Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 358

กองทัพบก

(ร่าง)

คู่มือราชการสนาม ๓-๐
ว่าด้วย

การปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก

พ.ศ. ๒๕๕๗
วัตถุประสงค์การฝึกศึกษาของกองทัพบก
 เป็นผู้นำ�ที่ดี มีคุณธรรม
 มีความรูแ้ ละประสบการณ์ส�ำ หรับการในหน้าที่
 แข็งแรงทรหดอดทนต่อการตรากตรำ�ทำ�งาน
คำ�นำ�
กองทัพบก เป็นก�ำลังรบทีต่ ดั สินผลของการสงครามทางบกในการปฏิบตั กิ ารยุทธ์รว่ มและ
การปฏิบัติการหลายชาติ (Multinational Operations) กองทัพบก จึงต้องใช้ความริเริ่มอย่าง
ห้าวหาญ รุกรบ เพื่อสร้างและรักษาแรงหนุนเนื่องในการรบ ควบคุมขอบเขต จังหวะเวลาของการ
ปฏิบัติการทุกรูปแบบ และการปฏิบัติการทางทหารที่นอกเหนือการสงคราม การที่กองทัพบกจะ
ปฏิบตั กิ ารตามหลักนิยมอันนีใ้ ห้ได้ผล ก�ำลังพลของกองทัพบกต้องได้รบั การฝึกมาเป็นอย่างดี ได้รบั
การสนับสนุนจากประชาชนภายในชาติ รวมทั้งมีอาวุธยุทโธปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพ ก�ำลังพลทุก
ระดับต้องมีความรู้ เป็นผูน้ ำ� ทีเ่ ข้มแข็ง มีบคุ ลิกลักษณะทหารทีด่ ี วางตัวอย่างเหมาะสมเป็นทีเ่ ชือ่ ถือ
ของสังคม
วัตถุประสงค์
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ เป็นหลักนิยมหลักของกองทัพบก ส�ำหรับการปฏิบัติการทุก
รูปแบบ หลักนิยมเล่มนีไ้ ด้นำ� เสนอหลักการเกีย่ วกับการสงคราม โดยมุง่ เน้นต่อการท�ำสงครามทางบก
และการปฏิบัติการทางทหารอื่น ๆ ที่มิใช่สงครามทางภาคพื้นดิน ทั้งนี้เพื่อให้กองทัพบกสามารถ
ตอบสนองต่อการด�ำเนินนโยบายตามยุทธศาสตร์ความมัน่ คงแห่งชาติทมี่ คี วามหลากหลาย สามารถ
ด�ำรงสภาพการปฏิบัติการในสภาวะที่ต้องมีการปฏิบัติการที่ยาวนานได้ ไม่ว่าจะเป็นส่วนหนึ่งของ
การปฏิบัติการร่วม หรือ การปฏิบัติการผสม
ขอบเขต
คู่มือสนาม ๓-๐ แบ่งเป็น สี่ภาค ภาคที่หนึ่ง (บทที่ ๑-๓) กล่าวถึง บทบาทกองทัพบกยาม
สงบ ยามขัดแย้ง ตลอดจนยามศึกสงคราม ภาคที่สอง (บทที่ ๔-๖) กล่าวถึง พื้นฐานของการปฏิบัติ
การทุกรูปแบบ การบังคับบัญชาการรบ ภาคที่สาม (บทที่ ๗-๑๐) กล่าวถึง การปฏิบัติการทุก
รูปแบบ ทั้งสี่ประเภท ได้แก่ รุก รับ เพื่อเสถียรภาพ และสนับสนุน ภาคที่สี่ (บทที่ ๑๑ และ ๑๒)
กล่าวถึง ความเหนือกว่าด้านสารสนเทศ และการช่วยรบ
การน�ำไปใช้
คูม่ อื ราชการสนาม ๓-๐ บ่งบอกถึงแนวทางการปฏิบตั ขิ องกองทัพบกในการปฏิบตั กิ ารทุก
รูปแบบ มีความสอดคล้องกับหลักนิยมการยุทธ์ร่วม จึงสามารถใช้เป็นคู่มือหลักส�ำหรับการศึกษา
ของกองทัพบก หลักนิยมและหลักสูตรการฝึกศึกษาของเหล่าและสายวิทยาการที่จะจัดท�ำขึ้นจะ
ต้องสอดคล้องกับแนวทางของคู่มือราชการสนาม ๓-๐ ก�ำลังพลทุกระดับจ�ำเป็นต้องอ่านและ
ท�ำความเข้าใจให้ถ่องแท้
กรมยุทธศึกษาทหารบก เป็นหน่วยรับผิดชอบในการยกร่างคู่มือราชการสนามฉบับนี้
โดยมี ศูนย์พัฒนาหลักนิยม และยุทธศาสตร์ กรมยุทธศึกษาทหารบก (ศพย.ยศ.ทบ.) เป็น
หน่วยงานหลักในการจัดเตรียมร่าง หากท่านต้องการเสนอข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ กรุณาส่งมา
ที่ศูนย์พัฒนาหลักนิยมและยุทธศาสตร์ กรมยุทธศึกษาทหารบก ถ.เทอดด�ำริ ดุสิต กรุงเทพฯ
๑๐๓๐๐ หมายเลขโทรศัพท์ ๐-๒๒๔๑-๔๐๓๙ ได้ ในเวลาท�ำการ หรือโดยทางอิเล็กทรอนิกส์ที่
http://www.srd-rta.net

ศูนย์พัฒนาหลักนิยมและยุทธศาสตร์
กรมยุทธศึกษาทหารบก
สารบัญ

หน้า
คำ�นำ�
ภาคที่ ๑ สภาพแวดล้อมในการปฏิบัติการ ๑
บทที่ ๑ กองทัพบกและบทบาทในการเป็นพลังอำ�นาจทางภาคพื้นดิน ๒
บทบาทของกองทัพบก ๒
ภารกิจของกองทัพบก ๓
สภาพแวดล้อมทางยุทธการ ๗
หลักนิยมและกองทัพบก ๑๔
การปฏิบัติการทุกรูปแบบ ๑๕
การฝึกเพื่อการปฏิบัติการทุกรูปแบบ ๑๗
ทหารและภาวะความเป็นผู้นำ� ๑๘
บทที่ ๒ การปฏิบัติการรวม ๒๑
ระดับของสงคราม ๒๑
การปฏิบัติการรวม ๒๖
ข้อพิจารณาสำ�หรับการปฏิบัติการรวม ๔๐
บทที่ ๓ การตอบโต้ทางยุทธศาสตร์ ๔๘
กกล.ทบ. ตอบโต้ทางยุทธศาสตร์ ๔๘
การปฏิบัติการแสดงกำ�ลังรบ ๖๗
ภาคที่ ๒ พื้นฐานของการปฏิบัติการทุกรูปแบบ ๗๙
บทที่ ๔ หลักพื้นฐานการปฏิบัติการทุกรูปแบบ ๘๐
องค์ประกอบอำ�นาจการรบ ๘๑
หลักพื้นฐานการปฏิบัติการของกองทัพบก ๙๐
โครงร่างการยุทธ์ ๙๘
ขีดความสามารถของกองทัพบก ๑๐๘
บทที่ ๕ การบัญชาการรบ ๑๑๖
ศิลปะของการบังคับบัญชา ๑๑๖
การกำ�หนดมโนทัศน์ การอธิบาย และการสั่งการ ๑๑๗
สารบัญ (ต่อ)

หน้า
บทที่ ๖ การปฏิบัติการทุกรูปแบบ ๑๓๗
แผน ๑๓๗
การเตรียมการ ๑๔๔
การปฏิบัติ ๑๔๗
การประเมินค่า ๑๖๖
ภาคที่ ๓ การปฏิบัติการทุกรูปแบบอย่างแตกหัก ๑๖๘
บทที่ ๗ การปฏิบัติการรบด้วยวิธีรุก ๑๗๐
วัตถุประสงค์ของการปฏิบัติการรบด้วยวิธีรุก ๑๗๐
การปฏิบัติการรบด้วยวิธีรุกในสงครามระดับยุทธการ และยุทธวิธี ๑๗๑
ลักษณะของการรบด้วยวิธีรุก ๑๗๒
การปฏิบัติการรบด้วยวิธีรุกภายในโครงร่างทางการยุทธ์ ๑๗๖
รูปแบบของการดำ�เนินกลยุทธ์ ๑๘๒
แบบของการปฏิบัติการรบด้วยวิธีรุก ๑๘๘
การดำ�เนินการปฏิบัติการรบด้วยวิธีรุก ๑๙๘
ผลกระทบของเทคโนโลยี ๒๐๖
บทที่ ๘ การปฏิบัติการรบด้วยวิธีรับ ๒๐๗
วัตถุประสงค์ของการปฏิบัติการรบด้วยวิธีรับ ๒๐๗
ลักษณะของการปฏิบัติการรบด้วยวิธีรับ ๒๐๘
แบบของการตั้งรับ ๒๑๐
การปฏิบัติการรบด้วยวิธีรับภายในกรอบการปฏิบัติระดับยุทธการ ๒๑๗
การปฏิบัติการตั้งรับ ๒๒๓
ผลกระทบของเทคโนโลยี ๒๓๑
บทที่ ๙ การปฏิบัติการเพื่อเสถียรภาพ ๒๓๓
การรบปะทะและการตอบโต้ ๒๓๓
ลักษณะของการปฏิบัติการเพื่อเสถียรภาพ ๒๓๗
แบบของการปฏิบัติการเพื่อเสถียรภาพ ๒๓๙
ข้อพิจารณาสำ�หรับการปฏิบัติการเพื่อเสถียรภาพ ๒๕๑
สารบัญ (ต่อ)

หน้า
บทที่ ๑๐ การปฏิบัติการสนับสนุน ๒๕๖
คุณลักษณะของการปฏิบัติการสนับสนุน ๒๕๖
แบบของการปฏิบัติการสนับสนุน ๒๕๖
รูปแบบของการปฏิบัติการสนับสนุน ๒๖๐
ข้อพิจารณาในการปฏิบัติการสนับสนุน ๒๗๒
ภาคที่ ๔ การปฏิบัติการเสริมความสามารถ ๒๗๖
บทที่ ๑๑ ความเหนือกว่าด้านสารสนเทศ ๒๗๗
ลักษณะของความเหนือกว่าด้านสารสนเทศ ๒๗๘
สภาวะแวดล้อมด้านสารสนเทศ ๒๗๙
องค์ประกอบที่มีส่วนสนับสนุนความเหนือกว่าด้านสารสนเทศ ๒๘๒
การวางแผนและการเตรียมการ เพื่อบรรลุถึงความเหนือกว่า ๓๐๔
ด้านสารสนเทศ
การปฏิบัติที่เหนือกว่าด้านสารสนเทศ ๓๐๗
ผลกระทบจากเทคโนโลยี ๓๐๙
บทที่ ๑๒ การสนับสนุนทางการช่วยรบ ๓๑๑
วัตถุประสงค์ของการสนับสนุนทางการช่วยรบ ๓๑๒
ลักษณะของการสนับสนุนทางการช่วยรบ ๓๑๓
พันธกิจในการสนับสนุนทางการช่วยรบ ๓๑๕
การวางแผนและการเตรียมการในการสนับสนุนทางการช่วยรบ ๓๑๗
การดำ�เนินการด้านการสนับสนุนทางการช่วยรบ ๓๒๖
ผลกระทบของเทคโนโลยี ๓๔๒
บทท้าย ๓๔๔
คู่มือราชการสนาม ๓-๐
การปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบกในสนาม

ภาคที่ ๑
สภาพแวดล้อมในการปฏิบัติการ
ตอนที่ ๑ กล่าวถึงบทบาทของกองทัพบกทั้งในยามสงบ ยามขัดแย้ง และยามสงคราม กองทัพบก
ให้ความส�ำคัญกับการรบเป็นล�ำดับแรก เพราะการมีขดี ความสามารถทีเ่ หนือกว่าในการสงครามทาง
พื้นดินเป็นสิ่งบ่งชี้ถึงประสิทธิภาพและความน่าเชื่อถือของกองก�ำลังกองทัพบก ในการปฏิบัติการ
ทุกรูปแบบกองก�ำลังกองทัพบกเป็นส่วนส�ำคัญที่สุดในการปฏิบัติการรวมภาคพื้นดิน สามารถตอบ
สนองได้ในระดับยุทธศาสตร์ มีความพร้อมส�ำหรับปฏิบตั กิ ารได้ทนั ทีและด�ำรงสภาพการปฏิบตั กิ าร
ต่าง ๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นการปฏิบัติการร่วม การปฏิบัติการผสม หรือการปฏิบัติระหว่างองค์กร
บทที่ ๑ กล่าวถึงบทบาทของกองทัพบกในการป้องกันประเทศ บทบาทในมิติหกมิติของสภาพ
แวดล้อมในการปฏิบัติการ (ภัยคุกคาม การเมือง การปฏิบัติการร่วม การสู้รบภาคพื้นดิน ข้อมูล
ข่าวสาร และเทคโนโลยี) รวมถึงการเตรียมการและการปฏิบัติการในสภาพแวดล้อมดังกล่าว
นอกจากนี้ยังจะได้กล่าวถึงภารกิจของกองทัพบกว่ามีกิจส�ำคัญอะไรบ้าง หลักนิยมของกองทัพบก
ในการปฏิบตั กิ ารทุกรูปแบบเป็นอย่างไร และในท้ายบทกล่าวถึงวิธที ผี่ นู้ �ำหน่วยจะหล่อหลอมก�ำลัง
พลให้เป็นหน่วยที่มีความมั่นใจ มีขีดความสามารถ โดยการฝึกที่หนักและสมจริง
บทที่ ๒ กล่าวถึงการปฏิบัติการรวมซึ่งประกอบด้วย การปฏิบัติการร่วม การปฏิบัติการผสม และ
การปฏิบัติการระหว่างองค์กร ในขอบเขตของการปฏิบัติการทุกรูปแบบ บทนี้ยังได้อธิบายถึงการ
ใช้กองก�ำลังกองทัพบกในการปฏิบัติการร่วมรวมถึงบทบาทส�ำคัญของเหล่าทัพอื่น ๆ
บทที่ ๓ กล่าวถึงความพร้อมในระดับยุทธศาสตร์รวมถึงความสามารถในการเคลื่อนย้ายก�ำลังรบ
(ความสามารถในการส่งก�ำลังรบไปยังพื้นที่) โดยจะอธิบายถึงคุณสมบัติว่าความพร้อมในระดับ
ยุทธศาสตร์เป็นอย่างไร มีข้อพิจารณาในการใช้อย่างไรบ้าง นอกจากนี้ยังจะอธิบายถึงลักษณะการ
ปฏิบัติการในการเคลื่อนย้ายก�ำลังรบและระบบปฏิบัติการร่วมที่สนับสนุนก�ำลังรบดังกล่าว รวมถึง
อธิบายให้เห็นแบบต่าง ๆ ของการปฏิบตั เิ พือ่ เข้าสูพ่ นื้ ทีป่ ฏิบตั กิ าร ในตอนท้ายจะกล่าวอย่างกว้าง ๆ
ถึงการรักษาความปลอดภัยในระหว่างเคลื่อนย้ายก�ำลังรบและการใช้ฐานปฏิบัติการระหว่างทาง
บทที่ ๑
กองทัพบกและบทบาทในการเป็นพลังอ�ำนาจทางภาคพื้นดิน
๑-๑ กองก�ำลังกองทัพบก๑ เป็นก�ำลังรบที่ตัดสินผลแพ้ชนะในสงครามทางบกของการ
ปฏิบัติการรบร่วมและการปฏิบัติการหลายชาติ กองทัพบก (ทบ.) จัดก� ำลังฝึก และจัดอาวุธ
ยุทโธปกรณ์ให้กบั กองก�ำลังของตนเพือ่ ท�ำการรบให้ชนะและเพือ่ ให้บรรลุวตั ถุประสงค์ของชาติตาม
ทีก่ ำ� หนด การรบและการชนะสงครามเป็นภารกิจส�ำคัญทีส่ ดุ ของกองทัพบก เป็นพันธกรณีทกี่ องทัพ
บกยืนหยัดรับใช้ชาติ ประชาชน และราชบัลลังก์โดยไม่มีข้อแม้ใด ๆ
บทบาทของกองทัพบก
๑-๒ การป้องปรามภัยคุกคาม๒ ก็เป็นอีกหน้าทีห่ นึง่ ของกองทัพบกนอกเหนือจากการรบ
เป้าหมายในการป้องปรามภัยคุกคามของกองทัพบกคือเจตจ�ำนงของผู้น�ำของประเทศที่อาจเป็น
ฝ่ายตรงข้ามและกลุม่ ทีไ่ ม่เป็นมิตร โดยการท�ำให้ผนู้ ำ� เหล่านัน้ เห็นว่าการคุกคามต่อประเทศไทยจะ
มีผลเสียต่อตนจนเกินกว่าจะยอมรับได้ ปัจจุบันภัยคุกคามของเรายังคงพึ่งพาก�ำลังทหารและก�ำลัง
ติดอาวุธที่มิใช่กองทัพประจ�ำการเพื่อรักษาอ�ำนาจและขยายอิทธิพลของตน กองก�ำลังกองทัพบก
ป้องปราม ด้วยการแสดงให้เห็นว่ามีขีดความสามารถที่เหนือกว่าที่จะท�ำลายการคุกคามนั้นได้
เมื่อจ�ำเป็น
๑-๓ ความพร้อมรบของกองทัพบกคือเครือ่ งมือป้องปรามทีด่ ที สี่ ดุ หน่วยต่าง ๆ ของกอง
ทัพบกที่วางอยู่ทั่วประเทศมีส่วนช่วยให้กองทัพบกสามารถรับมือกับภัยคุกคามที่เกิดขึ้นได้อย่าง
รวดเร็ว มีความพร้อมในการสนับสนุนส่วนราชการพลเรือนในการรับมือกับภัยพิบตั แิ ละภัยคุกคาม
อื่น ๆ รวมถึงมีส่วนช่วยในการพัฒนาทางการเมืองและเศรษฐกิจของท้องถิ่น ความร่วมมือด้านการ
ทหารกับประเทศเพื่อนบ้านและมิตรประเทศก็มีส่วนช่วยให้ความมั่นคงในภูมิภาคมีเสถียรภาพ
ยิ่งขึ้น


การปฏิบตั กิ ารร่วมจะมีการจัดก�ำลังจากเหล่าทัพอืน่ ๆ ซึง่ จะเรียกกองก�ำลังตามเหล่าทัพทีจ่ ดั อันได้แก่ กองก�ำลังกองทัพ
บก กองก�ำลังกองทัพเรือ กองก�ำลังกองทัพอากาศ และกองก�ำลังนาวิกโยธิน ที่ไม่เรียกว่ากองก�ำลังทางบกเพราะไม่ให้
สับสนกับกองก�ำลังนาวิกโยธินซึ่งอาจถือเป็นกองก�ำลังทางบกด้วย

การป้องปรามภัยคุกคาม หมายถึงประเทศ หรือกลุ่มบุคคล/องค์กร ที่มิได้เป็นตัวแทนของประเทศใดประเทศหนึ่งตาม
กฎหมาย แต่อาจได้รับการสนับสนุนอย่างลับ ๆ หรือเปิดเผยโดยประเทศใดประเทศหนึ่ง ซึ่งมีจุดมุ่งหมายที่จะเป็น
ภัยคุกคามต่อความมั่นคงและผลประโยชน์ของประเทศไทย ถ้าเป็นกลุ่มที่มิใช่รัฐ หากใช้ความรุนแรงเป็นเครื่องมือ จะจัด
อยู่ในภัยคุกคามทั้งสิ้น
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 3

๑-๔ การให้ความส�ำคัญกับการรบท�ำให้หน่วยของกองทัพบกสามารถตอบสนองความ
ต้องการของผู้บัญชาการกองก�ำลังรบร่วมทั้งในยามสงบ ยามขัดแย้ง และยามสงคราม ในยาม
สงครามกองก�ำลังกองทัพบกเป็นก�ำลังหลักของกองก�ำลังทางบกที่น�ำเจตจ�ำนงของชาติไปหักล้าง
กับเจตจ�ำนงของข้าศึกในยามขัดแย้งกองทัพบกจะส่งก�ำลังรบเข้าพื้นที่ปฏิบัติการอย่างรวดเร็วเพื่อ
ป้องปรามฝ่ายตรงข้ามและป้องกันมิให้ฝา่ ยตรงข้ามมีความได้เปรียบทางยุทธการ และหากการป้อง
ปรามล้มเหลว กองก�ำลังกองทัพบกจะเอาชนะข้าศึกและยุตคิ วามขัดแย้งในลักษณะทีส่ อดคล้องกับ
วัตถุประสงค์ของชาติและท�ำให้เกิดเสถียรภาพทีย่ งั่ ยืนภายหลังความขัดแย้งได้ ความสามารถในการ
เคลื่อนย้ายที่รวดเร็วจะช่วยให้ผู้บัญชาการกองก�ำลังรบร่วมมีก�ำลังรบแตกหัก ณ เวลาและต�ำบลที่
ต้องการ ในยามสงบ กองทัพบกจะเตรียมก�ำลังให้พร้อมส�ำหรับการรบด้วยการฝึก รวมถึงการ
สนับสนุนหน่วยงานพลเรือนและองค์กรต่าง ๆ ในการรับมือและบรรเทาภัยพิบตั ิ ส่งเสริมบรรยากาศ
ด้านความมั่นคงระหว่างประเทศด้วยการด�ำรงความสัมพันธ์กับกองทัพของประเทศเพื่อนบ้านและ
มิตรประเทศ

รายการกิจส�ำคัญยิ่งในภารกิจของกองทัพบก
- สร้างสภาวะแวดล้อมด้านความมั่นคง
- ตอบสนองต่อวิกฤติการณ์อย่างทันท่วงที
- การระดมสรรพก�ำลังของกองทัพบก
- การด�ำเนินการส่งก�ำลังรบไปยังพื้นที่ที่เกิดปัญหา
- ครองความเหนือกว่าในปฏิบัติการทางภาคพื้นดิน
- ให้การสนับสนุนต่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือน
- การมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ

ภารกิจของกองทัพบก
๑-๕ แม้กองทัพบกจะมีภารกิจในฐานะเป็นส่วนหนึง่ ของกองทัพไทยตามทีก่ ำ� หนดไว้ใน
รัฐธรรมนูญ แต่ประสบการณ์และความต้องการในระดับยุทธศาสตร์ท�ำให้กองทัพบกต้องมีกิจ
ส�ำคัญยิ่ง หน่วยทุกหน่วยของกองทัพบกก็ต้องพัฒนากิจส�ำคัญยิ่งของหน่วยตนขึ้น ทั้งนี้การปฏิบัติ
ตามกิจส�ำคัญยิ่งให้ส�ำเร็จจะต้องมีการบูรณาการหลักนิยม การฝึก การพัฒนาความเป็นผู้น� ำ
การจัด การบริหารทรัพยากร และก�ำลังพล อย่างต่อเนื่อง
๑-๖ กิจส�ำคัญยิ่งของกองทัพบกจะเป็นสิ่งบ่งบอกว่า ชาติจะใช้ก�ำลังทหารอย่างไรเพื่อ
ให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่กำ� หนดทั้งในยามสงคราม ยามขัดแย้ง และยามสงบ กองก�ำลังกองทัพบก
4 บทที่ ๑

แม้จะเน้นการปฏิบัติการทางบก แต่สามารถเสริมขีดความสามารถให้กับกองก�ำลังของเหล่าทัพ
อื่น ๆ ในการปฏิบัติการรวมได้ การปฏิบัติตามกิจส� ำคัญยิ่งของกองทัพบกยังจะช่วยเสริมการ
ป้องปรามฝ่ายตรงข้าม และหากการป้องปรามล้มเหลว ฝ่ายเราจะสามารถเอาชนะได้อย่างรวดเร็ว
น�ำสถานการณ์กลับคืนไปสู่ความมีเสถียรภาพที่ยั่งยืนหลังความขัดแย้ง ท�ำให้ผู้บัญชาการก�ำลังรบ
ร่วมมีทางเลือกในการปฏิบัติการเต็มรูปแบบ
๑-๗ ยุทธศาสตร์ความมั่นคงแห่งชาติ และยุทธศาสตร์ทหาร คือ กรอบในการใช้พลัง
อ�ำนาจทางทหารของชาติ กองทัพจะต้องมีปฏิสัมพันธ์กับกองทัพของประเทศอื่น ๆ ในขณะที่
ต้องด�ำรงความพร้อมรบสูงสุดเพื่อรับมือกับภัยคุกคามที่อาจเกิดขึ้นได้ทุกเมื่อ การมีปฏิสัมพันธ์กับ
กองทัพอืน่ และการด�ำรงความพร้อมรบ คือปัจจัยส�ำคัญในการสร้างสภาวะแวดล้อมทีเ่ กือ้ กูลต่อการ
ส่งเสริมสันติภาพ การปกป้องผลประโยชน์ของชาติ ก่อนที่ความขัดแย้งหรือภัยคุกคามจะเกิดขึ้น
การจัดตั้งคณะกรรมการประสานงานชายแดนในระดับต่าง ๆ กับประเทศเพื่อนบ้าน จะช่วยให้
กองทัพของไทยกับเพื่อนบ้านสามารถร่วมกันแก้ไขปัญหาได้ตั้งแต่ในระดับท้องถิ่นจนถึงระดับผู้น�ำ
กองทัพ การวางก�ำลังอยู่ทั่วประเทศรวมถึงขีดความสามารถในการเคลื่อนย้ายที่รวดเร็วจะเป็น
หลักประกันในการแก้ปัญหาหากเกิดความขัดแย้งรุนแรงขึ้น
๑-๘ ความสัมพันธ์ระหว่างผูน้ ำ� กองทัพ การทูตฝ่ายทหาร การตัง้ คณะกรรมการชายแดน
ตลอดจนการฝึกร่วมและผสมกับมิตรประเทศ มีส่วนช่วยในการสร้างเสริมเสถียรภาพทั้งในระดับ
ทวิภาคีและพหุภาคี ช่วยลดความขัดแย้งและความหวาดระแวงที่อาจเกิดขึ้นได้เป็นอย่างดี
๑-๙ ความสัมพันธ์ระหว่างผูน้ ำ� กองทัพ การทูตฝ่ายทหาร การตัง้ คณะกรรมการชายแดน
ตลอดจนการฝึกร่วมและผสมกับมิตรประเทศ อาจเรียกว่าการด�ำเนินการทางทหารในยามปกติ
เป็นการปฏิบัติที่ด�ำเนินการทั้งภายในประเทศและในต่างประเทศเพื่อสร้างสภาวะที่เกื้อกูลต่อผล
ประโยชน์ของชาติ การด�ำเนินการดังกล่าวจะท�ำให้มติ รภาพของกองทัพไทยกับกองทัพของประเทศ
เพื่อนบ้านและพันธมิตรมีความแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ช่วยให้ลดความหวาดระแวงซึ่งกันและกัน มีความ
ร่วมมือกัน ป้องกันมิให้เกิดความขัดแย้งหรือมีกลไกทีส่ ามารถแก้ไขก่อนทีค่ วามขัดแย้งจะบานปลาย
ยิ่งขึ้น
๑-๑๐ การด�ำเนินการทางทหารยามปกติควรมีการวางแผนและปฏิบัติเช่นเดียวกับการ
ปฏิบตั กิ ารทางทหารอืน่ ๆ หน่วยปฏิบตั กิ ารพิเศษของกองทัพบกควรมีการด�ำเนินการในเรือ่ งนีเ้ ป็น
พิเศษ
๑-๑๑ กองก�ำลังรบร่วมจะถูกจัดตัง้ ขึน้ เพือ่ รับมือกับภัยคุกคามทีอ่ าจเกิดขึน้ ไม่วา่ จะเป็น
ภัยคุกคามในรูปแบบใด ความพร้อมรับมือในระดับยุทธศาสตร์ของกองก�ำลังกองทัพบกจะท�ำให้
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 5

กองก�ำลังรบร่วมมีขีดความสามารถในการรบภาคพื้นดิน ช่วยให้ผู้บัญชาการกองก� ำลังรบร่วม


สามารถด�ำเนินกลยุทธ์ทางพืน้ ดิน ช่วยให้ฝา่ ยเราชิงความริเริม่ และรักษาความริเริม่ นัน้ ไว้เพือ่ ความ
ได้เปรียบในการรบทางบก ท�ำให้ขา้ ศึกตกอยูใ่ นสภาพทีเ่ สียเปรียบ จนกองก�ำลังรบร่วมใช้พลังอ�ำนาจ
ทั้งหมดพิชิตชัยชนะในขั้นเด็ดขาดได้ในที่สุด
๑-๑๒ กองก�ำลังกองทัพบกต้องสามารถรับมือกับเหตุวิกฤตได้ในทุกสภาพแวดล้อม
ต้องมีความอ่อนตัวในทุกสถานการณ์ ผู้บังคับหน่วยของกองทัพบกต้องสามารถจัดและท�ำการ
ฝึกหน่วยของตนให้พร้อมรับมือกับเหตุวกิ ฤติ ไม่วา่ เหตุวกิ ฤตนัน้ จะมีลกั ษณะใดและสภาพแวดล้อม
จะเป็นอย่างไร
การระดมสรรพก�ำลังของกองทัพบก
๑-๑๓ กองทัพบกต้องมีความสามารถในการระดมก� ำลังส�ำรองเพื่อตอบสนองความ
ต้องการก�ำลังรบในยามสงครามหรือในภาวะฉุกเฉิน กองทัพบกมีสิ่งอ�ำนวยความสะดวก อาวุธ
ยุทโธปกรณ์ ระบบ ระเบียบปฏิบตั ิ และก�ำลังพล เพือ่ สร้างและด�ำรงสภาพอ�ำนาจก�ำลังรบในระดับ
ที่ต้องการอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
๑-๑๔ ก�ำลังประจ�ำการที่มีอยู่ยังไม่พร้อมรับมือกับแผนเผชิญเหตุ หรือความต้องการใน
ทุกสภาวการณ์ได้ กองทัพบกจึงต้องมีเครือ่ งมือและระบบในการขยายก�ำลังรบทีส่ ามารถตอบสนอง
ต่อความต้องการในการรับมือกับภัยคุกคามต่อความมั่นคงของชาติ เครื่องมือหลักของกองทัพบก
ในการนี้ก็คือ หลักนิยม การฝึก การพัฒนาผู้น�ำ การจัดหน่วย ยุทโธปกรณ์ และก�ำลังพลเป็นบุคคล
การด�ำเนินการส่งก�ำลังรบไปยังพื้นที่ที่มีปัญหา
๑-๑๕ กองก�ำลังทางบกท�ำให้กองก�ำลังรบร่วมมีขดี ความสามารถในการยึดพืน้ ที่ สามารถ
โจมตีพื้น ที่ได้ทั้งจากทางอากาศ ทางพื้นดิน และทางทะเล รวมทั้งจัดตั้งพื้นที่พักคอยส�ำหรับกอง
ก�ำลังทีต่ ดิ ตามมาและเพือ่ การด�ำรงสภาพการยุทธ์ ขีดความสามารถในการปฏิบตั กิ ารส่งทางอากาศ
และการยุทธ์เคลือ่ นทีท่ างอากาศช่วยให้ผบู้ ญ
ั ชาการกองก�ำลังรบร่วมสามารถยึดสนามบิน หรือทีต่ งั้
ส�ำคัญของฝ่ายตรงข้ามได้ เมื่อปฏิบัติการร่วมกับกองก�ำลังเหล่าทัพอื่น เช่นกองก�ำลังกองทัพเรือ
กองก�ำลังกองทัพบกสามารถปฏิบัติการสะเทินน�้ำสะเทินบกได้ ความสามารถในการการยึดและ
รักษาพื้นที่ช่วยให้ผู้บัญชาการกองก�ำลังรบร่วมสามารถด�ำเนินกลยุทธ์ในระดับยุทธการได้
การครองความเหนือกว่าในการปฏิบัติการทางภาคพื้นดิน
๑-๑๖ หากจะท�ำสงครามต้องมีชัยชนะขั้นเด็ดขาด การจะชนะสงครามได้ต้องใช้พลัง
อ�ำนาจทั้งทางบก ทางเรือ และทางอากาศ เสริมซึ่งกันและกัน การท�ำสงครามทางบกจะต้องมี
6 บทที่ ๑

การยึดพื้นที่และทรัพยากรของข้าศึก ท�ำลายกองทัพของข้าศึก ไม่ให้ข้าศึกควบคุมพื้นที่ ประชาชน


และทรัพยากรได้ มีแต่กองก�ำลังทางบกเท่านั้นที่สามารถท�ำสิ่งดังกล่าวได้
๑-๑๗ ขีดความสามารถในการเข้าประชิดและท�ำลายข้าศึกนี่เองที่ท�ำให้กองทัพบกเป็น
ก�ำลังที่ชี้ชัยชนะในการรบภาคพื้นดิน กองก�ำลังกองทัพบกเข้าประชิดและท�ำลายก�ำลังข้าศึกด้วย
การด�ำเนินกลยุทธ์ และการยิง เมื่อปฏิบัติการร่วมกับกองก�ำลังเหล่าทัพอื่น จะท�ำให้การรบได้รับ
ชัยชนะในขั้นแตกหักง่ายขึ้น
๑-๑๘ ความสามารถในการด�ำรงสภาพการปฏิบตั กิ ารทางพืน้ ดินคือเงือ่ นไขในการบรรลุ
วัตถุประสงค์ของชาติในระยะยาว กองก�ำลังกองทัพบกจึงต้องสามารถด�ำรงสภาพการปฏิบัติการ
ทุกรูปแบบได้ทั่วทั้งยุทธบริเวณเท่าที่นโยบายความมั่นคงแห่งชาติต้องการ
๑-๑๙ หน่วยในระดับยุทธการของกองทัพควรได้รับทรัพยากร และการฝึกให้มีขีดความ
สามารถกว่าฝ่ายตรงข้าม สามารถควบคุมพื้นที่ ทรัพยากร และประชาชนได้ และบางครั้งอาจต้อง
ปกครองพื้นที่ยึดครองเป็นการชั่วคราวได้ หน่วยควรมีขีดความสามารถในการด�ำเนินกลยุทธ์
ควบคุมบังคับ คัญชาหน่วยระดับกองก�ำลังรบร่วมได้ นอกจากนี้ การใช้หน่วยปฏิบัติการพิเศษ
ของกองทั พ บกจะช่ ว ยเพิ่ ม ขี ด ความสามารถให้ กั บ กองก�ำ ลั ง รบร่ ว มในเรื่ อ งการรบนอกแบบ
การปฏิบัติการข่าวสาร การปฏิบัติโดยตรง การลาดตระเวนพิเศษ การต่อต้านการก่อการร้าย การ
ปฏิบัติการจิตวิทยา และงานกิจการพลเรือน
๑-๒๐ การด�ำรงสภาพการปฏิบตั กิ ารทางบกต้องการการสนับสนุนการรบและการสนับสนุน
การช่วยรบที่เพียงพอ จึงต้องมีการจัดหน่วยสนับสนุนการรบและหน่วยสนับสนุนการช่วยรบให้
เหมาะสมกับสถานการณ์ และต้องพร้อมที่จะขยายขีดความสามารถเพิ่มเติมเมื่อจ�ำเป็น
๑-๒๑ กองทัพบกยังจะต้องรักษาโครงสร้างและความเชี่ยวชาญที่จำ� เป็นในการพัฒนา
จัดหา ส่งก�ำลัง ต่อยุทโธปกรณ์และสิง่ อุปกรณ์สำ� หรับการปฏิบตั กิ ารทุกรูปแบบ นอกเหนือจากการ
ส่งก�ำลังก�ำลังให้กบั กองก�ำลังกองทัพบกแล้ว กองทัพบกยังต้องรักษาระดับสิง่ อุปกรณ์บางอย่าง อาทิ
เช่นกระสุน ส�ำหรับการขยายการปฏิบัติการด้วย นอกจากนี้กองทัพบกยังจะต้องด�ำรงขีดความ
สามารถในการวิจัย และพัฒนาเพื่อให้สามารถเชื่อมโยงกับภาคอุตสาหกรรมป้องกันประเทศหรือ
พร้อมรับยุทโธปกรณ์ใหม่ ๆ ที่อาจจ�ำเป็นต้องจัดหาในอนาคตด้วย
ให้การสนับสนุนต่อเจ้าหน้าที่พลเรือน
๑-๒๒ กองก�ำลังกองทัพบกจะต้องพัฒนาขีดความสามารถในการรบเพือ่ ให้สามารถเสริม
และสนับสนุนหน่วยราชการหรือองค์กรพลเรือนได้เมือ่ จ�ำเป็น ความพร้อมของหน่วยต่าง ๆ จะช่วย
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 7

ให้การรับมือกับภัยพิบัติทั้งที่เกิดตามธรรมชาติ และที่เกิดจากมนุษย์เป็นไปอย่างรวดเร็ว และมี


ประสิทธิภาพ ในหลายกรณีการให้การสนับสนุนอย่างทันท่วงทีต่อหน่วยงานและองค์กรพลเรือน
เป็นปัจจัยส�ำคัญที่สุดในการบรรเทาภัยพิบัติ นอกเหนือจากการสนับสนุนอย่างทันเวลาแล้ว
กองก�ำลังกองทัพบกยังต้องมีขีดความสามารถให้การสนับสนุนอย่างต่อเนื่องจนกว่าหน่วยงานหรือ
องค์กรพลเรือนสามารถปฏิบัติงานได้โดยไม่ต้องอาศัยการสนับสนุนจากฝ่ายทหารอีกต่อไป
สภาพแวดล้อมทางยุทธการ
๑-๒๓ สภาพแวดล้อมในการปฏิบตั กิ ารมีอยูด่ ว้ ยกันหกมิติ แต่ละมิตมิ ผี ลต่อการปฏิบตั กิ าร
ของกองก�ำลังกองทัพบกในเรือ่ ง การรวม การจัดล�ำดับ และการปฏิบตั กิ ารทางทหาร ผูบ้ งั คับหน่วย
จึงต้องจัดหน่วย ใช้ขีดความสามารถที่หลากหลาย และสนับสนุนต่อภารกิจหลาย ๆ ภารกิจจึงจะ
สามารถประสบความส�ำเร็จในสภาพแวดล้อมที่ซับซ้อนได้
มิติของภัยคุกคาม
๑-๒๔ แนวโน้มทีจ่ ะเกิดการขัดแย้งกันด้วยอาวุธระหว่างประเทศยังคงมีอยู่ ยิง่ กว่านัน้ คือ
อิทธิพลของกลุ่มที่มิใช่รัฐกลับมีมากขึ้นทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก ชาติต่าง ๆ กลุ่มที่มิใช่รัฐ
และองค์กรข้ามชาติยังคงขับเคี่ยวกันเพื่ออิทธิพลและผลประโยชน์ ความขัดแย้งในสมัยใหม่จึงมัก
ไม่ใช่เป็นเรื่องของสองฝ่ายอีกต่อไป ส่วนใหญ่มักจะเป็นกลุ่มหลายกลุ่มขัดแย้งกับกลุ่มอื่นในเรื่อง
ผลประโยชน์ แม้แต่ในกลุ่มพันธมิตรเองก็ยังมีสมาชิกที่ยังมีวัตถุประสงค์ต่างกัน
๑-๒๕ ภัยคุกคามต่อประเทศไทยยังคงมีอยู่และมีหลายรูปแบบ ตลอดจนมีความแปร
เปลี่ยนง่าย ไม่มีความแน่นอน มีสถานการณ์ที่ซับซ้อน และก�ำกวมมากขึ้น ความขัดแย้งระหว่าง
ประเทศแม้จะมีโอกาสเกิดขึน้ น้อยแต่กไ็ ม่ควรนิง่ นอนใจ ปัญหาทีเ่ กิดขึน้ ตามแนวชายแดนยังมีโอกาส
ที่จะขยายลุกลามจนกลายเป็นข้อขัดแย้งระหว่างประเทศได้ ปัญหาที่เกิดจากกลุ่มอาชญากร
ข้ามชาติก็ยังมีศักยภาพที่เป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคง ปัญหาการก่อความไม่สงบในภาคใต้อาจ
ส่งผลกระทบกระเทือนในหลาย ๆ ด้านและอาจรุนแรงจนกลายเป็นชนวนให้กลุ่มหรือรัฐภายนอก
พยายามเข้าแทรกแซง หรือสร้างสถานการณ์ให้องค์กรนานาชาติเข้าแทรกแซงโดยไม่มคี วามจ�ำเป็น
ภัยคุกคามเหล่านี้ล้วนส่งผลกระทบต่อความมั่นคง และผลประโยชน์ของชาติที่กองทัพบกจะต้อง
พร้อมรับมือในการแก้ปัญหา
๑-๒๖ ชาติตา่ ง ๆ ยังคงพัฒนาขีดความสามารถทางทหารเพือ่ ต่อต้านภัยคุกคามในภูมภิ าค
หรือแสวงประโยชน์จากโอกาสที่เกิดขึ้น การพัฒนาขีดความสามารถทางทหารจะเป็นการใช้
ประโยชน์จากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบขีปนาวุธ อาวุธทีม่ อี ำ� นาจท�ำลายล้างสูง
8 บทที่ ๑

หรือพันธุวิศวกรรม หากรัฐหรือกลุ่มที่อาจเป็นภัยคุกคามต่อไทยครอบครองเทคโนโลยีดังกล่าวได้
ย่อมส่งผลต่อดุลยภาพด้านความมั่นคงของประเทศและภูมิภาคด้วย
๑-๒๗ กลุ่มที่มิใช่รัฐที่อาจเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของไทยอาจใช้วิธีการอสมมาตร
เพือ่ ต่อสูก้ บั พลังอ�ำนาจของกองทัพ อาจมีการใช้อาวุธทัง้ ตามแบบและไม่ตามแบบเพือ่ ขยายอิทธิพล
และผลประโยชน์ของตนเพื่อสร้างความหวาดกลัวต่อประชาชน และเรียกร้องการสนับสนุนจาก
ภายนอก
๑-๒๘ ฝ่ายตรงข้ามแสวงหาโอกาสในการสร้างเงื่อนไขเพื่อประโยชน์ของตนเอง โดยจะ
พยายามเปลี่ยนแปลงลักษณะเงื่อนไขทางธรรมชาติของความขัดแย้งหรือพยายามใช้ขีดความ
สามารถซึง่ พวกเขาเชือ่ ว่าก่อให้เกิดความยุง่ ยากต่อกองก�ำลังของฝ่ายเราในการตอบโต้ ฝ่ายตรงข้าม
จะใช้สภาพภูมิประเทศที่สลับซับซ้อน สภาพแวดล้อมในสิ่งปลูกสร้าง เช่น ในเมือง และวิธีการกระ
จายก�ำลังขนาดเล็ก ๆ ออกไป ในลักษณะที่คล้าย ๆ กับการปฏิบัติการของเวียดนามเหนือ, อิรัก
และชาวเซิร์บน�ำมาใช้ เพื่อชดเชยความเสียเปรียบต่อฝ่ายเรา วิธีการที่น�ำมาใช้นี้ท�ำให้ฝ่ายเรายาก
ต่อการก�ำหนดเป้าหมายมากยิ่งขึ้น และอาจจะท�ำให้การใช้อาวุธที่มีความแม่นย�ำ และอ�ำนาจการ
ท�ำลายร้ายแรงของฝ่ายเราสูญเปล่าจากการโจมตีต่อเป้าหมายที่ไม่มีความส�ำคัญ โดยปกติฝ่ายตรง
ข้ามจะหาหนทางปฏิบัติในการต่อต้านฝ่ายเราในลักษณะต่าง ๆ ตามแนวความคิดเหล่านี้
- ด�ำเนินการปฏิบัติการเริ่มต้นด้วยการใช้ก� ำลัง และก่อให้เกิดการบาดเจ็บ
สูญเสียโดยไม่คาดคิด และเกินกว่าเกณฑ์ที่จะยอมรับได้
- ใช้ความพยายามในการควบคุมจังหวะการรบ สร้างเงือ่ นไขในการเอาชนะกอง
ก�ำลังฝ่ายเราที่ใช้เข้าปฏิบัติการ
- แปลงการปฏิบตั ไิ ปสูก่ รอบของการปฏิบตั เิ ชิงรับซึง่ หลีกเลีย่ งการรบขัน้ แตกหัก
สงวนรักษาขีดความสามารถไว้และสร้างความขัดแย้งให้ยืดเยื้อออกไป ถ้ามี
การใช้ก�ำลังของฝ่ายเราจะใช้ยุทธวิธีก่อการร้ายต่าง ๆ นานา และโจมตีใน
ลักษณะอื่น ๆ เพื่อท�ำลายการสนับสนุนจากทางสาธารณชน, จากพันธมิตร
หรือชาติสมาชิกที่ให้ความร่วมมือและเจตจ�ำนงในการสู้รบ
- ใช้เครื่องมือที่มีความทันสมัยในการด�ำเนินงานทางด้านการข่าวกรอง การ
เฝ้าตรวจและการลาดตระเวนที่ทันสมัย ตลอดจนการใช้อาวุธท�ำลายล้างสูง
ในการด�ำเนินการซุ่มโจมตีอย่างสลับซับซ้อน ท�ำลายระบบปฏิบัติการที่เป็น
หัวใจส�ำคัญ หรือท�ำให้เกิดการบาดเจ็บและสูญเสียจ�ำนวนมากทั้งภายในและ
ภายนอกยุทธบริเวณ
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 9

- ใช้ภูมิประเทศและสภาพพื้นที่ในสิ่งปลูกสร้างให้เป็นประโยชน์ในการกระจาย
หน่วยทหารราบยานเกราะและหน่วยยานเกราะ การรวมก�ำลังและกระจาย
ก�ำลังของฝ่ายตรงข้ามจะเป็นไปตามแต่โอกาสจะอ�ำนวย การด�ำเนินกลยุทธ์
ของฝ่ายตรงข้าม จะกระท�ำในห้วงเวลาที่ขีดความสามารถทางเทคโนโลยี
ถูกลดลง ฝ่ายตรงข้ามใช้ขีดความสามารถในการพรางที่ได้รับการปรับปรุงให้
ทันสมัย และการลวงต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ
- รวมกลุ่มพันธมิตรของตนเพื่อต่อต้านการปฏิบัติการต่อฝ่ายเรา
- เสาะแสวงหาหรือพัฒนาปรับปรุงระบบเทคโนโลยีของตนให้มีความทันสมัย
เพื่อให้เกิดผลทางด้านการจู่โจมและจ�ำกัดห้วงเวลาในการปฏิบัติการที่เกิดขึ้น
ในพื้นที่เฉพาะฝ่ายตรงข้ามจะพยายามแสวงหาโอกาสในทุกหนทางเพื่อก่อให้
เกิดความได้เปรียบเหนือกองก�ำลังฝ่ายเราในทุกโอกาส เมื่อมีการตอบโต้
พวกเขาจะปรับตัวเพื่อเปลี่ยนสถานการณ์และสร้างเงื่อนไขตลอดจนแสวงหา
ทางเลือกที่เป็นไปได้ทั้งมวลในการหลีกเลี่ยงการถูกท�ำลายหรือถูกเอาชนะ
ในสภาพแวดล้อมและภัยคุกคามที่มีอยู่อย่างกว้างขวางนี้เป็นความท้าทาย
อย่างเฉพาะเจาะจงในปัจจุบัน กองก�ำลังทางบกต้องเอาชนะฝ่ายตรงข้าม
พร้อม ๆ ไปกับการป้องกันโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งที่ไม่เกี่ยวกับการรบตาม
ความต้องการในการใช้งาน
มิติทางด้านการเมือง
๑-๒๙ ยุทธศาสตร์ความมัน่ คงแห่งชาติ (ยมช.) เป็นตัวก�ำหนดว่าประเทศไทยจะเผชิญกับ
ความท้าทายในสภาพแวดล้อมของโลกที่มีความไม่แน่นอน สลับซับซ้อน และเปลี่ยนแปลงอยู่
ตลอดเวลาได้อย่างไร ยมช.จะก�ำหนดแนวทางอย่างกว้าง ๆ ว่าจะใช้พลังอ�ำนาจของชาติเพื่อให้
บรรลุวัตถุประสงค์ของชาติได้อย่างไรส�ำหรับรายละเอียดในการก�ำหนดยุทธศาสตร์เป็นสิ่งที่อยู่
นอกเหนือขอบเขตของคู่มือเล่มนี้ อย่างไรก็ตาม ยุทธศาสตร์ทหารแห่งชาติที่ได้มาจากนโยบาย
ความมัน่ คงแห่งชาติ คือพืน้ ฐานส�ำหรับการใช้กำ� ลังทหารในสงครามและในการปฏิบตั กิ ารทางทหาร
อื่น ๆ ที่นอกเหนือจากสงคราม
๑-๓๐ ยมช.ระบุวา่ พลังอ�ำนาจทางทหารเป็นกิง่ หนึง่ ของพลังอ�ำนาจแห่งชาติ ผูน้ ำ� ทางการ
เมืองต้องมีความรู้ความสามารถในการใช้พลังอ�ำนาจทางทหารร่วมกับพลังอ�ำนาจอื่น ๆ อย่าง
ประสานสอด คล้องเพื่อให้ได้มาและรักษาซึ่งผลประโยชน์ของชาติ การปฏิบัติการทางทหารจึง
สะท้อนความหมายได้สองนัย นัยหนึ่งคือ ได้รับอิทธิพลจากแนวทางทางการเมืองของคณะรัฐบาล
และการใช้พลังอ�ำนาจด้านอื่น ๆ อีกนัยหนึ่งคือ มีอิทธิพลต่อแนวทางทางการเมืองของรัฐบาลและ
10 บทที่ ๑

การใช้พลังอ�ำนาจอื่น ๆ ด้วย เมื่อชาติเข้าสู่สงคราม วัตถุประสงค์ทางทหารคือชัยชนะที่รวดเร็ว


เด็ดขาด โดยผู้น�ำรัฐบาลคือผู้ก�ำหนดว่าชัยชนะทางทหารน�ำมาซึ่งการบรรลุวัตถุประสงค์ของชาติ
อย่างไร ดังนั้นการปฏิบัติการทางทหารไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใดจ�ำเป็นที่ผู้บังคับบัญชาของกองก�ำลัง
กองทัพบกต้องเข้าใจในยุทธศาสตร์ และวัตถุประสงค์ของนโยบาย รวมถึงเข้าใจเงื่อนไขทางทหาร
ที่ท�ำให้บรรลุวัตถุประสงค์เหล่านั้น นอกจากนั้นยังจะต้องสื่อความเข้าใจของตนต่อสาธารณะให้
ชัดเจนได้ ต้องเข้าใจว่าการตัดสินใจทางการเมืองทีก่ ระท�ำระหว่างการปฏิบตั กิ ารมีผลกระทบทัง้ ใน
ระดับยุทธศาสตร์ ยุทธการ และยุทธวิธี ท�ำนองเดียวกัน การปฏิบตั ทิ งั้ ในระดับยุทธศาสตร์ ยุทธการ
และยุทธวิธีย่อมมีผลกระทบทางการเมืองด้วย การแปลงการตัดสินใจทางการเมืองไปเป็นภารกิจ
ทางทหารจะต้องใช้ทงั้ ความรู้ ความสามารถ และความซือ่ สัตย์ในการประเมิน ผูบ้ ญ ั ชาการกองก�ำลัง
กองทัพบกต้องท�ำให้ผู้บัญชาการกองก�ำลังรบร่วมเข้าใจถึงขีดความสามารถ และข้อจ�ำกัดที่แท้จริง
ของหน่วยตน หรือถ้าหากจ�ำเป็นอาจต้องเสนอแนะต่อผู้น�ำรัฐบาลด้วยตั้งแต่ในยามปกติ
มิติด้านการปฏิบัติการร่วม
๑-๓๑ หลักนิยมการใช้ก�ำลังของกองก�ำลังกองทัพบก คือ ปฏิบัติการเป็นส่วนหนึ่งของ
กองก�ำลังรบร่วม ดังนัน้ การใช้กองก�ำลังกองทัพบกในการทัพ และการยุทธ์ขนาดใหญ่จงึ ต้องใช้ดว้ ย
มุมมองของการปฏิบัติการร่วม ผู้บัญชาการกองก�ำลังรบร่วมจึงต้องประสานสอดคล้องการ
ปฏิบัติการของกองก�ำลังกองทัพบกกับกองก�ำลังของเหล่าทัพอื่น ๆ ใช้ประโยชน์จากขีดความ
สามารถของกองก�ำลังกองทัพบกท�ำให้กองก�ำลังรบร่วมมีประสิทธิภาพ
๑-๓๒ ในการสงครามระหว่างประเทศ การปฏิบัติการทางบกเป็นปัจจัยตัดสินผลของ
สงครามในยุ ท ธบริเวณ ฝ่ายเราต้องใช้ก�ำลัง ขนาดใหญ่ ใ นลั ก ษณะที่ เ ป็ น การปฏิ บั ติ ก ารร่ ว ม
เพื่อเอาชนะข้าศึก กองก�ำลังกองทัพบกจึงเป็นกองก�ำลังส�ำหรับการด�ำรงสภาพการรบทางบก
ยุติสงคราม และรักษาเสถียรภาพหลังสงคราม ปกติผู้บัญชาการกองก�ำลังรบร่วมจะก�ำหนดให้
กองก�ำลังทางบกเป็นส่วนที่จะต้องได้รับการสนับสนุนในระหว่างขั้นต่าง ๆ ของการทัพ แต่ในบาง
ขั้ น ตอนกองก� ำ ลั ง ทางบกอาจเป็ น ส่ ว นที่ ใ ห้ ก ารสนั บ สนุ น กองก� ำ ลั ง อื่ น ๆ แต่ ใ นทุ ก ขั้ น ตอน
ผู้บัญชาการกองก�ำลังรบร่วมจะต้องประสานสอดคล้องขีดความสามารถกองก�ำลังต่าง ๆ ที่
ประกอบกันขึ้นเป็นกองก�ำลังรบร่วมเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ทั้งในระดับยุทธการและยุทธศาสตร์
๑-๓๓ การปฏิบตั กิ ารเผชิญเหตุขนาดเล็ก ครอบคลุมการปฏิบตั กิ ารทางทหารทีอ่ ยูร่ ะหว่าง
การสงครามใหญ่ กับการด�ำเนินทางทหารในยามปกติ กองก�ำลังทางบกที่ใช้ในการปฏิบัติการ
เผชิญเหตุขนาดเล็กเพือ่ ปกป้องพลเมือง และผลประโยชน์ของชาติ สนับสนุนการริเริม่ ทางการเมือง
และการทูต และขัดขวางการกระท�ำผิดกฎหมาย ผู้บัญชาการกองก�ำลังรบร่วมเป็นผู้ก�ำหนด
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 11

ความสัมพันธ์ระหว่างกองก�ำลังต่าง ๆ ว่ากองก�ำลังใดมีบทบาทหลัก กองก�ำลังใดมีบทบาทสนับสนุน


เช่นเดียวกับการปฏิบัติการในยุทธบริเวณ
มิติทางด้านการปฏิบัติการสู้รบทางพื้นดิน
๑-๓๔ การปฏิบัติการทางบกยังคงมีบทบาทส�ำคัญเสมอเมื่อมีความขัดแย้งเกิดขึ้น ปกติ
มักจะเป็นการท�ำลายหรือเอาชนะก�ำลังข้าศึก หรือยึดทีห่ มายทางพืน้ ดินทีส่ ามารถลดประสิทธิภาพ
หรือลดเจตจ�ำนงในการสู้รบของข้าศึกได้ การรบทางบกมีลักษณะส�ำคัญ ๔ ประการคือ
- ขอบเขต การรบทางบกเกี่ยวข้องกับการปะทะกับข้าศึกตลอดความลึกของ
พื้นที่ปฏิบัติการ หน่วยต่าง ๆ อาจปฏิบัติการพร้อมกันหรือตามล�ำดับในพื้นที่
ปฏิบตั กิ ารทีอ่ าจจะต่อเนือ่ งกันหรือไม่ตอ่ เนือ่ งกัน ผูบ้ งั คับหน่วยด�ำเนินกลยุทธ์
เพื่อยึดหรือรักษาภูมิประเทศส�ำคัญ ใช้การด�ำเนินกลยุทธ์ การยิง และอ�ำนาจ
ก�ำลังรบอืน่ ๆ เพือ่ เอาชนะหรือท�ำลายข้าศึก การรบทางบกมักมีการเกีย่ วข้อง
กับพลเรือนอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่อง จึงต้องมีกฎการใช้ก�ำลังที่เหมาะสม
- ระยะเวลา การรบทางบกมักเกิดขึน้ ซ�ำ้ ๆ และต่อเนือ่ ง เพือ่ ลดขีดความสามารถ
ข้าศึกและท�ำให้ขา้ ศึกไม่สามารถปฏิบตั กิ ารต่อไปได้ ซึง่ บางครัง้ อาจต้องท�ำลาย
ก�ำลังข้าศึก
- ภูมปิ ระเทศ การรบทางบกเกิดขึน้ ได้ในภูมปิ ระเทศหลาย ๆ แบบ ความซับซ้อน
ของสภาพแวดล้อมทางพื้นดินแตกต่างกับ ทะเล อากาศ และอวกาศ การ
วางแผนการรบทางบกต้องค�ำนึงถึงทัศนวิสยั สภาพภูมปิ ระเทศ ผลกระทบของ
สภาพอากาศและลมฟ้าอากาศด้วย
- ความถาวร การรบทางบกมักต้องการการยึดและรักษาภูมปิ ระเทศ การควบคุม
พื้นที่น�ำมาซึ่งการควบคุมประชากรและขีดความสามารถในการผลิต ดังนั้น
การรบทางบกจะมีผลกระทบต่อการปฏิบัติการอื่น ๆ ทั้งในลักษณะชั่วคราว
และถาวร
มิติทางด้านข้อมูลข่าวสาร หรือสารสนเทศ
๑-๓๕ การปฏิบัติการทางทหารแต่ละครั้งมักเกิดขึ้นภายใต้สภาพแวดล้อมด้านข่าวสาร
ที่มักจะอยู่เหนือการควบคุมของฝ่ายทหาร สภาพแวดล้อมด้านข่าวสารคือ สภาพรวมของบุคคล
องค์กร และระบบทีร่ วบรวมด�ำเนินกรรมวิธี เก็บ แสดง และกระจายข่าวสาร รวมถึงตัวข่าวสารเอง
ตัวแสดงในระดับต่าง ๆ ต่างก็ใช้สภาพแวดล้อมนีเ้ พือ่ รวบรวม ด�ำเนินกรรมวิธี และกระจายข่าวสาร
ด้วย การรายงานของสือ่ มวลชน ณ เวลาทีเ่ กิดเหตุการณ์จริงมีผลกระทบต่อความคิดของประชาชน
12 บทที่ ๑

ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ท�ำให้มีผลกระทบต่อการปฏิบัติการทางทหารด้วย ทหารแต่ละคน


จึงมีสถานะเป็นตัวแทนของประเทศในสภาพแวดล้อมเช่นนี้ด้วย
๑-๓๖ ประวั ติ ศ าสตร์ ไ ด้ พิ สู จ น์ ใ ห้ เ ห็ น ว่ า ความเหนื อ กว่ า ด้ า นข่ า วสารช่ ว ยให้ ก าร
ปฏิบัติการของกองก�ำลังกองทัพบกมีผลแตกหัก ความเหนือกว่าด้านข่าวสารช่วยให้ฝ่ายเราเข้าใจ
สถานการณ์ได้เร็วกว่า แม่นย�ำกว่า และปฏิบัติได้เร็วกว่าฝ่ายตรงข้าม ความเหนือกว่าด้านข่าวสาร
เกิดจากการประสานสอดคล้อง การข่าวกรอง-เฝ้าตรวจ-และลาดตระเวน, การจัดการข่าวสาร
และการปฏิบัติ การข่าวสารอย่างมีประสิทธิภาพจะช่วยให้ฝ่ายเราเป็นฝ่ายครองความริเริ่มได้ก่อน
การใช้การข่าวกรอง-เฝ้าตรวจ-และลาดตระเวน และการจัดการข่าวสารจะช่วยให้ผบู้ งั คับบัญชาได้
รับข่าวสารที่ต้องการอย่างถูกต้องทันเวลาและกระจายไปยังผู้ใช้ได้ตรงตามที่ก� ำหนด สามารถ
ตัดสินใจได้ดีกว่า และปฏิบัติการได้รวดเร็วกว่าฝ่ายตรงข้าม การใช้การปฏิบัติการข่าวสารเชิงรุก

รูปที่ ๑-๔ กระบวนการในการปฏิบัติงาน

จะลดเจตจ�ำนงและประสิทธิภาพการรบของข้าศึกและป้องกันมิให้ข้าศึกได้รับ
ข่าวสารส�ำคัญของฝ่ายเรา การปฏิบัติการข่าวสารเชิงรับจะช่วยป้องกันข่าวสารและระบบควบคุม
บังคับบัญชาของฝ่ายเรา ดังนั้นการครองความเหนือกว่าด้านข่าวสารแต่เนิ่น ๆ จะมีอิทธิพลต่อ
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 13

การปฏิบัติการของกองก�ำลังกองทัพบกในทุก ๆ ด้าน เช่น การแลกเปลี่ยนข่าวสารปัจจุบันระหว่าง


กองก�ำลังที่อยู่ในพื้นที่กับกองก�ำลังที่ติดตามมาจะช่วยให้ส่งผ่านจากขั้นตอนวางก�ำลังเป็นขั้นตอน
การใช้กำ� ลังเป็นไปอย่างราบรืน่ การแลกเปลีย่ นข่าวสารเกีย่ วกับสถานการณ์ทเี่ ปลีย่ นแปลงระหว่าง
หน่วยต่าง ๆ ที่เผชิญหน้ากับข้าศึกจะช่วยให้การประสานสอดคล้องเป็นไปโดยสะดวก เกื้อกูล
ต่อการใช้ความริเริ่มของหน่วยรอง
มิติทางด้านเทคโนโลยี
๑-๓๗ ทุกวันนี้เทคโนโลยีช่วยให้กำ� ลังทหารทั้งผู้บังคับหน่วยและก�ำลังพลปฏิบัติงานได้
อย่างมีประสิทธิภาพทั้งในยามปกติ ยามขัดแย้ง และยามสงคราม ข่าวสารที่แม่นย�ำและทันเวลา
ทีไ่ ด้รบั จากระบบการติดต่อสือ่ สารขีดความสามารถในการข่าวกรอง-เฝ้าตรวจ-ลาดตระเวนช่วยให้
ผู้บังคับหน่วยตัดสินใจได้อย่างรวดเร็วและแม่นย�ำ ระบบการควบคุมบังคับบัญชาและเครื่องมือ
ติดต่อสือ่ สารช่วยให้หน่วยรวบรวมข่าวสารด�ำเนินกรรมวิธี เก็บรวบรวม แสดง และกระจายข่าวสาร
ไปยังผู้ใช้ได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง เทคโนโลยีช่วยให้ทหารได้รับการป้องกันที่ดีขึ้น ด�ำรงอยู่ใน
สนามรบได้นานขึ้น ระบบอาวุธที่มีความแม่นย�ำสูง ระบบการค้นหาเป้าหมายที่แม่นย�ำ และ
ระยะยิงที่ไกลท�ำให้ทหารยุคใหม่มีอ�ำนาจท�ำลายมากขึ้น ผู้บังคับหน่วยต้องรู้จักแยกแยะการใช้
ขีดความสามารถด้านต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับการปฏิบัติภารกิจที่ได้รับ
๑-๓๘ ในการปฏิบตั กิ ารใด ๆ ก็ตาม กองก�ำลังกองทัพบกต้องคิดว่าฝ่ายตรงข้ามก็มรี ะบบ
อาวุธทันสมัยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นอาวุธที่มีอ�ำนาจท�ำลายล้างสูง ระบบดาวเทียม อุปกรณ์ช่วยมอง
กลางคืน หรืออาวุธที่มีความแม่นย�ำสูง อาวุธเหล่านี้อาจมีประสิทธิภาพทัดเทียมหรือเหนือกว่า
ฝ่ายเราก็ได้ ฝ่ายเราจึงต้องให้ความส�ำคัญกับการเตรียมสนามรบด้านการข่าวรวมถึงพันธกิจ
ข่าวกรองด้านอื่น ๆ เพื่อให้สามารถรับทราบสิ่งบอกเหตุและแจ้งเตือนได้แต่เนิ่น ๆ ความส�ำเร็จ
ในการปฏิบัติการจึงขึ้นอยู่กับการพิสูจน์ทราบขีดความสามารถของข้าศึก (จุดแข็งและจุดอ่อน)
เจตนา และหนทางปฏิบัติ
๑-๓๙ การจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ให้ทันสมัยอย่างทั่วถึงไม่อาจกระท�ำได้ภายในเวลา
อันสั้น หน่วยต่าง ๆ อาจได้รับล�ำดับความเร่งด่วนในการจัดหาไม่เท่ากัน หากมีความจ�ำเป็นที่ต้อง
ใช้การปฏิบัติการด้วยก�ำลังขนาดใหญ่ที่หน่วยมีความแตกต่างด้านระบบยุทโธปกรณ์ ผู้บัญชาการ
กองก�ำลังรบร่วมจะต้องประสานสอดคล้องขีดความสามารถที่ต่างกันเหล่านั้นให้เหมาะสมเพื่อให้
การปฏิบัติการมุ่งไปสู่การบรรลุวัตถุประสงค์ให้ได้
๑-๔๐ ฝ่ายตรงข้ามทั้งที่เป็นรัฐ หรือที่มิใช่รัฐสามารถเข้าถึง หรือครอบครองเทคโนโลยี
ทันสมัยได้เช่นเดียวกับฝ่ายเราแม้จะไม่มีขีดความสามารถในการวิจัยและพัฒนาขึ้นเองก็ตาม ทั้งนี้
14 บทที่ ๑

เพราะเทคโนโลยีดังกล่าวสามารถซื้อหาได้ตามท้องตลาดทั่วไป ฝ่ายเราจึงต้องติดตามข่าวสาร
เพื่อให้เท่าทันเทคโนโลยี และสามารถรับมือหากฝ่ายตรงข้ามน�ำเทคโนโลยีเหล่านั้นมาใช้
๑-๔๑ อย่างไรก็ตามฝ่ายที่ชนะในการปฏิบัติการทางพื้นดินไม่จ�ำเป็นต้องเป็นฝ่ายที่มี
เทคโนโลยีที่เหนือกว่าเสมอไป ฝ่ายที่ชนะคือฝ่ายที่ใช้อ�ำนาจก�ำลังรบอย่างชาญฉลาดต่างหากที่มัก
เป็นฝ่ายได้รับชัยชนะ ทหารที่มีความเชี่ยวชาญในหน้าที่ และผู้น�ำหน่วยที่มีประสิทธิภาพคือ
ปัจจัยตัดสินผลแพ้ชนะ ไม่ว่าจะเป็นการรบปะทะ การรบ หรือการทัพ ดังนั้นสิ่งส� ำคัญในการ
ปฏิบัติการทุกรูปแบบคือ ทหาร และผู้น�ำหน่วยจะต้องตระหนักรู้ถึงความส�ำคัญของเทคโนโลยี
ทันสมัย และสามารถในการผสมผสานคุณประโยชน์ของเทคโนโลยีทนั สมัยให้เข้ากับขีดความสามารถ
ของก�ำลังพล และผู้บังคับบัญชา
หลักนิยมและกองทัพบก
๑-๔๒ หลักนิยมเป็นสิ่งบ่งบอกถึงบทบาทของกองก�ำลังกองทัพบกที่มีต่อการปฏิบัติการ
รวมทัง้ ในการทัพ การยุทธ์ขนาดใหญ่ การรบ และการรบปะทะ หลักนิยมของกองทัพบกอธิบายถึง
แนวทางและบทบาทของกองก�ำลังกองทัพบกต่อการปฏิบตั กิ ารทุกรูปแบบภาคพืน้ ดิน เป็นหลักการ
ที่เสริมและสอดคล้องกับหลักนิยมร่วม หลักนิยมของกองทัพบกเป็นหลักการที่ผ่านการพิสูจน์
และกลั่นกรองมาแล้วว่าเชื่อถือได้ แต่มิได้บ่งบอกถึงวิธีการปฏิบัติอย่างละเอียด อย่างไรก็ตามหาก
มีจุดใดที่มีข้อขัดแย้งกันระหว่างหลักนิยมกองทัพบก และหลักนิยมร่วมให้ยึดถือปฏิบัติตามที่ระบุ
ในหลักนิยมร่วม
๑-๔๓ หลักนิยมครอบคลุมการปฏิบัติทุกแง่มุมของกองทัพบก ช่วยให้ก�ำลังพลเกิด
ความเข้าใจตรง กันไม่ว่าจะปฏิบัติงานอยู่ ณ ที่ใด และเป็นพื้นฐานในหลักสูตรการศึกษาของ
กองทัพบกทุกระดับ หลักนิยมกองทัพบกเป็นหลักการทีผ่ า่ นการพิสจู น์ มุง่ เน้นการใช้ประโยชน์จาก
เทคโนโลยี สอดรับกับภัยคุกคามและภารกิจในอนาคตมีรายละเอียดทีเ่ พียงพอส�ำหรับเป็นแนวทาง
ในการปฏิบตั แิ ต่กม็ คี วามยืดหยุน่ ส�ำหรับให้ผบู้ งั คับหน่วยทัง้ ในระดับยุทธวิธแี ละระดับยุทธการได้ใช้
ความริเริม่ อย่างเหมาะสมต่อสถานการณ์ อย่างไรก็ตามสิง่ ทีส่ ำ� คัญอย่างยิง่ ยวด คือ หลักนิยมจะเป็น
ประโยชน์และใช้ได้ผลก็ต่อเมื่อผู้บังคับหน่วยทุกเหล่า ทุกส่วน ทุกระดับชั้นต้องท� ำการกวดขัน
ด�ำเนินการให้ก�ำลังพลทุกนายได้ศึกษาจนเข้าใจอย่างถี่ถ้วน กระจ่างชัด และตรงกัน
๑-๔๔ รส. ๓-๐ เป็นคู่มือหลักของกองทัพบกที่กำ� หนดหลักการในการปฏิบัติการเอาไว้
โดยอธิบายถึงบทบาทของกองทัพบกว่าการปฏิบัติการทางยุทธวิธีและยุทธการนั้นเชื่อมโยงต่อ
เป้าหมายทางยุทธศาสตร์อย่างไร รวมถึงการปฏิบัติของกองก�ำลังกองทัพบกในการปฏิบัติการรวม
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 15

นอกจากจะเชื่อมต่อกับหลักนิยมการรบร่วมแล้ว รส. ๓-๐ ยังเป็นการเชื่อมต่อระหว่างการ


ปฏิบัติการในระดับยุทธการกับการปฏิบัติการในระดับยุทธวิธีด้วย
การปฏิบัติการทุกรูปแบบ
๑-๔๕ หลักนิยมของกองทัพบกกล่าวถึงการปฏิบตั กิ ารทุกรูปแบบในทุกระดับความขัดแย้ง
(ดูรปู ๑-๑) ผูบ้ งั คับหน่วยในทุกระดับอาจต้องผสมผสานการปฏิบตั กิ ารหลาย ๆ แบบพร้อมกันหรือ
เรียงล�ำดับ เพื่อให้บรรลุภารกิจทั้งในยามสงคราม หรือในการปฏิบัติการทางทหารที่นอกเหนือจาก
สงคราม ในแต่ละภารกิจผู้บัญชาการกองก�ำลังรบร่วมและผู้บังคับหน่วยของกองทัพบกจะต้อง
ก�ำหนดว่ากองก�ำลังกองทัพบกจะให้ความส�ำคัญต่อเรือ่ งใดในแต่ละแบบของการปฏิบตั กิ าร การรุก
และการตั้ งรับปกติจะเป็นการปฏิบัติการหลั ก ในการสงคราม และการปฏิ บั ติ ก ารเผชิ ญ เหตุ
ขนาดเล็กบางกรณี ส�ำหรับการปฏิบัติการเพื่อเสถียรภาพและการปฏิบัติการสนับสนุนจะเป็น
การปฏิบัติที่ส�ำคัญในการปฏิบัติการทางทหารอื่น ๆ ที่นอกเหนือจากสงครามซึ่งรวมถึงการ
ปฏิบัติการเผชิญเหตุขนาดเล็ก และการด�ำเนินการทางทหารในยามปกติ

รูปที่ ๑-๕ พิสัย หรือขอบเขตของการปฏิบัติการของกองทัพบก

๑-๔๖ การปฏิบตั กิ ารทุกรูปแบบได้แก่ การรุก การรับ การปฏิบตั กิ ารเพือ่ เสถียรภาพ และ


การปฏิบัติการสนับสนุน (ดูรูป ๑-๕) ภารกิจแต่ละภารกิจอาจต้องผสมผสานการปฏิบัติดังกล่าวอยู่
ในภารกิจเดียวกัน ซึ่งกองก�ำลังกองทัพบกต้องเตรียมพร้อมอยู่เสมอ
16 บทที่ ๑

- การรุก มุง่ หมายเพือ่ ท�ำลายหรือเอาชนะข้าศึก วัตถุประสงค์ของการเพือ่ ท�ำให้


ข้าศึกยอมรับเจตจ�ำนงของเราและเพื่อให้บรรลุชัยชนะขั้นเด็ดขาด
- การรับ เป็นการเอาชนะการโจมตีของข้าศึก รอเวลา ออมก�ำลัง หรือสร้าง
สภาวะทีเ่ กือ้ กูลต่อการรุก ปกติการปฏิบตั กิ ารตัง้ รับเพียงอย่างเดียวไม่สามารถ
ท�ำให้เกิดผลแตกหักได้ แต่มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสภาวะที่เกื้อกูลต่อการรุก
โต้ตอบที่ท�ำให้กองก�ำลังกองทัพบกชิงความริเริ่มกลับคืนมา
- การปฏิบัติการเพื่อเสถียรภาพ ส่งเสริมและปกป้องผลประโยชน์ของชาติ ด้วย
การสร้างสภาวะทีเ่ กิดอิทธิพลต่อภัยคุกคาม มิตดิ า้ นการเมืองและข่าวสารของ
สภาพแวดล้อมของการปฏิบัติการ โดยการผสมผสานการพัฒนาในยามปกติ
การสร้างความร่วมมือ และการบีบบังคับ เมื่อเกิดเหตุวิกฤต ความมั่นคงใน
ระดับภูมภิ าคจ�ำต้องใช้วธิ กี ารหลาย ๆ อย่างทีเ่ หมาะสมเพือ่ ให้เกิดความสมดุล
ทั้งด้านเสถียรภาพ และความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจในเวลาเดียวกัน
- การปฏิ บั ติ ก ารสนั บ สนุ น เป็ น การใช้ ก�ำ ลั ง ของกองทั พ บกเพื่ อ ช่ ว ยเหลื อ
หน่วยราชการพลเรือนทัง้ ของไทยและต่างประเทศ ในการรับมือกับเหตุวกิ ฤติ
และการบรรเทาทุกข์ แต่ทั้งนี้ต้องเป็นการปฏิบัติตามค�ำสั่งและนโยบายของ
รัฐบาลเท่านั้น
๑-๔๗ เมื่อปฏิบัติการทุกรูปแบบ ผู้บังคับบัญชาจะต้องผสมผสานหรือจัดล� ำดับการ
ปฏิบัติการรุก รับ เสถียรภาพ และสนับสนุน เพื่อให้บรรลุภารกิจ ผู้บัญชาการกองก�ำลังรบร่วมและ
ผู้บัญชาการกองก�ำลังกองทัพบกในภารกิจนั้น ๆ เป็นผู้ก� ำหนดว่ากองก�ำลังกองทัพบกจะให้
ความส�ำคัญกับเรื่องใดในแต่ละการปฏิบัติการ เมื่อภารกิจเปลี่ยนจากการส่งเสริมสันติภาพไป
เป็นการป้องปรามสงครามและจากการแก้ไขความขัดแย้งไปสู่การสงคราม การผสมผสานหรือการ
เปลีย่ นแบบของการปฏิบตั กิ ารจ�ำต้องใช้ทกั ษะและขีดความสามารถทัง้ ในการประเมิน การวางแผน
การเตรียมการ และการปฏิบัติ การปฏิบัติการที่ต้องการให้บรรลุวัตถุประสงค์ทางยุทธศาสตร์
หลาย ๆ อย่างอาจต้อง ปฏิบัติพร้อม ๆ กันหรือเรียงล�ำดับหรือทั้งสองอย่าง ตัวอย่างเช่นในการ
ปฏิบัติการขนาดใหญ่ กองก�ำลังหนึ่งอาจต้องท�ำการรุกขนาดใหญ่ขณะที่กองก�ำลังอื่นจ�ำเป็นต้อง
ปฏิบัติการ เพื่อเสถียรภาพในเขตสงครามกองก�ำลังกองทัพบกอาจต้องปฏิบัติการเพื่อเสถียรภาพ
การปฏิบัติการสนับสนุน และการปฏิบัติการรบไปพร้อม ๆ กัน
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 17

รูปที่ ๑-๖ การปฏิบัติการเต็มย่านของความขัดแย้ง

๑-๔๘ แต่ละแบบและแต่ละขั้นของการปฏิบัติการต้องการก�ำลังรบแตกต่างกัน หน่วย


ขนาดใหญ่มักจะต้องท�ำการปฏิบัติการทั้งรุก รับ เพื่อเสถียรภาพ และสนับสนุน ในเวลาเดียวกัน
ส่วนหน่วยขนาดเล็กรอง ๆ ลงมา มักลดการปฏิบัติการน้อยแบบลง หรืออาจเหลือเพียงแบบเดียว
ตัวอย่างเช่น เมือ่ กองทัพภาคท�ำหน้าทีเ่ ป็นกองก�ำลังทางบกของกองก�ำลังรบร่วม อาจใช้สองกองพล
ท�ำการเข้าตี (รุก) ขณะทีอ่ กี หนึง่ กองพลป้องกันพืน้ ที่ (รับ) โดยทีก่ องพลทีท่ �ำการรับนีอ้ าจมอบหมาย
ให้ก�ำลังหนึ่ง กรมกวาดล้างข้าศึก (รุก) ในพื้นที่ป้องกันนั้น และมอบหมายให้อีกสองกรมท�ำการ
ตัง้ รับตลอดความลึก รอบ ๆ พืน้ ทีอ่ าจมอบให้หน่วยบางหน่วยแจกจ่ายอาหารและให้บริการทางการ
แพทย์แก่ผู้อพยพ (สนับสนุน) ในเวลาเดียวกันหน่วยบางหน่วยและหน่วยที่มีขีดความสามารถ
ในการปฏิบัติการพิเศษอาจฝึกกองก�ำลังประชาชนหรือต่อต้านการก่อการร้าย (ปฏิบัติการเพื่อ
เสถียรภาพ) ควบคู่กันไป
การฝึกเพื่อการปฏิบัติการทุกรูปแบบ
๑-๔๙ ทุกวันนี้ กองทัพบกได้ทำ� การฝึกทัง้ เป็นบุคคลและเป็นหน่วยพร้อม ๆ กับการพัฒนา
ความเป็นผู้น�ำ การฝึกที่มีประสิทธิภาพคือปัจจัยส�ำคัญที่ท�ำให้การปฏิบัติการประสบความส�ำเร็จ
ผู้บังคับหน่วยทุกระดับต้องถือว่าการฝึกเป็นงานที่ต้องทุ่มเทอยู่ตลอดเวลาทั้งในยามปกติและ
18 บทที่ ๑

ในยามปฏิบตั กิ าร การฝึกทีไ่ ด้มาตรฐานสูงเป็นสิง่ ทีจ่ ำ� เป็นต่อการปฏิบตั กิ ารทุกรูปแบบ หน่วยต่าง ๆ


ของกองทัพบกจึงต้องฝึกเพื่อให้เกิดความพร้อมสูงสุด การฝึกที่เน้นความเชี่ยวชาญในการรบจะ
ท�ำให้ก�ำลังพลและหน่วยมีความพร้อมที่จะเข้าปฏิบัติการในพื้นที่ ท�ำการรบและประสบชัยชนะ
การฝึกร่วมก็เป็นสิง่ จ�ำเป็นในการวางแผนภารกิจและการเตรียมการส�ำหรับหน่วยและผูบ้ งั คับหน่วย
เมื่อได้รับค�ำสั่งเตือน กองก�ำลังกองทัพบกต้องพร้อมเข้าพื้นที่ปฏิบัติการและปฏิบัติการได้ในทันที
หน่วยที่จะถูกส่งติดตามมาก็ต้องเตรียมให้พร้อมเท่าที่เวลาและทรัพยากรอ�ำนวยให้เช่นกัน
๑-๕๐ กระบวนการเพื่อพัฒนากิจส�ำคัญต่าง ๆ เป็นสิ่งเชื่อมต่อระหว่างภารกิจ และ
การฝึก (ดู รส. ๗-๐, รส. ๗-๑๐) ผู้บังคับหน่วยต้องให้ความส�ำคัญต่อกิจส�ำคัญดังกล่าว เวลาใน
การฝึก และทรัพยากรที่ใช้ในการรบ เว้นแต่จะได้รับค�ำสั่งเป็นอย่างอื่น แต่เนื่องจากกองก�ำลัง
กองทัพบกอาจต้องเผชิญกับภัยคุกคามหรือต้องรับภารกิจหลายแบบ ผู้บัญชาการอาจต้องมีการ
ปรับเปลีย่ นกิจส�ำคัญชัว่ คราวจากการเน้นไปทีก่ ารรบเป็นการเตรียมการส�ำหรับภารกิจอืน่ ทีอ่ าจเกิดขึน้
ผู้บังคับหน่วยหลักของกองทัพบกเป็นผู้ก�ำหนดกิจส�ำคัญและทรัพยากรเพื่อให้สามารถด�ำรง
ความพร้อมต่อการปฏิบัติการทั้งในการสงครามหรือการปฏิบัติการทางทหารที่มิใช่สงคราม ส่วน
ผู้บังคับหน่วยระดับรองลงมาเน้นไปที่การฝึกเพื่อการรบยกเว้นจะได้รับค�ำสั่งเป็นอย่างอื่น
ทหารและภาวะความเป็นผู้น�ำ

รูปที่ ๑-๗ ตัวแบบการพัฒนาการฝึก และผู้น�ำของกองทัพบก


คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 19

๑-๕๑ ขีดความสามารถในการรบอยูท่ กี่ �ำลังพลทุกนาย ความส�ำเร็จในสนามรบขึน้ อยูก่ บั


การมีหลักนิยมที่เหมาะสม ผู้นำ� หน่วยที่มีความสามารถ อาวุธยุทโธปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพ การ
จัดหน่วย และการฝึก ในบรรดาปัจจัยที่กล่าวมานี้ พลทหารแต่ละนายคือปัจจัยส�ำคัญที่สุด
ก�ำลังพลของกองทัพบกทีม่ ขี ดี ความสามารถและยึดมัน่ ในศรัทธานักรบคือพืน้ ฐานส�ำคัญ เมือ่ มีผนู้ �ำ
ที่มีความสามารถท�ำให้หน่วยต่าง ๆ มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน จะท�ำให้กองทัพบกมีอ�ำนาจ
การรบและมีขีดความสามารถพร้อมรับมือกับภัยคุกคามได้ทุกรูปแบบ
๑-๕๒ กองทัพบกต้องการก�ำลังพลทีม่ ขี ดี ความสามารถหลากหลายสามารถปฏิบตั ภิ ารกิจ
ต่าง ๆ ภายใต้สถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา ก�ำลังพลของกองทัพบกต้องสามารถ
ปฏิบัติภารกิจที่ได้รับมอบหมายได้ ทั้งเป็นบุคคลและเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ต้องสามารถใช้ดุลพินิจและ
ความริเริ่มที่เหมาะสมภายใต้สถานการณ์ที่ตึงเครียด พร้อมที่จะเรียนรู้และปรับตัวให้เข้ากับความ
ต้องการของการปฏิบัติการทุกรูปแบบได้
๑-๕๓ ก�ำลังพลของกองทัพบกต้องมีขดี ความสามารถทัง้ ทางด้านเทคนิคและทางยุทธวิธี
ต้องสามารถใช้และปรนนิบตั บิ ำ� รุงอาวุธยุทโธปกรณ์ทนั สมัยในความรับผิดชอบของตนได้ เทคโนโลยี
ทันสมัยในปัจจุบนั และในอนาคตต้องการก�ำลังพลทีม่ ที กั ษะ แต่ไม่วา่ เทคโนโลยีจะก้าวหน้าเพียงใด
ก�ำลังพลเป็นบุคคลยังมีความส�ำคัญกว่าอาวุธยุทโธปกรณ์เพราะทหารคือผู้ปฏิบัติภารกิจให้ส�ำเร็จ
ความเป็นผูน้ �ำของผูบ้ งั คับหน่วยทุกระดับจะแปลงความสามารถทางด้านเทคนิคและทางยุทธวิธไี ป
สูค่ วามส�ำเร็จในการปฏิบตั ภิ ารกิจ ทหารจึงต้องมีความสามารถในการปรับตัวและยืดหยุน่ เพือ่ ให้การ
ใช้ยุทโธปกรณ์ทันสมัยในการปฏิบัติการผสมเหล่าบังเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
๑-๕๔ บทบาทของผู้น�ำหน่วย และความเป็นผู้น�ำก็เป็นปัจจัยแห่งความส�ำเร็จของ
กองทัพ ความเป็นผูน้ ำ� คือการท�ำให้บงั เกิดอิทธิพลต่อผูอ้ นื่ ด้วยการก�ำหนดวัตถุประสงค์ ให้แนวทาง
และแรงกระตุน้ ขณะปฏิบตั กิ ารเพือ่ ให้บรรลุภารกิจ รวมถึงการปรับปรุงหน่วยให้ดขี นึ้ วัตถุประสงค์
ท�ำให้ทหารทราบถึงเหตุผลว่าที่ให้ปฏิบัติภารกิจใด ๆ นั้นเพื่ออะไร การให้แนวทางเป็นการสื่อให้
ทราบถึงหนทางทีจ่ ะปฏิบตั ภิ ารกิจให้สำ� เร็จ ส่วนแรงกระตุน้ ท�ำให้ทหารบังเกิดความมุง่ มัน่ ทีจ่ ะปฏิบตั ิ
ภารกิจดังกล่าวให้ส�ำเร็จ ความเป็นผู้น�ำ และศรัทธาทหารจะท�ำให้ทหารมีก�ำลังใจฝ่าฟันอุปสรรค
และความยากล�ำบากในสนามรบและการปฏิบัติการทางทหารที่ซับซ้อนคลุมเครือได้
20 บทที่ ๑

๑-๕๕ ผู้น�ำคือผู้ที่ท�ำให้เกิดสภาวะที่เกื้อกูลต่อความส�ำเร็จ การจัดหน่วย การจัดอาวุธ


ยุทโธกรณ์ และการน�ำทหารเพือ่ ปฏิบตั ภิ ารกิจให้สำ� เร็จคือจุดมุง่ หมายของผูน้ ำ� เจตจ�ำนงและความ
มุ่งมั่นจะท�ำให้ก�ำลังพลแต่ละคนรวมกันเป็นองค์กรที่มีประสิทธิภาพ การปฏิบัติการทุกรูปแบบ
ต้องการผู้น�ำทหารที่เชี่ยวชาญในการใช้ทั้งศาสตร์ และศิลป์ในการปฏิบัติการทางทหาร ได้รับการ
ฝึกและมีบุคลิกภาพที่สามารถปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ได้ความส� ำเร็จจึงขึ้นอยู่กับการมี
จินตนาการ ความ ยืดหยุ่น และความกล้าหาญ ทั้งของทหารเป็นบุคคลและของผู้น�ำหน่วย
บทที่ ๒
การปฏิบัติการรวม

๒-๑ ในการปฏิบตั กิ ารทุกรูปแบบ กกล.ทบ.ปฏิบตั กิ ารเป็นส่วนหนึง่ ของกองก�ำลังรบร่วม


ซึ่งบางสถานการณ์อาจต้องปฏิบัติร่วมกับกองทัพของประเทศอื่นในกรณีที่ปฏิบัติภายใต้กรอบ
สหประชาชาติ หรือมีองค์กรอื่น ๆ เข้าร่วม ภายใต้การปฏิบัติการรวม ผบ. หน่วยจึงต้องบูรณาการ
การปฏิบัติของหน่วยต่าง ๆ เข้าด้วยกันเพื่อมุ่งไปสู่การบรรลุวัตถุประสงค์ของภารกิจ
๒-๒ การปฏิบัติการรวมเป็นการเชื่อมโยงการปฏิบัติของหน่วยรองต่าง ๆ ที่อยู่ภายใต้
กองก�ำลังรบร่วม ซึง่ อาจมีกองก�ำลังชาติอนื่ ๆ หน่วยงานพลเรือนทัง้ ทีเ่ ป็นของรัฐและองค์กรเอกชน
ปฏิบัติงานประสานกันหรือร่วมมือ โดยอาจใช้ก�ำลังทั้งทางบก ทางเรือ และทางอากาศ หน่วย
ปฏิบัติการพิเศษ ประสานงานกับหน่วยงานอื่น ๆ ทั้งของต่างประเทศและในประเทศเพื่อให้บรรลุ
วัตถุประสงค์ทั้งในระดับยุทธศาสตร์และยุทธการโดยมุ่งให้เกิดเอกภาพในการปฏิบัติของหน่วย
ต่าง ๆ ภายในสภาพแวดล้อมที่ซับซ้อน
(หมายเหตุ ในบริบทของไทย หน่วยบัญชาการรวมน่าจะเป็น บก.กองทัพไทยเพียง
หน่วยเดียว การตั้งหน่วยรองลงมาน่าจะเป็นเพียงระดับกองก�ำลังรบร่วม การตั้งหน่วยบัญชาการ
รวมอื่นขึ้นอีกไม่น่าจะมีก�ำลังเพียงพอ)

การปฏิบัติการรวม

การปฏิบัติการ
สนับสนุนร่วม

การปฏิบัติการ การปฏิบัติการ
ร่วมกับองค์กรของรัฐบาล การปฏิบัติการ ผสมนานาชาติ
ยุทธ์ร่วม

การปฏิบัติการ การปฏิบัติการ
ร่วมกับองค์กรที่ไม่ใช่ภาครัฐ ของสหประชาชาติ

แนวความคิดของการปฏิบตั กิ ารรวมให้ความส�ำคัญกิจกรรมทีผ่ สมผสานและประสานสอดคล้องของก�ำลังทหารกับองค์กรทีไ่ ม่ใช่ทางทหาร


ผู้แทนองค์กร และการประสานงานเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์โดยทั่วไป แม้ว่าในทางปฏิบัติการปฏิบัติการยุทธ์ร่วมมีความหมายที่กว้างขวาง
มากยิ่งขึ้น การปฏิบัติการรวมมีการวางแผนและการด�ำเนินการโดย ผบ.กกล.ยุทธ์ร่วมตามแนวทาง และนโยบายที่ได้รับมาจากหน่วย
บัญชาการแห่งชาติ องค์การหลายองค์การและผู้บัญชาการระดับสูง

รูปที่ ๒-๑ การปฏิบัติการรวม


22 บทที่ ๒

ระดับของสงคราม
๒-๓ ระดับของสงครามเป็นมุมมองในเชิงหลักนิยมที่ท�ำให้เห็นการเชื่อมโยงระหว่าง
จุดมุ่งหมายทางยุทธศาสตร์กับการปฏิบัติทางยุทธวิธี ระดับของสงครามแบ่งออกเป็น ยุทธศาสตร์
ยุทธการ และยุทธวิธีแต่ระหว่างระดับไม่มีเส้นแบ่งที่ชัดเจน ความเข้าใจถึงความสัมพันธ์ของ
แต่ละระดับจะช่วยให้ ผบ.หน่วยมองเห็นภาพการปฏิบัติการได้ชัดเจน สามารถจัดสรรทรัพยากร
และแบ่งมอบกิจให้กับหน่วยต่าง ๆ ได้ดียิ่งขึ้น การจะบอกว่าการปฏิบัติใดเป็นการปฏิบัติระดับ
ยุทธศาสตร์ ยุทธการ หรือยุทธวิธี มิได้จ�ำกัดอยู่ที่ระดับหรือขนาดหน่วย แบบของยุทโธปกรณ์หรือ
ประเภทของกองก�ำลัง แต่อยู่ที่ผลของการปฏิบัติว่ามีส่วนช่วยให้บรรลุวัตถุประสงค์ในแต่ละระดับ
อย่างไร (ดูรูป ๒-๒)

รูปที่ ๒-๒ แสดงภาพประกอบความเชื่อมโยงระหว่างระดับของสงคราม


และการวางแผนซึ่งถ่ายทอดไปยังการปฏิบัติของก�ำลังทหาร (ตัวอย่าง)

ระดับยุทธศาสตร์
๒-๔ ระดับยุทธศาสตร์เป็นระดับทีป่ ระเทศหรือกลุม่ ประเทศเป็นผูก้ ำ� หนดวัตถุประสงค์
และแนวทางด้านความมั่นคง และพัฒนาและใช้ทรัพยากรของชาติเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์
เหล่านั้น ยุทธศาสตร์ คือ ศาสตร์และศิลป์ในการพัฒนาและใช้กองทัพ และพลังอ�ำนาจของชาติ
อื่น ๆ ในลักษณะที่ประสานสอดคล้องเพื่อให้บรรลุซึ่งวัตถุประสงค์ของชาติหรือของกลุ่มประเทศที่
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 23

รวมตัวกัน ส�ำหรับวัตถุประสงค์ดา้ นยุทธศาสตร์ทหารรัฐบาลเป็นผูก้ ำ� หนดนโยบายและกองทัพเป็น


ผู้น�ำนโยบายไปปฏิบัติให้บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว การปฏิบัติการทางทหารทุกครั้งจึงต้อง
สอดคล้องกับนโยบายและวัตถุประสงค์ที่รัฐบาลก�ำหนด
ระดับยุทธการ
๒-๕ สงครามในระดับยุทธการคือการสงครามในระดับที่มีการปฏิบัติการทัพและการ
รบขนาดใหญ่เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ในระดับยุทธศาสตร์ภายในยุทธบริเวณพื้นที่ปฏิบัติการ
เป็นการปฏิบัติที่เชื่อมโยงการใช้ก�ำลังทางยุทธวิธีกับวัตถุประสงค์ทางยุทธศาสตร์ ในระดับนี้จะ
เน้นความส�ำคัญทีย่ ทุ ธศิลป์ซงึ่ หมายถึงการใช้ก�ำลังทหารเพือ่ ให้บรรลุเป้าหมายยุทธศาสตร์โดยการ
ออกแบบ การจัดโครงสร้าง การบูรณาการ และการปฏิบัติการในยุทธบริเวณทุกระดับ (ทั้งระดับ
ยุทธศาสตร์การทัพ๑ การยุทธ์ขนาดใหญ่๒ และการรบ) การปฏิบัติดังกล่าวอาจกระท�ำพร้อมกัน
หรือไม่พร้อมกันภายใต้แผนเดียวกันและอยูภ่ ายใต้การควบคุมโดยผูบ้ ญ ั ชาการคนเดียวกัน ยุทธศิลป์
เป็นตัวก�ำหนดว่าก�ำลังขนาดใหญ่ที่ใช้จะใช้เมื่อไหร่ ที่ไหน เพื่ออะไร เพื่อให้เกิดอิทธิพลต่อการ
วางก�ำลังของข้าศึกก่อนการรบจะเกิดขึ้น ดูรูป ๒-๑
๒-๖ ยุทธศิลป์ชว่ ยให้ ผบ.หน่วยใช้ทรัพยากรให้บรรลุวตั ถุประสงค์ทางยุทธศาสตร์อย่าง
มีประสิทธิภาพ ช่วยให้ ผบ.หน่วยเข้าใจเงื่อนไขและสถานการณ์ก่อนเข้าท�ำการรบ ช่วยเรียงล�ำดับ
ความคิดก่อนการออกแบบการทัพและการยุทธ์ขนาดใหญ่ หากปราศจากยุทธศิลป์แล้ว สงครามก็
จะกลายเป็นการรบปะทะที่ไม่มีความต่อเนื่องกัน และมุ่งแต่จะใช้ก�ำลังแลกกับก�ำลังเป็นหลัก
ผบ.หน่วยที่มียุทธศิลป์จะต้องมีมโนทัศน์ รู้จักคาดการณ์ และแสวงโอกาส อย่างไรก็ตามยุทธศิลป์
มิได้เป็นคุณสมบัติเฉพาะของ ผบ.หน่วยระดับผู้บัญชาการกองก�ำลังรบร่วมเท่านั้น แต่ควรจะมีอยู่
ใน ผบ.หน่วยระดับรอง ลงมารวมถึงฝ่ายเสนาธิการระดับสูงด้วย
๒-๗ ยุทธการมีความหมายที่ครอบคลุมมิติด้านเวลาและพื้นที่ที่กว้างกว่ายุทธวิธี
ผบ.หน่วยในระดับยุทธการทีม่ งุ่ ประสงค์ให้การปฏิบตั กิ ารของตนเกิดผลในระดับยุทธศาสตร์จะต้อง
มองให้ไกลกว่าสถานการณ์ปัจจุบัน ขณะที่ ผบ.หน่วยระดับยุทธวิธีท�ำการรบกับการรบปัจจุบัน
ผบ.หน่วยระดับยุทธการต้องมองให้ลกึ กว่าเวลา พืน้ ที่ และเหตุการณ์ในขณะนัน้ ต้องแสวงหาโอกาส


การทัพ คือ การปฏิบตั กิ ารทางทหารหลาย ๆ การปฏิบตั กิ ารทีม่ งุ่ ไปสูก่ ารบรรลุความมุง่ หมายทางยุทธศาสตร์และยุทธการ
ภายในเวลาและพื้นที่ที่ก�ำหนด

การยุทธ์ขนาดใหญ่ คือ การปฏิบัติทางยุทธวิธีหลาย ๆ การปฏิบัติ (การรบ การรบปะทะ การโจมตี ฯลฯ) ที่ปฏิบัติโดย
หน่วยต่าง ๆ ซึ่งอาจจะเป็นจากเหล่าทัพเดียวหรือจากหลายเหล่าทัพ มีการประสานกันทั้งในด้านสถานที่และเวลาเพื่อให้
บรรลุวัตถุประสงค์ในระดับยุทธการหรือบางครั้งอาจเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ในระดับยุทธศาสตร์
24 บทที่ ๒

ที่จะสร้างสภาวะที่เกื้อกูลต่อการสนับสนุนหน่วยรอง ในขณะเดียวกันต้องคาดการณ์ถึงผลลัพธ์
จากการรบและการรบปะทะ๑ ที่ด�ำเนินอยู่แล้วเตรียมการขยายผลเพื่อให้เกิดความได้เปรียบทาง
ยุทธศาสตร์สูงสุด
๒-๘ ผบ.หน่วยในระดับยุทธการจะต้องด�ำรงการติดต่อกับผู้บังคับบัญชาในระดับ
ยุทธศาสตร์ของตนอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ทราบถึงแนวนโยบายและเพื่อความเข้าใจต่อสถานการณ์ที่
ตรงกัน ความมั่นใจที่มีต่อกันในบรรดา ผบ.หน่วยและฝ่ายเสนาธิการจะช่วยให้เกิดความอ่อนตัว
ในการปรับเปลี่ยนสถานการณ์ทางยุทธวิธีที่เกิดขึ้น เนื่องจากผลการปฏิบัติทางยุทธวิธีมีอิทธิพล
ต่อการทัพ ผบ.หน่วยในระดับยุทธการจะต้องสร้างสภาวะที่เกื้อกูลต่อการรบและการรบปะทะ
ต้องสามารถขยายผลจากชัยชนะทางยุทธวิธีเพื่อให้เกิดความได้เปรียบทางยุทธศาสตร์ หรือ
ผ่อนหนักเป็นเบาในกรณีที่เป็นฝ่ายเพลี่ยงพล�้ำทางยุทธวิธี
๒-๙ ยุทธศิลป์จะแปลงไปเป็นแผนยุทธการได้ด้วยการออกแบบระดับยุทธการ แผนที่
วางไว้ดีและน�ำไปปฏิบัติอย่างได้ผลจะสร้างสภาวะที่เกื้อกูลต่อการปฏิบัติระดับยุทธวิธีด้วยการ
สร้างความได้เปรียบให้แก่ฝ่ายเราและท� ำให้ฝ่ายตรงข้ามเสียเปรียบ แผนที่อ่อนตัวจะช่วยให้
ผบ.หน่วยมีเสรีที่จะฉวยโอกาสหรือตอบโต้อย่างมีหรือขีดความสามารถของข้าศึกที่คาดไม่ถึง
การปฏิบัติที่อ่อนตัวช่วยให้หน่วยสามารถด�ำรงความริเริ่มและใช้ประโยชน์จากสถานการณ์ทาง
ยุทธวิธีให้เกิดความได้เปรียบสูงสุด
๒-๑๐ หากปราศจากความส�ำเร็จในระดับยุทธวิธี การทัพก็ไม่สามารถบรรลุเป้าหมาย
ในระดับยุทธการได้ ปัจจัยส�ำคัญของยุทธศิลป์คือความสามารถในการรับรู้ว่าอะไรที่เป็นไปได้ใน
ระดับยุทธวิธีแล้วออกแบบแผนที่ท�ำให้การรบและการรบปะทะมีโอกาสที่จะประสบความส�ำเร็จ
สูงสุดในการสร้างผลลัพธ์ระดับยุทธการที่ต้องการ หากไม่มีการออกแบบการปฏิบัติระดับยุทธการ
ที่เหมาะสม เพื่อเชื่อมโยงเข้ากับความส�ำเร็จในระดับยุทธวิธีแล้ว การรบและการรบปะทะก็คือการ
ใช้ทรัพยากรที่สูญเปล่าที่ไม่สามารถน�ำไปสู่การบรรลุเป้าหมายระดับยุทธการได้ การเข้าใจอย่าง
ถ่องแท้ถึงความเป็นไปได้ว่าจะท�ำอย่างไรให้ประสบความส�ำเร็จในระดับยุทธวิธี และความสามารถ
ในการสร้างสภาวะทีจ่ ะท�ำให้เกิดความส�ำเร็จดังกล่าวจึงเป็นคุณสมบัตสิ ำ� คัญของ ผบ.หน่วยในระดับ
ยุทธการ ผบ.หน่วยระดับยุทธวิธีเองก็ต้องเข้าใจบริบทของระดับยุทธการซึ่งครอบคลุมการรบและ
การรบปะทะเช่นกัน ความเข้าใจดังกล่าวจะช่วยให้สามารถฉวยโอกาส (ทั้งที่คาดการณ์และมิได้
คาดการณ์) ที่มีผลต่อการบรรลุเป้าหมายระดับยุทธการหรือการเอาชนะความริเริ่มของข้าศึกได้
ผบ.หน่วยระดับยุทธการต้องมีทั้งความรู้และประสบการณ์ทั้งในระดับยุทธวิธีและระดับยุทธการ


ดูค�ำอธิบาย ข้อ ๒-๑๒
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 25

๒-๑๑ นอกเหนือจากข้อพิจารณาอื่น ๆ แล้ว ผบ.หน่วยในระดับยุทธการจะต้องตอบ


ค�ำถาม ดังต่อไปนี้
- เงื่อนไขทางทหาร (หรือเงื่อนไขทางการเมืองหรือสังคมที่เกี่ยวข้อง) แบบใดที่
จะต้องท�ำให้เกิดขึ้นเพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางยุทธศาสตร์ (วัตถุประสงค์)
- การจัดล�ำดับการปฏิบัติแบบใดที่น่าจะท�ำให้เกิดเงื่อนไขดังกล่าวได้ดีที่สุด
(วิธีการ)
- จะใช้ทรัพยาการอย่างไรเพื่อให้บรรลุการปฏิบัติดังกล่าว (เครื่องมือ)
- จะต้องสูญเสียหรือมีค่าใช้จ่ายอะไรบ้าง
ระดับยุทธวิธี
๒-๑๒ ยุทธวิธี คือ การใช้หน่วยในการรบซึ่งหมายรวมถึงการวางและการด�ำเนินกลยุทธ์
ของหน่วยต่าง ๆ ให้สัมพันธ์ทั้งกับระหว่างหน่วย กับภูมิประเทศ และกับข้าศึก เพื่อให้เกิดอ�ำนาจ
การรบในการรบและการรบปะทะ การรบประกอบด้วยการรบปะทะหลาย ๆ แห่งหลายครั้งที่กิน
เวลานานกว่าและใช้กำ� ลังรบมากกว่าการรบปะทะ การรบมีผลต่อการทัพและการยุทธขนาดใหญ่
การรบปะทะเป็นการปะทะกันของหน่วยด�ำเนินกลยุทธ์ขนาดเล็กที่ปกติมักจะเกิดกับหน่วยระดับ
กรมผสม (กองพลน้อย) ลงมา การรบปะทะมักเกิดขึ้นในเวลาสั้น ๆ อาจเป็นนาที ชั่วโมง หรือ
หนึ่งวัน
๒-๑๓ ยุทธวิธอี ยูใ่ นการปฏิบตั ริ ะยะใกล้ซงึ่ ก�ำลังฝ่ายเราก�ำลังปะทะอยูก่ บั ข้าศึก มีการใช้
การยิงเล็งตรงและเล็งจ�ำลองเพื่อเอาชนะหรือท�ำลายข้าศึกและเพื่อยึดหรือรักษาพื้นที่ การเป็น
กองก�ำลังที่ใช้ในการรบปะทะท�ำให้ กกล.ทบ.แตกต่างจากกองก�ำลังเหล่าทัพอื่น กกล.ทบ.ท�ำ
การรบจนกว่าจะบรรลุวัตถุประสงค์ในการปฏิบัติการนั้น ด้วยเหตุนี้ กกล.ทบ.จึงมีการจัดเพื่อให้
ด�ำรงสภาพอยู่ได้แม้จะสูญเสียมาก มีการสนับสนุนการช่วยรบ (สสช.) เพื่อสร้างและด�ำรงอ�ำนาจ
ก�ำลังรบ และได้รับการฝึกเพื่อให้สามารถรับมือกับความไม่แน่นอนได้
๒-๑๔ กองบัญชาการในระดับยุทธการก�ำหนดเงือ่ นไขในการรบและสนับสนุนทรัพยากร
ให้ส�ำหรับการปฏิบัติระดับยุทธวิธี ความส�ำเร็จทางยุทธวิธีวัดได้ด้วยการดูผลกระทบที่มีต่อระดับ
ยุทธการ การรบและการรบปะทะทีไ่ ม่มสี ว่ นช่วยให้บรรลุวตั ถุประสงค์ระดับการทัพไม่วา่ จะโดยตรง
หรือโดยอ้อมเป็นสิง่ ทีต่ อ้ งหลีกเลีย่ ง รูปที่ ๒-๑ แสดงให้เห็นความเชือ่ มโยงระหว่างระดับของสงคราม
ที่ใช้ กรณีตัวอย่าง การปฏิบัติการทางทหารในสงครามอ่าวปี พ.ศ. ๒๕๓๔ (ค.ศ.๑๙๙๑) ค�ำแนะน�ำ
ทางยุทธศาสตร์ของรัฐบาลจะถูกแปลงเป็นค�ำสัง่ และการปฏิบตั ทิ มี่ ผี ลลงไปถึงก�ำลังพลในระดับล่าง
ที่ต้องปะทะกับข้าศึก
26 บทที่ ๒

การปฏิบัติการรวม
๒-๑๕ ในการปฏิบตั กิ ารรวม กกล.ทบ.ประสานสอดคล้องการปฏิบตั ขิ องตนกับการปฏิบตั ิ
ของหน่วยและผู้เกี่ยวข้องอื่น ๆ เพื่อให้เกิดเอกภาพและบรรลุวัตถุประสงค์ที่ผู้บังคับบัญชาต้องการ
ขีดความสามารถของเหล่าทัพ, หน่วยงานอื่น ๆ, รวมถึงก�ำลังของชาติอื่น จะช่วยเสริมจุดแข็ง
ชดเชยข้อจ�ำกัด และท�ำให้เกิดความลึกทัง้ ในระดับยุทธการและยุทธวิธใี ห้กบั กองก�ำลังกองทัพบกได้
การปฏิบัติการร่วม
๒-๑๖ การปฏิบัติการร่วมคือการปฏิบัติการที่มีกองก�ำลังจากสองเหล่าทัพขึ้นไปเข้าร่วม
ภายใต้ผู้บังคับบัญชาที่รับผิดชอบเพียงคนเดียว การปฏิบัติการทางบกและการปฏิบัติการร่วม
เป็นการปฏิบัติที่ส่งเสริมซึ่งกันและกัน โดยธรรมชาติแล้วการปฏิบัติการทางบกมักเป็นการ
ปฏิบัติการร่วม การปฏิบัติการร่วมจะท�ำให้ผู้บัญชาการก�ำลังรบร่วมโจมตีข้าศึกได้ตลอดทั่วทั้ง
ความลึกของพื้นที่ปฏิบัติการ ชิงความริเริ่ม ด�ำรงแรงหนุนเนื่อง และขยายผลจากความส�ำเร็จได้
การปฏิบตั กิ ารร่วมทีม่ ปี ระสิทธิภาพไม่จำ� เป็นว่าหน่วยทุกระดับจะต้องจัดแบบกองก�ำลังร่วม แต่จะ
ต้องเข้าใจถึงการปฏิบตั ทิ มี่ กี ารผนึกก�ำลังในทุกระดับ การผนึกก�ำลังทุกระดับมีความหมายมากกว่า
การผสมเหล่าแบบที่คุ้นเคยกัน แต่เป็นการน� ำเอาจุดแข็งและคุณลักษณะของกองก�ำลังแต่ละ
เหล่าทัพเพื่อส่งเสริมจุดแข็งและชดเชยจุดอ่อนซึ่งกันและกัน และจะท�ำให้เกิดอ�ำนาจก�ำลังรบที่
ทรงพลัง
๒-๑๗ ผู้บัญชาการกองก�ำลังรบร่วมเป็นผู้ก�ำหนดความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยต่าง ๆ ใต้
บังคับบัญชา ความสัมพันธ์ดังกล่าวอาจเปลี่ยนแปลงไปตามขั้นของการทัพหรือการยุทธขนาดใหญ่
หรือเมื่อมีการก�ำหนดพันธกิจขึ้นใหม่ในระหว่างขั้นต่าง ๆ ตัวอย่างเช่น ก�ำลังทางเรือของกองก�ำลัง
รบร่วมมักจะเป็นหน่วยที่ได้รับการสนับสนุนเมื่อปฏิบัติการควบคุมทะเล กองก� ำลังทางอากาศ
ของกองก�ำลังรบร่วมมักเป็นหน่วยรับการสนับสนุนเมื่อปฏิบัติการต่อต้านทางอากาศ กองก�ำลัง
ทางบกอาจเป็นหน่วยสนับสนุนในขัน้ ใดขัน้ หนึง่ ของการทัพและเป็นหน่วยรับการสนับสนุนในขัน้ อืน่
เหล่าทัพอื่น
๒-๑๘ การปฏิบตั กิ ารในอนาคตจ�ำต้องใช้คณ
ุ ลักษณะและขีดความสามารถของเหล่าทัพ
ต่าง ๆ เพื่อสร้างอ�ำนาจก�ำลังรบที่มีประสิทธิภาพโดยการเสริมจุดแข็งและชดเชยจุดอ่อนซึ่งกัน
และกัน สงครามสมัยใหม่ทำ� ให้ไม่มีเหล่าทัพใดสามารถท�ำการรบได้โดยล�ำพัง การปฏิบัติการร่วม
ภายใต้ผู้บัญชาการกองก�ำลังรบร่วม
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 27

กองทัพอากาศ
๒-๑๙ อากาศยานของกองทัพอากาศเป็นยุทโธปกรณ์ที่มีความส�ำคัญยิ่งต่อการสร้าง
สภาวะที่เกื้อกูลต่อความส�ำเร็จทั้งก่อนและระหว่างการปฏิบัติการภาคพื้นดิน ขีดความสามารถ
ในการล�ำเลียงทางอากาศสามารถสนับสนุนการเคลื่อนย้ายกองก�ำลังทางบกได้โดยเฉพาะอย่างยิ่ง
ในช่วงขั้นต้นของการปฏิบัติการ การสนับสนุนด้วยอาวุธทางอากาศก็เป็นปัจจัยส�ำคัญที่น�ำมา
สู่ชัยชนะขั้นแตกหักในการปฏิบัติการทางพื้นดิน นอกจากนี้ก�ำลังทางอากาศยังมีขีดความสามารถ
อื่น ๆ ที่สนับสนุนการปฏิบัติการของกองก�ำลังทางบก เช่น พันธกิจที่เกี่ยวข้องกับข่าวสาร การ
ข่าวกรอง เฝ้าตรวจ และการลาดตระเวน
๒-๒๐ กองก�ำลังทางบกยังสามารถให้การสนับสนุนต่อผู้บัญชาการกองก�ำลังทางอากาศ
ได้ในเรื่องการใช้อากาศยานทหารบก การป้องกันภัยทางอากาศ ข่าวกรองทางทหาร และปืนใหญ่
สนาม ซึ่งการสนับสนุนดังกล่าวเป็นประโยชน์ต่อการต่อต้านทางอากาศ การขัดขวาง, การ
ลาดตระเวน และการเฝ้าตรวจ ประสิทธิภาพในการขัดขวางทางอากาศและการสนับสนุนทางอากาศ
โดยใกล้ชดิ ขึน้ อยูก่ บั การบูรณาการการด�ำเนินกลยุทธ์ภาคพืน้ ดินเข้ากับแนวความคิดในการปฏิบตั ิ
ของกองก�ำลังรบร่วม ผู้บัญชาการกองก�ำลังทางบกต้องเข้าใจว่าการเอาชนะขีดความสามารถทาง
อากาศของข้าศึกมีความส�ำคัญอย่างยิ่งต่อความมีเสรีในการปฏิบัติการของตน
กองทัพเรือ และนาวิกโยธิน
๒-๒๑ กองทัพเรือและนาวิกโยธินปฏิบัติการในทะเลและพื้นที่ชายฝั่งทะเล พันธกิจหลัก
ของกองทัพเรือคือ การควบคุมทะเล และการแสดงแสนยานุภาพทางทะเล การควบคุมทะเล
หมายถึงเสรีในการใช้พนื้ ทีท่ างทะเลทีร่ วมถึงห้วงอากาศและใต้ผวิ น�ำ้ ในขอบเขตทีต่ อ้ งการ การปฏิบตั ิ
พันธกิจของกองทัพเรือช่วยให้ ทบ.สามารถเคลื่อนย้ายก�ำลังทางทะเลไปยังจุดที่ต้องการรวมถึง
การสนับสนุนในด้านอื่น ๆ เช่นการส่งก�ำลังบ�ำรุง การยิงสนับสนุน และการป้องกันภัยทางอากาศ
เป็นต้น
๒-๒๒ การแสดงแสนยานุภาพทางทะเลเป็นเสมือนการปฏิบัติการเชิงรุกระดับหนึ่ง
กองทัพเรือจะต้องก�ำหนดและป้องกันเส้นการคมนาคมทางทะเลทีส่ ำ� คัญต่อการปฏิบตั กิ ารของกอง
ก�ำลังรบร่วม หากจ�ำเป็นอาจต้องสนับสนุนการเคลื่อนย้ายทางทะเลให้กับ กกล.ทบ.ด้วย
28 บทที่ ๒

๒-๒๓ นาวิกโยธิน ขีดความสามารถในการยกพลขึ้นบกของนาวิกโยธินเป็นปัจจัยส�ำคัญ


ในการสนับสนุนกองก�ำลังเหล่าทัพอื่นในการสถาปนาพื้นที่ขั้นต้นโดยเฉพาะบริเวณชายฝั่งทะเล
หากมี ก ารจั ด ตั้งกองก�ำลังทางบกของกองก�ำลั ง รบร่ ว มซึ่ ง ประกอบด้ ว ยกองก�ำ ลั ง กองทั พ บก
และกองก�ำลังนาวิกโยธิน จะท� ำให้เกิดกองก�ำลังที่มีอ�ำนาจก�ำลังรบที่ทรงพลังและอ่อนตัวที่
ผู้บัญชาการกองก�ำลัง รบร่วมสามารถใช้เป็นเครื่องมือขั้นแตกหักได้
หน่วยปฏิบัติการพิเศษ
๒-๒๔ หน่วยปฏิบัติการพิเศษเป็นกองก�ำลังที่อ่อนตัว สามารถถูกส่งไปยังพื้นที่ได้อย่าง
รวดเร็ว และใช้ในการปฏิบัติการทางทหารได้ทุกรูปแบบ เหมาะกับบางสถานการณ์ที่ต้องการ
กองก�ำลังขนาดเล็กปฏิบัติการเป็นอิสระ เป็นกองก�ำลังที่เสริมขีดความสามารถของกองก�ำลังตาม
แบบได้เป็นอย่างดี ในยามสงคราม หน่วยปฏิบัติการพิเศษมักสนับสนุนการทัพและการยุทธ์
ขนาดใหญ่ให้กับผู้บัญชาการกองก�ำลังรบร่วม ในการปฏิบัติการทางทหารที่มิใช่สงคราม หน่วย
ปฏิบัติการพิเศษสนับสนุนผู้บัญชาการกองก�ำลังในด้านอื่น ๆ ได้อย่างกว้างขวางเช่น การข่าว
งานมวลชน การปฏิบตั ิ การจิตวิทยา เป็นต้น ผูบ้ ญ
ั ชาการกองก�ำลังรบจะเป็นผูก้ ำ� หนดความสัมพันธ์
ทางการบังคับบัญชาหรือความสัมพันธ์ทางการสนับสนุนให้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับภารกิจเป็นหลัก
๒-๒๕ ผู้บัญชาการกองก�ำลังภาคพื้นดินมักต้องการการสนับสนุนจากหน่วยปฏิบัติการ
พิเศษของ ทบ.ซึ่งสามารถปฏิบัติภารกิจที่หลากหลายและเป็นตัวคูณอ�ำนาจก�ำลังรบให้กับการ
ปฏิบตั กิ ารทางบกได้ (ดู รส. ๓-๐๕) ตัวอย่างเช่น การปฏิบตั กิ ารจิตวิทยาจะช่วยเสริมประสิทธิภาพ
การปฏิบัติงานของหน่วยงานอื่น ๆ รวมทั้งตอบโต้การโฆษณาชวนเชื่อและการปล่อยข่าวลวงของ
ฝ่ายตรงข้าม ความสามารถด้านภาษาของบุคลลากรในหน่วยปฏิบัติการพิเศษก็เป็นประโยชน์ใน
การปฏิบัติการเพื่อเสถียรภาพและการปฏิบัติการสนับสนุนอีกด้วย
การใช้ กกล.ทบ.ในการปฏิบัติการร่วม
๒-๒๖ หลักนิยมการปฏิบัติการร่วมจะก�ำหนดหลักในการใช้กองก�ำลังต่าง ๆ ในการ
ปฏิบัติการร่วมผู้บัญชาการ กกล.ทบ.อาจได้รับการแต่งตั้งเป็นผู้บัญชาการกองก� ำลังรบร่วม
หรือขึ้นการบังคับบัญชากับผู้บัญชาการกองก�ำลังรบร่วม ความเข้าใจในความสัมพันธ์ทางการ
บังคับบัญชาและควบคุมระหว่างกองก�ำลังต่าง ๆ คือปัจจัยส�ำคัญในการปฏิบัติการร่วมที่มี
ประสิทธิภาพ
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 29

การบังคับบัญชา
๒-๒๗ คณะผู้บัญชาการทางทหาร เมื่อได้รับการจัดตั้ง จะใช้อ� ำนาจในการควบคุม
กองทัพสองด้านคือ ด้านการใช้ก�ำลังและด้านการเตรียมก�ำลัง ด้านการใช้ก�ำลังจะใช้อ�ำนาจ
จากกองบัญชาการแห่งชาติ ไปยังผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการรวมลงไปถึงกองก�ำลังเหล่าทัพ
และกองก�ำลังทีเ่ ป็นหน่วยรอง สายการบังคับบัญชานีใ้ ช้ในการปฏิบตั กิ ารและการสนับสนุน ส�ำหรับ
การเตรียมก�ำลังจะผ่านจากคณะผูบ้ ญั ชาการทางทหาร ไปยังเหล่าทัพผ่านลงไปจนถึงหน่วยหลัก ๆ
การควบคุมทางธุรการและการบริหารกระท�ำโดยผู้บัญชาการของเหล่าทัพและกองก�ำลังเหล่าทัพ
ซึ่งความรับผิดชอบจะครอบคลุมไปถึงการรับบุคคลเข้าประจ�ำการ การบรรจุ การจัดให้มีอาวุธ
ยุทโธปกรณ์ การฝึกและการจัดก�ำลังให้กบั ผูบ้ ญ
ั ชาการหน่วยบัญชาการรวม แม้จะมีสายงานต่างกัน
หน่วยบริการจาก ทบ. (หน่วยปกติของ ทบ.) และ กกล.ทบ. ต่างก็ปฏิบตั งิ านภายใต้การบังคับบัญชา
ของผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการรวม
ความสัมพันธ์ทางการบังคับบัญชา
๒-๒๘ ในระดับยุทธบริเวณ เมื่อกกล.ทบ.ปฏิบัติการนอกประเทศจะถูกบรรจุมอบ
ให้กับผู้บัญชาการกองก�ำลังรบร่วม ผู้บัญชาการกองก�ำลังรบร่วมอาจเป็นผู้บัญชาการหน่วย
บัญชาการรวม, ผบ.หน่วยบัญชาการรวมรอง หรือ ผบ.กองก�ำลังเฉพาะกิจร่วมที่ได้รับอ�ำนาจ
ให้ใช้การบังคับบัญชาแบบการบังคับบัญชาก�ำลังรบ หรือการควบคุมทางยุทธการ ต่อ ผบ.กอง
ก�ำลังรบร่วมจะให้แนวทางทางยุทธศาสตร์และประเด็นส�ำคัญทางยุทธการต่อกองก�ำลังเพื่อน�ำไป
พัฒนายุทธศาสตร์ วางแผนการทัพในยุทธบริเวณ จัดยุทธบริเวณ และก�ำหนดความสัมพันธ์ทางการ
บังคับบัญชา ผบ.กองก�ำลังรบร่วม วางแผน ปฏิบัติ และสนับสนุนการทัพในยุทธบริเวณสงคราม
การทัพยุทธบริเวณรอง การยุทธ์ขนาดใหญ่ และการรบ ความสัมพันธ์ทางการบังคับบัญชาร่วม
มีอยู่ ๔ แบบ คือ cocom, การควบคุมทางยุทธการในการควบคุมทางยุทธวิธี และสนับสนุน
(ดูรูป ๒-๓)
30 บทที่ ๒

รูปที่ ๒-๓ Joint Command Relationships and Inherent Responsibilities

๒-๒๙ การบังคับบัญชาก�ำลังรบ (COCOM) ที่เป็นอ�ำนาจการบังคับบัญชา) เป็นอ�ำนาจ


การบังคับบัญชาที่เปลี่ยนมือไม่ได้และเป็นอ�ำนาจของ ผู้บัญชาการก�ำลังรบร่วมเท่านั้น ยกเว้นจะมี
ค�ำสั่งเป็นอย่างอื่นจาก ผู้บัญชาการก�ำลังรบร่วมใช้อ�ำนาจนี้ต่อก�ำลังที่ได้รับการแบ่งมอบ มีอ�ำนาจ
เต็มในการจัดและการใช้หน่วยและกองก�ำลังเพือ่ ให้บรรลุภารกิจ การใช้อ�ำนาจการบังคับบัญชาแบบ
การบังคับบัญชาก�ำลังรบใช้ตอ่ หน่วยรองทีร่ วมถึงหน่วยบัญชาการรวมรอง หน่วยของเหล่าทัพ หน่วย
ของหน่วยบัญชาการแบบพันธกิจ และกองก�ำลังเฉพาะกิจร่วม
๒-๓๐ การควบคุมทางยุทธการ การควบคุมทางยุทธการจะมาด้วยกันกับ การบังคับบัญชา
ก�ำลังรบ เป็นอ�ำนาจที่เกี่ยวข้องกับการจัดและการใช้หน่วยและกองก�ำลัง การมอบพันธกิจ
การก�ำหนดวัตถุประสงค์ และอ�ำนาจทีจ่ ำ� เป็นต่อการปฏิบตั ภิ ารกิจให้สำ� เร็จ การควบคุมทางยุทธการ
ใช้กบั หน่วยได้ทกุ ระดับทีเ่ ท่ากับหรือต�ำ่ กว่าหน่วยบัญชาการรวม เป็นอ�ำนาจทีม่ อบหมายให้ผอู้ นื่ ได้
ผบ.หน่วย ของ ทบ.ใช้อ�ำนาจนี้เป็นประจ�ำในการจัดเฉพาะกิจให้หน่วย
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 31

๒-๓๑ การควบคุมทางยุทธวิธี (คทยว.) เป็นอ�ำนาจการบังคับบัญชาทีจ่ �ำกัดในการสัง่ การ


เรื่องการเคลื่อนที่และการด�ำเนินกลยุทธ์ของหน่วยเฉพาะพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งเพื่อให้บรรลุกิจที่
ได้รบั มอบ ช่วยให้ ผบ.หน่วยระดับต�ำ่ กว่าหน่วยบัญชาการรวมใช้กำ� ลังหรือสัง่ การต่อหน่วยสนับสนุน
การช่วยรบ แต่ไม่มีอ�ำนาจในการเปลี่ยนโครงสร้างการจัด หรือสั่งการทางธุรการหรือการสนับสนุน
การส่งก�ำลังบ�ำรุง ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการรวมใช้การควบคุมทางยุทธวิธี เพื่อมอบอ�ำนาจ
ในการสั่งใช้หน่วยทางยุทธวิธีได้ การควบคุมทางยุทธวิธี (คทยว.) มักใช้ในการปฏิบัติการที่มี
กองก�ำลังจากชาติต่าง ๆ เข้าร่วม หน่วยระดับยุทธวิธีของ ทบ.อาจอยู่ใต้การบังคับบัญชา
กองบัญชาการเหล่าทัพอื่นได้ ผบ.หน่วยของ ทบ.อาจให้ กกล.ทบ.หน่วยหนึ่งขึ้น การควบคุมทาง
ยุทธวิธีกับ กกล.ทบ.อีกหน่วยหนึ่งได้ถ้าต้องการสงวนอ�ำนาจในการเปลี่ยนโครงสร้างการจัดของ
หน่วยนั้นไว้ และปล่อยให้ความรับผิดชอบในงานธุรการและการช่วยรบเป็นของหน่วยแม่เดิม
ของหน่วยนั้นต่อไป
๒-๓๒ การควบคุมทางการบริหาร การควบคุมทางการบริหารต่อ กกล.ทบ.เป็นการ
ควบคุมในสายการบังคับบัญชาปกติของ ทบ. ตั้งแต่ระดับหน่วยต�ำ่ สุดขึ้นมาจนถึงหน่วยปกติของ
ทบ. และถึง ผบ.ทบ. ยกเว้นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมจะสั่งการเป็นอย่างอื่น การควบคุม
ทางการบริหารคือการอ�ำนวยการหรือใช้อ�ำนาจต่อหน่วยรองหรือหน่วยอืน่ ๆ ในแง่ของการบริหาร
และสนับสนุน ซึ่งรวมถึงการจัดหน่วยตามปกติ การควบคุมทรัพยากรและยุทโธปกรณ์ การ
บริหารงานบุคคล การส่งก�ำลังบ�ำรุงของหน่วย การฝึกเป็นบุคคลและเป็นหน่วย ความพร้อมรบ การ
ระดมและการเลิกระดมสรรพก�ำลัง วินัย และเรื่องอื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการของ
หน่วยรองหรือหน่วยอื่น ๆ นั้น ๆ
๒-๓๓ สนับสนุน หลักนิยมร่วมก�ำหนดให้การสนับสนุนเป็นอ�ำนาจของหน่วยทหาร
ผบ.หน่วยก�ำหนดความสัมพันธ์ทางการสนับสนุนระหว่างหน่วยรองของตน เมื่อหน่วยหนึ่งจะต้อง
ช่วยเหลือ ป้องกัน หรือด�ำรงสภาพให้กับอีกหน่วยหนึ่ง ตามหลักนิยมการสนับสนุนแบ่งออกเป็น
๔ แบบ (ดูรูป ๒-๔) ได้แก่ การสนับสนุนทั่วไป, การสนับสนุนโดยตรง, การสนับสนุนซึ่งกันและกัน
และการสนับสนุนใกล้ชดิ การสนับสนุนทัว่ ไปและการสนับสนุนโดยตรงสะท้อนให้เห็นความมุง่ สนใจ
ของผู้บังคับบัญชา การสนับสนุนซึ่งกันและกันและการสนับสนุนใกล้ชิดเป็นแบบของการปฏิบัติที่
ขึ้นอยู่กับระยะการวางก�ำลังและการปฏิบัติการรบ ส�ำหรับหลักนิยม ทบ.ก�ำหนดเป็นความสัมพันธ์
ทางการสนับสนุน ๔ แบบ คือ สนับสนุนโดยตรง เพิม่ เติมก�ำลัง สนับสนุนทัว่ ไป และสนับสนุนทัว่ ไป
เพิ่มเติมก�ำลัง (ดูบทที่ ๔)
32 บทที่ ๒

รูปที่ ๒-๔ สายการบังคับบัญชาและการควบคุม

หน่วยปกติของ ทบ.
๒-๓๔ ผบ. หน่วยปกติของ ทบ. คือ ผบ. หน่วยสูงสุดของ ทบ. ในพื้นที่รับผิดชอบของ
ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการรวม ผบ.หน่วยดังกล่าวใช้อ�ำนาจบังคับบัญชาหน่วยของตนแบบการ
ควบคุมแบบบริหารซึง่ มีพนั ธกิจในการเตรียมก�ำลัง รักษาสถานภาพก�ำลัง ฝึก บรรจุอาวุธยุทโธปกรณ์
บริหารงานและสนับสนุนต่อ กกล.ทบ.ที่ขึ้นกับกองก�ำลังร่วมของหน่วยบัญชาการรวม ผู้บัญชาการ
หน่วยบัญชาการรวม การฝึกในยามปกติของกองก�ำลังกองทัพบกก็อยู่ในความรับผิดชอบของ
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 33

ผบ.หน่วยปกติ ทบ. ผูบ้ ญ


ั ชาการหน่วยบัญชาการรวมอาจมอบความรับผิดชอบให้กบั ผบ.หน่วยปกติ
ทบ.ท�ำหน้าที่เป็นเหล่าทัพหลักในการสนับสนุนการรบ (เช่นการล้างพิษ) หรือการส่งก�ำลังบ�ำรุง
แบบผู้ใช้ร่วม ผบ.หน่วยปกติของกองทัพบกให้การสนับสนุนในระดับยุทธศาสตร์และยุทธการ
ต่อการวางแผนการทัพและการยุทธ์ขนาดใหญ่ของหน่วยบัญชาการรวมด้วย
๒-๓๕ ผบ. หน่วยปกติของ ทบ. ปกติจะก�ำหนดหน่วยของ ทบ.ที่อยู่ในกองก�ำลังรบร่วม
ที่เป็นหน่วยรองของหน่วยบัญชาการรวมให้เป็น กกล.ทบ.ของกองก�ำลังรบร่วมนั้น ๆ กกล.ทบ.
ดังกล่าวมีความรับผิดชอบในการปฏิบัติพันธกิจของ ทบ.ในระดับยุทธการที่ได้รับมอบให้บรรลุ
ผบ. หน่วยปกติของ ทบ. เป็นผู้ก�ำหนดความสัมพันธ์ทางการบังคับบัญชากและควบคุมให้กับ
กกล.ทบ. รวมถึงปรับการจัดก�ำลังที่ กกล.ทบ.ได้รับมอบเพื่อให้ตรงกับแนวทางของผู้บัญชาการ
หน่วยบัญชาการรวม ผบ. หน่วยปกติของ ทบ. อาจมอบอ�ำนาจในการประสานและการปฏิบัติ
ในระดับของ ทบ.ให้กับ ผบ.หน่วยสนับสนุนของ ทบ. ซึ่งปกติจะเป็นหน่วยบัญชาการสนับสนุน
ยุทธบริเวณ นอกจากนี้พันธกิจของ ผบ. หน่วยปกติของ ทบ. ยังรวมถึง
- เสนอแนะต่อผู้บัญชาการก� ำลังรบร่วมหรือผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการ
รวมรองเกี่ยวกับการใช้หน่วยของ ทบ.ที่เหมาะสม
- ปฏิบัติภารกิจในระดับยุทธการที่ได้รับมอบให้ส�ำเร็จ
- เลือกและก�ำหนดหน่วย ทบ.ส�ำหรับปฏิบัติเป็นหน่วยของยุทธบริเวณรอง
- ให้ข่าวสารต่อผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการรวมเกี่ยวกับผลกระทบของการ
สนับสนุนการช่วยรบของ ทบ.ที่มีต่อขีดความสามารถในระดับยุทธการ
- ให้ข้อมูลต่อแผนยุทธการสนับสนุนตามที่ร้องขอ
- ประกันความเข้ากันได้ของสัญญาน
กกล.ทบ.
๒-๓๖ กกล.ทบ. จะจัดตัง้ ขึน้ เมือ่ กกล.ทบ.จะต้องเข้าไปเกีย่ วข้องกับการปฏิบตั กิ าร แม้วา่
อาจจะมี กกล.ทบ. อีกหน่วยหนึ่งปฏิบัติการเป็นอิสระภายในพื้นที่ปฏิบัติการร่วม กองบัญชาการ
กกล.ทบ. ในพื้นที่ปฏิบัติการร่วมนั้นจะมีเพียงหนึ่งกองบัญชาการเท่านั้น หน่วยปกติของ ทบ.,
กองทัพสนาม และกองบัญชาการกองทัพน้อย อาจถูกก� ำหนดให้ท�ำหน้าที่เป็นกองบัญชาการ
กกล.ทบ. ก็ได้ ในการปฏิบัติการเผชิญเหตุขนาดเล็กบางครั้ง อาจให้กองบัญชาการกองพลเป็น
กองบัญชาการ กกล.ทบ. ได้ แต่จะต้องมีการเสริมก�ำลังคนและเครื่องมือเพิ่มเติมให้
34 บทที่ ๒

๒-๓๗ ผูบ้ ญ
ั ชาการ กกล.ทบ. อาจท�ำหน้าทีเ่ ป็นผูบ้ ญ ั ชาการกองก�ำลังภาคพืน้ ดิน (JFLCC)
อีกต�ำแหน่งหนึง่ ปกติถา้ ด�ำรงต�ำแหน่งในลักษณะนีผ้ บู้ ญ
ั ชาการ กกล.ทบ. จะมอบพันธกิจทีเ่ กีย่ วข้อง
กับเหล่าทัพบกให้กับรองผู้บัญชาการ อย่างไรก็ตามถ้าผู้บัญชาการ กกล.ทบ. เป็นผู้บัญชาการ
กองก�ำลังเฉพาะกิจร่วม กองบัญชาการหน่วยของ ทบ.รองลงมาจะเข้ารับผิดชอบหน้าที่ของ
กกล.ทบ. ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการรวมอาจได้รับกองบัญชาการ กกล.ทบ.เพิ่มในกรณีนี้
๒-๓๘ กองบัญชาการ กกล.ทบ. อาจได้รบั หน่วยบัญชาการสนับสนุนยุทธบริเวณมาสมทบ
เพื่อท�ำหน้าที่ส่งก�ำลังบ�ำรุงในระดับยุทธการ
การปฏิบัติการหลายชาติ (การปฏิบัติการผสม)
๒-๓๙ การปฏิบตั กิ ารทางทหาร แม้บางครัง้ อาจปฏิบตั กิ ารได้โดยล�ำพัง แต่กแ็ สวงหาทาง
บรรลุผลประโยชน์ของชาติผ่านทางพันธมิตร และพันธมิตรชั่วคราวเท่าที่จะท� ำได้ กรณีตัวอย่าง
ของกองทัพสหรัฐฯ ในยุทธการโล่ทะเลทราย (Desert Shield) และพายุทะเลทราย (Desert Storm)
ก�ำลังทหารจากชาติต่าง ๆ ๓๖ ชาติ รวมกว่า ๘๐๐,๐๐๐ นาย ทุ่มเทแรงกายแรงใจและทรัพยากร
เพื่อต่อต้านกองทัพอิรัก การจัดตั้งพันธมิตรชั่วคราวท�ำให้ฝายเรามีก�ำลังเพิ่มขึ้น แบ่งเบาภาระใน
การท�ำสงคราม และเพิ่มความชอบธรรมแก่การปฏิบัติการให้บรรลุเป้าหมายระดับยุทธศาสตร์
ยุทธการโล่ทะเลทราย และพายุทะเลทรายแสดงให้เห็นถึงข้อดีของการปฏิบัติการหลายชาติที่
เหนือกว่าการปฏิบัติการเพียงชาติเดียว
๒-๔๐ การปฏิบัติการผสมด�ำเนินการภายใต้กรอบของพันธมิตร และพันธมิตรชั่วคราว
พันธมิตรทางทหาร เช่นองค์การสนธิสญ ั ญาปัองกันแอตแลนติคเหนือ หรือ นาโต ช่วยให้ชาติสมาชิก
มีเวลาในการก�ำหนดข้อตกลงและวัตถุประสงค์ระยะยาวร่วมกัน มีระบบปฏิบตั กิ ารทีส่ ามารถท�ำงาน
ร่วมกันได้ มีระเบียบปฏิบัติที่เป็นแนวทางเดียวกัน สามารถก�ำหนดแผนเผชิญเหตุเพื่อรับมือกับ
ภัยคุกคามในลักษณะที่เป็นการบูรณาการได้
๒-๔๑ ประเทศต่าง ๆ อาจจัดตัง้ พันธมิตรชัว่ คราวขึน้ เพือ่ วัตถุประสงค์ระยะสัน้ บ่อยครัง้
ที่การปฏิบัติการของพันธมิตรชั่วคราวด�ำเนินไปภายใต้กรอบของมติสหประชาชาติ การปฏิบัติการ
แบบพันธมิตรชั่วคราว ชาติสมาชิกตกลงที่จะส่งก�ำลังทหารเข้าร่วมแม้ว่าจะมีทรัพยากรที่ต่าง
ระบบกัน การปฏิบัติการในลักษณะพันธมิตรชั่วคราวมีข้อดีตรงที่ท�ำให้การปฏิบัติการนั้น ๆ มี
ความชอบธรรมมากขึ้น
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 35

๒-๔๒ ผูบ้ ญ ั ชาการ กกล.ทบ.ทีไ่ ด้รบั มอบหมายให้เป็นผูบ้ ญ


ั ชาการกองก�ำลังผสม อาจต้อง
เผชิญกับปัญหาความแตกต่างทางวัฒนธรรม, อุปสรรคของระบบเครือ่ งมือทีแ่ ตกต่างกัน, และระบบ
การควบคุมบังคับบัญชาในยุทธบริเวณที่ขาดแคลนสิ่งอ�ำนวยความสะดวก นอกจากนี้ยังมีปัญหาที่
จะต้องแก้ไขในเรื่องระเบียบปฏิบัติที่ไม่เหมือนกัน การแลกเปลี่ยนข่าวกรอง และการสนับสนุน
เนือ่ งจากการปฏิบตั กิ ารในลักษณะพันธมิตรชัว่ คราวไม่ได้อยูใ่ นกรอบข้อตกลงแบบถาวร ความเข้าใจ
ต่อความต้องการของสมาชิกแต่ละรายจึงเป็นสิ่งจ�ำเป็น ในประเด็นนี้สามารถแก้ไขได้ด้วยในการ
ด�ำรงความสัมพันธ์ทางทหารยามปกติซึ่งได้แก่ การติดต่อส่วนบุคคล การฝึกผสม โครงการ
แลกเปลี่ยน และการช่วยเหลือทางมนุษยธรรม การปฏิบัติการผสมแต่ละครั้งก็มีความแตกต่างกัน
ผบ.หน่วยต้องวิเคราะห์ความต้องการที่มีลักษณะพิเศษของแต่ละภารกิจเพื่อแสวงประโยชน์
จากข้อดีและชดเชยข้อจ�ำกัดที่เกิดจากความแตกต่างของก�ำลังของแต่ละชาติสมาชิก
๒-๔๓ พันธกิจของ หน่วยปกติของ ทบ. ในการสนับสนุนระดับยุทธบริเวณเป็นสิ่งส�ำคัญ
ส�ำหรับการปฏิบัติการผสม การบูรณาการพันธกิจการสนับสนุนของชาติต่าง ๆ ซึ่งอาจอยู่ห่างไกล
และครอบคลุมอาณาบริเวณหลายประเทศเป็นเรื่องที่ท้าทาย อย่างไรก็ตามทรัพยากรที่ได้รับการ
สนับสนุนจากชาติสมาชิกจะมีส่วนช่วยในการสนับสนุนการช่วยรบได้ การวางและการใช้อำ� นาจ
ก�ำลังรบจากพื้นที่ปลอดภัยของฝ่ายเราโดยเฉพาะอย่างยิ่งจากฐานสนับสนุนที่มีความพร้อมและ
อยู่ใกล้เป็นสิ่งพึงประสงค์ส�ำหรับการส่งก�ำลังเข้าพื้นที่ปฏิบัติการมากกว่าการส่งจากฐานสนับสนุน
ที่อยู่ในระยะไกล
๒-๔๔ ปกติหน่วยบัญชาการสนับสนุนยุทธบริเวณจะให้การสนับสนุนการช่วยรบต่อ
การปฏิบัติ การผสมและพันธกิจการสนับสนุนการช่วยรบแบบพิเศษหากมีการเพิ่มเติมอื่น ๆ ที่
เหมาะสมให้การสนับสนุนการช่วยรบแบบผสมอาจช่วยในการออมก�ำลัง และอาจได้รบั จากประเทศ
สมาชิกหลัก สมาชิกชาติที่มีบทบาทพิเศษ หากเป็นไปได้ หน่วยบัญชาการสนับสนุนยุทธบริเวณ
ควรจัดการสนับสนุนหลายชาติแบบร่วมและพันธกิจสนับสนุนอื่น ๆ ตามที่ผู้บัญชาการหน่วยปกติ
ของกองทัพบกก�ำหนด ผูบ้ ญ ั ชาการหน่วยบัญชาการรวมต้องระบุความเร่งด่วนในการสนับสนุนการ
ช่วยรบให้ชัดเจนเพื่อให้การสนับสนุนระดับยุทธบริเวณท�ำได้สะดวกและถูกต้อง ต้องมีการจัดตั้ง
แผนกช่วยรบผสมทีม่ เี จ้าหน้าทีจ่ ากชาติสมาชิกเพือ่ ความสะดวกในการประสานงาน ลดการขัดแย้ง
ระหว่างชาติสมาชิก และลดภาระของชาติสมาชิกบางชาติมิให้มากเกินไป
36 บทที่ ๒

การควบคุมบังคับบัญชาส�ำหรับการปฏิบัติการหลายชาติ (ผสม)
๒-๔๕ เอกภาพในการบังคับบัญชาเกิดขึ้นได้ยากในการปฏิบัติการหลายชาติ (ผสม)
อ�ำนาจในการบังคับบัญชาของผู้บัญชาการกองก�ำลังหลายชาติ เกิดขึ้นจากการตกลงระหว่าง
ชาติสมาชิก ซึ่งชาติแต่ละสมาชิกต่างก็มีข้อจ�ำกัดที่คล้ายคลึงกัน อย่างไรก็ตาม ในบางสถานการณ์
อาจจ�ำเป็นต้องให้กกล.ทบ.ขึ้นการควบคุมทางยุทธการต่อผู้บัญชาการกองก�ำลังชาติอื่น
๒-๔๖ เพือ่ เป็นการชดเชยจุดอ่อนในเรือ่ งเอกภาพในการบังคับบัญชา ผูบ้ ญ
ั ชาการจึงควร
ให้ความส�ำคัญกับเอกภาพในการปฏิบัติ ปัจจัยส�ำคัญในเรื่องนี้คือการสร้างฉันทามติ นโยบายทาง
การเมืองและการทหารของชาติสมาชิกอาจท�ำให้เกิดข้อจ�ำกัดในด้านการจัด องค์กรทีจ่ ดั ตัง้ มานาน
เช่นนาโตได้สนธิโครงสร้างการบังคับบัญชาที่แต่งตั้งนายทหารจากชาติที่ส่งก�ำลังเข้าร่วมเป็น
ผบ.หน่วย แต่จะอยู่ในระดับใดขึ้นอยู่กับก�ำลังและการสนับสนุนของชาตินั้น ๆ เจ้าหน้าที่ในระดับ
ต่าง ๆ ก็มีการสนธิ การบังคับบัญชาในการปฏิบัติการที่ชาติสมาชิกเป็นพันธมิตรชั่วคราวมีความ
ยุ่งยากมากกว่า เนื่องจากไม่มีโครงสร้างการจัดที่แน่นอน ซึ่งปกติจะค่อย ๆ ปรับเปลี่ยนไปตาม
สถานการณ์ โครงสร้างการบังคับบัญชาของการปฏิบัติการผสมมักจะมีอยู่ ๓ แบบ ด้วยกัน ได้แก่
การบังคับบัญชาแบบคู่ขนาน การบังคับบัญชาแบบโดยชาติหลัก และการบังคับบัญชาแบบผสม
๒-๔๗ การบังคับบัญชาแบบคู่ขนาน คือ การที่ชาติสมาชิกยังคงอ�ำนาจการบังคับบัญชา
ก�ำลังของตนไว้ การบังคับบัญชาแบบนี้เป็นการบังคับบัญชาที่ง่ายต่อการก�ำหนดและอาจเป็นวิธีที่
สอดรับกับความรู้สึกที่อ่อนไหวของชาติสมาชิกมากที่สุด อย่างไรก็ตามการบังคับบัญชาวิธีนี้อาจ
ท�ำให้เอกภาพในการปฏิบัติมีน้อยและควรหลีกเลี่ยงให้มากที่สุด การตัดสินใจจะต้องท�ำผ่านการ
ประสานงานกับผู้น�ำระดับสูงทั้งทางการเมืองและการทหารของชาติสมาชิก ผู้นำ� ชาติที่เข้าร่วม
จึงต้องจัดตั้งสื่อกลางส�ำหรับการประสานงานขึ้น
๒-๔๘ การบังคับบัญชาโดยชาติหลัก เป็นการบังคับบัญชาที่ผู้บัญชาการกองก�ำลังผสม
มาจากชาติ ส มาชิ ก ที่ ส ่ ง ก� ำ ลั ง รบและทรั พ ยากรเข้ า ร่ ว มมากที่ สุ ด ชาติ ห ลั ก อาจใช้ โ ครงการ
การบังคับบัญชา และควบคุมของตนมาใช้และใช้ก�ำลังของชาติอื่นเป็นหน่วยรอง ผบ.หน่วยต่าง ๆ
อาจใช้ฝ่ายอ�ำนวยการจากชาติอื่นด้วยเพื่อประโยชน์ในการประสาน โดยปกติการบังคับบัญชาโดย
ชาติหลักจะมีลกั ษณะทีใ่ ช้ฝา่ ยอ�ำนวยการจากชาติหลักนัน้ ๆ เป็นหลักจ�ำนวนหนึง่ การบังคับบัญชา
แบบชาติหลักและการบังคับบัญชาแบบคู่ขนานอาจใช้ไปพร้อม ๆ กันภายในกองก�ำลังผสมแต่วิธีนี้
จะใช้เมือ่ ส่วนควบคุมของกองก�ำลังนานาชาติมาจากชาติสองชาติหรือมากกว่า ดังเช่นกรณีตวั อย่าง
ทีเ่ คยใช้ในกลุม่ พันธมิตรชัว่ คราวในสงครามอ่าว ก�ำลังของประเทศตะวันตกจะอยูภ่ ายใต้การน�ำของ
สหรัฐฯ ขณะที่ก�ำลังของชาติอิสลามอยู่ภายใต้การน�ำของซาอุดีอาระเบีย
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 37

๒-๔๙ การจัดฝ่ายอ�ำนวยการผสม ที่มีประสิทธิภาพขึ้นอยู่กับประสบการณ์ จินตนาการ


และต้องค�ำนึงถึงความแตกต่างทางวัฒนธรรม โดยทั่วไปแล้วมักเกิดแนวโน้มที่จะผลักดันให้
ฝ่ายอ�ำนวยการของชาติที่มิใช่ชาติหลักต้องปฏิบัติหน้าที่ที่มีความส�ำคัญน้อยและท�ำตามหลักนิยม
หรือแบบอย่างของสหรัฐฯ ความขัดแย้งและความไม่เข้าใจกันอาจเกิดผลเสียจนบดบังข้อดีที่เกิด
จากการจัดตั้งกองก�ำลังผสมก็ได้ ผู้บัญชาการกองก�ำลังผสมในระดับต่าง ๆ ต้องใช้ความรอบคอบ
ในการจัดฝ่ายอ�ำนวยการจากชาติตา่ ง ๆ ให้มคี วามเหมาะสมและต้องไม่ให้นายทหารจากชาติสมาชิก
อื่นรู้สึกว่าตนไม่ได้รับความส�ำคัญในการปฏิบัติงาน
๒-๕๐ ในระหว่างการปฏิบัติการผสมชาติต่าง ๆ ต้องจัดเจ้าหน้าที่ติดต่อของตนประจ�ำ
อยูก่ บั กองก�ำลังผสมตัง้ แต่เนิน่ การจัดเจ้าหน้าทีต่ ดิ ต่อพิเศษในบางเรือ่ งเช่น การบิน การยิงสนับสนุน
ทหารช่าง ข่าวกรอง การประชาสัมพันธ์ และการกิจการพลเรือน ขึ้นอยู่กับความต้องการของ
ภารกิจ การจัดการติดต่อเหล่านี้จะช่วยให้แต่ละฝ่ายมีความเข้าใจต่อภารกิจและยุทธวิธีตรงกัน
สะดวกในการแลกเปลี่ยนข่าวสาร และช่วยให้เกิดความเชื่อถือและไว้วางใจซึ่งกันและกัน
๒-๕๑ การบูรณาการโครงสร้างการบังคับบัญชาเข้าด้วยกันน่าจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด
ถ้าชาติสมาชิกมีวัฒนธรรม หลักนิยม การฝึก และยุทโธปกรณ์ที่คล้ายคลึงกันมีประสบการณ์เกี่ยว
กับความร่วมมือท�ำนองนีม้ าเป็นอย่างดี วิธนี ชี้ าติตา่ ง ๆ ทีส่ ง่ ก�ำลังเข้าร่วมควรมีกรรมวิธที เี่ หมือนกัน
เกีย่ วกับภารกิจ ตัง้ แต่ขนั้ ตอนการรับ การท�ำความเข้าใจ การวางแผน และการปฏิบตั ิ อย่างไรก็ตาม
ถ้าสมาชิกมีความแตกต่างกันก็อาจใช้วิธีการดัดแปลงเพื่อให้เกิดเอกภาพในการปฏิบัติ ผู้บัญชาการ
กองก�ำลังรบร่วมหรือกองก�ำลังผสมอาจใช้ฝา่ ยอ�ำนวยการของตนเป็นส่วนใหญ่ในการวางแผน โดย
มีฝ่ายอ�ำนวยการจากชาติอื่นช่วยเหลือในบางเรื่องที่ชาตินั้นเชี่ยวชาญ มีเจ้าหน้าที่ติดต่อส�ำหรับสื่อ
ค�ำสั่งไปยังกองก�ำลังของชาติตน เมื่อมีความคุ้นเคยหรือมีความเชี่ยวชาญมากขึ้น ผู้บัญชาการอาจ
จัดตั้งศูนย์ประสานงานเพื่อช่วยให้การท�ำงานเกิดเสถียรภาพมากขึ้น
การด�ำเนินการในการปฏิบัติการหลายชาติ
๒-๕๒ ผูบ้ ญ
ั ชาการต่าง ๆ ต้องยอมรับความแตกต่างในขีดความสามารถทัง้ ระดับยุทธการ
และยุทธวิธขี องกองก�ำลังชาติตา่ ง ๆ รวมทัง้ อ�ำนาจในการตัดสินใจทีม่ อบให้กบั ฝ่ายอ�ำนวยการและ
ผบ.หน่วยรองของกองก�ำลังแต่ละชาติก็ไม่เหมือนกัน
๒-๕๓ เจตนารมณ์ผู้บังคับบัญชาและแนวความคิดในการปฏิบัติเป็นสิ่งที่ทุกฝ่ายจะต้อง
ท�ำความเข้าใจเพื่อหลีกเลี่ยงความสับสนที่เกิดจากหลักนิยมและค�ำศัพท์ที่ใช้ต่างกัน การสนธิด้าน
การยิงจ�ำลอง การยิงปืนเรือ การสนับสนุนทางอากาศโดยใกล้ชิด การขัดขวาง และการปฏิบัติการ
ข่าวสารจะต้องใช้มาตรการในการด�ำเนินกลยุทธ์ และการประสานการยิงสนับสนุนแบบเดียวกัน
38 บทที่ ๒

แต่ละหน่วยของกองก�ำลังต้องเข้าใจและยึดถือปฏิบัติโดยเคร่งครัด การจ�ำลองยุทธ์ การวางแผน


และการซักซ้อมจะช่วยให้เกิดความเข้าใจในแผนการปฏิบตั แิ ละมาตรการควบคุม แผนยุทธการและ
ยุทธวิธีจะต้องระบุสัญญาณ, มาตรการประสานการยิงสนับสนุน, การสนับสนุนทางอากาศ,
การติดต่อสื่อสาร, และการติดต่อที่เป็นที่เข้าใจตรงกันของทุกฝ่าย
๒-๕๔ การรวบรวม การผลิต และการกระจายข่าวกรองเป็นปัจจัยท้าทายหลักใน
การปฏิบัติการหลายชาติ มีหลายกรณีที่การเข้าถึงข่าวกรอง ข้อมูลดิบ แหล่งข่าว หรือระบบ
ข่าวกรองเป็นเรื่องที่แต่ละชาติหวงแหนมิให้ชาติอื่นเข้าถึง ปกติชาติสมาชิกมักใช้ระบบข่าวกรอง
ของตนเพื่อสนับสนุนนโยบายและก�ำลังทหารของตนแยกจากระบบของชาติอื่นซึ่งระบบดังกล่าวมี
ความแตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม อย่างน้อยแต่ละชาติควรมีสว่ นช่วยกองก�ำลังในเรือ่ งข่าวกรองบุคคล
ผู้บัญชาการจะต้องจัดตั้งระบบเกี่ยวกับข่าวกรองเพื่อให้ชาติสมาชิกมีส่วนในการสนับสนุนด้าน
การข่าวให้มากที่สุด ต้องมีระบบที่กระจายข่าวกรองได้รวดเร็ว ชาติสมาชิกสามารถใช้ทรัพยากร
ด้านการข่าวได้ ฝ่ายอ�ำนวยการข่าวกรองในกองบัญชาการก็จะต้องช่วยเหลือให้การข่าวกรองมี
เอกภาพมากที่สุด
๒-๕๕ การมอบภารกิจให้กับกองก�ำลังผสมควรค�ำนึงถึงขีดความสามารถและข้อจ�ำกัด
ของกองก�ำลังแต่ละชาติดว้ ย ปัจจัยส�ำคัญบางประการทีค่ วรพิจารณาได้แก่ ความคล่องแคล่วในการ
เคลื่อนที่และขนาด, เครื่องมือรวบรวมข่าวกรอง, การยิงระยะไกล, หน่วยปฏิบัติการพิเศษ และ
ขีดความสามารถในการส่งก�ำลังบ�ำรุง นอกจากนี้ยังต้องค�ำนึงถึงขีดความสามารถในด้านการ
ป้องกันภัยทางอากาศในยุทธบริเวณ การฝึกปฏิบัติการในสภาพแวดล้อมพิเศษ การป้องกันอาวุธที่
มีอำ� นาจท�ำลายล้างสูง ความสัมพันธ์กบั ประชาชนในท้องถิน่ ภาษาทีใ่ ช้ และขีดความสามารถพิเศษ
บางประการ ผูบ้ ญ ั ชาการกองก�ำลังผสมอาจมอบหมายหน้าทีใ่ นการป้องกันภายใน การรักษาความ
สงบเรียบร้อย การปฏิบัติการในพื้นที่ส่วนหลังและการป้องกันฐานให้กับกองก�ำลังของประเทศ
เจ้าบ้าน อาจมอบความรับผิดชอบในด้านการป้องกันภัยทางอากาศ การป้องกันฝั่ง หรือการ
ปฏิบตั กิ ารพิเศษให้กบั กองก�ำลังของชาติใดชาติหนึง่ เป็นการเฉพาะก็ได้หากมีความสามารถเพียงพอ
ปัจจัยส�ำคัญอีกประการหนึ่งที่ไม่ควรมองข้ามในการแบ่งมอบความรับผิดชอบให้กับกองก�ำลังของ
ชาติสมาชิกคือเรื่องเกียรติภูมิและศักดิ์ศรีของชาติ
การประสานระหว่างองค์กร
๒-๕๖ เครื่องมือแห่งพลังอ�ำนาจของชาติต่าง ๆ เป็นสิ่งที่สามารถน�ำมาเสริมให้กับการ
ปฏิบัติการหลายชาติได้เป็นอย่างดี ผู้บัญชาการควรท�ำความเข้าใจถึงอิทธิพลและขีดความสามารถ
ของหน่วยงานอืน่ ๆ แล้วใช้ให้เป็นประโยชน์ในการสนับสนุนการปฏิบตั กิ ารทางทหารของตน ไม่วา่
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 39

จะเป็นความสามารถด้านการทูต เศรษฐกิจ และข่าวสาร เช่นเดียวกับการปฏิบัติการรบที่ต้องมี


การใช้เหล่าต่าง ๆ ผสมกัน
๒-๕๗ เมื่อการทัพและการยุทธ์ขนาดใหญ่ด�ำเนินไป พันธกิจและวัตถุประสงค์ของ
หน่วยงานอื่นที่เกื้อกูลต่อการปฏิบัติการทางทหารก็จะมีความชัดเจนยิ่งขึ้น เมื่อ ผบ.หน่วยและ
ฝ่ า ยเสนาธิ ก ารก� ำ หนดวั ต ถุ ป ระสงค์ ดั ง กล่ า วได้ แ ล้ ว ก็ จ ะเสนอผ่ า นฝ่ า ยเสนาธิ ก ารร่ ว มไปยั ง
ผู้บัญชาการกองก�ำลังผสมเพื่อแต่งตั้งคณะท�ำงานร่วมระหว่างองค์กร คณะท�ำงานนี้จะประสานกัน
ในเรื่องนโยบายและพันธกิจที่หน่วยงานต่าง ๆ ได้รับมอบ เมื่อเห็นพ้องกันแล้วก็จะรายงานผ่าน
คณะเสนาธิการร่วมไปยังผู้บัญชาการกองก�ำลังต่อไป
๒-๕๘ ความสัมพันธ์ระหว่างเครื่องมือแห่งพลังอ�ำนาจของชาติท�ำให้ ผบ.หน่วยต้อง
พิจารณาขีดความสามารถของหน่วยงานต่าง ๆ ที่จะมีส่วนให้เกิดผลลัพธ์ที่ต้องการ การประสาน
ระหว่างองค์กรจะเชือ่ มโยงการปฏิบตั กิ ารทางทหารและกิจกรรมของหน่วยงานต่าง ๆ ไม่วา่ จะเป็น
หน่วยงานของรัฐหรือหน่วยงานเอกชน หน่วยงานรัฐบาลต่างประเทศ องค์การระหว่างประเทศและ
องค์การของสหประชาชาติ ยุทธศาสตร์ของยุทธบริเวณจ�ำเป็นต้องมีการประสานระหว่างหน่วยงาน
ดังกล่าว
๒-๕๙ การประสานระหว่างองค์กรยังมีประเด็นท้าทายหลายประการ ประการหนึ่งคือ
องค์กรต่าง ๆ มีความแตกต่างกัน ในการปฏิบัติการร่วม ผู้น�ำจากเหล่าทัพต่าง ๆ ล้วนคุ้นเคยกับ
แบบธรรมเนียมและเข้าใจเรือ่ งราวต่าง ๆ เกีย่ วกับการทหารตรงกัน แต่เมือ่ มีหน่วยงานอืน่ ๆ ทีม่ ใิ ช่
ทหารเข้ามาเกี่ยวข้องทั้งผู้น�ำองค์กรและเจ้าหน้าที่มักจะมีประสบการณ์แตกต่างกัน บางครั้ง
วัตถุประสงค์และค่านิยมขององค์กรมักจะขัดแย้งกัน การเรียนรู้และท�ำงานร่วมกันจะช่วยให้เกิด
ความเข้าใจซึง่ กันและกันและรับรูถ้ งึ ความส�ำคัญของภารกิจ จุดแข็ง จุดอ่อน ซึง่ กันและกัน ช่วยลด
ความขัดแย้งในการท�ำงานได้
๒-๖๐ การปฏิบัติการของกองก�ำลังทางบกนอกจากจะร่วมกันกับหน่วยงานระหว่าง
ประเทศและหน่วยงานอืน่ ๆ ของรัฐแล้ว อาจต้องท�ำงานร่วมกันกับองค์กรเอกชนอืน่ ๆ เช่นกาชาด
หรือหน่วยงานเพื่อมนุษยธรรม การปฏิบัติงานกับหน่วยงานเหล่านี้ ผบ.หน่วยและก�ำลังพลจะต้อง
มีความยืดหยุ่นและอ่อนตัว บางครั้งองค์กรเหล่านี้อาจไม่ต้องการท�ำงานร่วมกับทหารหรือหน่วย
งานของรัฐ การท�ำงานกับหน่วยงานเหล่านี้จึงต้องดูภารกิจเป็นหลัก ในกรณีที่มีความจ�ำเป็นต้อง
ปฏิบตั งิ านร่วมกัน การประสานงานและการร่วมมือกันอย่างมีประสิทธิภาพจะท�ำให้การปฏิบตั งิ าน
มีความชอบธรรมมากขึน้ ประโยชน์อกี ประการหนึง่ ขององค์กรเอกชน คือ องค์กรเหล่านีจ้ ะมีขอ้ มูล
และมุมมองเรื่องประชาชนในท้องถิ่นที่ดีมาก
40 บทที่ ๒

๒-๖๑ ขีดความสามารถขององค์กรเอกชนจะช่วยลดการใช้ทรัพยากรของฝ่ายทหารทีจ่ ะ
น�ำไปใช้ในงานกิจการพลเรือนได้มาก องค์กรเอกชนมักจะมีประสบการณ์ มีเครือข่ายและความ
สัมพันธ์กับคนในพื้นที่ งานที่องค์กรเหล่านี้มีหลายด้านเช่น การศึกษา การบรรเทาทุกข์ การดูแล
ผูอ้ พยพ และการพัฒนา เป็นต้น ส่วนใหญ่องค์กรเอกชนมักจะอยูใ่ นพืน้ ทีห่ รือเข้าถึงพืน้ ทีก่ อ่ นทหาร
ปฏิบัติงานท่ามกลางความเสี่ยง และยังคงอยู่ในพื้นที่ต่อไปหลังฝ่ายทหารถอนก�ำลัง การวางแผน
การปฏิบตั กิ ารทางทหารจึงต้องพิจารณาถึงบทบาทขององค์กรเหล่านีด้ ว้ ย เมือ่ มีการปฏิบตั กิ ารรวม
ผู้บัญชาการจะต้องพิจารณาถึงกิจกรรมขององค์กรเอกชนไปด้วย นอกเหนือจากเรื่องการรักษา
ความปลอดภัย ทรัพยากร และความต้องการในการสนับสนุน
ข้อพิจารณาส�ำหรับการปฏิบัติการรวม
๒-๖๒ หลักนิยมการปฏิบัติการร่วมระบุถึงการใช้ กกล.ทบ.ในการปฏิบัติการรวม การ
ปฏิบัติการแต่ละครั้งมีปัจจัยต่าง ๆ ที่ไม่เหมือนกันโดยขึ้นอยู่กับสถานการณ์และมุมมองของฝ่าย
ต่าง ๆ ที่เข้าร่วม การปฏิบัติการรวมมีข้อพิจารณาทั้งด้านการทหาร การเมือง และวัฒนธรรม
(ดูรูป ๒-๕) แต่ข้อพิจารณาดังกล่าวมิได้มีเพียงเท่านี้ เพียงแต่แสดงไว้เพื่อให้เห็นความส�ำคัญของ
ปัจจัยต่าง ๆ ที่จะท�ำให้การใช้ กกล.ทบ.ในการปฏิบัติการรวม

ข้อพิจารณาด้านการทหาร ข้อพิจารณาทางการเมือง ข้อพิจารณาด้านวัฒนธรรม


- กระบวนการก�ำหนดเป้าหมายร่วม - เป้าหมายและวัตถุประสงค์ - วัฒนธรรม และภาษา
- การประสานการยิงสนับสนุน - การควบคุมกองก�ำลังของแต่ละชาติ - การติดต่อสื่อสาร
- การป้ อ งกั น ภั ย ทางอากาศและ - การสร้างฉันทามติ - ความสัมพันธ์กับสื่อ
ขีปนาวุธ - การบังคับใช้กฎหมาย
- การท�ำงานเป็นทีมและความไว้
วางใจ
- หลักนิยม, การจัด, และการฝึก
- ยุทโธปกรณ์

รูปที่ ๒-๕ ข้อพิจารณาส�ำหรับการปฏิบัติการรวม

ข้อพิจารณาด้านการทหาร
๒-๖๓ ผูบ้ ญั ชาการจะพิจารณาถึงปัจจัยด้านการทหารในการปฏิบตั กิ ารรวมเช่นเดียวกับ
การปฏิบัติ การร่วม อย่างไรก็ตาม ชาติที่เข้าร่วมในการปฏิบัติการหลายชาติและองค์กรอื่น ๆ อาจ
ท�ำให้ปัจจัยที่จะต้องพิจารณามีความซับซ้อนมากขึ้น ปัจจัยต่อไปนี้เป็นปัจจัยที่ ผบ.หน่วยและ
ฝ่ายเสนาธิการควรพิจารณาเพิ่มเติมในการปฏิบัติการรวม
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 41

กระบวนการก�ำหนดเป้าหมายร่วม
๒-๖๔ ผูบ้ ญั ชาการกองก�ำลังร่วม เป็นผูก้ ำ� หนดว่ากองก�ำลังทางบกจะร่วมในกระบวนการ
ก�ำหนดเป้าหมายร่วมอย่างไร อาจมีการมอบอ�ำนาจในการก�ำกับดูแลให้กับ ผบ.หน่วยรองหรืออาจ
จัดตั้งคณะกรรมการเป้าหมายร่วมหรือคณะกรรมการเป้าหมายผสม ขึ้นก็ได้ คณะกรรมการ
เป้าหมายอาจท� ำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการบูรณาการหรือเป็นเพียงกลไกในการตรวจสอบ
นอกจากนีย้ งั จะต้องท�ำหน้าทีใ่ นการก�ำหนดแนวทางในการเป้าหมาย, ปรับปรุงรายการเป้าหมายร่วม
และศึกษาข่าวสารเป้าหมายจากแง่มุมด้านการทัพ คณะกรรมการเป้าหมายมิได้มีหน้าที่เกี่ยวข้อง
กับการเลือกเป้าหมายใดเป้าหมายหนึ่งเป็นการเฉพาะ
การประสานการยิงสนับสนุน
๒-๖๕ ผู้บัญชาการกองก�ำลังร่วมและผู้บัญชาการกองก�ำลังผสมปกติจะก�ำหนดพื้นที่
ปฏิบัติการให้ กับหน่วยรองของตน ภายในพื้นที่ปฏิบัติการดังกล่าวกองก�ำลังทางบกและกองก�ำลัง
ทางเรือมักเป็นกองก�ำลังที่รับการสนับสนุนและท�ำหน้าที่ในการประสานสอดคล้องการด�ำเนิน
กลยุทธ์, การยิง, และการขัดขวาง ผู้บัญชาการกองก�ำลังทางบกและกองก�ำลังทางเรือจะก�ำหนด
ล�ำดับความส�ำคัญของเป้าหมาย, ผลที่ต้องการ, และเวลาในการยิง อย่างไรก็ตามภารกิจทั้งหลาย
จะต้องมีส่วนช่วยให้บรรลุวัตถุประสงค์ของกองก�ำลังร่วม
๒-๖๖ การประสานสอดคล้องการปฏิบัติการทั้งทางบก และทางเรือในพื้นที่ปฏิบัติการ
กับการปฏิบัติการร่วมเป็นเรื่องที่มีความส�ำคัญเป็นพิเศษ ผู้บัญชาการกองก�ำลังร่วมจะก�ำหนด
ความเร่งด่วนในการปฏิบัติการทั่วทั้งพื้นที่ปฏิบัติการร่วมเพื่ออ�ำนวยความสะดวกในการประสาน
สอดคล้อง รวมถึงพื้นที่ปฏิบัติการของแต่ละกองก�ำลังด้วย ผู้บัญชาการหน่วยที่ได้รับมอบพันธกิจที่
ต้องท�ำทัว่ ทัง้ ยุทธบริเวณจากผูบ้ ญ
ั ชาการกองก�ำลังร่วมจะประสานกับผูบ้ ญ ั ชาการกองก�ำลังทางบก
และกองก�ำลังทางเรือเมือ่ การปฏิบตั ขิ องตนเกิดขึน้ ภายในพืน้ ทีป่ ฏิบตั กิ ารของผูบ้ ญ
ั ชาการกองก�ำลัง
ทางบกหรือกองก�ำลังทางเรือนั้น ซึ่งอาจรวมถึงการโจมตีเป้าหมายด้วย
๒-๖๗ ผูบ้ ญ
ั ชาการ กกล.ทบ. จะต้องเข้าใจศักยภาพของการประสานสอดคล้องการด�ำเนิน
กลยุทธ์กับการขัดขวาง ต้องมองให้ออกถึงความเชื่อมโยงระหว่างการปฏิบัติการภายในพื้นที่
ปฏิบัติการทางบกกับการปฏิบัติการร่วมที่เกิดขึ้นนอกพื้นที่ปฏิบัติการทางบก จะต้องก� ำหนด
เป้าหมายในการขัดขวางนอกพื้นที่ปฏิบัติการทางบกที่สามารถสร้างสภาวะที่เกื้อกูลต่อการปฏิบัติ
การแตกหั ก ต้ อ งประสานการด�ำ เนิ น กลยุ ท ธ์ แ ละการขั ด ขวางทั้ ง ภายในและภายนอกพื้ น ที่
ปฏิบัติการทางบกที่ท�ำให้ข้าศึกตกอยู่ในสภาพที่เสียเปรียบ ต้องเข้าใจผลกระทบของการใช้
42 บทที่ ๒

ก�ำลังทางอากาศ และเมื่อจ�ำเป็นต้องสามารถใช้ทรัพยากรของตนสนับสนุนการปฏิบัติการขัดขวาง
ร่วมภายนอกพื้นที่ปฏิบัติการทางบกได้
๒-๖๘ การสนธิการยิงร่วมจ�ำต้องมีความเข้าใจและยึดถือมาตรการควบคุมการด�ำเนิน
กลยุทธ์และมาตรการควบคุมการประสานการยิงสนับสนุน (มคยส.) อย่างเคร่งครัด ผู้บัญชาการ
กองก�ำลังร่วมพัฒนามาตรการดังกล่าวตั้งแต่เนิ่นและเน้นย�ำ้ ให้ทุกฝ่ายยึดถืออยู่เสมอเพื่อให้การยิง
ทันเวลาและมีประสิทธิภาพ ผู้บัญชาการกองก�ำลังทางบกและกองก�ำลังสะเทินน�้ำสะเทินบกอาจ
ก�ำหนดแนวประสานการยิงสนับสนุน (นปยส.) ภายในพื้นที่ปฏิบัติการเพื่อให้เกิดความสะดวก
ต่อการปฏิบัติการทั้งในปัจจุบันและในอนาคตและเพื่อให้มีการคุ้มครองหน่วย นปยส. คือ มคยส.
ทีก่ ำ� หนดขึน้ หรือปรับปรุงโดยผูบ้ ญ
ั ชาการกองก�ำลังทางบก และกองก�ำลังสะเทินน�ำ้ สะเทินบกภายใน
พื้นที่ปฏิบัติการของตนโดยมีการปรึกษากับหน่วยเหนือ หน่วยรอง หน่วยสนับสนุน และหน่วยทีอ่ าจ
ได้รับผลกระทบจากมาตรการดังกล่าว นปยส.จะอ�ำนวยความสะดวกกับการโจมตีอย่างรวดเร็ว
ต่อเป้าหมายผิวพื้นตามเหตุการณ์ที่อยู่เลยมาตรการควบคุมออกไป นปยส. ใช้กับการยิงทุกชนิด
ทั้งที่มีฐานยิงทั้งบนพื้นดิน และในทะเล การประสานการโจมตีที่เลย นปยส. ออกไปมีความส�ำคัญ
เป็นพิเศษต่อผู้บัญชาการหน่วยต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยทางอากาศ หน่วยทางพื้นดิน และ
หน่วยปฏิบัติการพิเศษ
๒-๖๙ การโจมตีเป้าหมายทีอ่ ยูเ่ ลย นปยส. ออกไปจะต้องแจ้งให้หน่วยทีไ่ ด้รบั ผลกระทบ
ก่อนเพือ่ ลดความสูญเสียของฝ่ายเดียวกัน ทัง้ บนพืน้ ดินและในอากาศ ยกเว้นบางสถานการณ์เท่านัน้
ที่การโจมตีดังกล่าวสามารถกระท�ำได้แม้จะไม่สามารถประสานกันได้แต่จะเกิดความเสี่ยงต่อการ
สูญเสียของฝ่ายเดียวกันและสิน้ เปลืองทรัพยากร ในพืน้ ทีท่ อี่ ยูภ่ ายใน นปยส. ผูบ้ ญ
ั ชาการกองก�ำลัง
ทางบกและกองก�ำลังสะเทินน�้ำสะเทินบกเป็นผู้ควบคุมการโจมตีจากอากาศสู่พื้นและพื้นสู่พื้น
ตัวอย่างเช่น การโจมตีทางอากาศภายในเขตทีไ่ ม่เกิน นปยส. ไม่วา่ จะเป็นการสนับสนุนทางอากาศ
โดยใกล้ชิดหรือการขัดขวางทางอากาศจะต้องปฏิบัติตามข้อก�ำหนด เช่น โดยผู้ควบคุมอากาศยาน
หน้าหรือชุดควบคุมทางอากาศยุทธวิธี เพื่อให้มั่นใจว่าได้รับอนุมัติให้ท�ำการโจมตี การควบคุม
ดังกล่าวกระท�ำผ่านทางฝ่ายยุทธการหรือโดยกรรมวิธีที่ก�ำหนดไว้
๒-๗๐ นปยส. มิใช่เส้นแบ่งเขต หน่วยทีจ่ ดั ตัง้ นปยส.จะต้องประสานสอดคล้องการปฏิบตั ิ
ทัง้ สองด้านของ นปยส. ออกไปจนถึงเขตสิน้ สุดพืน้ ทีป่ ฏิบตั กิ าร การจัดตัง้ นปยส. มิได้หมายความว่า
พื้นที่ที่เลย นปยส.ออกไปเป็น “พื้นที่ยิงเสรี” เมื่อมีการโจมตีเป้าหมายที่อยู่เลย นปยส. ออกไป
การโจมตีนั้นจะต้องไม่ท�ำให้เกิดผลเสียต่อฝ่ายเราทั้งก่อนถึงแนว บนแนว และเลยแนวออกไป
การโจมตีเลยแนวออกไปจะต้องสอดคล้องกับความเร่งด่วน เวลา และผลลัพธ์ ทีผ่ บู้ ญ ั ชาการก�ำหนด
รวมทั้งต้องมีการลดความขัดแย้งกับหน่วยรับการสนับสนุนทุกครั้งที่ท�ำได้
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 43

การป้องกันภัยทางอากาศและขีปนาวุธ
๒-๗๑ ผู้บัญชาการป้องกันภัยทางอากาศประจ�ำพื้นที่ (ผบ.ปภอ.พท.) เป็นผู้ก�ำหนด
กฎการรบปะทะ และมอบภารกิจในการป้องกันภัยทางอากาศให้กบั หน่วย ปภอ. และขีปนาวุธระดับ
ยุทธการ ผบ.กกล.ทบ. เสนอความต้องการผ่านทางผู้บัญชาการกองก�ำลังร่วมไปยังผู้บัญชาการ
กองก�ำลังทางอากาศและ ผบ.ปภอ.พท. เมือ่ ก�ำหนดแผน ปภอ. และขีปนาวุธของตน เมือ่ ผูบ้ ญ ั ชาการ
กองก�ำลังร่วมแบ่งมอบทรัพยากรของ ทบ. ให้กบั กกล.ทางอากาศ ส�ำหรับภารกิจต่อต้านทางอากาศ
ทรัพยากรเหล่านั้นจะท�ำการสนับสนุนโดยตรงให้กับ กกล.ทางอากาศ ปกติกองทัพน้อยจะควบคุม
หน่วย ปภอ. ในอัตราของตน ผูบ้ ญ
ั ชาการกองก�ำลังร่วม อาจแต่งตัง้ ผูบ้ ญ
ั ชาการกองก�ำลังทางอากาศ
ร่วม/ผสมเป็น ผบ.ปภอ.พท. อีกต�ำแหน่งหนึ่งก็ได้
การท�ำงานเป็นทีมและความไว้วางใจ
๒-๗๒ ในการปฏิบัติการรวม ผบ.หน่วยจะต้องพึ่งพาความเชื่อมั่น ความไว้วางใจ ความรู้
การท�ำงานเป็นทีมของหน่วยต่าง ๆ ที่เข้าร่วมการท�ำงานเป็นทีมและความไว้วางใจสามารถท�ำให้
เกิดขึน้ ได้หลาย ๆ วิธี ประการแรกคือ ทัง้ ตัว ผบ.หน่วยและฝ่ายเสนาธิการจะต้องสร้างความสัมพันธ์
ส่วนตัวกับ ผบ.หน่วยและฝ่ายเสนาธิการของหน่วยอื่น ๆ ที่เข้าร่วม ต้องสร้างบรรยากาศที่แต่ละ
ฝ่ายมีความเคารพซึ่งกันและกัน รู้จักผู้ร่วมงานอื่น ๆ เช่นเดียวกับรู้จักฝ่ายตรงข้าม การท�ำงาน
เป็นทีมก็มีความส�ำคัญ สามารถท�ำให้เกิดขึ้นได้ผ่านการฝึก การซ้อมรบและการมอบภารกิจที่
เหมาะสมกับขีดความ สามารถของหน่วย การสร้างการท�ำงานเป็นทีมและความไว้วางใจเป็นสิ่งที่
ต้องใช้เวลาและความอดทนของแต่ละฝ่าย ถ้าท�ำให้เกิดขึ้นได้จะท�ำให้ทุกฝ่ายเกิดความเชื่อมั่น
และมีเอกภาพในการปฏิบัติ
หลักนิยม, การจัด, และการฝึก
๒-๗๓ หลักนิยมทางทหารของแต่ละชาติมีความแตกต่างกัน บางหลักนิยมเน้นการรุก
บางหลักนิยมเน้นการตั้งรับ เมื่อกองทัพไทยเข้าร่วมปฏิบัติการกับกองก�ำลังชาติอื่น ต้องก�ำหนด
หน่วยให้เหมาะกับภารกิจ ผบ.หน่วยจะต้องเข้าใจความแตกต่างของหลักนิยมและผลกระทบของ
ความแตกต่างนั้น ในการปฏิบัติการร่วมและการปฏิบัติการหลายชาติ ผบ.หน่วยต้องรู้ว่าหลักนิยม
และการจัดมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด การน�ำหน่วยบางหน่วยออกจากโครงสร้างการจัดอาจมี
ผลถึงอ�ำนาจการรบของหน่วยนั้นและท�ำให้หน่วยท�ำการรบในลักษณะที่ไม่สอดคล้องกับหลักนิยม
ดังนัน้ การปรับเปลีย่ นโครงสร้างการจัดของหน่วยต้องท�ำด้วยความระมัดระวังเป็นอย่างยิง่ นอกจากนี้
ผบ.หน่วยต้องเข้าใจถึงระดับการฝึกของ กกล.ต่าง ๆ ที่เข้าร่วม ทบ. ของแต่ละชาติมิได้มีทรัพยากร
การฝึกเหมือนกัน หน่วยระดับเดียวกันแต่ต่างประเทศกันจะมีขีดความสามารถไม่เท่ากัน
44 บทที่ ๒

