Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 1

39

บทที่ 5
สรุปผลการทดสอบและข้อเสนอแนะ

บทนี้จะกล่าวถึงสรุปผลการทดสอบ และข้อเสนอแนะ ที่ได้จากผลการศึกษาสมบัต ิข อง


กระเบื้องคอนกรีตที่ใช้เถ้าชานอ้อยแทนที่ปูนซีเมนต์บางส่วน

5.1 สรุปผลการทดสอบ
5.1.1 จากผลทดสอบค่าแรงกดแตกทางขวางของกระเบื้องที่ใช้เถ้าชานอ้อยแทนที่ปูนซีเมนต์
บางส่วน พบว่าส่วนผสมที่มี ค่าแรงกดแตกทางขวางไม่ต่ำกว่าค่าที่มาตรฐาน มอก.535-2556 [13]
กำหนดไว้ (3.325 N/mm) ได้แก่ ส่วนผสมที่ใช้ปูนซีเมนต์ล้วน (CONTROL) และส่วนผสมที่ใช้เถ้า
ชานอ้อยแทนที่ปูนซีเมนต์ร้อยละ 10 20 และ 30 โดยน้ำหนัก (10%BA, 20%BA และ 30%BA) แต่
ส่วนผสมที่ใช้เถ้าชานอ้อยแทนที่ปูนซีเมนต์ร้อยละ 30 โดยน้ำหนัก ต้องใช้ระยะเวลาบ่มจนมีอายุ 14
วัน จึงจะได้ ค่าแรงกดแตกทางขวางเป็นไปตามที่มาตรฐาน มอก.535-2556 กำหนดไว้ เนื่องจาก
ปูนซีเมนต์ในส่วนผสมหายไป จึงต้องใช้ระยะเวลาการบ่มที่นานขึ้นจึงจะทำให้มีการพัฒนากำลังจนมี
ค่าเป็นไปตามที่มาตรฐานกำหนดไว้ แต่เมื่อใช้เถ้าชานอ้อยแทนที่ปูนซีเมนต์สูงถึงร้อยละ 40 และ 50
โดยน้ำหนักวัสดุประสาน คอนกรีตไม่สามารถพัฒนากำลังให้มีค่าสูงกว่าค่าที่มาตรฐานกำหนดได้
นอกจากนี้ยังพบว่าค่าแรงกดแตกทางขวางของกระเบื้องจะมีค่าเพิ่มขึ้นตามระยะเวลาการบ่มที่เพิ่มขึ้น
และลดลงตามปริมาณเถ้าชานอ้อยที่ใช้ในส่วนผสม
5.1.2 การดูดซึมน้ำของกระเบื้องมีแนวโน้มไปในทิศทางเดียวกันกับ ค่าแรงกดแตกทางขวาง
กล่าวคือ ส่วนผสมที่ใช้ปูนซีเมนต์ล้วนและส่วนผสมที่ใช้เ ถ้าชานอ้อยแทนที่ปูนซีเมนต์ร้อยละ 10 20
และ 30 โดยน้ำหนักวัสดุประสาน มีค่าการดูดซึมน้ำผ่านเกณ์ที่มาตรฐาน มอก.535-2556 [13]กำหนด
ไว้ (ไม่เกินร้อยละ 10) แต่ส่วนผสมที่ใช้เถ้าชานอ้อยแทนที่ปูนซีเมนต์ร้อยละ 20 และ 30 โดยน้ำหนัก
วัสดุประสาน ต้องใช้ระยะเวลาบ่มถึง 14 วัน จึงจะมีค่าการดูดซึมน้ำผ่านตามที่มาตรฐานกำหนดไว้
5.13 กระเบื้องทุกส่วนผสมมีความทึบน้ำ ซึ่งไม่พบว่ามีน้ำซึมผ่านทะลุลงมาด้านล่างหลังจาก
การขังน้ำไว้ดา้ นบนเป็นระยะเวลา 2 ชั่วโมง
5.1. 4 ส่วนผสมที่เหมาะสมในการนำมาใช้ในการทำกระเบื้องเพื่อให้ได้ใช้วัสดุเหลือทิ้งอย่าง
เท่าชานอ้อยได้มากที่สุด คือ ส่วนผสมที่ใช้เถ้าชานอ้อยแทนที่ปูนซีเมนต์ร้อยละ 30 โดยน้ำหนักวัสดุ
ประสาน ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นไปตามที่มาตรฐาน มอก. 535-2556 [13]กำหนดไว้ ในด้านกำลังต้านทาน
แรงกดแตกทางขวาง การดูดซึมน้ำ และสภาพการซึมผ่านน้ำได้

5.2 ข้อเสนอแนะ
5.2.1 ควรนำเถ้าชานอ้อยที่บดละเอียดมากกว่านี้ มาลองใช้ในส่วนผสม ซึ่งอาจจะสามารถใช้
ในปริมาณที่มากขึ้นได้มากกว่านี้
5.2.2 ควรลองใช้หินฝุ่นร่วมกับทรายเป็นมวลรวมในส่วนผสมกระเบื้องคอนกรีต
5.2.3 ควรลองใช้วัสดุเหลือทิ้งชนิดอื่นมาลองใช้ในส่วนผสมกระเบื้องคอนกรีต เช่น เถ้าลอย
เถ้าแกลบ หรือเถ้าปาล์มน้ำมัน เป็นต้น

You might also like