Download as doc, pdf, or txt
Download as doc, pdf, or txt
You are on page 1of 13

วิพากษ์ธรรมชาติความดีใน คำพิพากษา

-----------------------------------------
แสวง แสนบุตร
บทนำ
จากวรรณกรรมซีไรท์อันโด่งดัง เรื่อง “คำพิพากษา” ของชาติ กอบจิตติ ที่ได้รับตีพิมพ์มากกว่า
35 ครั้ง แปลเป็นภาษาต่างประเทศถึง 6 ภาษา ถูกถ่ายทอดด้วยมุมมองใหม่ด้วยเรื่องราวความรักบริสุทธิ์
ที่เป็น...รักต้องห้าม ของลูกผู้ชายที่ชื่อ.. “ไอ้ฟัก”...
เมื่อ 30 ปี ก่อน ณ. หมู่บ้านเล็ก ๆ แห่งหนึ่ง ที่ซึ่งศาสนา ประเพณี และวิถีชีวิต ชาวบ้านผูกพัน
กันอย่างเหนียวแน่น ฟัก บวชเรียนตั้งแต่เล็กโดยตั้งใจว่าจะบวชตลอดชีวิต แต่เมื่อย่างเข้าวัยหนุ่มเขากับ
ต้องสึกออกมา เพราะพ่อของเขาเริ่มไม่แข็งแรง จากนั้นเขาเข้ารับการเกณฑ์ทหารจนปลดประจำการ มา
ถึงบ้านกลับพบ สมทรง หญิงสาวแปลกหน้าโดยบังเอิญและรู้สึกเหมือนรักแรกพบ
แล้วจู่ ๆ โชคชะตาก็เล่นตลกกับฟัก เมื่อพบว่าสมทรงเป็นหญิงสาวที่ไม่เต็มตึงและซ้ำร้ายเธอยัง
เป็นเมียพ่อของเขาอีก ไม่นาน ...พ่อก็มาตายจากไปทิ้งสมทรงให้เป็นถาระของไอ้ฟักที่ต้องดูแล การใช้
ชีวิตเพียงลำพังกับสมทรงฟักต้องต่อสู้อย่างหนักกับความต้องการทั้งร่ างกายและจิตใจของตัวเอง ชาว
บ้านเริ่มจับตามองพฤติกรรมของคนทั้งคู่ จนเชื่อว่าฟักกระทำผิดอย่างร้ ายกาจคือเอาเมียพ่อเป็ นเมีย ทั้ง
ๆ ที่เขาไม่เคยล่วงเกินใด ๆ เลย
พฤติกรรมแปลก ๆ ของสมทรงเช่น แก้ผ้าอาบน้ำไม่เป็นที่ ร้อนก็ถอดเสื้อกลางสวน โกรธก็เปิ ด
ผ้าถุงโชว์ ทำให้ชาวบ้านไม่พอใจ ขับไล่คนทั้งสองออกจากหมู่บ้าน เพราะคิดว่านำความเสื่อมเสียมาให้
ท่ามกลางกฎเกณฑ์ต่าง ๆ ของสังคม เส้นที่ขีดกั้นระหว่าง ดี ชั่ว หรือ ถูก ผิด ไม่มีใครเข้าใจ
ความรู้ สึกที่ฟักมีต่อสมทรง การอยากปกป้ องดูแลผู้หญิงที่ไม่เต็มตึงคนหนึ่ง กลายเป็ นความผิดด้วย
หรือ...? (ข้อความและเรื่องย่อจากปกหลังใบปิ ด วีดีโอ-ซีดี ชุดที่ผลิตโดย บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด(มหาชน)
2547)

จริยศาสตร์เป็ นวิชาที่ว่าด้วยความดี เป็ นคุณค่าที่เกิดจากความประพฤติของมนุษย์ การศึกษา


จริยศาสตร์นั้นเพื่อค้นหาคำตอบเกี่ยวกับประเด็นปัญหาสำคัญหลัก ๆ 3 ประการ คือ ความดีคืออะไร จะ
ใช้มาตรการอะไรมาตัดสินความประพฤตินั้นว่าเป็ นความประพฤติที่ดี และจะใช้ชีวิตอย่างไรถึงจะเป็ น
2

ชีวิตที่ประเสริฐที่สุด กล่าวได้ว่าปัญหาทางจริยศาสตร์เป็ นปัญหาความมีอยู่คุณค่าความดี ปัญหาเกณฑ์


มาตรฐานที่ใช้ตัดสินคุณค่าความดี และปัญหาอุดมคติของชีวิต ต่อประเด็นสำคัญทางจริยศาสตร์ดัง
กล่าว วรรณกรรมเลื่องชื่อรางวัลซีไรท์ของ ชาติ กอบจิตติ ที่ถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนต์ชุดล่าสุดในชื่อ “
ไอ้ฟัก” เมื่อปี 2547 นั้นเป็ นภาพยนต์ที่กล่าวได้ว่าท้าทายความคิดเรื่ องความดีกระแสหลักของ
สังคม(ไทย)เป็ นอย่างยิ่ง ด้วยลีลาการนำเสนอเรื่องที่หนักแน่น แฝงด้วยความรุนแรงของเหตุการณ์ใน
เรื่องที่สะเทือนอารมณ์ผู้ชมอย่างต่อเนื่องตลอดเรื่อง โน้มนำความคิดผู้ชมให้เห็นพร้องกับความคิดของผู้
แต่ง นำไปสู่การตัดสินที่มองกันว่าเป็ นความอยุติธรรมกับตัวเอกของเรื่องคือ “ฟัก” แต่นักวิจารณ์บาง
คนเห็นว่าเหยื่อของความอยุติธรรมมิใช่ฟักหากแต่เป็ นตัวละครที่ชื่อ “สมทรง” ผู้หญิงที่มีสติไม่สม
ประกอบต่างหาก เป็นเสน่ห์ของวรรณกรรมเรื่องนี้ที่ทำให้เกิดความหลากหลายของกระแสความคิดของ
นักวิจารณ์ตลอดระยะเวลา 25 ปี นับตั้งแต่ถูกตีพิมพ์ออกสู่บรรณภิภพ เผยแพร่เป็ นครั้งแรกในปลายปี
2524 จวบจนปัจจุบัน พิมพ์มากกว่า 40 ครั้ง
หากวิเคราะห์ในเชิงจริยศาสตร์แนวความคิดที่ ชาติ กอบจิตติ ผูกขึ้นและสื่อผ่านวรรณกรรมคำ
พิพากษาของเขานั้นเป็นสิ่งที่น่าพิจารณาเป็นอย่างยิ่ง บทความนี้จะนำทฤษฎีธรรมชาตินิยม (Naturalism)
ซึ่งเป็ นกลุ่มอภิจริยศาสตร์หรือกลุ่มที่ศึกษาภาษาจริยศาตร์เชิงลึกแบบหนึ่งที่ยึดหลักการพื้นฐานว่า เรา
สามารถนิยามข้อตัดสินเชิงคุณค่าด้วยข้อเท็จจริงซึ่งเป็นสิ่งธรรมชาติ และสามารถเข้าถึงความหมายของ
ถ้อยคำเชิงคุณค่าทั้งหลาย (ดี-เลว ถูก-ผิด ควร-ไม่ควร) ด้วยการนิยามแบบต่าง ๆ บางทีนักจริยศาสตร์
เรียกความคิดของธรรมชาตินิยมแบบนี้อีกชื่อหนึ่งว่า ลัทธินิยาม (Definitionism) เพราะยืนยันคุณค่าทาง
จริยธรรมจากการนิยามนั่นเอง มาวิเคราะห์คำพิพากษาให้เห็นเป็นลำดับ
ธรรมชาติของความดีในคำพิพากษา
การนิยามแบบแรก คือ การนิยามเชิงอัตชีวประวัติ เป็ นการนิยามที่ขึ้นอยู่กับตัวบุคคลเป็ นหลัก
คนแต่ละคนยอมรับหรือตัดสินสิ่งหนึ่งว่า ถูกผิด ดีชั่ว แตกต่างกัน ซึ่งการยอมรับหรือการตัดสินของ
แต่ละคนนั้นจะเป็นสิ่งเฉพาะเวลา ขณะนี้ยอมรับต่อไปอาจไม่ยอมรับก็ได้ วรรณกรรมเรื่องคำพิพากษา
เมื่อมองจากแง่มุมของฝ่ ายต่าง ๆ สามารถสะท้อนให้เห็นถึงแนวความคิดของการนิยามความดีเชิง
อัตชีวประวัติได้ดังนี้
มุมมองแรกคือมองผ่านตัวละครเอกของเรื่อง “ฟัก” ฟักเองมองว่าสิ่งที่เรียกว่าความดีคือสิ่งที่
เขาเห็นด้วย หมายถึงสิ่งที่เขายอมรับได้อย่างไม่สงสัย พิจารณาจากต้นเรื่องที่ฟักมีแนวโน้มที่จะยึดความ
เห็นของชาวบ้านเป็ นหลัก ความหมายทางจริยธรรมของเขาก็คือเขายอมรับสิ่งที่ชาวบ้านคิด สิ่งที่ชาว
บ้านทำเป็ นสิ่งที่ถูก เป็ นสิ่งที่จะต้องปฏิบัติตาม เช่น การที่ชาวบ้านทั้งหลายเห็นว่า สมทรงเป็ นคนบ้า
และคนบ้าคือคนไม่ดี ต้องขับไล่ออกไปจากหมู่บ้าน การขับสมทรงคือการขับไล่ความไม่ดีให้ออกไป
ฟักก็ยอมรับทัศนคตินี้และพยายามขับสมทรงและอยู่ให้ห่าง แต่เมื่อได้รับคำอธิบายจากพ่อ(ลุงฟู)แล้ว
ฟักก็ยอมรับและเห็นด้วยกับพ่อของตนที่บอกว่า “สมทรงมิใช่คนบ้า หากแต่นางมีพฤติกรรมที่ไม่
เหมือนบุคคลอื่นเท่านั้น และนางก็ไม่เป็ นพิษเป็ นภัยกับใคร” 1 จะเห็นการนิยามความดีแบบ
1
คำพูดของตัวละครที่ปรากฏในบทความนี้เป็นคำพูดที่มาจาก วีดีโอ-ซีดี เรื่องไอ้ฟัก ชุดที่ผลิตโดย บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่
จำกัด(มหาชน) 2547 เท่านั้น มิใช่คำพูดที่ปรากฏในวรรณกรรมคำพิพากษาของ ชาติ กอบจิตติ โดยตรง
3

