Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 19

คู่มือปลูกพริก ศูนย์วิจัยและพัฒนาพืชผักเขตร้อน 2556.

-----------------------------------------------------------------------------------------------------
พริกเป็นพืชผักที่มีพื้นที่ปลูกมากที่สุดในประเทศ มากกว่า 400,000 ไร่ อาจกล่าวได้ว่าวิถีชีวิต
ความเป็นอยู่ของคนไทยรวมทั้งคนเอเชียทุกครัวเรือน “ขาดพริกไม่ได้” จะต้องมีพริกเกี่ยวข้องในมื้ออาหาร
ที่บริโภคเป็นประจําทุกวัน แม้กระทัง่ พริกสดและผลิตภัณฑ์พริกยังถูกส่งไปจําหน่ายในประเทศใกล้เคียง
หรือในแถบยุโรป อเมริกา ทีค่ นเอเซียไปอยู่อาศัย นอกจากใช้บริโภคผลสดแล้วผลผลิตยังถูกนําไปแปรรูปใน
โรงงานอุตสาหกรรมทําผลิตภัณฑ์ต่างๆจากพริก เช่น ซอสพริก น้ําจิ้ม เครื่องแกงเผ็ด พริกแห้ง พริกป่น
และยาบรรเทาอาการปวด แมลงกัดต่อย
คําแนะนําต่างๆในคูม่ ือนี้สามารถดัดแปลงปรับเปลี่ยนแนวทางปฏิบัติตามสภาพพื้นที่ ประเภทดิน
พันธุ์พริกและฤดูปลูกซึ่งแตกต่างกันไปในแต่ละภูมิภาค
1. พันธุ์พริก
พริกที่ปลูกในประเทศไทย จําแนกได้เป็น 2 กลุ่มตามขนาดผล
1.1.กลุ่มพริกผลใหญ่ :
พริกชี้ฟา้ พริกมัน พริกหนุม่ และพริกเหลือง
ผลยาว 5-20 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางผล 1-3 เซนติเมตร รูปร่างผลมีหลายแบบ ส่วนมากผล
เรียวยาว ปลายผลแหลม สีผลอ่อนมีทั้งสีเขียวอ่อนและสีเขียวเข้ม ผลสุกแก่สีเหลือง ส้ม หรือสีแดง ขึ้นอยู่
กับพันธุ์ ผิวผลมัน ผิวอาจเรียบหรือย่น รสชาติค่อนข้างเผ็ด พริกชี้ฟ้า และพริกมันใช้ผลสดทั้งเขียวและแดง
ประกอบอาหาร เช่น ผัด แกง และนําไปทํสตาซอสพริ ร์ ก น้ําจิ้มต่างๆ ผลแดงเมื่อตากแห้งให้สีแดงสวย นําไปทํา
เครื่องแกงเผ็ด และพริกป่น สําหรับตรพริ ศากเหลืองใช้เป็นเครื่องปรุงในแกงเผ็ด ผัด หรือดองน้ําส้ม ส่วนพริก
หนุ่มใช้ทําน้ําพริกหนุ่ม ซอสพริ เ ก ษแต่ไม่นิยมนําไปทําพริกแห้งและพริกป่นเพราะสีไม่สวย เมล็ดพันธุ์ที่มี
จําหน่ายในท้องตลาดส่วนใหญ่ ย าลัยเป็นพันธุ์ลูกผสมจากบริษัทผลิตเมล็ดพันธุ์ต่างๆ มีพันธุ์ผสมปล่อยอยู่ในแหล่ง
ิท
ที่เกษตรกรเก็บเมล็ดหพัานวธุ์ปลูกต่อเนื่องกันมา เช่น พริกมันดําบางช้าง มันดําบางซอ
ัล ม
ร ิู้ดจิท
ว า ม
ค ลังค

พริกชี้ฟ้า พริกมันดํา พริกมันบางช้าง 365 พริกหนุ่มเขียว พริกหนุ่มขาว พริกเหลือง

พริกหยวก
ผลยาว 4-20 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางผล 1-4 เซนติเมตร ผลยาวรูปทรงกรวย ปลายผล แหลม
ตรง ผิวมันและเรียบ เนื้อหนา ผลอ่อนมีตั้งแต่สีเหลืองอ่อน สีเหลือง และสีเขียวอ่อน เมื่อผลสุกแก่มสี ีแดง
รสชาติเผ็ดน้อย ใช้ประกอบอาหาร เช่น หลน ผัด ย่าง หรือพริกหยวกยัดไส้
--------------------------------------------------------
ศูนย์วิจัยและพัฒนาพืชผักเขตร้อน 2556. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ อ.กําแพงแสน จ. นครปฐม
2

พริกหยวก CA 651 พริกหยวก CA 942 พริกหยวกลูกผสม บางเลน

พริกหวาน
หรื อ พริ ก ยั ก ษ์ ผลยาว 5-20 เซนติ เ มตร เส้ น ผ่ า ศู น ย์ ก ลางผล 5-12 เซนติ เ มตร รู ป ร่ า งผล
ทรงกระบอก ผิวมัน ผลอ่อนสีเขียว ผลสุกแก่มีทั้งสีเหลือง ส้ม แดง น้ําตาล และม่วง เนื้อหนา รสชาติไม่เผ็ด
รับประทานเป็นผักสดในจานสลัด ผัด ทําพริกยัดไส้อบหรือนึ่ง พันธุ์ที่ใช้ปลูกเป็นพันธุ์ลูกผสมทั้งหมด

ต ร ์
าส
1.2.กลุ่มพริกผลเล็ก
ษตรศ
พริกขี้หนูผลใหญ่ เก ลัย
ย า
ความยาวผลตัว้งแต่
า ิท 3-12 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางผล 0.3-1.0 เซนติเมตร ผลเรียวปลายแหลม
ผลอ่อนมีสีเขียวอ่อมนจนถึ ห งเขียวเข้ม ผลสุกแก่สีแดงสด รสชาติเผ็ด ใช้เป็นเครื่องปรุงอาหารประเภทน้ําพริก


ิท น้ําจิ้ม หรือรับประทานสด ผลแดงทําพริกแห้ง และพริกป่น พันธุ์ปลูกส่วนใหญ่เป็นพันธุ์ที่
ส้มตํา เครื่องแกง

้ ู จ


เกษตรกรเก็
ว มรบเมล็ดพันธุ์เองเช่น พันธุ์ยอดสน หัวเรือ จินดา ห้วยสีทน แต่พันธุ์ลูกผสมจากบริษัทต่างๆได้รับ

คลัง ยมมากขึ้นเนื่องจากผลผลิตสูง สีผลมีสีเขียวเข้มกว่าพันธุ์พื้นบ้าน ก้านผลใหญ่ เช่นพันธุ์ซุบเปอร์ฮอท
ความนิ

พริกขี้หนูลูกผสม เทวี 60 พริกขี้หนู TVRC 758 พริกหัวเรืออุบล พริกขี้หนู CA 156


3

พริกขี้หนูผลเล็ก
ผลขนาดเล็ก ความยาวผลน้อยกว่า 3 เซนติเมตร ผลอ่อนมีสีเขียวอ่อนจนถึงเขียวเข้ม ผลสุกแก่สี
แดง รสชาติเผ็ดจัด มีกลิ่นหอมเฉพาะ ใช้เป็นเครื่องปรุงอาหาร ประเภทน้ําพริก ต้มยํา ส้มตํา ยํา เครื่องแกง
น้ําจิ้ม และรับประทานสด พบเห็นทั่วไปคือ พริกขี้หนูสวน พริกกระเหรี่ยง

พริกขี้หนูหอม พริกขี้นก พริกขี้หนู CA 358


2. สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
พริกเจริญเติบโตได้ดีในสภาพอากาศร้อน ชื้น แสงแดดไม่จัดจนเกินไป จึงมักพบเห็นพริกเติบโตใต้
ต้นไม้ใหญ่ได้ดี อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพริก อยู่ในช่วง 20 - 30 องศาเซลเซียส (ยกเว้น
พริกหวาน ต้องการอุณหภูมิต่ํากว่าประมาณ 18 - 27 องศาเซลเซียส) อุณหภูมิที่สูงกว่า 33 องศาเซลเซียส
ทําให้ดอกร่วง และถ้าอุณหภูมิปรับเปลี่ยนอย่างรวดเร็ว สูงกว่า 35 องศาเซลเซียส โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดู
ร้อน อาจทําให้ผลอ่อนร่วงด้วย นอกจากนี้ การขาดน้ําก็มีผลให้ดอกร่วงเช่นกัน พริกชอบดินร่วนโปร่ง ไม่มี
น้ําขังแฉะ ความเป็นกรด-ด่าง (pH) ของดินที่เหมาะสม ประมาณ 6.0-6.5 การปลูกพริกในฤดูฝน
จําเป็นต้องเลือกปลูกบนที่ดอนหรือดินร่วนทรายหรื ์ อยกแปลงปลูกให้สูงเท่าที่จะทําได้ เพื่อให้การระบายน้ํา
ต ร
ออกจากแปลงปลูกทําได้อย่างรวดเร็วในช่
ร ศ าสวงที่ฝนตกติดต่อกัน และดินควรได้รับปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยหมัก ปุ๋ย
คอกหมัก อย่างน้อย 800-1,000กกิษโตลกรัมต่อไร่ เพื่อให้ดินอุดมสมบูรณ์ ร่วนโปร่ง และเป็นอาหารสําหรับ

