การปฏิบัติการสงตอผูปวยฉุกเฉิน ระหวางสถานพยาบาล

You might also like

Download as pdf or txt
Download as pdf or txt
You are on page 1of 124

การปฏิบัติการสงตอผูปวยฉุกเฉิน

ระหวางสถานพยาบาล
reventio

n
P
EMERGENCY
EMERGENCY

การปฏิบัติการสงตอผูปวยฉุกเฉิน
ระหวางสถานพยาบาล
(Interfacility Patient Transfer)
ชื่อหนังสือ : การปฏิบัติการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินระหว่างสถานพยาบาล
Interfacility Patient Transfer
พิมพ์ครั้งแรก : พฤศจิกายน 2557
ISBN : 978-616-91895-9-6
บรรณาธิการ
นางสาวกมลทิพย์ แซ่เล้า นพ.ธานินทร์ โลเกศกระวี
พญ.สมจินตนา เอี่ยมสรรพางค์์
กองบรรณาธิการ
ดร.ประภาพร สุวรัตน์ชัย
นางสาววิมลวรรณ กมลบุรี
นางนันท์นลิน นาคะกุล
นางสาวอุรา สุวรรณรักษ์
นายสุวภัทร อภิญญานนท์
และคณะทำ�งาน
ที่ปรึกษา
นพ.อนุชา เศรษฐเสถียร พ.อ.นพ.สุรจิต สุนทรธรรม
นพ.ภูมินทร์ ศิลาพันธ์ นพ.ภควัต จุลทอง
ดร.นพ.วรสิทธิ์ ศรศรีวิชัย นพ.ประสิทธิ์ วุฒิสุทธิเมธาวี
จัดพิมพ์ โดย :
สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.)
88/40 หมู่ที่ 4 ซอยสาธารณสุข 6 ถนนติวานนท์ ตำ�บลตลาดขวัญ
อำ�เภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000

พิมพ์ที่ : บริษัท อัลทิเมท พริ้นติ้ง จำ�กัด E-mail : umnart_p@hotmail.com


คำ�นำ�
การปฏิ บั ติก ารส่งต่อผู้ป ่ว ยฉุก เฉิน ระหว่างสถานพยาบาล (Interfacility
Patient Transfer) เล่ ม นี้ คณะท�ำงานได้ จั ด ท�ำคู ่ มื อ การปฏิ บั ติ ก ารส่ ง ต่ อ ผู ้ ป ่ ว ย
ฉุกเฉินระหว่างสถานพยาบาล เพื่อให้เห็นภาพของระบบปฏิบัติการฉุกเฉิน ในการส่ง
ต่อผู้ป่วยฉุกเฉินระหว่างสถานพยาบาล โดยเริ่มจากระดับนโยบาย ปฏิบัติการที่เริ่ม
ตั้งแต่การจ�ำแนกระดับความเฉียบพลันของอาการผู้ป่วย การบริหารและแนวทาง
พัฒนาทรัพยากร วิธีปฏิบัติในการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉิน การประเมินคุณภาพ การรายงาน
การส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉิน และการติดตามประเมินผลในภาพรวมของระดับสถานพยาบาล
จังหวัด และเครือข่ายบริการสุขภาพ เพื่อให้เกิดวงจรการพัฒนาและปรับปรุงคุณภาพ
ในการปฏิบัติการฉุกเฉิน รวมทั้งการจัดท�ำปฏิบัติการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินระหว่างสถาน
พยาบาลในสถานการณ์ความไม่สงบของจังหวัดชายแดนภาคใต้ นอกจากนี้ยังมีแผนที่
จะพัฒนาในระยะต่อไปในอีกหลายประเด็น เช่น ระบบสารสนเทศการส่งต่อผู้ป่วย
ฉุกเฉิน ระบบการค้นหาสถานพยาบาลปลายทางที่มีศักยภาพในการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน
และศูนย์ประสานการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉิน เป็นต้น

คณะท�ำงานหวั ง เป็ น อย่ า งยิ่ ง ว่ า การปฏิ บั ติ ก ารส่ ง ต่ อ ผู ้ ป ่ ว ยฉุ ก เฉิ น


ระหว่างสถานพยาบาล เล่มนี้ จะเป็นคู่มือที่น�ำไปใช้ในการพัฒนาระบบปฏิบัติการ
ส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินระหว่างสถานพยาบาล เพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิผู้ป่วยฉุกเฉิน
ให้ ไ ด้ รั บ การบ�ำบั ด รั ก ษาเฉพาะอย่ า งทั น ท่ ว งที และหากท่ า นมี ข ้ อ เสนอแนะที่
ต้ อ งการให้ ป รั บ ปรุ ง โปรดเสนอแนะมายั ง สถาบั น การแพทย์ ฉุ ก เฉิ น แห่ ง ชาติ
E-mail : ems_std2014@niems.go.th
คณะท�ำงาน
สิงหาคม 2557
สารบัญ
บทที่ 1 บทนำ� 1
ความเป็นมา 1
วัตถุประสงค์ของการปฏิบัติการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉิน 4
ระหว่างสถานพยาบาล
ขอบเขตการปฏิบัติการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินระหว่าง 5
สถานพยาบาล
นิยามศัพท์ 5
ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ 6

บทที่ 2 ระบบปฏิบัติการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินระหว่าง 7
สถานพยาบาล (Interfacility patient transfer System)
กระบวนการและขั้นตอนการปฏิบัติการส่งต่อ 8
ผู้ป่วยฉุกเฉินระหว่างสถานพยาบาล

บทที่ 3 การจำ�แนกระดับความเฉียบพลันของอาการผู้ป่วย 15
ในปฏิบัติการฉุกเฉินระหว่างสถานพยาบาล
(Levels of Patient Acuity for Interfacility Transfer)
บทที่ 4 การบริหารทรัพยากรในปฏิบัติการส่งต่อ 21
ผู้ป่วยฉุกเฉินระหว่าง สถานพยาบาล
ด้านบุคลากร 22
ด้านรถพยาบาล 33
ด้านเครื่องมือและอุปกรณ์ 36
ด้านยา สารน�้ำและเวชภัณฑ์ 38

บทที่ 5 การดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินในปฏิบัติการฉุกเฉิน 41
ในการส่งต่อผู้ป่วยระหว่างสถานพยาบาล
การเตรียมผู้ป่วยฉุกเฉินก่อนการส่งต่อ (Pre Transfer) 42
การดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินระหว่างการส่งต่อ (During Transfer) 45
การส่งมอบผู้ป่วยฉุกเฉินหลังการส่งต่อ (Post Transfer) 46
การประเมินและการสะท้อนกลับข้อมูลการส่งต่อ 48

บทที่ 6 การปฏิบัติการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินระหว่าง 51
สถานพยาบาล รูปแบบพิเศษ
การปฏิบัติการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินระหว่างสถานพยาบาล 51
ในสถานการณ์ความไม่สงบพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

บรรณานุกรม 67
ภาคผนวก 71
(Interfacility Patient Transfer)
การปฏิบัติการสงตอผูปวยฉุกเฉิน
ระหวางสถานพยาบาล

EMERGENCY
reventio
n
P
EMERGENCY
reventio

n
P
บทที่ 1
บทนำ�
ความเป็นมา
“ประเทศไทยออกแบบระบบบริ ก ารสุ ข ภาพเพื่ อ ให้ บ ริ ก ารสุ ข ภาพ
แก่ ป ระชาชนได้ ค รอบคลุ ม ทุ ก พื้ น ที่ มี ก ารกระจายหน่ ว ยบริ ก ารระดั บ ต่ า งๆ ให้
สอดคล้องทั้งในเชิงภูมิศาสตร์ และระดับความเฉียบพลันของอาการผู้ป่วยได้อย่าง
เหมาะสม โดยมีการจัดระบบการส่งต่อผู้ป่วยทั้งฉุกเฉินและไม่ฉุกเฉินให้สามารถเข้าถึง
บริการสุขภาพที่มีคุณภาพตามความจ�ำเป็นได้อย่างเท่าเทียม มีความต่อเนื่องในการรับ
บริการสุขภาพ” นัน่ คือ เจตนารมณ์ของการจัดบริการสุขภาพทีม่ คี ณ ุ ภาพ ประสิทธิภาพที่
เข้าถึงได้อย่างเท่าเทียม และเป็นธรรม อย่างไรก็ตาม ประสบการณ์ในอดีตของหลาย ๆ
ท่านที่ท�ำงานอยู่ในสถานพยาบาลมักประสบปัญหาในการส่งต่อผู้ป่วยทั้งฉุกเฉินและ
ไม่ฉุกเฉิน ทั้งฝ่ายสถานพยาบาลต้นทางและปลายทาง ซึ่งอาจจะมีปัญหามากน้อยแตก
ต่างกัน หลายพื้นที่ได้น�ำปัญหาที่ประสบอยู่มาร่วมกันวางแผนพัฒนาระบบการส่งต่อ
ผู้ป่วยในพื้นที่ของตนเอง พบว่ายังไม่ครอบคลุมในหลายประเด็น รวมทั้งกรณีที่มีการ
ส่งต่อข้ามพื้นที่

การพั ฒ นาระบบการส่ ง ต่ อ ผู ้ ป ่ ว ยที่ ผ ่ า นมายั ง พบประเด็ น ปั ญ หาต่ า ง ๆ


เป็ น ระยะ โดยพบชั ด เจนมากยิ่ ง ขึ้ น เมื่ อ มี ก ารเปลี่ ย นแปลงโครงสร้ า งองค์ ก รทั้ ง
ด้านบริหาร บริการ และระบบหลักประกันสุขภาพ ทั้งท�ำให้เกิดความไม่ชัดเจนใน
ระบบบริ ห ารและบริ ก าร จึ ง เกิ ด ปั ญ หาสื บ เนื่ อ งมา และพบคุ ณ ภาพของระบบ
การดู แ ลรั ก ษาพยาบาล เครื อ ข่ า ยบริ ก ารสุ ข ภาพที่ ป ระกอบด้ ว ยระดั บ ชั้ น ต่ า ง ๆ
ไม่เชื่อมโยง การส่งต่อยั ง ติ ด ขั ด ทั้ ง เรื่ อ งการประสานงานระหว่ า งสถานพยาบาล
ต้ น ทางและสถานพยาบาลปลายทาง การติ ด ต่ อ สื่ อ สาร ใช้ เวลาในการติ ด ต่ อ นาน
รถพยาบาลและพนั ก งานขั บ รถพยาบาลที่ ไ ม่ พ ร้ อ ม เครื่ อ งมื อ และอุ ป กรณ์
ไม่เพียงพอ ขาดแคลนอัตราก�ำลัง ด้านการจัดการระบบข้อมูลการส่งต่อผู้ป่วย ยังมี
ความไม่ ชั ด เจนก่ อ เกิ ด ความยุ ่ ง ยากในการปฏิ บั ติ มี ค วามเข้ า ใจที่ ไ ม่ ต รงกั น
มีปัญหาในการปฏิบัติ ซึ่งความขัดแย้งบางประเด็นก็อาจท�ำให้โอกาสเสี่ยงในการเกิด

การปฏิบัติการสงตอผูปวยฉุกเฉินระหวางสถานพยาบาล (Interfacility Patient Transfer) 1


EMERGENCY
reventio

n
EMERGENCY

P
ความผิดพลาดสูงขึ้น เป็นสาเหตุท�ำให้เกิดเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ขึ้นได้ ท�ำให้มี
การร้องเรียนและฟ้องร้องมากขึ้น (ชาญวิทย์ ทระเทพ และคณะ 2549, พรเพชร
ปัญจปิยะกุล และคณะ 2548)

ต่อมากระทรวงสาธารณสุขได้สนับสนุนให้มีการจัดท�ำแนวทางการพัฒนา
ระบบส่ ง ต่ อ ผู ้ ป ่ ว ย ควบคู ่ ไ ปกั บ การพั ฒ นาระบบบริ ห ารและบริ ก ารสุ ข ภาพ
(Service Plan) โดยแนวทางการพัฒนาระบบการส่งต่อผู้ป่วย มีวัตถุประสงค์เพื่อ
สร้ า งความเข้ ม แข็ ง ให้ กั บ ระบบริ ก ารสุ ข ภาพที่ ป ระชาชนเข้ า ถึ ง บริ ก ารได้ อ ย่ า ง
เหมาะสม มี คุ ณ ภาพ ประสิ ท ธิ ภ าพ เกิ ด ความเป็ น ธรรมและความต่ อ เนื่ อ งใน
การรั บ บริ ก าร รวมทั้ ง การครอบคลุ ม การส่ ง ต่ อ ผู ้ ป ่ ว ยไปรั บ บริ ก ารในสถาน
พยาบาลที่มีศักยภาพสูงกว่าและการส่งผู้ป่วยกลับไปรับบริการยังสถานพยาบาล
ระดั บ ต้ น จนผู ้ ป ่ ว ยหายจากการเจ็ บ ป่ ว ย ซึ่ ง แนวทางการพั ฒ นาระบบส่ ง ต่ อ
ผู ้ ป ่ ว ยดั ง กล่ า ว เป็ น การวางแนวทางพั ฒ นาในเชิ ง ระบบที่ น�ำปั จ จั ย ที่ เ กี่ ย วข้ อ ง
มาเชื่ อ มโยงกั น มาทั้ ง ในระดั บ กระทรวง เครื อ ข่ า ยเขต เครื อ ข่ า ยจั ง หวั ด โดยมี
เป้ า หมาย คื อ “ผู ้ ป ่ ว ยได้ รั บ การดู แ ลรั ก ษาพยาบาลที่ เ หมาะสม ปลอดภั ย ”
องค์ประกอบส�ำคัญที่ต้องมีในทุกระดับ ประกอบด้วย 1) การเตรียมความพร้อม เช่น
ฐานข้อมูลที่จ�ำเป็นและการจัดการฐานข้อมูล การสื่อสารทั้งในและนอกเครือข่าย
การพัฒนาและรูปแบบการส่งภายในเครือข่าย 2) การจัดองค์กรบริหารจัดการการ
ส่งต่อผู้ป่วย เช่น พัฒนาโครงสร้างและกลไกการด�ำเนินงาน 3) การพัฒนาศูนย์
ประสานการส่งต่อ เช่น ก�ำหนดบทบาทหน้าที่ของศูนย์แต่ละระดับ มีการทบทวน
และติดประเมินผล (Feedback Loop) 4) การจัดการเพิ่มคุณภาพการดูแลรักษา
พยาบาล เช่น การพัฒนาขีดความสามารถแต่ละระดับ มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
ระหว่างพื้นที่ และ5) การติดตามและประเมินผล องค์ประกอบเหล่านี้ต้องขับเคลื่อน
อย่างบูรณาการในลักษณะองค์รวม ให้เกิดผลเชื่อมโยงในการพัฒนาระบบส่งต่อ
ผู้ป่วย

2 การปฏิบัติการสงตอผูปวยฉุกเฉินระหวางสถานพยาบาล (Interfacility Patient Transfer)


EMERGENCY
reventio

n
P
อย่างไรก็ตามแนวทางพัฒนาระบบการส่งต่อผู้ป่วยดังกล่าว เป็นเพียงกรอบ
แนวคิดกว้าง ๆ ดังนั้นกระทรวงสาธารณสุขจึงได้จัดท�ำแนวทางพัฒนาระบบส่งต่อตาม
การจัดระดับสถานบริการสาธารณสุขในระบบเครือข่ายบริการ เพื่อเป็นแนวทางที่มี
ความชัดเจนขึ้น

เหตุที่มาของการจัดท�ำหนังสือการปฏิบัติการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินระหว่างสถาน
พยาบาล
เมื่อมีแนวทางการพัฒนาระบบการส่งต่อผู้ป่วยอยู่แล้ว หลายท่านอาจมีข้อ
ค�ำถามอยู่ในใจว่า ท�ำไมจึงต้องพัฒนาการปฏิบัติการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินระหว่างสถาน
พยาบาลฉบับนี้ขึ้นมา จะท�ำให้ผู้ปฏิบัติงานเพิ่มความสับสนอีกหรือไม่ ค�ำตอบ คือ
แม้นว่าจะมีแนวทางการพัฒนาระบบการส่งต่อผู้ป่วย ที่ครอบคลุมถึงการส่งผู้ป่วย
กลับเพื่อการรักษาต่อเนื่องที่สถานพยาบาลระดับต้นแล้วก็ตาม แต่พบว่า แนวทางดัง
กล่าวเป็นแนวคิดกว้าง ๆ เชิงระบบ และไม่ได้มีรายละเอียดแนวปฏิบัติในการส่งต่อผู้
ป่วยฉุกเฉินที่มีภาวะคุกคามต่อชีวิตและจ�ำเป็นต้องได้รับการส่งต่อเพื่อรักษาในสถาน
พยาบาลที่มีศักยภาพเหมาะสมอย่างทันท่วงทีที่ชัดเจน
การเจ็บป่วยฉุกเฉินเป็นภาวะวิกฤตของชีวิต หากไม่ได้รับการช่วยเหลือรักษา
อย่างทันท่วงทีแล้ว อาจจะท�ำให้เกิดการสูญเสียชีวิต หรือเกิดความบกพร่องในการ
ท�ำงานของอวัยวะส�ำคัญ รวมทั้งท�ำให้เจ็บป่วยรุนแรงขึ้นโดยไม่สมควร และเกิดความ
ทุกข์ทรมาน ดังนั้น “การป้องกันไม่ให้เกิดภาวะฉุกเฉินและการจัดการให้ผู้ป่วยฉุกเฉิน
ได้รับการปฏิบัติการฉุกเฉินที่ได้มาตรฐานจนพ้นภาวะฉุกเฉินหรือได้รับการบ�ำบัดรักษา
เฉพาะอย่ างทั น ท่ วงที” จึ ง เป็ น หลั ก ส� ำ คั ญ ในการพั ฒ นาระบบการแพทย์ ฉุ ก เฉิ น
ของประเทศไทย ประกอบกับเจตนารณ์ของพระราชบัญญัติการแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ.
2551 เพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิผู้ป่วยฉุกเฉินในการเข้าถึงระบบการแพทย์ฉุกเฉินอย่าง
ทั่วถึง เท่าเทียม มีคุณภาพมาตรฐาน โดยได้รับการช่วยเหลือและรักษาพยาบาลที่มี
ประสิทธิภาพและทันต่อเหตุการณ์มากขึ้น จึงเป็นเหตุที่มาของการจัดท�ำการปฏิบัติการ
ส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินระหว่างสถานพยาบาลขึ้น เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานได้ใช้เป็นแนวปฏิบัติใน
การปฏิบัติการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินระหว่างสถานพยาบาลอย่างมีประสิทธิภาพ คุณภาพ
และเหมาะสม

การปฏิบัติการสงตอผูปวยฉุกเฉินระหวางสถานพยาบาล (Interfacility Patient Transfer) 3


EMERGENCY
reventio

n
EMERGENCY

P
ก้ า วย่ า งในการพั ฒ นา   “การปฏิ บั ติ ก ารส่ ง ต่ อ ผู ้ ป ่ ว ยฉุ ก เฉิ น ระหว่ า ง
สถานพยาบาล”
การจัดท�ำหนังสือการปฏิบัติการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินระหว่างสถานพยาบาล
ได้ พั ฒ นาควบคู ่ ไ ปกั บ จั ด ท�ำมาตรฐาน หลั ก เกณฑ์ เกณฑ์ แ ละวิ ธี ป ฏิ บั ติ เ กี่ ย วกั บ
ระบบการแพทย์ฉุกเฉินอื่น ๆ อีก 5 ด้าน ประกอบด้วย 1) มาตรฐานปฏิบัติการป้องกัน
การเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นฉุกเฉิน และการป้องกันการเจ็บป่วยที่สามารถป้องกันได้ 2)
มาตรฐานปฏิบัติการฉุกเฉินก่อนโรงพยาบาล 3) มาตรฐานปฏิบัติการฉุกเฉิน ณ สถาน
พยาบาล 4) มาตรฐานปฏิบัติการฉุกเฉินในสถานการณ์สาธารณภัย และ 5) เกณฑ์
ประเมินความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมของผู้ปฏิบัติการในระบบการ
แพทย์ฉุกเฉิน โดยการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนทั้งในและนอกภาคบริการการแพทย์
ฉุกเฉิน ประกอบด้วย ผู้บริหาร ผู้เชี่ยวชาญ และผู้ปฏิบัติงานร่วมกันจัดท�ำ ในแต่ละด้าน
มีการจัดท�ำรายละเอียดเนื้อหา เพื่อเป็นแนวทางส�ำหรับผู้ปฏิบัติงานได้ใช้ประโยชน์

วัตถุประสงค์
1. เพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิผู้ป่วยฉุกเฉินที่มีความจ�ำเป็นต้องได้รับการส่งต่อ
ให้ได้รับการดูแลรักษาพยาบาลในการส่งต่อที่ได้มาตรฐานวิชาชีพและมีความปลอดภัย
ไปยังสถานพยาบาลปลายทางที่มีศักยภาพเหมาะสม อย่างทันท่วงที
2. เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพการดูแลรักษาผู้ป่วยฉุกเฉินระหว่าง
สถานพยาบาล
3. เพื่ อ ให้ ส ถานพยาบาลใช้เป็น แนวปฏิบัติ “การปฏิ บัติ ก ารส่ ง ต่ อ ผู ้ ป่ ว ย
ฉุกเฉินระหว่างสถานพยาบาล ที่มีมาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศ”
4. เพื่อเป็นแนวทางพัฒนาระบบปฏิบัติการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินระหว่างสถาน
พยาบาลที่มีประสิทธิภาพในทุกระดับ ตั้งแต่สถานพยาบาล จังหวัด และเครือข่าย
บริการ

4 การปฏิบัติการสงตอผูปวยฉุกเฉินระหวางสถานพยาบาล (Interfacility Patient Transfer)


EMERGENCY
reventio

n
P
ขอบเขต
1. ครอบคลุมการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินระหว่างสถานพยาบาล ทั้งในสถานการณ์
ปกติ และรูปแบบพิเศษ (สถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้)
2. เป็นการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินระหว่างสถานพยาบาลทางบกเท่านั้น
3. เป็นการส่งต่อ ( Refer Out ) ผู้ป่วยฉุกเฉินไปยังสถานพยาบาลที่มีศักยภาพ
สูงกว่าหรือสถานพยาบาลที่มีศักยภาพในการดูแลรักษา

นิยามศัพท์
ผู้ป่วยฉุกเฉิน1 หมายถึง บุคคลซึ่งได้รับบาดเจ็บหรือมีอาการป่วยกะทันหัน ซึ่ง
เป็นภยันตรายต่อการด�ำรงชีวิตหรือการท�ำงานของอวัยวะส�ำคัญ จ�ำเป็นต้องได้รับการ
ประเมิน การจัดการและการบ�ำบัดรักษาอย่างทันท่วงทีเพื่อป้องกันการเสียชีวิตหรือการ
รุนแรงขึ้นของการบาดเจ็บหรืออาการป่วยนั้น
ปฏิบัติการฉุกเฉิน2 หมายถึง การปฏิบัติการด้านการแพทย์ฉุกเฉิน นับแต่
การรับรู้ถึงภาวะการเจ็บป่วยฉุกเฉิน จนถึงการด�ำเนินการให้ผู้ป่วยฉุกเฉินได้รับการ
บ�ำบัดรักษาให้พ้นภาวะฉุกเฉิน ซึ่งรวมถึงการประเมินการจัดการ การประสานงาน การ
ควบคุม  ดูแล การติดต่อสื่อสาร การส่งต่อหรือขนส่ง การตรวจวินิจฉัย และการบ�ำบัด
รักษาพยาบาลผู้ป่วยฉุกเฉิน ทั้งนอกสถานพยาบาลและในสถานพยาบาลตามขอบเขตที่
ก�ำหนด
การปฏิ บั ติ ก ารส่ ง ต่ อ ผู ้ ป ่ ว ยฉุ ก เฉิ น ระหว่ า งสถานพยาบาล หมายถึ ง
กระบวนการในการดู แ ลรั ก ษาพยาบาลผู ้ ป ่ ว ยฉุ ก เฉิ น จากสถานพยาบาลแห่ ง ใด
แห่งหนึ่งที่ให้การดูแลรักษาขั้นต้น และมีความจ�ำเป็นต้องส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินไปยังสถาน
พยาบาลที่มีศักยภาพที่สูงกว่าหรือสถานพยาบาลที่ีมีศักยภาพในการดูแลรักษา เพื่อ
ให้ผู้ป่วยฉุกเฉินได้รับการดูแลที่ได้มาตรฐาน และมีความปลอดภัย กระบวนการเริ่มต้น
ตั้งแต่การเตรียมความพร้อมของสถานพยาบาลต้นทาง โดยการประเมินระดับความ
เฉียบพลันของอาการผูป้ ว่ ย การประสานส่งต่อ ข้อมูลผูป้ ว่ ยไปยังสถานพยาบาลปลายทาง

