Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 64

รายงานกรณีศึกษา (Case study)

วิชา การปฏิบัติการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช

จัดทำโดย
นางสาวสุริกา กุลแสนเต่า รหัสนักศึกษา 63040200121

นักศึกษาพยาบาล ชั้นปีที่ 3

เสนอ
อาจารย์ระพีพรรณ ลาภา
อาจารย์นิเทศประจำกลุ่ม

หอผู้ป่วยภูมจิ ิต โรงพยาบาลหนองคาย
คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
ภาคการศึกษาที่ 1 ปีการศึกษา 2565

คำนำ
รายงานฉบับนี้เป็นส่วนหนึ่งของวิชา NS29334 การปฏิบัติการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช ซึ่งมี
เนื้อหาเกี่ยวกับการใช้กระบวนการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช เกี่ยวกับการอาการและพฤติกรรมพื้นฐาน
ของผู้ป่วยในหอผู้ป่วยจิตเวช
ในส่ว นของเนื้อหามี การประเมิน สุขภาพทางจิตและการวางแผนทางการพยาบาลเพื ่อ ให้ ไ ด้ ฝึ ก
ประสบการณ์ทางการพยาบาลให้กับผู้ป่วยได้เรียนรู้บทบาทของวิชาชีพพยาบาลจิตเวช การใช้กระบวนการ
พยาบาลในการดูแลป่วยแบบองค์รวม (Holistic care) อย่างครบคลุมในการฝึกปฎิบัติจริงเห็นสถานการณ์จริง
ในหอผู้ป่วย โดยมีอาจารย์ผู้สอนเป็นพยาบาลวิชาชีพเป็นผู้นิเทศให้ความรู้และสร้างทัศนคติต่อวิชาชีพพยาบาล
และสามารถใช้ความรู้ทางกระบวนการพยาบาล การประเมินทางการพยาบาลมาประยุกต์ใช้และต่อยอดทำให้
เกิดกระบวนการพยาบาลอย่างเป็นองค์รวมต่อไป
ขอขอบพระคุณ อาจารย์ระพีพรรณ ลาภา อาจารย์นิเทศและเจ้าหน้าที่บุคลากรประจำหอรวงผึ้ง
โรงพยาบาลอุดรธานี ที่ให้คำแนะนำและให้ความรู้ตลอดเวลาในการฝึกปฎิบัติงาน ตลอดจนการทำรายงานเล่ม
นี้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี

นางสาวสุริกา กุลแสนเต่า
30 กันยายน 2565

สารบัญ
เรื่อง หน้า

คำนำ 1

ส่วนที่1 ข้อมูลผู้ป่วย 1
ส่วนที่2 การรวบรวมข้อมูลด้านสุขภาพและการเจ็บป่วยทางจิต 1
ส่วนที่3 ข้อมูลตัวและการประเมินด้านจิตสังคม 2
ส่วนที่4 ข้อมูลด้านการรักษาและการตรวจประเมินภาวะสุขภาพ 5
ส่วนที่5 การวิเคราะห์การเจ็บป่วยทางจิต 26
ส่วนที่6 กระบวนการพยาล และแผนการดูแลอย่างต่อเนื่อง 38
ส่วนที่7 สรุปผลการศึกษาและข้อเสนอแนะ 58
เอกสารอ้างอิง 60
1

รายงานกรณีศึกษา
การประเมินความผิดปกติทางจิต การวินิจฉัยเบื้องต้น และการวินิจฉัยทางการพยาบาล

ชื่อนักศึกษา นางสาวสุริกา กุลแสนเต่า รหัส 63040200121 หอผูป้ ว่ ยภูมจิ ติ โรงพยาบาลหนองคาย


วันที่เริ่มดูแล 19 กันยายน พ.ศ.2565 วันที่สิ้นสุดการดูแล 30 กันยายน พ.ศ.2565

ส่วนที่ 1 ข้อมูลผู้ป่วย
ผู้รับบริการเพศ ชาย อายุ 35 ปี
สถานภาพสมรส หย่าร้าง ระดับการศึกษา ปวส. อาชีพ เซียนพระ
รายได้/เดือน 1000 บาท ภูมิลำเนา 211 หมู่ 10 ต.หาดคำ อ.เมืองหนองคาย จ.หนองคาย
ผู้ดูแลหลัก ยาย
การวินิจฉัยโรค Amphetamine psychosis disorderกลุ่มอาการทางจิตที่เกิดขึ้นการใช้สารแอมเฟตามีน
วัน Admit 4 กันยายน พ.ศ.2565 ครั้งที่ admit 1 หอผู้ป่วยภูมิจิต โรงพยาบาลหนองคาย

ส่วนที่ 2 การรวบรวมข้อมูลสุด้านสุขภาพและการเจ็บป่วยทางจิต
ที่มาของข้อมูลจากผู้รับบริการและแฟ้มประวัติผู้ป่วย
2.1 อาการสำคัญ (Chief Complaint)
ก้าวร้าว 1 ชั่วโมงก่อนมาโรงพยาบาล
2.2 ประวัติการเจ็บป่วยปัจจุบัน (Present Illness)
20 ปีก่อน เริ่มสูบบุหรี่ 10มวน/วัน ดื่มสุราขาว 1 ขวดใหญ่/สัปดาห์ เพราะเพื่อนชวนสูบ ดื่มสุรามา
เรื่อยๆ ประจำทุกวัน
5 ปีก่อน เริ่มใช้ยาบ้าและกัญชา ยาบ้าและกัญชาที่ได้มาจากเพื่อน พอลองเสพแล้วชอบกลิ่นของยาบ้า
คล้ายกลิ่นช็อคโกแลต เกิดอาการติดใจเลยเสพยาบ้ามาเรื่อยๆ เสพยาบ้าครั้งละ 1 เม็ด/ครั้ง เสพสัปดาห์ละ
5 ครั้ง และกัญชา ครั้งละ1 เขียง เสพสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ไม่มีอาการทางจิต
1 เดือนก่อน ภาพหลอน หูแว่ว มีความคิดหลงผิดว่าตนโดนเล่นคุณไสย คิดว่ามีหนอนออกจาก
บาดแผลบริเวณตามร่างกาย บนอาหาร บนอุจจาระ และตามทั่วร่างกาย และยังมีการใช้สารเสพติดคือยาบ้า
เสพยาบ้าครั้งละ 1 เม็ด/ครั้ง เสพสัปดาห์ละ 3 ครั้ง คิดว่าตนเองไม่ได้เป็นอะไรจึงไม่ได้มารักษาที่โรงพยาบาล
1 ชั่วโมงก่อนมาโรงพยาบาล ผู้ป่วยทำร้ายข้าวของ พูดคนเดียว มีภาพหลอน หูแว่ว มีความคิดหลงผิด
ว่าตนโดนเล่นคุณไสย ตำรวจจึงพามาส่งตัวที่โรงพยาบาลหนองคาย admit ที่หอผู้ป่วยภูมิจิต โรงพยาบาล
หนองคาย
2

2.3 ประวัติการเจ็บป่วยในอดีต (Past Illness)


alcohol Liver cirihosis โรคตับแข็งเนื่องจากการดื่มแอลกอฮอล์
2.4 ประวัติการแพ้ยา อาหาร หรือสารใดๆ
ปฏิเสธการแพ้ยา อาหาร หรือสารใดๆ
2.5 ประวัติการได้รับอุบัติเหตุ การผ่าตัด
ปฏิเสธการได้รับอุบัติเหตุ การผ่าตัด
2.7 ประวัติการใช้สารเสพติด
Amphetamine กัญชา บุหรี่ และสุรา
ส่วนที่ 3 ประวัติส่วนตัว (Personal History) และการประเมินด้านจิตสังคม
3.1 ประวัติส่วนตัว
1) ประวัติการตั้งครรภ์ของมารดาและการคลอด
การแฟ้มข้อมูลกรรักษา พบว่า ผู้ป่วยเป็นบุตรคนที่ 1 การตั้งครรภ์ปกติ และการคลอดบุตรแบบธรรมชาติ
2) ประวัติพัฒนาการในแต่ละช่วงวัย
2.1วัยทารก ( แรกเกิด – 3 ปี ) : ผู้ป่วยให้ประวัติว่า “ตั้งแต่เกิดมาบิดามารดาเลี้ยงได้ 2 ปี ต่อมา
บิดามารดาเลิกกันตั้งแต่ตนเองอายุประมาณ 2 ปี หลังจากนั้นยายเป็นคนเลี้ยงดู”
2.2วัยเด็ก ( 3-5 ปี ) : ผู้ป่วยให้ประวัติว่า “หลังจากบิดากับมารดาเลิกกัน ยายก็เลี้ยงตนเองมาคน
เดียว เพราะมารดาก็ไปมีสามีใหม่และได้ย้ายไปอยู่จังหวัดเลย ”
2.3วัยเรียน ( 5-12 ปี ) : ผู้ป่วยให้ประวัติว่า “มารดาของตนมีสามีใหม่ย้ ายไปอยู่ที่บ้านสามีใหม่ที่
จังหวัดเลย ให้ยายเป็นคนเลี้ยงดู มีพาออกไปเล่นกับเด็กข้างบ้านบ้างเป็นบ้างครั้ง”
2.4วัยรุ่น ( 12-18 ปี ) : ผู้ป่วยให้ประวัติว่า “ตอนไปโรงเรียน ตนเองเป็นเด็กเกเร ชอบหนีเรียน ไม่
อยากเรียนหนังสือ แต่ต้องไปโรงเรียนเพราะยายจะบ่น เลยเลือกที่จะแต่งตัวออกจากบ้านแต่หนีเรียนหรือไม่
เข้าโรงเรียน เพื่อนชักชวนให้ลองสูบบุหรี่ ดื่มสุรา ตนเองก็เลยลองเพราะว่าอยากรู้ หลังจากได้ลองสูบบุหรี่ ดื่ม
สุรา ด้วยความอยากรู้อยากลองว่ามันจะมีอาการอย่างไร ก็รู้แต่ว่ามันมีความสุขดี และสนุกสนานเมื่อได้ลองกับ
เพื่อน ตนจึงสูบบุหรี่และดื่มเหล้ามาตลอด”
2.5วัยปัจจุบัน ( วัยผู้ใหญ่ 34 ปี ) : ผู้ป่วยให้ประวัติว่า “เริ่มมีแฟนเมื่ออายุ 20 ปี อายุ 25 ปีตนได้
มีภรรยา ไม่ได้แต่งงานกัน แต่อยู่ร่วมกัน หลังจากนั้นมี บุตรด้วยกัน 1 คน อายุ 6ขวบ อยู่ด้วยกันอย่างมี
ความสุข เมื่อ 5 ปีก่อน ผู้ป่วยเริ่มใช้สารเสพติด คือยาบ้า เนื่องจากมีเพื่อนมาชักชวนให้ลองเสพ หลังจากที่เสพ
รู้สึกว่าชอบกลิ่นของยาบ้า ที่มีกลิ่นคล้ายช็อคโกแล็ค ตนก็สูบมาเรื่อยๆ จนเกิดความทะเลาะภายในครอบครัว
จึงเลิกลากับภรรยาและบุตรไป บุตรชายอยู่กับภรรยา ผู้ป่วยไม่ได้ส่งเสียเลี้ยงดูบุตร หลังจากนั้นผู้ป่วยมี
พฤติกรรมเสพสารเสพติดหนัก มีรายได้จากอาชีพเซียนพระให้เช่าพระ หลังจากที่มีรายได้ก็จ ะไปซื้อยาบ้ามา
เสพ ใช้ชีวิตคนเดียวบางวันก็กลับมานอนที่บ้าน บางวันก็นอนที่วัด ”
3

3) ประวัติพัฒนาการทางเพศ พฤติกรรมการแสดงออกทางเพศเหมาะสมตามเพศของตนเอง
ผู้ป่วยให้ประวัติว่า “เริ่มมีเพศสัมพันธ์กับแฟนตั้งอายุ 20 ปี จนได้มีบุตรชาย1คน หลังจากที่เลิกลากับ
ภรรยาตนก็ไม่ได้มีคู่นอนอีกเลย”
4) ประวัติการสมรส (ความสัมพันธ์ และเหตุการณ์สำคัญในชีวิตครอบครัว)
ผู้ป่วยให้ประวัติว่า “อยู่กับภรรยา ไม่ได้แต่งงานกัน มีบุตรชายด้วยคน 1 คน แต่เลิกรากันเพราะ
ภรรยาไม่ชอบที่ตนเองเสพยา ติดเหล้า สูบบุหรี่ หลังจากนั้นก็ไม่ได้ติดต่อกัน ไม่ได้มีการส่งเสียเลี้ยงดูลูก
5) เหตุการณ์ที่สำคัญในชีวิตทั้งทางบวก และทางลบ
เหตุการณ์ทางบวก : ผู้ป่วยให้ประวัติว่า “ได้มีภรรยาทีดีและมีลูกชายที่น่ารัก นิสัยดี ตามที่หวังไว้”
เหตุการณ์ทางลบ : ผู้ป่วยให้ประวัติว่า “พ่อแม่เลิกกันตั้งแต่ผม 2ปี บางครั้งก็อยากเจอหน้าพ่อแม่บ้าง
ต้องการความอบอุ่นจากพ่อแม่ เลิกกับภรรยา ภรรยาเลี้ยงลูกเองคนเดียว อยากเจอลูกในบางครั้งบางครั้งก็
คิดถึงลูกชาย”
3.2 ประวัติการใช้ชีวิตในอดีตจนถึงปัจจุบัน
1) แบบแผนการดำเนินชีวิต ตั้งแต่ก่อนเจ็บป่วยจนถึงปัจจุบัน
แผนการดำเนินชีวิตตั้งแต่ก่อนการเจ็บป่วยผู้ป่วยมีการดำเนินชีวิตแบบเรียบง่าย มีความสุขกับตนเอง
และภรรยา บุตรชาย มีอาชีพเซียนพระมีทักษะการเข้าสังคม พูดคุยให้คนอื่นเชื่อถือ เริ่มมีการใช้สารเสพติดเริ่ม
ไม่เก็บเงินไม่มีอดออม ได้เงินจากการเช่าพระก็จะไปซื้อยาบ้ามาเสพ จนทำให้เกิดการทะเลาะในครอบครัว
เลิกรากับภรรยา จากนั้นเสพยาบ้าและกัญชามากขึ้น เริ่มเร่ร่อน นอนตามวัด จนเริ่มมีอาการประสาทเกิดภาพ
หลอน หูแว่ว หลงผิด
2) บุคลิกภาพก่อนป่วย
2.1) เจตคติต่อตนเอง รู้สึกว่าตนเองทำอะไรก็ได้ไม่ดีเท่าไหร่ แต่ก็พยายามให้กำลังใจตนเอง และ
พยายามไม่แคร์คนรอบข้าง
2.2) เจตคติต่อผู้อื่น คนอื่นที่มองเห็นความล้มเหลวของตนเอง ก็มีแต่สมน้ำหน้า มีแต่คนคอย
ซ้ำเติมและพยายามไม่แคร์คนรอบข้าง
2.3) บุคลิกภาพและพื้นฐานทางอารมณ์ ปกติเป็นคนที่มีบุคคลิกภาพที่ดี ยิ้มแย้มแจ่มใสพื้นฐาน
ทางอารมณ์เป็นอารมณ์โกรธง่ายหายเร็วเมื่อมีเรื่องมากระทบต่อจิตใจแต่ถ้ามีคนมาพูดยั่วยวนใจ พยายามข่ม
อารมณ์ของตนเองไว้พยายามเดินหนี ไม่สนใจ
2.4) การปรับตัวและรูปแบบการเผชิญปัญหา เมื่อต้องเผชิญกับปัญหาผู้ป่วยจะพยายามแก้ไข
ปัญหานั้นด้วยตนเองให้ได้มากที่สุด หากแก้ปัญหาไม่สำเร็จจะคอยปรึกษาเพื่อนหรือคนที่ไว้วางใจบ้างตาม
ความเหมาะสม
2.5) เป้าหมายในชีวิต ผู้ป่วยอยากเห็นลูกชายเรียนต่อจนจบ มีอนาคตที่ดีกว่าตนเอง อยากกลับไป
ใช้ชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง
4

3.3 ประวัติครอบครัว (Family History)


บิดาและมารดามีลูกด้วยกัน 1 คน ผู้ป่วยเป็นบุตรเดียว บิดา-มารดา แยกทางกันตั้งแต่ผู้ป่วยอายุ 2
ขวบและมารดามีสามีใหม่ได้ย้ายไปอยู่จังหวัดเลย ผู้ป่วยมีความสัมพันธ์ระหว่างบิดามารดาห่างเหิน และผู้ป่วย
มีภรรยา 1 คน อยู่ร่วมกันโดยไม่ได้แต่งงานกัน มีบุตรชายด้วยกัน 1คน แต่ผู้ป่วยได้แยกทางกับภรรยา ส่วนลูก
ชายอยู่กับมารดาได้มารับไปดู แลผู้ป่วยไม่ได้ส่งเสียเลี้ยงดูบุตร เพราะผู้ป่วยมีพฤติกรรมที่ชอบเสพยาและคุณ
ยายไม่สามารถที่จะดูแลผู้ป่วยได้
แผนผังแสดง จีโนแกรมครอบครัวของผู้ป่วยอย่างน้อยสาม Generation

ยาย 80 ปี

บิดา มารดา 59 ปี สามีแม่ คนที่ 2

ผู้ป่วย 35 ปี ภรรยา

บุตรชาย 6 ปี

หญิง หญิงเสียชีวิต ผู้ป่วย

ชาย หย่าร้าง บุคคลที่อาศัยอยูด่ ้วยกัน


ชายเสียชีวิต
5

3.4 ข้อมูลด้านสังคม
1) สภาพแวดล้อมและลักษณะที่อยู่อาศัย
ผู้ป่วยให้ประวัติว่า”ผู้ป่วยอาศัยอยู่ในพื้นที่ท้ายสวนของคุณยาย ทางครอบครัวได้สร้างบ้านจากไม้เป็น
โครงไม้ หลังคาบ้านเป็นสังกะสีเก่าและฝาผนังบ้าเป็นไม้อัดรอบบ้าน มีฟูกที่นอน แต่ไม่ค่อยได้ทำความสะอาด
ภายในบ้าน มีไฟฟ้าและน้ำประปาบาดาล บริเวณรอบบ้านมีการปลูกพืชผักสวนครัว”

2) บทบาทและสัมพันธภาพทางสังคม
ผู้ป่วยเข้าสังคม เนื่องจากอาชีพเซียนพระต้องมีการสร้า งสัมพันธ์ภาพกับผู้อื่น ผู้ป่วยจึงมีทักษะทาง
สังคม แต่สัมพันธ์ภาพภายในครอบรัวห่างเหิน คือบิดา-มารดา แยกทางกันตั้งแต่ผู้ป่วยอายุ 2 ขวบและมารดามี
สามีใหม่ได้ย้ายไปอยู่จังหวัดเลย และผู้ป่วยมีภรรยา 1 คน อยู่ร่วมกันโดยไม่ได้แต่งงานกัน มีบุตรชายด้วยกัน 1
คน แต่ผู้ป่วยได้แยกทางกับภรรยา ส่วนลูกชายอยู่กับมารดาได้มารับไปดูแลผู้ป่วยไม่ได้ส่งเสียเลี้ยงดูบุตร เพราะ
ผู้ป่วยมีพฤติกรรมที่ชอบเสพยาและคุณยายไม่สามารถที่จะดูแลผู้ป่วยได้

3) ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัฒนธรรม


เชื่อถือตามขนบธรรมเนียมประเพณีไทยทุกอย่าง ได้เข้าร่วมประเพณีและวัฒนธรรมทุกครั้ง

ส่วนที่ 4 ข้อมูลด้านการรักษาและการตรวจประเมินภาวะสุขภาพ
4.1 การรักษาพยาบาลที่ได้รับ
Date/Time Progress Note Order for one day Order for continue

4/09/2565 Methamphetamine -Haloperidol 100 mg IM -Haloperidol ( 5 ) 1 tab po pc


induce psychosis -Haloperidol 5 mg IM prn เช้า
q 30 min -Artane (2) 1x3 po pc
U/D alc. Liver -Haloperidol 10 mg IM -Clonazepam (0.5) 1x3 po pc
cirihosis prn q 30 min

5/09/2565 Consult
สังคมสงเคราะห์
6/09/2565 -Chlorpromazine (100) 1xhs
-Haloperidol 5 mg IM prn for
agitation q 30 min cmax 20
mg/day
6

Date/Time Progress Note Order for one day Order for continue

-Diazepam 10 mg IV prn for


agitation q 30 min cmax 60
mg/day
7/09/2565 -Off Chlorpromazine,
Clonazepam, Haloperidol
- Clonazepam (100) 2xhs
- Haloperidol (5) 1xเช้า, 2xhs

