ปรนัย ม.1 - พลังงานความร้อน - ตอนที่ 1 ตัวชี้วัด ม1ทับ1 ถึง ม.1ทับ4

You might also like

Download as docx, pdf, or txt
Download as docx, pdf, or txt
You are on page 1of 16

ตรา โรงเรียน................................. อำเภอ...............................

โรงเรียน จังหวัด..........................
แบบทดสอบวัดผลรายตัวชี้วัด ชั้น มัธยมศึกษาปี ที่ 1
(ถ้ามี)
กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิชา
วิทยาศาสตร์ รหัส วิชา ..................
ผู้ออกข้อสอบ นาย ...............................................................................
บทที่ 4 พลังงานความร้อน
สาระที่ 2 วิทยาศาสตร์กายภาพ มาตรฐาน ว 2.3 (ตัวชี้วัด ม 1/1-
ม.1/4)

ตัวชี้วัด ม.1/1 วิเคราะห์ แปลความหมายข้อมูล และคำนวณปริมาณความ


ร้อนที่ทำ ให้สสารเปลี่ยนอุณหภูมิและเปลี่ยนสถานะ โดยใช้สมการ Q =
mc∆t และ Q = mL

1. ความจุความร้อนจำเพาะหมายถึงข้อใด

ก. พลังงานความร้อนที่ให้แก่สาร

ข. พลังงานความร้อนที่ให้แก่สารต่ออุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น

ค. พลังงานความร้อนที่ให้แก่สารต่อหนึ่งหน่วยมวล

ง.พลังงานความร้อนที่ให้แก่สารต่อหนึ่งหน่วยมวลต่อหนึ่งหน่วยอุณหภูมิที่
เพิ่มขึ้น

2. ความร้อนแฝง หมายถึง ข้อใด

ก. ปริมาณความร้อนที่สารใช้ในการเปลี่ยนแปลงสถานะ โดยอุณหภูมิ
เปลี่ยนแปลง
ข. ปริมาณความร้อนที่สารใช้ในการเปลี่ยนแปลงสถานะ โดยอุณหภูมิ
คงที่

ค. ปริมาณความร้อนที่สารใช้ในการเปลี่ยนแปลงเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ

ง. ปริมาณความร้อนที่สารใช้ในการรักษาสภาพทั้งสถานะและอุณหภูมิ
คงเดิม

3. สาร A มีความจุความร้อนจำเพาะมากกว่าสาร B สารทั้งสองมีมวลเท่ากัน


เมื่อให้ความร้อนแก่สารทั้งสองเท่ากันที่อุณหภูมิห้อง ข้อใดถูกต้อง

ก. อุณหภูมิสาร A มากกว่าสาร B ข. อุณหภูมิสาร A น้อย


กว่าสาร B

ค. อุณหภูมิสาร A เท่ากับสาร B ง. ความจุความร้อนของ


สาร A เท่ากับสาร B

4. สารต่างชนิดกัน มวลเท่ากัน ให้ความร้อนปริมาณเท่ากัน สารทั้งสองจะมี


อุณหภูมิเปลี่ยนแปลงเป็ นไปตามข้อใด

ก. เท่ากัน เพราะมวลเท่ากัน ข. เท่ากัน เพราะ ให้ความร้อน


เท่ากัน

ค. ไม่เท่ากัน เพราะมีความจุความร้อนต่างกัน ง. ไม่เท่ากัน เพราะมี


ความร้อนแฝงต่างกัน
5. จากกราฟระหว่างปริมาณความร้อนที่ให้กับสาร กับอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น ข้อใด
ถูกต้อง โดยสารทั้งสองมีมวลเท่ากัน

ก. สาร A มีความจุความร้อนจำเพาะมากกว่าสาร B

ข. สาร A มีความจุความร้อนจำเพาะน้อยกว่าสาร B

ค. สาร A มีความจุความร้อนจำเพาะเท่ากับสาร B

ง. สาร A มีความจุความร้อนเท่ากับสาร B

6. เหล็กความจุความร้อนจำเพาะ 450 J/kg K น้ำความจุความร้อนจำเพาะ


4,180 J/kg K เหล็กและน้ำมีมวลเท่ากันอุณหภูมิเท่ากัน เมื่อทำให้อุณหภูมิลด
ลงเท่ากัน สารใดจะคายความร้อนได้มากกว่า

