Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 10

รายงาน

เรื่อง เซปักตะกร้อ

เสนอ
นางสาวกิตติยา กิมาวหา

โดย
เด็กชาย....................................................ชั้น ม.1

รายงานเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชาพลศึกษา (เซปักตะกร้อ)
กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษาภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564
โรงเรียนบ้านพลวง(พรหมบารุงราษฎร์)
สานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3
คานา
รายงานเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิช าพลศึก ษา (เซปักตะกร้อ ) ซึ่งได้รวบรวมประวั ติ
ตะกร้อ ประวั ติตะกร้ อในประเทศไทย วิ วั ฒ นาการการเล่ น กติ กาตะกร้ อ ไทยสมั ยก่อ น กติ ก า
ตะกร้อของมาเลเซีย ประวัติสมาคมตะกร้อแห่งประเทศไทย ประเภทของกีฬาตะกร้อ มารยาทใน
การเล่นตะกร้อที่ดี มารยาทของผู้ชมตะกร้อที่ดี
ผู้จัดทาหวังเป็นอย่างยิ่งว่ารายงานฉบับนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านไม่มากก็น้อย หากมี
ข้อผิดพลาดประการใดทางผู้จัดทาต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย

เด็กชาย............................................
ผู้จัดทา
สารบัญ
เรื่อง หน้า

ประวัติตะกร้อ
ประวัติตะกร้อในประเทศไทย
วิวัฒนาการการเล่น
กติกาตะกร้อไทยสมัยก่อน
กติกาตะกร้อของมาเลเซีย
ประวัติสมาคมตะกร้อแห่งประเทศไทย
ประเภทของกีฬาตะกร้อ
มารยาทในการเล่นตะกร้อที่ดี
มารยาทของผู้ชมตะกร้อที่ดี
ประวัตติ ะกร้อ
ในการค้นคว้าหาหลักฐานเกี่ยวกับแหล่งกาเนิดการกีฬาตะกร้อในอดีตนั้น ยังไม่สามารถหา
ข้อสรุปได้อย่างชัดเจนว่ากีฬาตะกร้อนั้นกาเนิดจากที่ใดจากการสันนิษฐานคงจะได้หลายเหตุผล
ดังนี้
ประเทศพม่า เมื่อประมาณ พ.ศ. 2310 พม่ามาตั้งค่ายอยู่ที่โพธิ์สามต้น ก็เลยเล่นกีฬา
ตะกร้อกัน ซึ่งทางพม่าเรียกว่า “ชิงลง”
ทางมาเลเซียก็ประกาศว่า ตะกร้อเป็นกีฬาของประเทศมาลายูเดิมเรียกว่า ซีปักรากา
(Sepak Raga) คาว่า Raga หมายถึง ตะกร้า
ทางฟิลิปปินส์ ก็นิยมเล่นกันมานานแล้วแต่เรียกว่า Sipak
ทางประเทศจีนก็มีกีฬาที่คล้ายกีฬาตะกร้อแต่เป็นการเตะตะกร้อชนิดที่เป็นลูกหนังปักขน
ไก่ ซึ่งจะศึกษาจากภาพเขียนและพงศาวดารจีน ชาวจีนกวางตุ้งที่เดินทางไปตั้งรกรากในอเมริกาได้
นาการเล่นตะกร้อขนไก่นี้ไปเผยแพร่ แต่เรียกว่าเตกโก (Tek K’au) ซึ่งหมายถึงการเตะลูกขนไก่
ประเทศเกาหลี ก็มีลักษณะคล้ายกับของจีน แต่ลักษณะของลูกตะกร้อแตกต่างไป คือใช้ดินเหนียว
ห่อด้วยผ้าสาลีเอาหางไก่ฟ้าปัก
ประเทศไทยก็นิยมเล่นกีฬาตะกร้อมายาวนาน และประยุกต์จนเข้ากับประเพณีของชน
ชาติไทยอย่างกลมกลืนและสวยงามทั้งด้านทักษะและความคิด