9/09/2565 -Off Clonazepam


- Clonazepam(0.5) 1xเช้า, 2xhs
10/09/2565 - Off haloperidol (5) เดิม
- Off Artane (2) เดิม
- haloperidol (5 ) 2xเช้า, 2xhs
- Artane (5) 1xเช้า, 1xhs

13/09/2565 -Depakine CN (500) 3xhs


14/09/2565 -Off Depakine
- Midazolam 15 mg IM prn
agitation q 30 min cmax 90
mg/day
15/09/2565 -Off haloperidol
-haloperidol 150mg IM q 4
week
16/09/2565 - Off Clorazepam
-Clonazepam (2) 1xhs
-ferrous fumarate (200) 1x3
po pc
20/09/2565 Off haloperidol
21/09/2565 Bromhexine 1x3 o pc
Dextromethorphan 1x3 o pc
7

Date/Time Progress Note Order for one day Order for continue

ยาอมมะแว้ง 2 ซอง อม prn


27/09/2565 -นัดมารดา
-ประสาน COC
29/09/2565 ยาอมมะแว้ง 2 ซอง อม tid

4.2 ยาที่ได้รับ (ประเภทของยา ชนิดของยา วิธีการใช้ยา ผลข้างเคียงของยา)


ชื่อยา Haloperidol
กลุ่มยา Antipsychotic agent
ชนิดของยา ยาฉีดกล้ามเนื้อ
ขนาด 100 mg.
วิธีการใช้ ยาฉีดกล้ามเนื้อ
วันที่เริ่มใช้ยา วันที่ 4 กันยายน 2565
กลไกการออกฤทธิ์ กลไกการออกฤทธิ์ของยาฮาโลเพอริดอล คือ ตัวยาจะออกฤทธิ์ปิดกั้นที่ตัวรับ
(Receptor ) ของกลุ่มสารเคมีจำพวก Postsynaptic dopamine D1 และ D2 ที่
ส่งผลให้ลดการหลั่งฮอร์โมน 2 กลุ่มคือ ไฮโปธาลามิกฮอร์โมน (Hypothalamic
hormones: ฮอร์โมนจากสมองส่วน Hypo thalamus) และ ไฮโปไฟเชียลฮอร์โมน
(Hypophyseal hormones: ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมอง) ส่งผลทำให้เกิดภาวะสงบ
ทางจิต ลดอาการก้าวร้าว และภาพหลอน รวมไปถึงอาการหลงผิด (ประ สาทหลอน)
ของผู้ป่วย จนนำไปสู่อาการที่เป็นปกติหรือใกล้เคียงปกติ
ข้อบ่งใช้ เป็นยาสงบประสาทที่ใช้ในผู้ป่วยหูแว่ว และประสาทหลอนในโรคจิตเภทชนิด
เฉียบพลันและเรื้อรัง (acute and chronic schizophrenia) หวาดระแวง
(paranoid) ความคิดสับสนฉับพลัน, โรคพิษสุราเรื้อรัง ปรับตัวเข้ากับสังคมไม่ได้ และ
บุคคลิกภาพอื่น ๆ
ผลข้างเคียง อาการแพ้รุนแรง ได้แก่ ลมพิษ ผื่น หายใจลำบาก แน่นหน้าอก ปากบวม ริมฝีปาก
บวม หน้าหรือลิ้นบวม การมองเห็นเปลี่ยนแปลงไป หรือเห็นภาพไม่ชัด เจ็บหน้าอก
สับสน ปัสสาวะมีสีเข้ม ปัสสาวะน้อยลง หรือปัสสาวะลำบาก เกิดภาวะขาดน้ำ กลืน
หรือพูดลำบาก น้ำลายไหลย้อย
8

ชื่อยา Haloperidol
กลุ่มยา Antipsychotic agent
ชนิดของยา ยาเม็ด รับประทาน
ขนาด 5 mg
วิธีการใช้ 1 tab pc (08:00 น.)
วันที่เริ่มใช้ยา 4 กันยายน 2565
กลไกการออกฤทธิ์ กลไกการออกฤทธิ ์ ข องยาฮาโลเพอริ ด อล คื อ ตั ว ยาจะออกฤทธิ ์ ป ิ ด กั ้ น ที ่ ต ั ว รั บ
(Receptor ) ของกลุ ่ ม สารเคมี จ ำพวก Postsynaptic dopamine D1 และ D2 ที่
ส่งผลให้ล ดการหลั่งฮอร์โ มน 2 กลุ่มคือ ไฮโปธาลามิกฮอร์โ มน (Hypothalamic
hormones: ฮอร์โมนจากสมองส่วน Hypo thalamus) และ ไฮโปไฟเชียลฮอร์โมน
(Hypophyseal hormones: ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมอง) ส่งผลทำให้เกิดภาวะสงบ
ทางจิต ลดอาการก้าวร้าว และภาพหลอน รวมไปถึงอาการหลงผิด (ประ สาทหลอน)
ของผู้ป่วย จนนำไปสู่อาการที่เป็นปกติหรือใกล้เคียงปกติ
ข้อบ่งใช้ เป็ น ยาสงบประสาทที ่ ใ ช้ ใ นผู ้ ป ่ ว ยหู แ ว่ ว และประสาทหลอนในโรคจิ ต เภทชนิ ด
เฉี ย บพลั น แ ละเรื ้ อ รั ง ( acute and chronic schizophrenia) หว าดระแวง
(paranoid) ความคิดสับสนฉับพลัน, โรคพิษสุราเรื้อรัง ปรับตัวเข้ากับสังคมไม่ได้ และ
บุคคลิกภาพอื่น ๆ
ผลข้างเคียง อาการแพ้รุนแรง ได้แก่ ลมพิษ ผื่น หายใจลำบาก แน่นหน้าอก ปากบวม ริมฝีปาก
บวม หน้าหรือลิ้นบวม การมองเห็นเปลี่ยนแปลงไป หรือเห็นภาพไม่ชัด เจ็บหน้าอก
สับสน ปัสสาวะมีสีเข้ม ปัสสาวะน้อยลง หรือปัสสาวะลำบาก เกิดภาวะขาดน้ำ กลืน
หรือพูดลำบาก น้ำลายไหลย้อย

ชื่อยา Artane
กลุ่มยา Antipakinson's agent.
ชนิดของยา ยาเม็ด รับประทาน
ขนาด 5 mg.
วิธีการใช้ 1x3 oral pc เช้า กลางวัน เย็น
วันที่เริ่มใช้ยา 4 กันยายน 2565
กลไกการออกฤทธิ์ กลไกของยาตัวนี้หากใช้ตามวัตถุประสงค์ของการรักษา เป็นยาต้านการหดเกร็งของ
กล้ามเนื้อ ให้ผลยับยั้งโดยตรงต่อระบบประสาทพาราซิมพาเตติก จะไปออกฤทธิ์โดย
การต้ า นการหดเกร็ ง ของกล้ า มเนื ้ อ ปิ ด กั ้ น ตั ว รั บ Acetylcholine ยั ง มี ผ ลทำให้
กล้ามเนื้อเรียบคลายตัว
9

ข้อบ่งใช้ ให้ร่วมกับยาอื่นในการรักษาโรค Parkinson (Postencdphalitic,


arteiosclerotic และ idiopathic)
adjuvaint therapy กับ levodopa
ใช้ควบคุมอาการ extrapyramidal disorder จากยา Neuroleptic drugs ในโรค
Parkinsonism

ผลข้างเคียง รูม่านตาขยาย สายตาพร่ามัว ความดันภายในลูกตาเพิ่ม คลื่นไส้ อาเจียน ปากแห้ง


ท้องผูก เกิดอาการทางประสารท ชาตามปลายแขน ขา เมื่อยชา เกิดภาพหลอน
ง่วงซึม ตื่นเต้น ผู้ป่วยที่ได้รับยาในขนาดสูงหรือไวต่อยา จะเกิดอาการตื่นเต้น สับสน
อ่อนเพลีย และ ไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ ถ้าผู้ป่วยมีอาการรุนแรงมาก
ควรหยุดยา และถ้าต้องให้ยาฉีดอีกต้องให้ยาในขนาคต่ำก่อน

ชื่อยา Clonazepam
กลุ่มยา Antipakinson's agent.
ชนิดของยา ยาเม็ด รับประทาน
ขนาด 0.5 mg.
วิธีการใช้ 1x3 tab oral pc เช้า กลางวัน เย็น
วันที่เริ่มใช้ยา 4 กันยายน 2565
กลไกการออกฤทธิ์ ออกฤทธิ์กดระบบประสาทส่วนกลางโดยเป็น agonist ที่ benzodiazepine
receptor ซึ่งจับกลุ่มอยู่กับ GABAA receptor และ chloride channel อยู่ที่เยื่อหุ้ม
เซลล์ประสาท ทำให้ GABAA receptor ทำงานได้มากขึ้น ส่งผลให้ chloride
channel เปีด ยอมให้ chloride ions เข้าสู่เซลล์มากขึ้น เกิด hyperpolarization
และยับยั้งการทำหน้าที่ของเซลล์ประสาทต่างๆ ทำให้มีผลลดอาการวิตกกังวล ทำให้
ง่วงหลับ ต้านอาการชัก คลาย
กล้ามเนื้อ และอาจเกิดภาวะสูญเสียความจำข้างหน้า
ข้อบ่งใช้ ถูกนำมาใช้ในการรักษา
1. โรคแพนิค (Panic Disorder)
2. ควบคุมอาการหรือรักษาโรคลมชักและช่วยบรรเทาความวิตกกังวล
(Anxiety)
นอกจากนั้น ยานี้อาจนำมาใช้เพื่อรักษาโรคหรืออาการอื่น ๆ ขึ้นอยู่กับ
ดุลยพินิจของแพทย์
ผลข้างเคียง เช่น ง่วงซึม มึนงง เวียนศีรษะ มีน้ำลายออกมาก ปวดข้อ ปัสสาวะบ่อย การมองเห็น
เปลี่ยนแปลงไป มีอาการแพ้ เช่น ลมพิษ ผื่นคัน ใบหน้าบวม ริมฝีปากบวม ลิ้นบวม
หรือคอบวม ใจเต้นแรงหรือใจสั่นเสียงแหบ หายใจตื้น หายใจไม่ออกหรือกลืนลำบาก
กระสับกระส่าย วิตกกังวล ตื่นตระหนก สับสนหงุดหงิด กล้ามเนื้ออ่อนแรง กระตุก
หรือเป็นตะคริว
10

ชื่อยา Chlorpromazine
กลุ่มยา Antipsychotic agent
ชนิดของยา ยาเม็ด รับประทาน
ขนาด 100 mg.
วิธีการใช้ 1 tab oral hs ก่อนนอน
วันที่เริ่มใช้ยา 6 กันยายน 2565 – 7 กันยายน 2565
กลไกการออกฤทธิ์ - มีฤทธิ์ยับยั้ง Dopamine D2 receptor น้อย ทำให้เกิดผล การรักษาโรค จิตต่ำ
- มีฤทธิ์ block และ Adrenoceptor ทำให้เกิด Postural hypotension มีฤทธิ์
Anticholinergic เป็นสาเหตุให้เกิดอาการข้างเคียง คือ ตาพร่า ความดันในลูกตาเพิ่ม
ปากคอแห้ง ท้องผูก และปัสสาวะคั่ง
- มีฤทธิ์ยับยั้ง 5 HT receptor ทำให้มีฤทธิ์กด ภาวะประสาทหลอน ของผู้ป่วยโรคจิต
มีฤทธิ์ยับยั้ง Histamine H1 receptor เป็นผลให้ผู้ป่วยง่วง นอนหลับ ได้ หิวและ
รับประทานมากขึ้น ทำให้อ้วน
-มีฤทธิ์ยับยั้ง prolactin - release inhibitory factor จึงทำให้มีการหลั่ง prolactin
เพิ่มขึ้น
ข้อบ่งใช้ - ใช้รักษาและควบคุมอาการโรคจิตชนิดคุ้มคลั่ง และโรคจิตเภท (mania and
schizophrenia)
- ใช้ลดอาการกระสับกระส่าย หวาดระแวงก่อนผ่าตัด ( pre - operative anxiety )
- รักษาพฤติกรรมก้าวร้าวในเด็ก และควบคุมอาการคลื่นไส้ อาเจียนที่เกิดขึ้นทั่วไป
และหลังผ่าตัด
ผลข้างเคียง มีอาการแพ้ยาอย่างรุนแรง ทำให้วิงเวียนศีรษะอย่างรุนแรง มีปัญหาในการหายใจ เกิด
ผื่นแดง คัน และมีอาการบวมบริเวณใบหน้า คอ ลิ้น เจ็บหน้าอก มีความรู้สึกสับสน
ความรู้สึกตัวลดลง หัวใจเต้นผิดปกติ เต้นเร็วหรือเต้นช้าลง กล้ามเนื้อบริเวณใบหน้า
คอ และหลังชักกระตุกชาตามแขนและขา กล้ามเนื้ออ่อนแรง ควบคุมกล้ามเนื้อไม่ได้
มีสัญญาณบ่งบอกว่าเกิดการติดเชื้อ เช่น ไข้ขึ้น เจ็บคอ เป็นต้น

ชื่อยา Midazolam
11

กลุ่มยา benzodiazepine
ชนิดของยา ยาฉีดเข้ากล้ามเนื้อ
ขนาด 15 mg.
วิธีการใช้ stat
วันที่เริ่มใช้ยา วันที่ 14 กันยายน 2565
กลไกการออกฤทธิ์ ดอร์ ม ิ ค ุ ม มี ต ั ว ยาสำคั ญ คื อ มิ ด าโซแลม (midazolam) เป็ น ยาในกลุ ่ ม ยานอน
หลับ ออกฤทธิ ์โ ดยจับ กั บ ตัว รับ เบนโซไดอะเซพี น (benzodiazepine receptor)
บริ เ วณเซลล์ ป ระสาทกาบา (GABA) ส่ ว นโพสท์ ไ ซแนปติ ก ภายในระบบประสาท
ส่วนกลาง ประกอบด้วย ระบบลิมบิก เรติคูลาร์ (reticular) การเพิ่มการยับยั้งกาบาที่
เซลล์ประสาท
ข้อบ่งใช้ - ทำให้สงบระงับก่อนการผ่าตัด
- ทำให้สงบระงับก่อนหรือระหว่างการทำหัตถการ
- ทำให้สงบสำหรับผู้ป่วยในภาวะวิกฤต
- ใช้ร่วมกับยาระงับความรู้สึกเพื่อการผ่าตัดหรือการทำหัตถการที่ก่อให้เกิดความ
ปวด
- ช่วยเหนี่ยวนำให้สลบ
- ทำให้สงบระงับก่อนการผ่าตัด (ให้ก่อนผ่าตัด 30-60 นาที)
ฉีดเข้ากล้ามเนื้อ
70-80 ไมโครกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กก.
ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ
ฉีดเข้าหลอดเลือดดำอย่างช้าๆ อย่างน้อย 2 นาที ขนาดยาเริ่มต้น 1 - 2.5 มก.
ติดตามอาการหลังฉีดขาอย่างน้อย 2 นาที และปรับขนาคยาตามความจำเป็น
ขนาดยาสูงสุดไม่เกิน 5 มก.
ผลข้างเคียง อาการแพ้ยา เช่น ลมพิษ หายใจลำบาก หน้าบวม ริมฝีปากบวม ลิ้นบวม คอบวม ผื่น
คัน ผิวหนังบวมแดง พุพอง ผิวลอกพร้อมกับมีไข้หรือไม่มีไข้ แน่นหน้าอกหรือลำคอ
หายใจเสียงดังหวีด มีปัญหาในการหายใจหรือการพูด เสียงแหบ เวียนศีรษะอย่าง
รุนแรงหรือหมดสติ ปัญหาการหายใจ เช่น หายใจลำบาก หายใจแผ่วเบา เจ็บหน้าอก
แน่นหน้าอก หัวใจเต้นไม่เป็นจังหวะ มีอาการกระตุก สั่น หรือชัก และมีปัญหาในการ
ควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกาย

ชื่อยา Depakine
กลุ่มยา anticonvulsant
12

ชนิดของยา ยารับประทาน ยาเม็ด


ขนาด 500 mg
วิธีการใช้ 3x1 hs
วันที่เริ่มใช้ยา 13 กันยายน 2565 – 14 กันยายน 2565
กลไกการออกฤทธิ์ ตัวยา Depakine ออกฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ที่ทำลายสารสื่อประสาท GABA (Gamma-
aminobutyric acid) ในสมองที่มีชื่อว่า GABA transaminase

ผลจากการทำลายสารสื่อประสาทนี้ทำให้ปริมาณสารสื่อประสาท GABA ในสมอง


สูงขึ้น และปิดช่องทางขนส่งโซเดียม (Na+) ที่มีชื่อว่า Voltage-dependent sodium
channels ส่งผลให้การส่งกระแสประสาทภายในสมองลดลง ทำให้ไม่เกิดอาการชัก
ข้อบ่งใช้ 1.ไม่ควรรับประทานยา Valproate Sodium ในรูปแบบน้ำ ร่วมกับน้ำอัดลม เพราะ
อาจทำให้ปากและคอระคายเคือง
2.ควรใช้ยาในเวลาเดียวกันเป็นประจำทุกวัน เพื่อผลการรักษาที่ดีที่สุด
3..ยา Valproate แบบออกฤทธิ์นาน ไม่ควรบด หัก เคี้ยว หรือนำออกจากแคปซูล
4.หากลืมใช้ยา ควรรับประทานทันทีที่นึกได้ หากใกล้ถึงเวลาใช้ยามื้อถัดไปสามารถ
ข้ามไปรับประทานยาในมื้อถัดไปได้เลย โดยไม่ต้องเพิ่มปริมาณยา
5.เก็บยานี้ไว้ในอุณหภูมิห้อง ให้พ้นจากแสงแดดและความชื้น

ผลข้างเคียง การใช้ยาวาลโปรเอทอาจมีผลข้างเคียง เช่น ง่วงซึม เหนื่อยล้า ปวดศีรษะ เวียนศีรษะ


คลื่นไส้ อาเจียน ตาพร่า เห็นภาพซ้อน ประจำเดือนมาไม่ปกติ ท้องเสีย ได้ยินเสียงวิ้ง
ในหู อยากอาหารมากกว่าปกติ ภาวะตัวเย็นเกิน เห็นภาพหลอน ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ
โรคคลั่งผอม (Anorexia) เป็นต้น

ชื่อยา Bromhexine

กลุม่ ยา Mucolytic
ชนิดของยา ยารับประทาน ยาเม็ด
ขนาด 8 mg
วิธีการใช้ 1x3 หลังอาหาร เช้า เที่ยง เย็น
วันที่เริ่มใช้ยา 21 กันยายน 2565
กลไกการออกฤทธิ์ บรอมเฮกซีนออกฤทธิ์กับเสมหะที่ขั้นการสร้างเสมหะที่เกิดขึ้นในเซลล์ที่เกิดการหลั่ง
เมื อ ก โดยบรอมเฮกซี น เข้ า ทำลายโครงสร้ า งของกรดมิ ว โคโพลิ แ ซกคาไรด์
13

(mucopolysaccharide) ทำให้เสมหะมีความเหนียวลดลง การขับเสมหะออกทำได้


ง่ายขึ้น บรอมเฮกซีนมีความเป็นพิษต่ำ
โคดิอีนเลียนแบบการออกฤทธิ์ของโอพิออยด์ที่หลั่งขึ้นภานในร่างกายโดยเข้าจับที่
ตัวรับโอพิออยด์ ในระบบประสาทส่วนกลาง การกระตุ้นตัวรับมิว (mu receptor) ทำ
ให้เกิดการลดลงของการหลั่งสารสื่อประสาทโนซิเซปทีฟ ได้แก่ substance P, GABA,
dopamine, acetylcholine, และ noradrenaline กลไกการยับยั้งการไอนั้นยังไม่มี
การศึกษากลไกชัดเจน แต่เชื่อว่าเกิดจากความสามารถในการกดการตอบสนองต่อการ
ไอที่ศูนย์การไอในสมองส่วนเมดัลลา
ข้อบ่งใช้ พิจารณาจากปริมาณตัวยาสำคัญของยาในสูตรผสม โดย
ยาโคดิอีน ข้อบ่งใช้สำหรับกดอาการไอ ยาในรูปแบบยารับประทาน ขนาดการใช้ยาใน
ผู้ใหญ่ ขนาด 15-30 มิลลิกรัม วันละ 3-4 ครั้ง
จำเป็นต้องมีการปรับขนาดการใช้ยาในผู้ป่วยสูงอายุ
ยาบรอมเฮกซีน ข้อบ่งใช้สำหรับละลายเสมหะ ยาในรูปแบบยาเม็ดหรือยาน้ำสำหรับ
รับประทาน ขนาดการใช้ยาในผู้ใหญ่ ขนาด 8-16 มิลลิกรัม วันละ 3 ครั้ง
ไม่แนะนำให้ใช้ยาสูตรผสมที่มีส่วนประกอบของโคเดอีนในเด็ก

ผลข้างเคียง คลื่นไส้ อาเจียน angioedema อาการบวม ผื่นแดง หลอดลมหดตัว มึนงง เหงื่อออก