ยุทโธปกรณ์
๒-๗๔ ยุทโธปกรณ์และเทคโนโลยีทตี่ า่ งกันจะมีผลท�ำให้เกิดระบบทีผ่ สมผสานกันในกอง
ก�ำลังร่วมหรือกองก�ำลังหลายชาติ ระดับของความทันสมัย มาตรฐานการซ่อมบ�ำรุง ความคล่องแคล่ว
และระดับการปฏิบตั งิ านร่วมกันได้ของแต่ละชาติจะมีความต่างกัน ผบ.หน่วยของกองก�ำลังร่วมและ
กองก�ำลังหลายชาติอาจต้องชดเชยในด้านความแตกต่างดังกล่าว เครื่องมือสื่อสารที่ติดต่อกันไม่ได้
ความต้องการการช่วยรบทีต่ า่ งกัน ความสามารถในการเคลือ่ นทีใ่ นภูมปิ ระเทศของยานพาหนะ ล้วน
เป็นอุปสรรคส�ำคัญ กองก�ำลังของบางชาติอาจใช้ระบบอาวุธเช่นเดียวกันกับฝ่ายศัตรูซึ่งท�ำให้
มาตรการป้องกันการยิงจากฝ่ายเดียวกันมีความส�ำคัญมากขึ้น อย่างไรก็ตามขีดความสามารถของ
บางชาติอาจชดเชยจุดอ่อนของบางชาติได้ ผบ.หน่วย เมือ่ จะวางก�ำลังหรือมอบภารกิจให้หน่วยต้อง
แสวงประโยชน์ในเรื่องดังกล่าว
ข้อพิจารณาทางการเมือง
๒-๗๕ ข้อพิจารณาทางการเมืองเป็นสิง่ ส�ำคัญในการปฏิบตั กิ ารรวม เอกภาพในการปฏิบตั ิ
ในสภาพแวดล้อมของการปฏิบัติการหลายชาติและการปฏิบัติระหว่างองค์กรจะต้องให้ความสนใจ
ในเรือ่ งนีต้ ลอดเวลา ผบ.หน่วยต้องรูถ้ งึ เป้าหมายและวัตถุประสงค์ของผูม้ สี ว่ นร่วม ต้องเข้าใจว่าการ
ควบคุมของแต่ละรัฐบาลต่อกองก�ำลังของตนอาจมีผลกระทบต่อความส�ำเร็จของภารกิจ แต่ก็
ต้องพยายามอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดความเห็นพ้องกันในบรรดาผู้น�ำแต่ละระดับรวมไปถึงผู้น�ำ
ทางการเมืองของชาติที่เข้าร่วมด้วย
เป้าหมายและวัตถุประสงค์
๒-๗๖ รัฐต่าง ๆ กระท�ำการใด ๆ ก็เพื่อผลประโยชน์ของตน การปฏิบัติการทางทหาร
ของชาติใด ๆ ก็ลว้ นมีเหตุผลของชาตินนั้ ๆ เป้าหมายของชาติตา่ ง ๆ อาจท�ำให้สอดคล้องกันได้ดว้ ย
การก�ำหนดยุทธศาสตร์ร่วม แต่ส่วนใหญ่แล้วมักจะไม่เหมือนกัน ชาติต่าง ๆ อาจมีแรงจูงใจไม่
เหมือนกันแต่วตั ถุประสงค์ในภาพรวมสามารถก�ำหนดขึน้ ได้และท�ำให้บรรลุได้และได้รบั การยอมรับ
จากชาติสมาชิก การรวมกลุม่ เป็นพันธมิตรและพันธมิตรชัว่ คราวจะประสบความส�ำเร็จได้ขนึ้ อยูก่ บั
การมีวัตถุประสงค์ร่วมกัน การย�้ำจุดร่วมสามารถลดความขัดแย้งและด�ำรงความเป็นปึกแผ่นไว้ได้
การควบคุมกองก�ำลังของแต่ละชาติ
๒-๗๗ กองก�ำลังและหน่วยงานส่วนใหญ่มีขีดความสามารถในการสื่อสารโดยตรงจาก
พื้นที่ปฏิบัติ การไปยังผู้น�ำรัฐบาลของตน ขีดความสามารถดังกล่าวเกื้อกูลต่อการประสานงาน
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 45

ในด้ านการเมืองได้และยังช่วยให้ผู้น� ำทางการเมืองให้ค� ำ แนะน� ำ ต่อ ก�ำ ลังของตนได้โ ดยตรง


หรือคัดค้านการตัดสินใจในระดับยุทธการได้
การสร้างฉันทามติ
๒-๗๘ ฉันทามติในเป้าหมายเป็นสิ่งส�ำคัญที่สุดต่อความส�ำเร็จของการปฏิบัติการรวม
เนื่องจากฉันทามติเป็นเรื่องเปราะบาง ผบ.หน่วยทั้งหลายจึงต้องระมัดระวังมิให้มีเหตุปัจจัยมา
กระทบเป้าหมายร่วมเป็นสิ่งส�ำคัญ ผบ.หน่วยจึงควรใช้เวลาในการท�ำความเข้าใจและเน้นย�้ำให้
หน่วยต่าง ๆ รับรู้ สิ่งส�ำคัญคือต้องให้ทุกฝ่ายเข้าใจว่าผลลัพธ์สุดท้ายในการปฏิบัติการคืออะไร
มีมาตรการอะไรบ้างที่จะท�ำให้ไปถึงจุดนั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ สมาชิกที่เข้าร่วมปฏิบัติการ
อาจไม่เห็นด้วยต่อผลลัพธ์ดังกล่าว ดังนั้นสิ่งส�ำคัญประการแรกคือต้องระบุเงื่อนไขที่เป็นไปได้ที่
ผบ.หน่วยจะต้องท�ำในการปฏิบัติการทางทหาร
ข้อพิจารณาด้านวัฒนธรรม
๒-๗๙ ความเข้าใจความแตกต่างด้านวัฒนธรรมมีผลต่อความส�ำเร็จหรือล้มเหลวในการ
ปฏิบัติการรวม วัฒนธรรมในที่นี้รวมถึงวัฒนธรรมของชาติต่าง ๆ วัฒนธรรมองค์กร ภาษา
การสื่อสาร ความสัมพันธ์กับสื่อมวลชน และการบังคับใช้กฎหมาย ซึ่งล้วนแต่มีบทบาทส�ำคัญ
ในการปฏิบัติการรวมทั้งสิ้น
วัฒนธรรม และภาษา
๒-๘๐ ผู ้ มี ส ่ ว นร่ ว มในการปฏิ บั ติ ก ารรวมต่ า งก็ มี อั ต ลั ก ษณ์ ท างวั ฒ นธรรมของตน
หน่วยทหาร หน่วยงานพลเรือน องค์กรเอกชนและองค์กรระหว่างประเทศต่างก็มีมุมมองของตน
ต่อสงครามและการปฏิบตั ิ การทางทหารทีม่ ใิ ช่สงคราม ค่านิยมของชาติ, ค่านิยมองค์กร, ความเชือ่
ทางศาสนา และกฎเกณฑ์ที่ยึดถือต่างก็มีผลต่อมุมมองของผู้มีส่วนร่วม ผู้มีส่วนร่วมที่มีวัฒนธรรม
คล้ายคลึงกันหรือใช้ภาษาเดียวกันมักปฏิบตั งิ านร่วมกันได้โดยไม่มอี ปุ สรรค แม้แต่ขอ้ แตกต่างทีอ่ าจ
เห็นว่าเป็นเรื่องเล็ก เช่นข้อจ�ำกัดเรื่องอาหาร หรือความสัมพันธ์ระหว่างนายทหารสัญญาบัตรและ
ก�ำลังพลชัน้ ประทวนอาจมีผลกระทบต่อการปฏิบตั กิ ารได้ ผบ.หน่วยจึงต้องเข้าใจความแตกต่างและ
แก้ปัญหาความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นจากเรื่องเหล่านี้
๒-๘๑ อุปสรรคด้านภาษาเป็นเรื่องที่ท้าทาย การปฏิบัติการรวมมักมีเรื่องนี้เข้ามา
เกี่ยวข้องแม้แต่ผู้มีส่วนร่วมจะพูดภาษาเดียวกันก็ยังมีความแตกต่างกันเรื่องศัพท์เฉพาะที่เข้าใจ
ไม่ตรงกัน ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นการพูดหรือการเขียน ผู้มีส่วนร่วมควรเข้าใจการสื่อสารระหว่างกัน
46 บทที่ ๒

การแปลก็มีความยุ่งยาก ท�ำให้การวางแผนกินเวลาเพิ่มขึ้น การแปลที่ผิดพลาดอาจก่อให้เกิด


ความเข้าใจผิด ผูแ้ ปลทีเ่ ข้าใจภาษาสองภาษาและวัฒนธรรมอย่างลึกซึง้ จึงมีความจ�ำเป็น การจัดทีม
เจ้าหน้าทีต่ ดิ ต่อและทีมงานด้านภาษาจะช่วยลดปัญหาได้แต่ไม่ทงั้ หมด ค�ำสัง่ ทีช่ ดั เจน กะทัดรัดและ
การบรรยายสรุปจะช่วยให้เกิดความเข้าใจร่วมกันได้ง่าย การบรรยายสรุปกลับต่อ ผบ.หน่วย
จะเป็นเครือ่ งประกันว่าหน่วยรองของสมาชิกมีความเข้าใจตรงกันทัง้ ในเรือ่ งพันธกิจและเจตนารมณ์
การติดต่อสื่อสาร
๒-๘๒ ความแตกต่างด้านความคิดของบุคคลและมุมมองขององค์กรอาจเป็นอุปสรรคต่อ
ความเข้าใจร่วมกัน ผบ.หน่วยควรให้ผู้แทนของผู้มีส่วนร่วมได้ท�ำความเข้าใจในเรื่องต่างให้ตรงกัน
เพื่อป้องกันการเข้าใจผิด ผู้วางแผนการทหารจะต้องค�ำนึงถึงความสับสนที่อาจเกิดขึ้นและ
มีมาตรการในการชี้แจงและก�ำหนดค�ำศัพท์ที่เข้าใจได้ง่ายและตรงความหมายส�ำหรับใช้ร่วมกัน
ความเข้าใจต่อวัตถุประสงค์และเรือ่ งทีม่ ลี ำ� ดับความส�ำคัญของผูม้ สี ว่ นร่วมจะช่วยให้ ผบ.หน่วยประสาน
สอดคล้อง และลดความขัดแย้งของการปฏิบัติของแต่ละหน่วยงานได้
ความสัมพันธ์กับสื่อ
๒-๘๓ ผบ.หน่วย ต้องอ�ำนวยความสะดวกให้กบั การท�ำงานของสือ่ ไม่วา่ จะเป็นสือ่ ระดับ
ชาติหรือระดับนานาชาติ แต่ต้องอยู่ภายใต้กรอบของการรักษาความปลอดภัย ในสภาพแวดล้อม
ของการปฏิบตั กิ ารหลายชาติ สือ่ จากชาติทเี่ ข้าร่วมมีความต้องการและมาตรฐานในการท�ำงานของ
ตนไม่เหมือนกัน ผบ.หน่วยท�ำงานกับผู้น�ำของหน่วยงานและสื่อของชาติที่เข้าร่วมเพื่อสร้าง
บรรยากาศทีเ่ ปิดกว้างและทุกฝ่ายได้ประโยชน์ ผูแ้ ทนอาวุโสทัง้ ทางการเมืองและการทหารของชาติ
ที่เข้าร่วมจะต้องก�ำหนดระเบียบพื้นฐานส�ำหรับสื่อให้เข้าใจง่ายที่สุด แผนทางทหารต้องค�ำนึงถึง
ผลกระทบจากการรายงานของสือ่ ด้วยเนือ่ งจากสือ่ มีอทิ ธิพลต่อความคิดเห็นของประชาชนจนอาจ
ส่งผลถึงการปฏิบัติการได้ ผบ.หน่วย ต้องตระหนักว่าการได้รับการสนับสนุนจากประชาชนขึ้นอยู่
กับการก�ำหนดผลลัพธ์ที่ชัดเจน เข้าใจง่าย มีวัตถุประสงค์ที่มุ่งไปสู่ผลลัพธ์นั้นรวมทั้งมีมาตรการ
ด� ำ เนิ น การเพื่ อให้การปฏิบัติมีประสิทธิภาพ หากผู ้ มี ส ่ ว นร่ ว มมิ ไ ด้ แ สดงออกถึ ง ผลลั พ ธ์ แ ละ
วัตถุประสงค์ที่ชัดเจนแล้ว ผบ.หน่วยจะต้องก�ำหนดและประสานการปฏิบัติอย่างรอบคอบเพื่อ
หลีกเลี่ยงความขัดแย้งกันเอง
การบังคับใช้กฎหมาย
๒-๘๔ ปกติหน่วยทหารจะไม่มีอ�ำนาจ หรือขีดความสามารถในการบังคับใช้กฎหมายใน
พื้นที่ปฏิบัติการ การปฏิบัติจึงต้องขึ้นกับนโยบายหรือพิจารณาว่ากฎหมายให้อ�ำนาจหรือไม่ตั้งแต่
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 47

ขั้นการวางแผน หากเป็นการปฏิบัติการนอกประเทศจะต้องมีข้อตกลงเกี่ยวกับสถานภาพของ
ทหารไทยกับประเทศเจ้าบ้านเสียก่อน หรือถ้าเป็นการปฏิบัติการภายใต้กรอบสหประชาชาติก็จะ
ต้องมีข้อตกลงที่เรียกว่า “สถานภาพข้อตกลงของภารกิจ” เมื่อจะต้องปฏิบัติงานที่อาจคาบเกี่ยว
กับการรักษากฎหมาย ผบ.หน่วยจะต้องมีระบบและระเบียบปฏิบัติไว้ ถ้าในพื้นที่ไม่มีหน่วยงาน
บังคับใช้กฎหมายอยู่ ผบ.หน่วยอาจใช้กำ� ลังทหารหรือใช้ขดี ความสามารถของสมาชิกอืน่ ปฏิบตั กิ าร
บังคับใช้กฎหมายเป็นการชั่วคราวก็ได้
บทที่ ๓
การตอบโต้ทางยุทธศาสตร์

“ผู้ที่เข้าสู่ยุทธบริเวณ และรอคอยการเข้าสู่สนามรบ ของฝ่ายตรงข้ามได้ก่อน ย่อมได้


เปรียบต่อผู้มาภายหลัง ซึ่งต้องกระหืดกระหอบเข้ามาท�ำให้ทหารอ่อนเปลี้ยและเสียเปรียบข้าศึก”
ซุนจื่อปิงฝ่า
ต�ำราพิชัยสงคราม
๓-๑ การตอบโต้ทางยุทธศาสตร์ ต้องการ กกล.ทบ. ที่ผ่านการฝึก มีการจัดหน่วย
ประกอบยุทโธปกรณ์ส�ำหรับการปฏิบัติการทุกแห่งหนทั่วประเทศ ตลอดจนมีผู้บังคับบัญชาและ
หน่วยทีเ่ ชีย่ วชาญในการแสดงก�ำลังรบ๑ กกล.ทบ. ทีพ่ ร้อมตอบโต้ทางยุทธศาสตร์ (ซึง่ หมายรวมถึง
ก�ำลังประจ�ำการ ก�ำลังส�ำรอง) ซึ่งสามารถสร้างอ�ำนาจก�ำลังรบ ณ ต�ำบลและเวลาที่ผู้บัญชาการ
กองก�ำลังรบร่วมต้องการ
กกล.ทบ. ตอบโต้ทางยุทธศาสตร์
การปรับก�ำลังรบตามภารกิจ เป็นกระบวนการของการก�ำหนด การผสมผสาน และล�ำดับ
ชั้นของหน่วยต่าง ๆ อย่างถูกต้องส�ำหรับภารกิจ
๓-๒ กกล.ทบ. ตอบโต้ทางยุทธศาสตร์ บังคับให้ ทบ. รับเอาล�ำดับชุดอันเป็นเอกลักษณ์
ของความเปลี่ยนแปลงที่อาจจะเกิดขึ้นภายใน ทบ. และ ทบ. ได้รับการแบ่งสรรทรัพยากรต่าง ๆ
โดย กห. และ ทบ. เป็นผู้จัดสรรก�ำลังรบให้แก่ผู้บัญชาการก�ำลังรบร่วม และผู้บัญชาการรบ โดย
ผู้บัญชาการรบจะเป็นผู้ที่ก�ำหนดล�ำดับความเร่งด่วนในการเคลื่อนย้ายก�ำลังเข้าสู่ยุทธบริเวณ
การตัดสินใจนี้จะเป็นตัวขับเคลื่อนการแบ่งสรรทรัพยากรใน การตอบโต้อย่างฉับพลันและเป็นตัว
ตัดสินทีส่ ำ� คัญยิง่ ว่า จะเข้าวางก�ำลังสัประยุทธ์อย่างรวดเร็วได้อย่างไร ถึงแม้วา่ ทรัพยากรในการขน
ย้ายของประเทศจะมีจ�ำกัดก็ตาม การขนย้ายที่มีอยู่ไม่เพียงพอต่อการเคลื่อนย้ายกองก�ำลังทัพบก
ขนาดใหญ่ได้ในครั้งเดียว ด้วยเหตุนี้เองท�ำให้ผู้บังคับบัญชาต้องพิจารณาปรับแต่งก�ำลัง (tailor)


การแสดงก�ำลังรบ (Power Projection) ความสามารถในการแสดงองค์ประกอบพลังอ�ำนาจแห่งชาติด้านการทหาร
จากภาคพื้นทวีปสหรัฐอเมริกา หรือภาคพื้นอื่น เพื่อตอบสนองความต้องการส�ำหรับการปฏิบัติการทางทหาร ปฏิบัติการ
แสดงก�ำลังรบเริ่มจากการระดมสรรพก�ำลัง การเคลื่อน ย้ายและการถอนก�ำลัง ณ ภาคพื้นทวีปสหรัฐอเมริกาหรือมาตุภูมิ
สหรัฐอเมริกา
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 49

ทั้งองค์ประกอบของก� ำลังและล�ำดับขั้นตอนในการเคลื่อนย้ายเข้าวางก� ำลังให้เหมาะสมกับ


สถานการณ์ในยุทธบริเวณ
๓-๓ ขอบเขตทีเ่ ป็นไปได้สร้างความยุง่ ยากในการฝึก ทบ. ไม่สามารถท�ำการฝึกส�ำหรับ
ทุก ๆ ภารกิจที่เป็นไปได้ทั้งหมด เนื่องจากปกติแล้วก�ำลังของ ทบ. ท�ำการฝึกเพื่อการสงคราม
และเตรียมการส�ำหรับภารกิจเฉพาะเท่าที่เวลา และสภาพแวดล้อมจะอ�ำนวยให้ ลักษณะทาง
ธรรมชาติของวิกฤติการณ์ที่เปลี่ยนแปลงได้โดยง่ายต้องการให้ กกล.ทบ. ท�ำการฝึก, การวางก�ำลัง
เข้าสัประยุทธ์ และด�ำเนินการในปฏิบัติการไปพร้อม ๆ กัน ผู้บังคับบัญชาด�ำเนินการ (วางแผน,
เตรียมการ, ปฏิบัติการ และประเมินสถานการณ์อย่างต่อเนื่อง) ปฏิบัติการด้วยก� ำลังที่เข้า
ปฏิบัติการเริ่มต้น (Initial-Entry force) จ�ำนวนหนึ่ง ในขณะเดียวกันจะท�ำการเตรียมก�ำลังในที่
รวมพล และการเตรียมการให้กับหน่วยที่จะเคลื่อนก�ำลังติดตามไป การช่วงชิงความริเริ่มระหว่าง
การเข้าวางก�ำลังสัประยุทธ์ และในขั้นเริ่มแรกของการปฏิบัติการนั้น ผู้บังคับบัญชาต้องยอมรับ
ความเสีย่ งทีใ่ คร่ครวญแล้ว แม้ในยามทีส่ ถานการณ์ขา้ ศึกยังไม่ได้รบั การพัฒนาอย่างแน่ชดั การสร้าง
สมดุลในความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เป็นศิลปะของผู้เป็นนายที่ผ่านการศึกษามาจนเชี่ยวชาญ
มีประสบการณ์ และใช้วิจารณญาณอย่างสมเหตุสมผล
๓-๔ การปรับกองทัพเข้าสู่ความทันสมัย จะแปรสภาพขีดความสามารถในการแสดง
ก�ำลังรบ การปฏิบัติการเผชิญเหตุที่ผ่านมาปกติประกอบด้วยล�ำดับขั้นตอนในเรื่องของการ
เตรียมพร้อม (alert), การเข้าวางก�ำลัง, เสริมสร้างก�ำลังเพิม่ ขึน้ , ตลอดจนการปฏิบตั กิ ารจัดรูปแบบ
(shaping operation) ตามมาด้วยห้วงเวลาของการปฏิบตั กิ ารแตกหัก เพือ่ ยุตวิ กิ ฤติการณ์ ตัวอย่าง
คือ ยุทธการโล่ทะเลทราย (Desert Shield) และยุทธการพายุทะเลทราย (Desert Strom) ในช่วง
ว่างเว้นสถานการณ์การรบขนาดใหญ่ในปัจจุบัน กกล.ทบ. ที่มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจะคงความ
เป็นหน่วยของ ทบ. ที่ทรงอานุภาพในการท�ำลายล้าง และมีความคล่องแคล่วในการเข้าสู่สนามรบ
ในขั้นต้นสูง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการวางก�ำลัง และเต็มไปด้วยความสามารถรุกรบในระดับสูง
และสามารถจัดรูปแบบสถานการณ์ในพื้นที่ปฏิบัติการทางภาคพื้นดินให้ง่ายต่อการปฏิบัติการขั้น
แตกหักยิ่งขึ้น ในระดับการเผชิญเหตุขนาดเล็ก, การสนธิก�ำลังในลักษณะของ กรมผสม (กองพล
น้อย) ที่มีความทันสมัย และหน่วยที่ใช้ก�ำลังเข้าสู่พื้นที่ จะท�ำให้ผู้บัญชาการกองก�ำลังรบร่วม
มีขีดความสามารถในการรบแตกหักเมื่อเข้าสู่สนามรบตั้งแต่ต้น เมื่อเข้าสู่สนามรบ ก�ำลังรบตาม
วัตถุประสงค์ของ ทบ. จะบรรลุถึงการตอบโต้ทางยุทธศาสตร์ที่จ�ำเป็นต่อการด�ำเนินการวางก�ำลัง,
การจัดรูปแบบที่เอื้ออ�ำนวยต่อฝ่ายเรา และการรบแตกหักพร้อม ๆ กันในเวลาอันสั้น ทบ. จะต้อง
มีการปรับปรุงความทันสมัยให้กับหน่วยสนับสนุนทางการช่วยรบ การปรับปรุงด�ำเนินไปภายใต้
วิถีทางที่จะลดร่องรอยที่เกิดขึ้นในการปฏิบัติการ (footprint) และการเพิ่มเติมสิ่งอุปกรณ์ใหม่
50 บทที่ ๓

ตามความต้องการที่จะสร้างขีดความสามารถในการบรรลุจุดมุ่งหมายของหน่วยสนับสนุนทางการ
ช่วยรบ ในขณะเดียวกัน ทบ. จะต้องลงทุนกับระบบใหม่ ซึ่งช่วยลดความต้องการสนับสนุน
และการปรับปรุงคุณลักษณะทีเ่ กีย่ วกับการขนส่ง และการด�ำรงสถานภาพก�ำลังทหาร ยุทโธปกรณ์
และวัสดุอุปกรณ์ในตัวเองอย่างเป็นวงรอบ
๓-๕ การมุ่งต่อ การตอบโต้ทางยุทธศาสตร์ คือ ความส�ำเร็จทางการยุทธ์ การวางก�ำลัง
และการขยายก�ำลัง ทบ. อย่างรวดเร็วท�ำให้ผู้บัญชาการกองก�ำลังยุทธ์ร่วม มีเครื่องมือในการน�ำ
ก�ำลังทางภาคพื้นดิน เข้าสู่ยุทธบริเวณที่มีความขัดแย้งในลักษณะเฉพาะทางการยุทธ์ ด้วยการให้
ค�ำแนะน�ำเพียงเล็กน้อย การตอบโต้ในลักษณะนี้ท�ำให้ผู้บัญชาการกองก�ำลังยุทธ์ร่วมมีขีดความ
สามารถในการชิงลงมือกระท�ำการก่อนในการป้องปรามฝ่ายตรงข้าม, จัดรูปแบบสถานการณ์ให้
เอื้ออ�ำนวย, และท�ำการสู้รบจนมีชัยชนะได้หากการป้องปรามนั้นล้มเหลว กกล.ทบ. ที่สามารถ
ตอบโต้ได้ท�ำให้เกิดทางเลือกขึ้นมาอย่างทันท่วงทีในการครอบครองและได้รับความริเริ่มทางการ
ยุทธ์กลับคืนมาใหม่ กกล.ทบ.ท�ำการเสริม และเพิ่มเติมก�ำลังให้กับเหล่าทัพอื่น ๆ ด้วยหน่วย
ก�ำลังรบ หน่วยสนับสนุนการรบ และหน่วยสนับสนุนทางการช่วยรบซึ่งสามารถปรับตัวด�ำเนินการ
เข้าสัประยุทธ์ และใช้ก�ำลังเพื่อสร้างผลกระทบอย่างแตกหักได้
คุณสมบัติของ กกล.ทบ.ตอบโต้ทางยุทธศาสตร์
๓-๖ คุณสมบัติ ๗ ประการ
ของกองก� ำ ลั ง ตอบโต้ ท างยุ ท ธศาสตร์ คุณสมบัติของกองก�ำลังตอบโต้ทางยุทธศาสตร์
ขั บ เคลื่ อ นความต้ อ งการทั้ ง ทางด้ า น - ตอบโต้อย่างฉับพลัน (Responsive)
- ความสามารถในการวางก�ำลัง (Deployable)
โครงสร้างกองทัพใหม่ และทางการยุทธ์
- ว่องไว (Agile)
ทบ. ออกแบบก�ำลังรบใหม่ตามลักษณะ - ความสามารถรอบตัว (Versatile)
ดังกล่าว โครงสร้างการจัดยุทโธปกรณ์ - การท�ำลายล้าง (Lethal)
และการฝึก รวมถึง หลักนิยมในการน�ำ - ความสามารถในการอยูร่ อดในสนามรบ (Survivable)
ก�ำลังเข้าท�ำการรบ ฐานส่งการแสดงพลัง - ความสามารถในการด�ำรงความต่อเนือ่ ง (Sustainable)
อ�ำนาจ ซึ่งจะต้องประกอบไปด้วย ระบบ
การบังคับบัญชาและการควบคุม ระบบการข่าวกรอง ระบบการเฝ้าตรวจและระบบการลาดตระเวน
หาข่าว ตลอดจนระบบการขนส่งร่วมที่เป็นตัวก�ำหนดคุณสมบัติพื้นฐานของกองก�ำลังตอบโต้ทาง
ยุทธศาสตร์
๓-๗ ปฏิบัติการแต่ละปฏิบัติการมีลักษณะแตกต่างกัน กล่าวคืออาจจะไม่มีล�ำดับ
ขัน้ ตอนในทางอุดมคติทมี่ เี พียงหนึง่ เดียวเท่านัน้ ทีท่ �ำให้คณ
ุ สมบัตทิ งั้ ๗ ประการนีไ้ ด้ผลอย่างสมบูรณ์
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 51

สูงสุด อย่างไรก็ตาม ในมุมมองทางยุทธการ ผู้บังคับบัญชาฝึกฝนกองก�ำลังของตนเองให้เกิด


คุณสมบัตทิ งั้ ๗ ประการ เพือ่ ให้ตงั้ อยูบ่ นความพร้อม ผูบ้ งั คับบัญชาปรับกองก�ำลังให้เกิดความสมดุล
ในคุณสมบัตทิ งั้ ๗ ประการนีอ้ ย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการของ ผบ.ก�ำลังยุทธ์รว่ ม
ในคราวเดียวกัน
การตอบโต้อย่างฉับพลัน
๓-๘ การตอบโต้อย่างฉับพลัน คือ ลักษณะการปฏิบัติซึ่งครอบคลุม การวางแผนใน
ทางการยุทธ์ การเตรียมการ การปฏิบัติ และการประเมินค่า การปฏิบัติดังกล่าวก่อให้เกิดสภาวะ
ที่จะท�ำให้เกิดความส�ำเร็จในการด�ำเนินกลยุทธ์ทั้งในทางยุทธการ และยุทธวิธีตั้งแต่เริ่มวางแผน
ปฏิบตั กิ าร การตอบโต้อย่างฉับพลันเป็นความสามารถทีเ่ หนือกว่าในการเข้าวางก�ำลังอย่างรวดเร็ว
สิ่งที่ผู้บังคับก�ำลังยุทธ์ร่วมต้องการ คือ กกล.ทบ. ที่มีขนาด และการจัดที่เหมาะสมในการยับยั้ง
ฝ่ายตรงข้าม หรือท�ำให้เกิดการปฏิบตั ขิ นั้ แตกหักหากกรณีทกี่ ารขัดขวางนัน้ ล้มเหลว กองก�ำลังนีจ้ ะ
เข้าสัประยุทธ์กบั ข้าศึกอย่างถูกทีแ่ ละถูกเวลา เป็นหน่วยทีเ่ ข้าวางก�ำลังล่วงหน้าของการปฏิบตั กิ าร
มีขีดความสามารถในการเข้าที่ตั้งล�้ำไปข้างหน้า มีการด�ำเนินการทางทหารในยามปกติ และการ
แสดงก�ำลังรบ ได้ทกุ ทีไ่ ด้ตามต้องการ โดยไม่ควรติดพันกับภารกิจหรือการจัดอืน่ ๆ ซึง่ เป็นขีดความ
สามารถที่ต้องการในการสนับสนุนต่อการตอบโต้อย่างฉับพลันของก�ำลังรบของ ทบ.
๓-๙ การตอบโต้อย่างฉับพลัน เน้นย�ำ้ ที่ การฝึก การวางแผน และการเตรียมการในการ
วางก�ำลัง ผูบ้ งั คับบัญชาพึงระลึกไว้เสมอว่าวิกฤติการณ์ตา่ ง ๆ จะไม่อ�ำนวยให้มเี วลาเพียงพอในการ
แก้ไขการฝึกที่ไม่มีประสิทธิภาพระหว่างการเตรียมพร้อม และการเข้าวางก�ำลัง ผู้บังคับบัญชาต้อง
ประกันได้ว่าหน่วยของตนได้เตรียมการไว้เพื่อการบรรลุกิจส�ำคัญยิ่งในภารกิจ ให้เสร็จสิ้นก่อนการ
เตรียมพร้อม และมุ่งต่อการฝึกเฉพาะภารกิจในห้วงเวลาที่มีอยู่ ยิ่งไปกว่านี้ผู้บังคับบัญชาจะต้อง
เน้นถึงการเตรียมความพร้อมรบเป็นรายบุคคล และความพร้อมด้านยุทโธปกรณ์ ท้ายที่สุด
ผูบ้ งั คับบัญชาท�ำการทบทวน และด�ำเนินการตามแผนตลอดจนกระบวนการเตรียมความพร้อมแผน
และกระบวนการตามขัน้ ตอนในการวางก�ำลัง การปรับความทันสมัย สิง่ เหล่านีต้ งั้ อยูบ่ นพืน้ ฐานของ
บทเรียนจากการปฏิบัติการ ผู้บังคับบัญชาจะต้องทุ่มเทความสนใจเฉพาะในการปรับปรุงข้อมูล
อัตโนมัตเิ พือ่ การวางแผนส�ำหรับการวางก�ำลัง ทัง้ ยังจะต้องประกันได้วา่ บทเรียนดังกล่าวมีผลกระทบ
อย่างแท้จริงต่อการจัดหน่วยและยุทโธปกรณ์
๓-๑๐ การตอบโต้อย่างฉับพลัน ต้องสร้างสมดุลระหว่างความพร้อมกับความสมจริงใน
การฝึกในลักษณะวันต่อวัน ผู้บังคับบัญชาเป็นผู้พัฒนาและใช้คุณลักษณะความพร้อมตามภารกิจ
อย่างเหมาะสมส�ำหรับหน่วย ผู้บังคับบัญชาท�ำการประเมินภารกิจของหน่วย และวงรอบในการ
52 บทที่ ๓

ออกแบบความพร้อมทางภารกิจอย่างระมัดระวังเพื่อให้สอดคล้องกับคุณลักษณะความพร้อมตาม
ที่ต้องการ
ความสามารถในการวางก�ำลัง
๓-๑๑ ความสามารถในการวางก�ำลังเป็นการผสมผสาน การฝึก สิ่งอ�ำนวยความสะดวก
ก�ำลังทหาร และยุทโธปกรณ์ในการเข้าวางก�ำลังด้วยความรวดเร็วและมีพลัง โดยมีหน่วยสนับสนุน
ในพืน้ ทีร่ องรับให้ ผูบ้ งั คับบัญชาควรมีมมุ มองด้านการวางก�ำลังทีม่ ากกว่าการน�ำคน และยุทโธปกรณ์
ขึน้ รถ เรือ และเครือ่ งบิน ผูบ้ งั คับบัญชาควรมองการณ์ไกลถึงกระบวนการทัง้ หมด โดยวาดมโนภาพ
ที่มีการเริ่มต้นด้วยการเข้าวางก�ำลังหน่วยในทางยุทธการอย่างสมบูรณ์แบบในยุทธบริเวณ และ
วางแผนการย้อนหลังต่อทีต่ งั้ การวางก�ำลังล่วงหน้าของหน่วย ผูบ้ งั คับบัญชาจะรวบรวมรายละเอียด
ในการวางก�ำลังไว้ในระเบียบปฏิบัติประจ�ำของหน่วย โดยที่แผนการต่าง ๆ มุ่งประเด็นไม่เพียงแต่
ล�ำดับขั้นของการปฏิบัติเท่านั้น แต่ยังมองถึงกลุ่มก้อนของก� ำลังรบในแต่ละภาพเหตุการณ์ที่
แตกต่างกันอีกด้วย การซักซ้อมการวางก�ำลังเกิดขึ้นบ่อยครั้งเท่าใดก็ได้ตามแต่เวลาจะอ�ำนวยให้
ผู้บังคับบัญชา และผู้น�ำหน่วยรอง จะท�ำการลาดตระเวนพื้นที่การวางก�ำลังล่วงหน้า เพื่อส�ำรวจ
สิ่งอ�ำนวยความสะดวกในการวางก�ำลัง และเส้นทาง ตลอดจนทบทวนการเผชิญเหตุการณ์ต่าง ๆ
โดยเน้นที่ความริเริ่ม และความรับผิดชอบของผู้น� ำหน่วยระดับรองลงไปซึ่งถือเป็นสิ่งจ� ำเป็น
ในระหว่างการวางก�ำลัง หน่วยงานด้านข่าวกรองทั้งหมด สนับสนุนการวางก�ำลังให้เป็นไปด้วย
ความง่ายด้วยความพร้อม และความสามารถในการรวบรวมข้อมูลข่าวสารอย่างรวดเร็วเกี่ยวกับ
ข้าศึกหรือฝ่ายตรงข้าม การด�ำเนินกรรมวิธีสิ่งเหล่านั้นเข้าไปในการข่าวกรอง และการกระจาย
ข่าวกรองนั้นให้เป็นข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้อง
ว่องไว
๓-๑๒ ความว่องไว เป็นหลักการในการปฏิบตั กิ ารของ ทบ. เช่นเดียวกับ คุณลักษณะของ
ก�ำลังรบตอบโต้อย่างฉับพลัน การตอบโต้อย่างฉับพลัน คือ การที่ก�ำลังรบส่วนหนึ่งมีความว่องไว
และสามารถด�ำรงสถานภาพก�ำลังรบ มีความคล่องแคล่วเพียงพอต่อการบรรลุภารกิจ ข้อจ�ำกัดเกีย่ ว
กับการขนย้ายทีม่ อี ยูก่ ดดันให้ผบู้ งั คับบัญชาต้องสร้างสมดุลความต้องการทางภารกิจซึง่ เป็นเหมือน
การแข่งขันกันกับบางกรณีของเงื่อนไขบางประการอันเป็นนวัตกรรมที่ได้รับการพัฒนาขึ้น ความ
ว่องไวยังเป็นความต้องการซึ่งต้องการให้ผู้บังคับบัญชาคาดการณ์ถึงขอบเขตของงานทั้งหมด
รวมถึงขีดความสามารถในการทีบ่ รรลุสงิ่ เหล่านัน้ ท้ายทีส่ ดุ ก�ำลังรบทีม่ คี วามว่องไว คือความสามารถ
ทัง้ ทางร่างกาย และจิตใจในการทีจ่ ะแปรเปลีย่ นแบบของการปฏิบตั กิ ารทัง้ ภายใน และระหว่างแบบ
การปฏิบัติการโดยปราศจากการสูญเสียความหนุนเนื่อง ผู้บังคับบัญชาพัฒนาสภาพจิตใจจาก
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 53

การฝึกที่ยากล�ำบาก และสมจริง ผูบ้ งั คับบัญชา ฝ่ายอ�ำนวยการ และทหารทีม่ คี วามว่องไวทางด้าน


ความคิดท�ำการปรับกองก�ำลังรบ ยุทธศาสตร์ และยุทธวิธี เพื่อให้เป็นไปตามความต้องการทาง
ภารกิจในสภาวะแวดล้อมอันเป็นแปรเปลี่ยนอยู่เสมอ ๆ
ความสามารถรอบด้าน
๓-๑๓ เช่นเดียวกับความว่องไว ความสามารถรอบด้าน เป็นหลักการของการปฏิบัติการ
หนึง่ ของ ทบ. ด�ำเนินการโดยฉับพลัน และด�ำรงการปฏิบตั กิ ารทุกรูปแบบด้วยการปรับก�ำลังรบอย่าง
เหมาะสม เพือ่ บรรลุภารกิจ ความสามารถรอบด้าน ต้องการกองก�ำลังเป็นกลุม่ ก้อนทีส่ ามารถท�ำการ
จัดหน่วยใหม่ โดยจัดจากหน่วยทีม่ ขี ดี ความสามารถหลายแบบ และท�ำการปรับเปลีย่ นไปตามภารกิจ
ที่เปลี่ยนแปลง ผู้บังคับบัญชาปรับก�ำลังและจัดล�ำดับขั้นตอนการส่งก�ำลังรบเข้าไปในยุทธบริเวณ
อย่างระมัดระวัง การสร้างก�ำลังรบต้องมั่นใจได้ว่าได้จัดให้มีโครงสร้างทางการบังคับบัญชาและ
การควบคุม มีหน่วยก�ำลังรบ หน่วยสนับสนุนการรบ และหน่วยสนับสนุนทางการช่วยรบที่จ�ำเป็น
เมื่ อ เป็ น ไปได้ ผู ้ บั ง คั บ บั ญ ชาจะจั ด หน่ ว ยที่ มี พั น ธกิ จ อย่ า งหลากหลายเสมอ อย่ า งไรก็ ต าม
ผู้บังคับบัญชาต้องเข้าใจว่าก�ำลังดังกล่าวคือทีมงานที่ได้สนธิก�ำลังกันขึ้นมาจากหน่วยที่มีความ
แตกต่างกันและไม่สามารถท�ำการปฏิบตั กิ ารได้อย่างมีประสิทธิภาพนอกเสียจากว่าจะได้รบั การฝึก
ร่วมกันเสียก่อน ดังนั้น การฝึกจึงเน้นหนักที่การท�ำงานเป็นทีมและการปรับตัวเข้าหากันได้
ผู ้ บั ง คั บ บั ญ ชาเน้ น ย�้ ำ ในการบั ง คั บ บั ญ ชาและการควบคุ ม ที่ มี ค วามสามารถรอบด้ า น และ
กองบัญชาการที่สามารถแยกส่วนเพื่อควบคุมการปฏิบัติการที่มีหลายภารกิจ
อ�ำนาจการท�ำลายล้าง
๓-๑๔ กกล.ทบ. สนธิอำ� นาจก�ำลังรบจากหน่วยต่าง ๆ เข้าด้วยกัน เพือ่ เอาชนะข้าศึก เมือ่
มีการวางก�ำลังเกิดขึ้น ทุกหน่วยจะต้องผนึกอ�ำนาจก�ำลังรบ และสนับสนุนต่อการสู้รบนั้น โดย
ไม่ยึดติดกับประเภทของหน่วย จากมุมมองทางยุทธการ และยุทธวิธี ผู้บังคับบัญชาต้องประกัน
ได้ว่าในการวางก�ำลังของ กกล.ทบ. มีอำ� นาจก�ำลังรบเพียงพอต่อการเอาชนะข้าศึกได้ ศิลปะของ
การตอบโต้ทางยุทธศาสตร์ต้องการให้ผู้บังคับบัญชาสร้างสมดุลในความสามารถโดยการรวม
ประสิทธิภาพของระบบการรบ และเสริมสร้างอาวุธที่มีอ�ำนาจการท�ำลายอย่างรุนแรง ให้กับความ
ต้องการในความสามารถในการวางก�ำลัง การสนับสนุน และการด�ำรงสถานภาพหน่วยซึ่งใช้ระบบ
เหล่านั้น ผู้บังคับบัญชาต้องจัดก�ำลังเป็นลักษณะกลุ่มก้อน ซึ่งจะขยายความรุนแรงของการเข้าสู่
พื้นที่การรบอย่างสอดคล้องต่อเนื่องกับทั้งในด้านภารกิจ และความต้องการในการแสดงก� ำลัง,
ใช้ก�ำลัง และด�ำรงสภาพหน่วย พวกเขาปรับแต่ง และจัดล�ำดับการส่งก�ำลังรบที่จะติดตามเข้าไป
เพื่อเพิ่มทั้งการท�ำลายล้างและการเข้าถึงทางยุทธการของกองก�ำลังทั้งหมด
54 บทที่ ๓

ความสามารถในการอยู่รอด
๓-๑๕ ความอยูร่ อดในสนามรบ เป็นการผนวกเอาเทคโนโลยี และวิธกี ารซึง่ สามารถท�ำให้
เกิดการพิทักษ์ก�ำลังรบได้อย่างสูงสุด ซึ่งจะช่วยเพิ่มพูนความสามารถในการอยู่รอดในสนามรบ
ก�ำลังรบที่มีอ�ำนาจการท�ำลายล้างสูงสามารถโจมตีข้าศึกได้ก่อนที่ข้าศึกจะโจมตี และตอบโต้ต่อ
ข้าศึกได้ในกรณีจ�ำเป็น

องค์ประกอบของอ�ำนาจก�ำลังรบ
- การด�ำเนินกลยุทธ์
- การยิง
- ความเป็นผู้น�ำ
- การพิทักษ์หน่วย
- ข้อมูลข่าวสาร

๓-๑๖ ผูบ้ งั คับบัญชาผสมผสานทรัพยากรในการพิทกั ษ์ก�ำลังรบอย่างพอเพียงเพือ่ ประกัน


ความส�ำเร็จในการบรรลุภารกิจ หน่วยทหารช่างปืนใหญ่ต่อสู้อากาศยาน และหน่วยทหาร
วิทยาศาสตร์ เป็นหน่วยที่สามารถเพิ่มความอยู่รอดในสนามรบให้กับ กกล.ทบ. ที่เข้าวางก�ำลังได้
เป็นอย่างดี ข้อจ�ำกัดในการขนส่ง และปัจจัยเวลาทีม่ อี ยูส่ ร้างความซับซ้อนให้กบั สถานการณ์ ความ
อยูร่ อดในสนามรบต้องการการประเมินค่าอย่างมีเล่หเ์ หลีย่ มในเรือ่ งของความเสีย่ งทางยุทธการ ใน
หลาย ๆ ปฏิบัติการ การปฏิบัติการรุกอย่างรวดเร็วอาจจะพิทักษ์ก�ำลังรบได้ดียิ่งกว่าการป้องกัน
แบบรวมก�ำลังรบรอบ ๆ พื้นที่พักคอย
การด�ำรงความต่อเนื่อง
๓-๑๗ การสร้างสมและการด�ำรงความต่อเนื่องให้กับก�ำลังรบ เป็นหลักพื้นฐานของการ
ตอบโต้อย่างฉับพลันทางยุทธศาสตร์ ผู้บังคับบัญชาต้องประสานประโยชน์จากการแข่งขันทาง
ภารกิจตามที่ได้รับมอบหมายในทางหนึ่ง กกล.ทบ. ต้องบรรลุภารกิจที่ได้รับมอบหมายจาก
ผูบ้ งั คับบัญชาก�ำลังรบร่วม และในทางตรงข้ามพวกเขาต้องการการด�ำรงความต่อเนือ่ งอย่างพอเพียง
เพื่อการปฏิบัติการที่ยืดเยื้อ ในเรื่องเกี่ยวกับมิติด้านเวลา และความลึก ผู้บังคับบัญชาปรับก�ำลังรบ
ให้เพียงพอในการสนับสนุนทางการช่วยรบขณะที่ด�ำเนินการปฏิบัติในทุก ๆ ปัญหาเพื่อลดปัญหา
การสนับสนุนทางการช่วยรบ ในบางกรณีผบู้ งั คับบัญชาเลือกเพิม่ ภาระในการเพิม่ ขีดความสามารถ
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 55

ทางด้านการสนับสนุนทางการช่วยรบด้วยการรับการสนับสนุนจากหน่วยในพื้นที่หรือหน่วยงาน
อื่น ๆ รวมถึงการว่าจ้างผู้ประกอบการในพื้นที่
ข้อพิจารณาของการตอบโต้อย่างฉับพลันในทางยุทธศาสตร์
๓-๑๘ การประยุกต์ศิลปะของการตอบโต้อย่างฉับพลันในทางยุทธศาสตร์นั้น จะต้องมี
ความเข้าใจในหลักการ ข้อพิจารณาในเรื่องของการตอบโต้อย่างฉับพลันในทางยุทธศาสตร์
ข้อพิจารณาเหล่านี้ เป็นส่วนขยายและเสริมให้คุณสมบัติของ กกล.ทบ. ตอบโต้ทางยุทธศาสตร์มี
ความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น
การคาดการณ์ล่วงหน้า
๓-๑๙ ผู้บังคับบัญชาคาดการณ์การปฏิบัติการในอนาคต พร้อมทั้งท�ำการฝึกหน่วยเพื่อ
เตรียมพร้อม และเพื่อเตรียมการเข้าวางก�ำลังตลอดจนการเตรียมหน่วยเพื่อรองรับกับความ
เปลี่ยนแปลงของภารกิจใด ๆ ก็ตามที่น่าจะเกิดขึ้นในอนาคต ถ้าหน่วยได้รับการก�ำหนดภารกิจ
ยามปกติในการป้องกันประเทศ และรักษาความมั่นคงในพื้นที่ที่ก�ำหนดในฐานะกองก�ำลังป้องกัน
พืน้ ที่ หรือภารกิจมุง่ เน้นเรือ่ งดังกล่าว การเตรียมการทางด้านจิตใจและร่างกายตลอดจนการวางแผน
เรื่องนี้สามารถเกิดขึ้นได้ล่วงหน้าอย่างยาวนานก่อนที่จะมีการเตรียมพร้อม และการเข้าวางก�ำลัง
ระบบข่าวกรองช่วยให้ผบู้ งั คับบัญชาสามารถคาดการณ์การปฏิบตั กิ ารในอนาคตโดยการเตรียมการ
ทางยุทธศาสตร์ผ่านทางตัวชี้วัด และการแจ้งเตือนทางยุทธวิธีตลอดจนการด�ำรงความพร้อมทาง
ด้านการข่าวกรอง การปฏิบัติที่เกี่ยวข้องรวมถึงการฝึกเฉพาะตามภารกิจ และตามลักษณะภูมิภาค
โดยเน้นหนักในเรือ่ งความริเริม่ หรือการปรับตัว การจัดองค์กรด้านการบังคับบัญชา และการควบคุม
ส�ำหรับการปฏิบัติการเข้าสู่สนามรบ การด�ำเนินการฝึกฝ่ายอ�ำนวยการ การออกค�ำสั่งและการจัด
เตรียมแผนที่ การศึกษาโครงสร้างพืน้ ฐานทีม่ อี ยู่ การประสานงานกับองค์กรต่าง ๆ ทีเ่ กีย่ วข้อง และ
การฝึกตามระเบียบปฏิบัติประจ�ำในการวางก�ำลัง การปฏิบัติเหล่านี้อ�ำนวยให้หน่วยต่าง ๆ ท�ำการ
วางก�ำลังรบได้รวดเร็วยิ่งขึ้น หากปราศจากการฝึกเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องเหล่านี้อาจจะท�ำให้การ
วางก�ำลังนั้นช้าลงได้
๓-๒๐ การตกลงใจเกี่ยวกับ ขนาด, การประกอบก�ำลัง, โครงสร้าง และล�ำดับขั้นตอนใน
การวางก�ำลัง สร้างเงือ่ นไขให้กบั ความส�ำเร็จในยุทธบริเวณ ในทางอุดมคติ ผูบ้ งั คับบัญชาก�ำหนดการ
ตัดสินใจทีเ่ ป็นไปอย่างมีศกั ยภาพก่อนทีจ่ ะถึงเหตุการณ์จริง การวางแผนไว้กอ่ นล่วงหน้าพัฒนาทาง
เลือกให้สอดคล้องกับสถานการณ์ทเี่ ป็นไปได้ การฝึกอย่างสม�่ำเสมอจะช่วยกลัน่ กรองแนวความคิด
และกระบวนการ อย่างไรก็ตามธรรมชาติของการปฏิบัติการสามารถเปลี่ยนแปลงได้อย่างเฉพาะ
เจาะจงก่อนการปฏิบัติ ผู้บังคับบัญชาต้องประกันได้ว่าแผนการ และการตกลงใจของพวกเขา
56 บทที่ ๓

ไม่ได้เป็นการปิดกัน้ ทางเลือกในการน�ำก�ำลังเข้าท�ำการรบทีอ่ าจจะจ�ำเป็นในภายหลัง แผนการทาง


ยุทธการ และทางยุทธวิธอี กี ทัง้ กรรมวิธใี นการวางก�ำลังเข้าท�ำการรบตลอดจนการหมุนเวียนทีจ่ �ำเป็น
เพือ่ ให้เกิดความอ่อนตัวอย่างเพียงพอต่อการเปลีย่ นแปลงการด�ำเนินการภายหลังการเตรียมพร้อม
การตัดสินใจที่ส�ำคัญอื่น ๆ รวมถึง
- ความสัมพันธ์ในทางสายการบังคับบัญชาและการสนับสนุน
- ล�ำดับความเร่งด่วนในการเคลื่อนย้ายหน่วย สิ่งอุปกรณ์
- รูปแบบการขนส่งส�ำหรับหน่วยที่เป็นส่วนล่วงหน้าในการวางก�ำลัง
- ขัน้ ตอนกรรมวิธี และผูร้ บั ผิดชอบในการรับก�ำลัง, สะสมก�ำลัง, เคลือ่ นย้ายเข้า
สู่ยุทธบริเวณ หรือพื้นที่ปฏิบัติการ และการสนธิก�ำลัง (รสคส.)๑
การบังคับบัญชาและควบคุม
๓-๒๑ ผู้บังคับบัญชาในระดับยุทธศาสตร์ และยุทธการ เป็นผู้ตัดสินใจในเรื่องเป้าหมาย
ทางยุทธศาสตร์, ความต้องการก�ำลังรบ, การแบ่งสรรก�ำลังรบ หน่วยใดทีจ่ ะท�ำการระดมก�ำลัง และ
เข้าวางก�ำลังรบตลอดจนจะเข้าปฏิบัติการเมื่อใด แต่สิ่งเหล่านี้มักไม่มีความชัดเจนในการตัดสินใจ
ขั้นต้นในการระดมก�ำลัง การเข้าวางก�ำลังรบ และการใช้ก�ำลังเข้าท�ำการรบ เกิดขึ้นพร้อม ๆ กัน
ท่ามกลางความคลุมเครือและความฝืดเคือง ความท้าทายที่เกิดขึ้นกับผู้บังคับบัญชา คือการ
ตัดสินใจอย่างทันเวลาซึ่งเป็นการวางรากฐานในความส�ำเร็จในอนาคต การบังคับบัญชาและการ
ควบคุมทีม่ ปี ระสิทธิภาพ ยุทโธปกรณ์ สิง่ อ�ำนวยความสะดวก การข่าวกรอง และกระบวนการทีช่ ว่ ย
ให้ผู้บังคับบัญชาให้การสนับสนุน ท�ำให้ผู้บังคับบัญชาต้องมีวิสัยทัศน์ส�ำหรับการปฏิบัติการ
พร้อมทัง้ อธิบายถึงวิสยั ทัศน์ของตนแก่หน่วยรอง และอ�ำนวยการปฏิบตั ใิ ห้เป็นไปตามการตัดสินใจ
ของตน โดยเฉพาะอย่างยิ่งระบบข้อมูลข่าวสารที่ทันสมัยที่จัดเตรียมไว้ให้กับผู้บังคับบัญชาด้วย
ภาพการยุทธ์รว่ มกัน ซึง่ อ�ำนวยประโยชน์ให้พวกเขามองเห็น และติดตามก�ำลังรบจากฐานทีต่ งั้ จนถึง
เข้าสู่ยุทธบริเวณเพื่อใช้ก�ำลังเข้าท�ำการรบ ภาพการยุทธ์ร่วมกันแสดงให้เห็น ฝ่ายเรา ฝ่ายคุกคาม
และองค์ประกอบด้านสภาพแวดล้อม ซึ่งจะช่วยให้ผู้บังคับบัญชาท�ำการตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง
และทันเวลาตามล�ำดับขั้นตอนการใช้ก� ำลังรบ และอ�ำนวยการใช้ก�ำลังรบและทรัพยากร ณ
ที่ที่ต้องการโดยหน่วยต่าง ๆ ในยุทธบริเวณ
๓-๒๒ ระบบบังคับบัญชาและการควบคุมแบบรวมหน่วยมาประกอบเข้าด้วยกัน หรือ
ก�ำลังรบแบบมูลฐาน (Modular C2) ที่น�ำมาใช้ ช่วยส่งเสริมความสามารถของผู้บังคับบัญชาใน
การแยกส่วนกองบัญชาการส�ำหรับการปฏิบัติการให้สามารถแยกส่วนย่อย ๆ ออกไปได้ตลอดการ

RSO&I = Reception, Staging, Onward movment, and Integration (รสคส.)
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 57

ปฏิบัติการ ตัวอย่างเช่น การเข้าวางก� ำลังอาจจะแยกหน่วยต่าง ๆ ออกจากกองบัญชาการ


หน่วยเหนือ และหน่วยข้างเคียงได้ โครงสร้างการบังคับบัญชาและการควบคุมแบบรวมหน่วยมา
ประกอบเข้าด้วยกัน หรือหน่วยที่จัดแบบก�ำลังรบมูลฐาน อ�ำนวยให้มีการใช้ลักษณะความเป็นผู้น�ำ
ในเรื่องของการรักษาโครงสร้างการบังคับบัญชา และการควบคุมของหน่วยไว้ในระหว่าง การรับ,
การพักคอย, การเคลื่อนย้ายไปข้างหน้า, และการสนธิกำ� ลังในฐานที่พักคอยยุทธบริเวณก่อนมี
การใช้ก�ำลังเข้าท�ำการรบ
๓-๒๓ ผูบ้ งั คับบัญชาต้องการทีต่ งั้ เส้นทางเข้าสูพ่ นื้ ที่ และการติดต่อสือ่ สารในยุทธบริเวณ
ซึง่ มีความปลอดภัย เชือ่ ถือได้และทันเวลา ผูบ้ งั คับบัญชาต้องผสมผสานก�ำลังทีใ่ ห้การสนับสนุนและ
ก�ำลังของเหล่าทัพต่าง ๆ ในยุทธบริเวณให้ผสมกลมกลืนกันได้ ซึ่งรวมถึงองค์กรฝ่ายพลเรือน
ของรัฐบาลอีกด้วย หน่วยต่าง ๆ จัดตั้งการติดต่อสื่อสารกับองค์การ และเหล่าทัพอื่น ๆ ที่เข้าร่วม
ในการปฏิบัติการ
การติดตามก�ำลังรบ เป็นการพิสจู น์ทราบในเรือ่ งของวิธกี ารในการขนส่งระหว่าง
การเคลื่อนย้ายของหน่วย และวิธีการขนส่งเฉพาะไปยังพื้นที่เป้าหมายที่ก�ำหนด
๓-๒๔ ระบบติดตามก�ำลังรบของ ทบ. และของการยุทธ์ร่วม ท�ำการติดตาม และการ
พยากรณ์การมาถึงยุทธบริเวณของก�ำลังเหล่านั้น การติดตามก�ำลังรบเป็นการรายงานสถานภาพ
ด้านการรบแก่ผู้บัญชาการยุทธ์ร่วม รายงานดังกล่าวท�ำให้เกิดข้อมูลข่าวสารอย่างทันท่วงที และ
สม�่ำเสมอเกี่ยวกับขีดความสามารถของหน่วยในปัจจุบัน และที่พยากรณ์ไว้ระหว่างการปฏิบัติการ
แสดงก�ำลังรบ การสนับสนุนหน่วย และฝ่ายอ�ำนวยการในการรายงานการเคลื่อนย้ายของหน่วย
ขณะที่ฝ่ายอ�ำนวยการปฏิบัติการติดตามการปฏิบัติเหล่านั้น และรายงานการเสริมสร้างขีดความ
สามารถทางการยุทธ์ การติดตามก�ำลังรบต้องการข้อก�ำหนดในเรื่องของความพร้อมตามความ
ต้องการของผู้บังคับบัญชาที่จะช่วยให้สามารถประเมินค่าสถานภาพของหน่วยได้ และท�ำให้มอง
เห็นความส�ำคัญของทรัพยากรทั้งมวลที่ต้องการน�ำมาใช้ ปกติผู้บัญชาการก�ำลังยุทธ์ร่วมก�ำหนด
ความพร้อมรบของก�ำลังรบ บนพื้นฐานการปฏิบัติการหรือตามสถานการณ์
๓-๒๕ ผู้บังคับบัญชาวาดภาพการแสดงก�ำลังรบ ท�ำการปฏิบัติการอย่างไร้ร่องรอย ด้วย
ความเร็วในการวางก�ำลังเข้าท�ำการรบท�ำให้เพิม่ อัตราของกิจกรรมทางทหารในขัน้ ต้นในยุทธบริเวณ
ผู้บังคับบัญชาต้องมีความเข้าใจในเรื่องของความเร็ว การจัดล�ำดับขั้นตอน และการสนธิก�ำลังที่
วางเข้าไปในยุทธบริเวณว่ามีผลกระทบอย่างไรในทางเลือกของการใช้ก� ำลัง ในทางกลับกัน
ผู้บังคับบัญชาเล็งเห็นว่าแนวความคิดในการใช้ก�ำลังของพวกเขาเป็นไปอย่างไรในการสร้างความ
ต้องการในการวางก�ำลังเข้าท�ำการรบ ผู้บังคับบัญชาจัดล�ำดับความเร่งด่วนการผสมผสานก�ำลังรบ
บนพื้นฐานของข้อมูลก�ำลังรบและการวางก�ำลังตามขั้นเวลา เพื่อน�ำก�ำลังรบเข้าสู่ยุทธบริเวณไม่ว่า
58 บทที่ ๓

ที่ไหน และเมื่อใดก็ได้ตามที่ต้องการ ผู้บังคับบัญชาตระหนักว่าการตกลงใจที่กระท� ำแต่เนิ่น


ในกรรมวิธีการแสดงก�ำลังรบ มีผลกระทบต่อการใช้ก�ำลังตลอดทั่วทั้งการทัพของผู้บัญชาการ
ก�ำลังยุทธ์รว่ ม การมุง่ ประเด็นเพียงอย่างเดียวต่อแผนการของส่วนก�ำลังภาคพืน้ ดินอาจจะส่งผลลัพธ์
ในล�ำดับขั้นก�ำลังรบที่ไม่ถูกต้อง การบังคับบัญชาในส่วนที่เกี่ยวข้องอย่างฉับไว และต่อเนื่อง
ในระหว่างแต่ละขั้นตอนของการแสดงก�ำลังรบทั้งหมด ประกอบด้วยแผนย้อนหลังที่มีรายละเอียด
การผสมผสานที่จะประกันได้ว่าก�ำลังที่ถูกต้องและการสนับสนุนที่ถูกต้องสามารถน�ำไปใช้ได้ และ
มีความพร้อมที่จะด�ำเนินการปฏิบัติการอย่างแตกหักได้เมื่อใดก็ได้ตามที่ต้องการ
อ�ำนาจการท�ำลายล้างของก�ำลังรบที่เข้าวางก�ำลัง (Lethality of the Deploying Force)
๓-๒๖ ปัจจัยส�ำคัญทางยุทธศาสตร์ คือ การน�ำก�ำลังรบที่เชื่อถือได้ มีอ�ำนาจการท�ำลาย
ล้างสูง เข้าสู่ยุทธบริเวณแต่เนิ่น การกระท�ำเช่นนี้ท�ำให้ข้าศึกรู้สึกถึงความน่าสะพรึงกลัวได้อย่าง
รวดเร็ว การที่คิดจะรุกรานต่อไปจะต้องเป็นการลงทุนอย่างสูง ก�ำลังรบเริ่มแรกที่เข้าสู่สนามรบ
(Initial-entry forces) นั้นต้องการความสามารถในการปฏิบัติร่วมกัน (interoperable) และมี
ความอ่อนตัวอย่างเพียงพอต่อการควบคุมสภาพแวดล้อมที่ยังมองไม่เห็น ก�ำลังรบเริ่มแรกที่เข้าสู่
สนามรบ ต้องการอ�ำนาจก�ำลังรบอย่างเพียงพอต่อการสร้าง และพิทกั ษ์พนื้ ทีย่ ดึ อาศัย๑ และเริม่ ต้น
ปฏิบัติการจัดรูปแบบ (shaping operations) ให้เป็นไปตามที่ต้องการทันทีที่มาถึง การกระท�ำ
เช่นนีต้ อ้ งการ การปรับก�ำลังรบตามภารกิจ และข้อมูลข่าวสารทีเ่ กีย่ วข้องอย่างถูกต้อง ความสามารถ
ที่จะท�ำการสู้รบ ณ ตอนเริ่มแรกเป็นความส�ำคัญยิ่งต่อการปฏิบัติการที่ประสบผลส�ำเร็จตาม
แผนการทัพในยุทธบริเวณ ก�ำลังรบทีไ่ ด้รบั การปรับขีดความสามารถเพือ่ สร้างความได้เปรียบเหนือ
สถานการณ์แต่เนิ่นช่วยให้ผู้บัญชาการกองก�ำลังยุทธ์ร่วมครองความริเริ่มไว้ได้
การปรับก�ำลังรบตามภารกิจ
๓-๒๗ การปรับก�ำลังรบตามภารกิจ คือ ขัน้ ตอนในการก�ำหนดการสนธิกำ� ลังรบ และการ
จัดล�ำดับขั้นตอนของการใช้หน่วยอย่างถูกต้องเหมาะสมกับภารกิจ ผู้บังคับบัญชาของ กกล.ทบ.
ปรับก�ำลังรบตามภารกิจ เพื่อให้เกิดความสอดคล้องกับการก� ำหนดความต้องการเฉพาะของ
ผู้บัญชาการกองก�ำลังยุทธ์ร่วม และด�ำเนินการผ่านทางผู้บัญชาการส่วนก�ำลังเหล่าทัพบก (ASCC)
หน่วยต่าง ๆ ทีม่ กี ารระบุไว้เพือ่ การวางก�ำลังอย่างรวดเร็วได้รบั การปรับก�ำลังตามความต้องการของ
ภารกิจ หน่วยเหล่านั้นท�ำการจัดให้เป็นมาตรฐานมากที่สุดเท่าที่จะท�ำได้ กลุ่มก�ำลังรบเริ่มแรก

พืน้ ทีย่ ดึ อาศัย (Lodgement) พืน้ ทีท่ กี่ ำ� หนดในเขตข้าศึกหรือเขตทีอ่ าจจะเป็นอันตรายจากฝ่ายข้าศึกซึง่ เมือ่ ยึดครองได้ จะ
ท�ำให้สามารถล�ำเลียงทหารและ ยุทโธปกรณ์ลงได้อย่างต่อเนือ่ งและเกิดเป็นพืน้ ทีด่ ำ� เนินกลยุทธ์สำ� หรับการปฏิบตั กิ ารอืน่ ๆ
ทีจ่ ะตามมา
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 59

ที่เข้าสู่สนามรบ มีรากฐานมาจากการคาดการณ์ความต้องการในการวางก� ำลังเข้าท�ำการรบ


กลุม่ ก�ำลังรบเหล่านีป้ ระกอบด้วยการจัดตามอัตรามูลฐานซึง่ รวบรวมเป็นข้อมูลไว้ในข้อมูลก�ำลังรบ
และการวางก�ำลังตามขั้นเวลา หน่วยต่าง ๆ พัฒนาแผนการบรรทุกที่ปรับไว้เรียบร้อยแล้วเพื่อให้
สอดคล้องกับการเผชิญเหตุการณ์ทคี่ าดการณ์ไว้ กลุม่ ก�ำลังรบ (force packages) เหล่านีป้ ระกอบ
ไปด้วยอ�ำนาจก�ำลังรบอย่างเพียงพอต่อการด�ำรงสถานภาพ และการพิทักษ์ก�ำลังรบของตนเอง
ส�ำหรับการปฏิบัติในห้วงเวลาสั้น ๆ ณ ที่ใดก็ตามที่พวกเขาอาจจะต้องไป กองก�ำลังที่ติดตามไป
ในภายหลังจะได้รับการปรับให้สอดคล้องกับความสัมพันธ์อย่างเฉพาะเจาะจงในส่วนของภารกิจ
ในระยะยาว
๓-๒๘ โดยปกติแล้วผู้บังคับบัญชาจะเป็นผู้ปรับก�ำลังรบของหน่วยรอง ยกตัวอย่างเช่น
แม่ ทั พ น้ อ ยอาจจะเป็ น ผู ้ ป รั บ กองพลที่ จ ะเข้ า ปฏิ บั ติ ก ารโดยการเพิ่ ม หน่ ว ยของกองพลด้ ว ย
กองพลน้อยหรือกรมทหารราบเพิ่มเติมก�ำลัง และสองกองพลน้อย หรือกรมทหารปืนใหญ่สนาม
กองทัพน้อย ระหว่างการปรับก�ำลังรบตามภารกิจ ผูบ้ งั คับบัญชาสร้างสมดุลอ�ำนาจก�ำลังรบทีจ่ ำ� เป็น
เพื่อบรรลุภารกิจด้วยความเร็วของการเข้าวางก�ำลังท�ำการรบเพื่อท�ำให้เกิดความมั่นใจได้ว่า
ก�ำลังรบที่เข้าวางก�ำลังได้มาถึงจุดที่มีความพร้อมทางยุทธการ และมีการด�ำรงความต่อเนื่อง
๓-๒๙ ในระหว่างการวิเคราะห์ และปรับก�ำลังรบ ผู้บังคับบัญชาจะให้ความสนใจเป็น
พิเศษในเรื่อง ความสามารถในการเคลื่อนย้ายทางยุทธศาสตร์ (Strategic lift) ทรัพยากรที่จะส่ง
เข้าประจ�ำพื้นที่ล่วงหน้า การสนับสนุนของชาติเจ้าบ้าน และการสนับสนุนของผู้ที่ได้รับสัมปทาน
ในการจัดหาให้แก่กองก�ำลังในยุทธบริเวณ (theater support contracted) ตัวอย่างเช่น ในการ
ปฏิบัติการที่ไม่ได้มีการขัดขวางจากฝ่ายตรงข้าม ผู้บังคับบัญชาจะจัดตารางในการเข้าวางก�ำลัง
แต่เนิ่น ๆ ให้กับหน่วยสนับสนุนการช่วยรบ, ทหารช่าง, สห., หน่วยปฏิบัติทางด้านกิจการพลเรือน
และหน่วยแพทย์เคลื่อนย้ายเข้าพื้นที่ก่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีปัญหาเกี่ยวกับการสนับสนุน
ของหน่วยในพืน้ ทีท่ งั้ ฝ่ายทหารและฝ่ายพลเรือน และในพืน้ ทีป่ ฏิบตั กิ ารทีม่ โี ครงสร้างพืน้ ฐานจ�ำกัด
ด้วยการเผชิญกับการปฏิบัติเข้าสู่สนามรบ ผู้บังคับบัญชาปรับก�ำลังรบเพื่อการหมุนเวียน และการ
ผสมผสานที่แตกต่างกัน การวางส่วนผสมในส่วนของหน่วยก�ำลังรบในล�ำดับชั้นการวางก�ำลัง
เข้าท�ำการรบแต่เนิ่น ๆ ผู้บังคับบัญชาอาจจะพบว่าพวกเขาต้องการที่จะแทนที่หน่วยประเภทหนึ่ง
ให้กับหน่วยอีกประเภทหนึ่ง หรือเพิ่มเติมหน่วยซึ่งไม่เคยฝึกร่วมกัน สิ่งนี้เป็นการวางหน่วยแบบ
พิเศษซึ่งท�ำให้เกิดการท�ำงานเป็นทีมแต่เนิ่น ๆ และเป็นไปด้วยความต่อเนื่อง ด้วยการท�ำงาน
เป็นทีม การเน้นย�้ำโดยการตรวจเยี่ยมและการติดต่อในลักษณะอื่น ๆ เป็นการสร้างความสามัคคี
ให้กับทีมงานใหม่ซึ่งเป็นสิ่งจ�ำเป็นต่อการบรรลุภารกิจ การปรับก�ำลังรบตามภารกิจ มุ่งประเด็น
เกี่ยวกับการสนธิในส่วนของก�ำลังรบทางแนวดิ่ง (vertical integration of the force) เป็น
60 บทที่ ๓

การประกันถึงขีดความสามารถที่สอดคล้องกับการผสมผสาน และการจัดล�ำดับอย่างเหมาะสม
ในแต่ละล�ำดับชั้น การปรับก�ำลังรบตามภารกิจ รวมถึงการแบ่งสรรก�ำลัง, การเพิ่มเติมก�ำลัง, และ
การกลั่นกรองแก้ไขก�ำลัง (force allocation, force augmentation, force refinement)

รูปที่ ๓-๑ การแบ่งสรร และการเพิ่มเติมก�ำลังรบ

๓-๓๐ การแบ่งสรรก�ำลัง (Force allocation) ผูบ้ งั คับบัญชาปรับก�ำลังเพือ่ ประกันความ


มัน่ ใจในเรือ่ ง ขนาดและขีดความสามารถของกองก�ำลังโดยเฉพาะอย่างยิง่ ขีดความสามารถในการ
ควบคุมและบังคับบัญชามีเพียงพอที่จะปฏิบัติให้บรรลุภารกิจได้ กระบวนการนี้เริ่มต้นจาก
ผูบ้ ญ
ั ชาการรบแบ่งสรรก�ำลังพืน้ ฐาน ปกติแล้วก�ำลังพืน้ ฐานจะเป็นหน่วยรบ ยกตัวอย่างเช่น กองพล,
กรมทหารม้ายานเกราะ, หน่วยสงครามพิเศษ หรือกองพลน้อยผสมเหล่าด�ำเนินกลยุทธ์ อย่างไร
ก็ตามในการปฏิบัติการเพื่อเสถียรภาพ หรือ การปฏิบัติการสนับสนุน ก�ำลังพื้นฐานอาจจะเป็น
หน่วยสนับสนุนการรบ หรือหน่วยสนับสนุนทางการช่วยรบ อย่างเช่น หน่วยสารวัตรทหาร,
หน่วยเสนารักษ์, หน่วยกิจการพลเรือน หรือหน่วยประปาสนามของทหารช่างก็ได้
๓-๓๑ การเพิ่มเติมก�ำลัง เป็นการเพิ่มเติมก�ำลังนอกเหนือไปจากก�ำลังตามอัตราตาม
โครงสร้างของ กกล.ทบ.ด้วยขีดความสามารถพิเศษ ที่ได้รับการออกแบบมาเพื่อว่าในแต่ละล�ำดับ
หน่วยบัญชาการมีขีดความสามารถซึ่งสามารถเพิ่มเติมได้จากหน่วยบัญชาการในล�ำดับเหนือขึ้นไป
ทันทีที่ผู้บัญชาการรบแบ่งสรรก�ำลังรบขั้นพื้นฐานแล้ว กองบัญชาการของ ทบ. จะติดต่อกับ
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 61

หน่วยบัญชาการส่วนก�ำลังเหล่าทัพบก (ASCC) จะท�ำการเพิ่มเติมก�ำลังด้วยหน่วยสนับสนุน


ที่จ�ำเป็น ดูรูปที่ ๓-๑ แสดงถึงหน่วยบัญชาการที่อยู่เหนือขึ้นไปเพิ่มเติมก�ำลังให้กองพล บนพื้นฐาน
ของการปฏิ บั ติ ก ารผสมผสาน ขี ด ความสามารถเหล่ า นี้ ไ ด้ เ พิ่ ม เติ ม ขี ด ความสามารถอั น เป็ น
องค์ประกอบพื้นฐานของก�ำลังรบ ปกติจะไม่มีการบรรจุมอบให้กับกองพล แม้ว่าอาจจะได้รับ
การจัดวางไว้ภายใต้ลักษณะการควบคุมทางยุทธการหรือการสนับสนุนโดยตรง หรือการสนับสนุน
ทั่วไปให้กับกองพล

รูปที่ ๓-๒ การแบ่งสรรก�ำลัง : การแก้ไขก�ำลังรบ

๓-๓๒ การกลั่นกรองแก้ไขก�ำลังรบ ก�ำลังรบพื้นฐาน และก�ำลังเพิ่มเติมได้รับการ


กลั่นกรองแก้ไขเพื่อน�ำไปจัดท�ำบัญชีส�ำหรับข้อบังคับอย่างหลากหลายในเรื่องของการปฏิบัติ
การแสดงก�ำลังรบ (projected operation) การกลั่นกรองแก้ไขก�ำลังรบเป็นกระบวนการซ�้ำไป
ซ�้ำมา และต่อเนื่องซึ่งเกี่ยวกับองค์ประกอบในส่วนก�ำลังเหล่าทัพของ ทบ. ทั้งมวลและสมาชิก
ของหน่วยงานด้านการยุทธ์รว่ ม และการปฏิบตั ริ ะหว่างองค์กร มันรวมถึงผูบ้ ญ ั ชาการก�ำลังยุทธ์รว่ ม
และผูแ้ ทนต่าง ๆ จากหน่วยงานของกระทรวงการต่างประเทศ, คณะเสนาธิการร่วม, คณะเสนาธิการ
ของ ทบ., หน่วยบัญชาการส่วนก�ำลังเหล่าทัพ (ASCC), กองบัญชาการ กกล.ทบ., และหน่วยงาน
อืน่ ๆ ของรัฐบาลทีเ่ กีย่ วข้อง การกลัน่ กรองแก้ไขก�ำลังรบเกีย่ วข้องกับการปรับแต่งก�ำลังตามปัจจัย
METT-TC, การจัดล�ำดับขั้นตอนของการวางก�ำลังรบ (force sequencing), และการปรับฝ่าย
เสนาธิการ, ตลอดจนการจัดเฉพาะกิจ
62 บทที่ ๓

- การปรับแต่งตามปัจจัย METT-TC ผู้บังคับบัญชาวิเคราะห์ก�ำลังรบพื้นฐาน


และการเพิ่มเติมก�ำลังทั่วไป โดยการใช้ปัจจัย METT-TC คือ ภารกิจ, ข้าศึก,
ภูมปิ ระเทศ และลมฟ้าอากาศ, ก�ำลังฝ่ายเราและการสนับสนุนทีม่ อี ยู,่ เวลา
ที่มีอยู่, ข้อพิจารณาด้านพลเรือน เพื่อระบุการเปลี่ยนแปลงที่จ�ำเป็นซึ่ง
ต้องนับรวมไว้ว่าเป็นความเป็นจริงในการปฏิบัติการตามแผนงานที่วางไว้
การแบ่ ง สรรก� ำ ลั ง รบมี บ ่ อ ยครั้ ง ที่ ไ ม่ ค ่ อ ยจะเหมาะสมกั บ ความเป็ น จริ ง
เท่าที่ควร ผู้บังคับบัญชากลั่นกรองแก้ไขก�ำลังรบที่ได้รับการปรับตามภารกิจ
บนพื้นฐานของปัจจัยต่าง ๆ อย่างเช่นที่แสดงไว้ใน รูปที่ ๓-๒ ผู้บังคับบัญชา
ประยุกต์ ปัจจัย METT-TC ให้กับการจัดหน่วยที่ได้รับการบรรจุมอบเพื่อ
ระบุการปรับแต่งที่จ�ำเป็น
- การจัดล�ำดับขัน้ ตอนของการวางก�ำลังเข้าท�ำการรบ (Force Sequencing)
ผู้บังคับบัญชาเปรียบเทีย บสถานการณ์ ใ นยุ ท ธบริ เ วณ (ในรู ป ของปั จ จั ย
METT-TC) กับเครื่องมือในการเคลื่อนย้ายที่มีอยู่ เพื่อก�ำหนดล�ำดับขั้นตอน
ของการวางก�ำลังรบที่เหมาะสม การสร้างสมดุลในการตอบโต้อย่างรวดเร็ว
ด้วยการผสมผสานอ�ำนาจก�ำลังรบ และทรัพยากรทีจ่ ะท�ำให้บรรลุภารกิจขณะ
ทีก่ ารพิทกั ษ์กำ� ลังรบเริม่ แรกทีเ่ ข้าสูพ่ นื้ ทีป่ ฏิบตั กิ ารเป็นสิง่ ส�ำคัญ ผูบ้ งั คับบัญชา
แสวงหาความสมดุลด้วยการจัดการด้านการพิทักษ์ก�ำลังรบ การวางก�ำลังเข้า
ท�ำการรบอย่างมีประสิทธิภาพ และขอบเขตของทางเลือกในการตอบโต้ต่อ
สภาวการณ์ที่เป็นไปได้ การยกขนที่สามารถปฏิบัติได้ถือเป็นข้อจ�ำกัดส�ำคัญ
ดังนั้นความยุ่งยากในการตัดสินใจใช้ก�ำลังจึงเป็นงานประจ�ำอยู่เสมอของ
ผู้บังคับบัญชา ตัวอย่างเช่น บ่อยครั้งที่ผู้บังคับบัญชาสร้างสมดุลในเรื่องของ
การวางก�ำลังรบเข้าปฏิบัติแต่เนิ่น ๆ กับความจ�ำเป็นในการวางขีดความ
สามารถในการสนับสนุนทางการช่วยรบที่ได้ปรับแล้ว เพื่อสร้างและรักษา
อ�ำนาจก�ำลังรบ ผู้บังคับบัญชาและฝ่ายอ�ำนวยการไม่เพียงแต่คงล�ำดับความ
เร่งด่วนส�ำหรับการไปถึงแต่ละจุดของขีดความสามารถเอาไว้ในใจเท่านั้น
แต่ยังจะต้องค�ำนึงถึงความสัมพันธ์ที่มีซึ่งกันและกันในแต่ละขีดความสามารถ
อีกด้วย ความสัมพันธ์เหล่านี้เป็นกุญแจส�ำคัญในการเปลี่ยนแปลงการเรียบ
เรียงล�ำดับขั้นในการวางก�ำลังเข้าท�ำการรบเสียใหม่ให้สัมพันธ์กับขีดความ
สามารถ
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 63

- การปรับฝ่ายเสนาธิการตามภารกิจ ผู้บังคับบัญชาปรับหน่วยและฝ่าย
เสนาธิการต่าง ๆ ทัง้ ในเรือ่ งของขนาดและการจัดองค์กร เพือ่ ให้สอดคล้องกับ
สภาวการณ์ตามภารกิจ ฝ่ายเสนาธิการในยามปกติแบบมาตรฐานนัน้ อาจจะมี
ความยุ่งยากมากในสภาวการณ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างเฉพาะเจาะจงทั้งใน
เรื่องขนาดและการจัด เพื่อให้สอดคล้องกับสภาวการณ์นั้น ตัวอย่างเช่น ฝ่าย
เสนาธิการและกองบัญชาการกองพลยานเกราะที่ ๑ ประสบปัญหาความยุ่ง
ยากในการเปลี่ยนแปลงสภาพทางด้านบทบาทการแสดงตนในการเข้าด�ำเนิน
งานเป็นกองบัญชาการหน่วยเฉพาะกิจ (ดูรูปที่ ๓-๓) เพื่อให้ได้มาซึ่งก�ำลังพล
ที่จ�ำเป็นต่อการด�ำเนินงานของฝ่ายเสนาธิการ กองบัญชาการหน่วยเฉพาะกิจ
ระบุความต้องการไปยังกองบัญชาการหน่วยเหนือของตนทันที การร้องขอนี้
คือการเพิ่มเติมก�ำลังพลทั้งที่ด�ำเนินการโดยกองบัญชาการหน่วยเหนือ หรือ
จากการส่งผ่านค�ำขอขึ้นไปตามสายการบังคับบัญชา
- การจัดเฉพาะกิจ การปรับก�ำลังรบตามภารกิจไม่ได้มีความหมายเหมือนกับ
การจัดเฉพาะกิจ (task organizing) ขณะที่การปรับก�ำลังรบเป็นวิธีการที่
ต้องการให้สอดคล้องกับขีดความสามารถของก�ำลังตามที่จ�ำเป็นต่อการบรรลุ
ภารกิจ การจัดเฉพาะกิจเป็นการสร้างองค์กรที่มีความสัมพันธ์ทางการบังคับ
บัญชาอย่างชัดเจนเพื่อบรรลุกิจต่าง ๆ ด้วยตัวเอง
การสนับสนุนทางการช่วยรบ
๓-๓๓ การสร้างอ�ำนาจก�ำลังรบแตกหักต้องการ การสร้างสมดุลระหว่างหน่วยสนับสนุน
ทางการช่วยรบกับหน่วยก�ำลังรบ และหน่วยสนับสนุนการรบ การบรรลุถึงความสมดุลที่ถูกต้อง
เป็นศิลปะของผูบ้ งั คับบัญชาในการพยายามทีจ่ ะขยายอ�ำนาจก�ำลังรบ ขณะทีข่ ดี ความสามารถทาง
ด้านการสนับสนุนทางการช่วยรบเท่านั้นที่จ�ำเป็นต่อการวางก�ำลังเข้าท�ำการรบ การสนับสนุน
ทางการช่วยรบที่มากเกินไปสร้างความกังวลให้กับ กกล.ทบ.
64 บทที่ ๓

รูปที่ ๓-๓ ตัวอย่างการจัดฝ่ายเสนาธิการตามภารกิจ

ในการใช้พนื้ ทีย่ ดึ อาศัย การทีไ่ ม่สามารถสร้างและขยายโอกาส จากการสนับสนุน


ทางการช่วยรบที่มีมากเกินไปท�ำให้อ�ำนาจก�ำลังรบที่จะมาถึงล่าช้าลง และน�ำไปสู่ผลลัพธ์ลักษณะ
เดียวกัน ในกรณีเดียวกัน การสะสมสิ่งอุปกรณ์ส�ำรองจ�ำนวนมาก ๆ อาจจะเป็นเหตุให้เสียความ
ริเริ่มนั้นให้กับข้าศึก กองก�ำลังตอบโต้ทางยุทธศาสตร์สามารถใช้ระบบการส่งก�ำลังบ�ำรุงในพื้นที่
ทีจ่ ดั เตรียมไว้แล้วให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด เนือ่ งจากการปฏิบตั กิ ารทางทหารขนาดใหญ่ของ ทบ.
จะรุกออกนอกประเทศไม่เกินแนวจ�ำกัดการรุก และระบบการส่งก�ำลังบ�ำรุงหลักในประเทศสามารถ
สนับสนุนกองก�ำลังตอบโต้ทางยุทธศาสตร์ได้
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 65

ปัจจัยที่กระทบต่อการปฏิบัติการสนับสนุนทางการช่วยรบ
• ข้าศึกที่คุกคาม
• ขนาดของก�ำลังฝ่ายเรา
• สภาวการณ์ของยุทธบริเวณ
• นโยบายการเคลื่อนย้ายในยุทธบริเวณ
• ความต้องการด้านการ สสช.ของกองก�ำลังที่รับการสนับสนุน
• โครงสร้างพื้นฐานด้าน สสช.
• สิ่งอุปกรณ์ในยุทธบริเวณที่น�ำมาใช้ได้
• การสนับสนุนของชาติเจ้าบ้าน
• สัญญาว่าจ้างการสนับสนุนในยุทธบริเวณ
• การได้มาและข้อตกลงระหว่างเหล่าทัพ

๓-๓๔ ในการประมาณการ การสนธิก�ำลังให้ได้อย่างเหมาะสมนั้น ผู้บังคับบัญชาท�ำการ


ทบทวนและเข้าใจถึงผลกระทบของการปฏิบัติการด้านการสนับสนุนทางการช่วยรบอย่างทั่วถึง
เกี่ยวกับการสร้างอ�ำนาจก�ำลังรบ การติดตามก�ำลังรบ (Force tracking), ความมีวิสัยทัศน์
ของหน่วย, การจัดเตรียมสนามรบด้านการข่าว, และการจัดเตรียมการส่งก� ำลังบ�ำรุงให้กับ
ยุ ท ธบริ เ วณ เป็ น ความจ� ำ เป็ น อย่ า งยิ่ ง ต่ อ การตอบสนองของการสนั บ สนุ น ทางการช่ ว ยรบ
การจัดเตรียมการส่งก�ำลังบ�ำรุงของยุทธบริเวณต้องท�ำการประเมินในเรื่องของโครงสร้างพื้นฐาน
ที่มีอยู่ในยุทธบริเวณ ความสามารถในการใช้ท่าขนส่งต่าง ๆ ถนน และทรัพยากรอื่น ๆ ที่กระทบ
ต่อการจัดล�ำดับในเรื่องของหน่วยและจังหวะของการเข้าสู่พื้นที่ (entry operations) การแสดง
ก�ำลังรบ อาจจะต้องการฐานระหว่างทาง, พื้นที่ยึดอาศัยภายในยุทธบริเวณ (ที่สอดคล้องกับ
ขีดความสามารถในการเคลื่อนย้ายภายในยุทธบริเวณ),
การสนับสนุนทางการช่วยรบโดยการท�ำสัญญาจ้างเพื่อเพิ่มเติมขีดความสามารถ
ทางการทหาร หรือเป็นการเตรียมการสนับสนุนในขั้นต้น ต้องได้รับการวางแผนไว้ล่วงหน้าและ
มีผลกระทบต่อข้อมูลก�ำลังรบและการวางก�ำลังตามขั้นเวลา (ขกวขว.) ฐานปฏิบัติการส่วนแยก
(split-based) และการปฏิบตั กิ ารสนับสนุนทางการช่วยรบแบบเป็นหน่วยมูลฐาน (modular CSS
operations) อาจลดภาระงานการไหลเวียนการวางก�ำลังหน่วยไว้ภายในยุทธบริเวณ และท�ำให้การ
เก็บรักษาสิ่งอุปกรณ์ที่ไม่จ�ำเป็นในยุทธบริเวณหมดไป การปฏิบัติการของฐานปฏิบัติการส่วนแยก
ควรได้รับการสนับสนุนด้วยระบบประมวลผลข้อมูลอัตโนมัติ และเครือข่ายการติดต่อสื่อสาร
66 บทที่ ๓

ประสิทธิภาพสูง เพื่ออ�ำนวยให้การสนับสนุนทางการช่วยรบ และเป็นโครงสร้างการบริหารจัดการ


แบบกระจายอ�ำนาจ ให้สามารถปฏิบัติงานได้จากฐานระหว่างทาง
การฝึก
๓-๓๕ การฝึกเป็นเหมือนหมุดยึดตรึง การตอบโต้ทางยุทธศาสตร์ ก่อนที่จะมีการเตรียม
พร้อมนั้น หน่วยต่าง ๆ ท�ำการฝึกเพื่อภารกิจในยามสงครามและตามสภาวการณ์เป็นอันดับแรก
นอกเสียจากว่าจะมีนโยบายเป็นอย่างอืน่ ผูบ้ งั คับบัญชาระดับกองพล และต�่ำกว่าพัฒนาจุดมุง่ หมาย
ในการรบของรายการกิจส�ำคัญยิ่งในภารกิจ เมื่อผู้บัญชาการระดับกองทัพน้อย และที่เหนือขึ้นไป
คาดการณ์ในภารกิจเพือ่ เสถียรภาพ หรือภารกิจการสนับสนุน พวกเขาอาจจะมีแนวนโยบายสัง่ การ
ต่อผูบ้ งั คับบัญชาหน่วยรองให้ท�ำการพัฒนา รายการกิจส�ำคัญยิง่ ในภารกิจ เพือ่ สนับสนุนต่อการใช้
ก�ำลังในภารกิจเหล่านั้น ผู้น�ำทุก ๆ ระดับชั้นต่างด�ำเนินภารกิจด้านการฝึกที่จ�ำเป็นทั้งในรายบุคคล
และในภาพรวมก่อน และระหว่างการพัฒนารายการกิจส�ำคัญยิ่งในภารกิจ ผู้บังคับบัญชาระดับ
ยุทธวิธีระบุกิจส�ำคัญต่าง ๆ ซึ่งน�ำไปประยุกต์ใช้ได้กับแบบของการปฏิบัติแทบทุกประเภท และ
ประกันว่าความช�ำนาญการในรายบุคคลและในภาพรวมของหน่วยมีอยูใ่ นหมูพ่ วกเขา ผูบ้ งั คับบัญชา
ยอมรับความเสี่ยงและผ่อนผันยืดเวลาในการฝึกในกิจต่าง ๆ จนกว่าหน่วยนั้น ๆ จะพร้อมและ
เตรียมตัวเพื่อเคลื่อนเข้าวางก�ำลังได้
๓-๓๖ หลังจากที่มีการประกาศเตรียมพร้อม กกล.ทบ. จะจัดให้มีการฝึกและซักซ้อม
ทีป่ รับตามภารกิจ ถ้าเวลาอ�ำนวยให้เพียงพอ ผูบ้ งั คับบัญชาควรจะจัดให้มกี ารฝึกซักซ้อมการปฏิบตั ิ
ภารกิจ (กฝซภ.) เพื่อยืนยันในวิสัยทัศน์ และเจตนารมณ์ การฝึกซักซ้อมการปฏิบัติภารกิจที่ดีท�ำให้
หน่วยเห็นสภาพสมจริงใกล้เคียงกับที่ต้องเผชิญในยุทธบริเวณ ผู้บังคับบัญชาจะต้องท�ำให้แน่ใจ
ว่าการซักซ้อมมีความสมจริง และน�ำเอาเรื่องของโอกาส ความฝืดในสนามรบ และความทารุณ
โหดร้ายใส่ลงไป และคิดเสมอว่าข้าศึกที่ก�ำลังเผชิญอยู่นั้นไร้ความปราณี และมีความสามารถสูง
การซักซ้อมที่ดีจะท�ำให้มีโอกาสส�ำหรับความคิดริเริ่ม และยอมรับการปฏิบัติที่เกิดขึ้นโดยมิได้มี
การเตรียมตัวมาก่อน แม้มีเวลาสั้น ๆ และขาดแคลนทรัพยากร ผู้บังคับบัญชาจัดให้มีการซักซ้อม
ในรูปแบบบางอย่างได้ ทั้งโดยการซักซ้อมบนแผนที่ การซักซ้อมโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยจ�ำลอง
สถานการณ์ การฝึกซักซ้อมการปฏิบัติภารกิจ โดยหน่วยรองเข้าร่วมด้วย
๓-๓๗ การปฏิบตั กิ ารแสดงก�ำลังรบ มีความหลายหลากแตกต่างกันไปทัง้ ในเรือ่ งของเวลา,
ระยะทาง และขนาดก�ำลังรบ แต่ยงั คงรวมถึงการปฏิบตั แิ ละหน้าทีท่ แี่ น่นอนอีกด้วย การปฏิบตั กิ าร
แสดงก�ำลังรบส่วนมากรวมถึง การจัดเตรียมข้อมูล อันได้แก่ การวางแผนการขึ้นระวางบรรทุก
ทั้งทางรถไฟ, ทางอากาศ, และทางเรือ การปฏิบัติการเหล่านี้ท� ำให้เกิดโอกาสส�ำหรับการฝึก
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 67

หลายระดับการบังคับบัญชา เป็นการฝึกซึ่งรวมถึงการซักซ้อมการปฏิบัติ เริ่มกระท�ำได้ตั้งแต่


อยูใ่ นทีต่ งั้ ปกติและต่อเนือ่ งไปตลอดปฏิบตั กิ ารตามแต่สถานการณ์จะอ�ำนวยให้ หน่วยต่าง ๆ ยังคง
ด�ำเนินการประสานงานที่จ�ำเป็นเพื่อถ่ายทอดบทเรียนต่อไปให้กับก�ำลังรบที่ติดตามมา การฝึกเพื่อ
ด�ำรงสภาพความพร้อมรบส�ำหรับการปฏิบตั กิ ารในอนาคตยังคงด�ำเนินต่อไปภายหลังจากความเป็น
ปรปักษ์ต่อกันได้ยุติลง
การปฏิบัติการแสดงก�ำลังรบ
๓-๓๘ การปฏิบัติการแสดงก�ำลังรบ เป็นองค์ประกอบหนึ่งในการด�ำเนินการทางทหาร
ในเรื่องของ การแสดงพลังอ�ำนาจ๑ เป็นศูนย์กลางส�ำคัญของ ยุทธศาสตร์ทหารแห่งชาติ การแสดง
พลังอ�ำนาจ ณ ที่ใดก็ตามเกี่ยวข้องกับหน่วยก�ำลังประจ�ำการ (AC) และก�ำลังส�ำรอง (RC), ฐานการ
ระดมสรรพก�ำลัง, และด้านอุตสาหกรรม องค์กร และที่ตั้งต่าง ๆ ของ ทบ. เชื่อมโยงกับกองก�ำลัง
ยุทธ์ร่วม และการอุตสาหกรรม จากฐานการสนับสนุนทางยุทธศาสตร์ เพื่อการด�ำรงสถานภาพ
การบ�ำรุงรักษา และการด�ำเนินโครงการต่าง ๆ ให้กับ กกล.ทบ. ไม่ว่าที่ใดก็ตามที่พวกเขาเข้า
วางก�ำลังท�ำการรบ
๓-๓๙ การแสดงก� ำ ลั ง รบ ประกอบไปด้ ว ยขอบเขตของกระบวนการ เริ่ ม ตั้ ง แต่
การระดมสรรพก�ำลัง การเคลือ่ นย้ายเข้าวางก�ำลัง การใช้กำ� ลังเข้าท�ำการรบ การด�ำรงสภาพการรบ
(sustainment) และการเคลือ่ นย้ายก�ำลังกลับ (redeployment) (ดูรปู ๓-๔) กระบวนการเหล่านี้
เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขั้นตอนมีการคาบเกี่ยวกัน และขั้นตอนก็จะต้องปฏิบัติซ�้ำหลาย ๆ ครั้ง
ตลอดห้ ว งของการปฏิ บั ติ ก ารแสดงก� ำ ลั ง รบ เป็ น ลั ก ษณะทางธรรมชาติ ข องการยุ ท ธ์ ร ่ ว ม
และต้องการการวางแผนและการประสานสอดคล้องในรายละเอียด การตัดสินใจกระท�ำแต่เนิ่น ๆ
ในกระบวนการที่อาจจะก�ำหนดความส�ำเร็จในส่วนของการทัพได้
- การระดมสรรพก�ำลัง เป็นกระบวนการที่กองก�ำลังของเหล่าทัพหรือบางส่วน
ได้รับการเตรียมการให้มีสถานะความพร้อมรบส� ำหรับการสงคราม หรือ
เหตุการณ์ฉกุ เฉินอืน่ ๆ ของชาติ มันเป็นการรวบรวม และจัดระเบียบทรัพยากร
เพื่อสนับสนุน วัตถุประสงค์แห่งชาติ การระดมสรรพก�ำลังยังรวมถึงการ
กระตุ้นเตือนต่อทุกส่วน หรือบางส่วนของก� ำลังส�ำรอง และการรวบรวม
และจัดระเบียบก�ำลังพล สิ่งอุปกรณ์ และวัสดุอุปกรณ์

การแสดงพลังอ�ำนาจ Power Projection คือ ขีดความสามารถของชาติในการใช้องค์ประกอบพลังอ�ำนาจแห่งชาติทงั้ หมด
หรือบางส่วนด้านการเมือง เศรษฐกิจ ข่าวสารหรือการทหาร เพือ่ วางก�ำลังและด�ำรงสภาพก�ำลังรบทัง้ ใน และจากทีต่ งั้ ซึง่ อยู่
กระจายกันหลายแห่งอย่างรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพ เพือ่ ตอบสนองต่อวิกฤติการณ์ สนับสนุนการป้องปรามและส่งเสริม
เสถียรภาพในภูมภิ าค [ศัพท์รว่ มฯ ๔๗]
68 บทที่ ๓

- การเคลื่ อ นย้ า ยเข้ า วางก� ำ ลั ง เป็ น การเคลื่ อ นย้ า ยของกองก� ำ ลั ง และ


ยุทโธปกรณ์ต่าง ๆ จากจุดเริ่มต้นเข้าสู่พื้นที่ปฏิบัติการ กระบวนการนี้มี
องค์ประกอบสนับสนุนอยูด่ ว้ ยกัน ๔ ประการได้แก่ กิจกรรมก่อนการวางก�ำลัง
เข้าท�ำการรบ, กิจกรรมจากที่ตั้งไปยังท่าขนส่ง, ท่าขนส่งต้นทางไปสู่ท่าขนส่ง
ปลายทาง และกิจกรรมการรับ การจัดการบรรทุก การวางไปข้างหน้าและการ
สนธิก�ำลัง (RSO & I) จากท่าไปสู่จุดหมายปลายทาง
- การใช้ก�ำลังเข้าท�ำการรบ (Employment) เป็นการด�ำเนินงานในเรื่องของ
การปฏิบัติการเพื่อสนับสนุน ผู้บัญชาการกองก�ำลังยุทธ์ร่วม (ดู JP 3-0 ;
รส. 3-100.7) การใช้กำ� ลังเข้าท�ำการรบรวมการปฏิบตั กิ ารต่าง ๆ ทีไ่ ด้จดั เรียง
ไว้อย่างกว้างขวาง ซึ่งมันรวมถึงแต่ไม่จ�ำกัดต่อการปฏิบัติต่อไปนี้
- การปฏิบัติในช่วงเริ่มต้นเข้าสู่พื้นที่ปฏิบัติการ (ทั้งข้าศึกกดดัน และไม่มี
ข้าศึกกดดัน) (Entry operation)
- การปฏิบตั กิ ารจัดรูปแบบสนามรบให้เอือ้ อ�ำนวยต่อการปฏิบตั ขิ องฝ่ายเรา
(Shaping operation) ทั้งด้วยความรุนแรงและไม่รุนแรง (Lethal and
nonlethal)
- การปฏิบัติการขั้นแตกหัก (การรบ และการสนับสนุน)
- การปฏิบัติการภายหลังจากความขัดแย้ง (post conflict operation)
เตรียมการเพื่อภารกิจที่จะตามมา (follow-on missions) หรือการ
เคลื่อนย้ายก�ำลังกลับ (redeployment)
- การด�ำรงความต่อเนื่อง เกี่ยวกับการจัดเตรียมและการด�ำรงรักษาระดับ
ก�ำลังพล และสิ่งอุปกรณ์ที่ต้องการ เพื่อด�ำรงสภาพการปฏิบัติการตลอดห้วง
ระยะเวลาของการปฏิบัติการนั้น ซึ่งเป็นความจ�ำเป็นในการที่จะเสริมสร้างให้
เกิดอ�ำนาจก�ำลังรบ การสนับสนุนทางการช่วยรบอาจจะเป็นการจัดฐานปฏิบตั ิ
การส่วนแยกระหว่างทางที่ตั้งภายในและอาจจะตั้งภายนอกประเทศกรณี
ที่ท�ำการรุกออกนอกประเทศ
- การเคลื่อนย้ายกลับ (Redeployment) เป็นกระบวนการที่หน่วยและ
ยุทโธปกรณ์ฟื้นฟูตัวเองในยุทธบริเวณเดียวกันนั้นโดยมีวัตถุประสงค์ : เพื่อ
ท�ำการถ่ายโอนก�ำลังรบ และยุทโธปกรณ์ เพือ่ ให้การสนับสนุนต่อความต้องการ
อื่น ๆ ทางการยุทธ์ของผู้บัญชาการกองก� ำลังยุทธ์ร่วม หรือเคลื่อนย้าย
ก�ำลังรบ ยุทโธปกรณ์กลับคืนสู่ที่ตั้งปกติหรือสถานที่ปลดถ่ายก�ำลัง เมื่อ
ภารกิจต่าง ๆ เสร็จสิ้นลงไปเรียบร้อยแล้ว การเคลื่อนย้ายก�ำลังกลับหรือ
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 69

การกลับเข้าวางก�ำลังใหม่ (Redeployment operations) ประกอบด้วย


ขั้นการด�ำเนินงาน ๔ ขั้นดังนี้
- การปฏิบัติการฟื้นคืนสภาพกองก�ำลัง (Recovery) การประกอบก�ำลัง
ขึน้ มาใหม่ (Reconstitution) และการปฏิบตั กิ อ่ นการเคลือ่ นย้ายก�ำลังกลับ
(Preredeployment)
- การเคลือ่ นย้ายไปและการปฏิบตั ิ ณ จุดส่งลงเรือ (Port of embarkation)
- การเคลื่อนย้ายไปยังจุดขนขึ้นจากเรือ (Port of Debarkation)
- การเคลื่อนที่กลับยังที่ตั้งหน่วย (Movement to home station)

รูปที่ ๓-๔ กระบวนการแสดงก�ำลังรบ

คุณลักษณะของการแสดงก�ำลังรบ
๓-๔๐ วัตถุประสงค์ของการแสดงก�ำลังรบ เป็นการปฏิบตั กิ ารต่าง ๆ ในขัน้ แตกหักทีเ่ ป็น
ไปอย่างรวดเร็วเพื่อจะเอาชนะข้าศึกก่อนที่จะเผชิญหน้ากับ กกล.ทบ. ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นอกจากนั้นยังต้องการให้เห็นถึงการแสดงก� ำลังรบอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลของ
กกล.ทบ. ด้วยการน�ำเอาประสิทธิผลและประสิทธิภาพทั้งมวลของการแสดงก�ำลังรบ ที่แสดง
ให้เห็นคุณลักษณะสีป่ ระการคือ ความแม่นย�ำ, การประสานสอดคล้อง, ความเร็ว, และข้อมูลข่าวสาร
70 บทที่ ๓

ที่เกี่ยวข้อง (Relevant information) ผู้บังคับบัญชารวบรวมคุณลักษณะเหล่านี้เข้าไว้ในการ


ปฏิบัติการแสดงก�ำลังรบ
ความแม่นย�ำ
๓-๔๑ การแสดงก�ำลังรบทีม่ ปี ระสิทธิผล ท�ำให้สามารถใช้เวลาทีม่ อี ยู่ และท�ำการขนย้าย
ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด การขจัดพื้นที่และเวลาที่สูญเปล่าต้องการความแม่นย�ำในทุก ๆ
กิจกรรมและข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ผลกระทบจากความแม่นย�ำส่งผลกระทบในระยะยาว ผลที่ตามมา
ในเรื่องของความแม่นย�ำ คือความเร็วของการเคลื่อนย้ายเข้าวางก�ำลังรบ และการเพิ่มอ�ำนาจ
ก�ำลังรบในยุทธบริเวณ ตัวอย่างเช่น รายการยุทโธปกรณ์ที่เคลื่อนย้ายเข้าวางก�ำลังได้อย่างแม่นย�ำ
ช่วยให้เกิดประโยชน์ในการขนย้ายทรัพยากรให้เป็นไปอย่างถูกต้อง ได้รบั การก�ำหนดความต้องการ
อย่างรวดเร็ว ความแม่นย�ำที่สอดคล้องกับก�ำหนดการของผู้บัญชาการกองก�ำลังยุทธ์ร่วมสนับสนุน
แนวความคิดของการใช้ก�ำลังเข้าท�ำการรบ นอกจากนี้ หลักนิยมที่ทันสมัย การฝึกที่สมจริง
โครงสร้างการสนับสนุนที่เพียงพอ และการปฏิบัติตามตารางเวลาที่ก�ำหนดไว้ ท�ำให้เกิดกรอบงาน
โครงร่างที่จะน�ำไปสู่ความแม่นย�ำ และถูกต้อง
ความประสานสอดคล้อง
๓-๔๒ ผู้บังคับบัญชาประสานสอดคล้อง กิจกรรมต่าง ๆ ในการวางก�ำลังเข้าท�ำการรบ
เกี่ยวกับทรัพยากรต่าง ๆ ที่ใช้ในการขนย้าย ความสามารถในการขนย้าย เวลา และข้อมูลข่าวสาร
ต่าง ๆ ซึ่งไม่เคยพอเพียงเสมอ การสร้างความประสานสอดคล้อง การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ในแต่ละ
อย่างท�ำให้ได้ผลสูงสุดในการประสานสอดคล้องต้องแสดงให้เห็นการประสานงานทีช่ ดั เจนระหว่าง
ก� ำ ลั ง รบที่ เ ข้ า วางก� ำ ลั ง กั บ ฝ่ า ยอ� ำ นวยการ, หน่ ว ยที่ ใ ห้ ก ารสนั บ สนุ น กั บ ฝ่ า ยอ� ำ นวยการ,
ความหลากหลายของผู้แทนองค์กรฝ่ายพลเรือน และเหล่าทัพอื่น ๆ จ�ำนวนครั้งที่ท�ำการฝึก
ปฏิบตั กิ ารยุทธ์รว่ มทีส่ มจริง และการปฏิบตั กิ ารร่วมกันเป็นกุญแจส�ำคัญต่อการประสานสอดคล้อง
ที่ประสบผลส�ำเร็จ
ความเร็ว
๓-๔๓ ในสายตาของผู้บังคับบัญชา ปฏิบัติการแสดงก�ำลังรบ เป็นเหมือนการแข่งขันกัน
ระหว่าง ก�ำลังฝ่ายเรากับข้าศึก หรือแข่งกับสถานการณ์ ฝ่ายซึง่ บรรลุขดี ความสามารถทางยุทธการ
อย่างแตกหักได้กอ่ น คือผูค้ รองความริเริม่ เป็นคนแรก ดังนัน้ เพียงความรวดเร็วในแต่ละขัน้ ตอนการ
ปฏิบัติ หรือความเร็วในการเคลื่อนย้ายก�ำลังนั้น ไม่ได้หมายถึงว่ามันเป็นสิ่งชี้ขาด หากแต่ว่า
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 71

การยาตราหน่วยที่มีความพร้อมรบเข้าวางก�ำลังในยุทธบริเวณก่อนข้าศึกจะพร้อมสู้รบ หรือท�ำให้
ข้าศึกไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ในยุทธบริเวณได้จะก่อให้เกิดความได้เปรียบต่อข้าศึกเสมอ
๓-๔๔ ความเร็ว เป็นมากกว่าระยะทางต่อชั่วโมง มันเป็นการบรรลุถึง ความหนุนเนื่อง
ที่ประกอบด้วยส่วนประกอบของทรัพยากรในการขนย้ายร่วมที่สมบูรณ์ ปริมาณการส่งออกไปยัง
พื้นที่อย่างสม�ำ่ เสมอโดยทางบก ทางเรือ และทางอากาศที่ต่อเนื่อง ในภาพของขีดความสามารถ
ทางยุทธการ ความเร็วเป็นอัตราเร็วของกระบวนการทัง้ หมดในการแสดงก�ำลังรบ จากการวางแผน
ไปสู่การเข้าวางก�ำลังรบประชิดกัน ความเร็วขึ้นอยู่กับปัจจัยหลาย ๆ อย่าง ซึ่งรวมถึงการขยาย
ตัวอย่างสูงสุดของคุณลักษณะอื่น ๆ ของการแสดงก�ำลังรบ ปัจจัยบางประการได้รับการสร้างขึ้น
ก่อนการเข้าวางก�ำลังรบจะเริม่ ขึน้ การวางแผนทีเ่ ป็นตัวอย่างในปัจจัยต่าง ๆ อย่างเช่นการด�ำรงอยู่
ของเครื่องมือในการวางแผนที่มีประสิทธิภาพ และการด�ำรงอยู่ในความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
ของหน่วย ซึ่งช่วยให้การปฏิบัติดำ� เนินต่อไปข้างหน้าอย่างราบรื่น การแบ่งสรรทรัพยากรเพื่อการ
พัฒนาการฝึกส่งผลให้เจ้าหน้าทีเ่ คลือ่ นย้ายของหน่วยทีไ่ ด้รบั การฝึก และได้มกี ารเตรียมการส�ำหรับ
ระบบความปลอดภัย และการบรรทุกทีม่ ปี ระสิทธิภาพ การรายงานอย่างถูกต้อง ในเรือ่ งของก�ำหนด
เวลา ขีดความสามารถในการส่งออกซึ่งมาถึงพื้นที่ และการขนขึ้นจากท่าขนส่ง หรือท่าเรือ (POD)
ซึ่งท�ำให้เกิดความแม่นย�ำในการผสมผสาน, การประสานสอดคล้อง, และข้อมูลข่าวสารที่ตรงกับ
ประเด็ น ปั ญ หา ปั จ จั ย เหล่ า นี้ และปั จ จั ย อื่ น ๆ ล้ ว นสนั บ สนุ น ต่ อ เรื่ อ งของความเร็ ว ทั้ ง สิ้ น
ความประสานสอดคล้อง และข้อมูลข่าวสารที่เกี่ยวข้อง และตรงประเด็น มีผลต่อความเร็วของ
การปฏิบัติการเสมอ
ข้อมูลข่าวสารตรงประเด็นที่เกี่ยวข้อง
๓-๔๕ ความส�ำเร็จในการแสดงก�ำลังรบ ผู้บังคับบัญชาต้องท�ำการผสมผสานความรู้
ในเรื่องของกระบวนการเข้าท�ำการวางก�ำลัง การใช้วิจารณญาณ และข้อมูลข่าวสารตรงประเด็นที่
เกีย่ วข้อง ผูบ้ งั คับบัญชาทีเ่ ข้าวางก�ำลังท�ำการรบมีชว่ งเวลาสัน้ ๆ ในการท�ำการตกลงใจ ซึง่ เป็นการ
ก�ำหนดการด�ำเนินงานในเรื่องของการเข้าวางก�ำลัง และทางเลือกที่เป็นไปได้ในการใช้ก� ำลัง
เข้าท�ำการรบในห้วงเวลานัน้ การตัดสินใจหลายครัง้ เป็นสิง่ ทีเ่ ป็นไปไม่ได้ หรือยากทีจ่ ะเปลีย่ นแปลง
การจัดท�ำทางเลือกทีถ่ กู ต้อง ต้องการข้อมูลข่าวสารทีต่ รงประเด็นปัญหา ตัวอย่างเช่น ข้อมูลข่าวสาร
และความเข้าใจในเรื่องของ ข้อมูลก�ำลังรบและการวางก�ำลังตามขั้นเวลา (ขกวขว.) เป็นเรื่องที่
ไม่อาจหลีกเลี่ยงเมื่อได้มีการก�ำหนดประเด็นความเร่งด่วน ก�ำหนดล�ำดับขั้นตอน ตัดสินใจว่าจะ
ใช้เวลาอย่างไร และการก�ำหนดล�ำดับความเร่งด่วน ข้อมูลข่าวสารที่ตรงประเด็นปัญหาอ�ำนวยให้
72 บทที่ ๓

ผู้บังคับบัญชาจัดการต่อการวางก�ำลังเพื่อใช้ก�ำลังเข้าท�ำการรบ อย่างไรก็ตาม ข้อมูลข่าวสารที่


เกีย่ วข้องไม่ได้ประกันว่าการวางก�ำลังเข้าท�ำการรบจะราบรืน่ เสมอไป การผสมผสานประสบการณ์
และวิจารณญาณของผูบ้ งั คับบัญชา และข้อมูลข่าวสารทีเ่ กีย่ วข้องจะอ�ำนวยให้ผบู้ งั คับบัญชาท�ำการ
ควบคุมสถานการณ์ และท�ำการตกลงใจได้เป็นอย่างดี
ระบบการยุทธ์ร่วม
๓-๔๖ การแสดงก�ำลังรบ เป็นส่วนของระบบการวางแผนและการปฏิบตั ยิ ทุ ธ์รว่ ม ซึง่ เป็น
ได้วิวัฒนาการอย่างคงที่ โดยรวมถึงเครื่องมือในการวางแผนการยุทธ์ร่วม นโยบาย ระเบียบปฏิบัติ
และโครงสร้างในการรายงาน การติดต่อสื่อสาร และกระบวนการประมวลผลข้อมูลอัตโนมัติ
สนับสนุนการปฏิบตั กิ ารทัง้ ระบบ ระบบการวางแผนและการปฏิบตั ยิ ทุ ธ์รว่ ม น�ำไปใช้ในการติดตาม,
วางแผน, และการระดมสรรพก�ำลัง, การเคลื่อนย้ายเข้าวางก�ำลัง, การใช้ก�ำลัง, การด�ำรงความ
ต่อเนื่อง และ กิจกรรมในการเคลื่อนย้ายก�ำลังกลับ (Redeployment) ที่เกี่ยวข้องกับ
การปฏิบัติการยุทธ์ร่วม และท�ำให้เกิดโครงร่างภายในซึ่งผู้บัญชาการยุทธ์ร่วม (Joint Force
Commander) ใช้ออกแบบการปฏิบัติการต่าง ๆ ในยุทธบริเวณ การแสดงก�ำลังรบของ ทบ. เป็น
โครงร่างภายในกรอบงานนี้ ระบบการควบคุมและบังคับบัญชา เป็นระบบเครือข่ายประมวลผล
ข้อมูลอัตโนมัติที่ต้องสามารถท�ำการควบคุมและบังคับบัญชาไปทั่วโลกซึ่งสนับสนุนต่อระบบการ
วางแผนและการปฏิบัติยุทธ์ร่วม ผู้บังคับบัญชาของ ทบ. ประกันว่าข้อมูลต่าง ๆ ที่หน่วยจัดท�ำให้
กับระบบการควบคุมและบังคับบัญชา ต้องมีความถูกต้อง ข่าวสารล่าสุดอ�ำนวยให้ผู้วางแผนการ
ยุทธ์ร่วมท�ำการผลิตประมาณการ และแผนงานได้อย่างทันเวลา เพียงพอ และถูกต้องในการแสดง
ก�ำลังรบ เครื่องมือในการวางแผนการวางก�ำลังจ�ำนวนมากต้องได้รับการพัฒนาขึ้น อย่างเช่น
ระบบข้อมูลข่าวสารอัตโนมัติเพื่อการเคลื่อนย้าย ของผู้ประสานงานการขนส่ง (TC-AIMS II:
Transportation Coordinate Automated Information for Movement System) และ
ผู้ผลิตความต้องการของกองก�ำลังยุทธ์ร่วม (JFRG II: (Joint Force Requirement
Generator II) จะช่วยส่งเสริมกระบวนการในการวางก�ำลังเข้าท�ำการรบและเร่งเร้าการพัฒนา
ข้ อ มู ล ก� ำ ลั ง รบและการวางก� ำ ลั ง ตามขั้ น เวลา (ขกวขว.) และฐานปฏิ บั ติ ก ารส่ ว นแยก
(split-based)
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 73

ข้อมูลก�ำลังรบและการวางก�ำลังตามขั้นเวลา (ขกวขว.)
TPFDD เป็นส่วนหนึ่งของฐานข้อมูล ระบบการวางแผนและการปฏิบัติยุทธ์ร่วมเชิง
บูรณาการ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการวางแผนปฏิบัติการ TPFDD จะมีข้อมูลก�ำลังรบและการ
วางก�ำลังตามขั้นเวลา (ขกวขว.) (time – phased force data) โกดังอุปกรณ์ที่ไม่เกี่ยวข้อง
กับหน่วย (nonunit – related cargo) และข้อมูลก�ำลังพล ตลอดจนข้อมูลการเคลื่อนย้าย
ในแผนการปฏิบัติการ รวมถึงสิ่งต่าง ๆ ดังนี้
- หน่วยที่เข้าที่ตั้งเรียบร้อยแล้ว (In-place unit)
- หน่วยที่จะได้รับการวางก�ำลัง (unit to be deployed)
- ล�ำดับขั้นตอนที่พึงประสงค์ในการมาถึงพื้นที่ (Desired sequence for arrival)
- เส้นทางการเคลื่อนย้ายของหน่วยที่จะวางก�ำลัง (Routing of forces to be
deployed)
- ข้อมูลการเคลื่อนย้าย (Movement data)
- ประมาณการสิ่งอุปกรณ์ที่ไม่เกี่ยวข้องกับหน่วย (nonunit – related cargo)
- การเคลื่อนย้ายบุคลากรที่จะเคลื่อนย้ายพร้อม ๆ กับการวางก�ำลังเข้าท�ำการรบ
(Personnel movements to be conducted concurrently with the force
deployment)
TPFDD ยังประกอบด้วยการประมาณการของความต้องการการขนส่งร่วม (common
– user transportation requirements) และความต้องการให้บรรลุวัตถุประสงค์โดยการ
บรรจุมอบ (assigned) หรือการให้ทรัพยากรทางด้านการขนส่งไปขึ้นสมทบ (attached)

๓-๔๗ ส�ำหรับวิกฤติการณ์ทยี่ งั ไม่มกี ารวางแผนใด ๆ ผูบ้ ญ


ั ชาการกองก�ำลังยุทธ์รว่ ม ต้อง
รีบด�ำเนินการพัฒนาข้อมูลก�ำลังรบและการวางก�ำลังตามขั้นเวลาโดยเร็ว กองก�ำลังเผชิญเหตุแบบ
มาตรฐานขนาดกะทัดรัด สนับสนุนวงรอบการเตรียมการในเวลาหน้าสิว่ หน้าขวานได้ ขณะทีป่ จั จัย
METT-TC อาจจะท�ำให้เกิดข้อพิจารณาทีห่ ลากหลาย อย่างเช่น ก�ำลังรบทีไ่ ด้รบั การปรับตามภารกิจ
โดยมีสัดส่วนการผสมผสานขีดความสามารถอย่างสมดุลระหว่าง หน่วยรบ หน่วยสนับสนุนการรบ
และหน่วยสนับสนุนทางการช่วยรบ
การปฏิบัติการเข้าสู่สนามรบ
๓-๔๘ เมื่อท�ำการตอบโต้ต่อวิกฤติการณ์ หลายครั้งก�ำลังรบที่ก้าวเข้าสู่สนามรบเริ่มแรก
จะจัดตัง้ พืน้ ทีย่ ดึ อาศัย และขยายจนเป็นฐานปฏิบตั กิ ารในยุทธบริเวณจากพืน้ ทีย่ ดึ อาศัย กองก�ำลัง
74 บทที่ ๓

ยุทธ์ร่วมจะด�ำเนินการ การรับ การจัดการบรรทุก การวางไปข้างหน้าและการสนธิก� ำลัง


จากท่าไปสู่จุดหมายปลายทาง (RSO & I) ท�ำการจัดก�ำลังใหม่ และสร้างขีดความสามารถทาง
การรบ ตลอดจนท�ำการฝึก พวกเขายังช่วยกองก�ำลังนานาชาติและกองก�ำลังของชาติเจ้าบ้าน
ในการพิทักษ์ก�ำลังรบ และสร้างความคุ้นเคยให้กับตัวพวกเขาเอง ผู้บัญชาการกองก�ำลังยุทธ์ร่วม
จัดล�ำดับหน่วยรบและหน่วยสนับสนุนเข้าไปในพื้นที่ยึดอาศัย เพื่อก�ำลังรบจะได้มีความริเริ่มและ
ความสมบูรณ์ในการวางก�ำลังเข้าท�ำการรบ กกล.ทบ. จะเตรียมการในเรื่องของการเข้าวางก�ำลัง
ท�ำการรบและการใช้ก�ำลังเข้าท�ำการรบเสมอ แม้ในการปฏิบัติการเพื่อเสถียรภาพและการปฏิบัติ
การสนับสนุน ก�ำลังรบได้รับการจัดเตรียมไว้ในการป้องกันหรือเข้าโจมตีเพื่อรักษาพื้นที่ที่ใช้ใน
การพักก�ำลังพลหน่วยต่าง ๆ อาจจะเข้าสู่พื้นที่ในยุทธบริเวณในหลาย ๆ วิธีการได้ พวกเขาอาจะ
เข้าสู่พื้นที่ได้โดยมีการกดดันหรือไม่มีการกดดันจากฝ่ายตรงข้ามได้ทั้งนั้น
การเข้าพื้นที่ปฏิบัติการโดยมิได้ถูกขัดขวางจากกองก�ำลังข้าศึก
๓-๔๙ กกล.ทบ. หาวิธเี ข้าสูพ่ นื้ ทีป่ ฏิบตั กิ ารโดยปราศจากการขัดขวางเมือ่ ใดก็ตามทีเ่ ป็น
ไปได้ ไม่ว่าจะได้รับการช่วยเหลือหรือไม่ได้รับการช่วยเหลือจากหน่วยงานในพื้นที่ก็ตาม การ
เข้าพื้นที่ปฏิบัติการโดยได้รับความช่วยเหลือนั้น ต้องปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยงานในพื้นที่ในกรณี
ของการปฏิบตั ภิ ายในประเทศ และจากชาติเจ้าบ้าน กรณีทสี่ ง่ ก�ำลังออกปฏิบตั กิ ารภายนอกประเทศ
ในการช่วยเหลือเข้าสู่พื้นที่ กองก�ำลังส่วนแรกของ ทบ. ที่เข้าสู่พื้นที่ได้รับการปรับก�ำลังรบตาม
ภารกิจเพือ่ การวางก�ำลังเข้าท�ำการรบอย่างมีประสิทธิภาพ และเปลีย่ นไปสูก่ ารปฏิบตั กิ ารทีต่ ามมา
เป็นล�ำดับ ๆ อย่างรวดเร็ว หน่วยสนับสนุนทางการช่วยรบได้รบั การปรับก�ำลังให้เกิดประโยชน์สงู สุด
โดยการแสวงประโยชน์ในการใช้หน่วยงานในพื้นที่ หรือหน่วยงานของชาติเจ้าบ้าน การรับ
การจัดการบรรทุก การวางไปข้างหน้าและการสนธิกำ� ลัง จากท่าไปสูจ่ ดุ หมายปลายทางจะมุง่ ความ
พยายามในการปฏิบตั กิ ารร่วมโดยการให้หน่วยท�ำการเคลือ่ นย้ายก�ำลังเข้าสูพ่ นื้ ทีร่ วมพลทางยุทธวิธี
ของพวกเขา ตัวอย่างหนึ่งในการเข้าสู่พื้นที่โดยได้รับการสนับสนุน เช่น ประเทศซาอุดีอาระเบีย
ขยายการสนับสนุนให้กับกองก�ำลังสหรัฐฯ ระหว่างการเข้าวางก�ำลังในปฏิบัติการโล่ทะเลทราย
เป็นต้น (ตัวอย่างกรณีศึกษา)
๓-๕๐ ในหลายกรณี สถานการณ์แวดล้อมที่น�ำไปสู่การพัฒนา ท�ำให้เกิดความเป็นไปไม่
ได้สำ� หรับหน่วยงานในพืน้ ที่ หรือจากชาติเจ้าบ้านในการจัดการรักษาความปลอดภัยให้แก่สงิ่ อ�ำนวย
ความสะดวกของ กกล.ทบ. ขณะเมื่อเดินทางมาถึงพื้นที่ปฏิบัติการ การปฏิบัติการเข้าสู่สนามรบ
ในกรณีที่ไม่ได้รับการช่วยเหลือในการเข้าสู่พื้นที่ ตัวอย่าง ของการเข้าสู่พื้นที่โดยมิได้รับการ
ช่วยเหลือคือการยาตราทัพเข้าวางก�ำลังท�ำการรบของกองก�ำลังสหรัฐฯ ในระหว่างการปฏิบัติการ
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 75

ส่งเสริมประชาธิปไตยในเฮติ (กรณีศกึ ษา) ในการเข้าสูพ่ นื้ ทีโ่ ดยไม่รบั การสนับสนุน ผูบ้ ญ


ั ชาการกอง
ก�ำลังยุทธ์ร่วมแปรขบวนทัพด้วยการผสมผสานอย่างสมดุล ในส่วนของก� ำลังหน่วยรบ หน่วย
สนับสนุนการรบ และหน่วยสนับสนุนทางการช่วยรบ ก�ำลังรบที่มีอำ� นาจก�ำลังรบเพียงพอต่อการ
รักษาพื้นที่ยึดอาศัย ต้องมีการเตรียมการอย่างทันที หน่วยสนับสนุนทางการช่วยรบ เมื่อเริ่มเข้าสู่
พืน้ ทีจ่ ะต้องจัดตัง้ และสามารถสนับสนุนการรับ การจัดการบรรทุก การวางไปข้างหน้าและการสนธิ
ก�ำลัง จากท่าไปสู่จุดหมายปลายทางภายในพื้นที่ยึดอาศัยเริ่มแรกอีกด้วย การจัดล�ำดับกองก�ำลัง
เข้าปฏิบัติการในการเข้าพื้นที่ปฏิบัติการโดยมิได้รับความช่วยเหลือนี้ คล้าย ๆ กับการเข้ายึดครอง
ด้วยก�ำลัง
การเข้ายึดครองด้วยก�ำลัง
๓-๕๑ การเข้ า ยึ ด ครองด้ ว ย Coup de main คือ การปฏิบัติการเชิงรุกที่แสวง
ก�ำลัง เป็น ลักษณะของการปฏิบตั กิ ารรบ ประโยชน์จากการจูโ่ จมและการปฏิบตั กิ ารพร้อมกับการ
ด้ ว ยวิ ธี รุ ก เพื่ อ จะยึ ด และรั ก ษาพื้ น ที่ ปฏิบัติของก�ำลังที่ปฏิบัติการสนับสนุน เพื่อให้บรรลุ
ยึดอาศัย ในการเผชิญหน้ากับกองก�ำลัง ความส�ำเร็จ โดยการกระท�ำอย่างรวดเร็วเพียงครั้งเดียว
ของฝ่ายตรงข้ามที่ท�ำการต่อต้าน โดย
การสนับสนุนจากอ�ำนาจการยิงในการยุทธ์ร่วม, การเข้าสู่พื้นที่ปฏิบัติด้วยการใช้ก�ำลังเกิดความได้
เปรียบจากความคล่องแคล่วทั้งทางยุทธศาสตร์และทางยุทธการ เพื่อจู่โจมต่อกองก�ำลังฝ่ายข้าศึก
ยึดรักษาพื้นที่ยึดอาศัย และได้มาซึ่งความริเริ่ม ทันทีที่ก�ำลังรบโจมตีท�ำการยึดรักษาพื้นที่ยึดอาศัย
ปกติจะเป็นการป้องกันเพื่อรักษาไว้เพียงชั่วขณะเวลาที่ผู้บัญชาการกองก�ำลังยุทธ์ร่วมท�ำการ
วางอ�ำนาจก�ำลังรบเพิม่ เติมอย่างรวดเร็ว และเป็นด�ำรงสถานภาพไว้ดว้ ยก�ำลังทางอากาศ และก�ำลัง
ทางเรือ เมื่อสภาวการณ์เป็นไปตามเงื่อนไขที่ต้องการ ผู้บัญชาการกองก�ำลังยุทธ์ร่วมอาจจะ
ผสมผสาน การเข้ายึดครองด้วยก�ำลังกับการปฏิบัติการรบด้วยวิธีรุกอื่น ๆ เพื่อให้เกิดการจู่โจมโดย
มิให้ฝ่ายตรงข้ามได้รู้ตัวก่อน และผลจากการปฏิบัตินี้จะท�ำให้กองก�ำลังฝ่ายเราบรรลุวัตถุประสงค์
ทางยุทธศาสตร์ในการยุทธ์หลักไปพร้อม ๆ กัน ยุทธการ Just Cause ของสหรัฐฯ เป็นตัวอย่างที่ดี
(กรณีศึกษา) ของการเข้าสู่พื้นที่ด้วยการใช้กำ� ลังจู่โจมมิให้ฝ่ายตรงข้ามได้รู้ตัวก่อน (A Forcible
Entry coup de main)
๓-๕๒ ทบ. รักษาขีดความสามารถในการเข้าสูพ่ นื้ ทีป่ ฏิบตั กิ ารด้วยการใช้กำ� ลังอันน่าเกรง
ขามไว้ การโจมตีด้วยการเคลื่อนที่ทางอากาศ และการโจมตีส่งลงทางอากาศ จะท�ำให้ผู้บัญชาการ
กองก�ำลังยุทธ์ร่วมสามารถน�ำอ�ำนาจก�ำลังรบเข้าปฏิบัติการได้อย่างรวดเร็ว และจะบรรลุสิ่งนี้
โดยปราศจากอุปสรรคที่เกิดขึ้นจากข้อจ�ำกัดด้านท่าเรือ ท่าอากาศยาน หรือชายหาด ตัวอย่างเช่น
76 บทที่ ๓

ก�ำลังส่งทางอากาศ และก�ำลังโจมตีทางอากาศ สามารถท�ำการส่งหน่วยเข้าปฏิบัติการได้ในเวลา


เพียงไม่กี่นาที ก�ำลังที่เข้าสู่พื้นที่ปฏิบัติการท�ำได้ทั้งการแก้ปัญหาสถานการณ์ หรือการรักษาความ
ปลอดภัยให้กบั พืน้ ทีย่ ดึ อาศัย เพือ่ การส่งก�ำลังรบขนาดใหญ่จะเป็นไปอย่างรวดเร็วโดย อากาศยาน
หรือทางเรือ รูปแบบของการปฏิบัติการเข้าสู่พื้นที่ด้วยการใช้ก�ำลังส่งเสริมการปฏิบัติซึ่งกันและกัน
การสนธิการปฏิบัติการเข้าไว้ด้วยกันช่วยให้ผู้บัญชาการกองก�ำลังยุทธ์ร่วมครองความริเริ่มทั้งทาง
ยุทธศาสตร์, ยุทธการ, และทางยุทธวิธี
๓-๕๓ การเข้ายึดครองด้วยก�ำลังรักษาพื้นที่ยึดอาศัยขั้นต้นซึ่งรวมถึงสนามบิน (กรณี
ปฏิบัติการภายนอกประเทศ) ทันทีที่มีการรักษาความปลอดภัย สนามบินนี้จะกลายเป็นจุดส�ำคัญ
ส�ำหรับการเพิม่ เติมก�ำลังของก�ำลังทีเ่ ข้าสูพ่ นื้ ทีป่ ฏิบตั กิ ารโดยหน่วยก�ำลังรบ หน่วยสนับสนุนการรบ
และหน่วยสนับสนุนทางการช่วยรบทีส่ ง่ เข้ามา เมือ่ ต้องการก�ำลังรบทีเ่ ข้าสูพ่ นื้ ทีป่ ฏิบตั กิ ารในขัน้ ต้น
จะขยายพืน้ ทีย่ ดึ อาศัย ให้ครอบคลุมเมืองท่า หรือท่าเทียบเรือเดินทะเลทีเ่ หมาะสมต่อการขนก�ำลัง
ขึ้นจากเรือส�ำหรับกองก�ำลังที่ตามมา เมื่อพื้นที่ยึดอาศัยได้รับการรักษาความปลอดภัยเป็นที่
เรียบร้อยแล้ว ก�ำลังรบที่ติดตามมาจะเข้าวางก�ำลังในพื้นที่ยึดอาศัย
๓-๕๔ การปฏิบตั กิ ารเข้ายึดครองด้วยก�ำลัง เป็นการปฏิบตั กิ ารทีซ่ บั ซ้อนและเป็นลักษณะ
ของการยุทธ์ร่วม หลายครั้งที่มีเวลาไม่กี่ชั่วโมงในการกระจายความพร้อม และการวางก�ำลังเข้า
ท�ำการรบ ความต้องการ การวางก�ำลังเข้าท�ำการรบและการใช้กำ� ลังเข้าท�ำการรบอย่างพร้อมเพรียง
กันสร้างล�ำดับชุดอันเป็นเอกลักษณ์ของความเป็นพลวัต การปฏิบัติการต่าง ๆ ได้รับการวางแผน
อย่างระมัดระวัง และมีการซักซ้อมการปฏิบัติอย่างรอบคอบ ณ พื้นที่ที่ท�ำการฝึก และพื้นที่ที่ออก
ปฏิบัติการ ในทางตรงกันข้ามกับการวางก�ำลังทางยุทธศาสตร์ ยุทโธปกรณ์จะถูกจัดให้อยู่ในสภาพ
พร้อมใช้งานได้ในทันที กระสุน และเชือ้ เพลิง ทีจ่ ะต้องใช้จะถูกน�ำติดตัวและน�ำยานพาหนะไปด้วย
ผูบ้ ญ
ั ชาการกองก�ำลังยุทธ์รว่ มและ ผูบ้ ญ
ั ชาการ กกล.ทบ. จะต้องสร้างความสมดุลอย่างระมัดระวัง
ระหว่าง หน่วยบังคับบัญชาและการควบคุม หน่วยก�ำลังรบ หน่วยสนับสนุนการรบ และหน่วย
สนับสนุนทางการช่วยรบ เพื่อให้ได้มาซึ่งอ�ำนาจก�ำลังรบสูงสุดอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าที่ใดก็ตามที่เป็น
ไปได้ ผู้บังคับบัญชาด�ำเนินการบังคับบัญชาใช้หน่วยการยิงสนับสนุนจากฐานยิงทางอากาศและ
ทางเรือ การปฏิบัติในลักษณะนี้ได้ต้องอาศัยการทุ่มเททรัพยากรจากการยกขนทางยุทธศาสตร์
(Strategic lift) ในการวางหน่วยด�ำเนินกลยุทธ์และหน่วยในการด�ำรงสถานภาพของ ทบ. ลง
บนพื้นดิน ตัวอย่างเช่น ฝ่ายอ�ำนวยการของก�ำลังที่เข้าสู่พื้นที่ปฏิบัติการขั้นต้นอาจจะบรรทุกไปกับ
อากาศยานที่จัดเป็นพิเศษของกองทัพอากาศ ขณะที่ส่วนก�ำลังทางเรือ และทางอากาศส่งก�ำลัง
เข้าโจมตีอย่างแม่นย�ำเพื่อสนับสนุนกองก�ำลังที่เข้าปฏิบัติการ
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 77

การรักษาความปลอดภัยให้กับการปฏิบัติการแสดงก�ำลังรบ
๓-๕๕ ข้าศึกจะแสดงท่าทีในการขัดขวางการเข้าวางก�ำลังไม่ให้เป็นไปอย่างราบรื่น
การคุกคามต่อก�ำลังที่เข้าวางก�ำลังรบ อาจจะรวมถึงการใช้อาวุธตามแบบที่มีความทันสมัย อาวุธ
อานุภาพท�ำลายล้างสูง หรือทุ่นระเบิดทางพื้นดินและทางทะเล ท่าเรือและท่าอากาศยานในการ
ขนถ่ายเป็นเป้าหมายที่มีความล่อแหลมเฉพาะเนื่องจากมันเป็นจุดแรกในการเข้าสู่พื้นที่ปฏิบัติการ
ของก�ำลังรบ และยุทโธปกรณ์ การปฏิบัติการ ณ ท่าขนถ่ายมีความเกี่ยวข้องในการเป็นเป้าหมายที่
บอบบาง ยิง่ ไปกว่านัน้ มันมีความส�ำคัญต่อก�ำลังทหาร และยุทโธปกรณ์ ก�ำลังพลทีใ่ ห้การสนับสนุน
ของชาติเจ้าบ้าน ผู้รับรับจ้างตามสัญญา และเจ้าหน้าที่พลเรือนอาจจะก�ำลังท�ำงานอยู่ ณ ที่นั้น
เป้าหมายที่ให้ผลตอบแทนอย่างคุ้มค่านี้ล้วนอยู่ภายในพิสัยการปฏิบัติของข้าศึกทั้งสิ้น การโจมตีที่
ประสบผลส�ำเร็จต่อท่าขนถ่ายนี้สามารถท�ำให้เกิดผลกระทบส�ำคัญต่อความหนุนเนื่องในการแสดง
ก�ำลังรบได้ ผู้บังคับบัญชาทุกระดับเพ่งเล็งต่อการระวังป้องกันซึ่งลดความล่อแหลมนั้น เพื่อ
หลีกเลี่ยงภัยคุกคามต่อการปฏิบัติการเข้าสู่พื้นที่ปฏิบัติการ ก� ำลังรบอาจจะปฏิบัติการผ่าน
ทางฐานทัพระหว่างทาง๑
ฐานระหว่างทาง
๓-๕๖ ฐานระหว่างทาง เป็นฐานทีม่ กี ารจัดตัง้ ขึน้ และจัดให้มกี ารรักษาความปลอดภัยขึน้
ใกล้กบั พืน้ ทีป่ ฏิบตั กิ าร (แต่มไิ ด้อยูใ่ นพืน้ ทีป่ ฏิบตั กิ าร) ฐานระหว่างทางเป็นพืน้ ทีพ่ กั รอชัว่ คราวก่อน
จะเข้าสู่พื้นที่ปฏิบัติการจริง อาจใช้เพื่อการปฏิบัติการด�ำรงสถานภาพของกองก�ำลังในพื้นที่
ปฏิบัติการ ในกรณีที่ดีที่สุด ฐานที่มีการรักษาความปลอดภัยได้ดีที่สุด คือ พื้นที่ที่อยู่ในพื้นที่
ปฏิบัติการ แต่ไม่ใช่ว่าจะโชคดีเสมอไป สถานการณ์ซึ่งบังคับการวางก� ำลังอาจจะปฏิเสธความได้
เปรียบในเรือ่ งของการจัดตัง้ ฐานภายในพืน้ ทีป่ ฏิบตั กิ าร เมือ่ มีการตกลงใจว่าจะปฏิบตั กิ ารผ่านทาง
ฐานระหว่างทาง ผูบ้ ญ ั ชาการกองก�ำลังยุทธ์รว่ มจะวางน�ำ้ หนักความต้องการในการด�ำรงสถานภาพ
กับความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นได้
๓-๕๗ ปกติแล้ว ฐานระหว่างทางมีที่ตั้งอยู่ภายในยุทธบริเวณ อยู่นอกพื้นที่ปฏิบัติการ
ฐานระหว่างทางจัดตัง้ ขึน้ ในระยะทีพ่ น้ จากอาวุธยิงทัง้ ทางยุทธการและทางยุทธวิธี และอยูน่ อกเขต
อิทธิพลทางการเมืองของประเทศนั้น ๆ อีกด้วย ในกรณีว่าที่ใดที่ก�ำลังรบต้องการรักษาความ
ปลอดภัยพื้นที่ยึดอาศัย ฐานระหว่างทางอาจจะเป็นความส�ำคัญยิ่งต่อความส�ำเร็จ การใช้ฐาน

ฐานระหว่างทาง ทีต่ งั้ ชัว่ คราวใช้สำ� หรับก�ำลังรบพักรอก่อนการส่งก�ำลังรบเข้าไปในพืน้ ทีป่ ฏิบตั กิ าร แนวความคิดเกีย่ วกับ
ฐานระหว่างทางนี้เป็นแนวความคิดเสริมส�ำหรับรองรับการส่งก�ำลังออกปฏิบัติการนอกประเทศ และเพื่อการศึกษาแนว
ความคิดของสหรัฐฯ ส�ำหรับการฝึกผสมเท่านัน้ การน�ำหลักการนีไ้ ปประยุกต์ใช้จงึ ควรพิจารณาใช้อย่างเหมาะสม
78 บทที่ ๓

ระหว่างทางไม่ใช่ว่าไม่มีคุณค่าแต่อย่างใด เพราะว่าพวกมันเป็นจุดเปลี่ยนถ่ายในการขนส่ง ฐาน


ระหว่างทางเพิ่มความต้องการในการควบคุม และสามารถเพิ่มเวลาในการวางก�ำลัง และอาจจะมี
ความต้องการโครงสร้างพื้นฐานเพิ่มเติม (ทางก�ำลังพลและยุทโธปกรณ์) อีกด้วย
๓-๕๘ ฐานระหว่างทางอาจจะท�ำหน้าที่เป็นเหมือนฐานหลักส�ำหรับการปฏิบัติการเข้าสู่
พื้นที่ปฏิบัติการ ฐานระหว่างทางเป็นประโยชน์ในเรื่องของสิ่งที่มีอยู่ ขีดความสามารถที่ผสมผสาน
การสนับสนุนอย่างเพียงพอต่อจุดที่มีการเปลี่ยนถ่ายจากการล� ำเลียงเชิงพาณิชย์ขนาดใหญ่ไปสู่
การใช้เครื่องมือขนส่งทางยุทธวิธีที่มีอยู่อย่างหลากหลายในยุทธบริเวณ การขนส่งทางยุทธวิธี
สามารถใช้ทา่ ขนส่งทีม่ ขี นาดเล็ก และไม่มคี วามสิน้ เปลืองมากนัก หรือ การอ้อมผ่านมันได้ ด้วยการ
ขนย้ายอย่างเหมาะสม เมื่อมาถึงยังฐานระหว่างทาง ก�ำลังรบด�ำเนินการในการปฏิบัติการรับ
การจัดการบรรทุก การวางไปข้างหน้าและการสนธิก�ำลัง จากท่าไปสูจ่ ดุ หมายปลายทางอย่างจ�ำกัด
และปรับกองก�ำลังใหม่อกี ครัง้ หนึง่ ผูบ้ ญ
ั ชาการกองก�ำลังยุทธ์รว่ มสามารถแผ่ขยายก�ำลังรบให้พร้อม
ทีจ่ ะด�ำเนินการปฏิบตั กิ ารต่าง ๆ ได้อย่างทันท่วงทีทเี่ ข้าสูพ่ นื้ ทีป่ ฏิบตั กิ าร ขณะทีไ่ ม่เป็นไปตามความ
ต้องการในทุกกรณี ฐานระหว่างทางสามารถจัดการรักษาความปลอดภัยเป็นอย่างดี เมือ่ สถานการณ์
บังคับให้ตอ้ งท�ำเช่นนัน้ (แต่ความต้องการชนิดนีม้ กั เกิดขึน้ ไม่บอ่ ยนัก) เราอาจจะมีฐานระหว่างทาง
ได้อย่างไม่จ�ำกัดเพียงแค่หนึง่ ฐาน ฐานระหว่างทางสามารถประกอบด้วยต�ำบลทีต่ งั้ ต่าง ๆ มากมาย
ภายในภูมิภาค ขีดความสามารถและการผลักดันไปข้างหน้าของสิ่งอ� ำนวยความสะดวกต่าง ๆ
เป็นตัวก�ำหนดรูปร่างลักษณะของฐานระหว่างทาง
ภาคที่ ๒
พื้นฐานของการปฏิบัติการทุกรูปแบบ
ตอนที่สองกล่าวถึงพื้นฐานของการปฏิบัติการเต็มรูปแบบ ซึ่งครอบคลุมในเรื่องหลักการพื้นฐาน,
การบังคับบัญชาการรบ, และการปฏิบัติการรบเป็นเรื่องซับซ้อน แต่เนื้อแท้ของมันเป็นสิ่งที่เข้าใจ
ได้ง่าย และสามารถแยกแยะออกมาเป็นกฎทั่วไปได้ ๕ ประการ คือ การรบจะชนะได้ด้วยการรุก,
การริเริ่มต้องให้ฝ่ายเราได้เปรียบไม่ใช่ข้าศึก, ต้องให้ได้มาซึ่งความริเริ่มและด�ำรงเอาไว้, สร้างแรง
หนุนเนื่องอย่างรวดเร็ว, และประการสุดท้ายต้องชนะให้เด็ดขาด ในตอนที่สองนี้จะแบ่งออกเป็น
สามบทซึ่งจะกล่าวถึงกฎทั้งห้าประการดังกล่าวประกอบรายละเอียดเพิ่มเติมว่าควรท�ำอย่างไรกับ
การปฏิบัติการ
บทที่ ๔ กล่าวถึงขอบเขตของการปฏิบัติการของ ทบ.,องค์ประกอบอ�ำนาจก�ำลังรบ, หลักการ
สงคราม, หลักพื้นฐานการปฏิบัติการ ทบ., กรอบการปฏิบัติการ, และขีดความสามารถของ ทบ.
กองก�ำลัง ทบ.สามารถปรับเพื่อสร้างชุดรบผสมเหล่าที่มีความสามารถในการท�ำให้เกิดผลต่อการ
ปฏิบตั กิ ารทางทหาร สงคราม และการปฏิบตั กิ ารทางทหารอืน่ ทีม่ ใิ ช่สงครามทัง้ ในระดับยุทธศาสตร์
ยุทธการ และยุทธวิธี องค์ประกอบอ�ำนาจก�ำลังรบได้แก่ การด�ำเนินกลยุทธ์, การยิง, ความเป็นผูน้ ำ� ,
การป้องกัน และข่าวสาร ซึ่งเป็นสิ่งเชื่อมโยงกับหลักนิยม การจัด และการปฏิบัติการของ ทบ.
ผู้บังคับหน่วยของ ทบ.ใช้หลักการสงครามและหลักการปฏิบัติการของ ทบ.เพื่อน�ำอ�ำนาจก�ำลังรบ
ไปใช้ในการปฏิบตั กิ ารเต็มรูปแบบให้บงั เกิดผลเด็ดขาด ส่วนกรอบปฏิบตั กิ ารใช้สำ� หรับการจัดเตรียม
ก�ำลังให้เหมาะสมกับเวลา พื้นที่ วัตถุประสงค์ และทรัพยากร เพื่อให้บรรลุภารกิจที่ก�ำหนด
บทที่ ๕ กล่าวถึงการบังคับบัญชาการรบ การบังคับบัญชาการรบคือการใช้ความเป็นผู้น�ำในฐานะ
ที่เป็นส่วนหนึ่งของอ�ำนาจก�ำลังรบ ซึ่งมีพันธกิจ ๔ ประการคือ การก�ำหนดมโนทัศน์ การอธิบาย,
การอ�ำนวยการ, และการน�ำ ผูบ้ งั คับหน่วยใช้มโนทัศน์ในการปฏิบตั กิ ารในกรอบของปัจจัยเม็ทท์-ทีซี
(METT-TC), องค์ประกอบของการออกแบบการปฏิบตั กิ าร, ประสบการณ์และดุลพินจิ ของตน ผูบ้ งั คับ
หน่วยใช้เจตนารมณ์และแนวทางในการวางแผนเพื่อให้หน่วยรองเข้าใจวิสัยทัศน์ของตน ใช้แนว
ความคิดในการปฏิบตั แิ ละระบบการปฏิบตั กิ ารในสนามรบเพือ่ อ�ำนวยการปฏิบตั ิ และใช้ความเป็น
ผูน้ ำ� ในการน�ำผูใ้ ต้บงั คับบัญชาและหน่วยตลอดเวลาในการปฏิบตั กิ ารเพือ่ มุง่ ไปสูค่ วามส�ำเร็จในภารกิจ
บทที่ ๖ กล่าวถึงการปฏิบัติการเต็มรูปแบบในลักษณะที่เป็นกระบวนการของการปฏิบัติ ซึ่ง
กระบวนการของการปฏิบัติประกอบด้วยกิจกรรมที่หน่วยกระท�ำขณะปฏิบัติการซึ่งได้แก่ การ
วางแผน, การเตรียมการ, และการปฏิบัติ โดยในการด�ำเนินการกิจกรรมดังกล่าวจะต้องมีการ
ประเมินอย่างต่อเนื่อง เป็นการแปลงวิสัยทัศน์ของผู้บังคับบัญชาเป็นการปฏิบัติ
บทที่ ๔
หลักพื้นฐาน
การปฏิบัติการทุกรูปแบบ

“ศิลปะในการยุทธ์มีองค์ประกอบแน่นอนและหลักการตายตัว เราต้องมีทฤษฎีเหล่านั้น
และศึกษาให้จดจ�ำ มิฉะนั้นก็ไปไม่ถึงไหน”
เฟรดเดอริค มหาราช
๔-๑ หลั ก นิ ย มในการปฏิ บั ติ ก ารเต็ ม รู ป แบบขึ้ น อยู ่ กั บ หลั ก การพื้ น ฐานที่ แ น่ น อน
หลักการพืน้ ฐานดังกล่าวท�ำให้ได้แนวความคิดส�ำหรับการปฏิบตั กิ ารในสนามเช่นเดียวกับการพัฒนา
ความเป็นผูน้ ำ� ในชัน้ เรียน เป็นพืน้ ฐานส�ำหรับการสร้าง การใช้ และการด�ำรงสภาพก�ำลังรบของ ทบ.
กล่าวคือ ความรู้เกี่ยวกับหลักพื้นฐานและการน�ำไปประยุกต์ใช้ช่วยให้ กกล.ทบ. เป็นหน่วยที่ท�ำให้
เกิดผลเด็ดขาดในการปฏิบัติการทางทหารทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบใด
๔-๒ หลักพื้นฐานถือเป็นแนวทางส�ำหรับการปฏิบัติการเต็มรูปแบบ (ดูรูป ๔-๑)
องค์ประกอบอ�ำนาจก�ำลังรบเป็นปัจจัยส�ำคัญในการท�ำให้เกิดอ�ำนาจก�ำลังรบ ในการปฏิบัติการ
ทางบก ผู้บังคับหน่วยใช้องค์ประกอบอ�ำนาจก�ำลังรบดังกล่าวผสมผสานกันเพื่อท�ำให้เกิดผลต่อ
การปฏิบตั กิ ารทีเ่ หนือกว่าข้าศึกหรืออุปสรรค โดยยึดหลักการสงคราม เป็นแนวทางหลักการสงคราม
เกิดจากการกลัน่ กรองประสบการณ์ทผี่ า่ นมา นอกจากนี้ ทบ.ยังมีหลักปฏิบตั กิ ารทีม่ ที งั้ รูปแบบและ
เนื้อหาที่ใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติการเต็มรูปแบบ หลักปฏิบัติการดังกล่าวมีอยู่ในหลักนิยมของ
ทบ. ส�ำหรับโครงร่างการยุทธ์เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติของ กกล.ทบ. ในเรื่องเวลา สถานที่ และ
วัตถุประสงค์ เมื่อน�ำมาใช้กับหลักปฏิบัติการ ทบ. โครงร่างการยุทธ์จะท�ำให้ผู้บังคับหน่วยมี
แนวความคิดเบือ้ งต้นส�ำหรับการใช้อำ� นาจก�ำลังรบ ผูบ้ งั คับหน่วยใช้และผสมผสานขีดความสามารถ
ของก�ำลังรบผสมเหล่าได้หลายแบบ ทั้งเป็นส่วนเสริม เพิ่มเติมก�ำลัง หรือใช้ในลักษณะอสมมาตร
เพื่อให้บังเกิดผลเด็ดขาดในการปฏิบัติการทางทหารทุกรูปแบบ
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 81

พื้นฐานการปฏิบัติการของกองทัพบก

รูปที่ ๔-๑ พื้นฐานการปฏิบัติการของกองทัพบก

องค์ประกอบอ�ำนาจก�ำลังรบ
๔-๓ ความส�ำเร็จในการปฏิบัติการทั้งปวงขึ้นอยู่กับขีดความสามารถในการรบของ
กกล.ทบ. ไม่ว่าการปฏิบัติการนั้นจะเป็นการใช้พลังอ�ำนาจในการท�ำลายหรือไม่ก็ตาม อ�ำนาจ
ก�ำลังรบคือขีดความสามารถในการรบที่หน่วยทหารใช้ต่อข้าศึก ซึ่งอาจใช้ไปทั้งในการท�ำลายหรือ
ขัดขวางหรือทั้งสองอย่าง ผู้บังคับหน่วยเป็นผู้ผสมผสานองค์ประกอบอ�ำนาจก�ำลังรบ ซึ่งได้แก่
การด�ำเนินกลยุทธ์, อ�ำนาจการยิง, ความเป็นผูน้ �ำ, การป้องกัน, และข่าวสาร เพือ่ เอาชนะข้าศึกและ
อุปสรรคที่เกิดขึ้น (ดูรูปที่ ๔-๒) การเอาชนะข้าศึกฝ่ายเราจะต้องลดอ�ำนาจก�ำลังรบของฝ่ายข้าศึก
ให้นอ้ ยกว่าอ�ำนาจก�ำลังรบของฝ่ายเราให้ได้ โดยฝ่ายเราต้องประสานสอดคล้ององค์ประกอบอ�ำนาจ
ก�ำลังรบให้เหนือกว่าข้าศึก ณ ต�ำบลและเวลาที่ต้องการผลแตกหัก การใช้อ�ำนาจก�ำลังรบที่เน้น
เฉพาะจุดจะช่วยให้การปฏิบัติการประสบความส�ำเร็จและป้องกันมิให้ข้าศึกรวมอ�ำนาจก�ำลังรบที่
เป็นปึกแผ่นต่อต้านต่อฝ่ายเราได้ ช่วยลดการสูญเสียของฝ่ายเราและท�ำให้การปฏิบัติภารกิจยุติลง
ภายในเวลาอันรวดเร็ว
82 บทที่ ๔

รูปที่ ๔-๒ องค์ประกอบของอ�ำนาจก�ำลังรบ

การด�ำเนินกลยุทธ์
๔-๔ การด�ำเนินกลยุทธ์ คือ การใช้ก�ำลังด้วยการเคลื่อนที่ประกอบกับการยิงหรือ
ประกอบกับศักยภาพในการยิงเพื่อให้อยู่ในที่ที่ได้เปรียบข้าศึก การด�ำเนินกลยุทธ์คือ เครื่องมือที่
ผูบ้ งั คับหน่วยใช้รวมอ�ำนาจก�ำลังรบเพือ่ ให้เกิดการจูโ่ จม แรงโถมกระแทก แรงหนุนเนือ่ ง และความ
เหนือกว่าข้าศึก
การด�ำเนินกลยุทธ์ระดับยุทธการ
๔-๕ การด�ำเนินกลยุทธ์ระดับยุทธการเป็นการน�ำ กกล.ทบ. และทรัพยากรไปวางไว้ ณ
สถานที่ที่เกิดความได้เปรียบในระดับยุทธการอย่างทันเวลา ซึ่งเป็นเรื่องที่ซับซ้อนและต้องใช้การ
สนับสนุนจากเหล่าทัพและกองก�ำลังของชาติอื่น การวางก�ำลังและการเคลื่อนย้ายก�ำลังภายใน
ยุทธบริเวณอาจเป็นการด�ำเนินกลยุทธ์ระดับยุทธการได้ถ้าฝ่ายเรามีความได้เปรียบด้านที่ตั้งและมี
อิทธิพลต่อผลของการทัพหรือการรบ
๔-๖ ผูบ้ งั คับหน่วยจะต้องหาโอกาสเป็นฝ่ายได้เปรียบระดับยุทธการด้านทีต่ งั้ ก่อนทีก่ าร
รบจะเริ่มขึ้นและขยายผลจากความส�ำเร็จทางยุทธวิธีจากความได้เปรียบนั้นเพื่อให้บรรลุผลระดับ
ยุทธการทีต่ อ้ งการ หากเป็นไปได้จะต้องด�ำเนินกลยุทธ์ระดับยุทธการเพือ่ ให้ได้เปรียบด้านทีต่ งั้ ก่อน
ทีข่ า้ ศึกจะปฏิบตั ิ หรือชิงลงมือก่อนการด�ำเนินกลยุทธ์เพือ่ ประกันได้วา่ หากข้าศึกจะเคลือ่ นทีจ่ ะต้อง
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 83

ถูกท�ำลาย การเคลือ่ นทีแ่ ละการด�ำเนินกลยุทธ์ระดับยุทธการจะช่วยให้ผบู้ งั คับหน่วยสร้างสภาวะที่


ต้องการส�ำหรับการรบและมีความได้เปรียบสูงสุดในการปฏิบตั กิ ารทางยุทธวิธี ตัวอย่าง จากยุทธการ
พายุทะเลทราย ที่หน่วยบัญชาการกลางเคลื่อนย้ายกองทัพน้อยที่ ๗ และกองทัพน้อยที่ ๑๘ จาก
ด้านตะวันตกของคูเวตเพื่อโอบแนวตั้งรับของอิรัก การเคลื่อนย้ายระดับยุทธการครั้งนั้นก่อให้เกิด
การจูโ่ จมทัง้ ในระดับยุทธการและยุทธวิธี เมือ่ รวมกับการเคลือ่ นทีอ่ ย่างรวดเร็วและอ�ำนาจก�ำลังรบ
ที่เหนือกว่าอย่างมากท�ำให้กองทัพอิรักเป็นฝ่ายพ่ายแพ้อย่างรวดเร็ว
การด�ำเนินกลยุทธ์ระดับยุทธวิธี
๔-๗ การด�ำเนินกลยุทธ์ระดับยุทธวิธีน�ำมาซึ่งชัยชนะในการรบและการรบปะทะ
นอกจากจะท�ำให้ข้าศึกเสียสมดุลแล้วยังช่วยให้เกิดการป้องกันต่อหน่วย การด�ำเนินกลยุทธ์ระดับ
ยุทธวิธีทั้งการรุกและการรับเป็นการน� ำก�ำลังไปประชิดและท� ำลายข้าศึก หากท� ำได้อย่างมี
ประสิ ท ธิ ภ าพจะเป็ น การสร้ า งปั ญ หาให้ ข ้ า ศึ ก อย่ า งต่ อ เนื่ อ ง ท� ำ ให้ ก ารตอบโต้ ข องข้ า ศึ ก
ขาดประสิทธิภาพและน�ำไปสู่ความพ่ายแพ้ในที่สุด
๔-๘ ในการปฏิบตั กิ ารเพือ่ เสถียรภาพ การด�ำเนินกลยุทธ์ระดับยุทธวิธที มี่ ปี ระสิทธิภาพ
จะจ�ำกัดทางเลือกของข้าศึก ท�ำให้ฝา่ ยเราได้รวมอ�ำนาจก�ำลังรบ ณ ต�ำบลทีส่ ามารถป้องปรามหรือ
ลดผลกระทบจากความรุนแรง และท�ำให้ฝ่ายเราสามารถใช้อ�ำนาจการยิงได้หากมีการรบเกิดขึ้น
การด�ำเนินกลยุทธ์ระดับยุทธวิธีเป็นการแสดงให้เห็นถึงขีดความสามารถของ กกล.ทบ. อย่างเป็น
รูปธรรม ส�ำหรับการปฏิบัติการสนับสนุน การด�ำเนินกลยุทธ์เป็นการน�ำ กกล.ทบ. ไปวาง ณ ต�ำบล
ที่สามารถใช้ขีดความสามารถตามที่ต้องการได้
การรบระยะใกล้
๔-๙ การรบระยะใกล้จะเกิดจากการด�ำเนินกลยุทธ์และมีวัตถุประสงค์เพียงประการ
เดียวคือ ชัยชนะขั้นเด็ดขาดจากการรบและการรบปะทะ การรบระยะใกล้คือ การรบที่ใช้อาวุธ
ยิงเล็งตรง สนับสนุนด้วยการยิงจ�ำลอง การยิงจากทางอากาศ และเครื่องมือที่ไม่มีผลการสังหาร
การรบระยะใกล้จะท�ำลายหรือเอาชนะฝ่ายข้าศึก ยึดหรือรักษาภูมปิ ระเทศ โดยระยะระหว่างก�ำลัง
ทั้งสองฝ่ายอาจห่างกันหลายพันเมตรจนถึงการต่อสู้ระยะประชิดแบบตะลุมบอน
๔-๑๐ การยึดหรือรักษาภูมิประเทศเป็นการปฏิบัติทางยุทธวิธีที่จ�ำเป็นเพื่อน�ำไปสู่
วัตถุประสงค์ที่ต้องการหรือเป็นวัตถุประสงค์ในตัวเอง ถ้าข้าศึกมีความสามารถและมีความมุ่งมั่น
การรบระยะใกล้จะเป็นสิ่งที่จ�ำเป็นต้องท�ำ การยิงเพียงอย่างเดียวจะไม่สามารถผลักดันให้ข้าศึก
ละทิ้งที่มั่นหรือล้มเลิกความตั้งใจในการสู้รบ ผลของการรบ, การรบขนาดใหญ่, และการทัพ ขึ้นอยู่
กับขีดความสามารถของ กกล.ทบ. ในการเข้าประชิดและท�ำลายก�ำลังข้าศึก ในระหว่างการรุก
84 บทที่ ๔

และการรับหากข้าศึกเห็นชัดเจนว่าตนต้องถูกท�ำลายอย่างแน่นอนจะท�ำให้ข้าศึกยอมแพ้ ใน
การปฏิบัติการเพื่อเสถียรภาพ กกล.ทบ. ใช้ความเหนือกว่าในการรบระยะใกล้เพื่อให้เกิดอิทธิพล
ต่อการปฏิบัติของข้าศึก ไม่ว่าจะเป็นกรณีใด ขีดความสามารถของ กกล.ทบ. ในการรบระยะใกล้
รวมกับเจตนาที่จะใช้ขีดความสามารถดังกล่าว เป็นปัจจัยที่มีผลเด็ดขาดในการเอาชนะข้าศึกหรือ
ควบคุมสถานการณ์
อ�ำนาจการยิง
๔-๑๑ อ�ำนาจการยิงคือ พลังในการท�ำลายขีดความสามารถและเจตจ�ำนงในการสู้รบ
ของข้าศึก อ�ำนาจการยิงกับการด�ำเนินกลยุทธ์เป็นสิ่งที่เสริมซึ่งกันและกัน โดยอ�ำนาจการยิงจะ
ขยายผลของการด�ำเนินกลยุทธ์โดยการท�ำลายก�ำลังและจ�ำกัดขีดความสามารถในการตอบโต้ของ
ข้าศึก การด�ำเนินกลยุทธ์ท�ำให้การใช้อ�ำนาจการยิงมีอ�ำนาจการท�ำลายมากขึน้ แม้วา่ ในบางขัน้ ของ
การปฏิบตั อิ งค์ประกอบหนึง่ อาจส�ำคัญกว่าอีกองค์ประกอบหนึง่ แต่การปฏิบตั กิ ารทัง้ หลายต้องมีการ
ประสานสอดคล้ององค์ประกอบทั้งสองเสมอ การปรากฏหรือการคุกคามว่าจะใช้องค์ประกอบใด
องค์ประกอบหนึ่งจะมีผลต่ออีกองค์ประกอบ หากขาดซึ่งองค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่ง
การปฏิบตั กิ ารจะไม่บงั เกิดผลแตกหัก แต่ถา้ หากใช้ผสมผสานกันอย่างลงตัวแล้ว นอกจากจะสามารถ
ท�ำลายก�ำลังข้าศึกที่มีขนาดใหญ่กว่าฝ่ายเราได้แล้ว ยังเป็นการป้องกันให้กับฝ่ายเดียวกันด้วย
๔-๑๒ อ�ำนาจการยิงคือ ปริมาณการยิงที่อาวุธ, หน่วย หรือระบบอาวุธสามารถท�ำการ
ยิงออกไป การยิงท�ำให้เกิดผลกระทบเชิงสังหารและไม่สังหาร การยิงจะรวมถึงพันธกิจในการยิง
สนับสนุนเพียงอย่างเดียวหรือใช้รว่ มกับการด�ำเนินกลยุทธ์ ระยะยิง ความสามารถ และความแม่นย�ำ
ของระบบอาวุธสมัยใหม่ (ทัง้ อาวุธยิงเล็งตรงและเล็งจ�ำลอง) รวมกับระบบค้นหาเป้าหมายท�ำให้การ
ยิงมีอ�ำนาจในการท�ำลายมากกว่าในยุคก่อน ๆ ความสามารถเหล่านี้ท�ำให้ผู้บังคับหน่วยสร้าง
ผลกระทบได้ทั่วทั้งพื้นที่ปฏิบัติการของตน ดังนั้นผู้บังคับหน่วยจะต้องประสานสอดคล้องการยิง
ทั้งระดับยุทธวิธีและระดับยุทธการเพื่อสนับสนุนให้การปฏิบัติภารกิจของตนบรรลุผลส�ำเร็จ
การยิงระดับยุทธการ
๔-๑๓ การยิงระดับยุทธการคือ การใช้ระบบอาวุธทั้งที่มีผลเชิงสังหารและไม่สังหารของ
ผูบ้ งั คับหน่วยเพือ่ ให้ผลจากการยิงนัน้ น�ำไปสูก่ ารบรรลุวตั ถุประสงค์ของการทัพและการยุทธขนาดใหญ่
การยิงระดับยุทธการเป็นองค์ประกอบที่ส�ำคัญส�ำหรับการวางแผนในระดับยุทธการ อาวุธหรือ
ระบบอาวุธที่มิได้ใช้สนับสนุนการด�ำเนินกลยุทธ์ระดับยุทธวิธีมักถูกใช้ในการยิงระดับยุทธการ
ผู้บังคับหน่วยใช้การยิงระดับยุทธการต่อเป้าหมายที่มีผลต่อการทัพหรือการยุทธ์ขนาดใหญ่
การวางแผนการยิงระดับยุทธการจะรวมถึงการแบ่งมอบเครื่องมือทั้งของเหล่าทัพและชาติอื่น
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 85

ทุกชนิด ทั้งทางพื้นดิน ทางทะเล และทางอากาศ และสามารถก�ำหนดเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์


ระดับยุทธการเพียงวัตถุประสงค์เดียวได้ เช่น การขัดขวางก�ำลังขนาดใหญ่ของข้าศึกเพือ่ สร้างสภาวะ
ที่เกื้อกูลต่อการท�ำลายข้าศึกส่วนนั้นเป็นส่วน ๆ ต่อไป
๔-๑๔ การด�ำเนินกลยุทธ์ และการยิงระดับยุทธการอาจเกิดขึ้นพร้อม ๆ กันได้ แต่มี
วัตถุประสงค์ที่ต่างกัน กล่าวโดยทั่วไปการยิงระดับยุทธการไม่เหมือนกับการยิงสนับสนุน และ
การด� ำ เนิ น กลยุ ท ธ์ ร ะดั บ ยุ ท ธการก็ ไ ม่ จ� ำ เป็ น ต้ อ งพึ่ ง การยิ ง ระดั บ ยุ ท ธการ อย่ า งไรก็ ต าม
การด�ำเนินกลยุทธ์ระดับยุทธการจะมีประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อผู้บังคับหน่วยประสานสอดคล้อง
และขยายผลทีเ่ กิดจากการยิงระดับยุทธการเข้าด้วยกัน การผสมผสานการยิงระดับยุทธการเข้ากับ
การด�ำเนินกลยุทธ์ระดับยุทธการจะท�ำให้เกิดผลในการท�ำลายที่มีอานุภาพ ในลักษณะที่อาจจะ
เรียกได้ว่าเป็นการกระท�ำข้างเดียว ดังที่ได้ปรากฏในการรุกภาคพื้นดินในยุทธการพายุทะเลทราย
(กรณีตัวอย่าง)
การยิงระดับยุทธวิธี
๔-๑๕ การยิงระดับยุทธวิธีกระท�ำเพื่อท�ำลายก�ำลังข้าศึก, ท�ำให้ข้าศึกหมดสภาพ, ข่ม
การยิงข้าศึก และขัดขวางการเคลื่อนที่ของข้าศึก ท�ำให้เกิดสภาวะที่เกื้อกูลต่อชัยชนะขั้นเด็ดขาด
ในการรบระยะใกล้ ผูบ้ งั คับหน่วยจึงต้องให้ความส�ำคัญต่อการประสานสอดคล้องการยิงกับผลของ
การปฏิบตั ขิ องระบบอืน่ ๆ เป็นพิเศษ การรวมอ�ำนาจการยิงให้บงั เกิดผลสูงสุดได้นนั้ หน่วยทุกระดับ
จะต้องเข้าใจเจตนารมณ์ผบู้ งั คับบัญชา และความสามารถในการใช้ระบบอาวุธ และเครือ่ งมือทุกชนิด
ที่มีอยู่ต่อเป้าหมายหลายประเภท การใช้การยิงระดับยุทธวิธีอย่างมีประสิทธิภาพได้จะต้องเข้าใจ
กรรมวิธีในการก�ำหนดความเร่งด่วน, การก�ำหนดที่ตั้ง, การพิสูจน์ทราบ และการติดตามเป้าหมาย
ต้องเข้าใจการแบ่งมอบระบบอาวุธและการประเมินผลกระทบ การยิงที่มีประสิทธิภาพได้หน่วยจะ
ต้องได้รับการฝึกมาเป็นอย่างดี มีผู้น�ำที่มีประสิทธิภาพและเข้าใจสถานการณ์เป็นอย่างดี
ภาวะผู้น�ำ
๔-๑๖ ภาวะผู้น�ำเป็นองค์ประกอบอ�ำนาจก�ำลังรบที่มีความส�ำคัญที่สุด เพราะเป็นการ
เกี่ยวข้องโดยตรงต่อก�ำลังพลเป็นบุคคล ความมั่นใจ ความห้าวหาญ และความสามารถของผู้นำ�
หน่วยเป็นสิ่งผสมผสานองค์ประกอบอ�ำนาจก�ำลังรบอื่น ๆ เข้าด้วยกันเพื่อสร้างสภาวะที่น�ำไปสู่
ความส�ำเร็จ ผูน้ �ำทีย่ ดึ มัน่ ในหัวใจนักรบ (warrior ethos) จะเป็นแรงบันดาลใจต่อผูใ้ ต้บงั คับบัญชา
ให้ฝ่าฟันอันตรายและความยากล�ำบากไปสู่ชัยชนะ ในหน่วยขนาดเล็กความส�ำเร็จหรือความ
ล้มเหลวจะอยู่ที่การปฏิบัติตนเป็นตัวอย่างของผู้น�ำ
86 บทที่ ๔

๔-๑๗ หน้าที่ของผู้น�ำทุกคนคือ การพัฒนาตนให้มีความสามารถทางวิชาชีพ ความ


สามารถทางวิชาชีพจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อผู้น�ำมีทักษะ ๔ ประการ คือ ทักษะความสัมพันธ์ระหว่าง
บุคคล, ทักษะทางความคิด, ทักษะทางเทคนิค, และทักษะทางยุทธวิธี การฝึกและการเรียนรู้ด้วย
ตนเองตลอดเวลาจะช่วยให้ผู้น�ำสามารถพัฒนาทักษะทั้งสี่ประการให้เกิดขึ้นได้
๔-๑๘ ผู้น�ำต้องปลูกฝังค่านิยมของ ทบ. ให้เกิดขึ้นต่อก�ำลังพลในหน่วยของตน ท�ำให้
ผูใ้ ต้บงั คับบัญชามีความกระตือรือร้นในการท�ำงาน มีวธิ กี ารท�ำงานทีถ่ กู ต้อง และมีเจตจ�ำนงแน่วแน่
ความสามารถทางวิชาชีพ บุคลิก และเจตจ�ำนงของผู้น�ำทุกระดับจะปรากฎอยู่ในอ�ำนาจก�ำลังรบ
ของหน่ ว ยทุ ก ระดั บ ผู ้ น� ำ หน่ ว ยทุ ก ระดั บ ของ ทบ. ต้ อ งเป็ น ตั ว อย่ า งในเรื่ อ งจริ ย ธรรมและ
ลักษณะทหาร ผู้น�ำต้องให้ความส�ำคัญกับผู้ใต้บังคับบัญชาเป็นล�ำดับแรก เมื่อตัดสินใจเรื่องใดไป
แล้วต้องปฏิบัติด้วยความกล้าหาญและความมั่นใจ ในระหว่างการปฏิบัติการต้องรู้ว่าตนควรจะอยู่
ที่ไหน จะต้องตัดสินใจเมื่อใด และจะท�ำอย่างไรถึงจะมีอิทธิพลต่อการปฏิบัติการ
๔-๑๙ ผู้น�ำต้องสร้างความเชื่อมั่นและการท�ำงานเป็นทีมให้เกิดขึ้นกับหน่วยของตน
ความเชื่อมั่นเป็นคุณสมบัติส�ำคัญของผู้น�ำทหาร ทหารต้องมีความเชื่อมั่นและความไว้วางใจต่อ
ผู้บังคับบัญชาของตน ในทางกลับกันผู้บังคับบัญชาต้องเชื่อมั่นและไว้วางใจผู้ใต้บังคับบัญชาของ
ตนเช่นกัน หากปราศจากความเชื่อมั่นเสียแล้ว ภาวะการน�ำของหน่วยนั้นก็ไร้ประสิทธิภาพ
ความไว้วางใจจะช่วยให้ผู้ใต้บังคับบัญชามีความริ่เริ่ม ในสถานการณ์ที่ไม่กระจ่างชัด ความส�ำเร็จ
ของภารกิจขึน้ อยูก่ บั ผูน้ ำ� ทีก่ ล้าตัดสินใจและใช้ความริเริม่ อย่างสมเหตุสมผลภายใต้กรอบเจตนารมณ์
ของผู้บังคับบัญชา
การป้องกัน
๔-๒๐ การป้องกันคือ การอนุรักษ์ศักยภาพในการสู้รบของหน่วยเพื่อให้ผู้บังคับหน่วย
สามารถน�ำไปใช้ ณ ต�ำบลและเวลาที่ต้องการผลเด็ดขาดได้ การป้องกันมิใช่ความกลัวหรือ
การหลีกเลี่ยงความเสี่ยง การปฏิบัติการทางทหารมักเกิดขึ้นในสภาพแวดล้อมที่อันตรายและเสี่ยง
ต่อการสูญเสีย แต่อย่างไรก็ตามความส�ำเร็จของภารกิจต้องมีความส�ำคัญมากกว่าการหลีกเลี่ยง
ความสูญเสีย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นความสูญเสียที่เกินความจ�ำเป็นก็จะมีผลกระทบต่อความส�ำเร็จของ
ภารกิจในอนาคตเช่นกัน แต่ความสูญเสียจากอุบตั เิ หตุและโรคภัยไข้เจ็บเป็นสิง่ ทีไ่ ม่สมควร หากเกิด
ขึน้ โดยไม่มมี าตรการป้องกันทีด่ พี อจะมีผลกระทบต่อภารกิจและประสิทธิภาพของหน่วย การปฏิบตั ิ
ภารกิจให้ส�ำเร็จโดยมีการสูญเสียน้อยที่สุดจึงเป็นความรับผิดชอบของผู้บังคับหน่วย
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 87

๔-๒๑ การป้องกันมีองค์ประกอบ ๔ ประการคือ การพิทักษ์ก� ำลังรบ, วินัยสนาม,


ความปลอดภัย และการหลีกเลีย่ งการสูญเสียจากการยิงของฝ่ายเดียวกัน การพิทกั ษ์ก�ำลังรบซึง่ เป็น
องค์ประกอบหลักที่ส�ำคัญที่สุดคือ การลดความสูญเสียที่เกิดจากการยิง (รวมถึงอาวุธท�ำลาย
ล้างสูง), การด�ำเนินกลยุทธ์, และข่าวสารของข้าศึก วินัยสนามจะช่วยป้องกันการสูญเสียที่เกิดจาก
สภาวะแวดล้อมในสนามรบ ความปลอดภัยจะช่วยลดความสูญเสียชีวิตและการบาดเจ็บที่ไม่
เกี่ยวข้องกับการรบ การหลีกเลี่ยงการสูญเสียจากการยิงของฝ่ายเดียวกันเป็นการลดความสูญเสีย
ที่อาจเกิดขึ้นจากอาวุธของฝ่ายเราให้น้อยที่สุด
การพิทักษ์ก�ำลังรบ
๔-๒๒ องค์ประกอบที่หนึ่งของการป้องกันคือ การพิทักษ์กำ� ลังรบประกอบด้วยการ
ปฏิบัติเพื่อป้องกันหรือลดผลกระทบของการกระท�ำของข้าศึกต่อก�ำลังพล (รวมถึงครอบครัว),
ทรัพยากร, สิ่งอ�ำนวยความสะดวก, และข่าวสารส�ำคัญของฝ่ายเรา การปฏิบัติดังกล่าวเป็นการ
อนุรักษ์ศักยภาพการรบของฝ่ายเราเพื่อน�ำไปใช้ ณ เวลาและต�ำบลที่ต้องการผลแตกหัก และ
ลดโอกาสของข้าศึกที่จะกระท�ำต่อฝ่ายเรา แต่จะรวมถึงการป้องกันภัยทางอากาศและขีปนาวุธ
การป้องกัน นิวเคลียร์ ชีวะ เคมี, การต่อต้านการก่อการร้าย, การปฏิบัติการข่าวสารเชิงรับ และ
การรักษาความปลอดภัยต่อก�ำลังและยุทโธปกรณ์ หากข้าศึกมีก�ำลังรบตามแบบที่ด้อยกว่าฝ่ายเรา
ก็อาจหันไปใช้วิธีการอสมมาตรไม่ว่าจะเป็นเรื่องอาวุธ วิธีการ หรือยุทธวิธี การพิทักษ์ก�ำลังรบ
ไม่รวมถึงการปฏิบตั ใิ นการเอาชนะข้าศึกหรือการป้องกันอุบตั เิ หตุ, สภาพอากาศ, และโรคภัยไข้เจ็บ
๔-๒๓ การพิทกั ษ์กำ� ลังรบในทุกระดับจะช่วยลดความสูญเสียจากการปฏิบตั ขิ องข้าศึกให้
เหลือน้อยที่สุด การใช้การต่อต้านข่าวกรองที่เชี่ยวชาญ และรุกรบรวมถึงการประเมินภัยคุกคามที่
ถูกต้องจะช่วยลดความเสี่ยงของฝ่ายเราได้ การใช้การรักษาความปลอดภัยในการปฏิบัติการที่มี
ประสิทธิภาพจะช่วยป้องกันมิให้ข้าศึกใช้ข่าวสารของฝ่ายเราน�ำไปขยายผล การกระจายก�ำลังที่
เหมาะสมจะช่วยลดความสูญเสียจากการยิงและการก่อการร้าย วินัยการพราง, การระวังป้องกัน
เฉพาะต�ำบล และการป้อมสนามล้วนมีส่วนช่วยในการพิทักษ์ก�ำลังรบ การป้องกันการสื่อสารทาง
อิเล็กทรอนิกส์ การบรรจุเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ให้กับหน่วยก็เป็นมาตรการส�ำคัญในการป้องกัน
ข่าวสาร, ระบบข่าวสาร และก�ำลังพล ในระดับยุทธการ การป้องกันฐานและพื้นที่ส่วนหลังก็เป็น
ส่วนส�ำคัญในการพิทกั ษ์กำ� ลังรบ อาวุธป้องกันภัยทางอากาศจะช่วยให้ฝา่ ยเราป้องกันการโจมตีจาก
ทางอากาศ มาตรการในการป้องกันนิวเคลียร์ ชีวะ เคมีจะช่วยให้ฝา่ ยเราด�ำรงศักยภาพการรบไว้ใน
ในสภาพแวดล้อมที่มีการใช้อาวุธดังกล่าว
88 บทที่ ๔

