พ้อย บทความ Open innovation in the food industry

You might also like

Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 28

บทความ

Open innovation in
the food industry
: trends and barriers — a case of the
Jordanian food industry
ค ว า ม
บท บบเปิด
นวัมแ
ตก ร ร
ก ร ร ม อ า ห า ร
ตส าห
ในอุ ะอุปสรรค — อุตสาหกรรมอาหาร
: แนวโน้มแล แดน
เทศจอร์
ของประ
KEYWORD
Functional Foods
Open Innovation SMEs ( อาหารฟังก์ชัน )
(OI)
R&D อาหารที่เป็นประโยชน์ ต่อ
ธุรกิจขนาดกลาง,ขนาด การวิจัยและพัฒนา สุขภาพ ช่วยป้ องกัน และลด
นวัตกรรมแบบเปิ ด
ย่อม ความเสี่ยงในการเกิดโรค

MENA Dark Kitchen


Value Chain
ประเทศตะวันออกกลาง ธุรกิจอาหารที่ไม่มีพื้นที่
ภาพรวมของกระบวนการ
และแอฟริกาเหนือ หน้ าร้านสำหรับบริการ
ทั้งหมดในองค์กร
ลูกค้า
บทคัดย่อ
บทความนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เห็นภาพรวมของนวัตกรรมแบบเปิ ด (Open innovation)
และเพื่อตรวจสอบปัจจัยหลักในการใช้โมเดล OI ในอุตสาหกรรมอาหาร พิจารณาผลกระทบ
ของการใช้กลยุทธิ์นวัตกรรมแบบเปิ ดของบริษัทต่างๆ โดยใช้วิธีการศึกษากรณีเดียว คือ การ
สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญหนึ่ งในผู้ผลิตอาหารรายใหญ่ที่สุดในจอร์แดน แม้ว่าอุตสาหกรรมอาหาร
จะถือว่าเป็นอุตสาหกรรมที่ค่อนข้างเติบโตและมีเทคโนโลยีต่ำ แต่ยังคงมีแนวโน้ มที่ทำให้
สามารถนำนวัตกรรมเเบบเปิ ดไปประยุกต์ใช้ได้ บทความนี้เป็นการศึกษาวิจัยครั้งแรก ที่
ศึกษาในอุตสาหกรรมอาหารในประเทศจอร์แดน และเป็นการศึกษาวิจัยชิ้นแรกในภูมิภาค
MENA (Middle East & North Africa) ซึ่ งมีความสำคัญมากสำหรับการประยุกต์ใช้นวัตกรรม
แบบเปิ ดในประเทศที่ขาดแคลนทรัพยากรและมีตลาดขนาดเล็ก โดยเฉพาะในธุรกิจ SMEs ที่
ขาดความตระหนักถึงความสำคัญของกลยุทธิ์นวัตกรรมแบบเปิ ด

ผลการวิจัยชี้ให้เห็นว่า ตลาดขนาดเล็กและจำกัด อาจเป็นอุปสรรคใหญ่ที่ขัดขวาง


การประยุกต์ใช้นวัตกรรมแบบเปิ ด และยังชี้ให้เห็นว่าวัฒนธรรมในประเทศจอร์แดนก็มี
บทบาทสำคัญเช่นเดียวกัน
บทนำ
ปัจจุบันเป็นช่วงเวลาของการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อ
เนื่ อง มีความก้าวหน้ าทางเทคโนโลยี การแสวงหา
นวัตกรรมกำลังมีความซับซ้อน และมีค่าใช้จ่ายสูงมากขึ้น
ในการดำเนินธุรกิจเพื่อเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ
ตัว แนวคิดนวัตกรรมแบบเปิ ดเป็นแนวคิดที่ส่งเสริมการใช้
ความร่วมมือจากทั้งภายในและภายนอก โดยการแบ่งปัน
ความคิดเพื่อค้นหาวิธีแก้ปัญหาสำหรับผลกระทบร่วมกัน
ประโยชน์ ของแนวคิดนี้คือการทำงานร่วมกันไม่เพียงแต่
ทำให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นเท่านั้น แต่ยังช่วยในการค้นหา
วิธีแก้ปัญหาใหม่ๆ โดยทั่วไปผู้คนมักคิดว่าความก้าวหน้ า
คือการเป็นอัจฉริยะเพียงหนึ่งเดียว แต่ในความเป็นจริง
นวัตกรรมนั้นมาจากการเพิ่มเติมสิ่ งต่างๆ ลงไปและ
เป็นการทำงานร่วมกัน
บทนำ
ในปัจจุบันองค์กรต่างๆ ที่ใช้นวัตกรรมแบบเดิมโดยการพัฒนา
ความคิด และหาแนวทางปรับปรุงเพื่อพัฒนาต้นแบบสินค้า หรือ
ผลิตภัณฑ์ต่างๆ จากภายในโดยไม่อาศัยความช่วยเหลือจากภายนอก
ทำให้มีค่าใช้จ่ายจำนวนมากในแผนก R&D (Research &
Development) ซึ่ งมักจะประสบปัญหามากมาย ดังต่อไปนี้