มาก ปวดศีรษะ ปวดท้องส่วนบน ท้องเสีย เพิ่มค่าผลปฏิบัติการ serum amino
transferase ส่วนยาโคเดอีน อาจก่อให้เกิดอาการรุนแรง ได้แก่ กดระบบประสาท
ส่วนกลาง ความดันโลหิตต่ำ ท้องผูก หัวใจเต้นเร็ว หัวใจเต้นช้า ใจสั่น น้ำตาลในเลือด
สูง อาการที่อาจก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิต ได้แก่ กดระบบทางเดินหายใจ อาการอื่นๆ
ได้แก่ ไข้ ปวดกล้ามเนื้อ เหนื่อยหอบ มึนงง ปวดศีรษะ สับสน ส่งผลต่ออารมณ์ เห็น
ภาพหลอน ฝันร้าย ผื่น เหงื่ออกมาก

ชื่อยา Dextromethorphan

กลุ่มยา Antitussive
ชนิดของยา ยารับประทาน ยาเม็ด
ขนาด 15 mg
วิธีการใช้ 1x3 หลังอาหาร เช้า เที่ยง เย็น
วันที่เริ่มใช้ยา 21 กันยายน 2565
14

กลไกการออกฤทธิ์ ต้านฮีสตามีนร่วมกับยาต้าน Cholinergic ปิดกั้นฮีสตามีนตรงตําแหน่ง H1 receptor


จึง ช่ว ยลดอาการบวม ลดการหดเกร็งตัว ของระบบหายใจ ทางเดินอาหาร และ
กล้ามเนื้อ เรียบของหลอดเลือด ลดการอาเจียน เป็นยานอนหลับ ระงับอาการไอ
ข้อบ่งใช้ ระงับอาการไอที่เกิดขึ้นร่วมกับอาการคัดจมูกและจาม ซึ่งมีสาเหตุจากอาการหวัดและ
แพ้ อากาศ แก้สารพิษ แก้แพ้ แก้เวียนศีรษะ แก้คลื่นไส้ อาเจียน

ผลข้างเคียง ทําให้ง่วงนอน มีนซึม ปวดศีรษะ ปากแห้ง ท้องผูก เวียนศีรษะ อ่อนเพลีย ใจสัน ชีพ
จรเร็ว ตามัว หูอื้อ คัดจมูก คลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหาร ท้องเดิน อาการหัวใจวาย
เม็ดเลือดขาวต่ำ ภาวะช็อก

ชื่อยา ferrous fumarate


กลุ่มยา ยาเสริมธาตุเหล็ก
ชนิดของยา ยารับประทาน ยาเม็ด
ขนาด 200 mg
วิธีการใช้ 1x3 หลังอาหาร เช้า เที่ยง เย็น
วันที่เริ่มใช้ยา 21 กันยายน 2565
กลไกการออกฤทธิ์ ตัวยาจะเข้ารวมตัวกับฮีโมโกลบินในเซลล์เม็ดเลือดแดง ส่งผลให้การทำงานของเม็ด
เลือดแดงเป็นไปอย่างปกติ และทำหน้าที่ลำเลียงออกซิ เจนไปเลี้ยงเซลล์ส่วนต่างๆ
ของร่างกายได้
ข้อบ่งใช้ เสริมธาตุเหล็ก ป้องกันการขาดธาตุเหล็ก
ผลข้างเคียง มีอาการปวดท้อง ท้องผูก ท้องเสีย อุจจาระกลายเป็นสีดำหรือปัสสาวะสีเข้ม และรู้สึก
เบื่ออาหาร แต่ถ้าอาการไม่ดีขึ้นหรือเป็นต่อเนื่อง ควรปรึกษาแพทย์

4.3 การประเมินสภาพจิต (Mental Status Examination) และการแปลผล


1. ลักษณะทั่วไปที่ปรากฏ (General appearance)
15

1.1 รูปร่างลักษณะทั่วไป และสภาพความสมบูรณ์ทางร่างกาย (น้ำหนัก ส่วนสูง)


ลักษณะทั่วไป ผู้ป่วยเพศชาย อายุ 35 ปี รูปร่างสูง ผอม ผู้ป่วยมีสีหน้านิ่งเฉยไร้อารมณ์ ซึม
ผิวขาวเหลือง ซีด มีรอยแผลเป็นบริเวณแขนและขาทั้งสองข้ าง แต่งกายด้วยชุดโรงพยาบาลสะอาดเหมาะสม
การเคลื่อนไหวร่างกายช้า เดินเองได้ พูด ปกติ คิดช้า ตอบตรงคำถามบางคำถาม มีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้าง
ทุกๆคน ให้ความร่วมมือดีขณะสนทนาและเต็มใจให้ข้อมูลขณะสนทนา
น้ำหนัก 53 กิโลกรัม ส่วนสูง 179 เซนติเมตร
1.2 การแต่งกาย (√) สะอาด แต่ไม่เหมาะสม ( ) สะอาด เหมาะสม ( ) สกปรก รุงรัง
1.3 การเคลื่อนไหว (√ ) ช้า ( ) เร็ว เคลื่อนไหวซ้ำๆ (mancrism)
( ) กระตุก (Tics) (√ ) อยู่ไม่สุข (Agitate)
1.4 การแสดงสีหน้า ( √) กังวลใจ ( )ไม่สบายใจ ( ) เครียด ( ) อึดอัด
1.5 ปฏิกิริยาขณะสัมภาษณ์ ผู้ป่วยอยู่ไม่สุข (Agitate) นั่งเบี่ยงซ้าย ขวา มีสมาธิ จดจ่อ สบตา มอง
ซ้าย มองขวา บางครั้งก็เปลี่ยนท่านั่งบนเก้าอี้ตลอด ลุกเลื่อนเก้าอี้บ่อยครั้ง ขณะที่สนทนามีการตอบโต้ได้ดี
2. ระดับความรู้สึก (Consciousness)
( √) รู้สึกตัวดี (Good conscious) ( ) สับสน (Confusion)
( ) ไม่ค่อยรับรู้สิ่งแวดล้อม (Clouding of Conscious) ( ) ไม่รู้สึกตัว
(Unconscious)
3. การรับรู้ วัน เวลา สถานที่ บุคคล (Orientation)
ถูก ผิด
- ขณะที่เป็นช่วงเวลาของวัน (√ ) ( )
- วันนี้ วันที่เท่าไหร่ ( ) (√)
- ที่นี่ ที่ไหน ( √) ( )
- ผู้ที่พามาเป็นใคร (√ ) ( )
- ขณะนี้พูดอยู่กับใคร (√) ( )
4. ความคิด (Thinking)
4.1 กระแสความคิด (Stream of thought)
( ) คิดเร็ว (Rapid) ( √ ) คิดช้า (Slow) ( ) ลังเล (Hesitant)
( ) คิดเร็วและเปลี่ยนเรื่องบ่อย (Flight of idea)
( √ ) ความคิดไม่ต่อเนื่อง เปลี่ยนเรื่องบ่อย แต่ละเรื่องไม่สัมพันธ์กัน (Loss of association)
4.2 เนื้อหาความคิด (Content of thought)
- ความคิดหมกมุ่น ( √ ) ไม่มี ( ) มี คือเรื่อง.....................................................
- ย้ำคิด (√) ไม่มี () มี คือเรื่อง....................................................
- ย้ำทำ ( √ ) ไม่มี ( ) มี คือเรื่อง....................................................
16

- ความกลัวผิดปกติ (Phobia) ( √ ) ไม่มี ( ) มี คือเรื่อง....................................................


- ความคิดฆ่าตัวตาย (Suicidal though) ( √ ) ไม่มี ( ) มี
- ความต้องการทำร้ายคนอื่น (Homicidal thought) ( √ ) ไม่มี ( ) มี ระบุ............................
4.3 อาการหลงผิด (Delusion) ( ) ไม่มี ( √ ) มี ระบุ มีอาการหลงผิดว่าตนเองโดนคุณไสย
4.4 ความเชื่อว่าความคิด คำพูด การกระทำของผู้อื่นเป็นเรื่องเกี่ยวข้องกับตน
( √ ) ไม่มี ( ) มี ระบุ............................

4.5 ความคิดแบบนามธรรม (Abstract thinking)


- ความสามารถในการบอกความเหมือน (Similarity)
ส้มกับกล้วย เหมือนกันคือ เป็นผลไม้เหมือนกัน
โต๊ะกับเก้าอี้ เหมือนกันคือ ทำมาจากไท้เหมือนกัน
แมวกับหนู เหมือนกันคือ เป็นสัตว์เหมือนกัน
- ความสามารถในการบอกความต่าง (Difference)
ต้นโพธิ์กับต้นมะเขือ แตกต่างกันคือ ต้นโพธิ์มีอายุยืนนาน 100ปี แต่ต้นมะเขือมีอายุสั้น
เดี๋ยวก็เหี่ยวตาย
กลางวันกับกลางคืน แตกต่างกันคือ กลางวันมีดวงอาทิตย์ กลางคืนมี
พระจันทร์
เด็กกับคนแคระ แตกต่างกันคือ เด็กยังไม่บรรลุนิติภาวะ แต่คนแคระบรรลุนิติภาวะ
แล้ว
- บอกความหมายของคำพังเพยและสุภาษิต (Proverb interpretation)
น้ำขึ้นให้รีบตัก หมายถึง เวลามีโอกาสเริ่มเก็บออม เวลาใช้ก็จะได้เอาออกมาใช้
หนีเสือปะจระเข้ หมายถึง เจอเสือยิ่งหนัก เจออะไรก็หนักไปหมด มีแต่ความตาย
ล้วนๆ
ขี่ช้างจับตั๊กแตน หมายถึง มันโอเวอร์เกินไป ขี่ช้างกว่าจะจับตั้กแตนได้ ช้า เสียเวลา

5. ความจำ (Memory)
5.1 ความสามารถในการรับข้อมูล
พูดตามตัวเลข ถูก ผิด
368 (√ ) ( )
3417 (√) ( )
84239 (√) ( )
พูดทวนตัวเลขถอยหลัง
17

25 (√) ( )
574 (√ ) ( )
7296 (√) ( )
5.2 ความจำในปัจจุบัน (Recent memory)
ผู้ประเมินบอกชื่อของ 3 อย่าง โดยพูดห่างกันครั้งละ 1 นาที “ต้นไม้ รถยนต์ ปากกา” พูดเพียงครั้งเดียวแล้ว
ให้ผู้ป่วยทวนตาม ผู้ป่วยทวนได้ 1 อย่าง คือ ต้นไม้
5.3 ความจำในอดีต (Remote memory) ถูก ผิด
- ชื่อของบุตรคนโต ชื่อ น้องบอล (√ ) ( )
- บ้านเลขที่อยู่ในปัจจุบัน 211 หมู่ 10 ต.หาดคำ (√) ( )
อ.เมืองหนองคาย จ.หนองคาย
ถูก ผิด
- วัน เดือน ปีเกิด 1 พฤษภาคม 2530 ( √) ( )
6. การพูดและกระแสคำพูด (Speech and stream of talk)
6.1 อัตราการพูด (Rate) ( √ ) ปกติ ( ) เร็ว ( ) ช้า
6.2 จังหวะ (Rhythm) ( ) ปกติ
( ) ผิดปกติ ( ) ติดอ่างตอนต้นประโยค (Stammering)
(√ ) ติดอ่างตอนพูดซ้ำคำ (Stuttering)
( ) พูดขาดเป็นช่วงๆ (Fragmented)
( ) พูดแบบกดดัน (Pressured)
( ) มีการหยุดติดขัดขณะพูด (Blocking)
( ) มีการลังเล
6.3 ความดัง (Volume) ( ) ปกติ ( ) ค่อย ( √) ดัง
6.4 ความปกติของการพูด ( ) ปกติ ( ) ผิดปกติ
( ) คำพูดที่แปลกใหม่ผู้อื่นไม่รู้ความหมาย(Neologism)
( ) พูดนำคำหรือวลีมาผสมกันแต่ไม่มีความหมาย (Word Salad)
( ) พูดเสียงเดียว (Monotonous)
(√ ) พูดเสียงขึ้นๆ ลงๆ (Sing song)
6.5 กระแสคำพูด (Steam of talk) ( ) ปกติ ( √ ) ผิดปกติ
( ) การพูดไม่สมเหตุสมผล (Illogical)
( √ ) พูดไม่ปะติดปะต่อ (Incoherence)
( ) พูดโดยใช้สัมผัสคล้องจอง (Clanging)
( ) พูดหรือตอบแบบไม่ตรงคำถาม (Irrelevance)
18

( √ ) พูดวกวน (Circumstantial)
( √ ) พูดนอกเรื่อง (Tangential)
( ) ตอบคำถามเดิมซ้ำแม้จะเปลี่ยนคำถาม (Perseveration)
( ) พูดเปลี่ยนเรื่องบ่อยผิดปกติ (Flight of idea)
( ) ไม่พูดเลย (Mutism)
( ) พูดตามคนอื่น (Echolalia)
7. อารมณ์ (Affect)
ความสอดคล้องของอารมณ์ ( ) เหมาะสม ( √ ) ไม่เหมาะสม
ภาวะอารมณ์ปัจจุบัน ( ) กลัว (Fearful) ( ) เศร้า (Depress)
( √ ) กังวล ( Anxious) ( ) เฉย (Blunted)
( ) เปลี่ยนแปลงง่าย (Labile) ( ) ครื้นเครง (Euphoria)
( ) หงุดหงิด (Irritable) ( ) รู้สึกผิด (Guilty)
8. การรับรู้สิ่งเร้า (Perception)
8.1 ประสาทหลอน (Hallucination)
( √ )ไม่มี ( ) มี คือ......................................
( ) หูแว่ว (Auditory hallucination)
( ) ภาพหลอน (Visual hallucination)
( ) ประสาทหลอนทางจมูก (Olfactory hallucination)
( ) อื่นๆระบุ...........................................................
8.2 การแปลการรับสัมผัสผิด (Illusion) ( √ )ไม่มี ( ) มี คือ ............................................
9. สมาธิและความสนใจ (Attention and Concentration) ให้ผู้ป่วยบอกวันในหนึ่งสัปดาห์ย้อนหลัง ผู้ป่วย
สามารถบอกได้ ( √ ) ถูกต้อง ( ) ไม่ถูกต้อง (ผิด...........วัน)
10. เชาวน์ปัญญาและความสนใจ (Intellectual function)
ความรู้ทั่วไป ธงชาติไทยมี 3 สี ได้แก่ น้ำเงิน ขาว แดง
วันสงกรานต์คือวันที่ 13 14 15 เมษายน ของทุกปี
พระนามของพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ์
11. การตัดสินใจ (Judgment)
คุณจะทำอย่างไรถ้าพบจดหมายที่จ่าหน้าซองตกอยู่ที่ถนน
ก็จะเปิดดูเพราะคิดว่าเจอบนถนนแล้วเราเห็นแสดงว่าจดหมายเป็นของเรา เรามีสิทธิ์เอาจดหมายใบ
นั้น
คุณจะทำอย่างไรถ้าคุณนั่งดูภาพยนตร์ในโรงภาพยนตร์และมองเห็นไฟไหม้เป็นคนแรก
รีบหนีไปทางออกให้เร็วที่สุด เพราะคิดว่ามีพนังงานมาควบคุมไฟอยู่
19

12. การหยั่งรู้ (Insight)


ผู้ป่วยปฏิเสธการรักษา ไม่ทราบว่ามาโรงพยาบาลด้วยเหตุผลอาละวาด แต่ทราบแค่ว่าตำรวจมาส่งที่
โรงพยาบาลเพื่อจะให้มาตรวจปัสสาวะ ไม่รู้ตัวว่าตนเองป่วยทางจิต ยังมีอาการหลงผิดคิดว่าเรื่องคุณไสยคือ
เรื่องจริง
สรุปความผิดปกติที่พบ
สรุปความผิดปกติทางจิตที่ตรวจพบ ผู้ป่วยมีความผิดปกติด้านการ orientation คือไม่สามารถบอก
วันและเวลาได้ มีกระแสความคิด (Stream of thought)ปกติคือ คิดช้า (Slow)และมีความคิดไม่ต่อเนื่อง
เปลี่ยนเรื่องบ่อย แต่ละเรื่องไม่สัมพันธ์กัน (Loss of association) มีอาการหลงผิด (Delusion) มีอาการหลง
ผิดว่าตนเองโดนคุณไสย มีความผิดปกติด้าน Abstract thinking คือไม่สามารถบอกความหมายของคำพังเพย
และสุภาษิต (Proverb interpretation) ได้อย่าถูกต้อง มีการพูดและกระแสคำพูด (Speech and stream of
talk) คือพูดติดอ่างตอนพูดซ้ำคำ (Stuttering) มีความปกติของการพูด พูดเสียงขึ้นๆ ลงๆ (Sing song) มี
กระแสคำพูด (Steam of talk)คือ พูดไม่ปะติดปะต่อ (Incoherence) พูดวกวน (Circumstantial) พูดนอก
เรื่อง (Tangential) สภาะวะอารมณ์ปัจจุบัน กังวล (Anxious) และยังไม่การหยั่งรู้ (Insight)ในเรื่องการ
เจ็บป่วย
4.4 การตรวจร่างกายทั่วไป
1) สัญญาณชีพ

วันที่ เวลา Body Pulse Rate Respiratory Rate Blood Pressure


Temperature (bpm) (bpm) (mmHg)
19/09/2565 10.00น. 36.3 100 20 100/60
14.00น. - 96 20 102/62
20/09/2565 10.00น. 36.2 98 20 101/53
14.00น. - 102 20 110/58
21/09/2565 10.00น. 38.6 98 20 101/62
14.00น. - 92 20 101/65
22/09/2565 10.00น. 36.8 89 20 102/58
14.00น. 37.4 104 20 100/64
20

วันที่ เวลา Body Pulse Rate Respiratory Rate Blood Pressure


Temperature (bpm) (bpm) (mmHg)
23/09/2565 10.00น. 36.5 82 20 100/60
14.00น. 36.3 86 20 101/56
26/09/2565 10.00น. 36.1 90 20 105/53
14.00น. 36.5 100 20 100/86
27/09/2565 10.00น. 36.4 96 20 102/60
14.00น. 36.2 90 20 90/60
28/09/2565 10.00น. 36.1 96 20 101/60
14.00น. 36.7 110 20 102/58
29/09/2565 10.00น. 36.5 110 20 105/60
14.00น. 36.4 105 20 102/62
30/09/2565 10.00น. 36.2 98 20 97/58
14.00น. 36.3 96 20 101/56

2) น้ำหนัก 53 กิโลกรัม ส่วนสูง 179 เซนติเมตร


3) ลักษณะทั่วไป
ผู้ป่วยเพศชาย อายุ 35 ปี รูปร่างสูง ผอม ผู้ป่วยมีสีหน้านิ่งเฉยไร้อารมณ์ ซึม ผิวขาวเหลือง ซีด มีรอย
แผลเป็นบริเวณแขนและขาทั้งสองข้าง แต่งกายด้วยชุดโรงพยาบาลสะอาดเหมาะสม การเคลื่อนไหวร่างกายช้า
มีอาการผุดลุกผุดนั่ง อยู่ไม่เป็นสุข เดินเองได้ชอบเดินไปมา และไม่มีสมาธิ พูดปกติ คิดช้า ตอบตรงคำถามบาง
คำถาม มีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้างทุกๆคน ให้ความร่วมมือดีขณะสนทนาและเต็มใจให้ข้อมูลขณะสนทนา
21

4.5 การตรวจทางจิตวิทยา/ การตรวจทางห้องปฏิบัติการ (LAB) / การตรวจพิเศษต่างๆ


การตรวจทางห้องปฏิบัติการ (LAB)
Microsocy (ผลตรวจสารเสพติด)
ชนิดการตรวจ ผลตรวจ แปลผล
Urine THC test/Cannabinioid ตรวจไม่พบ เป็นการตรวจกัญชาในปัสสาวะ สามารถตรวจสารเสพติดเจอได้ใน 2-5 วันหลังเสพ แต่หากใช้
สารเสพติดเป็นประจำจะตรวจเจอได้นานสุด 3 เดือน
Urine Mathamphetamine ตรวจพบ เป็นการตรวจแอมเฟตามีนในปัสสาวะ สามารถสารเสพติดตรวจเจอได้ใน 1-3 วันหลังเสพ แต่
หากใช้สารเสพติดเป็นประจำจะตรวจเจอได้นานสุด 3 สัปดาห์

