกับเจ้าหน้าที่ของโรงงานด้วยความ
สุภาพ เป็นวิชาการ และรักษาสัมพันธภาพอันดีไว้
 หากต้ อ งการซั ก ถามพนั ก งานที่ กํา ลั ง ทํา งานอยู่ โดยเฉพาะคนที่ ทํา งานใน
สายการผลิตซึ่งต้องทํางานอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา ควรขออนุญาตเจ้าหน้าที่
ของโรงงานที่พาเราเดินสํารวจเสียก่อน ถ้าเป็นไปได้ก็อาจถามจากเจ้าหน้าที่ที่
พาเดินสํารวจแทน หรือถ้าจําเป็นต้องซักถามคนทํางานนั้นจริงๆ ก็ควรรอให้
ถึงช่วงพักแล้วค่อยเข้าไปถาม เนื่องจากหากเข้าไปพูดคุยตอนเขากําลังทํางาน
อาจทําให้สายการผลิตต้องหยุดชะงักลง และเกิดความสูญเสียกับทางโรงงาน
ได้

4. ขั้นตอนการเดินสํารวจโรงงาน
ขั้นตอนในการเดินสํารวจโรงงานนั้น โดยทั่วไปจะเป็นดังนี้
 เริ่มจากการติดต่อกับโรงงานทางโทรศัพท์ โทรสาร หรืออีเมล์ เพื่อนัดหมายวัน
เวลาและวัตถุประสงค์ของการเดินสํารวจ โดยการติดต่อนั้นอาจจะเป็นทาง
โรงงานเชิญแพทย์ไปสํารวจเอง หรือทางแพทย์พบผู้ป่วยที่สงสัยโรคจากการ
ทํางานแล้วร้องขอทางโรงงานเข้าไปสํารวจก็ได้ ในกรณีหลังแพทย์จะเข้าไป
สํารวจได้ก็ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากทางโรงงานแล้วเท่านั้น
 เมื่อนัดหมายกันเสร็จเรียบร้อย ก็เป็นการเตรียมตัว เตรียมอุปกรณ์ต่างๆ ใน
การเดินสํารวจ และเตรียมทีมงาน ดังได้กล่าวแล้วในข้อที่ 2.
 การเดินสํารวจโดยทั่วไปจะใช้เวลาหนึ่งวัน ถ้าโรงงานเล็กอาจจะใช้เวลาน้อย
กว่านั้นคือประมาณครึ่งวัน แต่ถ้าโรงงานขนาดใหญ่มากจะใช้เวลาหลายวัน

91
ควรนั ด หมายกะประมาณเวลาที่ ใ ช้ ใ นการเดิน สํา รวจให้ เ พีย งพอ การเดิ น
สํารวจที่ดีจริงๆ ต้องเก็บข้อมูลจํานวนมาก หากให้เวลาน้อยเกินไปจะทําให้ไม่
สามารถเก็บข้อมูลมาประเมินได้อย่างถูกต้อง
 เมื่อถึงวันนัด ไปถึงโรงงานแล้ว ควรไปติดต่อที่แผนกประชาสัมพันธ์ แจ้งเข้า
พบบุคคลที่นัดหมายไว้ บางครั้งทางโรงงานอาจจะเชิญให้ไปพบกับผู้บริหาร มี
เจ้ า หน้ าที่ ม าทํ า การชี้ แ จงข้ อ มู ล ของโรงงานสั้ น ๆ ให้ฟั ง ในการประชุ ม เปิ ด
(open meeting) ถ้ามีการขอข้อมูลไว้ล่วงหน้า เช่น รายการสารเคมีที่ใช้ ผล
การตรวจวัดทางสิ่งแวดล้อม ผลการตรวจสุขภาพเมื่อปีก่อนๆ ควรร้องขอให้
ทางโรงงานนําข้อมูลนั้นมาเตรียมไว้ตั้งแต่ช่วงแรกที่พบกันนี้ ทางฝั่งแพทย์ควร
แนะนําตัว แนะนําทีมงาน และบอกวัตถุประสงค์ในการเดิน สํารวจให้ทาง
ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ของโรงงานทราบ
 เมื่อทําความรู้จัก และเก็บข้อมูลในเบื้องต้นเสร็จแล้ว จึงเริ่มดําเนินการเดิน
สํารวจโรงงาน การเดินควรเดินร่วมไปกับทางเจ้าหน้าที่ของโรงงานที่พาเดิน
สํารวจ ปฏิบัติตามกฎความปลอดภัยอย่างเคร่งครัด แนวทางการปฏิบัติตัว
ระหว่างการเดินสํารวจ รายละเอียดดังในข้อที่ 3. รายละเอียดสิ่งที่ควรสังเกต
ควรเก็บข้อมูล และควรทําการประเมิน รายละเอียดดังในข้อที่ 5. และ 6.
 หลังจากเดินสํารวจเสร็จ ควรที่จะมีการประชุมสรุป (close meeting) อีกครั้ง
เพื่อเปิดโอกาสให้ทางโรงงานได้ซักถามสิ่งที่สงสัย เก็บข้อมูลเพิ่มเติมในส่วนที่
ยังไม่ได้ข้อมูล และนัดหมายการดําเนินการอย่างอื่นต่อไป (ถ้ามี) รายละเอียด
ดังในข้อที่ 7.
 ควรทําการเขียนรายงาน เพื่อให้โรงงานได้เก็บไว้เป็นหลักฐานการเดินสํารวจ
ในทุกๆ ครั้ง การเขียนเป็นรายงานสรุปจะทําให้โรงงานสามารถนําข้อเสนอแนะ
ไปปรับปรุงการดูแลสุขภาพของคนทํางานให้ดีขึ้นได้ รายละเอียดดังในข้อที่ 8.

5. ข้อมูลที่ควรเก็บและซักถาม
ข้อมูลที่ควรเก็บ ซักถาม และบันทึกไว้มีดังนี้

92
 ข้อมูลติดต่อ เป็นส่วนที่สําคัญที่สุด เพราะจะทําให้เราสามารถติดต่อกับทาง
โรงงานอีกครั้งได้ ตั้งแต่ ชื่อโรงงาน ที่ตั้ง ชื่อของบุคคลที่เราติดต่อ ตําแหน่ง
หน้าที่ หมายเลขโทรศัพท์ โทรสาร และอีเมล์
 ข้ อ มู ล รายละเอี ย ดกระบวนการผลิ ต ในโรงงานบางแห่ ง อาจมี ก ารทํ า เป็ น
เอกสารสรุป หรือทําเป็นแผนผัง (flow chart) เอาไว้ให้เรียบร้อยแล้ว แต่หาก
ไม่มี ข้อมูลส่วนนี้ก็จะได้จากการสอบถามและจดบันทึกขณะเดินสํารวจนั่นเอง
ข้อมูลนี้จะทําให้เราทราบว่าในแต่ละแผนกจะต้องทําหน้าที่อะไรบ้าง สัมผัสสิ่ง
คุกคามอะไรบ้าง หากมีแผนผังประกอบก็จะทําให้ทราบว่าแผนกไหนอยู่ใกล้
กับแผนกไหน มีโอกาสได้รับสัมผัสสิ่งคุกคามจากแผนกข้างเคียงหรือไม่ ในการ
เดินสํารวจนั้น เพื่อไม่ให้สับสนกับเส้นทางกระบวนการผลิต ควรร้องขอให้
เจ้าหน้าที่พาเดินสํารวจตั้งแต่จุดเริ่มต้นของสายการผลิตไปจนถึงจุดสิ้นสุด จะ
เข้าใจได้ง่าย หลังจากดูรายละเอียดกระบวนการผลิตแล้ว จะต้องตอบตัวเอง
ให้ได้ว่า โรงงานนี้มีวัตถุดิบ (raw material) คืออะไรบ้าง มีกระบวนการผลิต
(work process) อะไรบ้าง เกิดมีสารตัวกลาง (intermediate product) ขึ้น
บ้างหรือไม่ ถ้ามีเป็นสารอะไรบ้าง เกิดมีสารผลพลอยได้ (by-product) ขึ้นบ้าง
หรือไม่ ถ้ามีเป็นสารอะไรบ้าง และเมื่อสิ้นสุดกระบวนการผลิตแล้วได้ผลิตภัณฑ์
(final product หรือ finished product) อะไรออกมาบ้าง
 ข้อมูลรายละเอียดสารเคมีที่ใช้ เมื่อเดินสํารวจแล้วควรทราบว่าสารเคมีใดใช้
มาก หรือเป็นสารเคมีหลักของโรงงานแห่งนี้ สารเคมีใดใช้น้อย หรือเป็นเพียง
ส่วนประกอบ สารเคมีใดที่คนทํางานต้องสัมผัสโดยตรง สารเคมีใดที่คนทํางาน
ไม่ต้องสัมผัสโดยตรง
 หากโรงงานมีการรวบรวมเอกสาร SDS ไว้ด้วยก็ควรนํามาพิจารณา เพราะจะ
ทําให้ผู้เดินสํารวจและเจ้าหน้าที่ของโรงงานสามารถดูข้อ มูลความเป็นพิษ
เบื้องต้นได้จากเอกสารนี้ และอาจสามารถดูชื่อสามัญ (generic name) เทียบ
กับชื่อทางการค้า (trade name) ของสารเคมีที่สนใจได้ด้วย บ่อยครั้งที่ระหว่าง
การเดินสํารวจจะทราบแต่ชื่อทางการค้าที่ไม่สามารถเข้าใจความหมายได้ติด