จุลินทรีย์ในดิน ช่วยให้ต้นพริาลกัยแข็งแรง ทนทานโรคได้ดี
ิา ทย

3. การเจริญเติบโตมห
ัล
ิจิท ญเติบโตเป็นลําต้นเดี่ยวตั้งตรง เมื่อเติบโตจนถึงข้อที่ 9-15 จะแตกออกเป็น 2 กิ่ง หรือ
พริรกู้ดเจริ
เรียกว่คาวง่าามมแรก และที่ง่ามแรกจะมีตาดอกแรกเป็นดอกเดี่ยว 1 ดอก หรือในพริกขี้หนูสวนอาจมีดอก 1-2
คลังการเจริญเติบโตต่อไปจะแตกยอด จาก 2 กิ่ง 4 กิ่ง 8 กิ่ง ไปเรื่อยๆ พริกออกดอกที่ข้อเกือบทุก
ดอก
ข้อ ที่โคนลําต้นหลักใต้ง่ามแรกจะมีแขนงย่อยแตกตามข้อ 3-5 แขนง แขนงย่อยอาจมีขนาดใหญ่สมบูรณ์
สามารถให้ดอก ติดผลได้ถ้าใช้ระยะปลูกห่าง แต่ถ้าระยะปลูกแคบ แขนงมักไม่ค่อยสมบูรณ์ ติดผลขนาดเล็ก
ดังนั้นการปลูกพริกใหญ่จึงมักเด็ดกิ่งแขนงที่เกิดใต้ง่ามแรกออกทั้งหมด เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งแย่งอาหารจาก
ลําต้นหลัก สําหรับพริกขี้หนูซึ่งปลูกโดยใช้ระยะปลูกห่างกว่าพริกผลใหญ่ อาจไม่เด็ดกิ่งแขนงที่เกิดใต้ง่าม
แรกออกทั้งหมดก็ได้ เลือกกิ่งแขนงที่มีขนาดใหญ่ 1-2 แขนงเก็บไว้ จะได้ผลผลิตจากกิ่งแขนงด้วย เพราะ
พริกขี้หนูมีผลขนาดเล็ก ขนาดผลอาจเล็กลงบ้าง แต่ไม่แตกต่างจากผลปรกติมากนัก
4

พริกผลใหญ่ การแตกเป็น 2 กิ่งหรือ


ง่ามแรกเกิดประมาณข้อที่ 9
ส่วนพริกผลเล็ก ง่ามแรกมักเกิด
ประมาณข้อที่ 12-15

ใต้ง่ามแรกมีแขนงย่อยเกิดขึ้น
ประมาณ 4-5

ตารางการเจริญเติบโตของพริก
อายุ (วันหลังหยอดเมล็ด) การเจริญเติบโต
0 หยอดเมล็ด
3-6 เมล็ดเริ่มงอก
25 มีใบจริง 4-5 ใบ
50-60 พริกใหญ่เริม่ ออกดอก

70-80 สตร พริกเล็กเริ่มออกดอก
90-140 ต รศา พริกใหญ่เริม่ มีผลสุกและเก็บเกี่ยว
เ ก ษ
า ัย
ล110-180 พริกเล็กเริ่มมีผลสุกและเก็บเกี่ยว
ิา ทย


ม บรักษา
4. เมล็ดพันธุแ์ ละการเก็

ิ ัล
ิ จ
เมล็รู้ดดพันธุ์ที่ใช้ปลูกมี 2 ประเภท
ว า ม
ลัง ค 1. เมล็ดพันธุ์ลูกผสม มีจําหน่ายตามร้านขายวัสดุเกษตรทั่วไป เมื่อปลูกแล้วไม่ควรเก็บพันธุ์ปลูก
ต่คอไปอีก เพราะรูปร่างผลจะเปลี่ยนแปลงไป มีหลายขนาด หลายลักษณะแตกต่างจากรุ่นแรกที่ซื้อเมล็ดมา
ทําให้ตลาดไม่รับซื้อผลผลิต
2. เมล็ดพันธุ์ผสมปล่อย ส่วนใหญ่เป็นเมล็ดที่ได้จากท้องถิ่นที่เก็บพันธุ์ปลูกต่อๆกันมานาน มีความ
แปรปรวนของทรงต้นและลักษณะผลบ้าง ผลผลิตมักจะต่ํากว่าพันธุ์ลูกผสม แต่มีลักษณะเฉพาะตัวดีเด่นใน
แต่ละพันธุ์ เช่น พริกพันธุ์ยอดสน เมื่อตากแห้งแล้วก้านผลมีสีทองสวย
การเก็บเมล็ดพันธุ์และการคัดเลือกพันธุ์ สามารถทําได้ในพันธุ์ทั้งสองประเภท แต่การคัดพันธุ์จาก
เมล็ ด พั น ธุ์ ลู ก ผสมจะใช้ เ วลานานไม่ น้ อ ยกว่ า 6-7 ชั่ ว จึ ง จะได้ ส ายพั น ธุ์ ที่ นิ่ ง คื อ มี ลั ก ษณะสม่ํ า เสมอ
เหมือนกันในทุกชั่วที่เก็บเมล็ดปลูกต่อๆกันไป ต้องใช้เทคนิคในการควบคุมการผสมเกสร และคัดเลือก
ลักษณะที่ตรงตามต้องการของตลาด ซึ่งผู้ทําการคัดเลือกต้องมีความรู้ในการคัดพันธุ์พอสมควร ส่วนพันธุ์
5

ผสมปล่อยที่มีลักษณะต่างๆ แปรปรวนอยู่บ้าง วิธีการคัดพันธุ์คือ เลือกต้นที่มีลักษณะดี เช่น ผลดก ผลตรง


ผลใหญ่ ต้นตั้งตรงแข็งแรง แล้วเก็บเมล็ดพันธุ์จากต้นที่ดี อาจมีต้นที่มีลักษณะดีหลายต้น เก็บเมล็ดแยกต้น
กัน นําไปปลูกต่อ จากนั้นคัดเลือกต้นที่ดีโดยยึดลักษณะเช่นที่เคยคัดเลือกมาซ้ํา 2-4 ชั่ว ก็จะได้พันธุ์ปลูกที่
ดี มีลักษณะตามที่เราคัดเลือก และถ้าให้ได้พันธุ์ที่มีลักษณะสม่ําเสมอเร็วขึ้น จะต้องควบคุมการผสมเกสร
เพื่อให้ต้นพริกที่เราคัดเลือกไว้ติดผลจากเกสรในดอกเดียวกันหรือของต้นเดียวกัน โดยใช้สําลีหุ้มดอกที่ยัง
ตูมอยู่ ไม่ให้แมลงมาผสมเกสรในดอกนั้น ดอกที่เราคลุมด้วยสําลีจะได้ละอองเกสรตัวผู้จากดอกเดียวกัน ติด
เป็นผล และผลนี้จะได้เมล็ดเรียกว่า เป็นการผสมตัวเอง ถ้าทําอย่างนี้ไปหลายๆครั้งที่นําเมล็ดไปปลูก ก็จะ
ได้พันธุ์แท้ที่มีลักษณะสม่ําเสมอ เป็นพันธุ์ของเราเอง และเมื่อลักษณะต่างๆ สม่ําเสมอกันทุกต้นแล้วก็ไม่
ต้องทําการผสมตัวเองอีก เก็บเมล็ดจากทุกต้นรวมกันเป็นพันธุ์ปลูกได้
เมล็ดพันธุ์พริกที่เก็บเมล็ดพันธุ์เอง ควรแกะเมล็ดออกจากผลที่สุกแดงแล้วโดยเร็ว จะแกะเมล็ด
ขณะผลสด หรือเมื่อผลแห้งก็ได้ แต่ไม่ควรปล่อยให้ผลที่แห้งแล้วทิ้งไว้นานเกิน 30 วัน เพราะเมล็ดที่อยู่ใน
ผลจะเสื่อมความงอกไปเรื่อยๆ หลังจากแกะเมล็ดออกแล้วควรผึ่งในที่ร่ม หรือตากแดดเฉพาะตอนเช้า
ประมาณ 3-4 วัน เมื่อเมล็ดแห้งดีแล้วเก็บใส่ภาชนะที่มีฝาปิดแน่นสนิท หรือถุงพลาสติกหนาปิดถุงให้สนิท
นําไปเก็บไว้ในตู้เย็นช่องธรรมดา จะเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ปลูกได้นานกว่า 1 ปี
5. การปลูกปฏิบัติดูแลรักษา
5.1 การเตรียมแปลงเพาะกล้าหรือวัสดุเพาะกล้า
เลือกพื้นที่ทําแปลงเพาะกล้าที่มีแสงแดดส่องถึงตลอดทั้งวัน ไม่เป็นที่ลุ่มน้ําขัง ขุดดินยกแปลงกว้าง
1 เมตร ปรับสภาพดินให้ร่วนโปร่งโดยเติมปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยคอกหมัก หรือถ่านแกลบ หรือแกลบอัตรา 2