1
นิยามศัพท์ ตามพระราชบัญญัติการแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2551
2
นิยามศัพท์ ตามพระราชบัญญัติการแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ. 2551

การปฏิบัติการสงตอผูปวยฉุกเฉินระหวางสถานพยาบาล (Interfacility Patient Transfer) 5


EMERGENCY
reventio

n
EMERGENCY

P
การจัดทรัพยากรในส่งต่อ การเตรียมผู้ป่วยและญาติ การดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินระหว่างการ
ส่งต่อ และการส่งมอบผู้ป่วยฉุกเฉินแก่สถานพยาบาลปลายทาง รวมทั้งการประเมิน
คุณภาพการส่งต่อ

ระบบปฏิ บั ติ ก ารส่ ง ต่ อ ผู ้ ป ่ ว ยฉุ ก เฉิ น ระหว่ า งสถานพยาบาล


หมายถึ ง กระบวนการในการพั ฒ นาระบบส่ ง ต่ อ ผู ้ ป ่ ว ยฉุ ก เฉิ น ตั้ ง แต่ ร ะดั บ
นโยบาย โครงสร้าง การบริหารจัดการ การพัฒนาทรัพยากร (บุคลากร ยานพาหนะ
อุปกรณ์ ยา สารน�้ำ และเวชภัณฑ์) การส่งต่อข้อมูล การสื่อสาร การประสานงาน
การปฏิบัติการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินระหว่างสถานพยาบาล รวมทั้งการก�ำกับ ติดตาม และ
ประเมินผล เพื่อให้ผู้ป่วยฉุกเฉินได้รับการดูแลที่ได้มาตรฐาน และมีความปลอดภัย

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. ผู้ป่วยในระบบปฏิบัติการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินระหว่างสถานพยาบาลได้รับ
การดูแลอย่างมีคุณภาพ มาตรฐาน และปลอดภัย
2. ผู้ปฏิบัติงานสามารถใช้เป็นแนวทางการปฏิบัติงานในการปฏิบัติการส่งต่อ
ผู้ป่วยฉุกเฉินระหว่างสถานพยาบาล
3. ผู้บริหารใช้เป็นแนวทางพัฒนาระบบปฏิบัติการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินระหว่าง
สถานพยาบาล และเกิดเครือข่ายการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินที่มีมาตรฐานเดียวกัน

6 การปฏิบัติการสงตอผูปวยฉุกเฉินระหวางสถานพยาบาล (Interfacility Patient Transfer)


EMERGENCY
reventio

n
P
บทที่ 2
ระบบปฏิบัติการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินระหว่างสถานพยาบาล
(Inter facility patient transfer System)
การพัฒ นาระบบปฏิบัติการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินระหว่างสถานพยาบาลใน
แต่ละระยะล้วนแต่มีความส�ำคัญ เนื่องจากหากเริ่มมีการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย นั่นหมายถึง
ทรัพยากรในด้านต่างๆจะถูกจ�ำกัด และอาจเกิดความเสี่ยงที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้
ในระหว่างการส่งต่อผู้ป่วย ดังนั้น การเตรียมความพร้อม การบริหารจัดการอย่างเป็น
ระบบ การพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่อง จะสามารถช่วยให้ผู้ป่วยได้รับการดูแลที่มี
มาตรฐาน ได้รับความปลอดภัย และบุคลากรมีความมั่นใจในการปฏิบัติการ
วิ ธี ก ารส่ ง ต่ อ ผู ้ ป ่ ว ยฉุ ก เฉิ น ระหว่ า งสถานพยาบาล (Mode of
Transportation) สามารถท�ำได้ 3 ทาง คือ ทางบก ทางน�้ำ และทางอากาศ ทั้งนี้
การพิจารณาเลือกวิธีการส่งต่อผู้ป่วยขึ้นกับระดับความเฉียบพลันของอาการผู้ป่วย
ระยะทาง เส้นทาง เวลาที่ส่งต่อ ภูมิประเทศ และสภาพอากาศ โดยพิจารณาตาม
ข้อบ่งชี้ที่สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติก�ำหนด

การน�ำส่ง

ภาพที่ 1 วิธีการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินระหว่างสถานพยาบาล
การปฏิบัติการสงตอผูปวยฉุกเฉินระหวางสถานพยาบาล (Interfacility Patient Transfer) 7
EMERGENCY
reventio

n
EMERGENCY

P
ภาพที่ 2 การบริหารจัดการในการปฏิบัติการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินระหว่างสถานพยาบาล

กระบวนการและขั้นตอนการปฏิบัติการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินระหว่างสถานพยาบาล

1. (ร่
( าง)) แนวทาง
พัฒนาระบบส่ง
ต่อตามการจัด
ระดับสถานบริการ
สาธารณสุขในระบบ
เครื
2. อข่ายบริการ
2. หนังสือแต่งตั้ง
คณะกรรมการ/,
คณะทำ�งานพัฒนา
ระบบส่
* งต่อระดับ
รพ./จังหวัด/เขต
ดำ�เนินการตามคู่มือการปฏิบัติการส่งต่อ 3.แผนพัฒนาระบบ
ผู้ป่วยฉุกเฉินระหว่างสถานพยาบาล การส่งต่อระดับ
สถานพยาบาล,
**
จัMงหวั
& Eด และเขต

8 การปฏิบัติการสงตอผูปวยฉุกเฉินระหวางสถานพยาบาล (Interfacility Patient Transfer)


EMERGENCY
reventio

n
P
ระดับ 1. level
Levelsofofpatient
patient
acuity
acuity ประยุ กต์ จ าก
ปฏิบัติการ Guide
Guide for forInterfacility
ก่อนส่งต่อ interfacility
Patients Transfer
patients transfer
( Pre(Pre ของ NHTSA
NHTSA น้ ตอน
2. แนวทางและขั
transfer
Transfer) ) 2.การประสานการส่งต่อ
ผู ้ ป ่ ว ยฉุ ก เฉิ น ระดั บ
สถานพยาบาล/ศู น ย์
/
ประสานการส่ ง ต่ อ
ระดั/ บ จั ง หวั / /ด /เขต/
ประเทศ
3.3. ข้อตกลง/แนวทาง/
ปฏิ บั ติ ก ารรั บ ผู ้ ป ่ ว ย
ฉุ ก เฉิ น ตาม Clinical
Practice Guideline
Clinical Guideline
Practice
4. การค้นหาศักยภาพ
T
4.สถานพยาบาล
Surge (Surge
capacity**
Capacity)
5.5. แนวทางการบริหาร
ทรัพยากร
6. ระบบสื่ อ สารการ
6.ส่งต่อ
7. ระบบข้ อ มู ล และ
7.สารสนเทศการส่งต่อ
8. การเตรี ย มความ
8.
พร้อมผู้ป่วยและญาติ
ก่อนการส่งต่อ
9.9. แนวทางการจั ด
เตรี ย มเอกสารการ
ส่งต่อ

ระหว่างส่งต่อ 1.
1. ให้การดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินตามมาตรฐานวิชาชีพและโรคร้ายแรง 1. มาตรฐานการดูแล
( During 2. ดูแล และเฝ้าระวังอาการผู้ป่วยในแต่ละระดับความเฉียบอย่างเหมาะสม ผู ้ ป ่ ว ยทั่ ว ไปและราย
(During
transfer ) 3. บันทึกข้อมูล การดูแลและเฝ้าระวังอาการผู้ป่วยระหว่างส่งต่อ โรค ระหว่างการส่งต่อ
transfer) -2.Stroke
แบบบันทึกระหว่าง
4. หากผู้ป่วยมีอาการเปลี่ยนแปลงระหว่างส่งต่อให้รายงานตามข้อตกลงของแต่ละพื้นที่
-ส่งACS
ต่อ
5. รายงานสถานพยาบาลปลายทางเมื่อใกล้ถึงตามความเหมาะสม -3.New Born
แนวทางการขอค�ำ
6. ประเมิินความพร้อม และความปลอดภัยของผู้ป่วยฉุกเฉินก่อนการเคลื่อนย้ายลงจากรถ -ปรึTrauma
กษาทางการแพทย์
-ระหว่
Sepsis างส่งต่อ
2.

การปฏิบัติการสงตอผูปวยฉุกเฉินระหวางสถานพยาบาล (Interfacility Patient Transfer) 9


EMERGENCY
reventio

n
EMERGENCY

P
หลังส่งต่อ 1.
1 . แ น ว ป ฏิ บั ติ ก า ร
(Post
( Post รั บ และส่ ง ต่ อ ผู ้ ป ่ ว ย
transfer)) ฉุ ก เ ฉิ น ณ ส ถ า น
พยาบาลปลายทาง
care)
หลังส่งต่อ ส่งมอบผู้ป่วยฉุกเฉิน พร้อมเอกสารแก่ 2.2. แบบบันทึกระหว่าง
( Post trans- สถานพยาบาลปลายทาง ส่งต่อ
ตรวจเช็คอุปกรณ์ และนำ�กลัล 3. คู ่ มื อ การประเมิ น
fer ) คุ3.ณภาพแบบประเมิน
ผลคุณภาพการส่งต่อ

4.
- สถานพยาบาลปลายทางรับมอบผู้ป่วยฉุกเฉิน และเอกสาร
- ประเมินคุณภาพการส่งต่อ

- เก็
- บรวบรวมข้อมูลการส่งต่อ 1.
- ติดตามประเมินผล และการสะท้อนกลับข้อมูลส่งต่อ 2.
- มีระบบการประกันคุณภาพและพัฒนาคุณภาพการปฏิบัติการส่งต่อ (Referral
Monitoring - ้ป่วยฉุกเฉินระหว่างสถานพยาบาล audit)
ผู
& - สรุป และประเมินผลเสนอคณะกรรมการพัฒนาระบบส่งต่อระดับ
Evaluation สถานพยาบาล/จังหวัด/เขต / /

10 การปฏิบัติการสงตอผูปวยฉุกเฉินระหวางสถานพยาบาล (Interfacility Patient Transfer)


EMERGENCY
reventio

n
P
รายละเอี ย ดกระบวนการ และขั้ น ตอนการปฏิ บั ติ ก ารส่ ง ต่ อ ผู ้ ป ่ ว ย
ฉุกเฉินระหว่างสถานพยาบาล
1 ระดับนโยบาย
1.1 ระดับประเทศ มีการจัดท�ำมาตรฐาน หลักเกณฑ์ เกณฑ์และวิธีปฏิบัติการ
ฉุกเฉิน ที่ผ่านความเห็นชอบกพฉ.และประกาศบังคับใช้
1.2 ระดับเขต/จังหวัด/สถานพยาบาล มีการแต่งตั้งคณะกรรมการ/คณะ
ท�ำงานพัฒนาระบบส่งต่อผูป้ ว่ ย (ฉุกเฉิน) โดยมีการจัดตัง้ ศูนย์ประสานการส่งต่อและจัดท�ำ
สายงานการบังคับบัญชา ตามบริบทและศักยภาพของสถานพยาบาลนั้น ๆ
1.3 ผู้บริหาร/คณะกรรมการ/คณะท�ำงาน ส่งเสริมและสนับสนุนให้หน่วยงาน
ที่เกี่ยวข้องด�ำเนินการตามคู่มือการปฏิบัติการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินระหว่างสถานพยาบาล
พร้อมทั้งก�ำกับติดตาม ประเมินผล เพื่อปรับปรุงระบบให้มีประสิทธิภาพ เช่น Referral
Audit เป็นต้น
1.4 ผู้บริหาร/คณะกรรมการ/คณะท�ำงานมีการก�ำกับติดตาม ประเมินผล
ระบบการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉิน เพื่อปรับปรุงระบบให้มีประสิทธิภาพ โดยให้ความส�ำคัญ
ในเรื่องการประกันคุณภาพ เช่น Referral Audit

2 ระดับปฏิบัติการ
2.1 ก่อนการส่งต่อ (Pre Transfer)
2.1.1 เมื่อสถานพยาบาลต้นทางประเมินผู้ป่วยฉุกเฉินแล้วมีความ
จ�ำเป็นต้องส่งต่อให้แพทย์หรือพยาบาลประสานงานกับสถานพยาบาลปลายทาง โดย
ประเมินระดับความเฉียบพลันของอาการผู้ป่วยร่วมกัน ตามเกณฑ์ Levels of Patient
Acuity ที่ประยุกต์ใช้จาก Guide for Interfacility Patient Transfer ของ NHTSA เพื่อ
เตรียมทรัพยากรให้เหมาะสมกับระดับความเฉียบพลันและอาการของผู้ป่วยแต่ละราย
2.1.2 มีการประสานงานการส่งต่อผู้ป่วยตามแนวทางและขั้นตอน
ตามแต่ละระดับในพื้นที่

การปฏิบัติการสงตอผูปวยฉุกเฉินระหวางสถานพยาบาล (Interfacility Patient Transfer) 11


EMERGENCY
reventio

n
EMERGENCY

P
1) กรณีสถานพยาบาลต้นทางประสานส�ำเร็จ ให้เลือกวิธีการส่งต่อ
ผู้ป่วย ( Mode of Transportation ) ที่เหมาะสม และเตรียมความพร้อมต่างๆ เช่น
การเตรียมผู้ป่วยฉุกเฉินและญาติ เอกสารตามข้อตกลง/แนวปฏิบัติงานในการรับผู้ป่วย
ฉุกเฉิน หรือตามแนวปฏิบัติการดูแลผู้ป่วยรายโรค ( Clinical Practice Guideline )
รวมทั้งการบริหารทีมส่งต่อและทรัพยากร
2) กรณี ส ถานพยาบาลต้ น ทางประสานไม่ ส�ำเร็ จ ให้ แจ้ ง ศู น ย์
ประสานการส่งต่อ หรือประสานการส่งต่อสถานพยาบาลอื่นๆ ต่อไปจนกว่าจะส�ำเร็จ
เพื่อให้ผู้ป่วยฉุกเฉินได้รับการดูแลรักษาในสถานพยาบาลปลายทางที่มีศักยภาพสูงกว่า
หรือสถานพยาบาลที่มีศักยภาพในการดูแลรักษา กรณีการประสานการส่งต่อส�ำเร็จ
ให้แจ้งสถานพยาบาลต้นทางด�ำเนินการตามข้อ 1)
หากการประสานงานไม่ส�ำเร็จ ศูนย์ประสานงานการส่งต่อแจ้ง
สถานพยาบาลต้นทางเพื่อให้การดูแลรักษาพยาบาลผู้ป่วยฉุกเฉินต่อ ณ สถานพยาบาล
นั้นๆ ต่อไป
2.1.3 บริหารทรัพยากร ( บุคลากร ยานพาหนะ เครื่องมือ/อุปกรณ์
ยา สารน�้ำ และเวชภัณฑ์ ) ให้เหมาะสมกับระดับความเฉียบพลันและอาการของผู้ป่วย
2.1.4 เตรียมความพร้อมผู้ป่วย/ญาติ เอกสารก่อนออกเดินทาง
และรายงานสถานพยาบาลปลายทางเมื่อเริ่มออกเดินทาง

2.2 ระหว่างส่งต่อ (During Transfer)


2.2.1 ให้การดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินตามมาตรฐานวิชาชีพ และรายโรค
2.2.2 ดู แ ล และเฝ้ า ระวั ง อาการผู ้ ป ่ ว ยในแต่ ล ะระดั บ ความ
เฉียบพลันอย่างเหมาะสม
2.2.3 บันทึกข้อมูล การดูแล และเฝ้าระวังอาการผูป้ ว่ ยระหว่างส่งต่อ
2.2.4 หากผู้ป่วยมีอาการเปลี่ยนแปลงระหว่างส่งต่อให้รายงานตาม
ข้อตกลงของแต่ละพื้นที่
2.2.5 รายงานสถานพยาบาลปลายทางเมือ่ ใกล้ถงึ ตามความเหมาะสม
2.2.6 ประเมินความพร้อม และความปลอดภัยของผู้ป่วยฉุกเฉิน
ก่อนการเคลื่อนย้ายลงจากรถ

12 การปฏิบัติการสงตอผูปวยฉุกเฉินระหวางสถานพยาบาล (Interfacility Patient Transfer)


EMERGENCY
reventio

n
P
2.3 หลังส่งต่อ (Post Transfer)
2.3.1 เมื่อน�ำส่งผู้ป่วยฉุกเฉินถึงสถานพยาบาลปลายทาง ให้ส่งมอบ
ผู้ป่วยฉุกเฉิน พร้อมเอกสารแก่สถานพยาบาลปลายทาง ตามแนวปฏิบัติการรับและ
ส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉิน ณ สถานพยาบาลปลายทาง และตรวจเช็คอุปกรณ์เพื่อน�ำกลับ
2.3.2 สถานพยาบาลปลายทางรับมอบผู้ป่วยฉุกเฉิน และเอกสาร
ตามแนวปฏิบัติการรับและส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉิน ณ สถานพยาบาลปลายทาง
2.3.3 สถานพยาบาลปลายทางประเมินคุณภาพการส่งต่อ

3 การติดตาม และประเมินผล
3.1 สถานพยาบาลต้นทาง/ปลายทาง/ศูนย์ประสานการส่งต่อเก็บรวบรวม
ข้อมูลการส่งต่อ ตามแนวทางการบริหารข้อมูล เพื่อน�ำไปสู่การพัฒนาระบบที่มีคุณภาพ
อย่างต่อเนื่อง
3.2 ศูนย์ประสานการส่งต่อติดตาม ประเมินผล และสะท้อนกลับข้อมูลการ
ส่งต่อ
3.3 มีระบบประกันและพัฒนาคุณภาพ (Quality Assurance & Quality
Improvement) การปฏิบัติการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินระหว่างสถานพยาบาล ตามคู่มือการ
ประเมินและตรวจสอบคุณภาพ (Referral Audit)
3.4 สรุป และประเมินผลเสนอคณะกรรมการพัฒนาระบบส่งต่อระดับสถาน
พยาบาล/จังหวัด/เขต เพื่อ พัฒนาระบบให้ได้มาตรฐาน

นอกจากนี้คณะท�ำงานได้จัดท�ำแบบประเมินตนเองของระบบการปฏิบัติการ
ส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินระหว่างสถานพยาบาลเพื่อใช้เป็นแนวทางในการประเมิน ค้นหา
ปัญหาและวางแผนพัฒนาตนเองต่อไป รายละเอียดปรากฏในภาคผนวก ก

ข้อเสนอแนะ ส�ำหรับการบริหารจัดการทีมส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินที่มีระดับ
ความเฉียบพลันสูง และมีข้อจ�ำกัดของทีมส่งต่อผู้ป่วยจากสถานพยาบาลต้นทางให้
พิจารณาใช้ทีมส่งต่อจากสถานพยาบาลที่มีศักยภาพสูงกว่าได้ตามความเหมาะสม

การปฏิบัติการสงตอผูปวยฉุกเฉินระหวางสถานพยาบาล (Interfacility Patient Transfer) 13


EMERGENCY
reventio

n
EMERGENCY

14 การปฏิบัติการสงตอผูปวยฉุกเฉินระหวางสถานพยาบาล (Interfacility Patient Transfer)


EMERGENCY
reventio

n
P
บทที่ 3
การจำ�แนกระดับความเฉียบพลันของผู้ป่วยในปฏิบัติการส่งต่อ
ผู้ป่วยฉุกเฉินระหว่างสถานพยาบาล
(Levels of Patient Acuity for Interfacility Transfer)
คณะท�ำงานจัดท�ำมาตรฐานหลักเกณฑ์ เกณฑ์ และวิธีปฏิบัติเกี่ยวกับระบบ
การแพทย์ฉุกเฉิน สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ได้มีการทบทวนแนวปฏิบัติเกี่ยวกับ
การจ�ำแนกระดับความเฉียบพลันของผู้ป่วยในปฏิบัติการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินระหว่าง
สถานพยาบาล และมีความเห็นร่วมกันว่า มาตรฐานการน�ำส่งผู้ป่วยฉุกเฉินของประเทศ
สหรัฐอเมริกา ( National Highway Traffic Safety Administration [NHTSA], 2002 )
ที่มีการแบ่งเป็น 5 ระดับ จึงได้มีการประยุกต์และน�ำมาทดลองใช้ในโรงพยาบาลน�ำร่อง
พบว่ามีความเป็นไปได้ในบริบทของประเทศไทย จึงท�ำประชาพิจารณ์จากตัวแทน
โรงพยาบาลต่างๆทั่วประเทศ และคณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉินมีมติเห็นชอบให้น�ำสู่
การปฏิบัติ

นิยามศัพท์

TERMINOLOGY

การปฏิบัติการสงตอผูปวยฉุกเฉินระหวางสถานพยาบาล (Interfacility Patient Transfer) 15


EMERGENCY
reventio

n
EMERGENCY

P
ระบบส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินระหว่างสถานพยาบาล มีหลายลักษณะ ได้แก่
1. Refer Out ( ส่งต่อ ) หมายถึง การส่งต่อผู้ป่วยไปยังสถานพยาบาลที่มี
ศักยภาพสูงกว่า หรือสถานพยาบาลที่มีศักยภาพในการดูแลรักษา ด้วยเหตุผลในการ
ส่งต่อ เช่น เกินศักยภาพ เพื่อการวินิจฉัย/รักษา ขาดเครื่องมือทางการแพทย์ ขาด
ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ส่งต่อตามสิทธิ์การรักษา หรือเป็นความประสงค์ของผู้ป่วย/ญาติ
เป็นต้น
2. Refer In ( รับส่งต่อ ) หมายถึง สถานพยาบาลแห่งหนึ่งรับส่งต่อผู้ป่วย
ด้วยเหตุผลในการรับส่งต่อ เช่น สถานพยาบาลต้นทางขาดศักยภาพ ไม่สามารถตรวจ
วินิจฉัย/รักษา ขาดเครื่องมือทางการแพทย์ ขาดผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน รับส่งต่อตาม
สิทธิ์การรักษา หรือเป็นความประสงค์ของผู้ป่วย/ญาติ เป็นต้น
3. Refer Back ( Refer Out Return ) ( ส่งกลับ ) หมายถึง การส่งกลับผู้ป่วย
ไปยังสถานพยาบาลต้นทาง หลังจากได้รับการดูแลรักษา/วินิจฉัย เรียบร้อยแล้ว
4. Refer Receive ( Refer In Return ) ( รับกลับ ) หมายถึง สถานพยาบาล
แห่งหนึ่งรับผู้ป่วยกลับ หลังจากได้รับการดูแลรักษา/วินิจฉัย เรียบร้อยแล้ว
Refer Out ( ส่งต่อ ) แบ่งเป็น 2 กรณี ได้แก่ กรณีฉุกเฉิน ( Emergency )
และกรณีไม่ฉุกเฉิน ( OPD case ) หนังสือคู่มือเล่มนี้ จะกล่าวถึง การส่งต่อผู้ป่วย
(Refer Out) ในกรณีฉุกเฉิน (Emergency) เท่านั้น