ข้อมูลที่ไม่สมบูรณ์
เนื่ องจากมักจะพึ่งพาแนวคิดและวิธีแก้ปัญหาที่รวบรวมจากภายในมากเกินไป

นวัตกรรมนั้นช้า นวัตกรรมและความรู้ที่ช้า ไม่สามารถออกสู่ตลาดได้

การให้ความสำคัญกับการรักษาทรัพยากรเดิมโดยใช้งบประมาณให้น้ อยที่สุด
ไม่มีประสิทธิภาพเท่าเดิม เนื่ องจากโลกาภิวัตน์ ทำให้คู่แข่งรายใหม่สามารถแข่งขันได้ด้วยผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมใหม่ๆ
บทนำ
นวัตกรรมภายนอกถูกมองว่าเป็นความร่วมมือกับคู่แข่ง แต่โมเดลนวัตกรรมแบบเปิ ดช่วยให้
ธุรกิจสามารถใช้ประโยชน์ จากความเชี่ยวชาญภายนอก ทำให้องค์กรสามารถสร้างความร่วมมือ
ระหว่างบริษัท มหาวิทยาลัย และแหล่งอื่นๆ เพื่อความสำเร็จด้านนวัตกรรม และเป็นการปรับปรุง
ประสิทธิภาพการทำงาน

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา นวัตกรรมแบบดั้งเดิมได้หยุดชะงักลง เนื่ องจากองค์กรต่างๆ


ตระหนักได้ว่า ไม่ใช่ทุกนวัตกรรมควรมาจากภายในองค์กร จนถึงขณะนี้นวัตกรรมแบบเปิ ดมี
ความเชื่อมโยงอย่างกว้างขวางกับภาคส่วนที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว การแข่งขันที่ทวีความรุนแรง
ขึ้นระหว่างบริษัทต่างๆ ในอุตสาหกรรมอาหาร สิ่ งเหล่านี้ทำให้นวัตกรรมไม่เพียงแต่หลีกเลี่ยงไม่ได้
เท่านั้น แต่ยังมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการเติบโตโดยรวม และความสามารถในการทำกำไรของ
อุตสาหกรรมอาหาร
บทนำ
ในอดีตอุตสาหกรรมอาหารจะมุ่งเน้นไป
ที่การลดต้นทุนโดยให้ความสำคัญกับความพึง
พอใจของลูกค้าเพียงเล็กน้อย หรือแทบจะไม่ให้
เลย แต่ในปัจจุบันอุตสาหกรรมอาหารมีการ
เปลี่ยนแปลงโดย ให้ความสำคัญกับลูกค้าและ
มุ่งเน้ นการผลิตสินค้าให้สอดคล้องกับความ
ต้องการของตลาด ผู้บริโภคต้องการอาหารที่
สอดคล้องกับแนวทางการบริโภคของตนเอง
ความต้องการที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวจำเป็นต้องใช้
เทคโนโลยีที่เป็นนวัตกรรมใหม่ๆ ที่จะช่วยใน
การปรับตัวและตามทันการแข่งขัน
ทบทวน
วรรณกรรม
Open innovation in the food
industrytrends and barriers — a case
of the Jordanian food industry
ทบทวนวรรณกรรม
นวัตกรรมแบบเปิด