อัตชีวประวัติของฟักอย่างชัดเจนว่า ไม่แน่นอนในแต่ละสถานที่ในแต่ละเวลา แรก ๆ แทบจะรับไม่ได้


เพราะยอมรับว่าคนบ้าคือคนไม่ดี ต่อมาจึงเปลี่ยนการนิยามใหม่ว่า “คนบ้าคือคนที่มีพฤติกรรมไม่
เหมือนบุคคลทั่วไป มิใช่คนไม่ดี” ทำให้ฟักเปลี่ยนท่าทีที่มีต่อสมทรงและยอมรับสมทรงได้
เหตุการณ์ที่มีสุนัขตัวหนึ่งหลุดเข้ามาในโรงเรียนมีลักษณะผอมโซ ตาเขม็ง ครูทั้งหลายต่างก็
นิยามกันว่าเป็ นสุนัขบ้าหรือเป็ นสุนัขปกติ ครูบางคนบอกว่า “เห็นมันหาอาหารกินที่กองขยะ”
สามัญสำนึกนั้นสุนัขที่ยังกินอาหารปกติ รู้สึกหิวและแสวงหาอาหารมาประทังชีวิตของตนให้ดำเนินไป
นั้นมิใช่สุนัขบ้า อาจเป็นสุนัขจรจัด หรือเป็นสุนัขที่หลงทางมาจากที่อื่นก็ได้ ในขณะที่ยังตกลงกันไม่ได้
ว่าบ้าจริงหรือไม่ ครูใหญ่ก็ตัดสินว่าให้ปลอดภัยไว้ก่อน คือให้ตกลงว่าเป็ นสุนัขบ้า เพื่อกำหนดแนว
ปฏิบัติต่อไปด้วยการฆ่าให้ตาย ฟักก็ยอมรับตามมตินี้และเป็นผู้ลงมือฆ่าสุนัขตัวนั้นให้ตาย ชาติ กอบจิต
ติ เองต้องการสื่อให้เห็นว่า การตัดสินคุณค่าทางจริยธรรมจากการนิยามความบ้า ความดี ด้วยความรีบ
เร่ง ไม่รอบคอบนั้นอาจทำให้ตัดสินผิดพลาดได้ แม้แต่ในโรงเรียนซึ่งเป็นสังคมแห่งปัญญาชนเอง ยังไม่
สนใจใยดีกับความละเอียดลึกซึ้งอันเป็ นความรู้สึกทางจริยธรรมนี้เลย เขาต้องการท้าทายความคิดทาง
จริยธรรมของโครงสร้างหลัก ๆ ของสังคมไทย ต้องการสื่อให้เห็นความประพฤติที่ไม่น่าจะเกิดขึ้นจาก
องค์กรที่มีหน้าที่ขัดเกลาสมาชิกของสังคมให้เป็ นผู้เจริญด้วยปัญญาและคุณธรรม โศกนาฏกรรมบน
ความเขลาก็ยังเกิดขึ้นได้เสมอ หากรีบเร่งขาดการพิจารณาไตร่ตรองให้ถ้วนถี่
ตอนท้าย ๆ ของเรื่อง การนิยามความดี การนิยามความถูกของฟักเริ่มเปลี่ยนแปลงไป การเห็น
ด้วยหรือการยอมรับของฟักที่มีต่อชาวบ้านเปลี่ยนไป เขาเห็นว่า สิ่งที่ชาวบ้านเชื่อ สิ่งที่ชาวบ้านคิด เป็น
สิ่งที่ผิด เนื่องจากชาวบ้านคิดและเชื่อในสิ่งที่เขาเองไม่ได้ทำ ผลักดันให้เขาทำในสิ่งที่ขัดกับสำนึก
มโนธรรมของเขา (ขับไล่สมทรง) เขาไม่ยอมรับชาวบ้านที่คิดว่า สมทรงเป็ นคนบ้าและคนบ้าเป็ นคน
ไม่ดี แต่เขายอมรับว่า สมทรงไม่ได้บ้า เมื่อไม่ได้เป็ นคนบ้าก็มิใช่คนไม่ดีไปด้วย ฟักมองมนุษย์ที่ความ
เป็ นมนุษย์(a man as a man) มองสมทรงว่าเป็ นมนุษย์ มิได้มองสมทรงที่นิยามอย่างชาวบ้าน เขาจึงไม่
ขับไล่สมทรงออกจากหมู่บ้านตามความคิดและความต้องการของชาวบ้าน ซึ่งการยอมรับและการกระ
ทำของฟักที่ยึดความคิดของตนเองเป็ นหลัก ไม่โอนอ่อนผ่อนตามความคิดของชาวบ้าน ส่งผลให้เขา
เป็นที่รังเกียจของชาวบ้านและถูกชาวบ้านมองว่าเป็ นคนไม่ดี เนื่องจากไม่ยอมรับชาวบ้าน เช่นเดียวกับ
พ่อของฟัก (ลุงฟู) ที่ให้ความหมาย คนบ้าต่างไปจากชาวบ้านทั่วไป ดังปรากฏในฉากที่ลุงฟูพูดกับฟัก
ขณะที่ซ่อมหลังคาโรงเรี ยนบนหลังคาว่า สมทรงไม่ใช่คนไม่ดีและไม่ใช่คนเลว เพียงแต่มี
พฤติกรรม(การกระทำ)ที่แปลก ๆ ไปจากคนปกติธรรมดาทั่วไปเท่านั้น ลุงฟูมองผ่านเลยการนิยามคน
บ้าของชาวบ้าน และมองสมทรงที่ความเป็นมนุษย์ที่ทุกคนมีเหมือนกัน มีสัญชาตญาณแห่งความกลัวภัย
ต้องการที่พึ่งพิงที่ปลอดภัยสำหรับตนเช่นกัน โดยลุงฟูให้เหตุผลกับฟักว่า “พ่อไปพบนางที่สถานีรถไฟ
นางมีกระเป๋ าใบเดียว ถ้าไม่พานางมาที่บ้าน นางคงถูกจิกโก๋หลังสถานีรถไปลากไปข่มขืนแล้ว” จากคำ
พูดของลุงฟูทำให้เราเห็นการให้ความหมายและมุมมองต่อคนที่เกิดจากตัวลุงฟูเอง เป็นการนิยามความดี
ซึ่งเป็ นคุณค่าทางจริยธรรมเชิงอัตชีวประวัติที่ชัดเจนและแหลมคมยิ่งนัก ท้าทายความคิดกระแสหลัก
ของชาวบ้านอย่างน่าดูชม ชาติ กอบจิตติต้องการกระตุ้นเตือนทัศนคติในการมองคนของสังคมทั่วไป
และตัดสินคนดีชั่วเพียงผิวเผิน เชื่อว่าคนนั้นเป็ นเช่นนั้นด้วยการนิยามของตนเองเพียงอย่างเดียว เขา
4

