Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 5

สุขภาพองค์รวม

สุขภาพองค์รวม หมายถึง ความผาสุกทางร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ ไม่เพียงแต่ไม่เจ็บป่วย


หรือไม่มโี รคเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมถึงชีวิตที่ยืนยาวและมีความสุข
องค์ประกอบของสุขภาพองค์รวมในระดับบุคคล มี 4 มิติ คือ
1. มิติทางกาย หมายถึง การมีร่างกายที่สมบูรณ์แข็งแรง ปราศจากโรคหรือความเจ็บป่วย โดยมีปัจจัย
ต่างๆ เช่น อาหาร สิ่งแวดล้อม ที่อยู่อาศัย ปัจจัยสนับสนุนเศรษฐกิจพอเพียงและส่งเสริมสุขภาพ
2. มิติด้านจิตใจ หมายถึง การที่บุคคลมีสภาพจิตใจ จิตใจแจ่มใส ปลอดกังวล มีความสุข มีเมตตา
และไม่เห็นแก่ตัว
3. มิติด้านสังคม หมายถึง ความอยู่ดีมีสุขของครอบครัว สังคม และชุมชน โดยชุมชนสามารถให้
การ์ตูนแก่กัน สังคม การอยู่อย่างหล่อหลอมหรือความเสมอภาคด้วยความยุติธรรม และมีระบบการบริการที่ดี
และทั่วถึง
4. มิติทางจิตวิญญาณ หมายถึง ความผาสุกที่เกิดจากการสัมผัสทางจิตใจในสิ่งที่บุคคลยึดถือและ
เคารพสูงสุด ทำให้เกิดความหวัง เชื่อมั่น ศรัทธา มีบุญ มีเมตตากรุณา ไม่เห็นแก่ตัว มีความเสียสละและยินดีที่
ได้เห็นความสุขหรือความสำเร็จของผู้อื่น อย่างไรก็ตาม ความผาสุกทางใจจะเกิดขึ้นได้เมื่อ บุคคลมีความหลุดพุ้
นจากตนเอง
ที่มา : ดวงจันทร์ ทิพย์ปรีชา และคณะ รายงานการวิจัย เรื่องภาวะสุขภาพและการออกกำลังกาย
ของบุคลากรฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลศิริราช (2547:5-6)

ความฉลาดทางสุขภาพ (Health Literacy)


องค์การอนามัยโลก (1998) นิยามว่า “Health literacy represents the cognitive and social skills
which determine the motivation and ability of individuals to gain access to, understand and
use information in ways which promote and maintain good health”
โดยสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข แปลความหมายไว้ว่า “ทักษะที่เป็นทางการ ความรู้ความเข้าใจ และทักษะ
ทางสังคม ซึ่งเป็นตัวกำหนดแรงจูงใจและความสามารถของแต่ละบุคคลในการเข้าถึง เข้าใจ และใช้ข้อมูลเพื่อ
ส่งเสริมและรักษาสุขภาพที่ดีของตนเองอยู่เสมอ” (สวรส.2541)
กองสุขศึกษาได้ให้ความหมายของความฉลาดทางสุขภาพ (Health Literacy) หมายถึงความสามารถ
และทักษะในการเข้าถึงข้อมูล ความรู้ ความเข้าใจเพื่อวิเคราะห์ ประเมินการปฏิบัติและจัดการตนเอง รวมทัง้
สามารถชี้แนะเรื่องสุขภาพส่วนบุคคล ครอบครัวและชุมชนเพื่อสุขภาพที่ดี การที่จะมีความฉลาดทางสุขภาพได้
คนๆ นั้นจะต้องมีคุณลักษณะสำคัญ 6 ประการ ได้แก่
- การเข้าถึง ความสามารถในการเข้าถึงซึ่งแหล่งความรู้หรือการได้มาซึง่ ความรู้ด้านสุขภาพ
- การมีความรู้ เกี่ยวกับสุขภาพที่ถูกต้องและเป็นปัจจุบัน
- การวิเคราะห์ ความสามารถในการนำความรู้ความเข้าใจมาสื่อสารแลกเปลี่ยนกันระหว่างกลุ่มเพื่อร่วมกัน
วิเคราะห์ เปรียบเทียบและประเมินก่อนที่จะตัดสินใจ
- การตัดสินใจ ความสามารถในการตัดสินใจเลือกที่จะกระทำหรือไม่กระทำการใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดูแล
สุขภาพ
- การลงมือปฏิบัติ การกระทำการดูแลสุขภาพตนเอง ครอบครัวและชุมชน
- การรู้เท่าทันสื่อเพือ่ นำไปสู่การมีสุขภาพดี
กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข. (2554)