ประวัติตะกร้อในประเทศไทย
ในสมัยโบราณนั้นประเทศไทยเรามีกฎหมายและวิธีการลงโทษผู้กระทาความผิด โดยการ
นาเอานักโทษใส่ลงไปในสิ่งกลมๆที่สานด้วยหวายให้ช้างเตะ แต่สิ่งที่ช่วยสนับสนุนประวัติของ
ตะกร้อได้ดี คือ ในพระราชนิพนธ์เรื่องอิเหนาของรัชกาลที่ 2 ในเรื่องมีบางตอนที่กล่าวถึงการเล่น
ตะกร้อ และที่ระเบียงพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งเขียนเรื่องรามเกียรติ์ ก็มีภาพการ
เล่นตะกร้อแสดงไว้ให้อนุชนรุ่นหลังได้รับรู้ โดยภูมิศาสตร์ของไทยเองก็ส่งเสริมสนับสนุนให้เราได้
ทราบประวัติของตะกร้อ คือประเทศของเราอุดมไปด้วยไม้ไผ่ หวายคนไทยนิยมนาเอาหวายมา
สานเป็นสิ่งของเครื่องใช้ รวมถึงการละเล่นพื้นบ้านด้วย อีกทั้งประเภทของกีฬาตะกร้อในประเทศ
ไทยก็มีหลายประเภท เช่น ตะกร้อวง ตะกร้อลอดห่วง ตะกร้อชิงธงและการแสดงตะกร้อพลิก
แพลงต่างๆ ซึ่งการเล่นตะกร้อของประเทศอื่นๆนั้นมีการเล่นไม่หลายแบบหลายวิธีเช่นของไทยเรา
การเล่นตะกร้อมีวิวัฒนาการอย่างต่อเนื่องมาตามลาดับทั้งด้านรูปแบบและวัตถุดิบในการทาจาก
สมัยแรกเป็นผ้า , หนังสัตว์ , หวาย , จนถึงประเภทสังเคราะห์ ( พลาสติก )
ความหมาย คาว่าตะกร้อ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตสถาน พ . ศ . 2525 ได้ให้คาจากัด
ความเอาไว้ว่า” ลูกกลมสานด้วยหวายเป็นตา สาหรับเตะ”
วิวัฒนาการการเล่น
การเล่นตะกร้อได้มีวิวัฒนาการในการเล่นมาอย่างต่อเนื่อง ในสมัยแรกๆ ก็เป็นเพียงการ
ช่วยกันเตะลูกไม่ให้ตกถึงพื้นต่อมาเมื่อเกิดความชานาญและหลีกหนีความจาเจ ก็คงมีการเริ่มเล่น
ด้วยศีรษะ เข่า ศอก ไหล่ มีการจัดเพิ่มท่าให้ยากและสวยงามขึ้นตามลาดับ จากนั้นก็ตกลงวาง
กติกาการเล่นโดยเอื้ออานวยต่อผู้เล่นเป็นส่วนรวม อาจแตกต่างไปตามสภาพภูมิประเทศของแต่ละ
พื้นที่ แต่คงมีความใกล้เคียงกันมากพอสมควร
กติกาตะกร้อไทยสมัยก่อน เรียกว่า ตะกร้อข้ามตาข่าย สาระสาคัญของกติกาพอสังเขป ดังนี้
1. สนามแข่งขันและตาข่ายคล้ายกันกับ กีฬาแบดมินตัน (ความยาวสนามสั้นกว่า)
2. จานวนผู้เล่นและคะแนนการแข่งขัน
2.1 การเล่น 3 คน แต่ละเซท จบเกมที่ 21 คะแนน (แข่งขัน 2 ใน 3 เซท)
2.2 การเล่น 2 คน (คู่) แต่ละเซท จบเกมที่ 15 คะแนน (แข่งขัน 2 ใน 3 เซท)