93
อยู่ที่ฉลากผลิตภัณฑ์ เช่น U18, K-206, Fastener ทํานองนี้ หากมาดูใน SDS
อาจจะทําให้ทราบได้ว่านั่นคือสารอะไร
 ข้อมูลผลการตรวจวัดทางสิ่งแวดล้อมโดยนักสุขศาสตร์อุตสาหกรรม ข้อมูล
การตรวจสุขภาพคนทํางานในปีก่อนๆ ข้อมูลการฝึกอบรมทางด้านอาชีวอนามัย
ข้อมูลการดําเนินงานจัดกิจกรรมทางด้านอาชีวอนามัย การจัดทํามาตรฐาน
คุณภาพ การจัดสวัสดิการให้แก่คนทํางาน ประวัติการเจ็บป่วย ข้อมูลเหล่านี้
จะช่วยให้ประเมินได้ว่า โรงงานมีการดําเนินงานทางด้านอาชีวอนามัยมากน้อย
เพียงใดบ้าง
 ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับคนทํางาน เช่น มีคนทํางานทั้งหมดกี่คน เป็นชายและหญิง
ในสัดส่วนเท่าใด มีอายุเฉลี่ยเท่าใด มีอายุงานเฉลี่ยเท่าใด มีอัตราการเข้า-ออก
จากงาน (turnover rate) มากน้อยเพียงใด
 ข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัย เช่น มีเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยหรือไม่ มีกี่คน มี
ระดับใดบ้าง (ระดับหัวหน้างาน ระดับบริหาร ระดับเทคนิค ระดับวิชาชีพ) มี
นโยบายทางด้านความปลอดภัยหรือไม่ เคยเกิดอุบัติเหตุในโรงงานบ้างหรือไม่
ครั้งที่ร้ายแรงมีกี่ครั้ง เกิดจากอะไร และมีการแก้ไขอย่างไรบ้าง
 ข้อมูลเกี่ยวกับลักษณะโรงงาน นโยบาย วัฒนธรรมองค์กร โรงงานก่อตั้งมากี่ปี
มีโรงงานในเครือกี่แห่ง หากเป็นบริษัทข้ามชาติมีบริษัทแม่อยู่ที่ประเทศอะไร
มีวัฒนธรรมองค์กรเป็นอย่างไรบ้าง ที่ต้องทราบเพื่อที่จะได้ประเมินได้ว่า จะ
สามารถดํา เนิ นการทางด้ านอาชี ว อนามั ย กั บ โรงงานนี้ ได้ ม ากน้ อ ยเพี ย งใด
ข้อมูลในประเด็นเหล่านี้บางเรื่องอาจถามตรงๆ ไม่ได้ แต่ต้องอาศัยการสังเกต
เอาเป็นหลัก
 ข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องจักร หน้าที่ของเครื่องจักร การบํารุงรักษา การซ่อมแซม
และการทําความสะอาด รายละเอียดกระบวนการบํารุงรักษา การทําความ
สะอาด รวมถึงกระบวนการพิเศษที่ทําไม่บ่อย (non-routine process) ต่างๆ
นี้ อาจทําให้คนทํางานต้องสัมผัสกับสิ่งคุกคามในปริมาณที่มากเป็นพิเศษ เช่น
ปกติทํางานสูดดมไอสารเคมีเ พีย งเล็ก น้อ ย แต่ทุก 2 ปีจะต้อ งเข้า ไปในถัง

94
สารเคมีเพื่อล้างทําความสะอาด ซึ่งทําให้ต้องสัมผัสกับสารเคมีเต็มที่ เหล่านี้
จัดว่ามีประโยชน์ในการประเมินความเสี่ยงของคนทํางานด้วย

6. สิ่งที่ควรสังเกตและประเมิน
ข้อนี้เป็นสิ่งที่ระหว่างการเดินสํารวจควรทําการสังเกตไว้ เพื่อจะได้นํามาประเมิน
การสัมผัส สิ่ง คุกคามที่จะเกิ ดขึ้ นกั บคนทํ างาน การประเมินจะทําได้ ดีเ พีย งใด
ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ และความรู้ของผู้เดินสํารวจเป็นหลัก หากหมั่นฝึกฝน
บ่อยๆ จะทําให้มีความเชี่ยวชาญในการประเมินสภาพแวดล้อมเหล่านี้มากขึ้น สิ่ง
ที่ควรสังเกตและทําการประเมิน มีดังนี้
 สภาพสิ่ง แวดล้อ มทั่ว ไปของโรงงาน (general environment) การรัก ษา
ความสะอาด การบํารุงรักษาสถานที่ (housekeeping) การจัดวางผังโรงงาน
(layout) การจัดสภาพแวดล้อม เป็นอย่างไร ขนาดพื้นที่ใหญ่โตหรือคับแคบ
การระบายอากาศเป็นอย่างไร รู้สึกอึดอัดเมื่ออยู่ในอาคารการผลิตหรือไม่
 การดู แ ลด้ า นความปลอดภั ย (safety environment) มี ก ารวางของไว้
ระเกะระกะหรือไม่ พื้นโรงงานเรียบดีหรือไม่ ลื่นหรือไม่ มีเศษโลหะ เศษตะปู
ตกอยู่หรือไม่ มีการตีเส้นและทาสีที่พื้นเพื่อเพิ่มความปลอดภัยหรือไม่ มีทาง
หนีไฟหรือไม่ มีป้ายบอกทางหนีไฟหรือไม่ มีถังดับเพลิงหรือไม่ มีป้ายเตือน
เขตห้ า มเข้ า หรื อ ไม่ ที่ สู ง มีร าวกั้ น กั น ตกหรื อ ไม่ ที่ เ ก็ บ สารเคมี มี ป้ า ยเตื อ น
หรือไม่ เขตอันตรายไฟฟ้าแรงสูงมีป้ายเตือนหรือไม่ ที่อับอากาศมีป้ายเตือน
หรือไม่ มีโอกาสเกิดไฟฟ้าดูดที่จุดใดหรือไม่ เหล่านี้เป็นต้น
 การสัมผัสสิ่งคุกคาม (hazard) ของคนทํางานแต่ละแผนก ในการเดินสํารวจ
แพทย์อาชีวเวชศาสตร์สามารถใช้ประสาทสัมผัสของตนเอง คือการฟังเสียง
การมองเห็น การรู้สึกสัมผัส เพื่อประเมินการสัมผัสสิ่งคุกคามของคนทํางานใน
แต่ละแผนกได้ การประเมินควรประเมินว่าสิ่งคุกคามที่สัมผัสนั้นคืออะไร เป็น
สิ่งคุกคามทางกายภาพ (แสงมืดไป แสงสว่างจ้าไป เสียงดังเกินไป ความร้อน
ความหนาวเย็น ความกดอากาศ แรงสั่นสะเทือน กัมมันตภาพรังสี) ชีวภาพ

95
(เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส เชื้อรา เชื้อปรสิต พยาธิ สัตว์มีพิษ) เคมี (สารเคมีทั้ง
ในรูป แก๊ส ไอระเหย ละออง ฝุ่น ฟูม) ชีวกลศาสตร์ (ท่าทางการทํางานที่ไม่
สะดวกสบาย ความแออัด การทําท่าทางซ้ําๆ การยกของหนัก) หรือทางด้าน
จิตสังคม (วัฒนธรรมองค์กรที่กดดัน ปัญหาศีลธรรมในองค์กร การอยู่กะ การ
ทํางานมากชั่วโมงเกินไป) นอกจากดูว่าสัมผัสสิ่งคุกคามชนิดใดแล้ว ต้องพิจารณา
ด้วยว่าการได้รับสัมผัสสิ่งคุกคามนั้นมีปริมาณมากน้อยเพียงใด ถ้าเป็นทางด้าน
เคมี คนทํางานได้รับเข้าสู่ร่างกายทางไหน ทางการหายใจ ทางการดูดซึมเข้าสู่
ผิวหนัง หรือทางการกิน ควรจําแนกออกเป็นรายแผนกหรือรายบุคคลถ้า
สามารถทําได้ ตามรายการของสิ่งคุกคามที่สัมผัสแต่ละอย่าง
 การดูแลด้านสวัสดิการ (welfare) และสุขอนามัยทั่วไป (general hygiene)
มี น้ํ า ให้ ดื่ ม หรื อ ไม่ เพี ย งพอหรื อ ไม่ มี โ รงอาหารหรื อ จั ด พื้ น ที่ ใ ห้ กิ น อาหาร
หรือไม่ ให้เวลาหยุดพักที่เพียงพอหรือไม่ มีอ่างล้างมือจัดเตรียมไว้ให้หรือไม่ มี
ห้องน้ําจัดไว้เพียงพอหรือไม่ ห้องน้ํามีสภาพอย่างไร กรณีโรงงานที่ทํางานกับ
สารเคมี อั น ตราย มี ห้ อ งอาบน้ํ า และห้ อ งเปลี่ ย นเสื้ อ ผ้ า จั ด ไว้ ใ ห้ ค นทํ า งาน
อาบน้ําก่อนกลับบ้านหรือไม่ มีชุดยูนิฟอร์มแจกให้หรือไม่ มีรถรับส่งหรือค่า
น้ํามันให้หรือไม่ มีตู้ยาและห้องพยาบาลจัดไว้ให้หรือไม่
 การจัดอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคล (personal protective equipment; PPE)
มี ก ารจั ด อุ ป กรณ์ ป้ อ งกั น ส่ ว นบุ ค คลให้ แ ก่ ค นทํา งานหรื อ ไม่ ถ้ า มี แ จก มี
เพียงพอหรือไม่ คุณภาพดีพอหรือไม่ ถูกชนิดกับสิ่งคุกคามที่คนทํางานสัมผัส
หรือไม่
 การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม (environmental management) มีความใส่ใจต่อ
สิ่งแวดล้อมมากน้อยเพียงใด มีการควบคุมสารพิษที่ปล่อยออกสู่อากาศ (air
emission) หรือไม่ มีระบบบําบัดน้ําเสีย (waste water management)
หรือไม่ มีการกําจัดขยะ (waste management) อย่างถูกวิธีหรือไม่ เหล่านี้
เป็นต้น

