Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 86

รายงาน

เรื่อง รายละเอียดงานก่อสร้างที่ข้าพเจ้าสนใจ

จัดทำโดย
นางสาว ญานิศา แสนประสิทธิ์ รหัส 65710485

เสนอ
รองศาสตราจารย์ ศุภกิจ ยิม้ สรวล

รายงานเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา 701234 โครงสร้างและระบบอาคาร 2


ภาควิชาสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ศิลปะและการออกแบบ
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566
มหาวิทยาลัยนเรศวร

คำนำ
รายงานเล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของรายวิชา701234 โครงสร้างและระบบอาคาร 2 ภาควิชา
สถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ศิลปะและการออกแบบ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 เพื่อให้ได้
ศึกษาหาความรู้ในเรื่องรายละเอียดและขั้นตอนในการก่อสร้างอาคารและได้ศึกษาอย่างเข้าใจเพื่อเป็นประโยชน์กับ
การเรียนต่อไป

ผู้จัดทำหวังว่า รายงานเล่มนี้จะเป็นประโยชน์กับผู้อ่าน หรือนักเรียน นักศึกษา ที่กำลังหาข้อมูลเรื่องนี้อยู่


หากมีข้อแนะนำหรือข้อผิดพลาดประการใด ผู้จัดทำขอน้อมรับไว้และขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย

ญานิศา แสนประสิทธิ์ 65710485


วันที่ 18 ตุลาคม 2566

สารบัญ
เรื่อง หน้า
คำนำ..........................................................................................................................................................................ก
สารบัญ......................................................................................................................................................................ข
สารบัญภาพ................................................................................................................................................................ง
บทที่ 1 บทนำ...........................................................................................................................................................1
1. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการก่อสร้าง.....................................................................................................1
1.1 ประเภทของโครงการก่อสร้าง........................................................................................................1
1.2 ชนิดของงานก่อสร้าง......................................................................................................................2
1.3 ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในโครงงานก่อสร้างโดยตรง.................................................................................3
1.4 ขั้นตอนสำคัญในการสร้างอาคารอย่างมีมาตรฐาน.........................................................................4
1.5 อุปกรณ์ที่ใช้ในงานก่อสร้าง.............................................................................................................8
บทที่ 2 การฉาบสกิมโค้ท (Skim coat)..................................................................................................................16
1. ปัญหาผนังแตกลายงา รูพรุนตามดเกิดจากอะไร................................................................................16
2. ประเภทงานที่เหมาะสมสำหรับการใช้วิธีสกิมโค้ท..............................................................................16
3. ขั้นตอนสำหรับวิธีฉาบสกิมโค้ทผนัง ปิดรอยแตกลายงา......................................................................17
4. ผลิตภัณฑ์สกิมโค้ทในปัจจุบัน.............................................................................................................18
บทที่ 3 ลวดตาข่ายงานฉาบผนัง ลวดตาข่ายกันกำแพงร้าว....................................................................................24
1. ขนาดของลวดตาข่ายฉาบผนัง...........................................................................................................24
2. ขนาดของลวดตาข่ายฉาบผนังที่นิยมใช้..............................................................................................24
3. ข้อดีของลวดตาข่ายฉาบผนัง..............................................................................................................24
4. คุณสมบัติของลวดตาข่ายฉาบผนัง.....................................................................................................25
5. การติดตั้งลวดตาข่ายฉาบผนัง............................................................................................................26
บทที่ 4 ระบบโครงสร้าง Pre-Cast Concrete………………………………………………………..…………………………………31
พรีคาสท์คอนกรีต หรือ Pre-cast Concrete คือ……….………………………………………………………….………31
1. ข้อดีของ Precast Concrete............................................................................................................31
2. ข้อเสียของ Precast Concrete.........................................................................................................32
3. ภายในผนัง Precast คืออะไร...........................................................................................................34
4. รอยต่อชิ้นส่วนของระบบ Pre-Cast...................................................................................................34
5. เปรียบเทียบ Precast กับ ก่ออิฐฉาบปูน...........................................................................................36

สารบัญ (ต่อ)
เรื่อง หน้า
บทที่ 5 การวางท่อ Sleeve ผ่านคาน.....................................................................................................................43
1. การวางท่อ Sleeve ผ่านคาน................................................................................................................43
2. ส่วนประกอบของSleeve......................................................................................................................44
3. หลักการทั่วไปในการทำช่องเปิดคานสำหรับวาง Sleeve.....................................................................45
4. ข้อแนะนำทั่วไปในการเลือกขนาดและตำแหน่งของช่องเปิดในคาน.....................................................46
5. แบบรายละเอียดการเสริมเหล็ก...........................................................................................................46
บรรณานุกรม..........................................................................................................................................................47

สารบัญภาพ
ภาพที่ หน้า
1. สายวัดเหล็ก...............................................................................................................................................8
2. ลูกดิ่ง.........................................................................................................................................................8
3. เส้นชอร์ค..................................................................................................................................................9
4. เลื่อยชนิดต่างๆ............................................................................................................................................9
5. คัตเตอร์.....................................................................................................................................................9
6. คีม..........................................................................................................................................................10
7. เครื่องตัดลวด..........................................................................................................................................10
8. เกรียง......................................................................................................................................................10
9. เครื่องผสมคอนกรีต ...............................................................................................................................11
10. รถยก......................................................................................................................................................11
11. รอก........................................................................................................................................................11
12. สว่าน......................................................................................................................................................12
13. ค้อนทุบ...................................................................................................................................................12
14. ค้อนไฟฟ้า...............................................................................................................................................12
15. เครื่องตัดกระเบื้อง..................................................................................................................................13
16. เครื่องเซาะร่อง........................................................................................................................................13
17. เครื่องปาดปูน..........................................................................................................................................13
18. หมวกนิรภัย.............................................................................................................................................14
19. แว่นตานิรภัย............................................................................................................................................14
20. ถุงมือนิรภัย..............................................................................................................................................14
21. รองเท้านิรภัย...........................................................................................................................................15
22. เข็มขัดนิรภัย...............................................................................................................................................15
23. ทีโอเอ 101 เดเคอร์พลาส........................................................................................................................18
24. ทีโอเอ 102 ดี โค้ท...................................................................................................................................19
25. โฟร์ซีซั่น ดีโค้ท..........................................................................................................................................20
26. ทีโอเอ 110 สกิมโค้ท สมูท.......................................................................................................................20
27. ทีโอเอ สกิมโค้ท...........................................................................................................................................21
28. จระเข้สกิมโค้ทสมูท....................................................................................................................................22
29. จระเข้สกิมโค้ทสมูทเกเตอร์.......................................................................................................................22
30. จระเข้สกิมโค้ทแซนด์..............................................................................................................................23

สารบัญภาพ (ต่อ)
ภาพที่ หน้า
31. จระเข้สกิมโค้ทแซนด์เกเกอร์...............................................................................................................23
32. ลวดตาข่ายสี่เหลี่ยมชุบสังกะสี หรือลวดตาข่ายฉาบผนัง.....................................................................25
33. การเชื่อมเหล็กเส้น(หนวดกุ้ง)..............................................................................................................26
34. การเตรียมงานผนังสำหรับโครงสร้างเสาเหล็ก....................................................................................26
35. การทำให้ปูนฉาบสามารถยึดเกาะกับผิวของเหล็กได้..........................................................................27
36. ป้ายปูนฉาบก่อนปูตะแกรงลวด...........................................................................................................27
37. การฉาบผนัง........................................................................................................................................28
38. จับเฟี้ยมตามมุมเสาและผนังให้ได้ฉากก่อนฉาบ..................................................................................28
39. การใส่ตะแกรงลวด ทับรอยต่อในส่วนต่างๆ.......................................................................................29
40. การเติมอิฐในร่องเสาหรือคาน เสร็จแล้วสลัดปูนผสมน้ำยาประสานคอนกรีตที่ผิวเหล็ก.....................29
41. ตัวอย่างการติดตั้งตาข่ายฉาบผนัง......................................................................................................30
42. ภาพระหว่างการผลิต Pre-cast Concrete........................................................................................31
43. ภาพระหว่างการขนส่ง Pre-cast Concrete......................................................................................32
44. ภาพระหว่างการติดตั้ง Pre-cast Concrete......................................................................................33
45. ภาพแสดงรอยต่อ Pre-cast Concrete แบบใช้บังใบ + ยาแนวด้วยกาว PU....................................35
46. ภาพแสดงระบบ Pre-cast Concrete แบบผนังรับน้ำหนักและแบบเสา-คาน..................................35
47. ภาพแสดงรอยต่อ Pre-cast Concrete แบบใช้ปูน Non – Shrink..................................................36
48. ภาพแสดงการเปรียบเทียบด้านการก่อสร้าง ผนัง Precast VS ผนังอิฐแดงฉาบปูน...........................36
49. ภาพแสดงการเปรียบเทียบด้านค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง ผนัง Precast VS ผนังอิฐแดงฉาบปูน........37
50. ภาพแสดงการเปรียบเทียบด้านความแข็งแกร่ง ทนทาน ผนัง Precast VS ผนังอิฐแดงฉาบปูน........38
51. ภาพแสดงการเปรียบเทียบด้านการกันเสียง ผนัง Precast VS ผนังอิฐแดงฉาบปูน...........................38
52. ภาพแสดงการเปรียบเทียบด้านการอมความร้อน ผนัง Precast VS ผนังอิฐแดงฉาบปูน...................39
53. ภาพแสดงการเปรียบเทียบด้านการรั่วซึม ผนัง Precast VS ผนังอิฐแดงฉาบปูน...............................40
54. ภาพแสดงการเปรียบเทียบด้านการทุบ เจาะและต่อเติม ผนัง Precast VS ผนังอิฐแดงฉาบปูน.......40
55. ภาพแสดงการเปรียบเทียบด้านการตกแต่งผนัง ผนัง Precast VS ผนังอิฐแดงฉาบปูน.....................41
56. ภาพแสดงการเปรียบเทียบด้านการตกแต่งผนัง ผนัง Precast VS ผนังอิฐแดงฉาบปูน2...................41
57. ภาพแสดงส่วนประกอบของ Sleeve.................................................................................................44
58. ภาพแสดงช่องเปิดขนาดเล็กบริเวณคาน............................................................................................45
59. ภาพแสดงตำแหน่งของช่องเปิดในคาน..............................................................................................45
60. ภาพแสดงรายละเอียดการเสริมเหล็กในคานมีช่องเปิด.....................................................................46
1

บทที่ 1

บทนำ

จุดประสงค์
1. เพื่อให้เข้าใจลักษณะและรายละเอียดการก่อสร้าง
2. เพือ่ ให้รู้จักวัสดุ อุปกรณ์ บางอย่างที่ใช้ในการก่อสร้าง การเก็บรายละเอียดงานต่างๆ
บทนำ
เนื้อหาในรายงานนี้จะทำให้ผู้อ่านหรือผู้ที่สนใจได้รู้จักรายละเอียดการก่อสร้างต่างๆที่น่าสนใจ ผู้อ่านจะได้
ศึกษาถึงขั้นตอนการก่อสร้าง และได้รู้ว่ามีรายละเอียดใดบ้างที่น่าสนใจในการก่อสร้างอาคาร ที่ช่างไทยใช้กันใน
ปัจจุบัน เช่น การก่อรางน้ำขึ้นข้างที่ดิน เพื่อใช้ในการระบายน้ำ และยังใช้กันแรงดันดินไปที่รอบข้างได้อีกด้วย การ
ฉาบสกิมโค้ท (Skim coat) ด้วยเม็ดทรายละเอียดที่ร่อนแล้ว ช่วยปิดรอยเจาะต่างๆที่ไม่เรียบร้อย

1. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการก่อสร้าง
การก่อสร้าง (construction) คือกิจกรรมหรือการกระทำที่ทำให้เกิด การประกอบหรือการติดตั้ง ให้เกิด
เป็นอาคาร โครงสร้าง ระบบสาธารณูปโภค หรือส่วนประกอบของสิ่งที่กล่าวข้างต้น และมักจะหมายถึงงาน
ทางด้านโยธาเป็นส่วนใหญ่
การก่อสร้างเป็นการปฏิบัติวิชาชีพแขนงหนึ่ง ซึ่งประกอบด้วยงานไม้ งานคอนกรีต งานปูนก่อฉาบ งาน
เหล็ก ช่างซึ่งปฏิบัติงานในงานแขนงนัน้ ๆ ก็จะเรียกตามประเภทของงานนั้นๆ เช่น ช่างไม้ ช่างปูน ฯลฯ คำที่เรียก
โดยรวมก็คือ ช่างก่อสร้าง และผู้ที่มีอาชีพลงทุนรับจ้างทำงานก่อสร้างจะเรียกทั่วๆ ไปว่า ผู้รับเหมา
ผู้รับเหมาก่อสร้างที่จดทะเบียนในรูปแบบนิติบุคคล จะมีชื่อเรียกโดยทั่วไปว่า บริษัทรับสร้างบ้าน
1.1 ประเภทของโครงการก่อสร้าง
ประเภทของงานก่อสร้าง แบ่งได้ทั่วไป 4 ประเภท
1. ประเภทที่อยู่อาศัย
2. ประเภทที่ใช้ในด้านอุตสาหกรรม
3. ประเภทที่ใช้ในเชิงพาณิชย์
2
4. ประเภทงานโยธาเพื่อใช้ในส่วนสาธารณูปโภค
เนื่องจากที่อยู่อาศัยกลายเป็นปัจจัยที่มีความสำคัญสำหรับการดำรงชีพของมนุษย์ ความก้าวหน้า
ทางด้านเทคโนโลยีจึงมีนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อนำมาใช้พัฒนาในส่วนของงานก่อสร้างมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง
การก่อสร้างแต่ละโครงการ ผู้รับเหมาก่อสร้างย่อมต้องมีองค์ความรู้ต่างๆ หลายด้าน และองค์
ความรู้ที่นับว่าจำเป็นได้แก่ เทคโนโลยีของการก่อสร้างที่เกี่ยวข้องกับวิธีและขั้นตอนของการก่อสร้าง
เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยที่จะช่วยปรับเปลี่ยนสิ่งที่สถาปนิกหรือวิศวกรเขียนแบบและรายการก่อสร้าง
จนกลายมาเป็นสิ่งปลูกสร้างขึ้นอย่างสมบูรณ์แบบต่อไป ดังนั้น นับว่าจำเป็นอย่างมากที่ทาง
ผู้รับเหมาก่อสร้างจะต้องเรียนรู้เกี่ยวกับด้านเทคโนโลยีในการก่อสร้างต่างๆ อย่างครบวงจร

1.2 ชนิดของงานก่อสร้าง
โดยทั่วไป งานก่อสร้างมักหมายถึง งานด้านวิศวกรรมโยธา ซึ่งมีหน้าที่ทำงานครอบคลุมเกี่ยวกับ
งานด้านก่อสร้างทั้งหมด ตั้งแต่งานก่อสร้างระดับขนาดเล็กๆ ไปจนกระทั่งถึงงานก่อสร้างระดับที่
มีขนาดใหญ่ โดยงานก่อสร้างนั้นจะสามารถแบ่งออกไปตามประเภทงานได้ดังนี้
• งานอาคาร
เป็นงานก่อสร้างที่ประกอบด้วยชิ้นส่วนต่างๆ ได้แก่ พื้น คาน ฐานราก เสา ประตู หน้าต่าง
กำแพงและหลังคา โดยยังรวมไปถึงงานในด้านระบบไฟฟ้า ระบบประปา ระบบปรับอากาศ
ระบบสุขาภิบาล ระบบตกแต่งภายใน ลิฟต์และอุปกรณ์อื่นๆ ที่ใช้งานในอาคาร ยกตัวอย่าง
งานอาคาร เช่น งานก่อสร้างบ้านหรือที่พักอาศัย ห้างสรรพสินค้า โรงงาน โรงแรม
คอนโดมิเนียม ฯ สำหรับงานอาคารจะสามารถแบ่งเป็นประเภทย่อย ๆ ออกได้ดังนี้
• อาคารสูง เป็นอาคารที่มีระดับความสูงโดยจำเป็นจะต้องใช้อุปกรณ์พิเศษเพื่อการ

ก่อสร้าง เช่น ลิฟต์ ปั้นจั่น และนั่งร้านสำหรับแบบหล่อคอนกรีต เป็นต้น


• อาคารสำเร็จรูป เป็นอาคารที่จะประกอบไปด้วยชิ้นส่วนต่างๆ โดยอาจจะทำมาจาก

คอนกรีตหรือเหล็ก แต่โดยทั่วไปแล้วมักจะทำจากโรงงาน การประกอบอาคารก็


มักจะนิยมใช้เครื่องจักรที่มีขนาดใหญ่ในการช่วยยกติดตั้ง
• บ้านพักอาศัย เป็นอาคารที่มีขนาดเล็กและเบา เพราะโดยทั่วไปมักจะมีระดับความ

สูง 1-2 ชั้น


• อาคารที่พักชั่วคราว อันได้แก่ ที่พักคนงานหรือสถานที่ทำการในระยะชั่วคราวเพื่อ

ใช้สำหรับการบริหารโครงการ
3

• งานวิศวกรรมโยธา (Civil Engineering work)


งานวิศวกรรมโยธา ได้แก่ งานด้านถนน ทางหลวง สะพาน งานวางท่อประปา งานอาคารใต้
ดิน งานเขื่อน งานก่อสร้างท่าเทียบเรือ ฯ โดยงานโยธา เป็นงานที่จะต้องใช้เครื่องจักรหนักๆ
เป็นอุปกรณ์หลักในการทำงาน เพราะมีปริมาณของงานมาก ขอบเขตหรือพื้นที่ในการ
ปฏิบัติงานยังค่อนข้างกว้าง ลึกหรือทั้งกว้างและลึก ลักษณะของแรงงานที่ใช้ก็จะใช้พลังงาน
ในรูปของแรงอัด แรงสั่นสะเทือน แรงดัน แรงกระแทก แรงเหวี่ยง

• โรงงานอุตสาหะกรรมและงานโรงไฟฟ้า (Process and Power Plant)


เป็นงานที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิต อย่างเช่น โรงงานปิโตรเคมี โรงกลั่นน้ำมัน โรงงาน
ปูนซีเมนต์ โรงงานโม่หนิ ฯ โดยค่าก่อสร้างจะได้มาจากค่าสร้างระบบเสียส่วนใหญ่
• งานก่อสร้างประเภทอื่นๆ
นอกจากงานทั้ง 3 ประเภทแรกแล้วนั้น ยังมีงานในประเภทอื่นๆ เช่น งานรื้อถอน งานก่อสร้าง
แท่นเจาะสูบก๊าซธรรมชาติ และงานน้ำมันดิบในทะเล และระบบกำจัดขยะแบบอื่นๆ

1.3 ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในโครงงานก่อสร้างโดยตรง
• ผู้ลงทุน
• สถาปนิก
สถาปนิก คือบุคคลผู้เกี่ยวข้องในการออกแบบ และ วางแผน ในการก่อสร้าง หรือที่เรียกว่า
งานสถาปัตยกรรม โดยสถาปนิก จะเป็นผู้ที่เข้าใจในมาตรฐานการก่อสร้างของอาคาร เข้าใจ
ถึงหน้าที่ใช้สอยของอาคารนั้น รวมถึงวัสดุที่จะนำมาเป็นส่วนประกอบของสิ่งก่อสร้างนั้น
สถาปนิกจำเป็นต้องได้รับการศึกษาทางสถาปัตยกรรมศาสตร์ และได้รับใบอนุญาตประกอบ
วิชาชีพสถาปัตยกรรม ถึงจะสามารถทำงานในวิชาชีพสถาปนิกได้ ซึ่งคล้ายกับการทำงานใน
สาขาวิชาชีพอื่น
4

• วิศวกร
วิศวกร คือผู้ที่ประกอบอาชีพทางด้านวิศวกรรม มีหน้าที่ ศึกษาวิเคราะห์ คำนวณ ออกแบบ
ตรวจสอบแก้ไขปัญหาและควบคุมการผลิต อาทิ การก่อสร้างสิ่งก่อสร้าง การออกแบบและ
ผลิตรถยนต์ การควบคุมเครื่องจักรกลโรงงานต่าง ๆ โดยวิศวกรยังแบ่งออกได้เป็นหลาย
สาขา เช่น วิศวกรโยธา วิศวกรเครื่องกล วิศวกรไฟฟ้า วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม วิศวกรรมเคมี
วิศวกรรม อุตสาหการ วิศวกรรมโทรคมนาคม วิศวกรรมเกษตร วิศวกรรมอากาศยาน
วิศวกรรมการขนถ่ายวัสดุ วิศวกรรมโลหการ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมเซรามิก
วิศวกรรมเหมืองแร่ วิศวกรรมยานยนต์ วิศวกรรมธรณี ฯลฯ
• ผู้รับเหมา
ผู้รับจ้างก่อสร้าง หรือชื่อเรียกทั่วไปว่า ผู้รับเหมา (contractor) หมายถึง ผู้ชนะการประกวด
ราคา หรือผู้ที่เจ้าของงาน (ผู้ว่าจ้าง) เลือกให้เป็นผู้ทำงานก่อสร้างตามที่ระบุไว้เอกสารสัญญา
ผู้รับจ้างก่อสร้างจะต้องปฏิบัติงานทุกอย่างให้เป็นไปตามเอกสารสัญญา ด้วยวัสดุและฝีมือ
แรงงาน ตามที่กำหนดไว้ในเอกสารสัญญา โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องเป็นไปตาม ข้อกำหนดทาง
เทคนิค และแบบ

1.4 ขั้นตอนสำคัญในการสร้างอาคารอย่างมีมาตรฐาน
1.4.1 มาตรฐานที่งานสร้างบ้านควรมี
o มาตรฐานงานโครงสร้าง เป็นมาตรฐานของวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้าง ซึ่งเป็น
ตัวกำหนดสเปกวัสดุที่ใช้ ทั้งคุณภาพของวัสดุที่ต้องผ่าน ม.อ.ก. มีความเหมาะสมกับ
ประเภทงาน พร้อมกำหนดคุณสมบัติวัสดุ การใช้ และวิธีการติดตั้งไว้อย่างชัดเจน
o มาตรฐานสถาปัตยกรรม เป็นการตรวจสอบคุณภาพงานสถาปัตยกรรม ซึ่งต้องทำ
ทั้งก่อน ระหว่าง และภายหลังสร้างบ้าน เพื่อให้ปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน
ตามข้อกำหนด และป้องกันข้อผิดพลาดภายหลัง
5

1.4.2 ขั้นตอนสำคัญในการสร้างอาคาร
1. เตรียมพื้นที่สร้างบ้าน
เมื่อเลือกแบบบ้านและบริษัทรับสร้างบ้านแล้ว ขั้นตอนแรกที่ต้องทำก่อนก่อสร้างบ้าน
คือการเตรียมพื้นที่สร้างบ้าน โดยทีมบริษัทรับสร้างบ้านจะเริ่มลงพื้นที่หน้างาน เพื่อ
ดำเนินการต่างๆ ให้พร้อมสำหรับการก่อสร้างบ้าน เช่น
• ตรวจสอบระดับดินไม่ให้อยู่ในระดับต่ำเกินไป รวมถึงความแข็งของเนื้อดินเพื่อ

ป้องกันปัญหาดินทรุดภายหลัง
• ตรวจสอบระยะร่นให้ถูกต้องตามเทศบัญญัติ

• กำหนดจุดกองเก็บอุปกรณ์และวัสดุสำหรับงานก่อสร้าง รวมถึงเตรียมที่พักคนงาน

กรณีคนงานไม่ได้พกั อาศัยใกล้ที่ก่อสร้าง
• กรณีมีบ้านหลังเก่าอยู่ต้องทำการรื้อถอนออกก่อน

• หากเป็นที่ดินเปล่ายังไม่มีสิ่งปลูกสร้างใดๆ มาก่อน ก็ต้องดำเนินการในเรื่องการขอ

น้ำ-ไฟฟ้า ชั่วคราว สำหรับใช้ในงานก่อสร้าง


2. กำหนดผังอาคาร
ในขั้นตอนนี้เกิดขึ้นเมื่อจัดเตรียมพื้นที่สร้างบ้านเรียบร้อยแล้ว โดยการวางผัง
อาคารจะเป็นการกำหนดตำแหน่งต่างๆ ของเสาเข็ม ซึ่งจะอ้างอิงจากแบบบ้านเพื่อให้
ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับงานก่อสร้างเข้าใจตรงกัน ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของบ้าน สถาปนิก
วิศวกร และทีมก่อสร้าง
ในขัน้ ตอนนี้จะทำให้เห็นถึงปัญหาและอุปสรรคหน้างาน ไม่ว่าจะเป็นแนวต้นไม้
ใหญ่ แนวเสาเข็มของบ้านหลังเก่า หรือตำแหน่งของอาคารที่อยู่ใกล้เคียงและมีผลกับตัว
บ้าน ซึ่งขั้นตอนนี้อาจมีผลให้เกิดการปรับแบบหรือการแก้ไขต่างๆ ที่จะดำเนินการได้
ต้องมีผู้ออกแบบบ้านเซ็นชื่อรับรองและเจ้าของบ้านรับทราบและยอมรับเพื่อให้งานใน
ขั้นตอนต่อไปเป็นไปอย่างราบรื่น ไม่มีปญ ั หาเรื่องการรื้อแบบภายหลัง

3. การลงเสาเข็ม
ในขั้นตอนนี้ก่อนลงเสาเข็มต้องเลือกก่อนว่าจะเลือกลงเสาเข็มตอกหรือเสาเข็ม
เจาะ ซึ่งทั้ง 2 แบบมีข้อแตกต่างกันคือ
• เสาเข็มตอก เป็นที่นิยมเพราะมีความซับซ้อนของงานน้อย ราคาถูกกว่า