การพัฒนาวิถีชีวิตสร้างสรรค์
การสร้างเสริมสุขภาพ หมายถึง กระบวนการปฏิบัติเพื่อให้เกิดสุขภาพกายแข็งแรง เจริญเติบโต
ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บและสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข วิธีการสร้างเสริมสุขภาพของตนเอง
สามารถปฏิบัติได้ดังนี้
1.รับประทานอาหารที่มีคุณค่าทาสงโภชนาการหลากหลาย
2. ออกกำลังสม่ำเสมอ ทำจิตใจให้เบิกบานจะช่วยคลายความเครียด
3.ทำสมาธิ เล่นโยคะหรือการนวดเพื่อสุขภาพเพื่อผ่อนคลายความเครียด
4.ละเว้นสารเสพติดทุกชนิดที่จะบั่นทอนสุขภาพ
5.หลีกเลี่ยงความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดอุบัติเหตุ
6.ตรวจสุขภาพประจำปี ซึ่งเป็นการดูแลและส่งเสริมสุขภาพที่ดีมาก

การบริหารจิต คือ การฝึกฝนอบรมจิตใจให้ดีงาม นุ่มนวล อ่อนโยน มีความหนักแน่นมั่นคง แข็งแกร่ง


และมีความผ่อนคลายสงบสุข การบริหารจิตในทางพุทธศาสนามี 2 อย่าง
1.สมถกรรมฐานหรือสมาธิภาวนา คือการฝึกจิตให้เกิดความสงบ เรียกว่า สมาธิ
2.วิปัสสนากรรมฐาน คือการฝึกอบรมจิตให้เกิดปัญญา เป็นความรู้แจ้งเห็นจริงตามสภาพที่เป็นจริง
การออกกำลังกาย
ออกกำลังกายแบบหนัก มีกีฬาชนิด ฟุตบอล วิ่งแข่ง บาสเกตบอล ฟุตซอล ฯลฯ เป็นกีฬาที่ต้องเคลื่อนที่
ตลอดเวลา ทำให้หัวใจทำงานหนักแบบต่อเนื่อง
ออกกำลังกายแบบปลานกลาง เช่น ปั่นจักรยาน จ็อกกิ้ง กระโดดเชือก ฯลฯ ซึ่งสามารถประมาณความหนักได้
จาก การพูดคุยเป็นประโยคได้บ้าง
ออกกำลังกายแบบเบา เช่น ยืนแกว่งแขนลดพุงลดโรค การเดิน ย่ำเท้ากับที่ หรือเดินเร็ว
เมื่อเราออกกำลังกาย อย่างน้อย 20-30 นาที จะทำให้เรามีความสดชื่น มีความตื่นตัว แจ่มใส มีบุคคลิกภาพที่ดี
มีความสุขเมื่อเราออกกำลังกาย
นวัตกรรมเสริมสร้างสุขภาพ
นวัตกรรมสร้างเสริมสุขภาพ หมายถึง แนวคิด กระบวนการหรือสิ่งประดิษฐ์ที่เกิดขึ้นจากการผสมผสาน
ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์บนฐานของวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมให้เป็นผลงานที่นำไปสู่การ
แก้ปัญหาหรือพัฒนาสังคมสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับ สุขภาวะช่วยลดพฤติกรรมเสี่ยงทางสุขภาพหรือส่งเสริม
ให้คนมีสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืน
แนวทางการใช้เทคโนโลยี นวัตกรรม เพื่อสร้างเสริมสุขภาพ
• ลดพฤติกรรมเสี่ยงทางสุขภาพ: เช่น ลดการสูบบุหรี่ ลดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ลดการเกิดอุบัติเหตุ
• การเสริมสร้างสุขภาพ: เช่น เสริมสร้างการบริโภคอาหารที่ถกู สุขลักษณะ อาหารปลอดภัย อาหารที่ไม่
ก่อให้เกิดโรค เสริมสร้างการมีกิจกรรมทางกาย ออกกำลังกาย เสริมสร้างการดูแลตนเองให้ลดการเกิดโรคต่าง