Chemistry
ชนิดการตรวจ ผลตรวจ ค่าปกติ แปลผล
BUN 16 mg/dL 7-25 mg/dL การตรวจดู ไ นโตรเจนจากสารยู เ รี ย ที ่ ม ี อ ยู ่ ใ นกระแสเลื อ ด ยู เ รี ย (urea) เป็ น
สารประกอบของ ของเสียอัน เป็นผลิตผลสุดท้ายจากการย่อย สลายโปรตีนโดยตับ
ทั้งนี้ในชั้นต้นสารของเสียจะอยู่ในรูปของ แอมโมเนีย(NH3) และต่อจาก แอมโมเนีย
จึงสร้าง เป็นสารยูเรีย เพื่อให้ไตสามารถขับออกมากับน้า ปัสสาวะได้ ในผู้ป่วยรายนี้
พบค่าปกติ
GFR 123 ml/min >90 ml/min ตรวจอัตราการไหลของเลือดผ่าน ตัวกรองของไตในหนึ่งนาที เป็นตัว บ่ง บอกการ
ทางานของไตได้ดีที่สุด ในผู้ป่วยรายนี้ พบค่าปกติ
Creatinine 0.69 mg/mL 0.6-1.2mg/dL การตรวจเพื่อดูสมรรถนะการ ทำงานของไตเป็นสารปลายทางที่ ได้จากการสลาย
ของสาร Creatine phosphate ที่เป็นสารเกี่ยวข้อง กับการใช้พลังงานในการทา
22

ชนิดการตรวจ ผลตรวจ ค่าปกติ แปลผล


งาน ของกล้ามเนื้อ ซึ่งสาร Cr จะถูก กาจัดออกจากร่างกายทางปัสสาวะ โดยการ
ทำงานของไต พบค่าปกติ
Sodium 137.4 mmol /L 135-155mmol/L เป็นการตรวจหาระดับเกลือแร่ใน ร่างกาย ซึ่งแสดงถึงความสมดุล ของร่างกาย พบ
ค่าปกติ
Potassium 3.91 mmol/L 3.5-5.10 mmol/L เป็นการตรวจหาระดับโพแทสเซียม ในเลือดไตจะมีห น้าที่ในการควบคุม ความ
เข้มข้นของโพแทสเซียม โดยเฉพาะถ้ามีการคั่งในน้านอก เซลล์ โพแทสเซียมจะถูก
ขับออกมา ทางอุจจาระพบค่าปกติ
Chloride 102.5 mmol/L 99-111 mmol/L เป็นการตรวจวัดระดับคลอไรด์ Chloride สามารถตรวจวัดได้ทั้งใน กระแสเลือด
ปัสสาวะหรือเหงื่อ คลอไรด์เป็นธาตุที่มีความสาคัญ มาก เป็นตัวควบคุมความสมดุล
ของน้าทั้งในเซลล์และน้านอกเซลล์ ควบคุมปริมาณเลือด ความดันโลหิต และความ
เป็นกรดด่างโดย มากมักจะตรวจโซเดียมโพแทสเซียม และไบคาร์บอเนตร่วมด้วย
เสมอในผู้ป่วยรายนี้ พบค่าปกติ
Protein 6.1 g/dL 6-8.3 g/dL มีความสำคัญมาก เป็นตัวควบคุมความสมดุลของน้ำทั้งในเซลล์และน้ำนอกเซลล์
ควบคุมปริมาณเลือดความดันโลหิต และความเป็นกรดด่าง โดยมากมักจะตรวจ
โซเดียม โพแทสเซียมและ ไบคาร์บอเนตร่วมด้วยเสมอในผู้ป่วยรายนี้ พบค่าปกติ
Albumin 3.6 g/dL 3-5 g/dL การตรวจเพื่อให้ทราบค่าโปรตีนในกระแสเลือดชนิดอัลบูมินว่าอยู่ในระดับปกติ
หรือไม่ ซึ่งจะมีผลขี้วัดไปถึงสภาวะการทำงานของตับและไต ในผู้ป่วยรายนี้พบค่า
ปกติ
23

ชนิดการตรวจ ผลตรวจ ค่าปกติ แปลผล


Globulin 2.5 g/dL 2-3.5 g/dL การตรวจเพื ่ อ ประเมิ น ความเสี่ ย งที ่ ร ่ า งกายอาจเกิ ด การติ ด เชื ้ อ จากโรคสำคัญ
เนื่องจากความบกพร่องของ Globulin ซึ่งเป็นองค์ประกอบของภูมิต้านทาน ใน
ผู้ป่วยรายนี้พบค่าปกติ
SGOT/AST 42 U/L 0-42 U/L การตรวจเพื่อให้ทราบค่าเอนไซม์ AST พบว่าค่าปกติ
SGPT/ALT 17 U/L 0-40 U/L การตรวจเพื่อให้ทราบค่าเอนไซม์ ALT พบว่าค่าปกติ
ALP 79 U/L 30-120 U/L การตรวจเพื่อให้ทราบค่า ALP ซึ่งเป็นกลุ่มเอนไซม์ที่มีมากในตับและในกระดูก ซึ่งจะ
ช่วยให้ทราบภาวะความผิดปกติของตับและกระดูกโรคเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์ โรค
เกี่ยวกับท่อน้ำดี ภาวะการขาดวิตามินดี รวมทั้งระดับ ALP ยังอาจนับเป็นสารบ่งชี้
มะเร็งที่สำคัญ ในผู้ป่วยรายนี้พบค่าปกติ
Hematology
ชนิดการตรวจ ผลตรวจ ค่าปกติ แปลผล
WBC 6,830 K/uL 4,000-10,800 K/uL คือ การนับจานวนเม็ดเลือดขาวที่มีใน ร่างกายเม็ดเลือดขาวมีหน้าที่ทำลายเชื้อโรค
เมื่อมีสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ร่างกาย เม็ดเลือด ขาวจะถูกผลิตเพิ่มขึ้นโดยอัตโนมัติเพื่อ
เตรียมพร้อมที่จะทาลายสิ่งแปลกปลอมใน ผู้ป่วยรายนี้ พบค่าปกติ
RBC 3.72 M/uL 4.5-6.1 M/uL คือ การตรวจหาจำนวนเม็ดเลือดแดงซึ่งมี หน้าที่สาคัญ คือ การรับออกซิเจนจาก
ปอด ไปยังเนื้อเยื่อและนาออกซิเจนจากเนื้อเยื่อ มาสู่ปอด ในผู้ ป่วยรายนี้ พบค่าต่ำ
กว่าปกติ
24

ชนิดการตรวจ ผลตรวจ ค่าปกติ แปลผล


HGB 6.7 g/dL 13.8-17.2 g/dL คือ การตรวจหาปริมาณของเม็ดเลือดแดง ภาวะที่เม็ดเลือดแดงมีปริมาณน้อยเกินไป
เรียกว่าภาวะเลือดจางหรือโลหิตจาง (Anemia) ซึ่งอาจทาให้การขนส่งออกซิเจน ไป
ใช้ที่ส่วนต่างๆ ของร่างกายทาได้ไม่ เพียงพอ ในผู้ป่วยรายนี้ พบค่าต่ำกว่าปกติ
HCT 24.2 % 40.7-50.3% คือ การตรวจดูความเข้มข้นของเลือดแดงที่ อัดกันแน่นในปริมาตรของเลือดทั้งหมด
โดย หาเป็น%ของเม็ดเลือดแดงในปริมาตรของ เลือดทั้งร่างกาย พบค่าต่ำกว่าปกติ
MCV 65.1 fL 80-100fL เป็นปริมาตรของเซลล์เม็ดเลือดแดง 1 เซลล์ เป็นค่าที่บอกขนาดเฉลี่ยของเม็ดเลือด
แดง พบค่าต่ำกว่าปกติ
MCH 18pg 27-32 pg เป็นการตรวจค่าเฉลี่ยปานกลางของ Hemoglobin ใน RBC หรือเป็นการหาค่า น้า
หนักเฉลี่ยของเม็ดเลือดแดง 1 เซลล์ พบค่าต่ำกว่าปกติ
MCHC 27.7 g/dL 31-37 g/dL เป็นการหาค่าเฉลี่ยความเข้มข้นของ hemoglobin ในเม็ดเลือดแดง พบค่าต่ำกว่า
ปกติ
RDW 26.4 % 13-16 % เป็นการตรวจขนาดของเม็ดเลือดแดงบอก ความแตกตัวของเม็ดเลือดแดง พบค่าสูง
กว่าปกติ
PLT Count 655,000 cell/uL 140,000- เป็นการตรวจเพื่อดูการแข็งตัวของเลือด จำนวนนับเกล็ดเลือด เกล็ดเลือดมี บาท
440,000cell/uL สำคัญในการช่วยหยุดยั้งการไหลของเลือด ขณะเกิดบาดแผลเพื่อป้องกันการเสีย
เลือด มากเกินควรและผู้ป่วยรายนี้ พบค่าสูงกว่าปกติ
Neutrophils 62.6 %N 40-75%N เป็นการตรวจหาจำนวนเม็ดเลือดขาวที่ชื่ อ ว่า นิวโตรฟิล ซึ่งทาหน้าที่หลัก คือ การ
ล้อม จับกินจุลินทรีย์ด้วยกระบวนการกลืนกิน (phagocytosis) ในผู้ป่วยรายนี้
พบค่าปกติ
25

ชนิดการตรวจ ผลตรวจ ค่าปกติ แปลผล


Lymphocyte 26.6 %L 20-50%L มีหน้าที่สร้างภูมิคุ้มกันที่มีบทบาท รับผิดชอบต่อการตอบสนองของภูมิคุ้มกัน แบบ
จาเพาะ ในผู้ป่วยรายนี้ พบค่าปกติ
Monocyte 5.4 %L 2-10 %L เป็นการตรวจหาจำนวนเม็ดเลือดขาวที่ชื่อ ว่า โมโนไซต์ ซึ่งทาหน้าที่หลัก คือ การ
ล้อม จับกินจุลินทรีย์ด้วยกระบวนการกลืนกิน พบค่าปกติ
Eosinophil 2 %E 1-6%E เป็นการตรวจหาจำนวนเม็ดเลือดขาวที่ชื่อ ว่า อีโอซิโนฟิล ซึ่งทาหน้าที่หลัก คือ การ
ทำลายสารที่ทาให้เกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้ ใน ผู้ป่วยรายนี้ พบค่าปกติ
Basophil 0.4 %B 0-2 %B เป็นการตรวจหาจำนวนเม็ดเลือดขาวที่ชื่อ ว่า เบโซฟิล ซึ่งทาหน้าที่หลัก คือ ป้องกัน
การเกิดอาการภูมิแพ้ กล่าวคือ มันจะ ควบคุมร่างกายที่จะหลั่งสารฮิสตามีนอัน เป็น
ปฏิกิริยาซึ่งเกิดจากการรับสารก่อภูมิแพ้ ในผู้ป่วยรายนี้พบค่าปกติ
26

ส่วนที่ 5 การวิเคราะห์การเจ็บป่วยทางจิต
5.1 การวิเคราะห์กลไกที่ก่อให้เกิดปัญหาทางจิต
1) ปัจจัยนำ (Predisposing factor)
การอบรมเลี้ยงดูที่ปล่อยปะละเลย คือ อยู่กับยาย อยากทำอะไรก็สามารถทำได้ ไม่มีคนเคยสนใจว่า
ตนเองจะไปไหน หรือทำอะไร
2) ปัจจัยกระตุ้น (Precipitating factor)
- สัมพันธภาพในครอบครัวไม่ดี ถูกปล่อยปะละเลย ไม่ได้ความรักจากครอบครัว
- บิดามารดาแยกทางกันตั้งแต่ 2 ขวบ สัมพันธ์ภาพไม่ดีกับบิดา มารดารแยกไปมีสามีใหม่ที่
จังหวัดเลย
- เลิกรากับภรรยา และภรรยาได้เลี้ยงดูบุตรชาย
- เพื่อนชวนเสพสารเสพติด พอได้ลองรู้สึกผ่อนคลาย ความเครียดหายหมด
3) ปัจจัยที่ทำให้อาการที่เกิดแล้วยังคงดำเนินอยู่ (Perpetuation factors)
ผู้ป่วยไม่ยอมรับการเจ็บป่วยคิดว่าไม่มีอากรทางจิต จึงไม่ได้มาหาหมอที่โรงพยาบาล และยังใช้สาร
เสพติดหลายประเภท เช่น ยาบ้า กัญชา บุหรี่ และสุรา
4) ปัจจัยที่อาจช่วยป้องกันผู้ป่วยจากอาการป่วยที่รุนแรง ช่วยให้หายคืนสู่สภาพปกติ
(Protective factors)
ส่งเสริมให้ผู้ป่วยรับรู้และยอมรับการเจ็บป่วยของตนเอง และมาติตามอาการและบำบัดฟื้นฟู 4 เดือน
ตามที่แพทย์นักอย่างสม่ำเสมอ รวมไปถึงการสร้างความตระหนักถึงโทษของยาเสพติดติดแต่ละชนิด ให้ผู้ป่วย
เข้าใจและครอบครัวยอมรับและดูแลได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
5) วิเคราะห์การใช้กลไกการเผชิญปัญหา (Defense mechanism)
เมื่อผู้ป่วยเผชิญปัญหาและมีความเครียด จะแก้ไขปัญหาหรือหาทางออกด้วยการใช้ยาเสพติด คือ
ยาบ้า บุหรี่และสุรา โดยให้เหตุผลว่าไม่มีทางไหนช่ วยให้ผู้ป่วยสามารถลืมความเครียดและปัญหาได้ ดีกว่า
แนวทางที่ปฏิบัติอยู่
27

5.2 วิเคราะห์ระยะพัฒนาการทางสังคมของผู้ป่วยตามทฤษฏีของอีริคสัน (อุมาพร ตรังคสมบัติ, 2541)


ตารางที่ 1 วิเคราะห์พัฒนาการทางสังคมของบุคคลตามทฤษฏีของ Erikson (เทียบผู้ป่วยกับทฤษฎี)
ระยะต่างๆ ภารกิจที่ต้องทำให้ ผลที่จะเกิดขึ้นถ้าภารกิจล้มเหลว ผู้ป่วย
สำเร็จ
วัยทารก ความไว้วางใจพื้นฐาน ขาดความไว้วางใจ ในวัยทารก ผู้ป่ว ยถูกเลี้ยงดูโ ดย
(basic trust) (mistrust) ยายเป็นส่ว นใหญ่ เป็นการเลี ้ ย ง
แบบ ให้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆด้วยตนเอง
ส่วนมากปล่อยให้เล่นคนเดียว
วัยหัดเดิน ความเป็นตัวของตัวเอง ความละอายและสงสัยในตนเอง ในวัยหัดเดิน ส่วนใหญ่ยายเป็นคน
(autonomy) (shame and doubt) เลี้ยงเนื่องจากแม่ต้องไปอยู่กับสามี
คนใหม่ที่จังหวัดเลย ยายสอนให้
หั ด เดิ น โดยการเกาะไต่ ต ามราว
เมื่อล้มและห้องไห้ต้องลุกขึ้นมา
เดินใหม่เองโดยที่ผู้ป่วยยังร้องไห้
อยู่ จนกว่าจะหยุดร้องไห้ไปเอง
วัยก่อนเรียน ความริเริ่มสร้างสรรค์ ความรู้สึกผิด ในวัยก่อนเรียน ยายเป็นคนเลี้ยง
(initiative) (guilt) เป็นส่วนใหญ่ ชอบไปเล่นกับเพื่อน
วัยใกล้เคียงกัน
วัยเรียน ความวิริยะอุตสาหะ ความรู้สึกด้อย ในช่วงวัยเรียนผู้ป่วยเป็นคนที่รักใน
(industry) (inferiority) การเรียนมาก รู้สึกมีความสุขทุก
ครั้งที่ได้ไปเรียน และโดนล้อเลียน
เรื่องบิดา-มารดาแยกทางกัน
วัยรุ่น เอกลักษณ์ ความสับสนในเอกลักษณ์ ในช่วงวัยรุ่น เริ่มเกเร ไม่ค่อยเข้า
(identity) (identity confusion) เรียนหนังสือ เจอสิ่งแวดล้อมที่พา
ชักจูงไปใช้สิ่งมึนเมา บุหรี่ ทำ
ให้ผลการเรียนตกต่ำ เกิดความ
สับสนและขัดแย้ง คือไม่รู้ว่าชีวิต
ตนเองต้องไปต่อทางไหน ไม่มี
เป้าหมายที่ชัดเจนในชีวิต
ครอบครัวไม่ได้ดูแลเอาใจใส่
วัยผู้ใหญ่ ความรักใคร่อย่างลึกซึ้ง ความโดดเดี่ยว -ในวัยผู้ใหญ่ ผู้ป่วยไม่สามารถ
(intimacy) (isolation) ประสบความสำเร็จในการแสวงหา
28

ระยะต่างๆ ภารกิจที่ต้องทำให้ ผลที่จะเกิดขึ้นถ้าภารกิจล้มเหลว ผู้ป่วย


สำเร็จ
แนวทางในชีวิตของตน ไม่สามารถ
สร้างความสัมพันธ์ที่สมบูรณ์ คือมี
การเลิกรากับภรรยาหลังจากมีลูก
ด้วยกัน 1 คน มักรู้สึกเหงาใน
บางครั้ง ทำให้เริ่มใช้สารเสพติด

ดื่มสุรา เข้ารับการ
แผนภูมิเส้นชีวิต สูบบุหรี่ รักษาที่
เที่ยว คบ โรงพยาบาล
เพื่อน เพื่อน เพื่อน หนองคาย
โดน ชักชวน ชักชวน เกเร
การเผชิญปัญหา หนีเรี ยน หนีเรี ยน
ละเลย 14
13 16 29 32 35
0

อายุ

เหตุการณ์ ในชีวติ ผลการ


พ่อแม่
แยกทาง เรี ยน เริ่ มสูบ
กัน ตกต่า บุหรี่
ดื่มสุรา สูบบุหรี่ เริ่ มเสพ เริ่ มมี
ดื่มสุรา ว่างงาน
ยาบ้า อาการหู
แฟนขอ
ร่ วม แว่ว ภาพ
เลิก
กัญชา หลอน
29

5.3 พยาธิสภาพของโรค (ทำตารางเปรียบเทียบอาการของผู้ป่วยกับทฤษฎี)

พยาธิสภาพตามทฤษฎี พยาธิสภาพกรณีศึกษา

Amphetamine induce psycosis คือ โรคจิตเภทจากการใช้ ผู้ป่วยเพศชายอายุ 34 ปี ผู้ป่วยให้ข้อมูลว่า


สารเสพติดกลุ่ม Amphetamine เป็นโรคทางจิตเวชที่สำคัญที่มี อายุ 14 ปี เริ่มสูบบุหรี่ 10มวน/วัน ดื่มสุราขาว 1 ขวด
อาการทางจิตสัมพันธ์กับการใช้สารเสพติดกลุ่ม Amphetamine ใหญ่/สัปดาห์ เพราะเพื่อนชวน ดื่มสุรามาเรื่อยๆ ประจำ
ทุกวัน
ยาบ้า (Amphamphetamine) เป็น สารเสพติดชนิดกระตุ้น เริ่มเสพยาครั้งแรกอายุ 29 ปี เสพยาบ้าครั้งละ 1 เม็ด/
ประสาท (Psycho-stimulant) ผู ้ ท ี ่ เ สพจะรู ้ ส ึ ก สดชื ่ น ตื ่ น ตั ว ครั้ง เสพสัปดาห์ละ 5 ครั้ง และกัญชา ครั้งละ1 เขียง
สบายใจ ชีพจร เต้นเร็ว พูดคุยเก่งรู้สึกพอใจในการใช้ยา เมื่อยา เสพสัปดาห์ละ 2 ครั้ง สาเหตุที่ใช้สารเสพติดเกิดจากมี
หมดฤทธิ์จึงพอใจที่จะเสพยาใหม่ ทำให้เกิดอาการเสพติดแอมเฟ เพือ่ นชักชวนและพอลองเสพแล้วชอบกลิ่นของยาบ้า
ตามีน มีลักษณะเป็นผงผลึกสีขาว ไม่มีกลิ่นมี รสขมนิดๆ มีสูตร คล้ายกลิ่นช็อคโกแลต เกิดอาการติดใจเลยเสพยาบ้ามา
ทางเคมีคือ C9H13N เป็น สารที่อยู่ในกลุ่มที่ออกฤทธิ์กระตุ้น เรื่อยๆ
ระบบประสาทส่ว นกลาง (CNSstimulants)การออกฤทธิ ์ ข อง 1 เดือนก่อน มีภาพหลอน หูแว่ว ความคิดหลงผิดว่า
แอมเฟตามีนจะส่งผลต่อระบบประสาทส่วนกลาง ซึ่งทำหน้าที่ ตนโดนเล่ น คุ ณ ไสย คิ ด ว่ า มี ห นอนออกจากบาดแผล
เก็บความจำความคิดและควบคุมการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ บริเวณตามร่างกาย บนอาหาร บนอุจจาระ และตามทั่ว
เช่นการเคลื่อนไหว การทรงตัว การถ่า ยทอดความรู้ส ึกทำให้ ร่างกาย และยังมีการใช้สารเสพติดคือยาบ้าเสพยาบ้า
ตื่นตัว เคลิบเคลิ้ม ร่าเริง ไม่เหนื่อยไม่ง่วง ตาแข็ง นอนไม่หลับ ครั้งละ 1 เม็ด/ครั้ง เสพสัปดาห์ละ 3 ครั้ง คิดว่าตนเอง
คล้ายเป็นยาเพิ่มพลัง มีผลต่อระบบหัวใจและหลอดเลือดกระตุ้น ไม่ได้เป็นอะไรจึงไม่ได้มารักษาที่โรงพยาบาล
หัวใจทำให้เกิดอาการใจสั่น การไหลเวียนเลือดล้มเหลว 1 ชั่วโมงก่อนมาโรงพยาบาล ผู้ป่วยทำร้ายข้าวของ
เจ็บหน้าอกกระทบต่อทางเดินหายใจ จังหวะการหายใจไม่ปกติ พูดคนเดียว มีภาพหลอน หูแว่ว มีความคิดหลงผิดว่าตน
มีผลต่อระบบการเดินอาหาร ปากแห้ง เบื่ออาหาร ไม่หิว คลื่นไส้ โดนเล่นคุณไสย ตำรวจจึงพามาส่งตัว ที ่โ รงพยาบาล
อาเจียน ท้องเสียและส่งผลต่อพฤติกรรมทางเพศ ซึ่งเมื่อเสพติด หนองคาย admit ที ่ ห อผู ้ ป ่ ว ยภู ม ิ จ ิ ต โรงพยาบาล
ยาแล้วจะส่งผลให้สมรรถภาพทางเพศลดลง หนองคาย