ในอดีต การส่งต่อผู้ป่วย ( Refer Out ) มีปัญหา คือ ไม่มีเกณฑ์ในการก�ำหนด


ว่า ในผู้ป่วยรายใด ถือเป็นกรณีฉุกเฉิน ซึ่งสามารถส่งต่อนอกเวลาราชการได้ และรายใด
ถือเป็นกรณีไม่ฉุกเฉิน ซึ่งควรส่งต่อผู้ป่วยในเวลาราชการ อีกทั้งยังมีปัญหาในเรื่อง
การก�ำหนดมาตรฐานในการเตรียมผู้ป่วยก่อน/ระหว่างส่งต่ออีกด้วย เช่น การเตรียม
บุคลากร ยานพาหนะ เครื่องมือ/อุปกรณ์ ยา สารน�้ำ และเวชภัณฑ์ ที่ต้องน�ำขึ้นไปบนรถ
พยาบาลอีกด้วย ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีเกณฑ์ในการก�ำหนดดังกล่าว เนื้อหาส่วน
นี้จัดท�ำขึ้นเพื่อลดปัญหาในการสื่อสาร สร้างความเข้าใจระหว่างสถานพยาบาลต้นทาง
และสถานพยาบาลปลายทางในการบริหารจัดการทรัพยากรให้เหมาะสมกับสภาพ
อาการของผู้ป่วย โดยมีหลักในการประเมินหรือจ�ำแนกประเภทผู้ป่วยให้มีความเข้าใจ
ตรงกัน

16 การปฏิบัติการสงตอผูปวยฉุกเฉินระหวางสถานพยาบาล (Interfacility Patient Transfer)


EMERGENCY
reventio

n
P
การจ�ำแนกระดับความเฉียบพลันของผู้ป่วยในปฏิบัติการส่งต่อผู้ป่วย
ฉุกเฉินระหว่างสถานพยาบาล
( Levels of Patient Acuity for Interfacility Transfer )
U : Unstable (ผู้ป่วยไร้เสถียรภาพ) หมายถึงผู้ป่วยที่หลังให้การ
ดูแลรักษาอย่างเต็มที่แล้ว สัญญาณชีพยังไม่คงที่ ไร้เสถียรภาพ หรือมีความต้องการการ
ดูแลที่เฉพาะเจาะจงขั้นสูงเป็นพิเศษ เช่น Post cardiac arrest, ผู้ป่วยที่ใช้ Intraaortic
balloon pump, ผู้ป่วยที่มี Invasive monitoring, ผู้บาดเจ็บ Multiple trauma ที่มี
สัญญาณชีพไม่คงที่ซึ่งต้องการการรักษาจ�ำเพาะในเวลาที่จ�ำกัด
H : Stable with High risk of deterioration –
(ผู้ป่วยมีเสถียรภาพ มีความเสี่ยงต่อการทรุดลงเฉียบพลันสูง) หมายถึง
ผู้ป่วยมีประวัติเสถียรภาพต�่ำและหลังให้การดูแลรักษาอย่างเต็มที่แล้ว สัญญาณชีพมี
เสถียรภาพ แต่มีความเสี่ยงต่อการทรุดลงเฉียบพลันสูงระหว่างการส่งต่อผู้ป่วย
M : Stable with Medium risk of deterioration –
(ผู้ป่วยมีเสถียรภาพ มีความเสี่ยงต่อการทรุดลงเฉียบพลันปานกลาง)
หมายถึง ผู้ป่วยที่มีความจ�ำเป็นต้องเฝ้าระวังสัญญาณชีพอย่างใกล้ชิดระหว่างส่งต่อ โดย
การติ ด ตามคลื่ น ไฟฟ้ า หั ว ใจ/การหายใจ/ความอิ่ ม ตั ว ของออกซิ เจนในเลื อ ด/ความ
ดันโลหิต/ระดับความรู้สึกตัว ทุก 5-15 นาที หรือผู้ป่วยที่ได้รับยาความเสี่ยงสูงทาง
หลอดเลือดด�ำ ซึง่ จ�ำเป็นต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชดิ เช่น Heparin, Nitroglycerine เป็นต้น
L : Stable with Low risk of deterioration
(ผู้ป่วยมีเสถียรภาพ มีความเสี่ยงต่อการทรุดลงเฉียบพลันต�่ำ) –
หมายถึง ผู้ป่วยที่จ�ำเป็นต้องได้รับสารน�้ำระหว่างส่งต่อ
N : Stable with No risk of deterioration
(ผู้ป่วยมีเสถียรภาพ ไม่มีความเสี่ยงต่อการทรุดลงเฉียบพลัน) หมายถึง
ผู้ป่วยที่ไม่จ�ำเป็นต้องได้รับสารน�้ำระหว่างส่งต่อ อาจ on saline lock แต่มีความ
จ�ำเป็นต้องส่งไปสถานพยาบาลที่มีศักยภาพสูงกว่า ซึ่งอาจไปโดยวิธีไปด้วยตนเอง หรือ
โดยรถพยาบาล ขึ้นกับสถานการณ์

การปฏิบัติการสงตอผูปวยฉุกเฉินระหวางสถานพยาบาล (Interfacility Patient Transfer) 17


EMERGENCY
reventio

n
EMERGENCY

P
ข้อควรปฏิบัติ! : ในผู้ป่วยแต่ละรายควรมีการประเมินระดับความ
เฉียบพลันของอาการผู้ป่วยร่วมกัน ระหว่างสถานพยาบาลต้นทางและปลายทาง
เพื่อบริหารจัดการทรัพยากรในด้านต่างๆให้เหมาะสมกับสภาพผู้ป่วย

แนวทางการประสานงานในระบบปฏิบัติการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินระหว่าง
สถานพยาบาล
นอกจากการใช้ระดับความเฉียบพลันของอาการผู้ป่วยในการบริหารจัดการ
ทรัพยากรแล้ว ยังสามารถน�ำมาใช้เป็นเกณฑ์เพื่อพิจารณาข้อตกลงการประสานงาน
ระหว่างสถานพยาบาลได้ เช่น
1. ผู้ป่วยฉุกเฉินที่ได้รับการประเมินเป็น ระดับ U: Unstable ( ผู้ป่วยไร้
เสถียรภาพ ) และระดับ H: Stable with High risk of deterioration ( ผู้ป่วยมี
เสถียรภาพ มีความเสี่ยงต่อการทรุดลงเฉียบพลันสูง )
ให้มีการประสานงานระหว่างแพทย์กับแพทย์ หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายของ
สถานพยาบาลต้นทางและปลายทาง
2. ผู้ป่วยฉุกเฉินได้รับประเมินเป็น ระดับ M: Stable with Medium risk
of deterioration ( ผู้ป่วยมีเสถียรภาพ มีความเสี่ยงต่อการทรุดลงเฉียบพลันปาน
กลาง ), L: Stable with Low risk of deterioration ( ผู้ป่วยมีเสถียรภาพ มี
ความเสี่ยงต่อการทรุดลงเฉียบพลันต�่ำ ) และระดับ N: Stable with No risk of
deterioration ( ผู้ป่วยมีเสถียรภาพ ไม่มีความเสี่ยงต่อการทรุดลงเฉียบพลัน )
ให้มีการประสานงานระหว่างพยาบาลกับพยาบาล หรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย
ของสถานพยาบาลต้นทางและปลายทาง
3. กรณีอื่น ๆ ให้เป็นไปตามข้อตกลงภายในจังหวัด หรือเครือข่ายบริการ

18 การปฏิบัติการสงตอผูปวยฉุกเฉินระหวางสถานพยาบาล (Interfacility Patient Transfer)


EMERGENCY
reventio

n
P
การส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินควรมีการประสานงานทุกครั้งซึ่งสามารถประสานได้
หลายช่องทางขึ้นอยู่กับบริบทของแต่ละพื้นที่ เช่น โทรศัพท์ โทรสาร วิทยุสื่อสาร ระบบ
อินเตอร์เน็ต เป็นต้น โดยผ่านศูนย์ประสานงานการส่งต่อผู้ป่วย ( Referral Center )
การพัฒนาช่องทางการสื่อสารการส่งต่อผู้ป่วยที่เชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายทั้งระดับ
จังหวัด เขต และประเทศ เน้นการท�ำงานโดยใช้หลักการ “เครือข่ายบริการที่ไร้รอยต่อ
( Seamless Health Service Network )” ที่สามารถเชื่อมโยงสถานพยาบาลระดับ
ต่าง ๆ เข้าด้วยกัน โดยไม่มีเส้นแบ่งการปกครองหรือเขตตรวจราชการเป็นตัวขวางกั้น
หากการประสานงานการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินเป็นไปอย่างราบรื่น ครบถ้วน ถูกต้อง และ
รวดเร็ว จะเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่ช่วยให้ผู้ป่วยฉุกเฉินได้รับการดูแลรักษาบ�ำบัดเฉพาะ
ที่รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ และปลอดภัย

ปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายให้มีการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อ
ใช้ในการเชื่อมโยงข้อมูลด้านต่างๆของผู้ป่วยในแต่ละสถานพยาบาล ทั้งประวัติการ
รักษา ผลทางห้องปฏิบัติการ หรือข้อมูลอื่นๆ รวมทั้งการจ�ำแนกระดับความเฉียบพลัน
ของผู้ป่วยในปฏิบัติการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินระหว่างสถานพยาบาล เพื่อเป็นการสื่อสาร
ระหว่างสถานพยาบาลที่มีประสิทธิภาพ นอกจากใช้ประโยชน์ในด้านการรักษาพยาบาล
ผู้ป่วยแล้วยังสามารถใช้ประโยชน์จากระบบสารสนเทศในด้านอื่น ๆ เช่น ข้อมูลปริมาณ
การส่งต่อ การประเมินคุณภาพ การดูแลผู้ป่วย และ การค้นหาศักยภาพสถานพยาบาล
( Surge capacity ) เป็นต้น

การปฏิบัติการสงตอผูปวยฉุกเฉินระหวางสถานพยาบาล (Interfacility Patient Transfer) 19


EMERGENCY
reventio

n
EMERGENCY

20 การปฏิบัติการสงตอผูปวยฉุกเฉินระหวางสถานพยาบาล (Interfacility Patient Transfer)


EMERGENCY
reventio

n
P
บทที่ 4
การบริหารทรัพยากรในระบบปฏิบัติการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินระหว่าง
สถานพยาบาล
(Resource Manangement for Interfacility Transfer)
ในประเทศไทยยังไม่มีการบริหารทรัพยากรในระบบปฏิบัติการส่งต่อผู้ป่วย
ฉุกเฉินระหว่างสถานพยาบาล ให้เป็นมาตรฐานในการปฏิบัติ ยังมีความหลากหลายใน
การบริหารจัดการ ทั้งนี้เนื่องจากมีความแตกต่างของแต่ละสถานพยาบาลตั้งแต่ระดับ
นโยบาย การให้การสนับสนุน บุคลากรผูร้ บั ผิดชอบ ดังนัน้ สถาบันการแพทย์ฉกุ เฉินแห่งชาติ
จึงมีนโยบายในการจัดท�ำแนวทางการบริหารจัดการทรัพยากร เพื่อให้ผู้ปฏิบัติใช้เป็น
แนวทางให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

วัตถุประสงค์
1. เพื่อก�ำหนดคุณสมบัติและหน้าที่ของบุคลากรให้เหมาะสมกับสภาพผู้ป่วย
ในการปฏิบัติการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินระหว่างสถานพยาบาล
2. เพื่อก�ำหนดคุณสมบัติของรถพยาบาลในการปฏิบัติการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉิน
ระหว่างสถานพยาบาล
3. เพื่อก�ำหนดคุณสมบัติของเครื่องมือ อุปกรณ์ ยา สารน�้ำ และเวชภัณฑ์ ใน
การปฏิบัติการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินระหว่างสถานพยาบาล

ขอบเขต
เนื้อหาในบทนี้ครอบคลุมการบริหารทรัพยากรในการปฏิบัติการส่งต่อผู้ป่วย
ฉุกเฉินระหว่างสถานพยาบาลเพื่อให้การดูแลผู้ป่วยเหมาะสมตามการจ�ำแนกระดับ
ความเฉียบพลันของอาการผู้ป่วย ( Levels of Patient Acuity ) และเป็นการส่งต่อ
ผู้ป่วยทางบก เท่านั้น

การปฏิบัติการสงตอผูปวยฉุกเฉินระหวางสถานพยาบาล (Interfacility Patient Transfer) 21


EMERGENCY
reventio

n
EMERGENCY

P
นิยามศัพท์
ทรัพยากรในการปฏิบัติการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินระหว่างสถานพยาบาล
หมายถึง บุคลากร รถพยาบาลที่ใช้ในการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉิน เครื่องมือ อุปกรณ์ ยา สารน�้ำ
และเวชภัณฑ์ ในการปฏิบัติการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินระหว่างสถานพยาบาล

พยาบาลเวชปฏิบัติฉุกเฉิน ( Emergency Nurse Practitioner [ENP] )


หมายถึง ผู้ประกอบวิชาชีพการพยาบาลชั้นหนึ่ง หรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์
ชั้นหนึ่งที่ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทาง สาขาการพยาบาลเวช
ปฏิบัติฉุกเฉินที่สภาการพยาบาลรับรอง และขึ้นทะเบียนเป็นพยาบาลเวชปฏิบัติฉุกเฉิน
จากสภาการพยาบาล กระท�ำการพยาบาล การประเมินสภาพ และการคัดแยก วินิจฉัย
ปัญหาและปฏิบัติการฉุกเฉิน โดยกระท�ำตามวิธีที่ก�ำหนดไว้ในการรักษาโรคเบื้องต้น
ส�ำหรับผู้ป่วยฉุกเฉิน ( ตาม มาตรา 4 วงเล็บ 3 ของพระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาล
และการผดุงครรภ์ พ.ศ. 2528) ซึ่งเทียบเท่าระดับ Develop ตามสมรรถนะของ กพร.
ตามตารางที่ผนวก ข

การบริหารทรัพยากรด้านบุคลากร
สมรรถนะบุคลากรในการส่งต่อผู้ป่วย3
1. แพทย์ สมรรถนะแพทย์แบ่งออกเป็น 3 ระดับ ดังนี้
ระดับ 1 แพทย์ที่ผ่านการอบรม Basic Interfacility Ground
Transportation + ACLS หรือหลักสูตรเทียบเคียง
ระดับ 2 แพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน หรือ แพทย์ที่ผ่านการฝึกอบรม
Basic Interfacility Ground Transportation + ACLS + PALS + ATLS/ITLS หรือ
หลักสูตรเทียบเคียง
ระดับ 3 แพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน ที่ผ่านการอบรม Critical Care
Transportation หรือหลักสูตรเทียบเคียง

22 การปฏิบัติการสงตอผูปวยฉุกเฉินระหวางสถานพยาบาล (Interfacility Patient Transfer)


EMERGENCY
reventio

n
P
2. พยาบาลวิชาชีพ แบ่งระดับสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพด้านปฏิบัติการ
ตาม กพร. มี 4 ระดับ ดังนี้
ระดับ Basic : มีประสบการณ์ในการปฏิบัติที่ห้องอุบัติเหตุฉุกเฉิน
0-1 ปี และผ่านการฝึกอบรม Basic Interfacility Ground Transportation
ระดับ Doing : มีประสบการณ์ในการปฏิบัติที่ห้องอุบัติเหตุฉุกเฉิน
1-3 ปี ผ่านเกณฑ์สมรรถนะระดับ Basic และผ่านการฝึกอบรม ACLS + PALS หรือ
หลักสูตรเทียบเคียง
ระดับ Develop : มีประสบการณ์ในการปฏิบัติที่ห้องอุบัติเหตุ
ฉุกเฉิน 3-5 ปี ผ่านเกณฑ์สมรรถนะระดับ Doing และผ่านการฝึกอบรม ITLS + Neo-
natal Resuscitation หรือหลักสูตรเทียบเคียง
ระดับ Advance : มีประสบการณ์ในการปฏิบัติที่ห้องอุบัติเหตุ
ฉุกเฉิน มากกว่า 5 ปี ผ่านเกณฑ์สมรรถนะระดับ Develop และผ่านการฝึกอบรม
Critical Care Transportation หรือหลักสูตรเทียบเคียง
กรณีที่ผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรเวชปฏิบัติฉุกเฉิน (Emergency Nurse
Practitioner : ENP) ให้เทียบเท่าระดับ 3 โดยไม่นบั ประสบการณ์ในห้องอุบตั เิ หตุฉกุ เฉิน
ตามที่ก�ำหนด

3
หลักสูตรการฝึกอบรม
Basic Interfacility Ground Transportation Principle of Transportation หมายถึง หลักสูตรการดูแลและเคลื่อนย้าย
ผู้ป่วยพื้นฐานในระบบส่งต่อภาคพื้นดิน
BLS (Basic Life Support) หมายถึง หลักสูตรทักษะการช่วยชีวิตขั้นพื้นฐาน
ACLS (Advanced Cardiovascular Life Support) หมายถึง หลักสูตรทักษะการช่วยชีวิตขั้นสูงในผู้ใหญ่
PALS (Pediatric Advanced Life Support) หมายถึง หลักสูตรทักษะการกู้ชีพขั้นสูงในเด็ก
ATLS (Advanced Trauma Life Support) หมายถึง หลักสูตรทักษะการช่วยผู้บาดเจ็บขั้นสูง
ATCN (Advanced Trauma Care for Nurses) หมายถึง หลักสูตรทักษะการช่วยผู้บาดเจ็บขั้นสูงส�ำหรับพยาบาล
ITLS (International Trauma Life Support) หมายถึง หลักสูตรทักษะการช่วยผู้บาดเจ็บขั้นสูงส�ำหรับผู้ปฏิบัติการฉุกเฉิน
Critical Care Transportation หมายถึง หลักสูตรการดูแลและเคลื่อนย้ายผู้ป่วยหนักวิกฤตในระบบส่งต่อ

การปฏิบัติการสงตอผูปวยฉุกเฉินระหวางสถานพยาบาล (Interfacility Patient Transfer) 23


EMERGENCY
reventio

n
EMERGENCY

P
ตารางสรุปสมรรถนะ
ตารางที่ 1 ตารางสรุประดับสมรรถนะพยาบาลวิชาชีพ

3. พนักงานขับรถ สามารถศึกษา รายละเอียดมาตรการและข้อก�ำหนด


รวมทั้งบทบาทหน้าที่ของพนักงานขับรถจากหนังสือ “แนวปฏิบัติเพื่อความปลอดภัย
ของรถพยาบาล (Prevention)” ที่จัดท�ำโดย คณะท�ำงานหลักท�ำมาตรฐานหลักเกณฑ์
เกณฑ์และวิธปี ฏิบตั ชิ องการป้องกันการเจ็บป่วยทีเ่ กิดขึน้ ฉุกเฉิน และทีส่ ามารถป้องกันได้

การบริหารบุคลากรในทีมปฏิบัติการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินระหว่างสถาน
พยาบาล
การก�ำหนดประเภทของบุ ค ลากรในที ม ปฏิ บั ติ ก ารฉุ ก เฉิ น ระหว่ า งสถาน
พยาบาลให้เหมาะสมกับสภาพผู้ป่วยตามแนวทางการจ�ำแนกระดับความเฉียบพลัน
ของอาการผู้ป่วย (Levels of Patient Acuity) เพื่อใช้ในการตัดสินใจในการจัดเตรียม
ทรัพยากรด้านบุคลากรให้เหมาะสมกับสภาพผู้ป่วย ดังตารางที่ 2

24 การปฏิบัติการสงตอผูปวยฉุกเฉินระหวางสถานพยาบาล (Interfacility Patient Transfer)


EMERGENCY
reventio

n
P
U : Unstable – (ผู้ป่วยไร้เสถียรภาพ) น�ำส่งโดยทีมจ�ำนวนรวมทั้งสิ้น
อย่างน้อย 3 คน ซึ่งประกอบด้วย
1) หัวหน้าทีม จ�ำนวน 1 คน ได้แก่ พยาบาลวิชาชีพ ระดับ Advance (หากมี
แพทย์ติดตามส่งผู้ป่วย ให้แพทย์ท�ำหน้าที่เป็นหัวหน้าทีม)
2) พยาบาลวิชาชีพ ระดับ Develop หรือ Doing จ�ำนวน 1 คน
3) พยาบาลวิชาชีพ ระดับ Basic จ�ำนวน 1 คน

H : Stable with High risk of deterioration – (ผู้ป่วยมีเสถียรภาพ


มีความเสี่ยงต่อการทรุดลงเฉียบพลันสูง) น�ำส่งโดยทีมจ�ำนวนรวมทั้ง
สิ้น อย่างน้อย 2 คน ซึ่งประกอบด้วย
1) หัวหน้าทีม จ�ำนวน 1 คน ได้แก่ พยาบาลวิชาชีพ ระดับ Develop
2) พยาบาลวิชาชีพ ระดับ Doing จ�ำนวน 1 คน

M : Stable with Medium risk of deterioration – (ผู้ป่วยมี


เสถียรภาพ มีความเสี่ยงต่อการทรุดลงเฉียบพลันปานกลาง) น�ำส่ง
โดยทีมจ�ำนวนรวมทั้งสิ้น อย่างน้อย 2 คน ซึ่งประกอบด้วย
1) หัวหน้าทีม จ�ำนวน 1 คน ได้แก่ พยาบาลวิชาชีพ ระดับ Doing
2) พยาบาลวิชาชีพ ระดับ Basic จ�ำนวน 1 คน
กรณี ระดับ M ชนิด fast track เช่น STEMI fast track, Stroke fast track,
Trauma fast track ให้น�ำส่งโดยทีมบุคลากรเช่นเดียวกับระดับ H

L : Stable with Low risk of deterioration (ผู้ป่วยมีเสถียรภาพ


มีความเสี่ยงต่อการทรุดลงเฉียบพลันต�่ำ) น�ำส่งโดยพยาบาลวิชาชีพ
ระดับ Basic จ�ำนวน 1 คน

การปฏิบัติการสงตอผูปวยฉุกเฉินระหวางสถานพยาบาล (Interfacility Patient Transfer) 25


EMERGENCY
reventio

n
EMERGENCY

P
N : Stable with No risk of deterioration (ผู้ป่วยมีเสถียรภาพ
ไม่มีความเสี่ยงต่อการทรุดลงเฉียบพลัน) อาจน�ำส่งโดย พยาบาล
วิชาชีพระดับ Basic จ�ำนวน 1 คน หรือไม่มีบุคลากรในการน�ำส่งก็ได้

ตารางที่ 2 ตารางกำ�หนดประเภทบุคลากรในทีมปฏิบัติการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินระหว่าง
สถานพยาบาล

26 การปฏิบัติการสงตอผูปวยฉุกเฉินระหวางสถานพยาบาล (Interfacility Patient Transfer)


EMERGENCY
reventio

n
P
หน้าที่และความรับผิดชอบ
1. หัวหน้าทีม มีหน้าที่ดังนี้
1) รับส่งข้อมูลผู้ป่วยและประเมินผู้ป่วยฉุกเฉิน (ข้อมูลจากทีมดูแล ณ สถาน
พยาบาลต้นทาง)
2) ประสานงานส่งต่อข้อมูลผู้ป่วยกับสถานพยาบาลปลายทางระหว่างการ
ส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉิน
3) ตรวจสอบ/จัดเตรียมเครื่องมือและอุปกรณ์ในการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉิน
4) วางแผนการดูแลขณะการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉิน มอบหมายงานต่างๆให้
สมาชิกทีมและหากจ�ำเป็นให้เพิ่มจ�ำนวนสมาชิกในทีมได้
5) ดูแลรักษา ติดตามและประเมินผู้ป่วยฉุกเฉินระหว่างเคลื่อนย้าย
6) ส่งข้อมูลผู้ป่วยฉุกเฉินให้กับแพทย์ที่สถานพยาบาลปลายทาง
7) รับผิดชอบตรวจเช็คอุปกรณ์ที่ใช้ในการส่งต่อผู้ป่วยให้พร้อมกลับน�ำไปใช้ใน
การส่งต่อผู้ป่วยในครั้งต่อไป