มิได้ตัดสินว่าการนิยามของฟักและลุงฟูที่มีต่อสมทรงนั้นถูกหรือผิด แต่สิ่งที่เรียกร้องก็คือการตัดสิน
คุณค่าทางจริยธรรมที่ใช้เพียงประสบการณ์ทางประสาทสัมผัสที่ผิวเผินเป็ นสิ่งไม่รอบคอบ การมอง
คุณค่ามนุษย์ที่การนิยามเป็นสิ่งไม่ควรทำ คุณค่าทางจริยศาสตร์มีมากกว่าที่ประสาทสัมผัสอย่างเดียวจะ
นำพามนุษย์ให้เข้าถึงได้ทั้งหมด ประสบการณ์ทางประสาทสัมผัสเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอสำหรับ
จริยศาสตร์
การนิยามเชิงอัตชีวประวัตินั้นเราสามารถมองได้จากตัวละครอื่น ๆ ได้อีก มุมมองต่อมาหันมา
พิจารณาผ่านตัวเอกฝ่ ายหญิงนามสมทรงบ้าง สมทรงเป็ นตัวละครที่ชาติ กอบจิตติ กำหนดบทบาทให้
สร้างสีสันตลอดเรื่อง เป็นผู้ที่ท้าทายความคิดกระแสหลักอย่างเป็นรูปธรรม ด้วยความเป็นหญิงตามเพศ
สภาพที่ต้องได้รับการดูแล อ่อนแอ อ่อนไหว ตามสภาพการณ์ บวกกับความมีสติไม่สมประกอบ ที่ชาว
บ้านนิยามว่าเป็ นหญิงบ้า เป็ นคนที่น่ารังเกียจ ไม่ควรคบหาสมาคมด้วยนั้น เป็ นคนที่ควรขจัดออกไป
คุณลักษณะของความเป็ นคนไม่สมประกอบของสมทรงยิ่งเด่นเท่าใดยิ่งส่งให้ตัวละครตัวนี้ สามารถ
ท้าทายความคิดเรื่องความดีของคนปกติอย่างเข้มข้นมากขึ้นเพียงนั้น หากมองเปรียบเทียบการกระทำ
ของชาวบ้านกับการกระทำของสมทรง ชาวบ้านที่เป็ นผู้หญิงบางส่วนที่เป็ นถึงภรรยาครูใหญ่แม่บ้าน
ผู้นำของโรงเรียนหรือเมียผู้ใหญ่บ้านผู้นำทางการปกครอง ยังมีการนั่งล้อมวงเล่นไพ่กันเป็นปกติให้เห็น
เหมือนเป็นสิ่งไม่น่ารังเกียจ ด้วยการยึดนิยามว่า การเล่นไพ่เป็นสิ่งที่ดี การเล่นพนันเป็นสิ่งที่ถูกต้อง คน
เล่นไพ่เป็นคนดี การเล่นการพนันป็ นการกระทำที่ทำถูกต้อง เช่นนั้น พฤติกรรมของสมทรงท้าทายการ
นิยามคุณค่าทางจริยธรรมอย่างถึงแก่น หรือการจับกลุ่มนินทาฟัก ลุงฟู กับสมทรงของชาวบ้านทำให้ดู
เหมือนกับว่า การนินทาผู้อื่นเป็นสิ่งที่ดี การนินทาคนอื่นเป็นสิ่งที่ถูกต้อง ขาดการตรวจสอบว่าเรื่องที่นำ
มานินทา วิพากษ์วิจารณ์นั้นเป็นสิ่งที่ถูกต้องเป็นจริงหรือไม่ เหตุใดการยอมรับของคนส่วนมากจึงทำให้
การกระทำอย่างหนึ่งซึ่งเป็ นการกระทำที่ผิดกลายเป็ นสิ่งที่ถูกขึ้นมาได้ ทำไมการยอมรับของคนส่วน
ใหญ่ทำให้ความรู้ที่ผิดอย่างหนึ่งกลายเป็ นจริงขึ้นมาได้ ทำให้คิดได้ในเชิงตรรกะว่า ความเห็นของคน
หมู่มากถูกต้องเสมอไปหรือไม่ การตัดสินของคนหมู่มากผิดพลาดได้หรือไม่ นี้คือสาระที่ชาติ กอบจิต
ติต้องการสื่อสะท้อนให้ผู้นิยมความคิดที่บริสุทธิ์ นิยมความดีที่ถูกต้องดีงามได้พิจารณาอย่างแยบยล คำ
พิพากษาแฝงกลิ่นอายท้าทายแนวคิดทางจริยธรรมให้เห็นทุกฉากตอน
เมื่อพิจารณาผ่านสมทรง ซึ่งเป็นคนที่มีความบกพร่อง มีมโนธรรสำนึกที่อ่อน หลายครั้งนางไม่
สามารถแยกแยะได้ว่าพฤติกรรมใดเป็ นสิ่งที่ควรปฏิบัติ และพฤติกรรมใดไม่ควรปฏิบัติ(ร้อนก็ถอดเสื้อ
กลางสวน โกรธก็เปิ ดผ้าถุงโชว์) ถึงมโนธรรมจะอ่อนด้อยแต่นางก็ยังยึดหลักการนิยามเชิงอัตชีวประวัติ
อย่างเหนียวแน่น เหนียวแน่นเกินกว่าผู้อ่านคำพิพากษาของชาติจะคาดถึง ชาติท้าทายความดีกระแส
หลักด้วยพฤติกรรมของหญิงสติไม่สมประกอบชื่อสมทรงด้วยการมองความดีแบบนิยามเชิง
อัตชีวประวัติของสมทรง คือนางสมทรงยอมรับตามสิ่งที่ตัวเธอเองเห็นว่าดี เห็นว่าเหมาะ แล้วเธอก็
ปฏิบัติตามนั้นโดยไม่อีนังขังขอบกับสายตาของชาวบ้านรอบข้างเลย ในภาพยนต์ฉากที่นางเห็นฟักถอด
เสื้อมาผูกไว้ที่หัว นางก็ทำตามฟัก เพราะเข้าใจว่าเป็นสิ่งที่ถูกหรือนางยอมรับว่าเป็นการกระทำที่ดีจึงทำ
ตาม และเมื่อเห็นฟักวิ่งไล่ตามนางก็ยิ่งมั่นใจได้ว่าความเข้าใจของตัวเองถูกต้องจนทำให้ฟักชื่นชอบ
นางถือเป็นเรื่องสนุกไป จะเห็นว่าการเห็นด้วยและยอมรับโดยนำไปสู่การปฏิบัติของสมทรงนี้นั้น ก็อยู่
5

ที่ตัวสมทรงเองเป็ นผู้ตัดสิน ปัญหาก็อยู่เพียงว่านางเป็ นคนสติไม่สมประกอบ เราไม่แน่ใจได้ว่าขณะที่


แสดงออกถึงพฤติกรรมนั้น ๆ เธออยู่ในสภาพที่สามารถควบคุมตัวเองได้หรือไม่ ถึงแม้นางสมทรงจะ
ทำไปด้วยจิตปกติหรือไม่ปกติก็ตาม พฤติกรรมเหล่านั้นก็สอดคล้องกับการยอมรับความดีด้วยนิยาม
แบบอัตชีวประวัติอย่างชัดเจน และชาติใช้ความบกพร่องของสมทรงตลบหลังความคิดของผู้อ่าน
ท้าทายความคิดของผู้ชมอย่างร้อนแรง การที่สมทรงยอมรับว่าการใส่เสื้อผ้าสีสดใส เช่น สีแดงที่นางใส่
ประจำ หรือสีขาวในบางฉากเป็นสิ่งที่ดีแม้แต่ในงานศพก็ไม่ควรสวมใส่สีขาว-ดำ การยอมรับเหล่านี้เกิด
จากความชอบและการตัดสินของสมทรงเอง ไม่ขึ้นอยู่กับค่านิยมของสังคมหรือการยอมรับของชาว
บ้านใด ๆ ทั้งสิ้น เป็นการสะท้อนและล้อเลียนค่านิยมบางอย่างของชาวบ้านไปในที
มุมมองที่สามมองผ่านตัวละครอย่างครูใหญ่ ชาติต้องการให้ครูใหญ่เป็ นสัญลักษณ์แห่งความ
ชอบธรรมที่มาจากสถาบันหลักของสังคมอย่างหนึ่ งคือโรงเรี ยนซึ่ งเป็ นการนิยามความดีเชิง
อัตชีวประวัติอย่างหนึ่งหากพิจารณาครูใหญ่ที่เป็นปัจเจกมิใช่เชิงสถาบัน ครูใหญ่ยอมรับฟักว่าเป็นคนดี
(“ฟักนี่เกิดมาเพื่อเป็ นคนดีจริง ๆ” ครูใหญ่ชมไม่ขาดปาก) จากพฤติกรรมของฟักในตอนต้นเรื่อง เป็ น
คนกตัญญูกตเวทีต่อบุพการีของตน เมื่อพิจารณาเห็นว่าพ่อไม่สามารถทำงานเป็ นภารโรงคนเดียวได้
ไหวก็ลาสึกออกมาช่วยพ่อทำงานเป็ นการตอบแทนคุณพ่อที่เลี้ยงเขามา (กตัญญูกตเวที) นอกจากนั้น
การยอมรับของครูใหญ่ต่อฟักก็เป็ นไปในทางบวก เมื่อเห็นว่าฟักทำงานอย่างขยันขันแข็ง ปฏิบัติตาม
กรอบจารีตประเพณี ฟักจึงเป็ นคนดีที่ครูใหญ่ยอมรับอย่างไม่กังขา ต่อมาการยอมรับฟักของครูใหญ่ได้
เปลี่ยนไป เนื่องจากครูใหญ่มองว่าฟักกระทำในสิ่งที่ครูใหญ่ไม่ยอมรับ เช่น การดื่มเหล้าเมามายของฟัก
การให้ที่อยู่อาศัยแก่นางสมทรง (หลังจากลุงฟูตายไปแล้ว) ครูใหญ่มองว่าฟักเลี้ยงดูคนบ้าในฐานะ
ภรรยา(เอาเมียพ่อมาเป็ นเมียตัวเอง) ซึ่งเป็ นบุคคลที่ครูใหญ่ไม่ยอมรับ ครูใหญ่มองว่าพฤติกรรมต่าง ๆ
ของฟักในระยะหลังเป็ นสิ่งเสียหายเป็ นความไม่ดี มุมมองของครูใหญ่ดังกล่าวเกิดจากการนิยามและ
ตัดสินใจของครูใหญ่เอง ตอนแรกยอมรับต่อมาไม่ยอมรับ เวลาหนึ่งยอมรับเมื่อผ่านไปไม่ยอมรับ
ลักษณะเช่นนี้เป็นการตัดสินคุณค่าความดีตามนิยามแบบอัตชีวประวัติโดยตรง ครูใหญ่ยอมรับว่าคุณค่า
ความดีเป็ นข้อเท็จจริงซึ่งเป็ นสิ่งธรรมชาติอย่างหนึ่ง คุณค่านี้จึงไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับการยอมรับของตัว
เอง และการยอมรับการกระทำของฟักที่ครูใหญ่มีอยู่มีความหมายเท่ากับ ฟักเป็ นคนดี และในทางตรง
กันข้ามการปฏิเสธฟักของครูใหญ่ก็มีความหมายเท่ากับฟักเป็ นคนไม่ดี ลักษณะกลับไปกลับมาไม่คงที่
ของครูใหญ่(ที่อาจเป็นผลจากพฤติกรรมของฟักเองหรือจากการพยายามเบี่ยงเบนประเด็นจากการที่ฟัก
มาขอถอนเงินที่เคยฝากไว้แต่ครูใหญ่ได้ยักยอกเงินของฟักไปใช้ซื้อของใช้ฟุ่ มเฟื อยจนหมด)นี้เองที่ชาติ
กอบจิตติใช้อธิบายความหมายของข้อตัดสินเชิงจริยธรรมแบบธรรมชาตินิยมที่อาศัยนิยามเชิง
อัตชีวประวัติได้อย่างลงตัวเหมาะเจาะเหมาะสมเป็นอย่างยิ่ง
มุมมองที่สี่ มองผ่านตัวละครอย่างหลวงพ่อเจ้าอาวาส ซึ่งชาติ กอบจิตติ ต้องการให้เป็นตัวแทน
สถาบันที่ขัดเกลาให้คนเป็ นคนดีหรืออยู่ในฝ่ ายการนิยามคุณค่าทางจริยธรรมกระแสหลักอย่างหนึ่ง ใน
ตอนที่หลวงพ่อให้ข้อคิดแก่ฟักว่า “คนอื่นคิดอย่างไรช่างเขา แต่ที่สำคัญอยู่ที่ตัวเราเอง...” คำพูดที่ให้
ข้อคิดดังกล่าวเป็ นการยืนยันและสะท้อนให้เห็นถึงการนิยามคุณค่าทางจริยธรรม(ความดี)ตามกรอบ
6