ก. เหล็ก ข. น้ำ

ค. เท่ากันทั้งเหล็กและน้ำ ง. ข้อมูลไม่เพียงพอ

7.ถ้านักเรียนต้องการทำให้น้ำแข็งมวล 10 กรัม เกิดการหลอมเหลวกลายเป็ น


ของเหลวได้หมดพอดี จะต้องใช้ปริมาณความร้อนเท่าใด (กำหนดให้ค่าความ
ร้อนแฝง เท่ากับ 80 Cal./g)

ก. 8 Cal. ข. 8 J

ค. 800 Cal. ง. 800 J


o
8. ช้อนเงินมีมวล 60 กรัม อุณหภูมิ 25 C นำไปแช่ในน้ำร้อนจนมีอุณหภูมิเป็ น
o
60 C ช้อนเงินได้รับความร้อนจากน้ำร้อนเท่าไร ความจุความร้อนจำเพาะของ
o
เงิน = 0.05 cal/g C)

ก. 100 แคลอรี่ ข. 105 แคลอรี่

ค. 110 แคลอรี่ ง. 115 แคลอรี่

9. น้ำ 1 kg อุณหภูมิ 30 องศาเซลเซียส ต้องการต้มให้เดือดเป็ นน้ำ 100 องศา


เซลเซียส ความจุความร้อนจำเพาะของน้ำ 4,180 J/kg K จะต้องใช้ความร้อน
เท่าใด

ก. 125.4 kJ ข. 146.3 kJ

ค. 292.6 kJ ง. 303.4 kJ

10. ก้อนน้ำแข็งมวล 800 g อุณหภูมิ -10 °c ถ้าต้องการให้ละลายหมดพอดีจะ


ต้องใช้พลังงานความร้อนอย่างน้อย กี่แคลอรี่ กำหนดความจุความร้อน จำเพาะ
ของเเข็ง คือ 0.5 Cal/g °c และค่าความร้อนแฝงของการหลอมเหลวน้ำแข็งมี
ค่า 80 Cal/ g

ก. 680 Cal. ข. 6 ม 800 Cal.

ค. 68,000 Cal. ง. 680,000 Cal.

ตัวชี้วัด ม.1/2 ใช้เทอร์มอมิเตอร์ในการวัดอุณหภูมิของสสาร

11. ข้อใดบอกความหมายของอุณหภูมิได้ถูกต้อง

ก. ขนาดของความร้อนในวัตถุ ข. ความจุความร้อนในวัตถุ
ค. ระดับความร้อนในวัตถุ ง. พลังงานความร้อนในวัตถุ

12. ข้อใดถูกต้อง

ก. เคลวิน – ระบบเอสไอ ข. องศาฟาเรนไฮต์ – ระบบเมตริก

ค. องศาเซลเซียส – ระบบอังกฤษ ง. องศาเซลเซียส – ระบบเอสไอ

13. ข้อใดไม่ใช่หน่วยวัดอุณหภูมิ

ก. บาร์เรล ข. เคลวิล

ค. โรเมอร์ ง. ฟาเรนไฮต์

14. ถ้านำน้ำดื่มไปวางไว้ที่อุณหภูมิ 194 องศาฟาเรสไฮด์ น้ำจะมีลักษณะตาม


ข้อใด

ก. น้ำเย็นจัด ข. น้ำร้อนจัด

ค. น้ำกลายเป็ นน้ำแข็ง ง. น้ำระเหยกลายเป็ นไอ

15. อุณหภูมิของร่างกายคนปกติเท่ากับ 37 องศาเซลเซียส มีค่าเท่ากับกี่องศา


ฟาเรนไฮต์
0 0
ก. 37 F ข. 86.6 F
0 0
ค. 98.6 F ง. 108.0 F

16. วัตถุชิ้นหนึ่งมีอุณหภูมิ 35 องศาเซลเซียส มีค่าเท่ากับกี่เคลวิน

ก. 273 K ข. 308 K

ค. -238 K ง. -373 K

17. อุณหภูมิในข้อใด มีผลทำให้นักเรียนจะรู้สึกร้อนมากที่สุด


0 0
ก. 100 F ข. 35 C
0
ค. 300 K ง. 28 R

18. ข้อใดต่อไปนี้ไม่ถูกต้อง

ก. อุณหภูมิ 313K เย็นกว่าที่อุณหภูมิ 40 องศา R


0 0
ข. อุณหภูมิ 27 C เย็นกว่าที่อุณหภูมิ 20 R
0 0
ค. อุณหภูมิ 20 R เย็นกว่าที่อุณหภูมิ 90 F
0
ง. อุณหภูมิ 90 F เย็นกว่าที่อุณหภูมิ 313K
0
19. ถ้านำน้ำดื่มไปวางไว้ที่อุณหภูมิ 194 F น้ำจะมีลักษณะตามข้อใด