หมายเหตุ การพิจารณาเลือกทีมส่งต่อผู้ป่วยนอกจากขึ้นกับระดับความ
เฉียบพลันของอาการผู้ป่วย ( Levels of Patient Acuity ) ยังต้องค�ำนึงถึงระยะ
เวลาในการส่งต่อ ซึ่งอาจมีผลให้เกิดอาการเปลี่ยนแปลงทรุดลงของผู้ป่วย โดย
พิจารณาร่วมกันระหว่างสถานพยาบาลต้นทางและปลายทาง

2. สมาชิกในทีม มีหน้าที่ดังนี้
1) ตรวจสอบความพร้อมยานพาหนะ เครื่องมือ อุปกรณ์ ยา สารน�้ำและ
เวชภัณฑ์
2) ร่วมประเมินและรับส่งข้อมูลผู้ป่วย
3) บันทึกสัญญาณชีพ อาการเปลี่ยนแปลง การรักษาที่ได้รับระหว่างการ
ส่งต่อ
4) ช่วยเหลือการท�ำหัตถการระหว่างการส่งต่อ
5) ช่วยในการส่งต่อผู้ป่วยเมื่อถึงสถานพยาบาลปลายทาง
6) กิจกรรม/งานที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าทีม

การปฏิบัติการสงตอผูปวยฉุกเฉินระหวางสถานพยาบาล (Interfacility Patient Transfer) 27


EMERGENCY
reventio

n
EMERGENCY

P
กรณีตัวอย่างการเตรียมบุคลากรก่อนน�ำส่ง

U : Unstable (ผู้ป่วยไร้เสถียรภาพ)
ผู้ป่วยหญิง อายุ 60 ปี หมดสติ 15 นาทีก่อนมาโรงพยาบาล แรกรับ: ไม่รู้สึกตัว
ไม่มีชีพจร, initial rhythm: asystole, ได้รับการกดหน้าอก (CPR) 10 นาที, ใส่ท่อ
ช่วยหายใจ PR 100/min, BP 80/50 mmHg, SpO2 90%, E1VTM1 ได้รับการวินิจฉัย
: Post-cardiac arrest

เนื่องจากผู้ป่วยอยู่ในภาวะ Post-cardiac arrest จึงได้รับการจ�ำแนกระดับความ


เฉียบพลันของอาการผู้ป่วยก่อนการส่งต่อเป็น U : Unstable (ผู้ป่วยไร้เสถียรภาพ)
ซึ่งอาจเกิดภาวะ cardiac arrest ซ�้ำระหว่างส่งต่อได้ทุกเมื่อ จึงจ�ำเป็นต้องน�ำส่งโดย
บุคลากรจ�ำนวนรวมทั้งสิ้นอย่างน้อย 3 คน โดยแบ่งเป็นระดับ Advanced 1 คน, ระดับ
Develop หรือ Doing 1 คน และระดับ Basic 1 คน

Advance Develop/Doing Basic

28 การปฏิบัติการสงตอผูปวยฉุกเฉินระหวางสถานพยาบาล (Interfacility Patient Transfer)


EMERGENCY
reventio

n
P
H: Stable with High risk of deterioration
(ผู้ป่วยมีเสถียรภาพ มีความเสี่ยงต่อการทรุดลงเฉียบพลันสูง)

ผู้ป่วยชาย อายุ 70 ปี มีอาการไข้สูง หนาวสั่น ซึมลง 1 วันก่อนมาโรงพยาบาล


สัญญาณชีพแรกรับที่ห้องฉุกเฉินโรงพยาบาลชุมชน BP 60/40 mmHg, PR 120/min,
RR 26/min, SpO2 98%, T 38.8 C, E4V5M6 ได้รับสารน�้ำ 0.9% NaCl load 2,000
ml วัดสัญญาณชีพซ�้ำ BP 70/50 mmHg, PR 114/min

หลั ง จาก start Nor-Epinephrine 5 mcg/min สั ญ ญาณชี พ ดี ขึ้ น BP


110/60 mmHg, PR 110/min, RR 24/min, SpO2 98% ได้รับการวินิจฉัยเป็น
Septic shock

เนื่องจากผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยเป็น Septic shock แรกรับสัญญาณชีพไม่


เสถียรภาพ แต่หลังจาก start Nor-Epinephrine ผู้ป่วยมีสัญญาณชีพดีขึ้น จึงได้รับ
การจ�ำแนกระดับความเฉียบพลันของอาการผู้ป่วยก่อนการส่งต่อเป็น H : Stable with
High risk of deterioration (ผู้ป่วยมีเสถียรภาพ มีความเสี่ยงต่อการทรุดลงเฉียบพลัน
สูง) ซึ่งหมายถึงหลังการดูแลรักษาเบื้องต้นสัญญาณชีพมีเสถียรภาพระดับหนึ่ง แต่มี
ความเสี่ยงสูงที่อาการจะทรุดลงระหว่างส่งต่อ จึงจ�ำเป็นต้องน�ำส่งโดยบุคลากรจ�ำนวน
รวมทั้งสิ้นอย่างน้อย 2 คน โดยแบ่งเป็น ระดับ Develop 1 คน และระดับ Doing 1 คน

Develop Doing
การปฏิบัติการสงตอผูปวยฉุกเฉินระหวางสถานพยาบาล (Interfacility Patient Transfer) 29
EMERGENCY
reventio

n
EMERGENCY

P
M : Stable with Medium risk of deterioration
(ผู้ป่วยมีเสถียรภาพ มีความเสี่ยงต่อการทรุดลงเฉียบพลันปานกลาง)

ผู้ป่วยชาย อายุ 50 ปี มีอาการเจ็บแน่นหน้าอก 30 นาทีก่อนมาโรงพยาบาล


แรกรับสัญญาณชีพ BP 120/80, PR 80/min, RR 18/min, SpO2 99%, EKG 12
leads พบ ST depression at V1-V4 ได้รับการวินิจฉัยเป็น Unstable angina/
NSTEMI หลังได้รับการรักษาเบื้องต้นอาการเจ็บแน่นหน้าอกลดลง ตรวจคลื่นไฟฟ้า
หัวใจซ�้ำไม่เปลี่ยนแปลง

เนื่องจากผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยเป็น Unstable angina/NSTEMI ระหว่าง


ส่งต่อจ�ำเป็นต้องได้รับการติดตามคลื่นไฟฟ้าหัวใจและสัญญาณชีพอย่างใกล้ชิด จึง
ได้รับการจ�ำแนกระดับความเฉียบพลันของอาการผู้ป่วย การส่งต่อเป็น M : Stable
with Medium risk of deterioration (ผู้ป่วยมีเสถียรภาพ มีความเสี่ยงต่อการทรุดลง
เฉียบพลันปานกลาง) ซึ่งจ�ำเป็นต้องน�ำส่งโดยบุคลากรจ�ำนวนรวมทั้งสิ้นอย่างน้อย 2 คน
โดยแบ่งเป็น ระดับ Doing 1 คน และระดับ Basic 1 คน

Doing Basic

30 การปฏิบัติการสงตอผูปวยฉุกเฉินระหวางสถานพยาบาล (Interfacility Patient Transfer)


EMERGENCY
reventio

n
P
L : Stable with Low risk of deterioration
(ผู้ป่วยมีเสถียรภาพ มีความเสี่ยงต่อการทรุดลงเฉียบพลันต�่ำ)

ผู ้ ป ่ ว ยหญิ ง อายุ 30 ปี อุ บั ติ เ หตุ ร ถจั ก รยานยนต์ ล ้ ม ศี ร ษะกระแทก


จ�ำเหตุการณ์ไม่ได้ แรกรับรู้สึกตัวดี E4V5M6, normal consciousness, pupil 3 mm
RTL BE, BP 110/70 mmHg, PR 70/min, RR 16/min, SpO2 98%, บวมโนศีรษะ
บริเวณท้ายทอยขนาดประมาณ 5 ซม.

ได้รับการวินิจฉัยเป็น Mild head injury ระหว่างส่งต่อจ�ำเป็นต้องเปิด


สารน�้ำ จึงได้รับการจ�ำแนกระดับความเฉียบพลันของอาการผู้ป่วยก่อนการส่งต่อเป็น
L : Stable with Low risk of deterioration (ผู้ป่วยมีเสถียรภาพ มีความเสี่ยงต่อการ
ทรุดลงเฉียบพลันต�่ำ) ซึ่งจ�ำเป็นต้องน�ำส่งโดยบุคลากรจ�ำนวนรวมทั้งสิ้น 1 คน โดยอาจ
เป็นระดับ Basic

BASIC

การปฏิบัติการสงตอผูปวยฉุกเฉินระหวางสถานพยาบาล (Interfacility Patient Transfer) 31


EMERGENCY
reventio

n
EMERGENCY

P
N : Stable with No risk of deterioration
(ผู้ป่วยมีเสถียรภาพ ไม่มีความเสี่ยงต่อการทรุดลงเฉียบพลัน)

ผู้ป่วยชาย อายุ 25 ปี จักรยานยนต์ล้ม ปวดบวมไหล่ซ้าย X-ray พบ Lt


shoulder dislocation เบื้องต้น reduction ไม่ส�ำเร็จ จึงพิจารณา refer ไม่มีอาการ
ชาปลายมือ ชีพจร radial แรงดี

ผู ้ ป ่ ว ยได้ รั บ การวิ นิ จ ฉั ย เป็ น Lt shoulder dislocation ระหว่ า งส่ ง ต่ อ


ไม่จ�ำเป็นต้องเปิดสารน�้ำ ผู้ป่วยอาจ on saline lock และไปโรงพยาบาลที่มีศักยภาพ
สูงกว่า โดยอาจไปโดยวิธีไปด้วยตนเอง หรือไปด้วยรถพยาบาล ขึ้นกับสถานการณ์
(ในกรณีศึกษานี้ ผู้ป่วยไปด้วยตนเอง) จึงได้รับการจ�ำแนกระดับความเฉียบพลันของ
อาการผู้ป่วยก่อนการส่งต่อเป็น N: Stable with No risk of deterioration “ผู้ป่วย
มีเสถียรภาพ ไม่มีความเสี่ยงต่อการทรุดลงเฉียบพลัน” ซึ่งไม่จ�ำเป็นต้องน�ำส่งโดย
บุคลากรทางการแพทย์

32 การปฏิบัติการสงตอผูปวยฉุกเฉินระหวางสถานพยาบาล (Interfacility Patient Transfer)


EMERGENCY
reventio

n
P
การบริหารทรัพยากรด้านรถพยาบาล
รถพยาบาลที่ ใช้ ใ นการส่ ง ต่ อ ผู ้ ป ่ ว ยฉุ ก เฉิ น จะต้ อ งมี โ ครงสร้ า ง และองค์
ประกอบที่ท�ำให้บุคลากรการแพทย์สามารถท�ำการดูแลผู้ป่วยระหว่างสถานพยาบาล
ครอบคลุมทุกระดับความเฉียบพลันของอาการผู้ป่วย(Levels of Patient Acuity) และ
ประเภท ได้ตามมาตรฐานที่ตั้งไว้

คุณสมบัติของรถพยาบาลและการตกแต่งภายใน
1) เป็นรถตู้มีการกั้นแยกระหว่างห้องคนขับ และห้องพยาบาล (Patient Care
Area) ห้องคนขับ – ห้องพยาบาลสามารถสื่อสารกันได้
2) จะต้องมีพื้นที่เพียงพอให้บุคลากรการแพทย์สามารถเข้าถึงผู้ป่วย เพื่อ
ท�ำการช่วยกู้ชีวิตระดับเบื้องต้น และระดับสูงได้
3) ระบบช่วงล่างจะต้องเหมาะสมกับการส่งต่อผู้ป่วย ลดแรงกระแทก และไม่
เป็นเหตุให้เกิดการบาดเจ็บเพิ่มเติมแก่ผู้ป่วย และผู้ปฏิบัติงาน
4) แถบสะท้อนแสง
- แถบสะท้อนแสดงด้านนอกรถที่ด้านข้าง และประตูหลังรถความกว้าง
อย่างน้อย 4 นิ้ว
- แถบสะท้อนแสงด้านในประตูหน้า 2 ข้าง และกรอบรถด้านหลัง ขนาด
เพียงพอให้สามารถมองเห็นรถได้เมื่อท�ำการเปิดประตูออก
5) วัสดุปูพื้นในส่วนปฏิบัติงานต้องไม่มีร่องซึ่งท�ำให้เกิดการสะสมของเชื้อโรค
และต้องไม่ลื่น
6) มีป้ายแสดงต�ำแหน่งของอุปกรณ์ต่าง ๆ
7) มีป้ายแสดงความสูง และน�้ำหนักบรรทุกของรถไว้ที่ด้านหน้าคนขับให้เห็น
ได้ชัด

อุปกรณ์ประกอบ ได้แก่
1) ระบบไฟ
1.1) แบตเตอรี่ที่ใช้กับอุปกรณ์การแพทย์ควรแยกกับแบตเตอรี่ที่ใช้
กับรถ

การปฏิบัติการสงตอผูปวยฉุกเฉินระหวางสถานพยาบาล (Interfacility Patient Transfer) 33


EMERGENCY
reventio

n
EMERGENCY

P
1.2) การติดตั้งควรแยกสายไฟเมนส�ำหรับเครื่องแปลงไฟ ออกจาก
ไฟเมนส�ำหรับ สัญญาณไฟฉุกเฉิน ไฟส่องสว่าง และอุปกรณ์ที่ใช้เพิ่มเติมในรถ
1.3) ติดตั้งฟิวส์กันช๊อตของสายไฟเมน ขนาดตามความเหมาะสม
1.4) แยกฟิวส์ส�ำหรับสายไฟของไฟฉุกเฉินวับวาบ ไฟสปอตไลท์
และไฟที่ใช้กับอุปกรณ์ในห้องพยาบาลขนาดตามความเหมาะสม
1.5) แปลงไฟให้สญั ญาณเอาต์พตุ เป็นแบบ pure sine wave เพียงพอ
ต่อเครื่องมือแพทย์ที่จะใช้งาน หรืออย่างน้อย 1500 วัตต์ และ มีระบบป้องกันดังนี้
- มีระบบป้องกันไฟต�่ำหรือสูงเกินไป
- มีระบบป้องกันการลัดวงจร หรือ ต่อโหลดมากเกินไป
1.6) มีคัทเอาท์ ส�ำหรับไฟฉุกเฉิน วับวาบ ไฟสปอทไลท์ และไฟ
ส�ำหรับอุปกรณ์ต่าง ๆในห้องพยาบาล
1.7) ระบบไฟนอกรถ
- Flood light(สปอตไลท์) ด้านข้างรถหัวท้าย 4 จุด
- Loading light มีไฟอัตโนมัติเมื่อเปิดประตูท้ายส่องเพื่อน�ำ
คนไข้ขึ้นลง
1.8) ไฟในห้องพยาบาล
  - ไฟส่ อ งสว่ า งเพื่ อ ปฏิ บั ติ ง านในรถควรมี ค วามสว่ า ง (Lux)
ตามมาตรฐานความสว่ า งของพื้ น ที่ ต รวจรั ก ษาในแผนกฉุ ก เฉิ น มี ร ะบบหรี่ ไ ฟ
(dimming) และมีสวิตซ์แยกของไฟแต่ละจุด
     - มีปลั๊กส�ำหรับเสียบอุปกรณ์การแพทย์แบบไฟกระแสตรง
(DC) และ กระแสสลับ (AC) เพียงพอต่อความต้องการใช้งาน หรือ อย่างน้อย 6 ปลั๊ก
ส�ำหรับเครื่องช่วยหายใจ เครื่องมอร์นิเตอร์ และเครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจ เครื่องดูด
เสมหะ เครื่องควบคุมการไหลของสารน�้ำ(infusion pump และ syringe pump)
ส�ำหรับการส่งต่อผู้ป่วยวิกฤต
2) ระบบสื่อสาร
ติดตั้งวิทยุคมนาคม ระบบ VHF/FM พร้อมอุปกรณ์ ที่ได้รับอนุญาตจาก
กสทช. / หน่วยงานที่ได้รับมอบหมาย

34 การปฏิบัติการสงตอผูปวยฉุกเฉินระหวางสถานพยาบาล (Interfacility Patient Transfer)


EMERGENCY
reventio

n
P
3) ระบบออกซิเจน
3.1) มีถงั ออกซิเจนอะลูมเิ นียมถังใหญ่ขนาด G 1 ถัง หรือ M150 2 ถัง
3.2) มีถังออกซิเจนถังเล็กส�ำหรับเคลื่อนย้ายผู้ป่วยนอกรถพยาบาล
ชนิด D หรือ Jumbo D 1 ถัง
3.3) การติดตั้งถังต้องมีอุปกรณ์ยึดตรึงที่แข็งแรงได้มาตราฐาน และ
บุคลากรทางการแพทย์จะต้องสามารถปิดวาล์วก๊าซได้จากภายในห้องพยาบาล
3.4) ถังออกซิเจนผ่านมาตราฐาน DOT หรือมาตรฐานมอก.
3.5) ชุดจ่ายก๊าซจากท่อบรรจุมีลิ้นปรับลดแรงดัน (Pressure relief
valve) ก่อนออกจากท่อบรรจุ (cylinder) และมีมาตรวัดความดันติดตั้งหลังวาล์ว
3.6) ระบบเส้นท่อก๊าซ (pipeline gas system) ต้องทาสีเขียวมรกต
ตลอดเส้นท่อ มีตัวยึดท่ออย่างมั่นคงแข็งแรงตามมาตรฐานที่ก�ำหนด ไม่เดินสายไฟ
ไปกับเส้นท่อก๊าซ
3.7) ทางเปิดออกของก๊าซออกซิเจน (station outlet) อย่างน้อย
2 ต�ำแหน่ง และ ต้องมีค่าความดันก๊าซ 50-60 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว มีอัตราความไหลที่
เหมาะสมความดันไม่ตก อยู่ในต�ำแหน่งที่ใช้งานได้สะดวก มีระบบสัญญาณเตือนระดับ
แรงดันต�่ำของท่อบรรจุออกซิเจนทั้งแสงและเสียง โดยมีเสียงดังอย่างน้อย 80 เดซิเบลที่
ระยะ 1 เมตร สามารถปิดเสียงให้เงียบได้
3.8) หัวจ่ายออกซิเจน (Oxygen Regulator) จากทางเปิดของ
ก๊าซออกซิเจน (station outlet) ได้มาตรฐาน มีหัวส่งก๊าซแบบแรงดันสูง 50 ปอนด์ต่อ
ตารางนิ้ว และหัวแรงดันต�่ำควบคุมการไหลที่ 0-15 ลิตรต่อนาที หมายเหตุ Reference
เล่ม prevention

หมายเหตุ “รายละเอียดมาตรการและข้อก�ำหนด รวมทั้งบทบาทหน้าที่


ของพนักงานขับรถจากหนังสือ “แนวปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยของรถพยาบาล
(Prevention) ที่จัดท�ำโดย คณะท�ำงานหลักท�ำมาตรฐานหลักเกณฑ์ เกณฑ์และวิธี
ปฏิบตั ขิ องการป้องกันการเจ็บป่วยทีเ่ กิดขึน้ ฉุกเฉิน และทีส่ ามารถป้องกันได้”

การปฏิบัติการสงตอผูปวยฉุกเฉินระหวางสถานพยาบาล (Interfacility Patient Transfer) 35


EMERGENCY
reventio

n
EMERGENCY

P
การบริหารทรัพยากรด้านเครื่องมือและอุปกรณ์
เครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์
1) การติดตั้งอุปกรณ์ทุกอย่างต้องยึดตรึงด้วยอุปกรณ์ที่มีมาตรฐานและได้รับ
การทดสอบ
- 10 G ส�ำหรับเตียงผู้ป่วย ที่นั่งของผู้ปฏิบัติงาน และเครื่องมือ
แพทย์ ได้แก่ เครื่องมอร์นิเตอร์ เครื่องช่วยหายใจ และเครื่องดูดเสมหะ
- 5 G ส�ำหรับสายรัดกระเป๋าเครื่องมือหรืออุปกรณ์อื่น ๆ
2) อุปกรณ์ยกเคลื่อนย้าย ประกอบไปด้วย vacuum mattress, spinal
board เปลตัก และเปลนอน โดยเปลนอน (stretcher) จะต้อง
- มีขนาดที่สามารถรองรับผู้ป่วยได้ที่ 95 เปอร์เซนไทล์ของความสูง
และน�้ำหนักคนไทย และจะต้องมีป้ายแสดงน�้ำหนักบรรทุกสูงสุดที่เปลรับได้ไว้ที่เปล
- มีต�ำแหน่งยึดตรงที่ด้านหัว และท้าย
- มีเข็มขัดนิรภัยส�ำหรับรัดตรึงผู้ป่วยในแนวขวาง 3 ชุด (หน้าอก
เอว และขา) และ สายรัดบ่า 2 ข้าง (shoulder harness) 1 ชุด
- จะต้องสามารถปรับพนักศีรษะผู้ป่วยขึ้นได้อย่างน้อย 30 องศา
ส�ำหรับผู้ป่วยน�้ำหนักต�่ำกว่า 18 กิโลกรัม จะต้องมีสายรัดตรึงพิเศษส�ำหรับผู้ป่วยเด็ก
3) อุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อ ประกอบไปด้วย แอลกอฮอล์ล้างมือ ถุงมือ
หน้ากาก และแว่น จ�ำนวนเพียงพอต่อผู้ปฏิบัติงาน ถุงมือ และหน้ากากควรวางอยู่ใน
ต�ำแหน่งที่สามารถหยิบใช้ได้ง่าย
4) อุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิด ได้แก่ เครื่องมอร์นิเตอร์ เครื่องช่วยหายใจ เครื่อง
ดูดเสมหะ เครื่องควบคุมการไหลของสารน�้ำ (infusion และ syringe pump) ต้องมี
แบตเตอรี่ในตัวเครื่อง และแบตเตอรี่ส�ำรอง สามารถท�ำงานได้โดยไม่ต้องต่อแหล่งจ่ายไฟ
ภายนอก
5) อุ ป กรณ์ ที่ มี ค วามส�ำคั ญ ในการดู แ ลผู ้ ป ่ ว ยระหว่ า งส่ ง ต่ อ อั น ได้ แ ก่
มอร์นิเตอร์ เครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจ เครื่องช่วยหายใจ เครื่องดูดเสมหะ และเครื่อง
ควบคุมการไหลของสารน�้ำ ควรอยู่ในต�ำแหน่งที่ผู้ปฏิบัติงานสามารถเข้าถึงได้ง่ายโดยไม่
ต้องลุกจากที่นั่ง หรือปลดเข็มขัดนิรภัยขณะปฏิบัติงาน

36 การปฏิบัติการสงตอผูปวยฉุกเฉินระหวางสถานพยาบาล (Interfacility Patient Transfer)


EMERGENCY
reventio

n
P
6) มอร์นิเตอร์ และเครื่องกระตุกไฟฟ้าหัวใจ วางในต�ำแหน่งที่ผู้ปฏิบัติงาน
สามารถมองเห็นได้ชัด มีความสามารถในการวัดความดันโลหิต คลื่นไฟฟ้าหัวใจอย่าง
น้อย 5 leads ระดับความเข้มข้นของออกซิเจนปลายนิ้ว (pulse oximetry), ระดับแรง
ดันย่อยของก๊าซของคาร์บอนไดออกไซด์ในลมหายใจออก (end tidal CO2), ควบคุม
การเต้นของหัวใจ (noninvasive pacemaker), กระตุกไฟฟ้าหัวใจ (defibrillation
และ cardio version)
7) เครื่องช่วยหายใจมีระบบเตือนแรงดันสูงต�่ำในทางเดินหายใจ ให้แรงดัน
บวกที่ลมหายใจออก ให้ความเข้มข้นออกซิเจน (FiO2) 0.21-1.00 ควบคุมระยะเวลาใน
การหายใจเข้า และ ออก (I/E ratio) ควบคุมอัตราการหายใจ และปริมาตรลมหายใจเข้า
หรือออกต่อครั้ง (Tidal volume) , pressure support, NIPPV, และต้องสามารถ
ท�ำงานได้กับระบบก๊าซออกซิเจนแรงดันต�่ำ
8) เครื่องดูดเสมหะควรมีแรงดูดอย่างน้อย 500 มม.ปรอท กรณีที่ต้องท�ำการ
ดูดอย่างต่อเนื่อง เช่น การต่อท่อดูดกับสายระบายทรวงอก หากต้องท�ำการส่งต่อนาน
กว่า 2 ชั่วโมง ควรมีเครื่องดูดส�ำรองอีก 1 เครื่อง
9) เครื่องควบคุมการไหลของสารน�้ำ ควรมีอย่างน้อย 3 เครื่องส�ำหรับการส่ง
ต่อผู้ป่วยวิกฤต

อุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยของผู้ปฎิบัติงาน
1) กรวยจราจรมีแถบสะท้อนแสง 2 แถบ จ�ำนวนอย่างน้อย 3 กรวย
2) ไฟกระพริบฉุกเฉิน 1 อัน
3) สเปรย์อุดรอยรั่วยางรถ 2 กระป๋อง (จะมีหรือไม่ก็ได้)
4) ที่ทุบกระจก และตัดเข็มขัดนิรภัย 2 ต�ำแหน่ง ที่นั่งคนขับ และในห้อง
โดยสารข้างที่นั่งเจ้าหน้าที่
5) ถังดับเพลิง ขนาด 5 ปอนด์ 1 ถังในพื้นที่ดูแลผู้ป่วย และ 1 ถังที่ห้องคนขับ
6) ป้ายห้ามจุดเชื้อเพลิง และสูบบุหรี่ในพื้นที่ปฏิบัติงาน
7) มีบาร์ส�ำหรับให้บุคลากรการแพทย์จับที่กลางเพดานรถ หรือมีเข็มขัดให้ใส่
ส�ำหรับการท�ำการกดหน้าอกขณะที่รถวิ่ง

การปฏิบัติการสงตอผูปวยฉุกเฉินระหวางสถานพยาบาล (Interfacility Patient Transfer) 37


EMERGENCY
reventio

n
EMERGENCY

P
เก้าอี้ส�ำหรับบุคลากรทางการแพทย์ในพื้นที่รักษา
1) เก้าอี้ที่หันไปด้านหน้า (forward facing) หรือด้านหลัง (rear facing) จะ
ต้องมีเข็มขัดนิรภัยแบบ 3 จุด
2) เก้าอี้ที่หันด้านข้างจะต้องมีเข็มขัดนิรภัยแบบคาดเอว
3) วัสดุที่ใช้ในการบุเก้าอี้จะต้องง่ายต่อการท�ำความสะอาด
4) ต�ำแหน่งเก้าอี้จะต้องอยู่ในต�ำแหน่งที่บุคลากรทางการแพทย์จะสามารถ
ตรวจประเมิน และดูแลรักษาผู้ป่วยได้ทั้งตัวตั้งแต่ศีรษะถึงปลายเท้า และควรมีระยะที่
สามารถท�ำการดูแลผู้ป่วยได้โดยไม่ต้องลุกจากเก้าอี้ หรือถอดเข็มขัดนิรภัย
ไฟวับวาบ และเสียงไซเรน ที่ได้รับอนุญาตจากส�ำนักงานต�ำรวจแห่งชาติ
1) ไฟวับวาบต้องมีความสว่างพอให้มอบเห็นที่ระยะ 500 ฟุต
2) สัญญาณไซเรนต้องมีความดังพอให้ได้เย็นที่ระยะ 500 ฟุต

ที่แขวนน�้ำเกลือ ติดตั้งที่เพดานรถ และด้านข้าง มีสายรัดกันแกว่ง และขอเกี่ยวเป็น


แบบ pig tail

อุปกรณ์อื่น ๆ ได้แก่ ถังเข็ม ถังขยะติดเชื้อ และถังขยะทั่วไป ถาดปัสสาวะ และ urinal


ม่านหน้าต่าง เป็นต้น
หมายเหตุ ดู ตั ว อย่ า งรายการตรวจรถพยาบาลก่ อ นการใช้ ง าน จาก
ภาคผนวก จ.
การบริหารทรัพยากรด้านยา สารน�้ำ และเวชภัณฑ์
การบริหารจัดการยา และสารน�้ำ ที่ใช้ในการปฏิบัติการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉิน
ระหว่างสถานพยาบาล ควรมีการบริหารจัดการในด้านชนิด ปริมาณ และการจัดเก็บ ดังนี้
ชนิ ด และปริ ม าณของยา สารน�้ ำ  ให้ ยึ ด ตามหลั ก การการจั ด ยาของรถ
emergency ระดับการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นสูง (ACLS) หรือระดับการดูแลผู้ป่วยวิกฤต
เฉพาะโรค (Critical care) ทั้งนี้ให้ขึ้นอยู่กับประเภทของผู้ป่วยและทีมบุคลากร ที่มีการ
บริหารจัดการให้เหมาะสมกับสภาพผู้ป่วย ตามตารางตัวอย่าง ภาคผนวก ช.

38 การปฏิบัติการสงตอผูปวยฉุกเฉินระหวางสถานพยาบาล (Interfacility Patient Transfer)


EMERGENCY
reventio

n
P
การจัดเก็บยา สารน�้ำ ควรมีการจัดเก็บอย่างถูกวิธี อย่างเหมาะสมกับประเภท
ชนิด ของยา และสารน�้ำนั้นๆ เช่น ยาบางชนิดต้องเก็บในตู้เย็น หรือระบุอุณหภูมิที่จัด
เก็บ การเก็บให้พ้นแสง เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อรักษาคุณภาพยา และสารน�้ำ หรือยาที่มีความ
เสี่ยงสูงต้องมีวิธีการจัดเก็บที่แตกต่างจากยาชนิดอื่นๆ เพื่อความปลอดภัยในการใช้งาน

ส�ำหรับเวชภัณฑ์อื่นๆ ที่ควรมี เช่น ชุดท�ำแผล set ให้สารน�้ำ set ให้ยา เป็นต้น


ควรมีการตรวจสอบให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ ทั้งด้านปริมาณ และคุณภาพ (ตามตาราง
ภาคผนวก ช.)

หมายเหตุ ข้อเสนอแนะการบริหารจัดการทีมส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินที่มีระดับความ
เฉียบพลันสูงและมีข้อจ�ำกัดของทีมส่งต่อผู้ป่วยจากสถานพยาบาลต้นทาง ให้
พิ จ ารณาใช้ ที ม ส่ ง ต่ อ จากสถานพยาบาลที่ มี ศั ก ยภาพสู ง กว่ า ได้ ต ามความ
เหมาะสม

การปฏิบัติการสงตอผูปวยฉุกเฉินระหวางสถานพยาบาล (Interfacility Patient Transfer) 39


EMERGENCY
reventio

n
EMERGENCY

40 การปฏิบัติการสงตอผูปวยฉุกเฉินระหวางสถานพยาบาล (Interfacility Patient Transfer)


EMERGENCY
reventio

n
P
บทที่ 5
การดูแลผู้ป่วยในปฏิบัติการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉิน
ระหว่างสถานพยาบาล
การดู แ ลผู ้ ป ่ ว ยในปฏิ บั ติ ก ารส่ ง ต่ อ ผู ้ ป ่ ว ยฉุ ก เฉิ น ระหว่ า งสถานพยาบาล
หมายถึ ง กระบวนการดู แ ลรั ก ษาพยาบาลผู ้ ป ่ ว ยฉุ ก เฉิ น จากสถานพยาบาลแห่ ง ใด
แห่ ง หนึ่ ง ที่ ใ ห้ ก ารดูแ ลรัก ษาขั้น ต้น และมีความจ�ำเป็ น ต้ อ งส่ ง ต่ อ ผู ้ ป่ ว ยไปยั ง สถาน
พยาบาลที่มีศักยภาพสูงกว่าหรือสถานพยาบาลที่มีศักยภาพในการดูแลรักษา เพื่อให้
ผู้ป่วยได้รับการดูแลที่ได้มาตรฐาน และปลอดภัย โดยกระบวนการเริ่มต้นตั้งแต่การ
เตรียมความพร้อมของสถานพยาบาลต้นทาง การประเมินระดับความเฉียบพลันของ
อาการผู้ป่วย การประสานงานและส่งต่อข้อมูลผู้ป่วยไปยังสถานพยาบาลปลายทาง การ
บริหารทรัพยากรในการส่งต่อ การเตรียมผู้ป่วยและญาติ การดูแลผู้ป่วยระหว่างการ
ส่งต่อ และการส่งมอบผู้ป่วยแก่สถานพยาบาลปลายทาง รวมทั้งการประเมินคุณภาพ
การดูแลผู้ป่วย

วัตถุประสงค์
1. เพื่อใช้เป็นแนวปฏิบัติในการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินระหว่างสถานพยาบาล ใน
ระยะก่อน ระหว่าง และหลังการส่งต่อผู้ป่วยส�ำหรับผู้ปฏิบัติ
2. เพื่อให้การส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินระหว่างสถานพยาบาลได้รับการดูแลรักษา
เป็นไปตามมาตรฐาน และปลอดภัย

ขอบเขต
เนื้อหาในบทนี้ครอบคลุม การดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินในการส่งต่อระหว่างสถาน
พยาบาลในระยะก่อน ระหว่าง และหลังการส่งต่อ และเป็นการส่งต่อผู้ป่วยทางบก

การปฏิบัติการสงตอผูปวยฉุกเฉินระหวางสถานพยาบาล (Interfacility Patient Transfer) 41


EMERGENCY
reventio

n
EMERGENCY

P
การเตรียมผู้ป่วยฉุกเฉินก่อนการส่งต่อ (Pre Transfer)
ผู้ป่วยฉุกเฉินควรได้รับการดูแลรักษาตามมาตรฐานวิชาชีพในด้านต่าง ๆ
ได้แก่ A B C D และมาตรฐานรายโรคตามความจ�ำเป็นของพื้นที่ จนผู้ป่วยฉุกเฉินมี
เสถียรภาพและปลอดภัยก่อนการส่งต่อ รวมทั้งมีการให้ข้อมูลการเจ็บป่วย แผนการ
รักษา เหตุผลความจ�ำเป็นในการส่งต่อ และเปิดโอกาสให้แก่ผู้ป่วยและญาติมีส่วนร่วม
ในการตัดสินใจส่งต่อ
การดูแลผู้ป่วยระหว่างการส่งต่อ ควรมีระบบการอ�ำนวยการทาง
การแพทย์ (medical control) ทั้งทางตรง (online) และทางอ้อม (off line)
ที่สามารถให้ค�ำแนะน�ำกับทีมส่งต่อในการเตรียมความพร้อมตลอดระยะ
เวลาในการส่งต่อผู้ป่วย
การดูแลผู้ป่วย 4 ด้านที่ส�ำคัญ ได้แก่
1. Airway & C-spine Protection
Airway: การประเมินทางเดินหายใจของผู้ป่วยต้องสังเกตอาการผิดปกติ เช่น
ลิ้นอุดกั้นในทางเดินหายใจ ฟันหักหลุดหาย มีสิ่งแปลกปลอมต่างๆ เลือดออกในปาก
อาเจียน หรือมีเสมหะ ใบหน้าบวมผิดรูป การส�ำลักควันจากเปลวไฟ การบวมของทาง
เดินหายใจ ต้องดูแลช่วยเหลือให้มีความปลอดภัยก่อนการส่งต่อ หากมีการอุดกั้นใน
ทางเดินหายใจที่ท�ำให้เกิดภาวะคุกคามต่อชีวิต ต้องท�ำการช่วยเหลือก่อน เช่น การดูด
เสมหะและสารคัดหลั่ง (Suction clear airway) การน�ำสิ่งแปลกปลอมออกจากทาง
เดินหายใจ (Remove Foreign Body) การใส่ท่อช่วยหายใจ และการยึดตรึงให้อยู่ใน
ต�ำแหน่งที่เหมาะสม ไม่เลื่อนหลุด หรือหักงอ มีการตรวจสอบการรั่วซึมของ Cuff ใน
กรณีผู้ป่วยไม่รู้สึกตัวให้งดน�้ำและอาหารทางปาก เพื่อป้องกันการส�ำลัก
C-spine: มีการ protect c-spine ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม ในผู้บาดเจ็บ
ที่สงสัยหรือมีการบาดเจ็บที่กระดูกส่วนคอ ให้ใส่ Hard collar อย่างถูกต้องเหมาะสม
ทั้งขนาดและวิธีการใส่ และใช้ Head Immobilizer เพื่อให้ศีรษะอยู่นิ่งหน้าตรง และ
ให้ผู้บาดเจ็บนอนบนกระดานแข็งพร้อมอุปกรณ์รัดตรึงที่มีการใส่อย่างถูกวิธีเพื่อป้องกัน
อุบัติเหตุ โดยส่งต่อผู้บาดเจ็บด้วยความระมัดระวัง รวมทั้งประเมิน Neuro deficit ก่อน
และหลังการส่งต่อทุกครั้ง

42 การปฏิบัติการสงตอผูปวยฉุกเฉินระหวางสถานพยาบาล (Interfacility Patient Transfer)


EMERGENCY
reventio

n
P
หมายเหตุ ควรพิจารณาใส่ End Tidal CO2 ในผู้ป่วยที่ใส่ท่อช่วยหายใจ

2. Breathing & Ventilation


Breathing เป็นการประเมินลักษณะการหายใจที่ผิดปกติ เช่น ไม่หายใจ หายใจ
ล�ำบาก หายใจเร็วมาก > 30 ครั้ง/นาที หรือ หายใจช้ามาก < 8 ครั้ง/นาที ทรวงอก
2 ข้างขยายไม่เท่ากัน มีการบาดเจ็บจากของมีคมหรือถูกกระแทกที่ล�ำคอ ทรวงอก หลัง
และหน้าท้อง เป็นโรคหืดหอบ ถุงลมปอดโป่งพอง โรคหัวใจ ประเมินความอิ่มตัวของ
ออกซิเจนในเลือดหากน้อยกว่า 90-92% ต้องได้รับ O2 Therapy อย่างพอเพียง การจัด
ท่านอน การช่วยหายใจด้วยการใช้ Ambu bag หรือเครื่องช่วยหายใจในอัตราที่เหมาะสม
ในกรณี ที่ มี ข ้ อ บ่ ง ชี้ ใ นการใส่ ท ่ อ ระบายทรวงอก (ICD) เช่ น ผู ้ ป ่ ว ยมี ภ าวะลมรั่ ว ใน
เยื่อหุ้มปอด (pneumothorax) และใช้ positive pressure ventilation ควรพิจารณา
ใส่ก่อนการเคลื่อนย้าย พร้อมยึดตรึงให้อยู่ในต�ำแหน่งที่เหมาะสม
ในการใช้เครื่องช่วยหายใจต้องทดสอบและติดตั้งกับผู้ป่วยก่อนการส่งต่อ
รวมทั้งค�ำนวนปริมาณ O2 ให้เพียงพอตลอดระยะการเดินทาง

3. Circulation & bleeding control


Circulation: การประเมินระบบการไหลเวียนเลือด และการท�ำงานของหัวใจ
โดยประเมินจากอัตราและลักษณะการเต้นของชีพจร ความดันโลหิต ประเมินการเสียเลือด
ประเมิ น ระดั บ ความรู้สึก ตัว ซึ่งอาจซึมลงเนื่องจากระบบไหลเวี ย นเลื อ ดไม่ เ พี ย งพอ
ประเมินภาวะซีด เหงื่อออกตัวเย็น โดยเฉพาะบนใบหน้า ฝ่ามือ ฝ่าเท้า หากมีภาวะ
เลือดออก ต้องท�ำการห้ามเลือดอย่างถูกต้อง มีการพิจารณาให้สารน�ำ้ ในผูป้ ว่ ยทีม่ ขี อ้ บ่งชี้
อย่างถูกต้องเหมาะสมกับสภาพอาการ ในกรณีที่ผู้ป่วยอยู่ในภาวะ Shock ควรให้สารน�้ำ
ด้วย IV catheter ขนาดใหญ่ No.16 หรือ 18 และอาจจ�ำเป็นต้องให้สารน�้ำมากกว่า
1 ต�ำแหน่ง และยึดตรึงไม่ให้เลื่อนหลุด กรณีผู้ป่วยวิกฤตควรพิจารณาเปิดเส้นเลือดไว้
2 ต�ำแหน่ง
พิจารณาให้ยาหรือใช้เครื่องกระตุกหัวใจไฟฟ้าในการรักษาเบื้องต้นในผู้ป่วยที่
มีการท�ำงานของหัวใจผิดปกติจนกว่าจะปลอดภัยก่อนการส่งต่อ และพิจารณาติดตาม
คลื่นไฟฟ้าหัวใจในผู้ป่วยที่มีข้อบ่งชี้ตามสภาพอาการ
การปฏิบัติการสงตอผูปวยฉุกเฉินระหวางสถานพยาบาล (Interfacility Patient Transfer) 43
EMERGENCY
reventio

n
EMERGENCY

P
4. Disability, Deformity, Drain, Drug
Disability การประเมินระดับความรู้สึกตัว หากระดับความรู้สึกตัวลดลง
GCS ≤ 8 ให้ช่วยเหลือด้วยการใส่ท่อช่วยหายใจ
Deformity ดามกระดูกแขน ขาทีไ่ ด้รบั บาดเจ็บ ร่วมกับประเมินระบบประสาท
และระบบไหลเวียนที่ส่วนปลายของอวัยวะก่อนและหลังดาม
Drain ตรวจสอบและบันทึกปริมาณ ลักษณะต�ำแหน่งและการท�ำงานของท่อ
ระบาย รวมทั้งยึดตรึงสายระบายต่าง ๆ ให้แน่นหนา ขวดระบายทรวงอกอยู่ในต�ำแหน่ง
ที่ต�่ำกว่าทรวงอกเสมอ การจัดวางสาย venticulostomty ให้ปฏิบัติตามค�ำสั่งของ
ศัลยแพทย์ประสาทและสมอง
ข้อควรระวัง ไม่ควร Clamp สาย drain เนื่องจากอาจลืมปลดสาย Clamp
Drug เตรียมยาที่ต้องใช้ในการส่งต่อให้เพียงพอทั้งชนิดและปริมาณยา กรณี
ให้ยาทางเส้นเลือดให้ติดป้าย (label) ก�ำกับชื่อยาและขนาด ทั้งที่ขวดและสายน�้ำเกลือ
ยา high alert drug ให้บริหารยาผ่าน syringe หรือ infusion pump เท่านั้น
การปฏิบัติการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินระหว่างสถานพยาบาลอย่างมีประสิทธิภาพ
นอกจากการเตรี ย มความพร้ อ มด้ า นผู ้ ป ่ ว ยแล้ ว บุ ค ลากรผู ้ ท�ำหน้ า ที่ ใ นปฏิ บั ติ ก าร
ฉุกเฉินระหว่างสถานพยาบาลควรมีการเตรียมความพร้อมในการให้ข้อมูลการเจ็บป่วย
แผนการรักษา และเหตุผลความจ�ำเป็นในการส่งต่อ รวมทั้งให้ผู้ป่วยและญาติมีส่วนร่วม
ในการตั ด สิ น ใจในการรั ก ษา พร้ อ มทั้ ง มี ก ารเซ็ น ต์ ยิ น ยอมไว้ เ ป็ น ลายลั ก ษณ์ อั ก ษร
ประกอบกับการเตรียมความพร้อมด้านอื่นๆ ได้แก่ เอกสารใบส่งตัว ประวัติการเจ็บป่วย
การรักษา ผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ ผลตรวจพิเศษอื่นๆ เช่น CT, U/S, EKG, MRI
เป็นต้น รวมทั้งเอกสารแบบประเมินการดูแลผู้ป่วยระหว่างการน�ำส่ง ควรตรวจสอบ
ให้มีความครบถ้วนและถูกต้อง น�ำไปให้ยังสถานพยาบาลปลายทางพร้อมกับผู้ป่วยเพื่อ
ให้การรักษาเป็นไปอย่างต่อเนื่อง
ข้อควรระวัง! อุปกรณ์ทุกอย่างที่ติดกับผู้ป่วย เช่น ท่อช่วยหายใจ ท่อระบายทรวงอก IV catheter ควร
ท�ำการยึดตรึงให้แน่นหนา และตรวจสอบเป็นระยะ ๆ เพื่อป้องกันการเลื่อนหลุดระหว่างส่งต่อ
ข้อควรปฏิบัติ! 1) ก่อนออกรถต้องรายงานรายชื่อบุคคลทุกคนที่เดินทางไปพร้อมกับรถพยาบาลต่อ
ศูนย์ประสานงานการส่งต่อ และสถานพยาบาลปลายทางรับทราบเพื่อตรวจสอบกรณีเกิดอุบัติเหตุ
ระหว่างส่งต่อ
2) จัดท�ำหนังสือและเซ็นต์ยินยอมรับความเสี่ยงแต่ละบุคคลที่อาจเกิดขึ้นระหว่างเดินทางไปพร้อมรถ
พยาบาล

44 การปฏิบัติการสงตอผูปวยฉุกเฉินระหวางสถานพยาบาล (Interfacility Patient Transfer)