กิโลกรัมต่อตารางเมตร ปรับผิวหน้าดินสให้ตรเรียบ ใช้ไม้ขีดบนผิวหน้าแปลงเป็นรอยตื้นๆประมาณ0.5-1.0
เซนติเมตร แต่ละรอยห่างกัน 10 เซนติ ต รศาเมตร วางเมล็ดพริกลงในรอยห่างกัน 2-3 เซนติเมตร ใช้ถ่านแกลบ

ผสมปุ๋ยหมัก กลบเมล็ดบางๆลัยนํเกาไม้ไผ่มาโค้งเป็นโครงคลุมด้วยตาข่ายไนล่อนป้องกันฝนและแสงแดดจัด
เกินไปในระยะต้นกล้ายัวงิทอ่ยอน


สําหรับการเพาะกล้หา าในถาดเพาะ อาจใช้ดินร่วนตามโคนไม้หรือกอไผ่ที่ใบร่วงทับถมและย่อยสลาย

ิ ัล
ดีแล้ว ปุ๋ยหมั
ร จ


ู้ด ๋ยคอกหมัก หรือวัสดุต่างๆที่ร่วนโปร่ง อุ้มน้ําดี น้ําหนักเบา หาได้ในท้องถิ่นมาผสมกันเป็น
ปุ
ว ม
า น 1. ดินร่วน : ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกหมัก อัตรา 1 : 1 โดยปริมาตร
วัสดุเพาะเช่

คลัง 2. ปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกหมัก : ถ่านแกลบ : ขุยมะพร้าว อัตรา 1 : 1 : 1 โดยปริมาตร
ขณะที่ผสมคลุกเคล้าส่วนผสมต่างๆเข้าด้วยกันควรรดน้ําเล็กน้อย เพื่อให้วัสดุมีความชื้นพอสมควร
ซึ่งจะช่วยให้น้ําซึมลงในวัสดุได้อย่างทั่วถึงเมื่อรดน้ําภายหลังหยอดเมล็ดเรียบร้อยแล้ว
วิธีการเผาแกลบแบบ “Kuntung” (คุนตัง) เพื่อให้ได้ถ่านแกลบทีส่ ะอาดและไม่เป็นขี้เถ้าแกลบ
การเตรียมเตาเผา:
1. นําถังน้ํามันที่เป็นโลหะขนาด 200 ลิตร มาตัด 1/2 หรือ 1/3 ตามขวาง
2. เจาะรูกลมขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 6 นิ้วตรงกลางก้นถัง
6

3. ใช้ท่อเหล็กเส้นผ่าศูนย์กลาง 6 นิ้ว ยาวประมาณ 30 เซนติเมตร มาเชื่อมติดกับก้นถัง แล้วใช้


แผ่นสังกะสียาว 1.5 เมตร มาม้วนเป็นท่อสวมทับท่อเหล็กที่ติดก้นถัง
4. เจาะด้านข้างถังให้เป็นรอยเปิดเล็กๆ อาจใช้ขวานจามหรือใช้ที่เจียรกรีดเป็นรอยเล็กๆยาว 5-10
เซนติเมตร ห่างกัน 10 เซนติเมตร โดยรอบ
5. เตรียมอ่างใส่น้ําขนาดใหญ่ อาจใช้รองซีเมนต์ขนาด 1.20 เมตร ที่มีก้นปิดสนิทก็ได้
วิธีการเผา:
1. ก่อกองไฟเล็กๆด้วยเศษไม้ พอไฟติดดี นําถังน้ํามันที่เตรียมเป็นเตามาคว่ําบนกองไฟ ต่อปล่อง
ควันเข้ากับเตา
2. โรยแกลบบนถังน้ํามันและด้านข้างให้รอบ หนาประมาณ 30 เซนติเมตร
3. แกลบจะไหม้เป็นวงสีดําลามออกไปรอบๆทีละน้อย คอยระวังไม่ให้มีเปลวไฟลุกไหม้ โดยใช้
พลั่วด้ามยาวพลิกเกลี่ยกลบให้เปลวไฟดับ หรือคอยเติมแกลบตรงบริเวณที่มีเปลวไฟลุกไปเรื่อยๆ
4. เมื่อกองแกลบกลายเป็นถ่านแกลบสีดําทั้งกอง ใช้พลั่วตักถ่านแกลบใส่ลงในอ่างน้ําเพื่อดับการคุ
ไหม้ ถ้าใช้น้ําฉีดกองถ่านแกลบจะต้องทําให้ดับสนิทจริงๆ มิฉะนั้นกองถ่านแกลบจะคุใหม้ภายหลัง
5. การเผาแต่ละครั้งใช้เวลาประมาณ 3-4 ชั่วโมง

ต ร ์
าส
ษตรศ
เก
ย าลัย
5.2 การเพาะเมล็ า ว ิท ด

ั มห
การป้

้ ู จ
ิ ิทองกันเชื้ อโรคติดมากับเมล็ด ทํ าโดยนําเมล็ดแช่ น้ําอุ่นที่มี อุณหภู มิประมาณ 50 องศา

เซลเซียวสาม(ทําโดยใช้น้ําต้มจนเดือด 1 กระป๋องนมขนาดเล็กผสมกับน้ําเย็น 1 กระป๋องนมขนาดใหญ่ ควร

คลยังมน้ําอุ่นปริมาณมากๆ เพื่อให้อุณหภูมิคงที่ได้นาน หรือแช่ในกระติกน้ําก็ได้) ประมาณ 30 นาที จากนั้น
เตรี
ผึ่งเมล็ดให้แห้ง คลุกยากันรา เช่น เบนเลท แล้วนําไปหยอดลงแปลงปลูกหรือถาดเพาะกล้าหลุมละ 1 เมล็ด
กลบเมล็ดบางๆ รดน้ําแล้วรดด้วยไตรโคเดอร์มาอัตรา 100 ซีซีต่อน้ํา 20 ลิตร เพื่อป้องกันเชื้อราจากวัสดุ
ปลูกเข้าทําลายเมล็ด
ปรกติเมล็ดพันธุ์ลูกผสมจะมีความสมบูรณ์ดีกว่าเมล็ดพันธุ์ผสมปล่อย สามารถงอกได้ 99-100 %
ดังนั้นจึงไม่จําเป็นต้องหยอดเมล็ดเผื่อเกินกว่าหลุมละ 1 เมล็ด ช่วงที่สําคัญที่สุดของการเพาะกล้าอยู่ในช่วง
7 วันหลังจากหยอดเมล็ด ขบวนการงอกเริ่มต้นด้วยเมล็ดดูดน้ําเข้าไป ขบวนการหายใจเริ่มทํางาน สร้าง
น้ําย่อยในเมล็ดเพื่อเปลี่ยนอาหารที่สะสมไว้เป็นพลังงานในการงอก ระยะนี้ต้องการความชื้นและออกซิเจน
จากอากาศ ดังนั้นหลังจากแช่เมล็ดให้ดูดน้ํา 6-12 ชั่วโมงแล้วจึงนําเมล็ดมาห่อด้วยผ้าชื้นเรียกว่าการบ่ม
7