ก. น้ำเย็นจัด ข. น้ำร้อนจัด

ค. น้ำกลายเป็ นน้ำแข็ง ง. น้ำระเหยกลายเป็ นไอ

20. สารชนิดหนึ่งมีอุณหภูมิ 8 K จะมีอุณหภูมิกี่องศาโรห์เมอร์

ก. 212 องศาโรห์เมอร์ ข. 265 องศาโรห์เมอร์

ค. -212 องศาโรห์เมอร์ ง. -265 องศาโรห์เมอร์

ตัวชี้วัด ม.1/3 สร้างแบบจำลองที่อธิบายการขยายตัว หรือหดตัวของสสาร


เนื่องจากได้รับ หรือสูญเสีย ความร้อน

21. ปริมาตรของสสารเมื่อได้รับความร้อนจะเป็ นอย่างไร


ก. ลดลง ข. เท่าเดิม

ค. เพิ่มขึ้น ง. ลดลงหรือเพิ่มขึ้น

22. แก๊ส ของเหลว และของแข็ง เมื่อได้รับความร้อนจะเกิดการเปลี่ยนแปลง


อย่างไร

ก. เปลี่ยนสถานะ ปริมาตรเท่าเดิม ข. เปลี่ยนสถานะ


ปริมาตรเพิ่มขึ้น

ค. เกิดการขยายตัว ปริมาตรเท่าเดิม ง. เกิดการขยายตัว


ปริมาตรเพิ่มขึ้น

23. แก๊ส เมื่อได้รับความร้อน พลังงานจลน์จะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร

ก. พลังงานจลน์เปลี่ยนเป็ นพลังงานศักย์ ข. พลังงานจลน์เปลี่ยน


เป็ นพลังงานกล

ค. พลังงานจลน์เพิ่มขึ้น ง. พลังงานจลน์ลดลง

24. ข้อใดเรียงลำดับการขยายตัวของสารเมื่อได้รับความร้อนได้ถูกต้อง จาก


มากไปหาน้อย

ก. ของแข็ง ของเหลว แก๊ส ข. ของเหลว แก๊ส ของแข็ง

ค. แก๊ส ของแข็ง ของเหลว ง. แก๊ส ของเหลว ของแข็ง

25. เมื่อให้พลังงานความร้อนแก่น้ำจนกลายเป็ นไอ การเคลื่อนไหวของโมเลกุล


ของน้ำจะเป็ นไปตามข้อใด

ก. เคลื่อนที่ช้าลง ข. เคลื่อนที่เข้าหากัน

ค. จับตัวกันแน่นขึ้น ง. เคลื่อนที่เร็วและเป็ นอิสระ


26. การขยายตัวและการอ่อนตัวลงของเหล็กเมื่อได้รับความร้อน เป็ นการขยาย
ตัวในรูปแบบใด

ก. การขยายตัวเชิงเส้น ข. การขยายตัวเชิงพื้นที่

ค. การขยายตัวเชิงคุณภาพ ง. การขยายตัวเชิงปริมาตร

27. จากข้อความต่อไปนี้

1. โมเลกุลของแก๊สมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างกันน้อย จึงทำให้มี
พลังงานจลน์มาก

2.ความร้อนของสารเกิดจากการสั่นของโมเลกุล

3.อุณหภูมิของสารสูง แสดงว่ามีความร้อนมาก

ข้อใดกล่าวถูกต้อง

ก. 1 และ 2 ข. 2 และ 3

ค. 1 และ 3 ง. 1 2 และ 3

28. ข้อความต่อไปนี้ข้อใดกล่าวผิด

ก. ของแข็งโมเลกุลอยู่ใกล้กัน มีแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลมาก จึงมี