2.3 การเล่น 1 คน (เดี่ยว) แต่ละเซท จบเกมที่ 11 คะแนน (แข่งขัน 2 ใน 3 เซท)
3. ผู้เล่นแต่ละคน-แต่ละทีม สามารถเล่นได้ไม่เกิน 2 ครั้ง (2 จังหวะ)
4. ผู้เล่นแต่ละคน-แต่ละทีม ช่วยกันไม่ได้ หากผู้ใดถูกลูกตะกร้อจังหวะแรก ผู้นั้นต้องเล่น
ลูกให้ข้ามตาข่ายต่อไป
5. การเสิร์ฟ แต่ละคนต้องโยนและเตะลูกด้วยตนเองตามลาดับกับมือ ซึ่งเรียกว่ามือ 1, มือ
2 และมือ 3 มีลูกสั้น-ลูกยาว
กติกาตะกร้อของมาเลเซีย
เล่นแบบ ข้ามตาข่าย เช่นเดียวกัน ซึ่งเรียกว่า เซปัก รากา จาริง ดังที่กล่าวมาแล้วว่า
ดัดแปลงการเล่นมาจาก กีฬาวอลเลย์บอล โดยมีนักกีฬาฝ่ายละ 3 คน แต่ละคนสามารถเล่นลูก
ตะกร้อได้คนละ ไม่เกิน 3 ครั้ง/จังหวะ และสามารถช่วยกันได้ ต้องให้ลูกตะกร้อข้ามตาข่าย ซึ่ง
เมื่อก่อน เซปัก รากา จาริง แต่ละเซทจบเกมที่ 15 คะแนน แข่งขัน 2 ใน 3 เซท เช่นเดียวกันการ
สาธิตกีฬาตะกร้อระหว่างไทย กับ มาเลเซีย
วันแรก เล่นกติกาของไทย ปรากฏว่าไทยชนะด้วย 21 ต่อ 0 คะแนน นักกีฬาไทย
ประกอบด้วย 1. จ.ส.ต.เจริญ ศรีจามร 2. ร.อ.จาเนียร แสงสม 3. นายชาญ ธรรมวงษ์ (ซึ่งทั้ง 3
คนได้เสียชีวิตแล้ว)
วันที่สอง เล่นกติกาของมาเลเซีย ปรากฏว่ามาเลเซีย ชนะด้วย 15 ต่อ 1 คะแนน นักกีฬา
ไทยประกอบด้วย 1. ส.อ.สวัลย์ วงศ์พิพัฒน์ 2. นายประเสริฐ นิ่มงามศรี 3. นายสาเริง หวังวิชา
(ซึ่งทั้ง 3 คนได้เสียชีวิตแล้ว)
จากผลของการสาธิต แสดงให้เห็นว่าต่างฝ่ายต่างถนัดหรือมีความสามารถการเล่นในกติกา
ของตน จึงได้มีการประชุมพิจารณาร่วมกัน กาหนดกติกาการเล่นตะกร้อขึ้นใหม่ เพื่อนาเสนอเข้า
แข่งขันใน กีฬาเซียพเกมส์ ต่อไป ข้อตกลงสรุปได้ดังนี้
– วิธีการเล่นและรูปแบบสนามแข่งขัน ให้ถือเอารูปแบบของประเทศ มาเลเซีย
– อุปกรณ์การแข่งขัน (ลูกตะกร้อ-เน็ต) และขนาดความสูงของเน็ต ให้ถือเอารูปแบบของ
ประเทศไทย
ประวัติสมาคมตะกร้อแห่งประเทศไทย
เมื่อปี พ.ศ. 2524 คณะกรรมการบริหารสมาคมกีฬาไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้มีมติ
และอนุมัติให้ พ.อ.(พิเศษ) เดชา กุลบุตร ขณะที่ท่านเป็นเลขาธิการสมาคมกีฬาไทยในพระบรม
ราชูปถัมภ์ และกรรมการบริหารสมาคมกีฬาไทยกลุ่มหนึ่ง ไปก่อตั้งและขอจดทะเบียนตั้งสมาคม