เมล็ด ถ้าหยอดเมล็ดลงถาดเพาะโดยไม่มีการบ่มเมล็ดจะต้องรดน้ํารักษาความชื้นถาดเพาะให้สม่ําเสมอ
ต่อเนื่อง 3-5 วัน หรือใช้พลาสติกคลุมถาดเพาะไว้ ถ้าวัสดุปลูกแห้งเกินไปเมล็ดที่เริ่มงอกจะชะงักการเติบโต
ในมุมกลับถ้าแช่เมล็ดในน้ํานานเกินไปหรืออยู่ในวัสดุปลูกที่แฉะเกินไป ก็จะทําให้เมล็ดขาดอากาศตายได้
เช่นกัน การปฏิบัติที่จําเป็นคือ เตรียมวัสดุเพาะอย่างประณีต คลุกเคล้าส่วนผสมต่างๆหลายๆครั้งให้เข้ากัน
ดี บรรจุในถาดให้เต็มหลุมพอดีทุกหลุม หยอดเมล็ดด้วยความระมัดระวัง ไม่ทําให้รากที่เพิ่งเริ่มปริหักออก
ทําหลุมหยอดเมล็ดให้ลึกสม่ําเสมอกัน และกลบเมล็ดด้วยวัสดุปลูกบางๆไม่หนาเกินกว่า 1 เซนติเมตร ดูแล
ความชื้ น ในถาดเพาะให้ ชื้นพอดี อย่ างสม่ํ าเสมอต่อ เนื่อง 3-5 วัน การควบคุ ม ความชื้ นในถาดเพาะให้
สม่ําเสมอทําได้โดยรดน้ําน้อยๆบ่อยๆ หรือใช้พลาสติกคลุมถาดเพาะ ซึ่งเป็นการ”บ่มถาดเพาะ” เมื่อเมล็ด
งอกโผล่พ้นดินจึงเปิดผ้าพลาสติกออก การใช้พลาสติกคลุมถาดเพาะเป็นวิธีรักษาความชื้นของดินในถาด
เพาะได้ดี สามารถหยอดเมล็ดลงในถาดเพาะได้ทันทีโดยไม่ต้องนําเมล็ดแช่น้ําและบ่มเมล็ดให้มีรากปริออก
ก่อน ช่วยให้การหยอดเมล็ดทําได้ง่ายและรวดเร็วขึ้น (การบ่มเมล็ดด้วยการนําเมล็ดแช่น้ํา 6-12 ชั่วโมงแล้ว
ห่อเมล็ดด้วยผ้าชื้นๆ บ่มในกระติกหรือภาชนะที่มีฝาปิด 2-3 วัน เป็นการช่วยให้เมล็ดงอก แต่หลังจาก
หยอดเมล็ดแล้วหากแปลงปลูกหรือถาดเพาะมีความชื้นไม่สม่ําเสมอ รากที่ปริออกอาจแห้งตายได้ และการ
หยอดเมล็ดที่เริ่มปริทําได้ช้าและยากกว่าการหยอดด้วยเมล็ดแห้ง)
หลังจากต้นกล้างอกแล้ว ดูแลต้นกล้าในถาดเพาะต่อไปอีก 30 วัน โดยในช่วง 15 และ 20 วัน
หลังจากหยอดเมล็ด รดปุ๋ยเคมีสูตร 15: 15 : 15 ละลายน้ําอัตรา 100 กรัมต่อน้ํา 20 ลิตร หลังจากรดปุ๋ย
แล้วรดน้ําตามเบาๆเพื่อล้างปุ๋ยออกจากใบ และก่อนย้ายปลูกประมาณ 1 สัปดาห์ควรทําให้ต้นกล้าพริก
แข็งแรงทนทานโดยเปิดตาข่ายที่คลุมต้นกล้ารออก
ต ์ ให้ต้นกล้าได้รับแสงแดดมากขึ้นหรือลดปริมาณน้ําที่ให้ลง
อาจงดน้ํานานขึ้นจนต้นกล้าเริ่มเหี่ยวแล้
ร ศ าวสให้น้ําใหม่ ทําเช่นนี้ 2 ครั้งเป็นการกระตุ้นให้ต้นกล้าสะสมอาหาร

ไว้ในต้นมากขึ้นกว่าปรกติ เพื่อใช้กใษนการงอกรากใหม่ ต้นกล้าที่ดีควรมีลําต้นแข็ง ไม่อวบฉ่ําน้ํา การทําให้ต้น

กล้าแข็งแรงก่ อนย้ายปลูยกาเป็ลัยนการเตรียมความพร้อมต้นกล้าที่จะออกไปสู่แปลงปลูกที่สภาพแวดล้อม
เปลี่ยนไปอย่างกระทัหนาหัวิทน ต้นกล้าจะรอดตายมากขึ้น กรณีที่ไม่สามารถย้ายปลูกได้ตามกําหนด ต้นกล้าอยู่
ัล ม 50-60 วัน ทําให้รากขดเป็นวง ก่อนนําไปย้ายปลูกควรกรีดด้วยมีดหรือใช้กรรไกร
ในถาดเพาะเป็นิทเวลานาน
ร ู้ดิจ ยวกับลําต้น 1-2 รอย เป็นการตัดรากเพื่อให้รากใหม่เกิดขึ้นได้ง่าย
ตัดรากตามแนวเดี


คว
คล ั ง

หยอดเมล็ดพริกลงในถาดหลุมๆละ 1 เมล็ด ต้นกล้าเริ่มมีใบจริง อายุ 10 วันหลังหยอดเมล็ด


8

ดูแลต้นกล้าประมาณ 30 วัน จึงนําไปย้ายปลูกลงแปลง

ป้องกันโรคใบหงิกจากเชื้อไวรัสตั้งแต่ระยะต้นกล้า โดยใช้ตาข่ายไนล่อนสีขาวขนาด 32 ตาต่อนิ้ว คลุมถาดเพาะกล้า


จะช่วยป้องกันแมลงปากดูดที่จะแพร่เชื้อไวรัสมาสูตร่ต์ ้นกล้าตั้งแต่เล็กๆได้
าส
รศ
5.3. การเตรียมแปลงปลูกตและระยะปลู ก
เก ษ


แปลงปลูกควรได้รับลการไถพรวนให้

ดินร่วนโปร่งและตากแดดไว้อย่างน้อย 7-14 วัน เพื่อฆ่าเชื้อโรค
ทางดิน เติมปุ๋ยคอกหมักวิทหรืยอปุ๋ยหมักอย่างน้อย 800-1,000 กิโลกรัมต่อไร่ และถ้าดินในแปลงปลูกมี pH ต่ํา

ก่อนไถพรวนทุกัลครัม้งหที่ปลูกพริก ควรหว่านปูนโดโลไมท์ประมาณ 100-200 กิโลกรัมต่อไร่ ยกแปลงปลูกสูง
25-30 เซนติ ด
้ ู จ

เ ิท หน้าแปลงปลูกกว้าง 100-120 เซนติเมตร แล้วแต่ขนาดพลาสติกคลุมแปลงที่ใช้ เว้น
มตร

ช่องทางเดิา มนร ระหว่างแปลงประมาณ 50-80 เซนติเมตร โดยทั่วไปจํานวนต้นที่เหมาะสมสําหรับพริกผลใหญ่

คลัง 5,000-6000 ต้นต่อไร่ พริกผลเล็กประมาณ 4000 ต้นต่อไร่ อย่างไรก็ดีระยะปลูกผันแปรตาม
ประมาณ
พันธุ์และฤดูปลูก ถ้าเตรียมแปลงปลูกกว้าง 120 เซนติเมตร (ใช้พลาสติกหน้ากว้าง 120 เซนติเมตร) ปลูก 3
แถวบนแปลง ระยะระหว่างต้น 40 เซนติเมตร มีช่องทางเดินระหว่างแปลง 80 เซนติเมตร จะปลูกได้
6,000 ต้นต่อไร่ หรือถ้าเตรียมแปลงกว้าง 1 เมตร คลุมแปลงด้วยพลาสติกหน้ากว้าง 1 เมตร ปลูก 2 แถว
ใช้ระยะระหว่างต้น 40 เซนติเมตร เว้นทางเดินระหว่างแปลง 50 เซนติเมตร จะปลูกได้ 5,340 ต้นต่อไร่ ซึ่ง
การปลูกพริกที่ใช้จํานวนต้นมากถึง 8000-10000 ต้นต่อไร่ (ปลูก 4 แถวและใช้ระยะระหว่างต้น 35-40
เซนติเมตร เว้นทางเดินระหว่างแปลง 50-60 เซนติเมตร) มักพบว่าต้นพริกที่อยู่กลางแปลง ให้ผลพริกขนาด
เล็กและผลผลิตไม่มาก อีกทั้งเมื่อเกิดโรคในแปลงจะทําให้การระบาดของโรครวดเร็วและรุนแรงมากกว่า
9

เนื่องจากต้นพริกเบียดกันแน่นอากาศในแปลงถ่ายเทไม่สะดวก ต้นที่อยู่กลางแปลงมักอ่อนแอเพราะได้รับ
น้ําและแสงแดดไม่เพียงพอ

ปลูกได 6000 ตนตอไร

40 ซม

120 ซม
80 ซม

5.4 การคลุมแปลงปลูก
วัตถุประสงค์ของการคลุมแปลงปลูกคือ ป้องกันหน้าดินไม่ให้แน่นหลังจากฝนตก รักษาความชื้นใน
ดิน ป้องกันผิวหน้าดินไม่ให้กระทบแสงแดดโดยตรง อุณหภูมิดินจึงไม่เปลี่ยนแปลงรวดเร็วจนกระทบกับการ
เจริญเติบโตของรากพริก และช่วยป้องกันวัชพืชด้วย วัสดุที่ใช้คลุมแปลงเช่น ฟางข้าว เปลือกฝักข้าวโพด ใบ
ต ร ์
ศ า ส ฟางข้าวหรือเศษพืชคลุมแปลงปลูกคือ จะช่วยให้แปลงปลูก
หญ้าคาหรือพลาสติก ในฤดูร้อนข้อดีของการใช้