96
 การประเมิน นี้ หากเป็นการเดินสํารวจแบบทั้งโรงงานก็ควรเดินให้ครบทุก
แผนกในสายการผลิต ซึ่งเป็นส่วนหลักที่จะต้องทําการเดินสํารวจ และอาจ
พิจารณาเดินสํารวจสิ่งคุกคามในฝ่ายสํานักงาน (ฝ่ายบริหาร ฝ่ายทรัพยากร
มนุษย์ ฝ่ายบัญชี ฝ่ายการเงิน ฝ่ายจัดซื้อ ฝ่ายขาย ฝ่ายประชาสัมพันธ์) และ
ฝ่ า ยสนั บ สนุ น (คลั ง วั ต ถุ ดิ บ คลั ง สิ น ค้ า ฝ่ า ยจั ด ส่ ง ฝ่ า ยวิ จั ย และพั ฒ นา
ห้องปฏิบัติการต่างๆ ฝ่ายอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ฝ่ายช่าง แม่บ้าน
คนสวน ฝ่ายรักษาความปลอดภัย) ไปด้วย โดยพิจารณาการเดินสํารวจมาก
น้อยตามความเหมาะสมและความต้องการของทางโรงงาน

7. การประชุมสรุปหลังการเดินสํารวจ
หลังจากที่เดินสํารวจโรงงานเป็นที่เรียบร้อย ควรมีการประชุมสรุปก่อนจะกลับ
ด้วย การประชุมนี้มีความสําคัญเพราะเป็นการเปิดโอกาสให้ทางโรงงานได้ซักถาม
สิ่งที่สงสัย ในกรณีที่มีจุดเสี่ยงอันตรายร้ายแรงซึ่งต้องทําการแก้ไขโดยด่วน แพทย์
ก็จะได้แจ้งให้ทางโรงงานทราบเพื่อให้รีบดําเนินการแก้ไขโดยเร็ว ส่วนการให้
คําแนะนําในภาพรวมนั้น ควรพูดไปในเชิงสร้างสรรค์มากกว่าตําหนิ บอกข้อที่ควร
แก้ไขให้ทางโรงงานได้รับทราบ โดยให้ความเห็นในเชิงวิชาการเป็นหลัก ซึ่งการ
พูดในลักษณะนี้จะทําให้เกิดความร่วมมือและการเรียนรู้ร่วมกัน อันจะนําไปสู่การ
แก้ไขปัญหาได้มากกว่าการตําหนิทางโรงงานว่าไม่มีความรับผิดชอบ บ่อยครั้ง
ภายในโรงงานที่มีจุดเสี่ยงอันตรายต่อคนทํางาน อาจไม่ได้เกิดจากความไม่ใส่ใจ
ของผู้บริหารเพียงอย่างเดียว แต่อาจเกิดจากความไม่รู้หรือข้อจํากัดทางด้าน
เทคโนโลยีในการแก้ไขปรับปรุงก็เป็นไปได้ แพทย์พึงเปิดใจกว้างในการชี้แจงเสนอ
ข้อแก้ไขปัญหาให้กับทางโรงงานด้วย

ในการประชุมสรุปนี้ บ่อยครั้งที่ผู้บริหารให้ความสําคัญและเข้ามาร่วมฟังด้วย จึง


เป็นโอกาสให้ผู้เดินสํารวจที่มีประสบการณ์สามารถชี้แจงปัญหาและเสนอหนทาง
แก้ไขให้กับทางผู้บริหารได้โดยตรง แต่หากผู้เดินสํารวจยังมีประสบการณ์ไม่มาก

97
นัก ก็ควรนําเสนอเฉพาะสิ่งที่พบในเบื้องต้นไปก่อน จากนั้นค่อยรวบรวมข้อมูล
ประเมินปัญหา และเขียนเสนอแนะแนวทางแก้ไขส่งมาให้ในรายงานในภายหลัง
ในวันที่ทําการเดินสํารวจโรงงานนั้น หากมีผู้บริหารหรือเจ้าหน้าที่ของโรงงาน
ซักถามข้อสงสัยในประเด็นใดที่ยังไม่ทราบ ผู้สํารวจไม่ควรตอบไปโดยที่ตนเองก็
ยั ง ไม่ แ น่ ใ จหรื อ ไม่ มี ค วามรู้ แต่ ค วรบอกไปตามตรงว่ า ไม่ ท ราบ แล้ ว ไปค้ น หา
คําตอบ เขียนตอบมาในรายงานการเดินสํารวจจะดีกว่า เนื่องจากหากบอกข้อมูล
ผิดๆ ไป แล้วทางโรงงานไปปฏิบัติตาม อาจเกิดเป็นความเสียหายหรืออันตราย
ร้ายแรงต่อคนทํางานได้

หากต้องมีการนัดหมายครั้งต่อไป เพื่อดําเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งต่อ เช่น มา


เดินสํารวจเพื่อประเมินซ้ํา มาจัดอบรมความรู้ มาตรวจสุขภาพ มาจัดกิจกรรม
ส่ ง เสริ ม สุ ข ภาพ ควรทํ า การนั ด หมายให้ เ สร็ จ เรี ย บร้ อ ย บั น ทึ ก วั น นั ด หมาย
รายละเอียดกิจกรรมที่จะทํา ชื่อบุคคลที่จะติดต่อ และหมายเลขติดต่อไว้

8. รายงานการเดินสํารวจ
หลังจากเดินสํารวจเสร็จสิ้น ควรมีการเขียนรายงานการเดินสํารวจส่งกลับไปให้
ทางโรงงานด้วย ในรายงานการเดินสํารวจนี้จะประกอบไปด้วยข้อมูลทั่วไป สิ่งที่
ผู้สํารวจสังเกตพบหรือตรวจวัดได้ สิ่งที่ผู้สํารวจประเมินแล้วพบว่าเป็นปัญหา
พร้อมทั้งข้อเสนอแนะเพื่อแก้ไขปัญหานั้นๆ รายงานการเดินสํารวจนี้ควรแจ้ง
ล่วงหน้าให้ทางโรงงานทราบว่าจะส่งให้เมื่อใด ส่งให้กับใคร ส่งช่องทางไหนด้วย
จะเป็นการดี และสร้างความน่าเชื่อถือให้กับทีมสํารวจ ทางโรงงานสามารถนํา
รายงานที่เขียนโดยแพทย์อาชีวเวชศาสตร์นี้ ไปทําการปรับปรุงแก้ไขปัญหาเพื่อ
พัฒนาการดูแลสุขภาพของคนทํางานในโรงงานได้ต่อ หากจะนําไปประกอบการ
จัดทํามาตรฐานคุณภาพบางอย่าง เช่น ISO 14001 หรือ OSHAS 18001 หรือให้
ลู ก ค้ า (customer) หรื อ ผู้ มี ส่ ว นได้ เ สี ย (stakeholder) ทั้ ง ในประเทศและ
ต่างประเทศตรวจสอบก็สามารถทําได้ การเขียนรายงานจึงเป็นเอกสารลายลักษณ์

98
อักษรที่เป็นสิ่งสําคัญและเป็นประโยชน์อย่างมากกับทางโรงงาน แพทย์อาชีวเวช
ศาสตร์จึงควรจะเขียนทุกครั้งที่ได้ไปสํารวจโรงงานถ้าสามารถทําได้ และหากบริษัท
นั้นเป็นบริษัทข้ามชาติ การเขียนรายงานหรือสรุปรายงานเป็นภาษาอังกฤษด้วยก็
จะยิ่งมีประโยชน์ต่อการที่ทางโรงงานจะนําไปใช้สื่อสารกับบริษัทแม่

หนังสืออ้างอิง
1. McDonald MA. The environmental survey: practical guidance for
new entrants to occupational health and safety. J Soc Occup Med
1978;28(3):95-100.
2. Koh D, Sng J. Work and health. In: Koh D, Takahashi K, editors.
Textbook of occupational medicine practice. 3rd ed. Singapore:
World Scientific; 2011. p. 3-24.

แพทย์อาชีวเวชศาสตร์ให้บริการอะไรกับโรงงานได้บ้าง
เรียบเรียงโดย นพ.วิวัฒน์ เอกบูรณะวัฒน์

แพทย์อาชีวเวชศาสตร์ (occupational physician) เป็นแพทย์ที่มีความรู้เฉพาะ


ทางด้านการดูแลสุขภาพของคนทํางาน การทํางานของแพทย์อาชีวเวชศาสตร์ใน
ส่วนที่เกี่ยวข้องกับโรงงาน (factory) หรือองค์กรธุรกิจ (business organization)
ต่างๆ นั้นมีหลากหลายกิจกรรม ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้คนทํางาน
มีสุขภาพดีขึ้นทั้งสิ้น

ความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์อาชีวเวชศาสตร์กับโรงงานนั้น สามารถแบ่งได้เป็น 3
กลุ่ ม ใหญ่ ๆ กลุ่ ม แรกคื อ แพทย์ ที่ ทํา งานเป็ น ลู ก จ้ า งของโรงงาน (company
doctor) คือแพทย์ที่โรงงานจ้างไว้เพื่อดําเนินการด้านสุขภาพภายในองค์กรธุรกิจ
ของตนเอง แพทย์กลุ่มนี้จะมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับพนักงาน มักได้รับการ

99
ยอมรับนับถือจากพนักงาน รู้รายละเอียดของระบบงาน รู้ข้อดีและข้อจํากัดของ
โรงงานที่ตนเองทํางานอยู่เป็นอย่างดี องค์กรธุรกิจที่จะจ้างแพทย์กลุ่มนี้ไว้ส่วน
ใหญ่จะเป็นกลุ่มธุรกิจขนาดใหญ่ ที่มีโรงงานในเครือหลายแห่ง เช่น กลุ่มธุรกิจปิ
โตรเคมี กลุ่มธุรกิจปูนซีเมนต์ กลุ่มธุรกิจเหมืองแร่ กลุ่มธุรกิจผลิตเครื่องอุปโภค
บริโภค โดยแพทย์ที่ทํางานมักจะต้องดูแลทุกหน่วยธุรกิจ (ทุกโรงงาน) ให้กับทาง
นายจ้าง