• สนับสนุนกิจกรรม/ เครื่องมือ: เช่น เครื่องมือ อุปกรณ์ทเี่ กี่ยวข้องการกับตรวจร่างกาย

ตัวอย่างนวัตกรรม
1. ขยายเต้านมด้วยตัวเอง
เมื่อผู้หญิงต้องทำการผ่าตัดเต้านม ตัวอย่างเช่นผ่าตัดมะเร็งเต้านม การเสริมเต้านมด้วยถุงน้ำเกลือต้องผ่าน
กระบวนการเจ็บปวดหลายขั้นตอนโดยศัลยแพทย์ ทั้งเข็มทั้งยาชา พบแพทย์หลายครั้ง เสี่ยงถุงรั่ว ควบคุม
รูปทรงให้เหมือนธรรมชาติก็ยาก Aeroform tissue expander system คือตัวช่วยที่ทำให้ผู้ป่วยผ่าน
กระบวนการเหล่านี้ได้ง่ายขึ้น ศัลยแพทย์เพียงผ่าตัดนำ Aeroform เข้าทรวงอกครั้งเดียว Aeroform จะเพิ่ม
ลดขนาดด้วยการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ ควบคุมผ่านรีโมทคอนโทรล ค่อยๆ กดปุ่มเพื่อขยายก้อนซิลิโคนที
ละนิด จนกว่าจะได้ขนาดและรูปทรงที่ต้องการ
2.ตัดต่อพันธุกรรมป้องกันโรคร้าย
การตัดต่อพันธุกรรมหรือClustered Random Interspaced Short Palindromic Repeat (CRISPR) หรือ
เทคโนโลยีตัดต่อแก้ไขรหัสพันธุกรรมที่มีส่วนต่อการเกิดโรคร้ายหรือเรียงลำดับของ DNA ใหม่ โดย CRISPR
เป็นเทคนิคที่มีมาก่อนหน้าและนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยสุขภาพและวิทยาศาสตร์โอเรกอนเป็นหน่วยงานแรก
ในสหรัฐที่พยายามเข้าไปแก้ไข DNAในตัวอ่อนของมนุษย์ (human embryo) เพื่อตัดต่อพันธุกรรมที่ทำให้เกิด
โรค เช่น การกลายพันธุ์ที่ส่งผลกระทบต่อการทำงานของหัวใจ CRISPRยังต้องผ่านการทดลองอีกมากก่อนจะ
นำมาทำการแก้ไขเซลล์ตัวอ่อนที่จะเติบโตขึ้นมาเป็นมนุษย์จริงๆ
3.ฉีดเอนไซม์เข้าสู่สมอง
Batten Disease คือโรคพบได้ยากที่เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรมในเด็กโดยเอนไซม์ที่ติดเชื้อในสมองจะ
ทำให้เกิดระบบประสาททำงานผิดปกติและการฉีดเอนไซม์ทดแทนเข้าไปก็ใหญ่เกินไปกว่าที่จะส่งผ่านเยื่อหุ้ม
สมอง แต่กับ Brineuraที่ผ่านการรับรองจากองค์การอาหารและยาสหรัฐ (FDA) ศัลยแพทย์จะบายพาสข้ามทุก
อย่างด้วยการใช้ระบบพิเศษฉีดเอนไซม์เข้าสู่ช่องสมองได้โดยตรง (intraventricular infusion)โดยใช้เวลา
ประมาณสี่ชั่วโมงกว่าและเทคนิคนี้ยังสามารถใช้บำบัดอาการทางสมองอื่นๆ ที่ใกล้เคียงได้อีก
4.หยุดปวดหัวโดยไม่ต้องใช้ยา
Vagus Nerve เส้นประสาทคู่ที่ 10 คือเส้นประสาทในกะโหลกที่ยาวที่สุดร้อยจากก้านสมองสู่ช่องท้อง การ
กระตุ้นเส้นประสาทด้วย GammaCore คือการกระตุ้น Vagus Nerveโดยไม่ทำให้ร่างกายคนไข้บาดเจ็บไม่
ต้องผ่าตัดฝังเครื่อง
กระตุ้นไม่ใช้ยาคลื่นไฟฟ้าอย่างอ่อนจะเปลี่ยนการทำงานของประสาทในทางที่เป็นประโยชน์ เช่น การปวด
ศีรษะแบบคลัสเตอร์ (Cluster Headache) รอบเบ้าตา
5.มือกลฝึกมือจริง
เมื่อผู้ป่วยเป็นโรคหลอดเลือดสมอง (Stroke)อาการสำคัญคือมือของพวกเขามักใช้การไม่ได้ Rapael
SmartGloveคือตัวช่วยในการบริหารมือเชื่อมต่อกับแอพพลิเคชั่นเกมฝึกการใช้มอื หลายตัวในแอนดรอยด์ โดย
ปรับขั้นตอนให้เหมือนเกม เซนเซอร์ในถุงมือกลจะตามการเคลือ่ นไหวของผู้ป่วยในการฝึกการใช้มือทำกิจวัตร
ตามเกม เช่น บีบส้ม ขยับสิ่งของ รับลูกบอล ทาสี เป็นต้น หลังจากนั้นระบบจะแสดงผลพัฒนาการขององศา
หรือการเคลื่อนไหวที่ทำได้ ทำให้ผู้ป่วยเรียนรู้ที่จะฝึกการเคลื่อนไหวมือให้ดีขึ้นเรื่อยๆ โดยอาศัยข้อมูลเหล่านี้
เป็นฐาน