ตรวจสอบความแข็งแรงและความสมบูรณ์ได้ง่าย โดยการตอกจะใช้เครื่องจักรที่
เรียกกันว่าปั้นจั่น ตอกเสาเข็มลงไปในดิน ให้ได้ระดับความลึกตามกำหนด
เหมาะสำหรับพื้นที่ห่างไกลชุมชนหรือบ้านข้างเคียง
6

• เสาเข็มเจาะ เป็นเสาเข็มที่ต้องเทคอนกรีตหล่อเสาหน้างาน โดยจะใช้


เครื่องจักรเจาะดินลงไปให้ลึกตามแบบ จากนั้นหย่อนแม่แบบเหล็กลงไปพร้อม
วางโครงสร้างเหล็กของเข็มก่อนเทคอนกรีตตาม แล้วรอให้คอนกรีตเซตตัว
เสาเข็มแบบนี้จะทำให้เกิดมลภาวะน้อย ทำงานในพื้นที่จำกัดได้สะดวกกว่า
แรงสั่นสะเทือนน้อย แต่ราคาสูงกว่า เหมาะกับบ้านที่มีทางเข้าแคบ ๆ หรือมี
บ้านข้างเคียง
เมื่อเลือกแบบเสาเข็มได้แล้วการขุดเจาะจะดำเนินการตามผังที่วางไว้ โดย
ทีมงานจะเก็บข้อมูลทางวิศวกรรม ดูกำลังรับน้ำหนักและความลึกของเสาเข็ม ข้อสำคัญ
คือการจะลงเสาเข็มทุกต้นต้องมีผู้เชี่ยวชาญคอยควบคุมและตรวจสอบความแข็งแรงให้
ตรงตามหลักวิศวกร เพื่อให้งานสร้างนั้นมีมาตรฐาน
4. งานฐานรากและโครงสร้างชั้นล่าง-ชั้นบน
เมื่องานเสาเข็มเรียบร้อยแล้ว จะเข้าสู่ขั้นตอนของงานโครงสร้างฐานราก ที่
ประกอบด้วยฐานรากและตอม่อ จากนั้นจึงจะต่อด้วยขั้นตอนของโครงสร้างชั้นล่าง ซึ่ง
จะเกี่ยวข้องกับส่วนของคาน คานคอดิน เสา พื้น
ส่วนโครงสร้างชั้นบนจะเกี่ยวข้องกับเสา คาน คานหลังคา รวมถึงการหล่อ
ชิ้นส่วนต่างๆ ทั้งบัว กันสาด หรือขอบปูน ซึ่งแต่ละส่วนต้องใช้เวลาให้คอนกรีตเซตตัว
ก่อน แล้วจึงจะขึ้นโครงหลังคา ซึ่งปัจจุบันโครงหลังคามีหลากประเภท เช่น โครงหลังคา
เหล็ก โครงหลังคาสำเร็จรูป
นอกจากนี้ยังมีส่วนของงานวางระบบสุขาภิบาล เช่น บ่อพัก ถังเก็บน้ำใต้ดิน
ระบบน้ำทิ้ง ท่อประปา ซึ่งจะเป็นการขุดดินเพื่อวางระบบ และดำเนินการติดตั้งให้เสร็จ
สมบูรณ์ ดังนั้นหากทีมสร้างบ้านไม่ได้ทำข้อมูลตำแหน่งต่างๆ ไว้ เจ้าของบ้านควรถ่ายรูป
และจดบันทึกรายละเอียดตำแหน่งๆ และระยะของงานระบบไว้ เพื่อใช้เป็นข้อมูลอ้างอิง
กรณีที่มีการซ่อมแซมในอนาคต
5. โครงสร้างบันไดและงานมุงหลังคา
เมื่อโครงสร้างหลักๆ แล้วเสร็จก็ถึงขั้นตอนของการติดตั้งมุงหลังคา ซึ่งต้องมุงให้
ถูกต้องตามขั้นตอนและมีการเลือกใช้วัสดุที่ดีมากพอเพื่อป้องกันปัญหารั่วซึมภายหลัง
ขณะเดียวกันยังมีส่วนของงานโครงสร้างบันไดที่ทีมก่อสร้างจะเริ่มหล่อ
โครงสร้างบันไดคอนกรีตเสริมเหล็ก หรือติดตั้งบันไดเหล็กแบบที่วางไว้ จากนั้นจึงเก็บ
รายละเอียดงานโครงสร้างส่วนต่างๆ
7
6. งานก่อผนังฉาบปูน
งานก่อผนังที่ได้รับความนิยมจะเป็นผนังก่ออิฐ ซึง่ มี 2 ลักษณะ คือ ผนังก่ออิฐ
โชว์แนว เป็นผนังที่มีการก่ออิฐเรียงกันโดยไม่มกี ารฉาบปูนทับ และผนังก่ออิฐฉาบปูน
เป็นผนังที่ใช้อิฐก่อขึ้นแล้วฉาบทับด้วยปูนเพื่อความเรียบร้อย
การทำผนังก่ออิฐ ไม่ว่าจะเป็นลักษณะไหน สิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือ ตรวจสอบว่าได้
มีการเตรียมเหล็กหนวดกุ้งยื่นออกมาจากเสา เพื่อยึดประสานระหว่างเสาและผนังบ้าน
แล้วหรือยัง เพื่อป้องกันการร้าวของผนัง ตามมุมผนังและรอยต่อผนังที่เป็นวัสดุที่ต่าง
ชนิด ใช้ลวดกรงไก่บุผนังก่อนฉาบปูน เพื่อยึดและป้องกันการแตกร้าว
นอกจากนี้ยังมีหลักปฏิบัติที่ไม่ควรมองข้าม เพื่อให้งานผนังมีมาตรฐาน เช่น
• อิฐที่นํามาก่อผนังต้องชุบน้ำจนอิ่มตัวก่อน เพื่อไม่ให้ดูดน้ำจากปูนก่อเร็วเกินไป

• การก่อต้องก่อสลับแนวให้ถูกต้องตามหลักวิชาการ เว้นระยะระหว่างแถว

เท่ากัน โดยไม่น้อยกว่า 1 ซ.ม. และไม่เกิน 1.5 ซ.ม.


• อิฐที่ก่อต้องได้แนวทั้งทางดิ่งและระดับ

• เศษอิฐที่ก่อไม่เต็มก้อนให้ก่อไว้ริมเสา

• ก่อนฉาบปูนต้องทำความสะอาดผิวและราดน้ำให้เปียก ก่อนฉาบผิวคอนกรีต

ต้องกะเทาะให้ผิวหยาบ
• ปูนที่ฉาบผิวเสร็จแล้วมองดูต้องไม่เป็นคลื่น

7. ฉาบผนังและติดตั้งฝ้าเพดาน
ขั้นตอนนี้ต้องกำหนดความสูงของฝ้าเพดานก่อน จากนั้นจึงฉาบผนังตาม
มาตรฐานและขั้นตอนให้แล้วเสร็จ แล้วจึงทำการติดตั้งฝ้าเพดาน
หากมีการติดตั้งเครื่องใช้ไฟฟ้า เช่น โคมไฟ หรืออุปกรณ์ที่เกี่ยวกับฝ้าเพดานที่มี
น้ำหนักมาก ควรมีเสริมโครงคร่าวฝ้าเพดาน หรือยึดแขวนกับโครงสร้างหลักของบ้าน
เพื่อเพิ่มความแข็งแรงและปลอดภัย
สิ่งที่ลืมไม่ได้คือการติดตั้งช่องเซอร์วิส ที่จะใช้เปิดเวลาเข้าไปตรวจสอบหรือ
บำรุงรักษางานระบบต่างๆ โดยควรอยู่ในบริเวณที่ไม่เป็นจุดสังเกตมาก เช่น ห้องครัว
หรือห้องน้ำ
8. งานติดตั้งอุปกรณ์ตกแต่งพื้นผิว ผนัง ประตู-หน้าต่าง
ขั้นตอนนี้จะเกี่ยวข้องกับงานออกแบบภายในด้วย ดังนั้นนัน่ หมายถึงความสวยงามต่างๆ
ภายใน หรือบรรยากาศบ้านที่จะน่าอยู่ดูดีแค่ไหนก็รวมอยู่ในขั้นตอนนี้ จึงต้องอาศัย
ความประณีตของฝีมือฝานช่าง และความเนี้ยบเป็นสำคัญ โดยงานส่วนนี้จะเกี่ยวข้องกับ
วัสดุตกแต่งผนังและพื้น ระบบแสงสว่าง ชุดประตู-หน้าต่าง งาน Built-in ส่วนต่างๆ
อุปกรณ์ครัว และสุขภัณฑ์ห้องน้ำ
8
เมื่อขั้นตอนหลักๆ เสร็จสิ้นตามลำดับข้างต้น ก็ได้เวลาที่ต้องทำความสะอาด
และตรวจสอบความเรียบร้อยเพื่อให้พร้อมสำหรับการเข้าอยู่ ซึ่งโดยส่วนใหญ่บ้านที่สร้าง
โดยใช้บริการบริษัทรับสร้างบ้านที่มีความเชี่ยวชาญและเป็นมืออาชีพ มักไม่พบปัญหาใน
ขั้นตอนท้ายๆ เพราะจะมีการสร้างและส่งงานเป็นงวดๆ เพื่อให้เจ้าของบ้านตรวจสอบ
และแจ้งแก้ไขได้อย่างทันท่วงที ทำให้บ้านสร้างเสร็จสมบูรณ์และมีมาตรฐาน ดังนั้นเมื่อ
ถึงเวลาคุณก็แค่เตรียมลากกระเป๋าเดินเข้าบ้านเพื่ออยู่อาศัยได้อย่างสบายๆ

1.5 อุปกรณ์ที่ใช้ในงานก่อสร้าง
อุปกรณ์ก่อสร้าง (Construction Tools) คือ เครื่องมือ เครื่องจักร และวัสดุที่ใช้ในการทำงาน
ก่อสร้างต่างๆ เช่น การก่ออิฐ ติดตั้งระบบไฟฟ้า หรือปูพื้น อุปกรณ์ก่อสร้างแบ่งออกเป็นหลาย
ประเภทตามลักษณะการใช้งาน เช่น
1.เครื่องมือช่างพื้นฐาน สายวัด, วัดระดับ, ลูกดิ่ง, เส้นชอล์ค, เลื่อย, คัตเตอร์, คีม,
เครื่องตัดลวด, เกรียง, เครื่องผสมปูน, และเครื่องผสมคอนกรีต

รูปที่ 1 สายวัดเหล็ก ที่มา :


https://abletoolthailand.com/products/

รูปที่ 2 ลูกดิ่ง ที่มา :


https://th.misumi-ec.com/th/vona2/detail/223300026064/
9

รูปที่ 3 เส้นชอร์ค ที่มา :


https://www.misterworker.com/th/stanley/compact-9m-chalk-line-6-pcs-st-815/4633.html

รูปที่ 4 เลื่อยชนิดต่างๆ ที่มา :


https://toolmartonline.com/

รูปที่ 5 คัตเตอร์ ที่มา :


https://siamwassadu.com/
10

รูปที่ 6 คีม ที่มา :


https://www.sawaiengineer.co.th/

รูปที่ 7 เครื่องตัดลวด ที่มา:


http://www.pongdej.com/profile_th.asp

รูปที่ 8 เกรียง ที่มา :


https://www.homepro.co.th/c/TOO080208
11

รูปที่ 9 เครื่องผสมคอนกรีต ที่มา :


https://www.siamhw.com/products_detail/view/3866194
2.เครื่องจักรขนาดใหญ่ รถยก, รอก, สว่าน, ค้อนทุบ, ค้อนไฟฟ้า, เครื่องตัดกระเบื้อง,
เครื่องเซาะร่อง, และเครื่องปาดปูน

รูปที่ 10 รถยก ที่มา :


https://bigcrane.co.th/25ton.html

รูปที่ 11 รอก ที่มา :


https://www.sphardware.co.th/product/489/HB-2TON
12

รูปที่ 12 สว่าน ที่มา :


https://www.dohome.co.th/th/stanley-cordless-drill-20-volt-scd700d2k-b1-10371166.html

รูปที่ 13 ค้อนทุบ ที่มา :


https://beelievesourcing.co.th/

รูปที่ 14 ค้อนไฟฟ้า ที่มา :


https://www.hardwarehouse.co.th/1001605-ea.html
13

รูปที่ 15 เครื่องตัดกระเบื้อง ที่มา :


https://www.ofm.co.th/product/

รูปที่ 16 เครื่องเซาะร่อง ที่มา :


https://www.constructiontool-th.com/product/301

รูปที่ 17 เครื่องปาดปูน ที่มา :


https://ktw.co.th/p/P121-4130
14

3.อุปกรณ์นิรภัย หมวกนิรภัย, แว่นตานิรภัย, ถุงมือ, เสื้อนิรภัย, รองเท้านิรภัย, และเข็ม


