Ecf 8427 e 183910

You might also like

Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 5

ไมโครโฟน (Microphone)

ไมโครโฟน ทำหน้าที่เปลี่ยนคลื่นเสียงให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า ซึ่งในยุคแรก ๆ มีการผลิตไมโครโฟน


ชนิดไดนามิค ภายในตัวไมโครโฟนชนิดนี้จะประกอบด้วยแผ่นไดอะแฟรม ขดลวด และแม่เหล็ก เมื่อเสียงกระทบกับ
แผ่นไดอะแฟรม ส่งผลให้ขดลวดที่อยู่ติดกับแผ่นไดอะแฟรมเกิดการเคลื่อนที่และสั่นสะเทือนทำให้เกิดสนามแม่เหล็ก
ส่งผลให้เกิดสัญญาณไฟฟ้ากระแสสลับที่มีแรงเคลื่อนไฟฟ้าต่ำมาก เพื่อส่งป้อนให้กับเครื่องขยายเสียง เพื่อทำการ
ขยายให้มีสัญญาณที่แรงขึ้น ไมโครโฟนจะทำหน้าที่ตรงกันข้ามกับลำโพง ส่วนใหญ่แล้วไมโครโฟนสามารถตอบสนอง
ความถี่ได้ตั้งแต่ 50-15000 Hz
เราสามารถแยกประเภทของไมโครโฟนตามลักษณะของโครงสร้างและการผลิต ออกได้เป็น 6
ชนิด คือ
1. ไมโครโฟนชนิดไดนามิค (Dynamic Microphone) ภายในประกอบด้วยแม่เหล็กถาวร แผ่น
ไดอะแฟรมและขดลวดประกอบติดกัน เมื่อมีเสียงมากระทบกับแผ่นไดอะแฟรมจะทำให้เกิดการเคลื่อนไหวไปมา
เกิดสนามแม่เหล็ก มีกระแสไฟฟ้าไหลเวียนในวงจร เกิดสัญญาณไฟฟ้าขึ้น ไมโครโฟนไดนามิคจะให้ คุณภาพเสียง
ค่อนข้างดี มีความคงทน

Dynamic Microphone

2. ไมโครโฟนชนิด คอนเดนเซอร์ (Condenser Microphone) จะใช้คอนเดนเซอร์เป็นตัวสร้าง


ความถี่เพื่อทำให้เกิดสัญญาณไฟฟ้า ทั้งนี้ เมื่อมีเสียงเข้าสู่ไมโครโฟนจะส่งผลให้ไดอะแฟรมเคลื่อนที่ เกิดระยะห่าง
ระหว่างแผ่นโลหะมีการเปลี่ยนแปลง ทำให้เกิดสัญญาณไฟฟ้าเปลี่ยนแปลงตามระดับความดังของเสียง อย่างไรก็
ตาม ไมโครโฟนชนิดนี้ต้องอาศัยไฟเลี้ยงวงจรจากแบตเตอรี่ ซึ่งจะให้คุณภาพเสียงทีด่ ี และมีขนาดเล็กกระทัดรัด

Condenser Microphone
-2-

3. ไมโครโฟนชนิด ริบบอน (Ribbon Microphone) ทำจากแผ่นอลูมิเนียมบางเบา คล้ายกับ


ริบบิ้น จัดวางอยู่ระหว่างแม่เหล็กถาวร เมื่อคลื่นเสียงมากระทบกับแผ่นอลูมิเนียม จะเกิดการสั่นสะเทือน มี
กระแสไฟฟ้าเกิดขึ้น ไมโครโฟนชนิดนี้ราคาต่อนข้าง แต่ให้คุณภาพเสียงที่ดี มีความไวสูง เหมาะสำหรับงานห้องส่ง
วิทยุ โทรทัศน์ และห้องบันทึกเสียง

Ribbon Microphone
4. ไมโครโฟนชนิดคริสตัล (Crystal Microphone) ใช้แร่คริสตัลเป็นตัวสั่นสะเทือน โดยจะรับ
แรงสั่นสะเทือนจากคลื่นของเสียงทางไดอะแฟรม ไมโครโฟนชนิดนี้จะผลิตแรงดันไฟฟ้าทีส่ ูงกว่าไมโครโฟนชนิดอื่น
และมีค่าอิมพิแดนซ์ที่สูง มีน้ำหนักเบา ราคาถูก อย่างไรก็ตามไมโครโฟนก็ยังข้อด้อยคือ ไม่ทนต่อสภาพอากาศที่
ร้อนชื้น เนื่องจากจะทำให้คริสตัลเสื่อมคุณภาพได้ง่าย