ปริมาตรและรูปร่างแน่นอน
ข. ของเหลวมีแรงยึดเหนี่ยวระหว่างโมเลกุลน้อยกว่าของแข็ง โมเลกุล
ของเหลวจึงเคลื่อนที่ตลอดเวลา

ค. แก๊สเป็ นสถานะที่มีเเรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลน้อยที่สุด

ง. ของแข็งเป็ นสถานะที่โมเลกุลไม่มีการสั่นจึงไม่มีความร้อนอยู่เลย

29. สารจะรับความร้อนได้มากน้อยเพียงใด ไม่ขึ้นกับปริมาณใด

ก. มวลของสาร ข. ความจุความร้อนของสาร

ค. อุณหภูมิของสาร ง. ปริมาณความร้อนที่ให้

30. เมื่อของเหลวได้รับความร้อน อนุภาคของของเหลวจะเกิดการเปลี่ยนแปลง


อย่างไร

ก. พลังงานลดลง เคลื่อนที่ลดลง และแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคลดลง

ข. พลังงานลดลง เคลื่อนที่ลดลง และแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคมาก


ขึ้น

ค. พลังงานเพิ่มขึ้น เคลื่อนที่เพิ่มขึ้น และแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค


มากขึ้น

ง. พลังงานเพิ่มขึ้น เคลื่อนที่เพิ่มขึ้น และแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาคลด


ลง
ตัวชี้วัด ม.1/4 ตระหนักถึงประโยชน์ของความรู้ของการหดและขยายตัวของ
สสารเนื่องจากความร้อน โดยวิเคราะห์สถานการณ์ปั ญหา และเสนอแนะวิธี
การนำความรู้มาแก้ปั ญหา ในชีวิตประจำวัน

31. ข้อใดต่อไปนี้ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการหดตัวหรือขยายตัวของสสาร