ขัดนิรภัย

รูปที่ 18 หมวกนิรภัย ที่มา :


https://ktw.co.th/p/P161-2000

รูปที่ 19 แว่นตานิรภัย ที่มา :


https://th.misumi-ec.com/th/vona2/detail/223005585055/

รูปที่ 20 ถุงมือนิรภัย ที่มา :


https://www.mschemitech.com/
15

รูปที่ 21 รองเท้านิรภัย ที่มา :


https://www.safesiri.com/shop/product/safety-shoes-sa07-003/

รูปที่ 22 เข็มขัดนิรภัย ที่มา :


https://www.vrrichly.com/
16
บทที่ 2
การฉาบสกิมโค้ท (Skim-Coat)

สกิมโค้ท(Skim-Coat) คือ ซีเมนต์แต่งผิวบาง มักจะผลิตออกมาเป็นสีขาว หรือ สีเทา มาจากปูนซีเมนต์


ปอร์ตแลนด์ ผสมกับสารเคมีชนิดพิเศษ เพื่อให้ซีเมนต์ได้ยึดเกาะกับพื้นผิวได้เรียบเนียนไปด้วยกัน เพราะเวลาทา
แล้วจะมีความหนาไม่กี่มิลลิเมตร และใช้กับปูนฉาบได้เลย
ใช้เพื่อแก้ปัญหาที่ผนังบ้านมีรอยร้าวเส้นบางหรือที่เรียกว่า Hairline Cracks (รอยแตกมีความกว้างไม่เกิน
0.3 มม. และต้องไม่ใช่การแตกร้าวเชิงโครงสร้าง) แตกลายงา และรอยต่างๆ บนผนังไม่ว่าจะเป็นรูพรุนตามด
ฟองอากาศ หรือแม้กระทั่งผิวเม็ดทราย ส่งผลกระทบกับความสวยงามของอาคาร อาจทำให้อาคารดูเก่าและโทรม
เมื่อพบเห็น จนทำให้เกิดความรำคาญใจ โดยสามารถแก้ได้ด้วยการฉาบสกิมโค้ทปิดแผลบนผนัง ผนังก็จะกลับมา
เรียบเนียนดังเดิม

1. ปัญหาผนังแตกลายงา รูพรุนตามดเกิดจากอะไร
ปัญหาผนังแตกลายงามีหลายสาเหตุด้วยกัน เช่น เรื่องของวัสดุที่ไม่ได้คุณภาพอย่างปูนฉาบ การผสมปูน
กับน้ำไม่ได้สัดส่วนที่พอเหมาะ อุณหภูมิสภาพแวดล้อม หรือใช้บริการช่างที่ไม่มีความชำนาญมากพอ จึง
ทำให้การฉาบผนังนั้นไม่ได้มาตรฐาน ซึ่งปัญหานี้สามารถเกิดได้ทั้งภายในและภายนอกอาคาร ส่งผลให้เมื่อ
ฝนตกน้ำสามารถซึมเข้าไปตามรอยแตก รูพรุนตามด หรือรูโพรงอากาศได้ทำให้มีความชื้นสะสม เมื่อมี
ความชื้นจึงส่งผลให้เกิดเชื้อราบนผนังและทำให้ผนังเสื่อมโทรม เก่า ทั้งนี้ วิธีแก้ปัญหาสามารถใช้สกิมโค้ท
ในการฉาบปิดร่องรอยต่างๆ ได้

2. ประเภทงานที่เหมาะสมสำหรับการใช้วิธีสกิมโค้ท
นอกจากการใช้สกิมโค้ทปกปิดรอยแตกลายงา(ต้องไม่ใช่การแตกร้าวเชิงโครงสร้าง)อุดรูพรุนตามด รูโพรง
อากาศ ตกแต่งพื้นผิวให้เรียบเนียนสวยก่อนทาสีจริง แน่นอนว่าการสกิมผนังนั้นมีประโยชน์มากกว่าที่คิด
และยังสามารถใช้กับงานได้หลายรูปแบบ เช่น
2.1 ปิดผิวเม็ดทราย
งานปูนฉาบทั่วไปผิวผนังจะมีความสากมือเสมือนเม็ดทรายเล็กๆ เนื่องจากมีทรายเป็น
ส่วนผสมหลักช่างปูนอาจเลือกใช้ทรายที่มีความหยาบ ไม่ละเอียดเพียงพอ ซึ่งสามารถ
แก้ไขได้ด้วยการทำสกิมโค้ทช่วยให้ผนังเรียบ
17

2.2 ฉาบปิดรอยร้าว (Hairline cracks ความกว้างไม่เกิน 0.3 มม.)


ผนังมีรอยร้าวหรือรอยแตกลายงาซึ่งเป็นรอยร้าวเล็กๆ (ต้องไม่ใช่การแตกร้าวเชิง
โครงสร้าง) มักพบบริเวณผนังทั้งภายนอกภายใน บริเวณเสา หรือบริเวณที่มีความเปียก
ชื้น ร้อนและแห้งมากๆ
2.2 ฉาบปิดฟองอากาศ และรูพรุนตามด
รูพรุนตามดลักษณะเป็นฟองอากาศขนาดเล็กบนผิวคอนกรีต ซึ่งเกิดจากน้ำและอากาศ
ส่วนเกินแทรกอยู่ในเนื้อคอนกรีตตอนเทเข้าแบบของคอนกรีตทำให้ผนังเป็นรูเล็กๆ
วิธีการแก้ไขคือซ่อมแซมรูต่างๆ ตามขนาดโดยการฉาบอุดรูพรุนก่อน หลังจากนั้นจึงฉาบ
ด้วยสกิมโค้ทตามหลัง

3. ขั้นตอนสำหรับวิธีฉาบสกิมโค้ท สกิมผนัง ปิดรอยแตกลายงา


การฉาบสกิมโค้ทปิดรอยแตกงา แม้ว่าจะต้องใช้ความชำนาญในการทำ แต่ใช่ว่าจะไม่สามารถทำเองได้ ซึ่ง
คุณควรเลือกผลิตภัณฑ์สกิมโค้ทให้เหมาะกับการใช้งานของคุณ และทำตามขั้นตอนดังนี้
3.1. ตรวจสอบความรุนแรงของรอยแตก
อันดับแรกตรวจสอบปูนฉาบด้วยวิธีการเคาะผนัง เพื่อดูว่ามีการเกาะผนังได้ดีหรือไม่ หากได้ยิน
เสียงโปร่งแสดงว่าปูนฉาบไม่เกาะผนัง ควรสกัดปูนฉาบออกให้หมดแล้วฉาบผนังใหม่อีกครั้ง กรณี
ที่เคาะผนังแล้วเสียงยังแน่น แนะนำให้ทำการซ่อมด้วยสกิมโค้ทโดยไม่ต้องสกัดปูนฉาบออก
3.2. เตรียมพื้นผิว
เตรียมพื้นผิวด้วยการใช้แปรงตีน้ำ หรือไม้กวาดทำความสะอาด กวาดเศษผง ทำความสะอาด
คราบสกปรก รอผนังแห้งแล้วลงมือฉาบสกิมโค้ท
• พื้นผิวเก่า: ขัดล้างสีเดิมที่เสื่อมสภาพออก ทิ้งไว้ให้แห้ง หากพื้นผิวมีสภาพหลุดล่อน ร่วน

เป็นขุย แนะนำให้ลงน้ำยารองพื้นปูนเก่าทีโอเอ 1 เที่ยวก่อนฉาบสกิมโค้ทลงไป เพื่อเสริมการ


ยึดเกาะของพื้นผิว
• พื้นผิวใหม่: ทิ้งผนังให้แห้งอย่างน้อย 2 สัปดาห์และทำความสะอาดให้ปราศจากฝุ่นผง เศษ

ซีเมนต์ สี คราบไขต่างๆ ก่อนจะเริ่มทำการสกิมผนัง


3.3. ผสมสกิมโค้ท
การผสมสกิมโค้ทขึ้นอยู่กับชนิดหรือประเภทนั้นๆ หากเป็น ทีโอเอ 101 เดเคอร์พลาส ให้ผสม
กับปูนซีเมนต์อัตราส่วนผสม 1:1 (โดยน้ำหนัก) และไม่ต้องผสมน้ำเพิ่ม หรือในบางประเภทก็
อาจจะต้องผสมน้ำตามอัตราส่วนที่ระบุไว้ข้างผลิตภัณฑ์ ทั้งนี้ เพื่อความรวดเร็วและลดแรงควรใช้
สว่านในการช่วยผสม แต่หากต้องการความสะดวกรวดเร็วก็สามารถใช้ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป เพราะ
เพียงแค่เปิดฝาคนให้เข้ากันก็ใช้งานได้เลย
18
3.4. ฉาบสกิมโค้ทลงไปบนพื้นผนัง
ใช้เกรียงปาดหน้าปูนฉาบสกิมโค้ท หรือเกรียงฉาบ ฉาบสกิมโค้ท บนพื้นผิวที่ต้องการ และควร
ปาดเกรียงให้ถูกวิธีเพื่อใช้การฉาบผนังออกมาเนียนสวย โดยสามารถปาดจากล่างขึ้นบน จากนั้น
ทิ้งไว้ให้แห้งและทำการฉาบอีกครั้ง โดยความหนาในการฉาบต่อชั้นให้ยึดตามเอกสารที่ระบุไว้
3.5. ขัดพื้นผิวที่ทาสกิมโค้ทด้วยกระดาษทราย
หลังจากทิ้งพื้นผิวปูนฉาบบางให้แห้งประมาณ 24 ชั่วโมงแล้ว จึงปรับแต่งพื้นผิวที่ฉาบสกิมโค้ท
ด้วยการใช้การะดาษทรายขัด ขั้นตอนนี้จะช่วยให้พื้นผิวเงา เนียนมากขึน้

4. ผลิตภัณฑ์สกิมโค้ทในปัจจุบัน
4.1 ผลิตภัณฑ์สกิมโค้ท TOA
4.1.1 ทีโอเอ 101 เดเคอร์พลาส
ทีโอเอ 101 เดเคอร์พลาส อะคริลิกชนิดพิเศษสีขาวเทา ใช้ผสมกับปูนซีเมนต์ใน
งานฉาบปรับผิวแบบบาง ใช้เพื่ออุดรูพรุนตามด รูโพรงอากาศ หรือตกแต่งผิว
คอนกรีต ผนัง เสาและเพดานให้เรียบเนียนได้ระดับ ปล่อยเปลือยเป็นผิว
คอนกรีตได้โดยไม่ต้องทาสีทับ สามารถฉาบสกิมโค้ทได้บางและทำได้หลายชั้น
ไม่ทำให้ผิวผนังแตกร่อน สามารถปรับความข้นเหลวของผลิตภัณฑ์ ใช้ได้ทั้ง
ภายนอกและภายใน

รูปที่ 23 ทีโอเอ 101 เดเคอร์พลาส ที่มา :


https://www.toagroup.com/th/blogs/toa-tips-how-to/191
19
4.1.2 ทีโอเอ 102 ดี โค้ท
ทีโอเอ 102 ดี โค้ท อะคริลิกสำเร็จรูปชนิดพิเศษสีขาว สำหรับงานฉาบบาง ใช้ส
กิมผนังตกแต่งเพื่อความสวยงาม ปรับซ่อมผิวคอนกรีต รูพรุนตามด รูโพรง
อากาศ ปิดผิวเม็ดทรายได้เนียนสวยก่อนงานทาสี แก้ไขรอยแตกร้าวขนาดเล็ก
รอยแตกลายงา ใช้ได้ทั้งพื้นผิวเก่าและพื้นผิวใหม่ ใช้งานสะดวกเปิดฝาแล้วใช้ได้
ทันที ยึดเกาะผนังและสีทับหน้าได้ดีไม่หลุดล่อนง่าย

รูปที่ 24 ทีโอเอ 102 ดี โค้ท ที่มา :


https://www.toagroup.com/th/blogs/toa-tips-how-to/191

4.1.3 โฟร์ซีซั่น ดีโค้ท


โฟร์ซีซั่น ดีโค้ท อะคริลิกสำเร็จรูปชนิดพิเศษสีขาว ใช้สำหรับงานฉาบปรับผิว
แบบบางบนผนัง อาคาร ฝ้าและเพดาน ตกแต่งผิวคอนกรีตหรือปูนฉาบ ตกแต่ง
แนวตะเข็บหลังจากถอดแบบของคอนกรีตซ่อมแซมแก้ไขรอยร้าวขนาดเล็ก
รอยแตกลายงา รูโพรงอากาศ ผิวเม็ดทราย ทำให้งานฉาบเรียบเนียนขึ้นใช้ได้
ภายในและภายนอก สกิมโค้ทผนังง่ายเพียงเปิดฝาคนสามารถใช้งานได้ทันที
20