EMERGENCY
reventio

n
P
การดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินระหว่างส่งต่อ (During Transfer)
วิธีการปฏิบัติ
1. ก่อนเคลื่อนรถพยาบาลควรตรวจสอบสภาพความเรียบร้อย และความ
พร้ อ มการใช้ ง านของเครื่ อ งมื อ อุ ป กรณ์ และเวชภั ณ ฑ์ ต ่ า งๆ เช่ น ตรวจเช็ ค ระบบ
ไฟ และ Oxygen ในรถพยาบาล
2. เมื่อน�ำผู้ป่วยถึงรถพยาบาล ให้ตรวจสภาพและดูแลผู้ป่วย ตามการประเมิน
ABCD เช่น
A) airway เช่น การตรวจท่อช่วยหายใจ End tidal CO2 เป็นระยะๆ
B) breathing เช่ น ตรวจเช็ ค ปริ ม าณ oxygen tank ประเมิ น
oxygen sat และ การท�ำงานของ chest drain เป็นต้น
C) circulation เช่น การตรวจเช็คความดันโลหิต ชีพจร I/O, bleeding
D) disability ประเมิน GCS/pupil ตามความเหมาะสม เช็คการ
ท�ำงาน ventriculost
E) drain ปลดสาย drain ที่ clamp และประเมินและบันทึกปริมาณ
สารคัดหลั่งที่ออก
F) Drug ตรวจเช็คการหยดของสารน�้ำและยาที่ให้ทางเส้นเลือด
3. ระหว่างน�ำส่งให้เฝ้าระวังและบันทึกสัญญาณชีพต่างๆตามระดับความ
เฉียบพลันของอาการผู้ป่วย
4. ให้การดูแลรายโรคตามแนวปฏิบัติที่ได้ก�ำหนดไว้
5. กรณีที่พบความผิดปกติในการเฝ้าระวังผู้ป่วยขณะส่งต่อ ให้รายงานแพทย์
ผู้สั่งการรักษารับทราบตามแนวทางที่ก�ำหนด
6. ติดต่อประสานงานโรงพยาบาลปลายทางเป็นระยะ เพื่อแจ้งก�ำหนดเวลา
และเตรียมความพร้อมก่อน ตามแนวทางหรือข้อตกลงที่ก�ำหนดไว้
7. ตระหนักถึงความเสีย่ งทีอ่ าจเกิดขึน้ ได้ขณะส่งต่อผูป้ ว่ ย ซึง่ อาจเป็นความเสีย่ ง
ทั่วไป หรือความเสี่ยงเฉพาะโรค
8. ตรวจสอบความถูกต้อง ครบถ้วนของเอกสาร เครื่องมือ อุปกรณ์ต่างๆก่อน
ถึงสถานพยาบาลปลายทาง
9. ตรวจสอบสภาพผู ้ ป ่ ว ย สั ญ ญาณชี พ หรื อ อาการส�ำคั ญ ก่ อ นถึ ง สถาน
พยาบาลปลายทาง
10. ให้ค�ำแนะน�ำแก่ผู้ป่วย ครอบครัวหรือญาติผู้ป่วย
การปฏิบัติการสงตอผูปวยฉุกเฉินระหวางสถานพยาบาล (Interfacility Patient Transfer) 45
EMERGENCY
reventio

n
EMERGENCY

P
การส่งมอบผู้ป่วยฉุกเฉินหลังการส่งต่อ (Post Transfer)
วิธีปฏิบัติเพื่อรับผู้ป่วยฉุกเฉิน
1. การแจ้งประสานการส่งต่อ เช่น ข้อมูลผู้ป่วย, การวินิจฉัย, การรักษาที่ได้
รับ, เหตุผลที่ขอส่งต่อ
2. วิธีการแจ้งกลับ การจัดการส่งต่อฉุกเฉิน และส่งต่อช่องทางด่วน (Fast
Track) โดยค�ำนึงถึงความปลอดภัยและทันเวลาในการรับการรักษาเฉพาะของผู้ป่วย
แต่ละราย
3. การรับรายงานข้อมูลผู้ป่วย คาดการณ์เวลาที่มาถึงที่หมาย สิ่งส่งตรวจหรือ
ผลตรวจวินิจฉัยที่จะน�ำส่งพร้อมผู้ป่วย พาหนะเดินทางและบุคลากร
4. การประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
5. การเตรียมพื้นที่และอุปกรณ์พร้อมรับผู้ป่วย
6. การจัดการด้านเวชระเบียน
การรับมอบผู้ป่วยฉุกเฉิน
1. ประเมินอาการแรกรับของผู้ป่วย
2. รับรายงานอาการจากบุคลากรที่น�ำส่ง โดยเฉพาะสัญญาณชีพ อาการ
เปลี่ยนแปลงที่ทรุดลงและการรักษาที่ท�ำระหว่างเดินทาง รวมทั้งรายงานอื่นๆ เช่น EKG
ภาพถ่าย เป็นต้น
3. รั บ มอบเอกสารใบส่ ง ต่ อ ผู ้ ป ่ ว ย รายงานการรั ก ษาของสถานพยาบาล
ต้นทาง และสิ่งที่ส่งมาด้วย
4. ตรวจเช็ค/ส่งคืน/แลกเปลี่ยนอุปกรณ์ตามข้อตกลงระหว่างสถานพยาบาล
5. หลักฐานสิทธิการรักษา และค่าใช้จ่ายเพื่อเรียกเก็บ (ถ้ามี)
6. ประเมินผลคุณภาพส่งต่อและป้อนกลับผลการประเมิน
ตัวอย่างแบบบันทึกการเฝ้าระวังระหว่างส่งต่อ ควรมีองค์ประกอบดังนี้
1. ข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วย เช่น ชื่อ – สกุล ผู้ป่วย อายุ
2. ประเภทผู้ป่วย ◌Trauma ◌Non Trauma
3. ระดับการเจ็บป่วย ◌Unstable  ◌High risk   ◌Medium risk ◌Low risk
◌No risk

46 การปฏิบัติการสงตอผูปวยฉุกเฉินระหวางสถานพยาบาล (Interfacility Patient Transfer)


EMERGENCY
reventio

n
P
4. วันที่, เวลาส่งต่อ, เวลาประมาณการถึงที่หมาย, ระยะทาง, โรงพยาบาล
ปลายทาง, แพทย์ผู้ส่ง และหมายเลขโทรศัพท์เพื่อปรึกษา, พยาบาลส่งต่อ
5. ประเมินสภาพก่อนเดินทาง
6. การเฝ้าระวังและบันทึกความถี่ตามระดับความเฉียบพลันของอาการผู้ป่วย
a. ระดับความรู้สึกตัว
b. ทางเดินหายใจ (Air way)
c. การหายใจ (Breathing)
d. การไหลเวียนโลหิต Oxygen saturation
e. สารน�้ำทางหลอดเลือดด�ำ และยา
f. การดาม การยึดตรึง
g. Intake/output
h. ข้อมูลอื่นๆตามสภาพผู้ป่วย เช่น FHS, Body temperature,
EKG, Lab.
7. อาการเปลี่ยนแปลงที่ทรุดลงและที่ได้ปรับการรักษา หรือปรึกษาแพทย์
การส่งมอบผู้ป่วย
1. การส่งมอบอาการและสิ่งที่ส่งมาด้วยเมื่อมาถึงสถานพยาบาลปลายทาง
2. การรับทราบผลการประเมินคุณภาพการดูแลระหว่างน�ำส่ง
3. การแลกคืนอุปกรณ์ที่ติดมากับผู้ป่วย(ถ้ามีในข้อตกลง)
4.การส่งหลักฐานสิทธิการรักษา(ถ้ามี)
ขั้นตอนการปฏิบัติหลังการส่งต่อ
1. ประเมินความพร้อมและความปลอดภัยของผู้ป่วยฉุกเฉินก่อนส่งมอบสถาน
พยาบาลปลายทาง
2. มีแนวปฏิบตั ใิ นการส่งมอบผูป้ ว่ ยฉุกเฉิน (ตามเอกสาร post transfer care)
ได้แก่ การส่งมอบประวัติการเจ็บป่วย การดูแลรักษาเบื้องต้นในสถานพยาบาลต้นทาง
อาการแสดงที่เปลี่ยนแปลง และการดูแลรักษาระหว่างการส่งต่อ อาการปัจจุบัน พร้อม
ส่งมอบเอกสาร เช่น แบบฟอร์มการบันทึกการดูแลระหว่างส่งต่อ เอกสารประจ�ำตัว
ผู้ป่วย เช่น ผล LAB, EKG และ Film X-Ray เป็นต้น ให้กับแพทย์หรือพยาบาลสถาน
พยาบาลปลายทาง

การปฏิบัติการสงตอผูปวยฉุกเฉินระหวางสถานพยาบาล (Interfacility Patient Transfer) 47


EMERGENCY
reventio

n
EMERGENCY

P
3. สถานพยาบาลปลายทางรับมอบผู้ป่วยฉุกเฉินและเอกสารข้อมูลผู้ป่วย
พร้อมทั้งประเมินผลคุณภาพการดูแลระหว่างส่งต่อ
4. มี แ นวปฏิ บั ติ ก ารรั บ ผู ้ ป ่ ว ยฉุ ก เฉิ น ของสถานพยาบาลปลายทาง (ตาม
เอกสาร Post Transfer)

การประเมินและการสะท้อนกลับข้อมูลการส่งต่อ
วัตถุประสงค์
1. เพื่อใช้เป็นแนวทางให้บุคลากรใช้ในการประเมินคุณภาพการดูแลผู้ป่วย
ฉุกเฉินในระบบปฏิบัติการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินระหว่างสถานพยาบาล
2. เพื่อใช้เป็นแนวทางในการน�ำผลการประเมินคุณภาพสู่การพัฒนาระบบ
การดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินในระบบปฏิบัติการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินระหว่างสถานพยาบาล

ขอบเขต
การประเมินคุณภาพการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินในระบบปฏิบัติการส่งต่อผู้ป่วย
ฉุกเฉินระหว่างสถานพยาบาล ใช้ส�ำหรับการประเมินด้านต่าง ๆ อย่างครอบคลุม ใน
ระบบปฏิ บั ติ ก ารส่ ง ต่ อ ผู ้ ป ่ ว ยฉุ ก เฉิ น ระหว่ า งสถานพยาบาล ตั้ ง แต่ ก ระบวนการ
การเตรียมผู้ป่วยฉุกเฉินก่อนส่งต่อ ( Pre Transfer ) การดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินระหว่างส่งต่อ
( During Transfer ) และการส่งมอบผู้ป่วยฉุกเฉินหลังส่งต่อ ( Post Transfer )
โดยมี ก ารประเมิ น มิ ติ ด ้ า นต่ า ง ๆ ได้ แ ก่ การเตรี ย มความพร้ อ มทั้ ง ผู ้ ป ่ ว ยและญาติ
บุคลากร เครื่องมือ อุปกรณ์ ยา สารน�้ำ และเวชภัณฑ์ ยานพาหนะ เอกสาร และการ
ประสานงาน การดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินระหว่างการส่งต่อในด้านต่าง ๆ จนกระทั่งถึงการ
ส่งมอบผู้ป่วยโดยแพทย์หรือพยาบาล ณ สถานพยาบาลปลายทาง
แนวปฏิบัติในการประเมินคุณภาพการดูแลผู้ป่วยในระบบปฏิบัติการส่งต่อ
ผู้ป่วยฉุกเฉินระหว่างสถานพยาบาลควรมีการก�ำหนดคุณสมบัติของประเมินให้ชัดเจน
ทั้งนี้ต้องเป็นบุคลากรที่มีศักยภาพความรู้ ความสามารถ และมีประสบการณ์ในการดูแล
ผู้ป่วยฉุกเฉิน เช่น แพทย์ช�ำนาญการในด้านต่าง ๆ แพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน แพทย์ที่ผ่าน
การอบรมหลักสูตร ATLS เพื่อให้การประเมินผลในด้านการรักษา พยาบาลผู้มีความรู้
ความสามารถ และมีประสบการณ์ในการท�ำงาน เพื่อให้การประเมินด้านการพยาบาล
เป็นต้น การประเมินให้มีการประเมินดังนี้
48 การปฏิบัติการสงตอผูปวยฉุกเฉินระหวางสถานพยาบาล (Interfacility Patient Transfer)
EMERGENCY
reventio

n
P
การประเมินให้มีการประเมินดังนี้
1. ด้านบุคลากร ที่ดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินในระบบการปฏิบัติการส่งต่อผู้ป่วย
ฉุกเฉินระหว่างสถานพยาบาล ว่ามีศักยภาพ ความรู้ ความสามารถ เหมาะสมตาม
มาตรฐานการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินแต่ละรายหรือไม่
2. คุณภาพการดูแลผู้ป่วยในด้านต่างๆ ตามมาตรฐานการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน
ทั่วไป ได้แก่
• การดูแลด้านทางเดินหายใจ (Airway)
• การดูแลด้านการระบายอากาศ (Breathing/O2 management)
• การดูแลระบบการไหลเวียน (Circuration ประเมินการให้สารน�้ำ Fluid
resuscitation และ control breathing)
• การดูแลการดาม ได้แก่ Spine emobilization, Extreimitry splint,
Pelvic splint
3. ประเมินคุณภาพด้านอุปกรณ์การแพทย์ และเวชภัณฑ์ ได้แก่ Monitor
EKG, Monitor SP O2
ทั้งนี้การประเมินในแต่ละด้านควรประเมินการปฏิบัติตามมาตรฐานการดูแล
ผู้ป่วยฉุกเฉินระหว่างสถานพยาบาล เป็น 4 ระดับ ได้แก่
ไม่จ�ำเป็น หมายถึง ผู้ป่วยรายนั้นไม่มีความจ�ำเป็นได้รับการปฏิบัติการตาม
มาตรฐานในเรื่องนั้น
ท�ำเหมาะสม หมายถึง ผู้ป่วยรายนั้นได้รับการปฏิบัติการตามมาตรฐานอย่าง
ถูกต้องเหมาะสมในเรื่องนั้น
ท�ำไม่เหมาะสม หมายถึง ผู้ป่วยรายนั้นได้รับการปฏิบัติการตามมาตรฐานได้
ไม่ถูกต้องหรือไม่เหมาะสมในเรื่องนั้น
ไม่ท�ำ หมายถึง ไม่มีการปฏิบัติตามมาตรฐานในเรื่องนั้น
ดูรายละเอียดตัวอย่าง เอกสารแบบประเมินผู้ป่วยฉุกเฉินระหว่างส่งต่อ ดูใน
ภาคผนวก ซ

การปฏิบัติการสงตอผูปวยฉุกเฉินระหวางสถานพยาบาล (Interfacility Patient Transfer) 49


EMERGENCY
reventio

n
EMERGENCY

50 การปฏิบัติการสงตอผูปวยฉุกเฉินระหวางสถานพยาบาล (Interfacility Patient Transfer)


EMERGENCY
reventio

n
P
บทที่ 6
การปฏิบตั กิ ารส่งต่อผูป้ ว่ ยฉุกเฉินระหว่างสถานพยาบาล
รูปแบบพิเศษ

การปฏิ บั ติ ก ารส่ ง ต่ อ ผู ้ ป ่ ว ยฉุ ก เฉิ น ระหว่ า งสถานพยาบาลรู ป แบบพิ เ ศษ


ที่พัฒนาขึ้น เพื่อให้สามารถปฏิบัติการฉุกเฉินช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉินได้เหมาะสมกับ
สถานการณ์ที่มีความแตกต่างจากพื้นที่ปกตินั้น ประกอบด้วย 3 รูปแบบ คือ
1) การปฏิบัติการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินระหว่างสถานพยาบาล ในสถานการณ์
ความไม่สงบพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
2) การปฏิบัติการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินระหว่างสถานพยาบาลทางอากาศยาน
3) การปฏิบัติการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินระหว่างสถานพยาบาลทางน�้ำ
โดยสามารถศึกษาการปฏิบัติการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินระหว่างสถานพยาบาล
ทางอากาศยานและทางน�้ำ ได้จากคู่มือแนวปฏิบัติการฉุ ก เฉิ น ทางอากาศยานและ
คู่มือแนวปฏิบัติการฉุกเฉินทางน�้ำ ซึ่งมีการจัดท�ำโดยคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญทาง
อากาศยานและทางน�้ำ

การปฏิ บั ติ ก ารส่ ง ต่ อ ผู ้ ป ่ ว ยฉุ ก เฉิ น ระหว่ า งสถานพยาบาลใน


สถานการณ์ความไม่สงบพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
เหตุผลและที่มา
สืบเนื่องจากสถานการณ์ความไม่สงบที่เกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
ในช่วง 10 ปี ที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2547-2557 โดยพบว่า ในช่วง 4 ปีแรก (ปี 2547 -2550)
มีความถี่ของการเกิดเหตุมากกว่าในช่วง 6 ปีหลัง อย่างไรก็ตาม ในช่วงปีหลังๆ จะมี
ความรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ โดยประเมินจากจ�ำนวนผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บต่อเหตุการณ์
จะมีเพิ่มสูงขึ้น ดังแผนภาพ

การปฏิบัติการสงตอผูปวยฉุกเฉินระหวางสถานพยาบาล (Interfacility Patient Transfer) 51


EMERGENCY
reventio

n
EMERGENCY

ที่มา : ศูนย์เฝ้าระวังสถานการณ์ภาคใต้

มี ก ารน�ำข้ อ มู ล และเหตุ ก ารณ์ ที่ เ กิ ด ขึ้ น มาวิ เ คราะห์ ส ถานการณ์ โดยการ


ประเมินสถานการณ์ช่วงแรก มองว่าเหตุการณ์อาจจะ “ยืดเยื้อ ยาวนาน ลุกเป็นไฟ”
และมีทบทวนการวิเคราะห์สถานการณ์เป็นระยะ ๆ โดยปัจจุบันประเมินสถานการณ์
ว่าเหตุการณ์จะ “ยืดเยื้อ ยาวนาน” แต่ “ไม่ลุกเป็นไฟ” การบริหารจัดการในพื้นที่ของ
หน่วยความมั่นคง โดย กอรมน. มีอ�ำนาจเบ็ดเสร็จ รวมทั้งศอบต.ท�ำหน้าที่บริหารจัดการ
และมีการใช้ยุทธวิธีเชิงสันติกับประชาชนในพื้นที่ ส่วนหน่วยงานสาธารณสุข มี ศบสต.,
รพม., สสจ., รพ.ต่าง ๆ รพสต. ท�ำหน้าที่ในการบริหารจัดการและจัดบริการสุขภาพให้
กับประชาชน โดยมียุทธศาสตร์ในการพัฒนาสุขภาพของจังหวัดชายแดนใต้ ปี 2556-
2558 โดยมีเป้าหมาย “ปัญหาสุขภาพคนใต้ลดลงแม้ในสถานการณ์วิกฤต” มีหลักการ
ในการท�ำงาน “ท�ำงานร่วมกันทุกภาคส่วน” มียุทธศาสตร์ 3 ข้อ คือ 1) พัฒนาระบบ
บริการสุขภาพให้มีคุณภาพ (กลยุทธ : พัฒนาเครือข่ายบริการ พัฒนาระบบสุขภาพที่
สอดคล้องกับวิถีชุมชน พัฒนาระบบบริการปฐมภูมิ พัฒนาระบบบริการที่ตอบสนอง
ต่อเหตุวิกฤต) 2) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการสร้างเสริมสุขภาพ (กลยุทธ : พัฒนาการ
มีส่วนร่วมของผู้น�ำศาสนาภาคประชาชนและท้องถิ่น พัฒนาระบบการดูแลสุขภาพ

52 การปฏิบัติการสงตอผูปวยฉุกเฉินระหวางสถานพยาบาล (Interfacility Patient Transfer)


EMERGENCY
reventio

n
P
ผู้ไปประกอบพิธีฮัจย์) 3) บริหารจัดการและสนับสนุน (กลยุทธ : พัฒนาระบบความ
ปลอดภัย พัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพ พัฒนาก�ำลังคนด้านสุขภาพและขวัญ
ก�ำลังใจ)

กระทรวงสาธารณสุขมีการพัฒนาระบบบริการสุขภาพหลายส่วนให้เหมาะสม
กับพื้นที่ เช่น พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและโลจิติกส์ พัฒนาระบบสื่อสาร การสนับสนุน
ให้จัดเครือข่ายบริการและพัฒนาศักยภาพของสถานพยาบาลระดับตติยภูมิให้สามารถ
ดูแลผู้บาดเจ็บจากสถานการณ์ความไม่สงบ พัฒนาบุคลากร รวมทั้งการประสานความ
ร่วมมือในการด�ำเนินงานกับภาคส่วนอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม พบว่า พื้นที่จังหวัดชายแดน
ภาคใต้มีข้อจ�ำกัดของทรัพยากร โดยเฉพาะบุคลากรด้านสาธารณสุขมีสัดส่วนของ
บุคลากรต่อประชากรต�่ำกว่าค่าเฉลี่ยของประเทศ

ระบบปฏิบัติการส่งต่อผู้ป่วยระหว่างสถานพยาบาลในสถานการณ์ความไม่
สงบพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้มีความเสี่ยงสูง และมีความยากล�ำบากในการปฏิบัติ
งานมากกว่าพื้นที่ปกติ ดังนั้น สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติร่วมกับผู้เชี่ยวชาญ
และผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีสถานการณ์ความไม่สงบ ได้พัฒนา
รู ป แบบการปฏิ บั ติ ก ารส่ ง ต่ อ ผู ้ ป ่ ว ยฉุ ก เฉิ น ระหว่ า งสถานพยาบาลในสถานการณ์
ความไม่สงบพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อให้เหมาะสมในการปฏิบัติงานในพื้นที่
ดังกล่าวขึ้น

วัตถุประสงค์
1. เพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิผู้ป่วยฉุกเฉินในสถานการณ์ความไม่สงบพื้นที่
จังหวัดชายแดนภาคใต้ และจ�ำเป็นต้องได้รับการส่งต่อให้ได้รับการดูแลรักษาพยาบาล
ในการส่งต่อที่ได้มาตรฐานวิชาชีพ และมีความปลอดภัยไปยังสถานพยาบาลปลายทางที่
มีศักยภาพเหมาะสม อย่างทันท่วงที
2. เพื่อให้บุคลากรมีความปลอดภัยในชีวิตจากปฏิบัติงานในสถานการณ์ความ
ไม่สงบ

การปฏิบัติการสงตอผูปวยฉุกเฉินระหวางสถานพยาบาล (Interfacility Patient Transfer) 53


EMERGENCY
reventio

n
EMERGENCY

P
3. เพื่อให้สถานพยาบาลใช้เป็นแนวปฏิบัติการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินระหว่าง
สถานพยาบาลในสถานการณ์ความไม่สงบพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่เป็นมาตรฐาน
เดียวกัน
4. เพื่อเป็นแนวทางพัฒนาระบบปฏิบัติการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินระหว่างสถาน
พยาบาลที่มีประสิทธิภาพในทุกระดับ ตั้งแต่สถานพยาบาล จังหวัด ในและนอกเครือข่าย
บริการ รวมทั้งหน่วยบริการสังกัดอื่น

ขอบเขต
1. การปฏิบัติการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินระหว่างสถานพยาบาลในสถานการณ์
ความไม่สงบครอบคลุมสถานพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชนในพื้นที่จังหวัดชายแดน
ภาคใต้ ประกอบด้วย 3 จังหวัด คือ จังหวัดยะลา จังหวัดปัตตานี จังหวัดนราธิวาส และ
4 อ�ำเภอในจังหวัดสงขลา คือ อ�ำเภอนาทวี อ�ำเภอสะบ้าย้อย อ�ำเภอเทพา และอ�ำเภอ
จะนะ
2. การปฏิบัติการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินระหว่างสถานพยาบาลในสถานการณ์
ความไม่สงบ เป็นปฏิบัติการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินจากสถานพยาบาลหนึ่งไปยังสถาน
พยาบาลที่มีศักยภาพในการดูแลรักษา ตั้งแต่การเตรียมความพร้อมก่อนส่งต่อ โดยการ
ประเมินผูป้ ว่ ยฉุกเฉินตามระดับความเฉียบพลันของอาการผูป้ ว่ ย การประสานการส่งต่อ
และข้อมูลผู้ป่วยไปยังสถานพยาบาลปลายทาง การเตรียมผู้ป่วยและญาติ การจัด
ทรัพยากรที่เหมาะสมกับระดับความเฉียบพลันของอาการผู้ป่วย การปฏิบัติการฉุกเฉิน
ระหว่างส่งต่อ และการปฏิบัติการฉุกเฉินหลังส่งต่อที่เหมาะสมตามเกณฑ์ โดยไม่รวมถึง
การส่งกลับเพื่อการรักษาต่อเนื่อง
3. ครอบคลุ ม กระบวนการปฏิ บั ติ ก ารส่ ง ต่ อ ผู ้ ป ่ ว ยฉุ ก เฉิ น ระหว่ า งสถาน
พยาบาล ตั้งแต่ ระดับนโยบาย การบริหารจัดการ การพัฒนาบุคลากร การส่งต่อข้อมูล
การสื่อสาร การปฏิบัติการฉุกเฉิน และการก�ำกับติดตามและประเมินผล
4. เป็ น การรวบรวมองค์ ค วามรู ้ จ ากผู ้ เชี่ ย วชาญและผู ้ ป ฏิ บั ติ ง านในพื้ น ที่
(Tacit knowledge) เพื่อจัดท�ำเป็นเอกสาร (Explicit knowledge) ที่ใช้เป็นแนวปฏิบัติ
ในการท�ำงานของบุคลากรในพื้นที่ ที่เหมาะสมกับบริบทของพื้นที่

54 การปฏิบัติการสงตอผูปวยฉุกเฉินระหวางสถานพยาบาล (Interfacility Patient Transfer)


EMERGENCY
reventio

n
P
ค�ำนิยาม
ผู้ป่วยฉุกเฉินในสถานการณ์ความไม่สงบพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
หมายถึง ผู้บาดเจ็บจากสถานการณ์ความไม่สงบ หรือผู้ป่วยฉุกเฉินที่มีความจ�ำเป็นต้อง
ได้รับการส่งต่อ ขณะที่มีเหตุการณ์ความไม่สงบเกิดขึ้นในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาค
ใต้ ประกอบด้วย 3 จังหวัด คือ จังหวัดยะลา จังหวัดปัตตานี จังหวัดนราธิวาส และ 4
อ�ำเภอในจังหวัดสงขลา คือ อ�ำเภอนาทวี อ�ำเภอสะบ้าย้อย อ�ำเภอเทพา และอ�ำเภอ
จะนะ ซึ่งเป็นสถานการณ์ที่มีเสี่ยงต่อความปลอดภัยต่อชีวิตผู้ป่วยและบุคลากรที่ปฏิบัติ
งาน รวมทั้งมีข้อจ�ำกัดและยากล�ำบากในการปฏิบัติงานมากกว่าพื้นที่ปกติ