แนวทางดั้งเดิมในการสร้างนวัตกรรมของบริษัทต่างๆ
ดำเนินการโดยการลงทุนจำนวนมากในแผนก R&D ของ
บริษัท แล้วจึงตระหนักได้ว่าไม่ใช่ทุกความคิดที่ดีจะมาจาก
ภายในองค์กร นวัตกรรมแบบเปิ ดเป็นการใช้ การไหลเข้า
และการไหลออกของความรู้เพื่อเร่งให้เกิดนวัตกรรม
ภายในและขยายออกสู่ตลาด ในยุคปัจจุบันที่การแข่งขัน
เพิ่มขึ้น การได้รับความรู้จากภายนอกมาช่วยในกระบวนการ
สร้างนวัตกรรมภายใน จึงถือเป็นสิ่ งที่หลายบริษัทต้อง
พิจารณา เพื่อตามให้ทันการแข่งขัน ซึ่ งหากไม่มีความรู้ที่ได้
รับจากภายนอกเข้ามา บริษัทต่างๆ จะไม่สามารถแข่งขันได้
อย่างมีประสิทธิภาพ
ทบทวนวรรณกรรม
นวัตกรรมแบบเปิดในอุตสาหกรรมอาหาร

อุตสาหกรรมอาหารมีการลงทุนด้านการ
วิจัยและการพัฒนา รวมถึงความเชี่ยวชาญใน
เรื่องของการทดลองที่จำกัด ในขณะที่บริษัทยามี
ทักษะและความเชี่ยวชาญในส่วนนี้ เช่น บริษัท
โภชนาการทางกีฬาร่วมมือกับบริษัทเคมีภัณฑ์
ของเนเธอร์แลนด์ ในการทำผลิตภัณฑ์เวย์
โปรตีน ดังนั้นจึงอธิบายได้ว่าเป็นบริษัทที่ทำงาน
ร่วมกันเพื่อใช้ประโยชน์ จากความรู้และความ
เชี่ยวชาญในภาคส่วนเฉพาะ
ทบทวนวรรณกรรม
นวัตกรรมแบบเปิดในอุตสาหกรรมอาหาร

หลักการทำงานของนวัตกรรมแบบเปิ ดต้องอาศัย
การมีส่วนร่วมจากเครือข่ายผู้มีส่วนได้ ส่วนเสีย เริ่มต้น
จากผู้ขายวัตถุดิบ แผนก R&D ไปจนถึงผู้บริโภค
สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมอาหารเพื่อตอบ
สนองความต้องการของลูกค้าได้ โดยบริษัทที่สามารถ
รวมความต้องการของลูกค้าเข้ากับผลิตภัณฑ์ได้อย่าง
รวดเร็ว จะได้รับความได้เปรียบทางการแข่งขันและส่วน
แบ่งทางการตลาด เช่น procter and gamble (P&G)
ใช้ในการลดเวลาและต้นทุนในการผลิต โดยการพิมพ์
ภาพถ่ายที่กินได้บนเค้ก ซึ่ งสามารถทำเช่นนั้นได้
โดยการใช้ "กลยุทธ์การเชื่อมต่อและพัฒนา”
ทบทวนวรรณกรรม
นวัตกรรมแบบเปิดในอุตสาหกรรมอาหาร

ธุรกิจ SMEs ใช้ประโยชน์ จาก OI


และแบ่งปันต้นทุนด้านนวัตกรรมมากกว่าที่จะ
เสียค่าใช้จ่ายในการวิจัยและพัฒนาเป็น
การลดต้นทุนโดยรวม สำหรับผู้ผลิตอาหารที่
ต้องการแข่งขันได้ในระดับโลกควรนำเข้าและ
นำเสนอสินค้าใหม่ๆ ที่มีความเฉพาะตัวและ
แตกต่างเข้าสู่ตลาดอาหารอย่างต่อเนื่ อง และ
เพื่อให้บรรลุเป้ าหมายจะต้องร่วมมือกับลูกค้า
ผู้ค้าปลีก ผู้จัดจำหน่ าย และผู้ที่มีส่วนร่วมใน
อุตสาหกรรมอาหาร
ทบทวนวรรณกรรม
นวัตกรรมแบบเปิดในอุตสาหกรรมอาหาร