ขึ้นมาอีก 1 สมาคม เพื่อบริหารกิจกรรมกีฬาตะกร้อโดยเฉพาะ ใช้ชื่อว่า สมาคมตะกร้อ โดยทา
การยื่นขอจดทะเบียนตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 ในขณะที่กาลังดาเนินการจดทะเบียน ที่ประชุมได้มีมติ
ให้ พ.อ.(พิเศษ) เดชา กุลบุตร รักษาการเป็นนายกสมาคมตะกร้อ โดยมีนายนพชัย วุฒิกมลชัย
ผู้ทาหน้าที่เป็นเลขาธิการสมาคมฯ ต่อมาเมื่อวันที่ 17 เมษายน 2526 สมาคมได้รับใบอนุญาต
จัดตั้งสมาคม ตามเลขที่อนุญาต ที่ ต.204/2526 เลขคาขอที่ 204/2526 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
1. เป็นการส่งเสริมความสัมพันธ์ไมตรีระหว่างประเทศให้ดียิ่งขึ้น
2. เป็นการส่งเสริม และสนับสนุนกีฬาตะกร้อให้แพร่หลายยิ่งขึ้น
3. จัดการแข่งขันภายในประเทศ และนอกประเทศ
4. เผยแพร่ให้เยาวชน สถาบันการศึกษา โรงเรียน และรัฐวิสาหกิจ ให้มีการแข่งขันมากขึ้น
5. จัดให้มีการควบคุมให้อยู่ในขอบข่าย และจัดให้มีการแข่งขันในระดับต่างๆ มากยิ่งขึ้น
6. ตั้งศูนย์อบรม เผยแพร่ให้แก่เยาวชน และประชาชนทั่วไป
7. ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง
มีที่ตั้งสานักงานแห่งใหญ่ ณ เลขที่ 179 ซอยเจริญพร ถนนประดิพัทธ์ แขวงสามเสนใน เขตพญา
ไท กรุงเทพมหานคร ต่อมาเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2526 พ.อ.(พิเศษ) เดชา กุลบุตร และ
คณะกรรมการบริหาร (ชุดรักษาการ) และสโมสรสมาชิกในขณะนั้น ได้มีการประชุมใหญ่สามัญ
โดยมีวาระที่สาคัญคือให้มีการเลือกตั้งคณะกรรมการบริหารชุดใหม่ เมื่อถึงวาระสาคัญ พ.อ.
(พิเศษ) เดชา กุลบุตร ท่านได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่า ท่านภูมิใจในการที่ได้ร่วมกันก่อตั้งสมาคมฯ
นี้ขึ้นมา แต่ขณะนี้ท่านได้ชรามากแล้ว จึงเห็นควรที่จะมอบหมายหรือเลือกตั้งบุคคลอื่นมาทา
หน้าที่แทนท่าน และท่านได้เป็นผู้เสนอชื่อ พ.อ. จารึก อารีราชการัณย์ (ยศในขณะนั้น) เป็นนายก
สมาคมฯ ด้วยตัวท่านเอง ที่ประชุมไม่มีผู้ใดคัดค้านเห็นชอบตามเสนอ พ.อ. จารึก อารีราชการัณย์
จึงได้รับตาแหน่งนายกสมาคมตะกร้อแห่งประเทศไทย มาตั้งแต่บัดนั้น จนถึงปัจจุบัน
ประเภทของกีฬาตะกร้อ