Crystal Microphone
5. ไมโครโฟนชนิดเซรามิค (Ceramic Microphone) ทั้งการออกแบบและการทำงานจะคล้ายกับ
ไมโครโฟนชนิด คริสตัล แตกต่างกัน ที่ไมโครโฟนชนิดเซรามิค จะให้ คุณภาพดีกว่า และความทนทานมากกว่า
สามารถทนทานต่อการเปลี่ยนสภาพภูมิอากาศที่ร้อนชื่นได้มากกว่า

Ceramic Microphone
-3-

6. ไมโครโฟนชนิดคาร์บอน (Carbon Microphone) ทำจากผงถ่าน ไมโครโฟนชนิดนี้จะให้คุณภาพ


ไม่ค่อยดีนัก จึงไม่เป็นที่นิยมนำมาใช้กับงานทั่ว ๆ ไป แต่มักจะพบใช้งานกับเครื่องรับโทรศัพท์ เท่านั้น โดยจะมี
หลักการทำงาน คือเมื่อมีเสียงเข้าสู่ไมโครโฟน แผ่นไดอะแฟรมจะเคลื่อนไหวส่งผลให้เกิดแรงกดต่อแคปซูลที่บรรจุผง
ถ่าน ส่งผลให้ความต้านทานของแคปซูลเปลี่ยนแปลง และเกิดกระแสไหลผ่านตามระดับความดังของเสียง

Carbon Microphone

ลักษณะของไมโครโฟนทีต่ ามการใช้งานในปัจจุบัน มีดังนี้


1. ไมโครโฟนแบบตั ้ ง โต๊ ะ และแบบมื อ ถื อ ส่ ว นใหญ่ ม ั ก ใช้ ไ มโครโฟนไดนามิ ค (Dynamic
Microphone) เหมาะสำหรับพิธีกรภาคสนาม โฆษก นักร้อง งานกลางแจ้ง งานเสวนา และกิจกรรมทั่ว ๆ ไป
เนื่องจากมีความทนทานและตอบสนองได้ทุกย่านความถี่ ตั้งแต่ความถี่ต่ำไปจนถึงความถี่สูง
2. ไมโครโฟนชนิดห้อยคอ ส่วนใหญ่เป็นไมโครโฟนคอนเดนเซอร์ (Condenser Microphone)
เหมาะสำหรับงานห้องสตูดิโอ เวลาใช้งานจะติดกับปกเสื้อ กระเป๋า หรือเนคไท เป็นต้น
3. ไมโครโฟนชนิดแขวน ส่วนใหญ่มักใช้ไมโครโฟนไดนามิค (Dynamic Microphone) ติดตั้งอยู่
เหนือศรีษะ หรือสามารถเลื่อนตามนักแสดงบนเวที โดยไม่ต้องถือ ส่วนมากพบในห้องแสดงละครในสตูดิโอผลิต
รายการโทรทัศน์
4. ไมโครโฟนชนิดไร้สาย (Wireless Microphone) หรือที่ที่รู้จักในชื่อ “ไมค์ลอย” ซึ่งเป็นทั้ง
ไมโครโฟนไดนามิค และไมโครโฟนคอนเดนเซอร์ เพียงแต่เพิ่มวงจรรับส่งสัญญาณ โดยตัวส่งอยู่ที่ตัวไมค์ และตัวรับ
อยู่ที่มิกเซอร์ หรือเครื่องเสียง โดยใช้ความถี่ย่าน FM กำลังส่งต่ำ ๆ สามารถส่งได้ไกลประมาณ 100-150 เมตร
การเลือกไมโครโฟนใช้งาน สามารถแยกตามคุณสมบัติการรับเสียง ดังนี้
เนื่องจากไมโครโฟนมีคุณสมบัติการตอบสนองความถี่ที่แตกต่างกัน บางรุ่น บางยี่ห้อ สามารถ
ตอบสนองย่านความถี่ในช่วงแคบ ๆ ตั้งแต่ 100 Hz – 1 kHz และบางยี่ห้อ ออกแบบให้ตอบสนองย่านความถี่ที่กว้าง
มากขึ้น อาทิ 50 Hz – 15 kHz นอกจากนี้ยังมีอีกตัวแปรในการเลือกซื้อไมโครโฟน คือค่าความไวในการรับเสียง ซึ่ง
ไมโครโฟนที่มีความไวในการรับเสียงสูง จะสามารถรับคลื่นเสียงที่อยู่ห่างจากไมโครโฟนได้ ดี โดยจะบ่งบอกใน
รูปแบบของเดซิเบล (dB) เช่น -75 dB, -68 dB, -55 dB เป็นต้น ซึ่งค่า dB ยิ่งมีค่าเป็นลบมากจะมีความไวในการ
-4-