แพทย์กลุ่มที่สอง ทํางานในลักษณะให้บริการด้านสุขภาพเช่นเดียวกับแพทย์กลุ่ม
แรก แต่มีข้อแตกต่างคือไม่ได้เป็นลูกจ้างประจําของโรงงาน โดยจะดําเนินงานใน
รูปแบบเป็นที่ปรึกษา (consultant) ให้กับโรงงานแทน แพทย์ที่ทํางานในกลุ่มนี้
อาจสังกัดอยู่โรงพยาบาลของรัฐ โรงพยาบาลเอกชน ตั้งบริษัทรับปรึกษาขึ้นมา
เอง หรือเป็นแพทย์อิสระก็ได้ ข้อดีของแพทย์ในกลุ่มนี้คือจะมีความเป็นอิสระทาง
วิ ช าการมากกว่ า ไม่ ถู ก กดดั น จากสถานะการเป็ น ลู ก จ้า งของโรงงาน แต่ก าร
ดําเนินการให้บริการทางสุขภาพใดๆ ก็อาจทําได้ยากลําบากกว่าแพทย์กลุ่มแรก
เนื่องจากมักมีข้อจํากัดในเรื่องการรับทราบข้อมูลระบบงานภายในของโรงงาน
นั้นๆ องค์กรธุรกิจที่มีขนาดกลางถึงขนาดเล็กมักนิยมจ้างแพทย์ในลักษณะที่เป็น
แพทย์ที่ปรึกษานี้ เพราะมีความเหมาะสมในเรื่องค่าใช้จ่าย ส่วนตัวแพทย์เองก็
สามารถทํางานให้กับหลายโรงงานได้ด้วย

แพทย์กลุ่มสุดท้ายที่ทํางานเกี่ยวกับโรงงาน คือแพทย์ที่ทําหน้าที่เป็น “ผู้รักษา


กฎหมาย” แพทย์ในกลุ่มนี้จะไม่ได้ให้บริการด้านสุขภาพแบบแพทย์ในสองกลุ่ม
แรก แต่จะทํางานในลักษณะเดียวกับ “พนักงานสอบสวน” หรือ “พนักงานตรวจ
แรงงาน” แพทย์กลุ่มนี้จะทํางานสังกัดกระทรวงแรงงาน หรือเป็นที่ปรึกษาที่
ได้รับการมอบอํานาจจากกระทรวงแรงงานมาอีกทีหนึ่ง บริบทของการทํางานจะ
ประกอบด้วย การเข้าไปสอบสวนเหตุการณ์เมื่อเกิดการร้องเรียนเกี่ยวกับการดูแล
สุ ข ภาพอนามั ย ของคนทํา งานในโรงงานที่ มี ปัญ หา หรื อ การเข้ า ไปเก็ บ ข้อ มูล

100
สอบสวนโรค วินิจฉัยโรค ในกรณีที่มีข้อพิพาทด้านโรคจากการทํางานเกิดขึ้น
รวมถึงการไปเป็นพยานผู้เชี่ยวชาญในศาลด้วย

เนื้อหาด้านการบริการสุขภาพให้แก่องค์กรธุรกิจที่จะกล่าวในส่วนต่อไป จะขอ
กล่าวถึงเฉพาะบทบาทของแพทย์ในกลุ่มแรกคือแพทย์ประจําโรงงาน และกลุ่มที่
สองคือแพทย์ที่ปรึกษาโรงงานเท่ านั้ น ส่ วนบทบาทการควบคุมให้ เป็นไปตาม
กฎหมายของแพทย์ ที่ ทํา งานสั ง กั ด กระทรวงแรงงานจะไม่ ข อกล่ า วถึ ง ใน
รายละเอียด

การที่แพทย์เข้าไปดําเนินงานด้านสุขภาพให้กับองค์กรธุรกิจนั้น จุดมุ่งหมายหลัก
ก็เพื่อให้พนักงานขององค์กรธุรกิจมีสุขภาพดี การที่พนักงานมีสุขภาพดี ก็จะทํา
ให้ อ งค์ ก รสามารถขั บ เคลื่ อ นไปข้ า งหน้ า ได้ อ ย่ า งรวดเร็ ว เพราะพนั ก งานที่ มี
สุขภาพดีทั้งร่างกายและจิตใจ จะมีโอกาสผลิตงานที่มีคุณภาพออกมาได้มากกว่า
นอกจากจุดมุ่งหมายหลักในเรื่องการสร้างสุขภาพดีให้กับพนักงานแล้ว องค์กร
ธุรกิจยังได้ประโยชน์ทางอ้อมจากการดูแลสุขภาพพนักงานทางอื่นๆ ด้วย เช่น
ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลพนักงาน ลดอัตราการขาดงานจากปัญหา
สุขภาพ สามารถนําข้อมูลที่ได้มาใช้ทํามาตรฐานคุณภาพขององค์กร องค์กรมี
ชื่อเสียงในทางที่ดีมากขึ้น และเป็นการสบายใจที่ได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมาย
แรงงาน

การดําเนินการด้านสุขภาพของแพทย์อาชีวเวชศาสตร์ให้กับองค์กรธุรกิจต่างๆ
นั้น โดยทั่วไปมักจะต้องทําร่วมกับทีมงานด้านสุขภาพและบุคลากรสาขาอาชีพอื่น
เช่น พยาบาลอาชี ว อนามั ย (occupational health nurse) นัก สุ ข ศาสตร์
อุตสาหกรรม (industrial hygienist) เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย (safety officer)
เจ้าหน้ าที่ฝ่ ายทรั พ ยากรมนุ ษ ย์ (human resource officer) อย่ า งไรก็ต าม
บริการด้านสุขภาพบางอย่างก็เป็นบทบาทหน้าที่หลักที่แพทย์อาชีวเวชศาสตร์

101
สามารถทําได้แต่เพียงผู้เดียว เช่น การตรวจสุขภาพพนักงานประจําปี การตรวจ
สุขภาพเพื่อประเมินความพร้อมในการทํางาน การออกแบบการตรวจสุขภาพของ
พนักงาน และการวินิจฉัยโรคจากการทํางาน เป็นต้น

การดําเนินการเพื่อให้บริการด้านสุขภาพ (health service) หรืออาจเรียกให้จําเพาะ


เจาะจงขึ้นว่าการดําเนินการเพื่อให้บริการด้านอาชีวอนามัย (occupational health
service) ที่แพทย์อาชีวเวชศาสตร์สามารถดําเนินการให้กับองค์กรธุรกิจได้นั้น มี
การรวบรวมและเสนอแนะไว้โดย สุรศักดิ์ บูรณตรีเวทย์ ในหนังสือ “ตําราอาชีว
เวชศาสตร์เบื้องต้น” ซึ่งมีแง่มุมต่างๆ ที่น่าสนใจ จํานวนทั้งสิ้นถึง 15 ประเด็น
เรียงไปตามลําดับดังนี้

1. การศึกษาข้อมูลเบื้องต้นของโรงงาน
แรกเริ่มเมื่อแพทย์อาชีวเวชศาสตร์จะเข้าไปทําหน้าที่ดูแลสุขภาพให้กับคนทํางาน
ในโรงงานหรือองค์กรธุรกิจใด แพทย์จะต้องเข้าไปศึกษาข้อมูลพื้นฐานขององค์กร
นั้ น ก่ อ นเป็ น อั น ดั บ แรก ข้ อ มู ล ที่ จ ะต้ อ งทราบ เช่ น องค์ ก รธุ ร กิ จ นั้ น ผลิ ต หรื อ
ให้บริการอะไร มีขนาดเล็กใหญ่เพียงใด มีคนทํางานจํานวนเท่าใด คนทํางานมี
อายุเฉลี่ยเท่าใด ส่วนใหญ่เป็นคนหนุ่มสาวหรือเป็นคนสูงอายุ ส่วนใหญ่เป็นเพศ
หญิ ง หรื อ เพศชาย ส่ ว นใหญ่ มี อ ายุ ง านมากหรื อ น้ อ ย ข้ อ มู ล การเจ็ บ ป่ ว ยเป็ น
อย่างไร มีอัตราการย้ายงานมากน้อยเพียงใด กระบวนการผลิตมีรายละเอียด
อย่างไรบ้าง มีการใช้สารเคมีอะไรบ้าง มีการดําเนินงานด้านอาชีวอนามัยอะไร
มาแล้วบ้าง มีการจัดทํามาตรฐานคุณภาพอะไรมาแล้วบ้าง มีการจัดสวัสดิการ
อะไรให้ แก่คนทํ างานบ้าง มีวัฒนธรรมองค์กรเป็นอย่างไรบ้าง เป็นต้ น ข้อมู ล
เบื้องต้นเหล่านี้ จะช่วยให้แพทย์อาชีวเวชศาสตร์มีความเข้าใจลักษณะขององค์กร
ธุรกิจนั้นมากขึ้น และช่วยให้สามารถแก้ปัญหาสุขภาพให้กับองค์กรได้อย่างเป็น
องค์รวม

102
2. การเฝ้าระวังทางสิ่งแวดล้อม
การเฝ้าระวังทางสิ่งแวดล้อม (environmental monitoring) ทําโดยการตรวจวัด
ระดับสิ่งคุกคามที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมการทํางาน เช่น ระดับเสียง ระดับแสง ระดับ
สารเคมีในอากาศ หน้าที่การตรวจวัดสิ่งแวดล้อมนั้น เป็นความเชี่ยวชาญของนัก
สุ ข ศาสตร์ อุ ต สาหกรรม เมื่ อ มี ก ารจั ด หานั ก สุ ข ศาสตร์ อุ ต สาหกรรมมาทํา การ
ตรวจวัดในสิ่งแวดล้อมแล้ว แพทย์อาชีวเวชศาสตร์ควรที่จะต้องทราบผลการ
ตรวจวัดด้วย เพื่อให้สามารถประเมินอันตรายจากสิ่งคุกคามที่จะเกิดแก่คนทํางาน
ในสภาพแวดล้อมนั้นได้