ของการนิยามเชิงอัตชีวประวัติที่ขึ้นอยู่กับตัวบุคคลเป็ นผู้ชี้ขาด อยู่ที่ตัวบุคคลจะคิดและยอมรับ ไม่ต้อง


สนใจ ไม่ต้องยึดติดการคิดและยอมรับของผู้ใดเลย
มุมมองสุดท้ายสำหรับนิยามเชิงอัตชีวประวัติจากตัวละครที่เป็ นชาวบ้าน ชาวบ้านในที่นี้ไม่ใช่
สังคมหากหมายเอาชาวบ้านที่เป็ นปัจเจกบุคคลที่มีการเห็นด้วยและการยอมรับตรงกัน ในวรรณกรรม
คำพิพากษาจะเห็นได้ว่าชาวบ้านยอมรับตรงกันว่า นางสมทรงเป็ นคนบ้าและคนบ้าเป็ นคนไม่ดี ใน
ความหมายของชาวบ้านคนบ้าและคนไม่ดีเป็ นอันเดียวกันไม่สามารถแยกออกจากกันได้อย่างเด็ดขาด
จากคำนิยามคนบ้าของชาวบ้านคือบุคคลที่แสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมือนบุคคลทั่วไป แหกกฏเกณฑ์
ลบหลู่ประเพณี ไม่รู้จักกาลเทศะ ดังนั้นคนบ้าจึงเป็นบุคคลที่ไม่พึงปรารถนาของชาวบ้าน ต้องขับไล่ใส
ส่งให้ออกไปหมู่บ้าน หมู่บ้านจะได้สงบสุข เมื่อสมทรงเป็นคนบ้า สมทรงจึงเป็นคนไม่ดี สมทรงจึงเป็น
คนที่ไม่น่าปรารถนา เป็ นตัวก่อกวนความสงบของหมู่บ้าน นอกจากนางสมทรงแล้วฟักก็เป็ นหนึ่งใน
จำนวนที่เป็นคนไม่ดีตามการนิยามของชาวบ้านด้วย เนื่องจากฟักไม่ปฏิบัติและไม่ยอมรับความคิดเห็น
ของชาวบ้าน สามารถกล่าวได้ว่าการนิยามคุณค่าทางจริยธรรมของคำว่า “ดี” ของชาวธรรมชาตินิยมที่
เน้นอัตชีวประวัตินั้นหลักสำคัญอยู่ที่ตัวบุคคลผู้ตัดสินการกระทำนั้น ๆ เป็นใหญ่ บุคคลแต่ละคนเท่านั้น
ที่จะเป็นผู้กำหนดคุณค่า เห็นด้วยหรือยอมรับว่าการกระทำใดเป็นการกระทำที่ดี/ชั่ว ถูก/ผิด ควร/ไม่ควร
และการยอมรับของแต่ละคนนั้นเป็นเรื่องเฉพาะที่เฉพาะเวลา ยอมรับเฉพาะขณะนี้เท่านั้นต่อไปอาจไม่
ยอมรับ การนิยามแบบนี้นั้นสะท้อนให้เห็นว่าคนแต่ละคนมีสิทธิเสรีภาพอย่างสมบูรณ์ที่จะคิดได้ด้วย
ตนเอง ยอมรับและตัดสินคุณค่าด้วยตัวของเขาเอง ดังนั้น มุมมองผ่านตัวละครต่าง ๆ ดังกล่าวมานั้น จึง
ไม่มีมุมมองด้านใดผิดหรือถูกอย่างแท้จริง สามารถถูกได้พร้อมกันหรือเป็ นตรงกันข้ามคือผิดได้พร้อม
ๆ กันเสมอ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการประเมินค่าสิ่งนั้นจากตัวบุคคลนั่นเอง ส่วนการดำเนินชีวิตที่ประเสริฐนั้น
ก็ขึ้นอยู่กับตัวบุคคลแต่ละคนจะตัดสินใจเลือกวิธีดำเนินชีวิตด้วยตนเอง

ปกหน้า-หลังคำพิพากษาฉบับแปลภาษาอังกฤษ
7

การนิยามคุณค่าจริยธรรมแบบที่สองคือการนิยามเชิงสังคมวิทยา ตามการนิยามนี้ การบอกว่า


“(ก) เป็ นสิ่งที่ถูก” มีความหมายเหมือนกับว่า “ชนส่วนใหญ่ยอมรับ (ก)” คำว่าชนส่วนใหญ่ในที่นี้ อาจ
เป็ นชนส่วนใหญ่ในสมาคมหนึ่ง หรือในประเทศหนึ่ง หรือในโลกปัจจุบัน หรือในโลกช่วงยุคหนึ่งใน
ประวัติศาสตร์ก็ได้ การนิยามนี้เป็ นการนิยามที่ขึ้นอยู่กับสังคม (ชนส่วนใหญ่ในหมู่บ้านหนึ่ง ๆ) ที่จะ
เป็ นผู้กำหนดคุณค่าแนวทางปฏิบัติให้กับสิ่งนั้น ๆ วรรณกรรมคำพิพากษาที่ถ่ายทอดมาเป็ นภาพยนต์
ล่าสุดชื่อ “ไอ้ฟัก” สามารถสะท้อนการให้ความหมายคำว่า “ดี” ซึ่งเป็ นศัพท์ทางจริยศาสตร์ตามกรอบ
การนิยามเชิงสังคมวิทยาได้เป็ นอย่างดี กล่าวคือคนในหมู่บ้าน (สังคมหนึ่ง ๆ) ได้กำหนดกรอบคุณค่า
ความดีเอาไว้ว่า การกระทำในลักษณะใดที่จะถือว่าเป็นการกระทำที่ดี/ชั่ว ถูก/ผิด ในภาพยนต์จะเห็นได้
ว่า ชาวบ้าน(ในเชิงสังคมมิใช่ปัจเจก)ยอมรับหรือเห็นด้วยว่า
การให้ที่พักพิงแก่คนบ้าซึ่งมีพฤติกรรมที่แปลกแตกต่างจากบุคคลทั่วไปนั้นเป็ นสิ่งไม่ดี เป็ น
ความผิด และร้ายไปกว่านั้นการเอาภรรยา(นางสมทรง)ของพ่อ(ลุงฟู)มาเป็ นภรรยาของตน(ฟัก)ก็ถือว่า
เป็นสิ่งที่ผิดอย่างร้ายแรง เป็นสิ่งที่ไม่ดี ไม่ควรกระทำ การกระทำนั้นเป็นสิ่งที่น่ารังเกียจเป็นอย่างยิ่ง ผิด
ศีลธรรมอย่างรุนแรง แสดงออกถึงความหย่อนยานของจริยธรรมเชิงสังคมอย่างหาที่เปรียบไม่ได้ การ
กำหนดบรรทัดฐานของชาวบ้านเหล่านี้ จัดเป็นจารีตของสังคมที่สมาชิกของสังคมทุก ๆ คนที่อยู่ภายใต้
สังคมนั้น ๆ พึงสำเหนียกและพึงปฏิบัติตาม นอกจากนี้แบบสังคม(ที่ ชาติ กอบจิตติ แทนด้วยภาพของ
หมู่บ้านเล็ก ๆ ห่างไกลความเจริญแห่งหนึ่ง) ยังมีครรลองที่คนส่วนใหญ่ในสังคมยอมรับและถือปฏิบัติ
สืบ ๆ กันมาหลายอย่างเช่น ประเพณีการใส่เสื้อผ้าสีขาวหรือดำไปงานศพ(ทำไมต้องใส่สีดำ ไม่
สวย...คำพูดของนางสมทรง) การใช้ดอกไม้จันทน์แทนดอกไม้จริง (ดอกไม้อะไร สีไม่สวย... คำพูดของ
นางสมทรง) การไปช่วยงานศพเมื่อมีคนตาย และการฌาปนกิจศพของคนในหมู่บ้าน การเก็บกระดูกใส่
โกษฐ์ทองเหลืองไม่ใส่ลังกระดาษ การไปทำบุญร่วมญาติ(สรงน้ำกระดูก)ในช่วงสงกรานต์ จารีตเหล่านี้
คนในหมู่บ้านต้องยึดถือและปฏิบัติตามให้ได้ หากสมาชิกคนใดคนหนึ่งขัดขืน ไม่ยอมรับ ไม่เห็นด้วย
ไม่ปฏิบัติตามจะถูกลงโทษจากสังคม การลงโทษในที่นี้มิใช่การลงโทษตามระบบกฏหมาย แต่เป็ นการ
ลงโทษจากสังคม (ชนส่วนใหญ่ในหมู่บ้านซึ่งหมายถึงชาวบ้านนั่นเอง) เขาผู้นั้นจะได้รับการตำหนิติ
เตียน(เบาที่สุด) ถูกละทิ้ง ถูกอัปเปหิขับออกจากกลุ่มด้วยวิธีต่าง ๆ ด่าทอ ข่มขู่ รุมทำร้าย จับโยนบก
หรือแม้แต่รุมประชาทัณฑ์ (อย่างที่ปรากฏในภาพยนต์) ดังตัวอย่างในกรณีของฟักในวรรณกรรมที่เขา
ถูกชาวบ้านตัดสินว่าเป็ นคนไม่ดี เนื่องจากไม่ได้ประพฤติตนให้สอดคล้องกับวิถีปฏิบัติที่เป็ น
บรรทัดฐานของหมู่บ้าน ทำให้เขาได้รับการตำหนิจากชาวบ้านต่าง ๆ นานา (ชาวบ้านนินทาสนุกปาก
จากท้ายบ้านยันหัวบ้าน) ถูกยกเป็นสัญลักษณ์แห่งความชั่วร้าย “มึงอย่าเอาอย่างไอ้ฟักก็แล้วกัน” คนใน
หมู่บ้านไม่ให้เข้ากลุ่มด้วย “ไม่มีคนไปเผาศพพ่อมึง มึงยังไม่สำนึกอีกหรือ” “ต่อไปนี้บ้านมึงกับบ้านกู
ขาดกัน” ทำให้ฟักได้รับความทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัส ชาวบ้านแสดงออกต่อเขาเหมือนกับเขาไม่มี
ตัวตนอยู่ในหมู่บ้านนั้น ฟักตกอยู่ในฐานะที่ไม่ต่างอะไรกับนางสมทรงที่ชาวบ้านมองว่าเป็ นคน
บ้า( “ไม่รู้มันจะกินเหล้าไปทำไม ...มันคงบ้าไปแล้วมั้ง ไม่มีใครไปเผาศพพ่อมัน”....เสียงบ่นของชาว
บ้าน) เป็ นสาเหตุแห่งความเดือดร้อนวุ่นวายทั้งหมดทั้งปวง หรือไม่ต่างอะไรกับสุนัขจรจัดที่พลัดหลง
เข้าไปในโรงเรียนที่ถูกครูทั้งหลายมองว่าเป็ นสุนัขบ้า เป็ นสิ่งแปลกปลอม เป็ นตัวประหลาด เป็ นเชื้อ
8