ษต พลาสติก
มีอุณหภูมิต่ําเหมาะสมกับพืชกว่าการใช้
เก
ล ย

ว ิทยา
ห า
ัล ม
ร ิู้ดจิท
ว า ม
คลังค

การคลุมแปลงปลูกด้วยพลาสติก และฟางข้าว
10

5.5.การตัดแต่งกิ่งแขนง
พริกผลใหญ่ควรปลิดแขนงที่เกิดใต้ง่ามแรกออกทั้งหมด ทําโดยใช้มือปลิดขณะที่แขนงยังมีขนาด
เล็กยาวไม่เกิน 10-15 เซนติเมตร (อายุประมาณดอกแรกบาน) ถ้าเด็ดช้าแขนงจะมีขนาดใหญ่ปลิดออกยาก
และเป็นแผลใหญ่ อาจต้องใช้กรรไกรตัด ซึ่งจะเสียเวลาและอาจทําให้โรคแพร่จากต้นหนึ่งไปยังอีกต้นหนึ่ง
จากกรรไกรที่ปนเปื้อนเชื้อโรค การเด็ดแขนงใต้ง่ามแรกออก จะช่วยให้ต้นพริกไม่ต้องเสียอาหารที่สร้างได้
ไปเลี้ยงกิ่งที่อยู่ใต้ทรงพุ่ม และทําให้ทรงพุ่มโปร่ง อากาศถ่ายเท เป็นการป้องกันการแพร่ระบาดของโรค อีก
ทั้งการพ่นยากําจัดศัตรูพืชทําได้ทั่วถึง ไม่เป็นที่หลบซ่อนของแมลง และยังช่วยให้การเก็บเกี่ยวผลพริกทําได้
สะดวก ผู้ปลูกมักไม่อยากเด็ดแขนงด้านล่างออกเพราะบางแขนงสามารถติดผลได้บ้าง แต่ถ้าสังเกตดูจะ
พบว่าแขนงที่เกิดใต้ง่ามแรกมักจะติดผลน้อย ส่วนใหญ่ไม่ติดผลหรือติดผลขนาดเล็ก โดยเฉพาะถ้าเป็นแขนง
ขนาดเล็ก นอกจากนี้ถ้าย้ายปลูกต้นกล้าพริกอายุมากเกิน 40 วัน ควรเด็ดดอกแรกทิ้งด้วย เพราะดอกแรก
เกิดที่ง่ามแรกจะติดเป็นผลที่ห้อยลงติดกับดินหรือพลาสติกคลุมแปลงทําให้ปลายผลงอ หรือผลอาจเน่าเสีย
และการเด็ดผลแรกออกยังช่วยให้ต้นพริกเติบโตได้ดีกว่าปล่อยให้ติดผลตั้งแต่ต้นเล็กๆ โดยเฉพาะในภาวะที่
สภาพแวดล้อมไม่เหมาะต่อการเติบโตของพริกเช่น ฝนตกหนักติดต่อกัน ไม่ค่อยมีแสงแดด เป็นต้น

แขนงใต้ง่ามแรก 4-5 แขนง


ควรปลิดออกทั้งหมดตั้งแต่
์ ก่อนติดผลแรก เพราะแขนงยัง
ต ร
าส มีขนาดเล็กปลิดออกได้ง่าย

ษตรศ
ัย เก
าล
ิาวทย
มห
ิจ ิทัล
า ม รู้ด
คัลงคว

พริกผลใหญ่เด็ดแขนงใต้ง่ามแรกออกทั้งหมด
พริกผลเล็กควรเลือกไว้แขนงที่มีขนาดใหญ่
1-2 แขนง ส่วนแขนงเล็กปลิดออก
11

5.6 การใส่ปุ๋ย มีหลักการดังนี้


1. ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมี
2. ใส่ ปุ๋ ย ที่ มี สั ด ส่ ว นธาตุ อ าหารตามสั ด ส่ ว นที่ พื ช ใช้ ส่ ว นใหญ่ พื ช ที่ มี ผ ลมั ก ต้ อ งการ N:P:K
ประมาณ 3:1:4 คือต้องการ K และ N มาก ส่วน P ใช้น้อย
3. อัตราปุ๋ยที่ใส่ขึ้นกับผลผลิตคือ ถ้าพืชให้ผลผลิตมากก็ต้องเพิ่มปริมาณปุ๋ยที่ให้มากขึ้นด้วย
โดยทั่วไปปริมาณปุ๋ยทั้งหมดที่ให้ตลอดฤดูจะตกประมาณ 100-150 กิโลกรัมต่อไร่ (โดยแบ่งใส่ 3-4 ครั้ง)
4. เวลาที่ใส่ปุ๋ยตรงกับช่วงการเจริญเติบโตของพืชคือ ในช่วงแรกหลังย้ายปลูก พืชยังมีขนาด
เล็กไม่ต้องการปุ๋ยมากนัก ช่วงที่พืชเติบโตอย่างรวดเร็วมักจะเป็นช่วงอายุ 25-60 วันหลังย้ายปลูก จึงต้องใส่
ปุ๋ยค่อนข้างมากในช่วงนี้
ดังนั้นการใส่ปุ๋ย อาจปฏิบัติดังนี้
- ปุ๋ยรองพื้น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก 800-1,000 กิโลกรัมต่อไร่ ใส่แบบหว่านลงแปลงก่อนเตรียมแปลง
หรือใส่รองก้นหลุม ร่วมกับปุ๋ย 15-15-15 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่ และต้องคลุกเคล้าปุ๋ยกับดินให้ดีก่อนย้าย
ปลูก เพื่อไม่ให้รากต้นพริกกระทบกับปุ๋ยเคมีโดยตรง
- ครั้งที่ 1 อายุ 15 วันหลังย้ายปลูก ใส่ปุ๋ยโรยข้างต้นด้วย 21-0-0 อัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่
- ครั้งที่ 2 อายุ 25 วันหลังย้ายปลูก ใส่ปุ๋ยโรยข้าง 15-15-15 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่
- ครั้งที่ 3 อายุ 40 วันหลังย้ายปลูก ใส่ปุ๋ยโรยข้าง 13-13-21 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่
- ครั้งที่ 4 อายุ 55 วันหลังย้ายปลูก ใส่ปุ๋ยโรยข้าง 13-13-21 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่
การใส่ปุ๋ยโดยใช้ปุ๋ยเคมีละลายน้ํารดร์ เป็นวิธีการปฏิบัติที่ใช้แรงงานและเวลามากกว่าการหว่านหรือ

โรยด้วยปุ๋ยเม็ด แต่ให้ผลดีเพราะปุ๋ยกระจายทั ส ต ่วถึง ไม่เข้มข้นเป็นจุดๆ อัตราที่ใช้คือ ปุ๋ย 5-10 กิโลกรัมต่อน้ํา
200 ลิตรหรือ 2.5 ถึง 5 % ตามขนาดต้ ษตรศ นพริก ปริมาณน้ําที่ใช้ต่อไร่ 1200 ลิตร
เก
(ถ้าสามารถหาปุ๋ยเคมีที่มีสยูตารลัยN และ K สูง ส่วน P ต่ําได้ในท้องตลาด เช่น 15-5-18 ก็ควรใช้แทนปุ๋ยที่
แนะนําเพราะปุ๋ยที่มีหPาวต่ิทําจะราคาถูกกว่าปุ๋ยที่มี P สูง หรือผสมปุ๋ยใช้เอง)
ัล ม
ร ิู้ดจิท
ว า ม
ค ลังค
12