วินัยสนาม
๔-๒๔ องค์ประกอบที่สองของการป้องกันคือ วินัยสนามจะช่วยป้องกันก�ำลังพลทั้งทาง
กายภาพและทางจิตใจจากผลกระทบของสภาพแวดล้อม สภาพแวดล้อมในสนามรบที่เลวร้ายอาจ
ลดทอนความเข้มแข็งทัง้ ทางร่างกายและขวัญของทหารได้เร็วกว่าการปฏิบตั ขิ องข้าศึก การฝึกบุคคล
ท�ำการรบและการเตรียมการทีด่ จี ะท�ำให้ก�ำลังพลสามารถปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดกี ว่า
ประชาชนในพื้นที่ก็ได้
๔-๒๕ ผูบ้ งั คับหน่วยต้องใช้มาตรการทัง้ ปวงเพือ่ ท�ำให้กำ� ลังพลมีสขุ ภาพและขวัญก�ำลังใจ
ที่ดี การปฏิบัติดังกล่าวจะรวมไปถึงการป้องกันมิให้ยุทโธปกรณ์และสิ่งอุปกรณ์ได้รับความเสียหาย
หรือสูญหาย ต้องก�ำกับดูแลให้มนั่ ใจว่าก�ำลังพลได้รบั การสนับสนุนในด้านสุขภาพ (รวมถึงเวชกรรม
ป้องกัน) หากมีการบาดเจ็บเพียงเล็กน้อยก็สามารถกลับเข้าท�ำหน้าที่ได้อย่างรวดเร็ว ต้องมีระบบ
ซ่อมบ�ำรุง, การส่งกลับ และการทดแทนหรือการซ่อมบ�ำรุงที่รวดเร็ว ผู้บังคับหน่วยในระดับยุทธวิธี
ต้องเอาใจใส่สุขภาพพื้นฐานของทหารและป้องกันมิให้เกิดการป่วยเจ็บโดยไม่จ�ำเป็น
ความปลอดภัย
๔-๒๖ องค์ประกอบที่สามของการป้องกันคือ ความปลอดภัย สภาวะแวดล้อมใน
การปฏิบตั กิ ารมักท�ำให้กำ� ลังพลต้องตกอยูใ่ นความเสีย่ งทัง้ ต่อชีวติ และสุขภาพ และท�ำให้การท�ำงาน
ของอาวุธยุทโธปกรณ์มปี ญ ั หา ก�ำลังพลจึงต้องรูข้ ดี ความสามารถและข้อจ�ำกัดของระบบอาวุธทีต่ น
เกี่ ย วข้ อ ง ผู ้ บั ง คั บ หน่ ว ยต้ อ งเข้ า ใจวิ ธี ก ารใช้ ร ะบบดั ง กล่ า วอย่ า งถู ก ต้ อ ง ในการออกแบบ
การปฏิบัติการ ผู้บังคับหน่วยจะต้องพิจารณาถึงข้อจ�ำกัดในเรื่องความอดทนของมนุษย์ ต้อง
เทียบเคียงถึงข้อดีของการปฏิบัติการที่ต้องด�ำรงจังหวะกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น ในการรบ
ความเหนื่อยล้าจะท�ำให้ความตื่นตัวและปฏิกิริยาในการตอบโต้ของทหารลดลง อุบัติเหตุ การ
สูญเสียอ�ำนาจก�ำลังรบและโอกาสทางยุทธวิธีจึงอาจเกิดขึ้นได้ง่าย การเอาใจใส่จากผู้บังคับบัญชา
ทุกระดับและความมีวินัยจะช่วยลดความเสี่ยงดังกล่าวได้ ความปลอดภัยเกิดจากการปฏิบัติตาม
กฎระเบียบและมาตรฐานในระหว่างการฝึกอย่างเคร่งครัด ผูบ้ งั คับหน่วยจึงต้องค�ำนึงถึงความเสีย่ ง
ที่อาจเกิดขึ้นในการปฏิบัติการและก�ำกับดูแลให้มีการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันอย่างเคร่งครัด
เพื่อลดความเสี่ยงเหล่านั้น
การหลีกเลี่ยงความสูญเสียการยิงจากฝ่ายเดียวกัน
๔-๒๗ องค์ประกอบที่สี่ของการป้องกันคือ การหลีกเลี่ยงความสูญเสียจากการยิงของ
ฝ่ายเดียวกัน อ�ำนาจการท�ำลายของระบบอาวุธสมัยใหม่รวมกับความรุนแรงและจังหวะการรบที่
แปรเปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วท�ำให้การปฏิบัติการเกิดความเสี่ยงต่อการสูญเสียจากอาวุธของ
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 89

ฝ่ายเดียวกันมีสูงขึ้น การด�ำเนินกลยุทธ์ทางยุทธวิธี ลักษณะภูมิประเทศ และสภาพอากาศล้วนมี


ส่วนเสริมต่อความเสี่ยงดังกล่าว ผู้บังคับหน่วยจะต้องหาทางลดความเสี่ยงดังกล่าวโดยไม่ให้หน่วย
สูญเสียความห้าวหาญและความรุกรบ ภาวะผู้น�ำที่ดีน�ำมาซึ่งการควบคุมการใช้อาวุธและการ
เคลื่อนย้ายที่มีประสิทธิภาพ และมีระเบียบปฏิบัติที่ดี และจะเป็นปัจจัยให้ทหารปฏิบัติการอย่าง
มั่นใจ ห้าวหาญ ปราศจากความกลัวจากการยิงของฝ่ายเดียวกัน
ข่าวสาร
๔-๒๘ ข่าวสารเป็นปัจจัยส่งเสริมภาวะผู้น�ำและขยายผลส�ำเร็จของการด�ำเนินกลยุทธ์,
อ�ำนาจการยิง และการป้องกัน ในอดีตเมื่อหน่วยปะทะกับข้าศึก ผู้บังคับหน่วยจะคลี่คลาย
สถานการณ์เพื่อให้ได้ข่าวสาร ปัจจุบันผู้บังคับหน่วยใช้ข่าวสารที่รวบรวมได้จากระบบต่าง ๆ
เพื่อให้ทราบสถานการณ์ก่อนการเข้าปะทะกับข้าศึก รวมถึงใช้การปฏิบัติการข่าวสารเชิงรุกเพื่อ
สร้างสภาวะที่เกื้อกูลต่อการใช้ปัจจัยอ�ำนาจก�ำลังรบอื่น ๆ
๔-๒๙ ภาพการปฏิบตั กิ ารร่วมทีไ่ ด้จากการข่าวกรอง การเฝ้าตรวจ และการลาดตระเวน
และกระจายผ่านทางระบบข่าวสารที่ทันสมัยจะท�ำให้ผู้บังคับหน่วยทุกระดับทราบสถานการณ์
อย่างถูกต้องและทันเวลาช่วยให้ผบู้ งั คับหน่วยใช้อำ� นาจก�ำลังรบอย่างเหมาะสม เช่น สามารถหลีกเลีย่ ง
พืน้ ทีโ่ จมตีของข้าศึก ขณะทีก่ ำ� ลังใช้อำ� นาจการยิงและการด�ำเนินกลยุทธ์ ณ ต�ำบลและเวลาทีต่ อ้ งการ
ผลแตกหักได้ ความสามารถดังกล่าวจะช่วยในการอยู่รอดของหน่วยโดยไม่ต้องเพิ่มระบบการ
ป้องกันเชิงรับ (เช่น เสื้อเกราะ) ระบบข่าวสารที่ทันสมัยจะช่วยให้ผู้บังคับหน่วยทุกระดับตัดสินใจ
ได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง และสือ่ การตัดสินใจไปยังหน่วยต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว ซึง่ จะท�ำให้การใช้
อ�ำนาจก�ำลังรบได้เร็วกว่าและมีประสิทธิภาพมากกว่าข้าศึก กล่าวโดยสรุปคือ ระบบข่าวสารทีท่ นั สมัย
ช่วยให้ฝ่ายเรา เห็นก่อน เข้าใจก่อน และลงมือปฏิบัติได้ก่อนฝ่ายข้าศึกนั่นเอง
๔-๓๐ ฝ่ายเราและข้าศึกจะใช้ข่าวสารทั้งโดยตรงและโดยอ้อมต่อเป้าหมายต่าง ๆ เพื่อ
ขยายผลจากความได้เปรียบเช่นเดียวกับการยิง กรณีตวั อย่างในการใช้ขา่ วสารในฐานะทีเ่ ป็นปัจจัย
อ�ำนาจก�ำลังรบประการหนึ่งคือ ในระหว่างยุทธการ Just Cause ในปี พ.ศ. ๒๕๓๒ (ค.ศ. ๑๙๘๙)
และระหว่างปฏิบัติการพายุทะเลทรายในปี พ.ศ. ๒๕๓๔ (ค.ศ. ๑๙๙๑) หน่วยปฏิบัติการจิตวิทยา
ของสหรัฐฯ ซึ่งถูกส่งให้ไปอยู่กับหน่วยด�ำเนินกลยุทธ์สามารถท�ำให้ฝ่ายข้าศึกตัดสินใจยอมแพ้
ในการปฏิบัติการพายุทะเลทราย การลวงทางทหาร (องค์ประกอบหนึ่งของการปฏิบัติการข่าวสาร
เชิงรุก) ท�ำให้ขา้ ศึกเคลือ่ นย้ายก�ำลังออกจากพืน้ ทีท่ ฝี่ า่ ยสหรัฐก�ำหนดให้เป็นพืน้ ทีใ่ นการปฏิบตั กิ าร
แตกหัก
90 บทที่ ๔

๔-๓๑ กกล.ทบ. จะต้องใช้ระบบข่าวสารให้เป็นประโยชน์ตอ่ การปฏิบตั กิ าร เพือ่ ให้ผบู้ งั คับ


หน่วยได้รับข่าวสารอย่างทันเวลาเพื่อท�ำความเข้าใจต่อสถานการณ์ทางยุทธวิธีและปฏิบัติตาม
เจตนารมณ์ผู้บังคับบัญชาได้ถูกต้อง ขณะที่หน่วยรองสามารถเข้าถึงสถานการณ์ทางยุทธวิธีได้
เร็วกว่าผู้บังคับบัญชาในระดับที่สูงกว่า ผู้บังคับบัญชาชั้นสูงควรจะหลีกเลี่ยงไม่เข้าไปแทรกแซง
การปฏิ บั ติ ท างยุ ท ธวิ ธี ข องหน่ ว ยรอง เพราะการกระท�ำ ดั ง กล่ า วท�ำ ให้ ป ระโยชน์ ข องการใช้
ระบบข่าวสารทันสมัยลดลง ท�ำให้หน่วยรองไม่สามารถสนับสนุนการท�ำความเข้าใจต่อสถานการณ์
ของหน่วยเหนือได้อย่างเต็มที่
หลักพื้นฐานการปฏิบัติการของ ทบ.
๔-๓๒ ความเข้าใจต่อหลักการสงครามและหลักพื้นฐานการปฏิบัติการของ ทบ. เป็น
สิ่งจ�ำเป็นต่อความส�ำเร็จในการปฏิบัติการทางทหารทุกรูปแบบ เพราะหลักการสงครามและ
หลักพื้นฐานการปฏิบัติการของ ทบ. จะเป็นมูลฐานส� ำหรับหลักนิยมการปฏิบัติการที่ ทบ.
ก�ำหนดขึ้น
หลักการสงคราม
๔-๓๓ หลักการสงคราม ๑๐ ประการ คือ แนวทาง
ในการท�ำสงครามและการปฏิบตั กิ ารทางทหารทีม่ ใิ ช่สงคราม หลักการสงคราม
ทั้งในระดับยุทธศาสตร์ ยุทธการ และยุทธวิธี หลักการ - ความมุ่งหมาย
ดังกล่าวเป็นพื้นฐานของหลักนิยม ทบ. เป็นหลักการที่ได้ - การรุก
ผ่านการวิเคราะห์ ทดสอบ และปฏิบัติมาแล้วว่าใช้ได้ผลจริง - การรวมก�ำลัง
- การออมก�ำลัง
๔-๓๔ หลักการสงครามไม่ใช่รายการตรวจสอบ - การด�ำเนินกลยุทธ์
ไม่สามารถน�ำไปใช้แบบเดียวกันในทุกสถานการณ์ได้ แท้จริง - เอกภาพในการบัญชา
แล้วหลักการสงครามเป็นการสรุปปัจจัยแห่งความส�ำเร็จของ - การรักษาความปลอดภัย
การปฏิ บั ติ ก ารทางทหาร คุ ณ ค่ า ที่ แ ท้ จ ริ ง ของหลั ก การ - การจู่โจม
สงครามอยู่ที่การเรียนรู้ในวิชาชีพทหาร เมื่อน� ำหลักการ - ความง่าย
สงครามไปใช้กบั การศึกษาการรบในอดีต การยุทธ์ขนาดใหญ่ - การต่อสู้เบ็ดเสร็จ
การรบ และการรบปะทะ มันจะเป็นเครือ่ งมือในการวิเคราะห์
ที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่ง
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 91

หลักความมุ่งหมาย
“การปฏิบัติการทางทหารต้องมีความมุ่งหมายที่ชัดเจน ปฏิบัติได้ และมีผลเด็ดขาด”
๔-๓๕ ในระดับยุทธการและยุทธวิธี ความมุ่งหมาย หรือวัตถุประสงค์เป็นสิ่งประกันว่า
การปฏิบัติทั้งปวงมุ่งไปสู่เป้าประสงค์ของหน่วยเหนือ หลักความมุ่งหมายเป็นสิ่งที่ผลักดันกิจกรรม
ทางทหารทัง้ ปวง เมือ่ จะปฏิบตั ภิ ารกิจใด ผูบ้ งั คับหน่วยต้องเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งว่าผลลัพธ์ทตี่ อ้ งการ
คืออะไรและมีผลกระทบอย่างไร ในระดับยุทธศาสตร์ หมายถึง การมีวิสัยทัศน์ว่าผลสุดท้าย
ทีต่ อ้ งการในยุทธบริเวณคืออะไร ซึง่ มักจะมีมติ ทิ างการเมืองรวมอยูด่ ว้ ย ผูบ้ งั คับหน่วยจะต้องเข้าใจ
ผลลัพธ์ทางการเมืองคืออะไร และการปฏิบัติการทางทหารจะช่วยให้บรรลุผลลัพธ์นั้นได้อย่างไร
๔-๓๖ ผู้น�ำทหารไม่อาจจะแยกความมุ่งหมายออกจากข้อพิจารณาที่เป็นข้อจ�ำกัดและ
ความถูกต้องทางกฎหมายได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการปฏิบัติการเพื่อเสถียรภาพและการปฏิบัติ
การสนับสนุน การใช้ก�ำลังทหารเพื่อให้บรรลุความมุ่งหมายจะต้องมีความชอบธรรมและสมเหตุ
สมผลกับเป้าประสงค์ วัตถุประสงค์ทางทหารจะต้องสอดคล้องกับการยอมรับได้ของหน่วยงานกลุม่
และรัฐบาลในพื้นที่ปฏิบัติการ หากปราศจากความชอบธรรมและความถูกต้องทางกฎหมายแล้ว
ปฏิบัติการทางทหารจะไม่ได้รับการสนับสนุน และจะไม่สามารถบรรลุความมุ่งหมายได้
๔-๓๗ ผูบ้ งั คับหน่วยต้องมีความมุง่ มัน่ อดทนเพือ่ ให้ภารกิจส�ำเร็จ การรุกและการรบอาจ
ก่อให้เกิดสภาวะทีเ่ กือ้ กูลต่อความส�ำเร็จในระยะสัน้ แต่การปฏิบตั กิ ารเพือ่ เสถียรภาพและการปฏิบตั ิ
การสนับสนุนที่ต้องใช้เวลานานอาจต้องการผลลัพธ์ในระดับยุทธศาสตร์ที่ยั่งยืนและเป็นรูปธรรม
โดยปกติผู้บังคับหน่วยมักต้องการส่งก�ำลังเข้าพื้นที่ ปฏิบัติภารกิจให้ส�ำเร็จแล้วถอนก�ำลังกลับ
โดยเร็ว แต่ทั้งนี้ก็ต้องประเมินเป้าหมายและวัตถุประสงค์ระยะยาวในระดับชาติด้วย
หลักการรุก
“ชิงความริเริ่ม รักษาความริเริ่ม และขยายผลจากความริเริ่มนั้น”
๔-๓๘ การรุ ก เป็ น ปั จ จั ย ส� ำ คั ญ ต่ อ การบรรลุ ผ ลส� ำ เร็ จ ที่ เ ด็ ด ขาด เป็ น หั ว ใจของ
การปฏิบัติการ การรุกเป็นการปฏิบัติที่ส่งผลต่อลักษณะ ขอบเขต และจังหวะของการปฏิบัติการ
บีบบังคับให้ข้าศึกต้องตอบโต้ ผู้บังคับหน่วยใช้การรุกเพื่อน�ำเจตจ�ำนงของตนไปหักล้างเจตจ�ำนง
ของข้าศึก หรือเพือ่ น�ำเจตจ�ำนงของตนไปแก้ไขสถานการณ์ การปฏิบตั กิ ารรุกท�ำให้ฝา่ ยเรามีเสรีใน
การปฏิบัติที่จำ� เป็นต่อความส�ำเร็จ ขยายผลจากจุดอ่อน และรับมือต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง
ไปอย่างรวดเร็วหรือที่คาดไม่ถึง
92 บทที่ ๔

หลักการรวมก�ำลัง
“รวมอ�ำนาจก�ำลังรบ ณ ต�ำบลและเวลาที่ต้องการผลแตกหัก”
๔-๓๙ ผูบ้ งั คับหน่วยต้องรวมอ�ำนาจก�ำลังรบให้เหนือกว่าข้าศึกอย่างมากหรือเพือ่ ควบคุม
สถานการณ์ ณ ต�ำบลและเวลาเพื่อผลส�ำเร็จหรือเพื่อผลในการสร้างสรรค์ ลักษณะการรวมก�ำลัง
อาจเป็ น การรวมอ� ำ นาจก� ำ ลั ง รบต่ อ เป้ า หมายหลาย ๆ เป้ า หมายพร้ อ ม ๆ กั น หรื อ จะ
รวมองค์ประกอบอ�ำนาจก�ำลังรบทัง้ ปวงต่อเป้าหมายเดียว ซึง่ การรวมอ�ำนาจก�ำลังรบทัง้ สองลักษณะ
จะเป็นตัวชี้ขาดสถานการณ์ที่ผู้บังคับหน่วยต้องเลือกใช้ให้เหมาะสม เพื่อให้เกิดผลกระทบต่อ
ระบบการตั้งรับของข้าศึกอย่างมากก่อนที่ข้าศึกจะตอบโต้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๔-๔๐ กกล.ทบ. ในปัจจุบนั สามารถรวมผลอ�ำนาจก�ำลังรบได้อย่างรวดเร็วและรุนแรงโดย
ไม่จ�ำเป็นต้องรวมก�ำลังขนาดใหญ่อย่างในอดีต แต่มิได้หมายความเป็นการรวมอ�ำนาจการยิง
แต่เพียงอย่างเดียว การด�ำเนินกลยุทธ์ที่รวดเร็ว และความเข้าใจสถานการณ์ของหน่วยยังเป็น
ปัจจัยเสริมให้การใช้อ�ำนาจการยิงมีประสิทธิภาพมากขึ้น หากท�ำได้ดังกล่าวการปฏิบัติการเพียง
การปฎิบัติการเดียวอาจมีผลต่อความส�ำเร็จของทั้งการทัพได้
๔-๔๑ ผู ้ บั ง คั บ หน่ ว ยจะรวมอ� ำ นาจก� ำ ลั ง รบให้ มี ผ ลท� ำ ลายความเป็ น ปึ ก แผ่ น ต่ อ
องค์ประกอบส�ำคัญของข้าศึก แต่การรวมผลอ�ำนาจก�ำลังรบบางเรื่องอาจเป็นจุดอ่อนในบางพื้นที่
บางเวลา อ�ำนาจก�ำลังรบที่วางกระจายในพื้นที่อาจเป็นท�ำให้การรวมผลของอ�ำนาจก�ำลังรบให้
ทันเวลาท�ำได้ยาก การปฏิบัติการจึงต้องมีทั้งที่กระท�ำพร้อมกันและท�ำไปตามล�ำดับเพื่อให้เกิด
ผลกระทบที่พึงประสงค์ ณ ต�ำบลและเวลาที่ต้องการได้
หลักการออมก�ำลัง
“แบ่งมอบก�ำลังรบแต่น้อยที่สุดเท่าที่จ�ำเป็นให้กับความพยายามรอง”
๔-๔๒ การออมก�ำลังเป็นหลักการที่ตรงข้ามกับหลักการรวมก�ำลัง เป็นการยอมรับ
ความเสี่ยง ณ พื้นที่ที่ก�ำหนดเพื่อให้เกิดความเหนือกว่าอย่างมากต่อการปฏิบัติหรือพื้นที่ที่ต้องการ
ผลแตกหัก ผู้บังคับหน่วยต้องไม่ปล่อยให้หน่วยใดหน่วยหนึ่ง หรือปัจจัยอ�ำนาจก�ำลังรบอันใด
อันหนึ่งว่างไว้โดยไม่มีวัตถุประสงค์ในการใช้งาน เมื่อถึงเวลาต้องปฏิบัติ ก� ำลังทุกส่วนจะต้องมี
หน้าที่ที่จะต้องท�ำ
หลักด�ำเนินกลยุทธ์
“ท�ำให้ข้าศึกอยู่ในต�ำแหน่งที่เสียเปรียบด้วยการใช้อ�ำนาจก�ำลังรบอย่างอ่อนตัว”
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 93

๔-๔๓ ในฐานะทีเ่ ป็นทัง้ อ�ำนาจก�ำลังรบและหลักการสงคราม การด�ำเนินกลยุทธ์เป็นการ


รวมและกระจายอ�ำนาจก�ำลังรบเพื่อท�ำให้ข้าศึกอยู่ในต�ำแหน่งที่เสียเปรียบ การด�ำเนินกลยุทธ์ที่มี
ประสิทธิภาพจะท�ำให้ขา้ ศึกเสียดุลด้วยการเผชิญกับปัญหาหรืออันตรายใหม่ ๆ เร็วเกินกว่าจะรับมือ
ได้ทัน การด�ำเนินกลยุทธ์ท�ำให้ฝ่ายเราได้มา และด�ำรงไว้ซึ่งเสรีในการปฏิบัติ ลดจุดอ่อน และ
ขยายผลจากความส�ำเร็จได้ การด�ำเนินกลยุทธ์มคี วามหมายมากกว่าการยิงและการเคลือ่ นที่ แต่จะ
รวมถึงการใช้ภาวะผู้น�ำ อ�ำนาจการยิง ข่าวสาร การป้องกัน ผสมผสานกันอย่างเหมาะสม
ซึง่ การจะท�ำเช่นนัน้ ได้ตอ้ งมีการวางแผนและการปฏิบตั ทิ อี่ อ่ นตัว ร่วมกับการใช้หลักการรวมก�ำลัง,
หลักการจู่โจม และหลักการออมก�ำลังอย่างเชี่ยวชาญอีกด้วย
หลักเอกภาพในการบังคับบัญชา
“ในทุกวัตถุประสงค์ ต้องให้การปฏิบัติมีเอกภาพภายใต้ผู้บังคับบัญชาเพียงคนเดียว”
๔-๔๔ หน่วยจะมีอำ� นาจก�ำลังรบได้อย่างเต็มที่จะต้องมีเอกภาพในการบังคับบัญชา ซึ่ง
หมายถึงการมีผู้บังคับบัญชาในการสั่งการและประสานการปฏิบัติของหน่วยต่าง ๆ เพื่อมุ่งไปสู่
วั ต ถุ ป ระสงค์ ร ่ ว มเพี ย งคนเดี ย ว ความร่ ว มมื อ จะท� ำ ให้ เ กิ ด การประสานงานได้ แต่ ก ารที่ มี
ผู้บังคับบัญชาเพียงคนเดียวท�ำให้การปฏิบัติมีเอกภาพดีกว่า
๔-๔๕ ธรรมชาติของการปฏิบัติการรวมซึ่งจะมีทั้งการปฏิบัติการร่วม การปฏิบัติการ
หลายชาติ และการปฏิบัติระหว่างองค์กร ท�ำให้ผู้บัญชาการทหารไม่สามารถควบคุมปัจจัยต่าง ๆ
ในพื้นที่ปฏิบัติการได้ทั้งหมด หากไม่มีอ�ำนาจสั่งการ ผู้บังคับหน่วยจะต้องประสาน ต่อรอง
และแสวงหาฉันทามติเพื่อให้เกิดเอกภาพในการปฏิบัติ
หลักการระวังป้องกัน
“อย่าปล่อยให้ข้าศึกมีความได้เปรียบโดยที่เราไม่คาดคิด”
๔-๔๖ การระวังป้องกันจะช่วยป้องกันและอนุรักษ์อ�ำนาจก�ำลังรบ แต่มิได้หมายถึง
การระมัดระวังเกินขอบเขต ในความขัดแย้งจะมีความเสี่ยงแฝงอยู่ด้วยเสมอ การใช้มาตรการ
ของหน่วยเพื่อป้องกันตนเองจากการจู่โจม, การแทรกแซง, การก่อวินาศกรรม, การก่อกวน,
การข่าวกรอง การเฝ้าตรวจ และการลาดตระเวนของข้าศึก จะท�ำให้เกิดความปลอดภัยต่อฝ่ายเรา
การลวงทางทหารก็มีส่วนเสริมในด้านการระวังป้องกัน นอกจากนี้การคุกคามด้วยการปฏิบัติ
แบบอสมมาตรท�ำให้ฝ่ายเราต้องเน้นการระวังป้องกันให้มากขึ้น แม้จะอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่มี
ภัยคุกคามระดับต�่ำก็ตาม
94 บทที่ ๔

หลักการจู่โจม
“โจมตีข้าศึก ณ ต�ำบล เวลา และด้วยลักษณะที่ข้าศึกมิได้เตรียมการรับมือไว้ก่อน”
๔-๔๗ การจูโ่ จมเป็นผลมาจากการปฏิบตั ใิ นลักษณะทีข่ า้ ศึกไม่คาดคิด เป็นตัวขยายอ�ำนาจ
ก�ำลังรบที่ส�ำคัญแต่จะมีผลเพียงชั่วคราว ฝ่ายเราไม่จ�ำเป็นต้องปฏิบัติการโดยข้าศึกไม่รู้ตัว แต่ต้อง
ท�ำให้ข้าศึกรู้ตัวช้าหรือไม่สามารถตอบโต้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ปัจจัยที่เกื้อกูลต่อการจู่โจมได้แก่
ความเร็ว ความเหนือกว่าด้านข่าวสาร และวิธีการอสมมาตร
หลักความง่าย
“แผนต้องชัดเจน ไม่ซับซ้อน ค�ำสั่งต้องสั้น และทุกฝ่ายเข้าใจได้ง่าย”
๔-๔๘ แผนและค�ำสัง่ ต้องง่าย และตรงไปตรงมา แผนทีง่ า่ ย ค�ำสัง่ ทีส่ นั้ และชัดเจนจะช่วย
มิให้เกิดการเข้าใจผิดและเกิดความสับสน ปัจจัย METT-TC คือ ตัวก�ำหนดว่าจะท�ำให้แผนและ
ค�ำสั่งง่ายระดับใด แต่แผนที่ง่ายและปฏิบัติได้ทันเวลาย่อมดีกว่าแผนที่ละเอียดซับซ้อนและปฏิบัติ
ได้ช้า ผู้บังคับหน่วยทุกระดับต้องประเมินระหว่างข้อดีของแผนที่มีแนวความคิดซับซ้อนกับข้อเสีย
ที่อาจเกิดจากการที่หน่วยรองไม่เข้าใจ และปฏิบัติตามไม่ได้
๔-๔๙ การปฏิบตั กิ ารหลายชาติยงิ่ ท�ำให้หลักความง่ายมีความส�ำคัญยิง่ ขึน้ ความแตกต่าง
ด้านภาษา, หลักนิยม และวัฒนธรรมเป็นปัจจัยที่ท� ำให้การปฏิบัติการมีความซับซ้อนยุ่งยาก
แผนและค�ำสั่งที่ง่ายจะช่วยลดความสับสนที่เป็นธรรมชาติในสภาพแวดล้อมเช่นนี้ นอกจากนี้
หลักความง่ายยังสามารถน�ำไปใช้กับการปฏิบัติที่มีองค์กรอื่น ๆ ทั้งของรัฐบาลและองค์กรเอกชน
เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
หลักพื้นฐานการปฏิบัติการของกองทัพบก
๔-๕๐ หลักพื้นฐานการปฏิบัติการของ ทบ. ซึ่งได้แก่ ความริเริ่ม, ความว่องไว, ความลึก,
ความประสานสอดคล้อง และความสามารถรอบด้าน เกิดมาจากหลักการสงคราม ถือเป็นปัจจัย
ที่น�ำมาสู่ความส�ำเร็จในการปฏิบัติการ แม้ว่าการใช้หลักพื้นฐานดังกล่าวมิได้เป็นหลักประกันว่า
การปฏิบัติการต้องประสบความส�ำเร็จ แต่หากมิได้น�ำไปใช้แล้วย่อมจะเกิดความเสี่ยงต่อความ
ล้มเหลวเป็นอย่างยิ่ง
ความริเริ่ม
๔-๕๑ ความริเริม่ มีทงั้ องค์ประกอบทีเ่ ป็นเรือ่ งการปฏิบตั กิ ารและปัจเจกบุคคล ในแง่ของ
การปฏิบัติการ ความริเริ่มเป็นการก�ำหนดเงื่อนไขในการปฏิบัติทั่วทั้งสนามรบหรือการปฏิบัติการ
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 95

ความริเริม่ แสดงออกถึงจิตวิญญาณของการรุกในการปฏิบตั ิ การจะท�ำให้การรบมีสภาพแวดล้อมที่


เกื้อกูลต่อฝ่ายเรา ผู้บังคับหน่วยต้องลดหรือก� ำจัดทางเลือกของข้าศึกให้เหลือน้อยที่สุด ต้อง
บีบบังคับให้ขา้ ศึกปฏิบตั ติ ามจังหวะและวัตถุประสงค์ทฝี่ า่ ยเราก�ำหนดขณะทีฝ่ า่ ยเรายังคงด�ำรงเสรี
ในการปฏิบัติเอาไว้ ซึ่งการจะกระท�ำให้เกิดสภาพดังกล่าวได้ ผู้บังคับหน่วยต้องคาดการณ์ต่อ
สถานการณ์ทั่วทั้งห้วงสนามรบ ใช้การควบคุมบังคับบัญชาอย่างมีประสิทธิภาพและให้หน่วยรอง
ปฏิบัติได้เร็วกว่าหรือตอบโต้เร็วกว่าฝ่ายข้าศึก
๔-๕๒ ในแง่ของปัจเจกเป็นบุคคล ความริเริ่มคือ ความสามารถในการคิดและปฏิบัติ
ในสภาวะที่ขาดค�ำสั่งที่ชัดเจนหรือเมื่อสถานการณ์เปลี่ยนแปลง ผู้น�ำที่มีความริเริ่มจะตัดสินใจ
และลงมือปฏิบัติแม้แนวความคิดในการปฏิบัติจากหน่วยเหนือจะใช้ไม่ได้ผลหรือเมื่อมีโอกาสที่จะ
ท�ำให้เจตนารมณ์ผู้บังคับบัญชาบรรลุ ความริเริ่มของบุคคลเป็นสิ่งส�ำคัญต่อความส�ำเร็จของการ
ปฏิบัติการแม้ว่าปัจจุบันจะมีการน�ำระบบควบคุมบังคับบัญชาที่ทันสมัยมาใช้แล้วก็ตาม ในการรบ
ผู้บังคับหน่วยต้องใช้ความริเริ่มและปฏิบัติการอย่างเสรีภายใต้กรอบเจตนารมณ์ผู้บังคับบัญชา
และต้องไว้วางใจและสนับสนุนให้ผู้บังคับหน่วยรองกระท�ำแบบเดียวกัน ความริเริ่มในลักษณะนี้
จะเกิดขึ้นได้ก็ต้องเมื่อหน่วยมีการฝึกที่ดี มีผู้บังคับบัญชาที่มีความสามารถ
๔-๕๓ ความริเริ่มท�ำให้เกิดได้ด้วยการมอบอ�ำนาจในการตัดสินใจลงไปถึงระดับล่างสุด
เท่าทีจ่ ะท�ำได้ ผูบ้ งั คับหน่วยต้องให้หน่วยรองมีเสรีในการปฏิบตั มิ ากทีส่ ดุ เท่าทีจ่ ะท�ำได้ ต้องส่งเสริม
การปฏิบัติอย่างรุกรบภายใต้กรอบเจตนารมณ์ผู้บังคับบัญชาโดยการใช้ค� ำสั่งแบบมอบภารกิจ
ซึ่งเป็นค�ำสั่งที่มอบกิจให้โดยไม่ระบุว่าจะต้องท�ำอย่างไรจึงจะบรรลุภารกิจนั้น การกระจายอ�ำนาจ
เช่นนี้ท�ำให้ผู้บังคับหน่วยมุ่งความสนใจต่อสิ่งส�ำคัญที่สุดของการปฏิบัติการ แต่การใช้ค�ำสั่งแบบ
มอบภารกิจให้ได้ผลก�ำลังพลเป็นบุคคลจะต้องมีการฝึกเป็นอย่างดี มีความมุ่งมั่นและมีวินัยสูง
ผู้บังคับบัญชาต้องไว้วางใจผู้ใต้บังคับบัญชาและพร้อมที่จะยอมรับความเสี่ยงและรับผิดชอบแทน
ผู้ใต้บังคับบัญชาในการกระท�ำตามความริเริ่มนั้น
๔-๕๔ ในการรุก ความริเริ่มเกิดจากการโจมตีอย่างรุนแรงและไม่คาดคิดเพือ่ ท�ำให้ข้าศึก
เสียดุล ซึ่งหมายถึงไม่เปิดโอกาสให้ข้าศึกได้มีเวลาฟื้นตัวจากความเสียขวัญในตอนแรก การจะท�ำ
เช่นนีไ้ ด้ ผูบ้ งั คับหน่วยต้องรวมอ�ำนาจก�ำลังรบและปฏิบตั ดิ ว้ ยความเร็ว ความห้าวหาญ และรุนแรง
ต้องแสวงหาจุดอ่อนของข้าศึกตลอดเวลาและพร้อมจะย้ายการปฏิบัติการแตกหักไปยังจุดอ่อนนั้น
เมื่อมีโอกาส ผู้บังคับหน่วยต้องผลักดันให้หน่วยรองปฏิบัติอย่างรุกรบ ห้าวหาญ ยอมรับความเสี่ยง
และกดดันให้หน่วยปฏิบัติจนสุดความสามารถเพื่อด�ำรงความริเริ่มเอาไว้ การวางแผนต้องมอง
ให้ไกล คาดการณ์ตอ่ เหตุการณ์ทอี่ าจเกิดขึน้ เท่าทีจ่ ะเป็นไปได้ ยิง่ หน่วยระดับสูง ผูบ้ งั คับหน่วยและ
ฝ่ายอ�ำนาจการยิงต้องคาดการณ์และวางแผนล่วงหน้าให้ไกลขึ้น
96 บทที่ ๔

๔-๕๕ ในการตัง้ รับ ความริเริม่ หมายถึงการพลิกสถานการณ์ให้ได้เปรียบฝ่ายเข้าตี ซึง่ ต้อง


ใช้การปฏิบัติอย่างรุกรบเพื่อรวบรวมข่าวสารและบีบให้ฝ่ายเข้าตีเปิดเผยเจตนา ฝ่ายตั้งรับต้อง
ก�ำหนดเป้าหมายที่จะลดความได้เปรียบขั้นต้นของฝ่ายเข้าตี ชิงเสรีในการปฏิบัติ และบีบบังคับให้
ข้าศึกปฏิบัติในทางที่เป็นผลดีต่อฝ่ายเรา เมื่อข้าศึกด�ำเนินการตามหนทางปฏิบัติ ก�ำลังฝ่ายตั้งรับ
ต้องแสวงหาโอกาสในการรุกตลอดเวลา ใช้การด�ำเนินกลยุทธ์และอ�ำนาจการยิงเพือ่ ก�ำหนดจังหวะ
การรบและชิงลงมือก่อนข้าศึกเมื่อมีโอกาส
๔-๕๖ ในการปฏิบัติการเพื่อเสถียรภาพ ความริเริ่มจะมีอิทธิต่อฝ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง
เป็นปัจจัยทีท่ ำ� ให้เกิดเงือ่ นไขทีน่ ำ� ไปสูก่ ารแก้ปญ
ั หาทางการเมืองและขัดขวางการกระท�ำผิดกฎหมาย
ตัวอย่างเช่น ผูบ้ งั คับหน่วยอาจก�ำหนดเงือ่ นไขทีค่ กู่ รณีเห็นว่าสภาวะทีม่ สี นั ติภาพจะเป็นผลประโยชน์
ต่อฝ่ายของตน อีกตัวอย่างของการใช้ความริเริม่ ได้แก่ การลดเหตุวกิ ฤติทซี่ บั ซ้อน ลดสภาวะอันตราย
ทีแ่ ฝงอยูก่ อ่ นทีจ่ ะเกิดเหตุขนึ้ จริง และแก้ปญ ั หาความเดือดร้อนก่อนทีจ่ ะลุกลามกลายเป็นปฏิปกั ษ์
อย่างเปิดเผย
๔-๕๗ ในการปฏิบัติการสนับสนุน การที่จะให้ได้มาและด�ำรงความริเริ่มเอาไว้ผู้บังคับ
หน่วยจะต้องมีความเข้าใจสถานการณ์อย่างรอบด้านและคาดการณ์ถึงความต้องการให้ถูกต้อง
หากท�ำได้จะท�ำให้การระดมทรัพยากรเพื่อบรรเทาทุกข์และผลกระทบจากภัยพิบัติท�ำได้ง่ายขึ้น
จากนั้นการปฏิบัติการเพื่อบรรเทาทุกข์ การจัดการผลกระทบ และการให้การช่วยเหลือต่อ
ผู้ประสบภัยสามารถด�ำเนินไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ความว่องไว
๔-๕๘ ความว่องไวหมายถึง ความสามารถที่จะเคลื่อนที่และปรับตัวอย่างรวดเร็วและ
ง่ายดาย ความว่องไวเกิดจากการฝึกและความมีวินัยของหน่วย หน่วยรองต้องปฏิบัติเพื่อให้
บรรลุเจตนารมณ์ของผู้บังคับบัญชาโดยไม่ย่อท้อต่ออุปสรรคและความยากล�ำบากใด ๆ
๔-๕๙ ความว่องไวในระดับยุทธการเกิดจากความสามารถในการเคลื่อนย้ายก�ำลัง และ
ใช้ก�ำลังในการปฏิบัติการทางทหารทุกรูปแบบ หน่วยและผู้บังคับหน่วยต้องเปลี่ยนการปฏิบัติการ
จากการรุกไปเป็นรับ การปฏิบัติการเพื่อเสถียรภาพ และการปฏิบัติการสนับสนุนเมื่อภารกิจและ
เงื่อนไขเป็นตัวก�ำหนด ขีดความสามารถดังกล่าวมิได้หมายถึงเชิงกายภาพเท่านั้นแต่รวมถึงเชิง
ความคิดด้วย
๔-๖๐ ความว่องไวทางยุทธวิธคี อื ขีดความสามารถของฝ่ายเราทีจ่ ะปฏิบตั ไิ ด้เร็วกว่าข้าศึก
ความว่องไวเป็นปัจจัยที่ส�ำคัญส�ำหรับการชิงความริเริ่ม การด�ำรงความริเริ่ม และการขยายผลจาก
ความริเริ่มนั้น ความว่องไวเป็นสภาวะทั้งทางกายภาพและทางความคิด ผู้บังคับหน่วยที่มีความ
ว่องไวจะเข้าใจสถานการณ์ได้รวดเร็ว น�ำหลักนิยมไปประยุกต์ใช้อย่างได้ผล และตัดสินใจได้ทนั เวลา
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 97

๔-๖๑ ความลึกคือ การขยายขอบเขตของการปฏิบตั กิ ารในด้านเวลา พืน้ ที่ และทรัพยากร


ผู้บังคับหน่วยใช้ความลึกเพื่อให้ได้พื้นที่ส�ำหรับการด�ำเนินกลยุทธ์อย่างมีประสิทธิภาพ ให้ได้เวลา
เพื่อปฏิบัติการ ให้ได้ทรัพยากรเพื่อปฏิบัติการหรือขยายผลจนส�ำเร็จ ความลึกช่วยให้เกิดแรงหนุน
เนื่องในการรุก เกิดความยืดหยุ่นในการตั้งรับ และมีพลังในทุก ๆ ปฏิบัติการ
๔-๖๒ ในการรุกและการรับ ความลึกจะเกิดขึ้นได้จ�ำเป็นต้องท�ำการโจมตีข้าศึกทั่วทั้ง
พื้นที่ปฏิบัติการพร้อม ๆ กันหากเป็นไปได้ หรือโจมตีตามล�ำดับหากจ�ำเป็นเพื่อป้องกันไม่ให้ข้าศึก
มีเสรีในการด�ำเนินกลยุทธ์ ความลึกในการรุกจะช่วยให้ผบู้ งั คับหน่วยด�ำรงแรงหนุนเนือ่ งและกดดัน
การรบอย่างต่อเนื่อง ความลึกในการตั้งรับท�ำให้เกิดโอกาสด�ำเนินกลยุทธ์ต่อข้าศึกได้หลายทิศทาง
เมื่อฝ่ายเข้าตีถูกตรวจพบหรือมีจุดอ่อน
๔-๖๓ ในการปฏิบตั กิ ารเพือ่ เสถียรภาพและปฏิบตั กิ ารสนับสนุน ความลึกเป็นการขยาย
อิ ท ธิ พ ลต่ อ เวลา ๑ พื้ น ที่ วั ต ถุ ป ระสงค์ และทรั พ ยากรเพื่ อ ให้ เ กิ ด ผลกระทบต่ อ เงื่ อ นไขและ
สภาวะแวดล้อม ในการปฏิบัติการเพื่อเสถียรภาพ การใช้การข่าวกรอง การเฝ้าตรวจ และ
การลาดตระเวน ร่วมกับการปฏิบัติการข่าวสารจะช่วยให้ผู้บังคับหน่วยเข้าใจถึงแรงจูงใจของ
ฝ่ายต่าง ๆ พิสจู น์ทราบศูนย์อำ� นาจ และสร้างสภาวะทีเ่ กือ้ กูลต่อฝ่ายเรา ในการปฏิบตั กิ ารสนับสนุน
ความลึกในแง่ทรัพยากร การวางแผน และเวลาจะช่วยให้ผู้บังคับหน่วยสามารถบรรเทาทุกข์หรือ
ชะลอการระบาดของโรคได้
๔-๖๔ ในการปฏิบัติการทุกประเภท ความสามารถในการคงก�ำลังอยู่ในพื้นที่หรือความ
ลึกในการปฏิบัติเกิดจากการมีทรัพยากรอย่างเพียงพอ ความลึกของทรัพยากรหมายถึงปริมาณที่
เพียงพอ, การมีที่ตั้งที่เหมาะสม และความคล่องแคล่วในการเคลื่อนย้าย ความลึกในแง่ทรัพยากร
จะต้องสมดุลกับความว่องไวของหน่วย หน่วยสนับสนุนการช่วยรบที่มีขนาดใหญ่อาจเป็นอุปสรรค
ต่อการด�ำเนินกลยุทธ์แต่การสนับสนุนการช่วยรบที่น้อยเกินไปจะท�ำให้หน่วยเปราะบางและมี
จุดอ่อน
การประสานสอดคล้อง
๔-๖๕ ความประสานสอดคล้องเป็นการจัดกิจกรรมให้สอดรับกับเวลา พื้นที่ และ
วัตถุประสงค์ ผู้บังคับหน่วยจัดระเบียบระบบการปฏิบัติการในสนามรบทั้งปวงด้วยการประสาน
สอดคล้องเพื่อให้เกิดอ�ำนาจก�ำลังรบเหนือกว่าข้าศึกอย่างมาก ณ ต� ำบลและเวลาที่ต้องการ
ความประสานสอดคล้องเป็นเพียงเครือ่ งมือเพือ่ น�ำไปสูก่ ารบรรลุวตั ถุประสงค์ มิใช่เป็นวัตถุประสงค์
ในตัวเอง แต่ทั้งนี้ต้องท�ำให้เกิดความสมดุลระหว่างการประสานสอดคล้องกับความว่องไวและ
ความริเริ่ม อย่าเสียความริเริ่มหรือปล่อยโอกาสในการปฏิบัติการแตกหักให้หลุดลอยไปเพียง
เพื่อต้องการการประสานสอดคล้องเป็นอันขาด
98 บทที่ ๔

๔-๖๖ กิจกรรมบางอย่างเช่น การสงครามอิเล็กทรอนิกส์ การข่มอาวุธป้องกันภัยทาง


อากาศข้าศึก หรือการเคลื่อนย้ายหน่วยด� ำเนินกลยุทธ์อาจเกิดขึ้นก่อนการปฏิบัติการแตกหัก
กิจกรรมเหล่านีอ้ าจเกิดขึน้ ห่างจากกันหรือในเวลาต่างกัน แต่ผบู้ งั คับหน่วยจะต้องประสานกิจกรรม
ดังกล่าวเพื่อให้เกิดผลกระทบต่อข้าศึกอย่างรุนแรง ณ ต�ำบลและเวลาที่ต้องการผลแตกหัก ทั้งนี้
การประสานสอดคล้องจ�ำเป็นต้องมีการประสานกันอย่างชัดเจนและแต่ละฝ่ายที่เกี่ยวข้องมีการ
ซักซ้อมเป็นอย่างดี
ความสามารถรอบด้าน
๔-๖๗ ทบ. ต้องมีความสามารถที่จะรองรับภารกิจในการปฏิบัติการเต็มรูปแบบได้
ความสามารถในการปฏิบัติภารกิจหลาย ๆ อย่าง และการมีทักษะหลากหลายจะท�ำให้ กกล.ทบ.
สามารถเปลี่ยนการปฏิบัติการแบบหนึ่งไปเป็นการปฏิบัติการอีกแบบหนึ่งโดยไม่ต้องปรับเปลี่ยน
โครงสร้างมากนัก ความสามารถรอบด้านขึ้นอยู่กับผู้น�ำที่รู้จักปรับตัว ก�ำลังพลมีความสามารถและ
มีความทุม่ เท และหน่วยมีอาวุธยุทโธปกรณ์ทมี่ ปี ระสิทธิภาพอย่างเพียงพอ มีการฝึกทีด่ ไี ด้มาตรฐาน
และมีการวางแผนอย่างละเอียดรอบคอบ เวลาและทรัพยากรเป็นเครื่องจ�ำกัดจ�ำนวนพันธกิจที่
หน่วยจะสามารถปฏิบัติได้อย่างมีประสิทธิภาพ ภายใต้ข้อจ�ำกัดเหล่านี้ ผู้บังคับหน่วยต้องท�ำให้
ความสามารถหลาย ๆ ด้านบังเกิดประโยชน์สูงสุดด้วยการท� ำให้หน่วยและก�ำลังพลมีขีดความ
สามารถหลากหลาย หากท�ำให้ดังนี้ ความสามารถรอบด้านจะช่วยให้หน่วยมีความว่องไวตาม
ต้องการ
๔-๖๘ ความสามารถรอบด้ า นเป็ น คุ ณ ลั ก ษณะของหน่ ว ยที่ ป ฏิ บั ติ ไ ด้ ห ลายภารกิ จ
ผูบ้ งั คับหน่วยสามารถใช้ประโยชน์จากลักษณะดังกล่าวด้วยการรูค้ วามสามารถของแต่ละหน่วยแล้ว
ปรับการจัดให้เข้ากับภารกิจแต่ละภารกิจ ตัวอย่างเช่น หน่วยทหารสารวัตรสามารถปฏิบตั กิ ารแสดง
ก�ำลัง รักษาความสงบเรียบร้อย ควบคุมผู้ถูกจับกุม และสนับสนุนการปฏิบัติการเพื่อสันติภาพ
หน่วยทหารช่างสามารถก่อสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐาน ท่าเรือ หรือฐานที่ตั้ง ซ่อมบ� ำรุงเส้นการ
คมนาคม ในหน่วยระดับสูง ความสามารถรอบด้านหมายถึงความสามารถในการเข้ารับผิดชอบงาน
ส�ำคัญที่มีความซับซ้อน เช่น บก.ทน. สามารถท�ำหน้าที่เป็น บก.กกล.ทบ. หรือบางกรณีหากได้รับ
การเพิ่มเติมก�ำลังก็อาจท�ำหน้าที่เป็นกองบัญชาการกองก�ำลังเฉพาะกิจร่วมได้
โครงร่างการยุทธ์
๔-๖๙ โครงร่างการยุทธ์ประกอบด้วยการจัดวางกองก�ำลังฝ่ายเราและทรัพยากรให้
สอดคล้องกับเวลา พื้นที่ และวัตถุประสงค์เมื่อเทียบกับข้าศึกหรือสถานการณ์ โครงร่างการยุทธ์
ประกอบขึ้นด้วยพื้นที่ปฏิบัติการ, ห้วงสนามรบ และการจัดสนามรบ ในโครงร่างจะมีการก�ำหนด
พืน้ ทีท่ างภูมศิ าสตร์ความรับผิดชอบในการปฏิบตั กิ าร และก�ำหนดวิธกี ารให้ผบู้ งั คับหน่วยมีมโนทัศน์
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 99

ว่าจะใช้ก�ำลังต่อข้าศึกอย่างไร ผู้บังคับหน่วยออกแบบโครงร่างการยุทธ์เพื่อการบรรลุภารกิจ
ด้วยการก�ำหนดและจัดวางองค์ประกอบทั้งสามแล้วใช้โครงร่างการยุทธ์นี้เป็นศูนย์รวมอ�ำนาจ
ก�ำลังรบ
การจัดยุทธบริเวณ
๔-๗๐ โครงร่างการยุทธ์ของ กกล.ทบ. ขึน้ อยูก่ บั การจัดยุทธบริเวณของผูบ้ ญ
ั ชาการหน่วย
บัญชาการรวม ผู้บัญชาการหน่วยบัญชาการรวมที่รับผิดชอบพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ปฏิบัติการภายใน
พื้นที่รับผิดชอบของตนตามที่ได้รับ จากนั้นจะก�ำหนดเขตสงคราม, ยุทธบริเวณ เขตสงคราม และ
เขตภายใน ผู้บัญชาการกองก�ำลังร่วมในทุกระดับอาจก�ำหนดพื้นที่ปฏิบัติการรองขึ้น (ดูรูปที่ ๔-๓)
การแบ่งมอบและความรับผิดชอบเกี่ยวกับพื้นที่ในยุทธบริเวณปฏิบัติการได้มีการอธิบายไว้แล้ว
ในหลักนิยมการปฏิบัติการร่วม
๔-๗๑ ผูท้ มี่ อี ำ� นาจในการก�ำหนดยุทธบริเวณสงครามคือ รัฐมนตรีวา่ การกระทรวงกลาโหม
โดยความเห็นชอบของสภากลาโหมมีอ�ำนาจก�ำหนดพื้นที่ที่จ�ำเป็นต่อการปฏิบัติการทางทหารเป็น
ยุทธบริเวณ และก�ำหนดพื้นที่ส่วนที่เหลือเป็นเขตภายใน (พระราชบัญญัติ จัดระเบียบราชการ
กระทรวงกลาโหม พ.ศ. ๒๕๕๑) ยุทธบริเวณจะครอบคลุมพื้นที่ที่เกี่ยวข้องกับการท�ำสงคราม
ทั้งทางบก ทางทะเล และทางอากาศ ปกติยุทธบริเวณจะไม่ครอบคลุมพื้นที่ปฏิบัติการของ
ผูบ้ ญ
ั ชาการรวมและมักจะประกอบด้วยยุทธบริเวณ มากกว่าสองยุทธบริเวณขึน้ ไป ผูบ้ ญ ั ชาการรวม
มักจะเป็นผู้มอบยุทธบริเวณให้กับหน่วยรองของตน

รูปที่ ๔-๓ การจัดยุทธบริเวณ


100 บทที่ ๔

๔-๗๒ ยุทธบริเวณเป็นพื้นที่ที่อยู่ภายในยุทธบริเวณสงคราม ก�ำหนดขึ้นโดยผู้บัญชาการ


รวมเพื่อใช้ในการปฏิบัติการรบหรือปฏิบัติการสนับสนุนการรบครั้งใดครั้งหนึ่ง ยุทธบริเวณหนึ่ง ๆ
ที่อยู่ภายในเขตสงครามเดียวกันจะไม่กำ� หนดทับซ้อนกันและจะมุ่งไปสู่ข้าศึกที่ไม่ใช่หน่วยเดียวกัน
ปกติยุทธบริเวณมักจะมีขนาดใหญ่เพื่อให้สามารถปฏิบัติการที่กินระยะเวลานานได้
๔-๗๓ เขตสงคราม คือ พืน้ ทีท่ กี่ ำ� ลังรบต้องการส�ำหรับการปฏิบตั กิ าร ปกติจะก�ำหนดขึน้
นับจากเขตหลังของกองก�ำลังภาคพื้นดินไปข้างหน้า เขตสงครามเป็นส่วนที่อยู่ข้างหลังของ
ยุทธบริเวณ และจะประกอบด้วยเส้นการคมนาคม การส่งก�ำลัง และการส่งกลับ รวมถึงหน่วยงาน
ต่าง ๆ ที่มีหน้าที่สนับสนุนต่อหน่วยรบ
๔-๗๔ พื้นที่ปฏิบัติการเป็นพื้นที่ที่ก�ำหนดโดยผู้บัญชาการกองก�ำลังรบร่วมส�ำหรับ
กกล.ทบ. พื้นที่ปฏิบัติการปกติไม่จะไม่ครอบคลุมพื้นที่รับผิดชอบทั้งหมดของผู้บัญชาการกอง
ก�ำลังรบร่วม แต่ควรมีขนาดที่เพียงพอส�ำหรับกองก�ำลังต่าง ๆ ป้องกันตัวเองและปฏิบัติภารกิจ
ได้ส�ำเร็จ ผู้บัญชาการ กกล.ทบ. จะประสานสอดคล้องการปฏิบัติของตนเข้าด้วยกัน บางครั้ง
กองก�ำลังหนึ่งอาจมีบทบาทน�ำโดยอีกกองก�ำลังหนึ่งมีบทบาทสนับสนุน

พื้นที่ปฏิบัติการ

ส่งก�ำลังออก

พื้นที่สนใจ
สภาพแวดล้อม พื้นที่อิทธิพล
ด้านข่าวสาร

ที่ตั้งปกติ

รูปที่ ๔-๔ พื้นที่ปฏิบัติการแบบติดกัน และไม่ติดกัน


คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 101

๔-๗๖ ปกติผบู้ งั คับหน่วยมักแบ่งพืน้ ทีป่ ฏิบตั กิ ารของตนออกเป็นพืน้ ทีย่ อ่ ย ๆ ส�ำหรับเป็น


พื้นที่ปฏิบัติการของหน่วยรอง ซึ่งพื้นที่ปฏิบัติการของหน่วยรองเหล่านี้อาจติดกันหรือไม่ก็ได้
(ดูรปู ที่ ๔-๔) หากพืน้ ทีป่ ฏิบตั กิ ารติดกันจะต้องมีเส้นแบ่งเขต ถ้าไม่ตดิ กัน แนวความคิดในการปฏิบตั ิ
ให้กบั ทัง้ สองหน่วยต้องเชือ่ มโยงและสอดคล้องกัน โดยหน่วยเหนือเป็นผูร้ บั ผิดชอบพืน้ ทีท่ นี่ อกเหนือ
จากพื้นที่ปฏิบัติการของหน่วยรอง

รูปที่ ๔-๕ องค์ประกอบของห้วงการรบ

ห้วงการรบ
๔-๗๗ ห้วงการรบประกอบด้วยสภาพแวดล้อม ปัจจัย และเงื่อนไขที่ผู้บังคับหน่วยต้อง
เข้าใจเพื่อการใช้อ�ำนาจก�ำลังรบอย่างมีประสิทธิภาพ ป้องกันหน่วย หรือปฏิบัติภารกิจให้ส�ำเร็จ
ห้วงการรบจะรวมไปถึงพื้นที่ทางบก ทะเล อากาศ ครอบคลุมถึงก�ำลังฝ่ายเราและข้าศึก สิ่งอ�ำนวย
ความสะดวก ลมฟ้าอากาศ ภูมิประเทศ ย่านความถี่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และสภาพแวดล้อมด้าน
ข่าวสารภายในพื้นที่ปฏิบัติการและพื้นที่สนใจ (ดูรูปที่ ๔-๕)
102 บทที่ ๔

๔-๗๘ ห้วงการรบเป็นเรือ่ งของความคิด มิได้เป็นสิง่ ทีห่ น่วยเหนือก�ำหนดให้ ผูบ้ งั คับหน่วย


ก�ำหนดห้วงการรบของตนจากแนวความคิดในการปฏิบัติ, การบรรลุภารกิจ และการป้องกันก�ำลัง
ของตน โดยใช้ประสบการณ์ ความรู้ทางวิชาชีพ, ความเข้าใจสถานการณ์ พร้อมเปลี่ยนแปลงการ
ปฏิบตั ใิ นปัจจุบนั ไปสูก่ ารปฏิบตั ใิ นอนาคตได้ ห้วงการรบไม่ใช่พนื้ ทีป่ ฏิบตั กิ ารเพราะห้วงการรบเป็น
เพียงมโนทัศน์ ส�ำหรับการปฏิบัติการของ กกล.ทบ. ต้องอยู่ภายในขอบเขตของพื้นที่ปฏิบัติการที่
หน่วยเหนือก�ำหนดให้เท่านั้น
พื้นที่อิทธิพลและพื้นที่สนใจ
๔-๗๙ ห้วงการรบมีความสัมพันธ์กบั พืน้ ทีอ่ ทิ ธิพลและพืน้ ทีส่ นใจ “พืน้ ทีส่ นใจ” เป็นพืน้ ที่
ทางภูมิศาสตร์ที่ผู้บังคับหน่วยสามารถใช้การด�ำเนินกลยุทธ์และระบบการยิงสนับสนุนที่อยู่ในการ
ควบคุมและบังคับบัญชาของตนให้เกิดอิทธิพลต่อการปฏิบัติการได้โดยตรง พื้นที่อิทธิพลจะ
ครอบคลุมพื้นที่ปฏิบัติการ การมอบพื้นที่ปฏิบัติการให้หน่วยรองต้องค�ำนึงถึงพื้นที่อิทธิพลของ
หน่วยรองด้วย พื้นที่ปฏิบัติการไม่ควรใหญ่เกินกว่าพื้นที่อิทธิพลของหน่วยจนเกินไป “พื้นที่สนใจ”
เป็นพื้นที่ที่อยู่ในความค�ำนึงของผู้บังคับหน่วย และครอบคลุมพื้นที่อิทธิพลและพื้นที่ข้างเคียงที่
อยู่ติดกัน มีขอบเขตขยายไปถึงพื้นที่ของข้าศึกไปจนถึงที่หมายของการปฏิบัติการปัจจุบันหรือการ
ปฏิบัติการที่วางแผนไว้ พื้นที่สนใจจะรวมถึงพื้นที่ ที่ข้าศึกยึดครองที่อาจขัดขวางความส�ำเร็จของ
ภารกิจ พื้นที่สนใจมักใช้ในด้านข่าวกรองและการปฏิบัติการข่าวสารที่ต้องการให้เกิดอิทธิพลต่อ
ปัจจัยภายนอกพื้นที่ปฏิบัติการที่อาจมีผลกระทบต่อการปฏิบัติการได้
สภาพแวดล้อมด้านข่าวสาร
๔-๘๐ ห้วงการรบของผู้บังคับหน่วยจะรวมถึงสภาพแวดล้อมด้านข่าวสารที่ครอบคลุม
กิจกรรมด้านข่าวสารที่มีผลกระทบต่อการปฏิบัติการ สภาพแวดล้อมด้านข่าวสารประกอบด้วย
กิจกรรมด้านข่าวสารในการรวบรวม ด�ำเนินกรรมวิธี และกระจายข่าวสารถึงผูร้ บั แต่มไิ ด้อยูภ่ ายใต้
อิทธิพลโดยตรงของฝ่ายทหาร ระบบข่าวสารส่งข้อมูลและข่าวสารให้กับ กกล.ทบ. ก็เป็น
สภาพแวดล้อมด้านข่าวสารอันหนึ่ง ผู้บังคับหน่วยต้องก�ำหนดกิจกรรมด้านข่าวสารที่มีผลกระทบ
ต่อการปฏิบัติการและขีดความสามารถของตน และต่อระบบการควบคุมบังคับบัญชาและระบบ
ข่าวสารของข้าศึกด้วย เพือ่ จะได้เกิดความเข้าใจสภาพแวดล้อมด้านข่าวสารภายในห้วงการรบของตน
ที่ตั้งปกติ
๔-๘๑ ที่ตั้งปกติคือ ที่ตั้งถาวรของหน่วยประจ�ำการรวมถึงหน่วยรับก�ำลังส�ำรองที่เรียก
เข้ารับราชการ
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 103

การจัดสนามรบ
๔-๘๒ ผู้บังคับหน่วยวาดมโนทัศน์ห้วงสนามรบของตน และก�ำหนดในใจว่าจะวางก�ำลัง
ของตนอย่างไร ขั้นตอนนี้ถือเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการแสวงข้อตกลงใจทางทหารด้วย การจัด
สนามรบเป็นการแบ่งมอบก�ำลังในพืน้ ทีป่ ฏิบตั กิ ารโดยเน้นทีว่ ตั ถุประสงค์ การจัดสนามรบประกอบ
ด้วยการจัดประเภทการปฏิบัติการออกเป็น ๓ ประเภทคือ แตกหัก สร้างสภาวะ และด�ำรง
สภาพ ส่วนต่าง ๆ ที่เป็นส่วนประกอบของการจัดสนามรบต้องปฏิบัติเพื่อมุ่งไปสู่วัตถุประสงค์
เดียวกัน ผู้บังคับหน่วยต้องจัดก�ำลังให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ด้วยการก�ำหนดว่าการปฏิบัติของ
หน่วยใดเป็นการปฏิบัติแตกหัก, สร้างสภาวะ หรือด�ำรงสภาพ การตกลงใจดังกล่าวจะกลายเป็น
พื้นฐานของแนวความคิดในการปฏิบัติ ในบางสถานการณ์ผู้บังคับหน่วยอาจต้องก�ำหนดพื้นที่
ปฏิบัติการว่าเป็นพื้นที่ทางลึก, ระยะใกล้ และส่วนหลัง การก�ำหนดดังกล่าวจะเป็นประโยชน์ใน
การปฏิบัติการในพื้นที่ที่ติดกัน, เป็นแนว และมีข้าศึกที่ชัดเจน
การปฏิบัติการแตกหัก
๔-๘๓ การปฏิบัติการแตกหักเป็นการปฏิบัติการที่มุ่งไปสู่การบรรลุกิจที่ได้รับมอบจาก
หน่วยเหนือโดยตรง การปฏิบัติการแตกหักจะเน้นไปที่การบรรลุผลลัพธ์ของการยุทธ์ขนาดใหญ่
การรบ และการรบปะทะ มีการปฏิบัติการแตกหักส�ำหรับหน่วยเพียงการปฏิบัติการเดียวเท่านั้น
ในการปฏิบัติการแตกหักหนึ่ง ๆ อาจมีการปฏิบัติหลายแห่งกระท�ำพร้อม ๆ กันทั่วทั้งพื้นที่
ปฏิบัติการก็ได้ ผู้บังคับหน่วยวางน�้ำหนักให้กับการปฏิบัติการแตกหักด้วยการใช้อ�ำนาจก�ำลังรบ
สูงสุด และออมก�ำลังส�ำหรับการปฏิบัติการสร้างสภาวะ
๔-๘๔ ในการรุกและการรับ การปฏิบัติการแตกหักมักจะเน้นไปที่การด�ำเนินกลยุทธ์
แต่ถ้าเป็นช่วงการระดมสรรพก�ำลังหรือวางก�ำลังหรือในการปฏิบัติการสนับสนุนเช่นการช่วยเหลือ
ด้านมนุษยธรรม หน่วยที่ปฏิบัติการแตกหักมักจะเป็นหน่วยสนับสนุนการช่วยรบ
การปฏิบัติการสร้างสภาวะ (การปฏิบัติการสร้างสภาวะที่เกื้อกูล)
๔-๘๕ การปฏิบตั กิ ารสร้างสภาวะในทุกระดับหน่วยเป็นการปฏิบตั กิ ารทีส่ ร้างหรือรักษา
สภาวะทีเ่ กือ้ กูลต่อการปฏิบตั กิ ารแตกหัก การปฏิบตั กิ ารสร้างสภาวะจะรวมไปถึงการปฏิบตั ทิ มี่ ผี ล
ทั้งสังหาร และไม่สังหารทั่วทั้งพื้นที่ปฏิบัติการ การปฏิบัติการสร้างสภาวะจะส่งผลต่อขีดความ
สามารถและก�ำลังหรือมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของข้าศึก โดยจะใช้ปัจจัยอ�ำนาจก�ำลังรบทั้งปวง
เพื่อลดขีดความสามารถของข้าศึก การปฏิบัติการสร้างสภาวะอาจเกิดขึ้นก่อนหรือพร้อม ๆ กับ
104 บทที่ ๔

การปฏิบัติ การแตกหัก ซึ่งอาจมีหน่วยหลาย ๆ หน่วยเกี่ยวข้องและอาจต้องปฏิบัติทั่วทั้งพื้นที่


ปฏิบัติการก็ได้
๔-๘๖ การปฏิบตั กิ ารสร้างสภาวะในบางครัง้ โดยเฉพาะเมือ่ ท�ำพร้อม ๆ ไปกับการปฏิบตั ิ
การแตกหัก จะเป็นการปฏิบตั ใิ นลักษณะออมก�ำลัง ถ้าก�ำลังทีม่ อี ยูไ่ ม่เพียงพอทีจ่ ะปฏิบตั กิ ารแตกหัก
และสร้างสภาวะพร้อม ๆ กันได้ ผู้บังคับหน่วยก็จะต้องจัดล�ำดับการปฏิบัติการสร้างสภาวะ
ให้สอดคล้องกับการปฏิบัติการแตกหัก แต่ไม่ว่าจะเป็นการปฏิบัติการแบบใดการปฏิบัติการสร้าง
สภาวะที่ประสบความส�ำเร็จอาจเปลี่ยนเป็นการปฏิบัติการแตกหักได้ ถ้าเป็นเช่นนี้ผู้บังคับหน่วย
ต้องแบ่งอ�ำนาจก�ำลังรบจากการปฏิบัติการสร้างสภาวะอื่นให้กับการปฏิบัติการแตกหักใหม่นี้
อย่างไรก็ตาม ในแนวความคิดในการปฏิบตั จิ ะต้องระบุชดั เจนว่าการปฏิบตั กิ ารสร้างสภาวะสามารถ
สนับสนุนการปฏิบัติการแตกหักได้อย่างไร
๔-๘๗ การระวังป้องกันเป็นการปฏิบัติการสร้างสภาวะที่ส�ำคัญอย่างหนึ่ง เพราะจะ
สนับสนุนต่อการปฏิบัติการแตกหักของหน่วยเหนือ ช่วยให้กำ� ลังฝ่ายเรามีเวลาและพื้นที่ส�ำหรับ
ตอบโต้การปฏิบัติของข้าศึก รวมถึงป้องกันมิให้ข้าศึกได้ข่าวสารของฝ่ายเราและช่วยป้องกันก�ำลัง
ฝ่ายเราจากการยิงที่มีการตรวจการณ์ของข้าศึกได้
๔-๘๘ กองหนุนถือเป็นก�ำลังส่วนหนึง่ ทีเ่ ก็บไว้ขา้ งหลังหรือยังไม่ใช้ในขัน้ เริม่ การปะทะแต่
จะน�ำไปใช้เมื่อต้องการผลแตกหัก การวางก�ำลังกองหนุนในพื้นที่ปฏิบัติการเป็นการสร้างสภาวะ
อย่างหนึ่ง ที่ตั้งหรือการเคลื่อนย้ายของกองหนุนอาจช่วยลวงข้าศึกในเรื่องพื้นที่ของการปฏิบัติการ
แตกหัก และจะมีอิทธิพลต่อการใช้ก�ำลังของข้าศึก เมื่อสั่งใช้กองหนุน กองหนุนนั้นอาจปฏิบัติการ
แตกหักหรือเป็นส่วนเพิ่มเติมก�ำลังให้กับการปฏิบัติการแตกหัก กองหนุนจึงต้องพร้อมที่จะชิงหรือ
ด�ำรงความริเริม่ เมือ่ สถานการณ์คลีค่ ลายมากขึน้ ผูบ้ งั คับหน่วยใช้กองหนุนเพือ่ คลีค่ ลายสถานการณ์
และขยายผลเมื่อมีโอกาส หากสถานการณ์ไม่กระจ่างชัด กองหนุนมักจะมีขนาดใหญ่ หากจ�ำเป็น
อาจต้องย้ายที่ตั้งกองหนุนเพื่อความปลอดภัยหรือเพื่อให้สั่งใช้ได้ทันเวลา
การปฏิบัติการด�ำรงสภาพ
๔-๘๙ วัตถุประสงค์ของการปฏิบัติการด�ำรงสภาพก็เพื่อสร้างหรือคงอ�ำนาจก�ำลังรบ
เอาไว้ การปฏิบัติการด�ำรงสภาพคือ การปฏิบัติการในทุกระดับเพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติการสร้าง
สภาวะและการปฏิบตั กิ ารแตกหักโดยการสนับสนุนการช่วยรบ การป้องกันฐาน และพืน้ ทีส่ ว่ นหลัง
การควบคุมการเคลื่อนย้าย การจัดการพื้นที่และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การปฏิบัติการด�ำรง
สภาพประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
- การสนับสนุนการช่วยรบ
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 105

- การระวังป้องกันฐานและพื้นที่ส่วนหลัง ซึ่งรวมถึงมาตรการและการปฏิบัติ
ต่าง ๆ เพื่อป้องกันที่ตั้งและพื้นที่จากการปฏิบัติเพื่อขัดขวางประสิทธิภาพ
ในการท�ำงาน การระวังป้องกันฐานและพืน้ ทีส่ ว่ นหลังมีองค์ประกอบ ๔ ประการ
คือ การข่าวกรอง, การป้องกันฐานและกลุม่ ฐาน, การปฏิบตั ขิ องก�ำลังตอบโต้,
และการปฏิบัติของกองก�ำลังทางยุทธวิธีในพื้นที่ส่วนหลัง (กยล.)
- การควบคุมการเคลื่อนย้าย ซึ่งรวมถึงการวางแผน การก�ำหนดเส้นทาง การ
ก�ำหนดเวลา และการควบคุมการเคลื่อนย้ายทั้งบุคคลและสิ่งของที่จะเข้ามา
ในพื้นที่ปฏิบัติการ, เคลื่อนย้ายภายในพื้นที่ปฏิบัติการ, และออกจากพื้นที่
ปฏิบัติการ สิ่งส�ำคัญในการควบคุมการเคลื่อนย้ายคือ ต้องด�ำรงการควบคุม
ตลอดเวลา, การท�ำให้เส้นการคมนาคมใช้งานได้อยู่เสมอ การจัดการต�ำบล
รับเข้าและต�ำบลส่งผ่าน รวมถึงการได้รับการสนับสนุนจากประเทศเจ้าบ้าน
เมื่อต้องปฏิบัติการนอกประเทศ
- การจั ด การพื้ น ที่ หมายถึ ง การแบ่ ง มอบพื้ น ที่ การก� ำ หนดพื้ น ที่ ร วมพล
การก�ำหนดที่ตั้งให้หน่วยและกิจกรรม รวมถึงการจัดกลุ่มที่ตั้งหน่วยเป็นฐาน
และกลุ่มฐานเมื่อจ�ำเป็น
- การพัฒนาโครงสร้างพืน้ ฐาน การพัฒนาดังกล่าวหมายถึงการสร้างทัง้ ชัว่ คราว
และถาวร การดัดแปลง หรือการจัดให้มีสิ่งอ�ำนวยความสะดวกส�ำหรับการ
สนับสนุนและควบคุมหน่วยทหาร การพัฒนาโครงสร้างพืน้ ฐานจะเน้นไปทีก่ าร
ปรับปรุงเพือ่ ความปลอดภัยของสิง่ อ�ำนวยความสะดวก รวมถึงการควบคุมและ
การซ่อมแซมความเสียหายเป็นพื้นที่ด้วย
๔-๙๐ ขณะที่การปฏิบัติการด�ำรงสภาพไม่อาจแยกออกจากการปฏิบัติการแตกหัก และ
การปฏิบัติการสร้างสภาวะ แต่โดยตัวมันเองมักจะไม่ใช่การปฏิบัติการแตกหัก ในการปฏิบัติการ
สนับสนุนบางครั้ง หน่วยสนับสนุนการช่วยรบอาจเป็นส่วนที่มีผลแตกหักของ กกล.ทบ. การปฏิบัติ
การด�ำรงสภาพมิได้เกิดขึ้นเฉพาะในพื้นที่ส่วนหลังเท่านั้นแต่เกิดขึ้นทั่วทั้งพื้นที่ปฏิบัติการ ความ
ล้มเหลวของการด�ำรงสภาพมักจะมีผลให้ภารกิจต้องล้มเหลวไปด้วย การปฏิบัติการด�ำรงสภาพจะ
เป็นตัวก�ำหนดว่า กกล.ทบ. จะฟื้นฟูก�ำลังหรือขยายผลจากความส�ำเร็จได้รวดเร็วเพียงใดด้วย
๔-๙๑ ในระดับยุทธการ การปฏิบัติการด�ำรงสภาพจะให้ความส�ำคัญกับการเตรียมการ
ทัพหรือการยุทธ์ขนาดใหญ่ในขัน้ ต่อไป ส่วนในระดับยุทธวิธจี ะเน้นการรักษาจังหวะของการปฏิบตั ิ
การทั้งสิ้นเพื่อประกันว่าก�ำลังฝ่ายเราเป็นฝ่ายได้เปรียบในทุก ๆ โอกาสที่เกิดขึ้น
106 บทที่ ๔

ความพยายามหลัก
๔-๙๒ ในการจัดสนามรบไม่วา่ จะเป็นการปฏิบตั กิ ารแตกหัก การปฏิบตั กิ ารสร้างสภาวะ
และการปฏิบตั กิ ารสนับสนุน ผูบ้ งั คับหน่วยจะต้องก�ำหนดความพยายามหลักและมีการปรับเปลีย่ น
ความพยายามหลักนี้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ ความพยายามหลักหมายถึง การปฏิบัติ, หน่วย,
หรือพื้นที่ที่ผู้บังคับหน่วยก�ำหนดว่ามีความส�ำคัญต่อพันธกิจในเวลานั้นมากที่สุด และแบ่งมอบ
ทรัพยากรและล�ำดับความเร่งด่วนให้กับความพยายามหลักนั้น ๆ ความพยายามหลักสามารถ
เปลี่ยนแปลงได้ตามเจตนารมณ์และสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
๔-๙๓ ความพยายามหลักไม่จำ� เป็นต้องเป็นการปฏิบตั กิ ารแตกหักเสมอไป ผูบ้ งั คับหน่วย
ต้องคาดการณ์ถงึ การเปลีย่ นความพยายามหลักในการปฏิบตั กิ ารและบรรจุเอาไว้ในแผนของตน แต่
การเปลี่ยนการปฏิบัติการแตกหักจะต้องมีการปฏิบัติตามแผนเผชิญเหตุ แผนตามล�ำดับ หรือ
แผนใหม่เสียก่อน การปฏิบตั กิ ารสร้างสภาวะอาจเป็นความพยายามหลักก่อนทีจ่ ะมีการปฏิบตั กิ าร
แตกหัก อย่างไรก็ตามเมื่อในขั้นการปฏิบัติการ การปฏิบัติการแตกหักจะกลายเป็นความพยายาม
หลักของการปฏิบัติการนั้น ๆ
พื้นที่ระยะใกล้ พื้นที่ทางลึก และพื้นที่ส่วนหลัง
๔-๙๔ แม้วา่ การปฏิบตั กิ ารจะมีลกั ษณะทีไ่ ม่เป็นแนวมากขึน้ แต่กอ็ าจมีบางสถานการณ์
ที่ผู้บังคับหน่วยต้องก�ำหนดให้การปฏิบัติการของตนไม่ว่าจะเป็นการปฏิบัติการแตกหัก, สร้าง
สภาวะ, และด�ำรงสภาพมีขอบเขตพื้นที่ที่ชัดเจน (ดูรูปที่ ๔-๖) โดยปกติการปฏิบัติการที่เป็นแนว
มักจะเกี่ยวข้องกับก�ำลังรบตามแบบและเน้นหน่วยด�ำเนินกลยุทธ์หน่วยภาคพื้นดินมีเส้นแบ่งเขต
ร่วมกันและมีทิศทางการวางก� ำลังที่ต่อต้านก� ำลังฝ่ายข้าศึกที่มีการจัดคล้าย ๆ กัน มีก� ำลัง
ฝ่ายเดียวกันหรือภูมิประเทศให้การป้องกันต่อปีก หรือการปฏิบัติการสนับสนุนการช่วยรบ ในการ
ปฏิบัติการหลายชาติบางครั้ง ขีดความสามารถและหลักนิยมของกองก�ำลังแต่ละชาติอาจท�ำให้มี
ความจ�ำเป็นต้องแบ่งพื้นที่ให้กับ แต่ละกองก�ำลังในพื้นที่ปฏิบัติการ ในสถานการณ์เช่นนี้ ผู้บังคับ
หน่วยจะต้องก�ำหนดพื้นที่เป็นพื้นที่ระยะใกล้ พื้นที่ทางลึก และพื้นที่ส่วนหลังให้ชัดเจน
๔-๙๕ พืน้ ทีร่ ะยะใกล้คอื พืน้ ที่ ทีห่ น่วยก�ำลังปะทะอยูก่ บั ข้าศึก หรือกองหนุนทางยุทธวิธี
ของทัง้ สองฝ่ายถูกส่งเข้าท�ำการรบ หากเป็นการวางแผนหมายถึงพืน้ ที่ ทีผ่ บู้ งั คับหน่วยก�ำหนดให้การ
รบระยะใกล้เกิดขึน้ ปกติแล้วพืน้ ทีก่ ารรบระยะใกล้สำ� หรับหน่วยด�ำเนินกลยุทธ์หน่วยใดหน่วยหนึง่
จะเริ่มตั้งแต่เส้นเขตหลังของหน่วยรองของหน่วยด�ำเนินกลยุทธ์นั้นไปจนถึงเส้นเขตหน้าของหน่วย
ด�ำเนินกลยุทธ์นนั้ ผูบ้ งั คับหน่วยจะวางแผนปฏิบตั กิ ารแตกหักด้วยการวางก�ำลังหน่วยด�ำเนินกลยุทธ์
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 107

ส่วนใหญ่ของตนไว้ในพื้นที่การรบระยะใกล้ และใช้หน่วยด�ำเนินกลยุทธ์ และการยิงในพื้นที่การรบ


ระยะใกล้นั้น

รูปที่ ๔-๖ พื้นที่ทางลึก, ระยะใกล้ และส่วนหลัง

๔-๙๖ การปฏิบัติของหน่วยต่าง ๆ ที่สนับสนุนโดยตรงต่อส่วนที่ท�ำการรบก็เกิดในพื้นที่


ระยะใกล้เช่นกัน ตัวอย่างเช่น การยิงของปืนใหญ่สนามและการบริการทางการแพทย์ หน่วยบาง
หน่วยอาจปฏิบตั กิ ารแตกหักขณะทีห่ น่วยอืน่ ปฏิบตั กิ ารสร้างสภาวะในพืน้ ทีร่ ะยะใกล้กไ็ ด้ ทัง้ นีข้ นึ้
อยู่กับระดับหน่วยนั้น ๆ ผู้บังคับหน่วยในพื้นที่ระยะใกล้อาจก�ำหนดพื้นที่ระยะใกล้ พื้นที่ทางลึก
และพื้นที่ส่วนหลังให้กับหน่วยรองของตนอีกชั้นหนึ่งได้
๔-๙๗ พื้นที่ทางลึก พื้นที่ทางลึกเป็นพื้นที่ ที่เลยพื้นที่ระยะใกล้ออกไปที่ผู้บังคับหน่วยใช้
ปฏิบัติต่อข้าศึกเพื่อสร้างสภาวการณ์ก่อนข้าศึกนั้นจะเผชิญหน้าหรือปะทะกับก�ำลังในพื้นที่ระยะ
ใกล้ โดยปกติพื้นที่ทางลึกของหน่วยใด ๆ จะเริ่มตั้งแต่เส้นเขตหน้าของหน่วยรองของหน่วยนั้น
ออกไปจนถึงเส้นเขตหน้าของหน่วยเหนือของหน่วยนั้น พื้นที่ทางลึกกับพื้นที่ระยะใกล้จึงมี
ความสัมพันธ์กันในแง่ของวัตถุประสงค์ และเวลาด้วยนอกเหนือจากในแง่ภูมิศาสตร์ พื้นที่
ทางลึกของหน่วยจะมีขอบเขตเพียงใดขึ้นอยู่กับพื้นที่อิทธิพลของหน่วยนั้นรวมถึงความสามารถ
ของหน่วยในการรวบรวมข่าวสาร และการโจมตีเป้าหมายด้วย ผู้บังคับหน่วยอาจวางก�ำลังในพื้นที่
108 บทที่ ๔

ทางลึกเพือ่ ปฏิบตั กิ ารสร้างสภาวะ ซึง่ การปฏิบตั กิ ารสร้างสภาวะดังกล่าวอาจเกีย่ วข้องกับการปฏิบตั ิ


ระยะใกล้ อย่างไรก็ตามก�ำลังด�ำเนินกลยุทธ์ส่วนใหญ่จะวางไว้ในพื้นที่การรบระยะใกล้
๔-๙๘ พืน้ ทีส่ ว่ นหลัง พืน้ ทีส่ ว่ นหลังของหน่วยใด ๆ จะเริม่ จากเส้นเขตหลังของหน่วยรอง
หน่วยนั้นไปด้านหลังจนถึงเส้นเขตหลังของหน่วยนั้น พื้นที่นี้มักจะมีกิจกรรมในการสนับสนุนเป็น
หลัก และเป็นพื้นที่ที่มีการปฏิบัติการด�ำรงสภาพของหน่วยนั้น การปฏิบัติการในพื้นที่ส่วนหลังจะ
ท�ำให้การปฏิบัติการของหน่วยการด�ำรงสภาพและระบบการควบคุมบังคับบัญชามีเสรีและมีความ
ต่อเนื่อง แต่อย่างไรก็ตามการเน้นการสนับสนุนการรบและการสนับสนุนการช่วยรบจะท� ำให้
หน่วยเป็นจุดอ่อนต่อการโจมตี ผูบ้ งั คับหน่วยอาจก�ำหนดให้หน่วยรบบางหน่วยท�ำหน้าทีป่ อ้ งกันให้
กับหน่วยอื่น และสิ่งอ�ำนวยความสะดวกในพื้นที่ส่วนหลัง ในบางกรณี ผู้บังคับหน่วยอาจก�ำหนด
พื้นที่ส่วนหลังเป็นพื้นที่ ที่ไม่ติดกันกับพื้นที่อื่น อาจจะด้วยเงื่อนไขทางภูมิศาสตร์หรือเงื่อนไขอื่น ๆ
ถ้าเป็นเช่นนี้ การป้องกันหน่วยในพื้นที่ส่วนหลังจะมีความยากล�ำบากมากขึ้นเนื่องจากหน่วยที่อยู่
ในพื้นที่ส่วนหลังจะมีระยะห่างจากหน่วยรบในพื้นที่การรบระยะใกล้
ขีดความสามารถของ ทบ.
๔-๙๙ ผู้บังคับหน่วยจะผสมผสานอ�ำนาจก�ำลังรบของหน่วยต่าง ๆ รวมถึงหน่วยงาน
พลเรือนเพือ่ ให้การปฏิบตั กิ ารรวมมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล การจัดหน่วยมีความหลากหลาย
ปรับเปลีย่ นได้ตามสถานการณ์ ทบ. มีหน้าทีใ่ นการเตรียมก�ำลังพล การฝึก และยุทโธปกรณ์ให้พร้อม
ท�ำการรบหรือปฏิบัติการอื่นให้บรรลุวัตถุประสงค์ของยุทธศาสตร์ชาติที่ก�ำหนด
การจัดเฉพาะกิจ
๔-๑๐๐ ทบ. สนับสนุนต่อผู้บัญชาการกองก�ำลังร่วม ด้วยการจัดก�ำลังรบที่เหมาะสม
ต่อภารกิจของกองก�ำลังร่วมนั้น ๆ หน่วยของ ทบ. ทั้งก�ำลังประจ�ำการและก�ำลังส�ำรองจะได้รับ
การฝึกและจัดอาวุธยุทโธปกรณ์ให้พร้อมปฏิบัติภารกิจที่ก� ำหนด และเมื่อจะต้องปฏิบัติภารกิจ
ต่อเนื่องก็สามารถปรับเปลี่ยนการจัดให้เหมาะสมกับภารกิจใหม่นั้นได้เมื่อจ� ำเป็น กระบวนการ
ในการแบ่งมอบหน่วย ทรัพยากร ให้กับผู้บังคับหน่วยรองรวมถึงการก�ำหนดความสัมพันธ์ทางการ
บังคับบัญชาและสนับสนุนนี้เรียกว่า การจัดเฉพาะกิจ การที่ กกล.ทบ. สามารถปรับเปลี่ยนการจัด
ให้เหมาะสมกับภารกิจนี้จะท�ำให้หน่วยมี ความว่องไว ช่วยให้ผู้บังคับหน่วยในระดับยุทธการและ
ยุทธวิธีสามารถปรับการจัดก�ำลังของตนให้สอดคล้องกับภารกิจและก�ำลังที่มีอยู่ได้ ไม่ว่าจะเป็น
การรุก การรับ การปฏิบัติการเพื่อเสถียรภาพ และการปฏิบัติการสนับสนุน
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 109

ก�ำลังรบผสมเหล่า
๔-๑๐๑ ก�ำลังรบผสมเหล่าเป็นหลักพื้นฐานทหารม้าการจัดและการปฏิบัติการของ
กกล.ทบ. ก�ำลังรบผสมเหล่าเป็นการใช้เหล่าต่าง ๆ ของ ทบ. เช่น ทหารราบ ปืนใหญ่สนาม
ทหารช่าง หน่วยป้องกันภัยทางอากาศ หน่วยบิน อย่างประสานสอดคล้องและพร้อมเพรียงกัน
เพื่อให้บังเกิดผลต่อฝ่ายข้าศึก แทนที่จะใช้แต่ละเหล่าแยกกันหรือเรียงล�ำดับกัน เป้าหมายสูงสุด
ในการจัดดังกล่าวคือ ความส�ำเร็จในการปฏิบัติการร่วมและการปฏิบัติการผสมเหล่า การจัด
ก�ำลังรบผสมเหล่าจะช่วยให้ผู้บังคับหน่วยจัดหน่วยของตนให้สมบูรณ์พร้อมทั้งส่วนก�ำลังรบ
ส่วนสนับสนุนการรบ และส่วนสนับสนุนการช่วยรบ ที่สามารถปฏิบัติเพื่อให้บรรลุภารกิจเดียวกัน
ได้
ความสัมพันธ์ทางการบังคับบัญชาและสนับสนุน
๔-๑๐๒ ผู้บังคับหน่วยสร้างก�ำลังรบผสมเหล่าโดยใช้ความสัมพันธ์ทางการบังคับบัญชา
เป็นเครื่องมือ (ดูรูปที่ ๔-๗) ความสัมพันธ์ทางการบังคับบัญชาเป็นสิ่งก�ำหนดความรับผิดชอบและ
อ�ำนาจหน้าที่ของหน่วย ความสัมพันธ์ทางการสนับสนุนเป็นสิ่งก�ำหนดวัตถุประสงค์ ขอบเขต
และผลที่ต้องการเมื่อให้หน่วยหนึ่งสนับสนุนต่ออีกหน่วยหนึ่ง
110 บทที่ ๔

รูปที่ ๔-๗ ความสัมพันธ์ทางการบังคับบัญชา และสนับสนุน และความรับผิดชอบพื้นฐาน


คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 111

การเสริมและการเพิ่มเติมผลกระทบ
๔-๑๐๓ เหล่าต่าง ๆ ของ ทบ. มีขีดความสามารถที่ช่วยเสริมซึ่งกันและกัน หากใช้อย่าง
เหมาะสมจะท�ำให้ข้าศึกตกอยู่ในสภาพทีเ่ สียเปรียบ ข้าศึกที่พยายามหลีกเลี่ยงการปฏิบัตแิ บบหนึ่ง
จะต้องเผชิญกับการปฏิบัติอีกแบบหนึ่ง ตัวอย่างของการเสริมผลกระทบเช่น ในการตั้งรับ ฝ่ายรุก
ใช้การยิงจ�ำลองเพือ่ ข่มฝ่ายตัง้ รับขณะทีม่ กี ารด�ำเนินกลยุทธ์เพือ่ โอบและท�ำลาย ถ้าฝ่ายตัง้ รับจะใช้
การเคลือ่ นทีเ่ พือ่ หลีกเลีย่ งการถูกโอบก็จะต้องเสีย่ งกับการถูกท�ำลายด้วยการยิงจ�ำลองนัน้ แต่ถา้ ไม่
เคลื่อนที่ก็ต้องเสี่ยงกับการถูกโอบและถูกท�ำลายเช่นกัน

รูปที่ ๔-๘ ผลกระทบที่เกื้อกูลกัน

๔-๑๐๔ การเสริม เป็นการใช้ขีดความสามารถเพื่อลดจุดอ่อนของหน่วย หรือระบบด้วย


ขีดความสามารถอื่น (ดูรูปที่ ๔-๘) ตัวอย่างเช่น รถถังมีขีดความสามารถทั้งในการให้การป้องกัน
อ�ำนาจการยิง และความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่ แต่รถถังก็มีจุดอ่อนต่อทุ่นระเบิด จรวดต่อสู้
รถถัง ทหารราบที่มีการพราง และแนวทางเคลื่อนที่ที่จ�ำกัด ขาดความคล่องแคล่วในพื้นที่
สิ่งปลูกสร้าง หรือในพื้นที่ที่มีพืชพรรณไม้หนาแน่น การจัดก� ำลังแบบเฉพาะกิจจึงต้องให้มีทั้ง
ยานเกราะ ทหารราบ และทหารช่าง ซึง่ ในการจัดแบบนีท้ หารราบจะสามารถด�ำเนินกลยุทธ์ในพืน้ ที่
112 บทที่ ๔

ที่จ�ำกัดต่อการเคลื่อนที่ของรถถัง ทหารช่างใช้ขีดความสามารถของตนในการรื้อถอน หรือท�ำลาย


เครือ่ งกีดขวางเพือ่ ความคล่องแคล่วในการเคลือ่ นทีข่ องยานเกราะ ยานเกราะทีม่ คี วามคล่องแคล่ว
ในการเคลื่อนที่ก็สามารถใช้อ�ำนาจการยิงและเกราะป้องกันสนับสนุนทหารราบและทหารช่างไป
พร้อม ๆ กัน การสนับสนุนของหน่วยช่วยรบก็เป็นส่วนส�ำคัญที่ท�ำให้ก�ำลังรบเฉพาะกิจสามารถ
ปฏิบัติการต่อไปได้โดยไม่หยุดชะงัก
๔-๑๐๕ ในระดับยุทธการ ขีดความสามารถของแต่ละเหล่าทัพก็จะช่วยเสริมซึ่งกันและ
กัน ท�ำให้ผู้บัญชาการกองก�ำลังรบร่วมมีทางเลือก และท�ำให้ข้าศึกตกอยู่ในสภาพที่เสียเปรียบ
การใช้ ก� ำ ลั ง ทางอากาศจะช่ ว ยลดขี ด ความสามารถของข้ า ศึ ก ระบบเฝ้ า ตรวจจะติ ด ตาม
ความเคลื่อนไหว ท�ำให้ก�ำลังทางอากาศก�ำหนดเป้าหมายและโจมตีได้แม่นย�ำขึ้น ก�ำลังภาคพื้นดิน
สามารถยึดภูมิประเทศและท�ำลายก�ำลังข้าศึก พร้อม ๆ กับการใช้ระบบเฝ้าตรวจ และก�ำลังทาง
อากาศ หากข้าศึกเคลื่อนที่เข้าเผชิญหน้ากับกองก�ำลังภาคพื้นดิน ก็จะต้องถูกตรวจจับความ
เคลื่อนไหวนั้นได้ ข้าศึกจะเสี่ยงต่อการถูกโจมตีด้วยก� ำลังทางอากาศหรือจรวดระยะยิงไกล ถ้า
ไม่เคลื่อนที่ก็ต้องเสี่ยงกับการถูกหน่วยด�ำเนินกลยุทธ์โอบล้อมและท�ำลาย การด�ำเนินกลยุทธ์ของ
หน่วยภาคพืน้ ดินเองก็สามารถก�ำจัดระบบป้องกันภัยทางอากาศของข้าศึก เป็นการเพิม่ ประสิทธิภาพ
ให้กับการปฏิบัติการของกองก�ำลังทางอากาศไปในตัว
๔-๑๐๖ กกล.ทบ. และกองก�ำลังของเหล่าทัพอื่นจะเพิ่มเติมขีดความสามารถซึ่งกัน
และกันเมื่อมีการใช้อย่างเหมาะสม (ดูรูปที่ ๔-๙) ผู้บังคับหน่วยใช้ก� ำลังดังกล่าว ณ ต�ำบลใด
ต�ำบลหนึ่งเพื่อให้เกิดผลกระทบอย่างท่วมท้น การใช้ระบบการยิงสนับสนุนอย่างเป็นกลุ่มก้อน ทั้ง
ปืนใหญ่สนามและจรวดจะเพิ่มเติมอ�ำนาจการยิงให้แก่กันและกันได้ การยิงจากทางอากาศก็
เพิ่มเติมให้กับการยิงจ�ำลองได้ การใช้หน่วยด�ำเนินกลยุทธ์เพื่อให้เกิดความได้เปรียบ ณ ต�ำบลและ
เวลาที่ต้องการผลแตกหักก็ต้องใช้ในลักษณะเดียวกัน
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 113

รูปที่ ๔-๙ ผลกระทบของการเพิ่มเติมก�ำลัง

๔-๑๐๗ ความส�ำเร็จในการเสริมและการเพิ่มเติมผลกระทบจ�ำเป็นต้องมีการประสาน
สอดคล้อง ความริเริ่ม และความหลากหลาย การปฏิบัติที่มีการประสานสอดคล้องเป็นพื้นฐาน
ของการเสริมและการเพิ่มเติมผลกระทบ ผู้บังคับหน่วยจะใช้ระบบต่าง ๆ ณ พื้นที่และเวลาใด ๆ
อย่างมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ระบบต่าง ๆ มีการผนึกก�ำลังซึ่งกันและกัน ความริเริ่มของผู้นำ� จะท�ำให้
หน่วย และระบบมีเอกภาพไม่วา่ สถานการณ์จะเปลีย่ นแปลงไปอย่างไรหรือแม้แต่ในยามทีไ่ ม่สามารถ
สั่งการต่อหน่วยรองได้ เมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ผู้น� ำหน่วยจะ
ต้องปรับหรือพัฒนาการใช้หน่วยและระบบที่มีอยู่เพื่อท�ำให้ข้าศึกตกอยู่ในสภาพที่เสียเปรียบ
หากมีการปรับหรือพัฒนาการใช้หน่วยและระบบอย่างเหมาะสมแล้วจะท�ำให้เกิดผลกระทบใน
ลักษณะอสมมาตรที่กองก�ำลังรบร่วมพึงประสงค์ต่อการบรรลุวัตถุประสงค์ของหน่วยเหนือ
ความเป็นอสมมาตร
๔-๑๐๘ ความเป็นอสมมาตรคือความแตกต่างกันในเรื่องการจัด ยุทโธปกรณ์ หลักนิยม
ขีดความสามารถ และค่านิยมระหว่างกองทัพของประเทศต่าง ๆ ที่เข้าปฏิบัติการ ผู้บัญชาการ
กองก�ำลังรบร่วมจะต้องจัดระบบให้การปฏิบัติที่มีลักษณะทั้งสมมาตร และอสมมาตรเข้าด้วยกัน
เพือ่ ใช้ประโยชน์จากจุดแข็งของฝ่ายเราเข้าปฏิบตั ติ อ่ จุดอ่อนของฝ่ายข้าศึก และเพือ่ ให้ฝา่ ยเรามีเสรี
114 บทที่ ๔

ในการปฏิบตั ิ การรบปะทะจะมีลกั ษณะทีส่ มมาตรถ้าก�ำลังทัง้ สองฝ่ายมีเทคโนโลยี และระบบอาวุธ


คล้ายคลึงกัน ตรงกันข้ามถ้าก�ำลังทัง้ สองฝ่ายมีเทคโนโลยีและระบบอาวุธต่างกันมาก การรบปะทะ
นั้นก็จะมีลักษณะอสมมาตร หรือถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ยอมปฏิบัติตามกฎการใช้ก� ำลังที่ยึดถือ
บรรทัดฐานกฎการท�ำสงครามตามแบบหรือใช้วิธีการก่อการร้าย การรบปะทะนั้นก็จะมีลักษณะ
อสมมาตร แต่ในแง่หนึ่ง ความเป็นอสมมาตรย่อมมีอยู่เสมอระหว่างกองก�ำลังที่ต่างกัน เพราะการ
จัดหน่วยแบบหนึ่งย่อมเหมาะกับสถานการณ์เฉพาะนั้น ๆ ความเป็นอสมมาตรเป็นสิ่งส� ำคัญ
บางครั้งอาจเป็นปัจจัยชี้ขาดได้ถ้าความเป็นอสมมาตรนั้นท�ำให้ฝ่ายเราสามารถขยายผลจากความ
ได้เปรียบนั้นได้ การรบปะทะอาจส่งผลถึงการปฏิบัติการแตกหักได้ ถ้าเป้าหมายหรือข้าศึกไม่ได้
เตรี ย มการรั บ มื อ อย่ า งเพี ย งพอ อย่ า งไรก็ ต ามความได้ เ ปรี ย บในแง่ อ สมมาตรจะลดลงเมื่ อ
เวลาผ่านไป เพราะข้าศึกจะปรับตัวเพือ่ ลดความเสียเปรียบ กล่าวโดยรวมแล้ว การสงครามอสมมาตร
จะต้องหาทางเลี่ยงจุดแข็งของข้าศึกและในขณะเดียวกันก็ใช้ความได้เปรียบต่อจุดอ่อนของข้าศึก
ต่อไปจะกล่าวถึงตัวอย่างของการปฏิบัติอสมมาตรทั้งในระดับยุทธวิธีและระดับยุทธการ
๔-๑๐๙ กรณีตวั อย่าง ก�ำลังของกองทัพสนามที่ ๓ ในสงครามอ่าวมีอปุ กรณ์ชว่ ยมองทีใ่ ช้
ความร้อนในรุ่นที่สอง ในขณะที่ทหารอิรักยังคงใช้กล้องมองอินฟราเรดแบบเชิงรุก และแบบขยาย
ความเข้มของแสงอยู่ ในการปะทะกันยานเกราะของฝ่ายของสหรัฐฯ อังกฤษ และฝรัง่ เศส จึงท�ำลาย
ยานเกราะของอิรักได้อย่างมากขณะที่การยิงโต้ตอบของอิรักแทบไม่ได้ท� ำความสูญเสียต่อฝ่าย
ของสหรัฐฯ อังกฤษ และฝรั่งเศส เลย เกราะรถถังของสหรัฐฯ และอังกฤษก็ใช้เทคโนโลยีสูงกว่า
กระสุนของฝ่ายอิรักที่บังเอิญยิงถูกจึงไม่ทำ� ให้เกิดความสูญเสีย ขณะที่กระสุนของฝ่ายของสหรัฐฯ
อังกฤษ และฝรัง่ เศส สามารถท�ำลายยานเกราะอิรกั ได้ทนั ที ในระดับยุทธวิธี ฝ่ายของสหรัฐฯ อังกฤษ
และฝรั่งเศส จึงมีความเหนือกว่าฝ่ายอิรัก ทั้งในด้านการจัดหน่วยและยุทโธปกรณ์จนถึงขั้นที่
เรียกได้ว่าอสมมาตร
๔-๑๑๐ กรณีตัวอย่าง ในปี พ.ศ. ๒๕๔๒ (ค.ศ. ๑๙๙๙) กองก�ำลังของเซอร์เบีย ในโคโซ
โวถูกก�ำลังทางอากาศของนาโตทิง้ ระเบิดใส่อย่างหนัก ขณะที่การปฏิบตั ิทางอากาศด�ำเนินไปอย่าง
เข้มข้น นาโตก็ได้ปรับปรุงเทคนิคการโจมตี ขณะที่เซอร์เบีย ก็ใช้เทคนิคจากบทเรียนของอิรัก
ในยุคสงครามอ่าว ยิ่งเวลาผ่านไป ฝ่ายเซิร์บ ใช้การซ่อนพรางและการใช้ของปลอมอย่างมี
ประสิทธิภาพมากขึ้น แม้ว่าจะประสบความสูญเสีย แต่กองก�ำลังของเซอร์เบีย ยังสามารถป้องกัน
หน่วยและระบบอาวุธภาคพืน้ ดินจากการโจมตีแบบอสมมาตรไว้ได้ ท�ำให้ความได้เปรียบทางอากาศ
ลดลงอย่างมากเมื่อเวลาผ่านไปนานขึ้น
๔-๑๑๑ กรณีตัวอย่าง ในระดับยุทธการของสงครามอ่าว หน่วยบัญชาการกลางสหรัฐฯ
(USCENTCOM) ได้ขยายผลจากความอ่อนตัวของอ�ำนาจทางทะเลและศักยภาพในการโจมตี
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 115

สะเทินน�้ำสะเทินบกที่สามารถคุกคามต่อกองก�ำลังของอิรัก ในคูเวตด้วยการโจมตีขนาดใหญ่
จากอ่าวเปอร์เซีย อิรักซึ่งไม่มีก�ำลังทางเรือจึงต้องโยกย้ายก�ำลังถึงหกกองพลเพื่อมาวางป้องกัน
แนวชายฝั่งเอาไว้ การคุกคามด้วยศักยภาพในการโจมตีสะเทินน�้ำสะเทินบก ช่วยตรึงก�ำลังอิรัก
ดังกล่าวอยู่กับที่ เปิดโอกาสให้การรุกทางพื้นดินของกองก�ำลังพันธมิตรชั่วคราวสามารถโอบและ
ท�ำลายกองพลดังกล่าวของอิรัก ได้ในที่สุด
๔-๑๑๒ โอกาสของการโจมตีแบบอสมมาตรจะเพิม่ ขึน้ เมือ่ กองก�ำลังตามแบบของสหรัฐฯ
ทั้งทางทะเล ทางบก ทางอากาศ และอวกาศด�ำรงความเหนือกว่าอย่างต่อเนื่อง การโจมตีดังกล่าว
อาจขัดขวางการปฏิบัติทางยุทธวิธีได้เพียงแค่เวลาสั้น ๆ แต่อย่างไรก็ตาม ผลสืบเนื่องทั้งในระดับ
ยุทธการและยุทธศาสตร์อาจมีมากกว่านั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการปฏิบัติการเพื่อเสถียรภาพ
และการปฏิบัติการสนับสนุน ตัวอย่างเช่น ในเหตุการณ์วางระเบิดในกรุงเบรุต ประเทศเลบานอน
ปี พ.ศ. ๒๕๒๖ (ค.ศ. ๑๙๘๓) และการวางระเบิดตึก โคบาร์ ทาวเวอร์ (Khobar Towers)
ในซาอุดีอาระเบีย ในปี พ.ศ. ๒๕๓๙ (ค.ศ. ๑๙๙๖) ที่ผู้ก่อการร้ายใช้รถบรรทุกระเบิด ท�ำให้ทหาร
สหรัฐฯ เสียชีวิตจ�ำนวนมาก การโจมตีทั้งสองครั้งก็มีลักษณะที่เป็นอสมมาตรในแง่ของอาวุธและ
ค่านิยม นอกจากนี้การปฏิบัติการทั้งสองแห่งถือเป็นการปฏิบัติการต่อที่หมายทางทหารที่ฝ่าย
ก่อการร้ายหวังผลทางการเมือง ยิ่งถ้ามีการคุกคามด้วยอาวุธที่มีอ�ำนาจท�ำลายล้างสูงความเสี่ยง
ที่จะเกิดความเป็นอสมมาตรก็ยิ่งสูงขึ้นเป็นทวีคูณ
๔-๑๑๔ การโจมตีแบบอสมมาตรก่อให้เกิดความเสี่ยงทั้งต่อก�ำลังฝ่ายเราและฝ่ายข้าศึก
ในการต่อต้านการโจมตีแบบอสมมาตร ฝ่ายที่เสียเปรียบจะต้องปรับเปลี่ยนกฎการใช้ก�ำลัง การจัด
หลักนิยม การฝึก หรือยุทโธปกรณ์ให้เหมาะสม ยิ่งระดับหน่วยสูงเท่าใดยิ่งต้องใช้เวลาในการลด
ความเสียเปรียบนานขึน้ เท่านัน้ ทบ.สามารถลดจุดอ่อนและผลกระทบจากการโจมตีแบบอสมมาตร
ด้วยการจัด การฝึก และการประกอบอาวุธยุทโธปกรณ์ที่อ่อนตัวต่อสถานการณ์ มาตรการป้องกัน
เช่นการระวังป้องกันทางกายภาพและการระวังป้องกันในการปฏิบัติการจะช่วยลดผลกระทบจาก
โจมตีทเี่ ป็นอสมมาตรได้ ขีดความสามารถในการป้องกัน นชค.ในระดับยุทธวิธกี เ็ ป็นเครือ่ งมือในการ
ป้องปรามการโจมตีได้เป็นอย่างดี ผู้บังคับหน่วยต้องคาดการณ์ในเรื่องการโจมตีแบบอสมมาตรไว้
เสมอและใช้มาตรการป้องกันเพือ่ ลดความได้เปรียบของข้าศึกให้มนี อ้ ยทีส่ ดุ อีกทัง้ ยังต้องทราบและ
ขยายผลขีดความสามารถของฝ่ายเราที่มีความเป็นอสมมาตรต่อข้าศึกได้ในเวลาเดียวกัน
บทที่ ๕
การบัญชาการรบ

๕-๑ การบั ญ ชาการรบเป็ น การประยุ ก ต์ ใ ช้ อ งค์ ป ระกอบอ�ำ นาจก� ำ ลั ง รบในเรื่ อ ง


ความเป็นผู้น�ำ โดยหลักการแล้วการบัญชาการรบคือ ศิลปะในการใช้ทักษะที่เกิดจากการเรียนรู้ใน
วิชาชีพ การปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง และการใช้ดุลยพินิจอย่างรอบคอบ ผู้บังคับหน่วยจะต้องมี
มโนทัศน์ในการปฏิบัติการที่แสดงออกมาในรูปของเจตนารมณ์และแนวทาง จากนั้นก็ก�ำกับ
การปฏิบัติของหน่วยรองให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ที่ก�ำหนด ซึ่งการท�ำงานดังกล่าวจะมีฝ่าย
อ�ำนวยการหรือฝ่ายเสนาธิการเป็นผู้ช่วยหลัก ผู้บังคับหน่วยก� ำกับการปฏิบัติการผ่านทางระบบ
ปฏิบัติการในสนามรบ และยังมีอิทธิพลโดยตรงต่อการปฏิบัติการด้วยการปรากฏตัวโดยมีการ
สนับสนุนจากระบบบังคับบัญชาและควบคุม
ศิลปะของการบังคับบัญชา
๕-๒ การบังคับบัญชาเป็นอ�ำนาจหน้าที่ตามกฎหมายของผู้บังคับบัญชาหน่วยทหารที่
ใช้ต่อผู้ใต้บังคับบัญชาของตน อ�ำนาจหน้าที่ดังกล่าวเกิดขึ้นโดยยศ และโดยการแต่งตั้ง ทหารที่มี
อ�ำนาจหน้าที่ในการบังคับบัญชานั้นจะต้องใช้อำ� นาจหน้าที่ของตนด้วยความมั่นใจ เอาใจใส่ และ
อย่างมีทักษะ แม้ว่าการบังคับบัญชาจะมีลักษณะที่เป็นทั้งศาสตร์และศิลป์ แต่การบังคับบัญชาจะ
มีประสิทธิภาพหรือไม่เพียงใดมักเป็นเรื่องศิลปะเฉพาะบุคคลเป็นหลัก
๕-๓ การบัญชาการรบเป็นการใช้อำ� นาจการบังคับบัญชาในการปฏิบตั กิ ารต่อต้านข้าศึก
การใช้ดลุ พินจิ อย่างมีทกั ษะได้ตอ้ งเกิดจากการฝึก การคิด การศึกษา ประสบการณ์ และสัญชาตญาณ
ศิลปะในการบังคับบัญชาเป็นการใช้อ�ำนาจบังคับบัญชาด้วยการมีมโนทัศน์, การตัดสินใจ และ
ความเป็นผู้น�ำ ผู้บังคับหน่วยจะใช้ดุลพินิจได้ดีเพียงใดขึ้นอยู่กับประสบการณ์ การฝึก, การศึกษา,
ความคิดสร้างสรรค์ และสัญชาตญาณที่เกิดจากการเรียนรู้ การใช้ศิลปะการบังคับบัญชา ผู้บังคับ
หน่วยต้องน�ำค่านิยมของตน, คุณสมบัต,ิ ทักษะ และการปฏิบตั ติ น มาประยุกต์ใช้เพือ่ น�ำและกระตุน้
หน่วยและผูใ้ ต้บงั คับบัญชา หน่วยทีม่ กี ารน�ำทีด่ จี ะเป็นหน่วยทีป่ ระสบความส�ำเร็จทัง้ ในการฝึกและ
ในการปฏิบัติภารกิจจริง ในฐานะที่เป็นผู้น�ำอาวุโสของหน่วย ผู้บังคับหน่วยจะต้องใช้ปัจจัยอ�ำนาจ
ก�ำลังรบเรื่องความเป็นผู้นำ� อย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนผู้บังคับหน่วยรองและผู้นำ� หน่วยขนาดเล็กก็
เป็นผู้เสริมปัจจัยอ�ำนาจก�ำลังรบ
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 117

๕-๔ การบั ญ ชาการรบที่ มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพต้ อ งใช้ ก ารตั ด สิ น ใจที่ ทั น เวลา และมี
ประสิทธิภาพมากกว่าข้าศึก ความส�ำเร็จในเรื่องนี้มักขึ้นอยู่กับความเหนือกว่าด้านข่าวสาร การใช้
ข่ า วสารซึ่ ง เป็ น องค์ ป ระกอบอ� ำ นาจก� ำ ลั ง รบและการใช้ ดุ ล พิ นิ จ ที่ ดี จ ะท� ำ ให้ ก ารตั ด สิ น ใจ
มีประสิทธิภาพมากขึ้น ผู้บังคับหน่วยจะต้องรู้ว่า จะต้องตัดสินใจเมื่อใด และตัดสินใจในเรื่องอะไร
ทั้งนี้จะต้องพิจารณาคุณภาพของข่าวสารประกอบกันด้วย นอกจากนี้ ผู้บังคับหน่วยจะต้อง
คาดการณ์และเข้าใจว่าหลังจากตัดสินใจแล้วจะต้องท�ำอะไรหรือมีอะไรเกิดขึ้น เพราะบางเรื่องไม่
สามารถล้มเลิกหลังจากที่ได้ตัดสินใจไปแล้ว
๕-๕ การบัญชาการรบจึงขึ้นอยู่กับทักษะและการปฏิบัติของผู้น� ำว่าจะท�ำให้การ
ตัดสินใจมีประสิทธิภาพเพียงใด สิ่งท้าทายส�ำหรับผู้น�ำหน่วยคือ ปริมาณข่าวสารที่มี ซึ่งจะต้อง
ถูกน�ำมาใช้ในการก�ำหนดมโนทัศน์ของการปฏิบัติการ การอธิบายเจตนารมณ์ และการก�ำกับการ
ปฏิบัติของหน่วยรอง การก�ำหนดมโนทัศน์ของการปฏิบัติการเป็นสิ่งที่ต้องกระท�ำอย่างต่อเนื่อง
ซึ่งผู้บังคับหน่วยต้องเข้าใจสถานการณ์ปัจจุบัน สถานการณ์ในอนาคต และประเมินความแตกต่าง
ของสถานการณ์ทั้งสองได้ และเตรียมก�ำหนดการปฏิบัติที่ส�ำคัญ ๆ ที่เชื่อมโยงสถานการณ์ทั้งสอง
ได้ ผู้บังคับหน่วยต้องยอมรับความเสี่ยงที่ได้ใคร่ครวญแล้วเพื่อชิง หรือด�ำรงความริเริ่มเอาไว้
ต้องประเมินข้อดีข้อเสียระหว่างความเสี่ยงกับโอกาสแล้วประยุกต์ให้เข้ากับวิสัยทัศน์ของตน
๕-๖ ในการแปลงวิสยั ทัศน์ของผูบ้ งั คับหน่วยไปเป็นการปฏิบตั ิ ฝ่ายเสนาธิการและหน่วย
รองจะต้องเข้าใจวิสัยทัศน์นั้นเสียก่อน ผู้บังคับหน่วยอธิบายวิสัยทัศน์ของตนไว้ในการให้แนวทาง
ในการวางแผนและเจตนารมณ์ผู้บังคับบัญชา โดยให้รายละเอียดเพียงพอที่ฝ่ายเสนาธิการและ
หน่วยรองจะน�ำไปวางแผน และเตรียมการได้ การบังคับบัญชาคือ การสัง่ การ ผูบ้ งั คับหน่วยสัง่ การ
เพือ่ ให้การปฏิบตั กิ ารของหน่วยทัง้ การปฏิบตั กิ ารหลัก, การรบ และการรบปะทะ เพือ่ บรรลุผลลัพธ์
ที่ตนต้องการ โดยการ
- มอบภารกิจ
- จัดล�ำดับความเร่งด่วนและการแบ่งมอบทรัพยากร
- ประเมินและยอมรับความเสี่ยง
- ตัดสินใจว่าจะปรับเปลี่ยนเมื่อใดและอย่างไร
- ตัดสินใจใช้กองหนุน
- ดู, ฟัง, และเข้าใจความต้องการของหน่วยรองและหน่วยเหนือ
- น�ำและกระตุ้นหน่วยให้ปฏิบัติภารกิจให้ส�ำเร็จ
118 บทที่ ๕

การก�ำหนดมโนทัศน์ การอธิบาย และการสั่งการ


๕-๗ การก�ำหนดมโนทัศน์, อธิบาย, และสั่งการ (หรืออ�ำนวยการ) เป็นส่วนหนึ่งของ
ความเป็นผู้น�ำที่ผู้บังคับหน่วยทุกระดับคุ้นเคย ลักษณะของการปฏิบัติการ เทคโนโลยี และปริมาณ
ของข่าวสารท�ำให้การก�ำหนดมโนทัศน์ และการอธิบายการปฏิบัติการของผู้บังคับหน่วยมีความ
ส�ำคัญมากขึ้น ส่วนมุมมองและการเน้นความส�ำคัญจะแตกต่างกันไปตามระดับหน่วย ข้อแตกต่าง
หลักระหว่างยุทธศิลป์และยุทธวิธีอยู่ที่ขนาดและขอบเขตในการก�ำหนดมโนทัศน์, อธิบาย, และ
สั่งการของผู้บังคับหน่วย นี่เอง ผู้บังคับหน่วยในระดับยุทธการจะก�ำหนดเวลา พื้นที่ ทรัพยากร
วัตถุประสงค์ และการปฏิบตั ขิ องการปฏิบตั กิ ารทางบกแล้วเชือ่ มโยงให้เข้ากับการออกแบบยุทธการ
ของผู้บัญชาการกองก�ำลังร่วม ในทางตรงข้าม พื้นที่ปฏิบัติการ, ที่หมาย, วัตถุประสงค์, ก�ำลัง
และเวลา ของผู้บังคับหน่วยระดับยุทธวิธีเป็นสิ่งที่หน่วยเหนือก�ำหนดให้
๕-๘ ขณะทีผ่ บู้ ญ
ั ชาการกองก�ำลังรบร่วมและผูบ้ ญ ั ชาการกองก�ำลังจากเหล่าทัพ ใช้ความ
เป็นผู้น�ำผ่านหน่วยรอง ความส�ำเร็จในระดับยุทธการจึงขึ้นอยู่กับความสามารถในการก�ำหนด
มโนทั ศ น์ แ ละอธิ บ ายการปฏิ บั ติ ก ารทางบกที่ ซั บ ซ้ อ น ส่ ว นผู ้ บั ง คั บ หน่ ว ยขนาดเล็ ก จะใช้
การบังคับบัญชาแบบใกล้ชิดหรือตัวต่อตัว ความส�ำเร็จระดับยุทธวิธีขึ้นอยู่กับความสามารถของ
ผู้บังคับหน่วยขนาดเล็กในการกระตุ้นและสั่งการต่อทหารเป็นส�ำคัญ
๕-๙ ผู้บังคับหน่วยใช้ปัจจัย METT-TC เป็นเครื่องมือในการประเมินสถานการณ์ และใช้
การประมาณการของฝ่ายอ�ำนวยการและการแลกเปลีย่ นข่าวสารระหว่างผูบ้ งั คับหน่วยด้วยกันเป็น
เครื่องมือช่วยให้เข้าใจสถานการณ์ได้กระจ่างมากขึ้น จากนั้นผู้บังคับหน่วยจึงก�ำหนดมโนทัศน์ใน
การปฏิบัติการ อธิบายมโนทัศน์ของตนให้เข้าใจด้วยการให้เจตนารมณ์ จากนั้นก็สั่งการแก่
หน่วยรองให้ดำ� เนินการให้ภารกิจส�ำเร็จ ผูบ้ งั คับหน่วยจะตรวจสอบองค์ประกอบ ของการออกแบบ
การยุทธ์ และก�ำหนดว่าองค์ประกอบทีจ่ ะสร้างสภาวะทีเ่ กือ้ กูลต่อการปฏิบตั กิ ารมีอะไรบ้าง ใช้แผน
และค�ำสัง่ เพือ่ การอ�ำนวยการการปฏิบตั กิ ารและประสานสอดคล้องระบบปฏิบตั กิ ารสนามรบ และ
ใช้ความเป็นผู้น�ำด้วยการปรากฏตัวและการก�ำหนดความเร่งด่วน (ดูรูปที่ ๕-๑)
การก�ำหนดมโนทัศน์
๕-๑๐ เมื่อได้รับภารกิจ ผู้บังคับหน่วยจะพิจารณาพื้นที่การรบทั้งสามมิติและวิเคราะห์
ภารกิจจนได้ผลออกมาเป็นวิสัยทัศน์ขั้นต้น วิสัยทัศน์นี้จะมีการยืนยันหรือปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
ผูบ้ งั คับหน่วยใช้ปจั จัย METT-TC, องค์ประกอบการออกแบบการปฏิบตั กิ าร, การประมาณการของ
ฝ่ายอ�ำนวยการ และข้อมูล ข่าวสาร และความเห็นจากผู้บังคับหน่วยคนอื่น ๆ ประสบการณ์และ
ดุลพินิจของตนเป็นเครื่องช่วยในการพัฒนาวิสัยทัศน์
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 119

๕-๑๑ เพื่อการจัดวิสัยทัศน์ของผลลัพธ์ที่ต้องการท�ำให้ผู้บังคับบัญชาต้องมีความเข้าใจ
สถานการณ์ในห้วงการรบอย่างชัดเจน ดังนี้ ภารกิจคืออะไร ? ขีดความสามารถ และการปฏิบัติที่
เป็นไปได้ของข้าศึกคืออะไร ? ลักษณะของพื้นที่ปฏิบัติการเป็นอย่างไร ? ลมฟ้าอากาศและ
ภูมิประเทศนั้นเกื้อกูลต่อฝ่ายเราหรือฝ่ายข้าศึก ? เวลาที่มีอยู่ ? ปัจจัยด้านการสนับสนุนทางการ
ช่วยรบที่ส�ำคัญที่สุดได้แก่อะไร ? บทบาทของพลเรือนต้องด�ำเนินการอะไรบ้าง ? โครงสร้างของ
ห้วงการรบนี้จะเกิดขึ้นในระหว่างการวิเคราะห์ภารกิจ (ดู รส. ๕-๐) นอกจากนี้ผู้บังคับบัญชา
ต้องมั่นใจในหลักการสงคราม, หลักของการปฏิบัติและประสบการณ์ของผู้บังคับบัญชาปัจจัย
METT-TC
ปัจจัย METT-TC
๕-๑๒ METT-TC เป็นปัจจัยส�ำคัญส�ำหรับใช้ในการประเมินและก�ำหนดมโนทัศน์ ซึง่ ได้แก่
ภารกิจ, ข้าศึก, ภูมิประเทศและลมฟ้าอากาศ, ก�ำลังและการสนับสนุนที่มีอยู่, เวลาที่มีอยู่, และ
ข้อพิจารณาด้านพลเรือน ปัจจัยห้าข้อแรกเป็นสิง่ ทีค่ นุ้ เคยกันดีและได้ใช้กนั มาเป็นเวลานาน ส�ำหรับ
ปัจจัยข้อพิจารณาด้านพลเรือนนับเป็นปัจจัยใหม่ที่จำ� เป็นในการปฏิบัติการทางทหารเต็มรูปแบบ
ผู้บังคับหน่วยใช้ปัจจัยทั้งหมดเหล่านี้ช่วยในการก�ำหนดมโนทัศน์ ประกอบกับการใช้ประมาณการ
ของฝ่ายอ�ำนวยการช่วยเสริมควบคู่กัน

รูปที่ ๕-๑ การวาดภาพการรบ, การอธิบาย, การสั่งการ


120 บทที่ ๕

๕-๑๓ ภารกิจ ผู้บังคับหน่วยก�ำหนดภารกิจด้วยการวิเคราะห์กิจที่ได้รับมอบ ซึ่งจะได้


ผลออกมาในรูปของกิจส�ำคัญยิง่ และวัตถุประสงค์ของการปฏิบตั กิ าร กิจส�ำคัญยิง่ และวัตถุประสงค์
ดังกล่าวจะเป็นสิ่งก�ำหนดการปฏิบัติที่จ�ำเป็น ภารกิจของหน่วยหมายถึงกิจต่าง ๆ ที่ต้องกระท�ำให้
ส�ำเร็จ ใครเป็นผู้ปฏิบัติกิจเหล่านั้น ปฏิบัติเมื่อใด ที่ไหน และท�ำไม
๕-๑๔ ข้าศึก การวิเคราะห์ข้าศึกจะรวมถึงข่าวสารปัจจุบันเกี่ยวกับ ก�ำลัง ที่ตั้ง กิจกรรม
และขีดความสามารถ ผู้บังคับหน่วยและฝ่ายอ�ำนวยการต้องประเมินว่าหนทางปฏิบัติใดที่ข้าศึกจะ
ใช้มากที่สุด ในการปฏิบัติการเพื่อเสถียรภาพและการปฏิบัติการสนับสนุน การวิเคราะห์จะรวมถึง
ฝ่ายตรงข้ามกลุ่มที่อาจไม่เป็นมิตร และปัจจัยอื่น ๆ ที่อาจคุกคามต่อความส�ำเร็จ เช่น การเกิด
โรคระบาด, สภาวะไร้เสถียรภาพในภูมิภาค หรือการปล่อยข่าวลวง ดังนั้นผู้บังคับหน่วยจึงต้อง
พิจารณาภัยคุกคามที่เป็นทั้งภัยคุกคามตามแบบและภัยคุกคามแบบอสมมาตรด้วย
๕-๑๕ ภูมิประเทศและลมฟ้าอากาศ การวิเคราะห์ภูมิประเทศและลมฟ้าอากาศช่วยให้
ผู้บังคับหน่วยสามารถก�ำหนดพื้นยิงและการตรวจการณ์, แนวทางเคลื่อนที่, ภูมิประเทศส�ำคัญ,
เครื่องกีดขวาง และการก�ำบังและซ่อนพราง ภูมิประเทศหมายความรวมถึงสภาพตามธรรมชาติ
และสิ่งที่มนุษย์สร้างขึ้น เช่น เมือง สนามบิน สะพาน ทางรถไฟ และท่าเรือ ลมฟ้าอากาศ
และภูมิประเทศมีผลกระทบต่อการด�ำเนินกลยุทธ์ทางพื้นดิน, การใช้กระสุนหรือระเบิดน�ำวิถี,
การสนับสนุนทางอากาศ และการปฏิบัติการสนับสนุนการช่วยรบ ธรรมชาติของการปฏิบัติการ
ท�ำให้การวิเคราะห์ภูมิประเทศและลมฟ้าอากาศต้องครอบคลุมถึงสนามรบที่เปื้อนพิษด้วย เพื่อให้
เกิดความได้เปรียบทางยุทธวิธี ผู้บังคับหน่วยและฝ่ายอ�ำนวยการต้องวิเคราะห์และเปรียบเทียบ
ข้อจ�ำกัดของภูมิประเทศที่มีต่อก�ำลังทั้งของฝ่ายเรา ฝ่ายข้าศึก และฝ่ายเป็นกลางด้วย
๕-๑๖ ก�ำลังและการสนับสนุนทีม่ ี ผูบ้ งั คับหน่วยจะระบุกำ� ลังฝ่ายเราในเรือ่ งจ�ำนวน ระดับ
การฝึ ก และสภาพทางจิ ต วิ ท ยา การวิ เ คราะห์ จ ะรวมถึ ง หน่ ว ยและระบบอาวุ ธ ส�ำ คั ญ และ
การสนับสนุนร่วมที่มีอยู่ อีกทั้งยังต้องตรวจสอบทรัพยากรที่มีอยู่ ทั้งส่วนก�ำลังรบ ส่วนสนับสนุน
การรบ และส่วนสนับสนุนการช่วยรบ รวมถึงบริษัทเอกชนที่ท�ำสัญญาจ้างกับ ทบ. ด้วย
๕-๑๗ เวลาที่มีอยู่ ผู้บังคับหน่วยประเมินเวลาที่มีอยู่ส�ำหรับวางแผน เตรียมการ และ
ปฏิบัติภารกิจ และต้องพิจารณาว่าก�ำลังทั้งฝ่ายเรา ฝ่ายข้าศึก หรือฝ่ายที่ไม่เป็นมิตรจะใช้เวลา
อย่างไร และจะเกิดผลอย่างไร การใช้เวลาที่มีอยู่อย่างเหมาะสมสามารถพลิกสถานการณ์ได้
ปกติเวลาที่มีอยู่จะดูได้จากกิจต่าง ๆ ที่หน่วยได้รับมอบ แต่ทั้งนี้ต้องดูขีดความสามารถของข้าศึก
และฝ่ายตรงข้ามประกอบกันด้วย
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 121

๕-๑๘ ข้อพิจารณาด้านพลเรือน เป็นข้อพิจารณาที่เกี่ยวกับประชากรที่เป็นพลเรือน,


วัฒนธรรม, องค์กร และผูน้ �ำภายในพืน้ ทีป่ ฏิบตั กิ าร ผูบ้ งั คับหน่วยต้องพิจารณาสภาพแวดล้อมตาม
ธรรมชาติ รวมถึงที่ตั้งทางวัฒนธรรมที่ส�ำคัญที่มีผลกระทบทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อพลเรือน
ไม่วา่ จะเป็นปัจจัยด้านการเมือง เศรษฐกิจ ข่าวสาร รวมถึงกิจกรรมและทัศนคติของพลเรือนปัจจุบนั
ในการปฏิบัติการทุก ๆ ครั้ง
๕-๑๙ ในระดับยุทธการ ข้อพิจารณาด้านพลเรือนจะรวมถึงปฏิสมั พันธ์ระหว่างการปฏิบตั ิ
การทางทหารกับเครื่องมือด้านพลังอ� ำนาจของชาติด้านอื่น ๆ แต่ในระดับยุทธวิธีมักจะเน้น
ผลกระทบของการปฏิบัติการปัจจุบันที่มีต่อพลเรือน อย่างไรก็ตามในระดับนี้ไม่ควรละเลย
ข้อพิจารณาด้านการทูต เศรษฐกิจ และข่าวสารในระยะยาว ข้อพิจารณาด้านพลเรือนอาจต้องมี
การใช้ทรัพยากรของหน่วยระดับยุทธวิธบี า้ ง แต่ประโยชน์ของมันคือ ช่วยให้หน่วยสามารถก�ำหนด
ภารกิจในการสนับสนุนหน่วยราชการพลเรือนได้เป็นอย่างดี
๕-๒๐ ข้อมูลด้านเขตแดน การแบ่งเขตการปกครองเป็นข้อพิจารณาด้านพลเรือนทีส่ �ำคัญ
ในทุกระดับ เพราะความขัดแย้งอาจลุกลามข้ามเขตแดนและเส้นเขตแดนดังกล่าวมักชี้ว่าผู้น� ำ
คนใดหรือสถาบันใดมีอิทธิพลต่อสถานการณ์ รวมถึงเส้นเขตแดนอาจเป็นข้อจ�ำกัดการปฏิบัติการ
ของก�ำลังฝ่ายเราด้วย
๕-๒๑ การปรากฏของสื่อมวลชนแสดงว่าการปฏิบัติการทางทหารของเราจะปรากฏแก่
สายตาผูช้ มทัง้ ในประเทศและต่างประเทศ วิสยั ทัศน์หว้ งสนามรบของผูบ้ งั คับหน่วยจึงต้องค�ำนึงถึง
ความเห็นของสาธารณชนด้วย การปฏิบัติของหน่วยทหารและทหารเป็นบุคคลสามารถจะส่งผล
กระทบต่อความเห็นของประชาชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ สื่อจึงมีผลกระทบต่อการปฏิบัติ
ในพื้นที่ปฏิบัติการด้วย อีกทั้งด้านหนึ่งสามารถเป็นแหล่งข่าวสารที่มีประโยชน์ได้
๕-๒๒ ประชาชนในท้องถิ่นและผู้พลัดถิ่นก็มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของผู้บังคับหน่วย
การควบคุม การป้องกัน และสวัสดิภาพของประชาชนเหล่านีม้ ผี ลกระทบต่อการเลือกหนทางปฏิบตั ิ
และการแบ่งมอบทรัพยากรให้กับการปฏิบัติการ ในการปฏิบัติการเพื่อเสถียรภาพและการปฏิบัติ
การสนับสนุน ปัจจัยเรื่องนี้ถือว่ามีความส�ำคัญเป็นอย่างยิ่งในพื้นที่ปฏิบัติการ
องค์ประกอบของการออกแบบยุทธการ
๕-๒๓ การยุทธ์ขนาดใหญ่เริ่มต้นด้วยการออกแบบ ซึ่งก็คือ แนวความคิดที่เป็นแนวทาง
ในการปฏิบัติการทั้ง การวางแผน การเตรียมการ การปฏิบัติ และการประเมิน เป็นแนวความคิด
122 บทที่ ๕

ที่เชื่อมโยงระหว่างผลลัพธ์ วิธีการ และเครื่องมือ องค์ประกอบของการออกแบบยุทธการเป็น


เครื่องช่วยในการออกแบบการยุทธ์ขนาดใหญ่ และช่วยให้ผู้บังคับหน่วยก�ำหนดมโนทัศน์ใน
การปฏิบัติการและเจตนารมณ์ของตน
๕-๒๔ องค์ประกอบของการออกแบบยุทธการเป็นประโยชน์อย่างยิ่งในการก�ำหนด
มโนทัศน์การยุทธ์ขนาดใหญ่ มันเป็นเครือ่ งช่วยให้ผบู้ งั คับหน่วยระดับยุทธการปรับปรุงและอธิบาย
การปฏิบตั กิ ารให้เป็นทีเ่ ข้าใจในแง่ของกิจและวัตถุประสงค์ ช่วยให้ผบู้ งั คับหน่วยต่าง ๆ เข้าใจความ
ซับซ้อนของอ�ำนาจก�ำลังรบด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง อย่างไรก็ตาม ประโยชน์ของการออกแบบ
การรบและการน�ำไปใช้จะลดลงไปตามระดับหน่วย ตัวอย่างเช่น ระยะถึงทางยุทธการ และจุดผกผัน
ของผู้บังคับหน่วยระดับยุทธการ จะถูกผู้บังคับหน่วยระดับยุทธวิธีแปลออกมาเป็นเขตจ�ำกัด
การรุ ก ของหน่ ว ยภาคพื้ น ดิ น จุ ด แตกหั ก คื อ ที่ ห มายที่ อ าจเป็ น ภู มิ ป ระเทศหรื อ ก� ำ ลั ง ข้ า ศึ ก
ผู้บังคับหน่วยทางยุทธวิธีขนาดใหญ่มักจะพิจารณาถึงผลลัพธ์, จุดแตกหัก และที่หมาย, จุดผกผัน,
การปฏิบัติพร้อมกันหรือปฏิบัติตามล�ำดับ, การปฏิบัติการเป็นแนวหรือไม่เป็นแนว, และจังหวะ
แต่ในหน่วยระดับรองลงไประดับล่าง ๆ อาจพิจารณาแค่เพียงที่หมายเท่านั้น
๕-๒๕ ผลลัพธ์และเงื่อนไขทางทหาร ในระดับยุทธศาสตร์ผลลัพธ์คือ สภาวะที่รัฐบาล
ต้องการให้เกิดขึ้นเมื่อการปฏิบัติการสิ้นสุดลง ไม่ว่าการปฏิบัติการนั้นจะใช้ก�ำลังทหารเป็น
เครือ่ งมือหลักหรือสนับสนุนพลังอ�ำนาจด้านอืน่ เรือ่ งนีแ้ สดงให้เห็นว่าพลังอ�ำนาจทางทหารมิได้เป็น
เครื่องมือหลักของพลังอ� ำนาจของชาติเพียงอย่างเดียวแต่ต้องใช้ประกอบกับเครื่องมือด้าน
พลังอ�ำนาจของชาติด้านอื่น ๆ ด้วย ได้แก่ การทูต เศรษฐกิจ และข่าวสาร ในระดับยุทธการ
และยุทธวิธี ผลลัพธ์คือ สภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อภารกิจส�ำเร็จ ในระดับยุทธการสภาวะดังกล่าวคือ
เป้าหมายที่ก�ำหนดส�ำหรับการทัพหรือการยุทธ์ขนาดใหญ่
๕-๒๖ ผู้บัญชาการกองก�ำลังร่วม เป็นผู้ก�ำหนดผลลัพธ์ส�ำหรับการทัพหรือการยุทธ์ร่วม
ขนาดใหญ่ และก�ำหนดเงื่อนไขทางทหารที่จ�ำเป็นต่อความส�ำเร็จ การปฏิบัติการของกองทัพบกใน
ระดับยุทธบริเวณจะมุ่งไปที่การท�ำให้เกิดสภาวะทางพื้นดินที่จำ� เป็นต่อการบรรลุวัตถุประสงค์และ
ผลลัพธ์ของผู้บัญชาการกองก�ำลังร่วม ในสถานการณ์ที่มีการใช้ก�ำลังทหารพร้อมกับเครื่องมือ
พลังอ�ำนาจของชาติดา้ นอืน่ ๆ ผูบ้ งั คับหน่วยจะก�ำหนดมาตรการวัดประสิทธิภาพส�ำหรับการปฏิบตั ิ
การทางทหาร ในการปฏิบัติการทางทหารโดยเฉพาะการปฏิบัติการเผชิญเหตุที่มีขนาดเล็กและ
ได้รบั การแจ้งเตือนในเวลาอันสัน้ ผลลัพธ์และเงือ่ นไขทางทหารทีส่ นับสนุนให้บรรลุผลลัพธ์ดงั กล่าว
อาจถูกก�ำหนดขึน้ อย่างไม่เหมาะสมหรือบางครัง้ อาจไม่มกี ารก�ำหนดเลย บางปฏิบตั กิ ารผลลัพธ์อาจ
ไม่ชดั เจนหรือต้องมีการเปลีย่ นแปลง ดังนัน้ ผูบ้ งั คับหน่วยทุกระดับจะต้องติดตามและประเมินความ
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 123

ก้าวหน้าของการปฏิบัติการตลอดเวลา ผู้บังคับหน่วยระดับยุทธการจะต้องประเมินวัตถุประสงค์
ของการปฏิบัติการขนาดใหญ่และการทัพเทียบกับมาตรการวัดประสิทธิภาพและผลลัพธ์ในระดับ
ยุทธศาสตร์อย่างต่อเนื่อง
๕-๒๗ จุดศูนย์ดุล จุดศูนย์ดุลอาจหมายถึง คุณลักษณะ, ขีดความสามารถ หรือที่ตั้ง ที่
ท�ำให้ก�ำลังทหารมีเสรีในการปฏิบัติ, มีความเข้มแข็งทางกายภาพ หรือมีขวัญก�ำลังใจในการสู้รบ
การท�ำลายจุดศูนย์ดุลหรือท�ำให้จุดศูนย์ดุลหมดสภาพคือ วิธีที่ท�ำให้ประสบชัยชนะได้ดีที่สุด
ฝ่ายข้าศึกก็รบั รูว้ า่ จุดศูนย์ดลุ ของตนคือ อะไรและย่อมมีการป้องกันเป็นอย่างดี ดังนัน้ การใช้วธิ กี าร
ทางตรงอาจไม่ได้ผลหรืออาจต้องมีการสูญเสียมาก ผู้บังคับหน่วยจึงต้องมองหาวิธีการหลาย ๆ วิธี
ทั้งทางตรงและทางอ้อมเพื่อจัดการกับจุดศูนย์ดุลของฝ่ายข้าศึก
๕-๒๘ จุดศูนย์ดุลเป็นเครื่องมือวิเคราะห์ที่สำ� คัญในการออกแบบการทัพและการปฏิบัติ
การขนาดใหญ่ เมือ่ ระบุจดุ ศูนย์ดลุ ได้แล้ว จุดศูนย์ดลุ จะกลายเป็นสิง่ ส�ำคัญทีถ่ กู ระบุถงึ ในเจตนารมณ์
ผู้บังคับบัญชาและการออกแบบยุทธการ ผู้บังคับหน่วยระดับสูงระบุจุดศูนย์ดุลด้วยศัพท์ทางทหาร
เช่น ที่หมายและภารกิจ
๕-๒๙ ผู้บังคับหน่วยไม่เพียงแต่พิจารณาถึงจุดศูนย์ดุลของข้าศึกเพียงอย่างเดียว แต่จะ
ต้องรูแ้ ละป้องกันจุดศูนย์ดลุ ของฝ่ายตนด้วย กรณีตวั อย่าง ในระหว่างสงครามอ่าว หน่วยบัญชาการ
กลางของสหรัฐฯ ระบุวา่ กองก�ำลังพันธมิตรชัว่ คราวคือจุดศูนย์ดลุ จึงใช้มาตรการต่าง ๆ เพือ่ ป้องกัน
จุดศูนย์ดุลดังกล่าว การวางระบบป้องกันขีปนาวุธในยุทธบริเวณก็เป็นหนึ่งในมาตรการป้องกัน
ดังกล่าว
๕-๓๐ จุดแตกหักและที่หมาย จุดแตกหักอาจเป็นภูมิประเทศ, เหตุการณ์เฉพาะ หรือ
ระบบที่ช่วยให้ผู้บังคับหน่วยมีความได้เปรียบอย่างมากเหนือข้าศึกและมีอิทธิพลอย่างยิ่งต่อผล
ของการเข้าตีหรือตั้งรับ จุดแตกหักมิใช่จุดศูนย์ดุล แต่เป็นสิ่งส�ำคัญต่อการโจมตีหรือป้องกัน
จุดศูนย์ดุล ปกติสถานการณ์อาจท�ำให้เกิดจุดแตกหักหลาย ๆ จุดเกินกว่าที่จะควบคุม ท�ำลาย หรือ
ท�ำให้หมดสภาพได้ดว้ ยทรัพยากรทีม่ อี ยู่ การเลือกจุดแตกหักทีส่ ง่ ผลให้จดุ ศูนย์ดลุ ของฝ่ายตรงข้าม
ถู ก ท� ำ ลายหรื อ หมดสภาพอย่ า งรวดเร็ ว และมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพถื อ เป็ น ส่ ว นหนึ่ ง ของยุ ท ธศิ ล ป์
(Operational Art) จุดแตกหักจึงมีผลต่อการออกแบบยุทธการ และช่วยให้ผู้บังคับหน่วยก�ำหนด
ที่หมายหรือวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน มีผลเด็ดขาด และสามารถปฏิบัติได้
๕-๓๑ บางครั้งจุดแตกหักอาจเป็นที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ เช่น ท่าเรือ, เครือข่ายหรือปม
คมนาคม หรือฐานปฏิบตั กิ าร จุดแตกหักทางภายภาพอืน่ ๆ อาจได้แก่องค์ประกอบของก�ำลังข้าศึก
124 บทที่ ๕

เช่น หน่วยที่บัญชาการ หน่วยยิงสนับสนุนที่สามารถส่งอาวุธอ�ำนาจท�ำลายล้างสูงได้, หรือที่ตั้ง


ทางการสื่อสารที่ส�ำคัญ บางครั้งอาจเป็นเหตุการณ์ เช่น การใช้กองหนุนระดับยุทธการของข้าศึก
เมื่อพิสูจน์ทราบและเลือกที่จะด�ำเนินการต่อจุดแตกหักนั้นแล้ว จุดแตกหักจะกลายเป็นที่หมาย
๕-๓๒ จุดแตกหักในการปฏิบัติการสนับสนุนและการปฏิบัติการเพื่อเสถียรภาพอาจมี
ลักษณะแตกต่างกันออกไป กรณีตัวอย่างเช่น ในการช่วยเหลือภัยพิบัติจากพายุเฮอริเคนใน
รัฐฟลอริดา ผู้บัญชาการกองก�ำลังเฉพาะกิจร่วมแอนดรูว์ (Joint Task Force Andrew) ระบุว่า
การท�ำให้โรงเรียนรัฐบาลเปิดเรียนได้ถือเป็นจุดแตกหัก จุดแตกหักดังกล่าวมีลักษณะทางกายภาพ
แต่ความส�ำคัญของมันอยูท่ ผี่ ลทางจิตวิทยา เพราะมันเป็นการส่งสัญญานถึงประชาชนว่าชีวติ ก�ำลัง
ด�ำเนินเข้าสู่ภาวะปกติ
๕-๓๓ เส้นการปฏิบัติการ เส้นการปฏิบัติการก�ำหนดทิศทางของกองก�ำลังในเรื่องพื้นที่
และเวลาโดยเปรียบเทียบกับฝ่ายข้าศึก เส้นการปฏิบัติการเชื่อมโยงกองก� ำลังระหว่างฐาน
ปฏิบัติการ และที่หมายของกองก�ำลัง ในแง่ทางภูมิศาสตร์ เส้นการปฏิบัติการจะเชื่อมโยงระหว่าง
บรรดาจุดแตกหักต่าง ๆ ที่น�ำไปสู่การควบคุมที่หมาย หรือ เอาชนะก�ำลังข้าศึก
๕-๓๔ ในการปฏิบัติการอาจมีเส้นปฏิบัติการเส้นเดียวหรือหลายเส้น การใช้เส้นปฏิบัติ
การเส้นเดียวบ่งบอกถึงการรวมก�ำลังและท�ำให้การวางแผนมีความง่าย ส่วนเส้นปฏิบัติการหลาย
เส้นจะท�ำให้ฝา่ ยเราเพิม่ ความอ่อนตัวและมีโอกาสทีจ่ ะประสบความส�ำเร็จมากขึน้ ท�ำให้ขา้ ศึกพิสจู น์
ทราบที่ ห มายของฝ่ า ยเราได้ ย ากและถู ก บี บ ให้ ก ระจายทรั พ ยากรเพื่ อ รั บ มื อ กั บ การคุ ก คาม
ยิง่ ฝ่ายเรามีทางเลือกมาก ข้าศึกก็จะประสบความยุง่ ยากและมีปญ ั หาในระบบควบคุมบังคับบัญชา
มากขึ้น ความพร้อมระดับยุทธศาสตร์และความว่องไวทางยุทธวิธีของ กกล.ทบ. จะท�ำให้มีโอกาส
เพิ่มขึ้นในการปฏิบัติการบนเส้นปฏิบัติการหลายเส้นพร้อมกัน
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 125

รูปที่ ๕-๒ การปฏิบัติการเส้นใน และเส้นนอก

๕-๓๕ เส้นปฏิบัติการเป็นได้ทั้งเส้นใน หรือ เส้นนอก (ดูรูปที่ ๕-๒) ถ้าการปฏิบัติการนั้น


เป็นการปฏิบัติที่ออกจากจุดศูนย์กลางจะเรียกว่าเป็นการปฏิบัติการแบบเส้นใน ช่วยให้ฝ่ายที่มี
อ�ำนาจก�ำลังรบน้อยกว่าสามารถรวมอ�ำนาจก�ำลังรบเอาชนะข้าศึกที่มีอ�ำนาจก�ำลังรบโดยรวม
มากกว่าได้ ถ้าข้าศึกวางก�ำลังกระจัดกระจายกัน แต่ทงั้ นีจ้ ะต้องรวมอ�ำนาจก�ำลังรบให้เร็วกว่าข้าศึก
ส่วนการปฏิบัติการที่มีลักษณะที่ส่วนต่าง ๆ มุ่งตรงเข้าหาข้าศึก เรียกว่าเป็นการปฏิบัติการแบบ
เส้ น นอก ฝ่ า ยที่ ใ ช้ ก ารปฏิ บั ติ ก ารแบบนี้ จ ะมี โ อกาสในการโอบล้ อ มและท�ำ ลายฝ่ า ยข้ า ศึ ก ที่
อ่อนแอกว่าหรือมีความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่น้อยกว่าได้ แต่ก็ต้องใช้ทรัพยากรมากกว่าและ
ต้องมีความคล่องแคล่วในการ เคลื่อนที่สูงกว่า
๕-๓๖ การปฏิบัติการไม่ว่าจะเป็นแบบเส้นในหรือเส้นนอกจะได้ผลหรือไม่ขึ้นอยู่กับการ
วางก�ำลังของทั้งสองฝ่าย ถ้าฝ่ายเราวางก�ำลังกระจายกันข้าศึกอาจใช้การปฏิบัติการแบบเส้นในได้
แต่ถ้าฝ่ายเรามีความว่องไวและปฏิบัติการด้วยจังหวะที่รวดเร็วกว่า ความได้เปรียบของฝ่ายข้าศึก
จะหมดไป ในทางกลับกัน ก�ำลังฝ่ายเราทีเ่ ล็กกว่าแต่คล่องแคล่วก็สามารถจะเข้าท�ำลายก�ำลังข้าศึก
ทีละส่วนได้ แม้ข้าศึกจะมีก�ำลังโดยรวมมากกว่า แต่ทั้งนี้ข้าศึกต้องวางก�ำลังกระจายกันออกไป
และขาดความคล่องแคล่วที่จะตอบโต้ฝ่ายเราได้ทันการ
126 บทที่ ๕

๕-๓๗ ถ้าเป็นการปฏิบตั กิ ารเพือ่ เสถียรภาพ และการปฏิบตั กิ ารสนับสนุน การปฏิบตั กิ าร


แบบเส้นใน หรือ เส้นนอกอาจไม่มีความส�ำคัญ ผู้บังคับหน่วยควรยึดวัตถุประสงค์เป็นหลัก โดย
การพิสูจน์ทราบว่าอะไรคือเหตุ ปฏิบัติการไปแล้วจะเกิดผลอย่างไร การปฏิบัติการจะต้องมุ่งไปสู่
การบรรลุวัตถุประสงค์ถึงแม้จะมีอยู่หลาย ๆ วัตถุประสงค์ก็ตาม ผู้บังคับหน่วยต้องประสาน
สอดคล้ อ งกิ จ กรรมทั้ ง ปวงเพื่ อ มุ ่ ง ไปสู ่ ก ารบรรลุ ผ ลลั พ ธ์ ที่ ต ้ อ งการ วิ ธี นี้ เ รี ย กว่ า เส้ น ตรรกะ
(ดูรปู ที่ ๕-๓) เส้นตรรกะนีจ้ ะช่วยให้ผบู้ งั คับหน่วยก�ำหนดมโนทัศน์วา่ ก�ำลังทหารสามารถสนับสนุน
เครื่องมือแห่งพลังอ�ำนาจของชาติด้านอื่น ๆ ได้อย่างไร

รูปที่ ๕-๓ เส้นปฏิบัติการตรรกศาสตร์

๕-๓๘ จุดผกผัน จุดผกผันมีความส�ำคัญทั้งในระดับยุทธการและยุทธวิธี ในการรุก


จุดผกผันคือสถานการณ์ที่ประสิทธิภาพก�ำลังรบของฝ่ายรุกมิได้เหนือกว่าฝ่ายตั้งรับอีกต่อไป
หรือแรงหนุนเนือ่ งของฝ่ายรุกได้หมดลงหรือทัง้ สองอย่าง ถ้าฝ่ายรุกจะยังคงท�ำการรุกต่อไปก็จะต้อง
เสีย่ งกับการตีโต้ตอบหรือความพ่ายแพ้อย่างย่อยยับได้ ส่วนจุดผกผันของฝ่ายตัง้ รับคือสถานการณ์
ทีฝ่ า่ ยตัง้ รับไม่สามารถด�ำรงการตัง้ รับต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพได้หรือไม่สามารถตีโต้ตอบเพือ่ ฟืน้ ฟู
ความเป็นปึกแผ่นในการตั้งรับให้เกิดขึ้นได้อีก และจ�ำต้องถอนตัวเพื่อรักษาก�ำลังรบเอาไว้มิให้
ถูกท�ำลาย ผู้บังคับหน่วยต้องปรับความต้องการข่าวสารเพื่อคาดการณ์จุดผกผันล่วงหน้าให้เร็วพอ
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 127

เพื่อหลีกเลี่ยงจุดผกผันดังกล่าว หรือถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ก็สามารถจัดก�ำลังรบให้มีความเข้มแข็ง
มากที่สุดได้ทันการ
๕-๓๙ ในการปฏิบัติการ ที่การปฏิบัติการเพื่อเสถียรภาพและการปฏิบัติการสนับสนุนมี
ความส�ำคัญกว่าเรื่องอื่น จุดผกผันอาจเกิดขึ้นจากการที่เจตจ�ำนงของชาติลดน้อยลง การสนับสนุน
จากประชาชนหดหาย เกิดค�ำถามถึงความชอบธรรมในการปฏิบตั กิ าร หรือเกิดการบาดเจ็บล้มตาย
อย่างมากมาย ส่วนใหญ่จุดผกผันมักเกิดขึ้นเมื่อก� ำลังทหารต้องควบคุมสถานการณ์ในพื้นที่
ทีก่ ว้างเกินไปเมือ่ เทียบกับก�ำลังทีม่ อี ยู่ หรือเมือ่ ทรัพยากรไม่เพียงพอหรือไม่สามารถให้การสนับสนุน
ได้ทนั เวลา กรณีดงั กล่าว ความล้มเหลวเล็ก ๆ อาจลุกลามเป็นความพ่ายแพ้ หรือเกิดการตืน่ ตระหนก
ทางการเมือง จนท�ำให้ไม่สามารถสนับสนุนการปฏิบัติการต่อไปได้
๕-๔๐ ระยะถึง การเข้าถึง และการหยุดระดับยุทธการ การออกแบบการยุทธ์ที่ดีต้อง
ท�ำให้ระยะถึง การเข้าถึง และการหยุดระดับยุทธการมีความสมดุลเพื่อให้กองก�ำลังบรรลุภารกิจ
ก่อนที่จะถึง จุดผกผัน ผู้บังคับหน่วยต้องประเมินสถานภาพทั้งทางกายภาพและทางจิตวิทยา
ของกองก�ำลังทัง้ ฝ่ายเราและฝ่ายข้าศึก คาดการณ์ถงึ จุดผกผัน และวางแผนการหยุดระดับยุทธการ
เมื่อจ�ำเป็น เมื่อใช้กำ� ลังไปแล้วต้องมีการประเมินความเสี่ยง แต่ทั้งนี้ต้องตั้งเป้าที่จะขยายระยะถึง
ออกไปในขณะที่หลีกเลี่ยงจุดผกผันและการหยุดระดับยุทธการไม่ให้เกิดขึ้น
๕-๔๑ ระยะถึงทางยุทธการ หมายถึงระยะทางที่สามารถจะน�ำพลังอ�ำนาจทางทหารไป
ใช้ได้อย่างแตกหักได้ ระยะถึงทางยุทธการสามารถเปลี่ยนแปลงได้ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ ปัจจัยที่มี
อิทธิพลต่อระยะถึงทางยุทธการได้แก่ อ�ำนาจก�ำลังรบ, ขีดความสามารถในการด�ำรงสภาพ,
สภาพแวดล้อมทางภูมิศาสตร์ที่แยกก�ำลังฝ่ายเราและฝ่ายข้าศึกจากกัน กกล.ทบ. สามารถขยาย
ระยะถึงทางยุทธการออกไปได้ด้วยการก�ำหนดที่ตั้งให้กับหน่วย กองหนุน ฐานปฏิบัติการ และการ
สนับสนุนไปข้างหน้า การเพิ่มระยะยิงของระบบอาวุธ การใช้วินัยการส่งก�ำลัง และการปรับปรุง
เส้นการคมนาคม
๕-๔๒ การเข้าถึงทางยุทธการ เป็นลักษณะทีผ่ บู้ งั คับหน่วยโจมตีตอ่ จุดศูนย์ดลุ ของข้าศึก
การเข้าถึงทางตรงหมายถึง การใช้อ�ำนาจก�ำลังรบต่อจุดศูนย์ดุลของข้าศึกหรือต่อจุดที่เป็นความ
เข้มแข็งหลักการเข้าถึงโดยอ้อมเป็นการโจมตีต่อจุดศูนย์ดุลข้าศึกด้วยการใช้อ�ำนาจก�ำลังรบต่อ
จุดแตกหักหลายจุดเพื่อหลีกเลี่ยงจุดที่ข้าศึกเข้มแข็งที่สุด หากเป็นไปได้ ผู้บังคับหน่วยจะเลือกใช้
การเข้าถึงทางอ้อม ด้วยการด�ำเนินกลยุทธ์ทหี่ ลีกเลีย่ งจุดแข็งและลิดรอนขีดความสามารถของข้าศึก,
หลี ก เลี่ ย งการปะทะหากสถานการณ์ ไ ม่ เ กื้ อ กู ล หรื อ เมื่ อ การรบไม่ ส ่ ง ผลกระทบที่ ส� ำ คั ญ ต่ อ
การปฏิบัติการ การเข้าถึงทางยุทธการที่มีประสิทธิภาพคือการท�ำให้เกิดผลกระทบที่ส�ำคัญต่อ
128 บทที่ ๕

ที่หมายหรือวัตถุประสงค์ ไม่ว่าจะเป็นการเข้าถึงทางตรงหรือทางอ้อมก็ตาม การใช้การเข้าถึงทาง


ยุทธการอย่างชาญฉลาด, ใช้ขีดความสามารถของกองก�ำลังร่วม, ใช้ระบบปฏิบัติการในสนามรบ
อย่างเหมาะสม จะท�ำให้ กกล.ทบ. ดึงข้าศึกให้เข้ามาอยูใ่ นระยะถึงทางยุทธการได้ในขณะทีป่ อ้ งกัน
กองก�ำลังฝ่ายเราจากการกระท�ำแบบเดียวกันของข้าศึก
๕-๔๓ การหยุดระดับยุทธการ เป็นการหยุดการปฏิบตั กิ ารชัว่ ขณะโดยเจตนาเพือ่ ยืดระยะ
ถึงหรือเพือ่ ป้องกันมิให้ถงึ จุดผกผัน การหยุดชัว่ คราวอาจเกิดขึน้ เนือ่ งจากการปฏิบตั กิ ารถึงจุดผกผัน
หรือเมื่อสถานการณ์เปลี่ยนแปลง เช่นมีข้าศึกใหม่เกิดขึ้น หรืออาจเกิดจากปัจจัยอื่น ๆ รวมกัน
เมื่อสถานการณ์ท�ำให้ต้องหยุดชั่วคราว ผู้บังคับหน่วยจะต้องก�ำหนดความพยายามหลักขึ้นใหม่
กกล.ทบ. ประสานการหยุดชัว่ คราวกับกองก�ำลังเหล่าทัพอืน่ ๆ เพือ่ ให้การปฏิบตั ขิ องกองก�ำลังร่วม
ยังคงด�ำรงความริเริ่มและความหนุนเนื่องอยู่ได้
๕-๔๔ การปฏิบัติการพร้อมกัน และการปฏิบัติการตามล�ำดับ ล�ำดับของการปฏิบัติการ
เกีย่ วพันอย่างใกล้ชดิ กับการใช้ทรัพยากร ผูบ้ ญ
ั ชาการ กกล.ทบ. ประสานสอดคล้องการปฏิบตั ขิ อง
หน่วยรองในเรื่องเวลา, พื้นที่ และผลลัพธ์ที่ต้องการ โดยการเชื่อมโยงวัตถุประสงค์ในระดับ
ยุทธบริเวณและการออกแบบการยุทธขนาดใหญ่ให้เข้ากับการปฏิบัติทางยุทธวิธี หากไม่มีการ
เชื่อมโยงดังกล่าว การยุทธขนาดใหญ่จะลดความส�ำคัญลงไปกลายการรบและการรบปะทะย่อย ๆ
ที่สิ้นเปลืองทรัพยากรโดยไม่บังเกิดผลแตกหักอย่างที่ต้องการ
๕-๔๕ หากเป็นไปได้ กกล.ทบ. จะปฏิบัติการพร้อมกันทั่วพื้นที่ปฏิบัติการด้วยการใช้
อ�ำนาจก�ำลังรบต่อข้าศึกทั้งระบบ รวมทั้งเข้าโจมตีต่อจุดแตกหักให้มากที่สุดเท่าที่จะท�ำได้ รวมทั้ง
ขยายผลพร้อมกันทัว่ ทัง้ ความลึกและใช้ความว่องไวเพือ่ สร้างความเหนือกว่าฝ่ายข้าศึกอย่างท่วมท้น
การคุกคามพร้อม ๆ กันจะท�ำให้เกิดความกดดันต่อระบบควบคุมบังคับบัญชาของข้าศึก ท�ำให้
ผู้บังคับหน่วยข้าศึกจ�ำต้องตัดสินใจภายในเวลาอันจ�ำกัด ซึ่งการตัดสินใจดังกล่าวมีโอกาสที่จะเกิด
ความผิดพลาดสูง และความผิดพลาดของข้าศึกแต่ละครั้งจะกลายเป็นโอกาสของฝ่ายเรา
๕-๔๖ การปฏิบตั กิ ารพร้อมกันจะประสบความส�ำเร็จได้ตอ้ งมีความเหนือกว่าด้านข่าวสาร
และอ�ำนาจก�ำลังรบอย่างท่วมท้น ในทางปฏิบัติขนาดของกองก�ำลังและข้อจ�ำกัดในการส่งอ�ำนาจ
ก� ำ ลั ง รบไปข้ า งหน้ า มั ก เป็ น อุ ป สรรคต่ อ การปฏิ บั ติ ก ารพร้ อ มกั น การออกแบบยุ ท ธการที่ มี
ประสิทธิภาพจึงต้องมีการใช้ความสามารถของกองก�ำลังเหล่าทัพต่าง ๆ เป็นตัวเสริมเพื่อให้การ
ปฏิบัติการพร้อมกันประสบความส�ำเร็จสูงสุด
๕-๔๗ การปฏิบัติตามล�ำดับจะบรรลุผลลัพธ์ที่ต้องการเป็นขั้น ๆ ผู้บังคับหน่วยจะต้อง
รวมอ�ำนาจก�ำลังรบในแต่ละจุดตามเวลาและท�ำภารกิจให้ส�ำเร็จในแต่ละขั้น ส่วนใหญ่การทัพ
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 129

หรือการยุทธ์ขนาดใหญ่บวกกับความสามารถในการฟืน้ ตัวของข้าศึกจะบีบให้ผบู้ งั คับหน่วยท�ำลาย


หรือขัดขวางข้าศึกเป็นขั้น ๆ และเปิดเผยจุดศูนย์ดุลของข้าศึกไปตามล�ำดับ
๕-๔๘ การปฏิบัติการที่เป็นแนวและไม่เป็นแนว ปัจจุบันการปฏิบัติที่มีลักษณะไม่เป็น
แนวจะมีมากกว่าในอดีต การปฏิบตั กิ ารเพือ่ เสถียรภาพและการปฏิบตั กิ ารสนับสนุนมักจะเป็นการ
ปฏิบตั กิ ารทีไ่ ม่เป็นแนว กรณีตวั อย่าง ยุทธการ Just Cause และช่วง ๓๖ ชัว่ โมงสุดท้ายของยุทธการ
พายุทะเลทรายก็มีลักษณะการรุกขนาดใหญ่ที่ไม่เป็นแนว ในกรณีการตั้งรับ โดยทฤษฎีแล้วการ
ตัง้ รับแบบคล่องตัวจะท�ำให้การเข้าตีของข้าศึกเกิดลักษณะทีไ่ ม่เป็นแนวและท�ำให้ฝา่ ยตัง้ รับท�ำลาย
การเข้าตีนั้นได้ง่าย
๕-๔๙ ในการปฏิบัติการที่ไม่เป็นแนว หน่วยด�ำเนินกลยุทธ์หลาย ๆ หน่วยในพื้นที่
ปฏิบตั กิ ารอาจมีพนื้ ทีร่ บั ผิดชอบทีไ่ ม่ตดิ กัน หรือในบางครัง้ แม้พนื้ ทีป่ ฏิบตั กิ ารอาจติดกันแต่ลกั ษณะ
การด�ำเนินกลยุทธ์ต่อที่หมายของแต่ละหน่วยอาจไม่ได้มีทิศทางสอดคล้องกัน การปฏิบัติการที่
ไม่เป็นแนวจึงมักเน้นไปทีจ่ ดุ แตกหักหลาย ๆ จุด สร้างความกดดันต่อระบบควบคุมบังคับบัญชาของ
ฝ่ายตรงข้าม และด�ำรงความริเริ่มเอาไว้ อีกทั้งการปฏิบัติการที่ไม่เป็นแนวจะใช้เส้นการปฏิบัติการ
แบบเส้นใน เส้นนอก หรือแบบตรรกะ หรือผสมกัน ส่วนเส้นการคมนาคมมักจะเบี่ยงเบนไปจาก
เส้นปฏิบัติการ และการด�ำรงสภาพอาจต้องให้หน่วยสนับสนุนการช่วยรบเคลื่อนที่ไปกับหน่วย
ด�ำเนินกลยุทธ์หรือใช้อากาศยาน
๕-๕๐ กองก�ำลังทีม่ ขี นาดเล็ก มีอำ� นาจการยิงสูง มีความคล่องแคล่ว และมีระบบส่งก�ำลัง
บ�ำรุงทีม่ ปี ระสิทธิภาพ สามารถปฏิบตั กิ ารพร้อมกันต่อจุดแตกหักหลาย ๆ จุดได้ การด�ำเนินกลยุทธ์
ต่อที่หมายหลาย ๆ ที่หมาย อย่างรวดเร็วต่อจุดแตกหักหลาย ๆ จุด สนับสนุนด้วยการยิงที่รุนแรง
และแม่นย�ำจะท�ำให้ฝ่ายข้าศึกเป็นอัมพาตหรือตกตะลึง แต่ทั้งนี้ผู้บังคับหน่วยต้องมีความเข้าใจ
สถานการณ์อย่างถ่องแท้ด้วย
๕-๕๑ ในการปฏิบัติการที่เป็นแนว หน่วยด�ำเนินกลยุทธ์มักปฏิบัติในพื้นที่ปฏิบัติการที่
ติดกัน ก�ำลังผสมเหล่าแต่ละหน่วยใช้อ�ำนาจก�ำลังรบต่อข้าศึกในลักษณะที่ประสานสอดคล้องกับ
หน่วยข้างเคียง ลักษณะของการวางก�ำลังมักจะเน้นการใช้ประโยชน์จากภูมิประเทศและมักจะมี
แนวการวางก�ำลังของฝ่ายเรา (นกฝ.) ที่ต่อเนื่องกัน รูปการวางก�ำลังแบบนี้จะท�ำให้ง่ายต่อ
การก�ำหนดและป้องกันเส้นการคมนาคม เป็นผลให้ กกล.ทบ. มีเสรีในการปฏิบัติได้นานขึ้น
๕-๕๒ การจัดสนามรบที่เป็นแนวอาจเหมาะส�ำหรับบางปฏิบัติการหรือการปฏิบัติการ
บางขั้น สภาวะที่เหมาะกับการปฏิบัติการที่เป็นแนว เช่นสภาวะที่ข่าวสารที่จ�ำเป็นต่อการปฏิบัติ
130 บทที่ ๕

การไม่เป็นแนวไม่เพียงพอ หรือเมื่อฝ่ายเรามีก�ำลังน้อยกว่าฝ่ายตรงข้ามมาก นอกจากนี้การปฏิบัติ


การทีเ่ ป็นแนวจะเหมาะกับข้าศึกทีว่ างก�ำลังซ้อนกันทางลึกหรือเมือ่ การคุกคามต่อเส้นการคมนาคม
ท�ำให้ฝ่ายเราขาดเสรีในการปฏิบัติ ในสภาวะดังกล่าว การปฏิบัติการที่เป็นแนวจะช่วยให้ผู้บังคับ
หน่วยรวมและประสานสอดคล้องอ�ำนาจก�ำลังรบง่ายขึ้น การปฏิบัติการที่มีการจัดตั้งกองก�ำลัง
พันธมิตรชั่วคราวอาจต้องออกแบบให้เป็นการปฏิบัติการที่เป็นแนว
๕-๕๓ การปฏิบัติการที่เป็นแนวและไม่เป็นแนวสามารถเกิดขึ้นในเวลาเดียวกันได้ ทั้งนี้
ขึ้นอยู่กับมุมมองและระดับหน่วย ตัวอย่างเช่น กองทัพน้อยอาจใช้ก�ำลังในพื้นที่ปฏิบัติการที่
ไม่ติดกัน ปฏิบัติการต่อจุดแตกหักหลายจุดพร้อมกัน ในเวลาเดียวกัน กรมรบเฉพาะกิจของ
กองทัพน้อยนัน้ อาจปฏิบตั กิ ารรบในพืน้ ทีส่ งิ่ ปลูกสร้างด้วยการใช้หน่วยรองในลักษณะทีเ่ ป็นแนวก็ได้
๕-๕๔ จังหวะ คือ อัตราของการปฏิบัติการทางทหาร การควบคุม และการเปลีย่ นแปลง
อัตราดังกล่าวเป็นสิง่ จ�ำเป็นต่อการด�ำรงรักษาความริเริม่ กกล.ทบ. ปรับจังหวะการปฏิบตั ิ เพื่อขยาย
ขีดความสามารถของฝ่ายเราให้ได้สูงสุด ผู้บังคับบัญชาพิจารณาเวลาของการบรรลุผล อย่างมี
ประสิทธิภาพมากกว่าจะล�ำดับการใช้อำ� นาจก�ำลังรบ หรือขีดความสามารถ จังหวะนัน้ มีความส�ำคัญ
ทางทหารเฉพาะในรูปแบบของความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน เมื่อจังหวะของฝ่ายเรามีความต่อเนื่อง
จนเกินขีดความสามารถของข้าศึกที่จะตอบโต้ได้ ก�ำลังฝ่ายเราสามารถด�ำรงรักษาความริเริ่ม และ
มีความได้เปรียบอย่างเห็นได้ชัด
๕-๕๕ ผู้บังคับหน่วยเสริมให้จังหวะมีความเร็วด้วยแนวความคิด ๓ ประการ คือ หนึ่ง
การออกแบบยุทธการเน้นการปฏิบัติพร้อมกันมากกว่าการปฏิบัติตามล�ำดับ สอง การปฏิบัติการ
บางครั้งอาจเพิ่มจังหวะให้เร็วขึ้นด้วยการหลีกเลี่ยงการรบที่ไม่จ�ำเป็น เช่นการอ้อมผ่านข้าศึก
ณ เวลาหรือสถานที่ ที่เห็นว่าไม่ใช่การปฏิบัติการแตกหัก และ สาม การออกแบบยุทธการต้องให้
ความส�ำคัญต่อเสรีในการปฏิบัติและความริเริ่มของหน่วยรองให้มากที่สุด
๕-๕๖ ปกติการปฏิบัติด้วยจังหวะที่เร็วจะท�ำให้ก�ำลังพลเกิดความเหน็ดเหนื่อยและใช้
ทรัพยากรมาก การจะใช้จังหวะการปฏิบัติการที่เร็วต้องพิจารณาถึงทรัพยากรที่มีอยู่และขีดความ
สามารถของฝ่ายเราที่อาจลดลงด้วย
ข่าวสารและความเห็นจากผู้บังคับหน่วยและฝ่ายอ�ำนวยการอื่น ๆ
๕-๕๗ ผูบ้ งั คับหน่วยทัง้ หน่วยรอง หน่วยข้างเคียง และหน่วยเหนือ ใช้ปจั จัยทีค่ ล้ายคลึง
กันแต่มมุ มองต่างกันในการก�ำหนดมโนทัศน์หว้ งสนามรบ การแลกเปลีย่ นข่าวสารและความเห็นกัน
จะท�ำให้การก�ำหนดมโนทัศน์มคี วามลึกซึง้ และซับซ้อนมากขึน้ ระบบควบคุมบังคับบัญชาทีท่ นั สมัย
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 131

จะช่วยให้ผู้บังคับหน่วยต่าง ๆ แลกเปลี่ยนข่าวสารและความเห็นได้สะดวกยิ่งขึ้นและมองภาพ
การยุทธ์ร่วมกัน ในท�ำนองเดียวกันข่าวสารและความเห็นของฝ่ายอ�ำนวยการในรูปแบบของการ
ประมาณการก็มีส่วนช่วยให้การวิเคราะห์สถานการณ์มีความแม่นย�ำมากขึ้น ผู้บังคับหน่วยจึงต้อง
กระตุ้นให้ฝ่ายอ�ำนวยการจัดหาข่าวสารที่จ�ำเป็นต่อการก�ำหนดวิสัยทัศน์ของตนด้วย
ประสบการณ์และดุลพินิจของผู้บังคับหน่วย
๕-๕๘ ผู้บังคับหน่วยจะพิจารณาบริบทของการปฏิบัติการ ความสัมพันธ์ของ กกล.ทบ.
ภายในกองก�ำลังร่วม และบทบาทและภารกิจที่ได้รับจากผู้บัญชาการกองก�ำลังร่วม ประสบการณ์
และความเข้าใจสถานการณ์คือปัจจัยส� ำคัญที่มีอิทธิพลต่อมโนทัศน์ในการออกแบบยุทธการ
หน่วยต่าง ๆ ของ กกล.ทบ. จะน�ำแนวทางที่ผู้บัญชาการ กกล.ทบ. ก�ำหนดไปจัดท�ำเป็นแผน
เตรียมการปฏิบัติ และประเมินการปฏิบัติการอย่างต่อเนื่อง
๕-๕๙ ดุลพินจิ เป็นปัจจัยพืน้ ฐานในการพิจารณาใช้อำ� นาจก�ำลังรบให้เหมาะสมกับสถานการณ์
ในสภาวะที่ประสบการณ์มีส่วนช่วย ผู้บังคับหน่วยต้องใช้ทั้งประสบการณ์ สัญชาตญาณ ดุลพินิจ
และข้อเสนอแนะของฝ่ายอ�ำนวยการและหน่วยรองเพื่อก�ำหนดยุทธศาสตร์ใหม่ ในหลาย ๆ ครั้ง
ค�ำตอบในการแก้ปัญหายาก ๆ อาจได้จากการศึกษาประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็นสิ่งส�ำคัญต่อการพัฒนา
ความเป็นทหารอาชีพ ในบางสถานการณ์ ผู้บังคับหน่วยขนาดเล็กหรือพลทหารอาจคิดค้นวิธีแก้
ปัญหาทางยุทธวิธไี ด้ เมือ่ หนทางแก้ปญ ั หาถูกเสนอขึน้ มา ผูบ้ งั คับหน่วยต้องน�ำมาพิจารณาและตกลง
ใจปฏิบัติให้เหมาะสม
การอธิบาย
๕-๖๐ ในการอธิบายการปฏิบัติการ ผู้บังคับหน่วยใช้กรอบยุทธการ และองค์ประกอบ
การออกแบบยุทธการ เพื่อเชื่อมโยง การปฏิบัติการแตกหัก การปฏิบัติการสร้างสภาวะ และ
การปฏิบัติการด�ำรงสภาพให้เข้ากับเวลาและพื้นที่ ในการปฏิบัติการทุกครั้ง วัตถุประสงค์และเวลา
คือ ตัวก�ำหนดการแบ่งมอบพื้นที่ ผู้บังคับหน่วยต้องแจกแจงประเด็นทั้งสองให้ชัดเจนเท่าที่
สถานการณ์จะอ�ำนวยให้ อีกทั้งต้องเน้นย�้ำให้เข้าใจว่า การปฏิบัติการทั้งแตกหัก สร้างสภาวะ และ
ด�ำรงสภาพ เกี่ยวข้องกับการบรรลุวัตถุประสงค์ของการปฏิบัติการทั้งปวงได้อย่างไร นอกจากนี้ยัง
จะต้องจัดพืน้ ทีท่ งั้ ทางลึก ระยะใกล้ และส่วนหลังในการจัดสนามรบด้วย ไม่วา่ ผูบ้ งั คับหน่วยจะมอง
ว่าการปฏิบัติการครั้งนั้นเป็นแบบเป็นแนวหรือไม่เป็นแนวหรือไม่ก็ตาม การใช้กรอบยุทธการร่วม
กับองค์ประกอบการออกแบบยุทธการจะเป็นเครือ่ งมือทีส่ ามารถอธิบายการปฏิบตั ไิ ด้ดี นอกจากนี้
ผู้บังคับหน่วยอธิบายวิสัยทัศน์ของตนไว้ใน เจตนารมณ์ผู้บังคับบัญชา และแนวทางในการวางแผน
โดยการใช้ค�ำที่เหมาะกับลักษณะของภารกิจและประสบการณ์ของตน
132 บทที่ ๕

เจตนารมณ์ผู้บังคับบัญชา
๕-๖๑ ผู้บังคับหน่วยแสดงวิสัยทัศน์ของตนในรูปแบบของเจตนารมณ์ผู้บังคับบัญชา
ฝ่ายอ�ำนวยการและหน่วยรองน�ำเอาเจตนารมณ์ผู้บังคับบัญชามาแปลงความคิดให้เป็นการปฏิบัติ
ออกมาเป็นแผนและค�ำสั่ง เจตนารมณ์ผู้บังคับบัญชาเป็นข้อความที่สั้นและชัดเจนว่าหน่วยจะต้อง
ท�ำอะไร มีสภาวะหรือเงื่อนไขอะไรบ้างเกี่ยวกับข้าศึกและภูมิประเทศที่หน่วยต้องท�ำให้ส�ำเร็จเพื่อ
ให้บรรลุผลลัพธ์ที่ต้องการ เจตนารมณ์นี้ผู้บังคับหน่วยต้องเป็นผู้ประเมินด้วยตนเองว่าจะปฏิบัติ
ภารกิจให้สำ� เร็จได้อย่างไร ซึง่ บางครัง้ อาจต้องใช้สญ
ั ชาตญาณเข้ามาช่วย ในขัน้ ตอนสุดท้าย ผูบ้ งั คับ
หน่วยต้องแสดงเจตนารมณ์ของตนด้วยตนเองไม่ว่าจะเป็นโดยข้อเขียนหรือวาจา
๕-๖๒ เจตนารมณ์ผู้บังคับบัญชาและภารกิจ คือแนวทางที่หน่วยรองต้องน�ำไปปฏิบัติ
เพือ่ ให้บรรลุภารกิจแม้ไม่มคี �ำสัง่ เมือ่ มีโอกาสส�ำคัญเกิดขึน้ การปฏิบตั ขิ องหน่วยรองต้องมุง่ ไปสูก่ าร
บรรลุเจตนารมณ์ เพราะเจตนารมณ์จะระบุสภาวะและเงื่อนไขที่หน่วยจะต้องท�ำให้ได้เพื่อน�ำไปสู่
ผลลัพธ์ที่ต้องการ หนทางปฏิบัติทุก ๆ หนทางต้องยึดสภาวะและเงื่อนไขที่กำ� หนด ซึ่งอาจได้แก่
จังหวะ ห้วงเวลา ผลกระทบต่อข้าศึก ผลกระทบต่อฝ่ายเรา และภูมิประเทศส�ำคัญ
แนวทางในการวางแผน
๕-๖๓ จากวิสยั ทัศน์ ผูบ้ งั คับหน่วยจะต้อง ระบบปฏิบัติการในสนามรบ
พัฒนาและให้แนวทางในการวางแผน แนวทางใน - ข่าวกรอง
การวางแผนอาจเป็นแนวความคิดอย่างกว้าง ๆ หรือ - การด�ำเนินกลยุทธ์
ลงไปในรายละเอียดขึ้นอยู่กับสถานการณ์ แต่ไม่ว่า - การยิงสนับสนุน
จะเป็ น แบบใด แนวทางในการวางแผนเป็ น การ - การป้องกันภัยทางอากาศ
ถ่ายทอดสาระส�ำคัญของวิสยั ทัศน์ของผูบ้ งั คับหน่วย - ความคล่องแคล่ว/การต่อต้านความ
เป็นการปฏิบัติ ประสบการณ์และดุลพินิจจะเป็น - การสนับสนุนทางการช่วยรบ
ปัจจัยช่วยให้แนวทางในการวางแผนนี้เป็นที่ เข้าใจ - การบังคับบัญชาและการควบคุม
ได้งา่ ย ครอบคลุมรายละเอียดทีจ่ �ำเป็น ผูบ้ งั คับหน่วย
ต้องชี้น�ำให้ฝ่ายอ�ำนวยการวางแผนให้สอดคล้องกับแนวทางนี้ ขณะเดียวกันก็ต้องเปิดโอกาสให้
คิดค้นหาทางเลือกอื่น ๆ ด้วย
การสั่งการ
๕-๖๔ ผู้บังคับหน่วยและฝ่ายอ�ำนวยการพัฒนาแนวความคิดในการปฏิบัติและประสาน
สอดคล้องระบบปฏิบัติการสนามรบโดยยึดถือเจตนารมณ์ผู้บังคับบัญชาเป็นแนวทาง ระบบปฏิบัติ
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 133