สาเหตุติดสารเสพติด สาเหตุผู้ป่วยติดสารเสพติด
1.ปัจจัยทางชีวภาพ ปัจจัยทางชีวภาพ
1. Positive Reinforcement Model : จากคุณสมบัติของสาร เกิดจากความอยากรู้อยากลองและเพื่อนชักชวนตั้งใจ
เสพติด ที่มีลักษณะเสริมพฤติกรรม ใช้ยาเสพติดซ้ำ(positive และใช้ยาบ้ามาเรื่อยๆ จึงทำให้ผู้ป่วยมีพฤติกรรมใช้ยา
reinforcers) คือ เมื่อใช้ยาครั้งแรก เกิดความพึงพอใจ จะมี เสพติดซ้ำ(positivereinforcers) กลิ่นยาบ้าคล้ายกลิ่น
แนวโน้มที่จะใช้ยา เสพติดในครั้งต่อไปเพื่อหวังผลความพึงพอใจ ช็อคโกแลต ทำให้หายเครียดหรือผ่อนคลาย ผู้เสพ
อีก กรณีหนึ่งเมื่อการใช้ครั้งแรกสัมพันธ์กับภาวะเครียด การใช้ยา
30

พยาธิสภาพตามทฤษฎี พยาธิสภาพกรณีศึกษา

เสพติด ทำให้หายเครียดหรือผ่อนคลาย ผู้เสพเรียนรู้ว่า ยาเสพ เรียนรู้ว่า ยาเสพติด สามารถทำให้ผ่อนคลายได้ จึงมีการ


ติด สามารถทำให้ผ่อนคลายได้ จึงมีการใช้ในครั้งต่อไป ลักษณะ ใช้ในครั้งต่อไป
ของยา เสพติดที่เสพติดได้ง่าย
1. ยาที่ทำให้เกิดอาการดื้อยาง่าย (Tolerance)
2. ยาที่ทำให้ระยะเวลาในการเกิดอาการขาดยาเร็ว กว่า หรือ
รุนแรงกว่า
3. ยาที่มีฤทธิ์ข้างเคียงน้อยกว่า ( ผู้เสพไม่กลัวที่ จะ เสพทำให้
เสพได้บ่อย )
4. ยาที่สามารถเสพด้วยวิธีที่สะดวกรวดเร็วกว่า ( มี โอกาสเสพ
ได้บ่อยครั้ง )
5. ยาที่มีอันตรายหรือเกิดโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ตามมาจากการ ปัจจัยด้านจิตใจ
เสพแต่ละครั้งน้อยกว่า (ผู้เสพกล้าเสพ ในขนาดสูงและบ่อยขึ้น) มีภาวะไม่เข้าใจความรู้สึกตนเอง (Alexithymia) พ่อ แม่
2.ปัจจัยด้านจิตใจ แยกทางกัน ยายเป็นคนเลี้ยงดูคิดว่า ครอบครัวไม่สนใจ
สาเหตุที่ทำให้เกิดการเสพติดทางด้านจิตใจ(Psychological
dependence)
1.การปรับอารมณ์ได้ไม่ดี (Affective dysregulation)ผู้ติดยา
เป็นลักษณะพิเศษของaffective dysregulation-tense
depression จะมี
ลักษณะเครียดและเศร้าง่าย
2.ทฤษฎีของความบกพร่องของอิโก้ (ego defects) ผู้ติดยามี
ความบกพร่องในการจัดการอารมณ์ที่ไม่สบายของตนเอง เช่น
guit, anger, anxiety และพยายามหลีกเลี่ยงปัญหาทางด้านต่าง

3.ปัญหาการพัฒนาการช่วงปาก (Oral fixation) คือได้รับการ
ดูแลเอาใจใสน้อยเกินไป โดยเฉพาะในช่วงขวบปีแรก จึงมี
แนวโน้มหาความสุขในการใช้ปาก เช่น ดูด ดื่ม สูบ
4.การรักษาตัวเอง (Self - Medication) ยาบ้าและโคเคน
สามารถบรรเทาอาการซึมเศร้าได้
5.ภาวะไม่เข้าใจความรู้สึกตนเอง (Alexithymia)ผู้เสพติดบางคน
อาจจะมีปัญหาในเรื่อง การรับรู้สึกเข้าใจ หรืออธิบาย อารมณ์
ความรู้สึกของตนเอง ซึ่งมีแนวโน้มจะเก็บกด เครียด และติดยา
31

พยาธิสภาพตามทฤษฎี พยาธิสภาพกรณีศึกษา

ได้ง่าย
3.ปัจจัยด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ทำให้ติดยาเสพติด ปัจจัยด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมที่ทำให้ติดยาเสพติด
1.ครอบครัว การขาดความผูกพันกันในครอบครัวและสังคมการ -ครอบครัว การขาดความผูกพันกันในครอบครัว พ่อแม่
ใช้สารเสพติดในครอบครัว เลิกรากัน แม่ไปมีสามีใหม่และได้ย้ายไปอยู่จังหวัดเลย
2.กลุ่มเพื่อน การคบเพื่อนที่ติดยาเสพติดจากเพื่อน ทำให้ยายเป็นคนเลี้ยงผู้ป่วย
3.สื่อต่างๆ การพบเห็นตัวอย่างการเสพสารเสพติดแล้วอยากลอง -กลุ่มเพื่อน การคบเพื่อนที่ติดยาเสพติดจากเพื่อน
4.แหล่งบันเทิง ซึ่งมีการซื้อ, ขาย และเสพยาเสพติด
5.อาชีพ การทำงานที่เกี่ยวข้องใกล้ชิดกับยาต่างๆ ที่สามารถทำ
ให้เกิดการเสพติดได้
6.เศรษฐกิจ ปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคม ถ้าไม่สามารถปรับตัว
ได้เกิดความตึงเครียด
อาการและอาการแสดงการติดสารเสพติด
1.อาการผิดปกติที่เกิดจากการเสพยาบ้าผู้เสพจะมีอาการพูดมาก อาการและอาการแสดงการติดสารเสพติด
อารมณ์ดี ครื้นเครงกว่าปกติ น้ำหนักตัวลด มีเหงื่อออกมาก ผู้ป่วยทำร้ายข้าวของ พูดคนเดียว มีภาพหลอนเห็นเงา
กว่าเดิม ได้ยินเสียงและเห็นภาพหลอน นอนไม่หลับ ใจสั่น ดำยืนอยู่บริเวณมุมห้อง หูแว่วได้ยินเสียคนมาคุยด้วย
คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย ตื่นเต้น กระวนกระวาย มีพฤติกรรม นอนไม่หลับ
ก้าวร้าวและทำลายข้าวของ ควบคุมสติไม่ได้ ในกรณีที่เสพเกิน
ขนาดอาจมีอาการหัวใจเต้นผิดปกติ ความดันโลหิตสูง สับสน ชัก
หรือหมดสติได้
2.อาการติดยา (addiction)พบในผู้ที่เสพยาบ้าในปริมาณมาก
เป็นระยะเวลานานๆ จะมีความผิดปกติทางสมอง เกิดอาการทาง
จิตประสาทหลอน หูแว่ว มีอาการหวาดระแวงจนต้องทำร้าย
ตัวเองหรือผู้อื่น อาการเหล่านี้จะหายไปได้
ต้องใช้เวลาหลายอาทิตย์ หรือหลายเดือนโดยเฉพาะในผู้ป่วยที่
เสพมาอย่างเรื้อรัง
การรักษา การรักษา
1.ขั้นตอนการบำบัดรักษาผู้ติดยาบ้า แบ่งเป็น 4 ขั้นตอน คือ 2. ขั้นถอนพิษยา (Detoxification)เป็นระยะที่ผู้ป่วยมี
1.ขั้นเตรียมการ (Pre-Admission)เป็นการเตรียมความพร้อม อาการถอนยา โดยการช่วยให้ผู้ป่วยลดอาการไม่สบาย
การชักประวัติ ตรวจร่างกาย และทางห้องปฏิบัติการ เช่น หงุดหงิดไม่มีชีวิตชีวา
2. ขั้นถอนพิษยา (Detoxification)เป็นระยะที่ผู้ป่วยมีอาการ
ถอนยา โดยการช่วยให้ผู้ป่วยลดอาการไม่สบาย เช่น หงุดหงิด
32

พยาธิสภาพตามทฤษฎี พยาธิสภาพกรณีศึกษา

ไม่มีชีวิตชีวา ทำให้มีโอกาสกลับไปใช้ยาใหม่ ระยะนี้


จะมีอาการโดยเฉลี่ย 3 -4 สัปดาห์
3. ขั้นตอนการฟื้นฟูสมรรถภาพ(Rehabilitation)ถือเป็นระยะที่
สำคัญที่สุด คือต้องไม่ให้ผู้ป่วยกลับไปเสพยาใหม่
4. ขั้นการติดตามดูแล (After-Care)
เป็นระยะติดตามผล และ ป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยกลับไป
เสพยาใหม่
2.การรักษาด้วยยา รักษาตามอาการและอากาแสดง การรักษาด้วยยา
ของผู้ป่วย ได้แก่ Haloperidol 5 mg 1 po pc.
1.ใช้ยากลุ่มต้านอาการซึมเศร้า Artane 5 mg 1x3 po pc.
(antidepressant) ได้แก่ imipramine ,desipramine , Clonazepam 0.5 mg 1x3 po pc.
amitriptyline , trazodone หรือfluoxetine (prozac) ซึ่งยา Chlorpromazine CPZ 100 mg. 1 x1 po hs.
เหล่านี้จะเข้าจับกับสาร serotonin ในสมองเพื่อลดอาการ Midazolam 15 mg. IM prn for agitation.
ซึมเศร้า และอาการอยากยา Depakine 500mg 3x1 po hs.
2.กลุ่มยาระงับประสาท (sedatives) ได้แก่ dalmane ,
chloral hydrate ,ibrium ,phenobarbital หรือ valium ถูก
ใช้รักษาอาการวิตกกังวล หรืออาการนอนไม่หลับ
3.กลุ่มรักษาอาการทางจิต (antipsychotic)
ได้แก่ haldol , thorazine ที่ช่วยปรับความสมดุลย์ให้กับสาร
dopamine เพื่อบรรเทาอาการทางจิตและรู้สึกพึงพอใจโดยให้
การบำบัดรักษาทั้งทางร่างกาย และจิตใจควบคู่กันไปด้วย

3.การรักษาการปฏิบัติกลุ่ม กาย-จิต-สังคม-บำบัด
1. การให้คำปรึกษาส่วนตัว (IndividualSessions)ผู้รับการ
บำบัด และครอบครัว เข้าพบผู้รักษาเพื่อเป็นการทำความเข้าใจ
ในการเข้ารับการบำบัดรักษาด้วยกิจกรรมอื่น 7 ตารางเวลา ให้
นัดปฏิบัติโดยแพทย์ผู้ที่ทำการรักษา
2. วิธีฝึกทักษะการเลิกยาในระยะเริ่มต้น(Early Recoverly)ฝึก
ให้ผู้รับการบำบัด ได้เรียนรู้และฝึกทักษะที่จำเป็นในการเผชิญกัน
อาการต่าง ๆที่เกิดขึ้น ในระยะแรกของการหยุดเสพยา และเป็น
33

พยาธิสภาพตามทฤษฎี พยาธิสภาพกรณีศึกษา

การเตรียมพร้อมในการเลิกเสพยาในระยะต่อไปตารางเวลาอยู่ใน
ช่วงแรกของกลุ่มบำบัด ตลอดโครงการ
3. วิธีฝึกทักษะป้องกันการกลับไปติดยาซ้ำ(Relapse
Prevention)เป็นกิจกรรมหลักของการบำบัดรักษา โดยเน้น
ความรู้ และฝึกทักษะที่จะป้องกันไม่ให้กลับไปติดยาซ้ำให้กำลังใจ
และช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ตารางเวลาอยู่ในช่วงที่สองของกลุ่ม
บำบัดตลอดโครงการ
4. การให้ความรู้เกี่ยวกับสารเสพติดกับครอบครัว (Family
Education)จะมีการนัดหมายการให้ความรู้เกี่ยวกับครอบครัว
เป็นลักษณะของการให้ความรู้ การอภิปราย และ
การฝึกปฏิบัติ สัปดาห์ละครั้ง
5. กลุ่มสนับสนุนทางสังคม (SocialSupport)เมื่อ สิ้นสุดการฝึก
ครบ 16 สัปดาห์แล้วผู้รับการบำบัด

พยาธิสภาพโรค Psychosis โรคจิต คือ


ภาวะอาการทางจิตที่ผู้ป่วยมักมีอาการหลงผิดไปจากความเป็น
จริง ประสาทหลอน หูแว่ว เห็นภาพหรือรับรู้ในสิ่งที่ไม่มีอยู่จริง
อาการโรคจิตหรือวิกลจริตนี้เป็นปัญหาสุขภาพจิตที่อาจเกิดขึ้นได้
จากหลายสาเหตุ ทั้งปัจจัยภายในอย่างความผิดปกติทางจิตต่างๆ
อาการเจ็บป่วยทางร่างกาย และปัจจัยภายนอกอย่างการใช้ยา
หรือสารเสพติด

อาการและอาการแสดง อาการและอาการแสดง
ผู้ป่วยโรคจิตแต่ละคนอาจมีลักษณะท่าทางและอาการที่ปรากฏ มีความคิดหลงผิดว่าตนโดนเล่นคุณไสย คิดว่ามีหนอน
แตกต่างกันไป แต่โดยทั่วไปแล้วกลุ่มอาการหลัก ๆ ของโรคจิต ออกจากบาดแผลบริเวณตามร่างกาย บนอาหาร บน
ได้แก่ อุจจาระ และตามทั่วร่างกาย
1.ประสาทหลอน ประสาทรับรู้ทั้ง 5เปลี่ยนแปลงและผิดไปจาก
ความเป็นจริงเช่น เห็นภาพหลอน มองเห็นสีหรือรูปร่างผิดแผก
ไป ได้ยินเสียงที่คนอื่นไม่ได้ยิน รู้สึกถึงการสัมผัสทั้งที่ไม่มีใครแตะ
34

พยาธิสภาพตามทฤษฎี พยาธิสภาพกรณีศึกษา

ตัว ได้กลิ่นที่คนอื่นไม่รู้สึก และรับรู้ถึงรสชาติทั้ง ๆ ที่ไม่มีอะไรอยู่


ในปากในขณะนั้น เป็นต้น
2.หลงผิด มีความคิดหรือความเชื่ออย่างแน่วแน่ในสิ่งที่ไม่เป็น
ความจริง เช่น หลงผิดคิดว่าตนเองกำลังถูกปองร้ายหรือมีคน
วางแผนฆ่าตนเอง หลงผิดว่าตนเองเป็นบุคคลสำคัญที่มีอำนาจ
หรือมีพลังวิเศษ เป็นต้น
3.มีความคิดสับสนวุ่นวาย หรือมีรูปแบบกระบวนการคิดที่ไม่
เป็นลำดับ ซึ่งส่งผลให้มีอาการต่าง ๆ เช่น พูดไม่คิด พูดออกมา
ในทันที พูดเร็ว พูดแล้วฟังไม่ได้ศัพท์ จัดเรียงลำดับคำในประโยค
ไม่ถูกต้อง สื่อสารไม่เข้าใจ พูดขาด ๆ หาย ๆ พูดไม่ต่อเนื่อง สาเหตุของโรคจิต
หยุดพูดเป็นระยะ เป็นต้น ผู้ป่วยใช้สารเสพติดคือ อายุ 14 ปี เริ่มสูบบุหรี่ 10มวน/
2.ขาดการตระหนักรู้ผู้ป่วยโรคจิตมักไม่รับรู้ว่าอาการหลงผิด วัน ดื่มสุราขาว 1 ขวดใหญ่/สัปดาห์ เพราะเพื่อนชวน
และประสาทหลอนที่เกิดขึ้นไม่ใช่ความจริง ทำให้ผู้ป่วยเกิด ดื่มสุรามาเรื่อยๆ ประจำทุกวัน
อาการอื่น ๆ ที่เป็นปัญหาตามมา เช่น อาการตื่นตระหนก ตกใจ ผู้ป่วยใช้สารเสพติดคือ ยาบ้า กัญชา เสพยาบ้าครั้งละ 1
กลัว ทุกข์ทรมานเป็นต้น เม็ด/ครั้ง เสพสัปดาห์ละ 5 ครั้ง และกัญชา ครั้งละ1
สาเหตุของโรคจิต เขียง เสพสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ใช้สารเสพติดเป็น
แม้ในทางการแพทย์จะยังไม่มีการระบุสาเหตุที่แน่ชัดของ ระยะเวลา 5 ปี
อาการโรคจิตได้ แต่มีความเชื่อมากมายเกี่ยวกับปัจจัยสำคัญที่ -มีอาการหลงผิดและประสาทหลอน คิดว่าตนเองโดน
อาจส่งผลกระทบให้ผู้ป่วยเผชิญภาวะโรคจิต ได้แก่ ปัจจัยภายใน เสกคุณไสยเข้าร่างกาย
1.ความผิดปกติทางสมอง และระดับสารเคมีในสมอง นักวิจัย
หลายคนเชื่อว่า อาการโรคจิตอาจเกิดจากความผิดปกติที่เกิดขึ้น
ภายในสมอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสารสื่อประสาทโดปามีน
(Dopamine) ที่ทำหน้าที่ควบคุมกระบวนการคิดและการรับรู้ที่
นำไปสู่การเกิดพฤติกรรมต่าง ๆ หากการทำงานของ
สมองและสารสื่อประสาทได้รับความกระทบกระเทือน อาจส่งผล
ให้เกิดอาการโรคจิตได้ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญได้สนับสนุนแนวคิดนี้ด้วย
หลายงานค้นคว้าวิจัย ที่แสดงลักษณะทางกายภาพของสมองผ่าน
ภาพสแกนสมองและการทดลองควบคุมระดับโดปามีน ซึ่งมี
ส่วนช่วยลดการเกิดอาการโรคจิตได้ด้วย
2.ความผิดปกติทางจิต โรคจิตอาจเกิดจากความผิดปกติทางจิต
หรือทางบุคลิกภาพเช่น ป่วยเป็นโรคจิตเภท (Schizophrenia)
35