ก. ลูกหมุนระบายอากาศ ข. พืชสังเคราะห์ด้วยแสง

ค. ถนนคอนกรีต ง. เทอร์โมสตัท

32. ข้อใดเป็ นการนำหลักของการขยายตัวของวัตถุเนื่องจากความร้อนไปใช้


ประโยชน์อย่างถูกต้อง

ก. การนอนอาบแดดในฤดูร้อน

ข. การวางรางรถไฟโดยเว้นช่องว่างให้ห่างกันเล็กน้อย

ค. การทำที่จับพลาสติกของหม้อต้มเพื่อป้ องกันความร้อน

ง. การเติมน้ำในหม้อน้ำรถยนต์จนเต็มเพื่อป้ องกันเครื่องยนต์เสียหาย

33. หนูนาเล่นปิ งปองจนลูกปิ งปองยุบ หนูนาควรทำอย่างไรเพื่อให้ลูกปิ งปอง


กลับมาเป็ นเหมือนเดิม

ก. นำไปต้ม ข. แช่ในตู้เย็น

ค. แช่ในแอลกอฮอล์ ง. แช่ในสารละลายกรด

34. เพราะเหตุใดสะพานโลหะจึงมักวางอยู่บนลูกกลิ้ง

ก. เพื่อสะดวกในการเคลื่อนย้าย

ข. เพื่อสะดวกในการยกสะพานปิ ด-เปิ ด
ค. เพื่อป้ องกันไม่ให้เกิดการเคลื่อนที่

ง. เพื่อให้โครงสะพานสามารถขยายตัวและหดตัวได้ลดการชำรุด

35. ข้อใดต่อไปนี้ที่เกี่ยวข้องกับการหดตัวหรือขยายตัวของสสารโดยตรง

ก. ด้ามจับกระทะทำด้วยพลาสติก ข. พืชสังเคราะห์ด้วยแสง

ค. ถนนคอนกรีต ง. การทำช่องระบายความร้อน
ของบ้าน

36. ในประเทศที่หนาวเย็น น้ำในแม่น้ำลำคลองส่วนบนจะแข็งตัวเป็ นน้ำแข็ง


แต่ทำไมสัตว์น้ำที่อยู่ใต้แผ่นน้ำแข็งสามารถมีชีวิตอยู่ได้

ก. เพราะสัตว์น้ำที่อยู่ใต้แผ่นน้ำแข็ง ไม่เคลื่อนที่

ข. เพราะสัตว์น้ำที่อยู่ใต้แผ่นน้ำแข็ง เกิดการเคลื่อนที่มากขึ้น

ค. เพราะน้ำที่อยู่ส่วนล่างแม่น้ำมีอุณหภูมิสูงกว่าด้านบนที่เป็ นน้ำแข็ง

ง. เพราะน้ำน้ำที่อยู่ส่วนล่างแม่น้ำมีความหนาแน่นน้อยกว่าส่วนบนที่เป็ น
น้ำแข็ง

37. การลอยตัวของบอลลูนและโคมลอย เป็ นผลเนื่องมาจากสิ่งใด

ก. อากาศภายในบอลลูนและโคมลอยได้รับความร้อน

ข. มีแรงเป่ าจากลมภายนอกเข้าไปในบอลลูนและโคมลอยมาก

ค. อากาศภายในบอลลูนและโคมลอยเกิดการเย็นตัวลง

ง. เกิดจากแรงผลักของคนที่ดันให้บอลลูนและโคมลอยลอยขึ้น
38. เมื่อนำลูกโป่ งที่ครอบบนขวดไปแช่ในน้ำร้อนจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไร

ก. ลูกโป่ งไม่พองตัว ข. ลูกโป่ งพองตัวมากขึ้น

ค. ลูกโป่ งหดตัวลง ง. ลูกโป่ งแตก

39. ข้อใด ไม่ เกี่ยวข้องกับการนำความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการขยายหรือหด


ตัวของสสารไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวัน

ก. การสร้างเรือ ข. การสร้างถนน

ค. การเคลื่อนที่ของบอลลูน ง. การเคลื่อนที่ของโคมลอย

40. ข้อใดกล่าว ไม่ ถูกต้อง

ก. การเปิ ดฝาขวดเกลียวที่ปิ ดแน่นทำได้โดยเทน้ำเย็นบนฝาขวดเกลียวจะ


ทำให้เปิ ดขวดง่ายขึ้น

ข. อากาศร้อนใต้หลังคาจะลอยตัวขึ้นสู่ที่สูงแล้วระบายออกโดยลูกหมุน
ระบายอากาศที่ติดอยู่บนหลังคา

ค. การขยายตัวและหดตัวของปรอทที่บรรจุอยู่ในเทอร์มอมิเตอร์ สามารถ
ใช้วัดอุณหภูมิของสิ่งต่าง ๆ ได้

ง. การสร้างรางรถไฟ ต้องมีการออกแบบให้มีช่องว่างเล็ก ๆ เป็ นช่วง ๆ


เพื่อให้วัสดุผิวถนนสามารถขยาย

เฉลย
ข้อ เฉลย และ อธิบาย
1. ง.พลังงานความร้อนที่ให้แก่สารต่อหนึ่งหน่วยมวลต่อหนึ่งหน่วยอุณหภูมิ
ที่เพิ่มขึ้น
2. ข. ปริมาณความร้อนที่สารใช้ในการเปลี่ยนแปลงสถานะ โดยอุณหภูมิ
คงที่
3. ข. อุณหภูมิสาร A น้อยกว่าสาร B เพราะความจุความร้อนมาก จะต้อง
ใช้ความร้อนมากกว่าในการเปลี่ยนอุณหภูมิ สาร A จึงอุณหภูมิขึ้นช้า
กว่า
4. ค. ไม่เท่ากัน เพราะมีความจุความร้อนต่างกัน
5. ข. สาร A มีความจุความร้อนจำเพาะน้อยกว่าสาร B เพราะสาร A มี
การเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิมากกว่า B (กราฟชันกว่า) แปลว่า สาร A
ใช้ความร้อนเท่าๆ กับสาร A แต่สาร A สามารถมีอุณหภูมิเปลี่ยนไปได้
มากกว่า นั่นแปลว่า มีความจุความร้อนที่ต่ำกว่า
6. ข. น้ำ เพราะน้ำมีค่าความจุความร้อนมากกว่าเหล็ก การจะทำให้น้ำ
อุณหภูมิลดลงเท่าๆกันกับเหล็ก น้ำจะต้องคายความร้อนออกมา
มากกว่า
7. ค. 800 Cal.
q = ml
q = 10 g x 80 Cal./g = 800 Cal.
8. ข. 1,05 แคลอรี่
ใช้สูตร q = mc∆t
q = 60 x (0.05) x (60-25)
q = 105
9. ค. 292.6 kJ
ใช้สูตร q = mc∆t
q = 1 x (4,180) x (100-30)
q = 292600 J หรือ 292.6 KJ
10. ค. 68,000 Cal. น้ำเเข็งอุณหภูมิ -10 องศา กลายเป็ นน้ำเเข็งอุณห
ภูมิ 0 องศา
(C = ความจุความร้อนจำเพาะของสาร )
ใช้สูตร q = mc∆t
q = 800(0.5)(0 -(-10))
q = 4,000 cal หรือ 4 Kcal
น้ำเเข็งละลายกลายเป็ นน้ำ 0 องศา
(L = ความร้อนแฝง)
ใช้สูตร q = mL
q = 800(80)
q = 64,000 cal หรือ 64 Kcal
เอา q ที่ได้จากที่คิดด้านบนทั้ง 2 มาบวกกัน จะได้ 4 Kcal + 64 Kcal
= 68 Kcal หรือ 68,000 cal
11. ค. ระดับความร้อนในวัตถุ
12. ก. เคลวิน – ระบบเอสไอ
13. ก. บาร์เรล