รูปที่ 25 โฟร์ซีซั่น ดีโค้ท ที่มา :


https://www.toagroup.com/th/blogs/toa-tips-how-to/191

4.1.4 ทีโอเอ 110 สกิมโค้ท สมูท


ทีโอเอ 110 สกิมโค้ท สมูท ปูนฉาบบางสำเร็จรูปสีขาวและเทา ฉาบบางได้ถึง
0.3-2 มิลลิเมตร ใช้สำหรับสกิมผนังตกแต่งผิวคอนกรีต งานผนังและท้องพืน้
งานแต่งเสาเหลี่ยมเสากลม ปกปิดรอยแตกลายงา รูพรุนตามด ผิวเม็ดทราย
รอยตะเข็บจากการถอดแบบของคอนกรีต ฉาบลื่น ขัดง่าย ไม่เปลืองแรง ยึด
เกาะกับพื้นผิวและสีทับหน้าได้ดี สามารถใช้ได้ทั้งภายนอกและภายใน

รูปที่ 26 ทีโอเอ 110 สกิมโค้ท สมูท ที่มา :


https://www.toagroup.com/th/blogs/toa-tips-how-to/191
21
4.1.5 ทีโอเอ สกิมโค้ท
ทีโอเอ สกิมโค้ท ปูนฉาบบางสำเร็จรูปสีขาวและเทา สามารถฉาบบางได้ถึง 0.5-
2 มิลลิเมตร ใช้ฉาบตกแต่งผิวคอนกรีต รอยแนวตะเข็บจากการถอดแบบของ
คอนกรีต สามารถใช้สกิมผนังปิดรอยแตกลายงา อุดรูพรุนตามด โพรงอากาศได้
ฉาบลื่น ขัดง่าย ไม่เปลืองแรง ใช้ได้ทั้งภายนอกและภายใน

รูปที่ 27 ทีโอเอ สกิมโค้ท ที่มา :


https://www.toagroup.com/th/blogs/toa-tips-how-to/191

4.2 ผลิตภัณฑ์สกิมโค้ท จระเข้


4.2.1 จระเข้สกิมโค้ท 101
ผลิตภัณฑ์ตัวนี้ไม่ใช่ซีเมนต์ 100% แต่เป็นเนื้อครีม (ไม่ผสมทราย) มีส่วนผสม
ของโพลีเมอร์ชนิดพิเศษกับปูนซีเมนต์ สำหรับงานฉาบบางกับคอนกรีตหล่อ
หรืองานฉาบทั่วไป ลดปัญหาฟองอากาศ ฉาบได้บางสุด 0.3 มิลลิเมตร
4.2.2 จระเข้สกิมโค้ท 102
ซีเมนต์ฉาบบางที่ใช้แทนสีรองพื้นได้ทันทีหลังจระเข้สกิมโค้ท 102 แห้งสนิท ก็
ทาสีทับได้ และคุณจะใช้จระเข้สกิมโค้ท 102 ผสมกับสีฝุ่นด้วยเครื่องผสมสี เพื่อ
ทากลบผิวซีเมนต์ก่อให้เรียบเนียนได้โดยลดการทำงานหลายขั้น ให้ความบาง
0.2 – 5 มิลลิเมตร
22
4.2.3 จระเข้สกิมโค้ทสมูท
พื้นผิวซีเมนต์จะเรียบเนียนขึ้น ทนต่อสภาวะอากาศ มีความยึดเกาะสูง เมื่อใช้
ผลิตภัณฑ์สีขาว จะช่วยลดอัตราการทาสีทาผนังได้มากกว่า 20%

รูปที่ 28 จระเข้สกิมโค้ทสมูท ที่มา :


https://www.jorakay.co.th/repairing/wall-rendering/

4.2.4 จระเข้สกิมโค้ทสมูทเกเตอร์
ช่วยให้ซีเมนต์ที่ก่อมามีผิวที่แข็งแกร่ง คงทนได้มากขึ้น โดยฉาบบาง ๆ 0.3 – 3
มิลลิเมตร สามารถเปลือยพื้นผิวโดยไม่ต้องทาสีก็ได้

รูปที่ 29 จระเข้สกิมโค้ทสมูทเกเตอร์ ที่มา :


https://www.jorakay.co.th/repairing/wall-rendering/
23
4.2.5 จระเข้สกิมโค้ทแซนด์
ซีเมนต์แต่งผิวบางผสมทราย โดยการฉาบบาง ๆ 1 – 6 มิลลิเมตร ใช้ตกแต่ง
พื้นผิวให้เรียบเนียน หรือโชว์เนื้อทราย และใช้เก็บรอยตะเข็บของงานฉาบพื้นผิว
ปูนซีเมนต์ให้สม่ำเสมอ

รูปที่ 30 จระเข้สกิมโค้ทแซนด์ ที่มา :


https://www.jorakay.co.th/repairing/wall-rendering/

4.2.6 จระเข้สกิมโค้ทแซนด์เกเกอร์
ซีเมนต์แต่งผิวบางชนิดมีความคงทนสูง มีความยึดเกาะสูง เพื่อให้ผิวหน้าซีเมนต์
ผิวไม่ล่อนเป็นฝุ่น มีขนาดบรรจุแบบเดียวคือ 25 กิโลกรัม

รูปที่ 31 จระเข้สกิมโค้ทแซนด์เกเกอร์ ที่มา :


https://www.jorakay.co.th/repairing/wall-rendering/
24
บทที่ 3
ลวดตาข่ายงานฉาบผนัง ลวดตาข่ายกันกำแพงร้าว

ลวดตาข่ายสี่เหลี่ยมชุบสังกะสี หรือลวดตาข่ายฉาบผนัง
เป็นที่นิยมของตลาด โดยนําลวดเหล็กชุบสังกะสี (GALVANIZED STEEL WIRE) ที่มีคุณสมบัติ
ป้องกันการเกิดสนิม และทนทานต่อการกัดกร่อน มาผ่านกระบวนการอาร์คด้วยไฟฟ้าจาก
เครื่องจักรอัตโนมัติที่มีความละเอียดสูง ควบคุมการทํางานด้วยระบบคอมพิวเตอร์ จึงท่าให้มี
จุดเชื่อมทุกจุดแน่น ระยะห่าง ระหว่างเชื่อมทุกจุดเท่ากันสม่ำเสมอ ด้วยการบรรจุภัณฑ์ที่ได้
มาตรฐาน ทําให้ลวดตาข่ายสี่เหลี่ยมชุบสังกะสีมีลักษณะการเรียงตัวเป็นระเบียบ สม่ำเสมอ
สามารถนำไปใช้งานต่างๆ ทั้งลักษณะการกั้นตาข่ายหรืองานด้านการก่อสร้าง

ลวดตาข่ายฉาบผนังเรียกได้หลายชื่อ เช่น ตาข่ายกรงไก่,ลวดกรงไก่ ,ตะแกรงกรงไก่ ,ลวดตาข่าย


กรงไก่, ลวดตาข่ายสี่เหลี่ยม ,ตะแกรงกรงนก,ตะแกรงฉาบปูน,ตาข่ายฉาบปูน ,ลวดตาข่าย
สี่เหลี่ยมชุบสังกะ,ตาข่ายกรงนก,ตาข่ายกรงไก่,ลวดกรงไก่ ,กรงไก่ ,ตาข่ายกรงนก ,ตาข่ายกันหนู

1. ขนาดของลวดตาข่ายฉาบผนัง
• ความสูงมาตราฐานคือ 3 ฟุต (90 ซม.) และ 4 ฟุต (120 ซม.)

• ความยาวต่อม้วนคือ 80 ฟุต ( 24 ม.) และ 100 ฟุต (30 ม.)

• ขนาดตามาตราฐาน คือ 4 หุน(1/2″), 6 หุน(3/4″), 1 นิ้ว และ 2 นิ้ว

• ขนาดตาสี่เหลี่ยมแบบกล่องไม้ขีดมาตราฐาน คือ 1 นิ้ว x 2 นิ้ว

• มีขนาดเส้นลวดความโตตั้งแต่ 0.5 – 2 mm.

2. ขนาดของลวดตาข่ายฉาบผนังที่นิยมใช้
ขนาดที่นิยมใช้ของลวดตาข่ายฉาบผนังคือ 3 ฟุต (90 ซม.) และ 4 ฟุต (120 ซม.) ความยาวต่อม้วน
คือ 80 ฟุต (24 ม.) และ 100 ฟุต (30 ม.)
3. ข้อดีของลวดตาข่ายฉาบผนัง
มีข้อดีในการใช้งานหลายอย่าง เช่น ใช้เพื่อลดโอกาสแตกร้าวของผนังที่มีการฉาบปูน โดยเฉพาะในจุด
ที่มีปัญหา เช่น รอบวงกบประตู-หน้าต่างๆ, ตามแนวท่อน้ำประปา, แนวท่อร้อยสายไฟฟ้า, รอยต่อ
ระหว่างเสาและผนัง, รอยต่อระหว่างคานและผนัง, รอยต่อระหว่างผนังและคานคอดิน เป็นต้น ใช้ใน
การเกษตร เช่น ใช้เป็นค้างไม้เลื้อย ล้อมพืชป้องกันสัตว์ ใช้ในงานก่อสร้าง เช่น ใช้รองรับแผ่นฉนวน
กันความร้อนใต้หลังคาไม่ให้หย่อนเป็นท้องช้างได้
25
4. คุณสมบัติของลวดตาข่ายฉาบผนัง
• ผลิตจากลวดชุบสังกะสีคุณภาพสูงที่มีคุณสมบัติ
• ป้องกันการเกิดสนิม ทนทานต่อการกัดกร่อนจากสภาพภูมิอากาศ
• นำมาขึ้นรูปเป็นตะแกรง ตา 4 เหลี่ยมด้วยกระบวนการอาร์คไฟฟ้า โดยเครื่องจักร
อัตโนมัติที่มีประสิทธิภาพ ทำให้จุดเชื่อมทุกจุดแน่นระยะห่างทุกจุดเท่ากัน
สม่ำเสมอ
• มีการใช้งานหลากหลาย ทั้งงานตาข่ายและงานก่อสร้าง โดยใช้เป็นตัวกันการเข้ามา
ของสัตว์ เช่น กรงไก่ กรงนก หรือเป็นตัวกันการแตกร้าวของผนังที่ฉาบปูน

รูปที่ 32 ลวดตาข่ายสี่เหลี่ยมชุบสังกะสี หรือลวดตาข่ายฉาบผนัง ที่มา :


http://www.senchaiwiremesh.com/Products/welded_wire_mesh.html
26
5. การติดตั้งลวดตาข่ายฉาบผนัง
5.1 เริ่มต้นด้วยการเตรียมงานผนัง
5.1.1 เชื่อมเหล็กเส้น (หนวดกุ้ง) ขนาด 6 มม. ที่เสาและใต้คานทุกๆ 30 ซม. และ ก่อ
อิฐให้ชนขอบปีกเสา และเสมอริมคานด้านนอก ในกรณีที่เสาใหญ่กว่าผนังและต้องการ
ให้เห็นเสาจากด้านใน

"ก่อนฉาบเตรียมผนังให้พร้อม..รับรองจะไม่ผิดพลาด"
รูปที่ 33 การเชื่อมเหล็กเส้น(หนวดกุ้ง) ที่มา :
http://pksteelgroup.lnwshop.com/article/

5.1.2 สำหรับโครงสร้างเหล็ก ในกรณีที่ต้องการปิดร่องเสาสามารถใช้อิฐก่อเรียงเข้าไปใน


ร่องเสาได้ ก่อผนังอิฐเช่นดียวกับการก่อสร้างทั่วไป โดยมีระยะเสาเอ็นทับหลังตามปกติ
สามารถใช้เหล็กขนาดเล็กทำเสาเอ็น และทับหลังช่วยให้สะดวก รวดเร็วและก่อได้แนว
ตรงยิ่งขึ้น

รูปที่ 34 การเตรียมงานผนังสำหรับโครงสร้างเสาเหล็ก ที่มา :


http://pksteelgroup.lnwshop.com/article/
27
5.1.3 ผสมปูนทรายกับน้ำยาฉาบประสานคอนกรีต ให้มีความเหนียวแล้วสลัดที่ผิวเหล็ก
เพื่อให้ปูนฉาบสามารถยึดเกาะกับผิวของเหล็ก ได้โดยสลัดดอกให้ทั่วที่ผิวเสาทั้งด้านนอก
และในร่องเสาในร่องคาน และที่ผิวล่างของคานที่จะฉาบ(กรณีที่ท้องคานอยู่นอกฝ้า)

"ปูนที่สลัดผสมน้ำยาประสานคอนกรีตจะช่วยให้ปูนฉาบเกาะได้ดีขึ้น"
รูปที่ 35 การทำให้ปูนฉาบสามารถยึดเกาะกับผิวของเหล็กได้ ที่มา :
http://pksteelgroup.lnwshop.com/article/