1. เซปักตะกร้อ การแข่งขันตะกร้อในระดับนานาชาติ เรียกเกมกีฬาชนิดนี้ว่าเซปักตะกร้อ


โดยเป็นการแข่งขันของผู้เล่น 2 ทีม ทาการโต้ลูกตะกร้อข้ามตาข่ายเพื่อให้ลงในแดนของคู่ต่อสู้
กติกา เซปักตะกร้อ สาหรับการรับชม โดยสังเขป
 ผู้เล่น ประเภทเดี่ยว มีผู้เล่นตัวจริง 3 คน สารอง 1 คน ประเภททีม ประกอบด้วย 3 ทีม มี
ผู้เล่น 9 คน และผู้เล่นสารอง 3 คน
 เมื่อเริ่มเล่นทั้ง 2 ทีมพร้อมในแดนของตนเอง ผู้เล่นฝ่ายเสิร์ฟจะต้องอยู่ในวงกลมของ
ตนเอง เมื่อเสิร์ฟแล้วจึงเคลื่อนที่ได้ ส่วนผู้เล่นฝ่ายรับจะยืนที่ใดก็ได้
 เสิร์ฟลูกสัมผัสเน็ต ไม่ถือว่าฟาล์ว แต่จะเสียคะแนนถ้าลูกไม่ข้ามไปฝั่งตรงข้าม หรือข้าม
และลูกออก
 หลังจากที่เสิร์ฟแล้ว ฝ่ายรับจะมีโอกาสเล่นบอลได้ไม่เกิน 3 ครั้ง โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งลูก
กลับมาอีกฝั่ง และพยายามให้ลงสัมผัสกับพื้นที่สนามของฝ่ายตรงข้ามให้ได้ โดยเกมจะ
แบ่งเป็นกรณีดังต่อไปนี้

กรณีที่ ฝ่ายเสิร์ฟจะได้คะแนน

– เสิร์ฟลงสัมผัสกับพื้นสนามของฝ่ายรับ
– เสิร์ฟลูกโดนตาข่าย แต่ลูกพลิกไปลงสัมผัสกับพื้นสนามของฝ่ายรับ
– เสิร์ฟลูกแล้วฝ่ายรับสัมผัสบอลแล้วบอลตกในฝั่งของฝ่ายรับเอง หรือ สัมผัสแล้วทาลูกสัมผัสพื้น
ในส่วนนอกสนาม
– เสิร์ฟลูกแล้วฝ่ายรับเล่นบอลเกิน 3 ครั้ง
– เสิร์ฟลูกแล้วฝ่ายรับเล่นบอลไม่เกิน 3 ครั้ง แต่ไม่สามารถส่งลูกไปยังสนามของฝ่ายตรงข้ามได้ ไม่
ว่าจะเป็น ติดตาข่าย ทาลูกหล่นสัมผัสพื้นในแดนตนเอง หรือส่งข้ามไปแล้วลูกสัมผัสพื้นนอกพื้นที่
การเล่น

กรณีที่ ฝ่ายรับจะได้คะแนน

– ฝ่ายเสิร์ฟ เสิร์ฟติดตาข่าย และลูกไม่ข้ามมาลงพื้นที่สนามของฝ่ายรับ หรือเสิร์ฟออก