โมเดลนวัตกรรมแบบเปิ ด ไม่ได้มีไว้สำหรับทุก
องค์กร เนื่ องจากไม่ใช่ทุกองค์กรที่พร้อมที่จะแบ่งปัน
นวัตกรรมของตนกับองค์กรอื่น ด้วยความเสี่ยงที่จะมา
พร้อมกับการแบ่งปันความรู้ ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าธุรกิจใน
อุตสาหกรรมอาหารมีความเกี่ยวข้องกับนวัตกรรมแบบเปิ ด
แต่มีอุปสรรคและปัจจัยมากมายในการใช้โมเดลนี้ให้มี
ประสิทธิภาพ การนำนวัตกรรมเข้ามาสู่อุตสาหกรรม
อาหารได้กลายเป็นแนวทางปฏิบัติขององค์กรที่หลีกเลี่ยง
ไม่ได้สำหรับการแข่งขันในตลาด ทำให้นวัตกรรมเป็น
สิ่ งจำเป็นอย่างยิ่ง ถึงแม้จะมีความเสี่ยงก็ตาม
ระเบียบ
วิธีวิจัย
Open innovation in the food
industrytrends and barriers — a case
of the Jordanian food industry
ระเบียบวิธีวิจัย
บทความนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อระบุถึงโอกาสที่นวัตกรรมแบบเปิด
จะช่วยยกระดับอุตสาหกรรมอาหารในอนาคตได้อย่างไร พัฒนาความ
เข้าใจและระบุความท้าทายที่เผชิญเมื่อใช้โมเดล OI และเพื่อหาแนวทาง
ว่าธุรกิจ SMEs จะได้รับประโยชน์ จากแนวคิดนี้อย่างไร

เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของการวิจัยนี้ วิธีการศึกษากรณีศึกษาเดียว
มีความเหมาะสมที่สุด โดยใช้คำถามที่ว่า "อย่างไร" และ "ทำไม"
การวิเคราะห์กรณีศึกษาเดียวอาจมีข้อจำกัด แต่ในขณะเดียวกัน ถือเป็นจุด
แข็งของการออกแบบการวิจัย เนื่ องจากได้รับการสนับสนุนการวิเคราะห์ที่
ละเอียด การใช้กรณีศึกษามีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ความกระจ่างเกี่ยวกับแนวทาง
ต่างๆ โดยการอธิบายว่าเหตุใดจึงมีการตัดสินใจเหล่านั้น วิธีนำไปใช้
และผลลัพธ์ที่ได้มา
ระเบียบวิธีวิจัย
ขั้นตอนแรก คือ ตรวจสอบกรณีต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากการศึกษาที่
ตีพิมพ์ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นบทความทางวิชาการ หลังจากนั้นจึงรวบรวม
ข้อมูลโดยใช้การค้นหาออนไลน์ เช่น รายงานประจำปีของบริษัทที่มีส่วน
ร่วมในโครงการนวัตกรรมแบบเปิด เพื่อชี้แจงว่าการนำ OI มาใช้แม้
ในอุตสาหกรรมที่มีเทคโนโลยีต่ำ สามารถนำไปสู่ความสำเร็จได้
กรณีของ Nabil Foods ได้รับการคัดเลือก เนื่องจากเป็นหนึ่งในบริษัท
อาหารที่ใหญ่ที่สุดในจอร์แดนที่มีพนักงานมากกว่า 800 คน และ มีส่วน
ร่วมกับตลาดต่างประเทศ เนื่องจากมีการจำหน่ ายอาหารไปทั่วตลาดท้อง
ถิ่นและตลาดต่างประเทศ 20 แห่ง ตลอดจนการนำโมเดล OI มาใช้
พร้อมกับกลยุทธ์ในการปรับตัว ดังนั้นองค์กรจึงมีความรู้และข้อมูลที่เป็น
ประโยชน์ สำหรับการศึกษาในครั้งนี้
ระเบียบวิธีวิจัย
การสัมภาษณ์
การสัมภาษณ์สามารถสรุปการรับรู้และมุมมองเกี่ยวกับนวัตกรรมแบบเปิด
ได้เป็นอย่างดี ตลอดจนอุปสรรคและแนวโน้ มของนวัตกรรมแบบเปิดใน
อุตสาหกรรมอาหาร การศึกษาในครั้งนี้เลือกใช้รูปแบบการสัมภาษณ์แบบกึ่ง
โครงสร้าง เนื่องจากการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างจะเปิดรับความคิดเห็นเพียงเล็ก
น้อยเท่านั้น แต่การศึกษาในครั้งนี้ต้องการเข้าใจความคิดและการรับรู้ของแต่ละ
บุคคล การสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างจึงมีความเหมาะสมที่สุด การศึกษาในครั้งนี้
อิงมาจากการสัมภาษณ์ส่วนตัวที่ดำเนินการกับผู้จัดการและหัวหน้ าแผนกใน
โรงงาน Nabil Foods ก่อนการสัมภาษณ์ ผู้ตอบแบบสอบถามได้รับแจ้ง
วัตถุประสงค์ของการวิจัยผ่านทางโทรศัพท์ และส่งคำถามทั่วไปเพื่อเตรียม
ความพร้อมสำหรับลักษณะของคำถามและสำหรับการสอบถามข้อสงสัย ต่อมาขั้น
ตอนแรกของการสัมภาษณ์ คือ การนำเสนอบทนำโดยย่อเกี่ยวกับการวิจัย
อธิบายจุดมุ่งหมาย และอภิปรายวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องโดยย่อ
อภิปรายผล
Open innovation in the food
industrytrends and barriers — a case
of the Jordanian food industry
อภิปรายผล
ตลอดขั้นตอนการวิจัย การรวบรวมข้อมูลจากการทบทวนวรรณกรรมและจากการสัมภาษณ์
รายบุคคลได้ข้อสรุปว่า ยุคนวัตกรรมแบบเปิ ดในอุตสาหกรรมอาหารพึ่งจะเริ่มต้นขึ้น หลังจาก
การสำรวจหาข้อมูลและการอภิปรายอย่างละเอียดจากการสัมภาษณ์และการทบทวนวรรณกรรม
สามารถสรุปได้ดังนี้