แห่งความไม่ดีหากปล่อยเอาไว้อาจเป็นอันตรายต่อสมาชิกคนอื่นในหมู่บ้านได้ จึงต้องกำจัดออกไป การ


นิยามเช่นนี้คนเราจะเป็ นอย่างไร ดี/ชั่ว ถูก/ผิด ขึ้นอยู่กับการตัดสินของคนอื่นซึ่งเป็ นกลุ่มใหญ่มากกว่า
ปัจเจกเช่นลุงฟู ฟัก สมทรง และสุนัขจรจัดย่อมตกเป็ นเหยื่อคำตัดสินของสังคม(ชนส่วนใหญ่)เสมอ
ประจักษ์ได้จากสังคมของชาวบ้านเมื่อมีเรื่องหรือเหตุการณ์ที่ไม่เป็ นไปตามครรลองของสังคมเกิดขึ้น
จะมีการพูดกันปากต่อปากแสดงให้เห็นว่า ปัจเจกบุคคลหรือความคิดของคนเพียงคนเดียวย่อมผิดหรือ
ไม่ได้รับการยอมรับเสมอเมื่อเปรียบกับความคิดและการตัดสินของชาวบ้านหมู่มาก ปัจเจกย่อมเป็ นผู้
ถูกกระทำตลอดเวลา การตัดสินของชาวบ้านส่วนใหญ่หลาย ๆ กรณีมักจะดำเนินไปโดยปราศจาก
ข้อมูลความจริง ปราศจากเหตุผล และยึดติดอยู่กับอคติที่หมู่ตนสร้างขึ้น ซึ่งยากมากที่ปัจเจกเช่น ฟัก จะ
ทำลายกำแพงอันมหึมานี้ ถึงแม้โดยความจริงฟักอาจไม่ได้มีพฤติกรรมอย่างที่ชาวบ้านส่วนมากเชื่อ
ไม่มีพฤติกรรมที่บัดสี ผิดจารีต ไร้ศีลธรรมอย่างที่ชาวบ้านคิด แต่เขาก็ต้องอยู่ในภาวะจำยอม ฉาก
ภาพยนต์ที่บ่งชี้ให้เห็นการดิ้นรนทำลายกำแพงอคติ ขัดขืนต่อกำแพงความอยุติธรรมอย่างเข้มข้นอยู่ใน
ช่วงท้าย ๆ ของเรื่อง ฟักจูงมือสมทรงเข้าไปทวงถามความยุติธรรมจากครูใหญ่ที่กำลังอบรมเด็กนักเรียน
หน้าเสาธง ปากก็พร่ำคำขวัญของโรงเรียนไป “ศีลธรรมนำ ความรู้ดี กตัญญูกตเวที เป็ นคนดีของสังคม
งัย ไอ้ครูใหญ่เลว เอาเงินกูคืนมา...” ฟักบุกเข้าไปประชิดตัวครูใหญ่กลุ่มชาวบ้านที่ตามมาติด ๆ ก็รุมจับ
ตัวฟักไว้ บังคับให้ฟักขอโทษครูใหญ่ พยายามกดหัวเขาให้ก้มลงแทบเท้าขอโทษครูใหญ่ ยิ่งกดก็ยิ่ง
ต้าน ยิ่งข่มก็ยิ่งขัดขืน เป็นสัญญะแห่งอารยะขัดขืนอย่างแท้จริง จิตใจที่ยอมรับไม่ได้กับความไม่ดี รับไม่
ได้กับการกระทำที่ไม่ถูกต้อง รับไม่ได้กับการนิยามที่ผิด ๆ ของชาวบ้าน รับไม่ได้กับพฤติกรรมฉ้อโกง
ยักยอกเงินของครูใหญ่ ชาวบ้านเหมือนตัวแทนการนิยามคุณค่าความดีเชิงสังคมวิทยา แม้แต่หลัง
เหตุการณ์ชาวบ้านรุมทำร้ายฟักจนสะบักสะบอม สลบไปมีนางสมทรงเท่านั้นที่ยังปกป้ องร่างไร้สติของ
ฟักและแบกใส่บ่าเดินโซซัดโซเซออกมาจากโรงเรียน (“หนีจากคนบ้าเหล่านี้ ...” คำพร่ำบ่นกับร่างไร้
สติของสมทรง) ขณะเดียวกันก็เป็ นเวลาเคารพธงชาติตอนแปดโมงเช้า ภาพธงชาติกำลังโบกสะบัด
เนื่องจากถูกชักขึ้นสู่ยอดเสาช้า ๆ พร้อมกับเสียงเพลงชาติไทยที่ถูกบรรเลงจากเสียงวิทยุเอเอ็ม ชั่งเป็ น
ภาพที่ให้ความรู้สึกรันทดเป็ นยิ่งนัก วิเคราะห์ผ่านกรอบการตัดสินคุณค่าจริยธรรมของธรรมชาตินิยม
แล้ว ชาติ กอบจิตติ ต้องการสะท้อนความบกพร่องของการนิยามเชิงสังคมวิทยาที่ยึดเสียงข้างมากเป็ น
หลักนั้น หลาย ๆ ครั้งก็เกิดความบกพร่องอย่างไม่น่าให้อภัย ไร้เหตุผลโดยสิ้นเชิง นำไปสู่จุดจบที่น่า
เวทนา โศกนาฏกรรมบนความผิดพลาดบกพร่องของจริยธรรมเชิงสังคมวิทยามีให้เห็นอยู่เสมอ
การนิยามเชิงสังคมวิทยาไม่เห็นด้วยและไม่ยอมรับความคิดเห็นของเสียงข้างน้อยหรือเสียงของ
ปัจเจกยอมรับเสียงคนส่วนใหญ่ที่ให้ความหมายของคำว่าดีว่าหมายถึงพฤติกรรมหรือการกระทำที่
แสดงออกมาตามกรอบและครรลองที่คนส่วนใหญ่ของสังคมร่วมกันกำหนดขึ้นมา ซึ่งเป็ นกรอบที่วาง
เป็นหลักมาเป็นระยะเวลายาวนาน คือความดีซึ่งเป็นสิ่งถูกต้อง ผู้ปฏิบัติตามจะได้รับความชื่นชมยกย่อง
แต่ถ้ามีผู้ฝ่ าฝื นโดยประพฤติหลุดกรอบออกไปจะได้รับการตำหนิ ดูถูกใส่ร้าย ประณาม ส่วนมาตรการ
ตัดสินความประพฤติดีนั้น การนิยามคุณค่าจริยธรรมเชิงสังคมวิทยานั้นใช้บรรทัดฐานทางสังคม
(Social Norms) เป็ นเกณฑ์มาตรฐานตัดสินความประพฤติของแต่ละบุคคลว่าดี/ชั่ว ถูก/ผิด และต่อ
ประเด็นที่ว่าจะใช้ชีวิตอย่างไรให้เป็นชีวิตที่ประเสริฐ(อุดมคติของชีวิต)ก็คือการใช้ชีวิตโดยมีพฤติกรรม
9

ที่ดำเนินไปตามวิถีปฏิบัติอันเป็ นบรรทัดฐานของสังคมนั้น ๆ หรือการปฏิบัติตามความเชื่อและการ