– ฝ่ายรับสามารถเตะบอลลงสัมผัสพื้นสนามของฝ่ายเสิร์ฟได้
– ฝ่ายรับเตะบอลสัมผัสถูกผู้เล่นของฝ่ายเสิร์ฟ และลูกตกสัมผัสพื้นในแดนของฝ่ายเสิร์ฟ
– ฝ่ายรับเตะบอลสัมผัสถูกผู้เล่นของฝ่ายเสิร์ฟ และลูกสัมผัสพื้นที่นอกสนาม
– ฝ่ายเสิร์ฟสัมผัสถูกตาข่ายระหว่างการเล่น
 หากฝ่ายรับเล่นบอลส่งไปฝั่งตรงข้ามและฝ่ายเสิร์ฟรับได้ ให้ใช้กฎเดียวกันคือ ฝ่ายเสิร์ฟมี
โอกาสเล่นบอลได้ไม่เกิน 3 ครั้ง เพื่อส่งลูกกลับไป เกมจะดาเนินไปจนกว่าจะมีฝั่งใดได้
คะแนน
 อนุญาตให้ฝ่ายที่ไม่ได้เล่นบอล กระโดดบล็อกการเล่นที่ไม่ใช่ลูกเสิร์ฟได้
 ฝ่ายที่ได้คะแนนจะเป็นผู้ได้สิทธิ์ในการเสิร์ฟ
 การแข่งขันใช้แบบ 2 ใน 3 เซต ในเซตที่ 1 และเซตที่ 2 จะมีคะแนนสูงสุด 15 คะแนน ทีม
ใดได้ 15 คะแนนก่อน จะเป็นผู้ชนะในเซตนั้นๆ ทั้ง 2 เซต จะไม่มีดิวส์ หากทั้งสองทีมได้
13 ก่อน หรือ 14 เท่ากัน พักระหว่างเซต 2 นาที ถ้าเสมอกัน 1:1 เซต ให้ทาการแข่งขัน
เซตที่ 3 ด้วยไทเบรก โดยเริ่มด้วยการเสี่ยงใหม่ โดยใช้คะแนน 6 คะแนน ทีมใดได้ 6
คะแนนก่อนเป็นผู้ชนะ แต่จะต้องแพ้ชนะอย่างน้อย 2 คะแนน ถ้ายังไม่แพ้กันไม่น้อยกว่า
2 คะแนน ก็ให้ทาการแข่งขันอีก 2 คะแนน แต่ไม่เกิน 8 คะแนน เช่น 8:6 หรือ 8:7 ถือ
เป็นการยุติการแข่งขันระบบไทเบรก เมื่อฝ่ายใดก็ตามได้ 3 คะแนน และขอเวลานอกได้เซ
ตละ 1 ครั้ง ครั้งละ 1 นาที สาหรับไทเบรก ขอเวลาได้ 1 ครั้ง ครั้งละ 30 วินาที
2. ตะกร้อที่เล่นเป็นทีมโดยไม่มีฝ่ายตรงข้าม เช่น ตะกร้อวง | ผู้เล่นจะล้อมเป็นวง ผู้
เริ่มต้นจะใช้เท้าเตะลูกตะกร้อไปให้อีกผู้รับหนึ่ง ผู้รับจะต้องมีความว่องไวในการใช้เท้ารับและเตะ
ส่งไปยังอีกผู้หนึ่ง จึงเรียกวิธีเล่นนี้ว่า “เตะตะกร้อ” ความสนุกอยู่ที่การหลอกล่อที่จะเตะไปยังผู้ใด
ถ้าผู้เตะทั้งวงมีความสามารถเสมอกัน จะโยนและรับไม่ให้ตะกร้อถึงพื้นได้เป็นเวลานานมาก กล่าว
กันว่าทั้งวันหรือทั้งคืนก็ยังมี แต่ผู้เล่นยังไม่ชานาญก็โยนรับได้ไม่กี่ครั้ง ลูกตะกร้อก็ตกถึงพื้น
3. การติดตะกร้อ (เล่นเดี่ยว) เป็นศิลปะการเล่นตะกร้อ คือ เตะตะกร้อให้ไปติดอยู่ที่ส่วน
ใดส่วนหนึ่งของร่างกาย และต้องถ่วงน้าหนักให้อยู่นาน แล้วใช้อวัยวะส่วนนั้นส่งไปยังส่วนอื่นโดย
ไม่ให้ตกถึงพื้น เช่น การติดตะกร้อที่หลังมือ ข้อศอก หน้าผาก จมูก เป็นต้น ผู้เล่นต้องฝึกฝนอย่าง
มาก
4. ตะกร้อติดบ่วง การเตะตะกร้อติดบ่วง ใช้บ่วงกลมๆแขวนไว้ให้สูงสุด แต่ผู้เล่นจะ
สามารถเตะให้ลอดบ่วงไปยังผู้อื่นได้ กล่าวกันว่าบ่วงที่เล่นเคยสูงสุดถึง 7 เมตร และยิ่งเข้าบ่วง
จานวนมากเท่าไรยิ่งแสดงถึงความสามารถ ถือเป็นการฝึกฝนได้ดี