5.1.4 ป้ายปูนฉาบก่อนปูตะแกรงลวด(เพื่อให้ตะแกรงอยู่ในเนื้อปูนฉาบ) ควรปูตะแกรงที่


รอยต่อระหว่างคอนกรีตกับเหล็กเพื่อช่วยเสริมแรงให้ผนังปูนฉาบแข็งแรงและป้องการ
แตกร้าวโดยปิดตะแกรงลวดหรือลวดตาข่ายที่เสาและคานให้ครอบคลุมทั้งผิวเหล็กและ
คลุมเลยไปที่ผนังอย่างน้อย 10 ซม. (รวมทั้งใต้คานที่อยู่นอกฝ้า) และควรปิดด้วยลวดตา
ข่ายกรงไก่ ที่มุมเสาทั้งด้านนอกและด้านในห้อง รวมทั้งที่มุมผนังห้องด้านในติดลวดตา
ข่ายกว้างด้านละ 10 ซม. เช่นเดียวกับขอบวงกบประตูหน้าต่างและช่องเปิดอื่นๆ

รูปที่ 36 ป้ายปูนฉาบก่อนปูตะแกรงลวด ที่มา :


http://pksteelgroup.lnwshop.com/article
28
5.1.5 ฉาบผนังตามปกติ โดยจับเฟี้ยมตามมุมเสาและผนังให้ได้ฉากก่อนฉาบเพื่อความ
เรียบร้อยและสวยงาม

รูปที่ 37 การฉาบผนัง ที่มา :


http://pksteelgroup.lnwshop.com/article/

รูปที่ 38 จับเฟี้ยมตามมุมเสาและผนังให้ได้ฉากก่อนฉาบ ที่มา :


http://pksteelgroup.lnwshop.com/article/
29

5.2 การใส่ตะแกรงลวด ทับรอยต่อในส่วนต่างๆ


ก่ออิฐในร่องเสาและคานให้เต็มแน่นพร้อมปิดตะแกรงเหล็กคลุมร่องกว้างอย่างน้อย 10 ซม.

รูปที่ 39 การใส่ตะแกรงลวด ทับรอยต่อในส่วนต่างๆ ที่มา :


http://pksteelgroup.lnwshop.com/article

สำหรับผนังที่จะฉาบทับเสา คาน เติมอิฐในร่องเสาหรือคาน เสร็จแล้วสลัดปูนผสมน้ำยาประสาน


คอนกรีตที่ผิวเหล็กและปูตะแกรงให้กว้างออกมาจากขอบอย่างน้อย 10 ซม.

รูปที่ 40 การเติมอิฐในร่องเสาหรือคาน เสร็จแล้วสลัดปูนผสมน้ำยาประสานคอนกรีตที่ผิวเหล็กและปูตะแกรง


ที่มา : http://pksteelgroup.lnwshop.com/article
30

รูปที่ 41 ตัวอย่างการติดตั้งตาข่ายฉาบผนัง
31
บทที่ 4
ระบบโครงสร้าง Pre-Cast Concrete

พรีคาสท์คอนกรีต หรือ Pre-cast Concrete คือ


คอนกรีตเสริมเหล็ก ที่ถูกหล่อขึ้นก่อนในโรงงาน ให้มีรูปร่างตามที่ต้องการ ก่อนที่จะถูกขนส่งและนำไป
ประกอบกันที่ไซต์งาน คอนกรีตนัน้ จะถูกเทลงในแม่พิมพ์ และเสริมความแข็งแรงด้านในด้วยเหล็กเส้น
โดยในการแข็งตัวของคอนกรีตจะถูกควบคุมให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสม และมีการควบคุมคุณภาพที่มี
ประสิทธิภาพ ทำให้พรีคาสท์คอนกรีตนั้นมีความแข็งแรงและมีคุณภาพสูงกว่าการหล่อคอนกรีตที่หน้างาน
1.ข้อดีของ Precast Concrete
• ประหยัดเวลาในการก่อสร้าง

ด้วยการที่คอนกรีตมาในรูปแบบที่พร้อมประกอบและใช้งาน ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาในการสร้าง
แม่พิมพ์ การเทคอนกรีต และการรอให้คอนกรีตแห้งตัวที่หน้างาน ทำให้สามารถดำเนินการใน
ขั้นตอนต่อไปได้ทันที
• มีมาตรฐาน

พรีคาสท์คอนกรีตถูกหล่อขึ้นมาโดยใช้แม่พิมพ์ชิ้นเดิมซ้ำๆ ทำให้พรีคาสท์แบบเดียวกันที่ออกมา
จากโรงงานเดียวกัน มีรูปร่างและขนาดสม่ำเสมอ เนื่องจากควบคุมคุณภาพได้ง่าย
• มีคุณภาพสูง

ก่อนพรีคาสท์คอนกรีตจะออกจากโรงงานไปยังไซต์งานได้ จะต้องมีการตรวจสอบคุณภาพอย่าง
ละเอียด ไม่ให้มีข้อบกพร่อง ทั้งนี้ยังมีกระบวนการผลิตที่เคร่งครัด และการควบคุม
สภาพแวดล้อมให้เหมาะสม ระหว่างการผลิต ทำให้พรีคาสท์คอนกรีตมีความแข็งแรงทนทาน
มากกว่าคอนกรีตชนิดอื่นๆ

รูปที่ 42 ภาพระหว่างการผลิต Pre-cast Concrete


ที่มา : https://www.adheseal.com/precast-concrete/
32
• เป็นทางเลือกประหยัด
การใช้พรีคาสท์คอนกรีตยังเป็นทางเลือกที่ประหยัดค่าใช้จ่ายมากกว่า ข้อนี้ถือเป็นจุดเด่น
ที่สุดของพรีคาสท์คอนกรีตเลยก็ว่าได้ เนื่องจากการผลิตเป็นการผลิตทีละจำนวนมากๆ ทำ
ให้มีราคาถูก แถมยังลดค่าแรง และลดระยะเวลาที่ใช้ในการก่อสร้างอีกด้วย
• คงทนแข็งแรง

อาคารหรือสิ่งก่อสร้างที่ถูกสร้างด้วยพรีคาสท์คอนกรีตจะมีความแข็งแรงมากกว่าบ้านที่สร้าง
ด้วยวิธีการอื่น เพราะมีการเสริมเหล็กด้านใน และมีการควบคุมคุณภาพที่ดี ทำให้มีอายุการ
ใช้งานยาวนานกว่า และลดการดูแลรักษาซ่อมแซมที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
• ใช้พื้นที่เก็บวัสดุก่อสร้างที่หน้างานน้อย

เนื่องจากคอนกรีตถูกหล่อมาสำเร็จเรียบร้อยจากโรงงานแล้ว ทำให้ไม่ต้องมีการเก็บวัสดุ
ก่อสร้างอื่นๆที่หน้างาน และยังทำให้หน้างานเป็นสิ่งแวดล้อมในการทำงานที่ปลอดภัยมาก
ขึ้นอีกด้วย
2. ข้อเสีย Precast Concrete
ถึงแม้จากบทความข้างต้น จะเห็นว่าพรีคาสท์คอนกรีตมีข้อดีมากมายหลายข้อ แต่จริงๆแล้วการ
ทำงานกับพรีคาสท์คอนกรีตก็มีความยากลำบาก และมีข้อเสียเช่นกัน

• การขนส่ง
เนื่องจากพรีคาสท์คอนกรีตมีขนาดใหญ่และมีน้ำหนักมาก ในการขนย้ายพรีคาสท์คอนกรีต
จากโรงงานไปยังหน้างานจึงเป็นเรื่องยาก ต้องใช้รถยก รถบรรทุกหรือรถพ่วงขนาดใหญ่ และ
ด้วยน้ำหนักที่มากอาจทำให้รถบรรทุกที่ขนย้ายพรีคาสท์คอนกรีตเสียหายหรือชำรุดได้ และ
ต้องมีการยึดพรีคาสท์คอนกรีตอย่างแน่นหนาเพื่อไม่ให้เกิดอุบัติเหตุระหว่างการขนส่ง

รูปที่ 43 ภาพระหว่างการขนส่ง Pre-cast Concrete


ที่มา : https://www.adheseal.com/precast-concrete/
33
• การติดตั้งก่อสร้าง
ในการติดตั้งที่หน้างาน มักจำเป็นต้องใช้เครนในการเคลื่อนย้าย ทั้งนี้จึงต้องมีการวางแผน
งานล่วงหน้าในการเช่าเครน

รูปที่ 44 ภาพระหว่างการติดตั้ง Pre-cast Concrete


ที่มา : https://www.adheseal.com/precast-concrete

• ยากที่จะแก้ไข ดัดแปลง
การดัดแปลงแก้ไขพรีคาสท์คอนกรีตถือเป็นเรื่องยากเพราะโครงสร้างมีการเสริมเหล็ก ยาก
ต่อการดัดแปลงทั้งขณะก่อสร้างและหลังก่อสร้างเสร็จเรียบร้อย สำหรับท่านใดที่ต้องการซื้อ
บ้านแล้วต้องการดัดแปลงบ้านเยอะๆ เช่น การเจาะประตู เจาะหน้าต่างหลายๆจุด อาจจะ
ต้องเลือกบ้านที่ก่อสร้างด้วยวัสดุชนิดอื่น เช่น อิฐมวลเบาแทน

• มีรอยต่อจำนวนมาก
ในการก่อสร้างโดยใช้พรีคาสท์คอนกรีตที่เป็นคอนกรีตชิ้นใหญ่ๆมาต่อกัน จำเป็นจะต้องมี
รอยต่อในกรณีคอนกรีตขยายหรือหดตัวเมื่อเจอกับสภาพอากาศต่างๆ และไม่ให้คอนกรีต
แตก ซึ่งรอยต่อนี้หากได้รับการปิดรอยต่อ หรือยาแนวที่ไม่ดี อาจทำให้เกิดปัญหาน้ำรั่วซึมได้
ในอนาคต และยังเป็นบริเวณที่อ่อนไหวในกรณีเกิดแผ่นดินไหวขึ้น
34
3. ภายในผนัง Precast คืออะไร?
ภายในของผนังนี้เป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก (คสล.) ที่มีความแข็งแรงและคงทนกว่าก่ออิฐฉาบปูนทั่วไป
หลายเท่ามาก เนื่องจากว่าผนัง Precast นี้ออกแบบมาเพื่อให้ “รับน้ำหนักของตัวบ้าน” แทนที่เสา
บ้านด้วย จึงกลายเป็นอีกหนึ่งจุดเด่นของผนังรูปแบบนี้

4. รอยต่อชิ้นส่วนของระบบ Pre-Cast
สิ่งที่ควรให้ความสำคัญอีกเรื่อง คือ เรื่องของรอยต่อชิ้นส่วนของระบบ Pre-Cast ที่ขึ้นอยู่แต่ละ
เทคนิคของผู้ประกอบการว่าจะให้มีรายละเอียดการเชื่อมต่ออย่างไร โดยทั่วไปจะให้ความสำคัญอยู่ 3
เรื่อง คือ เรื่องของความแข็งแรง เรื่องความเรียบร้อยสวยงาม และเรื่องของการบำรุงรักษา ลักษณะ
รอยต่อของแผ่น Precast ส่วนใหญ่จะอยู่บริเวณรอยต่อผนังกับผนังในแนวดิ่ง ผนังชิ้นบนกับผนังชิ้น
ล่างในแนวนอน และผนังกับพื้น ซึง่ รอยต่อดังกล่าวมักถูกออกแบบให้ป้องกันการรั่วซึมของน้ำ และ
อากาศ โดยอาศัยการออกแบบให้รอยต่อของชิ้นงานวางขบกันในลักษณะบังใบ แล้วยาแนวด้วย กาว
PU (กาวโพลียูรีเทน)

หรืออีกประเภทหนึ่ง คือ เว้นรอยต่อไว้เป็นโพรง แล้วเสริมเหล็กเส้น กรอกปูน Non-Shrink (ปูนที่มี


คุณสมบัติยึดเกาะดี ไม่หดตัว) แล้วจึงยาแนวด้วยกาว PU สามารถใช้วัสดุตกแต่งมาปิดทับรอยต่อ
เพื่อปกป้องให้รอยต่อนั้นมีอายุการใช้งานที่ยาวนานขึ้น เช่น บัวประดับ เป็นต้น หรือติดวัสดุที่ช่วย
เบรครอยต่อเพื่อป้องกันการแตกร้าวหรือเสื่อมสภาพในภายหลังด้วยคิ้ว บัว โลหะ หรือ PVC ที่
สามารถประยุกต์ใช้ได้ทั้งภายในและภายนอก หากต้องทำการซ่อมแซมรอยต่อ ก็สามารถทำได้โดย
การลอกวัสดุที่ใช้ยาแนวเดิมออก แล้วทำการยาแนวใหม่

สำหรับการตัดสินใจเลือกซื้อโครงการบ้าน หรือคอนโดมิเนียม ที่ก่อสร้างด้วยระบบ Precast สิ่งที่