14. ข. น้ำร้อนจัด = เทียบเท่า 90 องศาเซลเซียส


จากสูตร (F-32)/9 = C/5
(194-32)/9 = C/5
C = 90
0
15. ค. 98.6 F
จากสูตร (F-32)/9 = C/5
(F-32)/9 = 37/5
F = 98.6
16. ข. 308 K
จากสูตร (K-273)/5 = C/5
(K-273)/5 = 35/5
K = 308
0
17. ก. 100 F
0 0
100 F = 37.78 C
0
300 K = 28 C
0 0
28 R = 35 C
0 0
18. ข. อุณหภูมิ 27 C เย็นกว่าที่อุณหภูมิ 20 R ผิด
0 0
เทียบโดย 27 C จะเท่ากับกี่ R ใช้สูตร C/5 = R/4
27/5 = R/4
R = 24.6 **** ร้อน
กว่า
19. ข. น้ำร้อนจัด
เทียบ F เป็ น C ใช้สูตร (F-32)/9 = C/5
(194-32)/9 = C/5
C = 90 ร้อนจัด
20. ค. -212 องศาโรห์เมอร์
จากสูตร (K-273)/5 = R/4
(8-273)/5 = R/4
R = -212
21. ค. เพิ่มขึ้น
22. ง. เกิดการขยายตัว ปริมาตรเพิ่มขึ้น
23. ค. พลังงานจลน์เพิ่มขึ้น
24. ง. แก๊ส ของเหลว ของแข็ง
25. ง.เคลื่อนที่เร็วและเป็ นอิสระ
26. ข. การขยายตัวเชิงพื้นที่
27. ง. 1 2 และ 3
28. ง. ของแข็งเป็ นสถานะที่โมเลกุลไม่มีการสั่นจึงไม่มีความร้อนอยู่เลย
29. ค. อุณหภูมิของสาร อุณหภูมิ คือ สิ่งที่กำหนดมาเพื่อวัดค่าความร้อน
ของสาร
30. ง. พลังงานเพิ่มขึ้น เคลื่อนที่เพิ่มขึ้น และแรงยึดเหนี่ยวระหว่างอนุภาค
ลดลง
31. ข. พืชสังเคราะห์ด้วยแสง
32. ข. การวางรางรถไฟโดยเว้นช่องว่างให้ห่างกัน
33. ก. นำไปต้ม
34. ง. เพื่อให้โครงสะพานสามารถขยายตัวและหดตัวได้ลดการชำรุด
35. ค. ถนนคอนกรีต
36. ง. เพราะน้ำน้ำที่อยู่ส่วนล่างแม่น้ำมีความหนาแน่นน้อยกว่าส่วนบนที่
เป็ นน้ำแข็ง
37. ก. อากาศภายในบอลลูนและโคมลอยได้รับความร้อน
38. ข. ลูกโป่ งพองตัวมากขึ้น
39. ก. การสร้างเรือ จะใช้หลักการ ความหนาแน่น และแรงพยุงมากกว่า
40. ก. การเปิ ดฝาขวดเกลียวที่ปิ ดแน่นทำได้โดยเทน้ำเย็นบนฝาขวดเกลียว
จะทำให้เปิ ดขวดง่ายขึ้น ต้องใช้น้ำร้อน

You might also like