ยึดถือยอมรับของคนส่วนใหญ่เป็นสิ่งที่ประเสริฐที่สุด
การนิยามแบบที่สาม คือ การนิยามเชิงศาสนา ตามคำนิยามนี้ การบอกว่า “(ก) เป็ นสิ่งที่ถูก” มี
ความหมายเหมือนกับว่า “(ก) เป็ นที่ยอมรับตามหลักศาสนา” นิยามนี้มิได้เป็ นข้อความเชิงประจักษ์
โดยตรงเหมือนสองนิยามแรกหากแต่ขึ้นกับหลักของแต่ละศาสนาที่เกี่ยวข้อง
การนิยามคุณค่าทางจริยธรรมเชิงศาสนานี้เมื่อมองผ่านคำพิพากษาโดยภาพยนต์เรื่องไอ้ฟักแล้ว
สามารถสะท้อนให้เห็นประจักษ์ถึงการตีแผ่คุณค่าโดยศาสนาหลายฉากหลายตอน โดยที่ศาสนาใน
สังคม(พุทธ)เป็นศาสนาประเภทอเทวนิยมปฏิเสธอำนาจของพระเจ้าสิ้นเชิง ดังนั้นพระเจ้าหรือสิ่งเหนือ
ธรรมชาติไม่ใช่ผู้ตัดสินความดีความชั่ว แต่ผู้มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาตีความและตัดสินพุทธธรรม
คือองค์กรบริหารสูงสุดนามมหาเถรสมาคม ในส่วนของภาพยนต์นั้นหลวงพ่อ(พระ)ถือเป็ นสัญลักษณ์
ทางศาสนา และชาติก็ประสงค์ให้เป็ นตัวแทนองค์กรสงฆ์ที่จะแสดงบทบาทในนามของศาสนาที่
เป็ นการวางบรรทัดฐานกระแสหลักอย่างหนึ่งในสังคม นิยามเชิงศาสนานั้นมีอยู่ว่า การบวชเป็ นสิ่งที่ดี
เป็ นสิ่งที่ถูกต้อง นั่นหมายความว่าคนที่บวชเป็ นคนที่ยอมรับได้ตามหลักของศาสนาพุทธหรือการบวช
เป็นสิ่งที่ดี คนที่ได้บวชเรียนเป็นคนดีนั่นเอง นอกจากนี้แล้วคำสอนทางศาสนาที่ได้บัญญัติไว้ ผู้ปฏิบัติ
ตามอย่างเคร่งครัด ไม่มีพฤติกรรมที่ขัดขืนหรือแย้งต่อคำสอนเหล่านั้นย่อมเป็ นคนดีด้วย หากผู้ใดไม่
เห็นด้วย ไม่ปฏิบัติตามหลักศาสนาของตน ย่อมเป็นคนไม่ดี มีความประพฤติที่ผิดแผกจากหลักการของ
ศาสนา ศาสนาไม่สามารถยอมรับได้ว่าเป็ นคนดี ดังจะพิจารณาได้จากบทบาทของตัวละครอย่างฟัก ที่
ไม่ยึดมั่นตามหลักการของศาสนา การเป็ นนักเลงสุรา เป็ นคนขาดศีลธรรม นำความเสื่อมมาสู่ตนอย่าง
ใหญ่หลวง จนทำให้ชาวบ้านเชื่อจริง ๆ ว่าฟักยอมรับเอานางสมทรงมาเป็นเมียตน พฤติกรรมของฟักดัง
กล่าวเป็นสิ่งที่ศาสนายอมรับว่าเป็นความผิด เป็นความชั่ว นำสู่ความเสื่อม ทำลายตนเองให้ตกต่ำ ดังนั้น
ตามหลักของศาสนาจึงตัดสินว่าฟักเป็นคนไม่ดี เนื่องจากไม่สามารถยอมรับได้ตามหลักการของศาสนา
ย่อมถูกชาวบ้านประณามว่านอกรีต ทำบัดสี ลามก (“มักมากในกามทั้งพ่อทั้งลูก..” คำสบประมาทของ
ชาวบ้าน) ท้ายที่สุดแล้วหลวงพ่อก็ไม่สามารถยื่นมือเข้าไปช่วยฟักได้ ความสำมะเลเทเมาของฟักอาจมี
ต้นเหตุมาจากตัวฟักเอง หลวงพ่อซึ่งเป็ นตัวแทนของศาสนาก็ไม่อาจปฏิเสธได้ว่าไม่มีส่วนผลักดันให้
ฟักหันไปหาทางออกด้วยสุรา ฟักพยายามร้องขอความเป็ นธรรมจากหลวงพ่อ (“กูจะฟ้ องหลวงพ่อว่า
พวกมึงแกล้งกูก่อน...” เสียงคร่ำครวญด้วยความเจ็บปวดของฟัก)หลังถูกโยนบกออกมาจากศาลา
การเปรียญในวันทำบุญร่วมญาติระหว่างเทศกาลสงกรานต์อันสนุกสนานสำหรับชาวบ้าน แต่มันกลับ
เป็ นเทศกาลแห่งความสิ้นหวัง เทศกาลแห่งความเศร้าของคนอย่างฟัก สะท้อนความไม่สนใจใยดีจาก
การนิยามเชิงศาสนาอย่างถึงแก่น
นอกจากตัวหลวงพ่อหรือพระสงฆ์ในวัดแล้วความเชื่อก็จัดเป็นส่วนหนึ่งของศาสนาเช่นกัน ซึ่ง
ความเชื่อก็มีอิทธิพลต่อการนิยามความดีได้ เช่น ตอนหนึ่งที่ลุงฟูยกมือไหว้ขอบคุณเทวดาที่ประทาน
นางสมทรงมาให้ (ขอบคุณเทวดาสิลูก ทันใดนั้นฟ้ าก็ร้องคำรามเสียงดัง จนลุงฟูเข้าใจว่าเทวดาตอบรับ
การขอบคุณของเขา) ลุงฟูเชื่อว่าการที่ได้พบและได้ช่วยเหลือนางสมทรงนั้นมิใช่สิ่งบังเอิญ หากแต่เป็ น
พรหมลิขิต เป็ นเทพประทาน เป็ นเทวบันดาลให้เขามาพบเนื้อคู่ต่างหาก ลุงฟูจึงเชื่ออย่างบริสุทธิ์ ใจว่า
10

นางสมทรงเป็ นคนดี (นางไม่ได้เป็ นบ้า หากแต่มีพฤติกรรมที่ไม่เหมือนบุคคลอื่นเท่านั้น แต่นางก็ไม่


เป็ นพิษเป็ นภัยกับใคร) เป็ นที่ยอมรับของเหล่าเทวดาทั้งหลาย เทวดาจึงส่งนางมาอยู่กับตน ทำให้ชีวิต
ของลุงฟูที่หงอยเหงากลายเป็ นชีวิตที่สดชื่นแจ่มใสดั่งพื้นดินแห้งได้น้ำฝนจากฟ้ าฉะนั้น เทวดานั้นเป็ น
สิ่งที่ยอมรับและเชื่อกันว่ามีอิทธิพลคอยลงโทษคนทำผิดศีลธรรม คอยตรวจสอบให้บำเหน็จรางวัลแก่
คนทำดีอยู่ในศีลธรรม เป็ นที่ยอมรับได้ตามหลักการของศาสนาประเภทอเทวนิยม ผู้จะใช้นิยามเชิง
ศาสนาประเภทนี้ได้จะต้องยอมรับเงื่อนไขอยู่ 2 ประการคือ 1)ต้องยอมรับว่าพระเจ้ามีอยู่จริง และ 2)จะ
ต้องยอมรับอำนาจของพระเจ้า ถ้าไม่เช่นนั้นแล้วนิยามของเขาจะขัดแย้งในตัวเอง ดังนั้นคำตัดสินคุณค่า
ของการนิยามเชิงศาสนาเทวนิยม ผู้ไม่เชื่อในพระเจ้าย่อมผิดเสมอ และคุณค่าทางจริยธรรมเป็ นรูป
จำแลงของเทวนิยมตลอดเวลา
โดยสรุปคุณค่าความดีตามการนิยามเชิงศาสนา คือ การปฏิบัติตามหลักการของศาสนาที่ศาสดา
ได้วางวิถีปฏิบัติเป็นบรรทัดฐานเอาไว้ บุคคลใดปฏิบัติตามศาสนาก็ยอมรับและตัดสินค่าว่าเป็นคนดี ใน
ส่วนของมาตรฐานตัดสินความดีความชั่วนั้นก็ถือหลักการของศาสนาเป็ นเกณฑ์สำคัญ และการใช้ชีวิต
ที่ประเสริฐต้องเป็นชีวิตที่สอดคล้องกับหลักของศาสนาหมายถึงกฏศีลธรรมของศาสนาไม่เบี่ยงเบนจาก
อุดมคติของศาสนา จึงจะเป็นชีวิตที่ดีที่สุด
การนิยามคุณค่าทางจริยธรรมแบบสุดท้ายของลัทธิธรรมชาตินิยมคือ การนิยามเชิงประโยชน์
นิยม เป็นจริยศาสตร์เชิงบรรทัดฐานอย่างหนึ่ง พยายามนิยามสิ่งที่ถูกในรูปคุณสมบัติของตัวการกระทำ
เอง กล่าวคือนิยามถึงคุณค่าภายในตัวการกระทำ ในแง่นี้ ประโยชน์นิยมมีสองรูปแบบสำคัญคือ
ประโยชน์นิยมเชิงสุข (Hedonistic Utilitarianism) และเชิงอุดมคติหรือเชิงพหุ(Ideal or Pluralistic
Utilitarianism)
สำหรับลัทธิประโยชน์นิยมเชิงสุขการบอกว่า “(ก) เป็ นสิ่งที่ถูก” มีความหมายเหมือนกับว่า
“(ก) จะเสริมสร้างความสุขมากที่สุดแก่คนจำนวนมากที่สุดที่เกี่ยวข้อง” ส่วนประโยชน์นิยมเชิงอุดมคติ
หรือเชิงพหุนั้น การบอกว่า “(ก) เป็นสิ่งที่ถูก” ย่อมมีความหมายเท่ากับว่า “(ก) เป็นสิ่งมีคุณค่าในตัวเอง
ที่คนเราปรารถนา” อย่างไรเสียประโยชน์นิยมก็มีหลักการที่เป็ นอันหนึ่งอันเดียวกันคือต่างยึดหลักมห
สุขด้วยกัน
รูปแบบที่หนึ่งประโยชน์นิยมเชิงสุขนั้นยอมรับว่าการกระทำใด ๆ ที่ก่อให้เกิดความสุขก็เป็นสิ่ง
ที่ดีในทางตรงกันข้ามการกระทำที่ก่อให้เกิดทุกข์เป็ นโทษถือเป็ นสิ่งไม่ดี จากวรรณกรรมมุมมองของ
ฟักตามการนิยามสิ่งที่ดีตามประโยชน์นิยมเชิงสุข ฟักมองว่าการกระทำตามบรรทัดฐานของสังคมที่
สังคมยอมรับจะก่อให้เกิดความสุข นำความสมหวังมาให้ จึงเป็ นสิ่งที่ดีสำหรับเขาด้วยปรารถนาความ
สุขแก่ชาวบ้านส่วนมาก เนื่องจากเป็ นที่ยอมรับของสังคม นำมาซึ่งความสงบสุข สบายใจอันเป็ นที่
ต้องการไขว่คว้าของคนส่วนมาก เบื้องหน้าของมนุษย์นั้นมีสิ่งที่พวกเขากำลังเผชิญอยู่สองอย่างหลัก ๆ
คือสุขกับทุกข์ ประโยชน์กับโทษ สุขและประโยชน์เป็ นผลลัพธ์ที่ทุกคนปรารถนามุ่งไปสู่ ทุกข์และ
โทษเป็นผลลัพธ์ที่ทุกคนปรารถนาหลีกเว้นไม่อยากพานพบ ไม่ต้องการให้เกิดขึ้นกับตน ชาวบ้านส่วน
มาก ครูใหญ่ แม้แต่ตัวแทนทางศาสนาต้องการให้เกิดความสุข ความสงบแก่หมู่บ้านด้วยการกำจัดสิ่ง
แปลกปลอม ความชั่วร้าย สิ่งจัญไรให้ออกไปจากหมู่บ้านของเขา นำสิ่งใหม่ ๆ เข้ามาในหมู่บ้าน ไฟฟ้ า
11