5.7 โรคและแมลงศัตรูพริก
โรคที่สาํ คัญ อาการและการป้องกันกําจัด
รายชื่อศัตรูพชื อาการและสภาพทีเ่ หมาะกับ การป้องกันกําจัด
การเกิดโรค
1. โรคกุ้งแห้ง หรือแอนแทรคโนส ผลพริกที่เป็นโรคนี้ ผิวผลยุบตัว 1. เลือกเก็บเมล็ดพันธุ์จากต้นที่
(Anthracnose) ลงเป็นรอยบุ๋ม ฉ่ําน้ํา เมื่อแผล ไม่เป็นโรค
เชื้อสาเหตุ คือเชื้อรา ขยายขนาด จะเห็นรอยแผลเป็น 2. บํารุงต้นให้แข็งแรง
Colletotrichum spp. วงซ้อนกัน ส่วนกลางแผลมีเมือก หลีกเลี่ยงการให้น้ําแบบสปริง
สีส้มปนดํา เกอร์เพราะทําให้สปอร์
สภาพทีเ่ หมาะสมกับการเกิดโรค แพร่กระจายได้ดีและไม่ควรให้
คือสภาพอากาศที่ร้อนชื้น ปุ๋ยไนโตรเจนมากเกินไป เพราะ
อุณหภูมิประมาณ 30-32 องศา ทําให้ผลอวบน้ํา อ่อนแอต่อการ
เซลเซียส และฝนตกพรําๆ เชื้อรา เข้าทําลายของเชื้อโรค
นี้สามารถปลิวตามลม และ 3. เก็บผลเป็นโรคออกจาก
ตกค้างในดิน เมื่อสภาพเหมาะสม แปลงปลูก นําไปเผาทิ้ง เพื่อ
เชื้อจะเจริญแพร่กระจายอย่าง ป้องกันการแพร่กระจายของ
รวดเร็ว เชื้อโรค
4. ไม่ควรปลูกพริกเบียดกัน
แน่นทึบจนเกินไป ตัดแต่งทรง
ต ร ์ พุ่มให้โปร่ง เพื่อให้มีการถ่ายเท
าส
ษตรศ อากาศได้สะดวก
ัย เก 5. ใช้สารเคมีควบคุม เช่น
าล Azoxystrobin, Mancozeb
ิาวทย
มห
2. โรคเน่าเปียกิทัล(Wet rot) เชื้อ เกิดได้ทุกส่วนของต้นพริก แต่ 1. ตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่ง และ


สาเหตุ คือมรเชืู้ด ้อรา Choanephora ส่วนมากเกิดบนยอดอ่อน ใบอ่อน กําจัดวัชพืชในแปลงเพื่อลด
spp.ังคว
า ดอก และผลอ่อน ส่วนของพืชที่ ความชื้นในแปลงและสะดวก
ค ล เชื้อเข้าทําลาย มีลักษณะอาการ ต่อการพ่นสาร
เน่าเป็นสีน้ําตาลไหม้ ถ้าสภาพ 2. งดเข้าแปลงพริกภายหลังฝน
อากาศมีความชื้นสูง จะเห็นเส้น ตก เพื่อป้องกันการกระจาย
ใยราสีขาว มีสปอร์สีดําตรงส่วน ของสปอร์
ปลายเส้นใยเห็นได้ชัด 3. ตัดส่วนที่เป็นโรคใส่
สภาพทีเ่ หมาะสมกับการเกิดโรค ถุงพลาสติก นําออกจากแปลง
ฝนพรําๆสลับแดด น้ําค้างลงจัด
13

รายชื่อศัตรูพชื อาการและสภาพทีเ่ หมาะกับ การป้องกันกําจัด


การเกิดโรค
3. โรคเหี่ยวเขียว ต้นพริกเหี่ยวแบบเฉียบพลัน โดย 1. ไม่ปลูกพริกในพื้นที่ที่มี
(Bacterial wilt) เชื้อสาเหตุ คือ ต้นพริกและใบยังเขียวอยู่ เมื่อตัด ประวัติการเกิดโรคเหี่ยวเขียว
เชื้อแบคทีเรีย (Ralstonia โคนต้นระดับคอดิน จะพบท่อ มาก่อน
solanacearum) ลําเลียงอาหารช้ํามีสีน้ําตาลเมื่อ 2. หมั่นตรวจแปลงปลูก ถ้าพบ
ตัดส่วนที่แสดงอาการโรคแช่ใน ต้นเป็นโรค ให้นําออกจาก
น้ํา จะเห็นน้ํายางสีขาวขุ่นไหล แปลงไปเผาไฟทันที
จากบริเวณท่อลําเลียง 3. การให้น้ําตามร่องควรแบ่ง
สภาพทีเ่ หมาะสมกับการเกิดโรค แปลงเป็นช่วงๆและกักน้ํา
ดินระบายน้ําไม่ดีอุณหภูมิสูง น้ํา เฉพาะร่องนั้นๆเพื่อป้องกันการ
ที่ใช้ไหลผ่านมาจากแปลงที่เป็น กระจายของเชื้อแบคทีเรียไป
โรค ทั่วทั้งแปลง
4. ปลูกพืชหมุนเวียนและ
หลีกเลี่ยงการปลูกพืชซ้ําในที่
เดิมติดต่อกัน

ต ร ์
ศ าส
รใบยอดแสดงอาการด่
4. โรคใบด่าง
เ ก ษต างแบบเขียว 1. พ่นสารเคมีป้องกันกําจัด
(Cucumber mosaic virus,าลัย อ่อนสลับเขียวเข้ม ใบเสียรูปบิด แมลงในระยะต้นกล้า
ว ิทสยใบด่าง
CMV) เชื้อสาเหตุ คือ าไวรั เบี้ยวเรียวเล็กเป็นเส้น ต้นแคระ โดยเฉพาะเพลี้ยอ่อน ซึ่งเป็น
มห virus
แตง Cucumberัลmosaic แกรน ดอกร่วง ผลมีลักษณะบิด พาหะของเชื้อไวรัส หรือคลุม
ู ด
้ จ
ิ ิท เบี้ยวผิวขรุขระ จ้ํานูน สีผลไม่ แปลงกล้าด้วยมุ้งไนล่อน 32 ตา
ว ามร สม่ําเสมอ ต่อนิ้ว
ลัง ค
ค พาหะของโรค คือ เพลี้ยอ่อนดูด 2. กําจัดวัชพืชในแปลง และ
น้ํา-อาหารจากพืชและปล่อยเชื้อ รอบๆแปลง เพื่อไม่ให้เป็นแหล่ง
เข้าสู่ต้นพืชได้อย่างรวดเร็ว อาศัยของเพลี้ยอ่อน
3. หมั่นตรวจแปลง ถ้าพบต้น
เป็นโรคในระยะแรก ต้องกําจัด
ออกจากแปลงทันที เพราะต้น
เป็นโรคจะไม่ให้ผลผลิต และ
เป็นแหล่งแพร่เชื้อต่อไป
14

รายชื่อศัตรูพชื อาการและสภาพทีเ่ หมาะกับ การป้องกันกําจัด


การเกิดโรค
5. โรคเส้นใบด่างประ ใบยอดแสดงอาการด่างแบบเขียว 1. เพาะกล้าพริกในมุ้งกันแมลง
(Chili veinal mottle virus, อ่อนสลับเขียวเข้ม เส้นใบมีขดี จนกระทั่งถึงเวลาย้ายปลูกลง
ChiVMV) ชื้อสาเหตุ คือ ไวรัส หรือจุดประสีเขียวเข้มเป็นแนว แปลง
Chili veinal mottle virus แคบๆ ใบมีลักษณะหยักเป็นลอน 2. กําจัดวัชพืชในแปลง และ
คลื่น ต้นแคระแกรน ก้านใบและ รอบๆแปลง เพื่อไม่ให้เป็นแหล่ง
ผลมีรอยขีดช้ําน้ํา อาศัยของเพลี้ยอ่อน
พาหะของโรค คือ เพลี้ยอ่อนดูด 3. หมั่นตรวจแปลง ถ้าพบต้นที่
น้ํา-อาหารจากพืชและปล่อยเชื้อ เป็นโรค ต้องกําจัดออกจาก
เข้าสู่ต้นพืชได้อย่างรวดเร็ว แปลงทันที

6. โรคใบจุดตากบ อาการโรคบนใบ ลักษณะเป็น 1. หมั่นสํารวจแปลงปลูกพริก


(Frog-eye leaf spot) เชื้อสาเหตุ แผลกลม ขอบสีนํา้ ตาลเข้ม ตรง เมื่อพบใบเป็นโรคเพียงเล็กน้อย
คือ เชื้อรา Cercospora spp. กลางแผลมีจุดสีขาวคล้ายตากบ ให้ใช้สารเคมี Mancozeb พ่น
เมื่อระบาดรุนแรง แผลเชื่อมต่อ ป้องกันทันที
ถึงกันทําให้ใบไหม้แห้งกรอบ และ 2. หลีกเลี่ยงการขังน้ําระหว่าง
ต ร ์ านผลลักษณะยาวรี
ร่วง แผลบนก้ ร่องปลูกเป็นเวลานาน
รหรื
ศ าสอยาวกลม ขอบแผลสีเข้ม ต่อเนื่องกัน เนื่องจากทําให้
เ ก ษต เนื้อเยื่อกลางแผลยุบตัวลง ความชื้นในแปลงเพิ่มมากขึ้น
ย าลัย สภาพทีเ่ หมาะสมกับการเกิดโรค ซึ่งเอื้อต่อการเกิดโรคได้เป็น
า ว ิท อากาศร้อนอบอ้าวและความชื้น อย่างดี