หากยังไม่เคยมีการตรวจวัดระดับสิ่งคุกคามในสิ่งแวดล้อมเลย แพทย์อาชีวเวช
ศาสตร์อาจต้องทําการเดินสํารวจโรงงานเพื่อดูว่ามีความจําเป็นจะต้องทําการ
ตรวจวัดระดับสิ่งคุกคามใดบ้างหรือไม่ หากมีความจําเป็นก็ควรแนะนําให้ทาง
โรงงานจัดให้มีการตรวจวัดขึ้น โดยให้นักสุขศาสตร์อุตสาหกรรมเป็นผู้มาตรวจวัด
หากมีการตรวจวัดแล้ว แต่ยังไม่ถูกต้องหรือยังไม่เหมาะสม เช่น ตรวจวัดสารเคมี
ผิดตัว ความถี่ในการตรวจน้อยเกินไป วัดผิดจุด วัดผิดตําแหน่ง ก็ต้องแนะนําให้
ทางโรงงานจัดการตรวจวัดเพิ่มเติมให้ถูกต้องด้วย นอกจากนี้การจัดเก็บข้อมูลการ
เฝ้าระวังทางสิ่งแวดล้อม ก็ควรจัดเก็บไว้อย่างมีระบบเพื่อให้สามารถนําข้อมูลมา
ประเมินย้อนหลังได้

3. การแจ้งผลการเฝ้าระวังทางสิ่งแวดล้อม
เมื่อวิเคราะห์ผลการเฝ้าระวังทางสิ่งแวดล้อมในภาพรวม และรายละเอียดในแต่
ละจุดตรวจวัดเรียบร้อยแล้ว ควรทําการแจ้งผลการวิเคราะห์นี้แก่ทั้งฝ่ายนายจ้าง
และลูกจ้าง ว่าผลการตรวจวัดระดับสิ่งคุกคามที่พบเกินกว่าค่ามาตรฐานที่ยอมรับ
ได้หรือไม่ หากผลการตรวจวัดมีค่าเกินกว่าค่ามาตรฐานที่ยอมรับได้ และการ
ประเมินความเสี่ยงก็พบว่ามีความเสี่ยงที่คนทํางานจะได้รับอันตราย ก็ควรทําการ

103
แก้ไขที่สิ่งแวดล้อมการทํางานก่อนเป็นอันดับแรก เพราะเป็นการแก้ไขที่ต้นเหตุ
ของปัญหา การปล่อยให้คนทํางานมีความเสี่ยง หรือสัมผัสสิ่งคุกคามจนเป็นโรค
แล้วค่อยมาแก้ไขโดยการรักษาโรคทีหลังนั้นไม่ใช่ตัวเลือกที่ถูกต้องนัก การแก้ไขที่
สิ่งแวดล้อมการทํางานให้ดีที่สุดก่อนเป็นสิ่งที่เหมาะสมกว่า

4. การประเมินความเสี่ยงต่อสุขภาพ
เมื่อได้ทําการควบคุมแก้ไขที่สิ่งแวดล้อมแล้ว จึงมาทําการประเมินความเสี่ยงต่อ
สุขภาพที่คนทํางานเป็นอันดับต่อไป การประเมินทําเพื่อให้ทราบว่าสิ่งคุกคามที่
คนทํางานสัมผัสนั้นจะสร้างความเสี่ยงที่จะเกิดผลกระทบต่อสุขภาพมากน้อย
เพียงใด ขั้นตอนของการประเมินความเสี่ยงประกอบด้วย (1) การบ่งชี้สิ่งคุกคาม
(hazard identification) (2) การประเมิ น ขนาดการสั ม ผั ส กั บ ผลกระทบที่
เกิดขึ้น (dose-response assessment) (3) การประเมินการสัมผัส (exposure
assessment) และ (4) การอธิบายลักษณะของความเสี่ยง (risk characterization)
เมื่อทําการประเมินความเสี่ยงแล้ว แพทย์ควรส่งต่อข้อมูลความเสี่ยงที่ประเมินได้
ให้นายจ้างจัดการความเสี่ยง (risk management) รวมทั้งทําการสื่อสารความ
เสี่ยง (risk communication) ให้ทั้งฝ่ายนายจ้างและลูกจ้างเข้าใจด้วย

การศึกษาข้อมูลของโรงงาน การดูรายละเอียดของการทํางานแผนกต่างๆ การ


พิจารณาความเหมาะสมของการเฝ้าระวังทางสิ่งแวดล้อม การค้นหาสิ่งคุกคาม
ภายในโรงงาน การประเมินความเสี่ยง รวมถึงการออกแบบการตรวจสุขภาพของ
คนทํางานให้ตรงตามความเสี่ยงที่ได้รับนั้น แพทย์อาชีวเวชศาสตร์สามารถทราบ
ข้อมูลได้จากการเดินสํารวจโรงงาน (walkthrough survey) การเดินสํารวจโรงงาน
นี้เป็นเครื่องมือสําคัญ ที่ช่วยให้แพทย์อาชีวเวชศาสตร์สามารถทราบข้อมูลความ
เสี่ยงภายในโรงงานได้เป็นอย่างดี

104
5. การเฝ้าระวังสุขภาพของคนทํางาน
เมื่อประเมินความเสี่ยงจนทราบว่าคนทํางานใดมีความเสี่ยงอะไรบ้างแล้ว การ
ดําเนินการเฝ้าระวังสุขภาพของคนทํางาน (health surveillance) เป็นลําดับขั้น
ที่สามารถดําเนินการได้ต่อไป ความเสี่ยงในการเกิดโรคที่แพทย์สามารถเฝ้าระวัง
ได้นั้น ไม่เพียงแต่ความเสี่ยงจากในงานเพียงอย่างเดียว แต่ยังรวมถึงความเสี่ยง
จากปัจจัยส่วนบุคคล เช่น อายุ เพศ พันธุกรรม และความเสี่ยงจากพฤติกรรม
สุขภาพ เช่น การสูบบุหรี่ การดื่มสุรา การเฝ้าระวังทางสุขภาพนั้น จัดเป็นหน้าที่
หลักอย่างหนึ่งของแพทย์อาชีวเวชศาสตร์

แนวทางการเฝ้าระวังสุขภาพ สามารถทําได้โดยการออกแบบการตรวจสุขภาพ
ตามความเสี่ยงที่คนทํางานแต่ละคนหรือแต่ละแผนกได้รับ เช่น คนที่ทํางานสัมผัส
ฝุ่นหิน มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคปอดฝุ่นหิน ก็ควรออกแบบการตรวจสุขภาพให้
สอดคล้องกับความเสี่ยง โดยการแนะนําให้ตรวจภาพรังสีทรวงอก (chest X-ray)
และ ตรวจสมรรถภาพปอด (lung function test) เป็นต้น การค้นหาความ
ผิดปกตินั้น สามารถค้นหาได้ทั้งจาก การซักประวัติ (history taking) การตรวจ
ร่างกาย (physical examination) และการตรวจทางห้องปฏิบัติการ (laboratory
investigation)

การส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อดูว่าคนทํางานมีการสัมผัสสิ่งคุกคามหรือไม่
การสั ม ผัส มี ม ากน้อ ยเพีย งใด โดยการส่ ง ตรวจระดั บ ของสิ่ ง คุ ก คามใน เลื อ ด
ปัสสาวะ เส้นผม หรืออากาศที่หายใจออกมานั้น มีชื่อเรียกเฉพาะว่า “การเฝ้าระวัง
ทางชีวภาพ” (biological monitoring) สารเคมีที่ตรวจมีคําศัพท์เรียกเฉพาะว่า
“ตัวบ่งชี้ทางชีวภาพ” (biological marker) การตรวจเฝ้าระวังทางชีวภาพนี้ เป็น
เครื่องมืออย่างหนึ่งที่ช่วยในการประเมินว่าคนทํางานสัมผัสกับสิ่งคุกคามมากน้อย
เพียงใด ซึ่งแพทย์อาชีวเวชศาสตร์ควรพิจารณาเลือกการตรวจที่ถูกต้องเหมาะสม
ให้แก่โรงงานด้วย

105
กระบวนการซักประวัติ ตรวจร่างกาย ส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ รวมถึงการเฝ้า
ระวั งทางชี วภาพ ทั้ งหมดถือ ว่ าเป็นส่วนหนึ่ งในกระบวนการเฝ้าระวั ง สุข ภาพ
(health surveillance) ของคนทํางาน ในทางปฏิบัติอาจเรียกรวมขั้นตอนเหล่านี้
ว่าการตรวจสุขภาพทางอาชีวเวชศาสตร์ (occupational health examination)
ก็ได้ การตรวจสุขภาพเป็นทักษะสําคัญที่แพทย์อาชีวเวชศาสตร์จะต้องทําการ
ฝึกฝนให้เชี่ยวชาญอยู่เสมอ เนื่องจากเป็นหน้าที่หลักของแพทย์ที่จะดําเนินการใน
ส่วนนี้ หากแพทย์สามารถตรวจสุขภาพได้อย่างเหมาะสมและเชี่ยวชาญแล้ว ก็จะ
ทําให้มีโอกาสตรวจพบความผิดปกติของร่างกายคนทํางานได้มากขึ้น และตรวจ
พบได้รวดเร็ว ทําให้คนทํางานมีโอกาสได้รักษาตัวตั้งแต่ที่โรคยังมีอาการไม่มาก
รวมทั้งโรงงานก็จะได้มีข้อมูลเพื่อรีบไปดําเนินการแก้ไขทางด้านสิ่งแวดล้อมการ
ทํางานให้ดีขึ้น เพื่อไม่ให้คนทํางานเกิดอันตรายต่อสุขภาพอีก