แนวโน้ มอุตสาหกรรมที่นำไปสู่การใช้โมเดลนวัตกรรมแบบเปิ ด

อุปสรรคและความท้าทายด้านนวัตกรรมของภาคอุตสาหกรรมอาหาร

นวัตกรรมแบบเปิ ดสำหรับธุรกิจ SMEs

ผลกระทบเชิงปฏิบัติที่ต้องเผชิญเมื่อนำ OI ไปใช้
อภิปรายผล
แนวโน้ มอุตสาหกรรมที่นำไปสู่การใช้โมเดลนวัตกรรมแบบเปิ ด

แนวโน้ ม สาเหตุ

1. ความต้องการอาหารฟังก์ชัน กังวลเรื่องสุขภาพ, อาหารเพื่อสุขภาพเกิดขึ้น,


และอาหารเฉพาะทางเพิ่มขึ้น แพ้อาหาร

2. การรับประทานอาหารที่บ้าน โควิด-19, แพลตฟอร์มส่งอาหาร, Dark kitchen

3. อาหารทดแทนเนื้ อสัตว์ การกินเจ, มังสวิรัต

4. ความตระหนักต่อสิ่ งแวดล้อม ภาวะโลกร้อน, ขยะ, มลพิษ


อภิปรายผล
อุปสรรคและความท้าทายด้านนวัตกรรมของภาคอุตสาหกรรมอาหาร

วัฒนธรรมใน ลักษณะของอุตสาหกรรม ความยืดหยุ่นของ


องค์กรขนาดใหญ่ อาหารโดยรวม อุตสาหกรรม
บริษัทต่างๆ ต้องการที่จะปรับปรุง บริษัทขนาดใหญ่มีความยืดหยุ่นต่ำ เนื่ องจากห่วง
แม้ว่าการแก้ปัญหาของนวัตกรรมจะมีความ
ผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่และขยายสายผลิตภัณฑ์ที่มี โซ่คุณค่า (Value Chain) ของอุตสาหกรรมอาหารที่
โดดเด่น แต่วัฒนธรรมมักจะได้รับชัยชนะ
อยู่ให้ดีขึ้น มากกว่าการเปลี่ยนแปลง มีมาอย่างยาวนาน ซึ่ งทำให้ไม่ยืดหยุ่น รายได้อาจ
เสมอ เนื่ องจากวัฒนธรรมของจอร์แดนมี
ผลิตภัณฑ์ ดังนั้นจึงไม่มีแรงจูงใจในการ ถูกกระทบอย่างรุนแรงจากการทดลองที่ล้มเหลว
การแข่งขันกันโดยธรรมชาติ ดังนั้นจึงลังเล
ปรับกลยุทธ์ ที่ช่วยให้สามารถนำโมเดล ด้วยเหตุนี้ธุรกิจ SMEs จึงมีโอกาสที่ดีกว่า
ที่จะใช้กลยุทธ์ OI
OI ไปปฏิบัติได้ เนื่ องจากสามารถใช้ประโยชน์ จากการทดลองได้
อภิปรายผล
อุปสรรคและความท้าทายด้านนวัตกรรมของภาคอุตสาหกรรมอาหาร