การสนามรบ เป็นเครื่องมือทางกายภาพ (ทหาร, หน่วย และยุทโธปกรณ์) ที่น�ำมาใช้ในสนามรบ


เพื่อมุ่งไปสู่การบรรลุภารกิจ
ข่าวกรอง
๕-๖๕ ระบบข่าวกรองใช้ส�ำหรับวางแผน อ�ำนวยการ รวบรวม ด�ำเนินกรรมวิธีผลิต และ
กระจายข่าวกรองทีเ่ กีย่ วกับข้าศึกและภูมปิ ระเทศ เพือ่ จัดท�ำการเตรียมสนามรบด้านการข่าว (IPB)
และกิจเฉพาะด้านข่าวกรองอื่น ๆ ส่วนส�ำคัญยิ่งของ IPB ได้แก่ การร่วมกันวิเคราะห์ในทุกระดับ
หน่วย และทุกระบบปฏิบัติการสนามรบ นอกจากนี้กิจเฉพาะด้านข่าวกรองได้แก่
- การคลี่คลายสถานการณ์
- พัฒนาเป้าหมายและการสนับสนุนการเป้าหมาย
- สิ่งบอกเหตุและการแจ้งเตือน
- การข่าวกรองสนับสนุนการประเมินความเสียหายในสนามรบ
- การข่าวกรองสนับสนุนการพิทักษ์หน่วย
การข่าวกรองเป็นกระบวนการที่ต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่องและมีความส�ำคัญต่อ
การปฏิบัติการทุกครั้ง
การด�ำเนินกลยุทธ์
๕-๕๖ ระบบด�ำเนินกลยุทธ์เป็นการเคลือ่ นทีไ่ ปยังต�ำบลทีไ่ ด้เปรียบข้าศึก หน่วยทหารราบ
ทหารม้า และหน่วยบิน เป็นหน่วยที่จัดฝึกและมียุทโธปกรณ์เพื่อการด�ำเนินกลยุทธ์เป็นหลัก
ผู ้ บั ง คั บ หน่ ว ยต้ อ งใช้ ห น่ ว ยเหล่ า นี้ เ พื่ อ สร้ า งสภาวะที่ เ กื้ อ กู ล ต่ อ ความส�ำ เร็ จ ทางยุ ท ธวิ ธี แ ละ
ทางยุทธการ ฝ่ายเรามีขดี ความสามารถในการท�ำลายฝ่ายข้าศึกหรือขัดขวางการเคลือ่ นทีข่ องข้าศึก
ด้วยการด�ำเนินกลยุทธ์ผสมผสานด้วยการใช้อ�ำนาจการยิงทั้งการยิงเล็งตรงและการยิงจ�ำลอง
หรือคุกคามว่าจะใช้อ�ำนาจการยิงดังกล่าว
การยิงสนับสนุน
๕-๖๗ การยิงสนับสนุนคือ การยิงต่อข้าศึกเพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการทั้งทางพื้นดิน
และการปฏิบัติการพิเศษ การยิงสนับสนุนอาจเป็นการยิงขณะที่หน่วยก�ำลังจัดรูปขบวน หรือช่วย
เหลือในการปฏิบัติต่อที่หมายทั้งในระดับยุทธวิธีหรือระดับยุทธการ การยิงสนับสนุนเป็นการสนธิ
และประสานสอดคล้องการยิงและผลกระทบของการยิงเพื่อถ่วงเวลา ขัดขวาง, หรือท�ำลายก�ำลัง
ระบบ และสิ่งอ�ำนวยความสะดวกของข้าศึก ระบบการยิงสนับสนุนประกอบด้วย ระบบค้นหา
134 บทที่ ๕

เป้าหมาย อาวุธยิงด้วยการเล็งจ�ำลอง อากาศยานปีกติดล�ำตัว, สงครามอิเล็กทรอนิกส์ และ


เครื่องมือที่ใช้โจมตีข้าศึกทั้งที่มีอ�ำนาจสังหารและไม่สังหาร
การป้องกันภัยทางอากาศ
๕-๖๘ ระบบป้องกันภัยทางอากาศป้องกันหน่วยจากการโจมตีทางอากาศ, การเฝ้าตรวจ
ทางอากาศ ช่วยป้องกันมิให้ข้าศึกขัดขวางก�ำลังฝ่ายเราขณะที่ช่วยให้ผู้บังคับหน่วยฝ่ายเรามีเสรี
ในการประสานสอดคล้องการด�ำเนินกลยุทธ์และอ�ำนาจการยิง หน่วยทุกหน่วยต้องมีหน้าที่ใน
การป้องกันภัยทางอากาศ อย่างไรก็ตามหน่วยหลักที่ท�ำหน้าที่นี้คือ หน่วยปืนใหญ่ป้องกันภัย
ทางอากาศ ป้องกันหน่วยมิให้กำ� ลังฝ่ายเราถูกตรวจการณ์ทางอากาศ และถูกโจมตีดว้ ยอากาศยาน
การแพร่กระจายอาวุธที่มีอ�ำนาจท�ำลายล้างสูงท�ำให้ระบบป้องกันภัยทางอากาศมีความส�ำคัญ
ยิ่งขึ้น ในระดับยุทธการ การป้องกันภัยทางอากาศยุทธบริเวณยิ่งมีความส�ำคัญ
ความคล่องแคล่ว/การขัดขวางความคล่องแคล่ว/ความอยู่รอด
๕-๖๙ ความคล่องแคล่วในการเคลือ่ นทีช่ ว่ ยให้ฝา่ ยเรามีเสรีในการด�ำเนินกลยุทธ์ กิจของ
ความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่ได้แก่ การเจาะผ่านเครื่องกีดขวาง การเพิ่มความคล่องตัวของ
การจราจรในสนามรบ การปรับปรุงและการสร้างถนน สะพาน และการต่อแพข้ามล�ำน�ำ้ การก�ำหนด
เส้นทางอ้อมผ่านพื้นที่เปื้อนพิษ การต่อต้านความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่ เป็นการขัดขวาง
มิให้ข้าศึกเคลื่อนที่ได้สะดวก จ�ำกัดการด�ำเนินกลยุทธ์ของข้าศึก และเพิ่มประสิทธิภาพการยิงของ
ฝ่ายเรา ความอยู่รอด เป็นการป้องกันก�ำลังฝ่ายเราจากการยิงของข้าศึกและจากภัยธรรมชาติ
การเสริมความแข็งแรงของที่มนั่ และทีต่ งั้ เป็นมาตรการเชิงรุกอันหนึ่ง ส่วนการลวง การรักษาความ
ปลอดภัยในการปฏิบตั กิ าร และการกระจายก�ำลัง ก็เป็นมาตรการเชิงรับของความอยูร่ อด มาตรการ
ป้องกัน นชค. ก็เป็นสิ่งส�ำคัญที่ขาดไม่ได้ในสนามรบ
การสนับสนุนทางการช่วยรบ (สสช.)
๕-๗๐ งาน สสช. มีพันธกิจหลายประการและต้องใช้ความเชี่ยวชาญพิเศษทางเทคนิค
หลายด้านด้วยกัน บางครั้งต้องมีการท�ำสัญญาจ้างกับบริษัทเอกชน หรือถ้าเป็นการปฏิบัติการ
นอกประเทศก็จ�ำเป็นต้องใช้สิ่งอ�ำนวยความสะดวกจากประเทศเจ้าบ้าน สสช. เป็นสิ่งจ�ำเป็นใน
การปฏิบัติการทางทหารทุกครั้งและทุกระดับ (ยุทธศาสตร์, ยุทธการ, และยุทธวิธี)
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 135

การบังคับบัญชา และควบคุม
๕-๗๑ การบั ง คั บ บั ญ ชา
และควบคุ ม มี อ งค์ ป ระกอบหลั ก การบังคับบัญชาและการควบคุม เป็น การด�ำเนิน
๒ อย่างคือ ผูบ้ งั คับบัญชา และระบบ งานในเรือ่ งของอ�ำนาจหน้าทีแ่ ละการสัง่ การอ�ำนวยการ
การบังคับบัญชาและควบคุม ระบบ โดยผู้บังคับบัญชาที่ได้ออกแบบอย่างเหมาะสมในเรื่อง
การบังคับบัญชาและควบคุมประกอบ ของ การสมทบและการบรรจุมอบก�ำลังรบเพือ่ บรรลุผล
ไปด้ ว ย ระบบการติ ด ต่ อ สื่ อ สาร, ส�ำเร็จในภารกิจ พันธกิจด้านการบังคับบัญชาและการ
ระบบข่ า วกรอง และเครื อ ข่ า ย ควบคุมได้รับการปฏิบัติด้วยการจัดการในเรื่องของ
คอมพิวเตอร์ ซึง่ จะเป็นเครือ่ งมือช่วย ก� ำ ลั ง พล, การจั ด ยุ ท โธปกรณ์ , การติ ด ต่ อ สื่ อ สาร,
ให้ผบู้ งั คับบัญชาสามารถน�ำหน่วยได้ สิ่งอ�ำนวยความสะดวก, และระเบียบปฏิบัติ, ที่ใช้โดย
ทุ ก ที่ ใ นสนามรบ ช่ ว ยให้ ผู ้ บั ง คั บ ผู้บังคับบัญชาในการวางแผน, การสั่งการอ�ำนวยการ,
หน่ ว ยมี ข ่ า วสารในการตั ด สิ น ใจ การประสานงาน, และการควบคุมก�ำลังรบและการ
ก ร ะ จ า ย อ� ำ น า จ แ ล ะ ป ร ะ ส า น ปฏิบัติการให้บรรลุภารกิจ
สอดคล้องระบบปฏิบัติการสนามรบ
ยิ่งกว่านั้น ระบบบังคับบัญชาและควบคุมช่วยให้ผู้บังคับหน่วยสามารถปรับเปลี่ยนแผนปฏิบัติการ
ในอนาคตได้ในยามที่ต้องเพ่งเล็งความสนใจต่อการรบในปัจจุบัน ฝ่ายอ�ำนวยการเป็นผู้ช่วย
ผู้บังคับบัญชาในการสั่งการต่อหน่วย และแบ่งมอบทรัพยากรตามเจตนารมณ์ผู้บังคับบัญชาที่ให้ไว้
นอกจากนี้ยังต้องรายงานสถานการณ์ทั้งฝ่ายเราและฝ่ายข้าศึกและให้ข้อเสนอแนะเมื่อจ�ำเป็นต้อง
ให้ผู้บังคับบัญชาตัดสินใจ ผู้บังคับหน่วยจะต้องใช้ความริเริ่มและสนธิพันธกิจทางทหารทั้งปวง
ผ่านทางระบบบังคับบัญชาและควบคุมให้มุ่งไปสู่วัตถุประสงค์เดียวกันคือ การบรรลุภารกิจ
๕-๗๒ สิ่งส�ำคัญในระบบบังคับบัญชาและควบคุมคือ ระบบการติดต่อสื่อสารที่เชื่อถือได้
การบัญชาการรบทีม่ ปี ระสิทธิภาพจ�ำเป็นต้องอาศัยระบบสือ่ สารทีเ่ ชือ่ ถือได้เพือ่ ท�ำให้ผบู้ งั คับหน่วย
ควบคุมจังหวะในการปฏิบัติการ อย่างไรก็ตามรูปแบบการบัญชาการรบที่เป็นลักษณะเฉพาะตัว
ของผู้บังคับหน่วยมีความส�ำคัญกว่าระบบการติดต่อสื่อสาร การวางแผนการสื่อสารที่ดีช่วยให้
ผู้บังคับหน่วยมีทางเลือกหลายทางในการส่งข่าวสารในยามวิกฤต และช่วยให้ผู้บังคับหน่วย
ขยายผลจากความส� ำเร็จทางยุทธวิธี และคาดการณ์ต่อการปฏิบัติในอนาคตได้ นอกจากนี้
การวางแผนการติดต่อสื่อสารยังเป็นปัจจัยส�ำคัญในการด�ำรงหรือขยายระยะถึงทางยุทธการด้วย
136 บทที่ ๕

ผลกระทบจากบุคลิกส่วนตัวของผู้บังคับหน่วย
๕-๗๓ การบัญชาการเกิดขึ้น ณ ที่อยู่ของผู้บังคับหน่วย ซึ่งอาจจะเป็นที่บัญชาการ,
ขณะร่วมไปกับการแทรกซึมในเวลากลางคืนของหน่วยทหารราบเบา หรืออยูใ่ นยานพาหนะในการ
ปฏิบัติการแตกหัก ผู้บังคับหน่วยต้องใช้การกระตุ้นต่อก�ำลังพลด้วยการแสดงตนเป็นตัวอย่าง กับ
การด�ำรงความต่อเนือ่ งในการบังคับบัญชาและควบคุมอย่างสมดุล แม้แต่ยามทีม่ รี ะบบบังคับบัญชา
ควบคุมที่ทันสมัย ผู้บังคับหน่วยก็ต้องค�ำนึงถึงที่อยู่ของตนว่าจะเกิดผลกระทบต่อการปฏิบัติการ
และแสวงประโยชน์จากสถานการณ์ได้ทนั ต่อเหตุการณ์หรือไม่ ในการปฏิบตั ทิ างยุทธวิธขี นาดใหญ่
หรือในหน่วยระดับยุทธการ ทีบ่ ญ ั ชาการมักจะให้ความส�ำคัญกับการวางแผนและการส่งข่าวสารได้
อย่างสะดวกและทันเวลา เพราะฉะนั้นระบบข่าวสาร หรือ สารสนเทศ ฝ่ายอ�ำนวยการ และการ
เข้าใจภาพการยุทธ์ร่วมกัน (ภยร.) คือ มองภาพเดียวกัน จะช่วยเสริมขีดความสามารถของผู้บังคับ
หน่วยในการวาดภาพความเป็นไปได้ และตระหนักถึงโอกาสต่าง ๆ แต่ก็มีบางครั้งที่การปรากฏตัว
ของผู้บังคับหน่วยก็ยังมีความจ�ำเป็น ควรต้องมีการวางแผนรองรับในกรณีดังกล่าว และความเป็น
ไปได้ส�ำหรับการสูญเสียผู้บังคับหน่วยไป ที่อยู่ของผู้บังคับหน่วยทุกระดับจึงไม่เพียงแต่สามารถ
บัญชาการรบได้ แต่ต้องรับรู้สถานการณ์การรบได้อีกด้วย บางครั้งก็เป็น ณ ที่บัญชาการ และ
บางครั้งต้องอยู่กับผู้บังคับหน่วยรอง และก�ำลังพล
๕-๗๔ เจตจ�ำนงที่แน่วแน่ของผู้บังคับหน่วยเป็นปัจจัยส�ำคัญที่ผลักดันการปฏิบัติของ
หน่วยให้ผ่านความเหนื่อยยากและอันตรายในการรบไปสู่การบรรลุภารกิจได้ การรบย่อมมีความ
ผิดพลาดและการสูญเสีย ขีดความสามารถของผูบ้ งั คับหน่วยและก�ำลังพลจะลดลงเมือ่ ความทรหด
อดทนของร่างกายถึงขีดจ�ำกัด หากเผชิญกับข้าศึกที่มีความเชี่ยวชาญและมุ่งมั่น ทหารอาจถึงจุดที่
คิดว่า “ท�ำไม่ได้” หรือ “ไปต่อไม่ไหว” ณ จุดนี้เองที่เจตจ�ำนงและการปรากฏตัวของผู้บังคับหน่วย
จะเป็นแรงกระตุ้นที่ส�ำคัญ
บทที่ ๖
การปฏิบัติการทุกรูปแบบ

๖-๑ การปฏิบัติการทุกรูปแบบ จะด�ำเนินการไปตามวงรอบ ได้แก่ การวางแผน,


การเตรียมการ, การปฏิบัติการโดยมีการประเมินค่าในแต่ละขั้นตอนการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง
โดยมีความแตกต่างกันในรายละเอียดของกิจกรรมที่เป็นวงรอบเหล่านี้ ถึงแม้การปฏิบัติจะเป็นไป
ตามล�ำดับขั้น แต่จะไม่แยกจากกันเป็นอิสระ กิจกรรมดังกล่าว จะมีความสอดคล้องซึ่งกันและกัน
และสามารถเกิดขึน้ ได้บอ่ ยตามทีส่ ภาพแวดล้อมทีเ่ ปลีย่ นไป ตามทีก่ ล่าวมาแล้วทัง้ หมดนัน้ กิจกรรม
ดังกล่าวจะประกอบกันเป็น กระบวนการในการปฏิบัติการ การบัญชาการรบจะเป็นตัวขับเคลื่อน
กระบวนการในการปฏิบัติการ (ดูรูปที่ ๖ - ๑) กกล.ทบ. ออกแบบ และปฏิบัติการเพื่อให้ได้รับ
ชัยชนะด้วยการรุก โดยปรับเปลีย่ นสภาพของการรบ และหลีกเลีย่ งการสูร้ บในสภาพทีข่ า้ ศึกต้องการ
ด้วยการครองความริเริ่ม และรักษาไว้ ตลอดจนสร้างแรงหนุนเนื่องอย่างรวดเร็ว เพื่อได้ชัยชนะ
อย่างเด็ดขาด
แผน
๖-๒ เจตนารมณ์ของผูบ้ งั คับบัญชา และแนวทางในการวางแผนจะเป็นเครือ่ งมือในการ
อ�ำนวยการยุทธ์ของฝ่ายเสนาธิการ และผู้บังคับหน่วยรอง ฝ่ายเสนาธิการช่วยเหลือผู้บังคับบัญชา
ด้วยการประสานงาน และวิเคราะห์ในรายละเอียดที่จำ� เป็นต่อการเปลี่ยนแปลงแนวทางในการ
วางแผน และเจตนารมณ์ของผู้บังคับบัญชาเพื่อน�ำไปสู่แผน และแผนจะกลายเป็นแนวทางหลัก
และเป็นหลักฐานอ้างอิงที่ส�ำคัญ ส�ำหรับการปฏิบัติการ
๖-๓ การวางแผน เป็นเครื่องมือที่ผู้บังคับบัญชาใช้ในการวาดภาพการรบ เพื่อให้ได้
ผลลัพธ์ที่ต้องการ, แสดงให้เห็นถึงวิธีการที่จะบรรลุผลลัพธ์ที่ต้องการ และยังเป็นการสื่อสารไปยัง
หน่วยรอง เพือ่ ให้เห็นถึงการวาดภาพการรบ, เจตนารมณ์ และการตัดสินใจของผูบ้ งั คับบัญชา และ
เพ่งเล็งต่อผลลัพธ์ที่ผู้บังคับบัญชาคาดว่าจะบรรลุผลส�ำเร็จ แผนมีลักษณะของการคาดการณ์ไม่ใช่
เป็นการท�ำนายแผนเป็นสิ่งที่มีความต่อเนื่อง โดยเกี่ยวข้องกับโครงร่างของการปฏิบัติที่คาดการณ์
ถึงโอกาสทีเ่ ป็นไปได้มากทีส่ ดุ แผนจะเป็นแนวทางให้หน่วยรองในลักษณะทีม่ งุ่ ไปข้างหน้าผ่านแต่ละ
ขั้นตอนการปฏิบัติแผนใด ๆ ก็ตามเป็นโครงร่างที่ต้องมีการดัดแปลงให้เหมาะสมไม่ใช่ต้นฉบับ
เอกสารทีต่ ้องด�ำเนินการตามตัวอักษร มาตรการทีจ่ ะวัดว่าเป็นแผนทีด่ ไี ด้ ไม่ใช่วดั จากการปฏิบัตทิ ี่
เกิดขึน้ ตามทีว่ างแผนไว้ แต่วดั จากการทีแ่ ผนนัน้ อ�ำนวยให้เกิดการปฏิบตั ทิ มี่ ปี ระสิทธิภาพ เมือ่ เผชิญ
กับเหตุการณ์ที่มีไม่คาดคิดไว้ล่วงหน้า แผนที่ดีต้องเกื้อกูลต่อความริเริ่ม
138 บทที่ ๖

๖-๔ ขอบเขต, ความสลับซับซ้อน และความยาวของการวางแผนนั้นมีความแตกต่าง


กันระหว่างการวางแผนระดับยุทธการและการวาง แผนระดับยุทธวิธี การวางแผนการทัพนั้น
จะประสานงานการปฏิบตั กิ ารยุทธ์ขนาดใหญ่ ตลอดห้วงระยะเวลาทีส่ �ำคัญ ผูว้ างแผนจะขับเคลือ่ น
ขีดความสามารถของเหล่าทัพไปด้วยกันด้วยรูปแบบของการยุทธ์รว่ มและการปฏิบตั กิ ารหลายชาติ
พร้อมกับการปฏิบัติการระหว่างองค์กร และองค์กรที่ไม่ใช่ของรัฐการวางแผนระดับยุทธวิธีนั้นมี
ความชัดเจนในวัตถุประสงค์เช่นเดียวกับการวางแผนระดับยุทธการ แต่มีขอบเขตของการวางแผน
ที่สั้นกว่า มีความเข้าใจ และความต่อเนื่อง ตลอดการวางแผนที่ปรับเปลี่ยนได้ เป็นลักษณะของ
การปฏิบัติการที่บรรลุผลส�ำเร็จ ทั้งในระดับยุทธวิธีและระดับยุทธการ

รูปที่ ๖-๑ กระบวนการในการปฏิบัติการ

๖-๕ แผนเป็นการระบุวา่ ในทางส่วนตัวแล้วผูบ้ งั คับบัญชาจะตัดสินใจอะไรบ้าง ตัวอย่าง


เช่น ในการรบด้วยวิธีรุก ปกติผู้บังคับบัญชาจะตัดสินใจถึงเวลาที่จะให้กองหนุนเข้าปฏิบัติการ
ในการปฏิบัติการเพื่อเสถียรภาพ ผู้บังคับบัญชาอาจตัดสินใจก�ำหนดต�ำแหน่งที่แน่นอนของหน่วย
ระดับยุทธวิธี โดยไม่ค�ำนึงถึงระดับหน่วยบัญชาการ ผู้บังคับบัญชาจะระบุถึงความต้องการข่าวสาร
ที่ผู้บังคับบัญชาได้พิจารณาแล้วว่ามีความส�ำคัญมากที่สุดต่อการตัดสินใจของพวกเขาคือ ความ
ต้องการข่าวสารส�ำคัญยิ่งของผู้บังคับบัญชา ข่าวสารดังกล่าวเป็นสิ่งที่ช่วยให้ผู้บังคับบัญชายืนยัน
การวาดภาพของสนามรบ หรือพิสูจน์ทราบความเปลี่ยนแปลงจากการวาดภาพของสนามรบที่วาง
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 139

ไว้ขั้นต้น ฝ่ายเสนาธิการจะรวมความต้องการข่าวสารส�ำคัญยิ่งของผู้บังคับบัญชาเข้าไว้ในส่วนที่
เหมาะสมของแผน และส่งความต้องการข่าวสารส�ำคัญยิง่ ของผูบ้ งั คับบัญชาดังกล่าวไปยังหน่วยรอง
๖-๖ แผนจะให้อิสระและแนวทางแก่หน่วยรองในการใช้ความริเริ่มภายในขอบเขตของ
เจตนารมณ์ผู้บังคับบัญชา ตัวอย่างเช่น หน่วยบินและหน่วยด�ำเนินกลยุทธ์ภาคพื้นดินอาจจะโจมตี
เพื่อลดขีดความสามารถของระบบเครื่องส่งอาวุธอานุภาพท�ำลายล้างสูงของข้าศึกที่มีการก�ำหนด
ที่ตั้งไว้ โดยที่ไม่ต้องระบุภารกิจไว้ว่าต้องท�ำอะไร ณ เวลานั้น ส�ำหรับการปฏิบัติการบางครั้ง อาจ
ต้องการการควบคุมที่เข้มงวดต่อหน่วยรอง อย่างไรก็ตามผู้บังคับบัญชาต้องแน่ใจว่าแผนยังคงมี
ความอ่อนตัวเท่าที่เป็นไปได้ และมีการควบคุมน้อยที่สุดตามต้องการให้ภารกิจประสบผลส�ำเร็จ
ผูบ้ งั คับบัญชาจะต้องสนับสนุนให้หน่วยรองสามารถครองความริเริม่ ได้ดว้ ยแผนและการอ�ำนวยการ
ที่จะท�ำให้เกิดแนวทางในทุกโอกาสที่เกี่ยวข้อง
การวางแผนระดับยุทธการและยุทธวิธี
๖-๗ การวางแผนมีลักษณะเป็นพลวัต และมีความต่อเนื่อง (ดู รส. ๕-๐) การวางแผน
ระดั บ ยุ ท ธการจะเพ่ ง เล็ ง ต่ อ การพั ฒ นาแผนส� ำ หรั บ การทั พ , การทั พ รอง และการปฏิ บั ติ
การยุทธ์ขนาดใหญ่ ผู้บัญชาการรบจะพัฒนาแผนการทัพของยุทธบริเวณ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์
ระดับยุทธศาสตร์ของยุทธบริเวณ, ของชาติ และของหลาย ๆ ชาติ ปกติหน่วยบัญชาการรวมรอง
จะพัฒนาแผนการทัพรองหรือปฏิบัติการตามแผนที่จะบรรลุต่อวัตถุประสงค์ทางยุทธศาสตร์ของ
ยุทธบริเวณ ผู้บัญชาการกองก�ำลังเฉพาะกิจร่วม อาจจะพัฒนาแผนการทัพรอง หากภารกิจมี
ความต้องการ การปฏิบัติการทางทหารที่มีขอบเขต, ขนาด, ความสลับซ้อน และระยะเวลาอย่าง
เพียงพอ ปกติผบู้ ญ
ั ชาการ กกล.ทบ. จะพัฒนาแผนการต่าง ๆ ส�ำหรับการปฏิบตั กิ ารยุทธ์ขนาดใหญ่
ซึ่งสนับสนุนต่อแผนการทัพ
๖-๘ ในการปฏิบัติการยุทธ์ขนาดใหญ่ ผบ.ทบ. เลือกที่จะท�ำการรบหรือปฏิเสธการรบ,
ตัดสินใจว่าจะใช้อะไรในการท�ำให้เกิดความส�ำเร็จและล้มเหลวในระดับยุทธวิธี และแนะน�ำ
ผู ้ บั ญ ชาการก� ำ ลั ง รบร่ ว มเกี่ ย วกั บ ความต้ อ งการระยะยาวและภาพของการปฏิ บั ติ ก ารของ
ผู้บัญชาการ กกล.ทบ. ทั้งนี้ โดยทั่ว ๆ ไปแผนการทัพจะก่อให้เกิดกลุ่มของเป้าหมายในระยะยาว
ทีต่ อ้ งมีขนั้ การปฏิบตั อิ ย่างชัดเจน ซึง่ ปกติแผนการทัพจะก่อให้เกิดแนวความคิดในการปฏิบตั ทิ วั่ ๆ
ไปส� ำ หรั บ แผนการทั พ ทั้ ง หมดและค� ำ สั่ ง ปฏิ บั ติ ก ารจะมี เ ฉพาะขั้ น ตอนเริ่ ม ต้ น ของการทั พ
การวางแผนส�ำหรับการปฏิบัติการยุทธ์ขนาดใหญ่เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงการวางแผนส�ำหรับ
การทัพทั้งหมด แต่มีขอบเขตที่ลดลง ถึงแม้ว่าการปฏิบัติการยุทธ์ขนาดใหญ่จะไม่ใช่ขั้นเริ่มต้น
ของการทัพ แต่การวางแผนส�ำหรับการปฏิบตั กิ ารยุทธ์ขนาดใหญ่เป็นไปในลักษณะทีเ่ ป็นการปฏิบตั ิ
140 บทที่ ๖

ตามแผนเผชิ ญเหตุและการปฏิบัติการต่อไป หรื อ เป็ น การปฏิ บั ติ ต ามล�ำ ดั บ ขั้ น ที่ อ าจเริ่ ม ขึ้ น
อย่างยาวนาน ก่อนที่จะมีการปฏิบัติจริง
๖-๙ การวางแผนระดับยุทธการและระดับยุทธวิธจี ะเสริมซึง่ กันและกัน แต่มจี ดุ มุง่ หมาย
แตกต่างกัน การวางแผนระดับยุทธการเป็นการเตรียมการส�ำหรับกิจกรรมระดับยุทธวิธีในรูปแบบ
ที่เป็นที่ต้องการ การวางแผนระดับยุทธการจะแสวงหาวิธีการที่จะสนับสนุนและขยายความส�ำเร็จ
ระดับยุทธวิธอี ย่างต่อเนือ่ ง การปฏิบตั กิ ารยุทธ์ขนาดใหญ่จะขึน้ อยูก่ บั การใช้การปฏิบตั ริ ะดับยุทธวิธี
อย่างเหมาะสม เพื่อบรรลุความมุ่งประสงค์ระดับยุทธศาสตร์หรือระดับยุทธการในสภาพแวดล้อม
เฉพาะทีม่ ตี อ่ ฝ่ายตรงข้ามซึง่ มีการเปลีย่ นแปลงอยูต่ ลอดเวลา การวางแผนระดับยุทธวิธจี ะเน้นความ
อ่อนตัวและทางเลือก ขอบเขตการวางแผนส�ำหรับการปฏิบัติระดับยุทธวิธีนั้นจะสั้นกว่าระดับ
ยุทธการในเชิงเปรียบเทียบ การวางแผนทีส่ ามารถท�ำความเข้าใจได้อาจมีความเป็นไปได้สำ� หรับการ
เข้าปะทะครั้งแรก หรือขั้นตอนแรกของการรบเท่านั้น การปฏิบัติที่ส�ำเร็จจะขึ้นอยู่กับการปฏิบัติ
ของข้าศึกและสภาพแวดล้อม ศิลปะของการวางแผนระดับยุทธวิธีอยู่ที่การคาดการณ์และการ
พัฒนาการปฏิบัติตามแผนเผชิญเหตุและการปฏิบัติการต่อไปรวมถึงการปฏิบัติตามล�ำดับขั้น
๖-๑๐ การบรรยายสรุปเป็นสิ่งส�ำคัญ ดังนั้น ความเร็วมีผลต่อการปฏิบัติของฝ่าย
เสนาธิการ จึงต้องหลีกเลี่ยงการใช้เวลาที่มากเกินไปในการพัฒนาแผนที่มีความยาวซึ่งบรรจุ
รายละเอียดที่ไม่เกี่ยวข้องเอาไว้ เมื่อแผนมาถึงมือผู้ใช้ช้าเกินไป จะท�ำให้หน่วยรองสามารถท�ำได้
เพียงเป็นผู้ตอบโต้เท่านั้น เพื่อประหยัดเวลา และท� ำแผนให้สั้นลงนั้นผู้บังคับบัญชาและฝ่าย
เสนาธิการต้องคาดการณ์เกี่ยวกับความต้องการด้านการสนับสนุน และคาดคะเนทางเลือกต่าง ๆ
กองบัญชาการในแต่ละระดับควรวางแผนคู่ขนานกับกองบัญชาการหน่วยเหนือและหน่วยรอง
การวางแผนคู่ขนานจะเป็นการแลกเปลี่ยนข่าวสารระหว่างกองบัญชาการให้เร็วขึ้น และควรจะ
ใช้ให้มากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ ผู้บังคับบัญชาขยายผลด้านเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มความเข้าใจใน
สถานการณ์และความเร็วของการวางแผน
๖-๑๑ มีระเบียบปฏิบัติในการวางแผนตามหลักนิยมอยู่ ๒ ประการ ในหน่วยที่มีการจัด
ฝ่ายเสนาธิการอย่างเป็นทางการ กระบวนการแสวงข้อตกลงใจทางทหารช่วยผู้บังคับบัญชาและ
ฝ่ายเสนาธิการพัฒนาประมาณการ, แผนและค�ำสั่ง กระบวนการแสวงข้อตกลงใจทางทหารนั้น
จะจัดให้มีล�ำดับการตัดสินใจอย่างมีเหตุผล และความสัมพันธ์ระหว่างผู้บังคับบัญชาและฝ่าย
เสนาธิการ กระบวนการแสวงข้อตกลงใจทางทหารก่อให้เกิดโครงร่างร่วมกันส�ำหรับฝ่ายเสนาธิการ
ซึ่งสนับสนุนการใช้การวางแผนคู่ขนานอย่างสูงสุด ในระดับยุทธวิธีต�่ำที่สุดที่ผู้บังคับบัญชาจะไม่มี
ฝ่ายเสนาธิการ ผลที่ได้ต่อมาก็คือ ผู้บังคับบัญชาและผู้นำ� หน่วยรองจะใช้ระเบียบการน�ำหน่วย
ทัง้ สองมาตรการมีจดุ ส�ำคัญอยูท่ คี่ วามสามารถของผูบ้ งั คับบัญชาทีจ่ ะวาดภาพและให้ค�ำอธิบายการ
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 141

ปฏิบตั กิ าร ทัง้ สองวิธกี ารเป็นเครือ่ งมือไปสูจ่ ดุ สุดท้ายของการแสวงข้อตกลงใจทางทหาร คุณค่าของ


วิธีการแสวงข้อตกลงใจอยู่ที่ผลลัพธ์ไม่ใช่อยู่ที่กระบวนการ
การแบ่งขั้น
๖-๑๒ ขั้น คือ ส่วนหนึ่งโดยเฉพาะของการปฏิบัติการที่มีความแตกต่างจากสิ่งเหล่านั้น
ซึง่ มีอยูก่ อ่ นหรือทีต่ ามมาภายหลัง ปกติการเปลีย่ นแปลงในแต่ละขัน้ จะเกีย่ วข้องกับการเปลีย่ นงาน
หรือกิจที่ต้องกระท�ำ การแบ่งขั้นช่วยในการวางแผนและการควบคุม ข้อพิจารณาเกี่ยวกับเวลา,
ระยะทาง, ภูมิประเทศ, ทรัพยากร และเหตุการณ์ส�ำคัญที่สนับสนุนต่อการตัดสินใจส�ำหรับขั้นของ
การปฏิบัติการ
๖-๑๓ ถ้า ทบ. ขาดเครื่องมือที่จะน�ำไปสู่ชัยชนะอย่างต่อฝ่ายข้าศึก ในการปฏิบัติ
พร้อมกันเพียงขั้นเดียว ปกติผู้บังคับบัญชาจะแบ่งขั้นส�ำหรับการปฏิบัติการนั้น ขั้นคือห้วงเวลา
เมื่อส่วนใหญ่ของก�ำลังปฏิบัติการในสิ่งที่คล้าย ๆ กันหรือด�ำเนินกิจกรรมที่ให้การสนับสนุนซึ่งกัน
และกัน การปฏิบัติการจะเชื่อมโยงขั้นการปฏิบัติที่ส�ำเร็จเรียบร้อย ขั้นการปฏิบัติเป็นขั้น ๆ ได้มา
ซึง่ บริบทอย่างกว้างขวางเฉพาะเจาะจงในเรือ่ งของการทัพหรือการปฏิบตั กิ ารยุทธ์ขนาดใหญ่เท่านัน้
แต่ละขั้นควรจะต่อสู้ใน เวลา, พื้นที่และวัตถุประสงค์พร้อม ๆ กัน ในวิธีการนี้ ผู้บังคับบัญชาจะ
ผสมผสานการปฏิบัติการพร้อมกันในแต่ละขั้น ในขณะที่การปฏิบัติตามล�ำดับขั้นจะกระท�ำเพื่อ
บรรลุผลลัพธ์สุดท้ายที่ต้องการ
๖-๑๔ การเชือ่ มโยงระหว่างขัน้ และความต้องการทีเ่ ปลีย่ นผ่านระหว่างขัน้ เป็นความส�ำคัญ
อย่างยิง่ ผูบ้ งั คับบัญชาจะจัดท�ำสภาพเงือ่ นไขทีช่ ดั เจนว่าเหตุการณ์เหล่านีน้ นั้ จะเกิดขึน้ อย่างไรและ
เมื่อใด ถึงแม้ว่าขั้นนั้นจะได้รับการแยกแยะให้กับก�ำลังฝ่ายเรา แผนแบบทางยุทธการได้อ�ำพราง
ความแตกต่างเหล่านี้จากฝ่ายตรงข้ามไปพร้อม ๆ กันโดยตลอด และเกื้อกูลต่อการปฏิบัติการ
ยุทธ์ร่วม และการปฏิบัติของ ทบ.
การปฏิบัติตามแผนเผชิญเหตุและการปฏิบัติการต่อไปและการปฏิบัติตามล�ำดับขั้น
๖-๑๕ การปฏิบตั ไิ ม่เคยทีจ่ ะด�ำเนินไปตามทีว่ างแผนไว้อย่างแท้จริง การวางแผนอย่างมี
ประสิทธิภาพ จะก่อให้เกิดความอ่อนตัว ผูบ้ งั คับบัญชาจะรวมการปฏิบตั ติ ามแผนเผชิญเหตุและการ
ปฏิบัติการต่อไปและการปฏิบัติตามล�ำดับขั้นเข้าไว้ในแผนแบบทางยุทธการ เพื่อเพิ่มความอ่อนตัว
การวาดภาพการรบ และการวางแผนเกี่ยวกับการปฏิบัติตามแผนเผชิญเหตุและการปฏิบัติการ
ต่อไปและการปฏิบัติตามล�ำดับขั้น เป็นสิ่งส�ำคัญเพราะทั้งสองประการนั้น เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยน
ผ่านการเปลีย่ นแปลงในภารกิจ, ประเภทของการปฏิบตั ,ิ และมีอยูเ่ สมอในเรือ่ งความต้องการก�ำลัง
142 บทที่ ๖

รบส�ำหรับการปฏิบัติการ ถ้าไม่มีการวางแผนและการปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพแล้ว การส่งผ่าน


สามารถลดจังหวะของการปฏิบตั กิ าร, ชะลอแรงหนุนเนือ่ งในการปฏิบตั กิ ารให้ชา้ ลง, และยกความ
ริเริ่มให้กับฝ่ายข้าศึก
๖-๑๖ การปฏิบัติรองหรือการปฏิบัติที่แตกย่อยออกไปนั้นคือ แผนหรือหนทางปฏิบัติ
ส�ำหรับการเผชิญเหตุ ทางเลือกที่ได้สร้างขึ้นส�ำหรับแผนหรือหนทางปฏิบัติพื้นฐาน เพื่อการ
เปลี่ยนแปลงภารกิจ, การประกอบก�ำลัง, การเริ่มต้น หรือทิศทางการเคลื่อนย้ายของก�ำลังรบ
เพื่อช่วยให้การปฏิบัติการในปัจจุบันประสบผลส�ำเร็จ, มีพื้นฐานจากเหตุการณ์ที่คาดไว้, โอกาส
หรือการรบกวนซึ่งมีเหตุจากการปฏิบัติของข้าศึก กกล.ทบ. เตรียมการปฏิบัติตามแผนเผชิญเหตุ
และการปฏิบัติการต่อไปเพื่อขยายผลของความส�ำเร็จ และโอกาสหรือเพื่อตอบโต้การรบกวนที่
เกิดขึ้นตามที่มีเหตุมาจากการปฏิบัติของข้าศึก ผู้บังคับบัญชาคาดการณ์และให้การตอบโต้ต่อการ
ปฏิบัติของข้าศึก ถึงแม้การคาดการณ์ต่อความเป็นไปได้ทุก ๆ การปฏิบัติที่คุกคามจะเป็นเรื่องที่
เป็นไปไม่ได้ก็ตาม แต่การปฏิบัติตามแผนเผชิญเหตุและการปฏิบัติการต่อไปนั้นก็เป็นสิ่งที่สามารถ
คาดการณ์ได้ใกล้เคียงมากที่สุดประการหนึ่ง ผู้บังคับบัญชาจะปฏิบัติการในสิ่งที่แตกย่อยออกไป
เพื่อตอบสนองอย่างรวดเร็วต่อสภาพการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
๖-๑๗ การปฏิบตั กิ ารทีต่ ามมาหรือการปฏิบตั ติ ามล�ำดับขัน้ คือ การปฏิบตั กิ ารทีเ่ กิดตาม
การปฏิบัติการในปัจจุบัน สิ่งที่ตามมาเป็นการปฏิบัติในอนาคตที่คาดการณ์ถึงผลลัพธ์ที่เป็นไปได้
ว่าบรรลุผลส�ำเร็จ, ล้มเหลว หรือเสมอกันของการปฏิบตั กิ ารในปัจจุบนั ตัวอย่างเช่น การรุกโต้ตอบ
เป็นการปฏิบตั ทิ ตี่ ามมาอย่างมีเหตุมผี ล ส�ำหรับการตัง้ รับ การขยายผลและการไล่ตดิ ตามซึง่ เป็นสิง่
ทีต่ ามมาจากการเข้าตีทปี่ ระสบผลส�ำเร็จ ปกติการปฏิบตั กิ ารทีต่ ามมาจะเริม่ ต้นทีข่ นั้ อืน่ ๆ ของการ
ปฏิบัติการ ถ้าไม่มีการปฏิบัติใหม่ ผู้บังคับบัญชาพิจารณาการปฏิบัติการที่ตามมาแต่เนิ่น และ
กลับไปพิจารณาถึงสิ่งที่ตามมาดังกล่าวตลอดทั้งการปฏิบัติการ หากไม่มีการวางแผนดังกล่าวแล้ว
การปฏิบัติการในปัจจุบันจะท�ำให้กองก�ำลังอยู่ในต�ำแหน่งที่เลวร้ายส�ำหรับโอกาสในอนาคตและ
ผู้น�ำไม่ได้เตรียมการที่จะด�ำรงรักษาความริเริ่ม ทั้งการปฏิบัติที่แตกย่อยออกไปและการปฏิบัติการ
ที่ตามมา ควรจะมีเกณฑ์ชี้วัดในการปฏิบัติมีการทบทวนอย่างรอบคอบก่อนการใช้การปฏิบัติที่
แตกย่อยออกไปและการปฏิบัติการที่ตามมา และปรับปรุงให้ทันสมัยโดยมีพื้นฐานจากการ
ประเมินค่าการปฏิบัติการในปัจจุบัน
แนวความคิดในการปฏิบัติ
๖-๑๘ แนวความคิดในการปฏิบัติ นั้นอธิบายถึงการที่ผู้บังคับบัญชามองเห็นการปฏิบัติ
การร่วมกันของหน่วยรองที่เหมาะสมได้อย่างไร จึงบรรลุภารกิจ การอธิบายนั้นอย่างน้อยที่สุด
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 143

ควรประกอบด้วยโครงร่างการด�ำเนินกลยุทธ์และแนวความคิดในการยิง แนวความคิดของการปฏิบตั ิ
การจะขยายหนทางปฏิบัติที่เลือกไว้ของผู้บังคับบัญชาและแสดงถึงแต่ละส่วนของก�ำลังจะร่วมมือ
กันปฏิบัติเพื่อบรรลุภารกิจได้อย่างไร ในขณะเจตนารมณ์ของผู้บังคับบัญชาจะเพ่งเล็งต่อผลลัพธ์
สุดท้าย แต่แนวความคิดในการปฏิบตั จิ ะเพ่งเล็งต่อวิธกี ารทีก่ ารปฏิบตั กิ ารใช้และประสานสอดคล้อง
ระบบปฏิบัติการในสนามรบเพื่อแปลงการวาดภาพการรบและผลลัพธ์สุดท้ายไปสู่การปฏิบัติ
ผู้บังคับบัญชาต้องแน่ใจว่า แนวความคิดในการปฏิบัตินั้นตรงกันกับเจตนารมณ์ผู้บังคับบัญชาและ
ของหน่วยเหนือกว่า ๒ ระดับ
การจัดการความเสี่ยง
๖-๑๙ การจัดการความเสี่ยง คือ กระบวนการที่ระบุ, ประเมินค่าและควบคุมความเสี่ยง
ทีเ่ กิดจากปัจจัยทางการยุทธ์ และด�ำเนินการตัดสินใจอย่างรอบคอบ ทีจ่ ะสร้างสมดุลระหว่างต้นทุน
ส�ำหรับความเสี่ยงกับผลประโยชน์ของภารกิจ การจัดการความเสี่ยงจะท�ำให้ผู้น�ำมีกลไกอย่างเป็น
ระบบทีจ่ ะพิสจู น์ทราบความเสีย่ งทีเ่ กีย่ วเนือ่ งกับหนทางปฏิบตั ใิ นระหว่างการวางแผน ผูบ้ งั คับบัญชา
ผสมผสานการจัดการความเสีย่ งเข้าไว้ในทุก ๆ แง่มมุ ของการปฏิบตั กิ าร ระหว่างการวางแผนผูบ้ งั คับ
บัญชาจะระบุ, ประเมินค่าและประเมินความเสี่ยง ผู้บังคับบัญชาจะน�ำเสนอข้อพิจารณาเกี่ยวกับ
ความเสีย่ งในรูปของแนวทาง แนวทางเกีย่ วกับความเสีย่ งจะมีผลกระทบต่อการพัฒนาหนทางปฏิบตั ิ
แนวทางเกี่ยวกับความเสี่ยงจะมีผลกระทบต่อการใช้องค์ประกอบบางประการของแผนแบบทาง
ยุทธการเช่น ผลลัพธ์สุดท้าย, การก�ำหนดที่หมาย และเส้นปฏิบัติการ การจัดการความเสี่ยงจะมี
อิทธิพลต่อการจัดเฉพาะกิจ มาตรการควบคุมและแนวความคิดในการปฏิบัติการ การยิง และการ
สนับสนุนทางการช่วยรบ ระหว่างการปฏิบัติการประเมินค่าเกณฑ์เสี่ยงจะช่วยผู้บังคับบัญชาให้
ด�ำเนินการตัดสินใจอย่างมีความรอบคอบ โดยพิจารณาถึงการเปลี่ยนแปลงการจัดเฉพาะกิจ, การ
เปลี่ยนแปลงความเร่งด่วนของความพยายามและการสนับสนุน และการจัดรูปการปฏิบัติการใน
อนาคต การจัดการความเสี่ยงที่มีประสิทธิภาพจะก่อให้เกิดผลลัพธ์เกี่ยวกับการบรรลุภารกิจด้วย
ค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด
ค�ำสั่ง
๖-๒๐ ค�ำสั่ง เป็นการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติ เมื่อเป็นไปได้ผู้บังคับบัญชาจะให้คำ� สั่ง
ด้วยตัวเองในลักษณะแบบตัวต่อตัว แต่ถ้าไม่สามารถกระท�ำได้ การใช้วีดิทัศน์ทางไกล หรือ
เครื่องมือการติดต่อสื่อสารอื่น ๆ ก็สามารถใช้ทดแทนได้ ผู้บังคับปัญหาจะต้องให้หน่วยรองของตน
มีเสรีการปฏิบตั มิ ากทีส่ ดุ , จัดให้มคี ำ� สัง่ แบบมอบภารกิจ เมือ่ ปฏิบตั คิ ำ� สัง่ แบบมอบภารกิจจะเป็นการ
144 บทที่ ๖

ระบุวา่ ท�ำอะไร และความมุง่ ประสงค์สำ� หรับการปฏิบตั ดิ งั กล่าวคือ อะไรโดยปราศจากการพรรณนา


ถึงการปฏิบัตินั้นว่าจะต้องท�ำอย่างไร มาตรการควบคุมควรที่จะช่วยให้เกิดความร่วมมือระหว่าง
ก�ำลังแต่ละส่วน โดยไม่เป็นข้อจ�ำกัดต่อเสรีการปฏิบัติของหน่วยรอง
การเตรียมการ
๖-๒๑ การเตรียมการประกอบด้วย กิจกรรมต่าง ๆ ของหน่วยก่อนการปฏิบัติการ
เพื่อพิสูจน์ถึงขีดความสามารถของหน่วยในปฏิบัติการซึ่งประกอบด้วย การกลั่นกรองแผน,
การซักซ้อมการปฏิบัติ, การลาดตระเวน, การประสานงาน, การตรวจสอบและการเคลื่อนย้าย
การเตรียมการต้องการ การปฏิบัติของฝ่ายเสนาธิการ, หน่วย, และก�ำลังพล ความสลับซับซ้อน
ของการปฏิบัติการก่อให้เกิดความท้าทายที่ส�ำคัญ ธรรมชาติของการปฏิบัติการทางภาคพื้นดินมี
ความแตกต่างกันอย่างมากจากสถานการณ์หนึ่งสู่สถานการณ์หนึ่ง ความส�ำเร็จของภารกิจขึ้น
อยู่กับการเตรียมการมากเท่า ๆ กับการวางแผน การซักซ้อมช่วยฝ่ายเสนาธิการ หน่วยและ
ก�ำลังพลเป็นรายบุคคล ในการเตรียมการส� ำหรับการปฏิบัติการทุกรูปแบบ การเตรียมการ
ประกอบด้วยขอบเขตของกิจกรรม ขอบเขตของกิจกรรมประกอบด้วยการซักซ้อมภารกิจ, การ
บรรยายสรุปกลับ, ตรวจสอบเครือ่ งมือสือ่ สารและยุทโธปกรณ์, การทบทวนระเบียบปฏิบตั ปิ ระจ�ำ,
ตรวจสอบและทบทวนแผนการบรรทุก, เตรียมความพร้อมรบของก�ำลังพลและการทดสอบการยิง
ของอาวุธต่าง ๆ
การเตรียมการของฝ่ายเสนาธิการ
๖-๒๒ ส่วนและแผนกของฝ่ายเสนาธิการต่าง ๆ จะด�ำเนินกิจกรรมทีจ่ ะก่อให้เกิดก�ำลังทีม่ ี
ประสิทธิภาพด้านการยุทธ์มากที่สุด การประสานงานระหว่างระดับหน่วย และการเตรียมการที่
ด�ำเนินการก่อนการปฏิบัติการนั้น เป็นความส�ำคัญเช่นเดียวกัน แต่ไม่ส�ำคัญเกินไปกว่าการพัฒนา
แผน การเตรียมการของฝ่ายเสนาธิการรวมถึงการเข้าทีต่ งั้ และการปรับปรุงประมาณการให้มคี วาม
ทันสมัยอย่างต่อเนือ่ ง ตัวอย่างเช่น การจัดเตรียมสนามรบด้านการข่าวอย่างต่อเนือ่ งช่วยให้เกิดการ
ปรับปรุงสถานการณ์ทถี่ กู ต้องส�ำหรับผูบ้ งั คับบัญชาเมือ่ ต้องการ ซึง่ ไม่วา่ จะรวมเข้าไว้ในกระบวนการ
ที่เป็นทางการหรือไม่ก็ตาม กิจกรรมการเตรียมการของฝ่ายเสนาธิการและส่วนก�ำลังรบ เป็นการ
แสดงให้เห็นถึงการวางแผนและความต่อเนื่องตลอดทั่วทั้งการเตรียม การและการปฏิบัติการ
การประมาณการที่ทันสมัยก่อให้เกิดพื้นฐานส� ำหรับการให้ข้อเสนอแนะของฝ่ายเสนาธิการ
การประมาณการที่มีความถูกต้องอย่างมีเหตุผล และมีคุณค่าในปัจจุบันเป็นการเพิ่มการสนับสนุน
ต่อจังหวะการรบ
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 145

การเตรียมการของหน่วย
๖-๒๓ ความช�ำนาญในการสู้รบซึ่งได้รับการพัฒนาและท�ำให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นจาก
การฝึกก่อให้เกิดพื้นฐานของความส�ำเร็จในภารกิจ หาก ทบ. ปราศจากขีดความสามารถที่จะต่อสู้
และด�ำเนินการเพื่อให้ได้รับชัยชนะ การส่งหน่วยของเหล่าทัพนั้นเข้าสู่ยุทธบริเวณจะท�ำให้
หน่วยนัน้ ๆ อยูใ่ นเกณฑ์เสีย่ งทีย่ อมรับไม่ได้ หน่วยทีม่ คี วามพร้อมรบสามารถปรับเปลีย่ นความพร้อม
ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ที่ไม่มีการสู้รบ หน่วยที่ไม่ได้ฝึกจนถึงมาตรฐานจะไม่สามารถอยู่รอด
ในสถานการณ์รบ ความรู้ วินัย ความสามัคคีและความช�ำนาญทางเทคนิคนั้นมีความจ�ำเป็นต่อการ
เอาชนะฝ่ายข้าศึกเป็นพื้นฐานส�ำหรับความส�ำเร็จในสภาพแวดล้อมที่คล้ายกับการถูกดึงออกจาก
สนามรบตัง้ แต่ระยะไกล ขีดความสามารถด้านการรบของ กกล.ทบ. เป็นพืน้ ฐานส�ำหรับการปฏิบตั ิ
ทั้งหมด ในการปฏิบัติการเพื่อเสถียรภาพ ภัยของก�ำลังฝ่ายตรงข้ามอาจยับยั้งการขยายตัว ในการ
ปฏิบัติการสนับสนุน ภัยคุกคามอาจเกิดขึ้นก่อนความรุนแรงและการไม่ปฏิบัติที่ขัดหลักกฎหมาย
๖-๒๔ จังหวะการรบ อาจจะไม่อ�ำนวยให้ผู้บังคับบัญชาสามารถถอนรูปขบวนทั้งหมด
เพื่อการจัดก�ำลังใหม่และการฝึกเพิ่มเติมได้ อย่างไรก็ตาม การสร้างหน่วยมูลฐานของ ทบ. ท�ำให้
ผู้บังคับบัญชาสามารถก�ำหนดหน่วยเพื่อการฝึกขณะที่ส่วนอื่น ๆ ยังคงปฏิบัติภารกิจต่อไป การฝึก
ที่เกิดขึ้นพร้อม ๆ กันนี้อาจเกิดขึ้นในพื้นที่การฝึกที่ก�ำหนดในยุทธบริเวณ ณ ที่ซึ่งหน่วยรับการ
สนับสนุนเพิม่ เติมทางด้านการซ่อมบ�ำรุง ขณะทีก่ ำ� ลังด�ำเนินการฝึกเป็นรายบุคคลและเป็นภาพรวม
ของหน่วย การสร้างพื้นที่ส� ำหรับการฝึกนั้นเป็นทั้งความจ� ำเป็นและเป็นสิ่งที่ท้าทายส� ำหรับ
ผู้บังคับบัญชาของ ทบ.
การเตรียมการเป็นรายบุคคล
๖-๒๕ ก่อนที่จะมีการจัดก�ำลังเข้าท�ำการรบ ก�ำลังพลจะเตรียมการเพื่อการปฏิบัติ
หลายครัง้ หน่วยของ ทบ. จะได้รบั การเพิม่ เติมก�ำลังและการทดแทนก�ำลังพลระหว่างการเตรียมการ
เพื่อการจัดก�ำลังเข้าท�ำการรบ ผู้บังคับบัญชาจะให้ความสนใจเป็นพิเศษต่อการรบ และการเตรียม
การของก�ำลังพลเหล่านี้ และเพื่อผสมผสานครอบครัวของก�ำลังพลเหล่านี้เข้าไว้ในกลุ่มสนับสนุน
นอกจากการเตรียมการทดแทนส�ำหรับการปรับรูปขบวนเข้าสู่การรบแล้ว ผู้บังคับบัญชาต้องแน่ใจ
ว่าหน่วยที่ได้รับมอบก�ำลังเพิ่มเติมนั้นจะต้องน�ำก�ำลังเหล่านั้นเข้าไว้ในชุดการปฏิบัติอย่างรวดเร็ว
กฎการใช้ก�ำลัง
๖-๒๖ ความต้องทางการยุทธ์, นโยบาย และกฎหมายจะเป็นสิง่ ทีก่ ำ� หนดกฎการใช้กำ� ลัง
กฎการใช้ก�ำลังตระหนักถึง สิทธิในการป้องกันตนเอง สิทธิและข้อบังคับของผู้บังคับบัญชาใน
146 บทที่ ๖

การพิทักษ์ก�ำลังพลที่ก�ำหนด และสิทธิแห่งชาติในการป้องกันกองก�ำลังของกองทัพไทย พันธมิตร


และชาติผู้ร่วมสงครามต่อการโจมตีด้วยอาวุธ กฎการใช้ก�ำลังของกองบัญชาการกองทัพไทยก่อให้
เกิดแนวทางพื้นฐานกฎการใช้ก�ำลังที่มีอยู่อาจจะได้รับการเสริมแต่งเพื่อการปฏิบัติการโดยเฉพาะ
ให้สนองตอบความต้องการของผู้บังคับบัญชา กฎการใช้กำ� ลังที่มีประสิทธิภาพต้องสามารถบังคับ
ใช้ได้ สามารถเข้าใจได้ มีลักษณะทางยุทธวิธีอย่างชัดเจน และมีความถูกต้องตามกฎหมาย
อย่างเพียงพอ นอกจากนี้ กฎการใช้ก�ำลังที่มีประสิทธิภาพนั้นต้องตอบสนองต่อภารกิจและยอมให้
ผูบ้ งั คับบัญชาหน่วยรองท�ำการปฏิบตั ดิ ว้ ยความริเริม่ เมือ่ เผชิญหน้ากับโอกาสหรือเหตุการณ์แวดล้อม
ที่ไม่คาดคิด
๖-๒๗ ในการปฏิบัติการทั้งปวง ไม่ว่าจะเป็นการใช้ก�ำลังที่มีอ�ำนาจการสังหารหรือไม่มี
อ�ำนาจการสังหาร กฎการใช้ก�ำลังอาจจะก่อให้เกิดความได้เปรียบต่อข้อจ�ำกัดด้านการเมือง, การ
ปฏิบัติ, การยุทธ์ และด้านกฎหมายส�ำหรับผู้บังคับบัญชา ผู้บังคับบัญชาจะรวมข้อจ�ำกัดเหล่านั้น
เข้าไว้ในการวางแผน และการเตรียมการแต่เนิ่น ๆ เท่าที่เป็นไปได้ การระงับการใช้ประเภทของ
อาวุธเป็นพิเศษ และการยกเว้นดินแดนบางแห่งของชาติให้พ้นจากการโจมตีนี้ คือ ตัวอย่างของข้อ
จ�ำกัด ในทางยุทธวิธี กฎการใช้ก�ำลังอาจจะขยายไปยังเกณฑ์พิจารณาในการริเริ่มการปะทะด้วย
ระบบอาวุธบางอย่าง ตัวอย่างเช่น การยิงที่ไม่มีการตรวจการณ์ หรือการตอบโต้ต่อการโจมตี
กฎการปะทะไม่เคยให้ความเป็นธรรมกับการปฏิบตั ทิ ผี่ ดิ กฎหมาย ในสถานการณ์ทงั้ ปวง ทหารและ
ผู ้ บั ง คั บ บั ญ ชาใช้ ร ะดั บ ของก�ำ ลั ง รบซึ่ ง เป็ น ความจ�ำ เป็ น ทางทหาร ได้ สั ด ส่ ว นกั บ ภั ย คุ ก คาม
และรอบคอบต่อการปฏิบัติในอนาคต
๖-๒๘ กฎการใช้ก�ำลังไม่ได้ก�ำหนดกิจเฉพาะหรือต้องการการแก้ปัญหาระดับยุทธวิธี
เป็นการเฉพาะ กฎการใช้ก�ำลังอ�ำนวยให้ผู้บังคับบัญชาสามารถแจ้งให้หน่วยรองทราบถึงความ
ต้องการรูปแบบที่เกี่ยวกับการใช้ก�ำลังได้อย่างรวดเร็วและชัดเจน ในการส่งค�ำสั่งไปยังหน่วยรอง
ผู้บังคับบัญชาจะปฏิบัติภายใน กฎการใช้กำ� ลังที่ได้รับมอบ อย่างไรก็ตาม กฎการใช้กำ� ลังไม่เคย
ปลดเปลือ้ งภาระของผูบ้ งั คับบัญชาจากความรับผิดชอบทีจ่ ะก�ำหนดรูปแบบแผนแบบทางยุทธการ
ผลลัพธ์สุดท้าย วัตถุประสงค์ และภารกิจต้องมีความชัดเจน ผู้บังคับบัญชาทุกระดับจะทบทวน
กฎการใช้กำ� ลังอย่างต่อเนือ่ งเพือ่ ให้แน่ใจว่าประสิทธิภาพของ กฎการใช้กำ� ลัง ดังกล่าวอยูใ่ นทิศทาง
ของเงือ่ นไขในปัจจุบนั และในอนาคต ข้อพิจารณาดังกล่าวอาจประกอบด้วย กฎการใช้ก�ำลัง ส�ำหรับ
การโจมตีตอ่ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ ก�ำลังพลซึง่ มีความเข้าใจกฎการใช้ก�ำลังอย่างทัว่ ถึงนัน้ จะท�ำให้
มีการเตรียมการเพื่อประยุกต์ใช้ความสมดุลในเรื่องของความริเริ่ม และข้อจ�ำกัดเป็นการเฉพาะ
ได้ดียิ่งขึ้น
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 147

การปฏิบัติ
๖-๒๙ การปฏิบตั ิ คือ การกระท�ำร่วมกันเพือ่ ให้ได้มาและด�ำรงรักษาไว้ซงึ่ ความริเริม่ สร้าง
และด� ำ รงรั ก ษาแรงหนุ น เนื่ อ งและขยายผลแห่ ง ความส� ำ เร็ จ หลั ก การ “ความริ เ ริ่ ม ” เป็ น
หลักพื้นฐานของความส�ำเร็จในการปฏิบัติการต่าง ๆ แต่การยึดครองความริเริ่มเพียงประการเดียว
ยังไม่เป็นการเพียงพอ การระดมยิงด้วยอาวุธกระสุนที่มีความแม่นย�ำอย่างทันทีทันใดอาจจะก่อให้
เกิดการจูโ่ จม และท�ำให้ฝา่ ยข้าศึกสูญเสียระเบียบ แต่ถา้ ไม่ดำ� เนินการตามด้วยการปฏิบตั ทิ รี่ วดเร็ว
ความได้เปรียบก็จะหายไปทีละเล็กละน้อย และจะไม่เหลืออยู่อีกต่อไป การปฏิบัติการที่ส�ำเร็จผล
ด�ำรงรักษาแรงหนุนเนือ่ งทีเ่ กิดขึน้ โดยความริเริม่ และขยายผลแห่งความส�ำเร็จตามเจตนารมณ์ของ
ผู้บังคับบัญชา
การยึดครองและด�ำรงรักษาความริเริ่ม
๖-๓๐ ความริเริ่มนั้นให้จิตวิญญาณแก่ทุกการปฏิบัติการในการรุก ในทางยุทธการ
การยึดครองความริเริ่มนั้นต้องการ ผู้น�ำจะต้องคาดการณ์เหตุที่ก�ำลังของตนสามารถมองเห็นได้
และขยายผลของโอกาสนั้น ๆ ได้เร็วกว่าฝ่ายข้าศึก ทันทีที่พวกเขาครอบครองความริเริ่ม กกล.ทบ.
จะขยายโอกาสที่ได้สร้างขึ้น ความริเริ่มนั้นต้องการความพยายามอย่างสม�่ำเสมอในการที่จะบังคับ
ให้ฝ่ายข้าศึกต้องปฏิบัติตามความมุ่งประสงค์ และตามจังหวะของฝ่ายเรา ขณะที่ยังด�ำรงรักษาเสรี
ในการปฏิบตั ขิ องฝ่ายเราเอาไว้ได้ ในมุมมองของผูน้ �ำ ผูบ้ งั คับบัญชาจะใช้ความห้าวหาญ อย่างมาก
และด�ำเนินการตัดสินใจอย่างมีเหตุผลภายใต้สภาพเงือ่ นไขทีไ่ ม่แน่นอน เจตนารมณ์ของผูบ้ งั คับบัญชา
และการรุกรบของหน่วยรองจะสร้างสภาพเงื่อนไขส�ำหรับการใช้ความริเริ่มอย่างเข้มงวด
๖-๓๑ ฝ่ายข้าศึก ได้มาและด�ำรงรักษาความริเริ่มจะบังคับให้ กกล.ทบ. กลายเป็นฝ่าย
ตอบโต้ต่อความเข้มแข็ง และขีดความสามารถแบบอสมมาตรของฝ่ายข้าศึก วิธีการของฝ่ายข้าศึก
ทีจ่ ะพยายามท�ำนีป้ ระกอบด้วย ความพยายามทีจ่ ะลดทอนเทคโนโลยี และความเหนือกว่าทางด้าน
การจัดหน่วยของฝ่ายเรา การปรับเปลี่ยนจังหวะให้เหมาะกับขีดความสามารถของข้าศึก และ
ลดทอนความทนทานของ กกล.ทบ. ดังนั้น กกล.ทบ. ต้องครองความริเริ่มทันทีทันใดที่เป็นไปได้
และทุ่มเทให้เกิดการกระท�ำตลอดทั้งการปฏิบัติการ กกล.ทบ. จะบังคับให้ฝ่ายตรงข้ามปฏิบัติตาม
รูปแบบที่ฝ่ายเราก�ำหนดขึ้น การตอบโต้ต่อการปฏิบัติฝ่ายตรงข้ามจะยอมยกความริเริ่มให้กับ
ฝ่ายเรา และเปิดเผยตนเองต่อการขยายผลเมือ่ ฝ่ายข้าศึกมีความผิดพลาด หรือล้มเหลวทีจ่ ะตอบโต้
อย่างรวดเร็วเพียงพอ
148 บทที่ ๖

การเริ่มการปฏิบัติ
๖-๓๒ ผูบ้ งั คับบัญชาจะสร้างสภาพเงือ่ นไข เพือ่ การยึดครองความริเริม่ โดยการปฏิบตั กิ าร
หากไม่มกี ารปฏิบตั ดิ งั กล่าว การได้มาซึง่ ความริเริม่ ก็เป็นไปไม่ได้ เมือ่ มีการเผชิญหน้ากับสถานการณ์
ที่ไม่แน่นอนจะมีความโน้มเอียงโดยธรรมชาติที่จะเกิดความลังเล และจะท�ำการรวบรวมข่าวสารที่
มากกว่าเดิม เพื่อลดความไม่แน่นอน อย่างไรก็ตาม การก�ำจัดความไม่แน่นอนให้หมดไปได้
การรอคอยอาจจะเพิ่มความไม่แน่นอน โดยท�ำให้ฝ่ายข้าศึกมีเวลาที่จะยึดครองความริเริ่ม มัน
ห่ า งไกลเกิ น ไปที่ จ ะจั ด การกั บ ความไม่ แ น่ น อนโดยการกระท�ำ และการพั ฒ นาสถานการณ์
เมือ่ สถานการณ์ทไี่ ม่ชดั เจนเกิดขึน้ ทันทีทนั ใด ผูบ้ งั คับบัญชาจะต้องสร้างความชัดเจนด้วยการปฏิบตั ิ
ไม่ใช่การนั่งรอ และท�ำการรวบรวมข่าวสาร
๖-๓๓ ผูบ้ งั คับบัญชาจะระบุเวลาและสถานทีท่ ผี่ บู้ งั คับบัญชาสามารถรวมผลกระทบของ
อ�ำนาจก�ำลังรบเพื่อให้เกิดความได้เปรียบ เพื่อเป็นการบังคับการตอบโต้ท�ำให้ผู้บังคับบัญชาต้อง
จัดการบางสิ่งบางอย่างต่อฝ่ายข้าศึกอย่างเช่น เอาใจใส่ต่อ จุดศูนย์ดุลของข้าศึก หรือจุดแตกหักที่
จะน�ำไปสู่จุดศูนย์ดุลของฝ่ายข้าศึก ผู้บังคับบัญชาริเริ่มการปฏิบัติไปสู่การตอบโต้ตามล� ำดับ
ซึ่งสุดท้ายจะเป็นการลดทางเลือกของฝ่ายข้าศึกจนไม่มีทางเลือก แต่ละการพัฒนาสถานการณ์
ให้ก้าวหน้าออกไป และลดจ�ำนวนของความเป็นไปได้ในการน� ำมาเป็นข้อพิจารณาลง ดังนั้น
จึงเป็นการลดความไม่แน่นอนของฝ่ายเรา แต่ละเวลาที่ข้าศึกต้องตอบโต้ความไม่แน่นอนของ
พวกเขาจะเพิ่มขึ้น การพัฒนาสถานการณ์โดยการบังคับให้ข้าศึกตอบโต้เป็นสิ่งจ� ำเป็นในการ
ครอบครอง และรักษาไว้ซึ่งความริเริ่ม
๖-๓๔ การปฏิบตั นิ นั้ ไม่ใช่เป็นการรุกเพียงอย่างเดียว การส่งกองก�ำลังเข้าปฏิบตั กิ ารอาจ
จะริเริม่ ให้ฝา่ ยข้าศึกต้องเป็นฝ่ายตอบโต้ การเคลือ่ นย้ายก�ำลังรวมทัง้ การลวงทางทหารนัน้ สามารถ
เป็นกลไกที่ท�ำให้ฝ่ายข้าศึกต้องเป็นฝ่ายตอบโต้อยู่เสมอ ๆ ผู้บังคับบัญชาอาจจะยับยั้ง หรือชักน�ำ
การปฏิบัติของฝ่ายข้าศึกที่ต้องการด้วยการเริ่มต้นการเตรียมการตั้งรับ การลาดตระเวน จะท�ำให้
ผู้บังคับบัญชาทุก ๆ ระดับสามารถได้มา และด�ำรงการปะทะกับฝ่ายข้าศึกได้ การลาดตระเวนก่อ
ให้เกิดการพัฒนาสถานการณ์ เกิดการพิทักษ์ก� ำลังจากการจู่โจมและด� ำรงรักษาความริเริ่ม
การปฏิบตั ปิ ระกอบด้วยกิจกรรมการพิทกั ษ์กำ� ลังรบทีป่ อ้ งกัน หรือลดภัยคุกคามเฉพาะของฝ่ายข้าศึก
การสร้าง และการใช้โอกาสให้เกิดประโยชน์
๖-๓๕ สถานการณ์ต่าง ๆ เสนอวิธีการปฏิบัติที่ดีกว่า เพื่อบรรลุผลส�ำเร็จ กุญแจที่น�ำไป
สูก่ ารได้มาซึง่ โอกาสก็คอื การเฝ้าติดตามห้วงการรบตามแนวทางของวัตถุประสงค์ และเจตนารมณ์
ของผู้บังคับบัญชาอย่างต่อเนื่อง ความล้มเหลวที่จะเข้าใจถึงโอกาสนั้นเป็นลักษณะของการปฏิบัติ
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 149

ของฝ่ายข้าศึกที่ยอมแพ้ต่อความริเริ่ม ความต้องการข่าวสารที่ส�ำคัญยิ่งของผู้บังคับบัญชาต้อง
ประกอบด้วยองค์ประกอบต่าง ๆ ที่สนับสนุนต่อการยึดครอง และรักษาความริเริ่มไว้ ซึ่งก�ำลังพล
สามารถค้นหาโอกาสต่าง ๆ ตามที่ได้พัฒนาขึ้น
๖-๓๖ ผูบ้ งั คับบัญชาจะสนับสนุนให้หน่วยรองปฏิบตั กิ ารภายใต้เจตนารมณ์ ของผูบ้ งั คับ
บัญชาตามโอกาสที่เกิดขึ้น การวาดภาพ การสื่อสารเจตนารมณ์ที่ชัดเจน และบรรยากาศของ
การบังคับบัญชาจะน�ำไปสู่การปฏิบัติเพื่อความริเริ่มของหน่วยรอง กระบวนการในกรรมวิธีข้อมูล
ข่ า วสารแบบดิ จิ ต อล ภาพการยุ ท ธ์ ร ่ ว มกั น และความเข้ า ใจในสถานการณ์ นั้ น จะส่ ง เสริ ม
ความสามารถของผู้บังคับบัญชา ในการตระหนักถึงความเป็นไปได้ จัดท�ำภาพของโอกาส และ
แบ่งสรรสิ่งดังกล่าวกับหน่วยอื่น ๆ
ประเมินค่าและการด�ำเนินการกับความเสี่ยง
๖-๓๗ ความไม่แน่นอนและความเสี่ยงนั้นเป็นลักษณะที่มีอยู่ในทุก ๆ การปฏิบัติการ
ทางทหาร ความรอบรู้ และการปฏิบัติตามโอกาสนั้นเป็นวิธีของการด� ำเนินการกับความเสี่ยง
การประมาณการอย่างมีเหตุมีผล และการตั้งใจในการยอมรับความเสี่ยงไม่ใช่การเสี่ยงโชค การ
พิจารณาก�ำหนดเกณฑ์เสี่ยงอย่างรอบคอบ การวิเคราะห์ และการลดอันตรายให้เหลือน้อยที่สุด
เท่าที่เป็นไปได้ และการปฏิบัติตามแผนที่มีการก�ำกับดูแลในส่วนที่เกี่ยวข้องกับอันตรายดังกล่าว
จะสนับสนุนต่อการใช้ก�ำลังทหารอย่างประสบผลส�ำเร็จ ในทางกลับกันการเสี่ยงโชคเป็นสิ่งที่
ไม่ฉลาดที่จะเสี่ยงต่อการบรรลุผลส�ำเร็จของการปฏิบัติการทั้งหมดส�ำหรับเหตุที่ไม่น่าจะเป็นไปได้
เพียงเหตุการณ์เดียว ผู้บังคับบัญชาประเมินค่าความเสี่ยงในลักษณะของการขยายขนาดของ
ความเสี่ยงโดยการตอบค�ำถาม ๓ ข้อดังนี้
- ข้าพเจ้าได้ท�ำให้ความเสี่ยงต่อการสูญเสียเหลือน้อยที่สุดหรือยัง ?
- ข้าพเจ้าตกอยู่ในการเสี่ยงต่อความส�ำเร็จของการปฏิบัติการหรือไม่ ?
- ข้าพเจ้าตกอยู่ในการเสี่ยงที่จะท�ำลายก�ำลังของตัวเองหรือไม่ ?
๖-๓๘ เมื่อผู้บังคับบัญชาได้ใช้โอกาสนั้นก็ต้องยอมรับเกณฑ์เสี่ยง ความกล้าหาญนั้น
เป็นตัวเร่งที่สามารถท�ำให้สถานการณ์กลับตาลปัตรได้ด้วยการมีอิทธิพลต่อการรับรู้ด้วยตัวมันเอง
เกีย่ วกับฝ่ายข้าศึก ความกล้าหาญเป็นสิง่ ทีข่ ดั ขวางความมุง่ ประสงค์ทจี่ ะรอคอยการเตรียมการ และ
การประสานสอดคล้องอย่างสมบูรณ์แบบ เวลาทีใ่ ช้ในการแจกจ่ายค�ำสัง่ ทีส่ มบูรณ์ตลอดทัว่ ทัง้ ฐาน
อาจจะเป็นเครื่องมือที่จะท�ำให้โอกาสสูญเสียไป ทั้งนี้มันเป็นการดีกว่าที่จะท�ำการสรุปเฉพาะสาระ
ส�ำคัญอย่างรวดเร็ว ท�ำให้สิ่งต่าง ๆ นั้นเคลื่อนไหว และส่งรายละเอียดตามไปภายหลัง ผู้น�ำจะ
150 บทที่ ๖

ใช้เวลาให้ได้ประโยชน์มากที่สุดด้วยการใช้ค�ำสั่งเตือน ค�ำสั่งเป็นส่วน ๆ และภาพการยุทธ์ร่วมกัน


ส�ำหรับการปฏิบตั กิ ารทีม่ กี ารปรับปรุงให้ทนั สมัยตามระเบียบประจ�ำ ความต้องการค�ำสัง่ ทีม่ ากเกิน
ไปนั้น น�ำมาซึ่งค�ำสั่งที่มีรายละเอียดมากเกินไป มีการควบคุมมากเกินไป และล้มเหลวในการที่จะ
ครอบครอง และด�ำรงรักษาความริเริ่ม
สร้างและด�ำรงรักษาแรงหนุนเนื่อง
๖-๓๙ กกล.ทบ. ต่อสู้กับฝ่ายข้าศึกที่มีความนึกคิดและมีการปรับตัว การแสดงออกที่
สอดคล้องกับรูปแบบของการปฏิบัติ ข้าศึกจะสร้างมาตรการต่อต้านขึ้น ประโยชน์ของการ
ครอบครองความริเริม่ ไม่ได้มอี ยูต่ ลอดไป ท�ำให้สามารถก�ำหนดการปฏิบตั ขิ องฝ่ายข้าศึกทีจ่ ะล้มล้าง
การออกแบบการรบของฝ่ายเรา แรงหนุนเนื่องจะด�ำรงรักษา และสนับสนุนต่อความริเริ่ม
๖-๔๐ แรงหนุนเนื่องนั้นได้มาจากการครองความริเริ่มและปฏิบัติการปฏิบัติการสร้าง
สภาพที่เกื้อกูล การด�ำรงความหนุนเนื่อง และการปฏิบัติการแตกหักด้วยจังหวะที่มีความเร็วสูง
แรงหนุนเนื่องท�ำให้ผู้บังคับบัญชาสามารถสร้างโอกาสที่จะสู้รบกับฝ่ายข้าศึกในทิศทางที่ไม่คาดคิด
ด้วยขีดความสามารถที่ไม่คาดการณ์มาก่อน เมื่อได้ครองความริเริ่ม ผู้บังคับบัญชาจะยังคงด�ำเนิน
การควบคุมแรงหนุนเนือ่ งสัมพัทธ์ดว้ ยการด�ำรงรักษาความมุง่ หมาย และแรงกดดันและการควบคุม
จังหวะ ผู้บังคับบัญชาต้องแน่ใจว่าได้ด�ำรงรักษาแรงหนุนเนื่องโดยการคาดการณ์ถึงการเปลี่ยน
สถานะและการเคลื่อนไหวไปมาอย่างรวดเร็วระหว่างประเภทของการปฏิบัติการ เมื่อโอกาสเปิด
ด้วยตนเองให้มีการขยายผล ผู้บังคับบัญชาจะผลักดันทรัพยากรที่มีอยู่ทั้งปวงไปยังขีดจ� ำกัด
เพื่อสร้างแรงหนุนเนื่องที่ได้รับ
การคงความสนใจ
๖-๔๑ ความเครียดจากการรบ เป็นเหตุให้ผู้บังคับบัญชาอาจจะเพ่งเล็งต่อลักษณะ
กิจกรรมของข้าศึกทีเ่ ป็นอันตรายโดยสัญชาตญาณ สิง่ ทีเ่ กีย่ วข้องก็คอื การด�ำรงอยู่ แต่สญ ั ชาตญาณ
จะต้องไม่บดบังสิง่ เพ่งเล็งหลักของผูบ้ งั คับบัญชาซึง่ ก็คอื การบรรลุถงึ ความมุง่ ประสงค์ และทีห่ มาย
ของผูบ้ งั คับบัญชา ผูบ้ งั คับบัญชาประเมินค่ากิจกรรมของข้าศึกในรูปของผลลัพธ์สดุ ท้าย และมุง่ เน้น
ต่อกองก�ำลังของผู้บังคับบัญชาว่าจะสามารถท�ำอะไรได้เพื่อให้ได้มาซึ่งผลลัพธ์สุดท้ายดังกล่าวแล้ว
ผู้บังคับบัญชาประเมินค่าสถานการณ์เพื่อพิจารณาก�ำหนดว่าพวกเขาสามารถเข้าตีจุดแตกหักของ
ข้าศึก และพิทักษ์กำ� ลังฝ่ายเราได้ดีที่สุดอย่างไร ผู้บังคับบัญชาประเมินค่าสถานการณ์ในปัจจุบัน
แสวงหาโอกาสที่จะพลิกผันการปฏิบัติของฝ่ายข้าศึกเพื่อให้ได้ความได้เปรียบอย่างทันทีทันใดต่อ
พวกเขา
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 151

การกดดันฝ่ายข้าศึก
๖-๔๒ การกดดันนั้นเกิดขึ้นมาจากจังหวะ ระดับ และความเข้มข้นของกิจกรรมที่น�ำไป
ใช้กับก�ำลังฝ่ายข้าศึกที่ไม่ถูกรบกวน ทันทีที่ กกล.ทบ. เผชิญกับการปะทะ กกล.ทบ. จะด�ำรงการ
ปะทะนั้นไว้ การกดดันอย่างสม�่ำเสมอ และการเปลี่ยนแปลงอย่างทันทีไปสู่การขยายผลจะท�ำให้
ฝ่ายข้าศึกไม่มีเวลาที่จะสร้างสมดุล และตอบโต้ได้ทันเวลา การหยุดทางยุทธการ ไม่ว่าจะเป็นไป
ด้วยความตั้งใจ และที่ได้มีการออกแบบขึ้นมาเพื่อปรับปรุงลักษณะของการสนับสนุนทางการ
ช่วยรบ หรือด�ำรงความเป็นระเบียบไว้ อาจจะก่อให้เกิดอันตรายที่แท้จริงได้ ซึ่งรวมถึงการสูญเสีย
ผลประโยชน์จากการรุกที่มีศักยภาพ กกล.ทบ. ท�ำการกดดันอย่างไม่ลดละ และฉกฉวยโอกาสไว้
๖-๔๓ ผู้บังคับบัญชาที่มีการปรับตัวอยู่เสมอจะคาดการณ์ถึงความต้องการในการด�ำรง
รักษาก�ำลังรบทีว่ างก�ำลังอยูใ่ นต�ำแหน่งทีม่ คี วามเหมาะสม ต่อการขยายผลและการปฏิบตั ทิ ตี่ อ่ เนือ่ ง
ขณะทีก่ �ำลังด�ำเนินกลยุทธ์นั้นมีความช้าลง และเข้าใกล้ถงึ จุดผกผัน ผู้บงั คับบัญชาจะต้องพิจารณา
วิถีทางที่ดีที่สุดที่จะด�ำรงรักษาจังหวะ และด�ำรงการกดดันฝ่ายข้าศึกอย่างต่อเนื่อง ผู้บังคับบัญชา
สามารถผลัดเปลี่ยนหน่วยน�ำด้วยก�ำลังที่มีความสดชื่น เพิ่มเติมก�ำลังให้กับหน่วยน�ำ หรือประยุกต์
ใช้การยิงทีม่ คี วามแม่นย�ำต่อเป้าหมายในทางลึก ตราบเท่าทีห่ น่วยทีก่ ำ� ลังรบปะทะกันอยูน่ นั้ สามารถ
ด�ำรงรักษาการกดดัน และยังไม่ถึงจุดผกผัน การเพิ่มเติมก�ำลังเป็นสิ่งพึงประสงค์ในการปฏิบัติโดย
ทัว่ ๆ ไปส�ำหรับการส่งมอบการรบ การยิงในระดับยุทธการอาจจะสร้างโอกาสครัง้ ใหม่ ส�ำหรับการ
กดดันข้าศึกโดยสนับสนุนต่อการด�ำเนินกลยุทธ์
การควบคุมจังหวะการรบ
๖-๔๔ ความเร็วส่งเสริมการจู่โจม และสามารถชดเชยการขาดแคลนก�ำลัง ความเร็วจะ
ขยายผลกระทบของความส�ำเร็จในการครองความริเริ่ม การปฏิบัติด้วยจังหวะที่มีความเร็ว ท�ำให้
กกล.ทบ. สามารถก่อปัญหาใหม่ให้กับฝ่ายข้าศึกได้ก่อนที่ฝ่ายข้าศึกจะสามารถแก้ปัญหาที่เป็นอยู่
ในปัจจุบันได้ จังหวะที่มีความรวดเร็วไม่ควรถดถอยลงไปโดยปราศจากการไตร่ตรอง ปกติการแจ้ง
ข่าวที่เลวร้าย และการปฏิบัติแบบเร่งด่วนนั้นจะขัดขวางการผสมผสานอ�ำนาจก�ำลังรบอย่างมี
ประสิทธิภาพ และการปฏิบัติดังกล่าวอาจจะน�ำไปสู่การสูญเสียโดยไม่จำ� เป็น สภาพเงื่อนไขของ
ก�ำลังฝ่ายข้าศึกนั้นเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดระดับของการประสานสอดคล้องที่จ�ำเป็น เมื่อเผชิญหน้ากับ
ข้าศึกที่มีความสมัครสมานสามัคคี และมีวินัย ผู้บังคับบัญชาอาจจะชะลอจังหวะให้ช้าลงเพื่อจัดให้
มีการประสานสอดคล้องเกิดขึ้น ขณะที่ก�ำลังฝ่ายข้าศึกสูญเสียความเหนียวแน่น ผู้บังคับบัญชาจะ
เพิ่มจังหวะการปฏิบัติ และแสวงหาทางที่จะเร่งให้สภาพขวัญและลักษณะทางกายภาพของ
ฝ่ายข้าศึกถึงจุดพังพินาศเร็วขึ้น
152 บทที่ ๖

ขยายผลของความส�ำเร็จ
๖-๔๕ ท้ายที่สุด มีเพียงความส�ำเร็จที่บรรลุผลลัพธ์สุดท้ายที่ก�ำหนดเท่านั้น เพื่อเป็นการ
พิจารณาก�ำหนดถึงการขยายผลของความส�ำเร็จระดับยุทธวิธี และระดับยุทธการ ผู้บังคับบัญชา
ประเมินค่าการขยายผลของความส�ำเร็จระดับยุทธวิธี และระดับยุทธการ ในรูปของเจตนารมณ์ของ
ผู้บังคับบัญชาหน่วยเหนือ อย่างไรก็ตาม แผนแบบทางยุทธการจะเชื่อมโยงวัตถุประสงค์ตลอดเส้น
ปฏิบตั กิ าร ความส�ำเร็จจะเกิดขึน้ ได้ในวิธกี ารทีไ่ ม่คาดคิดในแผน ผูบ้ งั คับบัญชาอาจได้วตั ถุประสงค์
ในวิธีการที่ไม่คาดคิด ความส�ำเร็จจะส่งสัญญาณการประเมินค่าอย่างรวดเร็ว เพื่อตอบค� ำถาม
เหล่านี้ :
- ความส�ำเร็จนั้นได้ก่อให้เกิดโอกาสที่บรรลุถึงที่หมายได้ง่ายกว่าหรือไม่
- ความส�ำเร็จนั้นได้แนะน�ำถึงเส้นปฏิบัติการอื่น ๆ หรือไม่
- ความส�ำเร็จนั้นเป็นเหตุให้ผู้บังคับบัญชาต้องเปลี่ยนแปลงเจตนารมณ์ทั้งหมด
หรือไม่ ?
- หน่วยก�ำลังรบควรจะเปลี่ยนไปสู่ขั้นต่อไปหรือไม่ ?
- หน่วยก�ำลังรบควรจะเร่งขั้นการปฏิบัติหรือไม่ ?
๖-๔๖ เกีย่ วกับการยุทธ์นนั้ ความส�ำเร็จอาจจะส่งสัญญาณถึงการเปลีย่ นผ่านไปสูข่ นั้ ตอน
ต่อไป ของการทัพ หรือการปฏิบตั กิ ารยุทธ์ขนาดใหญ่ ในทางอุดมคติลำ� ดับขัน้ ทีเ่ หมาะสมนัน้ พร้อม
อยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม แม้ล�ำดับขั้นที่ได้มีการเตรียมการไว้แล้ว ยังต้องการ การกลั่นกรองปรับปรุง
อย่างรวดเร็ว เพือ่ สะท้อนความเป็นจริงของความส�ำเร็จทีแ่ ท้จริง ผูบ้ งั คับบัญชาจะต้องมองเห็นความ
ต้องการทีน่ อกเหนือจากปัจจุบนั ผูบ้ งั คับบัญชาใช้เครือ่ งมือทุก ๆ ประเภททีเ่ ป็นไปได้เพือ่ ขยายการ
ปฏิบัติการของพวกเขาในเวลา และพื้นที่เพื่อการสร้างความส�ำเร็จอย่างถาวร ผู้บังคับบัญชาต้องมี
ความเข้าใจว่าพวกเขาต้องด�ำรงรักษาแรงหนุนเนื่อง และความริเริ่มเพื่อชัยชนะอย่างรวดเร็ว และ
เด็ดขาด
๖-๔๗ การขยายผลต้องการ การประเมินค่าและความเข้าใจเกี่ยวกับผลกระทบของการ
ปฏิบัติการด�ำรงความต่อเนื่อง การด�ำรงสถานภาพ การสนับสนุนทางการช่วยรบจะก่อให้เกิด
เครื่ อ งมื อ ที่ จ ะขยายผลของความส�ำ เร็ จ และเปลี่ ย นแปลงการขยายผลไปสู ่ ผ ลลั พ ธ์ ที่ แ ตกหั ก
การปฏิบัติการด�ำรงความต่อเนื่อง การด�ำรงสถานภาพ จะด�ำรงรักษาเสรีในการปฏิบัติที่จ�ำเป็น
เพือ่ ก่อให้เกิดความได้เปรียบในด้านโอกาส ผูบ้ งั คับบัญชายังคงต้องตระหนักถึงสถานภาพของหน่วย
อย่างเต็มที่ และคาดการณ์เกี่ยวกับความต้องการด้านการสนับสนุนทางการช่วยรบของสิ่งอุปกรณ์
ทั้ง ๕ ประเภท เพื่อพิจารณาก�ำหนดความลึกของกองก�ำลังเหล่าทัพที่จะขยายผลของความส�ำเร็จ
ได้
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 153

๖-๔๘ จังหวะการปฏิบัติที่เร็ว และความส�ำเร็จที่เกิดขึ้นซ�้ำแล้วซ�้ำอีก จะท�ำให้การ


จัดหน่วยนั้นไม่อยู่ในระเบียบส�ำหรับการปฏิบัติต่อไปได้เสมอ เพื่อการขยายผลของความส�ำเร็จ
และด�ำรงรักษาแรงหนุนเนื่อง การจัดหน่วยใหม่จะเกิดขึ้นในเวลาเดียวกันกับการปฏิบัติการอื่น ๆ
มากกว่าการแยกเป็นขั้นออกไปต่างหาก การจัดหน่วยใหม่ที่ยาวนานอาจเป็นอันตรายต่อแรง
หนุนเนื่อง และต้องการใช้กองหนุนเข้าปฏิบัติการ ความเข้าใจในสถานการณ์ที่เพิ่มพูนมากขึ้นช่วย
ให้ผู้บังคับบัญชาให้อรรถาธิบายในเรื่องของสถานภาพของหน่วย และการใช้หน่วยที่จัดขึ้นใหม่ได้
อย่างถูกต้อง การจัดหน่วยใหม่ทปี่ ระสบผลส�ำเร็จขึน้ อยูก่ บั การสนับสนุนทางการช่วยรบ ผูบ้ ญ
ั ชาการ
ก�ำลังรบจะท�ำการจัดหน่วยใหม่ ให้แนวทาง และท�ำการจัดล�ำดับความเร่งด่วนให้กับผู้บัญชาการ
ที่ท�ำหน้าที่ด้านการสนับสนุนทางการช่วยรบได้อย่างทันเวลา การกระท�ำเช่นนั้นอ�ำนวยให้
ผู้บังคับบัญชาท�ำการคาดการณ์ความต้องการ และการจัดวางทรัพยากรในต�ำแหน่งต่าง ๆ ได้
การผสมผสานการปฏิบัติการแตกหัก การปฏิบัติการสร้างสภาพที่เกื้อกูล และการปฏิบัติการ
ด�ำรงความต่อเนื่อง
๖-๔๙ ระหว่างการปฏิบตั กิ าร ผูบ้ งั คับบัญชาจะผสมผสานและสัง่ การเกีย่ วกับการปฏิบตั ิ
การแตกหัก การปฏิบัติการสร้างสภาพที่เกื้อกูล และการปฏิบัติการด�ำรงความต่อเนื่อง ในอุดมคติ
การปฏิบัติการแตกหักเกิดขึ้นตามแผนที่วางไว้ อย่างไรก็ตาม โอกาสและเหตุการณ์แวดล้อมจะ
เปลีย่ นแปลงล�ำดับขัน้ และรายละเอียดของการปฏิบตั กิ ารแตกหักได้อยูบ่ อ่ ย ๆ ผูบ้ งั คับบัญชาสร้าง
หรือด�ำรงรักษาโอกาสด้วยการปฏิบัติการสร้างสภาพที่เกื้อกูล การปฏิบัติการสร้างสภาพที่เกื้อกูล
เกิดก่อน และเกิดพร้อม ๆ กับการปฏิบัติการแตกหัก การปฏิบัติการด�ำรงความต่อเนื่องประกันถึง
เสรีการปฏิบัติในการที่จะด�ำรงรักษาแรงหนุนเนื่อง และขยายผลแห่งความส�ำเร็จ
๖-๕๐ ในทางอุดมคติ การปฏิบัติการที่แตกหัก การปฏิบัติการสร้างสภาพที่เกื้อกูล และ
การด�ำรงความต่อเนือ่ ง นัน้ เกิดขึน้ ณ เวลาเดียวกัน การปฏิบตั กิ ารพร้อมกันอ�ำนวยให้ผบู้ งั คับบัญชา
สามารถครอบครอง และด�ำรงรักษาความริเริ่มไว้ได้ อย่างไรก็ตาม ผู้บังคับบัญชายังคงต้องการ
อ�ำนาจ ก�ำลังรบอย่างเพียงพอ และข่าวสารที่เหนือกว่า ผู้บังคับบัญชาพิจารณาก�ำหนดว่าพวกเขา
สามารถบรรลุภารกิจด้วยการปฏิบัติการพร้อมกันครั้งเดียว ถ้าไม่สามารถท�ำได้ผู้บังคับบัญชาจะ
จัดการปฏิบตั อิ อกเป็นขัน้ การปฏิบตั ิ ในการตัดสินใจครัง้ นี้ ผูบ้ งั คับบัญชาจะพิจารณาถึงความช�ำนาญ
และขนาดก�ำลังของฝ่ายตรงข้าม ขนาดของพืน้ ทีป่ ฏิบตั กิ าร การเข้าถึงระดับยุทธการ การสนับสนุน
จากการปฏิบัติการยุทธ์ร่วมที่เป็นไปได้ และขอบเขตของภารกิจ ข้อพิจารณาที่ส�ำคัญก็คือความ
ส�ำเร็จของการปฏิบัติการแตกหัก ซึ่งต้องมีอำ� นาจก�ำลังรบเพียงพอที่จะพิจารณาก�ำหนดผลลัพธ์
154 บทที่ ๖

ทีค่ วรจะได้ ถ้าอ�ำนาจก�ำลังรบนัน้ ไม่สามารถน�ำมาใช้ได้ ผูบ้ งั คับบัญชาจะจัดขัน้ ตอนของการปฏิบตั ิ


การให้บรรลุถึงการปฏิบัติการพร้อมกันที่เป็นไปได้มากที่สุดในแต่ละขั้นการปฏิบัติ
การด�ำเนินกลยุทธ์และการยิง
๖-๕๑ ด้วยการด�ำเนินกลยุทธ์ กกล.ทบ. หาหนทางที่จะมีชัยชนะต่อฝ่ายข้าศึกอย่าง
เด็ดขาด การด�ำเนินกลยุทธ์จะเข้าปะทะโดยตรงต่อจุดศูนย์ดลุ ของฝ่ายข้าศึกเมือ่ เป็นไปได้ ถ้าไม่เป็น
เช่นนั้น การด�ำเนินกลยุทธ์จะเพ่งเล็งต่อจุดแตกหัก การด�ำเนินกลยุทธ์มีนัยส�ำคัญมากกว่าการใช้
การยิงและการเคลื่อนที่ เพื่อยึดรักษาที่หมาย การด�ำเนินกลยุทธ์มีความมุ่งหมายที่จะล้มล้าง
แผนทางยุทธการของข้าศึกให้ได้อย่างสมบูรณ์ การด�ำเนินกลยุทธ์ต้องการแนวความคิดที่กล้าหาญ
และการปฏิบัติการที่รุนแรง
๖-๕๒ การด� ำ เนิ น กลยุ ท ธ์ จ ะหลี ก เลี่ ย งก� ำ ลั ง ฝ่ า ยข้ า ศึ ก ที่ มี ก ารเตรี ย มการต่ อ สู ้ ที่ ดี
การด�ำเนินกลยุทธ์จะต่อสู้กับก�ำลังฝ่ายข้าศึก ณ เวลา หรือสถานที่ หรือในลักษณะที่ก�ำลังฝ่ายเรา
ได้เปรียบมากที่สุด การด�ำเนินกลยุทธ์สร้างสรรค์ และท�ำให้ข้าศึกเปิดเผยความล่อแหลม เพื่อรวม
ผลกระทบของอ�ำนาจก�ำลังรบของฝ่ายเรา
๖-๕๓ การปฏิบัติการอาจประกอบด้วยห้วงเวลาที่เปลี่ยนแปลง การปฏิบัติการที่ไม่เป็น
แนว สลับด้วยการปฏิบัติการเป็นแนว (ดูรูปที่ ๖–๒) ผู้บังคับบัญชาอาจจะเริ่มการปฏิบัติการด้วย
ก�ำลังทีม่ กี ารจัดเตรียมไว้อย่างเป็นปึกแผ่น และเปลีย่ นแปลงไปสูก่ ารด�ำเนินกลยุทธ์ไม่เป็นแนวอย่าง
รวดเร็วต่อที่หมายที่เรียงล�ำดับไว้ตลอดทั่วพื้นที่ปฏิบัติการ ในสภาพแวดล้อมที่มีความแตกต่างกัน
ผู้บังคับบัญชาอาจจะสั่งการให้มีการเข้าตีหลาย ๆ ทิศทางในทางลึกเพื่อท�ำลายระเบียบการตั้งรับ
ของฝ่ายข้าศึก และยึดครองภูมิประเทศส�ำคัญ ก�ำลังที่ท�ำการเข้าตีจะท�ำลายความเป็นปึกแผ่น
การป้องกัน และการเตรียมการที่จะกลับมาเป็นฝ่ายรุก ตัวอย่างอื่น ๆ ได้แก่ กกล.ทบ. ร่วมจะ
ยึดครองหัวสะพานอากาศหรือหัวหาดซึง่ ยึดครองไว้เพือ่ ใช้ส�ำหรับการปฏิบตั กิ ารยุทธ์สง่ ทางอากาศ
ขณะทีก่ ำ� ลังปฏิบตั กิ ารพิเศษโจมตีสงิ่ อ�ำนวยความสะดวกในการส่งก�ำลังทีส่ ำ� คัญ เหนือส่วนของพืน้ ที่
ปฏิบัติการ ต่อจากนั้นหน่วยส่งทางอากาศ จะจัดตั้งการป้องกันรอบหัวสะพานอากาศหรือหัวหาด
เพื่อป้องกันการตอบโต้ของฝ่ายข้าศึก เมื่อก�ำลังเพิ่มเติมมาถึง กกล.ทบ. จะปฏิบัติการที่ไม่เป็นแนว
เพื่อยุติความขัดแย้งนั้น
๖-๕๔ ในบางกรณี ข้อพิจารณาเกี่ยวกับการปฏิบัติหลาย ๆ ชาติอาจ จะจ�ำกัดขีดความ
สามารถของผู้บังคับบัญชาที่จะปฏิบัติการตลอดทั่วทั้งพื้นที่ปฏิบัติการ สมาชิกของก�ำลังหลาย ๆ
ชาติอาจจะขาดระบบข่าวสาร ขีดความสามารถในการโจมตีอย่างแม่นย�ำ และขีดความสามารถใน
การด�ำเนินกลยุทธ์ ผูบ้ งั คับบัญชาเปลีย่ นแปลงแนวความคิดในการปฏิบตั ขิ องตนผสมผสานขีดความ
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 155

สามารถของก�ำลังหลาย ๆ ชาติและของกองทัพไทย ผู้ที่มีส่วนร่วมของก�ำลังหลาย ๆ ชาติอาจจะ


ปฏิบัติการที่เป็นแนว ขณะที่ก�ำลัง กกล.ทบ. ปฏิบัติการด�ำเนินกลยุทธ์ที่ไม่เป็นแนวในทางลึกไป
พร้อม ๆ กัน การดังกล่าวนั้นท�ำให้แผนแบบทางยุทธการจะใช้กำ� ลังแต่ละส่วนโดยสอดคล้องกับ
ขีดความสามารถของก�ำลังรบนั้น ๆ และส่งเสริมการปฏิบัติการที่เป็นแนวด้วยการปฏิบัติการ
ที่ไม่เป็นแนว
๖-๕๕ การยิงที่มีความแม่นย�ำสามารถปรับรูปสถานการณ์และสร้างเงื่อนไขส�ำหรับ
การด�ำเนินกลยุทธ์ระดับยุทธการและระดับยุทธวิธไี ด้ อาวุธสมัยใหม่มคี วามแม่นย�ำเพียงพอส�ำหรับ
การโจมตีจะกลายเป็นสิ่งที่ถูกเลือกใช้อย่างมาก ระบบที่มีความก้าวหน้าทันสมัย สร้างผลกระทบ
อย่างสมบูรณ์ด้วยการยิงที่สามารถบรรลุได้ในอดีตที่ผ่านมาเท่านั้น ก�ำลังทหารแบบใหม่ที่ทันสมัย
ยังคงรับเอาผลที่เกิดจากการปฏิวัติทางเทคโนโลยีมาใช้ อย่างไรก็ตาม อาวุธในทุกวันนี้อ�ำนวยให้
ผู้บังคับบัญชาหลีกเลี่ยงการปฏิบัติการสร้างสภาพที่เกื้อกูลที่ยาวนานและมีราคาแพง “เพื่อสร้าง
สภาพเงื่อนไข” ด้วยการยิงและเครื่องมืออื่น ๆ การหลีกเลี่ยงการปฏิบัติเพื่อเตรียมการที่ยาวนาน
ก่อนที่จะมีการปฏิบัติการแตกหักก็เพื่อยึดครองโอกาสในการครองความริเริ่มให้ได้ก่อนฝ่ายข้าศึก
ผู้บังคับบัญชาพิจารณาก�ำหนดการผสมผสานการปฏิบัติการสร้างสภาพที่เกื้อกูลที่เหมาะสม
ที่ต้องการเพื่อประกันความส�ำเร็จของการปฏิบัติการแตกหัก นอกจากนี้ยังจะต้องตระหนักว่า
ผลกระทบของการยิงนั้นเป็นสิ่งที่ไม่ถาวร
๖-๕๖ การสนธิการยิงระดับยุท ธการกั บ การด� ำ เนิ น กลยุ ท ธ์ ร ะดั บ ยุ ท ธการต้ อ งการ
การออกแบบด้วยความระมัดระวังและการประสานงานอย่างมีประสิทธิผลกับกองบัญชาการ
ก�ำลังรบร่วม การข่าวกรอง การเฝ้าตรวจ และการลาดตระเวน จะพิสูจน์ทราบ ขีดความสามารถ
เฉพาะของข้าศึกซึ่งหากสูญเสียไปจะเป็นการลดประสิทธิภาพส�ำคัญในความเหนียวแน่นของข้าศึก
ลงได้ กกล.ทบ. โจมตีเป้าหมายด้วยเครื่องมือที่มีอ�ำนาจการสังหาร และไม่มีอ�ำนาจการสังหาร
ในอัตรา หรือส่งผ่านภารกิจไปยังหน่วยของก�ำลังรบร่วมที่ให้การสนับสนุน ในอุดมคติการเข้าตีนั้น
เป็นการปฏิบัติการพร้อมกัน การปฏิบัติการพร้อมกันจะท�ำให้ระบบการบังคับบัญชา และควบคุม
ของฝ่ายข้าศึกประสบกับความชะงักงัน และน�ำไปสูก่ ารเป็นอัมพาต เมือ่ เครือ่ งมือไม่เพียงพอส�ำหรับ
การปฏิบัติพร้อมกัน ผู้บังคับบัญชาจะวางแผนเข้าตีอย่างเป็นล�ำดับขั้น
156 บทที่ ๖

รูปที่ ๖-๒ การผสมผสานการปฏิบัติการเป็นแนวและไม่เป็นแนว

การสร้างความเหนือกว่า
๖-๕๗ การปฏิบัติการแตกหักประสานสอดคล้องระบบปฏิบัติการในสนามรบเพื่อสร้าง
ความเหนือกว่า ณ จุดแตกหักในพื้นที่ปฏิบัติการ ความเหนือกว่านั้นเป็นได้ทั้งปริมาณหรือคุณภาพ
ในความแตกต่ า งกั น ของระบบปฏิ บั ติ ก ารในสนามรบที่ ก�ำ ลั ง รบที่ มี ค วามแข็ ง แกร่ ง กว่ า จะมี
อ�ำนาจเหนือฝ่ายตรงข้าม ความเหนือกว่าอาจจะประยุกต์ใช้ส�ำหรับองค์ประกอบของอ�ำนาจก�ำลัง
รบหนึ่งหรือทั้งหมด จังหวะการปฏิบัติที่รวดเร็ว การปฏิบัติการข้อมูลข่าวสาร หรือสารสนเทศ
เชิงรุก และการยิงทีม่ อี ำ� นาจทางการสังหารจะต้องผสมผสานกันเพือ่ รบกวนระบบการบังคับบัญชา
และการควบคุ ม ของฝ่ า ยข้ า ศึ ก และสร้ า งเงื่ อ นไขของความเหนื อ กว่ า ด้ า นข้ อ มู ล ข่ า วสาร
หรือสารสนเทศ การยิงสนับสนุน, ขีดความสามารถในการพิทักษ์ก�ำลังรบ และการด�ำเนินกลยุทธ์
จะลดทอนการยิงสนับสนุนของฝ่ายข้าศึก การรับการสนับสนุนจากการยิงเล็งจ�ำลอง และการยิง
ร่วมท�ำให้ก�ำลังด�ำเนินกลยุทธ์สามารถเข้าประชิดฝ่ายข้าศึก และสามารถท�ำลายฝ่ายข้าศึกได้อย่าง
สมบูรณ์ด้วยการสู้รบระยะใกล้หรือการรบประชิด
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 157

การด�ำรงความต่อเนื่องของอ�ำนาจก�ำลังรบ
๖-๕๘ ผู้บังคับบัญชาพัฒนาความเข้าใจเกี่ยวกับผลกระทบของการด�ำรงความต่อเนื่อง
ของการปฏิบัติการอย่างถ่องแท้ ผู้บังคับบัญชาจะสร้างความสมดุลระหว่างความกล้าหาญ และ
ความรอบคอบในรูปแบบของการสนับสนุนทางการช่วยรบ และระบบปฏิบัติการสนามรบอื่น ๆ
การด�ำรงความต่อเนื่องของการปฏิบัติการเป็นระดับส�ำคัญในการพิจารณาก�ำหนด การเข้าถึงและ
ระยะถึงทางยุทธการ การปฏิบัติการด� ำรงความต่อเนื่องจะสร้างพลังอ� ำนาจของ กกล.ทบ.
ให้ยนื หยัดอยูไ่ ด้ และสร้างความล�้ำลึกของการปฏิบตั กิ าร การปฏิบตั กิ ารด�ำรงความต่อเนือ่ งจะท�ำให้
ผู้บังคับบัญชาสามารถรวมผลกระทบของอ�ำนาจก�ำลังรบที่กระท�ำซ�้ำไปซ�้ำมา และด�ำรงเสรีใน
การปฏิบัติไว้
ใช้การผสมผสานที่ปรับเปลี่ยนง่าย
๖-๕๙ ขณะทีผ่ บู้ งั คับบัญชาวาดภาพโครงร่างสนามรบ และแผนแบบทางยุทธการของตน
ผู้บังคับบัญชาพิจารณาการรวมการผสมผสานพื้นที่ปฏิบัติการที่ติดกันและไม่ติดกัน เข้ากับ
การปฏิบัติการที่เป็นแนวและไม่เป็นแนว ผู้บังคับบัญชาเลือกการผสมผสานที่เหมาะสมกับ
สถานการณ์ และความประสงค์ของการปฏิบัติการ การรวมพื้นที่ปฏิบัติการที่ติดกันและไม่ติดกัน
กับการปฏิบตั กิ ารทีเ่ ป็นแนวและไม่เป็นแนวจะสร้างสรรค์การผสมผสานไว้เป็น ๔ แบบ (ดูรปู ที่ ๖-๓)

รูปที่ ๖-๓ การผสมผสานพื้นที่ปฏิบัติการติดกัน และไม่ติดกันกับการปฏิบัติการเป็นแนวและไม่เป็นแนว


158 บทที่ ๖

๖-๖๐ การปฏิบัติการที่เป็นแนวในพื้นที่ปฏิบัติการที่ติดกัน การปฏิบัติการที่เป็นแนวใน


พื้นที่ปฏิบัติการที่ติดกัน แสดงให้เห็นถึงการปฏิบัติการรุก และรับที่มีความต่อเนื่องต่อก�ำลังที่มี
อ�ำนาจ ก�ำลังเป็นระลอกและก�ำลังที่มีการจัดแบบคล้ายคลึงกัน พื้นที่ซึ่งติดกันและแนวหน้า
การวางก�ำลังฝ่ายเดียวกันที่ต่อเนื่องและเพ่งเล็งอ�ำนาจก�ำลังรบและให้การปกป้องการปฏิบัติการ
ด�ำรงความต่อเนื่อง ปกติผู้บังคับบัญชาจะปรับรูปสนามรบในพื้นที่ทางลึก ด�ำเนินการปฏิบัติการ
ที่แตกหักในพื้นที่ระยะใกล้ และด�ำรงความต่อเนื่องในพื้นที่ส่วนหลัง
๖-๖๑ การปฏิบัติการที่เป็นแนวในพื้นที่ปฏิบัติการที่ไม่ติดกัน พื้นที่ด้านบนขวาแสดง
ให้เห็นถึงกองบัญชาการพร้อมทั้งหน่วยรองปฏิบัติการแบบเป็นแนวในพื้นที่ปฏิบัติการที่ไม่ติดกัน
ในกรณีนี้ กองบัญชาการหน่วยเหนือยังคงรักษาความรับผิดชอบในส่วนของพืน้ ทีป่ ฏิบตั กิ ารของตน
ทีอ่ ยูน่ อกเหนือพืน้ ทีป่ ฏิบตั กิ ารของหน่วยรอง แผนแบบทางยุทธการของกองบัญชาการหน่วยเหนือ
ใช้การปฏิบตั กิ ารทีไ่ ม่เป็นแนว หน่วยรองก�ำลังด�ำเนินการปฏิบตั กิ ารทีเ่ ป็นแนว การจัดสนามรบของ
หน่วยรองจะมีพนื้ ทีร่ ะยะใกล้ พืน้ ทีท่ างลึก และพืน้ ทีส่ ว่ นหลัง โดยทีห่ น่วยเหนือไม่ทำ� การจัดสนามรบ
ในลักษณะดังกล่าว การผสมผสานนีอ้ าจจะมีความเหมาะสมเมือ่ กองบัญชาการหน่วยเหนือนัน้ ก�ำลัง
ปฏิบัติการพร้อมกันที่แยกจากกันอย่างกว้างขวาง ตัวอย่างเช่น การโอบทางดิ่งต่อจุดแตกหัก
(การปฏิบตั กิ ารทีแ่ ตกหัก) จากหัวสะพานอากาศ (การปฏิบตั กิ ารสร้างสภาพทีเ่ กือ้ กูลและการปฏิบตั ิ
การด�ำรงความต่อเนื่อง)
๖-๖๒ การปฏิบัติการที่ไม่เป็นแนวในพื้นที่ปฏิบัติการที่ติดกัน ช่องล่างด้านซ้ายของ
รูปที่ ๖-๓ แสดงการปฏิบัติการไม่เป็นแนวที่ด�ำเนินการในพื้นที่ปฏิบัติการที่ติดกัน การผสมผสาน
ประเภทนี้ใช้ในการปฏิบัติการเพื่อเสถียรภาพ กรณีตัวอย่าง การปฏิบัติของ สหรัฐอเมริกา เช่น
การปฏิบัติในไฮติ, บอสเนีย และโคโซโว การปฏิบัติการสนับสนุนกรณีพายุเฮอริเคนแอนดรูว์
(Andrew) ก็ดำ� เนินการในรูปแบบนี้ กองบัญชาการหน่วยเหนือก�ำหนดความรับผิดชอบส�ำหรับพืน้ ที่
ปฏิบตั กิ ารทัง้ หมดให้กบั หน่วยรอง ภายในพืน้ ทีป่ ฏิบตั กิ ารของหน่วยรอง ในการปฏิบตั กิ ารเป็นแบบ
ไม่เป็นแนว กองบัญชาการของหน่วยรองได้รับการสนับสนุน และทรัพยากรจากกองบัญชาการ
หน่วยเหนือ ในสัดส่วนของการปฏิบัติการค้นหา และการโจมตีจะเป็นการปฏิบัติการที่ไม่เป็นแนว
ที่ด�ำเนินการในพื้นที่ซึ่งติดกันอยู่เสมอ ๆ
๖-๖๓ การปฏิบัติการที่ไม่เป็นแนวในพื้นที่ปฏิบัติการที่ไม่ติดกัน ช่องล่างด้านขวาของ
รูปที่ ๖-๓ แสดงหน่วยปฏิบัติการที่ไม่เป็นแนวในพื้นที่ปฏิบัติการที่ไม่ติดกัน การปฏิบัติการของ
ทั้งหน่วยเหนือ และหน่วยรองเป็นแบบไม่เป็นแนว ขนาดของพื้นที่ปฏิบัติการทางบก และ
การประกอบก�ำลังและการกระจายก�ำลังของก�ำลังข้าศึก ตลอดจนขีดความสามารถของก�ำลัง
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 159

ฝ่ายเราเป็นข้อพิจารณาส�ำคัญในการตัดสินใจที่จะใช้การจัดสนามรบและแผนแบบทางยุทธการ
แบบนี้ กรณีตัวอย่างในโซมาเลีย ปี พ.ศ. ๒๕๓๕ (ค.ศ. ๑๙๙๒) โดย กองทัพสหรัฐอเมริกา
การปฏิบัติการเพื่อเสถียรภาพแบบไม่เป็นแนว และการปฏิบัติการสนับสนุนในพื้นที่ปฏิบัติการที่
แยกกันอย่างกว้างขวางรอบ ๆ เมืองคิสมายู (Kismayu) และโมกาดิชู (Mogadishu)
ข้อพิจารณาด้านการยุทธ์ที่มีความสลับซับซ้อน
๖-๖๔ กกล.ทบ. ปฏิบัติการทุกรูปแบบ ในสภาพแวดล้อมที่มีข้อพิจารณาด้านการยุทธ์ที่
สลับซับซ้อน การปฏิบัติการทั้งปวงเต็มไปด้วยความท้าทายประกอบอยู่ อย่างไรก็ตามข้อพิจารณา
ด้านการยุทธ์ที่มีความสลับซับซ้อนเหล่านี้ต้องการการเอาใจใส่เป็นพิเศษจากผู้บังคับบัญชาและ
ฝ่ายเสนาธิการในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
- สภาพแวดล้อมทางนิวเคลียร์ ชีวะ และเคมี
- ประชาชนในท้องถิ่นและบุคคลผู้ผลัดถิ่น
- ภัยคุกคามไม่ตามแบบ
- การปฏิบัติในสิ่งปลูกสร้าง
สภาพแวดล้อมทางนิวเคลียร์ ชีวะ และเคมี
๖-๖๕ ภัยคุกคามของอาวุธอานุภาพท�ำลายล้างสูงสามารถเปลีย่ นแปลงสภาพเงือ่ นไขของ
ยุทธบริเวณได้อย่างเต็มที่ และท�ำให้เกิดความต้องการเกี่ยวกับการพิทักษ์ก�ำลังรบหลักที่ส�ำคัญ
ส่วนใหญ่วัตถุประสงค์หลักของผู้บัญชาการกองก�ำลังรบร่วม คือ การป้องปราบยับยั้งการน�ำอาวุธ
อานุภาพท�ำลายล้างสูงเข้าสูก่ ารรบ และถ้าหากการป้องปราบยับยัง้ นัน้ ล้มเหลว ก็จะต้องมีการค้นหา
และท�ำลายอาวุธอานุภาพท�ำลายล้างสูงของข้าศึกก่อนที่ฝ่ายข้าศึกจะใช้อาวุธดังกล่าว ศักยภาพ
ของการท�ำลายหรือการเปื้อนพิษต่อโครงสร้างพื้นฐานโดยอาวุธด้านนิวเคลียร์ ชีวะ เคมี นั้นท�ำให้
เกิดการเพิ่มความต้องการของ กกล.ทบ. ในการที่จะต้องปฏิบัติการได้อย่างมีประสิทธิภาพภายใน
และรอบ ๆ สภาพแวดล้อมที่เปื้อนพิษนั้น ความพร้อมรบของ กกล.ทบ. ที่จะปฏิบัติการใน
สภาพแวดล้ อ มของนิ ว เคลี ย ร์ ชี ว ะ เคมี จะเป็ น การป้ อ งปราบยั บ ยั้ ง ฝ่ า ยข้ า ศึ ก จากการใช้
อาวุธอานุภาพท�ำลายล้างสูง และสนับสนุนให้ กกล.ทบ. กล้าทีจ่ ะท�ำการหาหนทางในการแก้ปญ ั หา
เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่จะเกิดจากการแก้แค้นในระดับยุทธศาสตร์ลงได้
๖-๖๖ การปฏิบัติการในสภาพแวดล้อมของนิวเคลียร์ ชีวะ เคมี ต้องการการเตรียมการ
อย่างรอบคอบ วัคซีนจะให้การป้องกันก�ำลังพลส�ำหรับอาวุธชีวะบางประเภท แต่การฉีดวัคซีนอาจ
จ�ำเป็นต้องใช้เวลาเป็นสัปดาห์เพื่อการป้องกันให้แก่ผู้รับวัคซีนได้อย่างเต็มที่ ดังนั้นการป้องกัน
ต่ออาวุธเหล่านี้จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการที่ทำ� ให้หน่วยมีความพร้อมรบอย่างต่อเนื่อง
160 บทที่ ๖

ในท�ำนองเดียวกัน ก�ำลังพลอาจได้รับมาตรการต่อต้านทางยา อย่างเช่น การให้การดูแลรักษาก่อน


การปฏิบัติการหรือการใช้ยาแก้พิษในระหว่างการปฏิบัติการ โครงการความอยู่รอดด้านการแพทย์
จะท�ำให้ผบู้ งั คับบัญชาระดับยุทธวิธมี เี ครือ่ งมือทีจ่ ะพัฒนาพืน้ ฐานของภัยคุกคามด้านโรคภัยไข้เจ็บ
ในพื้นที่ปฏิบัติการ พื้นฐานนี้จะได้รับการพิสูจน์ทราบเมื่อฝ่ายข้าศึกเริ่มสงครามชีวะ
๖-๖๗ หน่วยต้องการยุทโธปกรณ์ที่ออกแบบเฉพาะส�ำหรับการปฏิบัติการในสภาพ
แวดล้อมทางด้าน นิวเคลียร์ ชีวะ เคมี หน่วยที่ได้รับการฝึกพิเศษอาจเป็นที่ต้องการในการให้การ
บรรเทาผลกระทบของสภาพแวดล้อมของนิวเคลียร์ ชีวะ เคมี การปฏิบัติการด้านนิวเคลียร์
ชีวะ เคมี คือ การสนับสนุนทางการช่วยรบที่มีความเข้มข้น ดังนั้นการปฏิบัติการเพื่อด�ำรงความ
ต่อเนื่องนั้นจึงต้องมีการวางแผนอย่างรอบคอบ
๖-๖๘ ผู ้ บั ง คั บ บั ญ ชาทุ ก ๆ ระดั บ ต้ อ งตระหนั ก ถึ ง ภั ย คุ ก คามจากอาวุ ธ อานุ ภ าพ
ท�ำลายล้างสูงนั้นมีผลต่อทางจิตวิทยา ด้วยก�ำลังพลทุก ๆ คนหวาดกลัวอาวุธเหล่านี้และมีข้อสงสัย
ข้องใจเกีย่ วกับมาตรการต่อต้านและอุปกรณ์ในการแก้ไขทีม่ ปี ระสิทธิภาพ ในหลายกรณี ภัยคุกคาม
ที่แท้จริงนั้นน้อยกว่าที่ก�ำลังพลได้จินตนาการขึ้น มีแต่เพียงการฝึกเป็นบุคคล อย่างแท้จริงเท่านั้น
ที่ จ ะลดความกลัวของพวกเขาให้เหลือน้อยที่ สุ ด ได้ การฝึ ก จะท� ำ ให้ ก� ำ ลั ง พลมี ค วามเชื่ อ มั่ น
ในยุทโธปกรณ์ของตน และเชื่อในขีดความสามารถของตนที่จะใช้ยุทโธปกรณ์ดังกล่าว
๖-๖๙ การใช้ผลกระทบด้านจิตวิทยาในเรื่องของนิวเคลียร์ ชีวะ เคมี นั้นจะมีผลต่อ
ก�ำลังพลเป็นรายบุคคลและมากกว่านั้น ดังนั้นผู้บังคับบัญชาและฝ่ายเสนาธิการจึงต้องเตรียมการ
ที่จะปฏิบัติการในสภาพแวดล้อมด้าน นิวเคลียร์ ชีวะ เคมี ความล้มเหลวในการด�ำเนินการ
บังคับบัญชา และการด�ำเนินกรรมวิธใี นการปฏิบตั ขิ องฝ่ายเสนาธิการในสถานการณ์ทมี่ กี ารใช้อาวุธ
นิวเคลียร์ ชีวะ เคมี จริงสามารถน�ำไปสูค่ วามไร้ซงึ่ ระเบียบ อันเป็นอันตรายจากนิวเคลียร์ ชีวะ เคมี
นั้นกลายเป็นอุปสรรคที่เอาชนะไม่ได้ การด� ำเนินการของที่บัญชาการซึ่งผู้บังคับบัญชาของ
หน่วยก�ำลังรบ และฝ่ายเสนาธิการด�ำเนินการต่อปัญหาอันตรายจากนิวเคลียร์ ชีวะ เคมี ที่เกิดขึ้น
อย่างเข้มแข็งเท่านั้นที่จะสามารถเอาชนะต่อลักษณะอาการอย่างนั้นได้ การฝึกที่เหมือนจริงนั้นจะ
เป็นสิง่ ทีพ่ สิ จู น์ให้เห็นว่าอันตรายจากนิวเคลียร์ ชีวะ เคมี นัน้ มีลกั ษณะคล้ายกับสภาพเงือ่ นไขอืน่ ๆ
ซึ่งเป็นอุปสรรคธรรมดา ๆ ที่สามารถเอาชนะได้
๖-๗๐ การปฏิบัติการของฝ่ายเราที่ประสบผลส�ำเร็จอาจจะเพิ่มความเป็นไปได้ในการใช้
อาวุธอานุภาพท�ำลายล้างสูงของฝ่ายข้าศึก ถ้าฝ่ายข้าศึกเชื่อว่าอาวุธอานุภาพท�ำลายล้างสูงเท่านั้น
ที่จะน�ำมาซึ่งชัยชนะ ฝ่ายข้าศึกอาจเลือกที่จะใช้มัน กกล.ทบ. ปรับการปฏิบัติให้สอดคล้องกัน
การด�ำเนินกลยุทธ์อย่างรวดเร็วจะท�ำให้ กกล.ทบ. เข้าใกล้ก�ำลังฝ่ายข้าศึก และเป็นเหตุให้ฝา่ ยข้าศึก
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 161

อยู่ในการเสี่ยงที่จะใช้อาวุธอานุภาพท�ำลายล้างสูงซึ่งจะมีผลต่อก�ำลังของฝ่ายข้าศึกอีกด้วย
กกล.ทบ. กระจายก�ำลังให้มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ และรวมก�ำลังอย่างรวดเร็วและกระท�ำการ
ดังกล่าวเท่าทีจ่ ำ� เป็นต่อการรวมผลกระทบ การปฏิบตั กิ ารทีไ่ ม่เป็นแนวจะท�ำให้ กกล.ทบ. วางก�ำลัง
ในทางลึกในพืน้ ทีป่ ฏิบตั กิ ารของข้าศึก ซึง่ จะมีความยุง่ ยากต่อการตัดสินใจเกีย่ วกับกรรมวิธเี กีย่ วกับ
เป้าหมายของ กกล.ทบ. การโจมตีที่แม่นย�ำจะท�ำลายระบบการบังคับบัญชา และการควบคุม
ตลอดจนระบบสนับสนุนทางการช่วยรบของฝ่ายข้าศึก ผูบ้ งั คับบัญชาเน้นการพิทกั ษ์กำ� ลังทัง้ เชิงรุก
และเชิงรับ ผู้บังคับบัญชาจะกระจายพื้นที่รวมพล และหน่วยสนับสนุนทางการช่วยรบ ระบบการ
ข่าวกรอง การเฝ้าตรวจ การลาดตระเวนจะเพ่งเล็งต่อการก�ำหนดที่ตั้ง และพิสูจน์ทราบขีดความ
สามารถทางด้านอาวุธอานุภาพท�ำลายล้างสูงของฝ่ายข้าศึก หน่วยลาดตระเวนจะด�ำเนินการค้นหา
และท�ำเครือ่ งหมายส�ำหรับพืน้ ทีอ่ นั ตราย และพืน้ ทีเ่ ปือ้ นพิษ การวางแผนนัน้ จะพิจารณาการโจมตี
ตอบแทนหรือการโจมตีก่อนด้วยมาตรการเชิงรุกอื่น ๆ ประกอบด้วย การตอบโต้ทางอากาศ
การยิงทีม่ คี วามแม่นย�ำต่อระบบอาวุธอานุภาพท�ำลายล้างสูงของฝ่ายข้าศึก และการปฏิบตั กิ ารข้อมูล
ข่าวสาร หรือสารสนเทศเชิงรุก
ประชาชนในท้องถิ่นและผู้พลัดถิ่น
๖-๗๑ กกล.ทบ. สร้างโอกาสส�ำหรับความส�ำเร็จด้วยการรวมการสนับสนุนจากประชาชน
ในท้องถิ่นและผู้พลัดถิ่น หลายครั้งที่ กกล.ทบ. ปฏิบัติการในพื้นที่ปฏิบัติการที่มีลักษณะของ
ความสับสนอลหม่านและไร้กฎระเบียบ กกล.ทบ. อาจจะพบกับประชาชนทีม่ วี ฒ ั นธรรมหลากหลาย
และมีอุดมการณ์ทางการเมืองที่อาจสนับสนุน เป็นปรปักษ์ หรือยังคงชื่นชม และต่อต้านต่อ
กกล.ทบ. ในการปฏิบัติการใด ๆ ก็ตาม กกล.ทบ. มีแนวโน้มที่จะเผชิญกับพลเรือนผู้พลัดถิ่น
หรือบุคคลที่ไม่ทราบสถานะชัดเจน ผู้บังคับบัญชาจะพิสูจน์ทราบสถานะของประชาชนเหล่านี้
และออกแบบการปฏิบัติการด้วยความส�ำนึกในการที่จะให้การพิทักษ์ต่อพวกเขาเหล่านั้น
๖-๗๒ ผู้บังคับบัญชาอาศัยข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับสถานที่ตั้งของกลุ่มและความเชื่อ
เพื่อประกันว่าการปฏิบัติที่น�ำมาใช้สอดคล้องกับเป้าหมายและวัตถุประสงค์ของผู้บัญชาการ
ก�ำลังรบร่วม การปฏิบัติการข้อมูลข่าวสาร หรือสารสนเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในองค์ประกอบ
ด้านการปฏิบัติการจิตวิทยา และกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง (การประชาสัมพันธ์ และการปฏิบัติการ
พลเรือนทหาร) ช่วยให้ผบู้ งั คับบัญชามีอทิ ธิพลต่อการรับรู้ และเข้าใจตลอดจนทัศนคติของประชาชน
ในท้องถิ่นได้เป็นอย่างดี ในบางครั้ง การปฏิบัติการข้อมูลข่าวสาร หรือสารสนเทศ และกิจกรรมที่
เกี่ยวข้อง อาจจะก่อให้เกิดการปฏิบัติการแตกหักได้ ความส�ำคัญของอิทธิพลจากความแปรเปลี่ยน
ด้านพลเรือนที่ส่งอิทธิพล ขึ้นอยู่กับภารกิจ และวัตถุประสงค์ของก�ำลังรบ
162 บทที่ ๖

๖-๗๓ พื้นฐานที่ส�ำคัญของการปฏิบัติการเกี่ยวกับประชาชนในท้องถิ่น และผู้พลัดถิ่นที่


ประสบความส�ำเร็จ ก็คือ ความมีวินัย เมื่อ กกล.ทบ. ปฏิบัติการเกี่ยวกับประชาชนในท้องถิ่น
ความมีวินัยเป็นตัวเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างกัน ในเหตุการณ์ที่ประชาชนนั้นมีความก�ำ้ กึ่งใน
การเป็นมิตรหรือเป็นศัตรู ความมีวนิ ยั จะป้องกันความตึงเครียดจากการทีจ่ ะกลายเป็นศัตรูและการ
ให้ความนับถือ กฎการปะทะ หรือกฎการใช้ก�ำลังจะเป็นแนวทางในการใช้ก�ำลังที่มีอ�ำนาจ
ในการสังหาร ไม่ใช่เพื่อยับยั้งการปฏิบัติและความริเริ่ม แต่เป็นช่องทางในการใช้กำ� ลังที่มีอ�ำนาจ
การสังหารภายในขอบเขตที่ยอมรับได้ การใช้ก�ำลังอย่างมีวินัยเป็นสิ่งที่มากกว่าประเด็นด้านขวัญ
มันเป็นสิ่งที่ส่งเสริมอย่างส�ำคัญยิ่งต่อความส�ำเร็จในการยุทธ์
ภัยคุกคามไม่ตามแบบ
๖-๗๔ ผู้บังคับบัญชาจะให้การพิทักษ์ก�ำลังรบจากภัยคุกคามไม่ตามแบบ ใน ๔ ประการ
ประการแรก ผู้บังคับบัญชาจะฝึกหน่วย และก�ำลังพลเพื่อการพิทักษ์ตนเอง
ต่อยุทธวิธีการก่อการร้ายและการรุกราน ผู้บังคับบัญชาจะ
ส่งเสริมขีดความสามารถในการป้องกันตนเองโดยการบังคับใช้
นโยบายการระวั ง ป้ อ งกั น เช่ น ระเบี ย บปฏิ บั ติ ด ้ า นการ
เคลื่อนย้ายนั้นจะต้องเหมาะสมต่อสถานการณ์
ประการที่สอง ผู้บังคับบัญชาพิจารณาภัยคุกคามที่เกิดจากหน่วยไม่ตามแบบ
และการปฏิบัติเพื่อเติมช่องว่างในขีดความสามารถของการ
พิทักษ์ตนเอง การปฏิบัติอาจประกอบด้วยการร้องขอก�ำลังรบ
เพิ่มเติม
ประการที่สาม ผูบ้ งั คับบัญชาใช้ทรัพยากรด้านข้อมูลข่าวสารทีเ่ ป็นไปได้ทงั้ หมด
(รวมทั้งเครื่องมือของชาติเจ้าบ้าน, ของยุทธบริเวณ, ระดับชาติ
และเครื่องมือในอัตรา) เพื่อความเข้าใจภัยคุกคามไม่ตามแบบ
ต่อก�ำลังรบ ผู้บังคับบัญชา ณ กองบัญชาการขนาดใหญ่อาจจัด
ตั้งชุดสนับสนุนข่าวกรองแห่งชาติเพื่อการเพ่งเล็งต่อภัยคุกคาม
ไม่ตามแบบอย่างทั่วถึง
ประการสุดท้าย ผู ้ บั ง คั บ บั ญ ชาจะแพร่ ก ระจายความรู ้ สึ ก ที่ ส นใจเกี่ ย วกั บ
ภัยคุกคามไม่ตามแบบด้วยการแสดงตัวอย่างและการให้ความ
สนใจอย่างสม�่ำเสมอ
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 163

การปฏิบัติการในเมือง
๖-๗๕ การปฏิบัติการในเมือง ประกอบด้วย การปฏิบัติการรุก การปฏิบัติการรับ
การปฏิบตั กิ ารเพือ่ เสถียรภาพ และการปฏิบตั กิ ารสนับสนุน ทีด่ ำ� เนินไปในภูมปิ ระเทศทีม่ คี วามสลับ
ซับซ้อน และภูมิประเทศทางธรรมชาติที่ติดต่อกัน ในพื้นที่ ที่มนุษย์สร้างขึ้น และมีประชาชนอยู่
อย่างหนาแน่นเป็นคุณลักษณะส�ำคัญ โลกเป็นสิ่งปลูกสร้างขนาดใหญ่ในรูปแบบที่มีประชาชนอยู่
อย่างหนาแน่น กกล.ทบ. ปฏิบัติการในเมือง ในพื้นที่ ที่กว้างใหญ่มีประชาชนอยู่หนาแน่น ซึ่งก่อให้
เกิดปัญหาอย่างส�ำคัญในกวาดล้างฝ่ายข้าศึก การฟื้นคืนสภาพการให้บริการ และ การจัดการ
ส่วนใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับประชาชน สภาพภูมิประเทศและความใกล้ชิดกับเรื่องของการปฏิบัติไม่ใช่
การรบนั้นจะลดประสิทธิภาพของอาวุธและเครื่องมือตรวจจับที่มีเทคโนโลยีอันทันสมัย ดังนั้น
เมืองนั้นค่อนข้างจะเป็นการรบทางภาคพื้นดินที่ฝ่ายข้าศึกที่อ่อนแอกว่าพยายามที่จะใช้ลดความ
ได้เปรียบของ กกล.ทบ. ที่มีมากกว่าในภูมิประเทศเปิด
๖-๗๖ จากมุมมองทางด้านการวางแผน ผูบ้ งั คับบัญชาจะค�ำนึงถึงเมืองไม่ใช่เพียงแต่เป็น
ภูมิประเทศเท่านั้น แต่ต้องเป็นสิ่งที่เป็นองค์รวมทางด้านพลวัต ที่ประกอบด้วยก�ำลังของฝ่ายศัตรู
ประชาชนในท้องถิ่น และโครงสร้างพื้นฐาน การวางแผนส�ำหรับการปฏิบัติการต่าง ๆ ในพื้นที่
สิง่ ปลูกสร้างต้องการ การเตรียมสนามรบด้านการข่าวอย่างรอบคอบ ด้วยการเน้นเฉพาะส่วนส�ำคัญ
ต่อความเป็นธรรมชาติที่มีลักษณะเป็นสามมิติเป็นพิเศษ และโครงสร้างทางสังคมของประชาชน
อย่างประณีต การวางแผนเกี่ยวกับการสนับสนุนทางการช่วยรบต้องค�ำนึงถึง การเพิ่มขึ้นของการ
บริโภค ภัยคุกคามที่เพิ่มขึ้นต่อเส้นหลักการคมนาคม และการคาดการณ์ถึงการสนับสนุนต่อการ
ปฏิบัติการที่ไม่ใช่การรบ ผู้บังคับบัญชาจะพัฒนา กฎการใช้ก�ำลังอย่างรอบคอบ และปรับเปลี่ยน
กฎเหล่านั้นไปสู่สถานการณ์ต่าง ๆ ที่มีอยู่อย่างหลากหลายตามความจ�ำเป็น และเพื่อประกันว่า
ก�ำลังพลมีความเข้าใจในกฎการใช้ก�ำลังดังกล่าวอย่างชัดเจน
๖-๗๗ การปฏิบัติการในเมือง จะบีบอัดขอบเขตพื้นที่ปฏิบัติการทางยุทธวิธีให้แคบลง
และต้องการ การผสมผสานก�ำลังรบผสมเหล่า ณ หน่วยระดับเล็ก ๆ หน่วยต่าง ๆ ต้องการ
การเตรียมการอย่างรอบคอบ และการซักซ้อมการปฏิบตั ิอย่างละเอียดถีถ่ ้วนเพือ่ ความช�ำนาญการ
ในการใช้เทคนิคของชุดรบผสมเหล่าที่เหนือกว่าในทุก ๆ พื้นที่ปิด และต้องมีการประสานงานกัน
อย่างใกล้ชิดเป็นพิเศษ ใช้ชุดรบผสมเหล่า และมีการพิทักษ์ระบบการสนับสนุนทางการช่วยรบ
อย่างรอบคอบ การปฏิบัติการในเมือง จะมีการสนับสนุนทางการช่วยรบที่เข้มข้น ความต้องการ
สิ่งอุปกรณ์จ�ำนวนมาก และการสนับสนุนต่อก�ำลังพลและส่วนที่ไม่ใช่การรบที่ต้องเปลี่ยนที่ตั้ง
จากการปฏิบัติการ
164 บทที่ ๖

การปฏิบัติการที่ตามมา
๖-๗๘ การปฏิ บั ติ ก ารทั้ ง ปวงเกี่ ย วข้ อ งกั น อย่ า งเป็ น ธรรมชาติ ทางความมุ ่ ง หมาย
และประเภทการปฏิบัติการ การปฏิบัติการที่บรรลุผลส�ำเร็จจะสร้างสภาพเงื่อนไขใหม่ ซึ่งน�ำไป
สู่การเปลี่ยนแปลงส�ำคัญในสถานการณ์ จุดศูนย์ดุลใหม่หรือจุดศูนย์ดุลที่มีการเปลี่ยนแปลงจาก
พื้นฐานเดิมอาจจะปรากฏขึ้นมา ปกติสภาพเงื่อนไขใหม่จะเป็นสิ่งที่ริเริ่มล�ำดับขั้นต่อไป
การเปลี่ยนผ่าน
๖-๗๙ การเปลี่ ย นผ่ า น เป็ น ลั ก ษณะส� ำ คั ญ ของช่ ว งระหว่ า งการปฏิ บั ติ ก ารที่ ก� ำ ลั ง
ด�ำเนินไป และการปฏิบัติเต็มขนาดของการปฏิบัติที่แตกออกไป และการปฏิบัติที่ตามมาหลายครั้ง
ที่การเปลี่ยนผ่านแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนจากการปฏิบัติการประเภทหนึ่ง เช่น จากการรุกไป
สูก่ ารปฏิบตั กิ ารเพือ่ เสถียรภาพ ณ หน่วยระดับต�ำ่ การเปลีย่ นผ่านเกิดขึน้ เมือ่ รูปขบวนหนึง่ เคลือ่ นที่
ผ่านรูปขบวนอืน่ ตัวอย่างเช่น เมือ่ หน่วยต้องเจาะแนวเครือ่ งกีดขวาง ผูบ้ งั คับบัญชาจะพิจารณาการ
เปลี่ยนผ่านจากการปฏิบัติการในปัจจุบันไปสู่การปฏิบัติการในอนาคตแต่เนิ่นในกระบวนการ
วางแผน ผู้บังคับบัญชาด�ำเนินการจัดเรียงล�ำดับในการเปลี่ยนแปลงนั้น ก็ถือเป็นตัวอย่างหนึ่ง
ซึง่ มักมีการเปลีย่ นแปลงบ่อย ๆ ปกติโครงสร้างการบังคับบัญชาจะเกีย่ วข้องเสมอ เพือ่ ให้สอดคล้อง
กับการเปลี่ยนแปลงในสถานการณ์ ตัวอย่างเช่น กองก�ำลังเฉพาะกิจร่วมอาจจะจบสิ้นลง และ
ก�ำลังรบจะกลับไปสู่การบังคับบัญชาของหน่วยเหนือของตน ความต้องการด้านการยุทธ์สำ� หรับ
กกล.ทบ. อาจจะถูกส่งไปให้กับผู้บังคับบัญชาคนใหม่ ผู้ซึ่งจะท�ำภารกิจหลังความขัดแย้งให้ด�ำเนิน
ต่อไป ถึงแม้ว่า กกล.ทบ. บางส่วนเตรียมการที่จะด�ำเนินการปรับรูปขบวนเข้าสู่การรบใหม่
๖-๘๐ การเปลี่ ย นแปลงสถานการณ์ ท างยุ ท ธศาสตร์ นั้ น ต้ อ งการ การปรั บ เปลี่ ย น
ความเข้มแข็ง และการประกอบก�ำลังของกองก�ำลังที่ถูกส่งเข้าสู่การปฏิบัติการ เมื่อประเภทของ
การปฏิบัติหลักมีการเปลี่ยนแปลง อย่างเช่น จากการรุกไปสู่การปฏิบัติเพื่อเสถียรภาพ ถือเป็น
ตัวอย่างหนึง่ ประเภทของหน่วยทีถ่ กู ส่งเข้าสูก่ ารปฏิบตั กิ ารตัง้ แต่เริม่ ต้นอาจจะไม่มคี วามเหมาะสม
อีกต่อไป ขณะที่กองก�ำลังใหม่แต่ละกองก�ำลังเตรียมการเพื่อการปฏิบัติการ ผู้บัญชาการก�ำลัง
รบร่วมและผูบ้ งั คับ บัญชาของส่วนก�ำลังทัพบกจะปรับแต่ง กกล.ทบ. ให้สอดคล้องกับความต้องการ
ของภารกิจและข้อจ�ำกัดของยุทธบริเวณ ก�ำลังที่เป็นก�ำลังเริ่มต้นการปฏิบัติการอาจจะเป็นเพียง
ก�ำลังที่จัดวางไว้อยู่ในยุทธบริเวณเมื่อการปฏิบัติการยุติลงเท่านั้น
๖-๘๑ การเปลี่ยนผ่านเป็นการปฏิบัติตามล�ำดับขั้น (sequel) ที่เกิดขึ้นระหว่างประเภท
ของการปฏิบัติการ ผู้บังคับบัญชาคาดการณ์ และวางแผนส�ำหรับการเปลี่ยนผ่านในฐานะเป็น
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 165

ส่วนหนึง่ ของการปฏิบตั กิ ารในอนาคต การเปลีย่ นผ่านระหว่างการปฏิบตั กิ ารนัน้ เป็นการปฏิบตั ทิ มี่ ี


ความยุ่งยาก และระหว่างการปฏิบัตินั้นอาจจะสร้างโอกาสที่ไม่ได้คาดหวังส�ำหรับ กกล.ทบ.
ฝ่ายข้าศึก หรือฝ่ายตรงข้าม โอกาสดังกล่าวนั้นต้องได้รับรู้โดยเร็ว และพัฒนาต่อไปในลักษณะของ
การปฏิบัติที่แตกแขนงออกไปส�ำหรับการปฏิบัติการเปลี่ยนผ่าน และมีการปฏิบัติอย่างทันทีทันใด
การเปลี่ยนผ่านระหว่างการปฏิบัติการอาจท�ำให้การปฏิบัติการที่ตามมามีความยุ่งยากมากที่สุด
ต่อการบรรลุผลส�ำเร็จ
การฟื้นฟู
๖-๘๒ การรบทีย่ าวนาน หรือ การรบปะทะอย่างรุนแรงจะท�ำให้ประสิทธิภาพการรบของ
หน่วยลดน้อยลง เมือ่ หน่วยไม่มปี ระสิทธิภาพการรบอีกต่อไป ผูบ้ งั คับบัญชาจะพิจารณาถึงการฟืน้ ฟู
ก�ำลังให้กับหน่วยนั้น การฟื้นฟู ประกอบด้วย การปฏิบัติที่ผู้บังคับบัญชาวางแผนและน�ำมาใช้ใน
การฟื้นคืนสภาพหน่วยให้ได้ระดับของประสิทธิภาพทางการรบที่ต้องการ โดยได้ส่วนสัมพันธ์กับ
ความต้องการทางภารกิจและทรัพยากรทีม่ อี ยู่ การปฏิบตั กิ ารฟืน้ ฟูนนั้ ประกอบด้วย การปรับเปลีย่ น
ก�ำลังใหม่ และการจัดระเบียบใหม่ การปรับเปลีย่ นก�ำลังใหม่ประกอบด้วย การสร้างหน่วยใหม่ดว้ ย
การทดแทน ก�ำลังพล ยุทโธปกรณ์ และสิ่งอุปกรณ์ขนานใหญ่ ซึ่งยังรวมถึงการจัดตั้งขึ้นใหม่หรือ
การทดแทนในส่วนของ ระบบการบังคับบัญชาและการควบคุมทีส่ �ำคัญและการด�ำเนินการฝึกให้กบั
หน่วยที่เสริมสร้างขึ้นใหม่ การจัดระเบียบใหม่ เป็นการปฏิบัติที่ด�ำเนินการเพื่อยกระดับทรัพยากร
ภายในของหน่วยที่ลดประสิทธิภาพแล้ว เพื่อเพิ่มระดับประสิทธิภาพในการรบของหน่วยนั้นขึ้น
๖-๘๓ ปกติกองบัญชาการเหนือกว่าสองระดับขึ้นไปจะควบคุมการฟื้นฟู ผู้บังคับบัญชา
และฝ่ายเสนาธิการวางแผนการฟื้นฟูให้เหมาะสมกับความเร่งด่วนของภารกิจและสนับสนุน
เจตนารมณ์ของผู้บังคับบัญชาหน่วยเหนือ การตัดสินใจสุดท้ายว่าจะฟื้นฟูหน่วยที่หมดสภาพหรือ
ไม่ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ ผู้บังคับบัญชายังคงรักษาความอ่อนตัวเอาไว้ ความต้องการทางภารกิจ
และทรัพยากรที่เป็นไปได้ รวมทั้งเวลา เป็นสิ่งที่ใช้ในการพิจารณาการปฏิบัติการฟื้นฟูที่เหมาะสม
๖-๘๔ แผนการฟื้นฟู เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาหนทางปฏิบัติของหน่วยพร้อมด้วย
บทบาทในการฟืน้ ฟู ท�ำการฝึกเพือ่ ทีจ่ ะด�ำเนินการเกีย่ วกับการฟืน้ ฟูนี้ ผูบ้ งั คับบัญชา ฝ่ายเสนาธิการ
และหน่วยที่ก�ำลังปฏิบัติการวางแผนและเตรียมการส�ำหรับการฟื้นฟูก่อนที่จะเผชิญหน้ากับวิกฤติ
ดังกล่าว หน่วยก�ำลังรบ หน่วยสนับสนุนการรบหรือหน่วยสนับสนุนทางการช่วยรบอาจต้องการการ
ฟื้นฟูได้ เช่นเดียวกันกับในสภาวะพิเศษ การปฏิบัติการในสภาวะแวดล้อมด้านนิวเคลียร์ ชีวะ เคมี
นั้นเพิ่มความน่าจะเป็นที่บางหน่วยจะต้องการการฟื้นฟูภายหลังการท�ำลายล้างพิษ
166 บทที่ ๖

๖-๘๕ การฟืน้ ฟูตอ้ งการ การใช้หลักการของการปฏิบตั กิ ารของ ทบ. การปฏิบตั กิ ารฟืน้ ฟู


ต้องสร้างหน่วยใหม่ทอี่ ำ� นวยให้ผบู้ งั คับบัญชาสามารถทีจ่ ะก�ำหนดรูปแบบการรบให้ดำ� เนินต่อไปได้
การปฏิบัติเหล่านี้มีความจ�ำเป็นที่จะด�ำรงรักษาความว่องไวของก�ำลังรบ การตระหนักถึงความ
ต้องการ และการปฏิบัติการฟื้นฟูอย่างรวดเร็วจะก่อให้เกิดประสิทธิภาพทางการรบตามที่ต้องการ
เพื่อด�ำรงรักษาความริเริ่มไว้ ผู้บังคับบัญชาวาดภาพการฟื้นฟูในรูปแบบของความลึกเรื่องของเวลา
พื้นที่ และทรัพยากรในขณะที่ก�ำลังด�ำเนินการในการปฏิบัติการอื่น ๆ อยู่ ผู้บังคับบัญชาจะมองไป
ข้างหน้า พิจารณาทรัพยากรที่ต้องการ และที่เป็นไปได้ และสั่งการเกี่ยวกับความต้องการด้านการ
ประสานสอดคล้องอย่างกว้างขวาง
การยุติความขัดแย้ง
๖-๘๖ การยุติความขัดแย้งเป็นการพรรณนาถึงจุดที่เครื่องมือหลักของความขัดแย้ง
เปลี่ยนไปจากการใช้ก�ำลังหรือภัยคุกคามของก�ำลังไปยังเครื่องมือของความเชื่ออื่น ๆ การยุติความ
ขัดแย้งอาจมีได้หลายรูปแบบ ตัวอย่างเช่น ฝ่ายข้าศึกอาจยอมแพ้ ถอนตัว หรือเจรจาถึงจุดยุติของ
ความขัดแย้ง ผู้บังคับบัญชาและฝ่ายเสนาธิการพิจารณาความต้องการของการยุติความขัดแย้ง
เมื่อมีการพัฒนาแผนการทัพ ถ้าผลลัพธ์สุดท้ายคือสถานการณ์ที่ต้องการส่งเสริมการเจริญเติบโต
ทางเศรษฐกิจ ตัวอย่างหนึ่ง ผู้บังคับบัญชาพิจารณาผลกระทบของการท� ำลายโครงสร้างทาง
เศรษฐกิจ โดยไม่สนใจว่าความขัดแย้งจะจบลงอย่างไร บ่อยครั้งที่ความขัดแย้งเปลี่ยนไปสู่ความ
รุนแรงที่น้อยกว่า แต่ยังคงมีรูปแบบของการเผชิญอยู่ต่อไป
๖-๘๗ การยุตคิ วามขัดแย้งเป็นมากกว่าการบรรลุผลลัพธ์สดุ ท้ายทางทหาร การยุตคิ วาม
ขัดแย้งจะเป็นการสนับสนุนทางทหารต่อเกณฑ์ความส�ำเร็จอย่างกว้าง ๆ ขณะที่นโยบายจะจัดการ
กับความขัดแย้งทีเ่ กีย่ วข้อง ซึง่ ผลลัพธ์สดุ ท้ายของทัง้ ระดับก�ำลังรบร่วม และเหล่าทัพบกก็จะควบคุม
ความขัดแย้งด้วยเหมือนกัน แผนการทัพทีม่ ปี ระสิทธิภาพจะให้รายละเอียดทีม่ ากกว่าวัตถุประสงค์
ทางทหาร แผนการทัพจะระบุผลลัพธ์สุดท้ายที่สนับสนุนนโยบายของชาติ แผนการทัพที่มี
ประสิทธิภาพจะมีความรอบคอบในการแยกแยะระหว่างพลังอ�ำนาจทางทหารกับเครื่องมืออื่น ๆ
ของพลังอ�ำนาจแห่งชาติ อย่างชัดเจน
การประเมินค่า
๖-๘๘ ผู้บังคับบัญชา ได้รับการช่วยเหลือโดยฝ่ายเสนาธิการ จะประเมินค่าสถานการณ์
และความก้าวหน้าของการปฏิบัติการอย่างต่อเนื่อง และเปรียบเทียบการประเมินค่าดังกล่าวกับ
การวาดภาพการรบเริม่ แรก การประเมินค่า คือ การเฝ้าติดตามอย่างต่อเนือ่ งตลอดทัง้ การวางแผน
การเตรี ย มการ และการปฏิ บั ติ ก าร ของสถานการณ์ ใ นปั จ จุ บั น และความก้ า วหน้ า ของ
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 167

การปฏิบัติการ และประเมินค่าการดังกล่าวต่อปัจจัยพิจารณาความส�ำเร็จเพื่อการตัดสินใจ และ


การปรับเปลี่ยน ผู้บังคับบัญชาสั่งการให้มีปรับเปลี่ยนเพื่อประกันว่าการปฏิบัติการดังกล่าวยังคง
เป็นไปตามเจตนารมณ์ของผู้บังคับบัญชา หน่วยรองประเมินค่าความก้าวหน้าของหน่วยของตน
โดยเปรียบเทียบกับเจตนารมณ์ของผู้บังคับบัญชาของหน่วยเหนือ และปรับเปลี่ยนการปฏิบัติ
ของตนเพื่อบรรลุผลลัพธ์สุดท้ายที่ก�ำหนดไว้ โดยเฉพาะในส่วนที่ค�ำสั่งขาดหายไป
๖-๘๙ การประเมินค่าจะน�ำและให้แนวทางแก่กิจกรรมทุก ๆ กิจกรรมในกรรมวิธีการ
ปฏิบัติการ และสรุปการปฏิบัติหรือขั้นแต่ละขั้นของการปฏิบัติการ การประเมินค่าเกี่ยวข้องกับ
กิจกรรมที่มีความแตกต่างกันอย่างเด่นชัดสองกิจกรรม คือ การเฝ้าติดตามสถานการณ์และความ
ก้าวหน้าของการปฏิบตั กิ ารอย่างต่อเนือ่ ง และประเมินค่าการปฏิบตั ติ อ่ มาตรการในเรือ่ งของความ
มีประสิทธิภาพ ทั้งนี้กิจกรรมทั้งสองเปรียบเทียบกันในความเป็นจริงเพื่อการคาดการณ์
๖-๙๐ ไม่ใช่ทุก ๆ การปฏิบัติการที่มุ่งไปสู่ผลลัพธ์สุดท้ายที่ต้องการได้อย่างราบรื่น
ผูบ้ งั คับบัญชาพิจารณาตรวจสอบตัวอย่างของความส�ำเร็จหรือความล้มเหลวทีไ่ ม่คาดคิด การปฏิบตั ิ
ของข้าศึกที่ไม่ได้คาดการณ์ไว้ หรือการปฏิบัติการที่ง่ายแต่ไม่ได้เป็นไปตามที่วางแผนไว้ ผู้บังคับ
บัญชาประเมินค่าเหตุของความส�ำเร็จ ความฝืดในสนามรบและความล้มเหลว และผลกระทบ
ทัง้ ปวงต่อก�ำลังและการปฏิบตั กิ าร ในการประเมินค่าเหตุของความล้มเหลวหรือการปฏิบตั ทิ ตี่ ำ�่ กว่า
มาตรฐาน ผู้บังคับบัญชาจะกล่าวถึงเหตุโดยทันที ในขณะที่ยังคงรักษาความอ่อนตัวที่จะค้นหา
ผู้ช่วยเหลือที่เกี่ยวข้อง หรือผู้ช่วยเหลือที่แอบแฝงอยู่ ตัวอย่างเช่น ผู้บังคับบัญชาอาจทดแทนผู้น�ำ
ทีไ่ ม่มปี ระสิทธิภาพภายหลังการรบปะทะซึง่ กกล.ทบ. ต้องสูญ เสียอย่างมหาศาล ในตัวอย่างอืน่ ๆ
ผูบ้ งั คับบัญชาอาจต้องรักษาผูบ้ งั คับบัญชาหน่วยรองในก�ำลังทีพ่ า่ ยแพ้ ทัง้ สองตัวอย่างผูบ้ งั คับบัญชา
แสวงหาค�ำตอบส�ำหรับค�ำถามที่ใหญ่กว่าที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความปลอดภัยการปฏิบัติการ
หลักนิยมของข้าศึก ผู้น�ำ ยุทโธปกรณ์ และสถานะของการฝึกของก�ำลังฝ่ายเรา และของฝ่ายข้าศึก
ผู้บังคับบัญชาก็ยังเรียนรู้จากความผิดพลาดที่ผ่านมา และอ�ำนวยให้หน่วยรองเรียนรู้จากความ
ผิดพลาดดังกล่าว
๖-๙๑ การประเมินค่าการยุทธ์ที่ผ่านมาอย่างเป็นทางการ ผสมผสานด้วยการรายงาน
หลังการปฏิบัติที่เตรียมการโดยหน่วยที่เกี่ยวข้องกับการสังเกตการณ์ที่รวบรวมโดยผู้สังเกตการณ์
การประเมินค่าเหล่านีจ้ ะกลายเป็นพืน้ ฐานของการเปลีย่ นแปลงต่อหลักนิยม การฝึก การพัฒนาผูน้ �ำ
การจัดองค์กร และสิ่งอุปกรณ์ที่สนับสนุนต่อก�ำลังพล ปกติแล้วการประเมินค่าจะรวมถึงการ
สัมภาษณ์ผู้บังคับบัญชา และฝ่ายเสนาธิการ เช่นเดียวกัน กับผู้น�ำหน่วยขนาดเล็กและก�ำลังพล
ขณะนี้ผู้บังคับบัญชาสนับสนุน และยอมรับความริเริ่มในส่วนของหน่วยรองระหว่างการปฏิบัติการ
ผู้บังคับบัญชาจะสนับสนุน และยอมรับโดยปราศจากอคติระหว่างการประเมินค่าหลังการยุทธ์
ภาคที่ ๓
การปฏิบัติการทุกรูปแบบอย่างแตกหัก
ตอนที่ ๓ กล่าวถึง การปฏิบัติการ ๔ แบบ ที่ กกล.ทบ. ปฏิบัติ นั่นคือ การปฏิบัติการรบด้วยวิธีรุก
การปฏิบตั กิ ารรบด้วยวิธรี บั การปฏิบตั กิ ารเพือ่ เสถียรภาพ และการปฏิบตั กิ ารสนับสนุน ซึง่ จะท�ำให้
เห็นภาพการน�ำเอาแนวความคิดที่กล่าวไว้ในตอนที่ ๒ ไปปฏิบัติในสภาวะแวดล้อมทางการยุทธ์ที่
ได้อธิบายไว้ในตอนที่ ๑
บทที่ ๗ กล่าวถึง การปฏิบัติการรบด้วยวิธีรุก การปฏิบัติการรบด้วยวิธีรุก เป็นแบบของการรบที่
บังเกิดผลเด็ดขาด จิตวิญญาณและวัตถุประสงค์ของการปฏิบัติการรบด้วยวิธีรุก ดูได้จากเจตจ�ำนง
ที่จะยึด รักษา และขยายผลจากความริเริ่ม การปฏิบัติการรบด้วยวิธีรุก ก็เช่นเดียวกับการปฏิบัติ
การแบบอืน่ ๆ ไม่วา่ จะเป็นการรบด้วยวิธรี บั การปฏิบตั เิ พือ่ เสถียรภาพ และการปฏิบตั กิ ารสนับสนุน
นัน่ ก็คอื หัวใจของมันอยูท่ คี่ วามส�ำเร็จ เมือ่ บวกกับขีดความสามารถทางก�ำลังรบทีไ่ ด้อธิบายให้เห็น
แล้ว จะเห็นว่า กกล.ทบ. เป็น กองก�ำลังทีเ่ หมาะสมในทุกสถานการณ์ อย่างไรก็ตามหากสถานการณ์
บีบบังคับให้จ�ำเป็นต้องเป็นฝ่ายรับ การจะเป็นฝ่ายชนะนั้นจะต้องเปลี่ยนจากรับเป็นรุกให้เร็วที่สุด
การปฏิบตั กิ ารรบด้วยวิธรี กุ จะสิน้ สุดเมือ่ กองก�ำลังปฏิบตั ภิ ารกิจเป็นผลส�ำเร็จ และรุกคืบหน้าไปถึง
เขตจ�ำกัดการรุก หรือ ถึง การผกผัน จากนั้นจะต้องท�ำการเสริมความมั่นคง การเข้าตีใหม่ หรือ
เตรียมการปฏิบัติการรบต่อไป
บทที่ ๘ กล่าวถึง การปฏิบัติการรบด้วยวิธีรับ ผู้บังคับบัญชาก�ำหนดให้ตั้งรับเพื่อเอาชนะการเข้าตี
ของข้าศึก เพื่อรอเวลา ออมก�ำลัง หรือ คลี่คลายเงื่อนไขต่าง ๆ ให้เอื้ออ�ำนวยในการกลับมาเป็น
ฝ่ายรุก ถึงแม้การปฏิบัติการรบด้วยวิธีรับ จะเป็นแบบการรบที่แข็งแกร่ง แต่มักจะไม่ทำ� ให้เกิด
ชัยชนะได้อย่างเด็ดขาด ดังนัน้ ผูบ้ งั คับบัญชาจึงต้องน�ำเอาการปฏิบตั กิ ารปฏิบตั กิ ารรบด้วยวิธรี กุ มา
ใช้ร่วมกับการปฏิบัติการรบด้วยวิธีรับ ไม่ว่าจะกระท�ำพร้อมกัน หรือท�ำตามล�ำดับขั้น
บทที่ ๙ กล่าวถึง การปฏิบัติการเพื่อเสถียรภาพ การปฏิบัติการเพื่อเสถียรภาพ คือ การปฏิบัติการ
ของกองก�ำลังทางบก ที่กระท�ำทั้งภายในและภายนอกบูรณภาพเหนือดินแดนสหรัฐฯ โดยมี
วัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและธ�ำรงเสถียรภาพทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลกเอาไว้ การปฏิบัติ
การเพือ่ เสถียรภาพ เป็นการปฏิบตั ทิ หี่ ลากหลาย ต่อเนือ่ ง และมักกินเวลานาน อย่างไรก็ตาม ความ
น่าเชื่อถือและพลังอ�ำนาจของ กกล.ทบ. ท�ำให้ กกล.ทบ. สามารถด�ำรงเสถียรภาพเอาไว้ได้จนกว่า
สถานการณ์จะได้รบั การแก้ไข กกล.ทบ. อาจปฏิบตั กิ ารเป็นส่วนหนึง่ ของแผนการรบของยุทธบริเวณ
หรือในการเผชิญเหตุขนาดเล็กนั้น หรือ ปฏิบัติการที่ต่อเนื่องของการทัพ หรือ การยุทธ์ขนาดใหญ่
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 169

การปฏิบตั กิ ารเหล่านีเ้ ป็นเรือ่ งซับซ้อนและยุง่ ยาก ต้องใช้ผบู้ งั คับบัญชาหน่วย และก�ำลังพลทีม่ คี วาม


สามารถสูง และยังต้องใช้ความว่องไวทั้งทางร่างกาย และสติปัญญา เพื่อให้สามารถรับมือกับ
สถานการณ์ทเี่ ปลีย่ นแปลงไปอย่างรวดเร็วระหว่างสันติภาพ ความขัดแย้ง และสงคราม รวมถึงการ
เปลี่ยนแปลงการปฏิบัติระหว่างการรบกับการปฏิบัติที่มิใช่การรบ
บทที่ ๑๐ กล่าวถึง การปฏิบัติการสนับสนุน กกล.ทบ. ปฏิบัติการสนับสนุนเพื่อบรรเทาทุกข์ หรือ
ช่วยเหลือหน่วยงานพลเรือนในการเตรียมรับมือ และตอบสนองต่อวิกฤติการณ์ต่าง ๆ การปฏิบัติ
การสนับสนุน แบ่งออกเป็นสองประเภท คือ การปฏิบัติการสนับสนุนภายใน และการปฏิบัติการ
เพื่อมนุษยธรรม การปฏิบัติการสนับสนุนภายในจะกระท�ำภายในประเทศ และบูรณภาพเหนือ
ดินแดน ส่วนการปฏิบตั กิ ารเพือ่ มนุษยธรรมจะเป็นการปฏิบตั กิ ารในดินแดนต่างประเทศ การปฏิบตั ิ
การสนับสนุนภายในจะรวมถึงการสนับสนุนหน่วยงานพลเรือนในการปกป้องดินแดน ประชาชน
และโครงสร้างพื้นฐานจากการโจมตี หน่วยงานอื่น ๆ ของรัฐมักจะเป็นผู้รับผิดชอบหลักในเรื่อง
ดังกล่าว แต่อย่างไรก็ตาม กองก�ำลังทางบก มีขีดความสามารถพิเศษที่จะท�ำการสนับสนุนได้
การปฏิบัติการสนับสนุน มักมีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาภัยพิบัติทั้งที่เกิดจากธรรมชาติ และที่
เกิดจากมนุษย์ในห้วงระยะเวลาจ�ำกัดจนกว่าหน่วยงานพลเรือนจะสามารถจัดการกับภัยเหล่านั้น
ได้ด้วยตัวเอง
ในสภาวะแวดล้อมทุกรูปแบบ ความริเริม่ ของผูบ้ งั คับบัญชา ความว่องไวของหน่วย ความ
ลึกในด้านทรัพยากรของ ทบ. และความสามารถรอบด้านของก�ำลังพล ทบ. เมื่อรวมกันจะช่วยให้
กกล.ทบ. สามารถปฏิบัติภารกิจทุกรูปแบบได้เป็นผลส�ำเร็จ ผู้บังคับบัญชาจะประสานสอดคล้อง
การปฏิบัติการรบด้วยวิธีรุก การปฏิบัติการรบด้วยวิธีรับ การปฏิบัติการเพื่อเสถียรภาพ และการ
ปฏิบัติการสนับสนุน เพื่อเอาชนะข้าศึก หรือเพื่อความเป็นฝ่ายที่เหนือกว่าในทุกสถานการณ์ได้ทุก
สถานที่ ทุกเวลา
บทที่ ๗
การปฏิบัติการรบด้วยวิธีรุก
ในสงคราม การปฏิบัติการรบด้วยวิธีรับ ที่ดีที่สุดก็คือการปฏิบัติการรบด้วยวิธีรุก และ
ประสิทธิภาพการปฏิบตั กิ ารรบด้วยวิธรี กุ ขึน้ อยูก่ บั จิตวิญญาณทีร่ กุ รบของผูท้ กี่ ระท�ำการปฏิบตั กิ าร
รบด้วยวิธีรุก นั้นเอง
พลเอก จอร์จ เอส. แพตตัน จูเนียร์
หนังสือ WAR AS I KNEW IT
๗-๑ การปฏิบัติการรบด้วยวิธีรุก คือ การรบที่ให้ผลเด็ดขาดที่สุด การรบด้วยวิธีรุกมี
จุดมุง่ หมายเพือ่ ท�ำลายหรือเอาชนะข้าศึก วัตถุประสงค์ของการปฏิบตั กิ ารรบด้วยวิธรี กุ คือ เพือ่ บีบ
ให้ข้าศึกท�ำตามเจตจ�ำนงของฝ่ายเรา และเพื่อให้ได้ชัยชนะขั้นเด็ดขาด ถึงแม้ว่าบางสถานการณ์
อาจจ�ำเป็นต้องใช้การปฏิบัติการรบด้วยวิธีรับ บ้าง แต่การจะให้ได้ชัยชนะเด็ดขาดนั้นจะต้อง
เปลี่ยนไปสู่การปฏิบัติการรบด้วยวิธีรุก ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะท�ำได้
วัตถุประสงค์ของการปฏิบัติการรบด้วยวิธีรุก
๗-๒ การรบด้วยวิธีรุกกระท�ำเพื่อครอบครอง รักษา และขยายผลจากความริเริ่ม
เพื่อเอาชนะข้าศึกให้ได้อย่างเด็ดขาด กกล.ทบ. จะต้องท�ำการโจมตีพร้อมกันทั่วทั้งพื้นที่ปฏิบัติการ
เพื่อท�ำให้ข้าศึกตั้งตัวไม่ติด ท�ำให้ข้าศึกไม่สามารถใช้ขีดความสามารถอย่างได้ผล ท�ำให้การปฏิบัติ
การรบด้วยวิธีรับของข้าศึกสับสน พ่ายแพ้ และถูกท�ำลาย การปฏิบัติการรบด้วยวิธีรุก สิ้นสุดลง
เมื่อ กกล.ทบ. บรรลุวัตถุประสงค์ของการปฏิบัติการเคลื่อนที่ถึงเขตจ�ำกัดการรุก หรือ ถึงจุดผกผัน
ในขั้นตอนนี้ กกล.ทบ. จะด�ำเนินการเสริมความมั่นคง เข้าตีต่อไป หรือ เตรียมการปฏิบัติการต่อไป
กิจอื่น ๆ ที่ กกล.ทบ. ต้องท�ำให้ส�ำเร็จในการปฏิบัติการรบด้วยวิธีรุก ได้แก่
- ท�ำลายความเป็นปึกแผ่นของข้าศึก
- ยึดหรือรักษาภูมิประเทศ
- ขัดขวางการใช้ทรัพยากรของข้าศึก
- ตรึงข้าศึก
- เพื่อให้ได้ข่าวสาร
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 171

การปฏิบัติการรบด้วยวิธีรุกในสงครามระดับยุทธการ และยุทธวิธี
๗-๓ ผู้บังคับบัญชาในระดับยุทธการด�ำเนินงานในการปฏิบัติการรบด้วยวิธีรุก ใน
การทั พ และการยุ ท ธ์ ข นาดใหญ่ เพื่ อ ให้ บ รรลุ ผ ลกระทบบนพื้ น ฐานการปฏิ บั ติ ท างยุ ท ธวิ ธี
ผูบ้ ังคับบัญชาเหล่านี้จะมุง่ ความสนใจไปที่การรบด้วยวิธรี ุกทางภาคพื้นดิน และจะเป็นผู้ก�ำหนดว่า
วัตถุประสงค์ หรือที่หมายใด ที่จะช่วยให้บังเกิดชัยชนะขั้นเด็ดขาด พื้นที่ปฏิบัติการใดจะเป็นพื้นที่
ปฏิบัติ ความสัมพันธ์ระหว่างหน่วยรองเมื่อมีปัจจัยเวลา พื้นที่ และวัตถุประสงค์มาเกี่ยวข้อง และ
จะวางความพยายามอย่างแตกหักไว้ ณ ที่ใด ผู้บังคับบัญชาระดับยุทธการจะมอบพื้นที่ปฏิบัติการ
ให้ กั บ ผู ้ บั ง คั บ บั ญ ชาในระดั บ ยุ ท ธวิ ธี ร วมถึ ง ก�ำ หนดความสั ม พั น ธ์ ท างการบั ง คั บ บั ญ ชา และ
การสนับสนุนให้กับผู้บังคับบัญชาเหล่านั้น ผู้บังคับบัญชาระดับยุทธวิธีจะน�ำหน่วยท�ำการรบด้วย
วิธรี กุ เพือ่ ให้บรรลุวตั ถุประสงค์ อันได้แก่ การท�ำลายก�ำลังกองก�ำลังข้าศึก หรือยึดครองภูมปิ ระเทศ
ที่ท�ำให้เกิดผลกระทบในระดับยุทธบริเวณตามที่ผู้บังคับบัญชาในระดับยุทธการต้องการ
การปฏิบัติการรบด้วยวิธีรุก ในระดับยุทธการ
๗-๔ ระดับยุทธการ การรบด้วยวิธรี กุ ท�ำการเข้าตีทงั้ โดยตรงหรือโดยอ้อมต่อจุดศูนย์ดลุ
ของข้าศึก ผูบ้ งั คับบัญชาท�ำสิง่ นีโ้ ดยการเข้าตีตอ่ จุดแตกหักของข้าศึก ทัง้ โดยการกระท�ำทีพ่ ร้อมกัน
หรือตามล�ำดับขั้นตอน ผลกระทบเป็นกลุ่มก้อนของกองก� ำลังรบร่วมและกองก�ำลังหลายชาติ
อ�ำนวยให้ฝ่ายเข้าตีในการครองความริเริ่ม ฝ่ายเราท�ำการปิดกั้นเสรีในการปฏิบัติ รบกวนแหล่ง
พลังด้านความแข็งแกร่ง และสร้างเงื่อนไขส�ำหรับความส�ำเร็จทางยุทธการและทางยุทธวิธี
๗-๕ การให้ความส�ำคัญกับเอกภาพในความพยายามของ ผูบ้ งั คับบัญชาระดับยุทธการ
ระบุวัตถุประสงค์อย่างชัดเจน และเพิ่มเติมความสัมพันธ์ระหว่างก�ำลังต่าง ๆ ของหน่วยรองด้วย
การลดความท้ า ทายจากการปฏิ บั ติ ก ารร่ ว มกั น และขี ด ความสามารถในระบบการควบคุ ม
ผู้บังคับบัญชาปรับแต่งก�ำลังรบของพวกเขาเพื่อบรรลุถึงผลกระทบอย่างเด็ดขาด พวกเขาจัดสรร
กองก�ำลังรบร่วม และหลายชาติอย่างเพียงพอต่อการบรรลุถึงวัตถุประสงค์ของพวกเขา
๗-๖ ผู้บังคับบัญชาระดับยุทธวิธีแสวงประโยชน์จากคุณสมบัติ และขีดความสามารถ
ของกองก�ำลังร่วม/ผสม โดยจะประสานสอดคล้องกองก�ำลังเหล่านี้ให้เหมาะสมกับเวลา พื้นที่
ทรัพยากร วัตถุประสงค์ และการปฏิบตั ิ เพือ่ ให้เกิดผลกระทบจากการรวมอ�ำนาจก�ำลังรบ ณ ต�ำบล
ที่ต้องการชัยชนะขั้นเด็ดขาด ผู้บังคับบัญชาระดับยุทธวิธี จะอ�ำนวยการรบโดยเป็นส่วนหนึ่งของ
การยุทธ์ขนาดใหญ่ การรบจะมีความสัมพันธ์กันในเชิงจุดประสงค์สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของ
ผู้บังคับบัญชาในระดับยุทธการ
172 บทที่ ๗

๗-๗ การรบอาจจะเป็นแนวหรือไม่เป็นแนว และพื้นที่ปฏิบัติการอาจจะติดต่อกัน


หรือไม่ติดต่อกัน ก็ได้ ผู้บังคับบัญชาระดับยุทธวิธีจะได้รับมอบพื้นที่ปฏิบัติการ ภารกิจ ที่หมาย
เส้นแบ่งเขต มาตรการควบคุม รวมถึงเจตนารมณ์ของผู้บังคับบัญชาหน่วยเหนือ ผู้บังคับบัญชา
ทางยุทธวิธีจะเป็นผู้ก�ำหนด การปฏิบัติการรบแตกหัก การปฏิบัติการจัดรูปแบบ (SHAPING)
และการปฏิบัติการด�ำรงสภาพ ภายในพื้นที่ปฏิบัติการของตน ผู้บังคับบัญชาระดับยุทธวิธีเป็น
ผู้สั่งใช้การยิง และการด�ำเนินกลยุทธ์เพื่อเข้าตีท�ำลายข้าศึก และยึดที่หมายภูมิประเทศ ปกติ
ผูบ้ งั คับบัญชาระดับยุทธวิธจี ะได้รบั กิจทางยุทธวิธที ชี่ ดั เจน เช่น เอาชนะข้าศึก และยึดทีห่ มายเป็นต้น
ลักษณะของการรบด้วยวิธีรุก
๗-๘ ลักษณะของการรบด้วยวิธรี กุ ประกอบด้วย การจูโ่ จม การรวมก�ำลัง จังหวะการรบ
และความห้าวหาญ การปฏิบตั กิ ารรบด้วยวิธรี กุ ทีม่ ปี ระสิทธิภาพจะใช้ประโยชน์ขา่ วกรองทีแ่ ม่นย�ำ
และข่าวสารอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับก�ำลังข้าศึก ภูมิประเทศ และลมฟ้าอากาศ ผู้บังคับบัญชาจะด�ำเนิน
กลยุทธ์เพื่อวางอ�ำนาจก�ำลังรบของตน ณ ต�ำบลที่ได้เปรียบก่อนการปะทะ การพิทักษ์ก�ำลังรบ
จะรวมไปถึง การปฏิบัติการสารสนเทศเชิงรับ เพื่อป้องกันมิให้ข้าศึกได้รับข่าวสารเกี่ยวกับฝ่ายเรา
ข้าศึกจะเห็นเฉพาะในสิ่งที่ผู้บังคับบัญชาฝ่ายเราต้องการให้เห็น การเกาะฝ่ายข้าศึกก่อนที่จะท�ำ
การรบแตกหักอย่างสมบูรณ์ ก�ำหนดแบบเพื่อจัดระเบียบให้สถานการณ์เกื้อกูลต่อการรบแตกหัก
การรบแตกหักเป็นการปฏิบัติที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ใช้ประโยชน์จากความริเริ่มของผู้บังคับบัญชา
รองและการเข้าใจ ภาพการยุทธ์ร่วมกัน ทั่วทั้งพื้นที่ปฏิบัติการ ผู้บังคับบัญชาท�ำการรบอย่าง
เฉียบขาดเพื่อท�ำลายขวัญ หรือท�ำลายข้าศึก
การจู่โจม
๗-๙ ในการปฏิบตั กิ ารรบด้วยวิธรี กุ ผูบ้ งั คับบัญชาจะจูโ่ จมข้าศึกได้โดยการโจมตีขา้ ศึก
ณ ต�ำบลและเวลาทีข่ า้ ศึกไม่คาดคิด หรือในลักษณะทีข่ า้ ศึกคาดไม่ถงึ การคาดการณ์ถงึ เจตนารมณ์
ของผูบ้ งั คับบัญชาข้าศึก และขัดขวางมิให้ขา้ ศึกได้เห็นภาพการรบอย่างถูกต้องสมบูรณ์ และทันเวลา
เป็นปัจจัยส�ำคัญทีท่ ำ� ให้เกิดการจูโ่ จม การปฏิบตั อิ ย่างกล้าหาญ และข้าศึกคาดเดาได้ยากจะช่วยให้
เกิดการจูโ่ จมได้เช่นกัน ทิศทาง การก�ำหนดเวลา และก�ำลังของหน่วยเข้าตีกช็ ว่ ยให้เกิดการจูโ่ จมได้
การจู่โจมจะหน่วงเหนี่ยวการตอบโต้ของข้าศึก ท�ำให้ระบบควบคุมบังคับบัญชาสับสน ท�ำให้
ผู้บังคับบัญชา และก�ำลังพลของข้าศึกตกตะลึง และลดความเป็นปึกแผ่นในการปฏิบัติการรบด้วย
วิธีรับ การจู่โจมช่วยลดอ�ำนาจก�ำลังรบของข้าศึก ท�ำให้ฝ่ายเข้าตีขยายผลจากภาวะที่ข้าศึกลังเล
หรือเป็นอัมพาตไปชั่วขณะได้
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 173