ัล ม
ิท
สูง 3. ทําความสะอาดแปลงปลูก
ู ด
้ จ
ิ เพื่อลดแหล่งเชื้อที่ติดมากับใบที่
ว ามร ร่วงตามพื้น
ลัง ค
7.คโรครากเน่าและโคนเน่า ถ้าเกิดกับต้นกล้า จะเกิดอาการ 1. หลีกเลี่ยงการรดน้ําแปลง
(Collar and root rot) เน่าคอดิน ต้นกล้าหักยุบและตาย กล้าหรือถาดเพาะในตอนเย็น
เชื้อสาเหตุ คือเชื้อรา ในต้นพริกที่โตแล้ว ต้นจะค่อยๆ 2. เพาะกล้าในวัสดุที่ปลอดเชื้อ
Phytophthora spp.และ เหี่ยวและโคนต้นมีแถบสีดําปน 3. กําจัดต้นที่เป็นโรคจากแปลง
Pythium spp. น้ําตาลเข้ม เริ่มจากโคนต้นลาม ปลูกและทําลายโดยนําไปเผา
ไปยอด ปลายรากมีสีดําหรือ
4. ปลูกพืชหมุนเวียนเพื่อลด
น้ําตาลเข้ม และผิวรากลอกหลุด
ปริมาณเชื้อในดินโดยสลับกับ
ง่ายเมื่อจับดึง ท่อน้ําท่ออาหารมีสี
พืชชนิดอื่นที่ไม่ใช่พืชอาศัย เช่น
น้ําตาล
15

รายชื่อศัตรูพชื อาการและสภาพทีเ่ หมาะกับ การป้องกันกําจัด


การเกิดโรค
สภาพทีเ่ หมาะสมกับการเกิดโรค ข้าวโพด ถั่วหรือผักกินใบ
อากาศร้อน มีฝนตก ดินระบาย 5. ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยอินทรีย์
น้ําไม่ดี น้ําขังระหว่างร่องแปลง 50-100 กิโลกรัม ผสมกับเชือ้
ปลูก ไตรโคเดอร์มา 1 กิโลกรัม โรย
โคนต้น

8. โรครากเน่าโคนเน่า ต้นพริกเหี่ยวใบตก บริเวณโคน 1. หลีกเลี่ยงการใช้ฟางข้าวคลุม


เชื้อสาเหตุ คือเชื้อรา ต้นมีเส้นใยสีขาว อาจพบสปอร์ แปลงปลูกเนื่องจากฟางข้าวมัก
Sclerotium rolfsii เชื้อราเป็นเม็ดสีดําคล้ายเมล็ด มีเชื้อราติดมาด้วย
ผักกาด 2. หลีกเลี่ยงการให้น้ําท่วม
สภาพทีเ่ หมาะสมกับการเกิดโรค ผิวหน้าแปลง
3. ใช้เชื้อไตรโคเดอร์มาพ่นหรือ
อากาศร้อนชื้น ฝนตก
ราดโคนต้น
4. ใช้ปูนขาวเล็กน้อยโรยรอบๆ
ชิดโคนต้นก่อนเกิดโรค

ต ร ์
าส
ษตรศ
ัยเก
สรุปวิธีการป้องกันโรคไม่ิทใยห้าลระบาดรุนแรง
1. ไถพรวนดิ ห าว นตากแดดอย่างน้อย 14 วัน ก่อนปลูกพริก

2.ิจิทจัดัลแนวของแถวปลูกพริกไม่ให้ขวางทิศทางลม
า ม รู้ด3. เก็บเศษซากพืชทั้งใบหรือผลที่เป็นโรคออกจากแปลงปลูกบ่อยๆ เพื่อไม่ให้มีแหล่งเชื้อโรค

ั คว
คล
แพร่ กระจายในแปลงปลู ก นําออกมาเผานอกแปลง
4. ถ้าพบต้นพริกที่แสดงอาการใบหงิกเหลืองประเขียว ใบผิดรูปร่าง แกรน ให้ถอนทิ้งทันที นํา
ออกมาเผาไฟ เพราะต้นพริกที่แกรนและใบหงิกตั้งแต่ต้นเล็กๆ จะไม่ให้ผลผลิตแต่เป็ นแหล่งเชื้อไวรัส
แพร่กระจายไปสู่ต้นอื่นๆต่อไป
5. ใช้ไตรโคเดอร์มาพ่นที่ลําต้น ใบบ่อยๆเพื่อป้องกันโรคทางใบ หรือราดโคนต้น หรือผสมไตรโค
เดอร์มากับปุ๋ยหมักโรยโคนต้น เพื่อป้องกันโรคทางดิน
6. พ่นด้วย Ca และ B ในช่วงออกดอกติดผลสัปดาห์ละ 1 ครั้ง เพื่อให้พชื มีเซลล์ที่แข็งแรงจะ
ช่วยให้พืชต้านทานโรคได้ดีขึ้น
16

การใช้สารชีวภัณฑ์ควบคุมโรคในพริก
1.เชื้อราไตรโคเดอร์มา
เป็นศัตรู (ปฏิปักษ์) ต่อเชื้อราสาเหตุโรคพืชหลายชนิด สามารถเจริญอยูบ่ นผิวและใต้ผวิ รากพืชช่วย
ปกป้องรากพืชจากเชื้อโรค ช่วยละลายแร่ธาตุอาหารให้อยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืช เพิ่มเปอร์เซ็นต์ความ
งอก และอัตราการงอกของเมล็ดพืช ช่วยเพิ่มความสมบูรณ์ของระบบราก ส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช
เพิ่มผลผลิตพืช และชักนําให้ต้นพืชมีความต้านทานต่อเชื้อโรคพืช
โรคพริกทีเ่ ชื้อราไตรโคเดอร์มาสามารถควบคุมได้
1. โรคแอนแทรคโนส (โรคกุ้งแห้ง) จากเชื้อรา Colletotrichum spp.
2. โรคโคนเน่าจากเชื้อรา Sclerotium spp.
3. โรคเหี่ยวที่เกิดจากเชื้อรา Fusarium spp.
4. โรคกล้าเน่ายุบจากเชื้อรา Pythium spp.
วิธีการใช้ไตรโคเดอร์มาในการควบคุมโรค
วิธีที่ 1 แช่เมล็ดพริกในเชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสด อัตรา 10 กรัม (1 ช้อนโต๊ะ) ผสมน้ํา 1 ลิตร
แช่นาน 6-12 ชั่วโมง ผึ่งเมล็ดให้หมาดแล้วนําไปหยอดลงถาดเพาะหรือห่อด้วยผ้าบ่มไว้ 1-2 วันให้เมล็ดปริ
ก่อนนําไปหยอดลงถาดเพาะ
วิธีที่ 2 แช่เมล็ดพริกในน้ําสะอาด 1 คืน ผึ่งเมล็ดให้หมาดจากนั้นนําไปห่อหุ้มด้วยผ้า บ่มไว้ 1-2 วัน
เมื่อเมล็ดพริกเริ่มปริ นําไปหยอดลงถาดเพาะ รดน้ําแล้วรดเชื้อราไตรโคเดอร์มา อัตรา 100 กรัมต่อ 20
ลิตร ตามลงไปให้ชุ่ม
วิธีที่ 3 ใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสด ์ 1 กิโลกรัม ผสมกับปุ๋ยหมักหรือปุ๋ยคอกเก่าๆ 100 กก.

คลุกเคล้าจนเข้ากันดี นําไปผสมกับวัสดุปาสลูตกในอัตรา 1 : 4 โดยปริมาตร หรือใช้ไตรโคเดอร์มาชนิดสดผสม
น้ํา 100 กรัมต่อน้ํา 20 ลิตร (1 กิโลกรั
ษ ตรศมต่อน้ํา 200 ลิตร) พ่นต้นกล้าหลังเพาะเมล็ดทุก 7-10 วัน
วิธีที่ 4 ใช้ในระยะเจริัยญเกเติบโตและให้ผลผลิต โดยใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา 1 กิโลกรัมต่อน้ํา 200
าล
ลิตร พ่นบริเวณพุ่มใบและโคนต้ ิทย นทุกๆ 7-10 วัน
าว

สารเคมีัลทหี่ม ้ามใช้ผสมร่วมกับเชื้อราไตรโคเดอร์มา ได้แก่สารเคมีกลุ่มคาร์เบนดาซิม ไดฟิโนโค
นาโซล คลอโรทาโลนิ

้ ู จ
ิ ิท ล และโพรพิโคนาโซล แต่อาจใช้สารเคมีดังกล่าวสลับกับการใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มา