มารยาทในการเล่นตะกร้อที่ดี

การเล่นกีฬาทุกชนิด ผู้เล่นจะต้องมีมารยาทในการเล่นและการแข่งขัน ประพฤติปฏิบัติตน


ให้เป็นไปตามขั้นตอนของการเล่นกีฬาแต่ละประเภท จึงจะนับว่าเป็นผู้เล่นที่ดีและมีมารยาท ผู้เล่น
ควรต้องมีมารยาทดังนี้ คือ
1. การแสดงความยินดี ชมเชยด้วยการปรบมือหรือจับมือเมื่อเพื่อนเล่นได้ดี แสดงความเสียใจ
เมื่อตนเอง หรือเพื่อนร่วมทีมเล่นผิดพลาดและพยามปลอบใจเพื่อน ตลอดจนปรับปรุงการ
เล่นของตัวเองให้ดีขึ้น
2. การเล่นอย่างสุภาพและเล่นอย่างนักกีฬา การแสดงกิริยาท่าทางการเล่นต้องให้เหมาะสม
กับการเป็นนักกีฬาที่ดี
3. ผู้เล่นที่ดีต้องไม่หยิบอุปกรณ์ของผู้อื่นมาเล่นโดยพลการ
4. ไม่ว่าจะชนะหรือแพ้ต้องไม่แสดงอาการดีใจหรือเสียใจจนเกินไป
5. ผู้เล่นต้องเชื่อฟังคาตัดสินของกรรมการ หากไม่พอใจคาตัดสินก็ยื่นประท้วงตามกติกา
6. ผู้เล่นต้องควบคุมอารมณ์ให้สุขุมอยู่ตลอดเวลา
7. ก่อนการแข่งขันหรือหลังการแข่งขัน ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายแพ้หรือชนะก็ตาม ควรจะต้องจับมือ
แสดงความยินดี
8. หากมีการเล่นผิดพลาด จะต้องกล่าวคาขอโทษทันทีและต้องกล่าวให้อภัยเมื่อฝ่ายตรงข้าม
กล่าวขอโทษด้วยความยิ้มแย้มแจ่มใส
9. ต้องแต่งกายรัดกุม สุภาพ ถูกต้องตามกติกาที่กาหนดไว้
10. ไม่ส่งเสียงเอะอะในขณะเล่นหรือแข่งขันจนทาให้ผู้เล่นอื่นเกิดความราคาญ
11. ต้องปฏิบัติตามกฎข้อบังคับตามกติกาอย่างเคร่งครัด
12. มีความอดทนต่อการฝึกซ้อมและการเล่น
13. หลังจากฝึกซ้อมแล้วต้องเก็บอุปกรณ์ให้เรียบร้อย
14. เล่นและแข่งขันด้วยชั้นเชิงของนักกีฬา รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย ในการเล่นกีฬา

มารยาทของผู้ชมตะกร้อที่ดี

1. ปรบมือให้นักกีฬาและผู้ตัดสินเมื่อเขาดินลงสนาม
2. ปรบมือแสดงความยินดีเมื่อผู้เล่นเล่นได้ดี หรือชนะการแข่งขัน
3. นั่งชมด้วยความสงบเรียบร้อยไม่ส่งเสียงเอะอะ
4. ไม่แสดงท่าทางยั่วยุให้ผู้เล่นขาดสมาธิ
5. ไม่ใช้เสียงเพลงที่มีเนื้อหาหยาบคาย สร้างความแตกแยก
6. อย่าแสดงกิริยาไม่สุภาพหรือใช้วัสดุสิ่งของขว้างปาลงสนาม นักกีฬา หรือกรรมการ
7. ผู้ดูต้องยอมรับการตัดสินของผู้ตัดสิน
8. ไม่ส่งเสียงโห่ร้องหรือแสดงกิริยาเย้ยหยัน เมื่อผู้เล่นเล่นผิดพลาดหรือผู้ตัดสินผิดพลาด
9. ผู้ดูควรเรียนรู้กติกาการแข่งขันกีฬาชนิดนั้นๆ พอสมควร
10. ให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ เมื่อเกิดเหตุการณ์วุ่นวายขึ้นในสนามแข่งขัน
11. สนับสนุนให้กาลังใจและให้เกียรตินักกีฬาทุกประเภทเพื่อเป็นการส่งเสริมการกีฬาของชาติ
บรรณานุกรม

https://www.educatepark.com/story/history-of-sepak-takraw/ (5 กันยายน 2564)

You might also like