๗-๑๐ การจู่โจมทั้งในระดับยุทธวิธี และยุทธการจะส่งเสริมซึ่งกันและกัน การจู่โจม


ระดับยุทธการจะท�ำให้เกิดภาวะที่เกื้อกูลต่อความส�ำเร็จของการปฏิบัติในระดับยุทธวิธี การจู่โจม
ในระดับยุทธวิธีจะท�ำให้ข้าศึกพะวักพะวน หรือคาดเดาสถานการณ์ไม่ถูก แต่การจู่โจมในระดับ
ยุทธวิธีจะมีผลในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ ผู้บังคับบัญชาจะต้องขยายผลก่อนที่ข้าศึกจะตั้งตัวได้ทัน
๗-๑๑ การจู่โจมอย่างสมบูรณ์ในปัจจุบันท�ำได้ยาก ระบบแจ้งเตือน และเฝ้าตรวจ
สมัยใหม่ และการรายงานข่าวเชิงพาณิชย์ที่มีเครือข่ายครอบคลุมทั่วโลกท�ำให้การจู่โจมท�ำได้ยาก
ยิ่งขึ้น อย่างไรก็ตาม ผู้บังคับบัญชาสามารถท�ำให้เกิดการจู่โจมได้ด้วยการปฏิบัติในลักษณะที่ข้าศึก
คาดไม่ถึง จะต้องท�ำการลวงทั้งในเรื่อง เวลา ที่หมาย และก�ำลังที่ท�ำการโจมตี โดยฝ่ายเราอาจใช้
ประโยชน์จากสภาพอากาศที่เลวร้าย ภูมิประเทศที่ยากล�ำบาก การลวง การแสดงก�ำลัง และ
การติดต่อสือ่ สารลวงเพือ่ ท�ำให้ขา้ ศึกเข้าใจไขว้เขว การโจมตีอย่างฉับพลันและรุนแรงในแบบทีข่ า้ ศึก
ไม่คาดคิดจะท�ำให้ข้าศึกตกตะลึงท�ำอะไรไม่ถูก การใช้หน่วยรบพิเศษ หน่วยส่งทางอากาศ
หน่วยเคลื่อนที่ทางอากาศ ผสมผสานกับการโจมตีด้วยการยิงร่วมและของ ทบ. ต่อที่หมายที่ข้าศึก
คิดว่าปลอดภัย จะเป็นการสร้างผลกระทบทางจิตวิทยาต่อความมั่นใจในการปฏิบัติการรบด้วย
วิธีรับ ของข้าศึกได้
๗-๑๒ การจู่โจมอาจเกิดจากการเปลี่ยนจังหวะการรบที่มิได้คาดคิดมาก่อน จังหวะ
การรบในช่วงต้นอาจจะช้า แต่จะสร้างสภาวะทีค่ อ่ ย ๆ เร็วขึน้ จนข้าศึกตัง้ ตัวไม่ตดิ และผลักให้ขา้ ศึก
เสียสมดุลไปในที่สุด กรณีตัวอย่าง กองทัพสหรัฐอเมริกา ได้แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนจังหวะการ
รบก่อนใน ยุทธการ Just Cause ในปี พ.ศ. ๒๕๓๒ (ค.ศ. ๑๙๘๙) จังหวะการรบที่เร็วขึ้นจะท�ำให้
เกิดการจูโ่ จมทัง้ ในระดับยุทธวิธแี ละยุทธการทัง้ ๆ ทีส่ าธารณชนเริม่ รับรูแ้ ผนการปฏิบตั กิ ารมากขึน้
และสถานการณ์เกิดความตึงเครียดมากขึ้นก่อนเริ่มปฏิบัติการ
๗-๑๓ ผูบ้ งั คับบัญชาจะปกปิดการวางก�ำลังของตน หน่วยต่าง ๆ จะปกปิดกิจกรรมทีอ่ าจ
เปิดเผยทิศทางและเวลาในการเข้าตีเอาไว้ ผู้บังคับบัญชาอาจก�ำหนดให้หน่วยปฏิบัติการเพื่อลวง
หรือป้องกันมิให้ข้าศึกได้ข่าวสารจากฝ่ายเรา
174 บทที่ ๗

การจู่โจมในปานามา – Coup de Main in Panama


การปฏิบัติของกองก�ำลังสหรัฐฯ ในปานามาในปี พ.ศ. ๒๕๓๒ (ค.ศ. ๑๙๘๙) ก่อนที่
จะมียุทธการจัสต์ คอส เป็นตัวอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นการจู่โจมในระดับยุทธศาสตร์ หลังจาก
ขึ้นครองอ�ำนาจในปี พ.ศ. ๒๕๒๗ (ค.ศ. ๑๙๘๔) มานูเอล นอริเอกา ได้ข่มขู่ที่จะล้มล้าง
ระบอบประชาธิปไตยและสิทธิของชาวอเมริกันตามสนธิสัญญาคลองปานามา สหรัฐฯ ได้
เตรียมรับมือโดยการท�ำแผนเผชิญเหตุเรียกว่า Prayer Book และ Blue Spoon ในเดือน
พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๒ (ค.ศ. ๑๙๘๙) กองทัพปานามาและหน่วยอารักขานอริเอกาที่เรียกว่า
Dignity Battalion หลายหน่วยได้กดดันให้สหรัฐฯ ถอนตัวออกจากปานามาด้วยการคุกคาม
ทหารอเมริกนั ประธานาธิบดีจอร์จ บุช ตอบโต้ดว้ ยการแสดงก�ำลังส่งหน่วยทหารทัง้ จากกองทัพ
บก และนาวิกโยธินไปยังปานามาตามแผนปฏิบัติการ Nimrod Dancer ช่วงหกเดือนต่อมา
หน่วยของกองทัพบกสหรัฐอเมริกาท�ำการซ้อมรบภายใต้ชอื่ Purple Storm และ Sand Fleas
เพือ่ ข่มขวัญทหารของ นอริเอกา ทัง้ ๆ ทีอ่ เมริกนั เพิม่ ความเคลือ่ นไหวมากขึน้ แต่นอริเอกาก็ยงั
ไม่เชื่อว่าอเมริกันจะบุก วันที่ ๒๐ ธันวาคม (พ.ศ. ๒๕๓๒) ค.ศ. ๑๙๘๙ หน่วยรบพิเศษสหรัฐฯ
ก็เริ่มท�ำการบุกค่ายทหารปานามา สนามบิน ศูนย์สื่อมวลชน และระบบขนส่ง ต่อจากนั้น
หน่วยรบตามแบบก็โจมตีจุดส�ำคัญทั่วทั้งปานามา นอริเอกา และกองทัพปานามาตั้งตัวไม่ติด
นอริเอกา สูญเสียการควบคุมต่อกองทัพและหนีเอาตัวรอด

การรวมก�ำลัง
๗-๑๔ การรวมก�ำลัง คือ การรวมอ�ำนาจก�ำลังรบที่เหนือกว่าเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์
อย่างใดอย่างหนึ่ง ผู้บังคับบัญชาจะต้องใช้ดุลพินิจระหว่างความจ�ำเป็นในการรวมอ�ำนาจก�ำลังรบ
ให้เหนือกว่าข้าศึกกับความต้องการกระจายก�ำลังเพือ่ ลดความล่อแหลมในการเป็นเป้าหมายส�ำคัญ
ความก้าวหน้าและความทันสมัยที่ช่วยให้หน่วยมีความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่ ทั้งทางพื้นดิน
และทางอากาศ การค้นหาเป้าหมาย การยิงระยะไกลทีม่ คี วามแม่นย�ำสูง จะช่วยให้ฝา่ ยเข้าตีสามารถ
จะรวมอ�ำนาจก�ำลังรบได้อย่างรวดเร็ว ระบบควบคุมบังคับบัญชาท�ำให้ผู้บังคับบัญชาได้รับทราบ
ข่าวสารที่ช่วยในการตัดสินใจว่าเมื่อใดจึงจะควรรวมอ�ำนาจก�ำลังรบ
๗-๑๕ ผู้บังคับบัญชาที่ท�ำการเข้าตีปรับแต่งก�ำลังของตนและมุ่งความสนใจอย่างเข้มข้น
ต่อก�ำลังของข้าศึกด้วยการใช้การกระจายก�ำลัง การรวมก�ำลัง การลวงทางทหาร และการเข้าตี
อย่างผสมผสานกัน การกระจายก�ำลังจะท�ำให้ขา้ ศึกต้องขยายแนวตัง้ รับออกไปและเป็นการลดมิให้
ฝ่ายเราตกเป็นเป้าหมายขนาดใหญ่จากการยิงของข้าศึกได้ การรวมก�ำลังอย่างรวดเร็วด้วยการใช้
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 175

เส้นหลักการรุกที่สอบเข้าหากันจะท�ำให้ฝ่ายรุกมีอ�ำนาจก�ำลังรบที่เหนือกว่าข้าศึก ณ ต�ำบลที่
ต้องการผลการรบแตกหัก หลังจากการเข้าตีประสบความ ส�ำเร็จ ผู้บังคับบัญชายังคงท�ำการ
รวมก�ำลังเพือ่ ใช้ประโยชน์จากแรงหนุนเนือ่ งของก�ำลังรบ แต่ถา้ ประสบปัญหาการคุกคามจากข้าศึก
อีกก็อาจจะกระจายก�ำลังกันออกไปอีก ผู้บังคับบัญชาควรใช้วิธีการที่เหมาะสมกับสถานการณ์
ในขณะนัน้ เพือ่ การปกป้องหน่วย และด�ำรงรักษาแรงหนุนเนือ่ งในการปฏิบตั กิ ารรบด้วยวิธรี กุ เอาไว้
จังหวะการรบ
๗-๑๖ การควบคุมและปรับเปลี่ยนจังหวะการรบเป็นสิ่งที่จำ� เป็นในการด�ำรงความริเริ่ม
เอาไว้ ในระดับยุทธการ จังหวะการรบที่เร็วกว่าจะอ�ำนวยให้ฝ่ายเข้าตี ท�ำการขัดขวางแผนการ
ตั้งรับของข้าศึกโดยบรรลุผลลัพธ์ได้เร็วกว่าข้าศึกจะสามารถท�ำการตอบโต้ได้ ในระดับยุทธวิธี
จังหวะการรบที่เร็วกว่าจะช่วยให้ฝ่ายเข้าตีเจาะผ่านเครื่องกีดขวาง แนวตั้งรับ และท�ำลายก�ำลัง
ข้าศึกในทางลึกได้ก่อนที่ข้าศึกจะตอบโต้ได้ทัน
๗-๑๗ ผูบ้ งั คับบัญชาปรับจังหวะการรบให้สอดคล้องกับสถานการณ์ทางยุทธวิธี และการ
สนับสนุนการช่วยรบที่จ�ำเป็น หรือเมื่อโอกาสในทางการยุทธ์เกื้อกูลต่อการประสานสอดคล้อง แต่
จะต้องไม่ให้สูญเสียโอกาสในการท�ำลายข้าศึกไป จังหวะการรบที่รวดเร็วขึ้นอยู่กับการตัดสินใจที่
รวดเร็ว และจะท�ำให้ข้าศึกไม่มีโอกาสหยุดพัก และสร้างโอกาสได้อย่างต่อเนื่อง
๗-๑๘ การเพิ่มจังหวะการรบท�ำให้ผู้บังคับบัญชาสามารถด�ำรงรักษาแรงหนุนเนื่อง
ในการเข้าตีไว้ได้ ผูบ้ งั คับบัญชาต้องก�ำหนดแนวทางในการเข้าตีทดี่ ที สี่ ดุ ท�ำการวางแผนการปฏิบตั ิ
รองรับทุกขั้นตอนในเชิงลึก พร้อมที่จะปรับเปลี่ยนไปเป็นการปฏิบัติการแบบอื่น ๆ และรวมก�ำลัง
รบผสมเหล่าอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้บังคับบัญชาและฝ่ายอ�ำนวยการต้องประกันว่าการปฏิบัติการ
การสนับสนุนทางการช่วยรบจะต้องมีประสิทธิภาพพอที่จะไม่ทำ� ให้การปฏิบัติการรบด้วยวิธีรุกถึง
การผกผัน เมื่อการรบเริ่มขึ้นฝ่ายเข้าตีต้องเข้าตีอย่างรุนแรง ท�ำการติดตามหน่วยลาดตระเวนหรือ
เคลื่อนที่ผ่านช่องว่างอย่างรวดเร็วก่อนที่ฝ่ายตั้งรับจะฟื้นตัว ฝ่ายเข้าตีต้องโยกย้ายอ�ำนาจก�ำลังรบ
อย่างรวดเร็วเพือ่ ขยายช่องเจาะ กดดันทางปีกเปิดของข้าศึก และเพิม่ เติมก�ำลังด้านทีป่ ระสบความ
ส�ำเร็จ ก�ำลังฝ่ายเราเข้าตีทางลึกโดยใช้การยิงและการด�ำเนินกลยุทธ์เพื่อท�ำลายความเป็นปึกแผ่น
ในการปฏิบัติการรบด้วยวิธีรับ และสร้างชัยชนะเหนือระบบควบคุมบังคับบัญชาข้าศึก ขณะที่ฝ่าย
เข้าตีด�ำรงจังหวะการรบให้เร็วกว่าข้าศึก ฝ่ายเข้าตีต้องระมัดระวังไม่ให้จังหวะการรบเร็วกว่าขีด
ความสามารถในการควบคุมและบังคับบัญชาของตน ผูบ้ งั คับบัญชาฝ่ายเข้าตีตอ้ งไม่ปล่อยให้ขา้ ศึก
มีโอกาสฟื้นตัวจากภาวะตะลึงงันจากการโจมตีในครั้งแรกและต้องป้องกันไม่ให้ข้าศึกรวมอ�ำนาจ
ก�ำลังรบต่อต้านการปฏิบัติการรบแตกหักของฝ่ายเรา
176 บทที่ ๗

ความห้าวหาญ
๗-๑๙ ความห้าวหาญ คือ การมีแผนที่ง่ายไม่ซับซ้อนแต่ลงมือปฏิบัติอย่างแข็งแกร่ง
ความห้าวหาญของผู้บังคับบัญชาดูได้จากการก�ำหนดแผนที่กล้าเสี่ยงและสามารถท�ำให้เกิดผล
การรบแตกหักได้ ผู้บังคับบัญชาแสดงความห้าวหาญโดยการใช้อ�ำนาจก�ำลังรบอย่างรุนแรง
ในการนี้จะต้องรู้ว่าเมื่อใดสมควรต้องเสี่ยงและลงมือปฏิบัติตามแผนโดยไม่ลังเล จะต้องขจัดความ
ไม่แน่นอนด้วยการลงมือท�ำการปฏิบัติการข่าวสารที่ไม่สมบูรณ์สามารถชดเชยได้ด้วยการช่วงชิง
ความริเริ่มและกดดันการสู้รบกับฝ่ายข้าศึก ความห้าวหาญจะท� ำให้ทหารเกิดแรงกระตุ้นที่จะ
เอาชนะความยากล�ำบากและการเสี่ยงอันตราย
การปฏิบัติการรบด้วยวิธีรุกภายในโครงร่างทางการยุทธ์
๗-๒๐ ผู้บังคับบัญชาท�ำการปฏิบัติการรบด้วยวิธีรุก ภายในโครงร่างทางการยุทธ์ (พื้นที่
ปฏิบัติการ, ห้วงการรบ และการจัดหน่วยในสนามรบ) ผู้บังคับบัญชาประสานสอดคล้องหน่วย
ของตนให้เข้ากับเวลา พื้นที่ ทรัพยากร วัตถุประสงค์ และการปฏิบัติเพื่อให้เกิดผลการรบแตกหัก
พร้อมกัน หรือตามล�ำดับขั้น รวมถึงการปฏิบัติการจัดรูปแบบ และการปฏิบัติการด�ำรงสภาพใน
เชิงลึก (ดูรูปที่ ๗-๑) ในบางสถานการณ์ ผู้บังคับบัญชาจะเป็นผู้ก�ำหนดพื้นที่ทางลึก พื้นที่การรบ
ระยะใกล้ และพื้นที่ส่วนหลังด้วย

รูปที่ ๗-๑ โครงร่างทางการยุทธ์ในการรุก


คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 177

การปฏิบัติการรบแตกหักในการปฏิบัติการรบด้วยวิธีรุก
๗-๒๑ การปฏิบัติการรบแตกหักในการปฏิบัติการรบด้วยวิธีรุก คือ การเข้าตีที่ท�ำให้เกิด
ผลลัพธ์ขั้นสุดท้ายของการยุทธ์ขนาดใหญ่ การรบ และการรบปะทะ ในระดับยุทธการ การปฏิบัติ
การรบแตกหัก คือการปฏิบัติการที่บรรลุเป้าหมายของแต่ละขั้นตอนของการทัพ การปฏิบัติการ
ทางพืน้ ดินภายในการทัพอาจรวมถึงขัน้ ต่าง ๆ หลายขัน้ ด้วยกันโดยทีใ่ นแต่ละขัน้ ก็มกี ารปฏิบตั กิ าร
รบแตกหักอยู่ ผลของการปฏิบัติการรบแตกหักจะบังเกิดผลอย่างมากต่อความส� ำเร็จของการทัพ
ในระดับยุทธวิธกี ารปฏิบตั กิ ารรบแตกหัก หรือการรบปะทะมีผลให้บรรลุวตั ถุประสงค์ของภารกิจที่
หน่วยเหนือก�ำหนด ผู้บังคับบัญชาประสบความส�ำเร็จในการปฏิบัติการรบแตกหัก ได้ด้วยการรบ
ประชิด ที่สามารถท�ำลายข้าศึกได้ ท�ำให้ข้าศึกหมดความตั้งใจในการต้านทานการสู้รบ ยึดครอง
รักษา และแย่งยึดภูมิประเทศคืนมาได้
๗-๒๒ ผู้บังคับบัญชาเพิ่มน�้ำหนักให้กับการปฏิบัติการรบแตกหัก ด้วยการแบ่งมอบ
ทรัพยากรเพิ่มเติมและใช้ความเชี่ยวชาญในการด�ำเนินกลยุทธ์ ตัวอย่างเช่น ผู้บังคับบัญชาอาจจะ
ตรึงก�ำลังบางส่วนของข้าศึกไว้ดว้ ยการเข้าตีตรงหน้า (การปฏิบตั กิ าร) ขณะทีก่ �ำลังส่วนใหญ่ท�ำการ
โอบเพื่อยึดครองจุดแตกหัก (มีผลต่อการแพ้ - ชนะ) ผู้บังคับบัญชาเป็นผู้ตัดสินใจว่าจะใช้การยิง
สนับสนุนเพิ่มเติมและกองหนุนเมื่อไหร่ และที่ไหน ในบางครั้งอาจปรับเปลี่ยนล�ำดับความเร่งด่วน
ในการยิงสนับสนุนใหม่หากจ�ำเป็น โดยหน่วยด�ำเนินกลยุทธ์เป็นผู้ก�ำหนดที่ตั้งเพื่อให้สามารถ
รวมอ�ำนาจการยิงไปยังข้าศึกได้
๗-๒๓ ผู้บังคับบัญชาเป็นผู้ก�ำหนดกองหนุนเพื่อให้มีอ�ำนาจก�ำลังรบเพิ่มเติม ณ ต�ำบล
และเวลาที่ต้องการผลแตกหัก ยิ่งสถานการณ์ไม่ชัดเจนกองหนุนยิ่งต้องมีขนาดใหญ่ เมื่อสั่งใช้กอง
หนุนไปแล้ว ผู้บังคับบัญชาต้องตั้งกองหนุนขึ้นใหม่ ขนาดและที่ตั้งของกองหนุนขึ้นอยู่กับ
- ภารกิจในที่เป็นไปได้ การปฏิบัติที่แตกออกไปและที่ตามมา
- แบบของการด�ำเนินกลยุทธ์
- หนทางปฏิบัติที่เป็นไปได้ของข้าศึก
- ระดับความไม่แน่นอนของสถานการณ์
178 บทที่ ๗

ความห้าวหาญ – การตีตลบที่อินชอน
วันที่ ๒๕ มิ.ย. พ.ศ. ๒๔๙๐ (ค.ศ. ๑๙๕๐) เกาหลีเหนือรุกรานเกาหลีใต้ดว้ ยก�ำลังทหาร
ถึ ง เดื อ นสิ ง หาคม กองทั พ เกาหลี เ หนื อ ก็ ยึ ด ครองพื้ น ที่ ส ่ ว นใหญ่ ข องคาบสมุ ท รเกาหลี
ไว้ได้โดยทีก่ ำ� ลังของสหรัฐฯ และเกาหลีใต้ถกู กดดันให้รวมกันอยูภ่ ายในพืน้ ทีแ่ คบ ๆ หลังแม่นำ�้
นักดง และแม่น�้ำนาม เป็นเวลากว่าหนึ่งเดือนที่ก�ำลังทั้งสองฝ่ายขับเคี่ยวกันอย่างดุเดือด วันที่
๑๕ ก.ย. ขณะที่ก�ำลังทั้งสองฝ่ายยังรบกันอย่างดุเดือดอยู่ทางใต้ ทน.ที่ ๑๐ ได้ใช้ก� ำลัง
๒ กองพล ท�ำการยกพลขึ้นบกที่อินชอน ซึ่งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของคาบสมุทรเกาหลีเหนือ
กรุงโซลขึ้นไปเล็กน้อย การตีตลบระดับยุทธการครั้งนี้มีชื่อว่า ยุทธการโครไมต์ (Operational
Chromites) ท� ำให้กองทัพเกาหลีเหนือถูกจู่โจมอย่างไม่ทันรู้เนื้อรู้ตัว ในเวลาเดียวกัน
เครื่องบินรบของสหประชาชาติ ก็ท� ำการทิ้งระเบิดใส่ทหารเกาหลีเหนือตามล� ำน�้ำนักตง
เพือ่ สนับสนุนการปฏิบตั กิ ารรุกโต้ตอบของกองทัพสนามที่ ๘ ในห้วงวันต่อ ๆ มา ทหารอเมริกนั
และ นย. เกาหลีใต้ ก็ท�ำการปฏิบัติการรุกไปยังกรุงโซล ก�ำลังส่วนที่เหลือของ ทน.ที่ ๑๐
ยึดพื้นที่ โซล ซูวอน และตัดเส้นทางส่งก�ำลังของเกาหลีเหนือได้ ไม่นานก�ำลังจาก ทบ. ก็ท�ำ
การปฏิบัติการรุกผ่านภูมิประเทศยากล�ำบากด้วยความเร็วเฉลี่ยวันละ ๑๐ ไมล์ การถอยของ
ทหารเกาหลีเหนือเริ่มไร้ระเบียบ ถึงเดือน ต.ค. พ.ศ. ๒๔๙๐ (ค.ศ. ๑๙๕๐) ทหารเกาหลีเหนือ
ก็แตกเป็นส่วนย่อย ๆ มุ่งหน้าไปทางพรมแดนด้านแมนจูเรีย และโซเวียต

กองหนุนช่วยให้ผู้บังคับบัญชามีเครื่องมือไว้รับมือกับสถานการณ์ที่ไม่แน่นอน
การมอบภารกิจให้กองหนุนควรให้เฉพาะที่จำ� เป็นต่อการเตรียมการส�ำหรับภารกิจที่ได้รับ ผู้สั่งใช้
กองหนุนต้องเป็นผู้บังคับบัญชาที่สั่งจัดกองหนุนเท่านั้น ยกเว้นว่าผู้บังคับบัญชาผู้นั้นจะสั่ง
มอบอ�ำนาจให้กับผู้ใดผู้หนึ่ง
การปฏิบัติการจัดรูปแบบในการปฏิบัติการรบด้วยวิธีรุก
๗-๒๔ การปฏิบตั กิ ารจัดรูปแบบการรบ ในการปฏิบตั กิ ารรบด้วยวิธรี กุ เป็นการสร้างสรรค์
ให้เกิดเงือ่ นไขทีจ่ ะน�ำไปสูค่ วามส�ำเร็จในการปฏิบตั กิ ารรบแตกหัก การปฏิบตั กิ ารจัดรูปแบบการรบ
จะรวมไปถึ ง การโจมตีทางลึกเพื่อสร้างสภาวะที่ ไ ด้ เ ปรี ย บและเพื่ อ ป้ อ งกั น ก� ำลั ง ของฝ่ า ยเรา
ผู้บังคับบัญชาปฏิบัติการจัดรูปแบบสภาวการณ์ด�ำเนินโดยการเข้าติดพันข้าศึกในเวลาพร้อม ๆ กัน
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 179

ทั่วทั้งพื้นที่ปฏิบัติการ การโจมตีเหล่านี้จะท�ำให้ข้าศึกขาดเสรีในการปฏิบัติ ท�ำให้ฝ่ายเราขัดขวาง


หรือท�ำลายความเป็นปึกแผ่นและจังหวะของการปฏิบัติการของข้าศึกได้ การโจมตีรูปขบวนของ
ข้าศึกในทางลึก ท�ำลาย หน่วงเหนี่ยว ขัดขวาง หรือเบี่ยงเบนอ�ำนาจก�ำลังรบข้าศึกได้ มันอาจท�ำให้
ข้าศึกเปิดเผยจุดอ่อนที่ฝ่ายเราสามารถท�ำการขยายผลได้ การปฏิบัติการจัดรูปแบบการรบใน
การปฏิบัติการรบด้วยวิธีรุกจะรวมถึง
- การออกแบบการเข้าตีที่มีการจัดรูปแบบให้บรรลุหนึ่งหรือมากกว่าเรื่อง
ต่อไปนี้
- ลวงข้าศึก
- ท�ำลายหรือตรึงก�ำลังข้าศึกที่อาจขัดขวางการปฏิบัติการรบแตกหัก ของเรา
- ควบคุมภูมิประเทศที่หากข้าศึกยึดครองแล้วอาจเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติ
การรบแตกหัก
- บีบให้ขา้ ศึกใช้กองหนุนก่อนเวลาอันควรหรือ ณ ต�ำบลทีไ่ ม่สำ� คัญต่อการปฏิบตั ิ
การรบแตกหัก
- การลาดตระเวนและการปฏิบัติการระวังป้องกัน
- การส่งผ่าน
- การเจาะแนว
- การเคลือ่ นย้ายหน่วยทีม่ ผี ลโดยตรงต่อการสร้างสภาวะและการปฏิบตั กิ ารรบ
แตกหัก
- การปฏิบัติการของกองหนุนก่อนที่จะถูกสั่งใช้
- การขัดขวางด้วยก�ำลังทางอากาศหรือทางพื้นดิน ทั้งโดยเอกเทศหรือร่วมกัน
- การปฏิบัติการสารสนเทศเชิงรุก
การปฏิบัติการจัดรูปแบบการรบอื่น ๆ รวมถึงกิจกรรมในทางลึก อย่างเช่น
การตอบโต้การยิง และการปฏิบัติการสารสนเทศเชิงรับ การปฏิบัติการจัดรูปแบบเหล่านี้มุ่งเน้น
ต่อผลกระทบทั้งหลายซึ่งสรรสร้างเงื่อนไขส�ำหรับการปฏิบัติการรบแตกหัก ที่ประสบผลส�ำเร็จ
180 บทที่ ๗

พายุทะเลทราย - การปฏิบัติการปฏิบัติการรบด้วยวิธีรุก แตกหัก


วันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๔ (ค.ศ. ๑๙๙๑) ภายหลังจากกองก�ำลังทางอากาศ
ของหน่วยบัญชาการรวมภาคกลางปฏิบัติการสร้างสภาวะเป็นเวลา ๓๘ วัน โดยการสนับสนุน
จากกองก�ำลังทางบก กองก�ำลังทางบก จึงได้เริ่มปฏิบัติการรบทางพื้นดินที่เรียกได้ว่าเป็นการ
รบทีเ่ ด็ดขาดรวบรัดทีส่ ดุ ในสงครามสมัยใหม่ กองก�ำลังทางบก โจมตีตอ่ กองก�ำลังของอิรกั โดย
เป็นส่วนหนึ่งของกองก�ำลังผสม มี ทน. ส่งทางอากาศที่ ๑๘ อยู่ทางตะวันตก และ ทน. ที่ ๗
เป็นปีกขวา กองพลน้อยที่ ๑ (ไทเกอร์) ของ พล.ยก.ที่ ๒ เข้าตีโดยเป็นส่วนหนึ่งของ กกล.นย.
รบนอกประเทศที่ ๑ (1st MEF) ทางตะวันออก กองก�ำลังทางบก เจาะแนวอิรักและยึดที่หมาย
ได้อย่างรวดเร็ว บรรดาทหารได้ใช้เทคโนโลยีขนั้ สูงทีท่ �ำให้โจมตีเป้าหมายในระยะทีไ่ กลเกินกว่า
อาวุธของอิรักจะท�ำอันตรายพวกเขาได้ อ�ำนาจการข่มขวัญของยานเกราะและทหารราบที่ได้
รับการฝึกมาเป็นอย่างดี บวกกับอ�ำนาจการยิงสนับสนุนอย่างรุนแรง การสนับสนุนการรบและ
การสนับสนุนการช่วยรบที่ตอบสนองได้อย่างรวดเร็ว ท�ำให้กองทัพอิรักแตกพ่ายในเวลาอัน
รวดเร็ว ทน. ส่งทางอากาศที่ ๑๘ รุกขึ้นเหนือเข้าสู่อิรักเป็นระยะทางถึง ๑๐๐ ไมล์ แล้ววกมา
ทางตะวันออกอีก ๗๐ ไมล์ ทน.ที่ ๗ ก็รุกขึ้นเหนือ ๑๐๐ ไมล์ และวกมาทางตะวันออกอีก ๕๕
ไมล์ กองก�ำลังผสมท�ำลายรถถังอิรักได้ ๓,๘๐๐ คัน จากจ�ำนวน ๔,๒๐๐ คัน ยานล�ำเลียงพล
เกิ น กว่ า ครึ่ ง และปื น ใหญ่ เ กื อ บ ๓,๐๐๐ กระบอกซึ่ ง แทบจะเป็ น จ� ำ นวนทั้ ง หมดที่ มี ใ น
กองทัพอิรัก ทหารอิรักถูกจับเป็นเชลยกว่า ๖๐,๐๐๐ คน หลังจากการรบที่กินเวลาเพียง
๑๐๐ ชั่วโมง นี้ อิรักมีก�ำลังที่ยังท�ำการรบได้เพียง ๗ กองพล จากจ�ำนวนทั้งหมด ๔๓ กองพล
กองทัพที่ใหญ่เป็นอันดับสี่ของโลกถูกบดขยี้และประเทศคูเวตก็ได้รับอิสรภาพ

๗-๒๕ การปฏิบัติการระวังป้องกัน ของหน่วยระวังป้องกันทั้งด้านหน้า ทางปีก และ


ด้านหลัง ก็เพื่อ
- แจ้งเตือนแต่เนิ่น
- ค้นหาช่องว่างในการปฏิบัติการรบด้วยวิธีรับของข้าศึก
- เพื่อให้ได้เวลาและพื้นที่ในการด�ำเนินกลยุทธ์
- คลี่คลายสถานการณ์
- เริ่มการก�ำหนดก�ำลังรบและสิ่งอ�ำนวยความสะดวกที่จะได้รับการรักษาความ
ปลอดภัย
- ท�ำการลาดตระเวนอย่างต่อเนื่อง
- ด�ำรงการปะทะกับข้าศึก
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 181

ส�ำหรับพืน้ ทีป่ ฏิบตั กิ ารทีข่ ยายออกไปหรือไม่ตอ่ เนือ่ งกัน ผูบ้ งั คับหน่วยต้องป้องกัน


หรือเฝ้าตรวจพื้นที่ช่องว่างระหว่างหน่วยรองเอาไว้ด้วยการมอบหมายให้หน่วยใดหน่วยหนึ่ง
รับผิดชอบ จัดวางเครื่องมือเฝ้าตรวจเตรียมหน่วยไว้ตอบโต้ข้าศึกที่จะเข้ามาทางช่องว่าง หรือจัด
วางเครื่องกีดขวางเอาไว้
การปฏิบัติการด�ำรงสภาพในการปฏิบัติการรบด้วยวิธีรุก
๗-๒๖ การปฏิบตั กิ ารด�ำรงสภาพในการปฏิบตั กิ ารรบด้วยวิธรี กุ จะประกันให้หน่วยมีเสรี
ในการปฏิบัติและรักษาแรงหนุนเนื่องเอาไว้ได้ การด�ำรงสภาพจะต้องกระท�ำทั่วทั้งพื้นที่ปฏิบัติการ
ที่ตั้งของหน่วยสนับสนุนการช่วยรบไม่จำ� เป็นต้องอยู่ข้างเคียงกับหน่วยรับการสนับสนุน การยุทธ์
ขนาดใหญ่ ทีต่ อ้ งขยายพืน้ ทีอ่ อกไปอาจวางหน่วยทางยุทธวิธหี า่ งไกลออกไปจากพืน้ ทีก่ ารสนับสนุน
เดิม ผูบ้ งั คับบัญชาอาจจ�ำต้องแยกหน่วยเข้าตีออกจากฐานการสนับสนุนทางการช่วยรบ ซึง่ จะท�ำให้
เส้ น การคมนาคมยาวออกไปอี ก อย่ า งไรก็ ต ามถ้ า เส้ น การคมนาคมต้ อ งขยายยาวออกไป
ผู้บังคับบัญชาจะต้องจัดการระวังป้องกันให้กับหน่วยสนับสนุนทางการช่วยรบ
ข้อพิจารณาส�ำหรับการปฏิบัติการรบด้วยวิธีรุกที่ไม่เป็นแนว
๗-๒๗ การปฏิบัติการรบด้วยวิธีรุกที่ไม่เป็นแนว อาจเกิดขึ้นได้ทั้งในพื้นที่ปฏิบัติการที่
ต่อเนื่องกันและไม่ต่อเนื่องกัน ปกติขนาดของพื้นที่ปฏิบัติการจะมีขนาดใหญ่เมื่อเทียบกับจ�ำนวน
ทหารและอาจครอบคลุมภูมิประเทศที่มีลักษณะแตกต่างกัน ก�ำลังข้าศึกในพื้นที่ปฏิบัติการอาจ
กระจัดกระจายเป็นบริเวณกว้างและอาจมีจ�ำนวนมากกว่าฝ่ายเรา ฝ่ายทีท่ ำ� การเข้าตีจงึ ต้องเน้นการ
ใช้ก�ำลังไปยังจุดแตกหัก ในขณะที่ต้องแบ่งสรรก�ำลังบางส่วนเอาไว้เพื่อการปฏิบัติการจัดรูปแบบ
ก�ำลังส่วนนีค้ วรจะกันไว้นอ้ ยทีส่ ดุ เท่าทีจ่ �ำเป็นเท่านัน้ กองหนุนจะต้องมีความคล่องแคล่วทางยุทธวิธี
อย่างสูง ก�ำลังที่ปฏิบัติการในการปฏิบัติการที่ไม่เป็นแนว จ�ำเป็นต้องใช้การสื่อสารอย่างกว้างขวาง
และมีขดี ความสามารถทางด้านการสนับสนุนการช่วยรบอย่างสูงสุด ผูบ้ งั คับบัญชาอาจต้องก�ำหนด
หน่วยส�ำหรับการระวังป้องกันเส้นการคมนาคมเพิ่มเติมจากหน่วยทหารสารวัตรที่มีอยู่
๗-๒๘ กองบัญชาการหน่วยเหนือจะต้องด�ำเนินการระวังป้องกันในพืน้ ทีป่ ฏิบตั กิ ารทีม่ ไิ ด้
มอบหมายให้กับหน่วยรอง ยิ่งการปฏิบัติการรบด้วยวิธีรุกขยายออกไปการระวังป้องกันปีกจะยิ่งมี
ความส�ำคัญมากขึ้น ในสภาวะแวดล้อมเช่นนี้อาจต้องมีการยุทธ์บรรจบ บ่อยครั้ง การยุทธ์บรรจบ
จะต้องมีการวางแผนอย่างรอบคอบและต้องมีการซักซ้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าต้องมีการโอบ
ทางดิ่งเข้ามาเกี่ยวข้อง โอกาสที่จะประสบการณ์สูญเสียจากการยิงของฝ่ายเดียวกันจะสูงขึ้น
เนือ่ งจากความลืน่ ไหลของสถานการณ์และการเปลีย่ นทีต่ งั้ ของก�ำลังทัง้ สองฝ่าย ยิง่ ถ้าในพืน้ ทีป่ ฏิบตั ิ
การที่มีพลเรือนอยู่ด้วยจะท�ำให้การปฏิบัติการมีความยุ่งยากมากขึ้น หากเป็นเช่นนี้ ผู้บังคับบัญชา
182 บทที่ ๗

ต้องใช้ความระมัดระวังในการกวาดล้างด้วยการยิงให้มาก ไม่ว่าจะเป็นการยิงเล็งตรงหรือการยิง
จ�ำลอง
รูปแบบของการด�ำเนินกลยุทธ์
๗-๒๙ การปฏิบตั กิ ารรบด้วยวิธรี กุ มี แบบของการด�ำเนินกลยุทธ์อยู่ ๕ แบบ คือ การโอบ
การตีตลบ การแทรกซึม การตีเจาะ และการตีตรงหน้า ปกติมกั จะมีการใช้ผสมผสานกันแต่ในแต่ละ
แบบจะมีลักษณะเฉพาะในการเข้าตีข้าศึกต่างกัน แต่ละแบบจะมีความยุ่งยากต่อฝ่ายเข้าตีและมี
อันตรายต่อฝ่ายตั้งรับต่างกัน ผู้บังคับบัญชาก�ำหนดการเลือกใช้แบบของการด�ำเนินกลยุทธ์โดย
พิจารณาวิเคราะห์จากปัจจัย METT-TC
การโอบ
๗-๓๐ การโอบ เป็นแบบของการด�ำเนินกลยุทธ์ทฝี่ า่ ยเข้าตีหาทางหลีกเลีย่ งก�ำลังรบหลัก
ของข้าศึกโดยการยึดทีห่ มายทีอ่ ยูด่ า้ นหลังเพือ่ ท�ำลายก�ำลังรบหลักของข้าศึกในทีม่ นั่ ปัจจุบนั นัน้ เสีย
ในระดับยุทธวิธี การโอบจะเน้นที่การยึดครองภูมิประเทศ ท�ำลายก�ำลังข้าศึกที่ก�ำหนดและตัดเส้น
ทางการถอนตัวของข้าศึก (ดูรูปที่ ๗-๒) การโอบจะหลีกเลี่ยงพื้นที่ด้านหน้าของข้าศึกซึ่งเป็นพื้นที่
ทีก่ ำ� ลังข้าศึกเข้มแข็งและรวมอ�ำนาจการยิงได้งา่ ย การโอบปีกเดียวเป็นการโอบปีกด้านใดด้านหนึง่
เพียงด้านเดียวขณะทีก่ ารโอบสองปีกจะท�ำการโอบต่อปีกทัง้ สองด้านพร้อมกัน การโอบทัง้ สองแบบ
สามารถพัฒนาเป็นการโอบล้อมได้
๗-๓๑ การที่จะโอบข้าศึก ผู้บังคับบัญชาต้องหารือท�ำให้ปีกข้างใดข้างหนึ่งของข้าศึก
เป็นปีกที่ท�ำการโอบได้ บางครั้งข้าศึกที่ทำ� การปฏิบัติการรบด้วยวิธีรุก อาจท�ำให้ปีกเปิดขึ้นโดย
ไม่รู้ตัวหรือในกรณีที่เป็นพื้นที่ปฏิบัติการที่ไม่ต่อเนื่องกัน การผสมผสานการยิงสนับสนุนกับก�ำลัง
ทางอากาศอาจท�ำให้ข้าศึกถูกโดดเดี่ยวอยู่ในภูมิประเทศที่ไม่เกื้อกูลจนท�ำให้ปีกบางด้านล่อแหลม
ต่อการโอบได้
๗-๓๒ ฝ่ายเข้าตีอาจท�ำให้ปีกของข้าศึกล่อแหลมต่อการโอบได้ ถ้าหากรุกด้วยทิศทางที่
ข้าศึกไม่คาดคิด การโอบทางดิง่ (การปฏิบตั กิ ารส่งทางอากาศ หรือเคลือ่ นทีท่ างอากาศ) เป็นตัวอย่าง
หนึ่งของการปฏิบัติการจัดรูปแบบ ฝ่ายเข้าตีท�ำให้ข้าศึกสนใจแต่พื้นที่ด้านหน้าด้วยการใช้การยิง
อย่างผสมผสาน และการจัดรูปแบบ หรือการเข้าตีเพื่อหันเหความสนใจ จากนั้นจะด�ำเนินกลยุทธ์
ต่อปีกและด้านหลังแล้วรวมอ�ำนาจก�ำลังรบต่อจุดอ่อนก่อนทีข่ า้ ศึกจะปรับทิศทางในการปฏิบตั กิ าร
รบด้วยวิธีรับได้ทัน
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 183

รูปที่ ๗-๒ การโอบ


๗-๓๓ การโอบอาจจะส่งผลไปสู่การโอบล้อม การโอบล้อม เป็นการปฏิบัติการ ณ ที่ซึ่ง
ก�ำลังส่วนหนึ่งสูญเสียเสรีในการด�ำเนินกลยุทธ์ของตนเองเพราะว่าก�ำลังฝ่ายตรงข้ามสามารถ
แยกก�ำลังนั้นออกมาอยู่อย่างโดดเดี่ยวโดยการควบคุมเส้นทางในการคมนาคมทางภาคพื้นดินไว้ได้
การโอบในเชิงรุกเป็นการขยายแบบการปฏิบตั ทิ งั้ ทีเ่ ป็นการไล่ตดิ ตามหรือการโอบล้อม ก�ำลังกดดัน
โดยตรง ด�ำรงรักษาการปะทะกับข้าศึกไว้ ท�ำการป้องกันการผละออกจากการรบ และการจัด
ระเบียบใหม่ ขณะที่ก�ำลังโอบล้อมท�ำการโอบข้าศึก จะท�ำการตัดทางหนีและท�ำการจัดตั้งวงล้อม
ภายในและภายนอก วงล้อมภายนอกเอาชนะข้าศึกทีพ่ ยายามท�ำการหยุดยัง้ ต่อการฝ่าเข้าไป วงล้อม
ภายในท�ำการปิดกัน้ ก�ำลังทีถ่ กู โอบล้อม หากมีความจ�ำเป็น ก�ำลังทีท่ ำ� การโอบล้อมท�ำการจัดหน่วย
เพื่อตั้งรับอย่างเร่งด่วนตามเส้นทางที่ข้าศึกใช้หลบหนี ขณะที่การยิงสนับสนุนร่วมหรือจาก
หลายชาติที่มีการประสานสอดคล้องยุติการท�ำลายของพวกเขาลง เครื่องมือที่มีอยู่ทั้งมวล รวมถึง
เครื่องกีดขวาง ควรจะใช้เพื่อปิดกั้นข้าศึก ทันทีที่ก�ำลังฝ่ายเราใช้เครื่องมือทางการยิงสนับสนุน
ทั้งมวลที่มีอยู่ในการท�ำลายข้าศึก การโอบล้อมมักจะเกิดขึ้นในการปฏิบัติการรบด้วยวิธีรุกที่
ไม่เป็นแนว
184 บทที่ ๗

การตีตลบ
๗-๓๔ การตีตลบ เป็นรูปแบบของการด�ำเนินกลยุทธ์ ณ ทีซ่ งึ่ ก�ำลังทีท่ ำ� การเข้าตีแสวงหา
หนทางในการหลีกเลี่ยงที่ตั้งการวางก�ำลังตั้งรับหลักของข้าศึกโดยการเข้ายึดครองที่หมายที่อยู่ใน
ส่วนหลังของข้าศึกและเป็นเหตุให้ข้าศึกท�ำการถอนตัวออกไปจากที่มั่นในปัจจุบันของพวกเขา
หรือถอนก�ำลังหลักไปเผชิญหน้ากับภัยคุกคาม (ดูรูปที่ ๗-๓) ภัยคุกคามหลักต่อส่วนหลังของข้าศึก
บังคับให้ข้าศึกท�ำการโจมตีหรือถอนตัวไปสู่ส่วนหลัง ดังนั้น “การตีตลบ” จึงเป็นการท�ำให้พวกเขา
ออกจากที่มั่นในการตั้งรับของพวกเขา ปกติการตีตลบต้องการความลึกเป็นอย่างมากกว่ารูปแบบ
ในการด�ำเนินกลยุทธ์อย่างอื่น การยิงสนับสนุนในทางลึกที่น�ำมาใช้เป็นความส�ำคัญที่เพิ่มขึ้นมา
มันช่วยในการปกป้องก�ำลังที่ท�ำการโอบและการโจมตีจากข้าศึก กรณีตัวอย่าง ปฏิบัติการโครไมท์
เป็นการโจมตีสะเทินน�้ำสะเทินบกทีเ่ มืองอินชอน ระหว่างสงครามเกาหลี ด้วยเป็นการตีตลบทีถ่ อื ว่า
คลาสสิก ซึ่งบรรลุทั้งผลกระทบทางยุทธศาสตร์และยุทธการ

รูปที่ ๗-๓ การตีตลบ


คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 185

การแทรกซึม
๗-๓๕ การแทรกซึม เป็นแบบของการด� ำเนินกลยุทธ์ที่หน่วยเข้าตีท� ำการเคลื่อนที่
อย่างลับ ๆ เข้าไปยังพื้นที่ที่ข้าศึกยึดครองเพื่อท�ำการยึดพื้นที่ที่ได้เปรียบทางด้านหลังข้าศึก โดย
ปรากฏแต่เพียงก�ำลังขนาดเล็กต่อการยิงในการตั้งรับของข้าศึกเท่านั้น (ดูรูปที่ ๗-๔) ความจ�ำเป็น
ที่จะต้องหลีกเลี่ยงการตรวจจับของข้าศึกท�ำให้หน่วยแทรกซึมต้องมีขนาดเล็ก ปกติการแทรกซึม
เพียงอย่างเดียวมักไม่อาจเอาชนะข้าศึกได้ ผู้บังคับบัญชามักใช้การแทรกซึมเพื่อโจมตีที่มั่นข้าศึกที่
มีการป้องกันอย่างเบาบาง เพือ่ โจมตีทางปีกหรือด้านหลังต่อทีม่ นั่ ข้าศึกทีม่ กี ารป้องกันอย่างแข็งแรง
เพื่อเข้ายึดภูมิประเทศที่เกื้อกูลต่อการรบแตกหัก หรือเพื่อขัดขวางการปฏิบัติการด�ำรงสภาพของ
ข้าศึก โดยปกติแล้วหน่วยทีท่ ำ� การแทรกซึมจะแบ่งเป็นหน่วยย่อย ๆ ขนาดเล็กเพือ่ ท�ำการแทรกซึม
จากนั้นจึงรวมก�ำลังกันเพื่อปฏิบัติภารกิจตามที่ได้รับมอบต่อไป

รูปที่ ๗-๔ การแทรกซึม


186 บทที่ ๗

การเจาะ
๗-๓๖ การเจาะ เป็นแบบของการด�ำเนินกลยุทธ์อกี แบบหนึง่ ทีห่ น่วยเข้าตีพยายามทะลวง
ผ่านช่องแคบ ๆ ในแนวการวางก�ำลังเพื่อรบกวน ขัดขวาง ระบบการตั้งรับของข้าศึก (ดูรูปที่ ๗-๕)
การเจาะจะใช้เมื่อไม่สามารถโอบปีกของข้าศึกหรือเมื่อเวลาไม่เกื้อกูลให้ใช้การด�ำเนินกลยุทธ์
แบบอื่น ๆ ได้ ความส�ำเร็จในการเจาะอาจท�ำให้ปีกของข้าศึกล่อแหลมหรือท�ำให้ฝ่ายเข้าตีสามารถ
รุกเข้าไปยังพื้นที่ส่วนหลังของข้าศึกได้ เนื่องจากการเจาะเป็นการเข้าปฏิบัติตรงหน้าแนววางก�ำลัง
ข้าศึก จึงมักจะเสี่ยงต่อการสูญเสียมากกว่าการโอบ การตีตลบและการแทรกซึม
๗-๓๗ การรวมอ�ำนาจก�ำลังรบอย่างรวดเร็วและความห้าวหาญ มีความส�ำคัญอย่างยิ่ง
ในระหว่างการเจาะ ผู้บังคับบัญชาต้องรวมอ�ำนาจการยิงจากระบบอาวุธทุกชนิด ณ บริเวณที่เจาะ
เพื่อเปิดช่องการเจาะในขั้นแรกให้ได้ จากนั้นจึงท�ำการขยายช่องเจาะด้วยการโอบหน่วยข้าศึก
ณ บริเวณบ่าการเจาะแล้วส่งก�ำลังผ่านเข้าไปยึดที่หมายด้านหลังของข้าศึก หรือท�ำลายข้าศึก
ในแนวตั้งรับเป็นส่วน ๆ ก�ำลังที่ท�ำการเจาะช่องจะต้องเคลื่อนที่อย่างรวดเร็วเพื่อป้องกันมิให้ข้าศึก
ตีโต้ตอบต่อปีกของตน ก�ำลังทีเ่ คลือ่ นทีต่ ดิ ตาม จะท�ำการขยายช่องทีเ่ จาะและยึดรักษาบ่าการเจาะ
ในทุกขัน้ ตอนการยิงทางลึกจะต้องกระท�ำต่อระบบอาวุธยิงเล็งจ�ำลองของข้าศึก หน่วยข้าศึกบริเวณ
บ่าการเจาะและหน่วยตีโต้ตอบของข้าศึก ก�ำลังส่วนอื่น ๆ ของฝ่ายเราจะตรึงข้าศึกที่อาจขัดขวาง
การเจาะด้วยการเข้าตี การยิง การเข้าตีลวง หรือ การแสดงลวง

รูปที่ ๗-๕ การเจาะ


คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 187

๗-๓๘ หากมีก�ำลังรบเพียงพอ ผู้บังคับบัญชาระดับยุทธการอาจใช้การเจาะหลาย ๆ


แห่งได้ แต่จะต้องพิจารณาน�้ำหนักความได้เปรียบในการเข้าตีเช่นนั้นให้ถี่ถ้วนเสียก่อน การเจาะ
หลายแห่งจะบีบให้ข้าศึกต้องกระจายอ� ำนาจการยิงและเกิดความลังเลในการสั่งใช้กองหนุน
จากนั้นผู้บังคับบัญชาจะต้องพิจารณาว่าจะด� ำรงสภาพ และขยายผลอย่างไร หน่วยเจาะจะ
มุ่งเข้ายึดที่หมายในทางลึกที่หมายเดียวหรือหลาย ๆ ที่หมาย ปกติในระดับยุทธวิธีอ�ำนาจก�ำลังรบ
มักจะไม่เพียงพอส�ำหรับการเจาะเกินกว่าหนึ่งแห่งได้
การเข้าตีตรงหน้า
๗-๓๙ การเข้าตีตรงหน้า เป็นแบบของการด�ำเนินกลยุทธ์ทฝี่ า่ ยเข้าตีตอ้ งการท�ำลายก�ำลัง
ข้าศึกทีอ่ อ่ นแอกว่าหรือต้องการตรึงข้าศึกตลอดความกว้างด้านหน้า (ดูรปู ที่ ๗ – ๖) ในระดับยุทธวิธี
ฝ่ายเข้าตีสามารถใช้การเข้าตีตรงหน้าเพื่อบดขยี้ก�ำลังข้าศึกที่อ่อนแอกว่าภายในเวลาอันรวดเร็ว
การเข้าตีตรงหน้าเป็นการเข้าตีขา้ ศึกตลอดความกว้างของแนววางก�ำลังโดยใช้เส้นหลักการรุกทีส่ นั้
หรือตรงทีส่ ดุ ปกติจะใช้เมือ่ มีอ�ำนาจก�ำลังรบเหนือกว่าอย่างท่วมท้นและข้าศึกตกอยูใ่ นสภาพทีเ่ สีย
เปรียบอย่างเห็นได้ชัด ผู้บังคับบัญชาจะรวมอ�ำนาจการยิงทั้งระบบอาวุธเล็งตรงและเล็งจ�ำลองเข้า
กระท�ำต่อข้าศึก ความส�ำเร็จในการเข้าตีขนึ้ อยูก่ บั การท�ำให้เกิดความได้เปรียบด้านอ�ำนาจก�ำลังรบ
ตลอดห้วงเวลาที่ท�ำการเข้าตี
๗-๔๐ การเข้าตีตรงหน้า มักเป็นแบบของการด�ำเนินกลยุทธ์ที่ท�ำให้เกิดการสูญเสียต่อ
ฝ่ายเรามากที่สุด เนื่องจากเป็นวิธีที่ก�ำลังของฝ่ายเข้าตีเปิดเผยต่อการรวมอ�ำนาจการยิงของฝ่าย
ตั้งรับมากที่สุด แต่เนื่องจากเป็นแบบของการด�ำเนินกลยุทธ์ที่ง่ายที่สุด จึงมักจะใช้ต่อข้าศึกที่วาง
ก�ำลังเบาบาง ต่อส่วนก�ำบัง หรือต่อการต้านทานที่ไม่เป็นระเบียบของข้าศึก ปกติมักเป็นแบบของ
การด�ำเนินกลยุทธ์ที่เหมาะกับการเข้าตีเร่งด่วนและการรบปะทะ ณ ที่ซึ่งความเร็วและความง่าย
เป็นสิ่งส�ำคัญยิ่งในการรักษาจังหวะ และด�ำรงความริเริ่มเอาไว้ ผู้บังคับบัญชาอาจใช้การเข้าตี
ตรงหน้า เพื่อปฏิบัติการสร้างสภาวะที่เกื้อกูล ในขณะที่ใช้การด�ำเนินกลยุทธ์แบบอื่นท�ำการปฏิบัติ
การรบแตกหัก บางครัง้ อาจใช้การตีตรงหน้าระหว่างการขยายผลหรือไล่ตดิ ตาม ผูบ้ งั คับบัญชาหน่วย
ขนาดใหญ่ที่ท�ำการโอบหรือเจาะอาจให้หน่วยรองบางหน่วยท�ำการตีตรงหน้าซึ่งอาจจะเป็น
การปฏิบัติการสร้างสภาวะที่เกื้อกูลหรือเป็นการปฏิบัติการรบแตกหัก
188 บทที่ ๗

รูปที่ ๗-๖ การเข้าตีตรงหน้า

แบบของการปฏิบัติการรบด้วยวิธีรุก
๗-๔๑ การปฏิบัติการรบด้วยวิธีรุก มีอยู่ ๔ แบบ ด้วยกัน คือ การเคลื่อนที่เข้าปะทะ
การเข้าตี การขยายผล และการไล่ติดตาม ผู้บังคับหน่วยจะใช้การปฏิบัติการรบด้วยวิธีรุก ทั้งสี่
แบบนีต้ ามล�ำดับและผสมผสานกันเพือ่ ให้เกิดอ�ำนาจก�ำลังรบสูงสุด ตัวอย่างเช่น การเข้าตีทปี่ ระสบ
ความส�ำเร็จอาจน�ำไปสูก่ ารขยายผล และการขยายผลอาจน�ำไปสูก่ ารไล่ตดิ ตามหรืออาจมีการเข้าตี
ประณีต หลังจากการไล่ติดตามเพื่อให้ข้าศึกถูกท�ำลายโดยสิ้นเชิง หรือในบางกรณีอาจใช้การ
เข้าตีระหว่างที่มีการไล่ติดตามเพื่อท�ำให้การถอนตัวของข้าศึกชักช้าลง
๗-๔๒ ผู้บังคับบัญชาใช้แบบของการปฏิบัติการรบด้วยวิธีรุกทั้งสี่แบบทั้งผสมผสาน
หรือตามล�ำดับเพื่อให้เกิดความได้เปรียบอย่างสูงสุดต่อข้าศึก การเข้าตีไม่จ�ำเป็นต้องน�ำไปสู่
การขยายผลและการไล่ติดตามเสมอไป ตัวอย่าง เช่น การเข้าตีเพื่อท�ำลายการเข้าตี การเข้าตีลวง
และการแสดงลวง มักจะไม่พัฒนาไปสู่การขยายผล อย่างไรก็ตามสถานการณ์อาจเอื้ออ�ำนวยให้
ผู้บังคับบัญชาขยายผลจากความส�ำเร็จที่มิได้คาดคิดด้วยการเข้าตีอย่างเต็มขนาด
๗-๔๓ ผู้บังคับบัญชาต้องรู้ว่าการปฏิบัติการรบด้วยวิธีรุก และการรับหลาย ๆ แบบอาจ
เกิดพร้อม ๆ กันโดยไม่สามารถบอกช่วงของการเปลี่ยนแปลงได้ หน่วยอาจต้องใช้การเข้าตี
เพื่อท�ำลายการเข้าตีหรือการเข้าตียับยั้ง ในขณะที่ท�ำการตั้งรับเพื่อหน่วงเหนี่ยวจังหวะการรบของ
ข้าศึกให้ชา้ ลงจนกว่าหน่วยจะพร้อมทีจ่ ะเข้าตี ขณะทีห่ น่วยเตรียมการเพือ่ เปลีย่ นการปฏิบตั กิ ารรบ
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 189

ด้วยวิธีรุก จากแบบหนึ่งไปเป็นอีกแบบหนึ่ง หรือจากการปฏิบัติการรบด้วยวิธีรุก เป็นการปฏิบัติ


การรบด้วยวิธีรับ ผู้บังคับบัญชาอาจใช้การเข้าตีลวงในพื้นที่หนึ่งเพื่อดึงความสนใจของข้าศึกจาก
การปฏิบัติในอีกพื้นที่อื่น ๆ
๗-๔๔ ก่อนการปฏิบัติการรบด้วยวิธีรุก หน่วยจะต้องท�ำการเคลื่อนย้ายการเคลื่อนย้าย
มีด้วยกัน ๓ ลักษณะ ได้แก่ การเคลื่อนย้ายทางธุรการ การเคลื่อนย้ายทางยุทธวิธี และการเดิน
ระยะใกล้๑
- การเคลื่อนย้ายทางธุรการ คือ การเคลื่อนที่ซึ่งหน่วยและยานพาหนะท�ำการ
เคลื่อนที่โดยหน่วยคาดการณ์ว่าจะไม่มีการกระท�ำจากข้าศึก ยกเว้นจากการ
กระท�ำจากทางอากาศ การเคลื่อนย้ายทางธุรการจะเกิดขึ้นในพื้นที่ซึ่งไม่มี
การคุกคามจากข้าศึก และไม่ต้องเพิ่มระดับการรักษาความปลอดภัยให้
มากขึ้นกว่าปกติ
- การเคลื่อนย้ายทางยุทธวิธี เป็นการเคลื่อนย้ายหน่วยภายในพื้นที่ปฏิบัติการ
เพื่อเตรียมปฏิบัติการรบ การเคลื่อนย้ายแบบนี้หน่วยคาดการณ์ว่าจะยังไม่มี
การปะทะกับข้าศึก แต่ยังคงต้องด�ำรงมาตรการรักษาความปลอดภัยจากการ
ปฏิบัติของข้าศึก ทั้งจากทางอากาศ จากหน่วยรบพิเศษ และจากพลเรือนที่
เป็นฝ่ายข้าศึก รวมถึงต้องเตรียมการปฏิบัติตอบโต้ต่อภัยคุกคามดังกล่าวด้วย
การเคลื่อนย้ายทางยุทธวิธีจะกระท�ำเมื่อหน่วยต้องการด�ำรงการรักษาความ
ปลอดภัยหรือเมื่ออยู่ในระยะที่ข้าศึกสามารถจะคุกคามต่อหน่วยได้ บางกรณี
ผู้บังคับบัญชาอาจใช้การเคลื่อนที่ทางยุทธวิธีแม้ภัยคุกคามจะอยู่ในระดับต�ำ่
แต่ต้องการการควบคุมบังคับบัญชาที่แน่นแฟ้นเพื่อให้หน่วยสามารถไปถึง
จุดหมายตามที่ก�ำหนดได้
- การเดินระยะใกล้ คือ การเคลื่อนที่ ที่มีความประสงค์จะเข้าท�ำการปะทะกับ
ข้าศึก ทหารทุกคนต้องอยู่ในสภาพที่พร้อมรบ ผู้บังคับบัญชาใช้การเคลื่อนที่
แบบนี้เมื่อค่อนข้างจะมั่นใจว่าตนเองทราบที่ตั้งของข้าศึกและอยู่ในระยะห่าง
จากข้าศึกพอสมควร ผู้บังคับบัญชาเป็นผู้ตัดสินใจว่าจะแปรรูปขบวนที่ใดจึง
จะสามารถท�ำการปะทะได้แต่เนิน่ โดยทีก่ ำ� ลังส่วนใหญ่ยงั คงมีเสรีในการปฏิบตั ิ
อยู่ได้ ในพื้นที่ปฏิบัติการที่ต่อเนื่องกัน มักต้องใช้การผ่านแนวก่อนหรือ
หลังการเคลื่อนที่เข้าหาข้าศึก


การเดินระยะใกล้ การรุกของหน่วยรบเมือ่ การปะทะโดยตรงกับข้าศึกใกล้จะเกิดขึน้ ก�ำลังทหารจะอยูใ่ นรูปขบวนรบทัง้ หมด
หรือบางส่วน การเดินระยะใกล้จะสิน้ สุดเมือ่ ปะทะกับข้าศึกทางพืน้ ดิน หรือเมือ่ ก�ำลังทหารได้เข้าต�ำบลออกตีแล้ว
190 บทที่ ๗

การเคลื่อนที่เข้าปะทะ
๗-๔๕ การเคลือ่ นทีเ่ ข้าปะทะ คือ แบบของการปฏิบตั กิ ารรบด้วยวิธรี กุ ทีม่ คี วามประสงค์
จะคลี่คลายสถานการณ์ เพื่อเข้าท�ำการปะทะ หรือเพื่อกลับเข้าปะทะกับข้าศึกใหม่ หน่วยที่ท�ำ
การเคลื่อนที่เข้าปะทะควรจะเข้าปะทะกับข้าศึกด้วยก�ำลังแต่น้อยที่สุดเท่าที่จะท�ำได้ เมื่อเกิดการ
ปะทะ ผู้บังคับบัญชาจะมีทางเลือก ๕ หนทาง ด้วยกันได้แก่ การเข้าตี ตั้งรับ อ้อมผ่าน รั้งหน่วง
หรือถอนตัว
๗-๔๖ การเคลื่อนที่เข้าปะทะจะประสบความส�ำเร็จได้ หน่วยจะต้องมีความคล่องแคล่ว
ในการเคลือ่ นที่ ความห้าวหาญ และอ�ำนาจก�ำลังรบ เพือ่ ให้เกิดการปะทะและคลีค่ ลายสถานการณ์
อย่างรวดเร็ว หลักพื้นฐานที่น�ำมาใช้มีอยู่ ๖ ประการ ด้วยกันคือ
- มุ่งความพยายามไปที่การค้นหาข้าศึก
- เริ่มเข้าปะทะด้วยก�ำลังน้อยที่สุดเท่าที่จะท�ำได้ ให้ความส�ำคัญในการพิทักษ์
ก�ำลังรบ
- ก�ำลังทีเ่ ริม่ ปะทะควรมีขนาดเล็ก คล่องแคล่ว และมีความสมบูรณ์ในตัวเองเพือ่
ป้องกันมิให้กำ� ลังส่วนใหญ่ตอ้ งติดพันกับการรบแตกหักในพืน้ ทีท่ ขี่ า้ ศึกเป็นฝ่าย
เลือก หากท�ำได้เช่นนี้จะท�ำให้ผู้บังคับบัญชามีความอ่อนตัวในการคลี่คลาย
สถานการณ์
- ท�ำการจัดเฉพาะกิจให้หน่วยและใช้รปู ขบวนทีเ่ กือ้ กูลต่อการวางก�ำลังและเข้า
ตีได้อย่างรวดเร็วในทุกทิศทาง
- จัดให้หน่วยอยู่ในระยะที่สามารถสนับสนุนซึ่งกันและกันได้เพื่อความอ่อนตัว
ในการรับมือต่อสถานการณ์
- เมื่อปะทะแล้วต้องด�ำรงการปะทะไว้ตลอด
๗-๔๗ ผูบ้ งั คับบัญชาต้องจัดให้หน่วยสามารถท�ำการระวังป้องกันรอบตัว ซึง่ ปกติจะต้อง
มีสว่ นระวังป้องกันทัง้ ทางด้านหน้า ทางปีก และทางด้านหลัง ส่วนทีเ่ ป็นหน่วยน�ำควรเป็นหน่วยรบ
ผสมเหล่า ท�ำหน้าที่ในการค้นหาที่ตั้งและตรึงข้าศึก ในระดับกองพล และกองทัพน้อย กอง
ระวังหน้าจะเป็นหน่วยรบผสมเหล่าทีม่ คี วามสมบูรณ์ในตัวเอง แต่หน่วยทีม่ ขี นาดเล็กลงมาก็ควรจะ
จัดตามก�ำลังที่มีอยู่ ส่วนระวังป้องกันมักจะอยู่ห่างออกไปในระยะที่สามารถท�ำให้ก�ำลังส่วนใหญ่
มีเวลาและพืน้ ทีส่ ำ� หรับตอบโต้การปฏิบตั ขิ องข้าศึก ส่วนระวังป้องกันปีกและทางด้านหลังมักจะอยู่
ในระยะที่ก�ำลังส่วนใหญ่สามารถสนับสนุนได้ ส่วนระวังป้องกันหน้าและปีกจะต้องท� ำการลาด
ตระเวนอย่างต่อเนือ่ ง ท�ำการข่มหรือท�ำลายก�ำลังข้าศึกขนาดเล็กเพือ่ มิให้คกุ คามต่อก�ำลังส่วนใหญ่
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 191

กองระวังหน้าจะเคลื่อนที่อย่างรวดเร็วหน้าก�ำลังส่วนใหญ่แต่จะต้องไม่ให้ไกลเกินระยะสนับสนุน
จากก�ำลังส่วนใหญ่ ปกติกองระวังหน้ามักจะจัดแยกไปจากก�ำลังส่วนใหญ่ แต่ส่วนระวังป้องกันปีก
และหลังมักอยู่ในความควบคุมของก�ำลังส่วนใหญ่นั้น

ระยะทีใ่ ห้การสนับสนุน เป็นระยะห่างระหว่างสองหน่วยซึง่ สามารถเคลือ่ นทีไ่ ปมาได้ใน


เวลาส�ำหรับหน่วยหนึง่ มาช่วยเหลือให้กบั หน่วยอืน่ ๆ ส�ำหรับหน่วยขนาดเล็ก มันเป็นระยะห่าง
ระหว่ า งสองหน่ ว ยซึ่ ง สามารถคุ ้ ม ครองกั น ได้ อ ย่ า งมี ป ระสิ ท ธิ ภ าพด้ ว ยการยิ ง ของหน่ ว ย
เหล่านั้น
ระยะที่ให้การสนับสนุน เป็นระยะที่หน่วยที่หนึ่งอาจจะแยกออกไปตามลักษณะ
ภูมปิ ระเทศจากหน่วยทีส่ อง แต่ยงั คงอยูใ่ นระยะสูงสุดระบบอาวุธยิงเล็งจ�ำลองของหน่วยทีส่ อง

๗-๔๘ ก�ำลังส่วนระวังป้องกัน จะต้องวางก�ำลัง และก�ำหนดทิศทางเคลือ่ นทีใ่ ห้สอดคล้อง


กับก�ำลังส่วนใหญ่โดยพิจารณาเอาขีดความสามารถของข้าศึกและภูมิประเทศประกอบด้วย
ในระหว่างการเคลื่อนที่อาจจะต้องอ้อมผ่านหรือเจาะเครื่องกีดขวางไปด้วย ผู้บังคับบัญชาต้อง
มอบอ�ำนาจให้กับผู้บังคับบัญชาหน่วยที่อยู่ข้างหน้าและทางปีก ปกติ ผู้บังคับบัญชามักจะอยู่
ค่อนไปข้างหน้าในระหว่างการเคลื่อนที่เข้าปะทะ
ค้นหาและโจมตี
๗-๔๙ การค้นหาและโจมตี เป็นเทคนิคในการเคลื่อนที่เข้าปะทะที่มีลักษณะหลายอย่าง
เหมือนกับภารกิจการระวังป้องกันพืน้ ที่ ๑ ปกติมกั จะใช้หน่วยด�ำเนินกลยุทธ์ขนาดเบาหรือขนาดกลาง
หน่วยบินโจมตี และหน่วยเคลื่อนที่ทางอากาศ วัตถุประสงค์ของการใช้เทคนิคค้นหาและโจมตีคือ
เพื่อท�ำลายข้าศึก ป้องกันก�ำลังของฝ่ายเดียวกัน ขัดขวางมิให้ข้าศึกใช้พื้นที่ และรวบรวมข่าวสาร
ผู้บังคับบัญชาใช้การค้นหาและโจมตีเมื่อข้าศึกกระจายก�ำลังกันอยู่ในพื้นที่ ที่รกทึบ ไม่เหมาะกับ
การใช้หน่วยขนาดหนัก เมือ่ ไม่สามารถค้นหาจุดอ่อนของข้าศึก หรือเมือ่ ไม่ตอ้ งการให้ขา้ ศึกเคลือ่ นที่
เข้ามาในพื้นที่นั้น การค้นหาและโจมตีอาจมุ่งต่อหน่วยแทรกซึมหรือหน่วยรบพิเศษของข้าศึก
ในพื้นที่ ที่ได้รับมอบในภารกิจระวังป้องกันพื้นที่เช่น การกวาดล้างในพื้นที่ปฏิบัติการ การค้นหา
และโจมตีจะมีประโยชน์มาก
192 บทที่ ๗

การรบปะทะ
๗-๕๐ การรบปะทะ เป็นการปฏิบัติการรบที่เกิดขึ้นเมื่อหน่วยที่กำ� ลังเคลื่อนที่เกิดการ
ปะทะกับข้าศึก ณ เวลาและสถานทีซ่ งึ่ มิได้คาดคิดมาก่อน ปกติลกั ษณะเช่นนีม้ กั จะเกิดกับการปฏิบตั ิ
การของหน่วยขนาดเล็ก แต่กอ็ าจเกิดขึน้ กับหน่วยขนาดกองพลน้อย หรือหน่วยทีใ่ หญ่กว่าได้ถา้ หาก
การข่าว การเฝ้าตรวจ และการลาดตระเวน ไม่มปี ระสิทธิภาพ การรบปะทะอาจเกิดขึน้ ได้เมือ่ ก�ำลัง
ทั้ ง สองฝ่ า ยรู ้ ว ่ า มี ฝ ่ า ยตรงข้ า มอยู ่ ใ นพื้ น ที่ แ ละตั ด สิ น ใจเข้ า ตี แ ม้ ไ ม่ ท ราบที่ ตั้ ง ที่ แ น่ น อนของ
ฝ่ายตรงข้าม ทันทีที่เกิดการปะทะ ผู้บังคับบัญชาต้องรีบแสวงความได้เปรียบในทันที ความเร็วใน
การเคลือ่ นทีแ่ ละการปฏิบตั บิ วกกับอ�ำนาจการยิงทัง้ การยิงเล็งตรงและเล็งจ�ำลองเป็นสิง่ ส�ำคัญทีจ่ ะ
ช่วยให้มีความได้เปรียบเหนือข้าศึก เพื่อด�ำรงแรงหนุนเนื่องหน่วยน�ำควรจะอ้อมผ่านหรือตรงเข้า
ท�ำลายหากข้าศึกมีการต้านทานเบาบาง เสรีในการด�ำเนินกลยุทธ์เป็นความได้เปรียบอยู่เสมอ
อย่างไรก็ตาม ผู้บังคับบัญชาอาจตัดสินใจท�ำการตั้งรับเร่งด่วนถ้าหากข้าศึกมีกำ� ลังมากกว่าหรือ
เมื่อภูมิประเทศเกื้อกูลประโยชน์ต่อฝ่ายเรา
การเข้าตี
ประเภทของการเข้าตี
๗-๕๑ การเข้าตี เป็นการปฏิบัติการรบด้วยวิธีรุก - เร่งด่วน
เพือ่ ท�ำลายหรือเอาชนะข้าศึกหรือเพือ่ ยึดและรักษาภูมปิ ระเทศ - ประณีต
หรือทั้งสองอย่างรวมกัน การเข้าตีเป็นการผสมผสานการ - ความมุ่งหมายพิเศษ
เคลื่อนที่สนับสนุนด้วยการยิงเล็งตรงและเล็งจ�ำลอง การเข้าตี • ท�ำลายการเข้าตี
สามารถเป็นได้ทงั้ การปฏิบตั กิ ารจัดรูปแบบ หรือการปฏิบตั กิ าร • ตีโต้ตอบ
รบแตกหัก การเข้าตีอาจเป็นได้ทั้งการเข้าตีเร่งด่วน และการ • ตีโฉบฉวย
เข้าตีประณีต ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเวลาที่มีอยู่ส�ำหรับการประเมิน • ซุ่มโจมตี
สถานการณ์ การวางแผน และการเตรียมการ ผู้บังคับบัญชาใช้ • ตีลวง
การเข้าตีเร่งด่วนเมือ่ สถานการณ์จ�ำเป็น ต้องใช้ก�ำลังเท่าทีม่ อี ยู่ • แสดงลวง
และมีเวลาเตรียมการน้อย การเข้าตีประณีตใช้เมือ่ มีเวลาในการ
วางแผนและประสานการเตรียมการ การเข้าตีทุกแบบล้วนมี
หลักพื้นฐานเหมือนกัน ความส� ำเร็จในการเข้าตีขึ้นอยู่กับการรวมและใช้อ� ำนาจก�ำลังรบที่มี
ประสิทธิภาพ
การเข้าตีเร่งด่วน
๗-๕๓ ผู้บังคับบัญชาใช้การเข้าตีเร่งด่วนเพื่อแสวงหาโอกาสท�ำลายข้าศึกหรือเพื่อชิง
ความริเริ่ม แต่โอกาสดังกล่าวจะเกิดขึ้นในเวลาเพียงสั้น ๆ เท่านั้น ปกติมักจะเกิดขึ้นในระหว่าง
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 193

การเคลื่อนที่เข้าปะทะและในการปฏิบัติการรบด้วยวิธีรับ ในการเข้าตีเร่งด่วน ผู้บังคับบัญชาต้อง


ยอมเสียความได้เปรียบในเรื่องการวางแผนอย่างละเอียดและการประสานสอดคล้องเต็มรูปแบบ
เพื่อให้หน่วยสามารถปฏิบัติการรบได้ในทันที ในระหว่างการเคลื่อนที่เข้าปะทะ ผู้บังคับบัญชาท�ำ
การเข้าตีเร่งด่วนเพือ่ ท�ำลายข้าศึกก่อนทีข่ า้ ศึกจะรวมก�ำลังหรือท�ำการตัง้ รับได้ทนั ในการปฏิบตั กิ าร
ตั้งรับ ผู้บังคับบัญชาใช้การเข้าตีเร่งด่วนเพื่อท�ำลายข้าศึกที่เปิดเผยจุดอ่อน ในสถานการณ์ที่ไม่
กระจ่างชัด การระบุภารกิจ “เมือ่ สัง่ ” หรือ “เตรียม” จะช่วยให้หน่วยสามารถตอบโต้ได้อย่างรวดเร็ว
๗-๕๔ เมื่อตัดสินใจเข้าตี ผู้บังคับบัญชาต้องลงมือปฏิบัติอย่างรวดเร็วที่สุด ขณะที่การ
เข้าตีเร่งด่วนได้ประโยชน์จากความว่องไวและการจู่โจมสูงสุด แต่ก็ต้องยอมรับความเสี่ยงจากการ
ขาดการประสานสอดคล้อง การใช้ระเบียบปฏิบัติประจ�ำที่มีการก�ำหนดรูปขบวนมาตรฐานและ
การซักซ้อมสม�่ำเสมอ จะช่วยลดความเสี่ยงได้มาก หน่วยสนับสนุนการรบ และหน่วยสนับสนุน
ทางการช่วยรบควรอยู่ ณ ต�ำบลที่สามารถตอบสนองได้เร็วที่สุด การก�ำหนดความสัมพันธ์ทางการ
บังคับบัญชาที่ใช้อยู่เป็นประจ�ำระหว่างหน่วยสนับสนุนกับหน่วยรับการสนับสนุนจะช่วยให้หน่วย
ทุกระดับปฏิบัติการได้อย่างรวดเร็วและต่อเนื่องแม้เวลาในการวางแผนและประสานสอดคล้องจะ
ไม่เพียงพอ
การเข้าตีประณีต
๗-๕๕ การเข้าตีประณีต แตกต่างกับ การเข้าตีเร่งด่วน ตรงที่การเข้าตีประณีตต้องมี
การประสานสอดคล้องกันเป็นอย่างดีโดยมีการวางแผนในรายละเอียดและมีเวลาเตรียมการมาก
การเข้าตีประณีตจะมีการปฏิบตั กิ ารพร้อม ๆ กันหลาย ๆ แห่งภายในพืน้ ทีป่ ฏิบตั กิ าร ทัง้ การยิงตาม
แผน การปฏิบตั กิ ารจัดรูปแบบ การวางก�ำลังและทรัพยากรไปข้างหน้าเพือ่ การด�ำรงความหนุนเนือ่ ง
ผูบ้ งั คับบัญชาใช้เวลาเท่าทีจ่ ำ� เป็นเพือ่ วางก�ำลังและรวบรวมข่าวสารให้เพียงพอเพือ่ จะได้โจมตีขา้ ศึก
อย่างแม่นย�ำและรุนแรง เนื่องจากต้องมีการใช้เวลาในการวางแผนและเตรียมการ การปฏิบัติใน
ช่วงแรกของหน่วยจึงมักจะมีลักษณะเชิงรับ อย่างไรก็ตามหน่วยที่ยังไม่ได้ใช้อาจถูกน�ำมาใช้ใน
การเข้าตีประณีตในลักษณะที่ต่อเนื่องกับการปฏิบัติการรบด้วยวิธีรุก ที่ก�ำลังด�ำเนินอยู่ได้
๗-๕๖ เวลาทีใ่ ช้ในการเตรียมการส�ำหรับการเข้าตีประณีตย่อมเป็นเวลาทีข่ า้ ศึกใช้ปรับปรุง
การตั้งรับ ท�ำการถอนตัว หรือชิงเข้าตีก่อน ดังนั้นผู้บังคับบัญชาจึงควรใช้การเข้าตีประณีตต่อ
เมื่อไม่สามารถอ้อมผ่านข้าศึกหรือไม่สามารถเข้าตีเร่งด่วนได้แล้วเท่านั้น ขณะที่วางแผนและ
เตรียมการจะต้องด�ำรงการกดดันข้าศึกอย่างต่อเนื่อง ต้องรบกวนการตั้งรับด้วยการใช้การ
ลาดตระเวนเชิงรุก การเข้าตีลวง การเข้าตีต่อที่หมายจ�ำกัด การใช้การยิงรบกวน การโจมตี
ทางอากาศ หรือการใช้การปฏิบัติการข่าวสารเชิงรุก
194 บทที่ ๗

๗-๕๗ การเข้าตีประณีตต้องการ การวางแผน และการประสานงานอย่างกว้างขวาง รวม


ถึงการวางก�ำลังกองหนุนและก�ำลังส่วนติดตามไปพร้อม ๆ กับการเตรียมการด้านก�ำลังพลและ
ยุทโธปกรณ์ หลังการซักซ้อมหรือได้รับข่าวกรองจากการลาดตระเวนและเฝ้าตรวจ ผู้บังคับบัญชา
และฝ่ายอ�ำนวยการจะปรับแผนให้เหมาะสม ผูบ้ งั คับบัญชาใช้การปฏิบตั กิ ารข่าวสาร เพือ่ ลวงข้าศึก
และป้องกันมิให้ขา้ ศึกใช้การบังคับบัญชาและควบคุมได้อย่างมีประสิทธิภาพ การปฏิบตั กิ ารข่าวสาร
ที่มีประสิทธิภาพจะช่วยปกปิดการเตรียมการ เจตนา และขีดความสามารถของฝ่ายเรา ผู้บังคับ
บัญชาใช้การลาดตระเวนและเฝ้าตรวจเพือ่ รวบรวมข่าวสารเกีย่ วกับข้าศึกและพืน้ ทีป่ ฏิบตั กิ าร ระบบ
ข่าวกรองจะวิเคราะห์ขา่ วสารดังกล่าวเพือ่ ค้นหาขีดความสามารถ การวางก�ำลัง หรือแผนของข้าศึก
ก�ำลังฝ่ายเราจะขยายผลจากจุดอ่อนของข้าศึกทั้งก่อนและระหว่างการเข้าตี การจัดการข่าวสาร
ที่มีประสิทธิภาพ จะท�ำให้ข้อมูลที่ได้จากการลาดตระเวนและเฝ้าตรวจถูกส่งผ่านตรงไปยัง
หน่วยวิเคราะห์อย่างรวดเร็ว การจัดการข้อมูลข่าวสารจะช่วยให้การกระจายผลผลิตด้านข่าวกรอง
ไปยังหน่วยใช้รวดเร็วยิ่งขึ้น
การเข้าตีที่มีความมุ่งหมายพิเศษ
๗-๕๘ การเข้ า ตี บ างแบบต้ อ งใช้ วิ ธี ก าร และการวางแผนที่ ต ่ า งออกไปเป็ น พิ เ ศษ
ผู้บังคับบัญชาใช้การเข้าตีที่มีความมุ่งหมายพิเศษเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ต่างจากการเข้าตี
แบบอื่น ๆ การเข้าตีเพื่อท�ำลายการเข้าตี และการตีโต้ตอบ มักจะเป็นขั้นตอนหนึ่งของการปฏิบัติ
การที่ใหญ่กว่า การตีโฉบฉวย และการซุ่มโจมตี มักจะเป็นการปฏิบัติที่ไม่อยู่ในขั้นตอนใดของ
การปฏิบตั กิ ารทีใ่ หญ่กว่า และส่วนใหญ่จะเป็นการปฏิบตั กิ ารของหน่วยขนาดเล็ก การเข้าตีลวงและ
การแสดงลวง เป็นแบบหนึ่งของการปฏิบัติการลวง
๗-๕๙ การเข้าตีท�ำลายการเข้าตี เป็นการชิงเข้าตีก่อนหรือท�ำให้การเข้าตีของข้าศึก
ประสบความสูญเสียอย่างหนักในขณะทีข่ า้ ศึกยังอยูใ่ นระหว่างขัน้ การวางแผนหรือเตรียมการเข้าตี
ปกติมักเป็นการปฏิบัติในลักษณะของการรบด้วยวิธีรับ และการเข้าตีท�ำลายการเข้าตีจะกระท�ำ
ณ ต�ำบล และเวลาที่ข้าศึกมีความล่อแหลมมากที่สุด เช่น ในระหว่างที่เตรียมการเข้าตีอยู่ในที่
รวมพล ระหว่างที่อยู่ในฐานออกตี หรือในระหว่างที่เคลื่อนที่ไปยังแนวออกตี อันเป็นเวลาที่ข้าศึก
จะต้องประสานการปฏิบตั กิ บั หน่วยเหนือ การเข้าตีเพือ่ ท�ำลายการเข้าตีจ�ำเป็นต้องอาศัยข่าวสารที่
แม่นย�ำในเรือ่ งการวางก�ำลังของข้าศึก ผูบ้ งั คับบัญชาต้องเตรียมพร้อมทีจ่ ะขยายผลความได้เปรียบ
จากการเข้าตีแบบนี้ทุกขณะ
๗-๖๐ การตีโต้ตอบ เป็นการเข้าตีตอ่ ก�ำลังข้าศึกทีก่ ำ� ลังเข้าตีตอ่ ฝ่ายเราโดยก�ำลังบางส่วน
หรือทั้งหมดของก�ำลังที่ตั้งรับอยู่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อมิให้ข้าศึกบรรลุวัตถุประสงค์ในการเข้าตี
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 195

ครั้งนั้น ปกติผู้บังคับบัญชาใช้การตีโต้ตอบในขณะที่หน่วยท�ำการตั้งรับ โดยมีวัตถุประสงค์


เพื่อเอาชนะหรือท�ำลายหรือเพื่อช่วงชิงภูมิประเทศที่ข้าศึกแย่งยึดไปกลับคืนมา ก�ำลังที่ใช้ในการ
ตีโต้ตอบมักจะเป็นกองหนุน ก�ำลังส่วนทีย่ งั ไม่ตดิ พันกับข้าศึก หรือหน่วยทีก่ �ำหนดไว้เป็นการเฉพาะ
การตีโต้ตอบจะกระท�ำหลังจากที่ข้าศึกเริ่มท�ำการเข้าตีเปิดเผยส่วนเข้าตีหลัก หรือเมื่อปีกเปิด
๗-๖๑ ผู ้ บั ง คั บ บั ญ ชาท� ำ การตี โ ต้ ต อบแบบเดี ย วกั บ การปฏิ บั ติ ก ารอื่ น ๆ นั่ น คื อ
ต้องประสานสอดคล้องกิจกรรมทั้งปวง หน่วยควรจะมีการซักซ้อมและเตรียมการในพื้นที่ ที่จะ
ท�ำการตีโต้ตอบถ้าสามารถท�ำได้ หน่วยตีโต้ตอบอาจขยายผลจากความส�ำเร็จเฉพาะต�ำบลถ้าเห็น
โอกาสที่ได้เปรียบ แต่ปกติมักจะกลับมาท�ำการปฏิบัติการรบด้วยวิธีรับใหม่ กองบัญชาการหน่วย
ที่ใหญ่กว่าจะเตรียมแผนตีโต้ตอบในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของการขยายผลและการไล่ติดตาม
ขนาดใหญ่ ในกรณีดังกล่าว การตีโต้ตอบอาจจะเป็นขั้นแรกของการชิงความริเริ่มและเปลี่ยนจาก
การปฏิบัติการรบด้วยวิธีรับ เป็นการปฏิบัติการรบด้วยวิธีรุก ในการปฏิบัติการตั้งรับแบบคล่องตัว
การตีโต้ตอบถือเป็นการปฏิบัติการรบแตกหัก
๗-๖๒ การตีโฉบฉวย เป็นการเข้าตีแบบหนึ่ง ปกติมักเป็นระดับหน่วยขนาดเล็ก ท�ำการ
เคลื่อนที่เข้าไปในพื้นที่ข้าศึกอย่างรวดเร็วเพื่อหาข่าวสาร สร้างความสับสนให้ข้าศึก หรือท�ำลาย
ที่ตั้งหรือสิ่งก่อสร้าง การตีโฉบฉวยมักจะจบลงด้วยการถอนตัวออกจากที่หมายตามแผนที่วางไว้
ในการนีจ้ ะต้องมีขา่ วกรองอย่างละเอียดและมีการวางแผนอย่างประณีต การตีโฉบฉวยอาจท�ำลาย
ทีต่ งั้ หรือสิง่ อ�ำนวยความสะดวกทีส่ �ำคัญของข้าศึก จับข้าศึก หรือปลดปล่อยเชลยศึก รบกวนระบบ
การบังคับบัญชาและควบคุมหรือระบบอื่น ๆ ที่ส�ำคัญของข้าศึก
๗-๖๓ การซุ่มโจมตี เป็นการปฏิบัติของหน่วยที่อยู่ในที่ซ่อนพรางท�ำการโจมตีด้วย
การยิง หรือเครื่องมือในการท�ำลายอื่น ๆ ต่อข้าศึกที่ก�ำลังเคลื่อนที่หรือหยุดการเคลื่อนที่ชั่วคราว
การซุ่มโจมตีท�ำลายข้าศึกด้วยการแสวงประโยชน์สูงสุดจากการจู่โจม ใช้อาวุธยิงเล็งตรงหรืออาวุธ
ในการท�ำลายอื่น ๆ เช่น ทุ่นระเบิดแบบบังคับจุดระเบิดจากระยะไกล ใช้การยิงที่ไม่เกิดผลในทาง
สังหาร และการยิงจ�ำลอง การซุ่มโจมตีจะรบกวนความเป็นปึกแผ่นของข้าศึก ท�ำให้ข้าศึกขาด
ความมั่นใจและรู้สึกไม่ปลอดภัย การซุ่มโจมตีจะได้ผลเป็นพิเศษถ้ากระท�ำต่อการปฏิบัติการ
ด�ำรงสภาพของข้าศึก
๗-๖๔ การเข้าตีลวง เป็นแบบของการเข้าตีที่มีความมุ่งหมายที่จะลวงข้าศึกเกี่ยวกับ
สถานที่ และเวลาของการปฏิบัติการรบแตกหัก ก�ำลังที่ท�ำการเข้าตีลวงจะพยายามปะทะกับข้าศึก
ด้วยการยิงเล็งตรง แต่จะหลีกเลี่ยงการติดพันถึงขั้นแตกหัก การเข้าตีลวงจะหันเหความสนใจ
ของข้าศึกไปจากการปฏิบัติการรบแตกหัก และจะป้องกันมิให้ข้าศึกรวมอ�ำนาจก�ำลังรบไปยัง
196 บทที่ ๗

การปฏิบัติการรบแตกหักนั้น ปกติการเข้าตีลวงจะเข้าตีต่อที่หมายจ�ำกัดที่อยู่ไม่ลึกนักและมักจะ
กระท�ำก่อนหรือระหว่างการปฏิบตั กิ ารรบแตกหัก กรณีตวั อย่าง ในระหว่างยุทธการพายุทะเลทราย
หน่วยของกองพลทหารม้าที่ ๑ ท� ำการเข้าตีลวงบริเวณ RUQI ก่อนวันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์
ค.ศ. ๑๙๙๑ โดยมีความมุง่ หมายทีจ่ ะตรึงก�ำลังในแนวรบของอิรกั และท�ำให้ผบู้ งั คับบัญชาของอิรกั
เชื่อว่าการปฏิบัติการรบแตกหัก ของฝ่ายพันธมิตรจะกระท�ำตามแนว WADI AL-BATIN
๗-๖๕ การแสดงลวง เป็นแบบของการเข้าตีเพือ่ ลวงข้าศึกเกีย่ วกับสถานที่ และเวลาของ
การปฏิ บั ติ ก ารรบแตกหัก โดยการท� ำให้เห็น ก� ำ ลั ง ของกองก�ำ ลั ง ที่ ด�ำเนิ น การแสดงก�ำ ลั ง จะ
ไม่พยายามปะทะกับข้าศึก การแสดงลวง ถือเป็นการปฏิบตั กิ ารจัดรูปแบบ โดยต้องการท�ำให้ขา้ ศึก
เข้าใจผิด ๆ เกี่ยวกับเจตนารมณ์ของฝ่ายเรา การแสดงลวงจะเกื้อกูลต่อการปฏิบัติการรบแตกหัก
โดยการตรึงหรือหันเหความสนใจของข้าศึกไปจากการปฏิบตั กิ ารรบแตกหัก ผูบ้ งั คับบัญชาจะปล่อย
ให้ข้าศึกตรวจพบการแสดงก�ำลังแต่ต้องไม่ให้ข้าศึกทราบเจตนารมณ์ที่แท้จริงของฝ่ายเรา ถ้า
การแสดงก�ำลังท�ำให้ข้าศึกเปิดเผยจุดอ่อน ผู้บังคับบัญชาอาจใช้การเข้าตีแบบอื่น ๆ ได้ทันที
การขยายผล
๗-๖๖ การขยายผล เป็นแบบของการปฏิบตั กิ ารรบด้วยวิธรี กุ ทีม่ กั จะเกิดขึน้ หลังจากการ
เข้าตีประสบความส�ำเร็จ การขยายผลมีวัตถุประสงค์เพื่อท�ำให้ข้าศึกเสียระเบียบตลอดความลึก
ด้วยการท�ำให้ขา้ ศึกถูกแบ่งแยกเป็นหน่วยย่อย ๆ จนกระทัง่ ข้าศึกไม่มที างเลือกเป็นอย่างอืน่ นอกจาก
ยอมแพ้หรือหนี ผู้บังคับบัญชาที่ท�ำการขยายผลต้องใช้ความรุกรบ ความริเริ่ม และความกล้าหาญ
การขยายผลอาจเกิดขึ้นเฉพาะต�ำบลหรืออาจเป็นการปฏิบัติการขนาดใหญ่ได้ การขยายผลเฉพาะ
ต�ำบลจะใช้ความได้เปรียบจากโอกาสทางยุทธวิธีที่เกิดขึ้น ไม่ว่าโอกาสนั้นจะคาดการณ์ได้ล่วงหน้า
หรือไม่ก็ตาม ปกติกองพล และหน่วยระดับสูงกว่ามักจะวางแผนขยายผลขนาดใหญ่ไว้เป็น
แผนที่แตกออกไปหรือแผนการปฏิบัติที่ตามมาเป็นล�ำดับขั้น
๗-๖๗ การเข้าตีทสี่ ามารถท�ำลายข้าศึกลงได้อย่างสิน้ เชิงนัน้ เกิดขึน้ ได้ยาก ปกติขา้ ศึก จะ
พยายามผละออกจากการปะทะ ถอนตัว หรือจัดการตั้งรับขึ้นใหม่ให้เร็วที่สุด ในการปฏิบัติการ
ขนาดใหญ่ ข้าศึกอาจรวมก�ำลังต่อต้านฝ่ายเข้าตีด้วยการโยกย้ายหน่วยมาจากพื้นที่ ที่มีการรบไม่
รุนแรงนักหรือไม่กส็ งั่ ใช้กองหนุน ในระหว่างการขยายผล ผูบ้ งั คับหน่วยจะใช้การเข้าตีหลาย ๆ แห่ง
พร้อม ๆ กันทั่วทั้งพื้นที่ปฏิบัติการ เพื่อไม่ให้ข้าศึกได้มีโอกาสตั้งตัว
๗-๖๘ ในระหว่างการเข้าตี ผู้บังคับบัญชาต้องคอยแสวงหาโอกาสที่จะขยายผลอยู่
ตลอดเวลา สิ่งบอกเหตุที่หน่วยสามารถจะท�ำการขยายผลได้ก็คือ
- จับข้าศึกเป็นเชลยได้เป็นจ�ำนวนมากหรือข้าศึกทั้งหน่วยยอมแพ้
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 197

- หน่วยของข้าศึกแตกพ่ายหลังจากการปะทะขั้นต้น
- การปฏิบัติการตั้งรับของข้าศึกขาดความเป็นระเบียบ
- จับผู้บังคับบัญชาข้าศึกได้ หรือผู้บังคับบัญชาข้าศึกไม่อยู่กับหน่วย
๗-๖๙ ผู้บังคับบัญชาต้องวางแผนขยายผลไว้ส�ำหรับการเข้าตีทุกครั้งเสมอ ยกเว้นว่า
กองบัญชาการหน่วยเหนือจะห้ามมิให้กระท�ำหรือสถานการณ์ไม่เกือ้ กูล การขยายผลจะท�ำให้ขา้ ศึก
ตกอยูภ่ ายใต้ความกดดัน รวมก�ำลังกันไม่ตดิ ขาดขวัญและก�ำลังใจในการต่อสู้ เมือ่ ความเป็นปึกแผ่น
ของข้าศึกถูกท�ำลายลง ฝ่ายเข้าตีจะโจมตีต่อเป้าหมายที่ป้องกันมิให้ข้าศึกรวมก�ำลังกันขึ้นใหม่
ฝ่ า ยเข้ า ตี จ ะต้ อ งเข้ า ตี อ ย่ า งรวดเร็ ว ต่ อ ที่ บั ง คั บ การ ตั ด เส้ น ทางถอย โจมตี ก องหนุ น ข้ า ศึ ก
ปืนใหญ่สนาม หน่วยสนับสนุนการรบ และหน่วยสนับสนุนการช่วยรบที่ส�ำคัญ
๗-๗๐ โอกาสในการขยายผลเฉพาะต�ำบลอาจเกิดขึ้นในพื้นที่ ที่มิใช่เป็นความพยายาม
หลัก ผู้บังคับบัญชาจะต้องปรับจังหวะให้หน่วยรองเพื่อฉกฉวยความได้เปรียบจากโอกาสที่เกิดขึ้น
ในขณะที่ความพยายามหลักยังคงกดดันข้าศึกอยู่ต่อไป การขยายผลเฉพาะต�ำบลหลาย ๆ แห่ง
พร้อมกันอาจเปลี่ยนเป็นการขยายผลขนาดใหญ่ที่กลายเป็นการปฏิบัติการรบแตกหักได้
๗-๗๑ ความส�ำเร็จในการขยายผลจะมีความส�ำคัญเป็นพิเศษหลังจากการเข้าตีประณีตที่
ผู้บังคับบัญชายอมรับความเสี่ยงในพื้นที่อื่นเพื่อที่จะรวมอ�ำนาจก�ำลังรบส�ำหรับการปฏิบัติการรบ
แตกหัก ถ้าไม่สามารถขยายผลอย่างรุกรบจากความส�ำเร็จของการปฏิบัติการรบแตกหัก อาจเปิด
โอกาสให้ข้าศึกค้นพบจุดอ่อนของฝ่ายเราและขยายผลจนได้ความริเริ่มกลับคืนไป
๗-๗๒ ถ้าเป็นไปได้หน่วยที่เป็นหน่วยน�ำควรจะเป็นหน่วยที่ท�ำการขยายผลก่อน แต่ถ้า
ท�ำไม่ได้ ผู้บังคับบัญชาจะส่งหน่วยใหม่ที่สดชื่นกว่าเข้าไปเป็นหน่วยน�ำ การขยายผลจ�ำเป็นต้อง
ใช้ความรุกรบทัง้ ทางจิตใจและทางร่างกายเพือ่ เอาชนะความยากล�ำบากทีเ่ กิดขึน้ จากเทคนิคเขมือบ
ความมืดสภาพอากาศที่เลวร้าย โอกาสในการยิงกันเอง และเวลาในการปฏิบัติการที่ยืดออกไป
๗-๗๓ ความส�ำเร็จในการขยายผลท�ำให้ข้าศึกขวัญเสีย รวมกันไม่ติด ผู้บังคับบัญชา
ที่ท�ำการขยายผลต้องคาดการณ์ว่าจะมีการขยายผลและเตรียมเปลี่ยนเป็นการไล่ติดตาม หน่วย
สนับสนุนการช่วยรบต้องพร้อมตลอดเวลาที่จะสนับสนุนในทุกโอกาสที่เปิดให้
การไล่ติดตาม
๗-๗๔ การไล่ตดิ ตาม เป็นแบบของการรบด้วยวิธรี กุ ทีต่ อ้ งการท�ำลายข้าศึกทีก่ ำ� ลังหนีดว้ ย
การจับกุมหรือตัดเส้นทางถอย การไล่ติดตามเป็นการปฏิบัติการรบแตกหัก ที่กระท�ำต่อจากการ
เข้าตีหรือการขยายผลที่ประสบความส�ำเร็จ ปกติจะเกิดขึ้นเมื่อข้าศึกไม่สามารถจัดการตั้งรับใหม่
198 บทที่ ๗

อย่างมีระเบียบหรือ พยายามผละออกจากการรบ หากปรากฏชัดว่าการต้านทานของข้าศึกได้


พังทลายลงทั้งระบบ หรือข้าศึกก�ำลังหลบหนี ก�ำลังฝ่ายที่ท�ำการปฏิบัติการรบด้วยวิธีรุก สามารถ
เปลี่ยนจากการปฏิบัติการรบด้วยวิธีรุกแบบใด ๆ เป็นการไล่ติดตามได้ทุกแบบ ในการไล่ติดตามจะ
ต้องท�ำการเคลือ่ นทีอ่ ย่างรวดเร็วและใช้การควบคุมแบบแยกการ การไล่ตดิ ตามต่างจากการขยายผล
ตรงที่ผู้บังคับบัญชามักจะคาดการณ์ล่วงหน้าได้ยาก ดังนั้นจึงมักจะไม่เก็บก�ำลังไว้เป็นกองหนุน
๗-๗๕ ในการไล่ติดตาม ส่วนใหญ่ผู้บังคับบัญชามักจัดก�ำลังเป็นสองส่วนคือ ส่วนกดดัน
โดยตรง และส่วนโอบล้อม หน่วยกดดันโดยตรงจะด�ำรงการกดดันข้าศึกเพื่อป้องกันมิให้จัดการ
ตัง้ รับทีม่ รี ะเบียบขึน้ มาใหม่ได้ ส่วนโอบล้อมจะท�ำการโอบหรือตีตลบเพือ่ ตัดเส้นทางถอยของข้าศึก
หรือท�ำให้ขา้ ศึกเผชิญกับก�ำลังของฝ่ายเราทัง้ สองส่วนแล้วจัดการท�ำลายเสีย ก�ำลังส่วนโอบล้อมจะ
ต้องมีความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่สูงกว่าข้าศึก ก�ำลังทางอากาศ และระบบอาวุธยิงระยะไกล
ที่มีความแม่นย�ำสูงเป็นปัจจัยส�ำคัญที่จะท�ำให้ข้าศึกเคลื่อนที่ช้าลงได้
๗-๗๖ การขยายผลและการไล่ ติ ด ตาม เป็ น การรบที่ ท ดสอบความห้ า วหาญและ
ความทรหดอดทนของทั้งทหารและผู้บังคับบัญชา หลังจากการเข้าตี ทหารมักอ่อนล้า หน่วยก็ต้อง
สูญเสียทัง้ ก�ำลังพลและยุทโธปกรณ์ เมือ่ การขยายผลและการไล่ตดิ ตามด�ำเนินไป เส้นทางคมนาคม
จะยาวขึ้น การปฏิบัติการรบด้วยวิธีรุกเสี่ยงต่อการถึงจุดผกผัน ผู้บังคับบัญชา และหน่วยต้องใช้
ความพยายามทั้งทางร่างกายและจิตใจเพื่อไม่ให้แรงหนุนเนื่องหยุดชะงัก และสามารถแปรไป
เป็นการปฏิบัติการแบบอื่น ๆ หรือเปลี่ยนชัยชนะทางยุทธวิธีให้เป็นชัยชนะในระดับยุทธการ
หรือยุทธศาสตร์ได้
การด�ำเนินการปฏิบัติการรบด้วยวิธีรุก
๗-๗๗ ผูบ้ งั คับบัญชา เป็นผูก้ ำ� หนดกรรมวิธใี นการปฏิบตั ิ โดยต้องพยายามโจมตีในจังหวะ
ที่ข้าศึกเสียเปรียบ ผู้บังคับบัญชาต้องมีวาดภาพสถานการณ์ ตกลงใจอย่างมีประสิทธิภาพ
ประเมินค่าการวางแผน เตรียมการและสัง่ การให้ปฏิบตั ิ ฝ่ายอ�ำนวยการจะช่วยเหลือผูบ้ งั คับบัญชา
ในการคาดการณ์ถึงผลการปฏิบัติในปัจจุบัน และที่วางแผนเอาไว้ ผู้บังคับบัญชาต้องใช้ดุลพินิจ
เพื่อท�ำความเข้าใจต่อสถานการณ์ซึ่งตนจะต้องตกลงใจเพื่อให้ภารกิจส�ำเร็จ (ดู รส. ๖-๐)
ข้อพิจารณาในการวางแผนส�ำหรับการรบด้วยวิธีรุก
๗-๗๘ ผู้บังคับบัญชาต้องวางแผนโจมตีต่อก�ำลัง และระบบของข้าศึกพร้อม ๆ กันทั่วทั้ง
พืน้ ทีป่ ฏิบตั กิ ารเพือ่ ชิงความริเริม่ ขยายผลจากความส�ำเร็จ และด�ำรงความหนุนเนือ่ ง ในการปฏิบตั ิ
การรบแตกหัก ผู้บังคับบัญชาจะรวมอ�ำนาจก�ำลังรบเพื่อเอาชนะข้าศึก แผนขั้นต้นควรจะง่าย
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 199

และมีพนื้ ฐานมาจากการประเมินและมองภาพห้วงสนามรบและภารกิจ ผูบ้ งั คับบัญชาตกลงใจเลือก


หนทางปฏิบัติที่ดีที่สุด จากนั้นก�ำหนดแนวความคิดในการปฏิบัติเพื่อประกันว่าจะปฏิบัติภารกิจ
ที่ได้รับมอบจนส�ำเร็จ
๗-๗๙ แนวความคิดในการปฏิบัติของผู้บังคับบัญชา จะปรับให้เข้ากับสถานการณ์
โดยทั่วไปแผนในการปฏิบัติการรบด้วยวิธีรุก ควรจะเป็นดังนี้
- เกื้อกูลให้หน่วยรวมก�ำลังหรือกระจายก�ำลังได้อย่างรวดเร็ว
- น�ำหน่วยใหม่ที่สดชื่นกว่าเข้าท�ำการขยายผลแห่งความส�ำเร็จขณะที่ก�ำลัง
ส่วนอื่นมีเวลาพัก
- ป้องกันหน่วยได้
- สามารถเปลี่ยนไปเป็นการปฏิบัติการในอนาคตได้ง่าย
- ด�ำรงสภาพก�ำลังรบได้ตลอดห้วงการรบ
การวางแผนการปฏิบตั กิ ารรบด้วยวิธรี กุ อาจเกิดขึน้ ขณะทีห่ น่วยท�ำการตัง้ รับก็ได้
ในการวางแผนควรมีการคาดการณ์ถึงการเปลี่ยนแปลงไปสู่การปฏิบัติการแบบอื่น ๆ เมื่อโอกาส
อ�ำนวยให้ ด้วยการวางแผนการขยายผลแห่งความส�ำเร็จซึ่งถ้าหากท�ำได้ผู้บังคับบัญชาจะท�ำการ
หลีกเลี่ยงการสูญเสียแรงหนุนเนื่องในการรบ
๗-๘๐ ฝ่ายอ�ำนวยการจะวิเคราะห์สถานการณ์โดยใช้ปัจจัย METT-TC เป็นข้อพิจารณา
เพื่อท�ำความเข้าใจต่อภารกิจและเพื่อจัดเตรียมประมาณการ แต่ละแผนกจะต้องท�ำการประมาณ
การในหน้าที่หรือตามระบบปฏิบัติการในสนามรบที่ตนต้องเกี่ยวข้องตลอดห้วงการปฏิบัติการรบ
ด้วยวิธีรุก ผู้บังคับบัญชาจะรวบรวมประมาณการของฝ่ายอ�ำนวยการสายงานต่าง ๆ เทียบเคียงกับ
การมองภาพสนามรบของตน เมื่อการรบด�ำเนินไปและสถานการณ์เปลี่ยนแปลง ผู้บังคับบัญชาจะ
ยังคงประมาณสถานการณ์ภัยคุกคามและโอกาสอย่างต่อเนื่องและตกลงใจว่าควรจะปรับปรุง
แนวความคิดในการปฏิบัติที่เคยก�ำหนดไว้หรือไม่ (ดู รส. ๕-๐)
ภารกิจ
๗-๘๑ ภารกิจทีผ่ บู้ งั คับบัญชาแถลงกับหน่วยรองนัน้ ควรจะชัดเจนว่าจะให้หน่วยท�ำอะไร
และท�ำเพื่ออะไร การที่ผู้บังคับบัญชาแจ้งให้หน่วยรองทราบถึงภารกิจและเจตนารมณ์ของหน่วย
เหนืออะไรที่เขาต้องการ รวมถึงการให้ค�ำสั่งเตือนในเวลาที่เหมาะสมจะท�ำให้หน่วยรองมีเวลา
เตรียมตัวและสามารถคาดการณ์ได้ว่าจะต้องท�ำอะไรต่อไป การมอบกิจให้หน่วยรองให้ครอบคลุม
เต็มขอบเขตการปฏิบัติการจะช่วยการปฏิบัติการมีความหนุนเนื่องตลอดเวลา การปฏิบัติการรบ
ด้วยวิธีรุกบางแบบ เช่น การเข้าตีประณีตจ� ำต้องใช้การควบคุมและประสานอย่างแน่นแฟ้น
200 บทที่ ๗

แต่อย่างไรก็ตาม หากเป็นไปได้ ผู้บังคับบัญชาควรจะมอบที่หมายที่เป็นก�ำลังรบข้าศึก และพื้นที่


ปฏิบัติการให้กับหน่วยรองและหลีกเลี่ยงไม่ใช้มาตรการควบคุมที่เป็นข้อจ�ำกัด
ข้าศึก
๗-๘๒ ในการรบด้วยวิธีรุก ผู้บังคับบัญชาจะพยายามมองหาช่องว่าง และจุดอ่อนใน
การตั้งรับของข้าศึก ผู้บังคับบัญชาจะศึกษาการเตรียมการรบด้วยวิธีรับของข้าศึก ท�ำการขัดขวาง
มิให้ข้าศึกได้มีการเตรียมการ มีการจัดล�ำดับความเร่งด่วนในการปฏิบัติการด้านการข่าว การ
เฝ้าตรวจ และการลาดตระเวน วางแผนท�ำการเจาะพืน้ ทีร่ ะวังป้องกัน ผ่านเครือ่ งกีดขวาง หลีกเลีย่ ง
ส่วนที่เป็นจุดแข็งของข้าศึก และท�ำลายความเป็นปึกแผ่นในการตั้งรับ ความส�ำเร็จในการเข้าตี
จะขึ้นอยู่กับการข่าวกรองเกี่ยวกับหน่วยและพื้นที่ส�ำคัญของข้าศึก
ภูมิประเทศและลมฟ้าอากาศ
๗-๘๓ ผู้บังคับบัญชาจะเลือกแนวทางเคลื่อนที่ ที่มุ่งไปสู่ภูมิประเทศส�ำคัญ และเกื้อกูล
ต่อการด�ำเนินกลยุทธ์ แนวทางเคลือ่ นที่ ทีด่ อี �ำนวยให้หน่วยท�ำการปฏิบตั กิ ารรบด้วยวิธรี กุ ได้อย่าง
รวดเร็ว ให้การก�ำบังและซ่อนพราง เกื้อกูลการติดต่อสื่อสาร และข้าศึกวางเครื่องกีดขวางได้ยาก
ผูบ้ งั คับบัญชาใช้ประโยชน์จากสภาพลมฟ้าอากาศทีม่ ผี ลกระทบต่อความคล่องแคล่วในการเคลือ่ นที่
การซ่อนพราง และการสนับสนุนจากก�ำลังทางอากาศ ทั้งนี้ต้องอาศัยการพยากรณ์อากาศทาง
ยุทธวิธีที่มีผลกระทบต่อการปฏิบัติการ
๗-๘๔ ภูมปิ ระเทศทีเ่ ลือกไว้สำ� หรับการปฏิบตั กิ ารรบแตกหัก ควรเกือ้ กูลต่อการเคลือ่ นที่
อย่างรวดเร็วไปยังส่วนหลังของข้าศึก ปกติผู้บังคับบัญชาจะต้องพิสูจน์ทราบภูมิประเทศที่เป็น
อุปสรรคต่อการเคลื่อนที่อย่างรวดเร็ว และหลีกเลี่ยงภูมิประเทศดังกล่าว อย่างไรก็ตามการด�ำเนิน
กลยุทธ์ในขัน้ ต้นผ่านภูมปิ ระเทศทีย่ ากล�ำบากอาจท�ำให้เกิดการจูโ่ จมต่อฝ่ายตัง้ รับได้ ผูบ้ งั คับบัญชา
ควรลาดตระเวนภูมปิ ระเทศด้วยตนเองทุกครัง้ ถ้ากระท�ำได้ โดยเฉพาะอย่างยิง่ ภูมปิ ระเทศส�ำคัญยิง่
๗-๘๕ ฝ่ายเข้าตีตอ้ งให้ความสนใจเป็นพิเศษต่อเครือ่ งกีดขวาง ผูบ้ งั คับบัญชาต้องวางแผน
ที่จะผ่านเครื่องกีดขวางหรือหลีกเลี่ยงพื้นที่ ที่มีความลาดชัน แม่น�้ำ ป่าทึบ พื้นที่สิ่งปลูกสร้าง
และพืน้ ที่ ทีด่ นิ อ่อน แต่ลกั ษณะภูมปิ ระเทศทีก่ ล่าวมาข้างต้น หากทอดขนานไปกับแนวทางเคลือ่ นที่
จะช่วยป้องกันปีกให้กบั ฝ่ายเข้าตีได้ หน่วยขนาดเบาอาจใช้ภมู ปิ ระเทศเหล่านีเ้ ป็นแนวทางเคลือ่ นที่
หรื อ ใช้ พื้ น ที่ เ หล่ า นี้ ท� ำ การป้ อ งกั น ให้ กั บ การด� ำ เนิ น กลยุ ท ธ์ ข องหน่ ว ยขนาดหนั ก กว่ า ได้
ส่วนภูมิประเทศส�ำคัญก็ต้องท�ำการยึดหรือควบคุมด้วยการยิงเพื่อมิให้ข้าศึกใช้ประโยชน์ แม้ว่า
การปฏิบัติการรบด้วยวิธีรุก ส่วนใหญ่จะมุ่งไปที่ก�ำลังข้าศึก แต่บางครั้งก็อาจจะมุ่งไปที่ภูมิประเทศ
ก็ได้
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 201

๗-๘๖ ลมฟ้าอากาศและทัศนวิสยั ต่างก็มผี ลกระทบต่อการปฏิบตั กิ ารรบด้วยวิธรี กุ สภาพ


ลมฟ้าอากาศและแสงสว่างทีเ่ กือ้ กูลต่อการซ่อนพรางและป้องกันการโจมตีทางอากาศก็มคี วามส�ำคัญ
เช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิง่ หากฝ่ายรุกใช้ การปฏิบตั กิ ารเคลือ่ นทีท่ างอากาศ หรือการปฏิบตั กิ ารส่ง
ทางอากาศ สภาพพื้นดินมีผลต่อความเร็วและจ�ำนวนแนวทางเคลื่อนที่ที่ใช้ได้ สภาพอากาศที่เป็น
อุปสรรคยังส่งผลกระทบต่อการซ่อมบ�ำรุงและการสนับสนุนการช่วยรบของหน่วยขนาดหนักอีกด้วย
ก�ำลังฝ่ายเราและการสนับสนุนที่มีอยู่
๗-๘๗ เมื่อจะมอบภารกิจให้กับหน่วย ผู้บังคับบัญชาจะต้องพิจารณาความพร้อมของ
หน่วยรองและประสบการณ์ของผู้น�ำหน่วยเหล่านั้นด้วย สิ่งที่จะต้องค�ำนึงคือ ความคล่องแคล่วใน
การเคลื่อนที่ การพิทักษ์ก�ำลังรบ และอ�ำนาจการยิง ทั้งหมดนี้จะต้องพิจารณาเปรียบเทียบกับ
ขีดความสามารถของข้าศึกด้วย
๗-๘๘ การใช้หน่วยจะต้องพิจารณาถึงขีดความสามารถและข้อจ� ำกัดของหน่วยด้วย
การสนธิก�ำลังรบอาจมีผลให้หน่วยมีความว่องไวขึ้น หน่วยทหารราบเดินเท้าสามารถจะท� ำการ
เข้าตีผ่านพื้นที่รกทึบ หรือเจาะแนวป้องกันข้าศึกที่มีอาวุธต่อสู้รถถังหนาแน่นเพื่อเปิดแนวทาง
เคลื่อนที่ให้กับหน่วยยานเกราะหรือหน่วยรถถังได้ หน่วยเคลื่อนที่ หรือส่งทางอากาศสามารถ
ยึดพืน้ ทีด่ า้ นหลังเพือ่ ตัดเส้นทางเคลือ่ นทีข่ องกองหนุนหรือควบคุมช่องทางบังคับ หน่วยยานเกราะ
อาจรุกผ่านช่องว่างอย่างรวดเร็วเพื่อท�ำลายระเบียบในการตั้งรับของข้าศึก หน่วยปืนใหญ่และ
หน่วยป้องกันภัยทางอากาศ ทหารช่าง และหน่วยเคมีก็เป็นหน่วยสนับสนุนที่สำ� คัญ หน่วยบิน
ทหารบกอาจใช้ในการด�ำเนินกลยุทธ์เพื่อโจมตีข้าศึกได้ทั่วทั้งพื้นที่ปฏิบัติการ
๗-๘๙ ฝ่ายเข้าตีต้องสนธิการสนับสนุนการช่วยรบเข้าไว้ในแผนด้วย การช่วยรบที่มี
ประสิทธิภาพจะมีความส�ำคัญมากโดยเฉพาะเมื่อการปฏิบัตินั้นเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
การใช้หน่วยช่วยรบ สนับสนุน ต่อหน่วยก�ำลังรบทีม่ คี วามคุน้ เคยกันอยูจ่ ะช่วยให้การสนับสนุนง่าย
ยิ่งขึ้น ถ้าแผนเข้าตีจ�ำต้องใช้หน่วยท�ำการเข้าตีผ่านอีกหน่วยหนึ่งที่ก�ำลังตั้งรับ หน่วยที่ตั้งรับอยู่จะ
ช่วยเหลือด้านการช่วยรบให้กับหน่วยที่เข้าตีด้วย
เวลาที่มีอยู่
๗-๙๐ ในการตัดสินใจของผู้บังคับบัญชาว่าจะใช้เวลาส�ำหรับวางแผนและเตรียมการ
ปฏิบัติการรบด้วยวิธีรุกเท่าใดนั้น จะต้องพิจารณาถึงความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นด้วย ยิ่งใช้เวลาใน
การวางแผนและเตรียมการมากเท่าใด ฝ่ายตั้งรับก็ยิ่งมีเวลาเตรียมการตั้งรับมากขึ้นเท่านั้น ฝ่าย
เข้าตีจะท�ำให้ฝ่ายตั้งรับมีเวลาในการเตรียมการน้อยก็ด้วยการปฏิบัติที่รวดเร็ว ใช้การจู่โจม
202 บทที่ ๗

และหลีกเลี่ยงการตรวจจับ ฝ่ายตั้งรับอาจได้เวลาด้วยการรบหน่วงเวลาและ การขัดขวางการเข้าตี


แต่ไม่ว่าจะเป็นกรณีใด ผู้บังคับบัญชาจะต้องแบ่งเวลาให้กับหน่วยรองเพื่อใช้ในการวางแผน
และเตรียมการให้มากที่สุด
๗-๙๑ ขีดความสามารถและกิจกรรมด้านการโทรคมนาคมสมัยใหม่อาจท�ำให้เวลาในการ
วางแผนและการเตรียมการลดลง ระบบสารสนเทศที่ก้าวหน้าจะช่วยลดเวลาในการรวบรวมและ
ด� ำ เนิ น กรรมวิ ธี ต ่ อ ข่ า วสาร ลั ก ษณะดั ง กล่ า วเป็ น ประโยชน์ ต ่ อ ทั้ ง ฝ่ า ยเข้ า ตี แ ละฝ่ า ยตั้ ง รั บ
ผู้บังคับบัญชาที่ลงมือปฏิบัติอย่างรวดเร็ว ตัดสินใจถูกต้องจะเป็นฝ่ายที่ครองความริเริ่มได้ก่อน
กิจกรรมด้านสารสนเทศ เช่น การรายงานสดข่าวการโจมตีที่ก�ำลังด�ำเนินอยู่หรือที่ก�ำลังจะเกิดขึ้น
จะบีบให้ต้องรีบด�ำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งภายใต้เวลาที่จ�ำกัด
ข้อพิจารณาด้านพลเรือน
๗-๙๒ ข้อพิจารณาทางด้านพลเรือนจะด�ำรงอยู่ตลอดห้วงการปฏิบัติการรบด้วยวิธีรุก
ผู้บังคับบัญชาจะต้องย�้ำเตือนให้ฝ่ายอ�ำนวยการพิจารณาถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่จะมีผลกระทบต่อ
ความส�ำเร็จของภารกิจ ปัจจัยเหล่านี้จะรวมไปถึงการดูแล และให้การสนับสนุนบุคคลพลเรือน
ภายในพื้นที่ปฏิบัติการ รวมถึงความเป็นไปได้ในการอพยพของพลเรือนที่อาจมีผลกระทบต่อ
การเคลื่อนย้ายหรือการปฏิบัติการได้ ข้อพิจารณาอื่น ๆ ได้แก่ที่ตั้งข้าศึกที่อยู่ใกล้ชุมชน เส้นแบ่ง
เขตทีอ่ าจกระทบต่อการเมือง วัฒนธรรม ภาษาทีใ่ ช้ ข้อพิจารณาทางพลเรือนอาจเป็นข้อจ�ำกัดมิให้
หน่วยโจมตีในบางพื้นที่ เช่น พื้นที่ที่เป็นสาธารณูปโภคพื้นฐาน พื้นที่ส�ำคัญทางประวัติศาสตร์
หรือในบางพื้นที่ก็ไม่สามารถจะท�ำการวางทุ่นระเบิดได้
๗-๙๓ การโฆษณาชวนเชือ่ ของข้าศึกอาจมีผลต่อทัศนคติของประชาชนในพืน้ ทีป่ ฏิบตั กิ าร
บางครั้งก็อาจมีผลกระทบต่อการสนับสนุนจากประชาชนภายในประเทศและจากต่างประเทศ
ผู้บังคับบัญชาในระดับยุทธการจึงควรให้ความสนใจเป็นพิเศษต่อผลกระทบของการปฏิบัติใน
สภาพแวดล้อมด้านสารสนเทศ ผูบ้ งั คับบัญชาในระดับยุทธวิธอี าจไม่คอ่ ยทราบถึงผลกระทบของสือ่
ทีม่ ตี อ่ ความเห็นของประชาชนมากนัก ดังนัน้ ผูบ้ งั คับบัญชาในระดับยุทธการจึงควรประเมินผลกระทบ
จากความเห็นของประชาชนในพื้นที่ปฏิบัติการและแจ้งให้ผู้บังคับบัญชาหน่วยรองทราบเสมอ
การเตรียมการส�ำหรับการปฏิบัติการรบด้วยวิธีรุก
๗-๙๔ การเตรียมการจะเป็นสิ่งก�ำหนดว่าหน่วยนั้นพร้อมที่จะท�ำการปฏิบัติการรบด้วย
วิธรี กุ ซึง่ จะรวมไปถึงการรวบรวมและก�ำหนดต�ำแหน่งการวางทรัพยากรทีจ่ ำ� เป็น ในระดับยุทธการ
ผู้บังคับบัญชาจะจัดวางหน่วยและทรัพยากรให้เกื้อกูลต่อการกระจายก� ำลัง การตอบสนอง
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 203

การป้องกัน และการด�ำรงสภาพ แต่ในขณะเดียวกันยังคงสามารถที่จะรวมอ�ำนาจก�ำลังรบได้อย่าง


รวดเร็วเมื่อถึงเวลาที่ต้องการได้ หน่วยจะได้รับมอบที่ตั้งและเวลาส�ำหรับเริ่มหรือสนับสนุนการ
เข้าตี ก�ำลังของฝ่ายเราบางหน่วยอาจจะเริม่ ปฏิบตั กิ ารจัดรูปแบบ หรือด�ำรงสภาพ เพือ่ สร้างโอกาส
ที่เกื้อกูลให้กับก�ำลังส่วนใหญ่ ก�ำลังที่เข้าตีจะต้องหลีกเลี่ยงหรือปกปิดกิจกรรมที่อาจท�ำให้ข้าศึก
คาดเดาการเข้าตีล่วงหน้าได้เพื่อให้การเข้าตีนั้นบังเกิดผลในทางจู่โจมข้าศึก
๗-๙๕ การเตรียมการนัน้ จะรวมไปถึงการปฏิบตั กิ ารลาดตระเวนทีท่ �ำไปพร้อม ๆ กับการ
วางแผน ข่าวสารที่ได้จากการลาดตระเวนจะถูกด�ำเนินกรรมวิธีให้เป็นข่าวกรองแล้วน�ำไปเป็นส่วน
หนึง่ ของแผนกิจเฉพาะด้านข่าวกรองทีม่ อบให้หน่วยได้แก่ การค้นหาทีต่ งั้ และพิสจู น์ทราบกองหนุน
ค้นหาและติดตามระบบอาวุธยิงสนับสนุน ขีดความสามารถด้านข่าวกรอง ก� ำลังทางอากาศ
และการป้องกันภัยทางอากาศ การลาดตระเวนและเฝ้าตรวจอย่างรุกรบ การสนธิเครือ่ งมือรวบรวม
ข่าวสารของแต่ละเหล่าทัพรวมถึงการใช้ประโยชน์จากขีดความสามารถของระบบสารสนเทศจะ
ช่วยให้ผู้บังคับบัญชาสามารถประเมินขีดความสามารถของข้าศึกและคาดการณ์ตอบโต้ข้าศึกได้
อย่างถูกต้อง การซักซ้อมจะช่วยให้ผู้บังคับบัญชาหน่วยรองเข้าใจเจตนารมณ์ และความส�ำคัญของ
ภารกิจที่พวกเขาจะต้องปฏิบัติต่อการปฏิบัติการในภาพรวม
๗-๙๖ การปฏิบัติการด�ำรงสภาพ จะสร้างสภาวการณ์ที่เกื้อกูลให้หน่วยสามารถท�ำ
การเข้าตีได้อย่างรวดเร็ว รุนแรง และมีประสิทธิภาพ ที่ส�ำคัญกว่านั้นคือ มันจะช่วยให้หน่วยมีเสรี
ในการปฏิบตั ขิ ณะทีก่ ารรบในขัน้ หนึง่ จบลงและเริม่ การรบในขัน้ ต่อไป ในระดับยุทธการ การปฏิบตั ิ
การด�ำรงสภาพเป็นข้อพิจารณาทีส่ ำ� คัญในการเชือ่ มโยงการยุทธ์ขนาดใหญ่ หลาย ๆ การปฏิบตั กิ าร
หน่วยสนับสนุนการช่วยรบจัดเตรียม การวางหน่วยและสิ่งอุปกรณ์เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการรบ
ด้วยวิธีรุก การควบคุมการเคลื่อนย้าย การจัดการภูมิประเทศ และการปฏิบัติการสนับสนุนความ
คล่องแคล่วในการเคลื่อนที่ของทหารช่างจะช่วยให้การเคลื่อนย้ายมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ทหารช่างอาจต้องปฏิบัติการขัดขวางความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่ของข้าศึกเพื่อป้องกันปีกให้
กับฝ่ายเรา ในทุก ๆ การปฏิบัติการก�ำลังป้องกันภัยทางอากาศปกป้องก�ำลังรบจากการโจมตีด้วย
อากาศยานและขีปนาวุธ
การด�ำเนินการในการปฏิบัติการรบด้วยวิธีรุก
๗-๙๗ การปฏิบตั กิ ารรบด้วยวิธรี กุ ให้ได้เปรียบจะต้องมีการโยกย้ายการรวมอ�ำนาจก�ำลัง
รบได้อย่างรวดเร็ว ด�ำรงจังหวะการรบทีข่ า้ ศึกไม่สามารถโต้ตอบได้ทนั ผูบ้ งั คับบัญชาต้องปรับเปลีย่ น
จังหวะการรบและวิธีการในการเข้าตีให้สอดคล้องกับสถานการณ์แต่ในขณะเดียวกันต้องไม่ให้
204 บทที่ ๗

เสียแรงหนุนเนื่อง ผู้บังคับบัญชาต้องสามารถคาดการณ์สถานการณ์ทั้งของฝ่ายเราและฝ่ายข้าศึก
ล่วงหน้าได้ การตัดสินใจที่ทันเวลาก็มีความส�ำคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน
๗-๙๘ ผูบ้ งั คับบัญชาเพิม่ จังหวะการรบได้โดยการใช้การลาดตระเวน แบ่งมอบหน่วยปืน
ใหญ่และหน่วยสนับสนุนการรบ บางครั้งอาจต้องให้หน่วยหนึ่งท�ำการเคลื่อนที่ผ่านหน่วยอื่น ลด
เวลาที่หน่วยต้องตกอยู่ภายใต้การยิงของข้าศึกให้น้อยที่สุด การเข้าตีจะประสบความส�ำเร็จได้ก็ต่อ
เมือ่ หน่วยเข้าตียดึ ทีห่ มายได้กอ่ นทีข่ า้ ศึกจะตัง้ ตัวติด และก่อนทีจ่ ะพิสจู น์ทราบก�ำลังเข้าตี และรวม
อ�ำนาจก�ำลังรบต่อต้านฝ่ายเราได้ ฝ่ายเข้าตีจะต้องท�ำให้ฝ่ายตั้งรับเสียความสมดุลให้นานที่สุดและ
ด�ำรงแรงหนุนเนื่องอยู่ตลอดเวลาที่เข้าตี
๗-๙๙ การข่าวกรอง เฝ้าตรวจ และการลาดตระเวน และการจัดการสารสนเทศ จะช่วย
ให้ผู้บังคับบัญชาได้รับข่าวสารที่เกี่ยวข้องอย่างเพียงพอที่จะใช้ในการเข้าตี ผู้บังคับบัญชาต้องเข้าตี
ทันทีที่มีข่าวสารเพียงพอถึงแม้ว่าจะไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ก็ตาม ผู้บังคับบัญชาสามารถจะชิงความ
ริเริ่มได้โดยการเข้าตีแม้ว่าจะปราศจากภาพทางการยุทธ์ในรายละเอียดหรือ ภาพการยุทธ์ร่วมกัน
ก็ตาม
๗-๑๐๐ การเข้าตีอย่างหนักหน่วงและรุนแรงจะท�ำลายความเป็นปึกแผ่นในการตั้งรับ
ของข้าศึก การยิงทีม่ คี วามแม่นย�ำสูงและการปฏิบตั กิ ารข่าวสาร จะช่วยให้ฝา่ ยเข้าตีลดประสิทธิภาพ
ของหน่วยระวังป้องกันของข้าศึก ท�ำให้ระบบควบคุมบังคับบัญชาและการสนับสนุนการช่วยรบหมด
ประสิทธิภาพ ท�ำให้ขา้ ศึกเข้าใจไขว้เขวถึงทีห่ มายทีแ่ ท้จริงของฝ่ายเข้าตี ผลกระทบเหล่านีจ้ ะท�ำให้
ข้าศึกลังเลในการตัดสินใจ ขณะที่ฝ่ายเข้าตีโจมตีที่หมายย้ายการยิง ตรึงข้าศึกในทางลึก และ
ขัดขวางการใช้กองหนุน ไม่วา่ วัตถุประสงค์ในการเข้าตีจะเพือ่ ท�ำลายก�ำลังข้าศึกหรือยึดภูมปิ ระเทศ
การปฏิบัติของฝ่ายเข้าตีจะต้องไม่ช้าลงจนกว่าจะบรรลุภารกิจ จังหวะการรบที่รวดเร็วยังจะช่วย
ส่งเสริมให้การระวังป้องกันมีประสิทธิภาพมากขึ้น
๗-๑๐๑ ผูบ้ งั คับบัญชาจะต้องสนธิการยิงกับการด�ำเนินกลยุทธ์เข้าด้วยกันตลอดห้วงการ
ปฏิบตั กิ ารรบด้วยวิธรี กุ โดยจะต้องมีการวางแผนและประสานกันอย่างละเอียดระหว่างหน่วยเข้าตี
และหน่วยสนับสนุน การปฏิบัติที่ถูกต้องตรงตามก� ำหนดและการควบคุมการยิงสนับสนุนที่มี
ประสิทธิภาพ ทหารราบเดินเท้าจะต้องเคลื่อนที่ตามหลังการยิงไปอย่างกระชั้นชิด ส่วนหน่วย
ยานเกราะจะเข้าตีโดยมีปนื ใหญ่ท�ำการยิงวิถโี ค้งสนับสนุน หน่วยเคลือ่ นทีท่ างอากาศ หรือหน่วยส่ง
ทางอากาศจะลงบนที่หมายหรือใกล้กับที่หมายให้มากที่สุดในทันทีที่ฝ่ายเรายิงข่มด้วยปืนใหญ่
และอาวุธป้องกันภัยทางอากาศได้ เมือ่ ฝ่ายเข้าตีเข้าใกล้ขา้ ศึกจะต้องรวมอ�ำนาจการยิงอย่างรุนแรง
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 205

และเคลื่อนที่อย่างรวดเร็ว ความเร็วในขั้นนี้เป็นสิ่งที่ส�ำคัญอย่างยิ่งในการลดความสูญเสียและ
หลีกเลีย่ งการหยุดชะงัก อาวุธป้องกันภัยทางอากาศและก�ำลังทางอากาศจะท�ำลายก�ำลังทางอากาศ
ของข้าศึกที่คุกคาม หน่วยบินโจมตีของฝ่ายเราโจมตีกองหนุนและก�ำลังข้าศึกที่ยังไม่ได้เข้าท�ำ
การรบเพื่อโดดเดี่ยวข้าศึกที่ก� ำลังปะทะ เพื่อสร้างสภาวการณ์ที่เกื้อกูลต่อการรบในอนาคต
และป้องกันมิให้ข้าศึกใช้หนทางปฏิบัติอื่น ๆ
๗-๑๐๒ ฝ่ายเข้าตีต้องเคลื่อนที่ผ่านที่หมายไปอย่างรวดเร็วเพื่อท�ำลายก�ำลังข้าศึกส่วน
ทีย่ งั หลงเหลืออยู่ แต่กย็ งั ต้องระมัดระวังการตอบโต้ทงั้ จากหน่วยด�ำเนินกลยุทธ์ หน่วยยิงสนับสนุน
หรือก�ำลังทางอากาศ การระวังป้องกันเป็นสิ่งส�ำคัญเนื่องจากฝ่ายเข้าตีอยู่ในภูมิประเทศที่ฝ่าย
ตั้งรับคุ้นเคย ฝ่ายเข้าตีจะเสริมความมั่นคง ณ ที่หมาย จัดระเบียบใหม่เพื่อรับมือกับการตีโต้ตอบที่
อาจจะเกิดขึน้ เตรียมปฏิบตั ภิ ารกิจใหม่ หรือเข้าตีตอ่ ไป หากสถานการณ์เกือ้ กูล ผูบ้ งั คับบัญชาอาจ
จะเริม่ ขยายผล โดยอาจจะใช้หน่วยเข้าตีเดิมหรือใช้หน่วยทีเ่ คลือ่ นทีต่ ดิ ตามท�ำการส่งผ่าน ณ บริเวณ
ที่หมาย บางครั้งอาจต้องท�ำการปรับก�ำลังใหม่ เพื่อให้หน่วยบางหน่วยกลับคืนสู่สภาพพร้อมรบ
ปกติก�ำลังที่ท�ำการเข้าตีอาจท�ำการปรับก�ำลังในขณะ ที่หน่วยเคลื่อนที่ติดตามท�ำการเข้าตีผ่านไป
ข้างหน้า
๗-๑๐๓ ผู้บังคับบัญชามักใช้หน่วยที่ยังสดชื่นท�ำการเข้าตีผ่านเพื่อด�ำรงความหนุนเนื่อง
ในการเข้าตีเอาไว้ การใช้หน่วยเคลือ่ นทีต่ ดิ ตามจะช่วยให้หน่วยเข้าตีหน่วยเดิมได้มโี อกาสพัก ท�ำการ
เพิ่มเติมสิ่งอุปกรณ์ หรือเคลื่อนที่ไปยังพื้นที่อื่นเพื่อเตรียมปฏิบัติภารกิจใหม่ การใช้หน่วยใหม่
มักนิยมกระท�ำเมือ่ การเข้าตีถงึ ขัน้ ขยายผลหรือไล่ตดิ ตาม แต่บางครัง้ อาจจ�ำเป็นต้องใช้ระหว่างการ
เข้าตีถ้าหน่วยเข้าตีเดิมไม่สามารถยึดที่หมายได้ ปกติผู้บังคับบัญชาจะใช้หน่วยใหม่เข้าท�ำการรบ
โดยการเข้าตีผ่านเพื่อรักษาจังหวะการรบและหลีกเลี่ยงการหยุดชะงักโดยไม่จ�ำเป็น การเข้าตีผ่าน
อาจเกิดขึ้นก่อนหรือหลังการเข้าตีได้เริ่มขึ้นแล้วและควรกระท�ำอย่างปกปิดจากข้าศึก
๗-๑๐๔ การเข้าตีผ่าน และการผลัดเปลี่ยนเพื่อการเข้าตีจะต้องมีการเตรียมการและ
วางแผนอย่างละเอียด การวางแผนการเข้าตีผ่านจะต้องมีการก�ำหนดหลักเกณฑ์ในการโอนการรบ
ระหว่างหน่วยทีเ่ ข้าตีผา่ นและหน่วยถูกผ่าน กองบัญชาการหน่วยเหนือของหน่วยทัง้ สองจะก�ำหนด
มาตรการควบคุมในการผ่านส่วนผู้บังคับบัญชาหน่วยรองทั้งสองหน่วยท�ำการประสานกันใน
รายละเอียด ในระหว่างการส่งผ่าน หน่วยที่ถูกผ่านจะให้การสนับสนุนกับหน่วยผ่านทุกอย่างเท่าที่
สามารถจะท�ำได้ หน่วยที่ถูกผ่านจะสนธิแผนการยิงของตนทั้งการยิงเล็งตรงและการยิงจ�ำลองเข้า
กับแผนการยิงสนับสนุนของหน่วยผ่าน
206 บทที่ ๗

ผลกระทบของเทคโนโลยี
๗-๑๐๕ เทคโนโลยีท�ำให้วิธีการรบของกองทัพในยุคใหม่เปลี่ยนแปลงไป เทคโนโลยี
สารสนเทศช่วยให้ผู้บังคับบัญชาและผู้ใต้บังคับบัญชาเห็นภาพการยุทธ์ร่วมกันได้อย่างเหมาะสม
ส�ำหรับหน่วยของตน ท�ำให้ผู้บังคับบัญชาทุกระดับเข้าใจสถานการณ์ได้ดีขึ้น การปฏิบัติการของ
หน่วยจึงมีพื้นฐานจากข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องมากกว่าเมื่อก่อน ผู้บังคับบัญชาจึงสามารถน�ำหน่วย
อยู่ข้างหน้าได้โดยที่ยังคงได้รับข่าวสารและยังติดต่อกับระบบควบคุมบังคับบัญชาได้ ความเข้าใจ
สถานการณ์และการเห็นภาพการปฏิบตั กิ ารร่วมกัน ช่วยให้ผบู้ งั คับบัญชาสามารถประสานสอดคล้อง
หน่วยต่าง ๆ ของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งสามารถปรับเปลี่ยนให้เข้ากับสถานการณ์ได้
รวดเร็ว ในขณะเดียวกันหน่วยรองก็สามารถเห็นภาพสถานการณ์และใช้ความริเริ่มเพื่อให้บรรลุ
เจตนารมณ์ของหน่วยเหนือโดยมิต้องรอให้หน่วยเหนือมีค�ำสั่ง
๗-๑๐๖ ความเข้าใจสถานการณ์ทเี่ กิดจากการเห็นภาพการปฏิบตั กิ ารร่วมกัน ท�ำให้การ
ด�ำเนินกลยุทธ์เปลีย่ นไปทัง้ ก่อนและระหว่างการเข้าตี ภาพการปฏิบตั กิ ารร่วม ท�ำให้ กกล.ทบ. พึง่ พา
การเคลื่ อ นที่ เ ข้าปะทะและการรบปะทะเพื่อ ให้ ไ ด้ ข ่ า วสารเพี ย งพอส�ำหรั บ การเข้ า ตี น ้ อ ยลง
หน่วยรบสมัยใหม่อาจรับทราบข่าวสารและคลี่คลายสถานการณ์ได้โดยไม่ต้องเคลื่อนที่เข้าปะทะ
เลยก็ได้ เครื่องมือลาดตระเวนและเฝ้าตรวจที่ทันสมัยท�ำให้เราเห็นภาพข้าศึกได้ดีขึ้น ขณะที่ระบบ
การยิงที่แม่นย�ำและการปฏิบัติการข่าวสารท�ำลายความเป็นปึกแผ่นของข้าศึก หน่วยลาดตระเวน
และระวังป้องกันจะท�ำการปะทะกับข้าศึกก็ต่อเมื่อต้องการข่าวสารซึ่งเครื่องมือรวบรวมข่าวสาร
ท�ำไม่ได้ ผู้บังคับบัญชาใช้หน่วยด�ำเนินกลยุทธ์เข้าที่ตั้งเพื่อเริ่มการเข้าตีก่อนที่ก�ำลังส่วนใหญ่จะ
เริ่มปะทะ ลักษณะเช่นนี้เมื่อการเข้าตีเปิดฉากขึ้นจะท�ำให้ข้าศึกตั้งตัวไม่ทัน
๗-๑๐๗ การปะติดปะต่อข่าวสารทีไ่ ด้จาก ระบบควบคุมบังคับบัญชา การข่าวกรอง ลาด
ตระเวน และเฝ้าตรวจ และระบบการสนับสนุนการช่วยรบ จะช่วยเพิ่มจังหวะการรบและเพิ่มทาง
เลือกในการรุกให้กับฝ่ายเข้าตี ความรู้ความเข้าใจต่อก�ำลังทั้งฝ่ายข้าศึกและฝ่ายเราท�ำให้การเข้าตี
สามารถจะเริ่มขึ้นหลาย ๆ จุดได้ ผู้บังคับบัญชาอาจโยกย้ายก�ำลังจากพื้นที่หนึ่งไปยังพื้นที่อื่นเพื่อ
ฉวยประโยชน์จากโอกาสที่เปิดให้ การปฏิบัติการที่ไม่เป็นแนว ในพื้นที่ปฏิบัติการที่ไม่ต่อเนื่องกัน
มักจะเกิดขึ้นบ่อย ๆ เส้นปฏิบัติการมักจะมีความสัมพันธ์กันในทางวัตถุประสงค์มากกว่าห้วงพื้นที่
ดังนัน้ หน่วยอาจอ้อมผ่านข้าศึกบางหน่วยเพือ่ จะรวมอ�ำนาจก�ำลังรบ ณ จุดแตกหัก การขยายผลจาก
โอกาสทีเ่ กิดจากการประมวลข่าวสารเป็นสิง่ หนึง่ ทีจ่ ะท�ำให้ฝา่ ยเข้าตีมคี วามริเริม่ เหนือกว่าข้าศึกได้
บทที่ ๘
การปฏิบัติการรบด้วยวิธีรับ

Little Minds Try To Defend Everything At Once, But Sensible People Look
At The Main Point Only; They Parry The Worst Blows And Stand A Little Hurt If
Thereby Avoid A Greater One. If You Try To Hold Everything, You Hold Nothing.
๘-๑ กกล.ทบ. จะท�ำการตัง้ รับจนกว่าจะมีกำ� ลังเข้มแข็งพอทีจ่ ะเข้าตี การปฏิบตั กิ ารรบ
ด้วยวิธีรับ มีจุดมุ่งหมายเพื่อเอาชนะการเข้าตีของข้าศึก รอเวลา ออมก�ำลัง หรือเพื่อสร้างสภาวะที่
เกื้อกูลต่อการเข้าตี ล�ำพังการตั้งรับเพียงอย่างเดียวไม่สามารถส่งผลแตกหักต่อการรบได้ ดังนั้น
วัตถุประสงค์ของการปฏิบัติการรบด้วยวิธีรับ จึงควรมุ่งไปที่การสร้างอุปสรรคต่อการรุกและท�ำให้
กกล.ทบ. ชิงความริเริ่มกลับคืนมา ถึงแม้ว่าการรบแตกหักมักจะต้องมาจากการรุก แต่บางครั้ง
การปฏิบตั กิ ารรับก็มคี วามจ�ำเป็น ผูบ้ งั คับบัญชาอาจท�ำการตัง้ รับเพือ่ ซือ้ เวลา เพือ่ รักษาภูมปิ ระเทศ
เพื่อสร้างสภาวะที่เกื้อกูลต่อการปฏิบัติการอื่น ๆ เพื่อติดพันข้าศึก หรือเพื่อลดทอนทรัพยากรของ
ข้าศึก
วัตถุประสงค์ของการปฏิบัติการรบด้วยวิธีรับ
๘-๒ วัตถุประสงค์ของการปฏิบตั กิ ารรับก็เพือ่ เอาชนะการเข้าตีของข้าศึก ก�ำลังทีท่ ำ� การ
ตั้งรับจะรอให้ข้าศึกเป็นฝ่ายเข้าตีจากนั้นก็เอาชนะการเข้าตีด้วยการท� ำให้การเข้าตีนั้นด้อย
ประสิทธิภาพลง การรอคอยการเข้าตีมิได้เป็นกิจกรรมในทางอ้อม ผู้บังคับบัญชาของ ทบ.ควร
เฝ้ามองก�ำลังรบของข้าศึก เพื่อท�ำการโจมตีและลิดรอนข้าศึกก่อนที่การรบประชิดจะเกิดขึ้น
๘-๓ ปกติการตัง้ รับจะท�ำให้ได้เวลา ออมก�ำลัง และพัฒนาสถานการณ์ทเี่ กือ้ กูลต่อการ
กลับเป็นฝ่ายปฏิบัติการรุกใหม่ ดังนั้น การยุทธ์ขนาดใหญ่ และการทัพต่าง ๆ จะผสมผสาน
การปฏิบัติการรับเข้ากับการปฏิบัติการรุก การปฏิบัติการรบด้วยวิธีรับในระดับยุทธการ จึงมักมี
การรุก การปฏิบัติการเพื่อเสถียรภาพ และการปฏิบัติการสนับสนุนรวมอยู่ด้วย
๘-๔ ในระหว่างการแสดงก�ำลังรบ การตั้งรับโดยหน่วยในยุทธบริเวณหรือหน่วยที่เพิ่ง
มาถึงจะท�ำให้กองก�ำลังรบร่วม/ผสม สามารถด�ำรงความริเริ่มเอาไว้ได้ ถ้าสภาวะไม่เกื้อกูลต่อ
การรุก ก�ำลังส่วนแรกที่มาถึงยุทธบริเวณจะท�ำการป้องกันพื้นที่ยึดอาศัย ในระหว่างที่ผู้บัญชาการ
หน่วยรบร่วมสัง่ สมอ�ำนาจก�ำลังรบ ก�ำลังส่วนนีจ้ งึ ควรมีอำ� นาจก�ำลังรบเพียงพอทีจ่ ะป้องปราม โจมตี
หรือตั้งรับอย่างมีประสิทธิภาพด้วย
208 บทที่ ๘

ลักษณะของการปฏิบัติการรบด้วยวิธีรับ
๘-๕ การตั้งรับจะประสบความส�ำเร็จได้ต้องมีลักษณะที่รุกรบ ต้องใช้การยิงทั้งการ
ยิงเล็งตรง การยิงเล็งจ�ำลอง การยิงจากทางอากาศ การปฏิบัติการข่าวสาร และการใช้ก�ำลังภาค
พื้นดินโจมตีข้าศึก การตั้งรับจะต้องใช้อ�ำนาจการยิง ใช้การพิทักษ์ก�ำลังรบ และการด�ำเนินกลยุทธ์
ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อเอาชนะข้าศึก บางหน่วยท�ำการยึดพื้นที่และบางหน่วยต้องใช้ความ
คล่องแคล่วท�ำการเคลื่อนที่เพื่อมิให้ข้าศึกเป็นฝ่ายครองความริเริ่ม ผู้บังคับบัญชาที่ตั้งรับจะต้อง
คอยแสวงหาโอกาสที่จะกลับเป็นฝ่ายรุกอยู่ตลอดเวลา
๘-๖ ขณะที่ก�ำลังรบสมัยใหม่จะต้องน�ำหลักการตั้งรับมาประยุกต์ใช้อยู่เสมออย่าง
ต่อเนือ่ ง ระบบเทคโนโลยีชนั้ สูงจะเป็นปัจจัยทีท่ �ำให้ผบู้ งั คับบัญชาด�ำเนินการพัฒนาวิธกี ารตัง้ รับได้
การเข้าใจสถานการณ์ทั้งฝ่ายข้าศึกและฝ่ายเราอย่างแจ่มแจ้ง และการหลอมรวมในเรื่องของ
การบังคับบัญชาและการควบคุมเข้าไว้ด้วยกัน ด้วยเทคโนโลยีทางด้านการข่าวกรอง การเฝ้าตรวจ
และการลาดตระเวน การยิงด้วยระบบอาวุธทีแ่ ม่นย�ำตัง้ แต่ระยะไกล และการสนับสนุนทางการช่วย
รบ ท�ำให้การตั้งรับแบบคล่องตัว มีอานุภาพในการท�ำลายล้างและประสิทธิผลมากกว่าที่เป็นมา
ถ้าหากท�ำได้ ผู้บังคับบัญชาก�ำลังรบที่ทันสมัยจะใช้การตั้งรับแบบคล่องตัว เนื่องจากการตั้งรับ
แบบนี้เป็นการใช้อ�ำนาจก�ำลังรบอันแข็งแกร่งของ ทบ. ที่ท�ำให้เกิดความได้เปรียบสูงสุด
๘-๗ การตั้งรับที่มีประสิทธิภาพจะใช้ก�ำลังทั้งแบบคล่องตัวและแบบยึดพื้นเข้าปะทะ
กับข้าศึก มันเป็นการผสมผสานอ�ำนาจก�ำลังรบของส่วนต่าง ๆ เพือ่ บัน่ ทอนความเข้มแข็งของข้าศึก
และสร้างสภาวการณ์ส�ำหรับการตีโต้ตอบ ฝ่ายตั้งรับจะแสวงหาโอกาสที่จะเพิ่มเสรีในการด�ำเนิน
กลยุทธ์ในขณะที่ขัดขวางมิให้ฝ่ายเข้าตีมีเสรีในการด�ำเนินกลยุทธ์ การสูญเสียที่เพิ่มขึ้นจะท�ำให้
ฝ่ายเข้าตีออ่ นแอลงและความริเริม่ จะกลับเป็นของฝ่ายตัง้ รับ โอกาสในการตีโต้ตอบก็จะเกิดขึน้ แต่
โอกาสที่จะท�ำการตีโต้ตอบอาจจะด�ำรงอยู่ได้ไม่นาน ดังนั้นฝ่ายตั้งรับจะต้องท�ำการตีโต้ตอบอย่าง
รวดเร็วและรุนแรงเพื่อบีบบังคับให้ข้าศึกถึงจุดผกผันไม่สามารถด�ำรงการเข้าตีต่อไปได้ ปัจจัยแห่ง
ความส� ำ เร็ จ ในการปฏิ บั ติ ก ารด้ ว ยวิ ธี รั บ ประกอบด้ ว ย การเตรี ย มการ การระวั ง ป้ อ งกั น
การแบ่งแยกและท�ำลาย การท�ำให้เสียระเบียบ (Disruption) การรวมก�ำลัง และความอ่อนตัว
การเตรียมการ
๘-๘ การตั้งรับเป็นแบบของการรบที่มีความแข็งแกร่ง ฝ่ายตั้งรับเป็นฝ่ายที่เข้าถึงพื้นที่
ปฏิบัติการก่อนฝ่ายเข้าตีและสามารถใช้เวลาที่มีอยู่ในการเตรียมการตั้งรับด้วยการศึกษาพื้นที่
เลือกที่มั่นที่สามารถจะท�ำการยิงไปยังแนวทางเคลื่อนที่ ที่ฝ่ายเข้าตีอาจจะใช้ นอกจากนี้ฝ่ายตั้งรับ
ยังสามารถใช้เครื่องกีดขวางตามธรรมชาติที่มีอยู่ผสมผสานกับเครื่องกีดขวางที่สร้างขึ้นเพื่อบีบ
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 209

ให้ขา้ ศึกเคลือ่ นทีเ่ ข้าสูพ่ นื้ ทีโ่ จมตี ฝ่ายตัง้ รับจะประสานและซักซ้อมการปฏิบตั ขิ องหน่วยภาคพืน้ ดิน
ท�ำความคุ้นเคยกับภูมิประเทศ อีกทั้งยังสามารถวางหน่วยระวังป้องกันและหน่วยลาดตระเวนได้
ทั่วทั้งพื้นที่ การเตรียมการเหล่านี้จะช่วยเพิ่มพูนประสิทธิภาพในการตั้งรับได้ การเตรียมการจะ
กระท�ำอย่างต่อเนื่องและจะสิ้นสุดลงเมื่อฝ่ายตั้งรับท�ำการร่นถอย หรือเมื่อการรบเริ่มขึ้น อย่างไร
ก็ตามแม้ การรบระยะใกล้ เริ่มขึ้นการเตรียมการในทางลึกก็ยังคงด�ำเนินต่อไป
การระวังป้องกัน
๘-๙ ผู้บังคับบัญชารักษาความปลอดภัยให้กับหน่วยโดยการปฏิบัติการระวังป้องกัน
การพิทักษ์ก�ำลังรบ และการปฏิบัติการข่าวสาร การปฏิบัติการระวังป้องกันจะช่วยลวงข้าศึก
ในเรือ่ งทีต่ งั้ ความเข้มแข็ง และจุดอ่อนของฝ่ายเรา อีกทัง้ ยังช่วยป้องกันหรือเอาชนะการลาดตระเวน
ของข้าศึกอีกด้วย มาตรการที่ใช้ในการระวังป้องกันจะช่วยในการแจ้งเตือนแต่เนิ่น การแบ่งแยก
และท�ำลายการเข้าตีของข้าศึกตั้งแต่เนิ่นและเป็นไปอย่างต่อเนื่อง การพิทักษ์ก� ำลังรบ ช่วยใน
การอนุรักษ์ก�ำลังรบ การปฏิบัติการข่าวสารเชิงรุก ด้วยการแสดงก�ำลังรบที่ของฝ่ายเราให้ข้าศึก
เข้าใจผิดและการลวงผูบ้ งั คับบัญชาฝ่ายข้าศึกไปสูค่ วามผิดพลาด ด้วยการปฏิบตั กิ ารลวง การปฏิบตั ิ
การระวังป้องกัน และการสงครามอิเล็กทรอนิกส์ มาตรการเหล่านี้สนับสนุนต่อการรักษาความ
ปลอดภัยของก�ำลังที่เป็นฝ่ายตั้งรับ
การแบ่งแยกและท�ำลาย
๘-๑๐ ฝ่ายตัง้ รับขัดขวางจังหวะและการประสานสอดคล้องของฝ่ายเข้าตีดว้ ยการปฏิบตั ิ
ที่มีวัตถุประสงค์ในการป้องกันมิให้ฝ่ายเข้าตีสามารถรวมอ�ำนาจก�ำลังรบได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ความพยายามในการปฏิบัติการแบ่งแยกและท�ำลายจะต้องกระท�ำทุกวิถีทางเพื่อมิให้ข้าศึก
เตรียมการและที่ส�ำคัญที่สุดยิ่งคือมิให้มีโอกาสเข้าตี วิธีการที่ใช้จะรวมถึงการเอาชนะหรือการ
เบีย่ งเบนหน่วยลาดตระเวนข้าศึก ท�ำลายหรือรบกวนรูปขบวนข้าศึก แยกหน่วยของข้าศึกออกจากกัน
และโจมตีหรือขัดขวางระบบการปฏิบัติการของข้าศึก ฝ่ายตั้งรับจะต้องไม่เปิดโอกาสให้ฝ่ายเข้าตี
มีเวลาเตรียมการ จะใช้การเข้าตีท�ำลายการเข้าตี ก่อนทีข่ า้ ศึกจะรวมอ�ำนาจก�ำลังรบได้ และใช้การ
ตีโต้ตอบก่อนข้าศึกจะเสริมความมั่นคงได้ ฝ่ายตั้งรับจะใช้การปฏิบัติการข่าวสารเชิงรุกต่อระบบ
ควบคุมบังคับบัญชาข้าศึกและจะต้องขัดขวางข้าศึกในทางลึกอย่างต่อเนื่อง
การรวมก�ำลัง
๘-๑๑ ฝ่ายตัง้ รับต้องแสวงหาโอกาสทีจ่ ะรวมอ�ำนาจก�ำลังรบให้เหนือ กว่าข้าศึก ณ ต�ำบล
และเวลาที่ต้องการชัยชนะขั้นเด็ดขาด เพื่อให้เกิดความได้เปรียบ ณ ต�ำบลแตกหัก ฝ่ายตั้งรับอาจ
210 บทที่ ๘

ต้องออมก�ำลัง และยอมรับความเสี่ยงในบางพื้นที่ สงวนกองหนุนหรือจัดกองหนุนขึ้นใหม่ หรือใช้


การด�ำเนินกลยุทธ์เพื่อให้เกิดความได้เปรียบเฉพาะต�ำบล ณ จุดที่ต้องการผลการรบแตกหัก บาง
ครั้งฝ่ายตั้งรับอาจจ�ำต้องยอมเสียพื้นที่บางส่วนเพื่อให้ได้เวลาส�ำหรับการรวมอ�ำนาจก�ำลังรบ
๘-๑๒ ผู้บังคับบัญชาอาจต้องยอมรับความเสี่ยงในบางพื้นที่เพื่อการรวมอ�ำนาจก�ำลังรบ
ไว้ในพื้นที่อื่น ความเสี่ยงอาจลดลงได้ด้วยการใช้เครื่องกีดขวาง หน่วยระวังป้องกัน และการยิง
แต่การรวมก�ำลังก็อาจเป็นจุดอ่อนต่อการใช้อาวุธที่มีอานุภาพท�ำลายล้างสูง ดังนั้น ผู้บังคับบัญชา
จะต้องใช้การลวง การซ่อนพราง เพื่อปกปิดการรวมก�ำลัง รวมทั้งการใช้ก�ำลังทางอากาศ และ
การป้องกันภัยทางอากาศด้วย
ความอ่อนตัว
๘-๑๓ การตัง้ รับต้องการแผนทีอ่ อ่ นตัว การวางแผนจะเน้นไปทีก่ ารเตรียมการในทางลึก
การใช้กองหนุน และความสามารถในการโยกย้ายความพยายามหลัก ผู้บังคับบัญชาอาจเสริม
ความอ่อนตัวให้กบั การตัง้ รับด้วยการก�ำหนดทีม่ นั่ เพิม่ เติม ก�ำหนดแผนการตีโต้ตอบ และเตรียมการ
ตีโต้ตอบ
แบบของการตั้งรับ
๘-๑๔ แบบของการตัง้ รับมีอยู่ ๓ แบบคือ การตัง้ รับแบบคล่องตัว การตัง้ รับแบบยึดพืน้ ที่
และการร่นถอย ซึ่งสามารถใช้ได้ทั้งในระดับยุทธวิธีและระดับยุทธการ การตั้งรับแบบคล่องตัว
มุ่งที่จะท�ำลายก�ำลังฝ่ายเข้าตีโดยการปล่อยให้ข้าศึกเคลื่อนที่เข้ามายังพื้นที่ ที่ฝ่ายเราเตรียมการ
ตีโต้ตอบไว้ การตั้งรับแบบยึดพื้นที่ มีความมุ่งหมายเพื่อการรักษาภูมิประเทศเอาไว้ วางก� ำลัง
ในลักษณะที่สามารถท�ำการยิงประสานกันเพื่อท�ำลายข้าศึก การร่นถอย เป็นการเคลื่อนย้ายก�ำลัง
รบถอยห่างจากข้าศึกเพื่อให้ได้เวลา เพื่อสงวนก�ำลังรบ เพื่อท�ำให้ข้าศึกวางก�ำลังในภูมิประเทศที่
ไม่พงึ ประสงค์ หรือเพือ่ หลีกเลีย่ งการรบทีเ่ สียเปรียบ สถานการณ์จะเป็นตัวก�ำหนดว่าผูบ้ งั คับบัญชา
ควรจะเลือกใช้การตั้งรับแบบใด
๘-๑๕ การตั้งรับทั้งสามแบบจะต้องใช้ส่วนก�ำลังรบที่มีการเคลื่อนที่และอยู่กับที่ ในการ
ตั้งรับแบบคล่องตัว ที่มั่นในการวางก�ำลังจะช่วยในการก�ำหนดความลึกและความกว้างของพื้นที่
การเจาะของข้าศึก และช่วยให้ฝ่ายเรารักษาพื้นที่ที่จะใช้ทำ� การตีโต้ตอบเอาไว้ ในการตั้งรับแบบ
ยึดพื้นที่ ผู้บังคับบัญชาจะต้องสนธิหน่วยลาดตระเวน หน่วยระวังป้องกัน เครื่องมือเฝ้าตรวจ
และกองหนุน เพื่อควบคุมช่องว่างระหว่างที่มั่นของหน่วยต่าง ๆ ที่มั่นต่าง ๆ จะได้รับการเพิ่มเติม
ก�ำลังตามความจ�ำเป็น การตีโต้ตอบจะกระท�ำตามแผนที่ก�ำหนดในการร่นถอย บางหน่วยอาจต้อง
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 211

ท�ำการตั้งรับแบบยึดพื้นที่หรือคล่องตัว หรือระวังป้องกัน เพื่อป้องกันหน่วยอื่น ๆ ที่กำ� ลังด�ำเนิน


กลยุทธ์หรือเคลื่อนย้ายไปข้างหลัง การยึดพื้นที่อาจกระท�ำเพื่อตรึง ขัดขวาง หรือปิดกั้น ฝ่ายเข้าตี
หน่วยที่มีความคล่องแคล่วอาจใช้เพื่อโจมตีหรือท�ำลายข้าศึก
การตั้งรับแบบคล่องตัว
๘-๑๖ การตัง้ รับแบบคล่องตัว เป็นแบบของการตัง้ รับทีม่ คี วามมุง่ หมาย ทีจ่ ะท�ำลายหรือ
เอาชนะก�ำลังข้าศึกโดยการท�ำการรบแตกหักด้วยก�ำลังโจมตี (ดูรูปที่ ๘-) การตั้งรับแบบคล่องตัวนี้
ฝ่ายตั้งรับจะต้องมีความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่เหนือกว่าฝ่ายเข้าตี โดยฝ่ายตั้งรับจะต้องใช้
การปฏิบัติทั้งการรุก รับ การรบหน่วงเวลาเพื่อดึงข้าศึกให้เข้าสู่พื้นที่ที่ล่อแหลมต่อการตีโต้ตอบ
ผู้บังคับบัญชาใช้ความได้เปรียบจากความลึกของภูมิประเทศ การลวงทางทหาร เครื่องกีดขวาง
และทุ่นระเบิด ผสมผสานกับการยิงและการด�ำเนินกลยุทธ์เพื่อช่วงชิงความริเริ่มมาจากฝ่ายเข้าตี

รูปที่ ๘-๑ การตั้งรับแบบคล่องตัว

๘-๑๗ การตัง้ รับแบบนี้ ผูบ้ งั คับบัญชาจะใช้ก�ำลังตัง้ รับน้อยทีส่ ดุ แต่อำ� นาจก�ำลังรบสูงสุด


จะอยู ่ ที่ ก� ำ ลั ง โจมตี ที่ จ ะท� ำ หน้ า ที่ ใ นการตี โ ต้ ต อบขณะที่ ข ้ า ศึ ก ท� ำ การรบอยู ่ กั บ ก� ำ ลั ง ตั้ ง รั บ
212 บทที่ ๘

ผู้บังคับบัญชาต้องคิดว่าก�ำลังโจมตีนี้เป็นส่วนที่ใช้ท�ำการรบตลอดห้วงเวลาปฏิบัติการ และมีกิจ
ที่ต้องท�ำคือ วางแผน เตรียมการ และปฏิบัติการรบแตกหัก ซึ่งก็คือการตีโต้ตอบ ฝ่ายตั้งรับจะดึง
ฝ่ายเข้าตีเข้ามาในภูมิประเทศที่เกื้อกูลให้ก�ำลังโจมตีท�ำการตีโต้ตอบจากทิศทางที่ฝ่ายเข้าตีคาด
ไม่ถึง ฝ่ายตั้งรับกดดันด้วยการตีโต้ตอบด้วยก�ำลังที่มีอานุภาพเหนือกว่าอย่างท่วมท้นและรุนแรง
๘-๑๘ ในการวางแผนการตีโต้ตอบ ก�ำลังโจมตี เป็นก�ำลังที่จัดไว้ส�ำหรับการ
ผูบ้ งั คับบัญชาต้องพิจารณาหนทางปฏิบตั ขิ อง ปฏิบัติ การแตกหัก ในการตั้งรับแบบคล่องตัว
ข้าศึก ที่ตั้งที่เป็นไปได้ของก�ำลังที่เป็นส่วน ปกติจะจัดให้มอี ำ� นาจก�ำลังรบสูงสุดเท่าทีห่ น่วย
ติดตาม อีกทัง้ ต้องตัดสินใจว่าควรจะวางก�ำลัง จะพึงมี ณ เวลาที่ท�ำการเข้าตี
โจมตีไว้ทใี่ ด จะเลือกใช้เส้นทางหรือแนวทาง
เคลือ่ นทีใ่ ด รวมถึงการยิงสนับสนุน และท�ำให้เสียระเบียบ หรือโจมตีตอ่ ส่วนติดตาม เพือ่ แยกข้าศึก
ออกจากกัน นอกจากนีย้ งั ต้องใช้การลวง การรักษาความปลอดภัยการปฏิบตั กิ ารเพือ่ ลดประสิทธิภาพ
การลาดตระเวนของข้าศึกด้วย
๘-๑๙ ถ้ามีก�ำลังเพียงพอ ผู้บังคับบัญชาควรจะจัดกองหนุนไว้ด้วยนอกเหนือจากก�ำลัง
โจมตี กองหนุนถือเป็นก�ำลังที่ยังไม่ได้ใช้และอาจมอบกิจหลาย ๆ อย่างให้ได้ การจัดกองหนุน
จะช่วยให้การตั้งรับเกิดความอ่อนตัว กองหนุนสามารถให้การสนับสนุนแก่กำ� ลังที่ท�ำการตั้งรับอยู่
ในแนวรบ เมื่อผู้บังคับบัญชาสั่งใช้ก�ำลังโจมตี และกองหนุนยังไม่ติดพันธกิจส�ำคัญอื่น กองหนุน
ก็สามารถใช้เป็นหน่วยขยายผลต่อจากก�ำลังโจมตีได้
การตั้งรับแบบยึดพื้นที่
๘-๒๐ การตั้งรับแบบยึดพื้นที่ เป็นแบบของการตั้งรับที่มีวัตถุประสงค์เพื่อขัดขวางมิให้
ข้าศึกเข้าถึงภูมิประเทศที่ก�ำหนดไว้ในห้วงเวลาที่ก�ำหนด แทนที่จะเป็นการท�ำลายข้าศึกเพียง
อย่างเดียว (ดูรูปที่ ๘-๒) การตั้งรับแบบนี้ก�ำลังส่วนใหญ่จะวางไว้ในที่มั่นตั้งรับ พื้นที่โจมตีและ
จะจัดกองหนุนเคลื่อนที่เร็วไว้เพื่อรักษาพื้นที่ ความส�ำเร็จในการตั้งรับแบบนี้ขึ้นอยู่กับการควบคุม
ที่อ่อนตัวและมีประสิทธิภาพ การประสานสอดคล้องและ การแบ่งมอบอ�ำนาจการยิง ส่วนระวัง
ป้องกันจะวางไว้ตามแนวทางเคลื่อนที่ ที่คาดว่าข้าศึกจะใช้ ความเร่งด่วนในการใช้กองหนุนจะอยู่
ที่การตีโต้ตอบ แต่กิจอื่น ๆ ที่อาจมอบให้กองหนุนได้แก่ สกัดกั้นการเจาะของข้าศึก เพิ่มเติม
ก�ำลังให้กับส่วนอื่น ๆ การตั้งรับแบบยึดพื้นที่อาจใช้เป็นส่วนหนึ่งของการตั้งรับแบบคล่องตัว
ขนาดใหญ่ได้
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 213

๘-๒๑ การตั้งรับแบบยึดพื้นที่อาจมีความลึก รูปแบบการวางก�ำลัง และความมุ่งหมาย


แตกต่างกันออกไปตามสถานการณ์ ผู้บังคับหน่วยอาจใช้การตั้งรับแบบนี้เพื่อขัดขวางมิให้ข้าศึกใช้
ภูมิประเทศถ้าไม่มีทางเลือกอื่นใดหรือเมื่อก�ำลังฝ่ายเราน้อยกว่าข้าศึกมาก หน่วยระดับยุทธวิธี
รอง ๆ ลงไปอาจวางก�ำลังไว้ตามที่มั่นรบ หรือวางไว้ตามภูมิประเทศที่เหมาะสม ในบางโอกาส
ผู้บังคับบัญชาอาจใช้จุดต้านทานแข็งแรง เพื่อบีบบังคับให้ข้าศึกเคลื่อนที่ไปยังทิศทางอื่น ใน
การสร้างจุดต้านทานแข็งแรงจะต้องใช้เวลาและการสนับสนุนทางการช่างเป็นอย่างมาก
การร่นถอย
๘-๒๒ การร่นถอย เป็นแบบของการตั้งรับที่ก�ำลังฝ่ายเราเคลื่อนที่ออกห่างจากข้าศึก
อย่างเป็นระเบียบ การร่นถอยมี ๓ แบบ ด้วยกัน คือ การถอนตัว การรบหน่วงเวลา และการถอย
ผู้บังคับบัญชาใช้การร่นถอยเป็นส่วนหนึ่งของแผนการด�ำเนินกลยุทธ์ที่ใหญ่กว่าเพื่อสร้างเงื่อนไข
ที่จะกลับมาเป็นฝ่ายริเริ่มและเอาชนะข้าศึก การร่นถอยอาจกระท�ำเพื่อแก้ไขสถานการณ์ปัจจุบัน
หรือป้องกันมิให้สถานการณ์เลวร้ายไปกว่าเดิมจากที่ก�ำลังเป็นอยู่ ผู้บังคับบัญชาในระดับยุทธการ
อาจใช้การร่นถอยเพื่อท�ำให้เส้นการคมนาคมสั้นลง

รูปที่ ๘-๒ การตั้งรับแบบยึดพื้นที่


214 บทที่ ๘

การถอนตัว
๘-๒๓ การถอนตัว เป็นการร่นถอยแบบหนึง่ โดยหน่วยบางส่วนหรือทัง้ หมดจะท�ำการผละ
ออกห่างจากข้าศึก เพื่อสงวนก�ำลังรบ น�ำหน่วยไปปฏิบัติภารกิจใหม่ หรือหลีกเลี่ยงการรบใน
สภาพที่ไม่พึงปรารถนา ระหว่างการถอนตัวอาจจะมีการกดดันจากข้าศึกหรือไม่ก็ได้ และใน
หน่วยระดับยุทธวิธี หน่วยอาจท�ำการถอนตัวโดยล�ำพังหรือได้รับการช่วยเหลือจากหน่วยอื่น
๘-๒๔ ในหน่วยระดับกองพลและกองทัพน้อย ผูบ้ งั คับบัญชาจะจัดก�ำลังออกเป็น ๒ ส่วน
คือ ส่วนระวังป้องกัน และก�ำลังส่วนใหญ่ ส่วนระวังป้องกันมีหน้าที่ป้องกันมิให้ข้าศึกขัดขวางการ
ถอนตัวของก�ำลังส่วนใหญ่ ก�ำลังส่วนใหญ่จัดก�ำลังอยู่หลังส่วนระวังป้องกัน และเคลื่อนที่ออก
ห่างจากข้าศึก ส่วนระวังป้องกันยังคงอยู่ระหว่างข้าศึกและก�ำลังส่วนใหญ่ตลอดจนท�ำการปกปิด
การเตรียมการและการเคลือ่ นย้ายของก�ำลังส่วนใหญ่ ถ้าข้าศึกตรวจจับการถอนตัวไม่ได้ ส่วนระวัง
ป้องกันก็จะยังคงอยู่ในพื้นที่เพื่อปกปิดการถอนตัวต่อไปจนกว่าก�ำลังส่วนใหญ่จะอยู่ในระยะที่
ปลอดภัยจากการกระท�ำของข้าศึก จากนั้นส่วนระวังป้องกันจึงเคลื่อนที่เข้าประจ�ำที่มั่นซึ่งเตรียม
เอาไว้ตามล�ำดับ ถ้าข้าศึกตรวจพบการถอนตัวและเข้าโจมตี ส่วนระวังป้องกันจะรบหน่วงเวลาเพื่อ
ให้ก�ำลังส่วนใหญ่ถอนตัวออกไป หน่วยที่อยู่ในก�ำลังส่วนใหญ่อาจเพิ่มเติมก�ำลังให้กับส่วนระวัง
ป้องกันได้ถา้ จ�ำเป็น ซึง่ หน่วยดังกล่าวอาจต้องรบหน่วงเวลาหรือท�ำการตัง้ รับด้วยถ้าการปฏิบตั ขิ อง
ส่วนระวังป้องกันล้มเหลวในการชะลอการเคลื่อนที่ของข้าศึก
๘-๒๕ ผู้บังคับบัญชาต้องวางแผนและใช้หน่วยอื่น ๆ ได้แก่ ก�ำลังทางอากาศ กองหนุน
ทางภาคพื้นดิน หน่วยยิงสนับสนุน และหน่วย ปภอ. กองหนุนของกองพลและกองทัพน้อยจะอยู่
ใกล้กับหน่วยของก�ำลังส่วนใหญ่เพื่อช่วยเหลือด้วยการยิงและการด�ำเนินกลยุทธ์ถ้าจ�ำเป็นบางครั้ง
กองหนุนอาจต้องเข้าตีเพื่อท�ำลายการเข้าตี เพื่อท�ำลายความเป็นระเบียบและรั้งหน่วงข้าศึกหรือ
เพื่อช่วยให้ก�ำลังส่วนใหญ่ผละออกจากวงล้อม หรือผละออกจากก�ำลังรบปะทะอย่างแตกหักได้
๘-๒๖ ผู้บังคับบัญชาใช้การปฏิบัติการข่าวสาร และการปฏิบัติการรักษาความปลอดภัย
ในการถอนตัวเพือ่ ป้องกันมิให้ขา้ ศึกได้ขา่ วสารหรือได้ขา่ วสารผิด ๆ เกีย่ วกับฝ่ายเราหน่วยทีถ่ อนตัว
ควรหลี ก เลี่ ย งการเคลื่ อ นย้ า ยก�ำ ลั ง รบก่ อ นเวลาอั น เหมาะสม หรื อ หลี ก เลี่ ย งกิ จ กรรมที่ อ าจ
เปิดเผยให้เห็นถึงสัญญาณในการถอนตัว เช่น การย้ายหน่วยสนับสนุนการรบและหน่วยสนับสนุน
การช่วยรบ การวางเครื่องกีดขวาง หรือการท�ำลายเส้นทางที่อาจจะเป็นสัญญาณในการถอนตัว
นอกจากนี้ยังต้องใช้การปฏิบัติการข่าวสารเชิงรุก ซึ่งรวมถึงมาตรการต่าง ๆ ในการปกปิดการ
เตรียมการในการถอนตัว เพื่อช่วงชิงความริเริ่มจากข้าศึกด้วย
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 215

๘-๒๗ ในการถอนตัวผูบ้ งั คับบัญชาต้องแบ่งมอบทรัพยากรและแผนการปฏิบตั ใิ นอนาคต


เอาไว้ด้วย ความสามารถในการถอนตัว ณ เวลาที่เหมาะสมจ�ำเป็นต้องมีเครื่องมือขนส่งที่เพียงพอ
ฝ่ายวางแผนด้านการสนับสนุนการช่วยรบต้องพัฒนาหนทางปฏิบัติและปรับการปฏิบัติการด�ำรง
สภาพ ให้สอดคล้องกับการตกลงใจของผู้บังคับบัญชา การถอนตัวจะสิ้นสุดลงเมื่อก� ำลังฝ่ายเรา
หลุดพ้นจากการปะทะและเปลี่ยนไปเป็นการปฏิบัติอื่น ๆ หน่วยที่ถอนตัวอาจจะเข้าสู่พื้นที่ตั้งรับ
และเข้าร่วมในการตัง้ รับของก�ำลังฝ่ายเรา หรือถอนตัวเข้าสูพ่ นื้ ทีป่ ลอดภัยและเตรียมปฏิบตั ภิ ารกิจ
ในอนาคต หรือเคลื่อนที่ออกห่างจากข้าศึกต่อไปด้วยการถอย
การรบหน่วงเวลา
๘-๒๘ การรบหน่วงเวลา เป็นการปฏิบตั กิ ารร่นถอยแบบหนึง่ โดยหน่วยยอมเสียพืน้ ทีเ่ พือ่
ให้ได้เวลาในขณะเดียวกันต้องสร้างความสูญเสียและลดแรงหนุนเนื่องในการรุกของข้าศึกให้มาก
ทีส่ ดุ แต่ทงั้ นีต้ อ้ งหลีกเลีย่ งการติดพันจนเกิดการรบแตกหักให้ได้ การรบหน่วงเวลาต้องการเวลาให้
ก�ำลังฝ่ายเราเพื่อ
- จัดการตั้งรับ
- ป้องกันก�ำลังฝ่ายเดียวกันที่ท�ำการตั้งรับ หรือที่ก�ำลังถอนตัว
- ป้องกันปีกให้กับก�ำลังฝ่ายเรา
- สนับสนุนในการออมก�ำลังรบ
- ดึงข้าศึกให้เข้าสู่พื้นที่ที่เสียเปรียบต่อฝ่ายเรา
- ค้นหาส่วนที่เป็นความพยายามหลักของข้าศึก
๘-๒๙ ผู้บังคับบัญชาใช้การรบหน่วงเวลาเมื่อก�ำลังฝ่ายเราไม่เพียงพอที่จะเข้าตี การ
ตั้งรับแบบยึดพื้นที่ หรือ ตั้งรับแบบคล่องตัว การรบหน่วงเวลาเป็นแบบของการรบที่เหมาะใน
การปฏิบัติการสร้างสภาวะ ที่เกื้อกูลด้วยการดึงข้าศึกให้เข้าสู่พื้นที่ ที่ฝ่ายเราเตรียมการตีโต้ตอบ
ในล�ำดับต่อไปเอาไว้ ผู้บังคับบัญชาต้องก�ำหนดเงื่อนไขส�ำคัญส�ำหรับการรบหน่วงเวลาไว้ด้วย
ซึ่งเงื่อนไขส�ำคัญได้แก่
- ห้วงเวลาที่ต้องการ
- พื้นที่ ที่ต้องรักษาหรือป้องกันมิให้ข้าศึกใช้ประโยชน์
- ลักษณะธรรมชาติของการปฏิบัติขั้นต่อไป
๘-๓๐ การรบหน่วงเวลาอาจต้องใช้กำ� ลังถึงขนาดกองทัพน้อย หรืออาจเป็นส่วนหนึง่ ของ
การถอนตัวทั่วไป กองพลอาจท�ำการรบหน่วงเวลาโดยเป็นส่วนหนึ่งของการตั้งรับหรือการถอนตัว
216 บทที่ ๘

ของกองทัพน้อย ที่มั่นที่ใช้ในการรบหน่วงเวลาอาจวางเพียงแนวเดียว วางตามล� ำดับขั้น หรือ