เจ้าของบ้านควรพิจารณา คือ ประสบการณ์หรือความเชี่ยวชาญในเรื่องระบบ Precast ของโครงการ
นั้น ๆ ไม่ว่าจะเป็นระบบการผลิตของโรงงาน การตรวจสอบคุณภาพ ความใส่ใจในรายละเอียดต่าง ๆ
รวมถึงมีการวางแผนเผื่อในเรื่องของการต่อเติม ดัดแปลง หรือติดตั้งงานระบบ ของเจ้าของบ้านเอง
ตั้งแต่เริ่ม เมื่อวัสดุและการติดตั้งมีคุณภาพ ประกอบกับการเลือกใช้ระบบที่ตรงกับความต้องการ และ
ประโยชน์ใช้สอยทั้งในปัจจุบันและที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต การก่อสร้างแบบ Precast ก็จะเอื้อ
ประโยชน์ให้เจ้าของบ้านได้มากเช่นกัน
35

รูปที่ 45 ภาพแสดงรอยต่อ Pre-cast Concrete แบบใช้บังใบ + ยาแนวด้วยกาว PU


ที่มา : https://www.cementhaihomemart.com/news/precast-system.html

รูปที่ 46 ภาพแสดงระบบ Pre-cast Concrete แบบผนังรับน้ำหนักและแบบเสา-คาน


ที่มา : https://www.cementhaihomemart.com/news/precast-system.html
36

รูปที่ 47 ภาพแสดงรอยต่อ Pre-cast Concrete แบบใช้ปูน Non - Shrink


ที่มา : https://www.cementhaihomemart.com/news/precast-system.htm

5. เปรียบเทียบ Precast กับ ก่ออิฐฉาบปูน


5.1 ด้านการก่อสร้าง
ด้วยรูปแบบวัสดุทำผนังที่แตกต่างกัน ทำให้ผนัง Precast นั้นมีการก่อสร้างได้รวดเร็ว
กว่าการใช้อิฐแดงก่อผนัง ซึ่งการก่อผนังอิฐแดง 1 วัน จะได้ประมาณ 10 ตารางเมตร
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับขนาดของอิฐแดงที่เลือกใช้ และฝีมือของช่าง ส่วนการประกอบผนัง
คอนกรีตสำเร็จรูป 1 วัน อาจได้เท่ากับบ้านชั้นเดียว 1 หลังเลยก็ได้

รูปที่ 48 ภาพแสดงการเปรียบเทียบด้านการก่อสร้าง ผนัง Precast VS ผนังอิฐแดงฉาบปูน


ที่มา : https://itdang2009.com/
37
5.2 ด้านค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง ค่าแรง+ค่าวัสดุ
ผนัง Precast มีราคาผลิตที่สูงกว่า แต่ก็ใช้แรงงานในการสร้างน้อยกว่า ส่วนผนังอิฐแดง
นั้น ตัววัสดุอย่างอิฐแดงมีราคาที่ถูกกว่า แต่จำเป็นต้องใช้แรงงานในการก่อสร้างมากกว่า
เมื่อนำมาเปรียบเทียบกันแล้ว ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างของผนังทั้ง 2 ประเภท จึงดูจะไม่
แตกต่างกันมากเท่าไหร่

รูปที่ 49 ภาพแสดงการเปรียบเทียบด้านค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง ผนัง Precast VS ผนังอิฐแดงฉาบปูน


ที่มา : https://itdang2009.com/

5.3 ด้านคุณภาพความแข็งแรง ทนทาน


เนื่องจากการผลิตจากโรงงานอุตสาหกรรม ทำให้ผนัง Precast มีมาตรฐานที่สม่ำเสมอ
เท่ากันทุกชิ้น จึงมีความแข็งแกร่ง ทนทาน คุณภาพดี กว่าผนังอิฐแดง แต่ผนังอิฐแดงเอง
เราก็รู้กันดีอยู่แล้วว่ามีความแข็งแกร่ง ทนทานมาก หลักฐานจากสถาปัตยกรรมโบราณที่
อยู่มานับ 1,000 ปี เพราะฉะนั้น เมื่อเทียบคุณภาพของผนังทั้ง 2 ประเภท จึงถือว่ามี
ความแข็งแกร่ง ทนทานที่ใกล้เคียงกัน

5.4 ด้านการกันเสียง
ผนัง Precast จะกันเสียงได้มากกว่าผนังอิฐแดงก่อ ด้วยลักษณะของผนังที่หนาแน่น ทำ
ให้ผนังคอนกรีตสำเร็จรูปสามารถป้องกันเสียงได้ดี ส่วนผนังอิฐแดงซึ่งมีรูระบายอยู่
ภายใน ทำให้กันเสียงได้ในระดับพอประมาณ
38

รูปที่ 50 ภาพแสดงการเปรียบเทียบด้านความแข็งแกร่ง ทนทาน ผนัง Precast VS ผนังอิฐแดงฉาบปูน


ที่มา : https://itdang2009.com/

รูปที่ 51 ภาพแสดงการเปรียบเทียบด้านการกันเสียง ผนัง Precast VS ผนังอิฐแดงฉาบปูน


ที่มา : https://itdang2009.com/
39
5.5 ด้านการอมความร้อน
เมื่อผนัง Precast สามารถกันเสียงจากภายนอกได้ดี เพราะตัวผนังไม่มีรูระบาย และ
ภายในมีเหล็กอยู่เป็นจำนวนมาก การอมความร้อนจึงมีมากกว่าผนังอิฐแดงก่อที่มีรู
ระบาย หากต้องการก่อผนังอิฐแดงให้บ้านเย็น การก่อผนังอิฐแดง 2 ชั้น หรือการติดตั้ง
ฉนวนกันความร้อนก็สามารถช่วยลดความร้อน และช่วยระบายความร้อนในผนังได้ดีขึ้น

รูปที่ 52 ภาพแสดงการเปรียบเทียบด้านการอมความร้อน ผนัง Precast VS ผนังอิฐแดงฉาบปูน


ที่มา : https://itdang2009.com/

5.6 ด้านการรั่วซึม
การรั่วซึมของผนังทัง้ 2 ประเภท จะมีข้อแตกต่างกัน คือ การรั่วซึมในผนัง Precast มัก
พบในกรณีที่น้ำจากภายนอกรั่วซึมผ่านรอยต่อระหว่างผนัง เนื่องมาจากข้อบอกพร่องใน
การติดตั้ง ส่วนการรั่วซึมในผนังอิฐแดงฉาบปูน จะมาจากการที่ผนังเกิดรอยร้าว ซึ่งเกิด
จากหลายสาเหตุ เช่น การฉาบปูนที่ไม่ได้คุณภาพ การก่อสร้างที่เร็วเกินไป เป็นต้น ซึ่ง
ไม่ได้ขึ้นอยู่กับวัสดุที่ใช้ก่อสร้าง
5.7 ด้านการทุบ ตอก เจาะ และการต่อเติม
เนื่องจากผนัง Precast ใช้ตัวของผนังเองเป็นโครงสร้างของบ้าน การจะทุบ ตอก เตาะ
หรือต่อเติมนั้นถือว่าเป็นเรื่องที่ทำได้ยากมาก เพราะทุกส่วนเชื่อมต่อกัน ทุบแค่จุดเดียว
ก็เหมือนทุบทิ้งทั้งบ้าน ต้องอาศัยช่างมีฝีมือและชำนาญ หรือวิศวกร อีกทั้งในตัวผนังนัน้
มีเหล็กเสริมอยู่เป็นจำนวนมาก การตอก เจาะผนังจึงทำได้ยากเช่นกัน เพราะคุณจะไม่มี
ทางรู้เลยว่า เมื่อเจาะลงไปนั้น จะไปเจอเข้ากับเหล็กหรือไม่ ส่วนผนังอิฐแดงฉาบปูน มี
เสา และคานเป็นตัวเชื่อม การทุบ ตอก เจาะ ผนัง หรือต่อเติมจึงทำได้ง่าย ไม่กระทบกับ
จุดอื่น ๆ เหมือนกับผนังคอนกรีตสำเร็จรูป
40

รูปที่ 53 ภาพแสดงการเปรียบเทียบด้านการรั่วซึม ผนัง Precast VS ผนังอิฐแดงฉาบปูน


ที่มา : https://itdang2009.com/

รูปที่ 54 ภาพแสดงการเปรียบเทียบด้านการทุบ ตอก เจาะ และต่อเติม ผนัง Precast VS ผนังอิฐแดงฉาบปูน


ที่มา : https://itdang2009.com/
41
5.8 ด้านความสวยงาม และการตกแต่ง
ผนัง Precast นั้น ก็จะมีสีเทา ๆ ขาว ๆ แบบคอนกรีต เพียงอย่างเดียว การจะแต่งเติม
อะไรลงบนผนังคงทำได้แค่ทาสี หรือการติดทับด้วย wall paper แต่สำหรับผนังอิฐแดง
แล้ว ด้วยสีที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว คุณสามารถทำให้ผนัง เป็นผนังอิฐก่อโชว์แนว
คลาสสิก เท่ ๆ ได้หลากหลายสไตล์ และถ้าหากกลัวเรื่องสิ่งสกปรก หรือความชื้นที่จะมา
เกาะบนผิวของอิฐแดง เพียงทาผนังอิฐแดงก่อด้วยน้ำยาเคลือบผนัง ฆ่าเชื้อรา กันตะไคร่
น้ำ เท่านี้ก็ไม่มีสิ่งสกปรกมากวนใจอีก

รูปที่ 55 ภาพแสดงการเปรียบเทียบด้านการตกแต่งผนัง ผนัง Precast VS ผนังอิฐแดงฉาบปูน


ที่มา : https://itdang2009.com/

รูปที่ 56 ภาพแสดงการเปรียบเทียบด้านการตกแต่งผนัง ผนัง Precast VS ผนังอิฐแดงฉาบปูน2


ที่มา : https://itdang2009.com/
42

ตารางสรุปการเปรียบระหว่าง ผนัง Precast VS ผนังอิฐแดง ฉาบปูน

หัวข้อ ผนัง Pre-Cast ผนังก่ออิฐฉาบปูน


ก่อสร้างได้ช้ากว่า ขึ้นอยู่กับ ขนาดของ
ก่อสร้างได้อย่างรวดเร็ว 1 วัน อาจได้
1. ด้านการก่อสร้าง อิฐแดง และฝีมือของ ช่าง 1 วัน ก่อได้
ผนังบ้าน 1 ชั้น
10 ตารางเมตร

2. ค่าใช้จ่ายในการ ก่อสร้าง วัสดุราคาสูง ใช้แรงงานน้อย วัสดุราคาถูก ใช้แรงงานเยอะกว่า

3. ด้านคุณภาพความ แข็งแรง แข็งแรงกว่า ด้วยด้านในมีการ เสริม มีความแข็งแกร่ง ทนทานมาก หลักฐาน


ทนทาน เหล็กเป็นจํานวนมาก จากโบราณสถานที่คงอยู่

กันเสียงได้มาก เพราะผนังมีความ กันเสียงได้ปานกลาง เนื่องจากมีรู


4. ด้านการกันเสียง
หนาแน่นสูง ระบายอยู่ภายใน

อมความร้อนสูง เพราะผนังมีความ ค่อนข้างอมความร้อน แต่มีรูระบาย


5. ด้านการอมความร้อน
หนาแน่น และมีเหล็กเส้นจํานวนมาก ช่วยระบายออก

6. ด้านการรั่วซึม รั่วซึมได้จากรอยต่อของผนัง รั่วซึมได้จากรอยร้าวของผนัง

7. ด้านการทุบ ตอก เจาะ และ ทําได้ง่าย ไม่มีปัญหารอยร้าว กระทบ


ทําได้ยาก ทุบจุดเดียว อาจร้าวทั้งบ้าน
การต่อเติม กับจุดอื่น

8. ด้านความสวยงาม และการ ตกแต่งได้น้อย ทําได้แค่ทาสีผนัง หรือ ตกแต่งได้หลากหลายสไตล์ ตามความ


ตกแต่ง ติดwall paper ต้องการ

ตารางที่ 1 ตารางสรุปการเปรียบระหว่าง ผนัง Precast VS ผนังอิฐแดง ฉาบปูน


ที่มา : https://itdang2009.com/
43
บทที่ 5
การวางท่อ Sleeve ผ่านคาน

การวาง Sleeve คือ


การวางท่อ PVC ในคานคอนกรีต ก่อนที่จะมีการเทปูน เพื่อเป็นช่องสำหรับเดินท่อร้อยสายไฟ โดยไม่ต้อง
ทำการดัดท่อหักหลบคาน(หักคอม้า) และยังช่วยป้องกันการรัว่ ซึมจากผิวรับน้ำจากด้านหนึ่งไปยังอีกด้าน