การตรวจสุขภาพเบื้องต้นด้วยตนเอง
ความหมายของการตรวจสุขภาพ คือ การค้นหาความผิดปกติ (โรค) ในระยะเริ่มแรกให้เร็วที่สุด
เพื่อที่จะรับมือกับความผิดปกตินั้น ตั้งแต่เริ่มแรก สำหรับผู้ที่ยังไม่มอี าการแสดงของการเจ็บป่วยนั้น การตรวจ
สุขภาพจะนำไปสู่การตรวจเพิ่มเติมที่ละเอียดได้เหมาะสมมากขึ้น ซึ่งนำไปสู่การควบคุมความรุนแรงของโรค
หรือการรักษาตั้งแต่ระยะแรก ทำให้ง่ายต่อการจัดการดูแลโรคในระยะยาว
การตรวจสุขภาพเบื้องต้น คือการวัดค่าดัชนีมวลกาย ,การตรวจเลือด, การตรวจวัดสายตา , การวัด
ความดัน และอัตราการเต้นของหัวใจ
ความสำคัญของการตรวจสุขภาพเบื้องต้นด้วยตนเอง สุขภาพมีความสำคัญต่อคนเราเป็นอย่างมากเรา
จึงควรรักและดูแลร่างกายให้ดี รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกาย ตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี
เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง

การตรวจสุขภาพประจำปี
-การซักประวัติเกี่ยวกับความเสี่ยงและสอบถามอาการทั่วๆ ไป
- การประเมินสภาพร่างกาย และตรวจสัญญาณชีพเบื้องต้น ได้แก่ ชีพจร ความดันโลหิต อัตราการหายใจ
น้ำหนักตัว ส่วนสูง ดัชนีมวลกาย ความยาวรอบเอว เป็นต้น
- การตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น ตรวจความสมบูรณ์ของเลือด ตรวจดูระดับนํ้าตาล ตรวจระดับไขมันคลอ
เลสเตอรอลในเลือด ตรวจคัดกรองโรคมะเร็ง เซ่น ตรวจเนื้อเยือ่ จากปากมดลูกเพื่อหาภาวะเสี่ยงมะเร็งปาก
มดลูก ตรวจเลือดในอุจจาระเพื่อคัดกรองโรคมะเร็งลำไส้ ตรวจ Mammography เป็นต้น