วางสลับขั้นก็ได้ การรบหน่วงเวลาสิ้นสุดลงเมื่อ
- ข้าศึกหยุดเข้าตี จากนั้นฝ่ายเราสามารถจะด�ำรงการปะทะ ถอนตัว หรือตีโต้
ตอบได้อีก
- ก�ำลังฝ่ายเราเปลี่ยนการปฏิบัติไปเป็นการตั้งรับ
- ก�ำลังทีท่ ำ� การรบหน่วงเวลาปฏิบตั ภิ ารกิจส�ำเร็จ เคลือ่ นทีผ่ า่ นก�ำลังฝ่ายเดียวกัน
หรือผละออกจากการปะทะ
- ก�ำลังฝ่ายเราท�ำการตีโต้ตอบและเปลี่ยนการปฏิบัติเป็นการรุก
๘-๓๑ ก�ำลังที่ท�ำการรบหน่วงเวลาควรมีความคล่องแคล่วทัดเทียมกับฝ่ายเข้าตีเป็น
อย่างน้อย ผู้บังคับบัญชาจะใช้มาตรการทั้งปวงเพื่อเพิ่มความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่ให้กับ
ฝ่ายเราและลดความคล่องแคล่วในการเคลือ่ นทีข่ องข้าศึกลง ถ้าภูมปิ ระเทศเกือ้ กูลต่อการเคลือ่ นที่
ฝ่ายเราจะต้องใช้งานทางการช่างขัดขวางการเคลือ่ นทีข่ องข้าศึก ภูมปิ ระเทศปิดหรือทีเ่ ป็นอุปสรรค
ต่อการเคลื่อนที่แม้จะท�ำให้ข้าศึกเคลื่อนที่ช้าลงก็ตามแต่ก็ท�ำให้ฝ่ายเราเคลื่อนที่ช้าลงด้วยเช่นกัน
และด�ำรงการปะทะกับข้าศึกได้ยากขึ้นอีกด้วย
การถอย
๘-๓๒ การถอย เป็นการร่นถอยแบบหนึง่ ทีก่ ำ� ลังของฝ่ายเราทีไ่ ม่ได้ปะทะกับข้าศึก ท�ำการ
เคลื่อนที่ออกห่างจากข้าศึก ปกติหน่วยจะเคลื่อนที่ออกห่างจากข้าศึกโดยการเคลื่อนย้ายด้วย
รูปขบวนทางยุทธวิธีบนถนน ก�ำลังที่ท�ำการถอยอย่างมีระเบียบจะท�ำการรบต่อเมื่อมีความจ�ำเป็น
ในการป้องกันตัวเองเท่านั้น โดยทั่วไป การถอยจะมีความเสี่ยงน้อยกว่าการรบหน่วงเวลาและ
การถอนตัว
ความเสี่ยงในการร่นถอย
๘-๓๓ การร่นถอยจ�ำต้องมีการควบคุมอย่างแน่นแฟ้นและจัดการกับความเสี่ยงอย่างมี
ประสิทธิภาพ ก�ำลังของฝ่ายเราอาจเกิดความกลัวและความเครียด และมองว่าการเคลื่อนที่ออก
ห่างจากข้าศึกเป็นสัญญาณของความพ่ายแพ้แล้วอาจน�ำไปสู่การตื่นตระหนกและแตกหนีได้ง่าย
ดังนัน้ ในการร่นถอยผูบ้ งั คับบัญชาจะต้องใช้ความเป็นผูน้ ำ� ต้องวางแผนอย่างละเอียด การจัดหน่วย
ที่มีประสิทธิภาพ และการปฏิบัติอย่างมีวินัย การเคลื่อนย้ายหน่วยของฝ่ายเราจะต้องท�ำด้วยความ
รวดเร็ว แต่รอบคอบ การร่นถอยอย่างไร้ระเบียบต่อหน้าข้าศึกที่เข้มแข็งจะน� ำหน่วยไปสู่ความ
หายนะ มาตรการในการจัดการกับความเสี่ยงในการร่นถอย ได้แก่
- หลีกเลี่ยงการปะทะขั้นแตกหัก โดยใช้กองหนุนและระบบอาวุธยิงสนับสนุน
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 217

- มีแผนในการเตรียมการที่เกื้อกูลต่อความรวดเร็ว และการปฏิบัติการที่ได้รับ
การควบคุม
- ป้องกันมิให้ข้าศึกได้ข่าวสารการเคลื่อนย้ายของหน่วย
- ปรับปรุงการข่าวกรองให้ทันสมัยอยู่เสมอเพื่อหลีกเลี่ยงการถูกจู่โจม
- การผสมผสานการลวงกับการรบหน่วงเวลาเพื่อป้องกันมิให้ข้าศึกเข้าประชิด
ฝ่ายเราด้วยก�ำลังที่เหนือกว่า
การปฏิบัติการรบด้วยวิธีรับภายในกรอบการปฏิบัติระดับยุทธการ
๘-๓๔ ผู้บังคับบัญชาใช้ กรอบการปฏิบัติ (พื้นที่ปฏิบัติการ ห้วงการรบ และการจัด
สนามรบ) ในการปฏิบัติการรบด้วยวิธีรับ (ดูรูปที่ ๘-๓) โดยกรอบนี้จะอยู่บนพื้นฐานของปัจจัย
METT-TC และความเข้าใจห้วงการรบของผู้บังคับบัญชาเอง นอกจากนี้ยังจะต้องมีการปฏิบัติการ
แตกหักในการจัดรูปแบบ และด�ำรงสภาพอย่างพร้อมกัน และตามล�ำดับ โดยการประสานสอดคล้อง
หน่วยก�ำลังรบต่าง ๆ ให้ปฏิบตั กิ ารได้อย่างกลมกลืนกันทัง้ ในเรือ่ งเวลา พืน้ ที่ ทรัพยากร วัตถุประสงค์
และการปฏิบัติ ผู้บังคับบัญชาอาจก�ำหนดพื้นที่การรบทั้งทางลึก ระยะใกล้ และส่วนหลัง เมื่อการ
ด�ำเนินการปฏิบัติการมีลักษณะทั่วไปเป็นแนว และต่อเนื่องกัน

รูปที่ ๘-๓ โครงสร้างการปฏิบัติการตั้งรับ


218 บทที่ ๘

๘-๓๕ หากมีช่องว่างเกิดขึ้นภายในพื้นที่ปฏิบัติการที่ไม่ต่อเนื่องกันผู้บังคับบัญชาต้อง
ขัดขวางมิให้ข้าศึกมีเสรีในการเคลื่อนที่ภายในช่องว่างเหล่านั้น พื้นที่ใดที่ไม่มีก�ำลังวางอยู่ต้อง
มอบหมายให้หน่วยใดหน่วยหนึ่งรับผิดชอบพร้อมทั้งแบ่งมอบอ�ำนาจก�ำลังรบให้ พื้นที่ใดที่มิได้
แบ่งมอบให้หน่วยรอง พื้นที่นั้นจะอยู่ในความรับผิดชอบของผู้บังคับบัญชาหน่วยนั้นเอง แต่ไม่ว่า
หน่วยรองจะวางก�ำลังใกล้กนั หรือแยกออกจากกันอย่างไร ผูบ้ งั คับบัญชาต้องมองภาพการตัง้ รับว่า
เป็นเสมือนกับปฏิบัติการที่เป็นหนึ่งเดียวในภาพรวม พวกเขาต้องท�ำการรบด้วยการปฏิบัติแตกหัก
จัดรูปแบบเพื่อสร้างสภาวการณ์ และด� ำรงสภาพ ในฐานะที่เป็นการปฏิบัติการที่เป็นอันหนึ่ง
อันเดียวกันเพื่อวัตถุประสงค์เพียงประการเดียว นั่นคือ เอาชนะการเข้าตีและเปลี่ยนไปสู่การรุก
ให้เร็วที่สุด
การปฏิบัติการแตกหักในการตั้งรับ
๘-๓๖ การปฏิบตั กิ ารแตกหักในการตัง้ รับ เป็นการปฏิบตั กิ ารเอาชนะการเข้าตีของข้าศึก
ในการตัง้ รับแบบคล่องตัว การตีโต้ตอบโดยก�ำลังโจมตี คือ การปฏิบตั กิ ารแตกหัก ถ้าผูบ้ งั คับบัญชา
รู้สถานการณ์ข้าศึกดีเท่าไหร่ การก�ำหนดน�้ำหนักให้กับการตีโต้ตอบก็จะมีประสิทธิภาพมากขึ้น
เท่านั้น ส�ำหรับการตั้งรับแบบยึดพื้นที่ การปฏิบัติการแตกหักคือ การเอาชนะข้าศึกในพื้นที่โจมตี
ผู้บังคับบัญชาจะดึงข้าศึกให้เข้าสู่พื้นที่โจมตีเพื่อให้ฝ่ายตั้งรับท�ำลายข้าศึกด้วยการรวมอ�ำนาจ
การยิง เครื่องกีดขวาง และทรัพยากรอื่น ๆ
๘-๓๗ ไม่วา่ จะเป็นการตัง้ รับแบบคล่องตัวหรือแบบยึดพืน้ ที่ ผูบ้ งั คับบัญชาจะต้องก�ำหนด
ส่วนที่เป็นความพยายามหลักเสมอ และประสานสอดคล้องระบบปฏิบัติการในสนามรบ เพื่อ
สนับสนุนความพยายามหลักนั้น หากจ�ำเป็นอาจจะต้องย้ายความพยายามหลักด้วยการเพิ่มเติม
ก�ำลังรบและรวมผลกระทบต่าง ๆ ผู้บังคับบัญชาที่ท�ำการตั้งรับอาจจะเปลี่ยนแปลงความพยายาม
หลักซ�้ำแล้วซ�้ำเล่าเพื่อเอาชนะการเข้าตี ถ้าผู้บังคับบัญชาสามารถจะคาดการณ์ปฏิบัติของข้าศึกได้
ถูกต้อง ผูบ้ งั คับบัญชาสามารถปฏิบตั ติ ามแผนของพวกเขาส�ำหรับการปฏิบตั กิ ารแตกหักได้แม้วา่ จะ
ต้องเปลีย่ นความพยายามหลัก ปกติผบู้ งั คับบัญชาก�ำหนดการปฏิบตั กิ ารแตกหักเป็นความพยายาม
หลัก ณ จุดแตกหักเสมอ
๘-๓๘ กองหนุนจะช่วยให้ผู้บังคับบัญชาเกิดความอ่อนตัวสามารถรองรับสถานการณ์ที่
ไม่แน่นอนได้ ทันทีที่กองหนุนถูกสั่งใช้ กองหนุนจะกลายเป็นความพยายามหลักทันที และ
ผูบ้ งั คับบัญชาจะต้องจัดตัง้ กองหนุนขึน้ ใหม่จากก�ำลังทีย่ งั ไม่ได้ใช้หรือก�ำลังส่วนในพืน้ ที่ ทีถ่ กู คุกคาม
น้ อ ยกว่ า ผู ้ บั งคับบัญชาควรด� ำรงให้มีกองหนุ น ตลอดห้ ว งการปฏิ บั ติ ก าร ภารกิ จ โดยทั่ ว ไป
ของกองหนุนได้แก่ การตีโต้ตอบ การเพิ่มเติมก�ำลัง การปิดกั้น และท�ำลายข้าศึกที่เจาะเข้ามา
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 219

ผู้บังคับบัญชาควรหลีกเลี่ยงการมอบกิจอื่นใดแก่กองหนุนนอกเหนือจากกิจทั้งหลายที่ต้องการ
เพื่อการสนับสนุนการวางแผนและการเตรียมการที่ได้เตรียมไว้ส�ำหรับภารกิจของพวกเขา การใช้
กองหนุนควรใช้ในการเพิ่มเติมก�ำลัง หรือเพื่อท�ำให้เกิดชัยชนะมากกว่าจะป้องกันความพ่ายแพ้
แนวความคิดในการปฏิบัติ จะเป็นตัวก�ำหนดภารกิจหลักให้กับกองหนุน ปกติผู้บังคับบัญชาจะ
สงวนอ�ำนาจในการสั่งใช้กองหนุนไว้เอง ยกเว้นจะก�ำหนดไว้เป็นอย่างอื่น
การปฏิบัติการสร้างสภาวะที่เกื้อกูล
๘-๓๙ การปฏิบัติการจัดรูปแบบเพื่อสร้างสภาวที่เกื้อกูลกระท�ำพร้อม ๆ กันทั่วทั้งพื้นที่
ปฏิบัติการ และจะให้การสนับสนุนต่อการปฏิบัติการแตกหัก ของฝ่ายตั้งรับด้วยการท�ำให้ข้าศึก
ไม่สามารถท�ำการรบตามแผนที่วางไว้ได้ การปฏิบัติการจัดรูปแบบเพื่อสร้างสภาวการณ์จะเลือก
ยึดรอน หรือ ข่มระบบปฏิบัติการในสนามรบของข้าศึก ขัดขวางการประสานสอดคล้องของข้าศึก
อย่างมีประสิทธิภาพได้ การปฏิบัติการข่าวสาร จะก�ำหนดสภาวะการรับรู้ของข้าศึกและสามารถ
สร้างอิทธิพลต่อการตัดสินใจในการเข้าตี การยิงที่สนับสนุนต่อการปฏิบัติการจัดรูปแบบเพื่อสร้าง
สภาวการณ์ที่กระท�ำต่อเป้าหมายค่าสูงก็เป็นการปฏิบัติการจัดรูปแบบเพื่อสร้างสภาวการณ์ด้วย
เช่นกัน การปฏิบัติการจัดรูปแบบเพื่อสร้างสภาวการณ์อื่น ๆ ได้แก่
- การปฏิ บั ติ ก ารเพื่ อ ความคล่ อ งแคล่ ว ในการเคลื่ อ นที่ และต่ อ ต้ า นความ
คล่องแคล่วในการเคลื่อนที่
- การปฏิบัติการลาดตระเวนและการระวังป้องกัน
- การยิงทั้งจากทางอากาศและอาวุธยิงเล็งจ�ำลองอย่างแม่นย�ำจากระยะไกล
- การผ่านแนว (ไปข้างหน้าและมาข้างหลัง)
- การปฏิบตั ขิ องก�ำลังทีท่ ำ� การตรึงข้าศึกซึง่ เกือ้ กูลต่อการเพือ่ สนับสนุนการปฏิบตั ิ
การแตกหัก
- การเคลื่อนย้ายของหน่วยซึ่งเกื้อกูลให้การปฏิบัติการจัดรูปแบบเพื่อสร้าง
สภาวการณ์และการปฏิบัติการแตกหักอื่น ๆ เป็นไปด้วยความสะดวก
- การปฏิบัติของกองหนุนก่อนจะถูกสั่งใช้
220 บทที่ ๘

การปฏิบัติการรบด้วยวิธีรับอย่างแตกหัก – ปูซาน เกาหลี


ถึงปลายเดือน ส.ค. ๑๙๕๐ กองทัพเกาหลีเหนือก็สามารถยึดพืน้ ทีใ่ นเกาหลีใต้ได้เกือบ
ทั้งหมด ยกเว้นพื้นที่รอบ ๆ เมืองปูซานที่อยู่ทางตะวันออกเฉียงใต้ ประธานาธิบดี คิม อิล ซุง
ของเกาหลีเหนือเองก็คาดไม่ถึงว่ากองทัพเกาหลีเหนือจะรุกได้เร็วถึงเพียงนั้น จึงส่งก�ำลังอีก
๙๘,๐๐๐ นาย มาเพิ่มเติมเพื่อบดขยี้กองทัพสนามที่ ๘ (Eight Army) ที่มีทหารสหรัฐฯ และ
เกาหลีใต้รวม ๑๒๐,๐๐๐ นาย ยึดพื้นที่อยู่ ความพยายามของเกาหลีเหนือท�ำให้เกิดการรบ
ปะทะใหญ่น้อยนับร้อย ๆ ครั้งเกิดการสูญเสียทหารนับเป็นพัน ๆ นาย
กองทัพเกาหลีเหนือทุม่ ก�ำลังเข้าตีแนวของฝ่ายสหประชาชาติหลายแห่งด้วยกัน แต่ฝา่ ย
สหประชาชาติก็ยังรักษาแนวไว้ได้ขณะที่ส่งหน่วยใหม่เข้ามาเพิ่ม เกาหลีเหนือโหมการเข้าตียิ่ง
ขึ้นในวันที่ ๓๑ ส.ค. ๑๙๕๐ และสามารถเจาะแนวได้หลายแห่งแม้จะถูกโจมตีด้วยก�ำลังทาง
อากาศของสหประชาชาติอย่างรุนแรง ทางฝ่ายสหประชาชาติใช้กองพลทหารราบที่ ๒๔ ตีโต้
ตอบที่แทกู ขณะที่กองพลทหารม้าที่ ๑ และกองพลเกาหลีใต้ที่ ๑ ท�ำการตั้งรับ เกาหลีเหนือใช้
ก�ำลังสองกองพลเข้าตีกองพลทหารราบที่ ๒๕ เป็นการรบที่ดุเดือดจนแต่ละฝ่ายผลัดกันยึด
สันเนิน Sobuk Ridge กันถึง ๑๓ ครั้ง ภายในเวลาไม่ถึงหนึ่งเดือน แม้ว่าฝ่ายสหประชาชาติจะ
เสียพื้นที่บางแห่งไปบ้างแต่ก็ยังสามารถรักษาพื้นที่บริเวณปูซานเอาไว้ได้ และท่าเรือปูซานยัง
สามารถเปิดใช้การได้
การตัง้ รับทีป่ ซู านถือเป็นการปฏิบตั กิ ารแตกหักครัง้ หนึง่ เพราะสามารถท�ำลายเจตจ�ำนง
(Will) ของเกาหลีเหนือที่จะท�ำการบดขยี้ก�ำลังของฝ่ายสหประชาชาติที่อยู่ในพื้นที่นั้น ในขณะ
เดียวกันทางด้านเหนือฝ่ายสหประชาชาติท�ำการยกพลขึ้นบกที่อินชอนในยุทธการโครไมท์
(Operation Chromite) อันเป็นการตีตลบที่ท�ำให้ก�ำลังของเกาหลีเหนือต้องถอยกลับเพื่อ
ป้องกันมิให้ถูกตัดขาด ท�ำให้ฝ่ายสหประชาชาติที่ปูซานตีฝ่าออกมาแล้วเริ่มเป็นฝ่ายท�ำการรุก
กลับ

๘-๔๐ หน่วยระวังป้องกันมีความส�ำคัญต่อการตั้งรับเป็นอย่างยิ่ง กิจของหน่วยระวัง


ป้องกันได้แก่ ป้องกันช่องว่างระหว่างหน่วยตั้งรับ ป้องกันหน่วยจากการถูกจู่โจม ปะทะกับ
หน่วยน�ำของข้าศึก ท�ำลายหน่วยลาดตระเวนและระวังป้องกันของข้าศึก รายงานสถานการณ์ขา้ ศึก
เกี่ยวกับความแข็งแกร่งของก�ำลังและที่ตั้ง และช่วยพิสูจน์ทราบการปฏิบัติการแตกหักของข้าศึก
นอกจากนี้ยังสามารถท�ำการรบกวนหรือหน่วงเหนี่ยวการเคลื่อนที่ของข้าศึกเพื่อให้ฝ่ายเรามีเวลา
และพื้นที่เพื่อจัดรูปแบบการปฏิบัติการของข้าศึก และปกป้องเส้นการคมนาคม ที่บัญชาการ
หน่วยยิงสนับสนุน และกองหนุน
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 221

การปฏิบัติการจัดรูปแบบของกองพลน้อยที่ ๒ ซาอุดีอาระเบียเนชันนั่ลการ์ด
ที่คาฟจี
(2D Sang Brigade At Khafji)
การตั้งรับมักจะมีนัยส�ำคัญทางการเมืองแฝงอยู่ อย่างในคืนวันที่ ๒๙ ม.ค. ๑๙๙๑
กองพลยานเกราะที่ ๕ ของอิรักท�ำการรุกเพื่อหยั่งเชิงตามแนวพรมแดนซาอุหลายแห่ง หน่วย
ของกองพลน้อยที่ ๒ ของซาอุดีอาระเบียเนชันนั่ลการ์ด (ซึ่งมีที่ปรึกษาและหน่วยติดต่อของ
สหรัฐฯ ที่ท�ำหน้าที่ประสานการขอปืนเรือและการโจมตีทางอากาศ) เข้าปะทะที่เมืองคาฟจี
ฝ่ายอิรกั ยึดเมืองได้ หน่วยลาดตระเวน น.ย.สหรัฐฯ สองหน่วยถูกตัดขาด และก็เล็ดลอดออกมาได้
วันรุ่งขึ้น กองพลน้อยที่ ๒ SANG เข้าตีเพื่อยึดคาฟจีคืนแต่ไม่ส�ำเร็จ วันที่ ๓๑ ม.ค. ๑๙๙๑
กองพลน้อยเข้าตีอีกครั้งและสามารถยึดคาฟจีคืนได้ส�ำเร็จในวันที่ ๑ ก.พ. ๑๙๙๑
แม้การรบที่คาฟจีจะเป็นการปฏิบัติทางยุทธวิธีเล็ก ๆ แต่มันก็ท�ำให้ผู้บัญชาการยุทธ
บริเวณเกิดความมัน่ ใจว่า ก�ำลังของอิรกั ไม่มขี ดี ความสามารถในการปฏิบตั กิ ารทีม่ คี วามซับซ้อน
ได้ ซ�้ำยังเป็นจุดอ่อนต่อการโจมตีทางอากาศ เรื่องนี้ท�ำให้ฝ่ายพันธมิตรเกิดความเชื่อมั่นในการ
ปฏิบัติงานร่วมกันซึ่งเป็นสิ่งที่เป็นนัยส�ำคัญยิ่งทางยุทธศาสตร์

การปฏิบัติการด�ำรงสภาพในการตั้งรับ
๘-๔๑ ในการตัง้ รับการปฏิบตั กิ ารด�ำรงสภาพจะเกิดขึน้ ทัว่ ทัง้ พืน้ ทีป่ ฏิบตั กิ าร การปฏิบตั ิ
การเพื่อด�ำรงสภาพได้แก่ การสนับสนุนการช่วยรบ การระวังป้องกันฐานและพื้นที่ส่วนหลัง
การบ�ำรุงรักษาเส้นหลักการคมนาคม การควบคุมการเคลื่อนย้าย และการจัดการพื้นที่ การปฏิบัติ
เหล่านี้จะช่วยให้ผู้บังคับบัญชาสามารถด�ำรงเสรีในการปฏิบัติและสามารถท�ำการตั้งรับได้อย่าง
ต่อเนื่อง
๘-๔๒ การระวังป้องกันให้กับการปฏิบัติการด�ำรงสภาพเป็นสิ่งส�ำคัญที่ผู้บังคับบัญชา
ต้องพิจารณา โดยผู้บังคับบัญชาจะต้องจัดระเบียบหน่วยและภูมิประเทศเพื่อท�ำให้การปฏิบัติการ
ด�ำรงสภาพมีความปลอดภัย สามารถรักษาเสรีในการปฏิบัติอยู่ได้ ผู้บังคับบัญชาจัดกลุ่มกองก�ำลัง
ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการด�ำรงสภาพเข้าไว้ในรูปของฐาน และกลุ่มฐานเพื่อการป้องกัน
และการรักษาความปลอดภัย ฐานและกลุ่มฐานจัดไว้ให้สามารถป้องกันตนเองได้ ผู้บังคับบัญชา
ก�ำหนดก�ำลังตอบโต้ และก�ำลังทางยุทธวิธีเพื่อเพิ่มเติมขีดความสามารถของกลุ่มฐานเหล่านั้นใน
การป้องกันตนเอง (ดู รส. ๓-๙๐ ; รส. ๓-๑๐๐.๗)
222 บทที่ ๘

๘-๔๓ การปฏิบตั กิ ารแสดงก�ำลังรบ แสดงให้ถงึ ความท้าทายด้านการรักษาความปลอดภัย


ส�ำหรับการปฏิบัติการด�ำรงสภาพที่ต่างออกไปมากยิ่งขึ้น ในการปกป้องอ�ำนาจก�ำลังรบที่ก�ำลัง
สร้างสมขึ้น และหน่วยก�ำลังรบ สนับสนุนการรบ และสนับสนุนทางการช่วยรบ ที่ปฏิบัติงานอยู่
ในพืน้ ที่เดียวกัน ขณะที่มีการจัดตั้งพื้นทีย่ ึดอาศัยขั้นต้น หน่วยที่ท�ำหน้าที่ในการด�ำรงสภาพจะต้อง
ใช้มาตรการป้องกันตนเองทัง้ เชิงรับและเชิงรุกจนกว่าก�ำลังรบจะพร้อม ผูบ้ งั คับบัญชาต้องประเมิน
ความสามารถของข้าศึก ตัดสินใจว่าทีใ่ ดหรือเมือ่ ไหร่ทจี่ ะยอมรับความเสีย่ ง รวมถึงการก�ำหนดหน่วย
ในการป้องกันและด�ำรงสภาพก�ำลังรบ
ข้อพิจารณาส�ำหรับการปฏิบัติการตั้งรับที่ไม่เป็นแนว
๘-๔๔ ผู้บังคับบัญชาอาจท�ำการตั้งรับแบบไม่เป็นแนวในพื้นที่ปฏิบัติการที่ต่อเนื่องกัน
หรือไม่ตอ่ เนือ่ งกันก็ได้ ซึง่ ทัง้ สองกรณี ฝ่ายตัง้ รับจะต้องเน้นไปทีก่ ารท�ำลายข้าศึก ถึงแม้วา่ มันหมาย
ถึงการที่ก�ำลังฝ่ายเดียวกันจะสูญเสียการติดต่อกันกับบางหน่วย การตั้งรับแบบไม่เป็นแนวจะ
ประสบความส�ำ เร็ จ ได้ ผู ้ บั ง คั บ บั ญ ชาทุ ก ระดั บ จะต้ อ งเข้ า ใจเจตนารมณ์ ข องผู ้ บั ง คั บ บั ญ ชา
หน่วยเหนือและเห็นภาพการยุทธ์รว่ มกันในปัจจุบนั ไปในแบบเดียวกัน และท�ำการจัดสนามรบตาม
ที่ต้องการโดยเพ่งเล็งไปที่การปฏิบัติการแตกหักและการปฏิบัติการด�ำรงสภาพมากกว่าจัดพื้นที่
การรบทางลึก ระยะใกล้ และพื้นที่ส่วนหลัง โดยทั่วไปการตั้งรับแบบไม่ต่อเนื่องกัน มักจะเป็น
การตั้งแบบคล่องตัว อย่างไรก็ตาม หน่วยรองบางหน่วยอาจท�ำการตั้งรับแบบยึดพื้นที่เพื่อรักษา
ภูมิประเทศส�ำคัญหรือเพื่อบีบให้ข้าศึกเคลื่อนที่เข้าสู่พื้นที่โจมตี แม้ว่าการตั้งรับแบบคล่องตัวที่เริ่ม
จากการปฏิบัติการที่เป็นแนว อาจปรับเปลี่ยนไปเป็นการตั้งรับที่ไม่เป็นแนวก็ได้ ส�ำหรับการตั้งรับ
แบบยึดพืน้ ทีน่ นั้ ปกติมกั จะเป็นการปฏิบตั กิ ารทีเ่ ป็นแนวมากกว่าเนือ่ งจากเน้นความส�ำคัญทีเ่ ริม่ มา
จากภูมิประเทศตามลักษณะของการปฏิบัติ
๘-๔๕ การตัง้ รับแบบทีไ่ ม่เป็นแนวสาร จะให้ความส�ำคัญกับการลาดตระเวนและเฝ้าตรวจ
เพื่อด�ำรงการปะทะกับข้าศึก เพื่อให้ได้ข่าว และเพื่อให้ผู้บังคับบัญชาได้เห็นภาพการรบ ฝ่ายตั้งรับ
จะเน้นการปฏิบัติเพื่อเอาชนะข้าศึกในทางลึกมากกว่าการรักษาภูมิประเทศที่กว้างใหญ่ เนื่องจาก
ขนาดของพื้นที่ปฏิบัติการที่มักจะกว้างใหญ่ ก�ำลังที่ใช้ในการตั้งรับแบบไม่เป็นแนวต้องการ
การสนับสนุนด้านการติดต่อสื่อสารที่ดีและมีขีดความสามารถในการด�ำรงสภาพ ความไม่แน่นอน
และพลเรือนที่ไม่เกี่ยวข้องกับการรบท�ำให้ผู้บังคับบัญชาต้องใช้ดุลพินิจในการใช้การยิงอย่าง
ระมัดระวัง ทั้งการยิงเล็งตรงและการยิงเล็งจ�ำลอง
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 223

การปฏิบัติการตั้งรับ
๘-๔๖ ผู้บังคับบัญชาต้องประเมินสถานการณ์และเริ่มวางแผนก่อนจะตัดสินใจว่าจะ
ตั้งรับอย่างไร การก�ำหนดแนวความคิดในการปฏิบัติที่ง่าย ไม่ซับซ้อน และอ่อนตัวเพื่อรับมือกับ
การเข้าตีของข้าศึกได้ทุกที่เป็นปัจจัยส�ำคัญต่อความส�ำเร็จในการตั้งรับ การตั้งรับในระดับยุทธการ
จะใช้การตั้งรับทั้งสามแบบ ถ้าผู้บังคับบัญชาไม่ถูกจ�ำกัดให้ท�ำการรักษาพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งเป็นการ
เฉพาะก็ควรจะดึงข้าศึกให้ลึกเข้ามาในพื้นที่ปฏิบัติการของฝ่ายเราแล้วท�ำการโจมตีทางปีกหรือ
ด้านหลังของข้าศึก ถ้าสภาวะเกื้อกูลฝ่ายเราอาจจะใช้การเข้าตีท�ำลายการเข้าตีก็ได้
การวางแผนการปฏิบัติการรบด้วยวิธีรับ
๘-๔๗ ในการวางแผนตั้งรับ ผู้บังคับบัญชาระดับยุทธการจะต้องก�ำหนดจุดศูนย์ดุล
ทั้งของฝ่ายเราและข้าศึก จุดแตกหัก และวิธีการเข้าตีที่ข้าศึกน่าจะใช้ ผู้บังคับบัญชาจะคาดการณ์
ต�ำบลทีน่ า่ จะเป็นจุดแตกหักในการเข้าตีของข้าศึก ท�ำอย่างไรถึงจะเอาชนะการรบแตกหัก ณ จุดนัน้
ได้โดยทีฝ่ า่ ยเรายังคงด�ำรงความเป็นปึกแผ่นในการตัง้ รับอยูไ่ ด้ ผูบ้ งั คับบัญชาระดับยุทธการจะต้อง
แบ่งมอบทรัพยากร ก�ำหนดพืน้ ทีป่ ฏิบตั กิ ารให้กบั หน่วยรองในระดับยุทธวิธี ตัดสินใจเลือกเวลาและ
สถานที่ในการท�ำการตั้งรับที่มีความแข็งแกร่งทั้งของฝ่ายเราและฝ่ายข้าศึกให้สอดคล้องกัน
๘-๔๘ ผูบ้ งั คับบัญชาต้องพิจารณาปัจจัย METT-TC ในการวางแผนตัง้ รับ การเลือกทีม่ นั่
จะต้องบีบบังคับให้ข้าศึกต้องสูญเสียมากหากท�ำการเข้าตีหรือถ้าจะอ้อมผ่านก็ต้องใช้เวลามาก
วางแผนการปฏิบตั กิ ารข่าวสาร เพือ่ ครองความเหนือกว่าด้านข่าวสาร ช่วยให้ฝา่ ยเราปกปิดและลวง
ข้าศึกได้ง่าย ท�ำให้การประสานสอดคล้องของข้าศึกขาดประสิทธิภาพ นอกจากนี้จะต้องวางแผน
การตั้งรับและการปฏิบัติการรุกโต้ตอบในทางลึกของเวลา พื้นที่ และวัตถุประสงค์
ภารกิจ
๘-๔๙ ภารกิจของหน่วยได้จากแนวความคิดในการปฏิบตั ขิ องกองบัญชาการหน่วยเหนือ
ผู้บังคับบัญชาต้องท�ำความเข้าใจว่าการตั้งรับของตนมีความส�ำคัญต่อความส�ำเร็จของหน่วยเหนือ
อย่างไร ลักษณะตามธรรมชาติของพืน้ ทีป่ ฏิบตั กิ ารและภารกิจในขัน้ ต่อไปจะมีผลกระทบต่อภารกิจ
ที่ผู้บังคับบัญชามอบให้ต่อหน่วยรอง
ข้าศึก
๘-๕๐ ผู้บังคับบัญชาและฝ่ายอ�ำนายการจะประเมินข้าศึกในเรื่องขีดความสามารถใน
การรุก ความล่อแหลม และลักษณะการออกแบบการปฏิบัติการ ในระดับยุทธวิธี ผู้บังคับบัญชา
224 บทที่ ๘

จะประเมินความแข็งแกร่งของข้าศึก จุดอ่อน และเจตนารมณ์ ก�ำหนดหนทางปฏิบัติของข้าศึก


และท�ำประมาณสถานการณ์ให้สอดคล้องกับหนทางปฏิบตั ทิ อี่ นั ตรายทีส่ ดุ และทีเ่ ป็นไปได้มากทีส่ ดุ
ผู ้ บั ง คั บ บั ญ ชาและหน่ ว ยให้ ค วามส� ำ คั ญ แต่ ไ ม่ อ ่ อ นเปลี้ ย ไปตามขี ด ความสามารถของข้ า ศึ ก
ผู้บังคับบัญชาที่ท�ำการตั้งรับต้องสมมติตนเองและพื้นที่ปฏิบัติการของฝ่ายเราเองในมุมมองของ
ผูบ้ งั คับบัญชาข้าศึก แล้วคาดการณ์วา่ เขาจะพยายามอย่างไรในการยึดครองภูมปิ ระเทศหรือท�ำลาย
ก�ำลังฝ่ายเรา
๘-๕๑ ผู้บังคับบัญชาตั้งรับด�ำเนินการจัดเตรียมสนามรบด้านการข่าวอย่างถี่ถ้วนซึ่งเป็น
ส่วนหนึ่งของการมองภาพสนามรบ/การวาดภาพสนามรบ การจัดเตรียมสนามรบด้านการข่าวจะ
ช่วยให้ผู้บังคับบัญชาและฝ่ายอ�ำนวยการสามารถคาดการณ์ถึงวัตถุประสงค์หรือที่หมาย ตลอดจน
หนทางปฏิบัติ ซึ่งจะช่วยในการก�ำหนดว่าอะไรคือมาตรการควบคุมที่จะใช้ นอกจากนี้ฝ่ายวางแผน
จะต้องคาดการณ์ถึงการใช้หนทางปฏิบัติที่อาจไม่คาดคิดในการโจมตีต่อระบบบังคับบัญชาและ
ควบคุมและการปฏิบัติการด�ำรงสภาพของฝ่ายเราด้วย
๘-๕๒ ผู้บังคับบัญชาต้องใช้ทรัพยากรทุกอย่างที่มีอยู่เพื่อลดความเสียเปรียบในด้าน
ก�ำลังรบ พิสูจน์ทราบก�ำลังข้าศึก รวมอ�ำนาจก�ำลังรบต่อจุดอ่อนของข้าศึก ชัยชนะนั้นต้องการ
การก�ำหนดเป้าหมายหน่วย ทรัพยากร และระบบของข้าศึก ในทางลึกอย่างแม่นย�ำและทันเวลา
การหลอมรวมในเรื่องของข้อมูลข่าวสารแบบทันสถานการณ์ ระหว่างการบังคับบัญชาและ
การควบคุม การข่าวกรอง การเฝ้าตรวจ และการลาดตระเวน การยิงสนับสนุน ทหารช่าง
หน่วยบิน และหน่วยสนับสนุนการช่วยรบ จะช่วยให้ผู้บังคับบัญชาด� ำเนินการตั้งรับได้อย่าง
มีประสิทธิภาพ การตั้งรับที่ประสบความส�ำเร็จได้ต้องบีบบังคับให้ข้าศึกต้องใช้หนทางปฏิบัติ
ก่อนเวลาที่พวกเขาต้องการและสร้างโอกาสให้ฝ่ายเราเอาชนะข้าศึกได้
ภูมิประเทศ และลมฟ้าอากาศ
๘-๕๓ ฝ่ายตัง้ รับวิเคราะห์ภมู ปิ ระเทศเพือ่ ตกลงใจว่าทีใ่ ดทีพ่ วกเขาสามารถสังหารข้าศึก
ได้ดที สี่ ดุ การตัง้ รับในพืน้ ทีป่ ฏิบตั กิ ารทีก่ ว้างจะท�ำให้ผบู้ งั คับบัญชาทีท่ ำ� การตัง้ รับยอมรับความเสีย่ ง
และช่องว่างทีเ่ กิดขึน้ ขณะเดียวกันพืน้ ทีป่ ฏิบตั กิ ารทีแ่ คบอาจจ�ำกัดการด�ำเนินกลยุทธ์และขาดความ
อ่อนตัว พื้นที่ปฏิบัติการของหน่วยรองควรกินขอบเขตไปข้างหน้าเพียงพอให้ผู้บังคับหน่วยรองมี
เวลาในการประเมินขีดความสามารถและเจตนาของข้าศึก มองภาพการปฏิบตั กิ ารรบ และตกลงใจ
เลือกหนทางปฏิบัติ และท�ำการรบ ผู้บังคับบัญชาระดับยุทธการพิจารณาลักษณะภูมิศาสตร์และ
เลือกภูมปิ ระเทศทีเ่ หมาะสมทีส่ ดุ ในการตัง้ รับโดยอาศัยภารกิจเป็นพืน้ ฐาน สภาพพืน้ ทีท่ างภูมศิ าสตร์
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 225

ควรจะเป็นอุปสรรคต่อความคล่องแคล่วของหน่วยข้าศึกขนาดใหญ่และเกือ้ กูลต่อฝ่ายตัง้ รับ ถ้าข้าศึก


สามารถจะอ้อมผ่านพื้นที่ตั้งรับนั้นได้ง่ายพื้นที่นั้นจะลดความส�ำคัญลงเว้นเสียแต่ว่าฝ่ายตั้งรับ
ต้องการรักษาภูมิประเทศนั้นไว้ นอกจากนี้ผู้บังคับบัญชายังต้องค�ำนึงถึงเส้นทางคมนาคม ของ
ฝ่ายเราด้วย ลักษณะภูมิประเทศจะเป็นตัวก�ำหนดความสามารถในการใช้เส้นหลักการคมนาคม
และขนาดของหน่วยทีเ่ ส้นหลักการคมนาคมนัน้ จะสามารถสนับสนุนได้ ผูบ้ งั คับบัญชาระดับยุทธการ
จะแบ่งมอบทรัพยากรเพื่อปรับปรุงเส้นหลักการคมนาคมความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่ของ
ฝ่ายเรา และลดความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่ระดับยุทธการของข้าศึกลง
๘-๕๔ การลาดตระเวนด้วยตนเองของผู้บังคับบัญชาเป็นสิ่งส�ำคัญยิ่ง การลาดตระเวน
ของผู้บังคับบัญชาระดับยุทธวิธีจะเน้นไปที่การพิสูจน์ทราบพื้นที่รวมพลของข้าศึก ที่ตั้งทางการ
สนับสนุนการช่วยรบ หน่วยปืนใหญ่สนาม และพื้นที่ที่เกื้อกูลต่อการเข้าตี นอกจากนี้ยังจะต้อง
ก�ำหนดพื้นที่ ที่ท�ำให้ข้าศึกเกิดความได้เปรียบสูงสุดในการปฏิบัติการแตกหัก ลักษณะภูมิประเทศ
อาจเป็นตัวก�ำหนดรูปแบบของการตั้งรับ ผู้บังคับบัญชาระดับยุทธวิธีจะต้องหาที่มั่นที่ให้การก�ำบัง
และซ่อนพรางแก่หน่วย ต้องใช้ประโยชน์จากทุกแง่ทุกมุมของภูมิประเทศที่สามารถท�ำให้ความ
หนุนเนื่องของข้าศึกช้าลง หรือท�ำให้ข้าศึกด�ำเนินกลยุทธ์หรือรวมอ�ำนาจก�ำลังรบได้ยาก
๘-๕๕ ฝ่ายตัง้ รับจะต้องหาทางเข้าปะทะข้าศึก ณ ต�ำบลทีภ่ มู ปิ ระเทศท�ำให้ขา้ ศึกเสียเปรียบ
มากทีส่ ดุ ผูบ้ งั คับบัญชาหน่วยทีท่ ำ� การตัง้ รับใช้เครือ่ งกีดขวางทีส่ ร้างขึน้ เพือ่ เสริมเครือ่ งกีดขวางตาม
ธรรมชาติเพื่อ ตรึง ขัดขวาง บังคับทิศทาง หรือปิดกั้นการเคลื่อนที่ของข้าศึก และเพื่อป้องกันที่มั่น
และการด�ำเนินกลยุทธ์ของฝ่ายเรา ภูมปิ ระเทศบางแห่งอาจมีความส�ำคัญต่อการตัง้ รับซึง่ ถ้าสูญเสีย
ไปอาจมีผลต่อการรบแตกหักได้ ในกรณีเช่นนีผ้ บู้ งั คับบัญชาต้องวางแผนในการยึดรักษาภูมปิ ระเทศ
นั้นเอาไว้
๘-๕๖ ลมฟ้าอากาศ และทัศนวิสัยมีผลกระทบต่อการใช้ภูมิประเทศของฝ่ายตั้งรับด้วย
แผนของฝ่ายตั้งรับจะต้องรับมือกับผลกระทบจากสภาพอากาศและทัศนวิสัยที่เลวร้ายที่มีต่อ
ระบบอาวุธและเครือ่ งมือตรวจการณ์ไว้ดว้ ย แผนทีอ่ าจประสบความส�ำเร็จในสภาพอากาศปกติอาจ
ด้อยประสิทธิภาพในสภาพอากาศเลวร้าย แผนต่าง ๆ ที่แตกออกไปหรือแผนส�ำรอง ควรระบุข้อ
เปลี่ยนแปลงที่จ�ำเป็นต่อการตั้งรับในสภาพทัศนวิสัยจ�ำกัด ผู้บังคับบัญชาและฝ่ายอ�ำนวยการ
ต้องได้รับข่าวสารเกี่ยวกับสภาพอากาศในพื้นที่ปฏิบัติการเช่นเดียวกับสภาพอากาศโดยทั่วไปของ
ยุทธบริเวณ
226 บทที่ ๘

ก�ำลังและการสนับสนุนที่มีอยู่
๘-๕๗ ขณะที่ผู้บังคับบัญชาวาดภาพการปฏิบัติโดยรวมอยู่นั้น จะต้องพิจารณาขีดความ
สามารถของก�ำลังทีต่ นมีอยู่ การท�ำงานเป็นทีม สภาพการฝึก และประสบการณ์ของผูน้ ำ� ด้วยอ�ำนาจ
การยิง ความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่ การพิทักษ์ก�ำลังรบ สุขภาพทหาร ขวัญ และการฝึกล้วน
มีสว่ นส�ำคัญในการตัดสินใจว่าควรจะตัง้ รับอย่างไร ความแตกต่างระหว่างหน่วยในเรือ่ งการจัดและ
ยุทโธปกรณ์ ความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่ การฝึก และความเป็นผู้นำ� ท�ำให้หน่วยบางส่วน
เหมาะสมกับภารกิจแตกต่างกันออกไป ตัวอย่างเช่น ในการปฏิบัติการผสมระหว่างกองก�ำลังของ
ชาติต่าง ๆ การตั้งรับบางลักษณะอาจมีความจ�ำเป็นอันเนื่องมาจากความภูมิใจหรือผลประโยชน์
ของชาติ ฝ่ายตัง้ รับจะใช้ประโยชน์จากความเข้มแข็งสัมพัทธ์ในทางยุทธวิธแี ละขีดความสามารถ ซึง่
อ�ำนวยให้ฝ่ายตั้งรับมีความได้เปรียบเหนือฝ่ายเข้าตี สิ่งเหล่านี้อาจจะรวมถึงหน่วยเคลื่อนที่
ทางอากาศ ฮ.โจมตี ประสบการณ์การรบเวลากลางคืน อาวุธยิงระยะไกลที่มีความแม่นย�ำสูง
การข่าวกรอง และการบังคับบัญชาการรบ
เวลาที่มีอยู่
๘-๕๘ ปัจจัยส�ำคัญอีกประการหนึ่งในการตั้งรับคือ เวลาที่มีอยู่ส�ำหรับการเตรียมการ
การตั้งรับจะมีประสิทธิภาพมากขึ้นหากหน่วยตั้งรับมีเวลาในการวางแผนการปฏิบัติ ไม่ว่าจะเป็น
การปฏิบัติการแตกหัก การปฏิบัติการจัดรูปแบบ และการปฏิบัติการด�ำรงสภาพ อีกทั้งต้องมีเวลา
ในการด�ำเนินการลาดตระเวน น�ำก�ำลังเข้าประจ�ำและเสริมความมัน่ คงให้ทมี่ นั่ วางแผนการยิง วาง
เครื่องกีดขวาง ประสานการด�ำเนินกลยุทธ์เข้ากับการยิงและการช่วยรบ ตลอดจนการซักซ้อม
ผู้บังคับบัญชาทุกระดับต้องใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุดเท่าที่เวลาที่มีอยู่จะอ� ำนวยให้
และต้องก�ำหนดความเร่งด่วนในการสนับสนุนทีค่ วรจะให้กบั หน่วยทีไ่ ด้รบั กิจทีม่ คี วามส�ำคัญมากทีส่ ดุ
๘-๕๙ หากจ�ำเป็น หน่วยขนาดเล็กควรได้รับการฝึกให้สามารถท�ำการตั้งรับโดยมีการ
เตรียมการแต่น้อยได้ อย่างไรก็ตามการตั้งรับจะแข็งแรงได้จะต้องใช้เวลาในการจัดหน่วยและการ
เตรียมการ ผู้บังคับบัญชาอาจใช้หน่วยก�ำบังท�ำการรบหน่วงเวลา หรือใช้หน่วยทางพื้นดินหรือทาง
อากาศท�ำการเข้าตีทำ� ลายการเข้าตี เพือ่ ให้กำ� ลังส่วนใหญ่มเี วลาในการตัง้ รับ การขาดแคลนในเรือ่ ง
ของเวลาและความไม่แน่นอนเกี่ยวกับปัจจัยต่าง ๆ อย่างเช่น ท�ำเนียบก�ำลังรบ ความพยายามหลัก
และวัตถุประสงค์หรือทีห่ มายของข้าศึก อาจจะเป็นผลทีบ่ งั คับให้ ผูบ้ งั คับบัญชาจะต้องก�ำหนดกอง
หนุนขนาดใหญ่เอาไว้หรือยอมรับความเสี่ยงที่มากขึ้น มันอาจจะก�ำหนดแบบของการตั้งรับที่จะใช้
อีกด้วย
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 227

ข้อพิจารณาด้านพลเรือน
๘-๖๐ กฎหมายระหว่างประเทศและข้อพิจารณาทางด้านศีลธรรมท�ำให้ กกล.ทบ. ต้อง
ค�ำนึงถึงผลกระทบของการปฏิบัติการที่มีต่อประชาชนพลเรือนด้วย การตั้งรับที่กระท�ำ ณ แนว
พรมแดนระหว่างประเทศอาจบีบบังคับให้การตั้งรับมีความลึกน้อยกว่าที่ผู้บังคับบัญชาต้องการ
ปัจจัยทางด้านวัฒนธรรม เศรษฐกิจ และการเมืองอาจท�ำให้ผู้บังคับบัญชามีทางเลือกไม่มากนัก
โครงสร้างพืน้ ฐานด้านการคมนาคมทีม่ คี วามส�ำคัญทางเศรษฐกิจอาจท�ำให้หน่วยไม่สามารถท�ำการ
แบ่งแยกและท�ำลายการเคลือ่ นทีข่ องข้าศึกได้ หากจ�ำเป็นต้องมีการท�ำลายพืน้ ที่ ทีม่ คี วามส�ำคัญต่อ
พลเรือน ฝ่ายตัง้ รับต้องมัน่ ใจว่าผูน้ �ำพลเรือนและประชาชนเข้าใจถึงความจ�ำเป็นทีห่ น่วยต้องท�ำด้วย
๘-๖๑ การปฏิบตั กิ ารในพืน้ ทีป่ ฏิบตั กิ ารทีม่ พี ลเรือนอาศัยอยูม่ ากอาจท�ำให้หน่วยต้องแบ่ง
ก�ำลังส่วนหนึ่งไปใช้ในการปฏิบัติการสนับสนุน หน่วยอาจต้องใช้ทรัพยากรบางส่วนเพื่อใช้ในการ
อพยพประชาชนที่อาจได้รับอันตรายจากการรบ ผู้บังคับบัญชาต้องใช้มาตรการควบคุมในการยิง
สนับสนุนแบบจ�ำกัดเพือ่ สนับสนุนมาตรการประสานงานในการป้องกันสิง่ อ�ำนวยความสะดวกและ
พืน้ ทีข่ องฝ่ายพลเรือน ซึง่ ประกอบด้วย การใช้ กฎการใช้กำ� ลัง (ดู รส. ๓ - ๐๙) กกล.ทบ. ต้องค�ำนึง
ถึงการเคลื่อนย้ายของพลเรือนเมื่อมีการวางสนามทุ่นระเบิดเสมอ
การเตรียมการตั้งรับ
๘-๖๒ การเตรียมการในการตั้งรับควรกระท�ำแต่เนิ่นเท่าที่ท�ำได้และด�ำเนินไปอย่าง
ต่ อ เนื่ อ งตลอดห้ ว งการปฏิ บั ติ ก าร การวางแผนคู ่ ข นานจะช่ ว ยให้ ห น่ ว ยต่ า ง ๆ ทุ ก ระดั บ
หน่ ว ยบั ญ ชาการสามารถเตรี ย มการได้ พ ร้ อ ม ๆ กั น ขณะที่ ฝ ่ า ยอ�ำ นวยการวางแผนอยู ่ นั้ น
ผู้บังคับบัญชาจะท�ำการลาดตระเวนด้วยตนเอง การเห็นและการเดินตรวจพื้นที่ตั้งรับด้วยตนเอง
เป็นสิ่งส�ำคัญยิ่งที่ไม่มีอะไรทดแทนได้ กิจกรรมที่กระท�ำในการเตรียมการจะช่วยให้ผู้บังคับบัญชา
ทุกระดับปรับแผนให้ดีขึ้นพร้อม ๆ กันไป หน่วยทุกระดับกลั่นกรองแผนของตนในแบบคู่ขนาน
๘-๖๓ การซักซ้อมอย่างถีถ่ ว้ นจะช่วยให้การปฏิบตั ติ ามแผนทีว่ างไว้มปี ระสิทธิภาพยิง่ ขึน้
ในหน่วยระดับยุทธวิธี การซักซ้อมมักจะกระท�ำบนพืน้ ทีส่ งู ทีส่ ามารถมองเห็นครอบคลุมพืน้ ทีป่ ฏิบตั ิ
การที่ท�ำการรบแตกหักส่วนใหญ่ได้ อาจมีการใช้ภูมิประเทศจ�ำลองหรือแผนที่ประกอบ ในระดับ
ยุทธการอาจต้องใช้การจ�ำลองยุทธหรือการแก้ปัญหาที่บังคับการ กรณีตัวอย่าง ยุทธการส�ำคัญใน
อดีต ไม่วา่ จะเป็นยุทธการ Just Cause, ยุทธการ Desert Shield และยุทธการ Uphold Democ-
racy ล้วนมีการซักซ้อมก่อนปฏิบตั กิ ารจริง การฝึกร่วมมักจะเป็นการซักซ้อมในระดับยุทธการ การ
ซักซ้อมจะช่วยให้ผู้บังคับบัญชาและฝ่ายอ�ำนวยการของหน่วยรองได้มีโอกาสทบทวนว่าหน่วย
228 บทที่ ๘

จะต้องท�ำอะไรในเวลาใด ช่วยให้หน่วยมีความเข้าใจความต้องการของหน่วยอื่น ๆ และช่วยให้


การประสานสอดคล้องมีประสิทธิภาพยิง่ ขึน้ นอกจากนีก้ ารซักซ้อมยังช่วยให้หน่วยสามารถปรับปรุง
ความรับผิดชอบในการปฏิบัติและการเผชิญเหตุ ณ จุดวิกฤติในการปฏิบัติการได้ดียิ่งขึ้น
๘-๖๔ กิจกรรมที่ส�ำคัญในการเตรียมการ ได้แก่
- การด�ำเนินการซักซ้อมการปฏิบัติ
- การพัฒนาพื้นที่โจมตี
- การด�ำเนินการจัดรูปแบบการปฏิบตั กิ ารสารสนเทศ รวมถึงการปฏิบตั กิ ารลวง
ทางทหาร
- การใช้มาตรการพิทักษ์ก�ำลังรบ รวมถึงการสร้างความแข็งแกร่งให้กับก�ำลัง
ทางอากาศ
- ปฏิบัติการระวังป้องกัน
- ท�ำภารกิจการลาดตระเวนและเฝ้าตรวจเพื่อรวบรวมข่าวสารข้าศึกและพื้นที่
ปฏิบัติการ
- การเตรียมการของกองหนุน
- ก�ำหนดหน่วยตีโต้ตอบ
- จัดหน่วยส�ำหรับการเคลื่อนย้ายและการสนับสนุน
- วางก�ำลังในทางลึก
- ดัดแปลงภูมิประเทศตามที่ก�ำลังในการตั้งรับต้องการ
การปฏิบัติการตั้งรับ
๘-๖๕ ผู้บังคับบัญชาต้องพิจารณาปัจจัยหลาย ๆ ประการในการบัญชาการรบในการ
ปฏิบัติการรบด้วยวิธีรับหน่วยของ กกล.ทบ. ต้องปฏิบัติการทั่วทั้งความลึก ผู้บังคับบัญชาต้อง
พิจารณาว่าจะใช้หน่วยอย่างไรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดทั่วทั้งพื้นที่ปฏิบัติการ การตั้งรับทางลึก
อาจเป็นผลให้ข้าศึกบางส่วนเจาะเข้ามาได้ หรือหน่วยบางหน่วยของฝ่ายเราถูกโอบล้อม แต่
ผู้บังคับบัญชาต้องคาดการณ์ในการแก้ปัญหาในเรื่องเหล่านี้เอาไว้ หน่วยที่ท�ำหน้าที่ในการปฏิบัติ
การด�ำรงสภาพ ในพื้นที่ปฏิบัติการจะต้องได้รับการป้องกัน หากมีการใช้อาวุธที่มีอานุภาพ
ท�ำลายล้างสูง ผู้บังคับบัญชาต้องมีการเตรียมมาตรการตอบโต้อย่างมีประสิทธิภาพ และประการ
สุดท้าย ผู้บังคับบัญชาต้องมองภาพว่าจะท�ำการตีโต้ตอบอย่างไรเพื่อยุติการตั้งรับและเปลี่ยน
จากการตั้งรับเป็นการปฏิบัติการรุกต่อไป
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 229

การบังคับบัญชาการรบ
๘-๖๖ ผูบ้ งั คับบัญชาจะต้องวางตัวเองอยู่ ณ ต�ำบลและเวลาวิกฤติ ส�ำหรับการตัง้ รับอาจ
หมายถึงการเคลื่อนที่ไปกับหน่วยตีโต้ตอบหรืออยู่กับกองหนุนที่เข้าท�ำการรบ ผู้บังคับบัญชาควร
คาดการณ์และจัดให้มเี ครือ่ งมือควบคุมบังคับบัญชาในระหว่างทีต่ นก�ำลังเคลือ่ นทีเ่ พือ่ มิให้การบังคับ
บัญชาขาดช่วง
การปฏิบัติการทางลึก
๘-๖๗ ไม่วา่ จะเป็นการตัง้ รับแบบคล่องตัวหรือยึดพืน้ ที่ ผูบ้ งั คับบัญชาจะอ�ำนวยการยุทธ์
พร้อมกันทัว่ ทัง้ ความลึกเพือ่ ประกันความส�ำเร็จให้การปฏิบตั กิ ารแตกหัก การปฏิบตั กิ ารจัดรูปแบบ
พร้อมกันทั่วทั้งพื้นที่ปฏิบัติการจะจ�ำกัดหนทางปฏิบัติของข้าศึก ขัดขวางการประสานสอดคล้อง
และกระทบต่อการปฏิบัติของหน่วยเคลื่อนที่ติดตาม การลาดตระเวน เฝ้าตรวจ ระวังป้องกัน
ก�ำลังทางอากาศ และหน่วยปฏิบัติการพิเศษล้วนแต่มีบทบาทส�ำคัญในการตั้งรับ ในขณะที่ฝ่ายเข้า
ตีเคลื่อนที่เข้ามา ก�ำลังเหล่านี้จะคอยเฝ้าระวังการปฏิบัติและติดตามหน่วยที่เข้าท�ำการรบ ก�ำหนด
แนวทางเคลื่อนที่ที่จะใช้ ระบุภัยคุกคามที่อันตรายที่สุด เพื่อให้ก�ำลังส่วนใหญ่มีเวลาในการปฏิบัติ
การเจาะของข้าศึก
๘-๖๘ ผู้บังคับบัญชาใช้เครื่องมือทั้งปวงที่มีอยู่เพื่อสกัดกั้น๑ หรือท�ำลายการเจาะของ
ข้าศึก ในการตั้งรับแบบยึดพื้นที่ ผู้บังคับบัญชาปิดกั้น๒ และกวาดล้างการเจาะให้เร็วที่สุด ส่วนใน
การตั้งรับแบบคล่องตัว ผู้บังคับบัญชาอาจยินยอมให้ข้าศึกเจาะเข้ามาในพื้นที่ที่ก�ำหนดไว้เพื่อใช้
ก�ำลังโจมตีของฝ่ายเราเข้าท�ำลาย ผู้บังคับบัญชาอาจเปลี่ยนความพยายามหลักของฝ่ายเรา
เพื่อตอบโต้การปฏิบัติของข้าศึกหรือเพื่อสร้างสภาวการณ์ที่เกื้อกูลต่อการปฏิบัติการแตกหัก
กรณีเช่นนี้อาจต้องมีการปรับเปลี่ยนเส้นแบ่งเขต สั่งใช้กองหนุนพร้อมกับจัดตั้งกองหนุนใหม่
รวมถึงการปฏิบัติตามแผนที่แตกออกไป/ส�ำรองเป็นแผนเริ่มต้นด้วย


สกัดกัน้ (Contain) ๑. การกระท�ำเพือ่ หยุด, เกาะ, หรือโอบล้อมก�ำลังข้าศึกหรือเป็นการกระท�ำทีเ่ ป็นเหตุให้ขา้ ศึกต้องทุม่ เท
การปฏิบตั ทิ งั้ มวล ณ พืน้ ทีซ่ งึ่ ฝ่ายเราเป็นผูก้ ำ� หนดไว้ รวมทัง้ เป็นการปฏิบตั เิ พือ่ ป้องกันไม่ให้ขา้ ศึกถอนตัวเพือ่ น�ำก�ำลังไปใช้
ในพืน้ ทีอ่ นื่ ๒. เป็นกิจทางยุทธวิธที กี่ ระท�ำเพือ่ จ�ำกัดการเคลือ่ นทีข่ องข้าศึก น.๔๓๕

ปิดกัน้ (Block) ๑. ก�ำหนดให้หน่วยกระท�ำเพือ่ ขัดขวางไม่ให้ขา้ ศึกเข้าสูพ่ นื้ ทีท่ กี่ ำ� หนด หรือเพือ่ ป้องกันมิให้ขา้ ศึกปฏิบตั ใิ น
ทิศทางหรือแนวทางเคลือ่ นทีท่ กี่ ำ� หนดไว้ การปฏิบตั ดิ งั กล่าวอาจเป็นการปฏิบตั ใิ นห้วงเวลาใดโดยเฉพาะ หน่วยทีไ่ ด้รบั ภารกิจ
นีอ้ าจจะต้องรักษาภูมปิ ระเทศและยอมรับการโจมตีทไี่ ด้ใคร่ครวญไว้แล้ว ๒. เป็นประสิทธิผลของเครือ่ งกีดขวางซึง่ ผสมผสาน
กับแผนการยิงสนับสนุนเพือ่ ขัดขวางไม่ให้ฝา่ ยตรงข้ามเข้าตีตามแนวทางการเคลือ่ นทีท่ กี่ ำ� หนดไว้โดยเฉพาะ หรือเพือ่ ป้องกัน
มิให้ขา้ ศึกออกจากพืน้ ทีโ่ จมตีทกี่ ำ� หนด น.๔๓๕
230 บทที่ ๘

การปิดล้อมและการตีฝ่าวงล้อม
๘-๖๙ ในบางโอกาสหน่วยอาจถูกตัดขาดจากฝ่ายเดียวกัน หากเป็นเช่นนี้ ผู้บังคับหน่วย
อาวุโสในหน่วยที่ถูกตัดขาดจะท�ำหน้าที่เป็นผู้บังคับบัญชาก�ำลังที่ถูกตัดขาดและท�ำการประเมินหา
ทางท�ำการตั้งรับ ผู้บังคับบัญชาที่ท�ำหน้าที่นี้จะรวบรวมก�ำลังจัดหน่วยขึ้นมาใหม่ ท�ำการเสริม
ความมั่นคง และตัดสินใจว่าหน่วยเหนือที่อยู่ขึ้นไปต้องการให้หน่วยที่ถูกปิดล้อมนั้นตีฝ่าวงล้อม
ออกมาหรือตัง้ รับอยูก่ บั ที่ ถ้าหน่วยสามารถตีฝา่ วงล้อมออกมาได้และสอดคล้องกับเจตนารมณ์ของ
หน่วยเหนือก็จะต้องกระท�ำเสียก่อนที่ข้าศึกจะปิดกั้นเส้นทางถอย
๘-๗๐ ในการตีฝ่าวงล้อม หน่วยจะต้องก�ำหนดหรือจัดหน่วยเพื่อเปิดช่องเจาะในขณะที่
ก�ำลังในวงล้อมท�ำการตั้งรับต่อไป เมื่อเจาะช่องได้แล้ว ก�ำลังที่ตั้งรับจะผละจากการปะทะแล้ว
เคลื่อนที่ติดตามหน่วยเจาะเพื่อรวมกับก�ำลังฝ่ายเดียวกัน ถ้าหน่วยตีฝ่าวงล้อมออกมาไม่ได้จะต้อง
ท�ำการตัง้ รับต่อไปขณะทีผ่ บู้ งั คับบัญชาท�ำการประสานเพือ่ รอการบรรจบกับก�ำลังทีจ่ ะมาช่วยต่อไป
การป้องกันการปฏิบัติการด�ำรงสภาพ
๘-๗๑ การด�ำรงสภาพทีต่ อ่ เนือ่ งไม่หยุดชะงักจะช่วยให้หน่วยสามารถปฏิบตั กิ ารได้อย่าง
ต่อเนือ่ งและประกันถึงเสรีในการด�ำเนินกลยุทธ์ การคุกคามต่อการปฏิบตั กิ ารด�ำรงสภาพอาจท�ำให้
ฝ่ายเราต้องเปลี่ยนย้ายที่ตั้งหน่วยหรือสิ่งอ�ำนวยความสะดวกต่าง ๆ ก�ำลังตอบโต้มาจาก หน่วย
สนับสนุนการช่วยรบ และหน่วยสนับสนุนการส่งก�ำลังบ�ำรุง มีความรับผิดชอบในการตอบโต้
ภัยคุกคามที่มาจากหน่วยทางยุทธวิธีขนาดเล็ก ถ้าก�ำลังตอบโต้ไม่เพียงพอรับมือกับภัยคุกคาม
ผูบ้ งั คับบัญชาอาจใช้ก�ำลังรบทางยุทธวิธี เนือ่ งจากภัยคุกคามทีเ่ กิดขึน้ ต่อการปฏิบตั กิ ารด�ำรงสภาพ
สามารถบีบให้หน่วยต้องดึงอ�ำนาจก�ำลังรบมาจากการปฏิบัติการแตกหักได้ ดังนั้นผู้บังคับบัญชา
จะวางน�้ำหนักความต้องการอย่างระมัดระวังส�ำหรับการเปลี่ยนแปลงต่อผลที่ตามมาและตัดสินใจ
ว่าพื้นที่ใดจะยอมรับความเสี่ยงที่เกิดขึ้น
อาวุธที่มีอ�ำนาจท�ำลายสูง๑ (อทส.)
๘-๗๒ อาวุธทีม่ อี ำ� นาจท�ำลายสูง เมือ่ ปรากฏขึน้ จะเป็นภัยคุกคามทีเ่ ป็นอันตรายอย่างยิง่
ในยุทธบริเวณ นอกจากจะมีศักยภาพในการท�ำลายที่มั่นที่แข็งแรงที่สุดแล้วยังเป็นอุปสรรคต่อการ


อาวุธทีม่ อี ำ� นาจท�ำลายสูง อาวุธต่าง ๆ ทีม่ ขี ดี ความสามารถในการท�ำลายขัน้ ร้ายแรงและ/หรือถูกใช้ในลักษณะทีจ่ ะท�ำลาย
พลเมืองจ�ำนวนมากได้ อาวุธทีม่ อี ำ� นาจท�ำลายสูง อาจเป็นอาวุธนิวเคลียร์ เคมีชวี ะ และรังสี แต่ไม่หมายรวมถึงเครือ่ งมือใน
การขนส่งหรือขับเคลือ่ นอาวุธนัน้ ซึง่ เครือ่ งมือเหล่านีเ้ ป็นส่วนของอาวุธทีส่ ามารถแยกจากตัวอาวุธและแยกตัวเองออกเป็น
ส่วน ๆ ได้
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 231

ด�ำเนินกลยุทธ์อกี ด้วย หากสถานการณ์มแี นวโน้มว่าข้าศึกอาจจะใช้อาวุธทีม่ อี านุภาพท�ำลายล้างสูง


แล้วผูบ้ งั คับบัญชาจะต้องใช้มาตรการทุกอย่างทัง้ เชิงรุกและเชิงรับ โดยอาจจะโจมตีตอ่ ระบบควบคุม
บังคับบัญชา ระบบเครื่องส่ง หรือคลังเก็บของระบบอาวุธนั้น การป้องกันหน่วยอาจต้องใช้การ
กระจายก�ำลัง ใช้การป้องกันขีปนาวุธระดับยุทธบริเวณ ใช้ที่มั่นที่สามารถให้การก�ำบังที่อยู่รอดได้
และใช้มาตรการป้องกันเป็นบุคคล นอกจากนีผ้ บู้ งั คับบัญชายังต้องปรับการปฏิบตั ทิ งั้ ระดับยุทธการ
และยุทธวิธีให้สอดคล้องกับการลดอันตรายของมัน เช่น อาจท�ำการรบจากที่มั่นที่กระจายกันอยู่
และจะรวมก�ำลังกันต่อเมื่อจ�ำเป็นเพื่อรวมอ�ำนาจการยิงเท่านั้น
การตีโต้ตอบ
๘-๗๓ การตี โต้ ตอบ มี ความมุ ่ ง หมายเพื่ อ ชิ ง ความริ เ ริ่ ม กลั บ คื น มาจากฝ่ า ยข้ า ศึ ก
การเลือกเวลาเป็นสิง่ ทีส่ ำ� คัญอย่างยิง่ ส�ำหรับการตีโต้ตอบ หากตีโต้ตอบเร็วเกินไป การตีโต้ตอบนัน้
อาจจะสิ้นเปลืองทรัพยากรที่จ�ำเป็นต้องใช้ส�ำหรับเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดในเวลาต่อมา แต่ถ้าช้า
เกินไปก็อาจไม่ประสบความส�ำเร็จ
๘-๗๔ ผู้บังคับบัญชาต้องคาดการณ์ว่าสภาวะใดบ้างที่เกื้อกูลต่อการตีโต้ตอบและ
ต้องก�ำหนดความต้องการข่าวสารทีช่ ว่ ยในการตกลงใจว่าสภาวะดังกล่าวจะเกิดขึน้ เมือ่ ใด เพือ่ ท�ำให้
การตกลงใจดังกล่าวเป็นไปด้วยความกระจ่างชัด ผูบ้ งั คับบัญชาต้องการข้อมูลข่าวสารเกีย่ วกับก�ำลัง
ฝ่ายเราและฝ่ายข้าศึก การเคลื่อนย้ายและการวางก�ำลังที่ค�ำนวณคลาดเคลื่อนสามารถท�ำให้การ
ตีโต้ตอบไม่เป็นไปตามเวลาที่ก�ำหนด การรายงานข่าวสารที่ผิดพลาดหรือล่าช้าเกี่ยวกับฝ่ายเข้าตี
อาจท�ำให้ผบู้ งั คับบัญชาสัง่ ตีโต้ตอบเร็วหรือช้าเกินไป การฝึกและประสบการณ์ ผสมผสานด้วยการ
จัดการด้านสารสนเทศ ที่ดีจะช่วยให้ผู้บังคับบัญชาได้รับทราบข่าวสารจ�ำเป็นที่เกี่ยวข้องที่สามารถ
ช่วยในการตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง
การยุติการตั้งรับ
๘-๗๕ ฝ่ายเข้าตีจะถึง จุดผกผัน เนื่องจาก ความฝืดต่อกัน ในการด�ำเนินกลยุทธ์
ความสูญเสีย ความผิดพลาด ความอ่อนล้า ความสามารถในการตั้งรับของฝ่ายเรา และปัจจัยอื่น ๆ
ณ จุดผกผันนั้น ความริเริ่มจะกลับมาเป็นของฝ่ายตั้งรับ เมื่อนั้นผู้บังคับบัญชาก�ำหนดให้การ
ตีโต้ตอบเป็นการปฏิบัติการแตกหัก ท�ำลายก�ำลังข้าศึก และเปลี่ยนไปสู่การเป็นฝ่ายรุก
ผลกระทบของเทคโนโลยี
๘-๗๖ เทคโนโลยีที่ทันสมัยจะช่วยให้ผู้บังคับบัญชามีความอ่อนตัวในการตั้งรับ การ
รวบรวมข่าวสารทั้งจากระบบควบคุมบังคับบัญชา ระบบข่าวกรอง ลาดตระเวน เฝ้าตรวจ ขลต.
232 บทที่ ๘

ระบบการยิงสนับสนุน และระบบสนับสนุนการช่วยรบ บวกกับการใช้ดุลพินิจของตนจะช่วยให้


ผู้บังคับบัญชาเข้าใจห้วงสนามรบ และท�ำการรบได้อย่างมีประสิทธิภาพแม้หน่วยรองจะมีที่ตั้ง
กระจายกันออกไป ภาพการปฏิบัติการร่วมที่มีพื้นฐานมาจากการสนธิข่าวสารจะช่วยให้การ
ตัดสินใจของผูบ้ งั คับบัญชาดีขนึ้ และเร็วขึน้ กว่าเดิม ระยะยิงและความแม่นย�ำของอาวุธเล็งตรงและ
เล็งจ�ำลองทีเ่ พิม่ ขึน้ จะช่วยให้ กกล.ทบ. ท�ำความสูญเสียให้ขา้ ศึกและสร้างสภาวะทีเ่ กือ้ กูลได้กอ่ นที่
การรบระยะใกล้จะเกิดขึ้น ระบบการควบคุมบังคับบัญชา และ ขลต. ช่วยให้ผู้บังคับบัญชาท�ำการ
กระจายก�ำลังโดยไม่สูญเสียความสามารถในการรวมอ�ำนาจก�ำลังรบ ณ ต�ำบลและเวลาที่ต้องการ
ผลแตกหัก การกระจายก�ำลังจะเป็นความท้าทายที่สร้างปัญหาให้ฝ่ายเข้าตี ถ้าฝ่ายเข้าตีกระจาย
ก�ำลังก็จะเป็นจุดอ่อนต่อการรวมก�ำลังที่รวดเร็วกว่าและคล่องตัวกว่าของฝ่ายเรา ถ้าฝ่ายเข้าตีรวม
ก�ำลังต่อส่วนใดส่วนหนึ่งของฝ่ายเรา ก�ำลังฝ่ายเราส่วนที่เหลืออาจด�ำเนินกลยุทธ์ทางลึกเพื่อแยก
และท�ำลายข้าศึกได้ เทคโนโลยีที่ทันสมัยช่วยให้ฝ่ายเรามีเครื่องมือในการด�ำเนินการอ่อนตัวและ
ไม่หยุดนิ่งในการปฏิบัติการด้วยวิธีรับอย่างที่ไม่เคยเป็นมา ทหารที่ได้รับการฝึกเป็นอย่างดีและ
ผูบ้ งั คับบัญชาทีเ่ ด็ดขาดประยุกต์ใช้เครือ่ งมือเหล่านัน้ ในสถานการณ์ทไี่ ม่แน่นอนเพือ่ เอาชนะข้าศึก
และเปลี่ยนไปสู่การรุกเพื่อบรรลุผลสุดท้ายที่ต้องการ
บทที่ ๙
การปฏิบัติการเพื่อเสถียรภาพ

๙-๑ ผูบ้ ญ
ั ชาการรบใช้ กกล.ทบ. ตามมติของสหประชาชาติ ปฏิบตั กิ ารเพือ่ เสถียรภาพ
นอกราชอาณาจั ก รเพื่ อ ปกป้ อ งและส่ ง เสริ ม ผลประโยชน์ ข องชาติ กกล.ทบ. ได้ รั บ การฝึ ก
มีอาวุธยุทโธปกรณ์และการจัดเพื่อควบคุมดินแดน ประชากร และสถานการณ์ได้เป็นเวลานาน
ขีดความสามารถของ กกล.ทบ. ทั้งในเชิงกว้างและเชิงลึก จะช่วยให้ผู้บัญชาการรบมีทางเลือกที่
ยืดหยุ่นที่ส�ำคัญในการที่จะสามารถตอบสนองต่อความต้องการในยุทธบริเวณได้อย่างสอดคล้อง
๙-๒ การปฏิบัติการเพื่อเสถียรภาพ เพื่อปกป้องและส่งเสริมผลประโยชน์ของชาติโดย
การสร้างอิทธิพลต่อภัยคุกคามและสภาพแวดล้อมทั้งในแง่มิติด้านการเมือง และสารสนเทศ ซึ่งจะ
รวมถึงกิจกรรมในการพัฒนา การสร้างความร่วมมือในยามสันติและการบังคับใช้กำ� ลัง เมือ่ เกิดเหตุ
วิกฤต กกล.ทบ. จะบรรลุเป้าหมายในการปฏิบัติการเพื่อเสถียรภาพโดยการเข้าไปมีการรบปะทะ
และการตอบโต้ กิจกรรมทางทหารทีส่ นับสนุนการปฏิบตั กิ ารเพือ่ เสถียรภาพมักจะมีความหลากหลาย
ต่อเนื่อง และกินเวลายาวนาน ทั้งนี้ก็เพื่อส่งเสริมและด�ำรงความมีเสถียรภาพในระดับภูมิภาค
๙-๓ แม้ ว ่ า ภารกิ จ หลั ก ของ กกล.ทบ. คื อ การรบ แต่ กกล.ทบ. ก็ ถู ก ใช้ ไ ปใน
การปฏิบัติการ เพื่อเสถียรภาพหลายครั้งทั้งในประวัติศาสตร์และในปัจจุบัน แม้แต่ในสงคราม
ในยุทธบริเวณหลัก กกล.ทบ. ก็ยังต้องมีการปฏิบัติการเพื่อเสถียรภาพไม่ว่าจะเป็นในระหว่างที่มี
การรบหรือการรบสิ้นสุดลงแล้วก็ตาม การที่ไทยมียุทธศาสตร์ในการส่งเสริมเสถียรภาพในภูมิภาค
โดยการสนับสนุนให้เกิดความมัน่ คงและความมัง่ คัง่ แสดงว่า กกล.ทบ. จะต้องเกีย่ วข้องในการปฏิบตั ิ
การเพื่อเสถียรภาพในอนาคตต่อไป
การรบปะทะ และการตอบโต้
๙-๔ การมี ป ฏิ สั ม พั น ธ์ จ ะเกิ ด ขึ้ น ภายในบริ บ ทของยุ ท ธศาสตร์ ยุ ท ธบริ เ วณของ
ผู้บัญชาการรบ (ดูรูป ๙-๑) ผู้บัญชาการรบใช้ก�ำลังทหารเพื่อเสริมหรือเพิ่มเติมให้กับเครื่องมือของ
พลังอ�ำนาจของชาติดา้ นอืน่ ๆ แผนการรบปะทะในยุทธบริเวณ จะเป็นกรอบทีผ่ บู้ ญ ั ชาการรบใช้ใน
การมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานในภูมิภาคในการร่วมมือด้านกิจกรรมทางทหารและการพัฒนา
โดยวัตถุประสงค์ของกิจกรรมตามแผนการรบปะทะในยุทธบริเวณ จะช่วยบรรเทาเหตุวกิ ฤติกอ่ นที่
สถานการณ์จะเลวร้ายลงไปจนถึงขั้นที่ต้องใช้การบีบบังคับหรือแทรกแซงด้วยก�ำลังทหาร
234 บทที่ ๙

รูปที่ ๙-๑ บทบาทของกองทัพบกในการรบปะทะในยุทธบริเวณ

การด�ำเนินการทางทหารในยามปกติ
๙-๕ ผูบ้ ญ
ั ชาการรบสร้างสภาวะทีพ่ งึ ประสงค์ในพืน้ ทีร่ บั ผิดชอบโดยการใช้ การด�ำเนิน
การทางทหารในยามปกติ โดยหมายถึง กิจกรรมทางทหารที่มีชาติอื่น ๆ เข้ามามีส่วนร่วมเพื่อสร้าง
สภาวะด้านความมั่นคงในยามสันติ กิจกรรมดังกล่าวจะรวมถึงโครงการและการฝึกที่ทหารไทย
กระท�ำร่วมกับชาติอื่น ๆ เพื่อจัดรูปแบบสภาพแวดล้อมระหว่างประเทศ และปรับปรุงความเข้าใจ
ซึง่ กันและกันกับระหว่างประเทศอืน่ ๆ และปรับปรุงความสามารถในการปฏิบตั งิ านร่วมให้ชาติภาคี
สนธิสัญญา หรือชาติที่มีศักยภาพในการเป็นพันธมิตรสามารถปฏิบัติการร่วมกับกองทัพไทยได้
กิจกรรมในการด�ำเนินการทางทหารในยามปกติ จะต้องก�ำหนดให้สามารถสนับสนุนวัตถุประสงค์
ของผูบ้ ญั ชาการรบตามทีก่ �ำหนดไว้ใน แผนการรบในยุทธบริเวณ ผูบ้ ญ ั ชาการรบประสานสอดคล้อง
แผนปฏิสัมพันธ์ในยุทธบริเวณของฝ่ายเราเข้ากับแผนของประเทศ และแผนการป้องกันภายใน
รวมทัง้ ยุทธศาสตร์การพัฒนาเพือ่ สนับสนุนวัตถุประสงค์ของยุทธบริเวณ กกล.ทบ. จะมีสว่ นช่วยใน
การปฏิบตั ติ ามแผนเหล่านัน้ ปกติมกั จะร่วมกับก�ำลังทหารของประเทศเจ้าบ้านและด้วยการประสาน
งานกับองค์กรพลเรือน โดยมีวัตถุประสงค์ในการใช้ก�ำลังเพื่อ การด�ำเนินการทางทหารในยามปกติ
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 235

คือ
- เปิดการติดต่อสื่อสาร (Open Communication)
- เพิ่มความสามารถในการปฏิบัติการร่วมกัน
- เสริมสร้างความเป็นทหารอาชีพในภูมิภาค
- เป็นตัวอย่างในการแสดงบทบาทของทหารในการเสริมสร้างประชาธิปไตย
การติดต่อทางทหารกับทหารแบบต่างตอบแทนเป็นวิธกี ารหลักของ การด�ำเนินการ
ทางทหารในยามปกติ ตัวอย่างได้แก่ การฝึกผสมนานาชาติ การแลกเปลี่ยนการฝึกเป็นบุคคล
โครงการและการฝึกทางการแพทย์และทางการช่าง และการแลกเปลีย่ นข่าวสารของฝ่ายอ�ำนวยการ
แนวความคิดแบบต่างตอบแทนจะรวมถึงก�ำลังทหารของชาติต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในทุกด้านของ
ผลประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นไทย ประเทศเจ้าบ้าน และชาติอื่น ๆ ที่เข้ามามีส่วนร่วม
๙-๖ แม้ว่า การด�ำเนินการทางทหารในยามปกติ จะมีลักษณะเป็นการพัฒนา แต่
กิจกรรมในการด�ำเนินการทางทหารในยามปกติ จะช่วยในการเสริมสร้างเสถียรภาพในภูมิภาคได้
การด�ำเนินการทางทหารในยามปกติได้มี การวางแผน การเตรียมการ การปฏิบตั ิ และการประเมินผล
เช่นเดียวกับการปฏิบตั กิ ารเพือ่ เสถียรภาพอืน่ ๆ อย่างไรก็ตาม การด�ำเนินการทางทหารในยามปกติ
จะใช้การปฏิบตั ใิ นเชิงความร่วมมือเพือ่ ให้บรรลุวตั ถุประสงค์ของผูบ้ ญ
ั ชาการรบเท่านัน้ ความส�ำเร็จ
ในการด�ำเนินการทางทหารในยามปกติ จะช่วยให้ก� ำลังทหารของไทยหลีกเลี่ยงการใช้วิธีการ
ด�ำเนินการปฏิบัติการเพื่อเสถียรภาพในเชิงการบังคับด้วยก�ำลัง
การตอบโต้
๙-๗ ผูบ้ ญ
ั ชาการรบตอบสนองต่อค�ำสัง่ ของผูบ้ ญ ั ชาการรบร่วม เมือ่ มีเหตุวกิ ฤติเกิดขึน้
ถ้าการแก้ไขวิกฤติการณ์เกิดขึน้ จากภัยคุกคามภายนอกประเทศไปยังคูส่ ญ ั ญาในเชิงภูมภิ าคของไทย
ผู้บัญชาการรบจะใช้ก�ำลังเพื่อป้องปรามการรุกราน และส่งสัญญาณว่าไทยจะปฏิบัติตามพันธกรณี
การส่ง กกล.ทบ. ไทยไปท�ำการฝึกในคูเวตก็เป็นตัวอย่างหนึ่งของการตอบโต้ บางกรณีเสถียรภาพ
ในภูมิภาคอาจท�ำให้ไทยต้องคง กกล.ทบ. ไว้เพื่อประกันว่าคู่กรณีจะปฏิบัติตามข้อตกลงที่ได้ให้ไว้
หลังความขัดแย้งยุติลง การปฏิบัติการเพื่อเสถียรภาพที่ตอบสนองต่อเหตุวิกฤตเป็นแผนเผชิญเหตุ
ขนาดเล็กซึง่ อาจจะรวมทัง้ การพัฒนาและการบังคับด้วยก�ำลัง การปฏิบตั กิ ารพัฒนาจะช่วยส่งเสริม
เจตจ�ำนงและความสามารถของรัฐบาลประเทศเจ้าบ้านในการเอาใจใส่ประชาชนของตนเองมากขึน้
การปฏิบัติการบังคับใช้ด้วยก�ำลังต้องใช้ก�ำลังที่ออกค�ำสั่งไว้อย่างระมัดระวัง หรือภัยคุกคามของ
ก�ำลังรบที่จะเปลี่ยนสภาพแวดล้อมด้านความมั่นคง
236 บทที่ ๙

การตอบโต้ อย่างรวดเร็วและการป้องกัน
๙-๘ องค์ประกอบส�ำคัญของการปฏิบัติการเพื่อเสถียรภาพที่ประสบความส�ำเร็จคือ
ความสามารถในการตอบโต้อย่างรวดเร็วตั้งแต่ช่วงต้นหรือระหว่างเกิดเหตุวิกฤติ การส่งก� ำลังที่มี
ขนาดเพียงพอเข้าไปในพืน้ ทีใ่ นทันทีตงั้ แต่เหตุวกิ ฤติเกิดขึน้ อาจท�ำให้ไม่ตอ้ งส่งหน่วยขนาดใหญ่ตาม
เข้าไปอีก การแทรกแซงทีไ่ ด้ผลยังสามารถปฏิเสธมิให้ฝา่ ยตรงข้ามมีเวลาสร้างเงือ่ นไขให้เป็นไปตาม
ทีพ่ วกเขาต้องการหรือบรรลุถงึ วัตถุประสงค์ในการท�ำลายเสถียรภาพอีกด้วย การส่งก�ำลังทีไ่ ว้วางใจ
ได้เข้าปฏิบัติการอย่างทันท่วงทีคือ ก้าวแรกที่สามารถจะยับยั้งหรือหมดโอกาสในการคุกคามได้
อย่างไรก็ตามการส่งก�ำลังเข้าไปเพียงอย่างเดียวยังไม่อาจประกันความส�ำเร็จได้ การยับยั้งการ
คุกคามทีไ่ ด้ผลจะต้องท�ำให้ฝา่ ยตรงข้ามเชือ่ ว่าก�ำลังทีส่ ง่ เข้าไปสามารถจะท�ำการปฏิบตั กิ ารแตกหัก
ได้ ไม่ว่าจะเป็นการรุกหรือตั้งรับ
การคงก�ำลังและการป้องปราม
๙-๙ การคงก�ำลัง กกล.ทบ. ไว้จะช่วยส่งเสริมสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยมากยิ่งขึ้นใน
เรื่องเกี่ยวกับโครงการทางด้านการเมืองและเศรษฐกิจที่ก� ำหนดขึ้นเพื่อลดสาเหตุของความไม่มี
เสถียรภาพที่สามารถเติบโตขึ้น การคงก�ำลังอาจเป็นไปในแบบของการตั้งฐานทัพในพื้นที่เขตหน้า
หรือวางก�ำลัง หรือก�ำหนดหน่วยรับผิดชอบไว้ล่วงหน้า กกล.ทบ. สามารถจะจัดตั้งและคงก�ำลัง
ได้นานเท่าที่ผู้บัญชาการรบร่วมสั่งการ การคงก�ำลังของกกล.ทบ. ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของ
แผนการรบปะทะในยุทธบริเวณ มักจะช่วยป้องกันมิให้สถานการณ์ทคี่ อ่ นข้างไร้เสถียรภาพยกระดับ
ลุกลามไปเป็นสงครามได้
๙-๑๐ กกล.ทบ. เป็นก�ำลังส�ำคัญในการป้องปรามในยุทธบริเวณ การคงก�ำลังภาคพืน้ ดิน
ที่เข้มแข็งและขีดความสามารถของกองก�ำลังภาคพื้นดินคือ สัญญาณให้พันธมิตรและฝ่ายตรงข้าม
เห็นว่าไทยพร้อมปฏิบัติตามพันธกรณี อย่างไรก็ตามหากการป้องปรามไม่ได้ผล ก�ำลังที่คงอยู่ใน
พื้นที่นั้นจะต้องฉับไวเพียงพอที่จะเปลี่ยนสถานะไปเป็นการรบได้ทุกเวลา ถ้าเป็นไปได้กำ� ลัง
ป้องปรามต้องสามารถปฏิบัติการแตกหักได้ในทันที แต่ถ้าอ�ำนาจก�ำลังรบยังไม่เพียงพอก็จะต้อง
ปฏิบัติการจัดรูปแบบการรบระหว่างที่ก�ำลังเพิ่มเติมถูกส่งเข้ามา
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 237

กรณีตัวอย่าง การคงก�ำลังในเกาหลี-การป้องปรามอย่างต่อเนื่อง
(Ongoing Deterrence- Forward Presence In Korea)
เขตปลอดทหารที่แบ่งเกาหลีใต้และเกาหลีเหนือออกจากกันยังคงเป็นพื้นที่ ที่มีกำ� ลัง
ทหารวางอยูห่ นาแน่นทีส่ ดุ ในโลก กกล.ทบ. สหรัฐฯ ในฐานะทีเ่ ป็นส่วนหนึง่ ของ กกล.ร่วม/ผสม
ยังคงรักษาเสถียรภาพในภูมิภาคไว้ได้ด้วยการคงก�ำลังไว้ในพื้นที่ ความพร้อมรบของทหาร
เกาหลีใต้และสหรัฐฯ ช่วยป้องปรามมิให้เกาหลีเหนือบุกโจมตีเกาหลีใต้เอาไว้ได้ กกล.ทบ. จะ
รวมถึงกองบัญชาการกองทัพสนาม ก�ำลังทั้งประจ�ำการและกองหนุน กองพลทหารราบหนึ่ง
กองพล กองพลน้อยบินสองกองพลน้อย กองพัน ปภอ. (เพทริออท) หน่วย สสก. และ สสช.
อื่น ๆ ทหารสหรัฐฯ และเกาหลีใต้จะร่วมท� ำการฝึกภายใต้รหัส Ulchi Focus Lens
เพื่อซักซ้อมการปฏิบัติการตามแผนการทัพที่วางไว้ การฝึกท�ำให้ทั้งผู้บัญชาการหน่วย และ
ฝ่ายอ�ำนวยการมีโอกาสในการฝึกการสนธิก�ำลังระหว่างก�ำลังที่คงอยู่ในพื้นที่กับก�ำลังที่ถูก
ส่งเข้ามาเพิ่มเติม กกล.ทบ. สหรัฐฯ ที่ประจ�ำการอยู่ในเกาหลีใต้คือตัวอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็น
เจตนาในการป้องปรามของสหรัฐฯ

ลักษณะของการปฏิบัติการเพื่อเสถียรภาพ
๙-๑๑ กกล.ทบ. ด�ำเนินการปฏิบตั กิ ารเพือ่ เสถียรภาพภายใต้สภาพแวดล้อมทีเ่ ปลีย่ นแปลง
ไปตลอดเวลา ปกติการปฏิบัติการเพื่อเสถียรภาพมักเป็นการปฏิบัติการที่ไม่เป็นแนว และมีพื้นที่
ปฏิบตั กิ ารทีไ่ ม่ตอ่ เนือ่ งกัน การปฏิบตั กิ ารดังกล่าวต้องใช้กำ� ลังพล และเวลาอย่างมาก ผูบ้ งั คับบัญชา
จึงต้องวิเคราะห์แต่ละภารกิจและปรับโครงร่างการปฏิบัติการ องค์ประกอบในการออกแบบ
ทางการยุทธ์ ปัจจัย METT-TC ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ ส่วนใหญ่มักอาศัยแบบเส้นปฏิบัติการ
เชิงตรรกะเพื่อมองภาพการปฏิบัติการและอธิบายในรูปแบบของการปฏิบัติการแตกหัก การจัด
รูปแบบเพื่อสร้างสภาวการณ์ หรือการปฏิบัติการด�ำรงสภาพ อย่างไรก็ตาม การจะก�ำหนดว่าจะใช้
การปฏิบัติการแบบใดที่จ�ำเป็นต่อการบรรลุวัตถุประสงค์ทางการเมืองมักจะเป็นความท้าทายที่
มากกว่าในสถานการณ์ที่ต้องการในการปฏิบัติการ การรบไม่ว่าจะเป็นการรุกหรือตั้งรับ ดังนั้น
ผลสุดท้ายอาจจะเป็นความยุ่งยากได้
๙-๑๒ ในระหว่างการปฏิบัติการทุกครั้ง ผู้บังคับบัญชาจะต้องประเมินสถานการณ์ในแง่
ของความเกีย่ วข้องซึง่ กันและกัน และการประยุกต์ใช้ ปัจจัย METT-TC อย่างไรก็ตามในการปฏิบตั ิ
การเพื่อเสถียรภาพ ผู้บังคับบัญชามักต้องประยุกต์ใช้ ปัจจัย METT-TC แตกต่างไปจากที่พวกเขา
กระท�ำในการปฏิบตั กิ ารรุกหรือการตัง้ รับ ตัวอย่างหนึง่ คือ “ข้าศึก” อาจเป็นภัยคุกคามทีค่ ลุมเครือ
238 บทที่ ๙

หรืออาจจะเป็นฝ่ายที่มีท่าทีไม่เป็นมิตร แม้แต่ภารกิจก็อาจเปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากเสถียรภาพที่


อาจจะดีขึ้นหรือเลวร้ายลง บางครั้งภารกิจอาจจะเป็นแค่เพียงการชี้แจงให้กับก�ำลังทหารของ
ประเทศเจ้าบ้านในการแลกเปลี่ยนระหว่างทหารกับทหารด้วยกัน หรืออาจจะถึงขั้นต้องท�ำการรบ
เพื่อให้บรรลุภารกิจในการบังคับให้เกิดสันติภาพ ความมีเสถียรภาพนั้นอาจถูกคุกคามด้วยเหตุผล
บางประการ บางครั้งการจะก�ำหนดหรือแยกแยะว่าอะไรหรือใครเป็นศัตรูก็ท�ำได้ยาก ดังนั้นความ
ซับซ้อนของภารกิจอาจเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วขึ้นอยู่กับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง
๙-๑๓ ในการวิเคราะห์ภูมิประเทศ ก�ำลังฝ่ายเรา และการสนับสนุนที่มีอยู่ในการปฏิบัติ
การเพื่อเสถียรภาพนั้น ปัจจัยที่แตกต่างกันอาจมีความส�ำคัญ ภูมิประเทศส�ำคัญอาจมิใช่ลักษณะ
ภูมิประเทศแต่อาจเป็นสถานที่ ที่มีความส�ำคัญทางการเมืองหรือสังคม ก�ำลังที่ผู้บังคับบัญชาได้รับ
อาจจะมิได้มีเพียงทหาร แต่อาจจะเป็นก�ำลังไม่ตามแบบ อย่างเช่น ก�ำลังต�ำรวจของประเทศ
เจ้าบ้าน เจ้าหน้าที่ล่าม แรงงานท้องถิ่น ผสมผสานกัน ระดับของการสนธิกำ� ลังและความเป็น
ปึกแผ่นของก�ำลังที่หลากหลายเหล่านี้ย่อมเป็นข้อพิจารณาที่ส�ำคัญของผู้บังคับบัญชาส�ำหรับ
ความส�ำเร็จของภารกิจ
๙-๑๔ ปกติข้อพิจารณาเรื่องเวลาก็เป็นปัจจัยแตกต่างที่ส�ำคัญในการปฏิบัติการเพื่อ
เสถียรภาพ ความมุง่ หมายของการปฏิบตั กิ ารอาจไม่สามารถบรรลุได้ภายในเวลาอันสัน้ ในทางตรง
ข้ามอาจใช้เวลายาวนานและต้องใช้ความมุ่งมั่นพยายามในการแก้ปัญหา บางครั้งอาจกินเวลานาน
หลายปี ในทางกลับกันการปฏิบัติการในแต่ละวันอาจต้องมีการตอบโต้อย่างรวดเร็วต่อเงื่อนไขที่
เปลีย่ นแปลงไป ข้อพิจารณาด้านพลเรือนก็มคี วามส�ำคัญไม่ยงิ่ หย่อนไปกว่ากันในการปฏิบตั กิ ารเพือ่
เสถียรภาพ พลเรือน รัฐบาลประเทศเจ้าบ้าน องค์กรที่ไม่ใช่หน่วยงานรัฐบาล (NGO) และองค์กร
ระหว่างประเทศ ล้วนแต่มีผลต่อความส�ำเร็จของการปฏิบัติการเพื่อเสถียรภาพทั้งสิ้น
๙-๑๕ การปฏิบตั กิ ารเพือ่ เสถียรภาพมีความยุง่ ยากซับซ้อนแฝงอยู่ และจ�ำต้องอาศัยความ
สามารถของหน่วยขนาดเล็ก ผู้บังคับบัญชาหน่วยขนาดเล็กที่ต้องการ ต้องมีทักษะในเรื่องต่าง ๆ
เช่น รู้จักวัฒนธรรมของท้องถิ่น รู้จักเทคนิคการเจรจา รู้จักภาษาท้องถิ่น ขณะที่ต้องด� ำรง
ความสามารถในการสู้รบไว้ พวกเขาต้องคุมสติไว้อย่างเยือกเย็นและตัดสินใจได้เป็นอย่างดีแม้จะ
ตกอยู่ในภาวะที่ถูกกดดัน ทหารและหน่วยทุกระดับจะต้องมีความสามารถในการปรับตัว และมี
ความยืดหยุ่น การปฏิบัติการเพื่อเสถียรภาพต้องการผู้บังคับบัญชาที่มีความว่องไวทั้งด้านร่างกาย
และจิตใจ สามารถปรับตัวได้ จากภารกิจทีไ่ ม่ใช่การรบกลับสูก่ ารปฏิบตั กิ ารรบและกลับกันอีกครัง้ ได้
๙-๑๖ การปฏิบัติการเพื่อเสถียรภาพจะช่วยน� ำกฎหมาย และความสงบเรียบร้อย
กลับคืนมาสู่พื้นที่ ที่ไร้เสถียรภาพ อย่างไรก็ตามการคงอยู่ของ กกล.ทบ. เพียงอย่างเดียวยังไม่อาจ
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 239

ประกันถึงความมีเสถียรภาพได้ บางครั้งหน่วยอาจต้องท� ำการรุกและการตั้งรับหากจ� ำเป็น


เพื่อเอาชนะข้าศึกที่ขัดขวางการปฏิบัติการเพื่อเสถียรภาพดังกล่าว ดังนั้นความสามารถของ
กกล.ทบ. ในการท�ำให้เกิดเสถียรภาพต่อวิกฤติการณ์คอื ความสามารถในการท�ำการเข้าตีและตัง้ รับ
เมื่อถึงคราวจ�ำเป็นด้วย
แบบของการปฏิบัติการเพื่อเสถียรภาพ
๙-๑๗ กกล.ทบ. อาจปฏิบัติการเพื่อเสถียรภาพก่อนเกิดภาวะ การเป็นปฏิปักษ์ ในภาวะ
วิกฤติการณ์ระหว่างการเป็นปฏิปักษ์ และหลังการเป็นปฏิปักษ์ ในห้วงก่อนเกิดการเป็นปฏิปักษ์
การปฏิบัติการเพื่อเสถียรภาพจะเน้นไปที่การป้องปรามหรือช่วงชิงปฏิบัติก่อนที่ความขัดแย้งจะ
เกิดขึ้น ในภาวะวิกฤติการณ์ การปฏิบัติการเพื่อเสถียรภาพกระท�ำเพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งที่น่า
จะเกิดขึ้น หรือเพื่อมิให้ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นนั้นลุกลามใหญ่โต ในระหว่างการเป็นปฏิปักษ์ การ
ปฏิบัติการเพื่อเสถียรภาพจะช่วยป้องกันมิให้ความขัดแย้งด้วยอาวุธลุกลามแผ่ขยาย หรือเข้า
ช่วยเหลือฝ่ายทีเ่ ป็นมิตร ในภาวะหลังการเป็นปฏิปกั ษ์ การปฏิบตั กิ ารเพือ่ เสถียรภาพจะช่วยให้เกิด
สภาวะแวดล้อมที่มั่นคงปลอดภัย ท�ำให้รัฐบาลพลเรือนสามารถปฏิบัติงานด้านการควบคุมได้ใหม่
ปกติ กกล.ทบ. ท�ำการปฏิบัติการเพื่อเสถียรภาพ ๙ แบบ ด้วยกัน

แบบของการปฏิบัติการเพื่อเสถียรภาพ
๑. การปฏิบัติการเพื่อสันติภาพ
๒. การป้องกันภายในให้กับมิตรประเทศ
๓. การช่วยเหลือด้านความมั่นคง
๔. การช่วยเหลือเพื่อมนุษยธรรม และการช่วยเหลือประชาชน
๕. การสนับสนุนการปฏิบัติการต่อต้านยาเสพติด
๖. การต่อสู้กับการก่อการร้าย
๗. การปฏิบัติการอพยพประชาชนที่ไม่เกี่ยวกับการสู้รบ
๘. การควบคุมอาวุธ (ในกรอบการปฏิบัติของ ทบ.)
๙. การแสดงก�ำลัง

การปฏิบัติการเพื่อสันติภาพ
๙-๑๘ การปฏิบัติการเพื่อสันติภาพ จะครอบคลุมทั้งการปฏิบัติการรักษาสันติภาพ และ
การปฏิบัติการบังคับให้เกิดสันติภาพ เพื่อสนับสนุนมาตรการทางการทูตในการสร้างและด�ำรง
240 บทที่ ๙

สันติภาพเอาไว้ (ดูคู่มือหลักนิยมการยุทธ์ร่วม รส. ๓-๐๗.๓) กกล.ทบ. ปฏิบัติการเพื่อสันติภาพ


เพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์และนโยบาย และการด�ำเนินกิจกรรมทางการทูต ปกติแล้วไทยจะเข้ามา
มี ส ่ ว นร่ ว มในการปฏิ บั ติ ก ารภายใต้ ก รอบของการเป็ น ผู ้ ใ ห้ ก ารสนั บ สนุ น ของสหประชาชาติ
หรือองค์กรระหว่างประเทศอื่น ๆ
๙-๑๙ ผู้บังคับบัญชาและฝ่ายอ�ำนวยการต้องประเมินการปฏิบัติการอย่างต่อเนื่อง และ
มีแผนเผชิญเหตุเสมอ เช่นเดียวกับการปฏิบตั กิ ารอืน่ ๆ ในการปฏิบตั กิ ารเพือ่ สันติภาพ การวางแผน
ส�ำหรับรับมือกับสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นหรือที่เปลี่ยนแปลงจะมีความส�ำคัญเป็นพิเศษ ตัวอย่าง
เช่น การปฏิบัติการแต่เพียงฝ่ายเดียวของไทยเปลี่ยนเป็นการปฏิบัติการผสมที่มีชาติต่าง ๆ เข้าร่วม
หรือภายใต้กรอบสหประชาชาติ จากการปฏิบัติการที่เป็นการรบเปลี่ยนเป็นการปฏิบัติการที่มิใช่
การรบ จากการปฏิบตั ทิ คี่ วบคุมโดยทหารเป็นการปฏิบตั ทิ คี่ วบคุมโดยพลเรือน ปกติแล้ว กกล.ทบ.
ไม่ควรเปลี่ยนบทบาทในการปฏิบัติการเพื่อสันติภาพ นอกจากจะมีการก�ำหนดภารกิจใหม่ หรือมี
การตัดสินใจใหม่จากฝ่ายการเมือง ด้วยการปรับเปลีย่ นโครงสร้างก�ำลังรบ การเปลีย่ นแปลงกฎการ
ใช้ก�ำลัง หรือประเด็นอื่น ๆ ของภารกิจเปลี่ยนแปลงไป

กรณีตัวอย่าง การปฏิบัติการรักษาสันติภาพที่ บรึกโค (BRCKO)


วันที่ ๒๘ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๐ (ค.ศ. ๑๙๙๗) เกิดการจลาจลขึน้ ที่ บรึกโค ในบอสเนีย
โดยช่วงเช้าของวันนั้น กองก�ำลังที่ภักดีต่อประธานาธิบดี Biljana Plavsic พยายามยึดสถานี
ต�ำรวจและส�ำนักงานสือ่ มวลชน และเกิดปะทะกับกลุม่ ผูส้ นับสนุนของนาย Radova Karadzic
ผูถ้ กู กล่าวหาว่าเป็นอาชญากรสงคราม ทหารจากหน่วยเฉพาะกิจอีเกิล้ ซึง่ จัดมาจาก NATO ได้
เข้ามาถึงพื้นที่เพื่อป้องกันเหตุรุนแรงและป้องกันหน่วยงานพลเรือนของสหประชาชาติและ
ต�ำรวจสากล ขณะที่ฝ่ายสนับสนุน Karadzic รื้อท�ำลายข้าวของของสถานีต�ำรวจของยูเอ็นอยู่
นัน้ ผูก้ อ่ การจลาจลอืน่ ๆ ก็โจมตีหน่วยเฉพาะกิจต�ำรวจสากลและท�ำลายยานพาหนะของยูเอ็น
ไปถึง ๑๐๐ คัน ก�ำลังทหารได้ฝ่าฝูงชนเข้าไปเพื่อป้องกันเจ้าหน้าที่ตำ� รวจสากลและปกป้อง
ทรัพย์สนิ ของสหประชาชาติ ผูก้ อ่ การจลาจลทีส่ นับสนุน Karadzic ได้ลอ้ มกรอบทหารและข่มขู่
จะสังหารโดยอ้างว่าทหารเหล่านี้เข้าข้างประธานาธิบดี Plavsic ฝูงชนได้ขว้างปาระเบิดเพลิง
และก้อนหินเข้าใส่พวกทหาร ทหารคนหนึ่งโดนก้อนหินเข้าที่จมูกส่วนอีกคนหนึ่งถูกแทงเข้าที่
แขน ผูบ้ งั คับบัญชาทีอ่ ยูใ่ นเหตุการณ์สงั่ ทหารไม่ให้ยงิ เข้าใส่ฝงู ชนทีก่ ำ� ลังคลัง่ แต่ใช้เฮลิคอปเตอร์
ทิง้ แก๊สน�ำ้ ตาเข้าใส่เพือ่ สลายฝูงชนแทน และสามารถช่วยเหลือต�ำรวจและทหารทีไ่ ด้รบั บาดเจ็บ
ออกมาได้ นีค่ อื ตัวอย่างทีแ่ สดงให้เห็นว่าก�ำลังทหารและผูน้ ำ� ทีไ่ ด้รบั การฝึก สามารถด�ำรงความ
มีวินัย อดทนอดกลั้นแม้จะตกอยู่ภายใต้สถานการณ์ที่กดดัน
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 241

การปฏิบัติการรักษาสันติภาพ
๙-๒๐ การปฏิบัติการรักษาสันติภาพ เป็นการปฏิบัติการที่ได้รับการยินยอมจากคู่กรณี
ในความขัดแย้งนั้น ๆ โดยปกติการปฏิบัติจะเป็นการก�ำกับดูแล (MONITOR) และอ�ำนวยความ
สะดวกในการปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อตกลงหยุดยิง การหย่าศึก หรือข้อตกลงอื่น ๆ หรือการ
สนับสนุนความพยายามทางการทูตเพือ่ ให้บรรลุขอ้ ตกลงทางการเมืองในระยะยาว (ดูคมู่ อื หลักนิยม
การยุทธ์ร่วม ; รส. ๓-๐๗ ; รส. ๓-๐๗.๓) ตัวอย่างหนึ่ง คือการปฏิบัติงานของคณะผู้สังเกตการณ์
จากชาติต่าง ๆ ในคาบสมุทรไซนาย ปกติการปฏิบัติการรักษาสันติภาพจะมีลักษณะของการ
สังเกตการณ์ (Observing) การก�ำกับดูแล (Monitoring) การเป็นที่ปรึกษา (Supervising) และ
การช่วยเหลือคู่กรณี (Assisting) เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวนี้ กกล.ทบ. ปฏิบัติการรักษา
สันติภาพจะต้องได้รับการยินยอมจากคู่กรณีในความขัดแย้ง องค์กรระหว่างประเทศ หรือองค์กร
ในภูมิภาค การใช้ก�ำลังหรือการข่มขู่ว่าจะใช้ก�ำลังจะกระท�ำได้เฉพาะป้องกันตัวเอง หรือเมื่อไม่มี
ทางเลือกอื่นใดแล้วเท่านั้น ดังนั้นการครองความเหนือกว่าด้านสารสนเทศ จึงมีความส�ำคัญอย่าง
ยิ่งระหว่างการปฏิบัติการรักษาสันติภาพ เพราะการครองความเหนือกว่าด้านสารสนเทศ จะช่วย
ในการพิทักษ์หน่วยช่วยให้เข้าใจสถานการณ์ และช่วยในการปฏิบัติการของหน่วยรองที่เกี่ยวข้อง
กับความพยายามในการปฏิบัติการรักษาสันติภาพ
การบังคับให้เกิดสันติภาพ
๙-๒๑ การบังคับให้เกิดสันติภาพ เป็นการใช้ก�ำลังทหารหรือข่มขูว่ า่ จะใช้ก�ำลัง ปกติมกั ได้
รับอ�ำนาจจากองค์กรระหว่างประเทศ เพื่อบีบให้ปฏิบัติตามมติการแก้ปัญหาหรือเพื่อใช้มาตรการ
คว�ำ่ บาตรเพือ่ ท�ำให้เกิดสันติภาพและความสงบเรียบร้อย ไม่เหมือนกับการรักษาสันติภาพ การบังคับ
ให้เกิดสันติภาพไม่จำ� เป็นต้องได้รับความยินยอมจากคู่กรณีที่ขัดแย้งกัน แต่มีจุดมุ่งหมายในความ
พยายามเหมือนกันคือ การด�ำรงหรือน�ำสันติภาพกลับคืนมาและเพื่อการสนับสนุนความพยายาม
ทางการทูตให้บรรลุข้อตกลงทางการเมืองในระยะยาว กรณีตัวอย่าง คือ ยุทธการ Restore Hope
ในโซมาเลีย ระหว่างปี ค.ศ. ๑๙๙๒ - ๙๓ กองก�ำลังที่ปฏิบัติการบังคับให้เกิดสันติภาพจะต้องมี
ความสามารถในการใช้อ�ำนาจก�ำลังรบทีพ่ อเพียงส�ำหรับการป้องกันตัว และเพือ่ ท�ำให้ภารกิจบรรลุ
ผลส�ำเร็จ หน่วยจะต้องเตรียมพร้อมทีจ่ ะเปลีย่ นการปฏิบตั ไิ ปเป็นการรักษาสันติภาพ ปกติการบังคับ
ให้เกิดสันติภาพมักจะเกี่ยวข้องกับหนึ่งหรือมากกว่าในเรื่องของการปฏิบัติการรอง ๖ ประการดังนี้
- บังคับให้คู่กรณีที่ขัดแย้งแยกออกจากกัน
- จัดตั้งและให้ค�ำแนะน�ำในเรื่องของการพิทักษ์พื้นที่
- การคว�่ำบาตรและการก�ำหนดเขตห้ามเข้า
- การห้ามการเคลื่อนย้ายหรือรับประกันการเคลื่อนย้าย
242 บทที่ ๙

- ฟื้นฟูหรือด�ำรงความสงบเรียบร้อย
- ป้องกันในเรื่องของการให้ความช่วยเหลือเพื่อมนุษยธรรม
การปฏิบัติการสนับสนุนความพยายามทางการทูต
๙-๒๒ กกล.ทบ. สามารถปฏิบัติการสนับสนุนความพยายามทางการทูตเพื่อท� ำให้เกิด
สันติภาพและความสงบเรียบร้อย ไม่ว่าจะเป็นก่อนระหว่าง หรือหลังความขัดแย้ง การปฏิบัติการ
ดังกล่าวจะรวมถึงการทูตเชิงป้องกัน การท�ำให้เกิดสันติภาพ และการสร้างสันติภาพ (ดูหลักนิยม
การยุทธ์รว่ ม) ตัวอย่างเช่น กกล.ทบ. สนับสนุนการทูตเชิงป้องกัน โดยการวางก�ำลังหรือแสดงก�ำลัง
เพื่อเป็นการป้องปรามมิให้เกิดความขัดแย้ง การสนับสนุนต่อ การท�ำให้เกิดสันติภาพ มักจะรวมถึง
การติดต่อระหว่างทหารกับทหาร การซ้อมรบ การวางก�ำลังตั้งแต่ยามสงบ และการช่วยเหลือด้าน
ความมั่นคง กกล.ทบ. ให้การสนับสนุนในการสร้างสันติภาพ เช่นเดียวกัน การป้องกันภายในให้กับ
มิตรประเทศ (FOREIGN INTERNAL DEFENSE: FID) ในระยะยาว การปฏิบัติการทางทหารที่
สนับสนุนในส่วนของกิจกรรมทางการทูตเป็นการปรับปรุงโอกาสส�ำหรับความส�ำเร็จโดยการน�ำมา
ซึ่งความน่าเชื่อถือในการกระท�ำทางการทูต และแสดงถึงความมุ่งมั่นในการแก้ปัญหาเพื่อบรรลุถึง
การจัดตั้งข้อตกลงทางการเมืองที่สามารถด�ำรงอยู่ได้
การป้องกันภายในให้กับมิตรประเทศ
๙-๒๓ การป้องกันภายในให้กับมิตรประเทศ คือ การที่รัฐบาลของประเทศหนึ่งใช้
หน่วยงานทั้งพลเรือนและทหารเข้าร่วมในโครงการของอีกรัฐบาลหนึ่งเพื่อปลดปล่อยหรือป้องกัน
สังคมของประเทศนั้นจากการบ่อนท�ำลาย ภาวะไร้กฎหมาย และการก่อความไม่สงบ (ดูหลักนิยม
การยุทธ์ร่วม ; รส. ๓-๐๗) ในการนี้ต้องใช้พลังอ�ำนาจของชาติในทุก ๆ ด้าน และสามารถเกิดขึ้น
ครอบคลุมย่านการปฏิบตั กิ ารทางทหารทุกแบบ การป้องกันภายในให้กบั มิตรประเทศ เป็นโครงการ
หลักในการสนับสนุนมิตรประเทศให้สามารถรับมือกับภัยคุกคามแบบต่าง ๆ ได้ สามารถส่งเสริม
เสถียรภาพโดยการช่วยเหลือประเทศเจ้าบ้านให้สามารถจัดตั้งองค์กร หรือหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อ
สนองตอบความต้องการของประชาชน กกล.ทบ. ที่มีส่วนร่วมในการป้องกันภายในให้กับมิตร
ประเทศ มักจะให้คำ� แนะน�ำหรือช่วยเหลือหน่วยทหารของประเทศเจ้าบ้านในการด�ำเนินการปฏิบตั ิ
การ หน่วยที่มักจะใช้ใน การป้องกันภายในให้กับมิตรประเทศ มักเป็นหน่วยปฏิบัติการพิเศษของ
ทบ. (ดู รส. ๓-๐๕) อย่างไรก็ตาม การป้องกันภายในให้กับมิตรประเทศ ควรจะเป็นการปฏิบัติการ
ร่วมไม่ว่าจะเป็นการวางแผน การเตรียมการ และการปฏิบัติ ทั้งนี้เพื่อให้มั่นใจได้ว่า แต่ละส่วน
เหล่าทัพและส่วนพันธกิจต่าง ๆ มีเป้าหมายเป็นไปในทางเดียวกันและสนับสนุนซึ่งกันและกัน
ประเภทของการ การป้องกันภายในให้กับมิตรประเทศ ได้แก่
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 243

- การสนับสนุนทางอ้อม
- การสนับสนุนโดยตรง (ไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับการรบ)
- ท�ำการรบเพือ่ สนับสนุนการปฏิบัติของประเทศเจ้าบ้าน
การสนับสนุนทางอ้อม
๙-๒๔ การสนับสนุนทางอ้อมจะเน้นไปที่การเพิ่มขีดความสามารถของประเทศเจ้าบ้าน
ให้สามารถพึ่งตนเอง สร้างโครงสร้างพื้นฐานให้แข็งแกร่ง ด้วยการพัฒนาเศรษฐกิจและขีดความ
สามารถทางการทหาร โดยการให้ความช่วยเหลือในโครงการด้านความมั่นคง การฝึกผสม และ
โครงการแลกเปลี่ยน การสนับสนุนทางอ้อมเป็นการเพิ่มความชอบธรรมให้กับรัฐบาลของประเทศ
เจ้าบ้านและช่วยแก้ปัญหาภายในได้ดีขึ้น (ดูหลักนิยมการยุทธ์ร่วม)
การสนับสนุนโดยตรง (ไม่เข้าไปเกี่ยวข้องกับการรบ)
๙-๒๕ การสนับสนุนโดยตรงแบบไม่เกีย่ วข้องกับการรบ เป็นการใช้ กกล.ทบ. เพือ่ ให้การ
ช่วยเหลือโดยตรงต่อพลเรือนหรือทหารของประเทศเจ้าบ้าน การสนับสนุนโดยตรงได้แก่ การปฏิบตั ิ
การพลเรือน-ทหาร การข่าวกรอง การติดต่อสื่อสาร และการส่งก�ำลังบ�ำรุง ปกติการสนับสนุน
โดยตรงจะไม่มีการส่งอาวุธยุทโธปกรณ์หรือการฝึกให้กับหน่วยทหารของประเทศเจ้าบ้าน (ดูหลัก
นิยมการยุทธ์ร่วม)
การปฏิบัติการสู้รบ
๙-๒๖ การรบ จะรวมถึงการรุกและการตัง้ รับทีป่ ฏิบตั โิ ดย กกล.ทบ. เพือ่ สนับสนุนประเทศ
เจ้าบ้านในการต่อสูก้ บั ผูก้ อ่ การร้ายและผูก้ อ่ ความไม่สงบ ปกติการใช้ กกล.ทบ. ท�ำการรบมักจะเป็น
มาตรการชั่วคราว การป้องกันภายในให้กับมิตรประเทศ มักจะถูกจับตามองอย่างใกล้ชิด ไม่ว่าจะ
เป็นประชาชนไทย องค์กรระหว่างประเทศ และประชาชนของประเทศเจ้าบ้าน การโฆษณาชวนเชือ่
ของฝ่ายตรงข้ามมักหยิบประเด็นการมีกองก�ำลังต่าง ๆ ชาติอยู่ในประเทศเพื่อโจมตีหรือลดความ
น่าเชื่อถือของรัฐบาลประเทศเจ้าบ้านและประเทศไทย การเข้าปฏิบัติการโดยตรงของ กกล.ทบ.
สามารถสร้างความเสียหายต่อความน่าเชื่อถือและความชอบธรรมของรัฐบาลและกองก�ำลังรักษา
ความปลอดภัยของประเทศเจ้าบ้านได้ การช่วยเหลือต้องท�ำให้กองทัพของประเทศเจ้าบ้านสามารถ
ควบคุมสถานการณ์ และสร้างความปลอดภัยให้เกิดขึ้นกับประชาชนของประเทศเขาได้เอง
๙-๒๗ การป้องกันภายในให้กบั มิตรประเทศ ส่วนใหญ่จะเน้นไปทีก่ ารให้ความช่วยเหลือ
ประเทศเจ้าบ้านป้องกันการก่อความไม่สงบอย่างฉับไวไม่ให้เกิดขึ้น ถ้าการก่อความไม่สงบเกิดขึ้น
แล้วหรือมาตรการป้องกันไม่ได้ผล การป้องกันภายในให้กบั มิตรประเทศ จะเน้นไปทีก่ ารก�ำจัด การ
244 บทที่ ๙

ลดประสิทธิภาพ หรือท�ำให้หน่วยงานขององค์กรก่อความไม่สงบกลับมาเป็นฝ่ายรัฐบาล เรายอมรับ


ว่าไทยจัดเตรียมการสนับสนุนทางการทหารสนับสนุนต่อการต่อต้านการก่อความไม่สงบ ด้วยการ
ใช้พลังอ�ำนาจทางทหารเพียงอย่างเดียวไม่สามารถประสบความส�ำเร็จได้ กกล.ทบ. ไม่อาจรับรอง
การอยู่รอดของรัฐบาลที่ไม่ตอบสนองความต้องการพื้นฐานของประชาชนของตนได้ โครงการทาง
ทหารและการปฏิบตั ขิ อง กกล.ทบ. เพียงแต่เป็นตัวสร้างสภาวะเพือ่ ให้เกือ้ กูลต่อสภาพแวดล้อมด้าน
ความมัน่ คงปลอดภัยด้วยการน�ำโครงการนัน้ ไปปฏิบตั เิ พือ่ ก�ำจัดเงือ่ นไขของการก่อความไม่สงบและ
ชักชวนให้แนวร่วมของฝ่ายก่อความไม่สงบให้กลับเข้าร่วมพัฒนาสังคมของตนต่อไป การป้องกัน
ภายในให้กับมิตรประเทศ และการสนับสนุนการต่อต้านการก่อความไม่สงบต้องมีความสมดุลทั้ง
การพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจเพื่อส่งเสริมหรือท�ำให้เกิดเสถียรภาพขึ้นใหม่ภายในประเทศเจ้าบ้าน
๙-๒๘ กกล.ทบ. สนับสนุนการต่อต้านการก่อความไม่สงบภายใต้กรอบทีก่ ำ� หนดแผนโดย
สถานทูตของประเทศนั้นและยุทธศาสตร์การป้องกันและพัฒนาภายในของประเทศเจ้าบ้าน
เป้าหมายในการปฏิบัติคือ การสนธิทรัพยากรทั้งปวงไม่ว่าจะเป็นของพลเรือน ทหาร เอกชน หรือ
ของรัฐ เพื่อให้การปฏิบัติการรบและการพัฒนาของประเทศเจ้าบ้านส่งเสริมซึ่งกันและกัน ผลของ
การปฏิบตั สิ ามารถวัดได้จากพัฒนาการทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมของประชาชน กกล.ทบ.
อาจจะสนับสนุนในโครงการพัฒนาด้วยการช่วยเหลือในโครงการพัฒนาโดยการช่วยเหลือหน่วยงาน
ของรัฐบาล หรือเอกชนของประเทศเจ้าบ้านจัดการกับสิ่งของและบริการที่ส�ำคัญยิ่ง
๙-๒๙ การสนับสนุนการต่อต้านการก่อความไม่สงบจะช่วยให้รัฐบาลประเทศเจ้าบ้าน
สามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ ทั้งปัญหาที่เกิดจากฝ่ายก่อความไม่สงบและปัญหาที่เกิดจากความ
ต้องการของประชาชน กกล.ทบ. สามารถจะช่วยรัฐบาลประเทศเจ้าบ้านในการป้องกันประชาชน
จากการก่อความรุนแรงของฝ่ายก่อความไม่สงบ ป้องกันไม่ให้ฝา่ ยก่อความไม่สงบครอบง�ำประชาชน
การปฏิบัติดังกล่าวต้องใช้ทั้งการชักจูง การด�ำเนินคดี รวมถึงการท�ำลายและการโจมตีองค์กรและ
ศูนย์การน�ำของฝ่ายก่อความไม่สงบ ทั้งนี้ก็เพื่อป้องกันมิให้ฝ่ายก่อความสงบได้ใช้ประโยชน์จาก
ทรัพยากรไม่ว่าจะเป็นก�ำลังคน สิ่งของ เงินทุน และข่าวกรอง สาเหตุหลักของการก่อความไม่สงบ
มักจะเกิดจากความแตกต่างทางด้านเชื้อชาติ ศาสนา การเมือง สังคม หรือสถานะทางเศรษฐกิจ
ตกไปอยูใ่ นมือของประชาชนกลุม่ หนึง่ การทีจ่ ะให้การปฏิบตั กิ ารช่วยเหลือของพลังอ�ำนาจทางทหาร
ของชาติได้ประสิทธิผลในด้านการต่อต้านการก่อความไม่สงบ รัฐบาลประเทศเจ้าบ้านจะต้องทบทวน
และปรับปรุงนโยบายให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชนทีไ่ ด้รบั ผลกระทบ การปฏิบตั กิ าร
ต่อกองก�ำลังฝ่ายก่อความไม่สงบมักต้องใช้ระยะเวลานาน น้อยครัง้ ทีจ่ ะได้ผลเด็ดขาด หากการปฏิบตั ิ
ที่มีผลแตกหักก็มักจะเกิดขึ้นเพียงชั่วคราว เว้นเสียแต่ว่ารัฐบาลประเทศเจ้าบ้านจะแก้ปัญหาที่เป็น
เงื่อนไขของการก่อความไม่สงบได้อย่างเด็ดขาด
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 245

๙-๓๐ กกล.ทบ. จะช่วยเหลือก�ำลังต�ำรวจ ก�ำลังกึ่งทหาร หรือก�ำลังทหารของประเทศ


เจ้าบ้านในการต่อต้านการก่อความไม่สงบ การป้องกันพืน้ ที่ หรือ การปฏิบตั กิ ารรักษาความปลอดภัย
เฉพาะบริเวณ นอกจากนี้อาจจะช่วยเหลือในการให้ค�ำปรึกษา การค้นหา จับกุม และท�ำลายกอง
ก�ำลังติดอาวุธ ปกติมกั จะเน้นในการฝึกอบรมเจ้าหน้าทีข่ องประเทศ รัฐ และของท้องถิน่ เพือ่ ปฏิบตั ิ
หน้าที่ในการป้องกันที่จ�ำเป็น จุดมุ่งหมายคือการสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยเพื่อให้สามารถน�ำ
โครงการพัฒนามาใช้ได้อย่างมีประสิทธิผล ขณะเดียวกันต้องเคารพสิทธิและศักดิศ์ รีของประชาชน
ด้วย

กรณีตัวอย่าง ในเอล ซัลวาดอร์


จากปี ๑๙๗๒ จนถึงช่วงต้นทศวรรษที่ ๙๐ สหรัฐฯ ถือว่าอเมริกากลางมีความส�ำคัญ
ทางด้านความมัน่ คงของสหรัฐฯ มาก ผูแ้ ทนของสหรัฐฯ พยายามส่งเสริมการสร้างประชาธิปไตย
ในระยะยาวด้วยการให้ความช่วยเหลือประเทศละตินอเมริกาด้วยการใช้เครื่องมือด้านการทูต
เศรษฐกิจ เพือ่ สนับสนุนการเลือกตัง้ ส่งเสริมการปฏิรปู สังคมและเศรษฐกิจ และยุตกิ ารละเมิด
สิทธิมนุษยชน ทีมงานทหารสหรัฐฯ ช่วยเหลือกองทัพบกเอล ซัลวาดอร์ดว้ ยการจัดตัง้ สิง่ อ�ำนวย
ความสะดวกในการฝึก ทีป่ รึกษาทางทหารของสหรัฐฯ โดยเฉพาะหน่วยปฏิบตั กิ ารพิเศษมีสว่ น
ช่วยให้กองทัพเอล ซัลวาดอร์มีความเป็นทหารอาชีพ มีประสิทธิภาพในการต่อสู้เพื่อเอาชนะ
กลุ่ม FMNL ซึ่งเป็นกลุ่มก่อความไม่สงบที่นิยมคอมมิวนิสต์ กองก�ำลังของสหรัฐอเมริกา
สนับสนุนผลประโยชน์ของสหรัฐฯ ด้วยการก่อตั้งหน่วยต่อต้านการก่อความไม่สงบที่มี
ประสิทธิภาพ ท�ำให้การก่อความไม่สงบไม่ลุกลาม และน�ำไปสู่การเจรจาเพื่อความปรองดอง
ในเอล ซัลวาดอร์ต่อไป

การช่วยเหลือด้านความมั่นคง
๙-๓๑ การช่วยเหลือด้านความมั่นคงหมายถึง กลุ่มของโครงการต่าง ๆ ที่สนับสนุน
วัตถุประสงค์และนโยบายของไทยด้วยการให้ความช่วยเหลือด้านการป้องกันในรูปแบบต่าง ๆ
ไม่ว่าจะเป็นการฝึก และการให้การสนับสนุนที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันประเทศในลักษณะอื่น ๆ
โดยการให้เปล่า กู้ยืม การให้เครดิต หรือขายด้วยเงินสด ตัวอย่างหนึ่งคือ โครงการขายเครื่องมือ
อุปกรณ์ทางทหารให้แก่ต่างประเทศ การให้ทุนการศึกษาทางด้านการทหารแก่ประเทศต่าง ๆ
กองทุนช่วยเหลือด้านเศรษฐกิจ กกล.ทบ. สนับสนุนงานด้านนีด้ ว้ ยการจัดชุดท�ำการฝึก การจัดก�ำลัง
246 บทที่ ๙

และการฝึกในการซ่อมบ�ำรุง หรือกิจกรรมที่เกี่ยวข้องอย่างในการเก็บกู้ทุ่นระเบิดเพื่อมนุษยธรรม
เป็นต้น
การช่วยเหลือเพื่อมนุษยธรรม และการช่วยเหลือพลเรือน
๙-๓๒ โครงการช่วยเหลือเพื่อมนุษยธรรมและพลเรือน ประกอบด้วยการช่วยเหลือที่ก่อ
ให้เกิดการประสานสอดคล้องกับการฝึก และการปฏิบัติการทางทหาร โดยกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับ
ทบ. แล้ว การปฏิบัติการช่วยเหลือฯ อยู่ในอ�ำนาจของ รมว.กห. แต่ ทบ. เป็นผู้วางแผนและใช้งบ
ประมาณอย่างเหมาะสม การปฏิบัติการช่วยเหลือฯ จะต้องส่งเสริมผลประโยชน์ด้านความมั่นคง
ทั้งของไทยและประเทศเจ้าบ้าน ท�ำให้หน่วยและทหารมีความพร้อมรบทางยุทธการในการน�ำไป
ปฏิบัติภารกิจ การปฏิบัติการช่วยเหลือฯ นี้ต่างจากการช่วยเหลือเพื่อมนุษยธรรมและการบรรเทา
ทุกข์จากภัยพิบัติภายใต้การปฏิบัติการช่วยเหลือด้านมนุษยชนจากต่างประเทศตรงที่ การปฏิบัติ
การช่วยเหลือฯ นี้เป็นกิจกรรมที่มีการวางแผนด้วยการก� ำหนดวงเงินงบประมาณเฉพาะไว้
อย่างจ�ำกัด ปกติจะก�ำหนดขอบเขตของการปฏิบัติการช่วยเหลือฯ ไว้ดังนี้
- การช่วยเหลือด้านการแพทย์ ทันตกรรม การสัตวแพทย์ ในพื้นที่ชนบทของ
ประเทศเจ้าบ้าน
- การก่อสร้างระบบการจราจรบนพื้นดินขนาดเล็ก
- การขุดเจาะบ่อน�้ำ การก่อสร้างสิ่งอ�ำนวยความสะดวกด้านสุขอนามัยพื้นฐาน
- การก่อสร้างและซ่อมแซมสิ่งอ�ำนวยความสะดวกสาธารณะขนาดเล็ก
- กิจกรรมพิเศษที่เกี่ยวข้องกับการตรวจค้นและเก็บกู้ทุ่นระเบิด รวมถึงการให้
การศึกษา การฝึกอบรม และการช่วยเหลือทางเทคนิค
การสนับสนุนการปฏิบัติการต่อต้านยาเสพติด
๙-๓๓ รัฐบาลได้มนี โยบายทีแ่ น่ชดั
ให้การค้ายาเสพติด เป็นภัยต่อความมั่นคง การสนับสนุนต่อการปฏิบัติการต่อต้านยาเสพติด
- การค้นหาและเฝ้าติดตาม
ของชาติ ยาเสพติดไม่เพียงจะเป็นภัยต่อ
- สนับสนุนประเทศเจ้าบ้าน
ความมัน่ คงของชาติเท่านัน้ แต่ยงั เป็นภัยต่อ - การบังคับบัญชา, ควบคุม, การติดต่อสื่อสารและ
เสถียรภาพของมิตรประเทศอีกด้วย ทบ. ได้ คอมพิวเตอร์
มี ส ่ ว นร่ ว มในการปฏิ บั ติ ก ารต่ อ ต้ า น - การข่าวกรอง, การวางแผน, การ สสช., การฝึกและ
ยาเสพติด โดย กกล.ทบ. อาจจะถูกใช้ใน การสนับสนุนด้านก�ำลังพล
หลาย ๆ ปฏิบัติการเพื่อสนับสนุนองค์กร - การค้นคว้า, พัฒนาและการแสวงหา
อื่น ๆ ที่รับผิดชอบในการค้นหา ขัดขวาง - การลาดตระเวน
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 247

สกัดกั้น และท�ำลายยาเสพติด และโครงสร้างในการผลิต (คน วัสดุ ระบบการขนส่ง) ยาเสพติด


ทั้งระบบอีกด้วย (ดูหลักนิยมการยุทธ์ร่วม)
๙-๓๔ กกล.ทบ. การสนับสนุนการปฏิบัติการต่อต้านยาเสพติด โดยการสนับสนุน
หน่วยงานอื่น ๆ ของรัฐ หน่วยงานของรัฐที่ว่าได้แก่ กรมศุลกากร กระทรวงมหาดไทย ส�ำนักงาน
คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ปปส.) และส�ำนักงานต�ำรวจแห่งชาติ ถ้าการ
ปราบปรามยาเสพติดกระท�ำภายในราชอาณาจักร การปฏิบัตินั้นก็จะเป็นการปฏิบัติการสนับสนุน
ภายในประเทศ ถ้าปฏิบัติการนอกราชอาณาจักรจะถือว่าเป็นการปฏิบัติการเพื่อเสถียรภาพ
กกล.ทบ. จะไม่เข้าไปมีหน้าที่โดยตรงในการต่อต้านยาเสพติด หน่วยที่สนับสนุนในการปราบปราม
ยาเสพติดจะต้องเคารพต่อข้อจ�ำกัดทางกฎหมายทัง้ ของไทยและของต่างประเทศในเรือ่ งทีเ่ กีย่ วข้อง
กับการให้ได้มาซึ่งข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับฝ่ายพลเรือน และในระหว่างการด�ำเนินการในเรื่องของ
กิจกรรมที่ใช้บังคับตามกฎหมาย (LAW ENFORCEMENT ACTIVITIES)
การต่อสู้กับการก่อการร้าย
๙-๓๕ การก่อการร้าย เป็น การใช้ความรุนแรง
ยุทธวิธีของผู้ก่อการร้าย
ที่ผิดกฎหมายโดยผ่านการไตร่ตรองมาเป็นอย่างดีหรือ - การวางเพลิง
การข่มขูว่ า่ จะใช้ความรุนแรงทีผ่ ดิ กฎหมายเพือ่ ก่อให้เกิด - การกระท�ำของสลัดอากาศ
ความหวาดกลัว โดยมีความมุง่ หมายทีจ่ ะบังคับให้รฐั บาล - การท�ำให้ทุพพลภาพ
หรือสังคมยินยอมปฏิบัติตาม ปกติผู้ก่อการร้ายจะมี - การยึดครอง
วัตถุประสงค์ทางการเมือง ศาสนา หรือเป้าหมายตาม - การลอบสังหาร
อุดมการณ์ ข้าศึกทีไ่ ม่สามารถต่อสูก้ บั กกล.ทบ. ได้ในการ - การตีโฉบฉวยและซุ่มโจมตี
รบตามแบบมั ก จะหั น ไปใช้ ยุ ท ธวิ ธี ข องผู ้ ก ่ อ การร้ า ย - การก่อวินาศกรรม
- การหลอกลวง
การโจมตีของผู้ก่อการร้ายมักก่อให้เกิดผลกระทบที่เกิน - การวางระเบิด
คาดคิดแม้แต่กับก�ำลังรบตามแบบ ยุทธวิธีของผู้ก่อการ - การลักพา
ร้ายอาจจะเป็นแบบง่าย ๆ เช่น การวางเพลิงจนถึงขั้น - การจับตัวประกัน
ซับซ้อนร้ายแรง เช่น การใช้อาวุธที่มีอานุภาพท�ำลาย - การใช้อาวุธอานุภาพท�ำลายล้างสูง
ล้างสูง (WMD) กกล.ทบ. จะปฏิบัติการเพื่อป้องปราม
หรือเอาชนะการโจมตีของผู้ก่อการร้ายอยู่เสมอ การปฏิบัติการที่ริเริ่มในเชิงรุกจะถูกเรียกว่า
การต่อต้านการก่อการร้าย ส่วนการปฏิบัติที่มีลักษณะเชิงรับ จะเรียกว่า การต่อสู้การก่อการร้าย
248 บทที่ ๙

การต่อต้านการก่อการร้าย
๙-๓๖ การต่อต้านการก่อการร้าย เป็นมาตรการเชิงรุก ที่น�ำมาใช้เพื่อป้องกัน ป้องปราม
และตอบโต้ ต่อการก่อการร้าย กกล.ทบ. จะเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการ
ปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้าย ซึ่งจะรวมไปถึงการโจมตี และการตีโฉบฉวย ต่อองค์กรและ
สิ่งอ�ำนวยความสะดวกของผู้ก่อการร้าย การต่อต้านการก่อการร้าย เป็นภารกิจเฉพาะส�ำหรับ
หน่วยปฏิบัติการพิเศษ ที่ปฏิบัติงานภายใต้การควบคุมของ ผู้บัญชาการรบร่วม ผู้บังคับบัญชา
ก�ำลังรบตามแบบทีใ่ ช้กำ� ลังต่อฝ่ายก่อการร้ายทีป่ ฏิบตั กิ ารอยูใ่ นพืน้ ทีป่ ฏิบตั กิ ารของตนถือว่าเป็นการ
ปฏิบัติการรบด้วยวิธีรุกตามแบบ มิใช่เป็นการปฏิบัติการต่อต้านการก่อการร้าย
การต่อสู้การก่อการร้าย
๙-๓๗ การต่อสู้การก่อการร้าย เป็นมาตรการเชิงรับ ที่ใช้เพื่อลดความล่อแหลมหรือ
จุดอ่อนของบุคคลและทรัพย์สินจากการโจมตีของผู้ก่อการร้าย ซึ่งจะรวมถึงการใช้ก�ำลังทหาร
ในท้องถิ่นเข้าท�ำการตอบโต้และสกัดกั้นอย่างจ�ำกัดด้วย การต่อสู้การก่อการร้าย เป็นสิ่งที่หน่วย
ทุกหน่วยต้องน�ำมาพิจารณาในระหว่างการปฏิบัติการทางทหารทุกประเภท การกระท�ำของฝ่าย
ก่อการร้ายต่อก�ำลังทหารของไทยอาจมีผลกระทบทางยุทธศาสตร์ได้ (ดูหลักนิยมการยุทธ์ร่วม ;
รส. ๓-๐๗.๒) ผูบ้ งั คับบัญชาต้องใช้มาตรการในการรักษาความปลอดภัยทุกอย่างทีจ่ �ำเป็นเพือ่ ท�ำให้
ภารกิจบรรลุและป้องกันหน่วยจากการก่อการร้าย ก�ำลังพลที่มิได้อยู่ในหน้าที่หรือในระหว่างการ
ลาพักมักจะเป็นจุดอ่อนต่อการโจมตีของผู้ก่อการร้าย ก�ำลังพลและครอบครัวที่มิได้อยู่ในพื้นที่ ที่มี
การป้องกันมักเป็นเป้าหมายที่ผู้ก่อการร้ายนิยมโจมตี ผู้บังคับบัญชาต้องพยายามลดจุดอ่อนมิให้
ก�ำลังพลเป็นเป้าหมายของการสังหารหรือการจับเป็นตัวประกัน การปฏิบัติโดยทั่วไปในการต่อสู้
การก่อการร้าย ได้แก่
- การประสานงานกับหน่วยงานรักษากฎหมายในพื้นที่
- ก�ำหนดที่ตั้งหน่วยในที่ ที่ปลอดภัยหรือป้องกันได้ง่าย และเสริมความแข็งแรง
ของที่ตั้งหน่วย
- ใช้มาตรการรักษาความปลอดภัยทางกายภาพเพือ่ ป้องกันมิให้บคุ คลภายนอก
เข้าถึงหรือเข้าสู่ที่ตั้งได้ง่าย
- ใช้มาตรการป้องกันอาชญากรรมและการรักษาความปลอดภัยทางกายภาพใน
การป้ อ งกั น การขโมยอาวุ ธ กระสุ น บั ต รประจ�ำ ตั ว หรื อ อุ ป กรณ์ อื่ น ๆ
ของหน่วย
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 249

- ก�ำหนดนโยบายในการเดินทาง ขนาดของขบวนยานยนต์ เวลาในการหยุดพัก


การปฏิสัมพันธ์กับชาติเจ้าบ้าน และข้อปฏิบัติส�ำหรับผู้ที่มิได้อยู่ในหน้าที่
- จัดให้มีการป้องกันอาวุธอานุภาพท�ำลายล้างสูง
การปฏิบัติการอพยพผู้ไม่เกี่ยวข้องกับการรบ
๙-๓๘ การปฏิบัติการอพยพผู้ไม่เกี่ยวข้องกับการรบ เป็นการปฏิบัติการเพื่อน�ำพลเรือน
ที่ได้รับภัยคุกคามในดินแดนต่างประเทศไปยังพื้นที่อื่นที่ปลอดภัย โดยปกติการปฏิบัติการแบบนี้
จะเป็นการอพยพพลเรือนไทยทีอ่ าจจะประสบอันตรายจากความเป็นปฏิปกั ษ์หรือจากภัยธรรมชาติ
แต่อาจจะรวมเอาพลเรือนของประเทศเจ้าบ้านหรือประเทศอื่นก็ได้ ปกติ กกล.ทบ. จะปฏิบัติเป็น
ส่วนหนึง่ ของ กกล.เฉพาะกิจร่วม เพือ่ ช่วยเหลือและสนับสนุนกระทรวงการต่างประเทศ การปฏิบตั ิ
ในการอพยพพลเรือนทั้งไทยหรือชาติอื่นออกจากพื้นที่อันตรายจากการถูกฆ่า หรือเป็นปฏิปักษ์
เป็นการปฏิบัติเพื่อมนุษยธรรม การน�ำเป้าหมายออกไปสู่พื้นที่ปลอดภัยเพื่อความสะดวกต่อการ
ด�ำเนินการทางการทูตหรือการทหารต่อไป
๙-๓๙ การปฏิบัติการอพยพผู้ไม่เกี่ยวข้องกับการรบ อาจเกิดขึ้นในสภาวะแวดล้อม
ไม่ แ น่ น อน หรื อ เป็ น ปฏิ ป ั ก ษ์ เอกอั ค รราชทู ต อาจริ เ ริ่ ม ให้ มี ก ารปฏิ บั ติ ก ารอพยพพลเรื อ น
ในสภาวะแวดล้อมที่เกื้อกูลเมื่อคาดการณ์ว่าอาจเกิดเหตุวิกฤติขึ้น ในสภาวะดังกล่าวอาจไม่จ�ำเป็น
ต้องใช้ก�ำลังทหารเข้าไปเกี่ยวข้องโดยตรง การปฏิบัติที่ใช้ก� ำลังทหารสนับสนุนมักจะเกิดขึ้น
เมื่อสถานการณ์ในพื้นที่เลวร้ายลงจนอาจเกิดอันตรายต่อประชาชนที่จะต้องอพยพหรือเกิดภาวะ
เป็นปฏิปกั ษ์เกิดขึน้ การอพยพผูไ้ ม่เกีย่ วข้องกับการรบเหล่านีป้ กติดำ� เนินการด้วยการแจ้งเตือนเพียง
เล็กน้อยเท่านั้น
๙-๔๐ การอพยพผูไ้ ม่เกีย่ วข้องกับการรบ อาจเป็นการปฏิบตั กิ อ่ นทีก่ ารรบจะเกิดขึน้ โดย
อาจเป็นส่วนหนึง่ ของการป้องปราม หรือเป็นส่วนหนึง่ ของการปฏิบตั กิ ารสันติภาพ แต่โดยส่วนใหญ่
ผู้บังคับบัญชาที่ปฏิบัติการอพยพ จะมีอิทธิพลต่อสถานการณ์ในพื้นที่น้อยมาก ผู้บังคับบัญชา
เหล่านัน้ อาจไม่มอี ำ� นาจในการใช้มาตรการทางทหารเพือ่ ชิงปฏิบตั กิ อ่ นฝ่ายตรงข้าม แต่อย่างไรก็ตาม
จะต้องเตรียมพร้อมทีจ่ ะปกป้องผูอ้ พยพและป้องกันก�ำลังทหารให้ได้ ภัยคุกคามทีใ่ กล้จะเกิดขึน้ อาจ
จะมาจากฝ่ายทีเ่ ป็นปฏิปกั ษ์ ภาวะไร้กฎหมาย หรือสภาวะแวดล้อมทีเ่ ป็นอันตรายอย่างใดอย่างหนึง่
หรือทุกอย่างผสมกัน การประเมินภัยคุกคามและสภาวะแวดล้อมทัง้ ทางการเมือง การทหารได้อย่าง
ถูกต้องเป็นปัจจัยส�ำคัญต่อการวางแผนของการปฏิบัติการอพยพผู้ไม่เกี่ยวข้องกับการรบ
250 บทที่ ๙

การควบคุมอาวุธ
๙-๔๑ การปฏิบัติการของ กกล.ทบ. ในการควบคุมอาวุธมักเป็นการปฏิบัติการเพื่อ
สนับสนุนสนธิสัญญาควบคุมอาวุธ หรือองค์กรที่มีอำ� นาจในการควบคุมอาวุธ กกล.ทบ. สามารถ
สนับสนุนการปฏิบัติดังกล่าวได้ด้วยการก�ำหนดที่ตั้ง การยึด หรือท�ำลายอาวุธที่มีอานุภาพ
ท�ำลายล้างสูง
๙-๔๒ กกล.ทบ. อาจท�ำการควบคุมอาวุธเพื่อป้องกันมิให้ความขัดแย้งขยายตัวและ
ลดปัญหาการไร้เสถียรภาพ การปฏิบัติดังกล่าวอาจรวมถึงการออกข้อบังคับ การรวบรวม การ
จั ด เก็ บ และการท� ำลายอาวุธและกระสุนตามแบบอาจช่ ว ยป้ อ งปรามมิ ใ ห้ เ กิ ด ความขั ด แย้ ง
ขึน้ ใหม่ได้ ขีดความสามารถบางประการของ กกล.ทบ. เช่นด้านการช่าง การถอดท�ำลายวัตถุระเบิด
จะเป็นประโยชน์ส�ำหรับการปฏิบัติในเรื่องนี้มาก
การแสดงแสนยานุภาพ
การแสดงแสนยานุภาพ เป็นการปฏิบัติ
๙-๔๓ การแสดงแสนยานุภาพ มีเหตุผลด้วย การที่ก�ำหนดเพื่อแสดงให้เห็นถึงวิธีการ
กัน ๓ ประการ คือ หนึ่งเพื่อสร้างความเชื่อมั่นและเป็น แก้ปัญหาของกกล.ทบ. ซึ่งเกี่ยวกับการ
แสดงให้เห็นก�ำลังรบที่เข้าท�ำการรบใน
หลักประกันให้กบั พันธมิตร, เพือ่ ป้องปรามผูร้ กุ รานทีเ่ ป็น
ความพยายามทีจ่ ะแก้ปญั หาสถานการณ์
ไปได้ และเพื่ อ ให้ ไ ด้ ม าหรื อ เพิ่ ม อิ ท ธิ พ ลให้ ม ากขึ้ น
เฉพาะ ซึ่งถ้าหากปล่อยให้ดำ� เนินอยู่ต่อ
การแสดงแสนยานุภาพ เป็นการก�ำหนดการใช้ ทางเลือก ไปได้อาจจะเป็นอันตรายต่อผลประโยชน์
โดยการป้องปรามที่อ่อนตัว การแสดงแสนยานุภาพ หรือวัตถุประสงค์แห่งชาติ
ได้รับการออกแบบ เพื่อแสดงการคุกคามอย่างเฉพาะ
เจาะจงและมีความน่าเชื่อถือต่อผู้ลุกลาม หรือผู้รุกรานที่เป็นไปได้ การแสดงให้เห็นความเข้มแข็ง
และความสามารถของก�ำลังรบจะเป็นสัญญาณไปถึงฝ่ายรุกรานว่าไทยจะไม่ลังเลที่จะใช้ก�ำลัง
ผู้บัญชาการรบร่วม ควรก�ำหนดทางเลือกในการวางก�ำลังในแผนเผชิญเหตุเอาไว้ด้วย
๙-๔๔ ส�ำหรับ กกล.ทบ. การแสดงแสนยานุภาพจะเป็นการวางก�ำลัง หรือการเสริมสร้าง
ก�ำลังรบ การเพิม่ ความพร้อมรบ และกิจกรรมให้กบั หน่วยทีก่ ำ� หนด หรือการแสดงขีดความสามารถ
ทางการยุทธ์โดยหน่วยที่อยู่ในภูมิภาคอยู่แล้ว การแสดงแสนยานุภาพที่มีประสิทธิภาพต้องท�ำให้
เห็นว่าก�ำลังของเรามีขีดความสามารถที่จะปฏิบัติภารกิจให้ส�ำเร็จ และปฏิบัติการได้อย่างต่อเนื่อง
แม้ว่าจะไม่มีเจตนาที่จะด�ำเนินการจริง แต่การแสดงแสนยานุภาพสามารถยกระดับขึ้นได้โดย
ไม่คาดคิด หน่วยที่ได้รับภารกิจให้แสดงแสนยานุภาพต้องคาดว่าอาจจะต้องท�ำการรบและต้อง
เตรียมการให้พร้อม การปฏิบัติทั้งปวงที่เกี่ยวข้องกับการแสดงก�ำลังรบไปยังพื้นที่เพื่อท�ำการรบจะ
เกี่ยวข้องโดยตรงกับการวางก�ำลังเพื่อแสดงแสนยานุภาพ
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 251

ข้อพิจารณาส�ำหรับการปฏิบัติการเพื่อเสถียรภาพ ข้อพิจารณาส�ำหรับการปฏิบัติการเพื่อ
- ประสานและใช้ประโยชน์ร่วมจากหน่วยงานต่าง ๆ เสถียรภาพ
การปฏิบัติการร่วมและผสม ๙-๔๕ การด�ำเนินการปฏิบตั กิ ารเพือ่
- เพิ่ ม ขี ด ความสามารถและความชอบธรรมให้ กั บ
ประเทศเจ้าบ้าน
เสถียรภาพก็เป็นเช่นเดียวกับ การด�ำเนิน
- เข้าใจถึงศักยภาพและผลกระทบที่ไม่คาดคิดทั้งจาก การปฏิบัติการรุก การตั้งรับ และการ
บุคคลและหน่วยขนาดเล็ก ปฏิบัติการสนับสนุน ขณะที่การปฏิบัติ
เพือ่ เสถียรภาพแต่ละครัง้ อาจแตกต่างกัน
- แสดงให้เห็นขีดความสามารถทีจ่ ะใช้ก�ำลังโดยไม่แสดง
การคุกคาม แต่กรรมวิธีต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น กรรมวิธี
- ปฏิบัติอย่างเด็ดขาดเพื่อป้องกันเหตุลุกลาม การสร้างวิสัยทัศน์ การอรรถาธิบาย การ
- ใช้ก�ำลังอย่างระมัดระวังและเหมาะสม สั่งการ การแสวงข้อตกลงใจทางทหาร
และระเบี ย บการน� ำ หน่ ว ยก็ ค งเป็ น
เช่นเดียวกัน ข้อพิจารณาต่อไปนี้เป็นส่วนเสริมของกรรมวิธีดังกล่าว และจะช่วยผู้บังคับบัญชาให้
สามารถพัฒนาแนวความคิดและแผนการที่ผ่านการปรับ (TAILORED CONCEPTS) ส�ำหรับการ
ปฏิบัติการเพื่อเสถียรภาพได้
การประสานการใช้ประโยชน์จากการปฏิบัติระหว่างองค์กรการปฏิบัติการร่วมและผสม
๙-๔๖ เอกภาพในความพยายามจะมีขึ้นได้ต้องมีการประสานกันระหว่างหน่วยงาน
ต่าง ๆ อยู่ตลอดเวลา การปฏิบัติเพื่อเสถียรภาพต้องการผู้บังคับบัญชาที่ปรับตัวเข้ากับสถานการณ์
ณ จุดที่สายการบังคับบัญชา และพื้นที่รับผิดชอบอาจไม่ชัดเจน เรื่องนี้เป็นเรื่องส�ำคัญเนื่องจาก
หน่วยทหารมักจะมีบทบาทในการให้การสนับสนุนมากกว่าเป็นหน่วยรับการสนับสนุน ดังนั้น
ผูบ้ งั คับบัญชาจึงต้องประสานและสนธิกจิ กรรมทัง้ ฝ่ายทหารและพลเรือนเข้าด้วยกัน ขณะเดียวกัน
ผู้บังคับบัญชาต้องให้องค์กรอื่น ๆ เข้าใจวัตถุประสงค์และแผนการปฏิบัติการของฝ่ายทหารอย่าง
ชัดเจน ด้วยการประสานจะช่วยให้เอกภาพในความพยายาม และการท�ำงานเชิงบูรณาการอย่างมี
ประสิทธิผลได้ในสภาพแวดล้อมที่ขาดเอกภาพในการบังคับบัญชา อีกทั้งยังจะช่วยให้การปฏิบัติ
ตามกิจกรรมของหน่วยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องมีความสอดคล้องกันด้วย
๙-๔๗ กองบัญชาการทัง้ ระดับยุทธการ และยุทธวิธวี างแผนการปฏิบตั ขิ องตน เพือ่ เสริม
แผนการปฏิบตั ขิ องรัฐบาลและหน่วยองค์กรเอกชน ศูนย์ประสานงาน เช่น ศูนย์ปฏิบตั กิ ารพลเรือน-
ทหาร (ศปพท.) เป็นผู้ท�ำหน้าที่หลักในเรื่องนี้ ศปพท. จะเป็นศูนย์รวมผู้แทนของหน่วยงานต่าง ๆ
การประสานงานและการปฏิบัติด้วยความร่วมมืออย่างมีประสิทธิภาพ คือ สิ่งจ�ำเป็นในการรวม
ผลกระทบต่าง ๆ ของหน่วย องค์กร และก�ำลังรบให้บรรลุวัตถุประสงค์ของชาติ และของชาติ
252 บทที่ ๙

พันธมิตร การปฏิบตั กิ ารพลเรือน-ทหาร (ปพท.) จะช่วยลดการใช้ทรัพยากรของไทยด้วยการประสาน


กับหน่วยงานรัฐบาลของประเทศเจ้าบ้าน และของประเทศทีส่ าม องค์กรทีไ่ ม่ใช่หน่วยงานของรัฐบาล
และองค์กรระหว่างประเทศที่ปฏิบัติงานอยู่ในพื้นที่ปฏิบัติการ
เพิ่มขีดความสามารถและความชอบธรรมให้กับประเทศเจ้าบ้าน
๙-๔๘ กกล.ทบ. ต้องพยายามอย่างแข็งขันเพื่อช่วยส่งเสริมประเทศเจ้าบ้านให้มีความ
น่าเชื่อถือและมีความชอบธรรม โดย กกล.ทบ. จะต้องให้ความเคารพอย่างเหมาะสมแก่รัฐบาล
ต�ำรวจ และก�ำลังทหารของประเทศเจ้าบ้านนั้น ๆ ก�ำลังทหารและต�ำรวจของประเทศเจ้าบ้านได้
รับการสนธิเข้าไว้ในการปฏิบัติการทุกครั้ง ประชาชนพลเรือนจะเฝ้ามองการกระท�ำจาก กกล.ทบ.
อย่างใกล้ชิด การปฏิบัติใด ๆ ที่แสดงถึงการขาดความเคารพในเจ้าหน้าที่ของประเทศเจ้าบ้านหรือ
ขาดความเชื่อมั่นในขีดความสามารถของประเทศเจ้าบ้านโดย กกล.ทบ. จะลดความน่าเชื่อถือ
ต่อประเทศเจ้าบ้านและท�ำลายความพยายามด้านการปฏิบัติเพื่อเสถียรภาพอย่างยิ่ง
๙-๔๙ ผู ้ บั ง คั บ บั ญ ชาจะต้ อ งไม่ ป ล่ อ ยให้ ก ารแก้ ป ั ญ หาเพื่ อ เสถี ย รภาพกลายเป็ น
ความรับผิดชอบของไทย ประเทศเจ้าบ้านต้องเป็นผู้น� ำทั้งในด้านการพัฒนาและการรักษา
ความมั่นคง ภายในขีดความสามารถที่มีอยู่ ถ้าขีดความสามารถยังไม่เพียงพอ กกล.ทบ. จะ
ช่วยเหลือในด้านการฝึก ให้ค�ำปรึกษา และการให้ความช่วยเหลือ ผู้บังคับบัญชาต้องใช้ประโยชน์
จากก�ำลังของประเทศเจ้าบ้านให้มากที่สุดภายใต้ข้อบังคับและข้อจ�ำกัดของกฎหมายไทยและ
กฎหมายระหว่างประเทศ ดังนัน้ ในการปฏิบตั กิ ารเพือ่ เสถียรภาพใด ๆ ประเทศเจ้าบ้านจะต้องเป็น
ผู้มีบทบาทหลักเสมอ มิใช่ก�ำลังของไทยที่ให้การสนับสนุน
๙-๕๐ การปฏิบัติการเพื่อเสถียรภาพหลาย ๆ ครั้ง ความส�ำเร็จขึ้นอยู่กับการปฏิบัติการ
ในระยะยาว ปัจจัยซึง่ น�ำไปสูก่ ารขาดเสถียรภาพหรือการก่อความไม่สงบอยูน่ อกเหนือเวลา ประเทศ
เจ้าบ้านและผูส้ นับสนุนไม่สามารถคาดหวังในเรือ่ งของระยะเวลาของปัญหาออกมาเป็นปีตลอดจน
ผลทีต่ ามมาได้ถกู ต้อง ผลกระทบต่อสังคมต้องดูวา่ การเปลีย่ นแปลงก�ำลังไปถึงจุดสิน้ สุดและปัญหา
ที่ให้ความสนใจก�ำลังได้รับการแก้ไขอย่างมีประสิทธิภาพ
เข้าใจถึงศักยภาพและผลที่ตามโดยไม่คาดคิดทั้งจากการปฏิบัติของบุคคลและหน่วยขนาดเล็ก
๙-๕๑ หากจะมองถึงธรรมชาติของการปฏิบตั กิ ารเพือ่ เสถียรภาพทีม่ คี วามผันผวนและมี
ปัจจัยทางการเมืองเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยแล้ว การปฏิบัติการเพื่อเสถียรภาพของก�ำลังทั้งเป็นบุคคล
และหน่วยขนาดเล็กอาจเกิดผลกระทบส�ำคัญที่ตามมาได้ ในบางกรณี การปฏิบัติทางยุทธวิธีหรือ
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 253

การปฏิบัติของก�ำลังพลเป็นรายบุคคลอาจมีผลกระทบในระดับยุทธศาสตร์ได้ การรับรู้หรือการ
ตระหนักถึงปัญหาจ�ำเป็นต้องได้รับการฝึก สร้างความมีวินัย และองค์ความรู้ ให้ทั้งผู้บังคับบัญชา
และก�ำลังพลทุกระดับ ก�ำลังพลทุกคนต้องเข้าใจบริบททางยุทธการและยุทธศาสตร์ของภารกิจและ
ผลทีต่ ามมาจากการกระท�ำทีเ่ ป็นไปได้ของพวกเขา ทัง้ ในทางการทหาร การเมือง และตามกฎหมาย
๙-๕๒ การปฏิบตั เิ พือ่ เสถียรภาพจะเกิดขึน้ ท่ามกลางสายตาของสาธารณชน สิง่ นีร้ วมถึง
การเฝ้ามองจากผู้ที่จับตามองเราซึ่งจะมีทั้งประเทศเจ้าบ้าน ประชาชนทั้งในประเทศและใน
ประชาคมระหว่างประเทศ ตลอดจนสื่อมวลชน ผู้ที่คัดค้านความพยายามในการปฏิบัติการเพื่อ
เสถียรภาพจึงอาจฉวยโอกาสหยิบยกเอาเหตุการณ์เล็กน้อยเพือ่ ชิงความได้เปรียบในทางยุทธศาสตร์
ได้ การปฏิบัติที่ขาดวินัยหรือการใช้ก�ำลังที่ไม่เหมาะสมจะท�ำให้เกิดผลเสียต่อการปฏิบัติเป็นเวลา
นานนับเดือนนับปีได้ ดังนั้น การกระท�ำที่เป็นการท�ำลายสภาพแวดล้อมธรรมชาติหรือวัฒนธรรม
อาจจะน�ำมาซึ่งผลในทางลบซึ่งต้องเอาชนะมันให้ได้
แสดงให้เห็นขีดความสามารถที่จะใช้ก�ำลังโดยไม่แสดงการคุกคาม
๙-๕๓ กกล.ทบ. ที่ปฏิบัติการเพื่อเสถียรภาพต้องมีขีดความสามารถในการท�ำการรบ
อย่างน้อยในระดับที่ป้องกันตนเองได้ ความพร้อมรบนั้นจะเตรียมการไว้ทั้งการปฏิบัติการรุกและ
การตัง้ รับเป็นสิง่ จ�ำเป็นทีต่ อ้ งแสดงให้เห็นในลักษณะทีไ่ ม่เป็นการคุกคาม เจตนารมณ์คอื การแสดง
ความแข็งแกร่งและการแก้ปญ ั หาโดยมิให้การตอบโต้ทไี่ ม่พงึ ประสงค์เกิดขึน้ ตัวอย่างเช่น จุดประสงค์
ของการแสดงแสนยานุภาพ ควรเป็นไปเพื่อป้องปราม มิใช่ยั่วยุให้ฝ่ายตรงข้ามลงมือโจมตี
๙-๕๔ ภายในข้อจ�ำกัดของภารกิจ การแสดงให้เห็นขีดความสามารถนีก้ ระท�ำได้ดว้ ยการ
ฝึกการรบอย่างสม�ำ่ เสมอ ในการฝึกควรก�ำหนดสถานการณ์ทตี่ อ้ งใช้อาวุธ ระดับหน่วยก�ำลังรบ และ
กฎการใช้ ก� ำ ลั ง ด้ ว ยความต้ อ งการที่ ส อดคล้ อ งกั บ การรั ก ษาความปลอดภั ย การปฏิ บั ติ ก าร
ผู้บังคับบัญชาต้องให้ก�ำลังพลและฝ่ายที่เกี่ยวข้องทราบถึงทรัพยากรที่มีอยู่ทั้งในทางกว้างและ
ทางลึก แต่ไม่ควรแสดงให้ฝ่ายตรงข้ามเห็นถึงขีดความสามารถทั้งหมดที่ฝ่ายเรามีอยู่ อย่างไรก็ตาม
การแสดงให้ เห็ น ความแข็ง แกร่ ง ในการรุก และรั บ สามารถป้ อ งปรามมิ ใ ห้ เ กิ ด การเผชิ ญ หน้ า
โดยตรงได้
254 บทที่ ๙

กรณีศึกษา ในการเข้าไปเกี่ยวข้องทางทหารใน เวียดนาม ของ สหรัฐอเมริกา


สหรัฐฯ ได้เข้าไปเกีย่ วข้องโดยตรงในเวียดนามในปี ค.ศ.๑๙๕๔ โดยคณะทีป่ รึกษาทาง
ทหารสหรัฐฯ ได้รับอนุญาตจากฝรั่งเศสให้เข้าไปท�ำการฝึกให้กับทหารเวียดนามใต้ เมื่อเวลา
ผ่านไป บทบาทของคณะที่ปรึกษาก็ได้เพิ่มมากขึ้น ต่อมาสหรัฐฯ ก็มีบทบาทในการควบคุม
กองทัพเวียดนามใต้เต็มตัว กองทัพเวียดนามใต้ได้เปลี่ยนเป็นกองทัพที่มีการจัดแบบสหรัฐฯ
การฝึกของทหารเวียดนามเปลี่ยนจากการต่อสู้กับกองก�ำลังก่อความไม่สงบมาเป็นการด�ำเนิน
กลยุทธ์ระดับกรม และกองพล ต่อมา ปี ค.ศ. ๑๙๕๖ ฝรั่งเศสก็ถอนออกจากเวียดนาม สหรัฐฯ
ก็ยงั คงเน้นการฝึกทหารเวียดนามใต้ให้ท�ำการรบตามแบบ ขณะทีห่ น่วยปฏิบตั กิ ารพิเศษปฏิบตั ิ
ภารกิจที่เกี่ยวข้องกับประชาชน แต่กองทัพสหรัฐฯ ก็ได้เพิ่มบทบาทเหนือกองทัพเวียดนามใต้
มากขึน้ ปี ค.ศ. ๑๙๖๕ สถานการณ์รนุ แรงขึน้ จนทหารสหรัฐฯ ได้เข้าไปมีบทบาทในการปฏิบตั ิ
การทางทหารมากขึ้นกว่าเดิม จนกระทั่งประชาชนเวียดนามใต้ขาดความมั่นใจในรัฐบาลและ
กองทัพของตน

ปฏิบัติอย่างเด็ดขาดเพื่อป้องกันเหตุลุกลาม
๙-๕๕ ลักษณะธรรมชาติของการปฏิบัติการเพื่อเสถียรภาพอาจจ�ำกัดการใช้วิธีการและ
ทรัพยากรที่มีอยู่ในการที่จะบรรลุวัตถุประสงค์ทางทหาร แต่ กกล.ทบ. ต้องไม่ปล่อยให้ข้อจ�ำกัดที่
เกิ ด ขึ้ น ท� ำ ให้ ป ระสิ ท ธิ ภ าพของหน่ ว ยลดลง กกล.ทบ. จะต้ อ งปฏิ บั ติ ก ารด้ ว ยความรวดเร็ ว
และมุ่งมั่น มิฉะนั้นฝ่ายตรงข้ามอาจคิดว่าฝ่ายเราอ่อนแอหรือลังเล การระมัดระวังมากเกินไปอาจ
ท�ำให้ประชาชนขาดความเชื่อถือในความพยายามเพื่อเสถียรภาพของฝ่ายเรา กกล.ทบ. จะต้อง
ปฏิบัติการให้บรรลุวัตถุประสงค์ทางทหารอย่างเข้มแข็ง และใช้พลังอ�ำนาจทางทหารอย่างเต็มที่
เมื่อจ�ำเป็น นี่มิได้หมายความว่าทหารจะต้องใช้ความรุนแรงหรือก้าวร้าว แต่ที่ใดที่จ�ำเป็นต้อง
ใช้กำ� ลัง ผูบ้ งั คับบัญชาต้องประกันว่าจะท�ำการใช้กำ� ลังรบอย่างทันท่วงทีและต้องบังเกิดผลเด็ดขาด
ในลักษณะที่สามารถยุติวิกฤติการณ์และป้องกันมิให้เกิดการเผชิญหน้าขึ้นใหม่
ใช้ก�ำลังอย่างระมัดระวังและเหมาะสม
๙-๕๖ การที่หน่วยจะปฏิบัติการได้อย่างเด็ดขาดนั้นจะต้องเลือกใช้ก�ำลังอย่างเหมาะสม
ผูบ้ งั คับบัญชาต้องมัน่ ใจได้วา่ หน่วยของพวกเขาใช้ก�ำลังอย่างเพียงพอ และสอดคล้องกับวัตถุประสงค์
ของฝ่ายเรา ผูบ้ งั คับบัญชาใช้อ�ำนาจก�ำลังรบอย่างเหมาะสมกับภารกิจภายในข้อก�ำหนดอย่างจ�ำกัด
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 255

ทางกฎหมายและทางการเมือง ผู้บังคับบัญชาพิจารณาความต้องการที่จะป้องกันการสูญเสียโดย
ไม่จ�ำเป็น จ�ำแนกระหว่างนักรบและผู้ไม่เกี่ยวข้องกับการรบ และลดการสูญเสียชีวิต และการสร้าง
ความเสียหายให้กับทรัพย์สิน ข้อพิจารณาเหล่านี้จะเป็นข้อจ�ำกัดและตัวก�ำหนดระดับของก�ำลังที่
ใช้ได้ การใช้ก�ำลังที่มากเกินไปหรือตามอ�ำเภอใจไม่ถือเป็นวิจารณญาณที่เหมาะสม มันอาจน�ำไปสู่
ความต้องการให้มีการเพิ่มก�ำลังมากยิ่งขึ้นในการรักษาระดับของความสงบเรียบร้อยเดิมตลอดจน
สูญเสียความเห็นชอบและการสนับสนุนจากประชาชนในพื้นที่อีกด้วย
๙-๕๗ ในทางกลับกัน การใช้กำ� ลังน้อยเกินไปเป็นอันตรายต่อความน่าเชือ่ ถือ การใช้กำ� ลัง
น้อยเกินไปท�ำให้ฝ่ายตรงข้ามฮึกเหิมและสร้างความไม่มั่นใจให้เกิดขึ้นในใจของกลุ่มที่ได้รับการ
ปกป้อง ผู้บังคับบัญชาระดับยุทธการต้องก�ำหนดกฎการใช้ก�ำลังเพื่อเป็นแนวทางในการใช้อ�ำนาจ
ก�ำลังรบทางยุทธวิธีให้กับหน่วย โดยปกติแล้ว ผู้บังคับบัญชาที่อยู่ในพื้นที่ถือว่าดีที่สุดในการเป็น
ผู้ก�ำหนดระดับการใช้ก�ำลังตามต้องการให้สอดคล้องกับกฎการใช้ก�ำลังที่ก�ำหนดไว้
๙-๕๘ เมือ่ เป็นไปได้เครือ่ งมือทีม่ ไิ ด้ใช้ในทางสังหารสามารถเป็นเครือ่ งมือเสริมชนิดหนึง่
แต่จะทดแทน การใช้เครื่องมือแบบดั้งเดิมไม่ได้ การใช้เครื่องมือที่มิได้ใช้ในการสังหารเพียงแต่ช่วย
ให้ผู้บังคับบัญชามีทางเลือกในการเผชิญกับสถานการณ์ ณ สถานที่ที่ไม่ได้มีการรับรองให้ใช้กำ� ลัง
ที่สามารถท�ำการสังหารได้ อย่างไรก็ตาม ทหารแต่ละคนต้องรักษาขีดความสามารถในการใช้อาวุธ
ที่มีอ�ำนาจการสังหารเฉพาะในการป้องกันตัวเท่านั้น
บทที่ ๑๐
การปฏิบัติการสนับสนุน

๑๐-๑ การปฏิบตั กิ ารสนับสนุนของ ทบ. เป็นการปฏิบตั เิ พือ่ ช่วยเหลือหน่วยงานพลเรือน


ทั่วไปในประเทศ ทั้งด้วยการเตรียมการไว้ หรือการตอบสนองต่อวิกฤติการณ์ต่าง ๆ ตลอดจนการ
ช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ ในการปฏิบตั กิ ารสนับสนุนของ ทบ. จะให้การสนับสนุนการบริการ สนับสนุน
หน่วยหรือทรัพยากรพิเศษทีจ่ ำ� เป็น เพือ่ ช่วยเหลือหน่วยงานพลเรือนให้สามารถรับมือกับเหตุวกิ ฤติ
ทีเ่ กินขีดความสามารถ วัตถุประสงค์ในการปฏิบตั กิ ารสนับสนุนก็เพือ่ ให้สอดคล้องกับความต้องการ
ทีเ่ ร่งด่วนของการช่วยเหลือทีถ่ กู ก�ำหนดในช่วงเวลาอันจ�ำกัด จนกว่าทีห่ น่วยงานพลเรือนจะสามารถ
ด�ำเนินการได้ด้วยตนเอง ในกรณีรุนแรงหรือเป็นข้อยกเว้น ทบ.อาจให้การจัดการบรรเทาความ
เดือดร้อน หรือช่วยเหลือโดยตรงต่อกลุ่มที่ก�ำหนดเหล่านั้นตามความจ�ำเป็น หลายครั้งที่ ทบ.
ด�ำเนินการปฏิบตั กิ ารสนับสนุนอย่างเป็นเอกเทศ อย่างไรก็ดี ระหว่างการปฏิบตั กิ ารรุก รับ และการ
ปฏิบตั เิ พือ่ เสถียรภาพมักจะมีการปฏิบตั กิ ารสนับสนุนเสริมอยูด่ ว้ ย ซึง่ อาจกระท�ำได้ทงั้ ก่อน ระหว่าง
หรือหลังการปฏิบัติการข้างต้น
คุณลักษณะของการปฏิบัติการสนับสนุน
๑๐-๒ ปกติการปฏิบัติการสนับสนุนจะเป็นการปฏิบัติการที่ไม่เป็นแนว และพื้นที่ในการ
ปฏิบตั กิ ารก็ไม่ตอ่ เนือ่ งกัน ผูบ้ งั คับบัญชาจะต้องประยุกต์ใช้โครงร่างทางการยุทธ์ องค์ประกอบของ
การออกแบบทางการยุทธ์ และปัจจัย METT-TC ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ ผู้บังคับบัญชา
ก�ำหนดการปฏิบัติการแตกหัก การปฏิบัติการจัดรูปแบบเพื่อสร้างสภาวการณ์ และการปฏิบัติการ
ด�ำรงสภาพที่จ�ำเป็นต่อการบรรลุภารกิจ อย่างไรก็ตาม การก�ำหนดจุดศูนย์ดุล จุดแตกหัก หรือ
แม้กระทั่งผลสุดท้ายที่ต้องการ มักจะยุ่งยากและซับซ้อนกว่าการปฏิบัติการรุกหรือตั้งรับ เมื่อ
ผู้บังคับบัญชาจะวาดภาพการปฏิบัติการสนับสนุน จะต้องตระหนักว่าการก�ำหนดข้าศึกหรือ
ฝ่ายตรงข้ามนั้นแตกต่างจากการปฏิบัติการอื่น ๆ ซึ่งมีหลายครั้งที่ฝ่ายตรงข้ามคือ โรคภัยไข้เจ็บ
ความหิวโหย หรือผลที่ตามมาภายหลังเหตุภัยพิบัติ
แบบของการปฏิบัติการสนับสนุน
๑๐-๓ การปฏิบัติการสนับสนุนแบ่งออกเป็น ๒ แบบใหญ่ ๆ คือ การสนับสนุนภายใน
ประเทศ และการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมต่างประเทศ การด�ำเนินการสนับสนุนภายในประเทศ
กระท�ำในดินแดนของประเทศ และการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมต่างประเทศเป็นการด�ำเนินงาน
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 257

ภายนอกประเทศ การสนับสนุนภายในประเทศนั้นจะมีขอบเขตที่กว้างขวางและมีความส� ำคัญ


มากกว่าการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมต่างประเทศ กกล.ทบ. จะปฏิบัติการช่วยเหลือด้าน
มนุษยธรรมต่างประเทศในสภาพแวดล้อมที่เกื้อกูลเท่านั้น ถ้าสภาพแวดล้อมไม่เกื้อกูลหรือมีภาวะ
ที่เป็นปฏิปักษ์ต่อกัน กกล.ทบ. อาจปฏิบัติการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมโดยเป็นส่วนหนึ่งของ
กองก�ำลังที่ใหญ่กว่า ในการปฏิบัติการรุก การตั้งรับหรือการปฏิบัติการเพื่อเสถียรภาพ
การสนับสนุนภายในประเทศ
๑๐-๔ การด�ำเนินการของ ทบ.
ในการสนับสนุนภายในประเทศนัน้ เป็นการ การปฏิ บั ติ ก ารสนั บ สนุ น ภายในประเทศเป็ น
กิจกรรม และมาตรการทีน่ �ำมาใช้โดยกระทรวงกลาโหม
ปฏิบัติที่เสริมความพยายามและทรัพยากร เพื่อให้การช่วยเหลือและสนับสนุนระหว่างกระทรวง
ต่าง ๆ ของหน่วยงานของรัฐและองค์กร กลาโหมและหน่วยงานพลเรือนของรัฐบาล ในเรื่องการ
ต่าง ๆ ทุกระดับ ปกติจะมีการประกาศ วางแผน หรือการประยุกต์ใช้ทรัพยากรอันเกิดจาก
ภาวะฉุกเฉินหรือก�ำหนดเป็นพื้นที่ประสบ เหตุการณ์ฉกุ เฉินหรือการโจมตีตา่ ง ๆ รวมถึงเหตุฉกุ เฉิน
ภัยพิบตั กิ อ่ นทีจ่ ะมีการปฏิบตั กิ ารสนับสนุน ด้านความมั่นคงแห่งชาติ
ภายในประเทศ การปฏิบตั กิ ารแบบนีจ้ ะต้อง
มีการประสานงานระหว่างหน่วยต่าง ๆ การปฏิบตั กิ ารดังกล่าวได้แก่ การปฏิบตั กิ ารระหว่างองค์กร
การปฏิบัติการร่วม ส่วนก�ำลังประจ�ำการ และส่วนก�ำลังส�ำรอง ตลอดจนกับรัฐและท้องถิ่น แผนใน
การตอบสนองต่อสถานการณ์ของส่วนกลางก่อให้เกิดโครงสร้างระดับชาติเพื่อการประสานการ
ปฏิบัติต่าง ๆ ในเรื่องขององค์กรส่วนกลางที่ให้การสนับสนุน
๑๐-๕ ภายใต้ขอ้ จ�ำกัดต่าง ๆ หน่วยราชการพลเรือนจะรับผิดชอบในการรักษาความเป็น
ระเบียบเรียบร้อยของสาธารณชน โดยด�ำเนินการในขอบเขตอ�ำนาจของหน่วยงานนัน้ ๆ ซึง่ อาจจะ
มีการขอใช้กำ� ลังจาก กกล.ทบ. เท่าทีจ่ �ำเป็น จากการทีก่ ฎหมายก�ำหนดให้การใช้กำ� ลังของ ทบ. เพือ่
ปกป้องรัฐจากการรุกราน และเมื่อได้รับการร้องขอจากรัฐเพื่อป้องกันเหตุความรุนแรงที่เกิดขึ้น
ภายในประเทศ กกล.ทบ. ภายใต้การบังคับบัญชาของหน่วยบัญชาการยุทธ์รว่ ม จัดเตรียมขีดความ
สามารถส�ำคัญยิ่งที่จ�ำเป็นให้กับประเทศในการรักษาความปลอดภัยและการป้องกันมาตุภูมิ
๑๐-๖ ในการช่วยเหลือทางทหารต่อส่วนราชการพลเรือน มีขอบเขตที่กว้างขวาง มีการ
ก�ำหนดการปฏิบัติเช่น ลักษณะของการควบคุมการก่อความไม่สงบของประชาชน กิจกรรมการ
ต่อต้านยาเสพติด การต่อสู้กับการก่อการร้าย๑ และการบังคับใช้กฎหมาย ผบ.ทบ. เป็นผู้รับ

การต่อสูก้ บั การก่อการร้าย (Combating Terrorism) การปฏิบตั ซิ งึ่ รวมถึง การต่อต้านการก่อการร้าย (Antiterrorism)
(มาตรการเชิงรับ) และการตอบโต้การก่อการร้าย (Counterterrorism)
258 บทที่ ๑๐

มอบอ�ำนาจจากรัฐมนตรีวา่ การกระทรวงกลาโหมเกีย่ วกับค�ำสัง่ ต่าง ๆ ทีเ่ กีย่ วข้อง ในการปฏิบตั กิ าร


สนับสนุนภายในประเทศ กกล.ทบ. สนับสนุนหน่วยงานพลเรือนต่าง ๆ อยู่เสมอ ทั้งในส่วนของ
ท้องถิ่น จังหวัด และส่วนกลาง (ดู รส. ๓-๐๗ และคู่มือการยุทธ์ร่วม)
การช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมต่อต่างประเทศ
๑๐-๗ กกล.ทบ. ปฏิบัติการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมต่อต่างประเทศ เพื่อบรรเทาความ
ทุกข์ยากหรือลดผลลัพธ์ของภัยพิบตั ทิ เี่ กิดขึน้ ทัง้ โดยธรรมชาติ และจากน�ำ้ มือมนุษย์ อีกทัง้ การปฏิบตั ิ
เพื่อลดสภาวะต่าง ๆ ที่อาจเป็นสาเหตุของความทุกข์ยาก อาทิ การบาดเจ็บ ความหิวโหย โรคภัย
ไข้เจ็บ หรือการปล้นสะดมซึ่งจะน�ำไปสู่ความสูญเสียในชีวิตและทรัพย์สิน กกล.ทบ. จะเป็นหน่วย
ทีช่ ว่ ยเสริมหรือเพิม่ เติมการปฏิบตั ขิ องหน่วยงานพลเรือนประเทศเจ้าบ้านหรือองค์กรการช่วยเหลือ
ต่าง ๆ การช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมที่มีข้อจ�ำกัดในขอบเขตและระยะเวลา โดยเป็นการเพ่งเล็ง
เฉพาะการช่วยเหลืออย่างทันทีทันใด และเพื่อแก้ปัญหาวิกฤติการณ์อย่างเร่งด่วน การปฏิบัติที่กิน
เวลานานเพือ่ ให้ภาวะทุกข์ยากกลับคืนสูส่ ภาพเดิมก่อนเกิดภัยพิบตั นิ นั้ จะอยูใ่ นแผนการทัพในยุทธ
บริเวณของผู้บังคับบัญชา ซึ่งในกรณีเช่นนี้ การปฏิบัติเพื่อมนุษยธรรมต่อต่างประเทศจะเปลี่ยน
เป็นการปฏิบัติเพื่อเสถียรภาพแทน
๑๐-๘ การปฏิบัติการสนับสนุนภายในประเทศ และการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมต่อ
ต่างประเทศ โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติการบรรเทาทุกข์นั้นมักคล้ายคลึงกัน ในบางกรณี
ข้อก�ำหนดหรือข้อจ�ำกัดทางกฎหมายที่น�ำไปประยุกต์ใช้กับ กกล.ทบ. ที่ปฏิบัติการภายในประเทศ
สามารถน�ำไปประยุกต์ใช้ได้กับการด�ำเนินการช่วยเหลือเพื่อมนุษยธรรมต่อต่างประเทศด้วย
๑๐-๙ การปฏิบตั กิ ารช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมต่อต่างประเทศของ กกล.ทบ. มักจะเป็น
ส่วนหนึง่ ของกองก�ำลังเฉพาะกิจร่วม (กกล.ฉก.ร่วม) กับหน่วยงานของรัฐทีป่ ฏิบตั งิ านอยูใ่ นประเทศ
ทีไ่ ด้รบั ผลกระทบซึง่ จะจัดเตรียมการช่วยเหลือภายใต้สนธิสญ
ั ญา บันทึกข้อตกลง บันทึกความเข้าใจ
ตลอดจนงบประมาณของประเทศและนโยบายต่างประเทศของรัฐบาล กระทรวงการต่างประเทศ
เป็นผู้น�ำองค์กรต่าง ๆ ในการประสานงานด้านการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมต่อต่างประเทศ
ปกติ กกล.ทบ.จะด�ำเนินการปฏิบัติการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมต่อต่างประเทศเพื่อสนับสนุน
หน่วยงานพลเรือนของประเทศเจ้าบ้านด้วยการปฏิบัติภารกิจให้ประสานสอดคล้องกับองค์กร
พลเรือนอื่น ๆ ทั้งระหว่างประเทศ หน่วยงานภาครัฐ และเอกชน
บทบาทของ ทบ. ในการปฏิบัติการสนับสนุน
๑๐-๑๐ ทบ. มิได้เป็นหน่วยเฉพาะที่มีการจัด การฝึก และการประกอบยุทโธปกรณ์เพื่อ
การปฏิบตั กิ ารสนับสนุน แต่ ทบ. ได้รบั การออกแบบและจัดหน่วยส�ำหรับการปฏิบตั กิ ารรบ อย่างไร
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 259

ก็ตาม ขีดความสามารถในการรบก็มีความเหมาะสมอย่างยิ่งที่จะใช้ในการปฏิบัติการสนับสนุน
ภายในประเทศและการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมต่อต่างประเทศ ก�ำลังของ ทบ. เป็นก�ำลังทีม่ วี นิ ยั
ยอดเยี่ยม มีการจัดทีเ่ หมาะสม มีความอ่อนตัว และระเบียบปฏิบตั ติ า่ ง ๆ ทีส่ ามารถปรับเปลีย่ นได้
หน่วยต่าง ๆ ของ ทบ. มีสายการบังคับบัญชาในทางพันธกิจ มีระบบการติดต่อสื่อสารที่เชื่อถือได้
และมีการฝึกและมียุทโธปกรณ์ที่ดีสามารถปฏิบัติการในสภาพแวดล้อมที่ยากล�ำบากได้เป็น
เวลานานโดยทรัพยากรที่มีอยู่ของตน ทบ. สามารถเคลื่อนย้ายก�ำลังขนาดใหญ่ได้อย่างรวดเร็ว
เข้าสู่พื้นที่ ที่ต้องการความช่วยเหลือโดยใช้การขนส่งทางทหาร นอกจากนี้ทหารช่างของ ทบ.
หน่วยพัฒนา ทหารสารวัตร เสนารักษ์ ขนส่ง หน่วยบิน และหน่วยปฏิบตั กิ ารกิจการพลเรือน ก็เป็น
หน่วยที่มีคุณค่าอย่างยิ่งส�ำหรับการปฏิบัติการสนับสนุน

รูปที่ ๑๐-๑ ประเภทและรูปแบบของการปฏิบัติการสนับสนุน

๑๐-๑๑ คุณภาพ ขีดความสามารถ และการทีก่ ำ� ลังประจ�ำการ และก�ำลังส�ำรองของ ทบ.