ขั้นตอนการปฏิบัติการฉุกเฉิน
การปฏิบัติการฉุกเฉินแบ่งเป็น 3 ขั้น คือ 1) ก่อนส่งต่อ ( Pre Transfer )
2) ระหว่างส่งต่อ ( During Transfer ) 3) หลังส่งต่อ ( Post Transfer ) ดัง Flow chart
และรายละเอียดขั้นตอนการปฏิบัติการฉุกเฉิน

การปฏิบัติการสงตอผูปวยฉุกเฉินระหวางสถานพยาบาล (Interfacility Patient Transfer) 55


EMERGENCY
reventio

n
EMERGENCY

56 การปฏิบัติการสงตอผูปวยฉุกเฉินระหวางสถานพยาบาล (Interfacility Patient Transfer)


EMERGENCY
reventio

n
P

การปฏิบัติการสงตอผูปวยฉุกเฉินระหวางสถานพยาบาล (Interfacility Patient Transfer) 57


EMERGENCY
reventio

n
EMERGENCY

หมายเหตุ 1 การกำ�หนดนโยบาย การกำ�กับ ติดตาม และประเมินผลใช้ตามแนวปฏิบัติการส่งต่อผู้ป่วย(กรณีปกติ)


2. การส่งต่อทางอากาศยาน ใช้ตามแนวการปฏิบัติการส่งต่อผู้ป่วยด้วยอากาศยาน ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2557
58 การปฏิบัติการสงตอผูปวยฉุกเฉินระหวางสถานพยาบาล (Interfacility Patient Transfer)
EMERGENCY
reventio

n
P
รายละเอียดขั้นตอนปฏิบัติการ
1 ก่อนส่งต่อ (Pre Transfer)
1.1 เมื่อสถานพยาบาลต้นทางประเมินผู้ป่วยฉุกเฉินแล้ว มีความ
จ�ำเป็นต้องส่งต่อ ให้แพทย์หรือพยาบาลประเมินระดับความเฉียบพลันของอาการ
ผู้ป่วยของผู้ป่วยตามเกณฑ์ Levels of patient acuity ที่ประยุกต์ใช้จาก Guide for
interfacility patients transfer ของ NHTSA
1.2 มีการตรวจความปลอดภัยเส้นทางโดยศูนย์ประสานการส่งต่อ
ระดับโรงพยาบาลประสานงานกับหน่วยงานความมั่นคงในพื้นที่และเครือข่ายอื่นๆ เพื่อ
ให้แน่ใจว่าเส้นทางภาคพื้นดินมีความปลอดภัยตลอดเส้นทาง
  1) ถ้าเส้นทางมีความปลอดภัย ให้ด�ำเนินการประสานกับสถาน
พยาบาลปลายทางโดยผ่านศูนย์ประสานงานการส่งต่อผู้ป่วย ตามแนวทางและขั้นตอน
การประสานการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินระดับสถานพยาบาล/ศูนย์ประสานการส่งต่อ/
จังหวัด/เขต/ประเทศ
  2) ถ้าเส้นทางไม่มคี วามปลอดภัย ไม่สามารถเดินทางภาคพืน้ ดิน
ได้ ให้พิจารณาวิธีการส่งต่อทางอากาศยาน ตามแนวทางการปฏิบัติการส่งต่อผู้ป่วยทาง
อากาศยาน ฉบับปรับปรุง พ.ศ.2557
1.3 กรณีสถานพยาบาลต้นทางประสานส�ำเร็จให้เตรียมความพร้อม
ตามเอกสารฉบับต่าง ๆ เช่น การเตรียมผู้ป่วยฉุกเฉิน ญาติ บุคลากร ยานพาหนะและ
อุปกรณ์ ระบบสื่อสาร เอกสาร ฯ ตามข้อตกลง/แนวปฏิบัติ การรับผู้ป่วยฉุกเฉินตาม
Clinical Guideline Practice, มาตรฐานบุคลากร ยานพาหนะ และอุปกรณ์, ระบบ
สื่อสารการส่งต่อ, ระบบข้อมูลและสารสนเทศการส่งต่อ, การเตรียมความพร้อมผู้ป่วย
และญาติก่อนการส่งต่อ, แนวทางการจัดเตรียมเอกสารการส่งต่อ
1) กรณีสถานพยาบาลต้นทางประสานไม่ส�ำเร็จให้ประสาน
ติดต่อโรงพยาบาลหาดใหญ่หรือโรงพยาบาลสงขลานครินทร์หรือโรงพยาบาลสงขลา
ตามแนวทางการประสานส่งต่อของแต่ละโรงพยาบาล ตามแนวปฏิบัติของศูนย์ประสาน
ส่งต่อระดับเขต
2) กรณีสถานพยาบาลต้นทางประสานโรงพยาบาลหาดใหญ่
หรือโรงพยาบาลสงขลานครินทร์หรือโรงพยาบาลสงขลาไม่ส�ำเร็จ ให้แจ้งศูนย์ประสาน
การส่งต่อระดับเขต เพื่อประสานสถานพยาบาลปลายทางแห่งอื่น

การปฏิบัติการสงตอผูปวยฉุกเฉินระหวางสถานพยาบาล (Interfacility Patient Transfer) 59


EMERGENCY
reventio

n
EMERGENCY

P
1.4 กรณีศูนย์ประสานการส่งต่อระดับเครือข่ายบริการสุขภาพ
ประสานส�ำเร็จ แจ้งสถานพยาบาลต้นทางด�ำเนินการตามข้อ 1.3
กรณีศนู ย์ประสานการส่งต่อระดับเครือข่ายบริการสุขภาพ ประสาน
ไม่ส�ำเร็จให้ด�ำเนินการประสานสถานพยาบาลปลายทางแห่งอื่นๆ ต่อไปจนกว่าจะส�ำเร็จ
หรือหากการประสานงานไม่ส�ำเร็จ ศูนย์ประสานงานการส่งต่อระดับเครือข่ายบริการ
สุขภาพ แจ้งให้แพทย์หรือพยาบาลหรือสถานพยาบาลต้นทางทราบเพื่อให้การดูแล
รักษาพยาบาลผู้ป่วยฉุกเฉินต่อ ณ สถานพยาบาลนั้นๆ ต่อไป
หมายเหตุ กรณี ผู ้ ป ่ วยฉุก เฉิน เข้ารับ การรัก ษาในสถานพยาบาลเอกชนที่ ไ ม่
สามารถให้การรักษาพยาบาลให้พ้นภาวะฉุกเฉินได้ ให้ประสานศูนย์ประสาน
การส่ ง ต่ อ ระดั บ จั ง หวั ด เพื่ อ ประสานหาสถานพยาบาลรั ฐ เพื่ อ รั บ ผู ้ ป ่ ว ยไว้
รักษา หากสถานพยาบาลปลายทางของรัฐไม่สามารถรับผู้ป่วยฉุกเฉินไว้รักษา
ได้ ให้สถานพยาบาลเอกชนนั้นประสานการส่งต่อตามแนวปฏิบัติได้เพื่อความ
ปลอดภัยของผู้ป่วยเป็นหลัก
2. ระหว่างส่งต่อ (During Transfer)
2.1 ระหว่างการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินให้ให้การดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินตาม
มาตรฐานวิชาชีพและมาตรฐานการดูแลผู้ป่วยระหว่างการส่งต่อรายโรค
2.2 บุคลากรเฝ้าระวัง และติดตามผลการดูแลที่เหมาะสมกับผู้ป่วย
แต่ละระดับ
2.3 การบันทึกข้อมูลและรายงานสถานการณ์พยาบาลปลายทาง
หากพบ มีอาการเปลี่ยนแปลงระหว่างการส่งต่อ ประสานขอค�ำปรึกษาตามแนวทางการ
ขอค�ำปรึกษาทางการแพทย์ระหว่างการส่งต่อ
2.4 จัดมีระบบสื่อสารและติดตามตลอดเส้นทางการส่งต่อทั้งไป
และกลับ เช่น ระบบเครือข่ายวิทยุสื่อสารกลางของเครือข่ายบริการสุขภาพ ระบบติดตาม
ต�ำแหน่งโดยใช้ดาวเทียม (GPS) เพื่อให้สถานพยาบาลสามารถติดตามต�ำแหน่งของ
รถพยาบาลส่งต่อตลอดเวลาและสามารถตรวจสอบได้ว่าการส่งต่อมีความปลอดภัย
หรือก�ำหนดมีการประสานการเข้าพื้นที่ของรถพยาบาล ต่อศูนย์ประสานการส่งต่อของ
จังหวัดนั้นๆ

60 การปฏิบัติการสงตอผูปวยฉุกเฉินระหวางสถานพยาบาล (Interfacility Patient Transfer)


EMERGENCY
reventio

n
P
กรณี มี ส ถานการณ์ ค วามไม่ ป ลอดภั ย ระหว่ า งทางการส่ ง ต่ อ ให้
เจ้าหน้าที่ในรถสามารถตัดสินใจแวะสถานพยาบาลใกล้ที่สุดและมีความปลอดภัย
เพื่อให้ดูแลรักษาผู้ป่วยต่อเนื่องและเจ้าหน้าที่มีความปลอดภัย จากนั้นมีระบบประสาน
ศูนย์สง่ ต่อในพืน้ ทีเ่ พือ่ ระบุต�ำแหน่ง ตรวจสอบความปลอดภัยและรายงานผูบ้ งั คับบัญชา
เพื่อทราบสถานการณ์รวมถึงสั่งการปฏิบัติงานในห้วงต่อไปอย่างเหมาะสม โดยอาจเป็น
การถอดก�ำลังกลับ หรือรอรับค�ำสั่งรอจนกว่าสถานการณ์ปลอดภัยเพื่อปฏิบัติงาน
ตามความเหมาะสม
3 หลังส่งต่อ (Post Transfer)
3.1 เมื่อน�ำส่งผู้ป่วยฉุกเฉินถึงสถานพยาบาลปลายทาง ให้ส่งมอบผู้
ป่วยฉุกเฉินและส่งมอบเอกสารข้อมูลผู้ป่วยฉุกเฉินแก่สถานพยาบาลปลายทางตามแนว
ปฏิบัติการรับและส่งผู้ป่วยฉุกเฉิน ณ ห้องฉุกเฉินสถานพยาบาลปลายทาง รวมทั้งมีการ
ตรวจเช็คอุปกรณ์
3.2 สถานพยาบาลปลายทางรับมอบผู้ป่วยฉุกเฉิน และเอกสาร
ข้อมูลของผู้ป่วย ตามแนวปฏิบัติการรับการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉิน ณ ห้องฉุกเฉิน สถาน
พยาบาลปลายทาง
3.3 แจ้ ง กลั บ ไปยั ง สถานพยาบาลต้ น ทางว่ า เดิ น ทางถึ ง สถาน
พยาบาลปลายทางอย่างปลอดภัย
3.4 สถานพยาบาลปลายทางเตรียมความพร้อมในการดูแลผู้ป่วย
ฉุกเฉิน โดยการประสานทีมแพทย์อุบัติเหตุที่เกี่ยวข้อง ให้ stand by ณ ห้องฉุกเฉิน รวม
ทั้งการเตรียมความพร้อมในการรับผู้ป่วย เช่น ประสานห้องผ่าตัด ธนาคารเลือด ห้อง
บัตร หอผู้ป่วย และอื่น ๆ เพื่อให้สามารถดูแลรักษาผู้ป่วยฉุกเฉินได้ทันทีที่เดินทางมาถึง
สถานพยาบาลปลายทาง
3.5 สถานพยาบาลปลายทางรับมอบผู้ป่วยฉุกเฉิน เอกสารข้อมูล
ผู้ป่วยและสิ่งของมีค่า ตามแนวปฏิบัติการรับและส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉิน ณ ห้องฉุกเฉิน
สถานพยาบาลปลายทาง พร้อมทั้งประเมินคุณภาพการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉินระหว่างการ
ส่งต่อ

การปฏิบัติการสงตอผูปวยฉุกเฉินระหวางสถานพยาบาล (Interfacility Patient Transfer) 61


EMERGENCY
reventio

n
EMERGENCY

P
3.6 สถานพยาบาลปลายทางจัดเตรียมที่พักให้เจ้าหน้าที่ที่น�ำส่ง
ผู้ป่วยฉุกเฉิน หากมีความจ�ำเป็นต้องพักค้างคืน เช่น ยามวิกาล หรือมีเหตุการณ์ความ
ไม่สงบในเส้นทางที่ต้องเดินทางกลับ อื่น ๆ กรณีที่เจ้าหน้าที่ไม่พัก ให้แสดงความ
ประสงค์ไม่ขอพักในแบบฟอร์มที่ก�ำหนด
3.7 เจ้าหน้าที่แจ้งกลับไปยังสถานพยาบาลต้นทาง เพื่อรับทราบ

รายการส่งมอบผู้ป่วยฉุกเฉิน ณ สถานพยาบาลปลายทาง มีดังนี้

สัญญาณชีพก่อนผู้ป่วยลงจาก

62 การปฏิบัติการสงตอผูปวยฉุกเฉินระหวางสถานพยาบาล (Interfacility Patient Transfer)


EMERGENCY
reventio

n
P
การบริหารทรัพยากร
1) ด้านบุคลากร
บุคลากรในการปฏิบัติการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินระหว่างสถานพยาบาลให้อ้างอิง
ตามบทที่ 4 การบริหารทรัพยากรในระบบปฏิบัติการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินระหว่างสถาน
พยาบาล หัวข้อ “การบริหารทรัพยากรด้านบุคลากร”
โดยมี ข ้ อ เสนอแนะว่ า แพทย์ แ ละพยาบาลที่ ดู แ ลผู ้ ป ่ ว ยฉุ ก เฉิ น ณ สถาน
พยาบาลต้นทางควรผ่านการอบรมหลักสูตร ATLS หรือหลักสูตรเทียบเคียง เพื่อให้
สามารถดูแลผูป้ ว่ ยฉุกเฉินได้อย่างเหมาะสมก่อนการส่งต่อไปยังสถานพยาบาลปลายทาง

2) ด้านรถพยาบาล และอุปกรณ์รถพยาบาล
รถพยาบาลที่ใช้ในการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉิน ในสถานการณ์ความไม่สงบพื้นที่
จังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้อ้างอิงบทที่ 4 การบริหารทรัพยากรในระบบปฏิบัติการส่งต่อ
ผู้ป่วยฉุกเฉินระหว่างสถานพยาบาล “การบริหารทรัพยากรด้านรถพยาบาล”
โดยเพิ่มอุปกรณ์บางรายการที่จะช่วยเพิ่มความปลอดภัยของผู้ป่วย และ
บุคลากรในระหว่างการเดินทาง รายการเพิ่มในส่วนระบบสื่อสาร คือ ให้มีการติดตั้ง
ระบบติดตามต�ำแหน่งด้วยดาวเทียม (GPS Tracking) และโทรศัพท์เคลี่อนที่ประจ�ำ
รถพยาบาล เพิ่มขึ้นจากแนวปฏิบัติในพื้นที่ปกติ

3) ด้านเครื่องมือ และอุปกรณ์ทางการแพทย์
เครื่ อ งมื อ และอุ ป กรณ์ ท างการแพทย์ ที่ ใช้ ใ นการส่ ง ต่ อ ผู ้ ป ่ ว ยฉุ ก เฉิ น ใน
สถานการณ์ความไม่สงบพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ให้อ้างอิงบทที่ 4 การบริหาร
ทรัพยากรในระบบปฏิบัติการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินระหว่างสถานพยาบาล “การบริหาร
ทรัพยากรด้านเครื่องมือและอุปกรณ์”
โดยเพิ่มอุปกรณ์บางรายการที่จะช่วยเพิ่มความปลอดภัยของผู้ป่วย และ
บุคลากรในระหว่างการเดินทาง รายการเพิ่ม 2 รายการ คือ

การปฏิบัติการสงตอผูปวยฉุกเฉินระหวางสถานพยาบาล (Interfacility Patient Transfer) 63


EMERGENCY
reventio

n
EMERGENCY

P
โดยเพิ่มอุปกรณ์บางรายการที่จะช่วยเพิ่มความปลอดภัยของผู้ป่วยในระหว่าง
การเดินทาง รายการเพิ่ม 2 รายการ คือ
1) มอร์นิเตอร์ วางในต�ำแหน่งที่ผู้ปฏิบัติงานสามารถมองเห็นได้ชัด มีความ
สามารถในการวัดความดันโลหิตระบบดิจิตอลและสามารถตั้งเวลาในการวัดอัตโนมัติได้
คลื่นไฟฟ้าหัวใจอย่างน้อย 5 leads ระดับความเข้มข้นของออกซิเจนปลายนิ้ว (pulse
oximetry), ระดับแรงดันย่อยของก๊าซของคาร์บอนไดออกไซด์ในลมหายใจออก (end
tidal CO2), ควบคุมการเต้นของหัวใจ (noninvasive pacemaker), กระตุกไฟฟ้าหัวใจ
(defibrillation และ cardio version)
2) เครื่องกระตุกหัวใจด้วยไฟฟ้าแบบ Biphasic มีจอแสดงผลคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
สามารถปรับใช้งานเป็นโหมดอัตโนมัติ (AED) ได้

4) ด้านยา สารน�้ำ และเวชภัณฑ์


การบริหารทรัพยากรด้านยา สารน�้ำ และเวชภัณฑ์ที่ใช้ในการส่งต่อผู้ป่วย
ฉุ ก เฉิ น ในสถานการณ์ ค วามไม่ ส งบจั ง หวั ด ชายแดนภาคใต้ ให้ อ ้ า งอิ ง ตามบทที่ 4
การบริหารทรัพยากรในการปฏิบัติการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินระหว่างสถานพยาบาล
“การบริ ห ารทรั พ ยากรด้านยา สารน�้ำ และเวชภัณ ฑ์” โดยพิจารณาปรับใช้ตาม
ความเหมาะสม และสมรรถนะของบุคลากร

64 การปฏิบัติการสงตอผูปวยฉุกเฉินระหวางสถานพยาบาล (Interfacility Patient Transfer)


EMERGENCY
reventio

n
P
สวัสดิการ
เนื่องจากสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ยังคงเกิดขึ้น
อย่างต่อเนื่อง ส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติงานของบุคลากรทางการแพทย์ในการปฏิบัติ
การส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินระหว่างสถานพยาบาล โดยอาจจะเกิดความไม่ปลอดภัยในชีวิต
ระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ ดังนั้น เพื่อเป็นการสร้างขวัญก�ำลังใจแก่บุคลากรที่ปฏิบัติงาน
จึงควรมีสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ ดังนี้
1) มีระบบการประกันชีวิตส่วนบุคคลและประกันอุบัติรถพยาบาล
2) มีระบบการเยียวยาส�ำหรับบุคลากรเมื่อเกิดเหตุระหว่างปฏิบัติงาน ทั้งกรณี
บาดเจ็บเล็กน้อย บาดเจ็บปานกลาง บาดเจ็บสาหัส เสียชีวิต และพิการ ตามเกณฑ์ที่
ก�ำหนดในแต่ละกรณี โดยเทียบเคียงสิทธิประโยชน์กับบุคลากรด้านความมั่นคงที่ปฏิบัติ
งานในพื้นที่
3) กรณีปฏิบัติการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินระหว่างสถานพยาบาลในยามวิกาลหรือ
ไม่สามารถเดินทางกลับสถานพยาบาลต้นสังกัดได้ ให้เบิกจ่ายค่าที่พักได้ตามระเบียบ
ราชการ
4) กรณีปฏิบัติการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินระหว่างสถานพยาบาลทางบก ให้จ่ายค่า
ตอบแทนพิเศษส�ำหรับบุคลากรที่ส่งต่ออย่างน้อย 2 เท่าของค่าตอบแทนปกติ
5) กรณี ป ฏิ บั ติ ก ารส่ ง ต่ อ ผู ้ ป ่ ว ยฉุ ก เฉิ น ระหว่ า งสถานพยาบาลทาง
อากาศยาน ให้จ่ายค่าตอบแทนพิเศษส�ำหรับบุคลากรที่ส่งต่ออย่างน้อย 3 เท่าของค่า
ตอบแทนปกติ

การปฏิบัติการสงตอผูปวยฉุกเฉินระหวางสถานพยาบาล (Interfacility Patient Transfer) 65


EMERGENCY
reventio

n
EMERGENCY

66 การปฏิบัติการสงตอผูปวยฉุกเฉินระหวางสถานพยาบาล (Interfacility Patient Transfer)


EMERGENCY
reventio

n
P
บรรณานุกรม
กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (2550). แนวทางพัฒนาระบบบริการทุติยภูมิและตติยภูมิ
(พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จ�ำกัด.

กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ. (ร่าง) แนวทางพัฒนาระบบส่งต่อตามการจัดระดับสถาน


บริการสาธารณสุขในระบบเครือข่ายบริการ. (เอกสารฉบับร่าง).

จิตติมา นุริตานนท์. (2552). Airway Management การดูแลระบบทางเดินหายใจ.ใน


รพีพร โรจน์เรืองแสง (บรรณาธิการ). วารสารเวชศาสตร์ฉุกเฉินไทย. 1(3), 61-69.

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. (2552). พระราชบัญญัติการแพทย์ฉุกเฉิน พ.ศ.


2551 (พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี : สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ.

สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ. (2555). ประกาศคณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉิน


เรื่อง หลักเกณฑ์การประเมินเพื่อคัดแยกระดับความฉุกเฉินและมาตรฐานการปฏิบัติ
การฉุกเฉิน พ.ศ.2554 และประกาศคณะกรรมการการแพทย์ฉุกเฉิน เรื่อง ข้อก�ำหนดว่า
ด้วยสถานพยาบาล พ.ศ. 2554. นนทบุรี : สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ.

สันต์ หัตถีรัตน์. (2546). ข้อผิดพลาดที่พบบ่อยในการดูแลผู้ป่วยฉุกเฉิน. คลินิก,


224(19),697-701.

ส�ำนักการพยาบาล. (2551). มาตรฐานการพยาบาลในโรงพยาบาล (พิมพ์ครั้งที่3).


นนทบุรี : ส�ำนักการพยาบาล กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข.

การปฏิบัติการสงตอผูปวยฉุกเฉินระหวางสถานพยาบาล (Interfacility Patient Transfer) 67


EMERGENCY
reventio

n
EMERGENCY

P
ส�ำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขและส�ำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ.
(2553). แนวทางการพัฒนาระบบส่งต่อ. กรุงเทพมหานคร : ส�ำนักงานพระพุทธ
ศาสนาแห่งชาติ.

ศูนย์บริการการแพทย์ฉุกเฉินกรุงเทพมหานคร (ศูนย์เอราวัณ) ส�ำนักการแพทย์


กรุงเทพมหานคร. คู่มือการปฏิบัติงานกระบวนการรับแจ้งเหตุและประสานหน่วยปฏิบัติ
การออกให้การช่วยเหลือผู้เจ็บป่วยฉุกเฉิน. (ออนไลน์). สืบค้นจาก www.msd.bang-
kok.go.th/6guidework/4/2.pdf

American College of Surgeons Committee on trauma. (2008). Advanved


Trauma Life Support for Doctor. Chicago: The Bern Convention and the
Uniform Copyright Covention.

American College of Surgeons Committee on trauma. (2008). Advanved


Trauma Life Support for Nurse. Chicago: The Bern Convention and the
Uniform Copyright Covention.

CAMTS. (2012). 9th EDITION ACCREDITATION STANDARDS of the Commis-


sion on Accreditation of Medical Transport System (Online). Available :
http://www.camts.org/Approved_Stds_9th_Edition_for_website_2-13.pdf.