โทรศัพท์ (ตามวิสัยทัศน์ครูใหญ่) น้ำไหล ไฟสว่าง ทางดี มีเงินใช้ เหล่านี้เป็นเครื่องหมายแห่งความสุข


ของชาวบ้าน ชาวบ้านมองว่าการสร้างสรรค์สิ่งเหล่านี้ขึ้นนำมาซึ่งประโยชน์มากที่สุดแก่คนจำนวนมาก
ที่สุด การขจัดจุดอ่อนที่สังคมไม่ปรารถนาให้ออกไป การผลักใสไล่ส่งฟัก นางสมทรง(หญิงสติไม่สม
ประกอบ) ฆ่าสุนัขบ้าให้ตายไป นำมาซึ่งประโยชน์มากที่สุดแก่คนจำนวนมากที่สุด ยืนยันความสุขใน
เชิงประโยชน์นิยมอย่างแนบแน่น นิยามคุณค่าทางจริยธรรม(ความดี)ว่าเป็ นสิ่งเดียวกับความสุข ไม่
สามารถแยกออกจากกันได้ การมีสิ่งของเครื่องใช้ใหม่ ๆ แปลก ๆ เครื่องใช้ไฟฟ้ าที่ไม่เคยมีมาก่อนเป็ น
ความสุข (ตอนนี้หมู่บ้านเราก็มีไฟฟ้ าใช้แล้ว ยังเหลืออยู่อย่างหนึ่ง อะไรหละครับ โทรศัพท์ไง แหมครู
ใหญ่ช่างเป็นคนมีวิสัยทัศน์จริง ๆ นะครับ...คำสนทนาของครูใหญ่กับผู้ใหญ่บ้านคนใหม่)
ส่วนประโยชน์นิยมเชิงพหุหรืออุดมคตินั้นเกิดมาจากว่า “(ก) เป็ นสิ่งที่ถูกหรือดีก็ต่อเมื่อ
(ก)เป็นสิ่งที่มีค่าในตัวเองที่ทุกคนปรารถนา” นี้เป็นประโยชน์นิยมอย่างหนึ่งที่มากกว่าความสุขทางเนื้อ
หนังมังสามากกว่าความสุขที่เนื่องด้วยวัตถุ หากแต่เป็ นคุณสมบัติอื่น ๆ เช่น ความรู้ ความดี ความงาม
หรือคุณค่าทางจริยธรรมอื่น ๆ ที่เป็ นนามธรรมล้วนเป็ นสิ่งที่ทุกคนปรารถนา ชาวบ้านในท้ายที่สุดแล้ว
ต้องการสิ่งอื่นที่มากมายเกินกว่าหนึ่งอย่างและสิ่งนั้นเป็ นคุณค่าอันทรงความหมายยิ่งแก่ทุก ๆ คน
เป็ นต้นว่าความสงบสุข ความมีศีลธรรมอันดี (ตามการยอมรับของชาวบ้าน) ความสงบและความมีศีล
ธรรมอันดีของชาวบ้านล้วนเป็ นสิ่งที่มีค่าในตนเอง สอดรับกับคำกล่าวของ จอห์น สจร๊วต มิลล์ อันถือ
เป็นอุดมคติของชาวประโยชน์นิยมเชิงอุดมคติหรือเชิงพหุว่า “เป็ นโสเครตีสที่มีแต่ความทุกข์ดีกว่าเป็ น
คนโง่ที่มีความสุข” ดังจะเห็นจากฟักเที่ยวหาการยอมรับจากชาวบ้าน (“นาง..ต่อไปนี้นางอย่าออกไป
ไหนนะ ชาวบ้านเขาอภัยให้ฉันแล้ว...” คำพูดของฟักหลังจากฆ่าสุนัขจรจัดตายแล้ว มีชาวบ้านเอาโกษฐ์
ทองเหลืองสำหรับไว้เก็บกระดูกลุงฟูมามอบให้เป็นการขอบคุณ) เพื่อยืนยันการเป็นสมาชิกคนหนึ่งของ
สังคม ฟักนิยามตัวตนให้ปรากฏและแสดงความมีอยู่ถึงความหมายแห่งตน เป็นการแสวงหาคุณค่าอย่าง
อื่นที่นอกเหนือจากความสุขทางกาย การยอมรับที่ฟักแสวงหาไขว่คว้านั้นเป็ นสิ่งที่มีคุณค่าในตัวเอง
มิได้มีคุณค่าในฐานะเป็ นสะพานไปสู่สิ่งอื่น เขาไล่คว้ามันเพราะตัวมันเอง ฉากเกือบ ๆ ท้ายเรื่องที่ฟัก
นำนางสมทรงไปสถานีรถไฟซื้อตั๋วเพียงใบเดียวใส่ในมือของสมทรงพร้อมกำชับว่า (นาง...ถ้ารถไปมา
ให้นางขึ้นไปก่อนนะ) หวังจะปล่อยให้สมทรงกลับกรุงเทพฯเองนั้น เป็นฉากที่อธิบายการต่อสู้ระหว่าง
กันการแสวงหาคุณค่าจากการยอมรับของชาวบ้าน(กระทำเพื่อตนเอง)และคุณค่าของความจริงที่เกิดจาก
การเข้าใจธรรมชาติมนุษย์บางอย่าง(สัญชาตญาณแห่งความกลัวภัย)ในตัวฟักได้อย่างเป็นรูปธรรม เสียง
ระฆังสัญญาณบอกว่ารถไฟกำลังจะออกยิ่งดังยิ่งเร่งเร้าการตัดสินใจของฟักให้เกิดเร็วขึ้น เสียงล้อรถไป
บดกับรางเหมือนการยอมรับของชาวบ้านอันเป็ นยอดปรารถนาของฟักเป็ นฝ่ ายชนะ ในอีกใจหนึ่งฟักก็
ไม่สามารถปฏิเสธความจริงอีกส่วนหนึ่งในตัวเองได้อย่างเด็ดขาด เขาจึงกระวนกระวายกระสับกระส่าย
แม้แต่ขวดเหล้าในมือก็ยังไม่อยากยกขึ้นดื่ม เหล้าขวดนี้มันอาจเป็ นเพื่อนที่ซื่อสัตย์ในยามทุกข์ได้แต่ใน
ภาวะกดดันที่ต้องตัดสินใจเลือกคุณค่าอย่างทันทีทันใดมันไม่มีคุณค่าใดเลย เขาจึงโยนขวดเหล้าทิ้ง การ
ทิ้งขวดเหล้าไปมันเป็นชัยชนะของความจริงในใจที่มีต่อการยอมรับของชาวบ้าน เหมือนกับฟักบอกตัว
เองว่าคุณค่าที่ยิ่งใหญ่คือการเข้าใจความจริงของมนุษย์ คือคุณค่าที่เกิดจากคุณธรรม ความสงสารและ
ช่วยเหลือผู้ตกทุกข์ได้ยาก(นางสมทรง) มากกว่าคุณค่าจากการยอมรับของชาวบ้าน กว่าจะตัดสินใจได้ก็
12