มีกระจายอยู่ทั่วพื้นที่ ท�ำให้ก�ำลังส่วนนี้เหมาะสมอย่างยิ่งที่จะท�ำหน้าที่ในการปฏิบัติการสนับสนุน
ภายในประเทศ ความสั ม พั น ธ์ ที่ มี ม ายาวนานกั บ เจ้ า หน้ า ที่ ข องรั ฐ และท้ อ งถิ่ น ในระดั บ
ต่าง ๆ ผนวกกับที่ตั้งของหน่วยก�ำลังส�ำรองเหล่านั้นจะช่วยให้การตอบสนองภารกิจเป็นไปอย่าง
รวดเร็ว
260 บทที่ ๑๐

กรณีตัวอย่าง กกล. เฉพาะกิจ Support Hope


การปฏิบัติช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมในแอฟริกา
วันที่ ๖ เมษายน พ.ศ. ๒๕๓๗ (ค.ศ. ๑๙๙๔) เครื่องบินที่บรรทุกประธานาธิบดีของ
รวันดา และบุรุนดี ได้ตกขณะที่ก�ำลังจะลงจอดที่เมืองคิกาลี ประเทศรวันดา การเสียชีวิตของ
ประธานาธิบดีรวันดา ท�ำให้เกิดความขัดแย้งทางเชื้อชาติจนเป็นเหตุให้มีคนตายประมาณห้า
แสนถึงหนึ่งล้านคน ชาวรวันดาได้อพยพไปยังประเทศซาอีร์ มากเกินความสามารถที่ประเทศ
ซาอีร์ และหน่วยงานต่าง ๆ จะสามารถให้การช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมได้ ผูอ้ พยพนับพันต้อง
เสียชีวิตลงเพราะขาดอาหาร อหิวาตกโรค ท�ำให้สหประชาชาติต้องยื่นมือเข้าไปช่วยเหลือ
ประธานาธิบดีคลินตันสัง่ การให้หน่วยบัญชาการภาคพืน้ ยุโรปสหรัฐฯ ให้ความช่วยเหลือ
ต่อหน่วยงานบรรเทาทุกข์และกองก�ำลังของประเทศที่สามในการบรรเทาความทุกข์ยากให้ลด
น้อยลง หน่วยบัญชาการภาคพืน้ ยุโรปได้จดั ตัง้ กกล.ฉก. Support Hope ซึง่ ประกอบด้วยก�ำลัง
๓,๐๐๐ นาย ทีส่ ว่ นใหญ่เป็นก�ำลังทีอ่ ยูใ่ นเยอรมนี ทหารสหรัฐฯ ได้ท�ำการแจกจ่ายน�ำ้ และระบบ
การท�ำน�้ำสะอาดที่โกมา ประเทศซาอีร์ และจัดตั้งหัวอากาศและศูนย์กระจายสิ่งของที่
เอ็นเท็บเบ้ ประเทศยูกันดา นอกจากนั้นยังได้สนับสนุนงานบริการสนามบินและการขนส่งให้
กับกองก�ำลังของสหประชาชาติ ถึงปลายเดือนสิงหาคม อัตราการตายของผู้อพยพลดลงจาก
วันละ ๒๕,๐๐๐ คน เหลือเพียงวันละ ๒๕๐ คน เมื่อสถานการณ์ดีขึ้น หน่วยงานพลเรือนจึงได้
เข้ารับงานบรรเทาทุกข์ตอ่ ในช่วงสุดท้าย ทหารสหรัฐฯ สามารถเดินทางกลับทีต่ งั้ ได้ในวันที่ ๒๙
กันยายน พ.ศ. ๒๕๓๗ (ค.ศ. ๑๙๙๔)

รูปแบบของการปฏิบัติการสนับสนุน
๑๐-๑๒ ระหว่างการปฏิบัติการสนับสนุนภายในประเทศ ทบ. จะด�ำเนินการปฏิบัติการ
บรรเทาทุกข์ สนับสนุน การจัดการผลกระทบสืบเนื่องจาก เคมี ชีวะ รังสี นิวเคลียร์ และระเบิด
แรงสูง สนับสนุนการบังคับใช้กฎหมายของฝ่ายพลเรือน และการช่วยเหลือชุมชนในการช่วยเหลือ
ด้านมนุษยธรรมต่อต่างประเทศ ส่วนใหญ่จะเป็นการบรรเทาทุกข์ที่เกิดจากภัยพิบัติ แต่ก็อาจจะมี
การปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับการจัดการผลกระทบที่ตามมาภายหลังการเกิดการแพร่กระจายจาก
นชค. การระเบิดขนาดใหญ่ และการช่วยเหลือชุมชนด้วยก็ได้ กกล.ทบ. เกีย่ วข้องในการปฏิบตั กิ าร
สนับสนุนที่ด�ำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ที่ทับซ้อนกันก็ได้
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 261

การปฏิบัติการบรรเทาทุกข์
๑๐-๑๓ ในกรณีที่เกิดภัยพิบัติ รัฐบาล ส่วนท้องถิ่น และหน่วยงานต่าง ๆ ของประเทศ
เจ้าบ้านจะเป็นผูร้ บั ผิดชอบในการฟืน้ ฟูการบริการพืน้ ฐานทีจ่ ำ� เป็นแก่ประชาชนทีป่ ระสบภัย ในการ
สนับสนุนหน่วยงานหรือ

รูปที่ ๑๐-๒ การปฏิบัติการสนับสนุนภายในประเทศในการบรรเทาภัยพิบัติ


(ตัวอย่างการปฏิบัติของกองทัพสหรัฐฯ)
262 บทที่ ๑๐

องค์กรน�ำเหล่านั้น รัฐบาล หรือผู้บัญชาการรบร่วม สามารถส่ง กกล.ทบ. เข้าปฏิบัติการ


(ดูรูปที่ ๑๐-๒) กกล.ทบ. ด�ำเนินการในปฏิบัติการต่าง ๆ คล้ายกับที่กระท�ำระหว่างการปฏิบัติ
การบรรเทาทุกข์ภายในขอบเขตการปฏิบัติการสนับสนุนภายในประเทศ และการช่วยเหลือด้าน
มนุษยธรรมต่อต่างประเทศ การบรรเทาภัยพิบัติมุ่งเน้นที่การฟื้นฟูบูรณะโครงสร้างส�ำคัญพื้นฐาน
ภายหลังหายนภัยจากธรรมชาติหรือน�้ำมือมนุษย์ การช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมจะเน้นไปที่
สวัสดิภาพของประชาชนที่ประสบภัย แต่ทั้งการบรรเทาทุกข์และการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม
มักจะด�ำเนินไปพร้อม ๆ กัน
การบรรเทาภัยพิบัติ
๑๐-๑๔ การบรรเทาภัยพิบัติเป็นการ
ฟื้นฟูหรือสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานที่จ�ำเป็นขึ้น งานส�ำคัญในการบรรเทาทุกข์
มาใหม่ ในการนี้จะรวมไปถึงอย่างน้อยที่สุดเกี่ยว - การค้นหาและกู้ภัย
กับการจัดตั้งและรักษาสภาวการณ์ที่ปลอดภัยใน - การควบคุมภาวะน�้ำท่วม
การท�ำงาน มาตรการรักษาความปลอดภัยทีจ่ ำ� เป็น - การก�ำหนดภัย
- การแจกจ่ายอาหาร
เพื่อสร้างสภาวการณ์ที่ปลอดภัยส�ำหรับเจ้าหน้าที่
- การจัดหาน�้ำ ท�ำน�้ำสะอาด และแจกจ่าย
บรรเทาทุกข์และประชาชนทีป่ ระสบภัย ส�ำหรับใน - การสร้างที่พักชั่วคราว
ต่างประเทศ กกล.ทบ. อาจต้องให้การสนับสนุนใน - การสนับสนุนการขนส่ง
การรักษาความปลอดภัยในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่ง - การดับเพลิง
ของการปฏิบัติการเพื่อเสถียรภาพ ถ้าเป็นภายใน - การสนับสนุนทางการแพทย์
ประเทศ กกล.ทบ. รั ก ษาความปลอดภั ย เพื่ อ - การสนับสนุนการติดต่อสื่อสาร
สนับสนุนการรักษากฎหมายของหน่วยราชการ - การอนามัย
พลเรือน ดังที่ได้ปฏิบัติในระหว่างการประชุมผู้น�ำ
นานาชาติที่จังหวัดภูเก็ตในปี พ.ศ. ๒๕๕๒ การบรรเทาภัยพิบัติจะเกื้อกูลให้การช่วยเหลือเพื่อ
มนุษยธรรมและการสร้างสภาวการณ์ในการฟื้นฟูระยะยาวได้อย่างมีประสิทธิภาพ หน่วยบรรเทา
ทุกข์อาจให้ค�ำปรึกษาหรือช่วยเหลือในการรักษาพยาบาลและการอพยพ ท�ำการซ่อมแซมหรือ
รือ้ ถอนสิง่ ปลูกสร้างทีถ่ กู ท�ำลาย ท�ำการซ่อมแซมถนน สะพาน สนามบิน และการเก็บกวาดซากปรัก
หักพังออกจากพืน้ ทีห่ รือถนน หน่วยทหารช่างของ ทบ. จะเป็นหน่วยทีเ่ หมาะสมและมีบทบาทส�ำคัญ
ในการบรรเทาภัยพิบัติ
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 263

การบรรเทาทุกข์ด้านมนุษยธรรม
๑๐-๑๕ การบรรเทาทุ ก ข์ ด ้ า นมนุ ษ ยธรรมจะเน้ น ไปที่ ม าตรการช่ ว ยชี วิ ต ซึ่ ง เป็ น
ความจ�ำเป็นเร่งด่วนของประชาชนที่ตกอยู่ในภาวะวิกฤติ โดยปกติมักจะเป็นการให้การช่วยเหลือ
ทางด้านการแพทย์ อาหาร น�้ำ ยารักษาโรค เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม ที่พัก และเชื้อเพลิงส�ำหรับการ
ประกอบอาหารและให้ความอบอุ่น ในบางกรณีอาจจะต้องท�ำการขนย้ายประชาชนผู้ได้รับผลกระ
ทบออกจากพื้นที่ ที่ประสบภัยพิบัติ หน่วยงานบรรเทาทุกข์ของพลเรือนทั้งของรัฐ และองค์กรที่
ไม่ใช่หน่วยงานของรัฐ เป็นหน่วยที่เหมาะสมที่สุดส�ำหรับการบรรเทาทุกข์ดังกล่าว ปกติ กกล.ทบ.
สามารถด�ำเนินการการบรรเทาทุกข์ด้านมนุษยธรรม และช่วยส่งเสริมความพยายามในการปฏิบัติ
ของหน่วยงานพลเรือน
การสนับสนุนภายในประเทศต่อการจัดการผลสืบเนื่องจากเคมี ชีวะ รังสี นิวเคลียร์และระเบิด
แรงสูง
๑๐-๑๖ อุบัติภัยที่เกิดจากสารนิวเคลียร์ ชีวะ เคมี รังสี และการระเบิดขนาดใหญ่ อาจ
เกิดขึ้นด้วยความประมาทเลินเล่อของบุคคลหรือเกิดจากการก่อวินาศกรรม ที่อาจก่อให้เกิดความ
เสียหายต่อชีวติ และทรัพย์สนิ อย่างมหาศาลได้ กกล.ทบ. สนับสนุนหน่วยงานพลเรือนในการป้องกัน
ดินแดน ประชากร และโครงสร้างพืน้ ฐานของประเทศก่อนทีก่ ารโจมตีจะเกิดขึน้ ด้วยการสนับสนุน
หน่วยงานดังกล่าวในการเตรียมการและการป้องกันพื้นที่หรือทรัพยากรส�ำคัญ เมื่อได้รับค�ำสั่งจาก
กองบัญชาการกองทัพไทย กกล.ทบ. สามารถตอบสนองต่อการป้องกันอุบตั ภิ ยั ทีเ่ กิดจากสาร นชค.
และการระเบิดขนาดใหญ่รวมถึงการจัดการกับผลที่เกิดขึ้นกับอุบัติภัยดังกล่าวได้
264 บทที่ ๑๐

กรณีตัวอย่าง กองก�ำลังเฉพาะกิจร่วมแอนดรูว์
การบรรเทาทุกข์จากภัยพิบัติในแผ่นดินสหรัฐฯ
วันที่ ๒๔ สิงหาคม พ.ศ. ๒๕๓๕ (ค.ศ. ๑๙๙๒) พายุเฮอริเคนแอนดรูว์กระหน�่ำชายฝั่ง
ตอนใต้ของฟลอริดาด้วยความเร็วเกินกว่า ๑๔๐ ไมล์ต่อชั่วโมง ก่อให้เกิดความเสียหายเป็น
แนวกว้างถึง ๓๕ ไมล์ ทางตอนใต้ของเมืองไมอามี บ้านถูกท�ำลายไป ๖๕,๐๐๐ หลัง ประชาชน
ที่ไม่มีน�้ำ ไฟฟ้า และโทรศัพท์ใช้ ซากปรักหักพังปิดกั้นถนนเกือบทุกสายในพื้นที่นั้นท�ำให้การ
ช่วยเหลือของรถพยาบาลและรถดับเพลิง และรถอาหารเข้าถึงพื้นที่ได้อย่างยากล�ำบาก
ในฐานะที่ เ ป็ น หน่ ว ยในการบรรเทาทุ ก ข์ จ ากภั ย พิ บั ติ ห น่ ว ยหนึ่ ง ของกลาโหม
กองทัพบกสหรัฐฯ จึงต้องการให้หน่วยบัญชาการก�ำลังรบ และกองทัพสนามที่ ๒ ให้จัดตั้งกอง
ก�ำลังเฉพาะกิจร่วมแอนดรูว์ขึ้น กองพลส่งทางอากาศที่ ๘๒ ได้รับค� ำสั่งเตือนและส่งก�ำลัง
ส่วนแรกหนึ่งกองพันไปยังฟลอริดาในอีกเก้าชั่วโมงต่อมา สี่สิบแปดชั่วโมงหลังจากนั้นก็มีก�ำลัง
เพิม่ เติมส่งไปจากฟอร์ท แบรก รัฐนอร์ท แคโรไลนา และจากกองพลภูเขาที่ ๑๐ จากรัฐนิวยอร์ก
ภายในห้าวัน กองก�ำลังเฉพาะกิจร่วมแอนดรูว์ก็มีก�ำลังจากกองทัพบกสหรัฐฯ ๙,๕๐๐ นาย
กองทัพเรือ ๓,๔๐๐ นาย นาวิกโยธิน ๘๐๐ นาย และกองทัพอากาศ ๑,๐๐๐ นาย ที่มาจาก
ทั้งก�ำลังประจ�ำการและกองหนุน
กองก�ำลังเฉพาะกิจร่วมแอนดรูว์ทำ� งานประสานอย่างใกล้ชิดกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้ง
จากรัฐบาล องค์การบริหารส่วนท้องถิน่ ทุกระดับ สามารถช่วยเหลือผูป้ ระสบภัยทัง้ ในด้านทีพ่ กั
อาศัย อาหาร โดยการจัดตั้งสถานีช่วยเหลือ ๒๔ แห่ง ผลิตอาหารได้ถึงวันละ ๓๕,๐๐๐ มื้อ
นอกจากนี้กองก�ำลังเฉพาะกิจร่วมยังได้จัดตั้งศูนย์ช่วยเหลืออีกสี่แห่งเพื่อสร้างเต็นท์พักอาศัย
ชัว่ คราวการแพทย์ น�ำ้ ดืม่ การซ่อมแซมบ้าน และแจกจ่ายสิง่ ของทีไ่ ด้รบั บริจาค หน่วยบัญชาการ
ยุทธภัณฑ์ทหารบกแจกจ่ายเสื้อผ้า น�้ำบรรจุขวด และอาหาร ขณะที่หน่วยแพทย์ให้การ
ช่วยเหลือในด้านจิตใจ เวชกรรมป้องกัน การสัตวบาล ผลงานของ กองก�ำลังทัพบกสหรัฐฯ
มีส่วนช่วยเป็นอย่างมากในการบรรเทาทุกข์เพื่อให้ประชาชนผู้ประสบภัยได้กลับไปใช้ชีวิต
ในสภาพเดิมได้
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 265

การเตรียมการป้องกันภายใน
๑๐-๑๗ หน่วยงานทีท่ ำ� หน้าทีป่ ระสานการเตรียมการป้องกันคือ ศูนย์บรรเทาสาธารณภัย
กองทัพบก (ศปก.ทบ./ศบภ.ทบ.) ที่ประสานความพยายามในการเตรียมพร้อมกับ ศูนย์บรรเทา
สาธารณภัยกองทัพไทย และกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย กกล.ทบ. มี
บทบาทส�ำคัญในการช่วยเหลือความพยายามในการเตรียมการภายในประเทศ ทั้งในระดับท้องถิ่น
ภูมภิ าค และส่วนกลาง ความพยายามเหล่านีส้ ร้างขึน้ ได้ดว้ ยการสร้างความเข้มแข็งในความช�ำนาญ
ของหน่วยงานพลเรือนที่มีอยู่ด้วยการท�ำการฝึก พวกเขายังจัดการเรื่องการช่วยเหลือด้านความ
เชี่ยวชาญที่จ�ำเป็นในการตอบสนองต่ออุบัติภัยด้านนิวเคลียร์ ชีวะ หรือเคมี ที่เกิดขึ้น กกล.ทบ.
จัดการฝึกเพือ่ ส่งเสริมขีดความสามารถในการตอบสนองเหตุฉกุ เฉินให้กบั จังหวัด และองค์กรบริหาร
ท้องถิ่นอีกด้วย ทั้งนี้เพื่อว่าพวกเขาจะสามารถตอบสนองต่ออุบัติการณ์ได้ ข้อตกลงร่วมระหว่าง
องค์กรจะก�ำหนดให้ท�ำการจัดตั้งองค์กร และผู้ประสานงานการเตรียมพร้อมภายในประเทศ
๑๐-๑๘ ภายใต้การควบคุมองค์กรทีก่ ำ� หนด ศูนย์บรรเทาสาธารณภัยกองทัพบก มีหน้าที่
ท�ำการฝึกเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการรับมือกับเหตุฉุกเฉินล�ำดับแรก และเจ้าหน้าที่จัดการ
เหตุฉกุ เฉิน รวมถึงเจ้าหน้าทีข่ องท้องถิน่ และของจังหวัด ในการรับมือกับการกระท�ำการก่อการร้าย
เกี่ยวกับ นิวเคลียร์ ชีวะ เคมี และการระเบิดขนาดใหญ่ ทหาร และหน่วยกรมแพทย์ทหารบก
กรมวิทยาศาสตร์ทหารบกมีความเกี่ยวข้องกับการน� ำโครงการการฝึกในเมืองไปใช้ตามที่ได้
รับมอบอ�ำนาจ ดังนั้น กรมแพทย์ทหารบก กรมวิทยาศาสตร์ทหารบกเป็นผู้ปฏิบัติการร่วมอย่าง
ใกล้ชิดกับหน่วยงานด้านสาธารณสุขจากส่วนกลาง จังหวัด และท้องถิ่น น�ำเสนอหลักสูตรในเรื่อง
เกี่ยวกับการจัดการด้านการแพทย์ในส่วนของผู้ป่วยเจ็บจาก นิวเคลียร์ ชีวะ และเคมี
การคุ้มครองทรัพย์สินส�ำคัญยิ่ง
๑๐-๑๙ ฝ่ายที่ไม่เป็นมิตรอาจท�ำการโจมตีต่อสถานที่ต่าง ๆ ที่มีความส�ำคัญต่อสังคม
รัฐบาล และทหาร การโจมตีเหล่านี้สามารถรบกวนการค้าของฝ่ายพลเรือน การปฏิบัติงานของ
รัฐบาล และขีดความสามารถทางการทหาร ทีต่ งั้ ทีส่ �ำคัญรวมถึงทีต่ งั้ ทางการสือ่ สารและโทรคมนาคม
แหล่งผลิตไฟฟ้า โรงพยาบาล และสิง่ อ�ำนวยความสะดวกด้านการรักษาพยาบาล คลังก๊าซและน�ำ้ มัน
สถาบันการเงิน และธนาคาร การขนส่ง ประปา หน่วยงานให้บริการประชาชนในยามฉุกเฉิน และ
ความต่อเนือ่ งของรัฐบาล ทีต่ งั้ ใดทีม่ คี วามส�ำคัญอย่างเฉพาะเจาะจงของฝ่ายพลเรือนมีความจ�ำเป็น
ที่จะต้องด�ำเนินการปฏิบัติการทางทหาร การยึดถือหลักคุณธรรมและความซื่อสัตย์ ความสามารถ
266 บทที่ ๑๐

ที่มีอยู่ ความอยู่รอดได้ และขีดความสามารถของทรัพย์สินเหล่านี้เป็นความส�ำคัญยิ่งยวดส�ำหรับ


การด�ำเนินการปฏิบัติการทุกรูปแบบ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการบังคับใช้กฎหมายของฝ่ายพลเรือน
กกล.ทบ. อาจจัดก�ำลังให้การป้องกันต่อทรัพย์สินเหล่านั้นหรือท�ำการฟื้นฟูขีดความสามารถ
ที่สูญเสียไป ความเกี่ยวข้องของ กกล.ทบ. ในการปกป้องทรัพย์สินที่ส�ำคัญยิ่งเป็นก�ำหนดการและ
กิจกรรมระหว่างองค์กรที่เกี่ยวข้องกันซึ่งเป็นการส่งเสริมและร่วมแรงระหว่างกัน
การรับมืออุบัติการณ์ทางรังสี นิวเคลียร์ ชีวะ เคมี และระเบิดแรงสูง
๑๐-๒๐ หน่วยงานอื่น ๆ ของรัฐบาลมีความรับผิดชอบหลักในการรับมือกับเหตุวิกฤติ
รังสี นิวเคลียร์ ชีวะ เคมี และระเบิดแรงสูง หน่วยงานแรกก็คือ หน่วยงานของท้องถิ่นที่ท�ำการตอบ
สนองอุบตั กิ ารณ์ฯ แต่อย่างไรก็ตาม กกล.ทบ. ก็มบี ทบาทหลักในการให้การสนับสนุน และสามารถ
ตอบสนองได้รวดเร็วหากได้รับอนุมัติ ตัวอย่างเช่น หน่วยกองก�ำลังพิทักษ์ชาติ/กองก�ำลังอาสาต้อง
มีทีมงานรับมือกับอุบัติการณ์ฯ ซึ่งพร้อมปฏิบัติการเพื่ออ�ำนวยให้ก�ำลังที่จะถูกส่งตามเข้ามาจาก
หน่วยงานอื่น ๆ ของกระทรวงกลาโหม ส�ำหรับสภาพแวดล้อมนอกราชอาณาจักร รัฐบาล อาจจะ
จัดหน่วยของ ทบ. ที่สามารถให้การช่วยเหลือรัฐบาลของต่างประเทศภายหลังอุบัติการณ์ฯ การ
ช่วยเหลือดังกล่าวอาจจะเชื่อมโยงไปยังการปฏิบัติการบรรเทาทุกข์ที่เกิดขึ้นพร้อม ๆ กันได้
รูปภาพที่ ๑๐-๓ แสดงถึงความสัมพันธ์ทางการบังคับบัญชา และความสัมพันธ์ทางการสนับสนุน
ของ ทบ. และการยุทธ์ร่วม ในเหตุการณ์ภายในประเทศเกี่ยวกับการจัดการผลสืบเนื่องจาก
รังสี นิวเคลียร์ ชีวะ เคมี และระเบิดแรงสูง
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 267

รูปที่ ๑๐-๓ แผนผังแสดงความสัมพันธ์ในการรับมือกับเหตุการณ์ คชรนร.


(ตัวอย่างการจัดของกองทัพบกสหรัฐฯ)

๑๐-๒๑ ทรัพยากรที่ใช้ในการจัดการกับอุบัติการณ์ทาง คชรนร. ต่างจากทรัพยากรที่ใช้


ในการจัดการกับภัยพิบตั ติ ามธรรมชาติ การบาดเจ็บล้มตายของคนจ�ำนวนมากอาจท�ำให้จำ� เป็นต้อง
มีการช�ำระล้างพิษ และอาจมีการขาดแคลนสิ่งอุปกรณ์สายแพทย์จำ� พวก ยาแก้พิษ วัคซีนหรือ
ยาปฏิชวี นะเป็นต้น ทันทีทเี่ กิดผูป้ ว่ ยเจ็บจ�ำนวนมากอาจจะมีแนวโน้มทีจ่ ะเกิดปัญหาด้านสุขอนามัย
ในเรื่องที่เกี่ยวกับ อาหาร แมลงที่เป็นพาหะของโรค น�้ำดื่ม ของเสีย หรือด้านสุขภาพจิต ความ
เสียหายต่อโรงงานเคมีและโรงงานอุตสาหกรรม และผลที่ตามมาเป็นล�ำดับสองอย่างเช่น การ
เกิดไฟไหม้อาจท�ำให้อากาศหรือสภาพแวดล้อมเป็นพิษและอาจจ�ำต้องมีการอพยพประชาชน
จ�ำนวนมากออกจากพื้นที่
268 บทที่ ๑๐

๑๐-๒๒ ท บ . เ ป ็ น ห น ่ ว ย ที่ มี การปฏิบัติในการจัดการกับเหตุการณ์ต่อเนื่อง


ขี ด ความสามารถที่ เ หมาะสมในการรั บ มื อ - สุนัขค้นหาระเบิด
กับอุบัติการณ์ทาง คชรนร. หน่วยทหารเคมี - การช่วยเหลือทางการแพทย์แก่ผู้ป่วย
สามารถตรวจจับหาสารเคมีและชีวะ และมี - งานทางการช่างก่อสร้างและไฟฟ้า
เครื่องมือในการล้างพิษ วัสดุอุปกรณ์และ - งานการภาพ
สถานที่ ต ่ า ง ๆ ได้ กรมแพทย์ ท หารบก - การท�ำลายวัตถุระเบิด
สามารถให้ ก ารบริ ก ารทางการแพทย์ ใ น - งานด้านภาษา
- งานการศพ
ขนาดใหญ่ ๆ ได้ ด้ ว ยประสบการณ์ ข อง - การขนส่งทางพื้นดิน
หน่วยแพทย์ ทั้งที่ประจ�ำคลินิก นักวางแผน - การสนับสนุนด้วยเฮลิคอปเตอร์
และฝ่ายเจ้าหน้าที่สนับสนุน สามารถจัดตั้ง - งานกิจการพลเรือน
กรรมวิธใี นการประเมิน การซักซ้อม การดูแล
รักษา การบ�ำบัดทางจิต การโรงพยาบาล และการเยียวยาผลทีต่ ามมาให้กบั ผูป้ ว่ ยจากสารเคมี และ
ชีวะ หน่วยทางการแพทย์ทหารบก สามารถเข้าวางก�ำลังโรงพยาบาลสนามหรือการเคลื่อนย้าย
ผูป้ ระสบภัยไปยังทีต่ งั้ ทางการแพทย์ถาวรได้ กรมแพทย์ทหารบกยังสามารถจัดชุดปฏิบตั กิ ารพิเศษ
ตอบสนองเพิ่มเติมทางด้านการแพทย์ซึ่งสามารถเข้าวางก�ำลังได้อย่างรวดเร็วเพื่อช่วยเหลือในการ
ตอบสนองและให้การดูแลทางการแพทย์ ชุดปฏิบตั กิ ารพิเศษตอบสนองเพิม่ เติมทางด้านการแพทย์
(ชปพพพ.) มุ่งเน้นที่ผู้ป่วยจากสารเคมีและชีวะ การดูแลผู้ป่วยทางจิต และการดูแลที่สำ� คัญยิ่ง
การจัดการกับความเครียด บาดแผลจากไฟไหม้ และการประเมินภัยคุกคามทางด้านเวชกรรม
ป้องกัน
การสนับสนุนการบังคับใช้กฎหมาย
๑๐-๒๓ การสนับสนุนต่อการบังคับใช้กฎหมายฝ่ายพลเรือนภายในประเทศ จะมีกจิ กรรม
ทีเ่ กีย่ วข้องกับการตอบโต้การก่อการร้าย การปฏิบตั กิ ารการปราบปรามยาเสพติด การใช้กำ� ลังทหาร
สนับสนุนหน่วยงานพลเรือนเมื่อเกิดการจลาจล และการสนับสนุนทั่วไป การสนับสนุนของ ทบ.
เกีย่ วข้องกับการจัดเตรียมทรัพยากร การฝึก หรือการเพิม่ เติมก�ำลัง ก�ำลังทหารของรัฐบาลยังคงอยู่
ในสายการบังคับบัญชาทางทหารขณะที่ให้การสนับสนุนการบังคับใช้กฎหมาย องค์กรที่ได้รับการ
สนับสนุนจะประสานการปฏิบัติกับหน่วยของ ทบ. ภายใต้กฎหมายของฝ่ายพลเรือนและข้อตกลง
ร่วมระหว่างองค์กรที่เหมาะสม ก�ำลังส�ำรองมีสถานะที่สามารถเป็นทรัพยากรทางทหารที่เปี่ยม
ประโยชน์อย่างยิง่ หน่วยดังกล่าวอาจจะสามารถทีจ่ ะจัดเตรียมการช่วยเหลือต่อหน่วยงานพลเรือน
เมื่อหน่วยของรัฐบาลไม่สามารถกระท�ำได้อย่างสมบูรณ์
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 269

การสนับสนุนการต่อต้านการก่อการร้าย
๑๐-๒๔ เมือ่ ได้รบั ค�ำสัง่ จากรัฐบาล/หน่วยบัญชาการรบร่วม หน่วยทหารให้การสนับสนุน
กับองค์กรที่เป็นผู้น�ำอาจจะปฏิบัติร่วมกับกระทรวงยุติธรรมเพื่อจัดเตรียมการสนับสนุนต่อการ
ตอบโต้/การปราบปรามการก่อการร้าย กกล.ทบ. อาจให้การสนับสนุนในเรือ่ งการขนส่ง ยุทโธปกรณ์
การฝึก และก�ำลังพล เมือ่ มีผกู้ อ่ การร้ายปฏิบตั กิ ารคุกคาม กกล.ทบ. อาจถูกใช้เพือ่ ตอบโต้การก่อการ
ร้าย การแสดงขีดความสามารถในการด�ำเนินการในปฏิบตั กิ ารเหล่านีช้ ว่ ยในการรักษาเขตแดนของ
สหรัฐฯ จากการตกเป็นเป้าหมายได้
การสนับสนุนการปฏิบัติการต่อต้านยาเสพติด
๑๐-๒๕ กระทรวงยุติธรรมโดยการด�ำเนินงานของหน่วยงานป้องกันและปราบปราม
ยาเสพติด (ป.ป.ส.) เป็นหน่วยรับผิดชอบหลักในการบังคับใช้กฎหมายยาเสพติดของประเทศไทย
อาชญากรรมที่ เ กี่ ย วข้ อ งกั บ ยาเสพติ ด มั ก จะมี ผ ลกระทบต่ อ อ�ำ นาจการปกครองของท้ อ งถิ่ น
และรัฐบาล องค์กรที่บังคับใช้กฎหมาย ณ ทุกระดับเกี่ยวข้องกับกิจกรรมการปราบปรามยาเสพติด
ตามกฎหมายซึง่ จะจ�ำกัดขอบเขตการปฏิบตั กิ ารสนับสนุนในการต่อต้านยาเสพติดของ ทบ. ไว้อย่าง
เข้มข้น แต่กฎหมายยังไม่ก�ำหนดการจัดการเกี่ยวกับการใช้ก�ำลังส�ำรอง ในการปฏิบัติการต่อต้าน
ยาเสพติดเอาไว้
๑๐-๒๖ หน่ ว ยบั ญ ชาการรวม กฎหมายไม่ได้อนุญาตให้ทหารเข้าไปเกี่ยวข้อง
โดยตรงกับการกระท�ำในการจับกุม, ค้นหา, ยึด หรือ
กองบัญชาการกองทัพไทยมีความรับผิดชอบ
การกระท�ำอื่น ๆ ที่คล้ายคลึงกัน เว้นเสียแต่ว่าได้รับ
ในการต่ อ ต้ า นยาเสพติ ด ในบางส่ ว นหรื อ อ�ำนาจตามกฎหมาย
ทั้ ง หมด โดยท� ำ การประสานงานในการ
สนับสนุนทางทหารต่อการปฏิบัติการระหว่างองค์กรในการต่อต้านยาเสพติดภายในประเทศ
การสนับสนุนทั่วไป
๑๐-๒๗ กฎหมาย และบางมาตราอนุญาตให้ก�ำลังทหารสนับสนุนเพิ่มเติมแก่หน่วยงาน
รักษากฎหมายของพลเรือนได้อย่างจ�ำกัด ฝ่ายทหารอาจสนับสนุนด้วยการให้ข่าวสาร จัดเตรียม
เครื่องมือ สิ่งอ�ำนวยความสะดวก และการบริการอื่น ๆ ข้อจ�ำกัดอื่น ๆ ตามรัฐธรรมนูญในข้อตกลง
เกีย่ วกับอ�ำนาจหน้าทีข่ องกระทรวงกลาโหม ซึง่ อนุญาตเฉพาะประเภทของการสนับสนุนทางทหาร
ปกติเกี่ยวกับความพยายามด้านการปราบปรามยาเสพติดแห่งชาติ
270 บทที่ ๑๐

๑๐-๒๘ กระทรวงกลาโหมอาจสั่งการให้ กกล.ทบ. ท�ำการจัดการฝึกให้กับหน่วยรักษา


กฎหมายฝ่ายพลเรือนทุกระดับทัง้ ของรัฐบาล, จังหวัด และท้องถิน่ การฝึกนีอ้ าจรวมไปถึงการปฏิบตั ิ
การและการซ่อมบ�ำรุงเครื่องมือเครื่องใช้ทางทหาร ลักษณะการฝึกของหน่วยรักษากฎหมาย
ฝ่ายพลเรือนของ รัฐบาล จังหวัดและท้องถิ่นได้รับการเตรียมการในเรื่องดังนี้
- หน่วยงานทางการทหารและองค์กรเกีย่ วกับการป้องกันอาจให้คำ� แนะน�ำตาม
ความช�ำนาญแก่เจ้าหน้าที่รักษากฎหมายของรัฐบาล จังหวัด หรือท้องถิ่น
ในการด�ำเนินงานตามกฎหมาย
- การช่วยเหลืออย่างจ�ำกัดในสถานการณ์ตามปกติเมือ่ การใช้บคุ ลากรไม่สงั กัด
กระทรวงกลาโหมเป็นเรื่องไม่เหมาะสมหรือปฏิบัติไม่ได้จากมุมมองด้าน
ต้นทุนหรือเวลา และเมื่อการช่วยเหลือนั้นไม่เป็นผลเสียต่อความมั่นคง
ของชาติหรือความพร้อมรบของกองทัพ
- การช่วยเหลือนั้นจะต้องไม่ท�ำให้ก�ำลังพลของกระทรวงกลาโหมเข้าไป
เกีย่ วข้องโดยตรงในบทบาทเกีย่ วกับการปฏิบตั กิ ารบังคับใช้กฎหมาย เว้นแต่
จะมีกฎหมายให้อ�ำนาจไว้เป็นอย่างอื่น
- การช่วยเหลือนั้นจะต้องไม่เป็นเหตุผลที่ท�ำให้เกิดการใช้อาวุธเข้าเผชิญหน้า
กับฝ่ายพลเรือน ยกเว้นจะมีกฎหมายให้อ�ำนาจไว้เป็นอย่างอื่น
การช่วยเหลือชุมชน
๑๐-๒๙ การช่วยเหลือชุมชน จะครอบคลุมกิจกรรมอย่างกว้างขวางเพือ่ เสริมสร้างความ
สั ม พั น ธ์ อั น ดี ร ะหว่ า งทหารกั บ ชุ ม ชนพลเรื อ น การช่ ว ยเหลื อ ชุ ม ชนก่ อ ให้ เ กิ ด เครื่ อ งมื อ ที่ มี
ประสิทธิภาพในการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับหน่วยทหาร เปิดโอกาสให้หน่วยได้ท�ำการฝึก และ
ส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่าง ทบ. และสาธารณชน การช่วยเหลือในเรื่องดังกล่าวยังสอดคล้องกับ
ความต้องการของชุมชนซึ่งอาจจะไม่พบเห็นมากนัก
๑๐-๓๐ การช่วยเหลือชุมชนสามารถจะเสริมสร้างความพร้อมรบให้ กับหน่วยและ
ก�ำลังพลเป็นรายบุคคลได้ โครงการช่วยเหลือควรท�ำการฝึกความช�ำนาญทหารเป็นรายบุคคล
ส่งเสริมความกล้าให้ท�ำงานเป็นทีม และสร้างเสริมความเชี่ยวชาญด้านการวางแผนและการ
ประสานงานให้กบั ผูน้ ำ� พวกเขาควรจะบรรลุผลลัพธ์ในความช�ำนาญส่วนตัวของทหารทีเ่ พิม่ ขึน้ และ
บรรลุผลส�ำเร็จที่วัดได้ ผู้บังคับบัญชาที่วางก�ำลังอยู่นอกประเทศ อาจจะประยุกต์แนวความคิดนี้
เพื่อส่งเสริมหรือเสริมสร้างความสัมพันธ์กับชุมชนในประเทศเจ้าบ้าน
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 271

๑๐-๓๑ การช่ ว ยเหลื อ ความพยายามในการช่วยเหลือชุมชนระดับชาติ


ชุมชนในระดับชาติจะช่วยส่งเสริม - หน่วยงานพลเรือนชุมชน
การปฏิบัติงานร่วมกันระหว่าง ทบ. - โครงการค้นคว้าด้านการบินและอวกาศพื้นฐานเพิ่มเติม
และประชาชนชาวไทยความพยายาม ของสถาบันการศึกษาเกีย่ วกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ในระดับชาติน� ำมาซึ่งประโยชน์ใน - โครงการให้โอกาสแก่เยาวชนภาคพลเรือน
เรื่องของเทคนิค อาชีพ และความ - โครงการลดความต้องการในการใช้ยาเสพติด
- โครงการคลินิกเสริมสมรรถภาพแก่เยาวชน
ช�ำนาญกลุ่มในส่วนของวิชาชีพทาง - โครงการเตรียมความพร้อมด้านการแพทย์
ทหาร ทบ. ใช้ความสามารถที่มีอยู่ - โครงการให้ความช่วยเหลือทางทหารด้านความปลอดภัย
ในหลาย ๆ ด้าน ช่วยเสริมโครงการ และการจราจร
อื่น ๆ ที่มีอยู่แล้วของภาคพลเรือน
และองค์กรอื่น ๆ ของรัฐบาล ความเกี่ยวข้องของ ทบ. มุ่งเน้นเกี่ยวกับประเด็นทางเศรษฐกิจและ
สังคมที่สอดคล้องกับความมั่นคงของชาติในระยะยาว และเป็นการสร้างโอกาสส�ำหรับ ทบ. ในการ
สนับสนุนการเติบโตและความเป็นอยู่ที่ดีของชาติ ท�ำการปรับปรุงความรู้สึกที่มีต่อทางการทหาร
ระเบียบของ ทบ. และกระทรวงกลาโหมจัดเตรียมแนวทางเกี่ยวกับโครงการระดับชาติไว้แล้ว
๑๐-๓๒ ทบ. มีขอบข่ายความรับผิดชอบในระดับชาติอย่างกว้างขวางในเรือ่ งทีเ่ กีย่ วข้อง
กับการซ่อมบ�ำรุงและการจัดการงานสาธารณะ ในงานนี้ ทบ. ด�ำเนินการปฏิบตั ผิ า่ นทางหน่วยทหาร
ช่างของ ทบ. โดยใช้หน่วยทหารช่างทีม่ อี ยูซ่ งึ่ อยูน่ อกเหนือความรับผิดชอบ หน่วยทหารช่างจะเป็น
หน่วยหลักในการจัดการสิ่งอ�ำนวยความสะดวกด้านโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ด้วยการปฏิบัติ
ตามในเรื่องส�ำคัญแต่ไม่ท�ำแต่เพียงผู้เดียวโดยจะท�ำงานร่วมกับหน่วยงานของฝ่ายพลเรือน การจัด
องค์การทางทหารเช่นนี้จะผสมผสานระเบียบและนโยบายที่ซับซ้อนของรัฐบาลกลาง จังหวัด
และท้องถิ่นเพื่อการจัดการกับโครงสร้างพื้นของประเทศ สิ่งเหล่านี้รวมถึงเส้นทางขนส่งทางน�้ำ
การรักษาและฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม การดูแลอสังหาริมทรัพย์ของรัฐ การปฏิบัติการฟื้นฟูหลังภัยพิบัติ
และอ�ำนาจหน้าที่ในการจัดการเกี่ยวกับโครงการทั่ว ๆ ไป เป็นต้น
๑๐-๓๓ ความพยายาม ณ ระดับจังหวัด และท้องถิน่ ยังช่วยปรับปรุงความรูส้ กึ นึกคิดของ
ชุมชนที่มีต่อ ทบ. ได้เช่นกัน การช่วยเหลือชุมชนมีความหลากหลายอย่างกว้างขวาง เริ่มจาก
ตัวทหารเป็นรายบุคคลในเรื่องเกี่ยวกับการเข้าไปมีส่วนร่วมหน่วยต่าง ๆ ที่อยู่ในพื้นที่อย่างเต็มที่
ที่ตั้งหน่วยหรือองค์การต่าง ๆ สามารถเข้ามีส่วนร่วมในข้อตกลงต่าง ๆ กับชุมชนท้องถิ่นเพื่อ
จัดเตรียมบริการส�ำคัญยิง่ ทีไ่ ม่มอี ยูใ่ นพืน้ ที่ และการบริการเพิม่ เติมช่วยเหลือชุมชนในกรณีทขี่ อ้ ตกลง
ไม่สามารถท�ำได้สอดคล้องกับความต้องการ หรือท�ำให้มั่นใจได้ว่าการบริการฉุกเฉินสามารถน�ำมา
ใช้ได้ในเวลาอันสั้นที่สุดเท่าที่เป็นไปได้
272 บทที่ ๑๐

๑๐-๓๔ การเข้าไปมีส่วนร่วมของ ทบ. กับกิจกรรมของชุมชน การจัดงานร� ำลึก และ


งานนิทรรศการต่าง ๆ ช่วยให้ก�ำลังพลได้มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างทหารกับชุมชนท้องถิ่นมากขึ้น
ความสัมพันธ์นี้เป็นการสื่อสารให้เห็น ความเป็น
ตัวอย่างการให้บริการช่วยเหลือ
มืออาชีพ ความพร้อม และมาตรฐานของ ทบ. - สนับสนุนเครื่องบินพยาบาล
ทหารเป็นรายบุคคลถือเป็นตัวแทนและเป็นแบบ - การค้นหาและช่วยชีวิต
อย่างที่แสดงออก ส่งเสริมและสร้างแรงจูงใจใน - การดับเพลิง
ความรักชาติ และสร้างสนใจใน ทบ. การตระหนัก - การท�ำลายวัตถุระเบิด
รู้ถึงสาธารณชนที่มีมากขึ้นส่งเสริมกิตติศัพท์ของ - การช่วยเหลือทางการแพทย์แบบฉุกเฉิน
ทบ. และรักษาความเชือ่ มัน่ ของประชาชนชาวไทย - การช่วยเหลือการควบคุมจราจร
- การจัดที่พักชั่วคราวให้กับผู้ประสบภัย
ไว้
๑๐-๓๕ กฎหมาย ระเบียบ และนโยบายเป็นข้อจ�ำกัดในการมีส่วนร่วมของ ทบ. ใน
กิจกรรมการช่วยเหลือชุมชน ดังนั้นผู้บังคับบัญชาต้องค�ำนึงถึงวัตถุประสงค์และจุดมุ่งหมายของ
กิจกรรมนัน้ ๆ ก่อนทีจ่ ะตัดสินใจว่าควรอนุมตั ใิ ห้เข้าร่วมหรือไม่ พวกเขายังคงต้องพิจารณาข้อจ�ำกัด
ในอ�ำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของ ทบ. ผู้บังคับบัญชาต้องประกันว่าความริเริ่มของ
พวกเขาไม่เป็นการเบียดบังทรัพยากรหรือการบริการของชุมชนและจะต้องไม่มกี ารใช้คนื ให้กบั ชุมชน
ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบใด ผู้บังคับบัญชาควรหลีกเลี่ยงการกระท�ำที่ให้การช่วยเหลือและสนับสนุน
ต่อคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งโดยเฉพาะ การปฏิบัติซึ่งเกิดเป็นประโยชน์เฉพาะกลุ่มสามารถหยั่งรู้ได้
ในเรื่องของความโน้มเอียงหรือการฝักใฝ่ได้ ในทางอุดมคติการสนับสนุนควรจะถูกจัดไว้เฉพาะ
ต่อเหตุการณ์และกิจกรรมต่าง ๆ ทีบ่ งั เกิดผลประโยชน์และเป็นความสนใจทัว่ ทัง้ ชุมชนเป็นส่วนรวม
เท่านั้น
ข้อพิจารณาในการปฏิบัติการสนับสนุน
๑๐-๓๖ แม้การปฏิบัติการสนับสนุนแต่ละครั้งจะมีความแตกต่างกันแต่ก็ยังคงต้องใช้
กระบวนการวาดภาพ การแสวงข้อตกลงใจทางทหาร และระเบียบการน�ำหน่วย เช่นเดียวกัน
ข้อพิจารณาที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้จะช่วยเสริมกรรมวิธีดังกล่าวและช่วยให้ผู้บังคับบัญชาพัฒนา
แนวความคิดที่มีการปรับแต่งในการปฏิบัติการสนับสนุนได้
ให้การสนับสนุนที่จ�ำเป็นต่อประชาชนส่วนใหญ่
๑๐-๓๗ หลักการที่ผู้บังคับบัญชาใช้ในการก�ำหนดความเร่งด่วนภารกิจต่าง ๆ และแบ่ง
มอบการสนับสนุนก็คือ การสนับสนุนนั้นเป็นสิ่งที่จ�ำเป็นส�ำหรับประชาชนส่วนใหญ่ ผู้บังคับบัญชา
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 273

แบ่งมอบทรัพยากรอย่างแท้จริงเพื่อบรรลุสิ่งที่ดีที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ ปกติความพยายามขั้นต้น
จะต้องเน้นไปที่การท�ำให้การบริการส�ำคัญยิ่งกลับคืนสู่สภาพปกติ อันได้แก่ การแจกจ่ายอาหาร
และน�้ำ การช่วยเหลือทางการแพทย์ การผลิตไฟฟ้า การค้นหาและช่วยชีวิต การดับเพลิง และงาน
ชุมชนสัมพันธ์ บางกรณีอาจต้องท�ำงานที่มีความเร่งด่วนต�่ำกว่าให้ส�ำเร็จเสียก่อนงานที่มีความ
เร่งด่วนสูง ตัวอย่างเช่น กกล.ทบ. อาจจะต้องท�ำฟืน้ ฟูบริการไฟฟ้าอย่างจ�ำกัดให้ใช้งานได้กอ่ นทีจ่ ะ
ท�ำให้ห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาลใช้การได้หรือการเปิดการบริการที่พักอาศัยชั่วคราว
๑๐-๓๘ ผูบ้ งั คับบัญชาประเมินความต้องการเพือ่ ตัดสินใจว่าจะใช้ทรัพยากรทีม่ อี ยูจ่ �ำกัด
ให้เกิดผลประโยชน์สงู สุดต่อคนส่วนใหญ่อย่างไร และทีไ่ หนดี ในบางกรณีความสามารถและเทคนิค
ทางด้านการลาดตระเวนการรบสามารถน�ำมาใช้ได้ ตัวอย่างเช่น การใช้อากาศยานไร้คนขับสามารถ
ส�ำรวจเส้นทางที่จะใช้อพยพและใช้ค้นหาที่ตั้งของกลุ่มผู้อพยพ หน่วยที่ใช้เสริมขีดความสามารถ
ได้แก่ หน่วยกิจการพลเรือน ชุดอาสาสมัครประเมินความเสียหาย รวมทัง้ องค์กรต่าง ๆ ในการปฏิบตั ิ
ระหว่างองค์กร ประเทศเจ้าบ้าน และองค์กรที่ไม่ใช่ภาครัฐ สามารถเพิ่มเติมก�ำลังและเสริมวิธีการ
ในการรวบรวมข่าวสารทีเ่ ป็นมาตรฐาน การผสมผสานเครือ่ งมือในการรวบรวมข่าวสารทัง้ ตามแบบ
และไม่ตามแบบ ช่วยให้ผู้บังคับบัญชาได้รับความเข้าใจอย่างชัดแจ้งในเรื่องของสถานการณ์และ
ปรับแผนตามอย่างเหมาะสมยิ่งขึ้น
ประสานการปฏิบัติกับหน่วยงานอื่น
๑๐-๓๙ การปฏิบัติการสนับสนุนภายในประเทศและการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมแก่
ต่างประเทศปกติจะเป็นการปฏิบัติการร่วมระหว่างเหล่าทัพและระหว่างองค์กร การปฏิบัติการ
ช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมต่อต่างประเทศมักเป็นการปฏิบตั กิ ารหลายชาติ ดังนัน้ โอกาสทีจ่ ะท�ำงาน
ซ�้ำซ้อนกันและจุดประสงค์สวนทางกันจึงมีมาก ดังนั้นเอกภาพในความพยายาม จึงต้องมีการสร้าง
ความเข้าใจให้ตรงกันเกี่ยวกับวัตถุประสงค์และแนวทางระหว่างองค์กรทั้งหมดเป็นอย่างน้อยที่สุด
การประกันให้เกิดเอกภาพในความพยายามและการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพต้องการ
การประสานงานอย่างสม�่ำเสมอ ในการปฏิบัติการช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมต่อต่างประเทศ ทบ.
สามารถส่งเสริมเรือ่ งเอกภาพในความพยายามโดยการจัดตัง้ ศูนย์ปฏิบตั กิ ารพลเรือน-ค�ำรวจ-ทหาร
(ศป.พตท.) ในการปฏิบัติการสนับสนุนภายในประเทศ กองทัพจะจัดตั้งส่วนต่าง ๆ เช่น ส่วนติดต่อ
ส่วนสนับสนุนในการวางแผน ที่ปรึกษา และผู้เชี่ยวชาญทางเทคนิคให้กับองค์กรที่เป็นแกนน�ำ
ด้วยการสร้างสัมพันธ์เหล่านี้จะช่วยให้ผู้บังคับบัญชาก�ำหนดได้ว่า ณ จุดใดที่วัตถุประสงค์หรือแผน
ต่าง ๆ ของพวกเขาส่งเสริมหรือขัดแย้งกับวัตถุประสงค์หรือแผนต่างขององค์กรอืน่ ๆ แต่ละขีดความ
สามารถของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจะเป็นความต้องการอย่างต่อเนื่อง
274 บทที่ ๑๐

จัดตั้งมาตรการเพื่อวัดประสิทธิภาพ
๑๐-๔๐ ผูบ้ งั คับบัญชาต้องก�ำหนดมาตรการเพือ่ วัดประสิทธิภาพร่วมระหว่างองค์กร และ
รัฐบาลทีเ่ ป็นผูร้ บั การสนับสนุน การจัดตัง้ มาตรการเพือ่ วัดประสิทธิภาพดังกล่าวจะเป็นการวัดความ
ส�ำเร็จของภารกิจ การวัดประสิทธิภาพมุ่งเน้นไปที่สภาวการณ์และกิจกรรมของผู้รับการสนับสนุน
มาตรการเหล่านัน้ จะต้องมีลกั ษณะ ชัดเจน วัดได้จริง และเชือ่ มโยงเหตุและผล ซึง่ จะช่วยให้ผบู้ งั คับ
บัญชาเข้าใจและวัดความก้าวหน้าและความส�ำเร็จในการปฏิบัติได้ ตัวอย่างเช่น ในการปฏิบัติการ
เพื่อบรรเทาทุกข์จากทุพภิกขภัย มาตรการวัดประสิทธิภาพก็คือ ปริมาณอาหารที่ได้แจกจ่าย
ออกไป แต่กรณีแบบนีอ้ าจยอมรับได้แค่ระดับหนึง่ มาตรการทีด่ กี ว่าน่าจะเป็นปริมาณสารอาหารที่
แจกจ่ายโดยวัดเป็นแคลอรี่ต่อคนต่อวัน หรือวัดด้วยอัตราการเสียชีวิตที่ลดลงจากการขาดอาหาร
แต่การจะใช้มาตรการใดให้ได้ผลขึ้นอยู่กับสถานการณ์ซึ่งจะต้องมีการปรับเปลี่ยนใหม่ให้เข้ากับ
สถานการณ์และแนวทางที่เปลี่ยนไป

ตัวอย่างมาตรการวัดประสิทธิภาพในยุทธการ Support Hope


ในข้อภารกิจได้มกี ารก�ำหนดเป้าหมายทีช่ ว่ ยให้หน่วยก�ำหนดมาตรการวัดประสิทธิภาพ
ได้ ในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๓๗ (ค.ศ. ๑๙๙๔) งานส�ำคัญแรกทีผ่ บู้ ญ ั ชาการหน่วยบัญชาการ
ยุโรปให้กับฝ่ายวางแผนในยุทธการ Support Hope ในรวันดาก็คือ “หยุดการตายให้ได้” การ
ปฏิบตั ใิ นขัน้ ต้นมุง่ ไปสูก่ ารหยุดยัง้ การเสียชีวติ ด้วยโรคอหิวาต์ของผูอ้ พยพทีโ่ กมา ประเทศซาอีร์
ผูบ้ ญ
ั ชาการกองก�ำลังเฉพาะกิจร่วมตัดสินใจวัดประสิทธิภาพในการปฏิบตั ขิ องทหารสหรัฐว่ามี
มากน้อยเพียงใดจากอัตราการตายของผูอ้ พยพในค่ายอพยพว่าลดลงมาอยูใ่ นระดับปกติตามที่
สหประชาชาติกำ� หนดหรือไม่ ความต้องการต่อมาก็ คือ ต้องท�ำให้สนามบินคิกาลี ใช้งานได้ ๒๔
ชั่วโมง ในเรื่องนี้วัดได้จากปริมาณการใช้งานของสนามบินและปริมาณสิ่งของที่ส่งผ่านมาที่
สนามบินแห่งนีห้ ลังจากทหารสหรัฐฯ เข้ามา มาตรการวัดประสิทธิภาพทัง้ สองประการเกิดจาก
การระบุภารกิจที่ใช้ในการปฏิบัติการครั้งนี้ ส่งมอบให้หน่วยงานพลเรือนในทันทีที่ท�ำได้
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 275

ส่งมอบให้กับหน่วยงานพลเรือนทันทีที่เป็นไปได้
๑๐-๔๑ จังหวะเวลาและความเป็นไปได้ในการถ่ายโอนความรับผิดชอบในการควบคุม
จากฝ่ายทหารไปยังฝ่ายพลเรือนขึน้ อยูก่ บั ข้อพิจารณาส�ำคัญทางภารกิจ ซึง่ มีขอ้ พิจารณาส�ำคัญสอง
ประการด้วยกัน ประการแรก คือ หน่วยงานพลเรือนนั้นมีขีดความสามารถในการปฏิบัติงานต่อไป
โดยไม่ต้องมีการสนับสนุนจาก ทบ. และความต้องการในการใช้ก�ำลังของ ทบ. สนับสนุนต่อ
การปฏิบัติการอื่น ๆ ผู้บังคับบัญชาระบุข้อพิจารณาและรวมถึงข้อพิจารณาอื่น ๆ ของฝ่ายพลเรือน
ในกระบวนการวางแผนแต่เนิน่ ๆ เท่าทีเ่ ป็นไปได้ ผูบ้ งั คับบัญชาท�ำการพิจารณาเป้าหมายระยะยาว
ของผู้น�ำฝ่ายพลเรือนและชุมชนที่พวกเขาช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง ขณะที่เป้าหมายเร่งด่วนของ
การปฏิบัติการสนับสนุนคือ การบรรเทาความทุกข์ยากและความทุกข์ทรมาน และเป้าหมายสูงสุด
คือ การสร้างสภาวการณ์ที่จ�ำเป็นส�ำหรับการปฏิบัติการของฝ่ายพลเรือนที่ก�ำลังตามมา กิจกรรม
การถ่ายโอนความรับผิดชอบไปสู่หน่วยงานพลเรือนและการถอนก�ำลังของ ทบ. เป็นสัญญาณที่ดี
ต่อประชาชนที่ได้รับการสนับสนุนและ ทบ. สิ่งนี้ชี้ให้เห็นว่าชุมชนได้รับการฟื้นฟูอย่างพอเพียง
ส�ำหรับการที่หน่วยงานพลเรือนจะกลับมาท�ำการควบคุมใหม่ ซึ่งชีวิตก�ำลังกลับสู่ปกติสุข และนั่น
หมายถึง ทบ.ประสบความส�ำเร็จอย่างสมบูรณ์แบบในภารกิจสนับสนุน
ภาคที่ ๔
การปฏิบัติการเสริมความสามารถ
บทนี้จะศึกษาในเรื่องระดับของการปฏิบัติการที่สามารถปฏิบัติได้ ผู้บังคับบัญชาจะ
สั่งการให้มีการปฏิบัติเพื่อสนับสนุนภารกิจการรุก รับ การปฏิบัติการเพื่อให้เกิดเสถียรภาพ และ
การสนับสนุนการรบ เป็นการปฏิบัติเพื่อด�ำรงความต่อเนื่อง มักจะน�ำไปใช้ในการปฏิบัติการ
ทางทหารที่ไม่ใช่สงคราม
บทที่ ๑๑ จะกล่าวถึงกองทัพบกจะปฏิบัติภารกิจอย่างไรเพื่อให้ได้มาซึ่งความเหนือกว่าด้าน
สารสนเทศ อธิบายถึงความจ�ำเป็นของกองทัพที่จะสามารถมองเห็นภาพสนามรบของตน เข้าใจ
สถานการณ์ในสนามรบและสามารถท�ำการริเริม่ ก่อนฝ่ายตรงข้าม นอกจากนัน้ จะกล่าวถึงลักษณะ
ของความเหนือกว่าทางด้านสารสนเทศและสภาวะแวดล้อมของข่าวสาร อธิบายถึงองค์ประกอบ
ของความเหนือกว่าด้านสารสนเทศ ข่าวกรอง การลาดตระเวน และการเฝ้าตรวจ การจัดการด้าน
ข่าวสาร และการปฏิบัติการสารสนเทศรวมถึงการปฏิบัติการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง อธิบายถึงลักษณะ
ที่ส�ำคัญของขั้นตอนในการให้ได้มาซึ่งความเหนือกว่าด้านสารสนเทศ และสรุปถึงผลกระทบที่เกิด
จากเทคโนโลยีทางข่าวสารในองค์ประกอบของความเหนือกว่าด้านสารสนเทศ
บทที่ ๑๒ จะกล่าวถึงการสนับสนุนการช่วยรบ อธิบายถึงวัตถุประสงค์ของการสนับสนุนการช่วย
รบและงานทีต่ อ้ งกระท�ำในการสนับสนุนการช่วยรบ อธิบายถึงการปฏิบตั ใิ นการสนับสนุนการช่วย
รบเพือ่ สนับสนุนการปฏิบตั กิ ารทัง้ ๔ แบบของกองทัพบก นอกจากนัน้ จะกล่าวถึงการสนับสนุนโดย
บุคคลในชาติ การสนับสนุนการช่วยรบในการรบร่วมรบผสม กองก�ำลังผสมนานาชาติ ผลกระทบที่
เกิดขึน้ จาก “ระยะถึงทางการยุทธ์” และความสามารถในการด�ำรงสถานภาพหรือความต่อเนือ่ ง ใน
ตอนท้ายจะกล่าวถึงผลกระทบของเทคโนโลยีในการสนับสนุนการช่วยรบ
การปฏิบตั กิ ารส่งเสริมความสามารถ เป็นงานในหน้าทีก่ ารบังคับบัญชาและเป็นศิลปะในการปฏิบตั ิ
ภารกิจ โดยตัวมันเองแล้วไม่สามารถจะประกันได้ว่าภารกิจจะประสบความส�ำเร็จ แต่ถ้าขาดไปก็
อาจท�ำให้ภารกิจล้มเหลวได้
บทที่ ๑๑
ความเหนือกว่าด้านสารสนเทศ
“การคาดเดาเจตนารมณ์ของฝ่ายตรงข้าม การท�ำนายความคิดของฝ่ายตรงข้าม การ
เก็บง�ำความคิดและเจตนารมณ์ของฝ่ายเรา การท�ำให้ฝ่ายตรงข้ามคิดไปในทางที่ผิดด้วยการลวง
การใช้กลอุบาย แผนทีร่ ดั กุม และการสูร้ บภายใต้สภาวะทีเ่ หมาะสม จึงเป็นศิลปะในการท�ำสงคราม”
นโปเลียน
๑๑-๑ ฝ่ายทีม่ สี ารสนเทศทีด่ กี ว่าและสามารถน�ำมาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ย่อมท�ำให้
ได้เปรียบฝ่ายตรงข้าม หน่วยที่บรรลุผลในการใช้ข้อดีและประสิทธิภาพของข่าวสารจะท�ำให้ได้
เปรียบทางข่าวสาร ซึ่งจะท�ำให้เกิดผลต่อการปฏิบัติของฝ่ายตรงข้ามทั้งทัศนคติ การตัดสินใจ และ
การด�ำเนินการต่าง ๆ ความเหนือกว่าด้านสารสนเทศเป็นความได้เปรียบทางยุทธการ ซึ่งได้มาจาก
ความสามารถในการรวบรวมข่าวสาร การด�ำเนินกรรมวิธตี อ่ ข่าวสาร และการกระจายข่าวสารอย่าง
ต่อเนื่อง ในขณะเดียวกันก็แสวงหาประโยชน์และลดประสิทธิภาพในการแสวงประโยชน์หรือขัด
ขวางความสามารถของฝ่ายตรงข้ามในการกระท�ำดังกล่าว ผู้บังคับบัญชาจะใช้ประโยชน์จากความ
เหนือกว่าด้านสารสนเทศให้เกิดประโยชน์สงู สุดเพือ่ ให้บรรลุภารกิจ ในระหว่างปฏิบตั กิ ารเพือ่ ความ
เหนือกว่าด้านสารสนเทศนัน้ จะต้องไม่หยุดนิง่ อยูก่ บั ที่ ทุกฝ่ายจะต้องป้องกัน ปกปิดสารสนเทศของ
ตัวเอง และแสวงประโยชน์จากความได้เปรียบดังกล่าว รวมทัง้ ต้องป้องกันและลดขีดความสามารถ
ของฝ่ายตรงข้ามไม่ให้ได้รบั ทราบสารสนเทศของตน ความได้เปรียบในเรือ่ งของความเหนือกว่าด้าน
สารสนเทศในการปฏิบัติการสามารถเกิดขึ้นได้หลายรูปแบบ เริ่มตั้งแต่ความสามารถในการสร้าง
ภาพการยุทธ์และเข้าใจในบริบทของมันได้เป็นอย่างดี จนถึงความสามารถในการจัดรูปแบบสภาวะ
แวดล้อมของสนามรบ ด้วยการปฏิบัติการสารสนเทศเชิงรุก
๑๑-๒ จากประโยชน์ของความเหนือกว่าด้านสารสนเทศนี้ เกีย่ วข้องกับการที่ กกล.ทบ.
สามารถที่จะเห็นได้ก่อน เข้าใจได้ก่อน และกระท�ำก่อน ซึ่งท�ำให้ กกล.ทบ. ต้องมีความเข้าใจและ
มองเห็นประโยชน์ รวมทั้งต้องมีความคิดริเริ่มในการปฏิบัติให้ได้ก่อนฝ่ายตรงข้าม กกล.ทบ. จะ
ไม่สามารถพัฒนาให้เกิดความเหนือกว่าด้านสารสนเทศได้ ถ้ายังคงปฏิบตั กิ ารเฉพาะการต่อต้านการ
ปฏิบัติของฝ่ายตรงข้ามเพียงอย่างเดียว ความเหนือกว่าด้านสารสนเทศต้องการผู้บังคับบัญชาที่มี
ความคิดริเริ่ม และมองเห็นความส�ำคัญของสารสนเทศเป็นส่วนหนึ่งของอ�ำนาจก�ำลังรบของตน
ต้องมีความเชื่อมั่นต่อผู้ใต้บังคับบัญชาที่ให้สารสนเทศที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งต้องมีการด�ำเนินการ
อย่างต่อเนื่อง ในเรื่อง การวางแผน การเตรียมการ การปฏิบัติการ และการประเมินค่า ในการให้
ได้มาซึ่งความเหนือกว่าด้านสารสนเทศนั้น ผู้บังคับบัญชาจะต้องท�ำการประสานสอดคล้องและ
278 บทที่ ๑๑

ตั้งเป้าหมายของระบบสารสนเทศ เหมือนในเรื่องการยิงสนับสนุนและการด�ำเนินกลยุทธ์ แสวงหา


หนทางในการใช้ประโยชน์จากสารสนเทศและระบบสารสนเทศได้ดีกว่าฝ่ายตรงข้ามที่กระท�ำ
ต่อฝ่ายเรา ระบบสารสนเทศเหล่านีจ้ ะรวมถึงการวิเคราะห์ การด�ำเนินกรรมวิธี และการฝึกทีจ่ ำ� เป็น
เพื่อกระจายและใช้ประโยชน์จากข่าวกรองและข่าวสารที่ส�ำคัญยิ่งอื่น ๆ จากแหล่งข้อมูลดิบ
และส่งข่าวออกไปในแบบฟอร์มทีส่ ามารถท�ำความเข้าใจได้งา่ ยอย่างรวดเร็ว ผูบ้ งั คับบัญชาทีป่ ระสบ
ความส�ำเร็จคือ ผู้ที่มองเห็น เข้าใจ และน�ำสถานการณ์ต่าง ๆ เหล่านี้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ลักษณะของความเหนือกว่าด้านสารสนเทศ
๑๑-๓ การจะได้มาและการขยายผลให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุดจากความเหนือกว่า
ด้านสารสนเทศ ต้องการหลักนิยม การฝึก ความเป็นผู้น�ำ การจัดองค์กร เครื่องมือ และก�ำลังทหาร
มันบ่งบอกบางสิง่ ทีต่ อ้ งมีเป็นพิเศษของผูบ้ งั คับบัญชาในการสร้างวิสยั ทัศน์ การให้อรรถาธิบาย และ
การสั่งการปฏิบัติ การใช้ประโยชน์ของระบบสารสนเทศที่ก้าวหน้า การด�ำเนินกรรมวิธี และการ
ฝึกอบรมอย่างมีประสิทธิภาพ จะอ�ำนวยให้ผู้บังคับบัญชาสามารถบรรลุภารกิจ และยังคงเข้าใจ
สถานการณ์ ไ ด้ อ ย่ า งถู ก ต้ อ งเหมาะสม วิ วั ฒ นาการทางด้ า นสารสนเทศสมั ย ใหม่ จ ะช่ ว ยให้
ผู้บังคับบัญชาสามารถน�ำหน่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถตัดสินใจและมีความมั่นใจในการ
ตัดสินใจได้ดีกว่าฝ่ายตรงข้าม
๑๑-๔ ผู้บังคับบัญชาสามารถบริหารจัดการทรัพยากรด้านสารสนเทศต่าง ๆ โดยการ
ผสมผสานวิจารณญาณร่วมกับความรู้ความสามารถที่มีของฝ่ายเสนาธิการและผู้ใต้บังคับบัญชา
รวมทั้งการใช้ประโยชน์จากระบบข่าวสาร เพื่อให้สามารถเข้าใจสภาพของสนามรบได้ดีกว่าฝ่าย
ตรงข้าม ผู้บังคับบัญชาต้องรวบรวมสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับปัจจัย METT-TC เพื่อให้เกิด
ประสิทธิภาพสูงสุดในการด�ำเนินการควบคุมบังคับบัญชา ตั้งแต่ค�ำสั่งเตือนฉบับแรกจนถึงการวาง
ก�ำลังใหม่อย่างสมบูรณ์ กกล.ทบ. จะใช้เครื่องมือทุกชนิดที่มีอยู่ ซึ่งรวมถึงการใช้ก�ำลังเพื่อให้ได้มา
ซึ่งสารสนเทศ ในขณะเดียวกันก็จะพยายามขัดขวางการด�ำเนินการด้านข้อมูลข่าวสารของฝ่าย
ตรงข้ามเกีย่ วกับกองก�ำลังของฝ่ายเรา และลดขีดความสามารถในการรวบรวมข่าวสาร การด�ำเนิน
กรรมวิธี การจัดเก็บ การแสดงผล และการกระจายข่าวสารของฝ่ายตรงข้าม หน่วยของฝ่ายเราที่มี
ประสิทธิภาพจะใช้ประโยชน์จากสารสนเทศ ขยายผลเสริมด้วยมาตรการเชิงรุก ซึ่งป้องกันข้าศึก
จากการใช้สารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพ หรือท� ำการตอบโต้การใช้สารสนเทศของฝ่ายเรา
สร้างสภาวการณ์ที่เกื้อกูลต่อการบรรลุความเหนือกว่าด้านสารสนเทศ กกล.ทบ. ใช้ข้อได้เปรียบ
ในเรื่องของความเหนือกว่าด้านสารสนเทศ เป็นเสมือนแท่นกระโดดส�ำหรับการปฏิบัติรบแตกหัก
๑๑-๕ ในระดับยุทธการและยุทธวิธี ความเหนือกว่าด้านสารสนเทศอย่างแน่นแฟ้น
การฉวยโอกาส และการครองความริเริม่ จะมีลกั ษณะทีโ่ ดดเด่นทีแ่ ตกต่างกันไปในแต่ละการปฏิบตั ิ
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 279

การ ความเหนือกว่าด้านสารสนเทศจะช่วยให้ผู้บังคับบัญชามีการตัดสินใจที่รวดเร็วและดีกว่า
ฝ่ายตรงข้าม ในขณะเดียวกันเมือ่ ฝ่ายตรงข้ามและข้าศึกไม่สามารถทีจ่ ะรักษาความหนักแน่นมัน่ คง
อยู่ได้ ก็จะท�ำให้ต้องเผชิญกับปัญหาใหม่ ๆ ก่อนที่พวกเขาสามารถแก้ปัญหาที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน
ด้วยการรักษาความเหนือกว่าด้านสารสนเทศในจังหวะการรบที่มีความรวดเร็ว จะเป็นอุปสรรค
ทีส่ ำ� คัญในการตัดสินใจของฝ่ายตรงข้าม เอือ้ อ�ำนวยให้ฝา่ ยตรงข้ามถูกท�ำลายได้งา่ ยขึน้ ในการปฏิบตั ิ
การเพื่อเสถียรภาพและการปฏิบัติการสนับสนุนนั้น ความเหนือกว่าด้านสารสนเทศจะช่วยให้
ก�ำลังรบที่วางไว้คาดการณ์ปัญหาและความต้องการ มันยังท�ำให้ผู้บังคับบัญชาสามารถควบคุม
เหตุการณ์และสถานการณ์ได้ตงั้ แต่ตน้ ด้วยก�ำลังทีน่ อ้ ยลง รวมทัง้ สามารถสร้างสภาวการณ์ทจี่ �ำเป็น
ต่อการบรรลุผลลัพธ์ขั้นสุดท้าย
๑๑-๖ ฝ่ายตรงข้ามจะเฝ้าติดตามเพื่อขยายโอกาสความได้เปรียบในด้านสารสนเทศที่
มีอยูด่ ว้ ยวิธกี ารต่าง ๆ ขณะทีพ่ ยายามขัดขวางความเหนือกว่าด้านสารสนเทศต่อฝ่ายเรา เนือ่ งจาก
กองก�ำลังของฝ่ายตรงข้ามมีการปรับตัวเองอย่างสม�่ำเสมอและสถานการณ์ต่าง ๆ ค่อย ๆ ปรากฏ
ขึ้นอย่างต่อเนื่อง ความเหนือกว่าด้านสารสนเทศมีความเกี่ยวข้องซึ่งกันและกัน อีกทั้งยังไม่ยั่งยืน
ถาวรอีกด้วย ความเหนือกว่าด้านสารสนเทศอย่างสมบูรณ์แบบเป็นสิง่ ทีเ่ ป็นไปไม่ได้ ผูบ้ งั คับบัญชา
จะต้องรีบประเมินคุณค่าของสารสนเทศต่อความต้องการในการจัดท�ำข้อตกลงใจ ซึ่งลักษณะการ
ประเมินนีจ้ ะต้องท�ำการประมาณการภาพการยุทธ์ของข้าศึกทีถ่ กู ต้อง ผูบ้ งั คับบัญชาต้องหลีกเลีย่ ง
ความพึงพอใจในการใช้เครื่องมือหรือเทคโนโลยีทางทหารบางอย่าง ต้องมีความระมัดระวังว่า
ฝ่ายตรงข้ามอาจมีโอกาส หรือมีการตอบโต้ หรือเปิดเผยแหล่งข่าวที่ได้เปรียบของฝ่ายเรา ท�ำการ
ปิดกั้นแหล่งเหล่านั้น หรืออาจใช้แหล่งข่าวของเราในการลวง
๑๑-๗ ผู้บังคับบัญชาจะต้องระลึกไว้เสมอว่า ถ้าไม่สามารถเห็นภาพการรบและสั่งการ
ในการปฏิบัติการตามที่ก�ำหนดไว้เพื่อให้บรรลุผลและด�ำรงไว้ซึ่งสารสนเทศนั้น พวกเขาอาจจะ
สูญเสียมันไป ผู้บังคับบัญชาแสวงประโยชน์จากขีดความสามารถในความได้เปรียบของสารสนเทศ
และการข่าวกรอง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอ�ำนาจก�ำลังรบ พวกเขาต้องพยายามแสวงหาหนทาง
ในการปรับปรุงความเข้าใจในสถานการณ์ของพวกเขาและท�ำการประเมินความได้เปรียบนั้นของ
ข้าศึก พวกเขาจะต้องรูว้ า่ การสูญเสียความเหนือกว่าด้านสารสนเทศ อาจท�ำให้สญ
ู เสียความคิดริเริม่
ในการรบ
สภาวะแวดล้อมด้านสารสนเทศ
๑๑-๘ สภาวะแวดล้อมของสารสนเทศคือ การรวมกันขององค์ประกอบหลายอย่าง ได้แก่
บุคคล องค์กรหรือระบบซึ่งท�ำการรวบรวมข่าวสาร ด�ำเนินกรรมวิธี หรือกระจายข่าวสาร รวมทั้ง
280 บทที่ ๑๑

ตัวของสารสนเทศเองด้วย สภาพอากาศ ภูมปิ ระเทศ และผลของอาวุธต่าง ๆ เช่นคลืน่ แม่เหล็กไฟฟ้า


จะมีผลกระทบกระเทือนต่อสภาวะแวดล้อมของสารสนเทศ แต่ไม่ถือเป็นส่วนหนึ่งของสารสนเทศ
สภาวะแวดล้อมของสารสนเทศจะรวมถึงระบบการควบคุมบังคับบัญชาของก�ำลังฝ่ายเราและฝ่าย
ข้าศึก รวมทั้งองค์กรกลุ่มอื่น ๆ ด้วย ผู้บังคับบัญชาต้องพิจารณาถึงการกระจายของข่าวสารอย่าง
รวดเร็ว รวมทั้งธรรมชาติในการแพร่กระจายของสภาวะแวดล้อมด้านสารสนเทศต่าง ๆ ซึ่งเมื่อ
ผู้บังคับบัญชาสร้างมโนภาพในการปฏิบัติการขึ้น จะต้องรวมเอาส่วนของสภาพแวดล้อมด้าน
สารสนเทศ ซึ่งกระทบต่อการปฏิบัติการเข้าไว้ในห้วงปฏิบัติการรบของพวกเขา
๑๑-๙ โดยมากสภาวะแวดล้อมด้านสารสนเทศจะไม่อยูภ่ ายใต้การควบคุมทางทหาร แต่
จะขึ้นอยู่กับการฉกฉวยโอกาสของผู้บังคับบัญชา ในขณะที่ไม่สามารถควบคุมสภาวะแวดล้อมด้าน
ข้อมูลข่าวสารได้ทั้งหมด ผู้บังคับบัญชาจะต้องมีการเตรียมการที่ดีเพื่อที่จะสามารถปฏิบัติภารกิจ
ภายใต้สภาพนั้น ๆ ได้ ผลของสภาวะแวดล้อมด้านสารสนเทศจะเพิ่มความซับซ้อนของการปฏิบัติ
การ ทบ. มากขึ้นเรื่อย ๆ ยิ่งไปกว่านั้น ผู้บังคับบัญชายังต้องพิจารณาว่าปัจจัยภายนอกต่าง ๆ ที่อยู่
นอกพื้นที่ปฏิบัติการของพวกเขา จะมีผลกระทบต่อการปฏิบัติการอย่างไร หลายครั้งที่การปฏิบัติ
การสารสนเทศนัน้ ต้องการ การประสานงานกับองค์กรทัง้ ภาครัฐและพลเรือน ข้อจ�ำกัดทางกฎหมาย
ต่อการปฏิบตั กิ ารสารสนเทศจะแปรเปลีย่ นไปตามสถานการณ์ ปฏิสมั พันธ์ในเรือ่ งดังกล่าวนีอ้ าจจะ
กระทบกระเทือนต่อเป้าหมายทางยุทธวิธีในเรื่องเกี่ยวกับการปฏิบัติการและยุทธศาสตร์ ซึ่งแม้จะ
ดูเหมือนไม่มคี วามส�ำคัญต่อการปฏิบตั กิ ารทางทหารในระดับยุทธวิธแี ละระดับยุทธการ แต่อาจจะ
มีผลกระทบในระดับยุทธศาสตร์หรือแม้แต่ในทางการเมืองระดับชาติเมือ่ ถูกสือ่ ต่าง ๆ น�ำมาเผยแพร่
ให้เกิดความส�ำคัญขึ้น ดังนั้น ผู้บังคับบัญชาในระดับยุทธการจะต้องพิจารณามากกว่าเงื่อนไขทาง
ทหารในเรื่องของผลลัพธ์ที่ต้องการของการทัพ พวกเขาต้องพิจารณาให้เกิดความเข้าใจในเรื่อง
ประเด็นแง่มุมทางการเมืองอย่างถ่องแท้ การทูต และสังคมอย่างดีอีกด้วย
๑๑-๑๐ กกล.ทบ. ต้องพึ่งพาสภาวะแวดล้อมด้านสารสนเทศเป็นอย่างมาก ดังนั้น
ผูบ้ งั คับบัญชาและฝ่ายอ�ำนวยการจึงมีความจ�ำเป็นทีจ่ ะต้องเข้าใจถึงผลกระทบเหล่านัน้ ทีเ่ กิดขึน้ กับ
การปฏิบัติการต่าง ๆ และพัฒนาระบบควบคุมบังคับบัญชาที่สนับสนุนความต้องการทางการยุทธ์
และความต้องการข่าวกรองต่าง ๆ ของผู้บังคับบัญชา ในเรื่องของสภาพแวดล้อมด้านสารสนเทศ
นั้นระยะทางมีความหมายเพียงเล็กน้อย ในระบบสารสนเทศของ ทบ. นั้นจะต้องท�ำการเกาะติด
ระบบสารสนเทศของฝ่ายข้าศึกให้ได้ก่อนการปฏิบัติการใด ๆ จะเริ่มขึ้น ตลอดจนยังต้องสามารถ
ติดตามต่อไปหลังจากสถานการณ์สนิ้ สุดลง ผูบ้ งั คับบัญชาจะต้องเข้าใจว่าไม่มที ใี่ ดทีป่ ลอดภัยส�ำหรับ
สารสนเทศของฝ่ายเรา ดังนั้น ก่อนที่ก�ำลังทหารของ ทบ. จะมาถึงเขตสงคราม การรบของ
สารสนเทศก็ได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 281

กรณีตัวอย่าง ความเหนือกว่าด้านสารสนเทศในสงครามอ่าว
ในความเห็นของผูส้ งั เกตการณ์ทางทหารนัน้ ในสงครามอ่าวจะมุง่ ความสนใจไปทีร่ ะบบ
สารสนเทศแบบบูรณาการ การปฏิบัติการและการด�ำเนินการในสงครามรูปแบบใหม่จะใช้การ
ปฏิบตั กิ ารทางอากาศ ท�ำให้ระบบการควบคุมบังคับบัญชาทัง้ ในพืน้ ทีอ่ ริ กั และคูเวตขัดข้อง ท�ำให้
ระบบการป้องกันภัยทางอากาศหมดประสิทธิภาพและการตอบสนองทั้งในระดับยุทธการและ
ยุทธวิธลี ดประสิทธิภาพลง เมือ่ การปฏิบตั กิ ารทางอากาศเริม่ ต้นขึน้ นัน้ กองทัพทีส่ ามก็สามารถ
ควบคุมพื้นที่ทางตอนใต้ของชายแดนคูเวตไว้ได้ ภายใต้การโจมตีทางอากาศอย่างหนักหน่วง
และต่อเนื่อง ท�ำให้กองทัพซาอุดีอาระเบียและกองทัพฝรั่งเศสสามารถคุ้มครองพื้นที่ตามแนว
ชายแดน ในขณะเดียวกันกองก�ำลังของสหรัฐฯ ก็เคลื่อนย้ายไปทางด้านตะวันตก โดยกองพล
ที่ ๗ และ ๑๘ เคลื่อนก�ำลังเข้าสู่พื้นที่ที่ยังมีการต่อต้าน ในขณะที่ศูนย์ควบคุมบังคับบัญชาของ
สหรัฐฯ ก็ปฏิบัติการลวงทั้งทางทะเลและทางภาคพื้นดิน และในขั้นตอนสุดท้ายได้ท�ำการลวง
โดยใช้กองพลทหารม้าที่ ๑ ปฏิบัติการในพื้นที่ วัลดี อัล-บาติน (Waldi Al – Batin)
ก่อนการรุกทางภาคพื้นดินซึ่งเป็นส่วนสนับสนุนจะเริ่มต้นขึ้น ต้องให้แน่ใจว่าทางด้าน
ปีกขวาของกองทัพอิรักได้รุกเข้าไปทางด้านตะวันตกของคูเวต รวมทั้งข่าวจากทางหน่วยรบ
พิเศษและการลาดตระเวนทางอากาศยุทธวิธกี ช็ ว่ ยสนับสนุนเหตุการณ์ดงั กล่าว แล้วในวันที่ ๒๓
ก.พ. ๑๙๙๑ หน่วยทั้งสองก็สามารถควบคุมพื้นที่ตามแนวชายแดนและขยายการลาดตระเวน
ทั้งทางภาคพื้นดินและทางอากาศเข้าไปในประเทศอิรักได้สำ� เร็จ ภายใต้การโจมตีทางอากาศ
อย่างหนักหน่วงและต่อเนือ่ ง ท�ำให้สามารถตรึงและสังหารก�ำลังของกองทัพอิรกั ได้เป็นจ�ำนวน
มาก หน่วยนาวิกโยธินและกองพลทหารม้าที่ ๑ ยังท�ำการลวงต่อไป เพื่อดึงความสนใจของ
กองทัพอิรักไปทางด้านตะวันออก กองทัพที่ ๓ เคลื่อนย้ายก�ำลังไปยังพื้นที่ที่มีการต่อต้านทาง
ตะวันตกของ วัลดี อัล-บาติน (Waldi Al – Batin) จากความผิดพลาดของอิรัก เมื่อ ๒๔๐๔๐๐
ก.พ. พ.ศ. ๒๕๓๔ (ค.ศ. ๑๙๙๑) กองก�ำลังผสมนานาชาติก็สามารถบุกเข้าคูเวตและอิรัก
ได้ส�ำเร็จ และสามารถบรรลุภารกิจในการเอาชนะกองทัพที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับ ๔ ของโลก
ได้ในเวลาเพียง ๔ วัน หลังจากนั้น
ภายหลังจากสงครามสงบลง พล.ท.บอกดานอฟ (Bogdanov) เสนาธิการของสถาบัน
การศึกษาทางยุทธศาสตร์ของอดีตสหภาพโซเวียตได้ย�้ำว่า อิรักนั้นได้พ่ายแพ้ตั้งแต่สงครามยัง
ไม่เริม่ ขึน้ สงครามครัง้ นีเ้ ป็นสงครามของสารสนเทศ สงครามอิเล็กทรอนิกส์ การควบคุมบังคับ
บัญชาและสงครามต่อต้านสารสนเทศ กองทัพอิรักนั้นเปรียบเสมือนกองทัพที่หูหนวกและ
ตาบอด
282 บทที่ ๑๑

องค์ประกอบที่มีส่วนสนับสนุนความเหนือกว่าด้านสารสนเทศ
๑๑-๑๑ ผู้บังคับบัญชาจะอ�ำนวยการผ่านองค์ประกอบ ๓ อย่างที่พึ่งพาซึ่งกันและกันใน
การสนับสนุนเพื่อบรรลุถึงความเหนือกว่าด้านสารสนเทศ (ดูรูปที่ ๑๑-๑)
- ข่าวกรอง การเฝ้าตรวจ และการลาดตระเวน (ขฝล.)
- การจัดการสารสนเทศ
- ปฏิบัติการสารสนเทศ (รวมถึงกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง)

รูปที่ ๑๑-๑ ความเหนือกว่าด้านสารสนเทศ

องค์ประกอบทีใ่ ห้การสนับสนุนเหล่านีช้ ว่ ยท�ำให้เกิดความสามารถและเป็นส่วน


เสริมการปฏิบตั กิ ารทุกรูปแบบ วัตถุประสงค์เฉพาะทีส่ �ำคัญซึง่ สนับสนุนให้เกิดความเหนือกว่าด้าน
สารสนเทศคือ
- การพัฒนาและด�ำรงไว้ซงึ่ ภาพความเข้าใจในส่วนของข้าศึกและฝ่ายตรงข้าม
เพื่อคาดเดาถึงหนทางปฏิบัติที่น่าจะเป็นไปได้
- ขัดขวางข่าวสารของฝ่ายตรงข้ามเกี่ยวกับก� ำลังและการปฏิบัติการของ
ฝ่ายเรา
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 283

- ท�ำให้เกิดอิทธิพลต่อการรับรู้ การวางแผน การปฏิบตั ิ และเจตจ�ำนงของผูน้ ำ�


ฝ่ายตรงข้าม
- ท�ำให้เกิดอิทธิพลต่อผูไ้ ม่เกีย่ วข้องกับการรบและฝ่ายเป็นกลาง ทีจ่ ะสนับสนุน
ภารกิจของฝ่ายเรา
- ให้ข้อมูลต่อองค์การที่ไม่เกี่ยวข้องกับการรบและฝ่ายเป็นกลาง เพื่อให้
สนับสนุนนโยบาย การปฏิบัติและเจตนารมณ์ของฝ่ายเราได้ดียิ่งขึ้น
- ป้องกันกระบวนการการตัดสินใจ สารสนเทศ และระบบสารสนเทศของ
ฝ่ายเรา
- จัดเตรียมสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง ที่เป็นประโยชน์แก่ผู้บังคับบัญชาและฝ่าย
อ�ำนวยการ อย่างต่อเนื่องในรูปแบบที่เป็นประโยชน์มากที่สุด
- ท�ำลาย ลดความน่าเชื่อถือ รบกวน ปฏิเสธ ลวง และแสวงประโยชน์ต่อ
กระบวนการตัดสินใจ สารสนเทศ และระบบสารสนเทศของข้าศึก ตลอดจน
ท�ำให้เกิดอิทธิพลต่อสารสนเทศ และระบบสารสนเทศของฝ่ายตรงข้าม
๑๑-๑๒ ผู้บังคับบัญชาจะต้องพยายามเพื่อให้ได้มาซึ่งความเหนือกว่าด้านสารสนเทศ
ไม่เฉพาะเพียงพื้นที่ปฏิบัติการเท่านั้นแต่ต้องทั่วทั้งสภาพแวดล้อม ความเหนือกว่าในองค์ประกอบ
สนับสนุนเพียงตัวเดียวไม่เป็นเครือ่ งประกันว่าฝ่ายเราจะมีความเหนือกว่าด้านสารสนเทศ ตัวอย่าง
เช่น กกล.ทบ. อาจมีการจัดการสารสนเทศดีกว่าฝ่ายข้าศึกทีม่ คี วามสลับซับซ้อนน้อยกว่า แต่อย่างไร
ก็ตาม ข่าวกรองที่เหนือกว่าและการรักษาความปลอดภัยที่ดีกว่าอาจท�ำให้ผู้บังคับบัญชาของ
ฝ่ายข้าศึกมีข้อมูลเกี่ยวกับ กกล.ทบ. มากกว่า การปฏิบัติใด ๆ ที่ไม่ประสานสอดคล้องกันจะท�ำให้
เกิดความขาดประสิทธิภาพ ความเหนือกว่าด้านสารสนเทศจะสัมฤทธิผลก็ต่อเมื่อผู้บังคับบัญชา
สามารถประสานสอดคล้ององค์ประกอบทัง้ สามเข้าด้วยกัน ดังรูปที่ ๑๑-๒ ทีแ่ สดงให้เห็นธรรมชาติ
ในการต่อสู้เพื่อความเหนือกว่าด้านสารสนเทศ
284 บทที่ ๑๑

รูปที่ ๑๑-๒ การต่อสู้เพื่อให้ได้ความเหนือกว่าด้านสารสนเทศ

ข่าวกรอง การเฝ้าตรวจ และการลาดตระเวน (ขฝล.)


๑๑-๑๓ การข่าวกรอง การเฝ้าตรวจ และการลาดตระเวน เป็นหลักการพื้นฐานของ
ความเหนือกว่าด้านสารสนเทศ การปฏิบัติการ ขฝล. ที่มีการผสมผสานกันช่วยเพิ่มพูนแหล่ง
ทรัพยากรในการรวบรวมข่าวสารให้มากยิ่งขึ้น การสนธิ ขฝล. ขจัดหน่วยและพันธกิจที่เป็น
“ปล่องไฟ” ในการวางแผน การรายงาน และด�ำเนินกรรมวิธีกับข่าวสาร และการผลิตข่าวกรอง
จะก่อให้เกิดกลไกร่วมส�ำหรับทุกหน่วยในการด�ำเนินการปฏิบัติการ ขฝล. ในวิถีทางที่มีการ
ประสานกัน และร่วมแรงร่วมใจ
๑๑-๑๔ การสนธิ ขฝล. อ�ำนวยให้หน่วยท�ำการผลิตข่าวกรองที่เกี่ยวข้องกับข้าศึกและ
สภาพแวดล้อมต่าง ๆ รวมถึงสภาพภูมปิ ระเทศ ภูมอิ ากาศ และข้อพิจารณาด้านพลเรือน ซึง่ จ�ำเป็น
ต่อการท�ำการตัดสินใจ ข่าวกรองนีต้ อบความต้องการทีพ่ ฒ
ั นาขึน้ ตลอดทัว่ ทัง้ การด�ำเนินกรรมวิธใี น
การปฏิบัติการต่าง ๆ ข่าวกรองที่ถูกต้องแม่นย�ำและทันเวลาจะเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดความกล้า
และสามารถปฏิบัติภารกิจได้ง่ายขึ้น ซึ่งอาจจะลบล้างความเหนือกว่าของฝ่ายข้าศึก โดยทั่วไปแล้ว
ในเรื่องก�ำลังทหารและยุทโธปกรณ์ การข่าวกรองที่ทันเวลาและถูกต้องแม่นย�ำจะขึ้นอยู่กับการ
ลาดตระเวน การเฝ้าตรวจอย่างห้าวหาญ อย่างต่อเนื่องตลอดเวลา
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 285

การข่าวกรอง การข่ า วกรอง คื อ (๑) ผลผลิ ต ที่ ไ ด้ จ ากการ


รวบรวม ด�ำเนินกรรมวิธี การสนธิ การวิเคราะห์
๑๑-๑๕ ค ว า ม ส ลั บ ซั บ ซ ้ อ น ข อ ง
ประเมินค่า และการตีความในเรือ่ งของข่าวสารที่
สภาพแวดล้ อ มทางการยุ ท ธ์ ท� ำ ให้ ต ้ อ งมี ก าร
มีอยู่เกี่ยวกับต่างชาติหรือพื้นที่ (๒) สารสนเทศ
แบ่งปันข่าวกรองจากระดับชาติไปจนถึงในระดับ และความรู้เกี่ยวกับฝ่ายตรงข้ามที่ได้จากการ
ยุทธวิธี รวมทั้งในระหว่างกองบัญชาการในแต่ละ สังเกตการณ์ การสืบสวน การวิเคราะห์ หรือการ
ระดับ การวิเคราะห์ถือเป็นงานที่มีความซับซ้อน ท�ำความเข้าใจ
ซึ่ ง ต้ อ งการ การหลอมรวมสารสนเทศกั บ การ
ข่าวกรองจากงานการข่าวกรอง การลาดตระเวน การเฝ้าตรวจทีม่ วี นิ ยั และหน่วยทีใ่ ห้ผลผลิตทีเ่ ป็น
อันหนึ่งอันเดียวกัน การวิเคราะห์จะต้องมีการสังเคราะห์ข้อมูลรวมทั้งต้องมีการเปรียบเทียบ
ผู้วิเคราะห์ซึ่งท�ำงานใกล้ชิดกับจุดรวบรวมข่าวสารท�ำการบันทึกข้อมูล และเริ่มต้นการด�ำเนิน
กรรมวิธีเพียงครั้งเดียวส�ำหรับก�ำลังทั้งหมด ในระบบสารสนเทศสมัยใหม่อ�ำนวยให้นักวิเคราะห์
ท�ำงานร่วมกันทั้งหมด โดยไม่ท�ำให้การสนับสนุนต่อผู้บังคับบัญชาของพวกเขาลดประสิทธิภาพลง
เมื่อไม่ค�ำนึงถึงการกระจายก�ำลังไปตามลักษณะทางภูมิศาสตร์ ในการสังเคราะห์นี้ การด�ำเนินการ
วิเคราะห์เชิงเปรียบเทียบเริ่มขึ้นโดยการเตรียมสนามรบด้านการข่าว (ตสข.) ขั้นต้น และจะต้อง
ด�ำเนินการต่อเนื่องจนจบภารกิจ
๑๑-๑๖ ผู้บังคับบัญชาจะเป็นผู้ขับเคลื่อนระบบข่าวกรอง ด� ำเนินการจัดการ ขฝล.
เพื่อให้ได้มาซึ่ง
- ความต้องการภาพข่าว เจ้าหน้าที่ด้านข่าวกรองจะด�ำเนินการตามขั้นตอน
ระเบียบปฏิบตั แิ ละระบบสารสนเทศ เพือ่ เฝ้าติดตามและแสดงสถานภาพของ
ความต้องการข่าวสาร
- ทรัพยากรเกี่ยวกับภาพข่าว เจ้าหน้าที่ด้านข่าวกรองจะด�ำเนินการตามขั้น
ตอนระเบียบปฏิบัติและระบบสารสนเทศ เพื่อเฝ้าติดตามและแสดงผล
สถานภาพด้านหน่วยงานการรวบรวมข่าวสาร ที่ตั้ง และกิจกรรมต่าง ๆ
- การประเมินขีดความสามารถของ ขฝล. เจ้าหน้าทีด่ า้ นข่าวกรองจะด�ำเนิน
การตามขั้ น ตอนระเบี ย บปฏิ บั ติ แ ละระบบสารสนเทศ เพื่ อ ประเมิ น
ประสิทธิภาพของความพยายามของผลลัพธ์จาก ขฝล. เช่น ความส�ำเร็จหรือ
ช่องว่างที่เกิดขึ้นในระหว่างการรวบรวมข่าวสาร และเพื่อจัดเฉพาะกิจ
ทรัพยากรในการรวบรวมข่าวสาร
286 บทที่ ๑๑

๑๑-๑๗ ข่ า วกรองท� ำ ให้ เ กิ ด การ


การเตรียมสนามรบด้านการข่าว เป็นแนวทาง
สนั บ สนุ น ที่ ส� ำ คั ญ ยิ่ ง ในทุ ก ๆ การปฏิ บั ติ ก าร เชิงกระบวนการ เพื่อท�ำการวิเคราะห์ข้าศึกและ
รวมทัง้ ในการปฏิบตั กิ ารสารสนเทศ โดยสนับสนุน สภาพแวดล้อม เช่น ภูมิอากาศ ภูมิประเทศ และ
ในการวางแผน การจัดท�ำการตัดสินใจ การพัฒนา ข้อพิจารณาด้านพลเรือน ในพื้นที่ทางภูมิศาสตร์
เป้ า หมาย การก� ำ หนดเป้ า หมาย และในการ ในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งโดยเฉพาะ มันได้สนธิหลัก
ป้องกันก�ำลังรบ และเป็นกระบวนการที่ต่อเนื่อง นิยมของข้าศึกกับภูมิอากาศ ภูมิประเทศ และ
ในทุก ๆ การปฏิบัติการ การลาดตระเวนและ ข้อพิจารณาเกี่ยวกับพลเรือนในฐานะที่พวกมัน
เฝ้าตรวจเป็นเครือ่ งมือพืน้ ฐานทีใ่ ช้ในการรวบรวม เกีย่ วข้องกับภารกิจและสภาพแวดล้อมโดยเฉพาะ
ในการด�ำเนินการดังกล่าวนี้เป็นการก�ำหนดและ
ข่าวสาร เพื่อน�ำมาผลิตเป็นข่าวกรอง ความเข้าใจ ประเมินค่าขีดความสามารถ ความล่อแหลม และ
อย่างละเอียดลึกซึ้งในขีดความสามารถของ ขฝล. หนทางปฏิบัติที่น่าจะเป็นไปได้มากที่สุดของ
ร่วม จะช่วยให้ผู้บังคับบัญชาท�ำการเตรียมการ ข้าศึก
แผนได้รวบรวมข่าวสารอย่างสมบูรณ์ ทรัพยากร
ด้านการลาดตระเวนและเฝ้าตรวจจะมุง่ ความสนใจเบือ้ งต้นไปทีก่ ารรวบรวมข่าวสารทีเ่ กีย่ วข้องกับ
ฝ่ายข้าศึก และสภาพแวดล้อมเป็นอันดับแรก เพื่อให้ได้มาซึ่งความต้องการข่าวกรองตามล�ำดับเร่ง
ด่วน (ตขด.) ในท้ายที่สุด ศิลปะของข่าวกรองและข้อเพ่งเล็งของข่าวกรองที่มุ่งสนับสนุนผู้บังคับ
บัญชาเป็นความส�ำคัญมากกว่าระบบสารสนเทศใด ๆ ศิลปะนี้รวมถึงความเข้าใจในเรื่องของการ
ข่าวกรอง การวิเคราะห์ข้าศึก การปฏิบัติการ และความต้องการของผู้บังคับบัญชา
๑๑-๑๘ ตสข. เป็นขั้นตอนแรกในการจัดวางการปฏิบัติการให้อยู่ในบริบท มันท�ำหน้าที่
ในการขับเคลือ่ นกระบวนการทีผ่ บู้ งั คับบัญชาและฝ่ายอ�ำนวยการจะใช้เพือ่ มุง่ ตรงต่อทรัพยากรด้าน
สารสนเทศ และเพื่อสนธิการปฏิบัติการลาดตระเวนและการเฝ้าตรวจทั่วทั้งพื้นที่ปฏิบัติการ ตสข.
จะให้สารสนเทศแก่ผบู้ งั คับบัญชาในเรือ่ งทีเ่ กีย่ วข้องกับฝ่ายข้าศึกและสภาพแวดล้อม รวมทัง้ ปัจจัย
เหล่านี้มีผลกระทบกระเทือนการปฏิบัติการอย่างไร ในทุกกรณี ตสข. จะช่วยให้ผู้บังคับบัญชา
สามารถเติมช่องว่างในสารสนเทศเกี่ยวกับฝ่ายข้าศึกที่ขาดหายไป ด้วยการประเมินและการ
คาดการณ์ตามที่ได้รับรายงาน ตสข. ยังเป็นจุดเริ่มต้นส�ำหรับการพัฒนาในเชิงภาพสถานการณ์ ซึ่ง
เจ้าหน้าที่ด้านการข่าวกรองใช้ในการพัฒนาส่วนของข้าศึก และสภาพแวดล้อมในภาพการยุทธ์
ร่วมกัน (ภยร.) เมื่อเป็นเช่นนั้น ตสข. จึงมีความส�ำคัญยิ่งต่อการสร้างวิสัยทัศน์ของผู้บังคับบัญชา
ผู ้ บั ง คั บ บั ญ ชาผลั ก ดั น ให้ ตสข. เดิ น หน้ า ต่ อ ไป และฝ่ า ยอ� ำ นวยการทุ ก สายงานช่ ว ยเหลื อ
ฝ่ายข่าวกรองด้วยการปรับปรุงให้ทันสมัยอย่างต่อเนื่อง ทุกสายงานฝ่ายอ�ำนวยการท�ำการพัฒนา
หาเหตุหาผล และรักษาองค์ประกอบของ ตสข. ที่เกี่ยวข้องกับความช�ำนาญในสายงานของตนเอง
ตัวอย่างเช่น ฝ่ายการช่างสนับสนุนและรักษาแผ่นบริวารสถานการณ์ความคล่องแคล่วในการ
เคลื่อนที่และแผ่นบริวารสถานการณ์ต่อต้านความคล่องแคล่วในการเคลื่อนที่เป็นต้น
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 287

การเฝ้าตรวจ
๑๑-๑๙ การเฝ้าตรวจจะเกีย่ วข้องกับการสังเกตการณ์อย่างต่อเนือ่ งในพืน้ ที่ เพือ่ รวบรวม
ข่าวสารในพื้นที่ที่กว้างขวางและการให้ความสนใจ การเฝ้าตรวจจะท�ำให้ได้ข่าวสารที่มีคุณค่า
๑๑-๒๐ กกล.ทบ. ในทุ ก ระดั บ จะได้ รั บ
การเฝ้าตรวจ เป็นการสังเกตการณ์อย่างเป็น
ข่ า วกรอง โดยอาศั ย สารสนเทศจากระบบการ
ระบบทัง้ ทางอากาศ ภาคพืน้ ดิน หรือใต้ผวิ พืน้
สถานที่ บุคคลหรือสิ่งของ โดยการมอง ฟัง ใช้ เฝ้าตรวจแห่งชาติ ของก�ำลังยุทธ์ร่วม ทบ. รวมทั้ง
จากระบบการเฝ้ า ตรวจเชิ ง พาณิ ช ย์ ระบบการ
เครือ่ งมือทางอิเล็กทรอนิกส์ การถ่ายภาพ หรือ
เครื่องมืออื่น ๆ เฝ้าตรวจแห่งชาติและในยุทธบริเวณจะเพ่งเล็งไปที่
ข่าวสารที่เป็นที่ต้องการของผู้บัญชาการรบ และจัด
เตรียมสารสนเทศให้แก่ทกุ เหล่าทัพส�ำหรับการปฏิบตั กิ ารในยุทธบริเวณ การเฝ้าตรวจในยุทธบริเวณ
อย่างต่อเนื่องจะช่วยให้นักวิเคราะห์ก�ำหนดที่ตั้งและการวางก�ำลังโดยประมาณกองก�ำลังทาง
ภาคพืน้ ดินของฝ่ายข้าศึกได้ เมือ่ มีโอกาสฐานการเฝ้าตรวจทีใ่ กล้เคียงกับเวลาจริง เช่น ระบบเรดาร์
โจมตีเป้าหมายและเฝ้าตรวจร่วมซึ่งสามารถแสดงให้เห็นถึงเป้าหมายที่กำ� ลังเคลื่อนไหว ยิ่งไปกว่า
นั้น หน่วยที่ท�ำการเฝ้าตรวจในระยะไกล สามารถจัดเตรียมสารสนเทศที่ถูกต้องและทรงคุณค่า
เป็นอย่างยิ่ง
๑๑-๒๑ ถึงแม้วา่ ฝ่ายเรามีความได้เปรียบในเครือ่ งมือเฝ้าตรวจก็ตาม ผูบ้ งั คับบัญชาควร
จะตั้งสมมติฐานว่าข้าศึกยังมีเครื่องมือในการเฝ้าตรวจอย่างพอเพียงเหมือนกัน ตัวอย่างเช่น ฝ่าย
ข้าศึกอาจซื้อเครื่องมือถ่ายภาพที่มีความคมชัดสูงจากระบบงานทางด้านอวกาศเชิงพาณิชย์มาใช้
งาน หรือในทางเลือกที่ประชาชนในท้องถิ่นอาจรายงานความเคลื่อนไหวของกองทัพให้หน่วยข่าว
กรองของฝ่ายข้าศึกได้
การลาดตระเวน
๑๑-๒๒ การลาดตระเวนเป็นการรวบรวมข่าวสารและสามารถให้เหตุผลข่าวกรอง
ในปัจจุบัน หรือคาดเดาส�ำหรับอนาคตได้ หน่วยลาดตระเวนจะแตกต่างจากหน่วยอื่นตรงที่ได้รับ
การออกแบบมาเพื่อใช้ในการรวบรวมข่าวสาร
๑๑-๒๓ ข่าวสารทีร่ วบรวมมาได้โดยเครือ่ งมืออืน่ ๆ นอกเหนือจากการลาดตระเวนจะมี
คุณค่าในทางยุทธการและยุทธวิธเี ป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม ทรัพยากรเหล่านัน้ อาจจะไม่สอดคล้อง
กับความต้องการหรือแม่นย�ำ หรืออยูใ่ นระดับรายละเอียดทีเ่ พียงพอกับความต้องการ ความเร่งด่วน
ทางยุทธการภายในยุทธบริเวณอาจเป็นตัวจ�ำกัดขีดความสามารถของผูบ้ งั คับบัญชาทางภาคพืน้ ดิน
288 บทที่ ๑๑

ในการจั ด ระบบการเฝ้ า ตรวจภายในยุ ท ธ การลาดตระเวน เป็นภารกิจที่ด�ำเนินการเพื่อให้ได้มา


บริเวณ ดังนัน้ ผูบ้ งั คับบัญชาของ ทบ. จึงต้อง โดยการสังเกตการณ์ดว้ ยสายตาหรือวิธกี ารค้นหาอืน่ ๆ
เพิ่ ม เติ ม การเฝ้าตรวจด้วยความห้าวหาญ ข่าวสารเกีย่ วกับการกระท�ำ แหล่งทรัพยากรของข้าศึก
และท�ำการลาดตระเวนอย่างต่อเนือ่ ง ในทาง หรือข้าศึกที่เป็นไปได้ หรือเพื่อรักษาความปลอดภัย
กลับกันการเฝ้าตรวจจะช่วยเพิม่ ประสิทธิภาพ ข้อมูลเกี่ยวกับอุตุนิยมวิทยา อุทกศาสตร์หรือลักษณะ
ทางภูมิศาสตร์ของพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งเฉพาะ
และลดความเสี่ยงของหน่วยลาดตระเวน
๑๑-๒๔ ในบางสถานการณ์ประโยชน์จากอ�ำนาจการยิง ความอ่อนตัว ความอยูร่ อด และ
ความคล่องแคล่วของหน่วยลาดตระเวน จะช่วยให้ท�ำการรวบรวมข่าวสารที่หน่วยอื่นไม่สามารถ
ท�ำได้ หน่วยลาดตระเวนจะได้รบั ข่าวสารเกีย่ วกับฝ่ายตรงข้ามและกองก�ำลังข้าศึกทีเ่ ป็นไปได้ ตลอด
จนคุณลักษณะของพื้นที่เฉพาะ ปกติภารกิจในการลาดตระเวนจะกระท�ำในทุก ๆ การปฏิบัติการ
โดยจะเริ่มต้นให้เร็วที่สุดเท่าที่สถานการณ์ มิติทางด้านการเมือง และกฎการใช้ก�ำลังที่อ�ำนวยให้
(ดู รส. ๕-๐) หน่วยลาดตระเวนด�ำเนินการอย่างห้าวหาญตลอดการปฏิบัติการ การลาดตระเวน
สามารถก�ำหนดหน่วยเคลือ่ นทีด่ า้ นการบังคับบัญชาและการควบคุมของข้าศึก อย่างเช่นทีบ่ ญ ั ชาการ
ที่ตั้งทางการสื่อสาร ในการลบล้าง โจมตี หรือท�ำลาย ผู้บังคับบัญชาทุกล�ำดับชั้นรวมเอาการ
ลาดตระเวนเข้าไว้เป็นส่วนหนึ่งในการด�ำเนินการปฏิบัติการ (ดู รส.๓-๙๐)
๑๑-๒๕ การลาดตระเวนอย่างห้าวหาญและต่อเนื่องจะท�ำให้รวบรวมข่าวสารได้มาก
ยิง่ ขึน้ ซึง่ อาจจะสร้างผลกระทบให้ขา้ ศึกลงมือปฏิบตั ใิ นทันที ข้าศึกอาจจะน�ำก�ำลังรบทีจ่ �ำเป็นจาก
ที่อื่นมาใช้ในการตอบโต้ต่อความพยายามในการลาดตระเวนของฝ่ายเรา ในบางครั้งก�ำลังฝ่าย
ตรงข้ามต้องตัดสินใจผิดจากหน่วยลาดตระเวนในการปฏิบัติการรบแตกหัก ท�ำให้ต้องเปิดเผยที่ตั้ง
หรือใช้กองหนุนก่อนก�ำหนด ผูบ้ งั คับบัญชาของฝ่ายเราจะต้องฉกฉวยโอกาสนีโ้ ดยใช้ประโยชน์จาก
การลาดตระเวนของฝ่ายเรา ซึ่งปกติจะใช้ก�ำลังหน่วยลาดตระเวนเสมือนเป็นหัวหอก ข่าวสารจาก
การลาดตระเวนจะอ�ำนวยให้ผู้บังคับบัญชาท�ำการกลั่นกรอง ปรับเปลี่ยนแผนและค�ำสั่งต่าง ๆ
ขจัดปัญหาการจู่โจมจากฝ่ายตรงข้าม และรักษาชีวิตของทหารไว้ได้
๑๑-๒๖ บางครัง้ หน่วยลาดตระเวนอาจต้องท�ำการเข้าสูร้ บเพือ่ ให้ได้มาซึง่ ข่าวสาร อย่างไร
ก็ตามจุดประสงค์ของการลาดตระเวนก็คือ การให้ได้มาซึ่งข่าวสารโดยการลักลอบ ไม่พยายามท�ำ
การรบ การปฏิบตั กิ ารลาดตระเวนนัน้ ก�ำหนดให้มอี ำ� นาจก�ำลังรบทีม่ ลี กั ษณะจ�ำเพาะเพือ่ ใช้ในโอกาส
ที่ไม่คาดคิด ไม่อยู่ในเจตนารมณ์ของผู้บังคับบัญชา ซึ่งเป็นอันตรายต่อความส�ำเร็จของภารกิจการ
ลาดตระเวน
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 289

๑๑-๒๗ ผูบ้ งั คับบัญชาต้องสนธิภารกิจ ขฝล. เข้าไว้เป็นแผนเดียว โดยบูรณาการขีดความ


สามารถทีแ่ ตกต่างของ ขฝล. ผูบ้ งั คับบัญชาประสานสอดคล้องภารกิจการลาดตระเวน และเฝ้าตรวจ
ซึ่งใช้หน่วยด�ำเนินกลยุทธ์เข้าปฏิบัติการด้วยแผน ขฝล. และแผนในการด�ำเนินกลยุทธ์พร้อม ๆ กัน
การจัดการสารสนเทศ
๑๑-๒๘ การจัดการสารสนเทศ คือ วิธีการในการจัดการสารสนเทศที่มีความเกี่ยวข้อง
กันให้แก่บุคคลที่เหมาะสม ในเวลาที่ถูกที่ควร ในรูปแบบที่สามารถน�ำไปใช้งานได้ เพื่ออ�ำนวยให้
เกิดความเข้าใจในสถานการณ์และท�ำการตัดสินใจได้อย่างเหมาะสม การจัดการสารสนเทศเป็นการ
ใช้ระเบียบปฏิบัติและระบบสารสนเทศ เพื่อท�ำการรวบรวม ด�ำเนินกรรมวิธี เก็บรักษา แสดงผล
และกระจายสารสนเทศ (ดู รส. ๖-๐) การจัดการสารสนเทศ เป็นมากยิง่ กว่าการควบคุมทางเทคนิค
ในเรื่องของข้อมูลที่ไหลเวียนไปทั่วเครือข่าย การจัดการสารสนเทศเป็นการสื่อสารการตัดสินใจซึ่ง
เป็นการริเริม่ การปฏิบตั ทิ มี่ ปี ระสิทธิภาพเพือ่ การบรรลุภารกิจรวมทัง้ การหลอมรวมสารสนเทศจาก
หลาย ๆ แหล่งเข้าไว้ด้วยกัน การจัดการสารสนเทศที่ประสบผลส�ำเร็จเป็นการเพิ่มเติมความหมาย
ให้ข่าวสารด้วยการที่มันได้รับการด� ำเนินกรรมวิธี ดังนั้น ผู้ที่จัดท�ำข้อตกลงใจสามารถเพ่งเล็ง
ต่อความเข้าใจที่สามารถบรรลุได้แทนที่จะเป็นการด�ำเนินกรรมวิธีหรือการประเมินค่าสารสนเทศ
การจั ด การสารสนเทศจะมี อ งค์ ป ระกอบ ๒ ส่ ว นที่ ใ ห้ ก ารสนั บ สนุ น คื อ ระบบสารสนเทศ
และสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง
๑๑-๒๙ การจั ด การสารสนเทศที่ ป ระสบผลส� ำ เร็ จ จะรวมถึ ง การด� ำ เนิ น กรรมวิ ธี
ซึ่งเป็นการเพิ่มความหมายให้กับสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกันผ่านวิธีการอันทันสมัยในระดับที่สูงกว่า
และวิธกี ารทีส่ ามารถรับรูไ้ ด้ในความซับซ้อนเพือ่ น�ำมาสร้างภาพการยุทธ์รว่ มกัน (ภยร.) การด�ำเนิน
กรรมวิธีรวมถึงวิธีการเชิงกลไกและที่เกี่ยวกับทฤษฎีด้านกลไกในระดับล่าง เช่น การจัดการองค์กร
การตรวจทาน การท�ำแผนผัง และการเรียบเรียง อย่างไรก็ตาม การด�ำเนินการรวมวิธีที่มี
ประสิทธิภาพต้องการการวิเคราะห์และประเมินค่า เพื่อเปลี่ยนสารสนเทศนั้นให้เข้าไปอยู่ในฐาน
ความรู้ และจากความรู้เข้าสู่ความเข้าใจ ในประเด็นของการด� ำเนินกรรมวิธีนี้จะขึ้นอยู่กับ
ความเข้าใจอย่างถ่องแท้ และความอ่อนตัวของนักวิเคราะห์ที่ได้รับการฝึกมาเป็นอย่างดี
๑๑-๓๐ ผู ้ บั ง คั บ บั ญ ชาและฝ่ า ยอ� ำ นวยการประเมิ น ประสิ ท ธิ ภ าพของการจั ด การ
สารสนเทศ โดยการพิจารณาว่าจะการกระจายข่าวสารอย่างไรเพื่อลด “หมอกควันของสงคราม”
ประการแรก คือ สารสนเทศทีไ่ ม่ทนั เวลา หรือเป็นข้อมูลทีไ่ ม่มปี ระโยชน์มผี ลกระทบเหมือนกับไม่มี
290 บทที่ ๑๑

สารสนเทศ มันเป็นได้ทั้งการมาถึงล่าช้า หรือไม่สามารถตีความให้เข้าใจได้ในเวลาที่กระทบต่อการ


ตัดสินใจของผู้บังคับบัญชา ประการที่สอง คือสารสนเทศที่ไม่สมบูรณ์หรือไม่แม่นย�ำเป็นมากกว่า
การไม่มีข่าวสารอะไรเลย ในขณะที่สารสนเทศไม่สมบูรณ์นั้นอาจสามารถสนับสนุนต่อการเกาะติด
สถานการณ์ของผู้บังคับบัญชาและอาจจะช่วยเหลือในการท�ำการตกลงใจได้ และท้ายที่สุด
สารสนเทศที่ไม่เกี่ยวข้องหรือไม่ถูกต้องเลวร้ายเสียกว่าไม่มีสารสนเทศ สารสนเทศที่ไม่เกี่ยวข้อง
ท�ำให้เกิดความว้าวุ่นและล่าช้า ส่วนข่าวสารที่ไม่มีความถูกต้องอาจจะน�ำไปสู่การตัดสินใจที่
ไม่เหมาะสม คอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ไม่สามารถท�ำให้เกิดความแตกต่างในเชิงคุณภาพได้
การจัดท�ำในสิ่งนี้จึงต้องการการตัดสินใจที่ใช้วิจารณญาณที่ดีของตัวทหารเอง
ระบบสารสนเทศ
๑๑-๓๑ ระบบสารสนเทศ เป็นเครื่องมือหรือสิ่งอ�ำนวยความสะดวกที่ใช้เพื่อรวบรวม
ด�ำเนินกรรมวิธี เก็บรักษา แสดงผลและกระจายข่าวสาร สิ่งเหล่านี้รวมถึงคอมพิวเตอร์ที่ประกอบ
ด้วยฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ ระบบการสือ่ สาร ตลอดจนนโยบายและระเบียบปฏิบตั ิ ระบบสารสนเทศ
เป็นองค์ประกอบในทุกเรื่องของระบบการควบคุมบังคับบัญชา ระบบสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพ
จะต้องสามารถด�ำเนินกรรมวิธี การแจกจ่าย และแสดงผลสารสนเทศได้อย่างอัตโนมัติตามความ
ต้องการของผู้ใช้ ศูนย์จัดการสารสนเทศจะเชื่อมโยงผู้บังคับบัญชาและข่าวสารที่เกี่ยวข้องเข้ากับ
ระบบการบังคับบัญชาและการควบคุม ผูบ้ งั คับบัญชาจะสามารถใช้ระบบสารสนเทศได้อย่างดีทสี่ ดุ
ก็ต่อเมื่อได้ท�ำการก�ำหนดหัวข้อข่าวสาร และเพ่งเล็งให้ฝ่ายอ�ำนวยการและการจัดหน่วยต่าง ๆ
อย่างสอดคล้อง
สารสนเทศที่เกี่ยวข้อง
๑๑-๓๒ สารสนเทศที่เกี่ยวข้อง คือ สารสนเทศที่มีความส�ำคัญทั้งปวงต่อผู้บังคับบัญชา
และฝ่ายอ�ำนวยการในการด�ำเนินงานทีเ่ กีย่ วกับการควบคุมบังคับบัญชา เพือ่ ให้เกิดความเกีย่ วข้อง
สารสนเทศต้องมีความถูกต้อง ทันเวลา สามารถน�ำมาใช้ได้ สมบูรณ์ แม่นย�ำ และเชื่อถือได้
สารสนเทศที่เกี่ยวข้องก่อให้เกิดค�ำตอบแก่ผู้บังคับบัญชาและฝ่ายอ�ำนวยการที่จ�ำเป็นต่อการ
ด�ำเนินปฏิบัติการต่าง ๆ อย่างประสบผลส�ำเร็จ นั่นคือทุกองค์ประกอบจ�ำเป็นต่อการก�ำหนดปัจจัย
METT-TC ในตัวอย่างเช่น ระบบข่าวกรองท�ำให้เกิดข่าวกรองซึง่ สนับสนุนสารสนเทศทีเ่ กีย่ วข้องกับ
ฝ่ายข้าศึก ภูมปิ ระเทศ สภาพภูมอิ ากาศ เวลาทีม่ อี ยู่ รวมทัง้ ข้อพิจารณาเกีย่ วกับประชาชนพลเรือน
ในพื้นที่
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 291

๑๑-๓๓ ผลลัพธ์ของสารสนเทศที่เกี่ยวข้องจะได้มาจากการก�ำหนดความหมายให้กับ
ข้อมูลเพื่อช่วยให้เกิดความเข้าใจ การด�ำเนินกรรมวิธีเป็นการเปลี่ยนข้อมูลดิบให้เป็นข่าวสาร
จากการก�ำหนดความหมายต่อมัน การวิเคราะห์และการประเมินค่าเปลี่ยนรูปโฉมของข่าวสาร
ให้เป็นความรู้ซึ่งจะได้รับการน�ำเสนอต่อผู้บังคับบัญชาในฐานะเป็นสารสนเทศ เมื่อผู้บังคับบัญชา
น�ำวิจารณญาณมาใช้ต่อความรู้นั้น มันก็จะกลายเป็นความเข้าใจ ความเข้าใจช่วยให้สามารถ
ตัดสินใจอย่างมีความรู้ในการจัดท�ำด้วยข้อมูลการใช้ข้อมูลที่มีความสมบูรณ์เพียงเล็กน้อย การ
ผสมผสานกับเจตจ�ำนง และความเข้าใจท�ำให้เกิดการปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพ
๑๑-๓๔ สารสนเทศทีเ่ กีย่ วข้องเป็นสิง่ ไม่ยงั่ ยืน ถ้าไม่ได้ถกู ส่งออกไปและปฏิบตั ดิ ว้ ยความ
รวดเร็ว สารสนเทศนั้นอาจล้าสมัย และอาจบิดเบือนความเข้าใจสถานการณ์ของผู้บังคับบัญชา
กลุ่มของข้อมูลและข่าวสารที่มีเป็นจ�ำนวนมากอาจจะท่วมท้นที่บัญชาการได้ หากปราศจากการ
จัดการสารสนเทศทีม่ ปี ระสิทธิภาพ ข่าวสารส�ำคัญยิง่ จะด�ำเนินไปผิดทาง ล่าช้า หรือถูกกลบเกลือ่ น
ไปกับข้อมูลเข้าออกทีม่ อี ยูเ่ ป็นประจ�ำและถูกมองข้ามไป ระบบสารสนเทศสามารถช่วยในการจัดการ
ข้อมูลที่มีอยู่เป็นจ�ำนวนมากได้ แต่จะไม่สามารถกระท�ำได้หากผู้บังคับบัญชาไม่ได้ก�ำหนดความ
ต้องการข่าวสารของพวกเขาไว้ โยงใยความต้องการข่าวสารของพวกเขาไว้ในเจตนารมณ์ของพวกเขา
และปรับปรุงข้อมูลดังกล่าวให้มีความทันสมัยตลอดเวลา เหมือนเป็นการคลี่คลายการปฏิบัติการ
ประเภทของสารสนเทศ
๑๑-๓๕ การจัดการสารสนเทศเป็ น การบีบ ช่ องว่ างระหว่ า งสารสนเทศที่ มี อยู ่ กับ
สารสนเทศทีผ่ บู้ งั คับบัญชาต้องการ การจัดการสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพอ�ำนวยความสะดวก
ให้เกิดการกระจายในเรือ่ งของสารสนเทศทีเ่ กีย่ วข้องเป็นไปด้วยความรวดเร็ว การจัดการสารสนเทศ
ก�ำหนดลักษณะของสารสนเทศออกเป็นสี่ประเภท คือ ความต้องการข่าวสารเฉพาะเจาะจง หัวข้อ
ข่าวสาร ตามนัยส�ำคัญ ช่องว่าง และข่าวสารที่ท�ำให้เกิดความวุ่นวาย
- ความต้องการข่าวสารเฉพาะเจาะจง เป็นความต้องการที่ผู้บังคับบัญชา
ก�ำหนดเป็นการเฉพาะ ความต้องการนี้อาจจะมาจากข้อเท็จจริง การ
ประมาณการหรือสมมติฐาน
- ความต้องการข่าวสารตามนัยส�ำคัญ เป็นชิ้นส่วนส�ำคัญของสารสนเทศซึ่ง
ผู้บังคับบัญชาไม่ได้ร้องขอเป็นการเฉพาะ ในการปฏิบัติการทุกรูปแบบอาจ
วาง กกล.ทบ. ในสถานการณ์ซงึ่ อยูน่ อกเหนือประสบการณ์ของผูบ้ งั คับบัญชา
ผู้บังคับบัญชาอาจจะไม่ล่วงรู้ที่จะรับองค์ประกอบของสารสนเทศ บางอย่าง
พวกเขาอาจจะไม่รู้เลยว่าพวกเขาต้องการชิ้นส่วนของสารสนเทศ หรืออาจ
292 บทที่ ๑๑

จะไม่ตระหนักถึงความส� ำคัญของมัน ฝ่ายอ�ำนวยการที่มีประสิทธิภาพ


จะท�ำการพัฒนาและให้ข้อเสนอแนะหัวข้อข่าวสารเพิ่มเติมเหล่านี้ ผู้บังคับ
บัญชาส่งเสริมความกล้าในตัวของฝ่ายอ�ำนวยการเกี่ยวกับเรื่องของความ
สามารถรอบด้านรวมถึงความว่องไว และท�ำการตรวจสอบข้อเสนอแนะอย่าง
ระมัดระวัง
- ช่องว่าง เป็นส่วนของสารสนเทศที่ผู้บังคับบัญชาต้องการ เพื่อบรรลุถึง
ความเข้าใจสถานการณ์แต่มันขาดหายไป ในอุดมคติ การวิเคราะห์ท�ำการ
พิสจู น์ทราบช่องว่าง และตีความมันเป็นความต้องการข่าวสารเฉพาะเจาะจง
เพื่ อ เติ ม ช่ อ งว่ า งนี้ ผู ้ บั ง คั บ บั ญ ชาและฝ่ า ยอ� ำ นวยการจั ด ท� ำ สมมุ ติ ฐ าน
ระบุ ช ่ อ งว่ า งเหล่ า นั้ น ให้ ชั ด เจน ซึ่ ง มั น อาจจะเป็ น เหตุ แ วดล้ อ มเมื่ อ
ผู ้ บั ง คั บ บั ญ ชาและฝ่ า ยอ� ำ นวยการพลาดที่ จ ะพิ สู จ น์ ท ราบช่ อ งว่ า งนั้ น
เหตุแวดล้อมดังกล่าวเป็นอันตรายอย่างใหญ่หลวง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อ
ต้ อ งเผชิ ญ กั บ ภั ย คุ ก คามแบบอสมมาตร ผู ้ บั ง คั บ บั ญ ชาไม่ เ พี ย งแต่ ไ ม่ มี
สารสนเทศทีต่ อ้ งการรวมเท่านัน้ แต่ยงั ไม่ลว่ งรูว้ า่ เขาต้องการมัน สถานการณ์
เช่นนี้อาจจะเป็นผลลัพธ์ให้ผู้บังคับบัญชาตกอยู่ในสภาพที่ไม่อาจคาดหมาย
ได้ ผูบ้ งั คับบัญชาและฝ่ายอ�ำนวยการยังคงท�ำการปรับตัวและตรวจสอบเหตุ
แวดล้อมที่เป็นไปตลอดเวลา แทนที่จะน�ำเหตุแวดล้อมนั้นไปเป็นความคิด
ที่ฝังแน่นตลอดไป
- ข่าวสารทีท่ ำ� ให้เกิดความวุน่ วาย รวมถึงข่าวสารทีผ่ บู้ งั คับบัญชาไม่ตอ้ งการ
รับทราบแต่ยังได้รับอยู่ตลอดเวลา ถ้ามีข่าวสารชนิดนี้มาก ๆ จะเป็นผลให้
เกิดปริมาณสารสนเทศล้นมือ
๑๑-๓๖ ข่าวสารยังสามารถแบ่งออกได้เป็น ข้อเท็จจริง ประมาณการ และสมมุติฐาน
ข้อเท็จจริงคือ ข่าวสารทีผ่ บู้ งั คับบัญชาต้องการทราบและสามารถทราบได้อย่างแน่นอน ข้อเท็จจริง
ต้องได้รับการยืนยันหรือมาจากแหล่งข่าวที่เชื่อถือได้ การประมาณการและสมมุติฐานคือ ข่าวสาร
ที่ผู้บังคับบัญชาต้องการแต่ไม่สามารถยืนยันได้แน่นอน ผู้บังคับบัญชาและฝ่ายอ�ำนวยการต้องใช้
ความมีวินัยในการจ�ำแนกข้อเท็จจริงออกจากสมมุติฐาน มิฉะนั้นพวกเขาจะล่อแหลมต่อการลวง
หรือเสีย่ งต่อความเข้าใจในสถานการณ์อย่างไม่ถกู ต้อง การประมาณการและสมมุตฐิ านในขัน้ ต้นจะ
รวมถึงข่าวสารเกี่ยวกับฝ่ายข้าศึก การปฏิบัติในอนาคต หรือปัจจัยที่ผู้บังคับบัญชาควบคุมได้เพียง
เล็กน้อยหรือไม่สามารถควบคุมได้
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 293

๑๑-๓๗ ข้อเท็จจริง ประมาณการ และสมมุติฐาน อาจเป็นสารสนเทศ ที่เกี่ยวข้อง


หรืออาจจะเป็นสารสนเทศที่ทำ� ให้เกิดความวุ่นวายก็ได้ พวกมันจะเป็นสารสนเทศที่เกี่ยวข้องเมื่อ
ผูบ้ งั คับบัญชามีความต้องการและจ�ำเป็นต้องรับทราบข่าวสารนัน้ พวกมันจะเป็นสารสนเทศทีท่ ำ� ให้
เกิดความวุ่นวายเมื่อผู้บังคับบัญชาต้องการจะรับทราบแต่ไม่จ�ำเป็นต้องรับรู้ข่าวสาร เช่น ภาพถ่าย
ต่าง ๆ สามารถเป็นสารสนเทศที่ท�ำให้เกิดความวุ่นวายได้ นอกเสียจากว่าผู้บังคับบัญชาเข้าใจ
ความหมายของภาพนั้นอย่างชัดเจน มีความต้องการภาพถ่ายอาจท�ำให้ระบบสารสนเทศ มีข้อมูล
มากเกินไปในระบบการจัดการสารสนเทศ หรือการจัดการข้อมูลข่าวสารที่มีประสิทธิภาพจึงต้องมี
การกลั่นกรองข่าวสารที่ไม่มีคุณค่าออกจากข่าวสารที่มีความส�ำคัญ
คุณภาพของข่าวสาร
๑๑-๓๘ แหล่งของข้อมูลข่าวโดยทั่วไปมักจะไม่มีความสมบูรณ์ และอ่อนไหวง่ายต่อการ
สร้างความว้าวุน่ และถูกลวงได้งา่ ย สารสนเทศทีไ่ ด้ดำ� เนินกรรมวิธโี ดยทหารใช้ปจั จัยทางด้านคุณภาพ
เหล่านี้ในการประเมินค่าข่าวสาร ดังนี้
- ความถูกต้อง สารสนเทศจะต้องถ่ายทอดให้เห็นสถานการณ์ที่แท้จริง ในรูป
แบบสั้นกะทัดรัด และเป็นจริง
- ทันเวลา สารสนเทศต้องไม่เกิดขึ้นในทันทีทันใดจากเหตุการณ์
- สามารถน�ำไปใช้ได้ สารสนเทศท�ำความเข้าใจได้ง่ายหรือได้รับการแสดงผล
ในรูปแบบที่ถ่ายทอดให้เห็นความหมายได้อย่างทันที
- มีความสมบูรณ์ในตัวเอง สารสนเทศบรรจุองค์ประกอบความต้องการไว้
ทั้งหมด
- ความเที่ยงตรง สารสนเทศมีระดับความต้องการในเรื่องของรายละเอียดไม่
มากหรือไม่น้อยเกินไป
- เชื่อถือได้ สารสนเทศมีคุณค่าเชื่อถือได้ ซื่อตรงวางใจได้ และไม่บิดเบือน
การจัดการสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพรักษาความตระหนักรู้ (aware) ใน
คุณภาพของสารสนเทศของผูบ้ งั คับบัญชาและฝ่ายอ�ำนวยการไว้ เสมือนว่าพวกเขาใช้มนั สร้างความ
เข้าใจในส่วนที่เกี่ยวกับสถานการณ์
294 บทที่ ๑๑

ความต้องการข่าวสารส�ำคัญยิง่ ของผูบ้ งั คับบัญชา ความต้องการข่าวกรองตามล�ำดับเร่งด่วน


๑๑-๓๙ ผู้บังคับบัญชาริเริ่มการด�ำเนิน (ตขด.) คือ ความต้องการข่าวกรองซึ่งผู้บังคับ
กรรมวิ ธี ส ารสนเทศ โดยการแสดงส� ำ คั ญ ต่ อ บัญชามีการคาดการณ์และจัดล�ำดับความเร่ง
ด่วนไว้ในกิจเรื่องของการวางแผนและการจัด
สารสนเทศที่มีความส�ำคัญที่สุด พวกเขาก�ำหนด ท�ำข้อตกลงใจไว้
สารสนเทศส�ำคัญยิ่งซึ่งได้รับมาจากเจตนารมณ์ของ ความต้องการข้อมูลข่าวสารของก�ำลังฝ่าย
พวกเขา เรียกว่า ความต้องการข่าวสารส�ำคัญยิง่ ของ เรา คื อ ข่ า วสารซึ่ ง ผู ้ บั ง คั บ บั ญ ชาและฝ่ า ย
ผู้บังคับบัญชา (ตขสผ.) ความต้องการสารสนเทศ อ�ำนวยการต้องการทราบเกีย่ วกับฝ่ายเรา เพือ่
ส�ำคัญยิ่งของผู้บังคับบัญชาเป็นองค์ประกอบของ ใช้ในการปฏิบัติการ
สารสนเทศที่เป็นที่ต้องการโดยผู้บังคับบัญชา ซึ่งมี
ผลกระทบโดยตรงต่อการจัดท�ำข้อตกลงใจ และการออกค�ำสัง่ การปฏิบตั กิ ารทางทหารอย่างสมบูรณ์
กุญแจส�ำคัญไปสู่การจัดการสารสนเทศ อย่างมีประสิทธิภาพคือค�ำตอบของ ตขสผ.
๑๑-๔๐ เมือ่ ผูบ้ งั คับบัญชาได้รบั ภารกิจ พวกเขาและฝ่ายอ�ำนวยการจะท�ำการวิเคราะห์
ภารกิจโดยการใช้กระบวนการแสวงข้อตกลงใจทางทหาร การเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการนี้
ผู้บังคับบัญชาจะสร้างมโนภาพสนามรบและการสู้รบ ตขสผ. จะเป็นองค์ประกอบส� ำคัญของ
สารสนเทศ ทีผ่ บู้ งั คับบัญชาต้องการเพือ่ สนับสนุนการตกลงใจทีพ่ วกเขาคาดการณ์ไว้ สารสนเทศที่
รวบรวมมาได้เพื่อตอบค�ำถาม ตขสผ. ไม่ว่าจะเป็นการยืนยันวิสัยทัศน์ในการสู้รบ หรือชี้ให้เห็น
ความจ�ำเป็นในการสั่งการด้วยค�ำสั่งเป็นส่วน ๆ หรือสั่งการในการปฏิบัติที่แตกออกไป หรือการ
ปฏิบัติที่ตามมา ตขสผ. สนับสนุนโดยตรงต่อวิสัยทัศน์ของผู้บังคับบัญชาในเรื่องของการรบที่
ผู้บังคับบัญชาพัฒนามันขึ้นมาด้วยตัวเอง ปกติทันทีที่มีความหมายชัดเจน ตขสผ. จะสร้างหัวข้อ
ข่าวสารขึ้นมาสองประเภทได้แก่ ความต้องการข่าวสารของฝ่ายเรา (ตขฝร.) และความต้องการ
ข่าวกรองตามล�ำดับเร่งด่วน (ตขด.)
๑๑-๔๑ ตขสผ. ต้องได้รับการเพ่งเล็งอย่างเพียงพอต่อการสร้างสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง
ค�ำร้องขอที่ไม่มุ่งเน้น อย่างเช่น “เราต้องการทราบหากข้าศึกมีการเคลื่อนย้าย” อาจจะท�ำให้เกิด
ข้อมูล แต่ไม่เพียงพอที่จะเป็นสารสนเทศที่น�ำมาใช้ประโยชน์ได้ อย่างไรก็ตาม “เราต้องการที่จะรู้
ว่าเมื่อใดที่ข้าศึกน�ำกองพลน้อยมาถึงพื้นที่สนใจที่ก�ำหนด ๒” หรือ “เราต้องการรู้ว่าถ้าหาก
กองก�ำลังผสมนานาชาติทางปีกขวาจะรุกถึงแนวขั้นน�ำ้ เงินในเวลาใด” เป็นตัวอย่างของ ตขสผ.
ซึ่งระบุอย่างเพียงพอต่อการเพ่งเล็งการรวบรวมข่าวสารและการจัดล�ำดับความเร่งด่วนการจัดการ
สารสนเทศ
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 295

หัวข้อข่าวสารส�ำคัญของฝ่ายเรา (หขส.ฝ่ายเรา)
๑๑-๔๒ ถึงแม้วา่ หัวข้อข่าวสารส�ำคัญของ
ฝ่ายเรา (หขส.ฝ่ายเรา) ไม่ใช่ส่วนหนึ่งของ ตขสผ. หัวข้อข่าวสารส�ำคัญของฝ่ายเรา (หขส.ฝ่าย
เรา) คือ ข่าวสารที่มีความส�ำคัญของฝ่ายเรา
แต่จะกลายเป็นความเร่งด่วนของผู้บังคับบัญชาก็
เมื่ อ ฝ่ า ยตรงข้ า มทราบจะท� ำ ให้ ต กอยู ่ ใ น
ต่อเมื่อเขาได้ก�ำหนดขึ้น หขส.ฝ่ายเรา ซึ่งช่วยให้ อันตราย หรือเกิดความล้มเหลวในภารกิจหรือ
ผู ้ บั ง คั บ บั ญ ชาเข้ า ใจว่ า ผู ้ บั ง คั บ บั ญ ชาของข้ า ศึ ก ท�ำให้เกิดขีดจ�ำกัดในการปฏิบตั ิ และต้องมีการ
ต้องการทราบอะไรเกี่ยวกับก�ำลังฝ่ายเราและท�ำไม ป้องกันจากการตรวจการณ์ของฝ่ายตรงข้าม
ถึ ง ต้ อ งการทราบ (ดู รส. ๖-๐) พวกมั น บอก
ผู้บังคับบัญชาว่าอะไรที่ไม่สามารถจะยอมให้ตกอยู่ในอันตรายได้ ตัวอย่างเช่น ผู้บังคับบัญชา
อาจจะตกลงใจว่าถ้าฝ่ายข้าศึกค้นพบความเคลื่อนไหวของกองหนุน การปฏิบัติการก�ำลังตกอยู่ใน
ความเสี่ยง ในกรณีเช่นนี้ ที่ตั้งและการเคลื่อนย้ายกองหนุนจะกลายเป็น หขส.ฝ่ายเรา สนับสนุน
การปฏิบตั กิ ารสารสนเทศเชิงรับ และเมือ่ เป็นเช่นนัน้ อาจจะกลายเป็น ความต้องการข่าวสาร หขส.
ฝ่ายเรา จะท�ำให้เกิดพื้นฐานส�ำหรับท�ำการประเมินคุณภาพความเข้าใจสถานการณ์ของข้าศึก
ในทางอ้อม ถ้าข้าศึกไม่ทราบองค์ประกอบของ หขส.ฝ่ายเรา เป็นการลดระดับประสิทธิภาพ
ความเข้าใจในสถานการณ์ของพวกเขา
ภาพการยุทธ์ร่วมกัน (ภยร.)
๑๑-๔๓ ภาพการยุทธ์ เป็นการแสดงผลเพียงหนึง่ เดียวของสารสนเทศทีเ่ กีย่ วข้องภายใน
พื้นที่สนใจของผู้บังคับบัญชา โดยการร่วมมือ แบ่งปัน ปรับแต่งสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง ในแต่ละ
ระดับของหน่วยจะจัดท�ำภาพการยุทธ์ร่วมแยกจากกัน ภาพการยุทธ์ร่วมกัน (ภยร.) เป็นภาพการ
ยุทธ์ที่ได้รับการปรับให้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้ และขึ้นอยู่กับข้อมูลและข่าวสารที่ใช้ร่วมกัน
โดยหน่วยบัญชาการมากกว่าหนึง่ หน่วย ภาพการยุทธ์รว่ มถูกแสดงผลด้วยมาตราส่วนและระดับของ
รายละเอียดทีส่ อดคล้องกับความจ�ำเป็นของหน่วยบัญชาการในแต่ละระดับเฉพาะ ระบบการบังคับ
บัญชาและการควบคุมท�ำการหลอมรวมข่าวสารจากหลาย ๆ แหล่งข่าว ในขณะทีร่ ะบบสารสนเทศ
จะก่อให้เกิดความรวดเร็วในการกระจายข่าวสารที่แสดงผลในรูปแบบที่สะดวกในการใช้งานและ
ท�ำความเข้าใจได้ง่าย
๑๑-๔๔ ในแต่ละระดับหน่วยบัญชาการที่แตกต่างกันต้องการสารสนเทศที่แตกต่างกัน
ทั้งในระดับของความแม่นย� ำและในรายละเอียด การน� ำเสนอสารสนเทศในรูปแบบที่แสดง
ความหมายด้วยภาพช่วยให้เกิดการซึมซับได้คล้ายคลึงกัน การจัดการสารสนเทศก่อให้เกิด
สารสนเทศที่เกี่ยวข้องเสมือนเป็นการแสดงผลในเชิงความหมายได้ดีกว่าข้อมูลเป็นกลุ่มก้อน
296 บทที่ ๑๑

จ�ำนวนมาก ภาพการยุทธ์ร่วมกัน (ภยร.) ท�ำให้เกิดความร่วมมือซึ่งกันและกัน รวมทั้งการแบ่งปัน


สารสนเทศ ระหว่างผูบ้ งั คับบัญชาและฝ่ายอ�ำนวยการได้เหมือนเวลาทีเ่ กิดขึน้ จริงโดยปราศจากการ
จัดเตรียมพวกมันด้วยสารสนเทศที่มีมากเกินไปหรือน้อยเกินไป
๑๑-๔๕ ทบ. ได้ลงทุนในเทคโนโลยีและพัฒนาระเบียบปฏิบตั อิ ย่างต่อเนือ่ ง ซึง่ เพิม่ ความ
สามารถของผูบ้ งั คับบัญชาในการท�ำความเข้าใจสภาพสนามรบของตนเอง ความพยายามทีท่ นั สมัย
เหล่านี้จะเป็นการเพิ่มขีดความสามารถของ กกล.ทบ. ในการใช้ภาพการยุทธ์ร่วมในทุกมิติมีความ
ถูกต้องแม่นย�ำอย่างสูง และกระจายแนวทางวางแผนและค�ำสัง่ ตลอดจนแผนต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว
การน�ำเทคโนโลยีไปใช้ประโยชน์จะช่วยสร้างมโนภาพ การแสดงผล การบรรยายสรุป และการ
ซักซ้อมทางเลือกต่าง ๆ ทีส่ นับสนุนต่อความเข้าใจร่วมกันในเรือ่ งของเจตนารมณ์ของผูบ้ งั คับบัญชา
และแนวความคิดในการปฏิบัติให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน การเพิ่มความเร็วในการวิเคราะห์
การรวบรวม การติดต่อสือ่ สาร ท�ำให้เวลามีเหลือมากยิง่ ขึน้ เพือ่ การสังเคราะห์ การตีความต่อข่าวสาร
และสร้างทางเลือกที่เป็นไปได้ให้มากขึ้น
ความเข้าใจในสถานการณ์
๑๑-๔๖ ความเข้าใจในสถานการณ์ เป็นผลผลิตของการประยุกต์การวิเคราะห์และ
วิจารณญาณในการตัดสินใจต่อภาพการยุทธ์รว่ มกัน (ภยร.) เพือ่ ก�ำหนดความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัย
METT-TC (ดู รส. ๖-๐) ช่วยส่งเสริมความมั่นใจในการจัดท�ำข้อตกลงใจ ในโอกาสต่าง ๆ ที่ก�ำหนด
ภัยคุกคามต่อก�ำลังหรือการบรรลุภารกิจและช่องว่างของสารสนเทศ มันช่วยให้ผบู้ งั คับบัญชาพิสจู น์
ทราบทางเลือกของฝ่ายข้าศึก รวมทั้งการปฏิบัติที่น่าจะเกิดขึ้นในอนาคต ผลที่ตามมาที่อาจจะ
เป็นไปได้ของข้อเสนอการปฏิบัติของฝ่ายเรา และผลกระทบของสภาพแวดล้อมต่อทั้งสองฝ่าย
ความเข้าใจในสถานการณ์ขึ้นอยู่กับภาพการยุทธ์ร่วมที่สนับสนุนความริเริ่มจากผู้บังคับบัญชา
ของหน่วยรองโดยการลดความไม่แน่นอนแม้ว่าจะไม่สามารถก�ำจัดมันลงไปได้ (ดูรูป ๑๑-๓)
๑๑-๔๗ ความเข้าใจในสถานการณ์มีข้อจ�ำกัด ไม่มีความสมบูรณ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งขึ้น
อยู่กับสถานการณ์ฝ่ายข้าศึกนั้นต้องการการยืนยันความเป็นจริง ความเข้าใจในสถานการณ์เน้นไป
ทีส่ ถานการณ์ปจั จุบนั มันสามารถลดความฝืดทีเ่ ป็นสาเหตุมาจาก “หมอกควันของสงคราม” อย่างไร
ก็ตาม การบรรลุถึงความถูกต้องของความเข้าใจในสถานการณ์นั้น อย่างน้อยที่สุดจะขึ้นอยู่กับ
วิจารณญาณในการตัดสินใจของมนุษย์ที่มีมากพอ ๆ กับสารสนเทศที่ได้รับการด�ำเนินกรรมวิธีโดย
เครื่องจักรกล โดยเฉพาะเมื่อการประเมินเจตนารมณ์และอ�ำนาจก�ำลังรบของฝ่ายข้าศึก กล่าว
ง่าย ๆ คือ เทคโนโลยีได้ช่วยในการวาดภาพเรื่องของสถานการณ์ได้ แต่ไม่สามารถแทนที่ให้กับ
ความสามารถทางเทคนิคและทางยุทธวิธีได้ ยิ่งไปกว่านั้น ส่วนต่าง ๆ ของก�ำลังรบจะไม่ทันสมัย
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 297

ในบางเวลา ระดับความเข้าใจในสถานการณ์ระหว่างหน่วยที่มีความทันสมัยกับหน่วยที่มีความ
ทันสมัยน้อยกว่าอาจจะแปรผันตามเวลา ผูบ้ งั คับบัญชาตระหนักถึงความแตกต่างระหว่างหน่วยงาน
องค์การต่าง ๆ และปรับระเบียบปฏิบัติตลอดจนภารกิจของหน่วยรองให้สอดคล้องตามไปด้วย
การจัดการสารสนเทศในปฏิบัติการเต็มย่านของความขัดแย้ง
๑๑-๔๘ การจัดการสารสนเทศเป็นความรับผิดชอบทางการบังคับบัญชา แผนการจัดการ
สารสนเทศจะสร้างความรับผิดชอบและท�ำให้เกิดค�ำแนะน�ำในการจัดการสารสนเทศ แผนการ
จัดการข่าวสารเป็นแนวความคิดในการปฏิบัติของผู้บังคับบัญชาในการจัดการควบคุมข่าวสาร
แผนการจัดการสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพจะครอบคลุมขอบเขตทั้งหมดของการปฏิบัติการ
ส่วนงานฝ่ายอ�ำนวยการที่ได้รับการก�ำหนดจะท�ำหน้าที่กลั่นกรองแผนและก่อให้เกิดการจัดการ
สารสนเทศในองค์รวม

รูปที่ ๑๑-๓ ความเข้าใจในสถานการณ์


298 บทที่ ๑๑

การปฏิบัติการสารสนเทศ
๑๑-๔๙ การปฏิบัติการสารสนเทศ เป็นการ
การปฏิบัติการสารสนเทศ เป็น การปฏิบัติที่ ปฏิบตั กิ ารจัดรูปแบบเพือ่ สร้างสภาวการณ์ (shaping
ท�ำให้เกิดผลกระทบต่อฝ่ายตรงข้ามและสร้าง operations) ซึ่งสร้างสรรค์และสงวนรักษาโอกาส
อิ ท ธิ พ ลต่ อ กระบวนการตั ด สิ น ใจของผู ้ อื่ น ส�ำหรับการปฏิบัติการรบแตกหัก การปฏิบัติการ
สารสนเทศ และระบบสารสนเทศ ขณะ
สารสนเทศมีทงั้ เชิงรุกและเชิงรับ กิจกรรมทีเ่ กีย่ วข้อง
ที่ ท� ำ การปกป้ อ งสารสนเทศ และระบบ
สารสนเทศ ของฝ่ายเรา
ที่สนับสนุนการปฏิบัติการสารสนเทศ ได้แก่ การ
ประชาสัมพันธ์ และการปฏิบัติการพลเรือน-ทหาร
(ปพท.)
๑๑-๕๐ คุณค่าของการปฏิบัติการสารสนเทศไม่ได้อยู่ในผลกระทบที่เกี่ยวกับการที่
ฝ่ายข้าศึกส่งผ่านข้อมูลได้ดีอย่างไร คุณค่าที่แท้จริงของการปฏิบัติการสารสนเทศเป็นเพียงการได้
รับการวัดโดยผลกระทบของพวกมันต่อความสามารถในการปฏิบัติการทางทหารของข้าศึก
ผู้บังคับบัญชาใช้การปฏิบัติการสารสนเทศเพื่อโจมตีกระบวนการแสวงข้อตกลงใจ สารสนเทศ
และระบบสารสนเทศของข้าศึก การปฏิบัติการสารสนเทศอย่างมีประสิทธิภาพอ�ำนวยให้รวม
ผลกระทบอย่างมาก ณ จุดแตกหักได้เร็วกว่าฝ่ายข้าศึก การปฏิบตั กิ ารสารสนเทศถูกใช้เพือ่ ขัดขวาง
ท�ำลาย ลดประสิทธิภาพ ต่อต้าน ลวง ขยายผล
และสร้างอิทธิพลต่อความสามารถของข้าศึกใน การปฏิบัติการสารสนเทศเชิงรุก เป็นการรวม
การด�ำเนินการบังคับบัญชาและการควบคุม ใน ขีดความสามารถและกิจกรรมต่าง ๆ ที่ก�ำหนดและ
การสร้างผลกระทบนี้ กองก�ำลังฝ่ายเราใช้ความ ให้การสนับสนุน และได้รับการสนับสนุนซึ่งกันและ
พยายามที่ จ ะสร้ า งอิ ท ธิ พ ลต่ อ การรั บ รู ้ กันโดยการข่าวกรอง เพือ่ สร้างผลกระทบต่อผูท้ ำ� การ
ตัดสินใจของฝ่ายข้าศึกหรือเพื่อสร้างอิทธิพลต่อ
สถานการณ์ของข้าศึก
ผู้อื่น ๆ หรือส่งเสริมวัตถุประสงค์เฉพาะ
๑๑-๕๑ เช่นเดียวกัน การปฏิบตั กิ าร การปฏิบัติการสารสนเทศเชิงรับ เป็นการรวม
สารสนเทศและกิจกรรมทีเ่ กีย่ วข้อง จะมีผลกระ และประสานงานในเรือ่ งของนโยบายและระเบียบวิธี
ปฏิบัติ การปฏิบัติการ บุคลากรและเทคโนโลยี่ เพื่อ
ทบต่อความรู้สึกนึกคิดและทัศนคติของผู้อื่นที่
การปกป้ อ งและป้ อ งกั น สารสนเทศและระบบ
อยู่ในพื้นที่ปฏิบัติการ ซึ่งรวมถึง ประชากรใน สารสนเทศของฝ่ายเรา การปฏิบัติการสารสนเทศ
ท้องถิ่น บุคคลผู้อพยพ และผู้น�ำพลเรือน การ เชิงรับประกันถึงความทันเวลา ความถูกต้อง และ
ปฏิบัติการสารสนเทศเป็นการปฏิบัติการจัด การเข้าถึงสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง ขณะที่ท� ำการ
รู ป แบบเพื่ อ สร้ า งสภาวการณ์ ซึ่ ง ช่ ว ยให้ ปฏิเสธโอกาสของฝ่ายตรงข้ามในการใช้ประโยชน์
ผู ้ บั ง คั บ บั ญ ชาสามารถสร้ า งเงื่ อ นไขได้ ต าม จากสารสนเทศ และระบบสารสนเทศของฝ่ายเรา
ที่พึงปรารถนาไม่ใช่เพียงแค่การปฏิบัติการรบ เพื่อวัตถุประสงค์ของพวกเขา
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 299

แตกหักเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการปฏิบัติการด� ำรงสภาพอีกด้วย ผู้บังคับบัญชาใช้การปฏิบัติ


การสารสนเทศ และกิจกรรมทีเ่ กีย่ วข้องในการบรรเทาผลกระทบจากการปฏิบตั กิ ารสารสนเทศของ
ฝ่ายข้าศึก รวมทั้งผลกระทบในทางตรงกันข้ามที่ไหลเวียนมาจากการพลาดการได้รับสารสนเทศ
ข่าวลือ ความสับสนและความเคลือบแคลงสงสัย
๑๑-๕๒ การปฏิบตั กิ ารสารสนเทศทีป่ ระสบผลส�ำเร็จต้องการการจัดเตรียมสนามรบด้าน
การข่าวที่มีความสมบูรณ์และละเอียดถี่ถ้วน การจัดเตรียมสนามรบด้านการข่าว จะรวมถึง
สารสนเทศ เกี่ยวกับขีดความสามารถ รูปแบบการจัดท�ำข้อตกลงใจ และระบบสารสนเทศ ขอฝ่าย
ข้าศึก มันยังรวมถึงการพิจารณาถึงผลกระทบของสือ่ ทัศนคติ วัฒนธรรม เศรษฐกิจ การเมือง เรือ่ ง
ที่เกี่ยวกับประชากร และลักษณะท่าทีของประชาชนในพื้นที่ปฏิบัติการ การปฏิบัติการสารสนเทศ
ทีป่ ระสบความส�ำเร็จจะมีอทิ ธิพลต่อการรับรู้ การตัดสินใจและเจตจ�ำนงของฝ่ายข้าศึก ฝ่ายตรงข้าม
และฝ่ายอื่น ๆ ในพื้นที่ปฏิบัติการ เป้าหมายแรกคือ การสร้างความแตกแยกขึ้นในจิตใจของ
ผู้บังคับบัญชาข้าศึก ในเรื่องระหว่างความเป็นจริงกับการรับรู้ของพวกเขาในเรื่องที่เกิดขึ้นจริง
รวมทั้งรบกวนความสามารถในการด�ำเนินการบังคับบัญชาและการควบคุม (ดู รส. ๓-๑๓)
๑๑-๕๓ การปฏิบัติการรุกและรับใช้องค์ประกอบเพิ่มเติม การเพิ่มเติม และการปฏิบัติ
แบบอสมมาตรทีก่ ระทบต่อการโจมตีขา้ ศึก สร้างอิทธิพลต่อข้าศึกและผูอ้ นื่ ๆ ตลอดจนปกป้องกอง
ก�ำลังฝ่ายเรา บนสนามรบที่ซึ่งมีการรวมก�ำลังรบเป็นมหันตภัยอย่างใหญ่หลวง การปฏิบัติการ
สารสนเทศ สามารถโจมตีระบบการบังคับบัญชาและการควบคุมของข้าศึกตลอดจนท�ำให้ขดี ความ
สามารถและเจตจ�ำนงในการสู้รบของข้าศึกอ่อนแอลง มันสามารถลดความล่อแหลมของฝ่ายเรา
และขยายผลต่อความอ่อนแอของข้าศึกได้ ทีใ่ ดทีม่ กี ารใช้ก�ำลังถูกจ�ำกัดหรือไม่สามารถหาทางเลือก
อื่นมาทดแทนได้ การปฏิบัติการสารสนเทศ สามารถส่งอิทธิพลต่อทัศนคติ ลดเงื่อนไขอันเป็นเหตุ
ให้เกิดการเป็นปรปักษ์ และถ่ายทอดเจตนารมณ์ในการทีจ่ ะใช้ก�ำลังโดยปราศจากการใช้ก�ำลังอย่าง
แท้จริง ข่าวสารที่ใช้ในลักษณะนี้อ�ำนวยให้กองก�ำลังฝ่ายเราบรรลุผลส�ำเร็จได้เร็วกว่าเดิม ด้วยการ
สูญเสียที่น้อยกว่าเดิม
การปฏิบัติการสารสนเทศเชิงรุก
๑๑-๕๔ ผลกระทบที่ต้องการของการปฏิบัติการสารสนเทศเชิงรุก คือการท�ำลาย ลดขีด
ความสามารถ ขัดขวาง ลวง ปฏิเสธ แสวงประโยชน์และสร้างอิทธิพลต่อพันธกิจของฝ่ายข้าศึก ใน
ขณะเดียวกัน กกล.ทบ. จะใช้องค์ประกอบของการปฏิบัติการสารสนเทศเชิงรุก ให้เกิดผลกระทบ
ต่อความรู้สึกนึกคิดของฝ่ายตรงข้ามในพื้นที่ปฏิบัติการ การใช้องค์ประกอบของการปฏิบัติการ
สารสนเทศเชิงรุก กกล.ทบ. สามารถท�ำได้ทงั้ การป้องกันฝ่ายตรงข้ามจากการด�ำเนินการบังคับบัญชา
300 บทที่ ๑๑

และการควบคุมอย่างมีประสิทธิภาพ หรือมีอ�ำนาจในการคัดง้างมันให้เกิดความเป็นฝ่ายได้เปรียบ
ต่อพวกเขา สุดท้ายเป้าหมายการปฏิบัติการสารสนเทศจะพุ่งเป้าไปที่ผู้น�ำ และกระบวนการ
ตกลงใจของฝ่ายตรงข้ามในพื้นที่ปฏิบัติการ
การปฏิบัติการสารสนเทศเชิงรับ
๑๑-๕๕ การปฏิบัติการสารสนเทศเชิงรับ ปกป้องการปฏิบัติการสารสนเทศของฝ่ายเรา
ที่เกี่ยวข้อง และขัดขวางโอกาสของฝ่ายตรงข้ามต่อสารสนเทศและระบบสารสนเทศของฝ่ายเรา
การปฏิบัติการสารสนเทศเชิงรับจ�ำกัดความล่อแหลมของระบบควบคุมบังคับบัญชา
องค์ประกอบของการปฏิบัติการสารสนเทศ
องค์ประกอบของการปฏิบัติการสารสนเทศ
๑๑-๕๖ การปฏิบัติการสารสนเทศ
- การลวงทางทหาร
เชิงรุกและเชิงรับที่เป็นไปอย่างผสมผสานเป็น - การต่อต้านการลวง
สิ่งจ�ำเป็นอย่างยิ่งต่อการประสบความส�ำเร็จ - การรักษาความปลอดภัยการปฏิบัติการ
กิจกรรมหรือการปฏิบัติการทั้งหลายประกอบ - การรักษาความปลอดภัยทางกายภาพ
กันขึ้นเป็นการปฏิบัติการสารสนเทศ ซึ่งแต่ละ - การสงครามอิเล็กทรอนิกส์
องค์ ป ระกอบต่ อ ไปนี้ อ าจจะมี ก ารน� ำ ไป • การโจมตีทรงอิเล็กทรอนิกส์
ประยุกต์ใช้ทั้งในเชิงรุกและเชิงรับ • การปกป้องทางอิเล็กทรอนิกส์
• การสนับสนุนการสงครามอิเล็กทรอนิกส์
๑๑-๕๗ การลวงทางทหาร การลวง - การประกันสารสนเทศ
ทางทหารรวมถึงมาตรการที่ได้รับการก�ำหนด - การท�ำลายทางกายภาพ
ขึน้ เพือ่ น�ำฝ่ายตรงข้ามและฝ่ายข้าศึกไปสูค่ วาม - การปฏิบัติการจิตวิทยา
ผิดพลาด โดยการหลอกลวง บิดเบือน หรือการ - การตอบโต้การโฆษณาชวนเชื่อ
- การต่อต้านข่าวกรอง
ปลอมแปลง จุดมุ่งหมายของมันคือเพื่อสร้าง - การโจมตีเครือข่ายคอมพิวเตอร์
อิทธิพลต่อความเข้าใจในสถานการณ์ของฝ่าย - การป้องกันเครือข่ายคอมพิวเตอร์
ข้ า ศึ ก และชั ก น� ำ พวกเขาไปสู ่ ก ารปฏิ บั ติ ใ น
ลักษณะซึ่งเป็นไปตามที่กองก�ำลังฝ่ายเราต้องการ
๑๑-๕๘ การต่อต้านการลวง การต่อต้านการลวงรวมถึงความพยายามต่าง ๆ ในการ
ปฏิเสธ ลบล้าง ท�ำให้เป็นกลาง หรือลดผลกระทบ รวมทั้งการได้เปรียบจากการปฏิบัติการลวงของ
ฝ่ายตรงข้าม การต่อต้านการลวงจะสนับสนุนการปฏิบัติการสารสนเทศเชิงรุก โดยการลดอันตราย
ของผลกระทบจากการลวงของฝ่ายข้าศึก ส่วนในเชิงรับการต่อต้านการลวงท�ำการพิสจู น์ทราบความ
พยายามของฝ่ายข้าศึกในการน�ำกองก�ำลังฝ่ายเราไปสู่ความผิดพลาด
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 301

๑๑-๕๙ การรักษาความปลอดภัยการปฏิบัติ (รปภป.) การรักษาความปลอดภัยการ


ปฏิบตั ิ เป็นการปฏิเสธสารสนเทศส�ำคัญยิง่ ของฝ่ายข้าศึกเพือ่ ความส�ำเร็จในการปฏิบตั กิ ารทางทหาร
ของฝ่ายเรา มันสนับสนุนการรักษาความปลอดภัยของ กกล.ทบ. และความสามารถของพวกเขาใน
การสร้างความประหลาดใจหรือเกิดการจู่โจมต่อฝ่ายตรงข้าม การรักษาความปลอดภัยการปฏิบัติ
การระบุทำ� การระบุกจิ กรรมทีท่ �ำเป็นประจ�ำซึง่ อาจจะเป็นการส่งเจตนารมณ์ของฝ่ายเราในทางไกล
การปฏิบัติการหรือกิจกรรมทางทหาร มันเป็นการกระท�ำเพื่อกดดัน ซ่อนพราง ควบคุม หรือขจัด
ตัวชี้วัด การรักษาความปลอดภัยการปฏิบัติ (รปภป.) จะรวมการต่อต้านการเฝ้าตรวจ การรักษา
ความปลอดภัยทางการสื่อสาร และการรักษาความปลอดภัยสารสนเทศ
๑๑-๖๐ การรักษาความปลอดภัยทางกายภาพหรือทางวัตถุ การรักษาความปลอดภัย
ทางกายภาพหรื อ ทางวั ต ถุ จ ะป้ อ งกั น การเข้ า ถึ ง ของบุ ค คลผู ้ ไ ม่ มี อ� ำ นาจหน้ า ที่ ใ นการเข้ า ถึ ง
ยุทโธปกรณ์ ที่ตั้ง และเอกสารต่าง ๆ มันเป็นการอารักขาและพิทักษ์รักษาข่าวสารและระบบ
สารสนเทศ
๑๑-๖๑ การสงครามอิเล็กทรอนิกส์ (สอ.) เป็นการปฏิบตั กิ ารทางทหาร เกีย่ วกับการใช้
คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และพลังงานโดยตรงในการควบคุมคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือท�ำการโจมตีฝ่าย
ข้าศึก การสงครามอิเล็กทรอนิกส์สามารถท�ำให้ฝา่ ยข้าศึกท�ำการตีความสารสนเทศทีไ่ ด้รบั ผิดพลาด
โดยระบบอิเล็กทรอนิกส์ของพวกเขา การสงครามอิเล็กทรอนิกส์ (สอ.) ประกอบด้วย
- การโจมตีทางอิเล็กทรอนิกส์ เป็นการปฏิบัติที่น�ำเอาการลดประสิทธิภาพ
ท�ำให้เป็นกลาง หรือท�ำลายขีดความสามารถในการสู้รบทางอิเล็กทรอนิกส์
ของฝ่ายข้าศึก อาจจะรวมถึงการโจมตีด้วยอาวุธให้ผลรุนแรง เช่น ขีปนาวุธ
ต่อต้านการแพร่กระจายคลื่น และอาวุธที่ใช้พลังงานโดยตรง และการโจมตี
ที่ไม่เป็นอันตรายร้ายแรง เช่น การรบกวนสัญญาณ
- การป้องกันทางอิเล็กทรอนิกส์ เกีย่ วกับการปฏิบตั ทิ ใี่ ช้ในการป้องกันฝ่ายเรา
จากการใช้ชว่ งคลืน่ สัญญาณแม่เหล็กไฟฟ้า โดยการลดผลกระทบทีม่ ีตอ่ ฝ่าย
เราหรือการใช้สงครามอิเล็กทรอนิกส์ของฝ่ายข้าศึก การปฏิบัติต่าง ๆ อาจ
จะรวมถึง การเงียบรับฟังและการใช้มาตรการต่อต้านการรบกวนสัญญาณ
- การสนับสนุนการสงครามอิเล็กทรอนิกส์ เกี่ยวกับการค้นหา พิสูจน์ทราบ
ก�ำหนดต�ำแหน่ง และการใช้ประโยชน์จากคลืน่ สัญญาณของฝ่ายข้าศึกทีแ่ พร่
กระจายออกมา ซึง่ เป็นส่วนช่วยให้เกิดความเข้าใจสถานการณ์ได้มากขึน้ ช่วย
ในการพัฒนาเป้าหมาย และการได้มาซึง่ เป้าหมาย ประเมินค่าความเสียหาย
และการพิทักษ์ก�ำลังรบ
302 บทที่ ๑๑

๑๑-๖๒ การประกันสารสนเทศ การประกันสารสนเทศและการป้องกันระบบสารสนเทศ


ภัยคุกคามที่เกิดขึ้นต่อระบบสารสนเทศ รวมถึงการท�ำลายทางกายภาพหรือทางวัตถุ การไม่ให้
บริการ การถูกยึด การท�ำลายทางสิ่งแวดล้อม และการท�ำงานบกพร่อง การประกันสารสนเทศ
ก่อให้เกิดความเชื่อมั่นว่าสารสนเทศและระบบสารสนเทศ มีคุณลักษณะตามคุณสมบัติดังต่อไปนี้
คือ ใช้ประโยชน์ได้ มีความสมบูรณ์ มีความน่าเชือ่ ถือ เป็นทีน่ า่ ไว้วางใจ และไม่ถกู ปฏิเสธ การป้องกัน
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ก็เป็นส่วนหนึ่งขององค์ประกอบนี้
๑๑-๖๓ การท�ำลายทางกายภาพหรือทางวัตถุ การท�ำลายทางกายภาพหรือทางวัตถุ
เป็นการประยุกต์ใช้อ�ำนาจก�ำลังรบต่อเป้าหมายทีเ่ กีย่ วข้องกับการปฏิบตั กิ ารสารสนเทศ เป้าหมาย
เหล่านี้รวมถึงระบบสารสนเทศ ระบบการสงครามอิเล็กทรอนิกส์ ที่บัญชาการ การท� ำลายทาง
กายภาพหรือทางวัตถุซงึ่ สนับสนุนการปฏิบตั กิ ารสารสนเทศ ได้รบั การประสานสอดคล้องกับแง่มมุ
อื่น ๆ ของการปฏิบัติการ ตัวอย่างเช่น เมื่อตัดสินใจว่าจะท�ำลายที่บัญชาการของฝ่ายตรงข้าม
ผู้บังคับบัญชาฝ่ายเราจะวางน�้ำหนักให้ได้มาซึ่งความได้เปรียบจากการท�ำการรบกวนขัดขวางการ
บังคับบัญชาและการควบคุมของข้าศึก การได้เปรียบเหล่านั้นมาจากการรวบรวมข่าวสารจาก
เครือข่ายวิทยุของที่บัญชาการ
๑๑-๖๔ การปฏิบตั กิ ารจิตวิทยา (ปจว.) การปฏิบตั กิ ารจิตวิทยาเป็นการปฏิบตั กิ ารทีม่ ี
การวางแผนไว้เพือ่ ให้เกิดอิทธิพลต่อพฤติกรรม และการกระท�ำของฝ่ายตรงข้ามหรือบุคคลทีต่ า่ งกัน
ออกไป โดยวิธีถ่ายทอดสารสนเทศที่เลือกใช้และตัวชี้วัดของการ ปจว. (ดูหลักนิยมการยุทธ์ร่วม)
จุดมุ่งหมายของการปฏิบัติการจิตวิทยาคือ เพื่อสร้างพฤติกรรมซึ่งสนับสนุนผลประโยชน์แห่งชาติ
และภารกิจของก�ำลังรบ การปฏิบัติการจิตวิทยาได้รับการประสานสอดคล้องกับการรักษาความ
ปลอดภัยการปฏิบตั กิ าร การลวงทางทหาร การท�ำลายทางกายภาพหรือทางวัตถุ และการสงคราม
อิเล็กทรอนิกส์ เพื่อท�ำให้เกิดการรับรู้ในเรื่องของความเป็นจริงซึ่งสนับสนุนวัตถุประสงค์ของ
ฝ่ายเรา
๑๑-๖๕ การต่อต้านการโฆษณาชวนเชือ่ การต่อต้านการโฆษณาชวนเชือ่ รวมถึงกิจกรรม
ต่าง ๆ ที่กระท�ำโดยตรงต่อข้าศึกหรือฝ่ายตรงข้ามที่ด�ำเนินการปฏิบัติการจิตวิทยาต่อกองก�ำลัง
ฝ่ายเรา การต่อต้านการโฆษณาชวนเชื่อสามารถสนับสนุนต่อความเข้าใจในสถานการณ์ และ
เปิดเผยความพยายามของข้าศึกที่พยายามสร้างอิทธิพลต่อประชากรและก�ำลังทหารของฝ่ายเรา
การกระท�ำที่เป็นเชิงป้องกันรวมถึงการจัดท�ำโครงการเฝ้าระวังการโฆษณาชวนเชื่อซึ่งแจ้งเตือน
ประเทศ กองก�ำลัง และประชากรฝ่ายเรา เกี่ยวกับการโฆษณาชวนเชื่อของฝ่ายตรงข้าม
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 303

๑๑-๖๖ การต่อต้านข่าวกรอง การต่อต้านข่าวกรองประกอบไปด้วยกิจกรรมที่ท�ำการ


พิสูจน์ทราบและการกระท�ำการตอบโต้ต่อภัยคุกคาม เพื่อแสดงให้เห็นถึงการรักษาความปลอดภัย
จากการจารกรรม การล้มล้าง หรือการก่อการร้าย การต่อต้านข่าวกรองจะท�ำการค้นหา ท�ำให้เป็น
กลาง หรือป้องกันการจารกรรมหรือกิจกรรมทางด้านการข่าวกรองอื่น ๆ การต่อต้านข่าวกรอง
สนับสนุนความต้องการของผู้บังคับบัญชาในการด�ำรงรักษาความปลอดภัยที่จ�ำเป็นและพิทักษ์
ก�ำลังรบไว้
๑๑-๖๗ การโจมตีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ การโจมตีเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วย
การปฏิบัติการซึ่งรบกวน ปฏิเสธ ลดเกรดระดับ หรือท�ำลายแหล่งที่อยู่ของสารสนเทศ ใน
คอมพิวเตอร์และเครือข่ายคอมพิวเตอร์ มันอาจจะก�ำหนดเป้าหมายไปทีค่ อมพิวเตอร์และเครือข่าย
ของตัวพวกมันเอง ถึงแม้ว่าปกติเป็นการด�ำเนินการในองค์ประกอบระดับยุทธบริเวณหรือใน
ระดับชาติก็ตาม แต่ผลจากการใช้การโจมตีระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์อาจเกิดผลกระทบชัดเจน
ในระดับกองทัพน้อยและต�่ำกว่าได้
๑๑-๖๘ การป้องกันเครือข่ายคอมพิวเตอร์ การป้องกันเครือข่ายคอมพิวเตอร์ประกอบ
ด้วยมาตรการทั้งปวงที่จะป้องกันคอมพิวเตอร์และองค์ประกอบอื่น ๆ ซึ่งเชื่อมต่อกันอยู่ในระบบ
เครือข่ายการติดต่อสื่อสารทางไกลเพื่อป้องกันการโจมตีเครือข่ายคอมพิวเตอร์จากฝ่ายตรงข้าม
มาตรการเหล่านี้ประกอบด้วยการควบคุมการเข้าถึง การค้นหารหัสและโปรแกรมที่มีเจตนาร้าย
รวมทั้งเครื่องมือในการค้นหาการบุกรุก กกล.ทบ. จะใช้ขีดความสามารถที่มีอยู่ในตัวเอง และการ
ป้องกันเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทบี่ รรลุผลส�ำเร็จเป็นพิเศษ กระท�ำการป้องกันเครือข่ายคอมพิวเตอร์
จากผู้ที่ไม่ได้รับการยินยอมให้เป็นผู้ใช้งาน
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง
๑๑-๖๙ การประชาสัมพันธ์และการปฏิบัติการพลเรือน-ทหาร เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้อง
หรือที่มีส่วนสัมพันธ์กับปฏิบัติการสารสนเทศ ทั้งการสื่อสารสารสนเทศไปยังผู้ฟังที่ส� ำคัญยิ่งเพื่อ
สร้างอิทธิพลต่อความเข้าใจของพวกเขาและการรับรูใ้ นเรือ่ งของการปฏิบตั กิ ารทางทหาร กิจกรรม
ทีเ่ กีย่ วข้องแตกต่างจากการปฏิบตั กิ ารสารสนเทศ เพราะว่าพวกมันไม่ตอ้ งเปลีย่ นแปลงหรือบิดเบือน
สารสนเทศ ประสิทธิภาพก�ำเนิดมาจากความน่าเชื่อถือของพวกมันที่มีกับประชากรในท้องถิ่นและ
สื่อมวลชนในพื้นที่ การประชาสัมพันธ์และการปฏิบัติการพลเรือน-ทหาร เป็นแหล่งส�ำคัญยิ่งของ
สารสนเทศที่เชื่อมต่อไปยังก�ำลังรบ ประชากร และสื่อมวลชน และยังจัดเตรียมการประเมินใน
ส่วนของผลกระทบจากการปฏิบัติการทางทหารที่เกิดขึ้นกับฝ่ายพลเรือน ฝ่ายที่เป็นกลาง และ
ฝ่ายอื่น ๆ ภายในห้วงการรบ
304 บทที่ ๑๑