การตรวจสุขภาพทางอาชีวเวชศาสตร์นั้น ทําได้ในหลายโอกาส ตั้งแต่คนเข้ามา


ทํางานจนถึงออกจากงานไป จุดมุ่งหมายของการตรวจนั้นมีอยู่ 2 ประการหลัก
คือ (1) ตรวจเพื่อหาความผิดปกติที่อาจเกิดเป็นโรคหรือเป็นอันตรายขึ้น ไม่ว่าโรค
นั้นจะเกิดจากการทํางานหรือเกิดจากปัจจัยส่วนบุคคลก็ตาม เมื่อตรวจพบตั้งแต่
ระยะเริ่มแรกจะได้รีบทําการรัก ษา (2) ตรวจเพื่อ ประเมิน ความพร้อ มในการ
ทํางาน (fitness for work) หากพบว่าร่างกายไม่พร้อมที่จะทํางานจะได้ให้หยุด
ทํางานที่เสี่ยงจะทําให้เกิดอันตรายนั้นไว้ก่อน และรีบทําการแก้ไขฟื้นฟูจนร่างกาย
แข็งแรงดีหรือไม่เสี่ยงจนเกินไปแล้ว จึงค่อยให้กลับมาทํางานนั้น อย่างไรก็ตาม
จุ ด มุ่ ง หมายใหญ่ ข องการตรวจสุ ข ภาพนั้ น ก็ คื อ ตรวจเพื่ อ หวั ง ให้ ค นทํ า งานมี
สุขภาพดีและเกิดความปลอดภัยในการทํางานสูงสุดนั่นเอง

ตัวอย่างของการตรวจสุขภาพทางอาชีวเวชศาสตร์ ได้แก่ การตรวจสุขภาพก่อน


จ้างงาน (pre-employment health examination) การตรวจสุขภาพก่อนเข้า
ประจําตําแหน่งงาน (pre-placement health examination) การตรวจสุขภาพ

106
ตามระยะเวลา (periodic health examination) การตรวจสุขภาพเพื่อดูความ
พร้อมในการทํางาน (fitness for work health examination) เช่น การตรวจ
เพื่อดูความพร้อมในการทํางานในที่อับอากาศ (fitness for work in confined-
space) การตรวจเพื่อดูความพร้อมในการทํางานดําน้ํา (fitness to dive) การตรวจ
เพื่อดูความพร้อมก่อนกลับเข้าทํางาน (return to work health examination)
และก่อนที่คนทํางานจะเกษียณหรือออกจากงานไปก็สามารถจัดให้มีการตรวจ
สุขภาพได้ด้วย (retirement and exit health examinations)

6. แนะนํามาตรการป้องกันและควบคุมสิ่งคุกคามต่อสุขภาพ
เป็นหน้าที่อย่างหนึ่งที่แพทย์อาชีวเวชศาสตร์ต้องร่วมกับบุคลากรสาขาอาชีพอื่น
ในการแนะนําโรงงานถึงแนวทางการป้องกัน (prevent) และควบคุม (control)
สิ่งคุกคามต่อสุขภาพ การดําเนินการป้องกันและควบคุมนั้นทําโดยใช้หลักการ
ทางด้านสุขศาสตร์อุตสาหกรรม คือการควบคุมที่แหล่งกําเนิด (source) ที่ทางผ่าน
(pathway) และที่ตัวคน (person) การควบคุมควรใช้วิธีการทางด้านวิศวกรรม
(engineering control) แก้ไข และใช้ก ารบริหารจัดการ (administrative
control) ช่วยเสริม

หากข้อมูลในการตรวจสุขภาพทางอาชีวเวชศาสตร์ แสดงผลว่าคนทํางานมีความ
ผิดปกติจํานวนมาก หรือพบความผิดปกติที่สําคัญ ก็จะเป็นข้อแนะนําที่สําคัญที่
ทําให้โรงงานต้องรีบดําเนินการแก้ไขสภาพสิ่งแวดล้อมการทํางานให้ดีขึ้น การ
วิเคราะห์ข้อมูลผลการตรวจสุขภาพทางด้านอาชีวเวชศาสตร์จึงมีความสําคัญใน
ส่วนนี้ด้วย

7. การจัดการปฐมพยาบาลและแผนรองรับเหตุฉุกเฉิน
การจัดการปฐมพยาบาล (first aid) นั้น แพทย์อาชีวเวชศาสตร์ร่วมกับพยาบาล
อาชีวอนามัยควรจัดให้มีการเตรียมความพร้อมไว้ด้วย เนื่องจากเมื่อเกิดอุบัติเหตุ

107
จากการทํางานขึ้นเมื่อใด คนทํางานจะได้รับการปฐมพยาบาลที่ถูกต้องเหมาะสม
ในเบื้องต้น เช่น การทําแผล การล้างสารเคมีออกจากตัว การช่วยฟื้นคืนชีวิต ทํา
ให้สามารถส่งตัวไปทําการรักษาที่โรงพยาบาลต่อได้อย่างปลอดภัย การจัดระบบ
การปฐมพยาบาลนี้ รวมตั้งแต่การอบรมความรู้ให้คนทํางานสามารถปฐมพยาบาล
เพื่อนร่วมงานได้ การจัดให้มีห้องปฐมพยาบาล การจัดให้มีพยาบาลคอยดูแล การ
จัดให้มีอุปกรณ์ปฐมพยาบาลที่เพียงพอ เช่น ผ้าพันแผล ยา น้ําเกลือ ที่ล้างตา อ่าง
ล้างมือ ฝักบัวล้างตัว การจัดให้มีรถสําหรับส่งผู้ป่วยฉุกเฉิน และการจัดแผนการ
ทําหน้าที่ของฝ่ายต่างๆ ไว้รองรับเมื่อเกิดมีอุบัติเหตุจากการทํางานขึ้นด้วย

ในด้านการจัดแผนรองรับเหตุฉุกเฉินนั้น ก็มีความสําคัญไม่น้อยเช่นกัน โรงงานทุก


แห่งมีโอกาสประสบกับภัยพิบัติในรูปแบบต่างๆ ได้ การจัดเตรียมแผนความพร้อม
ไว้ย่อมเป็นการรอบคอบ ซึ่งจะช่วยให้ลดความสูญเสียทั้งต่อชีวิตของคนทํางาน
และทรัพย์สินของโรงงานได้ การจัดแผนเตรียมความพร้อมที่ดีอาจทําให้โรงงาน
ยังสามารถดําเนิ นการผลิตต่ อไปได้แม้ต้องประสบกั บภัยพิ บัติบางอย่างที่ยัง มี
ความรุนแรงไม่มากนัก แผนรับมือเหตุฉุกเฉินที่นิยมมีการจัดเตรียมไว้ เช่น แผน
รับมืออัคคีภัย แผนรับมืออุบัติภัยสารเคมีรั่วไหล แผนรับมือน้ําท่วมและพายุ แผน
รับมือโรคระบาด เช่น โรคไข้หวัดใหญ่ แผนรับมือการก่อการร้าย เหล่านี้เป็นต้น
การซ้อมแผนตามช่วงเวลาจะช่วยให้คนทํางานมีความพร้อมและสามารถปฏิบัติได้
อย่ างถู กต้ อ ง อี กทั้ งการประสานงานร่ว มมือ กั บ หน่ วยงานต่ างๆ ก็ จะได้ มีก าร
ประเมินประสิทธิภาพไว้ด้วย ในแผนภัยพิบัติไม่ว่าแผนใดก็ตาม จะต้องมีการ
เตรียมความพร้อมในส่วนที่เกี่ยวกับผู้บาดเจ็บหรือเจ็บป่วย แพทย์อาชีวเวชศาสตร์
จึงมักต้องมีส่วนเกี่ยวข้องในการวางแผนเหล่านี้ด้วยเสมอ

8. การจัดบริการสุขภาพ
การจั ด บริ การสุ ข ภาพเป็ น บริ การที่ แ พทย์ อาชี ว เวชศาสตร์ดํา เนิ น การร่ว มกับ
พยาบาลอาชีว อนามัย เพื่อ จัด ให้โรงงานได้รับ บริการสุข ภาพหรือ บริการทาง

108
การแพทย์ในเบื้องต้นที่สมควรได้รับ ในบทบาทของแพทย์อาชีวเวชศาสตร์ บริการ
ทางสุขภาพที่แพทย์จะสามารถทําให้แก่โรงงานได้นั้น สามารถแบ่งออกได้เป็น 2
ส่วนใหญ่ๆ คือ

(1) การให้บริการสุขภาพในบริบทที่แพทย์ทั่วไปควรให้บริการกับประชาชน ซึ่งมี


ทั้งในส่วนของ การป้องกัน การวินิจฉัย และการรักษาโรค แพทย์อาชีวเวชศาสตร์
ที่ดีควรสามารถให้บริการสุขภาพทั่วไปเหล่านี้ให้แก่โรงงานได้ด้วย ตัวอย่างของ
บริการด้านการป้องกัน เช่น การฉีดวัคซีน การให้คําแนะนําทางสุขศึกษา การ
วินิจฉัยโรคทั่วไปที่ไม่ได้เกิดจากการทํางาน นอกจากนี้ยังอาจรวมถึงการตรวจ
รักษาโรคทั่วไปด้วย (ในประเด็นการตรวจรักษาโรคทั่วไปนั้น หากโรงงานตั้งอยู่ใน
เมืองหรือพื้นที่ที่มีการบริการทางสาธารณสุขที่ดีแล้ว บทบาทของแพทย์อาชีวเวช
ศาสตร์มักจํากัดอยู่ที่การตรวจวินิจฉัยและให้การปฐมพยาบาลในเบื้องต้น ส่วน
การรั ก ษานั้ น นิ ย มส่ ง ต่ อ ให้ ค นทํ า งานไปรั ก ษาที่ โ รงพยาบาล ซึ่ ง จะถู ก ต้ อ ง
เหมาะสมกว่ า การรั ก ษาที่ โ รงงานจนหายจากโรค เนื่ อ งจากโรงพยาบาลมัก มี
เครื่องมือ ยา และแพทย์ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญพร้อมมากกว่าอย่างมาก แต่
หากที่ทํางานนั้นเป็นพื้นที่ห่างไกล (remote area) เช่น ในแท่นขุดเจาะน้ํามัน
กลางทะเล การสร้างเขื่อนในป่าลึก การรักษาโรคทั่วไปจนหายหรืออาการดีขึ้น
ย่อมยังต้องอาศัยแพทย์อาชีวเวชศาสตร์ที่ทํางานอยู่ในพื้นที่เป็นหลัก เนื่องจาก
การขนส่งคนทํางานที่เจ็บป่วยมาเป็นระยะทางไกลโดยไม่ได้รักษาอาจจะเป็น
อันตรายต่อคนทํางานนั้นมากกว่า)