พยาธิสภาพตามทฤษฎี พยาธิสภาพกรณีศึกษา

ทำให้มีอาการหลงผิดและประสาทหลอนป่วยเป็นโรคไบโพลาร์
หรือโรคอารมณ์สองขั้ว (Bipolar) ที่ทำให้มีอาการซึมเศร้าหรือ
อารมณ์ดีสุดขีด (Mania) มีความเครียดความวิตกกังวลอย่างหนัก
หรืออยู่ในภาวะซึมเศร้าอย่างรุนแรง
3.ความเจ็บป่วยทางร่างกาย เมื่อผู้ป่วยเจ็บป่วยด้วยโรค
บางอย่าง อาจส่งผลให้เกิดอาการโรคจิตได้เช่น พักผ่อนไม่
เพียงพอภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ โรคไข้จับสั่นหรือมาลาเรีย
โรคอัลไซเมอร์โรคพาร์กินสัน โรคพุ่มพวง หรือโรคแพ้ภูมิตัวเอง
โรคปลอกประสาทอักเสบ (Multiple Sclerosis)โรคติดต่อทาง
เพศสัมพันธ์ซิฟิลิส การติดเชื้อเอชไอวีและกลุ่มอาการเอดส์มีเนื้อ
งอกในสมอง เป็นต้น
4.กรรมพันธุ์บางทฤษฎีเชื่อว่าอาการโรคจิตมีแนวโน้มถ่ายทอด
ทางพันธุกรรมจากรุ่นสู่รุ่นได้
ปัจจัยภายนอก
การใช้ยาหรือการได้รับสารเคมีใด ๆ เข้าสู่ร่างกายในทางที่ผิด
หรือในปริมาณที่เกินพอดี อาจส่งผลกระทบทำให้เกิดอาการโรค
จิตได้ เช่น การดื่มแอลกอฮอล์ การเสพยาเสพติดอย่างโคเคน
ยาบ้า(Amphetamine) ยาไอซ์ (Methamphetamine)
ยาอี (MDMA: Ecstasy) ยาเค (Ketamine) หรือกัญชา เป็นต้น การวินิจฉัย
การวินิจฉัย Amphetamine psychosis disorder
ในเบื้องต้นแพทย์จะซักประวัติและสอบถามอาการ เพื่อหา
สาเหตุของอาการโรคจิตที่เกิดขึ้น โดยแพทย์อาจถามเกี่ยวกับ
อาการและภาวะอารมณ์ที่เกิดขึ้น มีอาการหลงผิดหรือประสาท
หลอนหรือไม่
อาการเป็นอย่างไร การดำเนินชีวิตในแต่ละวันที่ผ่านมา ประวัติ
การใช้ยาและสารเสพติด และประวัติการป่วยด้วยปัญหา
สุขภาพจิตภายในครอบครัว เป็นต้น
การรักษาโรคจิต
โรคจิตรักษาและบรรเทาอาการได้ โดยปรับปรุงคุณภาพชีวิตให้
ผู้ป่วยกลับมาใช้ชีวิตประจำวันต่าง ๆ ได้ดีขึ้น หรือได้ตามปกติ
36

พยาธิสภาพตามทฤษฎี พยาธิสภาพกรณีศึกษา

โดยกระบวนการรักษาหลัก คือ การรักษาด้วยยาและการบำบัด


ทางจิต
การรักษาด้วยยา
อาการโรคจิตมักรักษาควบคุมอาการได้ด้วยการใช้ยาต้านอาการ การรักษาด้วยยา
ทางจิต(Antipsychotics) ซึ่งเป็นยาตามคำสั่งแพทย์เท่านั้น Haloperidol 5 mg 1 po pc.
แพทย์อาจให้ยาแบบรับประทานหรือให้ผู้ป่วยมาพบเพื่อรับการ Artane 5 mg 1x3 po pc.
ฉีดยาเป็นระยะการบำบัดทางจิต การบำบัดทางจิตอาจช่วยคลาย Clonazepam 0.5 mg 1x3 po pc.
ความตึงเครียดและความวิตกกังวลที่เกิดจากอาการโรคจิต Chlorpromazine CPZ 100 mg. 1 x1 po hs.
การบำบัดด้วยการปรับความคิดและพฤติกรรม Midazolam 15 mg. IM prn for agitation.
(Cognitive Behavioural Therapy:CBT) เป็นวิธีการดูแล
Depakine 500mg 3x1 po hs.
สนับสนุนให้ผู้ป่วยได้พูดคุยบอกเล่าถึงสิ่งที่พวกเขากำลังเผชิญจน
ทำให้เกิดความทุกข์ นักบำบัดจะคอยกระตุ้นให้ผู้ป่วยทำความ
เข้าใจถึงสถานการณ์จริงที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วย เพื่อให้พวกเขาผ่อน
คลายและหาทางออกจากความทุกข์เหล่านั้นได้ในที่สุด วิธีการนี้
มักได้ผลดีกับผู้ป่วยที่รักษาด้วยยาเพียงอย่างเดียวแล้วไม่เกิด
ประสิทธิผลมากเท่าที่ควรอีกทั้งเป็นวิธีที่อาจส่งผลดีในระยะยาว
ได้จากการที่ผู้ป่วยเรียนรู้ที่จะปรับจัดการ จัดระเบียบรูปแบบ
ความคิดและพฤติกรรมของพวกเขาเอง
การบำบัดแบบครอบครัว
เป็นวิธีการที่ให้ผู้ป่วยและสมาชิกในครอบครัวได้มาพูดคุยถึง
ความคิดความรู้สึก และปรึกษาหาทางออกของปัญหาที่เกิด
ขึ้นกับตัวผู้ป่วยที่ส่งผลกระทบกับสมาชิกคนอื่น ๆ ในครอบครัว
ไปด้วย ช่วยทำให้ญาติจัดการกับปัญหาของผู้ป่วยได้ดีขึ้น มี
ความรู้สึกเครียดกับความเจ็บป่วยของผู้ป่วยน้อยลง โดยขั้นตอน
ทั้งหมด
จะอยู่ภายใต้การดูแลของนักบำบัดเช่นกัน วิธีการนี้มักเกิด
ประสิทธิผลที่ดีทั้งต่อตัวผู้ป่วยและบุคคลในครอบครัวในระยะ
ยาวด้วย เพราะนำไปสู่การเกิดความรักความเข้าใจ และ
ความเห็นอกเห็นใจกันภายในครอบครัวมากยิ่งขึ้นการเข้าร่วม
กลุ่มช่วยเหลือตนเอง (SelfHelp Goups) นักบำบัดจะคอยดูแล
สนับสนุนให้ผู้ป่วยที่เคยมีอาการโรคจิตได้พูดคุยแบ่งปัน
37

พยาธิสภาพตามทฤษฎี พยาธิสภาพกรณีศึกษา

ประสบการณ์ซึ่งกันและกัน เนื่องจากการได้แลกเปลี่ยน
ประสบการณ์กับผู้ที่เคยเผชิญเหตุการณ์คล้าย ๆ กัน อาจช่วย
ส่งเสริมให้ผู้ป่วยเข้าถึงความรู้สึกของอีกฝ่าย และเข้าใจ
สถานการณ์ได้ดี จนเกิดประสิทธิผลที่ดีในการบำบัดรักษาตามมา
38

ส่วนที่ 6 กระบวนการพยาบาล และแผนการดูแลต่อเนื่อง


6.1 กระบวนการพยาบาลผู้ป่วยกรณีศึกษา
ลำดับที่ ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล วันที่ประเมินได้ วันที่ปัญหาหมดไป หมายเหตุ
เสี่ยงต่อการหนีออกจากโรงพยาบาล (Escape) เนื่องจากผู้ป่วยไม่ยอมรับ
1 สภาวะการเจ็บป่วยที่เป็นจริง 20/09/2565 -

2 เสี่ยงต่อภาวะพร่องออกซิเจนเนื่องจากซีดจากจำนวนเม็ดเลือดแดงลดลง 21/09/2565 -
เสี่ยงต่อการเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากผลข้างเคียงของการใช้ยา
3 21/09/2565 -

เสี่ยงต่อการใช้สารเสพติดซ้ำเนื่องจากมีการตัดสินใจที่ไม่เหมาะสม
4 22/09/2565 -
39

ปัญหาและข้อมูล วัตถุประสงค์และ กิจกรรมการพยาบาล/เหตุผลทางการพยาบาล ประเมินผล


สนับสนุน เกณฑ์การประเมิน
ข้อวินิจฉัยที่ 1 วัตถุประสงค์ 1.ประเมินระดับความวิตกกังวล โดยใช้แบบประเมินหลบหนี 20/09/2565
เสี่ยงต่อการหนีออก เข้าใจและยอมรับเหตุผล (Escape) และสังเกตอาการของผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง เช่น 1.ผู้ป่วยไม่หนีออกจากโรงพยาบาล
จากโรงพยาบาล ของการรักษา อาการซึมเศร้า ร้องไห้ แยกตัว ไปพูดคุยกับผู้อื่น เพื่อติดตาม2.ผู้ป่วยไม่จ้องมองประตูทางเข้า-ออก ทุก
(Escape) เนื่องจาก ประเมินความรู้สึกอยากกลับบ้านและทำเครื่องหมายการเฝ้า ครั้งที่มีการเปิดประตู
ผู้ป่วยไม่ยอมรับ ระวัง SAVE-E 3.ผู้ป่วยไม่มีพฤติกรรมชอบยืนเฝ้าอยู่ติด
เกณฑ์การประเมิน
สภาวะการเจ็บป่วยที่ กับประตู
1.ผู้ป่วยไม่หนีออกจาก 2.สร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัด เพื่อให้ผู้ป่วยไว้วางใจและ 4.ผู้ป่วยบ่นอยากกลับบ้านเหมือนเดิม
เป็นจริง
โรงพยาบาล คุ้นเคย 5.ผู้ป่วยยินยอมปฏิบัติตัวตามแผนการ
2.ผู้ป่วยไม่จ้องมองประตู
รักษาของแพทย์
ทางเข้า-ออก ทุกครั้งที่มีการ 3.เปิดโอกาสหรือกระตุ้นให้ผู้ป่วยพูดระบายความรู้สึกระบาย
ข้อมูลสนับสนุน 21/09/2565
เปิดประตู ความวิตกกังวล ด้วยท่าที่เป็นมิตร และเข้าใจผู้ป่วย
SD: ผู้ป่วยให้ประวัติ 1.ผู้ป่วยไม่หนีออกจากโรงพยาบาลโดย
3.ผู้ป่วยไม่มีพฤติกรรมชอบ 4.ให้ข้อมูลและเหตุผลของการรักษาแก่ผู้ป่วย เพื่อให้เกิด
ว่า”ทำไมผมต้องมาที่นี่ ไม่ได้รับอนุญาต
ยืนเฝ้าอยู่ติดกับประตู
ด้วย ผมไม่ได้อยากมา ความรู้ความเข้าใจในการรักษาตัวในโรงพยาบาล 2.ผู้ป่วยไม่จ้องมองประตูทางเข้า-ออก ทุก
4.ผู้ป่วยบ่นอยากกลับบ้าน
ที่นี่ ผมไม่ได้เป็นบ้า ครั้งที่มีการเปิดประตู
ลดลง 4. ผู้ป่วยมีความเสี่ยงหลบหนี ประเภท E1 สามารถพาออกไป
ทำไมผมต้องมาอยู่ที่นี่ 3.ผู้ป่วยไม่มีพฤติกรรมชอบยืนเฝ้าอยู่ติด
5.ผู้ป่วยยินยอมปฏิบัติตัว ทำกิจกรรมนอกหอผู้ป่วยได้ โดยจัดจับคู่ Buddy กับผู้ป่วยที่
ด้วย อยากกลับบ้าน กับประตู
ตามแผนการรักษาของ ไม่มีความเสี่ยงหลบหนี ประเภท E2 ออกไปทำกิจกรรมนอก
ผมมีธุระที่ต้องทำที่ 4.ผู้ป่วยบ่นอยากกลับบ้านเหมือนเดิม
แพทย์
บ้านเยอะแยะเลย
40

ปัญหาและข้อมูล วัตถุประสงค์และ กิจกรรมการพยาบาล/เหตุผลทางการพยาบาล ประเมินผล


สนับสนุน เกณฑ์การประเมิน
เมื่อไหร่จะได้ออกจาก หอผู้ป่วยได้ โดยมีเจ้าหน้าที่ดูแลควบคุมใกล้ชิดและประเภท 5.ผู้ป่วยยินยอมปฏิบัติตัวตามแผนการ
ที่นี่สักที ต้องอยู่นาน E3 ให้ทำกิจกรรมในหอผู้ป่วย และเฝ้าระวังใกล้ชิด รักษาของแพทย์
สักแค่ไหนมีเบอร์
5. ตรวจเช็คและเฝ้าระวังผู้ป่วยตามระยะเวลาและบันทึกใน
ติดต่อหมอไหม ถาม 22/09/2565
แบบบันทึกการเฝ้าระวัง SAVE
หมอให้หน่อยว่าจะได้ 1.ผู้ป่วยไม่หนีออกจากโรงพยาบาลโดย
กลับตอนไหน” 6. ส่งต่อข้อมูลผู้ป่วยที่ต้องเฝ้าระวังหลบหนีทุกวันทุกเวร ไม่ได้รับอนุญาต
OD:-มีท่าทางจริงจัง 2.ผู้ป่วยไม่จ้องมองประตูทางเข้า-ออก ทุก
7. ให้ข้อมูลการเจ็บป่วย การรักษา ระยะเวลาบำบัด ถ้าผู้ป่วย
ขณะบอกว่าตนเอง ครั้งที่มีการเปิดประตู
ปฏิเสธให้ใช้หลักการเจรจาต่อรองและให้กำลังใจ ระหว่าง
อยากกลับบ้าน 3.ผู้ป่วยไม่มีพฤติกรรมชอบยืนเฝ้าอยู่ติด
-ผู้ป่วยมีสีหน้าผิดหวัง บำบัดในโรงพยาบาลเป็นระยะๆ กับประตู
เมื่อทราบว่าไม่ได้กลับ 8. ก่อนเปิดประตูเข้าไปทำกิจกรรมการพยาบาลให้ผู้ป่วยไปนั่ง 4.ผู้ป่วยบ่นอยากกลับบ้านเหมือนเดิม
บ้าน ประจำที่เตียงทุกคนหรือให้อยู่ห่างจากประตูเข้า-ออก 5.ผู้ป่วยยินยอมปฏิบัติตัวตามแผนการ
-บ่นว่าทำไมต้องมาอยู่ รักษาของแพทย์
ที่นี่ เหมือนคุก รู้สึกอึด 9. ก่อนพาผู้ป่วยออกมาทำกิจกรรมนอกตึก พยาบาลและผู้ 23/09/2565
อัด ช่วยเหลือคนใช้ร่วมกันประเมินผู้ป่วยก่อนทุกครั้ง กรณีผู้ป่วย 1.ผู้ป่วยไม่หนีออกจากโรงพยาบาลโดย
-ชอบมาส่องที่กระจก ที่อนุญาตให้ออกไปทำกิจกรรมข้างนอกตึก ให้บอกเหตุผลว่า ไม่ได้รับอนุญาต
พอมีคนสนใจก็จะพูด ผู้ป่วยที่อนุญาตให้ออกไปทำกิจกรรมนอกตึกเพราะผู้ป่วยมี 2.ผู้ป่วยไม่จ้องมองประตูทางเข้า-ออก ทุก
ว่าอยากกลับบ้าน ครั้งที่มีการเปิดประตู
แบบประเมินหลบหนี
41

ปัญหาและข้อมูล วัตถุประสงค์และ กิจกรรมการพยาบาล/เหตุผลทางการพยาบาล ประเมินผล


สนับสนุน เกณฑ์การประเมิน
Escape = 4 คะแนน พฤติกรรมที่ดี อาการทางจิตทุเลา เป็นการเตรียมความพร้อม 3.ผู้ป่วยไม่มีพฤติกรรมชอบยืนเฝ้าอยู่ติด
ที่จะให้กลับบ้าน กับประตู
4.ผู้ป่วยบ่นอยากกลับบ้านเหมือนเดิม
10.เป็นแบบอย่างของผู้ป่วยที่มีพฤติกรรมดี เพื่อให้ผู้ป่วยเกิด
5.ผู้ป่วยยินยอมปฏิบัติตัวตามแผนการ
ความภาคภูมิใจ และละอายที่จะทำผิด
รักษาของแพทย์
11. จัดผู้ป่วย Buddy เพื่อนช่วยเพื่อน ให้ผู้ป่วยที่ดีดูแลผู้ป่วย
ที่เสี่ยง ลักษณะฝากดูแลและเสริมสร้างสัมพันธภาพเพื่อลด 26/09/2565
อาการอยากกลับบ้าน 1.ผู้ป่วยไม่หนีออกจากโรงพยาบาลโดย
ไม่ได้รับอนุญาต
12. ก่อนพาผู้ป่วยออกมาทำกิจกรรมในห้องกลุ่มกิจกรรม 2.ผู้ป่วยไม่จ้องมองประตูทางเข้า-ออก ทุก
หรือรับประทานอาหารที่มีทางเข้าออกหลายทางให้ปิดล็อค ครั้งที่มีการเปิดประตู
ประตู ที่ผู้ป่วยสามารถใช้หลบหนีได้ ให้มีประตูเข้าออกทาง 3.ผู้ป่วยไม่มีพฤติกรรมชอบยืนเฝ้าอยู่ติด
เดียวเพื่อง่ายต่อการเฝ้าระวัง กับประตู
4.ผู้ป่วยบ่นอยากกลับบ้านเหมือนเดิม
13. เมื่อผู้ป่วยออกไปทำกิจกรรมนอกห้องพัก เจ้าหน้าที่ต้อง
5.ผู้ป่วยยินยอมปฏิบัติตัวตามแผนการ
คอยดูแล ตรวจนับผู้ป่วยอยู่ดลอดเป็นระยะๆและให้กำลังใจ
รักษาของแพทย์
ไม่ปล่อยผู้ป่วยอยู่ตามลำพัง
27/09/2565
14. ตรวจนับผู้ป่วยทุกครั้งก่อนรับ-ส่งเวร และทุก 2-4ชั่วโมง 1.ผู้ป่วยไม่หนีออกจากโรงพยาบาลโดย
ขึ้นอยู่กับอาการและปัจจัยเสี่ยงในการหลบหนี ไม่ได้รับอนุญาต
42

ปัญหาและข้อมูล วัตถุประสงค์และ กิจกรรมการพยาบาล/เหตุผลทางการพยาบาล ประเมินผล


สนับสนุน เกณฑ์การประเมิน
2.ผู้ป่วยไม่จ้องมองประตูทางเข้า-ออก ทุก
ครัง้ ที่มีการเปิดประตู
3.ผู้ป่วยไม่มีพฤติกรรมชอบยืนเฝ้าอยู่ติด
กับประตู
4.ผู้ป่วยบ่นอยากกลับบ้านเหมือนเดิม
5.ผู้ป่วยยินยอมปฏิบัติตัวตามแผนการ
รักษาของแพทย์

28/09/2565
1.ผู้ป่วยไม่หนีออกจากโรงพยาบาลโดย
ไม่ได้รับอนุญาต
2.ผู้ป่วยไม่จ้องมองประตูทางเข้า-ออก ทุก
ครั้งที่มีการเปิดประตู
3.ผู้ป่วยไม่มีพฤติกรรมชอบยืนเฝ้าอยู่ติด
กับประตู
4.ผู้ป่วยบ่นอยากกลับบ้านเหมือนเดิม
5.ผู้ป่วยยินยอมปฏิบัติตัวตามแผนการ
รักษาของแพทย์
29/09/2565
43

ปัญหาและข้อมูล วัตถุประสงค์และ กิจกรรมการพยาบาล/เหตุผลทางการพยาบาล ประเมินผล


สนับสนุน เกณฑ์การประเมิน
1.ผู้ป่วยไม่หนีออกจากโรงพยาบาลโดย
ไม่ได้รับอนุญาต
2.ผู้ป่วยไม่จ้องมองประตูทางเข้า-ออก ทุก
ครั้งทีม่ ีการเปิดประตู
3.ผู้ป่วยไม่มีพฤติกรรมชอบยืนเฝ้าอยู่ติด
กับประตู
4.ผู้ป่วยบ่นอยากกลับบ้านเหมือนเดิม
5.ผู้ป่วยยินยอมปฏิบัติตัวตามแผนการ
รักษาของแพทย์
44