วงจรชีวิตผลิตภัณฑ์สั้น
ต้นทุนความรู้ภายนอก
เนื่ องจากความต้องการของลูกค้านั้นมีการเปลี่ยนแปลงอยู่
ต้นทุนความรู้ภายนอกมีค่าใช้จ่ายสูง
เป็นประจำ ดังนั้นนวัตกรรมจึงมีบทบาทเพียงเล็กน้ อย
ด้วยเหตุนี้องค์กรจึงมีโอกาสน้ อยที่จะพึ่งพา
เท่านั้น แม้ว่าบริษัทขนาดใหญ่อาจมองว่านี่ เป็นอุปสรรค แต่
SMEs สามารถใช้เป็นโอกาสในการสร้างสรรค์และสร้าง ความรู้จากภายนอก และองค์กรจะทำ
ความแตกต่างของสินค้าให้มีความแตกต่างจากบริษัทใหญ่ๆ เช่นนั้นก็ต่อเมื่อมั่นใจว่ามีความจำเป็น
อภิปรายผล
นวัตกรรมแบบเปิ ดสำหรับธุรกิจ SMEs

แม้ว่าอุตสาหกรรมอาหารจะถูกจัดอยู่ในประเภทอุตสาหกรรมที่เติบโตเต็มที่ แต่การวิจัย
แทบจะไม่ได้ครอบคลุมถึง OI หรือมีการศึกษาในระดับที่น้ อยมาก การนำโมเดลดังกล่าวไปใช้จะ
ให้โอกาสอย่างมากแก่ SMEs ซึ่ งสามารถช่วยให้ธุรกิจเอาชนะแหล่งข้อมูลที่มีคุณภาพต่ำและทักษะ
ในการสะสมข้อมูลที่น้ อย รวมถึงช่วยเหลือด้านทุนทางการเงินของธุรกิจ

การมีส่วนร่วมในกระบวนการนวัตกรรมแบบเปิ ดสำหรับ SMEs มีความเกี่ยวข้องกับการลด


ต้นทุนและการลงทุนต่ำในแผนก R&D มีหลายวิธีที่ startup และ SMEs สามารถทำงานร่วมกับ
บริษัทขนาดใหญ่ได้ เนื่ องจากบริษัทขนาดใหญ่ลังเลที่จะทดลองมากกว่า ธุรกิจ SMEs มีข้อได้เปรียบ
ที่สำคัญเมื่อพูดถึงนวัตกรรมแบบเปิ ด เนื่ องจากมีความยืดหยุ่น สามารถใช้วิธีการในการตอบสนอง
ความต้องการที่เปลี่ยนแปลงไปของของผู้บริโภคได้
อภิปรายผล
ผลกระทบเชิงปฏิบัติที่ต้องเผชิญเมื่อนำ OI ไปใช้

ผลกระทบ สาเหตุ วิธีแก้ปัญหาที่เป็นไปได้


เนื่ องจากลักษณะที่ซับซ้อนของ OI การนำไปใช้อาจเผชิญกับ การทำความเข้าใจว่าเหตุใดพันธมิตรจึงรู้สึกต่อต้านแนวคิด
ต่อต้าน การตอบโต้ครั้งใหญ่จากพันธมิตร เมื่อใดก็ตามที่พยายามจะ ของ OI การเตรียมพร้อมสำหรับการต่อต้านภายใน และ
การเปลี่ยนแปลง นำไปใช้หรือแนะนำแนวคิดเรื่อง OI มักจะมีพันธมิตรที่ต่อ การอธิบายทุกแง่ทุกมุมของ OI อย่างละเอียด อาจเป็น
ต้านเสมอ กุญแจสู่ความสำเร็จของ OI ในองค์กร

บริษัทจะรู้สึกถึงความเสี่ยงจากการปรับเปลี่ยนกระบวนการ เสริมสร้างการติดต่อภายนอก เพื่อสื่ อสารไอเดียร่วมกับ