(2) การให้บริการวินิจฉัยโรคจากการทํางาน เนื่องจากการวินิจฉัยโรคจากการ


ทํางานนั้น เป็นความเชี่ยวชาญเฉพาะของแพทย์อาชีวเวชศาสตร์ หากเกิดพบ
ประเด็นสงสัยโรคจากการทํางานขึ้น จึงเป็นหน้าที่หลักของแพทย์ที่จะวินิจฉัยโรค
ว่าเป็นจากการทํางานหรือไม่ การวินิจฉัยโรคจากการทํางานนี้ จะนําไปสู่การ

109
ปรับปรุงสภาพแวดล้อมการทํางาน การเบิกเงินชดเชยให้แก่คนทํางานที่เจ็บป่วย
และการเก็บสถิติเพื่อป้องกันโรคต่อไป

9. การจัดบริการฟื้นฟูสภาพ
หากพนักงานเกิดการเจ็บป่วยหรือประสบอุบัติเหตุ จนทําให้เกิดผลกระทบต่อ
สุขภาพขึ้นอย่างมาก แพทย์อาชีวเวชศาสตร์มีหน้าที่ดําเนินการร่วมกับบุคลากร
วิชาชีพอื่นๆ เพื่อดูแลผู้ป่วยกลับเข้าทํางาน (return to work management)
โดยแพทย์อาชีวเวชศาสตร์เป็นผู้ตรวจประเมินความพร้อมในการกลับเข้าทํางาน
หากคนทํางานนั้นยังไม่พร้อม ก็จัดให้มีบริการฟื้นฟูสภาพ (rehabilitation) แก่
คนทํางานนั้น เช่น ส่งตัวไปทํากายภาพบําบัด (physical therapy) อาชีวบําบัด
(occupational therapy) รวมถึงทําอวัยวะเทียมและกายอุปกรณ์ (prosthesis
and orthosis) ที่โรงพยาบาลหรือศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพ ช่วยเหลือจนคนทํางาน
นั้นสามารถกลับมาทํางานได้อีกครั้งหนึ่ง

10. การปรับงานให้เหมาะกับคนทํางาน
การปรับสภาพพื้นที่ทํางาน (work station) ให้เหมาะสมกับคนทํางานนั้น แพทย์
อาชีวเวชศาสตร์มีบทบาทในการเสนอแนะแนวทางแก้ไขให้กับโรงงานได้ หาก
พบว่ามีความไม่เหมาะสม หน้าที่ในการปรับสภาพที่ทํางานนี้ บทบาทหลักจะ
ดําเนินการโดยบุคลากรหลายสาขาอาชีพ โดยเฉพาะ วิศวกร นักออกแบบ ช่าง
เจ้าหน้าที่ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ เจ้าหน้าที่ความปลอดภัย นักสุขศาสตร์อุตสาหกรรม
และผู้เชี่ยวชาญทางด้านการยศาสตร์ การปรับปรุงแก้ไขนี้ ทําเพื่อให้ถูกต้องตาม
หลักการอาชีวอนามัย (คือทําให้คนทํางานสัมผัสสิ่งคุกคามน้อยลง) เช่น แก้ไข
เครื่องจักรให้ปล่อยไอสารเคมีออกมาน้อยลง เพื่อให้เกิดความปลอดภัยมากขึ้น
เช่น แก้ไขเครื่องจักรที่ไม่มีที่กําบังให้มีกําบัง ป้องกันการบาดเจ็บต่อมือคนทํางาน
แก้ไขเพื่อให้ถูกต้องตามหลักการยศาสตร์ (คือทําให้ทํางานได้อย่างสะดวกขึ้น)

110
เช่น แก้ไขเก้าอี้นั่งทํางานให้มีพนักและปรับระดับได้เพื่อให้พนักงานนั่งทํางานได้
สบายขึ้นและไม่เป็นโรคปวดหลัง เหล่านี้เป็นต้น

11. การคุ้มครองกลุ่มเสี่ยง
คนทํางานกลุ่มพิเศษบางกลุ่มมีความเสี่ยงที่จะป่วยเป็นโรคจากการทํางานได้
มากกว่าคนทั่วไป เช่น สตรีมีครรภ์ แรงงานเด็ก คนสูงอายุ คนที่มีความไวรับ
(susceptible group) คนที่มีภูมิไวเกิน (hypersensitive group) คนที่มีภูมิคุ้มกัน
บกพร่อง คนที่ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง คนเหล่าควร
ได้รับการคุ้มครองให้มีความปลอดภัยในการทํางานเป็นพิเศษ การประเมินโดย
ความรู้ของแพทย์อาชีวเวชศาสตร์เพื่อคุ้มครองคนทํางานกลุ่มพิเศษเหล่านี้ จะ
ช่วยให้พวกเขามีความปลอดภัยในการทํางานมากขึ้น

ตัวอย่างเช่น กรณีของสตรีมีครรภ์ ทารกในครรภ์นั้นจะมีความไวต่อการเกิดโรค


พิษตะกั่วมากกว่าคนทั่วไปมาก ในการประเมินความเสี่ยงหากพบว่าคนทํางาน
สัมผัสไอสารตะกั่วเป็นสตรีมีครรภ์ แพทย์อาชีวเวชศาสตร์ก็มีหน้าที่แนะนําโรงงาน
ให้คุ้มครองความปลอดภัยของสตรีมีครรภ์นั้น อาจโดยการแก้ไขสภาพแวดล้อม
เพื่อลดการสัมผัสไอสารตะกั่วในที่ทํางานลง หรือย้ายไปทํางานอื่นชั่วคราวจนกว่า
จะคลอดบุตร เป็นต้น

12. การฝึกอบรมและการให้ข้อมูล
การฝึกอบรม (training) และการให้ข้อมูล (information) แก่คนทํางานนั้น จะ
ช่วยให้คนทํางานมีความรู้ด้านสุขภาพ สามารถดูแลสุขภาพของตนเองได้ดีขึ้น
การฝึกอบรมและให้ข้อมูลนี้เป็นงานที่แพทย์อาชีวเวชศาสตร์และบุคลากรสาขา
อาชีพอื่นสามารถดําเนินการได้ร่วมกัน หัวข้อในการฝึกอบรมนั้น มีได้ตั้งแต่ การ
ให้ความรู้เกี่ยวกับสิ่งคุกคามที่สัมผัส วิธีการทํางานให้เกิดความปลอดภัย การใช้
อุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลอย่างถูกวิธี การปฐมพยาบาลเบื้องต้น ความรู้เกี่ยวกับ

111
โรคจากการทํา งาน ความรู้ เ กี่ ย วกั บ โรคระบาดหรื อ โรคที่ กํา ลั ง เป็ น ประเด็ น
น่าสนใจ ไปจนถึงความรู้ทั่วไปด้านสุขภาพ

13. การจัดบริการส่งเสริมสุขภาพ
เป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่มีความสําคัญในการดูแลสุขภาพของคนทํางาน การจัด
กิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพ (health promotion) ภายในโรงงานนั้น โดยทั่วไป
แพทย์อาชีวเวชศาสตร์จะดําเนินงานเสริมกับพยาบาลอาชีวอนามัย และบุคลากร
สาขาอาชีพอื่นที่เกี่ยวข้อง กิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพนี้ จะช่วยให้คนทํางานมี
สุขภาพที่แข็งแรงขึ้น เจ็บป่วยด้วยโรคต่างๆ ลดน้อยลง การขาดงานเนื่องจากการ
เจ็บป่วยมีโอกาสลดลงได้ จึงถือว่ามีประโยชน์ต่อคนทํางานและองค์กรอย่างมาก

กิจกรรมการส่งเสริมสุขภาพที่นิยมดําเนินการมีหลากหลายกิจกรรม เช่น การจัด


กิจกรรมการออกกําลังกาย (exercise program) การจัดกิจกรรมลดความอ้วน
และลดไขมันในเลือด (reduce body weight and reduce lipid level) การ
จั ด การด้ า นความสะอาดปลอดภั ย ของโรงอาหารและดู แ ลด้ า นโภชนาการ
(canteen management program) การจัดโครงการอนุรักษ์การได้ยิน (hearing
conservation program; HCP) การจัดบริการสายด่วนดูแลปัญหาด้านจิตใจ
(employee assistant program; EAP) การจัดบริการเลิกบุหรี่ (smoking
cessation program) การจัดกิจกรรมปลอดยาเสพติดหรือโรงงานสีขาว (drug-
free workplace) เหล่านี้เป็นต้น

กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพแบบต่างๆ นั้น มักจะมีการตั้งชื่อเรียกให้แตกต่างกันไปใน