1. การวางท่อ Sleeve ผ่านคาน


ในการจัดทำ Combined Drawing บางบริเวณอาจเกิดความยุ่งยากในการจัดแนวท่อน้ำ, ท่อลม, ท่อร้อย
สายไฟฟ้า รวมถึง Wireway เนื่องจากมีข้อกำจัดในด้านความสูงของพื้นที่ใช้สอย เช่น บริเวณที่จอดรถ,
บริเวณห้องเครื่อง, บริเวณห้องน้ำ หรือแม้กระทัง่ บริเวณสำนักงาน

แนวทางการแก้ไขปัญหาที่ผ่านมาอาจดำเนินการได้หลายวิธี ทั้งการเปลี่ยนขนาดท่อลม, การทำ Offset


หลบหลีกซึ่งกันและกัน และสุดท้ายหากไม่มีวิธีการอื่น ก็ต้องขอให้ทางสถาปนิกพิจารณาลดระดับฝ้า
เพดาน ซึ่งอาจได้บ้างไม่ได้บ้าง หรือไม่ก็ติดตั้งงานระบบดังกล่าวอย่างเบียดเสียดยัดเยียดจนแน่นไปหมด
เป็นเหตุให้อาจเกิดปัญหาเรื่องการเข้าถึงอุปกรณ์หรือเครื่องจักรเพื่อทำการบำรุงรักษา

วิธีการหนึ่งที่อยากจะแนะนำให้ดำเนินการ คือ ขอให้ตรวจแบบงานโครงสร้างว่าในบริเวณดังกล่าวเป็น


ระบบพื้นและคานหรือไม่ หากเป็นระบบพื้นและคานที่มีความลึกของคานตั้งแต่ 400 มิลลิเมตร (16 นิ้ว)
ขึ้นไปเราอาจใช้วิธีการวาง Sleeve หรือ Block Out ผ่านคานเพื่อติดตั้งท่อน้ำ, ท่อลม, ท่อร้อยสายไฟฟ้า
และ Wireway ขนาดที่เหมาะสมผ่านได้ เพื่อจะได้ลดความแออัดของบริเวณใต้คาน, การติดตั้งท่อ Offset
และสามารถเพิ่มความสูงของพื้นที่ใช้สอยได้

อย่างไรก็ตามในการดำเนินการดังกล่าว ผู้ควบคุมงาน และผู้รับเหมาควรพิจารณาปัจจัยต่างๆ ดังนี้

1. ต้องศึกษาแบบทั้งงานโครงสร้างและงานระบบแต่เนิ่นๆ เพื่อพิจารณากำหนดงานท่อต่างๆ ที่


จะให้ผ่านคานดังกล่าว ก่อนที่ผู้รับเหมางานโครงสร้างจะทำการก่อสร้างงานในบริเวณนัน้ ๆ

2. ต้องปรึกษาและขออนุมัติจากผู้ออกแบบงานโครงสร้างถึงความเป็นไปได้ในการวาง Sleeve
หรือ Block Out ผ่านคาน ทั้งในเรื่องขนาด และจำนวนที่จะวางในคานแต่ละตัว รวมทั้งการเสริม
เหล็กโครงสร้าง
44
3. โดยทั่วไปการวาง Sleeve หรือ Block Out ผ่านคานจะวางในบริเวณกึ่งกลางคาน เนื่องจาก
ในบริเวณดังกล่าวมีเหล็กโครงสร้างน้อยที่สุดหรือไม่มีเลย

4. หากเป็นไปได้ควรผ่าน Sleeve เป็น Spare จำนวนหนึง่ เพื่ออาจจะสามารถใช้ในอนาคตได้

5. งานที่ควรพิจารณาให้ติดตั้งผ่านคาน ได้แก่
5.1 ท่อน้ำระบบต่างๆ ได้แก่
- ระบบป้องกันเพลิงไหม้
- ระบบสุขาภิบาล (แต่ถ้าเป็นท่อระบายน้ำทิ้งควรระวังเรื่อง Slope ด้วย
5.2 ท่อร้อยสายไฟฟ้า
5.3 Wireway ขนาดเล็ก

6. ขนาดของ Sleeve หรือ Block Out ที่วางควรกำหนดให้มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง หรือความ


สูงที่มากที่สุด ซึ่งต้องกำหนดโดยผู้ออกแบบงานโครงสร้าง

2. ส่วนประกอบของSleeve

2.1 ท่อ PVC ชั้นคุณภาพ 8.5 หรือ 13.5 สามารถเลือกใช้ได้ตาม

ข้อกำหนดของโครงการ

2.2 แผ่น PVCหรือที่เรีนกว่า FLASHING ใช้สำหรับป้องกันการ

ไหลซึมของน้ำ

2.3 แนวเชื่อมของลวดเชื่อม PVC ที่หลอมละลายยึดติดระหว่าง


ท่อ PVC กับ แผ่น PVC

2.4 ข้อต่อตรง PVC ขนาดเดียวกันกับท่อ PVC ในข้อ 1

รูปที่ 57 ภาพแสดงส่วนประกอบของ Sleeve


ที่มา : https://www.cmroojaichang.com
45
3. หลักการทั่วไปในการทำช่องเปิดคานสำหรับวาง Sleeve
ช่องเปิดวงกลมมักดีกว่าช่องเปิดรูปเหลี่ยมเนื่องจากไม่มีการกระจุกตัวของหน่วยแรงที่มุมซึง่ จะทำให้เกิด
การแตกร้าว ในกรณีที่ช่องเปิดมีขนาดเล็กที่มีขนาดไม่เกิน 25% ของความลึกคาน อาจถือได้ว่าไม่มีผลต่อ
กำลังของคาน การวิเคราะห์และออกแบบจะเหมือนกับในกรณีที่ไม่มีช่องเปิด แต่ต้องเสริมเหล็กพิเศษเพื่อ
ช่วยต้านทานการแตกร้าวจากการกระจุกตัวของหน่วยแรง

รูปที่ 58 ภาพแสดงช่องเปิดขนาดเล็กบริเวณคาน
ที่มา : https://engfanatic.tumcivil.com/engfanatic/article/

เหล็กเสริมพิเศษโดยรอบช่องเปิดเป็นสิ่งที่จำเป็นเพื่อควบคุมการแตกร้าวขณะรับน้ำหนักบรรทุกใช้งาน
และช่วยลดการแอ่นตัวของคาน โดยทั่วไปจะใช้เหล็กเสริมทแยงและเหล็กปลอกในแนวดิ่งควบคู่กันซึ่ง
นอกจากจะช่วยลดการแตกร้าวแล้ว ยังช่วยเพิ่มกำลังของคานอีกด้วย

รูปที่ 59 ภาพแสดงตำแหน่งของช่องเปิดในคาน
ที่มา : https://engfanatic.tumcivil.com/engfanatic/article/
46
4. ข้อแนะนำทั่วไปในการเลือกขนาดและตำแหน่งของช่องเปิดในคาน
1. สำหรับคานตัวที ช่องเปิดมักจะอยูใ่ ต้ปีกคาน ส่วนในคานสี่เหลี่ยม มักจะวางช่องเปิดที่กลางความลึก
หน้าตัด แต่ก็อาจวางเยื้องขึ้นลงได้ แต่ต้องมีเนื้อที่เหลือเพียงพอเพื่อรับแรงอัดจำกกำรดัด และมีความลึก
เพียงพอให้มีการเสริมเหล็กรับแรงเฉือน
2. ช่องเปิดอยู่หา่ งจำกจุดรองรับน้ำหนักกระทำเป็นจุด และช่องเปิดข้างเคียงอย่ำงน้อย h/2 เมื่อ h คือ
ความลึกคาน เพื่อหลีกเลี่ยงพื้นที่วิกฤตต่อการวิบัติโดยการเฉือน และ ความแออัดของเหล็กเสริม
3. ความลึกของช่องเปิดควรจะไม่เกิน h/2
4. ปัจจัยที่จำกัดความยาวช่องเปิดคือเสถียรภาพของท่อนคอร์ดรับแรงอัดและการแอ่นตัวของคาน แทนที่
จะทำช่องเปิดขนาดใหญ่อาจจะทำเป็นช่องเปิดขนาดเล็กหลายช่องแทน
5. เมื่อใช้ช่องเปิดหลายช่อง ระยะห่างของแต่ละช่องเปิดไม่ควรจะน้อยกว่า h/2

5. แบบรายละเอียดการเสริมเหล็ก

รูปที่ 60 ภาพแสดงรายละเอียดการเสริมเหล็กในคานมีช่องเปิด
ที่มา : https://engfanatic.tumcivil.com/engfanatic/article/
47
บรรณานุกรม
Itdang. ผนัง Precast VS ผนังอิฐแดงฉาบปูน.
เข้าถึงเมื่อ 18 ตุลาคม 2566. เข้าถึงได้จาก https://itdang2009.com/ผนัง-precast-vs-ผนังอิฐแดงฉาบปูน/
กิจศิริ ซีเมนต์ไทยโฮมมาร์ท. บ้านระบบผนังสำเร็จรูป Precast.
เข้าถึงเมื่อ 18 ตุลาคม 2566. เข้าถึงได้จาก
https://www.cementhaihomemart.com/news/precast-system.html
บริษัทเชียงใหม่รู้ใจช่าง. ท่อSLEEVE คืออะไร?.
เข้าถึงเมื่อ 18 ตุลาคม 2566. เข้าถึงได้จาก https://www.cmroojaichang.com/ท่อ-sleeve-คืออะไร/
Yada.S. เทียบบ้าน Precast กับ ก่ออิฐฉาบปูน ดี-เสีย ต่างกันอย่างไร?
เข้าถึงเมื่อ 18 ตุลาคม 2566. เข้าถึงได้จาก https://thinkofliving.com/ไอเดียตกแต่ง/เทียบบ้าน-
precast-กับ-ก่ออิฐฉาบปูน-ดี-เสีย-ต่างกันอย่างไร-693845
หจก.ภัทร สตีลเซนเตอร์. ลวดตาข่ายงานฉาบผนัง ลวดตาข่ายกันกำแพงร้าว
เข้าถึงเมื่อ 18 ตุลาคม 2566. เข้าถึงได้จาก http://pksteelgroup.lnwshop.com/article/8/ลวดตา
ข่ายงานฉาบผนัง-ลวดตาข่ายกันกำแพงร้าว
บริษัท ทีพีเค รุ่งเรืองกิจ จำกัด. ตะแกรงกรงไก่
เข้าถึงเมื่อ 18 ตุลาคม 2566. เข้าถึงได้จาก https://www.tpkrungrueangkit.com/สินค้าของเรา/
ตะแกรงกรงไก่/
VGrating. ตะแกรงกรงไก่และการใช้งาน
เข้าถึงเมื่อ 18 ตุลาคม 2566. เข้าถึงได้จาก https://www.vgrating.com/18054509/ตะแกรงกรงไก่และ
การใช้งาน
บริษัท จระเข้ คอร์ปอเรชั่น จำกัด. สกิม โค้ท (Skim Coat) คืออะไร?
เข้าถึงเมื่อ 18 ตุลาคม 2566. เข้าถึงได้จาก https://www.jorakay.co.th/blog/owner/wall/what-is-
skim-coat
SUPER Tools. อุปกรณ์ก่อสร้างที่คุณต้องรู้ – คู่มือสำหรับช่างก่อสร้างมือใหม่
เข้าถึงเมื่อ 18 ตุลาคม 2566. เข้าถึงได้จาก
https://www.supertools.co.th/content/29143/construction-tools-you-need-to-know-a-
guide-for-beginner-builders#:~:text= 1.เครื่องมือช่างพื้นฐาน%3A%20สาย,เซาะร่อง%2C%20และ
เครื่องปาด
48
บริษัท ทีโอเอ เพนท์ ( ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน). สกิมโค้ท เลือกและใช้ยังไงให้ผนังกลับมาเนียนกริบ
เข้าถึงเมื่อ 18 ตุลาคม 2566. เข้าถึงได้จาก https://www.toagroup.com/th/blogs/toa-tips-how-
to/191/fix-and-skim-coat-damaged-wall
สมาคมธุรกิจรับสร้างบ้าน. เรื่องควรรู้! ขั้นตอนสำคัญเพื่อการสร้างบ้านให้ได้มาตรฐานสูง
เข้าถึงเมื่อ 18 ตุลาคม 2566. เข้าถึงได้จาก https://hba-th.org/บ้านน่ารู้/important-steps-
building-house-high-standard
บริษัท ไชยเจริญเทค จำกัด. การก่อสร้าง ความหมาย ประเภท และการแบ่งงานก่อสร้าง
เข้าถึงเมื่อ 18 ตุลาคม 2566. เข้าถึงได้จาก https://www.chi.co.th/article/article-1201/
Cronin, Jeff. "S. Carolina Court to Decide Legality of Design-Build Bids". Construction Equipment
Guide.
เข้าถึงเมื่อ 18 ตุลาคม 2566. เข้าถึงได้จาก https://www.constructionequipmentguide.com/s-
carolina-court-to-decide-legality-of-design-build-bids/5592

You might also like