ไม่มีเกณฑ์มาตรฐาน เนื่ องจากไม่ใช่ทุกคนในบริษัทที่สนับสนุนแนวคิดนี้ เพราะว่า ซัพพลายเออร์และพันธมิตร เมื่อพนักงานและคู่ค้ารับรู้ถึง
ที่เทียบเคียงได้ แนวคิดยังค่อนข้างใหม่ และยังไม่มีเกณฑ์มาตรฐานที่เปรียบ เหตุผลที่บริษัทตัดสินใจที่จะนำเสนอกลยุทธ์ที่แตกต่างและ
เทียบได้ ใหม่ พวกเขาจะเต็มใจยอมรับในการเปลี่ยนแปลงมากขึ้น

ความเสี่ยงเกี่ยวข้องกับต้นทุนจากกิจกรรมนวัตกรรมแบบเปิ ด การทำนวัตกรรมแบบเปิ ด (OI) มีความยากลำบากแต่วิธีที่ง่าย


ต้นทุนไม่แน่ นอน ที่ไม่ประสบความสำเร็จ มีการรับรู้กันเป็นอย่างดีระหว่าง ที่สุดในการนำโมเดลนี้ขึ้นมาใช้คือการเรียนรู้จากการทำงาน
และมีความเสี่ยงสูง บริษัทต่างๆ ว่าพวกเขาต้องการรักษาความได้เปรียบ ร่วมกับบริษัทที่มีประสบการณ์ในการใช้โมเดล OI และเรียน
แนวคิดควรถูกสร้างขึ้นภายในและนำไปปฏิบัติภายในธุรกิจ รู้ว่าโมเดล OI ทำให้พวกเขาประสบความสำเร็จอย่างไร
ซึ่ งปราศจากความช่วยเหลือและความรู้จากภายนอก เพื่อให้องค์กรเริ่มสร้างโปรแกรม OI ของตนเอง
ข้อสรุป
ข้อจำกัด
และขอบเขต
การวิจัยในอนาคต
Open innovation in the food
industrytrends and barriers — a case
of the Jordanian food industry
ข้อสรุป ข้อจำกัด และขอบเขตการวิจัยในอนาคต
การปรับตัวของโมเดลนี้ ในอุตสาหกรรมอาหารกำลังได้รับความนิ ยม โดยเฉพาะกับ
สถานการณ์การแพร่ระบาดในยุคปัจจุบัน แต่เมื่อพิจารณาถึงลักษณะเฉพาะของอุตสาหกรรม
อาหารแล้ว อุปสรรคหลายประการจำเป็นต้องได้รับการแก้ไข โดยเฉพาะกับบริษัทขนาดใหญ่
เนื่ องจากมีอัตรากำไรต่ำโดยเน้ นปริมาณการขายที่สูง
การพัฒนาเทคโนโลยีที่เป็นนวัตกรรมใหม่ๆ ไม่ได้ชะลอตัวลง เนื่ องจากการเปลี่ยนแปลง
อย่างต่อเนื่ องในสังคมและแนวโน้ มความต้องการของผู้บริโภค การแข่งขันในภาคอุตสาหกรรม
จึงรุนแรงขึ้น และเพื่อให้สามารถอยู่รอดท่ามกลางการแข่งขันได้ อุตสาหกรรมอาหารจำเป็นต้อง
ใช้กลยุทธิ์นวัตกรรมแบบเปิ ดมากขึ้น และเปลี่ยนแนวคิดการแข่งขันแบบเดิม รวมถึงเริ่มมองหา
พันธมิตรที่เป็นประโยชน์ มากขึ้น

การวิจัยในอนาคตอาจใช้วิธีวิจัยที่แตกต่างกันออกไปที่สามารถช่วยสรุปผลลัพธ์ได้ มีข้อแนะนำให้
ทำซ้ำการศึกษาดังกล่าวเป็นระยะๆ เพื่ออธิบายการพัฒนาทางสังคม เศรษฐกิจ และเทคโนโลยีที่มีผลต่อ
นวัตกรรมในอุตสาหกรรมอาหาร การวิจัยในปัจจุบันยังมีข้อจำกัด เนื่ องจากการค้นพบของการศึกษาใน
ครั้งนี้ เกี่ยวข้องกับประเทศใดประเทศหนึ่ งโดยเฉพาะ
บทความ
Open innovation in the food industry
: trends and barriers — a case of the Jordanian food industry

Thankyou

You might also like