Emergency health services foundation. (2001). ALS Ground Inter-Facility


Transfer Guidelines (Online). Available :http://www.ehsf.org/Utility/DbIm-
ageHandler.ashx?rowId=717&imageType=DocumentPDF.

Emergency Nurse Association (ENA), EMS for Children (EMSC) and Soci-
ety of Trauma Nurses (STN). Interfacility transfer tool kit for the pediatric
patient. (Online). Available : http://www.traumanurses.org/inter-facili-
ty-tool-kit-for-the-pediatric-patient.
68 การปฏิบัติการสงตอผูปวยฉุกเฉินระหวางสถานพยาบาล (Interfacility Patient Transfer)
EMERGENCY
reventio

n
P
Gillboy, N., Tamabe, P., Travers, D., & Rosenau, A.M. (2011). Emergency
Severity Index (ESI): A triage Tool for Emergency Department Care, Ver-
sion4. Implementation Handbook 2013 Edition. Rockville: Agency for
Healthcare Research and Quality. Hunter New England Health, NSW.
(2009). Inter-Facility Transfers Of Hunter New England Health Paediatric
Patients (Online). Available : http://www.hnehealth.nsw.gov.au/policies.

Massachusetts Office Of Emergency Medical Services. (2012). Administra-


tive Requirements Manual: ALS Interfacility Transfers. (Online). Available :
www.mass.gov/eohhs/.../emergency-services/ar/5-509.pdf.

National Highway Traffic Safety Administration. (2006). Guide for Interfa-


cility patient transfer (Online). Available : http://www.nhtsa.gov/people/
injury/ems/interfacility/index.htm.

New Hampshire Department of Safety Division of Fire Standards and


Training and Emergency Medical Services. (2013). Administrative Packet
for Paramedic Interfacility Transfer (PIFT) The Role of the NH EMT-Para-
medic (Online). Available :https://apps.nh.gov/blogs/irc/wp-content/up-
loads/2013/07/PIFT-Administrative-Packet-FINAL-2013.pdf.

North West Critical Care Networks,NHS. (2012). Standards & Guidance


for Intra and Inter-Hospital Critical Care Transfers (Adult Patients) (On-
line). Available : http://www.cmccn.nhs.uk/index.php/download_file/
view/95/139/.

การปฏิบัติการสงตอผูปวยฉุกเฉินระหวางสถานพยาบาล (Interfacility Patient Transfer) 69


EMERGENCY
reventio

n
EMERGENCY

P
Portmouth Hospital, NHS trust. (2012).Transfer Policy. (Online). Available :
http://www.porthosp.nhs.uk/Downloads/Policies-And-Guidelines/Manage-
ment-Policies/Transfer_Policy.doc.

Queensland Government. (2014). Guideline for Inter Hospital Transfers


(Online). Available : http://www.health.qld.gov.au/directives/docs/gdl/
qh-hsdgdl-025-3.pdf.

The Association of Anaesthetists of Great Britain and Ireland. (2009) AAGBI


Safety Guideline tinterhospital transfer (Online). Available : www.aagbi.
org/sites/default/files/interhospital09.pdf.

70 การปฏิบัติการสงตอผูปวยฉุกเฉินระหวางสถานพยาบาล (Interfacility Patient Transfer)


EMERGENCY
reventio

n
P
ภาคผนวก

การปฏิบัติการสงตอผูปวยฉุกเฉินระหวางสถานพยาบาล (Interfacility Patient Transfer) 71


EMERGENCY
reventio

n
EMERGENCY

P
ภาคผนวก ก
แบบประเมินระบบการปฏิบัติการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินระหว่างสถานพยาบาล
(Interfacility Patient Transfer System)
สำ�หรับการประเมินตนเอง
ค�ำชี้แจง
1. แบบประเมิ น ตนเองเกี่ ย วกั บ ระบบการปฏิ บั ติ ก ารส่ ง ต่ อ ผู ้ ป ่ ว ยฉุ ก เฉิ น
ระหว่างสถานพยาบาล (Interfacility Patient Transfer System) นี้ เป็นการประเมิน
เชิงระบบระดับสถานพยาบาล/จังหวัด/เครือข่ายบริการที่คณะท�ำงานการปฏิบัติการ
ส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินระหว่างสถานพยาบาลร่วมกันพัฒนาขึ้น เพื่อใช้ในการประเมินการ
ปฏิบัติงานของระบบการปฏิบัติการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินระหว่างสถานพยาบาล ของ
เครือข่ายบริการและศูนย์ประสานการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉิน และวางแผนพัฒนาระบบการ
ปฏิบัติการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินระหว่างสถานพยาบาล ในการคุ้มครองสิทธิผู้ป่วยฉุกเฉิน
ให้ได้รับการดูแลและรักษาจนพ้นภาวะฉุกเฉิน
2. กรุณาใส่เครื่องหมาย √ ในช่องผลการประเมินตนเอง ตามสภาพความเป็น
จริงของเครือข่ายบริการและศูนย์ประสานการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉิน
3. ผลการประเมิน แบ่งเป็น 4 ระดับ โดยจ�ำแนกเป็นคะแนนและความหมาย
ดังนี้
2 = มี และด�ำเนินการได้ครบถ้วนตามเกณฑ์ หรือดีกว่าเกณฑ์ที่ก�ำหนด
1 = มี แต่ด�ำเนินการแต่ไม่ครบตามเกณฑ์ อนุโลมให้ผ่านโดยต้องมีแผนพัฒนา
ในช่วงเวลาที่ชัดเจน
0 = ไม่มี หรือไม่ได้ด�ำเนินการ หรือไม่เป็นไปตามเกณฑ์
9 = ไม่สามารถประเมินได้

ข้อมูลทั่วไป
สถานพยาบาล..................................................................
จังหวัด ............................................................................
เครือข่ายบริการที่ ............................................................

72 การปฏิบัติการสงตอผูปวยฉุกเฉินระหวางสถานพยาบาล (Interfacility Patient Transfer)


EMERGENCY
reventio

n
P
เกณฑ์การปฏิบัติงานระบบการปฏิบัติการ
ส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินระหว่างสถานพยาบาล

การปฏิบัติการสงตอผูปวยฉุกเฉินระหวางสถานพยาบาล (Interfacility Patient Transfer) 73


EMERGENCY
reventio

n
EMERGENCY

P
เกณฑ์การปฏิบัติงานระบบการปฏิบัติการ
ส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินระหว่างสถานพยาบาล

2.1 การเตรียมการก่อนการส่งต่อของ
สถานพยาบาลต้นทาง (pre transfer)

74 การปฏิบัติการสงตอผูปวยฉุกเฉินระหวางสถานพยาบาล (Interfacility Patient Transfer)


EMERGENCY
reventio

n
P
เกณฑ์การปฏิบัติงานระบบการปฏิบัติการ
ส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินระหว่างสถานพยาบาล

2.2 การด�ำเนินการระหว่างส่งต่อ
( During Transfer )

ยา สารน�ำ้ และ

ส่งต่อ

ส่งต่อ

การปฏิบัติการสงตอผูปวยฉุกเฉินระหวางสถานพยาบาล (Interfacility Patient Transfer) 75


EMERGENCY
reventio

n
EMERGENCY

P
ส่งต่อ

2.3 การด�ำเนินการหลังส่งต่อ
( Post transfer )

ส่งต่อ

ส่งต่อ

ส่งต่อ

76 การปฏิบัติการสงตอผูปวยฉุกเฉินระหวางสถานพยาบาล (Interfacility Patient Transfer)


EMERGENCY
reventio

n
P
ภาคผนวก ข

การปฏิบัติการสงตอผูปวยฉุกเฉินระหวางสถานพยาบาล (Interfacility Patient Transfer) 77


EMERGENCY
reventio

n
EMERGENCY

78 การปฏิบัติการสงตอผูปวยฉุกเฉินระหวางสถานพยาบาล (Interfacility Patient Transfer)


EMERGENCY
reventio

n
P

การปฏิบัติการสงตอผูปวยฉุกเฉินระหวางสถานพยาบาล (Interfacility Patient Transfer) 79


EMERGENCY
reventio

n
EMERGENCY

80 การปฏิบัติการสงตอผูปวยฉุกเฉินระหวางสถานพยาบาล (Interfacility Patient Transfer)


EMERGENCY
reventio

n
P

การปฏิบัติการสงตอผูปวยฉุกเฉินระหวางสถานพยาบาล (Interfacility Patient Transfer) 81


EMERGENCY
reventio

n
EMERGENCY

82 การปฏิบัติการสงตอผูปวยฉุกเฉินระหวางสถานพยาบาล (Interfacility Patient Transfer)


EMERGENCY
reventio

n
P

การปฏิบัติการสงตอผูปวยฉุกเฉินระหวางสถานพยาบาล (Interfacility Patient Transfer) 83


EMERGENCY
reventio

n
EMERGENCY

84 การปฏิบัติการสงตอผูปวยฉุกเฉินระหวางสถานพยาบาล (Interfacility Patient Transfer)


EMERGENCY
reventio

n
P
ภาคผนวก ค
ตารางที่ 3 Checklist for Interfacility Transfer operating selection

การปฏิบัติการสงตอผูปวยฉุกเฉินระหวางสถานพยาบาล (Interfacility Patient Transfer) 85


EMERGENCY
reventio

n
EMERGENCY

P
ภาคผนวก ง

86 การปฏิบัติการสงตอผูปวยฉุกเฉินระหวางสถานพยาบาล (Interfacility Patient Transfer)


EMERGENCY
reventio

n
P
ภาคผนวก จ

การปฏิบัติการสงตอผูปวยฉุกเฉินระหวางสถานพยาบาล (Interfacility Patient Transfer) 87


EMERGENCY
reventio

n
EMERGENCY

88 การปฏิบัติการสงตอผูปวยฉุกเฉินระหวางสถานพยาบาล (Interfacility Patient Transfer)


EMERGENCY
reventio

n
P

แอลกอฮอล์

การปฏิบัติการสงตอผูปวยฉุกเฉินระหวางสถานพยาบาล (Interfacility Patient Transfer) 89


EMERGENCY
reventio

n
EMERGENCY

90 การปฏิบัติการสงตอผูปวยฉุกเฉินระหวางสถานพยาบาล (Interfacility Patient Transfer)


EMERGENCY
reventio

n
P
ภาคผนวก ฉ
ตัวอย่าง รายการอุปกรณ์สำ�หรับทีมส่งต่อระดับสูง
อุปกรณ์สำ�หรับทีมส่งต่อระดับสูง

การปฏิบัติการสงตอผูปวยฉุกเฉินระหวางสถานพยาบาล (Interfacility Patient Transfer) 91


EMERGENCY
reventio

n
EMERGENCY

P
อุปกรณ์สำ�หรับทีมส่งต่อระดับสูง

92 การปฏิบัติการสงตอผูปวยฉุกเฉินระหวางสถานพยาบาล (Interfacility Patient Transfer)


EMERGENCY
reventio

n
P
อุปกรณ์สำ�หรับทีมส่งต่อระดับสูง

ที่เจาะน�้ำตาลปลายนิ้ว

คู่

ตัวอย่าง รายการอุปกรณ์สำ�หรับทีมส่งต่อระดับพื้นฐาน

รายการอุปกรณ์สำ�หรับทีมส่งต่อระดับพื้นฐาน

การปฏิบัติการสงตอผูปวยฉุกเฉินระหวางสถานพยาบาล (Interfacility Patient Transfer) 93


EMERGENCY
reventio

n
EMERGENCY

P
รายการอุปกรณ์สำ�หรับทีมส่งต่อระดับพื้นฐาน

94 การปฏิบัติการสงตอผูปวยฉุกเฉินระหวางสถานพยาบาล (Interfacility Patient Transfer)


EMERGENCY
reventio

n
P
ภาคผนวก ช
ตัวอย่างรายการอุปกรณ์สำ�หรับทีมส่งต่อระดับสูง

การปฏิบัติการสงตอผูปวยฉุกเฉินระหวางสถานพยาบาล (Interfacility Patient Transfer) 95


EMERGENCY
reventio

n
EMERGENCY

ตัวอย่าง รายการอุปกรณ์ และยาสำ�หรับทีมส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉินเด็ก

96 การปฏิบัติการสงตอผูปวยฉุกเฉินระหวางสถานพยาบาล (Interfacility Patient Transfer)


EMERGENCY
reventio

n
P

การปฏิบัติการสงตอผูปวยฉุกเฉินระหวางสถานพยาบาล (Interfacility Patient Transfer) 97


EMERGENCY
reventio

n
EMERGENCY

98 การปฏิบัติการสงตอผูปวยฉุกเฉินระหวางสถานพยาบาล (Interfacility Patient Transfer)


EMERGENCY
reventio

n
P
ภาคผนวก ซ
เอกสารแบประเมินผู้ป่วยฉุกเฉินก่อนและระหว่างส่งต่อ
ตัวอย่าง เอกสารแบบประเมินผู้ป่วยฉุกเฉินระหว่างส่งต่อ
ตัวอย่างตารางที่ 1

การปฏิบัติการสงตอผูปวยฉุกเฉินระหวางสถานพยาบาล (Interfacility Patient Transfer) 99


EMERGENCY
reventio

n
EMERGENCY

P
ตัวอย่างตารางที่ 2
ตัวอย่างแบบประเมินเพื่อส่งมอบผู้ป่วยฉุกเฉิน ให้กับ
สถานพยาบาลปลายทาง

100 การปฏิบัติการสงตอผูปวยฉุกเฉินระหวางสถานพยาบาล (Interfacility Patient Transfer)


EMERGENCY
reventio

n
P
ตัวอย่างตารางที่ 3
ตัวอย่าง เอกสารแบบ Checklist การเตรียมผู้ป่วยก่อนส่งต่อ

การปฏิบัติการสงตอผูปวยฉุกเฉินระหวางสถานพยาบาล (Interfacility Patient Transfer) 101


EMERGENCY
reventio

n
EMERGENCY

P
ตัวอย่างตารางที่ 4

102 การปฏิบัติการสงตอผูปวยฉุกเฉินระหวางสถานพยาบาล (Interfacility Patient Transfer)


EMERGENCY
reventio

n
P
ตัวอย่างตารางที่ 5

การปฏิบัติการสงตอผูปวยฉุกเฉินระหวางสถานพยาบาล (Interfacility Patient Transfer) 103


EMERGENCY
reventio

n
EMERGENCY

P
ตัวอย่างตารางที่ 6

104 การปฏิบัติการสงตอผูปวยฉุกเฉินระหวางสถานพยาบาล (Interfacility Patient Transfer)


EMERGENCY
reventio

n
P
ภาคผนวก ฌ
รายนามคณะทำ�งาน
ลำ�ดับ ชื่อ-นามสุกล สถานที่ ตำ�แหน่ง
1. นายแพทย์ภูมินทร์ ศิลาพันธ์ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ประธานคณะทำ�งาน
2. นายแพทย์ธานินทร์ โลเกศกระวี โรงพยาบาลลำ�ปาง รองประธานคณะทำ�งาน
3. นางสาวกมลทิพย์ แซ่เล้า สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ รองประธานคณะทำ�งาน
4. แพทย์หญิงสมจินตนา เอี่ยมสรรพางค์์ โรงพยาบาลกรุงเทพ คณะทำ�งาน
5. นายแพทย์เอกกิตติ์ สุรการ โรงพยาบาลกรุงเทพ คณะทำ�งาน
6. นายแพทย์ชัยพร บุญศรี โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี คณะทำ�งาน
7. นายแพทย์กิตติภัต วัฒนพาหุ โรงพยาบาลราชบุรี คณะทำ�งาน
8. นายแพทย์บริบูรณ์ เชนธนากิจ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะทำ�งาน
9. น.อ.นายแพทย์ธนษวัฒน์ ไชยกุล กรมแพทย์ทหารเรือ คณะทำ�งาน
10. แพทย์หญิงธัมพรรษ ปิยสุวรรณกุล คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะทำ�งาน
11. นายแพทย์สมบัติ มุ่งทวีพงษา โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ คณะทำ�งาน
12. นายแพทย์วีระศักดิ์ อนุตรอังกูร โรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น คณะทำ�งาน
13. นายแพทย์ธนนิตย์ สังคมกำ�แหง โรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น คณะทำ�งาน
14 นายแพทย์ภควัต จุลทอง โรงพยาบาลศูนย์หาดใหญ่ คณะทำ�งาน
15. นายแพทย์ไชยพร ยุกเซ็น โรงพยาบาลรามาธิบดี คณะทำ�งาน
16. ดร.ประภาพร สุวรัตน์ชัย โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี คณะทำ�งาน
17. นางสาววัชรา ศรีหาราช โรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น คณะทำ�งาน
18. นางสาวอรรถยา อมรพรหมภักดี สำ�นักการพยาบาล คณะทำ�งาน
19. นายสุทัศน์ กองขุนทด สำ�นักสาธารณสุขฉุกเฉิน คณะทำ�งาน
20. นางสาวธนวรรณ เครือจินจ๋อย โรงพยาบาลลำ�ปาง คณะทำ�งาน
21. นายพรชัย คำ�เพิงใจ โรงพยาบาลขอนแก่น คณะทำ�งาน
22. นางสาววิมลวรรณ กมลบุรี โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ อุบลราชธานี คณะทำ�งาน
23. นางณัฐนันท์ ทัศนวิสุทธิ์ โรงพยาบาลมหาราชนครศรีธรรมราช คณะทำ�งาน

การปฏิบัติการสงตอผูปวยฉุกเฉินระหวางสถานพยาบาล (Interfacility Patient Transfer) 105


EMERGENCY
reventio

n
EMERGENCY

P
ภาคผนวก ฌ
รายนามคณะทำ�งาน
ลำ�ดับ ชื่อ-นามสุกล สถานที่ ตำ�แหน่ง
24 นางจิตรา มีมาก โรงพยาบาลอุตรดิตถ์ คณะทำ�งาน
25 นางสาวสอลีห๊ะ เล๊าะมะ โรงพยาบาลศูนย์ยะลา คณะทำ�งาน
26 นายธีรินทร์ เกตุวิชิต โรงพยาบาลลำ�ปาง คณะทำ�งาน
27 นางอังคณา จำ�ปาวัน สำ�นักงานสาธารณสุขจังหวัดลำ�ปาง คณะทำ�งาน
28 นางสาวณญาดา เผือกขำ� สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ คณะทำ�งาน
29 นางธัณณ์จิรา ธนาศิริธัชนันท์ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ คณะทำ�งาน
30 นางสาวจินดา ยุติบรรณ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ คณะทำ�งาน
31 นางนันท์นลิน นาคะกุล สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ เลขานุการ คณะทำ�งาน
32 นางสาวอุรา สุวรรณรักษ์ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ เลขานุการ คณะทำ�งาน
33 นายสุวภัทร อภิญญานนท์ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ เลขานุการ คณะทำ�งาน

106 การปฏิบัติการสงตอผูปวยฉุกเฉินระหวางสถานพยาบาล (Interfacility Patient Transfer)


EMERGENCY
reventio

n
P
ภาคผนวก ฌ
รายนามคณะทำ�งานจัดทำ�การปฏิบัติการส่งต่อผู้ป่วยฉุกเฉิน
ระหว่างสถานพยาบาล (รูปแบบพิเศษ)
ในสถานการณ์ความไม่สงบพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
1. นายแพทย์ภูมินทร์ ศิลาพันธ์ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ประธานคณะทำ�งาน
2. นายแพทย์ปกรณ์ นาระคล สำ�นักงานสาธารณสุขฉุกเฉิน ประธานคณะทำ�งาน
3. นายแพทย์ภควัต จุลทอง โรงพยาบาลหาดใหญ่ รองประธานคณะทำ�งาน
4. นางสาวกมลทิพย์ แซ่เล้า สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ รองประธานคณะทำ�งาน
5. นายแพทย์ประสิทธิ วุฒิสุทธิเมธาวีโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รองประธานคณะทำ�งาน
6. นายแพทย์วรสิทธิ์ ศรศรีวิชัย มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะทำ�งาน
7. นายแพทย์ภุมรินทร์ แซ่ลิ่ม โรงพยาบาลยะลา คณะทำ�งาน
8. นายแพทย์ชัยวุฒิ สุขเสนาวงศ์ โรงพยาบาลนราธิวาส คณะทำ�งาน
9. นายประสิทธิ์ ง๊ะสตูล สำ�นักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา คณะทำ�งาน
10. นายสุจิตร คงจันทร์ สำ�นักงานสาธารณสุขจังหวัดสงขลา คณะทำ�งาน
11. นางสหัธยา แก้วพิบูลย์ โรงพยาบาลหาดใหญ่ คณะทำ�งาน
12. นางถนอม ภิบาลศักดิ์ โรงพยาบาลหาดใหญ่ คณะทำ�งาน
13. นางถนอม แก้วเนียม โรงพยาบาลสงขลา คณะทำ�งาน
14 นางสาวอัษฎภร บัวจันทร์ โรงพยาบาลสงขลา คณะทำ�งาน
15. นายเมธา ราชพงศ์ โรงพยาบาลสมเด็จฯนาทวี คณะทำ�งาน
16. นายวีระ หะมินะ โรงพยาบาลปัตตานี คณะทำ�งาน
17. นางนิษณา สนิ โรงพยาบาลปัตตานี คณะทำ�งาน
18. นางเยาวดี พลับช่วย โรงพยาบาลนราธิวาส คณะทำ�งาน
19. นางกฤตยา แดงสุวรรณ โรงพยาบาลนราธิวาส คณะทำ�งาน
20. นายศุภชาติ เขมวุฒิพงษ์ สำ�นักงานสาธารณสุขจังหวัดตรัง คณะทำ�งาน
21. นางสุนิสา สุวรรณรักษ์ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ เลขานุการ คณะทำ�งาน
22. นางสาวอุรา สุวรรณรักษ์ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ เลขานุการ คณะทำ�งาน
23. นายสุวภัทร อภิญญานนท์ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ เลขานุการ คณะทำ�งาน
24. นางสาวชนนิกานต์ สิงห์พยัคฆ์ สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ เลขานุการ คณะทำ�งาน

การปฏิบัติการสงตอผูปวยฉุกเฉินระหวางสถานพยาบาล (Interfacility Patient Transfer) 107


EMERGENCY
reventio

n
EMERGENCY

108 การปฏิบัติการสงตอผูปวยฉุกเฉินระหวางสถานพยาบาล (Interfacility Patient Transfer)


EMERGENCY
reventio

n
P

การปฏิบัติการสงตอผูปวยฉุกเฉินระหวางสถานพยาบาล (Interfacility Patient Transfer) 109


EMERGENCY
reventio

n
EMERGENCY

110 การปฏิบัติการสงตอผูปวยฉุกเฉินระหวางสถานพยาบาล (Interfacility Patient Transfer)


EMERGENCY
reventio

n
P

การปฏิบัติการสงตอผูปวยฉุกเฉินระหวางสถานพยาบาล (Interfacility Patient Transfer) 111


EMERGENCY
reventio

n
EMERGENCY

112 การปฏิบัติการสงตอผูปวยฉุกเฉินระหวางสถานพยาบาล (Interfacility Patient Transfer)


EMERGENCY
reventio

n
P

การปฏิบัติการสงตอผูปวยฉุกเฉินระหวางสถานพยาบาล (Interfacility Patient Transfer) 113


EMERGENCY
reventio

n
EMERGENCY

114 การปฏิบัติการสงตอผูปวยฉุกเฉินระหวางสถานพยาบาล (Interfacility Patient Transfer)


EMERGENCY
reventio

n
P

การปฏิบัติการสงตอผูปวยฉุกเฉินระหวางสถานพยาบาล (Interfacility Patient Transfer) 115


EMERGENCY
reventio

n
EMERGENCY

เลขที่ 88/40 หมูที่ 4 อาคารเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัว 84 พรรษา


สาธารณสุขซอย 6 ถนนติวานนท ตำบลตลาดขวัญ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000
116 โทรศับพัตทิการส
การปฏิ 0 2872
งตอผู1669
ปวยฉุกโทรสาร 0 า2872
เฉินระหว 1601-6 (Interfacility Patient Transfer)
งสถานพยาบาล

You might also like