รับเสียงต่ำกว่าค่า dB ที่เป็นลบน้อย ดังนั้นบริษัทผู้ผลิตจึงจำเป็นต้องออกแบบให้ไมโครโฟนสามารถรับเสียงใน


ทิศทางที่แตกต่างกัน
1. แบบรับเสียงรอบทิศทาง (Omni-Directional Microphone) ไมโครโฟนรูปแบบนี้จะสามารถ
รับเสียงได้รอบทิศทาง เนื่องจากมีความไวในการรับเสียงเท่าๆ กัน ไม่ว่าผู้พูดจะอยู่ในตำแหน่งของทิศทางใด ซึ่ง
เหมาะกับงานแสดงบนเวที แต่ก็มีข้อด้อยคือมักจะเกิดสัญญาณย้อนกลับ และป้องกันได้ยาก

Omni-Directional Microphone
2. แบบรับเสียงได้ทิศทางเดียว (Uni-Directional Microphone) ไมโครโฟนรูปแบบนี้จะสามารถ
รับเสียงได้เพียงทิศทางเดียวเฉพาะด้านหน้า ซึ่งเหมาะกับงานจัดรายการ บันทึกเสียง วงดนตรี และงานบรรยาย
โดยผู้พูดจะต้องอยู่ในตำแหน่งด้านหน้าไมโครโฟนเท่านั้น

Uni-Directional Microphone
3. แบบรับเสียงได้สองทิศทาง (Bi-Directional Microphone) ไมโครโฟนรูปแบบนี้จะสามารถ
รับเสียงได้สองทิศทางที่อยู่ตรงข้างกัน

Bi-Directional Microphone
-5-

การใช้งานและการบำรุงรักษาไมโครโฟน
1. ควรเลือกใช้ไมโครโฟนให้เหมาะสมกับลักษณะงาน โดยพิจารณาจากทิศทางการรับเสียงของ
ไมโครโฟน
2. เวลาพูดหรือสนทนา ควรกะระยะการพูดให้เหมาะสมไม่ใกล้หรือห่างไมโครโฟนจนเกินไป ทั้งนี้
ระยะมาตรฐานควรให้ห่างตั้งแต่ 1 นิ้วจนถึง 12 นิ้ว ขึ้นอยู่กับไมโครโฟนที่เลือกใช้มีความไวในการรับเสียงมากน้อย
เพียงใด
3. การจัดวางตำแหน่งขณะใช้งาน ไม่ควรให้อยู่ใกล้พัดลม เครื่องปรับอากาศ เนื่องจากจะมีเสียง
รบกวนเข้าไมโครโฟนได้
4. เวลาทดสอบไมโครโฟน ไม่ควรเคาะหรือเป่า
5. อย่าให้ไมโครโฟนตกหล่น หรือได้รับการกระทบกระเทือน
6. เมื่อใช้ไมโครโฟนเสร็จ ควรจัดเก็บในที่แห้ง ไม่มีความชื้น ควรเก็บไว้ในกล่องให้เรียบร้อย หรือ
มีวัสดุที่สามารถป้องกันฝุ่นละอองได้ดี

...........................................................

สัญญา ลักษณะ/กรมประชาสัมพันธ์

ที่มา
- https://docs.google.com
- https://sites.google.com
- http://www.neutron.rmutphysics.com

You might also like