โดยใช้พว่นามห่างกัน 7-10 วัน ส่วนสารเคมีชนิดอื่นและเชื้อ บีที หรือ เอ็นพีวี สามารถใช้ร่วมกับไตรโคเดอร์มา
ังค มีผลกระทบกับไตรโคเดอร์มา
ได้คลโดยไม่
2.เชื้อแบคทีเรียบาซิลลัส ซับทิลสิ
เป็นจุลินทรีย์ทเี่ จริญได้ดีในดิน เศษซากพืช รวมทั้งอินทรีย์วัตถุตามธรรมชาติ สามารถเพิ่มจํานวน
ได้อย่างรวดเร็ว สร้างสารปฏิชีวนะหลายชนิดเพื่อยับยั้งเชื้อราและแบคทีเรียสาเหตุโรคพืช โรคพริกที่เชื้อ
แบคทีเรียบาซิลลัส ซับทิลิส สามารถควบคุมได้ คือ โรคแอนแทรคโนส (โรคกุ้งแห้ง)
วิธีการใช้แบคทีเรียปฏิปักษ์
 ควรเก็บผงเชื้อไว้ในตู้เย็น อุณหภูมิ 8-10 องศาเซลเซียส
 ควรเติมสารจับใบตามอัตราแนะนําบนฉลาก ลงในน้ําที่ผสมแบคทีเรียทุกครั้งก่อนพ่น
17

 ควรพ่นเชื้อแบคทีเรียในช่วงบ่ายที่มีแดดอ่อนหรือตอนเย็นและบริเวณแปลงต้องมีความชื้นอย่าง
เพียงพอ
 เชื้อแบคทีเรียสามารถใช้ผสมร่วมกับสารเคมีควบคุมโรคและแมลงศัตรูพืชได้ แต่ไม่สามารถใช้ผสม
ร่วมกับสารเคมีควบคุมเชื้อแบคทีเรียสาเหตุโรคพืช เช่นสารปฏิชีวนะ หรือสารประกอบทองแดง
 ควรพ่นทั่วทั้งต้นและรอบโคนต้น ทุก 7 วัน ในกรณีที่โรคแพร่ระบาดให้พ่นทุก 2-3 วัน
แมลงศัตรูพริก การเข้าทําลายและการป้องกันกําจัด
รายชื่อศัตรูพชื อาการและการเข้าทําลาย การป้องกันกําจัด
1. เพลี้ยไฟ (Scirtothrips เพลี้ยไฟดูดกินน้ําเลี้ยงในส่วนยอด 1. กําจัดวัชพืชไม่ให้เป็นที่อยู่
dorsalis Hood) เป็นแมลงทีม่ ี อ่อน ใบอ่อน ตาดอกและผลพริก อาศัยของเพลี้ยไฟ
ขนาดเล็ก ลําตัวผอมเรียวยาว สี ทําให้พริกชะงักการเจริญเติบโต 2. ให้น้ําแบบสปริงเกอร์ช่วยเพิ่ม
น้ําตาลปนเหลืองหรือน้ําตาลอ่อน ยอดอ่อนหงิก ใบห่อ ขอบใบม้วน ความชื้นในแปลงปลูก
เคลื่อนไหวได้รวดเร็ว อยู่รวมกัน ขึ้นทางด้านบนทั้งสองข้าง ใบมี 3. ควรปรับสูตรปุ๋ยให้มีสัดส่วน
เป็นกลุ่มบริเวณฐานดอกและใต้ใบ ลักษณะเป็นคลื่น ผิวใบด้านล่าง ไนโตรเจนต่ําลง และเพิ่มการพ่น
อ่อนพริก ก้านใบ ก้านดอก และยอดพริก แคลเซี่ยม โบรอนให้เซลพืช
เกิดรอยด้านสีน้ําตาล ดอกร่วง ผล แข็งแรง
บิดเบี้ยว หงิกงอ
สภาพทีเ่ หมาะสม คือ อากาศแห้ง
อุณหภูมิสูง

ต ร ์
าส
ษตรศ
เก เพลี้ยอ่อนเข้าทําลายดูดกินน้ํา
าลนัย
2. เพลี้ยอ่อน 1. ให้น้ําอย่างสม่ําเสมอ เพื่อลด
แมลงขนาดเล็ก ลําตัวกลม
ว ิท ยเป็ เลี้ยงส่วนของยอดอ่อน ใบอ่อน ปริมาณเพลี้ยอ่อน
แมลงพาหะของไวรัมสห า ทําให้ใบหงิกงอ เป็นคลื่น ต้นชะงัก 2. หมั่นตรวจดูแปลงปลูก และ
ัล
ูร้ดจิ ิท
การเจริญเติบโต มักจะพบมดมา ใช้สารเคมีพ่น
ว า ม กินน้ําหวานที่เพลี้ยอ่อนถ่าย
ค ลังค ออกมา และมีราดําลงทําลายด้วย
18

รายชื่อศัตรูพชื อาการและการเข้าทําลาย การป้องกันกําจัด


3. ไรขาว ไรขาวดูดกินน้ําเลี้ยงจากยอดอ่อน 1. หมั่นตรวจดูแปลงปลูก และ
(Polyphagotarsonemus และใบอ่อน ทําให้ใบหงิก ขอบใบ ใช้สารเคมีพ่น หรือใช้สาร
latus Banks) เป็นสัตว์ที่มีขนาด ม้วนลง ใบเรียวเล็ก หนาแข็งและ กํามะถันผงพ่นเป็นระยะๆ
เล็กมาก ไม่สามารถมองเห็นด้วย เปราะ ถ้าระบาดรุนแรง ยอดอ่อน ในช่วงที่เริ่มระบาด
ตาเปล่า รูปร่างค่อนข้างกลม ที่ถูกไรขาวดูดกินน้ําเลี้ยง จะแตก
เป็นฝอย ต้นพริกไม่เจริญเติบโต
และไม่ติดผล

ลําตัวสีขาว
4. แมลงวันพริก (Bactrocera แมลงวันพริกเพศเมียวางไข่ภายใน 1. ใช้สารล่อแมลง คือ ลาตีลัวร์
latifrons) เป็นแมลงทีม่ ีลักษณะ ผลพริก เมื่อฟักเป็นตัวหนอน จะ (Lati-lure) ร่วมกับสารฆ่าแมลง
คล้ายกับแมลงวันผลไม้หรือ กัดกินภายในผลพริก เห็นเป็นรอย ใส่ในกับดักแมลง เพื่อล่อ
แมลงวันทอง แต่บนลําตัวมีแถบสี ทาง ไส้พริกมีสดี ํา ต่อมาผลพริกจะ แมลงวันพริกเพศผู้
เหลืองสลับแถบดําพาดขวาง เน่าและร่วง
ต ร ์
าส
ษตรศ
ัย เก
าล
ิาวทย ตัวอ่อนแมลงวันพริก
ัล มห
ูร้ดจิ ิท

ว า
ลังค
5.คหนอนเจาะสมอฝ้ าย เป็นหนอนผีเสื้อกลางคืนเข้า ใช้สารกลุ่มไพรีทรอยด์และเชื้อ
ทําลายโดยกัดกินดอกและเจาะกิน แบคทีเรีย (BT) พ่นในช่วงเย็น
ภายในผลพริก หลังให้น้ําแปลงปลูก
19

เอกสารอ้างอิง

1. จิระเดช แจ่มสว่าง และ วรรณวิไล อินทนู การควบคุมโรคพริกด้วยเชื้อราไตรโคเดอร์มา 2554 เอกสาร


เผยแพร่ ห้องปฏิบัติการควบคุมโรคพืชโดยชีวภาพ ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร กําแพงแสน
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกําแพงแสน นครปฐม

2. วัลลา ดิฐพงษ์พิชญ์. 2550. โรคพืชผักที่สําคัญในประเทศไทย. บริษัทอีสท์ เวสท์ ซีด จํากัด. 130


หน้า.

3. สํานักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ 2547. มาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ :


พริก กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 7 หน้า

4. อังศุมาลย์ จันทราปัตย์. 2550. เพลี้ยไฟและไรขาว : ศัตรูสําคัญของพริกในประเทศไทย. ใน ศักยภาพ


การผลิตพริกเพื่ออุตสาหกรรมการส่งออกของไทยในปัจจุบันและอนาคต. หน้า 93-106. สุชีลา
เตชะวงศ์เสถียร (บรรณาธิการ) โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา ขอนแก่น.

5. อรพรรณ วิ เ ศษสั ง ข์ . 2550. ข้ อ มู ล เกี่ ย วกั บ โรคแอนแทรคโนส. ใน ศั ก ยภาพการผลิ ต พริ ก เพื่ อ


อุตสาหกรรมการส่งออกของไทยในปัจจุบันและอนาคต. หน้า 63-71. สุชีลา เตชะวงศ์เสถียร
(บรรณาธิการ) โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา ขอนแก่น.

ต ร ์
าส
ษตรศ
ัย เก
าล
ิาวทย
มห
ิจ ิทัล
า ม รู้ด
ค ัลงคว

--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
การอ้างอิง :
ศูนย์วิจัยและพัฒนาพืชผักเขตร้อน 2556. คู่มือการปลูกพริก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์วิทยาเขต
กําแพงแสน จ. นครปฐม

You might also like