แต่ละแห่ง ส่วนหนึ่งอาจเนื่องจากจะเป็นการทําให้คนทํางานเกิดความสนใจและ
มาเข้าร่วมกิจกรรมกัน มากขึ้น แต่ไม่ว่า จะเรีย กชื่อ อย่างไรก็ตาม เนื้อ แท้แ ล้ว
กิจกรรมเหล่านี้ทั้งหมดจัดทําขึ้นเพื่อมุ่งหวังส่งเสริมให้คนทํางานมีสุขภาพร่างกาย
และจิตใจที่ดีขึ้นในด้านใดด้านหนึ่งนั่นเอง

112
14. การจัดระบบการจัดเก็บข้อมูล
การจัดเก็บข้อมูลทางด้านสุขภาพอย่างเป็นระบบนั้น จะช่วยให้โรงงานสามารถนํา
ข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์เพื่อดําเนินการพัฒนาแก้ไขปัญหาสุขภาพให้กับคนทํางาน
ได้อย่างดียิ่งขึ้น ข้อมูลที่ควรทําการจัดเก็บไว้ เช่น ข้อมูลผลการตรวจวัดระดับสิ่ง
คุกคามในสิ่งแวดล้อม ข้อมูลเอกสารความปลอดภัยในการทํางานกับสารเคมี
(safety data sheet หรือ SDS ซึ่งจะเป็นเอกสารที่มีข้อมูลสมบัติทางเคมี ความ
เป็นพิษ และวิธีการดูแลรักษาหากได้รับพิษจากสารเคมีชนิดนั้นระบุไว้) ข้อมูลผล
การเดินสํารวจโรงงานของผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ ข้อมูลผลการตรวจเฝ้าระวังทาง
ชีวภาพ ข้อมูลผลการตรวจสุขภาพประจําปี เหล่านี้เป็นต้น

ระบบการจัดเก็บมีสิ่งที่ควรคํานึงถึงคือ (1) จะจัดเก็บในรูปแบบใด หากโรงงานมี


คนทํา งานจํา นวนไม่ ม ากอาจจั ด เก็ บ ในรู ป แบบเอกสาร ใส่ แ ฟ้ ม ไว้ แต่ ห ากมี
คนทํางานอยู่จํานวนมาก เช่น องค์กรที่มีพนักงานอยู่หลายพันคน การจัดเก็บ
ข้อมูลสุขภาพในรูปแบบแฟ้มเอกสารอาจไม่เหมาะสมนัก เพราะจะค้นหาหรือ
นํามาวิเคราะห์ได้ลําบาก การจัดเก็บในรูปแบบไฟล์คอมพิวเตอร์จะเหมาะสมกว่า
การใช้พื้นที่สําหรับเก็บ ในกรณีของเอกสารในรูปแบบแฟ้มจะต้องใช้พื้นที่มาก
และหากไม่จัดเรียงให้เป็นสัดส่วนก็อาจสูญหายได้ง่าย โดยเฉพาะกรณีที่โรงงานมี
คนทํ า งานจํ า นวนมาก แต่ ห ากเป็ น เอกสารในรู ป แบบไฟล์ ค อมพิ ว เตอร์ ก็ จ ะ
ประหยัดพื้นที่กว่า หากเก็บในรูปแบบไฟล์คอมพิวเตอร์ ก็ต้องดูด้วยว่าจะจัดเก็บ
โดยใช้โปรแกรมชนิดใด ใช้โปรแกรมระบบปฏิบัติการสํานักงานเท่านั้นก็เพียงพอ
หรือว่าต้องใช้โปรแกรมจัดการฐานข้อมูล ปัจจัยในการเลือกขึ้นอยู่กับจํานวน
ข้อมูล ความรู้ความสามารถในการจัดการข้อมูลของบุคลากร และงบประมาณที่มี
เป็นหลัก (2) จะให้ใครจัดเก็บ ตัวอย่างเช่น ผลการตรวจสุขภาพประจําปีของ
คนทํางานในโรงงาน โดยทั่วไปผู้ที่มีหน้าที่เก็บข้อมูลนี้ อาจเป็นพยาบาลที่ห้อง
พยาบาล หรืออาจเก็บไว้ที่แผนกทรัพยากรมนุษย์ หรือโรงงานที่มีแผนกอาชีวอนามัย
และความปลอดภัย อาจเก็บไว้ที่แผนกอาชีวอนามัยและความปลอดภัย ต้องทําการ

113
พิจารณาผู้เก็บให้เหมาะสมด้วย (3) การเข้าถึงข้อมูล ควรต้องกําหนดว่าบุคคลใด
หรือแผนกใด สามารถเข้าถึงข้อมูลส่วนไหนได้บ้าง โดยเฉพาะข้อมูลผลการตรวจ
สุขภาพของคนทํางานนั้น จัดว่าเป็นข้อมูลส่วนบุคคล โดยทั่วไปจะนํามาเปิดเผย
โดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของข้อมูลไม่ได้ การจํากัดการเข้าถึงข้อมูลเพื่อเป็น
การรักษาความลับให้กับเจ้าของผลตรวจสุขภาพจึงเป็นสิ่งที่ต้องกระทํา

ระบบการจัดเก็บข้อมูลที่ดีนั้น เป็นส่วนหนึ่งของระบบการเฝ้าระวังปัญหาสุขภาพ
จากการทํ า งานเช่ น กั น การจั ด เก็ บ ที่ ดี จ ะทํ า ให้ ข้ อ มู ล ไม่ สู ญ หาย ค้ น หามาใช้
ประโยชน์ ใ นภายหลั ง ได้ ง่ า ย ที่ สํ า คั ญ คื อ จะทํ า ให้ ส ามารถวิ เ คราะห์ ปั ญ หาใน
ภาพรวมทั้ ง องค์ ก รได้ ด้ ว ย ตั ว อย่ า งเช่ น การเก็ บ ข้ อ มู ล ผลการตรวจสุ ข ภาพ
ประจําปีเอาไว้ทุกปีนั้น ทําให้วิเคราะห์เปรียบเทียบได้ว่า พนักงานในแผนกเจียร
เหล็กมีผลตรวจสมรรถภาพการได้ยินลดลงทุกปีแทบทุกคน ซึ่งจะนําไปสู่การ
ค้ น หาสาเหตุ แ ละแก้ ไ ขปั ญ หาได้ หรื อ การวิ เ คราะห์ ทํ า ให้ พ บว่ า พนั ก งาน
สํานักงานจํานวนมากมีปัญหาเรื่องไขมันในเลือดสูง ซึ่งก็ จะนําไปสู่การค้ นหา
สาเหตุและแก้ไขปัญหาได้เช่นกัน เหล่านี้เป็นต้น

15. การวิจัย
นอกเหนือจากการให้บริการสุขภาพแก่คนทํางานในโรงงานแล้ว แพทย์อาชีวเวช
ศาสตร์ยังสามารถมีบทบาทในการทําวิจัยเพื่อเพิ่มองค์ความรู้ให้มากขึ้นโดยอาศัย
ความร่วมมือกับโรงงานที่ทํางานอยู่ด้วย การทําวิจัยนั้นเป็นประโยชน์ทั้งกับทาง
โรงงานเอง เพราะจะทําให้โรงงานได้มีองค์ความรู้ไว้ดูแลสุขภาพของคนทํางานให้
ดีขึ้น และหากผลการวิจัยอันเป็นประโยชน์นั้นได้รับการเผยแพร่ไปในวงกว้างแล้ว
องค์ความรู้ที่ได้จากงานวิจัยก็ยังจะเป็นประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติที่สามารถนํา
ความรู้นั้นไปใช้ได้อีกด้วย

114
การบริการทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่แพทย์อาชีวเวชศาสตร์สามารถดําเนินการให้กับ
โรงงานได้ โดยอาจทําเป็นผู้ดําเนินการหลัก หรือเป็นผู้แนะนํา ส่งเสริม สนับสนุน
จั ด เตรี ย ม จั ด หา หรื อ ดํา เนิ น การร่ ว มกั บ บุ ค ลากรสาขาอาชี พ อื่ น ก็ ไ ด้ การ
ดําเนินการอาจมีความแตกต่างกันไปในโรงงานแต่ละแห่ง ไม่จําเป็นว่าทุกโรงงาน
จะต้องดําเนินการครบหมดทุกข้อ การจะดําเนินการกิจกรรมใด ทํามากหรือน้อย
เท่าใดนั้น ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น ปัญหาด้านสุขภาพที่เด่นชัดที่โรงงาน
ประสบ ชนิดของสิ่งคุกคามที่มีปัญหามากที่สุดในโรงงานนั้น จํานวนของคนทํางาน
วัฒนธรรมขององค์กร นโยบายของผู้บริหาร รวมถึงงบประมาณที่มีในการแก้ไข
ปัญหาด้วย

หนังสืออ้างอิง
1. สุรศักดิ์ บูรณตรีเวทย์. ตําราอาชีวเวชศาสตร์เบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: บุ๊ค
เน็ท; 2547.
2. Rom WN. The discipline of environmental and occupational
medicine. In: Rom WN, Markovitz SB, editors. Environmental and
occupational medicine. 4th ed. Philadelphia: Lippincott Williams &
Wilkins; 2007. p. 3-8.

115
ศึกษาเล่าเรียนกันไปทําไม?

ศึกษาเล่าเรียนกันไปทําไม?
ถ้าเพื่อจะให้ตัวเองนั้นเฟื่องฟู
นั่นแหละจงรู้ ตัวกู-ของกู ครองใจ
คือสิ่งที่เป็นพิษภัยจะพลอยพาให้ชาติล่มจม

เราจะเรียนเพื่อช่วยสังคม
ด้วยจิตนิยมประพฤติให้มีคุณธรรม
ไม่เห็นแก่ตัวเกรงกลัวเรื่องเวรและกรรม
คือสิ่งที่จะน้อมนําความสุขนิรันดร์มาสู่เรา

(จากเนื้อเพลง "ความสุขนิรันดร์" อัลบั้ม "ดอกไม้คุณธรรม" ของมูลนิธิกลุ่มแสงเทียน)

116

You might also like