๑๑-๗๐ การประชาสัมพันธ์ เป็นการสร้างอิทธิพลต่อประชาชนโดยการถ่ายทอด


สารสนเทศ ผ่านทางสื่อมวลชนต่าง ๆ การประชาสัมพันธ์ช่วยเติมเต็มพันธกรณีของกองทัพในการ
พิทักษ์รักษาประชาชนและการรายงานสารสนเทศของ ทบ. การประชาสัมพันธ์ช่วยสร้างเงื่อนไข
ซึ่งน�ำไปสู่ความเชื่อมั่นใน ทบ. และความพร้อมของ ทบ. ในการด�ำเนินการปฏิบัติการต่าง ๆ ทั้งใน
ยามสงบ ขณะเกิดความขัดแย้งและในยามสงคราม การกระจายสารสนเทศนีเ้ ป็นสามารถท�ำได้ตาม
ต้ อ งการและสอดคล้ อ งกั น ความมั่ น คง สารสนเทศที่ ไ ด้ รั บ การกระจายออกไปผ่ า นทางการ
ประชาสัมพันธ์เป็นการตอบโต้ประสิทธิภาพในส่วนของการโฆษณาชวนเชื่อและการรับสารสนเทศ
ที่ผิดพลาด
๑๑-๗๑ การปฏิบตั กิ ารพลเรือน-ทหาร (ปพท.) การปฏิบตั กิ ารพลเรือน-ทหารเป็นการ
น�ำกิจการพลเรือนมาประยุกต์ใช้กับการปฏิบัติการทางทหาร มันล้อมรอบกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่ง
ผู้บังคับบัญชาน�ำมาใช้สร้าง ด�ำรงรักษา สร้างอิทธิพล หรือใช้ประโยชน์จากความสัมพันธ์ระหว่าง
พลเรื อ นกั บ ก� ำ ลั ง ทหาร ทั้ ง ภาครั ฐ และไม่ ใ ช่ ห น่ ว ยงานของรั ฐ ตลอดจนประชาชนพลเรื อ น
ผู้บังคับบัญชาอ�ำนวยการในกิจกรรมทั้งหลายเหล่านี้ ในพื้นที่ปฏิบัติการต่าง ๆ ทั้งของฝ่ายเรา
ฝ่ายเป็นกลาง และฝ่ายปรปักษ์ เพื่ออ�ำนวยความสะดวกต่อการปฏิบัติการทางทหารให้เป็นไปด้วย
ความราบรื่นและบรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ กิจการพลเรือนอาจจะรวมถึงการใช้ก�ำลังทหารใน
การด�ำเนินงานในกิจกรรมและหน้าทีต่ ามปกติทเี่ ป็นความรับผิดชอบของเจ้าหน้าทีร่ ฐั บาลในท้องที่
กิจกรรมเหล่านีอ้ าจจะเกิดขึน้ ก่อน ระหว่าง และหลังการปฏิบตั กิ ารทางทหารอืน่ ๆ โดยอาจเป็นการ
ปฏิบัติการเพียงอย่างเดียวก็ได้ ปพท. เป็นการน�ำไปกิจกรรมที่ได้รับการวางแผนไว้แล้วไปอย่าง
แม่นย�ำและตรงตามเวลาซึง่ ช่วยส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างก�ำลังทหารและเจ้าหน้าทีฝ่ า่ ยพลเรือน
ตลอดจนประชาชนอีกด้วย พวกมันส่งเสริมการพัฒนาความรูส้ กึ ทัศนคติ หรือพฤติกรรมทีต่ อ้ งการ
กับฝ่ายทีเ่ ป็นกลาง ฝ่ายทีเ่ ป็นมิตร และกลุม่ ทีเ่ ป็นฝ่ายต่อต้าน ปพท. มีขอบเขตตัง้ แต่การสนับสนุน
ให้กับการรบไปจนถึงการช่วยเหลือประเทศชาติในการสร้างเสถียรภาพทางการเมืองการปกครอง
การเศรษฐกิจและสังคมให้มั่นคง (ดูคู่มือการยุทธ์ร่วม)
การวางแผนและเตรียมการ เพื่อบรรลุถึงความเหนือกว่าด้านสารสนเทศ
๑๑-๗๒ ความเหนื อ กว่ า ด้ า นสารสนเทศ ต้ อ งมี ก ารวางแผนและเตรี ย มการอย่ า ง
กว้างขวาง มันจึงไม่สามารถคิดตามหลังใครได้ ด้วยการเป็นส่วนหนึง่ ของอ�ำนาจก�ำลังรบ สารสนเทศ
จึงต้องการให้ความสนใจเหมือนกับองค์ประกอบด้านอ�ำนาจก�ำลังรบอื่น ๆ
๑๑-๗๓ ความต้องการในการวางแผนเกี่ยวกับความเหนือกว่าด้านสารสนเทศ ที่ส�ำคัญ
ที่สุดคือ การสนธิในเรื่องของ ขฝล. การปฏิบัติการสารสนเทศ และการจัดการสารสนเทศ ทั้งใน
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 305

ทางดิ่งและทางระดับ กกล.ทบ. วางแผนสนับสนุนวัตถุประสงค์ของผู้บัญชาการกองก�ำลังยุทธ์ร่วม


และรับการสนับสนุนจาก ผบ.กกล.ยุทธ์ร่วม ด้วยเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปฏิบัติการ
สารสนเทศเชิงรุกที่ด�ำเนินตามความคิดร่วมและได้รับการอ�ำนวยการตามวัตถุประสงค์ที่ให้การ
สนับสนุน ถ้าไม่มีการสนธิการปฏิบัติการสารสนเทศแล้ว การปฏิบัติการสารสนเทศ ณ ระดับ
หน่วยบัญชาการที่แตกต่างกันอาจจะมีปฏิกิริยาที่แตกต่างซึ่งกันและกัน
๑๑-๗๔ การเตรียมการมุ่งเน้นต่อการจัดการสารสนเทศและการใช้หน่วยทางด้าน ขฝล.
อย่างถูกต้องเพือ่ สนับสนุนก�ำลังรบ เนือ่ งจากว่า กกล.ทบ. มีสถานะทางด้านความทันสมัยทีแ่ ตกต่าง
กันหลากหลาย การสนธิในเรื่องของระบบสารสนเทศไม่ใช่เพียงการวางแผนอย่างรอบคอบเท่านั้น
แต่ยังจะต้องมีการซักซ้อมการปฏิบัติและการทดสอบเมื่อใดก็ตามที่เวลาอ�ำนวยให้อีกด้วย การ
วางแผนการจัดการสารสนเทศจะประกันว่า กกล.ทบ. สามารถที่จะกระจายสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง
ในทางดิ่งและทางระดับ ผู้บังคับบัญชาประเมินหัวข้อข่าวสารที่ต้องการของพวกเขาต่อขีดความ
สามารถในการรวบรวมข่าวสารและการปรับแต่งก�ำลังรบตามไปด้วย
การประสานงานอย่างต่อเนื่อง
๑๑-๗๕ การประสานงานอย่างต่อเนื่อง ท�ำให้การบังคับบัญชาและการควบคุมอย่างมี
ประสิทธิภาพโดดเด่นขึน้ ผลกระทบของเทคโนโลยีดา้ นสารสนเทศเพิม่ ความส�ำคัญในเรือ่ งของการ
ประสานงาน มีความโน้มเอียงไปในทางที่ไม่ดีในการที่ต้องยอมรับทุกสิ่งทุกอย่างที่ปรากฏขึ้นบน
จอคอมพิวเตอร์ การประสานงานจะมุ่งเน้นไปที่ความต้องการข่าวสารส�ำคัญยิ่งของผู้บังคับบัญชา
(ตขสผ.) การพิสูจน์ทราบสารสนเทศ การประสานงานอย่างต่อเนื่องเป็นการพิสูจน์ทราบความ
ฝืดเคืองในการจัดการสารสนเทศและพัฒนาการแก้ปัญหาต่าง ๆ การประสานงานระหว่างคนด้วย
กั น กลายเป็ น การหล่ อ ลื่ น ที่ ขั บ เคลื่ อ นการจั ด การสารสนเทศ ภายในแต่ ล ะกองบั ญ ชาการ
ผู้บังคับบัญชาจะต้องเน้นย�้ ำไปที่ความจ� ำเป็นของการประสานงานระหว่างหน่วยเหนือและ
หน่วยรอง รวมทั้งหน่วยข้างเคียงและหน่วยที่ให้การสนับสนุน ผู้บังคับบัญชาประสานกับงานกับ
ผู้บังคับบัญชาคนอื่น ๆ พวกเขาเข้าใจถึงการประสานงาน ขณะที่กิจส�ำคัญเบื้องต้นของฝ่าย
อ�ำนวยการมิใช่เป็นงานในความรับผิดชอบด้านฝ่ายอ�ำนวยการเพียงอย่างเดียว
ความเหนือกว่าด้านสารสนเทศกับการตอบโต้ทางยุทธศาสตร์
๑๑-๗๖ ก�ำลังรบที่ส่งเข้าวางก�ำลังท�ำการรบนั้นอาจไม่มีความเหนือกว่าด้านสารสนเทศ
ณ ที่ท�ำการวางก�ำลัง หัวข้อข่าวสารของผู้บังคับบัญชา ผนวกกับความเข้าใจในเรื่องของปัจจัย
METT-TC และการปรับแต่งก�ำลังรบทีม่ พี ลานุภาพและขัน้ ตอนในการวางก�ำลัง ทรัพยากรด้าน ขฝล.
ที่ส่งเข้าวางก�ำลังในยุทธบริเวณล่วงหน้าหรือพร้อมด้วยก�ำลังที่เข้าสู่พื้นที่ในขั้นต้นนั้น ขึ้นอยู่กับ
306 บทที่ ๑๑

ฝ่ายข้าศึก ในพื้นที่ ที่ซึ่ง กกล.ทบ. มีความพร้อมที่จะเข้าวางก�ำลังและระบบการเฝ้าตรวจได้รับการ


จัดตัง้ ขึน้ และท�ำการรวบรวมข่าวสาร ข่าวสารทีส่ ามารถหามาได้อาจจะเป็นทีเ่ พียงพอ อย่างไรก็ตาม
หลายครั้งที่วิกฤติการณ์เกิดขึ้น ณ ที่กองก�ำลังต่าง ๆ ไม่ได้วางไว้ในแนวหน้า และการข่าวกรอง
มีเพียงเบาบางสัมพัทธ์ ในกรณีเช่นนั้นการเพิ่มหน่วยลาดตระเวนและเฝ้าตรวจอย่างเร่งด่วนเข้าไป
ในยุทธบริเวณจะเป็นความส�ำคัญอย่างยิ่งยวด ผู้บังคับบัญชาต้องวางระบบ ขฝล. และระบบ
สารสนเทศพร้อมกับกองก�ำลังที่รับการสนับสนุนอยู่เป็นนิจ หน่วยที่ได้รับการก�ำหนดให้เป็น
หน่วยทีเ่ ข้าท�ำการวางก�ำลังแต่เนิน่ ๆ ท�ำการเพิม่ เติมทรัพยากรให้มคี วามพร้อมทีจ่ ะเข้าวางก�ำลังใน
ยุทธบริเวณหรือครอบคลุมทั่วทั้งยุทธบริเวณ
๑๑-๗๗ ข่าวกรองที่สามารถหามาได้เกี่ยวกับพื้นที่ปฏิบัติการที่เป็นไปได้อาจจะมีการใช้
ทางยุทธวิธีอย่างจ�ำกัด หลายครั้งที่ผู้บังคับบัญชาและฝ่ายอ�ำนวยการท�ำการค้นหาว่าพวกเขาต้อง
ท�ำการพัฒนาข่าวกรองเกี่ยวกับพื้นที่ปฏิบัติการ ขณะที่หน่วยของพวกเขาก�ำลังท�ำการพัฒนาพื้นที่
นัน้ ไปพร้อม ๆ กัน เพือ่ ตอบปัญหาความต้องการเฉพาะและมีนยั ส�ำคัญบางอย่าง ผูบ้ งั คับบัญชาอาจ
จะใช้ความช�ำนาญเป็นการเฉพาะทางในบางเรื่อง ความช�ำนาญเฉพาะทางเข้าใจถึงภูมิประเทศ
วัฒนธรรม ขีดความสามารถของฝ่ายข้าศึก และข้อพิจารณาเกี่ยวกับฝ่ายพลเรือนของพื้นที่
ปฏิบตั กิ าร และสามารถให้ความช่วยเหลือฝ่ายอ�ำนวยการในการพัฒนาประมาณการได้ การปฏิบตั ิ
การเผชิญเหตุในการตอบโต้ตอ่ วิกฤติการณ์ทไี่ ม่คาดคิด ปกติเป็นการด�ำเนินการภายใต้ขอ้ จ�ำกัดทาง
ด้านเวลา มันเป็นความส�ำคัญยิง่ ทีผ่ บู้ งั คับบัญชาและฝ่ายอ�ำนวยการร่วมหารือกับผูเ้ ชีย่ วชาญเฉพาะ
ที่คุ้นเคยกับพื้นที่ปฏิบัติการขณะท�ำการพัฒนาวิสัยทัศน์ของผู้บังคับบัญชา การสร้าง ตขสผ.
และการปรับปรุงแก้ไขความเข้าใจในสถานการณ์
๑๑-๗๘ ด้วยการที่ข่าวกรองได้รับการกลั่นกรองแก้ไข และการจัดเตรียมสนามรบ
ด้านการข่าวด�ำเนินไปอย่างต่อเนื่อง ผู้บังคับบัญชามุ่งเน้นไปที่หน่วยลาดตระเวนและเฝ้าตรวจ ใน
การรวบรวมสารสนเทศเพิม่ เติมหรือพิสจู น์ทราบข่าวกรองทีป่ รากฏอยู่ ช่องว่างทีม่ อี ยูอ่ าจจะต้องการ
หน่ ว ยรวบรวมข่าวสารเพิ่มเติม ในสภาพแวดล้ อ มภั ย คุ ก คามระดั บ ต�่ำ ชาติ เ จ้ า บ้ า นอาจจั ด
เตรี ย มก� ำ ลั ง เพิ่ ม เติ ม เป็ น การเฉพาะและลดความต้ อ งการส� ำ หรั บ ทรั พ ยากรของเราได้ ใน
สภาพแวดล้อมภัยคุกคามระดับสูงนั้นต้องเพิ่มการลาดตระเวนและเฝ้าตรวจให้มากขึ้นอาจจะเป็น
ที่ต้องการก่อนที่กำ� ลังส่วนใหญ่จะเข้าไปวางในพื้นที่ ปัจจัยทั้งหมดเหล่านี้มีผลต่อผู้บังคับบัญชาว่า
จะท�ำการปรับแต่งก�ำลังรบของพวกเขาอย่างไร (ดูรูปที่ ๑๑-๔)
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 307

รูปที่ ๑๑-๔ ความเหนือกว่าด้านสารสนเทศ และการตอบโต้ทางยุทธศาสตร์

การปฏิบัติที่เหนือกว่าด้านสารสนเทศ
๑๑-๗๙ ความเหนือกว่าด้านสารสนเทศ จะช่วยให้สามารถท�ำการได้อย่างเด็ดขาดและ
เป็นส่วนเสริมซึ่งกันและกันโดยการกระท�ำนั้นในทางกลับกันด้วย การปฏิบัติการสารสนเทศบรรลุ
ผลกระทบนีเ้ มือ่ เป็นส่วนเสริมเพิม่ เติมให้กบั การปฏิบตั กิ ารอืน่ ๆ ตัวอย่างเช่น การรบกวนสัญญาณ
อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นการรบกวนต่อก�ำลังฝ่ายข้าศึกทีอ่ ยูใ่ นลักษณะท�ำการตัง้ รับอยูแ่ ต่ไม่เผชิญ
กับการโจมตี อย่างไรก็ตามการเผชิญหน้ากับ กกล.ทบ. ทีด่ �ำเนินกลยุทธ์ได้อย่างรวดเร็ว การรบกวน
สัญญาณอย่างมีประสิทธิภาพจะลดประสิทธิภาพการบังคับบัญชาและการควบคุมของข้าศึก
ตลอดจนการประสานสอดคล้องสามารถรบกวนขัดขวางการปฏิบัติการของข้าศึกอย่างเฉพาะ
เจาะจงได้
308 บทที่ ๑๑

การปฏิบัติการในพื้นที่ปฏิบัติการที่ไม่ต่อเนื่องกัน
๑๑-๘๐ พื้นที่ปฏิบัติการที่ไม่ต่อเนื่องกันท้าทายผู้บังคับบัญชาในการใช้ประสิทธิภาพ
ตลอดจนการจินตนาการของหน่วยงานทางด้านการข่าวกรอง หน่วยลาดตระเวนและระบบการระวัง
ป้องกันและเฝ้าตรวจ เมือ่ ท�ำการปฏิบตั กิ ารในพืน้ ทีป่ ฏิบตั กิ ารทีไ่ ม่ตอ่ เนือ่ งกัน ผูบ้ งั คับบัญชาเพ่งเล็ง
การปฏิบตั กิ ารรวบรวมข่าวสารพืน้ ทีร่ ะหว่างรูปขบวนการวางก�ำลัง หน่วยลาดตระเวนและเฝ้าตรวจ
จะควบคุมพื้นที่ ที่อยู่ระหว่างพื้นที่ปฏิบัติการที่ไม่ต่อเนื่อง เมื่อพื้นที่ ที่ต้องการให้ครอบคลุมเกิน
ขีดความสามารถของหน่วยลาดตระเวนผู้บังคับบัญชาประสานงานส�ำหรับการครอบคลุมเพิ่มเติม
ด้วยหน่วยของกองก�ำลังยุทธ์รว่ มหากเป็นไปได้ เมือ่ จ�ำเป็นผูบ้ งั คับบัญชามอบกิจให้กบั ก�ำลังรบส่วน
อื่น ๆ ในการส่งเสริมหน่วยลาดตระเวนและเฝ้าตรวจ
ความริเริ่มของหน่วยรอง
๑๑-๘๑ ผูบ้ งั คับบัญชาจะบรรลุภารกิจได้นนั้ จะขึน้ อยูก่ บั หน่วยความริเริม่ ของหน่วยรอง
ถึงแม้จะยังไม่มีค�ำสั่งการหรือภาพการยุทธ์ร่วมกัน (ภยร.) ก็ตาม เทคโนโลยีด้านสารสนเทศจะส่ง
เสริมการปฏิบัติการของ ทบ. แต่ไม่ได้เข้ามาจัดการกับมัน ในบางครั้งก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ใน
กรณีทรี่ ะบบสารสนเทศจะล้มเหลว ทัง้ จากตัวเองหรือการกระท�ำของฝ่ายข้าศึก ผูบ้ งั คับบัญชาพัฒนา
และสื่อสารวิสัยทัศน์ของพวกเขาไปยังหน่วยรองอย่างชัดเจนเพียงพอที่จะอ�ำนวยให้หน่วยรอง
กระท�ำการได้เมื่อเกิดเหตุการณ์ขึ้น หน่วยรองต่าง ๆ ส่งเสริมเพิ่มเติมความริเริ่มด้วยการประสาน
งานอย่างต่อเนื่องและด้วยการรักษาการรายงานติดต่อกับผู้บังคับบัญชาหน่วยเหนือไว้ตลอดเวลา
เพราะว่ า กกล.ทบ. ต้ อ งสามารถปฏิ บั ติ ก ารได้ ถึ ง แม้ จ ะไม่ มี ภ าพการยุ ท ธ์ ร ่ ว มกั น (ภยร.)
ผู้บังคับบัญชาอาวุโสหลีกเลี่ยงการควบคุมหน่วยรองมากเกินไป
๑๑-๘๒ ขีดความสามารถของระบบสารสนเทศใหม่ ๆ ช่วยให้หน่วยรองกล้าที่จะด�ำเนิน
ความริเริ่มอย่างมีวินัย ภาพการยุทธ์ร่วมกัน (ภยร.) จะช่วยให้หน่วยรองสามารถเข้าถึงสารสนเทศ
เช่นเดียวกับผู้บังคับบัญชาของพวกเขา และปรับแต่งมันให้เป็นไปตามความต้องการของหน่วยรอง
หน่วยรองทีท่ ราบเจตนารมณ์ของผูบ้ งั คับบัญชาสามารถกระท�ำการได้บนพืน้ ฐานของภาพการยุทธ์
ร่วมกัน (ภยร.) มีความเชื่อมั่นว่าผู้บังคับบัญชาของพวกเขาจะเข้าใจว่าก�ำลังท�ำอะไร และท�ำท�ำไม
สารสนเทศที่สมบูรณ์มากกว่าเดิมอ�ำนวยให้ผู้น�ำที่ได้รับการฝึกอบรมมาอย่างดีท�ำการตัดสินใจได้ดี
ยิ่งขึ้น กองก�ำลังซึ่งผู้บังคับบัญชามีการตัดสินใจที่ดีในระดับหน่วยต�่ำสุดจะปฏิบัติได้เร็วกว่าผู้บังคับ
บัญชาทีท่ ำ� การตัดสินใจด้วยการรวมศูนย์อ�ำนาจ เมือ่ เป็นเช่นนัน้ หน่วยจะมีความว่องไวและสามารถ
ฉกฉวยโอกาสได้ในทันที่ ที่ปรากฏขึ้น เมื่อหน่วยรองรายงานการปฏิบัติของพวกเขา รายงาน
เหล่านั้นจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของภาพการยุทธ์ร่วมกัน (ภยร.) องค์ประกอบของก�ำลังรบจะได้รับ
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 309

ผลกระทบโดยการเรียนรูก้ ารปฏิบตั ทิ เี่ กีย่ วกับระบบสารสนเทศ และสามารถประสานสอดคล้องการ


ปฏิบัติของพวกมันเข้ากับหน่วยได้ การใช้ระบบสารสนเทศที่ทันสมัยใหม่อย่างถูกต้องจะช่วยให้
ผู ้ บั ง คั บ บั ญ ชาออกค� ำ สั่ ง แบบมอบภารกิ จ และควบคุ ม สนามรบโดยผ่ า นทางหน่ ว ยรองที่ มี
ประสิทธิภาพ หน่วยรองเหล่านี้สามารถตัดสินใจได้อย่างเหมาะสมกับเหตุแวดล้อมและภารกิจ
ของก�ำลังรบในภาพรวมได้ในทันที
ผลกระทบจากเทคโนโลยี
๑๑-๘๓ พิสัยและความรุนแรงของระบบอาวุธที่เพิ่มมากขึ้น จังหวะการรบที่เร็วกว่าเดิม
วงรอบในการตัดสินใจที่สั้นลงกว่าเดิม และการแผ่ขยายสนามรบ ท�ำให้เพิ่มความสับสนและมี
ปริมาณของข่าวสารเพิ่มขึ้นจ�ำนวนมาก กุญแจส�ำคัญไปสู่การบรรลุความเข้าใจในสถานการณ์และ
หลีกเลี่ยงข้อมูลข่าวสารที่มีมากเกินไป คือ การพิสูจน์ทราบสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง และกลั่นกรอง
เอาข่าวสารที่ไม่ส�ำคัญออกไป ถึงแม้ว่าเทคโนโลยีของผู้ใช้งานฝ่ายเราที่เห็นกันอยู่จะอ�ำนวยต่อการ
ประสานงาน หล่อหลอมข่าวสาร แบ่งปันข่าวสาร รวมทั้งการแสดงผลสารสนเทศที่เกี่ยวข้อง
พันธกิจเหล่านี้ยังคงแปรผันไปตามมนุษย์ พื้นที่ห้วงการรบที่ขยายออกไปเพิ่มการเน้นย�้ำในเรื่อง
ความริเริม่ วิจารณญาณ และความสามารถทางเทคนิคและทางยุทธวิธขี องผูน้ �ำหน่วยรองทุกระดับ
ให้ตอ้ งมีความช�ำนาญ เทคโนโลยีดา้ นสารสนเทศในปัจจุบนั ยังไม่สามารถแทนทีใ่ ห้กบั การฝึกหน่วย
ทหารขนาดเล็กและความเป็นผู้น�ำที่รุกรบได้
๑๑-๘๔ เทคโนโลยีด้านสารสนเทศช่วยให้ผู้บังคับบัญชาน�ำหน่วยได้อย่างมีเสรีในการ
ปฏิบัติได้ทั่วสนามรบ ขณะที่ก็ยังคงรักษาการติดต่อทางอิเล็กทรอนิกส์กับที่บัญชาการ ขีดความ
สามารถนี้จะอ�ำนวยให้ผู้บังคับบัญชาท�ำการเพิ่มเติมการตรวจการณ์ด้วยบุคคล และรับทราบ
ความเคลื่อนไหวที่ก�ำลังด�ำเนินไปได้อย่างต่อเนื่อง ผ่านทางสารสนเทศที่มีการประสานสอดคล้อง
ในภาพการยุทธ์รว่ มกัน (ภยร.) ผูบ้ งั คับบัญชาสามารถเพิม่ การติดต่อด้วยการพบปะกับหน่วยรองได้
ณ จุดแตกหักต่าง ๆ โดยปราศจากการสูญเสียการสังเกตการณ์ภาพของสถานการณ์ในองค์รวม
๑๑-๘๕ เทคโนโลยีก�ำลังสร้างสรรค์เทคนิคใหม่ ๆ ส�ำหรับการแสดงผลและการกระจาย
ข่าวสาร ภาพถ่าย วีดิทัศน์ ภาพเขียนสี แผนที่ดิจิตอล และแผ่นบริวารทั้งมวลซึ่งแสดงสารสนเทศ
ทีเ่ กีย่ วข้องได้เร็วกว่าและแม่นย�ำมากกว่า วิธกี ารเหล่านีช้ ว่ ยให้บคุ คลต่าง ๆ สามารถท�ำความเข้าใจ
ได้เป็นอย่างดี ขีดความสามารถแบบใหม่นี้อ�ำนวยให้เข้าใจได้ดียิ่งกว่าเดิมโดยผู้ฟังที่แตกต่างกัน
ตัวอย่างเช่น ทุกวันนี้ผู้บังคับบัญชาใช้การวางแผนร่วมด้วยข้อมูลที่มาจากทางเครือข่ายที่เชื่อมต่อ
กับหน่วยรองตลอดทัว่ ทัง้ กระบวนการในการปฏิบตั กิ ารต่าง ๆ การแสดงผลสารสนเทศทีไ่ ด้ปรับแต่ง
ให้เหมาะสมกับผู้ฟัง ลดการใช้ค�ำย่อและขจัดถ้อยค�ำที่ไม่จ�ำเป็น เป็นความส�ำคัญเฉพาะอย่างยิ่ง
310 บทที่ ๑๑

เมื่อต้องเกี่ยวข้องกับเพื่อนร่วมงานในกองก�ำลังยุทธ์ร่วม กองก�ำลังผสมนานาชาติ และการปฏิบัติ


การร่วมระหว่างองค์กร เทคโนโลยีอ�ำนวยให้ฝ่ายอ�ำนวยการสามารถแสดงผลผลิตที่ได้รับการ
ปรับแต่งแล้วได้อย่างรวดเร็ว
๑๑-๘๖ เทคโนโลยีสมัยใหม่ท�ำให้เกิดเครือ่ งมือทีห่ ลากหลายส�ำหรับผูบ้ งั คับบัญชาในการ
มองภาพและเกาะติดข้าศึกในทางลึก การใช้ระบบตรวจจับไปสู่การยิงกับระบบอาวุธที่แม่นย�ำช่วย
เพิ่มความสามารถให้แก่กองก�ำลังต่าง ๆ ในการโจมตีเป้าหมายหลายเป้าหมายได้พร้อม ๆ กันใน
ห้วงเวลาจริงเดียวกัน โดยขึน้ อยูก่ บั ระยะทางหรือสภาพภูมปิ ระเทศเพียงเล็กน้อย อะไรก็ตามทีร่ ะบบ
เหล่านี้โจมตีและเมื่อใดก็ตามที่พวกมันโจมตีจะเป็นการตัดสินผลที่ส�ำคัญ ไม่ได้เป็นเพียงแต่การ
ท�ำลายเป้าหมายเพียงอย่างเดียว แต่จะขึ้นอยู่กับผลลัพธ์ที่มีประสิทธิภาพที่สร้างขึ้นด้วย การโจมตี
รุนแรงอย่างเป็นระบบต่อระบบการบังคับบัญชาและการควบคุมของข้าศึก ท�ำให้เกิด “พลังคัดง้าง”
ส�ำหรับกองก�ำลังทางอากาศและทางภาคพืน้ ดินและช่วยสร้างเงือ่ นไขส�ำหรับความส�ำเร็จ โดยปกติ
ในทางธรรมชาติ ผลกระทบเหล่านี้เกิดขึ้นเพียงชั่วขณะเท่านั้น ผู้บังคับบัญชาต้องขยายผลของ
พวกมันด้วยการด�ำเนินกลยุทธ์เพื่อท�ำให้มีผลอย่างถาวร
๑๑-๘๗ เทคโนโลยีดา้ นสารสนเทศ สามารถลดความไม่แน่นอนลง แต่ไม่สามารถขจัดมัน
ออกไปได้อย่างหมดสิน้ มันให้โอกาสแก่ผบู้ งั คับบัญชาซึง่ ช่วยให้พวกเขาครองความริเริม่ ได้ ด้วยการ
ใช้การปฏิบัติที่รวดเร็วและเด็ดขาด ผู้บังคับบัญชาอาจสูญเสียโอกาสนั้นถ้าหากเสาะแสวงหาความ
แน่นอนที่จะน� ำพวกเขาไปสู่การควบคุมและการท� ำการตัดสินใจแบบรวมศูนย์ ความเข้าใจ
ในสถานการณ์ที่ได้รับการช่วยเหลือด้วยเทคโนโลยีอาจล่อใจให้ผู้บังคับบัญชาในระดับสูงเข้าไป
แทรกแซงเรือ่ งเล็ก ๆ ในการปฏิบตั ขิ องหน่วยรอง ซึง่ ไม่ใช่เรือ่ งใหม่เลย อย่างเช่นเครือ่ งส่งสัญญาณ
ในระยะไกลและเฮลิคอปเตอร์บญ ั ชาการเป็นตัวอย่างหนึง่ ของเรือ่ งแบบนี้ ดังนัน้ ผูบ้ งั คับบัญชาอาวุโส
จ�ำเป็นที่จะต้องพัฒนารูปแบบการบังคับบัญชาซึ่งใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยีด้านสารสนเทศ
ขณะที่มอบอ�ำนาจให้หน่วยรองเพื่อบรรลุในภารกิจของพวกเขา การใช้ประโยชน์จากขีดความ
สามารถของเทคโนโลยีด้านสารสนเทศ ต้องการผู้น� ำที่ได้รับการฝึกมาเป็นอย่างดี ตั้งใจที่จะ
เสี่ยงภายในขอบเขตเจตนารมณ์ของผู้บังคับบัญชา ดังนั้นความเข้าใจในเรื่องของขีดความสามารถ
และข้อจ�ำกัดของเทคโนโลยีด้านสารสนเทศ จึงช่วยบรรเทาความเสี่ยงเหล่านั้นได้
บทที่ ๑๒
การสนับสนุนทางการช่วยรบ
ก่อนทีผ่ บู้ งั คับบัญชาจะคิดถึงการด�ำเนินกลยุทธ์หรือการรบว่าจะให้ด�ำเนินไปในแนวทาง
ใด การเข้าตีเจาะ การเข้าตีโอบ การโอบล้อม หรือการท�ำลายล้าง เพื่อที่จะปฏิบัติการจริง เขาต้อง
แน่ใจว่าสามารถที่จะจัดหาอาหารให้แก่ทหาร ๓,๐๐๐ แคลอรี่ต่อวัน ซึ่งถ้าไม่ได้จะท�ำให้ทหาร
เหล่านั้นไม่สามารถท�ำหน้าที่ของทหารได้ เส้นทางที่ใช้ในการล�ำเลียงอาหารต้องสามารถน�ำอาหาร
ไปให้ถูกต้องตามเวลาและสถานที่ และการเคลื่อนย้ายตามเส้นทางนั้นจะต้องไม่ถูกสกัดกั้น
โดยพาหนะในการขนส่งที่มีมาก หรือน้อยเกินไป
Martin Van Creveld
Supplying War
๑๒-๑ การสนับสนุนทางการช่วยรบ เป็นงานอย่างหนึง่ ของผูบ้ งั คับบัญชาเช่นเดียวกับ
ระบบปฏิบัติการสนามรบอื่น ๆ ผู้บังคับบัญชามองภาพการปฏิบัติการและการสนับสนุนทางการ
ช่วยรบว่าล้วนพึ่งพาซึ่งกันและกัน การสนับสนุนทางการช่วยรบเป็นการปฏิบัติการที่ส่งเสริมความ
สามารถซึ่งก่อให้เกิดและคงไว้ซึ่งอ�ำนาจก�ำลังรบ เพื่อน�ำไปใช้ในการปฏิบัติการจัดรูปแบบการรบ
และการปฏิบัติการแตกหัก ณ เวลาและสถานที่ ที่ผู้บังคับบัญชาต้องการ ผู้บังคับบัญชาจะจัดการ
งานทางภาคพื้นดินเพื่อครองความริเริ่ม ด�ำรงรักษาแรงหนุนเนื่อง ตลอดจนขยายผลความส�ำเร็จ
โดยการผสมผสานและรักษาสมดุลระหว่างภารกิจกับความต้องการในการสนับสนุนทางการช่วยรบ
๑๒-๒ ผูบ้ งั คับบัญชามีหน้าทีร่ บั ผิดชอบในการสนธิการสนับสนุนทางการช่วยรบเข้าไว้
ในการปฏิบัติการทั้งมวล ผู้บังคับบัญชาด้านสนับสนุนการช่วยรบจะเป็นผู้ปฏิบัติหลักในการ
สนับสนุนทางการช่วยรบของผู้บังคับบัญชาก�ำลังรบ ผู้ปฏิบัติและผู้วางแผนด้านการสนับสนุน
ทางการช่วยรบ มองปัญหาทางทหารที่ซับซ้อนจากมุมมองที่แตกต่างกัน หากปราศจากการ
ผสมผสานกันระหว่างการปฏิบัติการในภาพรวมและการสนับสนุนทางการช่วยรบ ซึ่งลงมือกระท�ำ
ในวิถีทางที่แยกกันไปแล้ว อาจจะไม่ก่อให้เกิดการสนับสนุนซึ่งกันและกัน ภายใต้การสนธิทั้งสอง
อย่างเข้าด้วยกัน มุมมองทัง้ สองอย่างไม่วา่ จะเป็นทางยุทธการและการสนับสนุนทางการช่วยรบจะ
สนับสนุนต่อภาพการยุทธ์ร่วมกัน (ภยร.) ซึ่งสนับสนุนต่อการประเมิน การวางแผน การเตรียมการ
และการด�ำเนินการให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง
312 บทที่ ๑๒

วัตถุประสงค์ของการสนับสนุนทางการช่วยรบ
๑๒-๓ การสนับสนุนทางการช่วยรบเป็นองค์ประกอบหลักในการปฏิบตั กิ ารด�ำรงสภาพ
ศิลปะของการสนับสนุนการช่วยรบเกี่ยวข้องกับการแผ่ขยายก�ำลังที่ตอบสนองในทางยุทธศาสตร์
ซึ่งก่อเกิดอ�ำนาจก�ำลังรบอย่างเด็ดขาด การประยุกต์ใช้ศิลป์ของการสนับสนุนทางการช่วยรบ
อย่างสมบูรณ์แบบจะต้องมีการประสานสอดคล้องระหว่างผูบ้ งั คับบัญชาระดับยุทธการและผูบ้ งั คับ
บัญชาระดับยุทธวิธีอย่างเหมาะสมกับหน่วยบัญชาการสนับสนุนทางการช่วยรบของพวกเขา การ
ประสานสอดคล้องความต้องการทางยุทธการ และยุทธวิธอี ย่างมีประสิทธิภาพท�ำให้ผบู้ งั คับบัญชา
ก�ำลังรบสามารถริเริม่ ปฏิบตั กิ ารด�ำรงสภาพรวมทัง้ สามารถขยายระยะถึงทางยุทธการของพวกเขา
ให้เพิ่มขึ้น
๑๒-๔ การปฏิบตั กิ ารเข้าถึงการสนับสนุนทางการช่วยรบเกีย่ วข้องกับการวางต�ำแหน่ง
ที่มั่นทางยุทธการ และประสิทธิผลในการใช้ทรัพยากรและขีดความสามารถด้านการสนับสนุน
ทางการช่วยรบที่มีอยู่จากฐานการผลิตไปสู่ทหารในสนามรบ (ดูรูปที่ ๑๒-๑) การปฏิบัติการต่าง ๆ
ทีไ่ ปถึงของการสนับสนุนทางการช่วยรบ ท�ำให้ผบู้ งั คับบัญชาก�ำลังรบสามารถท�ำการขยายระยะถึง
ทางยุทธการ และท�ำการวางก�ำลังและใช้กำ� ลังทางทหารเข้าท�ำการรบได้พร้อม ๆ กัน โดยปราศจาก
การชะงักงัน การปฏิบตั ิการต่าง ๆ ที่ไปถึงของการสนับสนุนทางการช่วยรบ เป็นการรวมทัง้ ศาสตร์
และศิลป์เข้าไว้ในตัวของผู้ปฏิบัติ การปฏิบัติการต่าง ๆ ที่ไปถึงของการสนับสนุนทางการช่วยรบ
ลดร่องรอยของการสนับสนุนทางการช่วยรบในยุทธบริเวณ โดยการวางก�ำลังในการสนับสนุน
ทางการช่วยรบที่จ�ำเป็นไว้ในพื้นที่ปฏิบัติการให้น้อยที่สุดและสร้างความเชื่อมโยงตลอดจนใช้
ประโยชน์จากแหล่งสนับสนุนต่าง ๆ ที่น�ำมาใช้ได้ทั้งมวล การปฏิบัติการต่าง ๆ ที่ไปถึงของการ
สนับสนุนทางการช่วยรบ รวมถึงการใช้ฐานระหว่างทาง ฐานการวางก�ำลังส่วนหน้า การวางคลัง
อุปกรณ์ไว้ล่วงหน้า การปฏิบัติการต่าง ๆ ที่ไปถึงของการสนับสนุนทางการช่วยรบ หลักการ
ส่วนใหญ่จะเกี่ยวกับฐานแยก และการปฏิบัติการแบบหน่วยแยกย่อย (Modular Operation)
โดยจะใช้ประโยชน์จากแหล่งทรัพยากรด้านการสนับสนุนที่มีอยู่ให้มากที่สุดเพื่อด�ำรงไว้ซึ่งความ
ต่อเนื่อง
๑๒-๕ การสนธิการสนับสนุนทางการช่วยรบทุกระดับของสงคราม ผ่านทางระบบการ
แจกจ่ายที่คล่องตัวอย่างต่อเนื่อง ทหารกองประจ�ำการ และกองหนุน ข้าราชการกลาโหมพลเรือน
และข้าราชการพลเรือนของ ทบ. ลูกจ้าง เครือ่ งมือในการยุทธ์รว่ มและหลายชาติ ทัง้ หมดนีจ้ ะจัดการ
สนับสนุนการช่วยรบเข้าไปภายในเขตยุทธบริเวณ การปฏิบัติการสนับสนุนทางการช่วยรบท�ำให้
ผู้บังคับบัญชาสามารถสร้างอ�ำนาจก�ำลังรบส�ำหรับใช้ก�ำลังในการปฏิบัติการจัดรูปแบบเพื่อสร้าง
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 313

สภาวการณ์ และการปฏิบัติการแตกหักภายในเวลาที่ต้องการและในจังหวะที่รวดเร็วก่อนที่ฝ่าย
ข้าศึกสามารถที่จะตอบโต้ได้ทัน
ลักษณะของการสนับสนุนทางการช่วยรบ
๑๒-๖ ผูบ้ งั คับบัญชารบวาดภาพ และอธิบายถึงแนวคิด ของการสนับสนุนทางการช่วย
รบร่วมกับผูบ้ ญ ั ชาการทีร่ บั ผิดชอบด้านสนับสนุนการช่วยรบ เพือ่ ช่วยอธิบายข้อพิจารณาทีต่ อ้ งการ
ในการด�ำเนินการปฏิบัติการต่าง ๆ อย่างประสบผลส�ำเร็จทั้งในด้านการวางแผน การเตรียมการ
การปฏิบัติการ และการประเมินผล ผู้บังคับบัญชามองลักษณะของการสนับสนุนทางการช่วยรบ
จากมุมมองทีม่ กี ารผสมผสานตลอดโครงร่างทางการยุทธ์ในทุก ๆ ด้าน มีการวางแผนอย่างพิถพี ถิ นั
ตามแนวทาง และให้การช่วยเหลือฝ่ายเสนาธิการในการพัฒนาแผนการสนับสนุน (รส. ๔-๐ ได้
อภิปรายถึงความสัมพันธ์ระหว่างการส่งก�ำลังบ�ำรุงร่วมกับหลักด้านก�ำลังพลร่วม และลักษณะของ
การสนับสนุนทางการช่วยรบ ใน ทบ.) ลักษณะของการสนับสนุนทางการช่วยรบเป็นส่วนน้อยมาก
ทีจ่ ะมีอทิ ธิพลเท่าเทียมกัน รวมทัง้ มีความส�ำคัญทีแ่ ตกต่างกันไปตามสถานการณ์ ผูบ้ งั คับบัญชาระบุ
ลักษณะของ การสนับสนุนทางการช่วยรบว่ามีล� ำดับความเร่งด่วนในระหว่างการปฏิบัติการ
เนื่องจากเป็นพื้นฐานในการเตรียมแนวคิดในเรื่องของการสนับสนุนทางการช่วยรบ ลักษณะของ
การสนับสนุนทางการช่วยรบมีดังต่อไปนี้
- การตอบสนอง การตอบสนองเป็นลักษณะทีส่ �ำคัญของการสนับสนุนทางการ
ช่วยรบซึ่งหมายถึงการสนับสนุนอย่างถูกต้อง ณ เวลาและสถานที่ที่ถูกต้อง
การตอบสนองรวมถึงความสามารถในการมองเห็นความต้องการในทางการ
ยุทธ์ล่วงหน้า นอกจากนี้ยังเกี่ยวเนื่องกับการพิสูจน์ทราบ สะสม รักษา
ทรัพยากรในระดับน้อยที่สุด ขีดความสามารถและข้อมูลที่จ� ำเป็นต่อการ
บรรลุความต้องการในการสนับสนุน ในทางตรงกันข้ามกองก�ำลังที่สะสม
ยุทโธปกรณ์ และมีก�ำลังพลส�ำรองอย่างเพียงพอในการก�ำหนดการเผชิญ
เหตุการณ์ที่เป็นไปได้ ซึ่งโดยทั่วไปจะริเริ่มก่อนฝ่ายข้าศึก
- ความง่าย ความง่ายหมายถึง การหลีกเลี่ยงความซับซ้อนทั้งในเรื่องการ
วางแผนและการปฏิบตั งิ านด้านการสนับสนุนทางการช่วยรบ ค�ำสัง่ แบบมอบ
ภารกิจ การฝึก การซักซ้อมการปฏิบัติ และการใช้ระเบียบปฏิบัติประจ�ำ
เป็นการสนับสนุนในเรื่องของความง่าย
- ความอ่อนตัว หลักส�ำคัญของความอ่อนตัวขึน้ อยูก่ บั ความช�ำนาญในการปรับ
โครงสร้างและกระบวนการในการสนับสนุนทางการช่วยรบตามสถานการณ์
ภารกิจ และแนวความคิดในการปฏิบัติการที่เปลี่ยนแปลงไป แผน และการ
314 บทที่ ๑๒

ปฏิบตั กิ ารด้านการสนับสนุนทางการช่วยรบต้องมีความอ่อนตัวพอทีจ่ ะบรรลุ


ผลในด้านการตอบสนองความต้องการและประหยัด ความอ่อนตัวอาจ
รวมถึ ง การด� ำ เนิ น งานฉั บ พลั น ทั น ที (Improvisation) ซึ่ ง หมายถึ ง
ความสามารถในการท�ำประดิษฐ์ หรือจัดเตรียมสิ่งที่ต้องการจากสิ่งที่มีอยู่
วิธีการเตรียมการแบบเฉพาะหน้า เช่นนี้ และแหล่งทรัพยากรสนับสนุน
สามารถรักษาความต่อเนื่องในการสนับสนุนทางการช่วยรบเมื่อวิธีอันเป็น
ที่ต้องการยังไม่ถูกก�ำหนดหรือไม่สามารถท�ำให้ภารกิจเสร็จสมบูรณ์ได้
- ความสามารถในการบรรลุเป้าหมาย คือ การสร้างสมสิ่งอุปกรณ์ และการ
บริการที่จ�ำเป็นอย่างน้อยที่สุดเพื่อเริ่มการปฏิบัติการ ผู้บังคับบัญชาก�ำหนด
ระดับการสนับสนุนขั้นต�่ำที่สุดที่ยอมรับได้ในการเริ่มปฏิบัติการต่าง ๆ
- ความสามารถในการด�ำรงสภาพ เป็นความสามารถในการด�ำรงความ
ต่อเนื่องในการสนับสนุนในระหว่างช่วงระยะทั้งหมดของการทัพและการ
ยุทธ์หลัก ผูว้ างแผนด้านการสนับสนุนทางการช่วยรบ ก�ำหนดความต้องการ
ในการสนับสนุนทางการช่วยรบก่อนเวลา และต้องประสานสอดคล้องในด้าน
การส่งมอบคลังอุปกรณ์ในการด�ำรงสภาพทีส่ ามารถด�ำรงอยูไ่ ด้ตลอดช่วงการ
ปฏิบัติการรบ
- ความสามารถในการอยู่รอด หมายถึง ความสามารถในการปกป้องพันธกิจ
ทางการสนั บ สนุ น จากการถู ก ท� ำ ลายหรื อ ถู ก บั่ น ทอนความสมดุ ล ความ
สามารถในการอยู่รอด การสนับสนุนขนาดใหญ่และมากเกินความจ�ำเป็น
มีผลดีตอ่ ความสามารถในการอยูร่ อด แต่อาจจะเป็นไปในทางตรงกันข้ามกับ
ความประหยัด
- ความประหยัด ทรัพยากรนัน้ มีอย่างจ�ำกัดเสมอ การประหยัดจึงหมายถึงการ
จัดให้มกี ารสนับสนุนอย่างมีประสิทธิภาพเพือ่ บรรลุภารกิจ ผูบ้ งั คับบัญชาจะ
พิ จ ารณาการประหยั ด โดยค� ำ นึ ง ถึ ง ล� ำ ดั บ ความเร่ ง ด่ ว นและการจั ด สรร
ทรัพยากร เพราะการประหยัดสะท้อนให้เห็นถึงความจริงที่ว่าทรัพยากรนั้น
มีอยู่จ�ำกัด ในขณะที่ต้องยอมรับถึงความฝืดเคืองอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้และ
ความไม่แน่นอนในการปฏิบัติการทางทหาร
- การสนธิ การสนธิประกอบด้วย ในด้านการสนับสนุนทางการช่วยรบอย่าง
ประสานสอดคล้องร่วมกับการปฏิบัติการในแง่มุมอื่น ๆ ของ ทบ. การยุทธ์
ร่วม การปฏิบัติการระหว่างองค์กร และการปฏิบัติการหลายชาติ แนวคิดใน
การปฏิบัติการจะบรรลุถึงสิ่งนี้ได้โดยการท�ำความเข้าใจในเจตนารมณ์ของ
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 315

ผู้บังคับบัญชาและเข้าใจความประสานสอดคล้องในส่วนของแผนสนับสนุน
ทางการช่วยรบโดยละเอียด การสนธิรวมถึง การประสานงาน และการ
สนับสนุนซึ่งกันและกันระหว่างหน่วยงานด้านการสนับสนุนทางการช่วยรบ
ของ ทบ. การยุทธ์ร่วม การปฏิบัติการหลายชาติ การปฏิบัติการระหว่าง
องค์กร
ลักษณะของการสนับสนุนทางการช่วยรบ ได้รับการสนธิทั่วทั้งโครงร่างทาง
ยุทธการอย่างทั่วถึง พวกมันเป็นแนวทางในการวางแผนอย่างรอบคอบ รวมทั้งช่วยให้นายทหาร
ฝ่ายเสนาธิการท�ำการพัฒนาแผนการสนับสนุนทางการช่วยรบ (ดูคู่มือการยุทธ์ร่วมที่เกี่ยวกับ
การส่งก�ำลังบ�ำรุง บก.ทท. ; รส. ๔-๐)
พันธกิจในการสนับสนุนทางการช่วยรบ
๑๒-๗ การสนับสนุนทางการช่วยรบประกอบด้วยพันธกิจต่าง ๆ ทีเ่ กีย่ วข้องกันสัมพันธ์
ระหว่างกัน การวางแผน การจัดการ และการด�ำเนินการในการสนับสนุนเกี่ยวข้องกับการประสาน
สอดคล้องและการบูรณาการพวกมันเข้าไว้ดว้ ยกันในทุก ๆ ระดับของการปฏิบตั กิ าร พันธกิจในการ
สนับสนุนทางการช่วยรบที่ส�ำคัญประกอบด้วย
- การซ่อมบ�ำรุง หมายถึง การรักษาวัสดุอุปกรณ์ ให้อยู่ในสภาพที่ใช้งานหรือ
ในสภาพที่ใช้ปฏิบัติการได้ รวมถึงการส่งอุปกรณ์กลับไปใช้งานในหน่วย
หรื อ ปรั บ ปรุ ง และยกระดั บ ขี ด ความสามารถของอุ ป กรณ์ นั้ น ให้ ดี ยิ่ ง ขึ้ น
(รส. ๓-๐๔.๕๐๐ ; รส. ๔-๓๐.๒)
- การขนส่ง การเคลื่อนย้าย หรือการส่งหน่วย บุคลากร ยุทโธปกรณ์ และ
สิ่งอุปกรณ์ เพื่อสนับสนุนแนวความคิดในการปฏิบัติ (ดูคู่มือการยุทธ์ร่วมที่
เกี่ยวกับการส่งก�ำลังบ�ำรุง บก.ทท. ; รส. ๔-๒๐)
- การส่งก�ำลัง การจัดหา, การจัดการ, การรับ, การจัดเก็บ, และการแบ่งประเภท
สิ่งอุปกรณ์ ต้องการการจัดการและการด�ำรงรักษาให้แก่ก�ำลังของ ทบ.
การส่งก�ำลังยังครอบคลุม การหมุนเวียน, การแลกเปลี่ยน และ/หรืออ�ำนาจ
ในการควบคุมทางบัญชีอีกด้วย (ดูคู่มือการยุทธ์ร่วมที่เกี่ยวกับการส่งก�ำลัง
บ�ำรุง บก.ทท. ; รส. ๔-๒๐)
- การสนับสนุนทางการแพทย์ การคงไว้ซึ่งก�ำลังรบโดยการป้องกันโรคภัยไข้
เจ็บที่ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการสู้รบ การด�ำเนินการต่อผู้บาดเจ็บในสนามรบ
ให้การบริการทางการแพทย์ในส่วนหน้า การจัดเตรียมเส้นทางระหว่างการ
ส่งกลับสายแพทย์ การประกันว่ามี สป. สายแพทย์ และเครื่องมือทางการ
316 บทที่ ๑๒

แพทย์ให้พร้อมที่จะใช้งาน และ การจัดการ ด้านการสัตว์ การทันตกรรม


และการบริการตรวจทางห้องปฏิบัติการ (ดูคู่มือการยุทธ์ร่วมที่เกี่ยวกับการ
ส่งก�ำลังบ�ำรุง บก.ทท. ; รส. ๔-๒๐)
- การบริการในสนาม เช่น อาหาร เครื่องนุ่งห่ม การจัดให้มีการบริการส่วน
บุคคลส�ำหรับทหาร การบริการในสนาม รวมถึงการแลกเปลี่ยนเสื้อผ้า
เครื่องนุ่งห่ม การซักรีด บริการอาบน�้ำ การซ่อมแซมสิ่งทอ การฌาปนกิจ
การขนส่งทางอากาศ และการบริการด้านอาหาร (ดูคมู่ อื การยุทธ์รว่ มทีเ่ กีย่ ว
กับการส่งก�ำลังบ�ำรุง บก.ทท. ; รส. ๔-๒๐)
- การท�ำลายวัตถุระเบิด การท�ำให้เครื่องวัตถุระเบิดทางด้าน นิวเคลียร์ เคมี
และชีวะทั้งของภายในประเทศหรือของต่างประเทศซึ่ง แสดงถึงภัยคุกคาม
ต่อการปฏิบัติการทางทหาร และสิ่งอ� ำนวยประโยชน์ของฝ่ายพลเรือน
ยุ ท โธปกรณ์ และก� ำ ลั ง พล มี ส ถานะเป็ น กลาง (รส. ๓-๑๐๐.๓๘ ;
รส. ๔-๓๐.๑๒)
- การสนับสนุนด้านทรัพยากรมนุษย์ จัดเตรียมกิจกรรมและระบบทัง้ มวลเพือ่
จัดก�ำลังคนให้แก่ก�ำลังรบ, การสนับสนุนก�ำลังพล และการบริการด้าน
ก�ำลังพลเพื่อให้บริการแก่สมาชิกของ ทบ. ครอบครัว ข้าราชการพลเรือน
กลาโหม และลูกจ้างประจ�ำ กิจกรรมเหล่านี้ รวมถึงการจัดการด้านบัญชีสว่ น
บุคคล การจัดการผูป้ ว่ ยเจ็บ การบริการทีจ่ �ำเป็น การไปรษณีย์ และการดูแล
ด้านขวัญและก�ำลังใจ สวัสดิการ และสันทนาการ (ดูคู่มือการยุทธ์ร่วมที่
เกี่ยวกับการก�ำลังพล บก.ทท. ; รส. ๑-๐)
- การจัดการด้านการเงิน เป็นการจัดการด้านการเงิน และการบริการจัดสรร
ทรัพยากรให้แก่ผู้บังคับบัญชา การบริการทางการเงินจะรวมถึงการจ่ายเงิน
ให้แก่ผู้ขาย การบริการ การบัญชี กองทุนกลาง การให้คำ� แนะน�ำทางด้าน
เทคนิ ค และการให้ แ นวทางด้ า นนโยบาย การบริ ก ารด้ า นการจั ด สรร
ทรัพยากรรวมถึงการให้คำ� แนะน�ำทางด้านเทคนิคแก่ผบู้ งั คับบัญชาในเรือ่ งที่
เกี่ยวข้องกับการบริหารทรัพยากร และค่าใช้จ่ายในการเตรียมการและ
การด�ำเนินการปฏิบัติ (ดูคู่มือการยุทธ์ร่วมที่เกี่ยวกับการก�ำลังพล บก.ทท. ;
รส. ๑-๐๖)
- การสนับสนุนด้านการศาสนา จัดเตรียมและด�ำเนินกิจกรรมด้านศาสนา
สนับสนุนการปฏิบตั กิ ารให้แก่ผบู้ งั คับบัญชาเพือ่ ปกป้องทหาร ครอบครัว และ
ภาคเอกชนที่ท�ำหน้าที่ให้แก่หน่วยโดยเป็นการด�ำเนินงานที่ไม่คิดมูลค่า
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 317

แต่อย่างใด การด�ำเนินการด้านค�ำสอน และการดูแลและให้คำ� ปรึกษาด้าน


จิตใจ การฝึกและประเมินทางด้านจิตใจ การบริการด้านการนับถือศาสนา
และค�ำแนะน�ำด้านศาสนาแก่ผู้บังคับบัญชา ด้านขวัญและก� ำลังใจ การ
ประสานงานกับองค์กรที่ไม่ใช่หน่วยงานภาครัฐบาลและองค์กรอาสาสมัคร
เอกชนตามความเหมาะสม (ดูคู่มือการยุทธ์ร่วมที่เกี่ยวกับการส่งก�ำลังบ�ำรุง
บก.ทท. ; รส. ๑-๐๕)
- การสนับสนุนด้านกฎหมาย กระท�ำหน้าที่ด้าน กฎหมายเกี่ยวกับการยุทธ์
ให้คำ� แนะน�ำและบริการในกระบวนการยุตธิ รรมของทหาร กฎหมายระหว่าง
ประเทศ กฎหมายการบริหารราชการภาคพลเรือน กฎหมายแพ่ง การ
เรี ย กร้ อ งสิ ท ธิ และการช่ ว ยเหลื อ ด้ า นกฎหมาย ในการสนั บ สนุ น การ
บังคับบัญชา การควบคุมและการด�ำรงไว้ซึ่งความต่อเนื่องในการปฏิบัติการ
- การสนับสนุนด้านวงดุรยิ างค์ การจัดดนตรีเพือ่ เสริมความสามัคคี ขวัญและ
ก�ำลังใจ รวมทั้งให้การสนับสนุนทางด้านดนตรีในทุกย่านของการปฏิบัติการ
ทางทหาร ให้ขอ้ มูลการปฏิบตั กิ ารข้อมูลข่าวสาร และควรได้รบั การสนธิรวม
กับการประชาสัมพันธ์ กิจการพลเรือน และแผนการปฏิบัติการจิตวิทยา
เมือ่ ภารกิจทางด้านดนตรีของวงดุรยิ างค์ไม่สามารถปฏิบตั ไิ ด้ในยามทีม่ คี วาม
ขัดแย้งที่รุนแรงขึ้น จึงต้องมีการเพิ่มการปฏิบัติการด้านความปลอดภัยในที่
บัญชาการ หรือเพิ่มการรักษาความปลอดภัยเป็นวงรอบแก่เชลยศึกและ
การปฏิบัติการส�ำหรับพลเรือนผู้ถูกกักกัน (รส. ๑-๐๘)
๑๒-๘ การช่างทัว่ ไปและ การสนับสนุนจากผูร้ บั เหมา ยังคงเป็นการสนับสนุนการปฏิบตั ิ
การด�ำรงสภาพ การช่างทั่วไป รวมถึงการก่อสร้าง การซ่อมแซม การปฏิบัติและการคงสภาพ
โครงสร้างพืน้ ฐาน และสิง่ อ�ำนวยความสะดวกเพือ่ ส่งเสริมด้านการจัดหาในการด�ำรงสภาพ และการ
บริการ(ดูคู่มือการยุทธ์ร่วมที่เกี่ยวกับการส่งก�ำลังบ�ำรุง บก.ทท. ; รส. ๓-๓๔.๒๕๐) การจ้างเหมา
จะสนับสนุนการรับและจัดหาสิ่งอุปกรณ์ การบริการ แรงงานก่อสร้าง และวัสดุอุปกรณ์ หลายครั้ง
การจ้างเหมาก่อให้เกิดทางเลือกในการตอบสนอง หรือส่งเสริมต่อการสนับสนุนก�ำลังรบ (ดูคมู่ อื การ
ยุทธ์ร่วมที่เกี่ยวกับการส่งก�ำลังบ�ำรุง บก.ทท.)
การวางแผนและการเตรียมการในการสนับสนุนทางการช่วยรบ
๑๒-๙ ผู้บังคับบัญชา กกล.ทบ. หน่วยบัญชาการสนับสนุนในยุทธบริเวณ และองค์กร
อื่น ๆ ในระดับยุทธการมีความรับผิดชอบเบื้องต้นในการวางแผนและเตรียมการด้านการสนับสนุน
318 บทที่ ๑๒

ทางการช่วยรบภายในยุทธบริเวณ ผู้บังคับหน่วยสนับสนุนทางการช่วยรบจะช่วยผู้บังคับบัญชา
ก� ำ ลั ง รบในการพั ฒ นาแผนสนั บ สนุ น การช่ ว ยรบ บนพื้ น ฐานวิ สั ย ทั ศ น์ แ ละเจตนารมณ์ ข อง
ผู้บังคับบัญชาที่เหนือกว่า ผู้บังคับบัญชาก�ำลังรบวาดภาพว่าสิ่งใดที่ต้องการกระท�ำเพื่อสนับสนุน
แนวคิดในการปฏิบัติการของพวกเขา และถ่ายทอดวิสัยทัศน์และเจตนารมณ์นั้นไปสู่ผู้บังคับหน่วย
สนับสนุนทางการช่วยรบของพวกเขา ผู้บังคับบัญชาและฝ่ายเสนาธิการด้านการสนับสนุนทางการ
ช่วยรบพัฒนาแนวความคิดในการสนับสนุนทางการช่วยรบ หลังจากนั้น ฝ่ายเสนาธิการสั่งการกับ
หน่ ว ยรองเพื่ อ ลงมื อ ปฏิ บั ติ ใ นการสนั บ สนุ น ให้ เ ป็ น ไปตามแนวความคิ ด ในการปฏิ บั ติ ก าร
การสนับสนุนจากคลังเก็บสิ่งอุปกรณ์ที่มีอยู่ล่วงหน้า จากความพร้อมของทรัพยากรด้านการ
สนับสนุนทางการช่วยรบในยุทธบริเวณ ในประเทศเจ้าบ้านและการสนับสนุนที่มีอยู่ของนานาชาติ
รวมทั้งการสนับสนุนที่ได้รับจากองค์กรอื่น ๆ กระบวนการในการสนับสนุนทางการช่วยรบนี้จะท�ำ
ในทุก ๆ ระดับของหน่วยบัญชาการ
การวางแผนการสนับสนุนทางการช่วยรบ
๑๒-๑๐ โดยภาพรวม ผู้บังคับบัญชาจะสนธิการวางแผนทางการยุทธ และการวางแผน
สนับสนุนการช่วยรบผ่านทางภาพการยุทธ์ร่วมกัน (ภยร.) ผู้บังคับบัญชาต้องการข้อมูลข่าวสาร
ด้านการสนับสนุนทางการช่วยรบที่ทันการณ์เพื่อใช้ในการวางแผนอย่างมีประสิทธิภาพ นายทหาร
ฝ่ายเสนาธิการช่วยเหลือผูบ้ งั คับบัญชาโดยการก�ำหนดความต้องการด้านการสนับสนุนทางการช่วย
รบในรายละเอียดระหว่างการวิเคราะห์ภารกิจ ผูว้ างแผนด้านการสนับสนุนทางการช่วยรบใช้ปจั จัย
ทีเ่ กีย่ วข้องกับการวางแผนเพือ่ ระบุปริมาณของความต้องการ การวางแผนคูข่ นานในกลุม่ เสนาธิการ
ที่ท�ำการพัฒนาแผนการสนับสนุนทางการช่วยรบซึ่งก่อให้เกิดการสนับสนุนอย่างเพียงพอต่อการ
สร้างอ�ำนาจการรบที่จ�ำเป็นในแต่ละขั้นของการปฏิบัติการ แผนด้านการสนับสนุนทางการช่วยรบ
จะคาดการณ์ความต้องการการสนับสนุนใน และช่วงระยะการปฏิบตั กิ าร และผูป้ ฏิบตั กิ ารด้านการ
สนับสนุนทางการช่วยรบรับผิดชอบต่อการปรับเปลี่ยนส่วนของผู้บังคับบัญชาก�ำลังรบที่กระท�ำใน
ระหว่างการปฏิบัติการ การวางแผนด้านการสนับสนุนทางการช่วยรบยินยอมให้ผู้บังคับบัญชา
ท�ำการปรับแต่งทางการยุทธ์ได้ในขณะที่ก�ำลังรบยังคงสร้าง และรักษาไว้ซึ่งอ�ำนาจก�ำลังรบอย่าง
ต่อเนื่อง
ล�ำดับความเร่งด่วนในการสนับสนุนทางการช่วยรบ
๑๒-๑๑ ผูบ้ งั คับบัญชาก�ำลังรบลดการใช้ทรัพยากรทีม่ อี ยูอ่ ย่างจ�ำกัดโดยการจัดตัง้ ล�ำดับ
ความส�ำคัญในการสนับสนุนทางการช่วยรบ และก�ำกับความเร่งด่วนในการสนับสนุน จากนั้น
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 319

ผู้บังคับบัญชา และฝ่ายเสนาธิการด้านการสนับสนุนทางการช่วยรบ จะพัฒนาแนวความคิดด้าน


การสนับสนุนทางการช่วยรบให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ และแนวทางในการวางแผนของ
ผูบ้ ังคับบัญชา ในการพัฒนาแนวความคิดในการสนับสนุนทางการช่วยรบนี้ พวกเขาต้องประกันว่า
แผนมีการตอบสนองและมีความยืดหยุ่นเพียงพอ และท� ำให้เหมาะกับการเปลี่ยนแปลงไปตาม
สถานการณ์ การตัดสินใจของผู้บังคับบัญชาก�ำลังรบในการขยายโอกาสฟื้นฟูใหม่ และเตรียมการ
ปฏิบัติการส�ำหรับการปฏิบัติการในอนาคต หรือการปฏิบัติการในปัจจุบันให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง
อาจต้องปรับเปลี่ยนล�ำดับความเร่งด่วนในการสนับสนุนทางการช่วยรบ ในระหว่างที่มีการ
ปรับเปลี่ยนนี้ขีดความสามารถในการสนับสนุนทางการช่วยรบที่ลดลงชั่วขณะอาจเกิดขึ้นได้
แต่อย่างไรก็ตามการปฏิบัติการสนับสนุนทางการช่วยรบไม่เคยยุติลงอย่างสิ้นเชิง
การประมาณการด้านการสนับสนุนทางการช่วยรบ
๑๒-๑๒ ผู้บังคับบัญชาก�ำลังรบสั่งการให้ฝ่ายเสนาธิการ และผู้บังคับหน่วยสนับสนุน
ทางการช่วยรบจัดเตรียมประมาณการซึ่งตรวจสอบการสนับสนุนตามความต้องการ และเอื้อ
ต่อภารกิจทางยุทธการ การประมาณการด้านการสนับสนุนทางการช่วยรบอยู่บนพื้นฐานของการ
เตรียมการในด้านส่งก�ำลังบ�ำรุงในยุทธบริเวณอย่างถีถ่ ว้ น จัดเตรียมภาพของหน่วยสนับสนุนทางการ
ช่วยรบที่ท�ำให้เกิดความเข้าใจและมีความหมายอย่างสมบูรณ์ ขีดความสามารถของหน่วย และ
ทางเลือกในการใช้หน่วยก�ำลังพล การสนับสนุนทางการแพทย์ และการประมาณการในการ
สนั บ สนุ น ทางการช่ ว ยรบถู ก ใช้ เ พื่ อ พั ฒ นาแผนการสนั บ สนุ น ทางการช่ ว ยรบ และผนวก
ผูบ้ งั คับบัญชาก�ำลังรบต้องการบุคลากรทางด้านการสนับสนุนทางการช่วยรบเพือ่ แสดงถึงขีดความ
สามารถ และนัยส�ำคัญของพวกเขาในภาคเฉพาะทางการปฏิบัติการ ผู้บังคับบัญชาก�ำลังรบชี้แจง
ความต้องการของพวกเขากับผู้บังคับบัญชา และฝ่ายเสนาธิการด้านการสนับสนุนทางการช่วยรบ
เพื่อบรรลุความเข้าใจร่วมกัน ความต้องการเหล่านี้อาจจะประกอบด้วย
- ระยะทางและที่ตั้งในการเคลื่อนย้ายก�ำลังรบ
- การก�ำหนดทีต่ งั้ หน่วยสนับสนุนทางการช่วยรบมีผลกระทบต่อแนวคิดในการ
ปฏิบัติการอย่างไร
- ยุทโธปกรณ์พิเศษที่ต้องคงไว้ทางยุทธการภายใต้สถานการณ์ทางยุทธวิธีได้
นานเท่าไร
- ชนิดของยุทโธปกรณ์ที่จ�ำเป็นต่อการปฏิบัติการจัดรูปแบบ และการปฏิบัติ
การแตกหัก ทั่วทั้งพื้นที่ปฏิบัติการ
- สิ่งที่มีอยู่และอ�ำนาจหน้าที่ในการใช้อุปกรณ์ที่จัดเตรียมไว้ของ ทบ.
320 บทที่ ๑๒

- ความตระหนักในเรื่องของปัจจัยต่าง ๆ ที่จำ� กัดระยะถึงทางยุทธการ และ


ความสามารถในการด� ำ รงสภาพทางการยุ ท ธ์ รวมถึ ง วิ ธี ก ารบรรเทา
สถานการณ์ให้เบาบางลง
- การกลับคืนสภาพปกติอย่างรวดเร็ว และการวางทรัพยากรด้านการส่ง
ก�ำลังบ�ำรุง ยุทโธปกรณ์ และสิ่งอุปกรณ์ที่ขาดแคลนใหม่ หลังจากการ
เสร็จสิ้นการปฏิบัติการ
- การคาดการณ์ด้านการแพทย์หรือเกี่ยวกับก�ำลังพลสูญเสียจากการเจ็บป่วย
และบาดเจ็บมิใช่จากการรบ และอัตราการทดแทน
- ข้อพิจารณาด้านความปลอดภัยบนพืน้ ฐานของการประเมินภัยคุกคามในปัจจุบนั
- ทรัพยากรที่จ�ำกัดต่อในการซ่อมแซมโครงสร้างพื้นฐานทางยุทธการ
๑๒-๑๓ ผูบ้ งั คับบัญชาต้องเข้าใจว่าการสนับสนุนทางการช่วยรบเป็นทัง้ ศาสตร์และศิลป์
ความท้าทายต่อผู้บังคับบัญชา และฝ่ายเสนาธิการด้านการสนับสนุนทางการช่วยรบ คือ การ
น�ำเสนอข้อมูลที่มีประโยชน์ต่อผู้บังคับบัญชาก�ำลังรบซึ่งจะเป็นผู้ใช้มาตรการทางยุทธการในการ
สนับสนุน ณ ระดับที่เหมาะสมตามรายละเอียดต่าง ๆ ความก้าวหน้าเทคโนโลยี เช่น การปรับปรุง
หน่วยที่มีอยู่ ระบบเครือข่ายการขนส่งทั่วโลก วิธีการแจกจ่ายที่ได้รับการปรับปรุง และการเพิ่ม
ขีดความสามารถในขีดความสามารถที่จะไปถึงของการสนับสนุนทางการช่วยรบ จะช่วยท�ำให้
ผู้วางแผนสนับสนุนทางการช่วยรบสามารถจัดเตรียมแผนการด้านการสนับสนุนทางการช่วยรบที่
เชื่อถือได้ที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้บังคับบัญชาก�ำลังรบ
แนวความคิดของการสนับสนุนทางการช่วยรบ
๑๒-๑๔ ผู้บังคับบัญชาก�ำลังรบใช้ลักษณะของการสนับสนุนทางการช่วยรบเพื่ออธิบาย
ว่าขีดความสามารถด้านการสนับสนุนทางการช่วยรบช่วยให้ก�ำลังรบสามารถสร้างเสริม และด�ำรง
อ�ำนาจก�ำลังรบไว้อย่างต่อเนื่อง ผู้บังคับบัญชา และฝ่ายเสนาธิการด้านการสนับสนุนทางการช่วย
รบใช้กระบวนการตัดสินใจทางการทหาร ในการพัฒนาหนทางปฏิบตั ทิ างการช่วยรบ แนวความคิด
ด้านการสนับสนุนทางการช่วยรบมาจากหนทางปฏิบัติที่ดีที่สุด ซึ่งสนับสนุนต่อการปฏิบัติการ
โดยรวม ในการประเมินค่าหนทางปฏิบัติ ผู้บังคับบัญชาและฝ่ายเสนาธิการจะมีค�ำถามที่คล้าย ๆ
กับสิ่งเหล่านี้
- การแสดงก�ำลังรบน�ำไปสู่การสร้างอ�ำนาจก�ำลังรบที่จ�ำเป็นตามล�ำดับความ
เร่งด่วนของผู้บังคับบัญชาระดับทางยุทธการหรือไม่
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 321

- ได้ให้การสนับสนุนทางการช่วยรบในระดับที่เหมาะสมกับสถานที่และระยะ
ต่าง ๆ ของการปฏิบัติการหรือไม่
- ก�ำลังสร้างระดับของการสนับสนุนทางการช่วยรบที่เหมาะสม ณ สถานที่ที่
ถูกต้องในแต่ละระยะของการปฏิบัติการหรือไม่ ?
- สามารถด�ำรงก�ำลังรบทัง้ หมดไว้พร้อม ๆ กันได้ตลอดการปฏิบตั กิ ารหรือไม่ ?
- ลักษณะของการสนับสนุนทางการช่วยรบใดที่มีลำ� ดับความเร่งด่วนในแต่ละ
ขั้นของการปฏิบัติการ ? และล�ำดับความเร่งด่วนนั้นได้รับการก�ำหนดไว้ใน
แผนหรือไม่ ?
- เครือข่ายการแจกจ่ายมีอยูใ่ นทีท่ เี่ หมาะสมกับการท�ำให้เกิดความต่อเนือ่ งใน
ด�ำรงสภาพหรือไม่ ?
- เราสามารถท�ำให้เกิดระยะถึงทางยุทธการ และความสามารถในการด�ำรง
สภาพทางยุทธการได้เพียงพอส�ำหรับการปฏิบัติการที่พร้อมกัน และการ
ปฏิบัติการอย่างต่อเนื่องหรือว่าเราจะยอมรับการหยุดชั่วคราวทางยุทธการ
หรือไม่ ?
- เราบรรลุถึงความสมดุลระหว่างก�ำลังรบ ก�ำลังในการสนับสนุนการรบ และ
ก� ำลังในการสนับสนุ น ทางการช่ ว ยรบด้ ว ยการขยายระยะถึ ง และความ
สามารถในการด�ำรงสภาพทางยุทธการของเราออกไปอย่างสูงสุดหรือไม่ ?
- ถ้าต้องการแผนส�ำหรับการฟื้นฟูก�ำลังรบคืออะไร ?
- เราได้ปรับปัจจัยด้านการสนับสนุนทางการช่วยรบทีม่ อี ทิ ธิพลต่อระยะถึงและ
ความสามารถในการด�ำรงสภาพทางยุทธการด้วยการขยายประสิทธิภาพของ
ระบบการแจกจ่ายและเส้นทางคมนาคมหรือไม่ ?
- ได้ใช้ประโยชน์จากสิ่งอ�ำนวยความสะดวก ทรัพยากรและแหล่งที่สามารถ
ให้การสนับสนุนที่มีอยู่หรือไม่ ?
- ได้จัดสรรทรัพยากร และจัดตั้งล�ำดับความเร่งด่วนในการสนับสนุนทางการ
ช่วยรบแล้วหรือไม่ ?
- ได้มกี ารก�ำหนดความรับผิดชอบ และจัดท�ำการบังคับบัญชา และการควบคุม
ที่จ�ำเป็นเพื่อการปฏิบัติตามแผนการสนับสนุนหรือไม่ ?
322 บทที่ ๑๒

การเตรียมการด้านการสนับสนุนทางการช่วยรบ
๑๒-๑๕ ผูบ้ งั คับบัญชาก�ำลังรบจัดเตรียมห้วงการรบ โดยการสนธิสว่ นก�ำลังด้านยุทธการ
และการสนับสนุนทางการช่วยรบเข้าด้วยกัน ผู้บังคับหน่วยสนับสนุนทางการช่วยรบจะให้การ
ช่วยเหลือโดยการรับ การจัดการ และการแจกจ่าย ทรัพยากรที่ระบุในระหว่างการวางแผน การ
ต่ อ รองกั บ ข้ อ ตกลงเกี่ ย วกั บ การสนั บ สนุ น จากชาติ เ จ้ า บ้ า น การรั บ เหมาหรื อ ท� ำ สั ญ ญาตาม
สถานการณ์ และข้อตกลงทวิภาคีอนื่ ๆ เช่น ข้อตกลงเกีย่ วกับการจัดหา และการบริการแลกเปลีย่ น
ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามในด้านนี้ การเตรียมการด้านการสนับสนุนทางการช่วยรบยัง
รวมถึงการประสานงานกับผูจ้ ดั การด้านการสนับสนุนทางการช่วยรบในระดับยุทธศาสตร์เพือ่ ให้ได้
มาซึ่งการเข้าถึงคลังที่จัดวางไว้ล่วงหน้า หรือใช้ทรัพยากรของที่ได้มาจากข้อตกลงระดับชาติ ที่ตั้ง
ของฐานการสนับสนุน และเส้นหลักการคมนาคมได้รบั การจัดตัง้ และปรับปรุงให้สอดคล้องกับความ
ต้องการทางยุทธการ โครงสร้างพื้นฐานยุทธบริเวณ การสนับสนุนจากชาติเจ้าบ้าน การสนับสนุน
ทางการช่วยรบจากหลายประเทศ และการสนับสนุนจากการรับเหมา หรือคูส่ ญ ั ญาเป็นสิง่ ส�ำคัญยิง่
ในแผน และการปฏิบัติการสนับสนุนทางการช่วยรบของ ทบ. การสนับสนุนแต่ละอย่างล้วน
ก่อให้เกิดการด�ำรงสภาพอ�ำนาจก�ำลังรบ
โครงสร้างพื้นฐานของยุทธบริเวณ
๑๒-๑๖ กกล.ทบ. จัดวางการสนับสนุนทางการช่วยรบอย่างเพียงพอเพือ่ การด�ำเนินการ
ปฏิบัติการต่าง ๆ ที่จะเข้ามาในยุทธบริเวณ จ�ำนวนอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับความสามารถของ
สิง่ อุปกรณ์ทมี่ กี ารจัดวางไว้ลว่ งหน้า ในการปฏิบตั กิ ารทีย่ ดื ยาว ก�ำลังพลด้านการสนับสนุนทางการ
ช่วยรบ จะวางแผนและจัดเตรียมโครงสร้างพื้นฐานในยุทธบริเวณที่จ�ำเป็นต่อการสร้างฐานการ
สนับสนุน ฐานการสนับสนุนจะเป็นสิง่ ส�ำคัญยิง่ ในช่วงระยะเวลาอันยาวนาน เพิม่ การตอบสนองและ
ความสามารถในการด�ำรงความต่อเนือ่ ง ปกติสงิ่ อ�ำนวยความสะดวกทีต่ อ้ งการทัง้ ปวงจะไม่มใี นช่วง
เริ่มต้นของการปฏิบัติการ ขีดความสามารถในการอ� ำนวยความสะดวกอาจจะไม่เพียงพอหรือ
ถูกท�ำลาย การปรับปรุงขีดความสามารถของฐานในยุทธบริเวณอาจต้องวางก�ำลังของหน่วยทหาร
ซ่อมบ�ำรุง ทหารช่าง หรือ กองก�ำลังทีป่ ฏิบตั กิ าร ณ ต�ำบลปลายทาง ฝ่ายอ�ำนวยการสนับสนุนตาม
สัญญาจ้าง นายแพทย์ การเงิน กฎหมาย กิจการพลเรือน และบุคลากรด้านการบริหารจัดการ
ทรัพยากรเป็นกลุม่ แรกทีถ่ กู ส่งไปในพืน้ ทีเ่ พือ่ เตรียมการให้เข้าถึงการใช้ขดี ความสามารถของประเทศ
เจ้าบ้าน ณ ฐานปฏิบัติการสนับสนุน และฐานที่พักรอ ความต้องการด้านขีดความสามารถในการ
สนับสนุนทางการช่วยรบมีความส�ำคัญเป็นพิเศษในช่วงแรกของการปฏิบัติการ เมื่อท�ำการรับ
พักรอ และการเคลื่อนย้ายไปข้างหน้า และการสนธิคือ ความส�ำคัญยิ่งที่ตามมา
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 323

๑๒-๑๗ เวลาทีต่ อ้ งการในการจัดเตรียมฐานการสนับสนุนขึน้ กับขอบเขต และธรรมชาติ


ของโครงสร้างพื้นฐานทางทหารและของพลเรือนที่มีอยู่ในยุทธบริเวณ กรณีที่มีท่าเรือ สนามบิน
ถนน สถานีรถไฟ สิง่ อ�ำนวยความสะดวกในการซ่อมสิง่ อุปกรณ์และ การขนส่งมีอยูใ่ นพืน้ ที่ จะท�ำให้
การสนับสนุนทางการช่วยรบท�ำได้เร็วขึ้นโดยไม่ต้องมีการสร้างฐานในการสนับสนุนขึ้นมาใหม่
ถ้าไม่มีขีดความสามารถ หน่วยของ ทบ. จะปฏิบัติการจากฐานในยุทธบริเวณอย่างประหยัด
จนกระทัง่ สิง่ อ�ำนวยความสะดวกในการสนับสนุนทางการช่วยรบได้ถกู สร้างขึน้ ในยุทธบริเวณทีไ่ ม่มี
ความพร้อม หน่วยสนับสนุนทางการช่วยรบ และหน่วยก่อสร้างจ�ำเป็นที่จะต้องถูกส่งไปแต่เนิ่น
๑๒-๑๘ พาหนะขนส่งทางน�้ำของ ทบ. เป็นสิ่งส�ำคัญยิ่งเสมอในยุทธบริเวณที่ไม่มีความ
พร้อม พวกมันช่วยให้ผบู้ งั คับบัญชาในการหลีกเลีย่ งอุปสรรคและส่งเสริมแผนในการด�ำเนินกลยุทธ์
ของผูบ้ งั คับบัญชา พาหนะขนส่งทางน�ำ้ ของ ทบ. สามารถเข้าไปในเขตยุทธบริเวณ และเพิม่ ขีดความ
สามารถในการใช้ท่าเรือด้วยการขนถ่ายสัมภาระทางน�้ำ และยังเสริมขีดความสามารถในการขนส่ง
ที่ถูกจ�ำกัดทางภาคพื้นโดยการใช้ทางน�้ำเป็นเส้นทางหลักการส่งก�ำลัง หรือผ่านทางการปฏิบัติการ
ทางน�้ำ
การสนับสนุนจากประเทศเจ้าบ้าน
๑๒-๑๙ ข้อตกลงเกี่ยวกับการสนับสนุนของประเทศเจ้าบ้านเป็นข้อตกลงที่เป็นทางการ
ในการจัดการสนับสนุนและบริการ ข้อตกลงนั้นรวมถึงในเขตยุทธบริเวณทั้งเส้นทางการสนับสนุน
ข้อตกลงเกี่ยวกับการสนับสนุนจากประเทศเจ้าบ้านสามารถลดความต้องการอย่างเฉพาะเจาะจง
ในการเตรียมการส�ำหรับการเพิม่ ในส่วนของก�ำลังด้านการสนับสนุนทางการช่วยรบในตอนเริม่ แรก
การใช้การสนับสนุนในลักษณะนีอ้ ย่างมีประสิทธิภาพจะลดก�ำลังด้านการสนับสนุนทางการช่วยรบ
ที่ต้องการในยุทธบริเวณ และให้เสรีในการขนส่งทางยุทธศาสตร์เพื่อวัตถุประสงค์อื่นต่อไป
การสนับสนุนจากประเทศเจ้าบ้านนี้อาจรวมถึงแหล่งทรัพยากร การขนส่ง แรงงานภาคเอกชน
ก�ำลังเจ้าหน้าที่ต�ำรวจและการรักษาความปลอดภัยในท้องถิ่น ตัวอย่างอื่น ๆ รวมถึง
- การปฏิบตั กิ าร การซ่อมบ�ำรุง และ การรักษาความปลอดภัยในส่วนของท่าเรือ
และท่าอากาศยาน
- การปลูกสร้าง และการบริหารจัดการเส้นทาง ทางรถไฟ และเส้นทางการ
คมนาคมทางน�้ำภายในแผ่นดิน
- สนับสนุนด้านการขนส่ง
- จัดบริการทางการแพทย์อย่างจ�ำกัด
- สนับสนุนสิ่งยังชีพ
324 บทที่ ๑๒

- สนับสนุนการซักรีด และที่อาบน�้ำอุปโภค บริโภค


- สนับสนุนน�้ำมัน และพื้นที่ในการเก็บ หรือคลังสนับสนุนที่ใช้ในการจัดเก็บ
- ขยายการติดต่อสื่อสารที่มีอยู่ และเครือข่ายอัตโนมัติ
- การสนับสนุนทางด้านผู้น�ำทางศาสนาในท้องถิ่น
การสนับสนุนจากหลายชาติ
๑๒-๒๐ กองก�ำลังของไทยต้องได้รับการชดเชยส�ำหรับการสนับสนุนเพื่อให้ท�ำการจัด
เตรียมให้แก่กจิ การทหารอืน่ ๆ เมือ่ มีขอ้ ตกลงทีจ่ ำ� เป็นก�ำหนดไว้ กกล.ทบ. อาจจะสนับสนุนให้ และ
รับการสนับสนุนจากกองก�ำลังนานาชาติ กรณีตัวอย่างเช่น การปฏิบัติการของกองทัพสหรัฐฯ
ในซาอุดีอาระเบีย โซมาเรีย บอสเนีย และ โคโซโว ล้วนต้องการการสนับสนุนจากเพื่อนร่วมงาน
นานาชาติ โดยอ�ำนาจหน้าทีข่ องกองทัพสหรัฐฯ ได้เจรจาต่อรองข้อตกลงกับเพือ่ นร่วมงานนานาชาติ
แม้ว่าจะมีข้อตกลงที่เป็นทางการอยู่ก็ตาม แต่การด�ำรงสภาพจากนานาชาตินั้นเป็นสิ่งที่แสดงถึง
ความท้าทาย ผู้บังคับบัญชาประเมินค่าต่อความแตกต่างในหลักนิยมด้านการสนับสนุน คุณภาพ
ของมาตรฐานการสนับสนุน ระดับของคลังอุปกรณ์ ความคล่องตัวในการเคลือ่ นทีข่ องการสนับสนุน
ทางการช่วยรบ ความสามารถในการปฏิบัติการร่วมกัน โครงสร้างพื้นฐาน ข้อจ�ำกัดทางด้าน
ทรัพยากรของชาติ และกฎหมายภายในประเทศทีอ่ าจส่งผลต่อการเตรียมการ ระดับของการท�ำให้
เป็นมาตรฐานระหว่างประเทศทีเ่ ข้ามามีสว่ นร่วมมีผลกระทบต่อการสนับสนุนทีไ่ ด้รบั การจัดเตรียม
อย่างไร
๑๒-๒๑ ในกรณีที่ไม่มีข้อตกลงระหว่างประเทศที่เหมาะสม ผู้บัญชาการก� ำลังรบไม่มี
อ�ำนาจที่จะจัดหาหรือรับการสนับสนุนทางการช่วยรบจากพันธมิตรต่างชาติ อ�ำนาจหน้าที่ตาม
กฎหมายในการแลกเปลี่ยนการสนับสนุนกับพันธมิตรต่างชาติ กับข้อตกลงของประเทศเจ้าบ้าน
และข้อตกลงทวิภาคีอื่น ๆ การอนุมัติให้มีการแลกเปลี่ยนการสนับสนุนกับองค์กรที่ไม่ใช่หน่วยงาน
ของรัฐปกติมาจากกระทรวงการต่างประเทศ ข้อตกลงทวิภาคีมีความจ�ำเป็นต่อการรวมพลัง
ทรัพยากรในท้องถิ่นเพื่อสนับสนุนกองก�ำลังที่ได้เข้าไปปฏิบัติหน้าที่ ผู้บังคับบัญชาและฝ่าย
เสนาธิการทุกระดับต้องการท�ำความคุ้นเคยกับขอบเขต และอ�ำนาจหน้าที่ซึ่งก�ำหนดโดยข้อตกลง
ที่มีอยู่ การประมาณการของฝ่ายอ�ำนวยการควรจะสะท้อนแต่เพียงทรัพยากรเหล่านั้นที่จัดหาตาม
ข้อตกลง การเจรจาต่อรองและการอนุมตั ติ อ่ ข้อตกลงเหล่านีอ้ าจจะเป็นข้อจ�ำกัดโดยกองบัญชาการ
รบร่วม และพระราชบัญญัติ หรือกฎหมายอื่น ๆ ในกรณีที่ไม่มีข้อตกลงระหว่างประเทศปรากฏ
ความต้องการต่าง ๆ ซึ่งจ�ำเป็นให้มีการเจรจาต่อรองและการอนุมัติต้องได้รับการระบุเสียแต่เนิ่น ๆ
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 325

๑๒-๒๒ การเตรี ย มการส� ำ หรั บ


อ�ำนาจหน้าทีท่ างการประสานงาน คือ ความรับผิดใน
รับการสนับสนุนจากชาติพันธมิตร จะเริ่ม
ส่วนบุคคลที่ก�ำหนดเพื่อพันธกิจที่มีการประสานงาน
กระท�ำในช่วงแรกของกระบวนการวางแผน โดยเฉพาะ หรือกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับก�ำลังรบสอง
และกระท�ำต่อเนื่องไปตลอดการปฏิบัติการ หน่วยงานทางทหารหรือมากกว่าขึ้นไปในเรื่องของ
ถึงแม้วา่ การสนับสนุนทางการช่วยรบจะเป็น เหล่าทัพเดียวกัน อ�ำนาจหน้าที่ทางการประสานงาน
ความรับผิดชอบเบื้องต้นของประเทศก็ตาม เป็นความสัมพันธ์ในการแก้ปัญหา แต่ไม่ใช่อ�ำนาจ
ความจริงนีไ้ ม่สามารถชดเชยโดยการวางแผน หน้าที่ที่ใช้ในการบังคับบัญชา
ด้านการสนับสนุนทางการช่วยรบนานาชาติ
ในรายละเอียดได้ ผูว้ างแผนต้องจัดเตรียมการสนับสนุนในกรณีฉกุ เฉินซึง่ อาจมีมากกว่าทีเ่ คยปฏิบตั ิ
ประจ�ำ ในบางกรณีผู้บังคับบัญชาด�ำเนินการควบคุมเหนือหน่วยสนับสนุนหลาย ๆ หน่วยของ
ประเทศ และกรณีอื่น ๆ ผู้บังคับบัญชาเหล่านี้มีอ�ำนาจเพียงแค่การประสานงานเท่านั้น งานที่ได้
รับมอบหมายทางทหารในหลาย ๆ ประเทศอาจเป็นรูปแบบในการมีไว้เพื่อก�ำหนดว่าชาติไหนจะ
มีหน้าที่เฉพาะในการสนับสนุน เมื่อเป็นไปได้ผู้บังคับบัญชาประเทศต่าง ๆ ก็จะจัดตั้งส่วนอ�ำนวย
การสนับสนุนของนานาชาติขึ้น (รส. ๓-๑๖)
๑๒-๒๓ กองก�ำลังต่าง ๆ อาจได้รับการแต่งตั้งให้เป็นประเทศผู้น�ำ หรือมีบทบาท
ของชาติที่มีความช�ำนาญเฉพาะ ประเทศผู้น�ำจะมีขึ้นเมื่อประเทศหนึ่งประเทศใดก�ำหนดความ
รับผิดชอบในการจัดหาการสนับสนุนในขอบเขตอย่างกว้าง ๆ ในทุกส่วนหรือบางส่วนของการปฏิบตั ิ
การหลายชาติ บทบาทผู้ช� ำนาญการพิเศษจะมีขึ้นเมื่อประเทศหนึ่งประเทศใดก� ำหนดความ
รัฐผิดชอบในการจัดเตรียมประเภทของสิ่งอุปกรณ์หรือการบริการเป็นการเฉพาะ เช่น น�้ำมัน
เชื้อเพลิง
๑๒-๒๔ ผู้บัญชาการรบร่วม อาจจะใช้อ�ำนาจหน้าที่ด้านการสนับสนุนทางการช่วยรบ
ในการสั่งการได้เพียงแค่ภายใต้ข้อตกลงอย่างเป็นทางการของหลายชาติ ระดับของอ�ำนาจหน้าที่
นั้นขึ้นอยู่กับข้อตกลง หรือการจัดเตรียมข้อก�ำหนดในการเจรจาต่อรองที่มีอยู่ระหว่างชาติที่เข้า
ร่วมปฏิบัติการ (ดูคู่มือด้านการส่งก�ำลังบ�ำรุงในการยุทธ์ร่วม)
การสนับสนุนแบบจ้างเหมา
๑๒-๒๕ ในอดีตที่ผ่านมา ทบ. ได้เคยใช้ผู้รับเหมา (Contractors) ในการสนับสนุนการ
ปฏิบัติการ และ กกล.ทบ. ยังได้พึ่งพาการสนับสนุนแบบจ้างเหมามากยิ่งขึ้น การใช้ผู้รับเหมาอาจ
จะช่วยในการเตรียมการด้านการสนับสนุนทางการช่วยรบ โดยการลดความต้องการในการ
326 บทที่ ๑๒

เคลือ่ นย้ายทางยุทธศาสตร์ และลดการพึง่ พาก�ำลังในการให้การสนับสนุนทางทหารลง (ดูคมู่ อื ด้าน


การส่งก�ำลังบ�ำรุงในการยุทธ์ร่วม; รส. ๓-๑๐๐.๒๑; รส. ๓-๑๐๐.๒๑; รส. ๔-๑๐๐.๒) ผู้รับเหมา
แยกประเภทตามที่ให้การสนับสนุนการปฏิบัติการของ ทบ. มีดังต่อไปนี้
- ผูร้ บั เหมาแบบระบบ (Systems contractors) ผูร้ บั เหมาประเภทนีส้ นับสนุน
กองก�ำลังที่เข้าวางก�ำลังท�ำการรบภายใต้สัญญาที่ได้จัดเตรียมโดยผู้จัดการ
โครงการ ส�ำนักงานประเมินผลโครงการ และหน่วยบัญชาการยุทโธปกรณ์
ทบ. (นยท.) พวกเขาจัดท�ำระบบยุทโธปกรณ์เฉพาะตลอดช่วงอายุของ
พวกมัน และอยู่ในช่วงระยะเวลายามสงบและช่วงการปฏิบัติการเผชิญเหตุ
ระบบเหล่านี้รวมถึงแต่ไม่จ�ำกัดต่อ ยานพาหนะ ระบบอาวุธ อากาศยาน
โครงสร้างพื้นฐานทางการควบคุมบังคับบัญชา และอุปกรณ์ในการติดต่อ
สื่อสาร
- ผู้รับเหมาแบบสนับสนุนภายนอก (External support contractors)
ผูร้ บั เหมาประเภทนีจ้ ะปฏิบตั กิ ารภายใต้สญ
ั ญาทีท่ ำ� โดยนายทหารทีท่ ำ� หน้าที่
ให้กับหน่วยบัญชาการและนายทหารจัดหาของกองบัญชาการที่ให้การ
สนับสนุนภายนอกเขตยุทธบริเวณ พวกเขาท�ำหน้าที่เพิ่มขีดความสามารถ
ด้านการสนับสนุนทางการช่วยรบให้กับหน่วยของผู้บังคับบัญชาที่รับการ
สนับสนุน กรณีตัวอย่างเช่น โครงการเพิ่มเติมการส่งก� ำลังพลเรือนของ
หน่วยบัญชาการยุทโธปกรณ์ของสหรัฐฯ จะจัดผู้รับเหมาแบบสนับสนุน
ภายนอกผ่านทางสัญญาครอบคลุมที่จัดเตรียมไว้ล่วงหน้า การส่งก�ำลังบ�ำรุง
ของหน่วยบัญชาการยุทโธปกรณ์ของสหรัฐฯ สนับสนุนผู้บริหารจัดการต่อ
ผู้รับเหมาเหล่านี้ในเขตยุทธบริเวณ
- ผูร้ บั เหมาแบบสนับสนุนในเขตยุทธบริเวณ (Theater support contractors)
ผู้รับเหมาชนิดนี้จะสนับสนุนให้แก่กองก�ำลังที่เข้าปฏิบัติการภายใต้สัญญา
ที่จัดเตรียมไว้ล่วงหน้า หรือสัญญาจ้างเหมาจากพื้นที่ที่มีภารกิจ ผู้รับเหมาที่
สนับสนุนในเขตยุทธบริเวณมีหน้าทีจ่ ดั หา สินค้า บริการ และอุปกรณ์ในการ
ก่อสร้างโดยปกติจะได้จากผู้ที่ค้าในท้องที่เพื่อให้ตอบสนองต่อความจ�ำเป็น
ทางยุทธการ (ดู รส. ๔-๑๐๐.๒)
การด�ำเนินการด้านการสนับสนุนทางการช่วยรบ
๑๒-๒๖ ผู้บังคับบัญชาก� ำลังรบมีความรับผิดชอบในการสนธิข้อพิจารณาด้านการ
สนับสนุนทางการช่วยรบเข้าไว้ในการปฏิบตั กิ ารทัง้ มวล ชนิดและปริมาณในส่วนของการสนับสนุน
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 327

ทางการช่ ว ยรบที่ ต ้ อ งการ และวิ ธี ที่ ใ ช้ ใ นการจั ด การกั บ มั น นั้ น แตกต่ า งกั น ไปประเภทของ
การปฏิบัติการ

กรณีตัวอย่าง การสนับสนุนของผู้รับเหมาในบอลข่าน
บอลข่านเป็นส่วนหนึง่ ของพืน้ ทีป่ ฏิบตั กิ ารในปี พ.ศ. ๒๕๓๘ (ค.ศ. ๑๙๙๕) ก�ำลังทหาร
ของกองทัพบกจ�ำนวน ๒๕,๐๐๐ คน ถูกส่งไปประจ�ำการที่บอสเนียภายใต้สถานการณ์ที่ไม่
แน่นอน ในช่วงฤดูหนาวที่เลวร้ายที่สุดในห้วง ๑๐๐ ปี ผู้บังคับบัญชารบของกองทัพบก เข้าใจ
ว่า ยุทธบริเวณในบอสเนียไม่มีความพร้อม และต้องการการสนับสนุนจากการเพิ่มการส่งก�ำลัง
บ�ำรุงพลเรือนของหน่วยบัญชาการด้านยุทโธปกรณ์ แผนในครัง้ นัน้ ต้องการให้มกี ารสร้างฐานทัพ
ระหว่างทางที่ โคโซโว และแทสซา ในประเทศฮังการี ขณะที่หน่วยเตรียมพร้อมก่อนเข้าสู่เขต
ยุทธบริเวณ หน่วยส่งก�ำลังบ�ำรุงจากกองบัญชาการกองทัพบกที่ ๒๑ ก�ำหนดความต้องการ และ
รองฝ่ายเสนาธิการด้านส่งก�ำลังบ�ำรุงของสหรัฐฯ และยุโรปติดต่อด้านทีพ่ กั อาหาร การซักผ้าที่
บริการอาบน�ำ้ การสุขาภิบาล การขนส่ง การสร้างฐานทัพ และล่าม ในฐานทัพระหว่างทางก่อน
เดินทาง ผู้รับเหมาจัดหาบริการที่คล้ายคลึงกันในบอสเนีย ในขณะที่ฐานทัพต่าง ๆ มากมาย
สนับสนุนด้านก�ำลังพล รถบรรทุกรับเหมาจะขนอุปกรณ์ในการสร้างตึก ปูนหินกรวด และสิ่ง
อุปกรณ์ในการก่อสร้าง รวมทั้งอาหารน�้ำ และสิ่งจ�ำเป็นอื่น ๆ เช่นเดียวกันกับการปฏิบัติการที่
ผ่านมาผูบ้ งั คับบัญชาจะรับผิดชอบทัง้ หมดด้านความต้องการของทหาร อย่างไรก็ตามผูร้ บั เหมา
ได้ด�ำเนินการโดยตรงเพื่อด�ำรงไว้ซึ่งการสนับสนุนด้านโครงสร้างจนสิ้นสุดการปฏิบัติการ

การสนับสนุนทางการช่วยรบในการปฏิบัติการรบด้วยวิธีรุก
๑๒-๒๗ ผู้บังคับบัญชาก�ำลังรบจะพิจารณาว่าโครงร่างทางการยุทธ์ และการสนับสนุน
ทางการช่วยรบมีผลกระทบต่อกันและกันอย่างไรระหว่างการปฏิบัติการรบด้วยวิธีรุก การตัดสินใจ
ของผู้บังคับบัญชาที่จะสู้ในแบบพร้อม ๆ กัน หรือแบบตามล�ำดับขั้นตอน ด้วยการปฏิบัติการ
เป็นแนว หรือไม่เป็นแนวอาจขึ้นกับขีดความสามารถด้านสนับสนุนการช่วยรบ การปฏิบัติการ
สนับสนุนทางการช่วยรบอาจได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากการตัดสินใจนั้น ตัวอย่างเช่น ใน
การปฏิบัติการแบบเป็นแนว ผู้บังคับบัญชาอาจรักษาความปลอดภัยทรัพยากรด้านการสนับสนุน
ทางการช่วยรบทีต่ งั้ อยูบ่ นภาคพืน้ ดินตามแนวเส้นหลักการคมนาคม โดยใช้หน่วยด�ำเนินกลยุทธ์ ใน
การปฏิบัติการแบบไม่เป็นแนว ผู้บังคับบัญชาอาจจะเคลื่อนย้ายการสนับสนุนทางการช่วยรบที่
328 บทที่ ๑๒

ส�ำคัญทางอากาศ โดยไม่ใส่ใจกับโครงร่างทางการยุทธ์ ผู้บังคับบัญชา และฝ่ายเสนาธิการด้านการ


สนับสนุนทางการช่วยรบจะสนับสนุนการปฏิบตั กิ ารรุกแตกหัก ณ เวลาและสถานทีท่ ผี่ บู้ งั คับบัญชา
ก�ำลังรบเลือกไว้

กรณีตัวอย่าง หน่วยบัญชาการสนับสนุนที่ ๒๒ เดลต้า ในเอเชียตะวันตกเฉียงใต้


(22 D Support Command in Southwest Asia)
ในการปฏิบัติการกลางทะเลทราย หน่วยบัญชาการสนับสนุนที่ ๒๒ เดลต้า ส่วน
สนับสนุนการช่วยรบแก่ทหารจัดการสนับสนุนในทุกระดับของการปฏิบตั กิ ารทัง้ การรับ จัดพืน้ ที่
รอ และเคลื่อนที่ไปในแนวหน้าทั้งในหน่วยของสหรัฐฯ และหน่วยก�ำลังผสม การรบครั้งนี้ใช้
หน่วยของสหรัฐฯ และสิ่งของเครื่องใช้ของประเทศเจ้าภาพ ปฏิบัติการในฐานทัพทางกลยุทธ์
หน่วยบัญชาการร่วม และรัฐบาลของประเทศเจ้าภาพ นายทหารส่งก�ำลังบ�ำรุงของกองทัพบก
ได้ใช้สนามบินดาห์ราน (Dhahran) เป็นท่าขนส่งทางอากาศของการรับสิง่ อุปกรณ์ มีอากาศยาน
มากกว่า ๖,๗๐๐ เครื่อง มาถึงในช่วง เดือนสิงหาคม ปี พ.ศ. ๒๕๓๓ (ค.ศ. ๑๙๙๐) ถึงเดือน
มีนาคม ปี พ.ศ. ๒๕๓๔ (ค.ศ. ๑๙๙๑) ทหารฝ่ายสนับสนุนการช่วยรบต้องดูแลกองทหาร
หน่วยรบเป็นพัน ๆ คนให้เข้าสู่ยุทธบริเวณ และพยายามติดต่อในเรื่องน�้ ำ อาหาร ที่พัก
น�้ำมันเชื้อเพลิง และการขนส่ง การรับเหมารวมถึงการที่ผู้บังคับบัญชามีอ�ำนาจของการซื้อ
ในมือ ช่วยในการสร้างสิ่งก่อสร้างที่รวดเร็ว การท�ำสัญญาด้านการเงิน และการสนับสนุนโดย
ประเทศเจ้าภาพมีบทบาทส�ำคัญในการสนับสนุนทางการช่วยรบ
หน่วยสนับสนุนการช่วยรบจะจัดเตรียมและสร้างฐานของการสนับสนุนจ�ำนวนมาก
เพื่อให้การปฏิบัติการของสองกองพลในเขตยุทธบริเวณเป็นไปอย่างต่อเนื่อง กระสุนปืนและ
ความต้องการน�้ำมันทั้งหมด ๑๔,๐๐๐ ตัน หรือ ๔.๕ ล้านแกลลอนต่อวัน จากการที่ประเทศ
คูเวตมีอสิ รภาพ หน่วยบัญชาการสนับสนุนที่ ๒๒ เดลต้าได้สง่ ก�ำลังไป และคงก�ำลังส่วนทีเ่ หลือ
ไว้ในเขตยุทธบริเวณ โดยทีก่ ระท�ำไปพร้อม ๆ กัน ทหารฝ่ายสนับสนุนการช่วยรบสนับสนุนการ
ปลดปล่อยชาวเคริดร์ในค่ายอพยพของอิรักและตุรกี และกักกันเชลยศึก ๔ คน ในค่ายกักกัน
ชาวอิรัก ๖๐,๐๐๐ คน ตลอดช่วงการปฏิบัติการกลางทะเลทรายหน่วยบัญชาการสนับสนุน
ที่ ๒๒ เดลต้าได้แสดงขีดความสามารถในการสนับสนุนของกองทัพบกแบบเต็มรูปแบบของ
การปฏิบัติการ
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 329

๑๒-๒๘ การสนั บ สนุ น ทางการช่ ว ยรบที่ มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพในปฏิ บั ติ ก ารรุ ก ต้ อ งการ


ผูป้ ฏิบตั งิ านซึง่ มองเห็นถึงความต้องการและการเตรียมการให้สอดคล้องกับการปฏิบตั กิ ารเหล่านัน้
ก่อนที่พวกมันจะเกิดขึ้น ผู้บังคับบัญชาก�ำลังรบต้องการแนวความคิดในการสนับสนุนทางการ
ช่วยรบแบบง่าย ๆ ซึ่งตอบสนอง และอ่อนตัวเพียงพอต่อการปรับเปลี่ยนให้เข้ากับการด�ำเนินการ
ในการปฏิบัติการรุก เพื่อคงไว้ซึ่งแรงหนุนเนื่อง และก่อให้เกิดเสรีในการปฏิบัติเพื่อขยายผล
แห่งความส�ำเร็จ ผู้บังคับบัญชาจะสนธิการสนับสนุนทางการช่วยรบเข้าไว้ในแผนปฏิบัติการ
เพื่อประกันถึงความต่อเนื่องในการสนับสนุน แผนการต่าง ๆ รวมถึงการเตรียมการส�ำหรับหน่วย
สนับสนุนทางการช่วยรบให้ตดิ ตามไปกับก�ำลังรบทีก่ ำ� ลังปฏิบตั กิ าร เนือ่ งจากจังหวะของการปฏิบตั ิ
การรุกนั้นหน่วยอาจมีประสบการณ์ในการสูญเสียอย่างสูงจากการปฏิบัติการรบ ภาวะเครียด
จากการสู้รบ และความเหนื่อยล้า เพื่อตระหนักถึงความเป็นไปได้ในการสูญเสียระหว่างการปฏิบัติ
การรุก ผู้บังคับบัญชาวางแผนให้มีการทดแทนก�ำลังพล ผู้วางแผนจะพิจารณาความเป็นไปได้ที่มี
ผลต่อการสูญเสียเหล่านีท้ มี่ ตี อ่ การปฏิบตั กิ ารในทางยุทธวิธี การปฏิบตั กิ ารสนับสนุนด้านสุขอนามัย
ในการรบ การด้ า นรายงานสุ ข ภาพ และรายงานผู ้ ป ่ ว ยเจ็ บ การปฏิ บั ติ ก ารทดแทนก� ำ ลั ง
การสนับสนุนทางด้านศาสนา และขวัญก�ำลังใจของทหาร
๑๒-๒๙ ผูบ้ งั คับบัญชาคาดการณ์ถงึ ผลกระทบของจังหวะทีร่ วดเร็วในความสามารถทีจ่ ะ
ด�ำรงไว้ซึ่งการปฏิบัติการรบด้วยวิธีรุกอย่างต่อเนื่อง จังหวะและความลึกของการรบด้วยวิธีรุก
ต้องใช้ยุทโธปกรณ์และใช้สิ่งอุปกรณ์จ�ำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งปริมาณน�้ำมันเชื้อเพลิง และ
กระสุนปืน การท�ำงานที่หนักและความต้องการ การส่งกลับในการรบด้วยวิธีรุก ท�ำให้เกิดความ
ตึงเครียดในส่วนของการซ่อมบ�ำรุง และการปฏิบัติการส่งก�ำลัง ความต้องการด้านการเคลื่อนย้าย
ที่เพิ่มขึ้นและความเป็นไปได้ที่เส้นหลักการคมนาคมยาวขึ้น การใช้ทรัพยากรด้านการขนส่งจะมี
มากขึ้น ในขณะที่ ทบ. เปลี่ยนสถานะเข้าสู่ช่วงที่เรียกว่า “ทดแทนให้กับส่วนหน้า และซ่อมแซม
ในส่วนหลัง” ในระบบการซ่อมบ�ำรุง การสนับสนุนแบบจ้างเหมาในพื้นที่ส่วนหน้าในระหว่าง
การปฏิบัติการรุก และรับ จะสามารถด�ำรงอยู่ได้น้อยกว่าในการปฏิบัติการเพื่อเสถียรภาพหรือ
การปฏิบัติการการสนับสนุน
การสนับสนุนทางการช่วยรบในการรบด้วยวิธีรับ
๑๒-๓๐ ผูบ้ งั คับบัญชาระดับยุทธวิธี พิจารณาขีดความสามารถด้านการสนับสนุนทางการ
ช่วยรบ เมื่อตัดสินใจว่าจะด� ำเนินการตั้งรับแบบคล่องตัวหรือการตั้งรับแบบยึดพื้นที่อย่างใด
อย่างหนึง่ ตัวอย่างเช่น ในการตัง้ รับแบบยึดพืน้ ที่ ผูบ้ งั คับบัญชาอาจวางต�ำแหน่งของหน่วยสนับสนุน
ทางการช่วยรบค่อนไปข้างหน้าเพื่อตอบสนองอย่างรวดเร็วและได้รับการป้องกันจากหน่วยด�ำเนิน
330 บทที่ ๑๒

กลยุทธ์ ส่วนในการตั้งรับแบบคล่องตัว ผู้บังคับบัญชาอาจเคลื่อนย้ายหน่วยสนับสนุนทางการ


ช่วยรบให้ห่างออกไปจากหน่วยก�ำลังรบ และหน่วยสนับสนุนการรบเพื่อให้มีพื้นที่ว่างส�ำหรับการ
ด�ำเนินกลยุทธ์ ไม่ว่าจะเป็นการตั้งรับชนิดใด ผู้บังคับบัญชาและฝ่ายเสนาธิการด้านการสนับสนุน
ทางการช่วยรบจะใช้แนวทางในการสนับสนุนทางการช่วยรบที่เกื้อกูลต่อการเปลี่ยนผ่านไปเป็น
การรุกอย่างราบรื่น
๑๒-๓๑ ความต้องการด้านการสนับสนุนทางการช่วยรบในการตั้งรับขึ้นอยู่กับแบบใน
การตั้งรับ ก�ำลังรบในการตั้งรับแบบคล่องตัวจะใช้นำ�้ มันเชื้อเพลิงมากกว่าการตั้งรับแบบยึดพื้นที่
โดยทัว่ ไป ปริมาณการใช้น�้ำมันเชือ้ เพลิงอาจจะน้อยกว่าเมือ่ เทียบกับการรบด้วยวิธรี กุ อย่างไรก็ตาม
การใช้กระสุนปืนจะมากกว่า และดูเหมือนจะมีล�ำดับความเร่งด่วนในการเคลือ่ นทีส่ งู สุด สิง่ กีดขวาง
และอุปกรณ์ป้อมสนามต้องได้รับเคลื่อนย้ายไปข้างหน้าในการเตรียมการให้กับการตั้งรับใน
แต่ละแบบ อุปกรณ์ในการป้องกันสารเคมีอาจมีความส�ำคัญเป็นอันมาก แต่ในการรบด้วยวิธีรุกนั้น
การออกแบบทางยุทธการของผู้บังคับบัญชาก�ำลังรบจะมีผลกระทบต่อแนวความคิดของการ
สนับสนุนทางการช่วยรบ ผู้บังคับหน่วยสนับสนุนทางการช่วยรบประสานสอดคล้องแนวความคิด
ในเรือ่ งของการสนับสนุนทางการช่วยรบกับแนวคิดในการปฏิบตั ขิ องผูบ้ งั คับบัญชาก�ำลังรบ แผนการ
สนับสนุนทางการช่วยรบจะรวมถึงการปฏิบัติที่แตกออกไป หรือ การปฏิบัติที่ตามมาซึ่งก�ำหนด
การสร้าง หรือด�ำรงไว้ซึ่งอ�ำนาจการรบภายหลังจากการเปลี่ยนผ่านไปสู่การปฏิบัติการรุก
การสนับสนุนทางการช่วยรบในการปฏิบัติการเพื่อเสถียรภาพ
๑๒-๓๒ ความต้องการด้านการสนับสนุนทางการช่วยรบในการปฏิบตั กิ ารเพือ่ เสถียรภาพ
มีความแตกต่างกันมาก ทัง้ นีข้ นึ้ กับภารกิจ และสภาวการณ์แวดล้อม ผูบ้ งั คับบัญชาก�ำลังรบด�ำเนิน
การปฏิ บั ติ ก ารเพื่อเสถียรภาพในสภาพแวดล้ อ มที่ ซั บ ซ้ อ น ไม่ ห ยุ ด นิ่ ง และหลายครั้ ง ที่ เ ป็ น
แบบอสมมาตร ตัวอย่างเช่น ผูบ้ งั คับบัญชาอาจได้รบั ความต้องการในการจัดสร้างความมัน่ คง ท�ำการ
แยกผู้ท�ำการรบ ฟื้นฟูกฎระเบียบ หรือด�ำเนินการปฏิบัติการอื่น ๆ ที่เป็นการก่อให้เกิดความ
มีเสถียรภาพ หลายครัง้ ทีผ่ บู้ งั คับบัญชาก�ำลังรบ ต้องซ่อมแซมโครงสร้างพืน้ ฐานให้เพียงพอต่อก�ำลัง
ในส่วนหน่วยด�ำเนินกลยุทธ์ และหน่วยในการด�ำรงสภาพขณะที่ท�ำการรักษาสถานการณ์ให้เกิด
เสถียรภาพไปพร้อม ๆ กัน ผู้บังคับบัญชาและฝ่ายเสนาธิการด้านการสนับสนุนทางการช่วยรบใช้
แนวคิดด้านการสนับสนุนทางการช่วยรบทีอ่ �ำนวยให้ผบู้ งั คับบัญชาก�ำลังรบมีความอ่อนตัวสอดคล้อง
กับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง
๑๒-๓๓ การปฏิบัติการเพื่อเสถียรภาพบางอย่าง เช่น การปฏิบัติการบังคับให้เกิด
สันติภาพ อาจจะเกี่ยวข้องกับระดับของการสนับสนุนเมื่อเปรียบเทียบกับการปฏิบัติการรุกและ
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 331

ตั้งรับในปฏิบัติการอื่น ๆ ความต้องการอาจน้อยลงกว่าเดิมแต่ระยะทางระหว่างหน่วยอาจเพิ่มขึ้น
ในการปฏิบตั กิ ารเพือ่ เสถียรภาพ การสนับสนุนแบบรับเหมาจะเหมาะสมมากกว่าเมือ่ เทียบกับการ
ปฏิบัติการอื่น ๆ การรับเหมาอาจเหมาะกับกิจกรรมด้านการสนับสนุนทางการช่วยรบ เช่น
การบริการด้านอาหาร ขวัญและก�ำลังใจ สวัสดิการ และสันทนาการ ที่พัก การขนส่ง น�้ำอุปโภค
การซักแห้ง และซ่อมแซมเสื้อผ้าเป็นสิ่งส�ำคัญมากในการที่จะสนธิการสนับสนุนไม่เพียงแต่กับ ทบ.
และชาติพันธมิตรเท่านั้น แต่ควรกระท�ำร่วมกับองค์กรที่ไม่ใช่หน่วยงานของรัฐอีกด้วย สป.๔
และการสนับสนุนการท�ำลายล้างวัตถุระเบิดอาจเป็นจุดส�ำคัญในการปฏิบัติการเพื่อเสถียรภาพ
การสนับสนุนทางการช่วยรบในการปฏิบัติการสนับสนุน
๑๒-๓๔ ในการปฏิบตั กิ ารแบบสนับสนุน ก�ำลังด้านการสนับสนุนทางการช่วยรบอาจจะ
ด�ำเนินการปฏิบัติการแตกหัก การปฏิบัติการสนับสนุนเกี่ยวข้องกับการจัดการระดับสูงเชิง
เปรียบเทียบในเรื่องของการสนับสนุนที่เกี่ยวข้องกับการสนับสนุนทางการช่วยรบที่เกี่ยวข้องกับ
พลเรือน ตัวอย่างเช่น ผู้บังคับบัญชามอบภารกิจในการช่วยบรรเทาภัยพิบัติ เช่น กรณีตัวอย่างการ
ช่วยเหลือผู้ประสบภัยจากพายุเฮอริเคนในสหรัฐฯ และเหตุการณ์สึนามิในประเทศไทย ซึ่งมีที่อยู่
อาศัยจ�ำนวนหลายพันหลังคาเรือนถูกท�ำลาย ดังนั้น อาจต้องจัดหา น�้ำ อาหาร การบริการทางการ
แพทย์ และไฟฟ้าให้แก่ประชาชนในพืน้ ทีท่ กี่ ระจายวงกว้างออกไปหลายร้อยกิโลเมตร ในการปฏิบตั ิ
การสนับสนุนอื่น ๆ เช่น ภารกิจการช่วยเหลือเพื่อมนุษยธรรมในพื้นที่ที่มีน�้ำท่วมหรือแห้งแล้ง
กองก�ำลังต้องเผชิญกับโรคภัยไข้เจ็บ และความหิวโหย การปฏิบตั กิ ารสนับสนุนอย่างเช่น การปฏิบตั ิ
เหล่านีเ้ กีย่ วข้องกับการจัดการด้านการให้บริการทีส่ นองความต้องการเร่งด่วนให้กบั กลุม่ เป้าหมาย
ในเวลาที่จ�ำกัดจนกว่าหน่วยงานพลเรือนจะสามารถเข้ามาท�ำหน้าที่แทนต่อไปได้ การแจกจ่าย
อาหาร น�ำ้ สิง่ อุปกรณ์ และการบริการในสนาม เป็นกิจกรรมหลักเสมอ การสนับสนุนด้านสุขอนามัย
ในการรบ ซึ่งเกี่ยวข้องกับกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การจัดหาสิ่งที่จ� ำเป็นขั้นพื้นฐาน และการสร้าง
หรือท�ำการปรับปรุงสุขภาพพื้นฐานและบริการสุขาภิบาล ซึ่งอาจจะเป็นสิ่งที่ส�ำคัญเช่นเดียวกัน
การขาดแคลนพื้นที่ตามถนนที่สามารถใช้การได้อาจต้องใช้พึ่งพาต่ออากาศยานเป็นอย่างมาก
กกล.ทบ. ที่เหมาะสมที่สุดในการที่จะบรรลุภารกิจที่ซับซ้อนในสภาวการณ์ที่ยุ่งยากเหล่านี้คือ
การจัดหน่วยงานด้านการสนับสนุนทางการช่วยรบ
๑๒-๓๕ ผู้บังคับบัญชาก�ำลังรบต้องท�ำอย่างไรที่จะเข้าถึงการจัดการด้านการสนับสนุน
ต่อหน่วยงานพลเรือนทีก่ ระทบต่อแนวความคิดในการสนับสนุนทางการช่วยรบ ผูบ้ งั คับบัญชาและ
ฝ่ายเสนาธิการด้านการสนับสนุนทางการช่วยรบใช้แนวคิดเกี่ยวกับการสนับสนุนทางการช่วยรบที่
สอดคล้องกับความต้องการทางภารกิจตามล�ำดับความเร่งด่วนที่ผู้บังคับบัญชาก�ำลังรบระบุไว้
332 บทที่ ๑๒

ผู้วางแผนต้องท�ำงานร่วมกับนักวางแผนจากหลาย ๆ ชาติ ผู้วางแผนการยุทธ์ร่วม ผู้วางแผนร่วม


ระหว่างองค์กรอื่น ๆ ตลอดจนผู้วางแผนจากหน่วยงานในท้องถิ่นเพื่อประกันถึงความรับผิดชอบ
ล�ำดับความเร่งด่วน และมาตรฐาน ตลอดจนกฎการใช้ก�ำลัง ที่ได้มีการวางเอาไว้ชัดเจน
การสนับสนุนทางการช่วยรบในระดับยุทธวิธี
๑๒-๓๖ การสนับสนุนทางการช่วยรบในระดับยุทธวิธี สนับสนุนการรบและการรบปะทะ
ในขณะทีก่ ารปฏิบตั กิ ารทางยุทธวิธสี ามารถกระท�ำได้นานเป็นอาทิตย์ แต่การสนับสนุนทางยุทธวิธี
จะถูกวัดออกมาเป็นวัน หรือเป็นชั่วโมง การสนับสนุนทางการช่วยรบระดับยุทธวิธีเป็นการด�ำรง
ความหนุนเนื่องของก�ำลังรบ มันเป็นการมุ่งเน้นที่ทรัพยากรในการสนับสนุนต่อเจตนารมณ์ และ
แนวความคิดในการปฏิบตั ขิ องผูบ้ งั คับบัญชา รวมทัง้ เพิม่ เสรีในการปฏิบตั ใิ ห้มากทีส่ ดุ แผนสนับสนุน
ทางการช่วยรบในระดับยุทธวิธี จะบ่งบอกว่าท�ำอย่างไรที่แต่ละพันธกิจของการสนับสนุนทางการ
ช่วยรบจะสนับสนุนการปฏิบตั กิ ารได้ การวางแผนจะระบุถงึ ความเสีย่ งในการสนับสนุนทางการช่วย
รบ หน่วยของ ทบ. จัดท�ำโครงร่างของการสนับสนุนการช่วยรบในระดับยุทธวิธี การสนับสนุนยัง
จะมาจากองค์การต่าง ๆ ของประเทศเจ้าบ้าน องค์การในส่วนของการยุทธ์ร่วม และองค์การทหาร
จากหลาย ๆ ประเทศ ข้าราชการพลเรือนกระทรวงกลาโหม และผู้รับเหมาภาคเอกชน โดยเฉพาะ
อย่างยิ่งในการปฏิบัติการเพื่อเสถียรภาพและการปฏิบัติการสนับสนุน
การสนับสนุนทางการช่วยรบภายในการยุทธ์ร่วม
๑๒-๓๗ ผู้บัญชาการรบ และฝ่ายเสนาธิการ รวมทั้งหน่วยบัญชาการส่วนก�ำลังเหล่าทัพ
บริหารจัดการ การสนับสนุนยุทธศาสตร์และทางยุทธการของยุทธบริเวณ ในระดับยุทธศาสตร์
ยุทธบริเวณ ผู้บัญชาการรบ และเหล่าทัพหน่วยรองของพวกเขา หรือผู้บัญชาการส่วนก�ำลังตาม
พันธกิจสร้างเสริมและเคลื่อนย้ายกองก�ำลัง วัสดุอุปกรณ์ และ ด�ำรงรักษาเข้าไว้ในยุทธบริเวณ
๑๒-๓๘ ในการยุทธ์ร่วม การประสานงานและด�ำเนินการในเรื่องของการสนับสนุน
ทางการช่วยรบ คือ ความรับผิดชอบด้านการบริการ เว้นเสียแต่ว่า ผู้บัญชาการรบสั่งการเป็น
อย่างอื่นผ่านทางข้อก�ำหนดของเหล่าทัพที่เป็นแกนน�ำหรือ ข้อตกลงในการสนับสนุนระหว่าง
เหล่าทัพที่ปรากฏอยู่ โดยไม่ค�ำนึงถึงเรื่องของการจัดเตรียมของหน่วยบัญชาการยุทธ์ร่วมหรือ
หน่วยบัญชาการหลายชาติ (multinational commander) หน่วยบัญชาการ กกล.ทบ. รักษาความ
รับผิดชอบในการสนับสนุนตามมาตรา ๑๐ ของหน่วยรอง ทัง้ มวลของ ทบ. ผ่านสายการบังคับบัญชา
ของเหล่าทัพโดยใช้การควบคุมทางธุรการ พร้อมด้วยผู้บัญชาการรบระบุความต้องการด้านการ
สนับสนุนทางการช่วยรบประสานการแจกจ่ายทรัพยากรจากฐานทางยุทธศาสตร์ ท�ำการจัดสรร
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 333

ขีดความสามารถด้านการสนับสนุนทางการช่วยรบทีจ่ ำ� เป็น และจัดตัง้ ความสัมพันธ์ทางการควบคุม


บั ง คั บ บั ญ ชาด้ า นการสนั บ สนุ น ทางการช่ ว ยรบภายในยุ ท ธบริ เ วณ ผู ้ บั ญ ชาการ กกล.ทบ.
ประกันว่าการปฏิบัติการของผู้บัญชาการรบทั้งหมดเป็นไปอย่างเหมาะสม ผู้บัญชาการก�ำลังรบ
หรือข้อตกลงในการสนับสนุนระหว่างเหล่าทัพทีป่ รากฏอยูม่ งุ่ ตรงต่อความต้องการในการสนับสนุน
ทั่วไปภายในยุทธบริเวณ
๑๒-๓๙ การสนับสนุนทางการช่วยรบระดับยุทธการจะเชือ่ มโยงขีดความสามารถพืน้ ฐาน
ด้านการด�ำรงสภาพของประเทศเข้ากับความต้องการสนับสนุนทางยุทธวิธีในระหว่างการทัพ
และการยุทธ์หลัก ผูว้ างแผนสนธิการสนับสนุนทางการช่วยรบ และสิง่ ทีเ่ กีย่ วข้อง ณ ระดับยุทธการ
ผู้บังคับบัญชาพึ่งพาประสบการณ์ และวิจารณญาณในการสร้างสมดุลในการวางก�ำลัง และการ
สนับสนุนในส่วนของหน่วยก�ำลังรบ หน่วยสนับสนุนการรบ และหน่วยสนับสนุนทางการช่วยรบ
เพื่ อ สร้ า งอ� ำ นาจการรบร่ ว มกั บ ความเร่ ง ด่ ว นของผู ้ บั ญ ชาการก� ำ ลั ง ยุ ท ธ์ ร ่ ว ม (ผบ.กยร.)
ฝ่ายเสนาธิการเชือ่ มโยงความต้องการทางยุทธวิธกี บั การสนับสนุนทางยุทธศาสตร์ ขณะทีส่ อดคล้อง
กั บ ความรั บ ผิ ด ชอบด้ า นการสนั บ สนุ น ในระดั บ นานาประเทศหรื อ ก�ำ ลั ง การยุ ท ธ์ ร ่ ว มตามที่
วางเค้าโครงในแผน หรือค�ำสั่งยุทธการของผู้บัญชาการรบและผู้บังคับก�ำลังยุทธ์ร่วม ที่สามารถ
น�ำไปปฏิบัติได้
๑๒-๔๐ องค์กรด้านการสนับสนุนทางการช่วยรบระดับยุทธการ และฝ่ายเสนาธิการ
เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบของฐานปฏิบัติการด�ำรงสภาพทางยุทธศาสตร์ซึ่งเข้าวางก�ำลังภายใน
เขตยุทธบริเวณ ฐานปฏิบตั กิ ารด�ำรงสภาพแห่งชาติทงั้ ระดับยุทธการ และยุทธวิธสี นับสนุนการเผชิญ
สถานการณ์ดังต่อไปนี้
- ทีมสนับสนุนการเผชิญสถานการณ์ขององค์กรส่งก�ำลังบ�ำรุงในการป้องกัน
ประเทศ
- ส่วนสนับสนุนการส่งก�ำลังบ�ำรุงของหน่วยบัญชาการยุทโธปกรณ์ ทบ.
- กรมแพทย์ทหารบก และหน่วยรอง
- กรมการขนส่งทหารบก และเหล่าทัพอื่น
๑๒-๔๑ แต่ละเหล่าทัพมีหน้าทีร่ บั ผิดชอบต่อการให้การสนับสนุนก�ำลังรบของตน เมือ่ มี
การสัง่ การเป็นอย่างอืน่ โดยกระทรวงกลาโหม หรือจากหนังสือสัง่ การของหน่วยบัญชาการรบ แผน
และค�ำสัง่ ยุทธการ หรือเมือ่ มีการจัดการไว้โดยการท�ำข้อตกลงกับหน่วยงานของประเทศ การบริการ
หรื อ กั บ ประเทศอื่ น ๆ ขณะที่ ทบ. ได้ รั บ การก� ำ หนดให้ เ ป็ น ผู ้ แ ทนในการปฏิ บั ติ ก ารของ
กระทรวงกลาโหมยามสถานการณ์ปกติ ด้านความต้องการ การสนับสนุนทางการช่วยรบ ปกติความ
334 บทที่ ๑๒

รับผิดชอบเหล่านีจ้ ะเน้นไปทีร่ ะดับยุทธศาสตร์ชาติ และไม่อาจน�ำไปใช้ได้โดยตรงกับการปฏิบตั กิ าร


ยุทธ์รว่ มอย่างเฉพาะเจาะจง ในการปฏิบตั กิ ารยุทธ์รว่ มทัง้ ปวง ผูบ้ ญ
ั ชาการรบ ผูบ้ ญ
ั ชาการก�ำลังรบ
ร่วม และผู้บัญชาการ กกล.ทบ. น�ำเอาความรับผิดชอบในระดับกระทรวงกลาโหมเข้าไว้ใน
ข้อพิจารณา เมือ่ มีการก�ำหนดเหล่าทัพทีเ่ ป็นผูน้ ำ� ส�ำหรับความต้องการด้านการส่งก�ำลังบ�ำรุงใช้รว่ ม
๑๒-๔๒ ผู้บัญชาการรบใช้อ�ำนาจในการสั่งการตามหน้าที่ในด้านการส่งก�ำลังบ�ำรุงเพื่อ
ก�ำหนดความต้องการสนับสนุนด้านการส่งก�ำลังบ�ำรุงของผู้ใช้ร่วมในเหล่าทัพที่เป็นผู้นำ� ปกติส่วน
ก�ำลังเหล่าทัพ (หรือผูแ้ ทนของกลาโหม เช่น หน่วยป้องกันและส่งก�ำลังบ�ำรุง) ซึง่ เป็นผูใ้ ช้หลัก หรือ
องค์กรทีม่ ขี ดี ความสามารถมากทีส่ ดุ ในการส่งก�ำลังบ�ำรุงสิง่ อุปกรณ์หรือการให้บริการร่วมโดยเฉพาะ
จะกลายเป็นเหล่าทัพทีเ่ ป็นผูน้ ำ� หลายครัง้ ทีเ่ หล่าทัพทีเ่ ป็นผูน้ ำ� ในการสัง่ การเหล่านีต้ อ้ งการให้ ทบ.
วางแผนและจัดการการสนับสนุนด้านการส่งก�ำลังบ�ำรุงใช้ร่วม แก่ส่วนก�ำลังเหล่าทัพอื่น ๆ เพื่อน
ร่วมงานนานาชาติ องค์กรของรัฐบาล และองค์กรที่ไม่ใช่หน่วยงานของรัฐ ความต้องการเหล่านี้
สามารถก่อให้เกิดความต้องการในการวางแผนหลัก และความต้องการทรัพยากรส�ำคัญส�ำหรับส่วน
กกล.ทบ. และหน่วยบัญชาการสนับสนุนระดับยุทธการทีไ่ ด้รบั การจัดให้สอดคล้องกับความต้องการ
เหล่านั้น
๑๒-๔๓ กิจต่าง ๆ ในการส่งก�ำลังบ�ำรุงใช้ร่วม และการสนับสนุนทางการช่วยรบระดับ
ยุทธการของ ทบ. ได้รับการด�ำเนินการอย่างดีที่สุดโดยหน่วยงานด้านการสนับสนุนทางการช่วยรบ
ระดับยุทธการ ที่ได้รับการออกแบบ และจัดหาทรัพยากรเพื่อปฏิบัติในกิจเหล่านั้น หน่วยงานด้าน
การสนับสนุนระดับยุทธการรวมถึงหน่วยบัญชาการสนับสนุนหลายพันธกิจในยุทธบริเวณ ตลอดจน
หน่ ว ยบั ญ ชาการทางพันธกิจต่าง ๆ เช่น ทหารช่ า ง การเงิ น แพทย์ ก� ำ ลั ง พล และขนส่ ง
หน่วยสนับสนุนระดับยุทธการวางก�ำลังที่มีการปรับแต่งเป็นหน่วยสมบูรณ์แบบทางพันธกิจ เมื่อ
เข้าปฏิบัติการในตอนเริ่มแรก ระหว่างขั้นแรก ๆ ของการแสดงก�ำลังรบ ผู้บัญชาการ กกล.ทบ.
ใช้หน่วยงานที่ได้รับการตัดแต่งเหล่านี้ในการจัดเตรียมขีดความสามารถทางการบังคับบัญชา
และการควบคุมตลอดจนความช�ำนาญในทางพันธกิจเพื่อสนับสนุนแก่ก�ำลังรบอย่างเหมาะสม
หน่วยงานที่จัดสมบูรณ์ในตัวเองขยายได้ตามความจ�ำเป็นต่อการจัดเตรียมระดับของการสนับสนุน
ในแต่ละการปฏิบัติการหรือตามช่วงระยะขั้นตอน (ดู รส. ๔-๐๓.๔)
๑๒-๔๔ ในบางสถานการณ์หน่วยงานสนับสนุนทางการช่วยรบในระดับยุทธวิธี อาจ
ด�ำเนินงานในภารกิจการสนับสนุนระดับยุทธการ ส่วนใหญ่หน่วยสนับสนุนทางการช่วยรบในระดับ
ยุทธวิธีต้องการการเพิ่มเติมก�ำลังจากหน่วยบัญชาการระดับเหนือกว่ากองพล เพื่อให้บรรลุกิจ
ต่าง ๆ ในการสนับสนุนที่เหมาะสมในระดับยุทธการ
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 335

ผู้จัดหาระดับชาติและการสนับสนุนยุทธศาสตร์แห่งชาติ
๑๒-๔๕ การสนับสนุนทางการช่วยรบระดับชาติเป็นการสนับสนุนในระดับยุทธศาสตร์
ด�ำเนินการจัดการโดยฐานทางเศรษฐกิจแห่งชาติ ซึ่งรวมถึงกระทรวงกลาโหม และผู้จัดหาของ
กองทัพแห่งชาติ ในระดับยุทธศาสตร์แห่งชาติ ฝ่ายเสนาธิการร่วม และผู้จัดการด้านการสนับสนุน
ทางการช่วยรบแห่งชาติมุ่งประเด็นถึงความพร้อมรบ และการสนับสนุนต่อการปฏิบัติการแสดง
ก�ำลังรบ ผู้จัดการด้านการสนับสนุนทางการช่วยรบหลักแห่งชาติซึ่งสนับสนุนการปฏิบัติการของ
ทบ. ประกอบด้วย หน่วยส่งก�ำลังบ�ำรุงกลาโหม กรมส่งก�ำลังบ�ำรุงทหารบก กรมแพทย์ทหารบก
และกรมการเงิน และส�ำนักงานปลัดบัญชี ทบ. บรรลุภารกิจด้านความพร้อมรบโดยการด�ำเนินการ
แบบวันต่อวัน ตามความรับผิดชอบที่ก�ำหนดไว้ การสนับสนุนทางการช่วยรบของ ทบ. ในความ
รับผิดชอบประกอบด้วย การส่งก�ำลัง การประกอบก�ำลัง การบริหาร การด�ำรงสภาพก�ำลังรบ
การท�ำให้ความรับผิดชอบทั้งมวลสอดคล้องกันเป็นความจ�ำเป็นอย่างยิ่งในการด�ำรงรักษาระดับ
ความพร้อมรบไว้อย่างเหมาะสม
การขยายระยะถึงทางยุทธการและความสามารถในการด�ำรงสภาพ
๑๒-๔๖ การปฏิบตั กิ ารต่าง ๆ ให้บรรลุระยะถึงทางยุทธการ และระยะถึงในการสนับสนุน
ทางการช่วยรบมีความเกีย่ วข้องกับองค์ประกอบของยุทธศิลป์ ผูบ้ งั คับบัญชาฝึกฝนในเรือ่ งระยะถึง
ทางยุทธการ และการปฏิบัติการสนับสนุนทางการช่วยรบเพื่อขยายห้วงการรบ ในเรื่องของเวลา
และพื้นที่ครอบคลุมพิสัยของการปฏิบัติการสนับสนุนทางการช่วยรบที่มีประสิทธิภาพมีความ
ต้องการในการขยายความลึกและช่วงระยะเวลาในส่วนของการปฏิบัติเต็มย่านของความขัดแย้ง
ผู้บังคับบัญชาท�ำการศึกษาปัจจัยต่าง ๆ ที่มีอิทธิพลผลต่อระยะถึงทางยุทธการ และความสามารถ
ในการด�ำรงสภาพ เพียงแต่มีความเข้าใจในปัจจัยเหล่านี้โดยละเอียดจะอ�ำนวยให้ผู้บังคับบัญชา
ท�ำความเข้าใจว่าจะปฏิบัติการสนับสนุนทางการช่วยรบอย่างไร จึงจะก่อให้เกิด และด�ำรงรักษา
อ�ำนาจก�ำลังรบไว้ได้
๑๒-๔๗ การสนับสนุนทางการช่วยรบยังช่วยขยายระยะถึงทางยุทธการโดยการเข้าถึง
เบือ้ งหลังผูจ้ ดั หาของประเทศ เช่น กรณีตวั อย่าง หน่วยบัญชาการยุทโธปกรณ์ ทบ. หน่วยบัญชาการ
สนับสนุนการปฏิบัติการของหน่วยบัญชาการยุทโธปกรณ์ ทบ. ของสหรัฐฯ ได้ส่งหน่วยแยกออกไป
ประจ�ำอยู่ ณ ประเทศเกาหลี เอเชียตะวันตกเฉียงใต้ ยุโรป หน่วยที่ส่งไปข้างหน้านี้รวมถึง
ศูนย์ปฏิบัติการสนับสนุนในสนาม ทบ. สหรัฐฯ หน่วยเหล่านี้จะด�ำรงสภาพยุทโธปกรณ์ของ ทบ.
สหรัฐฯ ในยุทธบริเวณ ลดภาระด้านการยกขนทางยุทธศาสตร์และร่องรอยการส่งก�ำลังบ�ำรุงในยุทธ
บริเวณ ด้วยเป็นความต้องการ หน่วยบัญชาการส่วนหน้าของหน่วยบัญชาการยุทโธปกรณ์ ทบ.
336 บทที่ ๑๒

สหรัฐฯ สามารถส่งหน่วยสมบูรณ์แบบในตัวเองเข้าสู่พื้นที่ หรือหน่วยสนับสนุนด้านการส่งก�ำลัง


บ�ำรุงที่ตัดแต่งแล้วเข้าสู่พื้นที่ปฏิบัติการ หน่วยบัญชาการยุทโธปกรณ์ ทบ. สหรัฐฯ บริหารจัดการ
คลังสิ่งอุปกรณ์ที่วางไว้หน้า และคลังอุปกรณ์ลอยน�้ำ ซึ่งผู้บัญชาการรบสามารถน�ำไปใช้ได้
หน่วยบัญชาการยุทโธปกรณ์ ทบ. สหรัฐฯ ยังบริหารจัดการเงินทุนส�ำรองหนึ่งกองทุนด้วยความ
สามารถในการดึงกลับมาเก็บจากที่ใด ๆ ในโลกแล้วรวมเข้ากับโครงการการส่งก�ำลังและการ
ซ่อมบ�ำรุงของ ทบ. ตามต้องการ
๑๒-๔๘ การสนับสนุนทางการช่วยรบที่มีประสิทธิภาพช่วยให้ผู้บังคับบัญชาริเริ่มและ
ด�ำรงสภาพการปฏิบัติการไว้อย่างต่อเนื่องรวมทั้งขยายระยะถึงทางยุทธการของก�ำลังรบ ระยะถึง
ทางยุทธการสะท้อนถึงพิสัยของการปฏิบัติการของ หน่วยรบ หน่วยสนับสนุนการรบ และหน่วย
สนับสนุนทางการช่วยรบ ความสามารถในการด�ำรงสภาพหมายถึงความสามารถของก�ำลังรบใน
การด�ำเนินการปฏิบัติการไปได้เกินกว่าห้วงเวลาที่ก�ำหนด ผู้บัญชาการหน่วยสนับสนุนทางการ
ช่วยรบช่วยท�ำให้ผู้บังคับบัญชาก�ำลังรบสามารถขยายระยะถึงทางยุทธการออกไป และส่งเสริม
ความสามารถในการด�ำรงสภาพผ่านทาง การปฏิบัติการต่าง ๆ ของระยะถึงด้านการสนับสนุน
ทางการช่วยรบ
๑๒-๔๙ ถ้าการปฏิบัติการทางทหารขยายขอบเขตออกไปเกินกว่าระยะถึงทางยุทธการ
ของผู้บังคับบัญชา การผกผัน มักจะตามมาเป็นเรื่องปกติ ผู้บังคับบัญชาจัดเตรียมการปฏิบัติการ
ต่าง ๆ ในเวลาและพื้นที่เพื่อหลีกเลี่ยงการผกผัน ความจ�ำเป็นของศิลปะในการสนับสนุนทางการ
ช่วยรบ เกี่ยวข้องกับการปรับแผน และการปฏิบัติการด้านการสนับสนุนทางการช่วยรบอย่าง
ต่อเนื่องภายใต้เจตนารมณ์ของผู้บังคับบัญชาในการหน่วยเหนี่ยวหรือขจัดการหยุดชั่วคราว
หรือการผกผันทางยุทธการ
ปัจจัยด้านการสนับสนุนทางการช่วยรบที่มีอิทธิพลต่อระยะถึงทางยุทธการและความสามารถ
ในการด�ำรง
๑๒-๕๐ ผู้บังคับบัญชาพิจารณารักษาเส้นหลักการคมนาคมให้ปลอดภัย ระบบการ
แจกจ่าย และการควบคุมบังคับบัญชา เป็นปัจจัยด้านการสนับสนุนทางการช่วยรบที่ส�ำคัญซึ่ง
ก่อให้เกิด และการด�ำรงรักษาอ�ำนาจก�ำลังรบไว้ และขยายระยะถึงทางยุทธการ และความสามารถ
ในการด�ำรงสภาพไว้ ในการจัดสรรทรัพยากร ผูบ้ งั คับบัญชาต้องค�ำนึงถึงปัจจัยทางกายภาพซึง่ จ�ำกัด
ระยะถึงทางยุทธการ และเสรีในการปฏิบตั ขิ องก�ำลังรบ การไม่ใส่ใจปัจจัยเหล่านีเ้ สีย่ งต่อการผกผัน
เพื่อให้เข้าใจถึงอิทธิพลของปัจจัยเหล่านี้ที่ส่งผลต่อการปฏิบัติการคือ ต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญศิลปะ
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 337

ของการสนับสนุนทางการช่วยรบ ปัจจัยด้านการสนับสนุนทางการช่วยรบมีอทิ ธิพลต่อระยะถึงทาง


ยุทธการและความสามารถในการด�ำรงสภาพซึ่งประกอบด้วย
- ขอบเขตของการสนับสนุน ขอบเขตของการสนับสนุน หมายถึงประเภทและ
ระดับของการสนับสนุนที่จัดให้แก่ก�ำลังรบ มันมีความแปรเปลี่ยนไปตาม
ประเภทของการปฏิ บั ติ ก าร เวลาในการเตรี ย มการส�ำ หรั บ การปฏิ บั ติ
ความสมบูรณ์ของยุทธบริเวณ และขั้นของการปฏิบัติการ เมื่อยุทธบริเวณมี
การพัฒนาไปจนสมบูรณ์ ประเภทของการสนับสนุน และที่ตั้งของสิ่งอ�ำนวย
ความสะดวกด้านการสนับสนุนอาจเปลี่ยนแปลงไป
- เครือข่ายการแจกจ่าย ระบบการสนับสนุนทางการช่วยรบในยุทธบริเวณ
ภายใต้ระบบการแจกจ่ายร่วม (JP 4-01.4; รส. 4-01.4) ในยุทธบริเวณ
ระบบการแจกจ่ายประกอบด้วยเครือข่ายทีม่ คี วามสัมพันธ์ระหว่างกันภายใน
จ� ำ นวนมาก ได้ แ ก่ การสื่ อ สารและระบบอั ต โนมั ติ ทางกายภาพ
และทรัพยากร เครือข่ายเหล่านี้จะจัดหาทรัพยากรที่มีความจ�ำเป็นส�ำหรับ
การแจกจ่ายอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ระบบการสื่อสารและ
ระบบเครือข่ายอัตโนมัติท�ำการกระจายครอบคลุมก�ำลังรบทั้งมวล ขณะที่
การประเมิน ผูบ้ งั คับบัญชาจัดการในเรือ่ งของข้อมูลข่าวสารทัง้ ปวง เครือข่าย
ทางกายภาพประกอบด้วยปริมาณ และขีดความสามารถของโครงสร้างเดิม
และสิง่ อ�ำนวยความสะดวกทีถ่ กู สร้างขึน้ ได้แก่ โรงงาน โกดัง สนามบิน ท่าเรือ
ถนน ทางรถไฟ การคมนาคมทางน�้ำในประเทศ ทางท่อ สถานีปลายทาง
สะพาน อุโมงค์และสิ่งปลูกสร้าง สิ่งอ�ำนวยความสะดวกเหล่านี้สามารถ
ก�ำหนดที่ตั้งไว้ในประเทศ ที่ฐานทัพระหว่างทาง ที่ฐานปฏิบัติการส่วนหน้า
หรือ ในยุทธบริเวณ เครือข่ายทรัพยากรประกอบด้วย คน วัสดุอุปกรณ์
เครื่องจักรที่ปฏิบัติการภายในหรือนอกเหนือเครือข่ายทางกายภาพ
- แหล่งในการสนับสนุน การสนับสนุนอาจมาจากกระทรวงกลาโหม ทบ.
กองก�ำลังยุทธ์ร่วม หรือนานาประเทศ ชาติเจ้าบ้าน และองค์กรที่ไม่ใช่
หน่วยงานของรัฐ นอกจากนี้การสนับสนุนแบบรับเหมาก็สามารถท�ำได้โดย
ผ่านการท�ำสัญญา หรือการสนับสนุนจากประเทศเจ้าบ้าน
- การน�ำวัสดุอปุ กรณ์มาใช้ประโยชน์ (Availability of materiel) วัสดุอปุ กรณ์
ที่มีอยู่ที่สามารถน�ำมาใช้ให้เกิดประโยชน์แก่ก�ำลังรบมาจาก การเก็บรักษา
และการจัดหาเพิ่มเติมจากเดิม มีข้อจ�ำกัดภายในหลายประการเกี่ยวกับการ
338 บทที่ ๑๒

เก็บรักษา สิ่งเหล่านี้รวมถึงขีดความสามารถในการบรรทุกของทหาร และ


ยุทโธปกรณ์ ตลอดจนขีดความสามารถในการจัดเก็บส�ำหรับวัสดุอุปกรณ์ที่
ไม่ได้บรรทุกไป มันยังรวมถึงทรัพยากรด้านการขนส่งภายในทีจ่ ำ� เป็นต่อการ
เคลื่ อ นย้ า ยสิ่ ง อุ ป กรณ์ จ ากคลั ง เก็ บ ไปยั ง พื้ น ที่ ที่ มี ก ารใช้ สิ่ ง อุ ป กรณ์ นั้ น
การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพจากหลาย ๆ แหล่งในการสนับสนุน
สามารถเพิ่มการน�ำวัสดุอุปกรณ์มาใช้ประโยชน์ได้มากยิ่งขึ้น ทั้งยังเป็นการ
เพิ่มพูนการตอบสนอง และปรับปรุงความอ่อนตัวรวมความสามารถในการ
ด�ำรงความต่อเนื่องของการปฏิบัติการได้อีกด้วย
- ความเป็นหน่วยมาตรฐานสมบูรณ์ในตัวเอง ความเป็นหน่วยมาตรฐาน
สมบูรณ์ในตัวเองเป็นความสามารถในการจัดเตรียมองค์ประกอบของก�ำลัง
รบที่สามารถแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน สามารถขยายตัว และสามารถ
ปรับแต่ง เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการ และภารกิจที่เปลี่ยนแปลง
หน่วยมาตรฐานนี้ผสมผสานทรัพยากรที่ต้องการเพื่อการจัดเตรียมพันธกิจ
ทางการสนับสนุนหรือกลุ่มของพันธกิจที่เกี่ยวข้องกัน หน่วยมาตรฐาน
สามารถถูกส่งไปสนับสนุนกองก�ำลังที่ก�ำลังเข้าท�ำการวางก�ำลังโดยไม่เกิด
ผลกระทบในทางตรงข้ามกับความสามารถของหน่วยแม่ในการปฏิบตั หิ น้าที่
ในระดับที่ลดลง ความเป็นหน่วยมาตรฐานที่สมบูรณ์ในตัวเองจะเพิ่มความ
สามารถของผู้บังคับบัญชาการสนับสนุนทางการช่วยรบในการด�ำเนินการ
ควบคุมและบังคับบัญชา รวมทัง้ การปฏิบตั กิ ารด้านสนับสนุนทางการช่วยรบ
ตามพันธกิจในสภาพแวดล้อมที่กระจัดกระจายออกไป
๑๒-๕๑ ผู้บังคับบัญชาก�ำลังรบจัดการ พันธกิจด้านการสนับสนุนทางการช่วยรบที่
ส�ำคัญยิ่ง โดยการปรับแต่ง และจัดเฉพาะกิจก�ำลังรบให้สามารถจัดระดับของการสนับสนุนได้
อย่างเหมาะสมตลอดห้วงของการปฏิบตั กิ าร สิง่ เหล่านีป้ ระกันว่ามีความสมดุลอย่างเหมาะสมในขีด
ความสามารถของหน่วยรบ หน่วยสนับสนุนการรบ และหน่วยสนับสนุนการช่วยรบ การจัดหาบริการ
ทั้งมวลในพื้นที่ปฏิบัติการสามารถส่งเสริมความสามารถในการด�ำรงสภาพและเพิ่มระยะถึงทาง
ยุทธการ การบริการเหล่านี้รวมถึง การก�ำลังพล การแพทย์ การบริการในสนาม การซ่อมบ�ำรุง
การขนส่ง การศาสนา การจัดการด้านการเงิน กฎหมาย และการท�ำลายล้างวัตถุระเบิด
๑๒-๕๒ เส้นทางคมนาคม เป็นปัจจัยทีม่ คี วามส�ำคัญ ของระยะถึงทางยุทธการ และระยะ
ถึงในการสนับสนุนทางการช่วยรบ เส้นหลักการคมนาคมทุกเส้นทาง ทั้งทางภาคพื้นดิน ทางน�้ำ
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 339

และทางอากาศ ซึ่งเชื่อมต่อระหว่างกองก�ำลังทางทหารกับฐานปฏิบัติการที่ให้การสนับสนุนกับ
พวกเขา และรวมถึงสิ่งอุปกรณ์ ก�ำลังพล ยุทโธปกรณ์ และการเคลื่อนก�ำลังทหาร การก�ำหนด
เส้นหลักการคมนาคม และการให้การรักษาความปลอดภัยในการใช้เส้นหลักนั้นเป็นภาระหน้าที่
ของผู้บังคับบัญชา เส้นหลักการคมนาคมและทรัพย์สินต่าง ๆ ที่ตั้งอยู่บนเส้นหลักนั้นต้องได้รับ
การปกป้อง เส้นหลักการคมนาคมประกอบด้วยศูนย์รวมของเครือข่าย สิ่งอ�ำนวยความสะดวก
หลักเกณฑ์ตา่ ง ๆ การเตรียมการ และหน่วยเส้นหลักการคมนาคมจะเชือ่ มต่อระหว่างฐานการด�ำรง
สภาพทางยุทธศาสตร์ไปยังฐานการสนับสนุนระดับยุทธการ และจากฐานการสนับสนุนระดับ
ยุทธการไปยังรูปขบวนทางยุทธวิธี เส้นหลักการคมนาคมหลาย ๆ เส้นทางต้องการก�ำลังเพิม่ ขึน้ เป็น
อย่างมากในการรักษาความปลอดภัยต่อเส้นทางเหล่านั้น
๑๒-๕๓ การสนับสนุนและรักษาความปลอดภัยเส้นหลักการคมนาคมมีความส�ำคัญยิ่ง
ต่ อ การปฏิ บั ติ ก ารสนั บ สนุ น ทางการช่ ว ยรบ และอาจกระทบต่ อ การจั ด สรรอ� ำ นาจก� ำ ลั ง รบ
ความสามารถในการรักษาความปลอดภัยให้กับเส้นหลักการคมนาคมเป็นข้อพิจารณาที่ส�ำคัญ
ในการก�ำหนดวัตถุประสงค์ทางการยุทธ์ เส้นหลักการคมนาคมทั้งหลายต้องการการเอาใจใส่เป็น
พิเศษเฉพาะในเรื่อง การปฏิบัติการที่ไม่เป็นแนว การสลับ หรือการปฏิบัติการขัดขวางอย่างง่าย ๆ
(episodic or easily interdicted operations) นอกจากนี้การรักษาความปลอดภัยเส้นหลักการ
คมนาคมและการสนับสนุนช่วยให้มีการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพในเรื่องของระบบการแจกจ่าย
ซึ่งอ�ำนวยให้เกิดการจัดส่งสิ่งอุปกรณ์ตรงตามเวลา และขยายระยะถึงทางยุทธการ
๑๒-๕๔ สถานที่ ที่ผู้บังคับบัญชาก�ำลังรบสร้างฐานการสนับสนุนจะมีผลต่อหนทางของ
การทัพและแผนการสนับสนุน ปกติพนื้ ทีย่ ดึ อาศัย ได้รบั การจัดตัง้ ใกล้กบั ท่าเรือหรือท่าอากาศยาน
ที่ส�ำคัญ พื้นที่ดังกล่าวต้องการให้เกิดความสะดวกในการเข้าถึงอย่างง่ายเพื่อการขนส่งทางทะเล
และทางอากาศ มีพนื้ ทีเ่ พียงพอในการเก็บรักษา และการกระจาย สะดวกในการล�ำเลียงสิง่ อุปกรณ์
และง่ายต่อการเข้าถึงเส้นทางคมนาคมอื่น ๆ กุญแจส�ำคัญสู่ความส�ำเร็จในเรื่องของแผนการ
สนับสนุนทางการช่วยรบคือ ขีดความสามารถของระบบแจกจ่ายในการที่จะรับ การเก็บรักษา
การบริหารจัดการ การด�ำรงรักษา การส่งออก และการเคลื่อนย้ายวัสดุอุปกรณ์ และก�ำลังพลไปยัง
กิจกรรมและหน่วยต่าง ๆ ณ เวลาที่ถูกต้อง ระบบการแจกจ่ายที่มีประสิทธิภาพจะช่วยให้
ผูบ้ งั คับบัญชาท�ำการสร้าง และด�ำรงอ�ำนาจก�ำลังรบทีจ่ ำ� เป็นไว้สำ� หรับแต่ละขัน้ ของการปฏิบตั กิ าร
การปรับเปลี่ยนปัจจัย
๑๒-๕๕ ผู้บังคับบัญชาปรับเปลี่ยน และสร้างสมดุลต่อปัจจัยด้านการสนับสนุนทางการ
ช่วยรบบนพื้นฐานของวิสัยทัศน์และเจตนารมณ์ของผู้บังคับบัญชาเอง ผู้บังคับบัญชาสามารถ
340 บทที่ ๑๒

ส่งเสริมความสามารถในการด�ำรงสภาพ และขยายระยะถึงทางยุทธการโดยการปรับเปลีย่ นขอบเขต


ของการจัดการสนับสนุน พันธกิจบางอย่างของการสนับสนุนทางการช่วยรบสามารถเลื่อนออกไป
หรือด�ำเนินการกระท�ำในระดับที่ลดลง การท�ำเช่นนี้ระหว่างการแสดงก�ำลังรบ อาจจะอ�ำนวยให้
ก�ำลังรบท�ำการเคลื่อนเข้าไปในการไหลเวียนเข้าวางก�ำลัง ตัวอย่างเช่น การบริการการซักรีดหรือ
บริการน�ำ้ อาบ อาจจะเลือ่ นออกไปในช่วงแรกของการแสดงก�ำลังรบ แต่การท�ำเช่นนีอ้ าจท�ำให้เสีย่ ง
ต่อการเกิดโรคระบาดและมีผลเสียต่อขวัญก�ำลังใจ ผู้บังคับบัญชาพิจารณาเกี่ยวกับสิ่งดังกล่าว
เมื่อตัดสินใจว่าจะปรับเปลี่ยนขอบเขตของการสนับสนุนหรือไม่
๑๒-๕๖ ผู้บังคับบัญชาอาจปรับที่ตั้งของกิจกรรมด้านการสนับสนุนที่แน่นอนและ
สิ่งอ�ำนวยความสะดวกเพื่อการตอบสนองและความสามารถในการด�ำรงสภาพก�ำลังรบที่เพิ่มขึ้น
ในกรณี ที่ มี ร ะบบการสื่ อ สารและเครื อ ข่ า ยอั ต โนมั ติ อ� ำ นวยให้ ผู ้ บั ง คั บ บั ญ ชาอาจต้ อ งการ
หน่วยสนับสนุนการช่วยรบด�ำเนินการสนับสนุนในบางส่วนของพันธกิจ อย่างเช่น การจัดการ
ด้านการสนับสนุนทางการช่วยรบและการบริหารจัดการ ในพื้นที่ห่างไกล ไม่ว่าจะเป็นฐานทัพ
ระหว่างทาง ฐานทัพในยุทธบริเวณหลัก ที่ตั้งปกติ และภาคพื้นทวีป การปฏิบัติการฐานแยก
ช่วยลดขนาดของการวางก�ำลังด้านการสนับสนุนทางการช่วยรบ ลดความต้องการเกี่ยวกับเส้น
หลักการคมนาคม และเพิม่ ความว่องไวของก�ำลังรบ การวางต�ำแหน่งของคลัง หน่วย หรือขีดความ
สามารถอืน่ ๆ ทีจ่ ดั ให้กบั การปฏิบตั กิ ารเฉพาะเป็นอีกหนึง่ องค์ประกอบของระยะถึงในการสนับสนุน
ทางการช่วยรบ คลัง หรือหน่วยเหล่านี้อาจได้รับการจัดตั้งอยู่ในที่ตั้งปกติ ในฐานทัพระหว่างทาง
หรือพื้นที่อื่นภายในเขตยุทธบริเวณ
๑๒-๕๗ ผู้บังคับบัญชาต้องท�ำให้การใช้แหล่งทรัพยากรด้านการสนับสนุนทั้งมวลเกิด
ประโยชน์สูงสุด ปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องสามารถน�ำวัสดุอุปกรณ์มาใช้ประโยชน์ เพิ่มพูนการ
ตอบสนอง และปรับปรุงความอ่อนตัว และความสามารถในการด�ำรงสภาพการปฏิบัติการ ปัจจัย
เหล่านี้รวมถึงการจัดท�ำการใช้ประโยชน์จากการจ้างเหมาในยุทธบริเวณอย่างมีประสิทธิภาพ
การสนับสนุนจากประเทศเจ้าบ้าน และทรัพย์สินที่ท�ำการจ้างเหมา การสนับสนุนจากประเทศอื่น
และผู้ใช้ร่วมที่สนับสนุนให้ทุกเหล่าทัพในยุทธบริเวณ และยังรวมถึงการใช้ขีดความสามารถของ
ข้าราชการพลเรือนกระทรวงกลาโหม และของ ทบ. ผู้รับเหมาภาคเอกชน และขีดความสามารถ
ของระยะถึงในการสนับสนุนทางการช่วยรบ
๑๒-๕๘ การเชื่อมโยงทางดิจิตอล ของหน่วยรบ หน่วยสนับสนุนการรบ และหน่วย
สนับสนุนการช่วยรบ อ�ำนวยให้เกิดการควบคุมด้านบวกในพันธกิจการสนับสนุนทางการช่วยรบ
การผสมผสานกันของระบบเครือข่ายการแจกจ่ายที่ตอบสนองและเชื่อถือได้ สิ่งนี้จะเพิ่มพูน
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 341

ทรัพยากรทีม่ องเห็นได้ทสี่ ามารถบรรลุถงึ ระดับของการกักเก็บอย่างสูงสุดและท�ำให้ขดี ความสามารถ


ของระยะถึงในการสนับสนุนทางการช่วยรบไปถึงขีดสูงสุด ภาพการยุทธ์ร่วมกัน (ภยร.) จะช่วยให้
ผู้ปฏิบัติการด้านสนับสนุนทางการช่วยรบได้มองเห็นความต้องการล่วงหน้า และเพิ่มความมั่นใจ
ของผู้บังคับบัญชาก�ำลังรบในการปฏิบัติการด้านการสนับสนุนทางการช่วยรบ
๑๒-๕๙ การปรับเปลีย่ นปัจจัยด้านการสนับสนุนทางการช่วยรบสามารถน�ำไปสูค่ วามเสีย่ ง
เมื่อจ�ำเป็น ผู้บังคับบัญชาด�ำเนินการวิเคราะห์ความเสี่ยงเพื่อก�ำหนดว่าพันธกิจใดในด้านการ
สนับสนุนทางการช่วยรบใดที่สามารถเลื่อนออกไปได้ หรือท�ำในระดับที่น้อยลงหรือท�ำในพื้นที่
ทีเ่ ปลีย่ นแปลงไปในช่วงระยะเวลาสัน้ ๆ ในขัน้ แรก ๆ พันธกิจทีถ่ กู เลือ่ นไปสามารถได้รบั การส่งเสริม
ให้เป็นการสนับสนุนทีต่ ามมาในภายหลัง หรือทีต่ งั้ ทีว่ างไว้ลว่ งหน้ามีขดี ความสามารถทีต่ อ้ งการน�ำ
ไปใช้ในส่วนหน้า ณ ฐานทัพระหว่างทาง หรือที่ตั้งอื่น ๆ
๑๒-๖๐ ผู้บังคับบัญชาอาจปรับเปลี่ยนปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับวัสดุอุปกรณ์ที่มีใช้อยู่ ระบบ
ข้อมูลข่าวสารและการเชื่อมโยงกันช่วยเพิ่มพูนทรัพยากรที่มองเห็นได้ให้มากขึ้น เมื่อทั้งสองควบคู่
กันกับระบบแจกจ่ายอย่างมีประสิทธิภาพอ�ำนวยให้ผู้บังคับบัญชาท�ำการลดระดับการกักเก็บใน
ยุทธบริเวณ การเพิม่ สิง่ ของมูลฐานของหน่วยอาจเพิม่ ระยะถึงทางยุทธการและความสามารถในการ
ด�ำรงสภาพของหน่วย อย่างไรก็ตาม เนื่องจากความสามารถในการบรรทุกของหน่วยโดยทั่วไปจะ
คงที่ การเพิ่มจ�ำนวนของสิ่งของมูลฐานอาจลดความว่องไวของหน่วยลงได้ สิ่งนี้สามารถก�ำจัด
ออกไปได้โดยการเพิ่มทรัพยากรด้านการขนส่งให้กับหน่วย ถ้ากุญแจส�ำคัญอยู่ที่ภัยคุกคามในเรื่อง
ของการชะงักงันในระบบการแจกจ่ายและเส้นหลักการคมนาคมมากกว่าความว่องไวของหน่วย
๑๒-๖๑ ผู้บังคับบัญชาสามารถปรับเปลี่ยนการส่งก�ำลังใหม่โดยการเพิ่มการยกขน หรือ
ความถี่ในการยกขน หรือโดยการท�ำการเคลื่อนย้ายถ่ายทอด ณ จุดที่เป็นคอขวด เช่น ท่าเรือ
สนามบิน ถนน และสะพาน ผูบ้ งั คับบัญชาอาจควบคุม การจัดหาสิง่ อุปกรณ์ทสี่ ำ� คัญยิง่ โดยจัดล�ำดับ
ความส�ำคัญ และการควบคุมการใช้จ่ายและอัตราการส่งก�ำลัง พวกเขาสามารถขยายระยะถึงทาง
ยุทธการโดยการสร้างฐานปฏิบัติการส่วนหน้า และคลังพลาธิการ และโดยการปรับปรุงด้านการ
รักษาความปลอดภัยและประสิทธิภาพของเส้นหลักการคมนาคม นี้เป็นเพียงตัวอย่างเดียวว่า
การปฏิสัมพันธ์ระหว่าง ยุทธวิธี และการสนับสนุนทางการช่วยรบเป็นไปอย่างไร การได้มาซึ่งการ
ควบคุมในส่วนของศูนย์การติดต่อสื่อสาร ปมคมนาคมด้านการขนส่งและพื้นที่ฐานที่มีความจ�ำเป็น
ต่อการสนับสนุนความต้องการทรัพยากรด้านการรบของหน่วยก�ำลังรบ
342 บทที่ ๑๒

ผลกระทบของเทคโนโลยี
๑๒-๖๒ เพือ่ สร้างและด�ำรงไว้ซงึ่ อ�ำนาจก�ำลังรบ ผูบ้ งั คับบัญชาด�ำเนินการปฏิบตั กิ ารทุก
รูปแบบต้องการ การสนับสนุนทางการช่วยรบที่ตอบสนอง อ่อนตัว และเป็นหน่วยแยกสมบูรณ์ใน
ตัวเอง กุญแจส�ำคัญในการที่จะบรรลุเป้าหมายในการผสมผสานก�ำลังด้านการสนับสนุนทางการ
ช่วยรบอย่างเหมาะสมได้รับการปรับปรุงการบริหารจัดการในเรื่องของระบบข้อมูลข่าวสารและ
ระบบการแจกจ่าย ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในทรัพยากรด้านการมองเห็น การติดต่อสื่อสาร
การควบคุมและการบังคับบัญชา และวิธีการแจกจ่ายได้เพิ่มระยะถึงในการสนับสนุนทางการ
ช่วยรบ และช่วยให้ระบบการสนับสนุนสามารถท�ำการจัดเตรียมได้อย่างรวดเร็วโดยลดร่องรอย
การสนับสนุนทางการช่วยรบ ในการเพิ่มผลลัพธ์ในการส่งก�ำลังที่รวดเร็วกว่าเดิม และลดความ
ต้องการทั้งมวลส�ำหรับการสนับสนุนทางการช่วยรบในยุทธบริเวณ
๑๒-๖๓ การพัฒนาเทคโนโลยีด้านการสนับสนุนทางการช่วยรบจะท�ำให้เกิดองค์กรการ
สนับสนุนทางการช่วยรบซึ่งคือหน่วยแยกที่มีความสมบูรณ์ในตัวเองมีทรัพยากรที่มองเห็นได้
และยังตอบสนองความต้องการของผู้บังคับหน่วยสนับสนุนทางด้านการสนับสนุนทางการช่วยรบ
ได้ดีกว่าเดิม การพัฒนาด้านเทคโนโลยีมุ่งเน้นในด้านต่อไปนี้
- มีระบบอาวุธกระสุนที่มีความละเอียดแม่นย�ำและมีขนาดความกว้างปาก
ล�ำกล้องเท่ากัน
- แคร่รถในตระกูลเดียวกัน และมียุทโธปกรณ์ที่มีความน่าเชื่อถือมากขึ้น
- สนับสนุนยานพาหนะในการล�ำเลียง ขีดความสามารถในการใส่และบรรจุ
เทคโนโลยียังคงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยขึ้นกับเงินทุนและทรัพยากรที่มีอยู่
การพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ ๆ ด้านการสนับสนุนทางการช่วยรบและการทดสอบในสนามจะช่วยให้
ผู้บังคับบัญชาสามารถสร้างและด�ำรงรักษาอ�ำนาจก�ำลังรบได้เร็วและมีอ�ำนาจตัดสินชี้ขาดมากกว่า
แต่กอ่ น ผูบ้ งั คับบัญชาเตรียมการทีจ่ ะรวมพลังขีดความสามารถของเทคโนโลยีสมัยใหม่ในด้านการ
สนับสนุนทางการช่วยรบเมื่อจ�ำเป็นต้องใช้ก�ำลัง
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 343

การใช้พลังทางด้านเทคโนโลยี ในสถานการณ์จริงของการสนับสนุนทางการช่วยรบ
ในสงครามทะเลทรายช่วงต้นปี พ.ศ. ๒๕๓๓ (ค.ศ. ๑๙๙๐) ข้อมูลทางด้านการส่งก�ำลัง
บ�ำรุงส่งผ่านโดยการใช้ แผ่นดิสก์ผ่านเข้าสู่คอมพิวเตอร์ที่ตั้งอยู่ในเขตที่ห่างออกไป มันเป็น
วิธีการที่ดีมากกว่าเดิมแต่ต้องใช้เวลาและทรัพยากรมาก
ในช่วงปลายปี พ.ศ. ๒๕๓๓ (ค.ศ. ๑๙๙๐) นายทหารส่งก�ำลังบ�ำรุง ได้รบั ประโยชน์มาก
จากการก้าวกระโดดทางเทคโนโลยี ในระหว่างทีพ่ ยายามในการปฏิบตั กิ ารร่วมในปี พ.ศ. ๒๕๓๘
(ค.ศ. ๑๙๙๕) หน่วยบัญชาการทหารสื่อสารที่ ๕ ได้สร้างหุ่นยนต์ที่ใช้ในการสื่อสารซึ่งเชื่อมกับ
หน่วยสนับสนุนการช่วยรบเข้ากับฐานส่งก�ำลังบ�ำรุงในประเทศเยอรมนี ทหารฝ่ายสนับสนุนการ
ช่ ว ยรบใช้ ก ารมองเห็ น ที่ ไ ม่ ต ่ อ เนื่ อ งในการติ ด ตามสิ่ ง อุ ป กรณ์ เ ครื่ อ งมื อ และก� ำ ลั ง พล
หน่วยสนับสนุนการช่วยรบ ใช้ระบบการจัดการสารสนเทศมาตรฐานของกองทัพบกในการ
แลกเปลีย่ นข้อมูลแบบฉับพลัน เป็นครัง้ แรกทีผ่ บู้ งั คับบัญชา และนายทหารส่งก�ำลังบ�ำรุงเข้าถึง
วางแผน และสั่งการด้านการสนับสนุนทางการช่วยรบในทุกระดับของการปฏิบัติการ
ในการปฏิบัติการร่วม คลื่นความถี่วิทยุติดตามอุปกรณ์ซึ่งส่งจากภาคพื้นทวีปไปสู่เขต
ยุทธบริเวณและสามารถทีจ่ ะบอกถึงสิง่ ของทีบ่ รรจุไว้ในภาชนะบรรจุได้ มีภาชนะบรรจุอนั หนึง่
ที่ไปถึง ทาสซาประเทศฮังการีมีกลิ่นที่เป็นอันตราย อาจไม่ปลอดภัยที่จะเปิดบรรจุ ก�ำลังพล
จากหน่วยขนส่งสินค้าใช้เทคโนโลยีคลืน่ วิทยุในการอ่านป้ายและพบว่าเป็นผงของกรดแบตเตอรี่
และผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ทหารฝ่ายสนับสนุนการช่วยรบได้เปิดภาชนะนั้นอย่างระมัดระวัง
และพบว่าเป็นกล่องบรรจุกรดที่ฉีกขาดในระหว่างการขนส่ง
นอกเหนือจากคลืน่ ความถีว่ ทิ ยุ นายทหารส่งก�ำลังบ�ำรุงยังใช้ระบบป้องกันและควบคุม
ด้านการขนส่งเพือ่ ก�ำหนดต�ำแหน่งในการฝึกและป้องกันกองทหาร หน่วยนีท้ �ำให้ผบู้ งั คับบัญชา
สามารถติดตามทหารและอุปกรณ์ เพิ่มการป้องกันกองก� ำลัง และสั่งการซ�้ำในช่วงที่มีการ
เคลื่อนที่ ระยะเวลาน้อยกว่า ๕ ปีหลังจากสงครามอ่าวเปอร์เซีย ที่เทคโนโลยีมีความส�ำคัญ
ในการเพิ่มศักยภาพด้านการส่งก�ำลังบ�ำรุงเพื่อการสนับสนุนกองก�ำลังของกองทัพบกได้อย่าง
รวดเร็วและแม่นย�ำ
344 บทท้าย

บทท้าย
คณะอนุกรรมการพิจารณาและจัดท�ำร่างหลักนิยม รส. ๓-๐ ว่าด้วย การปฏิบัติการยุทธ
ของกองทัพบก ได้รับการแต่งตั้งโดย จก.ยศ.ทบ./ประธานคณะกรรมการปรับปรุงพัฒนาหลักนิยม
และยุทธศาสตร์ของ ทบ. ตามค�ำสั่งคณะกรรมการปรับปรุงพัฒนาหลักนิยมและยุทธศาสตร์ของ
ทบ. ที่ ๓/๒๕๕๕ ลงวันที่ ๒๕ เม.ย. ๕๕ มีองค์ประกอบ ดังนี้
๑. พล.ต.ธนากร ทองศุข ประธานอนุกรรมการ (ผอ.ศพย.ยศ.ทบ.)
๒. พ.อ.สรชัช วรปัญญา รอง ประธานอนุกรรมการ (รอง ผอ.ศพย.ยศ.ทบ.)
๓. พ.อ.พชรวัฒน์ ธนพรานสิงห์ อนุ ก รรมการ/ผู ้ แ ทน วทบ. (ผช.อจ.อ� ำ นวยการ
ส่วน วทบ.)
๔. พ.อ.วรยุทธ อ้นเพียร อนุกรรมการ/ผู้แทน รร.สธ.ทบ. (อจ.หก.รร.สธ.ทบ.)
๕. พ.อ.ศักดิ์เสมา พงศ์กลัด อนุกรรมการ/ผู้แทน กพ.ทบ. (ฝสธ.ประจ�ำ กพ.ทบ.)
๖. พ.อ.วัชรวิทย์ ณรงค์พันธุ์ อนุกรรมการ/ผู้แทน ขว.ทบ. (ผอ.กศ.รร.ขว.ทบ.)
๗. พ.อ.ทรงพล รัตนโกเศรษฐ อนุกรรมการ/ผูแ้ ทน ยก.ทบ. (นปก. ประจ�ำ ยก.ทบ.)
๘. พ.อ.ธนภูมิ ดวงแก้ว อนุกรรมการ/ผู้แทน กบ.ทบ. (รอง ผอ.กอง กบ.ทบ.)
๙. พ.อ.ณัฎฐพล ดิษยบุตร อนุกรรมการ/ผู้แทน กร.ทบ. (รอง ผอ.กนผ.กร.ทบ.)
๑๐. พ.อ.ไพบูลย์ คุม้ กลิน่ วงษ์ อนุกรรมการ/ผูแ้ ทน สปช.ทบ. (นปก. ประจ�ำ สปช.ทบ.)
๑๑. พ.อ.สามารถ คงสาย อนุกรรมการ/ผู้แทน ศร. (รอง ผอ.กวก.ศร.)
๑๒. พ.อ.ณัฏฐชัย บุญมาก อนุกรรมการ/ผู้แทน ศม. (รอง ผอ.กวก.ศม.)
๑๓. พ.อ.อ�ำภรณ์ คงนวล อนุกรรมการ/ผู้แทน ศป. (หน. วิชาการ กวก.ศป.)
๑๔. พ.อ.สัมพันธ์ ทับเพ็ชร อนุกรรมการ/ผู้แทน ศสพ. (หน.ผวช.ศสพ.)
๑๕. พ.ท.เฉลิมพล สุขศรี อนุกรรมการ/ผู้แทน กช. (รอง ผอ.กวก.กช.)
๑๖. พ.อ.บงกช ศรีสังข์ อนุกรรมการ/ผู้แทน สส. (อจ.หน.วสว.รร.ส.สส.)
๑๗. พ.อ.อิสระ สมัย อนุ ก รรมการ/ผู ้ แ ทน กยข.ยศ.ทบ. (หน.แผนก
กยข.ยศ.ทบ.)
๑๘. พ.อ.วิสันต์ ทองอร่าม อนุกรรมการ/ผูแ้ ทน กศ.ยศ.ทบ. (รอง ผอ.กศ.ยศ.ทบ.)
๑๙. พ.อ.พลวุฒ ล�ำเจียก อนุกรรมการ/ผูแ้ ทน กฝ.ยศ.ทบ. (รอง ผอ.กฝ.ยศ.ทบ.)
๒๐. พ.อ.สุรตั แสงสว่างด�ำรง อนุกรรมการ/เลขานุการ (ผอ.กพล.ศพย.ยศ.ทบ.)
๒๑. พ.อ.กฤตติภูมิ หอมหวล อนุกรรมการ/ผู้ช่วยเลขานุการ (รอง ผอ.กพล.ศพย.
ยศ.ทบ.)
คู่มือราชการสนาม ๓-๐ ว่าด้วยการปฏิบัติการยุทธ์ของกองทัพบก 345

มีการด�ำเนินการและอ�ำนาจหน้าที่
๑. อ�ำนาจหน้าที่ พิจารณา แก้ไข เพิ่มเติม ปรับปรุง เนื้อหาร่างหลักนิยมหลัก รส. ๓-๐
ว่าด้วย การปฏิบัติการยุทธ์ของ ทบ. ว่ามีความเหมาะสมส�ำหรับใช้กับ ทบ. ไทย สามารถน�ำมาใช้
เป็นกรอบแนวทางให้หน่วย/เหล่าสายวิทยาการที่เกี่ยวข้องพัฒนาเป็นหลักนิยมของเหล่าได้ และ
เสนอให้ จก.ยศ.ทบ./ประธานคณะกรรมการปรับปรุงพัฒนาหลักนิยม และยุทธศาสตร์ของ ทบ.
น�ำเรียน ผบ.ทบ. (ผ่าน ยก.ทบ.) พิจารณาเพื่อประกาศใช้เป็นหลักนิยมของ ทบ.
๒. ให้ประธานอนุกรรมการพิจารณาและจัดท�ำร่างหลักนิยมหลัก รส. ๓-๐ ว่าด้วย การ
ปฏิบัติการยุทธ์ของ ทบ. มีอ�ำนาจเชิญผู้แทนหน่วยที่เกี่ยวข้องหรือบุคคลอื่น ๆ เข้าร่วมประชุมได้
ตามความเหมาะสม
หมายเหตุ ระหว่างการด�ำเนินการพิจารณาจัดท�ำร่างหลักนิยม รส. ๓-๐ ว่าด้วย การปฏิบตั กิ ารยุทธ
ของกองทัพบก ได้ปรับเปลี่ยนคณะอนุกรรมการฯ ในต�ำแหน่งส�ำคัญสองต�ำแหน่งดังนี้
๑. ต�ำแหน่ง ประธานอนุกรรมการ เปลีย่ นจาก พล.ท.ไพรัช ขยันส�ำรวจ (ผอ.ศพย.ยศ.ทบ.
เดิม) เป็น พล.ต.ธนากร ทองศุข (ด�ำรงต�ำแหน่งเดิม รอง ผบ.รร.สธ.ทบ. และเป็น ผู้แทน รร.สธ.
ทบ.) เนื่องจากปรับย้ายมาด�ำรงต�ำแหน่ง ผอ.ศพย.ยศ.ทบ.
๒. ต�ำแหน่ง รอง ประธานอนุกรรมการ เปลี่ยนจาก พ.อ.ยุทธ์นเรศ พัทธะเศรษฐี
(รอง ผอ.ศพย.ยศ.ทบ. เดิม) เป็น พ.อ.สรชัช วรปัญญา (ด�ำรงต�ำแหน่งเดิม รอง ผบ.วทบ.) เนือ่ งจาก
ปรับย้ายมาด�ำรงต�ำแหน่ง รอง ผอ.ศพย.ยศ.ทบ.
๓. ต�ำแหน่ง อนุกรรมการ/ผู้แทน รร.สธ.ทบ. เปลี่ยนจาก พล.ต.ธนากร ทองศุข
(รอง ผบ.รร.สธ.ทบ. เดิม) เป็น พ.อ.วรยุทธ อ้นเพียร เนื่องจากแทน พล.ต.ธนากร ทองศุข

You might also like