การประเมินภาวะสุขภาพ
การประเมินภาวะสุขภาพ เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูล บุคคลครอบครัวและชุมชนอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
เพื่อทราบปัญหาหรือความต้องการทางสุขภาพของบุคคลครอบครัวและชุมชนซึ่งความรู้เบื้องต้น
ประเภทของการประเมินภาวะสุขภาพ
-การประเมินภาวะสุขภาพแบบเบ็ดเสร็จ (Comprehensive assessment)ครอบคลุมการซักประวัติสุขภาพ
และการตรวจร่างกายอย่างสมบูรณ์ตั้งแต่ผู้รับบริการเข้ามาในโรงพยาบาลหรือตั้งแต่หน่วยแรกรับผู้ป่วยจนเข้า
รับการรักษาในโรงพยาบาล การประเมินทั้งปัญหาสุขภาพที่เกิดขึ้นของผู้รับบริการการส่งเสริมสุขภาพการ
ป้องกันโรคปัจจัยเสี่ยงหรือปัญหาที่เกิดขึ้นตามช่วงอายุหรือเพศ
-การประเมินสุขภาพที่เน้นเฉพาะอาการ (Problem based / focused assessment) คือได้จากการซัก
ประวัติและการตรวจร่างกายคล้ายกับการประเมินสุขภาพแบบเบ็ดเสร็จแต่จะเน้นเฉพาะปัญหาหรืออาการ ที่
เกิดขึ้นมักจะประเมินในคลินิกสุขภาพแผนกห้องฉุกเฉินหรือแผนกผู้ป่วยนอกเช่นผู้รับบริการมาด้วยอาการปวด
ท้องกะทันหันการซักถามจะเน้นเฉพาะระบบที่เป็นปัญหาหรือที่เกี่ยวข้องเช่น ระบบทางเดินอาหารลำไส้การ
ขับถ่ายเป็นต้น
-การประเมินเพื่อติดตามการรักษา (Episodic / follow-up assessment) เป็นการประเมินเพื่อติดตาม
ผลการรักษาที่ผ่านมา เช่น การประเมินระดับน้ำตาลในเลือดของผู้รับบริการที่เป็นโรคเบาหวานภายหลังได้รับ
ยาลดระดับน้ำตาลในเลือดการวัดความดันโลหิตในผู้รับบริการที่ได้รับยาควบคุมความดันโลหิตการติดตาม
อาการภายหลังได้รับยาปฏิชีวนะครบตามแผนการรักษาเป็นต้นนอกจากนี้การประเมินประเภทนี้ยังรวมถึงการ
ติดตามอาการของผู้รับบริการอีกด้วย
-การประเมินเพื่อคัดกรองสุขภาพ (Screening assessment) การประเมินสุขภาพประเภทนี้เพื่อตรวจคัดกรอง
โรคซึ่งสามารถปฏิบัติในช่วงระยะเวลาสั้นๆและไม่เสียค่าใช้จ่ายมากเช่นการตรวจวัดความดันโลหิตระดับ
น้ำตาลในเลือดไขมันในเลือดและตรวจปัสสาวะเป็นต้น

ที่มา :
สำนักงานกองทุนสนับการสร้างเสริมสุขภาพ. (2551). การสร้างเสริมสุขภาพ. (ออนไลน์)
สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ. (2560). นวัตกรรมสุขภาพ. (ออนไลน์)
ศูนย์ศรีพัฒน์คณะแพทย์ศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (2562). การตรวจสุขภาพ. (ออนไลน์)
คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร. (2562). หลักการประเมินสภาวะสุขภาพ. (ออนไลน์)

You might also like