สายเกินไปรถไฟได้วิ่งออกไปจากสถานีไปเสียแล้ว การต่อสู้ระหว่างความรู้สึกสองฝ่ ายการทำเพื่อ


ตนเองและการทำเพื่อคนอื่นพลิกไปพลิกมา ฟักกำลังตกอยู่ระหว่างทางเลือกที่แสนโหดร้าย(ไดเลมมา)
ไม่ว่าเขาจะเลือกฝ่ ายใดเขาจะทุกข์ทรมานเสมอ หากเลือกการยอมรับชาวบ้านปล่อยสมทรงไปเผชิญ
โชคชะตาด้วยตนเองก็เป็ นการปฏิเสธความจริงของตัวเอง หากฟักเลือกอยู่ฝ่ ายความจริงฟักต้องเผชิญ
การขับไล่จากชาวบ้านอย่างไม่มีที่สิ้นสุด นี่เป็ นความงามของวรรณกรรมคำพิพากษาทีมีอยู่อย่างหลาก
หลายแทบตลอดเรื่อง ท้าทายความคิด กระตุ้นเร้าการตรวจสอบคุณค่าความดีของผู้อ่านอยู่ตลอดเวลา
โดยสรุปต่อปัญหาทางจริยศาสตร์ตามการนิยามคุณค่าทางจริยธรรมเชิงประโยชน์นิยม มองว่า
ความดีคือการเสริมสร้างความสุขมากที่สุดแก่คนจำนวนมากที่สุด และการแสวงหาสิ่งที่มีค่าในตัวเอง
อีกหลายอย่างนอกเหนือจากความสุขทางกาย ต้องค้นพบให้ได้ว่าคนจำนวนมากในสังคมนั้น ๆ จะต้อง
ได้รับความสุขจึงจะตัดสินได้ว่าเป็ นความดี และชีวิตที่ประเสริฐต้องเป็ นชีวิตที่เสริมสร้างความสุขมาก
ที่สุดแก่คนจำนวนมากที่สุดและดำเนินชีวิตโดยแสวงหาสิ่งที่มีคุณค่าในตัวเอง
บทสรุป
ถ้าจะตอบประเด็นปัญหาทางจริยศาสตร์สามประเด็นที่ยกขึ้นเบื้องต้นด้วยการนิยามความดีของ
ชาวธรรมชาตินิยมแล้วสามารถกล่าวได้ว่า ความดีหรือสิ่งที่เรียกว่าดีนั้นคือการยอมรับของแต่ละคน
การเห็นด้วยคนส่วนใหญ่ การกระทำที่สอดรับกับหลักการของศาสนา(ความเชื่อ) และเป็นการกระทำที่
ที่มั่นใจได้ว่าจะเสริมสร้างความสุขมากที่สุดเพื่อคนจำนวนมากที่สุดอันเป็ นสิ่งมีค่าในตนเองที่เป็ นยอด
ปรารถนาของทุกคน เกณฑ์มาตรฐานสำหรับตัดสินปัญหาจริยธรรมของชาวนิยามนิยมก็คือการตรวจ
สอบการยอมรับของตัว สำรวจทัศนคติของคนหมู่มาก ยึดหลักการแท้จริงของศาสนา และยึดผลลัพธ์ที่
เป็ นสุขอันเข้มข้นเพื่อคนหมู่มากและผลลัพธ์นั้นมีค่าในตัวเองและทุกคนปรารถนาจะได้มา ประเด็น
สุดท้ายการใช้ชีวิตในอุดมคติให้เป็ นชีวิตที่ดีที่สุด ชาวธรรมชาตินิยมแบบนิยามนั้นเห็นว่า ต้องใช้ชีวิต
ให้เป็นไปตามความรู้สึกของแต่ละคน(live according to oneself) ให้สอดคล้องกับกฏเกณฑ์ ค่านิยมของ
สังคม ใช้ชีวิตให้เข้าใกล้คำสอนขององค์ศาสดา และใช้ชีวิตแสวงหาความสุขให้มากที่สุดทั้งโดยการก
ระทำและโดยหลักการ
โศกนาฏกรรมที่เกิดขึ้นกับวิญญาณของลุงฟู การตายของฟัก ชะตากรรมของนางสมทรง และ
การฆาตกรรมสุนัขจรจัด อาจเรียกได้ว่าเป็ นผลลัพธ์ความดีของชาวบ้าน ความดีของสังคม ความดี
กระแสหลัก ความดีของกระบวนการขัดเกลาทางสังคมซึ่งประกอบด้วย บ้าน วัด โรงเรียน ไปสู่ปัจเจก
นี่คือโศกนาฏกรรมบนพื้นฐานความดีของชาวธรรมชาตินิยมแบบหนึ่ง
บทสะเทือนอารมณ์ กระแทกความรู้สึก กระทบความดี ที่กระทำต่อเกณฑ์มาตรฐานของสังคม
ผ่านพฤติกรรมของชายสูงอายุของลุงฟู ผ่านการยอมรับของชายหนุ่มชื่อฟัก ปรากฏในพฤติกรรมไม่
เหมือนคนอื่นของนางสมทรง ผ่านคุณสมบัติอันคาดเดาได้หลายนัยยะของสุนัขจรจัด นำไปสู่จุดไคล์
แม็กของเรื่องได้อย่างสิ้นสงสัย แต่ชวนตั้งคำถามยิ่งนักว่า พฤติกรรมของปัจเจกบุคคลและสัตว์ดังกล่าว
ผิด เลว ชั่วจริงหรือ สายตาที่ชาวบ้านมองพวกเขาเป็ นธรรมหรือไม่ หรือหากพิจารณาในมุมกลับ
สถาบันหลักของสังคมต่างหากที่ถูกกระทำโดยปัจเจก บ้าน วัด โรงเรียน ต่างหากที่ถูกปัจเจกอย่าง ลุงฟู
13

ฟัก สมทรง และสุนัขจรจัด พิพากษาว่า ผิด เลว ชั่ว และไม่ยุติธรรม อาจคิดได้ในเชิงตรรกะ หากการ
พิจารณาแบบหลังเป็นจริงเราก็สามารถกล่าวได้ว่า ส่วนรวมย่อมถูกกระทำโดยปัจเจกเสมอ
ไม่ว่าความดีแท้จริงจะเป็ นการยอมรับของคนแต่ละคน ความเห็นของคนส่วนใหญ่ หลักการ
ของศาสนา หรือความสุขอันเป็ นที่ปรารถนาและมีค่าในตัวเองหรือไม่ก็ตาม วรรณกรรมรางวัลซีไรท์
ของชาติ กอบจิตติ เรื่องคำพิพากษา หรือแม้แต่การนำมาสู่เรื่องราวบนแผ่นฟิ ล์มในนาม “ไอ้ฟัก” ที่อาจ
จะเบี่ยงเบนในรายละเอียดไปบ้างนั้น แต่แก่นแกนความคิดก็ยังคงอยู่ สาระที่ชวนพิเคราะห์ก็ไม่ได้ขาด
หายไปแต่ประการใด ยังทรงคุณค่า ท้าทายความคิด ให้ผู้อ่านได้กลับมาไตร่ตรองมาตรฐานความดีของ
ตนเองได้อย่างลุ่มลึกแยบยลในลีลาการนำเสนอเรื่อง สะเทือนอารมณ์ด้วยความรุนแรง รุนแรงเชิง
เนื้อหาสาระ รุนแรงเชิงความคิด รุนแรงด้วยการท้าทายตรวจสอบเป็ นอย่างยิ่ง นำเสนอสิ่งที่เป็ น
นามธรรมอันละเอียดอ่อนออกมาเป็ นรูปธรรมให้โลดแล่นผ่านตัวละครในเรื่องได้อย่างโดดเด่น จึง
ไม่ใช่สิ่งที่แปลกที่นักวิจารณ์ซึ่งเป็ นผู้ทรงความรู้เชี่ยวชาญออกมาวิเคราะห์ วิพากษ์ในมุมมองความคิด
ของตน ชี้ให้เห็นการสื่อความคิดเหล่านั้นตามกรอบลัทธิปรัชญาต่างๆที่ท่านเหล่านั้นยกขึ้นมาอ้าง และ
คุณค่าทางจริยธรรมที่พิจารณาผ่านกรอบคิดของการนิยามแบบต่างๆที่กล่าวมานี้สามารถเรียกได้ว่าเป็ น
ธรรมชาติแห่งความดีในคำพิพากษา
บรรณานุกรม
เฉลิมเกียรติ ผิวนวล. อภิจริยศาสตร์. สาขาปรัชญา คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์:
เจริญวิทย์การพิมพ์, มปป.
ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์. “25 ปี คำพิพากษากับคำอุทรณ์ของสมทรง(1)”. มติชนสุดสัปดาห์ 9 -15
มิถุนายน 2549 หน้า 89-90.
---------------------------- “25 ปี คำพิพากษากับคำอุทรณ์ของสมทรง(2)”. มติชนสุดสัปดาห์ 16 - 22
มิถุนายน 2549 หน้า 89-90.
---------------------------- “25 ปี คำพิพากษากับคำอุทรณ์ของสมทรง(3)”. มติชนสุดสัปดาห์ 23 - 29
มิถุนายน 2549 หน้า 89-90.
บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด(มหาชน). วีดีโอ-ซีดี เรื่อง ไอ้ฟัก. 2547.
อิราวดี ไตลังคะ. “25 ปี การวิจารณ์คำพิพากษา : เวลาเปลี่ยน แนวทางการวิจารณ์เปลี่ยน” มติชนสุด
สัปดาห์ 1 – 7 กันยายน 2549 หน้า 89-90.

You might also like