ปัญหาและข้อมูล วัตถุประสงค์และ กิจกรรมการพยาบาล/เหตุผลทางการพยาบาล ประเมินผล


สนับสนุน เกณฑ์การประเมิน
ข้อที่ 2 เสี่ยงต่อภาวะ วัตถุประสงค์ 1. .ประเมินภาวะพร่องออกซิเจนและประเมินอัตราการ 21/09/2565
พร่องออกซิเจน ได้รับออกซิเจนอย่าง หายใจ ชีพจรอาการ หายใจหอบ ชีพจรเร็วกระวนกระวาย 1. ไม่มี อาการเหนื่อยหอบ นอนราบได้
เนื่องจากซีดจาก เพียงพอต่อความต้องการ กระสับกระส่าย หงุดหงิด ปวดศีรษะ สับสน ซึม อาจชัก หรือ 2.ไม่มีอาการและการแสดงของ ภาวะ
จำนวนเม็ดเลือดแดง ของร่างกาย หมดสติได้หากเป็นรุนแรงแสดงถึงภาวะพร่องออกซิเจน พร่องออกซิเจน เช่น ปลายมือปลายเท้า
ลดลง เขียว
เกณฑ์การประเมิน 2.ประเมินระบบไหลเวียนของเส้นโลหิตฝอย ที่บริเวณปลาย 3. Pale Conjunctiva
ข้อมูลสนับสนุน 1.ลักษณะการหายใจปกติ มือปลายเท้า โดยใช้นิ้วกดบริเวณปลายนิ้วมือ/นิ้วเท้าแล้ว 4. Capillary refill>2
SD:ผู้ป่วยบอกว่า ไม่มี อาการเหนื่อยหอบ ปล่อยทันที ถ้าระบบไหลเวียนไม่ดี บริเวณปลายนิ้วมือ/นิ้วเท้า 5.สัญญาณชีพอยู่ในเกณฑ์ปกติ
หายใจเหนื่อยบางครั้ง นอนราบได้ ที่ถูกกตจะยังคงขีด ขาวอยู่เป็นเวลานานกว่า 2 วินาที -อัตราการหายใจ 20 ครั้ง/นาที
OD:ผู้ป่วย สีหน้า 2.ไม่มีอาการและการแสดง (capillary refill > 2 วินาที)จัดท่านอนศีรษะสูงเพราะทำให้ - ไม่ได้ติดตามผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ
อ่อนเพลีย ซึม ของ ภาวะพร่องออกซิเจน กระบังลมเคลื่อนต่ำลง ปอดขยายตัวได้เต็มที่ 22/09/2565
กระสับกระส่าย เช่น ซีด ปลายมือปลายเท้า 1. ไม่มี อาการเหนื่อยหอบ นอนราบได้
3.ประเมินค่าความอิ่มตัวของออกซิเจนในเลือด และค่าก๊าซใน
RR 20 bpm เขียว 2.ไม่มีอาการและการแสดงของ ภาวะ
Capillary refill>2 3.อัตราการหารใจ 16-24 หลอดเลื อ ดแดง/หลอดเลื อ ดดำ/ หลอดเลื อ ดฝอย พร่องออกซิเจน เช่น ปลายมือปลายเท้า
Conjunctiva ซีด ครั้ง/นาที 4.จัดท่านอนให้ผู้ป่วยนอนศรีษะสูง เพื่อทำให้กระบังลม เขียว
O2 sat 98 4.เกณฑ์การประเมินของผล เคลื่อนต่ำลงไม่ไปดันปอด ทำให้ปอดขยายตัวได้ดีขึ้น การ 3. Pale Conjunctiva
U/D alcohol Liver ตรวจทางห้องปฏิบัติการอยู่ ระบายอากาศและการเปลี่ยนแปลงเป็นไปได้ดีขึ้น 4. Capillary refill>2
cirihosis โรคตับแข็ง ในเกณฑ์ปกติ 5.สัญญาณชีพอยู่ในเกณฑ์ปกติ
RBC=4.5.6.1 M/uL -อัตราการหายใจ 20 ครั้ง/นาที
45

ปัญหาและข้อมูล วัตถุประสงค์และ กิจกรรมการพยาบาล/เหตุผลทางการพยาบาล ประเมินผล


สนับสนุน เกณฑ์การประเมิน
เนื่องจากการดื่ม HCT=40.7-50.3 % 5.สอนให้ผู้ป่วยหายใจเข้าออกอย่ามีประสิทธิ์ภาพเพื่อให้ปอด - O2 sat 99
แอลกอฮอล์\ HGB=13.8-17.2 g/dl ขยายตัวได้ดี โดยฝึกควบคุมลมหายใจเข้า-ออก โดยสูดลม - ไม่ได้ติดตามผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ
หายใจเข้าทางจมูก และเป่าออกทางปาก สลับกันช้าๆ 23/09/2565
ห้องปฏิบัติการ 1. ไม่มี อาการเหนื่อยหอบ นอนราบได้
6.แนะนำการส่งเสริมเรื่องอาหารเช่น การรับประทานอาหาร
RBC=3.72M/uL 2.ไม่มีอาการและการแสดงของ ภาวะ
HCT=24.2% ตับเพื่อส่งเสริมธาตุเหล็กช่วยในการสร้างเม็ดเลือดแดงได้แก่ พร่องออกซิเจน เช่น ปลายมือปลายเท้า
HGB=6.7 g/dl เนื้อไก่, เนื้อไก่ดำ, เนื้อวัว, เครื่องในสัตว์, ผักใบเขียว และไข่ไก่ เขียว
เพื่อที่จะช่วยในการสร้างฮีโมโกบิน ซึ่งเป็นส่วนประกอบ 3. Pale Conjunctiva
สำคัญในเซลล์เม็ดเลือดแดง ทำหน้าที่สำคัญเพื่อในเซลล์เม็ด 4. Capillary refill>2
แดงสามารถนำพาออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงในร่างกายได้ 5.สัญญาณชีพอยู่ในเกณฑ์ปกติ
-อัตราการหายใจ 20 ครั้ง/นาที
7.ดูแลการรับประทานยาให้ตามแผนการรักษาของแพทย์
- O2 sat 97
Ferrous fumarate 200 mg รับประทานครั้งละ 1 เม็ด วัน
-ไม่ได้ติดตามผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ละ 3 ครั้ง หลังอาหาร เช้า เที่ยง เย็น เป็นยาประเภทธาตุ 26/09/2565
เหล็ก รับประทานเพื่อเสริมธาตุเหล็กในรายที่มีภาวะโลหิตจาง 1. ไม่มี อาการเหนื่อยหอบ นอนราบได้
จากการขาดธาตุเหล็ก 2.ไม่มีอาการและการแสดงของ ภาวะ
8.ติดตามผลห้องทางปฏิบัติการ พร่องออกซิเจน เช่น ปลายมือปลายเท้า
เขียว
3. Pale Conjunctiva
46

ปัญหาและข้อมูล วัตถุประสงค์และ กิจกรรมการพยาบาล/เหตุผลทางการพยาบาล ประเมินผล


สนับสนุน เกณฑ์การประเมิน
4. Capillary refill>2
5.สัญญาณชีพอยู่ในเกณฑ์ปกติ
-อัตราการหายใจ 20 ครั้ง/นาที
- O2 sat 98
- ไม่ได้ติดตามผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ
27/09/2565
1. ไม่มี อาการเหนื่อยหอบ นอนราบได้
2.ไม่มีอาการและการแสดงของ ภาวะ
พร่องออกซิเจน เช่น ปลายมือปลายเท้า
เขียว
3. Pale Conjunctiva
4. Capillary refill>2
5.สัญญาณชีพอยู่ในเกณฑ์ปกติ
-อัตราการหายใจ 20 ครั้ง/นาที
- O2 sat 98
- ไม่ได้ติดตามผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ
28/09/2565
1. ไม่มี อาการเหนื่อยหอบ นอนราบได้
47

ปัญหาและข้อมูล วัตถุประสงค์และ กิจกรรมการพยาบาล/เหตุผลทางการพยาบาล ประเมินผล


สนับสนุน เกณฑ์การประเมิน
2.ไม่มีอาการและการแสดงของ ภาวะ
พร่องออกซิเจน เช่น ปลายมือปลายเท้า
เขียว
3. Pale Conjunctiva
4. Capillary refill>2
5.สัญญาณชีพอยู่ในเกณฑ์ปกติ
-อัตราการหายใจ 20 ครั้ง/นาที
- O2 sat 98
- ไม่ได้ติดตามผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ

29/09/2565
1. ไม่มี อาการเหนื่อยหอบ นอนราบได้
2.ไม่มีอาการและการแสดงของ ภาวะ
พร่องออกซิเจน เช่น ปลายมือปลายเท้า
เขียว
3. Pale Conjunctiva
4. Capillary refill>2
5.สัญญาณชีพอยู่ในเกณฑ์ปกติ
48

ปัญหาและข้อมูล วัตถุประสงค์และ กิจกรรมการพยาบาล/เหตุผลทางการพยาบาล ประเมินผล


สนับสนุน เกณฑ์การประเมิน
-อัตราการหายใจ 20 ครั้ง/นาที
- O2 sat 98
- ไม่ได้ติดตามผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ
49

ปัญหาและข้อมูล วัตถุประสงค์และ กิจกรรมการพยาบาล/เหตุผลทางการพยาบาล ประเมินผล


สนับสนุน เกณฑ์การประเมิน
ปัญหาที่ 3 วัตถุประสงค์ 1. ดูแลให้ผู้ป่วยได้รับยาตามแผนการรักษาพร้อมสังเกต 22/09/2565
เสี่ยงต่อการเกิดอาการ ผู้ป่วยปลอดภัยจากการใช้ ผลข้างเคียง หรืออาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา 1. ผู้ป่วยมีภาวะแทรกซ้อนจากการใช้ยา
ไม่พึงประสงค์จาก ยา 1.1 Haloperidol อาการข้างเคียง ลมพิษ ผื่น หายใจลำบาก แต่ไม่เป็นอันตราย คือ ผู้ป่วยมีอาการ
ผลข้างเคียงของการใช้ แน่นหน้าอก ปากบวม ริมฝีปากบวม หน้าหรือลิ้นบวม การ อ่อนเพลียและง่วงนอน รวมถึงไม่เกิด
ยา เกณฑ์การประเมิน มองเห็นเปลี่ยนแปลงไป หรือเห็นภาพไม่ชัด เจ็บหน้าอก อุบัติเหตุจากผลข้างเคียงของยา โดยไม่พบ
1. ไม่เกิดอาการไม่พึง สับสน ปัสสาวะมีสีเข้ม ปัสสาวะน้อยลง หรือปัสสาวะลำบาก
รอยแผล หรือรอยฟกช้ำตามบริเวณ
ข้อมูลสนับสนุน ประสงค์หรืออันตรายต่อ เกิดภาวะขาดน้ำ กลืนหรือพูดลำบาก น้ำลายไหลย้อย
ร่างกาย
SD : ผู้ป่วยให้ประวัติ การใช้ยา 1.2 Artane อาการข้างเคียง ม่านตาขยาย สายตาพร่ามัว
ความดันภายในลูกตาเพิ่ม คลื่นไส้ อาเจียน ปากแห้ง ท้องผูก 2. ผู้ป่วยปลอดภัยจากการใช้ยา
ว่า “ผมว่าผมกินยา 2.ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อน
แล้วรู้สึก ง่วงมากเลย จากผลข้างเคียงของการใช้ เกิดอาการทางประสารท ชาตามปลายแขน ขา เมื่อยชา เกิด 23/09/2565
ภาพหลอน ง่วงซึม ตื่นเต้น ผู้ป่วยที่ได้รับยาในขนาดสูงหรือไว
เหมือนไม่มีแรง ยา 1. ผู้ป่วยมีภาวะแทรกซ้อนจากการใช้ยา
ต่อยา จะเกิดอาการตื่นเต้น สับสน อ่อนเพลีย และ ไม่
3.ผู้ป่วยปลอดภัยจากการใช้ สามารถเคลื่อนไหวได้ ถ้าผู้ป่วยมีอาการรุนแรงมาก แต่ไม่เป็นอันตราย คือ ผู้ป่วยมีอาการ
OD : ยาที่ผู้ป่วยได้รับ ยา 1.3 Clonazepam อาการข้างเคียง ง่วงซึม มึนงง เวียน อ่อนเพลียและง่วงนอน รวมถึงไม่เกิด
ขณะรักษาฟื้นฟูใน ศีรษะ มีน้ำลายออกมาก ปวดข้อ ปัสสาวะบ่อย การมองเห็น อุบัติเหตุจากผลข้างเคียงของยา โดยไม่พบ
โรงพยาบาลหนองคาย เปลี่ยนแปลงไป มีอาการแพ้ เช่น ลมพิษ ผื่นคัน ใบหน้าบวม รอยแผล หรือรอยฟกช้ำตามบริเวณ
คือ ริมฝีปากบวม ลิ้นบวมหรือคอบวม ใจเต้นแรงหรือใจสั่นเสียง
ร่างกาย
1.Haloperidol 5 mg แหบ หายใจตื้น หายใจไม่ออกหรือกลืนลำบาก
2. ผู้ป่วยปลอดภัยจากการใช้ยา
1 po pc. กระสับกระส่าย วิตกกังวล ตื่นตระหนก สับสนหงุดหงิด
กล้ามเนื้ออ่อนแรง กระตุกหรือเป็นตะคริว
50

ปัญหาและข้อมูล วัตถุประสงค์และ กิจกรรมการพยาบาล/เหตุผลทางการพยาบาล ประเมินผล


สนับสนุน เกณฑ์การประเมิน
2.Artane 5 mg 1x3 1.4 Chlorpromazine อาการข้างเคียง ให้วิงเวียนศีรษะ 26/09/2565
po pc. อย่างรุนแรง มีปัญหาในการหายใจ เกิดผื่นแดง คัน และมี 1. ผู้ป่วยมีภาวะแทรกซ้อนจากการใช้ยา
อาการบวมบริเวณใบหน้า คอ ลิ้น เจ็บหน้าอก มีความรู้สึก แต่ไม่เป็นอันตราย คือ ผู้ป่วยมีอาการ
3.Clonazepam 0.5
สับสน ความรู้สึกตัวลดลง หัวใจเต้นผิดปกติ เต้นเร็วหรือเต้น อ่อนเพลียและง่วงนอน รวมถึงไม่เกิด
mg 1x3 po pc.
ช้าลง กล้ามเนื้อบริเวณใบหน้า อุบัติเหตุจากผลข้างเคียงของยา โดยไม่พบ
4.Chlorpromazine คอ และหลังชักกระตุกชาตามแขนและขา กล้ามเนื้ออ่อนแรง
รอยแผล หรือรอยฟกช้ำตามบริเวณ
CPZ 100 mg. 1 x1 ควบคุมกล้ามเนื้อไม่ได้
ร่างกาย
po hs. 1.5 Midazolam อาการข้างเคียง ลมพิษ หายใจลำบาก
2. ผู้ป่วยปลอดภัยจากการใช้ยา
หน้าบวม ริมฝีปากบวม ลิ้นบวม คอบวม ผื่นคัน แน่นหน้าอก
5.Midazolam 15 หรือลำคอ หายใจเสียงดังหวีด มีปัญหาในการหายใจหรือการ 27/09/2565
mg. IM prn for พูด เสียงแหบ เวียนศีรษะอย่างรุนแรงหรือหมดสติ ปัญหาการ 1. ผู้ป่วยมีภาวะแทรกซ้อนจากการใช้ยา
agitation. หายใจ แต่ไม่เป็นอันตราย คือ ผู้ป่วยมีอาการ
6.Depakine 500mg 1.6 Depakine อาการข้างเคียง ง่วงซึม เหนื่อยล้า ปวด อ่อนเพลียและง่วงนอน รวมถึงไม่เกิด
ศีรษะ เวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ตาพร่า เห็นภาพซ้อน ได้ อุบัติเหตุจากผลข้างเคียงของยา โดยไม่พบ
3x1 po hs.
ยินเสียงวิ้งในหู อยากอาหารมากกว่าปกติ ภาวะตัวเย็นเกิน
รอยแผล หรือรอยฟกช้ำตามบริเวณ
เห็นภาพหลอน
ร่างกาย
2. ให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วยเกี่ยวกับผลข้างเคียงของยาที่อาจจะ
2. ผู้ป่วยปลอดภัยจากการใช้ยา
เกิดขึ้น เพื่อให้ผู้ป่วยรู้จักสังเกตอาการของตนเองและแจ้งให้
พยาบาลทราบได้ทันทีที่มีความผิดปกติเกิดขึ้น
51

ปัญหาและข้อมูล วัตถุประสงค์และ กิจกรรมการพยาบาล/เหตุผลทางการพยาบาล ประเมินผล


สนับสนุน เกณฑ์การประเมิน
3. แนะนําการปฏิบัติตัวแก่ผู้ป่วย เช่น การระวังอุบัติเหตุ 28/09/2565
เพราะยา อาจจะทําให้ง่วง เวียนศีรษะ ตามัว มีอาการบวม 1. ผู้ป่วยมีภาวะแทรกซ้อนจากการใช้ยา
บริเวณใบหน้า นิ้วมือ รีบแจ้งเจ้าหน้าที่พยาบาล แต่ไม่เป็นอันตราย คือ ผู้ป่วยมีอาการ
4. สังเกตอาการเปลี่ยนแปลงขณะใช้ยารักษาอย่างต่อเนื่อง อ่อนเพลียและง่วงนอน รวมถึงไม่เกิด
5. หากผู้ป่วยมีอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา ควรรายงาน อุบัติเหตุจากผลข้างเคียงของยา โดยไม่พบ
แพทย์ ประสานงานกับเภสัชเพื่อร่วมประเมินให้หยุดการใช้ยา รอยแผล หรือรอยฟกช้ำตามบริเวณ
และร่วมวางแผนการปรับยาให้กับผู้ป่วย ร่างกาย
2. ผู้ป่วยปลอดภัยจากการใช้ยา
29/09/2565
1. ผู้ป่วยมีภาวะแทรกซ้อนจากการใช้ยา
แต่ไม่เป็นอันตราย คือ ผู้ป่วยมีอาการ
อ่อนเพลียและง่วงนอน รวมถึงไม่เกิด
อุบัติเหตุจากผลข้างเคียงของยา โดยไม่พบ
รอยแผล หรือรอยฟกช้ำตามบริเวณ
ร่างกาย
2. ผู้ป่วยปลอดภัยจากการใช้ยา
52

ปัญหาและข้อมูล วัตถุประสงค์และ กิจกรรมการพยาบาล/เหตุผลทางการพยาบาล ประเมินผล


สนับสนุน เกณฑ์การประเมิน
ข้อวินิจฉัยที่ 4 เสี่ยง วัตถุประสงค์ 1. สร้างสัมพันธภาพเพื่อการบำบัด โดยการแนะนำตัวและให้ 21/09/2565
ต่อการใช้สารเสพติด เพื่อให้ผู้รับบริการมีทักษะ ข้อมูลเกีย่ วกับการพยาบาลการดูแลผู้ป่วย 1.ผู้รับบริการสามารถบอกวิธีการ
ซ้ำเนื่องจากมีการ ปฎิเสธการใช้สารเสพติด ดังนี้ หลีกเลี่ยงการใช้สารเสพติดได้ คือรู้จัก
ตัดสินใจที่ไม่เหมาะสม 1.1 พูดคุยแนะนำตนเองทุกครั้งที่สนทนากับผู้ป่วย และ การปฎิเสธกลุ่มเพื่อน
เรียกชื่อผู้ป่วยให้ถูกต้องพูดคุยกับผู้ป่วยด้วยท่าทางเป็นมิตร 2.ผู้รับบริการจะมีการกลับไปใช้สารเสพ
ข้อมูลสนับสนุน เกณฑ์การประเมิน น้ำเสียงนุ่มนวล เพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความไว้วางใจ ติดอีกครั้ง เพราะหยุดเลิกไม่ได้
OD: เมื่อผู้รับบริการได้ 1.ผู้รับบริการสามารถบอก 1.2 กระตุ้นให้ผู้ป่วยได้พูดระบายความรู้สึกและความคับข้อง 3. ผู้ป่วยไม่มีความรู้ความเข้าใจในการ
ออกจากโรงพยาบาล วิธีการหลีกเลี่ยงการใช้สาร ใจ ดูแลตนเอง
ผู้รับบริการต้องไปอยู่ที่ เสพติดได้ 1.3 ยอมรับพฤติกรรมของผู้ป่วย ไม่ตำหนิหรือต่อต้านความ 4.ผู้ป่วยไม่มีความรู้ความเข้าใจในการดูแล
สถานสงเคราะห์ 2.ผู้รับบริการไม่มีการ คิดเห็นของผู้ป่วย ตนเองที่บ้าน
เนื่องจากญาติไม่รับ กลับไปใช้สารเสพติด 2. ประเมินการรับรู้การเจ็บป่วยทางจิตและทัศนคติเกี่ยวกับ 22/09/2565
ดูแลต่อได้ เมื่อเกิด 3. ผู้ป่วยมีความรู้ความ การกลับไปใช้สารเสพติดซ้ำและสามารถหยุดยั้งได้ทัน 1.ผู้รับบริการสามารถบอกวิธีการ
สภาวะเครียดกลัวกับ เข้าใจในการดูแลตนเอง หลีกเลี่ยงการใช้สารเสพติดได้ คือรู้จัก
4.การเผชิญปัญหาให้กับผู้ป่วย เพื่อรับมือกับปัญหาที่เกิดขึ้น
มาใช้สารเสพติดซ้ำ 4.ผู้ป่วยมีความรู้ความเข้าใจ การปฎิเสธกลุ่มเพื่อน
ในระยะแรกๆของการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม เช่น การเผชิญ
ในการดูแลตนเองที่บ้าน 2.ผู้รับบริการจะมีการกลับไปใช้สารเสพ
กับการเรียกร้องและความรู้สึกอยากยาเสพติด ติดอีกครั้ง เพราะหยุดเลิกไม่ได้
5.การเตรียมพร้อมของผู้ป่วยเมื่อเจอกับสถานการณ์ที่เป็น 3. ผู้ป่วยไม่มีความรู้ความเข้าใจในการ
ตัวกระตุ้น ข้อผิดหลาด ให้ข้อมูลแก่ผู้ป่วยในการหลีกเลี่ยง ดูแลตนเอง
53

ปัญหาและข้อมูล วัตถุประสงค์และ กิจกรรมการพยาบาล/เหตุผลทางการพยาบาล ประเมินผล


สนับสนุน เกณฑ์การประเมิน
สถานการณ์ความเสี่ยงทีเ่ ป็นไปได้และเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยฝึก 4.ผู้ป่วยไม่มีความรู้ความเข้าใจในการดูแล
ทักษะในการรับมือกับความท้าท้าย หรือกระบวนการ ตนเองที่บ้าน
เปลี่ยนแปลงนิสัยโดยสิ้นเชิง 23/09/2565
1.ผู้รับบริการสามารถบอกวิธีการ
6.พูดคุยกับผู้ป่วยถึงเหตุการณ์ ประสบการณ์ต่างๆ ที่ผ่านมาที่
หลีกเลี่ยงการใช้สารเสพติดได้ คือรู้จัก
เคยทำให้กลับไปใช้ยา และเรียนรู้การมีพฤติกรรมใหม่ที่ไม่ต้อง การปฎิเสธกลุ่มเพื่อน
ใช้ยาเสพติด 2.ผู้รับบริการจะมีการกลับไปใช้สารเสพ
7.ให้กำลังใจแก่ผู้ป่วยในช่วงนี้ที่หยุดใช้สารเสพติด เพื่อให้ ติดอีกครั้ง เพราะหยุดเลิกไม่ได้
เข้าใจและเห็นถึงผลสำเร็จที่เกิดจากความตั้งใจ 3. ผู้ป่วยไม่มีความรู้ความเข้าใจในการ
ดูแลตนเอง เพราะคิดว่าตนเองไม่ได้ป่วย
8.สอนทักษะต่าง ๆ ในการป้องกันการกลับไปใช้สารเสพติดซ้ำ 4.ผู้ป่วยไม่มีความรู้ความเข้าใจในการดูแล
เทคนิคการจัดการกับอารมณ์ ความเชื่อ ความคิดที่จะทำให้ ตนเองที่บ้าน เพราะคิดว่าตนเองไม่ได้ป่วย
กลับไปเสพยาช้ำ การปฏิเสธหากมีคนชักชวน 26/09/2565
1.ผู้รับบริการสามารถบอกวิธีการ
9.สนับสนุนให้ผู้ป่วยมีพฤติกรรมใหม่ที่ต่างจากการใช้สารเสพ
หลีกเลี่ยงการใช้สารเสพติดได้ คือรู้จัก
ติด เช่น การออกกำลังกาย การจัดตารางชีวิตประจำวันใหม่
การปฎิเสธกลุ่มเพื่อน
พักผ่อนให้เพียงพอ การมีกิจกรรมนันทนาการใหม่ ๆ ในชีวิต
2.ผู้รับบริการจะมีการกลับไปใช้สารเสพ
ติดอีกครั้ง เพราะหยุดเลิกไม่ได้
54

ปัญหาและข้อมูล วัตถุประสงค์และ กิจกรรมการพยาบาล/เหตุผลทางการพยาบาล ประเมินผล


สนับสนุน เกณฑ์การประเมิน
10.แนะนำหรือยกตัวอย่างคนที่เคยเลิกสารเสพติดได้สำเร็จ 3. ผู้ป่วยไม่มีความรู้ความเข้าใจในการ
เป็นตัวอย่าง เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยเกิดแรงผลักดันในการเลิก ดูแลตนเอง เพราะคิดว่าตนเองไม่ได้ป่วย
เสพสารเสพติด 4.ผู้ป่วยไม่มีความรู้ความเข้าใจในการดูแล
ตนเองที่บ้าน เพราะคิดว่าตนเองไม่ได้ป่วย
11.สนับสนุนให้ผู้ป่วยเรียนรู้โอกาสของการกลับไปใช้สารเสพ
27/09/2565
ติดซ้ำอาจเกิดขึ้นได้ 1.ผู้รับบริการสามารถบอกวิธีการ
-เข้าใจชีวิต คือ ยอมรับสภาพความเป็นจริงของชีวิต และ หลีกเลี่ยงการใช้สารเสพติดได้ คือรู้จัก
พร้อมที่จะปรับเปลี่ยนเท่าที่ทำได้เพื่อให้ชีวิตดีขึ้น ไม่ท้อถอย การปฎิเสธกลุ่มเพื่อน
2.ผู้รับบริการจะมีการกลับไปใช้สารเสพ
-ภูมิใจในตัวเอง โดยชื่นชมและสร้างความเชื่อมั่น สร้าง ติดอีกครั้ง เพราะหยุดเลิกไม่ได้
กำลังใจให้ตนเอง มองตนเองว่า มีคุณค่า มีความสามารถ มี 3. ผู้ป่วยไม่มีความรู้ความเข้าใจในการ
ศักดิ์ศรีและภาคภูมิใจในตนเอง ดูแลตนเอง เพราะคิดว่าตนเองไม่ได้ป่วย
-คิดบวก หรือควรมองโลกในแง่ดี คิดทางบวกเป็นความคิดที่ 4.ผู้ป่วยไม่มีความรู้ความเข้าใจในการดูแล
ตนเองที่บ้าน เพราะคิดว่าตนเองไม่ได้ป่วย
นำความสุขมาสู่ตน
28/09/2565
1.ผู้รับบริการสามารถบอกวิธีการ
หลีกเลี่ยงการใช้สารเสพติดได้ คือรู้จัก
การปฎิเสธกลุ่มเพื่อน
55

ปัญหาและข้อมูล วัตถุประสงค์และ กิจกรรมการพยาบาล/เหตุผลทางการพยาบาล ประเมินผล


สนับสนุน เกณฑ์การประเมิน
2.ผู้รับบริการจะมีการกลับไปใช้สารเสพ
ติดอีกครั้ง เพราะหยุดเลิกไม่ได้
3. ผู้ป่วยไม่มีความรู้ความเข้าใจในการ
ดูแลตนเอง เพราะคิดว่าตนเองไม่ได้ป่วย
4.ผู้ป่วยไม่มีความรู้ความเข้าใจในการดูแล
ตนเองที่บ้าน เพราะคิดว่าตนเองไม่ได้ป่วย
29/09/2565
1.ผู้รับบริการสามารถบอกวิธีการ
หลีกเลี่ยงการใช้สารเสพติดได้ คือรู้จัก
การปฎิเสธกลุ่มเพื่อน
2.ผู้รับบริการจะมีการกลับไปใช้สารเสพ
ติดอีกครั้ง เพราะหยุดเลิกไม่ได้
3. ผู้ป่วยไม่มีความรู้ความเข้าใจในการ
ดูแลตนเอง เพราะคิดว่าตนเองไม่ได้ป่วย
4.ผู้ป่วยไม่มีความรู้ความเข้าใจในการดูแล
ตนเองที่บ้าน เพราะคิดว่าตนเองไม่ได้ป่วย
56

6.2 การวางแผนการดูแลต่อเนื่องสำหรับกรณีศึกษา

การวางแผนให้คำแนะนำผู้ป่วยก่อนจำหน่ายและการส่งต่อโดยใช้หลัก D-M-E-T-H-O-D
D (Disease/Diagnosis)
1.อธิบายให้ผู้ป่วยเข้าใจถึงโรคจิตเภท สาเหตุ อาการและอาการแสดงของการเจ็บป่วย หากมีการปฏิบัติตัวที่
เหมาะสมตามคำแนะนำ จะทำให้ผู้ป่วยอาการดีขึ้น และหายจากโรคที่เป็นในที่สุด
2.แนะนำการสังกตอาการผิดปกติที่บ่งบอกถึงการกลับเป็นซ้ำ เช่น หงุดหงิด นอนไม่หลับ ควรรีบบอกให้ญาติ
ทราบ และมาพบแพทย์ก่อนนัด
M (Medication)ให้ความรู้เรื่องยาที่ได้รับโดยเฝ้าระวังยาทางจิตเวชที่มีอาการข้างเคียงของยารวมถึงการ
จัดการเมื่อเกิดอาการข้างเคียง การรับประทานยาต่อเนื่องแก่ผู้ป่วย
1.เมื่อกลับบ้านจำเป็นต้องรับประทานยาต่อไป เพื่อควบคุมอาการทางจิตไม่ให้กลับเป็นซ้ำและไม่ควรหยุด
รับประทานยาเอง เพราะถ้าหยุดรับประทานยาอาจทำให้มีอาการทางจิตกลับซ้ำได้ 2.แนะนำผู้ป่วยให้ทราบถึง
ตัวยา ขนาดยา และเวลารับประทานยาให้ถูกต้อง
3.แนะนำผู้ป่วยเกี่ยวกับอาการข้างเคียงของยาที่อาจเกิดขึ้นได้ และอธิบายถึงวิธีการป้องกันและแก้ไขเมื่อมี
อาการข้างเคียงของยา เช่น ท้องผูก ปากแห้ง คอแห้ง นอกจากนี้แนะนำให้ออกกำลังกาย ถ้ามีอาการวิงเวียน
ศีรษะให้เปลี่ยนท่าช้าๆ ให้มาตรวจตามนัดเพื่อรับการตรวจรักษาตามแผนการรักษาของแพทย์
4. แนะนำเรื่องการงดยาเสพติด เบียร์ บุหรี่ กาแฟ เพราะมีผลให้อาการกำเริบ ถึงแม้จะรับการรักษาด้วยยา
5.รับประทานยาแล้วมีอาการนอนไม่หลับ หงุดหงิด หรือมีอาการกำเริบ ไม่เพิ่มยาเอง หรือง่วงนอนมาก รู้สึกไม่
สบาย ไม่ลดยาหรือหยุดยาเอง ให้มาพบแพทย์เพื่อปรับการรักษา
E (Environment / Economic)
1.แนะนำให้ผู้ป่วยดูแลความสะอาดที่บ้านให้สะอาดและหน้าอยู่ ปลอดภัย อบอุ่นและน่าอยู่อาศัย
2.แนะนำปรับสภาพแวดล้อมที่เป็นบุคคล ครอบครัว และสังคมให้อบอุ่น เป็นมิตร ยอมรับในตัวผู้ป่วย ไม่
แสดงท่าทีรังเกียจผู้ป่วย รวมทั้งเปิดโอกาสการเข้าร่วมกิจกรรมในครอบครัวและสังคม เพื่อป้องกันภาวะเครียด
และภาวะถดถอยของผู้ป่วยทางด้านสังคม
3.หลีกเสี่ยงการไปสถานที่ ที่เสี่ยงต่อการใช้สารเสพติด สถานที่เสพยากับเพื่อนฝูง ให้ใช้ทักษะการหยุดความคิด
และทักษะการปฏิเสธเมื่อถูกชักชวนให้มีสติไตร่ครอง เมื่อรู้สึกอยากเสพสารเสพติด
4. แนะนำเรื่องสิทธิในการรักษา การทำบัตรประกันสุขภาพด้วนหน้า เพื่อช่วยลคค่าใช้จ่ายในการักษาพยาบาล
5. แนะนำการใช้จ่าขอย่างประหยัด การหารายได้เสริม เช่นปลูกพืชผักสวนครัวบริเวณรอบบ้าน ที่สามารถทำ
ได้และการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
T (Treatment)
1. บอกเป้าหมายในการรักษา เป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายได้แต่ต้องใช้ระยะเวลา เป้าหมายคือให้ใช้สารเสพ
ติด 4 เดือน และไม่กลับมารักษาช้ำภายใน 28 วัน การรักษา มีการรับประทานยา / ฉีดยา / หรือทั้ง 2 อย่าง
57

2. ถ้ามีอาการผิดปกติ เช่น หงุดหงิด หูแว่ว ภาพหลอน ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ พยายามทำร้ายตนเอง หรือทำ


ร้านคนอื่น ใช้สารเสพติดซ้ำ
นอนไม่หลับ ฯลฯ ควรปฏิบัติคังนี้
-รับประทานยาต่อ
- บอกญาติเพื่อให้พาไปรักษายังสถานพยาบาลใกล้บ้าน หรือมาพบแพทย์ก่อนกำหนดนัดในวันเวลา
ราชการ และบอกอาการให้แพทย์ทราบ
H (Health)
1. แนะนำการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน การออกกำลังกาย คารดูแลความสะอาดร่างกาย การนอนหลับพักผ่อน
2. แนะนำวิธีคลายเครียดที่เหมาะสม ถ้ารู้สึกไม่สบายใจให้ปรึกษาญาติหรือคนที่ไว้วางใจหรือศูนย์ Hot line
หมายเลขโทรศัพท์ 1323 ตลอด 24 ชั่วโมง
3. ถ้าเจ็บป่วยทางกายให้รีบปรึกษาเข้าหน้าที่สาธารณสุขที่สถานบริการใกล้บ้านและนำยาที่
ได้รับจากโรงพยาบาลจิตเวชไปด้วยทุกครั้ง
4.แนะนำการปฏิบัติตัวเรื่องการมีเพศสัมพันธ์กับผู้อื่นเป็นการแพร่กระจายเชื้อโรคติดต่อของตนเอง
O (Outpatient Referal)
1.นำผู้ป่วยมาพบแพทย์ตามนัดครั้งต่อไป ในวันเวลาราชการ เพื่อแพทย์จะได้ตรวจและปรับการ
รักษาที่เหมาะสม
2. ถ้าต้องการไปรักษาที่โรงพยาบาลชุมชนใกล้บ้าน ให้แจ้งแพทย์เมื่อมารับยาครั้งต่อไป
3. เมื่อพบว่าผู้ป่วยมีอาการกำเริบไม่สามารถมาพบแพทย์ได้ด้วยตัวเอง ให้ไปขอความช่วยเหลือ
จากผู้นำชุมชน สถานีอานามัยใกล้บ้าน โรงพยาบาลชุมชนสถานีตำรวจ เพื่อช่วยนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาล
4. เอกสารบัตรทองที่ต้องนำมาติดต่อโรงพยาบาลทุกครั้ง เช่น เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการใช้สิทธิบัตร บัตร
ประชาชน บัตรประจำตัวคนไข้ บัตรนัครับยา หรือหนังสือส่งตัว
5. ให้ข้อมูลกับผู้ป่วย และญาติว่าอาจจะมีบุคลากรสาธารณสุขรับผิดชอบในพื้นที่ของผู้ป่วยไปเยี่ยมบ้านโดย
ทางโรงพยาบาลจะส่งข้ออมูลการรักษาของผู้ป่วยไปในเขดพื้นที่ ที่อยู่ปัจจุบัน
6. ถามที่อยู่ปัจจุบันที่สมารถติดต่อได้ทุกครั้ง
D (Diet)
1. รับประทานอาหารที่ถูกสุขลักษณะ และมีประโยชน์
2. ดื่มน้ำสะอาด วันละ 6 - 8 แก้ว
3. งดการเข้าถึงแอลกอฮอล์หรือเครื่องดื่มชูกำลัง บุหรี่ และสารเสพติดทุกชนิด เพราะทำให้การ
รักษาไม่ได้ผล และมีโอกาสกลับไปติดแอลกอฮอล์ซ้ำ หรืออาการทางจิตกำเริบได้
4. แนะนำอาหารเฉพาะโรค ในรายที่มีโรคประจำตัว
58

ส่วนที่ 7 สรุปผลการศึกษาและข้อเสนอแนะ
ผู้ป่วยเพศชาย อายุ 35 ปี มาด้วยอาการผู้ป่วยทำร้ายข้าวของ พูดคนเดียว มีภาพหลอน หูแว่ว มี
ความคิดหลงผิดว่าตนโดนเล่นคุณไสย 1 ชั่วโมงก่อนมาโรงพยาบาล แพทย์วินิจฉัยโรค Amphetamine
psychosis disorderกลุ่มอาการทางจิตที่เกิดขึ้นการใช้สารแอมเฟตามีน ประวัติการใช้สารเสพติด
20 ปีก่อน เริ่มสูบบุหรี่ 10มวน/วัน ดื่มสุราขาว 1 ขวดใหญ่/สัปดาห์ เพราะเพื่อนชวนสูบ ดื่มสุรามา
เรื่อยๆ ประจำทุกวัน
5 ปีก่อน เริ่มใช้ยาบ้าและกัญชา ยาบ้าและกัญชาที่ได้มาจากเพื่อน พอลองเสพแล้วชอบกลิ่นของยาบ้า
คล้ายกลิ่นช็อคโกแลต เกิดอาการติดใจเลยเสพยาบ้ามาเรื่อยๆ เสพยาบ้าครั้งละ 1 เม็ด/ครั้ง เสพสัปดาห์ละ
5 ครั้ง และกัญชา ครั้งละ1 เขียง เสพสัปดาห์ละ 2 ครั้ง ไม่มีอาการทางจิต
1 เดือนก่อน ภาพหลอน หูแว่ว มีความคิดหลงผิดว่าตนโดนเล่นคุณไสย คิดว่ามีหนอนออกจาก
บาดแผลบริเวณตามร่างกาย บนอาหาร บนอุจจาระ และตามทั่วร่างกาย และยังมีการใช้สารเสพติดคือยาบ้า
เสพยาบ้าครั้งละ 1 เม็ด/ครั้ง เสพสัปดาห์ละ 3 ครั้ง คิดว่าตนเองไม่ได้เป็นอะไรจึงไม่ได้มารักษาที่โรงพยาบาล
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาลที่พบ คือ
1.เสี่ยงต่อการหนีออกจากโรงพยาบาล (Escape) เนื่องจากผู้ป่วยไม่ยอมรับสภาวะการเจ็บป่วยที่เป็นจริง
แก้ไขปัญหาไม่ได้
2.เสี่ยงต่อภาวะพร่องออกซิเจนเนื่องจากซีดจากจำนวนเม็ดเลือดแดงลดลง แก้ไขปัญหาไม่ได้
3.เสี่ยงต่อการเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากผลข้างเคียงของการใช้ยา แก้ไขปัญหาไม่ได้
4.เสี่ยงต่อการใช้สารเสพติดซ้ำเนื่องจากมีการตัดสินใจที่ไม่เหมาะสม แก้ไขปัญหาไม่ได้
ขณะอยู่ในโรงพยาบาลได้รักษาการรักษาด้วยยา
1.Haloperidol ยาสงบประสาทที่ใช้ในผู้ป่วยหูแว่ว และประสาทหลอนในโรคจิตเภทชนิดเฉียบพลันและเรื้อรัง
2.Artane ใช้รักษา extrapyramidal side effects; EPS จากการใช้ยาจิตเภท
3.Clonazepamทำให้มีผลลดอาการวิตกกังวล ทำให้ง่วงหลับ ต้านอาการชัก
4.Chlorpromazine รักษาความรู้สึก อาการประสาทหลอน อาการก้าวร้าว และอาการหลงผิด
5.Midazolam ยาระงับประสาท
6.Depakine ใช้รักษาความผิดปกติทางอารมณ์อย่างภาวะแมเนีย (Mania) ในผู้ป่วยโรคไบโพลาร์
7.Bromhexine ให้เสมหะมีความเหนียวลดลง การขับเสมหะออกทำได้ง่ายขึ้น
8.Dextromethorphan ระงับอาการไอที่เกิดขึ้นร่วมกับอาการคัดจมูกและจาม
9. ferrous fumarate เสริมธาตุเหล็ก ป้องกันการขาดธาตุเหล็ก
และรักษาด้วยการสนทนาบำบัดจากพยาบาลและนักศึกษาพยาบาล การสนทนาบำบัดเพื่อแก้ไป
ปัญหาข้างต้น ผู้ป่วยมีโอกาสกลับไปใช้ยาเสพติดสูงเนื่องจากผู้ป่วยขาดความตระหนักในโทษของสารเสพติด
ผู้ป่วยไม่มีการหลบหนีออกจากโรงพยาบาลแต่ก็จะถามเรื่องการกลับบ้านทุกวัน ผู้ป่วยไม่มีภาวะพร่อง
59

ออกซิเจนแต่มีภาวะ Pale Conjunctiva Capillary refill>2 เนื่องจากมีโรคประจำตัว alcohol Liver


cirihosis โรคตับแข็งเนื่องจากการดื่มแอลกอฮอล์ ผู้ป่วยเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากผลข้างเคียงของการใช้ยา
คือง่วงซึม
60

ส่วนที่ 8 เอกสารอ้างอิง
วาทินี สุขมาก. (2556).การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช2.(พิมพ์ครั้งที่ 2) สถานที่พิมพ์ : สำนักพิมพ์
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
มุกข์ดา ผดุงยาม.(2561).การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวชศาสตร์.(พิมพ์ครั้งที่ 2) สถานที่พิมพ์ :บริษัท นีโอ
ดิจิตอลจำกัด กรุงเทพมหานคร
ภัทราภรณ์ ทุ่งปันคำ.(2560). การพยาบาลผู้ที่เป็นโรคจิตเภท.(พิมพ์ครั้งที่ 1) สถานที่พิมพ์ :บริษัท สมาร์ท
โคตติ้ง แอนด์ เซอร์วิสจำกัด เชียงใหม่
เอกอุมา อิ้มคำ.(2551).การพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช:การประยุกต์ใช้กรณีเลือกสรร. (พิมพ์ครั้งที่ 1)
สถานที่พิมพ์ : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กรุงเทพมหานคร
ปราณี ทู้ไพเราะ.(2556).คู่มือยา.(พิมพ์ครั้งที่13).สถานที่พิมพ์ : N P Press Limited Partnership
กรุงเทพมหานคร

You might also like